You are on page 1of 10

ข้อบัญญัติ

เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐

องค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
อาเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
-----------------------------------
หลักการ
โดยที่มาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ กาหนดไว้เพื่อ ประโยชน์ในการ
รักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดารงชีพของประชาชนในท้องถิ่น และเพื่อป้องกันอันตราย
และเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอานาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกาหนด ให้
ส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่หรือทั้งหมดของพื้นในเขตอานาจ นั้น เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อย
สั ตว์ เพื่ อกาหนดมาตรการควบคุม การเลี้ ยงสั ตว์แ ละปล่ อยสั ตว์ภ ายในพื้ นที่ องค์ การบริการส่ ว นตาบล
ดงลาน จึงอาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ ๒๕๓๕ เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ ๒๕๖๐ เพื่อบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน

เหตุผล

กาหนดมาตรการในการควบคุ ม การเลี้ ยงสั ต ว์ห รือ ปล่ อ ยสั ต ว์ ในเขตองค์ ก ารบิ ห ารส่ ว นต าบล
ดงลาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเหตุเดือดร้อนจากการเลี้ยงสัตว์และปล่อยสัตว์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
.......................
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริการส่วนตาบลดงลาน ว่าด้วยการควบคุม
การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหาร
ส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล (ฉบับ
ที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วน
ตาบล ดงลานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตาบลดงลานและนายอาเภอสีชมพู จึงตรา
ข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้ อ บั ญ ญั ติ นี้ เรี ย กว่า “ข้ อบั ญ ญั ติ อ งค์ ก ารบริห ารส่ ว นต าบลดงลาน เรื่อ ง การ
ควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐”
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลดงลานตั้งแต่เมื่อได้ประกาศ
ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทาการองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบั ญ ญั ติ ประกาศ ระเบี ย บ หรือ คาสั่ งอื่น ใดในส่ ว นที่ ได้ ต ราไว้แล้ ว ใน
ข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
“การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บารุงรักษา
ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
“การปล่ อยสั ตว์ ” หมายความว่า การสละการครอบครองสั ต ว์ หรือปล่ อ ยให้ อยู่น อก
สถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
“เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
“สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่น
ที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์
“ที่ ห รื อ ทางสาธารณะ” หมายความว่ า สถานที่ ห รื อ ทางซึ่ ง มิ ใช่ เป็ น ของเอกชนและ
ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
“เจ้ า พนั ก งานสาธารณสุ ข ” หมายความว่ า เจ้ า พนั ก งานซึ่ ง ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง จาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ ในการรักษาสภาวะความเป็น อยู่ที่เหมาะสมกับการดารงชีพ ของ
ประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอานาจขององค์การ
บริหารส่วนตาบลดงลานเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังนี้
(๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
๑.๒) สถานที่ราชการ
๑.๓) สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ
๑.๔) ตลาด
(๒) ให้ พื้นที่ต่อไปนี้เป็ นเขตพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ห รือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้า
สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง ให้เป็นเขตพื้นที่การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภทของกิจการนั้นๆ และต้อง
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตาบล
ดงลาน
ข้อ ๖ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท
และชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอ มีระบบการระบายน้าและกาจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒) รั ก ษาสถานที่ เลี้ ย งสั ต ว์ ใ ห้ ส ะอาดอยู่ เ สมอ จั ด เก็ บ สิ่ ง ปฏิ กู ล ให้ ถู ก
สุขลักษณะเป็นประจา ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓) เมื่ อ สั ต ว์ ต ายลงเจ้ า ของสั ต ว์ จ ะต้ อ งก าจั ด ซากสั ต ว์ แ ละมู ล สั ต ว์ ให้ ถู ก
สุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงหรือสัตว์นาโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุราคาญจาก
กลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้า
(๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕) ให้ เลี้ ยงสั ตว์ภ ายในสถานที่ เลี้ ยงสั ตว์ของตน ไม่ ปล่ อยให้ สั ต ว์อ ยู่นอก
สถานที่ เลี้ ย งสั ต ว์ โ ดยปราศจากการควบคุ ม กรณี เป็ น สั ต ว์ ดุ ร้ า ยจะต้ อ งเลี้ ย งในสถานที่ ห รื อ กรงที่
บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖) ไม่นาสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อ
การเคลื่อนย้ายสัตว์และได้ปฏิบัติตามคาสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) ควบคุ ม ดู แ ลสั ต ว์ ข องตนไม่ ให้ ไปก่ อ อั น ตรายหรื อ ราคาญแก่ ผู้ อื่ น ไม่
ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคาแนะนาของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คาสั่งเจ้า
พนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคาสั่งขององค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน
ข้อ ๗ การเลี้ ย งสั ต ว์ ซึ่ งด าเนิ น กิจ การในลั กษณะฟาร์ม เลี้ ย งสั ตว์ หรือเลี้ ย งสั ตว์เป็ น
จานวนมากเจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติต ามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตาม ข้อ ๖ อย่างเคร่งครัดเพื่อการดูแลสภาพ
หรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือ
เหตุราคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้
(๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร และเป็นไปตามมาตรฐาน
ฟาร์มหรือตามคาแนะนาของคณะกรรมการสาธารณสุข
(๒) ให้ ดูแลสภาพและสุ ขลั กษณะของสถานที่เลี้ ยงสั ตว์ มิ ให้ มีจานวนเกิน
สมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓) ต้องจัดให้มีระบบบาบัดน้าเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้า ทาง
น้า ลาคลอง แม่น้า เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม
(๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกาจัดขยะ ปฏิกูล
มูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม
(๕) ต้องทาความสะอาดสถานที่ เลี้ยงสั ตว์ สถานที่ เพาะเลี้ ยง และบริเวณ
โดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นาโรคอื่นๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้
เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ
(๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุราคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังสี ความร้อน
สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพ
(๗) ต้องปฏิบัติตามคาแนะนาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเจ้าพนักงานสาธารณะ
สุข
ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน ข้อ
๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอานาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกาหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การ
บริการส่วนตาบลดงลาน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแกสัตว์นั้น หรือสัตว์อื่นหรือต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึง
กาหนดดังกล่าว ก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและ
ค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับ
สัตว์คืนภายในกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้ จ่ายสาหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่
องค์การบริการส่วนตาบลดงลาน ตามจานวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่า สัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตราย
ต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอานาจทาลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอานาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้อถิ่นเพื่อให้
ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอานาจของ
องค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝื นหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญ ญัติตามข้อบัญญั ตินี้ต้องระวางโทษตามที่
กาหนดไว้ในบทกาหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ รายได้อื่นๆ ตามข้อบัญ ญัตินี้ให้ เป็นรายได้ของ
องค์การบริการส่วนตาบลดงลาน
ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอานาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้

ประกาศ ณ วันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

(ลงชื่อ)
(นายประเสริฐ เชื้อชนิด)
นายกองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน

เห็นชอบ

(ลงชื่อ)
(นายชลิต วิเศษศิริ)
นายอาเภอสีชมพู
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและหนังสือรับรอง
ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตาบลดงลาน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
ลาดับ ค่าธรรมเนียม
ประเภทร้านค้า
ที่ บาท สตางค์
1.กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
1 การเพราะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลทุกชนิด
การเลี้ยงสัตว์บก
ก. การเลี้ยงม้า โค กระบือ
(1) การเลี้ยงม้า โค กระบือ เกินกว่า 5 ตัว แต่ไม่เกิน 20 ตัว 200 -
(2) การเลี้ยงม้า โค กระบือ เกินกว่า 20 ตัว แต่ไม่เกิน 40 ตัว 400 -
(3) การเลี้ยงม้า โค กระบือ เกินกว่า 40 ตัวขึ้นไป 600 -
ข. การเลี้ยงสุกร
(1) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 5 ตัว แต่ไม่เกิน 20 ตัว 100 -
(2) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 20 ตัว แต่ไม่เกิน 40 ตัว 300 -
(3) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 40 ตัว แต่ไม่เกิน 100 ตัว 500 -
(4) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 100 ตัว แต่ไม่เกิน 1,000 ตัว 1,000 -
(5) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 1,000 ตัว แต่ไม่เกิน 5,000 ตัว 3,000 -
(6) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 5,000 ตัว แต่ไม่เกิน 10,000 ตัว 5,000 -
(7) การเลี้ยงสุกรเกินกว่า 10,000 ตัวขึ้นไป 7,000 -
ค. การเลี้ยงแกะ, แพะ
(1) การเลี้ยงแกะ, แพะ เกินกว่า 6 ตัว แต่ไม่เกิน 20 ตัว 100 -
(2) การเลี้ยงแกะ, แพะ เกินกว่า 20 ตัว แต่ไม่เกิน 40 ตัว 150 -
(3) การเลี้ยงแกะ, แพะ เกินกว่า 40 ตัวขึ้นไป 200 -
การเลี้ยงสัตว์ปีก
ก. การเลี้ยงห่าน, เป็ด, ไก่
(1) การเลี้ยงห่าน, เป็ด, ไก่ เกินกว่า 100 ตัว แต่ไม่เกิน 1,000 ตัว 1,000 -
(2) การเลี้ยงห่าน, เป็ด, ไก่ เกินกว่า 1,000 ตัว แต่ไม่เกิน 5,000 ตัว 3,000 -
(3) การเลี้ยงห่าน, เป็ด, ไก่ เกินกว่า 5,000 ตัว แต่ไม่เกิน 10,000 ตัว 5,000 -
(4) การเลี้ยงห่าน, เป็ด, ไก่ เกินกว่า 10,00 ตัว ขึ้นไป 7,000 -
ลาดับ ค่าธรรมเนียม
ประเภทร้านค้า
ที่ บาท สตางค์
การเลี้ยงสัตว์น้า
ก. การเลี้ยงปลา, กุ้ง
(1) การเลี้ยงปลา, กุ้ง ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 100 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 500 ตร.ม. 100 -
(2) การเลี้ยงปลา, กุ้ง ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 500 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 5,000 ตร.ม. 200 -
(3) การเลี้ยงปลา, กุ้ง ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป 500 -
การเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน หรือ แมลง
ก. การเลี้ยงตะพาบน้า
(1) การเลี้ยงตะพาบน้า ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 25 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 100 ตร.ม. 200 -
(2) การเลี้ยงตะพาบน้า ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 100 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 500 ตร.ม. 400 -
(1) การเลี้ยงตะพาบน้า ขนาดพื้นที่บ่อเกินกว่า 500 ตร.ม. ขึ้นไป 600 -
ข. การเลี้ยงจรเข้
(1) การเลี้ยงจรเข้ เกินกว่า 20 ตัว แต่ไม่เกิน 100 ตัว 500 -
(2) การเลี้ยงจรเข้ เกินกว่า 100 ตัว แต่ไม่เกิน 500 ตัว 1,000 -
(3) การเลี้ยงจรเข้ เกินกว่า 500 ตัว แต่ไม่เกิน 1,000 ตัว 2,000 -
(4) การเลี้ยงจรเข้ เกินกว่า 1,000 ตัว ขึ้นไป 3,000 -
ค. การเลี้ยงนาก
(1) การเลี้ยงนาก เกินกว่า 2 ตัว แต่ไม่เกิน 4 ตัว 400 -
(2) การเลี้ยงนาก เกินกว่า 4 ตัว แต่ไม่เกิน 10 ตัว 800 -
(3) การเลี้ยงนาก เกินกว่า 10 ตัว ขึ้นไป 1,000 -
การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม
(1) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม เกินกว่า 6 ตัว แต่ไม่เกิน 20 ตัว 200 -
(2) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม เกินกว่า 20 ตัว แต่ไม่เกิน 40 ตัว 400 -
(3) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม เกินกว่า 40 ตัว ขึ้นไป 600 -
2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
1 การฆ่า หรือชาแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จาหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด
(1) การฆ่าห่าน เป็ด ไก่
ก โดยไม่ใช้เครื่องจักร 100 -
ข. โดยใช้เครื่องจักร 500 -
ลาดับ ค่าธรรมเนียม
ประเภทร้านค้า
ที่ บาท สตางค์
2 การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
ก. การหมัก ฟอก ตาก หนังสัตว์ และขนสัตว์ 500 -
ข. การสะสมหนังสัตว์ และขนสัตว์ 200 -
3 การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป 200 -
4 การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ 500 -
5 การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง
500 -
ขนสัตว์หรือส่วนอื่นๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใดๆ ซึงมิใช่เป็นอาหาร
การผลิต โม่ บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทาอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วน
6 ใด 700 -
ของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
7 การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง 500 -

You might also like