You are on page 1of 53

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

การศึกษาเปรียบเทียบด้านพลังงานไฟฟ้าและจุดคุ้มทุนการใช้พัดลมระบายอากาศ
ทั่วไปและแบบแลกเปลี่ยนความร้อนในระบบปรับอากาศ
Comparative study of Electrical energy and Break-even points for
Conventional ventilation fan and Energy recovery ventilation fan in
Air – Conditioning system

ณ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด


เลขที่ 28 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

นายอนุชิต สนธิสุข
รหัสนักศึกษา 633040780-7

ภาคการศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2566


สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชื่อเรื่องภาษาไทย การศึกษาเปรียบเทียบด้านพลังงานไฟฟ้าและจุดคุ้มทุนในการใช้พัดลม -
ระบายอากาศแบบทั่วไปและแบบแลกเปลี่ยนความร้อนในระบบปรับ
อากาศ
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Comparative study of electrical energy and break-even
points for conventional ventilation fan and energy
recovery ventilation fan in Air conditioning system

ผู้รายงาน นาย อนุชิต สนธิสุข เลขประจำตัว 633040780-7


คณะ วิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกล

.........................................................
(……อ.สุภชัย…พลนํ �าเที�ยง…….)
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

.........................................................
(…………………………………………….)
พนักงานที่ปรึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบ 2 ระบบปรับอากาศโดยแยกระบบปรับอากาศตามประเภทของ
พั ด ลมระบายอากาศคื อ พั ด ลมระบายอากาศทั ่ ว ไปและพั ด ลมระบายอากาศแลกเปลี ่ ย นความร้ อ น มี
วัตถุประสงค์เพื่อเปรีย บเทียบภาระการทำความเย็น ของระบบปรับอากาศ โดยใช้วิธีการคำนวณด้ว ยวิธี
Cooling Load Temperature Difference (CLTD) ของทั้ง 2 ระบบปรับอากาศ จากการศึกษาพบว่าภาระ
การทำความเย็นของระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยกว่าระบบปรับ
อากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปอยู่ 12.39 % เพื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานไฟฟ้า ต่อปีของทั้ง 2
ระบบปรับอากาศ จากการศึกษาพบว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
ใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปอยู่ 17.52 % และเปรียบเทียบ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศทั้ง 2 ระบบปรับอากาศโดยใช้วิธีวิเคราะห์
ต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost, LCC) ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนวงจรอายุของเครื่องปรับอากาศ
และพัดลมระบายอากาศ อายุการศึกษาคือ 5 ปีจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบเมื่อครบอายุจากการศึกษาพบว่า
ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่
ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปตั้งแต่ปีที่ 1 จนตลอดการศึกษา โดยมีจุดคุ้มทุนที่ 1 ปี และในปีที่ 5 ระบบปรับ
อากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลม
ระบายอากาศทั่วไปอยู่ 8.57 %

Abstract

This study compares two air conditioning systems by separating air conditioning
systems by type of ventilation fan, namely conventional ventilation fan and energy recovery
ventilation fan. The objective is to compare the cooling load conditioning systems. Using the
Cooling Load Temperature Difference (CLTD) method Calculation of both air conditioning
systems. From the study, it was found that the cooling load of an air conditioning system that
uses energy recovery ventilation fans is 12.39% less than an air conditioning system that uses
conventional ventilation fans. Comparing the annual electrical energy consumption of both
air conditioning systems. From the study, it was found that air conditioning systems that use
energy recovery ventilation fans 17.52% less electricity per year than air conditioning systems
that use conventional ventilation fans and compare the costs of both air conditioners and
ventilation fans. of both air conditioning systems using life cycle cost analysis method (LCC)
in order to analyze and compare the life cycle costs (LCC) of air conditioners and ventilation
fans. The educational period is 5 years. From the comparative analysis when the educational
period has expired, it is found that The air conditioning system using energy recovery
ventilation fans has a lower cost than the air conditioning system using conventional
ventilation fans from the first year until throughout the study. The break-even point is 1 years.
In the fifth year, the air conditioning system that uses energy recovery ventilation fans has
costs 8.57% less than the air conditioning system that uses conventional ventilation fans.

กิตติกรรมประกาศ
(Acknowledgement)

การที่ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติสหกิจศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยง


วัฒนา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 19 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้ข้าพเจ้า
ได้รับความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีค่ามากมาย สำหรับรายงานวิชาสหกิจศึกษาฉบับนี้ สำเร็จลงได้ด้วยดี
จากความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายฝ่าย ดังนี้
1. ชื่อ-สกุล คุณพิพัฒน์ เหลืองนภากุล ตำแหน่ง ผู้จัดการแผนกออกแบบประยุกต์และประเมินราคา
2. ชื่อ-สกุล คุณเสาวลักษณ์ หมื่นคำสี ตำแหน่ง วิศวกรออกแบบประยุกต์และประเมินราคา
3. ชื่อ-สกุล คุณขวัญชัย สิงห์ทอง ตำแหน่ง วิศวกรออกแบบประยุกต์และประเมินราคา
4. ชื่อ-สกุล คุณนิศานารถ ตั้งมั่นคุณธรรม ตำแหน่งวิศวกรออกแบบประยุกต์และประเมินราคา
5. ชื่อ-สกุล คุณอรวี เภสัชชา ตำแหน่ง วิศวกรควบคุมการติดตัง้
และบุคคลท่านอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวนามทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการจัดทำรายงาน
ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนที่มีเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล เป็นที่ปรึกษาในการทำ
รายงานฉบับนี้จนเสร็จสมบูรณ์ ตลอดจนให้การดูแลและให้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของการทำงานจริง ข้าพเจ้า
ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้

นายอนุชิต สนธิสุข
ผู้จัดทำรายงาน

สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
Abstract ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญเนื้อหา ง
สารบัญตาราง จ
สารบัญรูปภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน 1
ขอบเขตการศึกษา 1
ประวัติและรายละเอียดบริษัท 2
สมมุติฐานของโครงงาน 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน 4
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 4
วิธีการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน 15
บทที่ 3 สรุปผลปฏิบัติงาน 41
สิ่งที่คาดหวัง 41
ประโยชน์จากการปฏิบัติงาน 41
วิเคราะห์ SWOT Analysis ของตัวนักศึกษา 42
บทที่ 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะ 43
บรรณานุกรม 44
ภาคผนวก ก 45

สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการคำนวณปริมาณลมด้วยวิธี Ventilation Rate Procedure (VRP) 15
ตารางที่ 2 ตารางแสดงการคำนวณปริมาณลมด้วยวิธี Ventilation Rate Procedure (ต่อ) 16
ตารางที่ 3 แสดงผลการเลือกเครื่องระบายอากาศทั่วไปแบบต่อท่อฝังฝ้า 18
ตารางที่ 4 แสดงผลการเลือกเครื่องระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนแบบต่อท่อฝังฝ้า 20
ตารางที่ 5 แสดงผลการคำนวณภาระการทำความเย็นโดยไม่รวมภาระจากการระบายอากาศ 20
ตารางที่ 6 แสดงการคำนวณภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศทั่วไป 21
ตารางที่ 7 แสดงการคำนวณภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน 21
ตารางที่ 8 แสดงการคำนวณของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศร่วมกับพัดลมระบายอากาศทั่วไป 22
ตารางที่ 9 แสดงการคำนวณของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศร่วมกับพัดลมระบายอากาศ 22
แลกเปลี่ยนความร้อน
ตารางที่ 10 แสดงผลการเลือกเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 1 24
ตารางที่ 11 แสดงผลการเลือกเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 2 24
ตารางที่ 12 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของเครื่องปรับอากาศระบบที่ 1 25
ตารางที่ 13 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของพัดลมระบายอากาศระบบที่ 1 26
ตารางที่ 14 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของเครื่องปรับอากาศระบบที่ 2 26
ตารางที่ 15 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของพัดลมระบายอากาศระบบที่ 2 27
ตารางที่ 16 แสดงการคำนวณค่าเครื่องปรับอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 1 28
ตารางที่ 17 แสดงการคำนวณค่าพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 1 29
ตารางที่ 18 แสดงการคำนวณค่าเครื่องปรับอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 2 30
ตารางที่ 19 แสดงการคำนวณค่าพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 2 30
ตารางที่ 20 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของเครื่องปรับอากาศ ระบบที่ 1 31
ตารางที่ 21 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของเครื่องปรับอากาศ ระบบที่ 2 32
ตารางที่ 22 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของพัดลมระบายอากาศ ระบบที่ 1 33
ตารางที่ 23 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของพัดลมระบายอากาศ ระบบที่ 2 33
ตารางที่ 24 ต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2 ระบบ 35
ตารางที่ 25 สัมประสิทธิ์การคำนวณที่อัตราคิดลดที่ 8 % 36
ตารางที่ 26 ต้นทุนวงจรอายุของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศระบบที่ 1 37
ตารางที่ 27 ต้นทุนวงจรอายุของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศระบบที่ 2 38

สารบัญรูปภาพ
รูป หน้า
รูปที่ 1 แสดงการทำงานของระบบปรับอากาศ 5
รูปที่ 2 แสดงการทำงานของ ERV 6
รูปที่ 3 แสดงระบบระบายอากาศ 7
รูปที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ใช้วิเคราะห์ต้นทุนวงจรอายุ 14
รูปที่ 5 รูปตัวอย่างของพัดลมระบายอากาศทั่วไปแบบต่อท่อลมฝังบนฝ้า 16
รูปที่ 6 แสดงการออกแบบระบบระบายอากาศทั่วไป 17
รูปที่ 7 รูปตัวอย่างของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนแบบต่อท่อลมฝังบนฝ้า 18
รูปที่ 8 แสดงการออกแบบระบบระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน 19
รูปที่ 9 แสดงเครื่องปรับอากาศ Ceiling Cassette กระจายลม 4 ทิศทาง 23
รูปที่ 10 กราฟต้นทุนเฉลี่ยต่อปีของทั้ง 2 ระบบ 39
รูปที่ 11 กราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศ ระบบที่ 1 39
รูปที่ 12 กราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศ ระบบที่ 2 40
รูปที่ 13 ภาพถ่ายสถานที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด 45
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ระบบระบายอากาศคือการทำไห้อากาศเกิดการไหลเวียนถ่ายเท (Air Change ) ภายในอาคารโดย
ระบบที่ต้องมีการนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาเติม (Fresh Air ) ในบริเวณที่มีผู้อยู่อาศัย ในปริมาณ
ที่พอเพียงและมีการรระบายอากาศเสีย (Exhaust Air) ออกไปทิ้งเพื่อรักษาคุณภาพของอากาศภายในอากาศ
ภายในอาคาร ซึ่งระบบปรับอากาศจำเป็นต้องมีการระบายอากาศออกเพื่อลดการสั่งสม CO2 หรือมลพิษต่าง ๆ
ในอากาศ ทำให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย (Comfort Zone) ตามหลักการของการปรับอากาศ แต่การมีระบบ
ระบายอากาศทำให้เพิ่มภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ เนื่อ งจากมีการนำอากาศออกสู่ภายนอก
ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒ นาขึ้นเรื่อย ๆ จนมีพัดลมระบายอากาศ
แลกเปลี่ยนความร้อน (ERV) ซึ่งสามารถลดภาระการทำความเย็นลงได้ เมื่อลดภาระการทำความเย็นลง ก็จะ
สามารถเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่ลดลงมาจากเดิมเมื่อเทียบกับการใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไป แต่ใน
ด้านค่าใช้จ่ายของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมีค่าใช้จ่ายที่สูง การศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษา
เปรียบภาระการทำความเย็นในระบบปรับอากาศ การเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีและวิเคราะห์ทาง
เศรษฐศาสตร์หาจุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV)

1.2 วัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาระการทำความเย็นของพัดลมระบายอากาศทั่วไปและพัดลมระบายอากาศ
แลกเปลี่ยนความร้อน (ERV)
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีและค่าไฟฟ้าต่อปีของระบบปรับอากาศที่ใช้ พัดลม
ระบายอากาศทั่วไปและระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV)
3. เพื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์หาจุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความ
ร้อน (ERV)

1.3 ขอบเขตการศึกษา
1. ศึกษาการคำนวณภาระการทำความเย็นด้วยวิธี Cooling Load Temperature Difference (CLTD)
2. ศึกษาการออกแบบระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศเบื้องต้น
3. ศึกษาการใช้หลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมด้วยการคำนวณต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost , LCC)
2

1.4 ประวัติและรายละเอียดบริษัท
ชื่อสถานการประกอบการ : บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด (สำนักงานใหญ่ กรุงเทพกรีฑา)
ที่ตั้ง : เลขที่ 28 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.10240
ลักษณะของการประกอบการ : ผู้แทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและเชิงพาณิชย์ภายใต้แบรนด์
"มิตซูบิชิ อีเล็คทริค"
รูปแบบการจัดการองค์กรและการบริหารงาน :

ฝ่ายขายระบบปรับอากาศโครงการ

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายระบบปรับอากาศโครงการ

แผนกออกแบบประยุกต์และ แผนกขายโครงการ แผนกควบคุมงานติดตั้ง


ประเมินราคา

ผู้จัดการแผนก ผู้จัดการ
ผู้จัดการแผนก ขายโครงการ แผนก
ออกแบบประยุกต์ ติดตั้ง
และประเมินราคา
หัวหน้าแผนก
ขายโครงการ
หัวหน้า
หัวหน้าแผนก
แผนก
ออกแบบประยุกต์ วิศวกรขาย
ติดตั้ง
และประเมินราคา

วิศวกร
วิศวกรออกแบบประยุกต์และประเมินราคา
ติดตั้ง

วิศวกรเขียนแบบ
3

ตำแหน่งและลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ :
ผู้จัดทำได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติหน้าที่ วิศวกรออกแบบประยุกต์และประเมินราคา โดยมีหน้าที่ที่
ได้รับมอบหมายคืองานด้านการออกแบบระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศ และได้ไปดูหน้างานติดตั้ง
เป็นบางเวลาเพื่อให้เห็นหน้างานจริงและศึกษาปัญหาในหน้างานเบื้องต้น

ชื่อและตำแหน่งของพนักงานที่ปรึกษา : คุณพิพัฒน์ เหลืองนภากุล ตำแหน่งผู้จัดการแผนกออกแบบ


ประยุกต์และประเมินราคา ฝ่ายขายระบบปรับอากาศโครงการ

ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน : 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ระยะเวลา 16 สัปดาห์

1.5 สมมุติฐานของโครงงาน
1. ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า
ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไป
2. ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลม
ระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศเบื้องต้นได้
2. สามารถคำนวณภาระการทำความเย็นได้
3. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
4

บทที่ 2
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
2.1 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.1.1 ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System)
ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ อาจจะเป็นการปรับอากาศ
เพื่อการเก็บรักษาอาหาร ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งของ และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารด้วย
โดยอาจจะเป็นการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ และยังต้องมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ใน
อากาศ ความเร็วลม กลิ่นและสิ่งเจือปนในอากาศด้วย
ระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนคือ
1.คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
2. คอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน (Condenser)
3. อุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็น (Expansion Valve)
4. อีวาพอเรเตอร์หรือคอยล์เย็น (Evaporator)
คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็น(น้ำยาแอร์) เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ
และแรงดันให้สูงขึ้น และทำการส่งสารทำความเย็น ไหลผ่านไปยังคอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือคอยล์ร้อน
จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อน โดยมีพัดลมช่วยระบายความร้อน จะส่งผลให้สารทำ
ความเย็น ที่ไหนผ่านจากคอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือคอยล์ร้อน มีอุณหภูมิลดลง แต่ความดันยังคงที่
ตามเดิม และจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็น (Expansion Valve) เมื่อสารทำความเย็น ไหล
ผ่านอุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็น (Expansion Valve) จะทำให้อุณหภูมิของสารทำความเย็น และความดัน
ลดลง แล้วไหลเข้าไปสู่อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็น โดยเมื่อสารทำความเย็น จะไหลผ่านอีวา
พอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็น จะมีพัดลมค่อยเป่า เพื่อให้เกิดการดูดซับความร้อนภายในห้อง ส่งผล
ให้อุณหภูมิภายในห้องลดลง โดยสารทำความเย็นหรือน้ำที่ไหลผ่านไปนั้นจะนำพาความร้อนที่ดูดซับได้ออกไป
ในความดันคงที่ และไหลกลับเข้าไปสู่คอมเพรสเซอร์ เพื่อกระบวนการเดิมต่อไป
5

รูปที่ 1 แสดงการทำงานของระบบปรับอากาศ

2.1.2 ระบบระบายอากาศ (Ventilation System)


ระบบระบายอากาศ หรือที่แปลว่า Ventilation System คือ การระบายอากาศทำให้อากาศเกิดการ
ไหลเวียนและถ่ายเทภาย ( Air Change ) ในอาคารโดยการออกแบบตัวอาคารให้มีช่องระบายอากาศเข้า -ออก
หรือการเติมอากาศบริส ุทธิ์ ( Fresh Air )เข้าไปภายในอาคารโดยตรง โดยผ่านระบบท่อลม( Air duct
distributions system ) หรือการเติมโดยพัดลมติดผนัง ( Wall Fan )และขณะเดียวกันจะต้องระบายอากาศ
ออกยังภายนอกจากวิธีธรรมชาติหรือวิธีทางกล การเติมและการระบายอากาศ จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสม
สามารถระบายและถ่ายเทอากาศได้อย่างเพียงพอ การระบายอากาศในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการกำจัดฝุ่น
หรือมลพิษก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เพราะในปัจจุ บันมีกฎหมายความคุมด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการ
ออกแบบและติดตั้งควรคำนึงให้คลอบคลุมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
หน้าที่ความสำคัญของการระบายอากาศ (Ventilation System)
ระบบระบายอากาศ มีหน้าที่หลักในการความคุมความร้อน และ ความชื้น ในห้องปรับอากาศให้มี
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ทำให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ไม่ก่อให้เกิดความอึดอัด หงุดหงิด
หรือเจ็บป่วยได้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบระบายอากาศ สามารถควบคุมระดับสิ่งปนเปื้ อนในอากาศ บริเวณ
ที่ทำงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเช่น เชื้อโรค ผุ่นละออง ไอสารเคมี ก๊าซ ควัน เป็นต้น สามารถดักเก็บฝุ่นหรือ
สิ่งปนเปื้อนในอากาศ ก่อนที่จะปล่อยออกสู่ภายนอกได้ สามารถป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยและการระเบิด จากไอ
ของสารเคมีบางชนิดที่สามารถลุกติดไฟได้ และยังสามารถดักเก็บวัสดุที่ฟุ้งกระจายให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก
6

2.1.4 Energy recovery ventilator (ERV)


เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบอากาศ (Air-to-Air Heat Exchanger) แบบ Plate ที่ใช้
แลกเปลี่ยนความร้อนและความชื้นระหว่างอากาศภายใน (Indoor Air) และ อากาศภายนอก (Outdoor Air)
ซึ่งการทํางานเป็นการควบคุมระบบระบายอากาศให้เกิดการสมดุล ลักษณะพิเศษที่แตกต่าง คือการใช้พัดลม 2
ตัวดูดอากาศบริสุทธิ์ที่เติมเข้ามาจากภายนอก (Fresh air from outside) และขณะเดียวกันพัดลมอีกตัวหนึ่ง
ดูดอากาศเย็นที่ใช้แล้วจากภายใน (Exhaust Air From Inside) อากาศที่ทั้งดูดเข้าและออก ไหลผ่านตัวกรอง
อากาศเพื่อถ่ายเทความร้อน และกรองสิ่ง เจือปนของ กระแสลมที่เข้าและออกจะไหลเป็นลักษณะทแยง มุม
ผ่านตัวกรอง ดังนั้นจึงไม่มีการเจือปนใดๆ ของอากาศออกและอากาศเข้า

การแลกเปลี่ยนความร้อนของ Energy recovery ventilator (ERV)


การใช้อุปกรณ์ ERV เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนและความชื้นระหว่างอากาศภายในและภายนอกจะช่วย
ลดพลังงานพร้อมทําให้อากาศภายในหมุนเวียน โดยระบบปรับอากาศทํางานน้อยลง เนื่องจากโหลดภายนอกที่
อุณหภูมิสูงจะมีอุณหภูมิลดลงเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนกับ Exhaust Air จากในห้องทําให้อุณหภูมิของอากาศที่
จ่ายเข้าห้องมีอุณหภูมิต่ ำโดยใช้พลังงานน้อยลง และสามารถปรับเปลี่ยนความสบายภายในห้องได้ตามค่าที่
ต้องการ

รูปที่ 2 แสดงการทำงานของ ERV

2.1.5 ASHRAE Standard 62.1 - 2019


ASHRAE เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาระบบทำความร้อนระบบ
ระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ และ ระบบทำความเย็นประกอบอาคาร HVAC (Heating, Ventilation and
7

Air-Conditioning Systems) ในการวิจัยนี้จะกล่าวถึงมาตรฐาน ASHRAE 62.1 การระบายอากาศตาม


มาตราฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร ในส่วนของการคำนวณปริมาณอากาศระบายเท่านั้น ระบบระบาย
อากาศที่ทำงานร่วมกันกับระบบปรับอากาศ (General Ventilation) มีกลไกการทำงานโดยการนำอากาศ
บริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาสู่ โซนที่มีผู้อาศัยหรือผู้ใช้อาคารผ่านระบบปรับอากาศที่ทำงานร่วมกับ Supply Air
โดขที่อากาศเสียจะถูกนำออกผ่านทาง Return Air ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีรูปแบบการทำงานดังแสดงใน
รูปที่

รูปที่ 3 แสดงระบบระบายอากาศ
จากรูปที่ หากมีการปนเปื้อนของสารต่าง ๆ เนื่องจากการใช้อาคารอย่างรุนแรงเกินกว่าที่ระบบ
ระบายอากาศทั่วไปจะสามารถจัดการ ได้ จะต้องมีการติดตั้งระบบ Local Ventilation ซึ่งประกอบด้วย
Local Exhaust Hood และ Local Makeup Air เสริมขึ้นมา ดังปรากฎให้เห็นในระบบระบายอากาศใน
อุตสาหกรรม ซึ่งระบบระบายอากาศในการวิจัยนี้ จะเป็นส่วนของการระบายอากาศทั่วไปเท่านั้น
การนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามายังโซนที่มีผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้อาคารเพื่อเป็นการระบาย
อากาศ ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมาตร ฐานนี้ มีการกำหนดมาตรฐานการนำเข้าอากาศขั้นต่ำสุดไว้อย่างชัดเจน
โดยวิธีการคำนวณ การวิจัยนี้เลือกใช้วิธี Ventilation Rate Procedure (VRP) เนื่องจากสามารถหาค่าได้อย่าง
ตรงไปตรงมา ซึ่งวิศวกรมักใช้วิธีการนี้ในการออกแบบก่อนการก่อสร้าง โดยที่ยังไม่มีรายละเอียดของข้อมูล
เพียงพอที่จะสามารถทำรายการคำนวณตามวิธี AIQ Procedure ได้
8

ในการคำนวณหาอัตราการระบายอากาศภายในอาคาร จะต้องพิจารณาส่วนที่มีความสำคัญ 5 เรื่องคือ


(1) การนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามายังบริเวณที่มีผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้อาคาร เพื่อใช้
ในการระบายอากาศ (Outdoor Air Intake to Occupied Zone for Ventilation) เป็นตัวกำหนดชัดเจนว่า
จะต้องมีการนำอากาสบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาขั้นต่ำสุดเท่าใด
(2) การดูดออก (Exhaust) ซึ่งในบางพื้นที่จำเป็นจะต้องให้มีการระบาขอากาศ ด้วยวิธีดูดออก (Exhaust) เพื่อ
นำทิ้งออกนอกอาคารเลย ปริมาณการนำอากาศเข้าอากาศจากภายนอกขั้นต่ำสุดสำหรับพื้นที่เหล่านี้ ได้มีการ
กำหนดไว้เช่นกัน เว้นแต่บางพื้นที่ซึ่งไม่ได้มีข้อกำหนดระบุไว้อย่างชัดเจนผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาตาม
ความหมาะสมเองว่าจะทำการ Makeup อย่างไร ด้วยอากาส Class ไหนหรือจะต้องนำอากาสภายนอกเข้ามา
เพิ่มเติมอีก ตามมาตรฐาน 62.1 ได้มีการกำหนดระดับคุณภาพของอากาศภายในอาคารไว้เป็น 4 ระดับชั้น
คุณภาพอากาศ
Air Class 1 คือ คุณภาพอากาศระดับคีสุดมืวามใกล้เคียงกับอากาศภายนอก สามารถใช้ Recirculateและ
Transfer ไปห้องที่มี Air Class ระดับต่ำกว่าได้
Air Class 2 คือ คุณภาพอากาศระดับปานกลาง สามารถใช้ Recirculate ใน โซนเดิมได้และTransfer ไป
ห้องน้ำได้
Air Class 3 คือ คุณภาพอากาศระดับแย่ สามารถใช้ Recirculate ใน โซนเดิมได้แต่ไม่สามารถ Transfer ไป
ยังโซนอื่น ๆ ได้
Air Class 4 คือ คุณภาพอากาศระดับแย่มาก ซึ่งมีการปนเปื้อนไปด้วยสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคาร จะต้อง
ทำการระบายทิ้งออกนอกอาคารอย่างเดียว ห้ามมีการนำกลับมาใช้
(3) การควบคุมความดันในอาคาร (Building Pressurization) มาตรฐานมีการกำหนดว่าอากาศที่นำเข้าจะต้อง
มากกว่าอากาศเสียที่ระบายออกไป ยกเว้นบางกรณีที่อากาศมีการปนเปื้อนในระดับเกินกว่าจะใช้การระบาย
อากาศแบบทั่วไป เพื่อรักษาการ Pressurization ของอาการเป็นบวกและมีการ Exfiltration อย่างเหมาะสม
(4) การ Makeup และ การ Bleed ทิ้ง มาตรฐานระบุถึงการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าไปเดิมและดูดออกเพื่อการ
ระบาย แค่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดการ Makeup การ Bleed หรือการ Recirculate ไว้ ผู้ออกแบบจะต้อง
พิจารณาตามความและความสมดุลของการระบายอากาศ เพื่อการรักษาโซน และ Building Pressurization
ไว้ได้อย่างเหมาะสม
(5) ชั้นคุณภาพของอากาศและการนำกลับมาใช้งาน (Air Classification and Recirculation) มาตรฐานมีการ
แบ่งชั้นคุณ ภาพอากาสภายในอาคาร และกำหนดข้อจำกัดในการ Transfer หรือ Recirculate ไว้ดังกล่าว
มาแล้วในข้อ (2) เรื่องการ Exhaust ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องประมวลองค์ประกอบต่าง ๆ และวิเคราะห์ความ
สอดคล้องกัน จนกระทั่งนำไปสู่ระบบการทำงานของระบบระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
9

การคำนวณหาปริมาณอากาศภายนอกที่ต้องนำเข้าสู่โซนภายในอาคารโดยวิธี VRP ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน


ดังนี้
(1) ตรวจสอบความสะอาดของอากาศภายนอกว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ หากมีสารปนเปื้อนจำเป็น
จะต้องทำการ Clean ก่อนนำเข้าสู่ระบบระบายอากาศ
(2) คำนวณค่าในแต่ละ Ventilation Zone ที่ต้องการ ซึ่งเป็นอัตราการนำเข้าอากาศจากภายนอกเข้าสู่โซนขั้น
ต่ำสุด เพื่อนำมาจ่ายให้กับหัวจ่ายภายในโซนนั้น ๆ เป็นค่า Zone Outdoor Airflow (Voz)
(3) คำนวณปริมาณอากาศที่จะต้องนำมาป้อนที่ AHU ในอัตราต่ำสุด ซึ่งเป็นค่าอากาศภายนอกที่ต้องดูดเข้ามา
(Outdoor Air Intake Flow)
การคำนวณปริมาณอากาศภายนอกที่จะต้องนำเข้าสู่ Zone สามารถคำนวณได้ ตามสมการดังต่อไปนี้
Vbz = Rp x Pz+ Ra+ Az ... (1)
เมื่อ : Vbz = อัตราการไหลของอากาศภายนอกอาคารที่ต้องการใน โซนเพื่อการหายใจ (Breathing Zone
Outdoor Air Flow)
Az = พื้นที่ในโซนที่ต้องการระบายอากาศ (ตารางฟุต)
P = จำนวนผู้อาศัยในโซนพื้นที่ระบายอากาศในระหว่างการใช้งานทั่วไป
Rp = อัตราการไหลของอากาศภายนอกต่อคน
Ra = อัตราการไหลของอากาศภายนอกต่อพื้นที่
ค่า Rp และ Rz จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ โดยในส่วนของการคำนวณจำนวนคนใน
โซน (Design Zone Population) ในพื้นที่ใช้สอย Pz ต้องใช้จำนวนที่มากที่สุดที่คาคว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่
ระหว่างการใช้งานทั่วไป แต่หากจำนวนคนไม่แน่นอนอนุญาตให้ใช้ค่าเฉลี่ย ตามสภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอัน
สั้น (Short Term Population) และหากไม่สามารถกำหนดค่า ที่แน่นอนของจำนวนผู้คนสูงสุด หรือค่าเฉลี่ย
ได้ อนุญาตให้ใช้ค่าประมาณจากคนในโซนพื้นที่ระบายอากาศได้ ผลของการระบายนี้จะเป็นคำการระบาย
อากาศของพื้นที่สุทธิที่ใช้สอย และค่าความหนาแน่นของคนที่กำหนดให้ (Default Values)
Breathing Zone หมายถึง บริเวณในห้องที่ต้องการการระบายอากาศ โดยจำกัดความสูงตั้งแต่ 75
มิลลิเมตร จนถึง 1,800 มิลลิมตร และห่างจากกำแพงทุก ด้าน 600 มิลลิเมตรเพื่อบ่งชี้ว่าอากาศภายนอกต้อง
ถูกนำมาจ่ายในบริเวณ ที่มีผู้อยู่อาศัยจริง ไม่ได้จ่ายไปยังจุดที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย หรืออาจกล่าวว่าจ่ายในระดับที่สูง
จากพื้นมากเกินนั่นเอง
เมื่อได้ปริมาณ V2 จากสมการที่ (1) แล้ว ต้องนำไปหาปริมาณอากาสภายนอกที่เดิมเข้าสู่โซน
(Zone Outdoor Airflow, Voz) จากสมการ
Voz = Vbz/Ez
10

โดยที่ Ez เป็นค่าประสิทธิผลในการกระจายอากาศระบาย (Zone Air Distribution Effectiveness)


หากโซนใดมีระบบการกระจายอากาศระบายที่แย่หรือมีการ short circuit ระหว่างอากาศกับ Exhaust
System ค่า Ez จะต่ำ ซึ่งสามารถดูค่าได้ตามลักษณะการจ่ายลมจาก ตารางที่ 2.7
ในกรณี Single-Zone system หากระบบระบายอากาศจ่ายอากาสบริสุทธิ์ไปยังโซนเดี่ยว อากาศ
ภายนอกต้องดูดเข้ามา (Outdoor Air Intake Flow, Vot จะมีค่าเท่ากับ Zone Outdoor Airflow
Vot = Voz ... (3)

2.1.6 การคำนวณหาภาระการทำความเย็นของอาคารโดยใช้วิธี Cooling Load Temperature


Difference / Solar Cooling Load / Cooling Load Factor (CLTD / SCL / CLF)
CLTD/SCL/CLF Method เป็ น วิ ธ ี ก ารคำนวณภาระความเย็ นที ่พ ั ฒ นามาจากวิ ธ ี Transfer
Function โดยนำผลการคำนวณค่าภาระความเย็นที่ผ่านผนังทึบและกระจกซึ่งอยู่ในรูปของการนำความร้อนที่
ได้จากการคำนวณ โดยวิธี Transfer Function มาแปลงเป็นผลคูณของค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน
ของผนังทึบหรือ กระจกและค่ า CLTD (Cooling Load Temperature Difference) จะแทนผลของสภาพ
ภูมิอากาศภายนอกและ Thermal Delay Effect ของผนังทึบ และผลการเปลี่ยนค่า Heat Gain เป็นค่า
Cooling Loadที่แปรตามสภาพวัสดุภายในห้อง ส่วนค่า SCL (Solar Cooling Load) จะเป็นส่วนหนึ่งของการ
แปลงผลของภาระความเย็น ที่เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีจากแสงอาทิตย์ ผ่านกระจก ที่คำนวณได้จากวิธี Transfer
Function ให้อยู่ในรูปของผลคูณของพื้นที่กระจกกับค่ า SC (Shading Coefficient) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ
กระจกชนิดต่าง ๆ กับค่า SCL สำหรับการแปลงค่า Heat Gain เป็นค่า Cooling Load
การคำนวณหาค่า Heat Gain จะประกอบไปด้วย
1. Heat Gain ผ่านผนังและหลังคาภายนอก ดังสมการ
Q = U x A x (CLTD)wall
Q = U x A x (CLTD)roof
2. Heat Gain ผ่านกระจก ดังสมการ
Q = A x SHGF x SC
Q = U x A x (CLTD)glass
3. Heat Gain จากผนังด้านใน เพดานและพื้น
Q = U x A x TD TD ; Unconditioned space
4. Heat Gain จากแหล่งภายใน
4.1 จากคน
4.2 จากไฟฟ้าแสงสว่าง
11

4.3 จากอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลัง
4.4 จากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น
4.5 จากอากาศที่เข้าสู่อาคาร และจากการระบายอากาศ

2.1.7 ต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost, LCC)


- นิยามของต้นทุนวงจรอายุ โดยทั่วไปทรัพย์สินที่มีตัวตน (Physical assets) จะถูกใช้งานเป็นเวลานาน 5 -10
ปี นับตั้งแต่การจัดซื้อ การใช้งาน จนกระทั้งปลดทิ้ง แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี อย่าง
รวดเร็ว จึงทำให้มีการเปลี่ยนแทนทรัพย์สินเหล่านี้เร็วขึ้น
ในการจัดซื้อทรัพย์สินในช่วงการจัดซื้อจะมีต้นทุนในการจัดซื้อทรัพ ย์สินนั้น หลังจากซื้อทรัพย์สิน
ดังกล่าวแล้วก็จะมีต้นทุนที่ตามมา ซึ่งได้แก่ต้นทุนดำเนินงาน (Operating costs) ต้นทุนในการบำรุงรักษา
(Maintenance costs) และต้นทุนที่ตามมาหลังการซื้อทรัพย์สินนั้น (Sustaining costs) ต้นทุนรวมซึ่งเกิด
จากต้นทุนการซื้อทรัพย์สินและต้นทุนที่ตามมาหลังการซื้อตลอดอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น เรียกว่า
ต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost, ICC)
- แนวคิดต้นทุนวงจรชีวิต (ไกรวิทย์ เศณษฐวณิช, 2549 : 87)
ต้ น ทุ น วงจรอายุ เ ป็ น แนวความคิ ด พื ้ น ฐานของการวางแผนฝ่ า ย Logistic และฝ่ า ยบริ ห าร
แนวความคิดนี้ในทางปฏิบ ัติจ ะเริ่มต้น จากตันทุนที่เกิดขึ้นทุกกิจกรรมนับจากการออกแบบ การใช้งาน
เครื่องจักรกับสินค้าจนถึงเวลาปลดระวางการใช้งาน จะต้องวิเคราะห์และวางแผนค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด ซึ่งการคำนวณต้นทุนวงจรอายุเครื่องจักรทั้งหมดจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายของเจ้าของเครื่องจักรนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ต้นทุนวงจรอายุเครื่องจักรเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจทางเทคนิคเพื่อพิจารณา
เลือกซื้อเครื่องจักร โดยเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกหลายๆ ทางเลือก ความยืดหยุ่นของต้นทุนวงจรอายุ
สามารถประเมินค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและปัจจัยที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อีกด้ว ย ในระบบต้นทุน
วงจรอายุสามารถอธิบายได้ โดยอาศัยรายละเอียดข้อมูลต่างๆ แต่ละหน่วยงาน ส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายในการ
ดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานอยู่แล้ว ดังนี้
1. ความคิดในจินตนาการของการผลิตสินค้า
2. สมมุติฐาน ข้อมูลที่จำเป็นข้อจำกัด และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ประวัติหรือข้อมูลจากการใช้งานและออกแบบ
4. ข้อกำหนดพื้นฐานในการผลิตที่สนับสนุน
5. ความเสี่ยงของการนำเทคโนโลยีมาใช้และค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง
12

6. ประสิทธิผลของระบบที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนวงจรอายุ

- การนำต้นทุนวงจรอายุมาปฏิบัติ
ในการจัดซื้อเครื่องจักร ผู้ซื้อต้องการทราบตันทุนงจรอายุและความพึงพอใจกับสิ่งที่จะได้รับตาม
คุณสมบัติที่กำหนดไว้ของเครื่องจักร โดยให้มีค่าใช้ง่ายต่ำสุดเท่าที่เป็นไปได้ตลอดช่วงอายุการใช้งานเครื่องจักร
และเมื่อทำการซื้อเครื่องจักรใหม่ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาสองส่วนคือต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost)
และรายได้จากการใช้งาน (Life Time Revenue) อย่างไรก็ตามจุดสูงสุดที่ให้ความสนใจไม่ได้อยู่ที่ตันทุนวงจร
อายุของเครื่องจักรหรือรายได้จากอายุการใช้งานเครื่องจักร แต่ที่ให้ความสนใจอยู่ที่พื้นที่ระหว่างกราฟทั้งสอง
คือ กำไรจากอายุการใช้งานของเครื่องจักร
จากแนวความคิดต้นทุนวงจรอายุ รายได้จากการใช้งานและกำไรจากอายุการใช้งานของเครื่องจักร
(Life Cycle Profit) นั้นเครื่องจักรต้องง่ายต่อการบำรุงรักษาและมีความไว้วางใจในการทำงานสูง ซึ่งหมายถึง
ราคาของการจัดหาเครื่องจักรอาจมีราคาสูงมาก ค่ าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำในระยะยาว แต่ในกรณีที่มีการ
จัดหาเครื่องจักรที่มีคุณภาพต่ำมาใช้งานจะมีปัญหาในการติดตั้งและกำาใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสูงกว่าเครื่องจักร
ที่มีคุณภาพสูง
- การเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนวงจรอายุ
ในการหาต้นทุนวงจรอายุนั้น จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและสามารถนำเอามาใช้งานได้
สะดวกตลอดจนการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบทางเลือกได้ในทางปฏิบัติ กระบวนการที่
กล่าวมานั้นพบเห็นได้น้อยมากในโรงงาน เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลเท่าที่ควร
หรือไม่รู้วิธีจะเก็บข้อมูลอย่างไร สาเหตุนี้ทำให้อุตสาหกรรมของเราพัฒนาไปได้อย่างช้า นี่คือจุดอ่อนของการ
พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ

- การคำนวณต้นทุนวงจรอายุ
การคำนวณต้นทุนวงจรอายุ เป็นการคำนวณต้นทุนทั้งหมดตลอดอายุการใช้งาน คือการคำนวณ
ต้นทุนกับค่าใช้จา่ ยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ใช้เครื่องจักรตลอดอายุการใช้งาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ค่าใช้จ่ายใน
การซื้อครั้งแรก ค่าคิดตั้ง ค่าบำรุงรักษา ค่าพลังงาน และทำให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value, NPV)
โดยใช้ตัวคูณลด (Discount Factor) การคำนวณต้นทุนวงจรอายุสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้
13

LCC = CI + CO + CM - S
เมื่อ LCC = ต้นทุนวงจรอายุเครื่องจักร
CI = ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
CO = ค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่อปี
CM = ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่อปี
S = มูลค่าซาก
จากสมการการคำนวณต้นทุนวงจรอายุเครื่องจักร มีรายละเอียดที่เป็นองค์ประกอบค่าใช้จ่ายในการ
ลงทุน (Investment Cost) ได้แก่ ค่าลงทุนในการซื้อเครื่องจักรใหม่และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักร เช่น
ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า ค่ าปรับปรุงสถานที่ ติดตั้ง เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน (Operation Cost) ได้แก่
ค่าใช้จ ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของเครื่ องจั กรในช่ว งเวลาที่เ ครื่ องจั กรทำงาน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุ ง
(Maintenance Cost) ได้แก่ ค่าบริการบำรุงรักษา ค่าวัสดุและอะไหล่ในการซ่อมเปลี่ยนอะไหล่
- ค่าของเงินตามเวลา
ค่าของเงินตามเวลาเป็นค่า(มาตรฐาน) ที่แสดงถึงแนวคิดว่าคำของเงินจะถูกกระทบหรือเปลี่ยนแปลง
ไปตามเวลา การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจากศักยภาพของเงิน ที่สามารถจะได้รับดอกเบี้ย ตามแนวคิดเรื่องค่า
ของเงินตามเวลาเงินหนึ่งบาทในปัจจุบัน จะมีค่าเท่ากับเงินจำนวนมากกว่าหนึ่งบาทที่อยู่ในอนาคต
การคำนวณหาค่าของเงินในช่วงเวลาต่างๆ นั้น มีสูตรและตารางมาตรฐานไว้สำหรับเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย
หรืออัตราคิดลด (Discount Rate) สามารถนำสูตรสำเร็จมาใช้หาค่าเงินในเวลาต่างๆ ได้โดยง่ายจากสูตร ดังรูป
ที่ P, S, R เป็นค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนวงจรอายุ โดยความสัมพันธ์ทั้งหมดจะมีตัวแปรตามระยะเวลาต่าง
ๆ และอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราคิดลดที่กำหนดไว้ ณ เวลานั้นๆ

- การกำหนดตัวประกอบคิดลด (Discounting Factor) (สุวรรณ รุ่งเรืองนานา, 2541: 26)


จะทำหน้าที่ปรับลดมูลค่าต้นทุนในอนาคตที่เกิดขึ้นในปีต่างๆ ให้มาเป็นมูลค่าปัจจุบัน อัตราคิดลดนี้
ควรจะมีค่าเท่ากับค่าเสียโอกาสของต้ นทุนต่อสังคม ซึ่งโดยปกติวัดออกมาในรูปของผลตอบแทนที่ควรจะได้
จากการใช้ทรัพยากร ไปในทางเลือกโกรงการที่ดีที่สุด ค่าเสียโอกาสของทุนหรืออัตราคิดลดจะมีค่าแตกต่างกัน
ไปในแต่ละประเทศ โดยค่าเสียโอกาสของทุนในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ระหว่างร้อยละ 8-15 ณ ราคา
คงที่
14

รายการ ข้อมูล สัญลักษณ์ สูตรแสดงการคำนวณ ชื่อสัมประสิทธิ์


ทราบ P สัมประสิทธิ์ดอกเบี้ย
1 P-S 𝑆 = 𝑃[(1 + 𝑖)𝑛 ]
หา S เงินจ่ายครั้งเดียว
ทราบ S 1 สัมประสิทธิ์เงินปัจจุบัน
2 S-P 𝑃=𝑆 ⌊ ⌋
หา P (1 + 𝑖)𝑛 เงินจ่ายครั้งเดียว
ทราบ P 𝑖(1 + 𝑖)𝑛
3 P-R 𝑅=𝑃 [ ] สัมประสิทธิ์คืนเงินทุน
หา R (1 + 𝑖)𝑛 − 1
สัมประสิทธิ์เงินปัจจุบัน
ทราบ R
4 R-P (1 + 𝑖)𝑛 − 1 จ่ายเท่า ๆ กันทุก
หา P 𝑃=𝑅 [
𝑖(1 + 𝑖)𝑛
]
ช่วงเวลา
สัมประสิทธิ์ดอกเบี้ย
ทราบ R (1 + 𝑖)𝑛 − 1
5 R-S 𝑆=𝑅 [ ] จ่าย
หา S 𝑖
เท่ากันทุก ๆ ช่วงเวลา
ทราบ S 1
6 S-R 𝑅 = 𝑆[ ] สัมประสิทธิ์ลดเงินต้น
หา R (1 + 𝑖)𝑛 − 1
รูปที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ของค่าต่าง ๆ ที่ใช้วิเคราะห์ต้นทุนวงจรอายุ
หมายเหตุ : i = อัตราดอกเบี้ยต่อเวลาหรืออัตราคิดลด (%)
n = จำนวนหน่วยระยะเวลา (ปี)
p =ค่าเงินปัจจุบัน
S = จำนวนเงินรวม
R = จำนวนเงินที่จ่ายคืนแต่ละงวดจนครบระยะเวลา n
15

2.2 วิธีการดำเนินงาน
การศึกษาของโครงงานนี้เป็นการศึกษาระบบปรับอากาศ 2 ระบบปรับอากาศ โดยแยกระบบปรับอากาศเป็น
ประเภทของพัดลมระบายอากาศ สามารถแบ่งได้ดังนี้
ระบบที่ 1 คือ ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไป
ระบบที่ 2 คือ ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
โดยวิธีการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การออกแบบระบบระบายอากาศ
ส่วนที่ 2 การออกแบบระบบปรับอากาศ
ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

2.2.1 การออกแบบระบบระบายอากาศ
- คำนวณปริมาณลมด้วยวิธี Ventilation Rate Procedure (VRP)

Area Served Pz Rp Pz x Rp Az Az Ra
(People) (cfm/p) (cfm) (m2) (ft2) (cfm/ft2)
Meeting Room 1 15 5 75 79 850.04 0.06
Project Sales Department 70 5 350 461.7 4,967.89 0.06
Meeting Room 2 15 5 75 85.3 917.82 0.06
ADV & SALES Promotion 35 5 175 241.08 2,594.02 0.06
Department
IT Office 25 5 125 141 1,517.16 0.06
CAD Training Room 20 5 125 128 1,377.28 0.06
Copy & Printer Room 2 5 10 31.54 339.37 0.06
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการคำนวณปริมาณลมด้วยวิธี Ventilation Rate Procedure (VRP)
16

Area Served Az x Ra Vbz Ez Voz Voz


(cfm) (design) (cfm) (CMH)
Meeting Room 1 51.0024 126.00 0.8 157.50 267.75
Project Sales Department 298.07352 648.07 0.8 810.099 1,377.15
Meeting Room 2 55.06968 130.06 0.8 162.58 276.39
ADV & SALES Promotion 155.641248 330.64 0.8 413.30 702.61
Department
IT Office 91.0296 216.02 0.8 270.03 459.06
CAD Training Room 82.6368 207.63 0.8 259.54 441.22
Copy & Printer Room 20.362224 30.36 0.8 37.95 64.51
ตารางที่ 2 ตารางแสดงการคำนวณ (ต่อ )ปริมาณลมด้วยวิธี Ventilation Rate Procedure (VRP)

- เลือกชนิดเครื่องระบายอากาศทั่วไป (Exhaust Fan)


สรุปได้ว่าเลือกใช้พัดลมระบายอากาศแบบต่อท่อลมฝังฝ้า เพื่อความเหมาะสมของการระบายอากาศ
ในพื้นที่สำนักงาน สามารถเลือกใช้ในปริมาณลมที่หลายหลายได้ และเพื่อความสวยงามของเพดาน ตัวเครื่องได้
ซ่อนไว้อยู่บนฝ้า

รูปที่ 5 รูปตัวอย่างของพัดลมระบายอากาศทั่วไปแบบต่อท่อลมฝังบนฝ้า
17

- กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้ง แล้วเดินท่อลม โดยเลือกขนาดของพัดลมระบายอากาศตามปริมาณลมจากการ


คำนวณ และตรวจสอบ SP. ตาม Catalogue ของผู้ผลิต หลังจากเดินท่อลมเสร็จสิ้น จึงสามารถเลือกขนาด
เครื่องได้

ผลการออกแบบระบบระบายอากาศทั่วไป

รูปที่ 6 แสดงการออกแบบระบบระบายอากาศทั่วไป
18

ผลการเลือกพัดลมระบายอากาศทั่วไป
UNIT CODE AREA SERVED FLOW (CFM) FLOW (CMH) EXT.SP.(Pa) FAN TYPE MODEL

EF-5-01 Meeting Rm. 1 157.5 267.59 45 CMDD/C VD-18Z4T7


EF-5-02 45 CMDD/C VD-20Z4T7
EF-5-03 45 CMDD/C VD-20Z4T7
Project Sales Department 810.0919 1376.35
EF-5-04 45 CMDD/C VD-20Z4T7
EF-5-05 45 CMDD/C VD-20Z4T7
EF-5-06 Meeting Rm. 2 162.59 276.24 45 CMDD/C VD-18Z4T7
EF-5-07 45 CMDD/C VD-20Z4T7
ADV & Sales Promotion 413.3 702.20
EF-5-08 45 CMDD/C VD-20Z4T7
EF-5-09 IT Office 270.037 458.80 45 CMDD/C VD-20ZP4T5
EF-5-10 CAD Training Rm. 259.546 440.97 45 CMDD/C VD-20ZP4T5
EF-5-11 Copy & Printer Room 31.43 53.43 45 CMDD/C VD-15Z4T7
ตารางที่ 3 แสดงผลการเลือกเครื่องระบายอากาศทั่วไปต่อท่อฝังฝ้า

- เลือกชนิดพัดลมระบายอากาศแบบแลกเปลี่ยนความร้อน
สรุปได้ว่าเลือกใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนแบบต่อท่อลมฝังฝ้าเช่นเดียวกับพัดลมระบาย
อากาศธรรมดา เพื่อความเหมาะสมของการระบายอากาศในพื้นที่สำนักงาน สามารถเลือกใช้ในปริมาณลมที่
หลายหลายปริมาณได้ และเพื่อความสวยงามของเพดาน ตัวเครื่องได้ซ่อนไว้อยู่บนฝ้า

รูปที่ 7 รูปตัวอย่างของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนแบบต่อท่อลมฝังบนฝ้า
19

ผลการออกแบบระบบระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน

รูปที่ 8 แสดงการออกแบบระบบระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
20

ผลการเลือกพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
UNIT CODE AREA SERVED FLOW (CFM) FLOW (CMH) EXT.SP.(Pa) FAN TYPE MODEL

ERV-5-01 Meeting Rm. 1 157.5 267.5942042 150 EXCHANGE LGH-35RVX-E


ERV-5-02 810.0919 1376.354903 150 EXCHANGE LGH-80RVX-E
Project Sales Department
ERV-5-03 150 EXCHANGE LGH-80RVX-E
ERV-5-04 Meeing Rm. 2 162.59 276.2421692 150 EXCHANGE LGH-35RVX-E
ERV-5-05 ADV & Sales Promotion 413.3 702.2011719 150 EXCHANGE LGH-80RVX-E
ERV-5-06 IT Office 270.037 458.7957848 150 EXCHANGE LGH-50RVX-E
ERV-5-07 CAD Training Rm. 259.546 440.9714623 150 EXCHANGE LGH-50RVX-E
ERV-5-08 Copy & Printer Room 31.43 53.431 150 EXCHANGE VL-100ZSKR-E
ตารางที่ 4 แสดงผลการพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนแบบต่อท่อฝังฝ้า

2.2.2 ส่วนที่ 2 การออกแบบระบบปรับอากาศ


- หาภาระการทำความเย็นจากการคำนวณด้วยวิธี Cooling Load Temperature difference
(CLTD) โดยยังไม่รวมภาระจากการระบายอากาศ (Ventilation)

Cooling Load (BTU/Hr)


Area Served
(except Qventilation)

Meeting Room 1 62,999.00


Project Sales Department 423,689.41
Meeting Room 2 66,372.89
ADV & SALES Promotion
186,506.15
Department
IT Room 116,002.21
CAD Training Room 86,775.04
Copy & Printer Room 18,040.95
ตารางที่ 5 แสดงผลการคำนวณภาระการทำความเย็นโดยไม่รวมภาระจากการระบายอากาศ
21

- หาภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศทั่วไป
Design condition : Bangkok metro city Latitude 13.73N Longitude 100.57E
Outside Temperature 35.7 °C % RH = 65 Inside Temperature 24 °C % RH = 50

Dry bulb Enthalpy , H Wet bulb ∆H Voz Voz Qventilation Qventilation


Area Served %RH
temp (°C) (KJ/Kg) temp (°C) (KJ/Kg) (CMH) (L/s) (W) (BTU/Hr)
room 24 50 47.8 16.8
Meeting Room 1 50.3 267.755 74.3765 4489.36 15318.35
outside 35.7 65 98.1 29
room 24 50 47.8 16.8
Project Sales Department 50.3 1377.16 382.544 23090.34 78787.51
outside 35.7 65 98.1 29
room 24 50 47.8 16.8
Meeting Room 2 50.3 276.398 76.7773 4634.28 15812.81
outside 35.7 65 98.1 29
ADV & SALES Promotion room 24 50 47.8 16.8
50.3 702.613 195.17 11780.48 40196.68
Department outside 35.7 65 98.1 29
room 24 50 47.8 16.8
IT Room 50.3 458.796 127.443 7692.48 26247.84
outside 35.7 65 98.1 29
room 24 50 47.8 16.8
CAD Training Room 50.3 440.971 122.492 7393.63 25228.11
outside 35.7 65 98.1 29
room 24 50 47.8 16.8
Copy & Printer Room 50.3 64.5197 17.9222 1081.78 3691.19
outside 35.7 65 98.1 29

ตารางที่ 6 แสดงการคำนวณภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศทั่วไป
- หาภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV)Design condition :
Bangkok metro city Latitude 13.73N Longitude 100.57E
Outside Temperature 35.7 °C % RH = 65 Inside Temperature 24 °C % RH = 5
Dry bulb Enthalpy , H ∆H Voz Voz Exchange Exchange Hsa Qventilation QERV
Area Served %RH Tsa (°C) Q Energy recovery
temp (°C) (KJ/Kg) (KJ/Kg) (CMH) (L/s) Efficiency , ht Efficiency , hh (KJ/Kg) (BTU/Hr) (BTU/Hr)
room 24 50 47.8 50.3 267.76 74.38 0.79 0.68 26.46 63.90 10416.04 15318.35 4902.30
Meeting Room 1
outside 35.7 65 98.1
room 24 50 47.8 50.3 1377.16 382.54 0.82 0.72 26.11 61.88 56724.65 78787.51 22062.86
Project Sales Department
outside 35.7 65 98.1
room 24 50 47.8 50.3 276.40 76.78 0.79 0.68 26.46 63.90 10752.27 15812.81 5060.55
Meeting Room 2
outside 35.7 65 98.1
ADV & SALES Promotion room 24 50 47.8 50.3 702.61 195.17 0.82 0.72 26.11 61.88 28940.40 40196.68 11256.27
Department outside 35.7 65 98.1
room 24 50 47.8 50.3 458.80 127.44 0.79 0.67 26.46 64.40 17585.32 26247.84 8662.52
IT Room
outside 35.7 65 98.1
room 24 50 47.8 50.3 440.97 122.49 0.82 0.68 26.11 63.90 17154.40 25228.11 8073.71
CAD Training Room
outside 35.7 65 98.1
room 24 50 47.8 50.3 64.52 17.92 0.73 0.6 27.16 67.92 2214.62 3691.19 1476.57
Copy & Printer Room
outside 35.7 65 98.1

ตารางที่ 7 แสดงการคำนวณภาระของการระบายอากาศของพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
22

- รวมภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศร่วมกับพัดลมระบายอากาศทั่วไป
Cooling Load
Ventilation
Area Served Cooling Load (BTU/Hr) Qventialtion Total Cooling Load
(except Qventilation) (BTU/Hr) (BTU/Hr)
Meeting Room 1 62999.00 15318.35 78317.35
Project Sales Department 423689.41 78787.51 502476.92
Meeting Room 2 66372.89 15812.81 82185.71
ADV & SALES Promotion
186506.15 40196.68 226702.83
Department
IT Room 116002.21 26247.84 142250.05
CAD Training Room 86775.04 25228.11 112003.15
Copy & Printer Room 18040.95 3691.19 21732.15
Σ 1165668.15

ตารางที่ 8 แสดงการคำนวณของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศร่วมกับพัดลมระบายอากาศทั่วไป
Cooling Load
ERV
Area Served Cooling Load(BTU/Hr) Total Cooling Load
QERV (BTU/Hr)
(except Qerv) (BTU/Hr)
Meeting Room 1 62999.00 4902.30 67901.30
Project Sales Department 423689.41 22062.86 445752.27
Meeting Room 2 66372.89 5060.55 71433.44
ADV & SALES Promotion
186506.15 11256.27 197762.42
Department
IT Room 116002.21 8662.52 124664.73
CAD Training Room 86775.04 8073.71 94848.75
Copy & Printer Room 18040.95 812 18852.95
Σ 1021215.88

ตารางที่ 9 แสดงการคำนวณของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศร่วมกับพัดลมระบายอากาศ
แลกเปลี่ยนความร้อน
23

สรุปผลการคำนวณภาระการทำความเย็นของทั้ง 2 ระบบ
ภาระการทำความเย็นรวมของระบบที่ 1 เท่ากับ 1,165,668.15 BTU/Hr
ภาระการทำความเย็นรวมของระบบที่ 2 เท่ากับ 1,021,215.88 BTU/Hr
ภาระการทำความเย็นของระบบที่ 1 มากกว่า ระบบที่ 2 อยู่ 144,452.27 BTU/Hr เพราะว่าทั้ง 2
ระบบ ใช้พัดลมระบายอากาศต่างประเภทกัน ในระบบที่ 2 เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchanger)
ของพัดลมระบายอากาศทำให้ในพื้นที่ปรับอากาศอุณหภูมิเย็นขึ้น จึงทำให้ภาระของการระบายอากาศลดลง
จากเดิม เมื่อภาระของการระบายอากาศลดลง ภาระการทำความเย็นจึงลดลงไปด้วย

- เลือกชนิดเครื่องปรับอากาศและเลือกขนาดของเครื่องตามภาระการทำความเย็นที่คำนวณได้ของทั้ง 2 ระบบ
ในการศึกษานี้เลือกชนิดเครื่องปรับอากาศแบบฝังฝ้าในเพดาน (Ceiling Cassette) กระจายลม 4
ทิศทาง เนื่องจากมีการกระจายลมเย็นได้หลายทิศทาง เหมาะกับพื้นที่สำนักงาน และเพื่อความสวยงามของตัว
ฝ้า ตัวเครื่องได้มีการซ่อนไว้อยู่บนฝ้า และใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split type) เพื่อง่ายต่อการ
คำนวณในส่วนต่อไป

รูปที่ 9 แสดงเครื่องปรับอากาศ Ceiling Cassette กระจายลม 4 ทิศทาง


24

Coolling Load Unit Capacity Total Capacity


Area Served Model Q'ty Remark
(BTU/Hr) (BTU/Hr) (BTU/Hr)
Project Sale Department 502476.92 PLY-SM48EA2-TH 48109 10 481090 พืน
้ ทีท
่ ำงำน

PLY-SM30EA2-TH 30026 1 30026 โถงทำงเดิน

Σ 511116
Meeting Rm. 1 78317.35 PLY-SM42EA2-TH 42000 2 84000

Meeting Rm. 2 82185.70942 PLY-SM42EA2-TH 42000 2 84000

ADV & SALES Promotion 226702.8268 PLY-SM36EA2-TH 36167 7 253169

IT Office 142250.0519 PLY-SM48EA2-TH 48109 3 144327

CAD Training Rm. 112003.146 PLY-SM42EA2-TH 42000 3 126000

Copy & Printer Rm. 23064.91765 PLY-SM24EA2-TH 24225 1 24225

ตารางที่ 10 แสดงผลการเลือกเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 1

Coolling Load Unit Capacity Total Capacity


Area Served Model Q'ty Remark
(BTU/Hr) (BTU/Hr) (BTU/Hr)
Project Sale Department 445752.2731 PLY-SM42EA2-TH 42000 10 420000 พืน
้ ทีท
่ ำงำน

PLY-SM30EA2-TH 30026 1 30026 โถงทำงเดิน

Σ 450026
Meeting Rm. 1 67901.30 PLY-SM36EA2-TH 36167 2 72334

Meeting Rm. 2 71433.44294 PLY-SM36EA2-TH 36167 2 72334

ADV & SALES Promotion 197762.4247 PLY-SM30EA2-TH 30026 7 210182

IT Office 124664.73 PLY-SM42EA2-TH 42000 3 126000

CAD Training Rm. 94848.74741 PLY-SM36EA2-TH 36167 3 108501

Copy & Printer Rm. 18852.95337 PLY-SM18EA2-TH 18084 1 18084

ตารางที่ 11 แสดงผลการเลือกเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 2
25

2.2.3 ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์


- หาอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าต่อปีของทั้ง 2 ระบบ
Electrical Electrical
Coolling Load Unit Capacity Input Power Total Capacity
Area Served Model Q'ty Energy Costs
(BTU/Hr) (BTU/Hr) (Kw) (BTU/Hr)
(Kwh/year) (Baht)
Project Sale Department 502476.92 PLY-SM48EA2-TH 48109 4.5 10 481090 103680 518400
PLY-SM30EA2-TH 30026 2.31 1 30026 5322.24 26611.2
Meeting Rm. 1 78317.35 PLY-SM42EA2-TH 42000 3.78 2 84000 17418.24 87091.2

Meeting Rm. 2 82185.70942 PLY-SM42EA2-TH 42000 3.78 2 84000 17418.24 87091.2

ADV & SALES Promotion 226702.8268 PLY-SM36EA2-TH 36167 2.72 7 253169 43868.16 219340.8

IT Office 139226.0368 PLY-SM48EA2-TH 48109 4.5 3 144327 31104 155520

CAD Training Rm. 108978.5372 PLY-SM42EA2-TH 42000 3.78 3 126000 26127.36 130636.8

Copy & Printer Rm. 23064.91765 PLY-SM24EA2-TH 24225 1.9 1 24225 4377.6 21888

ตารางที่ 12 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 1
26

ELECTRIC COSTS OF VENTILATION FAN


EXT.SP. POWER Electrical Electrical
UNIT CODE AREA SERVED FLOW (CFM) FLOW (CMH) (Estimate) FAN TYPE MODEL CONSUMPTION Energy Costs
(Pa) (W) (Kwh/year) (Baht)

EF-5-01 Meeting Rm. 1 157.5 267.5942042 45 CMDD/C VD-18Z4T7 34 78.336 391.68


EF-5-02 Project Sales Department 810.0919 1376.354903 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-03 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-04 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-05 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-06 Meeting Rm. 2 162.59 276.2421692 45 CMDD/C VD-18Z4T7 34 78.336 391.68
EF-5-07 ADV & Sales Promotion 413.3 702.2011719 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-08 45 CMDD/C VD-20Z4T7 42 96.768 483.84
EF-5-09 IT Office 270.037 458.7957848 45 CMDD/C VD-20ZP4T5 53 122.112 610.56
EF-5-10 CAD Training Rm. 259.546 440.9714623 45 CMDD/C VD-20ZP4T5 53 122.112 610.56
EF-5-11 Copy & Printer Room 31.43 53.431 45 CMDD/C VD-15Z4T7 14 32.256 161.28

ตารางที่ 13 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของพัดลมระบายอากาศของระบบที่ 1

Electrical Electrical
Coolling Load Unit Capacity Input Power Total Capacity
Area Served Model Q'ty Energy Costs
(BTU/Hr) (BTU/Hr) (Kw) (BTU/Hr)
(Kwh/year) (Baht)
Project Sale Department 445752.2731 PLY-SM42EA2-TH 42000 3.78 10 420000 87091.2 435456
PLY-SM30EA2-TH 30026 2.31 1 30026 5322.24 26611.2
Meeting Rm. 1 67901.30 PLY-SM36EA2-TH 36167 2.72 2 72334 12533.76 62668.8

Meeting Rm. 2 71433.44294 PLY-SM36EA2-TH 36167 2.72 2 72334 12533.76 62668.8

ADV & SALES Promotion 197762.4247 PLY-SM30EA2-TH 30026 2.31 7 210182 37255.68 186278.4

IT Office 124664.73 PLY-SM42EA2-TH 42000 3.78 3 126000 26127.36 130636.8

CAD Training Rm. 94848.74741 PLY-SM36EA2-TH 36167 2.72 3 108501 18800.64 94003.2

Copy & Printer Rm. 18852.95337 PLY-SM18EA2-TH 18084 1.31 1 18084 3018.24 15091.2

ตารางที่ 14 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของระบบปรับอากาศของระบบที่ 2
27

EXT.SP. Electrical Electrical


UNIT FLOW POWER
AREA SERVED (Estimate) MODEL Energy Costs
CODE (CMH) (W)
(Pa) (Kwh/year) (Baht)
ERV-5-01 Meeting Rm. 1 267.59 150 LGH-35RVX-E 140 322.56 1,612.8
ERV-5-02 Project Sales Department 1,376.35 150 LGH-80RVX-E 335 771.84 3,859.2
ERV-5-03 150 LGH-80RVX-E 335 771.84 3,859.2
ERV-5-04 Meeing Rm. 2 276.24 150 LGH-35RVX-E 140 322.56 1,612.8
ERV-5-05 ADV & Sales Promotion 702.20 150 LGH-80RVX-E 335 771.84 3,859.2
ERV-5-06 IT Office 458.80 150 LGH-50RVX-E 165 380.16 1,900.8
ERV-5-07 CAD Training Rm. 440.97 150 LGH-50RVX-E 165 380.16 1,900.8
VL-100ZSKR-
53.43 150 29 66.816 334.08
ERV-5-08 Copy & Printer Room E

ตารางที่ 15 แสดงค่าไฟฟ้าต่อปีของระบบระบายอากาศของระบบที่ 2
สรุปค่าไฟฟ้าต่อปีของทั้ง 2 ระบบ
ค่าไฟฟ้าต่อปีของระบบที่ 1 (เครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ) เป็นจำนวน 1,251,648 บาทต่อปี
ค่าไฟฟ้าต่อปีของระบบที่ 2 (เครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ) เป็นจำนวน 1,032,353.28 บาทต่อปี
ค่าไฟฟ้าของระบบที่ 1 มากกว่า ระบบที่ 2 อยู่ 219,294.72 บาทต่อปี เพราะว่าภาระการทำความเย็น
ของระบบที่ 1 มากกว่าระบบที่ 2 จึงทำให้มีการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดต่างกัน กำลังไฟฟ้า ของ
คอมเพรสเซอร์จึงต่างกันไปด้วย เป็นสาเหตุให้ค่าไฟฟ้าของระบบที่ 2 ถูกกว่าระบบที่ 1

- คำนวณค่าใช้จ่ายเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของทั้ง 2 ระบบ
Unit
Unit Price Total Costs
Area Served Model Capacity Q'ty Installation
(Baht) (Baht)
(BTU/Hr) Costs (Baht)
Project Sale Department PLY-SM48EA2-TH 48,000 88,489 10 5,800 942,890
PLY-SM30EA2-TH 30,026 67,945 1 5,800 73,745
Meeting Rm. 1 PLY-SM42EA2-TH 42,000 86,349 2 5,800 184,298

Meeting Rm. 2 PLY-SM42EA2-TH 42000 86349 2 5800 184,298


28

ADV & SALES Promotion PLY-SM36EA2-TH 36,167 78,859 7 5,800 592,613

IT Office PLY-SM48EA2-TH 48,109 88,489 3 5,800 282,867

CAD Training Rm. PLY-SM42EA2-TH 42,000 86,349 3 5,800 276,447

Copy & Printer Rm. PLY-SM24EA2-TH 24,225 62,167 1 4,500 66,667

ตารางที่ 16 แสดงการคำนวณค่าเครื่องปรับอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 1
Unit Installation Total
Flow
Area Served Model Price Q'ty Costs Costs
(CMH) 29
(Baht) (Baht) (Baht)
Project Sale
VD-20Z4T7 1,376.35 5,457 4 2,000 29,828
Department

Meeting Rm. 1 VD-18Z4T7 267.59 4,440 1 2,000 6,440

Meeting Rm. 2 VD-18Z4T7 276.24 4,440 1 2,000 6,440

ADV & SALES


VD-20Z4T7 702.20 5,457 2 2,000 14,914
Promotion

IT Office VD-20ZP4T5 458.80 6,634 1 2,500 9,134

CAD Training Rm. VD-20ZP4T5 440.97 6634 1 2500 9,134

Copy & Printer Rm. VD-15Z4T7 53.43 2,782 1 1,500 4,282

ตารางที่ 17 แสดงการคำนวณราคาเครื่องระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 1
Unit Capacity Unit Price Installation Total Costs
Area Served Model Q'ty
(BTU/Hr) (Baht) Costs (Baht) (Baht)
Project Sale Department PLY-SM42EA2-TH 42,000 86,349 10 5,800 921,490
PLY-SM30EA2-TH 30,026 67,945 1 5,800 73,745
Meeting Rm. 1 PLY-SM36EA2-TH 36,167 78,859 2 5,800 169,318

Meeting Rm. 2 PLY-SM36EA2-TH 36,167 78,859 2 5,800 169,318

ADV & SALES Promotion PLY-SM30EA2-TH 30,026 67,945 7 5,800 516,215

IT Office PLY-SM36EA2-TH 36,167 78,859 3 5,800 253,977

CAD Training Rm. PLY-SM36EA2-TH 36,167 78,859 3 5,800 253,977


30

Copy & Printer Rm. PLY-SM18EA2-TH 18,084 49,862 1 4,200 54,062

ตารางที่ 18 แสดงการคำนวณราคาเครื่องปรับอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 2
Unit Price Installation Total Costs
Area Served Model Flow (CMH) Q'ty
(Baht) Costs (Baht) (Baht)
Project Sale Department LGH-80RVX-E 1,376.355 75,970 2 5,800 163,540

Meeting Rm. 1 LGH-35RVX-E 267.594 42,800 1 4,200 47,000

Meeting Rm. 2 LGH-35RVX-E 276.242 42,800 1 4,200 47,000

ADV & SALES Promotion LGH-80RVX-E 702.201 75,970 1 5,800 81,770

IT Office LGH-50RVX-E 458.796 47,080 1 4,200 51,280

CAD Training Rm. LGH-50RVX-E 440.971 47,080 1 4,200 51,280

Copy & Printer Rm. VL-100ZSKR-E 53.431 17,120 1 4,200 21,320

ตารางที่ 19 แสดงการคำนวณราคาพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไปของระบบที่ 2
31

สรุปผลการคำนวณค่าใช้จ่ายเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งของทั้ง 2 ระบบ
โดยราคาการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศไม่รวมรางครอบท่อ ไม่รวมขาแขวน เฉพาะราคาติดตั้งท่อ
น้ำยามาตรฐานไม่เกิน 5 เมตร ส่วนงานติดตั้งของพัดลมระบายอากาศ ไม่รวมค่างานติดตั้งของท่อลมใด ๆ
สามารถสรุปราคาได้ดังนี้
ราคาเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งของระบบที่ 1 เป็นจำนวน 2,683,997 บาท
ราคาเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งของระบบที่ 2 เป็นจำนวน 2,875,292 บาท
ราคาของระบบที่ 2 มากกว่า ระบบที่ 1 อยู่ 191,295 บาท ถึงแม้ว่าระบบที่ 1 จะใช้เครื่องปรับอากาศ
ที่มีขนาดการทำความเย็นมากกว่า ค่าใช้จ่ายเครื่องปรับอากาศจึงสูงกว่า แต่ราคาของพัดลมระบายอากาศ
แลกเปลี่ยนความร้อน (ERV) มีราคาที่แพงกว่าพัดลมระบายอากาศทั่วไปอย่างมาก เมื่อเฉลี่ย ๆ กันแล้ว
ค่าใช้จ่ายของระบบที่ 2 ยังมากกว่าระบบที่ 1 อยู่ดี

- คำนวณค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาต่อปีของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2 ระบบ
Total
Unit Capacity Maintenance
Area Served Model Q'ty Costs
(BTU/Hr) Costs (baht)
(Baht)
Project Sale Department PLY-SM48EA2-TH 48,109 10 3,210 32,100
PLY-SM30EA2-TH 30,026 1 3,210 3,210
Meeting Rm. 1 PLY-SM42EA2-TH 42,000 2 3,210 6,420

Meeting Rm. 2 PLY-SM42EA2-TH 42,000 2 3,210 6,420

ADV & SALES Promotion PLY-SM36EA2-TH 36,167 7 3,210 22,470

IT Office PLY-SM48EA2-TH 48,109 3 3,210 9,630

CAD Training Rm. PLY-SM42EA2-TH 42,000 3 3,210 9,630

Copy & Printer Rm. PLY-SM24EA2-TH 24,225 1 2,675 2,675

ตารางที่ 20 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 1
32

Unit Total
Maintenance
Area Served Model Capacity Q'ty Costs
Costs (baht)
(BTU/Hr) (Baht)
Project Sale Department PLY-SM42EA2-TH 42,000 10 3,210 32,100
PLY-SM42EA2-TH 30,026 1 3,210 3,210
Meeting Rm. 1 PLY-SM36EA2-TH 36,167 2 3,210 6,420

Meeting Rm. 2 PLY-SM36EA2-TH 36,167 2 3,210 6,420

ADV & SALES Promotion PLY-SM30EA2-TH 30,026 7 3,210 22,470

IT Office PLY-SM42EA2-TH 42,000 3 3,210 9,630

CAD Training Rm. PLY-SM36EA2-TH 36,167 3 3,210 9,630

Copy & Printer Rm. PLY-SM18EA2-TH 18,084 1 2,675 2,675

ตารางที่ 21 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาต่อปีของเครื่องปรับอากาศของระบบที่ 2
Total
Flow Maintenance
Area Served Model Q'ty Costs
(CMH) Costs (baht) 33
(Baht)
Project Sale Department VD-20Z4T7 1,376.35 4 1,500 6,000

Meeting Rm. 1 VD-18Z4T7 267.59 1 1,500 1,500

Meeting Rm. 2 VD-18Z4T7 276.24 1 1,500 1,500

ADV & SALES Promotion VD-20Z4T7 702.20 2 1,500 3,000

IT Office VD-20ZP4T5 458.80 1 1,500 1,500

CAD Training Rm. VD-20ZP4T5 440.97 1 1,500 1,500

Copy & Printer Rm. VD-15Z4T7 53.43 1 1,500 1,500

ตารางที่ 22 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาพัดลมระบายอากาศของระบบที่ 1

Total
Maintenance
Area Served Model Flow (CMH) Q'ty Costs
Costs (baht)
(Baht)
Project Sale Department LGH-80RVX-E 1,376.35 2 4,000 8,000

Meeting Rm. 1 LGH-35RVX-E 267.59 1 4,000 4,000

Meeting Rm. 2 LGH-35RVX-E 276.24 1 3,000 3,000

ADV & SALES Promotion LGH-80RVX-E 702.20 1 4,000 4,000

IT Office LGH-50RVX-E 458.80 1 3,000 3,000


34

CAD Training Rm. LGH-50RVX-E 440.97 1 3,000 3,000

Copy & Printer Rm. VL-100ZSKR-E 53.43 1 1,500 1,500

ตารางที่ 23 แสดงการคำนวณค่าบำรุงรักษาพัดลมระบายอากาศของระบบที่ 2
สรุปผลค่าบำรุงรักษาต่อปีของทั้ง 2 ระบบ
ค่าบำรุงรักษา (เครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ) ของระบบที่ 1 เป็นจำนวน 109,055 บาท
ค่าบำรุงรักษา (เครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ) ของระบบที่ 1 เป็นจำนวน 119,055 บาท
ค่าบำรุงรักษาของระบบที่ 2 มากกว่าระบบที่ 1 อยู่ 10,000 บาท ถึงแม้ว่าขนาดของเครื่องปรับอากาศ
ของทั้ง 2 ระบบจะต่างกัน แต่ค่าบำรุงรักษาไม่ แตกต่างกัน จะแตกต่างกันก็ต่อเมื่อราคาบำรุงรักษาของพัดลม
ระบายอากาศ ซึ่งค่าบำรุงรักษาพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV) แพงกว่าพัดลมระบายอากาศ
ทั่วไป

- การคำนวณตามหลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของต้นทุนวงจรอายุของทั้ง 2 ระบบ คือระบบที่ 1 เป็นระบบปรับอากาศที่
ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปร่วมด้วย ระบบที่ 2 เป็นระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยน
ความร้อนร่วมด้วย โดยใช้วิธีการคำนวณต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost ,LCC) ระยะเวลาโครงการ 5 ปี
เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลของการต้นทุนค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดโครงการ เพื่อหาความคุ้มค่าและความ
เป็นไปได้ของโครงการในแต่ละปีมาคำนวณต้นทุนวงจรอายุ มีสมการดังนี้
ต้นทุนวงจรอายุ (LCC) = ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CI) + ค่าใช้จ่ายในการใช้ง่านต่อปี (CO) + ค่าใช้จ่ายในการ
บำรุงรักษาต่อปี (CM)
ต้นทุนค่าใช้จ่าย
ต้นทุนค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 ระบบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอายุของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CI)
เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศรวมค่าการติดตั้งทั่วไปของทั้ง
ระบบ โดยระบบที่ 1 เครื่องปรับอากาศเป็นรุ่น PLY-SM(24-30-36-42-48)EA2-TH พัดลมระบายอากาศเป็น
รุ่น VD-(15-18-20)Z4T7 และ VD-20ZP4T5 ระบบที่ 2 เครื่องปรับอากาศเป็นรุ่น PLY-SM(18-24-36-42)
35

EA2-TH พัดลมระบายอากาศเป็นรุ่น LGH-(25-50-80)RVX-E และ VL-100ZSKR-E ข้อมูลค่าใช้จ่ายเบื้องต้น


ได้มาจากบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนาจำกัด

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (CO)
เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศ ระบบที่ 1 ระบบปรับอากาศที่ใช้พัด
ลมระบายอากาศทั่วไปร่วมด้วย ระบบที่ 2 ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน
COP = Output/Input โดยนำค่ากำลังไฟฟ้า (Input) ของทั้ง 2 ระบบ จากการเริ่มใช้งานทั้งเครื่องปรับอากาศ
และพัดลมระบายอากาศ โดยกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการศึกษา เท่ากับ 5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และค่า
ไฟฟ้าต่อปีจะเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยอัตราปีละ 7 % (อ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อ ปี พ.ศ. 2554)
ค่าไฟฟ้าต่อปี (บาท) = จำนวนกิโลวัตต์ x จำนวนชั่วโมง x จำนวนวัน x อัตราค่าไฟฟ้า

ค่าใช้จ่ายด้านบำรุงรักษา (CM)
เป็นค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาทั่วไปเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2 ระบบ ข้อมูล
ค่าใช้จ่ายได้มาจากบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนาจำกัด โดยกำหนดค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นปีละ 3 %
(อ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อ ปี พ.ศ. 2554)
- เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศทั้ง 2 ระบบ

ต้นทุนค่าใช้จ่ายของระบบปรับอากาศ (บาท)
รายการ หมายเหตุ
ระบบที่ 1 ระบบที่ 2
ค่าเครื่องปรับอากาศ
2,683,997 2,875,292
รวมค่าติดตั้ง

ค่าบำรุงรักษา 125,105 135,105 เพิ่มขึ้นปีละ 3 %

ค่าไฟฟ้า 1,251,648 1,032,353.28 เพิ่มขึ้นปีละ 7 %

ตารางที่ 24 ต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2 ระบบ


36

- การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศทั้ง 2 ระบบ
การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ โดย
ทฤษฎีต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost ,LCC) เป็นการนำเอาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการศึกษา ทั้ง
2 ระบบ โดยปรับต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ระบบ ให้เป็นมูลค่าเงินปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายแต่ละ
ปี มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนค่าใช้จ่าย และหาจุดคุ้มทุนที่เกิดขึ้นในการศึกษานี้

มูลค่าปัจจุบัน
ในการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่าย เป็นการนำเอาเอาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการศึกษานี้ เช่น
เงินลงทุน ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น มาวิเคราะห์ต้องพิจารณามูลค่าเงินในปัจจุบันเนื่องจากมูลค่าเงินจะลดลงเมื่อ
เวลาผ่านไป ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตย่อมมีค่าน้อยกว่าปัจ จุบัน มูลค่าเงินในปัจจุบันที่ใช้ในการวิเคราะห์ มี
ค่าไม่เท่ากัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบ จะต้องนำค่าอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราลด ที่ 8 % ทั้ง 2 ระบบ ดังตารางที่
25

n P S S P R S S R R P P R
1 1.080 0.926 1.000 1.000 0.926 1.080
2 1.166 0.857 2.080 0.481 1.783 0.561
3 1.260 0.794 3.246 0.308 2.577 0.388
4 1.360 0.735 4.506 0.222 3.312 0.302
5 1.469 0.681 5.867 0.171 3.993 0.250
ตารางที่ 25 สัมประสิทธิ์การคำนวณ ที่อัตราคิดลด 8 %
37

วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2 ระบบ
ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศของทั้ง 2
ระบบ เพื่อหาจุดคุ้มทุนโดยใช้ทฤษฎีต้นทุนวงจรอายุ (LCC) การวิเคราะห์ทั้ง 2 ระบบ ใช้ระยะเวลา 5 ปี ดัง
ตารางที่ 26 และตารางที่ 27

รายการ 0 1 2 3 4 5

เงินทุน 2,683,997 - - - - -

ค่าบำรุงรักษา - 125,105 128,858.2 132,723.9 136,705.6 140,806.8

ค่าพลังงานไฟฟ้า - 1,251,648 1,339,263 1,433,012 1,533,323 1,640,655

รวม 2,683,997 1,376,753 1,468,122 1,565,736 1,670,028 1,781,462

สัมประสิทธิ์มูลค่า
1.0000 0.925926 0.857339 0.793832 0.73503 0.680583
ปัจจุบัน

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,683,997 1,274,771 1,258,678 1,242,931 1,227,521 1,212,433

มูลค่าปัจจุบันสุทธิรวม 2,683,997 3,958,768 5,217,446 6,460,377 7,687,898 8,900,331

สัมประสิทธิ์การคืนทุน - 1.08 0.560769 0.388034 0.301921 0.250456

ต้นทุนเฉลี่ย 2,683,997 4,275,470 2,925,783 2,506,843 2,321,136 2,229,145

ตารางที่ 26 ต้นทุนวงจรอายุของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ ระบบที่ 1


รายการ 0 1 2 3 4 5
38
เงินทุน 2,875,292 - - - - -

ค่าบำรุงรักษา - 135,105 139,158.2 143,332.89 147,632.881 152,061.9

ค่าพลังงานไฟฟ้า - 1,032,353 1,104,618 1,181,941.3 1,264,677.159 1,353,205

รวม 2,875,292 1,167,458 1,243,776 1,325,274.2 1,412,310.041 1,505,266

สัมประสิทธิ์มูลค่า
1.0000 0.925926 0.857339 0.7938322 0.735 0.680583
ปัจจุบัน

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,875,292 1,080,980 1,066,338 1,052,045.4 1,038,090.041 1,024,459

มูลค่าปัจจุบันสุทธิรวม 2,875,292 3,956,272 5,022,609 6,074,654.8 7,112,744.876 8,137,204

สัมประสิทธิ์การคืนทุน - 1.08 0.560769 0.3880335 0.302 0.250456

ต้นทุนเฉลี่ย 2,875,292 4,272,774 2,816,525 2,357,169.7 2,147,485.655 2,038,015

ตารางที่ 27 ต้นทุนวงจรอายุของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ ระบบที่ 2


39

กราฟแสดงต้นทุนเฉลีย่ ต่อปี
4500000
4000000
3500000
ต้นทุนเฉลี่ย่ตอปี (บาท)

3000000
2500000
2000000
1500000
1000000
500000
0
1 2 3 4 5
ระยะเวลา (ปี)

ระบบที่ 2 ระบบที่ 1

รูปที่ 10 กราฟแสดงต้นทุนเฉลี่ยต่อปีของทั้ง 2 ระบบ

กราฟวิเคราะห์จดุ คุม้ ทุนระบบที่ 1


4500000
4000000 ต้นทุนคงที่
3500000
ต้นทุนเฉลีย่ (บาท)

3000000
2500000
2000000
1500000 จุดคุ้มทุน 2.7 ปี
1000000
ต้นทุนผันแปร ระบบที่ 1
500000
0
0 1 2 3 4 5
ระยะเวลา (ปี)

รูปที่ 11 กราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศ ระบบที่ 1


40

4500000
4000000 ต้นทุนคงที่
3500000
3000000
ต้นทุนเฉลีย่ (บาท)

2500000
2000000
1500000 จุดคุ้มทุน 2 ปี
1000000 ต้นทุนผันแปร ระบบที่ 2
500000
0
0 1 2 3 4 5 6
ระยะเวลา (ปี)

รูปที่ 12 กราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของระบบปรับอากาศ ระบบที่ 2

จากกราฟต้นทุนเฉลี่ยต่อปี เมื่อพิจารณาแล้วทั้ง 2 ระบบ โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายและอายุ


ของการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี ระบบที่ 1 มีต้นทุนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,683,997 บาท เนื่องจากมีการลงทุนของ
ราคาเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศพร้อมราคาติดตั้งทั่วไป และจะเพิ่มขึ้นในปีที่ 1 เพราะมี
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ด้านการบำรุงรักษา และจะลดลงในปีที่ 2 3 4 และ 5 ตามลำดับ เมื่อแปลงเป็น
มูลค่าปัจจุบัน เมื่อครบอายุของการศึกษาจะมีต้นทุนเฉลี่ยที่ 2,229,145.35 บาท ระบบที่ 2 มีต้นทุนค่าใช้จา่ ย
อยู่ที่ 2,875,292 บาท ซึ่งสูงกว่าระบบที่ 1 สืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมี
ค่าใช้จ่ายที่สูงเมื่อเทียบกับพัดลมระบายอากาศทั่วไป ซึ่งต้นทุนเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นในปีที่ 1 เพราะมีค่าใช้จ่ายด้าน
พลังงานไฟฟ้า ด้านบำรุงรักษา และจะลดลงในปีที่ 2 3 4 และ 5 ตามลำดับ เมื่อครบอายุของการศึกษาจะมี
ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 2,038,015 บาท
จากกราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนระบบที่ 1 พบว่าระบบที่ 1 ที่มีต้นทุนคงที่อยู่ที่ 2,683,997 บาท และมี
ต้นทุนผันแปรไปตามระยะเวลาก็คือต้นทุนเฉลี่ยต่อปี ซึ่งมีจุดตัดที่ 2.7 ปี ดังนั้น ระบบที่ 1 มีจุดคุ้มทุนที่ 2.7 ปี
จากกราฟวิเคราะห์จุดคุ้มทุนระบบที่ 2 พบว่าระบบที่ 2 ที่มีต้นทุนคงที่อยู่ที่ 2,875,292 บาท และมี
ต้นทุนผันแปรไปตามระยะเวลาก็คือต้นทุนเฉลี่ยต่อปี ซึ่งมีจุดตัดที่ 2 ปี ดังนั้น ระบบที่ 2 มีจุดคุ้มทุนที่ 2 ปี
41

บทที่ 3
สรุปผลปฏิบัติงาน
3.1 สิ่งที่คาดหวัง
3.1.1 การศึกษาเปรียบเทียบภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ 2 ระบบปรับอากาศ โดยใช้วิธีการ
คำนวณด้วย Cooling Load Temperature Difference (CLTD)
จากการศึกษาพบว่าภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยน
ความร้อนน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปอยู่ 12.39 %
3.1.2 การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานไฟฟ้าต่อปีของระบบปรับอากาศ 2 ระบบปรับอากาศ
จากการศึกษาพบว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนใช้พลังงาน
ไฟฟ้าต่อปีน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปอยู่ 17.52 %
3.1.3 การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศทั้ง 2 ระบบปรับ
อากาศโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตน้ ทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost, LCC) ในระยะการศึกษาโครงงาน 5 ปี
จากการศึกษาพบว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมีต้นทุนเฉลี่ยต่อ
ปีน้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปตั้งแต่ปีที่ 1 จนตลอดการศึกษา โดยมีจุดคุ้มทุนที่
ระยะเวลา 2 ปี และในปีที่ 5 ระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อนมีต้นทุนค่าใช้จ่าย
น้อยกว่าระบบปรับอากาศที่ใช้พัดลมระบายอากาศทั่วไปอยู่ 8.57 %

3.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
3.2.1 ประโยชน์ต่อตนเอง
ได้เรียนรู้ ผิดพลาด แก้ไข และ ปรับปรุงการทำงานจริงในด้านการออกแบบระบบปรับอากาศและ
ระบบระบายอากาศ และได้ไปศึกษาหน้างานจริง เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ มากมายของระบบปรับอากาศและ
ระบบระบายอากาศ กระผมจึงนำสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดมาประกอบการทำรายงานปฎิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้
3.2.2 ประโยชน์ต่อสถานประกอบการ
สถานประกอบการสามารถใช้ข้อมูล เชิงลึกของโครงงานนี้ไปนำเสนอลูกค้าได้ในอนาคต ทำให้เพิ่ม
ยอดขายพัดลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV) หรือในนามการค้าของ Mitsubishi Electric ว่า
“LOSSNAY”
3.2.3 ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
เมื่อทางมหาวิทยาลัยมีการก่อสร้างอาคารใหม่สามารถนำข้อมูล ไปประกอบการตัดสินใจในการใช้พัด
ลมระบายอากาศแลกเปลี่ยนความร้อน (ERV) ได้ เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีของนักศึกษาในอนาคต
42

3.3 วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) ของตัวนักศึกษาสหกิจ


จุดแข็ง (Strength)
- เรียนรู้ไว เนื่องจากเคยเรียนทฤษฎีด้านนี้มาก่อน
- ปรับตัวได้ง่าย เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร
- ไปทำงานตรงเวลา
จุดอ่อน (Weakness)
- ยังไม่ได้ฝึกการออกแบบระบบปรับอากาศที่มากเพียงพอ
- ยังไม่ได้สัมผัสหน้างานจริงที่เห็นปัญหาของระบบปรับอากาศอีกมากมาย
โอกาส
- ได้รับโอกาสที่เข้าร่วมทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่
- ได้รับโอกาสในการทำงานเป็นทีม สื่อสารงานในระดับองค์กร
- ได้รับโอกาสในการฝึกฝนงานมากมาย ทำให้มีประสบการณ์ในด้านนี้มากขึ้น สามารถนำไปต่อยอดในอนาคต
ได้
อุปสรรค (Threats)
- ระยะเวลาในการฝึกฝนการทำงานจริงยังไม่มากเพียงพอ

3.4 ประสบการณ์ที่ประทับใจ / ประสบการณ์พิเศษ


- ได้ดำเนินการงานต่าง ๆ ในหน้างานจริง คือการเทสรันระบบปรับอากาศของคอนโดมิเนียมทั้งชั้น เก็บข้อมูล
การเทสรันทั้งหมด เก็บข้อมูลห้องที่มีปัญหาในการเทสรันไม่ได้ เพื่อให้พี่เลี้ยงนำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ต่อไป
- ได้มีโอกาสนำเสนอการใช้ข้อต่อแยกสามทางและข้อต่อลดในงานระบบปรับอากาศของงานคอนโดมิเนียมแก่
ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ฟัง
43

บทที่ 4
ปัญหาและข้อเสนอแนะ
สถานประกอบการ
ปัญหา
1. ขาดการเทรนด์งานที่เป็นระบบ
2. ทางแผนกไม่สอนการทำ Bill of Quantity (BOQ)
ข้อเสนอแนะ
1. สถานประกอบการควรมีการเทรนด์งานให้ก่อนเริ่มให้นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษา
2. ทางบริษัทควรสอนนักศึกษาทำ BOQ

มหาวิทยาลัย
ปัญหา
1. ทางคณะนำเสนอสถานประกอบการเกี่ยวกับงานระบบน้อยเกินไป เช่นระบบปรับอากาศ น้ำประปะ เป็นต้น
2. วิชาเลือกเกี่ยวกับงานระบบน้อยเกินไป
ข้อเสนอแนะ
1. อยากให้ทางคณะนำเสนอสถานประกอบการที่เกี่ยวกับงานระบบมากกว่านี้
2. อยากให้นักศึกษาได้ศึกษาความรู้หรือเปิดวิชาเสรีภาคเกี่ยวกับงานระบบตั้งแต่ปีสาม

นักศึกษา
ปัญหา
1. เขียนโปรแกรม Auto CAD ไม่คล่องแคล่วเท่าที่ควร
2. ความรู้ด้าน Fluid ยังไม่แน่นเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะ
1. ควรฝึกการใช้งาน Auto CAD ไม่ละทิ้งตั้งแต่เรียนวิชาดรออิ้งจบไป
2. ทบทวนตำรา หมั่นหาความรู้ที่ด้อยมากขึ้น
44

บรรณานุกรม

วัฏจักรวงจรชีวิตของเครื่องจักร : วงจรชีวิตเครื่องจักรและอุปกรณ์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :


http://www.todayissoftware.com/isweb/index.pyp?option=com_content&view=article&id=16
1:2009-11-12-09-43-09&catid=62:maintenance&Itemid=62

วัฏจักรวงจรชีวิตของเครื่องจักร : การประเมินวัฏจักรชีวิตของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนระบบ
อินเวอร์เตอร์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http:/thesis.swu.ac.th/swuthesis/Eng_Man/suwattana_T.pdf

สุวรรณ รุ่งเรืองนานา. (2541). การวิเคราะห์โครงการอนุรักษ์พลังงานในอาการของรัฐ กรณีศึกษา


อาคารกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโน โลยีและสิ่งแวคล้อม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุชา คุณทะวงษ์. (2559). การจัดการปรับปรุงระบบปรับอากาศเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยเปลี่ยนระบบ


ปรับอากาศแบบหน่วยเดียวชนิดแยกส่ว นเป็นแบบส่ว นกลางชนิคระบายความร้อนด้วยน้ำ : กรณีศึก ษา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อาคาร 1, 2, 3 และ4) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์.

เชษฐ์ ตั้งทรงจิตรากุล. (2551). การศึกษาแนวทางในการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศในอาการที่พักอาศัยเพื่อ


การอนุรักษ์พลังงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อธิยุต จงใจ, "การศึกษาทางเลือกเพื่อใช้เครื่องปรับอากาศของใหม่ และของเดิมโดยวิธีการคำนวณต้นทุนวงจร


อายุ (Life Cycle Cost, LCC)", สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีในอาคาร
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2556.

ชุมพล ศฤคารศิริ, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ปริ้นต์โพร, 2546.

ไพฑูรย์ โล่ห์สุนทร, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม, กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย, 2536.

ชูชัย ต.ศิริวัฒนา, การทำความเย็นและการปรับอากาศ, กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี


(ไทย-ญี่ปุ่น), 2547
45

ภาคผนวก ก
ภาพถ่ายสถานที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา
จำกัด เลขที่ 28 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
10240

รูปที่ 13 ภาพถ่ายสถานที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด

You might also like