You are on page 1of 15

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี เรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

โดย

นายเตชินท์ เจริญจิตรวัฒนา ชั้น


มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๓ เลขที่ ๓
นางสาวแทนรัก โพธิ์หอม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๑๓
นางสาวสุพิชญาณัฐ สิทธิศุภฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๑๗
นายติณณ์ วัฒนศิริ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๒๓

เสนอ
อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖o


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(project based learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์


สงเคราะห์

โดย

นายเตชินท์ เจริญจิตรวัฒนา ชั้น


มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๓ เลขที่ ๓
นางสาวแทนรัก โพธิ์หอม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๑๓
นางสาวสุพิชญาณัฐ สิทธิศุภฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๑๗
นายติณณ์ วัฒนศิริ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕/๓ เลขที่ ๒๓
เสนอ
อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(project based learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

คำนำ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Project based learning รายวิชา


ภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จัดขึ้นเพื่อเป็น
แหล่งความรู้และความรู้เพิ่มเติมของวิชาภาษาไทยซึ่งผู้จัดทำได้รวบรวม
ความรู้เกี่ยวกับ การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีและกลวิธีใน
วรรณคดีและวรรณกรรม การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดี
และวรรณกรรม การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดี
และวรรณกรรม จากเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ในการจัดทำรายงานประกอบสื่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ ผู้จัดทำขอ
ขอบคุณ อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญา-ภรณ์ ที่ได้ให้ความรู้ และแนวทาง
การศึกษา เพื่อนๆ ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวัง
ว่ารายงานเล่มนี้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุก
ท่าน ถ้าหากมีข้อผิดผลาดประการใด
ผู้จัดทำขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

หน้า
๑.การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
๑.๑ เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ

๑.๒ โครงเรื่อง

๑.๓ ฉากท้องเรื่อง

๑.๔ แก่นเรื่อง
๑-๒
๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

๒.๑ การสรรคำ

๒.๒ การเรียบเรียงคำ

๒-๓

๒.๓ การใช้โวหาร

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและ

วรรณกรรม ๓.๑ คุณค่าด้านสังคม

๓-๔

๓.๒ คุณค่าด้านคุณธรรม

๓.๓ คุณค่าด้านปัญญา

๓.๔ คุณค่าด้านวรรณศิลป์


๔. บรรณานุกรม

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

เนื้อเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นตำราที่รวบรวมความรู้หลากหลายจาก
ตำราเรื่องอื่นๆ เริ่มต้นบทด้วยการไหว้ครูซึ่งเป็นการไหว้ เทพเจ้าของ
พราหมณ์ หมอชีวกโกมารภัจ (แพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสารแห่ง
แคว้นมคธ) และไหว้ครูแพทย์โดยทั่งไป เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงความ
สำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่พึงมี อีกทั้งยังกล่าวถึงการสังเกต
อาการไข้และวิธีการรักษา ลักษณะน้ำนมของหญิงสาว ลักษณะไข้ ๓ ขั้น
การสังเกตชีพจร ธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศ ที่ซึ่งเป็น
สาเหตุของการเกิดโรค และยังมีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ
ทางศาสนา โดยที่ผู้เขียนเปรียบร่างกายเหมือนนคร เปรียบดวงจิตเป็น
กษัตริย์ และเปรียบแพทย์เป็นทหาร ผู้เขียนต้องการจะสื่อถึงการทำงาน
ที่สัมพันธ์ของทั้งสามอย่างนี้ และปิดท้ายบทด้วยคำอวยพรของผู้เขียน
โครงเรื่อง
โครงเรื่องของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีเนื้อหา
ครอบคลุมโดยการให้ความเข้าใจในภาพโดยรวม ของอาการของโรค
และการรักษา อีกทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่
แพทย์ควรมี โดยการใช้เนื้อหาในการอธิบายส่วนใหญ่ แต่เมื่อจะกล่าว
ถึงจิตใจของแพทย์ ผู้เขียนเลือกที่จะใช้บทเปรียบเทียบเพื่อเข้าใจความ
หมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งใช้สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยมาเป็นตัวเปรียบเทียบ

ฉากท้องเรื่อง
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีฉากท้องเรื่องที่เกิดขึ้นบนโลก เนื่องจาก
แพทย์เป็นมนุษย์ มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก และข้อสังเกตุนั้นสามารถดูได้
ดังบทต่อไปนี้

“อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลา
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา”

ในบทนี้สังเกตุได้จากคำว่า โลกา ซึ่งคำนี้แสดงให้เห็นว่าสถานที่ที่


กำลังหมายถึงอยู่นั้นคือ บนโลก เนื่องจากคำว่าโลกามีความหมายที่
เหมือนกันกับคำว่าโลก

แก่นเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์นี้ได้กล่าวถึง ความสำคัญของแพทย์ คุณสมบัติ
ที่แพทย์พึงมี แพทย์ควรมีความรู้ทาง


วิชาการและมีคุณธรรม จรรยาบรรณในการเป็นแพทย์ที่ดี นอกจากเรื่อง
ของแพทย์แล้ว ยังมีเนื้อหาที่รวมไปถึงอาการของโรค และ การรักษา
เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปที่ต้องการหาวิธีรักษาโรคด้วย
ตนเอง ความรู้ในคัมภีร์นี้สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

การสรรคำ

กวีได้เลือกสรรคำที่สั้น มีความหมายกระชับเข้าใจง่าย ในการ


ถ่ายทอดคำสั่งสอนเกี่ยวกับจรรยาบรรณแพทย์ว่าแพทย์ที่ดีควรทำตัว
อย่างไร
โรคคือครุกรรม บรรจบจำอย่าพึงทาย
กล่าวเล่ห์อุบายหมาย ด้วยโลภหลงในลาภา
บ้างจำแต่เพศไข้ สิ่งเดียวได้สังเกตมา
กองเลือดว่าเสมหา กองวาตาว่ากำเดา

ดังตัวอย่างมีการดัดแปลงคำที่มีพยางค์ท้ายเป็นสระเสียงสั้นให้
เป็นสระเสียงยาว เช่นคำว่า ลาภา ซึ่ง
เป็นคำที่มีสระอาเติมต่อท้ายกํบคำว่าลาภ และ เสมหา ได้ถูกดัดแปลง
มาจากคำว่าเสมหะ เพื่อให้เกิดสัมผัสระหว่างบทกลอนและเกิดความ
สละสลวยทางภาษา

การเรียบเรียงคำ

กวีได้แต่งบทกลอนถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของกาพยานีย์ ๑๑ ทุก
ประการ มีการเรียบเรียงเนื้อหาให้มีความสำคัญเท่าๆกันเคียงขนานกัน
ไป ทั้งนี้ ยังมีการใช้สำนวนไทย ช่วยมาช่วยประกอบการอธิบายเพื่อให้
สื่อความหมายชัดเจนมากขึ้น เช่น
ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

จากตัวอย่าง ในวลี “ต่างเนื้อก็ต่างยา” หมายถึง ต่างคนก็ควรที่จะ


ใช้ยาที่แตกต่างกันไป บางคนถูกกับ


ยาชนิดนี้แต่อาจจะไม่ถูกกับอีกคนก็เป็นได้ ตรงกับสำนวน “ลางเนื้อชอบ
ลางยา” โดยคำว่าเนื้อในบทกลอนมีความเปรียบเปรยกับคำว่าคน

การใช้โวหาร

มีการใช้ถ้อยคำเปรียบเปรย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้
ง่ายและเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น

อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายใน
โลกา
ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
ปิตตํ คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา
หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที

จากตัวอย่าง มีการเปรียบเปรยร่างกายของมนุษย์มาเทียบกับบ้าน
เมืองเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ชัดเจน โดยเปรียบ
เทียบร่างกายเป็นเมือง เปรียบหัวใจและดวงจิตเป็นกษัตริย์ เปรียบโรค
ภัยไข้เจ็บเป็นข้าศึกที่เข้ามาโจมตีและเปรียบแพทย์เป็นดั่งทหารที่รักษา
บ้านเมืองให้รอดปลอดภัย

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

คุณค่าด้านสังคม
๑.สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย โดยทำให้เห็นถึงคุณค่า
และความสำคัญของแพทย์ รวมถึงจรรยาบรรณที่แพทย์พึงมี หน้าที่และ
ความรับผิดชอบ รักษาคนไข้ให้เต็มที่ที่สุด นี่เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าแค่อาชีพ
แพทย์ควรมี แต่เป็นสิ่งที่ทุกอาชีพควรมีเช่นกัน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้


เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย

๒.สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยถือ
เป็นแพทย์แขนงโบราณที่มีการทำการรักษาก่อนที่จะมีการรักษาแบบ
ชาติตะวันตกเข้ามาเสียอีก และส่วนมากการรักษานั้นจะเป็นการใช้
สมุนไพรหรือพืชพรรณธรรมชาติมากกว่าการใช้สารเคมี อีทั้งยังหาได้
ง่ายและมีสรรพคุณมากมาย ในปัจจุบันแพทย์แผนไทยถือเป็นแพทย์
ทางเลือกที่คนให้ความสนใจมากหลายทั้งในและต่างประเทศ
คุณค่าด้านคุณธรรม
ให้ข้อคิดสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถนำข้อคิด
ที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์ฉันท-ศาสตร์ไปใช้ได้ทุกสาขาอาชีพ เพราะไม่
ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด โดยเฉพาะในอาชีพแพทย์ที่ต้องทำงานกับ
ความเป็นความตายของคน ในกาณรทำงานนั้นจำเป็นต้องมีความ
รอบคอบ ละเอียด และ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ไม่ควรรักษาคนไข้
โดยที่ยังไม่รู้เรื่องของการรักษาหรือยาดีพอ

บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย
ตน บ รู้ทิฏฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทำ
จบเรื่องที่ตนรู้ โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม
ไม่สิ้นสงสัยทำ สุดมือม้วยน่าเสียดาย

คุณค่าด้านปัญญา
ให้ความรู้เรื่องขนาดของยา เช่น คนแต่ละคน ถึงแม้จะมีอาการ
แบบเดียวกัน แต่ก็อาจจะไม่ถูกกับยาชนิดเดียวกันก็ได้ ดังตัวอย่างนี้
อนึ่งท่านได้กล่าวถาม อย่ากล่าวความ
บังอาจอำ
เภอใจว่าตนจำ เพศไข้นี้อันเคยยา
ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอัน
แปรปรวน


คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กวีได้เลือกใช้
ถ้อยคำที่สื่อความคิดที่ตรงไปตรงมาได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบุคคล
ในเรื่อง อีกทั้งยังมีการใช้สำนวนไทยและสำนวนโวหารเพื่อเปรียบเปรย
ในการประกอบการอธิบายเพื่อให้เกิดความสละสลวยทางภาษาและ
ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ชัดเจนมายิ่งขึ้น

บรรณานุกรม

ครูอภิชิต สุธาวา. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์


[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก
https://sites.google.com/site/aphichitsuthawa/khamphir-
chanth-sastr-phaethysastr-sngkheraah

อ.บุญกว้าง ศรีสุทโธ. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์


[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก
https://sites.google.com/a/htp.ac.th/khamphir-chanth-
sastr-phaethysastr-sngkheraah/7-bth-wikheraah

You might also like