You are on page 1of 3

3.1.

4 การสร้าง การติดตั้งหม้อไอน้ําและอุปกรณ์
การดํ า เนิน การติ ดตั้ง หม้อไอน้ํ าและอุป กรณ์ ไอน้ํ า ในเชิง วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกลที่ มี หน้ าที่ รั บผิ ด ชอบ
ในการประกอบและติดตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ซึ่งระบบหม้อไอน้ํา
ที่ทํางานปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตรงตามเจตนาที่ตั้งไว้การติดตั้งหม้อไอน้ําและอุปกรณ์ประกอบมีดังนี้

3.1.4.1 จั ด ให้ มี ก ารติ ด ตั้ ง หม้ อ ไอน้ํ า และอุ ป กรณ์ ป ระกอบและทดสอบก่ อ นใช้ ง านโดยวิ ศ วกร
เครื่องกลประเภทสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกรแล้วแต่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรม
3.1.4.2 การติดตั้งหม้อไอน้ําและอุปกรณ์แยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะออกจากเครื่องจักรอุปกรณ์และ
วัสดุอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
3.1.4.3 กรณีติดตั้งหม้อไอน้ําอยู่ในห้องโดยเฉพาะต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างตัวหม้อไอน้ํากับผนัง
ห้องโดยรอบไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
3.1.4.4 ถ้าติดตั้งหม้อไอน้ํามากกว่า 1 เครื่อง ต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างเปลือกหม้อไอน้ําของ
แต่ละเครื่องไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
3.1.4.5 ต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างเปลือกหม้อไอน้ําด้านบนถึงเพดานหรือหลังคาไม่น้อยกว่า
1.50 เมตร
3.1.4.6 ต้องจัดให้มีเหล็กยึดโยงท่อที่ต่อจากหม้อไอน้ําที่มั่นคงแข็งแรงและอยู่ในลักษณะที่สามารถ
รับการขยายตัวและหดตัวของท่ออย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
3.1.4.7 หม้อไอน้ําที่สูงเกิน 3 เมตรจากพื้นถึงเปลือกหม้อไอน้ําด้านบนนายจ้างต้องจัดทําบันไดและ
ทางเดินเพื่อให้ผู้ควบคุมซ่อมแซมหรือเดินได้สะดวกปลอดภัยพร้อมจัดให้มีราวจับและขอบกั้นของตกและพื้นที่
ทํางานทุกชั้นและต้องจัดให้มีทางออกอย่างน้อยสองทาง
3.1.4.8 ห้องหม้อไอน้ําหรือห้องควบคุมต้องจัดให้มีทางออกไม่น้อยกว่าสองทางซึ่งอยู่คนละด้านกัน
3.1.4.9 พื้นห้องชั้นบันไดและพื้นต่างๆ ต้องใช้วัสดุกันลื่นและช่องเปิดที่พื้นต้องมีขอบกั้นของตก
3.1.4.10 ห้องหม้อไอน้ําต้องจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอเครื่องวัดต่างๆ และอุปกรณ์ประกอบต้อง
มีแสงสว่างให้เพียงพอที่จะอ่านค่าและควบคุมได้สะดวกสิ่งกีดขวางทางเดินหรือสิ่งกีดขวางพาดต่ํากว่าระดับ
ศีรษะต้องทําเครื่องหมายโดยทาสีหรือใช้เทปสะท้อนแสงติดไว้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
3.1.4.11 จัดให้มีระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินส่องไปยังทางออกและเครื่องวัดต่างๆ รวมทั้งแผงควบคุม
ให้เห็นอย่างชัดเจนในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ
3.1.4.12 จัดให้มีฐานรากที่ตั้งของหม้อไอน้ําที่มั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงดันและแรงกดรวมถึง
แรงดันจากการขยายตัวของหม้อไอน้ําการออกแบบและคํานวณให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
3.1.4.13 จัดให้มีปล่องควันและฐานที่มั่นคงแข็งแรงเป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
3.1.4.14 จัดให้มีฉนวนที่เหมาะสมหุ้มเปลือกหม้อไอน้ําและท่อที่ร้อนทั้งหมด
3.1.4.15 จัดให้มีลิ้นนิรภัยและการติดตั้งที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน ISO ASME JIS DIN BS หรือ
มาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ก. หม้อไอน้ําทุกเครื่องต้องมีลิ้นนิรภัยอย่างน้อยหนึ่งตัวแต่ถ้ามีผิวรับความร้อนมากกว่า
50 ตารางเมตรต้องมีลิ้นนิรภัยอย่างน้อยสองตัวและลิ้นนิรภัยตัวเล็กที่สุดบ่าลิ้นต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน
ไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร

-123-
ข. ลิ้นนิรภัยทุกตัวที่ตั้งความดันไอออกไว้สูงสุดต้องตั้งไม่เกินร้อยละสิบของความดันที่ใช้อยู่
สูงสุดและต้องไม่เกินร้อยละสามของความดันที่อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุด
ค. ห้ า มติ ด ตั้ ง ลิ้ น หรื อ สิ่ ง กี ด ขวางอื่ น ๆ ระหว่ า งหม้ อ ไอน้ํ า กั บ ลิ้ น นิ ร ภั ย และต้ อ งติ ด ตั้ ง
ลิ้นนิรภัยให้ใกล้หม้อไอน้ํามากที่สุดหน้าตัดของท่อส่วนที่ต่อเข้ากับลิ้นนิรภัยต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหน้าตัดของ
รูลิ้นนิรภัย
ง. ท่อระบายไอออกของลิ้นนิรภัยที่ต่อยื่นออกไปให้ต่อประจําลิ้นแต่ละตัวพื้นที่หน้าตัดของ
ท่อระบายต้องมีขนาดเหมาะได้มาตรฐานและท่อต่อระบายไอออกต้องยึดให้แน่นและไม่แตะกับลิ้นนิรภัย
โดยตรงเพื่อไม่ให้เกิดแรงดันกระทําบนตัวลิ้นนิรภัยไม่ว่าจะอยู่ในสภาพร้อนหรือเย็น
จ. ท่อระบายไอออกที่ต่อจากลิ้นนิรภัยต้องมีส่วนโค้งงอ 90 หรือ 45 องศาไม่เกิน 2 โค้ง
ส่วนปลายท่อ
ฉ. จุ ด ที่ ร ะบายไอออกต้ อ งไม่ มี สิ่ ง กี ด ขวางหรื อ อุ ด ตั น และไอที่ ร ะบายออกต้ อ งไม่ เ ป็ น
อันตรายต่อบุคคลหรืออุปกรณ์อื่นๆ

3.1.4.16 จัดให้มีมาตรวัดระดับน้ําและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASME JIS DIN BS หรือ


มาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ก. มาตรวัดระดับน้ําแบบหลอดแก้วต้องเป็นหลอดแก้วนิรภัยมีครอบป้องกันซึ่งสามารถ
ดูระดับน้ําได้ชัดเจน
ข. กรณี ห ม้ อ ไอน้ํ า มี ค วามสู ง และห้ อ งควบคุ ม จํ า เป็ น ต้ อ งอยู่ ห่ า งจากหม้ อ ไอน้ํ า และ
การสังเกตระดับน้ําในหลอดแก้วทําได้ลําบากจะต้องหาวิธีการที่สามารถสังเกตระดับน้ําในหลอดแก้วได้อาจใช้
กระจกเงาสะท้อนระบบโทรทัศน์หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม
ค. ต้องติดตั้งสัญญาณแสงและเสียงเตือนเมื่อระดับน้ําต่ํากว่าขีดอันตราย
ง. ท่ อ น้ํ า และไอน้ํ า ที่ เ ข้ า มาตรวั ด ระดั บ น้ํ า ต้ อ งมี ลิ้ น ปิ ด -เปิ ด คั่ น ระหว่ า งหม้ อ ไอน้ํ า กั บ
มาตรวัดระดับน้ํา ปลายท่อระบายน้ําของมาตรวัดระดับน้ํา ชุดควบคุมระดับน้ําและก๊อกทดสอบต้องต่อในที่
ที่ปลอดภัยและอยู่ในตําแหน่งที่สามารถเห็นหรือได้ยินเสียงได้ชัดเจน
จ. ท่อหรืออุปกรณ์ประกอบที่ต่อระหว่างหม้อไอน้ํากับมาตรวัดระดับน้ําต้องให้สั้นที่สุดและ
ต้องระบายน้ําในท่อหรืออุปกรณ์ประกอบออกได้หมด ห้ามต่อเอาไอจากส่วนนี้ไปใช้งาน

3.1.4.17 จัดให้มีมาตรวัดความดันไอน้ําและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASME JIS DIN BS


หรือมาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ก. จัดให้มีสเกลที่วัดได้ระหว่างหนึ่งเท่าครึ่งถึงสองเท่าของความดันที่ใช้งานสูงสุดและมีขีด
สีแดงบอกความดันใช้งานสูงสุดของหม้อไอน้ําไว้ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางหน้าปัทม์ของมาตรวัดไอน้ําต้องไม่น้อย
กว่า 100มิลลิเมตร
ข. จัดให้มีการติดตั้งมาตรวัดความดันไอน้ําที่ไม่สัมผัสกับไอน้ําโดยตรงโดยให้มีท่อขดเป็น
วงกลมที่มีน้ําขังอยู่หรืออุปกรณ์อื่นที่ทํางานคล้ายกันเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันอีกต่อหนึ่ง
ค. ดูแลรักษามาตรวัดความดันไอน้ําให้อยู่ในสภาพดีและอ่านค่าได้ถูกต้องชัดเจน
ง. ติดตั้งมาตรวัดความดันไอน้ําในตําแหน่งที่ไม่มีการสั่นสะเทือนและสะดวกในการเข้า
ปรับแต่งและอยู่ในตําแหน่งที่ควบคุมสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่มีสิ่งกีดขวางบังสายตาในขณะปฏิบัติงาน

-124-
จ. ติดตั้งมาตรวัดความดันไอน้ําและข้อต่อในบริเวณที่มีอุณหภูมิไม่ต่ํากว่า 4 องศาเซลเซียส
และไม่เกิน60 องศาเซลเซียส
ฉ. ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเอียงมาตรวัดความดันไอน้ําให้เอียงหน้าลงเพื่อให้เห็นได้ชัด
โดยทํามุมไม่เกิน 30 องศาจากแนวดิ่ง
3.1.4.18 จัดให้มีส่วนระบายน้ําทิ้งและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASME JIS DIN BS หรือ
มาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ก. ต้องติดตั้งลิ้นระบายที่หม้อไอน้ําทุกเครื่องแต่ละท่อระบายต้องมีลิ้นระบายไม่น้อยกว่า
2 ตัวโดยติดตั้งที่จุดต่ําสุดของหม้อไอน้ําท่อระบายน้ําทิ้งที่ต่อระหว่างหม้อไอน้ํากับลิ้นระบายต้องให้สั้นที่สุด
ข. ท่อระบายและข้อต่อต้องติดตั้งในบริเวณที่ไม่ชื้นแฉะหรืออับอากาศอันอาจเกิดการผุ
กร่อนได้
ค. ลิ้นปิด-เปิดท่อระบายต้องอยู่ในตําแหน่งที่เข้าไปปฏิบัติงานได้ง่ายถ้าติดตั้งอยู่ต่ํามากหรือ
ในบริเวณที่คับแคบเข้าไปปิด-เปิดไม่สะดวกต้องต่อก้านสําหรับปิด-เปิดให้สามารถปิด-เปิดได้สะดวกปลอดภัย
ง. ติดตั้งท่อระบายลงในที่ที่เห็นได้ง่ายเมื่อเกิดการรั่วและปลายท่อระบายต้องต่อลงในที่ที่
ปลอดภัยและอยู่ในตําแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงได้ชัดเจน
จ. ท่ อ ที่ ต่ อ จากท่ อ ระบายต้ อ งมี เ หล็ ก ยึ ด โยงให้ มั่ น คงแข็ ง แรงและต่ อ ในลั ก ษณะที่ รั บ
การขยายตัวและหดตัวของท่ออย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
3.1.4.19 จัดให้มีเครื่องสูบน้ําเข้าหม้อไอน้ําและอุปกรณ์ดังนี้
ก. เครื่องสูบน้ําเข้าหม้อไอน้ําต้องสามารถทําความดันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของความ
ดันใช้งานสูงสุดและมีมาตรวัดความดันติดอยู่ทางท่อส่งของเครื่องสูบน้ํา
ข. เครื่องสูบน้ําเข้าหม้อไอน้ําต้องสามารถสูบน้ําเข้าหม้อได้ปริมาณไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง
ของอัตราการผลิตไอสูงสุดของหม้อไอน้ํา
ค. หม้ อ ไอน้ํ า ที่ มี ผิ ว รั บ ความร้ อ นมากกว่ า 50 ตารางเมตรต้ อ งมี เ ครื่ อ งสู บ น้ํ า เข้ า หม้ อ
ไอน้ําอย่างน้อยสองชุด
ง. ท่อน้ําเข้าของหม้อไอน้ําแต่ละเครื่องต้องมีลิ้นกันกลับและลิ้นปิด-เปิดติดตั้งใกล้กับหม้อ
ไอน้ําในกรณีที่มีอุปกรณ์ช่วยประหยัด (Economizer) ติดตั้งกับหม้อไอน้ําให้ติดตั้งลิ้นดังกล่าวตรงทางเข้า
อุปกรณ์ช่วยประหยัด

3.1.4.20 ถ้าใช้ปลั๊กหลอมละลาย (Fusible plugs) ต้องปฏิบัติดังนี้


ก. โลหะผสมที่ใช้ทําปลั๊กหลอมละลายต้องมีคุณสมบัติหลอมละลายระหว่าง 230-232
องศาเซลเซียส สําหรับหม้อไอน้ําที่มีความดันไม่เกิน 10 บาร์
ข. ต้องหมั่นตรวจดูสภาพของปลั๊กอยู่เสมอหากพบว่าอยู่ในสภาพที่ไม่ดีให้ถอดเปลี่ยนใหม่
และห้ามใช้งานเกินกว่าหนึ่งปี
ค. เกลี ย วที่ ใ ช้ ขั น เข้ า ท่ อ ไฟใหญ่ ต้ อ งเป็ น ลั ก ษณะเรี ย วลงตรงจุ ด คอคอดโตไม่ น้ อ ยกว่ า
9 มิลลิเมตรความยาวส่วนที่หลอมละลายไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตรและปลายทางออกด้านไฟไม่น้อยกว่า
12.5 มิลลิเมตร
3.1.4.21 แผงควบคุ ม อั ต โนมั ติ แ ละเครื่ อ งวั ด ต่ า งๆของหม้ อ ไอน้ํ า ต้ อ งติ ด ตั้ ง ไว้ ณ ที่ ซึ่ ง ผู้ ค วบคุ ม
สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจนสายไฟฟ้าที่ต่อจากอุปกรณ์ไปยังแผงควบคุมอัตโนมัติและเครื่องวัดต้องร้อย
ในท่อให้เรียบร้อย
-125-

You might also like