You are on page 1of 2

international relations theory

ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ - เครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถทำความใจปรากฎการณ์ทางความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศได้อย่างเป็นระบบ

ทฤษฎีการแก้ปัญหา (problem-solving theory) อธิบายโลกตามที่เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและสังคม


ทฤษฎีวิพากษ์ (critical theory) อธิบายความซับซ้อนของสภาพของสภาพสังคมและการเมือง

สัจนิยม
• มีจุดกำเนิดมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศในรูปแบบของการเเข่งขันทางอำนาจ ความสัมพันธ์รหว่างรัฐที่อยู่ภาย
ใต้ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปราศจากผู้รักษาระเบียบ หรือการไม่มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (no supreme
authority) เรียกว่า สภาพอนาธิปไตยระหว่างประเทศ

• ธรรมชาติของมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวและไร้ศีลธรรมจรรยาบรรณ ทำให้มองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสภาวะ
ของการแก่งแย่งเเข่งขัน นำมาสู่ฐานคติของสัจนิยม 3 ประการ
1.statism - รัฐชาติ เป็นตัวแสดงหลัก เป้าหมายรัฐคือ ความมั่นคง ซึ่งทำให้เกิดสภาวะ กับดักความมั่นคง
2.survival - ผลประโยชน์แห่งชาติ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยและความมั่นคงของรัฐ
3.self-help - การที่รัฐต้องพึ่งตนเอง ไม่ไว้ใจสถาบันอื่น อาจเพิ่มขีดความสามารถทางทหาร รวมตัวของรัฐเล็ก

• ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ kenneth n. ค.ศ.1979


• ปรุงแต่งสัจนิยมเดิมให้มีความเป็นวิทย์ศาสตร์มากขึ้น การตั้งอยู่บนสมมติฐานที่เป็นเอกภาพและนำมาพิสูจน์ด้วย
ข้อมูลเชิงประจักษ์
• โครงสร้างระบบระหว่างประเทศ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมรัฐ 3 ประการ
1.หลักจัดระเบียบของระบบระหว่างประเทศ - จัดระเบียบในรูปเเบบอนาธิปไตย
2.การเเบ่งงานกันทำของรัฐในระบบระหว่างประเทศ - ไม่มีการแบ่งหน้าที่ ทุกรัฐต้องทำทุกเรื่องด้วยตัวเอง
3.ขีดความสามารถของรัฐที่แตกต่างกัน - เกิดขั้วอำนาจ 1)หลายขั้วอำนาจ 2)สองขั้วอำนาจ 3)ขั้วอำนาจเดียว

• จุดแข็ง - สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของระบบระหว่างประเทศ
• จุดอ่อน - 1)การให้ความสำคัญกับตัวแสดงระดับรัฐมากเกินไป 2)การแยกกปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองออก
จากกัน 3)การให้ความสำคัญด้านความมั่นคงและการทหารมากกว่าด้านเศรษฐกิจ

เสรีนิยม
• มีจุดกำเนิดมาจากการเชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมีเหตุผล ทำให้ต้องการหาวิธีการที่จะสร้างความร่วมระหว่างกัน
• รัฐเป็นเพียงตัวแสดงหนึ่งในหลายๆตัวแสดง , การสร้างประชาคมระหว่างประเทศ , สันติภาพมักเกิดในรัฐที่เป็น
ประชาธิปไตย , รัฐอยู่ในสภาวะขึ้นต่อกัน ไม่สามรถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว

• ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ - รัฐต้องสร้างกฎกติกาขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศ โดยเน้นที่


บทบาทของ สถาบัน หรือองค์การระหว่างประเทศเป็น กลไก ที่สร้างวางใจต่อรัฐทั้งหลาย ดังคำกล่าวของอดีต
ประธานาธิบดีสหรัฐ woodrow wilson ที่ว่า “สันติภาพภายใต้สภาพอนาธิปไตยระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อ
เมื่อมีการสร้างองค์การระหว่างประเทศ”
• จุดแข็ง - ให้ความสำคัญกับสภาวะขึ้นต่อกัน , ให้ความสำคัญกับรูปแบบการปกครอง(ประชาธิปไตย) , เศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ
• จุดอ่อน - ประสบกับปัญหาการอธิบายความร่วมมือในปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อน , ขาดพลังในการคาดการณ์
พฤติกรรมของรัฐ , สถาบันระหว่างประเทศต้องอาศัยบทบาทจากรัฐมหาอำนาจ
มาร์กซิสม์
• ทฤษฎีที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความขัดเเย้ง สงคราม ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ตัวทฤษฎีมองว่า
มีกลไกอยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านี้ คือ โครงสร้างของระบบทุนนิยมโลก

• การศึกษาสังคมโลกจำเป็นต้องวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด , เข้าใจรากฐานทางเศรษฐกิจของเเต่ละสังคมที่มี
ผลต่อการกำจัดประสิทธิภาพในการผลิตของรัฐ , การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความเปลี่ยนทาง
กฎหมายและการเมือง , ความสำคัญต่อประเด็นเรื่อง ชนชั้น ในการวิเคราะห์ , ไม่ได้ยอมรับในข้อสรุปใดสรุปหนึ่ง
อย่างเฉพาะเจาะจงต่อปรากฏการณ์ระหว่างประเทศ

• ทฤษฎีระบบโลก - ผลงานของ lenin แบ่งการพัฒนาของรัฐออกเป็นรัฐศูนย์กลางและรัฐชายขอบ , การมองว่าการ


เมืองระหว่างประเทศและภายในรัฐถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจทุนนิยมโลก , รัฐไม่ได้เป็นตัวแสดงเดียวในความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเชื่อว่าชนชั้นทางสังคมต่างหากที่มีความสำคัญ
• ทฤษฎีกรัมซี่ - อธิบายถึงบทบาทของรัฐมหาอำนาจ(hegemon) มีความอ่อนน้อมและดุร้าย อ่อนน้อมนี้ถูกนำมา
ครอบงำสังคมผ่าน สถาบัน ของประชาคมระหว่างประเทศ มีบทบาทในการกำหนดทิศทางของระเบียบโลกให้สอดรับ
กับผลประโยชน์ของตน เช่น แนวคิดการค้าเสรี
• ทฤษฎีวิพากษ์ - robert w. cox นำทฤษฎีของกรัมซี่มาอธิบายว่า ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียง
ประติมากรรมเชิงเหตุผล ชุดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอุดมการณ์บางอย่างที่ดำรงอยู่ใน
สังคม และมหาอำนาจอาจถูกท้าทายได้
• ทฤษฎีพึ่งพา - ทฤษฎีระบบทุนนิยมโลก ทฤษฎีสายนีโอมาร์กซิสม์(neo-marxism) ทุนนิยมในรัฐที่พัฒนาแล้วว
ทำงานร่วมกับการควบคุมชนชั้นแรงงานในการพัฒนาโลก ขูดรีดรัฐที่ด้อยพัฒนา จัดรัฐเป็น3กลุ่ม กลุ่มรัฐศูนย์กลาง
กลุ่มรัฐกึ่งชายขอบ กลุ่มรัฐชายขอบ , การศึกษาอำนาจเอกชน

• จุดแข็ง - ฉายให้เห็นสภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนได้อย่างครอบคลุมกว่าทฤษฎีอื่น , นำไปสู่


คำตอบที่ว่าแท้จริงแล้วตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังและเป็นตัวขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ พลังของ
ทุนนิยม
• จุดอ่อน - ไม่สามารถอธิบายว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร

You might also like