You are on page 1of 21

1

สรุปยอพัฒนาการประชาธิปไตยของไทย

การเมืองไทยยุคประชาธิปไตย นครินทร เมฆไตรรัตน วิเคราะหการเมืองการปกครอง เปน 4 สมัย 1


คือ 1) สมัยระบอบกึ่งประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 - 2500) 2) สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบไทย (พ.ศ. 2501 -
2516) 3) สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบแบงปนอํานาจ (2516- 2544) และ 4) สมัยประชาธิปไตยแบบรัฐบาล
พรรคเดียว (2544 - 2549)

1. สมัยระบอบกึ่งประชาธิปไตย ( พ.ศ. 2475 - 2500)


พัฒนาการทางการเมืองไทยมีลักษณะของระบอบกึ่งประชาธิปไตย อธิบายไดตามเหตุการณตอไปนี้

- เหตุการณการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


รัฐบาลภายใตคณะราษฎร
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะบุคคลที่เรียกวา “คณะราษฎร” นําโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาได
ปฏิ วั ติ เ ปลี่ ย นแปลงการปกครองจากระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย เ ป น ระบอบประชาธิ ป ไตย โดยมี
รัฐ ธรรมนู ญ ฉบับ แรกในประวั ติ ศ าสตร ก ารเมื อ งแบบประชาธิ ป ไตยของไทย เรี ย กวา “พระราชบัญ ญั ติ
ธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีอายุการใชงานเพียงหา
เดือนเศษ ซึ่งปรากฏแนวคิดประชาธิปไตย ดังปรากฏในมาตรา 1 ของธรรมนูญฉบับนี้วา “อํานาจสูงสุดของ
ประเทศนั้ น เป นของราษฎรทั้ งหลาย” โดยใชอํานาจแทนราษฎรตามที่บัญญัติใ นรั ฐธรรมนู ญฉบับนี้ คือ
กษัตริย สภาผูแทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) และศาล ซึ่งเปนหลักใกลเคียงกับแนวคิด
ประชาธิปไตยตามหลักสากล คือ การแบงแยกอํานาจออกเปน 3 ฝาย คือ ฝายบริหาร ตุลากร และนิติบัญญัติ
ซึ่งไมเคยปรากฏมากอนในสังคมไทย
ตอมารัฐธรรมนูญฉบับถาวรไดถูกนํามาใชในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และใชงานไปถึง พฤษภาคม
2489 ยังคงมีหลักการประชาธิปไตย แตมีความแตกตางในเรื่องการใชอํานาจอธิปไตย ซึ่งระบุวาราษฎรไดมอบ
อํานาจอธิปไตยใหแกพระมหากษัตริย ซึ่งทรงรับเอาและทรงแบงใหคณะบุคคลอื่น ๆ คือ สภาผูแทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี และศาล ซึ่งเทากับกษัตริยอยูเหนือสถาบันทั้งสาม
ปรากฏวาหลังการประกาศใชรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นายปรีดี พนมยงค ไดเสนอ
“เคาโครงเศรษฐกิจ” สงผลใหเกิดความขัดแยงระหวางคณะราษฎรกับกลุมอํานาจเดิม เนื่องจากกลุมอํานาจเดิม
มองวาเคาโครงเศรษฐกิจดังกลาวมีลักษณะแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต ซึ่งเปนแนวคิดที่ฝายอํานาจเดิมได

1
นครินทร เมฆไตรรัตน,พระผูทรงปกเกลา ฯ ประชาธิปไตย : 60 ปสิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย,พิมพครั้งที่ 1,
กรุงเทพ ฯ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,2549.หนา 9-233.
2

แตในที่สุดก็ไมสําเร็จ ความขัดแยงนี้ยุติลงหลังจากพระบาทสมเด็กพระปกเกลาเจาอยูหัวสละพระราช
สมบัติ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 แตเนื่องดวยพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลทรงมีพระชนมายุ
เพียง 9 พรรษาและยังทรงประทับอยูตางประเทศ สงผลใหในชวงเวลาดังกลาว ตองทรงกระทําผานคณะ
ผูสําเร็จราชการแทนพระองค

-รัฐบาลภายใตการนําของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ชวงที่หนึ่ง)


นอกจากความขัดแยงระหวางกลุมราษฎรกับกลุมอํานาจเดิมเกี่ยวกับเคาโครงเศรษฐกิจแลว ยังมีความ
ขัดแยงระหวางคณะราษฎรดวยกันเอง อันสงผลใหฝายคณะราษฎรฝายทหารมีบทบาทางการเมืองในเวลา
ตอมา และไดปูพื้นฐานให จอมพล ป. พิบูลสงคราม เปนนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2481 และอยูในตําแหนง
ยาวนานกวาสองทศวรรษ แมจะมีการสะดุดในชวงสงครามโลกครั้งที่สองจนสิ้นสุดสงคราม
การบริหารงานภายใตจอมพล ป. พิบูลสงครามไดใชอํานาจจากตําแหนงบริหารในรัฐบาลและกองทัพ
กําจัดผูที่มีความเห็นตางทางการเมือง การแกไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายบทเฉพาะกาล (สิงหาคม 2483) เพื่อให
สมาชิกประเภทที่สอง เปนฐานเสียงสนับสนุนรัฐบาล และความเปนอํานาจนิยมรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเขารวม
สงครามโลกครั้งที่สองรวมกับฝายอักษะ แตอํานาจไดลดลงเมื่อฝายอักษะแพสงคราม พรอม ๆ กับการมี
บทบาทของขบวนการเสรีไทยซึ่งสนับสนุนฝายสัมพันธมิตร สงผลใหจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตองลาออก
จากตําแหนงนายกรัฐมนตรี ภายหลังการพายแพในการลงมติพระราชกําหนดระเบียบบริหารราชการนครเพ็ชร
บูรณและพระราชกําหนดจัดสรางพุทธบุรีมณฑล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487
ภายหลังการหมดอํานาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สงผลใหนายปรีดี พนมยงค แกนนําขบวนการ
เสรีไทยขึ้นมามีอํานาจทางการเมือง อยางไรก็ตาม ขบวนการเสรีไทยก็ยังมีความคิดแตกตางเกี่ยวกับแนวคิด
ประชาธิปไตย ซึ่งตางพยายามสรางขึ้นหลังสงคราม ในที่สุดจึงรางรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.
เสนีย ปราโมช เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ทั้งนี้เพื่อใหการปกครองเปน
“ประชาธิปไตยที่แทจริง” ในที่สุดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 ไดผานมติของรัฐสภา สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ คือ การยกเลิกบทเฉพาะกาล การแยกขาราชการประจําออกจากการเมือง เพื่อปองกันมิใหระบอบการ
ปกครองแบบอํานาจนิยมเกิดขึ้นอีก การกําหนดใหสภานิติบัญญัติประกอบดวยสภาผูแทนราษฎรที่มาจากการ
เลือ กตั้งโดยตรง และพฤฒสภา (ต อมาเปลี่ยนชื่อเปน วุฒิสภา) ที่มาจากการเลื อ กตั้ ง โดยออม การยกเลิก
บทบัญญัติมาตรา 11 ที่กําหนดใหพระบรมวงศานุวงศตั้งแตชั้นหมอมเจาขึ้นไปโดยกําเนิดหรือโดยแตงตั้ง อยู
ในฐานะเหนือการเมือง คือ ไมมีสิทธิดําเนินกิจกรรมทางการเมือง
อยางไรก็ ตาม เกิ ด ปญ หาระหวา งนายปรีดี กับนายควง อภั ยวงศ และ ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช ใน
ประเด็นเรื่องอํานาจของพฤฒสภา ในขณะที่สมาชิกสภาผูแทนสวนหนึ่งนําโดยนายควง และ ม.ร.ว. เสนีย ซึ่ง
มีสภาชิกซึ่งประกอบดวยขุนนางในระบอบเกาและผูที่มีแนวคิดในทางอนุรักษนิยมตองการจะจํากัดบทบาท
3

รัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ ไดตั้งสภารางรัฐธรรมนูญ เพื่อรางรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แตกอนจะราง


เสร็จ นายควงจําตองลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรีตามการบีบบังคับของคณะรัฐประหาร พรอมกับได
แตงตั้งจอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นดํารงตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรีแทน รัฐธรรนูญฉบับนี้ไดประกาศใชเมื่อ
มีนาคม พ.ศ. 2492 โดยรักษาหลักการใหสมาชิกวุฒิสภามาจากการแตงตั้งของพระมหากษัตริย เชนเดียวกับ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2490 แตขณะเดียวกันยังยึดการแยกขาราชการประจําและขาราชการการเมือง ให
สิทธิการจัดตั้งพรรคการเมือง และหามขาราชการประจําลงสมัครรับเลือกตั้ง
ในระหวางการรางรัฐธรรมนูญใหม พ.ศ. 2492 นี้ ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช ไดอภิปรายถึงความสัมพันธ
ระหวางระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยกับพระมหากษัตริย วาจะยังคงมีการปกครองแบบกษัตริยไว
หรือไม และเรื่องนี้ไดสืบเนื่องมาจนถึงการระบุขอความวา “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
มีพระมหากษัตริยเปนประมุข” ผลของการอภิปรายดังกลาว แสดงใหเห็นถึงพื้นฐานทางความคิดของหลักการ
ที่วา “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข” และมีอิทธิพลตอ
มโนทัศนวาดวยการปกครองไทยในปจจุบัน
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 นี้ทําใหรัฐสภามีอํานาจในการควบคุมฝายบริหาร ทําใหจอมพล ป. พิบูล
สงครามซึ่งไดรับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ตองปรับคณะรัฐมนตรีหลาย
ครั้งเพื่อตอบสนองตอกลุมและพรรคการเมืองในสภาผูแทนราษฎร และเพื่อรักษาภาพพจนความเปนรัฐบาล
ประชาธิปไตยตอสายตานานาประเทศ แตกติกาความเปนประชาธิปไตยในสมัยจอมพล ป. เปนเรื่องยุงยาก
ดังนั้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2494 จึงไดเกิดรัฐประหารผานวิทยุกระจายเสียง เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2492 และตอมาจึงไดประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่ง
ทําให “ประชาธิปไตย” กลับไปตั้งตนใหมที่ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่ง
สรุป บรรยากาศทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญไดรับรอง
ใหราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง แตตองอยู “ภายใตบังคับแหงกฎหมาย” และสื่อมวลชนถูกจํากัด
4

รัชกาลที่ 7 กับแนวคิดการเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ร.7 มีพระราชดําริในการพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยชวง พ.ศ. 2474 ดังพระราชดํารัสของ
พระองคที่วา “ ... เรามีความประสงคที่จะทดลองและปลูกฝงการศึกษาในวิธีการปรึกษาโตเถียงใหสําเร็จเปน
มติ... ถาหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศตอไปก็จะทําไดโดยสะดวก” พระองค
ทรงมอบหมายใหมีการรางรัฐธรรมนูญขึ้นและคาดวาจะพระราชทานในวันที่ 6 เม.ย. พ.ศ. 2475 แตผูราง
รัฐธรรมนูญไดคัดคานการพระราชทาน และยังไดรับการคัดคานจากอภิรัฐมนตรี จึงทําใหการพระราชทาน
รัฐธรรมนูญไดเกิดขึ้น

การปฎิวัติ พ.ศ. 2475 กับพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว


ณ ยามเชาของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรอันประกอบดวยฝายทหารและพลเรือน ได
กระทําการยึดอํานาจโดยอาศัยวิธีวางกลลวงวาเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงเทพฯ และใชบารมีของนายทหารชั้น
ผูใหญในการระดมทหารไปรวมพลที่หนาพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งทหารที่มารวมพลอยูตางก็มิไดรูวากําลัง
มีสวนรวมในการปฏิวัติยึดอํานาจแตอยางใด
หลังจากทหารมารวมพลหนาพระที่นั่งอนันตสมาคมไดเรียบรอย พอเวลา 6 นาฬิกาตรง พันเอกพระ
ยาพหลพลพยุหเสนาก็ไดอานประกาศแถลงการณของคณะราษฎร มีใจความสําคัญบางสวนวา
...คณะราษฎรไมประสงคทําการแยงชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึ่งไดขอเชิญใหกษัตริยองคนี้ดํารงตําแหนง
กษัตริยตอไป แตจะตองอยูภายใตกฎหมายธรรมนูญการปกครองแผนดิน จะทําอะไรโดยลําพังไมได...
ในขณะที่พ ระบาทสมเด็จ พระปกเกลา เจาอยู หัว ทรงประทับอยู ณ พระราชวั ง ไกลกัง วล หัว หิ น
ประจวบคีรีขันธ ทางคณะราษฎรจึงไดสงนาวาตรีหลวงศุภชลาศัย เดินทางไปเจาเฝา ฯ พรอมกับหนังสือกราบ
บังคมทูลที่มีเนื้อความคอขางรุนแรง มีขอความบางสวนดังนี้
... (คณะราษฎร - ผูเขียน) มีสมเด็จพระเจาพี่ยาเธอ เจาฟากรมพระนครสวรรควรพินิต เปนตน ไว
เปนประกัน ถาหากคณะราษฎรนี้ถูกทํารายดวยประการใด ๆ ก็ตองทํารายเจานายที่คุมไวเปนการตอบแทน...
(คณะราษฎร – ผูเขียน) ขอเชิญใตฝาละอองธุลีพระบาทกลับคืนสูพระนคร ทรงเปนกษัตริยตอไป โดยอยู
ภายใตธรรมนูญการปกครองแผนดิน ซึ่งคณะราษฎรไดสรางขึ้น ถาใตฝาละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี
หรือไมตอบภายใน 1 ชั่วนาฬิกา นับแตไดรับหนังสือก็ดี คณะราษฎรก็จะไดประกาศใชธรรมนูญการปกครอง
5

ฝายพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว เมื่อทรงทราบขาวก็ทรงไดประชุมกับพระบรมวงศานุวงศ
และขาราชการชั้นผูใหญเทาที่มีอยูหัวหินในขณะนั้น และทรงตัดสินพระราชหฤทัยโดยเห็นแกประเทศและ
ความสงบเรียบรอยของบานเมือง และไดทรงเสร็จกลับกรุงเทพ ฯ ในวันที่ 26 มิถุนายน และวันเดียวกันก็
โปรดเกลา ฯ ใหคณะราษฎรเขาเฝา และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกําหนดนิรโทษกรรมใหแกบรรดา
สมาชิกคณะราษฎร และคณะราษฎรไดถวายรางพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามดวย แต
พระองคทรงขอตรวจรางพระราชบัญญัติฉบับดังกลาวกอน ซึ่งพระองคก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุงขึ้น
คือ วันที่ 27 มิถุนายน 2475 โดยทรงพระอักษรกํากับตอทายชื่อพระราชบัญญัตินั้นวา “ชั่วคราว” แม
คณะราษฎรจะประสบความสําเร็จในการกอการปฏิวัติ แตในที่สุดก็เกิดความขัดแยงระหวางคณะราษฎรกับ
กลุมนิยมเจา และนําไปสูการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวในที่สุด
ภายหลังการประสบความสําเร็จในการยึดอํานาจของคณะราษฎร จึงมีธรรมนูญปกครองแผนดิน
สยามชั่วคราว 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการลงพระปรมาภิไธย สงผลใหเกิดสภาผูแทนราษฎร และ
ประชุมกันเปนครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งในที่ประชุมไดเลือกพระยามโนปกรณนิติธาดา เปนประธาน
คณะราษฎร อันเปนตําแหนงเทียบเทานายกรัฐมนตรี ตอมาระหวางการรางรัฐธรรมนูญฉบับใหมคณะราษฎร
จึงไดจัดระเบียบกองทัพใหม โดยปลดนายทหารชั้นผูใหญถึง 41 นาย อันกอใหเกิดการโกรธเคืองเปนอยาง
มาก ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงไดประกาศรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระปกเกลาเจาอยูไดใหความสําคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยางยิ่ง ทั้งนี้เพื่อประคับประคองพระราชอํานาจ
(ใหนักศึกษาดูภาพพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ของ ร.7)
อยางไรก็ตาม ภายหลังประกาศใชรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เกิดความขัดแยงทางความคิดทางการเมือง
เกิดขึ้น ระหวางกลุมอนุรักษนิยม นําโดยหลวงประดิษฐมนูธรรมซึ่งไดรับการศึกษาจากตางประเทศ ซึ่งไม
นิยมการเปลี่ยนแปลงการปกครองอยางรวดเร็วของคณะราษฎร กลุมนี้ไดเขาเปนเปนคณะรัฐมนตรีครึ่งหนึ่ง
หรือจํานวน 10 คน ปญหาความขัดแยงมีความรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ)
ไดเสนอ “เคาโครงเศรษฐกิจแหงชาติ” สงผลใหพระยามโนปกรณนิติธาดาคัดคานในที่ประชุม และในที่สุด
พระยามโนปกรณนิติธาดาไดนําพระราชบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว
ที่คัดคาและวิจารณวา เคาโครงเศรษฐกิจแหงชาติดังกลาว เหมือนกับของรัสเซีย
สถานการณเริ่มกดดันอีกครั้งในเรื่องเกี่ยวกับการสั่งหามขาราชการเปนสมาชิกสมาคมการเมือง และ
ตอมาก็มีมติวาขั ดตอรัฐธรรมนู ญและใหถอนคําสั่งดังกลาว สถานการณ เริ่มกดดัน พระยามโนปกรณจึง
ตัดสินใจตราพระรากฤษฎีกาใหปดประชุมสภาใน 1 เมษายน 2476 และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม ถือเปนการ
ทํารัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา และเปนการทํารัฐประหารครั้งแรก
ภายหลังการทํารัฐประหารไดมีการตราพระราชบัญญัติวาดวยคอมมิวนิสต สงผลใหหลวงประดิษฐ
มนูธรรมถูกฝายรัฐบาลกลาวหาวาเปนคอมมิวนิสตตองเดินทางออกนอกประเทศ สวนทางคณะราษฎรกลับ
6

ทามกลางความแยงทางการเมืองหลังจากการเสนอเคาโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรม
สงผลใหสี่ทหารเสือยื่นหนังสือลาออกจากราชการ บรรยากาศทางการเมืองจึงกลับไปสูสภาวะกดดันอีกครั้ง
ทําใหพระยามโนปกรณนิติธาดาโยกยายนายทหาร แตในที่สุดก็พลาดพลั้งจากการไวใจพลโทหลวงพิบูล
สงคราม ตอมาเกิดความขัดแยงกันระหวางฝายรัฐบาลกับฝายคณะราษฎร สงผลใหวันที่ 20 มิถุนายน 2476
พันโทหลวงพิบูลสงครามทําการรัฐประหารลมรัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา และแตงตั้งพระยาพหลพล
พยุหเสนาเปนนายกรัฐมนตรี นับเปนจุดสิ้นสุดของรัฐบาลที่มาดวยรัฐประหารและไปดวยการรัฐประหาร

การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว
ภายหลังการทํารัฐประหารของพลโทหลวงพิบูลสงครามแลว สรางความมั่นคงทางการเมืองใหกับ
คณะราษฎรอีกครั้ง และเกิดความกดดันตอพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวเนื่องจากพระองคเลือกขาง
สนับสนุนพระยามโนปกรณนิติธาดา
ตอมาในวันที่ 11- 25 ตุลาคม 2476 พระวรวงศเธอพระองคเจาบวรเดช และคณะบุคคลทั้งฝายทหาร
และฝายพลเรือน เรียกตัวเองวา “คณะกูบานเมือง” ซึ่งเปนกลุมที่รวมตัวกันจากการไมพอใจที่ถูกปลดออกจาก
ราชการโดยคณะราษฎรกับพระบรมวงศานุวงศบางพระองคที่ตองการกอบกูเกียรติของความเปนเจาคืนมา ก็
ไดพยายามยึดอํานาจจากรัฐบาล แตไมประสบความสําเร็จ และฝายรัฐบาลจึงขนานนามเหตุการณนั้นวา “กบฏ
บวรเดช” ชวงที่มีการปะทะกันนั้นพระบาทสมเด็จสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวประทับอยูที่หัวหินและทรง
ตั ด สิ น พระราชหฤทั ย เสด็ จ โดยเรื อ เร็ ว ขนาดเล็ ก จากหั ว หิ น ไปยั ง สงขลา ภายหลั ง การปราบกบฏแล ว
พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาลเกี่ยวกับความของพระราชหฤทัยเกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งตองไดรับการตอบสนองจากรัฐบาลครบทุกขอ มิฉะนั้นพระองคจะ
ไมเสด็จกลับประเทศและตองการใหรัฐบาลถวายคําตอบภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ 2477 ดวย มิฉะนั้น
พระองคจะสละพระราชสมบัติ ในที่สุดรัฐบาลไดถวายคําตอบผานทางเจาพระยาศรีธรรมาธิเบศรที่อยูกรุง
ลอนดอนวา ทางรัฐบาลขอปฏิเสธขอเรียกรองของพระองคโดยเด็ดขาด จึงทําใหพระบาทสมเด็จพระปกเกลา
เจาอยูหัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

ในหลวงอานันท และการสวรรคต
ภายหลังจากการสละราชสมบัติของ ร.7 ทางรัฐบาลก็ไดพิจารณาอัญเชิญสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันท
มหิดลเปนกษัตริยตามลําดับการสืบราชสันตติวงศ เนื่องจากพระองคยังทรงพระเยาว และประทับอยูประเทศ
สวิตเซอรแลนด จึงมีการแตงตั้งผูสําเร็จราชการทําหนาที่แทน ชวงที่กษัตริยไมไดประทับอยูในประเทศ กลุม
การเมืองตาง ๆ ไดพยายามชวงชิงอํานาจระหวางกัน จนในที่สุดจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มยึดอํานาจไวที่
ตนเองสําเร็จในปลายป 2481 นําไปสูการสถาปนารัฐนิยมที่ยึดมั่นในลัทธิชาตินิยมและลัทธิบูชาผูนํา คือ จอม
7

การอัญเชิญมาประทับประเทศไทย เพื่อตองการความเปนเอกภาพภายในประเทศ และเชิญพระองค


เปนครั้งที่ 2 ซึ่งพระองคทรงตอบรับการอัญเชิญครั้งที่ 2 นี้ ความสัมพันธระหวางพระบาทสมเด็จพระ
เจาอยูหัวอานันทมหิดลกับนายปรีดี พนมยงค เปนไปอยางดีมาก ถึงขนาดยกยองนายปรีดี พนมยงคเปน
รัฐบุรุษอาวุโส แตกลุมอนุรักษนิยมนําโดยนายควง อภัยวงศ มองนายปรีดีอยางไมไววางใจ จึงใชกลลวงให
นายปรีดี เปนนายกรัฐมนตรี เพื่อใหพบกับวิกฤตการณตาง ๆ อันเปนหนทางทําลายความนิยมและบารมีของ
นายปรีดี พนมยงค แตนายปรีดี มิไดสงสัยในกลลวงนี้และรับตําแหนงนายกรัฐมนตรีวันที่ 24 มีนาคม 2489
ซึ่งในที่สุด นายปรีดีพบจุดจบทางการเมืองเมื่อสํานักพระราชวังมีแถลงการณทางวิทยุกระจายเสียงแหง
ประเทศไทยในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 วาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยพระ
แสงปนจากอุปทวเหตุ การสอบสวนกรณีสวรรคตของพระองคดําเนินไปทามกลางการถกเถียงมากมาย

การขึ้นครองราชยของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช
นครินทร เมฆไตรรัตน ไดอธิบายแนวคิด “ประชาธิปไตย” ที่แพรหลายอยูในสังคมไทยสมัยนั้นวา
แบงไดเปน 2 แนวคิด คือ
1. แนวคิดประชาธิปไตยสํานักประเพณี เชน หมอมเจาวรรณไวทยากร วรวรรณ .,พระองคเจาธานีนิ
วัติ,หมอมราชวงศ เสนีย ปราโมช , หมอมราชวงศคึกฤทธิ์ ปราโมช มีจุดเริ่มตนในกลุมนักคิดสาย
ราชวงศและขุนนางรุนแรกที่ไดรับอิทธิพลทางความคิดจากตะวันตก แนวคิดหลักของสํานักนี้
อธิบายวา ระบอบประชาธิปไตยมีมาชานานแลว โดยเฉพาะเมื่อระบอบกษัตริยไดรับแนวคิดพุทธ
ศาสนาเรื่อง “เอนกนิกรสโมสรสมมติ” มาใชในการปกครอง แนวคิดดังกลาวคือการอธิบายวา
พระมหากษัตริยทรงขึ้นครองราชยโดยความเห็นชอบของชุมชนการเมือง พระองคทรงอยูเหนือ
ราษฎรเพียงพระองคเดียว สวนราษฎรทุกคนที่เหลือมีความเทาเทียมกันหมดไมมีการแบงชนชั้น
วรรณะ และแนวคิดนี้มีอิทธิพลตอระบบราชการและทหาร
2. แนวคิดประชาธิปไตย แบบสํานักคิดตะวันตก เริ่มอยูในกลุมนักเรียนนอกพวกที่ไมสามารถ
ปรับตัวเขากับระบบราชการภายหลังการปฏิรูปการปกครองได
ทั้งสองสํานักคิดนี้ไดพัฒนาขึ้นตนพุทธศตวรรษที่ 25
พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จขึ้นครองราชยสืบราชสันตติวงศตั้งแตวันที่ 9
มิถุนายน 2489 และเสด็จกลับประเทศสวิตเซอรแลนด วันที่ 19 สิงหาคม 2489 เพื่อทรงศึกษาตอ และทรง
เสด็จนิวัติสูพระนครเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2493 และทรงบรรลุนิติภาวะแลว สงผลใหผูสําเร็จราชการแทน
8

รัฐประหารและความวุนวายทางการเมืองของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความขัดแยงระหวางกลุมทหารกับกลุมรัฐบาลพลเรือน ของนาย
ปรีดี พนมยงค ขณะที่ในรัฐสภาก็เกิดความวุนวายเชนกันโดยเกิดการแขงขันระหวงพรรรคสหชีพของนาย
ปรีดี กับพรรคประชาธิปตยของนายควง อภัยวงศ มีความรุนแรงมาตั้งแตกอนการเสด็จขึ้นครองราชยของ
พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ แลว
การสวรรคตของ ร. 8 สงผลใหรัฐบาลนายปรีดี ถูกโจมตีอยางมากวาไมสามารถพิทักษราชบัลลังกไว
ได แมมีคําสั่งดําเนินการสืบสวนเรื่องดังกลาวแลว นายปรีดีก็ยังถูกสังคมมองวามีสวนรูเห็นในการลอบปลง
พระชมนพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล เปนผลใหนายปรีดีขอลาออกจากตําแหงนายกรัฐมนตรี
ในวันที่ 23 สิงหาคม 2489 ผูที่มาเปนนายกรัฐมนตรีตอมาคือ พลเรือตรีถวัลย ธํารงนาวาสวัสดิ์ ในระยะแรกถูก
กดดันจากพรรคประชาธิปตยจนตองลาออก แตเมื่อจัดการเลือกตั้งใหมก็สามารถกลับมาเปนนายกรัฐมนตรีได
อีกครั้ง ในระยะนี้มีขาวการทํารัฐประหาร แตไมสามารถสกัดกั้นได สงผลให พลโทผิน ชุณหะวัณ เขายึด
อํานาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 อยางไรก็ตาม คณะรัฐประหารก็ใหนายควง อภัยวงศ เปนนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลนายควง ไดจัดการเลือกตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2491 และผลการเลือกตั้งทําใหนายควง เปน
นายกรัฐมนตรีคนตอไป แตหลังจากนั้นคณะรัฐประหารไดสงคนไปจี้ ใหนายควงลาออกจากตําแหนงเพื่อ
เปลี่ยนรัฐบาล ผลปรากฏวานายควงยินยอมปฏิบัติตาม และทําใหจอมพล ป. กลับมาเปนนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในเดือนเมษายน 2491

สถานะของพระมหากษัตริยกับบทบาทจอมพล ป. พิบูลสงคราม
การกลับคืนสูอํานาจของจอมพล ป. นําไปสูรูปแบบการปกครองที่เนนความสําคัญของตัวผูนํา ชวง
2481 – 2487 สิ่งที่จอมพล ป. พยายามทํามาตลอดคือ การเคลื่อนยายบทบาทและอํานาจ จากราชสํานักและ
พระมหากษัตริย สูตนเองในฐานะผูนํา ปลูกฝงอุดมการณใหแกประชาชนวาจอมพล ป. เปน “บิดา” ของ
ประชาชนดวยการเปรียบเทียบจอมพล ป. กับพอขุนรามคําแหง ทายที่สุด จอมพล ป. ยังไดอาศัยภาพพจนของ
การเปนผูนําอุปถัมภพุทธศาสนาโดยพฤตินัย มาเสริมสรางสถานะตนอีกดวย
อยางไรก็ตามสถานการณภายหลังรัฐประหาร 2490 แมจะเต็มไปดวยความรุนแรง แตพระบาทสมเด็จ
พระเจาอยูหัวก็ทรงสนพระทัยสถานการณบานเมือง และสมัยนี้ไดจัดตั้ง “สภารางรัฐธรรมนูญ” เปนครั้งแรก
และนายควงสามารถวางเงื่อนไขในกระบวนการรางรัฐธรรมไดสําเร็จกอน เปนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492
รัฐธรรมนูญนี้มีหลักการสําคัญ คือ การเพิ่มอํานาจของพระมหากษัตริยในการมีสวนรวมบริหารบานเมืองมาก
9

การทํารัฐประหารของจอมพล ป. สงผลใหบทบาททางการเมืองของจอมพล ป. มีความมั่นคงยิ่งขึ้น


บัญญัติในรัฐธรรมนูญใหมีสภาเดียว โดยแบงสมาชิกสภาผูแทนราษฎรออกเปน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1
ที่มาจากเลือกตั้งและ ประเภทที่ 2 ที่มาจากการแตงตั้ง สมาชิกประเภทที่สองจึงกลายเปนเครื่องมือที่สําคัญใน
การค้ําจุนอํานาจของจอมพล ป. ไว
ในระยะนี้พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ทรงไดฟนฟูสถาบันพระมหากษัตริยโดยไดพระราชดําเนิน
ประพาสตางจังหวัดและมีโครงการตามพระราชดําริ แตก็ทรงมิไดรับการสนับสนุนดานงบประมาณจากจอม
พล ป. ทําใหสถานะของพระองคมีความมั่นคงมากขึ้น แตก็สงผลใหสัมพันธภาพระหวางพระบาทสมเด็จพระ
เจาอยูหัวกับจอมพล ป. ไมราบรื่น ทําใหสถานการณรุนแรงยิ่งขึ้นในชวง 2499 - 2500 จนนําไปสูจุดจบของ
จอมพล ป. เอง
การที่จอมพล ป. พยายามไมสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ สงผลใหจอมพลสฤษดิ์ ธนะ
รัชต เริ่มถอยหางจากจอมพล ป. ดวยการไมยอมเขารวมรัฐบาลและขัดแยงกับพลตํารวจเอกเผา ศรียานนท
อยางรุนแรง ขณะที่เลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 26 กุมภาพันธ 2500 ก็ถูกประชาชนโจมตีวาเปนการเลือกตั้งสกปรก
การไฮดปารคตอตานจอมพล ป. เกิดขึ้นมากมาย แตตัวจอมพล ป. ยังพยายามรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลและ
เดินหนาจัดงาน 25 พุทธศตวรรษตอไป แตปรากฏวาวันปดงานพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมิไดมาเปนองค
ประธานทําใหประชาชนมองวางานดังกลาวเปนงานพื้น ๆ สงผลเสียตอภาพลักษณของจอมพล ป. สงผลให
จอมพล ป. สิ้นสุดอํานาจลงในที่สุด ดวยการทํารัฐประหารของจอมพลสฤษด นะรัช ในวันที่ 16 กันยายน
2500 ทําใหจอมพล ป. ตองลี้ภัยไปอยูตางประเทศ และเปนการเริ่มตนประวัติศาสตรบทใหมของการ
เมืองไทย และจะนําไปสูพัฒนาการกาวที่สําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย

2. สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ( พ.ศ. 2501 - 2516)


ภายหลังการทํารัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต วันที่ 16 กันยายน 2500 ไดมอบหมายให
นายพจน สารสิน เปนนายกรัฐมนตรี ไดจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ขึ้นเปนผลใหนาย
พนจน สารสินลาออกจากตําแหนง สงผลใหจอมพลสฤษดิ์ ตองหาบุคคลมาเปนนายกรัฐมนตรี คือ พลโท
ถนอม กิตติขจร รัฐบาลชุดนี้ตองเผชิญกับการวิพากษวิจารณและไดมีการเปดอภิปรายไมไววางใจรัฐบาล แตก็
ไมเปนผลสําเร็จ ประกอบกับปญหาขอพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหวางประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ที่ผล
การตัดสินของศาลโลกใหเขาพระวิหารเปนของประเทศกัมพูชา ทําใหรัฐมนตรีหลายคนตัดสินใจลาออก
10

สาเหตุของการทํารัฐประหารครั้งนี้ของจอมพลสฤษดิ์ คือ
1. การคุกคามของกลุมคอมมิวนิสตภายในประเทศ ดวยการจะ”กําจัดราชบัลลังก ทําลายพุทธศาสนา
และโคนสถาบันตาง ๆ ทุกรูปแบบซึ่งชาติไทยเรายึดมั่น”
2. พรรคการเมื อ งหลายพรรคได ใ ช อ ภิ สิ ท ธิ์ แ ละเสรี ภ าพในระบอบประชาธิ ป ไตยที่ บั ญ ญั ติ ไ ว ใ น
รัฐธรรมนูญในทางที่มิชอบ อันเปนอุปสรรคตอความเจริญกาวหนาของชาติ โดยเฉพาะอยางยิ่งประชาชน
กลายเปนศัตรูซึ่งกันและกัน
3. ปญหาความขัดแยงเกี่ยวกับเขาพระวิหารระหวางไทยกับกัมพูชา ที่อาจกลายเปนปญหาสําคัญจาก
ภายนอกประเทศ
ดัง นั้น เพื่ อให ป ระเทศเจริ ญก าวหนา จึ งจํ า เปน ตอ ง “สร า งเสถี ย รภาพใหแ ก ช าติ ซึ่ ง ขึ้ น อยูกั บ หลั ก
ประชาธิปไตยอันมั่นคง ระบบเศรษฐกิจและสังคมอันเหมาะสมสําหรับการอยูรอดของชาติและของประชาชน
คนไทย”
การทํารัฐประหารครั้งที่ 2 นี้แตกตางจากการทํารัฐประหารครั้งที่ 1 กลาวคือการทํารัฐประหารครั้งที่ 2
เพื่อตองการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารประเทศที่เกิดความยุงยากที่ทําใหรัฐบาลพลเอกถนอมตองเผชิญกับ
ปญหาความวุนวายทางการเมืองจนเปนอุปสรรคในการบริหารประเทศในขณะนั้น สวนรัฐประหารครั้งที่ 1
เปนรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนตัวรัฐบาลซึ่งไมเปนที่นิยมของประชาชนอันเนื่องมาจากการฉอราษฎรบังหลวง
จึงหันมาสูการสรางระบบการปกครองแบบใหมขึ้นมาทดแทน เพื่อใชในการปกครองประเทศเปนการเฉพาะ
นั่น คือ “การสรางประชาธิปไตยแบบไทย”
จอมพลสฤษดิ์ เห็ น ว า ป ญ หาการบริ ห ารประเทศมี ส าเหตุ ม าจากการที่ ค ณะราษฎรนํ า ระบอบ
ประชาธิปไตยตะวันตกมาใชซึ่งเห็นวาไมประสบความสําเร็จ เพราะเกิดความวุนวายทางการเมืองอยูบอยครั้ง
และเห็นวาการจัดระเบียบการปกครองของไทยตองอาศัยหลัก 3 ประการ คือ การเมืองการปกครองตองอาศัย
หลักการของไทยเราเอง จะตองละทิ้งอุดมการณของตางประเทศ และจะตองฟนฟูอุดมการณแบบไทยใหเปน
อุดมการณหลักของชาติ
ประชาธิปไตยแบบไทยที่เหมาะสม คือ รัฐบาลหรือฝายบริหารมีอํานาจเหนือฝายนิติบัญญัติ และมี
อํานาจสูงสุด ไมใชรัฐบาลของพรรคการเมือง ดังนั้น พรรคการเมืองและการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจึง
ไมใชเปนสิ่งจําเปนตอระบบการเมืองไทย
ระเบียบการเมืองการปกครองแบบใหม แบงเปน 3 ชั้น คือ รัฐ/รัฐบาล,ขาราชการ และประชาชน
กล า วคื อ รั ฐ บาลมี อํ า นาจสู ง สุ ด แล ว มี ร ะบบราชการทํ า หน า ที่ เ ป น ตั ว แทนและปฏิ บั ติ ต ามคํ า บั ญ ชาของ
ผูปกครองโดยตรง ยอมรับการชี้แนวทางจากรัฐบาล โดยเฉพาะจากตัวผูนําเปนสําคัญ สวนประชาชนก็อยูใน
ฐานะกํากับดูแลจากรัฐบาลหรือไดรับความยินยอมจากรัฐบาลเทานั้น และยังเสนอใหประยุกตการปกครองให
11

จอมพลถนอม กิตติขจร ไดรับการแตงตั้งใหเปนนายกรัฐมนตรีตอมา บริหารประเทศตามแบบจอม


พลสฤษดิ์ ทั้งการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบไทย และนโยบายตางประเทศที่ผูกความสัมพันธใกลชิดกับ
อเมริกา และผลจากการใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 1 สรางความเจริญกาวหนาตามมา
แตก็สรางปญหาตามมาดวย รัฐบาลไมสามารถแกปญหาไดอยางมีประสิทธิภาพและยังตองเผชิญกับความ
กดดันจากประชาชน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวกับรัฐบาลถนอม กิตติขจร
ภายหลังจากเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ 2512 จอมพลถนอมไดกลับเขามาดํารงแหนง
นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แตตอมาเริ่มไดรับการปฏิเสธจากสภาผูแทนราษฎร และตอตานรุนแรงขึ้นใน พ.ศ.
2513 ไมวาจะเปนการวิพากษนโยบายรัฐบาล การยับยั้งพระราชบัญญัติงบประมาณ ดังนั้น จอมพลถนอม จึง
ไมพอใจกับแรงตอตาน จนกลายเปนความขัดแยง จอมพลถนอมจึงทํารัฐประหารรัฐบาลของตนเอง เมื่อ พ.ศ.
2514

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวกับเหตุการณ 14 ตุลาคม 2516

สภาพการณของเหตุการณ
เหตุการณ 14 ตุลาคม 2516 เริ่มตนดวยการแจกใบปลิวเรียกรองรัฐธรรมนูญของกลุมนักศึกษาและ
อาจารยกลุมหนึ่ง แตกลับถูกเจาหนาที่ตํารวจจับกุมวันที่ 6 ตุลาคม จํานวนทั้งสิ้น 11 คน โดยตั้งขอหาวา
“ชักชวนใหมีการชุมนุมทางการเมือง” ขัดขืนคําสั่งปฏิวัติ ฉบับที่ 4 และ”ขบถภายในราชอาณาจักร” ตาม
กฎหมายมาตรา 116 หลังจากนั้นศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยไดออกแถลงการณคัดคานการจัด
กุมของรัฐบาลเผด็จการ “ถนอม – ประภาส” ตอมาในวันที่ 7 ตุลาคม เจาหนาที่ตํารวจสันติบาลไดเขาจับกุม
นักศึกษาเพิ่มอีกคนหนึ่ง คือ นายกองเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง และตอมาเจาหนาที่
สันติบาลไดออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม เนื่องจากเห็นวามีสวนในการชักใยอยู
เบื้องหลังการเรียกรองรัฐธรรมนูญ
12

การประทวงการกระทําดังกลาว เริ่มตนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร โดยการปดโปสเตอรและการ


อภิปรายโจมตีการกระทําของรัฐบาล การประทวงเริ่มขยายวงกวางและเกิดขึ้นในเกือบทุกมหาวิทยาลัย ใน
เวลาตอมาจึงไดมีการนัดรวมตัวชุมนุมใหญกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มีผูประทวงจํานวนมากตางทยอย
กันมาเพิ่มมากขึ้นเปนทวีคูณเพื่อกดดันใหรัฐบาลปฏิบัติตามขอเรียกรองใหปลอยตัวทั้ง 13 คน แตไดรับการ
ปฏิเสธจากทางฝายรัฐบาล สงผลใหกลุมผูประทวงตองตัดสินใจที่จะเดินขบวนประทวง และตอสูดวยวิธี
“อหิงสา” จนกวาจะประสบผลสําเร็จ โดยมุงไปชุมนุมประทวงกันที่บริเวณอนุสาวรียประชาธิปไตย
กลุมนักศึกษาพยายามเรียกรองโดยเปรียบเทียบกับเหตุการณ 2475 โดยโยงการตอสูของตนกับการ
ตอสูของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทําใหสามารถปลุกระดมไดเปนอยางมาก และกลุมนักศึกษา
ชื่อวา “กลุมเรียกรองรัฐธรรมนูญ” ไดหยิบยกขอความจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกลา
เจาอยูหัวเมื่อครั้งสละราชสมบัติมาตําหนิพฤติกรรมการปกครองแบบเผด็จการของจอมพลถนอมอีกดวย
ขอความดังกลาวถูกนํามาตีพิมพครั้งแรกเปนปกหนาหนังสือของกลุมเรียกรองรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
โดยมีขอความวา “ ขาพเจามีความเต็มใจที่จะสละอํานาจอันเปนของขาพเจาแตเดิมใหแกราษฎรโดยทั่วไป แต
ขาพเจาไมยินยอมยกอํานาจทั้งหลายของขาพเจาใหกีผูใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใชอํานาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไมฟงเสียงอันแทจริงของราษฎร”
ในเวลาต อมาข อความดั ง กลา วยังถูก นําไปตีพิมพ เ ผยแพรทางใบปลิ ว ของกลุ มนั ก ศึ ก ษา และถูก
นําไปใชกลาวอางอยางสม่ําเสมอตลอดชวงการชุมนุมประทวง จนขอความดังกลาวกลายเปนสวนสําคัญใน
การเชื่อมโยงสถาบันพระมหากษัตริยใหมีความใกลชิดกับระบอบประชาธิปไตย และชวยเสริมสรางภาพพจน
ของกษัตริยประชาธิปไตยในสังคมไทย นายสมบัติ ธํารงธัญญวงศ เลขาธิการศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหง
ประเทศไทย ตัวแทนนักศึกษาสงตัวแทนขอเขาเฝา ฯ เพื่อใหพระองคทรงชวยเหลือจัดการกับปญหานี้ ขอ
เรียกรองไดรับการยินยอมปฏิบัติตามจากฝายรัฐบาล โดยยอมปลอยตัวผูตองหาทั้ง 13 คน โดยไมมีเงื่อนไข
และจะจัดทํารางรัฐธรรมนูญ และประกาศใชภายในเดือน ตุลาคม 2517 แตเนื่องจากปญหาการขาดการติดตอ
กับกลุมที่เขาเฝา ฯ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ กลุมประทวงที่บริเวณอนุสาวรียประชาธิปไตยจึงไมทราบ
ถึงการยินยอมของรัฐบาล และไดเดินขบวนมายังพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน
ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ.ต.อ. วิสิษฐ เดชกุญชร ไดอัญเชิญพระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ มาอาน เพื่อเตือนสติกลุมนิสิตนักศึกษาและขอเรียกรองใหยกเลิกการ
ชุมนุมประทวง เมื่ออานพระบรมราโชวาทแลว เหตุการณกลับไมไดเปนไปอยางที่คิด เมื่อกลุมผูชุมนุมตอง
เผชิญหนากับตํารวจในขณะที่กําลังจะสลายตัว และเกิดการตอสูกันขึ้น จนนําไปสูการกวาดลางผูชุมนุมครั้ง
ใหญจากตํารวจและทหาร ภายใตการบังคับบัญชาของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส เหตุการณครั้งนี้ทํา
ใหมีผูบาดเจ็บลมตายเปนจํานวนมาก
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ ทรงเขามาเปนผูระงับเหตุการณโดยที่ พลเอกกฤษณ สีวะรา ผู
บัญ ชาการทหารบก ก็ มี ค วามเห็ น คล อ ยตามด ว ย พระองค ท รงขอให จ อมพลถนอมลาออกจากตํ า แหน ง
13

3. สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบแบงปนอํานาจ (2516- 2544)


การสลายลงของการผูกขาดอํานาจนับตั้งแต 14 ตุลาคม นําพาใหระบอบประชาธิปไตยในไทย
เดินทางไปสูยุคสมัยใหม ที่เปดกวางใหทุกฝายสามารถเขาถึงไดมากขึ้น

สภาพทางการเมืองหลังการสลายลงของการผูกขาดอํานาจ
เมื่ออํานาจวางลงกลุมตาง ๆ ทางการเมืองพยายามพยายามเขามามีอํานาจ รัฐบาลนายสัญญา ธรรม
ศัก ดิ์ เป น รัฐบาลที่ อิส ระจากอิ ทธิ พ ลจากกลุมขาราชการ มี ความชั ด เจนทางการเมื อ งมากขึ้น เนื่ อ งจากมี
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 กลุมนักธุรกิจเรื่องผันตัวเองเขาสูการเมืองผานพรรคการเมือง สวนกลุมนักศึกษาและ
กรรมกรมีบทบาทมากที่สุด สองกลุมนี้เริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไดรับอิทธิพลและถูกแทรกซึม
จากพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยอีกดวย
กลุ มนั ก ศึ ก ษาได รั บ การตอบสนองอยางดี จ ากรั ฐ บาลนายสั ญญา และมี สว นร ว มในการเผยแพร
ประชาธิปไตย ขณะเดียวกันกลุมขาราชการและนักธุรกิจไมไดรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเทาใดนัก แตดํารง
อยูเพียงระยะชั่วคราวเทานั้น
การรางรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ไดนําสมัชชาแหงชาติ อันเนื่องเปนพระราชดําริของพระบาทสมเด็จ
พระเจาอยูหัว ซึ่งเรียกวา “ สภาสนามมา” เนื่องจากจัดการประชุมสมัชชาที่ราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามมา
นางเลิ้ง สภานี้มาจากกลุมทางการเมืองที่หลากหลาย เชน ขาราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ กรรมกร เกษตรกร
ตลอดจนนักศึกษา ถือวาเปนรัฐธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งของประเทศไทย มีบัญญัติ
เรื่องสิทธิเสรีภาพไวในหมวดที่ 3 จึงเปนที่พอใจของประชาชนโดยเฉพาะนักศึกษา
กลุมนักธุรกิจเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันกลุมนักศึกษาและกรรมกรก็มีบทบาทเคลื่อนไหว
นอกรัฐสภา มีการประทวง 731 ครั้ง ชวงป 2517 - 2519 สิทธิเสรีภาพที่มีอยางเต็มที่ในรัฐธรรมนูญเปนการ
เปดทางใหกลุมสังคมนิยม หรือซายจัด สามารถออกมาเคลื่อนไหวอยางเปดเผย
สถานการณเริ่มไมเปนที่พอใจของกลุมอนุรักษนิยม และกลุมขวาจัด นําไปสูการจัดตั้งกลุมนวพ
ลและกลุมกระทิงแดง เพื่อเคลื่อนไหวตอตานกลุมซายจัดอยางรุนแรง กลุมขวาจัดไดรับการสนับสนุนจาก
กลุมขาราชการที่กังวลตอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและไมพอใจบทบาทตนเอง ซึ่งถูกกีดกันออกจากการเมือง
ดวยมาตรา 118 มิใหขาราชการเขามามีตําแหนงทางการเมือง
ในที่สุดสถานการณเริ่มมาถึงขีดสุด เมื่อเกิดความวุนวายในรัฐสภาและนอกรัฐสภา กลุมซายจัดไดเริ่ม
เคลื่อนไหวทางการเมืองในทิศทางที่ลอแหลมและยั่วยุกลุมขวาจัดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลุมขวาจัดเริ่มใชความ
รุนแรงในการจัดการกับกลุมซายจัดอยางตอเนื่อง และนําไปสูเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519
14

เหตุการณ 6 ตุลาคม 2519


เหตุการณ 6 ตุลาคม 2519 เปนเหตุการณประทวง และนําไปสูการทํารัฐประหาร โดยคณะปฏิรูป
การปกครองแผนดินภายใตการนําของพลเรือเอกสงัด ชะลออยู และคณะนายทหาร ทหารสามารถเขายึด
อํานาจได มีการใชรัฐธรรมนูญฉบับใหมที่ใหอํานาจนายกรัฐมนตรีอยางเด็ดขาดคลายกับรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ. 2502 ของจอมพลสฤษดิ์ และแตงตั้งใหนายธานินทร กรัยวิเชียร ขึ้นดํารงตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรี
สวนคณะปฏิรูปการปกครองแผนดินก็ไดกลายสภาพตนเองไปเปนสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะปฏิรูป
การปกครองแผนดินยังจัดตั้งสภาปฏิรูปการปกครองแผนดินมาทําหนาที่นิติบัญญัติ โดยมีสมาชิกทั้งหมด 340
คน ประกอบดวยขาราชการทหาร และขาราชการพลเรือน

สภาพการณกอนเหตุการณ
ใน พ.ศ. 2518 – 2519 เปนชวงเวลาที่มีความผันผวนในภูมิภาคอยางมาก การเปลี่ยนแปลงของ
ประเทศเพื่อนบาน เชน ลาวและกัมพูชา สรางความวิตกตอภัย “คอมมิวนิสต” และกลัววาไทยกําลังเปน
เปาหมายตอไปตามทฤษฎีโดมิโน พรอมกับปญหาทางการเมืองภายในที่มีความแตกแยกทางความคิดระหวาง
แนวคิดอนุรักษนิยมและสังคมนิยม รวมทั้งความขัดแยงในชนบท
กลุมอนุรักษนิยมไดเตรียมปลูกฝงความคิดอุดมการณใหกับมวลชนจัดตั้ง ไดแก ลูกเสือชาวบาน กลุม
กระทิงแดง กลุมนวพล ชมรมแมบาน ใหมีความหวาดวิตกภัยคอมมิวนิสตและพรอมเผชิญหนากับแนวคิด
สังคมนิยม ตลอดจนความขัดแยงในกลุมชนชั้นนําทางอํานาจและกลุมทหารเองที่พยายามสรางเงื่อนไขในการ
ยึดอํานาจ เชน การสนับสนุ นใหจอมพลถนอม และจอมพลประภาส เดินทางกลับมาไทย เปนชนวนให
นักศึกษาและประชาชนตอตาน และเปนโอกาสใหเกิดการทํารัฐประหาร ผูนําทหารโดยพลเรือเอกสงัด ชลอ
อยู ไดกราบบังคมทูลขอคําปรึกษาจากพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เพื่อกราบบังคมทูลใหทรงทราบถึง
สถานการณบานเมืองวาเปนที่นาวิตก ถาปลอยไวอาจเปนเหมือนเขมรและลาวจึงเห็นควรปฏิวัติ และหลัง
ปฏิวัติแลวจึงอยากใหพลเรือนมาเปนนายกรัฐมนตรี โดยพลเรือเอกสงัด ไดกราบทูลรายชื่อบุคคลที่นาจะเปน
นายกรัฐมนตรีจํานวน 15 คน แตมิไดมีคําสั่งสนับสนุนผูใด แตกอนออกจากที่เฝา ในหลวงทางไดรับสั่งวา
จะทําอะไรลงไปก็ควรปรึกษานักกฎหมาย คือ คุณธานินทร กรัยวิเชียร ผูพิพากษาศาลฎีกา
นักศึกษาและประชาชนไดประทวงการกลับมาของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส นําไปสูการ
ปราบปรามในเชาตรูวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร กลุมที่มีสวนในเหตุการณ
ประกอบดวย ตํารวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง กลุมนวพล สงผลใหนักศึกษาและ
ประชาชนถูกสังหาร จํานวน 41 ราย และมีการจับกุมแกนนําหลายคน อีกทั้งการกวาดจับนิสิตนักศึกษาและ
ประชาชนที่เขารวมการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรหลายพันคน ทามกลางความวุนวายของเหตุการณ
การปราบปรามและกวาดจับผูชุมนุมและความไรเสถียรภาพในการสั่งการของ ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช ในชวง
เย็นนั้นเอง มีกลุมทหารที่เรียกตัวเองวา “ คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ไดเขารัฐประหารยึดอํานาจจาก
รัฐบาลไดสําเร็จ ตอมาพระบาทเด็จพระเจาอยูหัว ไดโปรดเกลา ฯ ใหนายธานินทร กรัยวิเชียร (2519 - 2520)
15

ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
ภายหลังเหตุการณ การรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 รัฐบาลธานินทร กรัยวิเชียร เขาบริหารประเทศ
ไมนาน ไดเกิดการรัฐประหารรัฐบาลธานินทร ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 นําไปสูปญหาความขัดแยงและชวง
ชิงอํานาจกันในกลุมผูนําทหารภายในคณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน ระหวางพลเรือเอกสงัด ชะลออยู กับพล
เอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน และกลุมทหารอื่น ๆ เชน พลเอกเปรม ติณสูลานนท นอกจากกลุมภายในคณะ
รัฐประหารแลวยังมีกลุมนายทหารระดับนายพันที่กุมกําลังใหการสนับสนุน คือ “กลุมยังเติรก” หรือ จปร.7
นําโดยพันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกประจักษ สวางจิตร และพันเอกจําลอง ศรีเมือง เปนตน กลุมยังเติรก
สนับสนุนใหพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท ขณะนั้นเปนเลขาธิการคณะปฏิรูป ฯ เปนนายกรัฐมนตรี แทนพลเรือ
เอกสงัด หัวหนาคณะปฏิรูป ฯ ขณะนั้น หลังการทํารัฐประหารรัฐบาลนายธานินทรแลว นายเกรียงศักดิ์
ชมะนันท ขึ้นมาเปนนายกรัฐมนตรี ไดจัดใหมีการรางรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 และ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไดถูกขนานนามวาเปน “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” การที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไดถูกขนานนาม
วาเปน “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” คือ เปนการจัดวางดุลอํานาจทางการเมืองระหวางพลังประชาธิปไตยกับพลัง
กองทัพ ใหกองทัพสามารถควบคุมทิ ศทางการเมืองได เชน ขาราชการประจําสามารถควบตําแหนงทาง
การเมืองได และสมาชิกวุฒิสภามาจากการแตงตั้ง

กบฏเมษาฮาวาย
พ.ศ. 2523- 2531 เปนชวงสมัยพลเอกเปรม ดํารงตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรีและตําแหนงผู
บัญชาการทหารบก ภายใตการสนับสนุนของกลุมยังเติรกและถอนการสนับสนุนพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท
โดยใน พ.ศ. 2523 ไดมีความพยายามในการตออายุราชการพลเอกเปรม เนื่องจากเหตุเกษียณอายุราชการ ให
สามารถดํารงตําแหนงผูบัญชาการทหารบกไดอีก 1 ป แตถูกคัดคานจากกลุมยังเติรก หลังจากนั้นพลเอกเปรม
ได เ รี ย กประชุ ม พรรคร ว มรั ฐ บาลทํ า ให ท า ที ข องพรรคร ว มรั ฐ บาลเปลี่ ย นไปเป น การให ก ารสนั บ สนุ น
นอกจากนี้เหตุการณนี้ทําใหเกิดการวิพากษวิจารณจากประชาชนอยางกวางขวาง นํามาซึ่งปญหาความขัดแยง
ทางการเมืองในกลุมทหารเองและกับประชาชน
มีนาคม 2524 พลเอกเปรม ไดปรับคณะรัฐมนตรีและมีขาววามีการตออายุราชการอีก 1 ป ทําใหเกิด
การเผชิญหนากันระหวางระหวางนายกรัฐมนตรีกับกลุมยังเติรก สงผลใหกลุมยังเติรก กอการรัฐประหารใน
วันที่ 1 เมษายน 2524 เรียกวา “กบฏเมษาฮาวาย” แตไมสําเร็จ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการของ”
กองบัญชาการรวมรักษาความสงบเรียบรอยแหงชาติ” หลังจากเหตุการณนี้ทําใหอํานาจของพลเอกเปรมมี
ความมั่นคง
16

อยางไรก็ตามในวันที่ 9 กันยายน 2528 กลุมยังเติรก ไดพยายามกอรัฐประหารรัฐบาลพลเอกเปรม


อีกครั้ง ตอก็ไมประสบความสําเร็จ แตรัฐบาลพลเอกเปรมยังคงเผชิญกับการวิพากษวิจารณจากประชาชนและ
สื่อมวลชนในปที่ 8 ตอมาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ ไดโปรดเกลา ฯ ใหพลเอกเปรมเปนองคมนตรีและ
ประธานองคมนตรีในเวลาตอมา

เหตุการณ พฤษภาทมิฬ 2535


หลังจากพลเอกเปรมยุติบทบาททางการเมืองในตําแหนงนายกรัฐมนตรีแลว พลเอกชาติชาย ชุณหะ
วัณ ไดรับตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรีคนถัดมา ( 2531- 2534) การเมืองไทยไรเสถียรภาพอีกครั้ง เมื่อเกิดรัฐ
ประหาในวันที่ 23 กุมภาพันธ พ.ศ. 2534 โดยกลุมผูนําทางทหารที่เรียกตัวเองวา “ คณะรักษาความสงบ
เรียบรอยแหงชาติ (รสช.)” นําโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลเอกอิสระพงษ หนุน
ภักดี พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ฯลฯ ไดเขาทํารัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย โดยอางวา รัฐบาลทุจริต
แทรกแซงขาราชการ เผด็จการรัฐสภา ทําลายสถาบันทหาร กับการลอบสังหารบุคคลสําคัญและคิดลมลาง
สถาบันพระมหากษัติรย แตปญหาที่แทจริง คือ การโยกยายตําแหนงในกองทัพทําใหเกิดการแบงปนอํานาจที่
ไมมีความสมดุลในกลุมทหารระหวางกลุม จปร. 5 และ จปร. 7 และหลังจากการยึดอํานาจเสร็จแลว รสช. ได
สัญญาวาจะคืนอํานาจใหประชาชนโดยเร็ว ตอมาเมื่อ รสช. ยึดอํานาจสําเร็จแลวไดประกาศใชธรรมนูญแหง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แลวพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ ไดโปรดเกลาใหนายอานันท ปนยารชุน
เปนนายกรัฐมนตรี ( 2534 - 2535) การบริหารประเทศและดําเนินการางรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2534 จนสามารถเลือกตั้งทั่วไปได ผลการเลือกตั้งปรากฎวาพรรคสามัคคีธรรมไดเปนแกนนําในการ
จั ด ตั้ ง รั ฐ บาล แต บ ทบั ญ ญั ติ ใ นรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ดั ง กล า วมิ ไ ด ร ะบุ ว า นายกรั ฐ มนตรี ต อ งมาจาก
สมาชิก สภาผู แทนราษฏร ดังนั้น พรรคสามัคคีธรรมไดเชิญพลเอกสุจินดา เป นนายกรั ฐมนตรี แตพรรค
การเมืองฝายคานและประชาชนคัดคาน เนื่องจากกอนหนานี้พลเอกสุจินดา เคยกลาววา การรัฐประหารที่ได
ทําไปนั้นหาไดมีความตองการเปนนายกรัฐมนตรี แตภายหลังกลับยอมรับตําแหนงนายกรัฐมนตรี ดวยการให
เหตุผลวายอม “ เสียสัตยเพื่อชาติ”
การยอมรับตําแหนงนายกรัฐมนตรีสงผลใหประชาชนไมพอใจมากและเริ่มชุมนุมกัน ซึ่งมีพลตรี
จํ า ลอง ศรี เ มื อ ง เป น แกนนํ า สํ า คั ญ เรี ย กร อ งให มี ก ารแก ไ ขรั ฐ ธรรมนู ญ และให น ายกรั ฐ มนตรี ม าจาก
สมาชิก สภาผูแทนราษฎร ประชาชนจํานวนหลายแสนคนไดเ ขารว มชุมนุมบริ เ วณถนนราชดํ า เนิน การ
ประทวงและเหตุการณไดลุกลามจนกลายเปนเหตุจลาจลเกิดความเสียหายทั่วกรุงเทพ ฯ และมีทาทีเสียหายอีก
มากและนําไปสูการเผชิญหนาระหวางกองทัพและกลุมผูชุมนุมในชวง 17 – 20 พฤษภาคม 2535 จนนําไปสู
ความรุนแรง มีประชาชนบาดเจ็บ เสียชีวิตและสูญหายจํานวนมาก
ตอมาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ ทรงโปรดเกลา ฯ ใหพลเอกสุจินดา นายกรัฐมนตรี กับพลตรี
จําลอง ผูนําการประทวง เขาเฝา ณ ตําหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 หลังการปะทะกัน
ระยะหนึ่ง เหตุการณการเขาเฝา ฯ ไดรับการเผยแพรภาพและเสียงทางวิทยุโทรทัศนทั่วประเทศ หลังจากนั้น
17

ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 พลเอกสุจินดา ไดประกาศลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรี พรรค


สามัคคีธรรมไดเสนอ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยเปนนายกรัฐมนตรี ซึ่ง
ยังคงมีกระแสตอตาน สุดทายวันที่ 10 มิถุนายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฯ ไดทรงโปรดเกลา ฯ
ใหนายอานันท ปนยารชุน กลับมาเปนนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ตามการเสนอชื่อโดยนายอาทิตย อุไรรัตน
ประธานสภาผูแทนราษฎร เพื่อสรางความปรองดองในสังคมการเมือง และดําเนินการจัดการเลือกตั้งให
เปนไปตามความตองการของประชาชนชาวไทย อันนําไปสูกระบวนการปฏิรูปการเมืองที่เริ่มตนจากการริเริ่ม
ในการแกไขรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2535 เพื่อดําเนินการยกรางรัฐธรรมนูญฉบับใหม หรือ
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในเวลาตอมา

การปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540


ภายหลังเหตุการณพฤษภาทมิฬ มีความเคลื่อนไหวและเรียกรองใหมีการปฏิรูปการเมือง จนนําไปสู
การแกไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 และการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน)
ซึ่งมีสาระประกอบไปดวยขอกําหนดเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมนักการเมือง ระบบการตรวจสอบและ
ถวงดุลอํานาจขององคกรการเมือง การจัดตั้งองคกรอิสระ การทําใหองคกรการเมืองมีประสิทธภาพ และการ
ทําใหองคกรของฝายบริหารสามารถบริหารนโยบายไดโดยมีความเปนผูนําที่มีความเขมแข็ง

4. สมัยประชาธิปไตยแบบรัฐบาลพรรคเดียว (2544 - 2549)

เหตุใดรัฐบาลพรรคไทยรักไทย จึงมีเสถียรภาพทางการเมือง
รั ฐ บาลพั น ตํ า รวจโท ดร. ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร หั ว หน า พรรคไทยรั ก ไทย ดํ า รงรงตํ า แหน ง เป น
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศ ไดสรางประวัติศาสตรโฉมหนาใหมใหกับการเมืองไทย คือ เปนรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้งรัฐบาลแรกที่มีผูสมัครสมาชิกสภาผูแทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว
ชนะเลือกตั้งดวยคะแนนเสียงทวมทน จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวไดถึงสองสมัยติดตอกันผานการ
เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548

สาเหตุของการชนะเลือกตั้ง
ผูนําพรรครวมทั้งคณะผูบริหารของพรรคไดเลือกนําเสนอภาพลักษณใหมที่แตกตางไปจากพรรค
การเมื อ งอื่ น ๆ โดยมี แ นวคิ ด ที่ นํ าลั ก ษณะการบริ ห ารงานธุ รกิ จ มาปรั บ ใชกั บ การบริ ห ารบ า นเมือ ง ด ว ย
สโลแกน “คิดใหม ทําใหม เพื่อคนไทยทุกคน” ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 สโลแกน “4 ป ซอมความ
หายนะจากวิกฤติ 4 ป สรางชาติใหแข็งแกรง” ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 เพื่อสานตอนโยบายเดิม
18

จุดเดนของพรรคไทยรักไทย
1. นโยบายพรรคที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความสามารถในการเอานโยบายสาธารณะมาสรางกระแส
ความนิยมทางการเมือง โดยใชหลักจิตวิทยามวลชนในแบบประชานิยม (Populism) ที่นําเสนอออกมาเปน
รูปธรรมและปรากฏเปนจริงทําใหคนรากหญารูสึกวาตนเองไดรับ หรือกําลังจะไดรับการดูแลจากผูนําและ
ไดรับการแบงปนทรัพยากรทางการเงินหรืองบประมาณจากรัฐบาลอยางเทาเทียม หรือเสมอ ๆ กับกลุมคนที่มี
สถานภาพดีกวาในกลุมอื่น ๆ ภายใตการนําทางนโยบายของพรรคไทยรักไทยโดยรวมที่ไมไดเนนใหเกิด
ความรูสึกวาประเทศมีชนชั้น ซึ่งทําใหคนรากหญาเห็นวาพรรคไทยรักไทยเปนความหวังเดียวทางการเมือง
2. ภาพลักษณ (Image) ของพันตํารวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ที่มีดีกรีดอกเตอร เปนนักบริหารที่มี
วิสัยทัศนกวางไกล คิดไว ทําไว และเปนตัว อยางของบุคคลที่ประสบความสําเร็จในเรื่องธุรกิจและชีวิต
ครอบครัว จนยากที่จะทําใหผูนําพรรคการเมืองใดมาเทียบเคียง

ลักษณะการบริหารประเทศ
มี ลั ก ษณะการบริ ห ารประเทศที่ มี แ นวโน ม รวบอํ า นาจเบ็ ด เสร็ จ ของรั ฐ บาลพรรคไทยรั ก ไทย
นักวิชาการจึงใหคําจํากัดความรูปแบบการบริหารประเทศวา “การเมืองระบอบทักษิณ” “ทักษิณาธิปไตย
(Thaksinocracy)” “ทรราชเสียงขางมาก (Tyranny of the majority)” “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการ
เลือกตั้ง” และเรียกระบบเศรษฐกิจซึ่งมีการดําเนินการและเกิดมีผลประโยชนจากนโยบายรัฐบาลในสมัยนี้วา
“ระบบทักษิโณมิกส (Thaksinomics)”
สาเหตุที่เกิดการรวบอํานาจเบ็ดเสร็จ เนื่องจากหัวหนาพรรคและนายทุนของพรรคลวนมีพื้นฐานมา
จากกลุมธุรกิจสัมปทานขนาดใหญ ซึ่งเปนธุรกิจที่มีประสบการณและมีความคุนเคยกับการผูกขาดมาแลวใน
ลักษณะหนึ่ง ไดแก ธุรกิจสื่อสาร – โทรคมนาคม กลุมอุตสาหกรรมพิเศษบางประเภท สงผลใหพรรคไทยรัก
ไทยมีฐานอํานาจทางการเงินที่แข็งแกรง และที่สําคัญคือนโยบายประชานิยมที่ใหผลประโยชนโดยตรงใหแก
ชาวบานโดยไมตองผานระบบอุปถัมภของนักการเมืองในระดับจังหวัด รวมทั้งนักการเมืองทองถิ่น ดังนั้น จึง
มีผลสืบเนื่องกลายเปนการสลายฐานอํานาจของนักการเมืองในระบบหัวคะแนนแบบที่เคยเปนมา
นักเศรษฐศาสตรการเมืองบางทาน ไดอธิบายการเมืองการปกครองในแบบดังกลาววาเปนระบบของ
“ธนกิจการเมือง” (Money Politics) คือ กลุมทุนขนาดใหญกลุมใหมไดเขามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจและ
การเมืองทดแทนกลุมการเมืองเดิม หรือกลุมทุนเกา ที่ลมละลาย ออนกําลังลง และสูญเสียกิจการของตนไป
ในชวงวิกฤตเศรษฐกิจป 2540
สภาวะการนําทางการเมืองของระบอบทักษิณ ไดเลิกพึ่งพาเทคโนแครต ผูเชี่ยวชาญที่เคยเปนหลัก
ของการบริหาประเทศ รวมทั้งปญญาชนและนักวิชาการที่เคยเปนตัวกลางของความรูและมีบทบาทวิพากษ
นโยบายระหวางรัฐกับประชาชน ปญญาชน นักวิชาการอิสระ และเอ็นจีโอ เครือขายประชาชน สมัชชาคนจน
ลักษณะเชนนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ เรียกวา “เสียงเดียวในความเงียบ” เนื่องมาจากประเด็นสาธารณะในสังคมไทย
มาจากพันตํารวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และถูกนําเสนอผานสื่อไปยังประชาชน ประกอบกับแหลงผลิตญัตติ
19

บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540


ขอไดเปรียบทําใหรัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพ นอกจากจะเกิดจากความสามารถในการนํา
และการจั ด การภายในพรรคไทยรั ก ไทยแลว ยั ง เกิด จากป จ จั ย สํา คัญ คื อ ขอ ได เ ปรีย บภายใตโ ครงสรา ง
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุงสรางฝายบริหารใหมีความเขมแข็ง ทําใหพันตํารวจโท ดร.
ทักษิณ มีอํานาจเหนือสมาชิกสภาผูแทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย และมีอํานาจเหนือฝายรัฐสภาไปดวย
นอกจากนี้ขอกําหนดในรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให ส.ส. ตองสังกัดพรรคการเมืองกอนการเลือกตั้งกอน
90 วัน สงผลใหพันตํารวจโททักษิณ สามารถรวบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จไดภายในไทยรักไทย โดยใชบทบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญเปนเครื่องมือควบคุมทางการเมืองกับ ส.ส. ใหอยูภายใตอาณัติอยางเครงครัด เพราะอนาคต
ทางการเมืองจะขึ้นอยูกับวาหัวหนาพรรคจะสง ส.ส. ผูนั้น ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งตอไปหรือไม
นอกจากนี้ผลลัพธของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อีก คือ การเสริมอํานาจใหพันตํารวจโท ดร.ทักษิณ
ผานมาตรการปลดรัฐมนตรี เนื่องจาก ส.ส. ที่เขารับตําแหนงตองพนจากสมาชิกภาพ ส.ส. ไปตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ และเมื่อถูกปลดออกจากตําแหนงรัฐมนตรี เปนตน
สรุปไดวา วิธีการบริหรกรเมืองภายในและภายนอกพรรคของ พันตํารวจโท ดร.ทัก ษิณ รวมทั้ง
โครงสรางของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เปนปจจัยทําใหรัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพมั่นคงและอํานาจ
รวมศูนยมาอยูที่ตัวนายกรัฐมนตรี
ในชวง 5 ป ที่คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยตองเผชิญกับการตรวจสอบของฝายนิติ
บัญญัติ จะไดรับความไววางใจจากเสียงขางมากของ ส.ส.ฝายรัฐบาลทุกครั้งเชน กรณีนายสุริยะ จึงรุงเรืองกิจ
กับกรณีจัดซื้อ CTX 9000 กรณีนายเนวิน ชิดชอบ กับกรณีกลายางและไขหวัดนก นายอดิสัย โพธามิกกับกรณี
การบริหารงานที่กระทรวงศึกษาธิการ แตไมสามารถสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลได เพียงแตปรับสมดุล
กระแสของภาคสังคมใหออนลง ดวยการปรับคณะรัฐมนตรีและปลดรัฐมนตรี นอกจากนี้ฝายคานมีไมถึง 200
เสียง จึงไมมีโอกาสในการตรวจสอบการทํางานของนายกรัฐมนตรี
การทํางานของคณะกรรมาธิการ สภาผูแทนราษฎรไมสามารถทํ างานตรวจสอบการทํางานของ
รัฐบาลได เนื่องจากคณะกรรมาธิการมาจากตัวแทนแตละพรรคการเมือง โดยแตงตั้งตามสัดสวนของแตละ
พรรคที่มี ส.ส. อยูในสภาผูแทนราษฎร เมื่อสมาชิกของพรรครัฐบาลเปนเสียงขางมากในคณะกรรมาธิการ จึง
สงผลใหกลไกการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลโดยคณะกรรมาธิการไมมีความสําคัญแตอยางใด
20

สวนของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2543 ถูกรัฐบาลครอบงํา เนื่องจากรัฐบาลไดเขามา


จัดตั้งวุฒิสภาสายรัฐบาลและเสนอผลประโยชนใหแกสมาชิกวุฒิสภาบางคน ทั้งนี้เพื่อใหกฎหมายที่เสนอโดย
รัฐบาลไดรับความเห็นชอบ
รัฐบาลพรรคไทยรักไทยไดรับเสียงวิพากษวิจารณวา เขาไปครอบงําองคกรอิสระ เชน ปปช. กกต.
สตง. กรณีแตงตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เปนผูวาการตรวจเงินแผนดิน
นอกจากนี้ ชวง “ขาลง” รัฐบาลพรรคไทยรักไทยไดรับการวิพากษวิจารณ เชน ปญหาคอรัปชั่นเชิง
นโยบาย การแทรกแซงสื่อและองคกรอิสระ ความไมสงบในจังหวัดชายแดนใต การละเมิดสิทธิมนุษยชน จน
ออกมาเปนขอเขียนของนักวิชาการ เชน รูทันทักษิณ ทักษิโณมิกส เปนตน
สิ่งที่เปนจุดเปลี่ยนสําคัญของพันตํารวจโท ดร. ทักษิณ คือ ปญหาจริยธรรมทางการเมืองโดยเฉพาะ
กรณีการขายหุนชินคอรป ใหแกกองทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร เปนจํานวน 73,000 ลานบาท โดยไมเสีย
ภาษี ผูถือหุนสวนใหญเปนครอบครัวของพันตํารวจโท ดร. ทักษิณ และเครือญาติ ปญหาดังกลาวนําไปสูการ
ยุบสภาของพันตํารวจโท ดร.ทักษิณ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ 2549 และกอใหเกิดกระแสวิพากษวิจารณจาก
สังคมตามมา วานายกรัฐมนตรีหนีการซักฟอกจากสภาผูแทนราษฎร ขอกลาวหาดังกลาวยังไมมีคําตอบใหกับ
ประชาชนอยางชัดเจน และทําใหเกิดขอสงสัยตามมา ทั้งหมดนี้เปนผลพวงมาจากระบบการตรวจสอบในสภา
ผูแทนราษฎรและในองคกรอิสระ
ดวยเหตุนี้การตอสูคัดคานอํานาจพันตํารวจโท ดร.ทักษิณ และรัฐบาลไทยรักไทย ในวงนักวิชาการ
ประชาชน สมาชิกวุฒิสภาสายเอ็นจีโอ และกลุมวิชาชีพสื่อมวลชน นําไปสูการตอสูทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ
และขยายผลไมเอาพันตํารวจโท ดร. ทักษิณ ไปสูการไมเอาระบอบทักษิณ
ดวยเหตุนี้จึงเกิด “ปรากฏการณสนธิ” นําโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจาของสื่อในเครือผูจัดการ พัฒนา
ไปสู “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ที่รวมเอาการตอสูหลวม ๆ ของ นิสิตนักศึกษา ประชาชน
นักเรียน นักวิชาการ ขาราชการ กลุมทุนนอกเครือขายทักษิณ รัฐวิสาหกิจ องคกรภาคเอกชน และทําการตอสู
แบบอารยขัดขืน (Civil Disobedience)
การตอสูระหวางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับฝายรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ไมมีทีทาจะ
ลดลง แมวาภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินใหมีการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 เปนโมฆะ เนื่องจาก
เปาหมายสูงสุดของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ ตองการใหพันตํารวจโท ดร.ทักษิณ เวนวรรค
ทางการเมือง ในขณะที่ฝายรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยืนยันวา เปนเรื่องสิทธิสวนบุคคลและใหเปนไปตาม
กติกาของรัฐธรรมนูญ
ทั้งสองฝายพยายามดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริยเขามาเกี่ยวของกับการตอสูทางการเมือง เชน การชู
คําขวัญ “ ถารักพออยาทะเลาะกัน” “ เราจะสูเพื่อในหลวง” การฟองรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การขอ
พระราชทานนายกรัฐมนตรีโดยใชมาตรา 7 และความพยายามชี้นํากระบวนการยุติธรรม เปนตน
21

ทั้งสองฝายพยายามแยงชิงมวลชน โดยการใชสื่อตาง ๆ ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


ขณะที่ฝายรัฐบาลและฝายสนับสนุนรัฐบาลไดโตตอบดวยการฟองรองหมิ่นประมาท สง ส.ส. ไปชี้แจงกับ
ประชาชนในพื้นที่ ใชสื่อตาง ๆ
ความขัดแยงทั้งสองฝายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และไดกลายเปนขออางอันชอบธรรมของทหารในการ
ทํารัฐประการยึดอํานาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ดวยเหตุผล คือ รัฐบาล
ทําใหเกิดความขัดแยงภายในชาติ การบริหารราชการแผนดินสอไปในทางทุจริต เกิดการแทรกแซงองคกร
อิสระ และการกระทําที่หมิ่นเหมตอการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งพองกับความเห็นของประชาชนและกลุม
ตอตานรัฐบาล ดวยเหตุนี้การกอรัฐประหารจึงเต็มไปดวยเสียงชื่นชม
ตลอดระยะเวลา 5 ปเศษ พันตํารวจโท ดร. ทักษิณ เนนย้ําเกี่ยวกับประชาธิปไตย คือการเลือกตั้ง
เคารพเสียงขางมากและดําเนินไปตามกติกา สวนเสียงขางนอย ที่อางวาละเมิดกติกา คือ อุปสรรคของการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ปญหาประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเปนบทเรียนสําคัญที่สะทอนใหเห็นวา
ฉันทานุมัติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังไมใชสิ่งที่มาแอบอางกันมาไดตามใจชอบ หากจะสะทอน
ความพอใจที่แทจริงกลุมพลังตาง ๆ ที่ดํารงอยูในสังคมเดียวกัน หรือคนหาจุดสมดุลที่ทุกฝายพอใจออกมาให
ได หาไม แ ล ว จะก อ ให เ กิ ด สถานการณ ขั ด แย ง ระหว า งรั ฐ บาลกั บ ประชาชน หรื อ กลุ ม ประชาชนที่ มี
ผลประโยชนหรือความคิดเห็นแตกตางกัน

You might also like