You are on page 1of 9

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง การเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินและโฟม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จัดทำโดย
1.นายธีรพัฒน์ สะหมาน เลขที่14
2.นายอับบาส เกิดช้อง เลขที่19
3.นายอัฟนัน โปติล่ะ เลขที่20
4.นายอาซิส ฤทธิ์โต เลขที่21

เสนอ
อาจารย์รัชนีกร แยนา

รายงานวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์
ปี การศึกษา 2566
โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ

คำนำ
รายงานฉบับนี้แบบส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่3 โดยมีจุด
ประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ของการเจริญเติบโตของผักกาดขาวระหว่างการปลูกในดินกับในโฟม ทั้งนี้ใน
รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาซึ่งประกอบด้วยความรู้ของดินโฟมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตที่ต่างกันของผักกาดขาว
และระบบการปลูกผัก
แบบไฮโดรโปรนิกส์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้คำเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันอย่างทั่วถึง
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำโครงงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงแสดงให้เห็นการเจริญ
เติบโตของผักกาดขาวที่ปลูกในสภาพที่แตกต่างกัน หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้
อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย หากผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

กิตติกรรมประกาศ
โครงงานการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินและโฟมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยได้รับความอนุเคราะห์
และการสนับสนุนจากอาจารย์ รัชนีกร แยนา ที่ได้ให้คำแนะนำในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะในการจัดทำ
โครงงานจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและขอขอบคุณเพื่อนๆที่ช่วยกันทำโครงงานนี้จนสำเร็จ คณะผู้จัดทำขอ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอบคุณคณะอาจารย์ห้องปฎิบัติการห้องวิทยาศาสตร์ ที่ให้ความช่วยเหลือและให้ใช้สถานที่ในการทดลอง
ให้ผ่านไปได้ด้วยดีตลอดการจัดทำโครงงาน
คณะผู้จัดทำ
นายธีรพัฒน์ สะหมาน
นายอับบาส เกิดช้อง
นายอัฟนัน โปติล่ะ
นายอาซิส ฤทธิ์ โต

บทที่1
ที่มาและความสำคัญ
ดิน คือ วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับ
สารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและ
คุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้าง
ตัวของดิน
โฟมอีพีเอส คือ โฟมที่ใช้เพื่อการเกษตรกรส่วนระบบปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ คือ ระบบที่ปลูกพืชโดย
ให้รากแช่ในสารละลายธาตุอาหารพืช และบางส่วนสัมผัสอากาศ หรือการปลูกพืชบนวัสดุที่ไม่ใช้ดิน ที่กล่าวต่อ
จากนี้จะกล่าวถึงระบบที่ใช้โฟมอีพีเอสชนิดแผ่นเจาะรูลอยน้ำบนแปลงผัก
ที่ทำเรื่องนี้เพราะอยากรู้ว่าโฟมอีพีเอสหรือดินดีกว่าแล้วดีกว่าอย่างไร
โฟมไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมการใช้ธาตุอาหารของพืชได้ง่ายกว่าการปลูกพืชในดิน สามารถ
ประหยัดการใช้น้ำได้มากกว่าการให้น้ำกับพืชที่ปลูกบนดิน ซึ่งเมื่อเทียบการใช้น้ำแล้ว การปลูกผักไฮโดรโปนิ
กส์สามารถประหยัดน้ำได้มากถึง 10 เท่า
เลือกผักกาดขาวมาทำโครงงานฉบับนี้ก็เพราะสังเกตการเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตได้ง่ายมีการวัดความ
สดของผักกาดความชื้นของน้ำในดินและโฟมในการทดลอง

สมมุติฐาน
โฟมระบบไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกผักกาดขาวได้ดีกว่าดิน

ตัวแปรต้น : ดินและโฟม
ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของต้นต้นผักกาดขาว
ตัวแปรควบคุม:เวลา : อุณหภูมิ สถานที่ น้ำ แสง ต้นผักกาดขาว

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักกาดขาวระหว่างดินกับโฟมระบบไฮโดรโปรนิกส์
2.เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินและโฟมระบบไฮโดรโปรนิกส์ที่แตกต่างกัน
3.เพื่อศึกษาระยะเวลาในการเจริญเติบโตของผักกาดขาวที่ปลูกในสภาพที่แตกต่างกัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับดินและโฟมระบบไฮโดรโปรนิกส์
2.ได้รับควารมรู้เกี่ยวกับผักกาด
3.ไต้รับความรู้ในการปลูกพืช
4.ได้รับความรู้ในการทำงานเป็นกลุ่ม

ขอบเขตของการศึกษา
ระยะเวลาในการเจริญเติบโตในดินกับโฟมระบบไฮโดรโปรนิกส์
ปลูกที่หอพักชายโรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ 54 ม.11 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินและโฟมที่ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้า
เอกสาร การทดลองวิทยาศาสตร์และงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดดังหัวข้อต่อไปนี้
1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินและโฟม
1.1. ข้อมูลและชนิดของดินและโฟมอีพีเอส
1.2. ข้อมูลและชนิดของผักกาดขาว
2.การทดลองวิทยาศาตร์
2.1. อุปกรณ์ในการทดลอง
3.งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
3.1. งานวิจัยการต้านการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดิน
การศึกษากิจกรรมการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในดินผักกาดขาวสามารถปลูกในดินทั่วไปแต่ดินที่
เหมาะสมที่สุดคือดินร่วน ในดินเหนียวก็ สามารถปลูกได้แต่ต้องทำให้ดินสามารถระบายน้ำได้ดี โดยการไถ
หรือขุดดินให้ลึกสัก 12 นิ้ว แล้วตากดิน ให้แห้งประมาณ 10-15 วัน จึงท าการย่อย พรวนให้ก้อนเล็กใส่ปุ๋ ยคอก
ลงคลุกเคล้า ถ้าเป็นดินเปรี้ยวหรือ ดินเค็ม ควรใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 40 กก./ไร่ หรือประมาณ 1 กก./4
ตารางเมตร ถ้าดินเป็นดิน ทรายควรใส่ปุ๋ ยคอกให้มากขึ้นอัตราที่ใช้ประมาณ 2 ปี บ ต่อ 1 ตารางเมตร หรือถ้าใส่
ปุ๋ ยขี้เป็ดไก่, หมู ก็ ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือสัก ตารางเมตรละ 1 ปี บก็พอ การใส่ปุ๋ ยคอกรองพื้นก่อนปลูกนั้น
ควรใส่ขณะ ดินแห้ง เมื่อใส่แล้วก็ใช้คราดคลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ดี

3.2. งานวิจัยการด้านการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในโฟมอีพีเอส
การศึกษากิจกรรมการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในโฟมอีพีเอสเป็นการปลูกพืชในน้ำที่มีการผสม
สารละลายอาหารในการปลูกเลี้ยง หรือที่เรียกกันอีกชื่อคือ ปุ๋ ยน้ำ การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยส่วนใหญ่จะ
ปลูกผักที่กินใบ และผักหรือพืชที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ในการเก็บเกี่ยว ในส่วนของผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมปลูก
กันมาก ได้แก่ ผักกาดหอม กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนคอส ฟิ ลเลย์ และบัตเตอร์เฮด โดยผักดังกล่าวนี้จะใช้ระยะเวลา
ในการเก็บเกี่ยวประมาณ 40-60 วันเท่านั้น และนิยมนำมาประกอบอาหารในเมนูสลัดหรือกินสดๆ นอกจากนี้
การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ยังนิยมนำมาใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศ มันฝรั่ง เม
ล่อน หัวไชเท้า หัวหอมใหญ่ และสตรอเบอร์รี แต่การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ละชนิดจะต้องคำนึงถึงภาชนะ
ที่ใช้ด้วยเช่นกัน โดยจะต้องเลือกขนาดของภาชนะที่เหมาะสม เพื่อที่พืชจะได้รับปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วน
และเติบโตได้อย่างเต็มที่
สำหรับระบบการ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะมีอยู่ 5 ระบบ นั่นก็คือ

1.DFT หรือ Deep Flow Technique

2.DRFT หรือ Dynamic Root Floating Technique

3.FAD หรือ Food and Drain


4.NFT หรือ Nutrient Film Technique

5.NFLT หรือ Nutrient Flow Technique

2. ข้อมูลและชนิดของผักกาดขาว

รูปที่ 1 คือผักกาดขาว
ผักกาดขาว (Brassica rapa subsp. pekinensis) เป็นที่รู้จักว่า เป็นผักกาดชนิดหนึ่งของ ผักกาดจีน ถิ่น
กำเนิดใกล้กับปักกิ่ง และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในอาหารเอเชียตะวันออก แต่ส่วนใหญ่ในโลกก็ ผักกาดชนิด
นี้ก็เข้าใจว่า "ผักกาดจีน" ผักกาดจีนจะมีสีจางกว่าผักกาดจีนชนิดอื่น ๆ อย่างเช่น ผักกาดกวางตุ้ง ซึ่งก็ถูกเรียกว่า
ผักกาดจีนเช่นเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร ผักชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ "Chinese Leaf" ในนิวซีแลนด์รู้จักกันใน
ชื่อ"Wong Bok" หรือ"Won bok" ในออสเตรเลียและฟิ ลิปปิ นส์รู้จักกันในชื่อ"wombok"
ผักกาดขาวถูกบริโภคอย่างแพร่หลายในจีน ญี่ปุ่ น และเกาหลี และที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในจังหวัดกัง
วอน ทางตอนเหนือของเกาหลีใต้ ผัดกาดขาวถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญรุ่งเรืองในจีน และในภาพ
ลักษณ์นี้เองจึงมักพบเห็นรูปจำลองที่ทำจากแก้วและกระเบื้องเคลือบ รูปสลักผักกาดที่มีชื่อเสียง Jadeite
Cabbage ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวัน ก็เป็นรูปสลักของผักกาดขาวด้วยเช่นเดียวกัน
เนื่องจากมีผู้อพยพจากไต้หวันนี้เอง จึงสามารถพบเห็นรูปสลักผักกาดได้ในหลายเมืองของ อเมริกาเหนือ ยุโรป
และออสเตรเลีย
ในอาหารเกาหลี ผักกาดถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักของ baechu kimchi ที่เป็นชนิดของกิมจิ ทั่วไป แต่ก็ยัง
กินสด ๆ โดยเอาไปห่อเนื้อหมูหรือหอยนางรม แล้วจิ้มกับโกชูจัง แต่คนทั่วไปก็มักใส่ใบที่แก่กว่าในซุป ด้วย
รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อเทียบกับผักกาดชนิดอื่น ๆ เช่น บ๊อกชอย หรือ กะหล่ำ และผักกาดขาวยังสามารถเอา
ไปผัดน้ำมันกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่นเต้าหู้ เห็ด หรือซูกินี ผักกาดขาวยังเป็นส่วนผสมพื้นฐานในการกินอาหาร
หม้อไฟอีกด้วย
2.2.การทดลองวิทยาศาสตร์
2.2.1. อุปกรณ์ในการทดลอง

รูปที่ 2 โฟมอีพีเอส
Expanded polystyrene Foam (EPS) คือ โฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ
ก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C44H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) ในระหว่าง กระบวนการผลิต
วัตถุดิบที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำ ปฏิกิริยากับก๊าซ Pentane เอาไว้ภายในเมื่อนำมาผลิต
โฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัว และเมื่อได้รับความร้อนใจจาก ไอน้ำ(Steam) ก็จะกลายเป็นเม็ดโฟม ขาว ๆ จาก
นั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding)
EPS แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. อัดขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามลักษณะแม่พิมพ์ที่ทำ (Shape Molding) เช่น เป็นกล่องน้ำแข็ง และ
บรรจุภัณฑ์ ต่าง ๆ
2. อัดขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยม (Block Mold-ing) แล้วนำมา ตัดตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ โดย
ทั่วไปโฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50 เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามา แทนที่ถึง 98% ของปริมาตร
มีเพียง 2% เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุ ที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่ แต่กลับมีน้ำหนักเบา
คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้โฟม EPS สามารถ รองรับแรงกระแทกได้อย่างดีเหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุ สินค้า
และยังรองรับถ่ายเท น้ำหนักในแนวดิ่งโดย ไม่เสียรูปทรงจึงใช้เป็นวัสดุถมในการทำถนน เพื่อแก้ปัญหาถนน
ทรุด และยังใช้เป็นฉนวนรักษาความร้อนและเย็นจากอากาศที่มีอยู่ภายในถึง 98% ทำหน้าที่เป็นฉนวน ได้อย่างดี

You might also like