You are on page 1of 97

รายงานวิจัย

เรื่อง
การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบตั ิงานของบุคลากร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
DEVELOPMENT AN OPERATION MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM OF

ูมิ
FACULTY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY, RMUTSB
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

โดย
นางพงษ์ญาดา เกาะเรียนไชย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
พ.ศ. 2556
บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(DEVELOPMENT AN OPERATION MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM OF FACULTY OF
SCIENCE AND TECHNOLOGY, RMUTSB) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็ว
ในการคํานวณสถิติวันลาของบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังช่วยในการจัดเก็บข้อมูลบุคลากร ข้อมูลการฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย
หรือดูงาน เพื่อใช้เป็นแฟ้มประวัติประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
การดําเนินงานพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลสุ ว รรณภู มิ ผู้ พั ฒ นาได้ ทํ า การศึ ก ษาขั้ น ตอนการ
ดําเนินงานโดยการรวบรวมข้ อมู ลด้ วยการสัมภาษณ์ สืบค้ นจากเอกสาร และศึกษาระเบี ยบทาง
ราชการและระเบียบของมหาวิทยาลัย แล้วนํามาวิเคราะห์โดยใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบ
7 ขั้นตอน เพื่อพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด หลังจากการพัฒนาระบบ
เสร็จสิ้น ผู้พัฒนาได้สร้างเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่ง
ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน และผู้ใช้ 3 ท่าน จากการนําแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้

ูมิ
ระเบียบวิธีทางสถิติ สามารถสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
ร.ส พ.
ณภ
พบว่า ระบบสามารถทํางานได้ตามต้องการในเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ในระดับดี
มท สว
ุวรร


กิตติกรรมประกาศ

การวิ จั ย ครั้ งนี้ ผู้ วิจั ย ได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลสุ วรรณภู มิ
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ผู้สนับสนุนทุนวิจัย ผู้บริหาร
คณาจารย์ และนักศึกษา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนช่วยทําให้งานวิจัยสําเร็จลุล่วงด้วยดี
คุณค่าและประโยชน์จากงานวิจัยเล่มนี้ ขอมอบแด่มารดา บิดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ
ทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือด้วยดีตลอดมา

นางพงษ์ญาดา เกาะเรียนไชย

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร


สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อ ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญภาพ ซ
บทที่ 1. บทนํา 1
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 ขอบเขต 2
1.4 เครื่องมือที่ใช้ 2
1.5 ขั้นตอนการดําเนินงาน 2
1.6 การทดสอบและหาประสิทธิภาพ 3
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ูมิ 4
ร.ส พ.
ณภ
2.1 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) 4
มท สว

2.2 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) 8


2.3 ระบบฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล (Database System & Database 14
ุวรร

Management System)
2.4 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship 16
Diagram : ER Diagram)
2.5 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) 19
2.6 ภาษาโปรแกรม 19
2.7 การประเมินประสิทธิภาพของระบบ 22
บทที่ 3. ขั้นตอนการดําเนินงาน 23
3.1 การกําหนดปัญหา 23
3.2 การวิเคราะห์ระบบ 24
3.3 การออกแบบระบบ 24
3.4 การพัฒนาระบบ 58
3.5 การทดสอบระบบ 58
3.6 การติดตั้งระบบ 60
3.7 การบํารุงรักษาระบบ 60
บทที่ 4. ผลการทดสอบ 61
4.1 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้พัฒนา 61

สารบัญ (ต่อ)

หน้า
4.2 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 65
4.3 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้ใช้ 67
บทที่ 5. สรุปผล 71
5.1 สรุปผลการดําเนินงาน 71
5.2 ข้อเสนอแนะ 72
เอกสารอ้างอิง 73
ภาคผนวก ก รายนามผู้ทดสอบระบบ 74
ภาคผนวก ข แบบสอบถาม 77
ประวัติผู้วิจัย 88

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร


สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
2-1 แสดงชื่อสัญลักษณ์และความหมายของ Yourdon และ Gane & Sarson 9
2-2 แสดงชื่อสัญลักษณ์และความหมายของ Chen และ Crow’s Foot 17
3-1 แสดง Boundaries, Data และ Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ 26
3-2 แสดงแฟ้มข้อมูลการเข้าใช้ระบบ (Login) 38
3-3 แสดงแฟ้มข้อมูลบุคลากร (Personnel) 39
3-4 แสดงแฟ้มข้อมูลตําแหน่งในสายงาน (Position) 40
3-5 แสดงแฟ้มข้อมูลตําแหน่งทางการบริหาร (Organize Position) 40
3-6 แสดงแฟ้มข้อมูลศูนย์พนื้ ที่ (Center of University) 40
3-7 แสดงแฟ้มข้อมูลหน่วยงานภายในสังกัด (Team) 40
3-8 แสดงแฟ้มข้อมูลสถาบันที่จบการศึกษาสูงสุด (University Graduated) 41
3-9 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาป่วย (Sick) 41
3-10 แสดงแฟ้มข้อมูลการลากิจส่วนตัว (Business) 41

ูมิ
3-11 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาพักผ่อน (Vacation) 41
ร.ส พ.
ณภ
3-12 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน (Training) 42
มท สว

3-13 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาคลอดบุตร (Maternity) 42


3-14 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ (Ordinate) 43
ุวรร

3-15 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินประสิทธิภาพ 60
4-1 แสดงผลการวิเคราะห์การตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ 61
4-2 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลบุคลากร 61
4-3 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาป่วย 62
4-4 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลากิจส่วนตัว 63
4-5 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน 64
4-6 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาพักผ่อน 64
4-7 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาคลอดบุตร 64
4-8 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาอุปสมบท 64
4-9 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 65
4-10 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินประสิทธิภาพระบบ 65
4-11 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ 66
4-12 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ 66
4-13 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 67
ในระบบ
4-14 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 68

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หน้า
4-15 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ 68
4-16 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ 69
4-17 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ 70

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร


สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
2-1 แผนภาพ DFD ที่ถูกต้อง 10
2-2 Process Decomposition Diagram ที่แสดงถึงกระบวนการต่างๆ ใน DFD แต่ละระดับ 11
2-3 แผนภาพบริบทของระบบบริหารงานร้านบ้านกล้วยไม้ 12
2-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ของระบบงานลงทะเบียนเรียนและประเมินผล 13
2-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 แสดงขั้นตอนการลงทะเทียนประวัตินักศึกษา 14
2-6 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Relationship) 18
2-7 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Relationship) 18
2-8 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many Relationship) 19
2-9 แผนภาพแสดงแอตตริบวิ ต์ของเอ็นติตี้ลูกค้า 19
3-1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) ของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของ 25
บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
3-2 Process Hierarchy Chat ของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากร 27

ูมิ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ร.ส พ.
ณภ
3-3 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1) 29
มท สว

3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 1 การจัดการข้อมูลผูใ้ ช้ 30


3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 2 การจัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ 31
ุวรร

3-6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 3 การจัดการข้อมูลบุคลากร 32


3-7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 4 การจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน 33
3-8 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการเข้าสู่ระบบ 34
3-9 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลบุคลากร 35
3-10 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการปฏิบัติงาน 36
3-11 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาป่วย 37
3-12 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลากิจส่วนตัว 37
3-13 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาพักผ่อน 37
3-14 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัตกิ ารวิจัย หรือดูงาน 37
3-15 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาคลอดบุตร 38
3-16 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 38
3-17 หน้าจอการเข้าสู่ระบบ 43
3-18 หน้าจอหลัก 44


สารบัญภาพ (ต่อ)

ภาพที่ หน้า
3-19 หน้าจอจัดการข้อมูลบุคลากร 44
3-20 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลส่วนตัว 45
3-21 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลการศึกษา 45
3-22 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลการทํางาน 46
3-23 หน้าจอข้อมูลการปฏิบัติงาน 46
3-24 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาป่วย 47
3-25 หน้าจอการจัดการข้อมูลการลากิจส่วนตัว 47
3-26 หน้าจอการจัดการข้อมูลการลาพักผ่อน 48
3-27 หน้าจอการจัดการข้อมูลการฝึกอบรม 48
3-28 หน้าจอการจัดการข้อมูลการดูงาน 49
3-29 หน้าจอการจัดการข้อมูลการปฏิบัติการวิจัย 49
3-30 หน้าจอการจัดการข้อมูลการลาศึกษาต่อ 50
3-31
ูมิ
หน้าจอการจัดการข้อมูลการลาคลอดบุตร 50
ร.ส พ.
ณภ
3-32 หน้าจอการเลือกข้อมูลการลาอุปสมบท 51
มท สว

3-33 หน้าจอการเลือกข้อมูลการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 51
3-34 หน้าจอแสดงผลลัพธ์การค้นหาชื่อและนามสกุลของบุคลากร 52
ุวรร

3-35 หน้าจอการออกรายงานประจําเดือน, ประจําปีงบประมาณ 52


3-36 หน้าจอการจัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ 53
3-37 หน้าจอการแก้ไขรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบ 53
3-38 รายงานประวัติบุคลากร 54
3-39 รายงานสถิติการลาของบุคลากร ประจําปีงบประมาณ 55
3-40 รายงานสถิติการลาของบุคลากร ประจําเดือน 55
3-41 รายงานประวัติการลารายบุคคล 56
3-42 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ประจําปีงบประมาณ 57
3-43 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ประจําเดือน 57
3-44 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย รายบุคคล 58


บทที่ 1
บทนํา
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ หน่วยงาน
ย่อยของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 5 หน่วยงาน คือ สํานักงานคณบดี, สาขาวิชา
คณิตศาสตร์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาพลศึกษาและ
นันทนาการ โดยมีเจ้าหน้าที่ทําหน้าที่ประสานงานระหว่างศูนย์พื้นที่ และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแล
ข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรและจัดการเอกสารการลาในแต่ละศูนย์พื้นที่ ให้เป็นไปตามระเบียบ
สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ ปีพุทธศักราช 2555 เมื่อบุคลากรต้องการลาหรือ
ไปปฏิ บั ติ ร าชการนอกสถานที่ จะต้ อ งยื่ น แบบฟอร์ ม การลาให้ แ ก่ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาชั้ น ต้ น เมื่ อ
ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นอนุมัติแล้ว จะทําการส่งแบบฟอร์มการลาให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้
เจ้าหน้าที่เสนอให้กับคณบดีและ/หรืออธิการบดีลงนามอนุมัติตามระเบียบการลาแต่ละประเภท หาก

ูมิ
ร.ส พ.
ได้รับการอนุมัติ เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึกประวัติการลา เพื่อนําข้อมูลการลามาจัดทํา
ณภ
สถิติและนําสถิติการลาไปใช้ในการคํานวณฐานเงินเดือนประจําปีของบุคลากร
มท สว

จากขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าวทําให้เกิดความยุ่งยากและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้โดยง่ายเมื่อทํา
ุวรร
การสรุปสถิติการลา เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องนําข้อมูลการลาของบุคลากรแต่ละท่านจากสมุด
บันทึกประวัติการลา ไปทําการจัดเก็บและคํานวณในโปรแกรมกระดาษคํานวณอีกครั้ง แล้วนําข้อมูล
สถิติการลาส่งไปยังส่วนงานที่รับผิดชอบในการคํานวณฐานเงินเดือนประจําปีและการเลื่อนเงินเดือน
ซึ่งการลาแต่ละประเภทจะมีผลต่อการคํานวณตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน ปีพุทธศักราช
2552 การเก็บรักษาข้อมูลระบบงานบุคลากรจะต้องมีการจัดเก็บประวัติของบุคลากร ประวัติการลา
ตามประเภทต่างๆ หากมีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานก็จะช่วยให้การบริหารและการ
ดําเนินงานในระดับผู้ปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมากขึ้น (วันดี รอดทอง,2550) ผู้วิจัยจึงมีแนวคิด
พัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานในส่วนของการจัดการข้อมูลบุคลากร
ข้ อ มู ล การลา การสรุ ป สถิ ติ ก ารลา และช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ ห้ กั บ เจ้ า หน้ า ที่
ผู้รับผิดชอบ

1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่ อ พั ฒ นาระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรคณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
1.2.2 เพื่อดําเนินการหาประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2

1.3 ขอบเขต
เป็นการดําเนินการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี โดยดําเนินการพัฒนาให้สามารถจัดเก็บข้อมูลให้ฐานข้อมูล และดําเนินการเก็บข้อมูล
การทดสอบระบบจากเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ

1.4 เครื่องมือที่ใช้
1.4.1 ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
1.4.1.1 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Intel(R) Core(TM) i5 CPU M460 2.53 GHz.
1.4.1.2 การ์ดจอ (Display Card) ATI Mobility Radeon HD 5470
1.4.1.3 หน่วยความจําหลัก (Ram) DDR2 4 GB
1.4.1.4 หน่วยความจําสํารอง (Hard disk) 500 GB
1.4.1.5 แป้นพิมพ์ (Keyboard), เมาส์ (Mouse)
1.4.1.6 เครื่องพิมพ์ (Printer)
1.4.2 ด้านซอฟต์แวร์ (Software)
1.4.2.1 โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2005

ูมิ
1.4.2.2 โปรแกรมการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Microsoft Visual Studio 2008
ร.ส พ.
ณภ
1.4.3 ด้านภาษาโปรแกรม (Program Language)
มท สว

1.4.3.1 ภาษา VB (Visual Basic.net)


1.4.3.2 SQL (Structure Query Language)
ุวรร

1.5 ขั้นตอนการดําเนินงาน
การพั ฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดําเนินการตามขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC)
7 ขั้นตอน ดังนี้
1.5.1 การกําหนดปัญหา ทําการรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ และปัญหาจากการใช้งาน
ระบบงานเดิม
1.5.2 วิเคราะห์ระบบ นําข้อมูลที่รวบรวมมาทําการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบใหม่
1.5.3 ออกแบบระบบ ใช้เครื่องมือสําหรับการพัฒนาระบบ ได้แก่ Data Flow Diagram, ER Diagram
และ Data Dictionary ในการออกแบบพื้นฐานการทํางานของระบบ
1.5.4 พัฒนาระบบ ดําเนินการพัฒนาระบบด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008
และจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft SQL Server 2005
1.5.5 ทดสอบระบบ ทดสอบการใช้ งานระบบโดยผู้วิ จั ย และผู้ เชี่ยวชาญด้า นระบบ เพื่ อ หา
ข้อผิดพลาดของระบบ ก่อนให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน
1.5.6 ติดตั้งระบบ เป็นการนําระบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้นและระบบงานเก่ามาใช้งานไปพร้อมกัน
ในช่ ว งระยะเวลาหนึ่ ง จนกระทั่ ง ระบบงานใหม่ สามารถทํ างานทดแทนระบบงานเก่ าได้ อย่ างมี
ประสิทธิภาพ
3

1.5.7 บํารุงรักษาระบบ จัดทําคู่มือระบบและอบรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ รวมทั้งดําเนินการ


ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรองรับการทํางานอื่นๆ มากขึ้น

1.6 การทดสอบและหาประสิทธิภาพ
การทดสอบเพื่ อ หาประสิ ท ธิ ภ าพของระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรคณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดําเนินการทดสอบการทํางานของระบบด้วยวิธี Black Box Testing โดย
การประเมินผลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวข้อต่อไปนี้
1.6.1 Functional Requirement Test ทําการทดสอบว่าระบบสามารถพัฒนาได้ตามความต้องการ
ของผู้ใช้หรือไม่ โดยทดสอบการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้
1.6.2 Functional Test เป็นการทดสอบความสามารถในการทํางานของระบบว่ามีความถูกต้องและ
มีประสิทธิภาพ สามารถทํางานได้ตามหน้าที่ (Function) หรือไม่
1.6.3 Usability Test ทดสอบผู้ใช้ว่าระบบสามารถใช้งานได้อย่างง่าย และเป็นที่พึงพอใจกับระบบ
หรือไม่
1.6.4 Security Test เป็นการทดสอบระบบว่ามีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการเข้าใช้ระบบ
ได้ดีหรือไม่

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
มท สว

1.7.1 ได้ระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.7.2 ระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรช่ ว ยให้ ก ารดํ า เนิ น งานด้ า นสถิ ติ ก าร
ุวรร

ปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องมากขึ้น
บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การพัฒนาระบบดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังต่อไปนี้
2.1 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC)
2.2 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
2.3 ระบบฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล (Database System & Database Management
System : DBMS)
2.4 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram)
2.5 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
2.6 ภาษาโปรแกรม

ูมิ
ร.ส พ.
2.7 การประเมินประสิทธิภาพของระบบ
ณภ
มท สว

2.1 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC)


ุวรร
ความหมายของวงจรการพัฒนาระบบนั้น กิตติ และพนิดา (2546: 34) กล่าวไว้ว่า วงจรการพัฒนาระบบ
คือ กระบวนการทางความคิด (Logical Process) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทาง
ธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็น
ระยะ (Phase) โดยแต่ละระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอน (Step) ต่างๆ ซึ่งแต่ละโครงการพัฒนาระบบ
จะมีการแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกัน โดยอารยา และณัญจนา (ม.ป.ป.: 26-34) แบ่ง
วงจรการพัฒนาระบบ ออกเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
2.1.1 การกําหนดปัญหา (Problem Definition)
การกํ า หนดปั ญ หา หรื อ เข้ า ใจปั ญ หาเป็ น ขั้ น ตอนเริ่ ม ต้ น ของการพั ฒ นาระบบ ซึ่ ง
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทําความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และความต้องการของผู้ใช้ เพื่อหาแนวทาง
ของระบบใหม่ ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ ใ ช้ และสามารถแก้ปัญ หาที่ เกิดขึ้นกับธุรกิจได้
ขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสําคัญมากที่สุด เนื่องจากผลลัพธ์ของการดําเนินงานในขั้นตอนการ
กําหนดปัญหา คือ
2.1.1.1 เป้าหมายในการทําโครงการทั้งหมด ซึ่งจะเป็นทิศทางของการทําโครงการ
2.1.1.2 ขอบเขตของโครงการ ในการกําหนดปัญหาหรือเข้าใจปัญหา จะต้องกําหนด
กิจกรรมของระบบงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ กําหนดส่วนของระบบงานที่อยู่นอกเหนือขอบเขต
การทําโครงการ รวมทั้งข้อจํากัด เงื่อนไขต่างๆ ของการทําโครงการ
2.1.1.3 จํานวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการจัดทําโครงการ รวมทั้งวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการ
ทํางานในแต่ละขั้นตอนอย่างคร่าวๆ และจํานวนบุคลากรที่คาดว่าจะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนด้วย
5

2.1.2 การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)


การศึกษาความเป็นไปได้เป็นการศึกษาเบื้องต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นคว้าแนวทางที่
เป็นไปได้ของการทําโครงการ ซึ่งอาจมีหลายทางที่สามารถแก้ปัญหาของระบบได้โดยเสียค่าใช้จ่าย
และเสียเวลาน้อยที่สุด ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ แนวทางต่างๆ ที่ได้เสนอมานี้จะต้องมีการพิสูจน์ว่ามี
ความเหมาะสมหรือเป็นไปได้ และจะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษา
ให้เกิดความชัดเจนให้ได้ว่า การแก้ปัญหานั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยทั่วไปการศึกษาความเป็นไป
ได้จะพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ คือ
2.1.2.1 ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technically Feasibility)
การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิคหรือด้านเทคโนโลยี จะทําการตรวจสอบว่า
ภายในองค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ (Software) อุปกรณ์ต่อพ่วง รวมทั้งเครื่องมืออื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องหรือไม่ จํานวนเท่าใด เพียงพอหรือไม่ ถ้ามี สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับใด
ถ้าไม่มีจะซื้อได้หรือไม่ ซื้อที่ไหน นอกจากนี้ซอฟต์แวร์จะต้องพัฒนาใหม่หรือต้องซื้อใหม่ เป็นต้น
2.1.2.2 ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibility)
การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องพิจารณาดูว่า
แนวทางแต่ละแนวทางที่จะใช้แก้ปัญหานั้น จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่ เพียงใด

ูมิ
จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิธีการทํางานของผู้ใช้ระบบหรือไม่ อย่างไร และมีความพึงพอใจกับระบบ
ร.ส พ.
ณภ
ใหม่ ใ นระดั บ ใด นอกจากนี้ จ ะต้ อ งพิ จ ารณาว่ า บุ ค ลากรที่ จ ะพั ฒ นาและติ ด ตั้ ง ระบบมี ค วามรู้
มท สว

ความสามารถหรือไม่ และมีจํานวนเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะหาได้หรือไม่ และระบบใหม่


สามารถเข้ากันกับการทํางานของระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
ุวรร

2.1.2.3 ความเป็นไปได้ด้านการลงทุน (Economic Feasibility)


การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการลงทุน จะเป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
ของโครงการ รวมทั้ ง เวลาที่ จ ะต้ อ งใช้ ใ นการพัฒ นาระบบ โดยพิ จ ารณาว่า เป้ า หมายของการทํ า
โครงการที่ ไ ด้ กํ า หนดไว้ ส ามารถทํ า ให้ สํ า เร็ จ ได้ ภ ายในวงเงิ น ที่ กํ า หนดไว้ ห รื อ ไม่ และหากมี ก าร
ดําเนินงานในขั้นตอนต่อไปทั้งหมดจนจบจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จะได้รับกําไรหรือผลประโยชน์
จากระบบใหม่คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ ซึ่งผู้บริหารจะตัดสินใจว่าควรจะ
ดําเนินการต่อไปในขั้นตอนการวิเคราะห์ หรือจะยกเลิกโครงการทั้งหมด
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว เพื่อที่จะใช้เลือก
แนวทางการพัฒนาระบบที่มีความเป็นไปได้สูงสุด ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาความเป็นไปได้ของ
นักวิเคราะห์ระบบก็คือ การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งการประมาณค่าใช้จ่าย
และกําไรที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่ระบบใหม่ต้องการใช้
2.1.3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนของการศึกษาการทํางานของระบบงานเดิม (ปัจจุบัน)
เพื่อต้องการค้นหาว่าทํางานอย่างไร ทําอะไรบ้าง และมีปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง หรือผู้ใช้ระบบต้องการให้
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เปลี่ยนแปลงส่วนใดของระบบบ้าง หรือต้องการให้ระบบใหม่ทําอะไรได้
บ้าง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ขององค์กรเพื่อนํามาจัดทํารายงานการทํางาน
ของระบบ ซึ่งจะต้องใช้เทคนิคการรวมรวบข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) โดยการศึกษา
6

เอกสารที่ระบบใช้งานอยู่ในปัจจุบัน การตรวจสอบวิธีการทํางานในปัจจุบันด้วยการสังเกต การใช้


แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้บริหาร รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของระบบได้แล้ว อาจนําข้อมูล
ความต้องการดังกล่าวที่รวบรวมได้มาเขียนเป็น “แบบทดลอง (Prototype)” มาเสนอผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้
เห็นว่าระบบใหม่ที่จะพัฒนานั้นมีการทํางานอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร ทํางานอะไรได้บ้าง ตรงกับ
ความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ หากยังมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถ
แก้ไขได้ทันทีก่อนนําไปพัฒนาจริง ดังนั้นแบบทดลองจะช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
เมื่อดําเนินการในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบแล้ว จะต้องมีการเขียนรายงานสรุปออกมา
เป็นข้อมูลเฉพาะปัญหา (Problem Specification) ประกอบด้วยแผนภาพแสดงรายละเอียดของระบบที่
อธิบายการทํางานของระบบ ข้อมูลของระบบ และทิศทางการส่งผ่านข้อมูลของระบบ ดังนั้นรายงาน
ในขั้นตอนนี้จะประกอบด้วย
2.1.3.1 รายละเอียดการทํางานของระบบงานเดิม ควรเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการ
ทํางานของระบบพร้อมคําบรรยายแผนภาพ
2.1.3.2 การกําหนดความต้องการหรือเป้าหมายของระบบใหม่ โดยเขียนแผนภาพแสดง
การทํางานของระบบงานใหม่พร้อมคําบรรยายภาพ

ูมิ
2.1.3.3 ประมาณต้นทุน-กําไร ในการดําเนินงานระบบใหม่
ร.ส พ.
ณภ
2.1.3.4 คําอธิบายวิธีการทํางานและอธิบายปัญหาของระบบที่ละเอียดขึ้นกว่าที่จะอธิบาย
มท สว

ไว้ในขั้นตอนการกําหนดปัญหา
จากข้อมูลความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้และผู้บริหาร ก็จะใช้เป็นแนวทางในการกําหนด
ุวรร

วัตถุประสงค์ของระบบใหม่ต่อไป และในขั้นตอนนี้ผู้บริหารจะทําการพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ตาม
วัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ถ้ามีความเป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้จึงเริ่มดําเนินการขั้นตอน
ถัดไป
2.1.4 การออกแบบระบบ (System Design)
การออกแบบระบบ จะเป็นการเสนอระบบใหม่ โดยที่นักออกแบบระบบจะดําเนินการ
ออกแบบระบบใหม่หรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรมเดิมที่มีอยู่ ออกแบบฐานข้อมูลใหม่หรือเปลี่ยนแปลง
ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ออกแบบรายละเอียดเกี่ยวกับการทํางานของผู้ใช้ และจะต้องเลือกอุปกรณ์ที่ใช้
ในการติดตั้งระบบ
การออกแบบระบบ จะเริ่มดําเนินการโดยนําแนวทางที่ได้ศึกษาไว้ในขั้นตอนการศึกษา
ความเป็นไปได้มาพิจารณาในรายละเอียดที่เสนอกระบวนการทํางานของระบบใหม่เฉพาะขั้นตอน
หลัก หรือเปลี่ยนแปลงการทํางานบางอย่างของระบบเดิม กําหนดข้อมูลเข้าและข้อมูลออก งานที่
จําเป็นต้องทํา ส่วนใดจะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานและส่วนใดที่ยังคงทํางานด้วยมือได้ และการ
คํานวณค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในโครงการใหม่ด้วย จึงควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมให้มากที่สุดแล้วเริ่ม
ดําเนินการออกแบบรายละเอียด
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้คือ การนําเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดังกล่าวที่นํามาใช้กับระบบใหม่ การเตรียมฐานข้อมูล
7

งานที่ผู้ใช้ระบบต้องทํา แบบฟอร์มต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูลเข้าและข้อมูลออก รวมทั้งการติดต่อระหว่าง


ผู้ใช้ระบบกับเครื่องคอมพิวเตอร์
2.1.5 การพัฒนาระบบ (System Development)
การพัฒนาระบบ เป็นการสร้างส่วนประกอบแต่ละส่วนของระบบ โดยการเขียนโปรแกรม
และทดสอบโปรแกรม พัฒนาการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบและฐานข้อมูลจากข้อมูลต่างๆ ของ
ระบบ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) จะเขี ย นโปรแกรมตามข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการวิ เ คราะห์ แ ละ
ออกแบบระบบ ซึ่งควรมีการตรวจสอบผลการทํางานของโปรแกรมร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบ เพื่อ
ค้นหาว่าอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นที่ใดบ้าง ในการทดสอบโปรแกรมนั้น เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ที่
ทดสอบกั บ ข้ อมู ล ที่ เลื อ กแล้ ว ชุ ดหนึ่ ง อาจเลื อ กโดยผู้ ใ ช้ก็ ไ ด้ เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า โปรแกรมไม่มี ค วาม
ผิดพลาด ภายหลังจากการเขียนและทดสอบโปรแกรมดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการ
เขียนคู่มือการใช้งาน พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ส่วนของการขอความช่วยเหลือ (Help)
บนจอภาพ เป็นต้น
ดังนั้นภายหลังจากเสร็จสิ้นในขั้นตอนนี้ ก็จะได้โปรแกรมที่ทํางานของระบบใหม่ คู่มือการ
ใช้งาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมนําไปดําเนินการใน
ขั้นตอนต่อไป

ูมิ
2.1.6 การติดตั้งระบบ (System Implementation)
ร.ส พ.
ณภ
การติดตั้งระบบ จะเป็นการนําส่วนประกอบต่างๆ ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนของการพัฒนา
มท สว

ระบบมาติดตั้งเพื่อใช้ทํางานจริง ในการติดตั้งระบบสามารถทําได้ 2 วิธี คือ


2.1.6.1 ติ ด ตั้ ง และใช้ ร ะบบใหม่ ค วบคู่ ไ ปกั บ ระบบเก่ า วิ ธี นี้ เ ป็ น วิ ธี ที่ ป ลอดภั ย ที่ สุ ด
ุวรร

สามารถป้องกันความเสียหายจากการทํางานที่ผิดพลาดของระบบใหม่ได้ แต่ก็เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่าย
มาก และผู้ใช้งานก็ไม่ชอบการทํางานซ้ําๆ ในขณะเดียวกัน
2.1.6.2 ปรับเปลี่ยน (Conversion) ไปใช้ระบบใหม่โดยหยุดการทํางานระบบเก่า วิธีนี้มี
ความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดความเสียหาย ถ้าระบบใหม่เกิดทํางานผิดพลาดขึ้น และความผิดพลาด
นั้นเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะผู้ใช้ยังไม่ชินกับการทํางานกับระบบใหม่
นอกจากนี้จะต้องมีการฝึกอบรมผู้ใช้งานให้มีความเข้าใจ สามารถใช้งานระบบและทํางาน
ได้โดยไม่มีข้อผิดพลาดหรือปัญหาใดๆ การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติ กําหนดการในการติดตั้งว่างาน
ไหนควรทําเมื่อไหร่ ใช้เวลาเท่าใด การสร้างศูนย์ควบคุมการทํางาน กําหนดบุคคลหรืกลุ่มบุคคลที่
รับผิดชอบ การกําหนดผู้มีอํานาจในการเปลี่ยนแปลงที่จําเป็นต้องกระทํากับระบบใหม่ และการเขียน
รายงานแจ้งให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ทราบ
2.1.7 การบํารุงรักษาระบบ (System Maintenance)
การบํารุงรักษาระบบเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งกิตติ และพนิดา
(2546: 49) กล่าวไว้ว่า หลังจากระบบใหม่ได้เริ่มดําเนินการ ผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้น
เนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่ และค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้เอง ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะต้องคอยแก้ไขและเปลี่ยนแปลงระบบที่
พัฒนาขึ้นจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้ระบบมากที่สุด ปัญหาที่ผู้ใช้ระบบพบระหว่างการดําเนินงาน
8

นั้นเป็นผลดีทําให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่เข้าใจในการทํางานทางธุรกิจ
เป็นอย่างดี
เริ่มจากการมีการเข้าใช้ระบบใหม่ที่ได้ติดตั้งแล้วในระยะแรก ผู้ใช้จะพบปัญหาที่เกิดขึ้น
ซึ่งอาจจะมีการทําการบันทึกปัญหาเหล่านี้ไว้ เพื่อส่งให้กับนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ทํา
การแก้ไขต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขระบบที่เพิ่งมีการติดตั้งใช้
งานในระยะเริ่มต้น โดยนักวิเคราะห์ระบบจะทําการพิจารณาถึงปัญหาเหล่านั้นเพื่อหาแนวทางแก้ไข
ต่อไป

2.2 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)


โอภาส (2548: 163-165) ได้กล่าวถึงความหมายและความเป็นมาของแผนภาพกระแสข้อมูล ไว้
ว่า แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) เป็นแบบจําลองที่นํามาใช้กับการวิเคราะห์
และออกแบบระบบเชิงโครงสร้าง ที่มีการนํามาใช้ตั้งแต่ยุคที่มีการเริ่มใช้ภาษาระดับสูงอย่างภาษาโคบอล
โดยแผนภาพกระแสข้อมูลจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโปรเซส (Processing) กับข้อมูล (Data) ที่เกี่ยวข้อง
โดยข้อมูลในแผนภาพจะทําให้ทราบว่าข้อมูลมาจากไหน, ข้อมูลไปที่ไหน, ข้อมูลเก็บไว้ที่ใด หรือเกิด
เหตุการณ์ใดกับข้อมูลระหว่างทาง มีขั้นตอนในการวิเคราะห์เพื่อสร้างแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้

ูมิ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบการทํางานทางฟิสิคัล (Physical) ของระบบงานเดิม
ร.ส พ.
ณภ
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งแบบจําลองทางลอจิคัล (Logical) ของระบบงานเดิม
มท สว

ขั้นตอนที่ 3 นําแบบจําลองทางลอจิคัลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 มาเพิ่มเติมความต้องการใหม่เข้าไป


ด้วยการปรับปรุงเพื่อเป็นแบบจําลองลอจิคัลของระบบงานใหม่
ุวรร

ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาระบบงานใหม่ในรูปแบบของแบบจําลองฟิสิคัล
2.2.1 วัตถุประสงค์ของแผนภาพกระแสข้อมูล
2.2.1.1 เป็ น แผนภาพที่ ส รุ ป รวมข้ อ มู ล ทั้ ง หมดที่ ไ ด้ จ ากการวิ เ คราะห์ ใ นลั ก ษณะของ
รูปแบบที่เป็นโครงสร้าง
2.2.1.2 เป็นข้อตกลงรวมกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งาน
2.2.1.3 เป็นแผนภาพที่ใช้ในการพัฒนาต่อในขั้นตอนของการออกแบบระบบ
2.2.1.4 เป็นแผนภาพที่ใช้ในการอ้างอิง หรือเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อในอนาคต
2.2.1.5 ทราบที่มาที่ไปของข้อมูลที่ไหลไปในกระบวนการต่างๆ (Data and Process)
2.2.2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพกระแสข้อมูล
สัญลักษณ์ในการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมาจาก 2 องค์กร ได้แก่
ชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย Gane and Sarson (1979) และชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนา
โดย DeMarco and Yourdon (DeMarco, 1979; Yourdon and Constantine, 1979) โดยแต่ละ
ชุดสัญลักษณ์มาตรฐานอธิบายโดยใช้สัญลักษณ์ 4 สัญลักษณ์ (กิตติ และพนิดา, 2546: 150)
9

ตารางที่ 2-1 แสดงชื่อสัญลักษณ์และความหมายของ Yourdon และ Gane & Sarson


สัญลักษณ์
DeMarco & ความหมาย
Gane & Sarson
Yourdon
Process
ขั้นตอนการทํางานภายในระบบ

Data store
แหล่งข้อมูล สามารถเป็นได้ทั้งไฟล์ข้อมูล และ
ฐานข้อมูล (File or Database)
External entity
ปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมที่มีต่อระบบ
Data flow
เส้นทางการไหลของข้อมูล แสดงทิศทางของ

ูมิ
ร.ส พ.
ข้ อ มู ล จากขั้ น ตอนการทํ า งานหนึ่ ง ไปยั ง อี ก
ณภ
ขั้นตอนหนึ่ง
มท สว

(ที่มา : กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล, 2546: 150)


ุวรร

2.2.3 กฎเกณฑ์การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล
เนื่องจากสัญลักษณ์การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่ง
สัญลักษณ์แต่ละอย่างต่างก็มีความหมายในตัวเอง ดังนั้นการออกแบบแผนของกระแสข้อมูลจึงต้องมี
กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อแสดงถึงความถูกต้องในการเขียนแผนภาพ โดยสัญลักษณ์ของแผนภาพไม่สามารถ
เชื่อมติดต่อกันได้ทุกสัญลักษณ์ (โอภาส, 2546: 58) ดังภาพที่ 2-1
10

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 2-1 แผนภาพ DFD ที่ถูกต้อง
มท สว

(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2546: 58)


ุวรร

2.2.4 ขั้นตอนการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล
หลังจากที่ได้ทราบถึงสัญลักษณ์และกฎเกณฑ์การสร้างแผนภาพกระแสข้อมูลในเบื้องต้น
แล้ว การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล อย่างมี หลั กการ ยังประกอบด้วยขั้ นตอนสําคัญ ดั งต่อไปนี้
(โอภาส เอี่ยมสิรวิ งศ์, 2548: 173-175)
2.2.4.1 วิเ คราะห์ ใ ห้ ได้ ว่ า ระบบควรประกอบด้ ว ยเอ็ ก ซ์ เ ทอร์ น อลเอ็ น ติ ตี้ (External
Entity) อะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หน่วยงาน หรือระบบงานต่างๆ
2.2.4.2 ดํ า เนิ น การเขี ย นแผนภาพที่ แ สดงถึ ง สภาพแวดล้ อ มโดยรวมของระบบ หรื อ
เรียกว่า คอนเท็กซ์ไดอะแกรม (Context Diagram)
2.2.4.3 วิเคราะห์ข้อมูลในระบบว่า ควรมีข้อมูล (Data store) อะไรบ้าง
2.2.4.4 วิเคราะห์กระบวนการหรือโปรเซสในระบบว่า ควรมีโปรเซสหลักๆ อะไรบ้าง
ประกอบด้วยโปรเซสย่อยอะไรบ้าง โดยอาจทําเป็น Process Decomposition Diagram ดังภาพที่ 2-2
11

ภาพที่ 2-2 Process Decomposition Diagram ที่แสดงถึงกระบวนการต่างๆ ใน DFD แต่ละระดับ


(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2548: 175)

ูมิ
ร.ส พ.
2.2.4.5 ดําเนินการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 และอาจจะมีระดับที่ 2 ในกรณี
ณภ
ที่จําเป็นต้องขยายรายละเอียด ส่วนแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 นั้น ถ้าหากจําเป็นต้องแตกย่อย
มท สว

อีกก็สามารถกระทําได้
2.2.4.6 ทําการตรวจสอบความสมดุล (Balancing) ของแผนภาพ และทําการปรับแก้
ุวรร

(Redraw) จนกระทั่งได้แผนภาพกระแสข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้อง
2.2.4.7 ในการสร้างแผนภาพกระแสข้อมูล อาจใช้เครื่องมือช่วยวาดอย่างโปรแกรม Visio
หรือใช้โปรแกรม CASE Tools ก็ได้
2.2.5 แผนภาพบริบท (Level 0 : Context Diagram)
แผนภาพกระแสข้ อมูลระดับสูงสุด เรียกว่า คอนเท็กซ์ไดอะแกรม หรือเรียกว่า DFD
Level 0 โดยแผนภาพดังกล่าวจะมีเพียงหนึ่งโปรเซสที่เป็นชื่อระบบงาน และมีดาต้าโฟลว์ (Data flow)
เชื่อมต่อระหว่างโปรเซสกับเอ็กซ์เทอร์นอลเอ็นติตี้ โดยไม่มีดาต้าสโตร์ (Data store) จุดประสงค์ของ
คอนเท็ ก ซ์ ไ ดอะแกรมนี้ ก็ เ พื่ อ แสดงแวดล้ อ มของระบบ เพื่ อ ให้ เ ห็ น ว่ า ระบบมี ก ารตอบโต้ กั บ
เอ็กซ์เทอร์นอลเอ็นติตี้ใดบ้าง ส่วนรายละเอียดภายในระบบงานว่ามีกระบวนการหรือโปรเซสย่อย
(Sub process) ใดบ้างนั้น ก็จะแสดงอยู่ในแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ต่อไป ดังภาพที่ 2-3
12

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว

ภาพที่ 2-3 แผนภาพบริบทของระบบบริหารงานร้านบ้านกล้วยไม้


ุวรร

(ที่มา : http://learninganalysis.blogspot.com/2010/08/context-diagram.html)

2.2.6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1)


กิตติและพนิดา (2551: 142) กล่าวไว้ว่า แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 เป็นแผนภาพ
กระแสข้อมูลที่แสดงขั้นตอนการทํางานหลักทั้งหมด (โปรเซสหลัก) ของระบบ, ทิศทางการไหล (Data
flow) และรายละเอียดของแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Data store) เป็นการแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของ
โปรเซสหลักๆ ที่มีอยู่ภายในภาพรวมของระบบ (Context Diagram) ว่ามีขั้นตอนใดบ้าง โดยแต่ละ
โปรเซสจะมีหมายเลขกํากับอยู่ด้านบนของสัญลักษณ์ ตั้งแต่ 1 เป็นต้นไป ดังภาพที่ 2-4
13

ูมิ
ร.ส พ.
ภาพที่ 2-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ของระบบงานลงทะเบียนเรียนและประเมินผล
ณภ
(ที่มา : http://i46.servimg.com/u/f46/13/06/54/92/cr_dfd11.gif)
มท สว
ุวรร
2.2.7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (Data Flow Diagram Level 2)
โอภาส (2548: 184) กล่าวว่า แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 จะแสดงถึงโปรเซสย่อยของ
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ซึ่งโดยปกติแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ส่วนใหญ่สามารถแตก
โปรเซสออกเป็นส่วนย่อยๆ ต่อไปได้อีก เพื่อแสดงถึงกระบวนการทํางานของระบบในรายละเอียด
กล่ า วคื อ แผนภาพกระแสข้ อ มู ล ระดั บ ที่ 2 นั้ น จะทํ า การแตกฟั ง ก์ ชั น การทํ า งานในโปรเซสของ
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ออกเป็นส่วนๆ ซึ่งกระบวนการแตกฟังก์ชันนี้เรียกว่า Functional
Decomposition และหากโปรเซสได้แตกกระจายออกมาเป็นแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 แล้ว
ไม่สามารถแตกย่อยต่อไปได้อีก (Functional Primitive) กระบวนการแตกฟังก์ชันก็จะหยุดที่ระดับที่ 2
ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 ยังคง
สามารถแตกฟังก์ชันเป็นกระบวนการย่อยต่อไปได้อีก กล่าวคือ ยังไม่ใช่เป็น Functional Primitive
นั่นหมายถึง จําเป็นต้องแตกกระจายเป็นระดับที่ 3 ต่อไป แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 จะแสดง
ตัวอย่างดังภาพที่ 2-5
14

ภาพที่ 2-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 แสดงขั้นตอนการลงทะเทียนประวัตินักศึกษา


(ที่มา : http://i46.servimg.com/u/f46/13/06/54/92/cr_dfd12.gif)

2.2.8 การตรวจสอบความสมดุลของแผนภาพ (Balancing DFD)

ูมิ
ร.ส พ.
กิตติ และพนิดา (2551: 144) กล่าวไว้ว่า ความสมดุลของแผนภาพ (Balancing DFD) หมายถึง
ณภ
ความสมดุลของแผนภาพกระแสข้อมูลที่จะต้องมี Input Data Flow ที่เข้าสู่ระบบและ Output Data
มท สว

Flow ที่ออกจากระบบใน DFD ระดับล่างครบทุกเส้นที่ปรากฏอยู่ใน DFD ระดับบน แต่ในระดับล่าง


ุวรร
อาจจะมีมากกว่าได้ โดยมีเงื่อนไขว่า Input Data Flow และ Output Data Flow นั้นจะต้องเกิด
จากโปรเซสภายในระดับล่างเท่านั้น และจะนําไปใช้ในการตรวจสอบความสมดุลของแผนภาพอีกระดับ
หากมีการแบ่งย่อยแผนภาพในระดับล่างลงไปอีก

2.3 ระบบฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล (Database System & Database Management


System)
2.3.1 ระบบฐานข้อมูล (Database System)
ความหมายของระบบฐานข้อมูล โอภาส (2551: 35) กล่าวไว้ว่า ฐานข้อมูล คือ ศูนย์รวมของ
ข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน (Relationship) โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมี
ระเบียบแบบแผน ก่อให้เกิดฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลจากแผนกต่างๆ ซึ่งถูกจัดเก็บไว้อย่าง
มีระบบภายในฐานข้อมูลชุดเดียวกัน โดยผู้ใช้งานแต่ละแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้ เพื่อ
นําไปประมวลผลร่วมกัน ทําให้แก้ปัญหาความซ้ําซ้อนของข้อมูล และที่สําคัญข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่
ผูกติดกับโปรแกรม กล่าวคือ จะมีความอิสระในข้อมูล (Program-Data Independence)
2.3.2 ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
โอภาส (2551: 37-45) กล่าวว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล มักเรียกย่อๆ ว่า DBMS คือ ซอฟต์แวร์
ที่ใช้เป็นเครื่องมือของผู้ใช้เพื่อโต้ตอบกับฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชันหน้าที่ต่างๆ ในการจัดการ
กับข้อมูล รวมทั้งภาษาที่ใช้ทํางานกับข้อมูล มักใช้กับ SQL ในการสร้าง, การเรียกดู และการบํารุงรักษา
ฐานข้อมูล นอกจากนี้ DBMS ยังมีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล ด้วย
15

การป้องกันมิให้ผู้ไม่มีสิทธิ์ใช้งานเข้ามาละเมิดข้อมูลในฐานข้อมูลที่เป็นศูนย์กลางได้ รวมถึงการสํารอง
ข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล ในกรณีข้อมูลเกิดความเสียหาย เป็นต้น
ส่วนประกอบด้านสภาพแวดล้อมของระบบจัดการฐานข้อมูล (Components of the DBMS
Environment) ประกอบไปด้วย
2.3.2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
(Peripherals) โดยตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนํามาพิจารณาก็คือหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และ
หน่วยความจําหลัก หน่วยประมวลผลกลางจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเร็วในการประมวลผล ในขณะที่
หน่วยความจําหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เป็นพื้นที่สําหรับจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นํามา
ประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูลนั้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจําสํารองที่ใช้จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ใน
ฐานข้อมูล ซึ่งจําเป็นต้องคํานึงถึงขนาดความจุที่จะนํามาใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นด้วย
2.3.2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ประกอบด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น ระบบปฏิบัติการ (Operation
System) เป็นโปรแกรมระบบที่ใช้สําหรับควบคุมการทํางานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงการจัดสรร
ทรัพยากรในระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (DBMS Software) และ
โปรแกรมประยุกต์และโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ (Applications Programs and Utilities Software)
ในที่นี้หมายถึงโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนํามาใช้โต้ตอบกับฐานข้อมูล

ูมิ
2.3.2.3 ข้อมูล (Data) ถือเป็นส่วนสําคัญของข้อมูล โดยเปรียบเสมือนกันสะพานที่เชื่อมโยง
ร.ส พ.
ณภ
ระหว่างส่วนประกอบของเครื่องจักร (Machine) และมนุษย์ (Human) เข้าด้วยกัน สําหรับข้อมูลที่บันทึก
มท สว

อยู่ในฐานข้อมูลนั้น จะได้รับการออกแบบเพื่อการจัดเก็บจากนักออกแบบฐานข้อมูลอย่างมีระเบียบ
แบบแผน
ุวรร

2.3.2.4 โพรซีเยอร์ (Procedure) ในที่นี้เกี่ยวข้องกับคําสั่งและกฎระเบียบ เพื่อใช้สําหรับ


การออกแบบและใช้งานฐานข้อมูล โดยสามารถจัดทําขึ้นเพื่อเป็นเอกสารหรือคู่มือการใช้งานว่าจะ
ปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อให้สามารถใช้งานหรือให้ระบบทํางานได้
2.3.2.5 ผู้ใช้ (User) ประกอบไปด้วยกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งสามารถจําแนกออกเป็นตําแหน่ง และ
แต่ละตําแหน่งจะมีภาระหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป ดังนี้
(1) ผู้บริหารข้อมูลและผู้บริหารฐานข้อมูล (Data and Database Administrators)
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนข้อมูล
การพั ฒ นาและการบํารุง รัก ษา การกํา หนดนโยบายและขั้ น ตอนการปฏิ บัติง าน และรวมถึ ง การ
ออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
(2) นักออกแบบฐานข้อมูล (Database Designers) สําหรับโครงการออกแบบ
ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แบ่งนักออกแบบฐานข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
(2.1) นักออกแบบฐานข้อมูลระดับตรรกะ (Logical Database Designer)
มีหน้าที่กําหนดข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Relationship) การกําหนดข้อบังคับของข้อมูล
ต้องมีความเข้าใจในเรื่องการจัดการระบบข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบทางธุรกิจ
(Business Rules)
(2.2) นักออกแบบฐานข้อมูลระดับกายภาพ (Physical Database Designer)
มีหน้าที่นําแบบจําลองข้อมูล ที่สร้างขึ้นจากระดับตรรกะมาดําเนินการต่อไปว่าจะต้องทําอย่างไร
16

เพื่อให้ระบบเกิดผลตามรูปแบบเชิงกายภาพที่ต้องการ มีความสามารถในการคัดเลือกอุปกรณ์ และกําหนด


วิธีเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม
(3) นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ (System Analysis and Programmers)
โปรแกรมเมอร์ จ ะเขี ย นโปรแกรมตามข้ อ กํ า หนดที่ ไ ด้ ส ร้ า งไว้ โ ดยนั ก วิ เ คราะห์ ร ะบบ หรื อ เขี ย น
โปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้ โดยแต่ละโปรแกรมจะบรรจุด้วยชุดคําสั่งต่างๆ ที่
จัดการกับ DBMS เพื่อปฏิบัติการกับข้อมูลในฐานข้อมูล
(4) ผู้ใช้ปลายทาง (End Users) คือผู้ปฏิบัติงานกับโปรแกรมเพื่อใช้งานประจําวัน
สามารถแบ่งผู้ใช้ปลายทางออกเป็น 2 ประเภท คือ
(4.1) ผู้ใช้ทั่วไป (Naive Users) หมายถึง ผู้ใช้ปกติทั่วไปที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ
DBMS จะทําหน้าที่ปฏิบัติงานบนโปรแกรมที่สร้างขึ้นผ่านเมนูต่างๆ ตามที่โปรแกรมเมอร์เขียนไว้เท่านั้น
(4.2) ผู้ใช้สมัยใหม่ (Sophisticated Users) คือผู้ใช้ที่มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล โครงสร้างฐานข้อมูล และการใช้งาน DBMS ได้ดีในระดับหนึ่ง บางครั้งอาจ
พัฒนาชุดคําสั่งเพื่อใช้งานเฉพาะส่วนงานของตนก็เป็นได้

2.4 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ER Diagram)

ูมิ
กิตติ และพนิดา (2546: 200) ได้ให้ความหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผนภาพแสดงความสัมพันธ์
ร.ส พ.
ณภ
ระหว่างข้อมูลไว้ว่า การสร้างแผนภาพจําลองข้อมูลและกระบวนการดําเนินงานของระบบนั้นมีบทบาท
มท สว

สําคัญในการพัฒนาระบบ เนื่องจากสามารถแสดงโครงสร้างของข้อมูลและการทํางานภายในระบบ
ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ทั้งนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งานเกิดความเข้าใจในการทํางานของระบบอย่าง
ุวรร

ถูกต้อง แบบจําลองข้อมูลที่สร้างขึ้นในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบนี้ยังเรียกว่าเป็น
“การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวความคิด (Conceptual Database Design)” ของขั้นตอนการออกแบบ
(Design Phase) ในกิจกรรมการออกแบบฐานข้อมูลซึ่งจะนํา Conceptual Data Model ที่ได้จาก
กิจกรรมย่อยนี้ไปทําการปรับปรุงและออกแบบฐานข้อมูลในระดับ Logical และ Physical ต่อไป ใน
ที่นี้เพื่อความสะดวกจะเรียก Conceptual Data Model ว่า “Data Model”
แบบจําลองข้อมูล (Data Model) หมายถึง การจําลองข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระบบพร้อมทั้ง
จําลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกิดขึ้นนั้นโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
(Entity Relationship Diagram : ER Diagram)
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หมายถึง แผนภาพที่ใช้เป็นเครื่องมือสําหรับจําลองข้อมูล
ซึ่งประกอบไปด้วย Entity (แทนกลุ่มของข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน) และความสัมพันธ์
ระหว่างข้อมูล (Relationship) ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระบบ
2.4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ใน ER Diagram
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพ ER Diagram ที่ใช้ในการจําลองแบบข้อมูลมีหลายรูปแบบ แต่
ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ Chen Model และ Crow’s Foot Model (กิตติ และพนิดา, 2546: 201-202)
โดยในการเขียน ER Diagram นี้ ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบ Chen Model เป็นหลัก
17

ตารางที่ 2-2 แสดงชื่อสัญลักษณ์และความหมายของ Chen และ Crow’s Foot


Chen Model Crow’s Foot Model ความหมาย
ใช้แสดง Entity
Entity name

Relationship Line
เส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง Entity
Relationship
ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่ าง Entity
- ในส่วนของ Crow’s Foot Model จะใช้ตัวอักษร
เขียนแสดงความสัมพันธ์
Attribute
ใช้แสดง Attribute ของ Entity
ูมิ
Entity name
ร.ส พ.
ณภ
Attribute 1
มท สว

Attribute 2
ุวรร

ใช้แสดงคีย์หลัก (Identifier)
Entity name
Identifier Identifier
Attribute 1

Weak Entity

(ที่มา : กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล, 2546 หน้า 201-202)


18

2.4.2 องค์ประกอบของ ER Diagram


การสร้างแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ตามที่โอภาส (2548: 218-221) กล่าวไว้
นั้นใช้พื้นฐานหลัก 3 ประการ ดังนี้
2.4.2.1 Entity คือ บุคคล สถานที่ วัตถุ และรวมถึงเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดกลุ่มของข้อมูลที่
ต้องการจัดเก็บ ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ (Uniquely Identifiable)
2.4.2.2 Relationships คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้ (Entity) โดยจะเป็นไปตามชนิดของ
แต่ ล ะความสั ม พั น ธ์ อาจกล่ า วได้ อี ก นั ย หนึ่ ง ว่ า ความสั ม พั น ธ์ ข องแต่ ล ะเอ็ น ติ ตี้ นี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ตาม
ธรรมชาติในกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งความสัมพันธ์จะนําเสนอด้วยเหตุการณ์เชื่อมโยงระหว่างเอ็นติตี้
เช่น พนักงานมีความสัมพันธ์กับแผนกที่ตนสังกัดอยู่ เป็นต้น
สําหรับข้อกําหนดในความสัมพันธ์ (Constraints) จะเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับ
เงื่ อ นไขเพื่ อ ให้ ก ารจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ในฐานข้ อ มู ล เป็ น ไปอย่ า งเหมาะสมและถู ก ต้ อ ง โดยข้ อ กํ า หนด
ความสัมพันธ์จะเป็นเงื่อนไขที่ใช้บังคับส่วนต่างๆ ในแบบจําลอง ซึ่งโปรแกรมจะต้องรักษาให้ถูกต้อง
ตามความเป็นจริงเสมอ แสดง Cardinality Constraints โดยความหมายของความสัมพันธ์แต่ละแบบ
โอภาส (2546: 96-98) ได้อธิบายไว้ดังนี้
(1) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Relationship) เป็นความสัมพันธ์

ูมิ
ระหว่างเอ็นติตี้หนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับอีกเอ็นติตี้หนึ่งเพียงหนึ่งรายการเท่านั้น ยกตัวอย่างดังภาพที่ 2-6
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 2-6 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Relationship)


(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2546: 96)

(2) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Relationship) เป็นความ


สัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้หนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับอีกเอ็นติตี้หนึ่งมากกว่าหนึ่งรายการ ยกตัวอย่างดัง
ภาพที่ 2-7

ภาพที่ 2-7 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Relationship)


(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2546: 97)

(3) ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many Relationship) เป็นความ


สัมพันธ์หลายรายการระหว่างเอ็นติตี้ท้งั สอง ยกตัวอย่างดังภาพที่ 2-8
19

ภาพที่ 2-8 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุม่ (Many-to-Many Relationship)


(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2546: 98)

2.4.2.3 Attributes คือ คุณสมบัติของเอ็นติตี้ เช่น เอ็นติตี้ลูกค้าประกอบด้วยแอตตริบิวต์


(Attributes) รหัสลูกค้า, ชื่อ, นามสกุล, เพศ, ที่อยู่, โทรศัพท์ และวันเกิด ดังภาพที่ 2-9

ภาพที่ 2-9 แผนภาพแสดงแอตตริบิวต์ของเอ็นติตี้ลูกค้า


ูมิ
ร.ส พ.
(ที่มา : โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2548: 221)
ณภ
มท สว

2.5 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)


ุวรร

โอภาส (2555: 257-258) กล่าวไว้ว่า พจนานุกรมข้อมูล ประกอบด้วยหน่วยข้อมูลหรือข้อมูลย่อย (Data


Element) ของระบบ โดยข้อมูลย่อยคือข้อมูลที่ไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ข้อมูลลูกค้า
ประกอบด้ ว ยรหั ส ลู ก ค้ า ชื่ อ และที่ อ ยู่ เป็ น ต้ น สํ า หรั บ ข้ อ มู ล ย่ อ ยเหล่ า นี้ เ มื่ อ นํ า มารวมกั น ก็ จ ะ
เรียกว่าเรคอร์ด (Record) และในที่สุดก็ถูกรวมเป็นโครงสร้างแฟ้มข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูล เป็นเอกสารที่ใช้อธิบายรายละเอียดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล รายการข้อมูล ซึ่ง
ประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตตริบิวต์, ชื่อแทน (Aliases name), รายละเอียดข้อมูล (Data
Description), แอตตริบิวต์โดเมน (Attribute Domain), ลําดับดัชนี (Index), คีย์หลัก (Primary Key),
คีย์นอก (Foreign Key), ชนิดข้อมูล (Data Type) นอกจากนี้พจนานุกรมข้อมูลยังอาจรวมรายละเอียด
เกี่ยวกับแหล่งกําเนิดข้อมูล, วันที่สร้างแฟ้มข้อมูล, ผู้ใช้ระบบ, สิทธิการใช้งานแฟ้มข้อมูล, ความถี่ใน
การใช้งาน และอื่นๆ

2.6 ภาษาโปรแกรม
2.6.1 SQL (Structure Query Language)
2.6.1.1 ความเป็นมาของ SQL
โอภาส (2551: 272) กล่าวไว้ว่า SQL จัดเป็นภาษามาตรฐานบนระบบฐานข้อมูล
เชิงสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถนําไปใช้งานได้ในคอมพิวเตอร์หลายระดับด้วยกัน SQL ถูกพัฒนาขึ้นจาก
แนวคิดทางคณิตศาสตร์ คือ Relational Algebra และ Relational Calculus ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด
20

ของเทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่ E.F. Codd เป็นผู้คิดค้นขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2513 และต่อมา


ทางบริษัท IBM ได้เริ่มพัฒนางานวิจัยเมื่อปีพุทธศักราช 2517 โดยใช้ชื่อว่า “Structured English Query
Language” หรือ SEQUEL จากนั้นจึงได้ปรับปรุงเวอร์ชันเป็น SEQUEL/2 เมื่อปีพุทธศักราช 2519 และ
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น SQL อันเนื่องมาจากคําย่อเดิมนั้นไปซ้ํากับผลิตภัณฑ์ทางการค้าของบริษัท
อื่นที่ใช้มาก่อน
หลังจากปีพุทธศักราช 2513 เป็นต้นมา ระบบฐานข้อมูล ORACLE ที่ถูกพัฒนาโดย
บริษัท ORACLE Corporation และถือเป็นก้าวแรกของการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ในเชิงพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ SQL
เมื่อมีผลิตภัณฑ์ DBMS จากผู้ผลิตต่างๆ มากขึ้น จึงทําให้เกิด SQL หลายรูปแบบ
ตามแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในราวปีพุทธศักราช 2525 ทาง American National Standards Institute
(ANSI) จึงได้คิดค้นและดําเนินการร่างมาตรฐานชุดคําสั่ง SQL ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ผลิตรายต่างๆ สร้าง
ชุดคําสั่งดังกล่าวให้อยู่ภายใต้ มาตรฐานเดี ยวกัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแต่ละค่ายก็มีการเพิ่ม
คุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อนํามาใช้เป็นจุดขายใน
เชิงการตลาด แต่ก็ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ทาง ANSI บัญญัติไว้ โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ระบบจัดการ
ฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ORACLE, DB2, SYBASE, Informix, MS-SQL, MS-Access รวมทั้ง MS-Visual
FoxPro เป็นต้น
ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
2.6.1.2 วัตถุประสงค์ของ SQL
มท สว

โอภาส (2551: 272) ได้สรุปวัตถุประสงค์ของ SQL ไว้ดังนี้


(1) สร้างฐานข้อมูลและโครงสร้างของรีเลชั่น (Relations)
ุวรร

(2) สนับสนุนงานด้านการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการเพิ่ม การ


ปรับปรุง และการลบข้อมูลออกจากรีเลชั่น
(3) สนับสนุนงานคิวรีข้อมูล (Query)
2.6.1.3 ประเภทคําสั่ง SQL
โอภาส (2551: 276) กล่าวไว้ว่า ประเภทคําสั่ง SQL แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
(1) ภาษานิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) ประกอบด้วย
กลุ่มคําสั่งที่ใช้สําหรับสร้างตาราง แก้ไขตาราง และลบตาราง กล่าวคือ เป็นกลุ่มคําสั่งที่ใช้ในการสร้าง
ฐานข้อมูล ด้วยการกําหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์หรือแอตตริบิวต์ใดบ้าง มีชนิดข้อมูล (Data
Type) เป็นชนิดใด รวมทั้งการจัดการด้านการเพิ่ม แก้ไข และลบแอตตริบิวต์ต่างๆ ในรีเลชั่น รวมถึง
การสร้างลําดับดัชนีให้กับรีเลชั่น อย่างไรก็ตามชุดคําสั่ง DDL ดังกล่าว ผู้บริหารฐานข้อมูลมักจะกําหนด
สิทธิ์การใช้งานชุดคําสั่งเหล่านี้ให้กับผู้ดูแล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้สามารถจัดการได้เท่านั้น ทั้งนี้
เนื่องจากเป็นชุดคําสั่งสําคัญที่ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในฐานข้อมูล
(2) ภาษาจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) จัดเป็น
กลุ่มคําสั่งที่ถือเป็นแกนสําคัญของ SQL ใช้เพื่อการเพิ่ม ปรับปรุง และเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล
(3) ภาษาควบคุมฐานข้อมูล (Data Control Language : DCL) เป็นกลุ่มคําสั่ง
ที่ช่วยให้ผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถควบคุมฐานข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยคําสั่งเพื่ออนุญาต หรือ
ยกเลิกสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันความปลอดภัยต่อฐานข้อมูล
21

2.6.2 ภาษา VB (Visual Basic.net)


พิรพร และอัจจิมา (2552) ได้กล่าวไว้ว่า Visual Basic เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming
Language) ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สร้างระบบปฏิบัติการ Windows 95,
Windows 98 และ Windows NT ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยตัวภาษาเองมีรากฐานมาจากภาษา Basic
ซึ่งย่อมาจาก Beginners All Purpose Symbolic Instruction ความหมายคือชุดคําสั่งหรือภาษา
คอมพิวเตอร์สําหรับผู้เริ่มต้น ภาษา Basic มีจุดเด่นคือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องการเขียนโปรแกรม สามารถ
เรียนรู้และนําไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น
ภาษาซี (C), ปาสคาส (Pascal), ฟอร์แทรน (Fortian) หรือแอสเชมบลี (Assembler)
Visual Basic เวอร์ชันแรกคือเวอร์ชัน 1.0 ออกสู่สายตาประชาชนตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2534
โดยในช่วงแรกนั้นยังไม่มีความสามารถต่างจากภาษา GBASIC มากนัก แต่จะเน้นเรื่องเครื่องมือที่ช่วย
ในการเขียนโปรแกรมวินโดว์ซึ่งปรากฏว่า Visual Basic ได้รับความนิยมและประสบความสําเร็จเป็น
อย่างดี บริษัทไมโครซอฟท์จึงพัฒนา Visual Basic ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านประสิทธิภาพ
ความสามารถและเครื่ อ งมื อ ต่ า งๆ เช่ น เครื่ อ งมื อ ตรวจสอบแก้ ไ ขโปรแกรม (Debugger)
สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมแบบหลายวินโดว์ย่อย (MDI) และอื่นๆ
อีกมากมาย

ูมิ
สําหรับ Visual Basic ในปีพุทธศักราช 2552 คือ Visual Basic 2008 ซึ่งออกมาในปี
ร.ส พ.
ณภ
พุทธศักราช 2551 ได้เพิ่มความสามารถในการเขียนโปรแกรมติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การ
มท สว

เชื่ อมต่ อกั บระบบฐานข้อมู ล รวมทั้งปรับปรุ งเครื่ องมือและการเขียนโปรแกรมเชิ งวัตถุ (Object


Oriented Programming : OOP) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มเครื่องมือต่างๆ อีกมากมายที่ทําให้
ุวรร

ใช้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม
Visual Studio 2008 เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ
Windows เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้เทคโนโลยีในลักษณะ Visualize โดยสามารถทําการวาดฟอร์มใน
โปรแกรม เพื่ อ สร้ า งจอภาพที่ ใ ช้ ติ ด ต่ อ กั บ ผู้ ใ ช้ ไ ด้ รวมทั้ ง การใช้ เ ทคนิ ค การเขี ย นโปรแกรมแบบ
Even-driven เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อกําหนดขั้นตอนในการทํางานให้กับคอนโทรล (Control)
ต่างๆ ที่สร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่างๆ ประกอบกับภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมเป็นภาษา Basic ซึ่งเป็นภาษา
คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
2.6.2.1 หลักการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic
การเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic เป็นการเขียนโปรแกรมที่ตอบสนองเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น (Event Driven Programming) โดยการเขียนคําสั่งกําหนดให้โปรแกรมทํางานในสิ่งที่ต้องการ
ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ใช้กดคีย์บอร์ด (Keyboard), กดปุ่มเลือกเมนู (Menu) ตามแนวคิดการ
เขียนโปรแกรมแบบ OOP จะมองแต่ละส่วนของโปรแกรมเป็นอ็อบเจ็กต์ (Object) โดยอ็อบเจ็กต์แต่ละ
ตัวจะมีคุณสมบัติ (Property) เป็นของตัวเอง ซึ่งแต่ละคุณสมบัติสามารถกําหนดค่าได้ เช่น สีของ
โปรแกรม สีของเมนู ในการพัฒนาโปรแกรมสามารถกําหนดคุณสมบัติ (Property) ได้ 2 แบบ คือ
กําหนดที่ Property Window ตอนออกแบบโปรแกรม และกําหนดขณะที่แอพพลิเคชั่นเริ่มทํางานไป
แล้ว โดยกําหนดค่าไว้ใน Code Editor
22

อ็อบเจ็กต์แต่ละตัวมีความสามารถหรือเมธอด (Method) เป็นของตัวเอง เช่น


โปรแกรม Calculator สามารถบวก ลบ คูณ และหารได้ อ็อบเจ็กต์สามารถเกิดเหตุการณ์ต่างๆ หรือ
มี Event ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ เช่น การคลิก การป้อนข้อมูล หรือเลือกข้อมูล
โดยโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อจัดการกับ Event แต่ละตัว เรียกว่า Event Handler
2.6.2.2 อ็อบเจ็กต์ใน Visual Basic มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
(1) คอนโทรล (Control) เป็นอ็อบเจ็กต์ที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ปุ่มกด (Button),
ช่องกรอกข้อความ (Textbox), ข้อความ (Label), กล่องรูปภาพ (Picture Box) เป็นต้น
(2) คอมโพเนนต์ (Component) เป็นอ็อบเจ็กต์ที่เรามองไม่เห็นเวลาที่แอพพลิเคชั่น
ทํางาน หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทํางานอยู่เบื้องหลัง” เช่น ตัวจัดการด้านเวลา (Timer) เป็นต้น

2.7 การประเมินประสิทธิภาพของระบบ
วันดี รอดทอง (2550) ดําเนินการพัฒนาระบบงานบุคลากรโรงพยาบาลหันคา โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อทําให้ระบบจัดการเก็บข้อมูลของบุคลากรในโรงพยาบาลหันคา เป็นไปอย่างมีระบบ
รวดเร็วและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ การทดสอบการประเมินประสิทธิภาพ
ของระบบแบ่งการประเมิน 4 ด้านได้แก่ ด้าน Function Requirement Test, Function Test,

ูมิ
Usability Test และ Security Test สถิติที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วน
ร.ส พ.
ณภ
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
มท สว
ุวรร
บทที่ 3
ขั้นตอนการดําเนินงาน

การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้ดําเนินการพัฒนาระบบตามขั้นตอนของวงจรพัฒนา
ระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ต่อไปนี้
3.1 การกําหนดปัญหา
3.2 การวิเคราะห์ระบบ
3.3 การออกแบบระบบ
3.4 การพัฒนาระบบ
3.5 การทดสอบระบบ
3.6 การติดตั้งระบบ
3.7 การบํารุงรักษาระบบ
ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว

3.1 การกําหนดปัญหา
ผู้วิจัยได้ดําเนินการรวบรวมข้อมูลการทํางานของระบบงานเดิม จากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบใน
ุวรร

ส่วนงานจัดการเอกสารการลา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทําให้ทราบขั้นตอนในการจัดทําข้อมูลสถิติ


การลาของบุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
โดยมีขั้นตอนการดําเนินงานดังนี้
เมื่อบุคลากรยื่นเอกสารการลากับผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน และได้รับการอนุมัติการลาแล้ว
เอกสารการลาดังกล่าวจะถูกส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อดําเนินการส่งมอบเอกสารการลา
ให้กับคณบดีและ/หรืออธิการบดีลงนามอนุมัติอีกขั้นตอนหนึ่งตามระเบียบการลา จากนั้นเจ้าหน้าที่จะ
ทําการตรวจสอบเอกสารการลาที่ได้รับการอนุมัติของบุคลากรแต่ละท่าน เพื่อนําข้อมูลจํานวนวันลา
และรายละเอียดเบื้องต้นในการลาแต่ละครั้งบันทึกลงในสมุดบันทึกประวัติการลา และทําการคํานวณ
เบื้องต้นไว้ในช่องหมายเหตุของการบันทึก เมื่อถึงเวลาจัดทําสถิติการลา เจ้าหน้าที่จะนําข้อมูลจาก
สมุดบันทึกประวัติการลาไปคํานวณสถิติการลาในโปรแกรมกระดาษคํานวณ จากนั้นจึงออกรายงาน
และส่งข้อมูลสถิติการลาไปยังส่วนงานที่รับผิดชอบอีกขั้นตอนหนึ่ง
จากขั้นตอนการทํางานดังกล่าว ทําให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงปัญหาในขั้นตอนของการคํานวณข้อมูล
ทางสถิติ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องทําการคํานวณสถิติการลา 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มความถูกต้องให้กับข้อมูลสถิติ
การลา แต่ ห ากข้ อ มู ล ที่ ก รอกลงไปในโปรแกรมกระดาษคํ า นวณเกิ ด ความผิ ด พลาด เจ้ า หน้ า ที่
ผู้รับผิดชอบก็ต้องกลับไปตรวจสอบกับสมุดบันทึกประวัติการลาอีกครั้ง และหากข้อมูลที่ได้บันทึกลง
ในสมุ ด บั น ทึ ก ประวั ติ ก ารลาเกิ ด ความผิ ด พลาดขึ้ น เจ้ า หน้ า ที่ จ ะต้ อ งกลั บ ไปตรวจสอบเอกสาร
24

อีกครั้ง ซึ่งทําให้สูญเสียเวลาในการกลับไปค้นหาเอกสารที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง


ของข้อมูล

3.2 การวิเคราะห์ระบบ
เมื่อทราบขั้นตอนการดําเนินงานและปัญหาที่เกิดขึ้นในการทํางานของเจ้าหน้าที่ จากขั้นตอนการ
กําหนดปัญหา และทําการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว ทําให้ได้แนวทางในการพัฒนาระบบจัดการ
ข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุวรรณภูมิ โดยใช้การจัดการฐานข้อมูลดําเนินการจัดเก็บรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบ
คือ ข้อมูลบุคลากร, ข้อมูลการลา, ข้อมูลการฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน และข้อมูลผู้ใช้งาน
ระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถดําเนินการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ จากหน้าจอของโปรแกรม อีกทั้ง
ยังสามารถออกรายงานประวัติบุคลากร, ประวัติการลาของบุคลากร, ประวัติการฝึกอบรม ปฏิบัติการ
วิจัย หรือดูงาน ตามเงื่อนไขต่างๆ นอกเหนือจากการคํานวณและออกรายงานสถิติการลาประจําเดือน,
ประจําปีงบประมาณได้

3.3 การออกแบบระบบ

ูมิ
เมื่อทราบถึงปัญหาของระบบงานเดิม และได้ทําการวิเคราะห์ระบบงานใหม่ ให้สามารถออกแบบ
ร.ส พ.
ณภ
ระบบงานใหม่ที่มีการจัดการข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น สามารถประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่
มท สว

สามารถนํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการสนั บ สนุ น การทํ า งานในแต่ ล ะหน้า ที่ ผู้ วิจั ยจึ ง ทํา การออกแบบ
โครงสร้างของระบบใหม่ที่จะดําเนินการพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดในส่วนต่างๆ ดังนี้
ุวรร

3.3.1 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)


การพั ฒ นาระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรคณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้นําเครื่องมือในการวิเคราะห์และออกแบบ
ระบบมาช่วยในการวิเคราะห์คือ Data Flow Diagram (DFD) ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงการไหลของ
ข้ อ มู ล และการประมวลผลต่ า งๆ แผนภาพนี้ จ ะเป็ น สื่ อ ที่ ช่ ว ยให้ ก ารวิ เ คราะห์ ร ะบบเป็ น ไปตาม
วัตถุประสงค์ โดยระบบมีปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 อาจารย์
ส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่
ส่วนที่ 3 ผู้ใช้ระบบ
โดยแผนภาพบริบท (Context Diagram) เป็นแผนภาพที่ใช้แสดงขั้นตอนการทํางานของระบบ
ในระดับหลักการ เพื่อแสดงข้อมูลเข้า, ข้อมูลออก และแหล่งข้อมูลของระบบ ดังภาพที่ 3-1
25

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) ของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน


ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

จากการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ของระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรคณะ


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทําให้ทราบรายละเอียดของ
Boundaries, Data และ Process ที่แสดงถึงขั้นตอนในการทํางานของระบบ
26

ตารางที่ 3-1 แสดง Boundaries, Data และ Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ


List of Boundaries List of Data
1. ผู้ใช้ 1. ข้อมูลผู้ใช้
2. อาจารย์ 2. ข้อมูลบุคลากร
3. เจ้าหน้าที่ 3. ข้อมูลการลา
4. ข้อมูลการฝึกอบรม
List of Process
1. จัดการข้อมูลผู้ใช้
2. จัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ
3. จัดการข้อมูลบุคลากร
4. จัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน
5. ออกรายงาน

เมื่อกําหนดกระบวนการที่เกี่ยวข้องในระบบแล้ว ผู้วิจัยจึงดําเนินการรวมกลุ่มโปรเซสเข้า
ด้วยกันเพื่อสะดวกต่อการจัดภาพกระแสข้อมูลในระดับย่อยๆ โดยอาจทําในรูปของ Process Hierarchy

ูมิ
ร.ส พ.
Chat ดังภาพที่ 3-2
ณภ
มท สว
ุวรร
มท สว
ร.ส พ.
ุวรร
ณภ
ูมิ
ภาพที่ 3-2 Process Hierarchy Chat ของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
27
28

3.3.1.1 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1)


เป็นแผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงรายละเอียดการทํางานของระบบด้วยโปรเซสหลัก
และผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังภาพที่ 3-3
โปรเซสที่ 1 จัดการข้อมูลผู้ใช้
โปรเซสที่ 2 จัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ
โปรเซสที่ 3 จัดการข้อมูลบุคลากร
โปรเซสที่ 4 จัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน
โปรเซสที่ 5 ออกรายงาน

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร
มท สว
ร.ส พ.
ุวรร
ณภ
ูมิ
ภาพที่ 3-3 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1)
29
30

3.3.1.2 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับระดับที่ 2 (Data Flow Diagram Level 2)


เป็นแผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงรายละเอียดการทํางานของแต่ละโปรเซส มี
รายละเอียดการทํางานดังนี้
(1) แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 1 (Data Flow Diagram Level 2
Process 1) แสดงขั้นตอนการจัดการข้อมูลผู้ใช้ ดังภาพที่ 3-4
โปรเซสที่ 1.1 ตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน
โปรเซสที่ 1.2 เพิ่มข้อมูล
โปรเซสที่ 1.3 แก้ไขรหัสผ่าน
โปรเซสที่ 1.4 ลบข้อมูล

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 1 การจัดการข้อมูลผูใ้ ช้


31

(2) แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 2 (Data Flow Diagram Level 2


Process 2) แสดงขั้นตอนการจัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ ดังภาพที่ 3-5
โปรเซสที่ 2.1 เพิ่มข้อมูล
โปรเซสที่ 2.2 ค้นหาข้อมูล
โปรเซสที่ 2.3 แก้ไขข้อมูล
โปรเซสที่ 2.4 ลบข้อมูล

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 2 การจัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ


32

(3) แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 3 (Data Flow Diagram Level 2


Process 3) แสดงขั้นตอนการจัดการข้อมูลบุคลากร ดังภาพที่ 3-6
โปรเซสที่ 3.1 เพิ่มข้อมูล
โปรเซสที่ 3.2 ค้นหาข้อมูล
โปรเซสที่ 3.3 แก้ไขข้อมูล
โปรเซสที่ 3.4 ลบข้อมูล

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 3 การจัดการข้อมูลบุคลากร


33

(4) แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 4 (Data Flow Diagram Level 2


Process 4) แสดงขั้นตอนการจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน ดังภาพที่ 3-7
โปรเซสที่ 4.1 เพิ่มข้อมูล
โปรเซสที่ 4.2 คํานวณวันลา
โปรเซสที่ 4.3 ค้นหาข้อมูล
โปรเซสที่ 4.4 แก้ไขข้อมูล
โปรเซสที่ 4.5 ลบข้อมูล

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 โปรเซสที่ 4 การจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน


34

3.3.2 แบบจําลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity-Relationship Model)


เป็นแบบจําลองที่แสดงโครงสร้างของฐานข้อมูล รายละเอียดและความสัมพันธ์ของข้อมูล
ของฐานข้ อ มู ล ระบบจั ด การข้ อมู ล การปฏิบั ติง านของบุค ลากรคณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ แบ่งได้ดังนี้
3.3.2.1 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการเข้าสู่ระบบ มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังภาพที่ 3-8

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-8 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการเข้าสู่ระบบ

3.3.2.2 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลบุคลากร มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังภาพที่ 3-9


มท สว
ร.ส พ.
ุวรร
ณภ
ูมิ
ภาพที่ 3-9 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลบุคลากร
35
3.3.2.3 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการปฏิบัติงาน มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังภาพที่ 3-10 และภาพที่ 3-11 ถึงภาพที่ 3-17 แสดง
รายละเอียดของข้อมูลการปฏิบัติงานแต่ละเอ็นติตี้

มท สว
ร.ส พ.
ุวรร
ณภ
ูมิ
ภาพที่ 3-10 แบบจําลองความสัมพันธ์ของข้อมูลการปฏิบัติงาน
36
37

ภาพที่ 3-11 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาป่วย

ภาพที่ 3-12 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลากิจส่วนตัว


ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-13 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาพักผ่อน

ภาพที่ 3-14 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน


38

ภาพที่ 3-15 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาคลอดบุตร

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว

ภาพที่ 3-16 แผนภาพแสดงเอ็นติตี้การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์


ุวรร

3.3.3 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)


พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) คือ เอกสารอ้างอิง สําหรับอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ
ข้อมูลของระบบงานที่จัดทํา บอกถึง “ข้อมูลของข้อมูล” ที่เรียกว่าเมตะดาต้า (metadata) ซึ่งในแผนภาพ
กระแสข้อมูลไม่ได้อธิบายไว้ เป็นเครื่องมือที่นิยมทําควบคู่กับแผนภาพกระแสข้อมูล
พจนานุกรมจะกระทําหลังการสร้างแผนภาพกระแสข้อมูล บางครั้งก็เรียกว่าคําอธิบาย
การประมวลผล (Process Description) เพื่อระบุรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ในแฟ้มข้อมูล พจนานุกรม
ข้ อ มู ล ของระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรคณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ตารางที่ 3-2 แสดงแฟ้มข้อมูลการเข้าใช้ระบบ (Login)


Attribute Description Type PK FK Reference
Log_username ชื่อผู้ใช้ varchar(15) Yes - -
Log_password รหัสผ่าน varchar(15) - - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Log_level ระดับสิทธิ์ผู้ใช้ int - - -
1 = ผู้ดูแลระบบ
2 = ผู้ใช้ทั่วไป
39

ตารางที่ 3-3 แสดงแฟ้มข้อมูลบุคลากร (Personnel)


Attribute Description Type PK FK Reference
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) Yes - -
Per_titleName คํานําหน้าชื่อ varchar(20) - - -
Per_Fname ชื่อ varchar(30) - - -
Per_Lname นามสกุล varchar(50) - - -
Per_gender เพศ char(1) - - -
1 = ชาย
2 = หญิง
Per_religion ศาสนา char(1) - - -
1 = พุทธ
2 = คริสต์
3 = อิสลาม
Per_phone เบอร์โทรศัพท์ varchar(15) - - -
Per_mail อีเมล์ varchar(40) - - -

ูมิ
ร.ส พ.
Per_photo ที่เก็บรูปภาพบุคลากร varchar(255) - - -
ณภ
Per_degree ระดับการศึกษาสูงสุด char(1) - - -
มท สว

1 = ต่ํากว่าปริญญาตรี
2 = ปริญญาตรี
ุวรร

3 = ปริญญาโท
4 = ปริญญาเอก
Per_credentials วุฒิการศึกษาที่จบ varchar(100) - - -
Per_major สาขาวิชาที่จบ varchar(100) - - -
Uni_id สถาบันที่จบการศึกษา int - Yes University
Graduated
Per_rateNo เลขที่อัตรา varchar(10) - - -
Per_line ประเภทบุคลากร char(1) - - -
1 = ข้าราชการ
2 = พนักงาน
มหาวิทยาลัย
3 = พนักงานราชการ
4 = ลูกจ้างประจํา
5 = ลูกจ้างชั่วคราว
Per_level ระดับ varchar(3) - - -
Pos_id ตําแหน่งในสายงาน int - Yes Position
Org_id ตําแหน่งทางการบริหาร int - Yes Organize Position
40

ตารางที่ 3-3 แสดงแฟ้มข้อมูลบุคลากร (Personnel) (ต่อ)


Attribute Description Type PK FK Reference
Cen_id ศูนย์พื้นที่ int - Yes Center of
University
T_id หน่วยงานภายในสังกัด int - Yes Team
Per_workStart วันเดือนปีที่บรรจุ datetime - - -
Per_status สถานะ char(1) - - -
0 = ปฏิบัติงานอยู่
1 = ลาศึกษาต่อ
2 = พ้นจากหน้าที่
Per_workEnd วันเดือนปีที่ออก datetime - - -

ตารางที่ 3-4 แสดงแฟ้มข้อมูลตําแหน่งในสายงาน (Position)


Attribute Description Type PK FK Reference
Pos_id รหัสตําแหน่งในสายงาน int Yes - -

ูมิ
ร.ส พ.
Pos_name ชื่อตําแหน่งในสายงาน varchar(35) - - -
ณภ
มท สว

ตารางที่ 3-5 แสดงแฟ้มข้อมูลตําแหน่งทางการบริหาร (Organize Position)


ุวรร
Attribute Description Type PK FK Reference
Org_id รหัสตําแหน่งทางบริหาร int Yes - -
Org_name ชื่อตําแหน่งทางบริหาร varchar(30) - - -

ตารางที่ 3-6 แสดงแฟ้มข้อมูลศูนย์พื้นที่ (Center of University)


Attribute Description Type PK FK Reference
Cen_id รหัส int Yes - -
Cen_name ชื่อศูนย์พื้นที่ varchar(25) - - -

ตารางที่ 3-7 แสดงแฟ้มข้อมูลหน่วยงานภายในสังกัด (Team)


Attribute Description Type PK FK Reference
T_id รหัสหน่วยงาน int Yes - -
T_name ชื่อหน่วยงาน varchar(35) - - -
41

ตารางที่ 3-8 แสดงแฟ้มข้อมูลสถาบันที่จบการศึกษาสูงสุด (University Graduated)


Attribute Description Type PK FK Reference
Uni_id รหัสสถาบันทีจ่ บ int Yes - -
Uni_name ชื่อสถาบันที่จบ varchar(60) - - -

ตารางที่ 3-9 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาป่วย (Sick)


Attribute Description Type PK FK Reference
Sic_no ลําดับการลา int Yes - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Sic_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -
Sic_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Sic_dayNumber จํานวนวันลา float - - -
Sic_contact ผู้ที่สามารถติดต่อได้ varchar(100) - - -
Sic_phone เบอร์ติดต่อ varchar(15) - - -

ูมิ
ร.ส พ.
ตารางที่ 3-10 แสดงแฟ้มข้อมูลการลากิจส่วนตัว (Business)
ณภ
Attribute Description Type PK FK Reference
มท สว

Bus_no ลําดับการลา int Yes - -


ุวรร
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Bus_detail รายละเอียดการลา varchar(100) - - -
Bus_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -
Bus_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Bus_dayNumber จํานวนวันลา float - - -
Bus_contact ผู้ที่สามารถติดต่อได้ varchar(100) - - -
Bus_phone เบอร์ติดต่อ varchar(15) - - -

ตารางที่ 3-11 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาพักผ่อน (Vacation)


Attribute Description Type PK FK Reference
Vac_no ลําดับการลา int Yes - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Vac_dayBalance จํานวนวันลาพักผ่อนสะสม int - - -
Vac_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -
Vac_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Vac_dayNumber จํานวนวันลา int - - -
Vac_contact ผู้ที่สามารถติดต่อได้ varchar(100) - - -
42

ตารางที่ 3-11 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาพักผ่อน (Vacation) (ต่อ)


Attribute Description Type PK FK Reference
Vac_phone เบอร์ติดต่อ varchar(15) - - -
Vac_budgetYear ปีงบประมาณ char(4) - - -

ตารางที่ 3-12 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน (Training)


Attribute Description Type PK FK Reference
Tra_no ลําดับการลา int Yes - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Tra_type ประเภท char(1) - - -
0 = ฝึกอบรม
1 = ปฏิบัติการวิจัย
2 = ดูงาน
3 = ศึกษาต่อ
Tra_detail รายละเอียด varchar(200) - - -

ูมิ
ร.ส พ.
Tra_location สถานที่ไป varchar(100) - - -
ณภ
Tra_booster หน่วยงานที่จัด/ชื่อทุน varchar(100) - - -
มท สว

Tra_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -


ุวรร
Tra_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Tra_dayNumber จํานวนวันลา int - - -
Tra_monthNumber จํานวนเดือนที่ขอลา int - - -
Tra_yearNumber จํานวนปีที่ขอลา int - - -

ตารางที่ 3-13 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาคลอดบุตร (Maternity)


Attribute Description Type PK FK Reference
Mat_no ลําดับการลา int Yes - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Mat_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -
Mat_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Mat_dayNumber จํานวนวันลา int - - -
Mat_contact ผู้ที่สามารถติดต่อได้ varchar(100) - - -
Mat_phone เบอร์ติดต่อ varchar(15) - - -
43

ตารางที่ 3-14 แสดงแฟ้มข้อมูลการลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ (Ordinate)


Attribute Description Type PK FK Reference
Ord_no ลําดับการลา int Yes - -
Per_id เลขประจําตัวประชาชน varchar(15) - Yes Personnel
Ord_type ประเภท char(1) - - -
0 = อุปสมบท
1 = ประกอบพิธีฮัจย์
Ord_tName ชื่อวัด varchar(50) - - -
Ord_tAddress ที่อยู่วัด varchar(100) - - -
Ord_ordinateDate วันอุปสมบท datetime - - -
Ord_stayName ชื่อวัดจําพรรษา varchar(50) - - -
Ord_stayAddress ที่อยู่วัดจําพรรษา varchar(100) - - -
Ord_dateStart วันที่เริ่มต้นการลา datetime - - -
Ord_dateFinish วันที่สิ้นสุดการลา datetime - - -
Ord_dayNumber จํานวนวันลา int - - -

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
3.3.4 การออกแบบสิ่งนําเข้า (Input Design)
มท สว

การออกแบบส่วนนําเข้าของระบบ คือ กําหนดข้อมูลที่ป้อนเข้าระบบ เพื่อการประมวลผล


ุวรร
และได้ ผ ลลั พ ธ์ ที่ แ สดงออกทางหน้ า จอคอมพิ ว เตอร์ การออกแบบส่ ว นนํ า เข้ า ที่ ดี ต้ อ งตรงกั บ
วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องระบบที่ ตั้ ง ไว้ เ พื่ อ ให้ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ และเหมาะสมกั บ การใช้ ง านของผู้ ใ ช้ มี
ประสิทธิภาพในการแสดงผลลัพธ์ที่ระบบต้องการอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยระบบจัดการข้อมูล
การปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุวรรณภูมิ มีการออกแบบสิ่งนําเข้าดังนี้
3.3.4.1 หน้าจอเข้าสู่ระบบ เป็นหน้าจอสําหรับเข้าใช้งานระบบ แสดงดังภาพที่ 3-17

ภาพที่ 3-17 หน้าจอการเข้าสู่ระบบ


44

3.3.4.2 หน้าจอหลัก จะปรากฏขึ้นหลังจากกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบถูกต้อง ดังภาพที่ 3-18

ูมิ
ร.ส พ.
ภาพที่ 3-18 หน้าจอหลัก
ณภ
มท สว

3.3.4.3 หน้าจอจัดการข้อมูลบุคลากร เป็นหน้าจอการทํางานสําหรับการค้นหาข้อมูล


ุวรร

บุคลากร เพื่อดําเนินการจัดการข้อมูล ดังภาพที่ 3-19

ภาพที่ 3-19 หน้าจอจัดการข้อมูลบุคลากร


45

3.3.4.4 หน้าจอข้อมูลบุคลากร เป็นหน้าจอการทํางานสําหรับดําเนินการเพิ่ม แก้ไข ลบ


และออกรายงานข้อมูลบุคลากร แบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ดังภาพที่ 3-20 ภาพที่ 3-21 และภาพที่
3-22

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 3-20 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลส่วนตัว
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-21 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลการศึกษา


46

ภาพที่ 3-22 หน้าจอข้อมูลบุคลากร แสดงข้อมูลการทํางาน

3.3.4.5 หน้ า จอข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง าน เป็ น หน้ า จอการทํ า งานสํ า หรั บ ค้ น หาข้ อ มู ล การ
ปฏิบัติงาน เพื่อดําเนินการจัดการข้อมูลแต่ละประเภท และเรียกใช้เมนูการจัดการข้อมูลการลาต่างๆ

ูมิ
ร.ส พ.
ดังภาพที่ 3-23
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-23 หน้าจอข้อมูลการปฏิบัติงาน

3.3.4.6 หน้าจอจัดการข้อมูลการลา เป็นหน้าจอการทํางานสําหรับดําเนินการเพิ่ม แก้ไข


และยกเลิกข้อมูลการลา ดังภาพต่อไปนี้
47

ภาพที่ 3-24 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาป่วย

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-25 หน้าจอจัดการข้อมูลการลากิจส่วนตัว


48

ภาพที่ 3-26 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาพักผ่อน

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-27 หน้าจอจัดการข้อมูลลาฝึกอบรม


49

ภาพที่ 3-28 หน้าจอจัดการข้อมูลลาดูงาน

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-29 หน้าจอจัดการข้อมูลลาปฏิบตั ิการวิจัย


50

ภาพที่ 3-30 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาศึกษาต่อ

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-31 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาคลอดบุตร


51

ูมิ
ร.ส พ.
ภาพที่ 3-32 หน้าจอจัดการข้อมูลการลาอุปสมบท
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-33 หน้าจอการจัดการข้อมูลการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

3.3.4.7 หน้าจอเลือกข้อมูลบุคลากร เป็นหน้าจอแสดงผลลัพธ์การค้นหาชื่อและนามสกุล


ของบุคลากรจากหน้าจอการลาต่างๆ เพื่อใช้อ้างอิงกับข้อมูลการลา ดังภาพที่ 3-34
52

ภาพที่ 3-34 หน้าจอแสดงผลลัพธ์การค้นหาชื่อและนามสกุลของบุคลากร

3.3.4.8 หน้าจอการออกรายงาน เป็นหน้าจอการทํางานสําหรับดําเนินการออกรายงาน


ประจําเดือน และประจําปีงบประมาณ จากการเลือกเงื่อนไข ดังภาพที่ 3-35

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-35 หน้าจอการออกรายงานประจําเดือน, ประจําปีงบประมาณ

3.3.4.10 หน้ า จอการจั ด การข้ อ มู ล ระบบ เป็ น หน้ า จอการทํ า งานสํ า หรั บ ดํ า เนิ น การ
จัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ ดังภาพที่ 3-36
53

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 3-36 หน้าจอการจัดการข้อมูลพื้นฐานของระบบ
มท สว
ุวรร
3.3.4.11 หน้าจอการแก้ไขรหัสผ่าน เป็นหน้าจอการทํางานสําหรับดําเนินการจัดการ
แก้ไขรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบ ดังภาพที่ 3-37

ภาพที่ 3-37 หน้าจอการแก้ไขรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบ

3.3.5 การออกแบบสิ่งนําออก (Output Design)


การออกแบบสิ่งนําออก หรือเอาต์พุต หรือผลลัพธ์ คือ ข้อความ เอกสาร หรือเป็นรายงาน
ชนิดหนึ่ง โดยนําข้อมูลจากไฟล์มาพิมพ์หรือนําข้อมูลมาผ่านกระบวนการประมวลผลเพื่อได้เอาต์พุตที่
ต้องการ โดยเอาต์พุตที่ได้จากระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ แสดงดังภาพต่อไปนี้
54

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-38 รายงานประวัติบุคลากร


55

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 3-39 รายงานสถิติการลาของบุคลากร ประจําปีงบประมาณ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-40 รายงานสถิติการลาของบุคลากร ประจําเดือน


56

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-41 รายงานประวัติการลารายบุคคล


57

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 3-42 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ประจําปีงบประมาณ
มท สว
ุวรร

ภาพที่ 3-43 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ประจําเดือน


58

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาพที่ 3-44 รายงานประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย รายบุคคล
มท สว
ุวรร
3.4 การพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบจัดการข้ อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อทําการออกแบบระบบเสร็จสิ้นแล้ว จึงดําเนินการ
จัดการฐานข้อมูลของระบบ ด้วยโปรแกรม Microsoft SQL Server 2005 และออกแบบส่วนติดต่อ
ผู้ใช้และฟังก์ชันการทํางาน ด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008

3.5 การทดสอบระบบ (Testing)


การทดสอบระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทํางานของระบบจัดการข้อมูล
การปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
โดยผู้วิจัยใช้การทดสอบแบบ Black Box Testing โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
3.5.1 การทดสอบระบบโดยผู้วิจัย เป็นการทดสอบที่ผู้วิจัยสมมติข้อมูลขึ้น ข้อมูลที่ถูกสมมตินี้
เรียกว่า “เทสดาต้า (Test Data)” ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid Data) และข้อมูลที่
ถูกต้อง (Valid Data) หรือเป็นค่าว่าง (Null) เพื่อให้ระบบทําการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เป็น
การตรวจสอบการจัดการข้อผิดพลาดของระบบเบื้องต้น
3.5.2 การทดสอบระบบโดยผู้ เชี่ยวชาญ ทํ า การประเมิ น ผลจากแบบสอบถามเพื่อประเมิ น
ประสิทธิภาพระบบ 3 ด้านดังนี้
3.5.2.1 Functional Test เป็นการทดสอบความสามารถในการทํางานของระบบว่าถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพในการทํางานได้ตามหน้าที่
59

3.5.2.2 Usability Test ทดสอบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการติดต่อผู้ใช้ได้ดีเพียงใด


3.5.2.3 Security Test ทดสอบความปลอดภัยของระบบว่ามีการทํางานที่มีความปลอดภัย
มากน้อยเพียงใด
3.5.3 การทดสอบระบบโดยผู้ใช้งานระบบ ทําการประเมินผลจากแบบสอบถามเพื่อประเมิน
ประสิทธิภาพระบบ 4 ด้านดังนี้
3.5.3.1 Functional Requirement Test ทําการทดสอบทางด้านความสามารถของเงื่อนไข
ในการทํางานระบบว่ามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสามารถทํางานได้ตาม Function ระดับใดได้
3.5.3.2 Functional Test เป็นการทดสอบความสามารถในการทํางานของระบบว่าถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพในการทํางานได้ตามหน้าที่
3.5.3.3 Usability Test ทดสอบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการติดต่อผู้ใช้ได้ดีเพียงใด
3.5.3.4 Security Test ทดสอบความปลอดภัยของระบบว่ามีการทํางานที่มีความปลอดภัย
มากน้อยเพียงใด
3.5.4 ระเบียบวิธีการทางสถิติ หลังจากทําเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพ
ระบบแล้ ว ผู้ วิจั ยจึ งดํ าเนินการสรุปผลการทดสอบโดยใช้การวั ดแนวโน้ มเข้ าสู่ส่ วนกลาง ซึ่ งเป็น
ระเบียบวิธีการทางสถิติ ดังนี้

ูมิ
3.5.4.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) อาจเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) ซึ่งหาค่า
ร.ส พ.
ณภ
ได้โดยการนําข้อมูลทุกค่ามารวมกันแล้วหารด้วยจํานวนข้อมูลทั้งหมด (พิชิต, 2551: 267) ดังสูตร
มท สว


สูตร =
ุวรร

เมื่อกําหนดให้ แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง


∑ แทน ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด
n แทน จํานวนข้อมูลหรือขนาดตัวอย่าง
3.5.4.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) เป็นค่าสถิติที่บ่งบอกถึง
การกระจายของคะแนนจากค่าเฉลี่ย (พิชิต, 2551: 276) ดังสูตร
∑ ∑
สูตร S =
เมื่อกําหนดให้ S แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง
x แทน ข้อมูลหรือคะแนนแต่ละตัว
∑x 2 แทน ผลรวมของข้อมูลทุกหน่วยที่ยกกําลังสอง
(∑x2) แทน ค่ า ยกกํ า ลั ง สองของผลรวมของข้ อ มู ล
ทุกหน่วย
n แทน จํานวนข้อมูลหรือขนาดตัวอย่าง
3.5.4.3 การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล และสถิ ติ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากแบบ
ประเมินผลประสิทธิภาพของระบบจากผู้ทดสอบระบบที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปผลการ
ทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่ได้พัฒนาโดยนําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหาค่าเฉลี่ย เพื่อสรุปผลการ
ประเมินว่าอยู่ในระดับใด โดยใช้เกณฑ์ของแบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert’s scale) (พิชิต,
2551: 224) ดังนี้
60

ดีมาก = 5 คะแนน
ดี = 4 คะแนน
พอใช้ = 3 คะแนน
น้อย = 2 คะแนน
น้อยมาก = 1 คะแนน
เกณฑ์ ป ระเมิ น ผลเกี่ ย วกั บ ประสิ ท ธิ ภ าพของระบบจั ด การข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ง านของ
บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ตารางที่ 3-15 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินประสิทธิภาพ


ระดับเกณฑ์การให้คะแนน
อธิบายผล
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
1.00 – 1.49 น้อยมาก ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพน้อยมาก
1.50 – 2.49 น้อย ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพน้อย
2.50 – 3.49 ปานกลาง ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพพอใช้
3.50 – 4.49 ดี ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพดี

ูมิ
ร.ส พ.
4.50 – 5.00 ดีมาก ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพดีมาก
ณภ
มท สว

3.5.4.4 เมื่อทดสอบระบบจนผู้ใช้ยอมรับแล้ว ระบบงานที่ได้รับการพัฒนาก็พร้อมที่จะ


นํามาใช้งานจริงด้วยการติดตั้ง (Installation)
ุวรร

3.6 การติดตั้งระบบ
เมื่อทดสอบระบบจนกระทั่งผู้ใช้งานยอมรับ และเข้าใจขั้นตอนการทํางานของระบบแล้ว จึง
ดําเนินการติดตั้ง โดยระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จะใช้การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Installation) ซึ่ง
ระบบงานที่ผู้วิจัยได้จัดทําขึ้นและระบบงานเก่าจะถูกนํามาใช้งานไปพร้อมกัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
จนกระทั่งระบบงานใหม่สามารถทํางานทดแทนระบบงานเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะยกเลิกการ
ใช้งานระบบงานเดิม

3.7 การบํารุงรักษาระบบ
ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้จัดทําคู่มือการใช้งานระบบ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบได้ทําการศึกษาและทําความ
เข้าใจในตัวระบบมากขึ้น และจัดอบรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ รวมทั้งดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรองรับการทํางานอื่นๆ มากขึ้น
บทที่ 4
ผลการทดสอบ
กระบวนการทดสอบระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพ
ของระบบและความพึงพอใจของผู้ใช้ ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการทดสอบระบบแบบแบล็คบ็อกซ์ (Black Box
Testing) โดยแบ่งการทดสอบได้ดังต่อไปนี้
4.1 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้วิจัย
4.2 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ
4.3 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้ใช้

4.1 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้วิจัย


ดําเนินการทดสอบระบบโดยผู้วิจัย โดยใช้ข้อมูลที่ถูกสมมติขึ้น ซึ่งเรียกว่า เทสต์ดาต้า (Test

ูมิ
ร.ส พ.
Data) ซึ่งข้อมูลบางชนิดมีความถูกต้อง (Valid) และบางชนิดไม่ถูกต้อง (Invalid) หรือเป็นค่าว่าง
ณภ
(Null) ให้ระบบทําการประมวลผล (Process) และแสดงผลลัพธ์ (Output) เพื่อเป็นการตรวจสอบ
มท สว

ข้อผิดพลาดของระบบ
ุวรร
ผู้วิจัยได้ออกแบบตารางสําหรับบันทึกผลการทดสอบ โดยแบ่งเป็นการทดสอบดังนี้

ตารางที่ 4-1 แสดงผลการวิเคราะห์การตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูล Username และ Password ไม่ถูกต้อง 
2. ป้อนข้อมูล Username และ Password ถูกต้อง 
3. ไม่ปอ้ นข้อมูล Username และ Password 

ตารางที่ 4-2 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลบุคลากร


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนหมายเลขประจําตัวประชาชน 
4. ไม่ป้อนคํานําหน้าชื่อ 
62

ตารางที่ 4-2 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลบุคลากร (ต่อ)


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
5. ไม่ป้อนชื่อบุคลากร 
6. ไม่ป้อนนามสกุลบุคลากร 
7. ไม่ป้อนเบอร์โทรศัพท์ 
8. ไม่ป้อนอีเมล์ 
9. ไม่ป้อนระดับการศึกษาสูงสุด 
10. ไม่ป้อนวุฒิการศึกษาสูงสุด 
11. ไม่ป้อนสาขาวิชาที่จบการศึกษา 
12. ไม่ป้อนสถาบันที่จบการศึกษา 
13. ไม่ป้อนรูปภาพ 
14. ไม่ป้อนเลขที่อตั รา 
15. ไม่ป้อนประเภทบุคลากร 
16. ไม่ป้อนระดับ 

ูมิ
ร.ส พ.
17. ไม่ป้อนตําแหน่งในสายงาน 
ณภ
18. ไม่ป้อนตําแหน่งทางการบริหาร 
มท สว

19. ไม่ป้อนหน่วยงานที่สังกัด 
ุวรร
20. ไม่ป้อนศูนย์พื้นที่ที่ปฏิบัติงาน 
21. ไม่ป้อนวันที่บรรจุงาน 
22. ไม่ป้อนสถานะการทํางาน 

ตารางที่ 4-3 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาป่วย


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
5. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
6. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
7. ไม่ป้อนชื่อ-สกุล บุคคลที่สามารถติดต่อได้ระหว่างการลา 
8. ไม่ป้อนเบอร์โทรศัพท์ 
63

ตารางที่ 4-4 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลากิจส่วนตัว


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนรายละเอียดการลา 
5. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
6. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
7. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
8. ไม่ป้อนชื่อ-สกุล บุคคลที่สามารถติดต่อได้ระหว่างการลา 
9. ไม่ป้อนเบอร์โทรศัพท์ 

ตารางที่ 4-5 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ูมิ
ร.ส พ.
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
ณภ
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
มท สว

2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
ุวรร
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนรายละเอียดการลา 
5. ไม่ป้อนชื่อหน่วยงานที่จัด/ทุนสนับสนุน 
6. ไม่ป้อนสถานที่ 
7. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
8. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
9. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
10. ไม่ป้อนจํานวนเดือนที่ลา 
11. ไม่ป้อนจํานวนปีที่ลา 
64

ตารางที่ 4-6 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาพักผ่อน


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนจํานวนวันลาสะสม 
5. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
6. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
7. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
8. ไม่ป้อนชื่อ-สกุล บุคคลที่สามารถติดต่อได้ระหว่างการลา 
9. ไม่ป้อนเบอร์โทรศัพท์ 

ตารางที่ 4-7 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาคลอดบุตร


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ูมิ
ร.ส พ.
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
ณภ
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
มท สว

2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
ุวรร
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
5. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
6. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
7. ไม่ป้อนชื่อ-สกุล บุคคลที่สามารถติดต่อได้ระหว่างการลา 
8. ไม่ป้อนเบอร์โทรศัพท์ 

ตารางที่ 4-8 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาอุปสมบท


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนชื่อวัดที่อุปสมบท 
5. ไม่ป้อนที่อยู่วัดที่อุปสมบท 
6. ไม่ป้อนวันที่อุปสมบท 
7. ไม่ป้อนชื่อวัดที่จําพรรษา 
65

ตารางที่ 4-8 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาอุปสมบท (ต่อ)


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
8. ไม่ป้อนที่อยู่วัดจําพรรษา 
9. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 
10. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
11. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 

ตารางที่ 4-9 แสดงผลการวิเคราะห์การจัดการข้อมูลการลาไปประกอบพิธีฮัจย์


ผลการวิเคราะห์
งานทีใ่ ช้วิเคราะห์
ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ถูกต้อง
1. ป้อนข้อมูลครบถ้วน 
2. ป้อนข้อมูลไม่ครบถ้วน 
3. ไม่ป้อนข้อมูลชื่อ-สกุล ผู้ลา 
4. ไม่ป้อนวันที่เริ่มการลา 

ูมิ
ร.ส พ.
5. ไม่ป้อนวันที่สิ้นสุดการลา 
ณภ
6. ไม่ป้อนจํานวนวันลา 
มท สว
ุวรร
การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ในแต่ละด้าน จะกําหนดเกณฑ์การ
ให้คะแนนเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากค่าเฉลี่ยในแต่ละหัวข้อของแบบประเมิน ออกเป็น 5 ระดับ

ตารางที่ 4-10 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินประสิทธิภาพระบบ


ระดับเกณฑ์การให้คะแนน
อธิบายผล
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
1.00 – 1.49 น้อยมาก ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพน้อยมาก
1.50 – 2.49 น้อย ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพน้อย
2.50 – 3.49 ปานกลาง ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพพอใช้
3.50 – 4.49 ดี ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพดี
4.50 – 5.00 ดีมาก ความสามารถในการรองรับการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพดีมาก

4.2 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ


4.2.1 ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)
4.2.2 ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
4.2.3 ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
66

4.2.1 การประเมินระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)


การประเมินระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test) เป็น
การประเมินความถูกต้อง เชื่อถือได้ของการจัดการข้อมูล และประสิทธิภาพในการทํางาน

ตารางที่ 4-11 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชนั งานของระบบ


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลนําเข้า 4.50 0.71 ดีมาก
2. ความถูกต้องในการสืบค้นข้อมูล 4.00 0.00 ดี
3. ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล 4.00 1.41 ดี
4. ความถูกต้องในการคืนค่าข้อมูล 3.50 0.71 ดี
5. ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของโปรแกรม 4.00 0.00 ดี
6. ความถูกต้องของผลลัพธ์ในรูปแบบรายงาน 3.50 0.71 ดี
7. ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ 4.00 1.41 ดี
8. ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ 4.50 0.71 ดีมาก

ูมิ
ร.ส พ.
9. ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบงานจริง 3.00 1.41 ปานกลาง
ณภ
10. การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น 2.50 0.71 ปานกลาง
มท สว

รวม 3.75 0.78 ดี


ุวรร

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)


โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.78 ซึ่งผล
การประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี
4.2.2 การประเมินระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
การประเมินระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) เป็นการประเมิน
ระบบในส่วนของการออกแบบหน้าจอ และวิธีการใช้งาน

ตารางที่ 4-12 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ 4.50 0.71 ดีมาก
2. ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดตัวอักษรบนจอภาพ 4.50 0.71 ดีมาก
3. ความเหมาะสมในการใช้ขนาดของตัวอักษรบนจอภาพ 4.50 0.71 ดีมาก
4. ความเหมาะสมในการใช้สขี องตัวอักษรและรูปภาพ 4.50 0.71 ดีมาก
5. ความเหมาะสมในการใช้ขอ้ ความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย 4.00 1.41 ดี
67

ตารางที่ 4-12 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (ต่อ)


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
6. ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อ 4.50 0.71 ดีมาก
ความหมาย
7. ความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการออกแบบหน้าจอ 4.50 0.71 ดีมาก
8. ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ 4.00 0.00 ดี
9. ความเหมาะสมในการวางตําแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ 4.50 0.71 ดีมาก
10. คําศัพท์ที่ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย 4.00 0.00 ดี
รวม 4.35 0.64 ดี

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) โดยผู้เชี่ยวชาญ


พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.64 ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพ
อยู่ในระดับดี
4.2.3 การประเมินระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)

ูมิ
ร.ส พ.
การประเมินระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test) เป็น
ณภ
การประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านการตรวจสอบการเข้าใช้งาน
มท สว

ตารางที่ 4-13 แสดงผลการประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล


ุวรร

ในระบบ
ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. การกําหนดชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ 4.00 0.00 ดี
2. การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่างๆ 3.50 0.71 ดี
3. การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง 4.00 0.00 ดี
รวม 3.83 0.24 ดี

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)


โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.24 ซึ่งผลการ
ประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี

4.3 การทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยผู้ใช้


4.3.1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test)
4.3.2 ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (Functional Test)
4.3.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
4.3.4 ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
68

4.3.1 การประเมินระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test)


การประเมินระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test)
เป็นการประเมินด้านความสามารถของระบบว่าตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

ตารางที่ 4-14 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลบุคลากร 4.00 0.00 ดี
2. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน 4.00 0.00 ดี
3. ความสามารถของระบบในด้ า นการจั ด การในส่ ว นการ 4.00 1.00 ดี
คํานวณวันลา
4. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลผูใ้ ช้ระบบ 4.00 0.00 ดี
5. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลในระบบ 3.67 0.58 ดี
6. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการรายงานประวัติ 4.00 0.00 ดี
บุคลากร

ูมิ
ร.ส พ.
7. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการรายงานสถิติการลา 4.67 0.58 ดีมาก
ณภ
8. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการแจ้งเตือน 3.67 0.58 ดี
มท สว

รวม 4.00 0.34 ดี


ุวรร

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement


Test) โดยผู้ใช้ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.34 ซึ่งผลการ
ประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี
4.3.2 การประเมินระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)
การประเมินระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test) เป็น
การประเมินความถูกต้อง เชื่อถือได้ของการจัดการข้อมูล และประสิทธิภาพในการทํางาน

ตารางที่ 4-15 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลนําเข้า 4.67 0.58 ดีมาก
2. ความถูกต้องในการสืบค้นข้อมูล 4.33 0.58 ดี
3. ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล 4.00 0.00 ดี
4. ความถูกต้องในการคืนค่าข้อมูล 3.67 0.58 ดี
5. ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลในโปรแกรม 4.33 0.58 ดี
69

ตารางที่ 4-15 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (ต่อ)


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
6. ความถูกต้องของผลลัพธ์ในรูปแบบรายงาน 4.67 0.58 ดีมาก
7. ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ 4.67 0.58 ดีมาก
8. ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ 4.67 0.58 ดีมาก
9. ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบงานจริง 4.00 1.00 ดี
10. การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ 3.67 0.58 ดี
รวม 4.27 0.56 ดี

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)


โดยผู้ใช้ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.56 ซึ่งผลการประเมิน
ประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี
4.3.3 การประเมินระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
การประเมินระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) เป็นการประเมิน

ูมิ
ร.ส พ.
ระบบในส่วนของการออกแบบหน้าจอ และวิธีการใช้งาน
ณภ
มท สว

ตารางที่ 4-16 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ


ประสิทธิภาพ
ุวรร

รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ 4.33 0.58 ดี
2. ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดตัวอักษรบนจอภาพ 3.67 0.58 ดี
3. ความเหมาะสมในการใช้ขนาดของตัวอักษรบนจอภาพ 4.00 0.00 ดี
4. ความเหมาะสมในการใช้สขี องตัวอักษรและรูปภาพ 4.00 0.00 ดี
5. ความเหมาะสมในการใช้ขอ้ ความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย 4.00 0.00 ดี
6. ความเหมาะสมในการใช้สญ ั ลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อ 4.00 1.00 ดี
ความหมาย
7. ความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการออกแบบหน้าจอ 4.33 0.58 ดี
8. ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ 4.33 0.58 ดี
9. ความเหมาะสมในการวางตําแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ 4.33 0.58 ดี
10. คําศัพท์ที่ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย 4.67 0.58 ดีมาก
รวม 4.17 0.45 ดี
70

จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) โดยผู้ใช้ พบว่า


มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.45 ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพ
อยู่ในระดับดี
4.3.4 การประเมินระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
การประเมินระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test) เป็น
การประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านการตรวจสอบการเข้าใช้งาน

ตารางที่ 4-17 แสดงผลการประเมินระบบของผู้ใช้ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ


ประสิทธิภาพ
รายการประเมิน

࢞ S.D. การแปลความ
1. การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่างๆ 4.33 0.58 ดี
2. การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง 4.33 0.58 ดี
3. การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง 4.33 0.58 ดี
รวม 4.33 0.58 ดี

ูมิ
ร.ส พ.
จากผลการวิเคราะห์ระบบด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
ณภ
โดยผู้ ใ ช้ พบว่ า มี ค่ า เฉลี่ ย เท่ า กั บ 4.33 และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐานมี ค่ า เท่ า กั บ 0.58 ซึ่ ง ผล
มท สว

การประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี
ุวรร
บทที่ 5
สรุปผล

ระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นระบบที่ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน และ
การจัดการข้อมูลบุคลากร เพื่อคํานวณสถิติการลาประจําปี และจัดทําประวัติการฝึกอบรม ดูงาน และ
ปฏิ บั ติ ก ารวิ จั ย ของบุ ค ลากร เพื่ อ เป็ น ส่ ว นเสริ ม ประกอบในการประเมิ น บุ ค ลากร การทดสอบ
ประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ แบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การทดสอบระบบ
โดยผู้วิจัย จากการใช้ข้อมูลที่ถูกสมมติขึ้น การทดสอบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรม
จํานวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านงานบุคลากร จํานวน 1 ท่าน และการทดสอบระบบโดยผู้ใช้ จํานวน 3 ท่าน

5.1 สรุปผลการดําเนินงาน
ูมิ
ร.ส พ.
5.1.1 การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
ณภ
มท สว

5.1.1.1 การประเมินข้อมูลด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)


อยู่ในเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมี
ุวรร

ค่าเท่ากับ 0.78
5.1.1.2 การประเมินข้อมูลด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) อยู่ในเกณฑ์
การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ
0.64
5.1.1.3 การประเมินข้อมูลด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
อยู่ในเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมี
ค่าเท่ากับ 0.24
5.1.2 การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้ใช้
5.1.2.1 การประเมินข้อมูลด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement
Test) อยู่ในเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.34
5.1.2.2 การประเมินข้อมูลด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test)
อยู่ในเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมี
ค่าเท่ากับ 0.56
72

5.1.2.3 การประเมินข้อมูลด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) อยู่ในเกณฑ์


การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ
0.45
5.1.2.4 การประเมินข้อมูลด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
อยู่ในเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมี
ค่าเท่ากับ 0.58
จากผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ ทําให้ทราบว่าระบบจัดการข้อมูล
การปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุวรรณภูมิ มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถทํางานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ใช้งานง่าย
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งยังช่วยให้การคํานวณสถิติรวดเร็ว และแม่นยํามากขึ้น

5.2 ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ผู้วิจัยได้ทําการพัฒนาเสร็จสิ้นแล้วนั้น สามารถช่วย
สนับสนุนการทํางานได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ระบบยังสามารถนําไปพัฒนาต่อได้ โดยการเพิ่มเติมฟังก์ชัน

ูมิ
การทํางาน อาทิเช่น การจัดเก็บข้อมูลการไปราชการ เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ร.ส พ.
ณภ
การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล การลาให้ ค รบทุ ก ประเภทตามระเบี ย บสํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ าด้ ว ยการลาของ
มท สว

ข้าราชการ ปีพุทธศักราช 2555 และการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์กร เช่น


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประวัติการเลื่อนตําแหน่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนงานด้านบุคลากรให้
ุวรร

ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น
73

เอกสารอ้างอิง

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design). กรุงเทพฯ :


เคทีพี คอมพ์ แอนด์คอนซัลท์, 2551.
_______. คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์คอนซัลท์, 2546.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. วงจรการพัฒนาระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ซีเคเค
พริ้นติ้ง, 2546.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์,
2551.
พิรพร หมุนสนิท และอัจจิมา เลี้ยงอยู่. Visual Basic 2008 และ Visual C# 2008. กรุงเทพฯ :
เคทีพี คอมพ์แอนด์ คอนซัลท์, 2552.
วั น ดี รอดทอง. ระบบงานบุ ค ลากรโรงพยาบาลหั น คา. ปริ ญ ญานิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตรบั ณ ฑิ ต .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2550
อารยา โพธิ์พันธ์ และณัญจนา กชกานน. วิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ศูนย์
ส่งเสริมอาชีวะ, ม.ป.ป.
ูมิ
ร.ส พ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การออกแบบและการจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545.
ณภ
มท สว

_______. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546.


_______. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548.
ุวรร

_______. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,


2555.
_______. ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาคผนวก ก
มท สว

รายนามผู้ทดสอบระบบ
ุวรร
75

รายนามผูเ้ ชี่ยวชาญ

1. นางสาวยุวดี สูนพยานนท์
ระดับการศึกษา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ตําแหน่ง บุคลากร
สถานที่ทํางาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์วาสุกรี
ถ19 ถนนอู่ ท อง ตํ า บลท่ า วาสุ ก รี อํ า เภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
2. นายวรุต ไกรทัศน์
ระดับการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตําแหน่ง System Engineer
สถานที่ทํางาน บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จํากัด
18 หมู่ 3 ถนนสายเอเชีย กิโลเมตรที่ 72 ตําบลธนู อําเภออุทัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13210

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร
76

รายนามผู้ใช้ระบบ

1. นางสาวรัสรา พลอยอิ่ม
ระดับการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ด้านบุคลากร)
สถานที่ทํางาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา
60 หมู่ 3 ถนนสายเอเชีย (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ตําบลหันตรา
อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
2. นางพงษ์ญาดา เกาะเรียนไชย
ระดับการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ตําแหน่ง นักวิชาการศึกษา (ด้านกิจการนักศึกษา)
สถานที่ทํางาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา
60 หมู่ 3 ถนนสายเอเชีย (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ตําบลหันตรา
อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
3. นางสาวสุจิรา มากประมูล
ระดับการศึกษา
ูมิ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ร.ส พ.
ณภ
ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
มท สว

สถานที่ทํางาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์วาสุกรี


ถ19 ถนนอู่ ท อง ตํ า บลท่ า วาสุ ก รี อํ า เภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา
ุวรร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
ภาคผนวก ข
มท สว

แบบประเมินประสิทธิภาพ
ุวรร
78

แบบประเมินประสิทธิภาพระบบ สําหรับผู้เชี่ยวชาญ
ระบบจัดการข้อมูลการปฏิบตั ิงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
DEVELOPMENT AN OPERATION MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM
OF FACULTY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY, RMUTSB
คําชี้แจง
แบบประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพระบบชุ ด นี้ จั ด ทํ า ขึ้ น เพื่ อ ใช้ ป ระเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ ง าน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของ “ระบบจัดการข้อมูลการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DEVELOPMENT AN OPERATION
MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM OF FACULTY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY,
RMUTSB)” ที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งแบบประเมินนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่มีต่อระบบ
ตอนที่ 2 ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและเทคนิคการพัฒนาระบบ
ขอได้โปรดพิจารณาและกรุณาตอบคําถามให้ครบถ้วนทุกข้อตามความเป็นจริง เพราะคําตอบของท่าน

ูมิ
ร.ส พ.
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาโปรแกรมในครั้งนี้ เพื่อที่ผู้พัฒนาจะได้นําข้อมูลไปวิเคราะห์
ณภ
และประเมินประสิทธิภาพของระบบฯ ต่อไป
มท สว

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินในครั้งนี้
ุวรร
79

ตอนที่ 1
แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ สําหรับผู้เชี่ยวชาญ
คําชี้แจง
1. แบบประเมินประสิทธิภาพตอนที่ 1 นี้ เป็นการสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบ
ประเมินภายหลังจากที่ได้ทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งแบบประเมินประสิทธิภาพแบ่ง
ออกเป็น 3 ด้านคือ
1.1 ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)
1.2 ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
1.3 ด้านการักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
2. ในการตอบแบบประเมินตอนที่ 1 นี้ ขอความกรุณาให้ท่านดําเนินการดังนี้
ให้ทําเครื่องหมาย  ลงในช่องแบบประเมินที่ตรงกับระดับความคิดเห็นของท่าน
มากที่สุด โดยระดับตัวเลขของประสิทธิภาพแต่ละด้านมีความหมายดังนี้
5 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับมาก

ูมิ
ร.ส พ.
3 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับปานกลาง
ณภ
2 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับน้อย
มท สว

1 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับน้อยที่สุด
ุวรร

ตัวอย่างการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
การออกแบบหน้าจอมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน 
80

แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)


ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
1. ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลนําเข้า
2. ความถูกต้องในการสืบค้นข้อมูล
3. ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
4. ความถูกต้องในการคืนค่าข้อมูล
5. ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลในโปรแกรม
6. ความถูกต้องของผลลัพธ์ในรูปแบบรายงาน
7. ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ
8. ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ
9. ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบงานจริง
10. การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

ูมิ
ร.ส พ.
แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
ณภ
ระดับประสิทธิภาพ
มท สว

รายการประเมิน
5 4 3 2 1
ุวรร
1. ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ
2. ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดตัวอักษรบนจอภาพ
3. ความเหมาะสมในการเลือกใช้สีของตัวอักษรบนจอภาพ
4. ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรและรูปภาพ
5. ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย
6. ความเหมาะสมในการใช้สัญญาลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อ
ความหมาย
7. ความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการออกแบบหน้าจอภาพ
8. ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้
9. ความเหมาะสมในการวางตํ า แหน่ ง ของส่ ว นประกอบบน
จอภาพ
10. คํ า ศั พ ท์ ที่ ผู้ ใ ช้ มี ค วามคุ้ น เคยและสามารถปฏิ บั ติ ต ามได้
โดยง่าย
81

แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)


ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
1. การกําหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้งาน
ระบบ
2. การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบ
3. การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว
ุวรร
82

ตอนที่ 2
ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
คําชี้แจง
โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว

ลงชื่อ.............................................................
ุวรร
(.............................................................)
ผู้เชี่ยวชาญ
83

แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ สําหรับผู้ใช้ระบบ
ระบบจัดการข้อมูลการปฏิบตั ิงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
DEVELOPMENT AN OPERATION MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM
OF FACULTY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY, RMUTSB

คําชี้แจง
แบบประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพระบบชุ ด นี้ จั ด ทํ า ขึ้ น เพื่ อ ใช้ ป ระเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ ง าน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของ “ระบบจัดการข้อมูลการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DEVELOPMENT AN OPERATION
MANAGEMENT PERSONAL SYSTEM OF FACULTY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY,
RMUTSB)” ที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งแบบประเมินนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่มีต่อระบบ
ตอนที่ 2 ข้อเสนอแนะของผู้ใช้ระบบ
ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ขอได้โปรดพิจารณาและกรุณา

ูมิ
ร.ส พ.
ตอบคําถามให้ครบถ้วนทุกข้อตามความเป็นจริง เพราะคําตอบของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ
ณภ
การพัฒนาโปรแกรมในครั้งนี้ เพื่อที่ผู้พัฒนาจะได้นําข้อมูลไปวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพของ
มท สว

ระบบฯ ต่อไป
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินในครั้งนี้
ุวรร
84

ตอนที่ 1
แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ สําหรับผู้ใช้ระบบ
คําชี้แจง
1. แบบสอบถามความคิดเห็นตอนที่ 1 นี้ เป็นการสอบถามข้อมูลความคิ ดเห็นของผู้ตอบ
แบบสอบถามภายหลังจากที่ได้ทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น
4 ด้านคือ
1.1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test)
1.2 ด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)
1.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)
1.4 ด้านการักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
2. ในการตอบแบบสอบถามตอนที่ 1 นี้ ขอความกรุณาให้ท่านดําเนินการดังนี้
ให้ทําเครื่องหมาย  ลงในช่องแบบสอบถามที่ตรงกับระดับความคิดเห็นของท่าน
มากที่สุด โดยระดับตัวเลขของประสิทธิภาพแต่ละด้านมีความหมายดังนี้
5 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด

ูมิ
ร.ส พ.
4 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับมาก
ณภ
3 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับปานกลาง
มท สว

2 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับน้อย
ุวรร
1 หมายถึง ประสิทธิภาพในระดับน้อยที่สุด

ตัวอย่างการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน 5 4 3 2 1
การออกแบบหน้าจอมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน 
85

แบบประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพในด้ า นการตรงตามความต้ อ งการของผู้ ใ ช้ ร ะบบ (Functional


Requirement Test)
ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
1. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลบุคลากร
2. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลการปฏิบัติงาน
3. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการคํานวณ
วันลา
4. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลผู้ใช้ระบบ
5. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการข้อมูลในระบบ
6. ความสามารถของระบบในด้ า นการจั ด การรายงานประวั ติ
บุคลากร
7. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการรายงานสถิติการลา
8. ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการแจ้งเตือน

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านการทํางานได้ตามฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)
มท สว

ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
ุวรร

1. ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลนําเข้า
2. ความถูกต้องในการสืบค้นข้อมูล
3. ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
4. ความถูกต้องในการคืนค่าข้อมูล
5. ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลในโปรแกรม
6. ความถูกต้องของผลลัพธ์ในรูปแบบรายงาน
7. ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ
8. ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ
9. ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบงานจริง
10. การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
86

แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test)


ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
1. ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ
2. ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดตัวอักษรบนจอภาพ
3. ความเหมาะสมในการเลือกใช้สีของตัวอักษรบนจอภาพ
4. ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรและรูปภาพ
5. ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย
6. ความเหมาะสมในการใช้สัญญาลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อ
ความหมาย
7. ความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการออกแบบหน้าจอภาพ
8. ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้
9. ความเหมาะสมในการวางตําแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ
10. คําศัพท์ที่ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย

ูมิ
ร.ส พ.
แบบประเมินประสิทธิภาพในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)
ณภ
มท สว

ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
ุวรร

1. การกําหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้งาน
ระบบ
2. การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่างๆ
3. การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
87

ตอนที่ 2
ข้อเสนอแนะของผู้ใช้ระบบ
คําชี้แจง
โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

ูมิ
ร.ส พ.
ณภ
มท สว

ลงชื่อ.............................................................
ุวรร
(.............................................................)
ผู้ใช้ระบบ
88

ประวัติผู้วิจยั

ชื่อ-สกุล นางพงษ์ญาดา เกาะเรียนไชย


วัน เดือน ปีเกิด 23 ตุลาคม 2525
สถานที่เกิด จังหวัดนครราชสีมา
สถานที่อยู่ปัจจุบัน ฌ 28 หมู่ 3 ตําบลหัวรอ อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา 13000
ประวัติการศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
นครราชสีมา
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนบริหารธุรกิจอยุธยา
- ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- ปัจจุบัน กําลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
ตําแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน นักวิชาการศึกษา ด้านกิจการนักศึกษา

ูมิ
ร.ส พ.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ณภ
มท สว
ุวรร

You might also like