You are on page 1of 3

การเสนอโครงการ

๑. ชื่อโครงการ
สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทง
๒. หลักการและเหตุผล
ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญและถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยที่มีผู้คนอาศัยอยู่
ในดินแดนสุวรรณภูมิ สันนิษฐานว่าการลอยกระทงจะเป็นคติของชนชาติที่ประกอบการกสิกรรม ซึ่งต้อง
อาศัยน้ำ ในการเพาะปลูก เมื่อถึงเวลาน้ำหลากจึงทำกระทงลอยเพื่อขอบคุณแม่คงคาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่ประทานน้ำให้ เกิดความอุดมสมบูรณ์ ตามด้วยการละเล่นรื่นเริงที่แสดงถึงการแล้วเสร็จของภารกิจ
ที่ได้กระทำมาแล้วจนเห็นผล ประเพณีลอยกระทงจึงเป็นประเพณีของคนในสังคมลุ่มน้ำ ซึ่งประกอบ
อาชีพทางการเกษตรโดยปรากฏทั้งใน อินเดีย พม่า ลาว เขมรและไทย ซึ่งปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละ
พื้นที่ ในประเทศไทยมีการจัดประเพณีลอยกระทง แตกต่างไปตามพื้นที่ภาคต่าง ๆ ดังนี้
การลอยกระทงในภาคกลาง จะจัดขึ้นเฉลิมฉลองตามวาระในเทศกาลน้ำนอง เป็นงานสนุกสนาน
รื่นเริง ของผู้คนที่อาศัยตามแม่น้าลำคลอง นิยมทำกระทงใบตอง ปักดอกไม้ธูปเทียน เพื่ออธิษฐานขอพร
และขอขมา แม่คงคา มีการจุดดอกไม้เพลิง เป็นการเล่นสนุกในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ในอดีตชาวบ้าน
นิยมตักน้ำตอนเที่ยงคืน ไว้กิน อาบ หรือลูบหน้าลูบตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะเป็นเวลาที่น้ำใส
สะอาด
การลอยกระทงในภาคเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (ตรงกับเดือน ๑๒ ของภาคอื่น ๆ) มีคำเรียก
แต่ โบราณว่า “ประเพณีลอยโขมด” หรือ “ลอยไฟ” ระยะหลังเรียกกันว่า “ลอยสะเปา” คือ ลอยสำเภา
หมายถึง ลอยกระทงขนาดใหญ่ที่ทำประกวดกัน จุดประสงค์เพื่อส่งประทีป ดอกไม้ ธูปเทียนไปถวาย
นมัสการต่อ พระมหาอุปคุตเจ้า ผู้มีบริกรรมพำนัก ณ ใต้ท้องมหานที มีการทำความสะอาดบ้านเรือน
ประดับหิ้งบูชาพระ ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจัดเตรียมประทีปหรือเทียนจุดบูชาตามบ้านเรือนและวัดต่าง ๆ
ก็จัดตกแต่งสถานที่ด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าวและธงทิว มีการประดิษฐ์โคมไฟ หรือ “โคมผัด”
และนำไปตั ้ ง หรื อ แขวนประดั บ ตามอาคารและสถานที ่ ต ่ า ง ๆ ภายในวั ด ในวั น เพ็ ญ ขึ ้ น ๑๕ คํ่ า
มีการทำบุญนำภัตตาหารไปถวายพระ มีการฟัง เทศน์มหาชาติแบบพื้นเมืองที่เรียกว่า“การตั้งธรรมหลวง”
ตลอดทั้งคืน มีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระจุฬามณี บนสวรรค์อีกด้วย
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่า “เทศกาลลอยเรือไฟ” หรือ “ปล่อยเฮือไฟ” โดยถือปฏิบัติ
ในเทศกาลออกพรรษา ช่วงวันขึ้น ๑๕ คํ่า ถึงแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ เมื่อใกล้ออกพรรษา ชาวบ้าน
จะรวมกันเป็น “คุ้ม” โดยยึดเอาชื่อวัดใกล้บ้านเป็นหลักในการตั้งชื่อคุ้ม ชาวคุ้มต่าง ๆ จะจัดให้มีการแข่งเรือ
และการไหลเรือไฟในช่วงดังกล่าว
การลอยกระทงของชาวใต้ นิยมนำเอาหยวกมาทำเป็นแพ แล้วบรรจุเครื่องอาหารและลอยไปการลอย
กระทงของภาคใต้ มิได้กำหนดว่าเป็นกลางเดือน ๑๒ หรือเดือน ๑๑ แต่จะลอยเพื่อการสะเดาะเคราะห์
เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ การตกแต่งเรือหรือแพลอยเคราะห์ ทำโดยการแทงหยวกให้เป็นลวดลาย
ประดับธงทิว ภายในบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน เงินและเสบียงต่าง ๆ ใส่ไว้ในแพ
ลอยกระทง เป็นประเพณีที่ผู้คนในสังคมไทยสืบทอดต่อกันมาช้านานด้วยฐานคติความเชื่อต่าง ๆ
และถือเป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การแสดงออกถึงความกตัญ ญู
และเห็นคุณค่าของแม่น้ำ เป็นโอกาสในการจัดกิจกรรมสืบทอดทางวัฒนธรรมร่วมกันของครอบครัว
และชุมชน รวมทั้งเป็นการทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ลอยกระทง ได้รับการ
ประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔
โรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา มีนโยบายในการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม
ของความเป็ น ไทย ดั ง นั ้ น นั ก ศึ ก ษาฝึ ก ประสบการณ์ ว ิ ช าชี พ ครู จึ ง ได้ ม ี ก ารจั ด โครงการ สื บ สาน
และอนุ ร ั ก ษ์ ป ระเพณี ล อยกระทง เพื ่ อ เป็ น การอนุ ร ั ก ษ์ ป ระเพณี และวั ฒ นธรรม อั น ดี ง ามนี ้ ไ ว้
และเพื่อให้นักเรียนและครู ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนหรือหน่วยงานอื่น
๓. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และสืบสานจารีตประเพณีวัฒนธรรมของไทย การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน ให้คงอยู่กับอนุชนรุ่นหลังต่อไป
๒. เพื่อปลูกฝังประเพณีอันดีงามให้กับเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และถือปฏิบัติต่อไป
๓. เพื่อให้บุคลากรและเด็กนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน หรือหน่วยงานอื่น
๔. เพื่อให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
๕. เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา และปลูกจิตสำนึกให้รู้ถึงคุณค่าของน้ำ
๔. กลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
๑. นักเรียนโรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา จำนวน ๓๐ คน
๒. ครูและบุคลากรโรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา จำนวน ๔ คน
๓. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน ๑ คน
เชิงคุณภาพ
๑. เพื่อสืบสานอนุรักษ์จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของไทย
๒. นักเรียนส่วนใหญ่รู้และเข้าใจจารีตประเพณีของวันลอยกระทง และเกิดความภาคภูมิใจ
หวงแหน และอนุรักษ์ไว้
๓. โรงเรียนให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของไทย
๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวพงศ์ภรณ์ ส่งเสริม นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ ๓
๖. ครูที่ปรึกษาโครงการ
นางจารุวรรณ พละสกุล หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
๗. วัน เวลา สถานที่ในการดำเนินโครงการ
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา ตำบลหนองบ่อ
อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
๘. รายละเอียดการดำเนินงาน
๑. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๒.จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของวันลอยกระทง
๓.ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของวันลอยกระทงจากนั้นพานักเรียนทำกระทง
๔.นักเรียนนำกระทงไปลอย จากนั้นถ่ายภาพส่งให้ครูผู้ดำเนินโครงการ
๙. งบประมาณ
-
๑๐. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ด้านปริมาณ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ๓๐ คน
ด้านคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับร้อยละ ๘๐
และตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรรมท้องถิ่น
ด้านเวลา ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

๑๑. ลงลายมือชื่อ ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ และผู้อนุมัติโครงการ

ลงชื่อ.................................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวพงศ์ภรณ์ ส่งเสริม)
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
............./............../...............

ลงชื่อ.................................................ผู้เห็นชอบ
(นางจารุวรรณ พละสกุล)
หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
............./............../...............

ลงชื่อ.................................................ผู้เสนอโครงการ
(นางจิรกานต์ สุภสร)
ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา
............./............../...............

You might also like