You are on page 1of 10

~1~

เครื่องกําเนิดไฟฟ้า (GENERATOR)
1. ความต้องการทั่วไป
เพื่อใช้ทดแทนเมื่อระบบไฟฟ้าพื้นฐานของการไฟฟ้าขัดข้อง ของอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยและถ่ายทอด
ความรู้ด้านระบบประสาท ซึ่งระบบสํารองไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งที่สําคัญ สิ่งหนึ่งที่ทางสถาบันฯ จะขาดไม่ได้
ทั้งปัญหาจากไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ทําให้จําเป็นต้องใช้เครื่องสํารองไฟฟ้า เพื่อป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์
ไฟฟ้าและเครื่องมือแพทย์ จากปัญหาทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้น นอกจากนั้น ห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉินหรือห้อง ICU
ต่างๆ ยังจําเป็นที่จะต้องมีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา ดังนั้น สถาบันฯ จึงจําเป็นที่จะต้องมีระบบสํารองไฟฟ้าเพื่อให้
การบริการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน
1.1 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า จะต้องประกอบไปด้วย
1.1.1 ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Alternator) ชุดเครื่องยนต์ (Engine)
1.1.2 ท่อไอเสีย Silencer และอุปกรณ์ลดความดังของเสียง
1.2.3 ถังน้ํามันเชื้อเพลิง (Oil Tank)
1.1.4 แผงควบคุมเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Control Panel)
1.1.5 อุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Material of Construction)
1.2 มาตรฐานอ้างอิง
1.2.1 ตามมาตรฐานอเมริกา (American Standard)
a) ANSI/NEMA 250 - Enclosures for Electrical Equipment (1000 Volts
Maximum)
b) ANSI/NEMA MG1 - Motors and Generator
c) ANSI/NFPA 70 - National Electric Code
d) ANSI/NFPA 99 - Health Care Facilities
1.2.2 ตามมาตรฐานยุโรป (European Standards) BS, DIN
1.2.3 ตามมาตรฐานสากล IEC (In6ernational Electromechanical Commission)
1.3 คุณสมบัติเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ต้องมีคุณสมบัติไม่น้อยกว่าดังนี้
1.3.1 เป็นเครื่องกําเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ชนิด INDUSTRIAL TYPE ขนาดไม่
น้อยกว่า 800 KVA ที่เพาเวอร์แฟคเตอร์ 0.8 แรงดัน 380/220 โวลท์ 3 เฟส 4 สาย ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ที่
1,500 รอบต่อนาที
1.3.2 มีชุด AUTOMATIC TRANSFER SWITCH ขนาดที่เหมาะสมกับเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
1.3.3 ตัวเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต่อด้วยข้อต่อเพลาแบบให้ตัวได้ FLEXIBLE COUPING
และต้องมีหน้าแปลน ADAPTOR FLANGE ยึดติดระหว่างตัวเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เพื่อให้เป็น
อุปกรณ์ชุดเดียวกัน ตามมาตรฐาน SAE และติดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ซึ่งทําด้วยเหล็กหนาเชื่อมเข้าด้วยกัน
พร้อมปรับผิวหน้าเรียบให้อยู่ระดับเดียวกันตลอด
~2~

1.3.4 ต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน ต้องเป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานของผู้ผลิต ซึ่งผลิตในปี


ปัจจุบันจากต่างประเทศและมีกําลังที่จะขับเพียงพอ
1.3.5 แบบแสดงการติ ด ตั้ ง โดยมี วิ ศ วกรที่ มี ใ บประกอบวิ ช าชี พ วิ ศ วกรรมควบคุ ม สาขา
วิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากําลัง ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป เซ็นชื่อในแบบ
1) จะต้องส่งแบบแสดงการติดตั้ง พร้อมวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุม
2) จะต้องส่งเอกสารจากผู้ผลิตเกี่ยวกับคําแนะนําการติดตั้ง และแบบแสดงวิธีการติดตั้งชุด
เครื่องกําเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ (ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย)
1.4 เอกสารประกอบการพิจารณา
1.4.1 เอกสารที่นําเสนอขออนุมัติใช้ดังต่อไปนี้
1) แนบแคตตาล็อกเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ที่มีขนาดและน้ําหนักของชุดเครื่องยนต์และเครื่อง
กําเนิดไฟฟ้า พร้อมชุดควบคุม ตามรายละเอียดในแบบกําหนด
2) แคตตาล็อกเครื่องยนต์ และเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ที่แสดงรายละเอียดทางเทคนิค
3) เอกสารการแต่งตั้งตัวแทนจําหน่ายเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้งชุดโดยตรงจาก
ผู้ผลิตต่างประเทศหรือตัวแทนจําหน่ายในประเทศแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายสินค้านี้
ได้ทั้งเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
4) รายการแสดงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ซึ่งแสดงแรงม้าและอัตราสิ้นเปลืองน้ํามัน
เชื้อเพลิง
5) ระบบควบคุมการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าและชุดควบคุม
6) ข้อแนะนําในการบํารุงรักษา รวมทั้งคําแนะนําสําหรับการทํางาน การซ่อมบํารุงประจํา
สําหรับเครื่องกําเนิดไฟฟ้าและชุดควบคุม พร้อมทีมงานช่างของบริษัทผู้จําหน่าย
1.4.2 แบบแสดงการติดตั้งโดยมีวิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขา
วิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากําลัง ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป เซ็นชื่อในแบบ
1) จะต้องส่งแบบแสดงการติดตั้ง พร้อมวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุม
2) จะต้องส่งเอกสารจากผู้ผลิตเกี่ยวกับคําแนะนําการติดตั้ง และแบบแสดงวิธีการติดตั้งชุด
เครื่องกําเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ (ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย)
1.5 คุณสมบัติ
1.5.1 โรงงานผู้ผลิตและประกอบ ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต้องประกอบจากโรงงานที่ดําเนินกิจการ
ประกอบชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าโดยเฉพาะ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 หรือ ISO9002 เป็นโรงงานที่
ดําเนินกิจการในประเทศไทย และผลิตในกลุ่ม US หรือ EU ให้นําเอกสารมาแสดงในวันที่พิจารณาเอกสาร
เสนอราคา และในวันส่งมอบงานจะต้องแสดงเอกสารการนําเข้าหรือการผลิตจากโรงงานนั้น (ตัวจริง) มาให้
คณะกรรมการตรวจรับดูและเก็บสําเนาไว้ที่โครงการด้วย
1.5.2 ผู้แทนจําหน่าย (Authorized distributor) เครื่องกําเนิดไฟฟ้าจะต้องรับผิดชอบในการจัดหา
อุปกรณ์อํานวยความสะดวกด้านบริการและอะไหล่ตลอดอายุการใช้งานและมีทึมช่างประจํา
บริษัทเพื่อซ่อมบํารุง
~3~

1.6 การรับประกัน ให้รับประกันตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง


1.7 การบํารุงรักษา
1.7.1 การบริการบํารุงรักษา บริการหลังการขาย บริษัทผู้แทนจําหน่ายเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต้องจัดหา
อะไหล่ทดแทนเมื่ออุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งานชํารุด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 วัน หลังจากที่ได้รับแจ้ง
(ในระยะประกัน)
1.7.2 จะต้องบํารุงรักษาระบบชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้า จากวันที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ตามระยะเวลาการ
รับประกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
1.7.3 จะต้องส่งรายชื่อของอะไหล่กับ Part number และ Electrical Drawing
17.4 จะต้องส่งรายการอะไหล่แท้ที่แนะนําโดยผู้ผลิตที่จะต้องเปลี่ยนในช่วงเวลาห้าปี (5 ปี) พร้อม
ราคาและค่าบริการ เป็นราคาต่อหน่วยปัจจุบัน
1.8 อุปกรณ์ที่ต้องส่งมอบในวันตรวจรับ
1.8.1 เครื่องมือที่จําเป็นสําหรับบํารุงรักษาของระบบเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ บรรจุในกล่อง
โลหะ จํานวน 1 ชุด
1.8.2 ไส้กรองเชื้อเพลิง, ไส้กรองน้ํามันเครื่อง, ไส้กรองอากาศ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับระบบ
เครื่องยนต์และของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า จํานวน 1 ชุด
1.8.3 ฟิวส์ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าของระบบทุกขนาด จํานวน 2 ชุด

2. รายละเอียดชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารอง
2.1 Generator Set
2.1.1 ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าจะต้องประกอบด้วย เครื่องยนต์ดีเซล, หม้อน้ํา, อัลเทอร์เนเตอร์ และชุด
ควบคุม ติดตั้งบนฐานเหล็กเดียวกัน ประกอบจากโรงงานอย่างถูกต้องบนฐานเหล็กที่สร้างขึ้นให้มี
ความแข็งแรง พ้อมอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนจากการทํางานของเครื่องยนต์
2.1.2 พิกัดชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
a) ขนาดที่ต้องการ - ตามที่ระบุในแบบ (KVA. หรือ KW.)
b) PRIME RATING - ตามที่ระบุในแบบ โดยสามารถผลิตกําลังไฟฟ้า
ได้อย่างต่อเนื่อง
c) POWER FACTOR - 0.80 LAGGING
d) SPEED - 1,500 RPM
e) FREQUENCY - 50 HZ
f) VOLTAGE - 380/220 V หรือมาตรฐานเดียวกับระบบไฟฟ้าหลัก
g) ระบบไฟฟ้าเป็นแบบ - 3 เฟส 4 สาย
h) ระบบการเหนี่ยวนํา - BRUSHLESS EXCITER (PERMANENT MAGNET)
~4~

i) EMISSION - ของเครื่องยนต์ดีเซลได้มาตรฐานสากล เช่น TA – Luft


หรือ EURO – II หรือ EPA
j) LOAD ACCEPTANCE - SINGLES STEP LOAD ไม่น้อยกว่า 90% ของกําลัง
เครื่องกําเนิดไฟฟ้า
2.1.3 การควบคุมแรงเคลื่อนไฟฟ้า เป็นแบบ SOLID STATE ค่า VOLTAGE REGULATION ต้อง
ไม่เกินกว่า +0.5% จาก NOLOAD ถึง FULL LOAD ของแรงดันไฟฟ้าปกติ
2.1.4 Frequency Regulation : จะต้องไม่เกิน 0.25% ของความเร็วรอบปกติ
2.1.5 ต้องทนต่อการใช้ LOAD เกินเกณฑ์สําหรับ MOTOR STARTING ซึ่งทนได้ไม่น้อยกว่า
250% ของกระแส FULL LOAD ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2.1.6 Total Harmonic Content : ทั้งหมดไม่เกิน 5% ของภายใต้พื้นฐานทุกสภาพการทํางาน
2.1.7 ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต้องมีคุณภาพหรือประสิทธิภาพไม่เกินกว่าเกณฑ์ดังต่อไปนี้
a) Voltage regulation shall be + 0.5 percent rated voltage.
b) Steady state voltage stability ± 0.25 percent rated voltage.
c) Balanced telephone interference factor (TIF) shall not exceed 50.
d) Frequency regulation from no load to full load shall be isochronous
operation
e) Generator set shall be capable of start – up and accepting rated load
within 10 seconds.
2.2 เครื่องยนต์ (Engine)
2.2.1 เป็นเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบหรือ 8 สูบ 4 จังหวะ มีเทอร์โบชาร์ท ยาฟเตอร์คูลสามารถให้
แรงม้าต่อเนื่องที่ 1,500 รอบต่อนาที ไม่ต่ํากว่า 700 แรงม้า ตามมาตรฐาน ISO 3045 หรือ ISO3046 หรือ
DIN6270A หรือ DIN6271 หรือ BS5514
2.2.2 ระบบควบคุมความเร็วรอบ (GOVERNOR) ของเครื่องยนต์เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถ
ควบคุมความเร็วรอบจาก NO LOAD ถึง FULL LOAD ตามมาตรฐาน BS 5514 CLASS A1
2.2.3 ระบบความร้อนใช้ THERMOSTATICALLY CONTROLLER CENTRIFUCAL PUMP เป็นตัว
ควบคุมและส่งน้ําไประบายความร้อนในส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ การระบายความร้อนของน้ําใช้หม้อน้ํารังผึ้ง
ติดพัดลม ซึ่งติดตั้งกับเครื่องยนต์พร้อมทั้ง GUARD ป้องกันส่วนเคลื่อนไหว
2.2.4 ระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ให้มี GEAR TYPE PUMP เพื่อส่งน้ํามันไปหล่อลื่นส่วน
เคลื่อนไหวต่างๆ ของเครื่อง ผ่านไส้กรองน้ํามันแบบ FULL FLOW OIL FILTER
~5~

2.2.5 ระบบอากาศไหลเวียน
a) Air Filter: ต้องมีไส้กรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถถอดเปลี่ยนหรือทําความ
สะอาดได้ง่าย
b) Silencer: เพื่อป้องกันเสียงความถี่สูง ต้องสามารถลดระดับเสียงในอากาศที่ยอมรับได้
ในระดับสูงสุด สําหรับอาคารและที่อยู่อาศัยในสถานพยาบาล
2.2.6 ระบบน้ํามันเชื้อเพลิงมีปั้มและหัวฉีดแบบ DIRECT INJECTION หรือ COMMONRAIL
2.2.7 ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์จะต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าเริ่มต้นจากแบตเตอรี่
a) Battery: แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นชนิดกรด – ตะกั่ว ปิดผนึกด้วยพลาสติกง่ายสําหรับการ
บํารุงรักษา แบตเตอรี่จะต้องมีขนาดเพียงพอที่อุณหภูมิ 40°C เพื่อสามารถสตาร์ท
เครื่องยนต์ให้ได้อย่างน้อย 4 ครั้ง ทุก ๆ 15 นาที
b) Battery Charger: สามารถชาร์ทแบตเตอรี่โดยอัตโนมัติ อัดประจุไฟแบตเตอรี่ที่หมดให้
เต็มภายใน 8 ชั่วโมง
c) Exerciser: สําหรับตั้งเวลาเพื่อให้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าทํางานได้ตามที่กําหนดโดยอัตโนมัติ
ทุก ๆ สัปดาห์
2.2.8 ระบบท่อไอเสียสําหรับเครื่องยนต์จะต้องแยกกัน และจะต้องมีท่อสําหรับยืดหยุ่นเพื่อต่อ
ออกไปสู่ภายนอกอาคาร
a) Flexible ไอเสีย : จะต้องสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ และการขยาย
ความร้อนและหดตัวของท่อไอเสีย
b) ท่อไอเสีย Silencer : จะต้องลดเสียงที่ออกมาจากเครื่องยนต์
c) การติดตั้งท่อไอเสีย จะต้องหุ้มฉนวนป้องกันความร้อนในส่วนที่อยู่ภายในอาคารแบบไม่ติด
ไฟ และมีระบบป้องกันน้ําฝนเข้าท่อ
2.2.9 ระบบถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ประกอบไปด้วย ถังน้ํามันและปั๊มน้ํามันเชื้อเพลิง
a) FILL POINT : ติดตั้งท่อเติมน้ํามันเชื้อเพลิงขนาด ∅ 50 มม. (2 นิ้ว) พร้อมวาล์วและ
จะต้องติดตั้งในตําแหน่งที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ใช้งาน
b) การติดตั้งถังน้ํามัน: ต้องติดตั้งใกล้เครื่องยนต์ และมีอุปกรณ์ปั๊มน้ํามันเชื้อเพลิงแบบมือหมุน
และแบบใช้ Motor ไฟฟ้า สําหรับเติมน้ํามันเข้าถัง ท่อน้ํามันที่เข้าเครื่องยนต์ให้ใช้สายอ่อน
ที่ใช้สําหรับน้ํามันโดยเฉพาะ ท่อน้ํามันส่วนเกินกลับจากเครื่องยนต์ไปยังถังน้ํามัน ขนาดถัง
น้ํามันจะต้องมีขนาดเพียงพอสําหรับเดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่กําลังสูงสุดไม่น้อยกว่า 8
ชั่วโมง (หรือตามแบบกําหนด) โดยมีระบบ Ground System ตามมาตรฐาน
~6~

c) Engine Fuel Pump: จะต้องมีปั๊มที่สามารถปั๊มน้ํามันให้ได้ปริมาณเพียงพอของน้ํามัน


เชื้อเพลิงที่เครื่องยนต์ต้องการ ต้องมีโซลินอยวาล์วสําหรับตัด – ต่อการทํางานเมื่อน้ํามัน
เชื้อเพลิงเต็มถังขณะเติมน้ํามัน และตัดการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทันทีเมื่อปริมาณ
น้ํามันอยู่ต่ํากว่าระดับกําหนด
d) การตรวจสอบระดับน้ํามันที่ถึง Dry Tank จะถูกตรวจระดับน้ํามันได้โดยท่อใสข้างถัง
น้ํามันที่แสดงจํานวนน้ํามันในถัง
2.2.9 ระบบความปลอดภัย
a) ระบบควบคุมเครื่องยนต์จะต้องติดตั้งเพื่อควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติดังต่อไปนี้
- มีเมนสวิทช์ควบคุมเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เพื่อตัดวงจรเซอร์กิตเบรกเกอร์ทันทีเมื่อเกิด
ไฟฟ้าลัดวงจรในระบบ พร้อมติดตั้งระบบสายดิน (Ground System) ตามมาตรฐาน
การไฟฟ้าและ วสท.
- ความดันน้ํามันหล่อลื่นต่ํากว่าปกติ
- อุณหภูมิของน้ําในหม้อน้ําสูงกว่าปกติ
- เครื่องยนต์ความเร็วเกินกว่าปกติ
b) Alarm System: ระบบความปลอดภัยแสดงโดยแสงและเสียง
2.2.10 Engine Instrument: เครื่องวัดสําหรับเครื่องยนต์จะต้องติดตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเครื่อง
กําเนิดไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต มีรายการดังต่อไปนี้
a) Cooling water temperature gauge
b) Lubricating oil pressure gauge
c) Running time meter
d) Tachometer
e) Emergency stop switch
f) Key switch for manual start
g) Automatic shutdown alarm
2.3 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Alternator)
2.3.1 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า ต้องสามารถผลิตกําลังไฟฟ้ากระแสสลับอย่างต่อเนื่อง (Prime) ได้ไม่ต่ํา
กว่าที่ระบุไว้ในแบบชนิด 3 เฟส 4 สาย 380/220 โวลท์ 50 เฮิรตซ์ เพาเวอร์แฟคเตอร์ 0.8
ที่ความเร็วรอบ 1,500 รอบนาที
2.3.2 เครื่องกําเนิดไฟฟ้าเป็นชนิดไม่มีแปรงถ่าน (BRUSHLESS) ระบายความร้อนด้วยพัดลมติดบน
แกนเดียวกับ ROTOR ตามมาตรฐาน MEMA หรือ VDE หรือ BS เป็นผลิตภัณฑ์ของทวีปอเมริกา, ทวีปยุโรป
หรือเทียบเท่า
~7~

2.3.3 การควบคุมแรงเคลื่อนเป็นแบบ SOLID STATE ค่า VOLTAGE REGULATION ต้องไม่เกิน


กว่า ± 0.5 % จาก NOLOAD ถึง FULL LOAD ที่เพาเวอร์แฟคเตอร์ 0.8 ถึง 1
2.3.5 ฉนวนของ ROTOR และ STATOR จะต้องได้มาตรฐาน CLASS H หรือดีกว่า
2.3.6 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า จะต้องมีระบบป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนวิทยุ และ ระบบอื่น ๆ
ตามมาตรฐาน VDE หรือ BS
2.3.7 ต้องทนต่อการใช้ LOAD เกินเกณฑ์สําหรับ MOTOR STARTING ซึ่งทนได้ไม่น้อยกว่า 250 %
ของกระแส FULL LOAD ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 10 วินาที
2.3.8 ค่า VOLTAGE DIP จะต้องไม่เกิน 20% ของโวลท์เตจปกติ เมื่อจ่ายโหลดทันทีทันใด 100%
ของ RATING โดยจะต้องมีกราฟแนบมาด้วย
2.4 แผงควบคุมเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
แผงควบคุมเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้งหมด จะต้องเป็นแบบอิเลคทรอนิกส์ไมโครโปรเซสเซอร์
(ELECTRONIC MICROPROCESSOR) ควบคุมกํากับการแสดงผล การเตือนด้วยเสียง หรือการสื่อสารระยะไกล
เชื่อมต่อกับระบบ BAS ได้ ระบบแผงควบคุมต้องมีอุปกรณ์ที่จําเป็นดังต่อไปนี้
a) GENERATOR CIRCUIT BREAKER
b) AC VOLTMETER WITH PHASE SELECTOR SWITCH
c) AC AMPMETER (3phase)
d) FREQUENCY METER
e) KILOWATMETER หรือ KVA. METER
f) POWER FACTOR METER
g) SIGNEL LAMP FOR OPERATE AND ALARM
2.4 ระบบควบคุมอัตโนมัติ ประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้
- ระบบควบคุม START – STOP เครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ
- ระบบประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่อัตโนมัติ
- ระบบควบคุมการทํางานของ AUTOMATIC TRANSFER SWITCH
2.5 อุปกรณ์ควบคุมและไฟแสดงเหตุขัดข้อง
2.5.1 มีสวิทช์ควบคุมการทํางานต้องไม่น้อยกว่าดังนี้
- หยุดเครื่อง (STOP)
- สตาร์ทเครื่องด้วยมือ (MANUAL START)
- ควบคุมการทํางานแบบอัตโนมัติ (AUTO STANDBY)
- หยุดสัญญาณเสียงและแสง
~8~

2.5.2 ไฟที่แสดงหน้าตู้ควบคุม ต้องไม่น้อยกว่าดังนี้


- เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด (START FALUBE)
- ความดันน้ํามันหล่อลื่นต่ํากว่าเกณฑ์
- อุณหภูมิเครื่องยนต์สูงเกินเกณฑ์
- ความเร็วรอบสูงเกินกว่าเกณฑ์
- ระบบป้องกันทั้งหมดทํางาน (ALL PROTECTION ACTIVE)
- ไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับ
- เมื่อความเร็วรอบและโวลท์เตจได้ตามเกณฑ์
- เมื่อมีการประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่ทํางาน
2.6 การประกอบ ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (ประกอบเสร็จระหว่างเครื่องยนต์และตัวกําเนิดไฟฟ้า) จะต้อง
เป็นการประกอบขึ้นจากโรงงานที่ดําเนินกิจการประกอบชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าโดยเฉพาะ ที่ได้รับการรับรอง
มาตรฐาน ISO9001 หรือ ISO9002 เป็นโรงงานที่ดําเนินกิจการในประเทศไทย และผลิตในกลุ่ม US หรือ EU
ให้นําเอกสารมาแสดงในวันที่พิจารณาเอกสารเสนอราคา และในวันส่งมอบงานจะต้องแสดงเอกสารการนําเข้า
หรือการผลิตจากโรงงานนั้น (ตัวจริง) มาให้คณะกรรมการตรวจรับดูและเก็บสําเนาไว้ที่โครงการด้วย และมีผล
ผ่านการทดสอบที่โรงงานผู้ผลิตในรุ่นที่นําเสนอ และจะต้องระบุหมายเลขรุ่น (Model) ของเครื่องก่อนส่งเข้าสู่
หน่วยงานให้ตรงกับรุ่นที่ผ่านการอนุมัติ โดยมีรายละเอียดของเอกสารการนําเข้าที่ถูกต้องตามกฎหมายและ
ระเบียบของกรมศุลกากร

3. ระบบการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
3.1 เมื่อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ดับลงหรือไฟมาไม่ครบ หรือแรงดันไฟฟ้าเฟสหนึ่งเฟสใดต่ํากว่า 85%
ของระบบ ภายในเวลา 1-3 วินาที (สามารถปรับได้) เครื่องยนต์จะสตาร์ทเครื่องเองโดยอัตโนมัติ ในกรณีที่
เครื่องยนต์สตาร์ทครั้งแรกไม่ติดชุดเครื่องสตาร์ทอัตโนมัติอาจสตาร์ทใหม่ติดต่อกันในช่วงเวลาที่ตั้งไว้ เมื่อสตาร์ท
ครบ 3 ครั้งแล้ว เครื่องยนต์ยังไม่ติดเครื่องจะไม่สตาร์ทอีกต่อไป และจะมีสัญญาณไฟพร้อมเสียงโชว์ที่หน้าตู้
(START FAILURE) หลังจากกดปุ่ม RESET แล้วสัญญาณไฟและเสียงของ START FAILUBE จะดับแล้วชุด
สตาร์ทอัตโนมัติจะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ได้
3.2 เมื่อเครื่องยนต์ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว และความเร็วรอบพร้อมโวลท์เตจได้ตามเกณฑ์ เครื่องยนต์จะ
วิ่งตัวเปล่าประมาณ 1-3 นาที สามารถปรับได้จึงจะสับโหลดจ่าย
3.3 เมื่อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ มาตามปกติภายในเวลา 3-5 นาที สามารถปรับได้ ชุดออโตเมติกทราน
เฟอร์ ส วิ ท ช์ จ ะทํ า หน้ า ที่ เ ปลี่ ย นโหลดของเครื่ อ งกํ า เนิ ด ไฟฟ้ า ไปหาโหลดของการไฟฟ้ า ฯ โดยอั ต โนมั ติ ใ น
ขณะเดียวกันเครื่องยนต์ยังคงทํางานต่อไปอีก 3-5 นาที สามารถปรับได้ จึงจะดับเครื่องยนต์ของโดยอัตโนมัติ
~9~

4. Execution
4.1 การตรวจสอบ
4.1.1 ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ตามในแบบที่กําหนด ก่อนที่จะรับมอบงาน
4.1.2 ตรวจสอบสาธารณูปโภคที่จําเป็นที่มีอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมและพร้อมใช้งาน เช่น
การต่อเชื่อมระบบไฟฟ้าและระบบสายดิน
4.2 การติดตั้ง
4.2.1 ให้ติดตั้งในหน่วยงานตามรายละเอียดในสัญญากําหนด และต้องส่งแบบจริงทั้งหมดเพื่อ
อนุมัติก่อนทําการติดตั้ง
4.2.2 ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของผู้ผลิต และรายละเอียดที่กําหนดในสัญญาก่อสร้างและ
มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม (วสท.)
4.3 การทดสอบ
4.3.1 ต้องทําการทดสอบเครื่องกําเนิดไฟฟ้าชนิดใช้งานต่อเนื่อง โดยขณะทดสอบแรงดันไฟฟ้าและ
ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 4% โดยทําการทดสอบดังนี้
(1) LOAD 50 % ของกําลังเต็มที่เป็นเวลา 15 นาที
(2) LOAD 75 % ของกําลังเต็มที่เป็นเวลา 30 นาที
(3) LOAD 100 % ของกําลังเต็มที่เป็นเวลา 120 นาที
(4) LOAD 110 % ของกําลังเต็มที่เป็นเวลา 15 นาที
อุปกรณ์ในการทดสอบต้องจัดหามาให้ครบตามรายการ
4.3.2 การส่งมอบงานต้องส่งวิศวกรมาร่วมทดสอบการทํางานของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆตามที่
ระบุไว้ในเงือนไข พร้อมทั้งน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับทดสอบเครื่อง และ อุปกรณ์เครื่อง และอุปกรณ์
เครื่องใช้ทุกอย่างที่จําเป็นเป็นในการทดสอบ ตลอดจนต้องแนะนําและฝึกสอนเจ้าหน้ามี่ของผู้ว่าจ้างให้
สามารถ OPERATE เครื่องได้เองโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น
4.3.3 ทดสอบกรณีไฟฟ้าขัดข้อง รวมทั้งการดําเนินการสับเปลี่ยนของออโตเมติกทรานเฟอร์สวิทซ์
ทั้งในระบบอัตโนมัติและระบบควบคุมด้วยมือ (Manual)
4.3.4 ในระหว่างการทดสอบต้องบันทึกต่อไปนี้
(1) KILOWATTS
(2) AMPERES
(3) VOLTAGE
(4) COOLANT TEMPERATURE
(5) ROOM TEMPERATURE
(6) FREQUENCY
~ 10 ~

4.3.5 การรับประกัน ต้องรับประกันเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เป็นเวลา 2 ปี หลังจากวัน


ส่งมอบ หากเกิดการขัดข้องในระหว่างประกันเนื่องจากการใช้งานจะต้องดําเนินการแก้ไขให้ใช้การได้ดี
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
4.3.6 ต้องมีทีมงานผู้ชํานาญในงานติดตั้งเครื่องยนต์และเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้งชุด ที่ผ่านการอบรม
ด้านเทคนิคต่าง ๆ มาอย่างดีจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง โดยส่งเอกสารรับรอง ( CERTIFICATE LEVEL)
มาประกอบการพิจารณาด้วย
4.3.7 ต้องมีทีมงานบริการที่เป็นของบริษัทเองต้องแสดงเอกสารประกอบด้วย
4.3.8 จะต้องทําเครื่องหมายในรายละเอียดของเอกสารที่นําเสนอตามหัวข้อที่กําหนดให้ชัดเจน

5. การส่งมอบงาน
- ต้องส่งเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคมาร่วมทําการทดสอบและทดสอบ PERFORMANCE ของเครื่องที่ทําการ
ทดสอบและอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ ระบุไว้ในรายละเอี ยดคุณลักษณะเครื่องกําเนิ ดที่ ประกาศพร้ อมทั้ งนํ ามั น
เชื้อเพลิง น้ํากลั่น น้ํามันหล่อลื่น เครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่างที่จําเป็นในการทดสอบมาเอง ตลอดจนคําแนะนํา
และฝึกสอนวิธีทํางานของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น
- ต้องส่ งมอบการติ ดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้า พร้อมหนังสือคู่มือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สถาบันฯ
ดังต่อไปนี้
1. SCHEMATIC CIRCUIT DRAWING 2 ชุด
2. ALTERNATOR INSTRUCTION BOOK 2 เล่ม
3. ENGINE INSTRUCTION BOOK 2 เล่ม
4. COMPREHENSIVE INSTRUCTION MANUAL 2 เล่ม
5. STANDARD TOOL SET 1 ชุด

You might also like