You are on page 1of 129

การปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตัง้ ชิ้นส่วน Segmental Box

Girder ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ)

โดย

นายประพจน์ รัตตมณี

การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2560
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25605810038272TSA


การปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตัง้ ชิ้นส่วน Segmental Box
Girder ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ)

โดย

นายประพจน์ รัตตมณี

การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2560
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25605810038272TSA


CONSTRUCTION PROCESS IMPROVEMENT IN SEGMENTAL BOX
GIRDER OF MASS RAPID TRANSIT, THE GREEN LINE PROJECT
(NORTH)

BY

MR. PRAPOT RATTAMANEE

AN INDEPENDENT STUDY SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE


REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ENGINEERING
DEPARTMENT OF ENGINEERING AND BUSINESS MANAGEMENT
FACULTY OF ENGINEERING
THAMMASAT UNIVERSITY
ACADEMIC YEAR 2017
COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

Ref. code: 25605810038272TSA


(1)

หัวข้อการค้นคว้าอิสระ การปรับปรุงกระบวนก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่วน
Segmental Box Girder ของโครงการรถไฟฟ้าสาย
สีเขียว (เหนือ)
ชื่อผู้เขียน นายประพจน์ รัตตมณี
ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดนัย วันทนากร
ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box


Girder ของโครงการก่ อ สร้ า งรถไฟฟ้ า สายสี เขี ย ว (เหนื อ ) มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ค้ น หาปัจ จัย ที่เป็น
อุปสรรคให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเวลาและต้นทุน
ในการปฏิบัติงานของกระบวนการทางานดั้งเดิม เพื่อนาอุปสรรคเหล่านั้นไปใช้ออกแบบกระบวนการ
ปฏิบัติงานใหม่โดยวิธีสายงานวิกฤติ แล้วนากระบวนการใหม่ไปใช้จริงพร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้าน
ระยะเวลาและต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานอีกครั้ง เพื่อทาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการ
ทางานกระบวนการใหม่กับกระบวนการดั้งเดิม
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทาให้กระบวนการทางานขาดประสิทธิภาพมีอยู่จานวนมาก
จึงทาการสัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการเพื่อคัดเลือกเฉพาะปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อระยะเวลาและต้นทุน
การก่อสร้างมาปรับปรุง นอกจากนี้ยังได้ใช้เวลาเฉลี่ยในการทางานแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ
ดั้งเดิมลักษณะเฉพาะในการติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder ซึ่งมีรูปแบบการทางานแบบเรียง
กันเป็นเส้นตรง และทาคู่ขนานกันไป รวมทั้งเงื่อนไขเฉพาะของโครงการ มาร่วมพิจารณาประกอบการ
ออกแบบกระบวนการทางานรูปแบบใหม่ด้วย ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดขั้นตอนการทางานลงเหลือ
34 กระบวนการ จากขั้น ตอนเดิมทั้งหมด 35 กระบวนการ และกิจกรรมวิกฤติลดลงจากเดิม 32
กระบวนการเหลื อเพียง 27 กระบวนการ รวมทั้งเพิ่มการทางานคู่ขนานจาก 3 กระบวนการเป็น 4
กระบวนการ ในการเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยและต้นทุนเฉลี่ยของกระบวนการใหม่เปรียบเทียบกับ

Ref. code: 25605810038272TSA


(2)

กระบวนการดั้งเดิมสรุปได้ว่าสามารถลดระยะเวลาการปฏิบัติงานจากเดิมได้ 18.49% และลดต้นทุน


การปฏิบัติงานจากเดิมลงได้ 25.49%

คำสำคัญ: การก่อสร้าง, ประสิทธิภาพการทางาน, การปรับปรุงกระบวนการ, เวลาและต้นทุน

Ref. code: 25605810038272TSA


(3)

Independent Title CONSTRUCTION PROCESS IMPROVEMENT IN


SEGMENTAL BOX GIRDER OF MASS RAPID
TRANSIT, THE GREEN LINE PROJECT (NORTH)
Author Mr. Prapot Rattamanee
Degree Master of Engineering
Major Field/Faculty/University Department of Engineering and Business
Management
Faculty of Engineering
Thammasat University
Thesis Advisor Asst. Prof. Dr. Danai Wantanakorn
Academic Years 2017

ABSTRACT
The objective of research on construction process improvement in
Segmental Box Girder of the Green Line Project (North) is to identify obstacles and
factors causing inefficient operations. Time and cost of operations from the original
work process were initially collected. Based on the obstacles found, a new work
process was created using Critical Path Method. Then, the new process was
implemented and data related to time and cost were collected in order to compare
with those obtained from the original work process.
The results reveal that there are numerous factors causing work process
inefficiently. The influential factors were then cautiously reselected by interviewing
the project personnel. In addition, an average operation time in each step of the
original process, a typical installation of Segment Box Girder that must be operated in
sequence and in parallel, and the specific conditions of the project were taken into
account for the new work process development. As a result, the new
process can reduce operations from 35 steps in the original process to 34 steps, and
critical activities from 32 steps to 27 steps. Also, concurrent work process was
increased from 3 to 4 paths. In comparison of the average time and cost between the
two processes, this study shows that the operation time and cost of the new process

Ref. code: 25605810038272TSA


(4)

can be decreased from those of the original work process approximately 18.49% and
25.49%, respectively.

Keywords: Construction, Work efficiency, Process improvement, Time and Cost

Ref. code: 25605810038272TSA


(5)

กิตติกรรมประกำศ

งานวิจัยเรื่อง “งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่ ว น
Segmental Box Girder ของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสี เขียว (เหนือ)” ผู้ จัดทาขอขอบคุ ณ
โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
ที่ได้เปิดสอนหลักสูตรที่มีคุณค่าต่อการศึกษา
ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนัย วันทนากร เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้
คาแนะนา และคาปรึกษาตลอดการทางานวิจัย จนกระทั่งงานวิจัยบรรลุผลสาเร็จ
ขอขอบพระคุ ณ ศาสตราจารย์ ดร.จงรั ก ษ์ ผลประเสริ ฐ ได้ ใ ห้ ข้ อ เสนอนะอั น เป็ น
ประโยชน์ รวมทั้งคาแนะนาในการปรับปรุงงานวิจัยเล่มนี้ตลอดมา
ขอขอบพระคุณ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีวีล๊อปเม้นต์ จากัด (มหาชน) บุคลากรหน่วยงาน
สะพาน ที่ได้มอบโอกาสในการทางาน และมอบความรู้ รวมทั้งให้ข้อมูลต่างๆ จนกระทั่งการศึกษา
ค้นคว้างานวิจัยนี้บรรลุผลสาเร็จ
ขอขอบพระคุณ บิดา มารดา อย่างสูงที่คอยสนับสนุนด้านกาลังทรัพย์ อีกทั้งยังเป็น
กาลังใจที่สาคัญ นอกจากนี้ขอขอบคุณ พี่ๆเพื่อนๆในสาขาวิชาที่ได้คอยช่วยเหลือด้านความรู้ คอย
แนะนาตักเตือนตลอดจนการให้กาลังใจที่ดีเสมอมา
สุดท้ายนี้หวังว่างานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจได้นาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้การ
ทางานของท่านช่วยพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อวงการวิศวกรรมของประเทศต่อไป

นายประพจน์ รัตตมณี

Ref. code: 25605810038272TSA


(6)

สำรบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

สารบัญตาราง (9)

สารบัญภาพ (10)

บทที่ 1 บทนา 1

1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย 2
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3

บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4

2.1 รูปแบบเครื่องจักรที่ใช้ก่อสร้างสะพานด้วยชิ้นส่วนสาเร็จ Segment 4


2.2 ชิ้นส่วนสาเร็จแบบกลวง 6
2.3 รูปแบบการติดตั้งชิ้นส่วนสะพานด้วย Launching gantry 9
2.4 ส่วนประกอบของ Launching gantry และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 15
2.5 กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนในปัจจุบัน (1 cycle time) 25
2.6 การควบคุมต้นทุนการก่อสร้าง 27
2.7 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 28
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 30

Ref. code: 25605810038272TSA


(7)

บทที่ 3 วิธีการวิจัย 32

3.1 การเก็บข้อมูลการติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder 32


3.2 วิธีหาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน 35
Segmental Box Girder
3.3 การสร้างแบบสัมภาษณ์ 35
3.4 การระบุปัจจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ 36
3.5 การปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างงานติดตั้งชิ้นส่วน Segment 36
3.6 การเปรียบเทียบด้านประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการดั้งเดิมกับ 37
กระบวนการรูปแบบใหม่

บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล 40

4.1 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฎิบัติงานขาดประสิทธิภาพ 40
4.2 แนวทางปรับปรุงปัจจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฎิบัติงาน 52
4.3 การปรับปรุงกระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน Segment Box Girder โดยวิธีการ 58
กาหนดสายงานวิกฤต
4.4 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านระยะเวลาปฎิบัติงานระหว่าง 65
กระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่
4.5 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านต้นทุนปฎิบัติงานระหว่างกระบวนการ 72
ดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 77

5.1 สรุปผลการศึกษา 77
5.2 ข้อจากัด 79
5.3 ข้อเสนอแนะ 80

Ref. code: 25605810038272TSA


(8)

รายการอ้างอิง 81

ภาคผนวก 83

ภาคผนวก ก กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder 84


ภาคผนวก ข ระยะเวลาและวันที่ทางานของกระบวนการดั้งเดิม 102
ภาคผนวก ค ระยะเวลาและวันที่ทางานของกระบวนการใหม่ 108

ประวัติผู้เขียน 114

Ref. code: 25605810038272TSA


(9)

สำรบัญตำรำง

ตารางที่ หน้า
3.1 ใบบันทึกการปฎิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนฯ กระบวนการดั้งเดิม 34
3.2 การใช้ทรัพยากรต่อละกระบวนการ 37
4.1 ระยะเวลาที่ใช้ปฎิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการดั้งเดิม 6 ช่วงเสา 66
4.2 ระยะเวลาที่ใช้ปฎิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการใหม่ 6 ช่วงเสา 68
4.3 เปรียบเทียบระยะเวลาปฎิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงกระบวนการ 70
4.4 ต้นทุนที่ใช้ในการปฎิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการดั้งเดิม 73
4.5 ต้นทุนที่ใช้ในการปฎิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการใหม่ 74
4.6 เปรียบเทียบต้นทุนระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่ 76

Ref. code: 25605810038272TSA


(10)

สำรบัญภำพ

ภาพที่ หน้า
2.1 ระบบติดตั้งคานเดี่ยว (Over head Truss) 5
2.2 ระบบติดตั้งคานคู่ (Under Slug Truss) 6
2.3 ชิ้นส่วน “Pier Segment” 7
2.4 ชิ้นส่วน “Deviator Segment” 8
2.5 ชิ้นส่วน “Typical Segment” 8
2.6 ช่วงสะพานแบบ Simple span 9
2.7 วัสดุรองรับ “Pot bearing” 11
2.8 ช่วงสะพานแบบ Continuous span 11
2.9 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 1 แบบ Pot bearing&Pier segment 12
2.10 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 2 แบบ Pier segment&Pier segment 13
2.11 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 2 แบบ Pier segment&Pot bearing 15
2.12 ส่วนประกอบของ Launching gantry 15
2.13 ชิ้นส่วน “ฐานรองรับน้าหนัก (Support)” 16
2.14 การย้ายฐานรองรับ (Support) 17
2.15 ชิ้นส่วน “ฐานรองรับน้าหนักชั่วคราว (Leg)” 17
2.16 ชิ้นส่วน “Portal frame” 18
2.17 ชิ้นส่วน “Pier bracket” 19
2.18 ชิ้นส่วน “ชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จ (Hanging)” 19
2.19 ชิ้นส่วน “กระเช้าสาหรับงาน Post tension” 20
2.20 ชิ้นส่วน “Winch” 20
2.21 การตรวจสอบค่าด้วย Survey 21
2.22 กระบวน “Stressing 15%” เพื่อให้รอยต่อแนบสนิทกัน 22
2.23 การติดตั้งคอนกรีตทรงลูกบาศก์ทาติดด้วย Epoxy 22
2.24 กระบวนการเทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อ (Wet joint) 23
2.25 กระบวนการเสริมแรงด้วยวิธ๊ Post-tension 24
2.26 กระบวนการ Load span 24
2.27 การปลดวัสดุอุปกรณ์จากชิ้นส่วนสาเร็จรอส่งคืนโรงงาน 25

Ref. code: 25605810038272TSA


(11)

2.28 รูปแบบการบันทึกเวลา 29
4.1 กระบวนการปฎิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วน Segment ในปัจจุบัน (1 cycle) 41
4.2 ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้ ก ระบวนการปฎิ บั ติ ง านการเตรี ย มการก่ อ นการเลื่ อ น 42
Launching ขาดประสิทธิภาพ
4.3 ปั จ จั ย ที่ส่ งผลให้ กระบวนการปฎิบัติงานการเลื่ อน Launching gantry ขาด 44
ประสิทธิภาพ
4.4 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน Segment ขาดประสิทธิภาพ 48
4.5 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการหลังการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จขาดประสิทธิภาพ 51
4.6 แนวทางการปรั บ ปรุ ง เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพกระบวนการ ในขั้ น ตอนการ 53
เตรียมการก่อนการเลื่อน Launching gantry
4.7 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ในขั้นตอนการเลื่อน 54
Launching gantry เข้าตาแหน่ง
4.8 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการในขั้นตอนการติดตั้ง 55
ชิ้นส่วน Segment
4.9 แนวทางการปรับปรุงเพือเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ในขั้นตอนหลังการ 57
ติดตั้งชิ้นส่วน
4.10 ขั้นตอนการปฎิบัติงานกระบวนการดั้งเดิม 59
4.11 กระบวนการปฎิบัติงานใหม่ 63
4.12 ระยะเวลาเฉลี่ยแต่ละกระบวนการในการติตดั้งชิ้นส่วน Segment ทั้ง 6 ช่วง 84
เสา

Ref. code: 25605810038272TSA


1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ

ในปั จ จุ บั น ประเทศไทยมี ก ารขยายตั ว ของเขตเมื อ งอย่ า งต่ อ เนื่ องทั้ ง ในเขต


กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค อันเป็นผลมาจากการที่มีประชากรเพิ่มมาก
ขึ้น เป็นเหตุทาให้ภาครัฐมีความจาเป็นในการการริเริ่มโครงการพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภคขั้น
พื้นฐาน (infrastructure) ขนาดใหญ่จานวนหลายโครงการ เพื่อลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและสร้าง
โอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยในแต่ละโครงการนั้นจาเป็นต้องใช้เงินทุนในการดาเนินการมาก
หรือน้อยแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น โครงการต้องใช้เงินทุนในการดาเนินการจานวนมาก นั่นคือ
แผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของภาครัฐ เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้ างพื้นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๕” ลักษณะของโครงการเป็น การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานทางถนน ทางน้า ทางอากาศ ทางรถไฟ ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
การใช้องค์ความรู้ ทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย เพื่อตอบสนองโครงการพัฒ นา
ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐที่มีปริมาณของโครงการและปริมาณของงานที่เพิ่มมากขึ้น ทา
ให้ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการดาเนินงานของภาครัฐ สิ่งที่ภาคเอกชนหลีกเลี่ ยง
ไม่ได้ก็ คือ การมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น และความต้องการพัฒนาขีดความสามารถการทางานของเอกชน
ให้รับโครงการก่อสร้างได้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นผลให้บริษัทด้านธุรกิจการก่อสร้างจะต้องหาวิธีการหรือ
กระบวนการที่เหมาะสมมาใช้สาหรับบริหารโครงการก่อสร้าง อาทิเช่น ภาคเอกชนจะต้องปรับปรุง
รูปแบบกระบวนการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเพื่อแข่งขันทั้งในระดับประเทศ อาเซียนหรือระดับสากล ลด
การใช้ทรัพยากร ลดระยะเวลาการก่อสร้าง และลดงบประมาณในการดาเนินงานให้ต่าลง เป็นต้น
หนึ่ งในยุ ทธศาสตร์ การพัฒ นาโครงสร้างพื้นฐานที่น่าสนใจในประเทศไทย อีกทั้งใน
อนาคตมีแนวโน้มการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น คือ “การติดตั้งชิ้นส่วน segmental
box girder” ด้วยเครื่องจักรที่เรียกว่า “Launching gantry” อันเป็นรูปแบบการก่อสร้างส่วนหนึ่ง
ของระบบงานสะพาน เพื่อใช้เป็นถนน หรือระบบการวิ่งของรถไฟฟ้า สาเหตุที่ใช้กระบวนการก่อสร้าง
รูปแบบนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างด้วยรูปแบบนี้เป็นความก้าวหน้าทางวิศวกรรม ทดแทน
การหล่อชิ้นส่วนในที่ (Casting in place) เพราะการใช้ทรัพยากรที่น้อยลงทั้งต้นทุนและแรงงาน ที่
ส าคั ญ ยั ง สามารถท าได้ ร วดเร็ ว กว่ าเป็น การลดระยะเวลาสามารถท าให้ เปิ ดใช้สิ่ ง ปลู ก สร้า งด้ว ย
ระยะเวลาสั้นลดระยะเวลาการกู้เงินที่สั้นลงคืนทุนด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รูปแบบการหล่อ

Ref. code: 25605810038272TSA


2

ชิ้นส่วนสาเร็จอีกทั้งการเพิ่มขีดความสามารถทางวิศวกรรมให้สอดคล้องกับปริมาณงาน ซึ่งในปัจจุบัน
บริ ษั ท ธุ ร กิ จ การก่ อ สร้ า งมี ก ารใช้ ง านเครื่ อ งจั ก ร Launching gantry นี้ ยั ง อยู่ ใ นวงจ ากั ด ยั ง ไม่
แพร่หลายเป็นวงกว้าง การก่อสร้างด้วยรูปแบบนี้เป็นโครงสร้างสะพานแบบนาชิ้นส่วนคอนกรีตสาเร็จ
เข้ามาเรียงต่อกัน ซึ่งที่ปลายทั้งสองข้างจะมีชิ้นส่วนที่วางยึดติดแน่น (fixed) อยู่บนหัวเสาสามารถถ่าย
แรงจากน้าหนักบรรทุกจร (live load) และน้าหนักของตัวชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ (dead load) ใน
การยึดชิ้นส่วน (segments) เข้าด้วยกันนั้นจะมีลวดสลิงคอยทาหน้าที่ยึดชิ้นส่วนทุกชิ้นเข้าด้วยกัน
และในแต่ละชิ้นส่วนจะมี shear key ที่ทาหน้าที่รับแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในแนวดิ่ง
ด้ว ยปั จ จั ย ดังกล่ าวผู้ วิจั ยจึ งมี ความต้ อ งการศึ ก ษาปัจ จัย ที่ จ ะส่ งผลต่ อ กระบวนการ
ดาเนินงาน การแบ่งขั้นตอนการทางาน การพิจารณาหากระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพราะใน
ปัจจุบันนั้นการดาเนินงานมักมีปัญหาการทางานที่ไม่ราบรื่น ทาให้งานเป็นไปอย่างล่าช้า (delay)
ออกไปเรื่ อ ยๆ จนในที่ สุ ด อาจส่ ง ผลให้ โ ครงการล่ า ช้ าได้ อี ก ด้ ว ย ผู้ วิ จั ย มี ค วามประสงค์ ป รั บปรุง
กระบวนการทางานอันเป็นผลให้การดาเนินงานติดตั้งชิ้นส่วนเพื่อใช้เ ป็นทางวิ่งรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างโดย
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จากัด มี ระยะเวลาในการดาเนินงานที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ช่วย
ลดต้นทุน และกระบวนการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลลัพธ์จากการวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อบริษัทฯ และยังเป็นประโยชน์ต่อแวดวงการติดตั้งชิ้นส่วนของเครื่องจักร Launching gantry ของ
โครงการต่างๆ

1.2 วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย

1.2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder


สาหรับนามาใช้สาหรับกาหนดรูปแบบในการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
1.2.2 ทาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทางานระหว่างก่อนและหลังการออกแบบ
กระบวนการปฏิบัติงาน ในเรื่องระยะเวลาการดาเนินงานและต้นทุนปฏิบัติงาน

1.3 ขอบเขตของกำรวิจัย

ในการศึ ก ษานี้ จ ะท าการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล การท างานของ Launching gantry


ปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วน (segment) อยู่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) โดยบริษัท อิตาเลียน
ไทย ดีเวล๊ อปเมนต์ จ ากัด (มหาชน) โดยคัดเลื อกการทางานติดตั้งของชิ้นส่ ว นจานวน 6 ช่ว งเสา
(ระยะเวลาเก็บข้อมูลเหมาะสมกับระยะเวลาการทาวิจัยค้นคว้าอิสระ) เพื่อนามาเป็นฐานข้อมูลก่อน

Ref. code: 25605810038272TSA


3

ปรับปรุงกระบวนการ และเมื่อปรับปรุงกระบวนการแล้วจะใช้ข้อมูลของการติดตั้งอีก 6 ช่วงเสา เพื่อ


การเปรียบเทียบหาผลประสิทธิภาพการทางาน

1.4 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

1.4.1 การปรับปรุงกระบวนการดาเนินงานติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder ให้มี


ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทาให้วงการรับเหมาก่อสร้างด้วยเครื่องจักร Launching gantry เกิดการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการทางานให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
1.4.2 ผู้ที่สนใจสามารถนาไปเป็นแนวทางใช้จริงได้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้
ทรัพยากร ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

Ref. code: 25605810038272TSA


4

บทที่ 2
ทฤษฎีและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในบทนี้จะเป็นเรื่องทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยในหัวข้อแรกจะ
กล่าวถึงวิธีการก่อสร้างสะพานด้วยชิ้นส่วนสาเร็จ แบบ และการประกอบชิ้นส่วนโดยใช้ Launching
gantry นอกจากนี้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ในตอนท้ายจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของ
การปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วน ได้แก่ กระบวนการทางานในปัจจุบัน (1 cycle time), ปัจจัยที่มีส่วน
กระทบต่อกระบวนการติดตั้งชิ้นส่ว นสาเร็จ Segment และทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง ตามลาดับ

2.1 รูปแบบเครื่องจักรที่ใช้ก่อสร้ำงสะพำนด้วยชิ้นส่วนสำเร็จ Segment

การก่อสร้างสะพานโดยนาชิ้นส่วนสาเร็จแบบกลวงหลายๆชิ้นมาแขวนไว้กับคานเหล็ก
ขนาดใหญ่ (Main truss) ในลักษณะการเรียงต่อกัน จากนั้นประกอบเข้ าด้วยกันโดยการเดินลวดสลิง
จานวนหลายเส้นผ่านตั้งแต่ชิ้นส่วนชิ้นแรก ชิ้นที่สอง และต่อไปจนถึงชิ้นสุดท้าย หลังจากนั้นก็จะดึง
ลวดสลิงให้ตึงและยืดตามค่าที่มีการออกแบบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “การเสริมแรงแบบ Post-tension”
หรือเป็นการเสริมแรงให้กับชิ้นส่วนทุกชิ้นสามารถรั บน้าหนักตัวมันเองทั้งหมดได้ และรับน้าหนัก
สาหรับการใช้งานตามจุดประสงค์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้การใช้คานเหล็กขนาดใหญ่มาประกอบ
เข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ จนกระทั่งเกิดเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่มารองรับการติดตั้ง ในปัจจุบันพบว่ามี
การใช้เครื่องจักรอยู่ 2 ประเภท คือ ระบบติดตั้งคานเดี่ยวและระบบการติดตั้งคานคู่ ทั้ง 2 ประเภทนี้
สามารถพบเห็ น การใช้ ง านอยู่ โ ดยทั่ ว ไปในโครงการต่ า งๆ ทั้ ง นี้ รู ป แบบการเลื อ กใช้ ชิ้ น อยู่ กั บ
สภาพแวดล้อมและข้อจากัดต่างๆของการปฏิบัติงานซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

2.1.1 ระบบติดตั้งคำนเดี่ยว (Overhead Truss)


การติดตั้งชิ้นส่วนด้วยระบบคานเดี่ยว เหมาะสาหรับการทางานติดตั้งทั้งทางตรง
ทางโค้งที่ไม่มากนั ก และในกรณีที่มีพื้นที่ส าหรับการทางานจากัด เนื่องจากการยกติดตั้งชิ้นงาน
สามารถยกติดตั้งได้ในแนวดิ่ง วิธีที่นี้ใช้ขนส่งชิ้นงานเข้าไปยังพื้นที่มักใช้รถเทรลเลอร์บรรทุกชิ้นส่วน
สาเร็จวิ่งเข้าไปใต้คานเหล็ก ซึ่งเป็นจุดสาหรับยกชิ้นงานขึ้นไปตามแนวดิ่ง และแขวนชิ้นงานเข้ากับ
คานเหล็กระบบคานเดี่ยวทีละชิ้นเรี ยงต่อจนครบช่วงความยาวของสะพานช่วงนั้นๆ ดังนั้นการติดตั้ง

Ref. code: 25605810038272TSA


5

ด้วยวิธีนี้จะต้องมีการเตรียมพื้นที่ให้รถวิ่งเข้าไปขนส่ง ซึ่งในปัจจุบันมักใช้แผ่นเหล็กปูทับบนดินเพื่อให้
รถขนส่งชิ้นส่วนสาเร็จเข้าไปจุดยกชิ้นงานได้สะดวก ดังภาพที่ 2.1

ภำพที่ 2.1 ระบบติดตั้งคานเดี่ยว (Overhead Truss)

การติดตั้งชิ้นส่วนโดยใช้ระบบการติดตั้งคานเดี่ยว เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ที่มี
การจราจรหนาแน่น (ใช้พื้นที่เฉพาะให้รถเทรลเลอร์เข้าไปส่งชิ้นงานได้) สามารถติดตั้งในทางโค้งมาก
ได้ (สรกฤตย์ พันธุมนตรี, พ.ศ.2557)

2.1.2 ระบบติดตั้งคำนคู่ (Under Slung Truss)


การติดตั้งชิ้นส่วนด้วยระบบคานคู่ สามารถติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จได้ทั้งทางตรงและ
ทางโค้งที่ไม่มากนัก การติดตั้ง ระบบนี้ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าแบบระบบคานเดี่ยว เนื่องจาก
ต้องใช้เครนขนาดใหญ่ยืนด้านข้าง และให้รถเทรลเลอร์ขนส่งชิ้นงานมาจอดเทียบให้อยู่ในรัศมีการยก
จากนั้นจึงยกชิ้นงานขึ้น ไปวางบนคานคู่จนกระทั่งครบจานวนตามความยาวของช่วงสะพานนั้ นๆ

Ref. code: 25605810038272TSA


6

ดังนั้นจึงเหมาะกับสภาพหน้างานที่มีพื้นที่ในการทางานเยอะการเตรียมพื้นที่จะต้องบดอัดดินหรือปู
แผ่นเหล็กให้รถขนส่งเข้าพื้นที่งานได้สะดวก นอกจากนั้นยังต้องจัดเตรียมพื้นที่มากพอให้รถเครนจอด
ทางานได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย ดังภาพที่ 2.2 สภาพพื้นที่เป็นถนนกว้างสะดวกต่อรถเทรลเลอร์ที่วิ่ง
เข้ามาส่งชิ้นงาน ถนนที่กว้างทาให้รถเครนสามารถจอดทางานยกได้สะดวกในเวลากลางคืน แต่จะต้อง
คืนพื้นที่จราจรกลับในเวลากลางวัน

ภำพที่ 2.2 ระบบติดตั้งคานคู่ (Under Slung Truss)

การติดตั้งชิ้นส่วนโดยใช้ระบบติดตั้งคานคู่ เหมาะกับการติดตั้งชิ้นส่วนในทางตรง
ไม่เหมาะกับการติดตั้งในกรณีที่มีพื้นที่น้อยหรือมีสิ่งกีดขวางรอบพื้นที่ป ฏิบัติงาน (สรกฤตย์ พันธุ
มนตรี, พ.ศ.2557)

2.2 ประเภทของชิ้นส่วนสำเร็จที่ใช้ในกำรติดตั้ง

ชิ้นส่วนสาเร็จที่ใช้สาหรับการก่อสร้างสะพานจะเป็นชิ้นส่วนแบบกลวง ที่ผ่านการหล่อ
ส าเร็ จ มาจากโรงหล่อ สามารถแบ่ งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ชิ้นส่ ว น Pier Segment, Deviator
Segment และชิ้นส่วน Typical Segment

Ref. code: 25605810038272TSA


7

2.2.1 ชิ้นส่วน Pier Segment


ชิ้นส่วน Pier Segment เป็นชิ้นส่วนที่มีน้าหนักมากที่สุดในช่วงเสา อยู่ตาแหน่ง
ด้านหัวและท้ายของช่วงเสา มักจะวางอยู่บนเสา ด้านข้างของชิ้นส่วนนี้จะมีท่อ Tendon สาหรับร้อย
ลวดสลิง ที่ชิ้นด้านหัวช่วงเสา (Span) จะมีหัว Anchorage ตรึงปลายสลิงไว้ เพื่อให้อีกด้าน คือ ชิ้น
ด้านท้ายของช่วงเสาใช้สาหรับการดึงลวดสลิงอัดแรงผ่าน Anchorage ดังนั้น ชิ้นส่วนนี้จึงมีหน้าที่รับ
แรงที่ถ่ายมาจากลวดสลิงที่ร้อยผ่านชิ้นส่วนที่เรียงกันทุกชิ้นสู่เสาที่อยู่ทั้งสองฝั่ง การร้อยลวดสลิงผ่าน
ท่อ Tendons นั้นจานวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่แปรผันตามความยาวของช่วงเสา
(Span) นั้นๆ เป็นหลัก ดังภาพที่ 2.3

จุดรองรับ Pier segment

ภำพที่ 2.3 ชิ้นส่วน “Pier Segment”

2.2.2 ชิ้นส่วน Deviator Segment


ชิ้ น ส่ ว น Deviator Segment เป็ น ชิ้ น ที่ ป ระกอบอยู่ ใ นช่ ว งเสา ในส่ ว นของ
ตาแหน่งนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการออกแบบให้ชิ้นส่วนอยู่นี้เรียงอยู่ในตาแหน่งใด ชิ้นส่วนนี้มีหน้าที่บังคับ
ทิศทางการเดินท่อ Tendon ให้ท่อมีทิศทางเปลี่ยนตามการออกแบบ Profile ท่อร้อยสลิง ทั้งนี้เพื่อให้
การรับแรงได้เป็นไปตามการคานวณ ดังภาพที่ 2.4

Ref. code: 25605810038272TSA


8

ภำพที่ 2.4 ชิ้นส่วน “Deviator Segment”

2.2.3 ชิ้นส่วน Typical Segment


ชิ้น ส่ ว น Typical Segment ดังภาพที่ 2.5 แสดงรูปแบบชิ้นส่ วน หากนับตาม
สั ด ส่ ว นของชิ้ น ส่ ว นส าเร็ จ ในหนึ่ ง ช่ว งเสาจะมี สั ด ส่ ว นมากกว่า ชิ้น ส่ ว นแบบ Pier Segment และ
Deviator Segment ชิ้นส่วนนี้จะไม่มีท่อ Tendons แต่จะอยู่ได้ด้วยการอัดแรงของชิ้นส่วนอื่นยึดรั้ง
ชิ้นส่วนนี้ไว้

ภำพที่ 2.5 ชิ้นส่วน “Typical Segment”

Ref. code: 25605810038272TSA


9

การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จแบบกลวงจาเป็นต้องใช้ลวดสลิง (Steel Wires Strands)


มีลักษณะเป็นลวดสลิงตีเกลียว 7 เส้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15.2 มิลลิเมตร การใช้งานโดย
การร้อยตั้งแต่ชิ้นส่วนด้านหัว ไล่ไปจนถึงชิ้นส่วนท้ายสุด เพื่อใช้ในกระบวนการดึงเพื่ออัดแรง Post-
tension หลังการติดตั้ง

2.3 รูปแบบกำรติดตั้งช่วงสะพำนด้วย Launching gantry

การติดตั้งชิ้นส่วนส าเร็จโดยใช้เครื่องจักร Launching gantry แบบระบบติดตั้ง คาน


เดี่ยว ในโครงการฯ มีรูปแบบการติดตั้งชิ้นงานสาเร็จโดยการยกขึ้ นมาและแขวนเข้ากับคานเหล็ก ใน
รูปแบบที่ชิ้นส่วนสาเร็จเรียงต่อกัน และทาการอัดชิ้นส่วนทุกชิ้นให้ติดแน่นกันด้วยวิธี Post-tension
จนได้ เ ป็ น ช่ ว งสะพานนั้ น มี 2 รู ป แบบ คื อ รู ป แบบ Simple Span และ Continuous Span เป็ น
วิธีการประกอบชิ้นส่วนสาเร็จแบบกลวงจนกลายเป็นช่วงสะพานเหมือนกัน แต่ประเภทของจุดรองรับ
สะพานนั้นต่างกัน และกระบวนการปฏิบัติงานต่างกันบางขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ดังนี้

2.3.1 รูปแบบ Simple Span

ภำพที่ 2.6 ช่วงสะพานแบบ Simple span

กระบวนการติดตั้งสะพานแบบ Simple Span เป็นการยกชิ้นส่วนสาเร็จชิ้นส่วน


(Pier Segment, Deviator Segment and Typical Segment) ขึ้ น มาแขวนกั บ คานเหล็ ก (Main
truss) และเรียงต่อกันตามแบบจนครบทั้งช่วงความยาวสะพาน จากนั้นทาการยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน
โดยการเดินลวดสลิงจานวนหลายเส้น จากชิ้นส่วนชิ้นแรก ชิ้นที่สอง และถัดไปจนกระทั่งถึงชิ้นสุดท้าย
(จานวนการเรียงชิ้นงานขึ้นอยู่กับช่วงความยาวสะพาน) จานวนตามการออกแบบแล้วจึงทาการดึง
ลวดสลิงทั้งหมดให้ได้ตามแบบโดยใช้ hydraulic jack ดึงลวดสลิงให้ได้กาลังตามฟังก์ชันการใช้งาน
กล่าวคือ สามารถรับน้าหนักชิ้นงานที่เรียงต่อกัน (ตัวช่วงสะพานเอง) และรับน้าหนักตามวัตถุประสงค์

Ref. code: 25605810038272TSA


10

ใช้งานได้ เรียกขั้นตอนนี้ว่า Post-tension เมื่อเสริมชิ้นงานได้กาลังตามการออกแบบแล้ว จะทาการ


ลดระดับ Launching gantry เพื่อวางชิ้นงานทั้งช่วงความยาวลงบน Pot Bearing ดังภาพที่ 2.7 ซึ่ง
ทาหน้าที่เป็นจุดรองรับสะพานทั้งด้านหัวและท้าย ซึ่งวัสดุนี้สามารถให้ตัวได้ตามทิศทางการออกแบบ
(ตามแนวแกนและขวางแกน)

ภำพที่ 2.7 วัสดุรองรับ (Pot Bearing)

2.3.2 รูปแบบ Continuous Span

ภำพที่ 2.8 ช่วงสะพานแบบ Continuous span

การติดตั้งช่วงสะพานที่มีความต่อเนื่องกัน 3 ช่วงเสา ได้แก่ ช่วงที่ 1 แบบ Pot


Bearing & Pier segment, ช่วงที่ 2 แบบ Pier segment & Pier segment และช่วงที่ 3 แบบ Pier
segment & Pot Bearing โดยในโครงการฯ สามารถพบเจอรูปแบบนี้มากที่สุด การติดตั้งรูปแบบนี้มี
ความแตกต่างกับรูปแบบ Simple Span อยู่ 2 ประการ คือ

Ref. code: 25605810038272TSA


11

ประการแรก ประเภทของการใช้จุดรองรับและกระบวนการทางาน ในส่วนของจุด


รองรับมี 2 รูปแบบ คือ แบบ Pot bearing และแบบ Pier segment ที่ติดแน่นอยู่บนหัวเสา (ชิ้นส่วน
สาเร็จแบบกลวง ประเภทที่มีการเสริมเหล็กภายในแล้วเทคอนกรีตให้ชิ้นส่วนฯ ยึดแน่นกับหัวเสา)
ประการที่สอง คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ช่วงที่ 1 แบบ Pot Bearing & Rigid Pier segment
กระบวนการติดตั้งชิ้นส่ วนช่ว งที่ 1 เมื่อยกชิ้นส่วนขึ้นไปแขวนกั บคาน
เหล็กของเครื่องจักร Launching gantry เรียงต่อกันจนครบช่วงความยาวสะพานแล้ว จะพบว่าช่วง
สะพานช่วงที่ 1 แบบ Pot Bearing & Pier segment มีความเฉพาะของช่วงสะพานอยู่ 2 ประการ
ดังนี้
ประการแรก จุดรองรับโครงสร้างสะพานที่ปลายด้านท้ายของช่วงสะพาน
จะเป็นชิ้นส่วนสาเร็จซึ่งมีการออกแบบให้วางอยู่บนวัสดุรองรับ เรียกว่า “Pot Bearing” วัสดุนี้จะทา
หน้าที่รองรับโครงสร้างฯ เพื่อต้านแรงหนีศูนย์ที่เกิดขึ้นไม่ให้ชิ้นส่วน segment ไถลออกจากตาแหน่ง
ถัดจากชิ้น ส่ ว น segment ด้านท้ายสะพานนี้จ ะเป็ นชิ้นส่ ว นที่ เรีย งต่ อ กัน และในการเรีย งต่ อ กั น
จนกระทั่งถึงชิ้นส่วนที่จะต่อกับชิ้นงานที่วางตรึงอยู่บนหัวเสา (Pier segment) ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะมี
ช่องว่างระหว่างชิ้น เพราะชิ้นงานที่ยกขึ้นมานั้นจะไม่แนบสนิทอัดแน่นเข้าหากันหากไม่มีการเสริม
กาลังด้วยวิธี Post tension ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้จะต้องเว้นระยะระหว่าง ชิ้นสุดท้ายที่เรียงออกมา
จากปลายสะพาน กับชิ้นส่วนที่ตรึงแน่นอยู่กับชิ้นส่วนหัวเสา หรือ Pier Segment ไว้ประมาณ 10-20
เซนติเมตรเพื่อใช้ในการเทคอนกรีต wet joint ปรับระยะ (ต้องเว้นระยะเท่าใด งาน Survey จะเป็นผู้
ตรวจสอบ) ดังภาพที่ 2.9
ประการที่สอง หลังจากการยกชิ้นส่วนสาเร็จขึ้นมาแขวน และทาการเว้น
ระยะไว้เพื่อเพิ่มความยาวช่วงสะพานให้ได้ตามเหตุผลประการแรกแล้ว จะมีการโยกเพื่อจัดชิ้นส่วน
ทั้ ง หมดให้ ไ ด้ ร ะดั บ และระนาบที่ ถู ก ต้ อ งตามค่ า ของ Survey แล้ ว จึ ง จะท าการเข้ า เสี ย บ Shim
concrete (มีการหล่อล่วงหน้า ขนาดตั้งแต่ 10-20 cm.) เพื่อกั้นระยะช่องว่างที่เว้นไว้สาหรับเทปรับ
ระยะ จากนั้นจึงดาเนินการเข้าแบบสามารถทางานควบคู่กันไปกับการอัดแรง (ประมาณ 15% ของ
แรงดึงตามแบบ) เพื่อให้มั่นใจว่ารอยต่อของชิ้นงานที่เรียงตัว กันแนบสนิทจริงๆ จึง จะสามารถเท
คอนกรีตงาน wet joint ได้ จากนั้นจะต้องรอกาลังอัดคอนกรีต 20 MPa. (ระยะเวลาประมาณ 12 -
19 ชม.) เมื่อได้กาลังตามการออกแบบแล้วจึงดาเนินการเสริมแรงด้วยวิธี Post-Tension (100%)
ต่อไป

Ref. code: 25605810038272TSA


12

จุดรองรับแบบ Pot bearing

เว้นระยะเทคอนกรีต Wet joint


จุดรองรับ Pier segment

ภำพที่ 2.9 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 1 แบบ Pot Bearing & Pier segment

(2) ช่วงที่ 2 แบบ Rigid Pier segment & Rigid Pier segment
กระบวนการติดตั้ง เมื่อยกชิ้นส่วนขึ้นไปแขวนเรียงกันกับคานเหล็กของ
เครื่องจักร Launching gantry เรียงต่อกันจนครบช่วงความยาวสะพานแล้ว จะพบว่าช่วงสะพานช่วง
ที่ 2 แบบ Pier segment & Pier segment มีลักษณะเฉพาะของช่วงสะพานอยู่ 2 ประการ ดังนี้
ประการแรกการติดตั้งชิ้นส่ ว นฯ หลั งจากการยกชิ้นส่ ว นส าเร็จขึ้นมา
แขวนกับคานเหล็กของเครื่องจักร Launching gantry แล้วจึงทาการโยกชิ้นส่วนตรงกลางนี้ให้ได้ตาม
ระดับและระนาบของค่าตรวจสอบโดยงาน Survey สังเกตได้ว่าจะมีชิ้นส่วนที่แขวนเรียงกันเฉพาะตรง
กลาง เท่านั้น เนื่องจากเป็นการเว้น ช่องว่างระหว่างแผ่น Pier segment ด้านปลายสะพานเพื่อใช้
เสียบลูกปูน Shim concrete ขนาดที่พอดีกับช่องว่างแล้วโยกก้อนชิ้นส่วนสาเร็จตรงกลางทั้งหมดอัด
เข้ า หาลู ก ปู น Shim concrete ด้ า นปลายสะพาน จากนั้ น จะน า Hydraulic jack ขนาด 30 ton.
จานวน 2 ตัวมาเสียบที่ช่องว่างสาหรับเทคอนกรีตด้านหัวของช่วงสะพานเพื่ออัดชิ้นส่วนที่เรียงกันตรง
กลางให้รอยต่อของทุกชิ้นแนบสนิทกัน จากนั้นทาการ Shim concrete ที่ช่องว่างด้านหัวของช่วง

Ref. code: 25605810038272TSA


13

สะพานแล้ ว จึ งทาการเข้าแบบส าหรับเทคอนกรีต wet joint หลั งจากนั้นจะต้องดึงอัดแรง Post


tension 15% ของแรงดึงตามแบบอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ารอยต่อของชิ้นงานที่เรียงตัวกันแนบสนิท
จริ ง ๆ จึ ง จะเทคอนกรี ต งาน wet joint ได้ หลั ง จากนั้ น จะต้ อ งรอก าลั ง อั ด คอนกรี ต 20 MPa.
(ระยะเวลาประมาณ 14 – 19 ชม.) เมื่อได้กาลังตามการออกแบบแล้ว ก็จะเริ่มงานดึงเสริมแรงด้วยวิธี
Post-Tension (100%)
ประการที่สองจุดรองรับ เมื่อยกชิ้นส่วนสาเร็จขึ้นมาแขวนจนครบแล้วจะ
เห็นได้ว่าชิ้นส่วนจะลอยอยู่ที่ตรงกลางเท่านั้น ด้านข้างจะมีช่องว่างอยู่ 2 จุด คือ ด้านหัวและท้ายของ
ช่วงสะพาน ซึ่งได้เว้นไว้สาหรับการเทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อ (wet joint) เมื่อมีการเทคอนกรีตแล้วจะ
เห็นได้ว่า ช่วงสะพานช่วงที่ 2 นี้ จะมีจุดรองรับด้านหัวและท้าย คือ Pier segment เหมือนกัน ตาม
ภาพที่ 2.10

จุดรองรับ Pier segment

จุดรองรับ Pier segment

ช่องว่างเทคอนกรีต wet joint 2 จุด

ภำพที่ 2.10 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 2 แบบ Pier segment & Pier segment

Ref. code: 25605810038272TSA


14

(3) ช่วงที่ 3 แบบ Rigid Pier segment & Pot Bearing


กระบวนการติดตั้งชิ้ นส่วนช่ว งที่ 3 เมื่อยกชิ้นส่วนขึ้นไปแขวนกั บคาน
เหล็กของเครื่องจักร Launching gantry เรียงต่อกันจนครบช่วงความยาวสะพานแล้ว จะพบว่าช่วง
สะพานช่วงที่ 3 แบบ Pier segment & Pot Bearing มีลักษณะเฉพาะช่วงสะพานอยู่ 2 ประการ
ดังนี้
ประการแรก จุดรองรับโครงสร้างสะพานที่ปลายด้านหัวของช่วงสะพาน
จะเป็นชิ้นส่วนสาเร็จซึ่งมีการออกแบบให้วางอยู่บน “Pot Bearing” เมื่อมองไล่ไปยังอีกช่วงเสาอีกฝั่ง
จนกระทั่งถึงชิ้นส่วนที่จะต่อกับชิ้นงานที่วางตรึงอยู่บนหัวเสา (Pier segment) ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะมี
ช่องว่างระหว่างชิ้น เพราะชิ้นงานที่ยกขึ้ นมานั้นจะไม่แนบสนิทอัดแน่นเข้าหากันหากไม่มีการเสริม
กาลังด้วยวิธี Post tension ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้จะต้องเว้นระยะระหว่าง ชิ้นสุดท้ายที่เรียงออกมา
จากปลายสะพาน กับชิ้นส่วนที่ตรึงแน่นอยู่กับชิ้นส่วนหัวเสา หรือ Pier Segment ไว้ประมาณ 10-20
เซนติเมตรเพื่อใช้ในการเทคอนกรีต wet joint ปรับระยะ (ต้องเว้นระยะเท่าใด งาน Survey จะเป็นผู้
ตั้งกล้องระดับตรวจสอบ) ดังภาพที่ 2.11
ประการที่สอง หลังจากการยกชิ้นส่วนสาเร็จขึ้นมาแขวน และทาการเว้น
ระยะไว้เพื่อเพิ่มความยาวช่วงสะพานให้ได้ตามเหตุผลประการแรกแล้ว นั้นจะมีการโยกเพื่อจัดชิ้นส่วน
ทั้งหมดให้ได้ระดับและระนาบที่ถูกต้องตามค่าของ งาน Survey แล้ว จึงจะทาการเข้าเสียบ Shim
concrete (มีการหล่อล่วงหน้า ขนาดตั้งแต่ 10 - 20 cm.) เพื่อกั้นระยะช่องว่างที่เว้นไว้สาหรับเทปรับ
ระยะจากแล้วดาเนินการเข้าแบบ จาดนั้นจึงทาการดึงลวดอัดแรง 15% ของแรงดึงตามแบบ เพื่อให้
มั่นใจว่ารอยต่อของชิ้นงานที่เรียงตัวกันแนบสนิทจริงๆ จึง จะสามารถเทคอนกรีตงาน wet joint ได้
จากนั้นจะต้องรอกาลังอัดคอนกรีต 25 MPa. (ระยะเวลาประมาณ 14 - 19 ชม.) เมื่อได้กาลังตามการ
ออกแบบแล้วจึงดาเนินการเสริมแรงด้วยวิธี Post-Tension (100%) ต่อไป ตามภาพที่ 12 แสดงผัง
ปฏิบัติงาน ขั้นตอน เงื่อนไขและกระบวนการทางาน
จากรูปหน้าถัดไปการติดตั้งชิ้นส่วนในช่วงที่ 3 ด้านหัวสะพานจุดรองรับ
แบบ Pot bearing ตามภาพที่ 2.11 เมื่อพิจารณามองไล่ชิ้นส่วนเข้ามาเรื่อยๆ ด้านปลายสะพานจะ
พบกับช่องว่างที่เว้นระยะไว้เทคอนกรีตปรับระยะความยาวสะพานตามเหตุผลข้างต้น และหากเท
คอนกรีตแล้วด้านปลายสะพานจะมีจุดรองรับสะพานแบบ Pier segment หรือชิ้นส่วนที่ตรึงแน่นกับ
หัวเสา

Ref. code: 25605810038272TSA


15

ช่องว่างสาหรับเทคอนกรีต wet joint


จุดรองรับ Pot Bearing จุดรองรับ Pier segment

ภำพที่ 2.11 การติดตั้งชิ้นงานช่วงที่ 3 แบบ Pier segment & Pot Bearing

2.4 ส่วนประกอบของ Launching gantry และกระบวนกำรที่เกี่ยวข้อง

การติดตั้งชิ้น ส่ ว นส าเร็จแบบกลวง จะต้องอาศัยคานเหล็ ก ขนาดใหญ่ ในการแขวน


ชิ้ น ส่ ว นไว้ ชั่ ว คราวระหว่ า งการติ ด ตั้ ง ซึ่ ง คานเหล็ ก นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของเครื่ อ งจั ก ร “Launching
gantry” ที่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อติดตั้งช่วงสะพานที่ช่วงเสาถัดไป ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงได้
แสดงรายละเอีย ดชิ้นส่ว นและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง สาหรับการใช้งานเครื่องจักร Launching
gantry ดังนี้

ภำพที่ 2.12 ส่วนประกอบของ Launching gantry

Ref. code: 25605810038272TSA


16

ส่วนประกอบหลักของ Launching gantry ฐานรองรับ (ขารองรับ), ฐานรองรับน้าหนัก


ชั่ ว คราว (ขาค้ า), ชิ้ น ส่ ว น Portal frame, ชิ้ น ส่ ว นรั บ น้ าหนั ก ชั่ ว คราว (Pier bracket), ชุ ด แขวน
ชิ้นส่วนสาเร็จ, กระเช้าสาหรับปฏิบัติงานดึงลวดอัดแรง, รอกไฟฟ้า โดยแต่ละชิ้นนั้นเป็นชิ้นส่วนหลักที่
ใช้ในกระบวนการติดตั้งฯ ซึง่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.4.1 ฐำนรองรับของ Launching gantry


ฐานรองรับของ Launching gantry ทาหน้าที่รับน้าหนักคานเหล็กส่วนบน ของ
เครื่องจักรหรือเรียกว่า “Main truss” ซึ่งฐานรองรับนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยใช้ Winch เป็นตัวยก
เคลื่อนย้าย ฐานรองรับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.4.1.1 ฐำนรองรับน้ำหนัก (Support)
ฐานรองรั บ น้ าหนั ก นี้ จ ะมี ข นาดใหญ่ และท าหน้ า ที่ ห ลั ก คื อ การรั บ
น้าหนักของ Main truss สาหรับ Launching gantry จานวน 1 ตัว จะมีฐานรองรับประเภทนี้จานวน
3 ชิ้นแต่จะวางอยู่ในตาแหน่งที่แตกต่างกันไป ซึ่งเรียกตัวที่อยู่ด้านหน้าสุด, กลางและฐานด้านหลังว่า
“Front Support, Middle support, Rear support” ตามลาดับ
การย้ ายฐานรองรับนี้ สามารถเคลื่ อนย้ายไปด้านหน้าด้วยการใช้รอก
ไฟฟ้า (Winch) ยกฐานรองรับน้าหนักขึ้นแล้วเลื่อนขนานกับพื้น ไปข้างหน้า และวางลงยังตาแหน่งที่
ต้องการ เมื่อวางฐานรองรับลงแล้วใช้ Hydraulic jack จานวน 4 ตัวทาหน้าที่ปรับระดับ ยืดส่วนบน
ของฐานรองรับขึ้นให้ดันรับกับ Main truss ดังรูปต่อไปนี้

ภำพที่ 2.13 ชิ้นส่วน “ฐานรองรับน้าหนัก (Support)”

Ref. code: 25605810038272TSA


17

ภำพที่ 2.14 การย้ายฐานรองรับน้าหนัก (Support)

2.4.2 ฐำนรองรับน้ำหนักชั่วครำว - ขำค้ำ (Leg)


ฐานรองรับน้าหนักชั่วคราวใช้ในขณะที่มีการเลื่ อน Main truss ยื่นไปด้านหน้า
หรือด้านหลังเป็นะระยะที่มากเกือบครึ่งหนึ่งของความยาว Main truss จะต้องใช้ฐานรองรับน้าหนัก
ชั่วคราวค้าตรงปลายไม่ให้ Main truss เสียสมดุลเมื่อมีน้าหนักมากระทา โดยทั่วไปแล้วฐานรองรับ
น้าหนักชั่วคราวจะมีติดตั้งอยู่ 2 จุด คือ ด้านหน้าและด้านหลัง โดยใช้ชื่อเรียกว่า Front leg, Rear
leg ตามลาดับ

ภำพที่ 2.15 ชิ้นส่วน “ฐานรองรับน้าหนักชั่วคราว (Leg)”

Ref. code: 25605810038272TSA


18

2.4.3 ชิ้นส่วน Portal frame


ในกระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนจะมีหลักการรับน้าหนักของ Launching gantry
โดยโครงคานเหล็ก (Main truss) จะถ่ายน้าหนักลงไปยังฐานรองรับจานวน 2 ฐาน กล่าวคือ Front
support และ Middle Support ซึ่งฐานรองรับจะถ่ายลงเสาต่อไปเพื่อให้เครื่องจักรตั้งอยู่ในสภาวะ
สมดุล ซึ่งระหว่างการติดตั้งชิ้น ส่ ว นสะพานจะมีบางช่ว งเสาที่ มี การออกแบบจุด รองรับเป็น Pot
bearing โดยหากพิจารณาจากภาพที่ 2.12 พบว่าฝั่งด้านหนึ่งที่ติดตั้งเสร็จแล้วจะเป็น Pier segment
กั บ อี ก ฝั่ ง หนึ่ ง เป็ น เสาแบบ Pot bearing ทั้ ง 2 เสานั้ น มี ร ะดั บ ที่ แ ตกต่ า งกั น ดั ง นั้ น ในการเลื่ อ น
Launching gantry เข้ามาจึงต้องมีชิ้นส่วน Portal frame มาติดตั้งทดแทนฝั่งเสาที่มี Pot bearing
เพื่อปรับระดับให้สูงเท่ากันกับอีกฝั่งที่เป็นเสา Pier segment

Portal frame

ภำพที่ 2.16 ชิ้นส่วน “Portal frame”

2.4.4 ชิ้นส่วนรับน้ำหนักชั่วครำว (Pier bracket)


ชิ้นส่วน Pier bracket ทาหน้าที่ รับน้าหนักของ Launching gantry ชั่วคราว
ขณะที่มีการเลื่อนเพื่อเดินไปข้างหน้า เมื่อต้องการใช้งานสามารถติดตั้งชิ้นส่วนนี้เข้ากับช่อง block
out ที่ ท าไว้ ล่ ว งหน้ า เมื่ อ ติ ด ตั้ ง แล้ ว จะมี ลั ก ษณะยื่ น ออกมาจากเสา ซึ่ ง ยึ ด แน่ น อยู่ ไ ด้ ด้ ว ยการใช้
เหล็กเส้นแรงดึงสูง PT bar รัดชิ้นส่วนให้ยึดแน่นกับเสาตามภาพที่ 2.17 ลักษณะการติดตั้งชิ้นส่วนเข้า
กับเสาตามรายละเอียดข้างต้น

Ref. code: 25605810038272TSA


19

Pier Bracket

ภำพที่ 2.17 ชิ้นส่วน “Pier bracket”

2.4.5 ชุดแขวนชิ้นส่วนสำเร็จ (Hanging)


ชุดแขวนชิ้น ส่ วนสาเร็จ (Hanging) จะประกอบไปด้ว ยสลิ งที่ใช้ แขวนชิ้นส่วน
สาเร็จให้ลอยอยู่บนอากาศโดยถ่ายน้าหนักให้ Main truss รับน้าหนักและถ่ายต่อไปยัง ฐานรองรับ
น้าหนักถ่ายไปยังเสาตามลาดับ ด้วยลักษณะทางกายภาพพื้นที่ทางาน ในแต่ละช่วงเสามักมีความกว้าง
ที่ต่างกันและชิ้นส่วนสาเร็จมีการออกแบบความยาวที่ไม่เท่ากันตลอดทั้งช่วง ทาให้จะต้องมีการจัด
ระยะชุดแขวนชิ้นส่วนใหม่ให้ตรงกับกึ่งกลางของชิ้นส่วนสาเร็จในช่วงเสานั้นๆอยู่เสมอ

Hanging

ภำพที่ 2.18 ชิ้นส่วน “ชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จ (Hanging)”

Ref. code: 25605810038272TSA


20

2.4.6 กระเช้ำสำหรับงำน Post tension


เมื่อมีการติดตั้งชิ้นส่วนครบทั้งช่วงแล้วจะต้องมีการเดินลวดสลิงผ่านชิ้นส่วนทุก
ชิ้นจากอีกด้านมาถึงปลายอีกฝั่งหนึ่ง และทาการเสริมแรงด้วยวิธี Post tension จากภาพที่ 2.12 จะ
เห็นได้ว่าด้านที่ติดกับช่วงสะพานก่อนหน้ากับช่วงที่ติดตั้งใหม่นี้จะมีพื้นที่ คับแคบไม่เหมาะสมในการ
ปฏิบัติงาน จึงจะต้องใช้อีกฝั่งที่เป็นพื้นที่โล่งในการปฏิบัติงานแทน เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งจึงต้องทา
การติดตั้งกระเช้าสาหรับให้พนักงานทางานและแขวนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสริมแรง

ภำพที่ 2.19 ชิ้นส่วน “กระเช้าสาหรับงาน Post tension”

2.4.7 กระบวนกำรติดตั้งโดยใช้รอกไฟฟ้ำ (Winch)


รอกไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่ มีความสาคัญเพราะจะต้องใช้ในการยกติดตั้งชิ้นส่วน
segment หรือเคลื่อนย้ายฐานรองรับถาวร การทางานของรอกไฟฟ้าสามารถใช้ในการยกขึ้น-ลงใน
แนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายไปด้านหน้า - หลังตามแนว Main truss ได้ โดยใช้รีโมทควบคุมการทางาน ดัง
ภาพที่ 2.17

ภำพที่ 2.20 ชิ้นส่วน “Winch”

Ref. code: 25605810038272TSA


21

2.4.8 กระบวนกำรตรวจสอบค่ำด้วย Survey


กระบวนการนี้มีความจาเป็น อย่างยิ่งเพราะเป็นการกาหนดแนวและระดับของ
การติดตั้งช่วงของสะพานให้ตรงตามค่าพิกัดที่ได้ออกแบบ ตามภาพที่ 2.21

ภำพที่ 2.21 การตรวจสอบค่าด้วย Survey

2.4.9 กระบวนกำรดึงชิ้นส่วนด้วย Post-tension (15%)


กระบวนการดึ ง ชิ้ น ส่ ว นด้ ว ยวิ ธี Post-tension ด้ ว ยแรง 15% ของค่ า ที่ ไ ด้
ออกแบบ เพื่อให้มั่นใจว่ารอยต่อของชิ้นงานที่เรียงตัวกันแนบสนิทจริงๆ โดยการใช้ลวดสลิงที่ร้อยจาก
ด้านปลายของช่วงสะพานผ่านชิ้นส่วนทุกชิ้นออกมาทางหัวของช่วงสะพาน เนื่องจากในการยกชิ้นส่วน
ขึ้นติดตั้งและแขวนชิ้นส่วนสาเร็จ จะมีการดึงชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่ติดกันเข้าหากันตลอดช่วงโดยใช้ PT
bar ดึงให้รอยต่อของแผ่นแนบสนิทกัน โดยในส่วนของด้านที่ช่วงของชิ้นส่วนสาเร็จต่อกับชิ้นส่วน Pier
segment ที่ติดตั้งบนหัวเสา จะมีการเว้นช่องว่างทางเทคนิคไว้ปรับระยะให้ช่วงสะพานมีความยาว
ตามการออกแบบ ซึ่งวิธีที่ใช้การเติมเต็มช่องว่างนั้นคือ การเทคอนกรีต (Wet joint) ให้ ชิ้นส่ ว น
เชื่อมต่อกัน โดยในขั้น ตอนแรกจะนาคอนกรีตทรงลู กบาศก์ (Shim concrete) มาเสี ยบลงไปยัง
ช่องว่างจานวน 4 มุมและใช้ปืนยิง Epoxy (ภาพที่ 20) ให้ลูกบาศก์คอนกรีตติดแน่นกับชิ้นส่วนสาเร็จ
ทั้ง 2 ฝั่ง และจะมีการดึงชิ้นส่วนอีกครั้งด้วยวิธี Post-tension กล่าวคือ ใช้แรงเพียง 15% เพื่อให้
มั่นใจได้ว่าชิ้นงานทุกชิ้นนั้นมีรอยต่อที่แนบสนิทกันจริง เนื่องจากการติ ดตั้งด้วยวิธีนี้หากพบว่ารอยต่อ

Ref. code: 25605810038272TSA


22

(key) ไม่แนบสนิทกันในขณะที่ดึงลวดอัดแรงจะทาให้รอยต่อที่ไม่แนบสนิทกันโดนดึงอัดอย่างรุนแรง
อาจทาให้ชิ้นส่วนสาเร็จ Segment แตกจนใช้การไม่ได้ อีกทั้งยังทาให้ลวดที่ดึงไปเสียกาลังอีกด้วย

ดึงให้รอยต่อแนบสนิทกันทุกรอยต่อ

ภำพที่ 2.22 กระบวนการ “Stressing 15%” เพื่อให้รอยต่อแนบสนิทกัน

ภำพที่ 2.23 การติดตั้งคอนกรีตทรงลูกบาศก์ทาติดด้วย Epoxy

2.4.10 กระบวนกำรเทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อ (Wet joint)


หลังจากผ่านการบวนการดึงชิ้นส่วนให้รอยต่อ (key) แนบสนิทกันแล้ว ตาม
วิธีการในหั ว ข้ อ 2.4.8 ก็จ ะทาการเข้ า แบบ และเทคอนกรี ต โดยมีเงื่อนไขของช่ว งสะพานแบบ
Continuous span ดังภาพที่ 2.24

Ref. code: 25605810038272TSA


23

ช่วงที่ 1 ต้องการกาลังอัดคอนกรีตหลังจากเทคอนกรีต 20 MPa. จึงจะเสริมแรง


ด้วยวิธี Post-tension ได้
ช่วงที่ 2 ต้องการกาลังอัดคอนกรีตหลังจากเทคอนกรีต 20 MPa. จึงจะเสริมแรง
ด้วยวิธี Post-tension ได้
ช่วงที่ 3 ต้องการกาลังอัดคอนกรีตหลังจากเทคอนกรีต 25 MPa. และกาลังของ
คอนกรีตช่วงที่ 2 จะต้องผ่าน 25 MPa. จึงจะเสริมแรงด้วยวิธี Post-tension ได้

ภำพที่ 2.24 กระบวนการเทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อ (Wet joint)

2.4.11 กระบวนกำรเสริมแรงด้วยวิธี Post-tension (100%)


การเสริมแรงด้วยวิธี Post-tension ตามภาพที่ 2.25 เพื่อให้โครงสร้างช่วงของ
สะพานสามารถรับน้าหนักได้ตามการออกแบบโดยจานวนของท่อ Tendon ,จานวนของเส้นลวด,
จานวนคู่ของลวดขึ้นอยู่กับช่วงความยาวสะพาน
เงื่อนไขของการเสริมแรงด้ว ยวิธีนี้ คือ หลั งจากดึงลวดสลิ งได้ 60% จะต้อง
Load span (ดังภาพที่ 2.25 หลังจากดึงเสร็จ 3 จาก 5 คู่) วางช่วงของสะพานลงบนหัวเสาเพื่อ ให้

Ref. code: 25605810038272TSA


24

รอยต่อของชิ้นส่วนที่เรียงต่อกันเข้าที่ ก่อนจะทาการเสริมแรงต่อจนครบจานวน โดยหลังจากการ


เสริมแรงเสร็จสิ้นแล้วจะต้องทาการอัดน้าปูนเข้าไปในท่อ Tendon เพื่อรักษาสภาพของลวดสลิงไม่ให้
ขึ้นสนิม

ภำพที่ 2.25 กระบวนการเสริมแรงด้วยวิธี Post-tension

ภำพที่ 2.26 กระบวนการ Load span (สลิงแขวนแผ่นจะหย่อน)

Ref. code: 25605810038272TSA


25

2.4.12 กำรจัดส่งวัสดุสำหรับยกติดตั้งชิ้นส่วนคืนโรงงำน
เมื่ อ เสร็ จ สิ้ น กระบวนการติ ด ตั้ ง แล้ ว ท าการปลดวั ส ดุ อุ ป กรณ์ ที่ ติ ด ตั้ ง มากั บ
ชิ้นส่วนสาเร็จที่ส่งคืนโรงงานได้ใช้ในการติดตั้งมากับชิ้นส่วนของช่วงเสาถัดไป

ภำพที่ 2.27 การปลดวัสดุและอุปกรณ์จากชิ้นส่วนสาเร็จรอส่งคืนโรงงาน

2.5 กระบวนกำรติดตั้งชิ้นส่วนในปัจจุบัน (1 cycle time)

การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จประกอบเป็นช่วงของสะพานโดยใช้ Launching Truss โดย


ปกติแล้วจะมีกระบวนการทางานวนซ้าเดิม (Routine) ตลอดทุกช่วงเสาในการติด ตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ 1
วงรอบ ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักจานวน 4 ขั้นตอน ดังนี้

2.5.1 ขั้นตอนกำรเตรียมงำนก่อนกำรเลื่อน Launching Truss


ก่อนการเลื่อน Launching Truss จะต้องมีการติดตั้งชิ้นส่วนเพิ่มเติมเข้ากับช่วง
เสาถัดไป แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การติดตั้งชิ้น Pier bracket
2. การติดตั้งชิ้น Portal frame
3. การส่งอุปกรณ์คืนโรงงาน
4. การติดตั้งราวกันตก
5. การรื้อแบบ Wet joint

Ref. code: 25605810038272TSA


26

2.5.2 ขั้นตอนกำรเลื่อน Launching Truss เข้ำตำแหน่งติดตั้ง


การเลื่อน Launching Truss ให้เข้าตาแหน่งของช่วงเสาถัดไปจะต้องมีการย้าย
ขารองรับต่างๆ เพื่อให้ชิ้นส่วน Main Truss ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Launching Truss เลื่อนจากจุดเดิม
ไปยังช่วงเสาถัดไปจะมีขั้นตอน 16 ขั้นตอน ดังนี้
1. การค้าขาค้าหลัง Rear leg
2. การถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง
3. ปลดฐานรองรับน้าหนักชั่วคราว Front leg (ขาค้า) ลงไปไว้ด้านล่าง
4. การนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ช่วยยกมากองไว้ด้านล่างรอนาส่ง
5. การย้าย Rear support ชิด Middle support
6. การขึ้นขาค้าหลัง Rear leg
7. การเลื่อน Launching Truss ไปด้านหน้าครั้งที่ 1
8. การติดตั้งและค้า Front leg
9. การย้าย Middle support เข้าไปชิด Front support
10. การย้าย Front support ไปด้านหน้า (เข้าตาแหน่ง)
11. การขึ้นขาค้า Front leg
12. การค้า Rear leg
13. การย้าย Rear support ไปวางใกล้ Middle support
14. ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg
15. การย้าย Middle support เข้าตาแหน่ง
16. การเลื่อน Launching Truss เข้าตาแหน่งติดตั้ง

2.5.3 ขั้นตอนกำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ Segment


หลังจากเลื่อนเครื่องจักร Launching Truss เข้าตาแหน่งแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอน
การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ อีก 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การจัดระยะชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จ
2. การรื้อ Pier bracket
3. การติดตั้งกระเช้าสาหรับดึงลวดสลิงด้วยวิธี Post tension
4. การยกชิ้นส่วนติดตั้งจนครบช่วงเสา (Span)

Ref. code: 25605810038272TSA


27

2.5.4 ขั้นตอนหลังกำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ
หลังจากการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะมีกระบวนการย่อยเพื่อทาให้
ชิ้นส่วนสาเร็จทุกชิ้นที่ยกขึ้นมาติดตั้งนั้นสามารถรับกาลังได้ตามการออกแบบเหมาะสมกับการใช้งาน
ได้ต่อไป ในกระบวนการนี้จะมีกระบวนการอีก 9 ขั้นตอน ดังนี้
1. การตรวจสอบค่าระดับ Survey (จัดชิ้นส่วนให้ตรงตามค่าพิกัด)
2. การเสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์
3. การเข้าแบบ Wet joint
4. กระบวนการดึงชิ้นส่วนด้วย Post tension (อัดรอยต่อให้แนบสนิท)
5. เทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อ (Wet joint)
6. การรออายุ ให้ได้กาลังคอนกรีตตามการออกแบบ
7. การเสริมแรงด้วยวิธี Post tension (จานวน 3 คู่)
8. การลดระดับ Main truss
9. การเสริมแรงด้วยวิธี Post-tension ต่อจนครบตามจานวน
กระบวนการปฏิบัติงานทั้ง 4 ขั้นตอนหลักนั้นมีทั้งสิ้น 35 กระบวนการย่อย ใน
ส่วนนี้จึงแสดงเฉพาะชื่อกระบวนการ ซึ่งผู้เขียนได้แสดงวิธีการและเหตุผลของการปฏิบัติงานแต่ละ
กระบวนการได้อย่างละเอียดไว้ในภาคผนวก 1 กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box
Girder เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป

2.6 ต้นทุนกำรก่อสร้ำง

ระบบของการควบคุมต้นทุนการก่อสร้าง คือ การเปรียบเทียบต้นทุนที่ได้ประมาณไว้กับ


ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการปฏิบัติงานก่อสร้าง โดยจะต้องทาการเปรียบเทียบต้นทุนใน
ระหว่างการดาเนินโครงการอย่างสม่าเสมอเพื่อควบคุม แก้ไขปัญหาไม่ให้ต้นทุนโครงการเกินจาก
ค่าประมาณการเพื่อก่อให้เกิดผลกาไรของโครงการ (Clough and Sears อ้างถึงใน สุพัตรา วีรปรีชา
เมธ, 2535)
Halpin D. (1985) เรียบเรียงโดย วชรภูมิ ได้ทาการเรียบเรียงไว้เกี่ยวกับต้นทุนงาน
ก่อสร้าง คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างในโครงการนั้นๆ ประกอบไปด้วยต้นทุน
ทางตรง (Direct costs) ต้นทุนทางอ้อม (Indirect costs or overhead costs) และต้นทุนสานักงาน
ใหญ่ (Head office overhead costs) มีรายละเอียดดังนี้
1. ต้นทุนทางตรง (Direct costs) คือ ค่าใช้จ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างของ
โครงการได้แก่ ค่าแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรใช้งาน การใช้ผู้รับเหมาช่วง เป็นต้น

Ref. code: 25605810038272TSA


28

2. ต้นทุนทางอ้อม (Indirect costs or overhead costs) คือ ค่าใช้จ่ายในการกากับ


ดูแลควบคุมการก่อสร้ างของโครงการนั้นๆ ได้ แก่ ค่าเช่าส านักงานสนาม ค่าพนักงานธุรการ ค่า
สาธารณูปโภคที่ใช้ในโครงการ (น้า ไฟ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น) ค่าที่พักของพนักงาน
ในบริษัท เป็นต้น
3. ต้ น ทุ น ส า นั ก ง า น ใ ห ญ่ ( Head office overhead costs) คื อ ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ที่
นอกเหนือจากการใช้จ่ายสาหรับการดาเนิ นงานหน้างาน ต้นทุนส่วนนี้รวมทั้งหมดที่ใช้สาหรับฝ่ าย
บริการและสนับสนุนที่เกิดขึ้นในสานักงานใหญ่ของบริษัท

2.7 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.7.1. กำรวำงแผนโครงกำรแบบ CPM


การวางแผนกาหนดเวลาทางานแบบข่ายงาน (Network planning) โดยบันทึก
กิจกรรมหรือกระบวนการทางานทั้งหมดของเนื้องานใน 1 วงรอบว่ามีอะไรบ้างจากนั้น นามาจัดลาดับ
ของงานตามระดับความสาคัญมากหรือน้อย ควรทาก่อนหรือต้องทาทีหลัง การพิจารณางานตาม
ข้อจากัดด้านเวลาความเหมาะสมของงานในกะทางานกลางคืน ,กลางวัน หรือพิจารณาตามความ
เหมาะสมอื่น ๆของผู้ควบคุมงาน เมื่อเรียงลาดับได้ตามข้อจากัดต่างๆได้แล้วจะเชื่อมทุกกิจ กรรม
หรือกระบวนการทางานเข้าด้วยกัน จึงนาไปใช้ในการควบคุมงานจริงๆ เพื่อให้งานดาเนินได้อย่ าง
อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะออกแบบวางแผนการกาหนดเวลาทางานแบบข่ายงานได้
จะต้องมีข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1. ระยะเวลาเริ่มและสิ้นสุดของงาน
2. การแยกย่อยกิจกรรม (Activity) กาหนดชื่อของกิจกรรมๆ ทรัพยากรที
ต้องใช้มีอะไรบ้าง และจะต้องใช้เวลาเป็นจานวนเท่าไหร่ สาหรับข่ายงานแบบ PERT&CPM จะเลือก
ระยะเวลาที่เกิดบ่อยที่สุดเพียงค่าเดียวมาใช้ประกอบการวางแผน
3. ความสัมพันธ์ของกิจกรรมใดควรเริ่มก่อนและตามหลังด้วยกิจกรรมใด
ขั้นตอนนี้ผู้ที่ทาการวางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทางานอย่างดี
การใช้เส้นลูกศรเชื่อมโยงกระบวนการหรือกิจกรรมของงานทั้ งหมดเข้าด้วยกัน
โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด รวมทั้งระยะเวลาหรืออาจมีค่าใช้จ่ายประกอบอยู่ด้วย การวางแผนข่ายงาน
หนึ่งข่ายงานนั้นจะมีสายกิจกรรมวิกฤต (Critical Path Method, CPM) ประกอบอยู่อย่างน้อย 1
สายหรื อ มากกว่ า ก็ ไ ด้ อั น เป็ น ตั ว ก าหนดว่ า หากกิ จ กรรมในสายงานนี้ ล่ า ช้า ออกไป จะส่ ง ผลต่ อ
ระยะเวลาของโครงการโดยรวม

Ref. code: 25605810038272TSA


29

ส่วนประกอบของกำรเขียนข่ำยงำนแบบ AON
1. เส้นลูกศร (Arrow) แทน การเชื่อมงานหรือกิจกรรมกระบวนการต่างๆใน
โครงการเข้าด้วยกัน
2. Node แทน กิจกรรมบนจุดวงกลมมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรม
3. เส้นประ แทน การสมมติงานช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมแต่ละ
ขั้นตอนเรียงตามลาดับก่อน-หลังให้ตรงตามความเป็นจริง

กำรคำนวณระยะเวลำของแต่ละกิจกรรมของข่ำยงำน

Activity
EST EFT

LST LFT
Duration

ภำพที่ 2.28 รูปแบบการบันทึกเวลา

Activity หมายถึง กิจกรรม


Duration หมายถึง ระยะเวลาปฏิบัติงาน
EST (Early Start Time) หมายถึง กาหนดเวลาเริ่มต้นกิจกรรมนั้นๆที่เร็วที่สุด
LST (Late Start Time) หมายถึง กาหนดเวลาช้าที่สุดที่กิจกรรมจะต้องดาเนินการ
หากล่าช้าไปกว่านั้นจะกระทบต่อแผนงานโครงการ
EFT (Early Finish Time) หมายถึง กาหนดเวลาสิ้นสุดกิจกรรมนั้นอย่างเร็วที่สุด
LFT (Late Finish Time) หมายถึง กาหนดเวลาช้าสุดที่กิจกรรมจะต้องดาเนินการ
ให้ เ สร็ จ สิ้ น หากล่ า ช้ า ไปกว่ า นี้ จ ะกระทบกั บ แผนงาน
โครงการ
Slack Time หมายถึ ง ระยะเวลาล่ า ช้ า ที่ กิ จกรรมนั้ นสามารถเลื่ อน
ออกไปได้ โดยไม่กระทบต่อแผนงานของโครงการ

Ref. code: 25605810038272TSA


30

TF หมายถึ ง ระยะเวลาที่ กิ จ กรรมสามารถเลื่ อ นเวลาเริ่ม


ออกไปจาก EST โดยไม่ ท าให้ โ ครงการล่ า ช้ า แต่ จ ะมี
ผลกระทบต่อกิจกรรมที่ตามหลังได้

สูตรที่จำเป็นในกำรคำนวณ
1. การคานวณแบบเดินหน้า คือ การคานวณแบบเดินหน้าเป็นการเริ่มต้นจาก
กิจกรรมแรก ต่อด้วยกิจกรรมถัดไป ผ่านเงื่อนไขและความเหมาะสมของกิจกรรม
จนกระทั่งถึงกิจกรรมสุดท้ายหรือสิ้นสุดโครงการ
2. การคานวณแบบย้อนกลั บ คือ การนับระยะเวลาจากกิจกรรมสุ ดท้า ยของ
โครงการผ่านกิจกรรมย่อย จนกระทั่งถึงกิจกรรมแรกของโครงการ เพื่อเป็นการหา
เวลาที่ช้าที่สุดที่จะเริ่มกิจกรรมได้โดยไม่ทาให้โครงการล่าช้า

2.8 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.8.1 แพรทิพย์ โคตรแสนลี และเกียรติศักดิ์ โยชะนัง (2555)


ท าการศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ระบบจั ด การตารางนั ด หมายด้ ว ยเทคนิ ค PERT/CPM
Appointment Scheduling Management System using PERT/CPM Technique จากการศึกษา
จ านวนกิ จ กรรม 30 ข่ า ยงาน เมื่ อ มี ก ารจั ด การติ ด ต่ อ ประสานงานตามตารางนั ด หมายได้ ท ราบ
ระยะเวลาเริ่ ม ติ ด ต่ อ เร็ ว สุ ด และช้ า ที่ สุ ด ระยะเวลายื ด หยุ่ น สายงานวิ ก ฤตที่ ต้ อ งท าการติ ด ต่ อ
ประสานงานโดยต่อเนื่อง พบว่าวิธีการนี้สามารถลดระยะเวลาลงได้ถึง 40%

2.8.2 อำจอง สุขประเสริฐ (2559)


ศึกษาการประยุกต์เทคนิค PERT/ CPM ในการจัดการกิจกรรมในงานก่อสร้าง
บ้านจัดสรร ได้ทาการกาหนดกิจกรรมงานย่อยและหาสายกิจกรรมวิกฤต พบว่ามีจานวน 10 สายงาน
จึงได้หาความน่าจะเป็นของการทางานให้เสร็จครบตามกาหนด 130 วัน แต่เมื่อพิจารณาตามสายงาน
วิกฤตต้องใช้เวลา 129 วันความแปรปรวนประมาณ 4 วันจึงได้ทาการเร่งโครงการ เดิมทีความน่าจะ
เป็นที่โครงการเสร็จตามกาหนด 130 วันอยู่ที่ 71.81% เพิ่มขึ้นเป็น 96.02% ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าหากมี
การปรับปรุงบางกระบวนการจะสามารถทาให้ เสร็จได้ 100% ตามกาหนด แต่อย่างไรก็ตามการ
ประยุกต์ใช้เทคนิคนี้มีประโยชน์ต่อการทางาน

Ref. code: 25605810038272TSA


31

2.8.3 นพวัตติ์ ธรรมเหมไพจิตร, ศักดิ์ชำย รักกำร, อัตถกร กลั่นควำมดี และธนำค


สกุลไทย์ (2559)
ได้ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนบ้านทาวน์โฮมสูง 3 ชั้น ของบริษัท
พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง เพราะคณะวิจัยพบว่าต้นทุนที่ใช้ในการดาเนินโครงการมีการ
เพิ่มขึ้นตลอดมากถึง 68% อันมาจากการขาดการบริหารที่ดีและไม่ใช้ นวัตกรรมทางวิศวกรรม ทาให้
บริษัทเสียเปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด การศึกษาทาโดยการใช้ Microsoft project และวิธีสาย
งานวิกฤต (CPM) ผลที่ได้ คือ สามารถลดระยะเวลาก่อสร้างจาก 195 วัน เหลือ 150 วัน, ในด้านของ
ต้นทุนได้จัดคนให้เหมาะสมกับงาน ควบคุมการใช้ไฟฟ้าประปาด้วยมิเตอร์ และเลือกใช้เทคโนโลยีมา
ช่วยในการรักษาความปลอดภัยเพื่อลดต้นทุน ในการศึกษาพบว่า ลดระยะเวลาก่อสร้างลงไปได้
23.07%, ลดต้นทุนบ้านได้ 3.90%

2.8.4 กฤตภำส ปำนทอง (2558)


ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกาจัดความล่าช้าในการก่อสร้างบ่อบาบัดน้าเสียเดิม
ทีการดาเนินงานมีความล่าช้าต้องเสียค่าปรับ จึงได้ศึกษาโดยใช้วิธีหาเส้นทางวิกฤตของกิจกรรมใน
โครงการฯ กาหนดกิจกรรมวิกฤต/กิจกรรมรอคอยเพื่อใช้เร่งรัดระยะเวลาให้ทันตามระยะเวลาของ
โครงการผลที่ได้สามารถลดระยะเวลาลงได้ 12 วันหรือ 16.44% ต้นทุนของการเร่งรัดเพิ่มเป็นจานวน
เงิน 201,939 บาท แต่สามารถลดค่าปรับได้ 898,061 บาท นับว่างานได้แล้วเสร็จทันตามระยะเวลา
โครงการ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการแข่งขัน และสามารถสร้างความไว้วางใจจากเจ้าของ

2.8.5 สุรพล ดำดี และเจริญชัย โชมพัตรำภรณ์ (2550)


ได้วิจัยเกี่ยวกับการประกอบแผงอลูมิเนียมของอาคารสูงที่ประสบปัญหาส่งมอบ
งานล่าช้า โดยผู้วิจัยนี้ได้หาสาเหตุของปัญหาพบว่าเกิดจากการวางแผนโครงการและการวางแผนไม่
ตรงตามการปฏิบัติงานจริง เพราะเดิมทีการปฏิบัติงานไม่ได้คานึงถึงขีดความสามารถของทรัพยากรที่
มี หลังจากนาการวางแผนงานโครงการแบบ PERT มาใช้ประยุกต์และปรับปรุงลดรอบเวลากิจกรรมที่
เป็นคอขวด ทาให้การวางแผนโรงการมีความแม่นยาเพิ่มมากขึ้น ไม่มีปัญหาส่งมอบงานล่าช้า สามารถ
ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง

Ref. code: 25605810038272TSA


32

บทที่ 3
วิธีกำรศึกษำวิจัย

การค้นคว้าวิจัยสาระนิพนธ์เรื่องการปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นงาน
Segmental Box Girder ของโครงการรถไฟฟ้ า สายสี เ ขี ย ว (เหนื อ ) มี ค วามต้ อ งการปรั บ ปรุ ง
กระบวนการก่ อ สร้ า งให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพิ่ ม มากขึ้ น โดยจะท าการศึ ก ษาด้ า นปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้
กระบวนการก่อสร้างขาดประสิทธิภาพ จากนั้นจึงนามากาหนดกระบวนการดาเนินงานติดตั้งชิ้นงานฯ
ใหม่ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านระยะเวลาและด้านต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยการ
เปรียบเทียบระยะเวลาก่อนการดาเนินงานและหลังการออกแบบกระบวนการดาเนินงานใหม่
การศึ ก ษาวิ จั ย จะเลื อ กผู้ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในงานติ ด ตั้ ง ชิ้ น งาน Segmental Box
Girder ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการดาเนินงาน
และมีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดในระหว่างการทางานมากที่สุด ให้ทาแบบสารวจเพื่อกาหนดปัจจัยที่
ส่งผลให้กระบวนการทางานขาดประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันมีแนวโน้มการดาเนินงานติดตั้งชิ้นงานฯ
ล่าช้าออกไปเรื่อยๆ
การทาแบบส ารวจเป็นเครื่องมือในการส ารวจความเห็นของผู้ ที่เกี่ยวข้องด้ว ยการ
อ้างอิงทฤษฎีเปรียบเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานเพื่อกาหนดปัจจัย และการใช้วิธีการ
Relative importance index ซึ่งเป็นวิธีการทางสถิติทฤษฎีดัชนีชี้วัดแบบจัดลาดับความสาคัญของ
ปัจจัยใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล
บทนี้จะกล่าวถึงการเก็บข้อมูลการติดตั้งชิ้นงานฯ ในปัจจุบัน กาหนดกลุ่มประชากรที่
ต้องการสารวจ ลักษณะของแบบสารวจ และจุดมุ่งหมายของการสารวจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วย
การใช้วิธีการ Relative importance index เพื่อจัดลาดับความสาคัญของปัจจัยที่ทาให้กระบวนการ
ในปั จ จุ บั น ขาดประสิ ทธิภาพและการนาไปใช้ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงเพื่อหากระบวนการติดตั้ง
ชิ้นงานฯ ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ

3.1 กำรเก็บข้อมูลกำรติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder

การเก็บข้อมูลการติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder - ข้อมูลปัจจุบันสาหรับหา


ปัจจัยที่ทาให้งานขาดประสิทธิภาพ นามากาหนดหาแนวทางการปรับปรุง ดังนั้นผู้วิจัยจะรวบรวม
ข้อมูลสาหรับการติดตั้งชิ้นส่วนฯ ข้อมูลปัจจุบันในประเด็นต่อไปนี้
1. จานวนกะทางาน ช่วงเวลาทางานของแรงงานและเครื่องจักร

Ref. code: 25605810038272TSA


33

2. บันทึกจานวนพนักงานที่มาทางาน อัตราเงินรายวันของพนักงาน การทางาน


ล่วงเวลาของพนักงาน รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ปฏิบัติงานทั้งกะกลางวันและกลางคืน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการทางานโดยภาพรวมและระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละกระบวนการ
4. บันทึกปัจจัย/อุปสรรคที่ทาให้กระบวนการปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ
รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้บันทึกในแต่ละวันนั้น แบ่งรูปแบบการบันทึกตาม
จุดประสงค์การนาไปใช้งาน 2 ประการ คือ ใช้ปรับปรุงกระบวนการทางานและใช้สาหรับการคานวณ
ต้นทุนการปฏิบัติงาน
การเก็ บ ข้ อ มู ล กระบวนการติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว นฯ โดยใช้ Launching gantry ติ ด ตั้ ง ช่ ว ง
สะพานแบบ Continuous span เท่านั้น การเก็บข้อมูลจะอ้างอิงกระบวนการตามหัวข้อ 2.5 มี 4
ขั้นตอนหลัก และ 35 กระบวนการย่อยมีตารางแสดงรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังตารางใบบันทึกดัง
รูปต่อไปนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


34

ตำรำงที่ 3.1
ใบบันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนฯ กระบวนการดั้งเดิม

ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder


ประเภทเสา เริ่มทางานวันที่ ระยะเวลา(วัน)
จุดที่ทางาน เสร็จงานวันที่ จานวน(กะ)
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 3-ก.พ. 4-ก.พ. 5-ก.พ. 6-ก.พ. 7-ก.พ. 8-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket
2 ติดตัง้ Portal frame
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน
4 ติดตัง้ ราวกันตก
5 รื้อแบบ Wet joint
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg
9 ย้าย Middle support ชิด Front support
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket
2 รื้อ Portal frame
3 จัดระยะชุดแขวน Segment
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์
3 เข้าแบบ Wet joint
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15%
5 เทคอนกรีต Wet joint
6 รออายุคอนกรีต
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่
8 ลดระดับ Main truss
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน

รวม

Ref. code: 25605810038272TSA


35

3.2 วิธีกำรหำปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภำพของกระบวนกำรติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box


Girder

การเลื อ กใช้ ก ารสั ม ภาษณ์ เ พื่ อ การส ารวจผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การป ฏิ บั ติ ง านติ ด ตั้ ง
ชิ้นส่วนฯ และหาปัจจัยเพื่อกาหนดปัจจัยที่ ส่งผลให้กระบวนการก่อสร้างในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ
ในเรื่องของระยะเวลาดาเนินงานและต้นทุนของการปฏิบัติงาน เพิ่มเติมจากการเก็บข้อมูลตามข้อ 3.1
เพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การวิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยได้จัดทาหัวข้อเพื่อการสัมภาษณ์เพื่อให้ผู้ ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องแบ่งตามตาแหน่งปฏิบัติงานในโครงการร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านการพูดคุย รวมทั้งสิ้น
กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยต้องการสารวจรวมทั้งสิ้น 15 ท่าน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. วิศวกรโครงการ (Project engineer) จานวน 1 ท่าน
2. วิศวกรควบคุมงาน (Engineer) จานวน 4 ท่าน
3. โฟร์แมนและช่างเทคนิค (Foreman &Technician) จานวน 6 ท่าน
4. หัวหน้าคนงาน (Headman) จานวน 4 ท่าน

3.3 กำรสร้ำงแบบสัมภำษณ์

การสั ม ภาษณ์ คื อ การสื่ อ สารระหว่ า งบุ ค คลที่ มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ หาสิ่ ง ที่ ส นใจใน
การศึกษา โดยการสัมภาษณ์มีความแตกต่างจากบทสนทนาทั่วไป และการสัมภาษณ์จะต้องมีคาถาม
และประเด็นที่จะศึกษาที่แน่ชัดก่อนสัมภาษณ์จริง (พีระพงษ์ เครื่องสนุก, 2558)
การสั ม ภาษณ์ ใ นการศึ ก ษาเพื่ อ หาปั จ จั ย ที่ ท าให้ ก ระบวนการท างานติ ด ตั้ ง ชิ้นส่ ว น
Segment ในปัจจุบันนั้น กลุ่มผู้ที่ผู้วิจัยเลือกเพื่อสัมภาษณ์ มีหลากหลายระดับตั้งแต่วิศวกรโครงการ
วิศวกรควบคุมงาน โฟร์แมนและช่างเทคนิค หั วหน้าคนงาน เนื่องจากมีผู้ให้สัมภาษณ์เป็นบางกลุ่มมี
ปัญหาทางการเรียบเรียงคาตอบเป็นตัวอักษรหรือการเขียน อีกทั้งบางคนยังมีปัญหาในการอ่านไม่
คล่องจึงเป็นเหตุผลให้ผู้วิจัยเลือกใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือสาหรับการศึกษาวิจัย

3.3.1 แบบสัมภำษณ์ที่ไม่มีโครงสร้ำง
การสัมภาษณ์แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง เป็นการกาหนดประเด็นที่ต้องการ
สัมภาษณ์ไว้เป็นหัวข้อหลัก และเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆในระหว่างการสัมภาษณ์ การเรียงลาดับ คาถาม
ไม่จาเป็นจะต้องเรียงลาดับตามที่กาหนดไว้เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความลื่นไหลในบริบทของ
การสัมภาษณ์ ในส่วนของการจบการสัมภาษณ์เมื่อผู้สัมภาษณ์ได้รับข้อมูลที่เพียงพอแล้ว

Ref. code: 25605810038272TSA


36

การสารวจปัจจัยที่ทาให้กระบวนการทางานติดตั้งชิ้นส่วน Segment ในปัจจุบัน


นั้นขาดประสิทธิภาพ (ด้านเวลา) โดยกาหนดประเด็นที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบ่งตามลาดับขั้นตอนการ
ทางาน อ้างอิงข้อมูลจากหัวข้อ 2

3.3.2 รูปแบบกำรสัมภำษณ์
การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทางานผู้วิจัยจะแบ่งการสั มภาษณ์ออกเป็น
ส่วนๆตามช่วงของการปฏิบัติงานนั้นๆ เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานนั้นมีเยอะ เพื่อผู้ให้สัมภาษณ์
แสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ (การสัมภาษณ์รวดเดียวจนจบอาจทาให้ผู้ให้สัมภาษณ์เหนื่อยล้า)
การสัมภาษณ์เลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล (Individual interview)
เพื่อไม่ให้เกิดการชักนาความคิด/คาตอบจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ให้ สัมภาษณ์มีอิสระในการพูดและ
ตอบได้อย่างเต็มที่
การสัมภาษณ์จะใช้วิธีการถามและเมื่อได้ปัจจัยแล้ว นาปัจจัยที่ได้ถามกลับผู้ให้
สัมภาษณ์ออกความเห็นว่าควรจะแก้ไขอย่างไรในปัจจัยดังกล่าว

3.4 กำรระบุปัจจัยที่ได้จำกกำรสัมภำษณ์

เมื่ อ สั ม ภาษณ์ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การปฏิ บั ติ ง านติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว นฯ แล้ ว ผู้ วิ จั ย จะท าการ
รวบรวมผลการสัมภาษณ์จากทุกท่าน จากนั้นให้วิศวกรโครงการและวิศวกรควบคุมงาน ได้แสดงความ
คิดเห็นอีกครั้งเกี่ยวกับปัจจัยใดที่เห็นควรจะต้องแก้ไขเลือกปัจจัยที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นตรงกัน

3.5 กำรปรับปรุงกระบวนกำรก่อสร้ำงงำนติดตั้งชิ้นส่วน Segment

การนาปัจจัยที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพจากข้อ 3.4 มาหาวิธีการแก้ไขที่


เหมาะสมทุกกระบวนการย่อย โดยคานึงถึงวิธีการแก้ไขที่สามารถทาได้จริงภายใต้ข้อจากัดของจานวน
เครื่องจักรและช่วงเวลาการทางานของพนักงาน จากการรวบรวม/ระดมความคิดร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการทางานมากาหนดวิธีการปฏิบัติงาน
การปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่วน Segment โดยระบุปัจจัยที่มีผล
ต่อประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการติดตั้งทุกกระบวนการย่อย จากการเก็บข้อมูลก่อน
ก่อนปรับปรุง และจากการสัมภาษผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกาหนดแนวทางรูปแบบของกระบวนการทางาน
ใหม่จากนั้นได้นาไปใช้งานจริงเพื่อลดระยะเวลา และต้นทุนการปฏิบัติงานให้ลดต่าลง
การออกแบบกระบวนการทางานรูปแบบใหม่ ดังนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


37

1. การวางแผนและควบคุมโครงการด้วย CPM
2. การนากระบวนการรูปแบบใหม่ที่ได้ปรับปรุงไปใช้งานจริง

3.6 กำรเปรียบเทียบด้ำนประสิทธิภำพระหว่ำงกระบวนกำรดั้งเดิมกับกระบวนกำรรูปแบบใหม่

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการดั้งเดิมกับกระบวนการรูปแบบใหม่
ทางด้านระยะเวลาและต้นทุนการดาเนินการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.6.1 กำรวัดประสิทธิภำพด้ำนระยะเวลำ
เปรียบเทียบประสิทธิภ าพความแตกต่างด้านระยะเวลา กระบวนการหลั ก 4
กระบวนการ ,กระบวนการย่อย 35 กระบวนการ ,กระบวนการดั้งเดิมกับกระบวนการรูปแบบใหม่ ชี้
วัดโดยเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) เพื่อเป็นตัววัดความแตกต่างเวลาเฉลี่ยของทุกกระบวนการดั้งเดิมต่อ
กระบวนการหลังปรับปรุง(หน่วยนาที)

3.6.2 กำรวัดประสิทธิภำพด้ำนต้นทุน
เปรียบเทียบต้นทุนที่ใช้ ในการดาเนินงาน พนักงานรายเดือน พนักงานรายวัน
การใช้เครื่องจักร ใช้วิธีการพิจารณาจากจานวนชั่วโมงทางานจริงในวันนั้นๆ ทั้งเวลาทางานปกติและ
ล่วงเวลา การชี้วัดโดยเทียบจานวนเงินของกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่เทียบเป็น
เปอร์เซ็นต์ (%)
เงื่อนไขการใช้ทรัพ ยากรผู้ ปฏิบัติงานและเครื่องจักรที่ใช้ในแต่ล ะกระบวนการ
ปฏิบัติงานของทั้ง 4 ขั้นตอนหลักแสดงตามรูปด้านล่างต่อไปนี้

ตำรำงที่ 3.2
การใช้ทรัพยากรในแต่ละกระบวนการ (หน้าถัดไป)

Ref. code: 25605810038272TSA


38

ผู้ปฎิบตั ิงาน เครื่องจักรทีใ่ ช้


กระบวนการ บริษทั ผู้รับเหมา รถเครน รถเครน รถสิบล้อ รถ
ผู้รับเหมา ช่วง 50 ตัน 120 ตัน ติดเครน กระเช้า
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket X X X X
2 ติดตัง้ Portal frame X X X X
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน X X
4 ติดตัง้ ราวกันตก X X
5 รื้อแบบ Wet joint X
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง X
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง X X
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg X X
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง X X
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support X
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg X
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 X
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg X X
9 ย้าย Middle support ชิด Front support X
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง X
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg X
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg X
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support X
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg X
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง X
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง X
ขั้นตอนที่ 3 การติดตั้งชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket X X X
2 รื้อ Portal frame X
3 จัดระยะชุดแขวน Segment X X X
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง X X X
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment X X
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตั้ง Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ X
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ X X
3 เข้าแบบ Wet joint X X
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% X
5 เทคอนกรีต Wet joint X X
6 รออายุคอนกรีต X
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ X
8 ลดระดับ Main truss X
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน X

Ref. code: 25605810038272TSA


39

การใช้ทรั พยากรในการปฏิ บั ติง านติ ดตั้ งชิ้นส่ ว นส าเร็จ segment ประกอบไปด้ ว ย


ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ บริษัทรับเหมา ผู้รับเหมาช่วงสาหรับดึงลวดอัดแรง และเครื่องจักรที่ใช้งาน ได้แก่
รถเครน 50 ตัน, รถเครน 120 ตัน (เช่ารายวัน), รถสิบล้อติดเครน, รถกระเช้า เป็นต้น โดยทรัพยากร
ที่ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งหมดมีการคิดต้นทุนตามหลักการต่อไปนี้
1. พนักงานบริษัท กรณีรายเดือนกาหนดให้ 1 เดือนเป็นวันทางานปกติ 26 วัน และ
วัน หยุ ด 4 วัน (หยุ ดวัน อาทิตย์) คิดตามวันที่พนักงานมาปฏิบัติงานจริง การทางานล่ วงเวลาไม่มี
ค่าตอบแทนเพิ่ม
2. พนั กงานบริ ษั ท กรณีรายวัน คิดตามชั่ว โมงการปฏิ บัติ งานจริ ง และการท างาน
ล่วงเวลาในวันปกติ ค่าแรง 1.5 เท่าของชั่วโมงทางานปกติ, การทางานในวันหยุดค่าแรง 2.0 เท่าของ
ชั่วโมงในวันทางานปกติ
3. ผู้รับเหมาช่วง เป็นการจ่ายแบบ Unit cost จึงไม่นามาคิดเพราะต้นทุนก่อนหรือหลัง
การปรับปรุงกระบวนการก็มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เท่ากัน
4. รถเครน 50 ตั น เวลาท างานปกติ ช่ ว ง 19:00 - 05:00 น. หรื อ 10 ชั่ ว โมง
นอกเหนือจากนี้เป็นการทางานล่วงเวลา ซึ่งอัตราค่าแรงล่วงเวลาเท่ากับชั่วโมงทางานปกติ
5. รถเครน 120 ตัน เป็นการใช้งานเช่ารายวัน (ใช้เพียงกระบวนการติดตั้ง Portal
frame เท่านั้น)
6. รถสิ บ ล้ อ ติ ด เครน เวลาท างานปกติ ช่ ว ง 19:00 - 05:00 น. หรื อ 10 ชั่ ว โมง
นอกเหนือจากนี้เป็นการทางานล่วงเวลา ซึ่งอัตราค่าแรงล่วงเวลาเท่ากับชั่วโมงทางานปกติ ลักษณะ
การใช้งานเป็นการย้ายอุปกรณ์ทั่วไป เช่น เปิดและปิด Barrier, ย้ายแผ่นเหล็ก, ยกย้ายชิ้นส่วนต่างๆ
ของงาน เป็นต้น
7. รถกระเช้า เวลาทางานปกติช่วง 08:00 - 18:00 น. หรือ 10 ชั่วโมง นอกเหนือจากนี้
เป็นการทางานล่วงเวลา ใช้อัตราค่าแรงล่วงเวลาเท่ากับชั่วโมงทางานปกติ

Ref. code: 25605810038272TSA


40

บทที่ 4
ผลกำรศึกษำ

ในบทนี้กล่าวถึงผลของการปรับปรุงปัจจัยและกระบวนการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยทาการ
สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพและพิจารณาแนว
ทางการแก้ไขปัจจัยเหล่านั้น จากนั้นได้การออกแบบเขียนแผนผังการปฏิบัติงานเพื่อให้การทางานเป็น
ขั้นตอนมีระบบที่ชัดเจน และยังช่วยให้การควบคุมงานง่ายยิ่งขึ้น การเขียนแผนผังแบบสายงายวิกฤต
นั้นประกอบไปด้วย การลาดับงานก่อ นหลัง ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน กิจกรรมงานใดควรทา
เร่งด่วน หรืองานบางงานหากยังไม่ทาก็อาจรอได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น จากนั้นนาผลเสนอ
ผลเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจากข้อมูลที่ได้เก็บมาช่วงก่อนการปรับปรุงกระบวนการ
(กระบวนการดั้งเดิม) และประสิทธิภาพหลังที่ปรับปรุงกระบวนการ (กระบวนการใหม่)

4.1 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนกำรปฏิบัติงำนขำดประสิทธิภำพ

การสารวจปัจจัยที่เกิดขึ้นในช่วงของการเก็บข้อมูลปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ และ
ปัจจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาปัจจัยที่ทาให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพมา
ปรับปรุงเพื่อให้แต่ละกระบวนการมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
การระบุหัวข้อปัจจัยขณะสัมภาษณ์จะอ้างอิงปัจจัยที่เกิดจากแต่ละกระบวนการในการทางานปัจจุบัน
จากหัวข้อที่ 2.5 กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนในปัจจุบัน (1 cycle time) ดังนี้
1. การเตรียมงานก่อนการเลื่อน Launching gantry จานวน 5 กิจกรรม
2. การเลื่อน Launching Truss เข้าตาแหน่งติดตั้ง จานวน 16 กิจกรรม
3. การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segment จานวน 5 กิจกรรม
4. กระบวนการหลังการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ จานวน 9 กิจกรรม
โดยกระบวนการย่อยของทั้ง 4 ขั้นตอนหลักแสดงดังแผนภาพต่อไปนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


41

ภำพที่ 4.1 กระบวนการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วน Segment ในปัจจุบัน (1 cycle)

การเก็บข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฏิบัติงานในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพด้วย
วิธีการสัมภาษณ์บุคคลากรที่เกี่ยวข้องในงานติดตั้งชิ้นส่วนฯ เพื่อค้นหาและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข

Ref. code: 25605810038272TSA


42

ปัจจัยเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น รายละเอียดปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการประสิทธิภาพได้
แสดงผลแยกออกเป็น 4 ขั้นตอนหลักต่อไปนี้

4.1.1 ขั้นตอนที่ 1 กำรเตรียมกำรก่อนกำรเลื่อน Launching gantry


ปัจจัยที่ส่งผลให้การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry ทั้งด้านระยะเวลา
ปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพของทั้ง 5
กระบวนการแสดงผลดังรูปต่อไปนี้

ภำพที่ 4.2 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฏิบัติงานการเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry


ขาดประสิทธิภาพ

Ref. code: 25605810038272TSA


43

กระบวนการปฏิบัติงานการเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry ประกอบ


ไปด้ ว ย 5 กระบวนการย่ อ ย โดยแต่ ล ะกระบวนการนั้ น มี ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านไม่ มี
ประสิทธิภาพจากความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ มีดังต่อไปนี้
กระบวนการที่ 1 การติดตั้ง Pier bracket จากการสัมภาษณ์มีปัจจัยที่ส่งผลให้
ขาดประสิทธิภาพรวมจานวน 4 ปัจจัย โดยมีปัจจัยที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าเหมาะสมและควรได้รับการ
แก้ไขจานวน 2 ปัจจัย ได้แก่ น้าปูนอุดตันช่องสาหรับเสียบ PT bar เพราะการสกัดน้าปูนที่อุดตันใน
ช่องมีขนาดเล็กและยาวมักจะต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะแก้ไขได้ และการเสียบสลัก Pier bracket
เข้าช่อง block out ใช้เวลานาน เพราะขนาดของสลักกับช่อง block out มีขนาดใกล้เคียงมากการ
เสียบจึงมักจะต้องใช้ระยะเวลานาน
กระบวนการที่ 2 การติดตั้งชิ้น Portal frame การติดตั้งชิ้นส่วนมีปัจจัยที่ส่งผล
กระทบต่อการปฏิบัติงานทั้งสิ้น 5 ปัจจัย โดยทั้งนี้มีปัจจัยที่สาคัญจากความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์
ได้แก่ อุปกรณ์ Tie down เปรียบเสมือนสมอยึดเกาะของจุดรองรับเครื่องจักรฯ Launching gantry
ได้จมหรือสูญหายลงไปในคอนกรีตขณะการเทคอนกรีตของงานเสา ต้องเจาะคอนกรีตและฝั งใหม่
เพื่อให้รองรับการเดินของ Launching gantry ได้อย่างปลอดภัย
ปัจจัยอื่นๆ เช่น เครนหรือเทรลเลอร์ไม่สามารถเข้ามายกย้ายติดตั้งชิ้นส่วนได้ ,
อุปกรณ์สูญหายหรือชารุด บางปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้หรืออาจสุดวิสัยผู้วิจัยจึงไม่นามา
พิจารณา
กระบวนการที่ 3 กระบวนการส่งอุปกรณ์คืนโรงงาน มีปัจจัยที่สาคัญ คือ การยก
อุปกรณ์ที่ติดมากับชิ้นส่วน segment ลงจากด้านบนทางวิ่งมาวางกองไว้ด้านล่าง จากนั้นต้อรอนาส่ง
อีกครั้งในวันหลัง เป็นการทางานยกอุปกรณ์ขึ้นลงที่ซ้าซ้อนทาให้เสียทั้งเวลาและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
กระบวนการที่ 4 การติดตั้งราวกันตกมีปัจจัยที่สาคัญ คือ กระบวนการปฏิบัติงาน
เกิดความล่าช้าสะสมมาจากกระบวนการอื่นทาให้เกิดการละเลยไม่ติดตั้งราวกันตก ซึ่งอาจก่อให้เกิด
อันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะต้องเสียทั้งระยะเวลาและต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรหา
วิธีเพื่อปรับปรุงแก้ไข
กระบวนการที่ 5 การรื้อแบบ Wet joint มีปัจจัยที่สาคัญ คือ การรื้อแบบ Wet
joint ไม่ทันหรือไม่เสร็จจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในช่วงเสาถัดไป เพราะต้องรื้อแบบเหล็ กของเก่า
นาไปใช้เข้าแบบต่อในช่วงเสาถัดไป ปัจจัยนี้จะต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางาน
ให้ดียิ่งขึ้น ส่วนปัจจัยอื่นนั้นขึ้นอยู่กับพนักงานเป็นปัจจัยเล็กน้อยกระทบต่อระยะเวลาเพิ่มขึ้นไม่มาก
นักจึงไม่นามาพิจารณาปรับปรุง

Ref. code: 25605810038272TSA


44

4.1.2 ขั้นตอนที่ 2 กำรเลื่อน Launching gantry เข้ำตำแหน่งติดตั้ง

ภาพที่ 4.3 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฏิบัติงานการเลื่อน Launching gantry ขาดประสิทธิภาพ

Ref. code: 25605810038272TSA


45

ขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่งประกอบไปด้วยกระบวนการ


ย่ อ ยจ านวน 16 กระบวนการ มี ปั จ จั ย ที่ ท าให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านขาดประสิ ท ธิ ภ าพผลที่ ไ ด้ จ ากการ
สัมภาษณ์และบางส่วนที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลทั้ง 16 กระบวนการมีบาง
กระบวนการเป็ น การปฏิ บั ติ ง านซ้ า เช่ น กระบวนการค้ าขาค้ าหลั ง , กระบวนการย้ า ย Middle
support & Rear support และกระบวนการเลื่อน Launching gantry ผู้วิจัยจะละไว้ไม่แสดงในภาพ
เนื่องจากจะทาให้เกิดความซ้าซ้อนกัน
การแสดงข้ อ มู ล ในรู ป ต่ อ ไปนี้ จ ะมี ก ารแสดงกระบวนการปฏิ บั ติ ง านเพี ย ง 9
กระบวนการ และละไว้อีก 7 กระบวนการที่มีการปฏิบัติซ้ากัน
กระบวนการที่ 1 การค้ าขาค้ าหลั ง Rear leg มี ปั จ จั ย ส่ ง ผลกระทบกั บ การ
ปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพที่สาคัญ คือ การที่ไม่สามารถหมุนขาค้า Rear leg ลงได้เนื่องจากแกน
หมุนฝืด มีสนิม หากฝืนขันกระบอกอาจทาให้เกิดการปีนเกลียวส่งผลให้ชารุดได้ จึงควรได้รับการ
ปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน และการตรวจสอบชิ้นส่วนที่ใช้ระยะเวลานานเพราะ
ต้องขันน๊อตทุกตัวให้แน่นหนาก่อนใช้งาน ส่วนปัจจัยการสูญหายของอุปกรณ์/อุปกรณ์ชารุดเป็นสิ่งที่
กระทบต่อประสิทธิภาพการดาเนินขั้นตอนการทางานเล็กน้อย (อุปกรณ์มีใช้ทั่วไปในงานสามารถหา
ทดแทนได้ง่าย)
กระบวนการที่ 2 การถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรงลง มีปัจจัยสาคัญที่ส่งผลให้การ
ปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ คือ ขณะที่ถอดกระเช้าลงนั้นมีการแกว่งตัวของชิ้นส่วนกระเช้าชิ้นบน
และล่างต้องใช้ความระมัดระวังในการทางาน ส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลามากยิ่งขึ้น
กระบวนการที่ 3 การปลดขาค้า Front leg ลงไปไว้ด้านล่าง มีปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การปฏิบัติงานทั้งสิ้น 4 ข้อ แต่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นเหมือนกันว่ามีปัจจัยที่สาคัญและกระทบต่อเวลาและ
ต้นทุนปัจจัยเดียว คือ การถอดสลัก PT bar ที่มีสภาพโค้งงอไม่สามารถถอดได้สลักออกได้ง่ายต้องใช้
รถเครนโยกชิ้นงานขึ้นลง เพื่อโยกสลักให้เลื่อนหลุดออกจากช่องเสียบได้ ส่วนปัจจัยอื่นๆนั้นพบว่ามี
ส่วนกระทบต่อระยะเวลาปฏิบัติงานและต้นทุนโดยรวมน้อยจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 4 การนาชิ้นส่วนลงมากองรอส่งคืนโรงงาน มีปัจจัยที่ทาให้การ
ปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ คือ การนาลงมากองแล้วรอนาส่งภายหลัง เป็นการทางานที่ซ้าซ้อนควร
เปลี่ยนเป็นการนาลงมาใส่รถเทรลเลอร์แล้วขนส่งคืนโรงงานเลยจะช่วยลดกระบวนการลงได้
กระบวนการที่ 5 การย้าย Rear support ชิด Middle support มีปัจจัยที่ส่งผล
ให้กระบวนขาดประสิทธิภาพที่สาคัญ 2 ประการ คือ
1. การใช้ระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายขารองรับขาหลัง Rear support มาชิดขา
รองรับตัวกลาง Middle support ใช้ระยะเวลานาน และในขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry นี้

Ref. code: 25605810038272TSA


46

จะมีการย้ ายขารองรั บ (support) จานวน 5 ครั้ง หากสามารถลดระยะเวลาจากการปฏิ บัติงาน


แบบเดิมลงได้ ก็จะช่วยให้ระยะเวลาการปฏิบัติงานโดยภาพรวมเป็นไปตามการวางแผนได้ดียิ่งขึ้น
2. การย้ายขารองรับแต่ละครั้ง ระหว่างการย้ายนั้นต้องใช้คนงานปีนขึ้นไปบนขา
รองรับเพื่อยกสลิงชุดแขวนชิ้นส่วนฯ ออกจากขารองรับส่งผลต่อระยะเวลาปฏิบัติงานโดยรวมและ
ต้น ทุน ได้ (หากมีการตกจากที่สู ง) ปัจจัยนี้จะกระทบกับการปฏิ บัติงาน คือ วิธีการปฏิ บัติงานใน
ปัจจุบันจะต้องใช้คนในการดึงรวมทั้งยกลวดสลิงแขวนชิ้นส่วน segment ออกจากขารองรับขณะย้าย
หลายคน หากสามารถปรับปรุงได้จะช่วยลดจานวนแรงงานที่ต้องใช้ลงไปได้ อีกทั้งยังช่วยให้ การ
ปฏิบัติงานโดยรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ส่วนปัจจัยอื่นๆ อีก 3 ปัจจัยนั้น ได้แก่ อุปกรณ์ชารุด/เสียหาย ,การย้ายขารองรับ
แล้วไม่ตรงกับตาแหน่งยึดเกาะ (Tie down) และการย้ายขารองรับไปวางผิดตาแหน่ง เป็นปัญหาที่
สามารถแก้ไขได้เลยใช้ระยะเวลาไม่นานไม่จาเป็นต้องใช้ทักษะขั้นสูงจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 6 การขึ้ น ขาค้ าหลั ง Rear leg มี ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ
ประสิทธิภาพการทางาน คือ การหมุนเกลียวเพื่อปลดฐานค้ายันของขารองรับชั่วคราว Rear leg ขึ้น
ทาได้ยากใช้ระยะเวลานานเพราะโดนน้าหนักของ truss กดฐานขาค้ายันปัจจัยนี้มีความสาคัญบาง
จังหวะถ้าหากมีการย้ายขารองรับไปไกลน้าหนักของ Main truss จะกดลงที่ขาค้าหลังจานวนมาก
ส่ งผลให้ การหมุน เกลี ยวขึ้นทาได้ยาก ใช้ระยะเวลานานจึงกระทบต่อการปฏิบัติงานโดยรวมควร
ปรับปรุงแก้ไข ส่วนอีก 2 ปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยเดียวกับขั้นตอนที่ 1.) จึงไม่นามาพิจารณาเพิ่มเติมใน
กระบวนการนี้
กระบวนการที่ 7 การเลื่อน Launching gantry ไปด้านหน้า ครั้ง 1 ปัจจัยที่ทา
ให้ การทางานขาดประสิ ทธิภ าพที่ส าคัญ คือ ฟันเฟืองที่ใช้ขับเคลื่ อน Launching gantry แตกไม่
สามารถขับเคลื่ อนได้จะต้องนาเฟืองตัวใหม่ของชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนมาสับเปลี่ยน การแก้ไขเปลี่ยน
ฟันเฟืองใหม่จะส่งผลให้ระยะเวลาการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 1-2 วันส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
อย่างมากปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบน้อยที่ไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 8 การติดตั้งและค้าขาค้าหน้า Front leg หลังจากได้ถอดลงใน
กระบวนที่ 1 ในกระบวนการนี้ต้องยกขึ้นกลับไปติดตั้งในตาแหน่งเดิม ปัจจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์
และเก็บข้อมูลที่สาคัญส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน คือ การใช้ระยะเวลาในการเสียบ PT
bar เพื่อยึดเกาะ PT bar ไว้ทาได้ยากเพราะลัก ษณะของวัสดุมีการโก่งงอ ส่วนปัจจัยอื่นๆนั้นกระทบ
ต่อการปฏิบัติงานไม่มากจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 9 การย้ายขารองรับ Middle support ชิด Front support นั้น
เป็นการปฏิบัติงานที่ซ้ากับกระบวนการที่ 5 จึงละไว้

Ref. code: 25605810038272TSA


47

กระบวนการที่ 10 การย้ า ย Front support เข้ า ต าแหน่ ง มี ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลต่อ


กระบวนการที่สาคัญ คือ กรณีที่ไม่สามารถย้าย Front support ข้ามไปยังเสาต้นด้านหน้าได้เพราะ
ชิ้นส่วนขารองรับติดกับ Pier segment/Portal frame จึงต้องเลื่อน Front support กลับมายังจุด
เดิมแล้วแก้ไขระดับขารองรับของ Main truss ทุกตัวใหม่ สาเหตุนี้เกิดจากการตรวจสอบระดับของขา
ค้าหน้าและขารองรับอื่นๆผิดไป หรืออาจเกิดจากการค้าขารองรับ Front leg ไม่แน่นหนาพอ อาจ
ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกระทบต่อระยะเวลาการทางานและต้นทุนได้ ส่วนปัจจัยอื่นที่ไม่นามาพิจารณา
นั้น คือ กระบอกไฮดรอลิคไม่สามารถยืดหดให้เท่ากันได้นั้นปกติจะมีวงรอบการบารุงรักษา แต่ใน
บางครั้งเป็นเหตุสุดวิสัยทาให้ไม่สามารถควบคุมได้ต้องแก้ไขเป็นกรณีไป, ปัจจัยด้านพนักงานนั้นพบได้
ในกรณีที่มีการขาดงานจานวนหลายคนในคราวเดียวกัน และปัจจัยอื่นๆที่ซ้ากับกระบวนการที่ 3 จะ
ไม่นามาพิจารณาซ้าอีก
ในส่วนของ กระบวนการที่ 9 กระบวนการย้าย Middle support กระบวนการ
ที่ 11 กระบวนการขึ้นขาค้า กระบวนการที่ 12 การค้าขาค้าหลัง Rear leg กระบวนการที่ 13 การ
ย้าย Rear support ชิด Middle support กระบวนการที่ 14 การขึ้นขาค้าหลัง Rear legกระบวนการ
ที่ 15 การย้าย MIddle support เข้าตาแหน่ง และกระบวนการที่ 16 การเลื่อน Launching gantry
เข้าตาแหน่ง ทั้ง 6 กระบวนการข้างต้นปฏิบัติเช่นเดียวกับกระบวนการที่ 6, 1, 5, 6, 5 และ 7 จึงไม่
นามาพิจารณาซ้าอีก

Ref. code: 25605810038272TSA


48

4.1.3 ขั้นตอนที่ 3 กำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ Segment


ขั้นตอนการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segment ประกอบไปด้วย 5 กระบวนการย่อย
ในแต่ละกระบวนย่อยมีปัจจัยที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ดังรูปต่อไปนี้

ภำพที่ 4.4 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน Segment ขาดประสิทธิภาพ

กระบวนการที่ 1 การจัดระยะชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จ มีปัจจัยสาคัญ คือ การใช้


ระยะเวลาในการย้ายชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จนานต้องย้ายหลายตัวในแต่ละช่วงเสา และการยึดเกาะ
ขณะย้ายชุดแขวนชิ้นงานใช้สลิงผ้าต้องใช้ระยะเวลาในการรัดนานเพื่อป้องกันการรัดไม่ดีอาจทาให้เกิด
การรูดได้ เห็นได้ว่าทั้ง 2 ปัจจัย มีความสาคัญอาจกระทบกับระยะเวลาและต้นทุนการปฏิบัติงานที่
เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่เหลือเกิดจากความบกพร่องของพนักงานสามารถควบคุมตักเตือนพนักงานได้
และอุปกรณ์ปรับระดับไม่เพียงพอสามารถสลับการใช้งานทดแทนกันได้ในระยะเวลาอันสั้นจึงไม่นามา
พิจารณา

Ref. code: 25605810038272TSA


49

กระบวนการที่ 2 การรื้อ Pier bracket ลงเพื่อติดตั้งกระเช้าเตรียมการทางาน


เสริมแรง ที่ทาหลังจากการจัดระยะชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จพบว่าปัจจัยสาคัญที่พบเจอ คือ ปัจจัยแรก
สลักที่ใช้ยึด Pier bracket ถอดออกจากช่อง blockout ยากต้องใช้ระยะเวลานานเพราะสลักกับช่อง
ที่ ใ ช้ เ สี ย บมี ร ะยะใกล้ เ คี ย งกั น ,ปั จ จั ย ที่ 2 พบว่ า ถ้ า หากในช่ ว งเวลาที่ ผ่ า นมาท าให้ ก ารเลื่ อ น
Launching gantry ไม่เสร็จจนส่งผลให้กระบวนการเกิดการล่าช้าสะสม กะกลางคืนมักข้ามขั้นตอน
การรื้ อ Pier bracket ออกไปเพื่อสามารถติด ตั้ง Segment ได้ทันตามเวลาส่ งผลให้ กระบวนการ
ทางานนี้ต้องเลื่อนไปให้กะกลางวันรื้ออีกครั้ง
กระบวนการที่ 3 การรื้ อ Portal frame สามารถรื้ อ ออกได้ ง่ า ยเพี ย งถอด
เหล็กเส้นแรงดึงสูง หรือ PT bar ออกก็สามารถยกลงด้วยรอกไฟฟ้าได้เลยจึงยังไม่พบปัจจัยที่ เป็น
ปัญหาในปัจจุบัน
กระบวนการที่ 4 การติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรง มีปัจจัยที่สาคัญที่ส่งผลต่อการ
ปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพดังนี้
1. กระเช้าสาหรับทางานดึงลวดสลิงจะมี frame กั้นระหว่างพื้นกระเช้ากับ
frame ด้านบน truss มักพบปัญหาพื้นของตัวกระเช้าสูงหรือต่ากว่าระดับทางาน เพราะสลิงที่ยึด
กระเช้าไม่สามารถปรับระยะได้
2. การปฏิบัติงานแบบเดิมจะต้องเลื่อน Frame ยึดตัวกระเช้าด้านบน Main
truss เสมอ เพราะแต่ละช่วงเสาระยะไม่เท่ากัน เช่น 30, 33, 35, 37m. จึงต้องมีการรื้อราวกันตก
ด้านบน Main truss ออกทาให้เสียเวลาและต้นทุนทาซ้าเกือบทุกช่วงเสา
ดังนั้น เห็นได้ว่าทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นทาให้การทางานใช้ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
เพิ่มมากขึ้นอันมาจากเกิดงานเพิ่ม สุดท้ายส่งผลต่อกระบวนการปฏิบัติงานรวมได้
กระบวนการที่ 5 การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segment มีปัจจัยที่กระทบต่อการ
ทางานมากที่สุดปัจจัยเดียว คือ ในระหว่างการยกชิ้นส่วนสาเร็จไปติดตั้งชิ้นงานเกิดกระทบกับชิ้นส่วน
อื่นจนกระทั่งแตกบิ่นจะต้องใช้ระยะเวลาซ่อมให้เสร็จก่อนดาเนินกระบวนการอื่นๆ ในช่วงหลังจาก
การยกขึ้นติดตั้งเสร็จ และยังส่งผลถึงต้นทุนเพิ่มขึ้ น ส่วนปัจจัยอื่นๆ บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้
(เครื่องจักรที่ใช้ยกชิ้นงานของโรงงานเสีย , ฝนตก) และบางปัจจัยไม่สามารถแก้ไขได้ต้องปรับเปลี่ยน
วิ ธี ก ารท างานอั น มาจากสภาพแวดล้ อ มของพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ ง าน (พื้ น ที่ ใ ห้ ร ถเทรลเลอร์ ส่ ง ชิ้ น ส่ ว น
segment มีน้อยหรือไม่สามรถเข้าส่ งได้) ในส่วนของปัจจัยอื่นที่เหลือนั้นมีผลกระทบเล็กน้อยจึงไม่
นามาพิจารณา

Ref. code: 25605810038272TSA


50

4.1.4 ขั้นตอนที่ 4 กระบวนกำรหลังกำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ


กระบวนการหลังการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ มีจุดประสงค์คือการเสริมแรงแก่ช่วง
สะพานโดยการดึงลวดอัดแรงทั้งหมดให้ได้ค่าตามการออกแบบ ในขั้นตอนนี้แบ่งขั้นตอนย่อยได้เป็น 9
กระบวนการ ดังนั้นหากมีหากปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฏิบัติงานเพื่อนาไปปรับปรุงจะช่วยให้การ
ทางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ดังภาพที่ 35
กระบวนการที่ 1 การจัดชิ้นงานทั้งช่วงเสาให้ได้ค่าตามการสารวจ ปัจจัยที่ทาให้
ระยะเวลาการปฏิบัติงานเพิ่มมาขึ้นจนกระทั่งกระทบต่อกระบวนการอื่นได้ คือ ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมี
ระดับที่ไม่เท่ากันต้องใช้ร อกไฟฟ้ายกชิ้นงานขึ้นแล้วจัดระดับใหม่ ส่วนปัจจัยอื่นนั้นสามารถแก้ไข
ปัญหาได้โดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก
กระบวนการที่ 2 กระบวนการเสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ ในการปฏิบัติงานไม่
สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าระยะของรอยต่อกว้างเท่าใด การหล่อลูกบาศก์จึงยึดตามระยะห่างระหว่าง
รอยต่อตามแบบมากสุด 20 cm. หากร่องเล็กกว่าจะต้องเจียคอนกรีตส่วนที่เกินออกจึงจะเสียบได้
และการรออีพ๊อคซี่แห้ งที่ใช้ร ะยะเวลานานจะส่ งให้ การปฏิ บัติงานล่ าช้าออกไปสมควรได้รับการ
ปรับปรุงแก้ไข
กระบวนการที่ 3 กระบวนการเข้าแบบ Wet joint พบว่าในครั้งที่ไม่มีแบบเหล็ก
เพียงพอในการใช้งาน บางครั้งมีการข้ามกระบวนการรื้อแบบเหล็ก Wet joint จึงต้องเสียเวลารื้อของ
ช่วงเสาก่อนหน้ามาใช้เข้าแบบต่อจะใช้ระยะเวลาการปฏิบัติงานนานจนกระทั่งทาให้ระยะเวลารวม
ของการติดตั้งช่วงเสานี้ยาวออกไป ส่วนปัจจัยปัญหาในการเข้าแบบ(เข้ายาก,น้าปูนอมเหล็กรัดแบบ)
และปัญหาในการจัดคิวรถสามารถแก้ไขได้ตามความสาคัญของงานจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 4 กระบวนการดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% พบว่าโดยปกติกะ
กลางคืนจะไม่ได้ติดตั้งกระเช้าดึงลวด เพราะติดงานจัดระยะชุดแขวนชิ้นงานที่ต้องย้ายเป็นจานวน
หลายเส้นทาให้กระบวนการติดตั้งกระเช้าถูกเพิ่มมาในช่วงเวลากลางวันจนกระทั่งทาให้การปฏิบัติงาน
ล่าช้าออกไปในที่สุด ส่วนปัจจัยอื่นๆ นั้นกระทบต่อการปฏิบัติงานน้อยจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 5 กระบวนการเทคอนกรีต Wet joint มีปัจจัยของความล่าช้า
จากกระบวนการก่อนหน้า เช่น การรื้อ Pier bracket จากการปฏิบัติงานกลางคืนต้องเปลี่ยนมาทาใน
ช่วงเวลากลางวัน ,การติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรงต้องใช้เวลากลางวันติดตั้ง กระบวนการที่ถูกเพิ่มมา
ต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานกะกลางวันจึงไม่สามารถเทได้ทัน ทาให้กระบวนการเทคอนกรีตถูก
เลื่อนจากกลางวันไปเป็นกลางคืน ส่วนปัจจัยการจราจร ,ปัญหาการรอคิวผสมคอนกรีต และการที่
คอนกรีตไม่ผ่านการควบคุมคุณภาพไม่สามารถควบคุมได้จึงไม่นามาพิจารณา

Ref. code: 25605810038272TSA


51

ภาพที่ 4.5 ปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการหลังการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จขาดประสิทธิภาพ

Ref. code: 25605810038272TSA


52

กระบวนการที่ 6 การรออายุคอนกรีต ให้ได้กาลังตามการออกแบบต้องใช้ระยะ


เวลานานมากกว่ามาตรฐาน ทาให้ผู้ป ฏิบัติงานต้องเสียทั้งระยะเวลาและต้นทุนรอคอยจึงควรแก้ไข
ปรับปรุง
กระบวนการที่ 7 กระบวนการดึงลวดอัดแรง 3 คู่แรก มีปัจจัยที่ส่งผลในการ
ปฏิบัติงานทาให้ขาดประสิทธิภาพ ดังนี้ การโยกย้ายตัว Hydraulic ทาได้ยากเพราะต้องใช้รอกโซ่
เกาะเกี่ยวแล้วโยกไปยังตาแหน่งที่ต้องการดึงลวดอัดแรงส่งผลต่อระยะเวลาการปฏิบัติงานใช้เวลามาก
,การดึงลวดอัดแรงบางจุดทาได้ยากเพราะติดชิ้นส่วน Portal frame จะต้องใช้แก๊สตัดเหล็กที่ขวาง
ออก (เฉพาะตัวที่ตัดได้) เพื่อให้การดึงลวดดาเนินต่อไปได้ ส่วนปัจจัยกระบอกไฮดรอลิคชารุดและการ
ตอกลิ่มไม่ดีส่วนใหญ่พบได้น้อยมากในการปฏิบัติงานจึงไม่นามาพิจารณา
กระบวนการที่ 8 กระบวนการลดระดั บ Main truss กระบวนนี้ ต้ อ งท าหลั ง
กระบวนการที่ 6 ซึ่ ง มั ก ล่ า ช้ า จนกระทั่ ง การดึ ง ลวดกระบวนที่ 7 ก็ เ กิ ด การล่ า ช้ า สะสม สุ ด ท้ า ย
กระบวนการที่ 8 มักต้องทาในเวลาพักเที่ยง หรือช่วงเย็นหลังกะกลางวันเลิกงานทาให้งานเกิดการ
หยุดชะงักต้องรอพนักงานเข้างานจึงจะดาเนินต่อได้ ฉะนั้นควรแก้ไขปรับปรุง
กระบวนการที่ 9 กระบวนการดึ ง ลวดอั ด แรง 100% ของคู่ ที่ เ หลื อ เป็ น
กระบวนการวิธีการและปัจจัยเดียวกับกระบวนการที่ 7 จึงไม่พิจารณาซ้าอีก

4.2 แนวทำงปรับปรุงปัจจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภำพกำรปฏิบัติงำน

เมื่อมีการกาหนดปัจจัยที่ต้องปรับปรุงแล้ว ก็นามาหาวิธีการเพื่อให้การปฏิบัติงานของ
ทั้ง 4 ขั้นตอน รวมเป็น 35 กระบวนการย่อย มีแนวทางที่ใช้ในการปฏิบัติงานแล้วเกิดประสิทธิภาพ
เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการลง

4.2.1 ขั้นตอนกำรเตรียมกำรก่อนกำรเลื่อน Launching gantry


การพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงปัจจัยที่ทาให้กระบวนการขาดประสิทธิภาพมี
แนวทางดังภาพที่ 4.6 (หน้าถัดไป)
ในขั้นตอนนี้พบว่ามี 1 กระบวนการที่สามารถลดหรือตัดออกได้ คือ การส่งคืน
อุปกรณ์ไปยังโรงงานด้วยรถเทรลเลอร์ทันที เมื่อมีการยกอุปกรณ์ลงจากเดิมมีก ารกองไว้ด้านล่างแล้ว
รอนาส่งอีกครั้ง ในส่วนของ 4 กระบวนการที่เหลือสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปรับปรุงได้ช่วยลด
กระบวนการปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพให้น้อยลง

Ref. code: 25605810038272TSA


53

ภำพที่ 4.6 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการ


เลื่อน Launching gantry

4.2.2 ขั้นตอนกำรเลื่อน Launching gantry เข้ำตำแหน่ง


การพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงปัจจัยที่ทาให้กระบวนการขาดประสิทธิภาพ
ของทั้ง 16 กระบวนการ ในขั้นตอนนี้มีการกาหนดแนวทางการปรับปรุงทั้งสิ้น 9 กระบวนการส่วนอีก
7 กระบวนการที่เหลือนั้นเป็นการทางานซ้า เช่น กระบวนการขึ้นขาค้าหลัง มี 2 ครั้งในช่วงเวลาและ
บริบทการปฏิบัติงานที่ต่างกัน (แต่วิธีการปฏิบัติงานทาแบบเดียวกัน) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะไม่
พิจารณาซ้าและไม่นามาแสดงในรูปอีก

Ref. code: 25605810038272TSA


54

ภาพที่ 4.7 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ในขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง

Ref. code: 25605810038272TSA


55

4.2.3 ขั้นตอนกำรติดตั้งชิ้นส่วน Segment


การพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงปัจจัยที่ทาให้กระบวนการขาดประสิทธิภาพ
ของทั้ง 5 กระบวนการมีแนวทางดังต่อไปนี้

ภำพที่ 4.8 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ในขั้นตอนการติดตั้งชิ้นส่วน


สาเร็จ Segment

เมื่อพิจ ารณาแนวทางปรับปรุงแก้ไข พบว่ามีห นึ่งกระบวนการที่ไม่พบปัจจัย


ปัญหา เพราะการรื้อ Portal frame สามารถทาได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามอีก 4 กระบวนการควรมีการ
อบรมความรู้เบื้องต้นพนักงานเพิ่มเติมในการปฏิบัติงานได้แก่ กระบวนการที่ 1, 2, 4 และ 5 เพื่อให้
พนักงานเข้าใจหลักการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง, บางกระบวนการในขั้นตอนนี้มีวิธีการปรับปรุงแก้ไ ข

Ref. code: 25605810038272TSA


56

เหมือนกับขั้นตอนหลักที่ 1 และ 2 ดังนั้นหากปรับปรุงจะช่วยลดปัจจัยที่ทาให้ขาดประสิทธิภาพได้ดี


ยิ่งขึ้น

4.2.4 ขั้นตอนหลังกำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ
กระบวนการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตั้ง Segment
พบว่าโดยส่วนใหญ่กระบวนการมักเกิดการล่าช้ามาจากการข้ามขั้นตอนการทางานในช่วงก่อนหน้า
ปัจจัยที่ส่งผลให้แต่ละกระบวนการขาดประสิทธิภาพก่อให้เกิดการล่าช้าสะสมจนกระทบกันไปทุก
ขั้นตอน ดังนั้นการวางแผนการปฏิบัติงานในแต่ละกะ และการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการย่อม
ส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามจุดประสงค์มากขึ้น
การพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงปัจจัยที่ทาให้กระบวนการขาดประสิทธิภ าพ
ของทั้ง 9 กระบวนการ มีแนวทางดังรูปด้านล่าง

Ref. code: 25605810038272TSA


ภาพที่ 4.9 แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ ในขั้นตอนหลังการติดตั้ง
57

ชิ้นส่วน Segment

Ref. code: 25605810038272TSA


58

4.3 กำรปรับปรุงกระบวนกำรติดตั้งชิ้นส่วน Segment Box Girder โดยวิธีกำรกำหนดสำยงำน


วิกฤต

การใช้ ป ระโยชน์ จ ากข้ อ มู ล ระยะเวลาเฉลี่ ย ของแต่ ล ะกระบวนการที่ ไ ด้ จ ากการ


ปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder ดั้งเดิม และนาข้อมูลที่ได้เก็บศึกษามาวางแผนงาน
ใหม่ด้วย CPM เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมงานรูปแบบใหม่ควบคู่ไปกับแนวทางการปรับปรุง
ปั จ จั ย เพื่ อ ลดงานที่ ข าดประสิ ท ธิ ภ าพ จากนั้ น มี เ ปรี ย บเที ย บระหว่ า งกระบวนการดั้ ง เดิ ม และ
กระบวนการใหม่เพื่อหาผลลัพธ์ โดยทั้ง 2 ประเด็นแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้
1. เปรียบเทียบระยะเวลา ระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการใหม่
2. เปรียบเทียบต้นทุน ระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการใหม่

4.3.1 ขั้นตอนกำรปฏิบัติงำนรูปแบบดั้งเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติงานก่อนปรับปรุงกระบวนการที่ได้จากการเก็บข้อมูลก่อนเริ่ม
ขั้นตอนการศึกษาอื่น มีการเก็บระยะเวลาการปฏิบัติงานของแต่ละกระบวนการย่อย และผลการเก็บ
ข้อมูลพบว่ากระบวนการปฏิบัติงานส่วนใหญ่มักมีการทาแบบเรียงลาดับต่อกันไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็น
การปฏิบัติงานทีละกระบวนการเรียงต่อกันไป อย่างไรก็ตามมีบางกระบวนการมีการทาพร้อมกันบ้าง
ซึ่งยังพบได้น้อยมาก โดยแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติงานของกระบวนการดั้งเดิมซึ่งมีรายละเอียดค่าเฉลี่ย
ของเวลาได้มาจากการเก็บข้อมูล 6 ช่วงเสา (ภาคผนวก 2 ระยะเวลาและวันที่ทางานของกระบวนการ
ดั้งเดิม) มาใส่ลงในการเขียนผังสายงานวิกฤตกระบวนการดั้งเดิมมีรายละเอียดดังรูปต่อไปนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


59

ภำพที่ 4.10 ขั้นตอนการปฏิบัติงานกระบวนการดั้งเดิม

Ref. code: 25605810038272TSA


60

เมื่ อ แบ่ ง น าขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ง านมาแบ่ ง เป็ น กระบวนการย่ อ ยๆ และใส่


ระยะเวลาเฉลี่ย รวมทั้งทดสอบการใส่เวลาปฏิบัติงานจริงของช่วงเวลากลางวัน/กลางคืนสังเกตเห็นได้
ว่ากระบวนการปฏิบัติงานทาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนี้
- Day1 08:00 - 11:11 , Night1 20:00 - 23:28
- Day2 ไม่มี , Night2 20:00 - 05:12
- Day3 08:00 - 13;26 , Night3 20:00 - 04:44
- Day4 08:00 - 16:12 , Night4 ไม่มี
- Day5 09:57 - 11:44
เมื่อวิเคราะห์ จากแผนการปฏิ บั ติงานก่ อนปรับปรุ งกระบวนการ พบว่า การ
ทางานแบบเรียงกันเป็นเส้นตรงจานวนมากก่ อให้เกิดกิจกรรมวิกฤตมากสุดถึง 31 กระบวนการ จาก
กระบวนการทั้ ง หมด 35 กระบวนการ หากมี ก ระบวนการใดล่ า ช้ า และการปฏิ บั ติ ง านที่ ข าด
ประสิทธิภาพจะทาให้ระยะเวลารวมของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
ดังนั้น หากไม่มีการจัดกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ เช่น การทางานพร้อมกันได้
ในช่วงเวลาเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงวิธีการทางานบางรายการ และถ้าไม่มีการหาปัจจัยที่ส่งผลให้
กระบวนการปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพแล้ว ผลการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานย่อมทาให้
ระยะเวลาการปฏิบัติงานของโครงการควบคุมได้ยากและไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงต้องมีการจัด
กระบวนการปฏิบัติงานใหม่ให้เหมาะสมมากที่สุด

4.3.2 ขั้นตอนกำรปฏิบัติงำนหลังปรับปรุงกระบวนกำร (รูปแบบใหม่)


การออกแบบแผนงานใหม่ จากการวิเคราะห์แนวทางการปรับปรุงกระบวนการ
ในหัวข้อ 4.4.2 เห็นได้ว่าหากนากระบวนการย่อยๆของแต่ละวันที่ป ฏิบัติงานไม่เต็มประสิ ทธิภาพมา
รวมกัน หรือนากระบวนการย่อยๆมาใส่ลงในช่วงเวลาที่ไม่มีการปฏิบัติงานเลยจะสามารถช่วยให้การ
ปฏิบัติงานเร็วขึ้นได้และไม่สูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามการสับเปลี่ยนจะต้องคงไว้
ซึ่งหลักการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแท้จริง
การจัดกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ บางกระบวนการยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
ได้ เพราะการปฏิบัติงานเลื่อนเครื่องจักร Launching gantry ต้องทางานเช่นเดิม กระบวนการแบบ
เรียงเป็นแนวเส้นตรงเช่นเดิม และในกระบวนการอื่น บางกระบวนการได้ตัดออกเพื่อลดระยะเวลาให้
สั้นลง หากมีกิจกรรมใดล่าช้าอาจช่วยชดเชยเพื่อให้ แผนปฏิบัติงานยังอยู่ในช่วงที่ควบคุมไว้ ดังนั้นใน
การจัดกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ มี 4 ประเด็น คือ

Ref. code: 25605810038272TSA


61

1. กระบวนกำรปฏิบัติงำนที่เรียงกันเป็นเส้นตรง การที่ต้องปฏิบัติงานเรียงกัน
เป็นเส้นตรง หมายความว่า กระบวนการเหล่านี้เป็นสายงานวิกฤต จะต้องให้ความสาคัญมากที่สุดใน
การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ซึ่งแบ่งรายละเอียดตามวันที่ปฏิบัติงานได้ดังต่อไปนี้
กะกลางคืนที่ 1 การปลดขาค้าหน้าด้วยรถเครน จากนั้นใช้รถเครนมายกอุปกรณ์
ลงเพื่อส่งคืนโรงงาน (หลบการย้ายขารองรับ) จากนั้นมีการย้ายขารองรับ Rear support โดยใช้รอก
ไฟฟ้าแล้วขึ้นขาค้าหลังเพื่อเตรียมเลื่อนเครื่องจักรไปด้านหน้า เมื่อเลื่อนเสร็จแล้วจะต้องติดตั้งขาค้า
หน้า ด้วยรถเครนเพื่อค้ารับน้าหนัก Main truss ด้านหน้า แล้วย้ายขารองรับ Middle support เข้า
ไปใกล้ Front support ด้วยรอกไฟฟ้าและนารอกไฟฟ้าไปใช้ในการย้าย Front support ไปด้านหน้า
ของกะกลางคืนเป็นการกระทาเกี่ยวกับเครื่องจักร Launching gantry โดยต้องทาเป็นขั้นตอนไม่
สามารถข้ามขั้นตอนได้ และการใช้รอกไฟฟ้าตัวเดียวกันกระบวนการปฏิบัติงานจึงต้องเรียงกันเป็น
เส้นตรง
กะกลางวั น ที่ 1 ปฏิ บั ติ ง านต่ อ จากกะกลางคื น ด้ ว ยการขึ้ น ขารองรั บ Front
support จากนั้ น ย้ า ย Rear support ชิ ด Middle support ด้ ว ยรอกไฟฟ้ า และใช้ ร อกไฟฟ้ า ย้ า ย
Middle support เข้าตาแหน่งต่อไป ในกระบวนการสุดท้ายคือการเลื่อนเครื่องจักรให้เข้าตาแหน่ง
เป็นการทางานเรียงกันเป็นเส้นตรงทั้งหมดเพราะกระทากับตัว Launching gantry ทั้งหมด
กะกลางคืนที่ 2 การปฏิบัติงานรื้อชุด Pier bracket จะต้องใช้เครนในการยกลง
จากนั้นนาเครนมาจัดระยะชุดแขวนชิ้นส่วนสาเร็จให้ได้ระยะ จากนั้นเข้าไปติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัด
แรงเป็นขั้นตอนสุดท้ายเห็นได้ว่าต้องใช้เครนทุกขึ้นตอน ดังนั้นกระบวนการจึงต้องเรียงเป็นเส้นตรง
กะกลางวันที่ 2 ลาดับแรกจะต้องจัดชิ้นส่วนสาเร็จให้ได้ตามค่าออกแบบก่อนจะ
ดาเนินการกระบวนการอื่นได้ จากนั้นพนักงานจะเสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์กั้นช่อง (Joint) งานอื่น
จึงปฏิบัติงานตามหลังได้ต่อ
กะกลางคืนที่ 3 ในการติดตั้ง Pier bracket จะต้องใช้รถเครนในการติดตั้ง และ
การติดตั้ง Portal frame ก็ต้องใช้รถเครนเช่นเดียวกัน เดิมในกะนี้จะมีการนาส่งอุปกรณ์คืนโรงงานึ่ง
แผนใหม่นี้ได้ยกเลิกการส่งคืนในกะนี้
กะกลางวัน ที่ 3 การติดตั้งราวกันตกเป็นอันดับแรกตั้งแต่ช่ว งเช้าเพื่อป้องกัน
อันตรายจากการปฏิบัติงาน จากนั้นจะทาการรื้อแบบ Wet joint เพื่อนาไปใช้ช่วงเสาถัดไปในระหว่าง
รอดกาลังคอนกรีต เพื่อได้กาลังแล้วก็อยู่ในกระบวนการเสริมแรงจากนั้นเพื่อเสร็จคู่ที่ 3 จะต้องลด
ระดับวางช่วงสะพานลงบนเสาและดึงลวดอัดแรงเสริมกาลังต่อจนครบทั้งหมดเรียงต่อกันเป็นเส้นตรง

Ref. code: 25605810038272TSA


62

2. กระบวนกำรที่สำมำรถทำคู่ขนำนกันไปได้ การปฏิบัติงานคู่ขนานกันไปจะ
ช่ ว ยให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านเร็ ว ขึ้ น แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามในการท าควบคู่ กั น ไปนั้ น ต้ อ งมี อ ย่ า งน้ อ ย 1
กระบวนการที่ใช้ร ะยะเวลามากกว่ากระบวนการอื่นที่ทาควบคู่กัน นั่นหมายถึงกระบวนการที่ใช้
ระยะเวลามากที่สุดเป็นสายงานวิกฤต (อ้างอิงระยะเวลาทางานจากกระบวนการดั้งเดิม) ซึ่งผู้วิจัยได้
แบ่งรายละเอียดตามวันที่ปฏิบัติงานมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระบวนการถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรงใช้รถเครนในการถอดจากเครื่องจักร
Launching gantry และกระบวนการค้าขาค้าหลัง (Rear leg) นั้นทาอยู่ปลายของเครื่องจักร ดังนั้น
กระบวนการทัง้ 2 นี้สามารถทาไปพร้อมกันได้
กระบวนการติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรง จากเดิมจะต้องติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัด
แรงก่อน แล้วติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segment เปลี่ยนใหม่เป็นการทาขนานกันไป เพราะการติดตั้ง
กระเช้าดึงลวดอัดแรงใช้เครนติดตั้ง ส่วนการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จใช้รอกไฟฟ้าในการยกซี่งไม่เกี่ยวข้อง
กันจึงสามารถทาพร้อมกันได้
กระบวนการเข้าแบบ Wet joint และกระบวนการดึงลวดอัดแรง 15% สามารถ
ทาพร้อมกันได้เพราะเป็นการแยกชุดทางานออกจากกัน จากเดิมเป็นการรองานกันนั้นทาให้การเท
คอนกรีตล่าช้าออกไป ซึ่งส่งผลต่อกาลังคอนกรีตที่ต้องรอนานออกไปด้วย ดังนั้นการทางานที่พร้อมกัน
จะช่วยให้การเทคอนกรีตเริ่มได้เร็วขึ้นส่งผลให้กาลังที่ผ่านอาจเร็วขึ้นด้วย (ขึ้นอยู่กับกาลังคอนกรีต
สาเร็จที่ผสมจากโรงผสมด้วย)
3. กำรลดกระบวนกำรปฏิบัติงำน การลดหรือตัดกระบวนการทางานที่ไม่จาเป็น
ซ้าซ้อนออกไป จานวน 2 กระบวนการดั งต่อไปนี้ กระบวนการปฏิบัติงานเดิมในกระบวนการยก
ชิ้นส่วนคืนโรงงานได้ใช้รถเครนยกลงแล้วรอนาส่งในคืนที่ 2 เปลี่ยนเป็นการยกลงบนรถเทรลเลอร์
แทนการวางรอส่ งบนพื้น แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการจองขอใช้รถเทรลเลอร์เพื่อนาส่งอุ ป กรณ์
ล่วงหน้า เห็นได้ว่าช่วยลดการทางานซ้าซ้อนได้และลดระยะเวลาต้นทุนได้อีกด้วย
4. กำรออกแบบกระบวนกำรปฏิ บั ติ งำนใหม่ ภ ำยใต้เ งื่ อนไขของโครงกำร
เนื่ อ งจากโครงการก่ อ สร้ า งนี้ อ ยู่ ใ นเขตเมื อ งมี ก ารจราจรที่ แ น่ น หนาตลอดเวลา ดั ง นั้ น การจั ด
กระบวนการใหม่ที่ต้องปฏิบัติตามหลักสายงานวิกฤตแล้วยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของงาน เช่น การ
ยกของที่สูง การปิดกั้นช่องทางจราจร เป็นต้น ซึ่งประเด็นเงื่อนไขนี้ได้อ้างอิงจากบทที่ 3

Ref. code: 25605810038272TSA


63

ภำพที่ 4.11 กระบวนการปฏิบัติงานใหม่

Ref. code: 25605810038272TSA


64

4.3.3 ข้อแตกต่ำงระหว่ำงกระบวนกำรปฏิบัติงำนดั้งเดิมและกระบวนกำร
ปฏิบัติงำนรูปแบบใหม่
เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการปฏิบัติงานดั้งเดิมและกระบวนการใหม่พบว่า จาก
กิจกรรมวิกฤตของกระบวนการดั้งเดิม 32 กระบวนการ ลดลงเหลือ 28 กระบวนการ อีกทั้งยังมีการ
ยกเลิกอีก 1 กระบวนการที่ไม่จาเป็นอีกด้วย ซึ่งมีรายละเอียดความแตกต่างกัน จานวน 7 ประเด็น
ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการเลื่อน Launching gantry กระบวนการดั้งเดิม
ได้ทาในคืน Night1 และปลดอุปกรณ์ Pier bracket และ Portal frame ออกเมื่อไม่ใช้งานในคืนที่
เริ่มขั้นตอนการติดตั้ง Segment (Night3) จากนั้นเมื่อพิจารณาต่อพบว่าคืนถัดไปจะเป็นคืนที่รออายุ
คอนกรีตไม่มีการทางานเลย ผู้วิจัยจึงใช้เวลานี้ใช้เป็นประโยชน์ด้วยการเริ่มขั้นตอนการเตรียมการ
ติดตั้ง Pier bracket, Portal frame ของช่วงเสาถัดไปทันที ดังนั้นจากภาพที่ 42 เห็นได้ว่าผู้วิจัยเริ่ม
ขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry เลยทันที
2. เมื่อตัดกระบวนการเดิมในคืน Night1 ออกไปเป็นการเตรียมการก่อนตั้งแต่
กาลังปฏิบัติงานในช่ว งเสาที่ผ่ านมา ดังนั้นในคืน Night1 ของกระบวนการใหม่จะเป็นการท างาน
ขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry เลย ตั้งแต่เวลา 20:00 – 05:12 น. ประกอบไปด้วยกิจกรรม
ค้าขาค้าหลัง Rear leg ควบคู่กับถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง จากนั้นปลดขาค้าหน้าและย้าย Rear
support ดาเนินการต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งย้าย Front support เสร็จสิ้น
3. ช่วงเวลากลางวัน Day1 เริ่มขั้นตอนการเลื่อน Launching gantry ต่อจากกะ
กลางคืน เริ่มเวลา 08:00-13:26 น. เพื่อขึ้นขาค้าหน้าตลอดจนกระทั่งเดินเลื่อน Launching gantry
เข้าตาแหน่ง (เปลี่ยนจาก Day2 ของกระบวนการดั้งเดิมเป็น Day1 ของกระบวนการใหม่)
4. ช่ ว งเวลากลางคื น Night2 เริ่ ม ขั้ น ตอนการติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว น Segment ด้ ว ย
กระบวนการย่อย คือ การรื้อ Pier bracket จนกระทั่งติดตั้งชิ้นส่วนเสร็จช่วงตั้งแต่ เวลา 20:00 -
04:44 น. (เปลี่ยนจาก Night3 ของกระบวนการดั้งเดิมเป็น Night2 ของกระบวนการใหม่)
5. ช่วงเวลากลางวัน Day2 เริ่มกระบวนการหลังการติดตั้งชิ้นส่วน เวลา 08:00
น. ด้วยการจัดชิ้นงานทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจจนกระทั่งเทคอนกรีตเสร็ตเวลา 16:12 น. และรอกาลัง
คอนกรีต (เปลี่ยนจาก Day3 ของกระบวนการดั้งเดิมเป็น Day2 ของกระบวนการใหม่)
6. ช่ ว งเวลากลางคื น Night3 อยู่ ใ นช่ ว งรอก าลั ง คอนกรี ต จากเดิ ม ไม่ มี
กระบวนการปฏิบัติงานเลย กาหนดให้ดาเนินการติดตั้ง Pier bracket, Portal frame ของช่วงเสา
ถัดไปล่วงหน้าก่อน โดยเริ่มในเวลา 20:00 น. เสร็จสิ้น 23:28 น.แทนการรอโดยเปล่าประโยชน์

Ref. code: 25605810038272TSA


65

7. ช่วงเวลากลางวัน Day3 เริ่มต้นที่การติดตั้งราวกันตกพร้อมกับการดึงลวดอัด


แรง จานวน 3 คู่ หลังจากนั้นจะทาการลดระดับ Main truss จากนั้นผู้รับเหมาจะดึงลวดอัดแรงคู่ที่
เหลือจนครบพร้อมกับการรื้อแบบ Wet joint เพื่อเตรียมไว้ใช้งานต่อไปในช่วงเสาถัดไป
เมื่อพิจารณาอีกครั้งพบว่าการปฏิบัติงานมีการย่นระยะเวลาลดจาก 5 วันเหลือ 3
วัน ซึ่งในแต่ละวันมีระยะเวลาการปฏิบัติงานดังนี้
- Night1 20:00-05:12 Day1 08:00-13:26
- Night2 20:00-04:44 Day2 08:00-16:12
- Night3 20:00-23:28 Day3 08:00-13:20
การปฏิบัติงานด้วยกระบวนการใหม่จะมีการใช้ระยะเวลาที่เหลือในการเตรียม
งานหรือจัดกระบวนการงานที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการปรับปรุงกระบวนการที่เป็นปัญหาให้
มาประสิทธิภาพร่วมอยู่ด้วยยิ่งส่งเสริมให้ช่วยลดระยะเวลาปฏิบัติงานและต้นทุนของโครงการได้

4.4 กำรเปรี ยบเทียบประสิทธิ ภ ำพด้ำ นระยะเวลำปฏิบัติงำนระหว่ำ งกระบวนกำรดั้งเดิมและ


กระบวนกำรรูปแบบใหม่

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทางานด้วยการเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในแต่ล ะ
กระบวนการของกระบวนการปฏิ บั ติ ง านทั้ ง 4 ขั้ น ตอนหลั ก และ 35 กระบวนการย่ อ ย ของ
กระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการใหม่

4.4.1 ระยะเวลำปฏิบัติงำนของกระบวนกำรดั้งเดิม
การเก็บระยะเวลาปฏิบัติงานของกระบวนการดั้งเดิมนั้น อ้างอิงกระบวนการ
ปฏิบัติงาน 4.3.1 ขั้นตอนการปฏิบัติงานรูปแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยได้รวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง
ชิ้น ส่ ว น Segment จ านวน 6 ช่ว งเสา หรือ 2 ชุด (1 ชุดประกอบไปด้ว ย 3 ช่ว งเสา ดังนั้น จึงไม่
สามารถเก็บผลเป็นเลขคี่ได้) โดยระยะเวลาใช้ในการเก็บข้อมูลช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.
2560 ซึ่งมีความเหมาะสมกับช่วงเวลาที่ทาสาระนิพนธ์ การเก็บระยะเวลาจะอ้างอิงตามกระบวนตาม
4 ขัน้ ตอนหลักต่อไปนี้
1. การเตรียมการก่อนการเลื่อน Launching gantry จานวน 5 กิจกรรม
2. การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่งติดตั้ง จานวน 16 กิจกรรม
3. การติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segments จานวน 5 กิจกรรม
4. กระบวนการหลังการติดตั้งขิ้นส่วนสาเร็จ จานวน 9 กิจกรรม

Ref. code: 25605810038272TSA


66

ระยะเวลาในการปฏิ บั ติ ง านติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว นส าเร็ จ ด้ ว ยกระบวนดั้ ง เดิ ม การ


ปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่ว นประเภท Continuous span ทั้ง 6 ช่วงเสานั้นประกอบไปด้ว ยช่ว งเสา 2
แบบ คือ Rigid pier – Rigid pier และ Bearing pier – Rigid pier ทั้ง 2 แบบนี้จะมีกระบวนการ
ปฏิบัติงานทีแ่ ตกต่างกันที่การติดตั้งและรื้อ Portal frame
การติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว น Segment ใน 6 ช่ ว งเสาที่ ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น เก็ บ ข้ อ มู ล ในวั น ที่ 29
มกราคม 2560 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 27 วัน โดยไม่มีวันหยุดปฏิบัติงาน ใน
แต่ละวันนั้นมีการปฏิบัติงานจานวน 2 กะต่อวัน โดยในส่วนนี้ได้แสดงไว้อย่างย่อหากผู้ที่สนใจศึกษา
สามารถศึกษาเพิ่มเติมดังภาคผนวก 2 ระยะเวลาและวันที่ทางานของกระบวนการดั้งเดิม ได้ผลรวม
ระยะเวลาดังสรุปบันทึกการปฏิบัติงานต่อไปนี้

ตำรำงที่ 4.1
ระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการดั้งเดิม 6 ช่วงเสา
ระยะเวลาทีใ่ ช้ (นาที) ระยะเวลา
ลาดับ กระบวนการ ช่วงเสาที/่ Span no. เฉลี่ ย หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 (นาที)
1 ติดตัง้ Pier bracket 97 49 48 35 69 110 68
2 ติดตัง้ Portal frame - 124 - - 156 - 140 ติดตัง้ เฉพาะเสา Bearing
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 76 67 102 81 117 90 89
4 ติดตัง้ ราวกันตก 105 84 105 89 94 92 95
5 รื้อแบบ Wet joint 66 97 97 93 119 104 96
6 ค้าขาค้าหลัง 14 24 23 25 23 18 21
7 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 71 39 24 25 34 45 40
8 ปลดขาค้าหน้า Front leg 23 21 25 31 24 20 24
9 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 96 120 81 104 52 73 88
10 ย้าย Rear support ชิด Middle support 69 75 85 94 61 81 78
11 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 34 22 42 26 33 17 29
12 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 21 16 8 25 23 18 19
13 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 22 76 29 30 33 41 39
14 ย้าย Middle support ชิด Front support 106 106 45 105 100 50 85
15 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 119 298 116 110 136 121 150
16 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 16 17 16 33 16 40 23
17 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 26 21 16 50 15 42 28
18 ย้าย Rear support ชิด Middle support 91 53 41 127 56 158 88
19 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 14 19 8 16 13 21 15
20 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 102 81 48 64 170 62 88

Ref. code: 25605810038272TSA


67

ตำรำงที่ 4.1 (ต่อ)


ระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการดั้งเดิม 6 ช่วงเสา
ระยะเวลาทีใ่ ช้ (นาที) ระยะเวลา
ลาดับ กระบวนการ ช่วงเสาที/่ Span no. เฉลี่ ย หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 (นาที)
21 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 19 50 17 15 19 36 26
22 รื้อ Pier bracket 85 110 126 45 43 65 79
23 รื้อ Portal frame - - 65 - - 62 64
24 จัดระยะชุดแขวน Segment 37 135 45 110 165 111 101
25 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 39 21 51 41 55 18 38
26 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 213 282 179 242 225 178 220
27 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 103 97 129 147 165 97 123
28 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 74 81 54 56 52 39 59
29 เข้าแบบ Wet joint 256 156 80 227 88 88 149
30 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 272 298 289 248 324 134 261
31 เทคอนกรีต Wet joint 55 44 40 62 46 45 49
32 รออายุคอนกรีต 902 1,455 893 807 1,152 1,179 1,065
33 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 116 86 52 60 78 86 80
34 ลดระดับ Main truss 16 53 10 31 23 27 27
35 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 24 26 29 15 81 33 35
รวม 3,380 4,305 3,021 3,273 3,865 3,407 3,674

เมื่อพิจารณาผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลเห็นได้ว่าระยะเวลาปฏิบัติงานของแต่ละ
ช่ว งใช้ร ะยะเวลาต่ าสุ ด ที่ 4 วัน และระยะเวลาที่ใ ช้ม ากที่สุ ด 5 วัน (รายละเอีย ดข้ อ มูล แสดงใน
ภาคผนวก) หากมีการปล่อยให้ระยะเวลาปฏิบัติงานล่าช้าออกไปเรื่อยๆ จะส่งผลต่องานอื่นที่ต้องทา
ต่อจากการติดตั้งชิ้น ส่ ว นส าเร็ จ กระทั่งระยะเวลารวมของโครงการที่ขยายออกไปอย่างไม่มีการ
ควบคุม
เมื่อพิจารณาจากตารางการปฏิบัติงานของแต่ละช่วงเสาจากภาคผนวก สังเกตได้
ว่าในบางกะมีทั้งช่วงเวลาว่างจานวนมาก (idle time) และในบางกะมีการทางานเยอะมากไม่สมดุล
กัน จึงควรออกแบบปรับปรุงกระบวนการใหม่ใช้เป็นแผนการควบคุมการปฏิบัติงานต่อไป
ระยะเวลาที่ได้จากการเก็บข้อมูลตามตารางข้างต้นนี้จะนาไปใช้ประกอบการ
ออกแบบกระบวนการด้วยสายงานวิกฤตโดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของแต่ละกระบวนการย่อยในการ
กาหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพช่วยลดทั้งระยะเวลาและต้นทุนต่อไป

Ref. code: 25605810038272TSA


68

4.4.2 ระยะเวลำปฏิบัติงำนของกระบวนกำรรูปแบบใหม่
การปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder
โดยใช้ หัวข้อ 4.3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงกระบวนการ (รูปแบบใหม่) เป็นแนวทางใน
การปฏิบัติงานร่วมกับการปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลใช้การทางานขาดประสิทธิภาพ การนาข้อมูลทั้ง 2
ส่วนมาปรับปรุงเพื่อจุดประสงค์เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ลดระยะเวลาและต้นทุน
การวัดประสิทธิภาพของกระบวนการใหม่ได้เก็บ รวบรวมข้อมูลการติดตั้งแบบ
Continous span รวมทั้งสิ้น 6 ช่วงเสา หรือ 2 ชุด โดยใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม ถึง
เมษายน พ.ศ.2560 โดยกระบวนการปฏิ บั ติ ง านลดลง 1 กระบวนการอั น มาจากการออกแบบ
กระบวนการปฏิบัติงานใหม่ เหลือ 34 กระบวนการ
การติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว นทั้ ง 6 ช่ ว งเสานี้ เริ่ ม การเก็ บ ข้ อ มู ล วั น ที่ 13 มี น าคม ถึ ง 3
เมษายน 2560 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 22 วัน โดยไม่มีวันหยุดปฏิบัติงาน ในแต่ละวันจะปฏิบัติงาน 2
กะต่อวัน รายละเอียดภาคผนวกที่ 3 ระยะเวลาและวันที่ทางานของกระบวนการใหม่ล ได้ผลรวม
ระยะเวลาการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

ตำรำงที่ 4.2
ระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการรูปแบบใหม่ 6 ช่วงเสา
ระยะเวลาทีใ่ ช้ (นาที) ระยะเวลา
ลาดับ กระบวนการ ช่วงเสาที/่ Span no. เฉลี่ ย หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 (นาที)
1 ติดตัง้ Pier bracket 51 61 48 73 65 55 59
2 ติดตัง้ Portal frame 143 - - 122 - - 133 ติดตัง้ เฉพาะเสา Bearing
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 104 71 96 99 70 51 82
4 ติดตัง้ ราวกันตก 66 63 65 72 86 61 69
5 รื้อแบบ Wet joint 45 57 83 64 57 66 62
6 ค้าขาค้าหลัง 15 23 17 15 18 18 18
7 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 19 35 36 39 27 25 30
8 ปลดขาค้าหน้า Front leg 15 21 19 12 12 19 16
9 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง - - - - - - - ยกเลิกกระบวนการ
10 ย้าย Rear support ชิด Middle support 67 58 66 76 55 77 67
11 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 16 15 14 19 15 17 16
12 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 14 6 12 20 8 13 12
13 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 31 14 21 14 15 18 19
14 ย้าย Middle support ชิด Front support 72 53 81 93 83 55 73
15 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 132 100 87 179 98 114 118

Ref. code: 25605810038272TSA


69

ตำรำงที่ 4.2 (ต่อ)


ระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานแต่ละกระบวนการของกระบวนการรูปแบบใหม่ 6 ช่วงเสา
ระยะเวลาทีใ่ ช้ (นาที) ระยะเวลา
ลาดับ กระบวนการ ช่วงเสาที/่ Span no. เฉลี่ ย หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 (นาที)
16 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 14 15 10 14 21 18 15
17 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 42 23 21 21 11 14 22
18 ย้าย Rear support ชิด Middle support 43 76 76 83 75 68 70
19 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 13 20 15 28 16 20 19
20 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 76 82 81 62 67 100 78
21 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 27 13 13 18 17 18 18
22 รื้อ Pier bracket 50 55 57 49 56 56 54
23 รื้อ Portal frame - 62 - - 55 - 20
24 จัดระยะชุดแขวน Segment 78 62 61 89 80 74 74
25 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22 31 25 31 29 35 29
26 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 184 222 180 204 216 157 194
27 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 70 93 86 89 85 120 91
28 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 28 28 22 26 28 29 27
29 เข้าแบบ Wet joint 52 74 90 52 162 50 80
30 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 485 113 114 155 127 134 188
31 เทคอนกรีต Wet joint 46 48 63 49 62 74 57
32 รออายุคอนกรีต 908 1232 1175 1,191 816 955 1,046
33 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 88 69 59 91 50 51 68
34 ลดระดับ Main truss 34 12 21 30 15 13 21
35 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 68 13 26 49 30 18 34
รวม 3,119 2,922 2,843 3,232 2,632 2,599 2,976

4.4.3 ประสิทธิภำพด้ำนระยะเวลำของกระบวนกำรดั้งเดิมและกระบวนกำรใหม่
เมื่อพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบ
ใหม่ ซึ่งมีกระบวนการปฏิบัติงานลดลง 1 กระบวนการ คือ การนาอุปกรณ์ช่วยยกลงมากองไว้ด้านล่าง
และกระบวนการรูปแบบใหม่นั้นได้ป ฏิบัติตาม กระบวนการที่ออกแบบใหม่อีกทั้งมีการกาหนดแนว
ทางการปรับปรุงปัจจัยที่ขาดประสิทธิภาพร่วมไปด้วย
ระยะเวลาของการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segment ของทั้งกระบวนการดั้งเดิม
และกระบวนการใหม่ ภายใต้รูปแบบการติดตั้ง Continuous span มีรายละเอียดระยะเวลาเฉลี่ย
ต่อไปนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


70

ตำรำงที่ 4.3
ตารางเปรียบเทียบระยะเวลาปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงกระบวนการ
ระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ระยะเวลาทีล่ ดลง
ลาดับ กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ หน่วย : หมายเหตุ
หน่วย : นาที
ดั้งเดิม รูปแบบใหม่ เปอร์เซ็นต์
1 ติดตัง้ Pier bracket 68 59 9 13.48%
2 ติดตัง้ Portal frame 140 133 8 5.36%
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 89 82 7 7.88%
4 ติดตัง้ ราวกันตก 95 69 26 27.42%
5 รื้อแบบ Wet joint 96 62 34 35.42%
6 ค้าขาค้าหลัง 21 18 4 16.54%
7 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 40 30 10 23.95%
8 ปลดขาค้าหน้า Front leg 24 16 8 31.94%
9 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 88 - 88 100.00%
10 ย้าย Rear support ชิด Middle support 78 67 11 14.19%
11 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 29 16 13 44.83%
12 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 19 12 6 34.23%
13 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 39 19 20 51.08%
14 ย้าย Middle support ชิด Front support 85 73 13 14.65%
15 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 150 118 32 21.11%
16 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 23 15 8 33.33%
17 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 28 22 6 22.35%
18 ย้าย Rear support ชิด Middle support 88 70 18 19.96%
19 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 15 19 - - -4 -23.08%
20 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 88 78 10 11.20%
21 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 26 18 8 32.05%
22 รื้อ Pier bracket 79 54 25 31.86%
23 รื้อ Portal frame 64 20 44 69.29%
24 จัดระยะชุดแขวน Segment 101 74 27 26.37%
25 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 38 29 9 23.11%
26 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 220 194 26 11.83%
27 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 123 91 33 26.42%
28 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 59 27 33 54.78%
29 เข้าแบบ Wet joint 149 80 69 46.37%
30 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 261 188 73 27.92%

Ref. code: 25605810038272TSA


71

ตำรำงที่ 4.3 (ต่อ)


ตารางเปรียบเทียบระยะเวลาปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงกระบวนการ
ระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ระยะเวลาทีล่ ดลง
ลาดับ ติดตั้งขาค้าหน้า Front leg กระบวนการ กระบวนการ หน่วย : หมายเหตุ
หน่วย : นาที
ดั้งเดิม รูปแบบใหม่ เปอร์เซ็นต์
31 เทคอนกรีต Wet joint 49 57 - - - 8 -17.12%
32 รออายุคอนกรีต 1,065 1,065 - 0.00% กาหนดให้เท่ากัน
33 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 80 68 12 14.64%
34 ลดระดับ Main truss 27 21 6 21.88%
35 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 35 34 1 1.92%
รวม 3,674 2,995 680 18.49%

การลดระยะเวลานอกจากกลยุทธิ์การปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ ดัง
หัวข้อ 4.2 และการนากระบวนการปฏิบัติงานใหม่ไปใช้กาหนดขอบเขตการทางานจริงทั้งกะกลางวัน
และกลางคืนแล้ว ยังมีกลยุทธิ์การจัดแผนงานให้เทคอนกรีตเร็วขึ้นในวันที่ 2 ช่วงบ่ายถึงเย็นเพื่อให้
ระยะเวลารออายุคอนกรีตจากตอนเย็นวันดังกล่าวถึงเช้าวันรุ่งขึ้นมีช่วงเวลาให้คอนกรีตเพิ่มกาลังมาก
ขึ้น ให้ แผนการดึง Post tension เริ่มได้ตามเวลาอีกด้ว ย (ตารางไม่ได้เปรียบเทียบ เนื่องจากไม่
สามารถควบคุมระยะเวลาการเพิ่มกาลังคอนกรีตได้ ทาได้เพียงการจัดกระบวนการทางานให้มีเวลารอ
อายุคอนกรีตมากยิ่งขึ้นเท่านั้น)
เมื่อเปรี ย บเทียบระยะเวลาเฉลี่ ยกระบวนการต่อกระบวนการ โดยส่ ว นใหญ่
แนวโน้มใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานลดลง มีเพียง 1 กระบวนการที่ใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้น คือ ระยะเวลา
เฉลี่ยการเทคอนกรีต Wet joint เพิ่มเพียงไม่กี่นาที ซึ่งหากนามาเทียบกับภาพรวมจึงไม่มีนัยะสาคัญ
การเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยของกระบวนการติดตั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบ
ใหม่ สามารถลดระยะเวลาปฏิบัติงานลงได้รวม 18.49% นั่นคือ เมื่อออกแบบกระบวนการปฏิบัติงาน
รูปแบบใหม่พร้อมทั้งปรับปรุงปัจจัยที่ทาให้กระบวนการขาดประสิทธิภาพ นั้นส่งผลให้ระยะเวลาที่
ลดลงจากแผนภาพ 4.11 ลงไปได้อีก แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงกระบวนการรูปแบบใหม่ส่งผลให้
การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Ref. code: 25605810038272TSA


72

4.5 กำรเปรี ย บเที ย บประสิ ท ธิ ภ ำพด้ ำ นต้ น ทุ น ปฏิ บั ติ ง ำนระหว่ ำ งกระบวนกำรดั้ ง เดิ ม และ
กระบวนกำรรูปแบบใหม่

การปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างจะต้องมีการควบคุมต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิด
กาไรสามารถดาเนินโครงการต่อไปได้ ซึ่งในโครงการก่อสร้างจะประกอบไปด้วยต้นทุน 3 ประเภทดังนี้
1. ต้นทุนงานก่อสร้าง เป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงได้แก่ ค่าแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ
เครื่องจักรใช้งาน การใช้ผู้รับเหมาช่วง เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยจะคิดต้นทุนเฉพาะค่าแรงงาน และเครื่องจักร
ที่ใช้งานในแต่ละวันของทั้ง 2 กะทางาน โดยจะไม่คิดต้นทุนในส่วนของวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือและ
ผู้รับเหมาช่วงเนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายแบบ unit cost ไม่ว่าใช้ระยะเวลาเท่าใดก็จ่ายจานวนเท่าเดิม
2. ต้นทุนทางอ้อม และ 3. ต้นทุนสานักงานใหญ่จะไม่ใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจากไม่
เกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานที่โดยตรง อีกทั้งการเก็บข้อมูลนั้นทาได้ยาก ซับซ้อน และต้องใช้
ระยะเวลานานในการรวบรวม
ดั ง นั้ น ต้ น ทุ น ที่ ใ ช้ ใ นประกอบการพิ จ ารณาเพื่ อ หาประสิ ท ธิ ภ าพประกอบไปด้ ว ย
ค่าแรงงาน ค่าเครื่องจักร ซึ่งรายละเอียดการใช้ทรัพยากรแรงงานกับเครื่องจักรแสดงไว้ใน หัวข้อ
3.6.2 การวัดประสิทธิภาพด้านต้นทุน

4.5.1 ต้นทุนในกำรปฏิบัติงำนติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จด้วยกระบวนดั้งเดิม
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานติดตั้งทั้งสิ้น 6 ช่วงเสาประกอบไปด้ว ยช่วงเสา 2
แบบ คือ Rigid pier – Rigid pier และ Bearing pier – Rigid pier ทั้ง 2 แบบนี้จะมีกระบวนการ
ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันที่การติดตั้งและรื้อ Portal frame การติดตั้งชิ้นส่วนทั้ง 6 ช่วงเสานี้ เริ่มการ
เก็บข้อมูลกะกลางคืนของวันที่ 29 มกราคม ถึงกะกลางวันของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ในแต่ละวัน
จะปฏิบัติงาน 2 กะต่อวัน ได้ผลรวมระยะเวลาการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

Ref. code: 25605810038272TSA


73

ตำรำงที่ 4.4
ต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการดั้งเดิม
อัตราราย ล่วงเวลา ล่วงเวลา
ลาดับ ประเภทต้นทุน ตาแหน่ง อัตรารายวัน เวลาทางานปกติ เป็นเงิน (บาท)
เดือน (คูณ 1.5) (คูณ 2.0)

1 ต้นทุนแรงงาน - รายเดือน
พนักงานรายเดือน-1 วิศวกรสนาม 27,516 76.40 ชม. 8,759.26
พนักงานรายเดือน-2 วิศวกรสนาม 26,016 95.15 ชม. 10,314.26
พนักงานรายเดือน-3 โฟร์แมน 26,980 95.15 ชม. 10,696.45
พนักงานรายเดือน-4 โฟร์แมน 14,700 76.40 ชม. 4,679.50
พนักงานรายเดือน-5 โฟร์แมน 13,500 76.40 ชม. 4,297.50
พนักงานรายเดือน-6 โฟร์แมน 12,580 95.15 ชม. 4,987.45
2 ต้นทุนแรงงาน - รายวัน
พนักงานรายวัน - Night1 รายวัน 329 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,320.20
พนักงานรายวัน - Night2 รายวัน 327 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,287.86
พนักงานรายวัน - Night3 รายวัน 319 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,158.50
พนักงานรายวัน - Night4 รายวัน 316 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,109.98
พนักงานรายวัน - Night5 รายวัน 316 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,109.98
พนักงานรายวัน - Night6 รายวัน 316 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,109.98
พนักงานรายวัน - Night7 รายวัน 315 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,093.81
พนักงานรายวัน - Night8 รายวัน 314 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,077.64
พนักงานรายวัน - Night9 รายวัน 313 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,061.47
พนักงานรายวัน - Night10 รายวัน 312 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,045.30
พนักงานรายวัน - Night11 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night12 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night13 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night14 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night15 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night16 รายวัน 310 95.15 ชม. 0.23 16.93 5,012.96
พนักงานรายวัน - Night17 รายวัน 304 95.15 ชม. 0.23 16.93 4,915.93
พนักงานรายวัน - Night18 รายวัน 300 95.15 ชม. 0.23 16.93 4,851.25
พนักงานรายวัน - Night19 รายวัน 300 95.15 ชม. 0.23 16.93 4,851.25
พนักงานรายวัน - Day1 รายวัน 305 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,613.76
พนักงานรายวัน - Day2 รายวัน 304 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,598.63
พนักงานรายวัน - Day3 รายวัน 304 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,598.63
พนักงานรายวัน - Day4 รายวัน 303 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,583.51
พนักงานรายวัน - Day5 รายวัน 300 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,538.13
พนักงานรายวัน - Day6 รายวัน 300 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,538.13
พนักงานรายวัน - Day7 รายวัน 300 76.40 ชม. 0.70 21.78 4,538.13

Ref. code: 25605810038272TSA


74

ตำรำงที่ 4.4 (ต่อ)


ต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการดั้งเดิม
อัตราราย ล่วงเวลา ล่วงเวลา
ลาดับ ประเภทต้นทุน ตาแหน่ง อัตรารายวัน เวลาทางานปกติ เป็นเงิน (บาท)
เดือน (คูณ 1.5) (คูณ 2.0)

3 ต้นทุนเครือ่ งจักร (เวลาทางานปกติ 10 ชม.ต่อวัน,ล่วงเวลาจ่ายเท่า ชม.ปกติ)


รถเครน 120 ตัน 550,000 4.67 ชม. 8,556
รถเครน 50 ตัน 200,000 52.35 ชม. 34,900
รถกระเช้า 75,000 49.70 ชม. 12,425
รถสิบล้อติดเครน 100,000 56.13 ชม. 18,711
รวมทัง้ สิน้ (บาท) 246,405.91
ต้นทุนต่อ 1 ช่วงเสา (บาท) 41,067.65
การคิดต้นทุนของการปฏิบัติงานทั้งค่าแรงงาน และค่าเครื่องจักรเริ่มคิดในกะ
กลางคืนของวันที่ 29 มกราคม ถึงกะกลางวันของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 เฉลี่ยต้นทุนก่อนการ
ปรับปรุงกระบวนการก่อสร้าง 41,067.65 บาทต่อช่วงเสา

4.5.2 ระยะเวลำในกำรปฏิบัติงำนติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จด้วยกระบวนกำรรูปแบบใหม่
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานติดตั้งทั้งสิ้น 6 ช่วงเสาประกอบไปด้ว ยช่วงเสา 2
แบบ คือ Rigid pier – Rigid pier และ Bearing pier – Rigid pier ทั้ง 2 แบบนี้จะมีกระบวนการ
ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันที่การติดตั้งและรื้อ Portal frame ประเภทเสาที่กล่าวมานั้นเช่นเดียวกับก่อน
การปรับปรุงกระบวนการ แตกต่างที่การเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการรูปแบบใหม่
การติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว นทั้ ง 6 ช่ ว งเสานี้ เริ่ ม การเก็ บ ข้ อ มู ล วั น ที่ 13 มี น าคม ถึ ง 3
เมษายน 2560 ในแต่ละวันจะปฏิบัติงาน 2 กะต่อวัน ได้ผลรวมระยะเวลาการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

ตำรำงที่ 4.5
ต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการรูปแบบใหม่
อัตราราย ล่วงเวลา ล่วงเวลา
ลาดับ ประเภทต้นทุน ตาแหน่ง อัตรารายวัน เวลาทางานปกติ เป็นเงิน (บาท)
เดือน (คูณ 1.5) (คูณ 2.0)

1 ต้นทุนแรงงาน - รายเดือน
พนักงานรายเดือน-1 วิศวกรสนาม 27,516 50.35 ชม. 5,772.63
พนักงานรายเดือน-2 วิศวกรสนาม 26,016 74.20 ชม. 8,043.28
พนักงานรายเดือน-3 โฟร์แมน 26,980 74.20 ชม. 8,341.32
พนักงานรายเดือน-4 โฟร์แมน 14,700 50.35 ชม. 3,083.94
พนักงานรายเดือน-5 โฟร์แมน 13,500 50.35 ชม. 2,832.19
พนักงานรายเดือน-6 โฟร์แมน 12,580 74.20 ชม. 3,889.32

Ref. code: 25605810038272TSA


75

ตำรำงที่ 4.5 (ต่อ)


ต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการรูปแบบใหม่
อัตราราย ล่วงเวลา ล่วงเวลา
ลาดับ ประเภทต้นทุน ตาแหน่ง อัตรารายวัน เวลาทางานปกติ เป็นเงิน (บาท)
เดือน (คูณ 1.5) (คูณ 2.0)

2 ต้นทุนแรงงาน - รายวัน
พนักงานรายวัน - Night1 รายวัน 329 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,258.15
พนักงานรายวัน - Night2 รายวัน 327 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,232.27
พนักงานรายวัน - Night3 รายวัน 319 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,128.72
พนักงานรายวัน - Night4 รายวัน 316 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,089.90
พนักงานรายวัน - Night5 รายวัน 316 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,089.90
พนักงานรายวัน - Night6 รายวัน 316 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,089.90
พนักงานรายวัน - Night7 รายวัน 315 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,076.95
พนักงานรายวัน - Night8 รายวัน 314 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,064.01
พนักงานรายวัน - Night9 รายวัน 313 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,051.07
พนักงานรายวัน - Night10 รายวัน 312 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,038.13
พนักงานรายวัน - Night11 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night12 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night13 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night14 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night15 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night16 รายวัน 310 74.20 ชม. 0.05 14.63 4,012.24
พนักงานรายวัน - Night17 รายวัน 304 74.20 ชม. 0.05 14.63 3,934.58
พนักงานรายวัน - Night18 รายวัน 300 74.20 ชม. 0.05 14.63 3,882.81
พนักงานรายวัน - Night19 รายวัน 300 74.20 ชม. 0.05 14.63 3,882.81
พนักงานรายวัน - Day1 รายวัน 305 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,455.89
พนักงานรายวัน - Day2 รายวัน 304 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,447.83
พนักงานรายวัน - Day3 รายวัน 304 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,447.83
พนักงานรายวัน - Day4 รายวัน 303 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,439.78
พนักงานรายวัน - Day5 รายวัน 300 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,415.63
พนักงานรายวัน - Day6 รายวัน 300 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,415.63
พนักงานรายวัน - Day7 รายวัน 300 50.35 ชม. 1.27 6.08 2,415.63
3 ต้นทุนเครื่องจักร (เวลาทางานปกติ 10 ชม.ต่อวัน,ล่วงเวลาจ่ายเท่า ชม.ปกติ)
รถเครน 120 ตัน 550,000 4.42 ชม. 8,097
รถเครน 50 ตัน 200,000 41.97 ชม. 27,978
รถกระเช้า 75,000 33.25 ชม. 8,313
รถสิบล้อติดเครน 100,000 39.97 ชม. 13,322
รวมทั้งสิ้น (บาท) 183,603.23
ต้นทุนต่อ 1 ช่วงเสา (บาท) 30,600.54

Ref. code: 25605810038272TSA


76

การคิดต้นทุนของการปฏิบัติงานทั้งค่าแรงงาน และค่าเครื่องจักรที่ใช้ในแต่ละ
งานของการติดตั้งชิ้นส่วนเฉลี่ยแล้วต้นทุนหลังการปรับปรุงแก้ไขปัจจัยที่ทาให้งานขาดประสิทธิภาพ
และใช้กระบวนการใหม่ในการปฏิบัติงาน ต้นทุนอยู่ที่ 30,600.54 บาทต่อช่วงเสา

4.5.3 กำรเปรียบเทียบต้นทุนที่ใช้ในกำรปฏิบัติงำนระหว่ำงกระบวนกำรดั้งเดิมและ
กระบวนกำรรูปแบบใหม่
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่ต้องการลดต้นทุนให้ต่าลง โดยการปรับปรุง
ปัจจัยที่ทาให้การดาเนินงานขาดประสิทธิภาพและการออกแบบกระบวนการรูปแบบใหม่ ทดแทนการ
ปฏิบัติงานตามกระบวนดั้งเดิม เพื่อให้การพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
การศึกษาเห็ น ข้อมูล การติดตั้งชิ้นส่ วนสาเร็จ Segment ในหั ว ข้อ 4.5.1 และ
4.5.2 ได้แสดงถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ ไปมากน้อยเพียงใด จากนั้นได้หาค่าเฉลี่ยถึงต้นทุนที่ใช้ไปของ
ทั้งสองกระบวนการสามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

ตำรำงที่ 4.6
เปรียบเทียบต้นทุนระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่
จานวนเงิน
กระบวนการรูปแบบ
ลาดับ ประเภทต้นทุน กระบวนการดั้งเดิม ต้นทุนทีล่ ดลง
ใหม่
(บาท) (บาท) (บาท)
1 ต้นทุนแรงงาน - พนักงานรายเดือน 43,734.41 31,962.67 11,771.75
2 ต้นทุนแรงงาน - พนักงานรายวัน 124,636.91 93,930.84 30,706.07
3 ต้นทุนเครือ่ งจักร 74,591.67 57,709.72 16,881.94
รวมเป็นเงิน (บาท ต่อ 6 ช่วงเสา) 242,962.99 183,603.23 59,359.76
เฉลี่ยเป็นเงิน (บาท ต่อช่วงเสา) 40,493.83 30,600.54 9,893.29

การเปรียบเทียบต้นทุนของการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จกระบวนการดั้งเดิม
และกระบวนการใหม่ เห็นได้ชัดว่าต้นทุนทั้ง 3 ประเภทปรับลดลงทั้งหมด ย่อมส่งผลให้ต้นทุนรวมของ
การปฏิ บั ติงานเฉลี่ ย ต่อช่ว งเสาลดลงไป 25.49% แสดงให้ เห็ นว่าการจัดกระบวนการปฏิ บัติง าน
รูปแบบใหม่ส่งผลให้การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Ref. code: 25605810038272TSA


77

บทที่ 5
สรุป ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะ

การศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างในงานติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box


Girder ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนเหนือ) มีวัตถุประสงค์ในการหาปัจจัยที่ทาให้งานขาด
ประสิ ท ธิ ภ าพและน าปั จ จั ย เหล่ า นั้ น ไปปรั บ ปรุ ง ใหม่ การศึ ก ษาประสิ ท ธิ ภ าพการท างานด้ ว ย
กระบวนการดั้งเดิม ซึ่งมีการเก็บข้อมูลทั้ง 2 ด้าน คือ ระยะเวลาและต้นทุน เพื่อนาข้อมูลไปออกแบบ
กระบวนการใหม่ ด้ ว ยวิ ธี ส ายงานวิ ก ฤต จากนั้ น ได้ น าผลกระบวนการใหม่ ม าเปรี ย บเที ย บกั บ
กระบวนการดั้งเดิมเพื่อหาประสิทธิภาพที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาวิจัยนี้ยังช่วยให้วงการก่อสร้างได้
ปรั บ เปลี่ ย นหรื อ น าไปประยุ กต์วิธีก ารท างานใหม่ที่ เหมาะสม อันเป็นการช่ว ยลดระยะเวลาการ
ดาเนินงานและต้นทุนที่ใช้ในการปฏิบัติงานลง

5.1 สรุป

การปรับปรุงกระบวนการในงานติดตั้งชิ้นส่วนฯ ได้ศึกษาและปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลให้
กระบวนการทางานขาดประสิทธิภาพทั้ง 35 กระบวนการย่อย ควบคู่ไปกับการออกแบบกระบวนการ
ปฏิบัติงานใหม่ด้วยวิธีสายงานวิกฤต จากนั้นนาระยะเวลาและต้น ทุนการปฏิบัติงานช่วงก่อนและหลัง
การปรับปรุงมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งมีรายละเอียดแบ่งเป็น 3 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพของแต่ละ
กระบวนการย่อยซึ่งได้มาจากการสัมภาษณ์และจากบทบันทึกปัจจัยที่เกิดขึ้นในช่วงของการเก็บข้อมูล
ของทั้ง 35 กระบวนการย่ อย หรือ 4 ขั้นตอนหลัก รายละเอียดแบ่งได้ 4 หัวข้อตามขั้นตอนหลั ก
ต่อไปนี้
ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการเลื่อน Launching gantry การปรับปรุงกระบวนการ
ได้ แ ก่ กระบวนการติ ด ตั้ ง Pier bracket การกลึ ง ลดขนาดสลั ก เสี ย บที่ ใ หญ่ เ กิ น ไปให้ เ หมาะสม
กระบวนการส่งอุปกรณ์คืนโรงงาน ได้ปรับปรุงด้วยการยกจากจุดทางานลงรถเทรลเลอร์ส่งคืนทันที
ทดแทนการนาลงมากองแล้วรอนาส่งภายหลัง (ไม่ให้มีการทางานซ้าซ้อน) กระบวนการติดตั้งราวกัน
ตกและกระบวนการรื้อแบบ Wet joint ถูกละเลยได้บรรจุไว้ในแผนงานใหม่ลดการข้ามกระบวนการ
ขั้นตอนที่การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง มีการปรับปรุงกระบวนการได้แก่
กระบวนการค้าขาค้าหลังและกระบวนการขึ้นขาค้าหลัง ปรับปรุงโดยการตรวจด้วยสายตา ซึ่งทาได้
โดยใช้ ป ากกาขี ด เส้ น ที่ หั ว สกรู เ พื่ อ ตรวจสอบการคลายตั ว ชิ้ น ส่ ว นในระยะเวลารวดเร็ ว

Ref. code: 25605810038272TSA


78

กระบวนการถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง ลดการแกว่งตัวของกระเช้าด้วยการใช้รอกโซ่ลดระยะห่างส่วน
ของกระเช้าชิ้นบนและล่างให้น้อยลง กระบวนการปลดขาค้า Front leg และกระบวนการติดตั้งขาค้า
หน้า พิจารณาปรับเปลี่ยนสลัก PT bar ที่โก่งงอเป็นสลักเหล็กหล่อให้ถูกต้องตามคุณสมบัติวัสดุ ใน
ส่วนของกระบวนการย้ายขารองรับได้ปรับปรุงด้วยการเชื่อมเหล็กเส้นรอบขารองรับให้พนักงานรูด
ลวดสลิงแขวนชิ้นส่วนสาเร็จไปตามแนวเหล็กเส้นเพื่อลดการยกหรือดึงหลบขารองรับ
ขั้นตอนการติดตั้งชิ้นส่วน Segment มีการปรับปรุง ได้แก่ กระบวนการติดตั้งกระเช้า
อัดแรง ต้องย้ายจุดติดตั้งบ่อยได้ปรับปรุงกาหนดจุดติดตั้งถาวรและให้อยู่ในช่วงปลอดภัย ส่วนของ
กระบวนการติดตั้ง Segment มีการใช้หมอนไม้รองชิ้นส่วนไม่ให้กระแทกกันจนแตกเสียหาย
ขั้นตอนการปฏิบัติงานหลังการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ มีการปรับปรุง ได้แก่ กระบวนการ
เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ ปรับปรุงจากขนาดความกว้ างเดียวเป็นการหล่อลูกบาศก์คอนกรีตให้
พร้ อมใช้งานด้ว ยการหล่ อตั้งแต่ขนาดต่าสุ ด 10 cm. เพิ่มทีล ะ 1 cm. จนถึงขนาด 20 cm. และ
เปลี่ยนวัสดุอีพ๊อคซี่ใช้ติดเป็นประเภทที่แห้งไว กระบวนการดึงลวดอัดแรง มีการปรับปรุงออกแบบ
ชิ้นส่วน Portal frame ใหม่เล็กน้อย เพื่อไม่ให้ติดกระบอกไฮดรอลิคดึงลวดอัดแรงและเพิ่มรางเลื่อน
แนวระนาบให้การโยกกระบอกไปยังตาแหน่งดึงใหม่ทาได้ง่ายขึ้น กระบวนการเข้าแบบ Wet joint
กระบวนการดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% กระบวนการเทคอนกรีต Wet joint กระบวนการลด
ระดับ Main truss ได้บรรจุไว้ในการออกแบบกระบวนการใหม่เพื่อลดการข้ามขั้นตอนปฏิบัติงาน
2. การปรับปรุงกระบวนการติดตั้งชิ้นส่วน Segment Box Girder โดยวิธีการกาหนด
กิจกรรมวิกฤตในระยะแรกได้เก็บกระบวนการที่เกิดขึ้นทุกๆช่วงเสาเพื่อระบุกระบวนการให้ครบตาม
การทางานจริง จากนั้นจึงเริ่มเก็บข้อมูลด้านระยะเวลาและต้นทุนจานวน 6 ช่วงเสาอันเป็นชุดข้อมูล
การปฏิบัติงานตามกระบวนการดั้งเดิม ซึ่งในระหว่างการเก็บข้อมูลพบว่ากระบวนการส่วนใหญ่จะ
ปฏิบัติเรียงต่อกันทีละกระบวนการเป็นเส้นตรงต่อไปเรื่อยๆ จานวนมากถึง 32 กระบวนการ ส่วน
กระบวนการที่ทาควบคู่ไปกับกระบวนการเส้นตรงมีเพียง 3 กระบวนการ ด้านระยะเวลาการทางาน
นั้นพบว่าการปฏิบัติงานหลายช่วงมีเวลาว่าง (Idle time) ทาให้การบริหารระยะเวลาการปฏิบัติงาน
ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นการออกแบบกระบวนการใหม่นี้ เพื่อต้องการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่
ต้องการลดระยะเวลาและต้นทุนการปฏิบัติงาน
เมื่อทราบถึงกระบวนการที่ป ฏิบัติงาน และระยะเวลาเฉลี่ยของการทางานของแต่ละ
กระบวนการดั้งเดิมแล้วก็ได้จัดกระบวนการทางานใหม่ โดยพิจาณาจาก 4 ประเด็น คือ กระบวนการ
ที่จะต้องทาเรียงกันเป็นเส้นตรง เช่น การเลื่อนเครื่องจักร Launshing gantry ต้องทาตามขั้นตอน
เท่านั้นไม่สามารถข้ามกระบวนการทางานของเครื่องจักรได้ กระบวนการที่สามารถทาคู่ขนานกันไปได้
การลดกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่จาเป็น และการออกแบบกระบวนการภายใต้เงื่อนไขโครงการ เช่น
ช่วงเวลาที่ให้ยกของบนที่สูงได้ ช่วงเวลาการปิดกั้นจราจร เป็นต้น โดยหลังจากได้จัดกระบวนการใหม่

Ref. code: 25605810038272TSA


79

แล้วพบว่ามีกระบวนการแบบกิจกรรมวิกฤต 27 กระบวนการ การทาควบคู่กัน 4 กระบวนการ และ


ตัดออก 1 กระบวนการ ดังนั้นกระบวนการใหม่จะมีขั้นตอนการทางานเหลือ 34 กระบวนการย่อย
เมื่อได้ออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานใหม่แล้ว ผู้วิจัยได้นากระบวนการที่ออกแบบ
ใหม่ นั้ น ไปใช้ ป ฏิ บั ติ ง านจริ ง และได้ เ ก็ บ ระยะเวลารวมทั้ ง ต้ น ทุ น ของการท างานติ ด ตั้ ง ชิ้ น ส่ ว น
Segmental box girder ต่ อ อี ก จ านวน 6 ช่ ว งเสาเพื่ อ น าข้ อ มู ล มาเปรี ย บเที ย บหาประสิ ท ธิ ภ าพ
ระหว่างกระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการใหม่ต่อไป
3. การเปรี ย บเที ย บประสิ ท ธิ ภ าพด้ า นระยะเวลาและต้ น ทุ น ปฏิ บั ติ ง านระหว่ า ง
กระบวนการดั้งเดิมและกระบวนการรูปแบบใหม่ ในการปฏิบัติงานของการติดตั้งชิ้นส่วน Segmental
box girder โดยใช้กระบวนการดั้งเดิม 6 ช่วงเสาและกระบวนการใหม่อีก 6 ช่วงเสาจากนั้นเฉลี่ย
ระยะเวลาและต้นทุนที่ใช้มาเปรียบเทียบเพื่อหาประสิทธิภาพต่อไป
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านระยะเวลาปฏิบัติงานของกระบวนการดั้งเดิมและ
กระบวนการรูปแบบใหม่ เมื่อหาระยะเวลาเฉลี่ยในการปฏิบัติงานของกระบวนการดั้งเดิมใช้เวลา
3,674 นาทีต่อช่วงเสา และกระบวนการใหม่ใช้เวลา 2,995 นาทีต่อช่วงเสา เห็นได้ว่าการปฏิบัติงาน
ด้วยกระบวนการใหม่นั้นสามารถลดระยะเวลาการปฏิบัติงานลงได้ 18.49%
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านต้นทุน เฉพาะค่าแรงและค่าเครื่องจักร ไม่พิจารณา
ต้นทุนวัสดุ เครื่องมือ รับเหมาช่วง ต้นทุนทางอ้อม โดยผลการเก็บต้นทุนของกระบวนการดั้งเดิมเป็น
จานวน 41,067.65 บาทต่อช่วงเสา และกระบวนการใหม่ 30,600.54 บาทต่อช่วงเสา ลดต้นทุนลงได้
25.49%

5.2 ข้อจำกัด

5.2.1 การรวบรวมต้นทุนในการปฏิบัติงานนั้นได้รวบรวมเฉพาะต้นทุนค่าแรงและค่า
เครื่องจักร เท่านั้นจานวน 2 รายการ คือ ต้นทุนค่าแรงและค่าเครื่องจักร โดยไม่รวบรวมต้นทุนวัสดุ
อุปกรณ์และต้นทุนการใช้ผู้รับ เหมาช่วง เพราะต้นทุนนี้เป็นแบบ Unit cost ทาในเวลาใดก็มีต้นทุน
เท่าเดิม และต้นทุนทางอ้อมและต้นทุนสานักงานใหญ่ไม่นามารวมไว้เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการ
ทางานโดยตรง การเก็บข้อมูลส่วนนี้ทาได้ยากและมีความซับซ้อน ใช้ระยะเวลานานในการรวบรวม
5.2.2 การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานของการศึกษาวิจัยนี้เป็นการออกแบบโดยมี
เงื่อนไขเฉพาะของโครงการที่อยู่ในเขตเมือง มีเงื่อนไขในการปิดกั้นจราจรได้เฉพาะบางช่วงเวลา และ
การยกของที่สู งต้องทาในเวลา 22:00 - 05:00 น. หรือช่ว งเวลากลางคืนเท่านั้น ดังนั้นหากเป็ น
โครงการอื่นอาจออกแบบกระบวนการทางานใหม่บางอย่างให้ทาในช่วงเวลากลางวันได้

Ref. code: 25605810038272TSA


80

5.3 ข้อเสนอแนะ

5.3.1 การศึกษาวิจั ยนี้ได้พิจารณาออกแบบกระบวนการปฏิ บัติงานเป็นวงรอบโดย


วงรอบละ 1 ช่วงเสาแล้วนามาต่อกันด้วยการทาซ้ากันจนครบ 6 ช่วงเสา โดยรอยต่อระหว่างวงรอบที่
1 และ 2 อาจมีเวลาบางส่วนที่เสียไปโดยไม่ได้ป ฏิบัติงาน หากผู้ที่สนใจทาการออกแบบกระบวนการ
ปฏิบัติงานให้ต่อเนื่องอาจช่วยลดระยะเวลาต้นทุนลงได้อีก
5.3.2 การศึกษาวิจัยนี้ได้ทาการศึกษาและออกแบบกระบวนการของช่วงเสาประเภท
Continuous span เท่านั้น ซึ่งยังมีช่วงเสาอีกประเภท คือ ช่วงเสาแบบ Simple span หากมีการ
ออกแบบกระบวนการทางานเพื่อเป็นมาตรฐานหรือทางเลื อกก็จะช่ว ยให้ งานวิจัยของการติดตั้ง
ชิ้นส่วน Segmental box girder นั้นสมบูรณ์ครอบคลุมต่อการใช้ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

Ref. code: 25605810038272TSA


81

รำยกำรอ้ำงอิง

กฤตภาส ปานทอง. (2558). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความล่าช้าของการก่อสร้างบ่อ


บาบัดน้าเสีย กรณีศึกษา บริษัท ทีที จากัด. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
หลวง, สานักวิชาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.
นพวัตติ์ ธรรมเหมไพจิตร, ศักดิ์ชาย รักการ, อัตถิ์กร กลั่นความดี และ ธนาคม สกุลไทย์. (2560).
แนวทางการบริหารต้นทุนบ้านทาว์โฮม 3 ชั้นในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วิศวกรรมสาร
เกษมบัณฑิต, 7(1), 192-205.
แพรทิพย์ โคตรแสนลี และเกียรติศักดิ์ โยชะนัง. (2555). การศึกษาเกี่ยวกับระบบจัดการตารางนัด
หมายด้วยเทคนิค PERT/CPM Appointment Scheduling Management System
using PERT/CPM Technique. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ, คณะเทคโนโลยีและสารสนเทศ, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ.
พีระพงษ์ เครื่องสนุก. (2554). เครื่องมือวัดผลการศึกษา-แบบสัมภาษณ์. สืบค้นจาก
https://www.gotoknow.org/posts/587304
วชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2555). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการควบคุมต้นทุนงานก่อสร้าง
หลักสูตรการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สืบค้นจาก
htttp://www.eng.sut.ac.th/ce/ce_course/download/.../SOMCHAI%20WORATHO
NGCHAI.pdf
สันติ ชินานุวัติวงศ์. (2546). วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพัตรา วีรปรีชาเมธ. (2535). การวิเคราะห์ระบบการควบคุมต้นทุนในโครงการก่อสร้างขนาดกลาง.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์,
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา.
สรกฤตย์ พันธุมนตรี. (2557). การผลิตและติดตั้งชิ้นส่วนสะพานคอนกรีตสาเร็จรูปชนิดกลวง
(Casting and Erection of Viaduct Segmental Boxes Girder). สืบค้นจาก
http://www.mckeller.co.th/knowledge-and-experience/casting-and-erection-
of-viaduct-segmental-boxes-girder

Ref. code: 25605810038272TSA


82

สุรพล ดาดี และเจริญชัย โขมพัตราภรณ์. (2550). การปรับปรุงการวางแผนโครงการในงานประกอบ


แผงอลูมิเนียมสาหรับตึกสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การลงทุนเพื่อวางอนาคตประเทศไทย.
วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 52(2), 19-23.
อาจอง สุขประเสริฐ. (2559). การประยุกต์เทคนิค PERT/ CPM ในการจัดการกิจกรรมในงานก่อสร้าง
บ้านจัดสรร. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชา
วิศวกรรมอุตสาหการ.

Ref. code: 25605810038272TSA


83

ภำคผนวก

Ref. code: 25605810038272TSA


84

ภำคผนวก ก
กระบวนกำรติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จ Segmental Box Girder

กระบวนการติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder มีทั้งสิ้น 35 กระบวนการ


ย่อยดังต่อไปนี้

ภำพที่ ก.1 การติดตั้งชิ้นส่วน Pier bracket

กระบวนการที่ 1 การติดตั้งชิ้นส่วน Pier bracket ที่เสาด้านหน้าด้วยรถเครนยกชิ้นส่วน


ขึ้นมาติดตั้งและยึดด้วย PT bar ให้ติดแน่นกับเสา เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเตรียมการก่อนการ
เคลื่อน Launching gantry ไปด้านหน้าเพื่อติดตั้งช่วงถัดไป ซี่ง Pier bracket จะทาหน้าที่รับน้าหนัก
ชิ้นส่วน Main truss ช่วงด้านหน้าในกระบวนการที่ 13

ภำพที่ ก.2 การติดตั้งชิ้นส่วน Portal frame

Ref. code: 25605810038272TSA


85

กระบวนการที่ 2 การติดตั้งชิ้นส่วน Portal frame ที่เสาด้านหน้าติดตั้งบนเสาประเภท


Pot bearing ด้ ว ยการใช้ ร ถเครนยกขึ้ น มาติ ด ตั้ ง และยึ ด ให้ ติ ด กั บ หั ว เสาด้ ว ย PT bar ในขั้ น ตอน
เตรียมการก่อนการเลื่อน Launching gantry โดยมีหน้าที่เป็นฐานรองขารองรับ Front support ให้
อยู่ในระดับเดียวกับอีกฝั่ง (Pier segment) การติดตั้ง Portal frame จะอยู่ครึ่งของหัวเสาอีกด้าน
เพราะการติดตั้ง Segment จะต้องติดตั้งเรียงมาจนถึงหัวเสาอีกฝั่งของ Portal frame

ภำพที่ ก.3 ส่งอุปกรณ์คืนโรงงาน

กระบวนการที่ 3 ส่งอุปกรณ์คืนโรงงาน เป็นการนาอุปกรณ์ที่ติดตั้งมากับ Segment


ของช่วงเสาก่อนหน้า(ช่วงเสาที่มีการกองอุปกรณ์ดังภาพ) ยกขึ้นเทรลเลอร์เพื่อส่งคืนโรงงาน สาหรับ
การนาไปใช้ติดตั้งมากับชิ้นส่วนสาเร็จ Segment ช่วงเสาถัดไป (ช่วงเสาที่ Launching gantry จะ
เคลื่อนเข้าไปติดตั้งด้านหน้า)

ภำพที่ ก.4 การติดตั้งราวกันตก

Ref. code: 25605810038272TSA


86

กระบวนการที่ 4 การติดตั้งราวกันตกเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ป้องกัน


วัสดุล่วงหล่นระหว่างการเคลื่อน Launching gantry รวมทั้งป้องกันบุคลากรจากการทางานบนที่สูง
อีกด้วย

ภำพที่ ก.5 การรื้อแบบ Wet joint

กระบวนการที่ 5 การรื้อแบบ Wet joint ซึ่งเป็นแบบเหล็กมีจานวนใช้งานที่จากัด จึง


จาเป็นต้องเพิ่มไว้ในกระบวนการทางาน ซึ่งในการทางานจะต้องรื้อแบบออกจากช่วงเสาที่ทางานใน
ปัจจุบันออก สาหรับเตรียมนาไปใช้ในช่วงเสาถัดไป

ภำพที่ ก.6 ค้าขาค้าหลัง

กระบวนการที่ 6 ค้ าขาค้ าหลั ง ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของขั้ นตอนการเลื่ อ น Launching


gantry เพื่อติดตั้งช่วงเสาถัดไป การค้าขาค้าหลังเป็นการค้าเพื่อรับน้าหนักชิ้นส่วน Mian truss ส่วน

Ref. code: 25605810038272TSA


87

ปลายด้านหลัง (ตั้งแต่ Middle support ถึงขาค้าหลัง Rear leg) การค้าเพื่อเตรียมการยกย้าย Rear


support ด้วยรอกไฟฟ้า (Winch) ไปด้านหน้าต่อไป

ภำพที่ ก.7 การถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรงออก

กระบวนการที่ 7 การถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรงออก เป็นการถอดออกเนื่องจากสิ้นสุด


การดึงลวดอัดแรงช่วงเสาปัจจุบันจนครบแล้ว โดยถอดลงมาด้านล่างเพื่อให้การเลื่อน Launching
gantry (กระบวนการที่ 12) ได้อย่างสะดวก หากไม่ถอดออกเมื่อมีการเลื่อน Main truss ไปด้านหน้า
ตัวกระเช้านี้จะแกว่งส่งผลให้วัสดุ อุปกรณ์ล่วงหล่นได้อีกทั้งหากไม่ถอดออกเมื่อเลื่อน Main truss ไป
ด้านหน้าตัวกระเช้าก็จะติดกับ Portal frame อยู่ดี

ภำพที่ ก.8 การปลดขาค้าหน้า Front leg

Ref. code: 25605810038272TSA


88

กระบวนการที่ 8 การปลดขาค้าหน้า Front leg ลงมาด้านล่างเพื่อเตรียมการก่อนการ


เลื่อน launching gantry ไปด้านหน้า(กระบวนการที่ 12) กล่าวคือ หากไม่ถอดขาค้าหน้าออกเมื่อ
เลื่อน Main truss ไปด้านหน้าขาค้าหน้าก็จะชนเช้ากับ Portal frame ในที่สุด

ภำพที่ ก.9 การนาอุปกรณ์ช่วยยกลงมากองด้านล่าง

กระบวนการที่ 9 การนาอุปกรณ์ช่วยยกลงมากองด้านล่าง การใช้รถเครนยกอุปกรณ์


สาหรับช่วยยกทั้งหมดของช่วงเสาปัจจุบันที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Segment จากโรงงานลงมากองไว้
ด้านล่างเพื่อรอส่งคืนหลังจากไม่ใช้งานแล้ว ไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้ขวางทิศทางการเลื่อนย้าย Support
ของ Launching gantry

ภำพที่ ก.10 ย้าย Rear support ชิด Middle support

Ref. code: 25605810038272TSA


89

กระบวนการที่ 10 ย้าย Rear support ชิด Middle support โดยหลังจากได้เตรียมการ


ในกระบวนการที่ 6 ค้าขาค้าหลัง กระบวนการนี้จึงเป็นการย้ายขารองรับหลังเข้ามาชิดขารองรับกลาง
เป็นการย้าย Support ของ Launching gantry ไปขาช่วงเสาที่ติดตั้งด้านหน้าต่อไป

ภำพที่ ก.11 ขึ้นขาค้าหลัง

กระบวนการที่ 11 ขึ้นขาค้าหลัง เป็นการหมุนเกลียวของขาค้าหลังขึ้นเพื่อให้ด้านปลาย


ของ Main truss ลอยจากพื้นสะพานเพื่อเตรียมการเคลื่อน Main truss ไปด้านหน้าเป็นขั้นตอนถัดไป
(Front,Middle,Rear support มี Roller สามารถรองรั บ การเคลื่ อ นตั ว ของ Main truss ได้ แต่
Front&Rear support เป็น Fixed ไม่สามารถรองรับการเคลื่อนตัวของ Main truss ได้จึงต้องหมุน
เกลียวที่ขาให้ลอยขึ้น)

ภำพที่ ก.12 เลื่อน Launching gantry ไปด้านหน้า

Ref. code: 25605810038272TSA


90

กระบวนการที่ 12 เลื่อน Launching gantry ไปด้านหน้าให้ปลายด้านหน้าตรงกับ Pier


bracket พอดี เพราะการที่ชิ้น ส่ว น Main truss เลื่ อนไปด้านหน้าแต่ไม่เกิดจุด C.G. จะมีน้าหนัก
Dead load ของ Main truss กดให้ หั ว จมลงดั ง นั้ น เราจึ ง ต้ อ งใช้ ข าค้ าหน้ า มาค้ าพยุ ง ไม่ ใ ห้ ป ลาย
ด้านหน้าของ Main truss จมลงจนกลายเป็นคานงัด (อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้) เป็นกระบวนการ
ถัดไป

ภำพที่ ก.13 การค้าขาค้าหน้า

กระบวนการที่ 13 การค้าขาค้าหน้า เพื่อรับน้าหนักหรือพยุงส่วนของ Main truss ที่


ปลายด้านหน้า การยกขึ้นขาค้าหน้าไปติดตั้งด้วยรถเครน และหมุนเกลียวขาค้าหน้าลงค้าที่ Pier
bracket เพื่อถ่ายแรง Main truss ลงสู่เสาต่อไป

ภำพที่ ก.14 การย้าย Middle support ชิด Front support

Ref. code: 25605810038272TSA


91

กระบวนการที่ 14 การย้ า ย Middle support ชิ ด Front support การยกย้ า ยขา


รองรับกลางด้วยรอกไฟฟ้าไปวางด้านหน้าชิดขารองรับหน้าและยืดขึ้นเพื่อให้ส่วนบนของขารองรับ
แตะกับ Main truss เพื่อรองรับน้าหนักต่อไป

ภำพที่ ก.15 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง

กระบวนการที่ 15 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง การยกย้าย Front support ข้าม


ไปติดตั้งบน Portal frame ที่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วเมื่อย้ายไปถึงก็จะต้องวางลงบน Portal
frame และยึดขารองรับด้วย PT bar ให้ติดแน่นกับ Portal frame จากนั้นยืดขารองรับหน้าให้แตะ
กับ Main truss ให้พร้อมกับการรับน้าหนักชิ้นส่วนต่อไป

ภำพที่ ก.16 ขึน้ ขาค้าหน้า

Ref. code: 25605810038272TSA


92

กระบวนการที่ 16 ขึ้นขาค้าหน้า การขึ้นขาค้าหน้าหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการการ


ย้ า ยขารองรั บ หน้ า Front support แล้ ว เพื่ อ เตรี ย มการก่ อ นการเลื่ อ น Launching gantry ไป
ด้านหน้าในกระบวนการที่ 21

ภำพที่ ก.17 ค้าขาค้าหลัง

กระบวนการที่ 17 ค้ าขาค้ าหลั ง เพื่ อ รั บ น้ าหนั ก ส่ ว นปลายของ Main truss เป็ น


เตรียมการย้าย Rear support ไปชิดกับ Middle support เป็นกระบวนการถัดไป

ภำพที่ ก.18 ย้าย Rear support เข้ามาชิดกับ Middle support

ก ร ะ บ ว น ก า ร ที่ 18 ย้ า ย Rear support เ ข้ า ม า ชิ ด กั บ Middle support เ ป็ น


กระบวนการย้ า ยขารองรั บ เพื่ อ เตรี ย มขารองรั บ ในช่ ว งของการเคลื่ อ นชิ้ น ส่ ว น Main truss เข้ า
ตาแหน่งต่อไปในกระบวนการที่ 21

Ref. code: 25605810038272TSA


93

ภำพที่ ก.19 ขึ้นขาค้าหลัง

กระบวนการที่ 19 ขึ้นขาค้าหลัง เมื่อมีการเคลื่อนย้าย Rear support แล้วจะต้องขึ้นขา


ค้าหลังเพื่อให้น้าหนักของ Main truss ลงสู่ Support ตัวอื่นๆอย่างเต็มที่

ภำพที่ ก.20 ย้าย Middle support เข้าตาแหน่ง

กระบวนการที่ 20 ย้าย Middle support เข้าตาแหน่ง ด้วยการใช้รอกไฟฟ้ายกย้ายมา


วางลงบนชิ้นส่วน Pier segment และยืดขึ้นแตะรับกับ Main truss ต่อไป

Ref. code: 25605810038272TSA


94

ภำพที่ ก.21 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่งติดตั้ง

กระบวนการที่ 21 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่งติดตั้ง การขับเคลื่อน Gear


motor เพื่อเคลื่ อนตัว Main truss เข้าไปยังตาแหน่งติดตั้งของช่ว งเสาถัดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนถัดไปจึงเป็นการติดตั้งชิ้นส่วน Segment ต่อไป

ภำพที่ ก.22 รื้อ Pier bracket

กระบวนการที่ 22 รื้อ Pier bracket เป็นการถอดออกเนื่องจากได้ใช้ประโยชน์ชิ้นส่วน


นี้แล้วในขั้นตอนการค้าขาหน้าเพื่อรองรับ Main truss ก่อนการย้าย Front support หลังจากถอด
ออกเสร็จแล้วนั้นก็จะนากระเช้าสาหรับงานดึงลวดอัดแรงมาติดตั้งต่อไป

Ref. code: 25605810038272TSA


95

ภำพที่ ก.23 รื้อ Portal frame

กระบวนการที่ 23 รื้อ Portal frame ของช่วงเสาก่อนหน้าลง เนื่องจากดังภาพไม่มีการ


ใช้งาน Portal frame ที่ช่วงเสาก่อนหน้าในกรณีนี้จึงไม่มีการรื้อลง แต่หากพิจารณาช่วงเสาถัดไป
พบว่าหลังจากเริ่มขั้นตอนการเคลื่อน Launching gantry แล้วขารองรับกลาง และขาหน้าจะอยู่บน
ชิ้น Pier segment ทั้งคู่ ส่วนชิ้นส่วน Portal frame จะต้องปลดลงเพราะเป็นพื้นที่สาหรับการติดตั้ง
Segment

ภำพที่ ก.24 จัดระยะชุดแขวน segment

กระบวนการที่ 24 จัดระยะชุดแขวน segment เนื่องจากหลังจากหลักการรับน้าหนัก


ของชุดแขวนจะต้องรั บ น้ าหนั กในแนวดิ่ง (90องศา) จึงจะสามารถรับน้าหนักชิ้นส่ ว นที่แขวนอยู่

Ref. code: 25605810038272TSA


96

ด้านล่ างได้เต็มที่มากที่สุ ด ดังนั้ น ต้องจัดระยะชุดแขวนชิ้นส่ ว นใหม่ ให้ ตรงกึ่ งกลางชิ้น segment


ทั้งหมด

ภำพที่ ก.25 ติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรง

กระบวนการที่ 25 ติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรง การติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัดแรงไว้เพื่อ


เตรียมการใช้งานหลังจากการติดตั้ง Segment เสร็จ (หากติดตั้งหลังจากการติดตั้ง Segment จะเป็น
ช่วงเวลาที่พนักงานเริ่มเหนื่อยล้า จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้ติดตั้งกระเช้าดึงลวดอัด แรงก่อนการติดตั้ง
Segment)

ภำพที่ ก.26 ติดตั้งชิ้นส่วน Segment

กระบวนการที่ 26 ติดตั้งชิ้นส่วน Segment โดยการใช้รอกไฟฟ้าหิ้วชิ้นส่วนขึ้นมาจาก


หลังรถเทรลเลอร์และนาไปติดตั้งตามตาแหน่งของชิ้นส่วนจนกระทั่งครบทั้งช่วงเสา

Ref. code: 25605810038272TSA


97

ภำพที่ ก.27 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ

กระบวนการที่ 27 จั ดชิ้นส่ ว นทั้งช่วงเสาตามค่าส ารวจ เป็นการจัดระยะและระดับ


เพื่อให้ตรงตามค่าสารวจ (การออกแบบ) รวมทั้งเป็นการกาหนดระยะของช่องว่างระหว่างช่วงสะพาน
และช่วงระยะของ Wet joint อีกด้วย

ภำพที่ ก.28 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์

กระบวนการที่ 28 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ การเสียบคอนกรีตเพื่อกั้นระยะระหว่าง


รอยต่อให้ได้ตามค่าการสารวจไม่ให้ช่วงสะพานที่ติดตั้งใหม่ขยับตัวก่อนการดึงเพื่อเสริมแรง

Ref. code: 25605810038272TSA


98

ภำพที่ ก.29 เข้าแบบ Wet joint

กระบวนการที่ 29 เข้าแบบ Wet joint หลังจากเสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์แล้วก็จะ


เริ่มเข้าแบบสาหรับการเทคอนกรีตเชื่อมรอยต่อนั้นจะทาควบคู่ไปกับการเดินลวดอัดแรงเพื่อใช้สาหรับ
ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรงด้วยแรง 15% ของค่าออกแบบ

ภำพที่ ก.30 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15%

กระบวนการที่ 30 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% เป็นการดึงลวดอัดแรงให้ยืดตัวออก


เพื่ออัดชิ้นส่วนคอนกรีตสาเร็จ หรือ Segment เข้าหากันให้รอยต่อ(Key) ของชิ้นส่วนแนบติดกันสนิท
ในทุกๆรอยต่อ

Ref. code: 25605810038272TSA


99

ภำพที่ ก.31 เทคอนกรีต Wet joint

กระบวนการที่ 31 เทคอนกรีต Wet joint การเทคอนกรีตเพื่อเชื่อมรอยต่อนี้จะใช้


คอนกรีตประเภท High eary strength เพื่อให้กาลังอัดไว เนื่องจากหลังการเทคอนกรีตเสร็จประมาณ
12-14 ชม. จะต้องเริ่มกระบวนการดึงลวดอัดแรง 100% หากเริ่มได้ช้าก็จาให้วงรอบของการติดตั้งฯ
ล่าช้าออกไป

ภำพที่ ก.32 การรออายุคอนกรีต

กระบวนการที่ 32 การรออายุคอนกรีต โดยในการเทคอนกรีตเลือกใช้คอนกรีตประเภท


High eary strength เพื่อให้กาลังอัดไว ระยะเวลาในการรออายุคอนกรีตประมาณ 12-14 ชม.จึงจะ
ได้กาลังอัดตามแบบ แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งกาลังอัดคอนกรีตก็ไม่ได้ตามการออกแบบเสมอไป

Ref. code: 25605810038272TSA


100

ภำพที่ ก.33 ดึงลวดอัดแรงจานวน 3 คู่ หรือ 60%

กระบวนการที่ 33 ดึงลวดอัดแรงจานวน 3 คู่ หรือ 60% หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ


ตัวอย่างคอนกรีตเพื่อหากาลังอัดแล้ว ก็จะเริ่มการดึงลวดอัดแรงจานวน 3 คู่ ตามค่าและคู่ที่ระบุไว้ใน
แบบ สาเหตุที่ดึงเพียง 3 คู่ เนื่องจากจะต้องวางช่วงสะพานลงบนหัวเสาให้ช่วงสะพานปรับตัววางลง
ได้อย่างพอดี

ภำพที่ ก.34 ลดระดับ Main truss

กระบวนการที่ 34 ลดระดับ Main truss ในการลดระดับ ตัว นี้ เ พื่อ ต้ องการวางช่ ว ง


สะพานลงบนเสาให้เสาทาหน้าที่รับน้าหนักแทนเครื่องจักร Launching gantry และเพื่อปรับตัวของ
สะพานให้ลงบนเสาได้อย่างเหมาะสม (ไม่บิดเบี้ยว)

Ref. code: 25605810038272TSA


101

ภำพที่ ก.35 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบจานวน

กระบวนการที่ 35 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบจานวน เป็นการเสริมแรงต่อเนื่องให้


ครบตามการออกแบบเพื่อให้สามารถรับน้าหนักตัวของช่วงสะพานเอง สิ่งก่อสร้างด้านบน วัตถุ และ
รองรับการวิ่งของรถไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

Ref. code: 25605810038272TSA


102

ภำคผนวก ข
ระยะเวลำและวันที่ทำงำนของกระบวนกำรดั้งเดิม

ตำรำงที่ ข.1
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 1 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 29 มกราคม 2560 ระยะเวลา(วัน) 5
จุดที่ทางาน P.251-252 เสร็จงานวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 จานวน(กะ) 10
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 29-ม.ค. 30-ม.ค. 31-ม.ค. 1-ก.พ. 2-ก.พ. 3-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 20:00 21:37 X 97
2 ติดตัง้ Portal frame -
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 23:40 0:56 X 76
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:45 X 105
5 รื้อแบบ Wet joint 9:45 10:51 X 66
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 20:41 20:55 X 14
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 23:40 0:51 X 71
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 23:49 0:12 X 23
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 22:04 23:40 X 96
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 20:55 22:04 X 69
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 20:00 20:34 X 34
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 20:34 20:55 X 21
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 21:37 21:59 X 22
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 22:03 23:49 X 106
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 21:59 23:58 X 119
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:16 X 16
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 9:58 10:24 X 26
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 10:24 11:55 X 91
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 11:55 12:09 X 14
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 8:16 9:58 X 102
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 13:45 14:04 X 19
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:00 21:25 X 85
2 รื้อ Portal frame -
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 21:25 23:02 X 37
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 14:04 14:43 X 39
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:02 2:35 X 213
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:43 X 103
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:43 10:57 X 74
3 เข้าแบบ Wet joint 13:00 17:16 X 256
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 10:57 15:29 X 272
5 เทคอนกรีต Wet joint 23:03 23:58 X 55
6 รออายุคอนกรีต 23:58 15:00 X 902
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 15:00 16:56 X 116
8 ลดระดับ Main truss 16:56 17:12 X 16
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 17:12 17:36 X 24
0 5 0 4 0 3 7 3 4 2 5 0
รวม 3,379
33

Ref. code: 25605810038272TSA


103

ตำรำงที่ ข.2
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 2 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Bearing pier เริ่มทางานวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 ระยะเวลา(วัน) 4.5
จุดที่ทางาน P.250-251 เสร็จงานวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 จานวน(กะ) 9
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 3-ก.พ. 4-ก.พ. 5-ก.พ. 6-ก.พ. 7-ก.พ. 8-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 20:00 20:49 X 49
2 ติดตัง้ Portal frame 19:05 21:09 X 124
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 23:58 1:05 X 67 P.252-253
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:24 X 84
5 รื้อแบบ Wet joint 9:24 11:01 X 97
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 1:05 1:29 X 24
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 21:09 21:58 X 39
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 23:58 0:19 X 21
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 21:58 23:58 X 120 P.252-253
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 1:29 2:44 X 75
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 2:44 3:06 X 22
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 23:54 0:12 X 16 20:49-23:54 ทางานอืน่
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 0:12 1:28 X 76
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 8:00 9:46 X 106
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 20:00 0:58 X 298
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 7:42 7:59 X 17
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 7:59 8:20 X 21
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:20 9:13 X 53
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:13 9:32 X 19
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 9:32 10:53 X 81
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 10:53 11:43 X 50
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 14:12 16:02 X 110
2 รื้อ Portal frame
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:00 22:15 X 135
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:15 22:36 X 21
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 22:36 3:18 X 282
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:37 X 97
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:37 10:58 X 81
3 เข้าแบบ Wet joint 13:00 15:36 X 156
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 10:58 15:56 X 298
5 เทคอนกรีต Wet joint 16:21 17:05 X 44
6 รออายุคอนกรีต 17:05 17:20 X 1,455
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 17:20 18:46 X 86
8 ลดระดับ Main truss 18:46 19:39 X 53
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 19:39 20:05 X 26
0 8 1 4 7 3 5 1 2 3 0 0
รวม 4,303
34

Ref. code: 25605810038272TSA


104

ตำรำงที่ ข.3
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 3 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Bearing pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ระยะเวลา(วัน) 4
จุดที่ทางาน P.249-250 เสร็จงานวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 จานวน(กะ) 8
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 7-ก.พ. 8-ก.พ. 9-ก.พ. 10-ก.พ. 11-ก.พ. 12-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 19:40 20:28 X 48
2 ติดตัง้ Portal frame ไม่มี
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 23:07 0:49 X 102
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:45 X 105
5 รื้อแบบ Wet joint 9:45 11:22 X 97
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 8:00 8:23 X 23
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 1:34 1:58 X 24
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 1:58 2:23 X 25
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 21:46 23:07 X 81
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:23 9:48 X 85
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:48 10:30 X 42
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 2:23 2:31 X 8
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 2:31 3:00 X 29
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 0:49 1:34 X 45
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 20:32 22:28 X 116
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 22:28 22:44 X 16
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 22:44 23:00 X 16
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 23:00 23:41 X 41
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 23:41 23:49 X 8
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 23:49 0:37 X 48
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 0:37 0:54 X 17
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:45 22:51 X 126
2 รื้อ Portal frame 22:28 23:33 X 65
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:00 20:45 X 45
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:51 23:42 X 51
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:42 2:41 X 179
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 10:09 X 129
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 10:09 11:03 X 54
3 เข้าแบบ Wet joint 13:00 14:20 X 80
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 11:03 15:52 X 289
5 เทคอนกรีต Wet joint 21:27 22:07 X 40
6 รออายุคอนกรีต 22:07 13:00 X 893
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 13:00 13:52 X 52
8 ลดระดับ Main truss 13:52 14:02 X 10
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 14:02 14:31 X 29
0 8 3 8 0 4 4 2 5 0 0 0
รวม 3,018
34

Ref. code: 25605810038272TSA


105

ตำรำงที่ ข.4
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 4 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ระยะเวลา(วัน) 4.5
จุดที่ทางาน P.248-249 เสร็จงานวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 จานวนกะ 9
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 12-ก.พ. 13-ก.พ. 14-ก.พ. 15-ก.พ. 16-ก.พ. 17-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:44 22:19 X 35
2 ติดตัง้ Portal frame
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 1:23 2:44 X 81
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:29 X 89
5 รื้อแบบ Wet joint 9:29 11:02 X 93
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 22:50 23:15 X 25 23:15-0:35 ปฎิบตั งิ านอืน่
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 0:35 1:00 X 25
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 22:19 22:50 X 31
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 20:00 21:44 X 104
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:00 9:34 X 94
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:34 10:00 X 26
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 10:00 10:25 X 25
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 21:00 21:30 X 30
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 21:00 22:45 X 105
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 22:45 0:35 X 110
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:33 X 33
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:33 9:23 X 50
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 9:23 11:30 X 127
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 13:00 13:16 X 16
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 13:16 14:20 X 64
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 15:10 15:25 X 15
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:00 20:45 X 45
2 รื้อ Portal frame
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:45 22:35 X 110
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:25 23:06 X 41
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:06 3:08 X 242
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 10:27 X 147
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 10:27 11:23 X 56
3 เข้าแบบ Wet joint 13:00 16:47 X 227
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 11:23 15:31 X 248
5 เทคอนกรีต Wet joint 21:45 22:47 X 62
6 รออายุคอนกรีต 22:47 12:14 X 807
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 12:14 13:14 X 60
8 ลดระดับ Main truss 13:14 13:45 X 31
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 13:45 14:00 X 15
0 5 3 4 6 4 4 1 4 2 0 0
รวม 3,269
33

Ref. code: 25605810038272TSA


106

ตำรำงที่ ข.5
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 5 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Bearing pier เริ่มทางานวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ระยะเวลา(วัน) 4
จุดที่ทางาน P.247-248 เสร็จงานวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 จานวนกะ 8
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 16-ก.พ. 17-ก.พ. 18-ก.พ. 19-ก.พ. 20-ก.พ. 21-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 20:00 21:09 X 69
2 ติดตัง้ Portal frame 21:09 23:45 X 156
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 22:01 23:58 X 117
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:34 X 94
5 รื้อแบบ Wet joint 9:34 11:33 X 119
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 0:37 1:00 X 23
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 1:00 1:34 X 34
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 2:35 2:59 X 24
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 23:45 0:37 X 52
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 1:34 2:35 X 61
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 8:00 8:33 X 33
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 8:33 8:56 X 23
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 20:25 20:58 X 33
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 8:56 10:36 X 100
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 20:58 23:14 X 136
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 23:14 23:30 X 16
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 0:22 0:37 X 15
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 0:37 1:33 X 56
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 1:33 1:46 X 13
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 9:00 11:50 X 170
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 1:46 2:05 X 19
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 23:39 0:22 X 43
2 รื้อ Portal frame
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:00 22:45 X 165
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 14:30 15:25 X 55
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 22:45 2:30 X 225
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 10:45 X 165
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 10:45 11:37 X 52
3 เข้าแบบ Wet joint 11:37 14:05 X 88 พักเที่ยง 1 ชม.
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 13:00 18:24 X 324
5 เทคอนกรีต Wet joint 19:00 19:46 X 46
6 รออายุคอนกรีต 19:46 14:58 X 1,152
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 14:58 16:16 X 78
8 ลดระดับ Main truss 16:16 16:39 X 23
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 16:39 18:00 X 81
0 7 3 8 2 2 4 3 5 0 0 0
รวม 3,860
34

Ref. code: 25605810038272TSA


107

ตำรำงที่ ข.6
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 6 - กระบวนการดั้งเดิม
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Bearing - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ระยะเวลา(วัน) 4
จุดที่ทางาน P.246-247 เสร็จงานวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 จานวนกะ 8
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 20-ก.พ. 21-ก.พ. 22-ก.พ. 23-ก.พ. 24-ก.พ. 25-ก.พ. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 20:09 21:59 X 110 น้าปูนอุดตัน
2 ติดตัง้ Portal frame
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน 0:50 2:20 X 90
4 ติดตัง้ ราวกันตก 9:44 11:16 X 92
5 รื้อแบบ Wet joint 8:00 9:44 X 104
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 20:45 21:03 X 18
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 20:00 20:45 X 45
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 21:03 21:23 X 20
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 22:00 23:13 X 73
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 21:23 22:44 X 81
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 22:44 23:01 X 17
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 23:01 23:19 X 18
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 23:19 0:00 X 41
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 0:00 0:50 X 50
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 21:59 0:00 X 121
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:40 X 40
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:40 9:22 X 42
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 9:22 12:00 X 158
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 13:31 13:52 X 21
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 14:28 15:30 X 62
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 13:52 14:28 X 36
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:00 21:05 X 65
2 รื้อ Portal frame 0:00 1:02 X 62
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 21:05 22:56 X 111
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:56 23:14 X 18
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:14 2:12 X 178
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:37 X 97
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:37 10:16 X 39
3 เข้าแบบ Wet joint 10:16 11:44 X 88
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 10:16 12:30 X 134
5 เทคอนกรีต Wet joint 14:48 15:33 X 45
6 รออายุคอนกรีต 15:33 11:12 X 1,179
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 11:12 12:38 X 86
8 ลดระดับ Main truss 13:35 14:02 X 27
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 14:02 14:35 X 33
0 2 1 12 6 4 6 0 3 0 0 0
รวม 3,401
34

Ref. code: 25605810038272TSA


108

ภำคผนวก ค
ระยะเวลำและวันที่ทำงำนของกระบวนกำรใหม่

ตำรำงที่ ค.1
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 1 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 12 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.241-242 เสร็จงานวันที่ 17 มีนาคม 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 12-มี.ค. 13-มี.ค. 14-มี.ค. 15-มี.ค. 16-มี.ค. 17-มี.ค. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:30 22:21 X 51
2 ติดตัง้ Portal frame 22:21 0:44 X 143
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน ยกเลิก
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:06 X 66
5 รื้อแบบ Wet joint 9:06 9:51 X 45
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 20:00 20:15 X 15
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 20:00 20:19 X 19
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 20:19 20:34 X 15
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 22:00 23:44 X 104
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 20:34 21:51 X 67
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 23:44 0:00 X 16
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 0:00 0:14 X 14
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 0:14 0:45 X 31
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 0:45 1:57 X 72
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 1:57 4:09 X 132
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:14 X 14
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:14 8:56 X 42
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:56 9:39 X 43
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:39 9:52 X 13
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 9:52 11:08 X 76
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 11:08 11:35 X 27
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:00 20:50 X 50
2 รื้อ Portal frame - -
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:50 22:08 X 78
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:08 22:30 X 22
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 22:30 1:34 X 184
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:10 X 70
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:10 9:38 X 28
3 เข้าแบบ Wet joint 9:38 10:40 X 52
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 9:38 17:43 X 485
5 เทคอนกรีต Wet joint 20:40 21:26 X 46
6 รออายุคอนกรีต 21:26 12:42 X 908
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 12:42 14:06 X 88
8 ลดระดับ Main truss 14:06 14:40 X 34
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 14:40 15:48 X 68 2 คู่
0 2 0 10 6 4 4 1 6 0 0 0
รวม 3,118
33

Ref. code: 25605810038272TSA


109

ตำรำงที่ ค.2
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 2 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 15 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.240-241 เสร็จงานวันที่ 19 มีนาคม 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 15-มี.ค. 16-มี.ค. 17-มี.ค. 18-มี.ค. 19-มี.ค. 20-มี.ค. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:26 22:27 X 61
2 ติดตัง้ Portal frame - -
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน ยกเลิก
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:03 X 63
5 รื้อแบบ Wet joint 9:03 10:00 X 57
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 22:27 22:50 X 23
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:27 23:02 X 35
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 23:02 23:23 X 21
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 23:23 0:34 X 71
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 0:34 1:32 X 58
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 1:32 1:47 X 15
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 1:47 1:53 X 6
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 1:53 2:07 X 14
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 2:07 3:00 X 53
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 3:00 4:40 X 100
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:15 X 15
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:15 8:38 X 23
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:38 9:54 X 76
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:54 10:14 X 20
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 10:14 11:36 X 82
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 13:35 13:58 X 13
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 21:03 21:58 X 55
2 รื้อ Portal frame 21:58 23:00 X 62
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 23:00 0:02 X 62
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 0:02 0:33 X 31
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 0:02 3:44 X 222
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:33 X 93
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:33 10:01 X 28
3 เข้าแบบ Wet joint 10:01 11:15 X 74
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 10:01 11:54 X 113
5 เทคอนกรีต Wet joint 13:45 14:23 X 48
6 รออายุคอนกรีต 14:23 10:55 X 1,232
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 10:55 12:04 X 69
8 ลดระดับ Main truss 12:04 12:26 X 12
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 12:26 12:39 X 13
0 1 0 10 6 5 5 0 6 0 0 0
รวม 2,920
33

Ref. code: 25605810038272TSA


110

ตำรำงที่ ค.3
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 3 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 18 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.239-240 เสร็จงานวันที่ 22 มีนาคม 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 18-มี.ค. 19-มี.ค. 20-มี.ค. 21-มี.ค. 22-มี.ค. 23-มี.ค. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:23 22:11 X 48
2 ติดตัง้ Portal frame - -
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน - - ยกเลิก
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:05 X 65
5 รื้อแบบ Wet joint 11:33 12:56 X 83
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 19:57 20:14 X 17
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 19:45 20:21 X 36
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 20:21 20:40 X 19
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 23:14 0:50 X 96
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 20:00 21:06 X 66
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 21:06 21:20 X 14
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 21:20 21:32 X 12
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 21:32 21:53 X 21
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 21:53 23:14 X 81
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 0:50 2:17 X 87 Pier segment
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:10 8:20 X 10
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:20 8:41 X 21
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:41 9:57 X 76
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:57 10:12 X 15
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 10:12 11:33 X 81
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 11:33 11:46 X 13
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 21:13 22:10 X 57
2 รื้อ Portal frame - -
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 22:10 23:11 X 61
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 23:11 23:36 X 25
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:11 2:11 X 180
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:26 X 86
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:26 9:48 X 22
3 เข้าแบบ Wet joint 9:48 11:18 X 90
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 9:48 11:44 X 114
5 เทคอนกรีต Wet joint 14:35 15:38 X 63
6 รออายุคอนกรีต 15:38 10:13 X 1,175
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 10:13 11:12 X 59
8 ลดระดับ Main truss 11:12 11:33 X 21
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 11:33 11:59 X 26
0 4 0 7 6 4 5 1 5 0 0 0
รวม 2,840
32

Ref. code: 25605810038272TSA


111

ตำรำงที่ ค.4
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 4 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 22 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.238-239 เสร็จงานวันที่ 26 มีนาคม 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 22-มี.ค. 23-มี.ค. 24-มี.ค. 25-มี.ค. 26-มี.ค. 27-มี.ค. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:04 22:17 X 73
2 ติดตัง้ Portal frame 22:17 0:09 X 122
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน ยกเลิก
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:12 X 72
5 รื้อแบบ Wet joint 9:12 10:16 X 64
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 8:00 8:15 X 15
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 20:00 20:39 X 39
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 20:39 20:51 X 12
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 21:44 23:23 X 99
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:15 9:36 X 76
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 20:51 21:10 X 19
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 21:10 21:30 X 20
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 21:30 21:44 X 14
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 23:23 0:56 X 93
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 0:56 3:55 X 179 Portal frame
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:14 X 14
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:14 8:35 X 21
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:35 9:58 X 83
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:58 10:26 X 28
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 10:26 11:28 X 62
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 11:28 11:46 X 18
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:22 21:11 X 49
2 รื้อ Portal frame - -
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 21:11 22:40 X 89
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:40 23:11 X 31
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 22:40 2:04 X 204
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 9:29 X 89
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 9:29 9:55 X 26
3 เข้าแบบ Wet joint 9:55 10:47 X 52
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 9:55 12:30 X 155
5 เทคอนกรีต Wet joint 14:17 15:06 X 49
6 รออายุคอนกรีต 15:06 10:57 X 1,191
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 10:57 12:28 X 91
8 ลดระดับ Main truss 13:13 13:48 X 30
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 14:38 15:37 X 49 2 คู่
0 2 2 8 6 4 5 1 5 0 0 0
รวม 3,228
33

Ref. code: 25605810038272TSA


112

ตำรำงที่ ค.5
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 5 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 25 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.237-238 เสร็จงานวันที่ 31 มีนาคม 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 25-มี.ค. 26-มี.ค. 27-มี.ค. 28-มี.ค. 29-มี.ค. 30-มี.ค. 31-มี.ค. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 20:45 21:50 X 65
2 ติดตัง้ Portal frame - -
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน - - ยกเลิก
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:26 X 86
5 รื้อแบบ Wet joint 9:26 10:23 X 57
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 20:00 20:18 X 18
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 20:00 20:27 X 27
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 20:27 20:39 X 12
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 23:30 0:40 X 70
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 20:39 21:44 X 55
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 21:44 21:59 X 15
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 21:59 22:07 X 8
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 22:07 22:22 X 15
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 22:22 23:45 X 83
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 20:31 23:09 X 98
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 23:09 23:30 X 21
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:00 8:11 X 11
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:11 9:26 หยุดงาน X 75
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:26 9:42 X 16
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 9:42 10:49 X 67
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 10:49 11:06 X 17
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:34 21:30 X 56
2 รื้อ Portal frame 21:30 22:25 X 55
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 22:25 23:45 X 80
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 23:45 0:14 X 29
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 23:45 3:21 X 216
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 13:00 14:25 X 85 มีฝนตก
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 14:25 14:53 X 28
3 เข้าแบบ Wet joint 14:25 17:07 X 162
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 14:25 16:32 X 127
5 เทคอนกรีต Wet joint 20:17 21:19 X 62
6 รออายุคอนกรีต 21:19 10:55 X 816
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 10:55 11:45 X 50
8 ลดระดับ Main truss 11:45 12:00 X 15
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 16:22 16:52 X 30
0 1 0 8 0 0 0 3 5 5 4 2 5 0
รวม 2,627
33

Ref. code: 25605810038272TSA


113

ตำรำงที่ ค.6
บันทึกการปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสาเร็จ ช่วงเสาที่ 6 – กระบวนการใหม่
ใบบันทึกการปฎิบตั งิ านติดตัง้ ชิ้นส่วนสาเร็จ Segmental Box Girder
ประเภทเสา Rigid pier - Rigid pier เริ่มทางานวันที่ 30 มีนาคม 2560
จุดที่ทางาน P.236-237 เสร็จงานวันที่ 3 เมษายน 2560
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
กระบวนการ เริ่ม สิ้นสุด 30-มี.ค. 31-มี.ค. 1-เม.ย. 2-เม.ย. 3-เม.ย. 4-เม.ย. ระยะเวลา หมายเหตุ
D N D N D N D N D N D N (นาที)
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนเลื่อน Launching gantry
1 ติดตัง้ Pier bracket 21:19 22:14 X 55
2 ติดตัง้ Portal frame
3 ส่งอุปกรณ์คนื โรงงาน
4 ติดตัง้ ราวกันตก 8:00 9:01 X 61
5 รื้อแบบ Wet joint 9:01 10:07 X 66
ขั้นตอนที่ 2 การเลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง
1 ค้าขาค้าหลัง 19:56 20:14 X 18
2 ถอดกระเช้าดึงลวดอัดแรง 19:56 20:21 X 25
3 ปลดขาค้าหน้า Front leg 20:21 20:40 X 19
4 นาอุปกรณ์ชว่ ยยกลงมากองไว้ดา้ นล่าง 23:40 0:31 X 51
5 ย้าย Rear support ชิด Middle support 20:40 21:57 X 77
6 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 21:57 22:14 X 17
7 เลื่อน Launching gantry ครั้งที่ 1 22:14 22:27 X 13
8 ติดตัง้ ขาค้าหน้า Front leg 22:27 22:45 X 18
9 ย้าย Middle support ชิด Front support 22:45 23:40 X 55
10 ย้าย Front support เข้าตาแหน่ง 0:31 2:25 X 114
11 ขึ้นขาค้าหน้า Front leg 8:00 8:18 X 18
12 ค้าขาค้าหลัง Rear leg 8:18 8:32 X 14
13 ย้าย Rear support ชิด Middle support 8:32 9:40 X 68
14 ขึ้นขาค้าหลัง Rear leg 9:40 10:00 X 20
15 ย้าย Middle support เช้าตาแหน่ง 10:00 11:40 X 100
16 เลื่อน Launching gantry เข้าตาแหน่ง 11:40 11:58 X 18
ขั้นตอนที่ 3 การติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment
1 รื้อ Pier bracket 20:00 20:56 X 56
2 รื้อ Portal frame - -
3 จัดระยะชุดแขวน Segment 20:56 22:10 X 74
4 ติดตัง้ กระเช้าดึงลวดอัดแรง 22:10 22:45 X 35
5 ติดตัง้ ชิ้นส่วน Segment 22:45 1:32 X 157
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการหลังการติดตัง้ Segment
1 จัดชิ้นส่วนทั้งช่วงเสาตามค่าสารวจ 8:00 10:00 X 120
2 เสียบคอนกรีตทรงลูกบาศก์ 10:00 10:29 X 29
3 เข้าแบบ Wet joint 10:29 11:19 X 50
4 ดึงชิ้นส่วนด้วยลวดอัดแรง 15% 10:29 12:43 X 134
Plant ส่ ง
5 เทคอนกรีต Wet joint 23:08 0:22 X 74
คอนกรีตกลางวัน
6 รออายุคอนกรีต 0:22 16:17 X 955 ไม่ได้
7 ดึงลวดอัดแรง 100% จานวน 3 คู่ 16:17 17:08 X 51
8 ลดระดับ Main truss 17:08 17:21 X 13
9 ดึงลวดอัดแรง 100% จนครบตามจานวน 17:21 17:39 X 18
0 1 0 10 6 4 4 2 5 0 0 0
รวม 2,593
32

Ref. code: 25605810038272TSA


114

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นายประพจน์ รัตตมณี


วันเดือนปีเกิด 17 กุมภาพันธ์ 2535
วุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2558: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตาแหน่ง วิศวกรสนาม บริษัท อิตาเลียนไทย ดีวีล๊อปเมนต์ จากัด
(มหาชน)

ผลงานทางวิชาการ

ธนกฤต เทียมทันวณิช และประพจน์ รัตตมณี. (2556). การวิเคราะห์การโก่งตัวของคานคอนกรีต


เสริ ม เหล็ ก ที่ ส ภาวะใช้ ง าน. (ปริ ญ ญานิ พ นธ์ ) , มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ , คณะ
วิศวกรรมศาสตร์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา.

ประสบการณ์ทางาน ปี พ.ศ. 2559 วิศวกรสนาม


โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว(เหนือ) บริษัทอิตา
เลียนไทย ดีวีล๊อปเมนต์ จากัด (มหาชน) สัญญา 1 ช่วง
หมอชิต - สะพานใหม่

ปี พ.ศ. 2558 วิศวกรสนาม


โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บริษัทอิ
ตาเลี ย นไทย ดี วี ล๊ อ ปเมนต์ จ ากั ด (มหาชน) ช่ ว งวั ด
เสมียนนารี - รังสิต

Ref. code: 25605810038272TSA

You might also like