You are on page 1of 20

รูปแบบและคุณลักษณะ

เงื่อนไขเฉพาะของผู้ประสงค์จะเสนอราคา
1. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องแนบ Certificate of Origin ที่แสดงแหล่งกาเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ของ
อุปกรณ์ทั้งหมดทั้งระบบ
2. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องแสดงข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (MSDS) จากผู้ผลิตสารดับเพลิง
3. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องทาการออกแบบการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เสนอมาพร้อมการเสนอราคา เพื่อ
ประกอบการพิจารณา
4. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาจะต้ อ งแสดงหนั ง สื อ รั บ รองผลการทดสอบแผงควบคุ ม ระบบดั บ เพลิ ง สามารถ
ทางานกั บ ตั ว ขั บ (Actuator) ของระบบดั บ เพลิ ง โดยผู้ ผ ลิ ต
5. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาจะต้อ งแสดงหลักฐานการรับ รองจากสถานบัน ที่เ ชื่อ ถือ ได้ห รือ จากผู้ผ ลิต สาหรับการ
ทางานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางกลทั้งระบบ แผงควบคุมระบบดับเพลิงรวมทั้งระบบไฟฟ้า
ควบคุม กับอุปกรณ์ ทางกล (Mechanic Parts) ซึ่งในระบบดับเพลิงนี้ จาเป็นต้องทางานกันอย่างสัมพันธ์อย่างดี
แม่นยาไม่มีความเสี่ยงในการทางานผิดพลาด
6. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องแสดงหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ UL listed และ/หรือ VdS approved สาหรับ อุปกรณ์
หลัก ได้แก่ ถังบรรจุก๊าซ วาล์ว หัวฉีด ตัวขับ (Actuator) และแผงควบคุมระบบดับเพลิง (Fire Suppression
Control Panel) ต้องเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเดียวกัน และสามารถใช้งานได้ตามความดันก๊าซของระบบที่กาหนด
7. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจาหน่ายที่ถูกแต่งตั้งโดยผู้ผลิตระบบดับเพลิง
อัตโนมัติด้วยสารสะอาดที่เสนอ ที่มีประสบการณ์ในการจาหน่ายและติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารสะอาด
ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในประเทศไทย
8. ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องมีป ระสบการณ์ด้า นการจาหน่า ยและติด ตั้งอุป กรณ์ ดับ เพลิงในศูน ย์ค อมพิว เตอร์
หรือห้องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยมีหนังสือรับรองผลงานเป็นหลักฐานว่าได้เป็นคู่สัญญาโดยตรง
และจะต้องเป็นผลงานสัญญาเดียว (สัญญาภายในประเทศ)ที่มีมูลค่าการว่าจ้างตามสัญญา ไม่น้อยกว่า 3,500,000
บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน) เป็นผลงานที่ดี และเสร็จเรียบร้อยมาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่ได้ทาการแล้วเสร็จ
จนถึงวันยื่นซองประกวดราคา และเป็นผลงานที่ผู้เสนอราคาเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการหน่วยงานตาม
กฏหมายว่าด้วยส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานเอกชนที่มหาวิทยาลัยมหิดลเชื่อถือ (กรณีเป็นผลงานเอกชน
จะต้องมีหลักฐานใบรับเงินทุกงวด ตลอดจนหลักฐานการเสียภาษีของงานนั้นจากกรมสรรพากรแนบมาด้วย) อีกทั้ง
ข้อกาหนดนี้มิได้เจาะจงหรือผูกขาดว่าจะต้องเป็นผู้ประสงค์จะเสนอราคารายใดรายหนึ่ง

1. ข้อกาหนดและความต้องการทั่วไป
1.1. วัสดุและอุปกรณ์ที่ขายต้องมีคุณสมบัติไม่ด้อยกว่าข้อกาหนดในเอกสารฉบับนี้ทุกรายการ โดยข้อเสนอของผู้ขายต้องแสดง
เปรียบเทียบ “ลักษณะที่ต้องการ” กับ ลักษณะที่เสนอ” ในมาตราวัดเดียวกันทุกรายการ คณะฯ อนุญาตให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคา
สามารถเสนอวัสดุและอุปกรณ์ที่ดีกว่าข้อกาหนดที่เห็นว่าเป็นประโยชน์กับคณะฯ ได้
1.2. ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ทาการจัดซื้อในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางงบประมาณ
1.3. วัสดุและอุปกรณ์ที่เสนอ ที่ระบุในแบบแปลน และในรายละเอียดข้อกาหนดต้องเป็นของใหม่ ไม่บุบสลายหรือผ่านการใช้งาน
มาก่อนทั้งต้องเป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่ล่าสุดของโรงงานผู้ผลิต
1.4. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องจัดหาระบบสารสะอาดดับเพลิง และแผงควบคุมระบบดับเพลิง ให้เป็นไปตามข้อกาหนดของ
มาตรฐานอยู่ในรายการวัสดุที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของ UL หรือ ULC หรือ VdS โดยเป็นระบบถังบรรจุขนาด
มาตรฐานที่มีความดันก๊าซไม่น้อยกว่า 360 PSI ที่อุณหภูมิ 70 องศาฟาเรนไฮต์
1.5. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องใช้มาตรฐานการออกแบบ อ้างอิง (Reference) ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (กรุณาระบุเหตุผล หากไม่ได้ใช้
อ้างอิง)
1.5.1. National Fire Protection Association (NFPA)
1.5.1.1. NFPA 70 National Electrical Code
1.5.1.2. NFPA 72 National Fire Alarm Code
1.5.1.3. NFPA 2001 Clean Agent Fire Extinguishing Systems
1.5.2. ASTM INTERNATIONAL (ASTM)
1.5.2.1. ASTM A53 Standard Specification for Pipe, Steel, Black and Hot- Dipped, Zinc Coated,
Welded and Seamless
1.5.2.2. ASTM A106 Standard Specification for Seamless Carbon Steel Pipe for High -
Temperature Service
1.5.2.3. ASTM A135 Standard Specification for Electric-Resistance-Welded Steel Pipe
1.5.2.4. ASTM A234/A234M Standard Specification for Pipe Fittings of Wrought Carbon Steel and
Alloy Steel for Moderate and Elevated Temperatures
1.5.2.5. ASTM B32 Standard Specification for Solder Metal
1.5.3. Underwriters Laboratories (UL) หรือ (ULC)
1.5.3.1. UL 393 Indicating Pressure Gages for Fire-Protection Service
1.5.3.2. UL 404 Gages, Indicating Pressure, for Compressed Gas Service
1.5.4. VdS Approved
1.5.4.1. VdS 2454 EN, VdS Guidelines for Gas Extinguishing Systems
1.6. ผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายกับระบบงาน ในศูนย์ข้อมูล (Data center) สารสนเทศ ใน
ระหว่างการติดตั้งระบบดับเพลิงสารสะอาดที่เสนอ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม
1.7. ตาแหน่งที่ตั้งของวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดในแบบแปลนเป็นเพียงเค้าโครงซึ่ง อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาพหน้างาน โดยให้ระยะห่างเป็นไปตามที่มาตรฐานที่ได้กาหนดไว้ ผู้ชนะการประกวดราคาต้องตรวจสอบตาแหน่งจาก
แบบแสดงอุปกรณ์ในแบบฝ้าเพดานของงานสถาปัตยกรรมและหรือมัณฑนากรและแบบโครงสร้างของอาคารก่อน แล้วทา
แบบติดตั้งเพื่อขออนุมัติจากผู้ซื้อก่อนการติดตั้ง

2. ขอบเขตการดาเนินงานโครงการ
2.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องสารวจ ออกแบบ จัดหา ติดตั้งและทดสอบ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารสะอาดดับเพลิง ให้
เป็นไปตามแบบและรายละเอียดในข้อกาหนดนี้ทุกประการ เพื่อให้งานสาเร็จลุล่วงตรงความมุ่งหมายของผู้ซื้ออย่างเรียบร้อย
โดยถือปฏิบัติตามหลักวิศวกรรมที่ดี ตามมาตรฐาน NFPA 2001
2.2. ผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องจัดทา Job Safety Analysis (JSA) และ Method Statement ก่อนการปฏิบัติงานทั้งงาน
ติดตั้งใหม่และการรื้อถอน
2.3. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงานทั้งการติดตั้ งใหม่หรือการรื้อถอนของเก่าภายในพื้นที่ ทั้ง
พนักงาน หัวหน้า และคนงานทุกคนรวมทั้งพนักงานใหม่ต้องได้รับการอบรมให้ทราบถึงความเสี่ยงอันตรายในพื้นที่ ที่ต้อง
ปฏิบัติงาน รวมทั้งข้อควรปฏิบัติขณะปฏิบัติงาน และขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน
2.4. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องแสดงการคานวณปริ มาณก๊าซ, ขนาดท่อ, หัวฉีด, Working Pressure, Discharge Time ให้
เป็นไปตามข้อกาหนดของผู้ผลิตตามมาตรฐาน NFPA 2001 หรือมาตรฐานอ้างอิงที่กาหนดไว้ รวมทั้งขั้นตอนในการติดตั้ง
และควบคุมคุณภาพในการทางาน
2.5. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องจัดทารายการคานวณปริมาตรก๊าซให้สอดคล้องกั บปริมาตรห้องสุทธิจริง (หักเสา หรือช่องปิดที่
ก๊าซเข้าไปไม่ถึง เช่น ตู้ปิดทึบ ฯลฯ) และตรวจวัดอัตราการรั่วของก๊าซจริงภายหลังการอุดปิดห้องเรียบร้อยแล้ว จึงนาค่า
ดังกล่าวมาเพิ่มปริมาตรก๊าซดับเพลิงชดเชย และรับรองผลการคานวณโดยสามัญวิศวกรเครื่องกลขึ้นไป
2.6. ผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องออกแบบและติดตั้ง แผงควบคุมระบบดับเพลิง อุปกรณ์ตรวจจับ อุปกรณ์แจ้งเตือน อุปกรณ์
สั่งยกเลิก อุปกรณ์สั่งการด้วยมือและระบบสายไฟ รวมถึงส่วนเชื่อมต่อแจ้งเหตุไปยังระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของอาคาร ตาม
มาตรฐาน NFPA 2001 และ NFPA 72
2.7. ผู้ชนะการประกวดราคา ต้องติดตั้งระบบดังเพลิงสารสะอาด ร่วมกับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสารอง (UPS) ของคณะฯ ที่ผู้
ชนะการประกวดราคามีใช้งานในพื้นที่เพิ่มเติมจากแหล่งไฟฟ้าสารองที่ระบบจัดให้มีตาม NFPA 2001
2.8. ในกรณีที่ข้อความหรือรายละเอียดในรายละเอียดข้อกาหนดนี้มีข้อขัดแย้งกับแบบหรือแตกต่างกัน ไปจากแบบให้ผู้ชนะการ
ประกวดราคาแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ซื้อทราบในทันที โดยระบุข้อขัดแย้งหรือข้อแตกต่างให้เป็นที่ชัดเจน และให้ถือ
การวินิจฉัยของผู้ซื้อเป็นข้อยุติ
2.9. ในกรณีที่ข้อความ หรือเนื้อหาในรายละเอียดข้อกาหนดนี้ขัดกับแบบแปลน หรือแตกต่างไปจากแบบแปลน ให้ถือการวินิจฉัย
ของผู้ซื้อเป็นการชี้ขาด

3. รายละเอียดข้อกาหนดการติดตั้งระบบดับเพลิงแบบสารสะอาด (Clean agent Fire-Extinguishing Systems) จานวน


1 ระบบ
3.1. ระบบสารสะอาดดับเพลิง มีคุณลักษณะ ดังนี้
3.1.1. ระบบสารสะอาดดับเพลิงต้องเป็นแบบฉีดท่วมทั้งห้อง (Total Flooding System) และเป็นระบบ Pre-Engineering ตาม
ข้อกาหนดระบบดับเพลิงแบบสารสะอาด
3.1.2. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230 (C6-fluoroketone (CF3CF2C(O)CF(CF3)2) เป็นแบบ
Automatic Fire Extinguishing System โดยเป็นระบบ Fixed Pipe, Total Flooding Fire Extinguishing System โดย
กาหนดให้ใช้ความเข้มข้นไม่ต่ากว่า 4.7% สาหรับ Class C หรือ Electric Risk ที่อุณหภูมิ 20-23 องศา สาหรับห้องปรับ
อากาศต่อปริมาตรห้อง ซึ่งเป็นไปตามข้อกาหนดของมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
3.1.3. เป็นระบบ Pre-Engineering และ ผู้ชนะการประกวดราคาต้องส่งข้อกาหนดการติดตั้ง ขนาดและชนิดท่อดับเพลิง,
อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติม และออกแบบ เพื่อขออนุมัติก่อนการติดตั้ง
3.1.4. ระบบสารสะอาดดับเพลิง ต้องออกแบบด้วยความเข้มข้นสาหรับเพลิงไหม้ประเภท A แบบไฟไหม้ลึก (Deep
seated fire) หรือ เพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า (Class C Fire)
3.1.5. ระบบสารสะอาดดับเพลิง ต้องออกแบบเป็นโซนเดียวครอบคลุมพื้นที่ภายในห้องเซิฟเวอร์ (Server room) ห้อง
เตรียมการระบบ (Staging room) ห้องระบบสาธารณูปโภค (Facility room) และพื้นที่ส่วนทางเดินภายใน
(Corridoor)รวมไปถึงพื้นที่ใต้พื้นยกในห้องที่กล่าวไว้ข้างต้น ระบบสารสะอาดดับเพลิงต้องติดตั้งสาหรับพื้นที่ที่กล่าว
ด้วยปริมาตรความจุห้องประมาณ 900 ลูกบาศก์เมตร ปริมาตรความจุห้องที่ถูกต้องแน่นอนต้องถูกวัดและยืนยัน
จากการสารวจของผู้ชนะการประกวดราคาอีกครั้งในช่วงการออกแบบระบบ
3.1.6. ระบบอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยสารสะอาด ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของ UL หรือ ULC หรือ VdS
3.1.7. แผงควบคุมระบบดับเพลิงต้องเป็นยี่ห้อเดียวกันกับระบบอุปกรณ์ดับเพลิง รวมไปถึงผ่านการทดสอบและรับรองกับ
ระบบอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยสารสะอาด
3.1.8. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องออกแบบ ติดตั้งและจัดเตรียมพื้นที่ติดตั้งถังระบบดับเพลิง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น
อุปกรณ์จ่ายไฟสนับสนุน อุปกรณ์ค้ายันถัง ป้ายเตือนและส่วนอื่นๆที่จาเป็น
3.1.9. ระบบดับเพลิง รวมถึงถังสารดับเพลิง ท่อและส่วนประกอบของท่อ แฮงเกอร์และอุปกรณ์ยึดแขวนที่ได้รับการ
รับรอง วาล์วควบคุมความดัน (ถ้าต้องการ) และตัวขับ (Actuator) ต้องออกแบบและติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA
2001
3.1.10. Spot-type addressable smoke detector เชื่อมต่อสัญญาณกับระบบดับเพลิงแบบสารสะอาดต้องจัดเตรียม
และติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA 72 และมีการเดินสายระบบแบบ Class A อุปกรณ์ตรวจจับอย่างน้อยหนึ่งชุดต้องมี
ติดตั้งในแต่ละห้อง ถ้าอุปกรณ์ตรวจจับต้องการติดตั้งมากกว่าหนึ่งชุด ระยะแต่ละตัวต้องห่างกันประมาณ 8 เมตรแต่
ไม่เกิน 9 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร ภายในศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา อุปกรณ์ตรวจจับต้อง
จัดเตรียมและติดตั้งในระดับพื้นที่ห้องใช้งานและระดับใต้พื้นยก (Raised floor)

3.2. วัสดุ (Products) มีคุณลักษณะ ดังนี้


3.2.1. ท่อและข้อต่อ
3.2.1.1. ท่อดับเพลิง ต้องเป็นท่อเหล็กดาชนิดไม่มีตะเข็บ Schedule 40 ตามมาตรฐาน ASTM A 53 Grade B
3.2.1.2. ท่อร่วม (Manifold) ต้องเป็นท่อเหล็กดาหรือ Galvanized Pipe ต้องเป็นชุดที่ประกอบสาเร็จรูปและ
รับรองจากโรงงานผู้ผลิตหรือมีการรับรองว่าสามารถทนความดันได้
3.2.1.3. Loop Pipe ต้องเป็นโลหะที่มีความทนทานพิเศษตามมาตรฐานของผู้ผลิต ปลายทั้ง 2 ด้านเป็นโลหะ
เกลียวหรือ Coupling เพื่อสะดวกในการต่อเข้ากับหัวถังบรรจุก๊าซและสามารถทนความดันได้ และ/หรือ
กรณีใช้เป็น Flexible Discharge Hose ซึ่งภายในใช้เส้นลวดถักเป็นตาข่ายอย่างแข็งแรง และหุ้มด้วย
ยางพิเศษอย่างดี มีความทนทาน ปลายทั้ง 2 ด้านเป็นโลหะเกลียวหรือ Coupling เพื่อสะดวกในการต่อ
เข้ากับหัวถังบรรจุก๊าซ และสามารถทนความดันได้
3.2.1.4. ต้องติดตั้งวัสดุป้องกันไฟและควันลามตามช่องท่อทะลุผ่านผนัง และพื้นด้วยอัตราการทนไฟเท่ากับผนัง
และพื้นนั้น
3.2.2. วาล์ว
3.2.2.1. เรือนวาล์ว (Valve Body) ได้รับรองมาตรฐานและสามารถสามารถทนความดันของระบบได้และสามารถ
ใช้ได้กับสารสะอาดดับเพลิงที่เสนอ
3.2.2.2. ตัวขับ (Actuator) สามารถใช้งานและทนความดันของระบบได้และสามารถใช้ได้กับสารสะอาดดับเพลิง
ที่เสนอ ตัวขับ (Actuator) เมื่อถอดออกจากระบบต้องส่งสัญญาณไปยังแผงควบคุมระบบดับเพลิงให้
แสดงผลด้วยเสียง (Audible) และแสง (Visual Indication)
3.2.3. สวิตช์ความดัน (Pressure Switch)
ต้องสามารถทางานและทนต่อความดันของระบบได้และมี NO Contact เพื่อส่งสัญญาณไปตู้ควบคุมเมื่อตัวสวิตซ์
ความดัน (Pressure Switch) ทางาน
3.2.4. หัวฉีด (Discharge Nozzle)
หั ว ฉี ด ต้ อ งทาด้ ว ยทองเหลื อ งหรื อ โลหะที่ ไ ม่ เ ป็ น สนิ ม โดยให้ เ ลื อ กใช้ ข นาดและขนาดรู เ จาะ โดยการ
คานวณจากผู้ ผ ลิ ต ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
3.2.5. อุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุ
3.2.5.1. อุปกรณ์ทั้งหมดต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานของ UL Listed, Vds และ/หรือ FM Approved
3.2.5.2. อุปกรณ์ตรวจจับที่ติดตั้งเพื่อสั่งการทางานของระบบดับเพลิง ต้องใช้ Smoke Detector ติดตั้งแบบ
Cross Zone (ยืนยันการสั่งการโดยอุปกรณ์ตรวจจับหัวทีสอง Second device ทางาน ) อุปกรณ์แจ้ง
เหตุ แผงผังแสดงจุดแจ้งเหตุ (Annunciator) อุปกรณ์สั่งยกเลิกและอุปกรณ์สั่งการด้วยมือ ต้อง
จัดเตรียมให้กับระบบดับเพลิงที่ติดตั้ง
3.2.6. Abort Station
ต้องเป็นแบบ Momentary Contact “Dead Man” Switch ปุ่มกดเป็นแบบ Mushroom Button โดยให้ติดตั้ง
บริเวณประตูทางออกของห้องที่มีการป้องกันด้วยสารดับเพลิงทุกแห่ง พร้อมป้ายชื่ออุปกรณ์ รหัสโซน และ
คาแนะนาการใช้งานที่มีขนาดตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่า 10 มม.
3.2.7. Manual Discharge Station
ต้องเป็นแบบ Single Action หรือ Dual Action ออกแบบมาเฉพาะสาหรับการฉีดสารดับเพลิง พร้อมติดตั้งกล่อง
ครอบ ใส่ที่ป้องกันการสั่งทางานโดยไม่ตั้งใจ ที่ได้รับการรับรอง สามารถส่งเสียงเตือนเมื่อเปิดฝาครอบ โดยให้ติดตั้ง
บริเวณประตูทางออกของห้องที่มีการป้องกันด้วยสารดับเพลิงทุกแห่ง พร้อมป้ายชื่ออุปกรณ์ รหัสโซน และ
คาแนะนาการใช้งานที่มีขนาดตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่า 10 มม.
3.2.8. Alarm Bell
3.2.8.1. ต้องส่งสัญญาณเสียงดังได้ไม่น้อยกว่า 92 dB ที่ 3 เมตร และต้องติดตั้งให้เสียงสัญญาณและข้อความดัง
ชัดเจนในทุกห้องทุกพื้นที่ไม่น้อยกว่า 75 dB โดยให้ติดตั้งอย่างน้อยบริเวณประตูทางออกของห้องที่มี
การป้องกันด้วยสารดับเพลิงทุกแห่ง พร้อมป้ายชื่ออุปกรณ์ รหัสโซน และคาแนะนาการใช้งานที่มีขนาด
ตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่า 25 มม.
3.2.8.2. ต้องติดตั้งกริ่งสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ ให้เชื่อมต่อกับระบบของอาคาร เมื่ออาคารมีการแจ้งเตือนใน
ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ต้องได้ยิน
3.2.9. Strobe Light
แต่ละชุดต้องมีเปล่งแสงกระพริบสีขาวไม่น้อยกว่า 110 candela และครอบคลุมพื้นที่ไม่เกิน 12 x 12 เมตร โดยให้
ติดตั้งอย่างน้อยบริเวณประตูทางออกของห้องที่มีการป้องกันด้วยสารดับเพลิงทุกแห่ง พร้อมป้ายชื่ออุปกรณ์ รหัส
โซน และคาแนะนาการใช้งานที่มีขนาดตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร
3.2.10. Alarm Speaker ระบบเสียงประกาศบันทึกข้อความ (Pre-recorded Message)
3.2.10.1. เสียงสัญญาณเตือนต้องเป็นเสียงคาพูดประกาศ (Alarm Message) ที่อัดไว้ล่วงหน้าสลับกับเสียงไซเรน
คาพูดให้มีข้อความแจ้งวนดังนี้ “(เสียงไซเรน)...ระบบดับเพลิง กาลังนับเวลาถอยหลังเพื่อฉีด ให้อพยพ
ออกจากห้องนี้ทันที...(เสียงไซเรน) Fire suppression system is counting down for releasing gas
suppression agent throughout this room” ขณะระบบทางานแบบอัตโนมัติก่อนฉีดสารดับเพลิง
3.2.10.2. ระบบเสียงประกาศบันทึกข้อความต้องเชื่อมต่อร่วมกับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสารอง (UPS) ที่มีใช้งาน
ในพื้นที่
3.2.10.3. ระบบประกาศต้องเป็นระบบแบบ Integrated Voice Evacuation/Messaging System และมี Built-
in Amplifier และ Power supply
3.2.10.4. ระบบเสียงประกาศต้องเข้ากันได้กับ แผงควบคุมระบบดับเพลิง (Integrated class A synchronized
NAC) และสั่งงานตามขั้นตอนการควบคุมของระบบดับเพลิงด้วยสารสะอาดได้
3.2.10.5. Alarm Speaker ต้องส่งสัญญาณเสียงดังได้ไม่น้อยกว่า 92 dB ที่ 3 เมตร และต้องติดตั้งให้เสียง
สัญญาณและข้อความดังชัดเจนในทุกห้องทุกพื้นที่ไม่น้อยกว่า 75 dB
3.2.11. แผงควบคุมระบบดับเพลิง
3.2.11.1. แผงควบคุมต้องเป็นแบบ Addressable & Programmable System ที่ออกแบบเพื่อการควบคุมการ
ทางานสาหรับระบบดับเพลิง และต้องสามารถรองรับการทางานได้ตามมาตรฐานอ้างอิง และต้องได้รั บ
การรับรองตามมาตรฐาน UL Listed และ/หรือ FM Approved
3.2.11.2. การตรวจจับเพลิงไหม้ต้องสามารถโปรแกรมการทางานของระบบเป็นแบบ “Cross Zone” (ยืนยันการ
สั่งการโดยอุปกรณ์ตรวจจับหัวที่สอง Second device ทางาน) ได้
3.2.11.3. การแจ้งเหตุต้องสามารถส่งสัญญาณเข้าสู่ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้หลักของอาคารได้ และสามารถรายงาน
หรือแสดงผลการตรวจจับเพลิงไหม้ของอุปกรณ์ตรวจจับควันแต่ละตัว สามารถแสดงสถานะขัดข้องและ
การแจ้งเหตุได้ทุกขั้นตอน รวมทั้งสามารถส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์ประกอบอาคาร เช่น เครื่องส่งลม
พัดลมระบายอากาศ ลิฟต์ บันไดเลื่อน เป็นต้น ให้หยุดทางานรวมทั้งการปลดล็อกประตูควบคุมการเข้า
ออกได้
3.2.11.4. การเชื่อมต่อกันระหว่างตู้ควบคุมระบบดับเพลิงกับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้หลักของอาคารให้เชื่อมโยง
โดยส่งสัญญาณข้อมูลผ่าน Dry Contact ใช้อุปกรณ์ Module เพื่อส่งสัญญาณไปแสดงที่ FADS
Workstation รวมถึงการแก้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องในการแจ้งเตือนและ Monitor ให้ทางานอย่าง
สอดคล้อง ซึ่งต้องมีสัญญาณอย่างน้อยดังนี้
3.2.11.4.1. 1st Alarm เมื่อ Detector แจ้งการตรวจสอบ
3.2.11.4.2. 2nd Alarm เมื่อระบบเตรียมการฉีดสารดับเพลิง
3.2.11.4.3. สัญญาณการฉีดก๊าซดับเพลิง
3.2.11.4.4. สัญญาณขัดข้อง
3.2.11.5. การควบคุมต้องสามารถตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังได้
3.2.11.6. การควบคุมต้องมีวงจรสาหรับตั้งเวลาการหน่วงการฉีดก๊าซได้
3.2.11.7. แบตเตอรี่สาหรับแผงควบคุม ต้องมีขนาดพิกัด Ampere-Hour ได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงขณะ Standby
Load และบวกกับ 15 นาที ขณะ Full Alarm Load
3.2.12. ระบบหมุนเวียนอากาศ
3.2.12.1. ต้องติดตั้งสายสัญญาณเพื่อส่งสัญญาณไปหยุดระบบหมุนเวียนอากาศในงานระบบปรับอากาศและ/หรือ
ระบบระบายอากาศ และสั่งปิด Fire Damper ในท่อลมสาหรับทุกห้องที่ต้องฉีดสารสะอาดดับเพลิงนั้น
ก่อนการฉีดก๊าซ
3.2.12.2. ต้องติดตั้ง Fire Damper ชนิดขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่าผนังทนไฟที่มีท่อลม
ปรับอากาศและท่อลมระบายอากาศทุกท่อ ที่เป็นห้องหรือกลุ่มห้องที่ดับเพลิงด้วยสารสะอาดดับเพลิง ที่
เสนอ
3.2.13. ถังบรรจุสารสะอาดดับเพลิง
3.2.13.1. ตัวถังทาจาก Carbon Steel Alloy สีแดง ตามมาตรฐาน D.O.T (Department of Transportation)
ถังต้องได้รับการรองรับจากมาตรฐานและจะต้องแสดงมาตรฐานไว้บนถังอย่างชัดเจน ปริมาตรถังเปล่า
วันที่ได้รับการตรวจสอบจากโรงงานจนถึงวันที่ถังติดตั้งเพื่อใช้งานต้องไม่เกินระยะเวลา 2 ปี
3.2.13.2. ปริมาณสารสะอาดดับเพลิงที่เสนอที่บรรจุในถังไม่น้อยกว่า 23 กิโลกรัม ที่ความดันไม่น้อยกว่า 25 PSI
และระบบจะส่งสัญญาเตือนถ้าความดันของสารสะอาดดับเพลิงที่เสนอในถังลดลง
3.2.13.3. วาล์วที่หัวถังทาด้วยทองเหลืองหรือโลหะอื่นที่ไม่เป็นสนิม และต้องป้องกันการรั่วซึมได้ดี
3.2.13.4. ถังบรรจุก๊าซต้องมี Pressure Gauge เพื่อวัดความดันในถังบรรจุก๊าซและสามารถส่งสัญญาณไปที่
ตู้ควบคุมได้ในกรณีก๊าซในถังรั่วหรือมีความดันในถังต่ากว่า 360 PSI
3.2.13.5. ถังจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันในกรณีเกิด Over Pressurization
3.2.13.6. ถังบรรจุก๊าซแต่ละถังจะต้องมี Flexible Tape Liquid Level Indicator เพื่อใช้ตรวจระดับสารภาย
ในถัง
3.2.14. สายไฟฟ้าและท่อร้อยสาย
3.2.14.1. สายไฟฟ้าทั้งหมดเป็นสายชนิด Fire Resistance Cable: FRC ขนาดพื้นที่หน้าตัด 1.5 และ 2.5
ตารางมิลลิเมตร และร้อยในท่อร้อยสายไฟฟ้าชนิด EMT ตามมาตรฐาน มอก.
3.2.15. ป้ายแสดงสถานะ
3.2.15.1. ป้ายแสดงสถานะ Gas Discharge ติดตั้งด้านทางเข้าห้องทุกแห่งด้วยข้อความแสดงว่า “ห้องนี้ได้พ่นสาร
ดับเพลิงแล้ว.. Gas suppression agent has been discharged” กาหนดให้ใช้ตัวอักษรข้อความสีแดง
เมื่อเวลาที่หน่วงไว้นับถอยหลังจนถึง 0 วินาที และสารดับเพลิงเริ่มฉีด ต้องให้แสดงไฟเตือนที่ป้ายให้เห็น
ข้อความอย่างชัดเจน
3.3. ระบบ Pre-action sprinkler
3.3.1. ทาการออกแบบ รื้อถอน ติดตั้งระบบ Detector และทดสอบระบบ Pre-action sprinkler สาหรับศูนย์ข้อมูล
(Data center) ชั้น 7 เฉพาะพื้นที่ห้องเซิฟเวอร์ (Server room) ห้องเตรียมการระบบ (Staging room) ห้องระบบ
สาธารณูปโภค (Facility room) และพื้นที่ส่วนทางเดินภายใน (Corridoor)
3.3.2. ทาการสารวจและออกแบบการติดตั้ง Heat detector ใหม่ให้กับระบบ pre-action และเข้าทดสอบระบบ (Dry
test) หลังจากเสร็จสิ้นการติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA 72 โดยให้ทดสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งใหม่ทุกตัวโดยใช้วิธีที่
เหมาะสมไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย
3.3.3. ทาการเชื่อมต่อสัญญาณการทางานระหว่างตู้ควบคุมระบบ Pre-action sprinkler และตู้ Fire alarm control
panel (FACP) ของอาคาร ตู้ FACP จะต้องรับสัญญาณเมื่อระบบ Pre-action sprinkler ทางานหรือเมื่อระบบเกิด
Trouble หรือ Alarm
3.3.4. จัดทาโปรแกรมสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างตู้ควบคุมระบบ Pre-action sprinkler, Work station และตู้ Fire alarm
control panel (FACP) ของอาคารและยืนยันโดยการทดสอบสัญญาณหลังจากเสร็จสิ้นการติดตั้ง
3.3.5. Spot-type heat detector เชื่อมต่อสัญญาณกับระบบ Pre-action ต้องจัดเตรียมและติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA
72 และมีการเดินสายระบบแบบเดิม อุปกรณ์ตรวจจับอย่างน้อยหนึ่งชุดต้องมีติดตั้งในแต่ละห้อง ถ้าอุปกรณ์
ตรวจจับต้องการติดตั้งมากกว่าหนึ่งชุด ระยะแต่ละตัวต้องห่างกันประมาณ 7 เมตรแต่ไม่เกิน 7.2 เมตร และห่างจาก
ผนังไม่เกิน 3.6 เมตร ภายในศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา อุปกรณ์ตรวจจับต้องจัดเตรียมและติดตั้งในระดับพื้นที่
ห้องใช้งานและระดับใต้พื้นยก (raised floor) ถ้ามีความต้องการติดตั้ง detector ในจานวนที่มากกว่าที่มีใช้ ให้ผู้
ชนะการประกวดราคาจัดหาเพิ่มตามการออกแบบ
3.4. ข้อกาหนดในการติดตั้งระบบดังเพลิงสารสะอาด (Execution)
3.4.1. การตรวจสอบสถานที่ติดตั้ง (Examination)
3.4.1.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องสารวจตรวจสอบสถานที่ ติดตั้งเพื่อศึกษาลักษณะและสภาพแวดล้อมทั่วไป
สาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีความเข้าใจเป็นอย่างดีไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ชนะการประกวดราคาจะยกข้ออ้างการ
ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อประโยชน์ใดๆ มิได้
3.4.2. การเตรียมพื้นที่ (Preparation)
3.4.2.1. ก่อนดาเนินการติดตั้งหรือทดสอบใดๆ ให้ผู้ชนะการประกวดราคาแจ้งต่อผู้ซื้อหรือผู้แทนและได้รับ
อนุญาตก่อนทุกครั้ง
3.4.2.2. การเชื่อมหรือตัดโลหะด้วยไฟฟ้าต้องจัดเตรียมแหล่งจ่ายไฟฟ้าเฉพาะจากเมนไฟฟ้าของชั้นนั้นโดยตรง ไม่
อนุญาตให้ต่อจากเต้ารับไฟฟ้าหรือแผงไฟฟ้าย่อยภายในห้องศูนย์ข้อมูล Data Center ชั้น 7
3.4.2.3. การเชื่อมหรือตัดโลหะเป็นงาน Hot Work ต้องจัดให้มี Fire Watch ตลอดการปฏิบัติงานและต่อเนื่อง
หลังจากเสร็จงานอีกไม่น้อยกว่า 30 นาที และต้องมีถังดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อย 1 เครื่องบริเวณ
ปฏิบัติงาน และบริเวณที่มีประกายไฟต้องห่างจากวัสดุติดไฟอย่างน้อย 11 เมตรหรือกั้นแยกด้วยแผ่น
ฉนวนความร้อน
3.4.2.4. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องขออนุญาต Disable อุปกรณ์ตรวจจับภายในพื้นที่ติดตั้งและบริเวณใกล้เคียง
ในระหว่างการก่อสร้างอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ติดตั้งและทดสอบ (ถ้าจาเป็น) และครอบหัว
Detector ให้เรียบร้อย
3.4.3. การติดตั้ง (Erection)
3.4.3.1. การใช้วิธี Butt Welding
3.4.3.2. Butt Welding ให้ทาได้ใน Work Shop กรณีจาเป็นให้เชื่อมในพื้นที่ติดตั้งได้แต่ต้องขออนุญาตผู้
ควบคุมงานก่อนดาเนินการ
3.4.3.3. การต่อท่อด้วย Butt Welding ต้องทาความสะอาดภายในท่อเพื่อกาจัดเศษโลหะหรือส่วนยื่น ทาให้
ผิวภายในท่อที่ไม่เรียบ ก่อนประกอบท่อส่วนอื่นๆต่อไปทุกครั้ง พร้อมส่งรายงานการประกอบท่อแต่ละ
โซน
3.4.3.4. อุปกรณ์สาหรับงานดับเพลิง จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้ง และ ข้อกาหนดของผู้ผลิต และทน
ต่อความดันใช้งานและการทดสอบตามข้อกาหนดของมาตรฐานได้
3.4.3.5. การเดินท่อทั้งหมดต้องติดตั้งด้วยความประณีต ไม่เกิดการรั่วซึม แนวท่อจะต้องได้ฉาก และ/หรือ ขนาน
กับโครงการสร้างข้างเคียง ห้ามมิให้เดินเฉียงหรือเอียงจากแนวอาคาร หรือผนังจนดูไม่เป็นระเบียบ
เรียบร้อย
3.4.3.6. การเดินท่อให้เดินใต้พื้นหรือในกล่องซ่อนท่อ หรือฝังในผนัง และในคาน ยกเว้นจะระบุเป็นอย่างอื่นใน
แบบแปลน หรือเป็นเหตุสุดวิสัย ให้พยายามหลีกเลี่ยงการฝังท่อในพื้น ให้ใช้เครื่องยึดเหนี่ยว เครื่อง
รองรับ หรือเหล็กแขวนท่อประกอบการติดตั้งท่อ เพื่อยึดท่อเข้ากับผนัง พื้น คาน หรือโครงสร้างส่วนอื่น
ๆ ให้แข็งแรง การเดินท่อต้องจัดเรียงแนวท่อให้เรียบร้อยพร้อมทั้งการหุ้มซ่อนท่อ และการเปิดช่องสา
หรับตรวจซ่อมกับให้มีบานประตูติดบานพับถอดได้ตามความเหมาะสม
3.4.3.7. การติดตั้งท่อต้องให้ได้ระยะความยาวตามต้องการอุปกรณ์ที่แขวนท่อ ที่ยึดท่อตามระยะที่มาตรฐาน
กาหนด ซึ่งเมื่อบรรจบท่อเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นแนวสม่าเสมอ ไม่คดโก่ง หรือคลาดเคลื่อนไปจากแนว
และต้องยึดท่อและข้อต่อให้มั่นคงแข็งแรงกับโครงสร้างอาคาร
3.4.3.8. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบท่อ เช่น วาล์ว เกจ์วัดความดัน ฯลฯ ต้องติดตั้งในตาแหน่งที่สามารถถอด
ซ่อมบารุงรักษา หรือเปลี่ยนใหม่ได้สะดวก ส่วนวาล์วต้องสามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้งานได้สะดวกขณะ
เกิดเหตุฉุกเฉินโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษช่วยหรือบันได
3.4.3.9. การต่อท่อเข้าด้วยกัน หรือต่อท่อเข้ากับอุปกรณ์ใด ๆ ต้องใช้อุปกรณ์มาตรฐานตามการแนะนาของผู้ผลิต
เท่านั้น ในกรณีที่จะมีการขยับตัวของท่อหรืออาคาร หรืออุปกรณ์ใด ๆ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่ทาให้มีความ
ยืดหยุ่นได้
3.4.4. การสั่งทางานแบบอัตโนมัติ ดังนี้
3.4.4.1. ต้องใช้ Smoke Detector ติดตั้งแบบ Cross Zone ติดตั้งแบบ Cross Zone ยืนยันการสั่งการเมื่อ
อุปกรณ์ตรวจจับหัวที่สอง (Second Device) ทางาน และ Smoke Detector แต่ละตัวต้องห่างกัน
ประมาณ 8 เมตรแต่ไม่เกิน 9 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร ในพื้นที่ห้องเดียวกัน เมื่อ Smoke
Detector จากโซนใดโซนหนึ่งรับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ จะต้องมีขั้นตอนการทางานตามขั้นตอนที่กาหนด
ไว้ในแบบ อย่างน้อย ดังนี้
3.4.4.1.1. ส่งสัญญาณเสียงเตือน Alarm bell เพื่อให้คนอพยพหรือเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุการณ์
3.4.4.1.2. ส่งสัญญาณสั่งหยุดเครื่องส่งลม และสั่งปิด Fire Dampers และ Smoke Dampers
3.4.4.1.3. ส่งสัญญาณปลดล๊อกบานประตูทุกแห่งของห้องที่ป้องกันด้ วยสารดับเพลิง กรณีปกติล๊
อกด้วยElectromagnetic Lock
3.4.4.1.4. ส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังแผงควบคุมหลักของอาคาร
3.4.4.2. ในขณะชุดหน่วงเวลากาลังทางานอยู่ เสียงสัญญาณเตือน Alarm Speaker จะประกาศพร้อมกับ
Strobe light ทางาน และในขณะชุดหน่วงเวลาทางาน ระบบจะต้องสามารถยกเลิกการทางานได้ โดย
Reset Switch ที่ Control Panel ขยายเวลา หรือหยุดเวลาชั่วคราวได้โดยการกด Abort Switch
3.4.4.3. การฉีดสารดับเพลิง (Clean Agent Discharge)เมื่อเวลาที่หน่วงไว้นับถอยหลังจนถึง 0 วินาที
กระบวนการดับเพลิงจะเกิดขึ้น ระบบดับเพลิงจะทาการปล่อยสารสะอาดดับเพลิงที่เสนอ ออกมา โดย
ผ่านระบบวาล์วหัวถัง ท่ออ่อนหรือท่อทองแดง ท่อจ่ายก๊าซ สวิตซ์ความดัน (Pressure Switch) และ
หัวฉีดเข้าสู่ห้องหรือพื้นที่การป้องกันที่เกิดเพลิงไหม้สารสะอาดดับเพลิง จะถูกฉีดออกมาหมดทุกถังตาม
ปริมาณที่คานวณไว้ภายในเวลาไม่เกินกาหนดตามมาตรฐานที่กาหนดไว้เมื่อสวิต ซ์ความดัน (Pressure
Switch) ได้รับความดันจากก๊าซที่ถูกฉีดผ่านระบบท่อ จะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อให้ ป้ายแสดงสถานะ
(Gas Discharged) ที่หน้าห้องสว่าง
3.4.5. การสั่งทางานแบบ Manual ทาได้ 2 ลักษณะ คือ
3.4.5.1. โดยทาการกดและดึง Manual Discharge Station ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูเข้าออกห้องหรือพื้นที่การ
ป้องกันทุกแห่ง ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะปรากฏเสียงประกาศเป็นข้อความที่บันทึกไว้ (Pre-recorded
Message) และไฟกระพริบ (Strobe Light) และสั่งหยุดการทางานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
เฉพาะห้องหรือพื้นที่การป้องกันที่เกิดเพลิงไหม้นั้น ก๊าซจะถูกฉีดออกมาดับเพลิงทันทีหรือมีการหน่วง
เวลาก่อนการฉีดก๊าซ เมื่อเวลาที่หน่วงไว้นับถอยหลังจนถึง 0 กระบวนการดับเพลิงจะเกิดขึ้นระบบฯ จะ
ทาการปล่อยสารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230 ออกมา โดยผ่านระบบวาล์วหัวถัง ท่ออ่อนหรือท่อ
ทองแดง ท่อจ่ายก๊าซ สวิตซ์ความดัน (Pressure Switch) และ หัวฉีดเข้าสู่ห้องหรือพื้นที่การป้องกันที่
เกิดเพลิงไหม้ สารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230 จะถูกฉีดออกมาหมดทุกถังตามปริมาณที่คานวณไว้
ภายในเวลาไม่เกินตามมาตรฐานกาหนด เมื่อสวิตช์ความดัน (Pressure Switch) ได้รับความดันจากก๊าซ
ที่ถูกฉีดผ่านระบบท่อ จะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อให้ ป้ายแสดงสถานะ (Gas Discharged) ที่ประตูเข้า
ออกห้องทุกแห่งจะต้องสว่างขึ้น
3.4.5.2. โดยการดึงสลักกลไกของ Manual Actuator ออกและโยกคันโยก (Handle) ลง หรือกดลง Manual
Actuator ต้องติดตั้งอยู่ที่วาล์วหัวถังบรรจุก๊าซ เมื่อกลไกนี้ทางานจะทาให้กระบวนการดับเพลิงจะเกิดขึ้น
ระบบฯ จะทาการปล่อยสารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230 ออกมา โดยผ่านระบบวาล์วหัวถัง ท่ออ่อน
หรือท่อทองแดงวาล์วกันกลับ ท่อจ่ายก๊าซ สวิตซ์ความดัน (Pressure Switch) และ หัวฉีดเข้าสู่ห้องหรือ
พื้นที่การป้องกันที่เกิดเพลิงไหม้ สารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230 จะถูกฉีดออกมาหมดทุกถังตาม
ปริมาณที่คานวณไว้ภายในเวลาไม่เกินกาหนดตามมาตรฐาน และ เมื่อสวิตซ์ความดัน (Pressure
Switch) เมื่อได้รับความดันจากก๊าซที่ถูกฉีดผ่านระบบท่อ จะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อทาให้เสียง
ประกาศเป็นข้อความที่บันทึกไว้ (Pre-recorded Message) ดัง, ไฟกระพริบ (Strobe Light) ทางาน
พร้อมระบบปรับอากาศและระบายอากาศหยุด ป้ายแสดงสถานะ (Gas Discharged) ที่หน้าห้องสว่างให้
แผงควบคุมสั่ง Motorized Damper ปิดช่อง Air Inlet Louver ในขั้นตอนที่โซนแรกทางาน หรือ
Manual Discharge Switch ทางาน โดยผู้ชนะการประกวดราคาต้องเป็นผู้ ดาเนินการจัดหาและติดตั้ง
Motorized Damper และอุปกรณ์อื่นในกรณีจาเป็น เพื่อให้ระบบทางานได้ครบถ้วน
3.5. การรื้อวัสดุฉนวนเพดาน
3.5.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องเข้าสารวจ ห้อง Data Center และรื้อวัสดุปิดผิวเพดานเก่าออก โดยไม่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ อุปกรณ์ในศูนย์ข้อมูล (Data center)
3.5.2. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานรื้อถอน และขั้นตอนการป้องกันเพื่อไม่ไห้เกิดผลกระทบต่อ
อุปกรณ์ภายในศูนย์ข้อมูล (Data center)
3.5.3. การรื้อถอนวัสดุฉนวนเพดาน เฉพาะพื้นที่ห้องเซิฟเวอร์ (Server room) ห้องเตรียมการระบบ (Staging room)
ห้องระบบสาธารณูปโภค (Facility room) และพื้นที่ส่วนทางเดินภายใน (Corridoor)
3.6. การทดสอบการรั่วของห้องป้องกัน
3.6.1. การทดสอบการรั่วของห้องป้องกันต้องปฏิบัติหลังจากเสร็จสิ้น การติดตั้งระบบสารสะอาดดับเพลิง การอุดรูรั่ว การ
ปรับปรุงระบบความปลอดภัยต่อชีวิต และงานรื้อวัสดุฉนวนเพดาน เพื่อตรวจสอบอัตราการรั่วและการอุดปิดรูรั่วที่
ยังพบ
3.6.2. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องจัดเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์สาหรับทดสอบและบุคคลที่มีคุณสมบัติในการทดสอบ
การรั่วของห้องป้องกันด้วยระบบ door fan test เพื่อตรวจสอบอัตราการรั่วภายในห้องที่ป้องกันด้วยระบบสาร
สะอาดดับเพลิง
3.6.3. พื้นที่ห้องที่ติดตั้งระบบป้องกันต้องทดสอบการรั่วของห้องป้องกัน (enclosure integrity testing) ช่องเปิดและรูรั่ว
ต้องถูกอุดกั้น รวมไปถึงผนัง งานปิดผิวและลิ้นกันไฟ (Fire damper) ต้องจัดเตรียมและติดตั้งโดยผู้ชนะการประกวดราคา
และพิจารณาอัตราการรั่วในการออกแบบปริมาตรสารที่ต้องการเพื่อทดแทนให้เก็บกักสารในห้องตามระยะเวลาที่
กาหนด
3.6.4. การทดสอบการรั่วของห้องป้องกัน เฉพาะพื้นที่ห้องเซิฟเวอร์ (Server room) ห้องเตรียมการระบบ (Staging
room) ห้องระบบสาธารณูปโภค (Facility room) และพื้นที่ส่วนทางเดินภายใน (Corridoor)
3.6.5. การทดสอบต้องคานึงถึงผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในพื้นที่ โดยการทดสอบให้เป็นไปตามคาแนะนาของ
ผู้ปฏิบัติงานและการประเมิณจากหน้างานจริง
3.6.6. รายการการทดสอบ วิธีการทดสอบต้องได้รับอนุมัติก่อนเริ่มปฏิบัติจริง
3.6.7. การทดสอบต้องยึดหลักการตามมาตรฐาน NFPA 2001 ใน annex C “Enclosure Integrity Procedure”โดยต้อง
ครอบคลุมความต้องการดังต่อไปนี้
3.6.7.1. กาหนดพื้นที่ขอบเขตของห้องที่ที่ติดตั้งเดิม
3.6.7.2. ใช้แผ่นพลาสติกหรือวัสดุอื่นอย่างระมัดระวังเพื่อให้สร้างพื้นที่ปิดที่สมบูรณ์
3.6.7.3. จดบันทึกและเขียนเส้นระบุจุดที่ต้องการแก้ไขเพื่อพัฒนาสาหรับห้องป้องกัน
3.6.7.4. ขออนุญาตและปิดระบบอุปกรณ์ตรวจจับภายห้องป้องกันก่อนทดสอบ door fan test
3.6.7.5. ระบุช่องเปิดหรือรูรั่วที่พบในแบบรายงานพร้อมคาแนะนาที่จาเป็น
3.6.8. อุปกรณ์และเครื่องมือทุกชิ้นรวมไปถึงชุดทดสอบ door fan test ต้องได้รับการรับรองโดยมาตรฐานที่ได้รับการ
ยอมรับ
3.6.9. เครื่องมือวัด อย่างน้อยต้องประกอบด้วย พัดลมทดสอบ (test fan) ตัววัดความดัน (pressure meter) และแผ่น
พลาสติกคลุมรูรั่ว (plastic sheet)
3.6.10. วิธีการทดสอบการรั่วของห้องป้องกันแสดงไว้ในเนื้อหาแนบที่ 2 (Attachment No.2)
3.7. ปรับปรุงระบบความปลอดภัยต่อชีวิต
3.7.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องออกแบบและติดตั้ งราวจับในพื้นที่ทางลาดบริเวณทางเดินตามมาตรฐาน NFPA 101
โดยใช้วัสดุ stainless steel ในการใช้งาน
3.7.2. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องติดตั้ง Motion sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Access control
ภายในพื้นที่ศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา โดยติดตั้งเฉพาะฝั่งทิศทางการอพยพและสั่งปลดล๊อคหรือคลายแม่เหล็ก
เมื่อมีบุคคลเข้าใกล้ตามมาตรฐาน NFPA 101 ตาแหน่งติดตั้งอุปกรณ์แสดงไว้ในเนื้อหาแนบที่ 3 (Attachment
No.3)อุปกรณ์ Motion Sensor หรือ Request-to-Exit Sensor ต้องได้รับมาตรฐาน CE และ UL
3.7.3. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องแสดงเอกสารประกอบอุปกรณ์ Motion Sensor หรือ Request-to-Exit Sensor ที่
ติดตั้งเพื่อพิจารณา
3.7.4. การปรับปรุงระบบความปลอดภัยต่อชีวิต เฉพาะศูนย์ข้อมูล (Data center) ชั้น 7
4. รายละเอียดการตรวจรับ และการประกันคุณภาพ (Quality Assurance)

ผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องส่งมอบงานตามรายการทั้งหมดให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกาหนด ดังนี้
4.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องส่งแผนการดาเนินงาน และออกแบบการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ สาหรับศูนย์สารสนเทศ
ทางการศึกษา พร้อมติดตั้ง จานวน 1 ระบบ ให้คณะกรรมการฯ งวดงานที่ 1 คิดเป็น 10% ของราคาทั้งหมด ระยะเวลาภายใน
30 วัน
4.2. ต้องส่งมอบอุปกรณ์ทั้งหมดให้ถูกต้องครบถ้วน และดาเนินการติดตั้งให้พร้อมใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ตามขอบเขตงานที่
กาหนดพร้อมส่งมอบ งวดงานที่ 2 คิดเป็น 90% ของราคาทั้งหมด ระยะเวลาภายใน 90 วัน
4.3. รายละเอียดของอุปกรณ์ พร้อมเอกสารรับรองจากการทดสอบตามมาตรฐานอ้างอิง
4.3.1. ท่อและข้อต่อต่างๆ
4.3.2. วาล์วที่ใช้ในระบบ
4.3.3. ถังบรรจุสารสะอาดดับเพลิง NOVEC 1230
4.3.4. แผงควบคุมระบบดับเพลิง
4.3.5. อุปกรณ์ตรวจจับประกอบระบบดับเพลิง
4.3.6. อุปกรณ์แจ้งเหตุ
4.4. เอกสารรายละเอียดขั้นตอนการติดตั้งอย่างละเอียด
4.5. แบบรายละเอียดในการทางาน (Shop Drawing) ที่มีรายละเอียดของระบบ ระยะห่าง รวมถึงรอยต่อระหว่างอุปกรณ์และวัสดุที่
เกี่ยวข้อง
4.6. รายงานการทดสอบระบบ
4.7. รายงานการทดสอบและรับรอง Room Integrity ด้วยวิธี Door Fan Test โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหน่วยงานที่เชื่อถือ
ได้
4.8. รายการคานวณและออกแบบระบบ
4.9. เอกสารรับรองการทดสอบตามมาตรฐานอ้างอิง
4.10. ข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ ขั้นตอนการซ่อมบารุงและการดูแลรักษา
4.11. อุปกรณ์ในการบารุงรักษาและดูแลระบบ
4.11.1. อุปกรณ์สารอง Addressable Smoke Detector และ, Horn, Bell, Strobe Light ต้องสารองจานวนอย่าง
ละ 2 ชุด และ Solenoid/Electric Valve ต้องสารองอย่างน้อยจานวน 1 ชุด
4.11.2. เครื่องมือวัดปริมาณออกซิเจนแบบพกพา จานวน 1 ชุด
4.11.2.1. ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน CE และ IEC1010
4.11.2.2. ใช้เซนเซอร์การวัดออกซิเจนในอากาศแบบ Galvanic cell type และมีย่านการวัดตั้งแต่ 0% ถึง
30%O2 และมีเสียงเตือนเมื่อเข้าช่วงค่าออกซิเจนต่ากว่า 18%O2
4.11.2.3. ใช้ฟังก์ชั่นการบันทึกข้อมูลผ่าน SD Card
4.11.3. จานวนอุปกรณ์และขนาดอุปกรณ์อย่างน้อยตามข้อกาหนดระบบดับเพลิงแบบสารสะอาด หรืออย่าง
น้อยอุปกรณ์หนึ่งชุดต้องสารองและส่งมอบให้ผู้จ้างตามรายการ คือ อุปกรณ์ตรวจจับ อุปกรณ์แจ้งเตือน ตัวขับ
(Actuator) ถังสารดับเพลิงและหัวฉีด (Nozzle)
4.11.4. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องสามารถสารองอะไหล่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ของระบบตลอดอายุการใช้งาน
4.12. แบบการติดตั้งจริง (As-built Drawing)
4.12.1. อุปกรณ์ติดตั้งตามที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้และได้รับรองตามมาตรฐานที่กาหนด
4.12.2. แบบแปลนการติดตั้งจริงต้องถูกส่งมอบให้แก่ผู้จ้างหลังจากติดตั้งเสร็จสิ้นหรือก่อนส่งมอบงานครั้งสุดท้าย
4.12.3. หลังจากการติดตั้งระบบแล้วเสร็จ ผู้ชนะการประกวดราคาต้องดาเนินการทดสอบระบบ และอุปกรณ์ของระบบ
ต่อหน้าเจ้าของและวิศวกรตามวิธีการในรายละเอียดที่มาตรฐานกาหนดไว้ โดยผู้ชนะการประกวดราคาต้องออก
ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จาเป็นในการดาเนินการทดสอบทั้งหมด
4.13. การรับประกัน (Special Warranty)
4.13.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องรับประกันคุณภาพสินค้ามีกาหนด 5 ปี ( ไม่รวมสาร NOVEC 1230 ) นับ
จากวันตรวจรับมอบงานและในระหว่างรับประกันต้องมีบริการตรวจเช็คระบบ (Function Test) และตรวจเช็ค
ปริมาณ NOVEC 1230 ทุก ๆ 4 เดือน หรือปีละ 3 ครั้ง ในระหว่างระยะเวลารับประกันดังกล่าวหากมีวัสดุ
อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนชารุดใช้งานไม่ได้หรือทางานไม่สมบูรณ์อันเนื่องมาจากความบกพร่องของวัสดุอุปกรณ์ หรือ
ความบกพร่องในการติดตั้ง ผู้ชนะการประกวดราคาต้องแก้ไข และ/หรือ เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ชิ้นส่วนนั้นๆ โดยไม่
คิดราคาจากผู้ซื้อ ในกรณีที่ผู้ชนะการประกวดราคาไม่รีบดาเนินการแก้ไข ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงข้อบกพร่อง
หรือความเสียหายดังกล่าวผู้ซื้อทรงสิทธิ์ไว้ในการที่จะซื้อผู้อื่นมากระทาการแทน โดยคิดค่าใช้จ่ายเอากับผู้ชนะ
การประกวดราคา
4.13.2. หากมีอุปกรณ์ที่ชารุดเสียหายในช่วงรับประกัน ทางผู้ขายติดตั้งต้องสามารถบริการและเปลี่ยน และ/หรือ
ซ่อมให้ทันที โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
4.14. การควบคุมคุณภาพ (Field Quality Control)
4.14.1. การทดสอบ (Test)
4.14.1.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องส่งใบรับรองการทดสอบโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือหน่วยงานที่มี
คุณสมบัติให้ผู้จ้างเพื่อพิจ ารณาตรวจรับ
4.14.1.2. ผู ้ช นะการประกวดราคาต้อ งส่ง ใบรับ รองการทดสอบวัส ดุห รือ อุป กรณ์โ ดยหน่ว ยงานที ่มี
คุณสมบัติให้ผู้จ้างเพื่อพิจารณาตรวจรับ
4.14.1.3. ท่อและอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบดับ เพลิง ต้องสามารถทนต่อความดันใช้งาน ให้ทดสอบการ
รั่วซึมของท่อ น้าก๊าซ โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนอัดที่ความดัน 40 Psi ทิ้งไว้นาน 10 นาที โดยความ
ดันสูญเสีย ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของความดันทดสอบ พร้อมแสดงผลการทดสอบหรือเอกสาร
รับรองจากผู้ผลิต
4.14.1.4. หากไม่ได้กาหนดไว้เป็นอย่างอื่นในแบบและข้อกาหนดนี้ ผู้ชนะการประกวดราคาต้องทาการ
ออกแบบ ติดตั้ง และทดสอบระบบอย่างน้อยตามมาตรฐาน NFPA 2001 ที่กาหนดไว้ และจัดทา
รายงานส่งต่อผู้ซื้อรับทราบ
4.14.1.5. ต้องทาการทดสอบการทางานของระบบแบบ Function Test ตั้งแต่การตรวจจับควัน , การส่ง
สัญญาณเตือน, การหน่วงเวลาด้วยการนับถอยหลัง , และการทางานของอุปกรณ์สั่งฉีดก๊าซด้วย
ไฟฟ้า (Electrical/Solenoid valve) สาหรับอุปกรณ์ทุกชุ ดทุกฟังก์ชั่นแต่ไม่ต้องทาการฉีดก๊าซ
จริง
4.14.1.6. ต้องทดสอบการใช้งานของระบบดับเพลิงอัตโนมัติทั้งหมดตามรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในข้อกาหนด
ต่อหน้าผู้ซื้อหรือตัวแทนจนกว่าผู้ซื้อยอมรับผลในการทดสอบรายการที่จาเป็นต้องทดสอบ คือ
Function ต่าง ๆ ของแต่ละยูนิตหรืออุปกรณ์ทุกชุด , System Function, System Feature
และอื่น ๆ ตามที่ผู้ซื้อเห็นสมควร
4.14.1.7. การทดสอบ Room Integrity ต้องทดสอบตามสภาพเหมือนการใช้งานห้องนั้นๆแบบปกติ และ
หากพบว่า มีอ ากาศรั่ว เกิน พิกัด ให้เ ป็น หน้า ที่ผู้ชนะการประกวดราคาต้อ งจัด หาและติด ตั้ง
อุปกรณ์ป้องกัน อุด หรือปิดช่องว่าง และทดสอบใหม่จนกระทั่งผ่านการทดสอบ ซึ่งผู้ชนะการ
ประกวดราคาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4.14.1.8. เสนอราคาค่าบรรจุก๊าซ รวมค่าขนส่งถังก๊าซ (บาท/ลูกบาศก์เมตร), ค่าใช้จ่ายในการทดสอบถัง
แบบ Hydraulic Test พร้อมออกหนังสือรับประกันคุณภาพถัง และค่าตรวจสอบระบบและ
ตรวจปริมาณสารสะอาดที่เสนอ
4.14.1.9. ผลการทดสอบวัสดุฉนวนเพดานป้องกันความชื้นได้จริง
4.14.1.10. ทดสอบระบบ pre-action หลังเสร็จสิ้นการติดตั้ง ระบบ detector ใหม่ตามมาตรฐาน NFPA
72 ระบบที่ติดตั้งจะต้องทางานอย่างสมบูรณ์อย่างน้อยตามการทางานเดิมก่อนติดตั้ง
4.14.2. การตรวจสอบ (Inspection)
4.14.2.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้อ งจัด ให้วิศ วกรที่ไ ด้รับ ใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพ และผู้เ ชี่ย วชาญ
ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิต ตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานติดตั้งและรายงานผล
4.14.2.2. ในระหว่า งการติด ตั้งระบบผู้ซื้อมีสิท ธิ์ที่จะขอตรวจสอบผลงาน โดยผู้ชนะการประกวดราคา
จะต้องอานวยความสะดวกตามที่ผู้ซื้อร้องขอ และมีสิทธิ์ที่จะระงับให้ผู้ชนะการประกวดราคา
หยุด ปฏิบัติงานในหน่ว ยงานได้ทัน ที หากพบว่า ผลงานการติด ตั้ง หรือ บุค คลดังกล่า วไม่มี
คุณสมบัติเพียงพอในการปฏิบัติงาน
4.14.3. การปรับแต่ง (Adjusting)
4.14.3.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องทาการปรับตั้งเวลาการทางานแต่ละขั้นตอน ให้สอดคล้องกับแผน
และการบริห ารจัด การในสถานการณ์ฉุก เฉิน ของผู้ซื้อ รวมทั้งกลไกการทางานของชิ้น ส่ว น
อุปกรณ์ต่างๆให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และเป็นไปตามมาตรฐานอ้างอิง
4.14.3.2. เมื่อการทดสอบเสร็จ ผู้ชนะการประกวดราคาต้องทาการปรับตั้ง และเปิดระบบให้พร้อมใช้งาน
ได้อย่างสมบูรณ์
4.14.3.3. เมื่อผู้ชนะการประกวดราคาได้ทาการปรับตั้ง ทดสอบ และส่งมอบงานแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วง
รับ ประกัน หรือ การบารุงรัก ษา ผู้ชนะการประกวดราคาต้อ งห้า มทาการใดๆทั้งสิ้น กับ ระบบ
อุปกรณ์ และระบบควบคุมการทางานก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ซื้อ
4.14.4. การขน การจัดเก็บ และการควบคุม (Delivery, Storage and Handling)
4.14.4.1. อุปกรณ์ทั้งหมดต้องถูกเก็บในพื้นที่ ไม่มีความชื้นสูง ปลอดภัยจากสภาพอากาศ ก่อนการติดตั้ง
ให้เป็นไปตามข้อตกลงของทางคณะ ฯ
4.14.5. การทาความสะอาด (Cleaning)
4.14.5.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องทาความสะอาดบริเวณทางานทุกแห่งหลังจากติดตั้งแล้ว ก่อนการ
อนุมัติตรวจสอบจากผู้ออกแบบและก่อนส่ งมอบงาน
4.14.5.2. ผู้ชนะการประกวดราคาต้อ งป้อ งกัน อุป กรณ์ภ ายหลังการติด ตั้งเพื่อ ให้มั่น ใจว่า ไม่ไ ด้รับ ความ
เสียหายระหว่างการก่อสร้าง หรือ เกิดการอุดตัน
4.14.5.3. ระบบท่อดับเพลิงเมื่อแต่ละพื้นที่ติดตั้งเสร็จ ต้องทาการล้างท่อทันทีจนกว่าเศษเหล็ก สนิม และ
สิ่งแปลกปลอมได้ออกจากท่อทั้งหมด จากนั้นต้องทา Hydrostatic Test เพื่อทดสอบรอยรั่ว
ของท่อจากการเชื่อมตามหัวข้อถัดไป และต้องทาการปิดปลายท่อไว้ทั้งหมดจนกว่าจะส่งมอบ
งานทั้งหมด
4.14.6. การจัดทาป้าย
4.14.6.1. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องเป็นผู้จัดทาป้ายแสดงรายละเอียดของวัสดุ/อุปกรณ์ที่เสนอ (ต้องใช้
วัสดุที่คงทนถาวร) ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้
4.14.6.1.1. หมายเลขประจาครุภัณฑ์ (เลขครุภัณฑ์และเลขประจาเครื่อง)
4.14.6.1.2. หมายเลข SAP
4.14.6.1.3. ชื่อหน่วยงาน
4.14.6.1.4. วันที่ตรวจรับ
4.14.6.1.5. วันที่สิ้นสุดการรับประกัน
4.14.6.1.6. หมายเลขโทรศัพท์ผู้ให้บริการ
4.14.6.2. อุปกรณ์สาคัญต้องมี Nameplate ระบุข้อมูลของผู้ผลิต เช่น ชื่อผู้ผลิต รุ่นอุปกรณ์ หมายเลข
ประจาอุปกรณ์นั้นๆ ไม่อนุญาตให้ใช้ Nameplate ของผู้ชนะการประกวดราคาติดตั้งเอง
4.14.6.3. อุปกรณ์หลักทุกตัวหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่จาเป็นจะต้องติดตั้งป้ายชื่อ เพื่อระบุความสามารถหน้าที่
และส่วนงานที่อุปกรณ์นั้นทาหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่ ให้ติดตั้งป้ายชื่อ หรือเลขหมายชนิดคงทนถาวร
ทาด้วยทองเหลือง ทองแดง หรือโลหะไร้สนิมในขนาดที่เหมาะสม
4.14.6.4. อุปกรณ์ต รวจจับ Smoke Detector ติดตั้งแบบ Cross Zone จะต้องทาสีแดงหรือติด
สติ๊กเกอร์รอบฐานตัวตรวจจับ ติดตั้งป้ายชื่อระบุ Zone และระบุว่าเป็น Detector สาหรับ
ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ NOVEC 1230
4.14.6.5. ท่อดับเพลิง ต้องพ่นสีรองพื้นด้วยสีกันสนิมอย่างน้อย 2 ชั้น และชั้นนอกด้วยสีน้ามันแดงและ
ต้องแสดงชื่อ “ท่อดับเพลิง NOVEC 1230” พร้อมแสดงทิศทางการไหลด้วย ทุกระยะไม่เกิน 6
เมตร และบริเวณที่ท่อได้ทะลุผ่านพื้นหรือผนังด้วยขนาดตัวอักษรประมาณ 45 - 75 mm ให้
มองเห็นได้ชัดเจนจากระดับพื้นบริเวณนั้น
4.14.6.6. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องจัดทาป้ายเตือน โดยมีข้อความว่า “ห้องนี้ป้องกันอัคคีภัยด้วยสาร
ดับเพลิง อาจเป็นอัน ตรายถึงชีวิต ต้องอพยพเมื่อมีสัญญาณเตือ นภัย ” ติด ตั้งตามผนังห้อ ง
บริเวณช่องทางเดิน โถงทางเข้า และที่ประตูห้องทุกห้องทั้งสองด้าน โดยให้ม องเห็นชัดเจนทุก
พื้นที่
4.15. ผู้ชนะการประกวดราคาต้องจัดอบรมวิธีการใช้งาน บารุงรักษา และตรวจสอบระบบ ให้กับผู้ดูแลระบบ พร้อมจัดหาคู่มือ
การใช้งานระบบดับเพลิงอัตโนมัติให้กับเจ้าหน้าที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จานวนไม่น้อย
กว่า 20 ท่าน
ATTACHMENT NO.1
ATTACHMENT NO.2
Room Integrity Test Procedure
This procedure outlines method to equate enclosure leakage as determined by a door fans test to worst case Novec
1230 gas leakage. This procedure may be subject to change depending on test Contractors.
(1) Preliminary Preparation
1. The test would be carried out as per the Test Contractor’s agreed / approved statement.
2. The tentative time that would be required for carrying out the Door Fan Test for each room would be in the
range one to one and half hour.
3. The team of testing would be comprised.
4. Co-ordinate with HVAC system sub-contractor.
5. Check visually for the completion of enclosure construction and that all the possible leakage points are
sealed.
6. Determine the sizes and number of doorways.
7. The following equipment are used for the test :
a. Molded doorway panels.
b. Door fans.
c. Control console complete with calibrated gauges for air pressure measurement for
inside and outside temperatures, lap top computer for computing the result and a portable printer attached to
it.
d. Masking tape, if required to temporary seal the leakage.
e. Accessories like floor tile lifter, measuring tape etc.
f. Appropriate signs shall be displayed on the doors informing about the testing in progress.

(2) Measurement of Room


1. Measure the protected enclosure volume record, all the dimensions.
2. Measure the highest protected point in the enclosure.

(3) Installation of Door Fan Kit


1. Identify the most convenient doorway and setup the molded panel and door fans on this door. The criteria
that shall be followed to choose the door way is that which opens into largest return path area.
2. Examine the sealing around the door before installing the door fan system. The sealing of the door fan system
shall be, no tighter than the actual door. If the door fan system is tighter we may have to deliberately create the
equivalent leakage in the door fan test.
3. Set up the control console inside the room
4. Ensure that the pressure gauges are leveled and zeroed prior to connection to door fans.
5. Check the integrity of the tubes connecting the pressure gauges and fan apparatus, by blowing or sucking the
air into the tube and holding for 10 seconds, the needle deflection in the gauge because of the blowing of sucking shall
not be charged.
6. Connect the tubing to the respective gauges at appropriate place, i.e. for room pressure and fan pressure.
7. Switch on the laptop computer fitted on the console. Feed the enclosure information and flow the step-by-
step instruction.
8. The door fan will be arranged to alternately blow out (pressurize) and blow into (depressurize) the enclosure.
9. The palm top computer for the ELA (Equivalent leakage area), which will be averaged in, pressurized and
depressurized mode.
10. During the room is pressurized and depressurized the smoke shall be blown on the joints of the enclosure
and all the possible leakage location to identify the leaking spots.
11. In case the enclosure is having the ceiling void, i.e. above false ceiling area, then the same procedure of
pressurization and depressurization shall be followed in the following method:
a. First pressurization and depressurization to find out the ELA for the whole enclosure.
b. Next, isolate the ceiling void by providing another fan to neutralize the above ceiling volume and the
ELA is computed.
c. The difference in the ELA arrived in (a&b) above would give the ELA in the above ceiling spaces.
d. The same procedure would be followed incase of ceiling void as well.
e. The on site computer print out would also provide the height of the descending after 10 minutes
duration and the result of the test. The criteria of passing the test would be that after 10 minutes retention
period if the height of the descending interface is less than the minimum protected height, the test will not be
passed and would need thorough investigation of the leakage location. In case the descending interface height
is more than the minimum protected height after 10 minutes retention time, the result is PASS
ATTACHMENT NO.3

You might also like