You are on page 1of 11

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

โดย

นาย ณภัสสร์ อารยางกูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เลขที่ ๑

นาย ดรณ์ เชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เลขที่ ๓

นางสาว รพีพรรณ ลิ้มบุญดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เลขที่ ๖

นางสาว รัตนกรน์ สมชื่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เลขที่ ๑๐

เสนอ

อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษาที่ ๒๕๖๒ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based


Learning) รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จัดทำขึ้นเพื่อจุด
ประสงค์ในการ ค้นหาความรู้ วิเคราะห์และพิจารณาวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ทางผู้จัดทำต้องการจะนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน
เนื้อเรื่อง โวหารและการใช้ภาษา รวมไปถึงคุณค่าต่างๆที่ได้รับจากการอ่านคัมภีร์ฉันทศาสตร์
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นี้ ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับความรู้และประโยชน์
จากรายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อย หากทางคณะผู้จัดทำได้ทำสิ่งผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา
ณ ที่นี้ และขอน้อมรับทุกคำแนะนำไปปรับปรุงแก้ไข

ทั้งนี้รายงานเล่มนี้จะไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีหากขาดความช่วยเหลือจากอาจารย์พนม
ศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ทางคณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยเป็นผู้ให้ คำแนะนำและ
ข้อเสนอแนะเพื่อที่จะให้คณะผู้จัดทำนำกลับไปแก้ไขอะไรงานเล่มนี้ได้สำเร็จลุล่วง

คณะผู้จัดทำ

๑๕/๐๕/๒๐๒๐
สารบัญ

หน้า

๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑.๑ เนื้อเรื่อง ๔

๑.๒ โครงเรื่อง ๔

๑.๓ ตัวละคร ๔

๑.๔ ฉากท้องเรื่อง ๔

๑.๕ บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน ๕

๑.๖ แก่นเรื่อง ๕

๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

๒.๑ การสรรคำ ๕

๒.๒ การเรียบเรียงคำ ๖

๒.๓ การใช้โวหาร ๗

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

๓.๑ คุณค่าทางปัญญา ๘

๓.๒ คุณค่าทางศีลธรรม ๙

๓.๓ คุณค่าทางวัฒนธรรม ๙

บรรณานุกรม ๑๐
๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑.๑ เนื้อเรื่อง
ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ได้กล่าวว่าการเป็นมนุษย์เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีโรคภัยไข้เจ็บหรือ
เสื่อมสมรรถภาพโดยผู้เขียนเลือกที่จะใช้บทเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายโดยใช้ร่างกายของมนุษย์
เปรียบเทียบกับบ้านเมือง โดยเลือกที่จะใช้หัวใจเป็นพระราชา น้ำดีเป็นฝ่ายวังหน้าเป็นเกราะ
ป้องกันหรือเรียกได้ว่าเป็นภูมิต้านทาน อาหารเป็นเสบียงเลี้ยงชีพ และมีแพทย์เป็นทหาร ผู้ที่
ปกป้องเมืองจากโรคภัยและรักษาส่วนอื่นๆ
คัมคัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นตาราที่รวบรวมความรู้จากตาราอื่นๆที่คลอบคลุมเนื้อหาหลายเรื่อง
ตัวอย่างเช่นสรรพคุณของสมุนไพรหรือวิธีในการรักษาต่างๆ โดยกล่าวถึงเรื่องสั้นๆเกี่ยวกับโรคและ
วิธีรักษาให้ผู้อ่านเข้าใจคร่าวๆ ส่วนตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์จะกล่าวถึงการเป็นแพทย์ที่ดี ที่
ต้องมีคุณสมบัติในการชำนาญทั้งความรู้ด้านวิชาการและคุณธรรม โดยที่ไม่ถูกครอบงำโดยความ
โลภ โกรธและหลง

๑.๒ โครงเรื่อง
ตำราเล่มนี้แบ่งออกเป็นคัมภีร์ที่แบ่งออกเป็นเรื่องๆและมีเนื้อหาต่างกัน โดยเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ
การรักษาโรค สรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ อีกทั้งเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แพทย์ควรมี

๑.๓ ตัวละคร
ไม่มีตัวละครหลักในคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ แต่กล่าวถึงสิ่งที่แพทย์ควรทำและ
โรคต่างๆ

๑.๔ ฉากท้องเรื่อง
ไม่มีฉากท้องเรื่องใดปรากฏให้เห็น เว้นแต่การอุปมาเปรียบร่างกายเป็นเมืองตามที่กล่าวดังนี้
อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกชายหญิงในโลกา
ดังนั้นจึงไม่มีฉากท้องเรื่องเนื่องจากคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มุ่งเน้นถึงเรื่องแพทย์
การสอนและถ่ายทอดความรู้


๑.๕ บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีเพียงแต่การบรรยายให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ดังนั้นภาษาที่
ใช้ส่วนใหญ่คือ การบรรยาย อธิบายและไม่พบบทสนทนาระหว่างตัวละครหรือการรำพึงรำพัน
ตัวอย่างเช่น
บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ
ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา
บางหมอก็เกียจกัน ทีอันแพทย์รักษา
บ้างกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยกว่ามากครัน

๑.๖ แก่นเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีจุดประสงค์หลักคือการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์
ที่รวมถึงวิธีรักษาและวินิฉัยโรคต่างๆ และสอนถึงคุณธรรมและจรรยาบรรณที่แพทย์พึงมี คือการไม่
โลภ ทะนงตน อวดอ้างความรู้จนเกิดการรักษาผิดพลาด มีความไม่ประมาทในการรักษาและวินิฉัย
ผู้ป่วย อีกทั้งต้องศึกษาตำราให้ถี่ถ้วน

๒. การพิจารณาการใช้ในวรรณคดีและวรรณกรรม

๒.๑ การสรรคำ
การสรรคำในวรรณคดีถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เพราะจะสื่อถือ อารมณ์ความคิด ความรู้สึกของตัว
ละครได้ อย่างชัดเจนงดงาม

๒.๑.๑ เลือกให้คำให้ถูกต้องตามความหมายที่ต้องการ
บทความนี้กวีเลือกที่จะใช้คำศัพท์ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและความคิดไปยังผู้อ่านในลักษณะ
ที่ตรงไปตรงมา ไม่ได้มีความหมายมาก

แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จำเป็น
ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนำตนให้หลงทาง
จากตัวอย่างคำที่ขีดเส้นใต้สังเกตได้ว่า มีความหมายตรงตัว ซึ่ง คัมภีร์ไสย มีความหมายว่า คัมภีร์
อาถรรพเวทของอินเดีย ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการรักษาโรค ทำให้เกิดความกระชับ คำ
ประพันธ์ไม่ ยืดเยื้อ

๒.๑.๒ การเลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
บทประพันธ์นี้เป็นร้อยกรอง กาพย์ยานี ๑๑ ดังนั้นคำประพันธ์วรรคด้านหน้าจึงต้องมี ๕ คำ และ
วรรคด้านหลังต้องมี ๖ คำ เช่น

เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

จากตัวอย่างคำประพันธ์ข้างบน สังเกตได้ว่ากวีเลือกใช้กาพย์ยานี ๑๑ ซึ่ง


วรรคหน้าต้องมี ๕ คำ วรรคหลังต้องมี ๖ คำ ซึ่งตรงตามหลักของกาพย์ยานี ๑๑ ทุกประการ

๒.๒ การเรียบเรียงคำ
คือการที่เรานำใจความสำคัญไปไว้ท้ายสุดของประโยค เป็นการวางลำดับเนื้อหาให้มีความกระชับ
เข้าใจ ง่ายและตรงกับวัตถุประสงค์ของกวีโดยที่อาจจะเริ่มเรื่องด้วยเรื่องธรรดาก่อน แล้วค่อยเข้ม
ข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง ตอนสุดท้าย เช่น

ตัวอย่างที่ ๑

รู้น้อยอย่าบังอาจ หมิ่นประมาทในโรคา
แรงโรคว่าแรงยา มิควรถือคือแรงกรรม

ตัวอย่างที่ ๒

ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็่ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน
๒.๓ การใช้โวหาร
คือกลวิธีการใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น โดย
โวหารที่ ถูกนำมาใช้อย่างมากคืออุปมาโวหารและอุปลักษณ์โวหาร ทำให้การบรรยายเนื้อหา
ทางการแพทย์ในงานเขียนเรื่อง นี้เข้าใจง่ายมากขึ้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้

๒.๓.๑ อุปมาโวหาร

คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ใช้การกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอง เพื่อให้เกิดความ


ชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น โดยใช้คำ เช่น เปรียบ
เหมือน ดังที่สามารถเห็นในหลายช่วงตอนอย่างในตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างที่ ๑

อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย

ประเทียบทุกหญิงชาย มีมากมายในโลกา

ตัวอย่างที่ ๒

เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากหนักหนา

ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

๒.๓.๒ อุปลักษณ์โวหาร

คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยตรง ใช้เพื่อให้ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น


เช่นกัน ซึ่งในวรรณกรรมนี้ สามารถเห็นการใช้อุปลักษณ์โวหารได้หลายจุด โดยใช้คำ เช่น คือ เป็น
ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ ๑

เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนานรู้ลำเนา

ข้าศึกมาอย่างใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศทาง
ตัวอย่างที่ ๒

ปิตตํ คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย

อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา

การใช้อุปลักษณ์โวหารยังสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีคำเชื่อม แต่ใช้คำอีกคำหนึ่งแสดงแทนได้เลย
ตัวอย่างเช่น วรรคที่สองในกาพย์บทแรกที่กล่าวว่า กายนครมีมากหลาย ในที่นี้ผู้แต่ง สื่อความ
หมายเปรียบเทียบว่าร่างกายมนุษย์เป็นเหมือนนครหรือเมือง เมืองหนึ่งที่มีโรคต่างๆเป็นข้าศึก

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

๓.๑ คุณค่าทางปัญญา

๓.๑.๑ ให้ข้อคิดสําหรับการนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน

ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ได้มีการกล่าวถึงและทรอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณแพทย์ไว้
มากมากมาย ไม่ว่าจะเป็ยหัวข้อความประมาท ความเห็นแก่ตัว ความ โลภ ความโอ้อวดหลงตัวเอง
และการกล่าวโทษผู้อื่น เพราะฉนั้น การเป็นแพทย์ที่ดีจึงควรละเว้นสิ่งเหล่านี้ โดยอาจจะกล่าวได้
ว่าการจะเป็นแพทย์ได้นั้นต้องมีความ รอบคอบ เห็นแก่ผู้อื่น รับผิดชอบต่อหน้าท่ี และยอมรับ
ความเป็นจริง เมื่อเราพิจารณาสิ่งเหล่านี้แล้วนั้นก็เห็ฯได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่แพทย์เท่านั้นพึงปฏิบัติแต่เป็น
สิ่งที่ทุกคนในสังคมพึงระลึกไว้และปฏิบัติตาม ดังตัวอย่าง

บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย

ตน บ รู้ทิฏฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทา

จบเรื่องที่ตนรู้ โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม

ไม่สิ้นสงสัยทา สุดมือม้วยน่าเสียดาย

บางทีก็มีชัย แต่ยาให้โรคนั้นหาย

ท่านกล่าวอภิปราย ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี
๓.๑.๒ ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นตำราแพทย์ตั้งแต่สมัยโบราณที่ได้รวบรวมความรู้
ทางการแพทยืแผนโบราณจากตำราต่างๆที่สืบทอดกีนมาหลายชั่วอายุคนไว้ ดังนั้นจึงมีคำศัพทย์
มากมายกลายคำที่ได้เลิกใช้ไปแล้ว ทำให้คนรุ่นหลังสามารถศึกษาคำศัพทย์แพทย์จากคัมภีร์
โบราณนี้ได้ ตัวอย่างเช่น คพว่า ปิตตํ หมายถึง น้ำดีจากตับ และ เส มหา หมายถึง เสมหะ เป็นต้น

๓.๒ คุณค่าทางศีลธรรม

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังให้คำสอนเชิงศีลธรรม
และจริยธรรมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และบุคคลอาชีพอื่นๆไม่ควรมี เช่น ความประมาท
ความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตัวเอง และการมีศีลธรรมประจำ
ใจ

๓.๓ คุณค่าทางวัฒนธรรม

๓.๓.๑ สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย

ฉันทศาสตร์มีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการ


แพทย์ในคัมภีร์อาถรรพ์เวท ตำราอาถรรพ์เวท เป็นพระเวทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ จึงมีเรื่องเกี่ยว
กับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักพบคำว่า “คัมภีร์ไสย์”ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ ดังตัวอย่าง

เรียนรู้ให้ชัดเจน จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์
ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณนา

แต่ในคัมภีร์ฉันศาสตร์ มีการประสานความเชื่อความคิดต่างๆ ทางสังคมและทางพระพุทธ


ศาสนาเข้าด้วยกัน เนื้อหาจึงปรากฏคำบาลีแสดงให้เห็นตลอด ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์
ทางพระพุทธศาสนา เช่น มิจฉา (ความผิด) พิริยะ (ความเพียร) วิจิกิจจา (ความลังเล)
อุทธัจ(ความฟุ้งซ่าน) วิหิงษา (เบียดเบียน) อโนตัปปัง (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป) อธิกรณ์ (โทษ)
๓.๓.๒ สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย

ถ้าพิจารณาในส่วนที่กล่าวถึงทับ ๘ ประการ จะเป็นได้ว่าแพทย์แผนไทยเป็นวิธีการรักษา


โรคอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่มีความจำเป็นในการรักษาโรค เราจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย
ไม่ได้ เพราะเวชกรรมแผนโบราณเป็นที่ยอมรับเชื่อถือมาช้านาน ก่อนที่จะรับเอาวิทยาการแพทย์
แผนใหม่มาจากชาติตะวันตกมาใช้ ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางแพทย์ จะกลับมาให้ความสนใจ
ในการรักษาด้วยยาสมุนไพรตามแบบโบราณ โดยถือว่าเป็นทางเลือกทางหนึ่งในการรักษาโรคใน
ปัจจุบัน
บรรณานุกรม
ศึกษาธิการ, กระทรวง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้น
ฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.
ลาดพร้าว : โรงพิมพ์ สกสค., พ.ศ. ๒๕๕๕. ๑๓๑

You might also like