You are on page 1of 14

รายงานเชิงวิชาการ



การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี


โดย

นายณัฐชนน ชาญวุฒิวงศ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1เลขที่ 5
นางสาวณัฏฐณิชา แสงประกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 17
นางสาวปริณดา สุริยาวรกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 18

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สารบัญ
หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1

1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 1


1.2 โครงเรื่อง 1

1.3 ตัวละคร 2

1.4 ฉากท้องเรื่อง 2
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน 2

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 3

2. การพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 4
2.1 การสรรคำ 4

2.2 การเรียบเรียงคำ 5

2.3 การใช้โวหาร 6

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและ
วรรณกรรม 7

3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 7

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 7
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 7

บรรณานุกรม 8
คำนำ

รายงานทางวิชาการเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย เรื่อง
ขัตติยพันธกรณี ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคจบโดยกา
รอ่านเเละพิจารณาวรรณคดีไทยเรื่อง ขัตติยพันธะกรณี ในด้านเนื้อหา
กลวิธี ภาษาและคุณค่าภายในเรื่อง ซึ่งตัวเรื่องขัตติยพันธกรณีเป็น
โคลงสี่สุภาพและอินทรวิเชียรฉันท์ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอลเกล้าเจ้าอยู่หัวประพันธ์ เเละส่วนที่พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพเป็นผู้ประพันธ์ โดยเนื้อหาเกี่ยว
กับ การตัดสินใจในการสละดินแดนเพื่อปกป้องเอกราชของประเทศไทย
จากการล่าอณานิคมของประเทศฝรั่งเศสเเละอังกฤษ

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะสร้างประโยชน์ต่อ
ตัวผู้อ่านในทางใดทางหนึ่ง เเละหากมีข้อผิดพลาดใดๆภายในรายงาน
เล่มนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขอน้อมรับไว้เเละ
ขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทำ

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1. เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ
ในสมัยที่เกิดการล่าอาณานิคมของยุโรป ไทยได้ตกเป็นเป้าหลัง
จากฝรั่งเศสได้ยึดเวียดนามและกัมพูชา หลังจากที่ความขัดแย้งเริ่มทวี
ความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆผู้แทนทาง
การทูตของทั้งฝรั่งเศสและไทยก็ได้พยายามเจรจาเพื่อหาทางออก แต่ไม่
สำเร็จ จึงเป็นเหตุให้เรือรบของฝรั่งเศสรุกล้ำเข้ามาถึงปากแม่น้ำ
เจ้าพระยาในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ เรือแล่นเข้ามาจอด
ทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศส และยื่นคำขาดเรียกร้องหลายประการ
ไทยหวังพึ่งอังกฤษว่า จะช่วยถ่วงดุลอำนาจของฝรั่งเศส แต่ก็ไม่มีท่าที
จึงทำให้ไทยต้องยอมอ่อนข้ออย่างไม่มีเงื่อนไข วิกฤิตครั้งนี้จบลงด้วย
การลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพ ในวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ.112 ไทยยัง
คงไม่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเพียงแต่จังหวัดจันทบุรีถูกยึดเป็น
ประกัน
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงเป็นประมุขของไทยจึงได้เขียน จดหมายเพื่อเจรจาข้อเรียกร้อง
ต่างๆของฝรั่งเศส ด้วยความอดทนและนิ่มนวล ท่านทรงพยายาม
แสวงหาพันธมิตรจากมหาอำนาจอื่นๆเพื่อช่วยเหลือเจรจาและผ่อนปรน
ข้อเรียกร้องต่างๆของฝรั่งเศส ความขัดแย้งกับฝรั่งเศสกินระยะเวลา
ยาวนานถึง 14 ปี จบลงด้วยการที่ไทยได้จังหวัดจันทบุรีและตราดคืนมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาแผ่นดินผืนใหญ่
ของประเทศไว้ แม้จะต้องสูญเสียดินแดนยางส่วนไปบ้างแต่ไทยก็ยังคง
สามารถดำรงเอกราชและอธิปไตยสืบมาจนถึงทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าทรงส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาเจ้านายบางพระองค์
รวมถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ใน
เนื้อความของจดหมายเป็นการระบายความโทมนัสทั้งทางพระราช
หฤทัยและพระวรกาย รวมไปถึงความทุกข์ยากของอาการ ด้วยความ
กังวลถึงบ้านเมืองและประชาชน ทำให้ท่านประชวร จนไม่ทรงปรารถนา
จะดำรงพระชนม์ชีพต่อไปเพราะไม่ทรงอยากเป็นภาระ แก่ผู้เฝ้าพยาบาล
สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์บทประพันธ์ตอบกลับ
แสดงความทุกข์และความจงรักภักดี  ของประชาชนต่อพระอาการ
!1
ประชวร นอกจากนี้พระองค์ยังกราบทูลถึงความจริงที่ว่า ทุกการทำงาน
มีอุปสรรค ต้องอาศัยความร่วมมือและความพยายามจากคนรอบข้าง
ด้วย ถึงแม้จะไม่
สามารถแก้ปัญหาได้ ก็ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโทษได้หากได้พยายามอย่าง
เต็มที่แล้ว สุดท้ายทรงลงท้ายด้วยคำขอให้พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวรทั้งพระวรกายและพระราช
หฤทัย

2. โครงเรื่อง
กษัตริย์ของประเทศไม่อยากดำรงชีวิตต่อเพราะอาการประชวรทั้ง
ด้านกายและจิตใจ เพราะความกังวลถึงหน้าที่ของตนที่ต้องปกป้องบ้าน
เมืองจากการรุกราน จึงได้เขียนจดหมายถึงญาติเพื่อบอกเล่าและระบาย
ความทุกข์ ส่วนทางญาติก็ได้ตอบกลับมาพร้อมกับให้กำลังใจ ให้สู้ต่อ
เพื่อบ้านเมืองและประชาชน

3. ตัวละคร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรักประเทศชาติและ
ประชาชนทุกคนของพระองค์ แม้พระองค์ทรงประชวรหนัก ก็ไม่อาจละ
บ้านเมืองได้ดังเช่นบท

“เป็นฝีสามยอดแล้ว ยังราย ส่าน่อ


ปวดเจ็บใครจักหมาย เชื่อได้
ใช่เป็นแต่ส่วนกาย เศียรกลัด กลุ้มแฮ
ใครต่อเป็นจึ่งผู้ นั่นนั้นเห็นจริง
ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย
จึง บ อาจลีลา คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม”

สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพทรงจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา
กษัตริย์ ผู้ทรงยอมถวายเลือดเนื้อเพื่อกษัตริย์ ทั้งนี้ยังไม่ย่อท้อต่อ

!2
อุปสรรคต่างๆ ทรงปลุกกำลังใจให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวสู้ต่อไป ดังเช่นบท

“ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา
เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้จะชิงถวาย”
ขอตายให้ตาหลับ ด้วยชื่อนับว่าชายชาญ
เกิดมาประสบภาร- ธุระได้บำเพ็ญทำ”

4.ฉากท้องเรื่อง

แม้ในพระราชนิพนธ์จะไม่ได้กล่าวถึงฉากโดยตรง แต่เป็นบทกวีที่ถูก
เขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งใน
ประวัติศาสตร์กล่าวว่าถูกคัดมาจากพระราชหัตถเลขาของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะขึ้นเรือพระที่นั่งมหาจักรี กลับจาก
การเสด็จดำเนินสำรวจป้อมที่ตำบลแหลมฟ้า และการก่อสร้างป้อมพระ
จุลจอมเกล้า

5. บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน

“เจ็บนานหนักอกผู้             บริรักษ์ ปวงเฮย


คิดใคร่ลาลาญหัก                       ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก                 พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื่อง                            หน้านั้นพบันเขษม”

ในบทนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบรรยายถึงพระ
อาการประชวรและความรู้สึกต่างๆที่ถาโถมเข้าทำให้ทรงท้อและไม่
ประสงค์จะดำรงพระชมน์ชีพต่อไป

“ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง           บาทา อยู่เฮย


จึง บ อาจลีลา                            คล่องได้
เชิญผู้มีเมตตา                           แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้                               ส่งข้สอัญขยม”

!3
ในบทนี้พระองค์ได้ทรงเปรียบตะปูที่ติดตรึงบาทาอยู่เสมือนหน้าที่
ที่ตนต้องรับผิดชอบ ซึ่งคือการปกป้อง ดูแลรักษาบ้านเมืองทำให้ไม่
สามารถสิ้นพระชมน์ได้อย่างที่ปรารถนา

“กลัวเป็นทวิราช        บ ตริป้องอยุธยา


เสียเมืองจึงนินทา               บ ละเว้น ฤ ว่างวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้      ก็ บ พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย            จึงจะอุดแลเสยสูญ”

ในบทนี้พระองค์ทรงกลัวว่าหากเสียเมืองไป จะถูกมองว่าเป็น
ทรราช และยังถูกนินทาให้อับอายอีกบทนี้ทรงแสดงถึงความวิตกกังวล
ของพระองค์ต่อวิกฤตการณ์นี้

“ขอตายให้ตาหลับ       ด้วยชื่อนับว่าชายชาญ
เกิดมาประสบภาร-                 ธุระได้บำเพ็ญทำ”

ในบทนี้ เป็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา
นุภาพที่ทรงประพันธ์พระนิพนธ์ขึ้นเพื่อถวายกำลังพระราชหฤทัยใจแก่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื้อความในบทนี้กล่าวไว้ว่า
ไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร หากทำด้วยความตั้งใจ แม้จะต้องสละชีพ ก็ยังคง
สมศักดิ์ศรีของผู้ชาย

“ขอเดชะบุญญา-          ภินิหาระแห่งคำ
สัตย์ข้าจงได้สัม-                    ฤทธิดังมโนหมาย”

บทนี้ถูกกล่าวขึ้นก่อนหน้าคำอวยพรต่างๆที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงถวายพระพร เป็นบทเกริ่นและขอ
ให้คำขอของพระองค์เป็นจริงตามที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ
และความจงรักภักดีของพระองค์

6. แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง

ขัตติยพันธกรณีเป็นวรรณคดีที่ทำให้ผู้อ่านเห็นถึงความในใจของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงงานอย่างหนักแม้ขณะ

!4
ทรงประชวร เพื่อที่จะปกป้องประเทศชาติ จากวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่
ท่านได้ทรงบรรยายถึงความกังวลและท้อแท้ต่ออุปสรรคครั้งนี้ แต่ก็ไม่
อาจละทิ้งหน้าที่ของตนซึ่งเป็นกษัตริย์ได้ ในส่วนที่สมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงประพันธ์ตอบกลับนั้น แสดง
ให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และชาติบ้านเมือง ด้วยคำอวยพร
และให้กำลังใจต่างๆ

การพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
1. การสรรคำ
ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำต่างๆเพื่อเพิ่มความไพเราะให้กับบท
ประพันธ์ และถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อให้กับผู้อ่าน
1.1 เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
ผู้ประพันธ์ได้ใช้คำต่างๆให้เหมาะสม ตรงและถูกต้องตาม
ฐานะและเรื่องราวในบทประพันธ์

“ นี้ในน้ำใจข้า อุปมาบังคมทูล
ทุกวันนี้อาดูร แต่ที่พระประชวรนาน”
“ คอยพระประทับอาสน์ กระหยับบาทจะพาไคล
ตามแต่พระทัยไท ธ จะชักไปซ้ายขวา”

จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อผู้ประพันธ์ต้องการกล่าวถึง
พระมหากษัตริย์ จึงมีการใช้คำราชาศัพท์อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม

1.2 เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
บทประพันธ์นี้มีการใช้โคลงสี่สุภาพและอินทรวิเชียรฉันท์ใน
การประพันธ์

“ เป็นฝีสามยอดแล้ว ยังราย ส่านอ


ปวดเจ็บใครจักหมาย เชื่อได้
ใช่เป็นแต่ส่วนกาย เศียรกลัด กลุ้มแฮ
ใครต่อเป็นจึ่งผู้ นั่นนั้นเห็นจริง”

!5
ในตัวอย่างข้างต้น ผู้ประพันธ์ได้ใช้คำถูกต้องตามฉันทลักษณ์คือ
คำเอกเจ็ดคำ และคำโทสี่คำ ซึ่งมีการใช้คำตายแทนคำเอกบาง
คำ ในส่วนของอินทรวิเชียรคำฉันท์ ผู้ประพันธ์ไม่ได้เคร่งเรื่องการ
ใช้คำ ครุ-ลหุ ซึ่งต้องการให้ผู้อ่านรู้สึกเป็นธรรมชาติ และต้องการ
ประพันธ์ให้ใกล้เคียงกับการพูดปกติของคน

1.3 การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
1.3.1 คำที่เล่นเสียงวรรณยุกต์
ในขัตติยพันธกรณี ผู้ประพันธ์ได้มีการเล่นเสียง
วรรณยุกต์ในหลายๆจุดเพื่อนเพิ่มความไพเราะให้กับบทปนะพันธ์
“ เป็นฝีสามยอดแล้ว ยังราย ส่านอ
ปวดเจ็บใครจักหมาย เชื่อได้
ใช่เป็นแต่ส่วนกาย เศียรกลัด   กลุ้มแฮ
ใครต่อเป็นจึ่งผู้ นั่นนั้นเห็นจริง”

1.3.2 คำที่เล่นเสียงสัมผัส
ในบทประพันธ์นี้ มีทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสในเพื่อเพิ่ม
ความคล้องจองและทำนองให้กับผู้อ่าน

“ ไกลใกล้ บ ได้เลือก จะกระเดือกเต็มประดา


ตราบเท่าจะถึงวา- ระชีวิตมลายปราณ”

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้ประพันธ์มีการใช้สัมผัสพยัญชนะ และ


สัมผัสระหว่างวรรค ซึ่งเพิ่มความไพเราะและสวยงามให้กับบท
ประพันธ์

1.3.3 คำที่เล่นเสียงหนักเบา
ผู้ประพันธ์มีการเล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้สึก
ถึงทำนอง และเพิ่มความไพเราะของบทประพันธ์มากขึ้น
“ กลัวเป็นทวิราช บ ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บ ละเว้น ฤ ว่างวาย”

!6
2.การเรียบเรียงคำ


2.1 เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ท้ายสุด
การที่ผู้ประพันธ์นำส่วนสำคัญไว้ท้ายสุด เพื่อเพิ่มความ
กระชับ หนักแน่นและตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์
“ คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็ บ พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย จึงจะอุดแลเลยสูญ”

จากตัวอย่างข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว ต้องการจะสื่อว่าท่านนั้นคิดหาทางออกไม่ได้ ท่านไม่อยาก
เสวยยาและอยากตายไป

“ ขอจงพระชนมา ยุสถาวรพูน
เพิ่มเกียรติอนุกูล สยามรัฐพิพัฒน์ผลฯ”

ในตัวอย่างข้างต้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา


ดำรงราชานุภาพต้องการจะอวยพรให้แก่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระชนมายุ ยืนยาว และช่วยให้ประเทศ
เจริญรุ่งเรือง

2.2 เรียงคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆ กัน เคียงขนาน


กันไป

“ แก้รอดตลอดฝั่ง จะรอดทั้งจะชื่นชม
เหลือแก้ก็จำจม ให้ปรากฏว่าถึงกรรม”

ผู้ประพันธ์ต้องการจะสื่อว่า หากแก้เรือได้จนรอด ก็จะชื่นชม


หากแก้ไม่ได้ก็ให้คิดว่าเป็นกรรม แสดงถึงความเป็นไปได้ทั้งสอง
อย่างไปพร้อมๆกัน

2.3 เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับดุจขั้น
บันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด

!7
“ ใกล้ไกล บ ได้เลือก จะกระเดือกเต็มประดา
ตราบเท่าจะถึงวา- ระชีวิตมลายปราณ
ขอตายให้ตาหลับ ด้วยชื่อนับว่าชายชาญ
เกิดมาประสบภาร- ธุระได้บำเพ็ญทำ
ด้วยเดชะบุญญา- ภินิหาระแห่งคำ
สัตย์ข้าจงได้สัม- ฤทธิดังมโนหมาย
ขอจงวราพาธ บรมนาถเร่งเคลื่อนคลาย
พระจิตพระวรกาย จงผ่องผันที่หม่นหมอง”

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้ประพันธ์ต้องการจะสื่อว่า ไม่ว่าจะเกิด


อะไรขึ้น ตนก็จะพยายามสุดความสามารถไม่ว่าชีวิตตนจะหาไม่
และขอให้อาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวเบาบาง และหายไปการใช้โวหาร

ในการประพันธ์ต่างๆ ผู้ประพันธ์จะต้องเรียบเรียงคำและประโยค
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าในถึงเนื้อความ และเข้าใจเนื้อหาสำคัญได้ง่ายขึ้น

3.การใช้โวหาร
ผู้ประพันธ์มีการพลิกแพลง ดัดแปลงภาษาที่เขียนให้แปลกออกไป
เพื่อก่อให้เกิดภาพ สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ และยังเพิ่มความ
สวยงามให้กับบทประพันธ์ ซึ่งเรียกว่า “ภาพพจน์” หรือ “โวหาร
ภาพพจน์” ดังนี้
3.1 การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
“ ถ้าจะว่าบรรดากิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม
เรือแล่นทะเลลม จะเปรียบต่อก็พอกัน”

ผู้ประพันธ์ใช้อุปลักษณ์ในการเปรียบเทียบกิจการและงานทั้ง
หลาย เหมือนกับการเดินเรือ

3.2 การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆ ทั้งหมด


“ ดุจเหล่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน
นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง”

!8
จากตัวอย่างข้างต้น ผู้ประพันธ์ได้ใช้นามนัยเปรียบเทียบพระมหา
กษัตริย์เป็นกัปตันเรือ ซึ่งเป็นผู้นำในการเดินเรือและหากขาดผู้นำไป ลูก
เรือก็จะหลงทิศหลงทาง เช่นเดียวกับประเทศที่ขาดกษัตริย์ไป
3.3 การกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง
“ ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย
จึง บ อาจลีลา คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม”

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้ประพันธ์ได้ใช้อติพจน์เปรียบเทียบอาการ
ประชวรหรือป่วยเป็นเหมือนการที่มีตะปูตอกที่เท้าตรึงไว้ ซึ่งเป็นการ
กล่าวเกินจากความจริง

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
1. คุณค่าด้านอารมณ์
“ เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮย
คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้น พลันเขษม”

โคลงข้างต้นเป็นส่วนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงหมดกำลังใจในการ
ดำรงพระชนม์ชีพ โดยให้ความรู้สึกเข้าถึงความเจ็บปวด ความ
ทุกข์ของมนุษย์เมื่อถูกโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้าเเละหมดกำลังใจที่จะ
ใช้ชีวิตต่อไป จนคิดว่าตายไปคงจะมีความสุขกว่า

2. คุณค่าด้านคุณธรรม
“ ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ
ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง
โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา
ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้าง ฝ่ายดี”

!9
โคลงที่กล่าวมานั้นเเสดงให้เห็นถึงสัจจะธรรมของชีวิตใน
ด้านความไม่เที่ยงเเท้ของชีวิตมนุษย์ที่อาจมีทั้งความทุกข์เเละ
ความสุขปะปนกับไปช่วงเวลาชีวิตที่ผ่านพ้น โดยยึดหลักการตาม
คำสุภาษิตที่ว่า “ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน”

3. คุณค่าด้านอื่นๆ
3.1 คุณค่าด้านประวัติศาสตร์
“ กลัวเป็นทวิราช บ ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บ ละเว้น ฤ ว่างวาย”

บทโคลงที่กล่าวมาเป็นการเเสดงความรู้สึกตรึงเครียดเเละ
หมดหวังในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา รศ.112 เพื่อปกป้องเอก
เอกราชของสยามจากการรุกรานของฝรั่งเศส โดยความกดดันบน
บ่าองพระองค์คือการที่ทรงไม่ประสงค์ให้ต้องเสียกรุงสยามเฉก
เช่นสมัยอยุธยาที่เสียกรุงให้แก่พม่าซึ่งถูกติฉินนินทาไม่เว้นว่าง
โดยมีการยกการเสียกรุงครั้งที่ 2 หรือในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์
กับตนเองผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์เหมือนกัน

!10
บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดี


วิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.
พิมพ์ครั้งที่ 5. สกสค. ลาดพร้าว, 2555. 169 หน้า

!11

You might also like