You are on page 1of 13

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี
เรื่อง

ลิลิตตะเลงพ่าย

โดย
นางสาว โชติกา กิตติฐิติกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เลขที่ 7
นางสาว กุลภัสสรณ์ นนทพิบูลย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เลขที่ 12
นางสาว วิภาวี สุทธิพันธุ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เลขที่ 18
นางสาว ณัฐธยาน์ เตชะเพิ่มผล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เลขที่ 19

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 5

1
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ใน
เรื่องการอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธี การใช้ภาษาและประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณกรรมเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย
และ ได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน นักเรียน หรือ นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หาก


มีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมาณที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2561

2
สารบัญ
1.การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 4
1.2 โครงเรื่อง 4
1.3 ตัวละคร 4-5
1.4 ฉากท้องเรื่อง 6
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน 6-7
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 7

2.การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ 8-9
2.2 การเรียบเรียงคำ 9
2.3 การใช้โวหาร 9-10

3.การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 10-11
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 11
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 12

บรรณานุกรม 13

3
สรุปประเด็นการอ่านและพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรม
1) การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม ประกอบด้วย
1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมีอยู่ว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้
ที่ได้สืบครองราชย์ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จ
พระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพมาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ
พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ พระองค์จึงได้
มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนาย
ว่าพระมหาอุปราชานั้นจะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย ในระหว่างช่วงนั้น
สมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปทำศึกกับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่
เมื่อทรงทราบว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไป
ประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้นได้นำทัพจำนวน 5 แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพิน
แล้วจึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตร
พระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่ายที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเคลื่อนทัพ
ทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้
ทรงทราบว่าทหารพม่ามาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาจึงสร้างกลยุธท์ให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที แล้ว
ทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออกมาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้ง
ของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึกทำให้แม่ทัพ
ต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระ
นเศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร หลังจากที่กองทัพพม่า
แตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้างสถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

1.2 โครงเรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
พระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อกาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่
เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง
“ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ
และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่ม
เติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้
เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา

4
1.3 ตัวละคร
ฝ่ายไทย
1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช(พระองค์ดำ)
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 18 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีความสามารถในการรบอีกทั้งยังเป็น
กษัตริย์องค์สำคัญผู้ที่ประกาศเอกราชหลังจากเสียให้พม่านานถึง 15ปี รวมถึงพระองค์เป็นคนขยายอาณาจักรให้กว้าง
ขวาง และพระองค์ยังทำให้พม่าหวาดกลัวจนไม่กล้ามารบกับไทยเป็นเวลากว่า ร้อยปี
- อุปนิสัยของพระนเรศวร
พระองค์เป็นคนเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความกล้าหาญ รอบคอบ เข้มแข็ง มีไหวพริบ และ
โดดเดี่ยวทรงมีพระปรีชาสามารถควบคู่กับพระราชอัจฉริยะภาพในการทําศึกสงคราม
ตัวอย่างจากลิลิตตะเลงพ่าย ตอนพระเจ้านันทบุเรงสั่งให้โอรสออกรบ ชี้ให้เห็นลักษณะนิสัยของพระนเรศวรประการ
หนึ่ง กล่าวคือ พระเจ้านันทบุเรงเปรียบเทียบพระนเรศวรว่าเป็นคนกล้าหาญไม่หวั่นเกรงต่อศึก ดั่งบทความว่า

“ฟังสารราชเอารส ธก็ผะชดบัญชา เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยงยุทธ์เชี่ยวชาญ หาญหักศึกบมิย่อ ต่อสู้ศึกบมิหยอน ไป่พัก


วอนว่าใช้ ให้ธหวงธห้าม แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ”

จากบทความข้างตน พระนเรศวร เป็นที่ยอมรับในความเก่งกาจ กล้าหาญแม้กระทั่งในฝ่ายศัตรู

2. สมเด็กพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
-สมเด็จพระเอกาทศรถ น้องชายของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงออกรบเคียงข้างกับพระนเรศวรตลอด
ในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก หลังจากนั้น พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากพระ
นเรศวรได้ 5 ปี สมเด็จพระเอกาทศรถก็สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2153
พระองค์ คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จพระเอกาทศรถ

ฝ่ายพม่า
1. พระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง)
-พระเจ้าหงสาวดี กษัตริย์พม่า เป็นโอรสของบุเรงนองผู้เก่งกล้า พระองค์หวังว่าจะสร้างความยิ่งใหญ่ให้
เหมือนบิดาพระองค์ แต่ทำไม่สำเร็จ และสุดท้ายทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกวางยา
2. พระมหาอุปราชา
-โอรสของนันทบุเรง เป็นเพื่อนเล่นกับพระนเรศวนสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี
- อุปนิสัย เป็นคนขี้กลัว จิตใจอ่อนไหว และมีความรุนแรงในเรื่องความรัก แต่ยังมีความมานะ
ตัวอย่างจากลิลิตตะเลงพ่าย ตอนเมื่อครั้งพระเจ้าหงสาวดี ตรัสให้เตรียมทัพมาโจมตีไทย พระมหาอุปราชา
ทรงกราบทูลพระบิดาว่า โหรทานายว่า พระเคราะห์ถึงฆาต ทำให้พระเจ้านันทบุเรง เอ่ยประชดถึงพระนเรศวรว่ามี
ความมานะไม่กลัวศึกสงคราม พระมหาอุปราชา จึงมีทิฐิมานะ แล้วได้ไปออกรบตามบัญชาแม้จิตใจจะกลัวมากเพียงใด

ลมชื่อเวรัมภา พัดคลุ้ม
หวนหอบหักฉัตรา คชขาด ลงแฮ
พระพลันเห็นเหตุไซร้ เสียวดวง แดเฮย
ถนัดดั่งภูผาหลวง ตกต้อง
กระหม่ากระเหม่นทรวง สั่นซีด
หนักหฤทัยท่านร้อง เรียกให้โหรทาย
5
จากบทความข้างตน พระมหาอุปราชา ไม่เชื่อคำทำนาย แม้จะหวั่นกลัวที่จะพ่ายแพ้แต่พอนึกถึงบิดา และ
ชาติบ้านเมืองก็มีความมานะที่จะสู้แม้จะหวั่นเกรงพระนเรศวรมากเพียงใด

1.4 ฉากท้องเรื่อง
ฉากท้องเรื่องหลักอยู่ที่หงสาวดี เมืองหลวงของพม่าและอยุธยาเมืองหลวงของไทยรวมไปถึงสถานที่ทำยุทธหัสถี

งามสองสุริยราชล้ำ เลอพิศ นาพ่อ


พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกสร้าง
ฤรามเริ่มรณฤทธิ์ รบราพณ์แลฤ
ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไป่เทียม

ฉากที่ได้ปรากฏในเรื่องคือเหตุการณ์ที่บรรยายเกี่ยวกับ การปะทะกันของพระนเรศวร และ พระมหาอุปราชา ระหว่าง


การทำยุทธหัตถีทั้งสองพระองค์ทรงช้างคู่กายมาชนกัน สู้รบไปมาอย่างไม่ยอมกัน ดั่งบทกลอนข้างต้น
ฉากท้องเรื่อง
หงสาวดี
- เมืองหลวงของพม่า
อยุธยา
- เมืองหลวงของไทย
ด่านเจดีย์สามองค์
- เขตแดนระหว่างไทยกับพม่า อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
กาญจนบุรี
- เมืองหน้าด่านของไทยที่พระมหาอุปราชายกเข้ามา เป็นเมืองแรก
แม่กษัตริย์
- ชื่อแม่น้ำในจังหวัดกาญจนบุรีที่แม่ทัพนายกองเมือง กาญจนบุรีไปซุ่มสอดแนมเพื่อหาข่าวของข้าศึก
พนมทวน
- อาเภอหน่ึงในจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อพระมหาอุปราชา ยกทัพมาถึงเกิดเวรัมภาพัดทำให้ฉัตรของ พระมหาอุปราชหัก
เมืองสิงห์
- เมืองสิงห์บุรี (เมืองหน้าด่าน)
เมืองสรรค์
- เมืองสรรค์บุรี อยู่ในชัยนาท (เมืองหน้าด่าน)
เมืองสุพรรณ
กัมพุช, พุทไธธานี, ป่าสัก
- เมืองของเขมร
ราชบุรี
- เมืองท่ีสมเด็จพระนเรศวรมีพระราชบัญชาให้เจ้าเมืองจัด ทหารห้าร้อยคนไปทาลายสะพานไม้ไผ่ เจ้าเมืองช่ือ พระอม
รินทร์ฦชัย
วิเศษชัยชาญ
- เมืองท่ีพม่าให้กองลาดตระเวนขีม้าหาข่าว

6
ปากโมก
- เป็นตำบลที่สมเด็จพระนเรศวรยกพลขึนบก ทรง พระสุบินว่ารบกับจระเข้และได้ชัยชนะก่อนยกทัพออกจากปากโมก
ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารริกธาตุ
หนองสาหร่าย
- ที่ตั้งทัพหน้าของไทย
โคกเผ้าข้าว
- ตำบลที่กองหน้าของไทยปะทะกับพม่าเวลา ๗.๐๐ น.
ตระพังตรุ
- ตำบลท่ีทรงทายุทธหัตถี
วัดป่าแก้ว
- วัดที่สมเด็จพระวันรัตจำพรรษา

1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน
สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤ
เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้
สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา
นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด

พระมหาอุปราชาต้องเสด็จมาเพียงผู้เดียวอย่างเหงาใจ แต่พระองค์ได้ชมนกชมไม้ทำให้รู้สึกเบิกบานพระทัย
มากขึ้น แต่ก็ยังคิดถึงเหล่านางสนามและกำนัลทั้งหลาย พอเห็นต้นสลัด ทำให้พระองค์คิดว่าต้องจากนางมานอนป่า
เพื่อทำสงคราม เห็นต้นสละ เหมือนชื่อสละนางมาอยู่ในป่า เห็นต้นระกำช่างเหมือนอกพระองค์แท้ เห็นต้นสายหยุด
เมื่อตอนสายก็หมดกลิ่นแต่ไม่เหมือนใจพระองค์ที่ไม่หมดรักนาง จะกี่วันกี่คืนก็รักนาง ไม่มีทางที่จะหยุดรักนาง

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในพระปรีชาสามารถของท่านด้านการรบที่สามารถเอาชนะสงคราม
กับกรุงหงสาวดีได้และเพื่อต้องการให้ผู้อ่านเห็นถึงความรักชาติและความเสียสละของบรรพบุรุษที่พยา
ยามรักษาเอกราชของไทยเอาไว้ และปลุกใจผู้อ่านให้เกิดความรัก
ชาติของตนเอง

7
2) การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
ประกอบด้วยดังนี้
2.1 การสรรคำ
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นบทประพันธ์ที่มีความล้ำค่าอีกทั้งยังเป็นวรรณคดีเฉลิมประเกียรติพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ควร
ศึกษาเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อ
นักรบชาติไทย ผู้ประพันธ์จึงเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ ดังต่อไปนี้
• การใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามินทร์
เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง
ศัสตราวุธอรินทร์ ฤถูก องค์เอย
เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง

จากโคลงบทนี้ ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำที่มีศักดิ์คำสูง ซึ่งแสดงให้เห็นภาพที่มีความเด่นชัดและมีความไพเราะ เช่น


- สยามินทร์ หมายถึง กษัตริย์สยาม (กษัตริย์อยุธยา)
- นฤนาถ หมายถึง กษัตริย์
- ศัตราวุธอรินทร์ หมายถึง อาวุธของข้าศึก
- พระมาลา หมายถึง หมวก
- องค์ หมายถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

• มีการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ
“....ถับถึงโคกเผาเข้า พอยามเช้ายังสาย
หมายประมาณโมงครบ ประทบทัพรามัญ
ประทันทัพพม่า ขับทวยกล้าเข้าแทง
ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์
อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงเห่เอาชัย
สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง
พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่
ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด
งาง้าวฟาดฉะฉับ….”

สัมผัสสระ ได้แก่ เข้า – เช้า, สาย – หมาย, ครบ – ทบ, รามัญ – ทัน, พม่า – กล้า, แทง – แข็ง, ฟัน – ยัน,
ยุทธ์ – อุด, ฤกษ์ – เอิก, ชัย – ไฟ, แย้ง – แผลง, ยุ่ง – พุ่ง, คว้าง – ขว้าง, ไขว่ – ไล่, บัน – ฟัน, ฉาด – ฟาด

สัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ ถับ – ถึง, โคก – เข้า, ยาม – ยังหมาย, ประมาณ –โมง, ประทบ – ทับ, ประทัน –
ทัพ, ขับ – เข้า, ทวย – แทง, ขับ – แขง – เข้า, ยัน – ยืน – ยุทธ์, อุด – อึง – เอา, เอิก – อึง – เอา, ยะ – แย้ง, ยะ –
ยุ่ง, คะ – คว้าง, บุก – บัน, ฉะ – ฉาด, ง่า – ง้าว, ฉะ – ฉับ

8
• การใช้คำอัพภาส
คือ การซ้ำอักษรบริเวณหน้าคำศัพท์ ซึ่งทำให้เกิดความไพเราะ เช่น

“...สาดปืนไฟยะแย้ง, แผลงปืนพิษยะยุ่ง, พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง, ขว้างหอกซัดคะไขว่ไล่คะคลุกบุกบัน, เงื้อดาบฟัน


ฉะฉาด, ง่าง้าวฝาดฉะฉับ...”

การเลียนเสียงธรรมชาติ
“....เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก อีกเอิกก้องกาหล เร่ง
คำรนเรียกมัน ชันหู ชูหางเล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่….”

การใช้คำอัพภาส คือ การซ้ำอักษรลงหน้าคำศัพท์ ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น


“...สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด
ง่าง้าวฝาดฉะฉับ...”

2.2 การเรียบเรียงคำ
• มีการเรียงข้อความที่บรรจุสาระสำคัญไว้ท้ายสุด
เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามินทร์
เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง
ศัสตราวุธอรินทร์ ฤถูก องค์เอย
เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง

• มีการเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ ดุจขั้นบันได จนถึงขั้นสุดท้าย ซึ่งสำคัญที่สุด


อุรารานร้าวแยก ยลสยบ
เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ สังเวช
วายชีวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

• มีการเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์
อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤ
เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว
สิบทิศทั่วลือละเวง หวั่นเดช ท่านนา
ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี

2.3 การใช้โวหารภาพพจน์
• พรรณาโวหาร หรือการใช้คำให้เกิดจินตนาภาพ
พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ
ถนัดพระอังสาข้อน ขาดด้าวโดยขวา
ผู้เขียนได้แต่งโคลงบทนี้เพื่อพรรณนาการต่อสู้ของทหารสองฝ่ายทีสู้รบกันโดยใช้อาวุธ ทำให้มีทหารเสียชีวิต
9
• สัญลักษณ์
บุญเจ้าจอมภพขึ้น แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม รอนราพณ์ แลฤ
ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย
ไพรินทรนาศเพี้ยง พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ รอฤทธิ์ พระฤ
ดาลตระดกเดชลี้ ประลาตหล้าแหล่งสถาน

จากบทความข้างต้นมีการใช้คำว่าอวตารของพระรามเพื่อแทนถึงพระนเรศวร ซึ่งมีฤทธิ์แรงกล้าสามารถปราบ
ศัตรูให้แพ้ได้ทุกครั้ง เหมือนเวลาที่พระรามทำศึกสงครามก็ปราบทหารยักษ์ให้แพ้ได้อย่างราบคาบ

3) การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
• ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนใจ
ในตัวอย่างของโคลงดังต่อไปนี้
พระผาดผายสู่ห้อง หาอนุชนวลน้อง
หนุ่มเหน้าพระสนม
ปวงประนมนบเกล้า งามเสงี่ยมเฟี้ยมเฝ้า
อยู่ถ้าทูลสนอง
กรตระกองกอดแก้ว เรียมจักร้างรสแคล้ว
คลาดเคล้าคลาสมร
จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย
ห่อนช้าคืนสม แม่แล

จากโคลงด้านบนสามารถถอดคำประพันธ์ได้ว่า พระมหาอุปราชาได้ไปลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาลัย
อาวรณ์ก่อนออกรบซึ่งเมื่อผู้อ่านได้อ่านโคลงดังกล่าวจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสะเทือนใจและรู้สึกเห็นใจพระมหา
อุปราชาและนางสนมที่ต้องบอกลากัน

• ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเจ็บปวด
ดั่งหนึ่งในตอนของลิลิตตะเลงพ่ายที่ว่า
ฟังสารราชเอารสก็ผะชดบัญชา เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยงยุทธ์เชี่ยวชาญ หาญหักศึกบมิย่อ ต่อสู้ศึกบมิหยอน ไป่พักวอน
ว่าใช้ ให้หวงธห้าม แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์ธตรัสเยาะ
เยี่ยงขลาด องค์อุปราชยินสาร แสนอัประมาณมาตย์มวล นวลพระพักตร์ผ่องเผือด เลือดสลดหมดคล้ำ ช้ำกมลหมอง
มัว
จากตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงคำพูดของพระเจ้าหงสาวดีที่ประชดประชันพระมหาอุปราชาด้วยคำพูดที่
ว่าให้เอาเครื่องแต่งกายหญิงมาสวมใส่ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดของพระเจ้าหงสาวดีที่ถูกห้ามให้ออก
รบจากพระมหาอุปราชาที่ได้ฟังคำทำนายจากโหรทำนายว่าจะมีเคราะห์ถึงฆาต
10
• ผู้อ่านเกิดความโศกเศร้า
ในตัวอย่างของโคลงดังต่อไปนี้
มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน
พระครวญพระคร่ำไห้ โหยหา
พลางพระพิศพฤกษา กิ่งเกี้ยว
กลกรกนิษฐนา- รีรัตน์ เรียมฤ
ยามตระกองเอวเอี้ยว โอบอ้อมองค์เรียม

แสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักของพระมหาอุปราชาในตอนที่พระมหาอุปราชาต้อง
จากพระสนมและเดินทัพ ทำให้ผู้อ่านเห็นใจในความรักของพระมหาอุปราชา โดยใช้ต้นไม้และดอกไม้ ที่พระมหาอุป
ราชาที่พระมหาอุปราชาได้เห็นรำพันถึงพระสนม

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
• ความรอบคอบไม่ประมาท
พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า
คือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ
อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง

หลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพรพระนเรศวรก็ทรงสั่งให้ทหารไปทำลายสะพานเพื่อที่ว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึก
สงครามทหารของพม่าก็จะตกเป็นเชลยของ ไทยทั้งหมด นี่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติที่กว้าง
ไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท

• การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที
ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ พลันมอด ม้วยแฮ
เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ

ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่าเมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อจากโคลงนี้ได้แสดงให้เรา
เห็นถึงความรักความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหาอุปราชา อีกทั้งความจงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมือง

• ความซื่อสัตย์
จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าพ่ายพลทหารทั้งฝ่ายพม่าและฝ่าย ไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อประเทศ
ชาติของตนมาก เพราะในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนั้นเรายังไม่เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดคิดที่จะทรยศต่อชาติบ้านเมือง
ของตนซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าความซื่อสัตย์ จากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์ของทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่น
มั่นคงได้และนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง
11
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ
คุณค่าด้านสังคม
• สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย
ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ ความเชื่อของบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องความฝันบอกเหตุ เชื่อคำทำนายทายทักของ
โหร เช่น ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินนิมิต จึงตรัสให้หาพระโหราจารย์เพื่อทำนายนิมิต

ทันใดดิลกเจ้า จอมถวัลย์
สร่างผทมถวิลฝัน ห่อนรู้
พระหาพระโหรพลัน พลางบอก ฝันนา
เร็วเร่งทายโดยกระทู้ ที่ถ้อยตูแถลง

• สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี
ขนบธรรมเนียมในการศึกที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ เมื่อพระมหาอุปราชาจะออกศึก พระเจ้าหงสาวดีทรงประสาทและให้
โอวาทการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารและความเด็ดขาดในการรบ ความรู้เกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้ง
ทัพ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับสงคราม เช่น พิธีโขลนทวารตัดไม้ข่มนาม เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหาร ดังที่
ปรากฏในบทประพันธ์ที่กล่าวถึงพิธีโขลนทวารซึ่งเป็นพิธีบำรุงขวัญทหารก่อนออกศึกเหล่าทหารต่างฮึกเหิมและมีกำลัง
ใจเพราะมีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ ดังนี้

“...พลันขยายพยุหบาตรา คลาเข้าโขลนทวาเรศ สงฆ์สวดชเยศพุทธมนต์ ปรายประชลเฉลิมทัพ ตามตำรารับราชรณ


ยุทธ์ โบกกบี่ธุชคลาพล ยลนาวาดาดาษ ดูสระพราศสระพรั่ง คั่งคับขอบคงคา แลมหาเหาฬาร์พันลึก อธึกท้องแถว
ธาร...”

• สะท้อนข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ลิลิตตะเลงพ่ายได้แสดงคุณธรรมด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต เช่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเมตตา
ความนอบน้อม การให้อภัย เป็นต้น โดยสอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์ ผู้อ่านจะสามารถซึมซับคุณธรรมเหล่านี้ผ่าน
ความงามของภาษา สามารถจรรโลงใจผู้อ่านได้ เช่น ตอนที่พระเจ้านันทบุเรง ทรงสอนการศึกสงครามแก่พระมหาอุป
ราชา ก็เป็นข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งต่อการดำเนินชีวิตทุกยุคสมัย ตัวอย่างเช่น

หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน
เจนจิตวิทยาการ กาจแกล้ว
รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา
อาจรักรอนรณแผ้ว แผกแพ้พังหนี
ฯลฯ
หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล
อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน
อย่าหย่อนวิริยยล อย่างเกียจ
แปดประการกลเที้ยร ถ่องแท้ทางแถลง

12
บรรณานุกรม
วรรณาคดีไทย ลิลิตตะเลงพ่าย (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก
http://bnbody51.blogspot.com

เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก


https://sites.google.com/site/saowalakkhamdee41/neux-reuxng-lilit-taleng-phay

วรรณคดีไทย ม.5 ลิลิตตะเลงพ่าย (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก


https://sites.google.com/site/wannakadeem5/lilit-taleng-phay

ลิลิตตะเลงพ่าย (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก


https://sites.google.com/site/wrrnkrrmphunban/wrrnkrrm-rach-sanak-1/lilit-taleng-phay

ลิลิตตะเลงพ่าย 0.6 เรื่องย่อ (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก


https://alilit.wordpress.com/category/06-เรื่องย่อ/

คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก


https://alilit.wordpress.com/category/10-คุณธรรมที่ได้รับจากเร/

13

You might also like