You are on page 1of 20

Unit 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 Language ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6


เรื่องหลัก/หัวเรื่อง Language เวลา 10 ชั่วโมง

เป้ าหมายการเรียนรู้
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ไม่ว่าภาษาใดจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา มีคำเกิดขึ้นใหม่และคำที่เลิกใช้ตลอดเวลาและบางภาษา
เช่น ภาษาอังกฤษก็เป็ นที่ยอมรับว่าเป็ นภาษาสากล ในหน่วยการเรียนรู้นี้ นักเรียนจะได้อ่านบทความเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงของภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีการ
เลิกใช้ภาษาที่มีอคติต่อสตรีเพศ นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้คำนาม สรรพนาม คำ ชื่อ อาชีพ ฯลฯ นี่ถือว่าเป็ น
ภาษาที่ปราศจากอคติทางเพศ (nonsexist language) นอกจากนี้ นักเรียนยังได้เรียนรู้การยืมคำไปใช้ในภาษา
ต่าง ๆ โดยเฉพาะคำภาษาอังกฤษมากมายที่เป็ นคำยืม ในด้านการเขียน หน่วยการเรียนรู้นี้มุ่งที่การเขียนให้
เหตุผล นักเรียนจะได้เรียนรู้ การเรียบเรียง cause and effect essay โดยใช้ block organization หรือ chain
organization นอกจากนี้การพูดแสดงเหตุผลก็เป็ นกิจกรรมเสริมสร้างการใช้หน้าที่ภาษานี้

1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
สาระที่ 1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/1, ต 1.2 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/5, ต 1.3 ม.4-6/1, ต 1.3 ม.4-6/3
สาระที่ 2 : ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 ม.4-6/1, ต 2.1 ม.4-6/2, ต 2.2 ม.4-6/1, ต 2.2 ม.4-6/2
สาระที่ 3 : ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ม.4-6/1
สาระที่ 4 : ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ม 4-6/1, ต 4.2 ม.4-6/1
2. ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม; ภาษาไทย
3. ความรู้
- คำศัพท์และสำนวนภาษา
Unit 6, Chapter 11: Our Changing Language
- former (adj.): happening or existing before, but not now (อดีต)
- attitude (n.): the opinion and feelings that you usually have about something
(ทัศนคติ)
- awareness (n.): knowledge or understanding of a particular subject or situation
(การตื่นตัว, การรู้ตัว)
- role (n.): the way in which someone or something is involved in an activity
or situation, and how much influence they have on it (บทบาท)
128 Wit3

- spinster (n.): old-fashioned, an unmarried woman, usually one who is no


longer young and seems unlikely to married (หญิงไม่มีสามี, สาว
ทึนทึก)
- awkward (adj.): difficult to use or handle (เคอะเขิน, งุ่มง่าม, พะอืดพะอม)
- refer (v.): to mention or speak about someone or something (ก ล่า ว ถึ ง ,
อ้างถึง)
- achievement (n.): something important that you succeed in doing by your own
efforts (ความสำเร็จ)
- gender (n.): the fact of being male or female (เพศ)
Unit 6, Chapter 12: English Around the World
- trolley bus (n.): a bus that gets its power from electric wires above the street
(รถไฟฟ้ าที่วิ่งบนท้องถนน)
- threaten (v.): to be likely to harm or destroy something (คุกคาม, ทำให้ตกอยู่ใน
อันตราย)
- fine (v.): to make someone pay money as a punishment (ปรับ)
- eliminate (v.): to completely get rid of something that is unnecessary or
unwanted (กำจัด)
- concern (n.): a feeling of worry (ความกังวล)
- inevitable (adj.): certain to happen and impossible to avoid (ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้)
- preserve (v.): to save something or someone from being harmed or destroyed
(คุ้มครอง, ปกป้ อง, สงวน, รักษา)
- pop up (v.): to appear suddenly and unexpectedly (ปรากฏอย่างรวดเร็วและ
อย่างไม่คาดคิดมาก่อน)
- โครงสร้างประโยค/ไวยากรณ์
Unit 6, Chapter 11: Our Changing Language
- Transition for showing cause: because, as
- The cause and effect essay
Unit 6, Chapter 12: English Around the World
- Using therefore and consequently
- The cause and effect essay
- ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
Unit 6, Chapter 11: Our Changing Language
คำแนะนำในการใช้ภาษาที่ปราศจากอคติทางเพศ (nonsexist language)
Pronouns/Nouns ไม่ควรใช้ ควรใช้
1. เรียกขานผู้อ่าน If he studies hard, the student can If you study hard, you can make
(address your make the honor roll. the honor roll
reader)
2. ตัด pronoun ออกไป Each nurse determines the best Each nurse determines the best
way she can threat a patient. way to treat a patient.
Wit3 129

3. ใช้ articles แทนที่ A careful secretary consults her A careful secretary consults the
pronouns dictionary often dictionary often.
4. ใช้ plurals nouns และ Teach the child to walk by himself. Teach children to walk by
pronouns themselves.
He is expanding his operation. They are expanding their
operation.
Everyone needs his own space. All people need their own space.
5. สลับการใช้ pronouns The baby tries to put everything he The baby tries to put everything
เพศชายและเพศหญิง finds in his mouth she finds in her mouth.
ตลอดข้อเขียน
6. ใช้ pronouns ทั้งสอง A worker with minor children A worker with minor children
เพศและเปลี่ยนลำดับ should make sure his will is up to should make sure her or his will is
ให้มีความหลายหลาย date. up to date.
7. ใช้คำนามเฉพาะที่ไม่มี The average man on the street The average voter speaks out on
เพศ speaks his mind on the issues. political issues.
8. ใช้ชื่อตำแหน่งหรือคำ He gave a test on Monday. The professor gave a test on
บรรยายอาชีพแทน Monday.
9. ใช้ noun ซ้ำ หรือใช้คำ The professor who gets published The professor who gets published
ที่มีความหมาย frequently will have a better frequently will have a better
คล้ายคลึง/synonym) chance when he goes before the chance when faculty tenure is
tenure board granted.

ตำแหน่งหน้าที่
การแทนที่ภาษาที่แสดงภาพลักษณ์บุรุษ
ไม่ควรใช้ ควรใช้
Business man/men Business person/people, people in business, executive, merchant,
industrialist, entrepreneur, manager
Cameraman Camera operator, photographer
Chairman Chairperson, chair, moderator, group leader, department head, presiding
officer
Congressman Member of Congress, Representatives, Congressmen and
Congresswomen
Craftsmen Craftsperson, artisan
Deliveryman/boy Delivery driver/clerk, porter, deliverer, courier, messenger
Draft man Drafter
Fireman Firefighter
Foreman Supervisor
Headmaster Principal
Kingpin Key Person/Leader
Lumber man Woodchopper, tree/lumber cutter
Male nurse Nurse
130 Wit3

Man - hours Labor, staff/work hours


Manmade Manufactured, handbuilt, handmade, synthetic, simulated, machine made
Night watchman Night grand, night watch
Policeman Police officer, detective
Pressman Press operator
Repairman Repairer (Better: plumber, electrician, carpenter)
Salesman/men Salespeople, salesperson(s), sales agent (s),sales associate (s), sales
representative (s), sales force
Spokesman Representative, spokesperson, advocate, proponent
Sportsmanship Sports/outdoor enthusiast (Better: hunter, fisher, causer)
Statesman Political leader, pubic savant
Steward/stewardess Flight attendant
Weatherman Weather reporter, meteorologist
Workmen Workers

การแทนที่ตำแหน่งหน้าที่ที่แสดงภาพลักษณ์สตรี
ไม่ควรใช้ ควรใช้
Authoress Author
Aviatrix Pilot, aviator
Housewife Housemaker, consumer, customer, shopper,

Lady/fencer doctor, lawyer Doctor, Lawyer


Little lady Spouse
Better half Partner
Maid, cleaning lady House worker, housekeeper, cleaner

Poetess Poet
Sculptress Sculptor
Usherette Usher
Waitress Waitperson/waiter
Working wife/mother Worker

การแทนที่ adjectives และ expressions ที่เป็ นภาพลักษณ์ตามตัวของกลุ่มคน


ไม่ควรใช้ ควรใช้
Act like a lady and think Act and think sensitively and clearly.
like a man.
Act like a gentleman Be polite, brave, an keep your chine up.
Dear Sir Dear Madam or Sir, Dear Personnel Officer/Director/Executive/Manager
(Better : name)
Fatherland Homeland, nativeland
Founding fathers Pioneers, colonists, patriots, forebears, founders
Wit3 131

Gentleman’s agreement Informal agreement, your word, oral contract, handshake


Ladylike, girlish, sissy, Tender, cooperative, polite, neat, fearful, weak, illogical, inactive (both
effeminate male an female characteristics)
Lady luck Luck
Layman, layman’s terms Lay, common, ordinary, informal, non-technical
Maiden name Birth name
Maiden voyage First/premiere voyage
Male chauvinist Chauvinist
Male Ego Ego
Man-sized Husky, sizable, big, large, voracious
Man-to-man defense/talk Player-to-player, person-to-person, face-to-face, one-to-one
Manly, tomboy Courageous, strong, vigorous, logical, rude, active, messy, self-
confident (both female and male characteristics)
Mother doing dishes, Man and women doing dishes, women and men reading the paper
father reading the paper
Mothering, fathering Parenting, child-rearing, protective, supportive, kind
Motherly, unwed mother Mother

Unit 6, Chapter 12: English Around the World


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
ในสมัยที่เชคสเปี ยร์ (Shakespeare) ยังมีชีวิตอยู่นั้น ในประเทศอังกฤษเอง มีคนที่พูดภาษาอังกฤษ
กันแค่ประมาณ 5 ล้านกว่าคนเท่านั้น ปัจจุบัน หลังจากผ่านมาได้ราว 400 กว่าปี ปรากฏว่ามีคนพูด
ภาษาอังกฤษกันทั่วโลกกว่า 700 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีประมาณ 300 ล้านคน ที่พูดภาษาอังกฤษเป็ น
ภาษาแม่ (Mother tongue) ซึ่งคนเหล่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้
แคนาดา ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ยังมีอีกหลายประเทศที่ภาษาอังกฤษมีสถานะพิเศษ นั่นคือใช้กัน
อย่างแพร่หลายจนกลายเป็ นทางการ ในประเทศเหล่านี้คือ อินเดีย บาฮามา กานา ไนจีเรีย และ
ฟิ ลิปปิ นส์
กล่าวได้ว่า ภาษาอังกฤษ คือภาษาโลกอย่างแท้จริง เป็ นภาษาที่ใช้ในด้านการค้าระหว่างประเทศ
การทูต และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องที่เกี่ยวกับการไปรษณีย์ หรือ
คอมพิวเตอร์ ส่วนมากเขียนด้วยภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังเป็ นภาษาที่ใช้สำหรับการ
ควบคุมการจราจรทางอากาศซึ่งเป็ นสากลอีกด้วย
พัฒนาการของภาษาอังกฤษ (Development of English)
เมื่อจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) บุกเกาะอังกฤษ ในปี 55 ก่อนคริสตกาล หรือราว ๆ 2058 ปี มา
แล้ว เขาได้พบว่ามีชนชาวเซลติค (Celtic population) อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาหลายร้อยปี แล้ว พวก
เซลติคนี้ คือ บรรพบุรุษของชาวไอริช (Irish) สกอตติช (Scottish) และเวลส์ (Welsh) ในปัจจุบัน ต่อมา
พวกโรมันได้เข้ารุกรานพวกเซลติค (หรือเซลท์) และได้ครอบครองเกาะอังกฤษจากปี ค.ศ. 43-410 หรือ
เป็ นเวลาร่วมสี่ร้อยกว่าปี ภาษาของพวกโรมัน คือ ภาษาลาติน (Latin) แทบไม่มีผลกระทบต่อภาษาของ
พวกเซลติคเลย และทั้งสองภาษา คือ ลาตินและเซลติค ก็แทบไม่มีผลกระทบต่อภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็ น
ภาษาที่ใช้สืบต่อจากภาษานี้ในกาลต่อมา ชื่อของสถานที่ที่เป็ นภาษาของพวกโรมันและเซลติค ก็มีหลง
เหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกดูดกลืนเป็ นภาษาอังกฤษไป ยกตัวอย่างอิทธิพลของภาษาลาติน และ
เซคติคที่ยังพอหลงเหลือให้เห็น เช่น “castra” เป็ นคำลาติน หมายถึง “ค่ายพัก” หรือ “การตั้งถิ่นฐาน”
132 Wit3

ปรากฏในชื่อเมืองของอังกฤษหลายเมืองเช่น Manchester, Dorchester และ Lancaster เป็ นต้น


ส่วนคำว่า crag หมายถึง “ชัน” หรือ “ขรุขระ” และคำว่า combe ซึ่งหมายถึง “หุบเขา” ทั้งสองนี้เป็ น
คำเซลติค
บรรพบุรุษที่เป็ นต้นกำเนิดภาษาอังกฤษในปัจจุบันจริง ๆ นั้น เข้ามาในเกาะอังกฤษราวปี ค.ศ. 400
เศษ ๆ ภายหลังที่พวกโรมันได้จากไปแล้ว ชนเผ่า Germanic สามกลุ่มคือ Angles, Saxon, และ Jutes
ได้อพยพมาถึงอังกฤษ และได้ปราบหรือไม่ก็กลืนพวก Celtic เข้าพวก ดังนั้น ดินแดนแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า
England ตามชื่อพวก Angles ซึ่งเป็ นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด England แปลว่า “Land of the Angles” หรือ
“เทวรัฐ” คือ ดินแดนของเทวะ ดังนั้นภาษาของพวกที่มารุกราน จึงเรียกว่า English
จากนั้นภาษาอังกฤษก็ค่อย ๆ หยั่งรากมั่นคงในประเทศอังกฤษ โดยขณะเดียวกันก็ได้ยอมรับเอา
อิทธิพลของพวกที่รุกรานที่มาภายหลังอีกหลายพวก ได้แก่ พวกสแกนดิเนเวียร์ (Scandinavians) ซึ่งตก
ประมาณปี ค.ศ. 750 และพวก Norman French ในปี ค.ศ. 1066 จริง ๆ แล้วภาษาอังกฤษ ได้กลายเป็ น
ภาษาที่ดูดซับเอาภาษาอื่น ๆ ไว้ (absorbing language) นั่นเพราะว่าได้รวบรวม รวมทั้งยืมเอาคำต่าง ๆ
จากภาษาและวัฒนธรรมอื่น ๆ เข้าไว้ในตัวมากจนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็ นภาษาที่มีคำมากที่สุดในโลก
เกือบ 500,000 คำเลยทีเดียว
ประวัติของภาษาอังกฤษนั้นแบ่งออกเป็ นสามยุคคือ อังกฤษยุคเก่า (Old English 450-1100) อังกฤษ
ยุคกลาง (Middle English 1100-1500) และอังกฤษยุคใหม่ (Modern English 1500-ปัจจุบัน)
ภาษาอังกฤษยุคเก่า (Old English)
ภาษาของพวกชนเผ่า Germanic ที่เรียกว่า Old English หรือ Angle-Saxon นั้น ถือได้ว่าเป็ น
รากฐานของภาษาอังกฤษยุคใหม่ มีความเกี่ยวกันกับบรรพบุรุษของพวกที่พูดภาษาเยอรมัน ภาษาดัช
และภาษาสแกนดิเนเวียน ในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างของภาษาอังกฤษยุคเก่าเก็บรักษาเอาไว้ในต้นฉบับ
หนังสือหลายเล่มที่มีอายุนับย้อนไปถึงยุค ค.ศ. 600 แต่หลักฐานพวกนี้ ก็เป็ นเพียงบันทึกข้อเขียนภาษา
ทางโบราณคดี ซึ่งไม่ใช่ภาษาที่คนทั่ว ๆ ไปพูดกันในยุคนั้น บทกวียุคเก่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เห็นจะ
ได้แก่ มหากาพย์ Beowulf ซึ่งเป็ นเรื่องราวการต่อสู้ของวีรบุรุษ คือ กษัตริย์แห่งเดนมาร์ค (Denmark) ซึ่ง
ได้ทำการต่อสู้กับมังกรและปี ศาจชื่อ Grendel จากตัวอย่างบางตอนของภาษาอังกฤษยุคเก่านี้ ต้อง
ทำการแปลอีกทีหนึ่ง ผู้อ่านสมัยปัจจุบันจึงจะอ่านออก
ภาษาอังกฤษยุคเก่านั้น แตกต่างกันอย่างลิบลับกับภาษาอังกฤษที่เราใช้ในปัจจุบัน คำนาม และคำ
คุณศัพท์ เวลาใช้ต้องผันพยัญชนะท้ายคำ (inflection) นั่นก็คือมีเสียงท้ายคำแตกต่างกันนั่นเอง ทั้งนี้ก็
เพื่อให้เห็นว่า คำนั้น ๆ ทำหน้าที่อะไรในประโยค ซึ่งเหมือนกับภาษาบาลีและสันสกฤต หรือแม้แต่คำ
“the” ซึ่งในยุคนี้เวลาใช้ล้วนคงที่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยค แต่ใน
อังกฤษยุคเก่า the มีรูปแตกต่างกันหลายแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อระบุว่า คำที่ใช้กับ the นั้นเป็ นเพศชาย เพศ
หญิง เป็นเอกพจน์ หรือเป็นพหูพจน์ เป็ นต้น
พัฒนาการของภาษาอังกฤษยุคเก่านั้น มีเหตุการณ์สำคัญสองอย่างเป็ นตัวเสริม ได้แก่ การแผ่ขยาย
ของศาสนา ในประเทศอังกฤษ ระหว่างยุค ค.ศ. 500 และยุค ค.ศ. 600 ภาษาอังกฤษในยุคนั้นได้รับเอา
คำภาษาลาติน เข้าไว้เป็ นจำนวนมาก ซึ่งภาษาลาตินเอง ก็คือภาษาของคริสตจักร (Church) เช่นคำว่า
candle, chalk, dish, master, monk และ psalm กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีคำอังกฤษยุคเก่าแท้ ๆ หลายคำที่
นำมาใช้เพื่ออธิบายแนวคิดทางศาสนาคริสต์ เช่น god, heaven และ hell อีกเหตุการณ์หนึ่งคือการ
รุกรานอย่างเป็ นระลอกของพวก Scandinavian ในช่วงยุค ค.ศ. 800 และ 900 มีคำเกิดขึ้นหลายคำ เช่น
skin, skirt, sky นอกจากนี้ มีคำสรรพนามสำคัญเกิดเพิ่มเข้ามาใหม่ คือ they และ she คำว่า they นั้น
Wit3 133

มาแทนที่คำเดิม คือ hie ส่วน she มาแทน heo สรรพนามสองคำใหม่นี้ ง่ายกว่า และแยกจากกันอย่าง
ชัดเจนกว่าของเดิมมาก สังเกตได้จากการเปรียบเทียบ he, heo, hie กับ he, she, they
ภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle English)
ใน ค.ศ. 1600 กษัตริย์วิลเลี่ยม (William) แห่ง Normandy จากฝรั่งเศสตอนเหนือได้บุกยึดครองเกาะ
อังกฤษ โดยตีกองทัพอังกฤษแตกที่สนามรบเมือง Hastings หรือที่เรียกกันว่า “ศึกแฮสติงส์” วิลเลี่ยม
(William) และพวกได้ปกครองอังกฤษ โดยขณะเดียวกัน ก็ได้นำเอาภาษาของตนเข้ามาใช้ด้วย นั่นก็คือ
ภาษาฝรั่งเศสประจำถิ่น Norman (Norman dialect of French) และก็ได้ใช้ภาษานี้เป็ นภาษาประจำ
ราชสำนัก (the language of the royal court) ภาษา Norman French หรือ จะเรียกให้ถูกก็คือ Anglo
Norman นี้ได้เป็ นภาษาราชการของผู้ปกครองอังกฤษในยุคนั้นเป็ นเวลาถึง 300 ปี แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่อาจ
เข้ามาแทนที่ภาษาอังกฤษซึ่งคนส่วนมายังพูดจาสื่อสารกันอยู่โดยมากได้ ในระยะเริ่มแรก อิทธิพลของ
ภาษาอังกฤษยังมีน้อย จำกัดอยู่แค่คำไม่กี่คำ เช่น castle และ prison แต่พอถึงยุค ค.ศ. 1100 ปรากฏ
มีการนำคำฝรั่งเศสมาใช้ในราชสำนักในอัตราที่มากขึ้น คำ “ยืม” เหล่านี้ ปรากฏใช้กันมากในแถบที่
อิทธิพลของฝรั่งเศสมีความแข็งแกร่ง ศัพท์ทางการปกครองและกฎหมาย เช่น prime, reign, court ศัพท์
ทางทหาร เช่น army, soldier, lieutenant, ศัพท์ทางศิลปะ เช่น sculpture, romance, tragedy ศัพท์ทาง
วิทยาศาสตร์ เช่น surgeon, anatomy
การมีคำฝรั่งเศสเพิ่มเข้ามาในภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้พูดภาษาอังกฤษมีความสามารถแสดง “ความ
ต่าง” ของคำได้ เช่น คำฝรั่งเศสคือ beef, veal, venison, mutton และ pork หมายถึง เนื้อที่อยู่บนโต๊ะ
แล้ว ส่วนคำอังกฤษคือ cow, calf, deer, sheep, และ pig หมายถึง สัตว์ที่อยู่ขนกีบเท้า (hoof)
เมื่ออังกฤษสามารถปลดแอกตนเองเป็นอิสระจาก Normandy ใน ค.ศ. 1204 ภาษา Anglo-Norman
ก็ถูกตัดขาด และเริ่มเสื่อมหายไป ภาษาอังกฤษก็กลับมาเป็นภาษาทางการปกครองและวัฒนธรรมตามเดิม
และแน่นอนเป็ นภาษาพูดของคนทั่วไป (common people) ถึงยุค ค.ศ. 1300 มีการใช้ภาษาอังกฤษกัน
อย่างดาดดื่นทั้งในราชสำนักและท้องถิ่นอื่น ๆ ทั่วประเทศ แม้ว่าอิทธิพลด้านคำศัพท์ฝรั่งเศสจะยังคงมี
ติดอยู่ในภาษาอังกฤษตลอดไปก็ตาม
นอกเหนือไปจากการได้รับคำฝรั่งเศสเข้ามาปนแล้ว ภาษาอังกฤษในยุคนี้ ยังพบกับความเปลี่ยนแปลง
อีกอย่างหนึ่งคือ ไม่มีการผันคำคุณศัพท์เพื่อให้สอดคล้องกับคำนามอีกต่อไป และคำนามก็เหลือแค่
เอกพจน์และพหูพจน์เท่านั้น เช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English)


ภาษาอังกฤษยุคใหม่นั้น กล่าวกันว่า เริ่มต้นที่ประมาณ ค.ศ. 1500 เป็ นต้นมา หลังจากมีการนำ
ระบบการพิมพ์หนังสือเข้าไปเผยแพร่ในประเทศอังกฤษไม่นาน ภาษาอังกฤษยุคใหม่ในตอนแรก ๆ นั้น
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ภาษาอังกฤษยุคใหม่ต่างจากยุคกลางตรงการออกเสียง ตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี ได้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงมากมายในด้านสระ (vowels) นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยุคใหม่ก็ยังมีไวยากรณ์ที่แตกต่าง
ด้วย ซึ่งก็คล้าย ๆ เป็ นการสืบต่อแนวโน้มจากยุคกลางที่เน้นไปทางการทำให้ง่ายขึ้นในด้านการผันคำ
แม้ว่าในความเป็ นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการมีกฎเกณฑ์ด้านวากยสัมพันธ์ (Syntax) และการวาง
ลำดับคำ (Word Order) ที่สลับซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม
134 Wit3

การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์มีส่วนช่วยทำให้เกิดภาษาเขียน “ที่เป็ นมาตรฐาน” (Standardize Written


English) นั่นคือ การยอมรับการสะกดคำที่สากลมากขึ้น รวมทั้งการใช้คำนั้น ๆ ด้วย นอกจากนี้ การพิมพ์
ตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมที่เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ในยุค ค.ศ. 1700 ก็มีส่วนทำให้เกิดภาษาอังกฤษ
ที่เป็ นมาตรฐานด้วย
กระนั้นก็ตาม ก็ยังใช้เวลากว่า 200 ปี จึงสามารถทำให้การสะกดคำภาษาอังกฤษที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
หายไป จนเหลือเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ในด้านการใช้ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็ นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
ไม่รู้จบ
การเติบโตของภาษาอังกฤษยุคใหม่
ประเทศอังกฤษเริ่มกลายเป็ นมหาอำนาจหนึ่งของโลก ในยุค ค.ศ. 1600 โดยการล่าเมืองขึ้นในแถบ
แอฟริกา เอเชีย และอเมริกาเหนือ เมื่อจักรวรรดิอังกฤษแผ่ขยายไป ภาษาอังกฤษก็แผ่ตามไปด้วย ในทาง
กลับกัน คำต่าง ๆ ที่เป็ นภาษาของผู้คนที่อยู่ในประเทศเมืองขึ้นก็ทำให้เกิดคำใหม่ ๆ เข้ามาในภาษา
อังกฤษด้วย เช่น ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน มีหลายคำที่มาจากภาษาของพวกอเมริกัน อินเดียน โดย
เฉพาะคำที่เป็ นชื่อต้นไม้ใบหญ้าของคนพื้นเมือง และชื่อสัตว์ที่พวกเจ้าอาณานิคมอังกฤษไม่คุ้ นเคย เช่น
คำว่า moose, skunk, squash และ woodchuck เป็ นต้น และรวมถึงคำที่เป็ นชื่อสถานที่ของชาว
อเมริกันอินเดียนทั้งหลายด้วย
เมื่อการใช้ภาษาอังกฤษขยายกว้างออกไป ก็เกิดมีลักษณะเด่นที่หลากหลายตามไปด้วย และแต่ละ
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษก็ถึงกับมีมาตรฐานของตนเอง ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา คำศัพท์ การ
ใช้ และการสะกด แตกต่างจากในประเทศอังกฤษ ชาวอเมริกันจะเรียก lift ว่า elevator, flat ว่า
apartment, และ chips ว่า fries ในยุค 1920 ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเกิดความนิยมแพร่หลายใน
ประเทศอังกฤษเพราะภาพยนตร์จาก Hollywood ซึ่งทำให้คนอังกฤษบางคนถึงกับกลุ้มใจอย่างหนัก
เพราะกลัวว่าภาษาของตนจะวิบัติ (corrupted) ในยุค 1980 เกิดการแพร่สะพัดของสำนวนทักทายแบบอ
อสเตรเลียน คือ G’day ซึ่งมาพร้อมกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ ในปัจจุบันนักปราชญ์ทางภาษาอังกฤษ
กำลังสนใจพัฒนาการใหม่ ๆ ที่หลากหลายของภาษาอังกฤษในแถบแอฟริกา เอเชีย และเวสต์ อินดีส
(West Indies)
ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีพัฒนาการส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของคนที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติ
ที่มารวมกันอยู่เป็ นพลเมืองของอเมริกา ยกตัวอย่างคำว่า rodeo มาจากภาษาสเปน คำว่า kindergarten
มาจากภาษาเยอรมัน pizza มาจากภาษาอิตาเลียน klutz มาจากภาษา Yiddish นอกจากนี้ ภาษา
อังกฤษของคนดำ (Black English) ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลจากแอฟริกันตะวันตก (West African) ก็มีส่วน
ทำให้เกิดคำใหม่ ๆ หลายคำ บางคำเราไม่รู้เลยว่ามีที่มาจากไหน เช่น คำว่า Jazz คำหลายคำ เช่น soul
มีความหมายเพิ่มเติมจากความหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น soul food = African food เป็นต้น
ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษก็ยังคงพัฒนาและเติบโตต่อไปเช่นเดียวกับภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหลาย (living
languages) คำเก่า ๆ บางคำเลิกใช้ แล้วมีคำใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ เทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วมากก็สะท้อน
ออกมาในรูปของภาษา และศัพท์เฉพาะบางคำกลายมาเป็ นคำธรรมดาสามัญ ปัจจุบันนี้หากกล่าวถึง
lasers, software และ meltdowns มีน้อยคนที่ไม่รู้จัก คำที่มาจากแสลง (slang) แฟชั่น และกีฬาก็กลาย
มาเป็ นคำใหม่ ๆ จำนวนมาก ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษก็พัฒนาปรับปรุงภาษาของตนอยู่ตลอดเวลา
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีความพยายามและผลักดันให้เลิกใช้คำที่มีความเหมายไปในทางเหยียดเพศ
(sexism) โดยเรียกร้องให้มีการใช้คำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งเพศชายและหญิงแทน เช่น ให้ใช้คำว่า
firefighter แทน fireman ขณะที่ภาษาอังกฤษจัดอยู่ในฐานะภาษาที่ถูกยืมก็เป็ นภาษาที่ให้ยืมด้วยเช่นกัน
Wit3 135

ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่ น ต่างยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้กันอย่างเสรี จนครั้งหนึ่งรัฐบาลฝรั่งเศส


ถึงกับออกกฎหมายเอาผิดกับการใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาฝรั่งเศส
4. ทักษะ/กระบวนการ
- ทักษะเฉพาะวิชา
การอ่าน : จับใจความสำคัญ ระบุรายละเอียด วิเคราะห์ความ ตีความ สรุปความ คาดเดา เชื่อมโยง
ข้อมูลใหม่กับภูมิหลัง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เดาความหมายของคำศัพท์โดยใช้
บริบทหรือวิเคราะห์หน่วยคำ
การเขียน : เขียนให้เหตุผล
การพูด : สนทนาโต้ตอบ อภิปรายกลุ่ม
- ทักษะคร่อมวิชา
การสื่อสาร กระบวนการกลุ่ม การให้เหตุผล การสืบค้น
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักความเป็นไทย : ภูมิใจที่ภาษาไทยยังใช้กันอยู่ ไม่แตกดับไปเหมือนบางภาษาในโลก

7. ความเข้าใจที่ยั่งยืน
นักเรียนเข้าใจว่าภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและทุกชาติทุกภาษามีคำยืมจากภาษาอื่น
8. สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. จับใจความสำคัญ ระบุรายละเอียด วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่าน (Our Changing Language) (ต 1.1 ม.4-6/4, ต 2.1 ม.4-6/2, ต 3.1 ม.4-6/1)
2. พูดอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในประเทศไทย (ต 1.2 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/5,
ต 2.1 ม.4-6/1, ต 2.2 ม.4-6/2, ต 4.1 ม.4-6/1)
3. เขียนเรียงความแสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา (ต 1.3 ม.4-6/3, ต 2.2 ม.4-6/1)
4. จับใจความสำคัญ ระบุรายละเอียด วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่าน (English Around the World) (ต 1.1 ม.4-6/4, ต 2.1 ม.4-6/2, ต 3.1 ม.4-6/1)
5. พูดอภิปรายเกี่ยวกับการขยายตัวและการตายของภาษา (ต 1.2 ม.4-6/1, ต 1.2 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/5,
ต 2.2 ม.4-6/2, ต 4.1 ม.4-6/1)
6. เขียนเรียงความแสดงอิทธิพลของภาษาอังกฤษต่อโลก (ต 1.3 ม.4-6/3, ต 2.2 ม.4-6/1)
7. ใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และ
พูดนำเสนอในกลุ่มย่อย (ต 1.3 ม.4-6/1, ต 3.1 ม.4-6/1, ต 4.2 ม.4-6/1)

ร่องรอย หลักฐานการเรียนรู้
1. ผลงานปฏิบัติ/ชิ้นงาน
การอ่าน
1. ผลงานจากการทำกิจกรรม Comprehension ใน Chapter 11 หน้า 140-141
2. ผลงานจากการทำกิจกรรมใน Comprehension ใน Chapter 12 หน้า 153-155
การเขียน
1. งานเขียนเรียงความแสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา
136 Wit3

2. งานเขียนเรียงความแสดงอิทธิพลของภาษาอังกฤษต่อโลก
การพูด
1. ถ้อยคำพูดอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในประเทศไทย
2. ถ้อยคำพูดอภิปรายเกี่ยวกับการขยายตัวและการตายของภาษา
การสืบค้น
1. ผลงานจากการทำกิจกรรม “Do you know these facts about language?”
2. ผลงานจากการทำกิจกรรม Internet Activity

2. การวัดผลและประเมินผล
ร่องรอยและ วิธีการ เกณฑ์การ
ตัวชี้วัด
หลักฐานการเรียนรู้ ประเมิน ประเมิน
จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ คำตอบจากกิจกรรม การเลือกตอบ จำนวนคำตอบที่ถูก
สรุปความ ตีความและแสดงความคิด Comprehension และเขียนตอบ ต้อง
เห็นจากการ...อ่านเรื่องที่เป็ น เรื่อง Our Changing Language สั้นๆ เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70
สารคดี...พร้อมทั้งให้เหตุผลและยก
ตัวอย่างประกอบ คำตอบจากกิจกรรม การเลือกตอบ จำนวนคำตอบที่ถูก
Comprehension เรื่อง English และเขียนตอบ ต้อง
Around the World สั้นๆ เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70
...เขียนเพื่อให้ข้อมูลบรรยาย อธิบาย งานเขียนเรียงความแสดงเหตุผล การเขียน เกณฑ์ประเมินการ
เปรียบเทียบและแสดงความคิดเห็น ของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา แบบอัตนัย เขียนตาม
เกี่ยวกับเรื่องที่...อ่านอย่างเหมาะสม ( คุณลักษณะ 6
ต 1.2 ม.4-6/4) ประการ
เกณฑ์ผ่านระดับ
...เขียนบรรยายความรู้สึกและแสดง พอใช้
ความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับ
เรื่องต่าง ๆ ...อย่างมีเหตุผล งานเขียนเรียงความแสดง การเขียน เกณฑ์ประเมินการ
(ต 1.2 ม.4-6/5) อิทธิพลของภาษาอังกฤษต่อโลก แบบอัตนัย เขียนตาม
คุณลักษณะ 6
...เขียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ... ประการ
เรื่องและประเด็นต่างๆ ตามความ เกณฑ์ผ่านระดับ
สนใจของสังคม (ต 1.3 ม.4-6/1) พอใช้
พูด...เพื่อให้ข้อมูลบรรยาย อธิบาย ถ้อยคำพูดอภิปรายเกี่ยวกับการ การประเมินผล แบบประเมินการ
เปรียบเทียบและแสดงความคิดเห็น เปลี่ยนแปลงทางภาษาใน ปฏิบัติ อภิปรายกลุ่ม
เกี่ยวกับเรื่อง...ที่อ่านอย่างเหมาะสม ( ประเทศไทย เกณฑ์ผ่านระดับ
ต 1.2 ม.4-6/4) พอใช้

พูด...แสดงความคิดเห็นของตนเอง ถ้อยคำพูดอภิปรายเกี่ยวกับการ การประเมินผล แบบประเมินการ


เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ...อย่างมีเหตุผล ขยายตัวและการตายของภาษา ปฏิบัติ อภิปรายกลุ่ม
(ต 1.2 ม.4-6/5) เกณฑ์ผ่านระดับ
Wit3 137

พอใช้
พูด...นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
เรื่องและประเด็นต่าง ๆ ตามความ
สนใจของสังคม (ต 1.3 ม.4-6/1)
เลือกใช้ภาษาน้ำเสียงและกิริยา
ท่าทางเหมาะกับระดับบุคคล โอกาส
และสถานที่ตามมารยาทสังคม และ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
(ต 2.1 ม.4-6/1)

อธิบาย/อภิปรายวีถีชีวิต
ความคิด ความเชื่อและที่มาของ
ขนบธรรมเนียม และประเพณีของ
เจ้าของภาษา (ต 2.1 ม.4-6/2)

...อภิปรายความเหมือนและความ
แตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ
และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ
ของไทย...(ต 2.2 ม.4-6/2)

ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริงที่
เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา...
(ต 4.1 ม.4-6/1)
สืบค้นบันทึกข้อมูล...ที่เกี่ยวข้องกับ ผลจากงานกิจกรรม การประเมินผล แบบประเมินการพูด
กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น จากแหล่ง “Do you know these food ปฏิบัติ นำเสนอ
การเรียนรู้ต่าง ๆ และนำเสนอด้วย about language?” เกณฑ์ผ่านระดับ
การพูด (ต 3.1 ม.4-6/1) และพูดนำเสนอในกลุ่ม พอใช้

ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ ผลงานจาก Internet Activity การประเมินผล แบบประเมินการ


ค้นคว้ารวบรวม วิเคราะห์ และ และการอภิปรายกลุ่ม ปฏิบัติ ปฏิบัติงานกลุ่ม
สรุปความรู้/ข้อมูลต่าง ๆ จากสื่อ เกณฑ์ผ่านระดับ
และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ พอใช้
(ต 4.2 ม.4-6/1)

หลักฐานอื่นๆ
1. ผลงานจากการตอบคำถาม Assessment Questions Unit 6, Chapter 11: Our Changing Language
- Vocabulary: คำตอบด้านศัพท์ (เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70)
- Grammar/Language: คำตอบเกี่ยวกับความรู้เรื่อง cause an effect essay (เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70)
- Essay Question: งานเขียนเรียงความแสดงสาเหตุ 5-6 ประการที่ทำให้เกิดผลบางอย่างในชีวิตของ
ตนเอง (เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้)
2. ผลงานจากการตอบคำถาม Assessment Questions Unit 6, Chapter 12: English Around the World
- Vocabulary: คำตอบด้านศัพท์ (เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70)
138 Wit3

- Grammar/Language: คำตอบเกี่ยวกับการเรียนเรื่อง cause and effect essay การใช้คำเชื่อม และ


เครื่องหมายวรรคตอน (เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70)
- Essay Question: งานเขียน cause and effect essay โดยเลือก 1 หัวข้อจาก 3 หัวข้อที่กำหนดให้
(เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้)
นักเรียนประเมินตนเอง
- ใช้แบบประเมินตนเองของนักเรียน Unit 6, Chapter 11, 12

กิจกรรมการเรียนรู้
Unit 6, Chapter 11: Our Changing Language
บทเรียนย่อยที่ 1 เวลา 2 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. จับใจความสำคัญ ระบุรายละเอียด วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่าน (Our Changing Language) (ต 1.1 ม.4-6/4, ต 2.1 ม.4-6/2, ต 3.1 ม.4-6/1)
2. พูดอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในประเทศไทย (ต 1.2 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/5,
ต 2.1 ม.4-6/1, ต 2.2 ม.4-6/2, ต 4.1 ม.4-6/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมก่อนอ่าน
1. สำรวจความรู้เดิม
- ครูให้นักเรียนดูภาพใน Unit opener ในหนังสือเรียน หน้า 135 แล้วให้บอกชื่อภาษาในภาพให้ได้มาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้นักเรียนบอกด้วยว่ารู้จักตัวอักษรนั้นได้อย่างไร
ตัวอักษรในภาพ
- Hebrew, Arabic, Chinese, Greek, American, Japanese
- ครูเขียนคำ “sexism” บนกระดาน และให้นักเรียนที่ทราบความหมายบอกความหมาย ถ้าไม่มีผู้ใด
ทราบครูอธิบายว่า Sexism is the belief that women should he treated in a different way and
are suited to different types of and different position in society (การเลือกปฏิบัติด้วยอคติทาง
เพศ, การกีดกันทางเพศ)
- ครูเขียนประโยคต่อไปนี้บนกระดานและชี้ให้นักเรียนเห็นคำหรือข้อความที่ปราศจากอคติทางเพศ
(nonsexist form)
- Everybody should hang his (his or her) coat in the closet. (All should hang their coats in
the closet.)
- The repairman (repairperson) will fix the lock.
- Medical science has benefited men (people) everywhere.
- Call your doctor and leave him (him or her) a message
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Pre-Reading Activity ในหนังสือเรียน หน้า 136 ให้อ่านจดหมาย 2 ฉบับ
ที่อยู่ในหน้านี้แล้วให้อภิปรายเกี่ยวกับจดหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ โดยใช้คำถาม 3 ข้อ เป็ นแนวทาง
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Predicting ในหนังสือเรียน หน้า 136 ให้ตอบคำถาม 2 ข้อ และเขียนคำ
ตอบไว้ เพื่อตรวจสอบกับข้อมูลในบทความที่จะอ่านต่อไป
2. ตั้งจุดประสงค์ในการอ่าน
Wit3 139

- ครูให้นักเรียนใช้คำถามข้อ 1 ในกิจกรรม Predicting เป็นจุดประสงค์ในการอ่าน


Why are the word “the elderly, actress, chairman, trash man no longer used in English?
กิจกรรมระหว่างอ่าน
1. อ่านเพื่อตอบคำถามตามจุดประสงค์
- ครูบอกนักเรียนว่าครูจะเปิ ดซีดีบันทึกเสียงให้นักเรียนฟังและอ่านตามทีละย่อหน้า และจะหยุดเมื่อจบ
แต่ละย่อหน้า เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบของคำถามที่เป็นจุดประสงค์
- ครูเปิ ดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 1 ของบทความเรื่อง Our Changing Language ในหนังสือเรียน
หน้า 137 ให้นักเรียนฟังและอ่านในใจตามไปด้วย และหยุดซีดีบันทึกเสียงเมื่อจบย่อหน้า ในย่อหน้านี้
ไม่มีคำเป้ าหมาย
- ครูเปิ ดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 2 นักเรียนฟังและอ่านตามครูหยุดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้านี้ มีข้อมูล
เกี่ยวกับการเปลี่ยนคำที่ใช้จาก the elderly เป็น senior citizen และครูให้นักเรียนคนหนึ่งบอกคำตอบ
และให้นักเรียนคนอื่นช่วยตรวจสอบความถูกต้อง
(คำตอบที่เสนอแนะ people become more sensitive to the rights and needs of individual, so
they change the words to describe them.)
- ครูให้นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนคำที่ใช้จาก trashman มาเป็ น a sanitation worker ซึ่ง
อยู่ในย่อหน้าที่ 2 เช่นเดียวกัน เมื่อนักเรียนหาเหตุผลของการเลิกใช้คำเดิมได้แล้ว ก็ให้นักเรียนคน
หนึ่งบอกคำตอบแล้วให้นักเรียนคนอื่น ๆ ตรวจสอบความถูกต้อง
(คำ ตอบที่เสนอแนะ The name of the job has been changed so that the workers can be
proud of what they do.)
- ครูเปิ ดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 3 ให้นักเรียนฟังและอ่านตาม ย่อหน้านี้ไม่มีคำเป้ าหมาย ครูจึงเปิ ด
ซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 4 ต่อไป ย่อหน้านี้ก็ไม่มีคำเป้ าหมายเช่นเดียวกัน
- ครูเปิ ดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 5 และ 6 ให้นักเรียนฟังและอ่านตาม นักเรียนจะพบการใช้ chair แทน
chairman ในย่อหน้าที่ 4 ครูให้นักเรียนช่วยกันหาเหตุผลของการเลิกใช้ chairman นักเรียนอาจจะ
หาเหตุผลไม่ได้ ครูก็ให้รอไว้ก่อน และเปิดซีดีบันทึกเสียงย่อหน้าที่ 6 ให้นักเรียนฟังและอ่านตามต่อไป
ตั้งแต่ย่อหน้าแรกจนถึงย่อหน้าสุดท้าย ไม่ปรากฏคำว่า actress แต่มีการกล่าวถึงการใช้ poet แทน
poetess และ server แทน waitress เหตุผลของการเลิกใช้ poetess และ waitress ก็น่าจะเป็ น
เหตุผลเดียวกับการเลิกใช้ waitress ครูให้นักเรียนอ่านย่อหน้าสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง และช่วยนักเรียน
จับใจความในย่อหน้านี้ที่กล่าวว่า “Women have bought long and hard to be treated equally in
language as well as in society...” ด้วยเหตุนี้เหตุผลที่เลิกใช้ chairman และ actress ก็น่าจะเป็ น
เพราะ Woman wanted to be treated equally in language as well as in society.
2. อ่านเพื่อจับใจความสำคัญและรายละเอียด
- ครูให้นักเรียนอ่านบทความเรื่อง Our Changing Language ในหนังสือเรียน หน้า 137-138 อีกครั้ง
หนึ่ง เพื่อเตรียมทำกิจกรรมพัฒนาความเข้าใจและพัฒนาศัพท์
กิจกรรมหลังอ่าน
1. กิจกรรมพัฒนาความเข้าใจ
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension: Looking for the Main Ideas ในหนังสือเรียน หน้า 140
เสร็จแล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบ (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
140 Wit3

- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension: Looking for the Details ในหนังสือเรียน หน้า 140-141


เสร็จแล้วให้นักเรียนผลัดกันอ่านออกเสียงคำตอบ และให้นักเรียนคนอื่น ๆ ตรวจสอบความถูกต้อง
(ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension: Making Inferences and Drawing Conclusions ใน
หนังสือเรียน หน้า 141 เสร็จแล้วครูให้นักเรียนผลัดกันอ่านคำตอบของตน และนักเรียนคนอื่น ๆ พิจารณา
ความสมเหตุสมผลของคำตอบ (ดูคำตอบที่เสนอแนะท้ายเล่ม)
2. ทำกิจกรรมพัฒนาศัพท์
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Vocabulary: Meaning ในหนังสือเรียน หน้า 138-139 เสร็จแล้วครูให้
นักเรียนผลัดกันบอกคำตอบ (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Vocabulary: Word Building ในหนังสือเรียน หน้า 139-140 เสร็จแล้วให้
นักเรียนผลัดกันอ่านประโยคที่เติมคำลงไปเรียบร้อยแล้ว (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
3. ทำกิจกรรม Discussion
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Discussion ในหนังสือเรียน หน้า 142 ให้นักเรียนทั้งชั้นอภิปรายคำถาม
ข้อ 1 ให้ทุกคนดูรายการคำที่เปลี่ยนใหม่จากเดิม และแสดงความคิดเห็นว่าเป็ นการเปลี่ยนแปลงที่ดี
หรือไม่ ถ้าปรับปรุงให้ดีกว่านี้ จะปรับปรุงอย่างไร และมีคำอะไรอีกที่คิดว่าน่าจะเปลี่ยนใหม่
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้แต่ละกลุ่ม อภิปรายคำถามข้อ 2-4 ให้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง
ทางภาษาในประเทศไทย เป็ นการเปลี่ยนที่ช้าหรือเร็ว และอะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- ระหว่างที่นักเรียนทำงานครูเดินไปรอบ ๆ ชั้นเรียน เพื่อประเมินแต่ละกลุ่มโดยใช้แบบประเมินการ
อภิปรายกลุ่ม
- เมื่อการอภิปรายกลุ่มสิ้นสุดลง ครูให้ผู้แทนกลุ่มพูดนำเสนอผลการอภิปรายของกลุ่มตนในชั้นเรียน
ครูประเมินโดยใช้แบบการประเมินการพูดนำเสนอ

บทเรียนย่อยที่ 2 เวลา 2 ชั่วโมง


สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. เขียนเรียงความแสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา (ต 1.3 ม.4-6/3, ต 2.2 ม.4-6/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
1. สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ Cause and effect essay
- ครูให้นักเรียนอ่าน Model Essay เรื่อง English Is Important to Me ในหนังสือเรียน หน้า 143-144
- ครูให้นักเรียนขีดเส้นใต้ thesis statement และ topic sentence ในแต่ละ body paragraph (ดูเฉลย
คำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนดู thesis statement ของ Model Essay
“But the two most important reasons for learning English for me are to be able to go
through the interview process to get a job and to be able to read English to know what is
going on in the world”.
- ครูชี้ให้นักเรียนเห็น situation (effect = ผลลัพธ์) ใน thesis statement คือ “…important…learning
English for me” หรือ “Learning English is important for me” นอกจากนี้ใน thesis statement
ยังมีเหตุผลที่สนับสนุน situation 2 ประการ คือ
- to be able to go through the interview process to get a job
Wit3 141

- to be able to read English to know what is going on in the world


- ครูให้นักเรียนดูแต่ละ body paragraph ครูชี้ให้เห็นเหตุผลและตัวอย่างที่ยกมาสนับสนุนเหตุผล
- ครูให้นักเรียนเห็นคำเชื่อมปรับเปลี่ยนในแต่ละย่อหน้า ในย่อหน้าที่ 2 คือ First และย่อหน้าที่ 3 คือ
Second ซึ่งเป็ นคำเชื่อมแสดงลำดับ อาจใช้แสดงลำดับเหตุผลได้
- ครูอ่านออกเสียงคำบรรยายเกี่ยวกับการเขียน cause and effect essay ในหนังสือเรียน หน้า 144-145
และอธิบายสรุปให้นักเรียนเข้าใจคำว่า situation ซึ่งในที่นี้ให้ความหมายไว้ว่า effect หรือผลลัพธ์ (ข้
อแนะนำ : จะง่ายกว่าถ้าไม่แปลคำว่า situation และมองคำนี้ว่าเป็ นข้ออ้างหรือประเด็นที่หยิบยกขึ้น
มา และหาเหตุผลต่าง ๆ มาสนับสนุน) situation หนึ่งอาจมีมากกว่า 1 เหตุผลมาสนับสนุน
จึงจำเป็ นต้องดูทุกเหตุผล เมื่อมีหลายเหตุผลมักจะมีเหตุผลหนึ่งซึ่งสำคัญที่สุด เมื่อเขียน cause and
effect essay ต้องจำไว้ว่า
1) ดูทุกเหตุผลและอภิปรายเหตุผลเหล่านี้
2) สนับสนุนทุกเหตุผล ยกตัวอย่างดี ๆ มาประกอบ
3) นำเหตุผลที่สำคัญที่สุดไว้ท้ายสุด เพราะจะทำให้เรียงความน่าสนใจ ถ้านำเหตุผลสำคัญที่สุดมา
ไว้แรกสุด ผู้อ่านก็จะไม่มีอะไรตั้งตาคอย
2. ทบทวนการใช้คำเชื่อมแสดงเหตุผล
- ครูให้นักเรียนทบทวนการใช้คำเชื่อมแสดงเหตุผล because และ as โดยอ่านคำบรรยายและตัวอย่าง
ในหนังสือเรียน หน้า 145
- นักเรียนทำ Exercise 1 ในหนังสือเรียน หน้า 146 เชื่อม 2 ประโยค ให้เป็ นประโยคเดียว โดยใช้
as เมื่อทำงานเสร็จแล้วครูให้นักเรียนผลัดกันออกมาเขียนประโยคบนกระดาน ให้นักเรียนคนอื่น ๆ
ตรวจสอบความถูกต้อง (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
กระบวนการเขียน
1. Pre-writing
- ครูแบ่งนักเรียนเป็ นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่ละกลุ่มเลือกหนึ่งใน 3 หัวข้อที่กำหนดให้ในกิจกรรม
Writing Practice ในหนังสือเรียน หน้า 146
- นักเรียนในกลุ่มระดมสมองเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่เลือก โดยใช้ Pre-writing brainstorming technique
ที่ตกลงกันในกลุ่ม
- นักเรียนในกลุ่มระดมสมองหาเหตุผลและความคิดเกี่ยวกับแต่ละเหตุผล
- นักเรียนช่วยกันคิด thesis statement
2. Outlining
- นักเรียนช่วยกันเรียบเรียงความคิดตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 เขียน thesis statement
ขั้นที่ 2 เลือก 2 เหตุผลที่ดีที่สุดจากกิจกรรมระดมสมอง (หรือเลือก 3 เหตุผลสำหรับ 3 body
paragraphs)
ขั้นที่ 3 เริ่มย่อหน้าโดยใช้คำเชื่อมปรับเปลี่ยนที่ต่างกันในการแสดงเหตุผลและลำดับความสำคัญ ให้
เหตุผลสำคัญที่สุดอยู่สุดท้าย
- เขียนโครงร่างโดยให้รายละเอียดมากขึ้น ใช้ essay outline ในหนังสือเรียน หน้า 147 เป็นแบบอย่าง
3. Write a rough draft
- นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้ข้อความใน essay outline เป็นแนวทางในการเขียนต้นร่าง
4. Revise you rough draft
142 Wit3

- นักเรียนช่วยกันตรวจทานงานเขียนของกลุ่มตน โดยใช้ Essay Checklist ในหนังสือเรียน หน้า 147-148


5. Peer review
- นักเรียนให้เพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งช่วยตรวจทานงานเขียน โดยใช้รายการตรวจสอบเรียงความโดยเพื่อน
- นักเรียนพิจารณาข้อเสนอแนะของกลุ่มเพื่อนและช่วยกันคิดว่าจะปรับปรุงแก้ไขมากน้อยเพียงใด
6. Edit you essay
- นักเรียนในกลุ่มช่วยกันตรวจแก้การสะกดคำ เครื่องหมายวรรคตอน คำศัพท์ และไวยากรณ์
- นักเรียนอ่านต้นร่างและพยายามหาข้อผิดในการใช้สรรพนามแทนที่คำนาม
7. Write your final draft
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนร่างสุดท้ายส่งให้ครูตรวจ
- ครูประเมินโดยใช้แบบประเมินการเขียนเรียงความตามคุณลักษณะ 6 ประการ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพิ่มเติม
- ครูใช้ Assessment Questions วัดและประเมินผลการเรียนรู้ Unit 6, Chapter 11: Our Changing
Language

Unit 6, Chapter 12: English Around the World


บทเรียนย่อยที่ 3 เวลา 2 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. จับใจความสำคัญระบุรายละเอียด วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่าน (English Around the World) (ต 1.1 ม.4-6/4, ต 2.1 ม.4-6/2, ต 3.1 ม.4-6/1)
2. พูดอภิปรายเกี่ยวกับการขยายตัวและการตายของภาษา (ต 1.2 ม.4-6/1, ต 1.2 ม.4-6/4, ต 1.2 ม.4-6/5,
ต 2.2 ม.4-6/2, ต 4.1 ม.4-6/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมก่อนอ่าน
1. สำรวจความรู้เดิม
- ครูให้นักเรียนนำหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารไทยมาที่ชั้นเรียน ให้แข่งขันกันหาคำยืมภาษาอังกฤษในสื่อ
ดังกล่าวภายใน 3 นาที ในขณะที่ตรวจสอบคำตอบ ครูเขียนคำยืมเหล่านั้นบนกระดาน และอภิปราย
เกี่ยวกับแต่ละคำกับนักเรียนทั้งชั้น
- ครูให้นักเรียนดูภาพบนซ้ายในหนังสือเรียน หน้า 149 และให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับภาพ โดยใช้
คำถามข้อ 1 ในกิจกรรม Pre-Reading Activity ในหนังสือเรียน หน้า 149 เป็นแนวทาง ต่อจากนั้นให้
นักเรียนอภิปรายคำถามข้อ 2 และ 3 ในประเด็นต่อไปนี้
- ภาษาอังกฤษคำใดที่ใช้ตามถนน ในร้านและสถานที่กินอาหารในประเทศไทย
- ทำไมผู้คนจึงชอบใช้คำภาษาเหล่านั้น
- ครูให้นักเรียนจับคู่กันทำกิจกรรม Predicting ในหนังสือเรียน หน้า 149 ให้ช่วยกันคิดว่าคำที่กำหนด
ให้มาจากคำภาษาอังกฤษดั้งเดิมคำอะไร และทำไมภาษาอื่นจึงใช้คำยืมภาษาอังกฤษ ให้นักเรียน
แต่ละคู่จดบันทึกคำตอบของตนไว้
2. ตั้งจุดประสงค์ในการอ่าน
- ครูให้นักเรียนใช้คำถามในกิจกรรม Predicting ทั้ง 2 คำถาม เป็ นจุดประสงค์ในการอ่าน
กิจกรรมระหว่างอ่าน
Wit3 143

1. อ่านเพื่อตอบคำถามตามจุดประสงค์
- ครูให้นักเรียนแต่ละคู่อ่านแบบกวาดตาหาข้อมูลที่ต้องการ เสร็จแล้วครูให้นักเรียนผลัดกันบอกคำตอบ
สำหรับคำถามข้อ 2 ถ้ามีคำตอบที่แตกต่างกันหลายคำตอบ ครูเขียนคำตอบบนกระดาน และให้
นักเรียนทั้งชั้นพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำตอบ
คำตอบที่เสนอแนะ
1. rushawa คือ rush hour
sueter คือ sweater
herkot คือ haircut
te le fung คือ telephone
2. English is the most used language in international business, science, and medicine.
2. อ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
- ครูบอกนักเรียนว่าครูจะเปิ ดซีดีให้ฟังทีละหน้า ให้นักเรียนหา topic sentence ในย่อหน้าที่เป็ นใจ
ความสำคัญของย่อหน้า topic sentence ส่วนใหญ่ที่นักเรียนพบมักเป็ นประโยคแรกของย่อหน้า
- ครูเปิ ดซีดีบันทึกเสียงให้นักเรียนฟังและอ่านตามทีละย่อหน้า หยุดซีดีบันทึกเสียงเมื่อจบทุกย่อหน้า
เพื่อให้นักเรียนอ่านซ้ำเพื่อหา topic sentence แล้วครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงประโยคที่เป็ น
topic sentence ในย่อหน้า นักเรียนคนอื่น ๆ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
คำตอบที่เสนอแนะ
Topic sentences:
ย่อหน้าที่ 1 : Although there are almost 3000 languages, English is the most universal.
ย่อหน้าที่ 2 : Even in countries where English is not the first language, a number of English
words are used.
ย่อหน้าที่ 3 : Hundreds of words borrowed from English can now be found in other
languages
ย่อหน้าที่ 4 : English is everywhere.
ย่อหน้าที่ 5 : Some people believe that English should be the international language.
ย่อหน้าที่ 6 : What would become of our many different cultures?
ย่อหน้าที่ 7 : Languages have changed and disappeared throughout history.
กิจกรรมหลังอ่าน
1. ทำกิจกรรมพัฒนาความเข้าใจ
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension: Looking for the Main Ideas ในหนังสือเรียน หน้า 153
เสร็จแล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบ (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้ นักเรียนทำ กิจกรรม Comprehension: Looking for Details ในหนังสือเรี ยน หน้ า 154
เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จแล้ว ให้ผลัดกันออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน และนักเรียนคนอื่น ๆ
ตรวจสอบความถูกต้อง (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Making Inferences and Drawing Conclusions ในหนังสือเรียน หน้า
155 เสร็จแล้วครูให้นักเรียนผลัดกันออกมาเขียนคำตอบของคำถาม 5 ข้อ ถ้ามีคำตอบที่ไม่เหมือนคำ
ตอบบนกระดาน ครูให้นักเรียนที่มีคำตอบต่างออกไปเขียนคำตอบของตนบนกระดาน นักเรียน
ในห้องช่วยกันพิจาณาคำตอบที่สมเหตุสมผล คำตอบของบางคำถามไม่จำเป็นต้องมีเพียงคำตอบเดียว (
ดูคำตอบที่เสนอแนะท้ายเล่ม)
144 Wit3

2. ทำกิจกรรมพัฒนาศัพท์
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Vocabulary: Meaning ในหนังสือเรียน หน้า 151-152 เสร็จแล้วให้นักเรียน
ช่วยกันบอกคำตอบ (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Vocabulary: Word Building ในหนังสือเรียน หน้า 152-153 เมื่อนักเรียน
เติมคำที่สร้ างขึ้นในช่องว่างในประโยคเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนผลัดกันอ่านออกเสียงคนละประโยค
นักเรียนคนอื่น ๆ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
3. ทำกิจกรรม Discussion
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคำภาษาไทยที่มาจากภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในประเทศไทย คนละ 10 คำ
แล้วให้นักเรียนคนหนึ่งออกมาเขียนรายการคำของตนบนกระดาน ครูให้นักเรียนช่วยกันจำแนกคำ
10 คำ ว่าเป็ นคำที่ใช้ในวงการใดบ้าน เช่น วงวิชาการ วงการธุรกิจ วงการบันเทิง และจัดคำเป็ น
คอลัมน์ตามวงการที่ใช้ แล้วให้นักเรียนอื่นนำคำของตนที่ไม่ซ้ำกับคำบนกระดานมาเขียนเพิ่มเติม
- ครูแบ่งนักเรียนเป็ นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้อภิปรายคำถาม ข้อ 2-4 ในกิจกรรม Discussion ใน
หนังสือเรียน หน้า 155 ดังนี้
- แสดงความคิดเห็นว่าทำไมภาษาอังกฤษจึงเป็ นภาษาที่ใช้ทั่วโลก
- ยกตัวอย่างภาษาที่สูญหาย และให้เหตุผลของการสูญหาย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีที่จะหยุดยั้งการสูญหายของภาษา
- ระหว่างที่นักเรียนอภิปรายกลุ่ม ครูเดินไปรอบ ๆ ชั้นเรียนเพื่อประเมินโดยใช้แบบประเมินการอภิปราย
กลุ่ม
- ครูนำประเด็นที่ใช้ในการอภิปรายกลุ่มมาอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้รับฟัง
ความคิดเห็นที่หลากหลายขึ้น

บทเรียนย่อยที่ 4 เวลา 2 ชั่วโมง


สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. เขียนเรียงความแสดงอิทธิพลของภาษาอังกฤษต่อโลก (ต 1.3 ม.4-6/3, ต 2.2 ม.4-6/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
1. เรียนรู้วิธีเรียบเรียง cause and effect essay
- ครูให้นักเรียนศึกษาวิธีเรียบเรียง cause and effect essay ในหนังสือเรียน หน้า 156 แล้วครูอธิบาย
สรุป
- นักเรียนทำ Exercise 1 ในหนังสือเรียน หน้า 157 เสร็จแล้วครูให้นักเรียนผลัดกันบอกว่าประโยคใด
เป็น cause ประโยคใดเป็ น effect (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนศึกษา Cause and Effect Structure Words ในหนังสือเรียน หน้า 157-158
- นักเรียนทำ Exercise 2 ในหนังสือเรียน หน้ า 158 เชื่อม 2 ประโยคเป็ นประโยคเดียว โดยใช้
therefore หรือ consequently และใช้เครื่องหมาย , ให้ถูกต้อง เมื่อทำงานเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียน
ผลัดกันออกมาเขียนประโยคใหม่บนกระดาน และนักเรียน คนอื่นช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง (ดูเฉลย
คำตอบท้ายเล่ม)
กระบวนการเขียน
1. Pre-writing
- นักเรียนเลือกหนึ่งใน 3 หัวข้อที่กำหนดให้ในกิจกรรม Writing Practice ในหนังสือเรียน หน้า 159
Wit3 145

- นักเรียนระดมสมองเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่เลือกแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 คอลัมน์ เขียนรายการ สาเหตุ


(causes) ไว้ด้านหนึ่ง และผลลัพธ์ (effects) ไว้อีกด้านหนึ่ง
- นักเรียนระดมความคิดที่จะนำมาขยายความแต่ละสาเหตุและผลลัพธ์ เลือก pre-writing brainstorming
technique ตามต้องการ
- นักเรียนคิดหา thesis statement
2. Outlining
- นักเรียนเรียบเรียงความคิดตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 : เขียน thesis statement
ขั้นที่ 2 : เลือก 2 สาเหตุและผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากกิจกรรมการระดมสมอง
ขั้นที่ 3 : เลือกใช้ cause and effect structure words และ connectors ที่หลากหลาย
- เขียนโครงร่างโดยให้รายละเอียดมากขึ้นใช้ essay outline ในหนังสือเรียน หน้า 159 เป็นแบบอย่าง
3. Write a rough draft
- นักเรียนใช้ข้อความใน essay outline เป็นแนวทางในการเขียนต้นร่าง
4. Revise your rough draft
- นักเรียนตรวจทานงานเขียนของตนโดยใช้ Essay Checklist ในหนังสือเรียน หน้า 160
5. Peer review
- นักเรียนให้เพื่อนช่วยตรวจทานงานเขียนของตนโดยใช้รายการตรวจสอบเรียงความโดยเพื่อน
- นักเรียนพิจารณาข้อเสนอแนะของเพื่อน การปรับปรุงแก้ไขอยู่ในดุลพินิจของตนเอง
6. Edit your essay
- นักเรียนตรวจแก้การสะกดคำ เครื่องหมายวรรคตอน คำศัพท์ และไวยากรณ์
- นักเรียนอ่านต้นร่าง และพยายามแก้ไขข้อผิดเกี่ยวกับลำดับคำในประโยค
7. Write your final draft
- นักเรียนเขียนร่างสุดท้าย และส่งให้ครูตรวจ
- ครูประเมินโดยใช้แบบประเมินการเขียนเรียงความตามคุณลักษณะ 6 ประการ

บทเรียนย่อยที่ 5 เวลา 2 ชั่วโมง


สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. ใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และ
พูดนำเสนอในกลุ่มย่อย (ต 1.3 ม.4-6/1, ต 3.1 ม.4-6/1, ต 4.2 ม.4-6/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
1. ทำกิจกรรม “Do you know these facts about language?”
- ครูแบ่งนักเรียนเป็ นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แต่ละคนรับผิดชอบในการค้นคว้าหาคำตอบของคำถาม
ในกิจกรรม “Do you know these facts about language?” ในหนังสือเรียน หน้า 161 คนละ 1 ข้อ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอข้อมูลที่ตนค้นคว้ามาได้ในกลุ่มพร้อมทั้งระบุแหล่งเรียนรู้ของตน
2. ทำกิจกรรม Internet Activity
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Internet Activity ในหนังสือเรียน หน้า 162 โดยแบ่งนักเรียนเป็ นกลุ่ม
กลุ่มละ 4 คน แต่ละคนใช้คำสำคัญ “gender and language” ค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยว
146 Wit3

กับการใช้ gender-specific words ในภาษาอังกฤษ หา 3 ตัวอย่างแสดงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และ


เสนอแนะแนวทางแก้ไข
- นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มนำผลการค้นคว้าของตนมาอภิปรายในกลุ่ม และนำเสนอผลการอภิปราย
ในชั้นเรียน
- ครูให้แต่ละกลุ่มอภิปรายคำถามข้อ 2 ใน Internet Activity และผู้แทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปราย
ในชั้นเรียน
- ครูประเมินการอภิปรายของแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินการอภิปรายกลุ่ม และประเมินการพูดนำ
เสนอโดยใช้แบบประเมินการพูดนำเสนอ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพิ่มเติม
- ครูใช้ Assessment Questions วัดและประเมินผลการเรียนรู้ Unit 6, Chapter 12: English Around the
World
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน Weaving It together 3 หน้า 135-162
2. ซีดีบันทึกเสียง
3. Assessment Questions Unit 6, Chapter 11, 12
4. ใช้ Search Engine เช่น www.google.co.th, www.yahoo.com, www.altavista.com, www.ask.com
พิมพ์ข้อความที่ต้องการและเลือก Website ที่ต้องการ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
- www.ancientscripts.com/hl_why.html
- www2.fiu.edu/~ehastyd/englhist.html
- www.1timothy4-13.com/files/prophecy/english.html
- http://webdoc.gwdg.de/edoc/ia/eese/artic20/witte/6_2000.html
- www2.csc.ku.ac.th/~dentisak/Development%20of%20English.htm
5. ห้องสมุดโรงเรียน
บันทึกผลหลังการสอน
1. ผลการจัดการเรียนรู้
2. ปัญหา/อุปสรรค
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับปรุง

You might also like