You are on page 1of 67

 

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นางสาวสุวรรณี ปุญสิริ

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีการศึกษา 2560
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นางสาวสุวรรณี ปุญสิริ

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีการศึกษา 2560
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 
ชื่อ :** นางสาวสุวรรณี ปุญสิริ
ชื่อสารนิพนธ์ :** ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สาขาวิชา :** สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
:** ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
:** มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ที่ปรึกษาสารนิพนธ์**:** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรัตน์ โสดานิล
ปีการศึกษา :** 2560

บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้จัดทําขึ้นเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานในฝ่ายวิชาการ
ของบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุนันทาโดยใช้ข้อมูลในด้านการวิจัย สถานภาพ
ของนั ก ศึ ก ษา และข้อมูลนักศึกษา ในแต่ละสาขาวิชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555- 2559 ระบบสนับสนุน
การตัดสินใจที่พัฒนาขึ้นใช้โปรแกรมธุรกิจอัจฉริยะไมโครซอฟพาวเวอร์บีไอในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้
และนําเสนอรายงานในรูปแบบแดชบอร์ดสามารถดูรายงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เพื่อให้ฝ่ า ย
บริ ห ารดู ข้ อ มู ล ในภาพรวมทั้ง นี้ไ ด้ทํา การประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานจํานวน 10 คน มีผล
ความพึงพอใจด้านความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ด้านความถูกต้องของระบบและด้าน
การใช้งานของระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.64)

(สารนิพนธ์มีจาํ นวนทั้งสิ้น 58หน้า)

คําสําคัญ**:**คลังข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะะบบสนับสนุนการตัดสินใจแดชบอร์ด

__________________________________________________อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์หลัก

ข 
 
Name :**Miss Suwannee Punsiri
Master Project Title :**Decision Support System in the Administration of Graduate School,
**Suan Sunandha Rajabhat University
Major Field :**Information Technology
**Department of Information Technology
**Faculty of Information Technology
**King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
Master Project Advisor* :**Assistant Professor Dr.Maleerat Sodanil
Academic Year :**2017

Abstract
The purpose of this research is to develop a decision support system in the
Administration of Graduate School,Suan Sunandha Rajabhat University. The system
was developed based-on the information of research, student status and information
details of each branch between year 2013 and 2016.The decision support system is
developed using business intelligence Microsoft Power BI in the design of the user
interface. It presented in the form of the dashboard that can be viewed the overall
report of management information.The system is evaluated by ten people in terms
of user satisfaction and accuracy. The result of user satisfaction is equal 4.07 for
mean and 0.64 for standard deviation.

(Total 58 pages)

Keywords**:**Data warehouse, business intelligence, decision support system,


Dashboard

___________________________________________________________________Advisor

ค 
 
กิตติกรรมประกาศ

สารนิ พ นธ์ ฉ บั บ นี้ สํ าเร็ จ ลุ ล่ วงไปได้ ด้ ว ยความช่ วยเหลื อ อย่ างดี ยิ่ งจากผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์
ดร.มาลี รั ต น์ โสดานิ ล ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษาสารนิ พ นธ์ ซึ่ ง ได้ เสี ย สละเวลาให้ คํ า ปรึ ก ษา
เสนอแนะแนวทางในการทําวิจัยมาโดยตลอด และทุนการศึกษาที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนัน ทา จึง ขอขอบพระคุณ ที่ไ ด้ใ ห้ทุน การศึก ษามา ณ ที่นี้ด้ว ย ผู้วิจัย ขอขอบพระคุณ ใน
ความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณเพื่อน ๆ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเหลือเป็นกําลังใจ อํานวยความสะดวก
ในการเรียน และแนะนําช่วยเหลือปรับปรุงสารนิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ แ ละคุ ณ ค่ า อั น เกิ ด จากงานวิ จั ย นี้ ผู้ วิ จั ย ขอน้ อ มบู ช าพระคุ ณ ของคุ ณ พ่ อ
คุณแม่ผู้ให้ชีวิตและแสงสว่างแห่งปัญญา ตลอดจนบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้การอบรมสั่งสอนมา

สุวรรณี ปุญสิริ


 
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค
กิตติกรรมประกาศ ง
สารบัญ จ
สารบัญตาราง ช
สารบัญภาพ ซ
บทที่*1**บทนํา 1
1.1**ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1
1.2**วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
1.3**ขอบเขตของการวิจัย 3
1.4**คําจํากัดความในการวิจัย 3
1.5**ประโยชน์ที่ได้รับ 3
บทที่*2**เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
2.1**แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) 4
2.2**คลังข้อมูล (Data Warehouse) 14
2.3**การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Online Analytical Processing: OLAP) 19
2.4**ไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ 20
2.6 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ 24
2.5**งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 33
บทที่*3**วิธีการดําเนินงานวิจัย 35
3.1**การศึกษาและรวบรวบข้อมูลระบบ 35
3.2**การออกแบบระบบ 37
3.3 การพัฒนาระบบ 41
3.4**การทดสอบระบบ 41
3.5**การประเมินระบบ 41
บทที่*4**ผลการวิจัย 44
4.1**ผลการพัฒนาระบบ 44
4.2**ผลการประเมิน 49
บทที่*5**สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 50
5.1**สรุปผลการวิจัย 50
5.2 อภิปรายผล 51
5.3**ข้อเสนอแนะ 52


สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บรรณานุกรม 53
ภาคผนวก ก แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ 55
ประวัติผู้จัดทําสารนิพนธ์ 58


สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
3-1 รายชื่อตารางที่นํามาดึงข้อมูลเพื่อสร้างคลังข้อมูล 37
3-2 ตารางการเผยแพร่งานวิจัย 38
3-3 ตารางสถานะนักศึกษา 38
3-4 ตารางสาขาวิชา 38
3-5 ตารางหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 38
3-6 ตารางระดับการศึกษา 38
3-7 ตารางอาชีพของนักศึกษา 39
3-8 ตารางนักศึกษา 39
3-9 ตารางนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 39
3-10 เกณฑ์การประเมินความพึงพอใจของระบบ 42
3-11 เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบ 42
4-1 ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งาน 49


สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
2-1 การจัดกลุ่มของเทคโนโลยีและแนวคิดเกี่ยวกับ BI ไว้เป็น 5 กลุม่ ใหญ่ ๆ
จัดหา จัดเก็บ วิเคราะห์ นําเสนอ ประสานงาน 6
2-2 Business Intelligence Model 10
2-3 Data Integration Model 11
2-4 Drill - Down and Slice-and-Dice 12
2-5 ขั้นตอนพื้นฐานการทํา Data Acquisition 13
2-6 ขั้นตอนการทําธุรกิจอัจฉริยะด้วยพาวเวอร์บีไอ 22
2-7 สถาปัตยกรรมพาวเวอร์บีไอ 23
3-1 ระบบงานเดิมของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 36
3-2 ระบบงานใหม่ของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 36
3-3 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 40
3-4 การออกแบบคลังข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงาน
ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในรูปแบบเกล็ดหิมะ 40
3-5 ภาพหน้าจอแสดงผลลัพธ์ (A) แสดงชื่อรายงาน (B) แสดงกราฟประเภทต่าง ๆ 41
4-1 ภาพรวมของรายงานในด้านจํานวนนักศึกษา สถานภาพนักศึกษา การเผยแพร่งานวิจัย
และการเปรียบเทียบจํานวนนักศึกษาและจํานวนผู้สําเร็จการศึกษา 44
4-2 รายงานจํานวนนักศึกษาปี 2555-2559 45
4-3 รายงานจํานวนนักศึกษาสถานภาพต่าง ๆ ของนักศึกษา ปี 2555-2559 46
4-4 รายงานการเผยแพร่งานวิจัย ปี 2555 – 2559 46
4-5 รายงานจํานวนนักศึกษารับเข้ากับจํานวนนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษา ปี 2555 - 2559 47
4-6 การแสดงรายงานบนอุปกรณ์พีซี 48
4-7 การแสดงรายงานบนโทรศัพท์มือถือ 48


บทที่ 1
บทนํา

1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจที่มีความเข้มข้นในปัจจุบัน ปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบ
ความสําเร็จได้ ประการแรกคือ เรื่อง “ข้อมูล” ที่ใครเร็วกว่าย่อมได้เปรียบ ดังนั้นในยุคแห่งข้อมูล
ข่าวสารเช่นนี้ ธุรกิจต่าง ๆ จึงจําเป็นต้องหาเครื่องมือที่ทําให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องมีทั้งความถูกต้อง
และรวดเร็ ว มาช่ ว ยเพื่ อ สามารถนํ า ข้ อ มู ล จากหลาย ๆ ด้ า นมาผสมผสานและวิ เคราะห์ เพื่ อ ใช้
ประกอบการตัดสินใจหรือวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ แต่ในยุคนี้
แค่ข้อมูลอย่างเดียวไม่เพียงพอ ปัจจัยที่สําคัญอีกประการคือเรื่อง “การควบคุม” เพื่อให้ธุรกิจสามารถ
ดําเนินไปตามทิศทางของแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะทําให้ธุรกิจสามารถสร้าง
ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันได้อย่างแท้จริง (สุภาภรณ์, 2551)
ในปัจจุบันหลายองค์กรต่าง ๆ มักประสบปัญหาในการนําข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาลมาเปลี่ยน
ให้ เ ป็ น สารสนเทศที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ องค์กร การนํา ระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์แบบมาสนับสนุน
การดําเนินงานจะช่วยจัดการสายงานทุกสายงานขององค์กรให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
มีป ระสิ ท ธิภ าพ และถู ก ต้ องแม่ น ยํ า เพื่ อ ใช้ป ระกอบการตัด สิ น ใจในการดํ าเนิ น ธุร กิจ ขององค์ ก ร
ตลอดจนองค์กรธุรกิจต่าง ๆ (วิจิตรา, 2553)
การใช้ข้อ มูล ที่สํา คัญ อย่า งหนึ่ง สํา หรับ การดํา เนิ น ธุร กิ จ ในทุ ก วัน นี้ คือ การเรีย กใช้ข้อ มู ล
เพื่อการตัดสินใจ โดยจําเป็นต้องทําได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นฐานข้อมูลประจําวัน
จึงไม่เหมาะสมกับการเรียกใช้ข้อมูล ในลัก ษณะนี้ด้วยสาเหตุจากการคิวรี่เพื่อการตัดสิน ใจ มัก จะ
เป็นการคิวรีแบบเฉพาะกิจ ผู้เรียกใช้จําเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิค การคิวรี่ต้องใช้คําสั่งที่ซับซ้อน
ซึ่งอาจจะทําให้ประสิทธิภาพของระบบต่ําลงมากหรือไม่อาจจะคาดการณ์ได้ ทําให้ไม่เหมาะกับการทํา
การวิ เคราะห์ แ บบออนไลน์ การเก็ บ ข้ อ มู ล ในระบบฐานข้อ มูล ประจํ า วัน ไม่ไ ด้ม ีก ารเก็บ ข้อ มูล
ย้อนหลัง แต่ในบางครั้งการตัดสินใจจําเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ผ่านมา เพื่อช่วยในการคาดคะเนแนวโน้ม
ที่จะเป็นไปได้ในอนาคต (วิจิตรา, 2553)
Business Intelligence (BI) คือ ซอฟต์แวร์ที่นําข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทํารายงานในรูปแบบต่าง ๆ
ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ แสดงความสัมพันธ์ และทํานายผลลัพธ์์ของแนวโน้มที่อาจ
เกิดขึ้นได้ ตรงตามความต้ อ งการขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ซึ่งมี
การกําหนดไว้ดังนี้ “BI คือ เซ็ ต ของโพรเซสและโครงสร้า งข้อ มูล ที่ถูกนํามาใช้ เพื่อช่วยในการทํา
ความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของบริษัท เพื่อช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์และการสร้างแผนกลยุทธ์
ขององค์กร ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ สําหรับผู้บริหาร” (สุภาภรณ์ ,
2551)
2

นอกจากนี้ ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถใน


การแข่งขันของธุรกิจ โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร วิเคราะห์และนําเสนอ
ข้อมูลในหลายมุมมอง รวมถึงอยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย และช่วยในการวางแผนสนับสนุน
การตัดสินใจของผู้บริหาร โดยธุรกิจด้านการศึกษาก็เช่นกันแม้ว่าจะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร
แต่ก็จําเป็ นจะต้องบริหารจัดการ และให้บริการแก่ผู้เข้ามาศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนลูกค้าได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ การนํา ธุ ร กิ จ อั จ ฉริ ย ะมาใช้ ใ นองค์ ก รมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงทําให้
การนํา มาใช้ ใ นสถานศึ ก ษาที่ เ ป็ น องค์ ก รที่ ไ ม่ แ สวงหาผลกํา ไรนั้ น มี ค วามเป็ น ไปได้ ย าก
แต่ปัจจุบันมีชุดเครื่องมือโอเพนซอร์สสําหรับธุรกิจอัจฉริยะหลายตัวที่สามารถนํามาใช้งานได้โดยไม่มี
ค่าใช้จ่าย (Gounder et al., 2016; Marinheiro & Bernardino, 2012) แต่การนํามาใช้ยังมีความยุ่งยาก
และไม่ได้วางรูปแบบให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทธุรกิจ โดยแต่ละประเภทธุรกิจจําเป็นต้องนํามา
ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของตน (วารุณี แต้มคู, 2560)
บัณ ฑิต วิท ยาลัย มหาวิท ยาลัย ราชภัฏ สวนสุน ัน ทา เปิด การเรีย นการสอนในระดับ
บัณ ฑิต ศึก ษาในระดั บ ปริ ญ ญาโทและปริ ญ ญาเอก โดยแบ่ งเป็ น ระดั บ ปริ ญ ญาเอก 6 สาขาวิ ช า
ประกอบด้วย นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ การบริหารการพัฒนา การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ภาษาศาสตร์
ปรัชญาและจริยศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาโท 8 สาขาวิชา ประกอบด้วย การบริหารการศึกษา
การออกแบบการเรียนการสอน นิติวิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบริหารการพัฒนา การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ภาษาศาสตร์ และปรัชญาและจริยศาสตร์ ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในรูปของไฟล์เวิร์ด เอกเซล เป็นส่วนใหญ่
ทํา ให้ ต้ อ งใช้ เ วลาในการรวบรวมข้อ มูล และอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ในการจัดทําข้อมูลของ
แต่ละสาขาข้อมูลถูกรวบรวมไว้เป็นเอกสาร ทําให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและยังอาจเกิดการสูญหายได้
การวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละครั้งก็เกิดความล่าช้าและมีข้อผิดพลาด ข้อมูลส่วนกลางและของสาขาแต่ล ะ
สาขาไม่ตรงกันทํา ให้ข้ อมูล มีความคลาดเคลื่อน เกิดปัญหาตามมามากมาย
จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีงานวิจัยนี้จึงนําเสนอเครื่องมือระบบซอฟท์แวร์ Power BI
(Business Intelligence) หรือซอฟท์แวร์รายงานผู้บริหาร ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอสและแนวคิด
ของการสร้างต้ น แบบ จากเหตุ ผ ลที่ กล่ าวมาข้างต้ น ผู้ วิจัยจึงเล็ งเห็ น ว่าการใช้ท รัพ ยากรข้ อมู ล ที่
หน่วยงานมีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยช่วยลดระยะเวลาในการจัดทํารายงาน และรายงานที่ได้มี
ความหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ โดยนําระบบธุรกิจอัจฉริยะมาช่วยในการตัดสินใจใน
การบริห ารงาน ผู ้ วิ จ ั ย จึ ง ได้ ศ ึ ก ษ าก าร นํ า ระบ บ ธุ ร กิ จ อั จ ฉ ริ ย ะ เข้ ามาประยุ ก ต์ ใช้ ในระบบ
สนับสนุนการตัดสินใจการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื ่ อ พั ฒ น าระบ บ ส นั บ สนุ น การตัด สิน ใจในการบริห ารงานในฝ่ ายวิชาการของ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
1.2.2 เพื่ อ ป ร ะ เมิ น ค ว าม พึ ง พ อ ใ จ ข อ งผู้ ใ ช้ ง า น ร ะ บ บ ส นั บ ส นุ น ก า ร ตั ด สิ น ใ จ
ในการบริหารงานในฝ่ายวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
3

1.3 ขอบเขตของการวิจัย
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ซึ่งมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
1.3.1 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยทําการรวบรวมข้อมูลของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2559
1.3.2 การพั ฒ นาระบบสนั บ สนุ น การตั ด สิ น ใจในการบริ ห ารงานของบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแสดงผลข้อมูลในรูปแบบธุรกิจอัจฉริยะในรูปแบบรายงาน โดยมี
ระบบจัดการฐานข้อมูล คือ Microsoft SQL Server 2017 และชุดเครื่องมือสําหรับพัฒนาโปรแกรม
Microsoft Visual Studio 2015 และ Microsoft Power BI ในการออกรายงาน

1.4 คําจํากัดความในการวิจัย
การตัดสินใจ หมายถึง การเลือกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ หรือการเลือกทางดําเนินการที่
เห็นว่าดีที่สุดทางใดทางหนึ่ง จากทางเลือกหลาย ๆ ทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือ
การวินิจฉัยสั่งการคือการชั่งใจ ไตร่ตรองและตัดสินใจเลือกทางดําเนินงานที่เห็นว่าดีที่สุดทางใดทางหนึ่ง
จากหลาย ๆ ทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ (ศิริพร, 2540)
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานบริหาร และดํารงตําแหน่งระดับสูง ซึ่งมีอํานาจหน้าที่
ในการตัดสินใจในองค์กร เช่น หัวหน้าสํานักงาน รองคณบดี คณบดี เป็นต้น (วรัญญู, 2556)
ธุ ร กิ จ อั จ ฉริ ย ะ หมายถึง ระบบหรือกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสําหรับเป็นเครื่องมือใน
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมไว้ในคลังข้อมูล เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ และการบริหารงาน
ของผู้บริหาร ผ่านการประมวลผลออนไลน์เชิงวิเคราะห์ ทําให้องค์กรสามารถคาดการณ์พยากรณ์
ความต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยํา ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทํางานขององค์กรเพิ่มสูงขึ้น (วรัญญู,
2556)
Power BI หมายถึง ชุดของเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (ฺBusiness Analytics Tool)
และสร้างรายงานได้ Power BI Dashboard ช่วยให้มุมมอง 360 องศา ให้กับผู้ใช้งานเพื่อประกอบ
การตัดสินใจแบบรวมศูนย์ สามารถอัพเดตได้อย่างทันที และสามารถดูได้จากทุก ๆ อุปกรณ์

1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ
1.5.1 ผู้บริหารสามารถนําข้อมูลมาวิเคราะห์ในการบริหารงานเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรได้
1.5.2 ผู้บริหารสามารถดูรายงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่องระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)
2.2 คลังข้อมูล (Data Warehouse)
2.3 การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Online Analytical Processing: OLAP)
2.4 ไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ
2.5 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)


ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence; BI) หมายถึง กลุ่ ม ของเทคโนโลยี สารสนเทศ
รวมถึงหลักการ วิธีการ ในการที่จะรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และนําเสนอข้อมูล เพื่อช่วยสนับสนุน
การตัดสินใจ ในทางธุรกิจมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะหลายประเด็นดังนี้ (สุภาภรณ์,
2551) กลุ่ ม ของเทคโนโลยี ส ารสนเทศ ประเด็นแรกสุดเลย ระบบธุรกิจอัจฉริยะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
การนําเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้งานและเป็น "กลุ่ม" ด้วย คือไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีแบบใด
แบบหนึ่ง แต่มีหลากหลาย หลักการและวิธีการ งานด้านระบบธุรกิจอัจฉริยะก็ไม่ได้มีแต่เฉพาะส่วนที่
ต้องใช้แต่เทคโนโลยีเท่านั้น วิธีการหรือขั้นตอนในการทํางานก็มีส่วนสําคัญอย่างยิ่งในงานระบบธุรกิจ
อัจฉริยะ นอกจากนี้ การรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และนําเสนอข้อมูล ระบบธุรกิจอัจฉริยะจะครอบคลุม
ตลอดช่วงวงจรชีวิตของข้อมูล นับตั้งแต่การเกิดข้อมูลไปจนถึงการนําข้อมูลนั้นไปใช้ และยังช่วยสนับสนุน
การตัดสินใจ ข้อนี้อาจจะเป็นประเด็นสําคัญที่สุดที่แยกงานระบบธุรกิจอัจฉริยะออกจากเทคโนโลยี
สารสนเทศอื่น ๆ
เหตุ ผ ลที่ ง านด้ า นระบบธุรกิจอัจฉริยะมีความสําคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะหลังยุค
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของธุรกิจคือการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิต
ธุรกิจใดที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้มากขึ้น เร็วขึ้น ใช้ต้นทุนต่ําลง ก็จะประสบความสําเร็จ
เหนือคู่แข่ง แต่พอเทคโนโลยีทางการผลิตก้าวหน้ามากขึ้น มีราคาต่ําลงความสามารถในการผลิต ไม่ได้
เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอีกต่อไป เพราะใคร ๆ ก็ผลิตสินค้าอย่างเดียวกันได้ ต้นทุนการผลิต
ก็เริ่มไล่เรี่ยกัน ธุ ร กิ จ ก็ เ ริ่ ม มาแข่ ง กั น ที่ ป ระเด็ น อื่ น ได้แก่ การลดต้นทุนการดําเนินการ อาทิเช่น
เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการทํ า งานของพนักงาน ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ ยั ง สามารถ
เพิ่มช่องทางการตลาด ขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ หรือเพิ่มยอดขายของลูกค้าเดิม ผ่านการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ
และยังการเพิ่มคุณภาพการให้บริการได้
5

ตรงจุ ด นี้ ที่ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เพราะการใช้เทคโนโลยี


สารสนเทศที่เหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจสามารถทําสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ นี่คือช่วงที่เริ่มมีการใช้คําว่า
การปฏิ วั ติ ส ารสนเทศ เมื่อซัก 10-20 ปีที่แล้ว ถ้าลองมองดูพัฒนาการความต้องการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ อาจจะแบ่ ง ลํา ดั บ ความสําคัญได้คือ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
ภายในและภายนอก ระบบโทรศัพท์ โทรสาร อี เ มล์ ห รื อ อาจจะเป็ น เว็ บ ไซต์ ข ององค์ ก ร การเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแต่ละส่วน กิจกรรมพื้นฐานของธุรกิจ จะต้องดําเนินไปอย่างถูกต้องแม่นยํา
และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า การขายสินค้า การบันทึกบัญชี ในจุดนี้เทคโนโลยีที่ใช้
ก็จะได้แก่ ระบบโปรแกรมสําเร็จรูปต่าง ๆ ระบบบัญชี เครื่องบันทึกเงินสด การใช้ ร ะบบบาร์ โ ค้ ด
และอื่น ๆ และยังสามารถการเชื่อมโยงกิจกรรมทั้งหมดเข้าด้วยกัน และวางแผนการใช้ทรัพยากรของ
องค์กร ในขั้นนี้กําลังบูมมากในเมืองไทย คื อ การนํา ระบบการวางแผนบริ ห ารธุ ร กิ จ ขององค์กร
(Enterprise Resource Planning; ERP) หรือ การบริห ารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship
Management; CRM) เข้ามาใช้ปรับกระบวนการทํางานของแต่ละแผนกให้เชื่อมโยงถึงกัน รวมไปถึง
เพิ่ ม ความสามารถในการให้บริการลูกค้าภายนอกด้วย และยังมีการนําข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้น
มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ตรงนี้แหละที่บทบาทของระบบธุรกิจอัจฉริยะโดดเด่นขึ้นมา การนําข้อมูล
ที่เ กิ ด ขึ้ น ในระหว่ า งกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ของบริษัท ร่ ว มกั บ ข้ อ มู ล จากภายนอก มาทําการวิเคราะห์
เพิ่มคุณค่า จะทําให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และทําให้กระบวนการตัดสินใจในทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ
เพิ่มมากขึ้นได้
2.1.1 องค์ประกอบของระบบธุรกิจอัจฉริยะ
เนื่องด้วยงานด้านระบบธุรกิจอัจฉริยะค่อนข้างกว้างขวาง มีทั้งส่วนที่เป็นเทคโนโลยีและส่วนที่
เป็นกระบวนการหรือวิธีการรวมกัน แต่ ล ะเทคโนโลยี ห รื อ แนวคิดแต่ละอย่าง ต่างก็มีการเรียกชื่อ
แตกต่างกันไป แถมด้วยบางครั้งผู้ผลิตเทคโนโลยี ก็ยังพยายามผลักดันให้เกิดคําย่อใหม่ ๆ ศัพท์ใหม่ ๆ
มาใช้อธิบายองค์ประกอบ ซึ่งอาจจะเคยมีอยู่แล้ว แต่ เ นื่ อ งจากไม่ อ ยากเป็ น ผู้ ต าม แต่ผลิตสินค้า
เหมือนกัน แต่จะเรียกให้มันแตกต่างออกไป จะได้ดูเหมือนเป็นผู้บุกเบิก จึงส่งผลให้เกิดศัพท์และตัวย่อ
เฉพาะกลุ่มขึ้นมาจํานวนมาก เวลาคุยกันทีก็แสนจะสับสนเพราะแต่ละคนก็เข้าใจความหมายของศัพท์
แต่ละตัวแตกต่างกันไป (พิพัฒน์, 2560)
ปั จ จุบัน องค์ก รธุร กิ จ ทั้ ง หลายต่ า งมองหาวิธีก ารนํา เอาเทคโนโลยีค อมพิว เตอร์ม าใช้ เ ป็น
เครื่องมื อในการสร้ า งความได้ เ ปรี ย บทางธุ ร กิจ ระบบฐานข้อมูลนับเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน แต่ฐานข้อมูลจะมีศักยภาพเพียงการทํางานในระดิบปฏิบัติการ
ของธุรกิจเท่านั้น หากต้องการให้ธุรกิจมีจุดเด่นและสามารถอยู่เหนือคู่แข่งได้จําเป็นต้องมีความล้ําหน้า
ทางด้ านการจั ด การข้ อ มู ล ในปริม าณมาก ซึ่ งจะเป็ น เครื่อ งมื อ ที่ สํ าคั ญ ที่ ช่ ว ยให้ ผู้ บ ริ ห ารสามารถ
วางแผนและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เครื่องมือที่กล่าวถึงนี้คือ คลังข้อมูล (Data Warehouse) ซึ่งหลาย
องค์กรพยายามพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นคลังข้อมูลเพื่อสร้างธุรกิจให้มีความได้เปรียบใน
ด้านการตัดสินใจและการบริหารก่อให้เกิดระบบที่เรียกว่า ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)
6

ภาพที่ 2-1**การจัดกลุ่มของเทคโนโลยีและแนวคิดเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะไว้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ


จัดหา จัดเก็บ วิเคราะห์ นําเสนอ ประสานงาน (Wikipedia, 2011)

จะพบได้ว่าก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมากนักกับระบบต่าง ๆ ทั้งหลายที่มี การป้อน กระบวนการแล้วก็


ผลลัพธ์เลย ความแตกต่างจะไปอยู่ที่ลักษณะเฉพาะขององค์ประกอบย่อยภายใน ที่ทําให้ระบบธุรกิจ
อัจฉริยะต่างจากระบบแบบอื่น เช่น ระบบจั ด หาข้ อ มู ล ระบบจัดเก็บข้อมูล ส่วนวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนนําเสนอข้อมูล ส่วนประสานงาน
งานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาข้อมูลในระบบธุรกิจอัจฉริยะมีลักษณะที่แตกต่างจากการเก็บข้อมูล
ในระบบงานไอทีทั่วไป คือ เป็นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิในขณะที่ระบบไอทีโดยทั่วไปจะมีการบันทึกและ
จัดเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การขายสินค้า การตรวจนับสินค้าคงคลัง แต่ในระบบ
ธุรกิจอัจฉริยะมักจะใช้การเก็บข้อมูลจากระบบงานอื่น ไม่ได้เก็บโดยตรงจากการเกิดธุรกรรม และเป็น
การรวบรวมข้อมู ล จากหลายแหล่ง เช่น จากระบบขาย ระบบบั ญ ชี ระบบสิน ค้าคงคลัง เป็ น ต้ น
เพื่อให้สามารถเห็นภาพของธุรกิจโดยรวมด้วยลักษณะทั้งสองประการนี้ ทําให้งานการจัดหาข้อมูล
สําหรับระบบธุรกิจอัจฉริยะต้องพบกับความท้าทายในหลายรูปแบบ ได้แก่ ความแตกต่างของนิยาม
ข้อมูลในแต่ละระบบงานต้นทาง คุณภาพของข้อมูลจากระบบงานต้นทางที่แตกต่างกัน และความแตกต่าง
ของระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบงานต้นทางแต่ละแบบเทคโนโลยีสําคัญที่ใช้ในการจัดหาข้อมูลของ
ระบบธุ ร กิ จ อั จ ฉริ ย ะเรี ย กว่ า กระบวนการทํางาน เพื่อนําข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่คลังข้อมูล
และการนําข้อมูลเข้ามาจากหลาย ๆ ช่องทาง หลาย ๆ รูปแบบแปลงข้อมูลแล้ว จัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้อง
โดยไว้ ที่ ศู น ย์ ก ลาง แล้ ว ทํ า การส่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล โดยการเชื่ อ มข้ อ มู ล กั บ ส่ ว นที่ ต้ อ งการข้ อ มู ล โดยมี
ความสามารถที่สําคัญ คือ การดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทาง ทําการแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่
หลากหลาย และนําข้อมูลเข้าสู่ระบบจัดเก็บต่อไป ซึ่ ง เริ่ ม กระบวนการทํา งานจากการทํา งาน
โดยอัตโนมัติ การประสานข้อมูลจากหลายแหล่งร่วมกัน การจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล กระบวนการ
ทําความสะอาดข้อมูล และการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล
7

2.1.2 ระบบจัดเก็บข้อมูล
เทคโนโลยีหลักในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลสําหรับระบบธุรกิจอัจฉริยะ คือ คลังข้อมูล ซึ่งโดยกว้าง ๆ
แล้ ว ก็ คื อ ฐานข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนําข้อมูลไปใช้ใน
การสนับสนุนการตัดสินใจลักษณะสําคัญที่ทําให้คลังข้อมูลแตกต่างจากระบบการจัดการฐานข้อมูล
แบบสัมพันธ์ที่ใช้กันอยู่ในระบบประมวลผลรายการทั่วไปประกอบด้วย (พิพัฒน์, 2560)
2.1.2.1 การจัดเก็บข้อมูลแบบการแบ่งโครงสร้างตามเนื้อหา ในคลังข้อมูลจะจัดเก็บ
ข้อมูลตาม "เรื่อง" ที่จะใช้ในการตัดสินใจ ในขณะที่ฐานข้อมูลทั่วไป จะเก็บข้อมูลตามลักษณะธุรกรรม
หรือรายการเปลี่ยนแปลงหลักของระบบงานนั้น ๆ
2.1.2.2 ผสานข้อมูลจากหลายแหล่ง เนื่องจากต้องการตอบสนองการตัดสินใจ ซึ่งมัก
ต้องใช้ข้อมูลมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นคลังข้อมูลจึงจําเป็นต้องมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลจาก
หลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน แต่ระบบฐานข้อมูลอื่นจะรับข้อมูลจากส่วนรับเข้าของระบบงานเท่านั้น
2.1.2.3 เก็บข้อมูลในอดีตไว้ด้วย ในคลังข้อมูลจะเก็บข้อมูลแบบที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง
คุ ณ สมบั ติ ไปตามเวลาคื อ มี เวลาเป็ น ตั ว แปรสํ า คั ญ อย่ างหนึ่ งเสมอ ดั งนั้ น ช่ วงเวลาของข้ อ มู ล ใน
คลังข้อมูลจึงยาวนานเป็นปี ๆ หรืออาจจะถึงสิบปี เพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มในอดีต ส่วนฐานข้อมูล
ทั่วไปจะเก็บ "สถานะ" ล่าสุดไว้เท่านั้น หรือถ้าจะเก็บก็เพียงแค่ วันที่ปัจจุบัน หรือเดือนปัจจุบันเท่านั้น
2.1.2.4 ข้อ มู ล มี ก ารเปลี่ ย นแปลงน้ อ ย ข้ อ มู ล ที่ ถู ก เก็ บ ไว้ ในคลังข้อมูลมักจะมี
การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมากมักเป็นการเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปมากกว่า แต่ในส่วน
ของฐานข้อมูลระบบงาน ข้อมูลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งเพิ่ม ลบ หรือแก้ไข เพื่อให้สะท้อน
สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
2.1.2.5 คลังข้อมู ล จั ด เป็ น องค์ ป ระกอบสําคัญ อย่างยิ่ง แต่โดยตัวของมันเองก็มี
รายละเอียด เทคโนโลยีและเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจานวนมาก จนบางครั้งเราอาจจะมองว่า
คลังข้อมูลอาจจะแยกออกไปเป็นอีกสาขาหนึ่งโดยเฉพาะได้เลยทีเดียว
2.1.3 ส่วนวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากจัดหาและจัดเก็บข้อมูลแล้ว องค์ประกอบสําคัญอีกส่วนของระบบธุรกิจอัจฉริยะ คือ
ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งถือเป็นการ "เพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูล" ที่จัดหาและเก็บรวบรวม
มาได้ การวิเคราะห์ข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงเอาสาระสําคัญของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถสร้าง
ข้อสรุปที่มีประโยชน์ได้ การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทําได้ตั้งแต่การคํานวณอย่างง่าย ๆ เช่น บวกลบ
คูณหาร หาผลรวม หาค่าเฉลี่ย ขึ้ น ไปจนถึง การคํา นวณที่ซับ ซ้อ นขึ้น อย่างเช่น การทําแบบจําลอง
เพื่อพยากรณ์ค่าในอนาคต หรืออาจจะก้าวหน้าไปจนถึง ขั้นสังเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร
ต่าง ๆ ตามสมมติฐานที่กําหนด ตัวอย่างเช่น การทําเหมืองข้อมูล เป็นต้น เทคโนโลยีที่ในการวิเคราะห์
และเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูล อาจอยู่ได้ในหลายรูปแบบ อาทิ เป็นความสามารถส่วนหนึ่งในฐานข้อมูล
เช่น ฟังก์ชันวิเคราะห์ของระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นความสามารถประการหนึ่ง ในส่วนติดต่อกับผู้ใช้
เช่น การสร้ า งฟั ง ก์ ชั น แบบกํา หนดเอง บนเครื่องมือเรียกค้นข้อมูลแบบกําหนดบนเอ็กเซล เป็นต้น
เป็นแอปพลิเคชั่น หรือเป็นเครื่องมือแยกต่างหากออกมา โดยมีความสามารถในการอ่านข้อมูลจาก
คลังข้อมูลโดยตรง อาทิเช่น เครื่องมือการทําเหมืองข้อมูลต่าง ๆ (สุภาภรณ์, 2551)
8

2.1.4 ส่วนนําเสนอข้อมูล
ส่วนนําเสนอข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่ ทําหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยการแปลงข้อมูลให้อยู่ใน
รูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย สร้างมุมมองและความเข้าใจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และจัดการโต้ตอบ
กับผู้ใช้ โดยการรับคําสั่งเพิ่มเติม ในระหว่างที่ผู้ใช้กําลังดูข้อมูลถ้าเราแบ่งประเภทของส่วนนําเสนอ
ข้อมูล ตามวิธีการติดตั้งและเรียกใช้งาน จะแบ่งเป็นประเภทดังนี้ (พิพัฒน์, 2560)
ไคลเอ็นท์ เบส (Client base) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กําลังใช้
งานอยู่โปรแกรมลักษณะนี้มักจะมีความสามารถสูง ทํางานได้รวดเร็ว แต่ก็มีความยุ่งยากในการจัดการ
เพราะต้องมีการติดตั้ง อัพเกรด และแก้ปัญหา จะมีการเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ธิน ไคลเอ็นท์ (Thin-Client) เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องการการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
หรือ หากจะมี บ้ างก็ อ าจจะเพี ย งเล็ก น้ อ ยเท่ านั้ น เช่ น ผู้ ใช้ เพี ย งแต่ ต้ อ งมี เว็บ เบราว์เซอร์เท่ านั้ น ก็
สามารถใช้งานได้แล้ว ข้อดีคือ สะดวกต่อการจัดการกับโปรแกรม เพราะตัวโปรแกรมส่วนใหญ่ทํางาน
อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ การอัพเกรด หรือแก้บั๊ก ก็ทําได้ง่าย และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้ง่ายกว่า
แต่ก็มีข้อจํากัดที่ผู้ใช้จําเป็นจะต้องเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายเกือบตลอดเวลาที่ใช้งาน และโดยมาก
มักจะมีความสามารถที่จํากัดกว่าโปรแกรมแบบไคลเอ็นท์ เบสและมักจะทํางานได้ช้ากว่าด้วย
ระบบฝังตัว (Embedded) โปรแกรมหรือเครื่องมือประเภทนี้อาจจะไม่ได้มีลักษณะเฉพาะที่
ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ว่ากําลังใช้เครื่องมือ ในการนําเสนอข้อมูลอยู่ เพราะมัน "ฝังตัว" อยู่ในโปรแกรมอื่น
ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือการสร้างเอกสารจําพวกเวิร์ด หรือพาวเวอร์พ้อยโดยที่มีการดึงข้อมูลมาจาก
เอ็กเซล หรือฐานข้อมูล แล้วสร้างลิงค์เชื่อมโยงไว้ เมื่อใดที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงไปตารางหรือกราฟ
ที่ปรากฏอยู่บนเอกสาร ก็จ ะเปลี่ ย นแปลงตามไปด้ ว ย ส่ ว นนํา เสนอเหล่ า นี้ บางทีก็ถูกเรียกว่า
การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ หรือ เครื่องมือระบบธุรกิจอัจฉริยะ บ่อยครั้งที่คําเหล่านี้ถูก
ใช้ในความหมายที่สื่อถึงเฉพาะส่วนนําเสนอข้อมูลเท่านั้น
2.1.5 ส่วนประสานงาน
นอกเหนือจากองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ประกอบกันเป็นเส้นทางเดินข้อมูล จากการจัดหาจัดเก็บ
วิเคราะห์ และนําเสนอแล้ว ยังมีเทคโนโลยี หลักการและแนวคิดอื่น ๆ ที่มีส่วนสําคัญต่อความสําเร็จ
ของการนําระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ เรียกองค์ประกอบเหล่านี้ว่า "ส่วนประสานงาน" ที่เรียกอย่างนี้
เพราะองค์ ป ระกอบพวกนี้ ทําหน้าที่ประสานและเชื่อมโยงการทํางานของแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน
หากขาดองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว เครื่องมือและระบบแต่ละส่วน ก็จะทํางานไม่สัมพันธ์กัน หรือมี
ประสิทธิภาพที่ด้อยลงมาก ตัวอย่างบางแบบของส่วนประสานงาน เช่น (สุภาภรณ์, 2551)
การจัดการกระบวนการการทํางาน (Process Management) เป็นเหมือนวาทยกร ผู้ควบคุม
วงออเครสตราให้เล่นประสานเสียงกันได้ เช่น อาจจะสั่งให้โปรแกรมส่วนวิเคราะห์สร้างรายงานฉบับใหม่
ก็ต่อเมื่อ ถึงวันเวลาที่กําหนด และมีเงื่อนไขว่า ผลการโหลดข้อมูลล่าสุดเข้าไปในคลังข้อมูลทํ าได้
ถูกต้องเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้น อาจจะต้องส่งอีเมล์หรือ SMS ไปแจ้งผู้ควบคุม
ระบบ และขณะเดี ยวกัน ก็อาจจะสื่อสารให้ ผู้ใช้ ท ราบว่ารายงานยังไม่เรีย บร้อยโดยผ่านทางส่วน
นําเสนอไปพร้อมกันด้วย
9

การควบคุมคุณ ภาพข้อมูล (Data Quality Control) เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สําคัญมาก


เพราะถ้าข้อมูลมีคุณภาพต่ํา ก็ส่งผลให้ผู้ใช้ขาดความเชื่อถือในระบบ พาลเลิกใช้ไปเลยในกรณีที่เห็น
อยู่ชัด ๆ ว่าข้อมูลผิดแต่กรณี ที่แย่กว่านั้นก็คือ ผู้ใช้ใช้ข้อมูลที่ผิดพลาดนําไปประกอบการตัดสินใจ
ส่งผลให้ตัดสินใจผิดพลาดตามไปด้วย การควบคุมคุณภาพของข้อมูล ส่งผลกระทบต่อทุก ๆ ส่วนของ
ระบบ และอาจจะไม่ได้อยู่ในลักษณะของตัวซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเสมอไป อาจจะเป็นแค่ขั้นตอน
การทํางาน หรือนโยบายการทํางานที่จะมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่ไหลผ่านเข้ามาในระบบ มีคุณภาพที่สูง
เพียงพออยู่เสมอ ในส่วนนี้ยังอาจจะแบ่งย่อยไปอีกได้เป็นกระบวนการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หนึ่งใน
ปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุดของระบบธุรกิจอัจฉริยะ คือ การทําให้ข้อมูลอ้างอิงมีความถูกต้องสอดคล้อง
กันทั้งระบบ ถ้าสินค้าชนิดเดียวกัน มีข้อมูลราคาขายที่แตกต่างกันในระบบขายกับในระบบบัญชี ผู้ใช้
ก็จะได้เห็นตัวเลขยอดขายที่แตกต่างกันจากสองแผนก
กระบวนการตรวจสอบข้ อ มู ล และการเผยแพร่ข้อมูล (Data Validation & Publishing)
จะช่วยให้มั่นใจในคุณภาพของข้อมูลหลังจากการติดตั้งระบบ ถ้าไม่มีการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อมูลจะเสื่อมคุณภาพลงเรื่อย ๆ จากปัจจัยหลายอย่าง และขั้นตอนหรือนโยบายการเผยแพร่ข้อมูล
จะช่วยให้เราเผยแพร่ข้อมูลที่เหมาะสมต่อการใช้งานได้ เช่น คุณไม่ต้องรอให้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน
จนถึ ง ทศนิ ย มหลั ก ที่ 5 ก็ได้ หากคุ ณ ได้ ข้ อ มู ล มาประมาณ 95% ของทั้ ง หมดแล้ ว ถ้าจะใช้ใน
การวางแผนการตลาด แต่ถ้าต้องการนําข้อมูลไปลงในรายงานผู้ถือหุ้น คุณต้องแน่ใจว่า งบการเงินมี
ความถูกต้องแม่นยํา 100%
การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เป็ น กระบวนการที่ จะช่วยให้ ทุก ๆ
องค์ประกอบตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค
เช่น ต้องมีการอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์หรืออัพเกรดซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง หรือการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลมา
จากธุรกิจ เช่น การเพิ่มสินค้าชนิดใหม่ การเปิดตลาดใหม่ การซื้อขายกิจการหรือการปรับโครงสร้าง
องค์กร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลต่อความต้องการใช้งานสารสนเทศ ระบบธุรกิจอัจฉริยะจึง
ต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่
กระบวนการปรับปรุงย้อนหลัง (Historical Restatement Process) เป็นกระบวนการที่ส่งผล
ให้ ข้ อ มู ล ในอดี ต มี ก ารเปลี่ยนแปลงไป เนื่ อ งจากความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอ้างอิง เช่น เมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงสถานะของอําเภอสระแก้ว ให้กลายมาเป็นจังหวัด ข้อมูลยอดขายเดิมในอดีต ที่เคย
เป็นของจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนหนึ่งต้องลดลง แล้วกลายมาเป็นยอดขายของจังหวัดสระแก้วแทน

2.1.6 กระบวนการในการจัดทําระบบธุรกิจอัจฉริยะ
กระบวนการในการจั ด ทํ า ระบบธุ ร กิ จ อั จ ฉริ ย ะเริ่ ม ต้ น ที่ ก ารกํ า หนดแหล่ ง ข้ อ มู ล (Data
Sources) ที่ จ ะนํ า มาเข้ า สู่ ค ลั ง ข้ อ มู ล โดยแหล่ ง ข้ อ มู ล สามารถแบ่ ง ออกได้ เป็ น 2 ประเภท คื อ
แหล่งข้อมูลภายใน (Internal Data Sources) และแหล่งข้อมูลภายนอก (External Data Sources)
แหล่ งข้ อมู ล ภายใน ได้ แ ก่ ข้ อมู ล การดําเนิ น งาน (Operation Transaction) ข้ อ มู ล อดีต (Legacy
Data) เป็ น ต้ น แหล่ ง ข้ อ มู ล ภายนอก ได้ แ ก่ ข้ อ มู ล สถิ ติ จ ากสถาบั น ต่ า ง ๆ ข้ อ มู ล ของโครงการ
สารสนเทศอื่น ๆ บทวิเคราะห์และบทความเชิงวิชาการต่าง ๆ ซึ่งในการกําหนดแหล่งข้อมูลจําเป็น
10

จะต้องคํานึงถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ เพื่อที่ว่าข้อมูลที่นําเข้ามาใช้งานจะสามารถสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่
ต้องการ (สุภาภรณ์, 2551)
เมื่อมีการกําหนดแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบคลังข้อมูล เพราะว่า
ระบบธุรกิจอัจฉริยะจําเป็นต้องอาศัยแหล่งข้อมูลจากคลังข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งการออกแบบคลังข้อมูลมี
อยู่ด้วยกัน 3 แบบ เช่น คลังข้อมูลแบบดาว คลังข้อมูลแบบเกล็ดหิมะ ดังนั้นระบบธุรกิจอัจฉริยะส่วนใหญ่
จะนิยมใช้คลังข้อมูลแบบดาวเป็นฐานข้อมูล

ภาพที่ 2-2 Business Intelligence Model (สุภาภรณ์, 2551)

ขั้นตอนถัดไปการคัดเลือก ปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบ
ของคลังข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อนําข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูลโดยกระบวนการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
ต่าง ๆ เข้าสู่คลังข้อมูล (Extract, Transform, Load)
ขั้ น ตอนต่ อ มาก็ คื อ การจั ด ทํา ข้ อ มู ล ที่จัดเก็บในคลังข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบลูกบาศก์หลายมิติ
ซึ่งเป็นรูปแบบการทําให้ข้อมูลเกิดมิติขึ้นในหลาย ๆ ด้านก่อนจะนําไปสร้างเป็นรายงานในรูปแบบต่าง ๆ
โดยอาศัยเครื่องมือที่ช่วยในการคิวรีข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การออกรายงาน การจัดการส่วนควบคุม
เป็นต้น
กระบวนการตามหลักกการของระบบธุรกิจอัจฉริยะดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทํางานประกอบกัน
ของโปรแกรมประยุกต์หลาย ๆ โปรแกรมที่ทําหน้าที่ต่างกัน โดยเริ่มจากกระบวนการ ETL ที่ทําการดึง
ข้อมูลเข้าคลังข้อมูล โดยส่วนมากจะดึงข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เช่น จากระบบข้อมูลบุคลากร ระบบ
การลงทะเบียน หรือมาจากระบบ SAP ขององค์กร เพื่อเตรียมข้อมูลให้เหมาะสมกับการท า Online
Analytical Processing (OLAP) เป้าหมายของระบบธุรกิจอัจฉริยะ คือการน าข้อมูลมากมายมาใช้
ประโยชน์นั่นเอง
11

ภาพที่ 2-3 Data Integration Model (สุภาภรณ์, 2551)

2.1.7 ปัจจัยหลักที่ทําให้การทําระบบธุรกิจอัจฉริยะมีประสิทธิภาพ
การที่ จ ะทํา ให้ ร ะบบธุ ร กิ จ อัจฉริยะมีประสิทธิภาพนั้น จะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ
(พิพัฒน์, 2560)
2.1.7.1 เค รื อ ข่ า ยอิ น เต อ ร์ เ น็ ต ซึ่ งครอบคลุ ม ทั้ ง อิ น ทราเน็ ต เอกซ์ ท ราเน็ ต และ
อินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
2.1.7.1 การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (OLAP) ซึ่งถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อ
การใช้งานทําให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูรายงานได้ตามต้องการ โดยใช้วิธีการเจาะลึก พลิกแพลง และ
กรองข้อมูลได้

2.1.8 เครื่องมือที่ใช้ในระบบธุรกิจอัจฉริยะ
เครื่องมือที่ใช้ในระบบธุรกิจอัจฉริยะมี 4 ประเภทด้วยกัน คือ (พิพัฒน์, 2560)
2.1.8.1 รายงาน (Reporting Tools) การแสดงรายงาน โดยดึงข้อมูลในคลังข้อมูลมา
แสดง
2.1.8.2 การวิเคราะห์ (Analysis Tools) การวิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหลายมิติ
ซึ่งจะทําให้รายงานสามารถเจาะลึกและพลิกแพลงได้
2.1.8.3 การพยากรณ์ (Forecasting Tools) เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ช่ ว ยในการทดสอบ
สมมติฐาน โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการคํานวณ เช่น การจําลองเหตุการณ์
2.1.8.4 การหาความสัมพันธ์ (Mining Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้หาความสัมพันธ์ของ
ข้อมูลที่เก็บอยู่ในคลังข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยง การวิเคราะห์ลูกค้า
12

ภาพที่ 2-4 Drill - Down and Slice-and-Dice (พิพัฒน์, 2560)


2.1.9 เครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะ
ระบบธุรกิจอัจฉริยะ คือ ข้อมูลสรุปที่สามารถนํามาช่วยในการตัดสินใจ หรือตอบคําถามในเชิง
ธุรกิจให้กับผู้บริหารได้ ดังนั้นระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ดีจะต้องสามารถนําเสนอข้อมูลสารสนเทศในเชิง
ภาพรวมของธุรกิจทั้งหมดขององค์กรได้ เพื่อทําให้ขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศดี
เนื่องจากสามารถวิเคราะห์และตอบคําถามของทั้งระบบธุรกิจได้ในแง่ของเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่
จะสามารถช่วยเราในการพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะขึ้นมานั้น จะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และ
โปรแกรมแอปพลิเคชัน ด้ านการวิเคราะห์ ม ากมายหลายระบบ เช่น ดาต้าแวร์เฮ้าส์ ดาต้ามาร์ท
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ และระบบสืบค้นและออกรายงานต่าง ๆ (พิพัฒน์,
2560)
ข้ อ มู ล ที่ พ ร้ อ มใช้ ง านจะถู ก จั ด แสดงอยู่ ใ นรู ป ลั ก ษณะของลู ก บาศก์ (Cube) ซึ่ ง สามารถ
แสดงออกในหลายมิติ (Multidimensional) โดยแต่ละมิติจะแสดงถึงการเก็บข้อมูลลงตารางที่ถูก
นํามาใช้ประกอบเป็นข้อมูล เรียกว่า Dimension Table และข้อมูลจากหลาย ๆ Dimension Table
จะรวมกันเพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการอย่างแท้จริง เรียกว่า Fact Table ข้ อ มู ลดั ง กล่ า วถู ก นํ าไป ใช้
ประมวลผลแบบออนไลน์ เชิงวิเคราะห์ (Online Analytical Processing: OLAP) กล่าวคือ มี การ
วิเคราะห์ผลจากข้อมูลที่มีอยู่และมีการสร้างเครื่องมือ (Tool) ที่รองรับการสืบค้นและนําเสนอแบบที่
ง่ายสําหรับผู้บริหารซึ่งขึ้นกับรูปแบบของธุรกิจ (Business Models) ส่วนใหญ่การสืบค้นอยู่ในรูปของ
คิวรี (Query) และการนําเสนอจะอยู่ในรูปแบบของกราฟเพื่อง่ายต่อการใช้งานและทําความเข้าใจ
เมื่อนําระบบธุรกิจอัจฉริยะเข้ามาใช้ต้องจัดเตรียมข้อมูล ซึ่งคลังข้อมูลเป็นหัวใจสําคัญของระบบธุรกิจ
อัจฉริยะ สําหรับข้อมูลที่เราจะนํามาสู่คลังข้อมูลนั้นนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนมากมายมาก่อนโดยเรียก
กระบวนการส่วนนี้ ว่า การได้ข้อมูล (Data Acquisition) ซึ่ ง กระบ วน การนี้ จ ะประกอบด้ ว ย
ขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
13

ภาพที่ 2-5 ขัน้ ตอนพื้นฐานการทํา Data Acquisition (พิพัฒน์, 2560)

2.1.9.1 กระบวนการการได้ข้อมูล (Data Acquistion)


2.1.9.1.1 แคปเชอร์ (Capture) คือ ขั้นตอนการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในองค์กร
2.1.9.1.2 อิ น ทิ เกรต (Integrate) คื อ ขั้ น ตอนการนํ า ข้ อ มู ล ที่ ดึ ง มาได้ จ าก
แหล่งข้อมูลหลายแหล่งมารวมเข้าด้วยกันให้เป็นข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนกลางขององค์กร
2.1.9.1.3 ทรานส์ฟอร์ม (Transform) คือ ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนคุณ สมบัติ
และลักษณะของข้อมูลแต่ละตัวให้เหมาะสมกับการนําไปใช้
2.1.9.1.4 คลีน (Cleanse) คือ ขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
และแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
2.1.9.1.5 โหลด (Load) คือ ขั้นตอนการย้ายข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
เข้าสู่ดาต้าแวร์เฮ้าส์
2.1.9.1.6 เมื่อมีข้อมูลในคลังข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราสามารถสร้างดาต้ามาร์
ตขึ้นมาได้ ดาต้ามาร์ตนั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการตอบคําถามทางธุรกิจตามแต่ที่ผู้ใช้
ต้องการ ขั้นตอนการย้ายข้อมูลจากดาต้าแวร์เฮ้าส์เข้าไปสู่ดาต้ามาร์ตจะถูกเรียกว่าการจัดส่งข้อมูล ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนดังนี้
ก) ฟิ ล เตรชั น (Filtration) คื อ ขั้ น ตอนในการดึ ง ข้ อ มู ล ที่ มี ค วาม
จําเป็น และต้องถูกใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการตอบปัญหาทางธุรกิจนั้น ๆ ออกจากดาต้าแวร์เฮ้าส์
ข) ฟอร์ แ มต (Formatting) คื อ ขั้ น ตอนการปรั บ เปลี่ ย นข้ อ มู ล ที่
ได้มาให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อความเข้าใจของผู้ใช้ให้มากที่สุด
ค) ดิลิฟเวอร์ลี่ (Delivery) คือ ขั้นตอนการย้ายและโหลดข้อมูลเข้าสู่
ดาต้ามาร์ท
14

ผู้ใช้สามารถเข้าถึงดาต้ามาร์ทได้โดยผ่านการใช้งานอินเทอร์เฟซช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่ง
มี ฟั งก์ ชั่ น มากมายให้ เลื อ กใช้ โดย 2 ฟั งก์ ชั น ที่ สํ าคั ญ คื อ เครื่ อ งมื อ ในการสื บ ค้ น ข้ อ มู ล และการ
วิเคราะห์ข้อมู ลหรือที่ เรียกว่าการประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ สําหรับการสืบค้นข้อมูลนั้นผู้ใช้
สามารถเลื อ กที่ จ ะรั บ ผลลั พ ธ์ อ อกมาในรู ป แบบของรายงานก็ ได้ และยั ง สามารถปรั บ เปลี่ ย น
พารามิเตอร์ และระดับความละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจะดูได้อีกด้วย ส่วนการประมวลผลข้อมูล
เชิงวิเคราะห์นั้นอาจจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของตารางหรือกราฟ โดยผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน
คุ ณ สมบั ติ ข องแกนกราฟได้ เช่ น รวมหลาย ๆ พารามิ เตอร์ ไว้ ใ นแกนเดี ย วกั น และยั ง สามารถ
ปรับเปลี่ยนระดับความละเอียดของข้อมูลได้ด้วย ทั้ง 2 ฟังก์ชันนี้จะแสดงผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ในลักษณะ
ของกราฟิกและพวกมันยังสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีความสามารถในการแสดงผลที่ดีกว่า
ได้

2.2 คลังข้อมูล (Data Warehouse)


คลังข้อมูล (Data Warehouse) (ชนากานต์, 2556) คือ ระบบที่ทําการรวบรวมข้อมูลและเก็บ
ข้ อ มู ล จากแหล่ งข้ อ มู ล แหล่ งต่ าง ๆ และปรั บ ปรุงข้ อ มู ล ให้ ส ามารถนํ าไปใช้ งานได้ ต ามเนื้ อ งานที่
ต้องการและเหมาะสมกับกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการบริหารงาน โดยข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บเป็นข้อมูล
ประวัติจนถึงข้อมูลปัจจุบันจากหลากหลายแหล่งข้อมูล โดยนําข้อมูลเหล่านั้นมารวมไว้ด้วยกันเป็น
ศูนย์กลางของข้อมูลเพื่อนําข้อมูลมาวิเคราะห์และให้ผู้ใช้ข้อมูลนําข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการ
ตัดสินใจได้ หรือใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์ต้องทําได้
แบบหลายมิติ ตลอดจนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ เช่น การพยากรณ์ การทําเหมืองข้อมูล เป็นต้น
เครื่อ งมื อ ที่ ใช้ ในการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ในหลายมิ ติ (Online Analytical Processing; OLAP)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองหลากหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะเจาะลึกข้อมูล
ตามโครงสร้างของปัจจัย (Dimension) และยังสามารถที่จะทําการปรับเปลี่ยนมุมมองได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ยังสนับสนุนเครื่องมือในการคํานวณ และวิเคราะห์เข้าด้วย เช่น การพยากรณ์ข้อมูล หรือ
การวิเคราะห์การถดถอยของข้อมูล เป็นต้น
ซึ่งเรานําความสามารถของการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิตินี้มาทําการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ
เช่น ระบบติดตามและประเมินผลหรือระบบพยากรณ์ ยอดขาย ซึ่งจะพบว่าเรายังสามารถนําเอา
เครื่องมือเหล่านี้มาทําการพัฒนาระบบงานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้อีกมากมาย
2.2.1 องค์ประกอบสําคัญ (ชนากานต์, 2556)
2.2.1.1 เครื่องมือในการดึงข้อมูล (Data Extract/Cleansing) จากแหล่งข้อมูลที่เก็บอยู่
ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อจัดสร้างคลังข้อมูล
2.2.1.2 เครื่องมือในการเข้าไปเรียกค้นข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Front End Tool)
2.2.1.3 โครงสร้างของรูปแบบอุปกรณ์ ดาต้าเบส เน็ตเวิร์ค
สําหรับซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้งานในปัจจุบัน เรียกว่า ซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์
ข้อมูลแบบซึ่งปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงในการเลือกการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ ได้แก่ ความสามารถใน
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายมิติ สถาปั ตยกรรมแบบไคลเอ็นท์ เซิร์ฟเวอร์ ความสามารถในการ
15

จัดเก็บข้อมูล และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ เครื่องมือในการพัฒนาระบบ (Application


การดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ระบบคลังข้อมูล ความสามารถในการจัดลําดับชั้นของข้อมูล และ
เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การพยากรณ์ สถิติ การทําเหมืองข้อมูล
2.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับคลังข้อมูล (ชนากานต์, 2556)
2.2.2.1 นิยามของคลังข้อมูล
คลังข้อมูล หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบงานประจําวัน และฐานข้อมูลอื่นภายนอกองค์กร โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บใน
คลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนํามาใช้งานและมีลักษณะของการจัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลใน
ฐานข้อมูลระบบงานอื่น โดยข้อมูลในคลังข้อมูลจะถูกนํามาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงาน
ของผู้บริหาร โดยเฉพาะการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงาน เพื่อการบริหารงานอื่น เช่น ระบบ
สนับสนุนการตัดสินใจ และระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2.2.2.2 คุณลักษณะเฉพาะของคลังข้อมูล
จากนิยามของคลังข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างกันระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ
ซึ่งสามารถสรุปคุณลักษณะของคลังข้อมูลได้ดังนี้
2.2.2.2.1 การแบ่ ง โครงสร้ า งตามเนื้ อ หา (Subject oriented) หมายถึ ง
คลั ง ข้ อ มู ล ถู ก ออกแบบมาเพื่ อ มุ่ ง เน้ น ไปในแต่ ล ะเนื้ อ หาที่ ส นใจ ไม่ ได้ เน้ น ไปที่ ก ารทํ า งานหรื อ
กระบวนการแต่ละอย่างโดยเฉพาะเหมือนอย่างฐานข้อมูลปฏิบัติการในส่วนของรายละเอียดข้อมูลที่
จัดเก็บในระบบทั้งสองแบบก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานด้วยเช่นกัน คลังข้อมูลจะไม่
จํากัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ในขณะที่ข้อมูลนั้น
จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลปฏิบัติการหากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํางาน
2.2.2.2.2 การรวมเป็นหนึ่ง (Integration) ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สําคัญ
ที่สุดของคลังข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลปฏิบัติการเข้าด้วยกันและทําให้ข้อมูล
มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น กําหนดให้มีค่าตัวแปรของข้อมูล ในเนื้อหาเดียวกันให้เป็น แบบเดียวกัน
ทั้งหมด
2.2.2.2.3 ความสั ม พั นธ์ กั บ เวลา (Time variancy) หมายถึ ง ข้ อ มู ล ใน
คลังข้อมูลจะต้องจัดเก็บโดยกําหนดช่วงเวลาเอาไว้ โดยจะสัมพันธ์กับการดําเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจ
นั้น เพราะในการตัดสินด้านการบริหารจําเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา แต่ละจุดของ
ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจุดของเวลาและข้อมูลแต่ละจุดสามารถเปรียบเทียบกันได้ตามแกนของเวลา
2.2.2.2.4 ความเสถียรของข้อมูล (Nonvolatile) หมายถึง ข้อมูลในคลังข้อมูล
จะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ หรือการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเดิมที่บรรจุ
อยู่แล้ว ผู้ใช้ทําได้เพียงการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น
2.2.3 สถาปัตยกรรมคลังข้อมูล (Data Wharehouse Architrcture)
คลั งข้อมู ล เป็ น โครงสร้างมาตรฐานที่ ใช้บ่ อย เพื่ อให้ เข้าใจแนวคิ ด และกระบวนการของ
คลังข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคลังข้อมูลแต่ละระบบอาจจะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกันได้ เพื่อให้
16

เหมาะสมกับองค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในคลังข้อมูลที่สําคัญ ได้แก่ (ชนากานต์,


2556)
2.2.3.1 ฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Database) ทําหน้าที่จัดการกับข้อมูลใน
ระบบงานปฏิบัติการหรือแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร
2.2.3.2 อิ น ฟอเมชั น แอคเซส เลเยอร์ (Information access layer) เป็ น ส่ ว นที่ ผู้ ใช้
ปลายทางติดต่อผ่านโดยตรง ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการแสดงผลเพื่อวิเคราะห์
โดยมีเครื่องมือช่วยเป็นตัวกลางที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อกับคลังข้อมูล โดยในปัจจุบันเครื่องมือที่ได้รับความนิยม
เพิ่ ม ขึ้ น อย่ างรวดเร็ ว นั้ น คื อ เครื่ อ งมื อ ในการวิเคราะห์ ข้ อ มู ล จากคลั งข้ อ มู ล ซึ่ งเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี
ความสามารถในการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และแสดงข้อมูลในรูปแบบหลายมิติ
2.2.3.3 ดาต้า แอคเซส เลเยอร์ (Data access layer) เป็นส่วนต่อประสานระหว่าง อิน
ฟอเมชัน แอคเซส เลเยอร์กับฐานข้อมูลปฏิบัติการ
2.2.3.4 ดาต้า ไดเรกทอรี่ เลเยอร์ (Data directory layer) เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลได้
ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มความเร็วในการเรียกและดึงข้อมูลของคลังข้อมูล
2.2.3.5 โปรเซส แมเนจเม้ น ท์ เลเยอร์ (Process management layer) ทํ า หน้ า ที่
จัดการกระบวนการทํางานทั้งหมด
2.2.3.6 แอพพลิเคชั่น แมสเสส เลเยอร์ (Application messaging layer) เป็นมิดเดิล
แวร์ ทําหน้าที่ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรผ่านทางเครือข่าย
2.2.3.7 ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (ฟิสิคอล) เลเยอร์ (Data warehouse (physical) layer) เป็น
แหล่งเก็บข้อมูลของ ในรูปแบบที่ง่ายแก่การเข้าถึงและยืดหยุ่นได้
2.2.3.8 ดาต้า สเตท เลเยอร์ (Data staging layer) เป็นกระบวนการการแก้ไข และดึง
ข้อมูลจากภายนอก

2.2.4 เทคนิคในการสร้างคลังข้อมูล (ชนากานต์, 2556)


2.2.4.1 การเคลื่อนที่ของข้อมูลในคลังข้อมูล
ข้อมูลที่จัดเก็บภายในคลังข้อมูลมีการเคลื่อนที่ของข้อมูล 5 ประเภท ดังนี้
2.2.4.1.1 อิ น โฟลว์ (Inflow) คื อ การนํ า ข้ อ มู ล จากฐานข้ อ มู ล อื่ น เข้ า สู่
คลังข้อมูลทั้งฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยในขั้นนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโรงสร้างข้อมูล
การลดความซ้ําซ้อนของข้อมูล การลบหรือการเพิ่มฟิลด์เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในเนื้อหาที่สนใจ
เดียวกัน ในขั้นตอนนี้อาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ดาต้า แวร์เฮ้าส์ ทูล
2.2.4.1.2 อัปโฟลว์ (Upflow) เมื่อข้อมูลที่เราต้องการอยู่ในคลังข้อมูลแล้ว ใน
บางครั้งอาจต้องมีการเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลด้วยเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
ต่อการนําเครื่องมือมาใช้ ซึ่งได้แก่การจัดกลุ่มข้อมูลหาค่าทางสถิติที่ซับซ้อน จัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ
หรือเทมเพลตมาตรฐาน
2.2.4.1.3 ด าวน์ โฟ ล ว์ (Downflow) เป็ น ขั้ น ต อ น ข องก ารป รั บ ป รุ ง
เปลี่ยนแปลงข้อมูลเก่า และไม่อยู่ในเนื้อหาที่องค์กรสนใจออกไปจากคลังข้อมูลขององค์กร
17

2.2.4.1.4 เอ้ า ท์ โ ฟลว์ (Outflow) เป็ น ขั้ น ตอนที่ ผู้ ใ ช้ เ รี ย กใช้ ข้ อ มู ล ใน


คลังข้อมูลผ่านเครื่องมือต่าง ๆ โดยการเรียกใช้อาจมีเพียงขอเรียกเป็นครั้งคราวเป็นประจําทุกวัน/
เดือน หรือแม้กระทั่งต้องการแบบทันที
2.2.4.1.5 เมตะโฟลว์ (Metaflow) ข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ ในคลั งข้ อ มู ล จะถู ก ทํ า
ข้อมูลไว้อีกชุดหนึ่ง เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น หรือแม้กระทั่งที่อยู่ของข้อมูลนั้นในคลังข้อมูลและ
ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.4.2 วิธีการออกแบบฐานข้อมูลสําหรับคลังข้อมูล
วิธีการนี้ถูกเสนอโดย Kimball ในปี 1996 เรียกว่าระเบียบวิธี 9 ชั้น โดยวิธีการนี้เริ่มจากการ
ออกแบบจากส่วนย่อยที่แสดงถึงแต่ละระบบงานขององค์กร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าดาต้ามาร์ท
(data mart) โดยเมื่อออกแบบแต่ละส่วนสําเร็จแล้ว จึงนํามารวมกันเป็นคลังข้อมูลขององค์กรในขั้น
สุดท้าย ซึ่งขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้
2.2.4.2.1 กํ า หนดดาต้ า มาร์ ท คื อ การเลื อ กว่ า จะสร้ า งดาต้ า มาร์ ท ของ
ระบบงานใดบ้าง และระบบงานใดเป็นระบบงานแรกโดยองค์กรจะต้องสร้างแบบจํารองโครงสร้างของ
ฐานข้อมูลที่รวมระบบงานทุกระบบขององค์กรไว้ แสดงการเชื่อมโยงของแต่ละระบบงานอย่างชัดเจน
และสิ่งที่ต้องคํานึงถึงในการเลือกระบบงานที่จะเป็นดาต้ามาร์ทแรกนั้น มี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
จะต้องสามารถพัฒนาออกมาได้ทันตามเวลาที่ต้องการ โดยอยู่ในงบประมาณที่กําหนดไว้และต้องตอบ
ปัญหาทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้ ดังนั้นดาต้ามาร์ทแรกควรจะเป็นของระบบงานที่นํารายได้เข้ามาสู่
องค์กรได้ เช่น ระบบงานขาย เป็นต้น
2.2.4.2.2 กําหนดแฟคเทเบิ้ลของดาต้ามาร์ท คือ กําหนดเนื้อหาหลักที่ควรจะ
เป็นของดาต้ามาร์ท โดยการเลือกเอนทิตีหลักและกระบวนการที่เกี่ยวกับเอนทริตีนั้น ๆ ออกมาจาก
แบบจํารองโครงสร้างของฐานข้อมูลขององค์กร นั้นหมายถึงว่าจะทําให้เราทราบถึงไดเมนชันเทเบิ้ลที่
ควรจะมีด้วย
2.2.4.2.3 กํ า หนดแอตทริ บิ ว ต์ ที่ จํ า เป็ น ในแต่ ล ะไดเมนชั น เทเบิ้ ล คื อ การ
กําหนดแอตทริบิวต์ที่บอกหรืออธิบายรายละเอียดของไดเมนชันได้ ทั้งนี้แอตทริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักควร
เป็นค่าที่คํานวณได้ กรณีที่มีดาต้ามาร์ทมากกว่าหนึ่งดาต้ามาร์ทมีไดเมนชันเหมือนกัน นั่นหมายถึงว่า
แอตทริบิวต์ในไดเมนชันนั้นจะต้องเหมือนกันทุกประการ นั้นไม่อาจจะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บข้อมูล
ซํ้าซ้อน อันนํามาสู่ความแตกต่างกันของข้อมูลชุดเดียวกัน ปัญหานี้จึงเป็นการดีที่จะมีการใช้ ไดเมน
ชัน เทเบิ้ ลร่วมกั น ในแต่ล ะแฟคเทเบิ้ ล ที่ จําเป็ น ต้องมีไดเมนชัน ดังกล่าว โดยเรียกไดเมนชั น เทเบิ้ ล
ลักษณะแบบนี้ว่า comformed และเรียกแฟคเทเบิ้ลว่า fact Constellation เราสามารถกําหนด
ข้อดีของการใช้ไดเมนชันเทเบิ้ลร่วมกันได้ดังนี้
ก) แน่ใจได้ว่าในแต่ละรายงานจะออกมาสอดคล้องกัน
ข) สามารถสร้างดาต้ามาร์ทในเวลาต่าง ๆ กันได้
ค) สามารถเข้าถึงดาต้ามาร์ทโดยผู้พัฒนากลุ่มอื่น ๆ
ง) สามารถรวบรวมดาต้ามาร์ทหลาย ๆ อันเข้าด้วยกัน
จ) สามารถออกแบบคลังข้อมูลร่วมกันได้
18

2.2.4.2.4 กําหนดแอตทริบิวต์ที่จําเป็นในแฟคเทเบิ้ลโดยแอตทริบิวต์หลักใน
แฟคเทเบิ้ลจะมาจากคีย์หลักในแต่ละไดเมนชันเทเบิ้ล นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถมีแอตทริบิวต์ที่
จําเป็นอื่น ๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น แอตทริบิวต์ที่ได้จากการคํานวณค่าเบื้องต้นที่จําเป็นสําหรับการคง
อยู่ของแอตทริบิวต์อื่นในแฟคเทเบิ้ลเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า measure การกําหนดแอตทริบิวต์นี้ไม่ควร
จะเลือกแอตทริบิวต์ที่คํานวณไม่ได้ เช่น เป็นตัวหนังสือ หรือไม่ใช่ตัวเลข เป็นต้น และไม่ควรเลือกแอ
ตทริบิวต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของแฟคเทเบิ้ลที่เราสนใจด้วย
2.2.4.2.5 จัดเก็บค่าการคํานวณเบื้องต้นในแฟคเทเบิ้ล คือ การจัดเก็บที่ได้
จากการคํานวณให้เป็นแอตทริบิวต์ในแฟคเทเบิ้ลถึงแม้ว่าจะสามารถหาค่าได้จากแอตทริบิวต์อื่น ๆ ก็
ตาม ทั้งนี้เพื่อให้การสอบถามมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทํางานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ไม่ต้องคํานวณค่าใหม่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเกิดความซํ้าซ้อนของข้อมูลในการจัดเก็บบ้างก็ตาม
2.2.4.2.6 เขีย นคําอธิบ ายไดเมนชัน เทเบิ้ ล ทั้ งนี้ ก็เพื่ อให้ ผู้ใช้สามารถใช้ งาน
ดาต้ามาร์ทได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเกิดความเข้าใจอย่างดีในส่วนต่าง ๆ
2.2.4.2.7 กําหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล โดยอาจจะเป็น
การจัดเก็บเพียงช่วงระยะเวลา 1-2 ปี หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร เนื่องจาก
องค์กรแต่ละประเภทมีความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลต่างช่วงเวลากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจําเป็น
หรื อ ข้ อ กํ าหนดในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ มี ข้ อ สั งเกตอยู่ 2 ประการที่ น่ า สนใจและสํ า คั ญ สํ าหรั บ การ
ออกแบบแอตทริบิวต์ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
ก) ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้นานเกินไปมักเกิดปัญหาการอ่าน หรือแปล
ข้อมูลนั้น ๆ จากแฟ้มหรือเทปเก่า
ข) เมื่อมีการนํารูปแบบเก่าของไดเมนชันเทเบิ้ลมาใช้อาจเกิดปัญหา
การเปลี่ยนแปลงของไดเมนชันอย่างช้า ๆ ได้
2.2.4.2.8 การติดตามปั ญ หาการเปลี่ยนแปลงของไดเมนชันอย่างช้า ๆ คือ
การเปลี่ ยนเอาแอตทริบิ วต์ของไดเมนชั น เทเบิ้ ล เก่ ามาใช้ แ ล้ วส่งผลกระทบต่ อข้ อมู ล ปั จจุบั น ของ
dimension table โดยสามารถแบ่งประเภทของปัญหาที่เกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้
ก) เกิดการเขียนทับข้อมูลใหม่โดยข้อมูลเก่า
ข) เกิดเรคอร์ดใหม่ ๆ ขึ้นในไดเมนชัน
ค) เกิดเรคอร์ดที่มีท้งั ค่าเก่าและใหม่ปนกันไป
2.2.4.2.9 กําหนดคิวรี่ เป็นการออกแบบด้านกายภาพเพื่อให้ ผู้ใช้เกิดความ
สะดวกในการใช้งานและสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อดําเนินการทั้ง 9 ขั้นตอนสําหรับ
แต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว จึงจะนําทั้งหมดมารวมกันเป็นภาพของคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป
2.2.4.3 การแปลงข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ท
เมื่อเราออกแบบฐานข้อมูลสําหรับแต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สําคัญยิ่งก็คือการ
นําข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปแปลงให้อยู่ในแพลตฟอร์มของฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ นั่นก็คือการ
แปลงข้ อมู ล (ETL) นั่ นเอง โดยที่ คุณ ภาพของการแปลงข้ อมู ล เป็ นสิ่งสําคัญ มากสําหรับ การสร้าง
คลังข้อมูล จะแตกต่างกันไปตามคลังข้อมูลที่แต่ละองค์กรต้องการ โดยที่การแปลงข้อมูลหมายรวม
ตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งข้อมูล กําหนดการส่งข้อมูลรวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและ
19

สร้างรูทีนของการแปลงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้
ดังนี้
2.2.4.3.1 วิเคราะห์แหล่งข้อมูล เช่น ปริมาณของข้อมูล จํานวนและชนิดของ
การเข้าถึงแหล่งข้อมูล แพลตฟอร์มและภาษาโปรแกรมที่ใช้ เป็นต้น
2.2.4.3.2 ย้ายข้อมูลที่ต้องการ

2.3 การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Online Analytical Processing: OLAP)


ฐานข้อมูลการประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Online Analytical Processing; OLAP) ช่วย
อํานวยความสะดวกในการสอบถามข่าวกรองธุรกิจ การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์คือเทคโนโลยี
ฐานข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการสอบถามและการรายงาน แทนการประมวลผลทรานแซคชัน
แหล่งข้อมูล สําหรับ การประมวลผลข้ อมูลเชิงวิเคราะห์คือฐานข้อมูลการประมวลผลเชิงรายการ
(OLTP) ที่โดยทั่วไปมีการจัดเก็บอยู่ในคลังข้อมูล ข้อมูลการประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ได้มาจาก
ข้อมูลประวัตินี้และรวมเข้าในโครงสร้างที่สามารถวิเคราะห์อย่างซับซ้อนได้ ข้อมูลการประมวลผล
ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ยังมีการจัดระเบียบตามลําดับชั้นและจัดเก็บอยู่ในคิวบ์แทนที่จะเป็นตาราง ข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์เป็นเทคโนโลยีซับซ้อนที่ใช้โครงสร้างแบบหลายมิติเพื่อนําเสนอการ
เข้าถึงข้อมูลสําหรับการวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว การจัดระเบียบเช่นนี้ทําให้รายงาน PivotTable หรือ
รายงาน PivotChart สามารถแสดงสรุปข้อมูลระดับสูงได้ง่าย เช่น ยอดขายทั้งหมดในทั้งประเทศหรือ
ภูมิภาค และยังแสดงรายละเอียดสําหรับสถานที่ที่มียอดขายมากหรือน้อยเป็นพิเศษได้ด้วย (สุภาภรณ์
, 2551)
ฐานข้อมูลการประมวลผลข้อมู ลเชิงวิเคราะห์ได้รับการออกแบบมาเพื่ อช่วยให้การเรียกใช้
ข้ อ มู ล รวดเร็ ว ขึ้ น เนื่ อ งจากเซิ ร์ ฟ เวอร์ ข้ อ มู ล การประมวลผลข้ อ มู ล เชิ ง วิ เคราะห์ แ ทนที่ จ ะเป็ น
Microsoft Office Excel ทําหน้าที่คํานวณค่าสรุป ดังนั้นจึงมีข้อมูลที่ต้องส่งไปยัง Excel น้อยลงเมื่อ
คุณสร้างหรือเปลี่ยนรายงาน แนวทางนี้ช่วยให้คุณสามารถทํางานกับแหล่งข้อมูลได้มากกว่าเดิมมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับที่คุณสามารถทําได้ถ้าข้อมูลมีการจัดระเบียบในฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ที่ Excel
จะเรียกใช้ระเบียนทั้งหมดทีละระเบียนแล้วคํานวณค่าสรุปฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานสอง
ชนิด ชนิดแรกคือการวัด ซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลข ปริมาณและค่าเฉลี่ยที่คุณใช้เพื่อทําการตัดสินใจทาง
ธุรกิจอย่างมีความรู้ ชนิดที่สองคือมิติ ซึ่งเป็นประเภทที่คุณใช้เพื่อจัดระเบียบการวัดดังกล่าว
ฐานข้อมูลการประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ช่วยจัดระเบียบข้อมูลเป็นระดับของรายละเอียด
หลายระดับ โดยใช้ประเภทเดียวกันกับที่คุณคุ้นเคยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนต่อไปนี้อธิบายแต่ละคอมโพเนนต์เหล่านี้ในรายละเอียดมากขึ้น
2.3.1 คิวบ์ โครงสร้างข้อมูลที่รวมการวัดต่าง ๆ ตามระดับและลําดับชั้นของแต่ละมิติที่คุณ
ต้องการวิเคราะห์ คิวบ์รวมมิติหลายมิติ เช่น เวลา ภูมิศาสตร์ และสายการผลิต เข้ากับข้อมูลสรุป เช่น
ตัวเลขยอดขายหรือสินค้าคงคลัง คิวบ์ในที่นี้ไม่ใช่ "คิวบ์" ในทางคณิตศาสตร์ที่เคร่งครัด เนื่องจากไม่
จําเป็นต้องมีเครื่องหมายเท่ากับ อย่างไรก็ตามคิวบ์เป็นสิ่งอุปมาอุปไมยที่เหมาะสมสําหรับหลักการที่
ซับซ้อน
20

2.3.2 การวัด ชุดของค่าในคิวบ์ที่สร้างขึ้นตามคอลัมน์ในตารางข้อเท็จจริงของคิวบ์ และโดย


ปกติ แ ล้ ว จะเป็ น ค่ าตั ว เลข การวั ด คื อ ค่ าส่ ว นกลางในคิ ว บ์ ที่ มี ก ารประมวลผลล่ ว งหน้ า รวม และ
วิเคราะห์ ตัวอย่างทั่วไปรวมถึง ยอดขาย กําไร รายได้ และต้นทุน
2.3.3 สมาชิก รายการในลําดับชั้น แสดงถึงการเกิดขึ้นของข้อมูลหนึ่งครั้งขึ้นไป สมาชิกสามารถ
เป็นแบบเฉพาะ หรือแบบไม่เฉพาะ ตัวอย่างเช่น 2007 และ 2008 เป็นสมาชิกแบบเฉพาะในระดับปี
ของมิ ติเวลา ในขณะที่ ม กราคมเป็ น สมาชิ ก แบบไม่ เฉพาะในระดับ เดื อนเนื่ อ งจากอาจมี ม กราคม
มากกว่าหนึ่งครั้งในมิติเวลาถ้ามิติมีข้อมูลสําหรับระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี
2.3.4 สมาชิกจากการคํานวณ สมาชิกของมิติที่เป็นเจ้าของค่าที่คํานวณในขณะทํางานโดยการ
ใช้นิพจน์ค่าของสมาชิกจากการคํานวณอาจได้มาจากค่าของสมาชิกอื่น ตัวอย่างเช่น สมาชิกจากการ
คํานวณที่ชื่อว่า กําไร อาจกําหนดได้โดยการลบค่าของสมาชิกที่ชื่อว่า ต้นทุน ออกจากค่าของสมาชิกที่
ชื่อว่า ยอดขาย
2.3.5 มิติ ชุดของลําดับชั้นที่จัดระเบียบหนึ่งลําดับชั้นขึ้นไปของระดับในคิวบ์ที่ผู้ใช้เข้าใจและใช้
เป็นพื้นฐานสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น มิติภูมิศาสตร์อาจรวมถึงระดับสําหรับประเทศ/
ภูมิภาค รัฐ/จังหวัด และเมือง หรือมิติเวลาอาจรวมลําดับชั้นที่มีระดับสําหรับปี ไตรมาส เดือน และ
วัน ในรายงาน PivotTable หรือรายงาน PivotChart แต่ละลําดับชั้นจะกลายเป็นชุดของเขตข้อมูลที่
คุณสามารถขยายและยุบเพื่อแสดงระดับที่ต่ํากว่าหรือสูงกว่า
2.3.6 ลําดับชั้น โครงสร้างแผนภูมิต้นไม้ทางตรรกะที่จัดระเบียบสมาชิกของมิติเพื่อให้แต่ละ
สมาชิกมีสมาชิกแม่หนึ่งรายการและสมาชิกลูกศูนย์รายการขึ้นไป สมาชิกลูกคือสมาชิกในระดับที่ต่ํา
กว่าถัด ลงมาในลํา ดั บ ชั้ น ที่ เกี่ยวข้ อ งโดยตรงกั บ สมาชิกปั จจุบั น ตัวอย่างเช่ น ในลํ าดับ ชั้น เวลาที่
ประกอบด้วยระดับไตรมาส เดือน และวัน มกราคมเป็นสมาชิกลูกของ Qtr1 (ไตรมาสที่ 1) สมาชิกแม่
คือสมาชิกในระดับที่สูงกว่าถัดขึ้นไปในลําดับชั้นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสมาชิกปัจจุบัน โดยปกติ ค่า
ของสมาชิกแม่คือผลรวมของค่าของสมาชิกลูกทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ในลําดับชั้นเวลาที่ประกอบด้วย
ระดับไตรมาส เดือน และวัน Qtr1 คือสมาชิกแม่ของมกราคม
2.3.7 ระดับ ภายในลํ าดับชั้น ข้อมู ลสามารถจัดระเบี ยบเป็น ระดับ ที่ต่ํากว่าและสูงกว่าของ
รายละเอียด เช่น ระดับปี ไตรมาส เดือน และวัน ในลําดับชั้นเวลา

2.4 ไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ
พาวเวอร์บีไอ (ถกลวรรณ, 2559) คือ บริการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจบนระบบคลาวด์ ที่ทําให้
ผู้ ใ ช้ ง านมองเห็ น ภาพและวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว มี จุ ด เด่ น คื อ ความสามารถในการ
ประมวลผลคิ ว รี่ ด้ ว ยภาษาธรรมชาติ แ ละมี ตั ว เลื อ กของการแสดงผลรายงานอย่ างหลากหลาย
สนับสนุนการใช้งานในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชัน (mobile application), เวปแอปพลิเคชัน (web
application) และส่วนเสริม (Adds-in) ที่ สนับสนุ นการใช้งานบนไมโครซอฟท์ Excel รวมถึงการ
ทํางานร่วมกับออฟฟิต 365 ที่เป็นบริการไมโครซอฟท์ออฟฟิตในรูปแบบคลาวด์ (Microsoft Office
on the cloud) ที่เรียกว่าพาวเวอร์บีไอ สําหรับออฟฟิต 365 (PowerBI for Office 365) ให้บริการ
มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2014 และเริ่มใช้งานจริงในเดือนกรกฎาคม 2015 ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
21

จนกระทั่งปี 2016 ไมโครซอฟท์ก็ประสบความสําเร็จโดยการก้าวสู่การเป็นผู้นําซอฟต์แวร์ business


intelligence และการวิเคราะห์ข้อมูล (Gartner, 2015)
พาวเวอร์บีไอเดสก์ท็อป (power BI desktop) เป็นโปรแกรมประยุกต์สําหรับออกแบบ และ
การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถเผยแพร่ (publish) ขึ้นบนคลาวด์ได้ทั้งหมด แต่มีความแตกต่างในการใช้
งานดังนี้
2.4.1 ปริมาณข้อมูลทั้งหมดใน dataset แบบไม่เสียค่าบริการจะถูกจํากัดที่ 1 GB แต่แบบ Pro
จะใช้ได้สูงสุดถึง 10 GB
2.4.2 การสร้ า งกลุ่ ม สํ า หรั บ การแบ่ งปั น ข้ อ มู ล ผู้ ใช้ แ บบ Pro หลายคนในองค์ ก รเดี ย วกั น
สามารถสร้างกลุ่มได้ โดยแต่ละกลุ่มมีข้อมูลสูงสุดถึง 10 GB แต่ข้อมูลรวมของทั้งองค์กรต้องไม่เกิน
10 GB คูณจํานวนผู้ใช้แบบ Pro
2.4.3 การรีเฟรชข้อมูล ผู้ใช้แบบที่ไม่เสียค่าบริการจะถูกตั้งให้รีเฟรชข้อมูลเพียงวันละ 1 ครั้ง
แต่ผู้ใช้แบบ Pro สามารถกําหนดให้ระบบรีเฟรชข้อมูลได้มาสุดถึงวันละ 8 ครั้ง
2.4.4 ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลผ่าน Power Bi Rest API ผู้ใช้แบบไม่เสียค่าบริการทําได้เพียง
10,000 เรคคอร์ดต่อชั่วโมง
2.4.5 ผู้ใช้แบบไม่เสียค่าบริการจะไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูล on premise ได้ แต่แบบโปรจะทํา
ผ่าน data connectivity gateway
2.4.6 ผู้ใช้ แบบโปร มีความสามารถในการทํ างานร่วมกัน (collaboration) ได้ เพิ่ ม เติม เช่น
office 365 group การสร้าง content pack ในองค์กรรวมถึงการกําหนดสิทธ์ผู้ใช้งาน
จากรู ป แบบของบริ ก ารที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ในปั จ จุ บั น ไม่ ว่ า จะเป็ น การใช้ ง านแบบเสี ย
ค่าบริการ หรือไม่เสียค่าบริการ บริการเหล่านี้จะมีชุดเครื่องมือที่สนับสนุนการทางานดังนี้
2.4.7 ชุดเครื่องมือไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ
2.4.7.1 เพาเวอร์คิวรี่ (Power Query) ส่วนเสริม (adds-in) สําหรับไมโครซอฟท์ Excel
เพื่อสนั บสนุนการทํา business intelligence สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้จากหลายแหล่ง สามารถ
สืบค้น คัดกรอง และนําเข้าสู่ Excel ในรูปแบบตารางหรือแบบจําลอง สามารถค้นข้อมูลที่มีความ
หลากหลายทั้ ง ข้ อ มู ล ที่ มี โ ครงสร้ า งและกึ่ ง โครงสร้ า ง เช่ น OData, เว็ บ Hadoop, Azure
Marketplace นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลสาธารณะจากแหล่งต่าง ๆ เช่น วิกิพี
เดีย (Wikipedia) หรือเฟสบุ๊ค (Facebook)
2.4.7.2 เพาเวอร์ ไพวอท (Power Pivot) เครื่ อ งมื อ สํ า หรั บ สร้ า งแบบจํ า ลองข้ อ มู ล
สนั บสนุ นการใช้งานข้อมู ลจากหลายแหล่งเป็นส่วนเสริม Microsoft Excel ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2010,
2013 และ 2016 เป็นเครื่องมือที่ทําผู้ใช้งานสามารถทํางานในด้าน business intelligenc
2.4.7.3 เพาเวอร์วิว (Power View) เครื่องมือในการสรุปผล วิเคราะห์ หรือทํางานด้าน
ข่าวกรองธุรกิจแบบบริการตนเอง (self-BI) เป็นส่วนเสริมในไมโครซอฟท์ Excel สามารถสรุปผลที่
ซับซ้อนสามารถสร้างแผนที่เพื่อดูข้อมูลตามในรูปแบบสถานที่ (location) ได้ แต่การใช้งานจะต้องทํา
การดาวน์โหลด เครื่องมือผ่านทางเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ www.Microsoft.com
2.4.7.4 เพาเวอร์แมป (Power Map) เครื่องมือที่สามารถแสดงผลรายงานในรูปแบบ
ภูมิศาสตร์ตามลําดับเวลาในรูปแบบสามมิติ ที่แสดงผลในรูปแบบของแผนที่ (map) เครื่องมือนี้เป็น
22

ส่วนเสริมที่สามารถติดตั้งเพิ่มได้ในไมโครซอฟท์ Excel เพื่อเพิ่มความสามารถในการทํา business


intelligence แบบบริการตนเอง ที่แสดงผลรายงานในรูปแบบตําแหน่งของแผนที่ ตามข้อมูลของ
ตําแหน่ง เช่น จังหวัด อําเภอ หรือตําแหน่ง Latitude, Longitude
2.4.7.5 เพาเวอร์ บีไอไซต์ (Power BI Site) แสดงผลรายงานผ่าน SharePoint Online
ซึ่งเป็นบริการในรูปแบบคลาวด์เพื่อความสามารถในการแบ่งปันที่ทํางานร่วมกับ Power BI Sites
เพื่อการทํางานร่วมกันภายในองค์กร หรือการแบ่งปันรายงาน คําสั่งสืบค้นที่นอกจากนี้ยังสามารถ
ค้นหาคําสั่งสืบค้นของบุคคลอื่นที่ใช้งานร่วมกัน
2.4.7.6 ดาต้า แมนเนจเม้นท์ เกตเวย์ (Data Management Gateway) เป็นเครื่องมือ
สําหรับการเรียกดูและการบริหารจัดการข้อมูลของ Office 365 ให้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
หรือข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ภายในองค์กรได้
2.4.7.7 เพาเวอร์ บีไอแอพ (Power BI App) เป็นฟรีแอพลิเคชั่นที่สนับสนุนการใช้งาน
ไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอสําหรับออฟฟิต 365 ผ่านทางโมบายที่สามารถในการเข้าถึงข้อมูล, ตั้งค่า,
แจ้งเตือน, เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล, สนับสนุนการใช้งานร่วมกัน รวมถึงการแสดงข้อมูลในรูปแบบ
กราฟิกในรูปแบบหลายมิติ
2.4.7.8 พาวเวอร์ บี ไอเดสก์ ท อป (Power BI Desktop) เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส ามารถรั บ
ข้อมูล ปรับโครงสร้าง กําหนดความสัมพั นธ์ สร้างรายงานรวมถึงอัปโหลดข้อมูลที่ต้องการใช้งาน
รวมกันไปยัง Power BI Site
2.4.8 ขั้นตอนการทําธุรกิจอัจฉริยะด้วยพาวเวอร์บีไอพาวเวอร์บีไอ เป็นบริการธุรกิจอัจฉริยะใน
รูปแบบคลาวด์ หากผู้ใช้งานมีความประสงค์ที่จะใช้บริการดังกล่าวสามารถทาตามขั้นตอนดังภาพที่ 2-
8

ภาพที่ 2-6 ขัน้ ตอนการทําธุรกิจอัจฉริยะด้วยพาวเวอร์บีไอ (ถกลวรรณ, 2559)


23

จากภาพที่ 2-6 แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการทําธุรกิจอัจฉริยะด้วยพาวเวอร์บีไอ


ขั้นตอนที่ 1 กําหนดข้อมูลที่จะนํามาใช้งาน และลงทะเบียนขอใช้งานบริการพาวเวอร์บีไอ โดย
การลงทะเบี ย นผ่ า น https://powerbi.microsoft.com/en-us/ รวมถึ ง เชื่ อ มต่ อ ข้ อ มู ล จาก
แหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ขั้นตอนที่ 2 สร้างรายงานที่ตรงกับความต้องการขององค์กร
ขั้นตอนที่ 3 สร้างรายงานในรูปแบบแดชบอร์ด
ขั้นตอนที่ 4 แบ่งปันรายงานและเรียกดูรายงานจากอุปกรณ์โมบาย
เนื่องจากความสะดวกของการใช้งานที่ได้กล่าวไปข้างต้นพบว่า บริการธุรกิจอัจฉริยะในรูปแบบ
คลาวด์ ข องไมโครซอฟท์ นั้ น มี ค วามสะดวกสบายต่ อการใช้ งาน การเริ่ม ต้ น ของผู้ ใช้ งานเพี ยงแค่
ลงทะเบียนขอใช้งานจากผู้ให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่จําเป็นต้องมีการจัดเตรียม หรือลงทุนใน
ส่วนของทรัพยากรในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล ซึ่งการดําเนินงานในทุกขั้นตอนดังกล่าวถูก
ประมวลผลอยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรมพาวเวอร์บีไอมีองค์ประกอบหลัก 7 ส่วนแสดงดังภาพที่
2-7

ภาพที่ 2-7 สถาปัตยกรรมพาวเวอร์บีไอ (ถกลวรรณ, 2559)


24

2.4.9 สถาปัตยกรรมพาวเวอร์บีไอในภาพที่ 2-7 อธิบายได้ดังนี้


2.4.9.1 พาวเวอร์ บี ไ อเดสก์ ท อป (Power BI Desktop) เป็ น เครื่ อ งมื อ สํ า หรั บ การ
ออกแบบดาต้าโมเดล ทํ าหน้ าที่ เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ กําหนดตัวแปรสร้างรายงานและ
นํ า เสนอผ่ า นทางรั ฐ บอร์ ด เพื่ อ นํ า ไปใช้ กั บ Power BI Website Power BI Gateway ทํ า หน้ า ที่
เชื่อมต่อระหว่างข้อมูลในระบบกลับ Power BI Website
2.4.9.2 พาวเวอร์ บี ไ อเกตเวย์ (Power BI Gateway) ทํ า หน้ า ที่ เป็ น สะพานเชื่ อ ม
ระหว่างข้อมูลภายในองค์กรกับพาวเวอร์บีไอ เพื่อความสามารถในการรีเฟรช (refresh) ข้อมูลให้ใหม่
อยู่เสมอ
2.4.9.3 ไมโครซอฟท์ Excel (Microsoft Excel) หากมี การบั น ทึ ก ข้อ มู ล ลงบนระบบ
คลาวด์ของไมโครซอฟท์ (OneDrive) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของรายงาน และ
แดชบอร์ดได้ตามข้อมูลที่แก้ไขอย่างอัตโนมัติ
2.4.9.4 ชุด ข้อมู ล (dataset) ประกอบด้ วยข้อ มูล ที่ เป็ น ตารางและความสัม พั นธ์ข อง
ข้อมูลที่ผู้ใช้งานนํามาจากหลายแหล่ง อาทิ ข้อมูลสร้างจาก PowerBI Desktop หรือ Excel
2.4.9.5 รายงานสําหรับพาวเวอร์บีไอ (PowerBI report) เป็นรายงายรูปแบบต่าง ๆ ที่
ถูกสร้างขึ้นจากชุดข้อมูล
2.4.9.6 พาวเวอร์ บี ไอแดชบอร์ด (PowerBI dashboard) เป็ น ส่ วนของการนํ าเสนอ
ข้อมูลที่ต้องการจากรายงานที่แตกต่างกัน
2.4.9.7 พาวเวอร์บีไอโมบายแอพ (PowerBI mobile application) เป็นแอพลิเคชั่นที่
สนับสนุนการตรวจสอบรายงานบนอุปกรณ์ โมบาย สนับสนุนการระบบปฏิบัติการในรูปแบบแอน
ดรอยด์ (Android) วินโดว์โมบาย (window mobile) และไอโอเอส (iOS)
จากการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือข่าวกรองธุรกิจ ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์บีไอพบว่าเครื่องมือ
ดังกล่าวทํางานร่วมกับออฟฟิตแบบออนไลน์ คิวรี่ได้ด้วยภาษาธรรมชาติและมีการแสดงผลรายงานที่
หลากหลาย สะดวกต่อการใช้งาน รวมถึงสนับสนุนการใช้งานในรูปแบบโมบาย เป็นการใช้งานผ่าน
สถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานของการประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ และไฮบริดคลาวด์ส่งผลให้มีความ
ยืดหยุ่นในการประมวลผล ลดค่าใช้จ่าย ง่ายต่อการใช้งาน เข้าถึงได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่
ในทางกลับกันการใช้งานธุรกิจอัจฉริยะในรูปแบบคลาวด์ ต้องคอยตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย
เนื่องจากเป็นการใช้งานคลาวด์ในองค์กรร่วมกับคลาวด์ในรูปแบบสาธารณะ รวมถึงการใช้งานธุรกิจ
อัจฉริยะในรูปแบบคลาวด์ ยากต่อการประเมินราคาในการใช้งาน เพราะความต้องการสารสนเทศของ
องค์กรมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

2.5 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ


การตั ดสิน ใจถือว่าเป็ นเรื่องที่ สําคัญ ที่ ม นุ ษ ย์ทุ กคนจะต้องเผชิญ และปฏิ บั ติอยู่เป็ นประจํ า
เนื่องจากการตัดสินใจจะทําให้มนุษย์เลือกและได้สิ่งต่าง ๆ ที่คิดว่าเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ดังนั้น
กระบวนการ และพฤติกรรมในการตัดสินใจของมนุษย์แบ่งออกเป็นดังนี้ (บํารุง สังข์ขาว, 2554)
25

2.5.1 ความหมายของการตัดสินใจ
จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ พบว่ามีผู้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้
หลายประการได้แก่
วิชัย (2535 : 185) ให้ความหมายของการตัดสินใจว่า หมายถึงการเลือกทางเลือกที่มีอยู่หลาย
ๆ ทางเลือก โดยอาศัยทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวที่สามารถตอบสนองเป้าหมาย หรือความ
ต้องการของผู้เลือกได้
กรองแก้ว (2537 : 147) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจว่า หมายถึง การเลือกสิ่งหนึ่งหรือ
หลาย ๆ สิ่ง หรือเลือกที่จะปฏิบัติทางใดทางหนึ่งจากหลาย ๆ ทางที่มีอยู่ และวิธีการที่เลือกนั้นย่อม
ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าถูกต้องเหมาะสมหรือดีที่สุด และตรงกับเป้าหมายขององค์การ
ด้วย
กวี (2539 : 61) ให้ความหมายของการตัดสินใจว่า หมายถึง การพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุด
จากทางเลือกหลาย ๆ ทาง ผู้นําต้องตัดสินใจด้วยหลักเหตุผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่ง
การตัดสินใจดังกล่าวจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น กล่าวโดยสรุป การตัดสินใจ หมายถึง การพิจารณาโดยใช้ข้อมูล หลักการและเหตุผล
วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการหาทางเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด จากหลาย ๆ ทางเลือกที่สามารถ
ตอบสนองเป้าหมายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.5.2 องค์ประกอบการตัดสินใจ
2.5.2.1 ตัวผู้ตัดสินใจ โดยผู้ตัดสินใจมีความสามารถในการประเมินคุณค่า ประโยชน์
หรือความสําคัญของทางเลือกแต่ละอย่าง
2.5.2.2 ทางเลือก ผู้ตัดสินใจจะเผชิญกับทางเลือกจํานวนหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีทางเลือกก็ไม่
ต้องเลือก
2.5.2.3 ผลของทางเลือกในอดีต จะขึ้นอยู่กับการเลือก ซึ่งการเลือกแต่ละอย่างแตกต่าง
กันและไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
2.5.3 ประเภทของการตัดสินใจ
วิชัย (2535 : 185 - 186) ได้แบ่งประเภทของการตัดสินใจไว้3 ประเภท ตามสถานการณ์ ที่
เกิดขึ้น คือ
2.5.3.1 การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน เป็นการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของ
ผลลัพธ์ที่คาดหมายไว้แล้ว โดยเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ตัดสินใจมีข้อมูลเพียงพอและทราบถึงผลของการเลือก
แต่ ล ะทางเลื อ กอย่ างแน่ น อน ในสถานการณ์ เช่ น นี้ ผู้ ตั ด สิ น ใจจะพยายามเลื อ กทางเลื อ กที่ ให้ ผ ล
ประโยชน์สูงสุด
2.5.3.2 การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่เสี่ยง คือ การตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
ผลลัพธ์ที่แน่นอนน้อยกว่าการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน แต่ยังพอคาดคะเนความเป็นไปได้
อยู่บ้าง ทั้งนี้ผู้ตัดสินใจทราบถึงผลลัพธ์ของทางเลือกต่าง ๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจ แต่โอกาสที่จะเกิด
ทางเลือกแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากปัจจัยบางอย่างที่ไม่แน่นอน
2.5.3.3 การตั ดสิ น ใจภายใต้ส ถานการณ์ ที่ ไม่ แ น่ น อน เป็ น การตั ดสิ น ใจที่ ไม่ ส ามารถ
คาดการณ์ผลลัพธ์หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นได้เลย หรือกล่าวได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่มืดแปดด้าน
26

ทั้งนี้ เพราะผู้ตัดสินใจในสถานการณ์นี้จะไม่มีโอกาสทราบความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
และมีตัวแปรอื่นที่ควบคุมไม่ได้อยู่ด้วย ดังนั้นการตัดสินใจในสถานการณ์เช่นนี้ จึงไม่อาจเลือกโดยใช้
ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดได้ ผู้ตัดสินใจต้องใช้ดุลพินิจและวิจารณญาณช่วยในการตัดสินใจ
อย่างมาก
2.5.4 ขั้นตอนการตัดสินใจ
วิชัย (2535 : 187 - 188) ได้แบ่งขั้นตอนการตัดสินใจออกเป็น7 ขั้นตอน ดังนี้
2.5.4.1 การตระหนั ก ในปั ญ หา (Problem Recognition) ขั้ น ตอนนี้ เป็ น ขั้ น ตอนที่ มี
ความสําคัญต่อการตัดสินใจ เพราะถ้าไม่มีการยอมรับว่าเกิดปัญหาขึ้นในหน่วยงาน การตัดสินใจก็คง
ไม่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจึงควรค้นหาปัญหา และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ก่อน
คนอื่น การค้นหา และรับรู้ว่าองค์การมีปัญหาย่อมยังประโยชน์ให้ผู้บริหารสามารถหาหนทางแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ได้ ก่อนปัญหาจะรุนแรงขึ้นถึงขั้นวิกฤต คําว่า “ปัญหา” หมายถึง สภาพเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดซึ่งไม่ตรงกับความต้องการ โดยอาจพิจารณาได้จาก เหตุการณ์ต่อไปนี้
2.5.4.1.1 ผลงานปั จ จุ บั น ลดลงจากเดิ ม ทั้ งในแง่คุ ณ ภาพและปริม าณ เช่ น
ผลงานของปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น บริการด้อยคุณภาพมากขึ้น อัตราการลาออก
การโอนย้ายของข้าราชการในหน่วยงานสูงกว่าปีที่ผ่านมา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะชี้ให้ผู้บริหารทราบว่า
เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์การ
2.5.4.1.2 ผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น ผลตอบแทนการลงทุนไม่เป็นไป
ตามเป้าหมาย การใช้จ่ายเงินงบประมาณที่กําหนดไว้ กําไรต่ํากว่าที่คาด เป็นต้น
2.5.4.1.3 ผู้ปฏิ บัติงานไม่พ อใจการบริห ารงาน โดยเห็ นได้จากการร้องเรียน
การร้องทุกข์การเขียนบัตรสนเท่ห์ การประท้วงในลักษณะการเฉื่อยงาน การขาดงาน การลาออก การ
โอนย้ายไปทํางานที่อื่น การเรียกร้องของสหภาพแรงงาน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาเตือนให้ผู้บริหารให้
ความสนใจ โดยควรสืบเสาะสาเหตุแห่งความไม่พอใจ ซึ่งอาจเป็นการไม่พอใจ การเล่นพรรคเล่นพวก
การเลื่อนตําแหน่งที่ไม่เป็นธรรม และอื่น ๆ เพื่อหาทางแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.5.4.2 การระบุ แ ละวิ เ คราะห์ ส าเหตุ ข องปั ญ หา (Identifying and Analyzing
Problem) ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนั้น ผู้บริหารองค์การต้องพยายามแยกแยะปัญหาและ
ค้นหาสาเหตุของปัญหานั้นให้ได้ ปัญหาหนึ่งอาจมีสาเหตุหลายอย่าง ผู้บริหารจึงต้องมีประสบการณ์
และความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วย และต้องไม่หลงเอาพฤติกรรมที่แสดงออกมา
เป็นปัญหา เช่น การมีผู้ขาดงาน ลาออกมาก ผู้บริหารอาจคิดว่าการลาออกเป็นปัญหาจึงแก้ไขโดยการ
จ้างคนงานเพิ่ม หรือมาตรการลงโทษผู้ขาดงาน ซึ่งทางแก้ไขปัญหาเช่นนี้อาจไม่ถูกทาง เพราะสาเหตุที่
แท้จริงอาจอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญและกาลังใจในการทางานก็ได้ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
จะเริ่มโดยการระบุสภาพและขอบเขตของปัญหาก่อน ซึ่งทําได้โดยการตอบคําถามต่อไปนี้ อะไรคือสิ่ง
ที่เกิดขึ้น เป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เกิดขึ้นที่ไหน ทราบได้อย่างไร มีผลเสียหายอย่างใดมากน้อยแค่ไหน
ขอบเขตของปัญหากว้างขวางเพียงใด มีผลกระทบต่ออะไรบ้าง เมื่อได้ระบุสภาพและขอบเขตของ
ปัญหาแล้ว ก็เป็นการค้นหาเหตุแห่งปัญหาโดย
2.5.4.2.1 พิจารณาว่ามีปัจจัยด้านบุคคล วิธีการ หรือสภาพแวดล้อมใดบ้าง ที่
ทําให้เกิดปัญหานั้นขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
27

2.5.4.2.2 ตั้งคําถามว่า ทําไมปัญหานั้นจึงเกิดขึ้น


2.5.4.2.3 วิ เคราะห์ ส าเหตุ แ ห่ ง ปั ญ หาโดยอาศั ย ประสบการณ์ ความคิ ด
สร้างสรรค์และการตรวจสอบดูความแตกต่างกับการเบี่ยงเบนของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายที่ต้องการ
ข้อควรระวังในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาก็คือ ระวังอย่าใช้ “อาการ” เป็นสาเหตุ สาเหตุที่ค้นหา
มาได้ต้องสอดคล้องกับคําตอบ คือเมื่อแก้สาเหตุแล้วต้องสามารถแก้ปัญหาได้ และต้องพยายามหา
สาเหตุทุกสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น อย่ามองเพียงบางสาเหตุเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ปัญหาได้ผล
อย่างสมบูรณ์
2.5.4.3 การแสวงหาทางเลือก (Developing Alternative Solution) ในการแสวงหา
ทางเลือกนั้น ผู้บริหารต้องหาข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของปัญหาให้มากที่สุด ข้อมูลข่าวสาร
ต่าง ๆ จะทําให้ผู้บริหารเห็นแนวทางเลือกในการตัดสินใจแก้ปัญหา และแหล่งที่มาของแนวทางเลือก
นั้น อย่างไรก็ตาม การมีข้อมูลข่าวสารมากก็มิใช่ว่าจะทําให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ
ได้ ถ้ าหากข้ อ มู ล นั้ น ไม่ อ ยู่ ในขอบเขตที่ ต้ อ งการ ส่ วนในการกํ าหนดทางเลื อ กนั้ น เมื่ อ ได้ มี ข้ อ มู ล
ครบถ้ วนตามที่ ต้ อ งการแล้ วก็ ให้ มี ก ารประเมิ น ข้ อมู ล และกําหนดเป็ น ทางเลื อ กเพื่ อ แก้ ปั ญ หาขึ้ น
ผู้บริหารควรคํานึงด้วยว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี จึงไม่ควรรีบตัดสินใจโดยมิได้
พิจารณาทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ เพราะทางเลือกแรกอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดก็ได้ อย่างไรก็ตาม
แนวทางเลือกที่เลือกไว้นั้นควรต้องมีลักษณะประหยัด มีประสิทธิภาพ และปฏิบัติได้ด้วยการแสวงหา
ทางเลือกเพื่อการตัดสินใจนี้ ผู้บริหารต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ประกอบและการเลือกวิธีแก้ปัญหา
ไม่จําเป็นต้องเป็นทางเลือกที่เคยปฏิบัติมาแล้ว การเลือกไม่ทําอะไรเลย ก็ถือเป็นทางเลือกในการ
ตัดสินใจทางหนึ่งได้เหมือนกัน
2.5.4.4 การประเมินทางเลือก (Evaluation of Alternatives) การประเมินความสําคัญ
ทางเลื อก พิ จารณาจั ด ลํ าดั บ ความสํ าคั ญ ของทางเลือ กแต่ ล ะทางในแง่ที่ ห ากนํ าไปใช้ จ ะสามารถ
แก้ปัญหาได้เพียงใด หรือก่อให้เกิดผลดีมากน้อยเพียงใด ทางเลือกทางใดก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความยุ่งยากในการตัดสินใจ
2.5.4.4.1 วิธีการประเมินทางเลือกมี 2 วิธี คือ
ก) ผู้บริหารใช้ดุลพินิจในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ เอง วิธีการนี้
จะใช้เมื่อมีข้อจํากัดทางด้านเวลาและเงินทุน
ข) ใช้เทคนิคการตัดสินใจช่วยในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ ว่าทาง
ใดก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดวิธีการนี้มักใช้กับการตัดสินใจที่มีผลผูกพันระยะยาวใช้ทรัพยากรมาก
2.5.4.4.2 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินทางเลือก ได้แก่ เกณฑ์หาจุดสูงสุด เกณฑ์
หาจุดสูงสุดของทางเลือกที่ต่าง ๆ เกณฑ์ที่จะสร้างความเสียใจน้อยที่สุดและเกณฑ์สร้างความพึงพอใจ
ทางเลือกที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
ก) ใช้ แ ก้ปั ญ หาได้ ทางเลื อ กต่าง ๆ นั้ น ต้ องพิ จารณาว่าจะนามา
แก้ไขได้และสามารถปฏิบัติได้ด้วย ทางเลือกที่แม้จะแก้ไขได้แต่ปฏิบัติไม่ได้ เช่น ใช้เงินลงทุนมาก
เกินไปย่อมไม่อาจใช้เป็นทางเลือกที่ดีได้
ข) สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การที่กําหนดไว้ โดยถ้าสอดคล้อง
มากก็มีลําดับความสําคัญสูง และถ้าสอดคล้องน้อยก็มีความสําคัญต่ํา
28

ค) ไม่มีผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ขององค์การ ทางเลือกที่ดีนั้นเมื่อได้


เลือกใช้ในทางปฏิบัติแล้วควรมีผลกระทบต่อส่วนอื่นขององค์การน้อยที่สุด หรือไม่มีผลกระทบเลย
เพราะถ้ามีผลกระทบมากอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมาได้อีก เช่น การแก้ปัญหาขาดทุนโดยการลด
ต้ น ทุ น การผลิ ต อาจมี ผ ลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพผลผลิ ต ซึ่ งทํ า ให้ ไม่ มี ค นซื้ อ สิ น ค้ าก็ ได้ จึ ง ควรเลื อ ก
ทางเลือกอื่น เช่น การปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ และปรับราคาสินค้าแทน
ง) เป็นทางเลือกที่องค์การสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้
ทางเลื อกบางอย่างแม้ จะมี ป ระสิ ท ธิภ าพ ก่อให้ เกิด ประโยชน์ สู งสุด แต่เมื่อ พิ จารณาทรัพ ยากรที่
องค์การมีอยู่แล้วไม่สามารถนํามาปฏิบัติได้ ก็ถือว่าทางเลือกนั้นไม่มีประสิทธิภาพ
จ) เกณฑ์ ห รื อ มาตรฐานที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น ทางเลื อ กนั้ น ควร
สอดคล้อ งกั บ เป้ าหมายขององค์ การ เช่น องค์ การมี เป้ าหมายมุ่ งขยายส่ว นแบ่ งการตลาด แต่ถ้ า
ผู้บริหารใช้เกณฑ์กําไรสูงสุดในการประเมินทางเลือก ก็อาจทําให้ผลที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับเป้าหมายของ
องค์การ
2.5.4.5 การตั ดสิ นใจเลือกทางเลื อกที่ ดีที่ สุด (Selection the Best Solution) เมื่ อมี
การประเมินทางเลือก ระบุปัญหาได้ชัดเจน และจัดลําดับความสําคัญของทางเลือกต่าง ๆ แล้ว การ
ตัดสินใจเลือกก็จะง่ายขึ้น การตัดสินใจเลือกควรเลือกทางที่ให้ประโยชน์ตอบแทนสูงสุด โดยคํานึงถึง
หลักการต่อไปนี้ด้วย
2.5.4.5.1 ทางเลือกนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ เป็นแนวทางที่
บรรลุจุดหมายหรือไม่
2.5.4.5.2 การตัดสินใจนั้นแสดงถึงประสิทธิผลสูงสุดหรือไม่ และให้ประโยชน์
ตอบแทนสูงสุดหรือไม่
2.5.4.5.3 การตัดสินใจนั้นนําไปปฏิบัติได้หรือไม่ ในการตัดสินใจนี้ ถ้าเกิดความ
ขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของทางเลือกแต่ละทางผู้บริหารต้องจัดลําดับความสําคัญ
ของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกําหนดทางเลือกด้วยและถ้าจําเป็นอาจมีการ
กําหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่วนกรณีมีทางเลือกหลายทาง
ซึ่งอาจทําให้ผู้บริหารสับสน ก็ควรจัดกลุ่มทางเลือกที่คล้ายกันไว้ด้วย และเปรียบเทียบประเมินในแต่
ละกลุ่มทางเลือก ผู้ตัดสินใจอาจจะได้แง่ความคิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
2.5.4.6 การนําทางเลือกไปปฏิบัติ (Implementing) เมื่อผู้ตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด
แล้วก็ยังไม่อาจจะกล่าวได้ว่าการตัดสินใจนั้นมีประสิทธิภาพ จนกว่าจะได้นําการตัดสินใจนั้นมาปฏิบัติ
ให้บังเกิดผล การตัดสินใจบางเรื่องอาจดูมีเหตุมีผล ให้ประโยชน์ตอบแทนสูงสุด แต่ถ้าไม่สามารถ
นํ า มาปฏิ บั ติ ได้ หรื อ ปฏิ บั ติ แ ล้ ว เกิ ด ผลกระทบในทางลบด้ า นอื่ น ก็ ถื อ ว่ า การตั ด สิ น ใจนั้ น ไม่ มี
ประสิทธิภาพ
2.5.4.7 ติ ด ตามการดํ าเนิ น งาน (Evaluation the Results) เป็ น ขั้ น ตอนสุ ด ท้ ายของ
กระบวนการตัดสินใจ เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจนั้นนําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริง และเป็นไปตามที่
คาดไว้และหากมีปัญหาแทรกซ้อนขึ้น ผู้บริหารจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที หลักการติดตามผลมีดังนี้
29

2.5.4.7.1 ติดตามดูว่าการดําเนินการตัดสินใจได้เป็นไปตามขั้นตอนที่กําหนดไว้
หรือไม่กล่าวคือ ได้มีการวิเคราะห์และกําหนดปัญหาอย่างรอบคอบ มีการรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้
ทันท่วงที
2.5.4.7.2 ผู้ที่นําการตัดสินใจไปปฏิบัติ ได้ยอมรับการตัดสินใจและปฏิบัติด้วย
ความเต็มใจหรือไม่ การตัดสินใจนั้นสามารถปฏิบัติได้ภายในขอบเขตและทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่
2.5.4.7.3 ผลของการปฏิบัติเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ โดยถ้าสามารถแก้ไข
ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็ถือว่าการตัดสินใจนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีการเบี่ยงเบนไม่ตรง
ตามที่คาดการณ์ ก็อาจต้องมีการทบทวนการตัดสินใจใหม่อีกครั้ง ข้อสังเกตในการติดตามผลก็คือ ถ้า
หากสถานการณ์เปลี่ยนไป ผลของการดําเนินการอาจเปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะถ้าสถานการณ์ในการ
ตั ด สิ น ใจแตกต่ า งมากกั บ สถานการณ์ ใ นตอนดํ า เนิ น การ การติ ด ตามผลจึ ง ต้ อ งสะท้ อ นถึ ง การ
เปลี่ยนแปลงนี้และมีการปรับการตัดสินใจให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย
2.5.5 ขั้นตอนการตัดสินใจ
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ
2.5.5.1 การรั บ รู้ ก ารตั ด สิ น ใจ การรั บ รู้ (Perception) จะมี อิ ท ธิ พ ลในการกํ า หนด
พฤติกรรมการตัดสินใจของบุคคลให้แตกต่างกันไป โดยเฉพาะจะมีอิทธิพลในสถานการณ์การตัดสินใจ
ที่ไม่แน่นอน ข้อมูลในการตัดสินใจไม่พอเพียง และยังมีบทบาทสําคัญเมื่อจะต้องตัดสินใจเลือกทางที่
ไม่มี ข้อแตกต่างมากนัก การรับรู้เป็ นกระบวนการทางจิตวิทยา ซึ่งรับสิ่งกระตุ้น (Stimulus) ผ่าน
อวั ย วะรั บ ความรู้ สึ ก เช่ น ตา หู จมู ก ลิ้ น ผิ ว หนั ง และไปสู่ ส มองซึ่ ง ประกอบด้ ว ยความจํ า
ประสบการณ์ ในอดีต ทัศนคติ และความรู้สึก บุคคลแต่ละคนจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป
ปัจจัยที่กําหนดความสามารถในการรับรู้ ได้แก่ ความคุ้นเคยกับตัวกระตุ้น ซึ่งก็คือ ประสบการณ์ใน
เรื่องต่าง ๆ รวมทั้งบุคลิกภาพ พื้นเพวัฒนธรรม และลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล ดังนั้น
บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งที่เขาอยากจะรับรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละบุคคล เช่น นักจิตวิทยาศึกษา
วิชาการบริหารในแง่การศึกษาพฤติกรรมของแต่ละคน เป็นต้น ลักษณะของการรับรู้จะมีผลต่อการ
ตัดสินใจประสบการณ์ ที่แตกต่างกันทําให้แต่ละคนมีการตระหนักในปัญหา การระบุและวิเคราะห์
ปั ญ หา การแสวงหาข้ อมู ล ข่ าวสาร รวมทั้ งการตี ค วาม การประเมิ น ทางเลือ กและตั ด สิน ใจเลื อ ก
ทางเลื อ กที่ แ ตกต่ างกั น ออกไป การรับ รู้นั้ น อาจมี ก ารบิ ด เบื อ นได้ ซึ่ งจะมี ผ ลให้ ก ารตั ด สิ น ใจขาด
ประสิทธิภาพได้การบิดเบือนการรับรู้มี 4 ชนิด คือ
2.5.5.1.1 การบิดเบียนแบบ สเตอรไทร์ (Stereotype) เป็นการบิดเบือนที่มา
จากประสบการณ์บางอย่างแล้วเหมาว่าคงเป็นอย่างนั้นไปหมด เช่น เห็นว่าผู้ชายเป็นนักบริหารที่
ดีกว่าผู้หญิง เห็นว่าคนมีอายุมากขาดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นจริงในบางคน แต่ไมเป็นจริงเสมอ
ไปทั้งหมด
2.5.5.1.2 การบิ ดเบื อ นแบบ เฮล บั บ เฟก (Halo Buffect) เป็ น การประเมิ น
ลั ก ษณะบุ ค คลจากประสบการณ์ ที่ เคยประทั บ ใจ เช่ น เห็ น คนมาทํ า งานสม่ํ าเสมอว่า เป็ น ฉลาด
รับผิดชอบ มองคนที่ไม่ค่อยมาทํางานว่าไม่ดี เกิดเป็นอคติและเป็นการปิดบังข้อเท็จจริง ทําให้อาจมี
การตัดสินใจที่ผิดพลาด
30

2.5.5.1.3 การบิดเบือนแบบ โปรเจคชัน (Projection) เป็นการโยนความรู้สึก


นึกคิด หรือการกระทําของตนไปให้คนอื่นโดยเหมาเอาว่าคนอื่นคงมีความรู้สึกนึกคิดหรือพฤติกรรม
เช่นเดียวกับตน ซึ่งทําให้เกิดอคติในการมองปัญหาและการตัดสินใจ เช่น เห็นลูกน้องทํางานซ้ําซาก
ขาดความก้าวหน้า ก็คิดว่าลูกน้องคงเบื่อ แต่จริง ๆ ลูกน้องอาจจะชอบระบบงานเดิม และไม่ต้องการ
ความก้าวหน้าอีกก็ได้ การบิดเบือนแบบนี้รวมไปถึงการซัดทอดสาเหตุแห่งความผิดพลาดไปให้คนอื่น
ด้วย
2.5.5.1.4 การบิดเบือนแบบ เปอเคปทู ดีเฟนซี (Perceptual Defense) เป็น
การบิดเบือนที่บุคคลพยายามรักษารูปแบบแนวคิดของตนไว้ แม้ว่าข้อเท็จจริงจะแสดงความจริงที่
แตกต่างออกไปก็ไม่ยอมเปลี่ยนแนวคิด ส่งผลให้การรับรู้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เช่น เชื่อว่าคนงานไร้
ฝีมือจะไม่ฉลาด เพราะถ้าฉลาดจะไม่ใช่คนไร้ฝีมือ แต่เมื่อผลการวิจัยปรากฏว่าคนงานเหล่านี้มีความ
ฉลาด โดยมีคุณสมบัติเฉพาะตนไม่เกี่ยวกับอาชีพ ผู้ที่มีการรับรู้แบบบิดเบือนตามแนวนี้ก็ยังพยายาม
รักษาความเชื่อเดิมของตนไว้
2.5.5.2 ค่านิยมกับการตัดสินใจ ค่านิยมของผู้ตัดสินใจแต่ละคนจะมีบทบาทสําคัญต่อ
พฤติกรรมการตัดสินใจ ค่านิยมจะหมายถึงสิ่งที่คนแต่ละคนคิดว่าควรจะเป็น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ก็
ตาม และมักจะเป็นสิ่งที่บุคคลในกลุ่มมีความเห็นเหมือน ๆ กัน ค่านิยมเกิดจากกระบวนการเรียนรู้
ทางสังคม ทําให้ประสบการณ์ของแต่ละคนผิดแผกแตกต่างกันไป ค่านิยมมีผลต่อการตัดสินใจ ดังนี้
2.5.5.2.1 ค่านิยมมีคุณสมบัติในการช่วยเลือก และการจัดลาดับความสําคัญ
ของทางเลือกต่าง ๆ โดยค่านิยมจะเกิดขึ้นเพียงสนองความต้องการของคนที่จะเลือกจากทางเลือกต่าง

2.5.5.2.2 ค่านิยมมีความหลายหลายแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทําให้การ
ตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ ของแต่ละคนแตกต่างออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่านิยมของแต่
ละคนจะแตกต่างกัน ในสังคมหนึ่ง ๆ มักมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน
2.5.5.2.3 ค่านิยมเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้ โดยผ่าน
กระบวนการสะสมทางสังคม เป็นจริยธรรมที่จะมีอิทธิพลในการตัดสินใจ
2.5.5.2.4 ค่ า นิ ย มเปลี่ ย นแปลงได้ ถึ ง แม้ ว่ า บุ ค คลจะมี ค่ า นิ ย มที่ มั่ น คง ไม่
เปลี่ ย นแปลงง่ า ย ๆ และสะท้ อ นเป็ น บุ ค ลิ ก ภาพของแต่ ล ะคนก็ ต าม แต่ ค่ า นิ ย มก็ ยั ง สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามประสบการณ์
2.5.5.2.5 ค่านิยมจะกําหนดเงื่อนไข บทบาท หน้าที่ ความคาดหวังต่อตําแหน่ง
สถานภาพของแต่ละคน
2.5.5.2.6 ค่ า นิ ย มวั ด มาตรฐานตั ว เอง บุ ค คลมั ก จะใช้ ค่ า นิ ย มของตนเป็ น
มาตรฐานวัดสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ค่านิยมจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ ทั้งในการตระหนักถึง
ปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การแสวงหาทางเลือก และการตัดสินทางเลือก ซึ่งมักเป็นไปในแนวทางที่
สอดคล้องกับค่านิยมของตน นอกจากนี้ ในการนําทางเลือกไปปฏิบัติก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของ
ค่านิยมที่ผู้บริหารได้กําหนดไว้แล้วด้วย
2.5.5.3 บุคลิกภาพกับการตัดสินใจ บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะของรูปแบบแต่ละ
คนที่เป็นการผสมผสานของร่างกาย อารมณ์ สังคม ลักษณะนิสัย การจูงใจที่แสดงออกคือ คนอื่นและ
31

สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว บุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบสําคัญ 3 ประการ คือ แรงจูงใจซึ่งเป็นส่วนชัก


จูงจิตใจให้อยากทําอย่างใดอย่างหนึ่ง การรู้ถึงสิ่งที่อยู่รอบตัว และแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมของ
แต่ละบุคคล บุคลิกภาพจะมีลักษณะคงทน การเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไป โดยเป็นผลจากความ
รับรู้และสภาพแวดล้อม บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เช่น บางคนมีบุคลิกภาพกล้าได้กล้าเสีย
บางคนชอบรีรอในการตัดสินใจ บางคนชอบแก้ปัญหา บางคนรอให้ปัญหาเข้ามาเอง บางคนอาจมี
บุคลิกภาพที่ชอบคิดสร้างสรรค์ ชอบทดลอง เป็นต้น บุคลิกภาพเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจทั้งสิ้น
เช่น ผู้มีบุคลิกภาพกล้าเสี่ยงมักชอบการตัดสินใจในสถานการณ์ไม่แน่นอนและตัดสินใจได้เร็ว ขณะที่ผู้
มี บุ ค ลิ กภาพไม่ กล้ าเสี่ ย งมั กชอบการตั ดสิ น ใจในสถานการณ์ แ น่ น อนมั กชอบรีรอเพื่ อให้ ได้ ข้ อ มู ล
ทางเลือกมากที่สุดจึงตัดสินใจ
2.5.5.4 ผลประโยชน์ ซึ่งอาจกระทบต่อการพิจารณาความดีความชอบ การเพิ่มรายได้
บุคคลในหน่วยงาน การมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ตัดสินใจ
2.5.5.5 บทบาทไม่ชัดเจน ในการจัดองค์การหากไม่มีโครงสร้างที่ดีจะทําให้บทบาทไม่
ชัดเจนในการมอบหมายงานนั้ น ควรมอบทั้ งอํานาจและหน้ าที่ จึงจะช่วยให้ การตัด สิน ใจประสบ
ผลสําเร็จ
2.5.5.6 เป้าหมายในการทํางาน หลายคนอาจจะทํางานด้วยความสุข ทํางานด้วยหวัง
ผลตอบแทน ทํางานเพื่อให้สามารถสนองความต้องการของตน การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ
แต่ละคนด้วย
2.5.5.7 อํานาจบารมีเดิม เนื่องจากปัจจุบันระบบงานมีการเปลี่ยนแปลงนโนบาย การ
สับเปลี่ยนหรือโยกย้าย ผู้มารับงานใหม่อาจนําบุคคลที่ตนเชื่อถือมาด้วย บางครั้งอาจขัดกับพนักงาน
คนเดิมที่เคยอยู่ในตําแหน่งดังกล่าว
2.5.5.8 การเปลี่ยนแปลงสภาพการปฏิบัติงาน ทําให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งต้อง
มีการเปลี่ยนแปลง วิธีการ เปลี่ยนบุคลากร เปลี่ยนอํานาจในการตัดสินใจ
2.5.6 วิธีการในการตัดสินใจ
2.5.6.1 วิธีการต่าง ๆ ทั่วไปในการตัดสินใจ
2.5.6.1.1 ตัดสินใจโดยอาศัยประสบการณ์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติและทํากันเป็น
ประจํา
2.5.6.1.2 การตัดสินใจโดยการสังเกต ถือเป็นการศึกษาและหาแนวทางของแต่
ละบุคคลที่จะสนใจในสิ่งต่าง ๆ เพื่อนํามาประมวลประกอบการตัดสินใจ
2.5.6.1.3 ตัดสินใจโดยการลองผิดลองถูก การลองผิดลองถูกทําให้เราจดจําได้
รวดเร็วแต่บางครั้งต้องใช้งบประมาณสูง
2.5.6.1.4 ตัดสินใจโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่ดี เพราะมีการ
ตั้งสมมติฐาน มีการวิจัยค้นคว้าอย่างเป็นระบบ บางครั้งอาจจําเป็นต้องทดลองในห้องปฏิบัติการ
2.5.6.2 วิธีการใหม่ ๆ ในการตัดสินใจ
2.5.6.2.1 เดลฟี เทคนิคเจอร์วิธีนี้อาจใช้เวลาและบุคคลมาก โดยเริ่มจากการ
จัดกลุ่มให้มีผู้เชี่ยวชาญชํานาญการเฉพาะเรื่องที่จะตัดสินใจ ประมาณ 5 - 10 คน แต่ละคนต้องได้รับ
ปัญหาทําให้เกิดการตัดสินใจในขั้นแรก ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนจะต้องเลือกทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสม
32

แล้วส่งให้ศูนย์กลางได้รับทราบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเลือกอย่างไร ขั้นต่อไปคือ การเปลี่ยนแปลง


ทางเลือกที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนส่งมาให้ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนทราบว่าคนอื่นคิดอย่างไร จากนั้นให้
ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นเสนอทางเลือกใหม่ จนถึงจุดที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันว่าทางเลือก
ที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร
2.5.6.2.2 ฮี ริ ค ติ ก เทคนิ ค เจอร์ (Heuristic Technigue) มี ขั้ น ตอนคื อ การ
แยกแยะประเภทของปั ญ หา การแยกแยะปัญ หาใหญ่ ๆ ออกเป็นปั ญ หาย่อย และนําเทคนิ คการ
แก้ปัญหามาใช้ซึ่งบางปัญหาจะตัดสินใจเพียงครั้งเดียว โดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราสามารถ
Programลักษณะปัญหาในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อพิจารณาส่วนประกอบของปัญหา ถ้าหากจะพิจารณาโดย
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ อาจเป็นการซับซ้อน แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทํางานได้รวดเร็ว ดังนั้นการ
นําวิธีนี้มาประยุกต์ในการแก้ปัญหา จําเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ช่วยแก้ปัญหาย่อย ๆ ในปัญ หาใหญ่
เพื่อที่จะสรรหาวิธีการที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละปัญหา
2.5.7 ลักษณะของผู้ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
2.5.7.1 ค้นหา รวบรวมข้อมูลและสถิติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
2.5.7.2 วิเคราะห์และประเมินข้อมูล เพื่อความเป็นไปได้ในการตัดสินใจ
2.5.7.3 อย่ามองอะไรด้านเดียว ผู้นําต้องมองการณ์ไกล มองกว้าง มองลึก นึกถึงอนาคต
เป็นที่ตั้ง
2.5.7.4 ต้ องมี ค วามกล้าและใจป้ํ า กล้าได้ก ล้าเสี ย ตามโอกาสหรือ สถานการณ์ ที่ จะ
เกิดขึ้น
2.5.7.5 เลือกจังหวะการตัดสินใจที่เหมาะสม
2.5.7.6 การตัดสินใจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเทศะ มีการยึดหยุ่นได้
2.5.7.7 ต้องมีการประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพ
สูงสุด
2.5.7.8 ต้องมีการติดตามและประเมินผลการตัดสินใจ เพื่อจะสามารถใช้เป็นแนวทางใน
โอกาสต่อไป
2.5.8 อุปสรรคในการตัดสินใจ
2.5.8.1 แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เนื่องจากมองปัญหาเพียงผิวเผิน ไม่ได้พิจารณาปัญหา
อย่างถี่ถ้วน
2.5.8.2 เอาประสบการณ์ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ อาจผิดพลาดเพราะสถานการณ์
แวดล้อมต่างกัน
2.5.8.3 ไม่พยายามคิดหาทางเลือกมาก ๆ และเลือกทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด กลับ
หาวิธีที่ง่ายและสะดวก
2.5.8.4 มุ่งแต่ผลดีและผลเสียขั้นสุดท้าย มิได้พิจารณาส่วนย่อยของแต่ละปัญหา
2.5.8.5 ลืมนึกถึงวัตถุประสงค์ขององค์การที่มีอยู่หลายประการ มักตัดสินใจโดยคิดถึง
แต่วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง มิได้พิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์อื่นขององค์การ
อย่างใดบ้าง
33

2.5.8.6 เมื่ อมีปัญ หาที่ห าทางแก้ไขไม่ได้ นานเข้าก็เลยเลิกความคิดที่จะแก้ไขปัญ หา


นอกจากนี้แล้วลักษณะของการตัดสินใจของบุคคลในสังคมนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือตัวแปร
ที่ อ ยู่ เบื้ อ งหลั งดั งกล่ าว อาจจะขึ้ น อยู่ กั บ ปั จ จั ย ที่ เป็ น มู ล จู งใจ (Motivation Factors) และปั จ จั ย
ผลั ก ดั น (Push Factors) ทั้ งทางสั งคมและส่ วนตั ว และการตั ด สิ น ใจนั้ น ๆ อาจจะเป็ น แบบที่ ใช้
อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล (Emotional Decision Making) หรือแบบที่ใช้หลักเหตุผลประกอบในการ
ตัดสินใจ (Rational Decision Making) หรืออาจจะเป็นไปทั้งสองแบบรวมกัน
จากการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและพฤติกรรมในการตัดสินใจ สรุปได้ว่า การ
ตัดสินใจ หมายถึง การพิจารณาโดยใช้ข้อมูล หลักการและเหตุผล วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการหา
ทางเลือกที่ ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดจากหลาย ๆ ทางเลือก โดยองค์ประกอบในการตัดสินใจจะ
ประกอบไปด้วยตัวผู้ตัดสินใจ ทางเลือก และผลของทางเลือก

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.5.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจอัจฉริยะ
ภัทรศรี วอนขอพร (2555) ได้ทําการวิจัยเรื่อง ธุรกิจอัจฉริยะสําหรับสนับสนุนการตัดสินใจใน
การบริหารการเบิกจ่ายวัสดุของธุรกิจเดินเรือทะเล เป็นงานวิจัยเพื่อนําเสนอการพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ
ในการตรวจสอบ และอนุมัติการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ของบริษัท เพื่อออกรายงานสําหรับผู้บริหารใน
การเรียกดูสรุป และการออกรายงานสําหรับฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลจากคลังข้อมูลได้
นํามาใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการเบิกวัสดุ เพื่อช่วยใน การพิจารณาถึงวัสดุที่มักจะเบิก
ไปด้วยกัน เพื่อใช้แนะนําผู้เบิก เป็นการป้องกันการลืมเบิก และการพยากรณ์การเบิกวัสดุเพื่อช่วย
คาดการณ์แนวโน้มของการเบิกวัสดุในอนาคตโดยออกแบบโครงสร้างแบบดาว นอกจากนี้ วิจิตรา
พัชรกําจายกุล (2558) ยังได้เสนอ การพัฒ นาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการวางแผนการขายสินค้า
สําหรับบริษัทผู้จัดจําหน่าย ได้นําเสนอการพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการวางแผน
ด้านการขายของผู้บริหาร โดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ โดยใช้กรณีศึกษาจากฐานข้อมูลการจําหน่าย
สินค้าขนาดใหญ่ North Wind Relation Database ที่ใช้หลักการออกแบบโครงสร้างการเก็บข้อมูล
โครงสร้างแบบดาวในการวัด ประสิทธิภาพจํานวนสินค้าที่ขายได้และผลรวมของยอดขายในรายเดือน
หรือปี เพื่อการวางแผนการขายสินค้าและเอกภพ บุญเพ็ง (2553) ได้ทําการวิจัย การบูรณาการข้อมูล
เชิงพื้นที่กบระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นงานวิจัยเพื่อนําเสนอการพัฒนาระบบคลังข้อมูล สําหรับการ
ประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ
โดยผู้บริหารต้องการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติและในขณะเดียวกันก็ต้องการให้แสดงผลข้อมูลบน
แผนที่ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาระบบต่อยอดจากระบบ
ธุรกิจอัจฉริยะ โดยออกแบบโครงสร้างแบบกาแลคซี่ ซึ่งเป็นระบบที่บูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่กับระบบ
ธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อรวมความสามารถเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถเรียกดูรายงานเชิง
วิเคราะห์ในหลายมิติและแสดงแผนที่ได้ นอกจากนี้ วัฒนพงศ์ โพธิ์พึ่ง (2550) ได้ทําการวิจัยเรื่อง การ
พัฒนาระบบเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของรายการทางธุรกิจ ได้นําเสนอการพัฒนาและออกแบบ
ระบบในการวิเคราะห์ความผิดปกติด้านกระบวนการตรวจสอบความผิดปกติของแต่ละรายการบัญชี
ธนาคาร และในด้านการจัดการความเสี่ยง เพื่อติดตามพฤติกรรมการทํางานของพนักงานที่ทํารายการ
34

ผิดปกติซึ่งในการนําเสนอข้อมูลการทํา รายการบัญชีธนาคารของพนักงานนั้น ใช้รูปแบบโครงสร้าง


แบบดาวใช้เครื่องมือ Business Objects BI เป็นเครื่องมือในการวิจัย และดลฤดี ระพิสุวรรณ (2560)
ได้ทําการวิจัยเรื่อง ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวางแผนการขายสําหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์
งานวิจัยนี้ได้นําธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) มาใช้เพื่อช่วยในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการนําเสนอข้อมูลหลักในองค์กรได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว และทันต่อ
เหตุการณ์ ประกอบด้วย การสร้างคลังข้อมูลขนาดเล็ก (Data Mart) การใช้โครงสร้างแบบกาแลคซี่
(Constellation Schema) ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลขายและก่อสร้าง และส่วนการแสดงผล
รายงานที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองในการวิเคราะห์ ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้เร็ว และ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.5.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการตัดสินใจ
พูลสักดิ์ หลาบสีดา (2559) ได้นําเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงาน
บริการของสายงานเทคโนโลยีและสารสนเทศภายในบริษัท: กรณีศึกษา บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งใน
กรุงเทพมหานคร โดยปัญหาของงานวิจัยนี้ คือ กระบวนการแจ้งปัญหาสารสนเทศที่ไม่เป็นระเบียบ
ไม่สามารถตรวจสอบรายงานการแก้ปัญ หาย้อนหลังได้ สาเหตุเกิดจากช่องทางการแจ้งปัญ หาที่มี
หลายช่องทาง การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบ โดยเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยวิเคราะห์สาเหตุของ
ปัญหางานเดิมและนํามาพัฒนาเป็นระบบขอใช้บริการสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลที่ได้สามารถ
แก้ปัญ หาการแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ได้ทันที ลดระยะเวลาการแจ้งขอใช้บริการ สามารถสืบค้นข้อมูล
ย้อนหลังได้ นอกจากนี้ กําธร ศรีอุดม (2554) ได้นําเสนอเกี่ยวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สําหรับ
ผู้ใช้บริการของการท่องเที่ยวโดยปัญหาของงานวิจัยนี้คือการตัดสินใจเลือกใช้บริการของการท่องเที่ยว
จุ ด หมายที่ พั ก และสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วซึ่ งยากต่ อ การตั ด สิ น ใจโดยสาเหตุ เกิ ด จากจํ า นวนสถานที่
ท่องเที่ยว การเลือกจุดหมาย งบประมาณ โดยเสนอวิธีแก้ปัญ หาสร้างระบบบนเว็บเซอร์วิสที่ช่วย
ตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางโดยใช้หลักการจําแนกประเภทด้วยต้นไม้ตัดสินใจ ผลที่ได้ทําให้
ผู้ใช้งานสามารถช่วยเลือกจุดหมายปลายทางในสถานที่ท่องเที่ยวได้ และ อํานาจ กองสุข (2560) ได้
นําเสนอเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อช่วยมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ฝ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้ได้นําได้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาช่วยในการมอบหมายงานให้
เจ้าหน้ าที่ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสามารถเลือกบุ คลากรมารับงานได้อย่างเหมาะสมทําให้
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปแกไขงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ร้องของานได้รับการ
แกไขปัญหา จากการร้องขอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า องค์กรต่าง ๆ ได้นําระบบธุรกิจอัจฉริยะเข้ามาช่วยใน
การตัดสิ นใจ เพื่ อให้ เกิ ดการวางแผนการดําเนิ น การ นอกจากนี้ ยังสามารถนํ าข้อมู ลมาพยากรณ์
ล่วงหน้า เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวสามารถนํามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ
งานวิจัยได้ โดยสามารถนํามาพัฒนาคลังข้อมูลและออกแบบรายงานให้มีความเหมาะสมสําหรับระบบ
สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มี
รูปแบบที่เข้าใจง่ายเหมาะสําหรับผู้บริหารที่จะนําไปช่วยตัดสินใจในการวางแผนการดําเนินงานได้
*
บทที่ 3
วิธีการดําเนินการวิจัย

การศึกษาเรื่องระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา ในบทนี้จะประกอบด้วยขั้นตอนการศึกษาระบบงานเดิมจากฐานข้อมูลของบัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนํามาวิเคราะห์หาแนวทางด้วยการนําเอาระบบมาช่วย
ในการตัดสินใจ โดยนําระบบธุรกิจอัจฉริยะเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการวิเคราะห์ข้อมูลในการ
พยากรณ์สถานการณ์ในอนาคต เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทําให้เกิดข้อผิดพลาด
น้อยที่สุด เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและทําการเสนออกมาในรูปแบบรายงาน เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
โดยแบ่งขั้นตอนการดําเนินการวิจัยดังนี้

3.1**การศึกษาและรวบรวมข้อมูลระบบ
3.1.1 การวิเคราะห์ระบบงานเดิม
จากการศึกษาระบบงานเดิม พบว่าองค์กรยังขาดการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการ
จัดการข้อมูล วิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหานั่นคือการที่ต้องรวบรวมข้อมูลไว้ให้มีมาตรฐานเดียวกันและ
สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้านการวางแผน ในการศึกษาเอกสารของ
แต่ละฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่าข้อมูลของหน่วยงานมักจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบมาตรฐาน
ข้อมูลสําหรับประจําวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและมีการเลือกเก็บข้อมูลเป็น
แบบล่ าสุ ด เสมอ โดยไม่ มี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล เป็ น แบบสรุป หากผู้ บ ริ ห ารต้ อ งการรายงานต่ าง ๆ เช่ น
รายงานงบประมาณ รายงานจํานวนนักศึกษา รายงานการรับสมัครผู้บริหารจะทําการขอรายงานมาที่
เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา
ซึ่ งเจ้ าหน้ าที่ แ ต่ ล ะคนนั้ น ต้ อ งไปสรุป จากไฟล์ ที่ ต นมี เพื่ อ นํ า เสนอผู้ บ ริห าร ซึ่ งหากไม่ พ บข้ อ มู ล ที่
ผู้บริหารต้องการก็ต้องขอความช่วยเหลือไปยังกองงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการจัดเก็บเอกสารที่มี
ปริมาณมากทําให้ใช้เวลานานในการจัดหา และยังสิ้นเปลืองทรัพยากร เสียพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร
และเสียเวลาในการปฏิบัติงานนั้น ๆ ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลออกมาแล้วนั้นจะต้องนํามาสรุปในโปรแกรม
ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และนํามาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงนําเสนอให้ผู้บริหาร
รับทราบในรูปแบบรายงานสรุปของแต่ละฝ่ายงาน ซึ่งยังไม่เอื้ออํานวยต่อการนําไปใช้ในการวางแผน
เพื่อตัดสินใจได้
36 
 

ภาพที่ 3-1 ระบบงานเดิมของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

3.1.2 การวิเคราะห์ออกแบบระบบใหม่
จากการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ทําการศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนํามาพัฒนาระบบเพื่อให้
สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงได้ทําการวิเคราะห์และออกแบบคลังข้อมูล เพื่อจัดทําเป็น
ระบบธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถแจ้งความต้องการรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ในส่วนงานที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเรียกดูรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทันที และยังสามารถดูรายงานได้ทุกที่
ทุกเวลาเมื่อผู้บริหารต้องการ ซึ่งในระบบได้สร้างคลังข้อมูลที่ได้สร้างความสัมพันธ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยสามารถนํ ารายงานที่ ได้จ ากระบบไปทํ าการวิเคราะห์ ตามที่ ต้ องการ สามารถลดเวลาในการ
ปฏิบัติงานได้ และทําให้เกิดประสิทธิภาพในการะบวนการทําขององค์กรต่อไป

ภาพที่ 3-2 ระบบงานใหม่ของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


37 
 
ทั้งนี้ คุณลักษณะของรายงานที่ต้องการสามารถออกแบบและกําหนดคุณลักษณะของรายงาน
ไว้ 3 ส่วน ดังนี้
3.1.2.1 มิติของข้อมูล (Dimensions Data Model)
มิ ติ ข องข้ อ มู ล (Dimensions Data Model) เมื่ อ นํ ามาวิ เคราะห์ ห าความสั ม พั น ธ์ สามารถ
กําหนดระดับชั้นของข้อมูลในแต่ละมิติได้ดังนี้
ก) มิติด้านนักศึกษา งานวิจัย และสถานภาพนักศึกษา
ข) มิติด้านช่วงเวลา ได้แก่ ปี และเดือน
3.1.2.2 ตัววัดเชิงปริมาณ (Measure) คือ จํานวนนักศึกษา
3.1.2.3 รูปแบบการนําเสนอข้อมูล (Data Visualization)
รูปแบบการนําเสนอข้อมูล (Data Visualization) สามารถกําหนดลักษณะที่สําคัญของรายงาน
ได้ดังนี้
ก) สามารถนําเสนอในรูปแบบภาพแผนภูมิ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบได้
ข) สามารถเจาะลึก (Drill Down) ข้อมูลลงไปดูรายละเอียดในแต่ละชั้นของ
ข้อมูลได้

3.2 การออกแบบระบบ
เป็นการออกแบบระบบที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยศึกษาโครงสร้างข้อมูลของฝ่ายงานวิชาการ
ได้แก่ งานรับสมัครนักศึกษา งานวิจัย งานประกันคุณภาพ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา รวมถึงความต้องการของผู้ใช้งานและปัญหาที่พบ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้จัดเก็บลง
คลังข้อมูลของระบบธุรกิจอัจฉริยะ และพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของรายงานแบบหลายมิติ โดยแบ่ง
ขั้นตอนการออกแบบระบบ ได้ดังนี้
จากการวิเคราะห์กระบวนการทํางานของบัณฑิตวิทยาลัยฝ่ายวิชาการ พบว่ามีข้อมูลที่สัมพันธ์
กันในหลายตาราง และเมื่อตรวจสอบข้อมูลในแต่ละตารางที่เกี่ยวข้องกันแล้วมีความจําเป็นต่อการ
วิเคราะห์ ซึ่งสามารถสรุปตารางข้อมูลที่ใช้การวิเคราะห์ได้ดังตารางที่ 3-1

ตารางที่ 3-1 รายชื่อตารางที่นํามาดึงข้อมูลเพื่อสร้างคลังข้อมูล


ลําดับ ชื่อตาราง อธิบายตาราง ลักษณะตาราง
1 Dissemin ตารางการเผยแพร่งานวิจัย Master Table
2 Status ตารางสถานะนักศึกษา Master Table 
3 Branch ตารางสาขาวิชา Master Table
4 Faculty ตารางหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา Master Table 
38 
 
ตารางที่ 3-1 (ต่อ)
ลําดับ ชื่อตาราง อธิบายตาราง ลักษณะตาราง
5 Degree ตารางระดับการศึกษา Master Table
6 Career ตารางอาชีพของนักศึกษา Master Table 
7 Student ตารางนักศึกษา Master Table 
8 Transaction ตารางนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา Transaction Table

ตารางที่ 3-2 ตารางการเผยแพร่งานวิจัย


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 DisseminID nvarchar (255) PK รหัสการเผยแพร่งานวิจัย
2 Dissemin nvarchar (255) - การเผยแพร่งานวิจัย

ตารางที่ 3-3 ตารางสถานะนักศึกษา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 statusID nvarchar (255) PK รหัสสถานะนักศึกษา
2 Status nvarchar (255) - สถานะนักศึกษา

ตารางที่ 3-4 ตารางสาขาวิชา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 branchID nvarchar (255) PK รหัสสาขาวิชา
2 branch nvarchar (255) - สาขาวิชา
3 facultyID nvarchar (255) FK รหัสหลักสูตร

ตารางที่ 3-5 ตารางหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 facultyID nvarchar (255) PK รหัสหลักสูตร
2 faculty nvarchar (255) - หลักสูตร
3 branchID nvarchar (255) FK รหัสสาขาวิชา
4 degree nvarchar (255) - ระดับการศึกษา

ตารางที่ 3-6 ตารางระดับการศึกษา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 degreeID nvarchar (255) PK รหัสระดับการศึกษา
2 degree nvarchar (255) - ระดับการศึกษา
39 
 
ตารางที่ 3-7 ตารางอาชีพของนักศึกษา
ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 careerID nvarchar (255) PK รหัสอาชีพ
2 career nvarchar (255) - อาชีพ
3 time nvarchar (255) - ระยะเวลาศึกษา

ตารางที่ 3-8 ตารางนักศึกษา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 studentID nvarchar (255)  PK รหัสนักศึกษา
2 firstName nvarchar (255)  - ชื่อ
3 LastName nvarchar (255)  - นามสกุล
4 DOB nvarchar (255)  - วันเกิด
5 HomeAdd nvarchar (255)  - ที่อยู่
6 Province nvarchar (255)  - จังหวัด
7 PostalCode nvarchar (255)  - รหัสไปรษณีย์
8 Gender nvarchar (255)  - เพศ
9 career nvarchar (255)  FK อาชีพ

ตารางที่ 3-9 โครงสร้างตารางนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา


ลําดับ ชื่อ ชนิดข้อมูล Key คําอธิบาย
1 studentID nvarchar (255)  PK รหัสนักศึกษา
2 firstName nvarchar (255)  - ชื่อ
3 LastName nvarchar (255)  - นามสกุล
4 facultyID nvarchar (255)  FK รหัสหลักสูตร
5 Yearstudy nvarchar (255)  - ปีที่เข้าศึกษา
6 monthEND nvarchar (255)  - เดือนที่จบการศึกษา
7 YearEND nvarchar (255)  - ปีที่สําเร็จการศึกษา
8 statusID nvarchar (255)  FK รหัสสถานะนักศึกษา
9 DisseminID nvarchar (255)  FK รหัสการเผยแพร่งานวิจัย
10 Dissemin nvarchar (255)  - การเผยแพร่งานวิจัย

จากรายชื่อตารางที่อยู่ในคลังข้อมูลสามารถที่จะนํามาเขียนเป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน
ระบบได้ โดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ดังแสดงในภาพที่ 3-3
40 
 

ภาพที่ 3-3 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล


จากรายละเอียดตารางข้อมูลที่เกี่ยวข้องข้างต้น สามารถออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลของ
ระบบธุรกิจอัจฉริยะให้อยู่ในรูปแบบของ Schema โดยสร้างความสัมพันธ์ของตารางในคลังข้อมูลเป็น
แบบเกล็ดหิมะ (Snowflake Schema) ดังนี้

ภาพที่ 3-4**การออกแบบคลังข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงาน
ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในรูปแบบเกล็ดหิมะ
41 
 
3.3 การพัฒนาระบบ
การในการพัฒนาระบบนี้ ในขั้นตอนนี้เป็นการสร้างฐานข้อมูลตามแบบจําลองข้อมูล โดยนํามา
แปลงให้อยู่ในรูปแบบของคลังข้อมูล (Data Warehouse) ได้ใช้รูปแบบโครงสร้างแบบเกล็ดหิ ม ะ
(Snowflake Schema) และใช้โปรแกรมในการจัดการคลังข้อมูลด้วย Microsoft SQL Server 2017
ส่ ว นการสร้ า ง Cube และ Dimension ใช้ โปรแกรม Microsoft SQL Server Analysis Services
ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลออกมาในรูปแบบรายงานด้วยธุรกิจอัจฉริยะ (Business
Intelligence) ผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องมือ Microsoft Power BI เป็นชุดเครื่องมือสําหรับออกรายงาน
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบหน้าจอเป็นกราฟเส้น กราฟแท่ง แผนภูมิวงกลม ตารางข้อมูล
เพื่อให้ง่ายต่อการเห็นรายงานในหลายรูปแบบ

B B
   

B B
 

ภาพที่ 3-5 ภาพหน้าจอแสดงผลลัพธ์ (A) แสดงชื่อรายงาน (B) แสดงกราฟประเภทต่าง ๆ

3.4 การทดสอบระบบ
การทดสอบระบบ ผู้ จั ด ทํ า ได้ ทํ า การทดสอบการทํ า งานของระบบโดยรวมทั้ ง หมดว่ า มี
กระบวนการทํางานถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ และเป็นการทดสอบที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับระบบ หลังจากนั้นได้ทําการให้ผู้ใช้งาน จํานวน 10 ท่าน ได้ทําการทดลองการใช้ระบบเพื่อ
ประเมิ น ความพึ งพอใจ ซึ่ งมี ผ ลความพึ งพอใจอยู่ ในระดี บ ดี (ค่ า เฉลี่ ย เท่ า กั บ 4.07 และค่ าส่ ว น
เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64)

3.4 การประเมินระบบ
3.4.1 การประเมินความพึงพอใจของระบบ
3.4.1.1 ลักษณะของแบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจ แบ่งออก 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อคําถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน ได้แก่ ชื่อ นามสกุลผู้ประเมิน ตําแหน่งผู้
ประเมิน ระดับการศึกษาผู้ประเมิน
42 
 
ส่วนที่ 2 ข้อคําถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการใช้งาน
3.4.1.2 ด้านการประเมินความพึงพอใจต่อระบบโดยการให้คะแนนตั้งแต่ 1 – 5 ความหมาย
ของคะแนนการประเมิน ดังแสดงในตารางที่ 3-10

ตารางที่ 3-10 เกณฑ์การประเมินความพึงพอใจของระบบ


ระดับการให้คะแนน ความหมาย
5 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
3 ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
2 ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
1 ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด

3.4.1.3 การพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของผู้ประเมินความพึงพอใจของระบบ มีช่วงคะแนนของ


การประเมิน ค่าเฉลี่ยสามารถแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังแสดงในตาราง 3-11

ตารางที่ 3-11 เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบ


ระดับคะแนน ความหมาย
เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ
ดีมาก 4.51 – 5.00 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ดี 3.51 – 4.50 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ปานกลาง 2.51 – 3.50 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
พอใช้ 1.51 – 2.50 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
ต้องปรับปรุง 1.00 – 1.50 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด

3.4.1.4**การรวบรวมข้ อมู ลการประเมิ นด้ วยวิ ธี การทางสถิ ติ แบบง่าย ประกอบด้ วย


ค่าต่าง ๆ ดังนี้
ก)**ค่าเฉลี่ย (Mean) คือผลรวมของข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมแบบประเมิน
แล้วหารด้วยจํานวนตัวอย่างข้อมูล โดยแสดงดังสมการที่ 3 – 1

(3-1)
43 
 
เมื่อกําหนดให้
x ** คือ ค่าเฉลี่ยรวมของหัวข้อที่ประเมิน
∑x คือ ผลรวมของหัวข้อที่ประเมินที่ได้จากผู้ประเมิน
คือ จํานวนผู้ประเมินทั้งหมดที่ประเมินงานวิจัย

ข)**ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คือค่าที่วัดการกระจายของ


กลุ่มข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมแบบประเมิน โดยแสดงดังสมการที่ 3 – 2

(3-2)

เมื่อกําหนดให้
S. D.** คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑x คือ ค่าที่ได้จากการประเมิน
X คือ ค่าเฉลี่ยรวมของหัวข้อที่ประเมิน
N คือ จํานวนผู้ประเมินทั้งหมดที่ประเมินงานวิจัย
บทที่ 4
ผลการวิจัย
สารนิพนธ์นี้ได้ดําเนินการออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อใช้รายงานข้อมูลเชิง
วิเคราะห์แบบหลายมิติ (Multi-dimension Data Analysis) โดยใช้กรณีศึกษาจากข้อมูลจากบัณฑิต
วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุ นั น ทา โดยแบ่ ง ผลการดํ า เนิ น งานออกเป็ น 2 ส่ ว น ซึ่ ง มี
รายละเอียดดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาระบบ
4.2 ผลการประเมิน

4.1**ผลการพัฒนาระบบ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ มีหน้าจอเข้าสู่ระบบ ดังภาพที่ 4-1


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะประกอบด้วย ระบบการแสดงผลข้อมูลที่เป็นลักษณะรายงาน
ทางธุรกิจสําหรับผู้บริหารซึ่งประกอบด้วย รายงานการวิเคราะห์จํานวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา
รายงานการวิเคราะห์สถานภาพนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา รายงานการวิเคราะห์การเผยแพร่งานวิจัย
ในแต่ละสาขาวิชา และรายการการวิเคราะห์การเปรียบเทียบจํานวนนักศึกษาและจํานวนผู้สําเร็จ
การศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 4-1

ภาพที่ 4-1**ภาพรวมของรายงานในด้านจํานวนนักศึกษา สถานภาพนักศึกษา การเผยแพร่


งานวิจัย และการเปรียบเทียบจํานวนนักศึกษาและจํานวนผู้สําเร็จการศึกษา
45 
 
จากภาพที่ 4-1 เป็ น การนํา เสนอข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ภาพใหญ่ ใ นแต่ ละด้าน เพื่อศึกษาข้อมูลใน
ฝ่ายวิชาการและใช้เป็นแนวทางในการวางแผน และกําหนดนโยบายในการผลิตบัณฑิต ตลอดจนการ
ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในด้านต่าง ๆ

4.1.1 กราฟแสดงผลการวิเคราะห์
แสดงให้เห็นถึงการนําระบบ Business Intelligence ด้วย Program Power BI มาวิเคราะห์
เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจได้ดังนี้
4.1.1.1 จํานวนนักศึกษาเมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชาตั้งปี 2555- 2559 โดยนําผลรวม
ของจํานวนนักศึกษาของแต่สาขาวิชามาจําแนกตามกลุ่ม โดยแสดงรูปแบบเป็นแผนภูมิดังนี้

ภาพที่ 4-2 รายงานจํานวนนักศึกษาปี 2555-2559

จากภาพที่ 4-2 เป็นแผนภูมิรายงานจํานวนนักศึกษาเปรียบเทียบตามสาขาวิชา ตั้งแต่ปี 2555-


2559 โดยข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงจํานวนนักศึกษาในบัณฑิตศึกษาแยกตามระดับการศึกษา เพื่อ
การกําหนดเป้าหมายจํานวนรับนักศึกษา และเพื่อใช้ในสนับสนุนแผนในการปรับปรุงจํานวนรับ การ
ปรับปรุงสัดส่วนจํานวนรับนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในอนาคต

4.1.1.2 จํานวนสถานภาพนักศึกษาเมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชาตั้งปี 2555- 2559 โดย


นําผลรวมของจํานวนนักศึกษาของแต่สาขาวิชามาจําแนกตามกลุ่ม โดยแสดงรูปแบบเป็นแผนภูมิดังนี้
46 
 

ภาพที่ 4-3 รายงานจํานวนนักศึกษาสถานภาพต่าง ๆ ของนักศึกษา ปี 2555-2559


จากภาพที่ 4-3 แสดงสถานภาพของนักศึกษาตั้งแต่ปี 2555-2559 เพื่อวิเคราะห์อัตราคงอยู่
ของนั ก ศึ ก ษา และเพื่ อ หาสาเหตุ ข องการเปลี่ ย นแปลงที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การคงอยู่ ข องนั ก ศึ ก ษาใน
มหาวิทยาลัย ว่ามีนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาจํานวนเท่าใด และพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา และสําเร็จ
การศึกษาเท่าใด เพื่อสนับสนุนการวางแผนให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
4.1.1.3 จํานวนการเผยแพร่ผลงานวิจัยเมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชาตั้งปี 2555- 2559
โดยนําผลรวมของจํานวนนักศึกษาของแต่สาขาวิชามาจําแนกตามปีและสาขา โดยแสดงรูปแบบเป็น
แผนภูมิดังนี้

ภาพที่ 4-4 รายงานการเผยแพร่งานวิจัย ปี 2555 – 2559


47 
 
จากภาพที่ 4-4 ภาพรวมของการเผยแพร่งานวิจัย แสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่งานวิจัยโดยรวม
ในแต่ละสาขาวิชา ภาพรวมของการเผยแพร่งานวิจัยสามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไข
ส่งเสริม ของผู้เรียนโดยตรงและนําผลไปวางแผนกลยุทธ์ให้นักศึกษาไปเผยแพร่งานวิจัยในระดับที่
สูงขึ้น

4.1.1.4 จํานวนนักศึกษาเมื่อรับเข้าเปรียบเทียบกับจํานวนนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษา
โดยเปรียบเทียบตามสาขาวิชาตั้งปี 2555 - 2559 โดยนําผลรวมของจํานวนนักศึกษาของแต่สาขาวิชา
มาจําแนกตามกลุ่ม โดยแสดงรูปแบบเป็นแผนภูมิดังนี้

ภาพที่ 4-5 รายงานจํานวนนักศึกษารับเข้ากับจํานวนนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษา ปี 2555 - 2559

จากภาพที่ 4-5 ภาพรวมการเปรี ย บจํ า นวนนั ก ศึ ก ษารั บ เข้ า กั บ จํ า นวนนั ก ศึ ก ษาที่ สํ า เร็ จ
การศึกษา แสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบนักศึกษาใหม่กับนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาโดยรวมในแต่
ละหลักสูตร เพื่อนําข้อมูลมาวางแผนผลักดันให้นักศึกษาสําเร็จการศึกษาตามแผนที่ศึกษา
48 
 
4.1.1.5 ผลของการแสดงรายงานบนอุปกรณ์พีซีและโทรศัพท์แสดงดังภาพ 4-6 และ 4-7

ภาพที่ 4-6 การแสดงรายงานบนอุปกรณ์พีซี

ภาพที่ 4-7 การแสดงรายงานบนโทรศัพท์มอื ถือ

จากภาพที่ 4-6 และ 4-7 การแสดงรายงานบนอุปกรณ์ซีพีและโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้บริหาร


สามารถเปิดดูรายงานได้ทุกที่ทุกเวลา
49 
 
4.2 ผลการประเมิน
4.2.1 การประเมินความพึงพอใจ
ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งานระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ การทดสอบระบบผู้จัดทํา
ได้ทําการทดสอบโดยทดสอบความสมบูรณ์ของระบบโดยทดลองกับผู้ใช้งานจํานวน 10 ท่าน ซึ่งผล
การประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้

ตารางที่ 4-1 ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งาน


ความพึงพอใจ
หัวข้อที่ประเมิน
x S.D. ความหมาย
ด้านความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4.10 0.61 ดี
ด้านความถูกต้องของระบบ 4.20 0.68 ดี
ด้านการใช้งานของระบบ 3.90 0.63 ดี
ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจ 4.07 0.64 ดี

ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบได้ทําการทดสอบการใช้งานจริงจากแบบสอบถามของ
กลุ่มผู้ใช้งาน 10 คน และแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถของระบบสนับสนุน
การตัดสินใจ ด้านความถูกต้องของระบบ และด้านการใช้งานของระบบ ผลการประเมินความพึงพอใจ
ของระบบโดยผู้ใช้งานดังที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยรวมโดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.07 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 ซึ่งแสดงว่าผู้ใช้งานมีการยอมรับและมีความพึง
พอใจในการใช้งานอยู่ในระดับดี
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ปั จ จุ บั น การวางแผนทางกลยุ ท ธ์ ข องหน่ ว ยงานจํ า เป็ น ต้ อ งใช้ ข้ อ มู ล มากมาย ซึ่ ง การ


วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านต่าง ๆ นั้นจะต้องทันกับเหตุการณ์ซึ่งมีข้อมูลเกิดขึ้นเป็นประจําทุกวันการจัด
ทํารายงาน จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง และมีความยุ่งยาก ดังนั้นหลายหน่วยงานจึงได้นําระบบธุรกิจ
อัจฉริยะ (Business Intelligence Systems) ซึ่งเป็นกลุ่มของซอฟต์แวร์ (Software) ที่นําข้อมูลที่มี
อยู่ เพื่อจัดทํารายงานในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ และตรงตามความ
ต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งใช้สําหรับวิเคราะห์ข้อมูลของงานในมุมมองต่าง ๆ ตามแต่ละแผนก เช่น
วิเคราะห์การดําเนินงานของหน่วยงาน เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสําหรับผู้บริหาร เช่น วิเคราะห์
และวางแผนการขาย การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจําหน่าย วิเคราะห์สินค้าที่ทํากําไรสูงสุด
ขาดทุ นต่ํ าสุด เพื่ อการวางแผนงานด้ านการตลาดและการผลิต วิเคราะห์ ปั จจัยที่ มีผลกระทบต่ อ
ยอดขายของสินค้า วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ธุรกิจอัจฉริยะยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้านการ
ใช้งานง่ายโดยสามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถามตอบ
คําถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยํา ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก
สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทําการวิเคราะห์

5.1 สรุปผลการวิจัย
จากการนํ าระบบธุรกิ จอั จฉริ ยะมาประยุ กต์ ใช้ ในการสนั บสนุ นการตั ดสิ นใจ ของบั ณฑิ ตวิ ทยาลั ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยนําข้อมูลในฝ่ายวิชาการมาจัดทําเป็นคลังข้อมูล และประยุกต์
เป็นธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นผลทําให้การทํางานในฝ่ายวิชาการ
เป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และสามารถนําไปวิเคราะห์
และบริ ห ารจั ด การการทํ างานได้ อ ย่ างมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พร้อ มทั้ งยั งลดขั้ น ตอนในการทํ างานของ
บุ ค ลากรที่ จ ะต้ อ งจั ด ทํ า รายงานเสนอแก่ ผู้ บ ริ ห ารลงได้ ด้ ว ย ทํ า ให้ ก ารรายงานต่ อ ผู้ บ ริ ห าร
ถู ก ต้ อ งแม่ น ยํ า รวดเร็ ว ผู้ บ ริ ห ารสามารถที่ จ ะใช้ โปรแกรมในการเลื อ กข้ อ มู ล ที่ ต้ อ งการขึ้ น มา
วิ เคราะห์ ไ ด้ ด้ ว ยตนเอง เนื่ อ งจากเป็ น การใช้ โปรแกรมที่ ใ ช้ ง านง่ า ย คื อ Microsoft Power BI
จึงไม่จําเป็นต้องรอให้บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ รวบรวมข้อมูล และจัดทําเป็นรายงานที่ยุ่งยากอีกต่อไป
จึงทําให้เกิดผลที่น่าพอใจโดยสามารถสร้างรายงานที่จะนําเสนอผู้บริหารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจได้
หลากหลายรูปแบบ
การทดสอบความพึงพอใจของผู้ใช้งานได้ใช้ข้อมูลของฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2559 โดยเลือกเฉพาะข้อมูลด้านนักศึกษา การเผยแพร่งานวิจัย และสถานภาพ
ของนักศึกษา ทั้งนี้ได้ทดสอบความพึงพอใจของระบบโดยผู้ใช้งานจํานวน 10 คน ผลการทดสอบ
ความพึงพอใจโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับดี ( x = 4.07, S.D. = 0.64) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ
51 
 
ด้านความถูกต้องของระบบ ( x = 4.20, S.D. = 0.68) รองลงมาคือ ด้านความสามารถของระบบ
สนับสนุนการตัดสินใจ ( x = 4.10, S.D. = 0.61) และด้านการใช้งานของระบบ ( x = 3.90, S.D. =
0.63) ตามลําดับ

5.2 อภิปรายผล
ผลการศึ ก ษา เรื่ อ ง “ระบบสนั บ สนุ น การตั ด สิ น ใจในการบริห ารงานของบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” มีประเด็นสําคัญที่นํามาอภิปรายผลการวิจัยดังนี้ ในมุมมองของการ
จัดทําคลังข้อมูลเพื่อรองรับข้อมูลหลายมิติ ซึ่งผลการประเมินการใช้ระบบจากผู้ใช้งานจํานวน 10 คน
พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี แสดงว่าระบบสามารถเป็นแนวทางในแก้ปัญหา
ระบบงานเดิมได้และลดระยะเวลาการทํางานได้ การประยุกต์ใช้ธุรกิจอัจฉริยะในการช่วยสนับสนุน
การตัดสินใจนับว่าสามารถแก้ปัญหาระบบงานเดิมในการเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้อย่างดี ส่งผลให้
สามารถดําเนินงานได้รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนที่เกิด
จากความเสียหายต่าง ๆ ลงได้ ซึ่งผลที่ได้รับนับได้ว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่งผลให้การดําเนินงานมี
ความคล่องตัวขึ้น ผู้บริหารมีค วามพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ทํ าให้ การบริหารงานเป็นไปในแนวทางที่ดี
สอดคล้องกับ ชนากานต์ (2556) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของคลังข้อมูลไว้ว่า คลังข้อมูลที่ออกแบบมานั้น
ก็เพื่อมุ่งเน้นในการจัดเก็บโครงสร้างเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากหัวข้อในธุรกิจประเภทนั้น ๆ ได้ โดยแบ่งข้อมูลหรือสรุปรวมข้อมูล
มาวิเคราะห์ตามความต้องการได้ต ลอดเวลาและทั น การณ์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้บริหารในการเรียกดูข้อมูลที่มีการนําเสนอข้อมูลหลายมิติ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
อย่ างรวดเร็ว ส่ วนในด้ านมุ ม มองของธุร กิ จอั จฉริย ะ จากแนวคิ ด ที่ ว่าธุร กิ จ อั จ ฉริย ะเป็ น ระบบที่
รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ขององค์กรให้ทําการ
ตัดสินใจได้ดีขึ้น ผลการใช้ธุรกิจอัจฉริยะทําให้การดําเนินงานขององค์กรทําได้ดีขึ้น ผลที่ได้คือ ผู้บริหาร
ทราบถึ ง ข้ อ มู ล เชิ ง ลึ ก และความหลากหลายของรายงานจากระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
ดริลล์ดาวน์ และโรลล์อัป เช่น 1) รายงานการวิเคราะห์จํานวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา 2) รายงาน
การวิเคราะห์สถานภาพนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา 3) รายงานการวิเคราะห์การเผยแพร่งานวิจัยใน
แต่ละสาขาวิชา และ 4) รายงานการวิเคราะห์การเปรียบเทียบจํานวนนักศึกษาและจํานวนผู้สําเร็จ
การศึกษา นอกจากนี้ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการสนับสนุนการตัดสินใจโดยนําธุรกิจ
อัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ ศรีสมรัก (2550) ที่กล่าวว่าความพึงพอใจของ
ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถสะท้อนคุณภาพของระบบสารสนเทศออกมาได้ ถ้า
ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจและแสดงออกให้เห็นถึงการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางตรงกัน
ข้ามถ้าผู้ใช้งานไม่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานรายนั้นจะ
ลดลง โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ทําให้ทราบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี
52 
 
5.3 ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นํามาใช้ในสารนิพนธ์นี้เป็นข้อมูลในฝ่ายวิชาการเพียงเท่านั้น ทําให้ยังไม่มี
ข้อมูลครอบคลุมในฝ่ายอื่น อาจทําให้การจัดทํารายงานยังไม่ครบทุกฝ่าย ทั้งนี้ควรนําข้อมูลในฝ่ายต่าง ๆ
มาวิเคราะห์ให้คลอบคลุมทั้งหน่วยงาน เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรต่อไป
53

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรองแก้ว อยู่สุข. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
กวี วงศ์พุฒ. ภาวะผูน้ ํา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี, 2539.
กําธร ศรีอุดม. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสําหรับผู้ใช้บริการเว็บเซอร์วิสการท่องเที่ยวโดยใช้
ต้นไม้การตัดสินใจ. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
2554.
ชนากานต์ เหลี่ยมโลก. คลังข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การส่งออกสินค้า. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,
2556.
ดลฤดี ระพิสุวรรณ และศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์. ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวางแผนการขายสําหรับอุตสาหกรรม
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ . สารนิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต ภาควิ ช าเทคโนโลยี ส ารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2560.
ถกลวรรณ อุ ดมศรี. ข่ าวกรองธุ รกิ จอัจ ฉริยะผ่ านอุ ป กรณ์ โมบายบนระบบคลาวด์ กรณี ศึ กษา
ไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
บํารุง สังข์ขาว. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้านปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ามาท่องเที่ยว
ในอําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
พิพัฒน์ เกียรติ์กมลรัตน์. ระบบธุ ร กิ จ อั จ ฉริ ย ะเพื่อสนับสนุนงานขายของผู้บริหาร กรณีศึกษา
กลุ่มธุรกิจค้าปลีก. สารนิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560.
พูลศักดิ์ หลาบสีดา. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของสายงานเทคโนโลยี
และสารสนเทศภายในบริษัท: กรณีศึกษา บริษัทประกนภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2559.
ภัทรศรี วอนขอพร และสมชาย เล็กเจริญ. ธุรกิจอัจฉริยะสําหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหาร
การเบิกจ่ายวัสดุของธุรกิจเดินเรือทะเล. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยรังสิต, 2555.
วรัญญู ยาระณะ. การพัฒนาคลังข้อมูลการผลิตอาหารพร้อมรับประทานแช่แข็งโดยใช้เพนทาโฮ.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2556.
วัฒ นพงศ์ โพธิ์พึ่ง. การพั ฒ นาระบบเพื่ อวิเคราะห์ความผิดปกติ ของรายการธุรกิจ กรณี ศึกษา:
รายการทางบั ญ ชี ธ นาคาร. สารนิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต ภาควิ ช าเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2550.
54

วารุณี แต้มคู และกฤษณะ ไวยมัย. ชุดเครื่องมือโอเพนซอร์ระบบธุรกิจอัจฉริยะสําหรับธุรกิจการศึกษา.


การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (หน้า 380-389). สงขลา :
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2560.
วิจิตรา พัชรกําจายกุล และนิเวศ จิระวิชิตชัย. การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการวางแผนการขาย
สินค้าสําหรับบริษัทผู้จัดจําหน่าย. Sci. & Tech. RMUTT J. 5(2) : 155-164, 2558.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมนิติ, 2535.
ศรี ส มรั ก อิ น ทุ จั น ยงค์ . ระบบสารสนเทศเพื่ อการจั ด การ. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 2. กรุ ง เทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
ศิริพร พง์ศรีโรจน์. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,
2540.
สุภาภรณ์ นุ่นกระจาย. ศึกษาแนวทางการนําระบบ Business Intelligence ด้วย COGNOS Program
มาใช้ ในธุรกิจสถาบั นการเงิน กรณี ศึกษา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จํากัด.
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2551.
อํานาจ กองสุข และณัฐวี อุตกฤษฏ์. การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อช่วยมอบหมายงาน
ให้ เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยเทคโนโลยี ส ารสนเทศ. สารนิ พ นธ์วิท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต ภาควิ ช า
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2560.
เอกภพ บุญเพ็ง, อนุสรณ์ เบญจธนรัตน์, สุรางคนา ธรรมลิขิต และพีระศักดิ์ เพียรประสิทธิ์. การบูรณาการ
ข้อมูลเชิงพื้นที่กับระบบธุรกิจอัจฉริยะ. ชลบุรี : สํานักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2553.

ภาษาอั ง กฤษ
Gartner. Gartner Predicts Three Big Data Trends for Business Intelligence. from
http://www.forbes.com/sites/gartnergroup/2015/02/12/gartner-predicts-three-
big-datatrends-for-business-intelligence/, 2015.
Gounder, M. S., Iyer, V. V., & Al Mazyad, A. A survey on business intelligence tools for
university dashboard development. In Big Data and Smart City ( ICBDSC) ,
2016 3rd MEC International Conference on (pp. 1-7). IEEE, 2016.
Marinheiro, A., & Bernardino, J. Analysis of open source Business Intelligence suites. In
Information Systems and Technologies ( CISTI) , 2013 8th Iberian
Conference on (pp. 1-7). IEEE, 2013.
Wikipedia. Business Intelligence. from
https://en.wikipedia.org/wiki/Business_intelligence, 2011.
55

ภาคผนวก ก
 

แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ
56

แบบประเมินความคิดเห็น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โดย
นางสาวสุวรรณี ปุญสิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรัตน์ โสดานิล
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คําชี้แจง
1. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของ
ผู้ใช้งานที่มีต่อการทํางานของระบบ
2. แบบประเมินความพึงพอใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ข้อคําถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน ได้แก่ ชื่อ นามสกุลผู้ประเมิน
ตําแหน่งผู้ประเมิน ระดับการศึกษาผู้ประเมิน
ส่วนที่ 2 ข้อคําถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ
ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
3. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ประกอบด้วย ส่วนขอแบบสอบถามและส่วน
ของระดับคุณภาพ ขอความกรุณาให้ท่านทําเครื่องหมาย (√) ลงในช่องระดับคุณภาพ โดยเกณฑ์การ
ให้คะแนนมีดังนี้
5 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
3 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับกลาง
2 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
1 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
57

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปขอผู้ประเมิน
ผู้ประเมินชื่อ...........................................................นามสกุล............................................................
ตําแหน่ง...........................................................................................................................................
สถานที่ทํางาน..................................................................................................................................
ระดับการศึกษา
ปริญญาตรี ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ปริญญาโท ปริญญาเอก

ส่วนที่ 2 การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ระดับคุณภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
1. ด้านความสามารถของระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
1.1 มีการจัดหมวดหมู่การใช้งานได้อย่างชัดเจน
1.2 มีเมนูการใช้งานง่าย ไม่ซบั ซ้อน
1.3 การเข้าถึงระบบทําได้ง่าย รวดเร็ว
1.4 ระบบมีการแสดงผลข้อมูลที่รวดเร็ว
2. ด้านความถูกต้องของระบบ
2.1 ข้อมูลในระบบครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งาน
2.2 ข้อมูลในระบบมีความถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือ
2.3 ระบบแสดงข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วน
2.4 รายงานผลในระบบฯ สามารถนําไปเป็นข้อมูลการตัดสินใจ
ของผู้บริหารได้
3. ด้านการใช้งานของระบบ
3.1 ระบบแสดงข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วน
3.2 ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี
3.3 ระบบสามารถช่วยอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
3.4 ระบบสามารถช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานให้เร็วขึ้นได้

ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ขอขอบพระคุณที่สละเวลาอันมีค่าของท่านในครั้งนี้
คณะผู้จัดทําสารนิพนธ์
58

ประวัติผู้วิจยั

ชื่อ : นางสาวสุวรรณี ปุญสิริ


ชื่อสารนิพนธ์ : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สาขาวิชา : เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ประวัติ
ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ประวัติการศึกษา สํา เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
อุตสาหรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา*
ประวัติการทํางาน ปัจจุบันทํางานที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตําแหน่ง
นักวิชาการศึกษา

You might also like