You are on page 1of 20

บ ท ที่ ๗ ...

หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา


1. การไตร่ตรองทางมานุษยวิทยา
1.1 ปรากฏการณ์แห่งอุตรภาพของมนุษย์ (The Phenomenon of Human Transcen-
dence)
เป็นเวลานานทีเดียวที่นักเทววิทยาคริสตชนมีความมั่นใจว่า ความหมายลึกซึ้งของมนุษย์
คือ ผู้ที่เปิดรับธรรมชาติลึกซึ้งของพระเจ้าได้ นักบุญออกัสตินแสดงความรู้สึกนึกคิดดังกล่าวนี้
ในงานเขียนว่า “พระเจ้าทรงสร้างเรามาเพื่อพระองค์ และหัวใจของเราก็สุดที่จะสงบลงได้ ตราบใด
ที่ยังมิได้พักผ่อนในพระองค์” ความหมายที่นักบุญออกัสตินต้องการบอก ก็คือ ชีวิตทั้งชีวิตของเรามุ่ง
แสวงหาธรรมล้ำลึกของพระเจ้า โดยการแสวงหาความจริง ความดี และความงามของสิ่งสร้างต่างๆ
ในโลกนี้ สิ่งสร้างเหล่านี้มีส่วนร่วมในความเป็นอยู่ล้ำลึกของพระเจ้าโดยจำกัด ความปรารถนาใน
หัวใจของมนุษย์เราจึงไม่อาจเต็มอิ่มได้จากสิ่งเหล่านี้
หัวใจของมนุษย์ไม่ว่าจะเปี่ยมด้วยสิ่งสร้างมากสักเพียงใด ก็ยังมีความกระหายมากกว่า
นั้นอีก มีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงกระตุ้นเราให้ข้ามผ่านสิ่งต่างๆ
เพื่อมุ่งสู่พระเจ้า

126
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

นักบุญออกัสตินซึ่งเป็นอาจารย์ชีวิตฝ่ายจิต ได้จำแนกความปรารถนาของมนุษย์เป็น
2 ระดับในบทรำพึงเพลงสดุดีที่ 127 ว่า
1. ความปรารถนาอย่างผิวเผิน (superficial desires) ที่มาจากประสบการณ์ของ
มนุษย์
2. ความปรารถนาจากส่วนลึกของจิตใจ (desires in our deepest hearts) ที่เรา
อาจจะไม่รู้ตัว แต่เป็นแรงบันดาลใจของชีวิต
ให้เราลองจินตนาการตามคำแนะนำของท่านนักบุญออกัสตินดังนี้ สมมุติว่า พระเจ้า
ทรงมอบทุกสิ่งทุกอย่างในโลกตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความรื่นรมย์ ชื่อเสียง อำนาจ สุขภาพ
ฯลฯ และทรงอนุญาตให้เราเลือกทำสิ่งใดก็ได้ยกเว้นบาป ยิ่งกว่านั้น สมมติว่า เราได้สิ่งเหล่านี้
ทุกอย่างไม่เพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ตลอดนิรันดร โดยมีเงื่อนไขประการเดียวคือ “เราจะไม่ได้พบ
พระพักตร์พระเจ้า” ทำไมหัวใจของเราแทบจะหยุดเต้นเมื่อได้ยินคำว่า “เราจะไม่ได้พบพระพักตร์
พระเจ้า” คำตอบ ก็คือ พระเจ้าคือยอดปรารถนาของมนุษย์ทุกคน พระเจ้าทรงสร้างเรามา และ
เราปรารถนาพระองค์ แม้บางคนอาจไม่ได้ตระหนักและยอมรับด้วยความรู้ตัวก็ตาม แต่ส่วนลึกของ
จิตใจ เขาก็ยังมุ่งแสวงหาพระเจ้า
ความปรารถนาในสิ่งสร้างต่างๆ อย่างผิวเผินทำให้เราค้นพบความหมายของชีวิตเพียง
เวลาสั้น ๆ แต่ เราจะค้นพบความหมายของชีวิตระยะยาวได้ในพระเจ้า และเพื่อจะค้นพบ เราจะต้อง
ข้ามผ่านสิ่งสร้างเหล่านั้นเพื่อมุ่งสู่พระเจ้า
นี่คือลักษณะ “อุตรภาพของมนุษย์” (Human Transcendence) ที่เรากำลังกล่าวถึง
อุตรภาพของมนุษย์จึงหมายถึง การข้ามผ่านโลกอันจำกัดของตนและโลกอันจำกัดของสิ่งสร้างต่างๆ
เพื่อบรรลุความหมายสมบูรณ์ของตน อุตรภาพเป็นเงื่อนไขจำเป็นเพื่อแสวงหาความหมายและความ
สมบูรณ์ที่มนุษย์มีความปรารถนาลึกๆ ในจิตใจ
แนวคิดทางเทววิทยาที่ ได้กล่าวมานี้ แสดงถึงความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ที่นัก
ปรัชญาสมัยปัจจุบันเน้นเป็นพิเศษ แม้ว่าแต่ละคนต่างก็มีมุมมองของตน เช่น

127
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

1.1.1 ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) ปรัชญาที่ว่าชีวิตมนุษย์ไร้ความหมาย


ซาร์ตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ที่มีคติพจน์ว่า “ผู้อื่นคือนรก” (Hell is the
other) เขามีความคิดว่า อุตรภาพของมนุษย์เป็นแต่เพียงการแสดงออกทางหนึ่งของเสรีภาพมนุษย์
โดยอาศัยขบวนการทางอุตรภาพ มนุษย์พยายามทำให้โลกที่ในตัวมันเองไม่มีความหมายนั้นกลับมี
ความหมายได้บ้าง ซาร์ตร์คิดว่าความพยายามของมนุษย์ที่ว่านี้เป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะ
กลายเป็นพระเจ้า แต่ซาร์ตร์สอนว่าไม่มีพระเจ้าอยู่จริง เขาจึงสรุปว่า ปรากฏการณ์เรื่องอุตรภาพ
ของมนุษย์ ได้แสดงให้เห็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่เป็นเพียงความปรารถนารุนแรงที่ ไร้ประโยชน์
(useless passion)
ประเด็นที่ปรัชญาของซาร์ตร์แตกต่างไปจากความคิดทางเทววิทยา ในการ
มองดูมนุษย์ไม่ใช่อยู่ที่เขาปฏิเสธเรื่องอุตรภาพ แต่อยู่ที่ว่า เขาตีความหมายของปรากฏการณ์นี้แตก
ต่างจากคริสตชน เขาสอนว่า ธรรมชาติของมนุษย์ขัดแย้งในตนเอง เพราะมนุษย์มีความหวังที่จะ
บรรลุถึงความหมายสมบูรณ์ของตน แต่มนุษย์ประสบกับความล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา
1.1.2 กาเบรียล มาร์เซล (Gabriel Marcel) ปรัชญาของความหวัง
กาเบรียล มาร์เซลนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ปฏิเสธแนวคิดของนิยัตินิยมแบบจักร
กลนิยม (Mechanistic determinism) หรือประสบการณ์นิยมบริสุทธิ์ (pure empiricism) ที่ว่า ชีวิต
มนุษย์ได้ถูกกำหนดไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว อนาคตของมนุษย์จะเป็นไปอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับ “ปรีชา-
ญาณ” ที่สะสมมาในอดีต
แต่มาร์เซลเชื่อมั่นว่า อนาคตของมนุษย์มีความหมายมากไปกว่านี้ เพราะขึ้นกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จากความสัมพันธ์นี้ มนุษย์ค้นพบความเป็นจริง (Reality) และเสรีภาพ
ที่มิอาจจะกำหนดล่วงหน้าได้ (the unpredictability of freedom) เสรีภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของ
การคาดหวังว่า “สิ่งใหม่” จะเกิดขึ้น ซึ่ง “มากกว่า” ที่เคยเป็น เราจึงคาดคะเนความเป็นจริงล่วง
หน้าไม่ได้ เพราะมนุษย์เลือกทำอย่างอิสระ ถึงกระนั้น มนุษย์มคี วามหวังและการรอคอยได้ (hope
and expectation)

128
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ความหวังจึงเป็นรากฐานของเสรีภาพ ชีวิตมนุษย์จึงไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าที่
จะต้องจมปลักอยู่กับอิทธิพลของอดีต แต่ชีวิตมนุษย์มีความหวังสำหรับอนาคต ความหวังคือความ
มัน่ ใจว่า ชีวิตในอดีตและในปัจจุบันมีศักยภาพที่จะเป็นอนาคตมากกว่าสิ่งที่เราจะคาดหวัง
เราจึงพอมองเห็นความแตกต่างระหว่างความคิดของซาร์ตร์กับของมาร์เซล
คือ ซาร์ตร์มองดูเสรีภาพในแง่ที่เป็นความปรารถนารุนแรงที่ไร้ประโยชน์ ขณะที่มาร์เซลมองดูเสรี-
ภาพในฐานะที่เปิดเผยความเป็นจริงที่เราไม่อาจกำหนดได้ล่วงหน้าแต่มีความหวังได้
มาร์เซล มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้
เราค้นพบความหมายของความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ และความหวัง คุณธรรมดังกล่าวมุ่งสร้าง
ความสัมพันธ์กับปัจเจกบุคคลอย่างเจาะจง แต่เมื่อคุณธรรมนี้พัฒนาขึ้นก็จะขยายความสัมพันธ์วง
กว้างออกไป เมื่อเรารักคนใดคนหนึ่งเราคิดจะได้อะไรจากความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องสิทธิ
และผลประโยชน์ ไม่เป็นความหวังที่จะได้อะไรสำหรับตนเอง แต่เหนือสิ่งอื่นใด เป็นบางสิ่งที่ทั้ง
สองคนหวังจะได้รับด้วยกัน มาร์เซลเขียนไว้ว่า ประโยคที่แสดงกิจการของความหวังอย่างเหมาะสม
ที่สุดคือ “ฉันไว้ใจท่านเพื่อเราทั้งสอง” ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจากสองคนที่รักกันไม่เป็นเพียงการอยู่
ใกล้ชิดกันเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) รวมทั้งการฟื้นฟู
ชีวิต (renewal) มาร์เซลอธิบายว่า จำเป็นที่จะมีความหวังสัมบูรณ์ (absolute hope) เพื่อให้เกิด
การฟื้นฟูชีวิตอย่างแท้จริง ความหวังลักษณะนี้ เป็นความหวังในการค้นหาความหมายของชีวิต เป็น
การตอบรับองค์ภวันต์สูงสุดที่ไม่มีข้อจำกัดใดๆ เลย (infinite Being)
มาร์เซล แยกแยะระหว่างกิจการที่แสดงความหวังอย่างเฉพาะเจาะจง (speci-
fic acts of hope) กับความหวังสัมบูรณ์ (absolute hope) แม้ว่าความหวังของมนุษย์ในตอนแรกจะ
เป็นความหวังในหลายสิ่งหลายอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ในที่สุด เราก็ข้ามผ่านสิ่งเหล่านั้นเพื่อมุ่งสู่
ความหวังหนึ่งเดียว คือ ความหวังสัมบูรณ์ ความหวังในพระเจ้าสูงสุด ความหวังสัมบูรณ์เป็นท่าทีที่
เราค้นพบเมื่อวิเคราะห์กิจการต่างๆ ที่แสดงความหวังของเรา แม้ความหวังในสิ่งที่จำกัด ความหวัง
สัมบูรณ์จึงเป็นความหวังที่ทำให้ชีวิตมีความหมายและมุ่งฟื้นฟูให้เป็นชีวิตใหม่ (Renewal) เมื่อเราอ่าน

129
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

พระคัมภีร์เราจะพบว่า ความหวังของอับราฮัมที่จะได้บางสิ่งบางอย่างก็มีพื้นฐานในพระสัญญาของ
พระเจ้า ดังนั้น ความหวังของอับราฮัมมีพื้นฐานในพระเจ้า บ่อเกิดของชีวิตและความดีทุกประการ
ถ้าเราจะเปรียบเทียบแนวความคิดของ ซาร์ตร์ กับ มาร์เซล เราสรุปได้ว่า
ซาร์ตร์ มองชีวิตในแง่ลบเป็นชีวิตที่ ไม่มีความหมาย ส่วนมาร์เซลมองชีวิตในแง่บวกเป็นชีวิตที่มี
ความหมายและเต็มไปด้วยความหวัง ทำไมนักปรัชญาทั้งสองคนนี้จึงมองชีวิตต่างกัน เหตุผลก็คือ
ชีวิตมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี และประสบการณ์ของมนุษย์ก็คลุมเครือ ทรรศนะของนักปรัชญาแต่ละ
คนก็มีลักษณะของความเชื่อ ซาร์ตร์เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าและโลกไร้ความหมาย (Atheistic nihilism)
อุตรภาพของมนุษย์จึงเป็นเหมือนการที่ธรรมชาติประชดมนุษย์ (irony) ส่วนมาร์เซลเชื่อว่ามีพระเจ้า
ผู้ทรงค้ำจุนโลกของเรา อุตรภาพของมนุษย์จึงแสดงออกในความหวัง แม้ชีวิตของมนุษย์จะยังคลุม
เครืออยู่ก็ตาม
1.1.3 แอร์นสท บล็อค (Ernst Bloch)
บล็อคเป็นนักปรัชญาร่วมสมัยชาวเยอรมัน ที่มุ่งความสนใจไปที่เรื่องความหวัง
งานของเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxist) ที่มองว่าศาสนาเปรียบ
เหมือน “ฝิ่น หรือยาเสพติดของประชาชน”
บล็อคจึงศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับโลกของความฝันและจินตนาการของมนุษย์
ที่เราพบในวรรณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม เขาได้สรุปว่า ธรรมชาติที่ลึกซึ้งของมนุษย์เป็นผู้มีความ
หวัง
มนุษย์เป็นบุคคลทีม่ คี วามฝันเกีย่ วกับอนาคต และพยายามต่อสูด้ นิ้ รนเพือ่ ให้ชวี ติ
บรรลุถึงความฝันนี้ ชีวิตของมนุษย์จึงมีเป้าหมายที่เปิดกว้าง (Open-ended) มุ่งตรงสู่อนาคตที่ยัง
มาไม่ถึง ความหวังแสดงว่ามนุษย์ไม่สมบูรณ์ และเป็นท่าทีของมนุษย์ที่ไม่ยอมให้อดีตและปัจจุบัน
จำกัดชีวิตของตน ความหวังเปิดมนุษย์ให้ออกจากความจำกัดของสภาพปัจจุบันนำไปสู่อนาคต มนุษย์
จึงเป็นสิ่งสร้างที่มีความหวัง

130
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

โลกทั้งโลกก็จำกัดอยู่ แต่มนุษย์มีหน้าที่จะพัฒนาโลกให้สมบูรณ์ แก่นแท้ของ


มนุษย์ไม่อยู่ในปัจจุบัน แต่อยู่ในอนาคต มนุษย์ในปัจจุบันคือ “ความมีอยู่” (Existence) แต่มนุษย์
ในอนาคตคือ “สารัตถะ” (essence) มนุษย์จึงยังไม่เป็นดังที่ควรเป็น อยู่ในสภาพที่เรียกกันว่า
“อัญภาวะ” (alienation) กิจการของมนุษย์ในประวัติศาสตร์เท่านั้นอาจทำให้ขจัดอัญภาวะได้ มนุษย์
เป็นเมล็ดพันธุ์สู่การปฏิวัติสังคมเพราะมีความหวัง ความหวังจึงเป็นพลวัตรกระตุ้นประชาชนให้
ออกแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา
บล็อคคิดว่า พระเจ้าของคริสตชนทรงอยู่ห่างไกล ไม่ทรงส่งเสริมการปฏิรูป
ดังกล่าว แต่โดยแท้จริงแล้ว พระคัมภีร์เน้นว่าความหวังจะต้องเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่งอยู่ในความ
รับผิดชอบของมนุษย์ คำว่า พระเจ้า ไม่หมายถึงผู้ที่สถิตในสวรรค์ แต่หมายถึงมนุษย์ในอนาคต ซึ่ง
เรายังไม่รู้จะเป็นอย่างไร อุตรภาพของมนุษย์ คือ ความหวังที่มนุษย์มีถึงโลกใหม่ที่ดีกว่าโลกปัจจุบัน
ความหวังจะทำให้สิ่งที่เป็นไปได้จะเป็นความจริง
1.1.4 คาร์ล ราเนอร์ (Karl Rahner)
คาร์ล ราเนอร์ เป็นนักเทววิทยาคาทอลิกชาวเยอรมันที่ใช้ปรัชญาเพื่อวิเคราะห์
ความหมายของอุตรภาพของมนุษย์เขามีความคิดว่า มนุษย์สามารถออกจากตนเองเข้าสัมพันธ์กับ
ผู้อื่นและกับสิ่งของด้วยความสัมพันธ์ที่มีชีวิต อุตรภาพของมนุษย์แสดงออกในการเสวนา และใน
การที่มนุษย์แสวงหาความหมายและความสมบูรณ์ ธรรมชาติของมนุษย์เป็นแบบพลวัตร (dynamic)
เป็นเหมือนการเดินทางเพื่อมุ่งสู่ความสมบูรณ์ ค้นหาความหมายของชีวิต ไม่ว่ามนุษย์จะพบความ
หมายใดก็ยังต้องการมากกว่านั้น มนุษย์จึงมุ่งไปสู่ธรรมล้ำลึกขององค์สัมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นความหมาย
สมบูรณ์ของตน
ราเนอร์ อธิบายว่า มนุษย์มีสมรรถภาพโดยธรรมชาติ (innate power) ที่
สามารถออกจากตนเอง เพื่อมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แต่จากประสบการณ์ชีวิต จิตใจของมนุษย์
ไม่อาจจะบรรลุถึงความปรารถนาสูงสุดได้โดยการติดยึดอยู่กับสิ่งต่างๆ ในโลก ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์
ที่สุด ทุกอย่างล้วนมีข้อจำกัด

131
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ชีวิตของมนุษย์จึงเหมือนกับได้รับแรงดึงดูด (แบบแม่เหล็ก) จากสิ่งสูงสุด (The


Absolute) ให้มุ่งแสวงหา ราเนอร์ คิดว่า แรงดังกล่าวคือพระเจ้านั่นเอง
ราเนอร์ ยังชี้แจงต่อไปอีกว่า มนุษย์เรามีความหวังในหลายระดับ แต่ความหวัง
สูงสุดก็คือ ความหวังแบบอุตรภาพ (Transcendence hope) ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของมาร์เซล
ที่เรียกว่า ความหวังสัมบูรณ์ (absolute hope) ความหวังนี้เป็นความหวังที่ตอบสนองความปรารถนา
ทั้งสิ้นของมนุษย์
สรุป
ความหวังเป็นรากฐานสำคัญของการข้ามผ่านอดีตและปัจจุบันไปสู่อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
จึงมีลักษณะอุตรภาพ ความหวังพาเรามุ่งสู่ความสำเร็จในชีวิต ไม่ใช่ความสำเร็จในสิ่งต่างๆ ที่มี
ข้อจำกัดซึ่งมีอยู่ในโลก และสามารถครอบครองได้เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นความสำเร็จใน
ชีวิตที่เราจะครอบครองได้ยาวนานตลอดไป
ความหวังจึงเป็นปรากฏการณ์ของมนุษย์ที่จำเป็นที่เราต้องนำมาไตร่ตรอง ความหวังเป็น
พื้นฐาน เป็นหนทางของการข้ามผ่านหรือเลยโพ้นไปจากขีดจำกัดของประสบการณ์ชีวิตในปัจจุบัน
เพื่อมุ่งสู่อนาคต เรื่องอนันตกาลเกี่ยวข้องโดยตรงกับปรัชญาของความหวัง และปรัชญาของความ
หวังก็อยู่ในขอบเขตของเทววิทยาเช่นเดียวกัน
1.2 มนุษย์อยู่ในกาลเวลาและในประวัติศาสตร์ (Time and Historicity)
การแสวงหาความหมายของชีวิตมนุษย์มีพื้นฐานบนความมั่นใจว่า มนุษย์สามารถรู้และ
รักความเป็นจริง แต่เราไม่รู้และรักความเป็นจริงตั้งแต่เริ่มต้นของชีวิต เราสามารถเลือกว่าจะเป็น
บุคคลแบบใด แต่เรายังไม่เป็นบุคคลแบบนั้นมาแต่กำเนิด ชีวิตมนุษย์ก็คือการเปลี่ยนแปลง และ
เราจะต้องกลายเป็นดังที่เราอยากเป็น ประสบการณ์ของการกลายเป็นเช่นนี้ทำให้เราสำนึกว่า เรา
ทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์พร้อม เราอยู่ในขบวนการต่อเนื่องของเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ในโลก
ของบุคคลและสิ่งต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเราในระดับต่างๆ

132
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

โครงสร้างที่ซับซ้อนมีอิทธิพลต่อเราเช่นนี้ คือ เวลา บุคคล และสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเรียก


ได้ว่า การอยู่ในประวัติศาสตร์ (Historicity) การแสวงหาความหมายและความสมบูรณ์ของชีวิตเรา
ต้องดำเนินไปในกาลเวลา ดังนั้น การอยู่ในกาลเวลาและในประวัติศาสตร์จึงทำให้เราตระหนักได้ว่า
เราเป็นสิ่งหนึ่งที่ยังไม่สมบูรณ์ในโลก การที่มนุษย์มุ่งพัฒนาตนเองเพื่อบรรลุถึงสภาพที่ยังไม่เป็นก็
เป็นประสบการณ์ในกาลเวลา การไตร่ตรองเกี่ยวกับลักษณะมนุษย์ที่อยู่ในกาลเวลาและในประวัติ-
ศาสตร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงรากฐานของความหวังในฐานะเป็นมนุษย์
“กาลเวลาคืออะไร” นักเทววิทยาในหลายสมัยได้ตั้งคำถามนี้ขึ้นมา แต่ยังไม่ได้คำตอบ
ที่พอใจ นักบุญออกัสตินมีข้อเขียนที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาถามตนเองว่า
“เวลาคืออะไร ถ้าไม่มีใครถาม ข้าพเจ้าก็รู้ แต่ถ้าข้าพเจ้าต้องการจะอธิบายแก่ผู้ที่ถาม
ข้าพเจ้าก็ตอบไม่ได้ ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าขอยืนยันด้วยความมั่นใจว่า ข้าพเจ้ารู้ว่ากาลเวลาคืออะไร
ถ้าทุกสิ่งคงอยู่อย่างมั่นคงไม่ผ่านพ้นไป ก็จะไม่มีอดีต ถ้าสิ่งใดจะไม่มาถึงก็จะไม่มีอนาคต และถ้าไม่
มีอะไรเป็นอยู่ก็ย่อมไม่มีปัจจุบันด้วย”
จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะพูดถึงเวลา เมื่ออดีตไม่ได้ปรากฏอีกแล้ว และอนาคตก็ยังไม่
เกิดขึ้น มีแต่ปัจจุบันที่ดูเหมือนจะเป็นอยู่จริง และเป็นธรรมชาติของปัจจุบันที่ต้องผ่านไปเป็นอดีต
มิฉะนั้น ก็จะไม่มีเวลา มีแต่นิรันดรภาพ เมื่อต้องเผชิญกับความซับซ้อนของเวลาเช่นนี้ นักวิมัตินิยม
(Skeptics) ปฏิเสธการปรากฏจริงของเวลา ซึ่งนักบุญออกัสตินรับไม่ได้ อีกแง่หนึ่ง ประสบการณ์
ที่เราทุกคนมีเกี่ยวกับเวลาอาจจะหลอกเราก็ได้
ในการพิจารณาไตร่ตรองเรื่องกาลเวลา นักบุญออกัสตินได้เริ่มวางความคิดที่นัก
ปรัชญาต่อมาได้พัฒนาต่อ เช่น ฮุสเซิร์ล (Husserl) ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) และ คาร์ล ราเนอร์
(Rahner) การไตร่ตรองเรื่องธรรมชาติของกาลเวลานี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเข้าใจลักษณะของชีวิต
มนุษย์ว่าจำเป็นต้องอยู่ในประวัติศาสตร์และเพื่อเข้าใจภาษาที่ ใช้ในอนันตวิทยา ดังนั้น เราจะมา
พิจารณาความคิดของนักบุญออกัสตินอย่างละเอียด เพื่อจะได้เห็นความสัมพันธ์ของความคิดของเขา
กับอนันตกาลร่วมสมัย

133
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

1.2.1 นักบุญออกัสติน
ปอล ริเคอร์ (Paul Ricoeur) กล่าวว่าความคิดของนักบุญออกัสตินในเรื่องกาล
เวลานั้นเป็นการหยั่งรู้แบบอัจฉริยะอย่างแท้จริง เพราะนักบุญออกัสตินมีจิตสำนึกว่าความเข้าใจถึง
กาลเวลาที่คนทั่วไปคิดนั้นยังไม่เพียงพอ แม้ความคิดของอริสโตเติลที่นิยามว่า เวลาคือหน่วยวัดการ
เคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ยังไม่พอ แน่นอน มีกาลเวลาที่นับได้โดยนาฬิกาและปฏิทิน
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นกาลเวลาทางวัตถุวิสัย แต่กาลเวลาทางวัตถุวิสัยก็อยู่นอกประสบการณ์และนอกจิต
ใจของมนุษย์ ถ้าเรามองกาลเวลาเป็นเพียงการวัดความเคลื่อนไหวของโลกทางวัตถุวิสัย ก็ยังไม่เป็น
ปัญหาทางด้านปรัชญาในด้านการเปลี่ยนแปลงของโลก มีแต่ปัจจุบัน ไม่มีอดีตและไม่มีอนาคต สิ่ง
ที่เป็นความจริงทางวัตถุและทางกายภาพก็เป็นเพียงแต่ปัจจุบัน นี่เป็นเหตุผลที่นักวิมัตินิยม (Skep-
tics) ปฏิเสธประสบการณ์ของกาลเวลาว่าเป็นดังภาพลวงตา
ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อเราหันมามองดูโลกภายในจิตใจของมนุษย์ ดังนั้น เราต้อง
มองกาลเวลาในแง่ที่เป็นคุณภาพของประสบการณ์มนุษย์มากกว่าการวัดความเป็นจริง เพราะเป็น
จิตใจมนุษย์ที่ประสบกระบวนการเคลื่อนไหวของกาลเวลา จากอดีตสู่ปัจจุบันและสู่อนาคต
จริงอยู่ กาลเวลาทางกายภาพมีเพียงปัจจุบัน แต่กาลเวลาทางจิตวิทยาของ
มนุษย์ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเรามีประสบการณ์ว่าเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้วยังคงอยู่ในจิตใจของ
เรา ประสบการณ์ในปัจจุบันขึ้นกับประสบการณ์ในอดีต อดีตยังอยู่กับเราแม้ในเวลานี้ ความเป็นจริง
ทางกายภาพที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้นกลับเป็นความทรงจำ (Memory) ทางจิตใจ อดีตกลายเป็น
ปัจจุบันสำหรับมนุษย์ที่มีความทรงจำ และในรูปแบบของความทรงจำ ถ้ามองความเป็นจริงทาง
กายภาพ อดีตก็ผ่านไปแล้ว แต่อดีตนั้นกระทบจิตใจของเราที่กำลังมีประสบการณ์ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
จิตใจของเราเหมือนกับยืดออกมาจากประสบการณ์ปัจจุบันทางกายภาพเพื่อไปรับประสบการณ์ที่
เคยมีในอดีต ประสบการณ์ของกาลเวลาที่ผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบันนั้นนักบุญออกัสติน เรียกว่า “การ
ยืดตัวของจิตใจ” จิตใจเป็นปัจจุบันในลักษณะที่อดีตยังคงอยู่ในรูปของความทรงจำ

134
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

แล้วอนาคตล่ะเป็นอย่างไร อนาคตยังไม่ได้เป็นจริงเลยในแง่กายภาพ เราจึง


ใช้แนวคิดเรื่องความทรงจำเช่นเดียวกับอดีตไม่ได้ เราไม่สามารถระลึกถึงสิ่งที่ไม่เคยมีประสบการณ์
นักบุญออกัสตินใช้แนวความคิดเรื่องการรอคอยเพื่ออธิบายอนาคตในรูปของ “ความคาดหวัง” (ex-
pectation) อดีตกระทบกระเทือนประสบการณ์ปัจจุบันทางความทรงจำฉันใด ความเป็นไปได้ของ
อนาคตก็กระทบกระเทือนประสบการณ์ปัจจุบันทางความคาดหวังฉันนั้น อดีตอยู่ในปัจจุบันในรูป
แบบของความทรงจำฉันใด อนาคตก็อยู่ในปัจจุบันในรูปแบบของการคาดหวังฉันนั้น
ดังนั้น ความทรงจำและความคาดหวังเป็นมิติของประสบการณ์ปัจจุบัน นักบุญ
ออกัสตินอธิบายว่า ประสบการณ์ของกาลเวลาเป็นประสบการณ์ปัจจุบันที่มีสามระดับซ้อนกันอยู่
กาลเวลาปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์ปัจจุบันดังที่นาฬิกาบอกเวลา แต่ยังได้รับอิทธิพลจากอดีต
ที่ยังคงอยู่ในจิตใจเพราะความทรงจำ และเป็นปัจจุบันที่ไม่ยอมให้อดีตเป็นมาตรการวัดสิ่งที่จะเป็น
ไปได้ในอนาคต จิตใจเปิดตัวที่จะคาดหวังอนาคตคือเปิดที่จะรับสิ่งที่เกินข้อจำกัดในอดีต และเปิดที่จะ
รับสิ่งใหม่ที่ยังคาดคะเนไม่ได้ ดังนั้น ชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตในปัจจุบันซึ่งมาจากอดีตและไปสู่อนาคต
นักบุญออกัสตินใช้คำเทคนิคคำเดียวง่ายๆ เพื่ออธิบายความเข้าใจเรื่องกาลเวลา
คือ “การยืดตัวของจิตใจ” (distentio animi) ด้วยวิธีนี้เขาทำให้กาลเวลาไม่เป็นมิติของโลกเท่านั้น
แต่เป็นปรากฏการณ์ของมนุษย์อย่างชัดเจน “ข้าพเจ้าคิดว่ากาลเวลาไม่ใช่สิ่งใดนอกจากการยืดตัวของ
จิตใจนั่นเอง”
ความคิดที่ว่า กาลเวลารวมอดีตและอนาคตในปัจจุบันเป็นก้าวสำคัญในประวัติ-
ศาสตร์ ความคิดไตร่ตรองของคริสตชน เป็นการแยกตัวออกจากความคิดของชาวกรีกโบราณใน
เรื่องของกาลเวลาและประวัติศาสตร์ที่ว่ากาลเวลาเป็นวงจรธรรมชาติที่เวียนวนซ้ำไปซ้ำมา เมื่อ
นักบุญกัสตินเข้าใจว่า กาลเวลาเป็นการยืดตัวของจิตใจ เขาจึงอธิบายความจริงจากธรรมประเพณี
ของชาวยิวและคริสตชนอย่างชัดเจน เช่น มนุษยชาติไม่เป็นเพียงทาสของของชะตากรรมแต่เป็นผู้
สร้างประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แตกต่างกัน มีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญกว่า
และมีผลสำหรับมนุษย์ทุกคน เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นครั้งเดียวตลอดไป และในเวลาเดียวกันยังมี

135
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ความหมายสำหรับมนุษย์ทุกคน ความเข้าใจถึงกาลเวลาของนักบุญออกัสตินสำคัญมากทั้งในแง่
ปรัชญาและเทววิทยา เพราะมองกาลเวลาเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์
1.2.2 คาร์ล ราเนอร์
คาร์ล ราเนอร์ มีความคิดเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ของนักบุญออกัสติน เขา
คิดว่ามนุษย์เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับกาลเวลาอย่างพิเศษ มนุษย์ไม่เพียงอยู่ในกาลเวลา แต่มีจิต
สำนึกถึงการดำรงอยู่ในเวลา งานหลักของชีวิตมนุษย์ คือ ทำให้ประสบการณ์ปัจจุบันของเรามีความ
หมาย เราพบตนเองและมีชีวิตในปัจจุบันอย่างแท้จริงในความหมายนั้น จากการวิเคราะห์ของ
นักบุญออกัสติน ราเนอร์สอนว่า เราไม่อาจเข้าใจประสบการณ์ปัจจุบันอย่างดีถ้าไม่ออกจากกาล
เวลาปัจจุบันในสองทิศทาง คือ ต้องย้อนหลังสำนึกถึงบทบาทของอดีตในปัจจุบัน และการมองไป
ข้างหน้าสู่อนาคต การมองอดีตนั้นราเนอร์เรียกว่า “การระลึกถึง” (anamnesis) ซึ่งเป็นคำกรีก
หมายถึงความทรงจำ และไม่ใช่การระลึกถึงมโนภาพที่เป็นนามธรรมของประสบการณ์ในอดีตเท่านั้น
แต่หมายถึงอดีตที่เป็นรูปธรรมอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย เช่นเดียวกันก็ต้องมีอีกมิติหนึ่งที่มุ่งไปสู่อนาคต
เพราะเราไม่สามารถเข้าใจอดีตและปัจจุบันอย่างสมบูรณ์ถ้าไม่มองศักยภาพที่จะนำความเป็นอยู่
อย่างสมบูรณ์และลึกซึ้งยิ่งกว่า ประสบการณ์มนุษย์ในปัจจุบันสร้างมาจากอดีตและเปิดสู่อนาคต
อย่างแท้จริง มนุษย์สามารถที่จะเป็นอีกบางสิ่งที่ยังไม่ได้เป็น อนาคตจึงมีความสำคัญกับความหมาย
ของปัจจุบัน ราเนอร์เรียกมิติจากปัจจุบันสู่อนาคตนี้ว่า “การคาดคะเน” (prognosis) แม้ว่าไม่เป็น
ความรู้ที่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต แต่ยังเป็นความรู้ล่วงหน้าถึงความเป็นไปได้ที่อยู่ต่อหน้าเราใน
ปัจจุบัน การคาดคะเนล่วงหน้านี้เป็นพื้นฐานความเข้าใจ เรื่องความหวังและอนันตกาล
1.2.3 กาลเวลาและอิสรภาพ
เราอาจกล่าวว่าอิสรภาพของมนุษย์ปรากฏอยู่ในกาลเวลา เพราะในความสัมพันธ์
กับอดีตและอนาคตเราพบอิสระที่แท้จริงของมนุษย์ เรารับอิทธิพลของอดีตก็จริง แต่ไม่ถูกกำหนด
โดยสิ้นเชิง เพราะเรายังสามารถที่จะตัดสินใจยอมรับหรือไม่ยอมรับอิทธิพลบางอย่างได้ มนุษย์
สามารถมองข้ามความจำกัดของอดีต และเปิดสู่อนาคตที่ยังไม่ถูกกำหนด เรายังเลือกได้ว่าต้องการ

136
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

เป็นมนุษย์แบบใด เรารับผิดชอบต่อตนเอง อิสระภาพคือการเลือกวิธีที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชีวิต


คือเลือกว่าต้องการเป็นอย่างไร
ประวัตศิ าสตร์เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ผ่านทางอิสรภาพของมนุษย์ อดีตต้องไม่เป็นทีก่ กั ขัง
แต่ต้องเป็นเหมือนสปริงบอร์ดสู่อนาคต แม้อนาคตมีรากฐานจากอดีตแต่สามารถเกิดสิ่งใหม่ที่ไม่อาจ
คาดคะเนได้
เมื่อเราคิดถึงอดีต เราคิดถึงบุคคลและเหตุการณ์ที่ทำให้เราเป็นเช่นปัจจุบันนี้
คือ มีพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวด เราได้ไปโรงเรียน เราได้รับการสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ใน
ลักษณะนี้อดีตเป็นโซ่ของสาเหตุรองที่ทำให้เกิดผลดีหรือไม่ดี ในชีวิตของเรา แต่ทางด้านเทววิทยา
คำถามเรื่องอดีตไม่ใช่เพียงเรื่องสาเหตุรอง แต่เป็นเรื่องของปฐมเหตุ คือการที่มนุษย์มาจากพระเจ้า
ดังนั้น คำถามเรื่องอดีตของเราผูกพันกับคำสอนเรื่องการสร้าง ทำนองเดียวกัน คำถามเรื่องอนาคต
เกิดขึ้น เมื่อเราวางแผนต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายและแผนการในกาลเวลาและสถานที่ แต่ยังมีคำถาม
เกี่ยวกับอนาคตที่ลึกซึ้งกว่านั้นคือ แผนงานในปัจจุบันของเรามุ่งไปสู่ที่ใด อะไรเป็นอนาคตไม่เพียง
วันพรุ่งนี้หรือสัปดาห์หน้า แต่เป็นอนาคตสัมบูรณ์ซึ่งตอบสนองความหวังทุกประการของมนุษย์ การ
ถามเรื่องอนาคตเช่นนี้คือคำสอนเรื่องอนันตวิทยา
เมื่อเรากล่าวว่ามนุษย์อยู่ในกาลเวลาก็เป็นการยืนยันว่าเราต้องเปิดสู่อนาคต
แม้สิ่งนั้นยังไม่เป็นความ จริงสำหรับเราในปัจจุบัน สิ่งนั้นไม่เป็นสิ่งภายนอกธรรมชาติมนุษย์ แต่เป็น
สิ่งที่ทำให้ธรรมชาติของเราสมบูรณ์ขึ้น
คำถามเรื่องอนาคตสัมบูรณ์เกี่ยวข้องกับหลักการสำคัญทางเทววิทยาที่รู้จัก
ในนามของ “อนันตกาล” มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับตัวเลือกสำคัญ 2 ประการ ที่ต้องตัดสินใจเลือก
อย่างใดอย่างหนึ่งจากคำถามที่ว่า ชีวิตมนุษย์มีความหมายแบบสมบูรณ์ถาวรหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่
หมายความว่าชีวิตมนุษย์มุ่งไปสู่ความว่างเปล่า หรือจะตอบว่าชีวิตมนุษย์มีความหมาย ทั้งๆ ที่เราไม่
สามารถบอกอย่างชัดเจนว่าความหมายนั้นอยู่ในความสำเร็จประการใดประการหนึ่ง ไม่ว่าจะตอบ
อย่างไร เราต้องตัดสินใจโดยอาศัยความเชื่อ เพราะคำตอบทั้งสองประการไม่สามารถพิสูจน์ด้วย
เหตุผลใดๆ ได้

137
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ความเชื่อของผู้ที่ตอบว่า “ไม่” เป็นความเชื่อแบบสุญนิยม (Nihilistic) คือความ


เชื่อแบบ ซาร์ตร์ ที่สอนว่าชีวิตมนุษย์ไร้เหตุผล เขาคิดว่าแม้มนุษย์แต่ละคนอาจจะมีความหวัง แต่
ในที่สุดความเป็นจริง (ก็) ไว้ใจไม่ได้ ความหวังของเราไร้เหตุผลนอกจากหวังความสำเร็จในแต่ละวัน
เพราะจิตใจมนุษย์แสวงหาความสมบูรณ์ ซาร์ตร์ คิดว่า มนุษย์จะประสบความสิ้นหวังเท่านั้น
ความเชื่อของผู้ที่ตอบว่า “ชีวิตมนุษย์มีความหมายสมบูรณ์ถาวร” เป็นความเชื่อ
ในพระเจ้า คือ เชื่อว่าแม้เราจะผิดหวังในการแสวงหาความหมายของชีวิตระยะสั้นๆ ในแต่ละวัน
แต่ในที่สุดก็จะพบความหมายที่สมบูรณ์ของชีวิตที่อยู่เหนือโครงการของมนุษย์ ถ้าเราถามว่า ทำไม
มนุษย์มีความไว้ใจเช่นนี้คำตอบก็คือเพราะเชื่อในพระเจ้า คำถามเรื่องพระเจ้าจึงผูกพันกับความหวัง
สัมบูรณ์นี้ เสมือนเป็นด้านทั้งสองของเหรียญ
การไตร่ตรองทางปรัชญาเหล่านี้ช่วยบอกว่า ความหวังเป็นลักษณะสำคัญของ
มนุษย์
1.3 ความสัมพันธ์ (Relation)
มนุษย์เป็นปัจเจกบุคคล เป็นตัวของตัวเอง มีบุคลิกเฉพาะตัว มีประวัติเป็นของตน แต่
ในเวลาเดียวกันไม่มีใครเป็นเจ้าของตนเอง หรือเป็นผลการสร้างของตนเองโดยสิ้นเชิง ความหมาย
ที่สมบูรณ์ของตนจะพบได้ในการเสวนากับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นในโลกรอบตัวเราเท่านั้น ถึงแม้ว่ามี
ส่วนหนึ่งในจิตสำนึกของเราที่ผู้อื่นเข้าไม่ถึงเราไม่สามารถพัฒนาเป็นปัจเจกบุคคล ถ้าปราศจาก
ความสัมพันธ์กับโลกรอบตัวเรา อดีตที่เราได้พูดถึงข้างต้นไม่ใช่อดีตส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นอดีต
ของมนุษย์หลายชั่วอายุคนที่มีชีวิตอยู่ก่อนเรา เป็นโลกแห่งความหมายของมนุษย์ที่สื่อสารกับเราใน
ปัจจุบัน เป็นประวัติศาสตร์รวมของมนุษยชาติที่มีอิทธิพลเหนือเราแต่ละคนในเวลาปัจจุบันอย่าง
ลึกซึ้ง อดีตของแต่ละคนรวมอดีตของผู้อื่นและเป็นส่วนหนึ่งของอดีตของผู้อื่นอีกด้วย ในทำนอง
เดียวกัน อนาคตของแต่ละคนรวมอนาคตของผู้อื่นและเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตของผู้อื่นอีกด้วย
พูดอีกนัยหนึ่ง เราไม่เป็นเพียงปัจเจกบุคคล แต่เราเป็นสัตว์สังคมอีกด้วย เราอาจพบ
ความจริงและลักษณะเฉพาะของเราได้ โดยผ่านทางความเป็นจริงของธรรมชาติในสังคมเท่านั้น

138
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ความสมบูรณ์ของการเป็นปัจเจกบุคคลขึ้นกับความพยายามที่จะดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ คือ ยอม


รับว่าเราเป็นสัตว์สังคมและเลือกอย่างอิสระที่จะดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น เพราะเราจะบรรลุถึงความ
หมายสมบูรณ์ของชีวิต ถ้ามีความสัมพันธ์กับผู้อื่นผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงพื้นฐานของธรรมชาติ
มนุษย์นี้ก็จะดำเนินชีวิตแบบเพ้อฝัน เป็นการหลอกตนเองเป็นการเลือกดำเนินชีวิตโดยจงใจในแบบที่
ขัดกับธรรมชาติมนุษย์
ถ้าอนันตกาลเป็นคำถามเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของมนุษย์ ก็ไม่เป็นเพียงของมนุษย์
คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นจุดหมายปลายทางของมนุษยชาติ อนันตวิทยาของบรรดานักอัสมาจารย์มักจะ
เน้นชะตากรรมของปัจเจกบุคคลมากเกินไป แต่ในสมัยปัจจุบัน นักเทววิทยาก็มีแนวโน้มที่จะเน้น
ชะตะกรรมส่วนรวมของ มนุษยชาติมากเกินไปเช่นกัน อนันตวิทยาจะต้องเกี่ยวข้องกับลักษณะทั้ง
สอง คือ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมอย่างมีสมดุล

2. ภาษาของอนาคตและสัญลักษณ์ของอนันตกาล (Language of the Future and Eschatological


Symbols)
อนันตกาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระเจ้าและโลกเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นระหว่างโลกกับพระเจ้า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มีคำถามเกี่ยวกับภาษาของอนันตกาล ถ้าคำ
นิยามของอนาคตคือ บางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่เป็นอยู่แล้ว เราจะรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับอนาคต
แนวคิดสมัยใหม่มองศาสนาโดยทั่วไปและโดยเฉพาะคริสต์ศาสนาว่าเป็นการพิจารณาสิ่งที่
ไม่เป็นความจริง ลุดวิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach) มองพระเจ้าของคริสตชนเป็นเหมือน
ภาพขยายความดีที่พบในมนุษย์ เป็นภาพที่ขยายมากสุดที่จะคาดคะเนได้
2.1 ธรรมชาติของภาษาอนันตกาล
ในภาคแรกของบทนี้ เราพยายามอธิบายแหล่งที่มาของความหวังของมนุษย์ มนุษย์
สามารถคาดคะเนสิ่งที่ใหญ่กว่าปัจจุบันโดยเข้าสัมพันธ์กับโลก เราพยายามจะสรุปความคิดบางอย่าง
ที่จะช่วยให้เข้าใจภาษาของอนันตกาล

139
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ปรัชญาญาณวิทยาได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างรัดกุมในความเข้าใจเรื่องเวลา เขาชี้ว่า เรา


รู้ปัจจุบันในตัวมันเอง เราไม่รู้จักอดีตในตัวมันเอง แต่เราจดจำมันในความคิดของเรา เราไม่สามารถ
รู้อนาคตในตัวมันเองแต่เราสามารถคาดการณ์อนาคตจากการประมวลภาพอดีตและปัจจุบัน การ
คาดคะเนภายใต้การวิเคราะห์ภาษาเกี่ยวกับภาพอนาคต เป็นผลจากพลังจินตนาการที่พยายามเข้า
ไปเลยความจำกัดของประสบการณ์อดีตและปัจจุบันเพื่อเข้าสู่ความเป็นจริงอีกระดับหนึ่ง ในความ
รู้สึกนี้เราเห็นได้ว่าภาษาเกี่ยวกับอนาคตที่มาจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นภาพ
รวมของอดีตที่เป็นการมุ่งสู่อนาคต ความตั้งใจเชิงบวกในมุมมองของอนาคตจะได้รับจากมุมมอง
บวกของปัจจุบันและจะพัฒนาขึ้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต สิ่งดีๆ ที่เราประสบในปัจจุบัน หลุดพ้น
จากความจำกัดต่างๆ และกลายเป็นความฝันในอนาคตของเรา
ราเนอร์ ได้เสนอกุญแจที่ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของภาษาอนันตกาลได้ดียิ่งขึ้น
เป็นกุญแจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาอนันตกาลโดยตรงเพื่อจะเข้าใจถึงเรื่องของเวลานี้ อนันตกาลเป็น
การมองเห็นจุดหมายล่วงหน้าซึ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในการตัดสินใจอย่างอิสระ โดยเกิดขึ้นจากมุม
มองปัจจุบันในสถานการณ์ชีวิตของตนในความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเจ้า หากสิ่ง
เหล่านี้เป็นกฎพื้นฐานดังที่ ราเนอร์ ได้เสนอแล้ว จึงมีความหมายเกี่ยวข้องสำหรับการตีความภาษา
ของอนันตกาล
ประการแรก เป็นที่ชัดเจนว่า กฎพื้นฐานนี้ประสานกลมกลืนกับการวิเคราะห์ความหมาย
ของกาลเวลาดังที่เราเสนอไว้แล้ว และประสานกลมกลืนกับการวิเคราะห์ความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับ
อนาคต ความพยายามที่จะพูดถึงอนาคตขึ้นกับประสบการณ์ปัจจุบันของมนุษย์ เราไม่สามารถรู้ถึง
อนาคตในวิธีเดียวกับที่เรารู้จักปัจจุบัน เราสามารถพูดถึงอนาคตด้วยภาษาและความคิดที่เป็นเพียง
อนาคตของมนุษย์หรืออนาคตในอนันตกาลดังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ ที่สามารถคิดได้เพียงจาก
ประสบการณ์ปัจจุบันของมนุษย์ ซึ่งเราสามารถเห็นได้โดยมีพื้นฐานจากอดีต แหล่งที่มาของภาษา
อนันตกาลพบได้ในประสบการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์
แห่งความรอดพ้น ซึ่งเปิดความหวังแบบใหม่โดยเฉพาะแก่มนุษย์

140
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

ประการต่อมา เป็นที่ชัดเจนในถ้อยคำของ ราเนอร์ ที่เขาคิดว่าประสบการณ์แห่งความ


เชื่อและพระหรรษทานปัจจุบันจากสายตาผู้มีความเชื่อมองอนาคตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระหรรษทาน
ซึ่งประสบการณ์นั้นจำกัดอยู่ที่เพียงสิ่งที่เห็นได้ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น อนันตกาลจึงสัมพันธ์กับ
บุคคลที่ได้รับการกอบกู้ ดังที่เขาเป็นในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่อยู่บนพื้นฐานของผู้มีความเชื่อซึ่งรู้ว่า
อะไรจะมาถึง สิ่งที่จะมาถึงนั้นเป็นความสัมพันธ์สุดท้ายระหว่างสิ่งสร้างกับพระผู้สร้าง จึงเป็นสิ่งที่เร
าไม่สามารถเข้าใจอย่างชัดแจ้งโดยพื้นฐานเช่นเดียวกับสติปัญญาของมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจเทวภาพ
ของพระองค์อย่างชัดเจน เมื่อมองในแง่นี้ อนันตกาลจึงเป็นความรู้เกี่ยวกับบางอย่างในอนาคต น้อ
ยกว่าการคาดคะเนด้วยความหวังถึงความสมบูรณ์ของธรรมล้ำลึกแห่งพระหรรษทานที่เป็นประสบการ
ณ์แล้วเวลานี้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ประการสุดท้าย ประสบการณ์พระหรรษทานในปัจจุบัน เป็นประสบการณ์ธรรมล้ำลึก
ของการช่วยให้รอดพ้นจากพระเจ้าโดยทางพระเยซูเจ้า จากประเด็นนี้จะเห็นว่าปัญหาเรื่องอนันตกาล
แสดงออกอย่างชัดเจนในมิติของคริสตชน คริสตชนต้องตะหนักถึงความเป็นจริงของพระหรรษทาน
ในฐานะที่เป็นพระหรรษทานซึ่งเป็นรูปธรรมในพระชนมชีพ การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระ-
ชนมชีพของพระเยซูเจ้า ดังนั้น การคาดคะเนถึงอนาคตที่สมบูรณ์ของคริสตชนในอนันตกาลต้อง
มาจากการพิจารณาเหตุการณ์ในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า อนันตกาลในอนาคตเปิดสำหรับเรา
แล้ว โดยทางธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้า ดังนั้น เราต้องยอมรับว่าความจริงนี้ทำให้อนันตกาลมี
ลักษณะของคริสตชนโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ตามมาคือเหตุการณ์ต่างๆ ในพระชนมชีพของ
พระคริสตเจ้า จึงเป็นมาตราการเพื่อเข้าใจอนาคตของอนันตกาล
2.2 ภาษาอนันตกาลไม่ใช่การตีความตามตัวอักษร
ข้อสังเกตทั่วไปเกี่ยวกับภาษาอนันตกาล เป็นภาษาที่ตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ทั่วไปของการ
ตีความเชิงอุปมาภาษาในเทววิทยา ภาษาอุปมาดังที่ธรรมประเพณีทางเทววิทยาได้ทำความเข้าใจมา
รวมถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เปรียบเทียบ อย่างน้อยที่สุด ความเข้าใจเช่นนี้
หมายความว่า ภาษาอนันตกาลจะพรรณนาถึงอนาคตตามตัวอักษรไม่ได้

141
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

เราต้องตระหนักหลายอย่าง เมือ่ เราพยายามทีจ่ ะแสดงประสบการณ์ลกึ ๆ และหลักฐาน


สัมพันธ์กับความเป็นจริง ภาษาของมนุษย์จึงเริ่มที่จะต่างกันออกไป เทววิทยาที่เป็นแบบฉบับค้นคิด
ทฤษฎีต่างๆ ในเรื่องการอุปมา (Analogy) ปรัชญาภาษาสมัยใหม่ทำให้เรารู้ความเป็นจริงมากขึ้น
เมื่อเราติดต่อกับพื้นฐานคำถามเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เหตุผลง่ายๆ ของภาษาในชีวิตประจำวันทำให้
เราผิดพลาดได้ และภาษาของเราเริ่มที่จะทำสิ่งไม่ธรรมดา คือ ยืดความหมายเลยออกไปสู่ความ
หมายที่ไม่ธรรมดา สิ่งที่ผิดแปลกบางประการมาในรูปแบบอุปลักษณ์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็น
ไปตามตัวอักษร
ตามความเข้าใจพระคัมภีร์อย่างดีที่สุด ซึ่งเราได้มาทั้งจากประวัติศาสตร์การใช้พระ-
คัมภีร์ของพระศาสนจักร รวมทั้งจากการเรียนวิธีการอธิบายพระคัมภีร์ เราจะไม่เข้าใจความหมาย
ทางศาสนาของพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้งเท่าที่ควร นอกจากว่าเรารู้ความหมายของภาษาสัญลักษณ์
อุปลักษณ์ และรูปแบบอื่นๆ ของภาษาเปรียบเทียบในพระคัมภีร์ ความสำนึกในศาสนาของชาวยิว
และคริสตชนที่มีมาหลายศตวรรษมาแล้ว ถูกปั้น ด้วยอุปลักษณ์กลุ่มหนึ่ง การอ่านอุปลักษณ์เหล่านี้
เหมือนกับว่าเป็นเพียงการถ่ายทอดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ชุดหนึ่ง หรือการสรุปคำสอนและเนื้อหา
ทางศีลธรรมนับว่าเป็นรูปแบบหยาบๆ ของปฏิฐานนิยม (Positivism) ทางเทววิทยา ถ้าภาษาของ
พระคัมภีร์เรื่องอนาคตเป็นการเข้าใจในความสัมพันธ์กับการวิเคราะห์กาลเวลาดังที่อธิบายไว้แต่แรก
ก็เป็นที่ชัดเจนเป็นพิเศษว่าทำไมรูปแบบภาษาของพระคัมภีร์ต้องเป็นภาษาสัญลักษณ์และเป็นภาษา
อุปลักษณ์ ภาษาดังกล่าวนี้ช่วยให้เราเห็นภาพนิมิตของอนาคตแม้เราไม่สามารถบรรยายอย่างละเอียด
การพูดว่าภาษาดังกล่าวเป็นอุปลักษณ์ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้พูดถึงอะไรเลย ตรงกันข้ามเป็นการ
ยืนยันว่ารูปแบบของเรื่องเล่าที่ไม่เป็นตามตัวอักษรแต่เป็นภาษาในเชิงเปรียบเทียบ
สรุปแล้ว ภาษาที่พระคัมภีร์ใช้พูดถึงอนาคตเป็น ภาษาในเชิงเปรียบเทียบอย่างมาก
พระคัมภีร์ใช้สัญลักษณ์ อุปมา และอุปลักษณ์มากมาย ช่วยให้เราเห็นภาพนิมิตของอนาคตสมบูรณ์
และความหมายที่จะพบได้ในขอบข่ายกว้างขวางของความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ความหมายของภาพนี้
นำเรากลับไปยังหน้าแรกๆ ของพระคัมภีร์ ซึ่งบรรยายชีวิตมนุษย์ในสวนเอเดนที่มีความประสาน

142
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

กลมเกลียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าและในหมู่สิ่งสร้างทั้งหลายในโลก พระเจ้าทรงปรารถนาให้สิ่ง
สร้างทั้งหลายมีชีวิตสมบูรณ์ ชีวิตลดลงเพราะมนุษย์เข้าใจตนเองผิดและใช้อิสรภาพในทางที่ผิด
สวนเอเดนเป็นสัญลักษณ์ที่ดีเยี่ยมของชีวิตที่เต็มเปี่ยม ซึ่งพระเจ้าปรารถนาสำหรับสิ่งสร้างทั้งหลาย
ไม่เป็นความบังเอิญที่พระคัมภีร์ของคริสตชนทำให้คำสัญญาถึงสวรรค์ออกมาจากพระโอษฐ์ของ
พระเยซูเจ้าขณะที่กำลังจะสิ้นพระชนม์ (เทียบ ลก 23:43)
2.3 ความจำกัดและหน้าที่ของภาษาอนันตกาล
การไตร่ตรองเกี่ยวกับธรรมชาติของความหมายเชิงอุปมาของภาษาอนันตกาล รวมทั้ง
ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษาอนาคต ช่วยชี้หน้าที่บางอย่างและความจำกัดของ
ภาษาอนันตกาล ชัดเจนว่า การรู้ไม่เหมือนกับการหวัง ความรู้โดยปกติหมายความว่ารับรู้ความจริง
ดังที่เป็น ภาษาที่เราแสดงความรู้รวมคำนิยาม การอ้างเหตุผล การอนุมาน การอุปมานและ
ขบวนการการรู้อื่นๆ (เปรียบเทียบ) ทางปัญญา จุดมุ่งหมายของภาษาดังกล่าวเป็นการแสดงความ
เป็นจริงดังที่เรารับรู้ในเวลานี้ และการกระทำสิ่งนั้นหรือความเป็นจริงนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนเท่าที่
เป็นไปได้ ส่วนการหวังหมายถึงการแสดงความมั่นใจว่า ความเป็นจริงในปัจจุบันยังไม่ได้อยู่ในสภาพ
สมบูรณ์ โลกที่เราอยู่เวลานี้ยังเปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่าเดิมได้ ดังนั้น ภาษาแห่งความหวังจึงไม่มุ่ง
จำกัดความเป็นจริงละเอียดตามที่เป็นอยู่ แต่ต้องการเปิดรับความหมายของความเป็นจริงให้กว้าง
ขวางไปสู่สิ่งที่ยังไม่เป็นอยู่
จากมุมมองความรู้ ความหวังของอนาคตที่ดีกว่าจึงแตกต่างจากความรู้ความเป็นจริง
ของสภาพปัจจุบันของโลก ในแง่หนึ่งความหวังจึงมุ่งเลยพลังของความรู้อย่างถี่ถ้วน ดังนั้นระดับแรก
ของภาษาความหวังมีลักษณะเป็นภาษาของภาพลักษณ์ วาดภาพ และอุปลักษณ์มากกว่าที่จะเป็น
ภาษาที่นิยามตายตัว ถ้านี่เป็นความจริงของภาษาความหวังของมนุษย์โดยทั่วไป ก็เป็นความจริง
มากยิ่งขึ้นในกรณีที่มีความหวังในศาสนาในอนาคตที่พระเจ้าทรงเสนอแก่มนุษยชาติ ถ้าพระเจ้าเป็น
ธรรมล้ำลึกที่ไม่อาจเข้าใจได้และไม่มีวันที่สติปัญญาของมนุษย์เข้าใจได้ ความสัมพันธ์สุดท้ายระหว่าง
มนุษยชาติกับพระธรรมล้ำลึกที่ไม่อาจเข้าใจได้ของพระเจ้าจึงคงเป็นสิ่งที่โดยหลักการมนุษย์ในโลกนี้

143
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๗ ... หลักปรัชญาที่ใช้ในการไตร่ตรองทางเทววิทยา

เข้าใจไม่ได้ โดยแท้จริงแล้ว การเปิดเผยรับรองเราว่าพระเจ้าทรงรักษาความสัมพันธ์นี้ยังเปิดอยู่กับ


เรา และมนุษยชาติจะบรรลุความรอดพ้นและความสมบูรณ์ที่สุดในความสัมพันธ์นี้เอง แต่การเปิดเผย
ยังไม่ได้ให้คำนิยามที่ละเอียดชัดเจนของความสัมพันธ์นี้ ในอีกแง่หนึ่ง การเปิดเผยใช้ภาพลักษณ์
อุปมา และอุปลักษณ์ที่ชี้ ไปถึงความสมบูรณ์ทั้งของความเป็นอยู่และความหมายที่เราหวังจะได้
พร้อมกับมนุษย์อื่นๆ เป็นความสมบูรณ์ที่เราจะพบได้เฉพาะในความสัมพันธ์กับพระเจ้าเท่านั้น ภาษา
นี้จึงเป็นภาษาที่บอกเป็นนัยและกระตุ้นความคิดมากกว่าที่จะบรรยายตามตัวอักษร ทำให้เราเปิดอยู่
ที่จะมีความหมายถึงอนาคตทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ซึ่งอยู่เหนือเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคตประจำวัน
ที่เราเจริญชีวิต เพราะอนาคตที่พระเจ้าทรงสัญญาไม่มีกฏเกณฑ์ใดที่วัดได้เว้นแต่ความรักกว้างขวาง
หาขอบเขตมิได้ของพระเจ้าอนาคตนี้ไม่มีขอบเขตนอกจากขอบเขตที่พบได้ในมนุษย์ที่ไม่ยอมเปิดตัว
เปิดใจอย่างเต็มเปี่ยมต่อการประทับอยู่อย่างเร้นรับของพระเจ้าในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ขณะที่ภาษาของอนันตวิทยาเป็นภาษาของภาพลักษณ์ อุปมา และอุปลักษณ์ แต่ไม่ได้
หมายความว่าเป็นภาษาแห่งความหวังหรือความเพ้อฝัน แม้ความหวังที่พระเจ้าจะประทานอนาคต
อาจทำให้ผู้มีความเชื่อบางคนมีท่าทีเฉยๆ ในชีวิตของตน ท่าทีนี้ไม่ต้องเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ของการรอคอยทางอนันตกาล เป็นความมั่นใจของราเนอร์ที่ว่า เป็นความหวังในอนาคตที่เป็นอุตร-
ภาพและพระเจ้าประทานให้ ซึ่งจะเป็นธรรมล้ำลึกเสมอไป เรื่องการปลดปล่อยมนุษย์จากการเป็น
ทาสของแผนการณ์ในโลกนี้หรือจากคตินิยมใดเกี่ยวกับอนาคต ภาษาที่รักษาอนาคตเช่นนี้ต่อหน้าเรา
ก็ช่วยเราให้เปิดรับอิสรภาพของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ ภาษาดังกล่าวนี้สำคัญ เพราะไม่นิยามและ
ปิดความเป็นจริงอย่างชัดเจน เพียงความเป็นจริงทีเ่ ปิดอยูส่ ามารถเป็นสถานทีท่ ม่ี นุษย์ใช้อสิ รภาพและ
ความรับผิดชอบได้ มองในแง่นี้ ภาษาเกี่ยวกับอนาคตในอุตรภาพมีบทบาทสำคัญในการจัดความรู้สึก
รับผิดชอบโดยละเอียดในประวัติศาสตร์และเพื่อประวัติศาสตร์

144
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like