บทที่ 1

You might also like

You are on page 1of 22

บทที่ 1

บทนำ (Introduction)

เค้ำโครงเรื่อง
1. ความหมายของ วิชาสถิติ
2. ชนิดของสถิติ
2.1 สถิติเชิงบรรยาย
2.2 สถิติเชิงอ้างอิง
2.2.1 การประมาณค่า
2.2.2 การทดสอบสมมุติฐาน
3. คาจากัดความเฉพาะทางสถิติ
3.1 ค่าคงที่
3.2 ตัวแปร
3.3 ข้อมูล
3.4 กลุ่มประชากร
3.5 กลุ่มตัวอย่าง
3.6 ค่าพารามิเตอร์
3.7 ค่าสถิติ
4. สัญลักษณ์ทางสถิติของ “ค่าพารามิเตอร์” และ “ค่าสถิติ”
5. การนาเสนอข้อมูลด้วยตารางและกราฟ
สำระสำคัญ
1. วิชาสถิติ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการรวบรวม จัดระบบ นาเสนอ วิเคราะห์
และแปลผลข้อมูล
2. สถิติมี 2 ชนิดคือ สถิติเชิงบรรยาย ซึ่งจะเป็นการศึกษาข้อมูลในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และสถิติเชิงอ้างอิง ซึ่งจะศึกษาในกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิงกลับไปที่กลุ่มประชากร สาหรับสถิ ติ
เชิงอ้างอิง ยังแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ การประมาณค่า กับ การทดสอบสมมุติฐาน

PSY2008 1
3. “ค่าคงที”่ เป็นค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงค่าเดียว ส่วน ”ตัวแปร” จะเป็น
คุณลักษณะที่มีมากกว่า 1 ค่า “ข้อมูล” คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวแปร “กลุ่มประชากร” คือ
กลุ่มที่รวมเอาสมาชิกทุกหน่วย แต่ ”กลุ่มตัวอย่าง” เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ค่าที่
คานวณจากกลุ่มประชากรเรียกว่า ”ค่าพารามิเตอร์” ส่วนค่าที่คานวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง
เรียกว่า “ค่าสถิติ”
4. สัญลักษณ์ทางสถิติของค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ ต้องใช้แยกจากกัน เพราะ
สัญลักษณ์ทั้ง 2 ชนิด มีความหมายต่างกัน ค่าพารามิเตอร์ คือ ค่าที่คานวณจากกลุ่มประชากร
ส่วน ค่าสถิติ คือ ค่าที่คานวณจากกลุ่มตัวอย่าง
5. การนาเสนอข้อมูลสามารถทาได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การนาเสนอด้วยตาราง และ
กราฟ สาหรับตารางก็มีทั้งแบบตารางแจกแจงความถี่อย่างง่าย และตารางที่มีการจัดกลุ่ม ส่วน
กราฟก็มีทั้งกราฟแท่ง กราฟวงกลม ฮีสโทแกรม รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ และ รูปโค้งแจง
แจงความถี่
จุดประสงค์ของกำรเรียนรู้
1. นักศึกษาจะต้องสามารถบอกความหมายของ “วิชาสถิต”ิ และ คาจากัดความเฉพาะ
ทางสถิติ ได้อย่างถูกต้อง
2. นักศึกษาจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอ้างอิง และ
สามารถยกตัวอย่างสถิติทั้ง 2 ชนิด และบอกความแตกต่างได้
3. นักศึกษาต้องสามารถยกตัวอย่าง การประมาณค่า และการทดสอบสมมุติฐานได้
4. นักศึกษาสามารถเขียนสัญลักษณ์ทางสถิติของค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติได้อย่าง
ถูกต้อง
5. นักศึกษาสามารถนาเสนอข้อมูลด้วยตาราง และกราฟได้

--------------------------------

2 PSY2008
การวิเคราะห์ เชิงปริมาณทางจิตวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสถิ ติที่นามาใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยทางจิตวิทยา เพื่อให้การวิจัย นั้นมีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ
มากขึ้ น ส าหรั บ เนื้ อ หาในบทน าจะเป็ น การน าเข้ า สู่ บ ทเรี ย นโดยการท าความเข้ า ใจกั บ
ความหมายของคา ความรู้เบื้องต้นต่างๆที่จาเป็นสาหรับการเรียนในบทต่อๆไป
1. ควำมหมำยของ “วิ ชำสถิ ติ”
วิชาสถิติ หมายถึง สาขาวิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การจั ดระบบข้อมูลเพื่อ
การนาเสนอ การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรยายสรุป
เกี่ยวกับลักษณะของประชากร

กิ จกรรมกำรเรียนที่ 1
1. จงค้นคว้าความหมายของคาว่า “สถิต”ิ และ “วิชาสถิติ” จากตาราสถิติเล่มอื่นๆ
ดูความเหมือนและแต่งต่างของความหมายในตาราแต่ละเล่ม และให้นักศึกษาสรุปออกมาเป็น
คาจากัดความของนักศึกษาเอง

2. ชนิ ดของสถิ ติ

สถิติโดยทั่วไปจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.1 สถิ ติเชิ งบรรยำย (Descriptive Statistics)


สถิติเชิงบรรยาย เป็นสถิติที่ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สนใจ อาจเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรยายสรุป
ลักษณะของกลุ่มนั้นๆโดยเฉพาะ โดยไม่ประสงค์จะอ้างอิงไปกลุ่มอื่น เช่น การรวบรวมข้อมูล
“อายุ” ของนักศึกษารามคาแหง ในชั้นที่เรียนวิชา “จิตวิทยาครอบครัว” ซึง่ มีนักศึกษาอยู่ 35
คน (ดูภาพ 1-1 ประกอบ) สรุปได้ว่า นักศึกษากลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21.45 ซึ่งข้อสรุป
ดังกล่าวนี้เราใช้ได้เฉพาะกับนักศึกษากลุ่มนี้เท่านั้น ไม่ได้มีความประสงค์อ้างอิงไปถึงนักศึกษา
รามคาแหงกลุ่มอื่นๆ
PSY2008 3
ภำพ 1-1
ภำพตัวอย่ำงกำรศึกษำของสถิ ติเชิ งบรรยำย

นักศึกษาในชั้นเรียน
วิชาจิตวิทยาครอบครัว
( n = 35 คน )

X = 21.45

2.2 สถิ ติเชิ งอ้ำงอิ ง (Inferential Statistics)


สถิติเชิงอ้างอิง เป็นสถิติที่มีความประสงค์จะศึกษาใน ”กลุ่มประชากร” ซึ่งปกติ
กลุ่มประชากรมักจะมีขนาดใหญ่มาก และผู้วิจัยก็ไม่สามารถที่จะไปเก็บรวบรวมข้อมูลหรือ
ทาการศึกษาในกลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จึงทาการสุ่มตัวอย่างมาจากกลุ่มประชากร ได้ ”กลุ่ม
ตัวอย่าง” ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แล้วทาการศึกษาวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างนี้จากนั้นก็นาผลที่ได้
จากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงกลับไปที่กลุ่มประชากรด้วยวิธีการทางสถิติที่อาศัย “ทฤษฎีความน่าจะ
เป็น”

สถิติเชิงอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้

2.2.1 กำรประมำณค่ำ (Estimation)


การประมาณค่า คือ การนาเอาค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่างไปประมาณ
ค่าสถิติของประชากร

4 PSY2008
ภำพ 1-2
ภำพตัวอย่ำงกำรศึกษำในลักษณะของกำรประมำณค่ำ

กลุ่มประชากร
นักเรียน ป. 6 กทม.  = ?

สุ่มตัวอย่าง
อ้างอิง
กลุ่มตัวอย่าง
n = 100 คน

X = 109.8

ตัวอย่างเช่น (ดูภาพ 1-2 ประกอบ) ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่านักเรียน ป.6 ในกทม. มี


คะแนน IQ อยู่ในระดับใด ดังนั้นกลุ่มประชากรก็จะเป็นเด็ก ป. 6 ทุกคนใน กทม. ซึ่งมีจานวน
มาก อาจเป็นแสนคน ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถที่จะไปวัด IQ เด็กในกลุ่มประชากรทั้งหมดได้อย่าง
แน่นอน ผู้วิจัยจึงต้องสุ่มตัวอย่างมาจานวนหนึ่งตามหลักสถิติ สมมุติได้กลุ่มตัวอย่างมา
ประกอบด้วยเด็กนักเรียนจานวน 100 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็ก ป. 6 ใน กทม. แล้วก็
ดาเนินการวัด IQ เด็กในกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามี คะแนน IQ เฉลี่ย เท่ากับ 109.38 งานของผู้วิจัย
ยังไม่เสร็จสิ้น เขายังจะต้องนามาวิเคราะห์ต่อเพื่อตอบคาถามว่า IQ เฉลี่ยของเด็ก ป. 6
ทั้งหมดใน กทม.(กลุ่มประชากร) เป็นเท่าใด นั่นคือ จากคะแนนเฉลี่ยที่ได้กลุ่มตัวอย่างนี้เขา
ต้องอ้างอิงกลับไปกลุ่มประชากรให้ได้

2.2.2 กำรทดสอบสมมุติฐำน (Hypothesis Testing)


การทดสอบสมมุติฐาน คือ การที่ผู้วิจัยตั้ งสมมุติฐานเกี่ยวกับประชากร
ดาเนินการสุ่ มตัวอย่าง วิเคราะห์ ข้อ มูลในกลุ่มตัวอย่าง แล้ วนาผลมาสรุปสมมุติฐานที่ตั้ง ไว้
เกี่ยวกับประชากร

PSY2008 5
ภำพ 1-3
ภำพตัวอย่ำงกำรศึกษำในลักษณะของกำรทดสอบสมมุติฐำน

ประชากรผู้หญิง 1  2 ? ประชากรผู้ชาย

สุ่ม สุ่ม
กลุ่มตัวอย่างผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างผู้ชาย
อ้างอิง
( n1 = 200 ) ( n2 = 200 )

X 1 = 56.41 X 2 = 52.34

ตัวอย่าง (ดูภาพ 1-3 ประกอบ) ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับประชากรผู้หญิงและ


ประชากรผู้ชายว่า “ผู้หญิงมีความถนัดทางภาษาสูงกว่าผู้ชาย” ผู้วิจัยก็ไปสุ่มตัวอย่างผู้หญิงมา
1 กลุ่มตัวอย่าง (สมมุติมี n1 = 200 คน) จากประชากรผู้หญิง และสุ่มตัวอย่างผู้ชายมา 1 กลุ่ม
ตัวอย่าง (สมมุติมี n2 = 200 คน) จากประชากรผู้ชาย จากนั้นก็มาทดสอบความถนัดทางภาษา
ในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มกลุ่มละ 200 คน จากนั้นจึงนามาหาค่าเฉลี่ย เอาค่าเฉลี่ยที่ได้ไป
ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวประชากรที่ตั้งเอาไว้

กิ จกรรมกำรเรียนที่ 2
1. จงคิดตัวอย่างสถิติเชิงบรรยาย และ สถิติเชิงอ้างอิง มาอย่างละ 1 เรื่อง แล้วตั้ง
คาถามตัวเองว่า 2 อย่างนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. คิดตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมุติฐานมา อย่างละ1 เรื่อง แล้ว
เขียนแผนภาพตามตัวอย่าง ภาพ 1-2 และ 1-3

6 PSY2008
3. คำจำกัดควำมเฉพำะทำงสถิ ติ
วิชาสถิติจะมีคาจากัดความเฉพาะที่นักศึกษาจะต้องทาความเข้าใจดังนี้
3.1 ค่ำคงที่ (Constant)
ค่าคงที่ คือ คุณลักษณะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะที่มีค่าเพียงค่าเดียว
ตลอดในทุกหน่วยของกลุ่มที่เราศึกษา เช่น เพศของนักเรียนในโรงเรียนชายล้วน จะมีค่าเป็น
”เพศชาย” ในเด็กนักเรียนทุกคน มีค่าเพียงค่าเดียวตลอดไม่เปลี่ยนแปลง หรือ ค่าความเร็ว
ของแสง มีค่าคงที่ คือ 186,000ไมล์ต่อวินาที
3.2 ตัวแปร (Variable)
ตัวแปร คือ คุณลักษณะที่มีค่าได้มากกว่า 1 ค่า เช่น “ตัวแปรเพศ”ของนักศึกษา มี
2 ค่า คือ ชายและหญิง ตัวแปร อาจหมายถึงคุณลักษณะที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละหน่วย เช่น
“ตัวแปรอายุ” ของคนที่ยืนรอรถเมล์อยู่ ที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอายุต่างกัน อาจจะมี
ตั้งแต่อายุ 8 ปี ไปจนถึง 65 ปี หรือ “ตัวแปรบุคลิกภาพ” “ตัวแปรคะแนนความเครียด” “ตัว
แปรความซื่อสัตย์”
3.3 ข้อมูล (Data)
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราเก็บรวบรวมจากแต่ละหน่วยในกลุ่มที่เราสนใจศึกษา
เช่น ข้อมูลที่เป็น “อายุ” ของผู้ป่วยแต่ละคน ข้อมูลที่เป็น “น้าหนัก” ของนมแต่ละกล่อง ข้อมูล
ที่เป็น “ชื่อ” ของนักศึกษาแต่ละคน หรือข้อมูลที่เป็น “คะแนน EQ” ของนักเรียนแต่ละคน
ฯลฯ
ข้อมูลสามารถที่จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
3.3.1 ข้อมูลเชิ งปริ มำณ (Quantitative Data)
ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่มีค่าเป็นตัวเลขบอกปริมาณความมากน้อย
ได้ เช่น อายุ น้าหนัก ส่วนสูง คะแนน EQ คะแนนบุคลิกภาพ คะแนนจริยธรรม
3.3.2 ข้อมูลเชิ งคุณภำพ (Qualitative Data)
ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ไม่ได้มีค่าเป็นตัวเลข แต่เป็นข้อมูลที่บอก
ลักษณะ เช่น เพศ (ชาย,หญิง) ชื่อ (สมชาย,มานะ,วิไล……..) ภูมิลาเนา (ภาคเหนือ,ภาค
อีสาน,…..) ซึ่งไม่สามารถบอกปริมาณความมากน้อยได้
PSY2008 7
3.4 กลุ่มประชำกร (Population)
กลุ่มประชากร คือ กลุ่มที่รวมเอาสมาชิกทุกหน่วย(ทั้งหมด)ที่เราสนใจ เช่น ถ้าเรา
ต้องการศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคาแหง กลุ่มประชากรของเราก็คือ นักศึกษา
รามคาแหงทุกคนซึ่งมีเป็นแสนคน แต่ถ้าต้องการศึกษาเด็กปัญญาอ่อนในประเทศไทย กลุ่ม
ประชากรก็คือ เด็กปัญญาอ่อนที่อยู่ในประเทศไทยทุกคน ซึ่งอาจจะมี 2,000 คน บางคนอาจ
ต้องการศึกษาแรงงานผิดกฎหมายชาวพม่าในเขตจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มประชากรของเขา
ก็คือ ชาวพม่าที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและมาทางานเฉพาะในเขตจังหวัดสมุทรปราการเท่านั้น
(แรงงานพม่าในจังหวัดอื่นไม่ใช่) ถ้าเป็นโรงงานผลิตหลอดไฟ หลอดไฟทุกดวงที่ผลิตออกไป
จากโรงงานถือเป็นประชากรของผู้วิจัยเช่นกัน ประชากรเป้าหมายอาจจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ
สินค้า ฯลฯ อะไรก็ได้
3.5 กลุ่มตัวอย่ำง (Sample)
กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มที่รวมเอาสมาชิกส่วนหนึ่งจากกลุ่มประชากรที่เราสนใจ
ศึกษา หรือ บางส่วนของประชากร เช่น ถ้าประชากรของเราคือ เด็กเร่ร่อนในเขต กทม. ซึ่ง
สมมุติว่ามี 800 คน กลุ่มตัวอย่างก็เป็นเด็กเร่ร่อนจานวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น 50 คน ซึ่งอาจ
ได้มาจากการสุ่ม จากเด็กเร่ร่อนในกลุ่มประชากร 800 คน เด็กเร่ร่อน 50 คนที่ได้มาก็จะเป็น
กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมเอาสมาชิกบางส่วนของเด็กเร่ร่อนในกลุ่มประชากร
3.6 ค่ำพำรำมิ เตอร์ (Parameter)
ค่าพารามิเตอร์ คือ ค่าที่คานวณจากกลุ่มประชากร ดังนั้น คะแนนเฉลี่ย ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ค่าสหสัมพันธ์ ฯลฯ ที่คานวณได้จากกลุ่มประชากร ถือ
เป็นค่าพารามิเตอร์ ทั้งสิ้น
ภำพ 1-4
ภำพแสดงกำรหำค่ำพำรำมิ เตอร์

กลุ่มประชากร
N = 5,000 คน

ค่ำพำรำมิ เตอร์  = 51.78

8 PSY2008
สาหรับประชากรกลุ่มหนึ่งๆ “ค่าพารามิเตอร์” จะเป็นค่าคงที่ ดังเช่นตัวอย่างภาพ 1-4
คะแนนเฉลี่ ย  ของประชากรกลุ่ ม นี้ เป็ น ค่ าพารามิ เตอร์ และจะมี ค่ าเท่ ากั บ 51.78 เป็ น
ค่าคงที่ในกลุ่มนี้ (เฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้น)

3.7 ค่ำสถิ ติ (Statistic)


ค่าสถิติ คือ ค่าที่คานวณจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น คะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ค่าสหสัมพันธ์ ฯลฯ ที่คานวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง ถือเป็น
ค่าสถิติทั้งสิ้น
จากภาพ 1-5 จะเห็นว่ากลุ่มประชากรมีอยู่ 5,000 คน เมื่อเราสุ่มกลุ่มตัวอย่างมา 200
คน และหาค่าเฉลี่ยออกมาได้ 47.83 ค่าเฉลี่ยดังกล่าวก็จะเป็น ค่าสถิติ

ภำพ 1-5
ภำพแสดงกำรหำค่ำสถิ ติ

กลุ่มประชากร
N = 5,000 คน

สุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง A กลุ่มตัวอย่าง B


n = 200 คน n = 200 คน n = 200 คน

ค่ำสถิ ติ X = 47.83 X = 53.44 X = 45.36

PSY2008 9
สาหรับประชากรกลุ่มหนึ่งๆ “ค่าพารามิเตอร์” จะเป็นค่าคงที่ แต่ “ค่ าสถิ ติ” ไม่ใช่
ค่าคงที่ จะแปรเปลี่ยนไปในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละครั้ง ค่าสถิติ จึงเป็น ตัวแปรสุ่ม (Random
Variables) ดังเช่นตัวอย่างในภาพ1-5 เมื่อสุ่มตัวอย่างครั้งแรก ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 47.83 ถ้า
เราสุ่มใหม่อีกครั้ง เช่น กลุ่มตัวอย่าง A ค่าเฉลี่ยจะเป็น 53.44 และถ้าสุ่มใหม่อีกครั้งเป็นกลุ่ม
ตัวอย่าง B ค่าเฉลี่ยก็จะเป็น 45.36 ซึ่งจะเห็นว่า ไม่เท่ากันเลยในแต่ละครั้ง ค่าสถิติ จึงไม่ใช่
ค่าคงที่

กิ จกรรมกำรเรียนที่ 3
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ต่างกันอย่างไร
2. พารามิเตอร์ และ ค่าสถิติ คืออะไร และ ใช้ต่างกันอย่างไร
3. ให้นักศึกษาเลือก กลุ่มประชากรสักกลุ่มหนึ่ง อาจเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชา
สถิติจิตวิทยา แล้วทดลองสุ่มกลุ่มอย่าง (โดยการจับฉลาก) ให้ได้กลุ่มตัวอย่าง
ขนาด 10 คน นามาคานวณหาค่าน้าหนักเฉลี่ย แล้วทดลองสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
ใหม่จากประชากรเดิม อีก 10 คน คานวณหาค่าน้าหนักเฉลี่ยอีก แล้วดูว่า
ค่าเฉลี่ย 2 ครั้งเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด

10 PSY2008
4. สัญลักษณ์ ทำงสถิ ติของ “ค่ำพำรำมิ เตอร์” และ “ค่ำสถิ ติ”
เนื่องจากค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติเป็นตัวสถิติที่ใช้ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องใช้สัญลักษณ์
ที่ต่างกันด้วย ตางรางที่ 1-1 จะแสดงสัญลักษณ์ พร้อมชื่อเรียก

ตำรำงที่ 1-1
ตำรำงแสดง สัญลักษณ์ ทำงสถิ ติของ ค่ำสถิ ติ และ ค่ำพำรำมิ เตอร์

ตัวสถิ ติ ค่ำสถิ ติ ค่ำพำรำมิ เตอร์


(Statistic) (Parameter)
1.คะแนนเฉลี่ย X 
(Mean) M (มิว)
2.ส่วนเบี่ยงเบน S 
มำตรฐำน S.D. หรือ SD (ซิกมา)
(Standard Deviation)
3.ควำมแปรปรวน S2 2
(Variance)
4. สหสัมพันธ์ r 
(Correlation) (โร)
5. สัดส่วน p P
(Proportion)  (พาย)
จานวนกลุ่มตัวอย่าง ใช้ n
จานวนกลุ่มประชากร ใช้ N

กิ จกรรมกำรเรียนที่ 4
1. จงเขียนสัญลักษณ์ ของ “ค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากร” “ค่าความแปรปรวนของ
กลุ่มตัวอย่าง” “ค่าสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง” และ “ค่าสหสัมพันธ์ของประชากร”

PSY2008 11
5. กำรนำเสนอข้อมูลด้วยตำรำงและกรำฟ
เมื่อผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลมา นาข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดระบบข้อมูลที่ได้เพื่อให้ง่ายต่อการ
เข้าใจ และสุดท้ายก็จะต้องนาเสนอข้อมูลนั้นแก่ผู้ทเี่ กี่ยวข้อง เพื่อนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ต่อไป วิธีนาเสนอโดยทั่วไปก็มักจะใช้ ตาราง (Tables) และกราฟ (Graphs) นักศึกษาจึงควรจะ
ทาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตารางและกราฟดังนี้
5.1 กำรนำเสนอด้วยตำรำง
วิธีการนาเสนอข้อมูลด้วยตาราง เป็นวิธีที่พบเห็นมากที่สุด ในตารางจะประกอบด้วย
ส่วนประกอบ 2 อย่าง ส่วนที่หนึ่งคือ “ข้อมูล” ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข เช่น คะแนน หรือไม่ใช่
ตัวเลข เช่น เพศชาย เพศหญิง ส่วนที่สองคือ “จานวน หรือความถี่” เราเรียกตารางนี้ว่า
ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution Table)
5.1.1 ตำรำงแจกแจงควำมถี่อย่ำงง่ำย (Simple Frequency Distribution Table)
ตารางแจกแจงความถี่อย่างง่าย จะแสดงตัวข้อมูล และ ความถี่ ดังตัวอย่างใน
ตารางที่ 1-2 และ 1-3

ตำรำงที่ 1-2
ตำรำงแจกแจงควำมถี่อย่ำงง่ำย กรณี ข้อมูลเชิ งคุณภำพ

งานอดิเรกของนักศึกษา ความถี่ (f)

อ่านหนังสือ 15
ออกกาลังกาย 37
ปลูกต้นไม้ 22
ดูหนังฟังเพลง 26
รวม 100

12 PSY2008
ตำรำงที่ 1-3
ตำรำงแจกแจงควำมถี่อย่ำงง่ำย กรณี ข้อมูลเชิ งปริ มำณ

อายุของนักศึกษา (ปี) ความถี่ (f)

34 8
30 15
27 22
25 41
20 75
18 54
17 33
รวม 248

5.1.2 ตำรำงแจกแจงควำมถี่ที่มีกำรจัดกลุ่ม
(Grouped Frequency Distribution Table)
ตารางแจกแจงความถี่ที่มีการจัดกลุ่ม จะมีการนาข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาจัดเป็น
กลุ่มเพื่อให้ตารางมีขนาดพอเหมาะ มีจานวนบรรทัดพอดีไม่มากเกินไป นักศึกษาลองนึก
ภาพของตารางที่ 1-3 ดูว่าถ้าอายุในตารางมีมากกว่านี้ เช่นมีตั้งแต่อายุ 1 – 90 ปี ตารางที่
1-3 คงจะยาวเหยียดมีถึง 90 บรรทัดทีเดียว ถึงจะแสดงข้อมูลทั้งหมดได้ เพื่อความสะดวก
ตารางที่ 1-3 ก็ควรจะต้องแก้ไขใหม่โดยมีการจัดข้อมูลเป็นกลุ่มๆเสียก่อน โดยจัดเป็นช่วง เช่น
ช่วงละ 20 ปี ก็จะมี กลุ่มอายุ 1-20 ปี กลุ่ม 21-40 ปี ฯลฯ ดังแสดงในตารางที่ 1-4
ตารางแจกแจงความถี่ที่มีการจัดกลุ่มนี้ใช้ได้เฉพาะกับข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น
ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถจัดกลุ่มรวมกันได้

PSY2008 13
ตำรำงที่ 1-4
ตำรำงแจกแจงควำมถี่ที่มีกำรจัดกลุ่ม กรณี ข้อมูลเชิ งปริ มำณ

อายุของนักศึกษา (ปี) ความถี่ (f)

1 – 20 15
21 – 40 32
41 – 60 51
61 – 80 24
81 – 100 9
รวม 131

5.2 กำรนำเสนอด้วยกรำฟ
กราฟ (Graphs) เป็นการนาเสนอข้อมูลในลักษณะ 2 มิติ โดยมีแกนอยู่ 2 แกน แกนที่
หนึ่ง คือ แกน X เป็นแกนตามแนวนอน จะเป็นแกนที่แสดงข้อมูล หรือ คะแนน แกนที่สอง
คือ แกน Y เป็นแกนตามแนวตั้ง แสดงความถี่ของข้อมูล ดังภาพ 1-6
ภำพ 1-6
ภำพแสดงแกน X และ แกน Y

Y
ความถี่

ข้อมูล/คะแนน X

14 PSY2008
5.2.1 กรำฟสำหรับข้อมูลเชิ งคุณภำพ
กราฟที่ใช้ในการนาเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพมี 2 แบบคือ กราฟแท่ง (Bar Graph)
และกราฟวงกลม (Pie Graph)

ภำพ 1-7
ภำพแสดงกรำฟแท่ง สำหรับข้อมูลเชิ งคุณภำพ

500

400

300
Frequency

200

100

กรรมกร เกษตรกร บริการ วิชาชพี เฉพาะ ชางฝีมื


่ อ หัหัตถกรรม
ถกรรม
Occupational Category

ภาพ 1- 7 เป็นภาพแสดงกราฟแท่ง แกนตั้งเป็นความถี่ แกนนอนเป็นตัวแปรด้าน


อาชีพ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างอาชีพ เช่น กรรมกร เกษตรกร บริการ วิชาชีพเฉพาะ
ช่างฝีมือ และ หัตถกรรม เป็นต้น
ภาพถัดไป คือภาพ 1-8 เป็นภาพที่แสดงกราฟวงกลม ซึ่งเป็นข้อมูลชุดเดียวกับที่แสดง
ในกราฟแท่ง เพียงแต่เปลี่ยนรูปกราฟมาเป็นกราฟวงกลมเท่านั้น

PSY2008 15
ภำพ 1-8
ภำพแสดงกรำฟวงกลม สำหรับข้อมูลเชิ งคุณภำพ

Mอืissing
่นๆ

หัถกรรม กรรมกร
หัตถกรรม

่ อ
ชางฝีมื

วิชาชพี เฉพาะ
เกษตรกร
บริการ

5.2.2 กรำฟสำหรับข้อมูลเชิ งปริ มำณ


ในกรณีข้อมูลที่ต้องการนาเสนอด้วยกราฟเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น คะแนน
สอบวิชาภาษาอังกฤษ คะแนนสุขภาพจิต น้าหนัก ฯลฯ เราไม่นิยมนาเสนอด้วยกราฟแท่ง
หรือกราฟวงกลม แต่จะนาเสนอด้วย ฮีสโทแกรม (Histogram) รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่
(Frequency Polygon) หรือ โค้งแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution Curve)

16 PSY2008
ภำพ 1- 9
ภำพแสดงฮีสโทแกรม (Histogram)

Histogram

3
Frequency

Mean = 11.5
Std. Dev. = 2.431
0 N = 12
6 8 10 12 14 16 18

คะแนนความวิตกกงวล

ฮีสโทแกรมในภาพ 1-9 มีแกนตั้งเป็นความถี่ แกนนอนเป็นคะแนนความวิตกกังวล


โปรดสังเกตว่าในฮีสโทแกรมนั้น แท่งความถี่แต่ละแท่งจะเรียงชิดติดกันไปตลอด เนื่องจาก
ข้อมูลในการสร้างฮีสโทแกรมเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ต่อเนื่องกันไปตลอด จากตัวอย่างใน
ภาพ 1-9 แกนตั้งเป็นความถี่ แกนนอนเป็นคะแนนความวิตกกังวล ซึ่งความวิตกกังวลเป็นตัว
แปรที่มีค่าเป็นตัวเลขต่อเนื่องกันไปตลอด แต่ในกราฟแท่ง แท่งความถี่แต่ละแท่งจะแยก
จากกัน เนื่องจากข้อมูลในการสร้างกราฟแท่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ (ดูเปรียบเทียบกับกราฟ
แท่งในภาพ 1-7)

PSY2008 17
ภำพ 1-10
ภำพแสดงรูปหลำยเหลี่ยมแห่งควำมถี่ (Frequency Polygon)

500

400

300
Count

200

100

0 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
Highest Year of School Completed

ภาพ 1-10 เป็นภาพแสดงรูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ ที่มีแกนตั้งเป็นความถี่และแกน


นอนเป็น จานวนปีที่ศึกษาในสถานศึกษาสูงสุด ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

18 PSY2008
ภำพ 1-11
ภำพแสดงรูปโค้งแจกแจงควำมถี่ (Frequency Distribution Curve)

500

400
Frequency

300

200

100

Mean = 12.88
Std. Dev. = 2.984
N = 1,510
0
0 3 6 9 12 15 18
Highest Year of School Completed

สาหรับรูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ และรูปโค้งแจกแจงความถี่ ก็สร้างขึ้นมาจากฮีสโท


แกรม โดยรูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ สร้างมาจากเส้นตรงที่ลากเชื่อมต่อจุดกึ่งกลางของยอด
แท่งความถี่แต่ละแท่ง ส่วนรูปโค้งแจกแจงความถี่ ก็สร้างจากเส้นโค้งที่ลากเพื่อให้เส้นโค้งนี้
ครอบคลุมพื้นที่ของแท่งความถี่ทั้งหมด ดังแสดงในภาพ1-12

PSY2008 19
ภำพ 1-12
ภำพแสดงที่มำของ รูปหลำยเหลี่ยมแห่งควำมถี่ และโค้งแจกแจงควำมถี่

500 500

400 400
Frequency

Frequency
300 300

200 200

100 100

Mean = 12.88 Mean = 12.88


Std. Dev. = 2.984 Std. Dev. = 2.984
N = 1,510 N = 1,510
0 0
0 3 6 9 12 15 18 0 3 6 9 12 15 18
Highest Year of School Completed Highest Year of School Completed

ในภาพ 1-12 ภาพทางซ้ายเป็นภาพแสดงที่มาของ รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ ซึ่ง


เกิดจากการลากเส้นตรงต่อยอดแท่งความถี่ ส่วนภาพทางขวาเป็นภาพแสดงที่มาของรูปโค้ง
แจกแจงความถี่

กิ จกรรมกำรเรียนที่ 5
1. จากข้อมูลที่เป็นกรุ๊ปเลือดของเด็กประถมปีที่ 5 ที่ให้มา จงสร้างตารางแจกแจง
ความถี่ กราฟแท่ง และกราฟวงกลม
O A AB O B O O A B O B A B A O A AB B O O
2. จงสร้างตารางแจกแจงความถี่ ฮีสโทแกรม และ รูปโค้งแจกแจงความถี่ จากข้อมูล
คะแนนสอบวิชาสังคมศึกษา
6 5 4 5 4 3 4 2 2 5 6 6 4 3 7

20 PSY2008
สรุป
วิชาสถิติ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการรวบรวม จัดระบบ นาเสนอ วิเคราะห์ และ
แปลผลข้อมูล สถิติมี 2 ชนิดประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยาย ซึ่งจะเป็นการศึกษาข้อมูลในกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่ง และสถิติเชิงอ้างอิง ซึ่งจะศึกษาในกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิงกลับไปที่กลุ่มประชากร
สาหรับสถิติเชิงอ้างอิง ยังแบ่งเป็น 2 อย่างอีก คือ การประมาณค่า กับ การทดสอบสมมุติฐาน
คาจากัดความเฉพาะทางสถิติที่นักศึกษาต้องรู้จัก ได้แก่ “ค่าคงที่” เป็นค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วน “ตัวแปร” จะเป็นคุณลักษณะที่มีค่ามากกว่า 1 ค่า “ข้อมูล” คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัว
แปร “กลุ่มประชากร” คือ กลุ่มที่รวมเอาสมาชิกทุกหน่วย แต่ “กลุ่มตัวอย่าง” เป็นเพียงส่วน
หนึ่งของกลุ่มประชากร ค่าที่คานวณจากกลุ่มประชากรเรียกว่า “ค่าพารามิเตอร์” ส่วนค่าที่
คานวณได้จากกลุ่มตัวอย่างเรียกว่า “ค่าสถิติ” ค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ มีความแตกต่างกัน
ดังนั้นสัญลักษณ์ทางสถิติก็ต้องไม่ใช้ปะปนกันเพราะมีความหมายต่างกัน ส่วนการนาเสนอ
ข้อมูลในการวิจัยส่วนใหญ่ใช้ตาราง ซึ่งมีทั้งตารางอย่างง่ายและตารางที่มีการจัดกลุ่ม กราฟก็
จะมีการใช้กราฟแท่ง กราฟวงกลม ฮีสโทแกรม รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ และรูปโค้งการ
แจกแจงความถี่

กำรประเมิ นผลท้ำยบท
1. วิชาสถิติ คืออะไร
2. สถิติมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
3. การทดสอบสมมุติฐาน คืออะไร
4. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คืออะไร
5. ค่าคงที่ กับ ตัวแปร ต่างกันอย่างไร
6. ค่าสถิติ และ ค่าพารามิเตอร์ ของ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้
สัญลักษณ์ทางสถิติ อะไร
7. ข้อมูลเชิงปริมาณ ควรจะนาเสนอด้วยกราฟแบบใด อธิบายให้เข้าใจ

----------------------

PSY2008 21
22 PSY2008

You might also like