You are on page 1of 7

ค่าวัดการกระจายของข้อมูล

โดยทั่วไปการวัดการกระจายของข้อมูลแบ่งได้เป็ น 2 วิธีคือ
1. การกระจายสัมบูรณ์ (absolute variation) คือการวัดการกระจายของข้อมูล
ด้วยค่าวัดทางสถิติที่มีหน่วยเช่นเดียวกับข้อมูลหรือเป็ นกำลังสองของหน่วยของ
ข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาว่าข้อมูลแต่ละตัวมีความแตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใดใน
ที่นี้จะศึกษาค่าวัดการกระจายสัมบูรณ์ 4 ชนิดคือ
1) พิสัย
2) ส่วนเบี่ยงเบนวอร์ไทล์
3) ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1) พิสัย
พิสัย (range) คือ ค่าที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูลชุดหนึ่งโดยคำนวณ
จากผลต่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูลชุดนั้น

 กรณีของข้อมูลไม่แจกแจงความถี่
พิสัย = Xmax - Xmin

 กรณีของข้อมูลที่แจกแจงความถี่โดยแบ่งเป็ นอัตราภาคชั้น
พิสัย = ขอบเขตบนของอันตรภาคชั้นที่มีข้อมูลที่มีค่าสูงสุด - ขอบเขตล่างของ
อันตรภาคชั้นที่มีข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด
NOTE สามารถหาได้สะดวก เป็ นการวัดการกระจายของข้อมูลอย่างคร่าว ๆ
เพราะพิสัยคำนวณจากข้อมูลเพียงสองค่าเท่านั้นคือค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ดังนั้น
การใช้พิสัยอาจให้ข้อสรุปที่คลาดเคลื่อนในกรณีที่ชุดข้อมูลมีข้อมูลที่มีค่าสูงหรือ
ต่ำกว่าข้อมูลตัวอื่นมาก

ตัวอย่างที่ 1

ประเทศ จีน สหรัฐอเมริ ไทย อินเดีย ออสเตรเลี บราซิล


กา ย
ผลผลิต
(ล้านตัน) 10.60 8.12 14.19 33.07 4.90 20.50

จงหาพิสัยของข้อมูลชุดนี้
ตัวอย่างที่ 2

คะแนน จำนวนนักเรียน
30 -39 8
40 - 49 10
50 - 59 12
60 - 69 45
70 - 79 50
80 - 89 19
90 - 99 3

จงหาพิสัยของข้อมูลชุดนี้

2) ส่วนเบี่ยงเบนค
วอไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) เป็ น
ค่าที่ใช้วัดการกระจายข้อข้อมูลรอบๆ ค่า
มัธยฐาน(Median) ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอ
ไทล์ที่ 1
ถ้าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์มีค่ามากแสดงว่ามีการกระจายมากถ้าส่วนเยงเบนควอไทล์มี
ค่าน้อยแสดงว่ามีการกระจายน้อย

กำหนดให้ Q1 และ Q3 เป็ นระหว่างควอร์ไทล์ที่หนึ่งและค


วอร์ไทล์ที่สามตามลำดับ
Q3 - Q1
Q.D. = 2
NOTE แสดง
ถึงการกระจายของคะแนนว่าห่างจากมัธยฐาน (Median) ซึ่งเป็ นค่าตำแหน่ง
กึ่งกลางของชุดข้อมูลมากน้อยเพียงไร จึงมักใช้ควบคู่กันกับการวัดแนวโน้มเข้าสู่
ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน
ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่
60 31 25 80 77 52 39 45 68 74

ตัวอย่างที่ 4 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์กรณีของข้อมูลต่อไปนี้

ชั้นคะแนน ความถี่ ความถี่สะสม


93 - 97 8
88 - 92 9
83 - 87 7
78 - 82 4
73 - 77 7
68 - 72 5
63 - 67 4
58 - 62 2
53 - 57 2
48 - 52 2

3) ส่วนเบี่ยงเบน
เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.) เป็ นค่าที่ใช้
วัดการกระจายของข้อมูลรอบๆ ค่าเฉลี่ย (Mean)
โดยการหาค่าเฉลี่ยของผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ย ถ้าส่วน
เบี่ยงเบนเฉลี่ยมีค่ามากแสดงว่ามีการกระจายมาก ถ้าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยมีค่าน้อยแสดง
ว่ามีการกระจายน้อย

ข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่ ข้อมูลแจกแจงความถี่

NOTE ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยเป็ นการวัดการกระจายที่ละเอียดกว่าการวัดด้วยค่าพิสัย


และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
เพราะได้ใช้คะแนนทุกๆ ตัวในการคำนวณ แต่ไม่นิยมใช้เพราะไม่ได้คำนึงถึง
เครื่องหมายของผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ย

ตัวอย่างที่ 5 จงหาส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย ของข้อมูลดังต่อไปนี้ 4 12 7 6 11


ตัวอย่างที่ 6 จงหาส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อมูลต่อไปนี้

ชั้น ความถี่ จุดกึ่งกลาง |x i−μ| f i|x i−μ|


คะแนน ชั้น xi
93 - 97 8
88 - 92 9
83 - 87 7
78 - 82 4
73 - 77 7
68 - 72 5
63 - 67 4
58 - 62 2
53 - 57 2
48 - 52 2

4) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) คือ
ค่าที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูลโดยเป็ นค่าที่บอก
ให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละตัวอยู่ห่างจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตโดยเฉลี่ยประมาณเท่าใด

ประชากร ตัวอย่าง
กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจง
ความถี่

กรณีข้อมูลแจกแจง
ความถี่

NOTE ความแปรปรวน (σ2 หรือ s2) = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2

.
สมบัติบางประการของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยและส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ≥ 0 เสมอ
2. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0 เมื่อ
ค่าทุกค่าในข้อมูลเท่ากันหมด และเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้น
3. ถ้านำจำนวนจริง b ไปบวกกับค่าแต่ละค่าในข้อมูลเดิมแล้ว ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
หรือส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานของข้อมูลใหม่จะเท่ากับส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย หรือส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานของข้อมูลเดิมตามลำดับ
4. ถ้านำจำนวนจริง a ไปคูณค่าแต่ละค่าในข้อมูลเดิมแล้ว ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยหรือ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ของข้อมูลใหม่ จะเท่ากับ la| เท่าของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยหรือส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานของข้อมูลเดิมตามลำดับ
5. ถ้า x แทนค่าในข้อมูลชุดหนึ่ง และ y แทนค่าในข้อมูลอีกชุดหนึ่ง โดยที่
y = ax + b
เมื่อ a และ b เป็ นค่าคงตัวแล้ว
M.D.y = |a| M.D. x
และ s y =|a| s x

6. ถ้าคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ค่ากลางของข้อมูลอย่างอื่นที่ไม่ใช่
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่หาได้จะมีค่ามากกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่หาได้
จากค่าเฉลี่ยเลขคณิตเสมอ นั่นคือ

เมื่อ a เป็ นจำนวนจริงใดๆ ที่ไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต

สใมบวยตัวอย่างที่ 7
ความสูง (เซนติเมตร) ของนักวอลเลย์บอลหญิงของโรงเรียนแห่งหนึ่งจำนวน
ทั้งหมด 10 คนแสดงได้ดังนี้
174 171 170 184 180
179 169 178 181 160

จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนของข้อมูลชุดนี้

ตัวอย่างที่ 8 ในการศึกษาอายุขัยเฉลี่ย (ปี) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนัก


วิทยาศาสตร์ได้สุ่มตัวอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมา 10 ชนิดพบว่าอายุขัยเฉลี่ย
ของสัตว์แต่ละชนิดเป็ นดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วย อายุขัยเฉลี่ย (ปี)


น้ำนม
แมว 12
วัว 15
สุนัข 12
ลา 12
แพะ 8
หนูตะเภา 4
ม้า 20
หมู 10
กระต่าย 5
แกะ 12

จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนของข้อมูลชุดนี้

You might also like