You are on page 1of 20

คูมือผูบ ริหารโรงงานและอาคาร

ในการพิจารณาจัดซือ้ อุปกรณมาตรการมาตรฐาน

อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอร
บัลลาสตอิเล็กทรอนิกส ฉนวนกันความรอนที่ทอและพื้นผิว
ที่ใชกับเครื่องอัดอากาศ

อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอร
อุปกรณนําความรอนทิ้งมาใชใหม อุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหม
ที่ใชกับเครื่องสูบน้ํา

เครื่องแลกเปลี่ยนความรอน แผนสะทอนแสงและโคมฟลูออเรสเซนต
มอเตอรประสิทธิภาพสูง
จากอากาศสูอากาศ ประสิทธิภาพสูง

อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟา
อุปกรณปรับแรงดันไฟฟา
สําหรับแสงสวาง

จัดทําโดย :
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน
สารบัญ

หนา
ความเปนมา 1
หลักการใชงานและขอควรระวังที่ผูใชควรทราบเพิ่มเติมจากรายละเอียดเรื่องมาตรการมาตรฐาน 2
1. บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงสําหรับหลอดฟลูออเรสเซนต 2
2. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องอัดอากาศ 3
3. ฉนวนกันความรอนในทอและพื้นผิว 5
4. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องสูบน้ํา 7
5. อุปกรณนําความรอนทิ้งมาใชใหม 8
6. อุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหม 9
7. เครื่องแลกเปลี่ยนความรอนจากอากาศสูอากาศ 10
8. มอเตอรประสิทธิภาพสูง 11
9. แผนสะทอนแสงและโคมฟลูออเรสเซนตประสิทธิภาพสูง 13
10. มาตรการควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง 15
11. มาตรการอุปกรณปรับแรงดันไฟฟา 17
1

ความเปนมา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน (พพ.) ไดรวมมือกับสํานักงานความรวมมือ


ทางดานสิ่งแวดลอมและการพัฒนาแหงประเทศเดนมารก (DANCED) ซึ่งปจจุบันไดเปลี่ยนเปน
DANIDA (Danish International Development Assistance) ระหวางป 2539-2544 ในการคัดเลือกอุปกรณ
ที่มีการใชงานทั่ว ๆ ไปในโรงงาน/อาคาร เพื่อมาจัดทําเปนมาตรการมาตรฐานสําหรับแนะนําการใชงาน
เบื้องตนใหกับโรงงาน/อาคาร ไดเขาใจในหลักการใชงานอุปกรณมาตรการมาตรฐาน 11 รายการ
ดังกลาวไดแก

1. บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงสําหรับหลอดฟลูออเรสเซนต
2. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องอัดอากาศ
3. ฉนวนกันความรอนในทอและพื้นผิว
4. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องสูบน้ํา
5. อุปกรณนําความรอนทิ้งมาใชใหม
6. อุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหม
7. เครื่องแลกเปลี่ยนความรอนจากอากาศสูอากาศ
8. มอเตอรประสิทธิภาพสูง
9. แผนสะทอนแสงและโคมฟลูออเรสเซนตประสิทธิภาพสูง
10. อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง
11. อุปกรณปรับแรงดันไฟฟา

อุปกรณมาตรการมาตรฐาน 11 รายการ นี้ พพ. ไดมีการกําหนดคุณลักษณะ (Specification) ไว ซึ่ง


สามารถดูรายละเอียดไดจาก เวปไซต www.dede.go.th หรือสอบถามขอมูลจากที่ปรึกษาตรวจสอบ (ACs), ที่
ปรึกษาดานอนุรักษพลังงาน (RCs) หรือ ดูรายละเอียดไดในเอกสารเผยแพร "คุณลักษณะเฉพาะของ
อุปกรณประหยัดพลังงานป พ.ศ. 2543 เลม 1 และเลม 2" จัดทําโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ
อนุรักษพลังงาน
2

หลักการใชงานและขอควรระวัง

หลักการใชงานและขอควรระวังของอุปกรณมาตรการมาตรฐานที่ผูใชควรทราบมีดังนี้

1. บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงสําหรับหลอดฟลูออเรสเซนต
หลักการและเหตุผล
การใชบัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูง มีวัตถุประสงคเพื่อลดการใชพลังงานไฟฟาของระบบแสง
สวางในอาคารและโรงงานโดยที่ยังคงใหแสงสวางคงเดิมหรือมากกวา โดยการใชบัลลาสตอิเล็กทรอนิกส
ความถี่สูงในระบบแสงสวาง
บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงสําหรับหลอดฟลูออเรสเซนตทําหนาที่เชนเดียวกันกับบัลลา
สตแกนเหล็กรวมกับสตารตเตอร แตบัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงจะเปลี่ยนไฟฟากระแสสลับความถี่ 50
เฮิรตซ เปนไฟฟากระแสสลับความถี่สูงที่มีคาระหวาง 25 – 50 กิโลเฮิรตซ เพื่อปอนใหกับหลอดฟลูออเรส
เซนตการใชความถี่สูงปอนใหกับหลอดฟลูออเรสเซนต ทําใหประสิทธิภาพการสองสวางของหลอด (light
efficiency) เพิ่มขึ้นประมาณรอยละ 10 นอกจากนี้ บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงโดยทั่วไปจะมีวงจรที่
ทําหนาที่ จุดหลอดใหติดสวางและควบคุมกระแสไฟฟาผานหลอดอยูในตัว

ขอควรระวังในการคัดเลือก
1. มีบัลลาสตความถี่สูงจําหนายในตลาดหลายยี่หอ ราคาจะแตกตางกันที่คาตัวประกอบกําลัง
(Power Factor) โดยแยกเปนแบบ P.F.ระดับมาตรฐาน (PF. ≈ 0.95)และแบบ P.F.ระดับสูง (PF. > 0.95)
2. ตองพิจารณาในเรื่องของสัญญาณความถี่ของบัลลาสตอิเล็กทรอนิกสอาจจะรบกวนอุปกรณใน
กระบวนการผลิตได เชน กระบวนผลิตที่มีอุปกรณ PLC ควบคุมการผลิตเปนตน
3. สอบถามและตอรองราคากับผูจําหนาย โดยเลือกอุปกรณที่มีการรับรองการทดสอบคุณภาพ
จาก มอก. รวมทั้งสอบถามราคากลางจาก พพ.
4. เลือกอุปกรณบัลลาสตใหเขากับหลอดไฟ เชน หลอด 36 W ตองใชบัลลาสตชนิดควบคุม
หลอดขนาด 36 W และหลอด 18 W ตองใช บัลลาสตควบคุมหลอดขนาด 18 W เปนตน
5. บัลลาสตอิเล็กทรอนิกสความถี่สูงอาจเสียหายไดหากนําไปติดตั้งในระบบไฟฟาที่มีการ Surge
(แรงดันไฟฟากระโชก) ของแรงดันไฟฟาบอยๆ เนื่องจากบัลลาสตถูกผลิตมาใหใชกับแรงดัน ≈ 220 V
6. มีขอจํากัดในการใชงานในสถานที่หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง มีละอองไอน้ําสูง ไอน้ํามันหรือ
ฝุนผงสูงเปนพิเศษ มักจะทําใหบัลลาสตมีอายุการใชงานที่สั้นลง
7. มีราคาที่แพงกวาบัลลาสตแบบธรรมดาประมาณ 3-5 เทา โดยราคาจะเริ่มโดยประมาณตั้งแต
280 ถึง 450 บาท จึงทําใหมีตนทุนในการลงทุนที่เบื้องตนสูงกวา
3

2. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องอัดอากาศ
หลักการและเหตุผล
ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป มีการใชเครื่องอัดอากาศอยางแพรหลายและในบางอุตสาหกรรม
พลังงานที่ใชในเครื่องอัดอากาศอาจสูงถึง 30-40% ของพลังงานไฟฟาที่ใชทั้งหมด หากมีการควบคุมการ
ใชพลังงานเครื่องอัดอากาศไดก็จะสงผลใหเกิดการประหยัดพลังงานได
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้มีวัตถุประสงคเพื่อลดการใชพลังงานในการผลิตอากาศอัด
ของเครื่องอัดอากาศ โดยใชเครื่องควบคุมความเร็วรอบ (VSD) ไปควบคุมความเร็วรอบของมอเตอรเครื่อง
อัดอากาศ
หลักการทํางานเครื่องควบคุมความเร็วรอบ ของเครื่องอัดอากาศจะถูกตอเขากับตัววัด (Sensor)
เพื่อวัดความดันในระบบ ถาความดันในระบบลดลงต่ํากวาระดับที่กําหนด เครื่องควบคุมความเร็วรอบจะ
เพิ่มความเร็วรอบของมอเตอรของเครื่องอัดอากาศ ในทางกลับกันความเร็วรอบของเครื่องอัดอากาศจะถูก
ลดลงเมื่อความดันเพิ่มถึงระดับที่กําหนด

เครื่องควบคุมความเร็วรอบมอเตอรใชไดกับเครื่องอัดอากาศทุกแบบ เชน แบบลูกสูบ สกรู แต


เครื่องอัดอากาศบางรุนที่นําเครื่องควบคุมความเร็วไปติดตั้งใชงานแลวอาจมีปญหาคือรุนที่ผูผลิตติดตั้ง
After Cooler อยูดานบนเหนือตัวแยกน้ํามันหลอลื่น ซึ่งไอน้ําของอากาศอัดอาจกลั่นตัวไหลลงไปที่ตัว
แยกน้ํามันหลอลื่นได

ขอควรระวังขณะเครื่องอัดอากาศใชงาน
เครื่องอัดอากาศจะดูดอากาศจากภายนอก อัดอากาศโดยลูกสูบ หรือสกรู ไดอากาศอัดความดันสูง
เชน 8 บรรยากาศ (ความดันอากาศอัดเปน 8 เทาของความดันอากาศในหอง) อุณหภูมิอากาศอัดจะมี
อุณหภูมิสูงกวา 120OC ซึ่งจะสงผานเขา Oil Separator เพื่อแยกน้ํามันที่ไหลไปกับอากาศออก แลวไหลเขา
After Cooler เพื่อทําใหอุณหภูมิอากาศอัดลดลง ที่ After Cooler อากาศอัดจะมีอุณหภูมิลดลง ไอน้ําใน
อากาศอัดอาจกลั่นตัวเปนน้ําได ผูใชงานเครื่องอัดอากาศจึงควรสังเกตไอน้ําที่อาจกลั่นตัวไหลกลับเขาใน
Oil Separator ในกรณีที่เครื่องอัดอากาศไมติดตั้ง VSD ความเร็วลมของอากาศอัดจะมีพลังงานจลนสูง
พอที่จะพาไอน้ํากลั่นตัวไหลออกจากเครื่องอัดอากาศไมไหลยอนกลับมาที่ Oil Separator ได แตเมื่อติดตั้ง
VSD นอกจากจะตองระวังปญหาการเกิดไอน้ํากลั่นตัวโดยตองปรับอุณหภูมิ After Cooler ใหเหมาะสม
แลว ควรตรวจสอบการปรับตั้งความถี่ที่เหมาะสมดวย
ประเทศไทยมีความชื้นสัมพัทธสูงเฉลี่ยตลอดปสูงกวา 50% ไอน้ํากลั่นตัวในเครื่องอัดอากาศโดย
เฉพาะที่ After Cooler ซึ่งอาจเกิดไดสูงมาก
4

ไอน้ํากลั่นตัว
ไปใชงาน อากาศอัด After
อุณหภูมิต่ํา Cooler
ไอน้ํากลั่นตัวไหลกลับ

เครื่องอัด ตัวแยก
อากาศ อากาศ อากาศอัดความดันสูง น้ํามันหลอ น้ํา
อุณหภูมิสูง ลื่น
น้ํามันไหลกลับ
ขอควรระวังกอนการจัดซื้อ
1. เครื่องควบคุมความเร็วรอบที่นํามาใชในเครื่องอัดอากาศ แบงไดเปน 2 กรณี คือ ในกรณีที่ซื้อ
โดยผูผลิตติดตั้งมาตั้งแตแรก และกรณีที่จะติดตั้งเครื่องควบคุมความเร็วรอบใหเครื่องอัดอากาศเดิม ให
โรงงานและอาคารปรึกษาผูแทนจําหนายเครื่องอัดอากาศเดิมดวยวา เมื่อติดตั้งเครื่องควบคุมความเร็วรอบ
แลวยังรับประกันสวนใดบาง และใหอานคูมือเรื่องนี้ทางเทคนิคใหเขาใจอยางดีเสียกอน
2. ปจจุบันผูจําหนายแขงขันกันมาก บางรายนําเครื่องควบคุมความเร็วรอบไปติดตั้งทดสอบให
โรงงานโดยตรง เพื่อทดสอบใหเห็นประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานจริง แตจะเปนการทดสอบระยะสัน้
ประมาณ 1 สัปดาห ผลที่ไดเปนการยืนยันประสิทธิภาพของเครื่องควบคุมความเร็วรอบ แตผลขางเคียง
ของเครื่องอัดอากาศยังไมปรากฏก็ได

ขอควรระวังภายหลังติดตั้งใชงาน VSD กับเครื่องอัดอากาศ


ผูใชงานเครื่องอัดอากาศมักจะติดตั้งเครื่องอัดอากาศขนาดใหญกวาการใชงานปกติเพื่อรองรับการ
ขยายงานในอนาคต เมื่อโรงงานติดตั้ง VSD ที่จะควบคุมมอเตอรใหต่ําเพียงแคพอเพียงผลิตอากาศอัดใชงาน
เชน บางโรงงานลดความเร็วรอบมอเตอรลงระดับที่ผลิตอากาศอัดลง 50% ของการผลิตเดิมก็ยังพอเพียง
ตอการใชงานของโรงงาน
เมื่ออากาศอัดถูกผลิตที่อัตราลดลงอาจทําใหอัตราการไหลอากาศอัดผาน After Cooler ลดลงเปน
ผลให พลังงานจลนเนื่องจากอากาศไมเพียงพอตอการผลักดันไอน้ําที่กลั่นตัวออกจาก After Cooler ไอน้ํา
กลั่นตัวจึงไหลกลับมาที่ Oil Separator ทําความเสียหายใหระบบหลอลื่นเครื่องอัดอากาศ สําหรับเครื่อง
อัดอากาศรุนที่ After Cooler ไมไดอยูบนตัวแยกน้ํามันหลอลื่น น้ําที่กลั่นตัวจะไมไหลกลับมาที่ตัวแยก
น้ํามันหลอลื่น ปญหาดังกลาวขางตนจะไมเกิดขึ้น
ดังนั้นภายหลังติดตั้ง VSD กับเครื่องอัดอากาศ ผูบริหารจึงควรสั่งการใหชางเทคนิคสังเกตหยดน้ํา
กลั่นตัวที่อาจเกิดขึ้นในระบบอากาศอัด ถาพบน้ํากลั่นตัวลงผสมกับน้ํามันหลอลื่น ใหหยุดการใชงาน
เครื่องอัดอากาศ และหาสาเหตุใหพบกอนการใชงานเครื่องอัดอากาศใหม
5

3. ฉนวนกันความรอนในทอและพื้นผิว
หลักการและเหตุผล
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดการสูญเสียความรอนจากทอและ
พื้นผิวที่ไมมีการหุมฉนวน หรือหุมฉนวนที่ไมมีคุณภาพ
ฉนวน คือ วัสดุที่ตานทานหรือปองกันมิใหความรอนสูญเสียสงผานจากดานหนึ่งของพื้นผิวใด ๆ
ไปยังอีกดานหนึ่งไดสะดวก
การเคลื่อนที่ของความรอนจะเกิดขึ้นไดก็ตอเมื่อมีความแตกตางของอุณหภูมิเกิดขึ้น การลดการ
สูญเสียความรอนโดยการหุมฉนวนเพื่อลดความแตกตางของอุณหภูมิลง การเลือกใชฉนวนใหเหมาะสม
กับลักษณะการใชงานแตละประเภท

ขอควรระวังในการเลือกชนิดฉนวนใชงาน
1. ฉนวนแบบเซลเป ด จะมีลั ก ษณะชองว า งอากาศระหวางวั สดุที่ ใ ช ผลิต เชน ใยแก ว ใยหิ น
แคลเซียมซิลิเกท เหมาะสําหรับใชกับ ระบบปรับอากาศ ทอความรอนหรือทอไอน้ําที่มีอุณหภูมิไมสูงนัก
(ไมเกิน 300oC)
2. ฉนวนแบบเซลตอเนื่อง เปนฉนวนชนิดที่ผลิตจากการนําโฟมเล็ก ๆ มาอัดรวมเขาดวยกัน เชน
โฟมโพลีสไตริน ไมกอก เหมาะสําหรับใชงานระบบที่มีอุณหภูมิต่ํา
3. ฉนวนแบบกึ่งเซลปด เปนฉนวนชนิดที่เปนเซลอิสระชิ้นเล็ก ๆ บรรจุอยูดวยกัน เชน โฟมโพลี
ยูเรเทน โฟมโพลีเอทิลีน เหมาะสําหรับใชพนหรือปูพื้นอาคาร ฝา เพดาน เพื่อปองกันการรั่วซึม
4. ฉนวนแบบเซลปด เปนฉนวนที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร ประกอบดวยเซลอิสระซึ่งมีผนังกั้น
ไมทะลุถึงกันจํานวนมาก ภายในเซลลบรรจุดวยอากาศแหง เปนฉนวนที่เหมาะสมสําหรับหุมทอเย็นของ
เครื่องปรับอากาศแบบศูนยกลางแบบแยกสวนหรือหุมทอกาซของเครื่องทําน้ําเย็น

ฉนวนที่เลือกใชควรมีน้ําหนักเบาและมีคาความหนาแนนนอย มีคาสัมประสิทธิ์การนําความรอนที่
ต่ําและมีความคงทนตอแรงดึงและแรงอัด รวมทั้งมีอัตราการดูดซับความชื้นต่ําและทนทานตอการกัด
กรอนไดดีโดยเฉพาะการกัดกรอนทางเคมี นอกจากนี้ฉนวนควรมีชวงอุณหภูมิใชงานที่กวางอีกดวย ซึง่ การ
เลือกฉนวนที่เหมาะกับงานที่ตองการ จะตองดูตารางคุณสมบัติของฉนวนที่เหมาะสมกอนที่จะเลือกมาใช
ในสวนของการติดตั้งฉนวน ก็จะตองทําดวยความระมัดระวัง เพื่อไมใหเกิดการฉีกขาดขึ้น และควรจะตอง
ตรวจดูสภาพของฉนวนอยางสม่ําเสมอ เพื่อทําการเปลี่ยน เมื่อเกิดความเสียหาย

ขอควรระวังอื่น
1. ตองไดรับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. 486 มอก. 487 และ มอก. 488 หรือใบรับรองมาตรฐานอื่น
ที่เทียบเทา
2. วัสดุฉนวนจะตองไมลามไฟ
6

3. ความหนาแนนของฉนวนใยแกวตองไมต่ํากวาขอ 2.1.5 ตามเอกสาร พพ. 23001 : 2543 เลม 1


โดยมีขอแนะนําการใชงานที่ถูกตองดังนี้
- ทอไอน้ํา หรือทอน้ํารอน ใหใชฉนวนใยแกวชนิดหุมทอเทานั้น และมีความหนาแนนไม
นอยกวา 64 กิโลกรัมตอลูกบาศกเมตร
- ฉนวนชนิดบุใตหลังคา ใหมีความหนาแนนไมนอยกวา 24 กิโลกรัมตอลูกบาศกเมตร
ความหนาของฉนวนไมควรนอยกวา 2 นิ้ว และปดผิวทั้ง 2 ดาน ดวยแผนอลูมิเนียมฟอยล
- ฉนวนชนิดแผนปูหรือฝาเพดานที่ไมอยูใตหลังคา ใหมีความหนาแนนไมนอยกวา 12 กิโลกรัม
ตอลูกบาศกเมตร ความหนาของฉนวนไมควรนอยกวา 3 นิ้ว และปดผิวทั้ง 2 ดาน ดวยแผนอลูมิเนียมฟอยล

ขอแนะนําและขอควรระวังการติดตั้ง
การติดตั้งฉนวนใตหลังคาอาคาร ควรตรวจสอบสภาพอาคารกอนดําเนินการปรับปรุง ดังนี้
1. อาคารไดเคยมีการปูฉนวนเหนือฝาเพดานหรือบุฉนวนใตหลังคาอยูแลวหรือไม หากมีใหผูรับจาง
รื้อถอนฉนวนเดิมออกกอนติดตั้งฉนวนใหม
2. การติดตั้งฉนวนกันความรอนบนฝาเพดานจะตองคํานึงถึงระบบฝาเพดานเดิม เชน กรณีฝา
ฉาบเรียบและระบบไฟฟา เมื่อผูรับจางรื้อระบบฝาเพดานเดิมออกเพื่อติดตั้งฉนวน ภายหลังติดตั้งแลวผู
รับจางจะตองปรับปรุงระบบฝาเพดานใหอยูในสภาพเดิม และควรทาสีฝาเพดานใหมทั้งหมด กรณีที่มีความ
จําเปนตองซอมบํารุงงานระบบไฟฟาบนฝาเพดาน ใหผูรับจางจัดทําชองเปดซอมบํารุง (Service Panel)
เตรียมไวดวย
3. ตรวจสอบหลังคาอาคารรั่วหรือไม หากพบรอยรั่วตองซอมแซมรอยรั่วดังกลาวกอนติดตั้งฉนวน
หลังคา เนื่องจากฉนวนใยแกวจะเสื่อมสภาพและมีน้ําหนักเพิ่มขึ้นเมื่อสัมผัสความชื้นหรือน้ํา
7

4. อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอรที่ใชกับเครื่องสูบน้ํา
หลักการและเหตุผล
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดการใชพลังงานของเครื่องสูบน้ําให
นอยลง โดยการปรับการทํางานของเครื่องสูบน้ําตามความตองการตามอัตราการไหลและความดันหัว
เครื่องสูบน้ํา (Pump Head) ในขณะนั้น โดยที่ความเร็วรอบของมอเตอรจะถูกควบคุมโดยสัญญาณ ซึ่งเปน
ตัวชี้ถึงความตองการของเครื่องสูบน้ําในขณะนั้น ตัวแปลงความถี่ (Frequency inverter) จะเปนตัวควบคุม
ความเร็วรอบของมอเตอร
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ สามารถนํามาใชไดกับเครื่องสูบน้ําหอยโขง (Centrifugal
Pump) ที่ขับโดยใชมอเตอรแบบเหนี่ยวนํา (Induction Motor) และการใชควบคุมแบบคันบังคับ
(Throttling) หรือ แบบเปด/ปด (On/off Control) มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ จะทดแทนระบบ
ควบคุมเดิมไดโดยการใชเครื่องควบคุมความเร็วรอบมอเตอร (Variable Speed Drive-VSD)
ในอดีต ชุดปรับความเร็วรอบมีราคาสูง ทําใหการนํามาประยุกตใชใหผลตอบแทนการลงทุนที่
นานเกินไปจึงไมคุมคาการลงทุน แตในปจจุบันนี้ราคาของชุดปรับความเร็วของมอเตอรมีราคาถูกลงอยาง
มาก นอกจากนี้ยังมีการควบคุมที่ถูกตองแมนยํา และมีการประยุกตใชงานตาง ๆ มากขึ้น

ประโยชนเมื่อนําอุปกรณปรับความเร็วรอบมาใชกับเครื่องสูบน้ํา
1. สามารถควบคุมความเร็วรอบของมอเตอรไดตามความตองการใหเหมาะสมกับสภาพโหลด
2. ชวยลดความสึกหรอของเครื่องจักร และปองกันความสูญเสียตาง ๆ ที่เปนตัวตนกําลังในการขับ
มอเตอร
3. ลดการกระชากของกระแสไฟฟาขณะเริ่มตน ชวยลดความตองการพลังงานไฟฟา โดย
เฉพาะงานที่จําเปนตองเดินมอเตอรขนาดใหญพรอม ๆ กันหลายตัว

ขอควรระวังภายหลังติดตั้งใชงานอุปกรณ
1. ใหศึกษาบริการหลังการขายดวยในกรณีที่อุปกรณติดตั้งแลวชํารุด
2. ติดตั้งเครื่องควบคุมความเร็วรอบในบริเวณที่สะอาด อากาศไมอบอาวเกินไป
8

5. อุปกรณนําความรอนทิ้งมาใชใหม
หลักการและเหตุผล
มาตรการมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดการใชพลังงานโดยนําความรอนทิ้งมาใชใหม ซึ่งทําได
โดยการติดตั้งอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอน ซึ่งในที่นี้กลาวถึงเฉพาะอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอนระหวาง
ของไหลกับของไหล เพื่อใชในการใหความรอนสําหรับการอุนน้ํารอนสําหรับหมอไอน้ําหรืออุนน้ําเพื่อ
ใชในกระบวนการผลิต

มาตรการนี้เหมาะสําหรับ โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีน้ําทิ้งที่อุณหภูมิสูงกวา 70oC และมีปริมาณ


มากพอ

เงื่อนไขสําคัญในการพิจารณา
- อุณหภูมิของน้ําทิ้ง และปริมาณของน้ําทิ้ง ตองมากเพียงพอที่จะทําใหผลประหยัดคุมกับการ
ลงทุน
- อุณหภูมิของน้ําที่ตองการนําไปใช
- ระยะทางในการนําน้ําทิ้ง และน้ําที่ตองการนําไปใช มาแลกเปลี่ยนความรอน
- คุณภาพของน้ําทิ้ง หากมีความสกปรกมาก ก็จําเปนตองเพิ่มระบบกรอง และหมั่นตรวจสอบ
ไมใหเกิดการอุดตัน

ขอควรระวังในการเลือกซื้ออุปกรณนําความรอนทิ้งมาใชใหม
- ตองคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับน้ําทิ้งที่ใช หากมีการกัดกรอนสูงก็ตองเลือกใชวัสดุที่สามารถ
ทนการกัดกรอนไดเปนพิเศษ และทนอุณหภูมิของน้ําทิ้งไดดี
- ถอดประกอบไดงายเพื่อการบํารุงรักษา
9

6. อุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหม
หลักการและเหตุผล
อุปกรณที่มีการเผาไหมเชื้อเพลิงเพื่อใหเกิดพลังงานความรอน เชน หมอไอน้ํา เตาเผา และหมอ
น้ํามัน รอน จะทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพเมื่อมีก ารป อนอากาศเข าไปในกระบวนการเผาไหมใ น
สัดสวนที่เหมาะสมกับอัตราการปอนเชื้อเพลิง หากอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิงมากเกินไปจะทําใหมีการ
สูญเสียความรอนออกไปกับไอเสียมากเกินไป แตหากอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิงต่ําเกินไป ก็จะทําให
การเผาไหมไมสมบูรณไดความรอนนอยลง และเกิดเขมาควันดําที่เปนมลภาวะ
การตรวจสอบคาอัตราอากาศตอเชื้อเพลิงสามารถทําไดโดยการวัดปริมาณออกซิเจนในไอเสีย
เนื่องจากคาทั้งสองมีความสัมพันธกันโดยตรง ทั้งนี้คาที่เหมาะสมของปริมาณออกซิเจนในไอเสียคือ ไมเกิน
4% สําหรับการเผาไหมเชื้อเพลิงเหลว และไมเกิน 7% สําหรับเชื้อเพลิงแข็ง แตโดยทั่วไปในหมอไอน้ํา
ที่ไมมีการตรวจวัดและควบคุมปริมาณออกซิเจนในไอเสีย มักพบวามีการปอนอากาศมากเกินไป ซึ่งหาก
สามารถลดปริมาณอากาศลงมาในอัตราที่เหมาะสมไดจะสามารถประหยัดเชื้อเพลิงลงไดประมาณ 1% - 2.5%
การควบคุมอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิงสามารถทําไดโดยใชคนตรวจวัดและปรับแตงอยาง
สม่ําเสมอแตอาจขาดความเที่ยงตรงแมนยํา และไมสามารถทําไดตลอดเวลาเมื่อสภาวะการทํางานของ
อุปกรณมีการเปลี่ยนแปลงดังนั้นการใชอุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหมจึงเปนทางเลือกหนึ่งที่สมควร
พิจารณาอุปกรณชุดนี้จะมีเซนเซอรตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในไอเสีย และอุณหภูมิของไอเสีย เพื่อนํามา
ทําการประมวลผลและสงสัญญาณไปยังตัวควบคุมตําแหนงของแดมเปอร หรือตัวควบคุมความเร็วรอบ
ของพัดลมเพื่อปรับใหไดอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิงที่เหมาะสมตลอดเวลา

ขอควรระวังในการพิจารณาติดตั้งอุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหม
1. อุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหมถูกพัฒนาขึ้นมาสําหรับหมอไอน้ําหรือเตาเผาเฉพาะแบบ
ดังนั้นจะตองตรวจสอบใหแนชัดวาอุปกรณสามารถติดตั้งกับหมอไอน้ําหรือเตาเผานั้น ๆ ไดหรือไม
2. ราคาของอุปกรณควบคุมอากาศในการเผาไหมคอนขางสูงเมื่อเทียบกับผลประหยัด ดังนั้นการ
ลงทุนติดตั้งอุปกรณจึงมีความคุมคาทางเศรษฐศาสตรเมื่อใชกับหมอไอน้ําหรือเตาเผาขนาดใหญที่มีการใช
เชื้อเพลิงในปริมาณมากเทานั้น โดยทั่วไปควรมีการใชน้ํามันเตาไมนอยกวา 1,000 ตันตอป
3. หมอไอน้ําหรือเตาเผาที่จะติดตั้งอุปกรณนี้ควรมีอายุการใชงานเหลืออยูไมต่ํากวา 7 ป
4. ในหมอไอน้ําหรือเตาเผารุนใหม ๆ หากมีระบบควบคุมอัตโนมัติที่มีการตรวจวัดปริมาณ
ออกซิเจนติดตั้งมาอยูแลวก็ไมจําเปนตองติดตั้งระบบเพิ่มเติม
5. เมื่อติดตั้งระบบแลว จะตองมีการบํารุงรักษาและสอบเทียบเซนเซอรตรวจวัดออกซิเจนอยาง
สม่ําเสมอเพื่อใหระบบควบคุมทํางานอยางถูกตองแมนยํา ดังนั้นในการติดตั้งอุปกรณจึงควรคํานึงถึงความ
สะดวกในการบํารุงรักษาดวย
10

7. เครื่องแลกเปลี่ยนความรอนจากอากาศสูอากาศ
หลักการและเหตุผล
มาตรการมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดการสูญเสียพลังงานในอากาศทิ้งที่ปลอยออกจาก
ระบบระบายอากาศของอาคาร หรือโรงงานที่มีการปรับอากาศ
เครื่องแลกเปลี่ยนความรอน แบบกงลอแลกเปลี่ยนความรอน ทํางานโดยอาศัยหลักการถายเท
ความรอนจากอากาศสูอากาศ โดยขนาดของเครื่องแลกเปลี่ยนความรอนแบบหมุน จะมีขนาดตั้งแต
1,000 ถึง 50,000 ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง
เหมาะสําหรับใชกับอาคารที่มีระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย (Central A/C systems) ขนาดใหญ
(มากกวา 1,000 ตารางเมตร) และอาคารซึ่งมีชั่วโมงการทํางานของระบบปรับอากาศตอปสูง (มากกวา
10,000 ชั่วโมง) และใชกับระบบที่มีการควบคุมความชื้นและไมตองการอุณหภูมิที่สูงมากไมเกิน 250oF
Dry bulb

ขอควรระวังในการพิจารณา
1. พื้นที่ปรับอากาศที่ตองการติดตั้งอุปกรณ ควรมีขนาดตั้งแต 1,500 ตารางเมตร
2. อุณหภูมิและปริมาณอากาศที่ปลอยออกจากพื้นที่ปรับอากาศตองมีมากพอที่จะทําใหการ
แลกเปลี่ยนความรอนมีความคุมทุน
3. อุปกรณจะตองมีประสิทธิภาพในการถายเทความรอนไดดี คือมีประสิทธิภาพเชิงเอนทาลปไม
นอยกวา 50% และสามารถถอดประกอบเพื่อการบํารุงรักษาได
4. ตองมีพื้นที่เพียงพอสําหรับวางอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอน และตําแหนงอากาศที่ปลอยออก
จากพื้นที่ปรับอากาศไมควรหางจากตําแหนงอากาศที่จะเขาไปแลกเปลี่ยนความรอนเพราะจะเกิดการ
สูญเสียและคาใชจายในการเดินทอ ซึ่งจะทําใหไมคุมกับการลงทุน
11

8. มอเตอรประสิทธิภาพสูง
หลักการและเหตุผล
เนื่ อ งด ว ยมอเตอร เ ป น อุ ป กรณ ที่ มี ส ว นแบ ง ของภาระทางไฟฟ า ที่ มี ข นาดใหญ ที่ สุ ด ของ
ภาคอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเปนเปาหมายที่สําคัญในการลดการใชพลังงานในภาพรวมของภาคอุตสาหกรรม
และวิธีการที่นํามาใชแลวเห็นผลการลดการใชพลังงานอยางชัดเจนวิธีหนึ่งก็คือการใชมอเตอรไฟฟา
ประสิทธิภาพสูง
โดยปกติแลวเมื่อมีการบอกถึงขนาดของมอเตอรคาของพิกัดที่บอกไวใน Nameplate ของมอเตอร
นั้น เปนคาของกําลังขาออก หรือพูดงาย ๆ ก็คือมอเตอรสามารถนําไปใชงานไดสูงสุดตามคาดังกลาว
แลวสิ่งที่เราตองจายกําลังใหมอเตอรจะมีคาเปนเทาไร คําตอบคือกําลังไฟฟาที่ตองจายใหมอเตอรคือ กําลัง
ขาออกรวมกับการสูญเสียในมอเตอร ถาเราตองการเพิ่มประสิทธิภาพของมอเตอรเราจึงตองลดคากําลัง
ไฟฟาสูญเสีย
ดังนั้นจึงสามารถกลาวไดวา มอเตอรประสิทธิภาพสูงก็คือมอเตอรที่มีกําลังขาออกเทากับมอเตอร
ธรรมดา แตมีกําลังไฟฟาสูญเสียนอยกวามอเตอรธรรมดา จึงทําใหเราสามารถใชงานมอเตอรไดกําลังเทา
เดิม แตจายกําลังไฟฟาใหมอเตอรลดลง ซึ่งกลาวอีกนัยหนึ่งก็คือประสิทธิภาพของมอเตอรสูงขึ้นนั่นเอง
จึงทําใหสามารถลดคาใชจายดานพลังงานไฟฟาลงได โดยที่มอเตอรประสิทธิภาพสูงเหมะสมกับงานทุก
ประเภท มีการรับภาระและมีชั่วโมงการทํางานสูงๆ

มอเตอรประสิทธิภาพสูงทําไดอยางไร
กอนอื่นเรามาพิจารณาการสูญเสียในมอเตอรวาประกอบดวย 5 ประเภทคือ
1. คาความสูญเสียที่สเตเตอร (Stator I2 R)
2. คาความสูญเสียที่แกนเหล็ก (Core Loss)
3. คาความสูญเสียที่โรเตอร (Rotor I2 R)
4. คาความสูญเสียทางกล (Windage & Friction)
5. คาความสูญเสียจากภาระการใชงาน (Stray load loss)

จะเห็นวาเราสามารถลดคากําลังไฟฟาสูญเสียที่เกิดจากมอเตอรได โดยการพยายามหาทางลดการ
สูญเสียในมอเตอรในแตละประเภทซึ่งสามารถสรุปไดดังนี้
1. ปรับปรุงคุณภาพของแกนเหล็ก โดยใชแผนเหล็กซิลิกอนคุณภาพสูง
2. ใชแผนเหล็กที่บางกวาทั้งในสเตเตอรและโรเตอร
3. ลดชองอากาศระหวางสเตเตอรและโรเตอร
4. เพิ่มปริมาณของตัวนํา โดยที่สเตเตอรจะใชตัวนําที่มีขนาดใหญกวามอเตอรธรรมดา
ประมาณ 35 ถึง 40 เปอรเซ็นต สวนในโรเตอรจะมีการออกแบบใหตัวนําในโรเตอรและวงแหวนปดหัวทาย
มีขนาดใหญขึ้น
12

5. ออกแบบรองสล็อตใหมและทําใหแกนเหล็กที่สเตเตอรยาวขึ้น เพื่อที่จะรองรับลวด
ตัวนําที่มีขนาดใหญขึ้น รวมทั้งขยายความยาวของแกนเหล็กออกไปเพื่อรองรับและลดความหนาแนนของ
สนามแมเหล็ก
6. ออกแบบรูปรางของพัดลมระบายความรอนใหม เพิ่มอัตราการไหลของลมใหระบาย
ความรอน ไดดีขึ้น
7. ใชตลับลูกปนที่ดีขึ้น เพื่อลดแรงเสียดทานใหนอยลงจากการปรับปรุงการออกแบบ
ดังกลาว ทําใหมอเตอรประสิทธิภาพสูง มีประสิทธิภาพสูงกวามอเตอรธรรมดาประมาณ 2 -4 เปอรเซ็นต
สําหรับมอเตอรขนาดใหญ และ 4 - 7 เปอรเซ็นตสําหรับมอเตอรขนาดที่ต่ํากวา 5.5 กิโลวัตต

ขอควรระวังในการเลือกใชมอเตอรประสิทธิภาพสูง
เมื่อไรที่เราควรตัดสินใจเลือกใชมอเตอรประสิทธิภาพสูง เงื่อนไขที่เหมาะสมสําหรับการพิจารณา
สามารถสรุปไดดังนี้
1. เมื่อตองการมอเตอรสําหรับโครงการใหม เราสามารถพิจารณาเปรียบเทียบการใชมอเตอร
ประสิทธิภาพสูงแทนมอเตอรแบบธรรมดาได โดยขอดีของการเลือกใชมอเตอรประสิทธิภาพสูงนั้น จะมี
ทั้งการลดตนทุนคาใชจายดานพลังงานไฟฟา ลดตนทุนจากคาบํารุงรักษา
2. เมื่อมอเตอรเกาชํารุดเสียหาย แลวมีมูลคาการซอมแซมที่สูงกวา 65 % ของราคามอเตอรใหม
การพิจารณาเปรียบเทียบการซื้อมอเตอรประสิทธิภาพสูงเปนทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะมอเตอรที่พันใหม
สวนใหญจะมีคาประสิทธิภาพลดต่ําลง
3. มอเตอรที่ใชอยูมีขนาดใหญกวาภาระการใชงานมาก มอเตอรที่มีภาระการใชงานต่ํากวาขนาด
พิกัดมาก ๆ เราสามารถที่จะเลือกซื้อมอเตอรประสิทธิภาพสูงที่มีขนาดเล็กกวาแทนได
13

9. แผนสะทอนแสงและโคมฟลูออเรสเซนตประสิทธิภาพสูง
หลักการและเหตุผล
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดปริมาณการใชไฟฟาแสงสวางใน
อาคารและโรงงานโดยการใชแนวทาง 3 กรณีคือ
กรณีที่ 1 : การติดตั้งหรือเปลี่ยนแผนสะทอนแสงในโคมเกา โดยใชบัลลาสตของเดิม
กรณีที่ 2 : การเปลี่ยนโคมไฟโดยใชโคมใหมที่ติดบัลลาสตอิเล็กทรอนิกส
กรณีที่ 3 : การเปลี่ยนโคมไฟโดยใชโคมใหมที่ติดบัลลาสตโลวลอส
เนื่องจากโคมไฟเกาอาจไมมแี ผนสะทอนแสง หรือมีแผนสะทอนแสงที่มีประสิทธิภาพต่ํา หรือในบาง
พื้นที่ เชน ทางเดินมีการใหแสงสวางมากเกินไป ดังนั้น เราอาจสามารถประหยัดพลังงานไดโดยการถอด
หลอดออก หรือลดจํานวนหลอดไฟลงมา แลวติดตั้งแผนสะทอนแสงประสิทธิภาพสูงเขาไป ปจจุบัน
เทคโนโลยีของแผนสะทอนแสงไดมีการพัฒนาใหมีประสิทธิภาพสูง และโคมไฟมีการพัฒนาออกแบบพับ
มุมขึ้นรูป และใชแผนสะทอนแสงคุณภาพสูงทําใหการลดจํานวนหลอดไฟลง สามารถทําไดโดยยังคง
ระดับความสองสวางใกลเคียงของเดิม และการใชบัลลาสตประหยัดพลังงาน เชน บัลลาสตอิเล็กทรอนิกส
(HFEB) หรือบัลลาสตโลวลอส (LB) ก็สามารถชวยประหยัดพลังงานไดเพิ่มมากขึ้น
การเลือกใชโคมแตละชนิดขึ้นอยูกับวาตองการนําไปใชงานอะไรบาง ตองการคุณภาพแสงมาก
นอยเพียงใด หรือเนนในเรื่องของปริมาณแสงแตเพียงอยางเดียว ตองมีการปองกันน้ํา ฝุนผงมากนอยเพียงใด

ขอควรระวังในการเลือกแบบและชนิดวัสดุที่ประกอบเปนโคมสะทอนแสง
1. ถาเปนอุปกรณสําเร็จรูป จะมีขอกําหนดมาตรฐานตามสเปกของผูผลิต และมีราคากลางที่ พพ.
จัดทําขึ้น สามารถดูขอมูลไดที่ เวปไซต : http://www.dede.go.th แตกอนจัดซื้อขอใหมีการทดลองติดตั้ง
กับสถานที่จริง โดยเฉพาะบริเวณที่เนนการใชแสง เชน QC, จุดประกอบ โดยใช Lux Meter วัดดวย
2. โรงงานที่ดําเนินการติดตั้งแผนสะทอนแสงดวยตนเองโดยการจัดซื้อแผนสะทอนแสงสําเร็จรูป
มาติดตั้งซึ่งทําใหประหยัดตนทุน แตอยางไรก็ตามใหทดสอบโดยใช Lux Meter วัดแสงกอนและหลัง
ติดตั้งดวย เพราะหลักการในการติดแผนสะทอนแสง คือการลดหลอดเดิมลง แตแสงสวางยังเทาเดิม
3. การปรับปรุงเฉพาะโคมไฟฟามี 2 วิธี คือติดตั้งเฉพาะแผนสะทอนแสงรวมกับโคมเดิมและการ
ติดตั้งโคมฟลูออเรสเซนตประสิทธิภาพสูงแทนโคมเดิมโดยตองพิจารณาตามลักษณะงานปรับปรุงนั้นๆ
4. วัสดุที่ใชสะทอนแสงควรมีประสิทธิภาพการสะทอนแสงที่ดี เชน มีสัมประสิทธิ์การสะทอน
แสงของตัวสะทอนแสงไมต่ํากวา 95%
5. โคมประหยัดพลังงานที่ดีควรพิจารณาจากประสิทธิภาพโดยรวมของโคมไฟฟา (η) : ปริมาณ
แสงที่ออกจากโคม / ปริมาณแสงที่ออกจากหลอดเปนเกณฑ รวมทั้งพิจารณาแสงบาดตาและกราฟกระจาย
แสงของโคมที่เหมาะสมสําหรับแตละพื้นที่
14

6. สํานักงานที่มีเพดานสูงควรใชโคมที่มีการกระจายแสงดานขางนอยทั้งนี้เพื่อประหยัดพลังงาน
และจํานวนโคม
7. การเลือกโคมไฟฟาใหมีแสงบาดตานอยเปนเรื่องสําคัญไมนอยกวาการคํานวณการสองสวางให
เพียงพอตอการมองเห็น
8. โคมไฟสองลงสะทอนแสงมี 2 อยาง คือ สีทองและสีเงิน ตัวสะทอนแสงสีทองใชเมื่อตองการ
ความอบอุนเปนกันเอง ตัวสะทอนแสงสีเงินใชเมื่อตองการความสวางเพื่อการใชงาน
9. โคมไฟฟามที่มีการสะทอนแสงดีมาก ๆ ควรระมัดระวังในการติดตั้งเพราะเมื่อถูกรอยนิ้วมือ
แลวจะเช็ดออกไดยาก
15

10. อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง
หลักการและเหตุผล
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อลดการใชพลังงานของระบบแสงสวางที่
เกินความจําเปนไมวาจะเปนในอาคาร โรงงาน หรือไฟถนน ยกเวนในกรณีไฟถนนบนทางดวนซึ่งมีการ
สัญจรไปมาของรถที่มีความเร็วสูง หากแสงสวางไมเพียงพออาจกอใหเกิดอันตรายได
มาตรการประหยัดพลังงานมาตรฐานนี้ จะเปนการใชอุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง
(Power Control for Lighting) ชนิดสําหรับใชกับหลอดคายประจุ เชน หลอดฟลูออเรสเซนต (Fluorescent Lamp)
หลอดคายประจุความดันสูง (High Intensity Discharge Lamp) อาทิเชน หลอดไอปรอทความดันสูง
(Mercury Vapor Lamp) หลอดโลวและไฮเพรสเชอรโซเดียม(Low and High Pressure Sodium Lamps)
หลอดเมทัลฮาไลด (Metal Halide Lamp) เปนตน

มาตรการมาตรฐานนี้ อาจใชไดในสถานการณตอไปนี้
1. ติดตั้งอุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวางในหลอดฟลูออเรสเซนต
2. ติดตั้งอุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวางในหลอดคายประจุความดันสูง

มาตรการมาตรฐานนี้ เหมาะสําหรับใชกับสถานที่ที่ตองการลดปริมาณการใชพลังงานไฟฟาของ
ระบบแสงสวางที่เกินความจําเปน ไดแก
1. บริเวณที่มีแสงธรรมชาติสองถึง
2. ถนนขนาดเล็ก เชน ถนนซอย ถนนขนาด 2 ชองทาง
3. ถนนที่มีรถสัญจรไมเร็วนัก
4. ลานจอดรถ

ประโยชน
1. ลดการใชพลังงานไฟฟา
2. ยืดอายุการใชงานของหลอด
3. แสงสวางของหลอดคงที่ตลอดอายุการใชงาน

ขอควรระวังในการติดตั้งอุปกรณ
1. พื้นที่ที่จะติดตั้ง อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง ควรมีคาความเขมแสงมากกวาคา
มาตรฐาน เนื่องจากเมื่อ อุ ปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง ทํางานแลว ความเขมแสงของ
หลอดไฟจะลดลง
2. จํานวนหลอดไฟตอ อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง 1 เครื่อง ตองมีคา กําลังไฟฟา
รวมไมเกินคาพิกัดของ อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง
16

3. อุปกรณ อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง สามารถใชไดกับหลอดไฟบางชนิดเทานัน้


ควรเลือกชนิดหลอดไฟใหถูกตอง
4. อุปกรณ อุปกรณควบคุมกําลังไฟฟาสําหรับแสงสวาง ประกอบดวยวงจรอิเล็กทรอนิกสควร
พิจารณาพื้นที่ที่จะติดตั้งใหเหมาะสม เชน ไมควรติดตั้งในที่มีความชื้นสูง ความรอนสูง เปนตน
17

11. อุปกรณปรับแรงดันไฟฟา (Voltage Regulator, VR)


หลักการและเหตุผล
โดยทั่ ว ไปสถานประกอบการที่ มี ก ารซื้ อ ไฟฟ า แรงดั น สู ง จะมี ห ม อ แปลงไฟฟ า เป น ตั ว แปลง
แรงดันไฟฟาใหลดลงเพื่อเหมาะสมกับการใชงาน แตเนื่องจากแรงดันไฟฟาที่ขาออกหมอแปลงจะมีคา
แปรผกผันกับขนาดของภาระทางไฟฟาของสถานประกอบการ (ไมคิดถึงผลจากการใชไฟฟา) ดังนั้น
เพื่อใหเกิดความเหมาะสมกับทุกสภาวะใชงานจึงนิยมที่จะปรับตั้งคาใหแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลง
(ขณะที่ไมมีภาระทางไฟฟา) มีคาสูงกวาคาแรงดันไฟฟาที่พิกัด (380 V) ทั้งนี้เพื่อใหขณะที่มภี าระทางไฟฟา
เต็มที่แลวแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงมีคาอยูในพิกัดที่กําหนด เมื่อมีการดําเนินการดังกลาวจึงมี
คําถามวาในชวงที่ภาระทางไฟฟาไมเต็มที่การที่แรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงสูงกวาแรงดันไฟฟาที่
พิกัดจะมีผล อยางไร คําตอบก็คือจะทําใหเกิดการสิ้นเปลืองกําลังไฟฟามากขึ้นเกินกวาที่ควรจะเปน จึงมี
คําถามตอวาทําไมไมลดระดับแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงลง ก็จะกลับมาที่คําตอบเดิมที่วาถา
ลดลงแลวมีผลใหแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงขณะมีภาระทางไฟฟาเต็มที่ต่ํากวาคาแรงดันไฟฟาที่
กําหนด ซึ่งจะทําใหเกิดผลเสียกับระบบไฟฟาและอุปกรณตาง ๆ จึงมีคําถามสุดทายวาเราสามารถปรับ
ระดับแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงใหเหมาะสมกับภาระทางไฟฟาในขณะใด ๆ ไดหรือไม สิ่งที่
เปนคําตอบของคําถามนี้คือ อุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟา ซึ่งจะชวยลดคาใชจายดานพลังงานไฟฟาได
จํานวนหนึ่งขึ้นอยูกับเงื่อนไขของแตละสถานประกอบการ
อุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟาเปนอีกอุปกรณที่จะติดตั้งไวระหวางหมอแปลงไฟฟาและตูจาย
ไฟฟาเพื่อปรับระดับแรงดันไฟฟาใหอยูในระดับที่เหมาะสมกับความตองการใชงานจริง กอนจายไปยัง
อุปกรณเครื่องมือเครื่องใชไฟฟาตาง ๆ เหมาะสําหรับโรงงาน อาคารที่มีระดับแรงดันไฟฟาขึ้นลงตามภาระ
โหลด

คุณสมบัติและหนาที่ของอุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟากลาวโดยสรุปไดดังนี้
1. ปรับแรงดันไฟฟาใหอยูในระดับที่เหมาะสม แรงดันไฟฟาที่สูงกวาระดับมาตรฐาน คือ แรงดัน
เฟสที่สูงกวา 220 V หรือแรงดันไฟฟาระหวางสายที่สูงกวา 380 V จะถูกปรับใหอยูในระดับที่เหมาะสม
เพื่อใหเกิดการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชนสูงสุด ซึ่งจะสงผลใหเกิดการประหยัด
พลังงานไดตามที่คาดหมายไว
2. รักษาระดับแรงดันไฟฟาและกระแสไฟฟาใหคงที่ แรงดันแมเหล็กไฟฟาจะถูกผลิตในอุปกรณ
ปรับแรงดันไฟฟาระหวางที่กระแสไฟฟาไหลผานจากดานตัวจายพลังงานไปยังดานใชงาน และทําใหเกิด
ค า ความแตกต า งของแรงดั น แม เ หล็ ก ไฟฟ า ส ง ผลให ก ระแสไฟฟ า จะเกิ ด ความสมดุ ล อย า งรวดเร็ ว
คุณสมบัตินี้จะชวยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟาสายดิน
18

3. ปรับแรงดันไฟฟาใหสมดุลระหวางหมอแปลงไฟฟากับภาระทางไฟฟา โดยมีคุณสมบัติในการ
จั บ คู ภ ายในของแรงดั น ไฟฟ า ของระหว า งหม อ แปลงไฟฟ า กั บ วงจรไฟฟ า ด า นใช ง านทํ า ให เ กิ ด
ประสิทธิภาพสูงในการจายพลังงานไฟฟายังอุปกรณตาง ๆ
4. ลดฮารโมนิคที่เกิดขึ้น อุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟาจะสรางวงจรกระแสไฟฟาภายในที่
สามารถดูดซับฮารโมนิคในกระแสไฟฟา
5. ปรับลดกระแสไฟฟาสูญเสียในชวงเปดสวิทชอุปกรณเครื่องใชไฟฟา

ขอควรระวังในการคัดเลือกอุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟา
กอนจะติดตั้งใชงานอุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟา ควรตรวจสอบขอมูล Load Profile ใหดีกอน
วาแรงดันไฟฟาที่สูงกวามาตรฐานมากพอที่จะทําใหเกิดผลประหยัดที่คุมทุนหรือไม เพราะหากระดับ
แรงดันไฟฟาที่สูงเกินมาตรฐานไมมากพออาจทําใหมีการลดระดับแรงดันที่ต่ําเกินไปได

เงื่อนไขที่เหมาะสมสําหรับการพิจารณาติดตั้งอุปกรณปรับระดับแรงดันไฟฟาคือ
1. หากสามารถปรับแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงใหลดลงได โดยไมเกิดปญหา
แรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงต่ํากวาคาที่กําหนด เมื่อภาระไฟฟาเต็มที่ ก็ไมจําเปนตองติดตั้งอุปกรณ
ปรับระดับแรงดันไฟฟา
2. กอนการติดตั้งใชงานควรมีการตรวจสอบภาระการใชงานไฟฟาใหแนนอนกอนเพือ่ ใหมนั่ ใจวา
คาเฉลี่ยระดับแรงดันไฟฟาขาออกของหมอแปลงสูงกวามาตรฐานจริง เพราะหากระดับแรงดันไฟฟาขา
ออกของหมอแปลงไมสูงจริง อาจเกิดผลเสียกับระบบและในกรณีที่แรงดันไฟฟาสูงเกินมาตรฐานเพียง
เล็กนอยก็จะเกิดผลประหยัดนอยไมคุมกับการลงทุน

You might also like