You are on page 1of 3

วิเคราะห์ปรากฏการณ์ ‘ ตะวันขวางขบวนเสด็จ ’

จากเหตุการณ์เนื้อหาในบันทึกจับกุม โดยสรุปกล่าวว่าเหตุการณ์ตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้ต้องหาคดี


112 ขวางขบวนเสด็จ "กรมสมเด็จพระเทพฯ" ผู้ต้องหาคดี 112 มีพฤติการณ์ คือ บีบแตรรถยนต์ลากยาว
ระหว่างขบวนสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ
ผ่านทางร่วมต่างระดับมักกะสันและขับรถยนต์ด้วยความเร็วเพื่อไปให้ทันขบวนเสด็จ แต่เมื่อมาถึงบริเวณ
ทางลงด่วนพหลโยธิน 1 (ทางลงด่วนอนุสาวรีย์ชัยฯ) เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่รถปิ ดท้ายได้สกัดกั้นไม่
ให้รถยนต์คันดังกล่าวลงไปร่วมกับขบวนเสด็จได้ จึงปรากฏคลิปโต้เถียงในเฟซบุ๊ก Tawan Tantawan โดย
เปิ ดเป็นสาธารณะ บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ มีผู้ติดตามมากกว่า 37,000 คน ซึ่งประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิด
เห็นทั้งในทางที่ “เห็นชอบด้วย” และ “ไม่เห็นชอบด้วย” สร้างประเด็นให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน
กลายเป็นที่วิจารณ์จำนวนมากจนทำให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม ทำให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายจน
กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมทั้งหมด ประเด็นที่สำคัญที่สุดของการปกครอง
บริหาร ก็คือการจัดสร้างระบบการเมืองที่สามารถทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ขณะเดียวกันผู้ใช้
อำนาจรัฐก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความชอบธรรม เข้าสู่ตำแหน่งอำนาจตามกติกาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ าย
และมีกระบวนการควบคุมไม่ให้การใช้อำนาจนำไปสู่ความขัดแย้งหรือสร้างปัญหาให้กับสังคมได้จากกรณี
ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปรากฏการณ์ เกิดปฏิกิริยาโต้กลับจากสังคมอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง หลังจากสร้าง
ความกระทบกระเทือนกับขบวนเสด็จ กลายเป็นว่าสังคมออกมาประณาม วิพากวิจารณ์พฤติกรรมที่เกินเลยที่
ไม่มีใครยอมรับได้
ซึ่งตะวันโดนข้อกล่าวหาใน 3 ฐานความผิดด้วยกัน ได้แก่ ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วย
วาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดง
ความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่ วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่
จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน หรือ “ยุยงปลุกปั่นฯ”
ตามมาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อัน
เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และร่วมกันด้วย
ประการใดอันเป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมของ "ตะวัน ตัวตุลานนท์" ในสถานการณ์ที่เธอพยายามขวาง
ขบวนเสด็จ สามารถอธิบายได้ผ่านทฤษฎีแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern Theory) ที่มีการเน้นถึงการ
ตั้งคำถามกับโครงสร้างอำนาจและสถาบันที่มีอยู่ตามหลักนิยามแนวคิดหลังสมัยใหม่ “ ที่เชื่อว่าความจริง
เกิดขึ้นมาพร้อมกับการสร้างคำอธิบายต่างๆ ความจริงเป็นเรื่องของการตีความของแต่ละคน ซึ่งคนแต่ละคน
จะมีทัศนะที่ต่างกันตามบริบททางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ทำให้ความจริงมีหลาบแบบ
หากมองในมุมมองแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern Theory) พฤติกรรมการแสดงออกของ
ตะวันเป็นการตั้งคำถามต่อสถาบันกษัตริย์ ทำให้สามารถเห็นว่าการกระทำของตะวันไม่เพียงแต่เป็นการ
แสดงออกทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นการตั้งคำถามต่อโครงสร้างอำนาจของสถาบันที่ถูกมองว่าไม่
สามารถต่อต้านได้ในสังคมไทย เนื่องจากเป็นสถาบันที่สูงสุดในประเทศ ตามที่แนวคิดหลังสมัยใหม่
(Postmodern Theory) เน้นย้ำว่าสังคมมักถูกกำหนดโดยโครงสร้างอำนาจที่ซับซ้อน การกระทำของตะวัน
สะท้อนถึงการท้าทายต่ออำนาจที่ถือว่าเป็นเรื่องของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจเหนือกลุ่มบุคคลกลุ่มอื่น
เท่านั้นและไม่สามารถตั้งคำถามได้ว่าทำไมถึงมีสิทธิพิเศษและการปฏิบัติตัวที่พิเศษมากกว่า สามารถมองได้
ว่าการขวางขบวนเสด็จเป็นการแสดงออกทางการเมืองเพื่อกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับความเท่าเทียม สิทธิ
และเสรีภาพในสังคม ซึ่งในมุมนี้สามารถทำให้เข้าใจว่าตะวันอาจมีแรงจูงใจที่ต้องการจะท้าทายและตั้ง
คำถามถึงขอบเขตของกฎหมายและเสรีภาพทางการแสดงออกในสังคมไทยว่าทุกคนควรมีสิทธิอย่างเท่า
เทียมกันในทุก ๆ ด้าน เป็นการแสดงออกถึงการต่อต้านโครงสร้างสังคมแบบเดิม ที่ตะวันรู้สึกว่าไม่ให้ความ
เสมอภาคและยุติธรรมแก่ตนเอง
การขวางขบวนเสด็จเป็นวิธีหนึ่งที่ตะวันสื่อสารและแสดงตัวตนว่าสามารถทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงระดับหนึ่งในสังคมได้ ตะวันใช้การกระทำเป็นเครื่องมือในการท้าทายอำนาจและตั้งคำถามถึง
สถาบันกษัตริย์ซึ่งในสังคมไทยถือเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดและเป็นที่เคารพของผู้คนในสังคม ในมุม
มองแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern Theory) การกระทำดังกล่าวแสดงถึงการต่อต้านอำนาจที่มักไม่ถูก
ตั้งคำถามและเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพที่จะคัดค้านและสร้างความเท่าเทียมในสังคมที่มีโครงสร้าง
อำนาจชัดเจน ตะวันไม่เพียงแต่ท้าทายอำนาจในแง่การกระทำเท่านั้นแต่ยังท้าทายวิธีที่สังคมตีความและให้
ความหมายกับสถาบันกษัตริย์ โดยการขวางขบวนเสด็จเป็นการตั้งคำถามว่าอำนาจที่มีอยู่ในสังคมนี้ถูก
กระทำอย่างไร สำหรับใครและทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น การตั้งคำถามเหล่านี้เปิ ดโอกาสให้สังคมมีการตั้ง
คำถามถึงความไม่เท่าเทียม ซึ่งในอดีตไม่มีใครกล้าที่จะตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยถึงสถาบันกษัตริย์ที่อยู่คู่กับ
ประเทศชาติและสังคมมาอย่างยาวนาน ในทฤษฎีแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern Theory) มักมีการตั้ง
คำถามว่า "ใคร" เป็นผู้กำหนดความหมายและ "ทำไม" ความหมายเหล่านั้นถึงมีความสำคัญการกระทำของ
ตะวันจึงเป็นการเรียกร้องให้มีการพิจารณาและตั้งคำถามเหล่านี้อย่างเปิ ดเผยและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะ
ไม่ต้องการให้มีอะไรมากำหนดว่าแบบไหนดีที่สุดหรือถูกต้องที่สุด เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเชื่อมโยง
ไปยังสถาบันของพระมหากษัตริย์และประเด็นทางการเมือง การที่เหตุการณ์นี้ถูกถ่ายทอดและกระจายผ่าน
สื่อโซเชียลมีเดียที่มีการโพสต์ลงทาง Facebook แสดงถึงอีกหนึ่งลักษณะของแนวคิดหลังสมัยใหม่
(Postmodern Theory) ที่เน้นการกระจายข้อมูลและอำนาจในยุคดิจิทัล สื่อโซเชียลมีเดียให้โอกาสในการตั้ง
คำถาม เกิดการอภิปรายและการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในสังคม โดยไม่ต้องพึ่งพา
สื่อมวลชนแบบดั้งเดิมที่อาจถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ
การกระทำของตะวันถูกมองว่าเป็นการแสดงออกทางแนวคิดหลังสมัยใหม่ ที่สะท้อนถึงการต่อสู้
ระหว่างอำนาจและตัวบุคคล การใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในการตั้งคำถาม ตั้งข้อสงสัย และแสวงหาความ
เป็นจริงในโครงสร้างอำนาจที่มักไม่ถูกตั้งคำถาม การกระทำของตะวันในการขวางขบวนเสด็จสามารถจึง
เป็นการตั้งคำถามและท้าทายต่อการมีอำนาจที่เหนือกว่าของบุคคลในตำแหน่งสูงสุดในสังคม ว่าทำไมถึงมี
สิทธิมากกว่า ซึ่งถือเป็นการละทิ้งความยำเกรงและการยอมรับอย่างเด็ดขาดต่ออำนาจสูงสุด เพราะตาม
แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ ไม่เชื่อว่าบรรทัดฐานที่สังคมกำหนดหรือสร้างไว้นั้นจะมีความถูกต้องหรือมี
ความจริงเพียงหนึ่งเดียว โดยตั้งคำถามว่าทำไมทุกคนต้องไม่เท่าเทียมกัน ทำไมต้องมีใครมีสิทธิพิเศษ
มากกว่า ทุกคนควรมีสิทธิในการใช้ถนนซึ่งถือเป็นพื้นที่สาธารณะในการเดินทาง เป็นการเรียกร้องให้ทุก
คนใช้ถนนร่วมกัน เป็นการแสดงคำถามที่ว่าทำไมบางคนจึงต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างและมีสิทธิพิเศษ
มาก โดยตะวันเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิที่จะสงสัยและตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ สามารถมีความคิดที่
แตกต่างและหลากหลายจากสิ่งที่ยึดถือกันมาโดยตลอด โดยส่งเสริมการตั้งคำถามกับทุกสิ่งให้มีชุดความเชื่อ
ในความหลากหลาย สามารถมองได้หลายมุมมองและคนที่มีความเห็นและเหตุผลที่แตกต่างไม่ควรถูก
ลงโทษหรือทำร้ายจากสังคม โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าว ตะวันจึงตั้งข้อสงสัยว่าการปิ ดถนนถือว่าเป็น "ความ
จำเป็น" หรือ "เหมาะสม" หรือไม่ แสดงให้เห็นว่าสิทธิและความสะดวกของใครเป็นสิ่งที่สำคัญกว่ากัน การ
ปิ ดถนนถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติที่ "ปกติ" สำหรับบุคคลสูงศักดิ์หรือมีอำนาจ แต่ตามแนวคิดทฤษฎีหลัง
สมัยใหม่จะปฏิเสธความเป็นนามธรรมชุดนี้ทั้งหมด ไม่เชื่อว่าเหตุการณ์คดีดังกล่าวจะเป็น “คดีสำคัญและ
สะเทือนจิตใจของประชาชนในวงกว้าง” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลังสมัยใหม่ที่ปฏิเสธความเชื่อแบบเก่า
มีความเชื่อในเรื่องของเสรีภาพและความอิสระ พื้นฐานของแนวคิดตั้งอยู่บนรากฐานของความสงสัยใน
ความรู้ หรือคุณค่าที่ถูกสร้างมาอย่างมีระเบียบแบบแผน การกระทำของตะวันจึงชี้ให้เห็นว่า "ความจริง" ที่
ถูกยอมรับและเป็นที่เข้าใจในสังคมที่ผ่านมาสามารถถูกตั้งคำถามและมีความหลากหลายได้ โดยไม่จำเป็น
ต้องถูกจำกัดโดยโครงสร้างอำนาจที่มีอยู่ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยว
โยงกับการเมืองไทย ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต การกระทำของตะวันเกิดจากการที่มีการปิ ดกั้นความคิด
ของผู้ที่เห็นต่าง ไม่ให้แสดงออก ไม่ให้พูด จนในที่สุดจึงเกิดระเบิดออกมา การดำเนินคดีต่อคนที่เห็นต่าง
เป็นการผลักผู้ที่เห็นต่างไปจนสุดขั้ว จึงมีความจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เห็นต่างสามารถ
แสดงออกเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสร้างสรรและมีวุฒิภาวะได้โดยไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องถูกกลั่น
แกล้งทางการเมือง เพื่อแก้ปัญหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

6611711002 นางสาว สุนิศา ไฮลิเกอร์

You might also like