You are on page 1of 52

คำนำ

สารบัญ
ประวัติ วันวิทยาศาสตร์.......................................................................................

กิจกรรม[แก้].........................................................................................................

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[แก้].......................................................................

พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย...............................................................................

นักวิทยาศาสตร์ของโลก 10 ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก........................................
บทนำ

ประวัติ วันวิทยาศาสตร์
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็ นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน
ชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณ
พยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี
มะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวง
เมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงแขวง
เมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้าง
ค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศ
ฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้ าฯ และ
ร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำ
มาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่ น มาลา
กุล ได้แปลเป็ นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้ าจำลอง
กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้
พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย
เฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม
2

เป็ นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะ


รัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็ น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18
สิงหาคม เป็ น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511
หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรม
อุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรม
ไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100
ปี ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ประวัติ วันวิทยาศาสตร์
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็ นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน
ชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณ
3

พยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี


มะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวง
เมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงแขวง
เมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้าง
ค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศ
ฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้ าฯ และ
ร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำ
มาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่ น มาลา
กุล ได้แปลเป็ นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้ าจำลอง
กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้
พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย
เฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม
เป็ นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะ
รัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็ น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18
สิงหาคม เป็ น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511
หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรม
อุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรม
4

ไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100


ปี ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรม
ราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำรา
โหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปั กข์
(ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ
(วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปั กข
คณนา" (ปั กขคณนา คือ วิธีนับปั กข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม
เป็ นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทิน
จันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้น
คิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปั กข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า
เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "ก
ระดานปั กขคณนา" ซึ่งปั จจุบัน ยังคงมีให้เห็นในวัดสายธรรมยุต. เช่น วัด
ราชาธิวาส พระปรีชาสามารถด้านดาราศาสาตร์นั้นน่าจะเริ่มตั้งแต่ทรง
ทอดพระเนตรดาวหางเมื่อทรงพระเยาว์. ซึ่งพระองค์ยังได้ทรงออก
ประกาศแจ้ง ชื่อ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก เพื่อให้ความรู้ความ
เข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไม่ให้เชื่อตามคำเล่าลือที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น.ซึ่งนับเป็ นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ
ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
จะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขา
วัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความ
สำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราช
5

ประสงค์จะให้เป็ นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลา


มาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็ นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผล
ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลา
มาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดล
ทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็ นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐาน
ของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลา
ตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลาง
คืนจากดวงจันทร์
ต่อมาในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือ
พระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วย
พระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ าจุฬาลง
กรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่
ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผล
การคำนวณของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรง
คำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน
10 ปี มะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจน
ที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ เมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร จึงโป
รดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและ
พลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศ
ฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้ าฯ และ
6

ร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411


เหตุการณ์ก็เป็ นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาด
เคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มี
แนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็ นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมา
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็ น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์
ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็ น "วันวิทยาศาสตร์แห่ง
ชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า
ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัด
สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร
เรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ
นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็ นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18–
24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับ
ความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะ
รัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะ
รัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการ
จัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็ นประจำทุกปี ระหว่างวันที่
7

18–24 สิงหาคม วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น


สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร
กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่อง
ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรม[แก้]
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระ
เกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็ น “พระบิดาแห่ง
วิทยาศาสตร์ไทย”
 จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ต่าง

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[แก้]
 2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
 2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
 2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
 2535 เปลี่ยนขาดทุนให้เป็ นกำไร โดยใช้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
8

 2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่ง


แวดล้อม
 2537 ขจัดปั ญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง
 2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้
ก้าวหน้า
 2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วย
ภูมิปั ญญาไทย
 2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
 2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
 2545 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
 2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คุณค่าแห่งภูมิปั ญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 2547 เศรษฐกิจของชาติมีปั ญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
 2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
 2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
 2550 วิทยาศาสตร์สร้างปั ญญาในสังคม
 2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
9

 2554 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์


 2555 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
 2556 ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
 2557 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
 2558 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2559 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2560 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2561 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2562 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2563 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2564 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริม
สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
 2565 ไม่ได้กำหนดคำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 2566 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อน
เศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม
10

พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็ นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่ง


ใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 1
8 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อม
เซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์
ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอด
พระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่
พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็ นที่
เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรง
เป็ น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็ นที่มาของการสร้างอุทยาน
วิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็ น
อนุสรณ์สถานแด่พระองค์
จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อ
ความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3
แห่ง สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษา
ถึงความเป็ นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผล
11

โดยการศึกษาอย่างเป็ นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่น


ดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็ นประตูสู่โลกยุค ใหม่ การเสด็จ
พระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18
สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็ นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็ นผู้คำนวณ
ด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมือง
ชาวต่างประเทศ ถือเป็ นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่
พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทย
คำนวณ สุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย
เพื่อเป็ นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้าน
วิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับ
ดาราศาสตร์ ซึ่งเป็ นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปั จจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้
พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด
ในปั จจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้าน
สุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการ
กล่าวถึงสุริยุปราคาเต็ม ดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็ น "King of
Siam's Eclipse"

นักวิทยาศาสตร์ไทย 15 ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานอันโดดเด่น
เนื่องในวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคม ตามไปอ่าน ประวัตินัก
วิทยาศาสตร์ไทย 15 คนกันเลย
12

"คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก" คำกล่าวนี้คงไม่ใช่สิ่งที่เกิน
ความจริงนัก นั่นก็เพราะประเทศไทยมีบุคลากรที่เก่งกาจ และมีความ
สามารถมากมาย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ที่แม้ว่าประเทศไทยอาจ
จะไม่ได้ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์มากนัก แต่กลับมี
นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของไทยสามารถสร้างผลงานจนสร้างชื่อเสียง
ให้แก่ประเทศไทยเป็ นจำนวนมาก

วันวิทยาศาสตร์ ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี กระปุ


กดอทคอมเลยจะขอแนะนำสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานเด่น
ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกัน อ้อ...ขอบอกก่อนว่าบุคคลที่เรากล่าวถึงนี้เป็ น
เพียงส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ไทยเท่านั้นนะคะ เพราะจริง ๆ แล้ว
ยังมีคนไทยเก่ง ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว ซึ่งคงไม่สามารถกล่าวได้หมด
ณ ที่นี้อย่างแน่นอน
13

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระองค์ทรงเป็ นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากสนพระ


ราชหฤทัยเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ โดยเฉพาะ
ดาราศาสตร์เป็ นพิเศษ โดยพระองค์ทรงคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่
ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีความแม่นยำถูกต้องตรงกับ
ดวงจันทร์บนท้องฟ้ ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม และยังทรงคำนวณการเกิด
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้ล่วงหน้าถึง 2 ปี อย่างแม่นยำ

และในปั จจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษา


ด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรง
14

คำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำว่าเป็ น "King of
Siam's Eclipse"

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ปรมาจารย์แห่ง


วงการแพทย์

ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี เป็ นนักวิชาการด้านสาธารณสุข


และการศึกษาที่ได้รับการยกย่องในฐานะ "ราษฎรอาวุโส" โดยหลังจากจบ
การศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งได้รับเหรียญทองในฐานะที่ทำ
คะแนนได้เป็ นอันดับ 1 ตลอดหลักสูตรแล้ว ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ
ก็ได้รับทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาด้านการแพทย์ต่อที่สหรัฐอเมริกา
และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ ได้เข้าศึกษาต่อด้าน
มนุษย์พันธุศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทำให้ท่าน
เป็ นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์
15

ทั้งนี้ ผลงานเด่นของศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ คือ การค้นพบ


กลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคอัลฟาธาลัสซีเมีย โดยพบว่ามียีนอัลฟาธาลัส
ซีเมีย 2 ชนิด และได้ให้ชื่อว่า อัลฟาธาลัสซีเมีย 1 และอัลฟาธาลัสซีเมีย 2
ซึ่งทำให้ท่านได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 สาขา
ชีววิทยา (พันธุศาสตร์) รวมทั้งยังได้รับรางวัลอีกมากมาย เช่น รางวัลแมก
ไซไซ สาขาบริการรัฐ ได้รับเลือกเป็ นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์
รวมทั้งยังได้รับเลือกเป็ นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การ
แพทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 อีกด้วย

ภาพจาก upf.or.th

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขา
วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับ
16

เรื่องคลื่นไมโครเวฟ จากนั้น ดร.อาจอง ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก


สาขาฟิ สิกส์ ที่ Imperial College of Science and Technology
London University ซึ่งด้วยความสามารถของ ดร.อาจอง ทำให้สามารถ
สร้างชื่อเสียงได้ในระดับโลก โดยได้เข้าร่วมออกแบบชิ้นส่วนขาและชิ้น
ส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศให้กับบริษัท Martin Marietta ซึ่ง
องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาว่าจ้างให้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในยาน
อวกาศ ไวกิ้ง 2 ลำ ส่งไปลงบนดาวอังคาร

หลังจากทำงานในต่างประเทศได้สักพัก ดร.อาจอง ได้เดินทาง


กลับมาทำงานด้านวิศวกรรมในประเทศไทย และได้สร้างผลงานไว้
มากมาย จนได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็ น
ประโยชน์ต่อประเทศชาติ เมื่อ พ.ศ. 2527 นอกจากนี้ ดร.อาจอง ยังเป็ น
ผู้ที่สนใจด้านธรรมะ นำไปสู่การสร้างโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อขัดเกลาจิตใจ
เยาวชนของชาติอีกด้วย

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล


17

ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล

ท่านเป็ นนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่บุกเบิกการศึกษาด้าน
ดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย โดยท่านจบวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาฟิ สิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปต่อปริญญาโททางฟิ สิกส์
จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย และศึกษาปริญญาเอก
ทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศ
ออสเตรเลีย จนเป็ นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์

สำหรับผลงานเด่น ๆ ด้านดาราศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาโครงสร้าง


ของโครโมสเฟี ยร์ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บน
ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโคร
โมสเฟี ยร์ของดวงอาทิตย์ รวมทั้งเรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็ นต้น
แต่บุคคลทั่วไปจะรู้จักท่านในช่วงปี พ.ศ. 2529 ที่ดาวหางฮัลเลย์เดินทาง
มาเยือนเมืองไทย รวมทั้งช่วงที่มีข่าวฝนดาวตก ซึ่งนับได้ว่าศาสตราจารย์
ดร.ระวี ภาวิไล เป็ นผู้มีส่วนทำให้สังคมไทยสนใจเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น
18

ภาพจาก Thai Space Education

ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน

ด้วยความที่ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน จบการศึกษาด้าน


ฟิ สิกส์ จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนจะศึกษาต่อ
ปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านฟิ สิกส์ของแข็งภาคทฤษฎี จาก
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ท่านมีความ
เชี่ยวชาญด้านฟิ สิกส์เป็ นอย่างยิ่ง และมีผลงานด้านการสร้างทฤษฎี
อธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด รวมทั้งผลงานด้าน
วิชาการอีกมากมาย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารต่างประเทศที่ได้รับ
การยอมรับจากนานาชาติถึง 37 เรื่อง
19

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ยังได้รับรางวัลนักวิจัยดี


เด่นแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.
2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ รวมทั้งรางวัลนัก
วิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิ สิกส์ทฤษฎี และได้รับ
ทุนวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย

ภาพจาก Thai Space Education

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต

ท่านเป็ นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย ประจำปี พ.ศ.


2525 สาขาฟิ สิกส์ โดยเป็ นผู้บุกเบิกในการนำทฤษฎีควอนตัม
20

(Quantum Theory) แบบไฟน์แมน (Feynman) มาประยุกต์กับเรื่อง


ของฟิ สิกส์ของสภาวะของแข็ง (Condensed Matter Physics) และได้
ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี จนสามารถสร้างผลงานนำ
ทฤษฎีของไฟน์แมนมาประยุกต์กับปั ญหาของระบบที่ไร้ระเบียบ และนำ
เสนอทฤษฎีควอนตัมแบบไฟน์แมนประยุกต์กับปั ญหาต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัย
ทั้ง 2 เรื่องถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม
และถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเป็ น
จำนวนมาก

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Krisana Fanclub


ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
21

เป็ นที่ฮือฮาอย่างมากในช่วงปี พ.ศ. 2538 เมื่อ ดร.กฤษณา ไก


รสินธุ์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ใน
ประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ZIDOVUDINE" (AZT) ซึ่ง
เป็ นยาต้านเอดส์ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเป็ นครั้งแรกของโลก และได้
เดินทางไปถ่ายทอดการผลิตยาในหลายประเทศในทวีปแอฟริกานาน
หลายปี จนได้รับฉายาว่า "เภสัชกรยิปซี"

โดยกว่า 30 ปี ที่ ดร.กฤษณา ได้ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อผลักดัน


ให้ผู้ป่ วยยากไร้ทั่วโลกได้มีโอกาสใช้ยารักษาโรคเอดส์ ส่งผลให้ท่านได้รับ
รางวัล "บุคคลแห่งปี ของเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2008" จากนิตยสารรีดเด
อร์ส ไดเจสท์ รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist
Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letters Foundation ประเทศ
นอร์เวย์ อีกทั้งยังเป็ นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขา
วิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA อีกด้วย

ภาพจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี


22

นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วมากมายจากทั่วโลก
รวมทั้งรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2541 สาขา
วิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ (วช.) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2550 จากมูลนิธิส่ง
เสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระ
มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็ นราชบัณฑิต ประเภท
วิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544

ทั้งนี้ ทุกรางวัลที่ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ได้รับนั้น


ล้วนมาจากความทุ่มเทวิจัยด้านการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่
ๆ ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์และระบบต่าง ๆ ในทางชีววิทยาและการ
แพทย์ รวมไปถึงระบบทางนิเวศวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สร้าง
ประโยชน์มากมายต่อวงการศึกษา การแพทย์ และการวิจัยของไทย
23

ภาพจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์

เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาเคมี ประจำปี
พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน
ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานสำคัญคือ การวิจัยค้นพบสมุนไพรรักษา
มะเร็งเป็ นคนแรกของโลก รวมทั้งงานวิจัยด้านสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
จากเชื้อรา และงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์อีกหลายชิ้น ซึ่งงาน
24

วิจัยของท่านกว่า 118 เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ใน


ฐานข้อมูลสากล รวมกว่า 1,016 ครั้ง

ภาพจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ

เป็ นผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536


สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยผลงานด้านพยาธิวิทยา ที่ศึกษาพบว่า
สาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบมากในผู้ป่ วยโรคพยาธิใบไม้ตับ
อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็งที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อ
25

น้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็ นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ท่านยังมีผล


งานศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านอิมมิวโน พยาธิวิทยาของโรคไข้เลือด
ออกในเด็ก ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์รักษาผู้ป่ วยได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ท่านยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมากมาย แต่


รางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยมากที่สุดก็คือ รางวัล Pasteur
Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์ของ หลุยส์ ปาสเตอร์
นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก นั่นเอง

ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่ง
แวดล้อม สมัยนายอานันท์ ปั นยารชุน เป็ นนายกรัฐมนตรี ท่านเป็ นคน
แรกของสาขาวิชาวนศาสตร์ของประเทศไทยที่ได้รับปริญญาเอกจาก
สหรัฐอเมริกา และเป็ นผู้ริเริ่มชักชวนอาจารย์หลายท่านให้หันมาร่วมกัน
26

ทำงานด้านนิเวศวิทยาป่ าไม้ โดยทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลนับสิบปี จนมี


ผลงานการวิจัยเกี่ยวกับป่ าไม้ออกมาเป็ นจำนวนมาก ทำให้เกิดประโยชน์
อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนในวิชาด้านสิ่งแวดล้อม

ด้วยความสามารถและความมุ่งมั่น ส่งผลให้ศาสตราจารย์ ดร.สง่า


สรรพศรี ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2530 และ
ได้เป็ นนักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกที่เป็ นที่ปรึกษาองค์การยูเนสโก

ภาพจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปั ญญาแก้ว

ท่านจบการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้าน


วิศวกรรมไฟฟ้ า จากมหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับทุน
รัฐบาลญี่ปุ่น จากนั้นได้กลับมาทำงานสอนหนังสือที่คณะวิศวกรรมศาสตร์
27

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีผลงานสำคัญ เช่น การสร้างห้องปฏิบัติ


การวิจัยสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ ซึ่งเป็ นห้องปฏิบัติการที่สมบูรณ์ที่สุด
แห่งหนึ่งในประเทศไทย รวมทั้งยังศึกษาวิจัยการประยุกต์นำพลังงานโซ
ลาร์เซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และผลงานเซลล์
แสงอาทิตย์นี้เองทำให้ท่านได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลผลงานวิจัยดี
เด่นจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกให้
เป็ นนักวิจัยดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2540

ภาพจาก มูลนิธิ ดร.แถบ นีละนิธิ

ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ

ท่านเป็ นบิดาแห่งวิชาเคมีของไทยผู้ล่วงลับ โดย ศาสตราจารย์


ดร.แถบ นีละนิธิ ได้ศึกษาด้านวิชาเคมีจนเชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ
28

และสหรัฐอเมริกา และกลับมารับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง


ผลงานเด่นของท่านก็คือ การบุกเบิกจัดทำหลักสูตรปริญญาบัณฑิตทาง
เคมีเป็ นครั้งแรกของประเทศไทย และท่านก็เป็ นผู้สอนนิสิตด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีคณะ
วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เริ่มพัฒนาขยายหลักสูตรด้าน
วิทยาศาสตรบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติของรัฐบาลในยุคนั้นอีกด้วย เช่นเดียวกับการบุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์
และอินเทอร์เน็ตอย่างเป็ นทางการแห่งแรกของประเทศไทย ในสมัยที่
ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29

ภาพจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ท่านเป็ นศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์


คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์
ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีผลงานเรื่องการ
พัฒนารูปแบบการป้ องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ซึ่งได้รับการ
ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก และยังได้ศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิด
จากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจาก
30

ภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกันแบบครบวงจร

ด้วยผลงานการวิจัยต่าง ๆ ทำให้ท่านได้รับรางวัลมากมาย ทั้ง


รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รางวัลนักวิจัยดี
เด่นแห่งชาติจากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2537 รวมถึงรางวัลนัก
วิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาพจาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย

ได้รับเลือกเป็ นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 สาขา


พฤกษศาสตร์ จากผลงานการค้นพบการเกิดลักษณะใหม่ของดอก
กล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์
31

โดยอาศัยเพศด้วยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้นำวิธี
การดังกล่าวไปสร้างพรรณพืชใหม่ ๆ ขึ้นมาได้อีกเป็ นจำนวนมาก

ได้รู้จักสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของไทยกันไปแล้ว เห็นได้ชัดเลย
ว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยจริง ๆ
นักวิทยาศาสตร์ในโลกนี้มีมากมาย แต่มีไม่กี่คนนักหรอกที่ประสบความ
สำเร็จจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงจนคนรุ่นหลัง
ต้องขอบคุณสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ซึ่งกว่าที่พวกเขาจะมีชื่อเสียง
เป็ นที่นับถือจากผลงาน หลาย ๆ คนก็อาจต้องเสียสละหรือผ่านความยาก
ลำบากมาก่อนโดยที่เราไม่คาดคิด ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวม
เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ 10 คนมาฝากกัน
...ตามมาอ่านเรื่องราวของพวกเขากันเลย

นักวิทยาศาสตร์ของโลก 10 ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก

1. เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)


32

แน่นอนว่าในบรรดานักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ จะขาดนัก
วิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง เซอร์ ไอแซก นิวตัน ไม่ได้เด็ดขาด โดย
เซอร์ ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185)
และเสียชีวิตขณะอายุ 85 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 หรือ พ.ศ.
2270 (ตามปฏิทินจูเลียนของ จูเลียส ซีซาร์) ซึ่งเขาเป็ นอัจฉริยะที่เก่งรอบ
ด้าน ทั้งในฐานะนักฟิ สิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา
นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยา โดยผลงานเด่นที่สุดของเขาที่คนรู้จัก
33

กันดีก็คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและกฎแรงโน้มถ่วงสากล ที่เขาคิด


ขึ้นมาได้จากการสังเกตผลแอปเปิ ลที่ตกจากต้นนั่นเอง

2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)

หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็ นนักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส เกิด


เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 (พ.ศ. 2365) และเสียชีวิตในวัย 72 ปี
เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) ซึ่งเขาคนนี้ถือว่าเป็ นนัก
34

วิทยาศาสตร์ที่ช่วยชีวิตผู้คนมากที่สุดคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะเป็ นผู้


คิดค้นวิธีรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคพิษสุนัขบ้าและโรคแอน
แทรกซ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น จากการคิดค้น
วิธีพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและถนอมอาหารให้เก็บได้นานขึ้นอีก
ด้วย

3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)


35

นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเป็ นเจ้าของฉายา "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุค


ใหม่" คนนี้ เกิดที่ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564
(พ.ศ. 2107) และมีชีวิตอยู่จนอายุ 77 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8
มกราคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) โดยเขาเป็ นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลง
ให้กับแนวคิดของวิทยาศาสตร์ยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ด้วยการยึดมั่นใน
ทฤษฎีของตัวเองว่าดาวเคราะห์เป็ นฝ่ ายหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งขัดกับ
ความเชื่อของชาวคริสต์ในสมัยก่อนที่สนับสนุนทฤษฎีของอริสโตเติล ที่
เชื่อว่าพระอาทิตย์และดวงจันทร์เป็ นฝ่ ายหมุนรอบโลก จนทำให้เขาถูก
ห้ามไม่ให้สอนนักเรียนของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้อีก มิฉะนั้นจะถูกจับเผา
ทั้งเป็ น เขาจึงได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาด้วยตัวเองเพื่อศึกษาเพิ่ม
เติมและพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขาเป็ นความจริงในที่สุด
36

4. มารี กูรี (Marie Curie)

ภาพจาก Neveshkin Nikolay / Shutterstock


37

มารี กูรี เป็ นนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7


พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม
ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ในวัย 66 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเธอเป็ นผู้หญิงเก่งแห่ง
ยุคคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุคสมัยของเธอ
ไม่ได้รับการศึกษาหรือโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายนัก เธอกลับมุ่งมั่นศึกษา
ค้นคว้าจนกระทั่งค้นพบรังสีเรเดียมที่สามารถยับยั้งการขยายตัวของโรค
มะเร็งได้ในที่สุด
จนเป็ นผลให้เธอได้รับรางวัลโนเบล

ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากความเฉลียวฉลาดของเธอแล้ว การอุทิศตัว


ให้สังคมของเธอก็ยังทำให้หลาย ๆ คนประทับใจอีกด้วย เพราะเธอเลือก
ที่จะไม่จดสิทธิบัตรสิ่งที่เธอค้นพบซึ่งจะทำให้เธอกลายเป็ นเศรษฐีได้สบาย
ๆ แต่กลับเลือกอุทิศตัวเพื่อส่วนรวมและค้นคว้าต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิต
จากการใกล้ชิดรังสีเรเดียมมากเกินไปในที่สุด

5. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)


38

ภาพจาก Georgios Kollidas / Shutterstock

คงไม่มีใครไม่รู้จักนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ซึ่งเกิด


เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18
เมษายน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ในขณะที่มีอายุ 78 ปี คนนี้ ซึ่งถึงแม้
เขาจะเป็ นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายใน
ปั จจุบัน แต่ที่จริงแล้วเขาเคยเป็ นเด็กที่มีปั ญหาเรื่องการเรียนรู้มาก่อน
โดยเขาไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ และอ่านหนังสือออกเมื่อ
8 ขวบ จนไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะกลายเป็ นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบ
ความสำเร็จได้มากขนาดที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมถึงสร้างทฤษฎี
ใหม่ ๆ มากมาย
39

โดยเฉพาะผลงานเด่น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่อธิบายว่า


เราทุกคนจะมองเห็นอัตราความเร็วแสงได้ในระยะเท่ากัน และทฤษฎีสัม
พัทธภาพทั่วไป ซึ่งเป็ นทฤษฎีที่อธิบายกฎแรงโน้มถ่วงในเชิงเรขาคณิต
ทำให้นักวิชาการหลายคนจับตามองจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด

6. ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)


40

ภาพจาก Alexator / Shutterstock

ชาร์ลส์ ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 (พ.ศ.


2352) และเสียชีวิตในวัย 73 ปี ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 (พ.ศ.
2425) ซึ่งจนกระทั่งยุคปั จจุบัน ทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติคนนี้
คิดค้นขึ้นก็ยังเป็ นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะมีทั้งคนที่ยอมรับและโต้แย้งใน
เวลาเดียวกัน โดยดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์ต่าง
ๆ ขึ้นมา ซึ่งอ้างว่าสัตว์ทั้งหลายจะปรับสภาพร่างกายเพื่อให้เข้ากับการใช้
ชีวิตและสภาพแวดล้อม ทำให้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนกลาย
เป็ นวิวัฒนาการ ซึ่งแม้ในปั จจุบันเขาจะได้รับยกย่องเป็ นนัก
วิทยาศาสตร์อัจฉริยะคนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังมีผู้ที่ปฏิเสธแนวคิด
ของเขาเช่นกัน

7. โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison)


41

เชื่อเถอะว่าในบ้านของเราต้องมีสิ่งประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิ


สัน กันทุกคนแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 (พ.ศ. 2390) และเสียชีวิตในวัย 84 ปี เมื่อวัน
ที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) คนนี้ เป็ นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่ง
ประดิษฐ์มากมายที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันกว่า 1,000 ชิ้น โดย
เฉพาะการคิดค้นหลอดไฟที่เป็ นผลงานชิ้นเอก แม้ว่าเขาจะมีปั ญหาเรื่อง
การเรียนรู้ ทำให้อ่านหนังสือไม่ออกจนกระทั่งอายุ 12 ปี และบกพร่อง
เรื่องการฟั งหลังประสบอุบัติเหตุบนรถไฟก็ตาม
42

8. นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)

ภาพ Georgios Kollidas / Shutterstock

นิโคลา เทสลา เป็ นนักวิทยาศาสตร์ชาวโครเอเชีย สัญชาติ


อเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1856 (พ.ศ. 2399) และเสีย
43

ชีวิตเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ในขณะที่มีอายุ 86 ปี


โดยมีฉายาว่า "นักประดิษฐ์ที่โลกลืม" เพราะเป็ นนักประดิษฐ์คนสำคัญ
แต่กลับมีน้อยคนที่รู้จัก หรือถูกรู้จักในฐานะนักวิทยาศาสตร์เพี้ยนจาก
การที่เขามีปั ญหาในการเข้าสังคม มากกว่าจะสนใจผลงานของเขาที่ยิ่ง
ใหญ่ไม่แพ้คนอื่น ๆ ซึ่งเขาเป็ นผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา หรือ Tesla
coil ซึ่งเป็ นหม้อแปลงที่สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้ าสูง แถมยังเป็ นผู้ค้น
พบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็ นสนามไฟฟ้ า จึงเป็ นที่มาของหน่วย
วัดสนามแม่เหล็กเทสลา อีกทั้งยังเป็ นผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้
สายอีกด้วย

9. กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi)


44

ภาพจาก Boris15 / Shutterstock

นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.


1874 (พ.ศ. 2417) และเสียชีวิตในขณะอายุ 63 ปี เมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) คนนี้ คือคนที่ได้ชื่อว่าเป็ นผู้ผลิต
วิทยุคนแรกของโลกอย่างเป็ นทางการ ซึ่งกูกลิเอลโม มาร์โคนี ก็ได้ฉาย
แววความฉลาดมาตั้งแต่เด็กจากการสนใจเรื่องไฟฟ้ าอยู่เสมอ จนพ่อของ
เขาสนับสนุนด้วยการจ้างครูพิเศษมาสอนเรื่องไฟฟ้ าให้กับเขาโดยเฉพาะ
และจากความสำเร็จของผลงานชิ้นสำคัญนี้ได้เปลี่ยนเขาให้กลายเป็ น
เศรษฐีจากการเปิ ดบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนีในที่สุด
45

10. อริสโตเติล (Aristotle)

สุดท้ายนี้คือคนที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกในยุคสมัย
เริ่มแรกของวิทยาศาสตร์อย่างนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง
384-322 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อย่าง อริสโตเติล นั่นเอง ซึ่งเขาเป็ นผู้
46

เชี่ยวชาญรอบด้านในหลายสาขา เช่น ดาราศาสตร์ ฟิ สิกส์ วรรณกรรม


และชีววิทยา

ไหวพริบของอริสโตเติลนั้นทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็ นศิษย์เอกของ
อัจฉริยะอย่าง เพลโต ตั้งแต่อยู่ในวัย 18 ปี โดยผลงานที่เด่นที่สุดของ
เขาเห็นจะเป็ นด้านชีววิทยา ซึ่งเขาเป็ นผู้จำแนกประเภทของสัตว์ตาม
ลักษณะออกเป็ น 2 ประเภท คือ พวกที่มีกระดูกสันหลัง และพวกที่
ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้คนนับถือความสามารถ จนได้เป็ นพระ
อาจารย์และพระสหายสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

หลังจากได้ทราบเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก
ทั้ง 10 คนนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าความพยายามและความขยันนั้นสำคัญ
กว่าโอกาสที่ได้รับจริง ๆ เพราะแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะมี
ความบกพร่องทางร่างกายหรือถูกกีดกันด้านความคิด แต่ก็สามารถ
พิสูจน์ตัวเองจนเป็ นที่ยอมรับได้ในที่สุด

สรุปวันวิทยาศาสตร์

วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ตรงกับวันที่วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี


เป็ นหนึ่งใน วันสำคัญ ของคนไทย เป็ นวันที่ พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราาคาเต็มดวง ที่
คำนวณไว้ล่วงหน้า 2 ปี อย่างแม่นยำ รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ 18
สิงหาคม เป็ น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ไทย พร้อมเทิดพระเกียรติให้
47

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็ นพระบิดาแห่ง


วิทยาศาสตร์ไทย
48

บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/
%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%
B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A
%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

http://www.sci.buu.ac.th/sciweek/index.php/exhibition/exhibition-commemoration/exhibition-
kingofscience

https://hilight.kapook.com/view/61924

https://hilight.kapook.com/view/72163
49

You might also like