You are on page 1of 31

ร่าง

พระราชบัญญัติช้าง
พ.ศ. ....

……………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………….
โดยที่เป็ นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยช้าง
..................................................................................................
....................................................................................................................
......................................................................................

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติช้าง


พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่ง
ร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(1)พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่ า พระพุทธศักราช
๒๔๖๔
2

(2)พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่ า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.


๒๕๐๓
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ช้าง” หมายความว่า ช้างที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราช
บัญญัตินี้ ยกเว้นช้างซึ่งเป็ นสัตว์ป่ าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและ
คุ้มครองสัตว์ป่ า
“ช้างสำคัญ” หมายความว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ
คือ
(๑) ตาขาว
(๒) เพดานขาว
(๓) เล็บขาว
(๔) ขนขาว
(๕) พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
(๖) ขนหางขาว
(๗) อัณฑโคตร์ขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
“ช้างสีปลาด” หมายความว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่ง
อย่างใดใน ๗ อย่าง คือ
(๑) ตาขาว
(๒) เพดานขาว
(๓) เล็บขาว
(๔) ขนขาว

(๕) พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่


(๖) ขนหางขาว
3

(๗) อัณฑโคตร์ขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่


“ช้างเนียม” หมายความว่า ช้างที่มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
(๑) พื้นหนังดำ
(๒) งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย
(๓) เล็บดำ
“ช้างต้น” หมายความว่า ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวง
ส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์
“ซากของช้าง” หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนต่าง ๆ ของช้างที่
ตายแล้ว และให้หมายความรวมถึงชิ้นส่วนหรือสิ่งใด ๆ ที่ได้จากช้าง ไม่ว่า
จะยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
“ผลิตภัณฑ์ช้าง” หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นจากซากของช้าง
และให้หมายความรวมถึง สิ่งอื่นใดที่ทำขึ้นหรือแปรรูปหรือมีส่วน
ประกอบหรือมีส่วนผสมจากซากของช้างหรือสิ่งใด ๆ ที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนด
“ปางช้าง” หมายความว่า สถานที่เลี้ยงช้าง
“ประกอบกิจการช้าง” หมายความว่า การประกอบกิจการ
เกี่ยวกับช้างเพื่อการท่องเที่ยว การแสดง หรือการประกอบกิจการใด ๆ
เพื่อแสวงหาประโยชน์จากช้าง
“ควาญช้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนควาญช้าง
ตามพระราชบัญญัตินี้
“เครื่องหมายประจำตัวช้าง” หมายความว่า
(๑) สิ่งหรือเครื่องหมายซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำไว้ที่ตัวช้าง
(๒) ตำหนิใด ๆ ที่มีติดอยู่ตัวช้างทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติหรือ
โดยมนุษย์ทำขึ้น
(๓) รหัสพันธุกรรมของช้าง (ดีเอ็นเอ)
4

(๔) เครื่องหมายอื่นใดที่อธิบดีประกาศกำหนด
“เครื่องหมายประจำซากของช้าง” หมายความว่า สิ่งหรือ
เครื่องหมายซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำไว้ที่ซากของช้าง หรือเครื่องหมายอื่น
ใดที่อธิบดีประกาศกำหนด
“สมุดประจำตัวช้าง” หมายความว่า เอกสารราชการที่นาย
ทะเบียนออกให้แก่เจ้าของช้าง เพื่อแสดงลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ความเป็ น
ตัวช้าง
“การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรืองดเว้น
การกระทำใด ๆ ที่ทำให้ช้าง ได้รับความทุกข์ทรมาน ได้รับความเจ็บ
ปวด ความเจ็บป่ วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้ช้างตาย และ
ให้หมายความรวมถึงการใช้ช้างพิการ ช้างเจ็บป่ วย ช้างชราหรือช้างที่
กำลังตั้งท้อง เพื่อแสวงหาประโยชน์ ใช้ช้างทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้
ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่ช้างนั้นเจ็บป่ วย ชรา หรืออ่อนอายุ
หรือการกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการ
“การจัดสวัสดิภาพ” หมายความว่า การเลี้ยงหรือการดูแลให้
ช้างมีความเป็ นอยู่ในสภาวะ ที่เหมาะสม มีสุขภาพอนามัยที่ดี มี
ที่อยู่ อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ
“เจ้าของ” หมายความว่า ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์
“ค้า” หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก
หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และ
หมายความถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อการประกาศหรือโฆษณาหรือนำเสนอ
ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือสื่อใด ๆ เพื่อการ
ค้าด้วย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการช้างแห่งชาติ
5

“นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นนาย


ทะเบียน
“สัตวแพทย์” หมายความว่า นายสัตวแพทย์และสัตวแพทย์
ของกรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่ า และพันธุ์พืช ผู้ประกอบ
วิชาชีพการสัตวแพทย์ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็ นสัตวแพทย์ เพื่อ
ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อ
ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ให้เป็ นผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราช
บัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตรา
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่น กับออก
ประกาศเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุ
เบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
ช้างสำคัญ ช้างสีปลาด ช้างเนียม
6

มาตรา ๖ ผู้ใดมีช้างสำคัญ หรือช้างสีปลาด หรือช้างเนียม โดย


เหตุที่จับได้ หรือโดยแม่ช้าง ของตนตกออกมา หรือโดยเหตุอื่นอย่าง
หนึ่งอย่างใดก็ดี ให้ช้างนั้นตกเป็ นของแผ่นดิน และต้องนำขึ้นทูลถวายแด่
พระมหากษัตริย์
บรรดาช้างชนิดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้โอนกรรมสิทธิ์
แก่กันทั้งโดยวิธีซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโดยวิธีอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด
ทั้งนี้ ผู้ที่ยึดถือช้างเช่นนั้นไว้ ต้องแจ้งและมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพี่
อดำเนินการนำขึ้นทูลถวายแด่พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และ
วิธีการที่กำหนดไว้ ในพระราชกฤษฎีกา

หมวด ๒
คณะกรรมการช้างแห่งชาติ

มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะ


กรรมการช้างแห่งชาติ” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็ นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่ า และพันธุ์พืช อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น อธิบดีกรมสารนิเทศ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ผู้อำนวย
การองค์การสวนสัตว์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ ผู้
บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็ นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรง
คุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินหกคน เป็ นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็ นกรรมการและเลขานุการ
7

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความ
รู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เป็ นที่ประจักษ์ด้านช้าง สัตวแพทย์
ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับช้าง สมาคมหรือมูลนิธิ ที่ดำเนิน
งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับช้าง ผู้เลี้ยงช้างหรือผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับ
ช้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละสามปี
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเดียวกันแทนภายในสามสิบ
วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน
อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระ
ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรีจะไม่
ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ และในการนี้ให้
คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย บกพร่อง
หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือ หย่อนความสามารถ
(๔) เป็ นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็ นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่
เป็ นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
8

(๑) กำหนดแผน มาตรการ และแนวทางในการคุ้มครองและ


อนุรักษ์ช้างเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและเชิดชูศักดิ์ศรี เกียรติศักดิ์ของ
ช้าง การดูแลรักษา การส่งเสริมการอนุรักษ์ช้าง การป้ องกันและแก้ไขการ
ทารุณกรรม โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและอาชีพของ
ราษฎร การให้ได้มาซึ่งช้าง อันเป็ นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ตลอด
จนการปฏิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ
(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกประกาศตามพระราช
บัญญัตินี้
(๓) ประเมินผลการปฏิบัติการตามนโยบายและแผน และ
กำหนดแนวทางแก้ไขปั ญหาอุปสรรคที่เกิดจากการปฏิบัติการตาม
นโยบายและแผน
(๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็ นอำนาจ
หน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่ง อย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมา
ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
จึงเป็ นองค์ประชุม
ให้ประธานกรรมการเป็ นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน
กรรมการไม่มาประชุมหรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ
ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็ นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนน
เสียงเท่ากัน ให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียง
หนึ่งเป็ นเสียงชี้ขาด
9

หมวด ๓
การแจ้งและการขึ้นทะเบียน

ส่วนที่ ๑
การแจ้งและการขึ้นทะเบียนช้าง และควาญช้าง

มาตรา ๑๓ เมื่อช้างตกลูกให้เจ้าของช้างแจ้งต่อนายทะเบียน
ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ ช้างตกลูก
เมื่อมีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนตรวจสอบหรือ
สอบสวนว่าเจ้าของได้มา โดยถูกต้องและสุจริต จากนั้นให้ออก
สมุดประจำตัวช้าง พร้อมทำเครื่องหมายประจำตัวช้างที่ช้างนั้น โดยให้
เจ้าของสัตว์รับผิดชอบราคาในการจัดหาเครื่องหมายประจำตัวช้าง และ
ต้องเลี้ยงดูช้างตามข้อกำหนดว่าด้วยการเลี้ยงดูช้างตามที่อธิบดีประกาศ
กำหนด
แบบสมุดประจำตัวช้าง เครื่องหมายประจำตัวช้าง ลักษณะ
ราคา การแจ้งและการขึ้นทะเบียนให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดนำช้างซึ่งเป็ นสัตว์ป่ าตามกฎหมายว่า
ด้วยการสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่ ามาแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อให้ได้สมุด
ประจำตัวช้าง มีการทำเครื่องหมายประจำตัวช้าง และ การ
ขึ้นทะเบียนช้าง
10

มาตรา ๑๕ เมื่อมีช้างตาย ให้เจ้าของช้าง หรือควาญช้างแจ้ง


การตายต่อนายทะเบียน สัตวแพทย์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ภายในสิบสองชั่วโมง นับตั้งแต่เมื่อช้างตาย
เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้สัตวแพทย์เข้าตรวจพิสูจน์
สาเหตุการตาย และแจ้ง ต่อนายทะเบียนเพื่อจดบันทึกข้อมูลลง
ในสมุดประจำตัวช้าง แล้วส่งคืนสมุดประจำตัวช้างให้แก่เจ้าของช้าง
การจัดการกับช้างที่ตาย ให้สัตวแพทย์มีคำสั่งให้เจ้าของช้าง
จัดการฝั ง กลบ เผา โดยไม่ให้ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
ประชาชนบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เจ้าของช้าง
เป็ นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
ในกรณีเจ้าของซากของช้างประสงค์จะนำซากของช้างไปใช้
ประโยชน์ ให้เจ้าของซากของช้าง แจ้งต่อนายทะเบียน เพื่อให้มี
การออกเอกสารครอบครอง และทำเครื่องหมายประจำซากของช้าง
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าของซากของช้างรับผิดชอบราคาในการจัดหา
เครื่องหมายประจำซากของช้าง
มาตรา ๑๖ เมื่อช้างผู้ใดหายไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้เจ้าของ
หรือตัวแทนแจ้งต่อ นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่
ทราบเหตุ ภายหลังเมื่อได้ช้างมา ให้แจ้งต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันได้คืน
ในกรณีที่ไม่ได้ช้างคืน ให้เจ้าของส่งสมุดประจำตัวช้างคืนแก่
นายทะเบียนภายในสามสิบวัน
มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้เจ้าของช้าง ปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ เว้น
แต่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบและปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
11

เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าเป็ นการได้รับ


อนุญาตและการปฏิบัติตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้ช้างนั้นมี
สถานะเป็ นสัตว์ป่ าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ า
ทั้งนี้ ให้เจ้าของช้างแจ้งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่ า
และพันธุ์พืช และนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะทราบถึง
การปล่อยช้าง และให้นายทะเบียนดังกล่าวยกเลิกทะเบียน ตั๋วรูป
พรรณช้างนั้นทันที
มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์ทำหน้าที่ควาญช้าง ให้แจ้งต่อนาย
ทะเบียนเพื่อทำการ ขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในกรณีที่ผู้ขึ้นทะเบียนควาญช้างไม่ประสงค์จะทำหน้าที่ควาญ
ช้างต่อไป ให้แจ้ง ต่อนายทะเบียนเพื่อยกเลิกการขึ้น
ทะเบียน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศ
กำหนด
มาตรา ๑๙ เจ้าของช้าง และควาญช้าง ต้องควบคุมดูแลช้าง
ตกมันมิให้ช้างตกมัน ไปทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และ
ทรัพย์สินของผู้อื่น เว้นแต่เป็ นเหตุสุดวิสัย

ส่วนที่ ๒
การแจ้งและการขึ้นทะเบียน ซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้าง

มาตรา ๒๐ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งซากของช้าง และ


ผลิตภัณฑ์ช้าง ให้มาแจ้ง การครอบครองพร้อมเอกสารการได้
12

มาต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดี


ประกาศกำหนด
ภายหลังจากได้รับแจ้งการครอบครอง ให้นายทะเบียนออก
เอกสารการครอบครอง ซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้างให้แก่ผู้
แจ้งการครอบครองไว้เป็ นหลักฐาน และทำเครื่องหมายประจำ
ซากของช้างและผลิตภัณฑ์ช้างแล้วแต่กรณี ให้เจ้าของซากของช้างหรือ
ผลิตภัณฑ์ช้างรับผิดชอบราคา ในการจัดหาเครื่องหมาย
ประจำซากของช้างและค่าใช้จ่ายในการทำเครื่องหมายประจำซากของ
ช้างหรือผลิตภัณฑ์ช้างนั้น
ในกรณีที่ตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยในภายหลังจากที่ได้
รับแจ้งการครอบครอง ว่าซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้างได้มา
โดยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนอาจมีคำสั่ง
ให้ผู้ครอบครอง นำเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ได้
เหตุอันควรสงสัยและการนำเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์
ตามวรรคสาม ให้เป็ นไปตาม ที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ซาก
ของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้าง ในความครอบครองเป็ นซากของช้าง
และผลิตภัณฑ์ช้าง ที่ได้มาอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้างนั้นตกเป็ นของแผ่นดิน และให้เจ้าของ
หรือผู้ครอบครองส่งมอบซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้าง ให้แก่กรม
ปศุสัตว์ภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งจากนาย
ทะเบียน
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของ
นายทะเบียนตามวรรคห้า ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบ
ห้าวันนับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
13

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็ นที่สุด

มาตรา ๒๑ ในกรณีผู้ซึ่งครอบครองซากของช้าง และ


ผลิตภัณฑ์ช้าง ตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๖๗ ประสงค์จะโอนการครอบ
ครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครอง แปรสภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่าง
ซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้างที่อยู่ในความครอบครอง ต้องแจ้งเป็ น
หนังสือต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ จะมีการโอนการครอบครอง
เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครอง แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างซากของช้าง
และผลิตภัณฑ์ช้าง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้ง ให้เป็ นไปตามที่
อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๒ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และ
มาตรา ๓๗ มิให้ใช้บังคับแก่ ผู้ครอบครองซากของช้าง และ
ผลิตภัณฑ์ช้าง ตามลักษณะหรือขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

หมวด ๔
การขออนุญาต การออกใบอนุญาต และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต

มาตรา ๒๓ ผู้ใดจะประกอบกิจการช้าง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อ


ผู้อนุญาต
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็ นไปตามที่อธิบดีประกาศ
กำหนด
14

มาตรา ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการช้าง ต้องแสดง


ใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิ ดเผย ณ ที่ตั้งของผู้ได้รับใบ
อนุญาตประกอบกิจการช้าง
มาตรา ๒๕ ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๓ ให้มีอายุสามปี นับแต่วัน
ที่ออกใบอนุญาตนั้น ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบ
อนุญาตให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเสียก่อน ที่
ใบอนุญาตสิ้นอายุสามเดือน เมื่อได้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมการ
ต่ออายุใบอนุญาตพร้อมกับการยื่น คำขอแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไป
ได้จนกว่าอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบ
อนุญาตนั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตตามมาตรา
๒๓ หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา ๒๕ ผู้ขอรับใบ
อนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็ นหนังสือต่อรัฐมนตรี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่
อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็ นที่สุด
ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ก่อนที่
รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามวรรคสอง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่ง
อนุญาตให้ประกอบกิจการไปพลางก่อนได้ เมื่อผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต
ร้องขอ
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการอุทธรณ์ ให้เป็ นไปตามที่
รัฐมนตรีประกาศกำหนด
15

มาตรา ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๓ ชำรุดสูญหาย


หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาต และยื่น
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบ
การชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๘ การเปลี่ยนแปลงชื่อในใบอนุญาตประกอบกิจการ
ช้างที่ได้รับอนุญาตแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้
อนุญาต
มาตรา ๒๙ การย้ายสถานที่ประกอบกิจการช้างไปตั้ง ณ ที่อื่น
นอกจากที่ที่ระบุไว้ ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับ
อนุญาตจากผู้อนุญาต ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการเสมือน
ขอรับใบอนุญาตใหม่
มาตรา ๓๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาต
ประกอบกิจการช้างให้แก่ บุคคลอื่น ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งเป็ น
หนังสือต่อผู้อนุญาตและให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
การโอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธี
การ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตาย และทายาทหรือผู้ที่ได้
รับความยินยอมจากทายาทแสดงความจำนงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบ
หมายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เพื่อขอ
ประกอบกิจการช้างที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นต่อไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธี
การ และเงื่อนไขให้เป็ นไปตาม ที่อธิบดีประกาศกำหนด
เมื่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอนุญาตแล้ว ให้ผู้แสดง
ความจำนงนั้นประกอบกิจการช้างต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ
16

ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้แสดงความจำนงเป็ นผู้รับอนุญาต


ตามพระราชบัญญัตินี้ นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ
ช้าง ต้องแจ้งเป็ นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับช้างส่งให้ผู้
อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตจะสั่งให้ผู้รับอนุญาต
ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนเลิกกิจการก็ได้
มาตรา ๓๓ ผู้ใดทำนิติกรรม หรือโอนกรรมสิทธิ์ช้างให้แก่ผู้อื่น
ต้องแจ้งแก่นายทะเบียน เพื่อทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทำ
นิติกรรมหรือโอนกรรมสิทธิ์
มาตรา ๓๔ ผู้ใดจะนำช้างไปยังจังหวัดอื่น ต้องแจ้งต่อนาย
ทะเบียน
การแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๓๕ ผู้ใดประสงค์จะนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักร
ซึ่งช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
การขออนุญาต และการอนุญาตให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธี
การ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งช้าง
ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
การอนุญาตให้ส่งออกช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง ให้
กระทำได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ ในการศึกษาวิจัย เพื่อการคุ้มครองช้าง
การอนุรักษ์ช้าง หรือเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ที่กระทำโดย
ทางราชการ หรือเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งกระทำโดยรัฐบาล
17

การอนุญาตผู้ใดซึ่งมิใช่ราชการหรือรัฐบาลส่งออกช้าง ซาก
ของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง ให้กระทำได้เฉพาะกรณีเป็ นการส่ง
ออกจัดการแสดง นิทรรศการเพื่อการเผยแพร่ประเทศไทย เป็ นการ
ชั่วคราวได้คราวละสามปี ขอขยายระยะเวลาได้คราวละสามปี แต่รวม
ระยะเวลาทั้งสิ้นได้ไม่เกินเก้าปี โดยผู้รับอนุญาตต้องจัดวางหลักประกัน
การนำช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง กลับเข้ามาในราชอาณาจักร
ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตในอัตราไม่น้อยกว่าราคาประเมินของช้าง
ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้างที่ได้รับอนุญาต ให้ส่งออกนั้นไว้กับ
กรมปศุสัตว์ และหากผู้รับอนุญาตไม่นำช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์
ช้าง ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกกลับเข้ามาในราชอาณาจักรตามกำหนด
ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตหรือฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต
ให้กรมปศุสัตว์ริบหลักประกัน และให้ช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง
นั้นตกเป็ นของแผ่นดิน ผู้รับอนุญาตให้ส่งออกต้องดำเนินการนำช้าง ซาก
ของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้างนี้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรและส่งมอบให้
กรมปศุสัตว์ภายในระยะเวลาไม่เกินหกเดือนเพื่อนำไปดำเนินการตาม
ระเบียบที่อธิบดีกำหนดต่อไป
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการอนุญาต การอนุญาต การ
ประเมินราคา การวางหลักประกัน และการริบหลักประกัน ให้เป็ นไปตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๗ ผู้ใดประสงค์จะค้าซากของช้าง และผลิตภัณฑ์ช้าง
ให้ยื่นคำขออนุญาต ต่อนายทะเบียน
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต
การค้า และการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้เป็ นไปตามที่
อธิบดีประกาศกำหนด
18

มาตรา ๓๘ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากใบอนุญาตตามพระ
ราชบัญญัตินี้ เงินค่าปรับ จากการเปรียบเทียบและตามคำพิพากษา
ของศาล และจากการริบหลักประกันตามมาตรา ๓๕ ให้หักไว้ เป็ น
ค่าดำเนินการให้ความช่วยเหลือช้างเป็ นจำนวนไม่เกินร้อยละห้าสิบของ
เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่วนที่เหลือให้นำส่งเป็ นรายได้แผ่น
ดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยความเห็นชอบ
ของกระทรวงการคลัง

หมวด ๕
การพักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา ๓๙ เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตปฏิบัติการไม่ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราช
บัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่ง เป็ นหนังสือ ให้
ผู้รับอนุญาต ปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ ไม่
เป็ นเหตุลบล้างความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๐ อธิบดีมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการ
ช้างเมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาต
(๑) ไม่ปฏิบัติการตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งตาม
มาตรา ๓๙
(๒) ฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงหรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่สอง
ครั้งขึ้นไป หรือ
19

(๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราช
บัญญัตินี้
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการช้างตามวรรคหนึ่ง ให้มี
กำหนดเวลาตามที่อธิบดีเห็นสมควร แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันนับ
แต่วันที่แจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ แต่อธิบดีจะเพิกถอนคำสั่ง พักใช้ใบ
อนุญาตประกอบกิจการช้างก่อนครบกำหนดเวลาก็ได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติ
ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราช
บัญญัตินี้
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตฝ่ าฝื นคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ตามมาตรา ๔๐ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตนั้น
ได้
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบ
กิจการช้างตามมาตรา ๔๐ หรือให้เพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑ ให้
อธิบดีมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งคำสั่งไปยังผู้รับอนุญาต

หนังสือแจ้งตามวรรคหนึ่ง ต้องกำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดทำ
รายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับช้าง ส่งให้อธิบดีโดยเร็ว เพื่ออธิบดีจะสั่งการ
ให้ผู้รับอนุญาตจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับช้างนั้น
ถ้าไม่พบตัวผู้รับอนุญาต หรือผู้รับอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดัง
กล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ปิ ดคำสั่งไว้ในที่เปิ ดเผย ณ ประกอบ
กิจการช้าง และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่
ได้ปิ ดคำสั่ง
คำสั่งของผู้อนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์
หรือโดยวิธีอื่นใดอีกด้วยก็ได้
20

มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ประกอบกิจการช้าง ตามมาตรา ๔๐ หรือที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตาม
มาตรา ๔๑ ประกอบกิจการช้างนับแต่วันที่ทราบคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ประกอบกิจการช้าง หรือคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๔ ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว จะขอรับใบ
อนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบ
อนุญาต
มาตรา ๔๕ คำสั่งของอธิบดีที่ได้สั่งตามมาตรา ๔๐ หรือมาตรา
๔๑ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็ นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับ
แต่วันที่ทราบคำสั่ง ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการอุทธรณ์ ให้เป็ น
ไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็ นที่สุด
การอุทธรณ์คำสั่งตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็ นการทุเลาการบังคับ
ตามคำสั่งนั้น

หมวด ๖
การป้ องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพช้าง

ส่วนที่ ๑
การป้ องกันการทารุณกรรมช้าง

มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมช้างโดยไม่มี
เหตุอันสมควร
21

มาตรา ๔๗ การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็ นการทารุณกรรม


ช้าง ตามมาตรา ๔๖
(๑) มีความจำเป็ นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตราย หรือ
ป้ องกันความเสียหาย ที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
ทั้งนี้ ต้องเป็ นการพอสมควรแก่เหตุ
(๒) การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษาซึ่งกระทำ
โดยผู้ประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้
กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็ นผู้ประกอบ
วิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการ
สัตวแพทย์
(๓) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้
เป็ นการเฉพาะ
(๔) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็น
ชอบของคณะกรรมการ

ส่วนที่ ๒
การจัดสวัสดิภาพช้าง

มาตรา ๔๘ เจ้าของปางช้างและเจ้าของช้าง ต้องจัดสวัสดิภาพ


ให้แก่ช้างให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
22

มาตรา ๔๙ ห้ามมิให้เจ้าของ หรือควาญช้างละทิ้งช้าง หรือ


ปล่อยช้างไปในที่สาธารณะหรือเดินทางบนทางหลวงในลักษณะที่อาจก่อ
ให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ โดย
ประการที่ทำให้ช้างเจ็บป่ วยหรือขาดแคลนอาหาร เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
หรือได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว หรือเพราะช้างนั้นมีอาการอันตราย
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้ผู้ใดนำช้างออกเร่ร่อนในที่สาธารณะ หรือ
ท้องถนน เพื่อแสวงหาประโยชน์

หมวด ๗
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงาน


เจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควร
สงสัยว่าจะมีการฝ่ าฝื น หรือ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อ
ตรวจค้น ยึด หรืออายัดช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้างที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือพยานหลักฐานอื่นที่
เกี่ยวข้อง หรือจับกุมผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ โดย
ไม่ต้องมีหมายค้น ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำในอาคาร
หรือสถานที่นั้น
(ข) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่
จับหนีเข้าไป หรือมีเหตุ อันควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ใน
อาคารหรือสถานที่นั้น
23

(ค) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าช้างหรือซากของ
ช้างที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือพยานหลัก
ฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ซ่อนหรืออยู่ในอาคารหรือสถานที่นั้นประกอบกับ
ต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ช้าง
ซากของช้าง ผลิตภัณฑ์ช้าง หรือพยานหลักฐานนั้นจะถูกโยกย้าย ทำลาย
หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(ง) เมื่อผู้จะต้องถูกจับเป็ นเจ้าของอาคารหรือสถานที่
และการจับนั้น มีหมายจับหรือจับได้โดยไม่ต้องมีหมายตามที่ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้
(๒) สั่งเจ้าของหรือผู้ควบคุมยานพาหนะให้หยุดหรือจอด เพื่อ
ตรวจหรือควบคุมให้การเป็ นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อตรวจค้น
ยานพาหนะในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) จับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ต้องมี
หมายจับ เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุอื่นที่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ เพื่อส่งพนักงาน
สอบสวนดำเนินการต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

การดำเนินการตาม (๑) ให้กระทำได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น


และตก หรือในเวลาทำการ ของสำนักงานหรือสถานประกอบการ
นั้น ทั้งนี้ หากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จะดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ
ก็ได้
ในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็ นเจ้า
พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
24

มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดง


บัตรประจำตัวเมื่อบุคคล ที่เกี่ยวข้องร้องขอ
บัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ นไปตามแบบที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนด
มาตรา ๕๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ผู้รับ
อนุญาตและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๕๔ ของกลางเกี่ยวกับการกระทำผิดที่อยู่ในระหว่าง
คดี ให้อยู่ในความดูแลรักษา ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆ ให้เจ้าของช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้าง และผู้กระทำผิด
ชำระค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

หมวด ๘
บทกำหนดโทษ

มาตรา ๕๕ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๖ ต้องระวางโทษจำคุกสามปี


และปรับไม่เกินสามล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๖ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐
มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๑
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๘ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๑๙ และมาตรา ๔๘ ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
25

มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๔๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน


สองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๒ และ
มาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๑ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๑๔ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๒ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย
ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งช้าง ซากของช้าง ผลิตภัณฑ์ช้าง
อันได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
มาตรา ๖๓ ช้าง ซากของช้าง ผลิตภัณฑ์ช้าง ที่ตกเป็ นของ
แผ่นดินแล้วทุกกรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในความ
ดูแลรักษาของพนักงานเจ้าหน้าที่และจัดการตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา ๖๔ ในกรณีผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระ
ราชบัญญัตินี้ เป็ นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะ
พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วย
มาตรา ๖๕ ช้าง ซากของช้าง หรือผลิตภัณฑ์ช้างที่บุคคลได้มา
หรือมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิด ที่มีโทษถึงจำคุกในพระราชบัญญัติ
นี้ ให้ศาลสั่งริบเสียทั้งสิ้น
26

มาตรา ๖๖ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับ
สถานเดียวให้อธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบ
เทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบ
ภายในระยะเวลา อันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวัน ให้ถือว่าคดีเลิก
กันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว
ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสอง ให้ดำเนินคดี
ต่อไป

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๖๗ ผู้ใดครอบครองช้าง ซากของช้าง มีไว้ในครอบ


ครองซึ่งผลิตภัณฑ์จากช้าง ก่อนที่วันพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้
แจ้งการครอบครองต่อนายทะเบียนมอบหมาย ภายในหกสิบวัน นับแต่
วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้รับแจ้งการครอบครองตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียน
ดำเนินการออกสมุด ประจำตัวช้าง ทำเครื่องหมายประจำตัวช้าง
เครื่องหมายประจำซากช้าง พร้อมทำการขึ้นทะเบียน หรือเอกสารแจ้ง
การครอบครองแล้วแต่กรณีให้แก่ผู้แจ้งการครอบครอง
มาตรา ๖๘ ผู้ใดประกอบกิจการช้างอยู่ก่อนวันที่พระราช
บัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอ รับใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี
มอบหมาย พร้อมแจ้งข้อมูล ดังนี้
(๑) จำนวนช้างและควาญช้างที่ใช้ในการประกอบกิจการช้าง
27

(๒) จำนวนลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ใช้ในการประกอบ


กิจการช้าง
(๓) วัตถุประสงค์การใช้งานช้าง
(๔) สถานที่ตั้ง
มาตรา ๖๙ ให้ผู้ประกอบกิจการค้าซากของช้าง หรือ
ผลิตภัณฑ์ช้างอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยื่นคำขอ
อนุญาตค้าซากของช้างหรือผลิตภัณฑ์ช้างต่ออธิบดีภายในเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตแล้วให้
ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่า จะได้รับแจ้งไม่อนุญาต
ให้คำขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ถือเป็ นคำขออนุญาตตาม
มาตรา ๓๗ โดยอนุโลม และเมื่อมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขซึ่ง
กำหนดตามมาตรา ๓๗ ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนพิจารณาคำขออนุญาต
ดังกล่าวและแจ้งผลการพิจารณาคำขออนุญาตดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาตต่อ
ไป

มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ช้างนั้นรวมถึงช้างที่เกิดจากการสืบพันธุ์
ของช้างดังกล่าวเป็ นสัตว์ป่ าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครอง
สัตว์ป่ า และให้เจ้าของช้างหรือผู้ปล่อยช้างแจ้งต่อนายทะเบียนตามพระ
ราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะยกเลิกตั๋วรูป
พรรณช้างนั้นทันที
28

มาตรา ๗๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วย


กรรมการโดยตำแหน่ง ตามมาตรา ๗ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน
จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๒ การดำเนินการออกกฎกระทรวง หรือประกาศ
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน
สองปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้
ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ
ทราบ

ผู้รับสนองพระราชโองการ

..........................................

นายกรัฐมนตรี
29

อัตราค่าธรรมเนียม

๑. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการช้าง ฉบับละ ๓๐,๐๐๐


บาท
๒. ค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ ๓๐,๐๐๐
บาท
๓. ค่าธรรมเนียมสมุดประจำตัวช้าง เล่มละ ๕,๐๐๐
บาท
๔. ค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐,๐๐๐
บาท
๕. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าช้าง ฉบับละ ๕๐,๐๐๐
บาท
๖. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตส่งออกช้าง ฉบับละ ๕๐๐,๐๐๐
บาท
30

๗. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำผ่านช้าง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐


บาท
๘. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าซากของช้าง
(ก) งา ฉบับละ ๕๐,๐๐๐
บาท
(ข) ซากอื่น ๆ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐
บาท
๙. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตส่งออกซากของช้าง
(ก) งา ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐
บาท
(ข) ซากอื่น ๆ ฉบับละ ๕๐,๐๐๐
บาท
๑๐. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำผ่านซากของช้าง
(ก) งา ฉบับละ ๕๐,๐๐๐
บาท
(ข) ซากอื่น ๆ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐
บาท
๑๑. ค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐,๐๐๐
บาท
31

You might also like