You are on page 1of 19

ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 36

6. การวัดการกระจายของข้อมูล
Measures of Dispersion
การวัดการกระจาย (Measures of Dispersion) เป็นสถิติประเภทหนึ่งที่คํานวณออกมาเป็นตัวเลข เพื่อใช้
อธิบายลักษณะการกระจายของข้อมูล การที่ข้อมูลชุดหนึ่งๆ ประกอบด้วยคะแนนที่มีค่าต่างๆ กันเราเรียกว่า เป็นข้อมูลที่มี
การกระจาย ถ้าข้อมูลชุดนั้นประกอบด้วยคะแนนที่มีค่าต่างกันมาก เรียกว่า เป็นข้อมูลที่มีกระจายมาก ถ้าข้อมูลชุดนั้น
ประกอบด้วยคะแนนที่มีค่าต่างกันน้อย เรียกว่า เป็นข้อมูลที่มีการกระจายน้อย และถ้าข้อมูลชุดนั้นประกอบด้วยคะแนนที่มี
ค่าเท่ากันหมด เรียกว่า เป็นข้อมูลที่ไม่มีการกระจาย ดังตัวอย่าง
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลซึ่งมีการกระจายต่างกัน
ข้อมูลชุดที่ คะแนนในชุดข้อมูล ลักษณะการกระจาย
1 7 10 35 70 100 มีการกระจายมาก
2 50 58 60 61 67 มีการกระจายน้อย
3 30 30 30 30 30 ไม่มีการกระจาย
การวัดการกระจายนิยมใช้ควบคู่กับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เพราะจะช่วยอธิบายลักษณะของข้อมูลได้
ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการวัดแนวโน้มเข้าสู่กลางเป็นเพียงการบอกค่ากลางของข้อมูลชุดนั้น แต่เราก็ยังไม่ทราบชัดเจนถึง
ลักษณะการกระจายของข้อมูลว่าคะแนนต่างๆ ในชุดข้อมูลนั้นมีค่าใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันมาก ถ้าเรามีทั้งค่าแนวโนม้
เข้าสู่ส่วนกลางและค่าการกระจายก็จะทําให้เข้าใจลักษณะข้อมูลนั้นได้ชัดเจนขึ้นมากกว่ามีแต่ค่าแนงโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียง
อย่างเดียว
ตัวอย่างเช่น นักเรียน 2 กลุ่ม ได้รับการทดสอบก่อนเรียนในวิชาเดียวกัน ด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน ผลปรากฏว่า
คะแนนทดสอบของทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ย (Mean) 40 คะแนนเท่ากัน
ถ้าผู้สอนทราบเพียงว่า นักเรียน 2 กลุ่มทําแบบทดสอบก่อนเรียน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 40 คะแนน ก็จะเข้าใจ
เพียงว่านักเรียน 2 กลุ่มนี้มีความรู้พื้นฐานพอๆ กัน แต่จะไม่ทราบว่าการกระจายของคะแนนหรือความรู้พื้นฐานของ
นักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร นักเรียนแต่ละกลุ่มมีความรู้พื้นฐานแตกต่างกันมากน้อยเพียงไรลองพิจารณาข้อมูลคะแนนใน
แต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
กลุ่ม ก 45 31 60 54 21 28 41 (Mean = 40)
กลุ่ม ข 39 45 30 41 32 50 43 (Mean = 40)
เมื่อพิจารณาอย่างคร่าว ๆ จะพบว่า ในกลุ่ม ก คะแนนแตกต่างกันมากกว่ากลุ่ม ข นั่นคือ
นักเรียนในกลุ่ม ก มีความรู้พื้นฐานแตกต่างกันมากกว่ากลุ่ม ข ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงความแตกต่างของความรู้พื้นฐานของ
นักเรียนในแต่ละกลุ่มว่าต่างกัน กลุ่ม ก นักเรียนมีความรู้พื้นฐานแตกต่างกันมากกว่า ในกลุ่ม ข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ใน
การจัดการเรียนการสอนต่อไป
จะเห็นได้ว่า การทราบเพียงค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวก็อาจอธิบายลักษณะของข้อมูลได้ไม่
สมบูรณ์ ถ้าทราบลักษณะการกระจายด้วยก็จะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลละเอียดขึ้น และเป็นประโยชน์มาก

การวัดการกระจายของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ


1. การวัดการกระจายสัมบูรณ์ (Absolute Variation) คือการวัดการกระจายของข้อมูลเพียงชุดเดียว เพื่อดู
ว่าข้อมูลชุดนั้นแต่ละค่ามีความแตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงไร นิยมใช้กันอยู่ 4 ชนิด คือ
 พิสัย (range)
 ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ (quartile deviation)
 ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (mean deviation หรือ average deviation)
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 37
2. การวัดการกระจายสัมพัทธ์ (Relative Variation) คือการวัดการกระจายของข้อมูลที่มากกว่า 1 ชุด โดย
ใช้อัตราส่วนของค่าที่ได้จากการวัดการกระจายสัมบูรณ์ กับค่ากลางของข้อมูลนั้นๆ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบการกระจาย
ของข้อมูลเหล่านั้น มีอยู่ 4 ชนิด คือ
 สัมประสิทธิ์ของพิสัย (coefficient of range)
 สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ (coefficient of quartile deviation)
 สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (coefficient of average deviation)
 สัมประสิทธิ์ของความแปรผัน (coefficient of variation)

6.1 การวัดการกระจายสัมบูรณ์ (Absolute Variation)


พิสัย (Range)
เป็นค่าที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูล โดยการหาความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดกับค่าต่ําสุดของข้อมูลชุดใดชุด
หนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ในรูปของค่าผลต่างระหว่างค่าสูงสุดกับค่าต่ําสุดหรืออยู่ในรูปช่วงคะแนนจากค่าต่ําสุดถึงค่าสูงสุด นับเป็น
วิธีการกระจายอย่างคร่าวๆ และง่ายที่สุด เนื่องจากคะแนนเพียง 2 ค่า เท่านั้นในการคํานวณ คือค่าสูงสุดและค่าต่ําสุด
คะแนนค่าอื่นๆ ไม่ได้นําเอามาใช้เลย
ถ้าพิสัยมีค่ามากแสดงว่ามีการกระจายมาก ถ้าพิสัยมีค่าน้อยแสดงว่ามีการกระจายน้อย
การวัดการกระจายด้วยค่าพิสัย มักใช้ควบคู่กับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่าฐานนิยม (Mode) หรืออาจ
ใช้ควบคู่กับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางวิธีอื่นๆ ในกรณีที่มีข้อมูลจํานวนน้อยหรือเมื่อต้องการทราบการกระจายอย่าง
คร่าวๆ โดยรวดเร็ว
วิธีการหาค่าพิสัย
 กรณีของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่
ใช้สูตร พิสัย = ค่าสูงสุด  ค่าต่ําสุด
หรือ Range = x max  x min
 กรณีของข้อมูลที่แจกแจงความถี่โดยแบ่งเป็นอัตราภาคชั้น
ใช้สูตร พิสัย = ขอบเขตบนของอันตรภาคชั้นที่มีข้อมูลที่มีค่าสูงสุด  ขอบเขตล่างของอันตรภาคชั้นที่มีข้อมูลที่มีค่าต่ําสุด

ตัวอย่างที่ 42 จงหาพิสัยของข้อมูลคะแนนทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียนวิชาสิถิตของนักเรียน 2 กลุ่มดังต่อไปนี้


กลุ่ม ก 45 31 60 54 21 28 41
กลุ่ม ข 39 45 30 41 32 50 43

ตัวอย่างที่ 43 จงหาพิสัยของข้อมูลต่อไปนี้
คะแนน จํานวนนักเรียน
30  39 8
40  49 10
50  59 12
60  69 45
70  79 50
80  89 20
90  99 5
Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 38

ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์
ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) เป็นค่าที่ใช้วัดการกระจายข้อข้อมูลรอบๆ ค่ามัธยฐาน
(Median) ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ถ้าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์มีค่ามากแสดงว่า
มีการกระจายมากถ้าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์มีค่าน้อยแสดงว่ามีการกระจายน้อย
วิธีการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์

Q3Q1
ใช้สูตร Q.D. =
2

จากสูตรจะเห็นได้ว่าค่า Q.D. แสดงถึงการกระจายของคะแนนว่าห่างจากมัธยฐาน (Median) ซึ่งเป็นค่าตําแหน่ง


กึ่งกลางของชุดข้อมูลมากน้อยเพียงไร จึงมักใช้ควบคู่กันกับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน

ตัวอย่างที่ 44 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่
60 31 25 80 77 52 39 45 68 74

ตัวอย่างที่ 45 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ของข้อมูลต่อไปนี้
ชั้นคะแนน ความถี่ บอบเขต ความถี่สะสม
93  97 8
88  92 9
83  87 7
78  82 4
73  77 7
68  72 5
63  67 4
58  62 2
53  57 2
48  52 2

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 39

แบบฝึกทักษะ 6.1
1. กําหนดข้อมูล 9 14 6 8 5 12 8 6 8 11 9 จงหาพิสัย และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์

2. จงหาพิสัยและส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ของข้อมูลต่อไปนี้
ตารางต่อไปนี้แสดงคะแนนของนักเรียน
คะแนน จํานวนนักเรียน
10  14 2
15  24 3
25  34 6
35  44 5
45  54 4

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 40

ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.) เป็นค่าที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูลรอบๆ ค่าเฉลี่ย (Mean)
โดยการหาค่าเฉลี่ยของผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ย ถ้าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยมีค่ามากแสดงว่ามีการ
กระจายมาก ถ้าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยมีค่าน้อยแสดงว่ามีการกระจายน้อย
วิธีการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
ข้อมูลไม่ไดแจกแจงความถี่ ข้อมูลแจกแจงความถี่
N k

x i
 åf i
xi - m
M .D.  i 1
M .D. = i =1
N N
(ข้อมูลระดับตัวอย่างยังคงใช้สูตรทํานองเดียวกัน)

ตัวอย่างที่ 46 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย ของข้อมูลดังต่อไปนี้ 4 12 7 6 11

ตัวอย่างที่ 47 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อมูลต่อไปนี้
ชั้นคะแนน ความถี่ ( fi ) จุดกึ่งกลาง ( x i ) xi  x fi x i  
93  97 8
88  92 9
83  87 7
78  82 4
73  77 7
68  72 5
63  67 4
58  62 2
53  57 2
48  52 2

เนื่องจากการหาค่า M.D. ไม่คํานึงถึงเครื่องหมายของผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ยแต่เป็นค่าสัมบูรณ์


(Absolute value) ซึ่งไม่เหมาะกับการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ต่อไป จึงไม่เป็นที่นิยมใช้และมีผู้คิดวัดการกระจายที่
เหมาะสมมากกว่าขึ้นมา คือ วิธีการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 41

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation : S.D.) เป็นการวัดการกระจายของคะแนนรอบๆ ค่าเฉลี่ย
(Mean) คล้ายๆ กับส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย แต่แก้ปัญหาค่าสัมบูรณ์โดยใช้วิธียกกําลังสอง ค่าผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัว
กับค่าเฉลี่ย ทําให้เครื่องหมายลบหมดไปเมื่อหาค่าเฉลี่ยของผลรวม
กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่ มีสูตรดังนี้
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง แทนด้วย s
N n

 (x i
  )2  (x i
 x )2
  i 1
s i 1

N n 1
จะเห็นได้ว่า ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก็คือรากที่สองของความแปรปรวน เขียนเป็นสูตรได้
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2 = ความแปรปรวน
ดั้งนั้นถ้าทราบความแปรปรวนของข้อมูลแล้ว จะสามารถหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้
โดยการถอดรากที่สองของความแปรปรวนนั้น เขียนเป็นสูตรในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
  2 หรือ s  s2
ในทางกลับกันถ้าทราบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาจรฐานแล้ว จะสามารถหาค่าความแปรปรวนได้ โดยการยกกําลังสอง
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนั้น
ส่วนสูตรในการคํานวณหาค่าความแปรปรวนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเป็นสูตรที่อยู่ในรูปคะแนน
เบี่ยงเบน (ผลต่าง) ตามนิยามที่กล่าวมาข้างต้นเขียนสรุปได้ดังต่อไปนี้
สําหรับประชากร
ความแปรปรวน ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน
กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่
 สูตรในรูปคะแนนเบี่ยงเบน 2 

 x  
2

 x  
2

N   N

 สูตรที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ  
2 x
N
2
 2
  x
2
 2
N

กรณีข้อมูลแจกแจงความถี่
 สูตรในรูปคะแนนเบี่ยงเบน 2 
 f x  
2
 f x   
2

N   N

 สูตรที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ 2   fx
N
2
 2    fx
2
 2
N

สําหรับตัวอย่าง
ความแปรปรวน ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน
กรณีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่
 สูตรในรูปคะแนนเบี่ยงเบน s2 

 x x 
2

 x x 
2

n 1 s n 1

 สูตรที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ s   n 1
2 x 2 nx 2
s  x 2 nx 2
n 1

กรณีข้อมูลแจกแจงความถี่
 สูตรในรูปคะแนนเบี่ยงเบน s2 

 f x x 
2

 f x x 
2

n 1 s n 1

 สูตรที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ s2 
2
 fx nx
n 1
2

s
2
 fx nx
2

n 1

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 42
ตัวอย่างที่ 48 จงหาค่าความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติเพื่อการวิจัย
ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจํานวน 10 คน ซึ่งมีค่าดังต่อไปนี้
87 61 75 77 85 92 83 73 65 58
วิธีทํา ก. สูตรในรูปคะแนนเบี่ยงเบน

วิธีทํา ข. สูตรในรูปคะแนนดิบ

ตัวอย่างที่ 49 ครูวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ต้องการทราบความสามารถในการใช้อุปกรณ์การทดลอง วิทยาศาสตร์ของ


นักเรียนห้องหนึง่ จึงสุ่มตัวอย่างนักเรียนมา 25 คน และวัดความสามารถในการทดลองวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนแต่ละคน คะแนนที่ได้นํามาแจกแจงความถี่ได้ดังต่อไปนี้ จงคํานวณหาความแปรปรวนและส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความสามารถในการใช้อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องนี้
ชั้นคะแนน ความถี่
79  81 2
76  78 3
73  75 4
70  72 7
67  69 5
64  66 2
61  63 1
รวม 25

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 43

แบบฝึกทักษะ 6.2
1. กําหนดข้อมูลประชากร 9 14 6 8 5 12 8 6 8 11 9 จงหาส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. จงหาส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อมูลประชากรต่อไปนี้


ตารางต่อไปนี้แสดงคะแนนของนักเรียน
คะแนน จํานวนนักเรียน
10  14 2
15  24 3
25  34 6
35  44 5
45  54 4

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 44
จะเห็นได้ว่าการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนั้นมีการคํานวณที่ยุ่งยาก และหลายขั้นตอน นอกจากสูตรดังกล่าวแล้ว
เราสามารถหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสําหรับประชากรโดยวิธีทอนค่าของข้อมูล ดังนี้

 I  N   I N  d 2
2 2
f (d d ) fd
หรือ
ตัวอย่างที่ 50 จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยวิธีทอนค่าของข้อมูลประชากรต่อไปนี้
ชั้นคะแนน ความถี่
79  81 2
76  78 3
73  75 4
70  72 7
67  69 5
64  66 2
61  63 1
รวม 25

ตัวอย่างที่ 51 จงหาสูตรเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยวิธีทอนค่าสําหรับข้อมูลระดับตัวอย่าง

โจทย์ท้าทาย
การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนเมื่อกําหนดค่ากลางอื่นๆ มาให้
10 10
ตัวอย่างที่ 52 ข้อมูลประชากรชุดหนึ่ง ถ้า x
i 1
i
 60 และ  (x i
i 1
 5)2  46 จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 45
N
2
 (xi  30)
ตัวอย่างที่ 53 ข้อมูลชุดหนึ่งมี N ตัว มี i 1
N
 30 และค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 33 จงหาความแปรปรวนของ
ข้อมูลชุดนี้

การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนเมื่อมีการอ่านข้อมูลผิดพลาด
ตัวอย่างที่ 54 ข้อมูลประชากรชุดหนึ่งมี 100 ตัว หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้ 9 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 5 แต่เมื่อนํามา
ทบทวนภาพหลังพบว่าสิ่งที่คํานวณนั้นผิด เพราะผู้ทําการคํานวณอ่านข้อมูลผิดไป 1 ตัว คือ จาก 1.0 อ่าน
เป็น 10 ดังนั้นค่าเฉลี่ยเลขคณิคและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ถูกต้องเป็นเท่าใด

สมบัติที่สําคัญของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็นบวกเสมอ
 ถ้าคํานวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้คา่ กลางของมูลชนิดชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานที่จะได้จะมีค่ามากกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ใช้คา่ เฉลี่ยเลขคณิตเสมอ นั่นคือ
   
2 2
 f x a  f x 
N
 N

อสมการนี้เป็นจริงเสมอ เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆ ที่ไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต


 ถ้ามีข้อมูล 2 ชุด ประกอบด้วยข้อมูล N 1 และ N 2 จํานวน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากัน แต่มีความแปรปรวนเป็น
N 1 12 N 2 22
 12 และ  22 สําหรับข้อมูลชุดที่ 1 และ 2 ตามลําดับ ความแปรปรวนของข้อมูลทั้งสองชุดจะเท่ากับ N 1 N 2

ตัวอย่างที่ 55 ข้อมูล 2 ชุด ชุดแรกมี 5 จํานวน ความแปรปรวน 18 ชุดหลังมี 3 จํานวน ความแปรปรวน 24 ข้อมูลทั้ง
สองชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากัน จงหาความแปรปรวนรวมของข้อมูลทั้งสองชุด

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 46

ข้อสังเกตเกี่ยวกับใช้ค่าการวัดการกระจาย
ค่าพิสัย
1. พิสัยเป็นการวัดการกระจายโดยใช้คะแนนเพียง 2 ตัว ไม่ได้นําคะแนนทุกตัวมาใช้ในการคํานวณจึงเป็นวิธีการ
กระจายอย่างหยาบๆ
2. พิสัยเหมาะสําหรับวัดการกระจายอย่างคร่าวๆ เมื่อต้องการทราบค่าการกระจายอย่างรวดเร็ว เพราะใช้เวลา
น้อยในการคํานวณ
3. พิสัยเหมาะกับชุดข้อมูลขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่ถ้าข้อมูลใหญ่มีแนวโน้มค่าพิสัยสูง
4. ไม่ควรใช้พิสยั ในการเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลที่มีขนาดไม่เท่ากัน ถ้าเป็นข้อมูลกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มที่
ค่าพิสัยจะสูง

ค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
1. ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ เป็นการวัดการกระจายที่ดีกว่าการวัดด้วยค่าพิสัย แต่ก็ยังใช้เพียงบางค่าไม่ได้ใช้ขอ้ มูล
ทุกค่าในการคํานวณ
2. ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ เหมาะสําหรับใช้วัดการกระจายกรณีมีคะแนนบางค่าสูงหรือต่ํากว่าคะแนนตัวอื่นๆ ใน
ชุดมาก
3. ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์เหมาะสําหรับใช้ควบคู่กับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน

ค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
1. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย เป็นการวัดการกระจายที่ละเอียดกว่าการวัดด้วยค่าพิสัยและส่วนเบี่ยงเบน ควอไทล์
เพราะได้ใช้คะแนนทุกๆ ตัวในการคํานวณ
2. การคํานวณค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยไม่ได้คํานึงถึงเครื่องหมายของผลต่างระหว่างคะแนนแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ย ซึ่ง
ขัดต่อหลักคณิตศาสตร์ จึงไม่เป็นที่นิยมใช้

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลที่ใช้คะแนนทุกตัว ในการคํานวณจึงเป็นการวัดการ
กระจายที่ละเอียดกว่าการหาโดยพิสัย พิสัยควอไทล์ และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลที่นิยมใช้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัย
3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าการกระจายที่มีหน่วยเช่นเดียวกับหน่วยของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ส่วนค่า
ความแปรปรวน ซึ่งมีค่าเป็นกําลังสองของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นค่าการกระจายที่มีหน่วยเป็นกําลังสองของหน่วยของ
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 47

ท้าทาย
1. จงแสดงว่า ถ้าข้อมูลมีค่าเท่ากันหมดทุกตัว ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมีค่าเท่ากับศูนย์ หรือถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
มีค่าเท่ากับศูนย์ แล้วข้อมูลแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต

2. จงแสดงว่า ถ้านําจํานวนจริงไปบวกหรือลบกับข้อมูลแต่ละตัว ส่วนเบี่ยงมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่ จะมีค่าเท่าเดิม

3. จงแสดงว่า ถ้านําจํานวนจริงไปคูณหรือหารกับข้อมูลแต่ละตัว ส่วนเบี่ยงมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่ จะมีค่าเท่ากับ |a|


เท่าของส่วนเบี่ยงมาตรฐานของข้อมูลชุดเดิม

4. ถ้าความสัมพันธ์ระหว่าง x i และ yi เป็นสมการเชิงเส้น Y  aX  b โดยที่ a และ b เป็นค่าคงตัว จะได้


y  a x

5. ข้อมูล 2 ชุดมีจํานวนเท่ากัน เมื่อทําการคํานวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตปรากฏว่า 1 : 2  3:5 และได้ส่วนเบี่ยงเบน


มาตรฐานเท่ากัน ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งคือ 1, 4, 6, 9, 10 จงหาข้อมูลอีกชุดหนึ่ง

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 48

6.2 การวัดการกระจายสัมพัทธ์
ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลต่างกลุ่ม (ต่างชุด) ถ้าข้อมูลแต่ละชุดเป็นคะแนนที่มีหน่วย
วัดเดียวกัน คะแนนเต็มเท่ากัน ขนาดเท่ากัน และค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเท่ากันก็สามารถนําค่าการกระจายมา
เปรียบเทียบกันได้เลย
ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน 2 ห้อง ซึ่งมีจํานวนนักเรียนเท่ากัน สอบด้วยข้อสอบชุด
เดียวกัน มีคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้
ห้อง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1 60 10
2 60 12
กรณีนี้สามารถบอกได้ว่า คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียนห้อง 2 มีการกระจายมากกว่าห้อง 1
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ข้อมูลแต่ละชุด เป็นคะแนนที่มีหน่วยวัดต่างกันหรือมีคะแนนเต็มไม่เท่ากันหรือขนาดไม่เท่ากัน
หรือค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางไม่เท่ากัน จะไม่สามารถนําค่าการกระจายมาเปรียบเทียบกันได้ทันทีแต่ต้องคํานวณหาค่า
สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of Dispersion) ของคะแนนแต่ละชุดแล้วจึงนําค่าสัมประสิทธิ์การกระจายนั้นมา
เปรียบเทียบกัน ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบวิชาภาษาไทยกับคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งมีค่าดังนี้
วิชา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ภาษาไทย 100 60 10
คณิตศาสตร์ 150 90 12

กรณีนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าคะแนนสอบวิชาใดมีการกระจายมากกว่ากัน แม้ว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน
วิชาคณิตศาสตร์จะมีค่ามากกว่าก็ตาม กรณีนี้จะต้องหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อนํามาเปรียบเทียบกัน
การหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีหลายชนิด แล้วแต่ชนิดของสถิติที่ใช้วัดการกระจายดังต่อไปนี้
 กรณีวัดการกระจายด้วยพิสยั
ใช้สัมประสิทธิ์ของพิสัย (Coefficient of Range : C.R.)
x max  x min
C.R. =
x max  x min
 กรณีวัดการกระจายส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
ใช้สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Coefficient of Quartile Deviation : C.Q.)
Q3  Q1
C.Q. =
Q3  Q1
 กรณีวัดการกระจายด้วยส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
ใช้สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (coefficient of average deviation)
M .D. M .D.
C.A. = หรือ
 x
 กรณีวัดการกระจายด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ใช้สัมประสิทธิ์ของความแปรผัน (Coefficient of Variation : C.V.)
 s
C.V. = หรือ
 x

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 49
ตัวอย่างที่ 56 นักศึกษาปริญญาโท 2 กลุ่ม มีอายุดังนี้
กลุ่มที่ 1 30 34 38 28 35 27 42 35 37 39
กลุ่มที่ 2 28 35 24 33 44 26 33 37 40 29
จงเปรียบเทียบการกระจายของอายุของนักศึกษา 2 กลุ่มนี้ เมื่อวัดค่าการกระจายด้วยพิสัย
x max  x min
วิธีทํา ใช้สูตร สัมประสิทธิ์ของพิสัย C.R. =
x max  x min
42  27 15
C.R.1 =  = 0.217
42  27 69

44  24 20
C.R.2 =  = 0.294
44  24 68

C.R.2  C.R.1
 อายุของนักศึกษาปริญญาโทกลุ่ม 2 มีการกระจายมากกว่ากลุ่ม 1
ตัวอย่างที่ 57 จงเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูล 2 ชุดนี้
มัธยฐาน Q3 Q1
ข้อมูลชุดที่ 1 25 40 15
ข้อมูลชุดที่ 2 30 50 10

ตัวอย่างที่ 58 นําวัตถุ 2 ชนิดไปชั่งบนเครื่องชั่ง 5 อัน ได้ผลดังตาราง


วัตถุชนิดที่ 1 (กรัม) 6 7 9 8 12
วัตถุชนิดที่ 2 (กรัม) 50 52 49 55 44
จงหาสัมประสิทธ์ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของวัตถุทั้งสองชนิด

ตัวอย่างที่ 59 จงเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลคะแนนสอบ 3 วิชา ของนักเรียนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีค่าดังนี้


วิชา คะแนนเต็ม Mean S.D.
ภาษาไทย 100 60 10
คณิตศาสตร์ 150 90 12
วิทยาศาสตร์ 200 110 16

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 50

แบบฝึกทักษะ 6.3
1. ถ้าคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิชาสถิติของนักเรียนเป็นดังตาราง
คะแนนวิชาสถิติ 6 5 4 2 1
คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 9 6 5 3 2
จงหาอัตราส่วนของสัมประสิทธ์ของการแปรผันระหว่างคะแนนวิชาสถิติ และคะแนนวิชาคณิตศาสตร์

2. บริษัทผลิตหลอดไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ผลิตหลอดไฟออกจําหน่าย 2 ชนิด ชนิดแรกอายุการใช้งานเฉลี่ย 1,495 ชั่วโมง ส่วน


เบี่ยงเบนมาตรฐาน 280 ชั่วโมง ชนิดที่สอง อายุการใช้งานเฉลี่ย 1,875 ชั่วโมง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 310 ชั่วโมง
จงพิจารณาว่าหลอดไฟชนิดใดมีการกระจายมากกว่ากัน และหลอดไฟใดคุณภาพดีกว่ากัน

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 51

ความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงความถี่ ค่ากลาง และการกระจายของข้อมูล


จากข้อมูลที่มีการแจกแจงความถี่ ถ้านําข้อมูลเหล่านี้มาเขียนให้เป็นเส้นโค้งของความถี่ จะได้เส้นโค้งของความถี่ 3
ลักษณะ (ในระดับสูงขึ้น นักเรียนจะได้ศึกษาเส้นโค้งของความถี่มากกว่า 3 ลักษณะ) ดังนี้
1. เส้นโค้งปกติ หรือเส้นโค้งรูประฆังคว่ํา (normal curve or bell-shaped curve)
2. เส้นโค้งเบ้ลาดทางขวา หรือเส้นโค้งเบ้ทางบวก (positively curve)
3. เส้นโค้งเบ้ลาดทางซ้าย หรือเส้นโค้งเบ้ทางลบ (negatively curve)
ลักษณะของโค้งเป็นดังนี้

เส้นโค้งของความถี่ของข้อมูลมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล คือ
1. โค้งปกติ จะพบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = มัธยฐาน = ฐานนิยม
2. เส้นโค้งเบ้ลาดทางขวา จะพบว่า ฐานนิยม < มัธยฐาน < ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
3. เส้นโค้งเบ้ลาดทางซ้าย จะพบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิต < มัธยฐาน < ฐานนิยม
เส้นโค้งของความถี่ที่พบเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านประชากร เกษตร สังคม เศรษฐกิจ หรือวิทยาศาสตร์
ส่วนใหญ่มักเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามธรรมชาติ และจะมีเส้นโค้งความถี่เป็นรูปเส้นโค้งปกติ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความสูง น้ําหนัก ราคา ผลผลิตทางการเกษตร มักมีรูปเป็นเส้นโค้งปกติ

ลักษณะของเส้นโค้งปกติ
เส้นโค้งปกติมีความโด่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการกระจายของข้อมูล ถ้าข้อมูลมีการกระจายมากเส้นโค้งปกติจะโด่ง
น้อย หรือค่อนข้างแบน แต่ถ้าข้อมูลมีการกระจายน้อย เส้นโค้งปกติจะโด่งมากหรือค่อนข้างสูง ดังรูป

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 52
ลักษณะของเส้นโค้งปกติกับการกระจายของข้อมูล
ลักษณะของเส้นโค้งปกติ บทสรุป
 1  2
 1  2
 ข้อมูลชุดที่ 1 กระจายมากกว่าชุด 2
 1  2
 1  2
 ข้อมูลชุดที่ 1 กระจายมากกว่าชุด 2
1 2
1
 2

 1  2
 1  2
 ยังสรุปไม่ได้ จนกว่าจะทราบ  และ 
ของข้อมูลทั้งสองชุด

ตัวอย่างที่ 60 ข้อมูล 2 ชุดมีการแจกแจงความถี่เป็นเส้นโค้งปกติดังรูป

0
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. 1  2 และ  1   2 ข. 1  2 และ  1   2
ค. 1  2 และ  1   2 ง. 1  2 และ  1   2

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 53

แบบฝึกทักษะ 6.4
1. จงพิจารณาดูว่า ข้อความต่อไปนี้ ถูกหรือผิด
..................1) พิสัยของข้อมูลใดๆ จะต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ
..................2) สัมประสิทธิ์ของพิสัยของข้อมูลอาจเป็นจํานวนลบได้
..................3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปปรวนของข้อมุลชุดเดียวกันต้องมีค่าต่างกัน
..................4) ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดเดียวกัน อาจมีค่าเท่ากันได้
..................5) ถ้าในข้อมูลชุดหนึ่ง มีค่าของข้อมูลทุกตัวเท่ากัน พิสัย ค่าเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย ค่าค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน จะเท่ากันหมด
..................6) ถ้าข้อมูลชุดที่ 1 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่าข้อมูลชุดที่ 2 แสดงว่าข้อมูลชุดที่ 1 มีการกระจายมากกว่า
ข้อมูลชุดที่ 2
..................7) ถ้าข้อมูลชุดที่ 1 มีค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยน้อยกว่าข้อมูลชุดที่ 2 แสดงว่าข้อมูลชุดที่ 1 มีการกระจายน้อยกว่า
ข้อมูลชุดที่ 2
..................8) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ของค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อมุลชุดเดียวกันจะไม่เท่ากัน
..................9) ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย และสัมประสิทธิ์ของค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อมุลชุดเดียวกันจะไม่เท่ากัน
..................10) สัมประสิทธิ์ของความแปรผันของข้อมูลชุดหนึ่ง จะมีค่ามากกว่าสัมประสิทธิ์ของค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อมูล
ชุดนั้นเสมอ
..................11) ความแปรปรวนของข้อมูลชุดหนึ่งจะมากกว่าหรือเท่ากับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมุลชุดนั้น
..................12) ถ้าความแปรปรวนของข้อมูลชุดหนึ่งมีค่า 0 แสดงว่าค่าของข้อมูลทุกค่าจะเท่ากันหมด
..................13) ข้อมูล 2 ชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่างกัน จะต้องมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่างกันด้วย
..................14) ข้อมูล 2 ชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่างกัน จะต้องมีค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยต่างกันด้วย
..................15) ข้อมูล 2 ชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่างกัน จะต้องมีพิสัยต่างกันด้วย
..................16) ข้อมูล 2 ชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากัน การแจกแจงของข้อมูลจะต้องเหมือนกัน
..................17) ถ้าพิสัยของข้อมูลเท่ากับ 0 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยจะต้องเท่ากัน 0 ด้วย
..................18) ข้อมูล 2 ชุดมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากัน เส้นโค้งความถี่จะต้องโด่งเท่ากัน
..................19) สัมประสิทธิ์ของพิสัยของข้อมูลชุดหนึ่งเท่ากับ 1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะต้องมากกว่า 0
..................20) กําหนดเส้นโค้งความถี่ดังรูป

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุด 1 มากกว่าข้อมูลชุด 2
..................21) จากข้อ 20 ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของข้อชุด 1 น้อยกว่าข้อมูลชุด 2
..................22) ถ้าค่ามากที่สุดของข้อมูล มีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะเท่ากับ 0
..................23) ถ้าค่าต่ําที่สุดของข้อมูล มีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะเท่ากับ 0
..................24) ถ้าสัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์เท่ากับ 0 แล้วค่าทุกค่าจะเท่ากันหมด
..................25) ถ้าสัมประสิทธิ์ของพิสัยของข้อมูลมีค่า 0 แล้วค่าทุกค่าจะเท่ากันหมด

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011
ค30203 สถิตเิ บือ้ งต้น | หน้าที่ 54
2. โรงงานแห่งหนึ่งจ่ายเงินเดือนให้คนงานทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4,600 บาท เงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานชายและ
พนักงานหญิงเท่ากับ 5,200 บาท และ 4,200 บาท ถ้าคนงานชายมี 60 % คนงานหญิงจะมีกี่เปอร์เซ็นต์

3. ในการสอบวิชาสถิติ นักเรียนห้อง ก. จํานวน 20 คน สอบได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 75 คะแนน นักเรียนห้อง ข.


จํานวน 30 คน สอบได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 60 คะแนน นักเรียนห้อง ค. จํานวน 25 คน สอบได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
เท่ากับ 65 คะแนน จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของวิชาสถิติของนักเรียนทั้ง 3 ห้อง

4. จากการสุ่มตัวอย่างเด็ก 10 คน ชั่งน้ําหนัก (กิโลกรัม) ได้ข้อมูลดังนี้ 34, 49, 43, 46, 51, 45, 52, 49, 54, 47 จงหาค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ําหนักของเด็ก 10 คนนี้

5. ถ้านาย ก. จะต้องตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง จากที่มีให้เลือก 3 บริษัทที่มีอัตราเงินปันผลดังนี้


บริษัท A เงินปันผลเฉลี่ย 15.6 ต่อปี และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.7
บริษัท B เงินปันผลเฉลี่ย 13.7 ต่อปี และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.5
บริษัท C เงินปันผลเฉลี่ย 18.9 ต่อปี และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.8
ถ้าท่านเป็นนาย ก. ท่านจะตัดสินใจเลือกลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทใด

Deaw Jaibun
Mahidol Wittayanusorn School update: October 14, 2011

You might also like