You are on page 1of 42

รายงานเรื่อง

โรงงานผลิตรองเท้าหนัง

เสนอ
ผศ.ดร.รณร เจียรตระกูล

จัดทำโดย
นายเกื้อวรกุล จันทราสา 61010105
นางสาวกุสุมา สาเบาะ 61010098
นายฐาปนนท์ คุ่ยเสงี่ยม 61010268
นายณพวัฒน์ จูมงคล 61010286

รายงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา INDUSTRIAL PLANT DESIGN (01216749) หลักสูตรคณะ


วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ปีการศึกษา 2564 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา INDUSTRIAL PLANT DESIGN (01216749) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบ
โรงงานรองเท้าหนัง มีหัวข้อดังนี้ การจัดแผนกภายในโรงงาน การวางผังโรงงาน การเลือก Material Handing การเลือกทำเล
ที่ตั้งของโรงงาน การวางแผนการจัดการคลังสินค้า หากมีข้อผิดพลาดประการใด ของอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
หน้า
โรงงานผลิตรองเท้าหนัง
การจัดแผนกงานภายในโรงงานผลิตรองเท้าหนัง 1
กระบวนการผลิตรองเท้าหนัง 2
การแบ่งแผนกของส่วนการผลิต 4
ส่วนแบ่งการตลาด 5
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตรองเท้าหนัง 6
ข้อมูลพื้นฐานในการผลิต 7
การคำนวณพื้นที่ในส่วนการผลิต 7
การแบ่งพื้นที่ในส่วนสำนักงาน 10
การออกแบบผังภายในโรงงาน 10
Material Handling
ผังการไหลของสินค้า 17
การวางแผนการขนถ่าย (Planning) 17
Material Handling Equipment 18
Unit Load 20
ทำเลที่ตั้งของโรงงาน 21
แหล่งวัตถุดิบ 23
ระยะทางระหว่างแหล่งวัตถุดบิ กับโรงงาน 24
การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพในการเลือกทำเลที่ตั้ง 25
การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงปริมาณในการเลือกทำเลทีต่ ั้งของโรงงาน 28
การวางแผนการจัดการคลังสินค้า 33
อุปกรณ์ขนส่งภายในคลังสินค้า 36
Storage and Retrieval Policy 38
การควบคุมการไหลไม่ให้ของล้นหรือขาด 38
1

โรงงานผลิตรองเท้าหนัง
การผลิตรองเท้าหนังมีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน และยังใช้เครือ่ งจักรและแรงงานฝีมือจำนวนมาก โดยรองเท้า
ที่ผู้จัดทำสนใจได้แก่รองเท้าทรงเฮอริเทจบูท (Heritage Boots) และรองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด (Oxford Shoes) โดยรองเท้า
สองประเภทนี้จะมีกระบวนการผลิตต่างกันเล็กน้อย

นอกจากนี้รองเท้าแต่ละคู่ยังมีทรงหัวรองเท้าหลายประเภท ได้แก่ หัวรองเท้าแบบกลม (Round Toe), หัวรองเท้า


แบบโมคคาซิน (Moccasin Toe), หัวรองเท้าแบบแค็พท์ (Capped Toe), และหัวรองเท้าแบบโบร๊ก (Brogue Toe) และยังมี
ตัวเลือกหนังหลายชนิด ได้แก่ หนังฟอกน้ำมัน (Oil Tanned Leather), หนังกลับ (Roughout Leather), หนังเรีย (Smooth-
finished Leather)

รองเท้าทรงเฮอริเทจบูท รองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด

การจัดแผนกงานภายในโรงงานผลิตรองเท้าหนัง
การจัดแผนกงาน คือกระบวนการจัดกลุ่มของกลุม่ บุคคลที่มีหน้าที่และกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน มอบหมายงานให้คน
ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย โดยภายในโรงงานผลิตรองเท้าหนังนี้ขะมีการแบ่งองค์กรออกเป็น
แผนกต่างๆ ดังนี้
1. ฝ่ายบริหาร
ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายและทิศทางขององค์กร กำหนดกลยุทธ์และวางแผนระยะยาวเพื่อบรรลุสเู่ ป้าหมายที่
กำหนดไว้ มีหน้าที่ตัดสินใจการใช้แผนหรือกลยุทธ์ต่างๆ ภายในองค์กร
2. ฝ่ายการตลาด
2.1.1. ฝ่ายวิเคราะห์ทิศทางสถานการณ์ของตลาด เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะ
ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
2.1.2. ฝ่ายการขาย กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการการประชาสัมพันธ์และการขาย เพื่อเพิ่มยอดขาด
ผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้
3. ฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ทำหน้าที่ออกแบบรองเท้ารุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มีการออกแบบแม่แบบการตัดชิ้นส่วนรองเท้า
รุ่นต่างๆ พัฒนาคุณภาพของวัสดุทใี่ ช้ให้มีคุณภาพมากขึ้นเสมอด้วยการใช้นวัตกรรมหรือกระบวนการที่ทันสมัยและเหมาะสม
กับรองเท้าประเภทนั้นๆ
2

4. ฝ่ายการผลิต
รับผิดชอบการวางแผนการผลิตและดำเนินงานผลิต ออกแบบกระบวนการผลิตให้เหมาะสมกับรูปแบบของ
ผลิตภัณฑ์และความคุม้ ค่าของต้นทุนการผลิต รวมไปถึงการตรวจสอบคุณภาพของรองเท้าให้ได้ตามมาตรฐานและการบรรจุ
ผลิตภัณฑ์ลงกล่อง
5. ฝ่ายจัดซื้อ
ทำหน้าทีก่ ำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดซื้อเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพในด้านวัตถุดิบหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคณ
ุ ภาพดีในราคาที่
เหมาะสม สามารถประสานสัมพันธ์ทั้งภายใน (หน่วยงานแผนกในองค์กร) และภายนอกบริษัท (คู่ค้า/ลูกค้า) เพื่อสร้าง
ภาพลักษณ์ของฝ่ายจัดซื้อจัดหาทีด่ ี กำหนดแผนวิจยั ในเรื่องการจัดซื้อเพื่อให้สามารถสะท้อนการทำงานในองค์กร ให้เห็นถึง
สภาพปัญหาการจัดซื้อเพื่อสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานต่อไป
6. ฝ่ายคลังสินค้า
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลคลังสินค้า การรับ-การจ่าย การเก็บ และการจัดส่งไปยังลูกค้า การจัดการตรวจนับสินค้า
สำเร็จรูปตามระบบการควบคุมสินค้าให้มีประสิทธิภาพ วางแผน บริหาร สต๊อค สินค้าและวัตถุดิบให้เป็นไปตามแผนการผลิต
และแผนการจัดส่งออก จัดทำรายงานสต๊อค รายวัน รายเดือน สรุปยอดสินค้าและวัตถุดิบคงเหลือสิ้นเดือน รวมถึงการเบิกจ่าย
7. ฝ่ายซ่อมบำรุง
ทำหน้าที่กำหนดแผนการซ่อมและดูแลรักษาเครื่องจักรไว้ล่วงหน้า ประมาณอะไหล่ที่จะใช้ในการซ่อมแซม ป้องกัน
การหยุดทำงานของเครื่องจักร วิเคราห์สาเหตุของการเสียหายของเครื่องจักรและทำการซ่อมแซม
8. ฝ่ายบัญชีและการเงิน
ทำหน้าทีบ่ ันทึกและดูแล การรับเงิน การจัดเก็บเงิน ค่าใช้จ่าย รวมทัง้ การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการ
บันทึกรายการการสั่งซื้อวัตถุดิบและยอดการขายสินค้า การจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชีให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้น และ
การจัดเก็บเอกสารทางบัญชี
9. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
มีหน้าที่ดูแลเรื่องการสรรหา คัดเลือกบุคลากร การว่าจ้าง ดูแลเรื่องค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการบุคลากร
รับผิดชอบการวางกฎระเบียบของพนักงาน ฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพของพนักงาน
10. ฝ่ายอาคารและสถานที่
ดูแลบริเวณพื้นที่ของโรงงาน การก่อสร้าง การตกแต่ง ระบบน้ำหรือไฟต่างๆ ภายในโรงงาน รวมไปถึงการดูแลความ
ปลอดภัยภายในโรงงานอีกด้วย
11. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล กล้องวงจรปิด ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์และช่องทางสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3

กระบวนการผลิตรองเท้าหนัง
การผลิตรองเท้าหนังมีขั้นตอนที่มากและซับซ้อน จากการศึกษาสามารถสรุปขั้นตอนแบบคร่าวๆ ดังนี้

1. นำ PVC แบบเม็ดมาหลอมและฉีดขึ้นรูปด้วย Sole Injection Molding Machine เพื่อขึ้นรูปเป็นพื้นรองเท้า


2. เตัดหนังให้เป็นชิ้นตามแบบที่วางไว้ โดยจะใช้วิธีการ Stamp แม่พิมพ์ที่เป็นมีดลงบนแผ่นหนังและใช้เครื่องกด
ไฮโดรลิก (Hydraulic Presses) ลงไปเพือ่ ให้รอยตัดมีคณุ ภาพสูง โดยแม่พิมต่างๆก็จะต่างกันตามรุ่นและไซส์รองเท้านั้นๆ ใน
ขั้นตอนนี้จะมีการปั๊มโลโก้แบรนด์ ลงบนชิ้นส่วนต่างๆ

การสแกนเพื่อคัดเลือกหนัง การตัดหนังตามแบบด้วยการ Stamp


3. ทำการเย็บชิ้นส่วนที่ตดั แล้วเข้าด้วยกันโดยทั้งจักรแบบธรรมดาและใช้จักรเย็บหนังแบบพิเศษ (Puritan Sewing
Machine) และบางส่วนจะใช้กาวติดด้วย ในขั้นตอนนี้จะได้ชิ้นส่วนบนของรองเท้า หลังจากนั้นจะมีการติดป้ายต่างๆ และจะ
นำไปเจาะรูพร้อมใส่ห่วง (Eyelets Punch) ที่รูร้อยเชือกรองเท้า
4. รองเท้าส่วนบนที่ประกอบแล้วจะนำมาติดบุภายใน และนำไปบีบด้วยความร้อน (Hot Press) ให้แน่นและเข้ารูป
หลังนั้นจะนำเข้าเครื่องบีบเข้ากับหุ่นรองเท้า (Mold) เพื่อให้ได้ทรงออกมาเป็นรองเท้าที่ต้องการ
5. นำพื้นรองเท้าส่วนใน (Insole) มาเย็บติดกับรองเท้าส่วนบนด้วยเครือ่ งเย็บแบบพิเศษ หลังจากนั้นจะทำการตัด
หนังส่วนที่เกินออกมาทิ้ง

การเย็บส่วนบนของรองเท้า การบีบเข้ากับหุ่นรองเท้า
6. ทำการเย็บขอบพื้นรองเท้าโดยใช้วิธีการเย็บตะเข็บแบบกูด๊ เยียร์ (Goodyear’s Welt) ด้วยด้ายที่หนาและ
แข็งแรงแบบพิเศษ หลังจากนั้นจะติดพื้นเสริมด้วยกาวลงไปอีกชั้นหนึ่ง
7. นำพื้นยาง PVC มาติดกับรองเท้าที่เย็บตะเข็บพื้นเสร็จแล้วโดยการใช้ความร้อนหลอมพื้นยางให้เหลวติดกัน
หลังจากนั้นจะทำการติดให้แน่นอีกครั้งด้วยการใช้ใบมีดที่มคี วามร้อนสูง (Hot Blade and Roller) แล้วกดให้แน่นจนแห้ง
และนำมาพื้นยางมาตัดส่วนเกินและขัดให้เรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน
8. ติดแผ่นรองพื้นที่ผ่านการปัม๊ โลโก้แล้วในรองเท้าด้วยกาว ทำการเช็ดทำความสะอาดรองเท้า ตัดด้ายส่วนเกิน ร้อย
เชือก และตรวจสอบความเรียบร้อยของรองเท้า หลังจากนั้นทำการบรรจุลงกล่อง
4

การเย็บตะเข็บพื้นแบบกู๊ดเยียร์ การติดพื้นรองเท้าด้วยใบมีดความร้อนสูง

การแบ่งแผนกของส่วนการผลิต
แผนกของส่วนการผลิตจะเรียงตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการผลิต และแบ่งตามกระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ใช้
ในขั้นตอนนั้นๆ โดยผู้จัดทำแบ่งเป็น 6 แผนก ได้แก่
แผนกที่ 1: ฉีดขึ้นรูปพื้น PVC
แผนกที่ 2: ตัด รีด และปั๊มโลโก้
แผนกที่ 3: เย็บส่วนบนของรองเท้าและเจาะรูเชือก
แผนกที่ 4: ขึงเข้ารูปและเย็บประกอบกับ Insole
แผนกที่ 5: ประกอบพื้น PVC และขัดผิว
แผนกที่ 6: เก็บรายละเอียด ตรวจสอบคุณภาพ และบรรจุลงกล่อง

แผนผังแสดงการจัดแผนกภายในโรงงานรองเท้าหนัง

ฝ่ายบริหาร

ฝ่ายการตลาด ฝ่ายออกแบบ

ฝ่ายการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ

ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายซ่อมบำรุง

ฝ่ายบัญชี ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ฝ่ายอาคารและสถานที่ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
5

ส่วนแบ่งการตลาด
รองเท้าที่ผู้จัดทำสนใจได้แก่รองเท้าทรงเฮอริเทจบูท (Heritage Boots) และรองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด (Oxford
Shoes) ในรองเท้าแต่ละทรงจะมีหัวรองเท้าหลายแบบและมีหนังรองเท้าให้เลือกแบบหลากหลายประเภท รองเท้าสามารถ
สวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง เป็นรองเท้าแฟชั่นที่สวมใส่ได้เข้ากับการแต่งตัวหลายสไตล์ ส่วนใหญ่รองเท้าลักษณะนี้เป็นที่นิยมใน
หมู่วัยรุ่นเป็นส่วนมากรองลงมาคือวัยทำงาน รองเท้าลักษณะนี้เจาะจงลูกค้าค่อนข้างเฉพาะกลุ่มดังนั้นกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่
ผู้จัดทำสนใจจึงอยู่ในช่วงอายุ 20-45 ปี ทั้งเพศชายและหญิง โดยเป็นการตลาดแบบแบ่งส่วนคือสินค้าผลิตตามความต้องการ
ของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน สินค้าถูกผลิตตามรุ่น จากรองเท้าหนังที่ขายได้ทั้งหมดภายในประเทศผู้จัดทำกำหนดให้คิดส่วนแบ่ง
ทางการตลาดเป็น 10 เปอร์เซ็นโดยความต้องการที่จะผลิตเข้าสู่ตลาดรองเท้าหนั งคิดเป็น 100,000 คู่ซึ่งคิดมาจากทรงเฮอริ
เทจบูท (Heritage Boots) และรองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด (Oxford Shoes) สามารถแยกย่อยการผลิตรองเท้าแต่ละรุ่นได้ดังนี้

รองเท้าทรงเฮอริเทจบูท
หัวรองเท้า-หนัง จำนวนสินค้า เปอร์เซ็นจากสินค้าทั้งหมด
หัวกลมหนังฟอกน้ำมัน 4170 4.17
หัวกลมหนังกลับ 2920 2.92
หัวกลมหนังเรีย 2920 2.92
หัวโมคคาซินหนังฟอกน้ำมัน 3750 3.75
หัวโมคคาซินหนังกลับ 2500 2.50
หัวโมคคาซินหนังเรีย 2500 2.50
หัวแค็พท์หนังฟอกน้ำมัน 3750 3.75
หัวแค็พท์หนังกลับ 2670 2.67
หัวแค็พท์หนังเรีย 2610 2.61
หัวโบร๊กหนังฟอกน้ำมัน 3290 3.29
หัวโบร๊กหนังกลับ 5000 5.00
หัวโบร๊กหนังเรีย 5600 5.60
รวม 41670 41.67
ตารางแสดงสัดส่วนความต้องการในการผลิตของรองเท้าทรงเฮอริเทจบูท
6

รองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด
หัวรองเท้า-หนัง จำนวนสินค้า เปอร์เซ็นจากสินค้าทั้งหมด
หัวกลมหนังฟอกน้ำมัน 1870 1.87
หัวกลมหนังกลับ 3270 3.27
หัวกลมหนังเรีย 7740 7.74
หัวโมคคาซินหนังฟอกน้ำมัน 3990 3.99
หัวโมคคาซินหนังกลับ 4450 4.45
หัวโมคคาซินหนังเรีย 5750 5.75
หัวแค็พท์หนังฟอกน้ำมัน 6220 6.22
หัวแค็พท์หนังกลับ 4970 4.97
หัวแค็พท์หนังเรีย 4560 4.56
หัวโบร๊กหนังฟอกน้ำมัน 4050 4.05
หัวโบร๊กหนังกลับ 3200 3.20
หัวโบร๊กหนังเรีย 8270 8.27
รวม 58333 58.33
ตารางแสดงสัดส่วนความต้องการในการผลิตของรองเท้าทรงออกซ์ฟอร์ด

เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตรองเท้าหนัง
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะมีทั้งหมด 14 เครื่อง ได้แก่

เครื่องจักร ขนาด (ยาว×กว้าง×สูง cm)


1 Sole Injection Molding Machine 330×230×300
2 Hydraulic Clicker Presses 90×85×130
3 Leather Rolling Machine 25×20.5×17.5
4 Stamping Machine 37×34.5×60
5 Sewing Machine 65×27×57
6 Zig Zag Sewing Machine 40.5×17.5×29.2
7 Puritan Sewing Machine 55×32.5×48.5
8 Punch and Eyelet Machine 68×55×150
9 Cementing & Toe Lasting Machine 181×100×195
10 Sidewall Stitching Machine 114×66×144
11 Flash Trimming Machine 11×53×116.5
12 PVC Welt Sewing Machine 83×108×190
13 Blades and Rollers Machine 120×74×152
14 Shoe Finishing Machine 137×75×170
ตารางแสดงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
7

ข้อมูลพืน้ ฐานในการผลิต

จากการศึกษาข้อมูล พบว่าความต้องการ (Demand) สำหรับรองเท้าหนังอยู่ที่ประมาณ 100,000 คู่/ปี หากคิดเป็น


ชิ้น (เป็นข้าง) จะอยู่ที่ 200,000 ชิ้น/ปี โดยทางโรงงานจะมีวันทำงานหลังจากหักวันหยุดแล้วที่ประมาณ 262 วัน/ปี และจะ
ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง/วัน โดยมีประสิทธิภาพของเครื่องจักรอยู่ที่ 80% โดยประมาณทุกเครื่อง

จากข้อมูลข้างต้น สามารถนำไปคำนวณกำลังการผลิต (Capacity Requirement) ได้โดย


ความต้องการ 200,000
กำลังการผลิต (Capacity Requirement) = = = 1.59 ชิ้น/นาที
เวลาที่ใช้ทั้งหมด 125760

การคำนวณพื้นที่ในส่วนการผลิต

พื้นที่ในส่วนการผลิตจะถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 6 แผนก โดยพื้นที่ของแต่ละแผนกจะสัมพันธ์กับชนิดและจำนวนของ


เครื่องจักรที่ใช้ในแผนกนั้นๆ ซึ่งจำนวนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะสามารถคำนวณได้จากกำลังการผลิตของเครื่องจักรนั้น
จากการคำนวณจำนวนเครื่องจักรและพื้นที่ที่ใช้ของแต่ละแผนก ได้ผลดังนี้

1. แผนกฉีดขึ้นรูปพื้น PVC

Allowance
Standard time Capacity % Performance Number of
Machine % Defect capacity
(minute/piece) (piece/minute) 80% Machine
(piece/minute)
Sole Injection Molding Machine 1.33 0.75 0.02 1.62 2.03 2.70
1.59

Number of Space/Machine
Machine % Utility Extra Area (m2)
Machine (m2)
Sole Injection Molding Machine M1 90.15 3 15 30 75
รวม 3 75

ในแผนกนี้มีการคิดพื้นที่ชั้นวางของ โต๊ะตรวจสอบ และทางเดินเพิ่มอีก 30 m2 ดังนั้นจะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 105 m2


8

2. แผนกตัด รีด และปั๊มโลโก้


Allowance % Performance
Standard time Capacity Number of
Machine % Defect capacity
(minute/piece) (piece/minute) 80% Machine
(piece/minute)
Hydraulic Clicker Presses 1.25 0.80 0.03 1.67 2.09 2.61
Leather Rolling Machine 0.83 1.20 0.01 1.62 2.03 1.69
Stamping Machine 0.42 2.40 0.01 1.61 2.01 0.84
1.59

Number of Space/Machine
Machine % Utility Machine (m2) Extra Area (m2)
Hydraulic Clicker Presses M1 87.13 3 6 15 33
Leather Rolling Machine M2 84.51 2 3 5 11
Stamping Machine M3 83.67 1 4 7 11
รวม 6 55

ในแผนกนี้มีการคิดพื้นที่ชั้นวางของ โต๊ะทำงาน และทางเดินเพิ่มอีก 40 m2 ดังนั้นจะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 95 m2

3. เย็บส่วนบนของรองเท้าและเจาะรูเชือก

Allowance %
Standard time Capacity Number of
Machine % Defect capacity Performance
(minute/piece) (piece/minute) Machine
(piece/minute) 80%

Sewing Machine 9.50 0.11 0.03 1.78 2.22 21.11


Zig Zag Sewing Machine 3.75 0.27 0.03 1.72 2.16 8.08
Puritan Sewing Machine 3.75 0.27 0.03 1.67 2.09 7.84
Punch and Eyelet Machine 1.75 0.57 0.02 1.62 2.03 3.55
1.59
9

Number of Space/Machine
Machine % Utility Extra Area (m2)
Machine (m2)
Sewing Machine M1 95.97 22 3 5 71
Zig Zag Sewing Machine M2 89.83 9 3 4 31
Puritan Sewing Machine M3 98.03 8 3 4 28
Punch and Eyelet Machine M4 88.75 4 6 6 30
รวม 43 160

ในแผนกนี้มีการคิดพื้นที่ชั้นวางของ โต๊ะทำงาน และทางเดินเพิ่มอีก 50 m2 ดังนั้นจะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 210 m2

4. ขึงเข้ารูปและเย็บประกอบกับ Insole
Allowance
Standard time Capacity % Performance Number of
Machine % Defect capacity
(minute/piece) (piece/minute) 80% Machine
(piece/minute)
Cementing & Toe Lasting
0.75 1.33 0.01 1.71 2.13 1.60
Machine
Sidewall Stitching
1.33 0.75 0.02 1.69 2.11 2.82
Machine
Flash Trimming Machine 0.83 1.20 0.02 1.66 2.07 1.72
PVC Welt Sewing Machine 1.33 0.75 0.02 1.62 2.03 2.70
1.59

Number of Space/Machine
Machine % Utility Machine (m^2) Extra Area (m^2)
Cementing & Toe Lasting Machine M1 80.00 2 6 8 20
Sidewall Stitching Machine M2 93.87 3 3 5 14
Flash Trimming Machine M3 86.25 2 3 5 11
PVC Welt Sewing Machine M4 90.15 3 5 5 20
รวม 10 65

ในแผนกนี้มีการคิดพื้นที่ชั้นวางของ โต๊ะทำงาน และทางเดินเพิ่มอีก 50 m2 ดังนั้นจะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 115 m2


10

5. ประกอบพื้น PVC และขัดผิว


Allowance Number of
Standard time Capacity %Performance
Machine % Defect capacity Machine
(minute/piece) (piece/minute) 80%
(piece/minute)
Blades and Rollers Machine 1.67 0.60 0.04 1.66 2.08 3.47
Shoe Finishing Machine 2.50 0.40 0.01 1.60 2.00 4.99
1.59

Number of Space/Machine
Machine % Utility Extra Area (m2)
Machine (m2)
Blades and Rollers Machine M1 86.71 4 6 10 34
Shoe Finishing Machine M2 99.90 5 6 6 36
รวม 9 70

ในแผนกนี้มีการคิดพื้นที่ชั้นวางของ โต๊ะทำงาน และทางเดินเพิ่มอีก 50 m2 ดังนั้นจะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 120 m2

การแบ่งพื้นที่ในส่วนสำนักงาน

ในส่วนสำนักงานจะมีการแบ่งเป็นแผนกทั้งหมด 6 แผนก โดยจะแบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของงาน ดังนี้

แผนก พื้นที่ (m2)


1 ฝ่ายการตลาด 70
2 ฝ่ายจัดซื้อ 50
3 ฝ่ายบัญชี 50
4 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 30
5 ฝ่ายอาคารและสถานที่ 40
6 ฝ่ายออกแบบ 80
รวม 320

การออกแบบผังภายในโรงงาน

ในการออกแบบผังโรงงาน จะใช้วิธี Systematic Layout Planning (SLP) ซึ่งเป็นจัดวางผังตามปริมาณกิจกรรม


การขนย้ายและความสัมพันธ์ระหว่างแผนกเพื่อทำให้กระบวนไหลได้อย่างต่อเนื่องมากที่สดุ
11

จากการคำนวณพื้นที่แผนกต่างๆ ภายในโรงงาน สามารถสรุปพื้นทีข่ องแต่ละแผนกๆ ได้ดังนี้

แผนก พื้นที่ (m2)


1 สำนักงาน 320
2 ฉีดขึ้นรูปพื้น PVC 105
3 ตัด รีด และปั๊มโลโก้ 95
4 เย็บส่วนบนของรองเท้าและเจาะรูเชือก 210
5 ขึงเข้ารูปและเย็บประกอบกับ Insole 115
6 ประกอบพื้น PVC และขัดผิว 120
7 เก็บรายละเอียด ตรวจสอบคุณภาพ และบรรจุลงกล่อง 120
8 คลังวัตถุดิบ 200
9 คลังสินค้า 200
10 แผนกซ่อมบำรุง 80
11 โรงอาหาร 130
12 ห้องน้ำ 80
รวม 1775

จากการวิเคราห์ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่างๆ สามารถนำมาสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ (Relationship Chart)


และตารางแสดงความสัมพันธ์ได้ดงั นี้
12

แผนภูมิความสัมพันธ์ (Relationship Chart)

แผนก
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
A 6 4,8 3,5 4,6 2,5,7 6,9 3 7
E 8,10 5 3 2 2
I 9,12 10 6,10 7,10 4,10 5 1 3,4,5,6 1
1,4,5,6, 2,3,4,5, 2,3,4,5,
2,3,4,5, 1,3,5,7, 1,2,6,7, 1,7,8,9 1,2,8,9, 1,3,8,9, 1,2,3,4, 7,8,9,
O 7,9,10, 6,8,10, 1,12 6,7,8,9,
6,7,8,11 9,12 9,12 12 12 12 8,10,12 12
12 12 10,11
2,3,4,5,
U 10 4,11 11 2,11 11 11 11 11 11 1,11
6,7,8,9,10
X
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่างๆ

หลังจากกำหนดความสัมพันธ์ทั้งหมดแล้ว สามารถนำความสัมพันธ์ระหว่างแผนกมาจัดผังความสัมพันธ์แบบคร่าวๆ
เพื่อระบุตำแหน่งให้ตรงตามความสัมพันธ์ก่อนจะนำไปเขียนผังจริงได้ดังนี้

1 4 5 9

12 3 6 7

11 8 2 10

ผังแสดงตำแหน่งของแผนกต่างๆ ตามความสัมพันธ์ระหว่างแผนก

ขั้นตอนสุดท้ายคือการออกแบบผังโรงงานโดยมีการแบ่งพื้นที่ตามขนาดของแต่ละแผนกที่คำนวณไว้และ
จัดตำแหน่งตามความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ข้างต้น
กำหนดให้ผังที่ออกแบบมามีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านยาวจะมีความยาวเป็น 1.5 เท่าของด้าน
กว้าง และกำหนดให้พื้นที่มีความเผื่อมีค่าระหว่าง 20 - 50 ตารางเมตร สามารถคำนวณด้านยาวออกมาได้ 53 เมตร
ด้านกว้าง 34 เมตร พื้นที่รวมอยู่ที่ 1,802 ตารางเมตร หลังจากนั้นจะแบ่งด้านกว้างออกเป็น 3 แถว ที่มีความกว้าง
14, 10, 10 เมตร ตามลำดับเพื่อแบ่งพื้นที่แต่ละแผนกให้ได้ตามที่คำนวณไว้ โดยได้ผังโรงงานตามภาพด้านล่าง
13

ผังโรงงานผลิตรองเท้าหนัง
14

การคำนวณคะแนน Layout
จาก ∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅+ 𝑟𝑖𝑗 𝑥𝑖𝑗 + ∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅− | 𝑟𝑖𝑗 | (1 − 𝑥𝑖𝑗 )

แผนก
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
A 6 4,8 3,5 4,6 2,5,7 6,9 3 7
E 8,10 5 3 2 2
I 9,12 10 6,10 7,10 4,10 5 1 3,4,5,6 1
O 2,3,4,5, 1,3,5,7,9,12 1,2,6,7, 1,7,8,9 1,2,8,9, 1,3,8,9, 1,2,3,4, 1,4,5,6, 2,3,4,5, 7,8,9, 1,12 2,3,4,5,
6,7,8,11 9,12 12 12 12 8,10,12 7,9,10, 6,8,10, 12 6,7,8,9,
12 12 10,11
U 10 4,11 11 2,11 11 11 11 11 11 1,11 2,3,4,5,
6,7,8,9,10
X

แผนก แผนก ความสัมพันธ์ Rij Xij คะแนน


2 O 1 0 0
3 O 1 1 1
4 O 1 1 1
5 O 1 0 0
6 O 1 0 0
1
7 O 1 0 0
8 O 1 0 0
11 O 1 0 0
9 I 4 0 0
12 I 4 1 4

6 A 64 1 64
8 E 16 1 16
10 E 16 1 16
3 O 1 0 0
2
5 O 1 0 0
7 O 1 1 1
9 O 1 0 0
12 O 1 0 0
15
แผนก แผนก ความสัมพันธ์ Rij Xij คะแนน
4 A 64 1 64
8 A 64 1 64
5 E 16 0 0
3 10 I 4 0 0
6 O 1 1 1
7 O 1 0 0
9 O 1 0 0
5 A 64 1 64
6 I 4 1 4
10 I 4 0 0
4 7 O 1 0 0
8 O 1 0 0
9 O 1 0 0
6 A 64 1 64
7 I 4 1 4
5 10 I 4 0 0
8 O 1 0 0
9 O 1 1 1
12 O 1 0 0
7 A 64 1 64
6 10 I 4 0 0
8 O 1 1 1
9 O 1 0 0
9 A 64 1 64
7 8 O 1 0 0
10 O 1 1 1
12 O 1 0 0
16
แผนก แผนก ความสัมพันธ์ Rij Xij คะแนน
9 O 1 0 0
8 10 O 1 0 0
12 O 1 0 0
10 0 1 0 0
9 12 0 1 0 0
10 12 0 1 0 0
11 12 0 1 1 1
TOTAL 565 501

∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅+ 𝒓𝒊𝒋 𝒙𝒊𝒋 + ∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅− | 𝒓𝒊𝒋 | (1 − 𝑥𝑖𝑗 )


𝐸𝑓𝑓𝑖𝑐𝑖𝑛𝑒𝑛𝑐𝑦 =
∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅+ 𝒓𝒊𝒋 + ∑𝑖,𝑗 ∑∈𝑅− | 𝒓𝒊𝒋 |

501
𝐸𝑓𝑓𝑖𝑐𝑖𝑛𝑒𝑛𝑐𝑦 =
565

= 0.886725664
17

Material Handling
ผังการไหลของสินค้า

การวางแผนการขนถ่าย (Planning)

Material Handling

What Where When How Who

Materials Moves Methods

รูปแบบขั้นตอนการวางแผนขนส่ง
การขนส่งของโรงงานมีทั้งการขนส่งภายในโรงงานและภายในคลังสินค้า โดยวัตถุดิบหลักที่ท ำการขนส่งภายใน
โรงงานคือ หนัง, พื้นรองเท้า, ด้าย,หุ่นรองเท้าและวัสดุอื่นๆที่ใช้ในการทำรองเท้า รวมไปถึงการขนส่งรองเท้าที่กำลังจะเป็น
ผลิตภัณฑ์สำเร็จระหว่างแผนก โดยการขนส่งภายในโรงงานมีการขนส่งตามลำดับต่อไปนี้ 1.แผนกฉีดขึ้นรูปพื้น PVC 2. แผนก
ตัด รีด และปั๊มโลโก้ 3. แผนกเย็บส่วนบนของรองเท้าและเจาะรูเชือก 4.แผนกขึงเข้ารูปและเย็บประกอบกับ Insole 5. แผนก
ประกอบพื้น PVC และขัดผิว 6. แผนกเก็บรายละเอียด ตรวจสอบคุณภาพ และบรรจุลงกล่อง
การขนส่งภายในโรงงานแต่ละแผนกจะใช้อุกรณ์ขนย้ายที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ จากแผนกฉีดขึ้นรูปเมื่อได้เป็นพื้น
รองเท้าแล้วจะถูกลำเลียงโดยการใช้ Tote Box วางบน Hand truck เพื่อขนย้ายไปยังแผนกถัดๆไป หนังที่ใช้ในการทำรองเท้า
ถูกขนย้ายเข้ามายังแผนกตัด รีด และปั๊มโลโก้โดยใช้ Pallets Jacks แบบ manual เพราะหนังที่โรงงานใช้มาในรูปแบบเป็น
18

ม้วนผ้ามีน้ำหนักค่อนข้างมาก ส่วนวัตถุอื่นๆเช่น หุ่นรองเท้าที่ถูกเก็บไว้ใน Drawer และนำมาใช้ยังแผนกขึงเข้ารูปและเย็บ


ประกอบกับ เมื่อทำการขึ้นรูปรองเท้าแล้วหุ่นรองเท้าที่ใช้เสร็จจะใส่ลงไปใน Tote Box ที่วางบน Hand truck เพื่อขนย้ายไป
เก็บใน Drawer เหมือนเดิม เมื่อการผลิตดำเนินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตรวจสอบคุณภาพรองเท้าที่ได้ตามแบบที่ลูกค้า
ต้องการแล้วจะถูกขนส่งโดยการใช้ Rack ที่มีล้อเลื่อนเพื่อทำการเคลื่อนย้ายไปยังแผนกตรวจสอบคุณภาพและบรรจุลงกล่อง
เมื่อการผลิตเสร็จสิ้นรองเท้าจะถูกขนส่งเข้าสู่คลังสินค้าโดยใช้รถ Forklift ภายในคลังสินค้าก็ใช้รถ Forklift ในการเคลื่อนย้าย
ด้วยเช่นกัน โดยการเก็บสินค้าเข้าสู่คลังใช้การเก็บแบบ First In-First Out เพื่อรักษาคุณภาพของรองเท้าหนัง ภายใน 1
สัปดาห์มีการขนส่งรองเท้าเป็นจำนวน 2,672 กล่อง เข้าสู่คลังสินค้า
โดยทางบริษัทได้มีการวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรมการขนย้ายวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปดังนี้
1. ในแต่ละแผนกควรมีพื้นที่ทางเดินสำหรับการขนย้ายวัตถุดิบอย่างน้อย 20 ตารางเมตร
2. การจัดเก็บสินค้าสำเร็จแบบ First In-First Out เพื่อให้รองเท้าหนังยังคงไว้ซึ่งสภาพหนังที่มีคุณภาพ สิ นค้าเป็นไป
ตามความต้องการของตลาด ตามเทรนของลูกค้าและเพื่อลดการเกิดสินค้าที่ค้างสต๊อก
3. การจัดหาอุปกรณ์การขนย้ายให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่จะเคลื่อนย้ายไปยังแผนกต่างๆ
4. หลังจากการทำงานในแต่ละสถานีเสร็จเรียบร้อยแล้วสินค้าที่จะส่งไปยังแผนกถัดไปควรจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ ขนส่ง
สินค้าตามที่บริษัทกำหนด เพื่อป้องกันสินค้าตกหล่น
5. กำหนดเส้นทางการขนส่งของสินค้าและวัตถุดิบอย่างชัดเจนเพื่อให้พนักงานทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน โดยการขน
ย้ายจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับลำดับขั้นตอนการผลิตพนักงานที่ขนส่งไม่เดินวนไปมา
6. กำหนดจุดรับและส่งสินค้าและวัตถุดิบของโรงงาน
7. หลังจากการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบแล้วอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งควรได้รับการตรวจเช็คจำนวนและเก็บไว้ตาม
ตำแหน่งที่โรงงานได้กำหนด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็ค
8. กำหนดพนักงานที่ใช้ในการขนย้ายสินค้าและวัตถุดิบให้เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการเพิ่มต้นทุน
9. ในการขนย้ายน้ำหนักสินค้าและวัตถุดิบจะต้องสอดคล้องกับอุปกรณ์การขนย้ายเพื่อป้องกันการรับน้ำหนักเกิน
10. ความกว้างระหว่างทางเดินควรกำหนดของเขตให้แน่ชัดโดยการใช้ Visual Control กำหนดเส้นแบ่งทางเดิน

Material Handling Equipment


1. Containers and Unitizers
1.1 Containers
ในการขนถ่ายสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) จะมีการใช้พาเลท (Pallet) ซึ่งเป็นแท่นสำหรับรองรับหรือวาง
สินค้า เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าจากชั้นวางของ รถยก หรือรองรับน้ำหนักสิ่งของ ซึ่งพาเลทที่ใช้จะเป็นพาเลท
ไม้ ขนาด 1,100 × 1,100 × 150 mm ซึ่งเป็นหนึ่งในขนาดมาตรฐานที่ใช้กันในแถบเอเชีย
19

พาเลทไม้ ขนาด 1,100 × 1,100 × 150 mm


การขนส่งภายในโรงงานแต่ละแผนกจะใช้อุกรณ์ขนย้ายหลายชนิด และจะถูกลำเลียงโดยการใช้ Tote Box ขนาด
600 × 400 × 370 mm วางบน Hand truck เพื่อขนย้ายไปยังแผนกถัดๆ ไป

Tote Box ขนาด 600 × 400 × 370 mm


1.2 Unitizers
ในการห่อพาเลทหลังเรียงสินค้าเสร็จแล้ว จะใช้การห่อแบบ Stretch Wrapping ซึ่งเป็นการห่อโดยใช้ฟิล์มแบบ
ยืดหยุ่นพันรอบผลิตภัณฑ์หลายชิน้ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อรวมหน่วย เพื่อรักษาความคงตัวบนชั้นพาเลทป้องกันการล้มของ
ผลิตภัณฑ์ที่เรียงซ้อน โดยทางโรงงานจะใช้เครื่อง Stretch Wrapping Machine ซึ่งเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อความรวดเร็ว
และเรียบร้อย

Stretch Wrapping Machine

2. Industrial Trucks & Vehicles


การขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าจะใช้รถโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า รุ่น 3-Wheel Electric Forklift 1.2 TVE3 สามารถรับ
น้ำหนักได้ 1,200 กิโลกรัม และสามารถยกได้สูงสุด 4.5 เมตร ซึ่งเหมาะกับการยกพาเลทไปวางบนชั้นวางสินค้า โดยรถโฟร์
คลิฟท์รุ่นนี้มีข้อดีคือมีขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะกับการใช้งานในที่แคบ
นอกจากนี้จะมีการใช้รถลากพาเลทแบบงาต่ำ ซึ่งเป็นรถสำหรับคนลากขนาดเล็ก ทีส่ ามารถรับน้ำหนักได้ 1,000 –
2,000 กิโลกรัม ในการเคลี่ยนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปภายในโรงงาน เพื่อความคล่องแคล่วและรวดเร็ว
นอกกจากนี้ยังมีการใช้รถเข็นแบบ Hand Truck ในการขนย้ายวัสดุระหว่างแผนกอีกด้วย
20

รถโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า รถลากพาเลทแบบงาต่ำ

3. Storage and Retrieval Equipment


ในส่วนของชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า จะใช้ชั้นวางแบบ Pallet Flow Racking ซึ่งเป็นชั้นเก็บสินค้าทีเ่ หมาะสมกับ
การหยิบสินค้าแบบ First-In First-Out (FIFO) โดยสินค้าที่เข้าเก็บก่อนจะถูกสินค้าที่เข้าทีหลังดันข้ำอีกด้านหนึ่ง โดยตัวชั้นจะ
มีการลาดเอียงเล็กน้อยและมีลูกกลิ้ง (Rollers) เพื่อให้พาเลทเคลื่อนที่ได้ง่ายและราบลื่นยิ่งขึ้น
ข้อดีของชั้นวางสินค้าประเภทนี้ คือ สามารถควบคุมสินค้าคงคลังแบบ First-In First-Out (FIFO) ได้งา่ ยและมี
ประสิทธิภาพ สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากถึง 90% ของปริมาตรคลังสินค้า และประหยัดเวลาและแรงงานที่ใช้ในการ
ปฏิบัติงานในส่วนนีล้ ง

ชั้นวางแบบ Pallet Flow Racking

Unit Load
พาเลทที่ใช้ในการขนย้ายเป็นพาเลทไม้ที่มีขนาด 1,100 × 1,100 × 150 mm ซึ่งกล่องรองเท้าแต่ละกล่องจะมี
ขนาด 360 × 260 ×140 mm ส่งผลให้ในแต่ละพาเลทจะสามารถวางกล่องรองเท้าได้ชั้นละ 3 × 4 กล่อง/ชั้น วางซ้อนกัน
ทั้งหมด 5 ชั้น (ถ้าซ้อนมากกว่านี้อาจจะเกิดความเสียหายต่อกล่องได้) ดังนั้นใน 1 Unit Load จะมีกล่องสินค้าทั้งหมด 60
กล่อง นำมาห่อเข้าด้วยกันด้วยเครือ่ ง Stretch Wrapping Machine โดยจะมีขนาดรวม 1,080 × 1,040 × 700 mm

1 Unit Load
21

ทำเลที่ตั้งของโรงงาน
ในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานทางผู้จัดทำได้ทำการเลือกทำเลที่ตั้ง มี 5 ทำเล มีดังต่อไป
โรงงาน 1 : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
โรงงาน 2 : นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
โรงงาน 3 : นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
โรงงาน 4 : นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
โรงงาน 5 : นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
รายละเอียดของทำเลที่ตั้งของทั้ง 5 โรงงาน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด พื้นที่โครงการ ระยะจากสถานที่ใกล้เคียง
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีดังต่อไปนี้
โรงงาน 1 : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี
1.1 พื้นที่โครงการ
-เนื้อที่ทั้งหมด 18,840 ไร่
-เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 11,297 ไร่
-เขตที่พักอาศัย / พาณิชย์ 1,557.8 ไร่
1.2 สิ่งอำนวยความสะดวก
-ระบบน้ำประปา (ดำเนินการโดย: บริษัท อมตะวอเตอร์ จำกัด )
-ระบบไฟฟ้า (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์)
-ระบบบำบัดน้ำเสียระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพกำลังบำบัด 50,500 ลูกบาศก์เมตร / วัน)
-ระบบถนน (สายประธาน 48 เมตร 6 ช่องจราจร, สายรองประธาน 32 เมตร 4 ช่องจราจร)
-ระบบป้องกันอัคคีภัยติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิงตามแนวถนนทุกระยะ 250 เมตร)
โรงงาน 2 : นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
2.1 พื้นที่โครงการ
-เนื้อที่ทั้งหมด 1,456 ไร่
-เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1041 ไร่
-เขตที่พักอาศัย / พาณิชย์ 28 ไร่
2.2 สิ่งอำนวยความสะดวก
-ระบบน้ำประปา
-แหล่งน้ำประปา : การประปาส่วนภูมิภาค
-ผลิตน้ำได้ 25,000 ลูกบาศก์เมตร / วัน
-สามารถจ่ายน้ำได้ 45 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / วัน
-ระบบไฟฟ้า
-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
-แรงดันไฟฟ้าขนาด 115 / 22 กิโลโวลต์
-ความสามารถจ่ายไฟฟ้า 80 เมกกะโวลต์-แอมแปร์ หรือ 60 กิโลโวลต์-แอมแปร์ / ไร่
22

-ระบบโทรศัพท์ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
-ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถกำจัดน้ำเสียได้ 21,000 ลูกบาศก์เมตร / วัน
-ระบบเตาเผาขยะ สามารถเผาขยะได้ 1,250 กิโลกรัม / ชั่วโมง
-ระบบถนน
-สายประธาน : 35 เมตร 4 ช่องจราจร
-สายรองประธาน : 27 เมตร 2 ช่องจราจร
-สายรอง : 22 เมตร 2 ช่องจราจร
-ระบบป้องกันน้ำท่วม มีเขื่อนรอบโครงการและอ่างเก็บน้ำฝนจำนวน 6 บ่อ พร้อมเครื่องสูบน้ำ
-ระบบป้องกันอัคคีภัย ติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิงตามแนวถนนทุกระยะ 350 เมตร

โรงงาน 3 : นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
3.1 พื้นที่โครงการ
-เนื้อที่ทั้งหมด 1004 ไร่
-เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 793 ไร่
-เขตที่พักอาศัย / พาณิชย์ 14 ไร่
3.2 สิ่งอำนวยความสะดวก
-ระบบน้ำประปา ผลิตและจำหน่ายโดยการประปานครหลวง
-ระบบไฟฟ้า โดยการไฟฟ้านครหลวง
-ระบบโทรศัพท์ บริการโดย TOT, True, AIS ฯลฯ
-ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ระบบตะกอนเร่ง สามารถกำจัดน้ำเสียได้ 8,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
-ระบบถนน ผิวจราจรกว้าง 10-12 เมตร ทางเท้ากว้าง 2 เมตร รางระบาย ทั้งแบบรางเปิดและปิด
-ระบบป้องกันน้ำท่วม
-สถานีสูบระบายน้ำ จำนวน 5 สถานี
-Mobile Pump จำนวน 4 เครื่อง
-ความสามารถในการสูบระบายรวม 18,290 ลูกบาศก์เมตร / ชั่วโมง
-ระบบป้องกันอัคคีภัย
-รถดับเพลิง 1 คัน พร้อมอุปกรณ์ครบถ้วน มีแหล่งน้ำสำรอง ปริมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร

โรงงาน 4 : นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
4.1 พื้นที่โครงการ
-เนื้อที่ทั้งหมด 2559 ไร่
-เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1228 ไร่
-เขตที่พกั อาศัย / พาณิชย์ 9.23 ไร่
23

4.2 สิ่งอำนวยความสะดวก
-ระบบน้ำประปา โดยการประปานครหลวง (มีบ่อบาดาล 5 บ่อ สถานีสูบจ่ายน้ำ 4 สถานี)
-ระบบไฟฟ้า
-การไฟฟ้านครหลวง(สำนักงานไฟฟ้ามีนบุรี) มีสถานีไฟฟ้าย่อย 2 สถานี
-ความสามารถจ่ายไฟฟ้า 180 เมกกะโวลต์-แอมแปร์
-แรงดันไฟฟ้า 24 กิโลโวลต์
-ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) จำนวน 2 ระบบ สามารถกำจัดน้ำเสียได้
18,600 ลูกบาศก์เมตร / วัน
-ระบบถนน สายประธานกว้าง 31 เมตร สายรองกว้าง 27 เมตร
โรงงาน 5 : นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
5.1 พื้นที่โครงการ
-เนื้อที่ทงั้ หมด 3508 ไร่
-เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2659 ไร่
-เขตที่พักอาศัย / พาณิชย์ 6 ไร่
5.2 สิ่งอำนวยความสะดวก
-ระบบน้ำประปา แหล่งน้ำบาดาล สามารถจ่ายน้ำได้ 12 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / วัน
-ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคความสามารถในการจ่ายไฟฟ้า 2X 40 เมกกะโวลต์ แอมแปร์
แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์
-ระบบถนน สายประธาน 35 เมตร 4 ช่องจราจร, สายรองประธาน 27.50 เมตร 2 ช่องจราจถนนซอยเป็น
เขตพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยทางกว้าง 15 เมตร 2 ช่องจราจร
-ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางเป็นระบบ Activated Sludge
-ระบบป้องกันน้ำท่วม ใช้ระบบรางคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเปิด
-ระบบเตาเผาขยะ (จำนวน 5 เตา, เตาเผาขยะสามารถเผาขยะได้ 27 ตัน/วัน
แหล่งวัตถุดิบ
ในการผลิตรองเท้าหนัง มีวัตถุที่จำเป็นหลักๆ ที่ใช้ในการผลิตอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ หนังวัวฟอก เม็ดพลาสติกแบบ PVC
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน (Insole) เชือกรองเท้าแบบถัก และตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า (Eyelets) ซึ่งแหล่งวัตถุดิบเหล่านีเ้ ป็น
หนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงาน

หนังวัวฟอก เม็ดพลาสติกแบบ PVC


24

เชือกรองเท้าแบบถัก ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า

จากการศึกษาข้อมูลทำเลทีต่ ั้งของแหล่งวัตถุดิบ ได้ดังนี้

วัตถุดิบ แหล่งวัตถุดิบ ที่ตั้ง


ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 700 หมู่ 6 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ
หนังวัวฟอก
ไทยเกรท โปรดักส์ 274 หมู่ 2 ถ.แพรกษา ต.แพรกษา อ.เมือง สมุทรปราการ
โพลิเมอร์ จำกัด 199/19 ม.8 ถ.สุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ ประเวศ กรุงเทพ
เม็ดพลาสติกชนิด PVC
888 ไลอ้อน จำกัด 16/5 หมู่ 17 ถ.ลำลูกกา ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา ปทุมธานี
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 56/1 หมู่ 6 ต.ลาดจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน
บจก. รันเนส เวิลด์ 386 ม.2 ถ.พุทธรักษา ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 1 ม. 7 ต.บ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
เชือกรองเท้าแบบถัก
หจก.ธนสยามการทอ 92 ถ.เอกชัย-บางบอน 4 แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพ
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 296/5 ถ.สุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 620/5 หมู่ 11 ถ.สุขาภิบาล 8 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา ชลบุรี

ระยะทางระหว่างแหล่งวัตถุดิบกับโรงงาน

จากข้อมูลที่ตั้งของแหล่งวัตถุดิบข้างต้น จะสามารถนำมาหาระยะทางระหว่างแหล่งวัตถุดิบกับโรงงานทั้ง 5 แห่งได้


โดยใช้การคำนวณระยะทางจาก Google Maps โดยหาทั้งระยะทางจริงที่ใช้ในการเดินทางบนถนน และระยะกระจัดระหว่าง
แหล่งวัตถุดิบกับโรงงาน หลังจากนั้นจะนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อทำการเปรียบเทียบระยะทาง ได้ผลดังนี้
25

วัตถุดิบ แหล่งวัตถุดิบ ระยะทาง (กิโลเมตร)


โรงงานที่ 1 โรงงานที่ 2 โรงงานที่ 3 โรงงานที่ 4 โรงงานที่ 5
ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 57.5 65.5 24.9 43.3 95.7
หนังวัวฟอก
ไทยเกรท โปรดักส์ 64.2 58.4 31.6 42.8 89.5
โพลิเมอร์ จำกัด 64.8 68.6 28.8 22.9 82.2
เม็ดพลาสติกชนิด PVC
888 ไลอ้อน จำกัด 92.5 97.7 57.0 35.3 52.3
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 145.0 33.3 109.1 107.0 116
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน
บจก. รันเนส เวิลด์ 81.8 55.3 25.8 36.5 78.8
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 141 24.4 106 105 122
เชือกรองเท้าแบบถัก
หจก.ธนสยามการทอ 100 21.4 64.6 63.2 80.8
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 83.6 37.6 48.1 52.2 83.7
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 46.4 156 80 107 170
ระยะทางเฉลี่ย 87.68 61.82 57.59 61.52 97.1
ตารางแสดงระยะทางจริงระหว่างแหล่งวัตถุดิบกับโรงงาน

วัตถุดิบ แหล่งวัตถุดิบ ระยะทางแบบกระจัด (กิโลเมตร)


โรงงานที่ 1 โรงงานที่ 2 โรงงานที่ 3 โรงงานที่ 4 โรงงานที่ 5
ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 44.23 43.06 18.27 31.39 75.50
หนังวัวฟอก
ไทยเกรท โปรดักส์ 48.00 39.58 21.01 29.92 70.04
โพลิเมอร์ จำกัด 46.01 53.64 16.80 11.50 57.14
เม็ดพลาสติกชนิด PVC
888 ไลอ้อน จำกัด 61.46 74.50 41.09 19.42 39.19
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 105.92 21.44 78.36 77.88 81.27
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน
บจก. รันเนส เวิลด์ 49.93 41.41 21.04 25.05 64.66
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 100.89 14.64 73.73 75.18 84.24
เชือกรองเท้าแบบถัก
หจก.ธนสยามการทอ 73.85 19.65 46.11 46.65 65.6
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 62.74 31.06 33.96 33.86 61.52
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 39.15 92.76 56.02 76.87 129.33
ระยะทางเฉลี่ย 63.22 43.17 40.64 42.77 72.85
ตารางแสดงระยะทางกระจัดระหว่างแหล่งวัตถุดิบกับโรงงาน

การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพในการเลือกทำเลที่ตั้ง

1. การขนส่ง (Transportation) การขนส่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่จะส่งผลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายในการ


ลงทุนและค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงหรือต่ำลงได้จึงนับได้วา่ การขนส่งถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา
ระมัดระวังรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อให้ได้ต้นทุนที่น้อยที่สดุ
26

2. วัตถุดิบ (Material) แหล่งวัตถุดิบเป็นปัจจัยประการสำคัญที่มีบทบาทต่อทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม


อุตสาหกรรมบางประเภทต้องตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและชนิดของวัตถุดิบถ้าหากเลือกทำเลที่ตั้ง
โรงงานใกล้แหล่งวัตถุดิบก็จะลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งหรือลดต้นทุนค่าขนส่งจากวัตถุดิบไปยังโรงงานและลดเวลาในการขนส่ง
วัตถุดิบด้วยเช่นกัน

3. แรงงาน (Labor) ในการพิจารณาด้านแรงงานนั้นก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าอุตสาหกรรมของเราต้องการแรงงาน


ประเภทใดมากที่สดุ และทำเลที่จะไปตั้งโรงงานมีแรงงานเพียงพอหรือไม่หากแรงงานในแถบนั้นไม่เพียงพอก็จะเป็นปัญหา
ให้กับโรงงานที่จะต้องหาแรงงานจากที่อื่นมาเพราะในงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากและหลายระดับ
ความรู้ความสามารถ และในบางพื้นที่มีค่าแรงที่แตกต่างกันเราถึงต้องพิจารณาค่าแรงที่เหมะสม

4. ที่ดิน (Land) การซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างโรงงานเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับเงินก้อนใหญ่ตามปกติทำเลในเขตเมือง


จะมีราคาสูงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทีต่ ามมาก็จะราคาสูงด้วยดังนั้นโรงงานส่วนมากจะตั้งไกลเมืองออกไปอยู่ตามชนบทหรือชาน
เมือง

5. ตลาด (Market) เรื่องของตลาดเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง


โรงงานผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางอย่างซึ่งต้องไปจำหน่ายที่ตลาดอุตสาหกรรมบางประการไม่เพียง แต่จะส่งผลิตภัณฑ์ไป
จำหน่ายยังตลาดเท่านั้น แต่ยังจะต้องอาศัยวัสดุต่างๆจากตลาดเข้ามาเพื่อประกอบการสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย

6. เครื่องมือและเครื่องจักร (Equipment) เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตรองเท้ามีด้วยกันทั้งหมด 14 เครือ่ งซึ่งในแต่ละ


เครื่องมีสามารถปรับในการผลิตทำรองเท้าได้หลากหลายรุ่น เครื่องจักรเป็นเครื่องจักรแบบพื้นฐานที่ใช้กันในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ด้วย เครื่องจักรเหล่านี้มีจำหน่ายตามบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย การลงทุนในการซื้อเครื่องจักรเป็นการลงทุนครั้ง
เดียวคิดค่าขนส่งแค่ครั้งเดียวแต่เครื่องจักรต้องได้รับการบำรุงอยู่เสมอ ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกับการเลือกทีต่ ั้งโรงงาน

7. พลังงาน (Energy) โรงงานเป็นโรงงานขนาดกลางเน้นการใช้ไฟฟ้าในการผลิตรองเท้าเป็นหลัก การผลิตแบบชุด


ของโรงงานหากไฟฟ้าเกิดความขัดข้องจะส่งผลต่อคุณภาพการผลิตและจำนวนสินค้าเป็นจำนวนมากโดยทุกๆวันมีความ
ต้องการพลังไฟฟ้า สูงสุด 30-1999 KVA โดยมีช่วง on peak อยู่ที่เวลา 9:00-18:00 น. ซึ่งไฟฟ้าที่โรงงานเลือกใช้มาจากกฟน.
, กฟภ. โรงงานมีอัตรค่าไฟตามแรงดันที่กล่าวมาคืออยู่ในช่วง แรงดัน 12-24 KV คิดราคา Demand charge เป็นราคา
196.26 บาทต่อกิโลวัตต์ และคิด Energy charge เป็นราคา 1.7034 บาทต่อหน่วย

8. การกำจัดของเสีย (Waste) จากการพิจรณาของเสียในโรงงานส่วนใหญ่คือเศษผ้าหนังสามารถนำเศษผ้าพวกนี้ไป


ใช้ต่อในอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดเล็กได้ รวมไปถึงพลาสติก PVC เศษชิ้นส่วนพลาสติกทีเ่ หลือจากการตัดทำเป็นพื้นรองเท้า
พวกชิน้ ส่วนเหล่านี้ต้องคำนึงถึงการกำจัดของเสียโดยไม้ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โรงงานได้วางนโยบายติดต่อตัวแทนใน
การกำจัดของเสียให้กับโรงงาน

9. สถาบันการเงิน ( Financial institutions) ควรทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขหลายๆธนาคารหรือสถาบันการเงินใน


เรื่องของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อโรงงาน เพราะโรงงานจะตั้งขึ้นได้นนั้ เริ่มต้นจากการกูเ้ งิน โดยสถาบันการเงินที่เลือกกู้นั้นควร
มีผู้ปรึกษาทางการเงินให้กับโรงงานและควรมีบริการสินเชื่อเรื่องการลงทุนเครื่องจักรในรูปแบบวงเงินกู้ระยะยาว หรือลิซซิ่ง
27

ทั้งซื้อในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ,เงินทุนหมุนเวียนในระยะเริม่ ต้น หรือ RE-Finance, สินเชื่อเพื่อการค้ำประกัน


ต่างๆ เช่น การค้ำประกันการใช้ระบบสาธารณูปโภค การประมูลงานและควรคิดดอกไม่เกิน 2-3% ในการกู้

10. นโยบาลของรัฐบาล (Government) นโยบายของรัฐมีการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยมีการ


กำหนดทิศทางและเป้าหมายซึ่งมุ่งเน้นไปในด้านการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริม
ให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยแข่งขันกับระดับโลกได้ซึ่งองคืประกอบหลักที่รัฐส่งเสริมมีดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการผลิต 2.
คุณภาพสินค้า 3. ข้อมูลการตลาด 4. แรงงาน 5. นโยบายระหว่างประเทสและกฎหมาย 6. ความสามารถในการแข่งขัน

11. โรงงานที่มีอยู่แล้ว (Existing plants) โรงงานที่มีอยู่แล้วหากโรงงานใหม่มีปัญหาหรือข้อขัดข้องโรงงานที่มีอยู่


แล้วต้องสามารถรับชอบได้

12. คู่แข่ง (Competitors) โรงงานต้องคอยสำรวจเก็บข้อมูลทางด้านสินค้าและเทคโนโลยีของคู่แข่งอยู่เสมอเพื่อให้


โรงงานมีความก้าวหน้าทัดเทียมหรือดีกว่าแข่ง โรงงานควรมีการวิเคร์การตลาดของคู่แข่งเพื่อนำมาเป็นกลยุทธ์ในการขาย
สินค้าให้ดีกว่าและทันตามตลาดของผู้บริโภค เครื่องมือ เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงานควรทันตามยุคสมัยและ
วางแผนเพื่อให้ใช้กับแนวทางตลาดในอนาคตได้

13. ภูมิประเทศและเงื่อนไขทางด้านสภาพอากาศ (Geographical and weather conditions) ประเทศไทยเป็น


ประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ดังนั้นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตควรเหมาะกับสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทย ซึ่งวัตถุดิบหลักที่
ควรพิจรณาคือหนังที่ใช้ในการทำรองเท้าแต่ละรุ่น

14. การจัดการด้านน้ำ (Water) ในส่วนของการผลิตภายในโรงงานไม่ได้ใช้น้ำเป็นหลักดังนั้นการใช้น้ำจะมาจาก


แผนกอื่นมากกว่า โรงงานควรมีการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถ ลดค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับน้ำให้มีอัตราที่ลดลงได้ เนือ่ งจากโดยส่วนมากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมต้องซือ้ น้ำดิบจากทางนิคม
อุตสาหกรรมมาผ่านกระบวนการผลิตน้ำ ซึ่งทำให้มีต้นทุนในเรื่องของน้ำดิบ แต่กระบวนการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกับมาใช้ใหม่
ใช้น้ำเสียที่ได้จากโรงงานมาผ่านกระบวนการบำบัด ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำดิบส่งผลให้อัตราค่าน้ำลดลง

ในการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพ จะมีการตั้งเกณฑ์การประเมินคะแนนของปัจจัยต่างๆ ที่นำมาพิจารณา ซึ่งแต่ละ


ปัจจัยก็จะมีสัดส่วนคะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความสำคัญของปัจจัยนั้นๆ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

ปัจจัยเชิงคุณภาพ คะแนนเต็ม เกณฑ์คะแนน หมายเหตุ


1 - 20 การจราจรค่อนข้างติดขัด อยู่ห่างจากถนนใหญ่ เข้าถึงยาก
การขนส่ง
60 21 - 40 อาจมีการจราจรติดขัดบางช่วง อยู่ใกล้ถนนใหญ่
(Transportation)
41 - 60 เดินทางสะดวกสบาย รถไม่ติด อยูต่ ิดถนนใหญ่ เข้าถึงง่าย
1 - 20 โรงงานอยู่ห่างจากแหล่งวัตถุดิบมากกว่า 70 กิโลเมตร
วัตถุดิบ
60 21 - 40 โรงงานอยู่ห่างจากแหล่งวัตถุดิบ 50-70 กิโลเมตร
(Materials)
41 - 60 โรงงานอยู่ห่างจากแหล่งวัตถุดิบน้อยกว่า 50 กิโลเมตร
แรงงาน แรงงานใกล้เคียงมีจานวนน้อย ค่าแรงสูงกว่ากาหนด หรือ
45 1-15
(Labor) แรงงานมีฝีมือค่อนข้างต่า
28

แรงงานใกล้เคียงมีจานวนปานกลาง ค่าแรงสูงกว่ากฎหมาย
16-30
ตามกาหนดเล็กน้อย หรือแรงงานมีฝีมือปานกลาง
แรงงานใกล้เคียงมีจานวนมาก ค่าแรงเป็ นไปตามกฎหมาย
31-45
กาหนด หรือแรงงานมีฝีมือสูง
อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทาให้ท่ดี ินและใช้จ่ายอื่นๆ
1-15
มีราคาแพง
ที่ดิน
45 16-30 อยู่ในรอบกรุงเทพและปริมณฑล
(Land)
อยู่นอกเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทาให้ท่ดี ินและใช้จา่ ย
31-45
อื่นๆมีราคาถูก
1-5 อยู่ไกลจากแหล่งการตลาด (รัศมี มากกว่า 80 กิโลเมตร)
ตลาด
15 6-10 อยู่ไม่ไกลจากแหล่งการตลาด (ในรัศมี 60 กิโลเมตร)
(Market)
11 - 15 อยู่ใกล้แหล่งการตลาด (ภายในรัศมี 40 กิโลเมตร)
ตารางแสดงเกณฑ์การประเมินคะแนนปัจจัยเชิงคุณภาพ

ปัจจัยเชิงคุณภาพ คะแนน โรงงาน


เต็ม
โรงงานที่ 1 โรงงานที่ 2 โรงงานที่ 3 โรงงานที่ 4 โรงงานที่ 5
การขนส่ง (Transportation) 60 60 40 40 40 60
วัตถุดิบ (Material) 60 40 60 60 60 20
แรงงาน (Labor) 45 30 30 30 30 45
ที่ดิน (Land) 45 15 30 30 15 30
ตลาด (Market) 15 10 10 10 15 5
รวม 225 155 170 170 160 160
ลำดับที่ 5 1 1 3 3

การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคปริมาณในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงาน

จากเกณฑ์การให้คะแนนในตารางแสดงเกณฑ์การให้คะแนนปัจจัยเชิงคุณภาพในการเลือกทำเลทีต่ ั้งของโรงงาน
สามารถนำมาพิจารณาของโรงงานทั้ง 5 ทำเลได้ดังนี้

ตารางแสดงการประเมินคะแนนปัจจัยเชิงคุณภาพของโรงงานต่างๆ

จากตารางข้างต้นสามารถเรียงลำดับ โรงงานที่มี คะแนนสูงสุด – ต่ำสุดสุด ได้ดังนี้

ลำดับที่ 1 โรงงาน 3 : นิคมอุตสาหกรรมบางพลี


ลำดับที่ 2 โรงงาน 2 : นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
29

ลำดับที่ 3 โรงงาน 4 : นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง


ลำดับที่ 4 โรงงาน 5 : นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน

ลำดับที่ 5 โรงงาน 1 : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

วิเคราะห์การหาทีต่ ั้งโรงงานโดยพิจรณาจากระยะทางและต้นทุนด้วยวิธี Single Facility Minisum Location ดังต่อไปนี้

Min ƒ(x) =∑𝑚 𝑚


𝑖=1 𝑤ᵢ|𝑥 − 𝑎ᵢ| + ∑𝑖=1 𝑤ᵢ|𝑦 − 𝑏ᵢ|

วัตถุดิบ แหล่งวัตถุดิบ Latitude Longitude x y Wi


หนังวัวฟอก ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 13.5311 100.63239 676656.1 1496454.3 3
ไทยเกรท โปรดักส์ 13.5743 100.60139 673268 1501380.1 3
เม็ดพลาสติกชนิด PVC โพลิเมอร์ จำกัด 13.6892 100.70102 683963.2 1514001.8 5
888 ไลอ้อน จำกัด 13.9447 100.78879 693246.8 1542335.6 5
พืน้ รองเท้าและบุดา้ นใน ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 13.6716 100.07828 616613.7 1511665.9 2
บจก. รันเนส เวิลด์ 13.6244 100.60632 673766.6 1506766 2
เชือกรองเท้าแบบถัก เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 13.6065 100.11348 620453.8 1504484.6 1
หจก.ธนสยามการทอ 13.6528 100.37651 648884 1509754.6 1
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 13.6641 100.49544 661741.7 1511073.8 1
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 13.0969 100.95821 712305.7 1448671.1 1
ตารางแสดงตำแหน่งของโรงงานวัตถุดิบและจำนวนรอบการขนส่ง
5

∑ 𝑤ᵢ
แหล่งวัตถุดิบ x Wi 𝑖=1
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 616613.7 2 2
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 620453.8 1 3
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 661741.7 1 4
ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 676656.1 3 7
โพลิเมอร์ จำกัด 683963.2 5 12
5

∑ 𝑤ᵢ
y Wi 𝑖=1
ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 1496454 3 3
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 1504485 1 4
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 1511074 1 5
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 1511666 2 7
โพลิเมอร์ จำกัด 1514002 5 12
ตารางคำนวณหาตำแหน่งของของตัวเลือกวัตถุดิบแรก
30

∑ 𝑤ᵢ
แหล่งวัตถุดิบ x Wi 𝑖=1
หจก.ธนสยามการทอ 648884 1 1
ไทยเกรท โปรดักส์ 673268 3 4
บจก. รันเนส เวิลด์ 673766.6 2 6
888 ไลอ้อน จำกัด 693246.8 5 11
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 712305.7 1 12
5

∑ 𝑤ᵢ
y Wi 𝑖=1
เพค อินดัสทรีส์ จำกัด 1448671 1 1
ไทยเกรท โปรดักส์ 1501380 3 4
บจก. รันเนส เวิลด์ 1506766 2 6
หจก.ธนสยามการทอ 1509755 1 7
ตารางคำนวณหาตำแหน่งของของตัวเลือกวัตถุดิบตัวที่สอง

choice1 x y Wi (x*Wi)+(y+Wi)
1.1 676656.07 1496454.33 3 45634.65
2.1 683963.24 1514001.75 5 48215.2
3.1 616613.69 1511665.88 2 120084.76
4.1 620453.81 1504484.56 1 63383.58
5.1 661741.65 1511073.77 1 15506.53
sum 292824.72
ตารางคำนวณคะแนนของตัวเลือกแรก

choice2 x y Wi (x*Wi)+(y+Wi)
1.2 673268 1501380.08 3 85059.84
2.2 693247 1542335.55 5 236301.9
3.2 673767 1506765.98 2 15578.84
4.2 648884 1509754.55 1 29683.44
5.2 712306 1448671.14 1 98644.41
sum 465268.4
ตารางคำนวณคะแนนของตัวเลือกที่สอง
จากการคำนวณทั้ง 2 ตัวเลือกได้ x= 676656.07 และ y= 1511665.88 จากการคำนวณด้วยวิธี Single Facility Minisum
Location หลังจากได้ x และ y นำไปคำนวณหาต้นทุนได้ดังต่อไปนี้
31

Supplier distance(km) wi cost


ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) 78.7 3 236.1
โพลิเมอร์ จำกัด 77.2 5 386
ที แลนเดอร์ อินเตอร์เทรด 21.7 2 43.4
เอ็น ซี สปินนิ่ง จำกัด 17.8 1 17.8
ไทย แมททีเรียล แฟคทอรี่ จำกัด 56.4 1 56.4
sum 739.7
ตารางการคำนวณหาต้นทุนโรงงาน
คำนวณหาระยะทางและต้นทุนจาก Supplier สู่นิคมที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

โรงงาน1 : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
Supplier ระยะทาง (KM) รอบการขนส่ง ต้นทุน
หนังวัวฟอก 57.5 3 172.5
เม็ดพลาสติกชนิด PVC 64.8 5 324
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน 145 2 290
เชือกรองเท้าแบบถัก 141 1 141
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า 83.6 1 83.6
รวม 1011.1
ตารางต้นทุนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

โรงงาน2 : นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
Supplier ระยะทาง (KM) รอบการขนส่ง ต้นทุน
หนังวัวฟอก 65.5 3 196.5
เม็ดพลาสติกชนิด PVC 68.6 5 343
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน 33.3 2 66.6
เชือกรองเท้าแบบถัก 24.4 1 24.4
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า 37.6 1 37.6
รวม 668.1
ตารางต้นทุนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
32

โรงงาน3 : นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
Supplier ระยะทาง (KM) รอบการขนส่ง ต้นทุน
หนังวัวฟอก 24.9 3 74.7
เม็ดพลาสติกชนิด PVC 28.8 5 144
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน 109.1 2 218.2
เชือกรองเท้าแบบถัก 106 1 106
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า 48.1 1 48.1
รวม 591
ตารางต้นทุนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมบางพลี

โรงงาน4 : นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
Supplier ระยะทาง (KM) รอบการขนส่ง ต้นทุน
หนังวัวฟอก 43.3 3 129.9
เม็ดพลาสติกชนิด PVC 22.9 5 114.5
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน 107 2 214
เชือกรองเท้าแบบถัก 105 1 105
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า 52.2 1 52.2
รวม 615.6
ตารางต้นทุนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

โรงงาน5 : นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
Supplier ระยะทาง (KM) รอบการขนส่ง ต้นทุน
หนังวัวฟอก 95.7 3 287.1
เม็ดพลาสติกชนิด PVC 82.2 5 411
พื้นรองเท้าและบุดา้ นใน 116 2 232
เชือกรองเท้าแบบถัก 122 1 122
ตาไก่โลหะสำหรับรองเท้า 83.7 1 83.7
รวม 1135.8
ตารางต้นทุนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

จากการคำนวณทุกโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมพบว่านิคมอุตสาหกรรมบางพลีมตี ้นทุนน้อยที่สุดจึงถูกเลือกเป็นที่ตั้ง
โรงงานแห่งใหม่ในการผลิตรองเท้าหนัง
33

การวางแผนการจัดการคลังสินค้า
คลังสินค้าจะทำหน้าที่รับสินค้ าสำเร็จรูปจากโรงงาน ทำการจัดเก็บสต๊อกสินค้า และส่งออกสินค้าสำเร็จรูปไปยัง
แหล่งกระจายสินค้าต่อไป โดยคลังสินค้านี้จะสามารถจัดเก็บรองเท้าได้ทั้งหมด 192 Unit Load (พาเลท) หรือคิดเป็นรองเท้า
หนังทั้งหมด 11,520 คู่ โดยคลังสินค้าจะมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. โครงสร้างอาคารและการจัดผังคลังสินค้า
1.1 โครงสร้างอาคาร (Building Shell)
ตัวอาคารมีพื้นที่ทั้งหมด 864 ตารางเมตร โดยในอาคารจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของคลังเก็บสินค้าซึ่ง
มีความกว้าง 18 เมตร ยาว 32 เมตร สูง 7 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 576 ตารางเมตร และส่วนสำนักงาน มีความกว้าง 12 เมตร ยาว
24 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 288 ตารางเมตร
1.2 การจัดผังคลังสินค้า

ผังคลังสินค้าและการไหลของสินค้า
1) จุดรับสินค้าเข้า (Inflow)
ขนาดจุดรับสินค้า มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 18 เมตร พื้นที่รวม 144 ตารางเมตร มีส่วนประกอบ ดังนี้

จุดรับสินค้าเข้า
1. แผนกรับสินค้า (Receiving dock) จะมีทั้งหมด 3 ช่อง ทำหน้าที่ตรวจสอบจำนวน ลักษณะในการที่จะ
แยกแยะสินค้า จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ โดยการจัดการที่มรี ะบบการตรวจสอบและตรวจนับความถูกต้องเช่นนับ
ปริมาณ จำนวน สภาพ และคุณภาพ ในการตรวจสอบสินค้าจะนำระบบ Bar Code เข้ามาในการควบคุมคัดแยก
สินค้าเพื่อเตรียมเก็บหรือส่งต่อ
34

2. แผนกจัดเรียง (Staging) สินค้าที่ถูกลำเลียงเป็นสินค้าสำเร็จรูปขนาด 1,080 × 1,040 × 700 mm โดย


ที่จะเป็น Unit Load ของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทีส่ ามารถบรรจุกล่องรองเท้าได้ 60 กล่อง โดยแผนกจัดเรียงจะทำการ
แยกสินค้าออกมาแล้วส่งไปยังพื้นที่จัดเก็บ (Storage) ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า จะใช้ชั้นวางแบบ Pallet Flow
Racking ซึ่งเป็นชั้นเก็บสินค้าที่เหมาะสมกับการหยิบสินค้าแบบ First-In First-Out (FIFO) โดยสินค้าที่เข้าเก็บก่อน
จะถูกสินค้าที่เข้าทีหลังดันข้ำอีกด้านหนึ่ง ทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น

2) จุดส่งสินค้าออก (Outflow)
ขนาดจุดรับสินค้า มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 18 เมตร พื้นที่รวม 144 ตารางเมตร โดยประมาณ แบ่งเป็นแผนก
ต่างๆ ได้ดังนี้

จุดส่งสินค้าออก
1. แผนกจัดเตรียมสินค้าตามคำสั่ง (Order picking) จะทำการไปส่งสินค้าสำเร็จรูปจากพื้นที่จัดเก็บ
(Storage) ไปส่งตามคำสั่งซื้อจากลูกค้า
2. แผนกจัดเรียง (Staging) หลังจากที่จัดเรียงสินค้าสำเร็จรูปแล้วก็จะทำการรวบรวมสินค้าแยกแยะ
จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าลงไปบรรจุในกล่องขนาดใหญ่อีกทีและห่อด้วยพลาสติก (Wrap)
3. แผนกจัดส่งสินค้า (Shipping) จะมีทั้งหมด 3 ช่อง เมื่อได้กล่องสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งซื้อจากลูกค้า
แล้วก็จะทำการนำยานพาหนะไปบรรทุกสินค้าและขนส่งไปยังแหล่งกระจายสินค้าซึ่งในการส่งไปยังแหล่งกระจาย
สินค้า

ผังคลังสินค้าแบบ 3 มิติ
35

2. ชั้นวางสินค้าและพื้นที่จัดเก็บ
ในส่วนของชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า จะใช้ชั้นวางแบบ Pallet Flow Racking ซึ่งเป็นชั้นเก็บสินค้าที่เหมาะสมกับการ
หยิบสินค้าแบบ First-In First-Out (FIFO) โดยสินค้าที่เข้าเก็บก่อนจะถูกสินค้าที่เข้าทีหลังดันอีกด้านหนึ่ง โดยตัวชั้นจะมีการลาด
เอียงเล็กน้อยและมีลูกกลิ้ง (Rollers) เพื่อให้พาเลทเคลื่อนที่ได้ง่ายและราบลื่นยิ่งขึ้น

ชั้นวางแบบ Pallet Flow Racking


ชั้นวางสินค้าที่ใช้ในคลังสินค้าจะเป็นชั้นแบบ Pallet Flow Racking วางสินค้าได้ชั้นละ 8 Units และมีต่อสูงขึ้นไป
4 ชั้น ทั้งหมด 2 ชั้น โดยวางเป็นคู่ละ 2 ชั้นติดกัน นำมาคำนวณหา Cube Utilization (เปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์ของชั้น
วาง) โดยคำนวณจากปริมาตรของ Load ต่อปริมาตรของ Storage
ในกรณีของชั้นวางแบบ Pallet Flow Racking จะไม่มีช่องว่างระหว่าง Load เนื่องจากเป็นการดันสินค้าที่เก่ากว่า
เข้าไปด้วยสินค้าใหม่ และชั้นวางแบบนี้ยังมีความลาดเอียงเล็กน้อยซึ่งทำให้ยากต่อการคำนวณ ดังนั้นจึงสมมุติให้ไม่มีความลาด
เอียง ขั้นตอนการคำนวณ เป็นดังนี้
การคำนวณปริมาตรของ Load

ขนาดด้านหน้าของชั้นวาง
Height = 4 × (150+700) = 3,400 mm
Width =8 × 1100 = 8,800 mm
Depth =1 × 1100 =1,100 mm
ดังนั้นปริมาตรของ Load = 3400 × 8800 × 1100 = 3.2912 × 1010 mm3
36

การคำนวณปริมาตรของ Storage

ขนาดด้านบนของชั้นวาง
Height = 4 × (150+700+80+105) = 4,140 mm
Width = (8 × 1,100) + (2 × 80) + (2 × 150) = 9,260 mm
Depth =1,000 + 1,100 + 15 =2,115 mm
ดังนั้นปริมาตรของ Storage = 4,140 × 9,260 × 2,115 = 8.1081 × 1010 mm3
Cube Utilization = ปริมาตรของ Load / การคำนวณปริมาตรของ Storage
= 0.4059 หรือ 40.59 %
อุปกรณ์ขนส่งภายในคลังสินค้า
1. รถลากพาเลทแบบงาต่ำ
ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายพาเลทที่ได้รับจากโรงงานเข้าสู่คลังสินค้า โดยตัวสินค้าที่จากโรงงานจะถูกจัดเรียงบนพาเลทหลังจาก
นั้นจะถูกถูกห่อด้วยพลาสติกโดยเครื่อง Stretch Wrapping ซึ่งเป็นการห่อโดยใช้ฟิล์มแบบยืดหยุ่นพันรอบผลิตภัณฑ์หลายชิ้น
เข้าไว้ด้วยกันเพื่อรวมหน่วย เพื่อรักษาความคงตัวบนชั้นพาเลทป้องกันการล้มของผลิตภัณฑ์ที่เรียงซ้อน โดยทางโรงงานจะใช้
เครื่อง Stretch Wrapping Machine ซึ่งเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อความรวดเร็วและเรียบร้อย รถลากพาเลทแบบงาต่ำเหมาะ

กับพาเลทแบบไม้ที่โรงงานเลือกใช้ สามารถรับน้ำหนักได้ 1000-2000 กิโลกรัม ซึ่งใช้คนลากได้ 4 คัน


รถลากพาเลทแบบงาต่ำ
37

2. รถลากพาเลทแบบยกม้วนโรล
เป็นรถที่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายม้วนผ้า ซึ่งใช้เคลื่อนย้ายม้วนผ้าภายในคลังสินค้าเข้าสู่โรงงาน แฮนด์ลิฟท์สามารถยก
น้ำหนักได้ 1500 - 1800 กิโลกรัม แฮนด์ลิฟท์มีตัวรถกว้างเพื่อรองรับขนาดม้วนตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 500 - 1400
มิลลิเมตร 4 คัน

รถลากพาเลทแบบยกม้วนโรล
3. Forklift
การขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าจะใช้รถโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า รุ่น 3-Wheel Electric Forklift 1.2 TVE3
สามารถรับน้ำหนักได้ 1,200 กิโลกรัม และสามารถยกได้สูงสุด 4.5 เมตร ซึ่งเหมาะกับการยกพาเลทไปวางบนชั้น
วางสินค้า โดยรถโฟร์คลิฟท์รุ่นนี้มีข้อดีคือมีขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะกับการใช้งานในที่แคบ มีความคุ้มค่าในระยะ
ยาว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุด และไม่มีเครื่องยนต์ความร้อนสูงดังนั้นจึงไม่กระทบต่อวัตถุดิบหรือ
หนังที่จะนำมาทำรองเท้า ไม่มีระบบเครื่องยนต์และเกียร์ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายจากการถ่ ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์
รวมทั้ง ระบบ หล่อเย็น เช่นหม้อน้ำ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลถูก แม้ตัวรถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) จะ
มีราคาซื้อสูงที่สุด แต่ด้วยอายุการใช้งาน และค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้งานต่ำ จึงถือว่าประหยัดที่สุดในทุกระบบ 4คัน

3-Wheel Electric Forklift 1.2 TVE3


38

Storage and Retrieval Policy


1. การจัดเก็บสินค้าสำเร็จแบบ First In-First Out เพื่อให้รองเท้าหนังยังคงไว้ซึ่งสภาพหนังที่มีคุณภาพ สินค้าเป็นไปตาม
ความต้องการของตลาด ตามเทรนของลูกค้าและเพื่อลดการเกิดสินค้าที่ค้างสต๊อก
2. มีตารางที่ใช้บันทึ กสถานะของสินค้าที่มีอยู่ในสต็อก (Bin card) เพื่อบันทึกยอดคงเหลือของรายการต่างๆที่อยู่ ใ น
คลังสินค้า นอกเหนือจากข้อมูลที่เกี่ยวกับสต็อกที่ได้รับแล้วควรหมายเหตุเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในสต็อกนั้น
3. พยายามปรับการบันทึกข้อมูลสินค้าภายในคลังสินค้าโดยปรั บให้สภาพแวดล้อมเป็นดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การ
ดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว พนักงานภายในโรงงานสามารถรับข้อมูลได้เป็นปัจจุบัน
4. มีการบันทึกข้อมูลสินค้าและวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการวางรากฐานข้อมูลที่จะถูกใช้ในการ
สั่ง สต็อกวัตถุดิบในอนาคต
5. กำหนดจุดรับ-ส่งสินค้าและวัตถุดิบของโรงงานในตำแหน่งที่แน่นอนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของพนักงาน
6. ในการขนย้ายน้ำหนักสินค้าและวัตถุดิบจะต้องสอดคล้องกับอุปกรณ์การขนย้ายเพื่อป้องกันการรับน้ำหนักเกิน
7. การจัดการด้านความปลอดภัยภายในคลังสินค้าสำหรับตัวสินค้า วัตถุดิบ พนักงานและอุปกรณ์ขนส่งภายในคลังสินค้า ถ้า
หากอุปกรณ์การขนส่งมีการชำรุดควรติดป้าย LOCKOUT/TAGOUT เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและแจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ให้ดำเนินการซ่อมบำรุง รวมไปถึงพวกการป้องกันไฟไหม้
8. กำหนดระยะเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน
9. กำหนดเส้นทางการเคลื่อนภายในคลังสินค้าไม่ให้ซับซ้อนเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเคลื่อนย้าย ขนส่ง
10. มีการตรวจสอบอยู่เสมอว่าพนักงานปฏิบัติตามนโยบายเพื่อประสิทธิภาพในทำงาน

การควบคุมการไหลไม่ให้ของล้นหรือขาด
การควบคุมคลังสินค้าไม่ให้ของล้นหรือขาดใช้วิธีการ EOQ (Economic Order Quantity) วิธีการนี้เป็นการสั่ง
วัตถุดิบจาก Suppliers โดยสั่งให้เหมาะสมกับยอดขายและระยะเวลาในการรอวัตถุดิบมาส่ง เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผน
ความต้องการวัตถุดิบ คอยจัดการในส่วนของการดูแลที่มาที่ไปของวัตถุดิบ ตรวจสอบวัตถุดิบที่ต้องใช้ การสั่งซื้อเมื่อมีวัตถุดิบ
ไม่พอ และการจัดการที่จะต้องสั่งวัตถุดิบเท่าไร สั่งตอนไหนให้เหมาะสมกับการผลิตไม่ให้วัตถุดิบนั้นมากจนจมทุนหรือน้อยจน
ไม่เพียงพอต่อการผลิต และยังช่วยลดจำนวนสินค้าคงคลังที่ต้องเหลือค้าง ด้วยวิธีการนี้ช่วยตัดสินใจในการสั่งซื้อวัตถุดิบแบบ
ผ่านการคิดคำนวณเวลาและการเก็บรักษา รวมไปถึงการจัดเก็บวัตถุดิบให้พอดีกับการผลิต เหมาะกับสถานที่ที่ใช้เก็บวัตถุดิ บ
คงคลัง รวมถึงลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาได้อีกด้วย วิธีการนี้ทำให้กระบวนการผลิตสม่ำ เสมอไม่และหยุดชะงัก EOQ มี
ประโยชน์ค่อนข้างมากและยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อ EOQ ดังนี้
1. จุดสั่งซื้อรอบต่อไป : ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องสั่งซื้อสต็อกชุดใหม่หรือเติมสต็อก โดยการสั่งในรอบถัดไปมีปริมาณที่
เท่ากับรอบก่อนหน้า
2. ระยะเวลารอสินค้า : ระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้า
3. ต้นทุนการจัดซื้อต่อหน่วย : ต้นทุนต่อหน่วยการสั่งซื้อที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการสั่งซื้อ
4. ความต้องการสินค้า : ความต้องการสินค้าของลูกค้าหรือตลาด เป็นปัจจัยสำคัญต้องรู้ว่ามีลูกค้าต้องการในปริมาณ
เท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และต้องการในช่วงใด
39

5. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ : ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของธุรกิจ


6. ต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ : ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าในช่วงเวลาหนึ่ง

You might also like