You are on page 1of 56

เว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบ

(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)

นายเอกรัตน์ รัตน์เจริญ

ปริญญานิพนธ์นี้เป�นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ป�การศึกษา 2562
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
เว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบ
(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)

นายเอกรัตน์ รัตน์เจริญ

ปริญญานิพนธ์นี้เป�นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ป�การศึกษา 2562
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ใบรับรองปริญญานิพนธ์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

เรื่อง เว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบ
(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)
โดย นายเอกรัตน์ รัตน์เจริญ
ได้รับอนุมัติให้เป�นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

....................................ประธานสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรเดช เทวาภินันท์)
วันที่ .......................................

คณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

..............................................ประธานกรรมการ
(อาจารย์นิพนธ์ คำแตง)

..............................................กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรเดช เทวาภินันท์)

..............................................กรรมการ
(อาจารย์สะไบแพร อาจศรี)

บทคัดย่อ

ชื่อ : นายเอกรัตน์ รัตน์เจริญ


ชื่อปริญญานิพนธ์ : ระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบ
แอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)
สาขาวิชา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์นิพนธ์ คำแตง
ป�การศึกษา : 2562

การพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน
(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) เป�นระบบจัดการข้อมูลภายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาญจนบุรีเพื่อเป�นการเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลโดยการจัดเก็บข้อมูลในป�จจุบันนั้น
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบบุรีมีข้อมูลอยู่เป�นจำนวนมากและยังมีการจัดเก็บข้อมูลอยู่ใน
รูปแบบเอกสารซึ่งมีความเสี่ยงที่จะพบป�ญหาการสูญหายของข้อมูลจากการที่ทราบถึงป�ญหา
ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบบุรีต้องการพัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชั่นจึงเกิด
แนวคิดที่จะจัดการและแสดงผลข้อมูลในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อทำให้การค้นหาและการ
เก็บรักษาข้อมูลทำได้รวดเร็วและปลอดภัยกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารโดยภาษาที่ใช้
พัฒนาโปรแกรมคือภาษาซีชาร์ป และใช้รูปแบบการพัฒนาแบบเอ็มวีซี ซึ่งใช้หลักการเขียนแบบ
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุในส่วนของเว็บแอพพลิเคชั่นมีระบบย่อยๆ คือ ระบบจัดการข้อมูล
นักศึกษา ระบบจัดการข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ระบบจัดการข้อมูลวิชาเรียน ระบบจัดการการบันทึก
และตัดเกรดและในส่วนของแอปพลิเคชั่นได้ใช้ซามารินเฟรมเวิร์คในการพัฒนาและใช้รูปแบบการ
พัฒนาแบบเอ็มวีวีเอ็มโดยมีระบบย่อยๆ คือ ระบบแสดงผลการศึกษา ระบบจองรายวิชา ระบบ
เพิ่ม-ถอนรายวิชาซึ่งเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและมีประโยชน์สูงสุด

(ปริญญานิพนธ์มีทั้งสิ้น 45 หน้า)
……………………………..ประธานกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานนี้เป�นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขา
วิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรด
ผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ซึ่งโครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไป
ได้ด้วยดีก็ความอนุเคราะห์และความช่วยเหลือเป�นอย่างดีจากอาจารย์นิพนธ์ คำแตง อาจารย์ที่
ปรึกษาปริญญานิพนธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรเดช เทวาภินันท์ ประธานสาขาวิชาวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณเป�นอย่างสูงที่ท่านกรุณาให้คำที่ปรึกษาคำแนะนำ
ตรวจสอบ โครงงานนี้จนสำเร็จสมบูรณ์แบบดังจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ขอขอบพระคุณอาจารย์ประจำ
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ให้คำแนะนำในสิ่งที่บกพร่องของชิ้นงาน เพื่อเป�นแนวทางในการ
พัฒนาชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นขอขอบพระคุณกรรมการทุกท่านที่ติชมผลงานอันเป�น
แนวทางในการปรับปรุงชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณทุกคนที่ให้การสนับสนุนและให้โอกาสทางการศึกษาแก่
ผู้เขียนมาโดยตลอดและหากมีข้อผิดพลาดประการใดอันเกิดมาจากโครงงานเล่มนี้ผู้เขียนขออภัย
เป�นอย่างสูงในความผิดพลาดและหวังเป�นอย่างยิ่งว่า การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คงเป�นประโยชน์กับ
ผู้สนใจและผู้ที่กำลังค้นคว้าในเรื่องที่เกี่นวข้องกับระบบ การพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันการ
บันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)

เอกรัตน์ รัตน์เจริญ

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญภาพ จ
สารบัญตาราง ซ
บทที่ 1 บทนำ 1
1. ความสำคัญที่มาของป�ญหาที่ทำการวิจัย 1
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1
3. ขอบเขตของการ 2
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
5. อุปกรณ์ในงานวิจัย 3
6. แผนการดำเนินงาน 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
1. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 4
2. ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) 6
3. MVC Framework 9
4. Xamarin Framework 10
5. Microsoft SQL Server 2017 11
6. เว็บ เซิร์ฟเวอร์ 12
7. API (Application Programming Interface) 13
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 17
บทที่ 3 ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ 19
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 19
2. วิเคราะห์ระบบ 20

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
3. ออกแบบฐานข้อมูลของระบบงาน 21
4. พัฒนาระบบ 24
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 31
1. ผู้ใช้ที่เป�นนักศึกษา 31
2. ผู้ใช้ที่เป�นอาจารย์ผู้สอน 35
3. ผู้ดูแลระบบ 36
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ 38
1. สรุปผลการดำเนินงาน 38
2. ข้อเสนอแนะ 43
บรรณานุกรม 44
ประวัติผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ 45

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
2.1 ตัวอย่างการสืบทอด (Inheritance) 5
2.2 การ Overides Method 6
2.3 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# 7
2.4 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# กรณีไม่เขียน Namespace 8
2.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# แสดงข้อความ Hallo C# 8
2.6 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# แสดงข้อความ Hallo C# กรณีไม่เขียน Namespace 9
2.7 หลักการทำงานของ MVC 10
2.8 หน้า UI ที่ออกแบบโดย Xamarin.Foms 11
2.9 ความสัมพันธ์ของระบบ 12
2.10 หลักการทำงานของ Web Server 13
2.11 การทำงานของ API 14
2.12 การทำงานของ HTTP Request 16
2.13 การทำงานของ HTTP Respones 16
3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน 19
3.2 ขั้นตอนการวิเคราห์ระบบงาน 20
3.3 ออกแบบการเข้าสู่ระบบ 24
3.4 ออกแบบข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา 25
3.5 ออกแบบการจองรายวิชา 25
3.6 ออกแบบข้อมูลการจองรายวิชา 26
3.7 ออกแบบข้อมูลผลการเรียน 26
3.8 ออกแบบหน้า UI การเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชัน 27
3.9 ออกแบบข้อมูลส่วนตัวภายในแอปพลิเคชัน 27
3.10 ออกแบบการแสดงผลการเรียนถายในแอปพลิเคชัน 28
3.11 ออกแบบการเข้าสู่ระบบของอาจารย์ 28
3.12 ออกแบบการจัดการบันทึกและตัดเกรด 29
3.13 ออกแบบการจัดการข้อมูลภายในระบบ 30

สารบัญภาพ (ต่อ)

ภาพที่ หน้า
4.1 หน้าแรกของเว็บไซต์ 31
4.2 หน้าแสดงข้อมูลนักศึกษา 32
4.3 หน้าการจองรายวิชา 33
4.4 หน้ายืนยันการจองรายวิชา 33
4.5 หน้าแสดงผลการเรียน 34
4.6 การเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชัน 34
4.7 หน้าผลการเรียนของนักศึกษา 35
4.8 แสดงข้อมูลรายวิชา 35
4.9 การตัดเกรดของนักศึกษา 36
4.10 การจัดการข้อมูลนักศึกษา 36
4.11 การจัดการข้อมูลรายวิชา 37
4.12 เพิ่มข้อมูลอาจารย์ผู้สอน 37
5.1 ข้อมูลส่วนตัวนักศึกษา 38
5.2 ข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน 39
5.3 การจองรายวิชาและลงทะเบียนเรียน 39
5.4 ผลการเรียนของนักศึกษา 40
5.5 รายงานผลการเรียน 40
5.6 การเข้าสู่ระบบผ่านแอปพลิเคชัน 41
5.7 ข้อมูลส่วนตัวภายในแอปพลิเคชัน 42
5.8 ผลการเรียนผ่านทางแอปพลิเคชัน 42

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1.1 แผนการดำเนินงาน 3
3.1 ข้อมูลนักศึกษา 21
3.2 ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน 21
3.3 ข้อมูลแอดมิน 22
3.4 ข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน 22
3.5 ข้อมูลการจองรายวิชา 22
3.6 ข้อมูลการเก็บคะแนน 23
3.7 ข้อมูลรายวิชา 23
3.8 ข้อมูลคณะ 23
3.9 ข้อมูลสาขา 24
บทที่ 1
บทนำ

การจั ด ทำเว็ บ แอปพลิ เ คชั น การบั น ทึ ก คะแนนและตั ด เกรดผ่ า นระบบแอปพลิ เ คชั น


(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ส่วนนี้คือส่วนบทนำโดยการจัดทำเว็บแอปพลิเคชัน
จะประกอบไปด้วย ความสำคัญที่มาของป�ญหาที่ทำเว็บแอปพลิเคชั่น วัตถุประสงค์ของเว็บแอป
พลิ เ คชั น ขอบเขตของเว็ บแอปพลิ เ คชั น ประโยชน์ ที ่ ค าดว่ า จะได้ ร ั บ จากเว็ บแอปพลิ เ คชั น
ระยะเวลาดำเนินงาน สถานที่และพื้นที่จัดทำเว็บแอปพลิเคชันอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำเว็บแอปพลิเคชัน
และแผนการดำเนินงาน

1. ที่มาและความสำคัญของป�ญหาที่ทำเว็บแอปพลิเคชัน
ป�จจุบันทางมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเข้า
มาช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เนื่องจากระบบเดิมนั้นไม่
มีในส่วนของแอปพลิเคชัน จึงอยากที่จะพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันขึ้นเพื่อความรวดเร็วเข้าถึงง่าย
แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ซึ่งการทำงานของระบบป�จจุบันนั้น
ยังมีมีป�ญหาที่พบบ่อย คือการตัดเกรดของนักศึกษามีความล่าช้า เมื่อเข้าสู่ระบบพร้อมกันหลาย
คนทำให้ระบบล้ม เป�นต้น ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจบุรีจึงอยากให้พัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อ
รองรับการใช้งานของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีในรูปแบบแอป
พลิเคชัน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัย 4.0
จากสภาพป�ญหาและเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันการ
บันทึกคะแนนเละตัดเกรดผ่านระบบเว็ บแอปพลิเคชันให้เ ป�นระบบมากยิ ่งขึ้น เพื่อลดป� ญหา
ดังกล่าวและร่วมสมัยและเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายลดการใช้ระยะเวลาในการจัดการข้อมูลได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน
(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)
2.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจของระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่าน
ระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)
2

3. ขอบเขตของโครงงาน
3.1 ระบบการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชั่น (เว็ปไซต์)
1) เก็บข้อมูลการเรียนของนักศึกษาเพื่อใช้คำนวณเกรดในแต่ละป�การศึกษา
2) สามาถเพิ่ม-ถอนรายวิชาได้
3) จัดการข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา
3.2 ระบบการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชั่น (แอปพลิเคชัน)
1) นักศึกษาสามารถเข้าสู่ระบบได้
2) แสดงข้อมูลส่วนตัวและผลการของนักศึกษา

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
4.2 ระบบมีความทันสมัยขึ้น

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
5.1 เสนอหัวข้อ
5.2 ศึกษาระบบงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
5.3 การออกแบบและวิเคราะห์ระบบ
5.4 พัฒนาระบบ และ ทดสอบระบบ
5.5 สรุปผลการทดลอง
5.6 จัดทำรูปเล่ม
6. ระยะเวลาดำเนินการ
สิงหาคม 2562– เมษายน 2563

7. สถานที่และพื้นที่จัดทำโครงงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เลขที่ 70 หมู่ 4 ต.หนองบัว อ.เมืองกาญจนบุรี
จ.กาญจนบุรี 71000
3

8. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
8.1 ฮาร์ดแวร์ที่ใช้
1) คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค จำนวน 1 เครื่อง
- CPU Core I7
- RAM 8 GB
- Hard disk 1 TB
8.1 ซอฟต์แวร์ที่ใช้
1) โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2019 เป�นซอฟแวร์ที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์
- OOP with C#
- ASP.Net MVC
- Xamarin
8.2 โปรแกรม Microsoft SQL Server 2017 เป�นซอฟต์แวร์ที่ใชจัดการระบบฐานข้อมูล

9. แผนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินการ
กิจกรรม ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ษ.
62 62 62 62 62 63 63 63 63
1. เสนอหัวข้อโครงงาน
2. ศึกษาระบบงานและ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.การออกแบบและ
วิเคราะห์ระบบ
4. พัฒนาระบบ และ
ทดสอบระบบ
5. สรุปผลการทดลอง
6. จัดทำรูปเล่ม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำโครงงาน ระบบบันทึกคะแนนเละตัดเกรดผ่านระบบเว็บแอปพลิเคชั่น (กรณีศึกษา


มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบและพัฒนาเว็บแอพพลิเค
ชัน โดยใช้รูปแบบการเขียนของ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาคือภาษา C#
และใช้ทฤษฎีของ MVC (Model View Controller) ในการเขียนเพื่อช่วยในการพัฒนาเว็บแอป
พลิ เ คชั น ให้ ม ี ก ารทำงานแบ่ ง เป� น ส่ ว นๆให้ ง่ า ยต่ อ การพั ฒ นาระบบ ในการพั ฒ นาโมบาย
แอพพลิเคชั่น โดยใช้ เทคโนโลยี Xamarin ในการพัฒนา จัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SQL
Server 2017 การจั ด ทำให้ผ ู ้ใ ช้ ภายนอกเข้า ถึงต้องมีการอัพระบบงานขึ้นเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้
Windows Server 2016 และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) เป�นวิธีการเขียนโปรแกรม
โดยอาศัยแนวคิดของวัตถุชิ้นหนึ่ง มีความสามารถในการปกป้องข้อมูล การสืบทอดคุณสมบัติ
และนำวัตถุแต่ละชิ้นมาทำงานร่วมกันได้ การทำงานเป�นส่วนๆจึงทำให้ง่ายต่อการแก้ไขโปรแกรม
ในระยะยาวซึ ่ ง ทำให้ แ นวโน้ ม ของ OOP ได้ ร ั บ การยอมรั บ และพั ฒ นามาใช้ ใ นระบบต่ า ง ๆ
มากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการ วินโดว เป�นต้น ซึ่งองค์ประกอบหลักของ OOP แบ่งเป�น 4 ส่วน
คือ
1) แอ็บสแทรคชัน (Abstraction) เป�นหลักการนามธรรมของ object ซึ่งเป�นกระบวนการ
ในการเอาส่วน concrete ของ class หรือส่วนที่มีการ implementation ของ object ออกมา
โดยรักษาลักษณะร่วมกัน หรือคุณลักษณะให้กับ concreate object ต่างๆ ซึ่งจะเป�นการใช้
หลักการอื่นๆของ OOP ในการทำให้เกิด Abstaction โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Polymorphism และ
ในบางภาษาจะมี abstract/interface keyword มาให้เพื่อระบุ class ที่ต้องการให้มีคุณสมบัติ
abstraction
2) คุณสมบัติการห่อหุ้ม (Encapsulation) เป�นหลักการการห่อหุ้มสถานะหรือข้อมูลของ
object จากภายนอกให้ไม่สามารถเข้าถึงสถานะของ object ได้ ดั้งนั้นการเข้าถึงจะต้องกระทำ
ผ่านทาง method เท่านั้น (เรียกว่า setter/getter) ซึ่งการซ้อนข้อมูลก็มีหลายระดับ private
จำกัดการเข้าถึงอย่างสิ้นเชิง, protected จำกัดการเข้าถึงจากภายนอกแต่ class ลูกสามารถ
เข้าถึงได้ หรือ public ไม่จำกัดดารเข้าถึงเลยภายนอกสามารถเข้าถึงได้ เป�นต้น บางภาษาอาจจะ
มีมากกว่านี้
5

3) การสืบทอด (Inheritance) หมายถึงการสร้างคลาสใหม่จากคลาสเดิมที่มีอยู่แล้วโดยมี


การถ่ายทอดคุณสมบัติของคลาสหลักมาดังภาพที่ 2.1

ภาพที่ 2.1 ตัวอย่างการสืบทอด (Inheritance)

จากภาพที ่ 2.1 จะเห็ น ว่ า การสื บ ทอด (Inheritance) คื อ การที ่ Subclass ได้ ร ั บ การ
ถ่ า ยทอดคุ ณ สมบั ต ิ (Attributes) มาจาก Subclass แล้วผนวกคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเข้าไป
สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ ลูกศรหัวรูปสามเหลี่ยมใส ที่ชี้จาก Subclass ไปยัง Superclass
4) การพ้องรูป (Polymorphism) คือการถ่ายทอดคุณสมบัติหากไม่มีการถ่ายทอดคุณสมบัติ
ก็จะไม่มีการพ้องรูป การถ่ายทอดคุณสมบัติเป�นเครื่องมืยืนยันได้ว่าคลาสลูกที่เกิดจากคลาสแม่
เดียวกันย่อมมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน การพ้องรูป (Polymorphism) หมายถึง การที่เราเขียนเมธ
อดชื่อเดียวกันให้สามารถรับพารามิเตอร์ได้หลายชนิดและการเขียนเมธอดชื่อเดียวกับคลาสที่สืบ
ทอดมาแต่การทำงานคนละอย่างกันโดยความหมายแล้ว Poly แปลว่า หลาย หรือ มาก ส่วนคำว่า
Morphism นั้นมาจากคำว่า Morph ซึ่งแปลว่ารูปร่าง เมื่อนำสองคำมารวมกันจะมีความหมาย
คือ การที่วัตถุสามารถมีรูปร่างได้หลากหลาย
6

การโอเวอร์ไรด์เมธอด (Overrides Method) คือ การที่คลาสลูกสามารถมีเมธอดชื่ อและ


รายการพารามิเตอร์ของเมธอดจะต้องมีชื่อและชนิดเหมือนกับคลาสแม่ซึ่งการเข้าถึงออบเจ็กต์นั้น
จะสามารถเข้าถึงได้จากคลาสลูกก่อน เช่น จากการยกตัวอย่างคลาสสัตว์มีเมธอด นอน() และ
คลาสลูกคือ คลาสปลา ก็มีเมธอดนอน() เช่นเดียวกันซึ่ง แสดงถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากคลาส
แม่ดังภาพที่ 2.2

ภาพที่ 2.2 การ Overrides Method

จากภาพที่ 2.2 เมื่อคลาสปลามีเมธอด นอน ที่ซ้ำกับคลาสสัตว์ ดังนั้นการเขียนโค้ดเพื่อสร้าง


ออบเจ็กต์การเข้าถึงข้อมูลจะเข้าถึงเมธอด นอน ของคลาสปลาก่อนเสมอและจะแสดงถึงการ
มองเห็นเมธอดจากอบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น

2. ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language)


ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป�นภาษาเขียนโปรแกรม ที่มีการพัฒนามา
จาก C และC++ ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญในการเขียนโปรแกรมในการที่จะพัฒนาโปรแกรมให้มี
ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
C# ยังถูกออกแบบมาให้เขียนโปรแกรมแบบ GUI (Graphical user interface) สำหรับทำงาน
บน Windows Form และนอกจากนี้คุณยังสามารถพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันและเว็บเซอร์วิสได้
ภายใต้ ASP.NET framework ป�จจุบันพัฒนาถึงเวอร์ชั่นล่าสุดคือ 8.0 โดยมีรายละเอียดดังนี้
7

2.1 โครงสร้างของภาษาซีชาร์ป
โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วยส่วนของโปรแกรมหลักแต่จะไม่มี
ส่วนของโปรแกรมย่อย (subroutine) โดยแสดงดังภาพที่ 2.3

ภาพที่ 2.3 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน

จากภาพที่ 2.3 แสดงโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้


1. หมายเลข (1) เป�นการระบุชื่อของ namespace ซึ่งใช้ในการกาหนดขอบเขตให้กับ
คลาสต่ า งๆรวมถึ ง ใช้ ใ นการจั ด โครงสร้ า งของโปรแกรมขนาดใหญ่ ใ ห้ เ ป� น สั ด ส่ ว นอี ก ด้ ว ย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนโดยมีผู้เขียนโปรแกรมหลายคน
นอกจากนี้ การกาหนด namespace ยังช่วยป้องกันป�ญหาการตั้งชื่อคลาสหรือค่าคงที่อื่นๆ ซ้า
กันได้
2. หมายเลข (2) เป�นการระบุชื่อของ class
3. หมายเลข (3) เป�นการะบุพื้นที่สาหรับคาสั่งต่างๆ ที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการให้
คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ในบางกรณี ผู้เขียนโปรแกรมสามารถที่จะไม่เขียนในส่วนของ
namespace ได้ ถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก และ ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งการที่ไม่
เขียนในส่วนของ namespace จะถือว่า class ที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ใน namespace โดยแสดง
ดังภาพที่ 2.4
8

ภาพที่ 2.4 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ namespace

จากภาพที่ 2.4 ผู้เขียนโปรแกรมสามารถที่จะไม่เขียนในส่วนของ namespace ได้ ถ้า


โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก และ ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งการที่ไม่เขียนในส่วนของ
namespace จะถือว่า class ที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ใน namespace

กรณีที่ 1 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐานโดยแสดงดังภาพที่ 2.5

ภาพที่ 2.5 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน แสดงข้อความ Hello C#

จากภาพที่ 2.5 จะแสดงข้อความ Hello C# ออกทางจอภาพ และจากนั้นรอจนกว่าผู้ใช้งาน


จะกด Enter แล้วจบการทางานกรณีที่ 1 เขียนในส่วนของ namespace กรณีที่ 2 ไม่เขียนใน
ส่วนของ namespace โดยแสดงดังรูปที่ 2.6
9

ภาพที่ 2.6 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ


namespace

จากภาพที่ 2.6 แสดงข้อความ Hello C# ออกทางจอภาพ และจากนั้นรอจนกว่าผู้ใช้งานจะ


กด Enter แล้วจบการทางานกรณีที่ 2

3. MVC Framework
MVC (Model-View-Controller) คื อ สถาป� ต ยกรรมซอฟต์ แ วร์ ช นิ ด หนึ ่ ง ซึ ่ ง ป� จ จุ บ ั น มี
Framework สำหรับสร้าง Web จำนวนมาก แต่เกือบทั้งหมดมีโครงสร้างแบบ MVC ซึ่งแต่ละ
ระบบจะถูกแบ่งส่วนออกเป�น 3 ส่วน คือ
โมเดล (Model) คื อส่ วนที ่ ต ิ ด ต่ อกั บ ฐานข้ อ มู ล การส่งค่า จากเว็บไปยั งฐานข้ อ มูล การ
ตรวจสอบผลความสัมพันธ์ของข้อมูลมีผลต่อฐานข้อมูล
วิ ว (View) คื อ ส่ ว นแสดงผลผ่ า น web browser ที ่ จ ะรั บ ค่ า มาจาก model หรื อ
controller เป�นส่วนของผู้ใช้งานระบบ(User Interface) มีหน้าที่รับคำสั่งจาก Controller เพื่อ
แสดงผลตามคำสั่งที่ได้รับคอนโทเลอร์ (Controller) คือส่วนควบคุมการทำงานทุกอย่างของ
ระบบ การใส่ Logic ตามที่ผู้ใช้ต้องการและส่งข้อมูลผลลัพธ์นั้นกลับไปแสดงผล เพื่อตอบกลับไป
ยังผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังภาพที่ 2.6
10

ภาพที่ 2.7 หลักการทำงานของ MVC

จากภาพที่ 2.7 ผู้ใช้งานจะส่งความต้องการไปที่คอนโทเลอร์ แล้วจะทำการอัพเดทไปโมเดล


โมเดลจะทำการประมวลผล แล้วทำการอัพเดทค่าฝ��งวิว

4. Xamarin Framework
Xamarin คือ หนึ่งในการพัฒนา Mobile Application แบบ cross platform ของบริษัท
Microsoft ที่สามารถเขียนโค้ดด้วยภาษา C# แล้วคอมไพล์เป�น native app ให้สามารถรันบน
ios , android และ windows platforms ได้ ซึ่งป�จจุบันตัว Xamarin นั้นจะทำให้ประหยัดเวลา
ตรงส่ ว นนี ้ ไ ปได้ ม าก เพราะจะเป� น การเขี ย นครั ้ ง เดี ย วด้ ว ยภาษา C# ที ่ ท ำงานบน .Net
Framework สามารถเรียกใช้ได้ทุก Platform คือ แปลงโค้ดที่เขียนด้วย ภาษา C# ให้สามารถ
คอมไพล์ ด้วยภาษา Java และ Object-C ได้ปกติการรับงานจากลูกค้ามักจะต้องทำแอปทั้ง iOS
และ Android ไปพร้อมๆ กัน เพราะคงไม่มีใครคิดจะสร้างแอปเฉพาะ Platform ใด Platform
หนึ่งถึงแม้ว่าสัดส่วนของ Smart Phone ในป�จจุบัน Android จะอยู่ที่ราวๆ 85% ส่วน iOS ที่
13% ที ่ เ หลื อ คื อ Window Phone และ Blackberryหากต้ อ งทำงานแบ่ ง เป� น ที ม iOS กั บ
Android การประสานงานก็ ต ้ อ งยุ ่ ง ยากมากๆ ค่ า ใช้ จ ่ า ยก็ ส ู ง เป� น 2 เท่ า แต่ ห ากใช้
Xamarin.Form จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ราวๆ 1.2 เท่า เท่านั้น เนื่องจากเป�นการทำทั้ง 2 แอปไป
พร้อมๆ กัน แต่จะต้องลงรายละเอียดลึกลงไประดับ Platform อยู่บ้างส่วนข้อเสียก็มีอยู่บ้าง
เหมือนกัน สิ่งที่เห็นชัดๆ คือ เมื่อ iOS หรือ Android ออก API ใหม่ๆ ออกมาให้ใช้ อาจต้องรอ
สักระยะหนึ่งเพื่อรอให้ Plugin ของ Xamarin ออกมาให้ใช้ก่อนตัวอย่าง UI ที่ออกแบบโดยใช้
Xamarin.Form ดังภาพที่ 2.8
11

ภาพที่ 2.8 ตัวอย่างหน้า UI ที่ออกแบบโดย Xamarin.Forms

จากภาพที่ 2.8 เป�นหน้า UI ของระบบบันทึกคะแนนเละตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชั่น


(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ที่ออกแบบโดยใช้ Xamarin.Form

5. Microsoft SQL Server 2017


SQL Server 2017 คื อ ระบบการจั ด การฐานข้ อ มู ล เชิ ง สั ม พั น ธ์ ( RDBMS: Relational
Database Management System) ที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป�นซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่
หลักในการจัดการฐานข้อมูล Server เป�นผลิตภัณฑ์ที่มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บและเรียกข้อมูล
ตามคำขอของแอพพลิเค-ชันซอฟต์แวร์อื่น ๆ ซึ่งอาจทำงานได้บนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือ
บนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย และมีความสามารถในการประมวลผล ตัวอย่างการใช้งาน
microsoft sql server 2017 ทำการแสดงความสั ม พั น ธ์ ข องตารางข้ อ มู ล ของระบบบั น ทึ ก
คะแนนเละตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชั่น (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ดังภาพ
ที่ 2.9
12

ภาพที่ 2.9 ภาพตารางความสัมพันธ์ของระบบบันทึกคะแนนเละตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชั่น


(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)

6. เว็บ เซิร์ฟเวอร์
Web Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการ
ข้อมูล แก่ Client หรือ เครืองคอมพิวเตอร์ที่ขอรับบริการ ในรูปแบบ สื่อผสม ผ่านระบบเครือข่าย
โดยสามารถแสดงผล ผ่ า นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ หรืออาจกล่า วได้ว่า เว็ บเซิ ร ์ ฟเวอร์ คื อ
โปรแกรมที่คอยให้บริการแก่ Client ที่ร้องขอข้อมูลเข้ามาโดยผ่าน web browser โปรแกรมที่
นิยมนำใช้เป�นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอ
เอส (Microsoft IIS = Internet Information Server)เป�นต้น การใช้งาน Web Server มี 4
ขั้นตอนคือ
1) เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Google Chome
2) เครื่อง Client จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป�นไอพีแอดเดรส
3) เครื่อง Client ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปรกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
4) เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ
13

ภาพที่ 2.10 หลักการทำงานของ Web Server

จากภาพที่ 2.4 Web server ทำการดึงข้อมูลจาก Database เพื่อให้เครื่องผู้ให้เก็บข้อมูล


เว็บโดยใช้ HTTP ส่งสงผลเป�น html ให้ Web Browser เพื่อให้ Client หรือผู้ใช้งานสามารถ
เข้ามาดูข้อมูล ภาพ เสียง ผ่าน Web browser

7. API (Application Programming Interface)


API จริงๆแล้วมาจากตัวย่อของคำ Application Program Interface (API) ซึ่งคือ คำสั่ง
(Code) ที่อนุญาตให้ software program สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ถ้าจะพูดในภาษาคน
เขียน program แล้ว API เป�นช่องทางสำหรับขอใช้บริการคำสั่ง จาก operation system (OS)
หรือ application อื่นๆ ซึ่งมันใช้งานโดยติดตั้ง function และเรียกใช้งานตาม doncument ที่
เขียนไว้ ส่วนประกอบของ API
API สร้างขึ้นจากส่วนสำคัญ 2 อย่าง คือ
1) ข้อกำหนดที่จะอธิบายการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง program ซึ่งทำออกมาในลักษณะ
document เพื่อบอกว่า request/response ต้องเป�นอย่างไร
2) Software ที่เขียนขึ้นตามข้อกำหนด และทำการเผยแพร่ออกไปให้ใช้งานโดยปกติแล้ว
applicaations ที่มี APIs จะต้องถูกเขียนเป�นภาษา programming และ พัฒนาเพิ่มได้ง่าย จึง
จำเป�นต้องมี่การตรวจสอบโครงสร้าง API เพราะฉะนั้น API ที่ดี ผู้ที่ออกแบบต้องให้ความสำคัญ
ในการ test เพื่อตรวจสอบ logic ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งาน
14

ภาพที่ 2.11 ภาพตัวอย่างการทำงานของ API

7.1 การใช้งาน APIs


ป�จจุบันนี้ API ถูกใช้งานใน application เพื่อสื่อสารกับ user โดยไม่จำเป้นต้องมีความรู้
บริ ษั ทใหญ่ ๆหลายบริ ษั ทมี การเป�ด API ให้ ภ ายนอกเข้า มาใช้งาน เช่ น facebook, google,
twitter ผู้พัฒนาระบบที่สนใจ สามารถนำเอา API เหล่านี้ไปไปต่อยอด ซึ่งทางบริษัทก็สามารถ
ขยายฐานลูกค้าออกไปได้อีก รูปแบบการนำเอา API ไปใช้งานมีดังนี้
7.2 Libraries and frameworks
API มักจะเอาไปใช้เป�น software library ซึ่งเขียนขึ้นตาม document ในรูปบบภาษา
program ที่ต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมกับงาน เพื่อเอาไปทำเป�น framework ให้กับ
ระบบใช้ในการสื่อสารหากัน
7.3 Operating Systems
API สามารถใช้งานในการสื่อสารระหว่าง application และ operating system เช่น
POSIX หรือ มาตราฐานการสือสารของ OS เองก็มี API เป�น command line เพื่อควบคุมการ
ทำงานของ OS
7.4 Remote API
Remote API ทำไว้ให้ developer สามารถเข้าควบคุมทรัพยากรผ่านทาง protocol
เพื่อให้มีมาตราฐานการสือสารเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป�นคนละ technology เช่น Database API
สามารถอนุ ญ าตให้ developer เข้ า มาดึ ง ข้ อ มู ล ใน database หลากหลายชนิ ด ได้ ผ่ า น
15

function เดี ยวกั น เพราะฉะนั ้ น remote API จึงถูกใช้ บ่ อ ยในงาน maintenance ด้ ว ยทำ
ทำงานที่ฝ�ง client ให้ไปดึงข้อมูลจาก server กลับลงมาทำงาน
7.5 Web API
นิยมใช้กันมากในป�จจุบัน เพราะอยู่ในกลุ่มของ HTTP และขยายออกไปสู่รูปแบบ XML
และ JSON ซึ ่ ง โดนรวมแล้ ว ก็ ค ื อ อยู ่ บ น web service เช่ น SOAP (Simple Object Access
Protocol) ใช้ XML format ส่ งข้อมูล REST (Representational State Transfer) สามารถ
ใช้ XML หรือ JSON format ส่งข้อมูล
7.6 Representational state transfer
Representational state transfer หรือ REST คือ การสร้าง Webservice ชนิดหนึ่งที่
ใช้สื่อสารกันบน Internet ใช้หลักการแบบ stateless คือไม่มี session ซึ่งต่างจาก webservice
แบบอื่นเช่น WSDL และ SOAP การทำงานของ RESTful Webservice จะอาศัย URI/URL ของ
request เพื่อค้นหาและประมวลผลแล้วตอบกลับไปในรูป XML, HTML, JSON โดย response
ที่ตอบกลับจะเป�นการยืนยันผลของคำสั่งที่ส่งมา และสามารถพัฒนาด้วยภาษา programming
ได้หลากหลาย คำสั่งก็จะมีตาม HTTP verbs ซึ่งก็คือ
1) GET ทำกการดึงข้อมูลภายใน URI ที่กำหนด
2) POST สำหรับสร้างข้อมูล
3) PUT ใช้แก้ไขข้อมูล
4) DELETE สำหรับลบข้อมูล
7.7 คุณสมบัติของ REST
เป�น API อย่างหนึ่ง ซึ่งทุกๆ system ต่างใช้ resource ซึ่งเป�นได้ทั้ง image, video,
web page หรือข้อมูลทางธรุกิจ ก็ได้ที่สามารถแสดงบนระบบ computer วัตถุประสงค์เพื่อให้
user สามารถเข้ า ถึ ง ติ ด ตั ้ ง ปรั บ แต่ ง ขยาย resource เหล่ า นี ้ ไ ด้ ง ่ า ย ซึ ่ ง ทาง RESTful ได้
ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติต่อไปนี้

• แสดงผล
• เก็บข้อมูล
• มี URIs
• Stateless ทำงานโดยไม่ต้องมี session
• เชื่อมต่อระหว่าง web service
• Cachin
16

การทำงานของ HTTP Request มีขั้นตอนการทำงานดังภาพ 2.17

ภาพที่ 2.12 การทำงานของ HTTP Request

จากภาพที่ 2.12 การทำงานของ HTTP Request มีดังนี้


1) <VERB> เป�นส่วนของ HTTP method เช่น GET, PUT, POST, DELETE
2) <URI> คือตำแหน่งของสถานที่ข้อมูล ที่ต้องการให้ระบบทำงาน
3) <HTTP Version> ปกติจะใช้ “HTTP v1.1”
4) <Request Header> ส่วนของ metadata ที่ใช้เก็บค่า key-value ของ header เพื่อ
บอกข้อมูลผู้ส่ง เช่น format ของข้อมูบ body
5) <Request Body> ส่วนข้อมูล content ใน REST

การทำงานของ HTTP Response ดังภาพ 2.18

ภาพที่ 2.13 ตัวอย่างการทำงานของ HTTP Response


17

จากภาพที่ 2.13 การทำงานของ HTTP Response มีดังนี้


1) <Response Code> คือผลลัพธ์การทำงานในระดับ HTTP เป�นเลข 3 หลัก ถ้าปกติจะ
เป�น 200
2) <Response Header> ส่วนของ metadata ที่ใช้เก็บค่า key-value ของ header
3) <Request Body> ส่วนข้อมูลผลลัพธ์ content ใน REST

8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ธนกฤต โพธิ์ขี [1] การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ “Taladnut
Night Market” การวิ จ ั ย เรื ่ อ ง การพั ฒ นาแอปพลิ เ คชั น บนระบบปฏิ บ ั ต ิ ก ารแอนดรอยด์
“Taladnut Night Market” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน
บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน “Taladnut Night
Market” ที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการแอน ดรอยด์ สำหรับนำเสนอข้อมูลและโปรโมชั่นของตลาด
นัดกลางคืน และ 3) เพื่อศึกษาความพึ่งพอใจของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีต่อแอปพลิเคชัน “Taladnut
Night Market” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัย เป�นนักท่องเที่ยวในตลาดนัดกลางคืน จำนวน
100 คน โดยได้มาจาก การสุ่ม แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การทำ
วิ จ ั ย 1) แอปพลิ เ ค ชั ่ น บนระบบปฏิ บ ั ต ิ ก ารแอนดรอยด์ “Taladnut Night Market” 2)
แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ( X )
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย 1) ผลการวิเคราะห์การใช้ งานแอปพลิ เ คชั น
Taladnut Night Market จากผู ้ ใ ช้ ง าน จำนวน 291,230 Users วิ เ คราะห์ ต ามประเภทของ
อุปกรณ์การใช้งานได้ดังนี้ ร้อยละ 97.74% ใช้งานผ่าน โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 2.25% ใช้งาน
ผ่ า นแท็ บ เล็ ต และ ร้ อ ยละ 0.01% ใช้ ง านผ่ า นคอมพิ ว เตอร์ ความละเอี ย ดของหน้ า จอ
โทรศัพท์มือถือที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือขนาด 720x1280 pixels 2) ผลการศึกษา ความพึงพอใจ
ของกลุ่มนักท่องเที่ยวในตลาดนัดกลางคืนที่มีต่อแอปพลิเคชัน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85
สหัทยา สิทธิวิเศษ[2]การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวด้ วยตนเองตามเส้น ทางท่ องเที่ ยวชุ มชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชี ยงราย จังหวั ด
เชียงราย และประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบ
ประเมินความพึงพอใจต่อโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทาง
ท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ผลการพัฒนาโมบายแอป
พลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอ
18

เมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่าชุมชนได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 9 แห่ง ร้านอาหาร


และเครื่องดื่ม จำนวน 7 แห่ง เนื้อหาที่จะนำเสนอเป�นข้อมูลในแอปพลิเคชัน ได้แก่ (1) ประวัติ/
ข้ อมู ล แนะนำสถานที ่ (2) เวลาทำการ (3) ที่ต ั้ง (4) เบอร์โ ทรติด ต่อ (5) Website (6) อั ต รา
ค่าบริการ (7) ข้อมูลแนะนำเพิ่มเติม (8) รูปภาพประกอบ (9) คำนวณระยะทางระหว่างตำแหน่ง
ป�จจุบันกับสถานที่ท่องเที่ยว (10) คำนวณระยะทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยว (11) จัดทำเป�น 5
ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ผลการประเมิน
คุณภาพโมบายแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ
บทที่ 3
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

การจัดทำวิจัยเรื่องระบบบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ต้องมีวิธีการดำเนินการโดยจะกล่าวถึงการทำงานที่เป�นขั้นตอน
เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตรงกับขอบเขตที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ซึ่งจะมีขั้นตอน
ของการดำเนินงาน เพื่อที่จะทำให้ง่ายต่อการพัฒนาระบบ มีขั้นตอนดังนี้

ศึกษาและรวบรวมข้อมูล

วิเคราะห์ระบบ

ออกแบบฐานข้อมูล

พัฒนาโปรแกรม

ภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน

จากภาพที่ 3.1 เป�นการแสดงขั้นตอนการดำเนินงานในการพัฒนาระบบ จะแบ่งออกเป�น 4


ขั ้ น ตอน ขั ้ น ตอนแรกศึ กษาและรวบรวมข้อมูล ขั้น ตอนที่ สองวิเ คราะห์ร ะบบ ขั้น ตอนที่สาม
ออกแบบฐานข้อมูลและขั้นตอนที่สี่การพัฒนาโปรแกรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การศึกษาและรวบรวมข้อมูล
ศึกษาวิธีการใช้เครื่ องมื อต่า งๆ ที่มำมาพัฒนาระบบ เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์การรับส่งข้อมูล การจัดการข้อมูล และโปรแกรมในการ
จัดเก็บฐานข้อมูล เป�นต้น เพื่อเป�นการเปรียบเทียบเครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาระบบ จาก
ระบบงานเดิมที่ต้อง จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารจึงทำให้เกิดป�ญหาในการ สืบค้น ตรวจสอบ
และข้อมูลสูญหาย ซึ่งหาก มีระบบที่เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลจะทำให้การดำเนินงานสะดวก
ยิ่งขึ้น
20

2. การวิเคราะห์ระบบ
จากการสอบถามความต้ องการจากนักศึก ษาและผู้ใช้ระบบเว็ บแอปพลิเคชันการบั น ทึ ก
คะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) เพื่อทำ
ให้ขั้นตอนการทำงานและข้อมูลมีความถูกต้อง ประหยัดเวลาลงจากระบบงานเดิม โดยความ
ต้องการคือสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบได้ระบบสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านเว็บ
แอพพลิเคชันได้เพื่อลดการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้ใช้งานทั่ว ไปสามารถสืบค้นข้อมูลและดู
รายละเอียดได้และมีความถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเพื่อให้เข้าใจระบบได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
จึงทำระบบเป�นแผนภาพ ดังในภาพที่ 3.2

ภาพที่ 3.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงาน

จากภาพที่ 3.2 สิทธิ์ของการเข้าใช้ระบบในส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานทั่วไปในแต่ละ


ส่วนของการเข้าใช้งานระบบโดยจะแบ่งการทำงานออกเป�นสามส่วน ส่วนแรกจะเป�นในส่วนของ
แอดมินที่คอยดูแลจัดการข้อมูลภายในระบบ ส่วนที่สองเป�นส่วนของนักศึกษาที่เข้ามาใช้งาน
ระบบ ส่วนที่สามเป�นส่วนของอาจารย์ผู้สอนที่จะทำการตัดเกรดให้แก่นักศึกษาภายในระบบ
21

3. ออกแบบฐานข้อมูลของระบบงาน
จากการการที่เราได้ทำการวิเคราะห์ระบบเว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนเละตัดเกรดผ่าน
ระบบแอปพลิเคชั น (กรณีศึกษามหาวิ ทยาลั ยราชภัฏ กาญจนบุรี)ได้ ออกแบบฐานข้ อมู ลของ
ระบบงานออกเป�น 9 ตารางได้แก่ ตารางข้อมูลนักศึกษา ตารางข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ตารางคณะ
ตารางสาขาวิชาตารางการจองรายวิ ชา ตารางข้อมูลการเก็บคะแนน ตารางข้อมูลแอดมิ น
ตารางข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน ตารางข้อมูลรายวิชา และมีข้อมูลรายละเอียดตารางดังต่อไปนี้

ตารางที่ 3.1 ข้อมูลนักศึกษา


ชื่อแฟ้มข้อมูล: ST_Student_TB (ข้อมูลนักศึกษา)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 ST_Student_ID varchar(15) PK รหัสนักศึกษา
2 ST_Title varchar(10) คำนำหน้า
3 ST_FName varchar(50) ชื่อ
4 ST_LName varchar(50) นามสกุล
5 ST_Birthday date วันเกิด
6 ST_Email varchar(50) อีเมลล์
7 ST_Faculty int FK คณะ
8 ST_Branch int FK สาขาวิชา
9 ST_Password varchar(20) พลาสเวิด
10 ST_Photo text รูปโปรไฟล์

ตารางที่ 3.2 ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน


ชื่อแฟ้มข้อมูล: TC_Teacher_TB (ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 TC_Teacher_ID varchar(15) PK รหัส
2 TC_Title varchar(10) คำนำหน้า
3 TC_Teacher_FName varchar(50) ชื่อ
4 TC_Teacher_LName varchar(50) นามสกุล
5 TC_Teacher_Password varchar(20) รหัสผ่าน
22

ตารางที่ 3.3 ข้อมูลแอดมิน


ชื่อแฟ้มข้อมูล: USER (ข้อมูลแอดมิน)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 User_ID varchar(15) PK รหัสแอดมิน
2 U_title_name varchar(10) คำนำหน้า
3 U_F_Name varchar(50) ชื่อ
4 U_L_Name varchar(50) นามสกุล
5 U_Phone varchar(10) เบอร์โทรศัพท์
6 U_Sex varchar(10) เพศ
7 U_passwd varchar(20) พลาสเวิด

ตารางที่ 3.4 ข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน


ชื่อแฟ้มข้อมูล: SE_Section_TB (ข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 SE_Sec_ID varchar(10) PK รหัส
2 SE_Section int Fk เซกชัน
3 SE_Subject_ID varchar(10) FK รหัสวิชา
4 SE_Year varchar(4) ป�การศึกษา
5 SE_Term varchar(1) เทอม

ตารางที่ 3.5 การจองรายวิชา


ชื่อแฟ้มข้อมูล: SET_SEC_TB (ข้อมูลการจองรายวิชา)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 SET_SECID int PK รหัสการจอง
2 SET_Sec_ID varchar(10) FK รหัสเซกชัน
3 SET_TC_Teacher_ID varchar(15) FK อาจารย์ผู้สอน
23

ตารางที่ 3.6 ข้อมูลการเก็บคะแนน


ชื่อแฟ้มข้อมูล: SES_SEC_TB (ข้อมูลการเก็บคะแนน)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 SES_Sec_ID int PK รหัส
2 SES_SE_ID varchar(10) FK รหัสเซกชัน
3 SES_ST_Student_ID varchar(15) FK รหัสนักศึกษา
4 SES_ST_Mid float คะแนนกลาง
ภาคเรียน
5 SES_ST_Final float คะแนนปลาย
ภาคเรียน
6 SES_ST_Total float คะแนนรวม
ภาคเรียน
7 SES_Grade char(2) เกรด

ตารางที่ 3.7 ข้อมูลรายวิชา


ชื่อแฟ้มข้อมูล: SB_Subject_TB (ข้อมูลรายวิชา)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 SB_Subject_ID char(6) PK รหัสรายวิชา
2 SB_Subject_Name varchar(200) ชื่อวิชา
3 SB_Credit date ลายละเอียด
หน่วยกิต
4 SB_Credit_CL varchar(10) จำนวณหน่วย
กิต

ตารางที่ 3.8 ข้อมูลคณะ


ชื่อแฟ้มข้อมูล: FT_Faculty_TB (ข้อมูลคณะ)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 FT_Faculty_ID int PK รหัส
2 FT_Faculty_Name varchar(50) ชื่อคณะ
24

ตารางที่ 3.9 ข้อมูลสาขา


ชื่อแฟ้มข้อมูล: BH_Branch_TB (ข้อมูลรายชื่อสาขา)
ลำดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล คีย์ คำอธิบาย
1 BH_Branch_ID char(6) PK รหัสสาขา
2 BH_Branch_Name varchar(200) ชื่อสาขา
3 BH_Faculty_ID float FK รหัสคณะ

4. พัฒนาระบบ
หลังจากที่ได้ทำการวิเ คราะห์แ ละออกแบบฐานข้ อมูลเสร็จแล้ วนั้ น จะทำให้เราทราบถึ ง
ขั้นตอนที่ต้องทำในระบบทั้งหมด ขั้นต่อไปจะเป�นการออกแบบหน้าตาของระบบ ก่อนจะนำไปสู่
การพัฒนาระบบ ในการการพัฒนาระบบได้แบ่งการทำงานออกเป�น 3 ระบบหลัก ๆ แต่จะมีระบบ
ย่อยของแต่ละการทำงานดังนี้ 1) ระบบจัดการการข้อมูลนักศึกษา 2) ระบบการลงทะเบียนเรียน
3) ระบบการบันทึกคะแนนและผลการเรียนของนักศึกษา
4.1 นักศึกษาสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ จากระบบได้โดยทำการเข้าสู่ระบบดังรูปภาพที่ 3.3

ภาพที่ 3.3 ออกแบบการเข้าสู่ระบบ

จากภาพที่ 3.3 จะแสดงหน้าเว็บไซต์สำหรับนักศึกษา โดยจะต้องทำการเข้าสู้ระบบเพื่อเข้าไป


ดูข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาทำการเข้าสู่ระบบแล้วก็จะปรากฏหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาดัง
ภาพที่ 3.4
25

ภาพที่ 3.4 ออกแบบข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา

จากภาพที่ 3.4 นักศึกษาสามารถดูข้อมูลส่วนตัวและอัพเดทข้อมูลได้ จะเห็นได้ว่ามีแถบเมนู


ให้เลือก เมนูแรกจะเป�นการเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัว เมนูที่สองจะเป�นการจองรายวิชาดังภาพที่ 3.5

ภาพที่ 3.5 ออกแบบการจองรายวิชา

จากภาพที่ 3.5 จะแสดงหน้าเว็บไซต์การจองรายวิชาโดยนักศึกษาจะเข้าไปเลือกจองรายวิชา


ที่ต้องการเรียนในแต่ละเทอมโดยสามารถค้นหาวิชาที่จะลงเรียนได้และเมื่อต้องการจองรายวิชาให้
กดเลือกจากนั้นรายวิชาที่นักศึกษาได้ทำการจองไว้นั้นจะไปอยู่หน้าข้อมูลการจองรายวิชาดังภาพ
ที่ 3.6
26

ภาพที่ 3.6 ออกแบบข้อมูลการจองรายวิชา

จากภาพที่ 3.6 เมื่อนักศึกษาทำการจองรายวิชาเรียบร้อยแล้วต้องทำการกดยืนยันรายวิชาที่


จองไว้ กรณีที่ทำการจองรายวิชาผิดนักศึกษาสามารถยกเลิกรายวิชานั้นๆได้โดยการกดยกเลิก
ก่อนที่จะกดยืนยัน ต่อมาจะเป�นการดูผลการเรียนของนักศึกษา ดังภาพที่ 3.7

ภาพที่ 3.7 ออกแบบข้อมูลผลการเรียน


27

จากภาพที่ 3.7 เมื่อนักศึกษาเข้ามาในส่วนของเมนูผลการเรียนระบบจะแสดงข้อมูลผลการ


เรียนทั้งหมดของนักศึกษา หากรายวิชาไดที่ยังไม่มีผลการเรียนนักศึกษาสามารถยกเลิกการเรียน
รายวิชานั้นได้โดยที่ นักศึกษาจะต้องเลือกตรงคำว่า ถอน จากนั้นรายวิชาที่นักศึกษาเลือกถอน
เกรดจะกลายเป�น W โดยอัตโนมัติ ในส่วนของแอปพลิเคชันนั้นจะมีหน้าตา UI ดังภาพที่ 3.8

ภาพที่ 3.8 ออกแบบหน้า UI การเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชั่นของนักศึกษา

จากภาพที่ 3.8 จะเป�นการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันโดยให้นักศึกษาทำการใส่รหัส


นักศึกษาและรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วก็จะเจอหน้า UI ของแอปพลิเคชัน ดัง
ภาพที่ 3.9

ภาพที่ 3.9 ออกแบบข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษาในส่วนของแอปพลิเคชัน


28

จากภาพที่ 3.9 จะเป�นในส่วนหน้าจอแสดงข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษาในระบบของแอปพลิเค


ชันซึ่งในส่วนถัดไปนั้นจะเป�นในส่วนของผลการเรียนของนักศึกษาดังภาพที่ 3.10

ภาพที่ 3.10 ออกแบบการแสดงผลการเรียนของนักศึกษาผ่านระบบแอปพลิเคชัน

จากภาพที่ 3.10 จะเป�นการนำผลการเรียนของนักศึกษามาโชวข้อมูลผ่านระบบแอปพลิเคชัน


โดยจะทำการดึงข้อมูลจากฝ��งเว็บมาแล้วหาค่าเกรดเฉลี่ย
4.2 อาจารย์ผู้สอนสามารถจัดการข้อมูลภายในระบบได้ดังรูปภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 3.11 ออกแบบการเข้าสู่ระบบสำหรับอาจารย์


29

จากภาพที่ 3.11 อาจารย์ต้องเข้าสู่ระบบโดยทำการใส่รหัสบัตรประชาชนในช่องชื่อผู้ใช้งาน


และรหัสผ่านจึงจะสามารถจัดการข้อมูลต่างๆภายในระบบได้ ดังภาพที่ 3.12

ภาพที่ 3.12 ออกแบบการจัดการบันทึกและตัดเกรด

จากภาพที่ 3.12 จะเห็นได้ว่าเมื่ออาจารย์สามารถเข้าสู่ระบบมาได้แล้วนั้นจะสามารถจัดการ


ระบบได้ดังนี้ 1 จะเป�นการแสดงรายชื่อวิชาที่ตนเองสอน 2 คือ รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน
ในรายวิชานั้นๆที่อาจารย์สอน และอาจารย์ผู้สอนยังสามารถ กรอกคะแนนและตัดเกรดในระบบ
ได้ทันทีเมื่อสิ้นสุดการเรียนในภาคเรียนนั้นๆ
4.3 ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลต่างๆได้โดยการทำการเข้าสู่ระบบดังภาพที่ 3.11 เมื่อ
ทำการเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นจะมีการจัดการข้อมูลดังภาพที่ 3.13
30

ภาพที่ 3.13 ออกแบบการจัดการข้อมูลในส่วนต่างๆ

จากภาพที่ 3.13 การทำงานจะแบบ่งเป�น 2 ส่วน คือ 1. แถบเมนู 2. ส่วนจัดการข้อมูลต่างๆ


ของระบบเช่น เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล โดยการทำงานแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบว่าจะ
เลือกจัดการกับระบบใด
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

การจั ด ทำเว็ บ แอปพลิ เ คชั น การบั น ทึ ก คะแนนและตั ด เกรดผ่ า นระบบแอปพลิ เ คชั น


(กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ส่วนผลการดำเนินงานนี้จะกล่าวถึง การทำงานแต่
ละฟ�งก์ชันการทำงานของระบบทุกอย่าง ซึ่งจะมีระบบงาน คือส่วนของ Web Application และ
จะมีผู้ใช้งานระบบอยู่ 3 ประเภทคือ ผู้ใช้งานที่เป�นนักศึกษา ผู้ใช้งานที่เป�นอาจารย์และผู้ดูแล
ระบบ โดยจะมีการทำงานแบ่งเป�นส่วนย่อย ๆ ผู้ใช้งานระบบจะมีการใช้งานแตกต่างกันไปตาม
ขอบเขตของโครงงาน ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลต่างๆได้ดังนี้

1. ผู้ใช้งานที่เป�นนักศึกษา

ภาพที่ 4.1 หน้าแรกของเว็บไซต์

จากภาพที่ 4.1 เป�นหน้าแรกของเว็บไซต์ในส่วนของนักศึกษา อาจารย์ และผู้ดูแลระบบ


เมื่อไหร่ก็ตามที่ต ้องการจัด การข้อมูลต่ างๆผู ้ใช้งานต้องทำการเข้า สู่ร ะบบเสียก่ อน หากเป� น
นักศึกษาต้องใส่รหัสนักศึกษาตรงช่อง Username ตามด้วย Password ของตนเอง หากเป�น
อาจารย์ผู้สอนตรงช่อง Username ให้ใส่รหัสประชาชน ตามด้วย Password ของตนเอง และ
32

ส่ ว นของผู ้ ด ู แ ลระบบทางมหาวิ ท ยาลั ย จะกำหนด Username และ Password มาให้ เมื่ อ


นักศึกษาทำการเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วจะเจอหน้าข้อมูลส่วนตัว ดังภาพที่ 4.2

ภาพที่ 4.2 หน้าแสดงข้อมูลนักศึกษา

จากภาพที่ 4.2 คือหน้าแสดงข้อมูลนักศึกษาหน้าจอนี้จะบอกรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง


กับนักศึกษาและนักศึกษายังสามารถจัดการข้อมูลส่วนตัวอัพเดทข้อมูลได้โดยคลิกที่ ปุ่มแก้ไข
ด้านล่าง และสามารถจองรายวิชาดังภาพที่ 4.3
33

ภาพที่ 4.3 หน้าการจองรายวิชา

จากภาพที่ 4.3 เป�นหน้าของการจองรายวิชาของนักศึกษาที่จะเลือกลงทะเบียนเรียนในแต่ละ


เทอมซึ่งจะสามารถค้นหารายชื่อวิชา รหัสวิชา ชื่ออาจารย์ผู้สอน และป�การศึกษาได้โดยการพิมพ์
ข้อมูลที่ต้องการค้นหาตรงช่องค้นหาเมื่อทำการจองรายวิชาเรียบร้อยแล้วนักศึกษาต้องมาทำการ
ยืนยันข้อมูลการจอง ดังภาพที่ 4.4

ภาพที่ 4.4 หน้าการยืนยันการจองรายวิชา

จากภาพที่ 4.4 จะเป�นการยืนยันการจองรายวิชาจากที่นักศึกษาได้ทำการจองมาจากภาพที่


4.3 โดยในส่วนนี้หากนักศึกษาต้องการยกเลิกการจองรายวิชาสามารถทำได้โดยกดปุ่มยกเลิกที่อยู่
34

ข้างหลังรายชื่อวิชานั้นๆ หากไม่ต้องการยกเลิกให้กดปุ่มยืนยันหลังจากที่ยืนยันแล้วรายวิ ชาที่


เลือกก็จะเข้าสู่ระบบโดยจะมาแสดงอยู่ด้านล้างของการยืนยันการจอง

ภาพที่ 4.5 หน้าจอแสดงผลการเรียน

จากภาพที่ 4.5 จะเป�นการแสดงผลการเรียนหากวิชาใดที่ยงั ไม่มีผลการเรียนนักศึกษาสาสมา


รถยกเลิกการเรียนรายวิชานั้นได้โดยการกดปุ่มถอนเมื่อยกเลิกแล้วเกรดจะเปลี่ยนเป�น W ทันที
ต่อไปจะเป�นในส่วนของแอปพลิเคชันดังภาพที่ 4.6

ภาพที่ 4.6 การเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชัน


35

จากภาพที่ 4.6 จะเป�นในส่วนของแอปพลิเคชันสำหรับนักศึกษาเท่านั้นที่มีสิทธิในการใช้งาน


โดยทำการเข้าสูระบบเช่นเดียวกับเว็บไซต์เมื่อเข้าสู้ระบบเรียบร้อยแล้วจะเจอหน้าแสดงผลการ
เรียนของนักศึกษา และ ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษาดังภาพที่ 4.7

ภาพที่ 4.7 ผลการเรียนของนักศึกษา

จากภาพที่ 4.7 จะเป�นข้อมูลของนักศึกษาในส่วนของแอปพลิเคชันโดยจะแสดงข้อมูลส่วนตัว


ของนักศึกษาและยังสามารถดูผลการเรียนของตนเองได้อีกด้วยแต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใดๆ
ได้เลยหากต้องการแก้ไขหรืออัพเดทข้อมูลนักศึกษาต้องทำการเข้าสู่ระบบผ่านเว็บไซต์

2. ผู้ใช้งานที่เป�นอาจารย์ผู้สอน

ภาพที่ 4.8 หน้าจอแสดงข้อมูลวิชา


36

จากภาพที่ 4.8 เมื่ออาจารย์ผู้สอนทำการเข้าสู่ระบบมาแล้วจะแสดงรายชื่อวิชาที่ตนเองนั้น


สอนอยู่และสามารถเข้าไปดูสามาชิกในหน้องเรียนได้โดยกดปุ่มดูนักเรียนตามรายชื่อวิชานั้นๆเมื่อ
กดเข้ามาแล้วจะสามารถดูรายชื่อและกรอกคะแนนเพื่อตัดเกรดนักศึกษาได้ดังภาพที่ 4.9

ภาพที่4.9 การตัดเกรดของนักศึกษา

จากภาพที่4.9 เมื่ออาจารย์ผู้สอนกรอกคะแนนเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบจะทำการคำนวณและ
แสดงผลการเรียนภายในระบบทันที นักศึกษาสามารถเข้าไปเชคข้อมูลได้โดยทำการลอกอินแล้ว
เลือกในส่วนของเมนูผลการเรียน ต่อมาจะเป�นการทำงานในส่วนของผู้ดูแลระบบมันขั้นตอนการ
ทำงานดังภาพที่ 4.10

3. ผู้ดูแลระบบ

ภาพที่ 4.10 หน้าจอการจัดการข้อมูลนักศึกษา


37

จากภาพที่ 4.10 เป�นหน้าการจัดการข้ อมูลนั กศึ กษาหากผู้ ดูแ ลระบบต้ องการเพิ ่ มข้ อ มู ล
นักศึกษาสามารถทำได้โดยกดปุ่มเพิ่มข้อมูล หากต้องการแก้ไขข้อมูลทำได้โดยการกดปุ่มแก้ไข
หากต้องการดูข้อมูลของนักศึกษาให้กดปุ่มรายละเอียดหากต้องการนำข้อมูลออกจากระบบให้กด
ปุ่มลบ

ภาพที่ 4.11 หน้าจัดการข้อมูลรายวิชา

จากภาพที่ 4.11 ในส่วนของการเป� ดรายวิชาผู้ดูแลระบบสามารถทำการเป�ด รายวิ ชาให้


นักศึกษาทำการจองรายวิชาได้โดยการ กดที่ ปุ่ม เพิ่มข้อมูล จากนั้นข้อมูลจะเข้าสู่ระบบทัน ที
เพื่อให้นักศึกษาได้ทำการจองรายวิชา ต่อมาจะเป�นระบบจัดการข้อมูลของอาจารย์ผู้สอนดังภาพที่
4.12

ภาพที่ 4.12 หน้าจอเพิ่มข้อมูลอาจารย์


38

จากภาพที่ 4.12 ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการกับข้อมูลกับอาจารย์ผู้สอนได้หากต้องการเพิ่ม


ข้อมูลของอาจารย์ผู้สอนลงในระบบสามารถทำได้โดย การกดปุ่มเพิ่มข้อมูล และยังสามารถแก้ไข
ข้อมูลได้โดยการกดปุ่มแก้ไข หรือ นำออกจากระบบได้โดยการกด ป่ม ลบ
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ

การสรุปผลและข้อเสนอแนะจากการดำเนินการของระบบบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่าน
ระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ได้มีการสร้างออกมาในรูปแบบ
ของเว็บแอพพลิเคชั่นซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับระบบอยู่ 3 ผู้ใช้งาน ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และ ผู้ดูแล
ระบบ ผู้ดูแลระบบนั้นจะมีหน้าจัดการข้อมูลต่างๆของระบบให้นักศึกษาและอาจารย์และทำการ
ตัดเกรดผ่านระบบโดยจะแสดงผลการเรียนผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

1. สรุปผลการดำเนินงาน
ในส่วนของการพัฒนาระบบบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) เป�นการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และแสดงข้อมูลการบันทึกให้เห็นทันทีผ่านระบบ โดยมี
การออกแบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดการข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ และการแสดงผลของข้อมูล
มีอยู่ 3 หน้า คือ หน้าแสดงข้อมูลนักศึกษา หน้าแสดงข้อมูลการจองรายวิชา และ หน้าข้อมูลผล
การเรียนโดยมีรูปแบบดังนี้

ภาพที่ 5.1 ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา


39

จากภาพที่ 5.1 คือหน้าแสดงข้อมูลนักศึกษาหน้าจอนี้จะบอกรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง


กับนักศึกษาและนักศึกษาหรือผู้ดูแลระบบยังสามารถจัดการข้อมูลส่วนตัวอัพเดทข้อมูลได้โดย
คลิกที่ปุ่มแก้ไขด้านล่าง ต่อไปจะเป�นการเป�ดรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาได้ทำการลงทะเบียนเรียนดัง
ภาพที่ 5.2

ภาพที่ 5.2 ข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน

จากภาพที่ 5.2 หน้าจอแสดงข้อมูลรายวิชาที่เป�ดสอน โดยในส่วนนี้จะเป�นรายชื่อวิชาที่


นักศึกษาสามารถจองหรือลงทะเบียนเรียนได้โดยผูดูแลระบบจะต้องทำการเป�ดรายวิชาโดยการ
เพิ่มรายวิชาเข้าไปในระบบสามารถทำได้โดยการกดปุ่มเพิ่มรายวิชาตรงมุมบนขวาของตรางและ
ทำการเพิ่มข้อมูลรายวิชาลงไปในระบบ ต่อไปจะเป�นการลงทะเบียนเรียนหรือการจองรายวิชาของ
นักศึกษาดังภาพที่ 5.3

ภาพที่ 5.3 การจองรายวิชาและลงทะเบียนเรียน


40

จากภาพที่ 5.3 หน้าจอแสดงข้อมูลรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนโดยในส่วนนี้จะแสดง รหัสวิชา


ชื่อวิชา จำนวณหน่วยกิต ป�การศึกษา และ อาจารย์ผู้สอน ซึ่งนักศึกษาสามารถจองรายวิชาได้
โดยทำการเลือกรายวิชาที่ต้องการเรียนและยังสมารถค้นหารายวิชา ชื่ออาจารย์ผู้สอน ได้โดยทำ
การกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา ต่อไปจะเป�นในส่วนของการตัดเกรดของนักศึกษา
ในแต่ละรายวิชานั้นๆที่นักศึกษาได้ทำการลงทะเบียนไว้ ดังภาพที่ 5.4

ภาพที่ 5.4 ผลการกรอกคะแนนของนักศึกษา

จากภาพที่ 5.3 หน้าจอแสดงผลการกรอกคะแนนในรายวิชาที่นักศึกษาได้ทำการลงทะเบียน


เรียนกับอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านซึ่งในส่วนนี้อาจารย์ผู้สอนจะเป�นคนกรอกคะแนนให้แก่นักศึกษา
จากนั้นระบบจะทำการคำนวณเกรดให้อัตโนมัติและจะไปแสดงผลการเรียนของนักศึกษาดังภาพที่
5.5

ภาพที่ 5.5 รายงานผลการเรียนของนักศึกษา

จากภาพที่ 5.5 เป�นข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาโดยจะแสดงผลการเรียนตลอดระยะเวลา


การศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมาและจะทำการคำนวณเกรดเฉลี่ยให้อัตโนมัติซึ่งในส่วนนี้หากวิชาใดที่ยัง
41

ไม่ได้มีการทำการตัดเกรด นักศึกษาสามารถยกเลิกการเรียนในรายวิชานั้นได้โดยการกดถอน
จากนั้นระบบจะยกเลิกการเรียนให้นักศึกษาโดยอัตโนมัติและเกรดนักศึกษาจะขึ้นเป�น W ทันทีซึ่ง
ในรายงานผลการเรียนส่วนนี้สามารถดูได้ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเท่านั้นไม่สามารถ
พิมพ์ใบรายงานผลได้ ต่อไปจะเป�นในส่วนของแอปพลิเคชันโดยมีรูปแบบการทำงานดังภาพที่ 5.6

ภาพที่ 5.6 การเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชัน

จากภาพที่ 5.6 จะเป�นในส่วนของแอปพลิเคชันสำหรับนักศึกษาเท่านั้นที่มีสิทธิในการใช้งาน


โดยทำการเข้าสูระบบเช่นเดียวกับเว็บไซต์เมื่อเข้าสู้ระบบเรียบร้อยแล้วจะเจอหน้าแสดงผลการ
เรียนของนักศึกษา และ ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษาดังภาพที่ 5.7
42

ภาพที่ 5.7 ข้อมูลส่วนตัวภายในแอปพลิเคชั่น

จากภาพที่ 5.7 เมื่อทำการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันหน้าแรกที่จะพบคือหน้าข้อมูลส่วนตัว


ของนักศึกษาโดยจะแสดงข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดของนักศึกษาแต่ในส่วนของแอปพลิเคชันนี้จะไม่
สามารถแก้ใขข้อมูลใดๆได้ ต่อไปจะป�นในส่วนของผลการเรียนของนักศึกษา ดังภาพที่ 5.8

ภาพที่ 5.8 ผลการเรียนของนักศึกษาผ่านแอปพลิเคชัน


43

จากภาพที่ 5.8 จะเป�นการแสดงผลการเรียนตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้งหมดของนักศึกษา


โดยจะแสดงผลการเรียนในแต่ละรายวิชาและทำการคำนวณเกรดเฉลี่ยให้โดยอัตโนมัติในส่วนของ
แอปพลิเคชันนี้ไม่สามารถยกเลิกการเรียนได้สามารถดูผลการเรียนได้เพียงอย่างเดียวและไม่
สามารถพิมพ์ใบรายงานผลการเรียนได้

5.2 ข้อเสนอแนะ
1. ในการศึกษาในครั้งนี้ ระบบบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบแอปพลิเคชัน (กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี) ในส่วนของแอปพลิเคชันนั้นสามารถดูข้มูลได้อย่างเดียวไม่
สามารถแก้ไขหรืออัพเดทข้อมูลได้
2. ควรศึกษาถึงป�ญหา อุปสรรคและสาเหตุที่ทำให้การดำเนินงานของระบบบันทึกคะแนนและ
ตั ด เกรดผ่านระบบแอปพลิเ คชัน (กรณีศ ึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุร ี) ไม่บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ได้
3. ในส่วนของการรายงานผลการเรียนนั้นไม่สามาถทำการบันทึกเป�นเอกสารหรือพิมพ์ ใบ
รายงานผลการเรียนออกมาได้
44

บรรณานุกรม

[1] รศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2559). C# คืออะไร.


http://marcuscode.com/lang/csharp.
[2] ภาดล เฉลียวพรหม. (2559). หลักการเขียน OOP. https://arit.rmutsv.ac.th/.
[3] ศุภชัย สัมพานิช. (2558). MVC. https://www.codebee.co.th/labs/mvc.
[4] ประชา พฤถษ์ประเสริฐ. (2558).Database Sql Server.
https://www.bestinternet.co.th/.
[5] ศุภชัย สัมพานิช. (2560). Xamarin Form. https://sysadmin.psu.ac.th.
[6] นัตถิ แซ่เล่อ. (2561). หลักการทำงาน MVVM https://medium.com/@leelorz6.
[7] จิราวุธ วารินทร์. (2560). Wep API. https://www.mindphp.com/ html.
[8] ธงชัย พยุงกร. (2557). ASP.NET. https://www.thaicreate.com/asp.net.
[9] ปวริศร์ เหลืองทองคำ. (2558). ระบบจัดการร้านอาหาร. หลักสูตรวิทยาศาสตมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
[10] ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
45

ประวัติผู้จัดทำปริญญานิพนธ์

ชื่อ : นายเอกรัตน์ รัตน์เจริญ


ชื่อปริญญานิพนธ์ : เว็บแอปพลิเคชันการบันทึกคะแนนและตัดเกรดผ่านระบบ
แอปพลิเคชัน (กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)
สาขาวิชา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์นิพนธ์ คำแตง
ป�การศึกษา : 2562

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนหนองรีประชานิมิต
พ.ศ. 2562 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ที่อยู่บ้าน
บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
71220
เบอร์โทรศัพท์ 098 256 2655

You might also like