You are on page 1of 8

ME371: Performance of Air conditioning system

2018

หลักการและทฤษฎี
ระบบปรับอากาศ หรือระบบปรับสภาวะอากาศ (Air Conditioning System) หรือที่เรียกโดยทั่วไป
ว่ า เครื่ อ งปรั บ อากาศ (แอร์ ) ปั จ จุ บั น มี ก ารใช้ กั น มากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น ในที่ อ ยู่ อ าศั ย อาคารสานั ก งาน
ศูนย์การค้า โรงพยาบาล โรงแรม ฯลฯ หน้าที่ของระบบปรับอากาศไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่การลดอุณหภูมิ
อากาศหรือการทาความเย็นตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการเพิ่มอุณหภูมิอากาศหรือ
การท าความร้อน การควบคุม ระดับ ความชื้น ในอากาศ การควบคุม ความสะอาดของอากาศ การควบคุ ม
ความเร็วลมให้เหมาะสม ตลอดจนการควบคุมสภาวะของอากาศในด้านอื่น ๆ
หลักการทางานของเครื่องปรับอากาศแต่ละประเภท โดยเฉพาะในด้านการทาความเย็นนั้นมีหลักการ
ทางานคล้ายกัน คือกระบวนการเคลื่อนย้ายความร้อนออกจากพื้นที่ที่ต้องการทาความเย็น ด้วยการส่งผ่าน
ความร้อนออกสู่ภายนอกพื้นที่ทาความเย็น โดยใช้คุณสมบัติในการระเหย และความร้อนแฝงของการกลายเป็น
ไอของของเหลวที่เป็นสารทางาน ซึ่งในขณะที่ระเหยกลายเป็นไอนั้น สารทางานจะต้องใช้ความร้อน และความ
ร้อนนี้ก็จะได้มาจากการดูดซับมาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

รูปที่ 1. (a) Diagram ระบบการทาความเย็น (b) P-h Diagram

ส่วนประกอบหลักของระบบทาความเย็น (Refrigeration Unit)


• อีแวปเปอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็น (Fan Coil Unit, FCU) เป็นอุปกรณ์หลักในระบบทา
ความเย็น มีหน้าที่ดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทาความเย็น ทาให้สารทาความเย็นภายใน
ระบบเปลี่ยนสถานะจากของเหลวผสมไอกลายเป็นไออิ่มตัว (ไอสมบูรณ์) โดยการใช้พัดลมดูดอากาศ

EGME371 Performance of air conditioning system - 1


C. Jaroenkhasemmeesuk
จากภายในห้องปรับอากาศผ่านแผงคอยล์เย็น สารทาความเย็นจะดูดซับความร้อนผ่านผิวท่อเข้าไปยัง
น้ายา จึงทาให้อากาศที่ผ่านผิวท่อมีอุณหภูมิต่าลง อุปกรณ์นี้จะมีการใช้พลังงานประมาณ 10% ของ
ระบบปรับอากาศทั้งหมด
• คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หรือเครื่องอัดไอ เป็นหัวใจหลักของการทางานแบบระบบอัดไอ โดยมี
หน้าที่หลักคือการเพิ่มความดันของสารทาความเย็น และทาให้สารทาความเย็นสามารถไหลเวียนได้
ครบวงจรระบบอัดไอ ทาหน้าที่อัดน้ายาในสถานะไอที่มาจากอีแวปเปอเรเตอร์ ให้อยู่ในสภาวะไอร้อน
ยิ่งยวดที่ความดัน สูงและอุณ หภูมิสู ง ก่อนจะเข้าไปยัง Condenser อุป กรณ์ นี้จะมีการใช้พลั งงาน
ประมาณ 80% ของระบบปรับอากาศทั้งหมด
• อุปกรณ์ควบแน่น (Condenser) หรือคอยล์ร้อน (Condensing Unit, CDU) เป็นอุปกรณ์ที่ทาให้สาร
ทาความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวผสมไอเป็นของเหลวสมบูรณ์ โดยควบแน่นไอน้ายาที่มีความ
ดันสูงและอุณหภูมิสูงที่ถูกอัดตัวมาจาก Compressor โดยการใช้พัดลมดูดอากาศมาระบายความร้อน
โดยการควบแน่นทาได้โดยการระบายความร้อนออกด้วยอากาศหรือน้า อุปกรณ์นี้จะมีการใช้พลังงาน
ประมาณ 10% ของระบบปรับอากาศทั้งหมด
• วาล์วลดความดันหรือวาล์วขยายตัว (Expansion Valve) ทาหน้าที่ลดความดันของน้ายาที่ออกจาก
Condenser ให้ต่าลงก่อนที่จะเข้าสู่ Evaporator ทาให้ไอสารทาความเย็นกลั่นตัวจากของเหลวความ
ดันสูงเป็นของเหลวผสมไอ (Mixture/2-Phases) ความดันต่า รวมทั้งยังทาหน้าที่ควบคุมอัตราการ
ไหลของน้ายาในระบบอีกด้วย ในกรณีที่ระบบเล็กจะใช้ท่อขนาดเล็ก (Capillary Tube) แทนการใช้
วาล์ว

ตัวแปรควบคุมในการปรับสภาวะอากาศ
ในการปรับสภาวะอากาศให้เหมาะสมตามที่ต้องการนั้น มีตัวแปรที่จะต้องควบคุม ได้แก่
1. อุณหภูมิ (Temperature) - การปรับอุณหภูมิโดยการเพิ่มหรือลด
2. ความชื้น (Humidity) - การควบคุมปริมาณความชื้นของอากาศ
3. ความเร็วลม (Air Motion) - ความเร็วลมและทิศทางการไหลเวียนของอากาศ
4. ความสะอาด (Cleanliness) - การควบคุมสิ่งสกปรกภายในอากาศโดยการใช้ตัวกรอง

ตัวแปรที่สาคัญที่มีผลต่อความรู้สึกสบายของคน (Thermal Comfort) มากที่สุด ได้แก่ อุณหภูมิและ


ความชื้นของอากาศ ในระบบปรับอากาศโดยทั่วไปมักจะเป็นการควบคุมอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว ดังจะสังเกต
ได้จากการใช้เทอร์โมสตัดควบคุมการทางานของระบบปรับอากาศ แต่ในการใช้งานบางประเภท จาเป็นที่
จะต้องควบคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้น เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ฯลฯ
ก็จะมีวิธีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่แตกต่างกันไป เป็นต้นว่า อาจจะใช้ระบบทาความเย็นร่วมกับสาร
ดูดความชื้น (Desiccant) หรือใช้การทาความเย็นให้เย็นจัดจนเลยจุดน้าค้างเพื่อกาจัดความชื้น จากนั้นจึงอุ่น
อากาศให้อุณหภูมิสูงขึ้นมายังค่าที่ต้องการ (Overcool & Reheat Scheme)
EGME371 Performance of air conditioning system - 2
C. Jaroenkhasemmeesuk
ไซโครเมตริกชาร์ต (Psychrometric Chart)
ในการพิจารณาคุณสมบัติของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ จะพิจารณาโดยคิดเสมือนว่าอากาศประกอบด้วย
2 ส่ว น ได้แก่ ส่ วนที่เป็ น อากาศแห้ ง (Dry bulb) และส่ วนที่เป็ นไอน้าหรือความชื้น (Moisture) เมื่อนาค่า
คุณ สมบั ติที่สภาวะต่าง ๆ ของ อากาศมาพล็อตเป็นกราฟ จะได้ ไซโครเมตริกชาร์ต หรือ Psychrometric
Chart ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 2 ซึ่งกราฟนี้สามารถใช้ในการอธิบายพฤติกรรมหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
กับอากาศได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 2 ตัวอย่างไซโครเมตริกชาร์ต (Psychrometric Chart)


บนไซโครเมตริกชาร์ตจะบอกค่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry-bulb
Temperature) อุ ณ หภู มิ ก ระเปาะเปี ย ก (Wet-bulb Temperature) อั ต ราส่ ว นความชื้ น หรื อ ความชื้ น
สัมบูรณ์ (Humidity Ratio) ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และค่าเอนทาลปี (Enthalpy)

ความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝง
การถ่ายเทความร้อนที่เกี่ยวข้องกับอากาศอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความร้อนสัมผั ส
(Sensible Heat) และความร้อนแฝง (Latent Heat) ซึ่งในที่นี้หมายถึงความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของ
น้า (ความร้อนสัมผัส หมายถึง ความร้อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่ งสามารถสัมผัสและรู้สึกได้
ว่าร้อนหรือเย็น) ส่วนความร้อนแฝง หมายถึง ความร้อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณไอน้าในอากาศ
หรือความชื้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเปลี่ย นแปลงสถานะของของเหลวในระบบ (สารท าความเย็น ) ระหว่าง
ของเหลวกับไอ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารทาความเย็นนั้น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

EGME371 Performance of air conditioning system - 3


C. Jaroenkhasemmeesuk
หากพิจารณาความร้อนทั้งสองประเภทบนไซโครเมตริกชาร์ตจะพบว่า กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ
ถ่ายเทความร้อนสั มผั ส เพี ย งอย่ างเดีย วจะเขียนได้เป็น เส้ น แนวนอน ส่ ว นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกั บการ
เปลี่ยนแปลงความร้อนแฝงเพียงอย่างเดียวจะเขียนได้เป็นเส้นแนวตั้ง สาหรับกระบวนการถ่ายเทความร้ อนที่
เกี่ย วข้องกับ ความร้อนทั้ งสองประเภทจะเขียนได้เป็นเส้ นเอียงในแนวต่าง ๆ โดยค่าหนึ่งที่ใช้ในการแสดง
สัดส่วนของปริมาณความร้อนแต่ละประเภทของกระบวนการ ได้แก่ ค่าสัดส่วนความร้อนสัมผัส (Sensible
Heat Ratio, SHR) ซึ่งเป็นค่าสัดส่วนของปริมาณการถ่ายเทความร้อนสัมผั สต่อปริมาณการถ่ายเทความร้อน
ทั้งหมด

รูปที่ 3 กระบวนการปรับสภาวะอากาศบนไซโครเมตริกชาร์ต

EGME371 Performance of air conditioning system - 4


C. Jaroenkhasemmeesuk
นิยามประสิทธิภาพหรือสมรรถนะ
สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศสาหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) โดยทั่วไปนิยม
ใช้กัน 3 แบบ คือ
1. ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส มรรถนะ COP (Coefficient of Performance) เป็ น ค่ า อั ต ราส่ ว นระหว่ า ง
ความสามารถในการทาความเย็น (Watt) และกาลังไฟฟ้าที่ใช้สาหรับเครื่องปรับอากาศในการทาความเย็น
(Watt) โดยค่า COP มีหน่วยเป็น W/W

2. ค่ าประสิ ท ธิ ภ าพพลั ง งาน EER หรื อ Energy Efficiency Ratio เป็ น ค่ าอั ต ราส่ ว นระหว่ า ง ขี ด
ความสามารถในการทาความเย็น (Btu/hr) รวมสุทธิและกาลังไฟฟ้าที่ใช้สาหรับเครื่องปรับอากาศในการทา
ความเย็น (Watt) โดยค่า EER มีหน่วยเป็น Btu/hr/Watt

3. ค่ า ก าลั ง ไฟฟ้ า ต่ อ ตั น ความเย็ น (CHP) เป็ น ค่ า อั ต ราส่ ว นระหว่ า งก าลั ง ไฟฟ้ า ที่ ใ ช้ ส าหรั บ
เครือ่ งปรับอากาศในการทาความเย็น (kW) และความสามารถในการทาความเย็น (TR หรือตันความเย็น)

EGME371 Performance of air conditioning system - 5


C. Jaroenkhasemmeesuk
จากคาจากัดความของทั้ง 3 ค่าในข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่านิยามของ EER, kW/TR และ COP เป็นส่วน
กลับ ซึ่งกัน และกัน โดย EER และ COP ยิ่ งมีค่าสูงเท่าไรก็ห มายความว่าเครื่องปรับอากาศมีสมรรถนะการ
ทางานที่ดี ในขณะที่ค่า kW/TR ยิ่งมีค่าต่าเท่าไร เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นก็ยิ่งมีค่าสมรรถนะการทางานที่ดี
เท่านั้นด้วย โดยทั้งนี้สามารถกาหนดความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ได้ดังนี้

กฎหมายที่เกี่ยวของ
1. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกาหนดค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่า ค่าประสิทธิภาพการให้ความ
เย็ น และค่ า พลั งงานไฟฟ้ าต่ อ ตั น ความเย็ น ของระบบปรับ อากาศที่ ติ ด ตั้ งใช้ งานในอาคาร พ.ศ. 2552 ได้
กาหนดค่าสมรรถนะไว้ดังนี้
ตารางการกาหนดค่าสมรรถนะขั้นต่า (COP) และค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น (EER)

2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 2134-2553)


เครื่องปรับอากาศสาหรับห้อง : ประสิทธิภาพพลังงาน ได้กาหนดประสิทธิภาพพลังงานไว้ดังนี้
1 อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่า ต้องไม่น้อยกว่าค่าที่กาหนดไว้
2 อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 93 ของค่าที่ระบุ
3 ขีดความสามารถทาความเย็นรวมสุทธิของเครื่องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 ของขีดความสามารถทา
ความเย็นรวมสุทธิของเครื่องที่ระบุ
4 กาลังไฟฟ้าที่กาหนดไม่เกินร้อยละ 110 ของกาลังไฟฟ้าที่ระบุ
ตารางการกาหนดค่าสมรรถนะขั้นต่า (COP)

EGME371 Performance of air conditioning system - 6


C. Jaroenkhasemmeesuk
3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
โครงการฉลากเบอร์ 5 ได้ปฏิบัติการตามเกณฑ์ดังกล่าว โดยได้มีการทดสอบและกาหนดค่าจากสถาบันไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์(สฟอ.)
ตารางค่ามาตรฐานเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนสาหรับเครื่องขนาดไม่เกิน 8,000 W (27,296 Btu/hr)

ตารางค่ามาตรฐานเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนสาหรับเครื่องขนาดมากกว่า 8,000 W (27,296 Btu/hr)

เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)
2. เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Thermometer และ Hygrometer)
3. เครื่องวัดก าลังไฟฟ้า (Power Meter)
4. ตลับเมตร
5. แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart)/ โปรแกรมการคานวณค่าเอนทาลปี (Enthalpy)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทางานของระบบปรับอากาศ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ไซโครเมตริกชาร์ตกับงานในระบบปรับอากาศได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนาหลักการปรับสภาวะอากาศไปใช้ในชีวิตประจาวันและชีวิตการทางานได้

การทดสอบประสิทธิภาพการทางานของระบบปรับอากาศ

EGME371 Performance of air conditioning system - 7


C. Jaroenkhasemmeesuk
การวัดค่าต่าง ๆ
ค่าความดัน และอุณหภูมิ
ปริมาณอากาศที่ไหลผ่าน Cooling coil
อุณหภูมิ และความชื้นของอากาศด้าน Return และ Discharge
พื้นที่หน้ากากด้านหน้า
การคานวณและแสดงผล
Cycle diagram ของระบบบน Ph-diagram
ค่า COP EER
ค่าอื่น ๆ

EGME371 Performance of air conditioning system - 8


C. Jaroenkhasemmeesuk

You might also like