You are on page 1of 20

บ่ายนี้มีคำตอบ

“2 ทับหลังคืนสู่มาตุภูมิเตรียมจัดในพิพิธภัณฑ์ฯ”
ความสำเร็จของการทวงคืนทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้นครั้งนี้
@ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

28 พฤษภาคม 2564 เฟซบุ๊ก “กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร” โพสต์ข้อความระบุว่า


“วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 18.30 น. ทับหลังปราสาทหนองหงส์และ
ปราสาทเขาโล้น เดินทางกลับถึงประเทศไทยอย่างปลอดภัย”

“นับเป็นเวลามากกว่า 50 ปี ที่ทับหลังทั้งสองของไทยได้จากถิ่นกำเนิดไปไกลถึง
สหรัฐอเมริกา ในวันนี้ทับหลังทั้งสองได้เดินทางกลับมาถึงไทยแล้ว ณ ท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิ โดยในวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.00 น. รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธี
บวงสรวงต้อนรับทับหลังทั้ง 2 รายการ ในวาระที่ได้กลับคืนมาสู่ประเทศไทย ณ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร โดยจะเตรียมการจัดพิธีรับมอบ
อย่างเป็นทางการต่อไป เร็วๆ นี้”
/////////////////
รีรัมย์ 8 ส.ค.-ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ เป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่คณะ
กรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย มีความ
มั่นใจว่าจากหลักฐานทั้งภาพถ่ายและเอกสารวิชาการที่พบว่าทับหลังชิ้นนี้เคยอยู่ใน
ประเทศไทย จะสามารถประสานกับทางการสหรัฐ เพื่อติดตามกลับสู่ประเทศได้
ภาพถ่ายปราสาทหนองหงส์ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ หลังฝั่งด้านทิศใต้ เมื่อครั้งยังมี
ทับหลังติดอยู่เหนือกรอบประตู จากหนังสือของกรมศิลปากรชื่อ โครงการและรายงาน
การสำรวจและขุดแต่งโบราณสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2502 ถ่าย
โดยนายมานิต วัลลิโภดม อดีตหัวหน้ากองโบราณคดี กรมศิลปากร เป็ นหลักฐานที่
แสดงให้เห็นว่า ทับหลังที่ปรากฏในภาพ ตรงกับที่นำไปจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
เอกชนสหรัฐ จากหลักฐานทางวิชาการและรูปแบบของทับหลังจำหลักเป็นพระยมทรง
กระบือเหนือเศียรเกียรติมุข ทำให้นักวิชาการเชื่อว่าน่าจะเป็ นทับหลังชิ้นเดียวกับที่
เคยอยู่ในไทย
ราสาทหนองหงส์ สร้างด้วยอิฐ ตั้งบนฐานก่อศิลาแลง ประกอบด้วยปรางค์ 3 หลัง
ตรงกลางเป็ นปราสาทองค์ประธาน คาดว่ามีอายุอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16
ปัจจุบันพบว่าทับหลังของปราสาททั้ง 3 หายไป ชาวบ้านโนนดินแดงเล่าว่า ช่วงปี
พ.ศ.2500 เคยเข้ามาบริเวณนี้ แต่ไม่เคยทราบว่ามีปราสาทและมีทับหลังอยู่
อีกหนึ่งหลักฐานคือ ข้อความที่พบในหนังสือของกรมศิลป์ ฯ ให้ข้อมูลทับหลังจาก
ปราสาททั้ง 3 หลัง มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า “กรอบประตูปรางค์เป็นหินทราย….
หลังกลางจำหลักเป็ นรูปพระอินทร์ขี่ช้างเอราวัณเหนือเศียรเกียรติมุข…และคำ
บรรยายที่พบ ด้านทิศใต้จำหลักพระยมทรงกระบือ ทั้งหมดเป็นศิลปะเขมรที่พบใน
ไทย เรียกว่า แบบเกลียง หรือแบบคลัง และจากหลักฐานทั้งหมดบ่งชี้ว่า ทับหลังที่พบ
เคยอยู่ในไทย และถูกลักลอบขนออกไปอย่างผิดกฎหมาย
เมื่อได้รับคืนโบราณวัตถุจากต่างประเทศ นอกจากจะนำกลับไปตั้งไว้ยังสถานที่แหล่ง
กำเนิดแล้ว ส่วนหนึ่งถูกนำมาจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็น
แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะเขมรโบราณ
อายุราว 1,000 ปี ชิ้นนี้ เป็ นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่น
ดิน แสดงให้เห็นถึงการลักลอบค้าโบราณวัตถุที่มีมาตั้งแต่ในอดีต
////////////////
บอร์ดติดตามโบราณวัตถุฯ เห็นชอบแนวทางรับมอบคืน"ทับหลังปราสาทหนองหงส์-
ทับหลังปราสาทเขาโล้น" เชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในเดือนพ.ค.นี้ นำมาจัด
แสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างพ.ค.-ก.ค.นี้เผยอเมริกาส่งคืน
โบราณวัตถุเพิ่มเติมอีก 13 รายการ
บอร์ดติดตามโบราณวัตถุฯ เห็นชอบแนวทางรับมอบคืน“ทับหลังปราสาทหนองหงส์-
ทับหลังปราสาทเขาโล้น” เชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในเดือนพ.ค.นี้ นำมาจัด
แสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างพ.ค.-ก.ค.นี้เผยอเมริกาส่งคืน
โบราณวัตถุเพิ่มเติมอีก 13 รายการ มาถึงไทยพร้อมกับทับหลังทั้ง 2 รายการ รวม
ทั้งหมด 15 รายการ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) และประธาน


กรรมการติดตามโบราณวัตถุของประเทศไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย
กล่าวหลังประชุม ซึ่งเป็ นการประชุมผ่านระบบทางไกลว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
แนวทางดำเนินการขนส่ง ค่าใช้จ่ายขนส่งและการรับมอบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ 2
รายการกลับคืนสู่ประเทศไทย คือ ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลัง
ปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้ว ที่จัดแสดงอยู่ที่เอเชี่ยน อาร์ท มิวเซียม นคร
ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ขณะนี้ทับหลังทั้ง 2 รายการ อยู่ในกระบวนการส่ง
คืนให้แก่ประเทศไทย รัฐบาลกลางสหรัฐโดยกระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา จะส่ง
มอบทับหลังทั้ง 2 รายการให้แก่รัฐบาลไทยโดยผ่านสถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นคร
ลอสแอนเจลิสและใช้วิธีขนส่งทางอากาศมายังไทย

และจะมีพิธีรับมอบอย่างเป็ นทางการในเดือนพฤษภาคมนี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่ง


ชาติ พระนคร และจะนำทับหลังทั้ง 2 รายการมาจัดแสดงเดือนพฤษภาคมถึง
กรกฎาคมนี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและ
ประชาชนได้มีโอกาสชมและศึกษาหาความรู้ หลังจากนั้นจะพิจารณาเรื่องสถานที่จัด
เก็บรักษาอีกครั้ง

ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง


คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อปี
2560 ซึ่งคณกรรมการฯจะประกอบด้วยบุคลากรทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์
ทราบโบราณวัตถุของไทย มีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งอิสระและภาครัฐ นักกฎหมาย
กระทรวงการต่างประเทศ

และมีการดำเนินงานแบบบูรณาการระดับชาตินับตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งรัฐบาลและ


วธ.ขอขอบคุณคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุฯ รวมถึงทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศที่ร่วมกันดำเนินการในเรื่องนี้จนประสบผลสำเร็จและเกิด
จากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรายงาน
จากกรมศิลปากรว่า หน่วยงาน Antiquities Trafficking Unit (ATU)
สำนักงานอัยการนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้สอบสวนโบราณวัตถุที่ลักลอบเข้าประเทศ
และยึดไว้กว่า 1,000 รายการ และมีความประสงค์จะส่งคืนโบราณวัตถุที่พิสูจน์
แล้วว่ามีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยและถูกลักลอบนำออกจากไทย 13 รายการ
ประกอบด้วยพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์และประติมากรรมอื่นๆ ซึ่งกรมศิลปากรมอบ
อำนาจให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก เป็ นผู้แทนรับมอบในวันที่ 22 เมษายนนี้
และจะส่งโบราณวัตถุทั้ง 13 รายการ คืนสู่ประเทศไทยพร้อมกับทับหลังทั้ง 2
รายการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพื่อนำโบราณวัตถุทั้ง 15 รายการกลับคืนสู่ไทย
รวมทั้งหมดประมาณ 9 แสนบาท อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรม
ศิลปากร ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้และพร้อมที่จะดำเนินการแล้ว แต่หากมีภาค
เอกชนหรือภาคส่วนอื่นๆ ต้องการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ ก็มีความ
ยินดีที่จะเปิ ดโอกาสให้ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ที่สนใจ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การปกป้ องและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย โดยสามารถติดต่อราย
ละเอียดได้ที่กรมศิลปากร

นายอิทธิพล กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมรับทราบข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีที่ให้วธ.และ


กรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จที่ไทยได้รับคืนทับหลังทั้ง 2
รายการ รวมทั้งให้วธ.จัดทำวีดิทัศน์ผลการดำเนินงานติดตามทับหลังและโบราณวัตถุ
อื่นๆในช่วงปี 2557-2563 เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและสร้างความ
ตระหนักรู้เพื่อให้คนไทยเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของ
ไทย ขณะนี้กรมศิลปากรอยู่ระหว่างจัดทำวีดิทัศน์ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้กระทรวง
การต่างประเทศประสานงานกับสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
สหรัฐอเมริกา ศึกษาแนวทางการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีความร่วมมืออนุรักษ์และ
คุ้มครองโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเพื่อให้เป็ นไปอย่างมี
ระบบและเป็ นขั้นตอนแบบรัฐต่อรัฐ นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ติดตามโบราณ
วัตถุเพิ่มเติม 1 รายการ ซึ่งมีหลักฐานทั้งถ่ายภาพและเอกสารยืนยันว่ามีแหล่งกำเนิด
ในไทย คือพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีจากเมืองโบราณซับจำปา จ.ลพบุรี
ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเอเชียโซไซตี้ สหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ประชุมได้ให้กระทรวงการต่าง
ประเทศประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในสหรัฐอเมริกาเพื่อยื่นเอกสารที่
คณะอนุกรรมการด้านวิชาการฯ จัดทำขึ้นเพื่อขอคืนโบราณวัตถุกลับสู่ไทย
///////////////////
ชาวอำเภอโนนดินแดง เข้าตรวจสอบปราสาทหนองหงส์ ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลโนน
ดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับนายสมชัย กอชัยศิริกุล นายกเทศมนตรีตำบลโนน
ดินแดง และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังทราบข่าวจากสื่อและสังคม
ออนไลน์ว่า ทับหลังของปราสาทหนองหงส์ที่สูญหายไปนานแล้ว พบว่าไปโผล่อยู่ใน
พิพิธภัณฑ์ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายสมชัย เปิ ดเผยว่าจากการสำรวจปราสาทหนองหงส์ พบว่าบางส่วนมีการบูรณะ
ขึ้นใหม่ เนื่องจากชำรุดเสียหายจากการลักลอบขุดค้นหาวัตถุโบราณในอดีตที่ผ่านมา
แต่ก็ไม่ปรากฏทับหลังของปราสาทซึ่งเมื่อได้ตรวจสอบภาพทับหลังที่พบในพิพิธภัณฑ์
ที่สหรัฐอเมริกา ที่ปรากฏในสังคมออนไลน์ ก็มั่นใจว่าน่าจะเป็ นทับหลังที่สูญหายไป
จึงอยากเรียกร้องให้ทางรัฐบาลหาแนวทางทวงคืนกลับคืนมา

สำหรับปราสาทหนองหงส์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่


ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งทวงคืนกลับมา เพราะเป็นสมบัติของประเทศ และเป็ นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในปราสาทแห่งนี้ ตามความเชื่อของคนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน

///////////////////
๑. กรณีทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จ. บุรีรัมย์ และทับหลังจากปราสาทเขาโล้น
จ.สระแก้ว ที่จัดแสดงอยู่ที่ The Asian Art Museum เมืองซานฟรานซิสโก
โดยได้มีการประสานงานกับสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
(Homeland Security Investigations: HSI) ของสหรัฐอเมริกาผ่าน
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม
๒๕๕๙ โดยกรมศิลปากรจะส่งหนังสือร้องขอ เพื่อทวงคืนทับหลังทั้ง ๒ รายการ พร้อม
หลักฐานให้กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อส่งให้สำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่ง
มาตุภูมิของสหรัฐอเมริกาดำเนินการต่อไป
///////////////

เปิดเส้นทางทวงคืน 2 ทับหลัง ‘ปราสาทเขาโล้น-หนองหงส์’ จาก ‘มะกัน’ กลับสู่


ไทย…
ถือเป็นข่าวดีรับต้นปี วัวทอง 2564
กรณีสหรัฐอเมริกาเตรียมส่งคืนทับหลัง 2 ชิ้น คือ ทับหลังปราสาทหนองหงส์ อำเภอ
โนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

และทับหลังปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ให้กับประเทศไทย

หลังจากถูกตรวจสอบพบว่าเป็ นทับหลังที่ถูกขโมยไปและถูกเก็บไว้ภายในพิพิธภัณฑ์
ศิลปะเอเชีย ในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

ย้อนรอยการติดตามทวงคืนทับหลังทั้งสองชิ้น เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2560 กระทรวง


วัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมศิลปากร ได้ประสานงานอย่างเป็นทางการผ่านกรม
สารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ส่งหนังสือติดตามทวงคืนโบราณวัตถุถึง
สำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา

และส่งข้อมูลการศึกษาทางวิชาการพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการสำรวจ


ของกรมศิลปากร ตัวอย่างเอกสารอนุญาตในการส่งออกโบราณวัตถุ เป็ นต้น เพื่อใช้
ในการสืบสวนสอบสวน

ยืนยันว่าโบราณวัตถุนั้นมีถิ่นกำเนิดในไทย และได้ถูกลักลอบนำออกไปโดยวิธีการที่
ผิดกฎหมาย…

กระทั่งได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐ และทางพิพิธภัณฑ์ฯ ยอมรับว่าทับหลัง


ทั้ง 2 รายการ เป็ นกรรมสิทธิ์ของฝ่ ายไทย
ปัจจุบันได้นำทับหลังทั้ง 2 ชิ้นออกจากห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มาจัดเก็บในห้อง
คลัง เพื่อรอขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในกระบวนการส่งคืนสู่ประเทศไทย
ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุที่อยู่ระหว่างติดตามคืนสู่ประเทศไทยอีกกว่า 130


รายการ ซึ่งมีทั้งที่เป็ นพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ และทับหลังต่างๆ

อย่างไรก็ตาม คำแถลงการณ์ของสำนักงานอัยการเขตแคลิฟอร์เนียเหนือระบุว่า นัก


โบราณคดีของไทยเชื่อว่าทับหลังทั้งสองชิ้นถูกขโมยออกมา และถูกพ่อค้าชาวยุโรปซื้อ
ไปในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จากนั้น เอเวอรี บรันเดจ อดีตประธานคณะ
กรรมการโอลิมปิ กและนักสะสมงานศิลปะได้มอบทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ให้
พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียซานฟรานซิสโกเมื่อปี 1966 ส่วนทับหลังจากปราสาทเขา
โล้น ทางพิพิธภัณฑ์ซื้อเข้ามาเมื่อปี 1968

นับเป็นเวลานานกว่า 55 ปี ที่ทับหลังทั้ง 2 ชิ้นถูกนำออกไปจากประเทศไทย…

เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐทราบครั้งแรกเมื่อปี 2017 ว่าทับหลังทั้งสองชิ้นถูก


ลักลอบส่งออกมาจากประเทศไทยและได้ติดต่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียในเมือง
ซานฟรานซิสโกให้ส่งคืนไทย
และในปี เดียวกันทางพิพิธภัณฑ์ตัดสินใจนำทับหลังทั้งสองชิ้นออกจากการจัดแสดง
ต่อมาเดือนตุลาคม ปี 2563 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้ องพิพิธภัณฑ์เพื่อริบคืน
ทับหลังทั้งสองชิ้นจนนำมาสู่การทำข้อตกลงดังกล่าว

เรื่องนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ระบุว่า


รัฐบาลกลางสหรัฐจะนำส่งทับหลังทั้งสองรายการคืนไทยผ่านกรอบการดำเนินงาน
ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐให้แก่รัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ

คาดว่าจะล่าช้าไปจากเดิมที่กำหนดไว้เดือนมีนาคม ไปเป็ นเดือนเมษายน หรือ


พฤษภาคม เนื่องจากติดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโค
วิด-19

จากนี้ วธ.จะทำหนังสือรายงานผลการดำเนินงานเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา


นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่าง
ประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ผ่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่าการ
ดำเนินการในกระบวนการทางกฎหมายในสหรัฐสิ้นสุดลงแล้ว

เหลือในส่วนกระบวนการส่งคืน
การได้รับทับหลังทั้ง 2 รายการคืนครั้งนี้ นับเป็ นหนึ่งความสำเร็จครั้งสำคัญภายใต้
การดำเนินงานแบบบูรณาการระดับชาติ

ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน และความตระหนัก
ถึงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่ได้ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศโดยผิดกฎหมาย เป็น
แนวปฏิบัติที่สหรัฐได้ดำเนินการในฐานะมิตรประเทศ โดยในการจัดพิธีส่งมอบอย่าง
เป็นทางการจะทำหนังสือเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีรับมอบ หลังจากนั้น
ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรนำโบราณวัตถุทั้ง 2 รายการมาจัดแสดงภายใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าชมต่อไป

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการจะเร่งดำเนินการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุอีกกว่า 50
รายการที่อยู่ในบัญชี ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่คณะอนุกรรมการวิชาการได้ดำเนินการพิสูจน์
เพื่อจัดส่งหลักฐานเกี่ยวกับที่มาที่มีความชัดเจน ว่ามีการลักลอบนำออกนอก
ประเทศไทยไปจริง และพิสูจน์ได้ว่าเป็ นของไทย เช่นเดียวกับโบราณวัตถุทั้ง 2
รายการที่มีหลักฐานและภาพถ่ายว่าเคยอยู่ในประเทศไทยทั้งที่ปราสาทเขาโล้น
จ.สระแก้ว และปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์

“นับเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่เป็ นรูปธรรมทั้งกระบวนการที่เริ่มจากนโยบายของ
รัฐบาล และเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยและสหรัฐ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้น วธ.เองได้
เคยมีการหารือกับเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยในการพบปะกันด้านวัฒนธรรม
โดยมีการหารือกันในการช่วยกันดูงานทางศิลปวัฒนธรรมที่อาจจะถูกลักลอบนำมา
ทั้งกรณีลักลอบออกนอกประเทศและลักลอบนำเข้ามาในไทยก็ขอให้ประสานความ
ร่วมมือกัน เช่น เอกอัครราชทูตเปรู ปากีสถาน อิหร่าน ประจำประเทศไทย”

นายอิทธิพลกล่าว

สําหรับทับหลังปราสาทเขาโล้น เป็ นทับหลังจำหลักลายเทวดาประดับเหนือเกียรติมุข


ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย) ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่
ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โบราณวัตถุชิ้นดังกล่าวเคยปรากฏภาพถ่ายอยู่ใน
หนังสือศิลปะสมัยลพบุรี โดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ตีพิมพ์เมื่อปี 2510 และมีการนำเสนอข่าวว่ามีการจัดแสดงที่เอเชีย อาร์ต
มิวเซียม ในนครซานฟรานซิสโก (Asian Art Museum)

ส่วนทับหลังปราสาทหนองหงส์ เป็ นทับหลังจำหลักรูปพระยมทรงกระบือเหนือเศียร


เกียรติมุข ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย) ราวพุทธศตวรรษที่ 16
คาดว่าเคยเป็ นทับหลังที่อยู่เหนือกรอบประตูปราสาทหลังใต้ของปราสาทหนองหงส์
จ.บุรีรัมย์ โบราณวัตถุชิ้นนี้เคยปรากฏภาพถ่ายในรายงานโครงการสำรวจและขุดแต่ง
โบราณวัตถุสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรมศิลปากรเมื่อปี 2502
ปัจจุบันทับหลังชิ้นนี้จัดแสดงที่เอเชีย อาร์ต มิวเซียม เช่นกัน
โดยจากข้อมูลการส่งคืนโบราณวัตถุต่างประเทศกลับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2508-
2560 ในระยะเวลา 52 ปี ได้รับโบราณวัตถุคืนจากต่างประเทศ 19 ครั้ง จำนวน
1,024 รายการ

ส่วนสถิติการได้รับโบราณวัตถุคืนจากสหรัฐ ตั้งแต่ 2510-2558 ได้รับคืน 14


ครั้ง 851 รายการ

และในช่วงปี 2548 จนกระทั่งถึงปี 2557 ในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์


โอชา นายกรัฐมนตรี รับคืน 554 รายการ โดยครั้งแรกเป็ นโบราณวัตถุยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ ยุคบ้านเชียง และปี 2558 ได้รับคืนมาอีก 2 ครั้ง 76 รายการ รวม
แล้วกว่า 600 รายการ

และล่าสุดปี 2564 กำลังจะได้ทับหลังคืนอีก 2 ชิ้น คือทับหลังเขาโล้น และทับหลัง


หนองหงส์

นับเป็นเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงภาวะวิกฤตของประเทศ คงต้องชื่นชมแม่งานอย่าง


กรมศิลปากร ที่ประสาน และไม่ปล่อย จนสามารถนำสมบัติของชาติกลับคืนสู่
ประเทศไทยได้…
//////////////////////
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผย ปฏิบัติการทวงคืน "ทับหลังปราสาท" ใน
จ.สระแก้ว และบุรีรัมย์ จากพิพิธภัณฑ์ Asian Art Museum ในสหรัฐ กลับ
ประเทศได้สำเร็จ
นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึง
กรณีการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุ 2 รายการ ได้แก่ ทับหลังปราสาทเขาโล้น
จ.สระแก้ว และทับหลังปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ที่ถูกลักลอบนำออกจาก
ประเทศไทยและถูกจัดแสดงอยู่ที่ Asian Art Museum นครซานฟรานซิสโก
รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐว่า รัฐบาลได้ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของ
ไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็น
ประธาน ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็ น
รองประธาน และอธิบดีกรมสารนิเทศเป็ นกรรมการ

กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อขอรับข้อมูลการศึกษาทางวิชาการพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงาน
การสำรวจของกรมศิลปากร ภาพถ่ายของทับหลังฯ ตัวอย่างเอกสารอนุญาตใน การ
ส่งออกโบราณวัตถุ เป็ นต้น เพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า
โบราณวัตถุทั้ง 2 รายการนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และได้ถูกลักลอบนำออกไป
โดยผิดกฎหมาย

ขณะนี้ คดีความเสร็จสิ้นแล้ว โดยพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ดำเนินการถอดถอนรายการทับหลัง


ทั้งสองออกจากบัญชีของพิพิธภัณฑ์ฯ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม และวันที่ 2 เมษายน
2564 รัฐบาลกลางสหรัฐจะยึดทับหลังทั้งสองรายการ จากนั้น รัฐบาลกลางสหรัฐ
จะนำส่งทับหลังทั้งสองรายการคืนให้แก่ผู้แทนรัฐบาลไทยผ่านกรอบการดำเนินงาน
Victim Remission Program ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐต่อไป โดยจะมี
พิธีส่งมอบโบราณวัตถุทั้ง 2 รายการให้แก่ฝ่ ายไทย อย่างเป็ นทางการต่อไปในโอกาส
แรก
ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อม รับ
มอบโบราณวัตถุจากฝ่ ายสหรัฐ รวมทั้งได้ประสานกับบริษัทขนส่งที่มี ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์สูงในการขนส่งโบราณวัตถุกลับคืนสู่ประเทศไทย
///////////////////

สืบเนื่องทับหลัง 2 ชิ้น จากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์


และ ทับหลังปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้วถูกขนย้ายถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 28
พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีนักวิชาการรวมถึงประชาชนในท้องถิ่นซึ่งเป็ นที่ตั้งปราสาท
แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดเก็บและดูแลรักษาซึ่งส่วนใหญ่มีทิศทาง
เดียวกันคือคืนสู่ท้องถิ่น โดยบางส่วนต้องการให้ติดตั้งคืนที่ปราสาท ในขณะที่บาง
ส่วนมองว่าอาจทำจำลองเพื่อติดตั้ง และจัดเก็บของจริงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใน
ท้องถิ่นนั้น

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้


กรมศิลปากรได้เตรียมความพร้อมประสานกับทางคาร์โกและกรมศุลกากร เพื่อทำการ
ขนส่งทับหลังหนองหงส์และทับหลังเขาโล้นทั้งสองชิ้นมายังพช.พระนคร เพื่อทำพิธี
บวงสรวงในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่เดินทางไปรับโบราณวัตถุทั้ง 2
ชิ้น ในเวลา 13.00 น. เดินทางมาถึงพช.พระนคร เวลา 14.00 น. และทำพิธี
บวงสรวงเพื่อเป็ นการต้อนรับในเวลา 17.00 น. จากนั้น จะเก็บรักษารอกำหนดการ
จัดแสดงที่พช.พระนคร เป็ นเวลา 3 เดือน โดยจะเชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี เป็ นประประธาน
นายประทีป กล่าวต่อว่า ส่วนเก็บรักษาทับหลังทั้ง 2 ชิ้นนั้น ส่วนตัวเห็นสอดคล้องกับ
นักวิชาการหลายๆ คน ซึ่งทางเทคนิคทางวิชาการ ถ้าอยู่ในพช.จะเหมาะสมกับการ
เก็บรักษาทั้งในเรื่องการดูแลรักษาและการบริหารจัดการ ส่วนท้องถิ่นอาจทำแบบ
จำลองไปติดตั้งเพื่อจัดแสดงในพื้นที่ ทั้งนี้โดยของทับหลังหนองหงส์ มีพช.ที่ใกล้ท้อง
ถิ่นคือ พช.สุรินทร์ และพช.พิมาย ขณะที่ทับหลังเขาโล้น มีพช.ปราจีนบุรี ที่อยู่ใกล้กับ
โบราณสถานแหล่งกำเนิด ซึ่งก็ต้องหารือว่าจะนำไปเก็บรักษาไว้ในพช. ใด แต่ต้อง
หลังจากการจัดแสดงนิทรรศการที่พช.พระนคร ก่อนเป็นเวลา 3 เดือน ยืนยันว่า ทับ
หลังของจริงจะต้องถูกเก็บรักษาในสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด

“ทางกรมศิลป์ เองไม่ได้ขัดข้องกับข้อคิดเห็นของนักวิชาการ หรือท้องถิ่น พร้อมรับฟัง


ทุกความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพราะโบราณวัตถุทั้ง 2 ชิ้น นอกจากจะเป็ นสมบัติ
ของท้องถิ่นแล้ว ก็ยังเป็ นสมบัติชาติด้วยเช่นกัน ดังนั้นเชื่อว่าทุกฝ่ ายจะร่วมกันเก็บ
รักษาอย่างดีที่สุด”นายประทีปกล่าว

/////
ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี และหัวหน้ากลุ่ม
สำนึก 300 องค์ ซึ่งเป็ นหนึ่งในคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่าง
ประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เล่าเบื้องหลังการทวงคืนทับหลังทั้ง 2 ชิ้นว่า ทับหลัง
2 ชิ้น เป็ นส่วนหนึ่งของการทวงคืนกรุพระจากปราสาทปลายบัด 2 ที่อยู่ใน
อ.ประโคนชัย ระหว่างที่กำลังขุดค้นข้อมูลเรื่องนี้ น้องเจ้าของเพจ “ท่องเที่ยวไปกับ
นายเอก” ได้ไปเจอทับหลังที่พิพิธภัณฑ์ “ชอง มูน ลี”

เขาก็ถามเราว่าทับหลังชิ้นนี้เป็ นของ “ปราสาทหนองหงส์” จริงไหม.. เมื่อได้เห็นก็


บอกได้ทันทีว่า “ใช่...เพราะเคยเข้าไปบูรณะอยู่ ทำให้มีข้อมูลชุดทับหลังอยู่”
“เมื่อเจอทับหลังชิ้นแรกเป็ นของปราสาทหนองหงส์ เราจึงเข้าไปดูที่พิพิธภัณฑ์ดัง
กล่าว และก็พบทับหลังอีกชิ้น ซึ่งเป็ นของปราสาทเขาโล้น” ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี
กล่าว

อาจารย์ทนงศักดิ์ บอกกับผู้เขียนว่า สิ่งที่เป็นหลักฐานสำคัญของทับหลังทั้ง 2 ชิ้น คือ


หลักฐานภาพถ่าย โดยของปราสาทหนองหงส์ เป็นภาพถ่ายโดยกรมศิลปากร ส่วน
“ปราสาทเขาโล้น” ปรากฏในหนังสือ “ศิลปลพบุรี” เป็นของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล
////////////////////
ในที่สุดภารกิจทวงคืนทับหลัง 2 ชิ้น จากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ทับหลังปราสาทหนอง
หงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว เป็ นอันเสร็จสิ้นหลัง
การรอคอยนานถึง 5 ปี เต็ม โดยมีการจัดพิธีมอบคืนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26
พฤษภาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น

สำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (เอชเอสไอ) เอกอัครราชทูต


ไทย และเหล่ากงสุลใหญ่ร่วมเป็ นสักขีพยาน พิธีบวงสรวงถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย
ทว่า มีสีสัน ครบจบตามประเพณีไทยๆ ที่หลอมรวมไว้ทั้งพุทธและพราหมณ์ โปรย
ดอกไม้ รำกฤษดาภินิหารจัดเต็ม ก่อนบรรจุหีบห่อขนย้ายไปยังท่าอากาศยานนคร
ลอสแองเจลิส จนจบสิ้นกระบวนทางเอกสารและศุลกากร มีกำหนดการถึงสนามบิน
สุวรรณภูมิในเวลาราว 22.00 น. ของวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ โดยสายการบินโค
เรียนแอร์ คาดว่าจะมีการจัดส่งมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (พช.) พระนคร
กรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคมนี้

ส่วนแผนงานหลังจากนั้น ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เผยว่า จะมีพิธีรับ


มอบและเปิ ดนิทรรศการโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สำหรับ
สถานที่จัดแสดงทับหลังคือ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ท้องพระโรงเดิมของพระราชวังบวร
สถานมงคล หรือวังหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ พช.พระนคร โดยจะให้ประชาชนยล
โฉมเป็นเวลา 3 เดือน

แน่นอนว่า กว่าจะถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย หากจะย้อนหลังไปถึงที่มาของการทวงคืน 2


ทับหลัง ก็ต้องเล่าถึงความพยายามทวงคืน ทวงคืนพระโพธิสัตว์ประโคนชัย ซึ่งเกิดขึ้น
ตั้งแต่ปี 2559 ของกลุ่ม สำนึก 300 องค์ นำโดย ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการ
อิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี ผศ.ดำรง ลีนานุรักษ์ อดีตรองอธิการบดี ม.แม่โจ้,
โชติวัฒน์ รุญเจริญ บัณฑิตคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ยอดชาย อ้าย
เจริญ ประชาชนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งทำการค้นข้อมูลเกี่ยวกับประติมากรรม
โพธิสัตว์ประโคนชัย จากปราสาทปลายบัด อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ แต่ปัจจุบันไปอยู่
ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ โดยเรียกร้องให้ภาครัฐทวงคืนกลับแผ่นดินไทย

ปฏิบัติการนี้เอง นำไปสู่การค้นพบโบราณวัตถุไทยชิ้นอื่นๆ รวมถึงทับหลังทั้ง 2 ชิ้นนี้


ซึ่งถูกเก็บไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในสหรัฐอเมริกา ปรากฏเป็ นข่าวครั้งแรกใน มติ
ชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 คือกรณีทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ ซึ่ง
ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ พบภาพถ่ายในเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ Asian Art
Museum Chong-Moon Lee Center for Asian Art and
Culture ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและ
ลวดลาย รวมถึงรายละเอียดต่างๆ พบว่าตรงกับทับหลังที่สูญหายไปจากปราสาท
หนองหงส์ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีหลักฐานคือภาพถ่ายเก่าขาวดำจาก
การสำรวจโดย มานิต วัลลิโภดม ระหว่าง พ.ศ.2503-2504 คาดว่าน่าจะถูกนำ
ออกนอกประเทศในช่วงเดียวกับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากปราสาทพนมรุ้ง
คือราว พ.ศ.2508 เป็ นต้นไป
จึงเกิดการเรียกร้องให้ทวงคืนพร้อมๆ กับกระแสทวงคืนโพธิสัตว์ประโคนชัย ป้ าย
ขนาดยักษ์เชิญร่วมพิธีบวงสรวงปราสาทหนองหงส์ 23 สิงหาคม 2559 พร้อม
ข้อความ ขอทวงคืนสมบัติชาติ ตระหง่านริมถนนในอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

ราว 1 ปี ต่อมา นักวิชาการท่านเดิมยังพบเพิ่มเติมว่าทับหลังปราสาทเขาโล้นที่


สูญหาย ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐเช่นกัน หนังสือพิมพ์ มติชน รายวัน และมติชน
ออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2560 เผยแพร่ข่าวพร้อมหลักฐาน มัดแน่น มาตีแผ่อย่าง
ดิ้นไม่หลุด นั่นคือภาพถ่ายเก่าจากหนังสือ ศิลปะสมัยลพบุรี โดย ศาสตราจารย์หม่อม
เจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2510 ยืนยันว่าเคยประดับอยู่บนกรอบประตู
ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว (ในอดีต ยังเป็นจังหวัดปราจีนบุรี)
ราชอาณาจักรไทยอย่างไม่ต้องสงสัย

ข้อความของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งทรงอธิบายถึงทับหลังจาก


ปราสาทเขาโล้น มีความว่า ปราสาทเขาโล้นเป็ นปราสาทหลังเดียว ก่อด้วยอิฐ ทับ
หลังสลักเป็นรูปเกียรติมุขอยู่ตรงกลาง มีริมฝี ปากล่างและแลบลิ้นออกมาเป็ นแผ่น
สามเหลี่ยม มีเทวดาประทับนั่งชันเข่าอยู่ข้างบน อย่างไรก็ดี ท่อนพวงมาลัยนั้นมิได้
ออกมาจากปาก แต่อยู่ใต้ลิ้น และท่อนปลายของพวงมาลัยก็ขมวดเป็ นวงโค้งสลับกัน
เพียงข้างละ 2 วงเท่านั้น เหตุนั้นจึงอาจอยู่ในระหว่าง พ.ศ.1700-1750 แทนที่
จะอยู่ระหว่าง พ.ศ.1600-1650

อย่างไรก็ดี เสาอิงกรอบประตูและกรอบประตูหินทรายก็ดูอาจจะเก่าแก่กว่าระยะนี้
อายุของปราสาทอิฐแห่งนี้ยังไม่สู้แน่นอนนัก มีจารึกสลักอยู่บนกรอบประตูด้านใต้และ
ด้านเหนือบ่งถึง พ.ศ.1559 แต่เสาอิงประตูและกรอบประตูหินทรายเหล่านี้อาจจะ
นำมาจากปราสาทหลังอื่นที่เก่าแก่กว่านี้ก็ได้
ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และสระแก้ว ออกมา
เคลื่อนไหวสนับสนุนการทวงคืน นักวิชาการจำนวนมากเข้าเป็ นแนวร่วม ร่วมกันนำ
เสนอแนวทางการทวงคืน และทวงถาม ความคืบหน้าจากภาครัฐ กระทั่งเดือน
พฤษภาคม 2560 วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในขณะ
นั้น เห็นชอบให้ติดตามทวงคืนโบราณวัตถุอย่างเป็ นระบบ โดยให้ทำงานร่วมกับ
กระทรวงการต่างประเทศ กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงผู้ทรง
คุณวุฒิ เร่งประสานไปยังสถานทูตไทยในประเทศต่างๆ ช่วยตรวจสอบโบราณวัตถุ
ไทยในต่างแดน

โดยในขณะนั้นมี อนันต์ ชูโชติ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร มิถุนายน 2560


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามแต่งตั้ง คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทย
ในต่างประเทศ เพื่อทวงคืนโบราณวัตถุของไทย 133 ชิ้น โดยกำหนดมาตรการตรวจ
สอบ ประสานความร่วมมือ ทั้งวิธีการการทูตและกฎหมาย วันเวลาผ่านไปอีกกว่า 3
ปี

กระทั่งเดือนสิงหาคม 2563 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า


หลังจากกรมศิลปากรได้ประสานงานอย่างเป็ นทางการผ่านกรมสารนิเทศ กระทรวง
การต่างประเทศ ส่งหนังสือติดตามทวงคืนโบราณวัตถุถึงสำนักงานสืบสวนเพื่อความ
มั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา และส่งข้อมูลการศึกษาทางวิชาการพร้อมหลักฐานที่
เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการสำรวจของกรมศิลปากร ตัวอย่างเอกสารอนุญาตในการส่ง
ออกโบราณวัตถุ เป็ นต้น เพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวน ยืนยันว่าโบราณวัตถุนั้นมีถิ่น
กำเนิดในไทย และได้ถูกลักลอบนำออกไปโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย ได้รับแจ้งข้อมูล
ว่า ทับหลังจากปราสาทเขาโล้น และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ ได้เข้าสู่
กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐ และทางพิพิธภัณฑ์ฯยอมรับว่าทับหลังทั้ง 2 รายการ
เป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ ายไทย

โดยมีการนำทับหลังทั้ง 2 ชิ้น ออกจากห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไปจัดเก็บในห้อง


คลัง เพื่อรอขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในกระบวนการส่งคืนสู่ประเทศไทย
เมษายน 2564 กรมศิลปากรมอบอำนาจให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส
ลงนามในเอกสารข้อตกลงเพื่อรับคืนโบราณวัตถุดังกล่าวจากสหรัฐอเมริกา จนนำมา
สู่การส่งมอบและจัดส่งกลับคืนแผ่นดินไทยในที่สุด

You might also like