You are on page 1of 266

แ ล ะ ป ร บ

ั อ า ก า ศ
เครื่องทำ�ความเย็น
2101-2008

หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
6
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 255
กฤษณะ สุภารมย์
บรรณาธิการ : รศ.พลสิทธิ์ สิทธิชมภู
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ
กฤษณะ สุภารมย์.
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ.-- กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น, 2558.
264 หน้า.
1. เครื่องทำ�ความเย็น. 2. เครื่องปรับอากาศ. I. ชื่อเรื่อง.
621.57
ISBN 978-616-274-553-9

จัดพิมพ์และจำ�หน่ายโดย

ผู้เขียน : กฤษณะ สุภารมย์


การสั่งซื้อ : ส่งธนาณัติสั่งจ่าย ไปรษณีย์ลาดพร้าว ในนาม บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด
เลขที่ 9/99 อาคารแม็ค ซอยลาดพร้าว 38 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
% : 0-2938-2022-7 FAX : 0-2938-2028
www.MACeducation.com
ราคาจำ�หน่าย : 125 บาท
สงวนลิขสิทธิ ์ : มีนาคม 2558
พิมพ์ที่ : บริษัท พิมพ์ดี จำ�กัด
(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร)
คำ�นำ�

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556


ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) และแผนปฏิบัติการการเตรียมความพร้อม
พลเมืองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวมุ่งผลิตและพัฒนากำ�ลังคน
ระดับฝีมือให้มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพอิสระ
เป็นผูป้ ระกอบการทีม่ คี ณ ุ ภาพ หรือประกอบอาชีพอืน่ ๆ ได้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
ทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด ผู้ผลิตและจำ�หน่ายหนังสือเรียน สื่อการเรียนรู้ และวารสาร
ทางการศึกษา ทัง้ ในระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ระดับอาชีวศึกษา ตระหนักถึงภารกิจสำ�คัญในการมีสว่ นร่วม
ในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้บรรลุผลสมดังเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ จึงได้แต่งตั้ง
คณะทำ�งานซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ และผู้สอนทั้งในระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่มี
ความเชีย่ วชาญด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ดำ�เนินการวิเคราะห์หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2556 ในแต่ละสาขาวิชาเพื่อจัดทำ�สื่อการเรียนรู้ อันประกอบด้วย
1. หนังสือเรียนที่จัดทำ�ให้ตรงกับจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำ�อธิบาย
รายวิชา ทั้งนี้ โดยคำ�นึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป และด้านสมรรถนะวิชาชีพ
2. แผนการจัดการเรียนรูท้ มี่ งุ่ เน้นการพัฒนาสมรรถนะของผูเ้ รียนผ่านกิจกรรมเพือ่ เป็นแนวทาง
ให้ผู้สอนนำ�ไปปรับให้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและจุดเน้นของสถานศึกษา
3. คูม่ อื ครูส�ำ หรับผูส้ อนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการฝึกประสบการณ์
ให้แก่ผู้เรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
จุดเด่นของหนังสือเรียนชุดใหม่มีดังนี้
1. นำ�เสนอในรูปแบบหน่วยการเรียนรู้ ที่มีเนื้อหาง่ายต่อการเรียนรู้ แต่ยังคงไว้ซึ่งความ
เข้มข้นและทันสมัย ทัง้ นีเ้ นือ้ หาในหนังสือเรียนมุง่ เน้นให้สมั พันธ์กบั จุดประสงค์การเรียนรู้ หลักการเรียนรู้
ตามสภาพจริง (Authentic Learning) และการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
2. แทรกกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ กิจกรรมการฝึกกระบวนการคิด (Thinking Skills)
และกิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้เรียน
3. พัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะวิชาชีพผ่านกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้ใบช่วยสอน
เป็นสื่อสำ�หรับการฝึกกระบวนการเรียนรู้ที่สำ�คัญ เช่น การเรียนรู้จากโครงงาน (Project–Based
Learning) การพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีสะอาด (Green Technology) และการสร้างสรรค์
นวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นต้น
4. มีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน โดยจัดทำ�แบบทดสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
การเรียนรู้ประจำ�หน่วยการเรียนนั้นๆ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วย
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด ขอขอบพระคุณสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน และผู้ที่สนใจทุกท่าน
ที่ให้ความไว้วางใจในสื่อการเรียนรู้ของบริษัท บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะมีส่วนช่วย
ให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทัดเทียมระดับสากล
ต่อไป

บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด


รหัส 2101-2008
วิชาเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 3 ชั่วโมง 2 หน่วยกิต

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. เข้าใจหลักการทำ�งานเครื่องทำ�ความเย็น
2. ใช้เครือ่ งมือในการปฏิบตั งิ านทางกลและทางไฟฟ้าของเครือ่ งทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
3. มีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา มีกิจนิสัยในการทำ�งานและเจตคติที่ดี

สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการของเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
2. ประกอบติดตั้งและทดสอบงานท่อเครื่องทำ�ความเย็น
3. ตรวจซ่อมเครื่องทำ�ความเย็น

คำ�อธิบายรายวิชา
ศึ ก ษาและปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ หลั ก การของเครื่ อ งท�ำความเย็ น การถ่ า ยเทของความร้ อ น
ชนิดของความร้อน ความดัน ส่วนประกอบและหลักการท�ำงานของเครื่องท�ำความเย็นระบบ
อัดไอ สารท�ำความเย็น น�้ำมันหล่อลื่น งานท่อ งานเชื่อมประสานท่อ ต่อวงจรไฟฟ้า วงจรทางกล
การท�ำสุญญากาศ การบรรจุสารท�ำความเย็นในเครื่องท�ำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ
ตารางวิเคราะห์สมรรถนะประจำ�หน่วย

หน่วย
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สมรรถนะประจำ�หน่วย
การเรียนรู้ที่
1 สสารและอุณหภูมิ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับสสารและอุณหภูมิ
2. เข้าใจความหมายของสสาร อุณหภูมิ และความร้อนของอุณหภูมิ
3. เข้าใจวิธีการคำ�นวณและแปลงค่าหน่วย
2 การถ่ายเทความร้อน 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการถ่ายเทความร้อน
และความดัน 2. แสดงความรู้เกี่ยวกับความดันสัมบูรณ์และวิธีการคำ�นวณค่าความดัน
3 เครื่องมือ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเภทต่างๆ
2. เลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ถูกต้องและเหมาะสม
4 งานท่อ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดและลักษณะของท่อที่ใช้ในงานเครื่อง
ทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
2. เข้าใจวิธีการตัดท่อ บานท่อ และขยายท่อเพื่อใช้ในงานเครื่องทำ�
ความเย็นและปรับอากาศ
5 หลักการทำ�ความเย็น 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของระบบเครื่องทำ�ความเย็น
เบื้องต้น แบบอัดไอและปรับอากาศ
2. เข้าใจหน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็น
3. ปฏิบัติการดัดท่อและการบัดกรีท่อเพื่อใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็น
และปรับอากาศ
6 คอมเพรสเซอร์ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในระบบเครื่อง
ทำ�ความเย็นแบบต่างๆ
2. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของคอมเพรสเซอร์
3. เลือกใช้คอมเพรสเซอร์ได้อย่างเหมาะสม และปฏิบตั กิ ารต่อคอมเพรสเซอร์
กับวงจรทางกล
หน่วย
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สมรรถนะประจำ�หน่วย
การเรียนรู้ที่
7 คอนเดนเซอร์ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดของคอนเดนเซอร์ที่ใช้ในระบบเครื่อง
ทำ�ความเย็นแบบต่างๆ
2. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของคอนเดนเซอร์
3. เลือกใช้คอนเดนเซอร์ได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติการต่อคอนเดนเซอร์
กับวงจรทางกล
8 อุปกรณ์ควบคุม 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดของอุปกรณ์การควบคุมการไหลของ
การไหลของสาร สารทำ�ความเย็น
ทำ�ความเย็น 2. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของตัวควบคุมการไหลของ
สารทำ�ความเย็นแบบต่างๆ
3. เลือกใช้ตัวควบคุมการไหล และปฏิบัติการต่อตัวควบคุมการไหล
ของสารทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกล
9 อีวาปอเรเตอร์ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดของอีวาปอเรเตอร์และการทำ�งานของ
อีวาปอเรเตอร์
2. ปฏิบัติการตรวจสอบ การเลือกใช้อีวาปอเรเตอร์ และการต่อ
อีวาปอเรเตอร์เข้ากับวงจรทางกล
10 อุปกรณ์ย่อยต่างๆ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่การทำ�งานของอุปกรณ์ย่อยต่างๆ
ของระบบเครื่อง ในงานเครื่องทำ�ความเย็น
ทำ�ความเย็น 2. เลือกใช้อุปกรณ์และปฏิบัติการต่ออุปกรณ์ย่อยต่างๆ ของระบบ
เครื่องทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกล
11 สารท�ำความเย็นและ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของสารท�ำความเย็นชนิดต่างๆ และ
น�้ำมันหล่อลื่น น�้ำมันหล่อลื่น
2. เลือกใช้สารทำ�ความเย็นชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับระบบเครื่องทำ�
ความเย็นและปรับอากาศ
12 อุปกรณ์ไฟฟ้าใน 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องทำ�ความเย็น
เครื่องทำ�ความเย็น และปรับอากาศ
และปรับอากาศ 2. ปฏิบัติการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และต่อวงจร
ไฟฟ้าของเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศเข้ากับวงจรทางกล
13 วงจรไฟฟ้าตู้เย็น 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของวงจรไฟฟ้าตู้เย็น
2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าตู้เย็นและปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าตู้เย็น
หน่วย
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สมรรถนะประจำ�หน่วย
การเรียนรู้ที่
14 วงจรไฟฟ้าเครื่อง 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
ปรับอากาศ 2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ และปฏิบัติการต่อวงจร
ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
15 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำ�รุงรักษาตู้เย็น
ตู้เย็นและการแก้ไข 2. สังเกตอาการที่ผิดปกติของตู้เย็น แยกแยะอาการที่ผิดปกติของตู้เย็น
และปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของตู้เย็น
16 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ 2. สังเกตอาการทีผ่ ดิ ปกติและปฏิบตั กิ ารแก้ไขปัญหาของเครือ่ งปรับอากาศ
และการแก้ไข
17 การบำ�รุงรักษา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำ�รุงรักษาตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ
เครื่องทำ�ความเย็น 2. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ
และปรับอากาศ
สารบัญ
หน้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สสารและอุณหภูมิ 1
1. ความหมายและโครงสร้างของสสาร 2
2. ความหมายและหน่วยของอุณหภูมิ 3
3. การแปลงค่าหน่วยของอุณหภูมิ 7
4. ความร้อนและชนิดของความร้อน 8
5. หน่วยของความร้อน 12
6. ความหมายของตันของการทำ�ความเย็น 14
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 19
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การถ่ายเทความร้อนและความดัน 22
1. การถ่ายเทความร้อน 23
2. ความดัน 25
3. บารอมิเตอร์ 27
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 34
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เครื่องมือ 36
1. เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า 37
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานท่อและประสาน 37
3. เครื่องมือที่ใช้ในการบริการสารทำ�ความเย็น 39
4. เครื่องมืองานบริการทั่วไป 40
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 55
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 งานท่อ 57
1. ท่อที่ใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ 58
2. การบอกขนาดของท่อทองแดง 62
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 71
หน้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หลักการทำ�ความเย็นเบื้องต้น 73
1. กฎของการทำ�ความเย็น 74
2. รอบของการอัด 74
3. หลักการทำ�งานของระบบเครื่องทำ�ความเย็นแบบอัดไอ 77
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 84
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 คอมเพรสเซอร์ 86
1. ลักษณะของคอมเพรสเซอร์ 87
2. ชนิดของคอมเพรสเซอร์ 87
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 100
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 คอนเดนเซอร์ 102
1. ลักษณะของคอนเดนเซอร์ 103
2. ชนิดของคอนเดนเซอร์ 103
3. การบำ�รุงรักษาคอนเดนเซอร์ 107
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 112
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 อุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็น 114
1. ชนิดปรับด้วยมือ 115
2. ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ 116
3. ชนิดปรับตามอุณหภูมิ 117
4. ชนิดท่อรูเข็ม 119
5. ชนิดลูกลอยด้านความดันต�่ำ 119
6. ชนิดลูกลอยด้านความดันสูง 120
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 126
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 อีวาปอเรเตอร์ 128
1. ชนิดของอีวาปอเรเตอร์ 129
2. การติดตั้งอีวาปอเรเตอร์ 131
3. การบำ�รุงรักษาอีวาปอเรเตอร์ 132
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 137
หน้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 อุปกรณ์ย่อยต่างๆ ของระบบเครื่องทำ�ความเย็น 139
1. ฟิลเตอร์ดรายเออร์ 140
2. กระจกมองน�้ำยา 140
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 141
4. อุปกรณ์แยกน�้ำมัน 141
5. อุปกรณ์ลดเสียง 142
6. ท่ออ่อนกันกระเทือน 142
7. ถังเก็บสารทำ�ความเย็นเหลว 142
8. วาล์วกันกลับ 143
9. วาล์วระบายความดัน 143
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 149
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สารท�ำความเย็นและน�้ำมันหล่อลื่น 151
1. สารทำ�ความเย็น 152
2. น�้ำมันหล่อลื่น 156
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 165
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ 167
1. แมกเนติกคอนแทกเตอร์ 168
2. รีเลย์ 169
3. เทอร์มอสแตต 173
4. คาปาซิเตอร์ 175
5. เพรสเชอร์คอนโทรล 175
6. โอเวอร์โหลด 176
7. ฟิวส์ 176
8. เซอร์กิตเบรกเกอร์ 178
9. อุปกรณ์ตั้งเวลา 179
10. สวิตช์ประตูตู้เย็น 179
11. หลอดไฟฟ้าตู้เย็น 180
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 187
หน้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 วงจรไฟฟ้าตู้เย็น 189
1. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา 190
2. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบมีฮีตเตอร์ป้องกันหยดน�้ำจับรอบประตูตู้ 190
3. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�โนฟรอสต์ด้วยฮีตเตอร์ 191
4. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�ดีฟรอสต์ด้วยแก๊สร้อน 192
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 199
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 วงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ 201
1. วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง 202
2. วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 203
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 211
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็นและการแก้ไข 213
1. ปัญหาเรื่องของเสียง 214
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ 214
3. ปัญหาเรื่องของน�้ำแข็งเกาะที่อีวาปอเรเตอร์หนามากๆ และปัญหาอื่นๆ 216
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 222
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศและการแก้ไข 224
1. ปัญหาเรื่องของเสียง 225
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ 226
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 234
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 การบำ�รุงรักษาเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ 236
1. การบำ�รุงรักษาตู้เย็น 237
2. การบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศ 238
3. ผลที่ได้รับจากการบำ�รุงรักษาตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ 240
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ 249
บรรณานุกรม 251

ดัชนี 252
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
สสารและอุณหภูมิ

สาระการเรียนรู้

1. ความหมายและโครงสร้างของสสาร
2. ความหมายและหน่วยของอุณหภูมิ
3. การแปลงค่าหน่วยของอุณหภูมิ
4. ความร้อนและชนิดของความร้อน
5. หน่วยของความร้อน
6. ความหมายของตันของการทำ�ความเย็น

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. จำ�แนกสถานะของสสารได้
2. บอกความหมายของอุณหภูมิได้
3. ระบุความแตกต่างระหว่างองศาเซลเซียส
สสารและอุณหภูมิ และองศาฟาเรนไฮต์ได้
4. คำ�นวณและแปลงค่าองศาเซลเซียสและ
องศาฟาเรนไฮต์ได้
5. บอกความหมายของความร้อนแฝงและ
ความร้อนจำ�เพาะได้
6. บอกความหมายของคำ�ว่าตันความเย็นได้
สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับสสารและอุณหภูมิ
2. เข้าใจความหมายของสสาร อุณหภูมิ และ
ความร้อนของอุณหภูมิ
3. เข้าใจวิธีการคำ�นวณและแปลงค่าหน่วย

1
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

สสารและอุณหภูมิ

■ 1. ความหมายและโครงสร้างของสสาร
1.1 ความหมายของสสาร
สสาร (Substance) คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระดาษ น�้ำ อากาศ
เป็นต้น สสารทั้งหลายจะมีสมบัติเหมือนกัน คือ มีน�้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ สสารโดยทั่วไปจะ
แบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 3 สถานะ คือ ของแข็ง (Solid) ของเหลว (Liquid) และ
แก๊ส (Gas) ซึ่งแต่ละสถานะของสสารจะมีสมบัติดังนี้
1.1.1 ของแข็ง (Solid) คือ สสารที่มีรูปร่างและปริมาตร น�้ำแข็ง
คงที่ ซึ่งเกิดจากการที่โมเลกุลยึดเกาะกันอย่างเหนียวแน่น เช่น เหล็ก
ก้อนหิน น�้ำแข็ง เป็นต้น รูปที่ 1.1 ของแข็ง

1.1.2 ของเหลว (Liquid) คือ สสารที่มีปริมาตรที่แน่นอน น�้ำ


แต่รูปร่างไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ เช่น น�้ำ น�้ำมัน เป็นต้น
รูปที่ 1.2 ของเหลว
1.1.3 แก๊ ส (Gas) คื อ สสารที่ มี รู ป ร่ า งและปริ ม าตรที่
ไม่แน่นอน จะฟุ้งกระจายอยู่ภายในภาชนะที่บรรจุ ซึ่งมีการป้องกัน แก๊สที่
การรั่วซึมออกสู่บรรยากาศภายนอก เช่น อัดลมเข้าลูกโป่ง ลมที่เติม ฟุ้งกระจาย
ในยางรถยนต์ เป็นต้น รูปที่ 1.3 แก๊ส

1.2 โครงสร้างของสสาร
สสารทั้ ง 3 สถานะนี้ จ ะประกอบไปด้ ว ยอนุ ภ าคที่ เ ล็ ก ๆ ที่ เรี ย กว่ า โมเลกุ ล (Molecule)
ซึง่ โมเลกุลนีจ้ ะประกอบขึน้ จากการรวมตัวกันของอะตอม (Atom) เช่น น�ำ้ เกิดจากอะตอมของธาตุไฮโดรเจน
จ�ำนวน 2 อะตอม รวมกับอะตอมของออกซิเจน 1 อะตอม เป็นต้น

2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

อะตอมของไฮโดรเจน อะตอมของออกซิเจน

รูปที่ 1.4 โมเลกุลของน�้ำ

สถานะของสสารจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ถ้ามีแรงภายนอกมากระท�ำให้แรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างโมเลกุลน้อยลง โดยมีปัจจัยที่ส�ำคัญ คือ ความร้อนและความดัน เป็นตัวที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยน
สถานะของสสาร

■ 2. ความหมายและหน่วยของอุณหภูมิ
2.1 ความหมายของอุณหภูมิ
อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ระดับของความร้อนหรือสภาวะที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ
โมเลกุลของสสาร โดยทั่วไปแล้วระดับของความร้อนจะถูกวัดออกมาในรูปของค่าของความร้อนหรือองศา
ซึ่งมีหน่วยการวัด คือ ระบบเมตริก (Metric System) และระบบอังกฤษ (Imperial System)
2.1.1 อุณหภูมิสัมบูรณ์ (Absolute Temperature) หมายถึง ระดับของความร้อนที่ไม่มี
การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือไม่มีความร้อนอยู่เลย ซึ่งแตกต่างจากอุณหภูมิทั่วไปที่ได้กล่าวมาแล้ว โดย
แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1) ระบบเมตริก มีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin: K)

โดยที่ K = C + 273

2) ระบบอังกฤษ มีหน่วยเป็นแรงกิน (Rankine: R)



โดยที่ R = F + 460

3
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

370° 100° 212° 272° จุดเดือดของน�้ำที่บรรยากาศปกติ

237° 0° 32° 492° จุดเยือกแข็งของน�้ำ


0° 400°

0° 273°
 400°
 0° จุด 0 องศาที่แท้จริง

K C F R
รูปที่ 1.5 เปรียบเทียบค่าปกติกับค่าแท้จริง

ตัวอย่างที่ 1.1 จงเปลี่ยนอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์มอมิเตอร์ 50°F ให้เป็นอุณหภูมิแรงกิน (Rankine)


วิธีท�ำ โดยที่ R (Rankine) = F + 460
F = 50°F
ดังนั้น R (Rankine) = 50 + 460
= 510
= 510R

ตัวอย่างที่ 1.2 จงเปลี่ยน −20°F ให้เป็นอุณหภูมิแรงกิน (Rankine)


วิธีท�ำ โดยที่ R (Rankine) = F + 460
F = −20°F
ดังนั้น R (Rankine) = −20 + 460
= 440
= 440R

ตัวอย่างที่ 1.3 จงเปลี่ยนอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์มอมิเตอร์ 50°C ให้เป็นอุณหภูมิเคลวิน (Kelvin)


วิธีท�ำ โดยที่ K (Kelvin) = C + 273
C = 50°C

4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ดังนั้น K (Kelvin) = 50 + 273


= 323
= 323K

ตัวอย่างที่ 1.4 จงเปลี่ยน −20°C ให้เป็นอุณหภูมิเคลวิน (Kelvin)


วิธีท�ำ โดยที่ K (Kelvin) = C + 273
C = −20°C
ดังนั้น K (Kelvin) = −20 + 273
= 253
= 253K

2.1.2 อุณหภูมิกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง กระเปาะ


(Bulb) ในที่นี้หมายถึง ส่วนที่อยู่ล่างสุดของเทอร์มอมิเตอร์ ท�ำหน้าที่
รับและคายความร้อนให้กับปรอท
กระเปาะแห้ง (Dry Bulb) หมายถึง กระเปาะที่บรรจุปรอท
มีความแห้ง ไม่มสี งิ่ ทีเ่ ปียกชืน้ ห่อหุม้ อยู่ อุณหภูมทิ ไี่ ด้จากกระเปาะแห้ง กระเปาะ
เป็นอุณหภูมิที่วัดได้ในขณะนั้นและในสถานที่นั้น
รูปที่ 1.6 ส่วนประกอบ
กระเปาะเปียก (Wet Bulb) หมายถึง กระเปาะทีบ่ รรจุปรอท ของเทอร์มอมิเตอร์
ที่ถูกหุ้มด้วยผ้าหรือส�ำลีชุบน�้ำพันไว้รอบๆ
อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry Bulb Temperature) คือ
อุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์มอมิเตอร์โดยทั่วไปในขณะที่เทอร์มอมิเตอร์
ใช้ในการวัดแห้งสนิท ค่าที่ได้ใช้ตัวย่อว่า DB เทอร์มอมิเตอร์แห้ง เทอร์มอมิเตอร์เปียก
อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet Bulb Temperature) คือ
อุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์มอมิเตอร์ในขณะที่ใช้ผ้าหรือส�ำลีชุบน�้ำหุ้ม
ก ข กระเปาะ
ไว้รอบกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ และท�ำการแกว่งเทอร์มอมิเตอร์ เปียก
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนให้เร็วขึ้นระหว่างอากาศกับผ้า กระเปาะ
แห้ง ผ้า
หรือส�ำลีชุบน�้ำ ผลของการแกว่งจะท�ำให้อุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ รูระบาย
ลดลงอย่างรวดเร็วในตอนแรก และจะค่อยๆ ลดลงจนหยุดนิ่งถึงแม้ว่า อากาศ น�ำ้
จะแกว่งต่อไปอีก ซึง่ แสดงว่าความชืน้ ในบรรยากาศมีคา่ เท่ากับความชืน้
รูปที่ 1.7 กระเปาะแห้ง ก
ของผ้าหรือส�ำลีชบุ น�ำ ้ อุณหภูมใิ นทีน่ จี้ ะใช้เป็นตัวเปรียบเทียบความชืน้ กระเปาะเปียก ข
ในบรรยากาศ ใช้ตัวย่อว่า WB
5
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ถ้า DB เท่ากับหรือใกล้เคียง WB แสดงว่าความชื้นในบรรยากาศมีน้อย


ถ้า DB แตกต่างจาก WB มาก แสดงว่าความชื้นในบรรยากาศมีมาก
ผลต่างระหว่าง DB และ WB เรียกว่า WB Depression
2.1.3 อุณหภูมิอิ่มตัว (Saturation Temperature) หมายถึง อุณหภูมิของของเหลวที่จะ
เปลีย่ นไปเป็นไอ หรือเป็นจุดทีข่ องเหลวเปลีย่ นสถานะการเดือด (Boiling Temperature) อุณหภูมอิ มิ่ ตัว
ของสารแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน เช่น เหล็กกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ 4,450°F ทองแดง 4,250°F ตะกั่ว
3,000°F น�้ ำ 212°F แอลกอฮอล์ 170°F แอมโมเนี ย −28°F ออกซิ เ จน −295°F ฮี เ ลี ย ม
−452°F ในระบบเครื่องเย็นอุณหภูมิอิ่มตัวของสารท�ำความเย็นในเครื่องเย็น คือ จุดที่สารท�ำความเย็น
เดือดกลายเป็นไอหมด

2.2 หน่วยของอุณหภูมิ
2.2.1 ระบบเมตริก ค่าของความร้อนจะบอกเป็น ํC ํF
องศาเซลเซียส ซึ่งจะแบ่งระหว่างจุดเยือกแข็งของน�้ำกับ 110 230
จุดเดือดของน�้ำออกเป็น 100 ช่วงเท่าๆ กันภายใต้ความดัน 100 จุดเดือดของนำ�้ 212
บรรยากาศ คือ 90 194
80 176
− จุดเยือกแข็งของน�้ำ จะมีค่าเท่ากับ 0 องศา 70 158
เซลเซียส 60 140
50 122
− จุดเดือดของน�้ำ จะมีค่าเท่ากับ 100 องศา
40 104
เซลเซียส 30 86
2.2.2 ระบบอังกฤษ ค่าของความร้อนจะบอกเป็น 20 จุดปรับอากาศ 68
องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งจะแบ่งระหว่างจุดเยือกแข็งของน�้ำกับ 10 50
0 จุดเยือกแข็ง 32
จุดเดือดของน�้ำออกเป็น 180 ช่วงเท่าๆ กัน ภายใต้ความดัน ของน�้ำ
บรรยากาศ คือ
− จุดเยือกแข็งของน�้ำ จะมีค่าเท่ากับ 32 องศา
ฟาเรนไฮต์ รูปที่ 1.8 เทอร์มอมิเตอร์
− จุดเดือดของน�้ำ จะมีค่าเท่ากับ 212 องศา
ฟาเรนไฮต์
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดระดับของอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer)

6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

■ 3. การแปลงค่าหน่วยของอุณหภูมิ
การเปลี่ยนอุณหภูมิ

สูตร การเปลี่ยนอุณหภูมิ F  32 = C
9 5

เมื่อ F หมายถึง องศาฟาเรนไฮต์


และ C หมายถึง องศาเซลเซียส
ดังนั้นเมื่อเราจะเปลี่ยนจาก C ➯ F จะได้สูตร 9  C  32
5

F ➯ C จะได้สูตร 5  (F  32)
9

ตัวอย่างที่ 1.5 จงเปลี่ยนค่า 35°C ให้เป็น °F
วิธีท�ำ C ➯ F สูตร = 95  C  32

แทนค่า จะได้ = 95  35  32

= 95°C

ตัวอย่างที่ 1.6 จงเปลี่ยนค่า 77°F ให้เป็น °C


วิธีท�ำ F ➯ C สูตร = 5  (F  32)
9
แทนค่า จะได้ = 5  (77  32)
9
= 25°C

7
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 4. ความร้อนและชนิดของความร้อน
ความร้อน (Heat) คือ พลังงานรูปหนึ่ง เมื่อสารได้รับความร้อนก็จะมีผลท�ำให้สารนั้นมีอุณหภูมิ
เพิ่มขึ้น แบ่งออกเป็น
4.1 ความร้อนรู้สึกหรือความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) คือ จ�ำนวนความร้อนที่ให้กับสสาร
แล้ ว ท�ำให้ ส สารนั้ น มี อุ ณ หภู มิ เ พิ่ ม ขึ้ น เช่ น น�้ ำ มี อุ ณ หภู มิ 50°F ถ้ า มี อุ ณ หภู มิ เ พิ่ ม ขึ้ น เป็ น 70°F
เพราะฉะนั้นความร้อนที่ให้นี้เรียกว่า ความร้อนรู้สึกหรือความร้อนสัมผัส คือ จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเท่ากับ
70 − 50 = 20°F
ความร้อน
น�้ำ อุณหภูมิ
 ของน�้ำ
จะเพิ่มขึ้น

รูปที่ 1.9 ผลของการเพิ่มความร้อน

4.2 ความร้อนจ�ำเพาะ (Specific Heat) คือ ค่าความจุความร้อนของสสาร เป็นปริมาณ


ความร้อนที่สารนั้นรับเข้ามาเพื่อท�ำให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศา ส�ำหรับสารต่างชนิดกัน
จะมีค่าความร้อนจ�ำเพาะต่างกัน

ท่อทองแดง
1 ปอนด์

น�้ำ 1 ปอนด์
R−12 หนัก R−22 หนัก
1 ปอนด์ 1 ปอนด์ (ไอ)

ความร้อนจำ�เพาะ ความร้อนจำ�เพาะ ความร้อนจำ�เพาะ ความร้อนจำ�เพาะ


= 1,000 BTU = 0.0939 BTU = 0.24 BTU = 0.15 BTU

รูปที่ 1.10 การเปรียบเทียบค่าความร้อนจำ�เพาะของสารต่างชนิดกัน

8
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

วัดได้เป็น 2 หน่วยการวัด คือ


- ระบบเมตริก มีหน่วยเป็น แคลอรีต่อกรัมน�้ำหนัก
- ระบบอังกฤษ มีหน่วยเป็น บีทียูต่อปอนด์น�้ำหนัก
ความร้อนจ�ำเพาะมี 3 ชนิด คือ
4.2.1 ความร้อนจ�ำเพาะของของแข็ง เป็นปริมาณความร้อน (วัดเป็นบีทียู) ที่ของแข็งมวล
1 ปอนด์ รับไว้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิไป 1 องศาฟาเรนไฮต์ และความร้อนจ�ำเพาะของน�้ำแข็งประมาณ
0.5 บีทียูต่อปอนด์ต่อองศาฟาเรนไฮต์
4.2.2 ความร้อนจ�ำเพาะของของเหลว เป็นปริมาณความร้อน (วัดเป็นบีทียู) ที่ของเหลว
มวล 1 ปอนด์ รับไว้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิไป 1 องศาฟาเรนไฮต์ และน�้ำมีค่าความร้อนจ�ำเพาะ 1 บีทียูต่อปอนด์
ต่อองศาฟาเรนไฮต์
4.2.3 ความร้อนจ�ำเพาะของแก๊ส เป็นปริมาณความร้อน (วัดเป็นบีทยี )ู ทีแ่ ก๊สมวล 1 ปอนด์
(มักจะค�ำนวณให้หน่วยของปริมาณอยู่ในรูปของความดันและอุณหภูมิมากกว่าที่จะอยู่ในรูปของมวล)
รับไว้ เพื่ อ เพิ่ มอุ ณ หภูมิไ ป 1 องศาฟาเรนไฮต์ และน�้ ำ มี ค่ า ความร้ อ นจ�ำเพาะ 0.24 บี ที ยู ต ่ อ ปอนด์
ต่อองศาฟาเรนไฮต์

เทอร์มอมิเตอร์

64 ํF หลัง
63 ํF ก่อน  ถูกเพิ่ม 1 BTU

น�้ำ 1 ปอนด์

ตัวเผาให้ความร้อน

รูปที่ 1.11 การทดลองการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน�้ำ 1 ปอนด์ จาก 63°F ไปเป็น 64 °F

9
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

4.3 ความร้อนแฝง (Latent Heat) หมายถึง ความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสสาร


โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง ความร้อนแฝงมี 2 ชนิด คือ
4.3.1 ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (Latent Heat of Vaporization) คือ
ความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสสารจากของเหลวให้กลายเป็นไอที่อุณหภูมิ 212°F มีค่าเท่ากับ
970.4 บีทียูต่อปอนด์ หรือความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน�้ำที่อุณหภูมิ 0°C มีค่าเท่ากับ
540 แคลอรีต่อกรัม

212 ํF ไอน�้ำ 212 ํF


212 ํF 212 ํF
เทอร์มอมิเตอร์ ไอน�้ำกลั่นตัว
เป็นหยดน�้ำ
น�้ำ
ความร้อน

การให้ความร้อน การดึงความร้อนออก

รูปที่ 1.12 ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ

4.3.2 ความร้อนแฝงของการหลอมละลาย ความร้อน


น�้ำแข็งที่อุณหภูมิ 32°F
(Latent Heat of Fusion) คือ ความร้อนทีใ่ ช้ในการเปลีย่ น
สถานะของสสารจากของแข็งให้กลายเป็นของเหลวทีอ่ ณ ุ หภูมิ
0°F มีค่าเท่ากับ 144 บีทียูต่อปอนด์ หรือความร้อนแฝง
ของการหลอมละลายของน�้ำแข็งที่อุณหภูมิ 0°C มีค่าเท่ากับ น�้ำที่อุณหภูมิ 32°F
79.68 แคลอรีต่อกรัม
รูปที่ 1.13 ความร้อนแฝงของการหลอมละลาย

เมื่อ Q = ML
โดยที่ Q = ปริมาณความร้อน มีหน่วยเป็น แคลอรี (cal) หรือบีทียู
M = มวลสสารหรือน�้ำหนัก มีหน่วยเป็น กรัม (g) หรือปอนด์
L = ความร้อนแฝง มีหน่วยเป็น แคลอรี/กรัม (cal/g) หรือบีทียู/ปอนด์ (BTU/lb)

10
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ตัวอย่างที่ 1.7 จงหาค่าผลรวมของปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการท�ำให้น�้ำแข็ง 1 กรัม ที่ −273°C


ให้กลายเป็นน�้ำเดือดหมดที่ 100°C
วิธีท�ำ 1. หาค่ า ปริ ม าณความร้ อ นที่ ใช้ ใ นการท�ำให้ น�้ ำ แข็ ง 1 กรั ม มี อุ ณ หภู มิ สู ง ขึ้ น จาก −273°C
เป็น 0°C (สมมุติเป็น Q1)
สูตร Q1 = mst
เมื่อ m = มวล
s = ค่าความร้อนจ�ำเพาะของน�้ำแข็ง (0.5 cal/g/°C)
t = อุณหภูมทิ เี่ ปลีย่ นไป
แทนค่าจากสูตร จะได้ = 1 × 0.5 × 0− (−273)
= 1 × 0.5 × 273
= 136.5 cal
2. หาค่าปริมาณความร้อนที่ใช้ในการหลอมละลายน�้ำแข็ง 1 กรัม ที่ 0°C ให้กลายเป็นน�้ำหมดที่
0°C (สมมุติเป็น Q2)
สูตร Q2 = mL
เมื่อ m = มวล
L = ค่าความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน�้ำแข็ง
(79.68 cal/g)
แทนค่าจากสูตร จะได้ = 1 × 79.68
= 79.68 cal
3. หาค่าปริมาณความร้อนที่ท�ำให้น�้ำ 1 กรัม ที่ 0°C มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 100°C (สมมุติเป็น Q3)
สูตร Q3 = mst
เมื่อ m = มวล
s = ค่าความร้อนจ�ำเพาะของน�้ำแข็ง (1 cal/g/°C)
t = อุณหภูมทิ เี่ ปลีย่ นไป
แทนค่าจากสูตร จะได้ = 1 × 1 × (100 − 0)
= 100 cal
4. หาค่าปริมาณความร้อนที่ท�ำให้น�้ำเดือด 1 กรัม ที่ 100°C กลายเป็นไอหมดพอดีที่ 100°C
(สมมุติเป็น Q4)
สูตร Q4 = mL
เมื่อ m = มวล
L = ค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของนำ �้ (540 cal/g)
11
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แทนค่าจากสูตร จะได้ = 1 × 540


= 540 cal
5. หาค่าผลรวมของปริมาณความร้อนทั้งหมด
จาก Q = Q1 + Q2 + Q3 + Q4
= 136.5 + 79.68 + 100 + 540
ปริมาณความร้อนทั้งหมด = 856.18 cal

■ 5. หน่วยของความร้อน
หน่วยของความร้อน (Unit of Heat) คือ จูล (Joule: J) เป็นหน่วยความร้อนที่เล็ก ซึ่งใน
หน่วยงานการท�ำความเย็นจะใช้เป็นกิโลจูล หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ต้องการท�ำให้อุณหภูมิของ
น�้ำหนัก 1 กิโลกรัม ที่ 1°C ซึ่งเท่ากับ 4.187 kJ ดังรูปที่ 1.14 ในทางกลับกัน จ�ำนวนความร้อนที่ถูกดึง
ออกจากน�้ำ 1 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 1°C ก็จะมีค่าเท่ากับ 4.187 kJ เช่นเดียวกัน การหาปริมาณ
ความร้อนหาได้โดยการน�ำน�้ำหนักคูณด้วยค่าความแตกต่างของอุณหภูมิ คูณด้วย 4.187 kJ

ตัวอย่างที่ 1.8 จงหาจ�ำนวนของความร้อนที่ต้องการท�ำให้น�้ำ 1 กิโลกรัม เพิ่มจาก 4°C ไปเป็น 27°C


วิธีท�ำ kJ = 4.187 × น�้ำหนัก (kg) × อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (°C)
= 4.187 × 1 × (27 − 4)
= 4.187 × 1 × 23
= 96.301 kJ
จ�ำนวนหรือปริมาณความร้อนที่ต้องการ คือ 96.301 kJ

ตัวอย่างที่ 1.9 จงหาปริมาณความร้อนที่ถูกดึงออกจากน�้ำ 19 กิโลกรัม อุณหภูมิของน�้ำลดลงจาก 27°C


ลงมาเหลือ 1°C
วิธีท�ำ kJ = 4.187 × น�้ำหนัก (kg) × อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (°C)
= 4.187 × 19 × (27 − 1)
= 4.187 × 19 × 26
= 2,068.378 kJ
จ�ำนวนหรือปริมาณความร้อนที่ถูกดึงออก คือ 2,068.378 kJ

12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เทอร์มอมิเตอร์

18 ํC หลัง
ถูกเพิ่ม 4.187 KJ
17 ํC ก่อน

น�้ำ 1 กิโลกรัม

ตัวเผาให้ความร้อน

รูปที่ 1.14 การทดลองการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน�้ำ 1 กิโลกรัม

ในระบบอังกฤษ ค่าความร้อนจะบอกหน่วยเป็นบีทียู (British Thermal Unit) ซึ่งหมายถึง


จ�ำนวนความร้อนที่ต้องการให้น�้ำซึ่งหนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1°F

ตัวอย่างที่ 1.10 จงหาจ�ำนวนของความร้อนที่ต้องการท�ำให้น�้ำ 62.4 ปอนด์ (1 ลูกบาศก์ฟุต) เพิ่มจาก


40°F ไปเป็น 80°F
วิธีท�ำ BTU = wt. in lb × อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (°F)
= 62.4 lb × (80 − 40)
= 62.4 × 40 wt. in lb = นำ�้ หนักของนำ�้ ในระบบอังกฤษ
= 2,496 BTU ที่มีหน่วยเป็นปอนด์

จ�ำนวนหรือปริมาณความร้อนที่ต้องการ เท่ากับ 2,496 BTU ในทางกลับกัน ถ้าท�ำให้สสาร


มีอุณหภูมิลดลงหรือท�ำให้เย็น จะต้องดึงความร้อนออกจากตัวสสารนั้น

13
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ตัวอย่างที่ 1.11 จงหาปริมาณความร้อนที่ถูกดึงออกจากน�้ำ 50 ปอนด์ อุณหภูมิของน�้ำลดลงจาก


80°F ลงมาเหลือ 35°F
วิธีท�ำ BTU = wt. in lb × อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (°F)
= 50 lb × (80 − 35)
= 50 × 45
= 2,250 BTU
จ�ำนวนหรือปริมาณความร้อนที่ถูกดึงออก เท่ากับ 2,250 BTU

ตัวอย่างที่ 1.12 จงหาจ�ำนวนของความร้อนทีต่ อ้ งการท�ำให้นำ


�้ 150 กรัม เพิม่ จาก 10°C ไปเป็น 90°C
วิธีท�ำ แคลอรี = น�้ำหนัก (g) × อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (°C)
= 150 × (90 − 10)
= 150 × 80
= 12,000 แคลอรี
จ�ำนวนหรือปริมาณความร้อนที่ต้องการ คือ 12,000 แคลอรี

■ 6. ความหมายของตันของการทำ�ความเย็น
ตันของการท�ำความเย็น (Ton of Refrigeration) หมายถึง ปริมาณความร้อนทีใ่ ช้ในการละลาย
น�้ำแข็งหนัก 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) ที่อุณหภูมิ 0°C เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 0°C ในเวลา 24 ชั่วโมง
หรือ 1 ตันการท�ำความเย็นมีค่าเท่ากับความสามารถในการดูดรับปริมาณความร้อน 12,000 BTU/ชั่วโมง

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. สสารและชนิดของสสารหมายถึงอะไร
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................

14
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

2. อุณหภูมิและชนิดของอุณหภูมิหมายถึงอะไร
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3. สสารและอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................

สรุป

สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของ


ความร้อนที่สิ่งต่างๆ นั้นได้รับ หรือการคายความร้อนออกจากตัวของสสารนั้นๆ เช่น น�้ำ เมื่อได้
รับความร้อนจะกลายเป็นไอน�้ำหรือแก๊ส และถ้าแก๊สคายความร้อนออกจากตัวเองจะกลายเป็นน�้ำ
เป็นต้น

15
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
สสารและอุณหภูมิ
จุดประสงค์
1. ศึกษาสถานะต่างๆ ของสาร
2. จำ�แนกสถานะของสสารได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. น�้ำแข็งปริมาตร 1,000 cc 1 ก้อน
2. เตาไฟฟ้าขนาด 1,000 W 1 เตา
3. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
4. ถาดรองรับน�้ำ 1 ถาด
5. นาฬิกา 1 เรือน
ลำ�ดับขั้นการทดลอง
1. น�ำน�้ำแข็งออกจากกระติกน�้ำแข็ง และวางลงบนถาดรองรับ
2. น�ำน�้ำแข็งและถาดรองรับมาวางไว้บนที่โล่งแจ้ง
3. สังเกตการเปลี่ยนแปลงจนกว่าน�้ำแข็งจะละลายหมด และบันทึกค่าลงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 บันทึกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน�้ำแข็ง
อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิก่อนละลาย อุณหภูมิเมื่อละลาย เวลาที่ใช้ใน ปริมาณน�้ำหลัง
(°C) (°C) (°C) การละลาย (ชั่วโมง) จากละลาย (cc)

4. น�ำน�้ำที่ได้จากการทดลองมาต้มจนกลายเป็นไอหมด บันทึกค่าลงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน�้ำแข็ง
อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิก่อนต้ม อุณหภูมิเมื่อน�้ำเดือด เวลาที่ใช้ในการต้ม
(°C) (°C) (°C) (ชั่วโมง)

16
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

สรุปผลการทดลอง
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
ค�ำถาม
1. จากผลการทดลองตามตารางที่ 1 ต้องใช้ความร้อนแฝงอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
2. จากผลการทดลองตามตารางที่ 1 มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
3. จากการทดลองต้องใช้ความร้อนแฝงอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงก่อนต้มและหลังจากน�้ำเดือดเป็นอย่างไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
5. ข้อความระวังในการทดลองครั้งนี้มีอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
6. เปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างการทดลองตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................

17
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
สสารและอุณหภูมิ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

18
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. สสารหมายถึงอะไร
1. ของแข็ง 2. ของเหลว
3. แก๊ส 4. สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
2. สถานะของสสารแบ่งได้เป็นกี่ชนิด
1. 2 ชนิด 2. 3 ชนิด
3. 4 ชนิด 4. 5 ชนิด
3. สสารที่มีปริมาตรที่แน่นอน แต่รูปร่างไม่คงที่คือสสารชนิดใด
1. ของแข็ง 2. ของเหลว
3. แก๊ส 4. สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
4. อุณหภูมิหมายถึงอะไร
1. ความเข้มของความร้อน 2. ความเข้มของความเย็น
3. ความเข้มของแสง 4. ความเข้มของบรรยากาศ
5. 50°C เปลี่ยนเป็น °F จะได้เท่าไร
1. 120°F 2. 121°F
3. 122°F 4. 123°F
6. เครื่องมือวัดอุณหภูมิเรียกว่าอะไร
1. มิเตอร์ 2. โอห์มมิเตอร์
3. เทอร์มอมิเตอร์ 4. วัตต์มิเตอร์
7. กระเปาะแห้งหมายถึงอะไร
1. กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่ชื้น
2. กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่แห้ง
3. กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่มีผ้าชุบน�้ำพันไว้
4. กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่จุ่มอยู่ในน�้ำ

19
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

8. อุณหภูมิสัมบูรณ์หมายถึงอะไร
1. อุณหภูมิที่ทำ�ให้โมเลกุลของสสารหยุดการเคลื่อนที่
2. อุณหภูมิที่ทำ�ให้โมเลกุลของสสารเกิดการเคลื่อนที่
3. อุณหภูมิที่ทำ�ให้โมเลกุลของสสารเกิดการแยกตัว
4. อุณหภูมิที่ทำ�ให้โมเลกุลของสสารเกิดการรวมตัว
9. ปริมาณความร้อนที่ทำ�ให้วัตถุหนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้น 1 องศาคือข้อใด
1. ความร้อนแฝง
2. ความร้อนจำ�เพาะ
3. ความร้อนรู้สึก
4. ความร้อนสัมบูรณ์
10. คำ�ว่า 1 ตันความเย็นหมายความว่าอย่างไร
1. ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน�้ำแข็ง 1 ตัน ในเวลา 24 ชั่วโมง
2. ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน�้ำแข็ง 1,000 ปอนด์ ในเวลา 24 ชั่วโมง
3. ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน�้ำแข็ง 12,000 ปอนด์ ในเวลา 24 ชั่วโมง
4. ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน�้ำแข็ง 2,000 ปอนด์ ในเวลา 24 ชั่วโมง

ตอนที่ 2 จงแสดงวิธีท�ำ
1. จงเปลี่ยนค่า 35°C ให้เป็น °F
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
2. จงเปลี่ยนค่า 77°F ให้เป็น °C
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
3. จงเปลี่ยนค่า −20°F ให้เป็นหน่วยแรงกิน
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................

20
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

4. จงเปลี่ยนค่า −20°C ให้เป็นหน่วยเคลวิน


........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
5. จงหาค่าผลรวมของปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการท�ำให้น�้ำแข็ง 1 กรัม ที่ −273°C ให้กลายเป็น
น�ำ้ เดือดหมดที่ 100°C
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................

21
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การถ่ายเทความร้อนและความดัน

สาระการเรียนรู้

1. การถ่ายเทความร้อน
2. ความดัน
3. บารอมิเตอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้
การถ่ายเท 1. อธิบายการถ่ายเทความร้อนได้
ความร้อน 2. บอกหลักการถ่ายเทความร้อนได้
และความดัน 3. บอกความหมายของความดันได้
4. บอกหลักการของบารอมิเตอร์อย่างง่ายได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรูเ้ กีย่ วกับการถ่ายเทความร้อน


2. แสดงความรู้เกี่ยวกับความดันสัมบูรณ์
และวิธีการคำ�นวณค่าความดัน

22
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การถ่ายเทความร้อนและความดัน

■ 1. การถ่ายเทความร้อน
จุดประสงค์หลักของการท�ำความเย็นและการปรับอากาศ คือ การขนย้ายความร้อนจากทีท่ ตี่ อ้ งการ
ปรับอากาศต�ำแหน่งหนึ่งออกไปสู่อีกต�ำแหน่งหนึ่ง
1.1 หลักการถ่ายเทความร้อน โดยธรรมชาติแล้วน�้ำจะไหล
จากที่มีระดับสูงกว่ามายังที่ที่มีระดับต�่ำกว่าเสมอ เมื่อระดับของน�้ำ
เท่ากัน น�้ำจะไม่มีการไหลเกิดขึ้น

รูปที่ 2.1 การไหลของน�้ำ

ในท�ำนองเดียวกัน ความร้อนก็จะเหมือนกับน�้ำ คือ จะถ่ายเทจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังที่


ที่มีอุณหภูมิต�่ำกว่าเสมอ และเมื่อระดับของความร้อนมีค่าเท่ากัน ความร้อนก็จะไม่มีการถ่ายเทเกิดขึ้น

212°F
70°F
70°F 70°F
32°F 70°F
ความร้อนจะไม่ ความร้อนจากของเหลว ความร้อนจากของเหลว 212°F
เกิดการถ่ายเท ที่ 70°F ถ่ายเทไปยัง ถ่ายเทไปยังของแข็งที่ 70°F
น�้ำแข็งที่ 32°F

รูปที่ 2.2 การถ่ายเทความร้อน

23
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

1.2 ลักษณะการถ่ายเทความร้อน มี 3 วิธี คือ


1.2.1 การน�ำความร้อน (Conduction) คือ
การถ่ายเทความร้อนซึ่งต้องอาศัยตัวกลางโดยทั่วไปจะเป็น 310°F 230°F
ของแข็ ง วิ ธี ก ารจะอาศัยการสั่นสะเทือนของโมเลกุ ล ที่ อ ยู ่ 265°F
ติดกัน โดยโมเลกุลไม่มีการเคลื่อนที่ 190°F
จากรูปที่ 2.3 น�ำแท่งโลหะ 4 ชนิดขนาดเท่าๆ 210°F
กันมาต่อสัมผัสกับแท่งโลหะที่อุณหภูมิ 310°F แล้วท�ำการวัด
ค่าอุณหภูมิที่ปลายอีกข้างหนึ่ง ได้ดังนี้ รูปที่ 2.3 การนำ�ความร้อนของโลหะชนิดต่างๆ
ทองแดงวัดได้ 230°F
เงินวัดได้ 265°F
เหล็กวัดได้ 190°F
อะลูมิเนียมวัดได้ 210°F
จะเห็นได้ว่าเงินน�ำความร้อนได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ทองแดง อะลูมิเนียม และเหล็ก
ตามล�ำดับ จากความรู้เรื่องการน�ำความร้อนนี้ สามารถน�ำมาใช้ในการเลือกวัสดุที่ใช้ในการท�ำท่อทางเดิน
ของสารท�ำความเย็น ซึง่ จะเลือกใช้ทองแดงเนือ่ งจากมีการน�ำความร้อนได้ดเี กือบเท่ากับเงิน แต่ราคาถูกกว่า
1.2.2 การพาความร้อน (Convection) คือ การเคลื่อนที่ของความร้อนโดยที่ความร้อนจะ
เกาะติดไปกับตัวกลาง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นของเหลวหรือแก๊สก็ได้ โดยที่ของเหลวหรือแก๊สจะเคลื่อนที่จาก
ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะการหมุนเวียน และจะพาความร้อนติดไปด้วย โดยมีหลักการที่แน่นอนว่า
ความร้อนจะเบาและลอยตัวสูงขึ้น ส่วนความเย็นจะหนักและลอยตัวอยู่ต�่ำกว่าเสมอ เนื้อหาในหนังสือ
เล่มนี้ ความรู้เรื่องการพาความร้อนจะใช้ในการหาขนาดและออกแบบอุปกรณ์ระบายความร้อนของ
สารท�ำความเย็น การพาความร้อนโดยวิธีธรรมชาติบางครั้งจะไม่เพียงพอ ในการระบายความร้อนจึงมี
การเพิ่มอุปกรณ์เร่งให้ตัวกลางเคลื่อนที่เร็วขึ้น เพื่อช่วยให้การพาความร้อนเป็นไปได้เร็วขึ้น เช่น พัดลม
ปั๊มน�้ำ เป็นต้น
น�้ำแข็งที่ 32°F
อากาศเย็น ถนอมอาหารที่ 40°F
จะลอยลง
อากาศร้อนจะลอยขึ้น

รูปที่ 2.4 การพาความร้อน

24
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1.2.3 การแผ่ รั ง สี ค วามร้ อ น (Radiation) คื อ การถ่ า ยเทความร้ อ นที่ ไ ม่ ต ้ อ งอาศั ย


ตัวกลางใดๆ เพราะการแผ่รงั สีความร้อนจะอยูใ่ นรูปของคลืน่ ความร้อน ซึง่ มีสมบัตกิ ารเคลือ่ นทีใ่ นสุญญากาศ
ได้จึงไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยตัวกลางใดๆ จะแตกต่างจาก 2 วิธีการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คลื่นรังสีความร้อน
จะมีความยาวคลืน่ มากกว่าความยาวคลืน่ แสงและเดินทางเป็นเส้นตรง เมือ่ คลืน่ ความร้อนกระทบกับตัวกลาง
จะเกิดปรากฏการณ์ส�ำคัญ 3 อย่าง คือ
1) สะท้อนออกจากวัตถุที่คลื่นมากระทบ เมื่อวัตถุนั้นเป็นสีขาวและผิวละเอียด
2) ทะลุผ่านตัวกลาง ถ้าตัวกลางนั้นเป็นวัตถุโปร่งใส
3) ถูกดูดซึมโดยวัตถุที่คลื่นมากระทบ เมื่อวัตถุนั้นเป็นสีด�ำและผิวขรุขระ

รังสีความร้อน

กระจกใส ผิวสีดำ� ผิวขรุขระ


จะเกิดการสะท้อน จะดูดกลืน จะดูดกลืน

รูปที่ 2.5 ผลจากการกระทบของคลื่นความร้อน

■ 2. ความดัน
ความดัน (Pressure) หมายถึง แรงหรือน�้ำหนักที่กดลงบนพื้นที่ 1 ตารางพื้นที่ โดยทั่วไป
จะบอกเป็นปอนด์ต่อ 1 ตารางนิ้ว ซึ่งหมายความว่า แรงหรือน�้ำหนักจ�ำนวน 1 ปอนด์ กดลงบนพื้นที่
1 ตารางนิ้ว หรือ PSI
เมื่อ P = Pound
S = Per Square
I = Inch
2.1 ความดันบรรยากาศปกติ หมายถึง ความดันที่เกิดขึ้นจากอากาศที่ห่อหุ้มผิวโลกกดลงมา
จะมีค่าเท่ากับ 14.7 PSI และความดันบรรยากาศนี้จะมีค่าลดลง ถ้าความสูงมีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณ
ของอากาศมีค่าลดลง ดังนั้นความดันจะลดลงด้วย

25
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ความสูง (ฟุต) ความดัน (PSI)


15,000 8.8
10,000 10.8
5,000 12.6
1,000 14.0
Sea Level 14.7
ความดันบรรยากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น

รูปที่ 2.6 ความดันที่ความสูงต่างๆ กัน

2.2 ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure) หมายถึง ความดันที่วัดจากจุดเริ่มต้นของ


ความดันแท้จริงรวมกับความดันที่ได้จากเกจวัดความดัน
2.3 ความดันของเกจ (Gauge Pressure) หมายถึง ความดันที่วัดจากจุดเริ่มต้นที่ค่า 0 ของ
เกจวัดความดัน ซึ่งมีค่าเท่ากับความดันของบรรยากาศปกติ หาได้จาก
ความดันสัมบูรณ์ = ความดันของเกจ + ความดันของบรรยากาศปกติ
เมื่อ ความดันสัมบูรณ์ = PSIA
ความดันของเกจ = PSIG
ความดันของบรรยากาศ = 14.7 PSI

จะได้ PSIA = PSIG + 14.7 PSI

เมื่อ PSIA มีค่าเท่ากับ 0 เราเรียกว่า Absolute Zero Pressure แสดงว่าเป็นสุญญากาศ และ


เกจที่ใช้วัดค่าความดันเหนือบรรยากาศเรียกว่า เพรสเชอร์เกจ (Pressure Gauge) ซึ่งสามารถวัดค่าได้
ตั้งแต่ 1 PSIG ขึ้นไป

26
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

■ 3. บารอมิเตอร์
บารอมิเตอร์ (Barometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า ปรอท
ความดันที่ต�่ำกว่าบรรยากาศ มีหลายแบบด้วยกัน แบบที่ท�ำง่าย
ที่สุดคือ ใช้หลอดแก้วบรรจุปรอทให้เต็ม แล้วใช้นิ้วมืออุดไว้ แล้ว
คว�่ำปลายด้านนี้จุ่มลงในอ่างบรรจุปรอท เมื่อเปิดนิ้วที่อุดไว้และ
ปรอท
จับตัวหลอดแก้วให้ตั้งตรง จะเห็นว่าระดับปรอทในหลอดแก้ว
จะลดลงด้วยน�้ำหนักของปรอทเอง และหยุดลงที่ต�ำแหน่งหนึ่ง 29.92
การที่ปรอทหยุดลงในต�ำแหน่งนี้ก็เพราะมีแรงกดของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศปกติ
กดอยู่ที่ปรอทในอ่าง ซึ่งจะต้านไม่ให้ปรอทในหลอดแก้วเคลื่อนตัว
ไหลออกจากหลอดแก้วสู่อ่างปรอทได้อีก รูปที่ 2.7 บารอมิเตอร์อย่างง่าย

จากรูปที่ 2.7 หมายความว่า ขณะนี้แรงกดของปรอทในหลอดแก้วเคลื่อนตัวไหลออกจาก


หลอดแก้วสู่อ่างปรอทได้อีก โดยแรงกดของปรอทในหลอดแก้วกับแรงกด (แรงดัน) ของบรรยากาศเท่ากัน
หรื อ อยู ่ ใ นลั ก ษณะสมดุ ล กั น ฉะนั้ น ความสู ง ของปรอทในหลอดแก้ ว ที่ วั ด ได้ ข ณะนี้ ก็ คื อ ค่ า แรงดั น
ของบรรยากาศนั่นเอง ถ้าใช้มาตราส่วนวัดส่วนสูงของปรอทจากระดับปรอทในอ่าง โดยสเกลวัดเป็นนิ้ว
จะได้เท่ากับ 29.92 นิ้ว ค่านี้ก็คือ ค่าที่ใช้วัดแรงดันของบรรยากาศ นิ้วปรอท (Inches of Mercury)
ใช้ตัวย่อ in.Hg
● หลักการของบารอมิเตอร์อย่างง่าย
วัสดุอุปกรณ์
1) หลอดแก้วปลายตันข้างหนึ่ง
2) อ่างใส่ปรอท
3) ปรอท
ล�ำดับขั้นตอนการท�ำบารอมิเตอร์อย่างง่าย
1) น�ำหลอดแก้วปลายตันข้างหนึ่งมาบรรจุปรอทจนเต็ม
2) น�ำหลอดแก้วที่บรรจุปรอทเต็มจุ่มลงในอ่างปรอทในแนวดิ่งให้ด้านที่ตันอยู่ด้านบน
3) สังเกตปรอทที่อยู่ในหลอดแก้ว
4) วัดความสูงของปรอทที่อยู่ในหลอดแก้ว

27
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

จากการทดลองจะเห็นว่าปรอทที่อยู่ในหลอดแก้วจะลดลงและ
จะหยุดนิ่ง เมื่อเราวัดระดับความสูงของปรอทในหลอดแก้วจะมีค่าเท่ากับ
29.92 นิ้ว ส่วนที่ลดลงมาเท่ากับ 0.08 นิ้ว จะเป็นสุญญากาศ ซึ่งหมายความว่า
ความดันของบรรยากาศซึ่งมีค่า 14.7 PSIA สามารถดันปรอทในหลอดแก้วให้
สูงขึ้นไป 29.92 นิ้ว เครื่องมือที่ใช้วัดความดันเหนือบรรยากาศปกติและต�่ำกว่า รูปที่ 2.8 คอมพาวด์เกจ
บรรยากาศปกติเรียกว่า คอมพาวด์เกจ
การเปรียบเทียบความดันกับความสูงของปรอท
ความดันของบรรยากาศ = 14.7 PSI
จะดันให้ปรอทขึ้นสูง = 29.92 นิ้ว
ดังนั้น 1 นิ้วปรอทมีค่า (in.Hg) = 14.7
29.92
= 0.491 ปอนด์/ตารางนิ้ว

ตัวอย่าง ความดันที่คอนเดนเซอร์อ่านจากเกจได้ 50 PSIG และความดันของบรรยากาศขณะนั้นอ่านได้


29 in.Hg ความดันสัมบูรณ์จะมีค่าเท่าใด
วิธีท�ำ จากสูตร PSIA = PSIG + 0.491 × ความสูงของนิ้วปรอท (H)
PSIG = 50 PSIG
ความสูง (H) = 29 in.Hg
แทนค่า PSIA = 50 + 0.491 × 29 in.Hg
ความดันสัมบูรณ์มีค่า = 64.2 PSIA

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ
จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. การถ่ายเทความร้อนมีกี่วิธี อะไรบ้าง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. การถ่ายเทความร้อนที่อาศัยการสั่นสะเทือนของโมเลกุลที่อยู่ติดกันคืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

28
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

3. การถ่ายเทความร้อนที่อาศัยการเกาะติดไปกับตัวกลางคืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. การถ่ายเทความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางคืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
5. ความดันของเกจ (Gauge Pressure) หมายถึงอะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

สรุป

ความร้ อ นสามารถถ่ า ยเทจากที่ ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก ที่ ห นึ่ ง ได้ ในระบบเครื่ อ งท�ำความเย็ น
การส่งถ่ายความร้อนหรือความเย็นเป็นสิ่งจ�ำเป็นมาก เช่น ในการท�ำสสารให้เย็นลง สามารถท�ำได้
โดยการดึงความร้อนออกจากสสารนั้น การดึงความร้อนออกจากสสาร หมายถึง การถ่ายเท
ความร้อนออกจากสสารนั่นเอง

29
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
การถ่ายเทของความร้อนและความดัน
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายเทของความร้อนและความดัน
2. ปฏิบัติการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายเทของความร้อนได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. น�้ำ 500 กรัม
2. กาต้มน�้ำ 1 ใบ
3. เตาไฟฟ้าขนาด 1,000 W 1 เตา
4. แท่งเหล็กน�้ำหนัก 1/2 กิโลกรัม 1 แท่ง
5. นาฬิกา 1 เรือน
6. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
7. ตาชั่ง 1 เครื่อง
ลำ�ดับขั้นการทดลอง
1. น�ำน�้ำใส่กาต้มน�้ำและวัดค่าอุณหภูมิของน�้ำก่อนต้ม บันทึกค่าลงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 บันทึกอุณหภูมิของน�้ำ
น�้ำ
อุณหภูมิก่อนต้ม อุณหภูมิเมื่อต้มแล้ว อุณหภูมิหลังปล่อย น�้ำหนัก
(°C) (°C) ให้เย็น (°C) (kg)

2. น�ำกาไปต้มน�้ำที่มีน�้ำต้มบนเตาไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 10 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน�้ำ


และวัดค่าของอุณหภูมิ พร้อมบันทึกลงในตารางที่ 1
3. น�ำกาต้มน�้ำออกจากเตาไฟฟ้า แล้วน�ำน�้ำที่ผ่านการต้มแล้วนั้นไปชั่งน�้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบค่า
และบันทึกค่าที่ได้ลงในตารางที่ 1
4. ปล่อยน�้ำให้เย็นตัวลงโดยใช้เวลา 10 นาที และวัดค่าของอุณหภูมิของน�้ำ บันทึกค่าลงใน
ตารางที่ 1

30
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

5. ท�ำการวัดค่าอุณหภูมิของแท่งเหล็ก และบันทึกค่าลงในตารางที่ 2
6. น�ำแท่งเหล็กวางบนเตาไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 10 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงและวัดค่า
ของอุณหภูมิ พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 2
7. น�ำแท่งเหล็กไปชั่งน�้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบกับน�้ำหนักเดิม และบันทึกค่าลงในตารางที่ 2
8. ปล่ อ ยให้ แ ท่ ง เหล็ ก เย็ น โดยใช้ เวลา 10 นาที และวั ด ค่ า ของอุ ณ หภู มิ พร้ อ มบั น ทึ ก ลงใน
ตารางที่ 2
ตารางที่ 2 บันทึกอุณหภูมิของแท่งเหล็ก
แท่งเหล็ก
อุณหภูมิก่อนให้ อุณหภูมิเมื่อให้ อุณหภูมิหลังปล่อย น�้ำหนัก
ความร้อน (°C) ความร้อน (°C) ให้เย็น (°C) (kg)

สรุปผลการทดลอง
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
คำ�ถาม
1. จงเปรียบเทียบการน�ำความร้อนของน�้ำและเหล็กว่าเป็นอย่างไร
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................

31
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2 . จงเปรียบเทียบการคายความร้อนของน�้ำและเหล็กว่าเป็นอย่างไร
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
3. จงเปรียบเทียบน�้ำหนักของน�้ำและเหล็กหลังจากได้รับความร้อนว่าเป็นอย่างไร
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
4. ในการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................

32
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

แบบประเมินผลใบงาน
การถ่ายเทของความร้อนและความดัน
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

33
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้
ตอนที่ 1 จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. การถ่ายเทความร้อนมีกี่ชนิด
1. 1 ชนิด 2. 2 ชนิด
3. 3 ชนิด 4. 4 ชนิด
2. การถ่ายเทความร้อนชนิดใดที่มีการถ่ายเทความร้อนจากโมเลกุลหนึ่งไปยังอีกโมเลกุลหนึ่งซึ่งมี
อุณหภูมิต�่ำกว่าในเนื้อวัตถุเดียวกัน
1. การนำ�ความร้อน 2. การพารังสี
3. การพาความร้อน 4. การแผ่รังสีความร้อน
3. การนำ�ความร้อนในสถานะใดเกิดขึ้นได้ดีที่สุด
1. ของแข็ง 2. ของเหลว
3. แก๊ส 4. อากาศ
4. การพาความร้อนจะไม่เกิดขึ้นกับสสารใด
1. ของแข็ง 2. ของเหลว
3. แก๊ส 4. อากาศ
5. ข้อใดนำ�ความร้อนได้ดีที่สุด
1. เหล็ก 2. ทองแดง
3. อะลูมิเนียม 4. เงิน
6. เมื่อคลื่นรังสีความร้อนกระทบกับพื้นผิวที่หยาบจะเป็นอย่างไร
1. สะท้อน 2. ดูดกลืน
3. ทะลุผ่าน 4. ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
7. ความดันที่บรรยากาศห่อหุ้มผิวโลกมีค่าเท่าใด
1. 0 PSI 2. 14.7 PSI
3. 29.92 PSI 4. 44.6 PSI
8. ความดันจะเป็นสัดส่วนอย่างไรกับความสูง
1. ความสูงยิ่งมาก ความดันจะมากตาม
2. ความสูงยิ่งมาก ความดันจะลดลง
3. ความสูงยิ่งมาก ความดันจะคงที่เหมือนเดิม
4. ความดันจะเป็นสัดส่วนตรงกับความสูง
34
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

9. คอมพาวด์เกจใช้วัดอะไร
1. แรงดัน 2. สุญญากาศ
3. ความสูง 4. แรงดันและสุญญากาศ
10. 1 นิ้วปรอทมีค่ากี่ PSI
1. 0.691 2. 0.591
3. 0.491 4. 0.391

ตอนที่ 2 จงแสดงวิธีท�ำและตอบค�ำถามให้ถูกต้อง
1. ความดันที่คอนเดนเซอร์อ่านจากเกจได้ 50 PSIG และความดันของบรรยากาศขณะนั้นอ่านได้
29 in.Hg ความดันสัมบูรณ์จะมีค่าเท่าใด
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. จงบอกลำ�ดับขั้นตอนการทำ�บารอมิเตอร์อย่างง่ายมาให้เข้าใจ พร้อมเขียนรูปประกอบการอธิบาย
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

35
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เครื่องมือ

สาระการเรียนรู้

1. เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานท่อและประสาน
3. เครื่องมือที่ใช้ในการบริการสารทำ�ความเย็น
4. เครื่องมืองานบริการทั่วไป

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกชื่อเครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้าได้
2. บอกชื่ อ เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นงานท่ อ และ
ประสานได้
เครื่ืองมือ 3. บอกชื่อเครื่องมือที่ใช้ในการบริการสาร
ทำ�ความเย็นได้
4. บอกชื่อเครื่องมืองานบริการทั่วไปได้
5. เลือกเครื่องมือไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง
และเหมาะสม

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรูเ้ กีย่ วกับเครือ่ งมือประเภทต่างๆ


2. เลื อ กใช้ เ ครื่ อ งมื อ ต่ า งๆ ได้ ถู ก ต้ อ งและ
เหมาะสม

36
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เครื่องมือ

■ 1. เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า
เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า มีดังนี้
1.1 มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นเครื่องมือวัดค่า
ทางไฟฟ้าได้หลายๆ อย่างในตัวเดียวกัน เช่น วัดค่าความต้านทาน
วัคค่าของแรงดันไฟฟ้า วัดค่าของกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

รูปที่ 3.1 มัลติมิเตอร์

1.2 แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เป็นเครื่องมือ


ที่ใช้ในการวัดระดับของกระแสไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีการปลดวงจร
มีความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน ปัจจุบันแคลมป์มิเตอร์
สามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้หลายอย่างเหมือนเป็นมัลติมิเตอร์
รูปที่ 3.2 แคลมป์มิเตอร์

■ 2. เครื่องมือที่ใช้ในงานท่อและประสาน
2.1 เครื่องมือตัดท่อ แบ่งออกเป็น
2.1.1 ทิวบ์คัตเตอร์ (Tube Cutter) เป็นเครื่องมือ
ทีใ่ ช้ส�ำหรับตัดท่อในงานต่างๆ เช่น งานตัด ซึง่ รอยตัดจะมีความเรียบ
ไม่มีเศษผงที่เกิดจากการตัด เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในงานเครื่อง
ท�ำความเย็นและปรับอากาศ โดยจะมีขนาดต่างๆ กันเพื่อความ
สะดวกในการใช้งาน รูปที่ 3.3 ทิวบ์คัตเตอร์

37
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2.1.2 เลื่ อ ยตั ด เหล็ ก (Hack Saw) เป็ น เครื่ อ งมื อ โครงเลื่อย
ตัดโลหะอีกชนิดหนึง่ ทีน่ ยิ มใช้ในงานช่างทัว่ ไป สามารถตัดได้ทงั้ เหล็กแผ่น
ใบเลื่อย
และท่อโลหะ รอยตัดจะไม่เรียบและมีเศษผงที่เกิดจากการตัด แต่ในงาน
ด้ามจับ
เครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศไม่นิยมใช้เครื่องมือชนิดนี้
รูปที่ 3.4 เลื่อยตัดเหล็ก

2.2 ตะไบ (File) เป็นเครื่องมือที่ใช้ส�ำหรับการตกแต่งผิวงาน ด้ามจับ


ที่เป็นเหล็กให้เรียบ
รูปที่ 3.5 ตะไบ

2.3 รีเมอร์ (Reamer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการลบคมท่อ


อันเนือ่ งมาจากการตัด ซึง่ สามารถลบได้ทงั้ ภายนอกและภายในของบริเวณ
รอยตัด ในงานเครือ่ งท�ำความเย็นและปรับอากาศเมือ่ มีการตัดท่อจะต้องมี
การลบคมท่อด้วยรีเมอร์เสมอ รูปที่ 3.6 รีเมอร์

2.4 เครื่ องมือบานท่อ (Flaring Tool) เป็น
เครื่องมือที่ใช้ในการบานท่อทองแดงหรือท่ออะลูมิเนียม
เพื่อที่จะท�ำการต่อท่อเข้าด้วยกัน หรือต่อท่อสารท�ำความ
เย็นเข้ากับระบบ จะประกอบไปด้วยตัวจับท่อ (Flaring Bar)
และตัวอัดบานรูปทรงกรวย ในกรณีที่ต้องการบาน 2 ชั้น รูปที่ 3.7 ชุดเครื่องมือบานท่อ
จะต้องมีตัวอะแดปเตอร์ด้วย

2.5 เครื่องมือขยายท่อ (Swaging Tool) เป็น
เครื่องมือที่ใช้ในการขยายท่อเพื่อที่จะท�ำการต่อท่อขนาด
เดียวกันเข้าด้วยกันโดยการเชื่อมประสาน รูปที่ 3.8 เครื่องมือขยายท่อ

2.6 เครื่ อ งมื อ ดั ด ท่ อ (Tube Bender) เป็ น
เครื่องมือที่ใช้ในการดัดท่อให้ได้มุมและรูปร่างตามต้องการ
มี 2 แบบ คือ แบบสปริงและแบบใช้ก้านเคลื่อนที่ แบบสปริง แบบใช้ก้านเคลื่อนที่

รูปที่ 3.9 เครื่องมือดัดท่อ
38
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

2.7 ชุดเชื่อมแก๊ส (Gas welding set) เป็นเครื่องมือที่ใช้


ส�ำหรับให้ความร้อนเพื่อที่จะท�ำการประสานท่อเข้าด้วยกัน

รูปที่ 3.10 ชุดเชื่อมแก๊ส


2.8 แปรงลวด (Brush) เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน
การท�ำความสะอาดผิวงานก่อนทีจ่ ะท�ำการเชือ่ มประสาน
หรือท�ำความสะอาดภายในท่อ
รูปที่ 3.11 แปรงลวดเหล็ก

■ 3. เครื่องมือที่ใช้ในการบริการสารทำ�ความเย็น
เครื่องมือที่ใช้ในการบริการสารท�ำความเย็น มีดังนี้
3.1 เครื่องมือบีบท่อ (Pinch Off Tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้
ในการบี บ ท่ อ เพื่ อ ที่ จ ะท�ำการปิ ด ระบบหลั ง จากท�ำการบรรจุ ส ารท�ำ
ความเย็นเรียบร้อยแล้ว

รูปที่ 3.12 ชุดเครื่องมือบีบท่อ

3.2 ประแจปิด-เปิดวาล์วบริการ (Service Valve Ratchet


Wrench) ใช้ส�ำหรับขันปิด-เปิดวาล์วบริการเพื่อบรรจุสารท�ำความเย็น
เข้าสู่ระบบ รูปที่ 3.13 ประแจปิด-เปิดวาล์วบริการ

3.3 ชุดเกจแมนิโฟลด์ (Manifold Gauge Set) เป็นเครื่องมือ


ทีใ่ ช้ในการวัดระดับความดันของระบบเครือ่ งท�ำความเย็นและปรับอากาศ
ใช้ได้ทั้งวัดความดันสูง ความดันต�่ำ และการท�ำสุญญากาศ

รูปที่ 3.14 ชุดเกจแมนิโฟลด์

39
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

3.4 เครื่องท�ำสุญญากาศ (Vacuum Pump) เป็นเครื่องมือ


ที่ใช้ในการดูดอากาศหรือความชื้นที่มีอยู่ในระบบทางกลของระบบเครื่อง
ท�ำความเย็นและปรับอากาศออกก่อนที่จะมีการบรรจุสารท�ำความเย็น

รูปที่ 3.15 เครื่องทำ�สุญญากาศ

■ 4. เครื่องมืองานบริการทั่วไป
เครื่องมืองานบริการทั่วไป มีดังนี้
4.1 ค้อน (Hammer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเคาะ ตี ทุบ ในงานช่างทั่วไป มีหลายชนิด
ตามความเหมาะสมของงาน ดังรูปที่ 3.16

รูปที่ 3.16 ค้อนชนิดต่างๆ

4.2 คีมล็อก (Vise Grip) เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้จบั ชิน้ งานให้แน่นซึง่ สามารถ
ปรับความโตของปากจับได้
รูปที่ 3.17 คีมล็อก

4.3 คีมตัด (Diagonal Side Cut Plier) เป็นคีมที่ใช้ในการตัดสาย


ไฟฟ้า
รูปที่ 3.18 คีมตัด
4.4 คีมปากยาว (Long Nose Plier) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคีบ
หรื อ จั บ งานในซอกลึ ก มี ทั้ ง แบบปากแบนและปากกลม โดยส่ ว นมากแล้ ว
ชนิดปากแบนจะใช้ม้วนสายไฟเพื่อประกอบเข้ากับอุปกรณ์
รูปที่ 3.19 คีมปากยาว

40
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

4.5 ไขควง (Screw Driver) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรู มีหลายชนิด


ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน ดังนี้

ไขควงปากแบน ไขควงปากแฉก ไขควงตุ้ม ไขควงทดสอบไฟฟ้า

รูปที่ 3.20 ไขควงชนิดต่างๆ

4.6 ประแจ (Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกวด ขัน หรือถอดนอต ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือก


ใช้ตามความเหมาะสมของงาน ดังนี้

ประแจปากตาย ประแจปากเลื่อน

ประแจบล็อก ประแจแหวน ประแจหกเหลี่ยม

รูปที่ 3.21 ประแจชนิดต่างๆ

4.7 สว่านไฟฟ้า (Electric Drill) เป็นตัวต้นก�ำลังของ


เครื่องมือที่ใช้ในการเจาะรูกลมตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งจะต้องใช้งาน
ร่วมกับดอกสว่าน สว่านไฟฟ้า ดอกสว่าน
รูปที่ 3.22 สว่านไฟฟ้า

4.8 เครื่องเป่าลม (Blower) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเป่า


ท�ำความสะอาดสิ่งของหรือบริเวณที่ต้องการ
รูปที่ 3.23 เครื่องเป่าลม

41
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

4.9 หวีครีบคอนเดนเซอร์ (Fin Comb) เป็นเครื่องมือที่ใช้


ในการแต่งครีบของคอนเดนเซอร์
For 12 Fins Per Inch
For 14 Fins Per Inch

รูปที่ 3.24 หวีครีบคอนเดนเซอร์

4.10 เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้


ในการวัดระดับของอุณหภูมิ

รูปที่ 3.25 เทอร์มอมิเตอร์


กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ
จากรูป จงบอกชื่อและหน้าที่ของเครื่องมือที่ใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศมาพอเข้าใจ
1. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

2. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

3. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

42
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

4. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

5. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

6. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

7. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

8. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

9. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

43
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

10. ชื่อเครื่องมือ......................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน............................................................
..........................................................................................
..........................................................................................

สรุป

การตรวจเช็ก ซ่อม และการบ�ำรุงรักษาเครื่องจักรกลต่างๆ สิ่งที่มีความส�ำคัญในการปฏิบัติงาน


ส�ำหรับช่าง คือ เครือ่ งมือต่างๆ ซึง่ การทีจ่ ะเป็นช่างทีด่ ไี ด้นนั้ จะต้องศึกษาเครือ่ งมือชนิดต่างๆ เสียก่อน
เพื่อให้รู้จักชนิดของเครื่องมือ ประเภทของเครื่องมือ วิธีการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และวิธีการบ�ำรุง
รักษาเครื่องมือ

44
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ใบงาน
เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้งานทางไฟฟ้า
2. ปฏิบัติการวัดค่าต่างๆ ทางไฟฟ้าโดยเลือกใช้เครื่องมือที่ใช้งานทางไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม
1. การใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าต่างๆ ทางไฟฟ้า

การใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทาน
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. แผงทดลองไฟฟ้าเบื้องต้น 1 แผง
2. สายไฟต่อวงจร 1 ชุด
3. มัลติมิเตอร์ 1 ตัว
4. ตัวต้านทานขนาด 1 , 10 , 47 , 100 ,
470 , 1 k, 4.7 k, 10 k, 47 k ค่าละ 1 ตัว
ลำ�ดับขั้นการทดลอง
1. ตัง้ ย่านการวัดของมัลติมเิ ตอร์ที่ R×1 ท�ำการ Set Zero และลงมือวัดตัวต้านทานทีก่ �ำหนดให้
พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 บันทึกการตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×1
ความต้านทาน () 1 10  47  100  470  1 k 4.7 k 10 k 47 k
ต�ำแหน่งเข็มชี้ ()
ค่าความต้านทาน
แท้จริง ()
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ ให้ท�ำเครือ่ งหมาย × ลงในตาราง

45
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. ตัง้ ย่านการวัดของมัลติมเิ ตอร์ที่ R×10 ท�ำการ Set Zero และลงมือวัดตัวต้านทานทีก่ �ำหนดให้


พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 บันทึกการตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×10
ความต้านทาน () 1 10  47  100  470  1 k 4.7 k 10 k 47 k
ต�ำแหน่งเข็มชี้ ()
ค่าความต้านทาน
แท้จริง ()
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ ให้ท�ำเครือ่ งหมาย × ลงในตาราง
3. ตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×100 ท�ำการ Set Zero และลงมือวัดตัวต้านทานที่
ก�ำหนดให้ พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 บันทึกการตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×100
ความต้านทาน () 1 10  47  100  470  1 k 4.7 k 10 k 47 k
ต�ำแหน่งเข็มชี้ ()
ค่าความต้านทาน
แท้จริง ()
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ ให้ท�ำเครือ่ งหมาย × ลงในตาราง
4. ตัง้ ย่านการวัดของมัลติมเิ ตอร์ที่ R×1k ท�ำการ Set Zero และลงมือวัดตัวต้านทานทีก่ �ำหนดให้
พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 บันทึกการตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×1k
ความต้านทาน () 1 10  47  100  470  1 k 4.7 k 10 k 47 k
ต�ำแหน่งเข็มชี้ ()
ค่าความต้านทาน
แท้จริง ()
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ ให้ท�ำเครือ่ งหมาย × ลงในตาราง

46
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

5. ตัง้ ย่านการวัดของมัลติมเิ ตอร์ที่ R×10k ท�ำการ Set Zero และลงมือวัดตัวต้านทานทีก่ �ำหนดให้


พร้อมบันทึกค่าลงในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 บันทึกการตั้งย่านการวัดของมัลติมิเตอร์ที่ R ×10k
ความต้านทาน () 1 10  47  100  470  1 k 4.7 k 10 k 47 k
ต�ำแหน่งเข็มชี้ ()
ค่าความต้านทาน
แท้จริง ()
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ ให้ท�ำเครือ่ งหมาย × ลงในตาราง
สรุปผลการทดลอง
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
คำ�ถาม
1. จากการทดลองตามข้อที่ 1-5 ค่าความต้านทานแท้จริงหาได้จากสูตรใด
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
2. การใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทานมีข้อควรระวังอะไรบ้าง (บอกมาเป็นข้อๆ)
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................

47
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

การวัดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง 0-30 V 1 เครื่อง
2. แผงทดลองไฟฟ้าเบื้องต้น 1 แผง
3. สายไฟต่อวงจร 1 ชุด
4. มัลติมิเตอร์ 1 ตัว
5. ตัวต้านทานขนาด 1 , 10 , 100 , 1 k ค่าละ 1 ตัว
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ต่อวงจรตามรูปทีก่ �ำหนดให้
1 10  100  1 k

E1 E2 E3 E4
+
0-30 V

2. วัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว และบันทึกค่าลงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 บันทึกการวัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน
ความต้านทาน () 1 10  100 k 1 k
แรงดัน 10 V
แรงดัน 15 V
แรงดัน 20 V

48
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

3. ต่อวงจรตามรูป

+
0-30  1 E1 10  E2 100  E3 1 k E4
-

4. วัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว และบันทึกค่าลงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 บันทึกการวัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน
ความต้านทาน () 1 10  100 k 1 k
แรงดัน 10 V
แรงดัน 15 V
แรงดัน 20 V

สรุปผลการปฏิบัติงาน
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
คำ�ถาม
จากการปฏิบัติงานการใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

49
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

การวัดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง 0-30 V 1 เครื่อง
2. แผงทดลองไฟฟ้าเบื้องต้น 1 แผง
3. สายไฟต่อวงจร 1 ชุด
4. มัลติมิเตอร์ 1 ตัว
5. ตัวต้านทานขนาด 1 , 10 , 100 , 1 k ค่าละ 1 ตัว
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ต่อวงจรตามรูปทีก่ �ำหนดให้
1 10  100  1 k

V1 V2 V3 V4

0-30 V ~

2. วัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว และบันทึกค่าลงในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 บันทึกการวัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน
ความต้านทาน () 1 10  100 k 1 k
แรงดัน 10 V
แรงดัน 15 V
แรงดัน 20 V

50
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

3. ต่อวงจรตามรูปทีก่ �ำหนดให้

0-30  ~ 1 V1 10  V2 100  V3 1 k V4

4. วัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว และบันทึกค่าลงในตารางที่ 9
ตารางที่ 9 บันทึกการวัดค่าของแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน
ความต้านทาน () 1 10  100 k 1 k
แรงดัน 10 V
แรงดัน 15 V
แรงดัน 20 V

สรุปผลการปฏิบัติงาน
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
คำ�ถาม
จากการปฏิบัติงานการใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

51
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. การใช้แคลมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า
จุดประสงค์
ใช้แคลมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 0-220 V 1 เครื่อง
2. แคลมป์มิเตอร์ 1 ตัว
3. เตารีดขนาด 1,000 W 1 ตัว
4. กาต้มน�้ำขนาด 500 W 1 ตัว
5. หลอดไฟขนาด 100 W 1 หลอด
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ต่อวงจรตามรูป
L

Load

2. ปรับย่านการวัดของแคลมป์มิเตอร์ให้สูงๆ ไว้ก่อน
3. จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 220 W ให้วงจร อ่านค่ากระแสและบันทึกลงตารางที่ 10
ตารางที่ 10 บันทึกการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับให้อุปกรณ์ต่างๆ
ภาระ ค่าที่วัดได้จากแคลมป์มิเตอร์ (A)
เตารีด ขนาด 1,000 W
กาต้มน�้ำ ขนาด 500 W
หลอดไฟ ขนาด 100 W

52
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

สรุปผลการปฏิบัติงาน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
คำ�ถาม
1. จากการปฏิบัติงานการใช้แคลมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าสลับ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
2. จงเปรียบเทียบความสะดวกของการใช้งานระหว่างมัลติมิเตอร์กับแคลมป์มิเตอร์
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

53
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

54
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ทิวบ์คัตเตอร์ (Tube Cutter) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. ดัดท่อ 2. ขยายท่อ
3. ตัดท่อ 4. บานท่อ
2. รีเมอร์ (Reamer) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. ลบคมท่อ 2. ดัดท่อ
3. ตัดท่อ 4. บานท่อ
3. เบนเดอร์ (Bender) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. ลบคมท่อ 2. ดัดท่อ
3. ตัดท่อ 4. บานท่อ
4. เกจแมนิโฟลด์ (Manifold Gauge) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. วัดอุณหภูมิ 2. วัดความดันออกซิเจน
3. วัดความร้อนในคอนเดนเซอร์ 4. วัดแรงดันของสารทำ�ความเย็น
5. แวคคัมปั๊ม (Vacuum Pump) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. วัดแรงดันในระบบ 2. ดูดอากาศในระบบ
3. บรรจุสารทำ�ความเย็น 4. วัดแรงดันของสารทำ�ความเย็น
6. เครื่องมือที่ใช้ในการบานท่อมีชื่อเรียกว่าอะไร
1. แฟร์ริงทูล 2. สแวกกิงทูล
3. ทิวบ์เบนเดอร์ 4. ทิวบ์คัตเตอร์
7. สแวกกิงทูล (Swaging Tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. ดัดท่อ 2. ขยายท่อ
3. ตัดท่อ 4. บานท่อ
8. เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. วัดอุณหภูมิ 2. วัดแรงดัน
3. วัดสุญญากาศ 4. วัดความเย็น

55
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. เครื่องมือที่นิยมใช้วัดกระแสไฟฟ้ามีชื่อว่าอะไร
1. มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
2. แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)
3. วัตต์มิเตอร์ (Watt Meter)
4. โวลต์มิเตอร์ (Volt Meter)
10. พินช์ ออฟ ทูล (Pinch Off Tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับทำ�อะไร
1. ตัดท่อ 2. บีบท่อ
3. ดัดท่อ 4. ขยายท่อ

56
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
งานท่อ

สาระการเรียนรู้

1. ท่ อ ที่ ใช้ ใ นงานเครื่ อ งทำ � ความเย็ น และ


ปรับอากาศ
2. การบอกขนาดของท่อทองแดง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกชนิ ด ของท่ อ ที่ ใช้ ใ นงานเครื่ อ งทำ �


ความเย็นและปรับอากาศได้
2. บอกลั ก ษณะของท่ อ ที่ ใช้ ใ นงานเครื่ อ ง
งานท่อ
ทำ�ความเย็นและปรับอากาศได้
3. ปฏิบัติการตัดท่อ บานท่อ และขยายท่อ
เพื่ อ ใช้ ใ นงานเครื่ อ งทำ � ความเย็ น และ
ปรับอากาศได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้ เ กี่ ย วกั บ ชนิ ด และลั ก ษณะของ


ท่ อ ที่ ใ ช้ ใ นงานเครื่ อ งทำ � ความเย็ น และ
ปรับอากาศ
2. เข้ า ใจวิ ธี ก ารตั ด ท่ อ บานท่ อ และขยายท่ อ
เพื่ อ ใช้ ใ นงานเครื่ อ งทำ � ความเย็ น และ
ปรับอากาศ

57
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

งานท่อ

■ 1. ท่อที่ใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
ท่อส่วนมากที่ถูกน�ำมาใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศจะเป็นท่อทองแดง แต่ยังมีท่อ
อีกหลายชนิดที่ถูกน�ำมาใช้บ้างเหมือนกัน เช่น ท่ออะลูมิเนียม ท่อเหล็ก ท่อสเตนเลส ท่อพลาสติก เป็นต้น
ในหน่วยการเรียนนี้จะกล่าวถึงท่อทองแดงเป็นหลัก
1.1 ท่อทองแดง (Copper) ถ้าใช้ในงานเครือ่ งท�ำความเย็นและปรับอากาศจะเรียกว่าท่อ ACR
(Air Conditioning and Refrigeration) เป็นท่อที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นโดยเฉพาะ
ท่อ ACR โดยปกติจะบรรจุแก๊สไนโตรเจนไว้ข้างในเพื่อท�ำให้ภายในท่อสะอาด ไม่เกิดสนิม แก๊สไนโตรเจน
จะฉีดผ่านเข้าไปในระบบ ฉะนั้นขณะที่ท�ำการบัดกรีหรือเชื่อมประสานท่อจะต้องระวังอันตรายในขณะ
ท�ำงานด้วย
นอกจากนี้ ต ้ อ งป้ อ งกั น การเกิ ด ออกไซด์ ห รื อ สนิ ม ภายในท่ อ ด้ ว ย โดยท่ อ ทุ ก ชนิ ด ควรจะท�ำ
การปิดปลายท่อหลังจากตัดแล้วทุกครั้งเสมอ
ท่อทองแดงมี 2 แบบ คือ แบบอ่อนและแบบแข็ง ท่อทั้ง 2 แบบนี้จะมีความหนาต่างกัน ท่อแบบ
หนาเป็นท่อชนิด K ท่อแบบบางเป็นท่อชนิด L ส่วนมากท่อ ACR ที่ใช้งานในปัจจุบันจะเป็นท่อแบบ L
ความยาวของท่อจะมีขนาด 20 และ 50 ฟุต/ม้วน
1.1.1 ท่อทองแดงแบบอ่อน (Soft Copper Tubing) จะถูกน�ำมาใช้ในงานเครื่องท�ำ
ความเย็นและปรับอากาศในครัวเรือน หรือในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศในเชิงพาณิชย์ เป็น
ท่อชนิดที่ผ่านการคลายความเครียดมาแล้ว จึงท�ำให้สามารถยืดหยุ่นได้ ดังนั้นจึงสะดวกในการดัดท่อ
และการบานท่อ ท่อชนิดนี้จะต้องยึดด้วยแคลมป์ เวลาใช้งานท่อชนิดนี้ส่วนมากจะอาศัยการต่อด้วยแฟร์
และการบัดกรีอ่อน ท่อที่มีขายในท้องตลาดมีขนาดความยาว 25, 50, 100 ฟุต/ม้วน และมีขนาดความโต
นอกของท่ อ (Out Side Diameter: OD) ตั้ ง แต่ 3/16-3/4 นิ้ ว ความหนาโดยปกติ จ ะก�ำหนด
เป็นเศษ 1 ส่วน 1,000 ของนิ้ว

58
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ตารางที่ 4.1 แสดงขนาดของท่อแดงที่ใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ

ความโตนอก ความหนา
1/4 0.030
3/8 0.032
1/2 0.032
5/8 0.035
3/4 0.035
7/8 0.045
1 1/8 0.050
1 3/8 0.055

ในการติดตั้งท่อทองแดงแบบอ่อนจะต้องมีการยึดท่อด้านขนานกับพื้นให้แข็งแรงเพื่อป้องกัน
การสั่นซึ่งจะท�ำให้ท่อเกิดการแตกร้าวได้
1.1.2 ท่อทองแดงแบบแข็ง (Hard Drawn Copper Tubing) จะถูกใช้ในงานเครื่องท�ำ
ความเย็นและปรับอากาศในเชิงพาณิชย์ มีความแข็งแรงในการติดตั้ง ท่อชนิดนี้ใช้แคลมป์ยึดเพียงเล็กน้อย
เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ท่อทองแดงแบบแข็งไม่สามารถดัดโค้งงอได้
เราใช้ข้อต่อมุมต่างๆ ตามต้องการแทนการดัด การต่อท่อทองแดงแบบแข็งจะใช้การประสานด้วย
ลวดเชื่อมเงิน ถ้าเป็นท่อน�้ำจะประสานด้วยการบัดกรีอ่อน ความยาวของท่อ 20 ฟุต/เส้น ขนาดและ
ความหนาจะเหมือนกับท่อทองแดงแบบอ่อน การต่อท่อทองแดงแบบแข็งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดใช้
เกลียวยึดแบบต่างๆ และชนิดใช้การบัดกรี

รูปที่ 4.1 ตัวต่อท่อทองแดงชนิดใช้เกลียวยึดแบบต่างๆ

59
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ข้อต่อตรง ข้อต่อ 3 ทาง

ข้อต่อ 90 องศา ข้อต่อตรงโดยใช้เกลียวขันคนละด้าน

รูปที่ 4.2 ตัวต่อท่อทองแดงชนิดใช้การบัดกรีแบบต่างๆ

1.2 ท่อเหล็ก (Steel Tubing) มีขนาดเหมือนกับท่อทองแดงแบบอ่อน สามารถต่อได้ทั้ง


ใช้แฟร์และการบัดกรีด้วยลวดเชื่อมเงิน ท่อทองแดงและท่อทองเหลืองไม่สามารถใช้ในงานเครื่องเย็นที่ใช้
สารท�ำความเย็นชนิด R-717 (แอมโมเนีย) เพราะจะเกิดปฏิกิริยาเคมีจนท�ำให้เกิดการผุกร่อนระหว่าง
แอมโมเนียกับทองแดงได้ จึงต้องใช้ท่อเหล็กแบบบางแทน
1.3 ท่อสเตนเลส (Stainless Steel Tubing) เป็นท่อที่แข็งแรง ป้องกันการผุกร่อนได้ดี และ
ง่ายต่อการต่อ ซึ่งจะใช้ได้ทั้งข้อต่อ (Fitting) และการบัดกรี ท่อที่ใช้งานส่วนมากจะมีรหัสหมายเลข 304
ซึ่งมีค่าคาร์บอน (C) นิกเกิล (Ni) และโครเมียม (Cr) ต�่ำ โดยทั่วไปใช้ในงานผลิตภัณฑ์อาหาร ไอศกรีม นม
ท่อสเตนเลสที่น�ำมาใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศจะมีขนาดตามตารางที่ 4.2

ตารางที่ 4.2 แสดงขนาดของท่อสเตนเลส

ความโตนอก ความหนา
เศษส่วน 1/4 3/8 1/2 5/8 3/4 1 1 1/4 ท่อสเตนเลสทั้งหมดที่นำ�มาใช้งาน
จุดทศนิยม .250 .375 .500 .625 .750 1.000 1.250 จะมีความหนาขนาดต่างๆ ตั้งแต่
(มิลลิเมตร) 6.35 9.25 1.27 15.87 19.05 25.40 31.75 (BWG) 31-20*
*Birmingham Wire Gagei

1.4 ท่อพลาสติก (Plastic Tubing) ส่วนมากเป็นท่อทีท่ �ำจากสารโพลีเอทิลนี (Polyethylene)


ขนาดของท่อจะมีขนาดตามตารางที่ 4.3

60
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ตารางที่ 4.3 แสดงขนาดของท่อพลาสติก

ความโตนอก ความหนา อัตราทนแรงดัน องศาการดัดต�่ำสุด


1/8 นิ้ว .020 500 1/2 นิ้ว
3/16 นิ้ว .030 500 1/2 นิ้ว
1/4 นิ้ว .040 400 1 นิ้ว
5/16 นิ้ว .062 600 1 1/8 นิ้ว
3/8 นิ้ว .062 350 1 1/4 นิ้ว
1/2 นิ้ว .062 250 2 1/2 นิ้ว

ท่อพลาสติกที่น�ำมาใช้ในงานจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง –73 ถึง 79 องศาเซลเซียส ดังนั้นจะไม่น�ำ


ท่อพลาสติกมาใช้งานในย่านที่อุณหภูมิสูงหรือต�่ำกว่านี้ โดยทั่วไปจะไม่น�ำท่อพลาสติกมาใช้เป็นท่อทาง
เดินของสารท�ำความเย็นของเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ แต่ใช้ท�ำเป็นท่อน�้ำเย็นและท่อน�้ำระบาย
ความร้อนของคอนเดนเซอร์ ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งาน สามารถตัดท่อด้วยมีดและดัดโค้งงอได้
การต่อท่อจะใช้ตัวต่อชนิดพิเศษส�ำหรับท่อพลาสติกโดยเฉพาะ
1.5 ท่อยืดหยุน่ (Flexible Tubing) บางครัง้
โพทิลีนชั้นนอก
เรียกว่า Hose เป็นท่อที่ถูกประยุกต์ใช้ในงานเครื่อง ใยถัก
ท�ำความเย็นและปรับอากาศ เป็นได้ทั้งท่อด้านดูดและ ท่อไนลอนด้านใน

ด้านอั ด ใช้ ใ นงานเครื่องปรับอากาศรถยนต์ห รื อ งาน


เครื่องปรับอากาศอุตสาหกรรม ปลายท่อยืดหยุ่นจะใช้
รูปที่ 4.3 ลักษณะของท่อยืดหยุ่น
Hose เพื่อใช้ในการต่อเข้ากับระบบต่างๆ แต่ท่อยืดหยุ่น
จะแตกร้าวได้ง่าย

ตั ว ต่ อ ท่ อ ยื ด หยุ ่ น โดยปกติ ท�ำจากทองเหลื อ ง


มีหลายชนิด ดังรูปที่ 4.4

รูปที่ 4.4 ตัวต่อท่อยืดหยุ่นแบบต่างๆ

61
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 2. การบอกขนาดของท่อทองแดง
การบอกขนาดของท่อทองแดง (Nominal Size Copper Tubing) สามารถบอกได้หลายขนาด คือ
Nominal Size Wall Thickness
Type OD (Inches)
(Inches) (Inches)
K 0.375 3/8 0.035
1/4
L 0.375 3/8 0.030
K 0.500 1/2 0.049
3/8
L 0.500 1/2 0.0035
K 0.625 5/8 0.049
1/2
L 0.625 5/8 0.040
5/8 K 0.750 3/4 0.049
K 0.875 7/8 0.065
3/4
L 0.875 7/8 0.045
K 1.125 1 1/8 0.065
1
L 1.125 1 1/8 0.050

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงอธิบายชนิดของท่อ ACR (Air Conditioning and Refrigeration) มาให้เข้าใจ
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
2. ท่อทองแดงชนิด K และชนิด L มีความแตกต่างกันอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

62
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

3. โรงงานน�้ำแข็งส่วนมากจะใช้อะไรเป็นสารท�ำความเย็นและใช้ท่อชนิดใด
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
4. ท่อที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นท่อชนิดใด และมีลักษณะอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
5. ท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมอาหารเป็นท่อชนิดใด และมีลักษณะอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

สรุป

งานท่อในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศเป็นงานที่มีความส�ำคัญอย่างมากในการน�ำ
สารท�ำความเย็นให้ผ่านเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบท�ำความเย็นเพื่อท�ำให้เกิดความเย็น
การตัดท่อ การบานท่อ และการขยายท่อ จึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

63
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
งานท่อ
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับงานท่อชนิดต่างๆ
2. ปฏิบัติการตัดท่อ บานท่อ และขยายท่อได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ตัวตัดท่อหรือคัตเตอร์ตัดท่อ
2. รีเมอร์
3. ชุดบานท่อ
4. ชุดขยายท่อ
5. ตลับเมตร
6. ดินสอ
7. ตะไบ
8. เลื่อยตัดเหล็ก
9. ท่อทองแดงขนาด 3/8 นิ้ว 5/16 นิ้ว 1/4 นิ้ว
1. การตัดท่อทองแดง

การใช้คัตเตอร์ตัดท่อ
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. คลี่ท่อทองแดงออกจากขดให้ถูกวิธี
2. วัดท่อเพือ่ ท�ำการตัดให้ยาวท่อนละ 3 นิว้ และขีดท�ำเครือ่ งหมายไว้
3. น�ำเครื่องมือตัดท่อมาท�ำการปรับความกว้างของใบมีดเพื่อที่จะสอด
ท่อทองแดงเข้าไป
4. น�ำท่อทองแดงที่จะตัดสอดเข้าไประหว่างใบมีดกับลูกกลิ้ง และปรับ
ใบมีดให้สัมผัสพอดีกับรอยขีด
การตัดท่อทองแดงด้วย
คัตเตอร์ตัดท่อ

64
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

5. หมุนด้านปรับใบมีดให้ใบมีดตัดผิวท่อทองแดงเล็กน้อย และหมุนตัวคัตเตอร์ไปรอบๆ ท่อจนเกิด


รอยตัดของใบมีดบนผิวทองแดง จากนั้นหมุนไปเรื่อยๆ โดยปรับให้ใบมีดตัดท่อสม�่ำเสมอ
จนกระทั่งท่อขาดออกจากกัน
6. ใช้เครื่องมือคว้านลบคมภายในและภายนอกท่อ

การลบคมท่อ

ข้อควรระวัง
1) อย่าหมุนด้านปรับใบมีดแน่นเกินไป จะท�ำให้ท่อยุบและใบมีดคัตเตอร์เสียหาย
2) การตัดท่อต้องระวังอย่าให้รอยตัดรอบท่อเป็นเกลียว จะตัดไม่ขาด


การใช้เลื่อยเหล็กตัดท่อ
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. คลี่ท่อทองแดงออกจากขดให้ถูกวิธี
2. วัดท่อเพือ่ ท�ำการตัดให้ยาวท่อนละ 3 นิว้ และขีดท�ำเครือ่ งหมายไว้
3. จับท่อทีจ่ ะท�ำการตัดด้วยปากกาจับท่อ
4. ใช้เลือ่ ยตัดเหล็กตัดตามรอยทีท่ �ำเครือ่ งหมายไว้จนขาดจากกัน โดย
หมุนไปรอบๆ
5. ใช้เครือ่ งมือคว้านลบคมภายในท่อ
ข้อควรระวัง การตัดท่อด้วยเลื่อยตัดเหล็ก
1) อย่าใช้เลือ่ ยทีม่ ฟี นั หยาบ
2) อย่าตัดท่อทองแดงด้านเดียวจนขาดจากกันโดยไม่หมุนไปรอบๆ

65
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

การใช้ตะไบตัดท่อ
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. คลี่ท่อรูเข็มออกจากม้วนให้ถูกวิธี
2. วัดท่อเพื่อท�ำการตัดให้ยาวท่อนละ 3 นิ้ว และขีดท�ำเครื่องหมายไว้
3. ใช้ตะไบสามเหลี่ยมถูให้รอบท่อรูเข็มจนใกล้ขาด
4. ใช้มือโยกท่อรูเข็มจนขาดออกจากกัน
ข้อควรระวัง การตัดท่อรูเข็มโดยใช้ตะไบ
1) อย่าใช้ตะไบถูด้านเดียวจนขาด สามเหลี่ยม
2) อย่าให้ปลายท่อรูเข็มตัน
สรุปข้อแตกต่างระหว่างการตัดท่อด้วยวิธกี ารต่างๆ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. การบานท่อ

การบานท่อขั้นเดียว
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. สอดท่อขนาด 1/4 นิ้ว เข้าไปในตัวจับท่อ (Flaring Block) ตาม
ขนาดของท่อ
2. ให้ ป ลายท่ อ ด้ า นที่ จ ะบานสู ง ขึ้ น มาประมาณ 1/3 ของความสู ง
ของปากรู (Chamfer)
3. ขันนอตของชุดบานท่อให้แน่นทั้ง 2 ด้าน
4. ใส่ Spinner เข้ากับตัวจับท่อ โดยให้ตัว Spinner อยู่ตรงกลางรูท่อ
5. ค่อยๆ ขันสกรูอัดตัว Spinner เข้ากับปากรู
6. ถอด Spinner ออกจากตัวจับท่อ และคลายนอตของชุดบานท่อออก
การบานท่อชั้นเดียว

66
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ข้อควรระวัง
1) ต้องตั้งให้ตัว Spinner อยู่ตรงกลางรูท่อ
2) อย่าให้ปลายท่อที่จะบานสูงหรือต�่ำกว่าปากรูมากเกินไป

การบานท่อ 2 ชั้น
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. สอดท่อขนาด 1/4 นิ้วเข้าไปในตัวจับท่อตามขนาดของท่อ
2. ให้ ป ลายท่ อ ด้ า นที่ จ ะบานสู ง ขึ้ น มาเท่ า กั บ ความหนาของ
อะแดปเตอร์
3. ขันนอตของชุดบานท่อให้แน่นทั้ง 2 ด้าน
4. น�ำอะแดปเตอร์ขนาดเดียวกับท่อ (1/4 นิว้ ) สวมเข้ากับปากของ
ท่อที่จะบาน ใส่ Spinner เข้ากับตัวจับท่อ โดยให้ตัว Spinner การบานท่อ 2 ชั้น
อยู่ตรงศูนย์ของอะแดปเตอร์
5. ค่อยๆ ขันสกรูอัดตัว Spinner ลงบนอะแดปเตอร์จนสัมผัสกับเรือนของตัวจับท่อ
6. ถอด Spinner ออกจากตัวจับท่อ และถอดอะแดปเตอร์ออก
7. ใส่ Spinner เข้ากับตัวจับท่ออีกครั้งหนึ่ง โดยให้ตัว Spinner อยู่ตรงกลางรูท่อ
8. ค่อยๆ ขันสกรูอัดตัว Spinner เข้ากับปากรูจนแน่น
9. ถอด Spinner ออกจากตัวจับท่อ และคลายนอตของชุดบานท่อออก
สรุปข้อแตกต่างระหว่างการบานท่อด้วยวิธกี ารต่างๆ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

67
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

3. การขยายท่อ

การขยายท่อแบบตอก
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. สอดท่อขนาด 1/4 นิ้วเข้าไปในตัวจับท่อตามขนาดของท่อ
2. ให้ปลายท่อด้านทีจ่ ะขยายสูงขึน้ มาเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ
3. ขันนอตของชุดตัวจับท่อให้แน่นทั้ง 2 ด้าน
4. ใช้ตัวตอกขนาดเดียวกับท่อสอดเข้าไปในท่อด้านที่จะท�ำการขยาย
5. วางตัวจับท่อเข้ากับปากกา
6. ใช้ค้อนหัวเหล็กตอกตัวตอกให้ท่อขยายออกจนสุด
7. ถอดตัวตอกออกจากท่อ
8. คลายนอตของตัวจับท่อ และถอดท่อที่ขยายออก การขยายท่อแบบตอก
ข้อควรระวัง การขยายท่อควรตอกตัวตอกให้ตรงเพื่อป้องกัน
ไม่ให้ท่อคด

การขยายท่อแบบขันสกรู
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. สอดท่อขนาด 1/4 นิ้วเข้าไปในตัวจับท่อตามขนาดของท่อ
2. ให้ปลายท่อด้านที่จะขยายสูงขึ้นมาเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของท่อ
3. ขันนอตของชุดตัวจับท่อให้แน่นทั้ง 2 ด้าน
4. ใส่ชุดขยายท่อขนาดเดียวกับท่อเข้ากับชุดบานท่อ และสอดเข้า
ไปในท่อด้านที่จะท�ำการขยาย
5. ค่อยๆ ขันสกรูตัวขยายจนกระทั่งตัวขยายสัมผัสกับปากรูพอดี การขยายท่อแบบขันสกรู
6. ถอดชุดบานท่อและตัวขยายท่อออก
7. คลายนอตของตัวจับท่อ และถอดท่อที่ขยายออก

68
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

สรุปข้อแตกต่างระหว่างการขยายท่อด้วยวิธกี ารต่างๆ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

69
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
งานท่อ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

70
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ท่อที่ใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศมีหน้าที่อะไร
1. ทำ�ให้เกิดความเย็น
2. เป็นท่อทางเดินของสารทำ�ความเย็น
3. ทำ�ให้เกิดความร้อน
4. เพื่อให้ระบบเกิดความดัน
2. ท่อที่นิยมใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็นที่ใช้สาร R-12 เป็นท่อชนิดใด
1. ท่อทองแดง 2. ท่อเหล็ก
3. ท่อพลาสติก 4. ท่อสเตนเลส
3. เมื่อมีการนำ�สารแอมโมเนียมาใช้จะต้องใช้ท่อชนิดใด
1. ท่อทองแดง 2. ท่อเหล็ก
3. ท่อพลาสติก 4. ท่อสเตนเลส
4. ท่อพลาสติกที่ใช้ในงานเครื่องทำ�ความเย็นเป็นท่อชนิดใด
1. ท่อความร้อน
2. ท่อสารทำ�ความเย็น R-12
3. ท่อสารทำ�ความเย็นแอมโมเนีย
4. ท่อความเย็นจัด
5. ท่อที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นท่อชนิดใด
1. ท่อทองแดง 2. ท่อเหล็ก
3. ท่อพลาสติก 4. ท่อสเตนเลส
6. ท่อทองแดงแบบแข็งจะมีความยาวท่อนละเท่าใด
1. 15 ฟุต 2. 20 ฟุต
3. 25 ฟุต 4. 30 ฟุต
7. ท่อที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศรถยนต์จะเป็นท่อชนิดใด
1. ท่อทองแดง 2. ท่อสเตนเลส
3. ท่อเหล็ก 4. ท่อแบบยืดหยุ่น

71
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

8. การต่อท่อสารทำ�ความเย็นที่ใช้ในรถยนต์ควรใช้วิธีการแบบใด
1. บัดกรีอ่อน 2. บัดกรีแข็ง
3. เชื่อมประสาน 4. เกลียวขัน
9. ท่อที่ใช้ทำ�เป็นคอนเดนเซอร์เป็นท่อชนิดใด
1. ท่อแบบอ่อน 2. ท่อแบบแข็ง
3. ท่อสเตนเลส 4. ท่อยืดหยุ่น
10. ข้อต่อมีลักษณะตรงกับข้อใด
1. ตัวเชื่อมต่อที่ต้องบัดกรี 2. ตัวประสาน
3. ตัวขันเชื่อมต่อ 4. ตัวที่ทำ�ให้มีความแข็ง

72
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
หลักการท�ำความเย็นเบื้องต้น

สาระการเรียนรู้
1. กฎของการทำ�ความเย็น
2. รอบของการอัด
3. หลักการทำ�งานของระบบเครือ่ งทำ�ความเย็น
แบบอัดไอ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกหลักการทำ�งานของระบบเครื่องทำ�
หลักการทำ� ความเย็นแบบอัดไอได้
ความเย็น 2. บอกหน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเครื่อง
เบื้องต้น ทำ�ความเย็นและปรับอากาศได้
3. เขี ย นวงจรการทำ � งานของระบบเครื่ อ ง
ทำ�ความเย็นแบบอัดไอได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของ
ระบบเครื่ อ งทำ � ความเย็ น แบบอั ด ไอและ
ปรับอากาศ
2. เข้ า ใจหน้ า ที่ ข องอุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ใ นงาน
เครื่องทำ�ความเย็น
3. ปฏิบัติการดัดท่อและการบัดกรีท่อเพื่อใช้
ในงานเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

73
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

หลักการทำ�ความเย็นเบื้องต้น

■ 1. กฎของการทำ�ความเย็น
ระบบการท�ำความเย็นทุกชนิดจะขึ้นอยู่กับหลักของความร้อน 5 ประการ คือ
1.1 ของไหลดู ด รั บ ความร้ อ นในขณะที่ ก�ำลั ง เปลี่ ย นสถานะจากของเหลวไปเป็ น แก๊ ส และ
คายความร้อนเมื่อก�ำลังเปลี่ยนสถานะจากแก๊สไปเป็นของเหลว
1.2 อุณหภูมิในขณะที่เปลี่ยนสถานะของสสารจะมีค่าคงที่เสมอ โดยถือว่าความดันคงที่
1.3 ความร้อนจะเคลื่อนที่จากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต�่ำกว่าเสมอ
1.4 โลหะที่ใช้ในการท�ำหน้าที่ส�ำหรับการเดือดและการกลั่นจะต้องท�ำจากโลหะที่น�ำความร้อน
ได้ดี เช่น ทองแดง ทองเหลือง อะลูมิเนียม เป็นต้น
1.5 พลังงานความร้อนสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ และพลังงานรูปอื่นๆ สามารถ
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนได้

■ 2. รอบของการอัด
การที่เรียกว่ารอบของการอัด (Compression Cycle) เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ซึ่งท�ำหน้าที่ดูด
และอัดไอของสารท�ำความเย็นจากความดันต�่ำให้เป็นความดันสูง ท�ำให้เกิดการหมุนเวียนของสารท�ำ
ความเย็น เป็นผลท�ำให้ความร้อนจากภายในตัวตู้หรือต�ำแหน่งที่ต้องการปรับอากาศถูกเคลื่อนย้ายออก
ไปสู่ข้างนอก หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ตามรอบของการท�ำงานของระบบการท�ำความเย็น ซึ่งจะท�ำให้เกิด
เป็นความดัน 2 ขนาดด้วยกัน คือ ความดันสูงและความดันต�่ำ ดังรูปที่ 5.1

74
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

สถานะเป็นของเหลว

อุปกรณ์ควบคุมการไหลของ
สารทำ�ความเย็น

อีวาปอเรเตอร์ ความดันต�่ำ ความดันสูง คอนเดนเซอร์


(รับความร้อน) (ระบายความร้อน)

(ดูด) คอมเพรสเซอร์ (อัด)


ท่อด้านดูด ท่อด้านอัด

สถานะเป็นไอหรือแก๊ส

รูปที่ 5.1 วัฏจักรของการทำ�ความเย็น

จากรูปที่ 5.1 จะเห็นว่ามีเส้นประแสดงด้านความดันสูงและความดันต�่ำ ในระบบการท�ำความเย็น


แบบอัดไอจะเป็นระบบที่มีหลักการที่แน่นอน ซึ่งจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักที่ส�ำคัญ 4 ตัว คือ
2.1 คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็น
อุปกรณ์ทที่ �ำหน้าทีด่ ดู และอัดสารท�ำความเย็นทีม่ สี ถานะ
เป็นไอความดันต�่ำจากอีวาปอเรเตอร์ (Evaporator)
และอัดให้มีความดันสูงส่งไประบายความร้อนออกที่
คอนเดนเซอร์ (Condenser) รูปที่ 5.2 คอมเพรสเซอร์

2.2 คอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นอุปกรณ์
ทีท่ �ำหน้าทีร่ ะบายความร้อนออกจากสารท�ำความเย็นทีม่ ี
สถานะเป็นไอความดันสูง ซึ่งรับมาจากคอมเพรสเซอร์
โดยผ่านมาทางท่อทางอัด (Discharge Line)
รูปที่ 5.3 คอนเดนเซอร์

75
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2.3 อุปกรณ์ควบคุมสารท�ำความเย็น (Refrigerant


Control) ท�ำหน้ า ที่ ล ดความดั น และควบคุ ม ปริ ม าณของ
สารท�ำความเย็ น ที่ มี ส ถานะเป็ น ของเหลวที่ จ ะเข้ า ไปยั ง ตั ว
อีวาปอเรเตอร์
รูปที่ 5.4 อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
ท่อทางดูด
ไปยังคอมเพรสเซอร์ ไอสารทำ�
ความเย็น
2.4 อีวาปอเรเตอร์ (Evaporator) เป็นอุปกรณ์
ในระบบการท�ำความเย็นที่สารท�ำความเย็นเข้ามาเดือดหรือ
กลายเป็นไอจนท�ำให้เกิดความเย็น

ท่อของเหลวจากถังพัก อุปกรณ์ควบคุม
สารทำ�ความเย็น สารทำ�ความเย็น
รูปที่ 5.5 อีวาปอเรเตอร์

นอกเหนือจากอุปกรณ์ทั้ง 4 ตัวที่กล่าวมาแล้ว ในระบบการท�ำงานจะต้องมีอุปกรณ์ประกอบ


การท�ำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการท�ำงานซึ่งมีดังต่อไปนี้
1) ท่อทางอัด (Discharge Line) เป็นท่อที่ส่งสารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอหรือแก๊สจาก
คอมเพรสเซอร์ไปที่คอนเดนเซอร์
2) ท่อทางดูด (Suction Line) เป็นท่อที่รับสารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอหรือแก๊สจาก
อีวาปอเรเตอร์มาที่คอมเพรสเซอร์
3) ท่อของเหลว (Liquid Line) เป็นท่อทางเดินของสารท�ำความเย็นเหลวที่รับมาจาก
คอนเดนเซอร์โดยตรงหรือถังพักน�้ำยาเหลว

4) ตัวกรองความชื้น (Filter Drier) เป็นตัวกรองความชื้น


และเศษผงที่เกิดจากการท�ำงานของคอมเพรสเซอร์
รูปที่ 5.6 ตัวกรองความชื้น

5) ถังเก็บสารท�ำความเย็นเหลว (Liquid Receiver) เป็น


อุปกรณ์ที่รวบรวมสารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวที่เกิดการ
กลั่นตัวจากคอนเดนเซอร์
รูปที่ 5.7 ถังพักน�้ำยาเหลว

76
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

อีวาปอเรเตอร์

ตัวควบคุม คอนเดนเซอร์
การทำ�ความเย็น

ฟิลเตอร์
ท่อของเหลว ดรายเออร์
ท่อทางดูด
คอมเพรสเซอร์

รูปที่ 5.8 วงจรการทำ�งานของเครื่องทำ�ความเย็นแบบอัดไอ

■ 3. หลักการทำ�งานของระบบเครือ่ งทำ�ความเย็นแบบอัดไอ
หลั ก การท�ำงานของระบบเครื่ อ งท�ำความเย็ น แบบอั ด ไอ ในขณะที่ ค อมเพรสเซอร์ ท�ำงาน
สารท�ำความเย็นจะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดเข้ามาทางท่อทางดูด ซึ่งความดันและอุณหภูมิของสารท�ำ
ความเย็ น จะต�่ำ เมื่ อ สารท�ำความเย็ น ถู ก คอมเพรสเซอร์ อั ด จะท�ำให้ ป ริ ม าตรมี ค ่ า ลดลง มี ผ ลท�ำให้
ความดันสูงขึ้นและอุณหภูมิก็จะสูงขึ้นตาม และส่งสารท�ำความเย็นออกมาทางท่ออัดเข้าไปสู่คอนเดนเซอร์
เพือ่ ทีจ่ ะลดอุณหภูมขิ องสารท�ำความเย็น ท�ำให้สารท�ำความเย็นเปลีย่ นสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลว
โดยที่ความดันยังสูงอยู่ เรียกว่า การกลั่น ซึ่งสารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวนี้จะถูกกรองเศษ
ของการสึกหรอที่เกิดจากการท�ำงานของคอมเพรสเซอร์ และความชื้นจะถูกส่งมาเก็บที่ถังเก็บสารท�ำ
ความเย็นเหลว (Liquid Receiver) ที่อยู่ใต้คอนเดนเซอร์ หลังจากนั้นสารท�ำความเย็นจะถูกส่งไปที่
ตัวควบคุมน�้ำยา ท�ำให้ความดันของสารท�ำความเย็นลดลง และส่งผ่านเข้าไปที่อีวาปอเรเตอร์และ
เกิดการเดือดขึ้น การเดือดของสารท�ำความเย็นเหลวจะดึงเอาความร้อนรอบๆ ตัวอีวาปอเรเตอร์ เพื่อ
ท�ำให้ ส ารท�ำความเย็ น เปลี่ ย นสถานะเป็ น แก๊ ส ปริ ม าตรของสารจะเพิ่ ม ขึ้ น และถู ก ดู ด กลั บ มายั ง
ที่คอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูดอีกครั้งหนึ่ง

77
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

1. จงเขียนวัฏจักรของระบบการทำ�ความเย็น

2. จงเขียนวงจรการทำ�งานของเครื่องทำ�ความเย็นแบบอัดไอและอธิบายการทำ�งานของวงจร


............................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................

78
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5


สรุป

ระบบทำ�ความเย็นแบบอัดไอนิยมใช้ในตูเ้ ย็นและเครือ่ งปรับอากาศ ประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์


คอนเดนเซอร์ ตัวควบคุมสารทำ�ความเย็น อีวาปอเรเตอร์ อุปกรณ์ยอ่ ย การประกอบวงจรเข้าด้วยกัน
โดยการดั ด ท่ อ และการบั ด กรี ท่ อ เข้ า ด้ ว ยกั น ควรศึ ก ษาหลั ก การพื้ น ฐานของการทำ � ความเย็ น
แบบระบบอัดไอ วัฏจักรของการทำ�ความเย็น การจัดเรียงลำ�ดับของอุปกรณ์ และอุปกรณ์ของ
ระบบการทำ�ความเย็นแต่พอสังเขป

79
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
การดัดท่อและการบัดกรีท่อ
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับการดัดท่อและการบัดกรีท่อ
2. ปฏิบัติการดัดท่อและบัดกรีท่อได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ตัวตัดท่อหรือคัตเตอร์ตัดท่อ
2. รีเมอร์
3. ชุดขยายท่อ
4. เครื่องมือดัดท่อ
5. ตลับเมตร
6. ดินสอ
7. ชุดเชื่อมแก๊สและแว่นตาสำ�หรับเชื่อมแก๊ส
8. ลวดเชื่อมเงินและลวดเชื่อมทองเหลือง
9. น�้ำยาประสาน
10. กระดาษทราย
11. ท่อทองแดงขนาด 3/8 นิ้ว 5/16 นิ้ว
1. การดัดท่อทองแดง
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. คลี่ท่อทองแดงออกจากขดให้ถูกวิธี
2. ท�ำการตัดท่อทองแดงยาวท่อนละ 12 นิ้ว จ�ำนวน 8 ท่อน และ
ลบคมท่อให้เรียบร้อย
3. น�ำท่อทองแดงที่เตรียมไว้มาสอดเข้าในสปริงดัดท่อ แล้วท�ำการดัด การคลี่ท่อทองแดงออกจากขด
เป็นมุม 30, 45, 90 และ 180 องศา
4. น�ำท่อทองแดงที่เตรียมไว้มาท�ำการดัดด้วยเครื่องมือดัดท่อและ
ท�ำการดัดเป็นมุม 30, 45, 90 และ 180 องศา
การดัดท่อด้วยสปริง

80
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

5. ในขณะท�ำการดัด ค่อยๆ โยกให้คันโยกเคลื่อนที่ช้าๆ


ข้อควรระวัง
1) ต้องเลือกขนาดของเครื่องมือดัดท่อให้ตรงกับขนาดของท่อ
ที่จะท�ำการดัด
2) ท่อทีจ่ ะท�ำการดัดต้องไม่บางเกินไป การดัดท่อด้วยเครื่องมือดัดท่อ
สรุปข้อแตกต่างระหว่างการดัดท่อด้วยวิธกี ารต่างๆ
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
2. การบัดกรีท่อ
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ขั้นเตรียมงาน
1.1 ท�ำการตัดท่อทองแดงยาวท่อนละ 6 นิว้ จ�ำนวน 8 ท่อน และ
ลบคมท่อให้เรียบร้อย
1.2 ท�ำการขยายท่อจ�ำนวน 4 ท่อน
1.3 ท�ำความสะอาดท่อทีจ่ ะท�ำการบัดกรีให้เรียบร้อยด้วยกระดาษ
ทราย
1.4 น�ำท่อสวมเข้าด้วยกัน
การสวมท่อที่จะทำ�การบัดกรี
2. ขั้นปฏิบัติการเชื่อม
2.1 เปิดวาล์วหัวถังอะเซทิลีนทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 1/4 รอบ
และปรับความดันใช้งานประมาณ 5 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
2.2 เปิดวาล์วหัวถังออกซิเจนทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 1/4 รอบ
และปรับความดันใช้งานประมาณ 20 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
2.3 เปิ ด วาล์ ว อะเซทิ ลี น ที่ หั ว เชื่ อ มพอประมาณ และท�ำการ
จุดอะเซทิลีนด้วยตัวจุดประกายไฟ (Spark Lighter)
2.4 เปิดและปรับออกซิเจนให้พอเหมาะกับการใช้งาน
2.5 ท�ำการอุ่นชิ้นงานรอบๆ บริเวณต�ำแหน่งที่จะท�ำการบัดกรี การเชื่อมท่อทองแดง
2.6 ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานบริเวณต�ำแหน่งที่จะท�ำการบัดกรี

81
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2.7 น�ำลวดเชื่อมเงินมาท�ำการประสานโดยรอบรอยต่อ
2.8 เมื่อท�ำการบัดกรีเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดวาล์วของอะเซทิลีนที่หัวเชื่อมก่อน
2.9 ปิดวาล์วของออกซิเจน
2.10 ปิดวาล์วที่หัวถังให้เรียบร้อย
ข้อควรระวัง
1) เปิดวาล์วทีจ่ ะน�ำไปใช้งานให้พอดี คือ อะเซทิลนี เปิด 5 PSI ถังออกซิเจนเปิด 20 PSI
2) ไม่ควรปรับไฟแรงเกินไป เพราะจะท�ำให้ท่อทะลุและละลายได้
3) ไม่ควรให้เปลวไฟเข้าใกล้กับท่อทองแดงจนเกินไป เพราะจะท�ำให้ท่อเสียหายได้
4) ขณะลนท่อ เมื่อท่อร้อนแดงจะต้องถอยหัวเชื่อมให้ห่างจากท่อ มิฉะนั้นท่อทองแดงจะทะลุ
5) เมื่อบัดกรีเสร็จอย่าเพิ่งจับท่อ เพราะท่อยังร้อนอยู่
6) ไม่ควรใช้ไม้ขีดจุดไฟ
สรุปข้อแตกต่างระหว่างการบัดกรีทอ่ ด้วยวิธกี ารต่างๆ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

82
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

แบบประเมินผลใบงาน
การดัดท่อและการบัดกรีท่อ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

83
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. เมื่อสสารคายความร้อนออกจะเป็นอย่างไร
1. เปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ
2. เปลี่ยนสถานะจากไอกลายเป็นของเหลว
3. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว
4. สสารเกิดการขยายตัว
2. อุปกรณ์ที่ทำ�หน้าที่ดูดและอัดสารทำ�ความเย็นคืออะไร
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. อีวาปอเรเตอร์
3. อุปกรณ์ที่ทำ�หน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นไอคืออะไร
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. อีวาปอเรเตอร์
4. อุปกรณ์ที่สารทำ�ความเย็นเข้ามาเดือดหรือทำ�หน้าที่ดูดรับความร้อนคืออะไร
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. อีวาปอเรเตอร์
5. อุปกรณ์ที่ทำ�หน้าที่ลดความดันและควบคุมปริมาณของสารทำ�ความเย็นคืออะไร
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. อีวาปอเรเตอร์

84
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

6. ตัวกรองความชื้นและเศษผงที่เกิดจากการทำ�งานของคอมเพรสเซอร์คืออะไร
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. ถังพักน�้ำยาเหลว
4. ตัวกรองความชื้น
7. ท่อทางอัดเป็นท่อที่ส่งสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นไอหรือแก๊สจากอุปกรณ์ใด
1. จากอีวาปอเรเตอร์มาที่คอมเพรสเซอร์
2. จากคอมเพรสเซอร์ไปที่คอนเดนเซอร์
3. จากคอนเดนเซอร์ไปที่อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. จากอุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็นมาที่คอมเพรสเซอร์
8. ท่อทางดูดเป็นท่อที่รับสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นไอจากอุปกรณ์ใด
1. จากอีวาปอเรเตอร์มาที่คอมเพรสเซอร์
2. จากคอมเพรสเซอร์ไปที่คอนเดนเซอร์
3. จากคอนเดนเซอร์ไปที่อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. จากอุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็นมาที่คอมเพรสเซอร์
9. ท่อของเหลวเป็นท่อทางเดินของสารทำ�ความเย็นเหลวที่รับมาจากอุปกรณ์ใด
1. จากอีวาปอเรเตอร์มาที่คอมเพรสเซอร์
2. จากคอมเพรสเซอร์ไปที่คอนเดนเซอร์
3. จากคอนเดนเซอร์ไปที่อุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็น
4. จากอุปกรณ์ควบคุมสารทำ�ความเย็นมาที่คอมเพรสเซอร์
10. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ทร่ี วบรวมสารทำ�ความเย็นทีม่ สี ถานะเป็นของเหลวทีเ่ กิดการกลัน่ ตัวจากคอนเดนเซอร์
1. คอมเพรสเซอร์
2. คอนเดนเซอร์
3. ถังพักน�้ำยาเหลว
4. ตัวกรองความชื้น

85
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
คอมเพรสเซอร์

สาระการเรียนรู้
1. ลักษณะของคอมเพรสเซอร์
2. ชนิดของคอมเพรสเซอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกลักษณะของคอมเพรสเซอร์ได้
คอมเพรสเซอร์ 2. บอกชนิดของคอมเพรสเซอร์ได้
3. ตรวจสอบคอมเพรสเซอร์ได้
4. เลือกใช้คอมเพรสเซอร์ได้อย่างเหมาะสม

สมรรถนะประจำ�หน่วย
1. แสดงความรูเ้ กีย่ วกับชนิดของคอมเพรสเซอร์
ที่ใช้ในระบบเครื่องทำ�ความเย็นแบบต่างๆ
2. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของ
คอมเพรสเซอร์
3. เลือกใช้คอมเพรสเซอร์ได้อย่างเหมาะสม
และปฏิบัติการต่อคอมเพรสเซอร์กับวงจร
ทางกล

86
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

คอมเพรสเซอร์
■ 1. ลักษณะของคอมเพรสเซอร์
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาถึงอุปกรณ์หลักที่ส�ำคัญที่ท�ำหน้าที่ดูดและอัดสารท�ำความเย็น เพื่อ
ท�ำให้เกิดการรับและคายความร้อนของระบบเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ โดยดูดสารท�ำความ
เย็นจากอีวาปอเรเตอร์โดยผ่านทางท่อทางดูดและอัดสารท�ำความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น และส่งไป
ระบายความร้อนออกที่คอนเดนเซอร์ อุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่า คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เปรียบเสมือน
หัวใจของระบบการท�ำความเย็น เพราะคอมเพรสเซอร์ท�ำหน้าที่อัดสารท�ำความเย็นให้ไหลเข้าสู่ระบบ
ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของมนุษย์ที่ท�ำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง
คอมเพรสเซอร์ถือเป็นอุปกรณ์หลักในระบบการท�ำความเย็นซึ่งมีอยู่หลายแบบ และแต่ละแบบ
ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายชนิดตามจุดประสงค์ของการน�ำไปใช้งาน

■ 2. ชนิดของคอมเพรสเซอร์
ชนิดของคอมเพรสเซอร์ แบ่งออกดังนี้
2.1 คอมเพรสเซอร์แบบเปิด (Open Type Compressor)
จะมีตวั อัดอากาศและตัวต้นกำ�ลัง (Primover) แยกกันอยูอ่ ย่างอิสระ
การส่งถ่ายกำ�ลังจะอาศัยสายพาน (Belt) หรือตัวต่อ (Coupling)
คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะใช้กับเครื่องปรับอากาศของรถยนต์และ
เครื่องทำ�ความเย็นขนาดใหญ่ รูปที่ 6.1 คอมเพรสเซอร์แบบเปิด
เปลือกหรือกรอบโครง
2.2 คอมเพรสเซอร์แบบปิด (Hermetic Compressor) เสื้อสูบ
จะมีตัวอัดอากาศและตัวต้นก�ำลังอยู่ในกรอบโครงเดียวกัน การส่ง ก้านสูบ
กระบอกสูบ
ถ่ายก�ำลังจะต่อกันโดยตรงระหว่างแกนเพลาของตัวอัดอากาศกับ
ตัวต้นก�ำลัง และมีการเชื่อมปิดสนิท มีท่อทางเดินของสารท�ำความ ขั้วต่อไฟฟ้า
เย็นโผล่ออกมา 3 ท่อ คือ ท่อทางดูด (Suction Line) เป็นท่อที่มี
ลักษณะโตที่สุด ท่อทางอัด (Discharge Line) เป็นท่อที่มีลักษณะ มอเตอร์โรเตอร์
มอเตอร์สเตเตอร์
เล็กที่สุด และท่อบริการ (Service Line) เป็นท่อที่มีขนาดกลางๆ
รูปที่ 6.2 คอมเพรสเซอร์แบบปิด

87
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

นอกจากนี้ยังมีขั้วต่อไฟฟ้าโผล่อีก 3 ขั้ว คือ ขั้วคอมมอน (Common Terminal) ขั้วปลาย


ขดสตาร์ต (Start Terminal) และขั้วปลายขดรัน (Run)
2.3 คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด (Semi Hermetic Compressor) มีลักษณะเหมือนกับ
คอมเพรสเซอร์แบบปิด แต่ตา่ งกันตรงทีค่ อมเพรสเซอร์แบบกึง่ ปิดจะอาศัยนัตยึดปิดเท่านัน้ เพือ่ ความสะดวก
ในการซ่อมเมื่อตัวอัดอากาศหรือตัวต้นก�ำลังช�ำรุด
ฝาสูบ

เปลือกมอเตอร์

ปั๊มน�้ำมันเครื่อง

กระจกมองน�้ำมันเครื่อง

รูปที่ 6.3 คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด

คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด แบ่งตามลักษณะของการอัดอากาศได้เป็น 4 ชนิด คือ


2.3.1 คอมเพรสเซอร์ กึ่ ง ปิ ด แบบลู ก สู บ (Reciprocating Compressor) เป็ น
คอมเพรสเซอร์ที่อาศัยการเคลื่อนที่ขึ้นและลงของลูกสูบ ท�ำให้เกิดการดูดและการอัดสารท�ำความเย็น
เพื่อท�ำให้เกิดการหมุนเวียนของสารท�ำความเย็น และยังท�ำให้เกิดความแตกต่างของความดันภายในระบบ
อีกด้วย

ก้านสูบ ลูกสูบ แหวนลูกสูบ

สลักลูกสูบ แหวนล็อก แหวนน�้ำมัน


สลักลูกสูบ

รูปที่ 6.4 ชุดลูกสูบของคอมเพรสเซอร์

88
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบลูกสูบ มีดังนี้
1) เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) ท�ำมาจากเหล็กหล่อ มีหน้าที่ท�ำให้เกิดการเคลื่อนที่
ขึน้ -ลงของลูกสูบ

สลักลูกสูบ
เพลาข้อเหวี่ยง

รูปที่ 6.5 เพลาข้อเหวี่ยง

ลิ้นด้านอัด
2) ลิ้นทางดูดและทางอัด ท�ำมาจาก
ทองเหลื อ งหรื อ วั ส ดุ ผิ ว มั น และมี ค วามเรี ย บสู ง สารทำ� สารทำ�
ความเย็นเข้า ความเย็นออก
ท�ำหน้ า ที่ เ ปิ ด ให้ ส ารท�ำความเย็ น ไหลเข้ า ใน
กระบอกสูบ และปิดให้สารท�ำความเย็นไหลออกจาก ลิ้นด้านดูด
กระบอกสูบไปยังคอนเดนเซอร์ ซึ่งลิ้นทางดูดและลิ้น
ทางอัดมีหลักการท�ำงาน ดังนี้ รูปที่ 6.6 ลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัด
(1) จังหวะดูด เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่
ลง ความดันภายในกระบอกสูบจะลดต�่ำลงไปเรื่อยๆ
ฝาสูบ
จนถึ ง ต�ำแหน่ ง หนึ่ ง ที่ ค วามดั น ในกระบอกสู บ จะ
ลิ้นทางดูดเปิด ไอสารทำ�ความเย็น
ต�่ ำ กว่ า ความดั น ของท่ อ ทางดู ด และดั น ให้ ลิ้ น ทาง
ดูดเปิด สารท�ำความเย็นจากท่อทางดูดจะไหลเข้ามายัง
แหวนลูกสูบ ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสุด
ภายในของกระบอกสูบเรื่อยๆ จนลูกสูบเคลื่อนที่ลง ก้านลูกสูบ
จนถึงจุดศูนย์ตายล่าง ความดันภายในกระบอกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง
จะมีค่าเท่ากับความดันของสารท�ำความเย็นของท่อ
ทางดูด ลิ้นทางด้านดูดจะเปิด ส่วนลิ้นทางด้านอัด รูปที่ 6.7 ลักษณะการทำ�งานของ
ยังคงปิดเหมือนเดิม คอมเพรสเซอร์จังหวะดูด

89
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

(2) จั ง หวะอั ด เมื่ อ ลู ก สู บ เริ่ ม


เคลื่ อ นที่ ขึ้ น จากจุ ด ศู น ย์ ต ายล่ า ง ความดั น ภายใน
ลิ้นทางอัดเปิด
กระบอกสูบเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ลิ้นทางดูดจะปิดสนิท
ลูกสูบเคลื่อนที่
ขึ้นตามความดันภายในกระบอกสูบ ส่วนลิ้นทางอัด ขึ้นสูงสุด
จะค่อยๆ เริ่มเปิดขึ้น เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
ความดั น ภายในกระบอกสู บ จะสู ง กว่ า ความดั น
ภายในท่ อ ทางอั ด ท�ำให้ ลิ้ น ทางอั ด ถู ก ท�ำให้ เ ปิ ด
สารท�ำความเย็นซึ่งมีความดันสูงที่ถูกอัดนี้จะถูกอัด
ส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อท�ำการระบายความร้อน รูปที่ 6.8 ลักษณะการทำ�งานของ
ออกจากสารท�ำความเย็น คอมเพรสเซอร์จังหวะอัด
2.3.2 คอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบโรตารี่ (Rotary Compressor) เป็นคอมเพรสเซอร์
ชนิดหนึ่งที่อาศัยการหมุนของตัวกวาดหมุนไปรอบๆ แกนเพลา เพื่อท�ำหน้าที่ดูดสารท�ำความเย็นที่มี
สถานะเป็ น ไอเพื่ อ ที่ จ ะท�ำให้ มี แรงดั น สู ง ขึ้ น ปั จ จุ บั น นิ ย มใช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายเนื่ อ งจากมี ข ้ อ ดี คื อ
ประหยัดพลังงานไฟฟ้า มีเสียงเงียบ และการสั่นสะเทือนน้อย
ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบโรตารี่ มีดังนี้
1) ตัวกวาดสารท�ำความเย็น ท�ำหน้าที่ให้เกิดการดูดและการอัด
2) ใบมีด ท�ำหน้าที่ให้เกิดการแบ่งเป็นห้องดูดและห้องอัดตามจังหวะการหมุนของตัวกวาด
สารท�ำความเย็น และจะสัมพันธ์กับผิวของตัวกวาดสารท�ำความเย็นอย่างสนิทและตลอดเวลา
3) สปริ ง ดั น ใบมี ด ท�ำหน้ า ที่ ดั น ให้ ใ บมี ด สั ม ผั ส อยู ่ กั บ ผิ ว ของตั ว กวาดสารท�ำความเย็ น
ตลอดเวลา
คอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบโรตารี่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
(1) แบบใบมีดอยู่กับที่ มีหลักการดังรูปที่ 6.9
เปลือก
ใบมีด

ก ข ค ง
รูปที่ 6.9 คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบมีดอยู่กับที่

90
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

จากรูปที่ 6.9 ก ตัวแหวนกวาดสารท�ำความเย็นจะกดใบมีดให้ลงต�่ำสุดและปิดรูทางเข้า


และทางออกของสารท�ำความเย็น จังหวะนี้เรียกว่า จังหวะเริ่มดูดและจังหวะเริ่มอัด
จากรูปที่ 6.9 ข เมื่อให้ตัวแหวนกวาดสารท�ำความเย็นมีทิศทางการหมุนตามเข็มนาฬิกา
จะท�ำให้เกิดห้องรับสารท�ำความเย็นซึ่งค่อยๆ โตขึ้นตามมุมของการหมุน สารท�ำความเย็นจะไหลเข้ามาอยู่
ในช่องต�ำแหน่งนี้ ส่วนสารท�ำความเย็นที่มีอยู่เดิมจะถูกอัดให้มีปริมาณน้อยลง
จากรูปที ่ 6.9 ค เมือ่ แหวนกวาดสารท�ำความเย็นสัมผัสกับผิวของกระบอกอยูใ่ นแนวแรงเดียว
กับใบมีด ในต�ำแหน่งนีใ้ บมีดจะเคลือ่ นทีอ่ อกมาสูงสุด โดยแรงดันของสปริงห้องของสารท�ำความเย็นทีด่ ดู เข้า
จะมีขนาดเท่ากับห้องด้านอัด และสารท�ำความเย็นจะถูกดันออกไปยังคอนเดนเซอร์
จากรูปที่ 6.9 ง เมื่อแหวนกวาดสารท�ำความเย็นหมุนหรือกวาดไปเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกา
ห้องด้านดูดสารท�ำความเย็นจะโตขึ้นเรื่อยๆ ส่วนห้องอัดสารท�ำความเย็นจะแคบลงเรื่อยๆ จนถึงต�ำแหน่ง
ที่ใบมีดจะดูดดันลงให้ต�่ำสุด ท�ำให้ท่อทางดูดและท่อทางอัดปิด เมื่อผ่านจากต�ำแหน่งนี้ไป คอมเพรสเซอร์
ก็จะวนเข้าสู่การท�ำงานต่อไปเรื่อยๆ
(2) แบบใบมีดเคลื่อนที่ คอมเพรสเซอร์แบบนี้จะท�ำงานตรงกันข้ามกับแบบใบมีดอยู่กับที่
ตั ว ใบมี ด จะฝั ง ตั ว อยู ่ ใ นตั ว กวาดสารท�ำความเย็ น ในขณะที่ ตั ว หมุ น กวาดสารท�ำความเย็ น หมุ น ห่ า ง
ออกไป สปริงจะดันให้ใบมีดชนกับกระบอกสูบ และเคลื่อนที่ไปโดยรอบเพื่อท�ำหน้าที่แบ่งห้องดูดและ
ห้องอัด ดังรูปที่ 6.10

รูปที่ 6.10 คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบมีดเคลื่อนที่

คอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบโรตารี่จะต้องมีวาล์วกันกลับ เพื่อป้องกันสารท�ำความเย็นซึ่งซึม
และย้อนกลับมาทางท่อทางดูด
2.3.3 คอมเพรสเซอร์กึ่งปิดแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Compressor)
คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะไม่มีลิ้นปิด-เปิด และลูกสูบใบพัดมีลักษณะเป็นรูปโค้งท�ำด้วยโลหะสเตนเลส
หรือเหล็กเหนียว ถูกประกอบอยู่ในจานล้อหรือกลมที่ยึดติดกับเพลาอีกชิ้นหนึ่ง จ�ำนวนล้อเหวี่ยงจะมีกี่อัน
หรือขนาดเล็ก-ใหญ่เท่าใดขึ้นอยู่กับขนาดแรงม้าของเครื่องท�ำความเย็น

91
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

หลั ก การท�ำงานจะคล้ า ยกั บ กั ง หั น ไอน�้ ำ คื อ สารท�ำ


ความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีแรงดันต�่ำจะไหลเข้ามาตามแกนของ
ล้อเหวี่ยง ในขณะที่เพลาหมุนด้วยความเร็วสูงจะเกิดแรงเหวี่ยงขึ้น
แรงเหวี่ยงนี้จะท�ำให้แก๊สถูกอัดจนมีความดันสูงกลายเป็นไอร้อนไหล Exhaust
ตามช่อง ผ่านไปยังล้อเหวี่ยงอีกด้านหนึ่งเพื่อส่งแก๊สร้อนต่อไปยัง
ตั ว คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ ช นิ ด นี้ ส ่ ว นมากใช้ กั บ เครื่ อ ง Intake
ท�ำความเย็นขนาดใหญ่ 30 ตันขึ้นไป รูปที่ 6.11 ลักษณะของใบพัด
แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

7 8 1
9 1. ตัวอัดที่ 2
2. ท่อออก
3. คอนเดนเซอร์
4. ถังน�้ำมันเครื่อง
5. ตัวกรองน�้ำมันเครื่อง
6. ตัวกรองสารท�ำความเย็น
7. ตู้ควบคุม
8. ตัวอัดที่ 1
6 5 4 9. มอเตอร์
3 2

รูปที่ 6.12 ลักษณะโครงสร้างภายนอกของคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

2.3.4 คอมเพรสเซอร์ กึ่ ง ปิ ด แบบ


เกียร์ (Screw Compressor) คอมเพรสเซอร์
ชนิดนี้ได้ถูกพัฒนามาจากคอมเพรสเซอร์ชนิด
ไร้น�้ำมัน เป็นคอมเพรสเซอร์ที่มีตัวหมุน 2 ตัว ดูดสารทำ�ความเย็นเข้า เริ่มรีดสารทำ�ความเย็น
ตัวหนึ่งเป็นตัวผู้และอีกตัวหนึ่งเป็นตัวเมีย ซึ่ง
หมุนเข้าหากันเพือ่ ทีจ่ ะรีดสารท�ำความเย็นออกสู่
ด้านนอก ท�ำให้มีข้อดีคือ มีส่วนที่สึกหรอน้อย
รีดสารทำ�ความเย็น สารทำ�ความเย็นถูกดันให้ออก
และมีอัตราการอัดได้สูง การดูดและการอัดสาร
ท�ำความเย็นอยูใ่ นลักษณะแนวนอนดังรูปที่ 6.13 รูปที่ 6.13 การอัดสารทำ�ความเย็นของคอมเพรสเซอร์

92
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. คอมเพรสเซอร์มีหน้าที่อย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
2. คอมเพรสเซอร์แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
3. คอมเพรสเซอร์แบ่งตามลักษณะของการอัดอากาศได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
4. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมีหลักการทำ�งานอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

สรุป

คอมเพรสเซอร์ เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ทำ � หน้ า ที่ ดู ด สารทำ � ความเย็ น ที่ มี ส ถานะเป็ น ไอหรื อ แก๊ ส
จากอีวาปอเรเตอร์ โดยอัดสารทำ�ความเย็นให้มีความดันสูงขึ้นและส่งสารทำ�ความเย็นนั้นไประบาย
ความร้อนออกที่คอนเดนเซอร์ เพื่อทำ�ให้สารทำ�ความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว

93
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
คอมเพรสเซอร์
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์ชนิดต่างๆ
2. ปฏิบัติการตรวจเช็กคอมเพรสเซอร์ได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
2. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
3. ชุดเครื่องเชื่อม
4. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
5. ชุดเครื่องมืองานไฟฟ้า
6. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
7. ชุดเครื่องมือวัดความดัน
1. การตรวจสอบสภาพของคอมเพรสเซอร์

การเช็กหาขั้วต่อไฟฟ้า (Terminal) ของคอมเพรสเซอร์


ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. น�ำมัลติมิเตอร์มาปรับย่านการวัดค่าความต้านทานให้อยู่ในต�ำแหน่ง 1
R × 1 และท�ำการปรับค่าศูนย์ก�ำหนดขัว้ ต่อไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์
1.1 น�ำปลายสายสีแดงจีท้ จี่ ดุ 1 สายสีด�ำจีท้ จี่ ดุ 2 อ่านค่าทีข่ นึ้ บนสเกล 2 3
(1-2 = ...................)
1.2 น�ำปลายสายสีแดงจี้ที่จุด 1 ปลายสายสีด�ำจี้ที่จุด 3 อ่านค่าที่ขึ้น การตรวจหาขั้วหลักของ
บนสเกล (1-3 = ...................) มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
1.3 น�ำปลายสายสีแดงจี้ที่จุด 2 ปลายสายสีด�ำจี้ที่จุด 3 อ่านค่าที่ขึ้น
บนสเกล (2-3 = ...................)

94
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

2. น�ำค่ า ความต้านทานที่ได้ทั้ง 3 จุดมาเปรี ย บเที ย บกั บหลั ก เกณฑ์ C


การหาค่าความต้านทานของขดลวดมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ซึง่ ก�ำหนด
ไว้ ว ่ า ขดลวดของมอเตอร์ ค อมเพรสเซอร์ ใ นตู ้ เ ย็ น ตู ้ แช่ ตู ้ น�้ ำ เย็ น S R
และเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นไฟฟ้าระบบ 1 เฟส จึงมีด้วยกัน
ทั้งหมด 2 ขด คือ ขดลวดชุดสตาร์ตและขดลวดชุดรัน ซึ่งขดลวด กำ�หนดค่า C, R, S
ชุดสตาร์ตจะมีค่าความต้านทานมากกว่าขดลวดชุดรัน ปลายด้าน
หนึ่งของขดลวดสตาร์ตและขดลวดชุดรันถูกน�ำมาต่อรวมกันเรียกว่า
คอมมอน (Common) หรือ C ฉะนั้นเมื่อเราวัดความต้านทานของ
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จากขั้วหลักทั้ง 3 จุด คือ C, S, R จะได้ดังนี้
2.1 จุด S-R มีค่าความต้านทานมากสุด เพราะเป็นค่าความต้านทานรวมของขดลวดชุดสตาร์ต
และขดลวดชุดรันซึ่งต่อกันอยู่แบบอนุกรม
2.2 จุด S-C มีค่าความต้านทานปานกลาง เพราะเป็นค่าความต้านทานของขดลวดชุดสตาร์ต
เพียงอย่างเดียว
2.3 จุด R-C มีค่าความต้านทานน้อยสุด เพราะเป็นค่าความต้านทานของขดลวดชุดรัน
เพียงอย่างเดียว
สมมุตวิ า่ จากการทดลองวัดขัว้ หลักของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทลี ะคูท่ งั้ 3 ชุดนัน้ ผลปรากฏว่า
1-2 = 60 
1-3 = 20 
2-3 = 80 
น�ำคู่ที่ได้ค่าความต้านทานมากที่สุด ปานกลาง และน้อยที่สุด เรียงเป็นล�ำดับลงมาเทียบ
เข้ากับหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
R-S มากที่สุด 2-3 = 80 
C-S ปานกลาง 1-2 = 60 
C-R น้อยที่สุด 1-3 = 20 
เลือกตัวเลขที่สมมุติขึ้นมาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์และก�ำหนดขั้วหลักที่แท้จริง
C = 1
S = 2
R = 3

95
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

การวัดความต้านทานของขดลวดนอกจากจะใช้ส�ำหรับการหาขั้วหลักแล้ว ยังอาจแสดงให้
ทราบอีกว่ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ช�ำรุดเสียหายหรือไม่
ถ้าอ่านค่าความต้านทานได้ทั้ง 3 ชุด โดยค่าความต้านทานระหว่างจุด R และ S เท่ากับ
ค่าความต้านทานระหว่างจุด C และ S ขณะที่จุด C และ S ก็มีค่าความต้านทานมากกว่าจุด C
และ R แสดงว่ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ปกติ
1) การที่ขดลวดขาด เข็มของมัลติมิเตอร์จะไม่ขึ้นเลย หรือจะขึ้นคู่เดียวจาก 3 ชุดนั้น
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
C-S = 1-2 =  
C-R = 1-3 = 20 
R-S = 3-2 =  
จะเห็นได้ว่าขดลวดสตาร์ตขาดไปแล้ว จึงไม่มีค่าความต้านทานขึ้น
เมื่อวัดจุด R-S ซึ่งเป็นการต่ออนุกรมระหว่างขดลวดชุดสตาร์ตและขดลวดชุดรัน จึงไม่
สามารถวัดได้เช่นกัน
ส�ำหรับขดลวดรันยังไม่ขาด จึงสามารถวัดค่าความต้านทานได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
C-S = 1-2 = 0 
C-R = 1-3 = 0 
R-S = 3-2 = 0 
ทั้งขดลวดชุดสตาร์ตและขดลวดชุดรันขาดหมด จึงไม่สามารถวัดค่าความต้านทานได้เลย
2) การทีข่ ดลวดไหม้หรือชอร์ต รอบเข็มของมัลติมเิ ตอร์จะขึน้ เท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกันทุกคู่
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
C-S = 1-2 = 30 
C-R = 1-3 = 35 
R-S = 3-2 = 40 

การเช็กไฟฟ้ารั่วที่คอมเพรสเซอร์
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วบริเวณตามโครงตู้เย็น ตู้แช่ ตู้น�้ำเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ และท�ำการ
ตรวจอุปกรณ์ทางวงจรไฟฟ้าตัวอื่นๆ แล้วไม่พบสาเหตุ อาจท�ำการตรวจหาจุดเกิดไฟฟ้ารั่วที่
ตัวมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ได้โดยใช้มัลติมิเตอร์ นั่นคือให้เตรียมมัลติมิเตอร์พร้อมสายสีแดงและ
สายสีด�ำมาให้พร้อมแล้วด�ำเนินการตรวจตามล�ำดับขั้นตอน ดังนี้

96
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1. น�ำมัลติมิเตอร์มาปรับย่านการวัดให้อยู่ที่ย่านวัด R × 10,000 (R × 10 กิโลโอห์ม)


2. เสียบสายสีแดงเข้าที่รู + เสียบสายสีด�ำเข้าที่รู −
3. น�ำปลายสายสีแดงและปลายสายสีด�ำมาแตะกัน
4. ดูเข็มว่าตรงเลข 0 หรือไม่ ถ้าเข็มไม่ตรง ให้ปรับปุ่ม Zero Ohm จนเข็มตรงเลข 0 พอดี
5. เริ่มน�ำสายสีแดงจี้ไปที่เปลือกนอกของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ตรงบริเวณที่ไม่มีสีเคลือบ
6. น�ำสายสีด�ำไปจี้ที่ขั้วหลักของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทีละ
จุดจนครบทั้ง 3 จุด ถ้าเข็มตีขึ้นจากหน้าปัดด้านซ้ายมายัง
ด้านขวาระหว่างที่จี้จุดใดจุดหนึ่งใน 3 จุดนั้น แสดงว่า
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์รั่วลงกราวด์
การตรวจเช็กการลงกราวด์

2. การตรวจก�ำลังอัดของคอมเพรสเซอร์
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
การหมุนเวียนของระบบสารท�ำความเย็นในตู้เย็น ตู้แช่ ตู้น�้ำเย็น ต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์
ท�ำหน้าที่ดูดและอัดสารท�ำความเย็นให้มีความดันสูง ฉะนั้นถ้าก�ำลังอัดไม่ดี ย่อมท�ำให้ระบบท�ำงาน
ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุจากลูกสูบกับกระบอกสูบหลวม ลิ้นดูดปิดไม่สนิท หรือลิ้นอัดปิดไม่สนิท
ซึ่งขั้นตอนในการตรวจก�ำลังอัดของคอมเพรสเซอร์ มีดังนี้
1. เตรียมชุดประกอบยูเนียนแฟร์นัต (Process Tube Adapter) เข้ากับปากท่อดูดและอัดของ
คอมเพรสเซอร์
2. ต่ อ ชุ ด เกจแมนิ โ ฟลด์ เข้ า กั บ ยู เ นี ย นแฟร์ นั ต โดยน�ำสายสี แ ดงต่ อ เข้ า กั บ ด้ า นอั ด ของ
คอมเพรสเซอร์ สายสีน�้ำเงินต่อเข้ากับด้านดูดของคอมเพรสเซอร์ ท่อฟิตติงตัวกลางของ
ชุดเกจแมนิโฟลด์ปิดขันแน่นด้วยนอตส�ำหรับปิดรู
3. เปิดวาล์วของชุดเกจแมนิโฟลด์ทั้งด้านดูดและด้านอัด
4. ต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้คอมเพรสเซอร์เริ่มท�ำงาน พร้อมกับน�ำแอมมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแส
สลับหรือแคลมป์มิเตอร์มาคล้องที่สายใดสายหนึ่งเพียงสายเดียว เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า
ขณะมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ท�ำงาน
5. ค่อยๆ ปิดวาล์วของชุดเกจแมนิโฟลด์ทางด้านสูง ขณะเดียวกันให้สงั เกตดูทเี่ ครือ่ งวัดความดัน
ทางด้านสูงว่าค่อยๆ ขึ้นสูงจนได้ความดันประมาณ 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว ให้บันทึก
กระแสไฟฟ้าที่ขึ้นพร้อมดับหยุดเครื่องมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

97
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

6. กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องอยู่ในเกณฑ์ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์นั้นๆ (ดูที่ป้ายของ
คอมเพรสเซอร์)
7. ตรวจดูการรั่วของลิ้นอัดของคอมเพรสเซอร์ดังนี้ ความดันจะลดลงไม่เกิน 25 ปอนด์/ตาราง
นิ้ว/1 นาที ถ้าเกินกว่านี้แสดงว่าลิ้นทางอัดเสีย
8. ลิน้ ทางดูดและการหลวมของลูกสูบจะสังเกตได้จากการอัดตัวของคอมเพรสเซอร์วา่ ช้าหรือเร็ว
ความดันด้านจ่ายจะขึ้นสูงถึง 175 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในเวลาไม่เกิน 1 นาที หรือถ้าความดัน
ไม่ขึ้นเลยแสดงว่าก�ำลังอัดของคอมเพรสเซอร์ไม่ดี
สรุปผลการปฏิบัติงาน
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

98
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

แบบประเมินผลใบงาน
คอมเพรสเซอร์
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

99
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. หน้าที่หลักของคอมเพรสเซอร์คืออะไร
1. ดูดสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นไอเท่านั้น
2. ดูดสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวเท่านั้น
3. ดูดและอัดสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นไอเท่านั้น
4. ดูดและอัดสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวเท่านั้น
2. คอมเพรสเซอร์ที่ตัวอัดอากาศและตัวต้นกำ�ลังแยกกันอยู่อย่างอิสระเป็นคอมเพรสเซอร์แบบใด
1. แบบเปิด 2. แบบกึ่งเปิด
3. แบบปิด 4. แบบกึ่งเปิด-ปิด
3. คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในตู้เย็นตามบ้านเรือนทั่วไปเป็นคอมเพรสเซอร์แบบใด
1. แบบเปิด 2. แบบกึ่งเปิด
3. แบบปิด 4. แบบกึ่งเปิด-ปิด
4. ตัวที่ทำ�ให้เกิดเป็นห้องทางดูดและห้องทางอัดของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่คือข้อใด
1. ใบมีด 2. สปริง
3. ผนังภายในของกระบอกสูบ 4. แหวนหนีศูนย์กลาง
5. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
1. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า 2. มีเสียงเงียบ
3. การสั่นสะเทือนน้อย 4. เย็นเร็ว
6. คอมเพรสเซอร์ที่มีหลักการท�ำงานคล้ายกับกังหันไอน�้ำเป็นคอมเพรสเซอร์แบบใด
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง 4. แบบเกียร์
7. คอมเพรสเซอร์ที่มีตัวหมุน 2 ตัว ตัวหนึ่งเป็นตัวผู้และอีกตัวหนึ่งเป็นตัวเมีย หมุนเข้าหากันเพื่อที่
จะรีดสารทำ�ความเย็น เป็นคอมเพรสเซอร์แบบใด
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง 4. แบบเกียร์

100
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

8. คอมเพรสเซอร์แบบใดที่ต้องมีลิ้นปิด-เปิด
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง 4. แบบเกียร์
9. คอมเพรสเซอร์แบบใดที่ใช้กับเครื่องทำ�ความเย็นขนาดใหญ่ 30 ตันขึ้นไป
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง 4. แบบเกียร์
10. คอมเพรสเซอร์แบบใดที่ต้องมีวาล์วกันกลับเพื่อป้องกันสารทำ�ความเย็นซึมและย้อนกลับมาทางท่อ
ทางดูด
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง 4. แบบเกียร์

101
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
คอนเดนเซอร์

สาระการเรียนรู้
1. ลักษณะของคอนเดนเซอร์
2. ชนิดของคอนเดนเซอร์
3. การบำ�รุงรักษาคอนเดนเซอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกลักษณะของคอนเดนเซอร์ได้
2. บอกชนิดของคอนเดนเซอร์ได้
3. ตรวจสอบคอนเดนเซอร์ได้
คอนเดนเซอร์ 4. สามารถเลื อ กใช้ ค อนเดนเซอร์ ไ ด้ อ ย่ า ง
เหมาะสม
5. บอกวิธีการบำ�รุงรักษาคอนเดนเซอร์ได้
6. ปฏิบัติการต่อคอนเดนเซอร์เข้ากับวงจร
ทางกลได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับชนิดของคอนเดนเซอร์
ที่ใช้ในระบบทำ�ความเย็นแบบต่างๆ
2. แสดงความรู้ เ กี่ ย วกั บ หลั ก การทำ � งานของ
คอนเดนเซอร์
3. เลือกใช้คอนเดนเซอร์ได้อย่างเหมาะสม และ
ปฏิบัติการต่อคอนเดนเซอร์กับวงจรทางกล

102
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

คอนเดนเซอร์
■ 1. ลักษณะของคอนเดนเซอร์
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาอุปกรณ์หลักที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ระบายความร้อนออก
จากสารท�ำความเย็น ความร้อนที่จะถูกระบายออกจากสารท�ำความเย็นนั้นได้รับมาจากต�ำแหน่งที่ต้องการ
จะปรั บ อากาศ และความร้ อ นที่ เ กิ ด จากการอั ด หรื อ เพิ่ ม ความดั น ของสารท�ำความเย็ น ที่ เ กิ ด จาก
การท�ำงานของคอมเพรสเซอร์ สารท�ำความเย็นที่จะท�ำการระบายความร้อนออกนี้ได้รับมาจากด้านอัด
ของคอมเพรสเซอร์ โดยผ่านทางท่อดิสชาร์จ (Discharge) เข้าสู่ด้านบนของคอนเดนเซอร์ สารท�ำ
ความเย็นในส่วนนีจ้ ะมีสถานะเป็นแก๊สความดันสูง เมือ่ ท�ำการระบายความร้อนออกจากสารท�ำความเย็นแล้ว
สารท�ำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลว เรียกว่า การกลั่นตัว ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ
ว่า Condense อุปกรณ์ที่ใช้ในการกลั่นตัวของสารท�ำความเย็น เรียกว่า คอนเดนเซอร์ (Condenser)

■ 2. ชนิดของคอนเดนเซอร์
คอนเดนเซอร์ที่ใช้งานโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้จะถูกแบ่งออกตามชนิดของตัวกลางที่ใช้ในการรับ
ความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.1 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser) มีลักษณะเป็น
ท่อโลหะหรือท่อทองแดงขดขนานไป-มา และมีลวดเชื่อมพาดเป็นระยะเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการระบาย
ความร้อน ซึ่งตัวที่ช่วยในการระบายความร้อน เรียกว่า ฟิน (Fin) คอนเดนเซอร์ประเภทนี้จะใช้กับ
เครื่องท�ำความเย็นขนาดเล็กในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่งจะมีลักษณะเป็นท่อสอด
เข้าไปในแผ่นฟินอะลูมิเนียมบางๆ และท�ำการบัดกรีต่อเป็นชั้นๆ อาจจะเป็นหนึ่งชั้นหรือมากกว่านั้นก็ได้
จ�ำนวนฟินต่อนิ้วอาจจะมีจ�ำนวน 8-12 แผ่น แล้วแต่ลักษณะของงาน ซึ่งคอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะต้องใช้
พัดลมหรือโบลเวอร์ (Blower) ช่วยในการเพิม่ ความเร็วและปริมาตรของลมเย็นทีจ่ ะน�ำมาระบายความร้อน
จึงมีขนาดกะทัดรัด แต่มขี อ้ เสียคือ ฝุน่ ละอองจะเกาะติดระหว่างฟิน ท�ำให้การท�ำความสะอาดเป็นไปได้ยาก
คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้กับตู้แช่บางชนิดและเครื่องปรับอากาศทั่วไป

103
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ไอไหลเข้า อากาศออก พัดลม


ท่อทองแดง
ขดขนานไป-มา
ฟิน ฟิน ท่อทองแดง

ของเหลว อากาศเข้า
ท่อติดฟิน
ไหลออก
รูปที่ 7.1 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ

2.2 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำ (Water Cooled Condenser) เป็นชนิดที่


ใช้น�้ำเป็นตัวกลางในการรับความร้อนออกจากสารท�ำความเย็น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องท�ำความเย็น
ขนาดใหญ่ ซึง่ สามารถแบ่งชนิดของคอนเดนเซอร์ทรี่ ะบายความร้อนด้วยนำ�้ ออกตามลักษณะของท่อได้เป็น
3 ชนิด คือ

ไอสารทำ�ความเย็นเข้า

น�้ำอุณหภูมิสูงออก

น�้ำเย็นเข้า
สารทำ�ความเย็นเหลวไหลออก

รูปที่ 7.2 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำ

2.2.1 คอนเดนเซอร์แบบท่อสองชัน้ (Double Tube Condenser) คอนเดนเซอร์ชนิดนี้


มีลั ก ษณะเป็ น ท่ อ ซ้อนกันอยู่ภายใน ส่วนของท่ อ ภายนอกจะเป็ นช่ อ งทางเดิ นของสารท�ำความเย็ น
ส่วนภายในท่อชัน้ ในจะเป็นท่อทางเดินของนำ�้ เย็น ทิศทางการไหลของสารท�ำความเย็นจะมีทศิ ทางสวนทาง
กับทิศทางของสารท�ำความเย็น ที่เป็นเช่นนี้เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนและ
สารท�ำความเย็นด้านออกให้มีอุณหภูมิต�่ำใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน�้ำที่เข้ามา ถ้าให้ทิศทางของสารท�ำ
ความเย็นและน�้ำมีทิศทางไหลไปในทิศทางเดียวกัน อุณหภูมิของสารท�ำความเย็นด้านออกจะสูงเนื่องจาก
ความร้อนที่สะสมในน�้ำ และประสิทธิภาพในการท�ำความเย็นจะต�่ำกว่าแบบที่มีทิศทางสวนทางกัน
2.2.2 คอนเดนเซอร์แบบท่อภายในมีลักษณะเป็นขด (Shell and Coil Condenser)
คอนเดนเซอร์ชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างเปลือกภายนอกเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ ส่วนภายในเปลือกทรงกลม
ขนาดใหญ่จะมีท่อขดเป็นรูปคอยล์ไว้ภายใน สาเหตุของการขดท่อไว้ภายในมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่

104
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

ในการรับและถ่ายเทความร้อนและปริมาณของนำ�้ เย็นทีเ่ ข้าไประบายความร้อน สารท�ำความเย็นทีม่ สี ถานะ


เป็นแก๊สจะเข้าทางด้านบนของเปลือกชั้นนอก สารท�ำความเย็นที่กลั่นตัวเป็นของเหลวจะไหลออกทาง
ด้านล่าง ส่วนน�้ำเย็นที่ไหลเข้าเพื่อไประบายความร้อนให้กับสารท�ำความเย็นที่กลั่นตัวให้มีอุณหภูมิต�่ำลง
และส่วนน�้ำที่มีอุณหภูมิสูงจะไหลออกด้านบน ซึ่งจะเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คือ ความร้อนจะลอยตัว
สู ่ ด ้ า นบนเสมอ เหตุ ผ ลที่ ท�ำให้ ส ารท�ำความเย็ น และน�้ ำ เย็ น มี ทิ ศ ทางสวนทางกั น เพื่ อ ลดอุ ณ หภู มิ
ของสารท�ำความเย็นเหลว คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้กับเครื่องท�ำความเย็นขนาดเล็กจนถึงขนาด 10 ตัน

น�้ำเย็นออก น�้ำเย็นเข้า ขดท่อน�้ำ เปลือก

รูปที่ 7.3 คอนเดนเซอร์แบบท่อภายในมีลักษณะเป็นขด

2.2.3 คอนเดนเซอร์ แ บบท่ อ ภายในมี ลั ก ษณะเป็ น ท่ อ ตรง (Shell and Tube


Condenser) คอนเดนเซอร์ ช นิ ด นี้ มี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ คอนเดนเซอร์ แ บบท่ อ ภายในมี ลั ก ษณะ
เป็นขด ต่างกันเพียงท่อภายในจะมีลกั ษณะเป็นเส้นตรงเท่านัน้ จ�ำนวนของท่อทีอ่ ยูภ่ ายในจะขึน้ อยูก่ บั ขนาด
ของเครื่องท�ำความเย็น คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้กับการท�ำความเย็นตั้งแต่ 2 ตันจนถึงร้อยๆ ตัน ทิศทาง
การไหลเข้าของสารท�ำความเย็นและน�้ำเย็นจะเหมือนกับคอนเดนเซอร์แบบท่อภายในมีลักษณะเป็นขด
คอนเดนเซอร์ชนิดนี้สามารถท�ำความสะอาดได้ง่าย โดยการเปิดฝาครอบหัว-ท้ายออก

รูปที่ 7.4 คอนเดนเซอร์แบบท่อภายในมีลักษณะเป็นท่อตรง

105
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2.3 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ (Evaporative Condenser) เป็น


คอนเดนเซอร์ ที่ ใช้ น�้ ำ และอากาศท�ำงานร่ ว มกั น ในการระบายความร้ อ นออกจากสารท�ำความเย็ น
มีส่วนประกอบ ดังรูปที่ 7.5

ช่องอากาศร้อนออก พัดลมโบลเวอร์
กรอบโครง
ตัวจับละอองนำ�้
สเปรย์น�้ำ ไอสารทำ�ความเย็นจากคอมเพรสเซอร์
ขดท่อคอนเดนเซอร์
ลูกลอย
ช่องอากาศเย็นเข้า
ปั๊มน�้ำ
ถังเก็บน�้ำยาเหลว
ตัวกรองฝุ่นละออง

รูปที่ 7.5 คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ

จากรูปที่ 7.5 เมื่อสารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สและมีอุณหภูมิสูงที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์


ไหลเข้าสู่คอนเดนเซอร์ น�้ำเย็นจะท�ำหน้าที่พ่นน�้ำผ่านหัวฉีดที่ติดตั้งอยู่เหนือคอนเดนเซอร์ในลักษณะ
เป็นละอองเข้าสู่ตัวคอนเดนเซอร์ ละอองของน�้ำเย็นนี้จะกระจายไปทั่วตัวด้านนอกของคอนเดนเซอร์เกิด
การแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งกันและกัน ซึ่งน�้ำเย็นบางส่วนจะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ ส่วนน�้ำที่เหลือจะมี
อุณหภูมิสูงขึ้นรวมกันตกลงสู่อ่างเก็บน�้ำด้านล่าง ส่วนที่เป็นไอจะลอยสู่ด้านบน ในขณะที่คอนเดนเซอร์
ก�ำลังท�ำงาน พัดลมโบลเวอร์จะท�ำหน้าที่ดูดอากาศเย็นจากช่องด้านล่างใต้ตัวคอนเดนเซอร์เพื่อดูดอากาศ
เย็นผ่านตัวคอนเดนเซอร์ ท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งกันและกันระหว่างน�้ำกับไอน�้ำที่อุณหภูมิ
สูงดูดรวมออกสู่ด้านบน เพื่อระบายออกสู่ด้านนอก ในขณะที่ชุดคอนเดนเซอร์ก�ำลังท�ำงานจะมีทั้ง
อากาศร้อนและละอองน�้ำออกมา ท�ำให้ปริมาณของน�้ำในถังลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีอุปกรณ์เพื่อกักน�้ำ
ไม่ให้ออกสู่ด้านนอกซึ่งจะติดตั้งอยู่ระหว่างใต้พัดลมโบลเวอร์กับหัวฉีดสเปรย์น�้ำ อุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่า
อิลิมิเนเตอร์ (Eliminator) ส่วนน�้ำที่เปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ ตัวอิลิมิเนเตอร์ไม่สามารถกรองเอาไว้ได้
จึงต้องใช้ปั๊มน�้ำเป็นตัวเพิ่มน�้ำในอ่างแทน

106
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

■ 3. การบำ�รุงรักษาคอนเดนเซอร์
คอนเดนเซอร์มีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารท�ำความเย็น เพื่อที่จะท�ำให้สารท�ำความเย็น
เปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลว การที่จะให้คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนได้ดีตลอดเวลา
คือ การป้องกันไม่ให้มีฉนวนความร้อนเกิดขึ้นที่ผิวภายนอกของคอนเดนเซอร์ ฉนวนความร้อนจะขยาย
ดึงฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะความสกปรก และในกรณีที่คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยน�้ำจะเกิด
ตะไคร่น�้ำ ดังนั้นจึงควรท�ำความสะอาดผิวภายนอกอยู่เสมอ

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ
จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. คอนเดนเซอร์มีหน้าที่อะไร แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
2. คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศมีหลักการท�ำงานอย่างไร อธิบายพอสังเขป
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
3. เราสามารถนำ�คอนเดนเซอร์ที่ใช้กับตู้เย็นมาใช้กับเครื่องปรับอากาศได้หรือไม่ เพราะอะไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

107
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

สรุป

คอนเดนเซอร์ คือ อุปกรณ์ควบแน่น เป็นอุปกรณ์ที่ทำ�ให้สารทำ�ความเย็นในสภาพที่เป็นไอ


เปลีย่ นสภาพเป็นของเหลว โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำ�ความเย็น เป็นอุปกรณ์ทสี่ �ำ คัญ
ในเครื่องทำ�ความเย็นระบบอัดไอ

108
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

ใบงาน
คอนเดนเซอร์
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์ชนิดต่างๆ
2. ปฏิบัติการตรวจการรั่วซึมและพื้นที่ของการระบายความร้อน (ฟิน) ของคอนเดนเซอร์ได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. คอนเดนเซอร์ที่ใช้กับตู้เย็นและตู้แช่
2. คอนเดนเซอร์ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ
3. ชุดเครื่องเชื่อมแก๊ส
4. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
5. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
6. ชุดเครื่องมือวัดความดัน
7. ถังไนโตรเจน
8. ถังน�้ำและฟองสบู่
1. การตรวจการรั่วซึมของคอนเดนเซอร์
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. น�ำวาล์วลูกศรมาบัดกรีเข้ากับปลายคอนเดนเซอร์ข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งให้บัดกรีปิดไว้
2. น�ำชุดวัดแรงดันต่อเข้ากับวาล์วลูกศรและถังไนโตรเจน
3. อัดไนโตรเจนเข้าคอนเดนเซอร์ประมาณ 50 PSI
4. น�ำคอนเดนเซอร์ที่อัดไนโตรเจนเรียบร้อยแล้วมาจุ่มแช่ลงในถังน�้ำเพื่อตรวจสอบสภาพ
ผลการปฏิบตั งิ าน
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

109
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. การตรวจพื้นที่ของการระบายความร้อน (ฟิน)
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. น�ำคอนเดนเซอร์มาตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตาว่าสมควรน�ำกลับมาใช้หรือไม่
2. แต่งแผ่นฟินให้ตั้งขึ้นเพื่อให้มีช่องอากาศระบายความร้อนผ่านได้มากขึ้น
3. ท�ำความสะอาดคอนเดนเซอร์โดยการใช้น�้ำแรงดันสูงฉีด
ผลการปฏิบัติงาน
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. น�ำคอนเดนเซอร์ที่ผ่านการทดสอบและท�ำความสะอาดแล้วมาประกอบเข้าไปในวงจรทางกล
ของเครื่องปรับอากาศ
สรุปผลการปฏิบัติงาน
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

110
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

แบบประเมินผลใบงาน
คอนเดนเซอร์
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

111
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. คอนเดนเซอร์มีหน้าที่อะไร
1. ดูดและอัดสารทำ�ความเย็น
2. ระบายความร้อนออกจากสารทำ�ความเย็น
3. ระบายความร้อนออกจากตัวเครื่อง
4. ทำ�ให้เกิดความร้อน
2. สถานะของสารทำ�ความเย็นที่ออกจากคอนเดนเซอร์เป็นอย่างไร
1. ของเหลว 2. ของแข็ง
3. แก๊ส 4. แก๊สและของเหลว
3. การแบ่งชนิดของคอนเดนเซอร์จะใช้อะไรเป็นตัวกำ�หนด
1. ตัวกลางในการระบายความร้อน 2. ขนาดของการทำ�ความเย็น
3. ชนิดของเครื่อง 4. ชนิดของคอมเพรสเซอร์
4. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปใช้คอนเดนเซอร์แบบใด
1. คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ
2. คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
3. คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ
4. ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้เย็น
5. คอนเดนเซอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน�้ำมีหลักการอย่างไร
1. ทิศทางของสารท�ำความเย็นและทิศทางของน�้ำจะไปในทิศทางเดียวกัน
2. ทิศทางของสารท�ำความเย็นและทิศทางของน�้ำจะไปในทิศทางสวนทางกัน
3. สารท�ำความเย็นเข้าด้านล่าง
4. น�้ำเย็นเข้าด้านบน
6. ข้อใดคือข้อดีของคอนเดนเซอร์แบบท่อภายในที่มีลักษณะเป็นขด
1. ระบายความร้อนได้เร็ว 2. พื้นที่ในการระบายความร้อนมีมาก
3. สะดวกในการบำ�รุงรักษา 4. มีราคาถูก

112
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

7. ข้อดีของคอนเดนเซอร์แบบท่อภายในมีลักษณะเป็นท่อตรงคือข้อใด
1. ระบายความร้อนได้เร็ว
2. พื้นที่ในการระบายความร้อนมีมาก
3. สะดวกในการบำ�รุงรักษา
4. มีราคาถูก
8. คูลลิงทาวเวอร์ใช้กับคอนเดนเซอร์แบบใด
1. ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
2. ระบายความร้อนด้วยอากาศ
3. ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ
4. แบบขนาดใหญ่
9. อีวาปอเรตีฟ คอนเดนเซอร์ เป็นคอนเดนเซอร์แบบใด
1. ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
2. ระบายความร้อนด้วยอากาศ
3. ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ
4. แบบขนาดใหญ่
10. ตัวที่คอยดักละอองน�้ำเรียกว่าอะไร
1. อีวาปอเรตีฟ 2. อิลิมิเนเตอร์
3. ฟิลเตอร์ 4. ตะแกรง

113
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
อุปกรณ์ควบคุมการไหลของ
สารท�ำความเย็น

สาระการเรียนรู้

1. ชนิดปรับด้วยมือ
2. ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ
3. ชนิดปรับตามอุณหภูมิ
4. ชนิดท่อรูเข็ม
5. ชนิดลูกลอยด้านความดันต�่ำ
6. ชนิดลูกลอยด้านความดันสูง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกชนิดของตัวควบคุมการไหลของสาร
ทำ�ความเย็นได้
2. บอกหลั ก การทำ � งานของตั ว ควบคุ ม
อุปกรณ์ควบคุม
การไหลของสารทำ�ความเย็นแบบต่างๆ ได้
การไหลของ 3. เลื อ กใช้ ตั ว ควบคุ ม การไหลของสาร
สารทำ�ความเย็น ทำ�ความเย็นได้อย่างเหมาะสม
4. ปฏิ บั ติ ก ารต่ อ ตั ว ควบคุ ม การไหลของ
สารทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกลได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้ เ กี่ ย วกั บ ชนิ ด ของอุ ป กรณ์ ก ารควบคุ ม การไหลของสารทำ �


ความเย็น
2. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำ�งานของตัวควบคุมการไหลของสารทำ�
ความเย็นแบบต่างๆ
3. เลื อ กใช้ ตั ว ควบคุ ม การไหล และปฏิ บั ติ ก ารต่ อ ตั ว ควบคุ ม การไหลของ
สารทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกล

114
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

อุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็น
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาถึงอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ท�ำหน้าที่ควบคุมปริมาณและความดันของ
สารท�ำความเย็นก่อนที่จะส่งไปในอีวาปอเรเตอร์ เพื่อท�ำให้มีความดันต�่ำลงจนสามารถเดือดและเปลี่ยน
สถานะเป็นแก๊สได้ที่อุณหภูมิต�่ำๆ ในอีวาปอเรเตอร์ โดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะการท�ำงานออกเป็น 6 ชนิด
คือ ชนิดปรับด้วยมือ ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ ชนิดปรับตามอุณหภูมิ ชนิดท่อรูเข็ม ชนิดใช้ลูกลอย
ด้านความดันต�่ำ และชนิดใช้ลูกลอยด้านความดันสูง

■ 1. ชนิดปรับด้วยมือ
ชนิดปรับด้วยมือ (Hand Expansion Valve) เป็นแบบที่จะต้องคอยดูแลตลอดเวลา โดย
อาศัยมือเป็นตัวคอยปรับปริมาณสารท�ำความเย็นให้เกิดความเหมาะสมกับโหลดเพื่อให้อุณหภูมิมีค่าคงที่
ตลอดเวลา ตัวควบคุมสารท�ำความเย็นชนิดนีจ้ ะใช้กบั เครือ่ งท�ำความเย็นขนาดใหญ่ๆ ทีม่ โี หลดเปลีย่ นแปลง
ไม่มากนัก
หลั ก การท�ำงาน อุปกรณ์สารท�ำความเย็นชนิดนี้จะอาศัยการปรับปริมาณสารท�ำความเย็น
ด้วยมือจากผู้ควบคุมที่ช�ำนาญเท่านั้น การปรับถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาสารท�ำความเย็นจะไหลเข้าไปน้อย
จนกระทั่งปิด

มือหมุน
แกนวาล์ว
นอตยึด
ตัวหุ้มแกน เข็มชี้

บ่าวาล์ว

รูปที่ 8.1 ชนิดปรับด้วยมือ

115
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 2. ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ
ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ (Automatic Expansion Valve) บางครั้งเรียกว่า AEV อาศัย
การเปลี่ยนแปลงความดันภายในอีวาปอเรเตอร์ ถ้าอุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์ต�่ำ ความดันภายใน
อีวาปอเรเตอร์จะต�่ำตามไปด้วย และถ้าอุณหภูมิภายในอีวาปอเรเตอร์ลดลง จะท�ำให้ความดันภายใน
อีวาปอเรเตอร์ลดลงตามไปด้วย โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดันภายในอีวาปอเรเตอร์มาควบคุม
สารท�ำความเย็นทีจ่ ะไหลเข้าสูอ่ วี าปอเรเตอร์
สกรูปรับแต่ง

สปริง

แกนวาล์ว ตัวยืดหยุ่น
ท่อต่อไปยังคอยล์เย็น
ท่อต่อของ
เหลวไหลเข้า บ่าวาล์ว

รูปที่ 8.2 ชนิดปรับความดันอัตโนมัติ

หลักการท�ำงาน ในขณะที่เครื่องยังไม่ท�ำงาน ความดันของอีวาปอเรเตอร์จะมีค่าสูง ท�ำให้


ลิ้นปิด-เปิดสารท�ำความเย็นปิดสนิท เมื่อเครื่องเริ่มท�ำงาน ความดันของอีวาปอเรเตอร์จะลดต�่ำลงเนื่องจาก
คอมเพรสเซอร์ดูดสารท�ำความเย็นออกไปเพื่อที่จะท�ำการอัด มีผลท�ำให้แรงดันของสปริงมีมากกว่า
แรงดันของอีวาปอเรเตอร์จึงดันให้ชุดลิ้นปิด-เปิดเคลื่อนที่ลงข้างล่าง สารท�ำความเย็นจึงสามารถไหลเข้าไป
ยังตัวอีวาปอเรเตอร์ได้ การไหลของสารท�ำความเย็นนี้จะไหลเข้าสู่อีวาปอเรเตอร์ไปเรื่อยๆ จนกว่าความดัน
ของอีวาปอเรเตอร์จะสูงกว่าความดันของสปริง และสารท�ำความเย็นก็จะหยุดไหล เมื่อมีสารท�ำความเย็น
ไหลเข้าไปยังอีวาปอเรเตอร์ อุณหภูมิภายในอีวาปอเรเตอร์จะต�่ำลง ความดันภายในอีวาปอเรเตอร์จะต�่ำ
ลงด้วยจนถึงต�ำแหน่งที่ตั้งไว้ สปริงจะดันให้ลิ้นปิด-เปิดสารท�ำความเย็นเปิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งไปเรื่อยๆ ดังนั้น
หลักการท�ำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้จะอาศัยแรงสองแรงกระท�ำซึ่งกันและกัน คือ แรงดันของสปริงและ
แรงดันภายในอีวาปอเรเตอร์ ซึ่งสามารถปรับค่าความดันของอีวาปอเรเตอร์ได้โดยการปรับแต่งที่สกรูที่อยู่
ด้านบน การเปลี่ยนแปลงของความดันภายในอีวาปอเรเตอร์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโหลด จะท�ำให้
เข็มปิด-เปิดสารท�ำความเย็นปิดและเปิดตลอดเวลาตามความดันที่ตั้งไว้เสมอ

116
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

■ 3. ชนิดปรับตามอุณหภูมิ
ชนิดปรับตามอุณหภูมิ (Thermostatic Expansion Valve) หรือ TEV เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การควบคุมปริมาณของสารท�ำความเย็นที่จะฉีดเข้าไปในอีวาปอเรเตอร์ เพื่อท�ำให้สารท�ำความเย็นเปลี่ยน
สถานะกลายเป็นไอและเดือดจนหมดภายในอีวาปอเรเตอร์เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการ การท�ำงานของ
TEV จะอาศัยความดันที่เกิดจากการหดและการขยายตัวของสารที่บรรจุในกระเปาะเพื่อที่จะเอาชนะ
แรงของสปริงต้าน
2 1
1. ท่อ Suction ต่อระหว่างคอยล์
เย็นกับคอมเพรสเซอร์
2. ท่อแค็ป-ทิวบ์
3 3. กระเปาะรับความร้อน
4
4. เบลโล
5. ก้านวาล์ว
5 6. ท่อปรับสภาพความดัน
7. ท่อต่อไปยังคอยล์เย็น
7 6 8. บ่าวาล์ว
11 8
9 9. สปริง
10 10. สกรูปรับความแข็งของสปริง
11. ท่อของเหลว

รูปที่ 8.3 ชนิดปรับตามอุณหภูมิ

วาล์ ว ปรั บ ตามอุ ณ หภู มิ เ ป็ น วาล์ ว ควบคุ ม ที่ ใช้ ใ นการท�ำความเย็ น และปรั บ อากาศในโรงงาน
อุตสาหกรรม วาล์วชนิดนี้จะรักษาค่าความร้อนยิ่งยวด (Super Heat) ให้คงที่ภายในตัวอีวาปอเรเตอร์
ความแตกต่างระหว่าง TEV และ AEV คือ ส่วนที่รับความร้อนจะถูกต่อโดยใช้ท่อแค็ป-ทิวบ์รับรู้ระดับ
ความร้อนซึง่ ภายในจะบรรจุไปด้วยสารท�ำความเย็น จะท�ำหน้าทีร่ กั ษาอุณหภูมติ ามสภาวะการเปลีย่ นแปลง
ของโหลด
หลักการท�ำงาน กระเปาะรับความร้อนจะถูกสัมผัสอยู่กับท่อทางดูดเพื่อที่จะรับค่าของอุณหภูมิ
ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระเปาะความร้อน ภายใต้สภาวะที่โหลดเพิ่มขึ้น
สารท�ำความเย็นภายในอีวาปอเรเตอร์จะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลท�ำให้อุณหภูมิ
สูงขึน้ ทีต่ �ำแหน่งของกระเปาะรับความร้อน ท�ำให้ความดันทีเ่ บลโลสูงขึน้ ตามไปด้วย ท�ำให้กา้ นวาล์วเคลือ่ นที่
ลงด้านล่าง มีผลท�ำให้บ่าวาล์วเปิดกว้าง สารท�ำความเย็นสามารถไหลจากท่อของเหลวเข้าไปในคอยล์เย็น
ได้มากขึ้น เป็นการรักษาสภาพของการท�ำความเย็นเมื่อมีโหลดเพิ่มขึ้น เมื่อความเย็นเข้าใกล้ถึงระดับ

117
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ที่ตั้งไว้ ความดันภายในแค็ป-ทิวบ์จะลดต�่ำลง มีผลท�ำให้ความดันภายในเบลโลต�่ำลง เบลโลจึงหดตัว


ก้านวาล์วจะเคลื่อนที่กลับมา ท�ำให้บ่าวาล์วแคบลง สารท�ำความเย็นจะไหลเข้าอีวาปอเรเตอร์ได้น้อยลง
เป็นการรักษาระดับของอุณหภูมิที่คอยล์เย็นได้คงที่ตลอดเวลา
เมื่ อ ระบบเครื่ อ งท�ำความเย็ น เริ่ ม ท�ำงาน ความดั น ที่ อี ว าปอเรเตอร์ จ ะต�่ ำ ลง ท�ำให้ ส ารท�ำ
ความเย็ น ที่ อ ยู ่ ใ นอี ว าปอเรเตอร์ เริ่ ม เดื อ ด มี ผ ลท�ำให้ อุ ณ หภู มิ ที่ ตั ว อี ว าปอเรเตอร์ ด ้ า นทางออกของ
อีวาปอเรเตอร์ต�่ำลง และท�ำให้กระเปาะที่ติดตั้งแนบตรงทางออกของอีวาปอเรเตอร์มีอุณหภูมิแค็ป-ทิวบ์
ความดันภายในกระเปาะก็จะต�่ำลง ส่งผลให้ความดันที่อยู่ด้านบนของไดอะแฟรมมีความดันต�่ำด้วย ท�ำให้
แรงดันของสปริงมีค่ามากกว่าด้านบนของไดอะแฟรม และท�ำให้ลิ้นปิด-เปิดสารท�ำความเย็นจะค่อยๆ ปิด
และปิดสนิทในที่สุด เมื่อสารท�ำความเย็นภายในอีวาปอเรเตอร์มีปริมาณสารท�ำความเย็นน้อยลง อุณหภูมิ
ภายในอีวาปอเรเตอร์จะสูงขึ้น ท�ำให้ความดันภายในกระเปาะสูงขึ้นเช่นกัน มีผลท�ำให้แรงดันภายใน
กระเปาะหรือด้านบนของไดอะแฟรมสูงขึ้นด้วยและเอาชนะแรงต้านของสปริงชุดเข็มปิด-เปิดสูง ท�ำให้
สารท�ำความเย็นไหลเข้าสู่อีวาปอเรเตอร์อีกครั้ง มีผลท�ำให้อีวาปอเรเตอร์มีอุณหภูมิต�่ำลง ชุดปิด-เปิด
สารท�ำความเย็นก็จะเริ่มปิดอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรต่อเนื่องกันไป สามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิที่ต้องการ
ได้โดยการปรับสกรูที่อยู่ด้านล่าง ดังนั้น TEV จะถูกควบคุมโดยอุณหภูมิทางออกของอีวาปอเรเตอร์
โดยส่วนมากแล้วจะใช้ในระบบเครื่องท�ำความเย็นของรถยนต์และเครื่องท�ำความเย็นขนาดใหญ่ที่ต้องการ
อุณหภูมิคงที่

ท่อของเหลว
ตัวปรับแต่ง

ท่อด้านดูด

รูปที่ 8.4 การติดตั้งชนิดปรับตามอุณหภูมิ หรือ TEV

118
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

■ 4. ชนิดท่อรูเข็ม
ชนิดท่อรูเข็ม (Capillary Tube) หรือ Cap. Tube เป็นท่อทองแดงขนาดเล็ก มีรูเล็กๆ ซึ่ง
ท�ำหน้าที่ลดแรงดันและควบคุมปริมาณสารท�ำความเย็นที่จะไหลเข้าสู่ตัวอีวาปอเรเตอร์ ใช้ในเครื่อง
ท�ำความเย็นขนาดเล็กในครัวเรือน เช่น ตูเ้ ย็น ตูแ้ ช่ เครือ่ งปรับอากาศ
ไปยังอีวาปอเรเตอร์
ที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่มีการปรับแต่งด้านกลไกเนื่องจาก
เป็นท่อทองแดงธรรมดา โดยทั่วไปการท�ำงานจะอาศัยหลักการ
ทีว่ า่ ท่อยิง่ ยาว ความต้านทานภายในท่อยิง่ มาก และขนาดของท่อ ท่อรูเข็ม
ยิ่งเล็ก ความต้านทานยิ่งมาก ท�ำให้เป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะ
ราคาถูก และไม่จ�ำเป็นต้องดูแลรักษา แต่มีข้อเสียคือ เกิดการ
อุดตันได้ง่ายถ้าการประกอบระบบการท�ำความเย็นไม่สะอาด สเตนเนอร์ ท่อสารทำ�ความเหลว
ดีพอ และไม่สามารถปรับแต่งความดันได้ แต่รอบของการท�ำงาน รูปที่ 8.5 ชนิดท่อรูเข็ม
ต้องคงที่เสมอ

■ 5. ชนิดลูกลอยด้านความดันต่ำ�
ชนิดลูกลอยด้านความดันต�่ำ (Low Pressure Float) มีลักษณะเป็นลูกลอย ติดตั้งอยู่ด้าน
แรงดันต�่ำ (Low Pressure) ระหว่างทางออกของอีวาปอเรเตอร์ เป็นลูกลอยที่ปรับระดับของสารท�ำ
ความเย็นเหลวที่อยู่ในอีวาปอเรเตอร์ชนิดผิวภายในเปียก โดยที่ตัวลูกลอยขึ้น-ลงตามระดับสูง-ต�่ำของ
สารท�ำความเย็น และจะต่อเข้ากับกระเดื่องวาล์วแบบลูกสูบปิด-เปิด หน้าที่ของตัวสเปรย์สารท�ำความเย็น
เพื่อปรับการไหลของสารท�ำความเย็นเหลวจากด้านสูงเข้ามายังห้องลูกลอยด้านความดันต�่ำ เมื่อสาร
ท�ำความเย็นระเหย ตัวระดับความเย็นจะลดลง
ห้องลูกลอย เข็มลูกลอย ลูกลอย
ท่อทางดูด
ท่อน�้ำยามาจาก
คอนเดนเซอร์
ท่อน�้ำยาส�ำหรับระเหย
ช่องสำ�หรับแช่สิ่งของ
ที่เสียบกระเปาะ
สำ�หรับปรับอุณหภูมิ
รูปที่ 8.6 ชนิดลูกลอยด้านความดันต�่ำ
119
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 6. ชนิดลูกลอยด้านความดันสูง
ชนิดลูกลอยด้านความดันสูง (High Pressure Float) มีลักษณะเป็นลูกลอย มีหน้าที่ควบคุม
สารท�ำความเย็นเหลวที่จะไหลเข้าสู่ตัวอีวาปอเรเตอร์ จะติดตั้งอยู่ด้านแรงดันสูง (High Pressure)
ระหว่ า งคอนเดนเซอร์ แ ละอี ว าปอเรเตอร์ ใช้ ห ลั ก
ของเหลวจาก
อัตราการกลายสภาพเป็นของเหลวเป็นส่วนที่ควบคุม คอนเดนเซอร์
ถ้าการควบคุมไม่ดีหรือคลาดเคลื่อน จะท�ำให้สารท�ำ ลูกลอย

ความเย็ น ไหลเข้ า อี ว าปอเรเตอร์ ม ากจนเป็ น อั น ตราย ระดับเหลว


ของ ไปยังอีวาปอเรเตอร์
ต่ อ คอมเพรสเซอร์ จึ ง จ�ำเป็ น ต้ อ งมี ตั ว ระเหยสารท�ำ เข็มปิด-เปิด
ความเย็น (Accumulator) ต่อไว้เพื่อช่วยป้องกัน
รูปที่ 8.7 ชนิดลูกลอยด้านความดันสูง

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ตัวควบคุมสารทำ�ความเย็นมีหน้าที่อะไร และแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
2. จงอธิบายตัวควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นที่ใช้กับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

120
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

3. จากรูป จงบอกชือ่ ของส่วนประกอบและอธิบายหลักการทำ�งานของ Automatic Expansion Valve


ชื่อส่วนประกอบ ➂
หมายเลข ➀ ................................................................................................
หมายเลข ➁ ................................................................................................ ➃
หมายเลข ➂ ................................................................................................
หมายเลข ➃ ................................................................................................ ➁ ➄
หมายเลข ➄ ................................................................................................

หมายเลข ➅ ................................................................................................

หมายเลข ➆ ................................................................................................ ➆
หลักการทำ�งาน
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

สรุป
อุปกรณ์ควบคุมสารท�ำความเย็น (Refrigerant Control) เป็นอุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่ควบคุม
การไหลของสารท�ำความเย็นก่อนทีจ่ ะฉีดเข้าไปยังอีวาปอเรเตอร์ สารท�ำความเย็นจะถูกลดความดัน
ให้มีความดันต�่ำลงจนสามารถเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สได้ที่อุณหภูมิต�่ำๆ ในอีวาปอเรเตอร์ และ
ยังท�ำหน้าที่เป็นตัวแบ่งความดันของระบบเป็นด้านความดันสูงและด้านความดันต�่ำอีกด้วย

121
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
อุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารท�ำความเย็น
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นชนิดต่างๆ
2. ปฏิบัติการต่อตัวอุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกลได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
2. ชุดเครื่องเชื่อม
3. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
4. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
5. ชุดเครื่องมือวัดความดัน
6. ถังไนโตรเจน
การทดสอบตัวควบคุมการไหลของสารท�ำความเย็น
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. นำ�ตัวควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นของตูเ้ ย็นและนำ�วาล์วลูกศรมาบัดกรีเข้ากับปลายตัว
ควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็น (แค็ป-ทิวบ์) ส่วนอีกข้างหนึ่งให้ต่อเข้ากับถังไนโตรเจน
2. นำ�ชุดวัดแรงดันต่อเข้ากับวาล์วลูกศรและถังไนโตรเจน
3. อัดไนโตรเจนเข้ากับตัวควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นประมาณ 100 PSI และทิง้ ไว้ประมาณ
1 นาที
4. อ่านค่าความดันบนตัววัดความดันและบันทึกลงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สมบัติของความดันในฟังก์ชันของเวลา
เวลา (นาที) 1 1.5 2 2.5 3 3.5
ความดัน PSI

ความดันตั้งแต่ 0-100 PSI ใช้เวลา.......................................นาที

122
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

5. เปลี่ยนตัวควบคุมสารทำ�ความเย็นเป็นของเครื่องปรับอากาศ และทำ�เหมือนข้อ 1-4 แล้ว


บันทึกลงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สมบัติของความดันในฟังก์ชันของเวลา
เวลา (นาที) 1 1.5 2 2.5 3 3.5
ความดัน PSI
ความดันตั้งแต่ 0-100 PSI ใช้เวลา.......................................นาที
6. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดัน (P) กับเวลา (T)
P
ความดัน (PSI)

T
เวลา (นาที)

กราฟแสดงสมบัติของตัวควบคุมการไหลของสารท�ำความเย็นของตู้เย็น

P
ความดัน (PSI)

T
เวลา (นาที)

กราฟแสดงสมบัติของตัวควบคุมการไหลของสารท�ำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ

123
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันและเวลา ผู้เรียนคิดว่าสามารถใช้แทนกันได้
หรือไม่
ได้ (เหตุผล)
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ไม่ได้ (เหตุผล)
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
7. นำ�ตัวควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นที่ใช้กับตู้เย็นมาต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศและ
ทดสอบ พร้อมบันทึกผล
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
8. นำ�ตัวควบคุมการไหลของสารทำ�ความเย็นที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศมาต่อเข้ากับตู้เย็นและ
ทดสอบ พร้อมบันทึกผล
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

124
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

แบบประเมินผลใบงาน
อุปกรณ์ควบคุมการไหลของสารท�ำความเย็น
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

125
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ตัวควบคุมสารทำ�ความเย็นมีหน้าที่ควบคุมอะไร
1. ความเย็น 2. ความร้อน
3. ความดัน 4. ปริมาณน�้ำมันเครื่อง
2. เครื่องทำ�ความเย็นขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือนจะใช้อะไรเป็นตัวควบคุมสารทำ�ความเย็น
1. AEV 2. TEV
3. LPC 4. Cap. Tube
3. ตัวควบคุมที่อาศัยค่าของอุณหภูมิเป็นตัวควบคุมคือข้อใด
1. AEV 2. TEV
3. LPC 4. Cap. Tube
4. ตัวควบคุมที่อาศัยค่าของความดันเป็นตัวควบคุมคือข้อใด
1. AEV 2. TEV
3. LPC 4. Cap. Tube
5. ข้อดีของตัวควบคุมชนิดลูกลอยด้านความดันต�่ำคือข้อใด
1. สารท�ำความเย็นจะไม่ท่วมอีวาปอเรเตอร์
2. ความดันด้านต�่ำจะคงที่ตลอดเวลา
3. อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์จะเย็นจัด
4. ความดันด้านสูงจะไม่สูงมาก
6. เครื่องทำ�ความเย็นขนาดตั้งแต่ 3 ตันลงมาจะใช้ตัวควบคุมชนิดใด
1. AEV 2. TEV
3. LPC 4. Cap. Tube
7. สปริงที่อยู่ในตัว AEV มีหน้าที่อะไร
1. ชดเชยความดัน 2. ลดแรงดัน
3. เพิ่มแรงดัน 4. ปรับตั้งแรงดันได้ตามต้องการ

126
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

8. ตัวที่ทำ�หน้าที่กั้นความดันคือข้อใด
1. เบลโล 2. ไดอะแฟรม
3. ท่อทางออก 4. ท่อทางเข้า
9. ข้อดีของ Cap. Tube คือข้อใด
1. ลอกเลียนแบบได้ยาก 2. ให้ความเย็นมากกว่าอุปกรณ์ตัวอื่น
3. ทำ�ให้ระบบประหยัดพลังงาน 4. มีราคาถูก
10. ข้อเสียของ Cap. Tube คือข้อใด
1. เกิดการอุดตันได้ง่าย 2. ลอกเลียนแบบได้ง่าย
3. ให้ความเย็นมากกว่าอุปกรณ์ 4. มีราคาสูง

127
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
อีวาปอเรเตอร์

สาระการเรียนรู้

1. ชนิดของอีวาปอเรเตอร์
2. การติดตั้งอีวาปอเรเตอร์
3. การบำ�รุงรักษาอีวาปอเรเตอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกชนิดของอีวาปอเรเตอร์ได้
2. บอกลักษณะของอีวาปอเรเตอร์ได้
3. บอกวิธีการบำ�รุงรักษาอีวาปอเรเตอร์ได้
4. ตรวจสอบอีวาปอเรเตอร์ได้
อีวาปอเรเตอร์ 5. ติดตั้งและเลือกใช้อีวาปอเรเตอร์ได้อย่าง
เหมาะสม
6. ปฏิบัติการต่ออีวาปอเรเตอร์เข้ากับวงจร
ทางกลได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรูเ้ กีย่ วกับชนิดของอีวาปอเรเตอร์และ


การทำ�งานของอีวาปอเรเตอร์
2. ปฏิบัติการตรวจสอบ การเลือกใช้อีวาปอเรเตอร์
และการต่ออีวาปอเรเตอร์เข้ากับวงจรทางกล

128
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

อีวาปอเรเตอร์
■ 1. ชนิดของอีวาปอเรเตอร์
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาถึงอุปกรณ์หลักของระบบการท�ำความเย็นและปรับอากาศอีกชนิด
หนึ่ง ซึ่งท�ำหน้าที่รับสารท�ำความเย็นจากอุปกรณ์ควบคุมสารท�ำความเย็น เพื่อท�ำให้สารท�ำความเย็น
ทีร่ บั เข้ามานัน้ เกิดการเดือดและเปลีย่ นสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอ ในขณะทีเ่ กิดการเปลีย่ นสถานะ
จากของเหลวให้กลายเป็นไอนัน้ สารท�ำความเย็นจะดูดรับความร้อนจากตัวอีวาปอเรเตอร์และบริเวณรอบๆ
ตัวอีวาปอเรเตอร์ ท�ำให้ตัวอีวาปอเรเตอร์และบริเวณรอบๆ สูญเสียความร้อนไป จึงท�ำให้บริเวณเหล่านั้น
มีอุณหภูมิต�่ำลงหรือเกิดความเย็นขึ้น ภายในตัวอีวาปอเรเตอร์จะมีความดันต�่ำเพื่อท�ำให้การเดือดเป็น
ไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสารท�ำความเย็นจะเดือดที่อุณหภูมิต�่ำๆ อีวาปอเรเตอร์มีอยู่หลายชนิดขึ้นอยู่กับ
จุดประสงค์ต่างๆ แล้วแต่ความเหมาะสมของการน�ำไปใช้งานโดยแบ่งออกได้ดังนี้
1.1 แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง อีวาปอเรเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะโครงสร้างมี 4 ชนิด คือ
1.1.1 แบบท่อ (Bar Pipe) เป็นอีวาปอเรเตอร์ที่ ท่อทางดูด
ท�ำจากท่อเหล็กหรือท่อโลหะ อาจจะขดขนานไป-มาหรือขดเป็น ไปยังคอมเพรสเซอร์ ไอสารทำ�
ความเย็น
รูปคอยล์ก็ได้ แล้วแต่จุดประสงค์ของการน�ำไปใช้งาน เช่น ตู้แช่จะ
ใช้ลักษณะท่อขดขนานไป-มาและแนบติดอยู่กับแผ่นผนัง หรือ
แบบขดเป็นคอยล์จะใช้กับตู้ท�ำน�้ำเย็น

ท่อของเหลวจากถังพัก อุปกรณ์ควบคุม
สารทำ�ความเย็น สารทำ�ความเย็น

รูปที่ 9.1 อีวาปอเรเตอร์แบบท่อ

1.1.2 แบบท่อชนิดสอดอยู่ในฟิน (Fin Tube) จะเหมือนกับคอนเดนเซอร์ คือ มีลักษณะ


เป็นท่อตรงสอดอยู่ในฟินและบัดกรีต่อท่อด้วยข้อต่อโค้งต่างๆ ตามขนาดและความเหมาะสมของงาน
ใช้ในเครื่องปรับอากาศตามบ้านเรือนและเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ สามารถออกแบบให้มีขนาดเล็กได้
เพราะฟินจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการรับและคายความร้อนให้กับตัวกลาง โดยมีพัดลมเป็นตัวเพิ่มความเร็ว
ของการเคลื่อนที่ของตัวกลางผ่านผิวสัมผัสของอีวาปอเรเตอร์ แต่มีข้อเสียคือ ฝุ่นละอองต่างๆ จะเข้ามา
และเกาะติดกับรอยต่อระหว่างแผ่นฟินและหน้าสัมผัสต่างๆ ของตัวอีวาปอเรเตอร์ ท�ำให้เกิดเป็นฉนวนกั้น
ความร้อนเกิดขึ้น ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องมีตัวกรองฝุ่นละอองกั้นไว้เสมอ
129
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ท่อสอด พัดลม
ในฟิน
ฟิน
ท่อทองแดง

รูปที่ 9.2 อีวาปอเรเตอร์แบบท่อชนิดสอดอยู่ในฟิน

1.1.3 แบบแผ่น (Plate) เป็นอีวาปอเรเตอร์ที่พบตาม


ตู้เย็นทั่วไป บางครั้งเรียกว่าฟรีสเซอร์ ท�ำมาจากแผ่นอะลูมิเนียมปั๊ม
ขึ้นรูปให้เกิดเป็นช่องทางเดินของสารท�ำความเย็น และพับให้ได้ตาม
ขนาดของตู้เย็น อีวาปอเรเตอร์ชนิดนี้สามารถรับปริมาณความร้อนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแผ่นเพลตมีขนาดกว้าง และฝุ่นละออง
ไม่สามารถเกาะติดได้ รูปที่ 9.3 อีวาปอเรเตอร์แบบแผ่น

1.1.4 แบบชิลเลอร์ (Chiller) เป็นอีวาปอเรเตอร์ที่ใช้กับเครื่องท�ำความเย็นขนาดใหญ่ที่มี


การระบายความร้อนด้วยน�้ำ ซึ่งน�้ำจะเป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนสัมผัสกับผิวภายนอกกับอีวาปอเรเตอร์
โดยตรง และน�้ำเย็นที่ได้นี้จะถูกส่งไปตามห้องต่างๆ ที่มีการปรับอากาศโดยท่อน�้ำเย็น และจะมีวาล์วคอย
ปิด-เปิดตามต้องการ

ท่อน�้ำ คอนเดนเซอร์

มอเตอร์
คอมเพรสเซอร์ ท่อทางดูด

ท่อน�้ำ อีวาปอเรเตอร์

รูปที่ 9.4 อีวาปอเรเตอร์แบบชิลเลอร์

130
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

1.2 แบ่งตามลักษณะการท�ำงาน อีวาปอเรเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะการท�ำงาน มี 2 ชนิด คือ


1.2.1 แบบแห้ง (Dry Expansion) เป็น ท่อทางดูด
อี ว าปอเรเตอร์ ที่ ส ารท�ำความเย็ น เข้ า ไปเดื อ ดกลาย ไอสารทำ�
ไปยังคอมเพรสเซอร์
เป็นไอหมด ภายในตัวอีวาปอเรเตอร์ไม่มีส่วนที่เป็น ความเย็น
ของเหลวกลั บ เข้ า มายั ง คอมเพรสเซอร์ จะมี เ ฉพาะ
สารท�ำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอเท่านั้นที่กลับมายัง
คอมเพรสเซอร์โดยผ่านทางท่อด้านดูด อีวาปอเรเตอร์
แบบนี้ จ ะไม่ มี ตั ว แยกแก๊ ส และของเหลวออกจากกั น ท่อของเหลวจากถังพัก อุปกรณ์ควบคุม
สารทำ�ความเย็น สารทำ�ความเย็น
หรือตัวระเหย ในบางครัง้ จะเรียกอีวาปอเรเตอร์ชนิดนีว้ า่
เป็นแบบไดเรกเอกซ์แพนชัน (Direct Expansion) รูปที่ 9.5 อีวาปอเรเตอร์แบบแห้ง

1.2.2 แบบเปียก (Wet Expansion) หรือ ไอสารทำ�ความเย็น


บางทีเรียกว่าฟลัดอีวาปอเรเตอร์ (Flooded Evaporator) ของเหลว
เป็นอีวาปอเรเตอร์ชนิดที่สารท�ำความเย็นส่วนที่เป็น ตัวระเหยสาร
ทำ�ความเย็น
ของเหลวจะเดือดกลายเป็นไอไม่หมด ดังนัน้ ด้านทางออก
ตัวควบคุม
ของอี ว าปอเรเตอร์ จ ะมี ส ่ ว นที่ เ ป็ น ของเหลวและไอ สารทำ�ความเย็น
รวมกันออกมา ซึง่ จะท�ำให้คอมเพรสเซอร์เกิดการช�ำรุดได้
จึงจ�ำเป็นต้องมีตัวระเหยสารท�ำความเย็นคอยกันไว้เสีย
รูปที่ 9.6 อีวาปอเรเตอร์แบบเปียก
ก่อนที่จะถูกดูดเข้าคอมเพรสเซอร์ ถังที่เก็บสารท�ำความ
เย็นไว้ให้เดือดกลายเป็นไอ เรียกว่า ที่ระเหยสารท�ำ
ความเย็น (Accumulator)

■ 2. การติดตั้งอีวาปอเรเตอร์
การติ ด ตั้ ง อี ว าปอเรเตอร์ จ ะขึ้ น อยู ่ กั บ จุ ด ประสงค์ แ ละลั ก ษณะความเหมาะสมของงาน ซึ่ ง
อีวาปอเรเตอร์แต่ละชนิดจะใช้งานไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้ดังนี้
2.1 แบบท่อ (Bar Pipe) ใช้ติดตั้งในบริเวณที่มีการปรับอากาศภายใน เช่น ตู้แช่ ห้องเย็น
เครื่องท�ำน�้ำเย็น เป็นต้น การเพิ่มพื้นที่ในการดูดรับความร้อนจะอาศัยแผ่นของผนังที่จะท�ำเป็นห้องเป็น
ตัวดูดรับความร้อนหรือท�ำหน้าที่เป็นฟิน แต่มีปัญหาคือ จะต้องมีการฉีดโฟมหุ้มไว้เสมอ ซึ่งท�ำให้ยาก
ต่อการซ่อมบ�ำรุง

131
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2.2 แบบท่อชนิดสอดอยู่ในฟิน (Fin Tube) ใช้ติดตั้งบริเวณที่ต้องการท�ำการปรับอากาศ


เพื่อความสุขสบายเป็นส่วนมาก และจะติดตั้งในส่วนข้างบนของห้อง เนื่องจากธรรมชาติของความร้อน
จะลอยตัวสู่เบื้องบนเสมอ
2.3 แบบแผ่น (Plate) จะใช้ในตู้เย็นที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป เป็นอีวาปอเรเตอร์ที่สามารถพับ
เป็นห้องเพื่อที่จะท�ำความเย็นด้านในได้อีกและมีอุณหภูมิต�่ำมากๆ ซึ่งห้องด้านในนี้เรียกว่า ฟรีสเซอร์หรือ
ช่องแช่แข็งของตู้เย็น การติดตั้งจะติดตั้งอยู่ส่วนบนสุดของตู้เย็น
2.4 แบบชิลเลอร์ (Chiller) ใช้กับระบบการท�ำความเย็นขนาดใหญ่ซึ่งใช้ตามโรงพยาบาล
โรงแรม ห้างสรรพสินค้า การติดตั้งอีวาปอเรเตอร์แบบชิลเลอร์นี้จะติดตั้งอยู่ภายในห้องที่ออกแบบส�ำหรับ
เป็นห้องของเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะ

■ 3. การบำ�รุงรักษาอีวาปอเรเตอร์
ถ้าเป็นอีวาปอเรเตอร์ที่ใช้อากาศเป็นตัวกลางในการดูดรับความร้อนจะต้องหมั่นท�ำความสะอาด
อยู่เสมอ เพราะฝุ่นละอองต่างๆ จะเป็นฉนวนกันความร้อน ท�ำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนเป็นไปได้ไม่ดี
นอกจากนี้ฝุ่นละอองยังท�ำให้ปริมาณของลมที่ผ่านผิวของอีวาปอเรเตอร์มีขนาดลดลงด้วย ซึ่งจะท�ำให้เกิด
มีน�้ำแข็งเกาะที่ตัวอีวาปอเรเตอร์
ถ้าเป็นอีวาปอเรเตอร์ที่ใช้น�้ำเป็นตัวกลางในการดูดรับความร้อนจะต้องหมั่นท�ำความสะอาด
ท่อน�้ำอยู่เสมอ เพราะท่อน�้ำจะเกิดการอุดตันเนื่องจากความเป็นกรดของน�้ำ ดังนั้นน�้ำที่ใช้จะต้องเป็นน�้ำ
ที่มีความเป็นกลาง ไม่เป็นกรดหรือด่าง

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. อีวาปอเรเตอร์มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่อะไรบ้าง
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

132
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

2. การติดตั้งอีวาปอเรเตอร์มีวิธีการอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
3. การบำ�รุงรักษาอีวาปอเรเตอร์มีวิธีการอย่างไร
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

สรุป
อีวาปอเรเตอร์ คือ อุปกรณ์ในระบบการท�ำความเย็น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สารท�ำความเย็น
เข้ามาเดือดหรือกลายเป็นไอ ท�ำให้เกิดความเย็น การแบ่งชนิดของอีวาปอเรเตอร์มวี ธิ กี ารแบ่งแตกต่าง
กันหลายอย่าง ได้แก่ แบ่งตามลักษณะของโครงสร้าง แบ่งลักษณะการท�ำงานของวิธีการหมุนเวียน
ของอากาศหรือน�้ำที่ผ่าน แบ่งตามชนิดของอุปกรณ์ควบคุม แบ่งตามการไหลของสารท�ำความเย็น
และแบ่งตามชนิดของเครื่องท�ำความเย็นที่ใช้งาน

133
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
อีวาปอเรเตอร์
จุดประสงค์
1. ตรวจสอบสภาพของอีวาปอเรเตอร์
2. เลือกใช้อีวาปอเรเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3. ปฏิบัติการตรวจสอบและต่ออีวาปอเรเตอร์เข้ากับวงจรทางกลได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
2. อีวาปอเรเตอร์
3. ชุดเครื่องเชื่อม
4. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
5. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
6. ชุดเครื่องมือวัดความดัน
7. ถังไนโตรเจน
การตรวจสภาพอีวาปอเรเตอร์
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. นำ�วาล์วลูกศรมาบัดกรีเข้ากับปลายอีวาปอเรเตอร์ข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งให้บัดกรีปิดไว้
2. นำ�ชุดวัดแรงดันต่อเข้ากับวาล์วลูกศรและถังไนโตรเจน
3. อัดไนโตรเจนเข้าอีวาปอเรเตอร์ประมาณ 50 PSI
4. น�ำอีวาปอเรเตอร์ที่อัดไนโตรเจนเรียบร้อยแล้วมาจุ่มแช่ลงในถังน�้ำเพื่อตรวจสอบสภาพ
ผลการปฏิบัติงาน
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

134
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

การตรวจสภาพของพื้นที่ของการระบายความร้อน (ฟิน)
ผลการตรวจ
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
การแก้ไข
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
การน�ำอีวาปอเรเตอร์ที่ใช้กับตู้เย็นมาใช้กับเครื่องปรับอากาศ
ผลการใช้
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
เหตุผล
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

135
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
อีวาปอเรเตอร์
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

136
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. อีวาปอเรเตอร์แบ่งตามโครงสร้างมีชนิดใดบ้าง
1. แบบท่อ และแบบเปียก
2. แบบแผ่น และแบบแห้ง
3. แบบท่อ แบบท่อชนิดสอดอยู่ในฟิน และแบบเปียก
4. แบบท่อ แบบท่อชนิดสอดอยู่ในฟิน แบบแผ่น และแบบชิลเลอร์
2. ข้อใดคือหน้าที่ของอีวาปอเรเตอร์
1. ดูดและอัดสารทำ�ความเย็น
2. ถ่ายเทความร้อน
3. รับสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวเข้ามาเพื่อเดือดกลายเป็นไอ
4. รับสารทำ�ความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สเข้ามาเพื่อกลั่นตัว
3. อีวาปอเรเตอร์แบ่งตามลักษณะการทำ�งานมีชนิดใดบ้าง
1. แบบแห้ง และแบบท่อ 2. แบบแห้ง และแบบเปียก
3. แบบชิลเลอร์ และแบบแผ่น 4. แบบชิลเลอร์ และแบบฟิน
4. อีวาปอเรเตอร์แบบใดที่นิยมใช้ในตู้เย็น
1. แบบท่อ 2. แบบเปียก
3. แบบเพลต 4. แบบไดเรกเอกซ์แพนชัน
5. ข้อใดเป็นข้อเสียของอีวาปอเรเตอร์แบบเปียก
1. ดูดรับปริมาณได้น้อย
2. ต้องชาร์จสารทำ�ความเย็นเข้าในระบบจำ�นวนมาก
3. มีสารทำ�ความเย็นเหลวเต็มอยู่ตลอดเวลา
4. อากาศไม่ค่อยเย็น
6. การกลั่นตัวของไอน�้ำของเครื่องท�ำความเย็นชนิดใดที่ไม่ท�ำให้เกิดน�้ำแข็งเกาะ
1. ตู้เย็น 2. ตู้แช่แข็ง
3. ตู้ท�ำน�้ำเย็น 4. เครื่องปรับอากาศ

137
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

7. วงจรของท่ออีวาปอเรเตอร์ซึ่งมีความยาวมากๆ จะทำ�ให้เกิดข้อเสียอย่างไร
1. ความดันของสารทำ�ความเย็นจะลดลง
2. อุณหภูมิของสารทำ�ความเย็นจะลดลง
3. สารทำ�ความเย็นจะระเหยไม่หมด
4. เสียค่าใช้จ่ายมาก
8. การทำ�ให้ทิศทางลมผิดส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ตามข้อใด
1. ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
2. ลมเข้ามีอุณหภูมิสูงขึ้น
3. ระบบป้องกันทำ�งานหนักขึ้น
4. ลมที่ผ่านอีวาปอเรเตอร์มีอุณหภูมิต�่ำไม่พอ
9. อีวาปอเรเตอร์ที่เป็นคอยล์น�้ำเย็นจะใช้งานกับระบบท�ำความเย็นแบบใด
1. แบบชิลเลอร์ 2. แบบอัดไอ
3. แบบดูดซึม 4. แบบไอน�้ำพ่น
10. อีวาปอเรเตอร์แบบใดที่นิยมใช้ในตู้น�้ำเย็น
1. แบบท่อ 2. แบบเปียก
3. แบบเพลต 4. แบบไดเรกเอกซ์แพนชัน

138
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
อุปกรณ์ย่อยต่างๆ
ของระบบเครื่องท�ำความเย็น
สาระการเรียนรู้

1. ฟิลเตอร์ดรายเออร์ 2. กระจกมองน�้ำยา
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์แยกน�้ำมัน
5. อุปกรณ์ลดเสียง 6. ท่ออ่อนกันกระเทือน
7. ถังเก็บสารทำ�ความเย็นเหลว 8. วาล์วกันกลับ
9. วาล์วระบายความดัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

อุปกรณ์ย่อยต่างๆ 1. บอกชนิดของอุปกรณ์ยอ่ ยต่างๆ ของระบบ


ของระบบเครื่อง เครื่องทำ�ความเย็นได้
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ย่อยต่างๆ ของระบบ
ทำ�ความเย็น เครื่องทำ�ความเย็นได้
3. เลือกใช้อปุ กรณ์ยอ่ ยต่างๆ ของระบบเครือ่ ง
ทำ�ความเย็นได้อย่างเหมาะสม
4. ปฏิบตั กิ ารต่ออุปกรณ์ยอ่ ยต่างๆ ของระบบ
เครือ่ื งทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกลับได้
สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่การทำ�งานของอุปกรณ์
ย่อยต่างๆ ในงานเครื่องทำ�ความเย็น
2. เลือกใช้อปุ กรณ์และปฏิบตั กิ ารต่ออุปกรณ์ยอ่ ยต่างๆ
ของระบบเครื่องทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกล

139
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

อุปกรณ์ย่อยต่างๆ ของระบบเครื่องทำ�ความเย็น
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ
นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการท�ำความเย็นและป้องกัน
ความเสียหายอันเกิดจากการท�ำงานของระบบ

■ 1. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
ฟิลเตอร์ดรายเออร์ (Filter Drier) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรองความชื้นและเศษโลหะที่เกิด
จากการท�ำงานของคอมเพรสเซอร์ ภายในฟิลเตอร์ดรายเออร์จะบรรจุสารดูดความชื้นที่เรียกว่าซิลิกาเจล
(Siliga Gel) หรือโซเวอร์บีด (Sover Bead) ไว้ สารดูดความชื้นที่ใช้
นั้นจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเมื่อได้ดูดความชื้น และจะ
มีตะแกรงทองเหลืองคอยกรองเศษโลหะ การติดตั้งฟิลเตอร์ดราย-
เออร์จะติดตั้งตรงต�ำแหน่งด้านออกของคอนเดนเซอร์และด้านเข้า
ของตั ว ควบคุ ม สารท�ำความเย็ น ที่ เข้ า ไปในฟิ ล เตอร์ ด รายเออร์ รูปที่ 10.1 ฟิลเตอร์ดรายเออร์
จะมีสถานะเป็นของเหลว

■ 2. กระจกมองน้ำ�ยา
กระจกมองน�้ำยา (Sight Glass) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การมองดูปริมาณสารท�ำความเย็นว่ามีเพียงพอในระบบหรือไม่ ซึ่ง
ถ้ า สารท�ำความเย็ น มี น ้ อ ยกว่ า ปกติ จ ะเกิ ด มี ฟ องอากาศปนกั บ
ของเหลวไหลผ่ า นตรงช่ อ งมอง ถ้ า ปริ ม าณสารท�ำความเย็ น มี
เพี ย งพอจะมองเห็ น สารท�ำความเย็ น มี ลั ก ษณะใส การติ ด ตั้ ง
กระจกมองน�ำ้ ยาจะติดตัง้ อยูด่ า้ นทางออกของคอนเดนเซอร์ บางครัง้ รูปที่ 10.2 กระจกมองน�้ำยา
ตั ว กระจกมองน�้ ำ ยาจะอยู ่ ร วมกั บ ตั ว ฟิ ล เตอร์ ด รายเออร์ ซึ่ ง ใช้
ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์

140
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

■ 3. แอกคิวมูเลเตอร์
แอกคิวมูเลเตอร์ (Accumulator) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันของเหลวไหลกลับเข้ามายัง
คอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะติดตั้งอยู่ระหว่างด้านทางออกของอีวาปอเรเตอร์กับท่อทางดูดของคอมเพรสเซอร์
A B
A B
A = ทางแก๊สเข้า
B = ทางแก๊สออก
C = รูน�้ำมันเครื่องไหลออก
D = สารทำ�ความเย็นเหลวรอการระเหย C

รูปที่ 10.3 แอกคิวมูเลเตอร์

■ 4. อุปกรณ์แยกน้ำ�มัน
อุปกรณ์แยกนำ�้ มัน (Oil Separator) เป็นอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการแยกน�ำ้ มันหล่อลืน่ ของคอมเพรสเซอร์
ออกจากสารท�ำความเย็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีน�้ำมันไปปะปนกับสารท�ำความเย็น ซึ่งน�้ำมันหล่อลื่นของ
คอมเพรสเซอร์จะเป็นฉนวนกันความร้อน ดังนั้นจะติดตั้งอุปกรณ์แยกน�้ำมันไว้ต�ำแหน่งด้านออกของ
คอมเพรสเซอร์
ทางแก๊สเข้า
ท่อด้านเข้า ท่อด้านออก
ทางแก๊สออก
ตะแกรง ท่อน�้ำมันกลับ

ลูกลอย
น�้ำมัน

คอมเพรสเซอร์ ตัวแยกน�้ำมัน

รูปที่ 10.4 อุปกรณ์แยกน�้ำมัน

141
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 5. อุปกรณ์ลดเสียง
อุปกรณ์ลดเสียง (Muffler) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ลดเสียงที่เกิดจากการ
ไหลของสารท�ำความเย็นทีม่ สี ถานะเป็นไอ ซึง่ ถ้าเป็นเครือ่ งท�ำความเย็นขนาดใหญ่
จะมีเสียงดังมาก ดังนัน้ จึงมีการติดตัง้ อุปกรณ์ลดเสียงไว้ตรงต�ำแหน่งท่อดิสชาร์จ
ของคอมเพรสเซอร์ และบางรุ่นจะติดตั้งไว้ในคอมเพรสเซอร์ก่อนส่งออกทาง
ท่อดิสชาร์จ
รูปที่ 10.5 อุปกรณ์ลดเสียง
■ 6. ท่ออ่อนกันกระเทือน
ท่ออ่อนกันกระเทือน (Flexible) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใน
ระบบเครื่องท�ำความเย็น โดยเฉพาะที่คอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ ใช้สำ�หรับการประสานหรือบัดกรี
เป็นทางเดินของสารท�ำความเย็นในส่วนทีม่ กี ารสัน่ เนือ่ งจากการ
ท�ำงาน โดยทัว่ ไปจะพบท่ออ่อนกันสะเทือนในเครือ่ งปรับอากาศ
ของรถยนต์ หน้าแปลน เกลียวต่อ

รูปที่ 10.6 ท่ออ่อนกันกระเทือน

■ 7. ถังเก็บสารทำ�ความเย็นเหลว
ถังเก็บสารท�ำความเย็นเหลว (Liquid Receiver) เป็นอุปกรณ์ท่ีใช้ในการเก็บสารท�ำความเย็น
ที่มีสถานะเป็นของเหลวไว้ เพื่อให้เกิดความเพียงพอในระบบตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของโหลด
ถังเก็บสารท�ำความเย็นเหลวจะต่ออยู่ด้านทางออกของคอนเดนเซอร์
ไปยังอุปกรณ์ควบคุม
สารทำ�ความเย็น
ไปยังอุปกรณ์ควบคุม
จากคอนเดนเซอร์ สารทำ�ความเย็น
จากคอนเดนเซอร์

รูปที่ 10.7 ถังเก็บสารทำ�ความเย็นเหลว


142
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

■ 8. วาล์วกันกลับ
วาล์ ว กั น กลั บ (Check Valve) เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ใ ห้ ส ารท�ำ
ความเย็นไหลผ่านในทิศทางเดียวเท่านั้น

รูปที่ 10.8 วาล์วกันกลับ


■ 9. วาล์วระบายความดัน
วาล์วระบายความดัน (Relife Valve) เป็นอุปกรณ์ เกลียวต่อ
ตัวปรับความดัน
ที่ใช้ในการลดความดัน เมื่อความดันด้านความดันสูงสูงกว่า
ค่าที่ก�ำหนด ซึ่งเกิดจากข้อผิดพลาดหรือการช�ำรุดของอุปกรณ์
ลูกสูบ สปริง
บางอย่ า ง เช่ น พั ด ลมระบายความร้ อ นของคอนเดนเซอร์
บ่าวาล์ว
ไม่ ห มุ น จะท�ำให้ ร ะบบเกิ ด การระเบิ ด ขึ้ น ได้ วาล์ ว ชนิ ด นี้ จ ะ แผ่นยางรอง
ติดตั้งอยู่ที่ด้านความดันสูงของระบบ บางทีเรียกว่าเซฟตี้วาล์ว บ่าวาล์ว
(Safety Valve) ทางเข้า

รูปที่ 10.9 วาล์วระบายความดัน

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จากรูป จงบอกชื่อและหน้าที่ของเครื่องมือที่ใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศมาพอเข้าใจ

1. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

143
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................
ทางแก๊ส ทางแก๊ส
เข้า ออก
3. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

4. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

5. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

6. ชื่ออุปกรณ์...................................................................

ใช้สำ�หรับการประสานหรื อบัดกรี หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
หน้าแปลน เกลียวต่อ .....................................................................................

7. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

144
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

8. ชื่ออุปกรณ์...................................................................
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
.....................................................................................
.....................................................................................

เกลียวต่อ
ตัวปรับ
9. ความดัน ชื่ออุปกรณ์...................................................................
ลูกสูบ สปริง
หน้าทีใ่ นการใช้งาน.......................................................
บ่าวาล์ว .....................................................................................
แผ่นยางรอง .....................................................................................
บ่าวาล์ว
ทางเข้า

สรุป
ในวงจรสารทำ�ความเย็นของระบบเครื่องทำ�ความเย็น มีอุปกรณ์ต่างๆ เป็นอุปกรณ์ประกอบ
ซึ่งมีความสำ�คัญและจำ�เป็นที่จะต้องติดตั้งในระบบเครื่องทำ�ความเย็นบางระบบ แต่อาจไม่มี
ความจำ�เป็นเลยสำ�หรับเครื่องทำ�ความเย็นอีกระบบหนึ่ง ดังนั้นเราจึงควรทราบและศึกษาอุปกรณ์
ย่อยต่างๆ นี้ให้เข้าใจเพื่อนำ�ไปใช้ในการปฏิบัติงาน

145
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
อุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องท�ำความเย็น
จุดประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบเครื่องทำ�ความเย็น
2. ปฏิบัติการต่ออุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องทำ�ความเย็นเข้ากับวงจรทางกลได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
2. อุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องทำ�ความเย็น
3. ชุดเครื่องเชื่อม
4. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
5. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
6. ชุดเครื่องมือวัดความดัน
7. ถังไนโตรเจน
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. นำ�เอาอุปกรณ์ย่อยเหล่านี้ประกอบเข้าในวงจรทางกลของเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
1.1 ฟิลเตอร์ดรายเออร์
1.2 กระจกมองน�้ำยา
1.3 แอกคิวมูเลเตอร์
1.4 อุปกรณ์แยกน�้ำมัน
1.5 อุปกรณ์ลดเสียง
1.6 วาล์วกันกลับ
2. บอกล�ำดับขั้นการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนในการประกอบวงจร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

146
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

3. ในการประกอบวงจรมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
4. ผลที่ได้จากการประกอบวงจรเป็นอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................

147
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
อุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องท�ำความเย็น
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

148
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องทำ�ความเย็นที่กล่าวมาในหน่วยการเรียนนี้
1. วาลว์กันกลับ กระจกมองน�้ำยา
2. อุปกรณ์ลดเสียง อุปกรณ์แยกน�้ำมัน
3. แอกคิวมูเลเตอร์ ท่อวาล์ว
4. ฟิลเตอร์ดรายเออร์ ถังพักน�้ำยาเหลว
2. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของอุปกรณ์ย่อยของระบบเครื่องทำ�ความเย็น
1. ฟิลเตอร์ดรายเออร์ 2. กระจกมองน�้ำยา
3. แมกเนติกส์ 4. แอกคิวมูเลเตอร์
3. ข้อใดไม่ใช่สารดูดรับความชื้นในตัวฟิลเตอร์ดรายเออร์
1. คาร์บอน 2. ซิลิกาเจล
3. แคลเซียมซัลเฟต 4. อะลูมินาเจล
4. อุปกรณ์ชนิดใดที่ติดตั้งอยู่ที่ท่อลิควิด
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง
5. อุปกรณ์ชนิดใดที่ติดตั้งอยู่ระหว่างอีวาปอเรเตอร์และท่อทางดูดของคอมเพรสเซอร์
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง
6. อุปกรณ์ชนิดใดที่ติดตั้งอยู่ระหว่างคอมเพรสเซอร์กับคอนเดนเซอร์
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง
7. อุปกรณ์ชนิดใดที่ติดตั้งตรงท่อดิสชาร์จ
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง
8. อุปกรณ์ชนิดใดที่ติดตั้งอยู่ในต�ำแหน่งที่ใกล้กับท่อพักน�้ำยาเหลว
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง

149
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. อุปกรณ์ชนิดใดที่ทำ�หน้าที่ป้องกันสารดูดความชื้นฝุ่นผง
1. กระจกมองน�้ำยา 2. ฟิลเตอร์ดรายเออร์
3. แอกคิวมูเลเตอร์ 4. อุปกรณ์ลดเสียง
10. อุปกรณ์ชนิดใดท�ำหน้าที่ป้องกันให้น�้ำยาไหลได้ทางเดียว
1. วาล์วปลดความดัน 2. ปลั๊กหลอมละลาย
3. วาล์วกันกลับ 4. วาล์วบริการ

150
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
สารท�ำความเย็นและน�้ำมันหล่อลื่น

สาระการเรียนรู้

1. สารท�ำความเย็น
2. น�้ำมันหล่อลื่น

จุดประสงค์การเรียนรู้

สารทำ�ความเย็น 1. บอกสมบัติของสารทำ�ความเย็นได้
2. บอกชนิดของสารทำ�ความเย็นได้
และน้ำ�มันหล่อลื่น 3. บอกจุดเดือดของสารทำ�ความเย็นได้
4. บอกข้อควรระวังในการใช้สารทำ�ความเย็นได้
5. บอกสมบัติของน�้ำมันหล่อลื่นได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของสารท�ำความเย็น
ชนิดต่างๆ และน�้ำมันหล่อลื่น
2. เลือกใช้สารทำ�ความเย็นชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับ
ระบบเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

151
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

สารทำ�ความเย็นและน้ำ�มันหล่อลื่น

■ 1. สารทำ�ความเย็น
ในหน่วยการเรียนนี้จะศึกษาถึงวัสดุที่ใช้ในการรับและถ่ายเทความร้อนในระบบของการท�ำ
ความเย็นและปรับอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า สารท�ำความเย็น บางครั้งเรียกว่า น�้ำยาเครื่องเย็น
ซึ่ ง การท�ำความเย็ น ระบบอั ด ไอจ�ำเป็ น ต้ อ งใช้ ส ารท�ำความเย็ น ซึ่ ง ระเหยที่ ค วามดั น สู ง กว่ า ความดั น
ของบรรยากาศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของอากาศเข้าไปในระบบ เนื่องจากความดันด้านดูดต�่ำกว่า
ความดันของบรรยากาศ สารท�ำความเย็นอาจจะเป็นของเหลวหรือแก๊สก็ได้ที่น�ำความร้อนได้ดี ที่นิยม
ใช้ส่วนมากจะเป็นสารจ�ำพวก CFC ซึ่งในปัจจุบันได้เลิกใช้แล้วเนื่องจากท�ำให้เกิดมลภาวะเรือนกระจก
(Green House Effect) จึงมีการคิดค้นสารท�ำความเย็นตัวใหม่ที่ไม่ท�ำให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวกับ
บรรยากาศ ซึ่งจะรู้จักกันในนามของสารท�ำความเย็นเบอร์ 134 A
1.1 สมบัติของสารท�ำความเย็น สารท�ำความเย็นมีสมบัติดังนี้
1.1.1 ความเย็นทีไ่ ด้รบั โดยการระเหยของของเหลว จะต้องระเหยตัวหรือกลายเป็นไอได้งา่ ย
1.1.2 ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอมากขึ้น สารท�ำความเย็นที่ต้องการให้หมุนเวียน
ในระบบจะน้อยลง และสารท�ำความเย็นจ�ำนวนน้อยนี้จะเป็นตัวท�ำความเย็น
1.1.3 อุปกรณ์ที่ใช้ท�ำงานต่างๆ ต้องปลอดภัย ดังนั้นสารท�ำความเย็นจะต้องไม่ติดไฟ
หรือระเบิด
1.1.4 สารท�ำความเย็นจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารที่รั่ว
ออกมาสามารถตรวจพบโดยการดมกลิ่นได้
1.1.5 มีความคงตัวสูง สามารถน�ำกลับไปใช้ได้หลายๆ ครั้ง ปราศจากการเปลี่ยนสถานะ
หรือแยกตัว
1.1.6 ต้องไม่มีผลให้เกิดอันตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นโลหะหรือปะเก็นที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์
และส่วนอื่นๆ หรือน�้ำมันหล่อลื่น
1.1.7 อุณหภูมิวิกฤต (Critical Temperature) ควรจะสูงมากกว่าอุณหภูมิการกลั่นตัว
1.1.8 ถ้าความดันการกลายเป็นไอต�่ำกว่าความดันบรรยากาศ จะท�ำให้อากาศที่เข้าไปใน
วัฏจักรการท�ำความเย็นเปลีย่ นแปลง ดังนัน้ ความดันของการกลายเป็นไอควรจะสูงกว่าความดันบรรยากาศ

152
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

1.1.9 ความดันของการกลั่นตัวสูงกว่าชิ้นส่วนที่ท�ำงานต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์ คอนเดน-


เซอร์ โครงสร้างของท่อด้านความดันสูงกว่าจะต้องแข็งแรง ดังนั้นสารท�ำความเย็นที่มีความดันสูงมากจึงไม่
เหมาะสม
1.2 ชนิดของสารท�ำความเย็น สารท�ำความเย็นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.2.1 สารท�ำความเย็นแบบอินออร์กานิก คอมพาวด์ ประกอบด้วย
1) แอมโมเนีย (Ammonia) แม้ว่าแอมโมเนียจะเป็นสารที่มีพิษสูง แต่สมบัติอย่างอื่น
เหมาะส�ำหรับใช้เป็นสารท�ำความเย็น แอมโมเนียจึงใช้กับเครื่องท�ำความเย็นขนาดใหญ่
2) แก๊สเกลือของกรดก�ำมะถัน (Sulfurous Acid Gas) ปัจจุบันสารนี้ในทางปฏิบัติ
ไม่ใช้แล้วเนื่องจากมีกลิ่นแรงและมีความเป็นพิษสูง
3) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) สารท�ำความเย็นนี้ ตัวท�ำความเย็น
สามารถท�ำให้เล็กลงได้ เป็นแก๊สที่ปลอดภัย และมีอุณหภูมิวิกฤตต�่ำมากแค่ 31°C ปัจจุบันนิยมใช้กัน
อย่างกว้างขวางส�ำหรับเป็นตัวท�ำความเย็นที่สองของการท�ำน�้ำแข็งแห้ง (Solid-carbondioxide)
4) น�้ำ (Water) ใช้เป็นตัวท�ำความเย็นส�ำหรับเครื่องท�ำความเย็น เช่น แบบการฉีด
การดูดกลืน
1.2.2 ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) รวมทั้งมีเทน (Methane) อีเทน (Ethane)
โพรเพน (Propane) ฯลฯ แต่ อ งค์ ป ระกอบของความปลอดภั ย ของสารชนิ ด นี้ มี ป ั ญ หา จึ ง มี ใช้ แ ต่
ในอุตสาหกรรมกลั่นน�้ำมัน
1.2.3 แฮโลจีเนท คาร์ไบด์ (Halogenated Carbide) เป็นกลุ่มของไฮโดรคาร์บอน
ซึ่งประกอบด้วยแฮโลเจน (Cl, F, Br) หนึ่งหรือมากกว่า นอกจากนี้ยังมีชนิดที่ประกอบด้วยฟลูออไรด์ (F)
ซึ่งเรียกว่าฟรีออน เป็นสารท�ำความเย็น ลักษณะเด่นทีส่ ดุ ของฟรีออนคือ มีความปลอดภัยสูงมาก รวมทัง้
มีความคงตัวทางเคมี
1.2.4 ส่วนผสมอะซีโอโทรปิค (Azeotropic) เป็นส่วนผสมของรีฟริเจอร์แรนท์ 2 ชนิด
ที่แตกต่างกัน แต่จะกระท�ำเหมือนกับว่าเป็นรีฟริเจอร์แรนท์ชนิดเดียวกัน
1.3 จุดเดือดของสารท�ำความเย็น มีความส�ำคัญมาก โดยทั่วไปสารท�ำความเย็นที่มีจุดเดือด
ต�่ำจะถู ก ใช้ ใ นการท�ำความเย็ น ที่ อุ ณ หภู มิ ต�่ ำ และสารท�ำความเย็ น ที่ มี จุ ด เดื อ ดสู ง จะถู ก ใช้ ใ นการท�ำ
ความเย็นที่มีอุณหภูมิสูง (การปรับอากาศ) จุดเดือดของสารท�ำความเย็นจึงเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่า
สารท�ำความเย็นสามารถระเหยทีอ่ ณ ุ หภูมติ ำ�่ พอเหมาะทีค่ วามดันต้องการหรือไม่ ซึง่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.3.1 R-11 มีชื่อทางเคมีว่า ไตรคลอโรมอนอฟลูออโรมีเทน (CCl3F) มีจุดเดือดที่ 23.8°C
ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง อุณหภูมิการระเหยสูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรือ
อากาศก็ได้ ใช้ในงานเครื่องท�ำน�้ำเย็น ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีส้ม

153
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

1.3.2 R-12 มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน (CCl2F2) มีจุดเดือดที่ −29.8°C


ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่ อุณหภูมิการระเหยตั้งแต่ต�่ำ-สูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
และอากาศก็ได้ ใช้ในงานเครื่องปรับอากาศ การท�ำความเย็นทั่วไป และถ้าใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบ
แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือหอยโข่ง อุณหภูมิการระเหยจะสูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรืออากาศก็ได้
ใช้ในเครื่องท�ำความเย็นแบบใช้เครื่องอัดแบบหอยโข่งขนาดใหญ่ ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีขาว
1.3.3 R-13 มี ชื่ อ ทางเคมี ว ่ า มอนอคลอโรไตรฟลู อ อโรมี เ ทน (CClF 3) มี จุ ด เดื อ ดที่
−81.4°C ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่ อุณหภูมิการระเหยอากาศเย็นจัด ระบายความร้อน
ด้วยเครื่องท�ำความเย็น ใช้การท�ำความเย็นที่อุณหภูมิต�่ำมาก (วัฏจักรด้านอุณหภูมิต�่ำ) ถังที่ใช้บรรจุจะมี
โค้ดสีฟ้า
1.3.4 R-21 มี ชื่ อ ทางเคมี ว ่ า ไดคลอโรมอนอฟลู อ อโรมี เ ทน (CHCl 2F) มี จุ ด เดื อ ดที่
8.9°C ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่ อุณหภูมิการระเหยสูง ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ใช้ในการท�ำความเย็นในหัวรถยก
1.3.5 R-22 มี ชื่ อ ทางเคมี ว ่ า มอนอคลอโรไดฟลู อ อโรมี เ ทน (CHClF 2) มี จุ ด เดื อ ดที่
−40.8°C ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือหอยโข่ง อุณหภูมิ
การระเหยตั้ ง แต่ ต�่ ำ -สู ง ระบายความร้ อ นด้ ว ยน�้ ำ หรื อ อากาศก็ ไ ด้ ใช้ ใ นงานเครื่ อ งปรั บ อากาศและ
งานการท�ำความเย็นทั่วไป เครื่องท�ำความเย็นต่างๆ เครื่องท�ำความเย็นจัด ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีเขียว
1.3.6 R-113 มีชื่อทางเคมีว่า ไตรคลอโรไตรฟลูออโรอีเทน (CCl2FCClF2) มีจุดเดือด
ที่ 47.6°C ใช้ กั บ คอมเพรสเซอร์ แ บบแรงเหวี่ ย งหนี ศู น ย์ ก ลางหรื อ หอยโข่ ง อุ ณ หภู มิ ก ารระเหยสู ง
ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรืออากาศก็ได้ ใช้ในงานเครื่องอัดแบบหอยโข่งขนาดเล็ก ถังที่ใช้บรรจุจะมี
โค้ดสีม่วงแดง
1.3.7 R-114 มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรเตตระฟลูออโรอีเทน (CClF2CClF2) มีจุดเดือด
ที่ 3.6°C ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่ อุณหภูมิการระเหยสูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรือ
อากาศ ใช้ในการท�ำความเย็นในหัวรถยก และถ้าใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือ
หอยโข่ง อุณหภูมิการระเหยสูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรืออากาศก็ได้ ใช้ในเครื่องอัดแบบหอยโข่ง
ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีฟ้าเข้ม
1.3.8 R-500 เป็นสารท�ำความเย็นที่ผสมกันระหว่าง R-12 กับ R-152 A ในอัตราส่วน
73.8 : 26.2 (CCl 2F 2/CH 3CHF 2) มี จุ ด เดื อ ดที่ −33.3°C ใช้ กั บ คอมเพรสเซอร์ แ บบลู ก สู บ หรื อ
โรตารี่ และแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือหอยโข่ง อุณหภูมิการระเหยตั้งแต่ต�่ำ-สูง ระบายความร้อน
ด้วยน�้ำและอากาศก็ได้ ใช้ในงานการท�ำความเย็นทั่วไปและการปรับอากาศ และใช้ในงานเครื่องอัด
หอยโข่งขนาดใหญ่ ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีเหลือง

154
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

1.3.9 R-502 เป็นสารท�ำความเย็นที่ผสมกันระหว่าง R-22 กับ R-115 ในอัตราส่วน


48.8 : 51.2 ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ อุณหภูมิการระเหยต�่ำ ระบายความร้อนด้วยน�้ำและอากาศ
ก็ได้ ใช้กับเครื่องท�ำความเย็นจัด เครื่องท�ำความเย็นทั่วไป และเครื่องปรับอากาศ และใช้กับคอมเพรสเซอร์
แบบลูกสูบ อุณหภูมิการระเหยต�่ำ ระบายความร้อนด้วยน�้ำ ใช้กับเครื่องท�ำน�้ำแข็ง ห้องเย็น ท�ำให้
น�้ำเกลือเย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องท�ำความเย็นในอุตสาหกรรมเคมี ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีม่วงน�้ำเงิน
1.3.10 แอมโมเนีย มีชื่อทางเคมีว่า แอมโมเนีย (NH3) มีจุดเดือดที่ −33.3°C ใช้กับ
คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือหอยโข่ง อุณหภูมิการระเหยต�่ำ ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
ใช้กับลานสเกตน�้ำแข็ง ท�ำให้น�้ำเกลือเย็น เครื่องท�ำความเย็นในอุตสาหกรรมเคมี ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีเงิน
1.3.11 R-134 A มีชื่อทางเคมีว่า เตตระฟลูออโรอีเทน (C2H2F4) มีจุดเดือดที่ −29.8°C
ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบหรือโรตารี่ อุณหภูมิการระเหยตั้งแต่ต�่ำ-สูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำ
และอากาศก็ได้ ใช้ในงานเครื่องปรับอากาศ การท�ำความเย็นทั่วไป และถ้าใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบ
แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือหอยโข่ง อุณหภูมิการระเหยจะสูง ระบายความร้อนด้วยน�้ำหรืออากาศก็ได้
ใช้ในเครื่องท�ำความเย็นแบบใช้เครื่องอัดแบบหอยโข่งขนาดใหญ่ และสามารถใช้แทนสารท�ำความเย็น
R-12 ได้ ถังที่ใช้บรรจุจะมีโค้ดสีฟ้า
1.4 ลักษณะของถังบรรจุสารท�ำความเย็น จะมีลักษณะต่างๆ กันตามปริมาณของน�้ำหนัก
ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ถังที่บรรจุสารท�ำความเย็นควรมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 ปี บริษัทผู้ผลิต
จะก�ำหนดการบริการตรวจสอบสภาพและลิ้นควบคุมที่หัวถังทุกๆ 6 เดือนว่ายังมีความปลอดภัยหรือไม่
นอกจากนี้ที่หัวถังควรจะมีฝาเหล็กป้องกันลิ้นที่หัวถังอีกชั้นหนึ่ง
1.5 ข้อควรระวังในการใช้สารท�ำความเย็น มีดังนี้

รูปแสดงลักษณะของถังบรรจุสารทำ�ความเย็นขนาดต่างๆ

155
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

1.5.1 ควรเก็บรักษาสารท�ำความเย็นไว้ในสถานที่ีที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และห่างจาก


แหล่งก�ำเนิดความร้อน
1.5.2 พยายามอย่าให้สารท�ำความเย็นมาสัมผัสกับผิวหนังหรือเข้าตาได้
1.5.3 ควรตรวจสอบสารท�ำความเย็นก่อนน�ำไปใช้งาน
1.5.4 ถังบรรจุสารท�ำความเย็นควรตั้งไว้ในแนวตั้งเสมอ
1.5.5 เมือ่ ต้องการไล่สารท�ำความเย็นออกจากระบบ ให้ใช้วธิ คี อ่ ยๆ ปล่อยสารท�ำความเย็นออก
1.5.6 ห้ามเติมสารท�ำความเย็นชนิดอื่นเข้าในระบบ นอกจากน�้ำมันหล่อลื่นเท่านั้น
1.5.7 เมื่อเลิกใช้งานควรปิดฝาถังให้แน่น และครอบหัววาล์วด้วยหมวกเหล็ก

■ 2. น้ำ�มันหล่อลื่น
น�้ ำ มั น หล่ อ ลื่ น ที่ ใช้ ใ นระบบเครื่ อ งท�ำความเย็ น และปรั บ อากาศจะเป็ น น�้ ำ มั น ชนิ ด พิ เ ศษที่ ใช้
งานเฉพาะอย่างเท่านั้น น�้ำมันหล่อลื่นนี้จะใช้ในการหล่อลื่นกลไกของคอมเพรสเซอร์ในขณะท�ำงาน
ขณะทีเ่ ครือ่ งท�ำความเย็นและปรับอากาศท�ำงาน จะมีนำ�้ มันหล่อลืน่ บางส่วนไหลไปพร้อมกับสารท�ำความเย็น
และจะถูกดูดกลับลงมาในห้องเพลาข้อเหวีย่ งของคอมเพรสเซอร์เหมือนเดิม ด้วยเหตุดงั กล่าวนำ�้ มันส�ำหรับ
เครือ่ งท�ำความเย็นจึงมีสมบัตทิ ตี่ อ้ งการส�ำหรับนำ�้ มันหล่อลืน่ คือ จะต้องไม่ท�ำให้เกิดข้อขัดข้องขึน้ เมือ่ เข้าไป
ในระบบสารท�ำความเย็น น�ำ้ มันส�ำหรับเครือ่ งท�ำความเย็นจะต้องต้านทานอุณหภูมสิ งู ได้ดี เพราะในระหว่าง
การอัดไอสารท�ำความเย็นนัน้ จะมีอณ ุ หภูมสิ งู ดังได้กล่าวมาแล้ว นำ�้ มันหล่อลืน่ ส�ำหรับเครือ่ งท�ำความเย็นจะ
ต้องมีสมบัตติ ามทีต่ อ้ งการทีภ่ าวะอุณหภูมขิ องเครือ่ งชนิดของการท�ำความเย็นและชนิดของคอมเพรสเซอร์
2.1 สมบัติของน�้ำมันหล่อลื่นที่ดี มีดังนี้
2.1.1 ไม่เปลี่ยนสภาพเป็นไขหรือขี้ผึ้งเมื่อได้รับอุณหภูมิต�่ำ
2.1.2 มีอ�ำนาจในการช�ำระสิ่งสกปรกได้สูง
2.1.3 ไม่ท�ำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารท�ำความเย็น
2.1.4 ไม่กัดกร่อนโลหะใดๆ
2.1.5 มีอุณหภูมิการหยุดไหล (Pour Point) ต�่ำกว่าอุณหภูมิต�่ำสุดของสารท�ำความเย็น
2.1.6 มีความหนืด (Viscosity) ต�่ำ
2.1.7 เป็นฉนวนไฟฟ้า
2.1.8 มีจุดวาบไฟสูง
2.1.9 มีความบริสุทธิ์สูง

156
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

2.2 ความหนืดของน�้ำมันหล่อลื่น เป็นสิ่งส�ำคัญในการเลือกใช้ ความหนืดคือ ความสามารถ


ในการไหล (Flow Ability) ณ อุณหภูมิที่ก�ำหนด อัตราของความหนืดเราหาได้โดยใช้เครื่องมือวัด
(Viscometer) ความหนื ด ของน�้ ำ มั น หล่ อ ลื่ น ที่ ใช้ กั บ ระบบปรั บ อากาศและเครื่ อ งท�ำความเย็ น ใช้
วัดด้วย Orifice Viscometer และแบบ Saybolt Second Universal หน่วยวัดเป็น SSU โดยการน�ำ
น�้ำมันหล่อลื่นปริมาตร 60 ml. (cc.) ใช้อุณหภูมิ 100°C ไหลจากรูความสูงมาตรฐานและจับเวลา
เป็นวินาทีไว้ น�้ำมันหล่อลื่นที่มีความหนืดสูงจะใช้เวลาไหลผ่านรูนั้นนานกว่าถึงจะหมด

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงเติมค�ำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. R-11 มีชื่อทางเคมีว่า............................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
2. R-12 มีชื่อทางเคมีว่า............................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
3. R-13 มีชื่อทางเคมีว่า............................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
4. R-21 มีชื่อทางเคมีว่า............................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
5. R-22 มีชื่อทางเคมีว่า............................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
6. R-113 มีชื่อทางเคมีว่า.........................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
7. R-114 มีชื่อทางเคมีว่า.........................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
8. แอมโมเนียมีชื่อทางเคมีว่า...................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
9. R-502 มีชื่อทางเคมีว่า.........................................................................................................................
บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................

157
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

10. R-134A มีชื่อทางเคมีว่า.......................................................................................................................


บรรจุในถังบรรจุสี.................................................................................................................................
11. สมบัติของน�้ำมันหล่อลื่นที่ดีต้องเป็นอย่างไร
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................

สรุป
สารท�ำความเย็นมีหน้าที่รับเอาความร้อนที่อยู่ในบริเวณที่ต้องการปรับอากาศออก เพื่อที่จะ
น�ำความร้อนนั้นออกมาระบายออก ณ บริเวณที่ไม่ต้องการที่จะท�ำการปรับอากาศ หรือท�ำหน้าที่
เป็นพาหะของความร้อน ส่วนน�้ำมันหล่อลื่นจะท�ำหน้าที่หล่อลื่นกลไกต่างๆ ของคอมเพรสเซอร์

158
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

ใบงาน
สารท�ำความเย็นและน�้ำมันหล่อลื่น
จุดประสงค์
1. เติมน�้ำมันหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ได้
2. ท�ำสุญญากาศและบรรจุสารท�ำความเย็นได้
3. ตรวจหารอยรั่วของระบบได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดฝึกเครื่องท�ำความเย็น
2. น�้ำมันคอมเพรสเซอร์
3. แมนิโฟลด์เกจ
4. เครื่องท�ำสุญญากาศ
5. ภาชนะรองรับน�้ำมัน
6. ถังบรรจุสารท�ำความเย็น R-12, R-22
7. แคลมป์มิเตอร์
8. น�้ำสบู่
9. เศษผ้า
10. ปลั๊กต่อสายไฟฟ้า
1. การเติมน�้ำมันหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์
วิธีการดูด
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. น�ำคอมเพรสเซอร์มา 1 ลูก เทน�้ำมันในตัวคอมเพรสเซอร์ออกทางท่อดูดลงในภาชนะส�ำหรับ
ตวงน�้ำมัน จดบันทึกปริมาณของน�้ำมันที่เทออกไว้
2. สภาพของน�้ำมันมีลักษณะ.........................................................................................................
และวัดปริมาณได้................................................. cc.
3. เทน�้ำมันคอมเพรสเซอร์เก่าเก็บในภาชนะส�ำหรับเก็บน�้ำมัน

159
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

4. เทน�ำ้ มันคอมเพรสเซอร์ใหม่ลงในภาชนะส�ำหรับตวงนำ�้ มัน และตวงนำ�้ มันให้เท่ากับปริมาณของ


น�้ำมันที่เทออกมา
5. ต่ อปลายสายเกจวัดความดันด้านความดั นต�่ ำ เข้ า กั บท่ อ บริ ก าร (Service Valve) ของ
คอมเพรสเซอร์ แล้วน�ำปลายสายเกจวัดความดันสีเหลือง (ที่อยู่ระหว่างกลาง) จุ่มลงใน
ภาชนะส�ำหรับตวงน�้ำมันที่ตวงไว้ในข้อ 4 (ตามรูป)
ความดัน 30 นิ้วปรอท
เมื่อเปิดวาล์ว น�้ำมันจะถูกดูดเข้า
ในระบบเครื่องท�ำความเย็น

คอมเพรสเซอร์
(หยุดระบบ)
ตรวจวัดปริมาตรของน�้ำมัน
อีวาปอเรเตอร์ คอมเพรสเซอร์ก่อน

6. เดินเครื่องคอมเพรสเซอร์ น�้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์จะถูกดูดผ่านท่อบริการ (หรือสังเกตว่า


มีละอองน�้ำมันที่พุ่งออกจากทางท่ออัด แล้วให้หยุดเดินเครื่อง)
7. เมื่อเติมน�้ำมันคอมเพรสเซอร์เรียบร้อยแล้ว เสียงเครื่องคอมเพรสเซอร์มีลักษณะ......................
...................................................................................................................................................

วิธีการเทน�้ำมันคอมเพรสเซอร์

ระวังน�้ำมันจะหกเลอะเทอะ

8. เปรียบเทียบการเติมน�้ำมันคอมเพรสเซอร์ระหว่างวิธีการดูดกับวิธีการเทลงทางท่อทางดูด
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................

160
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

9. ในขณะที่เติมน�้ำมันคอมเพรสเซอร์มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
2. การท�ำสุญญากาศและบรรจุสารท�ำความเย็น
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ต่อสายแมนิโฟลด์เกจเข้ากับวาล์วบริการ และต่อสายกลางแมนิโฟลด์เข้ากับเครือ่ งท�ำสุญญากาศ

อีวาปอเรเตอร์ คอนเดนเซอร์
คอมเพรสเซอร์

เกจแมนิโฟลด์
(เปิดทั้ง 2 ข้าง)
แวคคัมปั๊ม

การท�ำสุญญากาศ
2. เดินเครื่องท�ำสุญญากาศและเปิดวาล์วของแมนิโฟลด์เกจทั้งคู่เต็มที่
3. สังเกตเข็มด้านความดันต�่ำของแมนิโฟล์ดเกจจะ.........................ถึง........................และให้ท�ำ
สุญญากาศต่อไปอีกประมาณ..............................นาที

161
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

4. ปิดวาล์วแมนิโฟลด์เกจทั้งคู่และถอดปลั๊กไฟเครื่องท�ำสุญญากาศ สังเกตเข็มของแมนิโฟล์ดเกจ
มีการเปลี่ยนแปลง....................................................................................................................
5. ย้ายสายกลางแมนิโฟลด์เกจจากเครื่องท�ำสุญญากาศต่อเข้ากับถังสารความเย็น โดยเครื่อง
ปรับอากาศใช้สารท�ำความเย็น R- ..................................และถังบรรจุสี....................................

ตู้เย็นใช้สารท�ำความเย็น R- ............................และถังบรรจุสี....................................................

การบรรจุสารท�ำความเย็น
6. เปิดวาล์วที่ถังสารท�ำความเย็นและไล่ลมที่สายกลาง
7. เปิดวาล์วของแมนิโฟล์ดเกจทั้งคู่ ให้สารท�ำความเย็นเข้าระบบเล็กน้อย
8. ปิดวาล์วของแมนิโฟล์ดเกจทั้งคู่และสังเกตเข็มของแมนิโฟล์ดเกจเปลี่ยนแปลง...................
จากนัน้ เปิดสวิตช์เครือ่ งท�ำความเย็น โดยให้เทอร์มอสแตตอยูใ่ นต�ำแหน่ง..................................
9. เปิดวาล์วทีแ่ มนิโฟล์ดเกจด้านความดันตำ�่ เพียงด้านเดียว ปล่อยสารความเย็นเข้าระบบไปเรือ่ ยๆ
จนความดันต�่ำได้ประมาณ 8-12 PSI และความดันสูงประมาณ.........................PSI วัดกระแส
ไฟฟ้าได้...................................แอมแปร์
10. ปิดวาล์วที่แมนิโฟลด์เกจ ปิดวาล์วที่ถังสารท�ำความเย็น ปิดสวิตช์เครื่องท�ำความเย็น ใช้ฟองสบู่
ลูบตามจุดต่อต่างๆ เพื่อที่จะ...........................ถ้ามีรอยรั่ว ฟองสบู่จะ.....................................
ถ้าไม่รั่ว ฟองสบู่จะ...............................................

162
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

11. ในการบรรจุสารท�ำความเย็นมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
12. เครือ่ งปรับอากาศใช้สารท�ำความเย็นเบอร์.....................................................................................
13. ตูเ้ ย็นใช้สารท�ำความเย็นเบอร์........................................................................................................
14. ในการปฏิบัติงานมีปัญหาและอุปสรรค......................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

163
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
สารท�ำความเย็นและน�้ำมันหล่อลื่น
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

164
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. หน้าที่ของสารทำ�ความเย็นคือข้อใด
1. ทำ�ให้เกิดความเย็น 2. ทำ�ให้เกิดความร้อน
3. ช่วยระบายความร้อน 4. ช่วยขนถ่ายความร้อน
2. สารทำ�ความเย็นที่ใช้ในปัจจุบันประกอบไปด้วยส่วนผสมข้อใด
1. น�้ำ 2. คาร์บอน
3. ไฮโดรคาร์บอน 4. ออกซิเจน
3. สารทำ�ความเย็นมีสมบัติอย่างไร
1. มีราคาถูก 2. ทำ�ให้เกิดความเย็นสูง
3. ไม่ท�ำให้เกิดภาระ 4. มีความดันต�่ำ
4. R-11 มีหน้าที่อย่างไร
1. ล้างระบบ 2. เติมในตู้เย็น
3. เติมในเครื่องปรับอากาศรถยนต์ 4. เติมในเครื่องปรับอากาศตามบ้าน
5. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปใช้สารทำ�ความเย็นชนิดใด
1. R-11 2. R-12
3. R-22 4. R-717
6. เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านใช้สารทำ�ความเย็นชนิดใด
1. R-11 2. R-12
3. R-22 4. R-717
7. R-12 ใช้ถังสีใด
1. สีเขียว 2. สีขาว
3. สีแดง 4. สีเทา
8. R-22 ใช้ถังสีใด
1. สีเขียว 2. สีขาว
3. สีแดง 4. สีเทา

165
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. น�้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในระบบเครื่องท�ำความเย็นท�ำหน้าที่ใด
1. หล่อลื่นเพลาข้อเหวี่ยง
2. ระบายความร้อน
3. หล่อลื่นลูกสูบ
4. หล่อลื่นส่วนที่เคลื่อนที่ของคอมเพรสเซอร์
10. สมบัติของน�้ำมันหล่อลื่นที่ดีคือข้อใด
1. ไม่เปลี่ยนสถานะเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
2. มีราคาถูก
3. สะดวกในการใช้งาน
4. ปลอดภัย

166
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องท�ำความเย็น
และปรับอากาศ
สาระการเรียนรู้
1. แมกเนติกคอนแทกเตอร์ 2. รีเลย์
3. เทอร์มอสแตต 4. คาปาซิเตอร์
5. เพรสเซอร์คอนโทรล 6. โอเวอร์โหลด
7. ฟิวส์ 8. เซอร์กิตเบรกเกอร์
9. อุปกรณ์ตั้งเวลา 10. สวิตช์ประตูตู้เย็น
11. หลอดไฟฟ้าตู้เย็น

จุดประสงค์การเรียนรู้
อุปกรณ์ไฟฟ้า
1. บอกลักษณะของอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่อง
ในเครื่องทำ� ทำ�ความเย็นและปรับอากาศได้
ความเย็นและ 2. บอกชนิ ด ของอุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า ในเครื่ อ งทำ �
ปรับอากาศ ความเย็นและปรับอากาศได้
3. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องทำ�ความ
เย็นและปรับอากาศได้
4. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องทำ�ความเย็น
และปรับอากาศได้อย่างเหมาะสม
สมรรถนะประจำ�หน่วย 5. ปฏิ บั ติ ก ารต่ อ วงจรไฟฟ้ า ของเครื่ อ งปรั บ
อากาศเข้ากับวงจรทางกลได้
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้
ในเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ
2. ปฏิบัติการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์
ไฟฟ้า และต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องทำ�ความเย็น
และปรับอากาศเข้ากับวงจรทางกล

167
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครือ่ งทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 1. แมกเนติกคอนแทกเตอร์
แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ท�ำหน้าที่เป็นตัวตัดและ
ต่อวงจรเหมือนสวิตช์เพือ่ ควบคุมวงจรไฟฟ้า ท�ำงานได้โดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า มีสว่ นประกอบ
ที่ส�ำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่เคลื่อนที่ ลักษณะของแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวด
(Coil) และแกนเหล็ก (Core) ในตัวแมกเนติกคอนแทกเตอร์มีคอนแทกเตอร์อยู่หลายชุดยึดติดบนแกน
เดียวกันและท�ำงานพร้อมกัน คอนแทกเตอร์นี้มีทั้งแบบปกติปิดและปกติเปิด จ�ำนวนคอนแทกเตอร์ทั้งสอง
มีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการน�ำคอนแทกเตอร์ไปใช้งานซึ่งแต่ละบริษัทที่ผลิตมา นอกจากนี้คอนแทกเตอร์
ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 คอนแทกเมน (Main Contactor) ใช้เป็นคอนแทกส�ำหรับปิด-เปิดวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า
โดยเฉพาะ เช่น มอเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะตัวคอนแทกออกแบบมาให้สามารถใช้กับกระแสไฟฟ้าสูงๆ
ท�ำด้วยทองแดงหรือโลหะผสมของเงิน

รูปที่ 12.1 คอนแทกเมน

1.2 คอนแทกช่วย (Auxiliary Contactor) ใช้เป็นคอนแทกส�ำหรับปิด-เปิดวงจรควบคุม


มอเตอร์ เ ท่ า นั้ น ตั ว คอนแทกออกแบบมาให้ ใช้ กั บ กระแสไฟฟ้ า ต่ า งๆ มี ลั ก ษณะและขนาดเล็ ก กว่ า
เมนคอนแทกและท�ำงานไปพร้อมๆ กับเมนคอนแทก คอนแทกจะมีแกนรูปตัว E อัดซ้อนกันเป็นแท่งอยู่
2 ขด คือ ชุดแกนเหล็กเคลื่อนที่และชุดแกนเหล็กอยู่กับที่ โดยแกนเหล็กอยู่กับที่จะมีคอนแทกยึดติดอยู่
ที่ขากลางซึ่งมีขดลวดสวมอยู่ ขดลวดนี้จะเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา และที่ขาตัว E อีก 2 ข้าง
มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกนและต่อลัดวงจรเป็นรูปวงแหวน เรียกว่า เชดเดดริง
(Shaded Ring)

168
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

รูปที่ 12.2 คอนแทกช่วย

ลักษณะการท�ำงานของคอนแทกช่วยจะเหมือนกับคอนแทกเมน ต่างกันที่คอนแทกเตอร์ของ
คอนแทกช่วยจะทนกระแสไฟฟ้าได้ต�่ำ ดังนั้นจะน�ำไปใช้กับโหลดชนิดอื่นไม่ได้ คอนแทกเตอร์ที่ใช้กับ
ระบบไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการท�ำงาน คือ
1) Ac 1 เป็นคอนแทกเตอร์ทเี่ หมาะส�ำหรับโหลดทีเ่ ป็นความต้านทานหรือในวงจรทีม่ คี า่ อินดักทีฟ
น้อยๆ
2) Ac 2 เป็นคอนแทกเตอร์ที่เหมาะส�ำหรับใช้กับโหลดที่เป็นสลิปริงมอเตอร์
3) Ac 3 เป็นคอนแทกเตอร์ที่เหมาะส�ำหรับใช้สตาร์ตและหยุดโหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก
4) Ac 4 เป็นคอนแทกเตอร์ที่เหมาะส�ำหรับการสตาร์ตหยุดมอเตอร์วงจร Topping และ
กลับทางหมุนมอเตอร์แบบโรเตอร์กรงกระรอก

■ 2. รีเลย์
รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ทที่ �ำหน้าทีต่ ดั และต่อวงจรของขดลวดสตาร์ต ท�ำหน้าทีเ่ หมือนกับสวิตช์
แรงเหวีย่ งหนีศนู ย์กลางของมอเตอร์สปลิตเฟส รีเลย์ทใี่ ช้ในงานด้านเครือ่ งเย็นและปรับอากาศจะแบ่งออกเป็น
3 ชนิด คือ
2.1 เคอร์เรนต์รีเลย์ (Current Relay) เป็นรีเลย์ที่ใช้กับตู้เย็นและตู้แช่ขนาดเล็ก ท�ำหน้าที่ต่อ
ขดลวดชุดสตาร์ตเข้ากับวงจร และตัดขดลวดชุดสตาร์ตออกจากวงจรเมื่อมอเตอร์หมุนความเร็วรอบได้
75% ของความเร็วรอบสูงสุด

169
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ขดลวด

หน้าสัมผัส ชุดแกนเหล็กอาร์เมเจอร์
ลักษณะของเคอร์เรนต์รีเลย์ ส่วนประกอบของเคอร์เรนต์รีเลย์

รูปที่ 12.3 เคอร์เรนต์รีเลย์

หลักการท�ำงาน เมื่อจ่ายแรงดันให้กับวงจร มอเตอร์จะไม่สามารถหมุนได้ด้วยตัวมันเองเนื่องจาก


ขดลวดชุดสตาร์ตยังไม่ได้ถูกต่อเข้ากับวงจร ท�ำให้มีกระแสไฟฟ้าจ�ำนวนมากไหลเข้าไปสู่ขดลวดชุดรัน
มีผลท�ำให้ขดลวดของเคอร์เรนต์รีเลย์ซึ่งต่ออนุกรมกับขดลวดนี้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กสูงขึ้นตามไปด้วย
เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นนี้จะท�ำให้เกิดการเหนี่ยวน�ำในแกนเหล็ก เกิดการดูดและผลักให้ตัวแกนเหล็ก
เกิดการเคลื่อนที่ ผลจากการเคลื่อนที่ของแกนเหล็กนี้จะดันให้หน้าสัมผัสติดกัน ท�ำให้ขดลวดชุดสตาร์ต
เกิดการครบวงจร มอเตอร์จะเริ่มหมุน และเมื่อมอเตอร์หมุนไปได้รอบเกือบคงที่แล้ว กระแสไฟฟ้าจะลดลง
มีผลท�ำให้เส้นแรงแม่เหล็กลดลงตามไปด้วย ท�ำให้การเหนี่ยวน�ำที่แกนเหล็กต�่ำลง อ�ำนาจแม่เหล็กที่
เกิดขึ้นลดลง น�้ำหนักของตัวแกนเหล็กจะเอาชนะอ�ำนาจแม่เหล็กและตัดหน้าสัมผัสออกจากวงจรมอเตอร์
ซึ่งขณะนี้จะใช้เฉพาะขดลวดชุดรันเท่านั้นที่ท�ำงานตลอด
2.2 โพเทนเชียลรีเลย์ (Potential Relay) หรือเรียกว่า Voltage Relay เป็นรีเลย์ที่ท�ำงาน
โดยอาศัยแรงเคลื่อนเป็นตัวเหนี่ยวน�ำ ท�ำให้เกิดอ�ำนาจแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดโพเทนเชียล รีเลย์นี้มีหน้าที่
ช่วยสตาร์ตมอเตอร์และตัดคาปาซิเตอร์สตาร์ตและขดลวดชุดสตาร์ตออกจากวงจร นิยมใช้กับเครื่อง
ปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งใช้คอมเพรสเซอร์ขนาด 1 แรงม้าขึ้นไป สาเหตุที่ไม่ใช้เคอร์เรนต์รีเลย์ใน
เครื่องปรับอากาศเพราะจะท�ำให้เกิดอันตรายขณะเริ่มสตาร์ต เนื่องจากกระแสไฟฟ้าสูงและหน้าสัมผัสของ
เคอร์เรนต์รีเลย์ปกติเปิดออก แต่ได้ออกแบบให้ใช้โพเทนเชียลรีเลย์ เพราะใช้แรงดันเป็นตัวเหนี่ยวน�ำให้
หน้าสัมผัสแยกจากวงจร จึงไม่เกิดอันตราย

ขดลวด
หน้าสัมผัส

รูปที่ 12.4 โพเทนเชียลรีเลย์

170
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

หลั ก การท�ำงาน เมื่ อ จ่ า ยแรงดั น เข้ า ใน แดง


ดำ�
วงจรมอเตอร์เริ่มหมุน ความเร็วรอบของมอเตอร์จะ มอเตอร์ เหลือง
สายเมน
สูงขึ้น ค่าแรงดันไฟฟ้าในขดลวดสตาร์ตจะสูงขึ้นจาก
ค่าแรงดันไฟฟ้าปกติ ซึ่งมีผลเนื่องมาจากคาปาซิเตอร์
ซึ่งเกิดจากการที่คาปาซิเตอร์ต่ออนุกรมอยู่กับขดลวด โอเวอร์โหลด ขั้วเหล็ก
ภายใน
จึงมีผลท�ำให้ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นเพื่อช่วยในการเริ่ม โพเทนเชียลรีเลย์ เหลือง
หมุนของคอมเพรสเซอร์ ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงที่เกิดขึ้นใน คาปาซิเตอร์สตาร์ต
แดง
ขดลวดชุดสตาร์ตของมอเตอร์จะเหนี่ยวน�ำให้มีกระแส น�้ำเงิน
คาปาชิเตอร์รัน
ไฟฟ้าสูงขึ้นไหลผ่านคอยล์ของรีเลย์ เกิดอ�ำนาจแม่เหล็ก
ดันให้หน้าสัมผัสของรีเลย์แยกจากกัน ซึ่งเป็นการตัด รูปที่ 12.5 การนำ�โพเทนเชียลรีเลย์ไปใช้งาน
คาปาซิเตอร์สตาร์ตและขดลวดชุดสตาร์ต เมื่อมอเตอร์หมุนแล้วหน้าสัมผัสของรีเลย์จะแยกจากกัน ค่าแรง
ดันไฟฟ้าที่ขดลวดชุดสตาร์ตของมอเตอร์จะลดลง แต่ยังคงมีค่าสูงพอที่จะเหนี่ยวน�ำให้เกิดอ�ำนาจแม่เหล็ก
ดันให้หน้าสัมผัสแยกจากกันอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะหยุดหมุนมอเตอร์
2.3 ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay) หลักการท�ำงานของฮอตไวร์รีเลย์ขึ้นอยู่กับผลของ
ความร้อนที่เกิดขึ้นกับขดลวดความร้อนในขณะที่สตาร์ตมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าจะสูงผ่านขดลวดความร้อน
เกิดการขยายตัว ท�ำให้หน้าสัมผัสของรีเลย์ที่ต่อไปยังขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์แยกจากกัน ซึ่งเป็น
การตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร

หน้าสัมผัสทั้งคู่แยกจากกัน

หน้าสัมผัสทั้งคู่ต่ออยู่

ตำ�แหน่งที่ 1 ตำ�แหน่งที่ 3
กลไก
รีเลย์

ลวดความร้อน
ฝาครอบ
หน้าสัมผัส
สตาร์ตแยกจากกัน
ตำ�แหน่งที่ 2 หน้าสัมผัสรันต่ออยู่

รูปที่ 12.6 โครงสร้างภายในของฮอตไวร์รีเลย์

171
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ฮอตไวร์รเี ลย์ประกอบด้วยหน้าสัมผัส 2 ชุด คือ หน้าสัมผัส S ซึง่ ต่อเป็นอนุกรมอยูก่ บั ขดลวดสตาร์ต


ของมอเตอร์ และหน้าสัมผัส M ซึ่งต่อเป็นอนุกรมกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ดังรูปที่ 12.7

สายเมน สตาร์ต สายเมน สตาร์ต

ความร้อน ความร้อน

ก. ตำ�แหน่งสตาร์ตมอเตอร์ ข. ตำ�แหน่งมอเตอร์ทำ�งาน

สายเมน สตาร์ต
ลวดความร้อน

ค. ตำ�แหน่งโอเวอร์โหลด

รูปที่ 12.7 ตำ�แหน่งต่างๆ ของหน้าสัมผัสฮอตไวร์รีเลย์

ตามปกติ ห น้ า สั ม ผั ส ทั้ ง คู ่ ข องรี เ ลย์ ช นิ ด นี้ จ ะต่ อ กั น อยู ่ ฉะนั้ น ในช่ ว งจั ง หวะสตาร์ ต มอเตอร์
ทัง้ ขดลวดสตาร์ตและขดลวดรันจะต่ออยู่กับวงจร ดังรูปที่ 12.7 ก ในช่วงจังหวะการสตาร์ตนี้ กระแสไฟฟ้า
จะสูงและผ่านขดลวดความร้อน ท�ำให้เกิดการขยายตัวดึงหน้าสัมผัส S ให้แยกจากกัน เป็นการตัด
ขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร ภายหลังที่แยกออกจากขดลวดสตาร์ตและถูกตัดออกจากวงจรแล้ว กระแส
ไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดความร้อนและขดลวดรันของมอเตอร์ยังคงท�ำให้มอเตอร์หมุนตามปกติอยู่ และคงมี
ความร้ อ นเพี ย งพอที่ จ ะดึ ง ให้ ห น้ า สั ม ผั ส S แยกจากกั น อยู ่ ต ลอดเวลา แต่ ไ ม่ ม ากพอที่ จ ะขยายตั ว
จนหน้าสัมผัส M แยกจากกัน ดังรูปที่ 12.7 ข
อย่างไรก็ตามถ้ามอเตอร์เกิดลัดวงจรกินกระแสไฟฟ้า ฮอตไวร์รีเลย์ ลดความร้อน
มากผิดปกติ ขดลวดความร้อนจะขยายตัวมากขึ้น ท�ำให้
หน้าสัมผัส M แยกจากกัน เป็นการตัดขดลวดรันออกจาก 3 2 1

วงจรทั น ที ดั ง รู ป ที่ 12.7 ค นั่ น คื อ หน้ า สั ม ผั ส M จะ


ท�ำหน้าที่เป็นโอเวอร์โหลดของมอเตอร์อีกด้วย
การออกแบบทางกลไกของรีเลย์ชนิดนี้ก็คือ ถ้าหน้า สายเมน 220 V
เทอร์มอสแตต
สัมผัส M แยกจากกัน ก็จะต้องพาเอาหน้าสัมผัส S แยก มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
จากกันด้วยเสมอ รูปที่ 12.8 ผังวงจรทางไฟฟ้าสำ�หรับฮอตไวร์รีเลย์

172
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

หลักการท�ำงาน รีเลย์ชนิดนี้ท�ำหน้าที่เป็นโอเวอร์โหลดในตัว วงจรของฮอตไวร์รีเลย์อาศัย


หลักการควบคุมกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดความร้อนในการท�ำงาน รีเลย์ชนิดนี้จึงใช้งานได้ดีกับมอเตอร์
แบบสปลิตเฟส

■ 3. เทอร์มอสแตต
เทอร์มอสแตต (Termostat) เป็นอุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายใน
ห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ในขณะที่อุณหภูมิในตู้เย็นหรือในห้องปรับอากาศ
ยังสูงอยู่ หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตตจะต่อกันอยู่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะท�ำการดูดอัดสารท�ำความเย็น
ท�ำให้เกิดความเย็นทีอ่ วี าปอเรเตอร์ และเมือ่ อุณหภูมภิ ายในตูเ้ ย็นหรือในห้องปรับอากาศลดตำ�่ ลงถึงจุดทีต่ งั้ ไว้
หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตตจะแยกจากกัน ท�ำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดท�ำงาน จนกระทั่งอุณหภูมิ
ภายในห้องปรับอากาศสูงขึ้นอีก หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตตจะต่ออีกครั้งหนึ่ง ท�ำให้คอมเพรสเซอร์
เริ่มท�ำงานใหม่ ซึ่งเป็นการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ
โดยอัตโนมัติ เทอร์มอสแตตที่ใช้ในเครื่องท�ำความเย็นและเครื่องปรับอากาศมีอยู่ 3 แบบ คือ
3.1 เทอร์มอสแตตแบบกระเปาะ (Bulb Bellow Type) เทอร์มอสแตตแบบนี้จะท�ำงาน
โดยอาศัยหลักการขยายตัวของของเหลวหรือแก๊ส หรือทั้งแก๊สและของเหลวที่บรรจุอยู่ในกระเปาะ
ซึง่ ขยายตัวเมือ่ ถูกความร้อนและหดตัวเมือ่ ได้รบั ความเย็น ขณะทีส่ ารซึง่ บรรจุอยูใ่ นกระเปาะขยายตัวจะไหล
ผ่านท่อเล็กๆ ที่ต้องการเข้ายังเบลโล ท�ำให้ความดันในเบลโลเพิ่มขึ้นและยืดตัวออก เป็นผลให้หน้าสัมผัส
ของเทอร์มอสแตตต่อกัน มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะท�ำการดูดอัดสารท�ำความเย็น และเมื่ออุณหภูมิภายใน
ห้องปรับอากาศลดต�่ำลง สารซึ่งบรรจุอยู่ในกระเปาะจะหดตัว ท�ำให้หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตต
แยกจากกัน ส่งผลให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดท�ำงาน
ขดลวดแมกเนติกคลัตช์ สปริงดึงให้หน้าสัมผัสแยกจากกัน
แบตเตอรี่
แคมยึดตัวควบคุมอุณหภูมิ หน้าสัมผัส ท่อแคพิลลารี
สปริง สกรูปรับ
ตัง้ อุณหภูมิ
เบลโล
สปริง

ปุ่มปรับ เบลโล แคม เย็น แกน


ก. ข.
รูปที่ 12.9 โครงสร้างของเทอร์มอสแตตแบบกระเปาะ
173
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

3.2 เทอร์ ม อสแตตแบบขยายตั ว ของโลหะ 2 ชนิ ด (Bimetal Type) เทอร์ ม อสแตต


แบบนี้อาศัยหลักการขยายตัวของโลหะเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งแต่ละชนิดจะมีค่าไม่เท่ากัน เมื่อน�ำโลหะ
ต่างชนิดมาติดกันแน่น ถ้าได้รับความร้อน โลหะที่ขยายตัวได้มากกว่าจะงอไปทางด้านที่ขยายตัวได้
น้อยกว่า การโก่งงอของโลหะต่างชนิดที่ประกบกันนี้จะไปท�ำให้หน้าสัมผัสปิดหรือเปิดการท�ำงานของ
วงจรไฟฟ้าของเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศได้ตามต้องการ
R
อุณหภูมิลดลง

ปรอท

รูปที่ 12.10 เทอร์มอสแตตแบบการขยายตัวของโลหะ 2 ชนิด

3.3 เทอร์มอสแตตแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือเทอร์มสิ เตอร์ (Electronic Type or Thermister)


เครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ ได้น�ำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้งานส�ำหรับการควบคุม
โดยอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อค่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง จะท�ำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานของอุปกรณ์
ทางอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนแปลง เทอร์มิสเตอร์เป็นสารกึ่งตัวน�ำที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานเป็นลบ
เนือ่ งจากเทอร์มสิ เตอร์มคี วามไวต่อการเปลีย่ นแปลงของอุณหภูมไิ ด้ดมี าก จึงใช้เป็นตัวรับสัญญาณอุณหภูมิ
ที่เปลี่ยนแปลง เทอร์มิสเตอร์จะรับสัญญาณได้เร็วกว่าเทอร์มอสแตตแบบกระเปาะ สัญญาณที่รับได้จะ
ถูกส่งต่อเข้าภาคขยาย (Amplifier) ซึ่งจะเป็นวงจรควบคุมการตัด-ต่อหน้าสัมผัสของเทอร์มิสเตอร์แบบนี้

รูปที่ 12.11 เทอร์มอสแตตแบบอิเล็กทรอนิกส์

174
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

■ 4. คาปาซิเตอร์
คาปาซิเตอร์ (Capacitor) เป็นอุปกรณ์ทที่ �ำหน้าทีเ่ ก็บและคายประจุไฟฟ้า เพือ่ ท�ำให้อปุ กรณ์ไฟฟ้า
ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และกระแสในวงจรมีค่าลดลง คาปาซิเตอร์จะมีหน่วยเป็นฟารัด (Farad)
คาปาซิเตอร์ที่ใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นมี 2 ชนิด คือ
4.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ต จะมีลกั ษณะเป็นทรงกระบอกกลมและ
ออกแบบมาเพื่อใช้ช่วยในการออกตัวของมอเตอร์ โดยการท�ำค่าโวลต์ให้
สูงขึ้นในช่วง 2-3 วินาทีของการสตาร์ตมอเตอร์เท่านั้น หลังจากนี้แล้ว
คาปาซิเตอร์สตาร์ตจะถูกตัดออกจากวงจร
รูปที่ 12.12 คาปาซิเตอร์สตาร์ต
4.2 คาปาซิ เ ตอร์ รั น จะมี ลั ก ษณะเป็ น ทรงกระบอกหรื อ
ทรงสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า ออกแบบมาเพือ่ ช่วยแก้เพาเวอร์แฟกเตอร์ของมอเตอร์
เพื่อเพิ่มแรงบิดและลดค่ากระแสของมอเตอร์ ดังนั้นคาปาซิเตอร์รัน
จึงต้องต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา
รูปที่ 12.13 คาปาซิเตอร์รัน

■ 5. เพรสเชอร์คอนโทรล
เพรสเชอร์คอนโทรล (Pressure Control) เป็นอุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่ควบคุมเพื่อป้องกันอันตราย
ที่จะเกิดขึ้นกับระบบเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ โดยอาศัยความดันของระบบเป็นตัวควบคุม
เพรสเชอร์คอนโทรลที่ใช้ในงานเครื่องท�ำความเย็นมี 2 ชนิด คือ
ปุ่มปรับอุณหภูมิ
5.1 ไฮท์เพรสเชอร์คอนโทรล (High Pressure พักเครื่อง
ปุ่มปรับช่วงอุณหภูมิพักเครื่อง
Control) จะต่อเข้ากับท่อดิสชาร์จของคอมเพรสเซอร์
ท�ำหน้ า ที่ ป ้ อ งกั น อั น ตรายไม่ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ระบบของ
เครื่องท�ำความเย็น เมื่อความดันในระบบด้านความดันสูง
สูงเกินกว่าปกติ ไฮท์เพรสเชอร์คอนโทรลจะตัดวงจรไฟฟ้า
ทีเ่ ข้าสูค่ อมเพรสเซอร์เพื่อหยุดการท�ำงานของระบบ
เบลโล
ต่อเข้าระบบวงจรสารทำ�ความเย็น

รูปที่ 12.14 ไฮท์เพรสเชอร์คอนโทรล

175
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

5.2 โลว์เพรสเชอร์คอนโทรล (Low Pressure


Control) จะต่ อ เข้ า กั บ ท่ อ ทางดู ด ของคอมเพรสเซอร์
ท�ำหน้าที่ป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบของเครื่อง
ท�ำความเย็ น เมื่ อ ความดั น ในระบบด้ า นความดั น ต�่ ำ ต�่ ำ
กว่าปกติ โลว์เพรสเชอร์คอนโทรลจะตัดวงจรไฟฟ้าที่เข้า
ขั้วหลักไฟฟ้าที่ต่อเข้า
คอมเพรสเซอร์เพื่อหยุดการท�ำงานของระบบ ในระบบที่ท่อทางดูด

รูปที่ 12.15 โลว์เพรสเชอร์คอนโทรล

■ 6. โอเวอร์โหลด
โอเวอร์โหลด (Over Load) เป็นคอนแทกสวิตช์ที่จะตัดวงจร เมื่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนเกิน
กว่าปกติหรือกินกระแสเกินกว่าปกติ โอเวอร์โหลดที่ใช้กับเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศมี 2 ชนิด คือ
6.1 โอเวอร์โหลดแบบติดตั้งภายใน จะฝังอยู่ในขดลวดของมอเตอร์เพื่อท�ำหน้าที่ตัดวงจร
ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินก�ำหนดหรือขดลวดมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งอาจ
จะเกิดจากความผิดปกติของระบบ เช่น เกิดการอุดตันภายในระบบ เป็นต้น
6.2 โอเวอร์ โ หลดแบบติ ด ตั้ ง ภายนอก จะมี ลั ก ษณะเป็ น
ทรงกระบอกสั้นติดแนบอยู่กับตัวเปลือกของตัวมอเตอร์ มีสายไฟต่อ
ออกมา 2 เส้น ท�ำหน้าที่เหมือนกับแบบติดตั้งภายใน โดยมากจะต่ออยูก่ บั
จุดคอมมอนของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์
รูปที่ 12.16 โอเวอร์โหลด

■ 7. ฟิวส์
ฟิวส์ (Fuse) ฟิวส์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าทั่วๆ ไปนั้นใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดแก่วงจรไฟฟ้า
ซึ่งเป็นวงจรเมน แต่บางกรณีอาจใช้ในวงจรควบคุมของคอนแทกเตอร์ด้วย ส�ำหรับฟิวส์ที่ใช้กันนั้น
มีลักษณะต่างๆ ดังนี้

รูปที่ 12.17 ฟิวส์

176
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

7.1 Non Renewable Cartridge มีลักษณะเป็นหลอดไฟเบอร์ปิดมิดชิด มีฟิวส์อยู่ภายใน


โดยบัดกรีหัวท้ายของฟิวส์ติดกับโลหะ ภายในกระบอกฟิวส์บรรจุด้วยผงเฟอรัสซึ่งมีลักษณะคล้ายชอล์ก
หน้าที่ของผงเฟอรัสคือ ป้องกันการอาร์กหรือระเบิด
ส�ำหรับอัตราการทนกระแสไฟฟ้าของฟิวส์นี้ สามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่า 10% และ
จะขาดเมื่อกระแสไฟฟ้าสูงกว่า 25% ของอัตราที่ก�ำหนดของฟิวส์ ซึ่งจะท�ำให้ฟิวส์ตัดวงจรไฟฟ้าทันที
โดยไม่มีการละลายของฟิวส์ ทั้งนี้ต้องอยู่ในสภาวะอุณหภูมิ 75 องศาฟาเรนไฮต์ (24 องศาเซลเซียส)
เรียกว่า Room Temperature ช่วงเวลาที่จ�ำกัดให้ฟิวส์ตัดวงจรไฟฟ้า คือ
0-1 แอมป์ ต�่ำกว่า 30 วินาที
31-60 แอมป์ ต�่ำกว่า 1 นาที
61-100 แอมป์ ต�่ำกว่า 2 นาที
101-200 แอมป์ ต�่ำกว่า 4 นาที
201-400 แอมป์ ต�่ำกว่า 8 นาที
7.2 Plug Fuse ประกอบด้วยเส้นลวดเส้นเล็กๆ ที่ท�ำด้วย Fusible Alloy บรรจุอยู่ในกระบอก
พอร์สเลน ซึ่งมีลักษณะฐานเป็นสกรูเกลียว เพื่อท�ำให้สามารถใช้กับฐานอีกอันหนึ่งที่เรียกว่า Lamp Base
ส่วนบนของปลั๊กมีแผ่นไมกาเพื่อให้มองเห็นเส้นฟิวส์ ซึ่งบอกขนาดมาตรฐานต่างๆ คือ 3, 6, 10, 12,
15, 20, 25, 30 แอมป์
7.3 Time-lag Fuse เป็นฟิวส์ชนิดที่ตัดวงจรช้ากว่าปกติ คือ ไม่ตัดวงจรไฟฟ้าในทันทีที่
กระแสไฟฟ้าเกินอัตราที่ก�ำหนดไว้ 25% แต่จะใช้เวลาระยะหนึ่งที่จะให้ฟิวส์ขาด แต่ถ้ากระแสไฟฟ้า
เกินกว่า 500% ฟิวส์จะขาดทันที ดังนั้นจะมี Thermal Cut-out เป็นตัวที่จะตัดวงจรช้ากว่าปกติ
ส�ำหรับฟิวส์แบบนี้อาจมีลักษณะการสร้างโดยใช้ฮีตเตอร์ต่อขนานกับฟิวส์ เพื่อที่จะให้ฟิวส์นั้น
ขาด เนื่องจากการส่งความร้อนของฮีตเตอร์ ถ้าความร้อนไม่พอก็ไม่สามารถจะละลายฟิวส์ได้ ดังนั้นกว่า
จะท�ำให้ฟวิ ส์ละลายจึงต้องใช้เวลามากกว่าปกติ เนือ่ งจากฟิวส์และฮีตเตอร์ตอ่ ขนานกัน กระแสไฟฟ้าจึงไหล
ผ่านฮีตเตอร์มากกว่าหรือเกือบทัง้ หมด ดังนัน้ กระแสไฟฟ้าทีส่ งู ก็จะท�ำให้ฮตี เตอร์รอ้ นจัดและเปิดวงจรไฟฟ้า
ทันที เหมาะที่จะใช้กับมอเตอร์ เพราะในขณะที่มอเตอร์สตาร์ต กระแสไฟฟ้าจะสูงกว่าปกติ ซึ่งถ้าใช้ฟิวส์
แบบตัดเร็วก็จะท�ำให้ตดั วงจรเมือ่ กระแสไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของฟิวส์ทนั ที ท�ำให้ไม่สามารถสตาร์ตมอเตอร์
ได้ หรือไม่ก็ต้องใช้ฟิวส์ที่มีขนาดใหญ่กว่ากับมอเตอร์ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง

177
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

7.4 Thermal Cut-out มีลักษณะคล้ายกับแบบปลั๊กฟิวส์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นแบบ


Inverse Time Circuit Over Load Protection Device ที่ฐานของฟิวส์แบบนี้จะเป็นเกลียวซ้ายเพื่อไม่ให้
ใช้กับฟิวส์ทั่วๆ ไปได้และไม่ให้ใช้ผิดนั่นเอง ส�ำหรับฟิวส์แบบนี้ใช้เพื่อป้องกันการใช้งานเกินก�ำลังหรือ
โอเวอร์โหลด เช่น งานที่มีภาระโหลดหนักมากๆ หรือเมื่อก�ำลังสตาร์ต และป้องกันเมื่อสายเฟสขาดเมื่อ
เป็นมอเตอร์ 3 เฟส เป็นต้น
ส�ำหรับปลั๊กฟิวส์แบบนี้มีขนาดต่าง ๆ เพื่อที่จะใช้กับมอเตอร์ตั้งแต่ 3-10 แรงม้า ดังนี้
ต�่ำกว่า 1-3 แรงม้า ส�ำหรับใช้กับแรงดันไฟฟ้า 110 โวลต์
ต�่ำกว่า 3-5 แรงม้า ส�ำหรับใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์
ต�่ำกว่า 5-10 แรงม้า ส�ำหรับใช้กับแรงดันไฟฟ้า 440/550 โวลต์
หลักการท�ำงาน ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าจากมอเตอร์ไหลผ่านขดลวดความร้อน เมือ่ มอเตอร์ท�ำงาน
เกินก�ำลังเป็นจ�ำนวนมาก อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามอเตอร์ท�ำงานเกินก�ำลังเพียงเล็กน้อย
อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นอย่างช้าๆ ความร้อนจาก Heating Coil ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าสูงเกินขนาดสามารถ
ที่จะละลายเส้นฟิวส์ได้ ท�ำให้ฟิวส์เปิดวงจรป้องกันไม่ให้มอเตอร์ได้รับความเสียหาย

■ 8. เซอร์กิตเบรกเกอร์
เซอร์กติ เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ที่ โครงห่อหุ้ม กลไกทำ�งาน
ถูกออกแบบมาเพือ่ เปิดและปิดวงจรโดยอัตโนมัติ และสามารถ
เปิ ด วงจรโดยอั ต โนมั ติ เ มื่ อ มี ก ระแสไฟฟ้ า ไหลเกิ น กว่ า ค่ า
ทีก่ �ำหนด โดยตัวมันเองไม่เกิดความเสียหาย ในหน่วยการเรียน
รู้นี้จะกล่าวถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงต�่ำ ซึ่งเซอร์กิตเบรกเกอร์
นี้จะใช้ในระบบที่มีศักย์น้อยกว่า 1,000 โวลต์ Molded Case เครื่องช่วย
Circuit Breaker (MCCB) คือ เบรกเกอร์ที่ห่อหุ้มปิดมิดชิด ดับอาร์ก หน้าสัมผัส ขั้วต่อไฟฟ้า
ชิ้นส่วนการทิป
โดย Molded 2 ส่วน ซึ่งได้ทดสอบ Dielectric Strength
ก่อนออกจ�ำหน่าย ตัว Molded ท�ำหน้าที่เป็นฉนวนห่อหุ้ม รูปที่ 12.18 เซอร์กิตเบรกเกอร์
เซอร์กิตเบรกเกอร์ไว้ โดยส่วนใหญ่ท�ำจาก Phenolic เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบนี้มีหน้าที่หลักอยู่ 2 อย่าง
คือ ท�ำหน้าที่เป็นสวิตช์โดยการเปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้า
โหลดเกิน เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจรเพื่อก�ำจัดฟอลต์ออกจากกระแสไฟฟ้านั้น ด้ามโยกจะเลื่อนมา
อยู่ที่ต�ำแหน่ง TRIP ซึ่งจะอยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF ซึ่งแสดงให้ดูว่าขณะนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์
เปิดวงจรอยู่ และเมื่อฟอลต์ได้ถูกก�ำจัดออกไปจากระบบแล้วก็สามารถปิดวงจรใหม่ได้ โดยการ RESET
แล้วเลื่อนกลับไปต�ำแหน่ง ON อีกครั้ง

178
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

■ 9. อุปกรณ์ตั้งเวลา
อุปกรณ์ตั้งเวลา เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตั้งเวลาการท�ำงานของคอนแทกได้ คือ จะให้ต่อหรือ
ตัดวงจรภายในเวลาเท่าใดก็ได้ ภายหลังที่กดสวิตช์ให้ตัวมันท�ำงาน ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ท�ำงานตั้งเวลา
ด้วยสนามแม่เหล็ก แมกคานิก ความร้อน อุปกรณ์ตั้งเวลาแบ่งตามชนิดคอนแทกได้ 2 ชนิด คือ
9.1 หน่วงเวลาหลังจากเอาไฟเข้า เมื่อจ่ายไฟให้กับรีเลย์ตั้งเวลา คอนแทกจะอยู่ในต�ำแหน่งเดิม
ก่อน เมือ่ ถึงเวลาทีต่ งั้ ไว้แล้ว คอนแทกจึงจะเปลีย่ นไปทีส่ ภาวะตรงข้าม และจะค้างอยูใ่ นต�ำแหน่งนัน้ จนกว่า
จะหยุดการจ่ายไฟให้กับรีเลย์
9.2 หน่วงเวลาหลังจากเอาไฟออก เมื่อจ่ายไฟให้กับรีเลย์ตั้งเวลา คอนแทกจะเปลี่ยนสภาวะ
ทันที หลังจากที่เอาไฟออกจากขดลวดแล้ว และถึงเวลาที่ตั้งไว้ คอนแทกจึงจะกลับมาอยู่ในสภาวะเดิม
รีเลย์ตั้งเวลาแบบอิเล็กทรอนิกส์และแบบใช้มอเตอร์ขับไม่สามารถท�ำงานแบบนี้ได้

รูปที่ 12.19 อุปกรณ์ตั้งเวลา

■ 10. สวิตช์ประตูตู้เย็น
สวิตช์ประตูตเู้ ย็น (Door Switch) เป็นสวิตช์ตดั -ต่อวงจรของหลอด
ไฟฟ้าแสงสว่างภายในตู้เย็น ต่อวงจรไฟฟ้าให้หลอดสว่างเมื่อเปิดตู้ และ
ตัดวงจรไฟฟ้าท�ำให้หลอดดับเมื่อปิดตู้ สวิตช์นี้มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป
แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต จะติดตั้งไว้บริเวณขอบประตูของตู้เย็น
รูปที่ 12.20 สวิตช์ประตูตู้เย็น

179
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 11. หลอดไฟฟ้าตู้เย็น
หลอดไฟฟ้าตู้เย็น (Fridge Lamp) เป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในไส้
ของหลอดซึ่งติดตั้งอยู่ในตู้เย็น ขั้วของหลอดส่วนมากจะเป็นเกลียวขนาดเล็กหรือใหญ่แตกต่างกันออกไป
แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะออกแบบ ส่วนมากจะติดตั้งไว้ในบริเวณเดียวกับเทอร์มอสแตต ขนาดของหลอด
ทั่วๆ ไป จะมีขนาด 15-25 วัตต์

รูปที่ 12.21 หลอดไฟฟ้าตู้เย็น

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ
จงเลือกค�ำตอบในวงเล็บเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. แมกเนติกคอนแทกเตอร์ทำ�งานโดยอาศัย..........................................................ช่วยในการทำ�งาน
(หลักการของแม่เหล็ก, ไฟฟ้า)
2. คอนแทกเตอร์ทเี่ หมาะสมสำ�หรับใช้กบั โหลดทีเ่ ป็นสลิปริงมอเตอร์ คือ.............................(Ac 1, Ac 2)
3. รีเลย์ทใี่ ช้กบั ตูเ้ ย็นและตูแ้ ช่ขนาดเล็ก คือ..............................................(เคอร์เรนต์รเี ลย์, ฮอตไวร์รเี ลย์)
4. Potential Relay ทำ�งานโดยอาศัยหลักการของ.......................................(แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า)
5. อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือห้องปรับอากาศ คือ.....................................................
(เทอร์มอสแตต, ฮอตไวร์รีเลย์)

180
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

6. คาปาซิเตอร์ที่ช่วยเพิ่มแรงบิดและลดค่ากระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ คือ.................................................
(คาปาซิเตอร์สตาร์ต, คาปาซิเตอร์รัน)
7. โลว์เพรสเชอร์คอนโทรลจะต่ออยูก่ บั ................................................................(ท่อดิสชาร์จ, ท่อซักชัน)
8. ภายในกระบอกฟิวส์จะบรรจุดว้ ย......................................................................(ผงเฟอรัส, ผงโซเดียม)
9. CB ย่อมาจาก..................................................................................(Control Break, Circuit Breaker)
10. สวิตช์หลอดไฟตูเ้ ย็นจะอยูใ่ นตำ�แหน่ง....................................................................(ปกติเปิด, ปกติปดิ )

สรุป
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประกอบเข้าในวงจรของเครื่องปรับอากาศ จะเป็นตัวช่วยในการควบคุมให้
วงจรทางกลท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และปลอดภัย

181
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ
จุดประสงค์
1. ตรวจสอบและเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศได้อย่างเหมาะสม
2. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศเข้ากับวงจรทางกลได้
3. ตรวจหารอยรั่วของระบบได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดฝึกวงจรไฟฟ้าของตู้เย็น
2. มัลติมิเตอร์
3. แคลมป์มิเตอร์
4. เคอร์เรนต์รีเลย์
5. เศษผ้า
6. ปลั๊กพ่วง
ล�ำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ต่อวงจรไฟฟ้าตามรูปที่ก�ำหนดให้
L N
เทอร์มอสแตต เคอร์เรนต์รีเลย์
I มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M R โอเวอร์โหลด
S C

S
สวิตช์ประตูตู้เย็น หลอดไฟตู้เย็น
วงจรไฟฟ้าของตู้เย็น

2. ตรวจสอบวงจรว่าถูกต้องหรือไม่
3. เปิดสวิตช์ของชุดทดลองและท�ำการวัดค่าของกระแสไฟฟ้าสตาร์ต.......................แอมแปร์

182
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

4. จ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับวงจรและท�ำการวัดค่า
4.1 แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมหลอดไฟ...................................................โวลต์
4.2 แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมเทอร์มอสแตต..........................................โวลต์
4.3 แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมโอเวอร์โหลด.............................................โวลต์
4.4 แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมขดลวดชุดรัน...........................................โวลต์
4.5 แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมขดลวดชุดสตาร์ต.....................................โวลต์
5. จากการวัดค่าแรงดันไฟฟ้า มีค่าเท่ากันทุกจุดหรือไม่ จงอธิบายเหตุผล
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
6. ท�ำการวัดค่าของกระแสไฟฟ้า
ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟ........................................แอมแปร์
ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเทอร์มอสแตต................................แอมแปร์
ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านโอเวอร์โหลด..................................แอมแปร์
ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดชุดรัน.................................แอมแปร์
ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดชุดสตาร์ต..........................แอมแปร์
7. จากข้อ 4 และ 6 จงเปรียบเทียบค่าที่ได้
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
เหตุผล.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
8. ในขณะที่คอมเพรสเซอร์เริ่มท�ำงานมีเสียงดังที่เคอร์เรนต์รีเลย์อย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

183
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. เมื่อคอมเพรสเซอร์ท�ำงานแล้วเคอร์เรนต์รีเลย์จะมีสภาวะอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
เหตุผล.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
10. เมื่อเราตัดโอเวอร์โหลดออกและต่อตรง วงจรจะท�ำงานหรือไม่
ถ้าไม่ เป็นเพราะ........................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ถ้าวงจรท�ำงาน เป็นเพราะ.........................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
11. ถ้าตั้งเทอร์มอสแตตไว้ที่เลข 0 เครื่องจะท�ำงานอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
เหตุผล.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
12. ถ้าเราตั้งเทอร์มอสแตตไว้ที่เลขสูงสุด เครื่องจะท�ำงานอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
เหตุผล.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
13. จากข้อ 11 และ 12 จงเปรียบเทียบและให้เหตุผล
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

184
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

14. ต�ำแหน่งปกติของสวิตช์ประตูจะเป็นอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
เหตุผล.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
15. จงอธิบายหลักการท�ำงานของวงจร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
16. ในขณะปฏิบัติการต่อวงจรมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................

185
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

186
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. รีเลย์และคอนแทกเตอร์ทำ�งานได้โดยอาศัยหลักการทำ�งานของอะไร
1. แรงดัน 2. อุณหภูมิ
3. แม่เหล็กไฟฟ้า 4. ความร้อน
2. แกนเหล็กของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ทำ�หน้าที่อะไร
1. เป็นทางเดินไฟฟ้า 2. เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก
3. ทำ�ให้เกิดการดูด 4. ทำ�ให้เกิดการผลัก
3. เคอร์เรนต์รีเลย์ทำ�หน้าที่อะไร
1. ตัดขดลวดรัน 2. ตัดขดลวดสตาร์ต
3. ตัดกระแสไฟฟ้า 4. ป้องกันเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกิน
4. โพเทนเชียลรีเลย์อาศัยหลักการของอะไร
1. แรงดันไฟฟ้า 2. กระแสไฟฟ้า
3. ความต้านทาน 4. กำ�ลังไฟฟ้า
5. คาปาซิเตอร์รันจะต่ออย่างไร
1. ต่ออนุกรมกับขดลวดสตาร์ต 2. ต่อขนานกับขดลวดสตาร์ต
3. ต่อขนานกับขดลวดรัน 4. ต่ออนุกรมกับขดลวดรัน
6. หน้าที่หลักของคาปาซิเตอร์คืออะไร
1. เพิ่มแรงดัน 2. เพิ่มกระแสไฟฟ้า
3. เพิ่มกำ�ลังไฟฟ้า 4. แก้เพาเวอร์แฟกเตอร์
7. สวิตช์ประตูตู้เย็นเป็นสวิตช์ที่ปกติเป็นอย่างไร
1. ปกติเปิด 2. ปกติปิด
3. ปิดและเปิด 4. เป็นได้ทั้ง 2 อย่าง
8. โอเวอร์โหลดรีเลย์อาศัยหลักการทำ�งานตามข้อใด
1. อิเล็กทรอนิกส์ 2. ไฟฟ้า
3. ความร้อน 4. ความดัน

187
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. ตู้เย็นระบบโนฟรอสต์ ไทเมอร์จะทำ�หน้าที่อะไร
1. ตัดวงจรกำ�ลัง
2. ตัดวงจรควบคุม
3. ตั้งเวลาการทำ�งานของระบบ
4. ละลายน�้ำแข็ง
10. ตัวควบคุมอุณหภูมิอาศัยหลักการทำ�งานตามข้อใด
1. ความร้อน
2. ความเย็น
3. ความดัน
4. การขยายตัวของสารทำ�ความเย็น

188
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13
วงจรไฟฟ้าตู้เย็น

สาระการเรียนรู้

1. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา
2. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบมีฮีตเตอร์ป้องกันหยดน�้ำจับรอบประตูตู้
3. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�โนฟรอสต์ด้วยฮีตเตอร์
4. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�ดีฟรอสต์ด้วยแก๊สร้อน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกลักษณะของวงจรไฟฟ้าตู้เย็นได้
2. จำ�แนกชนิดของวงจรไฟฟ้าตู้เย็นได้
วงจรไฟฟ้าตู้เย็น
3. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าตู้เย็นได้
4. เลือกใช้วงจรไฟฟ้าตู้เย็นได้อย่างเหมาะสม
5. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าตู้เย็นได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของวงจรไฟฟ้าตู้เย็น
2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าตู้เย็นและปฏิบัติการต่อวงจร
ไฟฟ้าตู้เย็น

189
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

วงจรไฟฟ้าตู้เย็น
■ 1. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา
หลักการท�ำงาน กระแสไฟฟ้าจาก L จะผ่านเข้าเทอร์มอสแตต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิของ
ตู้เย็น แล้วต่อเข้ายังรีเลย์ช่วยสตาร์ตของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะเป็นชนิดรีเลย์กระแส และมีโอเวอร์-
โหลดคอยตัดวงจรไฟฟ้าที่เข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เมื่อมอเตอร์กินกระแสไฟฟ้าสูงเกินเกณฑ์ ป้องกัน
ไม่ให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้ โอเวอร์โหลดจะต่ออนุกรมอยู่กับขั้ว C ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ดังนั้น
ถ้าหน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลดท�ำงาน จึงตัดเฉพาะไฟฟ้าที่เข้าเลี้ยงมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เท่านั้นและ
ไฟจาก L1 อีกเส้นหนึ่งจะต่อเข้าสวิตช์ประตูตู้เย็นซึ่งคอยควบคุมการปิด-เปิดไฟของหลอดไฟตู้เย็น
L N
เทอร์มอสแตต เคอร์เรนต์รีเลย์
1 มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M R
โอเวอร์โหลด
S C

S
หลอดไฟตู้เย็น
สวิตช์ประตูตู้เย็น

รูปที่ 13.1 วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา

■ 2. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบมีฮีตเตอร์ป้องกัน
หยดน�้ำจับรอบประตูตู้
หลักการท�ำงาน จะเป็นวงจรเพิ่มเติมจากวงจรไฟฟ้าตู้เย็นธรรมดา โดยจะมีสวิตช์ประตูตู้เย็น
เป็นแบบ DPST ซึ่งต่อขนานกับวงจร ในขณะที่เปิดประตูตู้เย็น หน้าสัมผัสชุดหนึ่งจะต่อ ท�ำให้หลอดไฟ
ภายในตู้ติด และหน้าสัมผัสอีกชุดหนึ่งซึ่งต่อควบคุมมอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์จะแยกจากกัน ท�ำให้

190
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13

มอเตอร์พัดลมหยุดท�ำงาน และเมื่อปิดประตูตู้เย็น หลอดไฟตู้เย็นจะดับ ขณะที่มอเตอร์พัดลมจะเริ่มหมุน


หลักการท�ำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของวงจรจะเหมือนกับหลักการท�ำงานของวงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา
แต่จะมีวงจรฮีตเตอร์ซึ่งตัวฮีตเตอร์จะท�ำมาจากนิกเกิล-โครเมียม (Nickel-Chromuim) ซึ่งจะมีสวิตช์
ต่อวงจรฮีตเตอร์ท�ำงานเพื่อกันไม่ให้ไอน�้ำในอากาศมากระทบความเย็นจับตัวเป็นหยดน�้ำรอบประตูตู้
L N
เทอร์มอสแตต เคอร์เรนต์รีเลย์
M R
โอเวอร์โหลด
S C

S
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M
ON มอเตอร์พัดลมคอมเพรสเซอร์
OFF ฮีตเตอร์
ON
M
มอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์
ON หลอดไฟตู้เย็น
สวิตช์ประตูตู้เย็น
รูปที่ 13.2 วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบมีฮีตเตอร์ป้องกันหยดน�้ำจับรอบประตูตู้

■ 3. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�โนฟรอสต์ด้วยฮีตเตอร์
หลักการท�ำงาน จากวงจรจะมีดีฟรอสต์ ไทเมอร์ (Defrost Timer) แบบ 4 ขั้วหลัก โดย
การท�ำงานของฮีตเตอร์ระหว่างขั้วหลักที่ 1 และ 3 จะมีมอเตอร์นาฬิกาต่ออยู่ซึ่งมีไฟเลี้ยงตลอดเวลาในช่วง
7 12 ชั่วโมงแรก หน้าสัมผัสขั้ว 1 และ 4 จะต่อกันอยู่ และหน้าสัมผัสขั้ว 3 และ 2 จะแยกจากกัน
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะท�ำงานตามปกติ หลังจากนั้นไทเมอร์จะตัดหน้าสัมผัสระหว่างขั้ว 3 และ 4
ต่ อ หน้ า สั ม ผั ส ระหว่ า งขั้ ว 3 และ 2 อี ก 1 12 ชั่ ว โมง ซึ่ ง ในช่ ว งนี้ จ ะเป็ น ช่ ว งของการท�ำดี ฟ รอสต์
ระบบเครื่องท�ำความเย็นจะหยุดการท�ำงานในขณะที่มีไฟเข้าเลี้ยงฮีตเตอร์ และถ้าการละลายดีฟรอสต์ที่
อีวาปอเรเตอร์หมดเร็วกว่า 1 12 ชั่วโมง อุณหภูมิที่อีวาปอเรเตอร์จะเริ่มสูงขึ้น ท�ำให้สวิตช์ควบคุม
การท�ำงานของฮีตเตอร์แยกจากกันโดยจะตัดไฟเข้าเลี้ยงฮีตเตอร์ ซึ่งเป็นการหยุดระบบเครื่องท�ำความเย็น
ทั้งหมดจนกว่ามอเตอร์นาฬิกาจะเริ่มการท�ำงานของระบบใหม่อีกครั้งหนึ่ง

191
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

L ดีฟรอสต์ ไทเมอร์ M
เทอร์มอสแตต 3 1
4 2
ฮีตเตอร์ เทอร์มอสแตต
เคอร์เรนต์รีเลย์
M R
โอเวอร์โหลด
S C

S
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M
มอเตอร์พัดลมคอนเดนเซอร์
M
มอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์
รูปที่ 13.3 วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�โนฟรอสต์ด้วยฮีตเตอร์

■ 4. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�ดีฟรอสต์ด้วยแก๊สร้อน
หลักการท�ำงาน การท�ำดีฟรอสต์ด้วยแก๊สร้อน (Hot Gas Defrost) ที่ถูกอัดตัวส่งออกมาจาก
คอมเพรสเซอร์แทนการใช้ลวดฮีตเตอร์เป็นตัวส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ โดยวิธีนี้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะ
ยังคงท�ำงานตลอดเวลาที่ระบบก�ำลังท�ำดีฟรอสต์ แต่ในขณะที่แก๊สร้อนผ่านเข้าอีวาปอเรเตอร์ มอเตอร์
พัดลมทีอ่ วี าปอเรเตอร์จะต้องหยุด เพราะการท�ำดีฟรอสต์ไม่ตอ้ งการจะท�ำให้อณ ุ หภูมภิ ายในตูเ้ ย็นสูงขึน้ แต่
ต้องการเพียงตัวอีวาปอเรเตอร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อการละลายน�้ำแข็งเท่านั้น ดังนั้นการท�ำดีฟรอสต์โดยวิธี
นี้จึงไม่มีการก�ำหนดเวลาการท�ำงานในแต่ละวันที่แน่นอน ในขณะที่เทอร์มอสแตตจากมอเตอร์นาฬิกาก็จะ
หยุดด้วย โดยระบบนีจ้ ะปรับตัง้ ให้มกี ารท�ำดีฟรอสต์ทกุ ๆ ชัว่ โมง แต่จะต้องเป็น 6 ชัว่ โมงท�ำงานของมอเตอร์

192
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13

เคอร์เรนต์รีเลย์
เทอร์มอสแตต 1
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M R
โอเวอร์โหลด
S C

S
3 1
4 2 โซเลนอยด์วาล์ว
ดีฟรอสต์ ไทเมอร์

ฮีตเตอร์
M
มอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์

รูปที่ 13.4 วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบการทำ�ดีฟรอสต์ด้วยแก๊สร้อน

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จากรูป วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดามีหลักการทำ�งานอย่างไร

เทอร์มอสแตต
L1 เคอร์เรนต์รีเลย์ N
L
M R โอเวอร์โหลด
C
S
S
คอมเพรสเซอร์

สวิตช์ประตูตู้เย็น
หลอดไฟตู้เย็น

193
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. จากรูป วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบมีฮีตเตอร์ป้องกันหยดน�้ำจับรอบประตูตู้มีหลักการท�ำงานอย่างไร
เทอร์มอสแตต เคอร์เรนต์รีเลย์
M R
โอเวอร์โหลด
C
S
S
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M
มอเตอร์พัดลมคอมเพรสเซอร์
ON
OFF ฮีตเตอร์
ON M
มอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์
ON หลอดไฟตู้เย็น
สวิตช์ประตูตู้เย็น
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

สรุป

วงจรไฟฟ้าของตู้เย็นเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญอย่างมาก เพราะระบบการทำ�ความเย็นในปัจจุบัน
จะเป็นระบบอัดไอซึ่งต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานต้นกำ�ลัง ดังนั้นเราจะต้องศึกษา
วงจรไฟฟ้าของตู้เย็นแต่ละชนิดให้เข้าใจ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เองและส่วนรวม

194
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13

ใบงาน
วงจรไฟฟ้าตู้เย็น
จุดประสงค์
1. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดาได้
2. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบโนฟรอสต์ได้
3. เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างตู้เย็นแบบธรรมดาและแบบโนฟรอสต์ได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานไฟฟ้า
2. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวนักเรียน
3. หลอดไฟขนาด 40 วัตต์
4. ปลั๊กไฟ
5. ชุดสาธิตตู้เย็นธรรมดา
6. ชุดสาธิตตู้เย็นแบบโนฟรอสต์
1. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดา
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ประกอบวงจรไฟฟ้าเข้ากับวงจรทางกลของชุดฝึกตามรูป

เทอร์มอสแตต
L1 เคอร์เรนต์รีเลย์ N
L
M R โอเวอร์โหลด
C
S
S
คอมเพรสเซอร์

สวิตช์ประตูตู้เย็น
หลอดไฟตู้เย็น

195
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าอีกครั้งให้เรียบร้อยและจ่ายไฟฟ้าให้กับวงจร พร้อมกับวัดค่าต่างๆ
ที่กำ�หนดให้
2.1 กระแสไฟฟ้าของวงจร.........................................................................................แอมแปร์
2.2 กระแสไฟฟ้าสตาร์ตของคอมเพรสเซอร์...............................................................แอมแปร์
2.3 กระแสไฟฟ้ารันของคอมเพรสเซอร์......................................................................แอมแปร์
2.4 เวลาในการหยุดทำ�งานของวงจรเมื่อปรับความเย็นที่เลข 1 ใช้เวลา...........................นาที
2.5 เมื่อกดสวิตช์ประตูตู้เย็นจะมีผล.......................................................................................
2. วงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบโนฟรอสต์
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ประกอบวงจรไฟฟ้าของตู้เย็นแบบโนฟรอสต์เข้ากับวงจรทางกลของชุดฝึก ตามรูป
L ดีฟรอสต์ ไทเมอร์ M
เทอร์มอสแตต 3 1
4 2
ฮีตเตอร์ เทอร์มอสแตต
เคอร์เรนต์รีเลย์
M R
โอเวอร์โหลด
S C

S
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
M
มอเตอร์พัดลมคอนเดนเซอร์
M
มอเตอร์พัดลมอีวาปอเรเตอร์

2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าอีกครั้งให้เรียบร้อยและจ่ายไฟฟ้าให้กับวงจร พร้อมกับวัดค่าต่างๆ
ที่กำ�หนดให้
2.1 กระแสไฟฟ้าของวงจร.........................................................................................แอมแปร์
2.2 กระแสไฟฟ้าสตาร์ตของคอมเพรสเซอร์...............................................................แอมแปร์

196
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13

2.3 กระแสไฟฟ้ารันของคอมเพรสเซอร์......................................................................แอมแปร์
2.4 เวลาในการหยุดท�ำงานของวงจรเมื่อปรับความเย็นที่เลข 1 ใช้เวลา...........................นาที
2.5 กระแสไฟฟ้าของฮีตเตอร์เมือ่ ตูเ้ ย็นละลายนำ�้ แข็ง.................................................แอมแปร์
2.6 เมือ่ กดสวิตช์ประตูพดั ลมทีอ่ วี าปอเรเตอร์จะมีผล...............................................................
3. เปรียบเทียบวงจรไฟฟ้าตู้เย็นแบบธรรมดาและแบบโนฟรอสต์ โดยทดลองว่ามีข้อเหมือนหรือ
แตกต่างกันอย่างไร
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
4. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

197
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
วงจรไฟฟ้าตู้เย็น
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

198
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. แรงดันไฟฟ้าที่ใช้กับตู้เย็นมีค่าเท่าใด
1. 110 V 2. 220 V
3. 38 V 4. 440 V
2. สาย L หมายถึงข้อใด
1. สายมีไฟ 2. สายกลับของกระแสไฟฟ้า
3. สายดิน 4. สายป้องกัน
3. สวิตช์ตู้เย็นเป็นแบบใด
1. ปกติเปิด 2. ปกติปิด
3. ปกติตัด 4. กดติด ปล่อยดับ
4. คอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นโดยทั่วไปเป็นแบบใด
1. แบบลูกสูบ 2. แบบโรตารี่
3. แบบสกรู 4. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
5. มอเตอร์ที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นขนาดเล็กเป็นแบบใด
1. สปลิตเฟสมอเตอร์ 2. เชดเดดโพลมอเตอร์
3. รีพัลชั่นมอเตอร์ 4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์
6. มอเตอร์ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบโนฟรอสต์เป็นแบบใด
1. สปลิตเฟสมอเตอร์ 2. เชดเดดโพลมอเตอร์
3. รีพัลชั่นมอเตอร์ 4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์
7. โอเวอร์โหลดปกติจะต่ออยู่กับอะไร
1. จุดต่อขดรัน 2. จุดต่อขดสตาร์ต
3. จุดต่อคอมมอน 4. อนุกรมกับเทอร์มอสแตต
8. การละลายน�้ำแข็งของตู้เย็นระบบโนฟรอสต์ใช้เวลาเท่าใด
1. 10 นาที 2. 20 นาที
3. 30 นาที 4. 40 นาที

199
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. ที่ตัวไทเมอร์ ตัวเลข 3-1 หมายถึงอะไร


1. จุดต่อสายดิน 2. จุดต่อขดรัน
3. จุดต่อขดสตาร์ต 4. ขดลวดนาฬิกา
10. เคอร์เรนต์รีเลย์ทำ�งานด้วยอะไร
1. แรงดัน 2. ความต้านทาน
3. กระแส 4. ประจุไฟฟ้า

200
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14
วงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ

สาระการเรียนรู้

1. วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง
2. วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกลั ก ษณะของวงจรไฟฟ้ า ของเครื่ อ ง


ปรับอากาศได้
2. จำ � แนกชนิ ด ของวงจรไฟฟ้ า ของเครื่ อ ง
วงจรไฟฟ้า ปรับอากาศได้
เครื่องปรับอากาศ 3. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
ได้
4. เลือกใช้วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
ได้อย่างเหมาะสม
5. ปฏิ บั ติ ก ารต่ อ วงจรไฟฟ้ า ของเครื่ อ ง
ปรับอากาศได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของวงจรไฟฟ้าของ
เครื่องปรับอากาศ
2. ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศและ
ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

201
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

วงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
■ 1. วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง
เครือ่ งปรับอากาศแบบติดหน้าต่างรุน่ ใหม่ๆ มักใช้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบคาปาซิเตอร์มอเตอร์
จึงไม่จ�ำเป็นต้องมีรเี ลย์ชว่ ยสตาร์ต แต่ขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ยงั คงต่ออยูใ่ นวงจร จะมีเพียงคาปาซิเตอร์
รันต่อคร่อมอยู่ระหว่างขั้วหลักสตาร์ตและขั้วหลักรันของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เท่านั้น
ส้ม
คาปาซิเตอร์สตาร์ต รีเลย์ C
2 ส้ม 1
5
1 2 เทอร์มอสแตต
โอเวอร์โหลด
น�ำ้ เงิน


แด ขาว คอมเพรสเซอร์

เหลือง
นำ�้ ตาล
คาปาซิเตอร์รนั
สวิตช์
1
HI 2
3 ดำ� L1
LOW
3 1
คาปาซิเตอร์ 2 น�ำ้ เงิน 4
พัดลม มอเตอร์พดั ลม
L1
แหล่งจ่ายกำ�ลัง

รูปที่ 14.1 วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง

จากรูปที่ 14.1 ไฟจาก L1 จะผ่านเข้าซีเลกเตอร์สวิตช์ (Selector Switch) ที่ขั้วหลัก L1 และ


ออกจากขั้วหลักที่ 1 ของซีเลกเตอร์สวิตช์ผ่านเข้าเทอร์มอสแตต โอเวอร์โหลด และขั้วหลัก C ของมอเตอร์
คอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะเป็นวงจรการท�ำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์
จากขั้วที่ 2, 3 และ 4 ของซีเลกเตอร์สวิตช์ จะต่อเข้ามอเตอร์พัดลมที่ความเร็วรอบช้า ปานกลาง
และความเร็วสูง ตามล�ำดับ มอเตอร์พัดลมของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างนี้จะเป็นแบบ 2 แกน
ด้านหนึ่งใช้เป่าระบายความร้อนให้กับคอนเดนเซอร์ อีกด้านหนึ่งดูดเป่าลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็น
หน้าสัมผัสของซีเลกเตอร์สวิตช์อาจปรับให้ท�ำงานเฉพาะมอเตอร์พัดลมที่ความเร็วรอบใดรอบหนึ่งก็ได้
และสามารถสร้างให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ท�ำงานไปพร้อมๆ กับมอเตอร์พัดลมได้

202
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14

ในส่วนของวงจรการท�ำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ จะมีเทอร์มอสแตตคอยหยุดการท�ำงาน
ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดต�่ำลงจนถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
ของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างรุ่นเก่าอาจต้องมีคาปาซิเตอร์สตาร์ตและรีเลย์ช่วยสตาร์ตเพิ่มเข้า
ในวงจรด้วย และรีเลย์ที่ใช้นี้จะเป็นแบบโพเทนเชียลรีเลย์ ดังรูปที่ 14.2

โพเทนเชียลรีเลย์ คาปาซิเตอร์สตาร์ต
1
ซีเลกเตอร์สวิตช์ 3
2
เทอร์มอสแตต โอเวอร์โหลด
R
L1 1 คาปาซิเตอร์รัน
L1 C S
2
คอมเพรสเซอร์
3
4 MED
L2 L2
HI คาปาซิเตอร์รัน
AUX (พัดลม)

COM
มอเตอร์พัดลม

รูปที่ 14.2 วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างแบบโพเทนเชียล

■ 2. วงจรไฟฟ้าของเครื่ืองปรับอากาศแบบแยกส่วน
ส�ำหรั บ วงจรไฟฟ้ า ของเครื่ อ งปรั บ อากาศแบบแยกส่ ว นจะคล้ า ยๆ กั บ วงจรไฟฟ้ า ส�ำหรั บ
เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง แต่จะแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของชุดคอยล์เย็นและ
ส่วนวงจรไฟฟ้าของชุดคอนเดนซิ่งยูนิต ซึ่งจะต้องมีมอเตอร์พัดลมระบายเพิ่มอีก 1 ตัว ดังรูปที่ 14.3

203
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

คาปาชิเตอร์รัน L N
R
S
HI
MED
สวิตช์ ขั้วพักสาย เซอร์กิตเบรกเกอร์
LOW
เทอร์มอสแตต

หน้าสัมผัสของแมกเนติก
CR1 CR2
โพเทนเชียลรีเลย์
5 2
1
แมกเนติกคอยล์ (CR)
คาปาซิเตอร์รัน
C
คาปาซิเตอร์สตาร์ต
คาปาซิเตอร์รัน S R พัดลม
คอมเพรสเซอร์

รูปที่ 14.3 วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

ในส่วนของวงจรไฟฟ้าชุดคอยล์เย็นจะประกอบด้วยขั้วพักสาย (Terminal) และซีเลกเตอร์สวิตช์


ซึ่งจะต่อเข้ากับมอเตอร์พัดลมที่ความเร็วรอบช้า ปานกลาง และความเร็วสูง มอเตอร์พัดลมนี้จะท�ำหน้าที่
ดูดเป่าอากาศจากภายในห้องผ่านคอยล์เย็น และมีเทอร์มอสแตตซึ่งจะคอยควบคุมการท�ำงานของ
ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตอีกทีหนึ่ง
วงจรไฟฟ้าของชุดคอนเดนซิ่งยูนิตประกอบด้วยแมกเนติกคอนแทกเตอร์ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์
และมอเตอร์ พั ด ลมระบายความร้ อ นคอนเดนเซอร์ วงจรไฟควบคุ ม จากเทอร์ ม อสแตตจะผ่ า นเข้ า
เลี้ยงคอยล์ของแมกเนติกคอนแทกเตอร์เพือ่ ให้หน้าสัมผัสต่อกัน มอเตอร์คอมเพรสเซอร์และมอเตอร์พัดลม
ระบายคอนเดนเซอร์จะท�ำงานพร้อมกัน และเมื่ออุณหภูมิของอากาศภายในห้องลดลงจนถึงจุดที่ปรับตั้งไว้
หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตตจะแยกจากกันเพื่อตัดไฟที่มาเลี้ยงคอยล์ของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ ท�ำให้
หน้าสัมผัสแยกจากกันและหยุดการท�ำงานของอุปกรณ์ของชุดคอนเดนซิ่งยูนิตทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกัน
มอเตอร์พัดลมของชุดคอยล์เย็นจะยังคงท�ำงานตามปกติอยู่จนกว่าอุณหภูมิของอากาศภายในห้องสูงขึ้น
จนท�ำให้หน้าสัมผัสของเทอร์มอสแตตต่อกันอีกครั้งหนึ่ง ก็จะมีไฟเลี้ยงคอยล์ของแมกเนติกคอนแทกเตอร์
อุปกรณ์ของชุดคอนเดนซิ่งยูนิตก็จะเริ่มท�ำงานใหม่

204
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14

ในกรณีที่แมกเนติกคอนแทกเตอร์เป็นชนิดที่ต้องการไฟเข้าคอยล์เพียง 24 โวลต์แล้ว ที่ชุดคอน-


เดนซิ่งยูนิตจะต้องมีหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันจาก 220 โวลต์ เหลือ 24 โวลต์ ดังรูปที่ 14.4
วงจรไฟฟ้าควบคุมจากเทอร์มอสแตตที่ชุดคอยล์เย็นซึ่งเป็นไฟ 220 โวลต์ จะผ่านหม้อแปลงลดแรงดัน
ลงเหลื อ 24 โวลต์ เข้ า เลี้ ย งคอยล์ ข องแมกเนติ ก คอนแทกเตอร์ ท�ำให้ ห น้ า สั ม ผั ส ของแมกเนติ ก -
คอนแทกเตอร์ต่อไฟก�ำลัง 220 โวลต์ผ่านเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ท�ำให้มอเตอร์พัดลมที่ชุดคอนเดนซิ่ง
ยูนิตท�ำงาน

HI
MED สวิตช์
LOW
L1 N
พัดลม เทอร์มอสแตต

สาย
หม้อแปลง
24/240 V
เซอร์กิตเบรกเกอร์

หน้าสัมผัสของแมกเนติก

โพเทนเชียลรีเลย์ แมกเนติกคอยล์

คาปาซิเตอร์รัน โอเวอร์โหลด
C
พัดลม
S R
คาปาซิเตอร์สตาร์ต คอมเพรสเซอร์

รูปที่ 14.4 วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอยล์


ของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ใช้ไฟ 24 โวลต์

205
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จากรูป วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างมีหลักการทำ�งานอย่างไร
ส้ม
คาปาซิเตอร์สตาร์ต รีเลย์ C
2 ส้ม 1
5
1 2 เทอร์มอสแตต
โอเวอร์โหลด
นำ�้ เงิน


แ ขาวง
คอมเพรสเซอร์

เหลือง
น�ำ้ ตาล
คาปาซิเตอร์รนั
สวิตช์
1
HI 2
3 ดำ� L1
LOW
3 1
คาปาซิเตอร์ 2 น�ำ้ เงิน 4
พัดลม มอเตอร์พดั ลม
L1
แหล่งจ่ายกำ�ลัง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. จากรูป วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างแบบโพเทนเชียลมีหลักการทำ�งานอย่างไร
โพเทนเชียลรีเลย์ คาปาซิเตอร์สตาร์ต
1
ซีเลกเตอร์สวิตช์ 3
2
เทอร์มอสแตต โอเวอร์โหลด
R
L1 1 คาปาซิเตอร์รัน
L1 C S
2
คอมเพรสเซอร์
3
4 MED
L2 L2
HI คาปาซิเตอร์รัน
AUX (พัดลม)

COM
มอเตอร์พัดลม

206
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14

.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3. จากรูป วงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนมีหลักการทำ�งานอย่างไร

HI
MED สวิตช์
LOW
L1 N
พัดลม เทอร์มอสแตต

สาย
หม้อแปลง
24/240 V
เซอร์กิตเบรกเกอร์

หน้าสัมผัสของแมกเนติก

โพเทนเชียลรีเลย์ แมกเนติกคอยล์

คาปาซิเตอร์รัน โอเวอร์โหลด
C
พัดลม
S R
คาปาซิเตอร์สตาร์ต คอมเพรสเซอร์

.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

สรุป
วงจรไฟฟ้ า ในเครื่ อ งปรั บ อากาศเป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วามสำ � คั ญ อย่ า งมาก เพราะระบบการทำ �
ความเย็นในปัจจุบันจะเป็นระบบอัดไอซึ่งต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานต้นกำ�ลัง
ดังนั้น จึงต้องศึกษาวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแต่ละชนิดให้เข้าใจ เพื่อความปลอดภัย
ของผู้ใช้เองและส่วนรวม

207
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
วงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
จุดประสงค์
1. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศโดยใช้คาปาซิเตอร์รันได้
2. ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศโดยใช้โพเทนเชียลรีเลย์ได้
3. เปรี ย บเที ย บข้ อ แตกต่ า งระหว่ า งเครื่ อ งปรั บ อากาศแบบใช้ ค าปาซิ เ ตอร์ รั น และแบบใช้
โพเทนเชียลรีเลย์ได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานไฟฟ้า
2. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
3. หลอดไฟขนาด 40 วัตต์
4. ปลั๊กไฟ
5. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้คาปาซิเตอร์รัน
6. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้โพเทนเชียลรีเลย์
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ประกอบวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดาโดยใช้คาปาซิเตอร์รันต่อเข้ากับวงจร
ทางกลของชุดฝึกเครื่องปรับอากาศ
1.1 กระแสไฟฟ้าของวงจร.............................................................................แอมแปร์
1.2 กระแสไฟฟ้าสตาร์ตของคอมเพรสเซอร์...................................................แอมแปร์
1.3 กระแสไฟฟ้ารันของคอมเพรสเซอร์..........................................................แอมแปร์
1.4 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่โลว์..................................................แอมแปร์
1.5 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่มีเดียม.............................................แอมแปร์
1.6 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่ไฮท์.................................................แอมแปร์
1.7 เวลาในการหยุดท�ำงานของวงจรเมื่อปรับความเย็นที่โลว์ ใช้เวลา....................นาที
1.8 หลังจากที่คอมเพรสเซอร์หยุดท�ำงานจะใช้เวลา...........................นาที จึงต่อวงจร
1.9 เวลาหน่วงของไทเมอร์รีเลย์......................................................นาที

208
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14

2. ประกอบวงจรไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดาโดยใช้โพเทนเชียลรีเลย์ต่อเข้ากับ
วงจรทางกลของชุดฝึกเครื่องปรับอากาศ
2.1 กระแสไฟฟ้าของวงจร..............................................................................แอมแปร์
2.2 กระแสไฟฟ้าสตาร์ตของคอมเพรสเซอร์....................................................แอมแปร์
2.3 กระแสไฟฟ้ารันของคอมเพรสเซอร์...........................................................แอมแปร์
2.4 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่โลว์...................................................แอมแปร์
2.5 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่มีเดียม..............................................แอมแปร์
2.6 กระแสไฟฟ้าเมื่อสปีดของพัดลมตั้งที่ไฮท์..................................................แอมแปร์
2.7 เวลาในการหยุดท�ำงานของวงจรเมื่อปรับความเย็นที่โลว์ ใช้เวลา....................นาที
2.8 หลังจากที่คอมเพรสเซอร์หยุดท�ำงานจะใช้เวลา...........................นาที จึงต่อวงจร
2.9 เวลาหน่วงของไทเมอร์รีเลย์......................................................นาที
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของระบบไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศทั้ง 2 ชนิดนี้
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
4. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................

209
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
วงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

210
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างรุ่นเก่าจะใช้อะไรช่วยสตาร์ต
1. เคอร์เรนต์รีเลย์ 2. โพเทนเชียลรีเลย์
3. คาปาซิเตอร์ 4. แมกเนติกสวิตช์
2. มอเตอร์พัดลมของเครื่องปรับอากาศแบบเก่ามีกี่แกน
1. 1 แกน 2. 2 แกน
3. 3 แกน 4. 4 แกน
3. ซีเลกเตอร์สวิตช์มีหน้าที่อะไร
1. ปรับระดับความเย็น 2. ปรับความเร็วของพัดลม
3. ปรับตั้งเวลาทำ�งาน 4. ปรับค่าความชื้น
4. โดยทั่วไปแล้วความเร็วของพัดลมควรมีกี่ระดับ
1. 1 ระดับ 2. 2 ระดับ
3. 3 ระดับ 4. 4 ระดับ
5. แมกเนติกรีเลย์ รีเลย์ทำ�หน้าที่อะไร
1. ควบคุมการทำ�งานของพัดลม
2. ควบคุมการทำ�งานของคอยล์เย็น
3. ควบคุมการทำ�งานของคอมเพรสเซอร์
4. ควบคุมการทำ�งานของวงจรทั้งหมด
6. แมกเนติกรีเลย์ รีเลย์ถูกควบคุมด้วยอะไร
1. ไทเมอร์ 2. คาปาซิเตอร์
3. เทอร์มอสแตต 4. กระแสของคอมเพรสเซอร์
7. ไทเมอร์ถูกควบคุมโดยสิ่งใด
1. แมกเนติกรีเลย์ 2. คาปาซิเตอร์
3. เทอร์มอสแตต 4. กระแสของคอมเพรสเซอร์

211
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

8. คาปาซิเตอร์ที่ต่ออยู่กับพัดลมทำ�หน้าที่ใด
1. เพิ่มแรงดัน 2. เพิ่มกระแสไฟฟ้า
3. ช่วยลดกระแสไฟฟ้า 4. เพิ่มแรงบิดให้มอเตอร์
9. คาปาซิเตอร์ที่ต่ออยู่กับพัดลมทำ�หน้าที่ใด
1. เพิ่มแรงดัน 2. เพิ่มกระแสไฟฟ้า
3. ช่วยลดกระแสไฟฟ้า 4. เพิ่มแรงบิดให้มอเตอร์
10. การปรับความเร็วของมอเตอร์ที่คอยล์เย็นอาศัยหลักการของอะไร
1. ความต้านทาน R 2. ความต้านทาน L
3. ความต้านทาน C 4. R-C

212
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็นและการแก้ไข

สาระการเรียนรู้

1. ปัญหาเรื่องของเสียง
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ
3. ปัญหาเรือ่ งของน�ำ้ แข็งเกาะทีอ่ วี าปอเรเตอร์หนามากๆ
และปัญหาอื่นๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกอาการที่ผิดปกติของตู้เย็นได้
ปัญหาที่เกิดขึ้น 2. แยกแยะอาการที่ผิดปกติของตู้เย็นได้
กับตู้เย็น 3. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของตู้เย็นได้
และการแก้ไข 4. ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับตู้เย็นได้
5. แนะนำ�วิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
ขึ้นกับตู้เย็นได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำ�รุงรักษาตู้เย็น
2. สังเกตอาการที่ผิดปกติของตู้เย็น แยกแยะอาการ
ที่ผิดปกติของตู้เย็น และปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
ของตู้เย็น

213
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็นและการแก้ไข

■ 1. ปัญหาเรื่องของเสียง

อาการ สาเหตุ การแก้ไข ข้อแนะนำ�


เวลาเครื่ อ งเริ่ ม ทำ � งาน - นอตยึดขาคอมเพรสเซอร์หลวม - ขันนอตให้แน่น - ต�ำแหน่งที่วางตู้เย็นควรเป็น
คอมเพรสเซอร์มีเสียงดัง - นอตยึดขาคอมเพรสเซอร์เป็น - เปลี่ยนนอตใหม่ ที่ที่สะอาดและห่างจากแหล่ง
และตัวตู้สั่น สนิมและผุกร่อน ทีม่ คี วามชืน้ สูง เช่น ห้องนำ�้
- ลูกยางและบุชชำ�รุด - เปลี่ ย นลู ก ยางและ - ควรหมัน่ ทำ�ความสะอาดเสมอ
บุชใหม่ ทัง้ ภายในและภายนอกตู้
- แท่นรองยึดขาคอมเพรสเซอร์ - ปะผุใหม่
ผุและเป็นสนิม

■ 2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


1. ไม่เย็นเลย - เทอร์ ม อสแตตอยู่ใ นตำ � แหน่ ง - ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
OFF
- เทอร์มอสแตตเสีย
- กลไกของเทอร์ ม อสแตตเกิ ด
สนิม
- แช่ของที่ร้อนจัดเกินไป - อย่านำ�ของที่ร้อนจัดแช่ในตู้ - ห้ามนำ�ของทีร่ อ้ นจัดแช่ในตู้
- ตรวจสอบปริมาณของน�้ำยา
- ตรวจสอบความดันของระบบ

214
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


- ความดันต�่ำ - ตรวจสอบกำ � ลั ง ดู ด -อั ด ของ
คอมเพรสเซอร์
- สารทำ�ความเย็นไม่ม ี - ตรวจสอบวาล์วลูกศร
- แผงอีวาปอเรเตอร์รั่ว - ตรวจหารอยรั่ว - ไม่ควรเอาของแข็งหรือ
- บั ด กรี ปิ ด รอยหรื อ เปลี่ ย น ของมีคมงัดเอาสิ่งของ
อีวาปอเรเตอร์ ออกจากแผงอี ว าปอ-
- ทำ�สุญญากาศใหม่ เรเตอร์
- บรรจุน�้ำยาใหม่
- มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เสีย - เปลีย่ นมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ - ตรวจสอบระดั บ ของ
ใหม่ แรงดันไฟฟ้า
2. ความเย็น - ตั้งเทอร์มอสแตตอยู่ตำ�แหน่ง - ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
ไม่เต็มที่ ไม่เหมาะสม
- หลอดไฟติดตลอดเวลา - ตรวจสอบสวิตช์ประตู
- ฝาประตูปิดไม่แน่น - ปิดประตูให้แน่น
- ยางขอบตู้เย็นชำ�รุด - เปลี่ยนใหม่ - ไม่ควรกระแทกเวลาปิด
ตู้เย็น
- แผงคอนเดนเซอร์สกปรก - ทำ�ความสะอาดแผง - ควรวางตู้เย็นห่างจาก
ผนังอย่างน้อย 1 ฟุต
- ตั้งตู้เย็นไว้ติดผนังเกินไป - เลือ่ นตูเ้ ย็นให้หา่ งจากผนังและ - หมั่ น ทำ � ความสะอาด
- วางตู้เย็นในมุมอับและ ตั้ ง อยู่ ใ นตำ � แหน่ ง ที่ ส ะอาด ตู้เย็นอย่างน้อยสัปดาห์
มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ละ 1 ครั้ง
- แผงอีวาปอเรเตอร์มีน�้ำแข็ง - ละลายน�้ ำ แข็ ง ออกให้ ห มด
เกาะหนามาก และท�ำความสะอาดภายในตู้
- ความดันต�่ำ - ตรวจสอบปริมาณน�้ำยา
- ตรวจสอบความดันของระบบ
- ตรวจสอบกำ � ลั ง ดู ด -อั ด ของ
คอมเพรสเซอร์
- ตู้เย็นใส่ของมากเกินไป - ควรใส่ ข องให้ เ หมาะสมกั บ
ขนาดตู้

215
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 3. ปัญหาเรื่องของน�้ำแข็งเกาะที่อีวาปอเรเตอร์
หนามากๆ และปัญหาอื่นๆ

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


1. เย็นน้อย - ฝาประตูปิดไม่แน่น - ละลายนำ�้ แข็งออกให้หมดและ - หมั่นทำ�ความสะอาดตู้เย็น
ท�ำความสะอาดภายในตู้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ยางขอบประตูชำ�รุด - เปลีย่ นใหม่
2. คอมเพรสเซอร์ - ฝาประตูปิดไม่แน่น - ปิดประตูให้แน่น
ตัด-ต่อบ่อย - ยางขอบตู้เย็นชำ�รุด - เปลี่ยนใหม่
- โอเวอร์โหลดรีเลย์ชำ�รุด - เปลี่ยนโอเวอร์โหลดรีเลย์ -
- ขดลวดของมอเตอร์ช�ำ รุด - ตรวจสอบความต้านทานของ
- ไฟตก ขดลวด
3. คอมเพรสเซอร์ - ปิดแล้วเปิดสวิตช์ทันที- ตรวจสอบระดั บ ของแรงดั น
ไหม้ ไฟฟ้า
- คอมเพรสเซอร์ ทำ � งาน - ควรปล่อยไว้อย่างน้อย 3-5 นาที
ตลอดเวลา ก่อนเปิดสวิตช์ใหม่ -
- เคอร์เรนต์รีเลย์เสีย - ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
- หลอดไฟไม่ติด - ตรวจสอบหลอดไฟ
- สวิตช์ประตูเสีย - เปลี่ยนเคอร์เรนต์รีเลย์ใหม่
4. ภายในตู้มืด - ขั้วหลอดสกปรก - เปลี่ยนใหม่
-
- ลงกราวด์
5. เวลาสั ม ผั ส ตั ว ตู้ - ไฟรั่วลงกราวด์ - สลับปลั๊กไฟ - เครื่องใช้ไฟฟ้าควรมีการต่อ
เกิดไฟฟ้าชอร์ต - ต่อสายดิน สายดิน

216
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ
จงบอกสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็น
1. ปัญหาเรื่องของเสียง
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
3. ปัญหาเรื่องของน�้ำแข็งเกาะที่ตัวอีวาปอเรเตอร์หนามากๆ
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................

สรุป

อาการผิดปกติทเี่ กิดขึน้ กับตูเ้ ย็นนัน้ มีไม่มากเท่ากับเครือ่ งปรับอากาศ ส่วนมากจะแสดงออกมา


ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น เวลาเครื่องเริ่มทำ�งาน คอมเพรสเซอร์มีเสียงดังและตัวตู้สั่นผิดปกติ หรือ
ปัญหาอื่นๆ ข้อสรุปของอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น สาเหตุของปัญหา การแก้ไขและแนวทางป้องกัน
จึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้

217
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็นและการแก้ไข
จุดประสงค์
1. แก้ไขปัญหาของตู้เย็นได้
2. ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับตู้เย็นได้
3. แนะนำ�วิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับตู้เย็นได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตตู้เย็น
2. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
3. ชุดเครื่องมือตรวจสอบไฟฟ้า
4. ชุดเชื่อมแก๊ส
5. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
6. ชุดเครื่องมือทำ�สุญญากาศ
7. ชุดเครื่องมือตรวจสอบแรงดัน
8. ถังบรรจุสารทำ�ความเย็น R-12
9. เทอร์มอมิเตอร์
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ตรวจสอบและสังเกตชุดสาธิตตู้เย็นทั้งภายนอกและภายใน
1.1 สภาพภายนอก..................................................................................................................
..........................................................................................................................................
1.2 สภาพภายใน......................................................................................................................
..........................................................................................................................................
1.3 บริเวณรอบๆ ที่วางตู้เย็น....................................................................................................
..........................................................................................................................................
2. จากข้อ 1 จะมีวิธีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร...........................................................................
...................................................................................................................................................
3. บิดตัวเทอร์มอสแตตให้อยู่ในตำ�แหน่ง OFF เปิดสวิตช์ของชุดสาธิตตู้เย็น
3.1 เสียงของคอมเพรสเซอร์.....................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................

218
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15

3.2 เสียงของการฉีดสารท�ำความเย็น.......................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.3 อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์............................................. ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.4 อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .......................................... ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.5 ความดันของด้านดูด....................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.6 ความดันของด้านอัด....................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4. บิดตัวเทอร์มอสแตตให้อยู่ในต�ำแหน่งสูงสุด เปิดสวิตช์ของชุดสาธิตตู้เย็น
4.1 เสียงของคอนเดนเซอร์.......................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.2 เสียงของอีวาปอเรเตอร์......................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.3 อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์..................................................... ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.4 อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .................................................. ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.5 ความดันของด้านดูด....................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.6 ความดันของด้านอัด....................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
5. เลื่อนตู้เย็นเข้าชิดฝาผนัง เปิดสวิตช์ของชุดสาธิตตู้เย็น
5.1 เสียงของคอนเดนเซอร์.......................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
5.2 เสียงของการฉีดสารท�ำความเย็น.......................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
5.3 อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์..................................................... ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................

219
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

5.4 อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .................................................. ํC


แก้ไขโดย............................................................................................................................
5.5 ความดันของด้านดูด............................................................ PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
5.6 ความดันของด้านอัด............................................................ PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6. เปิดฝาตู้เย็นและเดินเครื่อง 30 นาที เปิดสวิตช์ของชุดสาธิตตู้เย็น
6.1 เสียงของคอนเดนเซอร์......................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6.2 เสียงของอีวาปอเรเตอร์.....................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6.3 อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์..................................................... ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6.4 อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .................................................. ํC
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6.5 ความดันของด้านดูด............................................................ PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
6.6 ความดันของด้านอัด............................................................ PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
7. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................

220
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15

แบบประเมินผลใบงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตู้เย็นและการแก้ไข
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

221
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. คำ�ว่า “คิวของตู้เย็น” มีหน่วยเป็นอะไร
1. ลูกบาศก์เซนติเมตร 2. ลูกบาศก์ฟุต
3. ลูกบาศก์เมตร 4. ลูกบาศก์หลา
2. น�้ำแข็งเกาะที่อีวาปอเรเตอร์เกิดจากอะไร
1. ความร้อน 2. ความเย็น
3. ความชื้น 4. ความดัน
3. เครื่องปรับอากาศเติมสารทำ�ความเย็นเบอร์อะไร
1. R-12 เติม 30 PSI 2. R-22 เติม 30 PSI
3. R-22 เติม 50 PSI 4. R-22 เติม 60 PSI
4. คำ�ว่า “OFF” ที่ตัวเทอร์มอสแตตมีไว้เพื่ออะไร
1. เพิ่มอุณหภูมิ 2. ลดอุณหภูมิ
3. ละลายน�้ำแข็ง 4. เพิ่มความจุของน�้ำยา
5. ขอบยางประตูตู้เย็นมีแม่เหล็กอยู่กี่ด้าน
1. 1 ด้าน 2. 2 ด้าน
3. 3 ด้าน 4. 4 ด้าน
6. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดน�้ำแข็งเกาะที่ตัวอีวาปอเรเตอร์
1. ประตูปิดไม่สนิท
2. เทอร์มอสแตตชำ�รุด
3. สารทำ�ความเย็นมากเกินไป
4. สารทำ�ความเย็นน้อยไป
7. หลอดไฟส่องสว่างในตู้เย็นใช้แรงดันไฟฟ้าเท่าใด
1. 6 V 2. 14 V
3. 24 V 4. 220 V

222
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15

8. ทำ�ไมต้องตั้งตู้เย็นในที่ที่อากาศระบายได้ดี
1. เพื่อความประหยัด
2. เพื่อเพิ่มความจุ
3. เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำ�งาน
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งาน
9. ทำ�ไมจึงห้ามนำ�สิ่งของที่ร้อนจัดแช่ในตู้เย็น
1. ภายในตู้จะไม่เย็น
2. ความดันของระบบจะต�่ำลง
3. คอมเพรสเซอร์จะทำ�งานหนัก
4. สารทำ�ความเย็นจะรั่วออก
10. ตัวตู้เย็นผุเร็วเกินไปเกิดจากสาเหตุอะไร
1. การตั้งตู้เย็นไม่ถูกวิธี
2. การใช้งานไม่ถูกวิธี
3. การเติมสารทำ�ความเย็นมากเกินไป
4. การปิด-เปิดบ่อยครั้ง

223
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศ
และการแก้ไข

สาระการเรียนรู้

1. ปัญหาเรื่องของเสียง
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกอาการที่ผิดปกติของเครื่องปรับอากาศได้
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ 2. แยกแยะอาการทีผ่ ดิ ปกติของเครือ่ งปรับอากาศได้
เครื่องปรับอากาศ 3. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของเครื่องปรับอากาศได้
และการแก้ไข 4. ป้องกันปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ กับเครือ่ งปรับอากาศได้
5. แนะนำ�วิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับ
เครื่องปรับอากาศได้

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้ เ กี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารบำ � รุ ง รั ก ษาเครื่ อ ง


ปรับอากาศ
2. สังเกตอาการที่ผิดปกติและปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
ของเครื่องปรับอากาศ

224
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศและการแก้ไข

■ 1. ปัญหาเรื่องของเสียง
1.1 มีเสียงดังผิดปกติที่ตัวคอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unite)

สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


1. สกรูคลายตัวออก - ใช้ไขควงขันให้แน่น
- เปลี่ ย นสกรู ใ ห้่ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า -
เดิม
2. มี สิ่ ง แปลกปลอมเข้ า ไป เช่ น - ถอดโครงภายนอกของตัวคอนเดน- - บริเวณรอบๆ ตำ�แหน่งที่ติดตั้ง
กระดาษ ถุงพลาสติก หรือสัตว์ ซิ่งยูนิตออกและทำ�ความสะอาด คอนเดนซิ่งยูนิตควรสะอาด
บางประเภท เช่น งู หนู เป็นต้น ให้เรียบร้อย
3. ยางรองขาตัว คอนเดนซิ่งยูนิต - เปลี่ยนใหม่ - ควรใช้สีน�้ำมันป้ายร่องเกลียวไว้
ชำ�รุด
4. นอตยึดขาคอมเพรสเซอร์หลวม - ขันให้แน่น -
5. ยางรองขาคอมเพรสเซอร์ชำ�รุด - เปลี่ยนใหม่ - ควรติ ด ตั้ ง คอนเดนซิ่ ง ยู นิ ต ใน
ที่ร่ม
6. โครงภายนอกของตัวคอนเดนซิง่ - ปะผุ
-
ยูนิตชำ�รุด - เปลี่ยนใหม่
7. แกนพั ด ลม ลู ก ปื น มอเตอร์ - เปลี่ยนใหม่ - ควรตรวจสอบทุกๆ 3 เดือน
ระบายความร้อนสึกหรือจาระบี - หยอดน�้ำมันเครื่อง
แห้ง - เปลี่ยนจาระบีใหม่

225
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

1.2 มีเสียงดังผิดปกติที่ตัวคอยล์เย็น (Cooling Coil)

สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


แกนพั ด ลมตั้ ง ไม่ ไ ด้ ศู น ย์ มอเตอร์ - ปรับแต่งแนวแกนใหม่ - ควรตรวจสอบทุกๆ 3 เดือน
จาระบีแห้ง - เปลี่ยนบุชยางใหม่
- หยอดน�้ำมันเครื่อง
- เปลี่ยนจาระบีใหม่

■ 2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ
2.1 มีความผิดปกติที่ตัวคอนเดนซิ่งยูนิต

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


1. ร้อนจัด - การระบายความร้อนไม่ดี - มี สิ่ ง กี ด ขวางทิ ศ ทางลม - ควรตรวจสอบทุ ก ๆ
ไม่ให้เข้า-ออก 3 เดือน
- คอนเดนเซอร์สกปรก - ล้างทำ�ความสะอาด
- มอเตอร์พัดลมระบายความร้อน - เปลี่ยนมอเตอร์
เสีย
- คาปาซิเตอร์ของมอเตอร์พัดลม - เปลี่ยนคาปาซิเตอร์
ระบายความร้อนเสื่อม
- มอเตอร์พัดลมระบายความร้อน - หยอดน�้ำมันเครื่อง
จาระบีแห้ง - เปลี่ยนจาระบีใหม่
- ความดันสูงเกินไป - ตรวจสอบความดั น ของ
ระบบ
- คอมเพรสเซอร์ท�ำ งานตลอดเวลา - ลดปริมาณของน�้ำยาลง
- ระบบเกิดการตัน - ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
- ทำ�ความสะอาดระบบ
- เปลีย่ นฟิลเตอร์ดรายเออร์
- ทำ�สุญญากาศใหม่
- บรรจุน�้ำยาใหม่

226
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


2. ร้อนน้อย - ความดันต�่ำ - ตรวจสอบความดั น ของ
ระบบ
- ตรวจสอบวาล์วลูกศร
-
- น�้ำยาไม่เพียงพอ - ตรวจหารอยรั่ว
- เพิ่มปริมาณของน�้ำยา
- ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
3. ไม่ร้อนเลย - ความดันต�่ำ - ตรวจสอบความดั น ของ
ระบบ
- ตรวจสอบวาล์วลูกศร
- น�้ำยาไม่มี - ตรวจหารอยรั่ว
-
- บัดกรีปิดรอยรั่ว
- ทำ�สุญญากาศใหม่
- บรรจุน�้ำยาใหม่
- ตรวจสอบเทอร์มอสแตต

2.2 มีความผิดปกติที่ตัวคอยล์เย็น

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


1. เย็ น จั ด (มี น�้ ำ แข็ ง - คาปาซิเตอร์ของมอเตอร์ - เปลี่ยนคาปาซิเตอร์
เกาะที่ตัวคอยล์เย็น) โบลเวอร์เสื่อม
- มอเตอร์โบลเวอร์จาระบีแห้ง - หยอดน�้ำมันเครื่อง
- เปลี่ยนจาระบีใหม่
- ความดันต�่ำ - ตรวจสอบความดันของระบบ
- ตรวจสอบกำ � ลั ง ดู ด -อั ด ของ -
คอมเพรสเซอร์
- ตรวจสอบวาล์วลูกศร
- ตรวจหารอยรั่ว
- น�้ำยาไม่เพียงพอ - เพิ่มปริมาณของน�้ำยา
- ตรวจสอบเทอร์มอสแตต
2. เย็นน้อย - ตั้งเทอร์มอสแตตที่อุณหภูมิสูง - ตั้งเทอร์มอสแตตที่อุณหภูมิ
-
เกินไป เหมาะสม

227
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

อาการ สาเหตุ การแก้ไข การป้องกัน


3. ไม่เย็นเลย - เทอร์มอสแตตเสีย - เปลี่ยนเทอร์มอสแตต
- กลไกของเทอร์ ม อสแตตเกิ ด
สนิม
- ตัวเซนเซอร์อุณหภูมิชำ�รุด - เปลี่ยนตัวเซนเซอร์
- ความดันต�่ำ - ตรวจสอบความดันระบบ
- ตรวจสอบกำ � ลั ง ดู ด -อั ด ของ
คอมเพรสเซอร์ -
- ตรวจสอบวาล์วลูกศร
- น�้ำยาไม่มี - ตรวจหารอยรั่ว
- บัดกรีปิดรอยรั่ว
- ทำ�สุญญากาศใหม่
- บรรจุน�้ำยาใหม่
- มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เสีย - เปลีย่ นมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงบอกสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศ
1. ปัญหาเรื่องของเสียง
1.1 มีความผิดปกติที่ตัวคอนเดนซิ่งยูนิต
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
1.2 มีความผิดปกติที่ตัวคอยล์เย็น
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
2. ปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ
2.1 มีความผิดปกติที่ตัวคอนเดนซิ่งยูนิต
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
2.2 มีความผิดปกติที่ตัวคอยล์เย็น
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................

228
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

สรุป

การแก้ ไขอาการผิ ด ปกติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เครื่ อ งปรั บ อากาศนั้ น มี ม ากกว่ า เครื่ อ งทำ � ความเย็ น
(ตู้เย็น) ส่วนมากจะแสดงอาการออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เวลาเครื่องเริ่มทำ�งาน คอมเพรสเซอร์
มีเสียงดังและอุณหภูมผิ ดิ ปกติ หรือปัญหาอืน่ ๆ ข้อสรุปของอาการผิดปกติทเี่ กิดขึน้ สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขและแนวทางป้องกัน จึงเป็นสิ่งสำ�คัญเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้

229
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

ใบงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศและการแก้ไข
จุดประสงค์
1. แก้ไขปัญหาของเครื่องปรับอากาศได้
2. ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศได้
3. แนะนำ�วิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องปรับอากาศได้
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
2. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
3. ชุดเครื่องมือตรวจสอบไฟฟ้า
4. ชุดเชื่อมแก๊ส
5. ชุดเครื่องมือปฏิบัติงานท่อ
6. ชุดเครื่องมือทำ�สุญญากาศ
7. ชุดเครื่องมือตรวจสอบแรงดัน
8. ถังบรรจุสารทำ�ความเย็น R-22
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ตรวจสอบและสังเกตชุดสาธิตตู้เย็นทั้งภายนอกและภายใน
1.1 ความแข็งแรง มั่นคง...........................................................................................................
..........................................................................................................................................
1.2 ความสะอาดบริเวณรอบๆ พื้นทำ�งาน................................................................................
..........................................................................................................................................
2. จากข้อ 1 จะมีวิธีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
...................................................................................................................................................
3. เปิดสวิตช์ของชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
3.1 เสียงของคอนเดนซิ่งยูนิต...................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................

230
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

3.2 เสียงของชุดคอยล์เย็น........................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.3 อุณหภูมิของคอนเดนซิ่งยูนิต.........................................°C
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.4 อุณหภูมิของคอยล์เย็น..................................................°C
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.5 ความดันของด้านดูด......................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
3.6 ความดันของด้านอัด......................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4. บิดตัวเทอร์มอสแตตให้อยู่ในต�ำแหน่งต�่ำสุด
4.1 เสียงของคอนเดนซิ่งยูนิต...................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.2 เสียงของชุดคอยล์เย็น........................................................................................................
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.3 อุณหภูมิของคอนเดนซิ่งยูนิต.........................................°C
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
4.4 อุณหภูมิของคอยล์เย็น..................................................°C
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.5 ความดันของด้านดูด......................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
4.6 ความดันของด้านอัด......................................................PSI
แก้ไขโดย............................................................................................................................
5. บิดตัวเทอร์มอสแตตให้อยู่ในต�ำแหน่งสูงสุด
5.1 เสียงของคอนเดนซิ่งยูนิต...................................................................................................
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
5.2 เสียงของชุดคอยล์เย็น........................................................................................................
แก้ไขโดย.............................................................................................................................

231
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

5.3 อุณหภูมิของคอนเดนซิ่งยูนิต.........................................°C
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
5.4 อุณหภูมิของคอยล์เย็น..................................................°C
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
5.5 ความดันของด้านดูด......................................................PSI
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
5.6 ความดันของด้านอัด......................................................PSI
แก้ไขโดย.............................................................................................................................
6. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................

232
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

แบบประเมินผลใบงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศและการแก้ไข
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

233
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. คอนเดนซิ่งยูนิตประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. คอมเพรสเซอร์-คอนเดนเซอร์ 2. คอมเพรสเซอร์-อีวาปอเรเตอร์
3. คอมเพรสเซอร์-ดรายเออร์ 4. คอนเดนเซอร์-พัดลม
2. ความดันที่คอนเดนเซอร์ควรเป็นเท่าไร
1. 50 PSI 2. 100 PSI
3. 150 PSI 4. 250 PSI
3. ความดันที่คอนเดนเซอร์ได้รับมาจากข้อใด
1. คอมเพรสเซอร์ 2. อีวาปอเรเตอร์
3. แค็ป-ทิวบ์ 4. แอกคิวมูเลเตอร์
4. ใบพัดของคอนเดนซิ่งยูนิตเป็นแบบใด
1. เป่าลมร้อนผ่านตัวคอนเดนเซอร์
2. ดูดลมร้อนผ่านตัวคอนเดนเซอร์
3. เป่าลมเย็นผ่านตัวคอนเดนเซอร์
4. ดูดลมเย็นผ่านตัวคอนเดนเซอร์
5. ถ้าเติมสารทำ�ความเย็นเกินกำ�หนดที่ตัวคอนเดนซิ่งยูนิตจะเป็นอย่างไร
1. ไม่เย็นเลย 2. เย็นน้อย
3. เย็นจัด 4. ร้อนจัด
6. เครื่องปรับอากาศควรเติมสารทำ�ความเย็นเบอร์อะไร
1. R-12 เติม 8-12 PSI 2. R-12 เติม 30 PSI
3. R-22 เติม 30 PSI 4. R-22 เติม 60 PSI
7. การผุกร่อนที่ตัวคอยล์เย็นเกิดจากอะไร
1. ความร้อน 2. ความเย็น
3. การกลั่นตัวของสารทำ�ความเย็น 4. การกลั่นตัวของอากาศ
8. คอยล์เย็นเป็นน�้ำแข็งเกาะเกิดจากอะไร
1. สารทำ�ความเย็นมากเกินไป 2. สารทำ�ความเย็นน้อยเกินไป
3. เทอร์มอสแตตตั้งไว้สูงเกินไป 4. มอเตอร์พัดลมเสีย

234
หน่วยการเรียนรู้ที่ 16

9. เทอร์มอสแตตจะเช็กอุณหภูมิ ณ ตำ�แหน่งใด
1. ลมเข้า 2. ลมออก
3. ตรงกลางแผงคอยล์เย็น 4. ท่อสารทำ�ความเย็นเข้า
10. มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นมีกี่ความเร็ว
1. 1 ความเร็ว 2. 2 ความเร็ว
3. 3 ความเร็ว 4. 4 ความเร็ว

235
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17
การบ�ำรุงรักษาเครื่องท�ำความเย็น
และปรับอากาศ

สาระการเรียนรู้

1. การบำ�รุงรักษาตู้เย็น
2. การบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
3. ผลที่ ไ ด้ รั บ จากการบำ � รุ ง รั ก ษาตู้ เ ย็ น
และเครื่องปรับอากาศ

จุดประสงค์การเรียนรู้
การบำ�รุงรักษา
1. บอกวิธีการบำ�รุงรักษาตู้เย็นได้
เครื่องทำ�ความเย็น 2. บอกวิธีการบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศได้
และปรับอากาศ 3. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาตู้เย็นได้ถูกวิธี
4. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศได้ถูกวิธี

สมรรถนะประจำ�หน่วย

1. แสดงความรู้ เ กี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารบำ � รุ ง รั ก ษาตู้ เ ย็ น และ


เครื่องปรับอากาศ
2. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ

236
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

การบำ�รุงรักษาเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 1. การบำ�รุงรักษาตู้เย็น
1.1 การบ�ำรุงรักษาสภาพของตัวตู้
1.1.1 ต�ำแหน่งที่วางตู้เย็น
1) ไม่ควรวางตู้เย็นในที่ที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณที่ใช้เป็นที่ซักล้าง หรือใกล้ห้องน�้ำ
2) ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อน
3) ควรเป็นบริเวณที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง
4) หลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีการขนถ่ายและขนย้ายสิ่งของอยู่เป็นประจ�ำ
1.1.2 ลักษณะการตั้งตัวตู้
1) ควรตั้งตัวตู้เย็นโดยให้ด้านหน้าตู้เชิดขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้น�้ำที่เกิดจากการกลั่นตัว
หรือหกภายในตู้รวมตัวกันอยู่ในส่วนที่เป็นพลาสติก
2) ควรวางตัวตู้เย็นให้ด้านหลังหรือด้านที่ใกล้กับผนังอยู่ห่างจากผนังอย่างน้อย
6 นิ้ว และถ้าเป็นไปได้ควรวางตู้เย็นให้มีด้านที่ใกล้ผนังเพียงด้านเดียว คือ ด้านหลัง
1.1.3 ความสะอาด
1) ควรท�ำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2) ควรเช็ดตัวตู้เย็นให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอทั้งภายในและภายนอก
1.1.4 อื่นๆ
1) ไม่ควรน�ำของหนักวางบนหลังตู้เย็น
2) ควรปิด-เปิดประตูตู้เย็นเบาๆ
3) หลีกเลี่ยงการกระแทกจากภายนอก
1.2 การบ�ำรุงรักษาสภาพของวงจรสารท�ำความเย็น
1.2.1 ไม่ควรให้มีน�้ำแข็งเกาะที่แผงอีวาปอเรเตอร์หนาเกินไป
1.2.2 ไม่ควรใช้ของมีคมหรือของแข็งงัดเอาของออกจากอีวาปอเรเตอร์
1.2.3 หลีกเลี่ยงการน�ำของที่ร้อนจัดมาแช่ในตู้เย็น

237
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

1.2.4 ควรแช่สิ่งของให้พอเหมาะกับขนาดของตู้เย็น
1.2.5 ไม่ควรปิด-เปิดตู้เย็นบ่อยๆ และควรปิดตู้เย็นให้สนิท
1.2.6 ควรหมั่นตรวจสอบสภาพของยางขอบประตูเสมอ
1.2.7 ไม่ควรตั้งเทอร์มอสแตตไว้ต�่ำหรือสูงเกินไป
1.2.8 ควรหมั่นท�ำความสะอาดแผงคอนเดนเซอร์เสมอ
1.2.9 ควรสังเกตความถี่ของการท�ำงานของคอมเพรสเซอร์
1.2.10 ควรสังเกตเสียง การสั่นสะเทือน และความเย็น ในขณะที่ตู้เย็นท�ำงานเสมอ
1.2.11 เมื่อเกิดมีปัญหาควรปรึกษาช่างที่มีความรู้โดยตรงหรือบริษัทผู้ผลิต
1.3 การบ�ำรุงรักษาสภาพของวงจรไฟฟ้า
1.3.1 ควรตรวจสอบสภาพของสายไฟของตู้เย็นเสมอ
1.3.2 เมื่อเกิดไฟฟ้าดับควรรีบดึงปลั๊กตู้เย็นออก
1.3.3 ไม่ควรเสียบปลั๊กตู้เย็นทันทีหลังจากดึงปลั๊กออก ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 นาที
1.3.4 ควรสังเกตเสียง การสั่นสะเทือน ในขณะที่ตู้เย็นท�ำงานเสมอ
1.3.5 ควรต่อสายดินไว้เสมอ
1.3.6 เมื่อเกิดมีปัญหาควรปรึกษาช่างที่มีความรู้โดยตรงหรือบริษัทผู้ผลิต

■ 2. การบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
2.1 การบ�ำรุงรักษาสภาพของตัวโครงของชุดคอนเดนซิ่งยูนิต
2.1.1 ไม่ควรวางคอนเดนซิ่งยูนิตในที่ที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณที่ใช้เป็นที่ซักล้าง หรือ
ใกล้ห้องน�้ำ
2.1.2 ต�ำแหน่งของคอนเดนซิ่งยูนิตควรตั้งอยู่ในที่ร่มสามารถกันแดดกันฝนได้
2.1.3 ควรเป็นทีท่ อี่ ากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มสี งิ่ กีดขวางทิศทางลมเข้า-ออก เพือ่ ประสิทธิภาพ
ของการระบายความร้อน
2.1.4 ควรเป็นบริเวณที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง
2.1.5 หลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีการขนถ่ายและขนย้ายสิ่งของอยู่เป็นประจ�ำ
2.1.6 ควรให้คอนเดนซิ่งยูนิตสะอาดและแห้งอยู่เสมอ
2.1.7 ไม่ควรน�ำสิ่งของวางบนชุดคอนเดนซิ่งยูนิต
2.1.8 หลีกเลี่ยงการกระแทกจากภายนอก

238
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

2.2 การบ�ำรุงรักษาสภาพของตัวโครงของชุดคอยล์เย็น
2.2.1 ควรวางอยู่ในต�ำแหน่งที่โปร่ง อากาศไหลผ่านได้สะดวก
2.2.2 ควรวางอยู่ในต�ำแหน่งที่ห่างจากแหล่งก�ำเนิดฝุ่นละออง เช่น โต๊ะเครื่องแป้ง
2.2.3 แผ่นกรองอากาศควรล้างและท�ำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.2.4 ท่อระบายน�้ำทิ้งจะต้องไม่อุดตันและระบายน�้ำได้เร็วที่สุด
2.2.5 ควรสังเกตเสียง การสั่นสะเทือน ความเย็น และความแรงของลม ในขณะที่เครื่อง
ปรับอากาศท�ำงานเสมอ
2.2.6 เมื่อเกิดมีปัญหาควรปรึกษาช่างที่มีความรู้โดยตรงหรือบริษัทผู้ผลิต
2.3 การบ�ำรุงรักษาสภาพของวงจรสารท�ำความเย็น
2.3.1 ท่อน�้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่างชุดคอนเดนซิ่งยูนิตและชุดคอยล์เย็นควรหุ้มด้วยฉนวน
ให้เรียบร้อย
2.3.2 แผงคอนเดนเซอร์ควรล้างอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง
2.3.3 แผ่นกรองอากาศควรล้างและท�ำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.3.4 ควรปรับระดับของอุณหภูมิให้เหมาะสมกับความแรงของลม
2.3.5 ไม่ควรปิด-เปิดประตูห้องบ่อยๆ และควรปิดประตูให้สนิท
2.3.6 ไม่ควรฉีดน�้ำหอมหรือสเปรย์ดับกลิ่นเข้าที่แผงคอยล์เย็นโดยตรง
2.3.7 ควรสังเกตเสียง การสั่นสะเทือน ความเย็น และความแรงของลม ในขณะที่เครื่อง
ปรับอากาศท�ำงานเสมอ
2.3.8 เมื่อเกิดมีปัญหาควรปรึกษาช่างที่มีความรู้โดยตรงหรือบริษัทผู้ผลิต
2.4 การบ�ำรุงรักษาสภาพของวงจรไฟฟ้า
2.4.1 ควรตรวจสอบสภาพของสายไฟของเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ
2.4.2 เมื่อเกิดไฟฟ้าดับควรรีบปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศทันที
2.4.3 หลังจากปิดสวิตช์ไม่ควรเปิดสวิตช์ทันที ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 นาที
2.4.4 ควรสังเกตเสียง การสั่นสะเทือน อุณหภูมิ ในขณะที่เครื่องปรับอากาศท�ำงานเสมอ
2.4.5 เมื่อเกิดมีปัญหาควรปรึกษาช่างที่มีความรู้โดยตรงหรือบริษัทผู้ผลิต

239
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

■ 3. ผลทีไ่ ด้รบั จากการบำ�รุงรักษาตูเ้ ย็นและเครือ่ งปรับอากาศ


ผลที่ได้รับจากการบ�ำรุงรักษาตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ มีดังนี้
3.1 ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
3.2 ลดก�ำลังไฟฟ้าที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษา
3.3 มีความปลอดภัยในการใช้งาน
3.4 ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. การบำ�รุงรักษาตู้เย็นมีวิธีการอย่างไร
.................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
2. การบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศมีวิธีการอย่างไร
.................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

สรุป
การบ�ำรุงรักษาเครื่องท�ำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้คงสภาพที่ดีอยู่เสมอนั้น เป็น
การยืดอายุการใช้งานของเครื่องท�ำความเย็นและเครื่องปรับอากาศได้ และช่วยให้ผู้ใช้ประหยัด
ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมแซม ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานของชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย

240
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

ใบงาน
การบ�ำรุงรักษาเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ
จุดประสงค์
1. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาตู้เย็นได้ถูกวิธี
2. ปฏิบัติการบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศได้ถูกวิธี
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ชุดสาธิตตู้เย็น
2. ชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศ
3. เทอร์มอมิเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ชุดเครื่องมือประจำ�ตัวช่าง
6. ชุดเครื่องมือตรวจสอบไฟฟ้า
1. การบำ�รุงรักษาตู้เย็น
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. นำ�ชุดสาธิตตู้เย็นมาทำ�การตรวจสอบสภาพภายนอกและภายใน
สภาพภายนอก (ผุ/ไม่ผุ)............................................................................................................
สาเหตุเกิดจาก...........................................................................................................................
วิธีการแก้ไข................................................................................................................................
สภาพภายใน (ชำ�รุด/ไม่ชำ�รุด)...................................................................................................
สาเหตุเกิดจาก...........................................................................................................................
วิธีการแก้ไข................................................................................................................................
2. นำ�เทอร์มอมิเตอร์ตัวที่ 1 มาแนบที่ตรงกลางของแผงคอนเดนเซอร์ และเทอร์มอมิเตอร์ตัวที่ 2
มาวางไว้ในอีวาปอเรเตอร์ แล้วเสียบปลั๊กชุดสาธิตทิ้งไว้ 10 นาที
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์.....................................................แอมแปร์
อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์. ......................................................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .....................................................................°C
แล้วดึงปลั๊กออก ค่าความแตกต่างของอุณหภูม.ิ .......................................°C

241
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

3. เลื่อนชุดสาธิตเข้าใกล้ผนังที่สุด นำ�วัสดุปิดทิศทางลมเข้าที่คอนเดนเซอร์ และทำ�เหมือนข้อ 2


กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์.....................................................แอมแปร์
อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์. ......................................................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .....................................................................°C
แล้วดึงปลั๊กออก ค่าความแตกต่างของอุณหภูม.ิ .......................................°C
4. น�ำน�้ำมันเครื่องมาทาให้ทั่วแผงคอนเดนเซอร์ และท�ำเหมือนข้อ 2
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์.....................................................แอมแปร์
อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์. ......................................................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .....................................................................°C
แล้วดึงปลั๊กออก ค่าความแตกต่างของอุณหภูม.ิ .......................................°C
5. ล้างทำ�ความสะอาดแผงคอนเดนเซอร์ให้สะอาดที่สุด และทำ�เหมือนข้อ 2
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์.....................................................แอมแปร์
อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์. ......................................................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .....................................................................°C
แล้วดึงปลั๊กออก ค่าความแตกต่างของอุณหภูม.ิ .......................................°C
6. น�ำน�้ำแข็งใส่ในอีวาปอเรเตอร์ให้เต็ม และท�ำเหมือนข้อ 2
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์.....................................................แอมแปร์
อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์. ......................................................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์. .....................................................................°C
แล้วดึงปลั๊กออก ค่าความแตกต่างของอุณหภูม.ิ .......................................°C
7. จากการทดลอง อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์สูงที่สุด..................................°C
จากการทดลอง อุณหภูมิของคอนเดนเซอร์ต�่ำที่สุด..................................°C
สาเหตุเกิดจาก...........................................................................................................................
วิธีการแก้ไข................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
8. จากการทดลอง อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์สูงที่สุด.................................°C
อุณหภูมิของอีวาปอเรเตอร์ต�่ำที่สุด................................°C

242
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

9. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
10. ปัญหาและอุปสรรคในการทำ�งาน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สรุปผลการปฏิบัติงาน
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
2. การบำ�รุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
ลำ�ดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. นำ�ชุดสาธิตตู้เย็นมาทำ�การตรวจสอบสภาพ
สภาพของคอนเดนซิ่งยูนิต.......................................................................................................
สาเหตุเกิดจาก...........................................................................................................................
วิธีการแก้ไข................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
สภาพของคอลย์เย็น...................................................................................................................
สาเหตุเกิดจาก...........................................................................................................................
วิธีการแก้ไข................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

243
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

2. เปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศและสังเกต
2.1 คอนเดนซิ่งยูนิตหรือคอยล์เย็นทำ�งานก่อนกัน...................................................................
สาเหตุเกิดจาก...................................................................................................................
วิธีการแก้ไข........................................................................................................................
...........................................................................................................................................
2.2 เสียงของชุดคอนเดนซิ่งยูนิตเป็นอย่างไร............................................................................
สาเหตุเกิดจาก...................................................................................................................
วิธีการแก้ไข........................................................................................................................
...........................................................................................................................................
2.3 เสียงของชุดคอยล์เย็นเป็นอย่างไร......................................................................................
สาเหตุเกิดจาก...................................................................................................................
วิธีการแก้ไข........................................................................................................................
...........................................................................................................................................
3. น�ำเทอร์ ม อมิ เ ตอร์ ตั ว ที่ 1 มาแนบติ ด กั บ ด้ า นลมออกของชุ ด คอนเดนซิ่ ง ยู นิ ต และน�ำ
เทอร์มอมิเตอร์ตัวที่ 2 มาแนบติดกับด้านลมออกของคอยล์เย็น แล้วเปิดสวิตช์ชุดสาธิตทิ้งไว้
5 นาที
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์
4. ถอดสายไฟพัดลมของคอนเดนซิ่งยูนิตออก และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์ และเสียบสายไฟของพัดลมเข้าที่เดิม

244
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

5. ถอดสายไฟพัดลมของคอยล์ออก และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์ และเสียบสายไฟของพัดลมเข้าที่เดิม
6. ถอดสายไฟพัดลมของชุดคอนเดนซิ่งยูนิตและของคอยล์เย็นออก และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์ และเสียบสายไฟของพัดลมเข้าที่เดิม
7. น�ำแผ่นกระดาษบังทิศทางลมเข้าของชุดคอนเดนซิ่งยูนิต และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์
8. น�ำแผ่นกระดาษบังทิศทางลมเข้าของชุดคอยล์เย็น และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์

245
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

9. ล้างท�ำความสะอาดชุดคอนเดนซิ่งยูนิต และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์
10. ล้างท�ำความสะอาดชุดคอยล์เย็น และท�ำเหมือนข้อ 3
กระแสไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์......................................................แอมแปร์
ความดันด้านอัด...................................................................................... PSI
ความดันด้านดูด...................................................................................... PSI
อุณหภูมิลมของคอนเดนซิ่งยูนิต................................................................°C
อุณหภูมิลมของคอยล์เย็น.........................................................................°C
แล้วปิดสวิตช์
11. ในขณะปฏิบัติการทดลองมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
12. ปัญหาและอุปสรรคในการท�ำงาน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

246
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

สรุปผลการปฏิบัติงาน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................

247
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

แบบประเมินผลใบงาน
การบ�ำรุงรักษาเครื่องท�ำความเย็นและปรับอากาศ
ชื่อ-สกุล..............................................................รหัสประจำ�ตัว....................ระดับชั้น...............กลุ่มที่..............
ระดับคะแนน
ลำ�ดับที่ รายการประเมิน หมายเหตุ
5 4 3 2 1
1. เกณฑ์ประเมินคุณธรรม จริยธรรม
1 ความตรงต่อเวลา
2 การแต่งกาย
3 ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
4 การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
5 ความเสียสละ
คะแนนรวม
2. เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 การเตรียมและการเก็บรักษาเครื่องมือ
2 ทักษะในการปฏิบัติงาน
3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
4 ความถูกต้องของใบงาน
5 การตอบคำ�ถาม สรุปผลการทดลอง
คะแนนรวม

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
คะแนนเฉลี่ย 0-1 ต้องปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 2 พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 3 ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 4 ดี คะแนนเฉลี่ย 5 ดีมาก

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………….…………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลงชื่อ…………………………………………………………………ผู้ประเมิน
(………………………………………………………)
……...…/……...…/……...…

248
หน่วยการเรียนรู้ที่ 17

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้

จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ความชื้นมีผลต่อสภาพของตัวตู้เย็นอย่างไร
1. ท�ำให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้ไม่เต็มที่
2. ท�ำให้เกิดมีน�้ำเกาะบริเวณหลังตู้
3. ทำ�ให้ตัวตู้เกิดเป็นสนิม
4. ทำ�ให้หนูชอบเข้าไปกัดสายไฟ
2. การวางตู้เย็นควรวางในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพราะอะไร
1. ตู้เย็นจะได้เย็นจัด
2. ลดความชื้นบริเวณรอบๆ ตัวตู้
3. ขนถ่ายความร้อนออกจากตัวตู้ได้อย่างรวดเร็ว
4. ยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์
3. ทำ�ไมจึงห้ามไม่ให้เสียบปลั๊กตู้เย็นทันทีหลังจากถอดปลั๊กออก
1. ทำ�ให้เกิดการสมดุลของความดันในวงจรสารทำ�ความเย็น
2. ป้องกันท่อเกิดรอยร้าว
3. ลดกระแสไฟฟ้าในขณะเริ่มสตาร์ต
4. ลดเสียงดังในขณะสตาร์ต
4. เมื่อยางขอบตู้เย็นชำ�รุด ตู้เย็นจะแสดงอาการอย่างไร
1. ตู้เย็นจะเย็นไม่เต็มที่ 2. จะมีน�้ำแข็งเกาะหนาที่ตัวอีวาปอเรเตอร์
3. คอนเดนเซอร์ร้อนผิดปกติ 4. จะเป็นน�้ำแข็งทั่วตู้
5. ถ้าน�้ำแข็งเกาะที่แผงอีวาปอเรเตอร์มากเกินไปจะมีผลต่อการท�ำความเย็นอย่างไร
1. ตู้เย็นจะไม่เย็น 2. ตู้เย็นจะเย็นจัด
3. คอมเพรสเซอร์จะไม่ทำ�งาน 4. เทอร์มอสแตตจะอยู่ในตำ�แหน่ง “ON”
6. ถ้าแผงคอนเดนเซอร์สกปรกจะมีผลต่อวงจรน�้ำยาอย่างไร
1. ความดันที่คอนเดนเซอร์จะสูง
2. ความดันที่คอนเดนเซอร์จะต�่ำ
3. แค็ป-ทิวบ์จะฉีดสารทำ�ความเย็นได้มากขึ้น
4. แค็ป-ทิวบ์จะฉีดสารทำ�ความเย็นได้น้อยลง

249
เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ

7. เมื่อนำ�ของที่ร้อนจัดมาแช่ในตู้เย็นจะเกิดอะไรขึ้น
1. ของที่ร้อนจัดจะได้เย็นเร็วขึ้น
2. ช่วยให้น�้ำแข็งที่เกาะที่แผงอีวาปอเรเตอร์ละลายเร็วขึ้น
3. ตู้เย็นจะทำ�งานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. คอมเพรสเซอร์จะทำ�งานหนักทันที
8. การที่ตู้เย็นตัด-ต่อวงจรบ่อยๆ จะมีผลอย่างไร
1. ตู้เย็นจะทำ�งานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. คอมเพรสเซอร์จะทำ�งานเบาลง
3. ประหยัดพลังงาน
4. สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
9. ถ้าแผงคอนเดนเซอร์สกปรกมากจะมีผลต่อเครื่องปรับอากาศอย่างไร
1. คอมเพรสเซอร์จะทำ�งานเสียงดัง
2. อุณหภูมิที่คอยล์เย็นจะลดลง
3. อุณหภูมิที่คอยล์เย็นจะเพิ่มขึ้น
4. ทำ�ให้คอมเพรสเซอร์ทำ�งานเบาลง
10. ถ้าแผงคอยล์เย็นสกปรกมากจะมีผลต่อเครื่องปรับอากาศอย่างไร
1. คอมเพรสเซอร์จะทำ�งานเสียงดัง
2. อุณหภูมิที่คอยล์เย็นจะลดลง
3. อุณหภูมิที่คอยล์เย็นจะเพิ่มขึ้น
4. ทำ�ให้คอมเพรสเซอร์ทำ�งานเบาลง

250
บรรณานุกรม

บรรเลง ศรนิล และคณะ. พื้นฐานเครื่องทำ�ความเย็น. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า


วิทยาเขตพระนครเหนือ, ม.ป.ป.
สนอง อิ่มเอม. เครื่องทำ�ความเย็นและเครื่องปรับอากาศรถยนต์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ :
อมรินทร์ พริน้ ติง้ แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2544.
สมศักดิ์ สุโมตยกุล. เครื่องทำ�ความเย็นและเครื่องปรับอากาศ. กรุงเทพฯ : บริษัท เอช เอ็น กรุ๊ป จำ�กัด,
2544.
D. Andrew, Turnquist and Carl H., Bracciano. Modern Refrigeration and Air Conditioning.
Illinois : Gookheart Willcox Co; Inc., 1968.
R. Werren, Marsh and C Thomas Olivo. Principles of Refrigeration. USA. : Delmar
Publishers, 1960.
“Valve and Fitting Diving Makers.” Imperial Eastman Tubeworking Handbook, Imperial
Eastman Tubeworking Tools. n.p., n.d.

251
ดัชนี

ก จ พ
กระเปาะเปียก 5 จูล 12 พัดลมโบลเวอร์ 106
กระเปาะแห้ง 5 ช เพรสเชอร์เกจ 26
การกลั่นตัว 103 เพลาข้อเหวี่ยง 89
ชุดเกจแมนิโฟลด์ 39
การน�ำความร้อน 24 โพเทนเชียลรีเลย์ 170
ชุดเชื่อมแก๊ส 39
การพาความร้อน 24 ฟ
การแผ่รังสีความร้อน 25 ซ
ฟรีสเซอร์ 130
กิโลจูล 12 ซิลิกาเจล 140
ฟิน 103, 129
ข ซีเลกเตอร์สวิตช์ 202, 204
เซฟตี้วาล์ว 143 ม
ขดลวดรัน 172
โซเวอร์บีด 140 มัลติมิเตอร์ 37
ขดลวดสตาร์ต 169, 171, 172, 202
ต โมเลกุล 2

ตะไบ 38 ร
ความดันของเกจ 26
ตัวกรองความชื้น 76 รีเมอร์ 38
ความดันบรรยากาศปกติ 25
ความดันสัมบูรณ์ 26 ถ ล
ความร้อนจ�ำเพาะ 8, 9 ถังพักน�้ำยาเหลว 76 เลื่อยตัดเหล็ก 38
ความร้อนแฝง 10
ท ว
ความร้อนรู้สึก 8
ความร้อนสัมผัส 8 ท่อของเหลว 76 วาล์วกันกลับ 91
ความหนืด 157 ท่อทองแดง 58 ห
คอนแทกช่วย 168 ท่อทางดูด 76, 87
หวีครีบคอนเดนเซอร์ 42
คอนแทกเมน 168 ท่อทางอัด 76, 87
คอมพาวด์เกจ 28 ท่อพลาสติก 60 อ
เครื่องท�ำสุญญากาศ 40 ท่อยืดหยุ่น 61 อิลิมิเนเตอร์ 106
เครื่องมือขยายท่อ 38 ท่อสเตนเลส 60 อุณหภูมิ 3
เครื่องมือตัดท่อ 38 ท่อเหล็ก 60 อุณหภูมิกระเปาะเปียก 5
เครื่องมือบานท่อ 38 ทิวบ์คัตเตอร์ 37 อุณหภูมิกระเปาะแห้ง 5
เครื่องมือบีบท่อ 39 เทอร์มอมิเตอร์ 5, 6, 42 อุณหภูมิสัมบูรณ์ 3
เคอร์เรนต์รีเลย์ 169 เทอร์มิสเตอร์ 174 อุณหภูมิอิ่มตัว 6
แคลมป์มิเตอร์ 37 บ ฮ
บีทียู 9, 10, 13 ฮอตไวร์รีเลย์ 171, 172

252

You might also like