You are on page 1of 90

เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร

Knowledge of 45 Thai dessert recipes

นายภัทรวรรธ สังข์แก้ว
นางสาวอัตติมา เนาวลักษณ์
นางสาวกัญญรัตน์ วัดทอง

โครงงานคอมพิวเตอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 กลุม่ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 18ปีการศึกษา 2565
เกร็ดความรู้คขู่ นมไทย 45 สูตร
Knowledge of 45 Thai dessert recipes

นายภัทรวรรธ สังข์แก้ว เลขที่ 7


นางสาวอัตติมา เนาวลักษณ์ เลขที่ 20
นางสาวกัญญรัตน์ วัดทอง เลขที่ 31

โครงงานคอมพิวเตอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 กลุม่ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 18ปีการศึกษา 2565
Knowledge of 45 Thai dessert recipes

MR.PATTARAWAT SANGKAEW
MISS.ATIMA NAOWALAK
MISS.KANYARAT WATTHONG

THE COMPUTER PROJECT IS PART OF HIGH SCHOOL CURRICULUM


IN THE TWELFTH GRADE (M.6/6) CAREER AND TECHNOLOGY DEPARTMENT
BANGLAMUNG SCHOOL THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
18 2022
หัวข้อโครงงาน เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร
Knowledge of 45 Thai dessert recipes
ผู้จัดทำโครงงาน นายภัทรวรรธ สังข์แก้ว รหัสนักเรียน 24131
นางสาวอัตติมา เนาวลักษณ์ รหัสนักเรียน 26183
นางสาวกัญญรัตน์ วัดทอง รหัสนักเรียน 26117
หลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ครูที่ปรึกษา นางสาวจินตะหรา แสนทวีสุข
ครูผู้สอน นางสาวจินตะหรา แสนทวีสุข
สถานศึกษา โรงเรียนบางละมุง
ปีที่พิมพ์ 2565

บทคัดย่อ
โครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร
พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ นำเสนอบนเว็บไซต์ยูทูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษาครั้งนี้ คือครูและนักเรียน โรงเรียนบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2565 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบสำรวจรายการ (Check List) ประเมินค่า 5
ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (x̅) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจ ัย พบว่า ความพึงพอใจในโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒ นาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ผ่าน
Youtube ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.41 นักเรียนพึงพอใจในการใช้หนังสื อ
อิเล็กทรอนิกส์นี้ จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Project Title Knowledge of 45 Thai dessert recipes
Student MR.PATTARAWAT SANGKAEW STUDENT ID. 24131
MISS.ATIMA NAOWALAK STUDENT ID. 26183
MISS.KANYARAT WATTHONG STUDENT ID. 26117
Course High School Career and Technology Department
Consultants Teacher MISS jintara santaweesuk
Instructor Teacher MISS jintara santaweesuk
Academy Banglamung School
Year 2022

ABSTRACT
Computer project, development of e-book creation, 45 recipes of Thai dessert tips,
developed with the objective of creating e-books presented on YouTube website. The
sample group used in this study are teachers and students Banglamung School Bang Lamung
District Chonburi Province, first semester, academic year 2022, 30 students
The tool used to analyze the data was a questionnaire, a survey (Check List),
assessed at 5 levels. The statistics used to analyze the data were mean score (x ̅) and
standard deviation (S.D.).
The results showed that Satisfaction in computer projects, e-book development via
Youtube, overall satisfaction was at a high level. 4.41 percent of students are satisfied with
using this e-book. therefore can be used in daily life
กิตติกรรมประกาศ

โครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร เล่มนี้สำเร็จลง


ได้ ด ้ ว ยความกรุ ณ าและช่ ว ยเหลื อ อย่ า งดี ย ิ ่ ง จากคุ ณ ครู จ ิ น ตะหรา แสนทวี ส ุ ข ครู ท ี ่ ป รึ ก ษาโครงงาน
คุณครูจินตะหรา แสนทวีสุข ครูผู้สอนรายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ คุณครูชัฏ ตระกูลสินทอง ประธาน
คณะกรรมการสอบโครงงาน ที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ไขข้อบกพร่องอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
โครงงานคอมพิวเตอร์
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการอาวุธ โอชาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางละมุงคณะ
ผู้บริหารโรงเรียนบางละมุง และคณะครูโรงเรียนบางละมุง ที่ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนในการพัฒ นา
โครงงานคอมพิวเตอร์ และขอขอบใจนักเรียนโรงเรียนบางละมุง ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
งานวิจัย
ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ขอบขอบคุณเพื่อนๆ ตลอดจนญาติพี่น้องทุกคนที่ให้ การ
สนับสนุนช่วยเหลือและเป็นกำลังใจด้วยดีตลอดมา
คุณค่าและประโยชน์ของการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์เล่มนี้ คณะผู้จัดทำขอน้อมรำลึกถึง
พระคุณบิดา มารดา ผู้ให้ชีวิต ให้การศึกษา ตลอดจนบูรพาจารย์และผู้มีพระคุณทกท่านที่ได้ให้ความรู้และ
อบรมสั่งสอนให้คณะผู้จัดทำเป็นคนดีมีคุณธรรม

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า

บทคัดย่อ ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญรูปภาพ ช

บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 ขอบเขตของโครงงาน 1
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 YouTube คืออะไร 3
2.2 ความหมายของหนังสือ 6
2.3 การใช้โปรแกรม 6
2.4 ข้อมูลขนมไทย 10
2.5 ตัวอย่างโครงงาน 58
บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
3.1.อุปกรณ์ 59
3.2.วิธีการดำเนินการ 59
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า

3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจ 61
3.4 กลุ่มตัวอย่าง 62
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล 63
4.2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 63
4.3 การแปลความข้อมูล 63
4.4 ลำดับขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 64
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 64
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล 67
5.2 อภิปรายผล 67
5.3 ข้อเสนอแนะ 67
บรรณานุกรม 68
ภาคผนวก
ก คู่มือการใช้งาน 71
ข เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 73
ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 75
ประวัติผู้จัดทำ 76
สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.7 64
และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 43.3
64
4.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียนม.ปลายคิดเป็นร้อยละ 100.00
4.3 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 100.00 65

4.4 พบว่า ความพึงพอใจจากการพัฒนาโครงงาน 66


สารบัญรูปภาพ

รูปที่ หน้า

2.1 การเข้าสู่ระบบใน 4
2.2 ลิงค์การสร้างช่องใหม่ 4
2.3 การสร้างช่องใหม่ 5
2.4 การสร้างช่องใหม่ 5
2.5 การสมัครเข้าใช้งาน 6
2.6 การใช้งานแอพ 7
2.7 การสร้างงานอกแบบ 7
2.8 การเข้าใช้งาน 8
2.9 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 8
3.1 การอัพโหลดคลิป 9
3.2 การเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 9
3.3 ข้าวเหนียวมะม่วง 10
3.4 ขนมครกสูตรโบราณ 11
3.5 ขนมเปียกปูน 13
3.6 ขนมกล้วย 14
3.7 ขนมบ้าบิ่นสูตรโบราณ 15
3.8 ลูกตาลนมสดมะพร้าวอ่อน 16
3.9 ขนมถังแตก สูตรแป้งสด 17
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)

รูปที่ หน้า
4.0 วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน 19
4.1 ขนมชั้นชาไทย 20
4.2 ทองม้วน 21
4.3 ข้าวเหนียวมูนใบเตย 22
4.4 ลูกตาลลอยแก้ว 23
4.5 ขนมชั้นใบเตย 24
4.6 ข้าวต้มมัด 25
4.7 ขนมถ้วย 26
4.8 ฝอยทองกรอบ 27
4.9 ข้าวเหนียวแก้ว 28
5.0 เปียกปูนกะทิสด 29
5.1 กล้วยบวชชีมะพร้าว 31
5.2 ขนมกลีบลำดวน 32
5.3 สาคูข้าวโพดมะพร้าวอ่อน 33
5.4 ขนมลืมกลืน 34
5.5 ขนมครกสิงคโปร์ 35
5.6 สังขยาไข่โบราณ 36
5.7 เงาะลอยแก้ว 37
5.8 บัวลอยเสียบไม้ 38
5.9 ขนมเหนียว 39
6.0 ครองแครงอัญชันกะทิ 40
6.1 อินทนิล 41
6.2 สาคูไส้หมู 42
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)
รูปที่ หน้า
6.3 ขนมตาล 43
6.4 มันม่วงฉาบ 44
6.5 ทับทิมกรอบ 45
6.6 ขนมเข่ง 46
6.7 กล้วยเชื่อมแดง 47
6.8 ถั่วแปบ 48
6.9 บัวลอยมันม่วงฟักทอง 49
7.0 ทองหยิบ 50
7.1 ขนมโคกะทิ 51
7.2 ขนมฟักทอง 52
7.3 ขนมต้ม 53
7.4 ขนมชั้นอัญชัน 54
7.5 สาคูบัวลอย 55
7.6 ลอดช่องอัญชัน 56
7.7 ตะโก้อัญชัน 57
1

บทที่ 1
บทนำ
1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักขนมไทยมากนัก หรือรู้จักเพียงบางอย่าง ทั้งที่ขนมไทยนั้น
ออกจะสีสันสวยงามน่ารับประทาน ยังไงคุณค่าทางร่างกายคนส่วนใหญ่คิดว่าขนมไทย เมื่อทานแล้วจะทำให้
อ้วน แต่ในขนมไทยก็ยังมีประโยชน์ที่ทุกคนไม่ทราบ และยังเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมอย่างที่รู้จักกันดี
มีการพัฒนาการเข้าถึงสื่อต่างๆให้ง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้นสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่าง
รวดเร็วและสามารถเผยแพร่ได้มากยิ่งขึ้นได้ในเวลาที่ต้องการ
จัดทำโครงงานนี้เพื่อที่ต้องการที่จะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้
รู้จักและสืบทอดต่อไปจึงได้จัดทำโครงงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทาง Youtube โดยให้ความรู้เกี่ยวกับ
ขนมไทยที่หลากหลาย
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรขนมไทย
2.เพื่อส่งเสริมด้านการรับประทานขนมไทย
3.เพื่ออนุรักษ์ขนมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ด้านอาหารไทยไว้
4.เพื่อเผยแพร่สูตรขนมไทย
3. ขอบเขตของโครงงาน
สร้างสื่อหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสูตรขนมไทย โดยใช้โปรแกรม Any flip ใน
การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และใช้โปรแกรม Canva และเผยแพร่ผ่านช่องทาง Youtube
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรขนมไทย
2.ได้ส่งเสริมด้านการรับประทานขนมไทย
3.ได้อนุรักษ์ขนมไทยเอกลักษณ์ด้านอาหารไทยไว้
4.เพื่อเผยแพร่สูตรขนมไทย
2

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเป้นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่าน
เอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์
สูตร หมายถึง ส่วนประกอบที่กำหนดขึ้นในการปรุงยา อาหาร หรือเครื่องดื่ม เป็นต้น
ขนมไทย หมายถึง เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำ
ชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน
สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน
Canva ก็คือ เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ที่จะช่วยผู้ใช้ในเรื่องของการ ดีไซน์งานต่าง ๆ
ที่ไม่ใช่แค่สไลด์พรีเซนเทชั่นอย่างเดียว แต่จะช่วยเหลือทุกงาน Artwork เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ ผู้ใช้งานไม่จำเป็น
จะต้องมีความรู้ศิลปะเลยก็สามารถใช้ Canva ได้
Any flip คือ เว็บไซต์บริการารสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) หรือฟลิปบุ๊ค (Flipbook) ในรูปแบบ
พลิกหน้าผู้อ่าน สามารถพลิกอ่านนหนังสือหน้าต่างๆ ได้ตามความต้องการอีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลดหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์เก็บไว้ได้ผู้ใช้สามารถสร้างและเผยแพรได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์
Youtube ก็คือคนที่สร้างรายได้จากการเป็น Creator บนเว็บไซต์ Youtube.com โดยที่เราสามารถอัปโหลด
คลิปวิดีโอลงในช่องของตัวเอง จนมีผู้ติดตาม เป็นสมาชิกเพื่อชมผลงานของเรา ยิ่งถ้ามีผู้ติดตามเยอะ ๆ
3

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในบทนี้ผู้จัดทำได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
โดยนำเสนอผ่าน YouTube Chanel โดยมีเนื้อหาดังนี้
2.1 YouTube คืออะไร
2.1.1YouTube Chanel คืออะไร
2.1.2 การสร้าง Chanel ใน Youtube
2.2 ความหมายของหนังสือ
2.1หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
2.3 การใช้โปรแกรม
3.1 Canva
3.2 Any Flip
2.4 ข้อมูลขนมไทย
2.5 ตัวอย่างโครงงาน
2.1 YouTube คืออะไร
YouTube หรือที่นิยมเรียก “ยูทูป” ยูทูปเป็นเว็บไซต์คลังคลิปวิดีโอที่มีจำนวนมากกว่าล้านคลิปจาก
ผู้ใช้งานที่อัพโหลดทั่วโลก ภายใต้การให้บริการฟรีและมีหลากหลายหมวดหมวดให้เลือกชม เช่น สารคดี กีฬา
ภาพยนตร์ การ์ตูน รายการทีวี/วีดีโอเพลง เป็นต้น จึงเป็นที่นิยมของคนทุกเพศ ทุกวัย และนอกจาก Youtube
ยังสนับสนุนให้ผู้ใช้งานสามารถเป็น Creator นักสร้างสรรค์วิดีโอบน Youtube หรือที่นิยมเรียกกันว่า
“ยูทูปเบอร์ (Youtuber)” เพื่อสร้างช่อง (Channel) อัพโหลดวิดีโอให้ผู้คนได้เข้าชมติดตาม และสร้างรายได้
ให้กับผู้สร้างคลิปวีดีโออีกด้วย
2.1.1Youtube Chanel คืออะไร
YouTubeChannel” หรือชื่อเรียกเต็มๆคือ “YouTube Brand Channel” คือบริการฟรีของ
YouTube.com นั่นเองซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถอัพโหลดคลิปส่วนตัวหรือวีดีโอลงไปบนเว็บไซต์
YouTube ได้ เพื่อแบ่งปันให้คนทั่วไปดู ซึ่งคุณเองสามารถจัดการและลงคลิปได้ตามต้องการ
ขณะเดียวกันคนที่กดติดตาม (หรือที่เขาเรียกกันว่า Subscribeเวลาคุณดูคลิปจะเห็นกันบ่อยๆ)
ก็สามารถติดตามความเคลื่อนไหว และ ดูคลิปใหม่ๆที่ถูกอัพโหลดลงไปได้ตลอดเช่นกันเปรียบเสมือนมี
Channel เป็นของตัวเองหรือ ช่อง ใน YouTube จัดเป็นวีดีโอบล็อกที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานทั่วโลก
มีทงั้ แบบที่สร้างฟรี หรือ เสียเงินเพื่อซื้อคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม เช่น คุณสมบัติการเปลี่ยนภาพ header
4

2.1.2 การสร้าง Chanel ใน Youtube


1.เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย จากนั้นให้เลือก คลิกที่บัญชี (รูปโปรไฟล์) จากนั้นให้เลือก “การตั้งค่า
YouTube” ที่เป็นรูปฟันเฟืองดังภาพ

รูปที่ 2.1 การเข้าสู่ระบบใน YouTube

2. ให้ดูที่ล่างสุด จะมีลิงค์เขียนว่า “ดูช่องทั้งหมดของฉันหรือสร้างช่องใหม่” ดังภาพ

รูปที่ 2.2 ลิงค์การสร้างช่องใหม่


5

3. ให้เลือก “สร้างช่องใหม่” ดังภาพ

รูปที่ 2.3 การสร้างช่องใหม่

4. ตั้งชื่อช่อง เลือกหมวดหมู่ แล้วกด “เสร็จเรียบร้อย” ได้ทันที เพียงแต่นี้ก็สามารถสร้าง Channel


YouTube เพิ่มเข้ามาได้แล้ว เวลาจะเข้า Channel YouTube ไหน ก็เข้าอีเมลบัญชีเดิม
แล้วเลือกดังภาพ

รูปที่ 2.4 การสร้างช่องใหม่


6

2.2 ความหมายของหนังสือ
เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น
ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์
หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น" (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
พ.ศ. 2542, น.1244)
หนังสือ คือ การบันทึกความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ลงบนแผ่นกระดาษขนาดเท่า ๆ กัน โดย
ใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารในการสื่อส และเข้าใจ ซึ่งใช้การเขียน หรือพิมพ์ แล้วนำมาเย็บรวมเป็นเล่ม
2.2.1 ประเภทของหนังสือ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Book ย่อมาจากคาว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายหนังสือจริงสามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษคือ
สามารถสื่อสารกับผู้อ่าน ในลักษณะของมัลติมีเดียได้ได้แก่ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง

3.1การใช้โปรแกรม
3.1.1Canva
เป็นแอพพลิเคชันสําหรับสรางสื่อการนําเสนอหลากหลายรูปแบบ เช่น Presentation, Poster,
Card, Resume,Certificate, Infographic เป็นต้น ซึ่ง Canva นั้น จะมีขนาดมาตรฐานให้ เลือกหรือผู้ใช้
สามารถกําหนดขนาดเองได้ Canva ใช้งานงาน สวยงาม สามารถแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นได้

รูปที่ 2.5 การสมัครเข้าใช้งาน


7

เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะปรากฏหน้าเว็บไซต์ของ Canva โดยแบ่งส่วนต่าง ๆ ดังนี้


2.1 ส่วนจัดการออกแบบของเรา จัดกลุ่มและสื่อที่ลบไปแล้ว
2.2 ส่วนการสร้างโดยแต่ละงานออกแบบจะมีขนาดที่กําหนดมาให้ และกําหนดขนาดเองได้เช่นกัน
2.3 เป็นงานออกแบบทั้งหมดที่ทําเอาไว้แล้ว หรือส่วนงานออกแบบของเรา

รูปที่ 2.6 การใช้งานแอพ

2.4วิธีการสร้างงานออกแบบ
หลังจากผู้ใช้เลือกรูปแบบดีไซน์แล้ว จะปรากฏหน้าจอในการสร้างงานออกแบบขึ้นมา โดยมีเมนูต่างๆ

รูปที่ 2.7 การสร้างงานออกแบบ


8

3.1.2 Any Flip


AnyFlip คือ เว็บไซต์บริการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e Book) หรือฟลิปบุ๊ค (Flipbook) ใน
รูปแบบพลิกหน้า ผู้อ่าน สามารถพลิกอ่านหนังสือหน้าต่างๆ ได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลด
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เก็บไว้ได้ ดัวย นิยมนำามาใช้สร้างแมกกาซีนอิเล็กทรอนิกส์, โบรชัวร์ อิเล็กทรอนิกส์,
แคตตาล็อคอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้ สามารถสร้างและเผยแพร่ได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไชต์
www.anyflip.com ด้วยการอัพโหลดไฟล์pdf และ กําหนดค่ารายละเอียดข้อมูลของเอกสารเท่านั้น

1.เลือกเมนู Sign Up เพื่อสมัครเข้าใช้งาน

รูปที่ 2.8 การเข้าใช้งาน

2.คลิกเลือก New Folder เพื่อเตรียมห้องจัดเก็บ E-book และทำตามขั้นตอนดังรูป 2.2.9

รูปที่ 2.9 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


9

3.คลิกเลือก Upload Your PDF เพื่อนำไฟล์ที่สร้างเป็น PDF ในเครื่องมาสร้าง E-book

รูปที่ 3.1 การอัพโหลดคลิป

4.แสดง E-book ที่สร้างสำเร็จเลือกการเผยแพร่แชร์

รูปที่ 3.2 การเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


10

4. ข้อมูลขนมไทย
4.1 ข้าวเหนียวมะม่วง

รูปที่ 3.3 ข้าวเหนียวมะม่วง


ส่วนผสม ข้าวเหนียวมะม่วง
- ข้าวเหนียว 350 กรัม - เกลือ 1+1/4 ช้อนชา
- กะทิ 1 กระป๋อง - แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย - ใบเตย 4-5 ใบ
วิธีทำ ข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวมะม่วง
1. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาดแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน
2. เติมน้ำลงในซึ้งนึ่ง นำขึ้นตั้งไฟค่อนข้างแรง รอจนน้ำเดือด จากนั้นสะเด็ดน้ำข้าวเหนียวขึ้นมาห่อผ้าขาวบาง
วางใบเตยลงไปประมาณ 2 ใบ แล้วนำไปนึ่ง
3. นึ่งประมาณ 30 นาทีจนข้าวเหนียวสุก
4. นำกะทิมาแบ่งไว้ ¾ ถ้วย สำหรับกะทิส่วนที่เหลือให้นำไปใส่หม้อเล็กๆ เติมน้ำตาลและเกลือ 1 ช้อนชาลงไป
จากนั้นนำไปตั้งบนไฟอ่อน
5. ใส่ใบเตยที่เหลือลงในหม้อกะทิ ใช้ทัพพีคนเรื่อยๆ จนน้ำตาลละลาย อย่าให้กะทิเป็นก้อน รอจนกะทิเดือดจึง
ปิดเตาและยกลงพักไว้
6. ตักข้าวเหนียวที่สุกแล้วใส่ลงในอ่างผสม เทกะทิร้อนๆ ใส่ลงไป คนเร็วๆ ให้ทั่วแล้วปิดฝาให้ข้าวเหนียวระอุ
อีกประมาณ 15 นาที
7. นำกะทิ 3/4 ถ้วยที่แบ่งไว้มาผสมกับแป้งข้าวเจ้าและเกลือ นำไปตั้งไฟแล้วคนเรื่อยๆ จนกะทิข้นและเดือด
เพื่อใช้เป็นกะทิสำหรับราดหน้า
8. ตักข้าวเหนียวใส่จาน ราดด้วยน้ำกะทิที่เตรียมไว้ เสิร์ฟพร้อมมะม่วงสุก
11

4.2 ขนมครกสูตรโบราณ

รูปที่ 3.4 ขนมครกสูตรโบราณ


ส่วนผสม ขนมครกสูตรโบราณ
- อัตราส่วน น้ำปูนใส - น้ำปูนใส 120 กรัม
- น้ำเปล่า 1000 มิลลิลิตร - หัวกะทิคั้นสดแบบเข้มข้น 500 มิลลิลิตร
- ปูนแดงกินหมาก 2 ช้อนตวง - หางกะทิ 250 มิลลิลิตร
- ส่วนผสม แป้งขนมครก - น้ำตาลทราย 60 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม - เกลือสมุทร 2 ช้อนชา
- ข้าวหอมมะลิหุงสุก 100 กรัม
ส่วนผสม หน้ากะทิ
- หัวกะทิคั้นสดแบบเข้มข้น 500 มิลลิลิตร - เผือกหอมหั่นเต๋านึ่งสุก 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 80 กรัม - ต้นหอมซอย 1 ถ้วย
- เกลือสมุทร 1/2 ช้อนชา +1/4 ช้อนชา - ผ้าเช็ดเบ้าขนมครก
- แป้งข้าวเจ้าตราหมีคู่ดาว 1 ช้อนตวง +1/2 ช้อนตวง - น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเบ้า
- ส่วนผสม ไส้โรยหน้า - ข้าวโพดหวานฝานบางๆ นึ่งสุก 1-2 ฝัก
- ข้าวโพดหวานฝานบางๆ นึ่งสุก 1-2 ฝัก
- เผือกหอมหั่นเต๋านึ่งสุก 1 ถ้วย
- ต้นหอมซอย 1 ถ้วย
- ผ้าเช็ดเบ้าขนมครก
- น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเบ้า
- ส่วนผสม ไส้โรยหน้า
12

วิธีทำ ขนมครก
นำข้าวโพดหวานมาฝานบางๆ เผือกหั่นเต๋า นำไปนึ่งให้สุกประมาณ 20 นาที ส่วนต้นหอมนำมาซอย พักไว้
ทำแป้งขนมครก โดยการนำ แป้งข้าวเจ้า ข้าวสวย น้ำปูนใส กะทิ เกลือ ปั่นให้เข้ากันจนละเอียดดี เทใส่ในชาม
ผสม พักแป้งไว้ 30 นาที
จากนั้นทำหน้ากะทิ โดยการนำแป้งข้าวเจ้า หัวกะทิแบบคั้นสดเข้มข้น น้ำตาลทรายขาว และเกลือสมุทรผสม
เข้าด้วยกัน คนด้วยตะกร้อมือจนทุกอย่างละลายเข้ากันดี
เทส่วนผสมทั้งสองอย่างลงไปในกาน้ำหัวแหลม เพื่อสะดวกในการเทลงถาดหลุม
เทคนิคการเท เราต้องเทส่วนผสมของแป้งลงไปก่อน โดยเริ่มจากด้านนอกวนเข้าไปบรรจบที่ด้านใน เมื่อหยอด
ครบแล้ว ต้องนำส่วนกะทิเทลงทันทีจนครบ
จากนั้นนำเครื่องที่เตรียมไว้หยอดลงไป โดยต้นหอมสามารถหยอดได้ทันที ส่วนข้าวโพดกับเผือก ควรรอให้แป้ง
เซตตัวก่อนค่อยใส่ลงไป
นำฝาปิด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที หรือดูว่าขอบด้านนอกออกสีน้ำตาล ถือว่าใช้ได้ นำช้อนมาตักออกทีละหลุม
จัดเรียงให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ
13

4.3 ขนมเปียกปูน

รูปที่ 3.5 ขนมเปียกปูน


ส่วนผสม ขนมเปียกปูน (สีเขียว)
- สูตรนี้ถ้าทำใส่ถ้วยอย่างเดียวจะได้ประมาณ 70-80 ถ้วย - น้ำตาลทราย 200 กรัม
- ถ้าทำใส่ถาด ให้ใช้ถาดขนาด 9 x 9 นิ้ว - น้ำตาลมะพร้าวอย่างดี 200 กรัม
- ส่วนผสมตัวขนมเปียกปูน - เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- แป้งข้าวเจ้า 220 กรัม - น้ำใบเตย 1800 มิลลิลิตร
- แป้งท้าวยายม่อม 30 กรัม
ส่วนผสมมะพร้าวโรยหน้า
- มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น 140 กรัม - เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ ขนมเปียกปูน (สีเขียว)
1. เริ่มจากการทำน้ำใบเตย โดยการนำใบเตยมาปั่นรวมกับน้ำปูนใส
2. เตรียมชามผสม ใส่แป้งข้าวจ้าว แป้งท้าวยายม่อม น้ำตาลทรายขาว เกลือป่น และน้ำตาลมะพร้าว และใส่
น้ำใบเตยลงไปเล็กน้อย จากนั้นนวดขนมให้เข้ากัน (ประมาณ 5 นาที)
3. เมื่อน้ำตาลค่อนข้างละลายดี ให้ค่อยๆ ใส่น้ำใบเตยที่เหลือลงไปจนหมด แล้วผสมให้เข้ากัน
4. กรองแป้งใส่ภาชนะที่จะใช้กวน แล้วเปิดแก๊สใช้ไฟกลาง แล้วคนขนมตลอดเวลา จนกระทั่งส่วนผสมเริ่มร้อน
และจับตัวเป็นลิ่ม ให้ลดไปลงเหลือไปอ่อน
5. คนต่อไปเรื่อยๆ จนแป้งสุก มีลักษณะใสและสีเข้มขึ้น
6. ปิดแก๊ส จากนั้นนำขนมไปหยอดใส่พิมพ์
7. หยอดขนมใส่ถ้วยที่ทาน้ำมัน แนะนำให้หยอดในขณะที่ขนมยังอุ่นอยู่ แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
8. ทำมะพร้าวขูด โดยเอามะพร้าวทึนทึกคลุกเกลือ แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที
14

4.4 ขนมกล้วย

รูปที่ 3.6 ขนมกล้วย


ส่วนผสม ขนมกล้วย สูตรแป้งน้อย
- กล้วยน้ำว้าสุกงอม 10 ผล ( 600-650 กรัม)
- แป้งข้าวเจ้า 80 กรัม
- แป้งมัน 40 กรัม
- แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนตวง
- หัวกะทิ 260 กรัม
- น้ำตาลทราย 130 กรัม (ชอบหวานเพิ่มเป็น150 กรัม)
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น 1/2 ลูก
- กระทงใบตอง,ถ้วยตะไล
วิธีทำ ขนมกล้วย สูตรแป้งน้อย
1.ปลอกกล้วย หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เตรียมไว้
2.จากนั้นผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน และแป้งเท้ายายม่อม
3.ใส่หัวกะทิลงไปเล็กน้อย ให้พอตั้งแป้งให้เป็นก้อน นวดต่อไปเป็นเวลา 5 นาที
4.ใส่กล้วยลงไป ตามด้วยน้ำตาลทรายขาว เกลือป่น ขยำให้เข้ากัน ให้กล้วยมีขนาดเล็กลงแต่ไม่ต้องเละ
5.เติมน้ำกะทิที่เหลือลงไปทั้งหมด คนผสมให้เข้ากันอีกครั้งตั้งหม้อนึ่ง หยอดขนมใส่ถ้วยตะไล
ตั้งหม้อนึ่ง หยอดขนมใส่ถ้วยตะไล โรยมะพร้าวทึนทึกลงไป นำไปนึ่งด้วยไฟกลาง ใช้เวลา 20 นาที
เป็นอันเสร็จ
15

4.5 ขนมบ้าบิ่นสูตรโบราณ

รูปที่ 3.7 ขนมบ้าบิ่นสูตรโบราณ


ส่วนผสม ขนมบ้าบิ่นสูตรโบราณ
- เนื้อมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น 1050 กรัม
- หัวกะทิ 525 กรัม
- น้ำตาลทราย 600 กรัม
- เกลือ 10 กรัม
- แป้งข้าวเหนียว 250 กรัม
- แป้งมันสำปะหลัง 250 กรัม
- ไข่เป็ด 1 ฟอง+ไข่แดง 1 ฟอง
- ถาดขนมหม้อแกงขนาด 4*4 นิ้ว
วิธีทำ ขนมบ้าบิ่นโบราณ
1.ใส่แป้งข้าวเหนียว และแป้งมันสำปะหลัง ลงไปในชามผสม ตามด้วยน้ำตาลทรายขาว
เกลือป่น คลุกให้เข้ากัน
2.ใส่ไข่เป็ด หัวกะทิลงไปทีละนิด นวดให้เข้ากัน ใส่จนหมด
3.ตามด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น คลุกเคล้าและขยำให้เข้ากัน
4.ไปตั้งไฟอ่อน ผัดให้แป้งสุกและแห้งดี ปิดแก๊ส
5.ตักใส่ถาดขนมหม้อแกง 4*4 นิ้ว ก่อนใส่ลงไป ทาด้วยน้ำมันบางๆ ทั่วพิมพ์
6.เกลี่ยหน้าขนมให้เรียบ เข้าอบไฟบน-ล่าง 180 องศา เปิดพัดลม 20 นาที นำมาทาด้านหน้าด้วยหัวกะทิ
7.อบต่ออีก 15-20 ด้วยไฟเท่าเดิม จนหน้าขนมมีสีน้ำตาลสวย เป็นอันเสร็จ
16

4.6 ลูกตาลยนมสดมะพร้าวอ่อน

รูปที่ 3.8 ลูกตาลนมสดมะพร้าวอ่อน


ส่วนผสม ลูกตาลนมสดมะพร้าวอ่อน
- ลูกตาลหั่นเต๋า 1000 กรัม (นน.ปอกเปลือกและหั่นแล้ว)
- น้ำมะพร้าว 500 กรัม
- น้ำตาลมะพร้าวอย่างดี 200 กรัม
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวอ่อน 200 กรัม
- นมสดรสจืด 1000 มิลลิลิตร
- นมข้นหวาน 70 กรัม
- ใบเตยหั่นท่อน 4 ใบ
วิธีทำ ลูกตาลนมสดมะพร้าวอ่อน
1.นำลูกตาลมาแช่น้ำเปล่า 30 นาที จากนั้นปลอกเปลือกลูกตาลออก ล้างน้ำให้สะอาด
2.นำมาหั่นชิ้นเล็กใหญ่ตามชอบ
3.ตั้งกระทะ เทน้ำมะพร้าวลงไป ตามด้วยน้ำตาลมะพร้าว เกลือป่น และใบเตย
4.เปิดแก๊สใช้ไฟกลาง คนจนน้ำตาลละลายดี พอน้ำเริ่มเดือด ให้ใส่ลูกตาลลงไป คนให้เข้ากัน
5.เคี่ยวจนน้ำเดือดอีกรอบ ช้อนฟอนทิ้ง
6.ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป คนให้เข้ากัน รอจนเดือดอีกรอบ ปิดแก๊ส
7.ยกลงมา เติมนมข้นหวานลงไป เติมด้วยนมสดรสจืด คนให้เข้ากัน
17

4.7 ขนมถังแตก

รูปที่ 3.9 ขนมถังแตก สูตรแป้งสด


ส่วนผสม ขนมถังแตก สูตรแป้งสด
- อัตราส่วนแป้ง - เผือกหอมหั่นเต๋า
- น้ำเปล่า 600 ml. - มันม่วงหั่นเต๋า
- เกลือสมุทร 1 ช้อนชา - ข้าวโพดฝาน
- กะทิ 150 ml. - ฝอยทอง
- แป้งข้าวเจ้า 500 กรัม - เกลือสมุทร 1/2 ช้อนชา
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ 200 กรัม
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
- ไข่ไก่เบอร์ 2=1 ฟอง
- กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
- ยีสต์ 1 ช้อนชา
- ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
- อัตราส่วนน้ำตาลโรยหน้า
- งาขาวคั่ว 40 กรัม
- งาดำคั่ว 40 กรัม
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
- ไส้ต่างๆ
- มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น 200 กรัม
18

วิธีทำ ขนมถังแตก
1. เริ่มจากหมักแป้งขนมถังแตก โดยแบ่งน้ำเปล่าประมาณ 100 ml มาเข้าไมโครเวฟให้พออุ่นๆ จากนั้นใส่
น้ำตาลทรายละไปผสมแล้วคนให้น้ำตาลละลาย
2. ใส่ยีสต์ลงไปในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำตาล (น้ำต้องไม่ร้อนเกินไป) ใส่ยีสต์ลงไปในน้ำแล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
3. เตรียมอ่างผสมใส่น้ำเปล่าลงไป ตามด้วยน้ำตาลและเกลือ แล้วคนให้น้ำตาลละลาย
4. พอทุกอย่างละลายให้ใส่แป้งทั้ง 2 ชนิดลงไป แล้วใช้พายยางตะล่อมให้ส่วนผสมเข้ากัน
5. ใส่ไข่ไก่ กลิ่นวานิลลา หัวกะทิ และส่วนผสมของยีสต์ที่ทำไว้ แล้วใช้พายตะล่อมให้ส่วนผสมเข้ากัน
6. พอส่วนผสมเข้ากันให้ทะยอยใส่น้ำลงไปจนหมด แล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากันด้วยตะกร้อมือ
7. พอแป้งเนียนดี ให้ใส่ผงฟูแล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
8. พักส่วนผสมของแป้งให้แป้งอิ่มน้ำประมาณ 3 ชั่วโมง
9. เตรียมไส้มะพร้าวโดยเอามะพร้าวไปนึ่งประมาณ 5 นาที แล้วนำมาคลุกกับเกลือ
10. เตรียมกระทะใส่งาขาวและงาดำ แล้วคั่วจนหอม แล้วนำไปบดให้พอแตก
11. นำงามาผสมกับน้ำตาลแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
12. นำเผือก มันม่วง และข้าวโพดมานึ่งให้สุก
13. พอแป้งได้ที่ก็เตรียมทำขนมถังแตกได้เลยค่ะ
14. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย พอกระทะร้อนให้ใส่แป้งลงไป (ตามคลิป)
15. ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ -2 นาที
16. เปิดฝาใส่มะพร้าวตามด้วยน้ำตาลผสมงา แล้วใช้พายยางแซะขนมออกจากกระทะ พร้อมเสิร์ฟ
19

4.8 วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน

รูปที่ 4.0 วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน


ส่วนผสม วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน
- น้ำมะพร้าวอ่อน 1000 กรัม
- ผงวุ้น 3 ช้อนตวง
- น้ำเปล่า 300 กรัม
- หัวกะทิ 1000 กรัม
- น้ำตาลทรายขาว 280 กรัม
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวอ่อน 300 กรัม
วิธีทำ วุ้นกะทิมะพร้าวอ่อน
1.นำผงวุ้นเทลงในน้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 10-15 นาที จากนั้นเทหม้อ ตามด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน
เปิดแก๊สใช้ไฟกลาง
2.คนตลอดเวลาจนกระทั่งผงวุ้นละลายดี สังเกตไม่มีผงวุ้นติดเป็นจุดๆ ที่ช้อน
3.เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ลงไป คนให้ทุกอย่างละลายเข้ากันดี
4.ใส่เนื้อมะพร้าวลงไป รอจนน้ำเดือดอีกรอบ ลดไฟลงเหลือไฟอ่อน
5.เติมหัวกะทิลงไป อย่าเคี่ยวนาน คนเรื่อยๆ รอให้เดือดช่วงขอบหม้อเท่านั้น ประมาณ 1-2 นาที ปิดไฟ
6.ยกลงไปเทใส่ถาด ตัดฟองอากาศด้านออกให้หมด ทิ้งไว้ให้วุ้นเซตตัว 1-2 ชั่วโมง ตัดเป็นชิ้นๆ พร้อมเสิร์ฟ
20

4.9 ขนมชั้นชาไทย

รูปที่ 4.1 ขนมชั้นชาไทย


ส่วนผสม ขนมชั้นชาไทย
- แป้งข้าวเจ้า 25 กรัม - กลิ่นมะลิ 2 หยด
- แป้งมัน 145 กรัม - น้ำชาไทย 50 กรัม
- แป้งท้าว 55 กรัม - เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำตาลทรายขาว 280 กรัม - หัวกะทิ 650 กรัม
อัตราส่วนการชงน้ำชาไทย
- ชาผงสำเร็จรูปตรามือ 3 ช้อนโต๊ะ - น้ำร้อน 180 กรัม
วิธีทำ ขนมชั้นชาไทย
1. ทำน้ำชาไทยเตรียมไว้
2. ตั้งหม้อ ใส่หัวกะทิลงไปทั้งหมด ตามด้วยน้ำตาลทราย และเกลือป่น จากนั้นเปิดแก๊สใช้ไฟกลางแล้วคน
3. พอน้ำกะทิเริ่มร้อนให้ปิดแก๊ส แล้วยกส่วนผสมลง
4. ผสมแป้งทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกัน แล้วเทกะทิที่ต้มไว้ลงไปทั้งร้อนๆ แล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
5. นำแป้งมากรอง 1 รอบเพื่อให้แป้งเนียน
6. แบ่งแป้งออกเป็น 2 ชามเท่าๆ กัน ชามนึงใส่น้ำชาที่ผสมไว้ลงไป อีกชามหยดกลิ่นมะลิ
7. ตั้งน้ำมห้เดือดพล่าน แล้วนำพิมพ์ไปนึ่ง 5 นาที แล้วปรับไฟให้เหลือไปเบา
8. หยอดแป้งลงในพิมพ์ชั้นแรก แล้วปิดฝาเปิดไฟแรง ใช้เวลา 3 นาที
9. เมื่อครบเวลาเปิดฝาซึ่งเร็วๆแล้วลดไฟลงและเริ่มหยอดแป้งชั้นต่อมาจากนั้นปิดฝาเปิดไฟแรง ใช้เวลา 4 นาที
10. ชั้นสุดท้ายจะใช้เวลานึ่งประมาณ 10 - 15 นาที วิธีเช็คแป้งสุกคือตัวแป้งจะใส
11. เมื่อขนมชั้นสุกดีให้นำออกจากซึ้ง มาพักไว้ให้เย็นสนิท ก่อนแกะออกจากพิมพ์
21

4.10 ทองม้วน

รูปที่ 4.2 ทองม้วน


ส่วนผสม ทองม้วน
- แป้งมัน 1 ถ้วยตวง
- แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วยตวง
- น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนตวง
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- หัวกะทิ 1+1/2 ถ้วยตวง
- เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้น 2 ลูก
- งาดำคั่ว 2 ช้อนตวง
- ไข่ไก่เบอร์ 0 = 1 ฟอง
- น้ำมันมะพร้าว ใช้ทากระทะ
- สีผสมอาหารตามชอบ
วิธีทำ
1.ใส่ใบเตยลงในชามผสม ตอกไข่เป็ดลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ กะทิ และน้ำใบเตย ใช้มือขยำให้เข้ากัน จากนั้น
นำใบเตยออก
2.ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน และเกลือ คนให้เข้ากัน และกรอง เพื่อให้เนื้อแป้งเนียนขึ้น
3.ใส่งาดำ และมะพร้าวอ่อนลงไป คนให้เข้ากัน
4.นำกระทะ ขึ้นตั้งไฟเบา และรอจนร้อนใส่แป้งที่ผสมไว้ลงไป ⅛ ถ้วย เกลี่ยแป้งให้ทั่วกระทะ
5.พอแป้งเริ่มจับตัวเป็นแผ่น ให้กลับด้าน เพื่อให้สุกเท่ากันทั้งสองด้าน
22

4.11 ข้าวเหนียวมูนใบเตย

รูปที่ 4.3 ข้าวเหนียวมูนใบเตย


ส่วนผสม ข้าวเหนียวมูนใบเตย
- ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหม่ 500 กรัม - สีผสมอาหารสีเขียว 1/4 ช้อนชา หรือ 1/2 ช้อนชา
- สารส้ม 1 ก้อน - เกลือป่น 1+1/2 ช้อนชา
- หัวกะทิคั้นแห้ง 300 กรัม - น้ำใบเตยเข้มข้น
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
อัตราส่วน น้ำกะทิราด
- หัวกะทิ 200 กรัม - เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนชา
วิธีทำ ข้าวเหนียวมูนใบเตย
1.นำใบเตยตัดเป็นชิ้นสั้นๆ นำไปปั่นกับน้ำเปล่า จากนั้นนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง
2.นำข้าวเหนียวเขี้ยวงูมาขัดด้วยสารส้มในน้ำเบาๆ เพื่อให้ข้าวเหนียวใสสวย ขัดไปเรื่อยๆ 2-3 รอบ
จนน้ำออกสีขาวใสไม่ขุ่น
3.นำข้าวเหนียวมาสะเด็ดน้ำ เทน้ำใบเตยที่ปั่นไว้ลงไป วัดปริมาณน้ำโดยการให้น้ำเลยนิ้วขึ้นมา 1 ข้อ
4.ถึงให้เติมน้ำเปล่าลงไป คนให้เข้ากัน
5.ใส่สีผสมอาหาร สีแอปเปิ้ลลงไปเพิ่มความสวย คนให้เข้ากันอีกครั้ง พักทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง
6.เทน้ำทิ้ง ล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 รอบ จากนั้นนำไปนึ่งในซึ้ง โดยเพิ่มความหอมด้วยการใส่ใบเตยลงไปในหม้อ
นึ่งด้วยไฟแรง 20 นาที แต่เมื่อครบ 10 นาที ต้องมากลับข้าว 1 ครั้ง
7.ทำน้ำกะทิ โดยการนำหัวกะทิ น้ำตาลทรายขาว เกลือป่น ใส่ในชามผสม คนให้ละลาย
8.เทข้าวเหนียวร้อนๆ ลงไปในน้ำกะทิที่คนไว้ พักไว้ประมาณ 20 นาที คนให้เข้ากันอีกครั้งอย่างเบามือ
23

4.12 ลูกตาลลอยแก้ว

รูปที่ 4.4 ลูกตาลลอยแก้ว


ส่วนผสม ลูกตาลลอยแก้ว
- ลูกตาล 2000 กรัม
- น้ำเปล่า 2000 มิลลิลิตร (ml.)
- น้ำตาลทราย 750 กรัม (ชอบหวานจัดเพิ่มเป็น 800-900 กรัม)
- ใบเตยมัด 1 มัด ( 4-5 ใบ)
วิธีทำ ลูกตาลลอยแก้ว
1. นำลูกตาลมาหั่นบา ให้เป็นชิ้นพอดีคำ ไม่บางไป และไม่หนาไป น้ำที่อยู่ด้านในลูกตาลอย่าทิ้ง (ตามคลิป)
2. ตั้งกระทะ หรือหม้อ ใส่น้ำเปล่า ใส่ใบเตยมัด แล้วต้มให้เดือด
3. พอน้ำเดือด ให้ลดไฟลงเป็นไฟกลาง แล้วต้มน้ำต่อสักพักให้กลิ่นใบเตยออก
4. ใส่น้ำตาลทราย แล้วคนให้น้ำตาลละลายดี
5. ต้มให้น้ำเชื่อมเดือดสักครู่ แล้วตักใบเตยทิ้ง
6. ใส่ลูกตาล และน้ำลูกตาลที่หั่นไว้ลงในหม้อ ใช้ไฟกลางเหมือนเดิม แล้วรอให้น้ำเดือดอีกรอบ
7. ช้อนฟองขาวๆ ทิ้งให้หมด
8. เมื่อลูกตาลได้ที่ ให้ปิดแก๊ส แล้วรอให้ลูกตาลเย็นสนิท ตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ
24

4.13 ขนมชั้นใบเตย

รูปที่ 4.5 ขนมชั้นใบเตย


ส่วนผสม ขนมชั้น
- แป้งมัน 120 กรัม - หางกระทิ 280 มล. (กะทิ 140 กรัม + น้ำ 140 กรัม)
- แป้งท้าวยายม่อม 40 กรัม - น้ำใบเตยเข้มข้น 50 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 10 กรัม - น้ำสะอาด 50 กรัม
- น้ำตาลทราย 250 กรัม - เกลือ 1 ช้อนชา
- หัวกระทิ 250 มล.
วิธีทำขนมชั้น
1. เตรียมชามผสมใส่แป้ง 3 อย่างลงไป ใส่น้ำตาลทราย เกลือ คนให้ส่วนผสมของแห้งให้เข้ากันแล้วพักไว้ก่อน
2. เอาหม้อตั้งไฟ ใส่หางกระทิ ต้มให้เดือด
3. ชามแป้งที่ผสมไว้ ใส่หัวกะทิลงไป ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันดี ใส่หางกะทิที่ต้มให้เดือด คนพอเข้ากัน แล้ว
กรองด้วยตะแกรงตาถี่ จะได้แป้งที่เนียนดี
4. จากนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกใส่สีเขียวจากน้ำใบเตยที่เตรียมไว้ ส่วนที่สองใส่น้ำคนให้เข้ากัน
5. ต้มน้ำให้เดือดใส่ใบเตยฉีกลงไป เวลาที่นึ่งขนมชั้นจะได้มีกลิ่นหอมด้วยค่ะ เอาถาด กล่องใส่ขนมชั้น ไปนึ่งให้
ร้อน ประมาณ 5 นาที
6. นำน้ำขนมชั้นสีเขียวมาเทใส่พิมพ์ อย่าลืมคนแป้งทุกครั้งก่อนเทใส่พิมพ์ แบ่งใส่ชั้นละเท่าๆ กัน นึ่งชั้นละ 5
นาที สลับสีเขียวกับขาว ชั้นบนๆ อาจจะใช้เวลานึ่งนานขึ้นอีกหน่อย เพราะขนมจะหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำแบบนี้
สลับกันจนเสร็จเลย
7. พักขนมชั้นไว้ให้เย็น แล้วถึงเอาออกจากพิมพ์ ถ้าร้อนจะออกจากพิมพ์ยาก ขนมจะไม่สวย
8. เอาออกจากให้ตัดเป็นชิ้นๆ ตามขนาดที่ชอบเลย
25

4.14 ข้าวต้มมัด

รูปที่ 4.6 ข้าวต้มมัด


ส่วนผสม ข้ามต้มมัด
- ข้าวเหนียวใหม่ 500 กรัม (แช่น้ำ 4 ชั่วโมง)
- กล้วยน้ำว้า 10 ลูก
- น้ำตาลทราย 230 กรัม
- เกลือ 2 ช้อนชา
- งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
- ถั่วเขียวนึ่ง 1 ถ้วย
- กะทิ 500 มิลลิกรัม
- อุปกรณ์ห่อข้าวต้ม
- ใบตอง
- ตอก แช่น้ำ 1 คืน
- กาบกล้วย แช่น้ำ 1 คืน
วิธีทำ ข้าวต้มมัดไส้กล้วย
1. เริ่มจากกระทิใส่กะทิลงไป ใส่เกลือ รอให้เดือด ใส่ข้าวเหนียวลงไป กวนจนเกือบแห้ง ใส่น้ำตาลทรายลงไป
คนไปในทางเดียวกัน เบาๆ จนแห้งดี เทใส่ชามที่รองด้วยใบตองพักไว้ให้เย็นก่อนค่ะ
2. เตรียมกล้วยน้ำว้า ปอกกล้วยหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดตามต้องการ โรยเกลือนิดนึงเพื่อไม่ให้กล้วยดำ
3. เตรียมห่อข้าวต้ม ใช้ใบตอง 2 ใบ ประกบกัน ตักข้าวเหนียววางลงไปก่อน ตามด้วยกล้วย 1 ชิ้น ใส่ถั่ว งา
ขาว และตักข้าวเหนียวโปะะหน้านิดหน่อย แล้วห่อ ทำ 2 ชิ้น ประกบกันมัดด้วยตอกหรือเชือกกล้วย
4. นำข้าวต้มมัดเรียงใส่ซึ้งเตรียมไว้ก่อน ต้มน้ำให้เดือดเอาซึ้งข้าวต้มมัดไปนึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
26

4.15 ขนมถ้วย

รูปที่ 4.7 ขนมถ้วย


ส่วนผสม ขนมถ้วย
- ส่วนผสม ตัวขนม - ใบเตย 1 ถ้วย
- แป้งข้าวเจ้า 180 กรัม - สีเขียวผสมอาหาร,กลิ่นใบเตย
- แป้งมัน 80 กรัม - ส่วนผสม หน้าขนม
- แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ - หัวกะทิ 600 มิลลิลิตร-น้ำ 150 มิลลิลิตร
- กะทิ 200 กรัม - แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม - เกลือป่น 2 ช้อนชา
- น้ำ 700 มิลลิลิตร (รวมใช้ปั่นใบเตยด้วย) - น้ำตาลทราย 30 กรัม
วิธีทำ ขนมถ้วย
1. เริ่มจากน้ำใบเตยเอาใบเตยใส่เครื่องปั่นใส่น้ำนิดหน่อยปั่นให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางจะได้น้ำใบเตยใสๆ
2. การทำตัวขนม เตรียมชามผสม น้ำตาลปี๊บ ใช้มือบี้ ขยำ ใส่น้ำทีละน้อย คนจนน้ำตาลละลายดี ใส่แป้งท้าว
ยายม่อม แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า ใช้ตะกร้อคนให้เข้ากัน เติมน้ำส่วนที่เหลือ ใส่กะทิ ใส่น้ำใบเตย แต่งกลิ่นใบเตย
และสีเขียวผสมอาหาร เพื่อให้สีสวยขึ้น กรองแป้งด้วยตะแกรง เพื่อให้แป้งเนียนดี พักตัวขนมไว้ก่อน
3. การทำหน้าขนม เตรียมชามผสม ใส่เกลือน้ำตาล แป้ง คนพอเข้ากัน ใส่กะทิ น้ำสะอาด คนพอเข้ากันดี
กรองด้วยตะแกรงตาถี่ เพื่อให้แป้งเนียนดี
4. การนึ่งขนมถ้วยใบเตย ต้มน้ำให้เดือด ตั้งซึ้งนึ่งถ้วยขนมให้ร้อนก่อน ใช้ไฟแรง หยอดตัวขนมลงไปในถ้วย
ประมาณ 3/4 เสร็จแล้วปิดฝา นึ่งประมาณ 5-7 นาที ยกซึ้งขนมออกจากเตาก่อนหยอดหน้าขนม ตักน้ำกะทิ
ที่ทำหน้าขนม ใส่ให้เต็มๆ ถ้วย และนำไปนึ่งต่ออีก 5-7 นาที สุกแล้วก็ยกลงจากเตาพักไว้ให้เย็น
เพื่อที่เวลาแคะขนมจะได้ง่าย
27

4.16 ฝอยทองกรอบ

รูปที่ 4.8 ฝอยทองกรอบ


ส่วนผสม ฝอยทองกรอบ
- ไข่เป็ด 20 ฟอง
- ไข่ไก่ 10 ฟอง
- น้ำตาลทราย 1,000 กรัม
- น้ำตาลทราย สำหรับเติมระหว่างทำฝอยทอง
- น้ำสะอาด 1,000 มิลลิลิตร
- กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา
วิธีทำ ฝอยทองกรอบ
1. ตอกไข่เป็ดและไข่ไก่ แล้วแยกเฉพาะไข่แดง การแยกไข่แดง ควรดึงเมือก สะดือไข่ออกให้หมดแล้วเอาไข่มา
กรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อให้ได้ไข่แดงที่เนียนดี
2. นำไข่ขาวไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ตักไข่ขาวใส่ชามไข่แดง 2-3 ช้อนเพื่อให้เป็นสาย โรยง่าย และเส้นสวย ใส่
กลิ่นมะลิ คนให้เข้ากัน
3. ต้มน้ำให้เดือด ใส่ใบเตย ต้มพอหอมๆ ตักใบเตยออก ใส่น้ำตาลทรายไป คนให้น้ำตาลละลาย หยอดไข่แดง
เป็นวงกลมเป็นแพใหญ่ๆ ตักออก โดยใช้ตะเกียบยาวๆ ช้อนขึ้น พับครึ่ง ให้จับกับเป็นแพ ล้างวนด้วยน้ำเชื่อม
ไปมา จากนั้นตักออกพักไว้ในตะแกรง รอให้สะเด็ดน้ำเชื่อม
4. เมื่อโรยไข่รอบต่อไป ให้เติมน้ำตาลทรายประมาณ 1-2 ช้อน แล้วค่อยโรยไข่ลงไป น้ำตาลจะช่วยทำให้
ฝอยทองเก็บได้นานและกรอบง่ายค่ะ
5. ม้วนฝอยทองเป็นก้อนๆ เรียงใส่ตะแกรงหรือกระด้ง เรียงไว้ ผึ่งลมให้แห้งดี
28

4.17 ข้าวเหนียวแก้ว

รูปที่ 4.9 ข้าวเหนียวแก้ว


ส่วนผสม ข้าวเหนียวแก้ว
- ข้าวเหนียวใหม่ 500 กรัม (แช่น้ำ 1 คืน) - สีเขียว จากน้ำใบเตย
- กะทิ 500 กรัม - สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน
- น้ำสะอาด 200 กรัม
- น้ำตาลทราย 400 กรัม (ส่วนที่ 1 ใส่ในน้ำกะทิ)
- น้ำตาลทราย 200 กรัม (ส่วนที่ 2 ใส่ตอนกวน)
- เกลือ 5 กรัม
- สีผสมอาหาร (สีแดง)
วิธีทำ ข้าวเหนียวแก้ว
1.เริ่มจากการนึ่งข้าวเหนียว นำข้าวเหนียวใหม่ล้างน้ำให้สะอาดจนน้ำใส แช่น้ำ 1 คืน หรือ 4-6 ชั่วโมง
แล้วเทน้ำออกพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมซึ้ง รองด้วยผ้าขาวบาชุบน้ำหมาดๆ เทข้าวเหนียวลงไป ทำหลุมตรงกลาง นำไปนึ่งในน้ำเดือด
ประมาณ 40-50 นาที หรือจนข้าวเหนียวสุกนุ่มดี
3. เตรียมชามผสม ใส่น้ำกะทิลงไป ตามด้วยเกลือ น้ำตาลทรายส่วนที่ 1 คนให้น้ำตาลทรายละลายดี แล้วนำ
ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วร้อนๆ ใส่ลงในชามกะทิที่ผสมไว้ ใช้พายกวนให้เม็ดข้าวเหนียวแตกตัวดี คนเบาๆ อย่าให้
เม็ดข้าวหัก ปิดฝาพักไว้ประมาณ 20 นาที
4. แบ่งข้าวเหนียวออกเป็น 3 ส่วน เพื่อทำสามสี สีแรกคือสีเขียวได้จากน้ำใบเตย ใส่น้ำตาลทรายเพิ่ม ใส่สีเขียว
ลงไป ถ้าชอบสีเข้มสามารถใส่เพิ่มได้ตามต้องการ แล้วนำไปกวนไฟอ่อนๆ จนแห้ง
5. ทำสีที่สองคือ สีน้ำเงินจากน้ำอัญชัน ใส่น้ำตาลเพิ่ม กวนจนแห้งเลย
29

4.18 เปียกปูนกะทิสด

รูปที่ 5.0 เปียกปูนกะทิสด


ส่วนผสม เปียกปูนกะทิสด
- แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
- แป้งท้าว, ท้าวยายม่อม 50 กรัม
- น้ำตาลโตนด 100 กรัม
- น้ำตาลทราย 50 กรัม
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำมะพร้าว 250 กรัม
- น้ำปูนใส 250 กรัม
- น้ำใบเตย 400 กรัม
- กะทิถุงพาสเจอร์ไรส์ 200 กรัม
หน้ากะทิสด
- กะทิถุงพาสเจอร์ไรส์ 300 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวอ่อน 100 กรัม
- งาคั่ว
30

วิธีทำ เปียกปูนกะทิสด
1. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าว น้ำตาลทราย น้ำตาลโตนด เกลือ และน้ำกะทิ ใส่ทีละนิด แล้วใช้มือค่อยๆ นวด
แป้งให้ทุกอย่างเข้ากันดี
2. ตามด้วยน้ำมะพร้าว น้ำปูนใส น้ำใบเตยเข้มข้น ใช้ตะกร้อมือ คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี จากนั้นมากรองใส่
กระทะที่เราจะกวนแป้ง
3. จากนั้นนำไปตั้งไฟกลาง กวนจนกระทั่งแป้งสุก โดยต้องกวนไปทางเดียวกัน กวนให้ถึงก้นกระทะ เมื่อแป้ง
จับตัวกัน ให้เริ่มคนให้แรงขึ้นจนสุกดี สังเกตว่าแป้งเริ่มใส ถือว่าใช้ได้
4. นำมาหยอดใส่ถ้วยพิมตามชอบ จากนั้นพักไว้
5. มาเตรียมในส่วนของหน้ากะทิ นำกะทิเทลงในภาชนะผสม แป้งข้าวเจ้า และเกลือ คนผสมให้เข้ากันดี
6. จากนั้นนำไปตั้งไฟกลาง ใช้ตะกร้อมือคนไปในทางเดียวกันเรื่อยๆ รอจนหน้ากะทิเดือดและข้นขึ้นมา ตาม
ด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อนที่หั่นเตรียมไว้
7. คนด้วยไฟกลางต่อเนื่อง รอจนหน้ากะทิเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้เก็บได้นาน จากนั้นก็ปิดเตา นำลงมา
หยอดด้านบนเปียกปูนที่ทำไว้ โรยด้วยงาคั่วด้านบน เป็นอันเสร็จ6. ข้าวเหนียวส่วนที่สาม ทำสีแดง ได้จากสี
ผสมอาหาร ใส่น้ำตาล กวนจนแห้ง
31

4.19 กล้วยบวชชีมะพร้าว

รูปที่ 5.1 กล้วยบวชชีมะพร้าว


ส่วนผสม กล้วยบวชชี
- กล้วยน้ำว้า 1 หวี (สุกใหม่)
- หัวกะทิ 700 ml (กะทิกล่อง )
- เนื้อมะพร้าวอ่อน
- น้ำมะพร้าว 200 ml
- น้ำตาลทราย 100 g
- น้ำตาลมะพร้าว 100 g
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ตัดกล้วยเป็นลูกๆ หั่นครึ่ง
2. ต้มน้ำให้เดือด โดยในน้ำให้ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย ใส่กล้วยทั้งเปลือกลงไปต้มในน้ำเดือดประมาณ
10-15 นาที ตักออกพักไว้ให้เย็น ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ หรือเล็กใหญ่ตามชอบ
3. เตรียมหม้อใส่กะทิ ใส่น้ำมะพร้าวสด น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทราย เกลือ นำหม้อขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือดดูให้
น้ำตาลละลายดี ใส่กล้วยที่หั่นไว้ลงไป ต้มให้เดือดอีกรอบ ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป ต้มพอเดือดอีก แล้วลองชิม
รสชาติปรุงให้ได้ตามชอบ
32

4.20 ขนมกลีบลำดวน

รูปที่ 5.2 ขนมกลีบลำดวน


ส่วนผสม ขนมกลีบลำดวน
- แป้งสาลีเอนกประสงค์ 450 g
- น้ำตาลทรายไอซิ่ง 180 g
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 200 g
- สีแดง สีผสมอาหาร
- เทียนอบขนม
วิธีทำ ขนมกลีบลำดวน
1. เริ่มจากการเตรียมชามผสม ตะแกรงร่อนแป้ง ใส่แป้งสาลี น้ำตาลไอซิ่ง เกลือ ผสมพอเข้ากัน ค่อยๆ เทน้ำมัน
พืชใส่ลงไป
2. ค่อยๆ นวดจนเป็นก้อนเดียวกัน แล้วคลุมพลาสติก พักแป้งไว้ 2-3 ชั่วโมง
3. นำแป้งมานวดอีกรอบ แบ่งแป้งบางส่วนมาผสมสีแดงเพื่อทำเป็นเกสร ส่วนสีขาวแบ่งเป็นก้อนเท่าๆ กัน
ปั้นเป็นก้อนกลมไว้ หั่นเป็น 4 ส่วน ติดเกสรสีแดงตรงกลาง ตักวางบนถาดอบ เรียงกันไว้ โดยเว้นระยะห่าง
นิดนึง เพื่อไม่ให้ขนมติดกัน
4.วอร์มเตาอบไว้ที่ 120 องศา ไฟบนล่าง เปิดพัดลม นำขนมเข้าเตาอบ อบนานประมาณ 30-60 นาที แล้วแต่
ขนาดเตาอบและปริมาณขนมด้วยหมั่นสังเกตดูจนสุกเมื่ออบสุกแล้วพักไว้ให้เย็นแล้วจึงนำขนมออกจากถาดอบ
5. เรียงขนมใส่โหล หรือภาชนะที่มีฝาปิด
6. นำเทียนอบขนมจุดพอไหม้ ดับให้เกิดควัน แล้ววางตรงกลางชามขนม ปิดฝาอบประมาณ 20-30 นาที ทำซ้ำ
แบบนี้ 2-3 รอบ เพื่อให้ขนมหอมดี เป็นอันเสร็จ
33

4.21 สาคูข้าวโพดมะพร้าวอ่อน

รูปที่ 5.3 สาคูข้าวโพดมะพร้าวอ่อน


ส่วนผสม สาคูต้นข้าวโพดมะพร้าวอ่อน
- ข้าวโพด 250 กรัม
- เนื้อมะพร้าว ตามชอบ
- ใบเตย 3 ใบ
- สาคูต้น 250 กรัม
- น้ำตาลทราย 400 กรัม
- กระทิ 500 ml
วิธีทำ สาคูต้นข้าวโพดมะพร้าวอ่อน
1. ตั้งน้ำในหม้อให้เดือด ใส่ข้าวโพดลงไปต้มจนสุก ตักพักไว้
2. ตั้งน้ำให้เดือดอีกหม้อ ใส่ใบเตยลงไปต้มให้เดือด ตัดใบเตยออก จากนั้นนำสาคูต้นลงไป ต้มและคนแบบไว
ไปเรื่อยๆ จนสาคูเริ่มข้นและเหนียว
3. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้น้ำตาลละลายเข้ากัน จากนั้นใส่เนื้อข้าวโพดที่ต้มพักไว้ลงไป คนให้เข้ากัน ตาม
ด้วยเนื้อมะพร้าวขูดตามชอบ
4. ตั้งกระทิในหม้อ ใส่ใบเตยลงไปต้มให้เดือด ตักใบเตยออก
5. ตักสาคูต้นใส่ชาม ท็อปด้านบนด้วยน้ำกระทิใบเตยที่ต้มไว้ พร้อมเสิร์ฟ
34

4.22 ขนมลืมกลืน

รูปที 5.4 ขนมลืมกลืน


ส่วนผสม ขนมลืมกลืน
ส่วนผสมตัวขนม
- แป้งถั่วเขียว 70 กรัม - น้ำเปล่า 620 กรัม
- แป้งท้าว 1 ช้อนชา - กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 165 กรัม - เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
- น้ำเปล่า 620 กรัม
ส่วนผสมหน้ากะทิ
- แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ - กะทิ 225 กรัม
- แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ - ถั่วเขียวอบเกลือ (ตามชอบ)
- เกลือป่น 1 + 1/4 ช้อนชา
วิธีทำ ขนมลืมกลืน
1. นำแป้งถั่วเขียว แป้งท้าว น้ำตาลทราย และเกลือมาผสมกับน้ำเปล่าเติมกลิ่นมะลิ
แล้วคนผสมให้แป้งละลายเข้ากันดี
2. แบ่งส่วนผสมแยกใส่ชาม จำนวนตามสีที่ต้องการ
3. ใส่สีผสมอาหารตามต้องการ (อย่าใส่เยอะไปเพราะพอแป้งสุกสีจะเข้มขึ้น)
4. นำแป้งทีละสีมากวน คอยคนอยู่เสมอระวังอย่าให้แป้งไหม้ กวนจนแป้งสุก สังเกตุว่าแป้งจะมีลักษณะใส
5. ยกกระทะลงจากเตา แล้วนำขนมมาตัดใส่ถ้วยขนาดพอดีคำ (ทำเหมือนเดิมจนได้ขนมครบทุกสี)
6. ทำหน้ากะทิ เริ่มจาก ผสมกะทิ แป้งถั่วเขียว แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย และเกลือ
7. เปิดเตา และกวนจนกะทิสุกดี ยกลงจากเตาจากนั้นตักใส่ถุงบีบ แล้วนำมาบีบบนหน้าขนม
35

4.23 ขนมครกสิงคโปร์

รูปที่ 5.5 ขนมครกสิงคโปร์


ส่วนผสม ขนมครกสิงคโปร์
- แป้งมัน 75 กรัม - ผงฟู 13 กรัม
- แป้งถั่วเขียว 25 กรัม - เกลือ 3 กรัม
- แป้งเค้ก 185 กรัม - ไข่ไก่เบอร์ 2 3 ฟอง
- กะทิ 250 กรัม - น้ำใบเตย 250 กรัม
- น้ำตาล 180 กรัม - กลิ่นและ สี ตามชอบ
- น้ำมันรำข้าว 55 กรัม
วิธีทำ ขนมครกสิงคโปร์
1.นำแป้งมัน แป้งถั่วเขียว แป้งเค้ก และผงฟูร่อนรวมกันลงไปในอ่างผสม พักเอาไว้
2.จากนั้นตีไข่ให้ขึ้นฟู ค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปทีละน้อย จากนั้นเทน้ำมันรำข้าวลงไป เทให้เป็นสายต่อเนื่อง
3.เมื่อเข้ากันดีแล้ว ใส่แป้งที่ผสมเอาไว้ลงไปครึ่งเดียวก่อน ใช้ไฟต่ำ เพื่อไม่ไห้แป้งฟุ้งกระจาย ตีแค่พอให้
ส่วนผสมเข้ากัน
4.จากนั้นใส่กะทิ และน้ำใบเตยลงไป ตามด้วยแป้งส่วนที่เหลืออีกครึ่ง ตีผสมให้เข้ากัน สังเกตดูสี หากต้องการ
กลิ่นที่หอมขึ้น สีสันสดใสให้เติมกลิ่น และสีผสมอาหารลงไป จากนั้นยอดแป้งลงในพิมพ์
5.ควรวอร์มเตาให้ร้อนก่อน จากนั้นเทแป้งลงไป 3 ส่วน 4 ของพิมพ์ จุดสังเกตเมื่อขนมสุกจะฟูขึ้นมาแห้ง
ไม่เป็นน้ำ เป็นอันเสร็จ
36

4.24 สังขยาไข่โบราณ

รูปที่ 5.6 สังขยาไข่โบราณ


ส่วนผสม สังขยาไข่โบราณ
- ไข่เป็ด 4 ฟอง
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ
- หัวกะทิ 250 มิลลิลิตร
- น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนด แท้ 100 กรัม (แนะนำให้ชิมทุกครั้ง เนื่องจากน้ำตาลแต่ละที่ต่างกัน)
- ใบเตยหอม 2-3 ใบ
วิธีทำ สังขยาไข่โบราณ
1. นำไข่เป็ดและไข่ไก่ ใส่อ่างผสม รวมกับน้ำตาลมะพร้าว น้ำเปล่า หัวกะทิ และใบเตย
2. ใช้มือขยำส่วนผสมให้เข้ากันดี และน้ำตาลละลายดี
3. นำส่วนผสมมากรองเพื่อเอาใบเตยออก
4. ตั้งซึ้งให้น้ำเดือด จากนั้นปรับลงไฟลงให้เหลือกลางค่อนอ่อน แล้วนำสังขยาลงไปนึ่งจนสุก
5. นำสังขยาลงมาพักให้เย็น พร้อมทาน
37

4.25 เงาะลอยแก้ว

รูปที่ 5.7 เงาะลอยแก้ว


ส่วนผสมเงาะลอยแก้ว
- เงาะ 1-3 kg.
- น้ำเปล่า 500 ml.
- น้ำตาล 200 ml
วิธีทำ
1. คว้านเม็ดเงาะออก แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด พักเอาไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. ต้มน้ำให้เดือด แล้วปรับไฟอ่อน ใส่น้ำตาลลงไป แล้วเคี่ยวให้ละลาย
3. น้ำเชื่อมเดือดแล้วจึงใส่เงาะลงไป คนนิดหน่อย แล้วปล่อยให้เดือดอีกรอบ
38

4.26 บัวลอยเสียบไม้

รูปที่ 5.8 บัวลอยเสียบไม้


ส่วนผสม
- แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย - น้ำเปล่า (แป้งฟักทอง) 50 มิลลิลิตร
- แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย - หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร
- มันม่วงบด 50 กรัม - น้ำตาลทราย ½ ถ้วย
- ฟักทองบด 50 กรัม - เกลือ ½ ช้อนชา
- น้ำใบเตย 50 มิลลิลิตร - งาขาว และงาดำ ตามชอบ
- น้ำเปล่า (แป้งมันม่วง) 50 มิลลิลิตร - น้ำตาลแดง ตามชอบ
วิธีทำ
1. นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง เทหัวกะทิลงไป ตามด้วยน้ำตาลทราย และเกลือ คนให้เข้ากัน และต้มจนเดือด
2. แบ่งแป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเจ้า เป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน (ส่วนละ ⅓ ถ้วย) ถ้วยแรกใส่มันม่วงบด และ
น้ำเปล่า (แป้งมันม่วง) นวดให้เข้ากันจนแป้งไม่ติดมือ ถ้วยที่สองใส่ฟักทองบด และน้ำเปล่า (แป้งฟักทอง) นวด
ให้เข้ากันจนแป้งไม่ติดมือ ถ้วยที่สาม ใส่น้ำใบเตย นวดให้เข้ากันจนแป้งไม่ติดมือ ปั้นบัวลอยขนาดประมาณเท่า
เหรียญห้า หรือตามชอบ จากนั้นนำมาเสียบไม้ และนำไปแช่เย็นให้เซตตัว 20 นาที
นำบัวลอบเสียบไม้ไปต้มในน้ำเดือดจัดจนสุก และตักออกใส่น้ำเย็นเพื่อให้เซตตัว
3. จัดบัวลอยเสียบไม้ใส่จาน โรยงาขาว งาดำ และน้ำตาลแดง ราดน้ำราดที่เตรียมไว้ พร้อมเสิร์ฟ
39

4.27 ขนมเหนียว

รูปที่ 5.9 ขนมเหนียว


ส่วนผสม
- แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
- แป้งข้าวเจ้า ¼ ถ้วยตวง
- ข้าวสารเหนียวแช่น้ำ ¼ ถ้วยตวง
- มะพร้าวขาวขูดนึ่งผสมเกลือ 1 ถ้วยตวง
- น้ำตาลมะพร้าว ½ ถ้วยตวง
- เกลือ ½ ช้อนชา
- น้ำลอยดอกมะลิ 1/2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. คั่วข้าวเหนียวในกระทะที่แห้งสนิทด้วยไฟกลาง จนข้าวเหนียวค่อย ๆ สุกพอง มีสีน้ำตาลทอง
จากนั้นตั้งน้ำเชื่อม โดยการตั้งน้ำตาลมะพร้าวและน้ำลอยดอกมะลิ ¼ ถวยตวง แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
จนซอสหนืด
2. ร่อนแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้าและเกลือให้เข้ากัน
จากนั้นทยอยผสมกับน้ำลอยดอกมะลิ นวดจนแป้งไม่ติดมือ แล้วนำไปนึ่งจนแป้งสุกใสประมาณ 15 20 นาที
และนำมาปั้นเป็นก้อนรี คลุกกับมะพร้าวขูดขาวนึ่ง
3. จัดเสิร์ฟโดยการเรียงแป้งคลุกมะพร้าวขูดขาวนึ่ง ราดด้วยน้ำเชื่อม และโรยข้าวเหนียวคั่วสุก
40

4.28 ครองแครงอัญชันกะทิ

รูปที่ 6.0 ครองแครงอัญชันกะทิ


ส่วนผสม
- แป้งมัน 2 ถ้วยตวง
- แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
- น้ำเปล่า 1½ ถ้วยตวง
- ดอกอัญชันสด 20 ดอก
- กะทิอบควันเทียน 1 ลิตร
- น้ำตาลทราย 1¼ ถ้วยตวง
- เกลือ 1 ช้อนชา
- งาขาวคั่ว สำหรับโรยหน้า
วิธีทำ
ผสมแป้งมันกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน แล้วแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน
1. ต้มดอกอัญชัน จนออกสเข้ม แล้วกรองเอาแต่น้ำ แบ่งออกเป็น 2 ถ้วย ถ้วยแรก ⅔ ส่วน
2. เทน้ำต้มดอกอัญชันถ้วยแรก ลงในถ้วยแป้งที่แบ่งไว้ เอาไม้พายตะล่อมเร็ว ๆ ให้เข้ากันแล้วค่อยนวด
ด้วยมือให้เข้ากัน
3. ทำถ้วยที่สองแบบเดียวกัน แต่ใช้น้ำดอกอัญชันสีอ่อนนำแป้งที่นวดเตรียมไว้ มาแบ่งเป็นก้อนเล็ก ๆ
ประมาณหัวนิ้วก้อย แล้วนำไปกดลงพิมพ์ครองแครง กดรูดไปด้านหน้า จะทำให้เกิดลายขึ้น
4. นำตัวครองแครงที่ทำไว้ลงต้มในน้ำเดือดเมื่อสุกแล้วจะลอยขึ้นให้ตักแล้วนำลงแช่น้ำเย็นเพื่อไม่ให้แป้งเกาะ
41

4.29 อินทนิล

รูปที่ 6.1อินทนิล
ส่วนผสม
- แป้งมันสำปะหลัง 2 ถ้วยตวง
- น้ำมะพร้าว 1½ ถ้วยตวง
- เฮลซ์บลูบอย กลิ่นครีมโซดา ½ ถ้วยตวง
- กะทิ 3 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
- เกลือ ½ ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวอ่อน สำหรับโรยหน้า
วิธีทำ
1. ตั้งหม้อบนเตา ใช้ไฟกลาง ใส่หัวกะทิ ลงไป เมื่อหัวกะทิเริ่มร้อน ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไป
คนให้ละลายเข้ากันดี
2. เทแป้งมันสำปะหลัง น้ำมะพร้าว และ เฮลซ์บลูบอย กลิ่นครีมโซดา ลงในกระทะทองเหลือง คนผสมให้เข้า
กัน แล้วนำขึน้ ตั้งไฟอ่อนกวนไปเรื่อย ๆ จนแป้งเริ่มสุกใส แล้วจึงยกขึ้น
3. เมื่อแป้งเริ่มเย็นลง ดึงแป้งออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ พอดีคำ ปั้นให้พอกลม แล้วใส่ลงไปในหม้อกะทิ
ปั้นจนแป้งหมด ตักใส่ถ้วย จัดเสิร์ฟ โรยเนื้อมะพร้าวอ่อน เท่านี้ก็พร้อมอร่อยกัน
4. ตั้งหม้อใช้ไฟกลาง ใส่กะทิ น้ำตาล และเกลือ คนให้ละลายเข้ากัน
5. ตักครองแครงที่ต้มไว้ใส่ถ้วย ราดด้วยกะทิ โรยหน้าด้วยงาขาวคั่ว พร้อมรับประทาน
42

4.30 สาคูไส้หมู

รูปที่ 6.2 สาคูไส้หมู


ส่วนผสม
- สาคูเม็ดเล็ก 250 กรัม - ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- หมูสับ 270 กรัม - ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- รากผักชี 2 ราก - หัวไชโป๊เค็ม 100 กรัม
- กระเทียม 3 กลีบ - น้ำอัญชัน สำหรับแช่สาคู
- พริกไทย 1 ช้อนชา - น้ำกระเจี๊ยบ สำหรับแช่สาคู
- หอมแดงสับ 5 หัว - กระเทียมเจียว สำหรับโรยหน้า
- น้ำตาลปี๊บ 150 กรัม - ผักกาดหอมและพริกสดสำหรับกินเคียง
วิธีทำ
1. นำรากผักชี กระเทียมและพริกไทย มาโขลกให้ละเอียด แล้วนำลงผัดในน้ำมันให้ส่งกลิ่นหอม ตามด้วย
หอมแดง และหมูสับผัดจนพอสุก
2. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ซีอิ๊วขาว ใส่ถั่วลิสงคั่วบด หัวไชโป๊เค็มลงไปผัดให้เข้ากัน แล้วพักไว้จนเย็น
3. นำสาคูมาแบ่งเป็น 3 ส่วน แล้วนำไปแช่ใน น้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำเปล่า เพื่อให้ได้สีที่แตกต่างกัน
แช่ประมาณ 10 นาที แล้วรินน้ำออก
4. ปั้นไส้ที่พักไว้จนเย็นให้เป็นก้อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำเม็ดสาคูที่แช่น้ำไว้มาห่อ
คลุมให้รอบ
5. ทาน้ำมันให้ทั่วลังถึง แล้วนำสาคูไส้หมูที่ปั้นไว้ไปนึ่ง 10 นาที หรือจนกระทั่งสาคูสุกใส
นำขึ้นคลุกน้ำมันกระเทียมเจียวแล้วจัดเสิร์ฟพร้อมกับผักเคียง
43

4.31 ขนมตาล

รูปที่ 6.3 ขนมตาล


ส่วนผสม
- เนื้อลูกตาลสุก 200 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม
- กะทิ 320 มิลลิลิตร
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
- ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1 ช้อนชา
- มะพร้าวขูด ตามชอบ
วิธีทำ
1. เทกระทิใส่ชามผสม ตามด้วยน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
2. ใส่เนื้อลูกตาลสุก และตีให้เข้ากัน
3. ใส่แป้งข้าวเจ้าลงไป ผงฟู และเกลือ ตีให้เข้ากัน จากนั้นกรองเพื่อให้เนื้อแป้งเนียนขึ้น จากนั้นพักแป้งไว้ 10
นาที เพื่อให้แป้งเซตตัว
4. นำพิมพ์ใบตองไปนึ่ง 1 นาที ก่อนหยอดแป้ง เพื่อไม่ให้แป้งติดพิมพ์หลังจากนึ่ง
หยอดแป้งลงไปจนเต็มพิมพ์ นึ่ง 20 นาที ยกออกจากเตา และพักไว้ให้เย็น
5. จัดขนมตาลใส่จาน และโรยมะพร้าวขูด พร้อมเสิร์ฟจ้า
44

4.32 มันม่วงฉาบ

รูปที่ 6.4 มันม่วงฉาบ


ส่วนผสม
- มันม่วง 1 กิโลกรัม
- น้ำมันสำหรับทอด 1 ลิตร
- น้ำตาลปี๊บ 300 กรัม
- เกลือ ½ ช้อนชา
วิธีทำ
1. ปอกเปลือกมันม่วง และฝานให้เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 1 มิลลิเมตร เตรียมไว้
2. นำกระทะขึ้นตั้งไฟกลาง เทน้ำมันลงไป และรอจนร้อน
3. นำมันม่วงลงไปทอดจนกรอบ และตักขึ้นพักไว้เพื่อสะเด็ดน้ำมัน
4. นำกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลปี๊บ และเกลือ เคี่ยวจนละลายแล้วปิดไฟ
5. ใส่มันม่วงทอดลงไปคลุกให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟจ้า
45

4.33 ทับทิมกรอบ

รูปที่ 6.5 ทับทิมกรอบ


ส่วนผสม
- แห้วปอกเปลือกต้มสุก 300 กรัม
- แป้งมันสำปะหลัง 150 กรัม
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
- น้ำ 200 มิลลิลิตร
- หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร
- ใบเตย 3 ใบ
- เกลือ ½ ช้อนชา
- สีผสมอาหารสีแดง ½ ช้อนชา
วิธีทำ
1. หั่นแห้วเป็นชิ้นเต๋าขนาด 1 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่ในน้ำเปล่าที่ผสมสีผสมอาหารสีแดงไว้ เป็นเวลา 15
นาที สีแดงที่ละลายน้ำไว้จะซึมเข้าไปในแห้ว ทำให้เปลี่ยนเป็นสีแดง
2. นำแห้วที่เปลี่ยนเป็นสีแดงแล้ว ไปซับน้ำออกให้พอหมาด แล้วนำไปคลุกกับแป้งมันให้ทั่ว
3. ตั้งหม้อ ต้มน้ำให้เดือดนำแห้วที่คลุกแป้งมันแล้วมาร่อนเอาแป้งส่วนเกินออก แล้วใส่ลงไปต้มในน้ำเดือดเมื่อ
แป้งที่เคลือบแห้วเริ่มเปลี่ยนเป็นสีใส และตัวทับทิมกรอบลอยขึ้นมาแสดงว่าสุกแล้วให้ตักขึ้นลงแช่ในน้ำเย็นจัด
เพื่อให้แป้งเซตตัว
4. ตั้งหม้อบนเตา ใช้ไฟกลาง ใส่หัวกะทิ และใบเตยลงไป เมื่อหัวกะทิเริ่มร้อน ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไป
คนให้ละลายเข้ากันดี
5. ตักทับทิมกรอบใส่ชาม ราดด้วยน้ำกะทิ อาจใส่น้ำแข็งเพิ่มเติมเพื่อความเย็นสดชื่น
46

4.34 ขนมเข่ง

รูปที่ 6.6 ขนมเข่ง


ส่วนผสม
- แป้งข้าวเหนียว 350 กรัม - กะทิ 300 มิลลิลิตร
- ข้นจืด ตรามะลิโกลด์ 80 มิลลิลิตร - น้ำตาลปี๊บ 100 กรัม
- น้ำอัญชันเข้มข้น 3 ช้อนโต๊ะ - น้ำใบเตยเข้มข้น 3 ช้อนโต๊ะ
- แปะก๊วยเชื่อม 1/2 ถ้วยตวง
- เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้น 1 ถ้วยตวง
- น้ำมันพืชสำหรับทากระทง
วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเหนียว กับน้ำตาลปี๊บเข้าด้วยกัน ทยอยเติมน้ำกะทิแล้วนวดไปเรื่อย ๆ ให้น้ำตาลปี๊บละลาย
แล้วใส่ ข้นจืด ตรามะลิโกลด์ คนผสมให้เข้ากัน พักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
2. นำแป้งที่พักไว้มาเทกรอง แบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน แล้วผสมน้ำอัญชันเข้มข้น และน้ำใบเตยเข้มข้น ลง
อย่างละถ้วย คนผสมให้เข้ากัน
3. ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้นลงในทั้งสองถ้วย แล้วคนให้เข้ากันอีกที
4. ทากระทงขนมเข่งด้วยน้ำมันพืชบาง ๆ แล้ววางเรียงลงในลังถึง
5. นำแป้งที่ผสมสีแล้วมาเทลงกระทง แล้ววางมะพร้าวอ่อนหั่นเส้นด้านบนเล็กน้อย ตามด้วยวางแปะก๊วยเชื่อม
6. นำขึ้นนึ่งไฟระดับกลางเป็นเวลา 25 นาที พอสุกแล้วนำขนมเข่งขึ้น ทาน้ำมันพืชที่ผิวหน้าขนมเข่งอีกครั้ง
เพื่อกันขนมแห้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
47

4.35 กล้วยเชื่อมแดง

รูปที่ 6.7 กล้วยเชื่อมแดง


ส่วนผสม
- กล้วยน้ำว้าห่าม 1 หวี
- น้ำตาลทรายสีทอง ½ ถ้วยตวง
- น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วยตวง
- น้ำเปล่า 1½ ลิตร
- น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
- กะทิ 1 ถ้วยตวง
- เกลือ 1 ช้อนชา
- แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ปอกเปลือกกล้วยแล้วหั่นเป็นสองส่วน นำลงต้มในน้ำเดือดพร้อมกับใบเตย ต้มไว้ประมาณ 15 นาที
2. หลังจากต้ม 15 นาทีแล้ว ใส่น้ำตาลทรายสีทอง และน้ำตาลปี๊บลงไป ตั้งไฟให้เดือด ช้อนฟองออก แล้วปรับ
เป็นไฟกลางค่อนอ่อน ตั้งเชื่อมไว้ ประมาณ 2 ชั่วโมง
3. เมื่อกล้วยเริ่มเปลี่ยนสี ให้ใส่น้ำมะนาวลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลตกผลึก
เมื่อน้ำเริ่มงวดปรับเป็นไฟอ่อน เชื่อมต่อจนกล้วยเปลี่ยนเป็นสีแดง จึงยกขึ้นพักไว้
4. ต้มกะทิ ใส่เกลือและแป้งข้าวเจ้าลงไป คนให้กะทิพอข้น แล้วนำไปราดบนกล้วยที่เชื่อมไว้
48

4.36 ถั่วแปบ

รูปที่ 6.8 ถั่วแปบ


ส่วนผสม
- ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือก 500 กรัม - น้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น 1 ถ้วยตวง
- มะพร้าวทึนทึก 1 ลูก - งาขาวคั่ว ½ ถ้วยตวง
- แป้งข้าวเหนียว 500 กรัม - งาดำคั่ว ½ ถ้วยตวง
- น้ำอัญชันเข้มข้น 1 ถ้วยตวง - น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
- น้ำใบเตยเข้มข้น 1 ถ้วยตวง - เกลือป่นเล็กน้อย
วิธีทำ
1. นำถั่วเขียวซีกเลาะเปลือกมาใส่ในกะละมัง แล้วนำไปล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง
2. นำถั่วเขียวซีกเลาะเปลือกที่แช่น้ำแล้ว มาสะเด็ดน้ำออก แล้วนำไปนึ่งด้วยไฟแรง เป็นเวลา 20 นาที
3. ระหว่างรอนึ่ง นำมะพร้าวทึนทึกมาขูดฝอย คลุกด้วยเกลือเล็กน้อย ก่อนนำเข้าไปนึ่งเป็นเวลา 10 นาที
4. เมื่อนึ่งทั้ง 2 อย่างเสร็จแล้ว ให้นำทั้ง 2 อย่างมาผสมกันในถาด แล้วพักไว้
5. แบ่งแป้งข้าวเหนียวออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนผสมน้ำอัญชันเข้มข้น น้ำใบเตยเข้มข้น และน้ำ
กระเจี๊ยบเข้มข้น เพื่อให้ได้สีที่แตกต่างกัน นวดให้เนื้อเนียนดี และไม่ติดมือ
6. ตั้งหม้อต้มน้ำจนเดือด แล้วนำแป้งที่นวดไว้ มาปั้นเป็นแผ่นทรงวงรีขนาดประมาณ 3 นิ้ว แล้วใส่ลงไปต้ม รอ
จนแป้งลอยตัว จึงตักขึ้น
7. นำไปคลุกกับถั่วและมะพร้าวที่ผสมกันไว้ในถาด พับแผ่นแป้งครึ่งนึงให้พอห่อถั่ว ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
จนแป้งหมด
8.ผสมน้ำตาลทราย งาขาวคั่ว และงาดำคั่วเข้าด้วยกัน นำเสิร์ฟพร้อมตัวขนมที่ทำเตรียมไว้ โรยน้ำตาลบนตัว
ขนมก่อนรับประทา
49

4.37 บัวลอยมันม่วงฟักทอง

รูปที่ 6.9 บัวลอยมันม่วงฟักทอง


ส่วนผสม
- แป้งข้าวเหนียว (สำหรับทำแป้ง) 100 กรัม - แป้งมัน 30 กรัม
- แป้งข้าวเหนียว (สำหรับทำไส้) 30 กรัม - น้ำตาลทราย 50 กรัม
- มันม่วงนึ่ง 100 กรัม - น้ำเย็น 60 มิลลิลิตร
- ฟักทองนึ่ง 200 กรัม
ส่วนผสมน้ำกะทิ
- กะทิ 500 มิลลิลิตร - มะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 180 กรัม - งาขาวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือสมุทร 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำแป้งข้าวเหนียว ใส่ในชามผสม ตามด้วยแป้งมัน ฟักทอง และเทน้ำเย็นลงไป นวดให้เข้ากั และพักไว้
2. ทำแป้งมันม่วงด้วยวิธีเดียวกัน
3. นำฟักทองนึ่งใส่ในชามผสม ตามด้วยแป้งข้าวเหนียว และน้ำตาลทราย นวดให้เข้ากันจนเนื้อเนียนและพักไว้
4. ทำไส้มันม่วงด้วยวิธีเดียวกัน
5. นำไส้ทั้งสองอย่างที่เตรียมไว้มาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าเหรียญบาท
6. บิดแป้งมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเล็กกว่าไส้นิดหน่อย กดให้แบน นำไส้ที่ปั้นไว้วางตรงกลาง ห่อให้มิด และ
ปั้นให้เป็นลูกกลม ๆ โดยที่แป้งฟักทองคู่กับไส้มันม่วง และแป้งมันม่วงคู่กับไส้ฟักทอง
7. นำบัวลอยทั้งสองแบบไปต้มในน้ำเดือดจนสุก จากนั้นตักใส่น้ำเย็น เพื่อให้บัวลอยเซตตัว
8. นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง เทกะทิลงไป ตามด้วยน้ำตาลทราย และเกลือสมุทร ต้มจนเดือด
9. ใส่มะพร้าวอ่อน และงาขาวคั่วลงไป จากนั้นยกออกจากเตา
10. นำบัวลอยที่ต้มตรียมไว้ใส่ลงในถ้วย ราดน้ำกะทิลงไป และโรยงาขาวคั่ว พร้อมเสิร์ฟจ้า
50

4.38 ทองหยิบ

รูปที่ 7.0 ทองหยิบ


ส่วนผสมน้ำเชื่อมใส
- น้ำตาลทรายขาว 500 กรัม - น้ำกลิ่นมะลิ 1/8 ช้อนชา
- น้ำเปล่า 700 กรัม - น้ำกลิ่นมะลิ 1/8 ช้อนชา
ส่วนผสมน้ำเชื่อมข้น
- น้ำตาลทรายขาว 1,000 กรัม - น้ำกลิ่นมะลิ 1/8 ช้อนชา
- น้ำเปล่า 1,000 กรัม
ส่วนผสมเนื้อทองหยิบ
- ใช้ไข่แดงของไข่เป็ดหรือไก่ 10ฟอง
วิธีทำ
1. ตั้งน้ำเชื่อมใสโดยไม่ต้องคนน้ำตาลให้ละลาย ปล่อยให้น้ำเชื่อมใสด้วยการตั้งไฟ ไฟกลาง 10 นาที จากนั้นใส่
กลิ่นมะลิลงไป
2. ตั้งน้ำเชื่อมข้น โดยไม่ต้องคนน้ำตาลให้ละลาย ปล่อยให้น้ำเชื่อมข้นละลายด้วยการตั้งไฟ ไฟกลาง 15-20
นาที อุณหภูมิไม่เกินกว่า 112 องศาเซลเซียส จากนั้นใส่กลิ่นมะลิลงไป
2. ต่อยไข่แดงของไข่เป็ดโดยดูลักษณะจากหัวไข่ แยกไข่แดงออกจากไข่ขาว จากนั้นนำไปตีจนขึ้นฟู
3. ตะล่อมแป้งใส่ไข่แดง ตีฟู แล้วนำไปหยอดในน้ำเชื่อมข้นให้เป็นแผ่นกลม
4. นำแผ่นไข่ที่สุกแล้วในน้ำเชื่อมข้นตั้งไฟกลาง ไปแช่ในน้ำเชื่อมใสเพื่อลดระดับความหวาน
5. จากนั้นใช้นิ้วจีบอย่างน้อย 3-9 จีบลงในถ้วยตะไล แล้วทิ้งไว้ให้เซตตัวสักพักเมื่อไข่เซตตัวแล้วใช้ซ้อมหรือไม้
จิ้มฟันจิ้มออกจากถ้วยตะไลได้เลย
51

4.39 ขนมโคกะทิ

รูปที่ 7.1 ขนมโคกะทิ


ส่วนผสมไส้
- มะพร้าวขูด 250 กรัม - น้ำมะพร้าว 50 มิลลิลิตร
- น้ำตาลมะพร้าว 250 กรัม - เกลือสมุทร ½ ช้อนชา
ส่วนผสมแป้ง
- แป้งข้าวเหนียว 500 กรัม - น้ำมะพร้าว 50 มิลลิลิตร
- น้ำดอกอัญชัน 50 มิลลิลิตร - น้ำกระเจี๊ยบ 50 มิลลิลิตร
- น้ำใบเตย 50 มิลลิลิตร
ส่วนผสมน้ำกะทิ
- หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร - ใบเตย 1 มัด
- น้ำตาลทราย 50 กรัม - งาขาวคั่ว ตามชอบ
- เกลือสมุทร 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไป ตามด้วยน้ำมะพร้าว และเกลือ คนจนละลาย
2. ใส่มะพร้าวขูดลงไป ผัดให้แห้งและหอม จากนั้นยกออกจากเตา และพักไว้ให้เย็นสนิท
3. แบ่งแป้งข้าวเหนียวเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ผสมน้ำแต่ละถ้วย นวดให้เข้ากันจนแป้งไม่ติดมือ
4. หยิบแป้งขึ้นมาหนึ่งหยิบมือแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ บีบให้แบน หยิบไส้ที่ผัดไว้ขนาดเล็กกว่าแป้ง จับให้เป็น
ก้อน ๆ แล้ววางลงบนแป้ง ห่อและปั้นให้เป็นลูกกลม ๆ วางบนถาดเตรียมไว้ ทำจนแป้งและไส้หมด
5. นำหม้อตั้งไฟรอจนน้ำเดือด แล้วใส่ขนมโคที่ปั้นไว้ลงไปต้มจนสุก เสร็จแล้วตักไปพักไว้ในน้ำเย็น
6. นำหม้อตั้งไฟกลางเทหัวกะทิลงไป ตามด้วยเกลือสมุทร น้ำตาล และใบเตย คนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
7. ตักใบเตยออก โรยงาขาวคั่ว และยกออกเจาพักไว้นำขนมโคใส่ถ้วย ราดน้ำกะทิที่เตรียมไว้ และโรยงาขาวคั่ว
52

4.40 ขนมฟักทอง

รูปที่ 7.2 ขนมฟักทอง


ส่วนผสม
- ฟักทองนึ่ง 150 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 3 ถ้วยตวง
- แป้งมัน ¾ ถ้วยตวง
- น้ำตาล 3 ถ้วยตวง
- หัวกะทิ 1½ ถ้วยตวง
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้า และแป้งมันเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน
2. นำฟักทองนึ่งมาบดให้ละเอียด แล้วตักใส่ชามแป้งที่แบ่งเตรียมไว้ทั้งสามถ้วย
เทเกลือลงคลุกกับมะพร้าวขูดให้เข้ากัน
3. ใส่น้ำตาล หัวกะทิ และมะพร้าวขูดลงในชามผสมทั้งสามชามเท่า ๆ กัน แล้วนวดผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. ตักส่วนผสมขนมทั้งสามตัวลงใส่ถ้วยตะไล แล้วตกแต่งหน้าให้สวยงามด้วยฟักทอง และมะพร้าวขูด นึ่งใน
ลังถึงเป็นเวลา 15 นาที เมื่อครบเวลานำขึ้นพร้อมรับประทาน
53

4.41 ขนมต้ม

รูปที่ 7.3 ขนมต้ม


ส่วนผสม
- แป้งข้าวเหนียว 300 กรัม - มะพร้าวขูด (สำหรับทำไส้ขนมต้ม) 300 กรัม
- น้ำกระเจี๊ยบ 80 มิลลิลิตร - มะพร้าวขูด (สำหรับคลุก) 100 กรัม
- น้ำอัญชัน 80 มิลลิลิตร - น้ำตาลปี๊บ 120 กรัม
- น้ำใบเตย 80 มิลลิลิตร - เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำแป้งข้าวเหนียวมาแบ่งเป็น 3 ถ้วยเท่า ๆ กัน (ถ้วยละ 100 กรัม)
เทน้ำกระเจี๊ยบ น้ำอัญชัน และใบเตย ลงไปในแป้งข้าวเหนียวแต่ละถ้วย นวดให้เข้ากันจนกว่าแป้งไม่ติดมือ
แล้วใช้พลาสติกแรปคลุมชามแป้งพักไว้ก่อน
2. นำกระทะขึ้นตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำตาลปี๊บ คนจนน้ำตาลปี๊บละลาย ใส่มะพร้าวขูด (สำหรับทำไส้ขนมต้ม)
และเกลือป่นลงไป คนให้เข้ากัน เคี่ยวจนแห้ง และยกออกจากเตา
3. ปั้นไส้ขนมต้มเป็นลูกกลมเล็ก ๆ เตรียมไว้
4. นำแป้งแต่ละสีมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าเหรียญห้า กดให้แป้งแบน จากนั้นปั้นไส้ที่ทำเตรียมไว้ขนาด
เล็กกว่าแป้งวางลงไป ใช้แป้งปิดให้มิดแล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ จนเนียน
5. นำไปต้มในน้ำเดือดจัด พอขนมต้มลอยขึ้นเหนือน้ำ แสดงว่าสุกแล้ว
6. นำขนมต้มที่สุกแล้วมาคลุกกับมะพร้าวขูดสำหรับคลุก
54

4.42 ขนมชั้นอัญชัน

รูปที่ 7.4 ขนมชั้นอัญชัน


ส่วนผสม
- หัวกะทิ 1000 มิลลิลิตร - แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย - กลิ่นมะลิ ½ ช้อนชา
- แป้งมันสำปะหลัง 1 ถ้วย - น้ำดอกอัญชันเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะ
- แป้งเท้ายายม่อม 1/8 ถ้วย - น้ำมันพืชเล็กน้อย สำหรับทาพิมพ์และมีด
วิธีทำ
1. ร่อนแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า และแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกัน
2. ตั้งหม้อไฟกลาง ใส่น้ำกะทิกับน้ำตาลลงไป คนให้น้ำตาลให้ละลายจนหมด แล้วยกลงจากเตา
3. เทน้ำกะทิลงไปในถ้วยที่เราเตรียมแป้งไว้ โดยค่อย ๆ เทใส่ทีละน้อย จากนั้นนวดแป้งให้เข้ากัน ใช้เวลา
ประมาณ 10 - 15 นาที เมื่อแป้งเข้ากันดีแล้วใส่กลิ่นดอกมะลิเพิ่มกลิ่นหอม
4. เทกรองแป้งใส่ภาชนะสองใบให้เท่า ๆ กัน แล้วใส่น้ำอัญชันเข้มข้นลงไปในแป้งถ้วยที่ 1
5. ตั้งลังถึงให้ร้อนจัด ทาน้ำมันที่พิมพ์แล้วจึงเทแป้งอัญชันลงไปชั้นแรกให้ได้ความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร
นำไปนึ่งไฟอ่อน 6 - 10 นาที
6. เมื่อแป้งสีอัญชันสุกจึงเทแป้งสีขาวลงไปในความหนาที่เท่า ๆ กัน นึ่งสลับกันไป ทำจนได้ประมาณ 9 ชั้น
หรือจนกว่าแป้งจะหมด
7. เมื่อแป้งสุกหมด นำออกมาพักจนเย็นสนิท แล้วใช้มีดที่ทาน้ำมันพอเคลือบใบมีด หั่นขนมชั้นเป็นชิ้น เพื่อ
ไม่ให้ตัวขนมติดใบมีด จัดเสิร์ฟพร้อมทานได้เลย
55

4.43 สาคูบัวลอย

รูปที่ 7.5 สาคูบัวลอย


ส่วนผสม
- สาคู 200 กรัม (แบ่งครึ่ง) - ใบเตย 2 มัด
- น้ำอัญชัน 1 ถ้วยตวง (สีเข้ม) - น้ำตาลโตนด 100 กรัม
- น้ำอัญชัน 1 ถ้วยตวง (สีอ่อน) - น้ำตาลทราย 100 กรัม
- เนื้อมะพร้าวขูด 1 ลูก - เกลือ 1 ช้อนชา
- กะทิ 800 กรัม
วิธีทำ
1. นำสาคูทั้ง 2 ถ้วยมาใส่น้ำอัญชัน โดยสาคูถ้วยแรกใส่น้ำอัญชัน (สีเข้ม) ลงไปแช่เป็นเวลา 20 นาที ส่วนสาคู
ถ้วยที่สองใส่น้ำอัญชัน (สีอ่อน) ลงไปแช่เป็นเวลา 20 นาที
2. เมื่อครบเวลาแล้วนำสาคูไปกรองเอาน้ำออก โดยนำสาคูที่กรองแล้วมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ให้ได้ขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. แล้วพักไว้เตรียมนำไปต้ม
3. นำสาคูไปต้มในน้ำเดือด โดยใส่สาคูบัวลอยลงไปในน้ำเดือด แล้วรอให้สาคูบัวลอยลอยตัวขึ้น แล้วใช้ตะแกรง
ตักขึ้นไปพักไว้ในน้ำเชื่อม
4. นำหม้อขึ้นตั้งไฟแล้วใส่กะทิลงไปในหม้อ โดยใช้ไฟกลางค่อนอ่อน เมื่อกะทิเริ่มร้อนให้ใส่น้ำตาลโตนด
น้ำตาลทราย และเกลือลงไปคนให้เข้ากัน
5. ใส่สาคูบัวลอยลงไปในน้ำกะทิ ตามด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อนขูดลงไปแล้วคนให้เข้ากัน ต้มทิ้งไว้สัก 3 นาที แล้ว
ยกลงจากเตาเตรียมจัดเสิร์ฟ
56

4.44 ลอดช่องอัญชัน

รูปที่ 7.6 ลอดช่องอัญชัน


ส่วนผสม
- แป้งมัน 2 ถ้วย - ดอกอัญชันอบแห้ง 20 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 10 ช้อนโต๊ะ - แป้งมัน สำหรับนำมาทำเป็นแป้งนวล
- น้ำเปล่า 300 มิลลิลิตร
วัตถุดิบสำหรับโรยหน้า
- ตัวลอดช่องอัญชัน ตามต้องการ - กะทิสด ตามต้องการ
- ขนุนสุกฉีกเป็นเส้นยาว ตามต้องการ - น้ำแข็งบดละเอียด ตามต้องการ
- น้ำเชื่อม ตามต้องการ
วิธีทำ
1. นำหม้อขึ้นตั้งบนเตาแก๊ส จากนั้นใส่น้ำเปล่าลงไปเปิดไฟกลาง เมื่อน้ำเริ่มเดือดให้ใส่อัญชันอบแห้งลงไป เมื่อ
น้ำเริ่มเปลี่ยนสีให้ช้อนอัญชันอบแห้งออกแล้วปิดไฟ
2. นำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันเทลงในชามผสม จากนั้นเทน้ำอัญชันที่ร้อนจัดลงไปในแป้งอย่างรวดเร็ว
3. นำแป้งลอดช่อง มารีดให้เป็นแผ่นความหนา 1/4 ซม. แล้วนำไปตัดเป็นเส้นๆขนาดความยาว 3 นิ้ว
4. ต้มน้ำให้เดือดจัดแล้วใส่เส้นลอดช่องลงในหม้อ รอจนแป้งสุกและลอยขึ้นค่อยตักแป้งแช่น้ำในน้ำเชื่อมเย็น
เพื่อให้เส้นลอดช่องเหนียวไม่ติดกันและเละ
5. ตักเส้นลอดช่องอัญชันลงในแก้วที่ต้องการจัดเสิร์ฟ ตามด้วยน้ำแข็งบด ต่อด้วยการราดด้วยน้ำเชื่อมและกะทิ
โรยขนุนฉีกด้านบน เท่านี้ก็พร้อมฟินกันแล้ว
57

4.45 ตะโก้อัญชัน

รูปที่ 7.7 ตะโก้อัญชัน


ส่วนผสม
- น้ำดอกอัญชัน 500 มิลลิลิตร - แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
- สาคูเม็ดเล็ก 1 ถ้วย - หัวกะทิ 400 มิลลิลิตร
- น้ำตาลทราย 200 กรัม - เกลือ 1 ช้อนชา
- ข้าวโพดหวาน ½ ถ้วย - ดอกอัญชัน สำหรับตกแต่ง
- แป้งมัน 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง เทน้ำดอกอัญชันลงไป ตามด้วยน้ำตาลทราย แป้งมัน และสาคู ต้มจนสาคูสุก
และกลายเป็นเม็ดใส
2. ใส่ข้าวโพดลงไป คนให้เข้ากัน และยกออกจากเตา
3. ตักสาคูใส่กระทงใบเตยประมาณ ⅔ ของถ้วย และพักไว้ให้เซตตัวในอุณหภูมิห้องประมาณ 20 นาที
4. นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง เทหัวกะทิลงไป ตามด้วยแป้งข้าวโพด และเกลือ คนให้เข้ากัน รอจนเดือด และ
ยกออกจากเตา
5. ตักใส่กระทงใบเตยที่ใส่สาคูเตรียมไว้ จากนั้นพักไว้ให้เซตตัวในอุณหภูมิห้องอีก 20 นาที
6. ตกแต่งด้วยดอกอัญชันตามชอบ พร้อมเสิร์ฟจ้า
58

5.ตัวอย่างโครงงาน
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ
หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น
ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนม
ในรั้วในวังจะมีหน้าตาที่ดูดี ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ
ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและ
ลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็
ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่า
วัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าในสมัย
ต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม
59

บทที่ 3
อุปกรณ์ และวิธีการดําเนินงาน
ในการดำเนินการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทการประยุกต์ใช้งาน เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย
45 สูตร ผู้จัดทำได้มีวิธีการดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
3.1.อุปกรณ์
3.2.วิธีการดำเนินการ
3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจ
3.4 กลุ่มตัวอย่าง
3.1.อุปกรณ์
3.1.1.อุปกรณ์ Hard ware
3.1.1.1.เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook
3.1.1.2.สมาร์ทโฟน ที่มีโปรแกรมบันทึกเสียง
3.1.2.อุปกรณ์ Soft ware
3.1.2.1.โปรแกรม Any Flip
3.1.2.2.โปรแกรม Canva
3.1.2.3.โปรแกรมอัดเสียงภายในโทรศัพท์มือถือ
3.2.วิธีการดำเนินงาน
3.2.1.ประชุมเลือกหัวข้อโครงงานโดยผู้จัดทำเลือกทำโครงงานคือสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นำเสนอ
ผ่าน YouTube
3.2.2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสนใจ คือหนังสือ บทความต่าง ๆที่ให้สาระความรู้
หรือ เป็นองค์ความรู้ให้กับผู้รับชมได้ และศึกษาการใช้งานโปรแกรมบันทึกเสียง และการตัดต่อวิดีโอเพื่อมาใช้
ในการบันทึกเสียงและตัดต่อวิดีโอของโครงงาน

รูปที่ 3.1 การศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูล


60

3.2.3.สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากโปรแกรม Any Filp ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

รูปที่ 3.2 การใช้โปรแกรม Any Flip

3.2.4.สร้างเนื้อหา และ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Canva

รูปที่ 3.3 การใช้โปรแกรม Canva


61

3.2.5.ตรวจสอบผลงาน โดยการฟังและดูผลงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบ


และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.2.6.สร้าง channel YouTube เพื่อเป็นการนำเสนอผลงาน

รูปที่ 3.4 ช่อง YouTube

3.2.7.Upload ผลงานลง Channel YouTube โดยจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ


3.2.8. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ โดยเเจ้งครูที่ปรึกษาโครงงานตรวจ
ของโครงงานผ่านเว็บไซต์ และรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาปรับปรุงเนื้อหาต่อไป

3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจ

รูปที่ 3.5 แบบประเมินเพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน


62

รูปที่ 3.6 แบบประเมินเพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน

3.4 กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนโรงเรียนบางละมุงจำนวน 39 คน
ครูโรงเรียนบางละมุงจำนวน 1 คน
การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form
Google Form เป็นตัวช่วยในการสร้างแบบสอบถาม สร้างข้อสอบเพื่อวัดผลประเมินผลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form ประกอบไปด้วย การสร้างฟอร์มและการดู
ข้อมูลตรวจกลับ
63

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรม Anyflip Canva
โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
4.2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4.3 การแปลความข้อมูล
4.4 ลำดับขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาแบบสำรวจรายการ (Check list)
ประเมินค่า 5 ระดับ มีคำถามทั้งสิ้น 5 ข้อ และใช้โปรแกรม GoogleSpreadSheet มาใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล

4.2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
𝑥̅ แทน คะแนนเฉลี่ย
SD แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

4.3 การแปลความหมายข้อมูล
การแปลความหมายของข้อมูลจะถือเอาเกณฑ์ตามหลักเกณฑ์ของประคอง กรรณสูต (2528,70) ดังนี้

4.50 – 5.00 การแปลความหมาย ระดับมากที่สุด


3.50 – 4.49 การแปลความหมาย ระดับมาก
2.50 – 3.49 การแปลความหมาย ระดับปานกลาง
1.50 – 2.49 การแปลความหมาย ระดับน้อย
1.00 – 1.49 การแปลความหมาย ระดับน้อยที่สุด
64

4.4 ลำดับขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ตอน โดย
เรียงลำดับตามมุ่งหมายของการศึกษา ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลที่วไป
ตอนที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรม Anyflip Canva
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 4.1 แสดงการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของกรศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาบทเรียนออนไลน์
เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรม Anyflip Canva จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ค่าเฉลี่ย


ชาย 13 43.3
หญิง 17 56.7
รวม 30 100.00

จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.7


และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 43.3

ตารางที่ 4.2 แสดงการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของกรศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์


เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรม Anyflip Canva

ระดับชั้น จำนวน ค่าเฉลี่ย


ม.ปลาย 30 100.00
รวม 30 100.00

จากตารางที่ 4.2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียนม.ปลายคิดเป็นร้อยละ 100.00


65

ตารางที่ 4.3 แสดงการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของกรศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์


เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรม Anyflip Canva

สถานะ จำนวน ค่าเฉลี่ย


นักเรียน 30 100.00
รวม 30 100.00
จากตารางที่ 4.3 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน คิดเป็น 100.00

ตารางที่ 4.4 แสดงการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมารตฐานของกรศึกษาความพึงพอใจ


การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ด้วยโปรแกรมGoogle sites
n =30
ประเด็นความพึงพอใจ ระดับความ อันดับ
𝑥̅ SD
พึงพอใจ ที่
ด้านเนือ้ หา
1. คุณคิดว่าหนังสือ E book เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนม 4.67 0.55 มากที่สุด 1
ไทย 45 สูตร มีประโยชน์มากแค่ไหน
2. คุณมีความรู้ในการทำขนมไทยมากแค่ไหน 4.20 0.81 มาก 5
3. เนื ้ อหาข้ อมู ล หนั ง สื อ E book ของเรามี เ นื ้ อ หาที่ 4.57 0.63 มากที่สุด 2
ครบถ้วนสมบรูณ์มากน้อยแค่ไหน
4. สำหรับคุณการทำขนมไทยเป็นเรื่องที่ยากหรือไม่ 4.27 1.08 มาก 4
5คุณชอบทานขนมไทยมากแค่ไหน 4.33 0.99 มาก 3
รวม 4.41 0.31 มาก
จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความพึงพอใจจากการพัฒนาโครงงาน เรื่อง เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย45 สูตร
ด้วยโปรแกรม Google Sites มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.41
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย คิดว่าหนังสือ E book เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร
มีประโยชน์มากแค่ไหน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.67
เนื้อหาข้อมูลหนังสือE book ของเรามีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบรูณ์มากน้อยแค่ไหน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.57 คุณชอบทานขนมไทยมากแค่ไหน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อย
ละ 4.33 สำหรับคุณการทำขนมไทยเป็นเรื่องที่ยากหรือไม่ มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.27
คุณมีความรู้ในการทำขนมไทยมากแค่ไหน มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.20
66

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน อภิปรายผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงานเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร สำหรับการเรียนรู้เรื่องการทำขนมไทยในครั้งนี้
มีการพัฒนาการเข้าถึงสื่อต่างๆให้ง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้นสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและ
สามารถเผยแพร่ได้มากยิ่งขึ้นได้ในเวลาที่ต้องการ
ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรขนมไทยและได้อนุรักษ์ขนมไทยเอกลักษณ์ด้านอาหารไทยไว้ เพื่อเผยแพร่
สูตรขนมไทย
1.สรุปผลการดำเนินงาน
ในการพัฒนาเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร สำหรับการเรียนรู้เรื่องการทำขนมไทย มีการพัฒนา
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร ประกอบกับการดำเนินโครงงานสอบถามความพึง
พอใจของนักเรียนและคุณครู ซึ่งระดับความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนม
ไทย 45 สูตร ภาพรวมอยู่ในระดับดี
2.อภิปรายผลการดำเนินงาน
จากการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45
สูตร ในด้านต่างๆ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.57 ประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ไม่
ซับซ้อนตรงตามความต้องการ
โดยรวมทั้งสองด้านทั้งด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.57 ประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เนื่องจากหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์เข้าใจง่ายสะดวกต่อการใช้งาน
3.ข้อเสนอแนะ
1.ตัวหนังสือในคลิปเล็กและเสียงเพลงดังกว่าคนพูด
2.เสียงเพลงดังกว่าเสียงคนพูด คลิปแนะนำเปลี่ยนหน้าไวไป
67

บรรณานุกรม
Maysylvie. (2565). แจก 50 สูตรขนมไทย เมนูสร้างอาชีพ ทำกินเองได้ ทำขายกำไรงาม
วันที่สืบค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2565,
จาก https://food.trueid.net/detail/9LN619vQ8bkL
Bellissimo. (2565). 30 สูตรขนมไทย ทำกินเองก็ง่าย ทำขายก็ได้กำไรดี
วันที่สืบค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2565,
จาก https://www.wongnai.com/cooking/cookbooks/thai-dessert-recipes
อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล. (2559). วิธีสร้าง YOUTUBE CHANNEL. วันที่ค้นข้อมูล 13 กรกฎาคม 2565,
จาก http://www.mydigitalpartner.co.th/2016/02/20/create-youtube-channel/
Modify. (2558). วิธีสร้าง (เพิ่ม) Channel Youtube โดยไม่ต้องสมัครใหม่ ใช้บัญชีเดิม.
วันที่ค้นข้อมูล 13 กรกฎาคม 2565,
จาก http://www.modify.in.th/9572/comment-page-1
ครูโดยอาชีพดอทคอม. (2563). แนะนำวิธีสร้างหนังสือ E-Book ออนไลน์
วันที่สืบค้นข้อมูล 11 กรกฎาคม 2565,
จาก https://www.kruachieve.com
68

ภาคผนวก
ภาคผนวก ก คู่มือการใช้งาน การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
ผ่าน Youtube
ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมุลทางสถิติ
69

ภาคผนวก ก คู่มือการใช้งาน การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่าน Youtube


70

คู่มือการใช้งานงาน การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่าน Youtube


1.เข้าสู่หน้า Youtube
https://www.youtube.com/channel/UC5272muITo8bOiLdkNZWQBw

รูปที่ ก.1 เข้าสู่หน้า Youtube (YoGhurtzz Kanyarat)


2.กดเลือก “โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร”

รูปที่ ก.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่รับฟัง


71

ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
72

แบบประเมินความพึงพอใจการพัฒนาการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่าน Youtube


คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่าน Youtube
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (ทำเครื่องหมาย ✓ ลงใน  ที่ตรงกับข้อมูลของท่าน)
1. เพศ
 ชาย  หญิง
2.อายุ
12-15 16-19 20-25 30ปีขึ้นไป
ตอนที่ 2 ความพึงพอใจในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่าน Youtube

ระดับความพึงพอใจ
มาก มาก ปาน น้อย น้อย
ข้อคำถาม
ที่สุด (4) กลาง (2) ที่สดุ
(5) (3) (1)
1. คุณคิดว่าหนังสือ E book เรื่องเกร็ดความรู้คู่ขนมไทย 45 สูตร มี
ประโยชน์มากแค่ไหน
2. คุณมีความรู้ในการทำขนมไทยมากแค่ไหน
3. เนื้อหา ข้อมูล หนังสือ E book ของเรามีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบรูณ์
มากน้อยแค่ไหน
4. สำหรับคุณการทำขนมไทยเป็นเรื่องที่ยากหรือไม่
5. คุณชอบทานขนมไทยมากแค่ไหน

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
73

ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
74

1.เพศที่ทำแบบประเมิน

รูปที่ ค.1 แผนภูมิสรุปผลการประเมินด้านเพศ


2.อายุผู้ทำแบบประเมิน

รูปที่ ค.2 แผนภูมิสรุปผลการประเมินอายุ


3.แบบสอบถาม

รูปที่ ค.3 แผนภูมิสรุปการประเมินแบบสอบถาม


75

4.ข้อเสนอแนะ

รูปที่ ค.3 ข้อเสนอแนะ


76

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ - นามสกุล นายภัทรวรรธ สังข์แก้ว
ชื่อเล่น วินวิน
รหัส 24131
เบอร์โทรศัพท์ 0948893478
E-mail 24131@blm.ac.th
วัน เดือน ปีเกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2547
77

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ - นามสกุล นางสาวอัตติมา เนาวลักษณ์
ชื่อเล่น แพน
รหัส 26183
เบอร์โทรศัพท์ 0970483306
E-mail 26193@blm.ac.th
วัน เดือน ปีเกิด 01 มิถุนายน พ.ศ.254
78

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ – นามสกุล นางสาวกัญญรัตน์ วัดทอง
ชื่อเล่น โยเกิร์ต
รหัส 26177
เบอร์โทรศัพท์ 0971058555
E-mail 26117@blm.ac.th
วัน เดือน ปีเกิด 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547

You might also like