You are on page 1of 550

พรหมวิหาร

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ)
รจนา

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.)
ตรวจช�ำระ

พระคันธสาราภิวงศ์
แปลและเรียบเรียง
[1]
พรหมวิหาร
พรหมวิหาร
พระคันธสาราภิวงศ์ : แปลและเรียบเรียง
๓๗ วัดท่ามะโอ ต�ำบลเวียงเหนือ อ�ำเภอเมือง
จังหวัดล�ำปาง ๕๒๐๐๐

ISBN : 978-616-305-788-4

พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ตุลาคม ๒๕๕๕

จำ�นวน : ๑๕,๐๐๐ เล่ม

พิมพ์ที่ : หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์


๔๔/๑๓๒ ซอยกำ�นันแม้น ๓๖ ถนนกำ�นันแม้น
แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐
โทรศัพท์ ๐๒-๘๐๒-๐๓๔๔, ๐๘๑-๕๖๖-๒๕๔๐
ค�ำอนุโมทนา

พระธรรมค�ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมครู
ของเทวดาและมนุษย์ที่ประทานแก่ชาวโลกนั้น ในพระพุทธศาสนา
เรียกว่า สัตถุศาสน์ จ�ำแนกโดยลักษณะแล้วมี ๙ อย่างที่เรียกว่า
นวังคสัตถุศาสน์ มีความละเอียดลึกซึ้งและวิจิตรพิสดารยิ่งนักด้วยนัย
หลากหลาย ตรัสไว้เพือ่ ส่องน�ำทางแก่มวลชนผูม้ งุ่ หวังประโยชน์สขุ ทั้ง
ในชาตินี้และชาติต่อไป ตลอดจนอ�ำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ผู้แสวงหา
ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
ท่านผู้ประพันธ์หนังสือ พรหมวิหาร ที่ออกสู่สายตาของท่าน
ผู้อ่านนี้ คือ พระอาจารย์มหาสีสยาดอ (พระโสภณมหาเถระ) อัคร-
มหาบัณฑิต อดีตเจ้าส�ำนักมหาสี จังหวัดย่างกุง้ ประเทศเมียนม่าร์
ท่านมีเกียรติคุณเลื่องลือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและแตกฉาน
ภาษาบาลีสนั สกฤต ได้รว่ มช�ำระพระไตรปิฎกในสมัยสังคายนาครัง้ ที่ ๖
(ฉัฏฐสังคีติ) และด�ำรงต�ำแหน่งผู้ถามพระไตรปิฎก (สังคีติปุจฉกะ)
อีกด้วย นอกจากนัน้ ท่านยังเป็นวิปสั สนาจารย์ทผี่ า่ นการปฏิบตั ธิ รรม
อย่างจริงจังเป็นเวลานาน และมีประสบการณ์ในการสอนกรรมฐาน
[1]
พรหมวิหาร
หนังสือธรรมบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาซึ่งได้รับการ
ถอดเทปและจัดพิมพ์เป็นหนังสืออีกราว ๗๐ เล่ม โดยส่วนใหญ่ได้รับ
การแปลเป็นภาษาอังกฤษไว้แล้ว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน
บุคคลส�ำคัญระดับโลก ชีวประวัตโิ ดยย่อของท่านได้รบั การบันทึกไว้ใน
หนังสือ Who’s Who in the World ซึ่งบันทึกชีวประวัติของบุคคล
ส�ำคัญระดับโลกไว้
โดยเหตุที่ท่านผู้ประพันธ์มีความแตกฉานเชี่ยวชาญในปริยัติ
และปฏิบัติทั้งจากต�ำราและประสบการณ์ตรง ดังนั้น ข้อเขียนของ
ท่านจึงเจาะลึกถึงแก่นแท้ของเนื้อหาที่ได้น�ำมาอธิบายอย่างแจ่มแจ้ง
ชัดเจน ที่จริงแล้วแม้หนังสืออธิบายเรื่องพรหมวิหารจะมีมากหลาย
ฉบับที่เขียนโดยท่านผู้รู้ แต่หนังสือเหล่านั้นมิได้เทียบเคียงหลักปริยัติ
และปฏิบัติอย่างสมบูรณ์พร้อม ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ประพันธ์จึงน�ำ
เสนอผลงานที่เทียบเคียงปริยัติเข้ากับปฏิบัติ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหลัก
การปฏิบตั อิ ย่างถูกต้อง อันจะน�ำไปสูค่ วามก้าวหน้าในการปฏิบตั ธิ รรม
ตามล�ำดับ
ในวงวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ยากนักที่จะหาหนังสือ
ที่มีชีวิตชีวาและความส�ำคัญต่อชีวิตได้ และเป็นการยากเช่นเดียวกัน
ทีจ่ ะหาหนังสือชวนให้เกิดพลังดึงดูดจิตใจให้สว่างไสว และมีอำ� นาจพอ
ทีจ่ ะช่วยขจัดความมืดบอดแห่งความระทมทุกข์ อีกทัง้ ช่วยน�ำความหวัง
[2]
พรหมวิหาร
และความสุขมาให้แก่มวลเวไนยสัตว์ได้ ถึงกระนัน้ ข้าพเจ้ายังมีความ
ปรารถนาอยู่เสมอว่า เมื่อไรหนอจึงจะมีหนังสือที่เป็นสื่อการศึกษา
วิเคราะห์พระพุทธพจน์ในรูปของภาษาไทยอย่างกระจ่างแจ้งทั้งในเชิง
ปริยัติและปฏิบัติ เพื่อให้สมกับค�ำสวดสรรเสริญกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ (พระพุทธ-
องค์ทรงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิบริบูรณ์สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะ) ซึ่งจะก่อให้เกิดศรัทธาและความเคารพเทิดทูนบูชาว่า
พระพุทธด�ำรัสที่ตรัสไว้นั้นช่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ
ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้พบหนังสือพรหมวิหารของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอ
เป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์ทั้งในแง่มุมวิชาการและแนวทางปฏิบัติ
ซึง่ ท่านได้อธิบายไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ชัดเจนทัง้ ในด้านภาษา สภาวธรรม
และขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่เหมาะส�ำหรับพุทธศาสนิกชน
ชาวไทยควรมีไว้เป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัตพิ รหมวิหาร
ด้วยเหตุดงั กล่าว ข้าพเจ้าจึงเชิญชวนแกมขอร้องให้พระคันธ-
สาราภิวงศ์แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดล�ำปาง ด�ำเนินการแปลหนังสือ
“พรหมวิหาร” ที่แปลและอธิบายโดยพระโสภณมหาเถระ (มหาสี-
สยาดอ) ทั้งนี้เพื่อให้ศาสนิกชนชาวไทยได้เข้าใจหลักการปฏิบัติอย่าง
ถ่องแท้ตรงตามพุทธาธิบาย และเป็นหลักสูตรเรียนของนิสติ ปริญญาโท
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา ณ มหา-

[3]
พรหมวิหาร
วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส
นครปฐม ท่านผูแ้ ปลนีไ้ ด้ศกึ ษาบาลีใหญ่ทวี่ ดั ท่ามะโอตัง้ แต่เป็นสามเณร
อายุ ๑๕ ปี และได้ไปศึกษาต่อทีป่ ระเทศสหภาพพม่าเป็นเวลา ๑๐ ปี
จนจบการศึกษาระดับธรรมาจริยะ (เทียบเปรียญธรรม ๙ ประโยคใน
ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย) จาก ๒ สถาบัน คือ สถาบันรัฐบาล
และสถาบันเอกชน จังหวัดย่างกุ้ง โดยสอบชั้นนักศึกษาได้เป็นอันดับ
หนึ่งของจังหวัดแปร และสอบชั้นธรรมาจริยะของสถาบันเอกชนได้
เป็นอันดับสองของประเทศ อีกทั้งมีผลงานเขียนและแปลคัมภีร์กว่า
๕๐ เล่ม ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าท่านเป็นผู้เหมาะสมที่จะด�ำเนินการแปล
หนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เป็นมรดกธรรมฝากไว้ในพระพุทธศาสนา
ข้าพเจ้าได้อา่ นตรวจทานแก้ไขส�ำนวนแปลเป็นตอนๆ ไปตัง้ แต่
ต้นจนจบ เห็นว่าท่านผู้แปลได้ด�ำเนินการแปลและเรียบเรียงไว้โดย
ละเอียด มีหลักฐานอ้างอิงจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกาอย่าง
สมบูรณ์ จึงขออนุโมทนากุศลจิตของพระคันธสาราภิวงศ์ผแู้ ปลหนังสือ
เล่มนี้ และหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ตามสมควร

(สมเด็จพระพุทธชินวงศ์)

[4]
พรหมวิหาร
ค�ำนิยม

กระผมดีใจที่ได้รับความกรุณาจากท่านคันธสาราภิวงศ์แห่ง
วัดท่ามะโอ นครล�ำปาง ให้เขียนค�ำนิยมแต่งหนังสือส�ำคัญเล่มนี้ เพราะ
ตนเองมีความเคารพนับถือท่านคันธสาราภิวงศ์อย่างสูงอยูแ่ ล้ว เพราะ
เห็นว่าท่านเป็นพระผู้ทรงคุณธรรมอย่างสูงรูปหนึ่ง และเป็นปราชญ์
ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีที่ดีเด่นองค์หนึ่งในประเทศไทย
ส�ำหรับพระธรรมเทศนาเรือ่ งพรหมวิหารนี้ กระผมได้อา่ นด้วย
ความสนใจยิง่ และได้รบั ความรูใ้ หม่ๆ มากมาย ตามปกติกระผมก็ไหว้
พระสวดมนต์แผ่เมตตา และอุทิศส่วนบุญแก่สรรพสัตว์อยู่เป็นประจ�ำ
ทุกวัน แต่ก็ได้แต่ว่าตามสูตรที่ครูบาอาจารย์เคยสั่งสอนมา คือสวดว่า
สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ เป็นต้น แต่ยัง
ไม่เข้าใจวิธีเจริญเมตตาจนถึงขั้นบรรลุเมตตาฌานต่อด้วยการเจริญ
วิปัสสนาจนบรรลุมรรคผล ต่อไปจะพยายามแผ่เมตตาตามแนวทาง
ของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอที่ได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้

[5]
พรหมวิหาร
หนังสือนี้เป็นธรรมเทศนาที่บอกวิธีเจริญเมตตาเป็นต้นอย่าง
ละเอียด พร้อมด้วยยกตัวอย่างนิทานชาดกและเรือ่ งราวต่างๆ จากคัมภีร์
พระไตรปิฎก อรรถกถาและฎีกามาประกอบ ท�ำให้เรือ่ งเกีย่ วกับจิตใจ
ที่เป็นนามธรรมอย่างลึกซึ้ง กลายเป็นเรื่องง่ายๆ อ่านสนุกสนาน ซึ่ง
ควรจะเป็นแบบอย่างแก่นักแสดงธรรมทั่วไป
ส�ำหรับการแปลจากภาษาพม่าสูภ่ าษาไทยนัน้ นับว่าท่านคันธ-
สาราภิวงศ์ท�ำได้อย่างเยี่ยมยอด เพราะท่านแปลเป็นภาษาไทยไว้
อย่างดีเยีย่ ม เป็นภาษาไทยจริงๆ อ่านเข้าใจง่าย ไม่มสี ำ� นวนภาษาพม่า
ติดอยูเ่ ลย จึงเห็นว่าหนังสือเล่มนีเ้ ป็นเพชรงามเม็ดหนึง่ ในวรรณกรรม
ทางศาสนา ซึง่ จะประดับใจของท่านผูศ้ กึ ษาและปฏิบตั ติ ามให้งามเลิศ
ในปัจจุบันชาติและอนาคตชาติตามสมควร

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม

เชียงใหม่
กันยายน ๒๕๕๕

[6]
พรหมวิหาร
ค�ำน�ำ

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมตามที่ผู้ฟังจะ
ได้รบั ประโยชน์เท่าทีเ่ ขาสามารถปฏิบตั ไิ ด้ ธรรมะของพระองค์จงึ มิได้
เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิดอันเป็นประโยชน์
สูงสุดเท่านั้น แต่ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันชาติและในชาติ
ต่อไปอีกด้วย
หลักธรรมส�ำคัญประการหนึง่ เพือ่ ประโยชน์ในปัจจุบนั ชาติและ
ในชาติต่อไป คือ พรหมวิหาร โดยค�ำว่า พรหม แปลว่า ประเสริฐ ส่วน
ค�ำว่า วิหาร แปลว่า ความประพฤติ ดังนัน้ ค�ำว่า พรหมวิหาร จึง
หมายความว่า ความประพฤติอันประเสริฐ ด้วยการท�ำประโยชน์สุข
แก่ผู้อื่น หรือมีความหมายว่า การประพฤติอย่างพรหม โดยเป็นความ
ประพฤติของผู้อบรมจิตด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น
พรหมวิหารเป็นธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระสูตร
จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมตตาในพรหมวิหาร ๔ เป็น
หลักธรรมเพื่อค�้ำจุนโลกให้สงบร่มเย็น นอกจากนั้น แม้กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาก็เป็นหลักธรรมที่คนทั่วไปควรเจริญตามโอกาสอ�ำนวย
[7]
พรหมวิหาร
ผู ้ แ ปลได้ ด� ำ เนิ น การแปลต� ำ ราเกี่ ย วกั บ วิ ป ั ส สนาของท่ า น
อาจารย์มหาสีสยาดอ (พระโสภณมหาเถระ) อัครมหาบัณฑิต อดีต
เจ้าส�ำนักมหาสียิตตา จังหวัดย่างกุ้ง ประเทศเมียนม่าร์ ในปีก่อนๆ ที่
ผ่านมา ๖ เล่ม คือ วิปสั สนานัย ๑ วิปสั สนานัย ๒ มหาสติปฏั ฐานสูตร
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฏิจจสมุปบาท และนิพพานกถา ในปีนี้ได้
ด�ำเนินการแปลหนังสือ พรหมวิหาร ของท่านอาจารย์เป็นเล่มที่ ๗
แม้ว่าเรื่องพรหมวิหารจะไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนา เพราะจัดว่า
เป็นสมถภาวนา แต่กเ็ ป็นธรรมทีผ่ ปู้ ฏิบตั วิ ปิ สั สนาสามารถเจริญร่วมไป
กับวิปัสสนาได้ ดังนั้น ผู้แปลจึงเห็นความส�ำคัญและด�ำเนินการแปล
ในปีนี้
ท่านอาจารย์มหาสีสยาดอได้บรรยายเรื่องพรหมวิหารไว้ ณ
ส�ำนักมหาสียิตตา โดยบรรยายทุกๆ วันพระ ๑๒ ครั้ง เริ่มตั้งแต่วัน
เพ็ญเดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงวันแรม ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๒ ในขณะนั้น
ทางส�ำนักได้อัดเสียงไว้แล้วน�ำมาถอดเทป หลังจากนั้นจึงน�ำไปให้
ท่านอาจารย์ตรวจสอบและขัดเกลาส�ำนวนเป็นครั้งสุดท้าย แต่ท่าน
อาจารย์ตดิ ภารกิจอืน่ จึงหาโอกาสไม่ได้ กาลเวลาล่วงเลยไปกว่า ๑๐ ปี
ถัดจากนัน้ ท่านจึงมีโอกาสตรวจสอบและขัดเกลาส�ำนวนตัง้ แต่วนั แรม
๖ ค�่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๕๑๙ และเสร็จสมบูรณ์ในวันขึ้น ๗ ค�่ำ
เดือน ๓ พ.ศ. ๒๕๒๐ อีกทัง้ ได้รบั การตีพมิ พ์ในปีนนั้ นัน่ เอง ภายหลัง

[8]
พรหมวิหาร
ต่อมา ชาวพม่าศิษย์ของท่าน คือ U Min Swe (Min Kyaw Thu) ได้
แปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ BRAHMAVIHARA DHAMMA จัดพิมพ์ใน พ.ศ.
๒๕๒๘
เมื่อครั้งที่ผู้แปลเดินทางไปศึกษาปริยัติธรรม ณ ประเทศ
เมียนม่าร์ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๘ ได้พบต�ำราเล่มนี้และอ่าน
ศึกษาดู เห็นว่ามีประโยชน์มากต่อการปฏิบัติธรรมทั้งตามแบบสมถะ
และวิปัสสนา เหมือนแผนที่เดินทางน�ำไปสู่จุดหมายปลายทางคือ
ศานติสุข จึงคิดว่าควรแปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้กุลบุตรชาวไทยมี
โอกาสเข้าใจและปฏิบัติพรหมวิหารอย่างถูกต้องตามที่กล่าวไว้ใน
ต�ำราเล่มนี้ อีกทั้งพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์
อุปสโม. ป.ธ.๙, M.A., Ph.D) ก็กล่าวปรารภว่า “ท่านประสงค์จะให้
เมืองไทยมีต�ำราทางศาสนาที่ทรงคุณค่าเหมือนต�ำราที่ชาวพม่าแต่งไว้
จึงควรแปลต�ำราพม่าของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอเป็นภาษาไทย
เพื่อให้กุลบุตรชาวไทยมีโอกาสศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้เพื่อสืบทอดพระ-
พุทธศาสนาต่อไป” ดังนั้น ผู้แปลจึงด�ำเนินการแปลต�ำราเล่มนี้ในปีนี้
และจะแปลเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ และอนัตตลักขณสูตร ของท่าน
อาจารย์มหาสีสยาดอในปี ๒๕๕๖ เป็นล�ำดับต่อไป

[9]
พรหมวิหาร
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิเช่น
๑. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
๒. น�ำเรื่องที่พบในพระสูตรและอรรถกถามาแสดงไว้เป็น
ตัวอย่าง
๓. แสดงการเปรียบเทียบที่ท�ำให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๔. อธิบายความตามเนื้อหาในอรรถกถาและฎีกา
๕. เทียบเคียงกับประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่าง
แท้จริง
ในการแปลครั้งนี้ ผู้แปลมอบหมายให้คุณอุดมพร สิรสุทธิ
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษชื่อว่า BRAHMAVIHARA DHAMMA แล้ว
น�ำมาเทียบกับต้นฉบับภาษาพม่า อีกทั้งได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน
จากหนังสือ พรหมวิหารธรรม ของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอ ซึ่ง
ถอดเทปมาจากธรรมบรรยาย ๔ ครั้ง ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง
ประเทศพม่า ปีละ ๑ ครั้ง คือ
- ครั้งที่ ๑ บรรยายเรื่อง เมตตา ในวันเพ็ญเดือน ๙
พ.ศ. ๒๕๐๘
- ครั้งที่ ๒ บรรยายเรื่อง กรุณา ในวันเพ็ญเดือน ๙
พ.ศ. ๒๕๐๙
- ครั้งที่ ๓ บรรยายเรื่อง มุทิตา ในวันเพ็ญเดือน ๑๐
[ 10 ]
พรหมวิหาร
พ.ศ. ๒๕๑๐
- ครั้งที่ ๔ บรรยายเรื่อง อุเบกขา ในวันแรม ๑๐ ค�่ำ
เดือน ๙ พ.ศ. ๒๕๑๑
นอกจากนั้น เพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสาระพร้อมมูลใน
เชิงวิชาการ ผู้แปลจึงเพิ่มเชิงอรรถที่เกี่ยวกับหลักภาษาและหลักธรรม
โดยอ้างอิงหลักฐานจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และไวยากรณ์
บาลี หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านตามสมควร
ขออนุโมทนาขอบคุณผู้ช่วยด�ำเนินการแปลในครั้งนี้ คือ
คุณอุดมพร สิรสุทธิ ผู้แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ และช่วยขัดเกลา
ส�ำนวนแปล รวมทั้งตรวจแก้ค�ำผิดและจัดท�ำดรรชนีตลอดทั้งเล่ม
พร้อมทั้งขออนุโมทนาขอบคุณ “สิงห์มโน” ผู้ช่วยออกแบบปกอย่าง
สวยงาม
การบริจาคร่วมสร้างหนังสือธรรมะมีอานิสงส์มาก ทัง้ นีเ้ พราะ
หนังสือธรรมะก็คอื พระพุทธเจ้าผูส้ ามารถเทศน์และสัง่ สอนเวไนยชนได้
จัดว่าเป็นการธ�ำรงรักษาพระศาสนาและจุดประกายแห่งปัญญาแก่
ปวงชน เหมือนการจุดประทีปในที่มืด และบอกทางแก่คนหลงทาง
เพื่อประโยชน์แก่มวลชนชั่วกาลนาน หนังสือที่ท่านทั้งหลายจัดพิมพ์
เผยแพร่นี้จะน�ำไปมอบให้ส�ำนักเรียน ห้องสมุด และประชาชนทั่วไป
ที่สนใจใฝ่รู้ธรรมะ โดยไม่มีการจ�ำหน่ายแต่อย่างใด
[ 11 ]
พรหมวิหาร
ขออนุโมทนากุศลจิตของท่านเจ้าภาพผู้บริจาคทรัพย์เพื่อจัด
พิมพ์หนังสือเล่มนี้ไว้เป็นสมบัติในบวรพระพุทธศาสนา ขอให้ทุกท่าน
ที่ได้บ�ำเพ็ญบุญร่วมกันในครั้งนี้จงมีความสุขสวัสดี เจริญรุ่งเรืองใน
ธรรมของพระอริยเจ้าทั้งปวง และบรรลุศานติสุขอันเป็นจุดมุ่งหมาย
ของชาวพุทธโดยพลันเทอญ

พระคันธสาราภิวงศ์
วัดท่ามะโอ จังหวัดล�ำปาง

กันยายน ๒๕๕๕
www.wattamaoh.org
tamaoh24@gmail.com

[ 12 ]
พรหมวิหาร
วจนารมฺโภ

๑. วฏฺเฏสุ โน ชิโน ทุกฺขํ อนุภุตฺวาปฺยนปฺปกํ


เมตฺตาทิวาสิโตเยว กาลํ เขเปสฺยโมฆโต.
๒. สกฺกจฺจํ ตํ ชินํ นตฺวา สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
คุโณฆธารกํ โสหํ ปีติปาโมชฺชเจตสา.
๓. โปราณเกหิ วิญฺญูหิ นานารฏฺเสุ วณฺณิตา
พหู สนฺติ พฺรหฺมวิหาร- กถา ตทตฺถทีปิกา.
๔. ตถาปิ มหาสี เถเรน กตายํ สาธุสมฺมตา
ปริยตฺติปฏิปตฺติ- กุสเลน สุธีมตา.
๕. สฏีกาฏฺกถาปาฬิ- อนุโลเมน สา กตา
อุชุ พฺยตฺตา อลํ ทาตุํ ปฏิปตฺตินยํ สุภํ.
๖. คุณูปการตํ ตาย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อิติ
เถโร ทิสฺวาน อชฺเฌสิ มมํ ตํ ปริวตฺติตุํ.
๗. เตน พุทฺธสฺส ธมฺมสฺส สงฺฆสฺส ครุนญฺจ เม
นโม กตฺวา สภาสาย ปริวตฺตยามิ สาธุกํ.
คนฺธสาราภิวํโส
[ 13 ]
พรหมวิหาร
พจนารมภ์
๑. พระชินเจ้าของเราทั้งหลายแม้ทรงเสวยทุกข์มากเป็น
อเนกในวัฏฏะ ก็มีพระทัยอบอวลด้วยพรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น
โดยแท้ ทรงยังกาลสร้างบารมีให้ล่วงไปอย่างมีคุณค่า
๒. ข้าพเจ้านั้นขอนมัสการพระชินเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงหมู่
แห่งคุณธรรมโดยเคารพ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่สงฆ์ผู้สูงสุด
ด้วยจิตอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์
๓. ต�ำราทีก่ ล่าวถึงเรือ่ งพรหมวิหาร ซึง่ แสดงความหมายของ
พรหมวิหารนั้น ผู้รู้แต่กาลก่อนในประเทศต่างๆ ได้อธิบายไว้ มีอยู่
หลายฉบับ
๔. แต่หนังสือทีก่ ล่าวถึงพรหมวิหารฉบับนี้ อันพระมหาสีเถระ
ผู้ทรงปัญญาแตกฉานในปริยัติและปฏิบัติประพันธ์ไว้ ได้รับยกย่องว่า
ดีเลิศ

[ 14 ]
พรหมวิหาร
๕. หนังสือเล่มนั้นรจนาไว้โดยคล้อยตามพระบาลี อรรถกถา
และฎีกา ตรงประเด็น ชัดเจน สามารถแสดงวิธีปฏิบัติอันดีงามได้
๖. พระเถระผูป้ รากฏสมณศักดิว์ า่ “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์”
ได้เห็นว่าหนังสือเรือ่ งพรหมวิหารนัน้ อ�ำนวยคุณประโยชน์ จึงมอบหมาย
ให้ข้าพเจ้าแปลหนังสือดังกล่าว
๗. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ และครูของตนแล้ว จักแปลด้วยภาษาไทยเป็นอย่างดี

พระคันธสาราภิวงศ์

[ 15 ]
พรหมวิหาร
สารบัญ

หน้า
ค�ำอนุโมทนา ............................................................... [๑]
ค�ำนิยม ....................................................................... [๕]
ค�ำน�ำ .......................................................................... [๗]
วจนารมฺโภ .................................................................. [ ๑๓ ]
พจนารมภ์.................................................................... [ ๑๔ ]

บทน�ำ
บทที่ ๑
คุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกชาติทุกศาสนา.................... ๖
เมตตาคืออะไร ................................................................ ๗
การเตรียมตัว .................................................................. ๘
นั่งขัดสมาธิ ..................................................................... ๙
การเจริญเมตตาในอิริยาบถทั้ง ๔ . ................................... ๑๑
[ 16 ]
พรหมวิหาร
หน้า

การพิจารณาคุณและโทษ ................................................ ๑๓
โทษของความโกรธ ......................................................... ๑๕
คุณของความอดทน ........................................................ ๑๗
วิธีเจริญเมตตาภาวนา ..................................................... ๒๑
การเจริญเมตตา ๕๒๘ อย่าง ........................................... ๒๕
การเจริญอโนธิสเมตตา ................................................... ๒๙
การเจริญโอธิสเมตตา ...................................................... ๓๐
การเจริญทิสโอธิสเมตตา ................................................. ๓๒
การเจริญเมตตาของพระสุภูติ .......................................... ๓๗
พราหมณ์ธนัญชานีกับเมตตาฌาน ................................... ๓๘
อานิสงส์ ๑๑ ประการของการเจริญเมตตา ...................... ๔๓
เรื่องของโรชะ มัลลกษัตริย์ .............................................. ๔๗
เรื่องพระวิสาขเถระ ......................................................... ๔๙
เรื่องของอุตตราอุบาสิกา ................................................. ๕๔
เรื่องของพระนางสามาวดี . .............................................. ๖๐
เรื่องของสีหพาหุ ............................................................. ๗๒
เรื่องของสุวรรณสาม ....................................................... ๗๔
วิธีเจริญเมตตาควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา .................. ๗๘

[ 17 ]
พรหมวิหาร
หน้า

บทที่ ๒
บุคคลที่ไม่ควรแผ่เมตตาให้ในเบื้องแรกของการปฏิบัติ ..... ๘๓
บุคคลที่ไม่พึงแผ่เมตตาให้ ............................................... ๘๔
บุคคลที่ควรแผ่เมตตาให้เป็นอันดับแรก ........................... ๘๖
การบรรลุฌาน ................................................................ ๘๘
การพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ .................................... ๙๑
การพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ ๑๐ ประการ ............... ๙๔
วิธีระงับความโกรธด้วยการพิจารณาว่าบุคคลมีกรรม
เป็นของตน ................................................................ ๙๖
การระงับความโกรธด้วยการพิจารณาถึงการบ�ำเพ็ญบารมี
ของพระโพธิสัตว์ . ...................................................... ๙๘
การบ�ำเพ็ญขันติบารมีของขันติวาทีดาบส ........................ ๙๙
เรื่องของธรรมปาลกุมาร................................................... ๑๐๓
การบ�ำเพ็ญขันติบารมีของพญาช้าง พญาวานร
และพญานาค ............................................................ ๑๐๖
การเจริญขันติด้วยสติของพระปุณณะ .............................. ๑๐๗
การระงับความโกรธด้วยการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ .. ๑๑๑
การระงับความโกรธด้วยการเอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งของ........... ๑๑๒

[ 18 ]
พรหมวิหาร
หน้า

การเกิดขึ้นของสีมาสัมเภทคือการรวมแดน........................ ๑๑๔
การเกิดขึ้นของเมตตาฌาน .............................................. ๑๑๕

บทที่ ๓
รุกขเทวดาหลอกหลอนภิกษุ ๕๐๐ รูป.............................. ๑๑๙
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมตตสูตรเพื่อให้เทวดา
หยุดการหลอกหลอน ................................................. ๑๒๒
ในการสวดเมตตสูตรควรเจริญเมตตาด้วย ........................ ๑๒๓
เมตตปริตร....................................................................... ๑๒๔
สัปปายะ ๗ อย่าง............................................................. ๑๔๓
การเจริญเมตตาอย่างปกติ . ............................................. ๑๕๑
วิธีเจริญเมตตาโดยแบ่งสัตว์เป็น ๒ หรือ ๓ จ�ำพวก............ ๑๕๓
การเจริญเมตตาภาวนาโดยแบ่งสัตว์โลกเป็น ๓ พวก ....... ๑๕๕
วิธีแผ่เมตตาอีก ๓ วิธี ...................................................... ๑๕๘
การแผ่เมตตาเพื่อให้แคล้วคลาดจากทุกข์ ........................ ๑๖๑
เมตตาที่แท้จริง ............................................................... ๑๖๗
วิธีการเจริญเมตตาโดยไม่มีประมาณ . .............................. ๑๖๙

[ 19 ]
พรหมวิหาร
หน้า

เวลาและอิริยาบถที่พึงเจริญเมตตา.................................... ๑๗๒
วิหาร (การอยู่) ๔ ประเภท .............................................. ๑๗๓
อัปปมัญญา และพรหมจรรย์ ........................................... ๑๗๔
การปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเข้าไปอยู่ในครรภ์ ......... ๑๗๕
วิธีปฏิบัติเพื่อละอัตตทิฏฐิ ................................................ ๑๗๙
วิธีปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเกิดในครรภ์ ................... ๑๘๓

บทที่ ๔
เมตตสูตรที่ ๒ ................................................................. ๑๙๐
วิธีเจริญวิปัสสนาที่เกี่ยวกับเมตตสูตรที่ ๒ ........................ ๑๙๔
อนิจจัง อนิจจลักษณะ และอนิจจานุปัสสนา..................... ๑๙๖
ทุกขัง ทุกขลักษณะ และทุกขานุปัสสนา .......................... ๑๙๙
อนัตตา อนัตตลักษณะ และอนัตตานุปัสสนา . ................. ๒๐๐
อธิบายเมตตสูตรที่ ๒ (ต่อ) .............................................. ๒๐๓
เมตตสูตรที่ ๑ ................................................................. ๒๐๔

[ 20 ]
พรหมวิหาร
หน้า

บทที่ ๕
กรุณาคืออะไร ................................................................. ๒๑๔
ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ ........................................... ๒๑๖
พระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ ............................... ๒๑๙
คนที่ควรเจริญกรุณาให้ในเบื้องแรก ................................. ๒๒๑
วิธีเจริญกรุณา ๑๓๒ ประเภท ......................................... ๒๒๕
การเกิดขึ้นของมหากรุณาสมาบัติ .................................... ๒๓๐
ความวิตกกังวลตลอดเวลาเป็นความทุกข์ ........................ ๒๓๓
ชาวโลกที่ถูกน�ำไปสู่ความแก่ ความเจ็บ และความตาย
เป็นผู้ที่ควรสงสาร ...................................................... ๒๓๖
กรุณาที่เกิดขึ้นในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นสามเณร ................... ๒๓๘
คนที่ไม่มีที่พึ่งเป็นคนที่น่าสงสาร....................................... ๒๔๐
พระตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง .................................. ๒๔๓
น่าสงสารเพราะต้องทิ้งทุกสิ่งไป ...................................... ๒๔๔
พระราชประวัติของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช .................. ๒๔๕
การเป็นทาสของตัณหานั้นน่าสงสารโดยแท้ ..................... ๒๔๘

[ 21 ]
พรหมวิหาร
หน้า

บทที่ ๖
สัตว์โลกถูกลูกศรเสียบแทง............................................... ๒๕๔
วิธีการถอนลูกศรด้วยการก�ำหนดรู้สภาวธรรม ................. ๒๕๘
สัตว์โลกถูกข่ายตัณหาครอบไว้ ถูกกระแสตัณหา
พัดพาไป .................................................................... ๒๖๕
สัตว์โลกถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้ ถูกกระแสทิฏฐิซัดไป ........... ๒๖๘
สัตว์โลกเร่าร้อนเพราะถูกไฟเผา ...................................... ๒๗๒

บทที่ ๗
มุทิตาคืออะไร ................................................................. ๒๘๒
เรื่องของอัครมเหสี .......................................................... ๒๘๔
เรื่องของพระโลสกติสสะ ................................................. ๒๘๔
เรื่องขนมใส่ยาพิษ ........................................................... ๒๘๗
เรื่องของชุณหอ�ำมาตย์ .................................................... ๒๘๘
เรื่องของเพื่อนนางวิสาขา ................................................ ๒๘๙
วิธีเจริญมุทิตาภาวนา ...................................................... ๒๙๐
[ 22 ]
พรหมวิหาร
หน้า

บทที่ ๘
อุเบกขาคืออะไร .............................................................. ๓๐๐
การวางเฉยต่อความสุขความทุกข์ของคนอื่น
สมควรหรือไม่ ............................................................ ๓๐๑
เรื่องของนายมหากาล....................................................... ๓๐๔
วิธีแผ่อุเบกขา ๑๓๒ อย่าง . ............................................. ๓๐๖
เหตุใกล้ของอุเบกขา . ...................................................... ๓๐๙
จูฬกัมมวิภังคสูตร . .......................................................... ๓๑๒
พระด�ำรัสตอบ ................................................................ ๓๒๒
เรื่องของพระปูติคัตตติสสเถระ.......................................... ๓๒๒
เรื่องของอานันทเศรษฐี ................................................... ๓๓๙
อกุศลเป็นสิ่งที่ไม่ควรท�ำ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ ....................... ๓๔๘
กุศลเป็นสิ่งที่ควรท�ำ พึ่งพาอาศัยได้ ................................. ๓๕๐
วิธีการเจริญวิปัสสนากุศล ................................................ ๓๕๒
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะเห็น ........................................ ๓๕๔
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะได้ยิน . .................................... ๓๕๖
วิธีการก�ำหนดรู้รูปนามในขณะได้กลิ่น ............................. ๓๕๗
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะลิ้มรส ..................................... ๓๕๘

[ 23 ]
พรหมวิหาร
หน้า

วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะถูกต้องสัมผัส .......................... ๓๕๙


วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะคิดนึก ..................................... ๓๖๓
กุศลเป็นที่พึ่งได้และเป็นสิ่งที่พึงท�ำให้เจริญ....................... ๓๖๕
ผลกรรมที่ท�ำในปัจจุบันภพ ............................................. ๓๖๗
บทส่งท้าย ....................................................................... ๓๗๓

เชิงอรรถ ............................................................................. ๓๗๕


ดัชนีค้นค�ำ ........................................................................... ๔๙๓
ประวัติและผลงาน ของพระคันธสาราภิวงศ์ ........................ ๕๐๔
รายนามผู้ร่วมจัดพิมพ์ ....................................................... ๕๑๑

[ 24 ]
พรหมวิหาร
พรหมวิหาร
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น

บทน�ำ
วันนี้เป็นวันเพ็ญ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๓๒๗ (ตรงกับพุทธ-
ศักราช ๒๕๐๘) เป็นวันแรกของการแสดงธรรมเทศนาเรื่องพรหม-
วิหาร ในค�ำว่า พรหมวิหาร นี้ พรหม แปลว่า ประเสริฐ ส่วนค�ำว่า
วิหาร แปลว่า ความประพฤติ ดังนั้น ค�ำว่า พรหมวิหาร จึงหมายความ
ว่า ความประพฤติอันประเสริฐ๑ ด้วยการท�ำประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
หรือมีความหมายว่า การประพฤติอย่างพรหม โดยเป็นความประพฤติ
ของผู้อบรมจิตด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น
1
พรหมวิหาร
พรหมวิหารมี ๔ อย่าง๒ คือ
๑. เมตตา ความเป็นมิตร, ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่าง
จริงใจ
๒. กรุณา ความสงสารต่อผู้อื่นที่ตกต�่ำกว่าตนเมื่อเขาได้รับ
ความทุกข์
๓. มุทิตา ความพลอยยินดีต่อผู้อื่นที่ประสบความส�ำเร็จยิ่ง
กว่าตน
๔. อุเบกขา ความวางเฉย หรือวางใจเป็นกลางต่อความสุข
หรือความทุกข์ของผู้อื่นโดยคิดว่าเป็นกรรมของเหล่าสัตว์
ทั้งสี่ประการนี้คือพรหมวิหาร ซึ่งในมหาโควินทสูตร๓ เรียกว่า
พรหมจรรย์ ดังนั้น พรหมวิหารจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า พรหมจรรย์
ซึ่งหมายถึง ความประพฤติอันประเสริฐนั้นเอง
นอกจากนั้น หากกล่าวตามอภิธรรมเทศนา พรหมวิหารนี้ก็
คือ อัปปมัญญา๔ ซึ่งหมายความว่า ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ
เนื่องจากการเจริญเมตตาเป็นต้นเป็นการแผ่ความปรารถนาดีออกไป
ให้ทั่วถึงกันยังสัตว์โลกทั้งหลาย โดยไม่จ�ำกัดขอบเขต ไม่มีประมาณ

2
พรหมวิหาร
บทที่ ๑
พรหมวิหาร ๔ ประการ
ประกอบด้วย
เมตตา ซึ่งแปลสั้นๆ ว่า ความรัก
กรุณา คือ ความสงสาร
มุทิตา คือ ความยินดี
อุเบกขา คือ ความวางเฉย
3
พรหมวิหาร
ใน ๔ ค�ำนี้ มีเพียงค�ำว่า สงสาร ที่แปลความได้ตรงกับค�ำว่า กรุณา
โดยไม่มีความหมายอื่นเข้ามาปน ส่วนค�ำว่า ความรัก นอกจากหมาย
ถึงความเมตตาแล้ว อาจหมายถึงความผูกพันที่ประกอบด้วยกามราคะ
ก็ได้ และค�ำว่า ความยินดี อาจหมายถึง ความยินดีเมื่อได้รับสิ่งที่
ปรารถนาก็ได้ ไม่ได้หมายถึง มุทิตา อย่างเดียว ค�ำว่า วางเฉย ก็
อาจหมายถึงความไม่สนใจใยดีก็ได้ ดังนั้น หากเราจะกล่าวถึงเมตตา
มุทิตา อุเบกขา โดยใช้ค�ำว่า ความรัก ความยินดี ความวางเฉย มาแทน
ตามล�ำดับ ก็อาจจะท�ำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายไม่ถูกต้อง ดังนั้น ใน
การแสดงธรรมเทศนานี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าควรใช้ศัพท์ภาษาบาลี คือ
เมตตาภาวนา กรุณาภาวนา มุทิตาภาวนา และอุเบกขาภาวนา เพื่อ
ให้สื่อความหมายได้โดยไม่ผิดเพี้ยน
เมตตาภาวนา หมายถึง การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความ
ปรารถนาดีให้แก่ผู้อื่น หรือในขณะที่เรามีความปรารถนาให้ผู้อื่นมี
ความสุข ก็นับได้ว่าเป็นการเจริญเมตตาภาวนาเช่นเดียวกัน
กรุณาภาวนา หมายถึง การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความกรุณา
สงสารให้แก่ผทู้ ไี่ ด้รบั ความทุกข์ หรือในขณะทีเ่ ห็นคนก�ำลังได้รบั ความทุกข์
แล้วรู้สึกสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์ ก็เรียกได้ว่าเป็นการเจริญกรุณา
ภาวนาเช่นเดียวกัน

4
พรหมวิหาร
มุทิตาภาวนา หมายถึง ความพลอยยินดีกับความสุขของผู้อื่น
และปรารถนาให้เขามีความสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน
และร�่ำรวยทรัพย์สินเงินทองตลอดไป
อุเบกขาภาวนา หมายถึง ความวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย ไม่
กังวลใจกับทุกข์สุขของผู้อื่น เป็นการท�ำใจเป็นกลางด้วยคิดว่าทุกสิ่งที่
เกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามอ�ำนาจของกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แต่ละคนได้
ท�ำไว้

5
พรหมวิหาร
คุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกชาติทุกศาสนา
พรหมวิหารเป็นคุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกชาติทุกศาสนา
ท�ำให้โลกนี้สงบสุขไม่วุ่นวาย ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนมาช่วยเหลืองานของ
เราให้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เราจะปฏิเสธหรือไม่ คงไม่มีใครปฏิเสธ
เจตนาดีของคนอื่นเช่นนี้ ถ้าเรายิ้มแย้มทักทายผู้อื่นด้วยไมตรีจิต ผู้อื่น
ก็จะทักทายตอบด้วยไมตรีจิตเช่นกัน เมตตาจึงเป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุก
ศาสนาควรประพฤติแก่กนั และกัน เพือ่ ท�ำให้สงั คมสงบสุข นอกจากนัน้
ถ้าเราช่วยเหลือคนอื่นที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ให้พ้นจากทุกข์ เขาย่อมจะ
ยอมรับความกรุณาสงสารของเราโดยไม่ปฏิเสธ หรือถ้าเราสนับสนุน
คนที่ประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงานหรือทรัพย์สมบัติเพื่อให้
เขามั่นคงในความส�ำเร็จนั้น เขาย่อมยอมรับโดยไม่ปฏิเสธความหวังดี
ของเรา เหล่านี้เป็นตัวอย่างของกรุณาและมุทิตาที่คนทุกชาติทุกศาสนา
ควรประพฤติแก่กันและกัน

6
พรหมวิหาร
ส่วนอุเบกขาเป็นการวางเฉยเมื่อไม่อาจช่วยเหลือผู้อื่นได้ เช่น
เมื่อเห็นคนอื่นต้องโทษทางกฎหมาย แม้เราจะช่วยเหลือด้วยเมตตา
และกรุณาจนสุดความสามารถแล้ว ก็ยังไม่อาจช่วยเหลือได้ จึงควร
วางอุเบกขาโดยคิดว่าเป็นกรรมที่เขาก่อขึ้นเอง เขาก็ต้องชดใช้ด้วย
ตนเอง แม้หากว่าเขาจะไม่ได้ท�ำกรรมนั้นในปัจจุบัน ก็อาจเป็นผลของ
กรรมเก่าที่ท�ำให้เขาต้องมาชดใช้ผลกรรมในขณะนี้
ในเบื้องแรกนี้ จะขออธิบายเริ่มจากเมตตาพรหมวิหาร

เมตตาคืออะไร
คนทั่วไปมีความอ่อนแอทางใจคือความเห็นแก่ตัวที่ฝังลึกอยู่
ในใจของทุกคน อยากให้เราดีเด่นกว่าบุคคลอื่น แต่เมตตาเป็นความ
ปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่างจริงใจโดยไม่หวังผลตอบแทน ท�ำให้เราขจัด
ความเห็นแก่ตัวได้ ค�ำนี้แปลตามศัพท์ ว่า สภาวะสนิทสนมกลมกลืน
กัน๕ คือ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา มีความกลมกลืนเหมือนเป็นบุคคลคน
เดียวกันกับคนอื่น เปรียบได้กับน�้ำผสมนม กล่าวคือ เมื่อผสมนมเข้า
กับน�้ำ ทั้งสองอย่างก็จะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกกันไม่ได้
ว่านี่คือน�้ำหรือนม๖ ผู้ที่มีเมตตาจิตต่อกันก็เหมือนกัน เขามีความ
สนิทสนมกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบุคคลรอบข้าง ไม่แยก

7
พรหมวิหาร
เขาแยกเรา และจะพยายามปฏิบัติตนโดยประพฤติกาย วาจา หรือ
ใจให้เกิดประโยชน์กับบุคคลอื่น เหมือนที่เราต้องการให้เกิดขึ้นแก่ตัว
เราเอง
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง เมตตา คือ สภาวะที่มีแก่มิตร๗ หมายความ
ว่า เมตตาเป็นความปรารถนาดีอย่างจริงใจ เหมือนเรามีให้แก่มิตร
ของตนเอง ผู้ที่มีเมตตาจึงเป็นมิตรกับทุกคน ปราศจากความผูกโกรธ
หรือศัตรูในที่ใดๆ อีกอย่างหนึ่ง เมตตา คือ สภาวะที่เป็นมิตร๘
หมายความว่า มิตรเป็นบุคคลที่ท�ำประโยชน์ให้แก่กันโดยไม่หวังผล
ตอบแทน เมตตาก็เป็นคุณธรรมของมิตรที่ท�ำดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
โดยไม่หวังผลตอบแทนเช่นกัน

การเตรียมตัว
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๙ ได้กล่าวถึงการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติ
ไว้อย่างละเอียด สรุปความได้ว่า สิ่งส�ำคัญในล�ำดับแรกคือ ต้องช�ำระ
ศีลให้บริสุทธิ์ จากนั้นต้องท�ำการงานที่คั่งค้างอันจะเป็นอุปสรรคก่อ
ให้เกิดความกังวล (ปลิโพธ) ให้เสร็จก่อนที่จะเข้าอยู่กรรมฐานในวัด
หรือในส�ำนักกรรมฐาน ข้อต่อไปคือต้องเชือ่ ฟังค�ำแนะน�ำเกีย่ วกับวิธกี าร
เจริญเมตตาภาวนาด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในความสามารถและคุณธรรม
ของกรรมฐานาจารย์
8
พรหมวิหาร
ผู้ปฏิบัติพึงเข้าอยู่ในวัดหรือส�ำนักกรรมฐานที่เหมาะสม และ
จัดการเรื่องส่วนตัวให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มากังวลใจในภายหลัง เช่น
โกนศีรษะ ตัดเล็บมือเล็บเท้า และกิจปลีกย่อยอื่นที่จ�ำเป็น ต่อจากนั้น
พึงพักผ่อนเล็กน้อยหลังการบริโภคอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดความง่วงใน
ขณะปฏิบัติ๑๐ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พึงเลือกสถานที่ที่สงบเงียบไม่มี
ผู้คนพลุกพล่าน แล้วนั่งในท่าที่สบาย

นั่งขัดสมาธิ
การนั่งในท่าที่สบาย หมายถึงการนั่งในท่าที่อยู่ได้เป็นเวลา
นานโดยไม่เกิดทุกขเวทนาที่จะมารบกวนการเจริญสมาธิภาวนา ท่านั่ง
ที่เหมาะสมส�ำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ คือการนั่งในท่าขัดสมาธิเพราะเป็น
ท่านั่งที่สบาย ท่านั่งขัดสมาธิ มี ๓ อย่าง คือ
(๑) นั่งขัดสมาธิเพชร โดยคู้เข่าทั้งสองข้าง เอาฝ่าเท้าทั้งสอง
ขัดหรือไขว้ขึ้นวางบนหน้าขา คล้ายท่านั่งของพระพุทธรูป เป็นท่าที่ยาก
ไม่เหมาะกับคนทั่วไป
(๒) นั่งแบบเรียงขา โดยเรียงให้ขาข้างหนึ่งอยู่ด้านในอีกข้าง
หนึ่งอยู่ด้านนอก ขาจึงไม่กดทับกันและไม่ขัดขวางการไหลเวียนของ
กระแสโลหิต ท่านี้นิยมใช้กันโดยทั่วไป
9
พรหมวิหาร
(๓) นั่งพับเพียบ โดยนั่งพับขาให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน
เป็นท่านั่งที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแก่ภิกษุณ๑๑
ี และเป็นท่านั่งของ
ผู้หญิงทั่วไป

ผู้ปฏิบัติชาย
สามารถเลือกนั่งแบบใดแบบหนึ่ง
ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
ส�ำหรับผู้หญิงอาจเลือกนั่งในท่าอื่นๆ
ที่เหมาะสมได้เช่นเดียวกัน
การนั่งในท่าที่กล่าวข้างต้นนี้ มีความจ�ำเป็น
เฉพาะในระยะแรกของการปฏิบัติ หลังจากนั้น
อาจเลือกนั่งในท่าอื่น เช่น นั่งชันเข่า
หรือนั่งเหยียดขาก็ได้
โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์

10
พรหมวิหาร
การเจริญเมตตาในอิริยาบถทั้ง ๔
การเจริญเมตตาอาจกระท�ำได้ในขณะเดิน ยืน นั่ง หรือนอน
ซึ่งเป็นอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ดังมีหลักฐานปรากฏในเมตตสูตร ซึ่งแสดง
เกี่ยวกับการเจริญเมตตาสามารถกระท�ำได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ ดังนี้
“เมื่อยืน เดิน นั่ง หรือนอน พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วง ตั้ง
สติอย่างนี้ไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสการปฏิบัติเช่นนี้ว่าเป็นความ
ประพฤติอันประเสริฐในพระศาสนานี้”๑๒
ข้อความในพระสูตรกล่าวว่าให้เจริญสติเมื่ออยู่ในอิริยาบถทั้ง
๔ ไม่เฉพาะในขณะเจริญเมตตาภาวนาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงในขณะ
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ในส่วนที่ว่าด้วยอิริยาบถด้วย ดังข้อความในสติ-
ปัฏฐานสูตร๑๓ ว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ (เมื่อเดิน ย่อมรู้
ว่าเดินอยู่) เป็นต้น
11
พรหมวิหาร
ดังนั้น แม้ในตอนต้น ข้าพเจ้าได้แนะน�ำให้นั่งท่าขัดสมาธิ แต่
อิริยาบถทั้ง ๔ ก็สามารถน�ำมาใช้ในขณะเจริญเมตตาภาวนาได้เช่นกัน
ข้อส�ำคัญคือ ควรเจริญเมตตาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ยกเว้นเวลา
นอนหลับประมาณคืนละ ๖ ชั่วโมง และเมื่อผู้ปฏิบัติเข้านอนในเวลา
๓ ทุ่ม หรือ ๔ ทุ่ม ก็ควรนอนเจริญเมตตาไปจนกว่าจะหลับ
ข้อความว่า “พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสการปฏิบัติเช่นนี้ว่า
เป็นความประพฤติอันประเสริฐในพระศาสนานี้” หมายความว่า การ
ปฏิบัติแต่ละอย่างมีจุดเด่นเฉพาะตัว เช่น การก�ำหนดรู้ลมหายใจเข้า
ออกส่งผลให้บรรลุถึงฌานที่ ๔ หรือจตุตถฌาน การเจริญวิปัสสนา
ก็มีจุดเด่นที่ท�ำให้ปล่อยวางความรู้สึกที่มีตัวตน และเมื่อเราปราศจาก
ความยึดติดในตัวตนเช่นนี้ ก็จะปราศจากการปรุงแต่งและตอบสนอง
ในเชิงลบหรือบวกโดยมีตัวเราเป็นแกนกลาง ทุกขณะจิตของเราจะ
เป็นอิสระจากกิเลส ไม่ถูกความโลภโกรธหลงครอบง�ำให้ขุ่นมัว แต่
การปฏิบัติข้างต้นนั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อตนเอง เพื่อให้จิตสงบมีสมาธิ
หรือเกิดปัญญาเฉพาะตน ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลอื่น
ส่วนการเจริญเมตตาเป็นความประพฤติอันประเสริฐ ซึ่งไม่เพียง
ท�ำให้เรามีจิตสงบเท่านั้น แต่ยังท�ำให้บุคคลอื่นได้รับอานิสงส์อีกด้วย
โดยท�ำให้บุคคลรอบข้างได้รับเมตตาความปรารถนาดีของเรา เช่น สมัย
ที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นดาบสชื่อสุวรรณสามอยู่ในป่า ท่าน
12
พรหมวิหาร
ได้บรรลุเมตตาฌาน สัตว์ร้ายในป่าไม่เบียดเบียนพระองค์ หรือใน
ขณะที่พระเวสสันดรอยู่ที่เขาวงกต ท่านได้เจริญเมตตาฌาน สัตว์ร้าย
ในป่าก็ไม่ได้เบียดเบียนพระองค์ อีกทั้งมิได้เบียดเบียนกันและกันรอบ
อาศรม ๗ โยชน์ ดังข้อความในเวสสันดรชาดกว่า
“เนื้อมีประมาณเพียงใดมีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น
เนื้อเหล่านั้นไม่เบียดเบียนกันและกันด้วยเมตตานุภาพของพระเจ้า
เวสสันดร”๑๔

การพิจารณาคุณและโทษ
เมื่อนั่งในท่าที่สบายแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณา
โทษของความโกรธและความพยาบาท ตลอดจนคุณ
ประโยชน์ของความอดทน ถ้าเคยพิจารณาตรึกตรอง
ในเรื่องนี้มาบ้างแล้ว ก็ถือว่าเพียงพอ หากผู้ปฏิบัติ
เจริญภาวนาด้วยศรัทธาและวิริยะที่เข้มแข็งก็จะมี
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี แต่โดย
ทั่วไป ผู้ที่ประสงค์จะท�ำธุรกิจการงานใด ก็อาจมี
สิ่งที่ควรพิจารณาและปฏิบัติให้ส�ำเร็จเรียบร้อย
ก่อน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่จะปัดกวาดท�ำความสะอาด
13
พรหมวิหาร
ห้องในบ้านหรือวัดด้วยไม้กวาด จะต้องเก็บเศษกระดาษ เศษผ้า เศษ
ไม้ เศษขยะที่ตกพื้นไปทิ้งก่อน หากไม่ทิ้งเศษขยะหรือเศษผง เพียง
แต่กวาดไปเก็บไว้มุมห้อง ก็จะเรียกไม่ได้ว่าห้องนั้นสะอาด ในท�ำนอง
เดียวกัน ถ้าบุคคลไม่พจิ ารณาเห็นโทษของความโกรธ ก็อาจรับความโกรธ
เอาไว้โดยไม่รู้ตัว และอาจถูกความโกรธเข้าครอบง�ำได้ในภายหน้า
ยกตัวอย่างเช่น คนที่ยังขุ่นข้องหมองใจกับผู้ที่ท�ำให้ตนต้อง
เป็นทุกข์หรือเสียผลประโยชน์ ก็เรียกได้ว่าก�ำลังคบความโกรธหรือ
ความอาฆาตพยาบาทไว้เป็นเพื่อนสนิท คนที่ก�ำลังโกรธอยู่นี้ แม้อีก
ฝ่ายหนึ่งจะพยายามขอโทษหรือปลอบโยนด้วยถ้อยค�ำที่อ่อนหวาน
ก็ยังรู้สึกโกรธไม่หาย และอาจรู้สึกพอใจที่จะเก็บความโกรธนี้ไว้ในใจ
ยิ่งอีกฝ่ายหนึ่งพยายามปลอบโยนขอโทษก็ยิ่งท�ำให้โกรธหนักขึ้น ซ�้ำ
ยังอาจกล่าวหาอีกฝ่ายว่าพยายามจะมาบังคับจิตใจเสียอีก อุปมาเหมือน
คนที่เอางูพิษใส่ไว้ในถุงแล้วเหน็บเข้าเอวตนเองไว้ เก็บความโกรธไว้
ในใจโดยไม่รู้ว่าความโกรธนั้นไม่ดีมีผลเป็นความทุกข์ ดังนั้น เพื่อให้
สามารถสลัดความโกรธทิ้งไป จึงควรพิจารณาถึงโทษของความโกรธ
หรือความเจ็บใจ โดยอาจพิจารณาตามเรื่องเล่าในพระไตรปิฎกก็ได้

14
พรหมวิหาร
โทษของความโกรธ
ครั้งหนึ่ง ปริพาชกชื่อฉันนะได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ และ
ได้เรียนถามท่านว่า
“พวกท่านเห็นโทษอย่างไรในราคะ โทสะ และโมหะ จึงได้
บัญญัติให้ละราคะ โทสะ และโมหะเหล่านี้” ท่านพระอานนท์ได้ตอบ
ชี้แจงดังต่อไปนี้
“ผู้มีอายุ บุคคลผู้โกรธแล้วถูกความโกรธครอบง�ำ มีใจไม่งาม
ย่อมมุ่งเบียดเบียนตน มุ่งเบียดเบียนผู้อื่น มุ่งเบียดเบียนทั้งตนและ
ผู้อื่น เขาย่อมประพฤติทุจริตทางกาย วาจา และใจ”๑๕
ใจความของข้อความข้างต้น คือ ผูป้ ฏิบตั คิ วรพิจารณาตรึกตรอง
และส�ำรวมตนตามแนวทางที่ได้แสดงไว้ในพระธรรมค�ำสอน โดยให้
พิจารณาและส�ำรวมจิตใจดังนี้
เมื่อบุคคลถูกความโกรธครอบง�ำ ก็จะตกอยู่ในความทุกข์
ความสุขเบิกบานใจที่เคยมีก็พลันเหือดแห้งไป มีความทุกข์ใจเข้ามา
แทนที่ ท�ำให้ใบหน้าเศร้าหมองบึ้งตึง กลายเป็นคนกระสับกระส่าย
ยิ่งโกรธมากเท่าใด ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ทั้งยังมีความล�ำบากทั้งทาง
กายและใจ ความโกรธอาจท�ำให้บุคคลถึงกับฆ่าคนหรือกล่าวค�ำหยาบ
ได้ หากภายหลังมาหวนระลึกถึงกรรมชั่วที่ได้ท�ำลงไป อย่างน้อยก็
15
พรหมวิหาร
ต้องรู้สึกเสียใจและอับอายเพราะความส�ำนึกผิด และหากได้ก่อ
อาชญากรรมด้วยความโกรธ ก็จะต้องรับโทษทางกฎหมายอีกด้วย
ยิ่งกว่านั้น ในภพชาติต่อไปก็ยังจะต้องไปเกิดในอบาย ได้รับทุกข์
ทรมานแสนสาหัส นี้เป็นเพียงการสรุปย่อให้เห็นภัยของความโกรธ
พวกเราเองก็คงเคยประสบมาแล้วทั้งนั้น เพียงคิดย้อนกลับไปก็คงพอ
จะจ�ำได้
ความโกรธมีโทษให้เราเห็นได้ชัดเจน อย่างน้อยก็ท�ำให้ผู้อื่น
เสียใจเพราะค�ำพูด คนที่ถูกดุด่าว่ากล่าวย่อมรู้สึกเสียใจ เจ็บใจ
อารมณ์โกรธอาจผลักดันให้คนเราสามารถฆ่าคนได้ หรือมิฉะนั้นก็อาจ
ท�ำให้มีความทุกข์ใจอย่างรุนแรง แต่ถึงแม้โทษของความโกรธจะไม่ได้
ปรากฏในชาตินี้ คนโกรธก็จะต้องตกไปสู่อบายภูมิในชาติถัดไป หรือ
หากได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีกด้วยอ�ำนาจของกุศลกรรม ก็จะต้องเกิดมา
เป็นคนพิกลพิการ หรืออายุสั้น มีโรคภัยเบียดเบียน หรือมีหน้าตา
น่าเกลียด ความโกรธให้โทษทั้งแก่ผู้โกรธและผู้ที่ถูกโกรธ

16
พรหมวิหาร
คุณของความอดทน
ขั้นต่อไปเป็นการพิจารณาคุณของขันติหรือความอดทน ซึ่ง
เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะตรงข้ามกับความโกรธ หรืออีกอย่างหนึ่ง
หมายถึง อโทสะ คือความไม่โกรธ ซึ่งมีสภาพเหมือนเมตตา ซึ่งหมายถึง
ความปรารถนาดี ผู้ที่มีความอดทน ก็คือผู้ที่สามารถอดทนต่อการ
กระทบอย่างสงบ โดยไม่โกรธและไม่มุ่งร้าย เมตตาหรือความปรารถนา
ดีนั้น มีความส�ำคัญและกินความกว้างกว่าความอดทน เพราะรวมถึง
ความเป็นมิตร และความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ได้กล่าวถึงคุณของความอดทนดังต่อไปนี้
- ขนฺตี ปรมํ ตโป ติติกฺขา (ขันติคือความอดกลั้นเป็นธรรม
เครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง)๑๖
- ขนฺติพลํ พลานีกํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ (เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งมีขันติเป็นก�ำลัง มีกองทัพคือก�ำลังขันติว่าเป็นพราหมณ์)๑๗
ข้อนี้หมายความว่า ความอดทนเป็นเครื่องหมายของพราหมณ์
คือ ผู้ประเสริฐ หมายถึง ผู้มีพลังความอดทนเป็นอ�ำนาจ ความอดทน
นั้นมีพลังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความโกรธ เทียบได้กับพลังกองทัพ
ที่สามารถต้านทานข้าศึกไว้ได้

17
พรหมวิหาร
- สทตฺถปรมา อตฺถา, ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ (ประโยชน์
ทั้งหลายมีประโยชน์ตนประเสริฐที่สุด ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าความอดทน
หามีไม่)๑๘
ประโยชน์ของความอดทนนี้ จะเห็นได้จากเรื่องของท้าวสักก-
เทวราช กล่าวคือ พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชในชาติก่อนเป็น
คนที่ชอบท�ำสาธารณประโยชน์ด้วยการสร้างถนน ซ่อมสะพาน ปลูก
ต้นไม้ ฯลฯ จนนายบ้าน (คือก�ำนันในปัจจุบัน) ริษยา ได้ไปเพ็ดทูล
พระราชาว่าท่านซ่องสุมผู้คนเพื่อก่อกบฏ ท่านจึงถูกพระราชาสั่งจับ
แล้วให้ประหารชีวิตด้วยการน�ำช้างมาเหยียบ แต่ท่านกับสหายได้แผ่
เมตตาให้ช้าง ท�ำให้ช้างไม่เหยียบ ต่อมาถูกจับไปเผาไฟ แต่ท่านก็แผ่
เมตตาท�ำให้ไฟดับ พระราชาทรงทราบเหตุอัศจรรย์จึงสั่งให้สอบสวน
คดีใหม่ เมื่อทรงทราบความจริงแล้วจึงทรงแต่งตั้งท่านเป็นนายบ้าน
ต่อไป ท่านกับสหายรอดพ้นความตายด้วยช้างและไฟด้วยอ�ำนาจของ
ความอดทนที่ไม่โกรธตอบนายบ้านและพระราชา๑๙
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ขันติเป็นธรรมที่ประเสริฐที่สุด เพราะ
ผู้มีขันติจึงจะสามารถอดทนต่อค�ำติเตียนและการกระทบที่ปกติจะ
ก่อให้เกิดการโต้ตอบและการทะเลาะวิวาท ผู้ที่มีขันติจึงได้รับความ
นับถือและความเกรงใจจากผู้อื่น เขาได้รับการช่วยเหลือในคราวคับขัน
และได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น นี้เป็นคุณประโยชน์ของขันติ
18
พรหมวิหาร
การตอบโต้เมื่อถูกต�ำหนิติเตียนจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง อัน
เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท และความเกลียดชังก็จะเกิดตามมา
คู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็อาจกลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันไปตลอดชีวิต ถ้า
ทั้งสองฝ่ายไม่รู้จักอดทน ฝ่ายหนึ่งก็จะพยายามท�ำร้ายอีกฝ่ายเรื่อย
ไปจนกระทั่งตายจากกันไปก็มี แต่ถ้าหากต่างฝ่ายรู้จักประโยชน์ของ
ความอดทน ก็จะสามารถพลิกสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดีได้
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไว้ในโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของ
พระภิกษุว่า
ขนฺตี ปรมํ ตโป ติติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา.๒๐
“ขันติคือความอดกลั้นเป็นตบะอันเลิศ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมสูงสุด”
พระพุทธองค์ตรัสเทศนาดังนี้ เพราะการบ�ำเพ็ญกุศลทั้งหลาย
จะส�ำเร็จได้ก็ด้วยความอดทนเท่านั้น การถวายทานที่ยิ่งใหญ่จะส�ำเร็จ
ได้ก็ด้วยความอดทนที่ยิ่งใหญ่ ในการรักษาศีลความอดทนก็ยิ่งจ�ำเป็น
มาก และในการเจริญภาวนาความอดทนก็มีความส�ำคัญที่สุด เพราะ
จะต้องอดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย และจะต้องเฝ้าก�ำหนดรู้สภาว-
ธรรมด้วยความอดทน จึงจะเกิดสมาธิและปัญญา ซึ่งหากผู้ปฏิบัติคอย
แต่จะเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ เช่น
ปวดเมื่อย เหน็บชา หรือร้อน ก็ยากที่จะให้สมาธิเกิดได้ และ
19
พรหมวิหาร
การบรรลุวิปัสสนาญาณก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ผู้ปฏิบัติจึงต้องควบคุมสติ
ให้ก�ำหนดรู้อารมณ์กรรมฐานด้วยความอดทน ฌานสมาธิจึงจะ
เกิดขึ้นได้ และเมื่อฌานสมาธิเกิดขึ้นแล้ววิปัสสนาญาณ มรรคญาณ
และผลญาณจึงจะเกิดต่อมา ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความอดทน
เป็นการปฏิบัติที่ประเสริฐสูงสุด
มีค�ำพังเพยที่โบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างเหมาะสมว่า “ความ
อดทนเป็นหนทางสู่นิพพาน” การบ�ำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศให้บริบูรณ์
ได้จะต้องอาศัยขันติ ในบรรดาบารมีทั้ง ๑๐ นี้ อธิษฐานบารมี วิริย-
บารมี และปัญญาบารมี เป็นเหตุใกล้ของพระนิพพาน คือจะต้องมี
ความตั้งใจที่แน่วแน่และความเพียรพยายามที่แรงกล้า จึงจะท�ำให้ไป
ถึงจุดหมายที่ตั้งใจคือพระนิพพานด้วยการบรรลุวิปัสสนาญาณและ
มรรคผลตามล�ำดับ ดังนั้น การบรรลุอรหัตตผลจึงต้องอาศัยการปฏิบัติ
ที่ประกอบด้วยความเพียรและอดทน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
พระอรหันต์ คือพราหมณ์ ผู้ประกอบด้วยพลังคือความอดทน ความ
อดทนนั้นจึงส�ำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเมตตาภาวนา เพราะจะต้อง
ปราศจากความโกรธและมีความอดทน สติในการเจริญเมตตาภาวนา
จึงจะพัฒนาขึ้นได้

20
พรหมวิหาร
วิธีเจริญเมตตาภาวนา
การเจริญเมตตาภาวนามีวัตถุประสงค์เพื่อท�ำใจให้บริสุทธิ์
จากโทสะโดยการพิจารณาถึงโทษของโทสะและคุณของความอดทน
การเจริญเมตตาภาวนามี ๒ อย่าง คือ เพื่อบ�ำเพ็ญบุญบารมี และ
เพื่อให้เกิดฌานสมาธิ คัมภีร์วิสุทธิมรรค๒๑ ได้อธิบายวิธีเจริญเมตตา
เพื่อให้เกิดฌานสมาธิไว้อย่างละเอียด โดยระบุว่าในระยะเริ่มแรกของ
การเจริญเมตตาไม่ควรแผ่เมตตาให้ผู้ใด และไม่ควรแผ่เมตตาให้ผู้ใด
ตลอดกาล เนื่องจากเวลาไม่อ�ำนวย ในวันนี้จึงขอกล่าวถึงการเจริญ
เมตตาภาวนาเพื่อการบ�ำเพ็ญบุญบารมีเป็นหลัก
ในการเจริญเมตตาภาวนานั้น ผู้ปฏิบัติพึงน้อมใจไปในมวล
มนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหมด ทั้งที่ก�ำลังพบเห็นและได้ยิน และที่เห็น
ได้ด้วยใจ ควรแผ่ความปรารถนาดีไปยังสัตว์ทั้งหมดเหล่านั้นตามที่
ตรัสไว้ในพระสูตรและอรรถกถา ซึ่งมีข้อความว่า
21
พรหมวิหาร
- สุขี โหตุ (เขาจงเป็นสุข)๒๒
- สุขิตา โหนฺตุ (พวกเขาจงเป็นสุข)๒๓
- สพฺพสตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา (ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มี
ความสุข)๒๔
หรือจะแผ่ความปรารถนาดีด้วยประโยคสั้นๆ ว่า “เป็นสุข
พ้นทุกข์” ก็ได้ หรือว่าค�ำยาวๆ กว่านั้นว่า “ไร้ทุกข์ ไร้โศก ไร้โรค
ไร้ภัย เป็นสุข” ก็ได้
ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลจะอยู่ในบ้าน ก�ำลังเดินทาง หรือก�ำลัง
ท�ำงานก็ตาม ถ้าเห็นหรือได้ยินเสียงคนหรือสัตว์ ก็ควรแผ่เมตตาให้
อย่างจริงใจว่า “ขอให้เป็นสุขเถิด” ในท�ำนองเดียวกัน ถ้าได้เห็น
หรือได้ยินเสียงกลุ่มคนหรือสัตว์จ�ำนวนมาก ก็ควรแผ่เมตตาในใจด้วย
ประโยคว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” วิธีนี้เป็นการแผ่เมตตาที่ดี
และท�ำได้ง่าย เพราะสัตว์โลกทุกชีวิตย่อมปรารถนาความสุขด้วยกัน
ทั้งนั้น การเจริญเมตตาวิธีนี้จัดเป็นเมตตามโนกรรม คือ เมตตาทางใจ
ซึ่งเป็นความรู้สึกอันดีงามที่เกิดขึ้นทางใจ

22
พรหมวิหาร
ในเวลาที่ภิกษุและฆราวาสสวดมนต์ท�ำวัตรนั้น ก็มักจะแผ่
เมตตาด้วยบทภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ (ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นสุขเถิด อย่ามีเวรกัน) เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า เมตตาวจี-
กรรม เพราะเป็นการแผ่เมตตาดัวยการเปล่งวาจา หรือเวลาที่เราพูด
ว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” ก็จัดว่าเป็นเมตตาวจีกรรม เช่น
เดียวกัน
นอกจากการแผ่เมตตาทางใจและวาจาแล้ว ก็ควรพยายาม
ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยการกระท�ำทางกายด้วย
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ควรตระหนักไว้ด้วยว่า หากการกระท�ำด้วย
เมตตานั้น ท�ำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา หรือ
ทางใจ ก็จัดว่าเป็นการกระท�ำที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น แม้ว่าการท�ำดี
ต่อบุคคลอื่นจะเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติหรือการแผ่เมตตา
ก็ตาม จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น หากเดิน
เข้าไปในตรอกแคบ แล้วเห็นคนเดินสวนออกมา แม้ว่าจะแผ่เมตตา
ให้คนนั้นด้วยใจ ก็จ�ำเป็นต้องหลีกทางให้ด้วยถ้าคนนั้นเป็นผู้ที่ควร
เคารพนับถือ การปฏิบัติเช่นนี้จึงจะจัดได้ว่าเป็นการให้เกียรติและเป็น
การแสดงความเมตตาทางกายที่สอดคล้องกับการแผ่เมตตาทางใจ

23
พรหมวิหาร
คนที่แผ่เมตตาแก่ผู้อื่นในขณะเดินทางจะต้องขยับที่ให้ผู้ร่วม
ทางที่ต้องการที่นั่งถ้าหากมีที่พอจะขยับให้ได้ และถ้าเพื่อนร่วมทาง
ต้องหอบหิ้วสัมภาระพะรุงพะรัง ก็ควรช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ ส่วน
ในด้านการประกอบอาชีพการงานนั้น การช่วยแนะน�ำในสิ่งที่เขาไม่
คุ้นเคยก็จัดว่าเป็นการแสดงความเมตตาวิธีหนึ่ง การพูดด้วยถ้อยค�ำ
อ่อนหวานนุ่มนวลและปฏิสันถารด้วยท่าทีที่เป็นมิตร มีใบหน้ายิ้มแย้ม
รวมไปถึงการช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่จะสามารถท�ำได้ ก็เป็นสิ่งที่แสดง
ความเมตตาและความปรารถนาดี การช่วยเหลือด้วยการกระท�ำทาง
กายจัดเป็นเมตตากายกรรม และการพูดด้วยน�้ำเสียงที่อ่อนหวาน จัด
เป็นเมตตาวจีกรรม ดังพระพุทธองค์ตรัสสอนให้แผ่เมตตาทางกาย
วาจา ใจ ทั้งในที่ต่อหน้าและลับหลังว่า
“พึงตั้งกายกรรมที่มีเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
พึงตั้งวจีกรรมที่มีเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
พึงตั้งมโนกรรมที่มีเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง”๒๕

24
พรหมวิหาร
การเจริญเมตตา ๕๒๘ อย่าง
ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค๒๖ ได้กล่าวถึงการเจริญเมตตา
๕๒๘ อย่าง ซึ่งเป็นการเจริญเมตตาเพื่อให้เกิดเมตตาฌาน แต่ใน
ปัจจุบันนี้ พระภิกษุมักจะน�ำสวดแผ่เมตตาเพื่อเป็นการเจริญกุศลเป็น
ส่วนมาก ค�ำบาลีที่นิยมสวดกันนั้นก็เป็นบทที่คนส่วนมากจ�ำได้ขึ้นใจ
แล้ว ค�ำบาลีและค�ำแปลมีดังต่อไปนี้
ก. สพฺเพ สตฺตา, สพฺเพ ปาณา, สพฺเพ ภูตา, สพฺเพ ปุคฺคลา,
สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา.
ค�ำศัพท์ทั้ง ๕ ข้างต้น มีความหมายเหมือนกัน คือหมายถึง
สัตว์โลกทั้งหมด ไม่มีขอบเขต ไม่จ�ำกัดจ�ำนวน มีค�ำแปลว่า
- สพฺเพ สตฺตา = สัตว์ทั้งปวง๒๗
- สพฺเพ ปาณา = สัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง
- สพฺเพ ภูตา = สัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง (คือ เกิดด้วยอ�ำนาจ
กรรมและกิเลส)
- สพฺเพ ปุคฺคลา = บุคคลทั้งปวง
- สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา = สัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง

25
พรหมวิหาร
ข. สพฺพา อิตฺถิโย, สพฺเพ ปุริสา, สพฺเพ อริยา, สพฺเพ อนริยา,
สพฺเพ เทวา, สพฺเพ มนุสฺสา, สพฺเพ วินิปาติกา.
ค�ำศัพท์ ๗ ค�ำข้างต้น หมายถึงสัตว์โลก ๗ จ�ำพวก ได้แก่
สตรีและบุรุษ เป็น ๑ คู่ พระอริยะและปุถุชน เป็น ๑ คู่ และสัตว์
โลกอีก ๓ จ�ำพวก คือ เทวดา มนุษย์ และอบายสัตว์ มีค�ำแปลว่า
- สพฺพา อิตฺถิโย = สตรีทั้งปวง
- สพฺเพ ปุริสา = บุรุษทั้งปวง
- สพฺเพ อริยา = พระอริยะทั้งปวง
- สพฺเพ อนริยา = ปุถุชนทั้งปวง
- สพฺเพ เทวา = เทวดาทั้งปวง
- สพฺเพ มนุสฺสา = มนุษย์ทั้งปวง
- สพฺเพ วินิปาติกา = อบายสัตว์ทั้งปวง
เมตตาที่แผ่ไปยังสัตว์โลก ๗ จ�ำพวกนี้ ไม่ว่าจะรวมกันหรือ
แยกกัน เรียกว่า โอธิสเมตตา คือ เมตตาที่เจาะจง หมายถึง จ�ำกัด
บุคคล ผิดกับการแผ่เมตตาวิธีแรกที่ใช้ค�ำว่า สพฺเพ สตฺตา, สพฺเพ
ปาณา เป็นต้นซึ่งเป็นการแผ่เมตตาให้โดยทั่วไป ซึ่งเรียกว่า อโนธิส-
เมตตา แปลว่า เมตตาที่ไม่เจาะจง ไม่จ�ำกัดขอบเขต

26
พรหมวิหาร
ในการเจริญเมตตาภาวนานั้น พึงกล่าวค�ำแผ่เมตตาทั้ง ๑๒
อย่าง แล้วต่อด้วยค�ำว่า
- อเวรา โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่ามีเวรกัน
- อพฺยาปชฺชา๒๘ โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่าเบียดเบียน
กัน
- อนีฆา โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่ามีความทุกข์
- สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ = รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
ประโยคหลังนี้เป็นการแสดงไมตรีจิตและความปรารถนาดี
ที่มีความส�ำคัญมาก เพราะสัตว์โลกทุกชีวิตย่อมจะต้องพบกับอันตราย
ประการต่างๆ จากภายนอกอยู่เป็นนิตย์ นอกจากนั้น ยังมีโรคภัยชนิด
ต่างๆ และทุกขเวทนาที่อาจเกิดภายในร่างกาย
ดังนั้น ทุกคนจึงจ�ำเป็นจะต้องท�ำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองมี
สุขภาพที่ดี และมีชีวิตที่สุขสบาย เพราะความสุขกายและสุขใจจะมี
ได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นไม่ต้องกลัวภัยอันตราย และมีสิ่งจ�ำเป็นในการครอง
ชีพอย่างเพียงพอ ถ้าผู้ใดสามารถรักษาขันธ์ ๕ ให้เป็นสุขอยู่ได้ ก็
เรียกได้ว่าผู้น้ันประสบความส�ำเร็จทางโลกอย่างน่าพอใจแล้ว นี้เป็น
เหตุผลว่าเหตุใดจึงควรแผ่เมตตาอย่างจริงใจ เมื่อกล่าวค�ำว่า “รักษา
ตนให้เป็นสุขเถิด” ดังนั้น เมื่อภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ
27
พรหมวิหาร
= ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด อย่ามีเวรกัน ฯลฯ จะได้อโนธิส-
เมตตา ๕ ประเภท คูณด้วยการแผ่เมตตา ๔ ชนิด ก็จะได้อโนธิส-
เมตตา ๒๐ ชนิด (๕ x ๔ = ๒๐) ต่อจากนั้น เมื่อภาวนาว่า สพฺพา
อิตถิโย อเวรา โหนฺตุ = ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด จงอย่ามีเวร
กัน ฯลฯ จะได้โอธิสเมตตาแก่บุคคล ๗ จ�ำพวก คูณด้วยการแผ่
เมตตา ๔ ชนิด จะได้โอธิสเมตตา ๒๘ ชนิด (๗ x ๔ = ๒๘) เมื่อ
รวมอโนธิสเมตตา ๒๐ ชนิด กับโอธิสเมตตา ๒๘ ชนิด จะได้เมตตา
๔๘ ชนิด เป็นการแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงทิศ เรียกว่า ทิสอโนธิส-
เมตตา ในท�ำนองเดียวกัน เมื่อแผ่เมตตาให้แก่สัตว์โลกที่อยู่ในทิศ
บูรพา (ทิศตะวันออก) ว่า ปุรตฺถิมาย ทิสาย (ในทิศบูรพา) แล้วต่อ
ด้วยประโยคเดิมว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ = ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นสุขเถิด อย่ามีเวรกัน ฯลฯ ก็จะเป็นการแผ่เมตตาให้สัตว์โลกใน
ทิศบูรพา ๔๘ ชนิด และเมื่อแผ่เมตตาให้แก่สัตว์โลกในทิศใหญ่ที่
เหลืออีก ๓ ทิศ คือ ทิศปัจฉิม (ทิศตะวันตก) ๔๘ ชนิด ทิศอุดร (ทิศ
เหนือ) ๔๘ ชนิด ทิศทักษิณ (ทิศใต้) ๔๘ ชนิด และทิศเฉียง (อนุ-
ทิสา หรือ วิทิสา) อีก ๔ ทิศ คือ ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ๔๘,
ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ๔๘, ทิศอีสาน (ทิศตะวันออก
เฉียงเหนือ) ๔๘, ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ๔๘ กับทิศเบื้องล่าง
ที่กล่าวว่า เหฏฺมิ าย ทิสาย (๔๘) พร้อมทั้งทิศเบื้องบนที่กล่าวว่า

28
พรหมวิหาร
อุปริมาย ทิสาย (๔๘) รวมเป็นทิศทั้งหมด ๑๐ ทิศ ทิศละ ๔๘ ชนิด
ก็จะเป็นทิสโอธิสเมตตา ๔๘๐ ชนิด (๔๘ x ๑๐ = ๔๘๐) ซึ่งเป็นการ
แผ่เมตตาในทิศทั้ง ๑๐ ดังนั้น เมื่อรวมทิสโอธิสเมตตา ๔๘๐ ชนิด
กับทิสอโนธิสเมตตา ๔๘ ชนิด จึงได้เมตตารวมทั้งหมด ๕๒๘ ชนิด
(๔๘๐ + ๔๘ = ๕๒๘) เพื่อช่วยให้เข้าใจการแผ่เมตตา ๕๒๘ ชนิด
เราจะเจริญเมตตาด้วยบทภาวนาดังต่อไปนี้

การเจริญอโนธิสเมตตา
๑. ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๒. ขอสัตว์ทมี่ ลี มหายใจทัง้ ปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียน
กัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔
ชนิด)
๓. ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียน
กัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๔. ขอบุคคลทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)

29
พรหมวิหาร
๕. ขอสัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียน
กัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
(๕ x ๔ = ๒๐ ชนิด)
ในขณะแผ่เมตตานั้น หลังจากที่ภาวนาจบลง ในบางขณะผู้
ปฏิบัติอาจรู้สึกว่า จิตที่คิด (นาม) และเสียงที่เปล่งออกมา (รูป) นั้น
ก็ดับไปทันที เขาพึงก�ำหนดรู้ความดับของรูปนามนั้น การแผ่เมตตา
ไปพร้อมกับการก�ำหนดรู้รูปนามเช่นนี้ จัดเป็นการเจริญสมถะและ
วิปัสสนาไปพร้อมๆ กัน การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเช่นนี้
เรียกว่า ยุคนัทธนัย๒๙ ต่อไปนี้ขอให้เจริญเมตตาตามวิธียุคนัทธ-
วิปัสสนาไปพร้อมๆ กัน จะน�ำแผ่เมตตาช้าๆ

การเจริญโอธิสเมตตา
๑. ขอสตรีทั้งปวง (ค�ำว่า สตรี ในที่นี้ หมายรวมถึงเทพธิดา
สัตว์เพศเมีย เช่น วัวตัวเมีย ควายตัวเมีย เปรตหญิง อสูรผู้หญิง และ
สัตว์นรกที่เป็นหญิง เป็นต้น) จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๒. ขอบุรุษทั้งปวง (ค�ำว่า บุรุษ ในที่นี้ หมายรวมถึงเทพ
บุตร สัตว์เพศผู้ เป็นต้น) จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามี
30
พรหมวิหาร
ความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๓. ขอพระอริยะทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๔. ขอปุถุชนทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๕. ขอเทวดาทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
๗. ขออบายสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด (นับเป็นเมตตา ๔ ชนิด)
(๗ x ๔ = ๒๘ ชนิด)
ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นโอธิสเมตตา ๒๘ ชนิด ซึ่งเมื่อรวมเข้า
กับอโนธิสเมตตา ๒๐ ชนิดที่กล่าวถึงในเบื้องแรก จะได้เมตตา ๔๘
ชนิด ต่อนี้ไปขอให้เรากล่าวค�ำแผ่เมตตาไปสู่ทิศต่างๆ เริ่มด้วยทิศ
บูรพา แต่ละทิศประกอบด้วยเมตตา ๔๘ ชนิด การแผ่เมตตาใน
ลักษณะนี้ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวพุทธ เพราะเป็นสิ่งที่ท�ำ
ได้ง่าย แม้แต่ผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้มากนักก็ยังสามารถเข้าใจได้ ดังนั้น
ขอให้เราเริ่มการภาวนาดังต่อไปนี้
31
พรหมวิหาร
การเจริญทิสโอธิสเมตตา
๑. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอสัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอบุคคลทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอสัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอสตรีทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอบุรุษทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอพระอริยะทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอปุถุชนทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอเทวดาทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขอมนุษย์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน อย่า
เบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

32
พรหมวิหาร
ในท�ำนองเดียวกัน พึงแผ่เมตตาไปในทิศที่เหลืออีก ๙ ทิศ
ด้วย ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบทต้นและบทสุดท้ายในแต่ละทิศ พอ
เป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
๒. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขอ
อบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๓. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขออบาย-
สัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๔. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทักษิณ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขออบาย-
สัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขอ
อบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๖. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขอ
อบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๗. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขอ
อบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๘. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ ขออบาย-
สัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ

33
พรหมวิหาร
๙. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง๓๐ จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรกัน ฯลฯ
ที่ได้แผ่เมตตาจบไปแล้วนี้ เป็นการแผ่เมตตา ๕๒๘ ชนิด
อย่างย่อ ซึ่งเป็นวิธีเจริญเมตตาฌานอย่างสมบูรณ์ของผู้ได้บรรลุฌาน
แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังไม่ได้ฌานก็สามารถแผ่เมตตาด้วยการ
ภาวนาแบบเดียวกันนี้ได้ ผู้ที่ได้สั่งสมบารมีมาแล้วตั้งแต่ในอดีตชาติ
อาจบรรลุเมตตาฌานในขณะเจริญเมตตาภาวนาอยู่ก็ได้ และถึงแม้
ไม่สามารถบรรลุฌานได้ในขณะเจริญเมตตา ก็ยังเป็นการสั่งสมกรรม
ดีซึ่งจะส่งผลในกาลต่อไป
ในอังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต มีข้อความว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเสพเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว
เราเรียกภิกษุนี้ว่าอยู่ไม่ห่างจากฌาน ท�ำตามค�ำสอนของพระศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท บริโภคก้อนข้าวของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่
จ�ำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ท�ำเมตตาจิตนั้นให้มาก”๓๑

34
พรหมวิหาร
ตามพระสูตรที่กล่าวถึง จะเห็นได้ว่าการเจริญเมตตาเพียง
ชั่ววินาทีก็ยังท�ำให้ผู้ที่แผ่เมตตานั้นไม่เสื่อมจากฌาน และยังได้ชื่อว่า
ปฏิบัติถูกต้องตามพระพุทธพจน์ ถ้าเป็นพระภิกษุ ก็สมควรจะได้รับ
บิณฑบาต และสมควรบริโภคบิณฑบาตเพื่อให้ผู้ที่ถวายได้รับอานิสงส์
ผลบุญจากทานที่ถวายอย่างเต็มที่ เนื่องจากบิณฑบาตที่ภิกษุบริโภค
โดยไม่พิจารณาด้วยปัญญาว่าไม่บริโภคเพื่อการละเล่น เพื่อความ
มัวเมาเป็นต้น เท่ากับเป็นการบริโภคอย่างติดหนี้ เพราะถ้าภิกษุ
มีศีลไม่บริบูรณ์บริโภคอาหารที่สมควรบริโภคโดยภิกษุที่บริบูรณ์ด้วย
ปาริสุทธิศีล ๔ ประการแล้ว ก็เปรียบเหมือนบริโภคโดยมีหนี้ที่จะต้อง
จ่ า ยคื น ภายหลั ง อานิ ส งส์ ที่ ผู ้ ถ วายทานพึ ง ได้ รั บ นั้ น จะมี ผ ลเต็ ม
บริบูรณ์ก็ต่อเมื่อถวายทานแก่ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยศีลทั้ง ๔ ประการ
เท่านั้น ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่าการบริโภคปัจจัย ๔ มี
อาหารเป็นต้น โดยปราศจากการพิจารณาด้วยปัญญา ก็เท่ากับเป็น
การบริโภคอย่างติดหนี้ซึ่งจะต้องช�ำระคืนในภายหลัง

35
พรหมวิหาร
ภิกษุที่เจริญเมตตาภาวนาแม้เพียงชั่วขณะเดียว จึงเป็นผู้
สมควรรับทานที่ผู้ถวายน�ำมาถวายให้อย่างแท้จริง เปรียบเหมือนได้
รับไว้เป็นเจ้าของทรัพย์อย่างชอบธรรม และเป็นการบริโภคปัจจัย ๔
โดยปราศจากความมัวเมาหรือเปล่าประโยชน์ พระอรรถกถาจารย์
จึงกล่าวว่า
“ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว
มีประโยชน์มาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีการ
แผ่ไปกว้างขวาง ดังนั้น แม้การที่ภิกษุนั้นบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้าน
ก็ไม่สูญเปล่า”๓๒

36
พรหมวิหาร
การเจริญเมตตาของพระสุภูติ
การเจริญเมตตาภาวนาท�ำให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้ถวายทาน
เป็นอันมาก ดังเช่นเรื่องของพระสุภูติเถระในสมัยพุทธกาล ท่านเป็น
พระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอสีติมหาสาวก ท่านมักจะเข้า
เมตตาฌานในขณะที่เที่ยวบิณฑบาตไปตามบ้านเรือน เมื่อออกจาก
เมตตาฌานแล้วจึงจะรับภิกษาหารที่คนน�ำมาถวาย ท่านท�ำดังนี้เพื่อ
ให้ผู้ที่ถวายทานได้รับผลบุญมากๆ ต่อมาพระพุทธองค์จึงทรงตั้งท่าน
ไว้ในต�ำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นเลิศในการเป็นทักขิไณยบุคคล๓๓ ใน
สมั ย นี้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนนิ ย มนิ ม นต์ พ ระมาเจริ ญ เมตตปริ ต รในงาน
ท�ำบุญเพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลแก่เจ้าภาพ ดังนัน้ พระสงฆ์ทเี่ จริญเมตต-
ปริตรในงานมงคลเช่นนี้ จึงควรเจริญเมตตาจิตในขณะสวดด้วย
ส�ำหรับผู้ที่ฟังก็ควรเจริญเมตตาภาวนาไปด้วยในขณะฟัง จะ
ท�ำให้ได้บุญมาก การเจริญเมตตาภาวนานี้ควรกระท�ำทุกครั้งที่มีโอกาส
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุดหลังจากกราบพระแล้วควรเจริญ
เมตตาภาวนาให้นานทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ถ้าหากมีเหตุปจั จัยทีเ่ หมาะสม
ก็จะสามารถบรรลุเมตตาฌานในขณะที่เจริญเมตตาภาวนาอยู่นั้น
ดังเรื่องของพราหมณ์ธนัญชานีที่จะน�ำมาสาธกต่อไปนี้

37
พรหมวิหาร
พราหมณ์ธนัญชานีกับเมตตาฌาน
เมื่อพราหมณ์ธนัญชานีป่วยหนักใกล้จะสิ้นชีวิตนั้น ได้ให้คน
ไปนิมนต์พระสารีบุตรมาที่บ้าน เมื่อท่านพระสารีบุตรมาถึงได้ถามเขา
ว่า “ยังพอทนได้หรือ อาการค่อยยังชั่วขึ้นบ้างหรือไม่” พราหมณ์
ตอบว่า “ทุกขเวทนาแรงกล้าจนทนไม่ไหว”
หลังจากนั้นท่านพระสารีบุตรได้ส่ังสอนด้วยการถามปัญหา
ดังต่อไปนี้
พระสารีบุตร : นรกหรือดิรัจฉานอะไรจะดีกว่ากัน
ธนัญชานี : ดิรัจฉานดีกว่านรก
ต่ อจากนั้น ได้ถ ามเชิง เปรียบเทียบต่อไประหว่างดิรัจ ฉาน
กับเปรต เปรตกับมนุษย์ มนุษย์กับจาตุมหาราชิกา ฯลฯ จนถึงปร-
นิมมิตวสวดีซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นสูงสุด หลังจากนั้น พระสารีบุตร
ถามว่า “ชีวิตของเทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวดีกับพรหมโลกอย่างไหน
จะดีกว่ากัน” เมื่อพราหมณ์ได้ยินว่าพรหมโลกก็มีความยินดี ถามว่า
“ท่านพูดว่าพรหมโลกหรือ” ท่านพระสารีบุตรได้ทราบว่าพราหมณ์
นั้นน้อมใจไปในพรหมโลกก็ด�ำริว่า “เราพึงแสดงวิธีปฏิบัติที่จะน�ำ
ธนัญชานิพราหมณ์ไปสู่พรหมโลกจะเป็นการดี” จึงกล่าวว่า

38
พรหมวิหาร
อิธ ธนญฺชานิ ภิกฺขุ เมตฺตาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ
ผริตฺวา วิหรติ. ตถา ทุติยํ. ตถา ตติยํ. ตถา จตุตฺถํ. อิติ อุทฺธมโธ
ติริยํ สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย๓๔ สพฺพาวนฺตํ ๓๕ โลกํ เมตฺตาสหคเตน
เจตสา วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเชน
ผริตฺวา วิหรติ. อยํ โข ธนญฺชานิ พฺรหฺมานํ สหพฺยตาย มคฺโค.๓๖
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่และ
แผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เธอแผ่
ไปในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ ถึงความยิ่ง
ใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ นี้เป็นทางเพื่อ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
อนึ่ง ข้อความว่า “แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ และแผ่ไป
ตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธนี ี้ เธอแผ่ไปใน
ทิศเบือ้ งบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง” กล่าวถึงการแผ่เมตตาไปสู่ทิศ
ทั้งหลาย๓๗ ส่วนข้อความว่า “ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน”
กล่าวถึงการแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงบุคคลและสถานที๓๘ ่

39
พรหมวิหาร
กล่าวโดยสรุปก็คือ การแผ่เมตตาไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทั้งสิบ
เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ไปเกิดในพรหมโลก การแผ่กรุณา มุทิตา และ
อุเบกขาก็มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกันนี้ เมื่อท่านพระสารีบุตรได้เทศนา
สั่งสอนพราหมณ์ธนัญชานีดังนี้แล้วก็กลับไป
ต่อมาพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูล
เรื่องที่พราหมณ์ธนัญชานีป่วยหนัก ตลอดจนค�ำสั่งสอนที่ได้ให้แก่
พราหมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคทรงต�ำหนิว่า “เหตุใดจึงสั่งสอนธนัญ-
ชานีเพียงเพื่อให้ไปสู่พรหมโลกแล้วกลับมาเสียเล่า ในเมื่อยังมีกิจอื่น
ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อการบรรลุมรรคผลซึ่งประเสริฐกว่าฌานมากมาย
นัก” จากนั้นได้ตรัสว่า ธนัญชานีได้สิ้นชีวิตและไปบังเกิดในพรหมโลก
แล้ว พระสารีบุตรจึงไปยังพรหมโลกแล้วเทศน์สั่งสอนพรหมธนัญชานี
ต่อจนจบ ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า ตั้งแต่นั้นมาไม่ว่าท่านจะเทศน์
ด้วยการกล่าวคาถาซึ่งมี ๔ บาทเมื่อไร ก็ไม่เว้นที่จะกล่าวถึง
อริยสัจ ๔ อีกเลย๓๙
เรื่องที่น�ำมาเล่านี้มุ่งจะชี้ให้เห็นว่า พราหมณ์ธนัญชานีได้
รับการสั่งสอนให้เจริญเมตตาภาวนาจนส�ำเร็จเมตตาฌานก่อนจะสิ้น
ชีวิตประมาณครึ่งชั่วโมง และด้วยอ�ำนาจของเมตตาฌานนั้นท�ำให้ได้
ไปเกิดในพรหมโลก ดังนั้นจึงควรจ�ำไว้ว่า หากบุคคลที่ใกล้จะตายนั้น
ไม่มีกุศลกรรมอย่างอื่นให้ยึดถือเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้วไซร้ ก็ควรเจริญ
40
พรหมวิหาร
เมตตาภาวนาซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างดี แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่พึงก�ำหนดรู้ก็
คือสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะนั้น เช่นเดียวกับที่ผู้ปฏิบัติ
วิปัสสนาก�ำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบันในขณะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
นั่นเอง
นอกจากนี้ ประโยชน์จากการเจริญเมตตาภาวนายังมีแสดง
ไว้ในนิทานสังยุตต์ โอกขาสูตร ซึ่งมีความโดยสรุปว่า เมตตาจิตที่
บุคคลเจริญแม้เพียงชั่วเวลาที่รีดน�้ำนมโค ในเวลาเช้า กลางวัน และ
เย็น หรือเพียงชั่วเวลาที่สูดดมกลิ่นหอมจากของหอม (คงเป็นเวลา
ราวๆ ๓-๔ วินาที) ย่อมมีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้ครั้งละหนึ่งร้อย
หม้อในเวลาเช้า กลางวัน และเย็น จะเห็นได้ว่า การเจริญเมตตาจิต
วันละ ๓ ครั้งดังกล่าวนั้นมีอานิสงส์มากทั้งที่ไม่เสียทรัพย์สินหรือใช้
เวลานานเลย ดังข้อความว่า
โย ภิกฺขเว ปุพฺพนฺหสมยํ ๔๐ โอกฺขาสตํ ทานํ ทเทยฺย, โย
มชฺฌนฺหิกสมยํ โอกฺขาสตํ ทานํ ทเทยฺย, โย สายนฺหสมยํ โอกฺขาสตํ
ทานํ ทเทยฺย, โย วา ปุพฺพนฺหสมยํ อนฺตมโส คทฺทุหนมตฺตมฺป๔๑ ิ
เมตฺตจิตฺตํ ภาเวยฺย, โย วา มชฺฌนฺหิกสมยํ อนฺตมโส คทฺทุหน-
มตฺตมฺปิ เมตฺตจิตฺตํ ภาเวยฺย, โย วา สายนฺหสมยํ อนฺตมโส คทฺทุหน-
มตฺตมฺปิ เมตฺตจิตฺตํ ภาเวยฺย, อิทํ ตโต มหปฺผลตรํ.๔๒

41
พรหมวิหาร
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงให้ทาน ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลา
เช้า บุคคลใดพึงให้ทาน ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง บุคคลใดพึงให้
ทาน ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลา
เช้าอย่างน้อยเพียงขณะรีดน�ำ้ นมโค บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลา
เที่ยงอย่างน้อยเพียงขณะรีดน�้ำนมโค หรือบุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิต
ในเวลาเย็นอย่างน้อยเพียงขณะรีดน�้ำนมโค การเจริญเมตตาจิตนี้มี
ผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น”

42
พรหมวิหาร
อานิสงส์ ๑๑ ประการของการเจริญเมตตา
ในอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต เมตตสูตร ยังได้ตรัส
อานิสงส์ของเมตตาภาวนาไว้ ๑๑ ประการ ดังนี้
เมตฺตาย ภิกฺขเว เจโตวิมุตฺติยา อาเสวิตาย ภาวิตาย พหุลี-
กตาย ยานีกตาย วตฺถุกตาย อนุฏฺติ าย ปริจิตาย สุสมารทฺธาย
เอกาทสานิสํสา ปาฏิกงฺขา. กตเม เอกาทส. สุขํ สุปติ. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ.
น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ. มนุสฺสานํ ปิโย โหติ. อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ.
เทวตา รกฺขนฺติ. นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ. ตุวฏํ จิตฺตํ
สมาธิยติ. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ. อสมฺมูฬฺโห๔๓ กาลํ กโรติ. อุตฺตริ
อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ.๔๔
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
ท�ำให้มากแล้ว ท�ำให้เป็นดุจยานแล้ว ท�ำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่น
แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
43
พรหมวิหาร
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา กล�้ำกรายไม่ได้
๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
๙. สีหน้าสดใส
๑๐.ไม่หลงลืมสติตาย
๑๑.เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหม-
โลก
กล่าวโดยย่อ อานิสงส์ ๑๑ ประการของการเจริญเมตตาที่
พึงจดจ�ำไว้ก็คือ สภาพของจิตจะได้รับการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างดี
สามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้ เปรียบเหมือนรถที่ซ่อมบ�ำรุงอย่าง
ถูกต้องพร้อมให้น�ำมาใช้งานได้ เป็นจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว
เป็นอย่างดี ความเมตตาที่กล่าวถึงนี้จะต้องปราศจากนิวรณ์ (ธรรมที่
ปิดกัน้ กุศล) เช่น ความปองร้าย เป็นต้น โดยทัว่ ไปแล้ว เมตตา หมายถึง
ความปรารถนาดี ความเป็นมิตร แต่หากกล่าวถึงเมตตาเจโตวิมุตติ
ซึ่งเป็นความสงบของจิตที่พ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย ก็ต้องหมายถึง
เมตตาฌานเท่านั้น

44
พรหมวิหาร
อานิสงส์ ๑๑ ประการของการเจริญเมตตาที่กล่าวในพระสูตร
ข้างต้นมีดังนี้
๑. สุขํ สุปติ (หลับเป็นสุข) คือ คนที่ไม่ได้เจริญเมตตามัก
หลับยาก และบางทีก็นอนกรนด้วย ส่วนคนที่เจริญเมตตาจิตอยู่เสมอ
จะนอนหลับง่าย เมื่อหลับแล้วก็ไม่กระสับกระส่าย แต่มีความสงบสุข
เหมือนอยู่ในฌานสมาบัติ
๒. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ (ตื่นเป็นสุข) คือ เมื่อตื่นจากหลับก็ไม่
หงุดหงิด หรือต้องนอนบิดขี้เกียจ หรือพลิกตัวไปมาบนที่นอนก่อนจะ
ลุกขึ้น คนที่เจริญเมตตาภาวนาจะตื่นขึ้นอย่างสดชื่นเหมือนดอกบัวที่
ก�ำลังเบ่งบาน ดังพระพุทธด�ำรัสในคัมภีร์ธรรมบทว่า
“พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีใจยินดีในเมตตาภาวนา
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ”๔๕
๓. ปาปกํ สุปินํ น ปสฺสติ (ไม่ฝันร้าย) คือ บางคนเวลานอน
หลับจะรู้สึกเหมือนตกจากที่สูง ถูกท�ำร้าย หรือถูกงูกัดเป็นต้น ส่วน
ผู้ที่เจริญเมตตาจะฝันถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น ได้ไปไหว้พระ หรือสามารถ
เหาะเหินเดินอากาศได้ด้วยฌาน หรือได้ฟังเทศน์ เป็นต้น
๔. มนุสฺสานํ ปิโย โหติ (เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย) คือ
ผูเ้ จริญเมตตาย่อมแผ่ความปรารถนาดีไปยังผูอ้ น่ื ชอบช่วยเหลือคนอืน่

45
พรหมวิหาร
กล่าววาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน และไม่เบียดเบียนใครเลย คนใกล้ชิด
เขาเห็นเช่นนี้ก็จะยกย่องชมเชย แม้มีคนอื่นมานินทาว่าร้าย คนที่มี
เมตตาก็จะอดทนไม่โต้ตอบ คนที่ไม่ชอบเขาย่อมจะเคารพนับถือความ
อดทนของเขาในเวลาต่อมา คนอื่นที่ได้เห็นได้ยินเรื่องราวนั้นก็ยิ่งจะ
เคารพนับถือเขามากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่แผ่เมตตาจึงเป็นที่รักและเคารพ
ของคนที่คบหาสมาคมด้วย การเจริญเมตตาจากใจจริงจึงเป็นเหตุให้
บุคคลนั้นเป็นที่รักและเคารพของคนทั่วไป นอกจากนั้น มีเรื่องสาธก
เกี่ยวกับมัลลกษัตริย์ทรงพระนามว่า โรชะ ที่กล่าวไว้ในพระวินัยปิฎก
มหาวรรค๔๖ มีความโดยย่อดังต่อไปนี้

46
พรหมวิหาร
เรื่องของโรชะ มัลลกษัตริย์
ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ จ�ำนวน
๑,๒๕๐ รูป ได้เสด็จจากอาปณนิคมมายังพระนครกุสินารา ในสมัย
นั้น มัลลกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินาราได้ทราบข่าวการเสด็จมาของ
พระพุทธองค์จึงตั้งกติกากันว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาค
จะต้องถูกปรับเป็นเงิน ๕๐๐ กหาปณะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
จาริกมาถึงนครกุสินารา พวกมัลลกษัตริย์ได้จัดการต้อนรับเป็นอย่างดี
โรชะมัลลกษัตริย์ก็ไปเฝ้ารับเสด็จด้วย ครั้นรับเสด็จเรียบร้อยแล้ว ได้
เข้าไปหาพระอานนท์ซึ่งเป็นพระสหาย เมื่อได้ทักทายกันแล้ว พระ
อานนท์กล่าวชื่นชมว่าการจัดงานรับเสด็จพระผู้มีพระภาคนี้จัดได้ดี
และใหญ่โต โรชะมัลลกษัตริย์ตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้มารับเสด็จเพราะ
ความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ แต่
เพราะกลัวจะถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กหาปณะถ้าไม่มารับเสด็จ
พระพุทธองค์และพระสาวกต่างหาก”
พระอานนท์ฟังแล้วไม่สบายใจ คิดสงสัยว่า “เหตุอะไรท�ำให้
โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสตอบเช่นนั้น ช่างเป็นผู้โง่เขลาไม่รู้ประโยชน์จาก
การเคารพพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุนี้ จึงเสียประโยชน์
ที่จะพึงได้รับ” คิดแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเรื่องราว
ให้ทรงทราบ
47
พรหมวิหาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การจะท�ำให้โรชะมัลลกษัตริย์มา
เลื่อมใสนั้นไม่ยาก แล้วทรงแผ่เมตตาจิตให้โรชะมัลลกษัตริย์แต่ผู้เดียว
โดยมากพระพุทธองค์ย่อมแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งปวงเสมอกัน แต่
ครั้งนี้ทรงด�ำริว่า โรชะจะเสียโอกาสถวายสักการะแด่พระองค์แม้ว่า
จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าด้วยตนเอง จึงทรงแผ่เมตตาจิตไปที่โรชะมัลล-
กษัตริย์ผู้เดียว แทนที่จะแผ่ไปสู่สัตว์โลกทั้งหมด เมตตาจิตที่พระพุทธ-
องค์แผ่ไป จึงเป็นเสมือนแสงไฟที่ส่องตรงไปที่จุดเดียวไม่กระจายไป
ทีอ่ นื่ มีความสว่างไสวประดุจแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน รังสีแห่ง
เมตตาจึงมีพลังแรง ส่งผลให้โรชะมัลลกษัตริย์ เกิดความเคารพใน
พระผู้มีพระภาคเป็นอย่างยิ่ง และมีอาการเหมือนลูกโคเพิ่งเกิดที่มี
ความรักและผูกพันในแม่โค เที่ยวค้นหาตามวิหารต่างๆ แต่ก็ไม่พบ
พระผู้มีพระภาค จนกระทั่งมีพระภิกษุแนะน�ำให้ไปที่พระคันธกุฎีที่
ประทับ ทรงกระแอมแล้วเคาะบานพระทวารแล้วรออยู่ เมื่อพระพุทธ-
องค์ทรงเปิดรับแล้ว โรชะมัลลกษัตริย์นั้นได้กราบถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่อันสมควร พระพุทธองค์ตรัสอนุบุพพีกถา เกี่ยวกับทาน ศีล
เป็นต้น แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔ โรชะมัลลกษัตริย์ได้ดวงตาเห็น
ธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน กราบทูลขออนุญาตให้สงฆ์รับปัจจัย ๔
มีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชจากท้าวเธอแต่ผู้เดียว
ไม่รับจากคนอื่น แต่พระพุทธองค์ตรัสว่าจะรับสิ่งเหล่านั้นจากท้าวเธอ
และบุคคลอื่นด้วย
48
พรหมวิหาร
ตัวอย่างนี้แสดงถึงการแผ่เมตตาไปให้คนอื่นด้วยจิตที่ตั้งมั่น
ซึ่งจะมีพลังมาก และผู้รับความเมตตานั้นก็จะมีเมตตาตอบ ไม่เพียง
แต่มนุษย์ที่มีการตอบสนองต่อเมตตาที่แผ่มา แม้กระทั่งสัตว์ดิรัจฉาน
ที่ได้รับความเมตตาก็อาจมีเมตตาจิตตอบได้เหมือนกัน
๕. อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ (เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย)
คือ เขาย่อมเป็นที่รักของเทวดาทั้งปวง ดังมีสาธกในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรค๔๗ ดังต่อไปนี้

เรื่องพระวิสาขเถระ
สมัยหนึ่ง มีเศรษฐีชื่อวิสาขะอาศัยอยู่ในเมืองปาฏลีบุตร เขา
ได้ยินข่าวเล่าลือว่าที่เกาะลังกา (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) เต็ม
ไปด้วยวัดวาอารามและเจดีย์ที่ประดับประดางดงามมากมายราวกับ
ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงมาลัย ทั่วทั้งเกาะนั้นเหลืองอร่ามไปด้วยผ้ากาสาว-
พัสตร์ คนบนเกาะอยู่กันอย่างสุขสบาย ใครอยากจะนั่งจะนอนที่ใด
ก็สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย เป็นประเทศที่ประกอบด้วยสัปปายะ
ทั้งดินฟ้าอากาศ วัดวาอาราม ผู้คนพลเมือง เหมาะสมจะเป็นที่ศึกษา
และปฏิบัติธรรม

49
พรหมวิหาร
วิสาขเศรษฐีพิจารณาดังนี้แล้วประสงค์จะไปยังเกาะลังกาเพื่อ
บวชเป็นภิกษุ จึงมอบทรัพย์สมบัติและกิจการค้าทั้งหมดให้แก่ภริยา
และบุตร แล้วออกเดินทางไปยังท่าเรือโดยมีทรัพย์ติดตัวเพียงหนึ่ง
กหาปณะเท่านั้น สมัยนั้นยังไม่มีเรือยนต์เดินทะเลขนาดใหญ่ มีแต่
เรือส�ำเภาที่แล่นด้วยใบ ในขณะที่รอเรืออยู่ วิสาขเศรษฐีเป็นคนฉลาด
ในเชิงการค้า จึงได้น�ำทรัพย์หนึ่งกหาปณะนั้นซื้อสินค้าจากที่หนึ่งไป
ขายอีกที่หนึ่ง รวบรวมทรัพย์ได้หนึ่งพันกหาปณะภายในเวลาหนึ่งเดือน
การค้าขายที่สุจริตหมายถึงการซื้อขายสินค้าด้วยราคาที่เหมาะสม
โดยเอาก�ำไรแต่พอควร เรียกว่า ธัมมิกวณิชชา ซึ่งหมายถึงการค้าที่
ซื่อตรง การหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตเช่นนี้จัดเป็น “สัมมาอาชีวะ การ
เลี้ยงชีพชอบ” แต่เนื่องจากวิสาขะมิได้ประสงค์จะประกอบอาชีพค้าขาย
เพื่อเลี้ยงชีวิต เพียงท�ำไปตามความสามารถที่มีอยู่และความเคยชิน
ในยามอยู่ว่าง ต่อมาภายหลังได้สละเงินที่ได้มาจากการค้าขายนี้ทั้งหมด
เมื่อวิสาขเศรษฐีได้โดยสารเรือไปถึงเกาะลังกาแล้ว ก็เดินทาง
ไปที่วัดมหาวิหาร ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุทันที ขณะที่พระ
อุปัชฌาย์พาเขาไปที่สีมาเพื่อท�ำการอุปสมบทนั้น เขาได้ท�ำถุงใส่เงิน
หนึ่งพันกหาปณะที่ขอดเอวอยู่นั้นตกลงพื้นดิน พระอุปัชฌาย์ถามว่า
“นั่นอะไร” เขาตอบว่า “ทรัพย์ของกระผมจ�ำนวนหนึ่งพันกหาปณะ
ขอรับ”

50
พรหมวิหาร
พระอุปัชฌาย์แนะน�ำว่า “อุบาสก เมื่อเธอบวชแล้วจักไม่อาจ
ใช้สอยทรัพย์นี้ได้ ดังนั้นเธอจงใช้จ่ายทรัพย์เสียเดี๋ยวนี้” วิสาขะกล่าว
ว่า “คนที่มาในงานบวชของกระผมจงอย่าได้กลับไปมือเปล่าเลย” ว่า
แล้วก็โปรยทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะนั้นไปในหมู่คนที่ประชุมกันอยู่
บริเวณสีมาแล้วจึงบรรพชาอุปสมบท
เมื่อบวชแล้ววิสาขภิกษุก็ศึกษาพระวินัยท่องจ�ำมาติกาทั้งสอง
ได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อบวชครบ ๕ พรรษาแล้ว ได้เรียนกรรมฐาน
ที่เหมาะกับอัธยาศัยของตนแล้วเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่วัด ๔ วัด
หมุนเวียนเปลี่ยนไปวัดละ ๔ เดือนๆ ในขณะที่ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ วัน
หนึ่งได้เดินทางมาถึงป่าที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง จึงได้นั่งสมาธิอยู่ ณ
โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นออกจากสมาธิแล้ว ได้พิจารณาดูคุณของตน
ด้วยความปีติโสมนัส กล่าวว่า
“ตั้งแต่กาลที่เราได้อุปสมบทจนมาถึงป่าแห่งนี้ ข้อผิดพลาด
ในศีลไม่มใี นระหว่างนีเ้ ลย ท่านผูน้ ริ ทุกข์ ลาภคือข้อประพฤติอนั หมดจด
ของท่าน น่าอัศจรรย์นัก”๔๘

51
พรหมวิหาร
ต่อมาภายหลัง ท่านวิสาขเถระได้เดินทางเพื่อไปยังวัดแห่ง
หนึ่งบนภูเขาจิตตลบรรพตที่อยู่ทางปลายสุดของเทือกเขาตอนใต้ของ
เกาะ เมือ่ มาถึงทางสองแพร่งได้หยุดยืนด้วยไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกไป
ทางไหนดี ขณะนั้นเทวดาที่สถิตอยู่ ณ ภูเขาแห่งนั้นได้ปรากฏกายขึ้น
แล้วชี้บอกทางให้ เมื่อได้มาพ�ำนักอยู่ที่วัดจิตตลบรรพตได้ ๔ เดือน
เช้าวันหนึ่งท่านได้ปรารภจะออกจากวัดเพื่อเดินทางต่อไป ในขณะที่
ก�ำลังพิจารณาอยู่นั้น รุกขเทวดาชื่อว่ามณิขะได้มานั่งร้องไห้อยู่ที่ขั้น
บันได ท่านวิสาขเถระจึงถามว่า “เธอเป็นใคร เหตุใดจึงมานั่งร้องไห้
อยู่ที่นี่” รุกขเทวดาตอบว่า “ดิฉันชื่อมณิขะ เป็นรุกขเทวดาประจ�ำ
ต้นหว้า เหตุที่ดิฉันร้องไห้เพราะเสียใจที่ท่านก�ำลังจะไปจากที่แห่งนี้”
พระวิสาขเถระได้ซักถามต่อไปอีกว่า “เธอได้ประโยชน์อะไร
จากการที่เราพ�ำนักอยู่ที่นี่” รุกขเทวดาตอบว่า “การอยู่ที่นี่ของท่าน
เป็นเหตุให้เกิดความเมตตากันในหมู่เทวดา และหากท่านไปจากที่นี้
ก็จะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันในหมู่เทวดาเหมือนก่อน” พระวิสาข-
เถระจึงกล่าวว่า “ถ้าการอยู่ของเราจะพึงน�ำความสุขมาให้ท่าน
ทั้งหลาย เราก็จะอยู่ต่อไป” แล้วท่านก็ได้อยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา ๔ เดือน
ครั้นครบก�ำหนดแล้วท่านก็ด�ำริจะไปอย่างเดิมอีก มณิขะรุกขเทวดาก็
ไปร้องไห้อ้อนวอนเช่นเดิม พระเถระจึงได้พ�ำนักอยู่ที่วัดจิตตลบรรพต
จนกระทั่งปรินิพพาน เรื่องนี้แสดงว่า บุคคลที่เจริญเมตตาย่อมเป็น

52
พรหมวิหาร
ที่รักและเคารพของเหล่าเทวดาทั้งหลาย
๖. เทวตา รกฺขนฺติ (เทวดาทั้งหลายรักษา) การคุ้มครองของ
เทวดานี้ เปรียบได้กับการที่บิดามารดาคุ้มครองบุตรคนเดียวของตน
ด้วยความรักทะนุถนอม ถ้าผู้ใดมีเทวดาคุ้มครอง ย่อมจะต้องมีความ
สุขสวัสดีและปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
๗. นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ (ไฟ ยาพิษ หรือ
ศัสตรา กล�้ำกรายไม่ได้) คือ อันตรายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย ยาพิษ
หรืออาวุธร้าย เช่น ดาบ หอก ลูกธนู เป็นต้น จะไม่สามารถท�ำอันตราย
ต่อบุคคลผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เป็นนิตย์ อาวุธสมัยใหม่ เช่น ปืน ลูก
ระเบิด หรือจรวดก็นับรวมเข้าในพวกศัสตราวุธด้วย ดังนั้น เมื่อ
ประสบกับภัยที่มาคุกคาม คนเราจึงควรพยายามเจริญเมตตาให้มาก
ในเรื่องนี้ คัมภีร์วิสุทธิมรรค๔๙ ได้ยกตัวอย่างมาอ้างไว้เป็นจ�ำนวนมาก
เช่น เรื่องของอุบาสิกาชื่ออุตตรา ที่ไม่เป็นอันตรายแม้จะถูกราดด้วย
น�้ำมันร้อน๕๐ หรือกรณีของพระจูฬสิวเถระผู้สาธยายสังยุตตนิกายที่
ไม่เป็นอันตรายจากยาพิษ๕๑ และเรื่องของสังกิจจสามเณรที่รอดพ้น
อันตรายจากของมีคมเมื่อโจรใช้ดาบฟันท่าน๕๒ อีกทั้งยังมีเรื่องของ
แม่โคที่ไม่เป็นอันตรายจากคมหอกในขณะที่ยืนให้นมลูกโคอยู่ แม้ว่า
นายพรานได้พยายามแทงแม่โคด้วยหอกหลายครั้ง แต่ทุกครั้งปลาย
แหลมของหอกก็ม้วนกลับเมื่อกระทบกับผิวหนังของแม่โคเสมือน
53
พรหมวิหาร
หนึ่งเป็นใบตาล ไม่สามารถจะแทงทะลุเข้าไปได้๕๓ ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่
เพราะอุปจารสมาธิหรืออัปปนาฌาน แต่เนื่องจากความรักอันบริสุทธิ์
ของแม่โคที่มีต่อลูกโค จะเห็นได้ว่าอานุภาพของเมตตานั้นมีมากมาย
เพียงใด
ในบรรดาสาธกทั้งหมดนี้ เรื่องของอุตตราอุบาสิกาที่มาใน
อรรถกถาของคัมภีร์ธรรมบท๕๔ นับว่าน่าสนใจมาก ดังมีเรื่องย่อต่อ
ไปนี้

เรื่องของอุตตราอุบาสิกา
นางอุตตราเป็นธิดาของนายปุณณะ ซึ่งเดิมเป็นคนยากจน
รับจ้างเลี้ยงชีพอยู่ในบ้านของสุมนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง
เขาได้ถวายไม้สีฟันและน�้ำล้างหน้าแด่พระสารีบุตรซึ่งเพิ่งออกจาก
นิโรธสมาบัติ ส่วนภริยาของเขาได้ห่อข้าวมาให้สามีที่ก�ำลังไถนา ใน
ระหว่างทางได้พบกับพระสารีบุตรจึงถวายข้าวห่อนั้นด้วยศรัทธาที่
แรงกล้า แล้วได้แบ่งบุญกันกับสามี ด้วยอานิสงส์ผลบุญนั้น เมื่อนาย
ปุณณะไถนา ดินที่ไถขึ้นมาได้กลายเป็นทองค�ำไปหมด เรื่องนี้อาจฟัง
ดูประหลาดไม่น่าเชื่อ แต่ในสมัยโบราณ อาจมีเหตุการณ์มหัศจรรย์
เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของทานและศีลของบุคคลที่มีคุณธรรมพิเศษ
54
พรหมวิหาร
ก็ได้ ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อจนเกินไป เพราะสิ่งประดิษฐ์ในยุคนี้ เช่น
คอมพิวเตอร์ จรวด ดาวเทียม ก็ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สมัยก่อนไม่มี
ใครคิดว่าจะเป็นไปได้
เมื่อนากลายเป็นทองค�ำ นายปุณณะจึงกลายเป็นปุณณเศรษฐี
ต่อมาสุมนเศรษฐีได้สู่ขออุตตราบุตรสาวของปุณณเศรษฐีให้กับบุตร
ชายของตน ในตอนนั้นปุณณเศรษฐีพร้อมทั้งภริยาและบุตรสาวได้
บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลแล้วหลังจากที่ได้ฟังพระธรรมเทศนา
จากพระพุทธองค์ในวันท�ำบุญขึน้ บ้านใหม่ ส่วนตระกูลของสุมนเศรษฐี
นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีใครในครอบครัวนับถือพุทธศาสนาเลย ปุณณ-
เศรษฐีจึงไม่ตกลงยกบุตรสาวให้ เพราะนางอุตตราเลื่อมใสในพระรัตน-
ตรัยอย่างมั่นคง การสมรสกับคนนอกศาสนาจึงไม่เหมาะสม แต่เมื่อ
ได้รับค�ำขอร้องจากมิตรสหายว่าไม่ควรตัดความสัมพันธ์กับสุมน-
เศรษฐี เขาจึงจ�ำใจยกบุตรสาวให้แต่งงานออกไปอยู่บ้านของสุมนเศรษฐี
ในวันเพ็ญเดือน ๘

55
พรหมวิหาร
นับตั้งแต่เข้าไปอยู่ในบ้านของสามีนั้น อุตตราไม่มีโอกาสได้
ท�ำบุญ ไหว้พระภิกษุหรือภิกษุณี หรือไปฟังธรรมเลย จนเวลาผ่านไป
สองเดือนครึ่ง อุตตราจึงส่งสาสน์ไปยังบิดาว่า “เหตุใดลูกจึงต้องถูก
กักขังอยู่อย่างนี้ ให้ไปเป็นทาสยังดีเสียกว่ามาแต่งงานกับคนที่มีมิจฉา-
ทิฏฐิเช่นนี้ ตั้งแต่ลูกมาอยู่ที่นี่ ยังไม่เคยมีโอกาสได้กราบไหว้พระสงฆ์
หรือท�ำบุญเลย” ปุณณเศรษฐีทราบข่าวแล้วรู้สึกสงสารมาก จึงส่ง
ทรัพย์หนึ่งหมื่นห้าพันกหาปณะไปให้นางอุตตรา
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีหญิงโสเภณีคนหนึ่งชื่อว่า สิริมา
มีรูปโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือมาก นางรับจ้างอยู่กับชายคืนละหนึ่ง
พันกหาปณะ นางอุตตราจึงได้น�ำทรัพย์หมื่นห้าพันกหาปณะไปจ้าง
นางสิริมาให้มาปรนนิบัติสามีเป็นเวลา ๑๕ วัน เพื่อตนจะได้ท�ำบุญ
ตามความพอใจ ฝ่ายสามีเมื่อเห็นความงามก็หลงเสน่ห์ของนางสิริมา
แล้วก็ยินยอมรับข้อเสนอโดยดี
หลังจากวันนั้น นางอุตตราได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขมาฉันภัตตาหารในนิเวศน์ของตน ได้ฟังพระธรรมเทศนา
และได้เตรียมอาหารด้วยตนเอง ในวันขึ้น ๑๔ ค�่ำ เดือน ๑๑ สามี
ของนางได้โผล่จากหน้าต่างเห็นนางก�ำลังท�ำอาหารในครัว มีเหงื่อ
ท่วมตัว ใบหน้าเปือ้ นเขม่า จึงนึกขบขันว่า “โอหนอ หญิงนีช้ า่ งโง่นกั
ไม่พอใจกับความสุขสบายในบ้านทีต่ กแต่งไว้อย่างดี แต่กลับพอใจรับใช้
56
พรหมวิหาร
สมณะหัวโล้น” คิดดังนี้แล้วก็หันกลับไปพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้า
นางสิริมาเกิดความสงสัยเมื่อเห็นรอยยิ้ม จึงไปดูที่หน้าต่าง
ได้เห็นนางอุตตราอยู่ในครัวก็เกิดความริษยาด้วยคิดว่า “เศรษฐีบุตร
ยังหลงรักนางอยู่” นางสิริมาคิดว่าตนเป็นนายหญิง หลังจากเข้ามา
อยู่ได้เพียง ๑๕ วัน โดยหลงลืมไปว่าตนเองมาอยู่ในฐานะลูกจ้าง
นางกลับโกรธและหึงหวงจนทนไม่ได้ รีบลงบันไดมา เข้าไปในครัว
แล้วตักน�้ำมันเนยเดือดกระบวยหนึ่งหวังจะท�ำร้ายนางอุตตรา ฝ่าย
อุตตราเมื่อเห็นนางสิริมาเข้ามาหาก็เจริญเมตตาแผ่ความปรารถนาดี
กล่าวกับตนเองว่า “สิริมาสหายหญิงของเรามีอุปการะแก่เรามาก
จักรวาลนี้ก็ยังนับว่าเล็กไปเมื่อเทียบกับบุญคุณของนาง อุปการะของ
นางนั้นใหญ่หลวงยิ่งนัก เพราะนางมาปรนนิบัติสามีของเรา จึงท�ำให้
เราได้ท�ำบุญและฟังธรรม ถ้าหากเรามีความโกรธเคืองนางแม้แต่น้อย
ก็ขอให้น�้ำมันร้อนที่นางถือมานี้จงลวกเรา แต่ถ้าหากเราไม่มีความ
โกรธเคืองต่อนาง ก็ขออย่าให้น�้ำมันร้อนนี้ท�ำอันตรายแก่เราเลย”
อุตตราตั้งสัจจะอธิษฐานดังนี้แล้วแผ่เมตตาให้แก่นางสิริมา ด้วยเหตุนี้
เมื่อนางสิริมาเทน�้ำมันเนยร้อนราดลงบนศีรษะอุตตรา เนยร้อนจึง
กลายเป็นเหมือนดั่งน�้ำเย็น

57
พรหมวิหาร
เมื่อเห็นดังนั้น นางสิริมากลับคิดว่า “น�้ำมันเนยนี้คงเย็นเสีย
แล้ว” จึงกลับไปตักน�้ำมันเนยเดือดอีกครั้ง บรรดาหญิงบริวารของ
อุตตราเห็นเข้าก็เดือดดาล กล่าวไล่ว่า “จงไปให้พ้น นางหญิงโง่ อย่า
เอาน�้ำมันเดือดมาราดนายหญิงของเราอีก” พร้อมกันนั้น ได้ช่วยกัน
ทุบตีนางสิริมาจนล้มลงกับพื้น นางอุตตราได้รีบเข้ามาห้าม แล้วให้
นางสิริมาอาบด้วยน�้ำอุ่น และชโลมน�้ำมันเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
จากการถูกทุบตี
นางสิริมาส�ำนึกตัวได้ว่ามาอยู่ในฐานะลูกจ้าง จึงได้ขอขมา
โทษต่อนางอุตตรา แต่เธอให้นางไปขอขมาโทษต่อพระพุทธเจ้าผู้
เป็นพระบิดาในวิวัฏฏะของเธอ หากพระพุทธเจ้าทรงอดโทษให้ จึง
จะยกโทษให้ วันรุ่งขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จ
มาที่บ้าน นางสิริมาก็ได้ถวายภัตตาหารและกราบทูลเรื่องราวทั้งหมด
พระศาสดาตรัสพระคาถา มีความว่า
“พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความไม่ดี
ด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ ด้วยการให้ พึงชนะผู้พูดเท็จ ด้วย
ค�ำจริง”๕๕

58
พรหมวิหาร
หลังจากได้สดับพระคาถานี้แล้ว นางสิริมากับบริวาร ๕๐๐ ก็
บรรลุเป็นพระโสดาบัน ประเด็นส�ำคัญในเรื่องนี้คือ นางอุตตราได้
รอดพ้นจากการท�ำร้ายด้วยน�้ำมันร้อนที่เทราดศีรษะเพราะการแผ่
เมตตา
ส�ำหรับเรื่องของพระจูฬสิวเถระผู้ซึ่งไม่เป็นอันตรายจากยาพิษ
นั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๕๖ แต่ไม่พบเรื่องโดยละเอียดใน
อรรถกถาและฎีกาเล่มอืน่ ส่วนเรือ่ งเกีย่ วกับสังกิจจสามเณรนัน้ พบใน
อรรถกถาธรรมบท๕๗ ซึ่งกล่าวถึงการที่ท่านได้เข้าฌาน แต่ไม่ได้
เจาะจงว่าเป็นฌานประเภทใด เท่าที่สันนิษฐานจากข้อความในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค๕๘ ก็อาจสรุปได้ว่าเป็นการเจริญเมตตาฌาน แสดงว่าผู้ที่
เจริญเมตตาจะไม่เป็นอันตรายจากไฟ ยาพิษ และศัสตราอาวุธต่างๆ
เช่น ดาบ และกริช เป็นต้น
นอกจากนั้น มีเรื่องของพระนางสามาวดีที่ยกมาจากอรรถกถา
ธรรมบท สามาวตีวัตถุ๕๙ ดังนี้

59
พรหมวิหาร
เรื่องของพระนางสามาวดี
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าอุเทนเป็นพระราชาครองนครโกสัมพี
มีอคั รมเหสี ๓ พระองค์ คือ พระนางวาสุลทัตตา ราชธิดาของพระเจ้า
จัณฑปัชโชต พระราชาแห่งเมืองอุชเชนี, พระนางสามาวดี เดิมเป็น
ธิดาของเศรษฐีที่นครภัททวดี ต่อมาได้เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสก-
เศรษฐีหลังจากบิดามารดาสิ้นชีวิต และพระนางมาคันทิยา ธิดาของ
มาคันทิยพราหมณ์ในแคว้นกุรุ
พระนางมาคันทิยา ครั้งเป็นธิดาพราหมณ์ มีรูปโฉมงดงาม
ราวเทพธิดา บรรดาเศรษฐีได้มาสู่ขอให้กับบุตรของตน แต่มาคันทิย-
พราหมณ์กลับปฏิเสธหมดเพราะเห็นว่าไม่คู่ควร วันหนึ่งพราหมณ์ได้
พบพระผู้มีพระภาคขณะทรงบิณฑบาต รู้สึกพึงพอใจในพระรูปโฉม
อันเลิศของพระองค์และเห็นว่าคู่ควรกับธิดาตน จึงกล่าวว่า “ท่าน
สมณะ ข้าพเจ้ามีธิดาโฉมงาม แต่ยังไม่มีผู้ใดเหมาะควรครองคู่กับนาง
แม้จะได้เสาะหามาตลอด ข้าพเจ้าเห็นท่านเป็นผู้คู่ควร จึงประสงค์
จะยกนางให้กับท่าน โปรดรออยู่ตรงนี้ จนกว่าข้าพเจ้าจะกลับมา”
แล้วมาคันทิยพราหมณ์ก็รีบกลับไปบ้าน พาภรรยาและธิดามา

60
พรหมวิหาร
พระพุทธองค์มิได้ประทับรอในที่เดิม แต่ได้ทรงแสดงรอย
พระบาทแล้วเสด็จไปประทับยืนในทีไ่ ม่ไกล เมือ่ พราหมณ์และพราหมณี
กับธิดากลับมา จึงพบแต่รอยพระบาท นางพราหมณีตรวจดูรอย
พระบาทด้วยวิชาทายลักษณะแล้วกล่าวว่า “รอยเท้านี้ไม่ใช่ของผู้ที่
เสพกามคุณทั้งห้า” พราหมณ์ฟังแล้วไม่พอใจ บอกให้ภริยานิ่งเสีย
แล้วมองไปเห็นพระศาสดา จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า “ท่านสมณะ
ข้าพเจ้าจะให้ธิดาแก่ท่านเพื่อจะได้เลี้ยงดูกัน”
พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงตอบ แต่ได้ตรัสเล่าเรื่องที่พญามาร
ติดตามพระองค์ตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวช จนถึงขณะที่ประทับอยู่ ณ
โคนต้นอชปาลนิโครธหลังจากทรงตรัสรู้ เมือ่ พญามารทราบว่าพระองค์
ทรงละความยินดีพอใจในกามคุณทั้ง ๕ หลุดพ้นจากอ�ำนาจของตน
แล้วก็เศร้าโศกเสียใจ ธิดาทั้งสามของพญามารพยายามปลอบโดย
จ�ำแลงเป็นเทพธิดามายัว่ ยวนพระพุทธองค์ดว้ ยเล่หก์ ลมารยา พระบรม-
ศาสดาตรัสอธิบายถึงการที่พระองค์ได้ทรงก�ำจัดราคะได้แล้วจึงไม่ทรง
สนพระทัยในการเล้าโลมของธิดามารด้วยพระคาถาว่า
“เรามิได้มีแม้ความพอใจในเมถุน เพราะเห็นนางตัณหา นาง
อรดี และนางรคา ไฉนเล่าจักมีความพอใจ เพราะเห็นธิดาของท่านนี้
ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรและคูถ เราไม่ปรารถนาจะสัมผัสธิดาของท่านนั้น
แม้ด้วยเท้า”๖๐
61
พรหมวิหาร
เมื่อจบพระคาถา มาคันทิยพราหมณ์และพราหมณีเห็นจริง
ในธรรมที่ทรงแสดง ได้บรรลุอนาคามิผล ส�ำเร็จเป็นพระอนาคามีทั้ง
สองคน ส่วนนางมาคันทิยาผู้เป็นธิดานั้นกลับรู้สึกอับอายมีความโกรธ
แค้นจึงผูกอาฆาตในพระศาสดา
เรื่องนี้ชวนให้สงสัยได้ว่า “พระพุทธองค์ไม่ทรงทราบความ
อาฆาตของนางหรือ” ในอรรถกถาธรรมบทอธิบายว่า “พระผูม้ พี ระภาค
ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้เพื่อโปรดพราหมณ์และพราหมณีให้บรรลุ
อนาคามิมรรค โดยทรงถือเอาประโยชน์ที่พราหมณ์และภริยาจะพึงได้
รับเป็นใหญ่ โดยไม่ค�ำนึงถึงการผูกอาฆาตของนางมาคันทิยา”๖๑
เมื่อได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้ว ผู้เป็นบิดามารดาได้พา
นางมาคันทิยาไปมอบให้น้าชายที่มีชื่อว่ามาคันทิยพราหมณ์เหมือน
กันเป็นผู้ปกครอง แล้วขออุปสมบทเป็นภิกษุและภิกษุณีในพระพุทธ-
ศาสนา ต่อมาได้เจริญวิปสั สนาด้วยความพากเพียรจนบรรลุอรหัตตผล
ได้ในเวลาไม่นาน ส่วนมาคันทิยพราหมณ์ผเู้ ป็นน้า ได้นำ� นางมาคันทิยา
ไปถวายแด่พระเจ้าอุเทนพระราชากรุงโกสัมพี ซึง่ พอพระราชหฤทัย
ในความงามของนาง จึงให้อภิเษกขึน้ เป็นอัครมเหสีอกี พระองค์หนึง่

62
พรหมวิหาร
ในเวลานั้น โฆสกเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี
ได้ไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่เมืองสาวัตถี แล้วทูลอาราธนาให้พระพุทธ-
องค์เสด็จมากรุงโกสัมพี เมื่อทรงรับอาราธนาแล้ว โฆสกเศรษฐีได้
สร้างวัดโฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีสร้างวัดกุกกุฏาราม และปาวาริก-
เศรษฐีสร้างปาวาริการาม ถวายเป็นทีป่ ระทับแด่พระบรมศาสดาและ
หมูส่ งฆ์สาวกในกรุงโกสัมพีนนั้ เมือ่ พระพุทธองค์เสด็จมาถึงกรุงโกสัมพี
แล้วได้เสด็จประทับทีว่ หิ ารทัง้ สามหมุนเวียนกันไป เมือ่ ประทับทีว่ หิ าร
ของเศรษฐีคนใด ก็เสด็จไปบิณฑบาตที่บ้านของเศรษฐีคนนั้น
วันหนึง่ นายสุมนะ คนขายดอกไม้ได้ขอโอกาสจากเศรษฐี
ทัง้ สาม แล้วอาราธนาพระพุทธองค์และพระสาวกให้เสด็จไปเสวย
ภัตตาหารที่บ้านของตน ในวันนั้น นางขุชชุตตราซึ่งเป็นนางก�ำนัล
ของพระนางสามาวดีได้มาซื้อดอกไม้ตามที่เคยท�ำประจ�ำทุกวัน นาย
สุมนะจึงได้กล่าวกับนางขุชชุตตราว่า “ฉันนิมนต์พระบรมศาสดาไว้
ขอเชิญอยู่ร่วมถวายอาหารและฟังธรรมก่อน ค่อยซื้อดอกไม้ไป”
นางขุชชุตตรารับค�ำเชิญ แล้วช่วยกันถวายภัตตาหารแด่พระ
ภิกษุสงฆ์อนั มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เสร็จแล้วทัง้ สองได้ฟงั พระธรรม-
เทศนาอนุโมทนากถาที่พระบรมศาสดาทรงแสดง นางขุชชุตตราได้
ส่งญาณไปตามเนื้อความแห่งพระธรรมเทศนา ก็บรรลุโสดาปัตติผล
ส�ำเร็จเป็นพระโสดาบันในขณะที่นั่งฟัง
63
พรหมวิหาร
ตามปกติ นางขุชชุตตราจะได้รับพระราชทานเงินค่าดอกไม้
จากพระเจ้าอุเทนวันละ ๘ กหาปณะ และจ่ายเงินจริงเพียงวันละ
๔ กหาปณะ ส่วนที่เหลือเก็บไว้เอง แต่เนื่องจากนางได้บรรลุเป็น
พระโสดาบันจึงไม่มีความคิดเบียดบังเงินของผู้อื่นไว้เป็นของตน และ
ได้จ่ายเงินทั้ง ๘ กหาปณะซื้อดอกไม้ไป พระนางสามาวดีเมือ่ ได้เห็น
ดอกไม้จำ� นวนมากผิดปกติ จึงสงสัย และถามว่า ดอกไม้มากขึน้ เพราะ
ได้รบั พระราชทานเงินค่าดอกไม้เพิม่ สองเท่าหรือไม่
นางขุชชุตตราจึงสารภาพความผิดของตนที่เคยยักยอกเงิน
เก็บไว้ครึง่ หนึง่ นางได้กราบทูลความจริงโดยไม่หวัน่ เกรงราชภัยทีอ่ าจ
มาถึง เพราะงดเว้นจากการพูดปดแล้ว การกระท�ำดีและกล้าหาญ
เช่นนี้เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของพระโสดาบันบุคคล
พระนางสามาวดีทรงซักถามต่อไปว่า เหตุใดจึงไม่เบียดบังเงิน
ค่าดอกไม้เหมือนเช่นเคย นางจึงตอบว่า เป็นเพราะนางได้ดวงตาเห็น
ธรรมหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
พระนางสามาวดีเป็นผู้มีปัญญาจึงด�ำริว่า การมีจิตใจที่สะอาด
หมดจดปราศจากความต้องการจะขโมยนั้นเป็นความดีอย่างยิ่ง ธรรม
ที่นางขุชชุตตราได้บรรลุนั้นจะต้องเป็นธรรมที่ประเสริฐ พระนางไม่
ทรงกริ้วเรื่องความผิดในอดีต เนื่องจากทรงสั่งสมบารมีมามาก จึง
ทรงยินดีที่ได้ทรงทราบว่านางก�ำนัลได้ละความชั่วและบรรลุธรรมอัน
64
พรหมวิหาร
ประเสริฐ และได้ขอให้นางขุชชุตตราแสดงธรรมทีไ่ ด้บรรลุนนั้ ให้พระนาง
พร้อมทั้งสตรีบริวารอีก ๕๐๐ ได้ฟังบ้าง ขณะที่ฟังพระธรรมเทศนา
เหล่าสตรีได้เจริญวิปสั สนาตามไปด้วยวิรยิ ะ สติและสมาธิทแี่ น่วแน่
ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วยกันทั้งหมด
หลังจากนั้น เหล่าสตรีไหว้นางขุชชุตตราแล้วขอให้หยุดเป็น
นางก�ำนัล แต่ให้ด�ำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ และขอให้นาง
ไปเฝ้าและฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอีกเพื่อกลับมาแสดง
โปรดพวกตนต่อไป นางขุชชุตตราจึงได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงทุกวันแล้วจ�ำกลับมาแสดงโปรดสตรี ๕๐๐ นั้น เนื่องจากนาง
ได้บ�ำเพ็ญบารมีมาอย่างเต็มเปี่ยมแล้ว จึงสามารถทรงจ�ำธรรมเทศนา
ได้ไม่ผิดเพี้ยน นางขุชชุตตราได้เคยตั้งความปรารถนาและได้บ�ำเพ็ญ
บารมีเพื่อเป็นผู้เลิศทางแสดงธรรมมาเป็นเวลาหลายแสนกัปมาแล้ว
ดังนัน้ จึงเป็นผูม้ ปี ญ
ั ญามากสามารถทรงจ�ำพระไตรปิฎกได้ทงั้ ๓ ปิฎก
ภายหลังพระพุทธองค์ได้ทรงตั้งไว้ในฐานะเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในการ
เป็นพหูสูตที่สามารถแสดงธรรมกถา

65
พรหมวิหาร
ต่อมาสตรี ๕๐๐ น�ำโดยพระนางสามาวดีนั้นปรารถนาจะ
บูชาพระศาสดาพร้อมทั้งหมู่ภิกษุสงฆ์ ได้ขอร้องให้นางขุชชุตตราช่วย
ให้พวกตนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เนื่องจากสตรีในวังไม่ได้รับอนุญาต
ให้พบปะคนภายนอก นางขุชชุตตราจึงแนะน�ำให้สตรีเหล่านัน้ เจาะช่อง
ในก�ำแพงชั้นบนของพระต�ำหนักให้กว้างพอที่จะมองลอดออกไป
ภายนอกได้ แล้วให้น�ำดอกไม้และของหอมมายืนอยู่ตรงช่องนั้นเมื่อ
แลเห็นพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่พระสงฆ์สาวกเสด็จไปบิณฑบาตที่
บ้านเศรษฐีทั้งสามในกรุงโกสัมพี ก็ให้ถวายบังคมและบูชาด้วยดอกไม้
และของหอมเหล่านั้น สตรีเหล่านั้นจึงได้ปฏิบัติตาม และได้บูชา
พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกด้วยวิธีอย่างนี้
วันหนึ่ง พระนางมาคันทิยาบังเอิญทอดพระเนตรเห็นช่องใน
ก�ำแพงต�ำหนักของพระนางสามาวดี จึงตรัสถาม พระนางสามาวดี
และสตรีบริวารไม่ทรงทราบความผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ จึงตอบ
ว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี และช่องเหล่านี้
เจาะไว้เพื่อจะได้บูชาพระองค์ในขณะที่เสด็จผ่านไปบิณฑบาตที่บ้าน
เศรษฐี
เมื่อได้ทรงทราบดังนั้น พระนางมาคันทิยาทรงด�ำริว่า “บัดนี้
พระสมณโคดมมาพ�ำนักอยูใ่ นพระนครแห่งนี้ เราจักได้ทำ� สิง่ ทีพ่ งึ กระท�ำ
เพื่อแก้แค้น หญิงเหล่านี้เป็นผู้เคารพบูชาพระสมณโคดม เราพึง
66
พรหมวิหาร
กระท�ำสิ่งที่สมควรแก่หญิงเหล่านี้ด้วย” ครั้นแล้ว พระนางมาคันทิยา
จึงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอุเทนแล้วเพ็ดทูลว่า พระนางสามาวดีและ
สตรีบริวารมีจติ ฝักใฝ่บคุ คลภายนอก ไม่ชา้ ก็จะพยายามปลงพระชนม์
พระราชา แต่ท้าวเธอไม่ทรงเชื่อว่าสตรีเหล่านั้นจะกล้าท�ำสิ่งชั่วช้าได้
แม้พระนางมาคันทิยาจะได้กราบทูลถึงสามครั้ง
พระนางจึงทูลเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรที่ห้องของสตรี
เหล่านั้น เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นช่องที่ห้อง
ทั้งหลายจึงตรัสถาม และทรงทราบเรือ่ งจากสตรีเหล่านัน้ พระองค์ไม่
พิโรธ แต่รับสั่งให้ปิดช่องเหล่านั้น แล้วให้ช่างท�ำเป็นหน้าต่างข้างบน
ซึ่งดีกว่าช่องเล็กๆ ที่มีอยู่เดิม ท�ำให้พระนางสามาวดีและสตรีบริวาร
ยินดีมาก
ส่วนพระนางมาคันทิยา เมื่อไม่สามารถท�ำให้พระเจ้าอุเทน
ทรงกริ้วได้ จึงออกอุบายให้น�ำงูเห่าซึ่งได้หักเขี้ยวออกแล้วใส่ไว้ใน
รางพิณของพระเจ้าอุเทนแล้วเอาจุกท�ำด้วยดอกไม้อุดรูที่รางพิณไว้
ครั้นถึงวาระที่พระเจ้าอุเทนเสด็จไปประทับ ณ ต�ำหนักของพระนาง
สามาวดี พระนางมาคันทิยากราบทูลขอร้องไม่ให้เสด็จไปเนื่องจาก
พระนางทรงมีพระสุบนิ ไม่ดเี กรงจะเป็นลางร้าย พระเจ้าอุเทนไม่ทรงเชือ่
พระนางมาคันทิยาจึงขอตามเสด็จ โดยอ้างว่าเกรงพระองค์จะมีภัย

67
พรหมวิหาร
พระเจ้าอุเทนเสด็จถึงปราสาทของพระนางสามาวดี เสวย
พระกระยาหารอย่างประณีตที่พระนางสามาวดีและนางพระก�ำนัล
จัดถวายเสร็จแล้ว ทรงบรรทมบนพระแท่น วางพิณไว้เบื้องบน
พระเศียร ส่วนพระนางมาคันทิยาทรงด�ำเนินวนเวียนอยู่ในบริเวณ
นั้น เมื่อได้โอกาสก็ทรงเปิดจุกดอกไม้ออกจากรูพิณ งูนั้นอดอาหาร
มา ๒-๓ วันแล้วได้เลื้อยออกมา แผ่แม่เบี้ยขู่อยู่บนพระแท่นบรรทม
พระนางมาคันทิยาทรงแกล้งท�ำเป็นตกพระทัยร้องเสียงดัง
แล้วก็ทรงบริภาษพระราชาและพระนางสามาวดีพร้อมทั้งหญิงบริวาร
ว่า “พระราชาโง่เง่านีไ้ ม่มบี ญุ ไม่ทรงเชือ่ ฟังค�ำเรา แม้หญิงเหล่านีก้ ช็ วั่ ช้า
เลวทรามจริง พวกหล่อนไม่ได้อะไรจากพระเจ้าแผ่นดินหรือ วันนี้
หม่อมฉันเห็นสุบินร้าย ได้ทูลห้ามแล้วว่าไม่ควรเสด็จมาที่นี้ พระองค์
ก็ไม่ทรงฟังเสียงเลย”
พระราชาทอดพระเนตรเห็นงูนนั้ แล้วก็ทรงสะดุง้ กลัวต่อมรณ-
ภัย ทรงพิโรธมาก มีรบั สัง่ ให้สำ� เร็จโทษพระนางสามาวดีและสตรี ๕๐๐
ด้วยลูกศรอาบยาพิษ โดยให้น�ำสตรีทั้งหมดมายืนเรียงกัน ให้พระนาง
สามาวดีนั่งอยู่ข้างหน้า พระนางสามาวดีได้ประทานโอวาทแก่สตรี
บริวารว่า “สิง่ อืน่ ทีจ่ ะเป็นทีพ่ งึ่ ของพวกเราย่อมไม่มนี อกจากเมตตาจิต
เท่านัน้ พวกเธอจงแผ่เมตตาจิตไปยังพระราชา พระราชเทวีมาคันทิยา
และให้ตัวเองเสมอกัน อย่าได้โกรธใครเลย”
68
พรหมวิหาร
เมื่อให้โอวาทดังนี้แล้ว พระนางสามาวดีประทับยืนหน้าสตรี
ทั้งหมดแล้วแผ่เมตตาจิตออกไป พระเจ้าอุเทนทรงยกธนูขึ้นสายพาด
ลูกศรอาบยาพิษแล้วปล่อยพระแสงศรออกไป แต่ปรากฏว่าลูกศรนั้น
ไม่ตรงไปที่พระอุระของพระนางสามาวดี แต่แล่นกลับมาที่พระเจ้า
อุเทนราวกับจะพุ่งเสียบพระหฤทัย แต่เมื่อมาถึงก็หล่นลงตรงหน้า
ของพระองค์ เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้ พระเจ้าอุเทนทรงส�ำนึกผิดทันที
ด�ำริว่า “ลูกศรที่เรายิงออกไปนี้ ย่อมเจาะทะลุหินได้ แต่ครั้งนี้กลับหัน
คืนมาหาเราเหมือนจะพุ่งมาเสียบอุระเรา แม้ลูกศรที่ไม่มีชีวิตนี้ ยัง
รู้จักคุณอันประเสริฐของพระนางสามาวดี แต่มนุษย์เช่นเรากลับไม่รู้
คุณของนาง” ทรงโยนธนูทิ้ง แล้วประคองอัญชลีประทับนั่งคุกเข่าต่อ
หน้าพระนางสามาวดีแล้วทรงอ้อนวอนให้พระนางยกโทษให้ ด้วย
คาถาดังต่อไปนี้
“พี่ฟั่นเฟือนเลือนหลง ทิศทั้งปวงย่อมมืดมนแก่พี่ สามาวดี
เอ๋ย เธอจงช่วยพี่ไว้ และเธอจงเป็นที่พึ่งของพี่”๖๒
พระนางสามาวดีทูลตอบด้วยคาถาว่า “พระองค์อย่าทรงถึง
หม่อมฉันเป็นที่พึ่งเลย หม่อมฉันถึงผู้ใดว่าเป็นที่พึ่ง ข้าแต่มหาราช
ผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั่นเป็นผู้เยี่ยมยอด ขอพระองค์ทรง
ถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งด้วย ทรงเป็นที่พึ่งของหม่อมฉัน
ด้วย”๖๓
69
พรหมวิหาร
เมื่อได้สดับค�ำของพระนางสามาวดี พระเจ้าอุเทนตรัสว่า
“แม่สามาวดี พี่ขอนับถือเธอด้วย ขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วย และขอ
ให้พรแก่เธอไม่ว่าเธอจะปรารถนาสิ่งใด” หลังจากนั้นพระเจ้าอุเทน
เสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง กราบทูล
อาราธนาพระพุทธองค์และพระสาวกให้เสด็จยังพระราชวังแล้ว ได้
ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์อันมีพระพุทธองค์เป็นประมุขตลอดเจ็ดวัน
ครั้นแล้วตรัสถามพระนางสามาวดีถึงพรที่พระนางปรารถนา
พระนางสามาวดีกราบทูลขอให้ได้ถวายบิณฑบาตแด่สมเด็จ
พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ องค์ เป็นประจ�ำทุกวัน พระเจ้า
อุเทนจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธ-
องค์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ ให้เสด็จมารับบิณฑบาต ณ พระราชวังเป็น
ประจ�ำ
พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาโปรดให้พระอานนท์ไปบิณฑ-
บาตที่พระราชวังเป็นประจ�ำ นับแต่นั้นมา พระนางสามาวดีและสตรี
บริวาร ๕๐๐ ก็ได้ถวายภัตตาหารแด่พระเถระกับทั้งภิกษุบริวาร และ
สดับพระธรรมเทศนาเป็นประจ�ำ

70
พรหมวิหาร
การที่ลูกธนูแล่นกลับหลังโดยไม่กระท�ำอันตรายต่อพระนาง
สามาวดีและสตรีบริวารนั้น เป็นเพราะการเจริญเมตตาภาวนา ซึ่ง
เป็นอานิสงส์ข้อที่เจ็ด คือ ไม่เป็นอันตรายจากไฟ ยาพิษ และศัสตรา
อาวุธ ดังนั้นเมื่อประสบภัยอันตรายหรือเผชิญเหตุการณ์คับขัน จึง
ควรแผ่เมตตาด้วยสมาธิที่แน่วแน่ การแผ่เมตตานี้จะท�ำให้แคล้วคลาด
จากภยันตรายต่างๆ ได้ และถึงแม้จะไม่สามารถจะรอดพ้นจากภัย
อันตรายได้ ก็ยังเป็นการท�ำจิตให้เป็นกุศล การแผ่เมตตาจึงมีแต่ท�ำให้
เกิดประโยชน์

71
พรหมวิหาร
เรื่องของสีหพาหุ
ในประเทศลังกามีต�ำนานเรื่องสีหพาหุ๖๔ บุตรของเจ้าหญิง
องค์หนึ่งกับพญาราชสีห์ เมื่อสีหพาหุเจริญวัยเป็นหนุ่มอายุ ๑๖ ปี
เกิดความสงสัยเรือ่ งทีม่ ารดากับบิดามีเผ่าพันธุต์ า่ งกัน จึงได้ถามมารดา
ซึ่งได้เล่าว่า “แม่เป็นราชธิดาของกษัตริย์เมืองวังคะ วันหนึ่งเดินทาง
ไปแคว้นมคธ ระหว่างทางได้เจอพญาราชสีห์ คนอื่นๆ พากันวิ่งหนีไป
เพราะตกใจกลัว เหลือแต่แม่ยนื อยู่ เพราะก้าวขาไม่ออก เคยมี
โหรหลวงท�ำนายไว้วา่ แม่จะมีคเู่ ป็นราชสีห์ ค�ำท�ำนายนีก้ ลายเป็นความ
จริงอย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่แม่ยืนตะลึงอยู่นั้นพญาราชสีห์ได้เอา
แม่ขึ้นหลังพามาที่ถ�้ำ”
สีหพาหุถามต่อไปว่า “ท�ำไมแม่จึงยังอยู่ในถ�้ำ ไม่หนีกลับ
ออกไปอยู่พระราชวังเล่า” เจ้าหญิงตอบว่าเหตุเพราะมีหินก้อนใหญ่
ปิดปากถ�้ำ
สีหพาหุจึงเลื่อนหินนั้นออกแล้วแบกมารดาและน้องสาวขึ้น
บนบ่าหนีไปจากถ�้ำ
ฝ่ายพญาราชสีห์เมื่อกลับมาถึงถ�้ำไม่พบภรรยาและลูกทั้งสอง
เกิดความเสียใจและโกรธมากจึงออกติดตามไป เมื่อมาถึงหมู่บ้านก็
อาละวาดท�ำร้ายผูค้ น ชาวบ้านได้นำ� ความไปร้องทุกข์ตอ่ กษัตริยผ์ คู้ รอง

72
พรหมวิหาร
แคว้นวังคะ พระองค์จึงโปรดให้ป่าวประกาศหาผู้สามารถปราบพญา-
ราชสีห์โดยตั้งรางวัล ๓,๐๐๐ กหาปณะ สีหพาหุต้องการรับอาสา
แต่มารดาได้หา้ มไว้ถงึ สองครัง้ ไม่ให้สหี พาหุทำ� ร้ายบิดาตนเอง สีหพาหุ
จึงได้แอบไปเฝ้าพระราชาโดยไม่ให้มารดารู้ พระราชาทรงให้สัญญา
ว่าจะยกราชสมบัติให้สีหพาหุถ้าเขาสามารถปราบพญาราชสีห์ได้
สีหพาหุออกสะกดรอยตามไปจนพบพญาราชสีห์ พญาราชสีห์นั้นเมื่อ
เห็นบุตรชายก็วิ่งเข้ามาหาด้วยความดีใจ จึงถูกสีหพาหุยิงด้วยธนูที่
กลางแสกหน้าถึงสามครั้ง แต่เมตตาจิตที่แผ่ไปด้วยความรักในตัวบุตร
ได้คุ้มครองพญาราชสีห์ไว้ ท�ำให้ลูกศรที่ยิงมานั้นแล่นกลับไปตกที่เท้า
ของสีหพาหุ แต่เมื่อสีหพาหุยิงธนูไปครั้งที่สี่ พญาราชสีห์เกิดบันดาล
โทสะขึ้นมา เมตตาจิตหายไป ลูกศรจึงเสียบทะลุร่างตายคาที่
จากเรื่องเล่านี้แสดงได้ว่า เหตุที่ลูกศรไม่ท�ำอันตรายแก่พญา-
ราชสีห์ เพราะความรักของบิดาที่มีต่อบุตรได้คุ้มครองพญาราชสีห์ไว้
เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่กว่าความเมตตาทั่วไป

73
พรหมวิหาร
เรื่องของสุวรรณสาม
ในอานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาภาวนาข้อที่กล่าวว่า ผู้ที่
เจริญเมตตาภาวนาย่อมแคล้วคลาดจากภัยอันตรายที่เกิดจากไฟและ
ยาพิษเป็นต้นนั้น มีค�ำถามที่อธิบายไว้ในมิลินทปัญหา๖๕ เกี่ยวกับ
สุวรรณสามชาดก แม้สุวรรณสามจะเป็นผู้เจริญเมตตาอยู่เป็นนิจ ก็
ยังสลบไปเมื่อถูกพระเจ้ากปิลยักษ์ซึ่งก�ำลังล่าสัตว์ยิงด้วยลูกธนูอาบ
ยาพิษ ถ้าผูเ้ จริญเมตตาอยูเ่ ป็นอาจิณย่อมไม่เป็นอันตรายจากศัสตรา
นั้นเป็นความจริงแล้วไซร้ สุวรรณสามก็ไม่ควรได้รับอันตราย ในทาง
ตรงข้าม ถ้าสุวรรณสามได้รับอันตรายจากลูกธนูอาบยาพิษจริง ค�ำที่
กล่าวว่าสุวรรณสามเป็นผูเ้ จริญเมตตาอยูเ่ ป็นอาจิณก็ผดิ เพราะค�ำกล่าว
ทั้งสองนั้นขัดแย้งกัน พระเจ้ามิลินท์จึงทรงขอให้พระนาคเสนเถระ
ชี้แจงในเรื่องนี้ให้กระจ่าง
พระนาคเสนเถระจึงถวายวิสัชนาว่า
“มหาบพิตร เป็นความจริงว่า บุคคลที่บ�ำเพ็ญเมตตาภาวนา
ย่อมไม่เป็นอันตรายโดยเนือ่ งจากศาสตรา และก็เป็นความจริงอีกเหมือน
กันว่า สุวรรณสามถูกยิงด้วยลูกธนู แม้ว่าข้อความทั้งสองนั้นถูกต้อง
แต่ก็ไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะอานิสงส์ของการเจริญเมตตาที่ท�ำให้
ไม่เป็นอันตรายจากอาวุธนั้น ไม่ได้เป็นคุณสมบัติประจ�ำบุคคล แต่

74
พรหมวิหาร
เกิดขึ้นโดยเป็นผลของการเจริญเมตตาภาวนา แม้ตามเรื่องจะกล่าว
ว่าสุวรรณสามถูกยิงในระหว่างเจริญเมตตาอยู่ แต่ก็เป็นขณะที่เขา
ก�ำลังยกหม้อน�้ำขึ้น และในช่วงสั้นๆ นั้น อาจเป็นช่วงที่การเจริญ
เมตตาขาดตอนไปชั่วขณะซึ่งเป็นเหตุให้สุวรรณสามถูกลูกธนูยิงเข้า
ได้”
เรื่ อ งนี้ เช่นเดียวกับเสื้อเกราะโลหะโบราณที่ทหารสวมใน
ขณะสู้รบ เสื้อเกราะจะป้องกันลูกธนูหรือหอกดาบ สิ่งที่ป้องกันอาวุธ
มีคมทั้งหลายไม่ให้ทะลุผ่านเข้าถึงร่างกายได้คือเสื้อเกราะ ไม่ใช่เป็น
เพราะคุณสมบัติพิเศษของทหารผู้สวม ถ้าไม่สวมเสื้อเกราะเขาก็อาจ
จะได้รับอันตรายจากอาวุธเหล่านั้น ในท�ำนองเดียวกัน การเจริญ
เมตตาเป็นสิ่งป้องกันภัยอันตรายจากอาวุธ ไม่ใช่คุณสมบัติภายในตัว
บุคคล ดังนั้น ขณะที่การเจริญเมตตาเว้นช่วง สุวรรณสามจึงถูกลูกศร
เสียบเอาได้
ตัวอย่างที่สอง ได้แก่คนที่อยู่บนตึกแข็งแรงแน่นหนา ย่อม
ไม่เปียกฝน ไม่ใช่เพราะคุณสมบัติพิเศษของบุคคลนั้น แต่เป็นเพราะ
คุณลักษณะของตึกทีป่ อ้ งกันน�ำ้ ฝน ถ้าไม่มที หี่ ลบฝนหรืออยูน่ อกอาคาร
เขาย่อมจะเปียกฝน เช่นเดียวกัน ช่วงใดที่บุคคลว่างเว้นจากการเจริญ
เมตตา อาวุธก็จะสามารถท�ำอันตรายเขาได้ เหมือนคนที่ออกไปนอก
หลังคาในเวลาฝนตกย่อมจะต้องเปียกฝนเช่นกัน ข้อส�ำคัญคือถ้า
75
พรหมวิหาร
ต้องการจะปกป้องตนจากภัยอันตรายใดๆ จงเจริญเมตตาให้ต่อเนื่อง
อยู่ตลอดเวลา
๘. ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ (จิตตั้งมั่นได้เร็ว) คือ การแผ่ความ
ปรารถนาดีแก่ผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมและง่ายต่อการปฏิบัติ จึง
ควรเจริญเมตตาภาวนาเพราะจะท�ำให้จิตสงบได้เร็ว
๙. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ (สีหน้าสดใส) คือ การแผ่เมตตา
ท�ำให้ผิวหน้าผ่องใส ดังนั้น จึงควรเจริญเมตตาในทุกโอกาสที่จะท�ำได้
เพราะท�ำได้ง่าย
๑๐. อสมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ (ไม่หลงลืมสติตาย) หมายความ
ว่า เวลาตายจะไม่หลงหรือตกใจกลัว อานิสงส์นี้ส�ำคัญมาก เพราะ
บุคคลที่ใกล้จะตายมักจะไม่สามารถท�ำใจให้สงบหรือควบคุมสติได้
อาจมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง หรืออ่อนก�ำลัง จึงตายไปด้วยจิตที่
ประกอบด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะที่ท�ำให้คิดฟุ้งซ่านในสิ่งผิด เมื่อ
ตายลงในขณะที่จิตสับสนด้วยความยึดมั่นผูกพันต่างๆ ก็จะไปบังเกิด
ในอบายภูมิ ๔ แต่หากเวลาใกล้ตายนั้น จิตรับเอาอารมณ์ที่เกี่ยวกับ
บุญกุศลที่ได้ท�ำไว้ด้วยความคุ้นเคยในเมตตา เขาก็จะตายไปอย่างมี
ความสุข และคาดหวังได้ว่าจะไปบังเกิดในสุคติภูมิ

76
พรหมวิหาร
๑๑. อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ (เมื่อยังไม่
แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก) คือ ถ้าผู้นั้น
ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกด้วยอ�ำนาจของ
เมตตาฌาน กล่าวคือ แม้คนทัว่ ไปจะยังไม่บรรลุมรรคผล ก็อาจไปเกิด
เป็นพรหมได้ถ้าเจริญเมตตาจนได้ฌาน เช่นเดียวกับพระโสดาบันและ
พระสกทาคามีทไี่ ด้ฌาน ส�ำหรับพระอนาคามีจะไปอุบตั ใิ นสุทธาวาสภูมิ
ถ้าได้ปัญจมฌานและมีอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่กล้า แต่ในกรณี
ที่ปุถุชนไม่ได้บรรลุฌาน หรือบรรลุเพียงขั้นอุปจารสมาธิ ก็จะได้ไป
บังเกิดในมนุษย์โลกหรือเทวโลกซึ่งจัดว่าเป็นสุคติ ธนัญชานิพราหมณ์
ทีไ่ ด้กล่าวถึงในตอนต้นนัน้ เป็นตัวอย่างของผูท้ ไี่ ด้ไปบังเกิดในพรหมโลก
ด้วยการเจริญเมตตาฌานภายในเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนที่เขาจะสิ้นชีพ
จึงควรจ�ำไว้เป็นตัวอย่างที่ดี

77
พรหมวิหาร
วิธีเจริญเมตตาควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา
เมื่อเจริญเมตตาภาวนาจนบรรลุฌานแล้ว ก็สามารถใช้ฌาน
เป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุญาณขั้นต่างๆ โดย
ล�ำดับ แม้จะยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผล ก็อาจบรรลุอนาคามิมรรค
อนาคามิผล เป็นพระอนาคามีบุคคลได้ การเจริญวิปัสสนากระท�ำได้
โดยการเข้าเมตตาฌานก่อน เมื่อออกจากเมตตาฌานแล้ว ให้เจริญ
วิปัสสนาพิจารณาองค์ฌาน การเข้าฌานสลับไปกับการพิจารณาองค์
ฌานนี้ เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เรียกว่า ยุค-
นัทธนัย หมายถึง การเจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา๖๖ วิธีนี้ไม่ต่าง
กับวิธีปฏิบัติของผู้เจริญวิปัสสนาโดยก�ำหนดรู้การเห็น การได้ยิน การ
ถูกต้องสัมผัส หรือการคิดนึก ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะ ผู้เข้า
เมตตาฌาน เมื่อออกจากฌานแล้วจะต้องก�ำหนดรู้ฌานจิตที่เพิ่งดับไป
เช่นกัน ที่ต่างกันก็มีเพียงผู้ที่ได้ฌานจะก�ำหนดรู้ฌานจิต ส่วนผู้ที่ไม่ได้
ฌานก็ก�ำหนดรู้จิตที่รับรู้สภาวะเห็น ได้ยิน เป็นต้น
78
พรหมวิหาร
ผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้ฌาน พึงเจริญยุคนัทธวิปัสสนาด้วยการแผ่
เมตตาโดยบริกรรมว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” สลับกับการ
ใช้สติพิจารณาจิตที่ประกอบด้วยเมตตา วิธีนี้เป็นการเจริญสมถะและ
วิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้จะพบว่า ทุกครั้งที่
ภาวนาว่า “จงเป็นสุขเถิด” อย่างมีสติ จิตที่รับรู้ และจิตที่ประสงค์
จะภาวนา ตลอดจนอิริยาบถของร่างกายเรา และเสียงที่เปล่งออกมา
จะดับไปทันที นี้คือการบรรลุวิปัสสนาปัญญาที่รู้เห็นอนิจจลักษณะ
ได้อย่างแท้จริง ตามทีค่ มั ภีรอ์ รรถกถากล่าวว่า อนิจจฺ ํ ขยฏฺเน (ชือ่ ว่า
ไม่เที่ยง โดยความหมายว่า สิ้นไป)๖๗ หมายถึง การดับหรือสิ้นไปใน
แต่ละขณะ ซึ่งแสดงให้เห็นความไม่เที่ยง

79
พรหมวิหาร
โสปานมาล’มมลํ ติทสาลยสฺส
สํสารสาครสมุตฺตรณาย เสตุํ
สพฺพาคติภยวิวชฺชิตเขมมคฺคํ
ธมฺมํ นมสฺสถ สทา มุนินา ปณีตํ.
เชิญท่านทั้งหลายนมัสการพระธรรมอันพระมุนีตรัสสอน
เป็นขั้นบันไดอันหมดจดแห่งสวรรค์ ประดุจสะพานข้ามมหาสมุทร
คือสงสาร และเป็นทางเกษมปลอดจากทุคคติภัยทั้งมวลทุกเมื่อ

เทยฺยํ ตทปฺป’มปิ ยตฺถ ปสนฺนจิตฺตา


ทตฺวา นรา ผล’มุลารตรํ ลภนฺเต
ตํ สพฺพทา ทสพเลนปิ สุปฺปสตฺถํ
สงฺฆํ นมสฺสถ สทามิตปุญฺเขตฺตํ.
เชิญท่านทัง้ หลายนมัสการพระสงฆ์ ผูเ้ ป็นนาบุญหาประมาณ
มิได้ ซึ่งแม้พระทศพลก็ทรงสรรเสริญเป็นนิตย์ ที่มหาชนมีใจ
เลื่ อ มใสแล้ ว ถวายไทยธรรมแม้ เ ล็ ก น้ อ ยแล้ ว ได้ รั บ ผลบุ ญ อั น
โอฬาร

80
พรหมวิหาร
บทที่ ๒
นอกจากท่านั่งขัดสมาธิ ๓ แบบ
ที่กล่าวไปแล้ว
ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับท่านั่งที่สบายตามที่พระพุทธองค์
ตรัสไว้ ดังต่อไปนี้

81
พรหมวิหาร
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺา-
คารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ
อุปฏฺเปตฺวา.๖๘
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ด�ำรงสติไว้เฉพาะหน้า”
ข้อความนีแ้ สดงว่าพระพุทธองค์ทรงประสงค์ให้ปฏิบตั กิ รรมฐาน
อยู่ในป่าเป็นส�ำคัญ หากไม่สามารถไปสู่ป่า ก็ให้นั่งที่โคนไม้ที่สงบเงียบ
หากท�ำไม่ได้ก็ให้ไปที่วัด บ้านหรืออาคารที่มีความสงบสงัด หากมี
ผูอ้ นื่ ปฏิบตั ธิ รรมอยูใ่ นบริเวณเดียวกัน ก็ควรเป็นบุคคลเพศเดียวกัน แต่
สถานทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ควรเป็นทีส่ งบเงียบไม่มบี คุ คลอืน่ อยูใ่ นทีน่ นั้
ค�ำว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา (นั่งคู้บัลลังก์) หมายถึง นั่งขัดสมาธิ
เรื่องนี้อธิบายไว้แล้วอย่างละเอียด ค�ำว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย (ตั้งกาย
ตรง) หมายถึง ขณะที่นั่ง ร่างกายส่วนเหนือเอวขึ้นมาจะต้องตั้งตรง
เพื่อให้มีวิริยะในขณะนั่งเมื่อหลังตั้งตรงแล้ว ต่อไปต้องน้อมใจไปที่
อารมณ์กรรมฐานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ปล่อยความคิดล่องลอยไป
หาอารมณ์อื่นตามค�ำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา (ด�ำรงสติไว้เฉพาะ
หน้า) คือ ในการเจริญเมตตาภาวนา จิตต้องน้อมไปสู่บุคคลที่ประสงค์
จะแผ่เมตตาไปถึง ดังนั้น สิ่งส�ำคัญที่ควรรู้และเข้าใจตั้งแต่ต้นก็คือ
ใครบ้างที่สมควรและไม่ควรแผ่เมตตาให้ในเบื้องแรกของการปฏิบัติ
82
พรหมวิหาร
บุคคลที่ไม่ควรแผ่เมตตาให้ในเบื้องแรก
ของการปฏิบัติ
ในเบื้องแรกของการปฏิบัติ ไม่ควรแผ่เมตตาให้บุคคลต่อไปนี้
คือ
๑. บุคคลที่ไม่เป็นมิตร หรือผู้ที่เกลียดชัง (อปฺปิย)
๒. บุคคลที่ใกล้ชิดและเป็นที่รักมาก (อติปฺปิย)
๓. บุคคลที่เป็นกลางไม่เป็นที่รักหรือที่ชัง (มชฺฌตฺต)
๔. บุคคลที่เป็นศัตรู (เวรี)
เหตุผลคือเป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก เนื่องจากการแผ่เมตตาให้ศัตรู
หรือบุคคลที่เกลียดชังเป็นการฝืนความรู้สึก ส่วนการแผ่เมตตาให้คน
ที่รักผูกพันมากและคนใกล้ชิด เช่น บุตร ธิดา หรือญาติพี่น้องนั้น
ยาก เพราะหากบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่เกิดความทุกข์หรือป่วยไข้ขึ้นมา
ก็จะมักไม่สบายใจ ส�ำหรับการจะแผ่ความปรารถนาดีให้คนที่ไม่รู้จัก
หรือเป็นกลางในแบบเดียวกับให้คนทีร่ กั นัน้ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนผู้
เป็นศัตรูยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะทันทีที่นึกถึง ก็จะจ�ำได้ว่าผู้นั้นได้เคย
ท�ำผิดต่อเราไว้อย่างไร๖๙

83
พรหมวิหาร
บุคคลที่ไม่พึงแผ่เมตตาให้
บุคคลที่เราไม่พึงแผ่เมตตาให้ในทุกเวลา คือ
๑. คนเพศตรงกันข้าม
๒. คนที่ตายแล้ว
ในขณะที่แผ่เมตตาให้คนเพศตรงกันข้ามนั้น อาจเกิดราคะ
ขึ้นได้๗๐ ดังมีตัวอย่างในอดีตว่า บุตรของอ�ำมาตย์ผู้หนึ่งได้ถามพระ
มหาเถระผู้เป็นอาจารย์ว่า “ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมควรแผ่เมตตา
ไปในบุคคลใด” พระมหาเถระตอบสั้นๆ ว่า “ควรแผ่เมตตาไปใน
บุคคลผู้เป็นที่รักจึงจะดี” บุตรอ�ำมาตย์ก็ได้กระท�ำตามค�ำแนะน�ำของ
อาจารย์ โดยสมาทานศีล ๘ แล้วเข้าไปนัง่ บนอาสนะในห้องกรรมฐาน
แล้วปิดประตู หลังจากนั้นได้แผ่เมตตาให้ภรรยาซึ่งเป็นที่รักของตน
ด้วยจิตที่แน่วแน่ ในขณะที่แผ่เมตตาอย่างจดจ่อนั้น ราคะก็บังเกิดขึ้น
ในจิตอย่างรุนแรง ท�ำให้ต้องลุกขึ้นจากที่นั่งเพื่อจะไปหาภรรยา โดย
ลืมไปว่าประตูหอ้ งปิดอยูจ่ งึ เดินชนบานประตู ก็ยงิ่ เกิดความพลุง่ พล่าน
เดือดดาลและทุบถีบผนังห้องอยู่ทั้งคืน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๗๑ ใช้
ค�ำว่า ท�ำการต่อสู้อยู่กับผนังห้องตลอดคืน (สพฺพรตฺตึ ภิตฺติยุทฺธ-
มกาสิ) และได้กล่าวว่า ราคะเกิดขึน้ โดยแฝงมากับความเมตตา เพราะ
ความผูกพันที่เกิดจากราคะนั้นมีพลังมาก จึงไม่ควรแผ่เมตตาไปใน
บุคคลเพศตรงกันข้าม อย่างไรก็ตาม การแผ่เมตตาเพียง ๕ ถึง ๑๐
84
พรหมวิหาร
ครั้ง เพื่อเป็นการเจริญกุศลและเพิ่มพูนบารมีนั้นอาจกระท�ำได้โดยไม่
มีผลเสีย
ส่วนการห้ามแผ่เมตตาให้คนที่ตายแล้วนั้น เพราะไม่ท�ำให้
เกิดอัปปนาฌานสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่แน่วแน่ หรือแม้แต่อุปจาร-
สมาธิซึ่งเป็นสมาธิที่อ่อนกว่าอัปปนาฌานก็เกิดไม่ได้๗๒ ในอดีตกาล
ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้เจริญเมตตาฌานไปให้อาจารย์ของตน แต่กลับ
ไม่สามารถบรรลุฌานสมาธิซึ่งเคยบรรลุมาแล้ว เมื่อสอบถามเหตุผล
จึงทราบว่า อาจารย์ท่านนั้นได้มรณภาพไปแล้ว หลังจากนั้นจึงได้
เจริญเมตตาฌานไปยังบุคคลอื่น ก็สามารถบรรลุเมตตาฌานได้ ด้วย
เหตุนี้ จึงไม่แนะน�ำให้เจริญเมตตาฌานไปยังบุคคลที่ตายแล้ว

85
พรหมวิหาร
บุคคลที่ควรแผ่เมตตาให้เป็นอันดับแรก
ในล�ำดับแรก ควรแผ่เมตตาด้วยค�ำภาวนาว่า “ขอข้าพเจ้าจง
มีความสุข ขอข้าพเจ้าจงปราศจากทุกข์” หรือ “ขอข้าพเจ้าอย่ามี
เวรกับใคร อย่าได้เบียดเบียนใคร อย่ามีความทุกข์ และรักษาตนอยู่
เป็นสุขเถิด” ในการแผ่เมตตาให้ตนเองมีความสุขกายสุขใจนั้น ไม่ใช่
จุดประสงค์เพื่อเป็นการบ�ำเพ็ญบารมี หรือเป็นการอบรมสมาธิ แต่มี
เพือ่ แสดงว่า สัตว์โลกทัง้ หลายล้วนปรารถนจะมีชวี ติ ทีเ่ ป็นสุข ปราศจาก
ความทุกข์เหมือนกันทุกคน นีค้ อื เหตุผลทีค่ มั ภีรว์ สิ ทุ ธิมรรคสอนให้แผ่
เมตตาให้ตนเองเป็นอันดับแรก ดังทีพ่ ระผูม้ พี ระภาคได้ตรัสไว้ในคาถา
นีว้ า่
“บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ ก็ไม่พบใครซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่า
ตนในที่ไหนๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นก็รักตนมากเช่นนั้นเหมือน
กัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น”๗๓
หลังจากได้แผ่เมตตาให้ตนเองด้วยค�ำภาวนาตามตัวอย่าง
ข้างต้นแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงแผ่เมตตาให้แก่ครูหรืออาจารย์ที่สมควรจะได้
รับความเคารพรัก หรือให้แก่คุณปู่ คุณตา คุณพ่อ หรือคุณลุง เป็นต้น
หรือในกรณีผู้ปฏิบัติที่เป็นหญิง ควรแผ่เมตตาให้แก่คุณย่า คุณยาย
คุณแม่ หรือคุณป้า คุณน้า เป็นต้น ด้วยค�ำภาวนาว่า “ขอท่านอาจารย์
จงเป็นสุขๆ เถิด จงอย่ามีความทุกข์เลย” หรือ “ขอคุณปู่ คุณพ่อ
86
พรหมวิหาร
และคุณลุงจงเป็นสุขๆ เถิด” หรือในกรณีของผู้ปฏิบัติหญิง ก็ภาวนา
ว่า “ขอคุณยาย คุณแม่ และคุณป้าจงเป็นสุขๆ เถิด จงอย่ามีความ
ทุกข์เลย” วิธีนี้จะท�ำให้สามารถแผ่เมตตาได้ ๑ ครั้งในทุก ๓ วินาที
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติยังอาจแผ่เมตตาให้บุคคลอื่นที่เหมาะสมจะได้รับ
ความเคารพรักก็ได้
ในการแผ่เมตตานั้น ผู้ปฏิบัติพึงน้อมใจส่งความปรารถนาดี
ไปยังบุคคล แล้วภาวนาว่า “ขอท่านจงมีความสุข” ร้อยครั้ง พันครั้ง
หมื่นครั้ง ติดต่อกัน ถ้าประสงค์จะบรรลุฌานสมาธิ ควรแผ่เมตตา
เช่นนี้ตลอดทั้งวันคืนโดยไม่หยุด ยกเว้นเวลานอนหลับหรือพักผ่อน
ชัว่ ขณะเท่านัน้ ในขณะแผ่เมตตานัน้ อาจมีความคิดทีเ่ ป็นอกุศลแทรก
เข้ามาในจิต เรียกว่า นิวรณ์ แต่ทันทีที่ผู้ปฏิบัติมีสติก�ำหนดรู้ ความคิด
นั้นก็จะหายไปเอง หลังจากนั้น ให้แผ่เมตตาอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป
เมื่อสมาธิมีก�ำลังมากขึ้น ความคิดฟุ้งซ่านก็จะลดน้อยลงตามล�ำดับ
ถ้าสมาธิแก่กล้าเต็มที่ จิตใจจะไม่ซัดส่ายไปในที่ต่างๆ แต่จะแน่วแน่
อยูก่ บั บุคคลทีก่ ำ� ลังแผ่เมตตาให้นนั้ นีเ้ ป็นการบรรลุอปุ จารสมาธิ เพราะ
นิวรณ์ถูกขจัดไปแล้ว

87
พรหมวิหาร
การบรรลุฌาน
เมือ่ อุปจารสมาธิมกี ำ� ลังกล้าแข็งขึน้ จิตจะแนบอยูก่ บั ผูท้ เี่ รา
ก�ำลังแผ่เมตตาให้ คล้ายกับลอยไปตามกระแสความรูส้ กึ ในขณะทีฝ่ นั ไป
อย่างไรก็ตาม ในครั้งแรกจิตอาจแนบอยู่กับความรู้สึกนี้เพียงชั่วขณะ
เท่านั้น แต่หลังจากฝึกสติด้วยการเจริญเมตตาอย่างต่อเนื่อง จิตก็จะ
จับอยู่กับอารมณ์กรรมฐานได้นานขึ้น เป็นหนึ่งนาที หรือนานกว่านั้น
บางครั้งอาจนานถึงหนึ่งชั่วโมงก็มี
เมือ่ จิตตัง้ มัน่ เป็นสมาธิในเมตตาภาวนาแล้ว แม้วา่ จะมีอารมณ์
ภายนอกมารบกวน ก็จะไม่ซัดส่ายไปหาอารมณ์เหล่านั้น แต่จะแนบ
อยู่กับบุคคลที่ก�ำลังแผ่เมตตาให้อยู่นั้นอย่างแน่วแน่ มีความปรารถนา
ให้ผู้นั้นมีความสุข ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกถึงความแช่มชื่นใจหรือปีติได้อย่าง
ชัดเจน วิตกและวิจารที่มีก�ำลังจะเกิดขึ้นพิจารณาสภาวะของจิตที่น้อม
ไปยังบุคคลทีก่ ำ� ลังแผ่เมตตาให้นนั้ ร่างกายจะรูส้ กึ เบาสบาย จิตทีต่ งั้ มัน่
จะสงบไม่ซัดส่าย เป็นความตั้งมั่นของจิตหรือเอกัคคตา ที่ประกอบ
ด้วย วิตก วิจาร ปีติ และสุข เป็นองค์ฌาน ๕ ของปฐมฌานนั่นเอง
เมื่อผู้ปฏิบัติส�ำเร็จถึงขั้นนี้ ก็เรียกได้ว่าบรรลุปฐมฌานแล้ว จึงเป็น
เหตุผลที่คัมภีร์วิสุทธิมรรค๗๔ กล่าวว่า เอวรูเป จ ปุคฺคเล อปฺปนา
สมฺปชฺชติ (อัปปนาสมาธิย่อมส�ำเร็จในบุคคลเช่นนั้นได้)

88
พรหมวิหาร
ปฐมฌานจะมีวิตก (การตรึกอารมณ์) และวิจาร (การตรอง
อารมณ์) ที่ยังไม่เข้มแข็งและคล่องแคล่วเท่าที่ควร ดังนั้น ในขณะที่
เข้าปฐมฌานอยู่นั้น หากมีเสียงมากระทบโสตประสาท จิตก็จะออก
จากฌานแล้วรับรู้เสียงนั้น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงจ�ำต้องเจริญเมตตาโดย
มุ่งไปที่ความรู้สึกปรารถนาดีที่ก�ำลังแผ่ไปเพื่อให้ฌานจิตมีความสงบ
ยิ่งขึ้น ด้วยการละวิตกและวิจาร เมื่อสมาธิพัฒนาจนมีก�ำลังมากขึ้น
ก็จะเกิดปีติ (ความอิ่มเอิบใจ) และความสงบใจที่ประณีตมากยิ่งขึ้น
จิตจะน้อมไปในอารมณ์กรรมฐานโดยไม่ใส่ใจอารมณ์ภายนอก ขั้นนี้
คือการบรรลุทุติยฌาน อันเป็นฌานขั้นที่ ๒ ในขณะนั้นจิตจะมีความ
อิ่มเอิบใจอย่างยิ่งยวด ต่อมาเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นว่า ปีตินี้ยัง
หยาบอยู่ ไม่น่าปรารถนา ก็จะเจริญเมตตาต่อไปอีก เมื่อสมาธิพัฒนา
จนมีก�ำลังแก่กล้าขึ้นอีก จิตจะประกอบด้วยความสุขและความสงบที่
ปราศจากปีติ จึงเป็นการบรรลุตติยฌาน อันเป็นฌานขั้นที่ ๓ และ
เป็นฌานสูงสุดที่จะบรรลุได้ด้วยการเจริญเมตตาฌาน
ในขณะก่อนหรือหลังการบรรลุฌาน ผู้ปฏิบัติอาจมีความ
ประสงค์ จะแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมกันหมด
ก็อาจจะแผ่เมตตาให้คนที่รักด้วยประโยคว่า “ขอบุคคลชื่อนี้จงเป็น
สุขเถิด” แต่การแผ่เมตตาถึงคนที่รักนั้น ควรท�ำหลังจากบรรลุฌาน
ดีกว่าก่อนบรรลุฌาน เพราะเมตตาที่บริสุทธิ์จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า

89
พรหมวิหาร
จากนั้นจึงเริ่มแผ่เมตตาถึงคนที่เป็นกลางๆ เมื่อบรรลุเมตตาฌานได้
แล้ว ต่อไปจึงแผ่เมตตาถึงคนที่เป็นศัตรูกัน (ถ้ามี) การแผ่เมตตาถึง
ผู้รับที่ต่างกันไปตามล�ำดับนั้น ผู้ปฏิบัติพึงพัฒนาจิตให้อ่อนโยนและ
นุ่มนวลเสมอกันตามค�ำแนะน�ำที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ในการท�ำจิตให้อ่อนโยนและนุ่มนวลนั้น หมายถึงการบรรลุ
อุปจารสมาธิเป็นอย่างน้อย วิธีที่ดีที่สุดคือผู้ปฏิบัติควรบรรลุฌานก่อน
แล้วจึงค่อยแผ่เมตตาไปสู่คนจ�ำพวกอื่น และการกล่าวว่า ควรแผ่
เมตตาถึงคนที่เป็นศัตรูนั้น หมายถึงเฉพาะนักปฏิบัติที่มีศัตรูเท่านั้น
ถ้าไม่มีก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
ในขณะที่แผ่เมตตาถึงศัตรู ผู้ปฏิบัติอาจหวนนึกถึงความผิดที่
ศัตรูได้ท�ำไว้กับตน ถ้าความคิดเช่นนี้เกิดขึ้น ก็ให้ผู้ปฏิบัติย้อนกลับไป
เจริญเมตตาฌานที่แผ่ไปถึงบุคคลอื่นที่ได้เคยบรรลุมาแล้ว หรือระลึก
ถึงผู้ที่ได้เคยแผ่เมตตาถึงมาแล้ว สลับกับการเจริญเมตตาให้ศัตรู วิธีนี้
จะท�ำให้เกิดเมตตาฌานระงับความขัดเคืองลงได้ ในเรื่องนี้ คัมภีร์
วิสุทธิมรรค๗๕ กล่าวว่า เมตฺตํ สมาปชฺชิตฺวา วุฏฺหิ ิตฺวา (เข้าเมตตา-
ฌานแล้วออกจากฌาน) หมายความว่า เมตตาฌานสามารถบรรลุได้
เมื่อเจริญในบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ศัตรู

90
พรหมวิหาร
การพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ
หลังจากที่ได้บรรลุฌานด้วยการแผ่เมตตาตามวิธีที่กล่าวมา
จนมีความช�ำนาญแล้ว ต่อไปอาจเจริญเมตตาในบุคคลที่เป็นศัตรู ถ้า
โทสะเกิดขึ้นเพราะยังข่มไว้ไม่ได้ ก็ควรพยายามดับความโกรธด้วย
การพิจารณาตามค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“นี่แน่ะ เจ้าคนขี้โกรธ พระพุทธเจ้าได้ทรงพร�่ำสอนไว้มิใช่
หรือว่า ถ้าบุคคลถูกโจรท�ำร้ายด้วยการตัดมือตัดเท้าด้วยเลื่อยที่มี
ด้ามสองข้าง แล้วเกิดความโกรธคิดจะท�ำร้ายโจรนั้นคืน บุคคลนั้น
เป็นคนเลวที่ไม่ท�ำตามค�ำสอนของเรา”๗๖
ยิ่งกว่านั้น ถ้าผู้ที่ถูกท�ำร้ายนั้น กระท�ำการตอบโต้ด้วยความ
โกรธต่อผู้ที่มาท�ำร้ายตน ความโกรธของผู้ที่โกรธตอบนั้นนับว่าร้าย
กว่าความโกรธของผู้ที่มาท�ำร้ายเสียอีก ทั้งนี้เพราะบุคคลที่โกรธตอบ
นัน้ ได้ทำ� ผิดตามอย่างผูท้ มี่ าท�ำร้ายตนทัง้ ทีร่ อู้ ยู่ พระพุทธองค์ได้ทรง
สอนมิใช่หรือว่า “บุคคลทีส่ ามารถอดกลัน้ ต่อความโกรธของบุคคลอื่น
ได้ โดยไม่โกรธตอบนั้น เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ที่ชนะได้ยาก”๗๗
91
พรหมวิหาร
นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังได้ทรงสอนว่า “ภิกษุใดสามารถ
ด�ำรงอยู่ในความสงบ ไม่โกรธตอบ ทั้งที่รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งก�ำลังท�ำร้าย
ตนด้วยความโกรธ ภิกษุผู้นั้นนับว่าเป็นผู้ที่มีการฝึกฝนตนมาดีแล้ว
เป็นผู้ที่ท�ำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น”๗๘
กล่าวโดยสรุปก็คือ สิ่งที่ศัตรูปรารถนาจะเห็น มี ๗ อย่าง๗๙
คือ
๑. ใบหน้าที่แสดงความโกรธเป็นสิ่งน่าเกลียดที่ศัตรูอยากจะ
เห็น
๒. ผู้ที่ถูกความโกรธครอบง�ำจะนอนหลับไม่เป็นสุข นี่เป็นสิ่ง
ที่ศัตรูปรารถนา
๓. ผู้ที่ถูกความโกรธท�ำให้เร่าร้อนฉุนเฉียว มักจะเสียโอกาส
ทางธุรกิจ นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ศัตรูยินดี
๔. ผู้ที่ถูกความโกรธครอบง�ำ มักขาดแคลนทรัพย์สินเงินทอง
นี้ก็เป็นสิ่งที่ศัตรูต้องการเหมือนกัน
๕. ผู้ที่โกรธง่าย มักจะไม่ค่อยมีบริวารคอยแวดล้อม นี่เป็น
สิ่งที่ศัตรูพอใจ
๖. ผู้ที่มักโกรธ มักจะมีมิตรสหายน้อย นี่ก็เป็นสิ่งที่ท�ำให้
ศัตรูชอบใจ

92
พรหมวิหาร
๗. ผู้ที่ไวต่อความโกรธ หรือโกรธง่าย เมื่อตายลงจะไม่ได้ไป
เกิดในสุคติภูมิ ดังนั้น จึงควรพยายามเพิ่มพูนความอดทน อดกลั้น
ต่อความโกรธ เพื่อไม่ให้ศัตรูได้รับความพอใจ
ต่อจากนั้น พึงเตือนตนเองว่า พระพุทธองค์ทรงสอนไว้มิใช่
หรือว่า “ภิกษุที่มีความโลภ และกระท�ำทุจริตด้วยความโกรธ และ
ความพยาบาท จะไม่สามารถรักษาศีลไว้ได้ และไม่เป็นที่นับถือ ไม่
เป็นประโยชน์ใดๆ แก่ตนเองและผูอ้ นื่ ไม่วา่ ในหมูบ่ า้ นหรือในป่า อุปมา
เหมือนฟืนเผาศพ ย่อมไม่สามารถน�ำมาใช้ในหมู่บ้านหรือในป่าได้”๘๐
ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติมีความโกรธเข้าครอบง�ำ ก็ถือเป็นบุคคลที่
ไม่เชื่อฟังค�ำสั่งสอนของพระพุทธองค์ จะเป็นเหมือนผู้แพ้สงครามที่
ชนะได้ยาก และยังเป็นคนชั่วยิ่งกว่าคนที่โกรธก่อนเสียอีก จึงควร
พิจารณาใคร่ครวญแล้วสั่งสอนตนเองให้อดกลั้นต่อความโกรธที่เกิด
ขึ้น
ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ดับไป จงอย่าคิดถึง
หรือทบทวนการกระท�ำของศัตรู แต่จงระงับความโกรธด้วยการคิดถึง
ส่วนดีในการกระท�ำทางกาย วาจา หรือใจของเขา แต่ถึงแม้ได้
พิจารณาอย่างที่กล่าวแล้ว ความโกรธก็ยังไม่หายไป ก็พึงระงับ
ความโกรธ ด้วยการพิจารณาตามที่จะได้กล่าวต่อไป ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรคได้แสดงไว้เป็นคาถา ๑๐ คาถา โดยสรุปดังต่อไปนี้
93
พรหมวิหาร
การพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ ๑๐ ประการ
๑) แม้ศัตรูต้องการจะท�ำให้เธอเป็นทุกข์ ก็ท�ำได้แต่ทุกข์ทาง
กายเท่านั้น ไม่สามารถท�ำให้ใจต้องทุกข์ได้ เหตุใดเธอจึงท�ำในสิ่งที่
ศัตรูต้องการโดยท�ำใจของเธอเองให้เป็นทุกข์ ทั้งที่เป็นสิ่งที่ศัตรูไม่
สามารถท�ำได้
๒) เหตุใดจึงยังไม่สามารถละทิ้งความโกรธที่จะน�ำมาแต่
ความหายนะโดยไม่ได้ประโยชน์อันใด ทั้งที่เธอได้ละทิ้งมิตรสหายที่
สามารถให้ประโยชน์มากมาย มาครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้วบวชเป็น
พระภิกษุ
๓) เหตุใดจึงยังคบหากับความโกรธที่สามารถท�ำให้เธอละ
ทิ้งความกลัวและละอายต่อบาป ทิ้งความอดกลั้น ความเมตตา และ
กรุณา ซึ่งเป็นมูลรากของศีลที่เธอได้รักษามาเป็นอย่างดีแล้ว จะหา
คนโง่เช่นนี้ได้ที่ไหน (หมายความว่า เป็นคนโง่ที่สุด เพราะคบหา
ความโกรธที่อาจท�ำลายศีลให้พินาศลงได้)

94
พรหมวิหาร
๔) เธอโกรธบุคคลที่ท�ำผิดต่อเธอ แต่เธอเองที่ก�ำลังโกรธอยู่
ก็ก�ำลังวางแผนท�ำร้ายบุคคลที่ท�ำให้เธอโกรธให้สาสมกันมิใช่หรือ
๕) ศัตรูท�ำสิ่งที่เธอไม่ชอบเพื่อพยายามให้เธอโกรธ แล้วเหตุ
ใดจึงยอมท�ำความปรารถนาของเขาให้ส�ำเร็จด้วยการปล่อยให้ความ
โกรธเกิดขึ้นด้วยเล่า
๖) เมื่อโกรธขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าเธอจะท�ำความทุกข์ให้แก่ศัตรู
หรือไม่ก็ตาม แต่เธอก็ได้ท�ำความทุกข์ให้เกิดกับตัวเธอเองด้วยอาการ
โกรธนั้นแล้ว
๗) เมื่อศัตรูได้เดินทางผิดด้วยความโกรธที่ไม่ก่อประโยชน์
อันใด ถ้าเธอยังโกรธเขาอยู่ ก็เท่ากับได้เดินตามเขาไปในทางที่ผิด
๘) ถ้าศัตรูได้ท�ำผิดต่อเธอด้วยความโกรธ เธอควรระงับหรือ
ขับไล่ความโกรธนั้นเสีย เหตุใดจึงต้องท�ำให้ตนเองเดือดร้อนด้วยการ
โกรธตอบเล่า
๙) รูปและนาม หรือกายและจิต มีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอด
เวลา ตั้งอยู่ได้เพียงชั่วขณะแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว รูปนามที่ได้ท�ำ
ผิดต่อเธอนั้นได้ดับไปหมดแล้ว จะไปหารูปนามที่ท�ำให้เธอโกรธได้ที่
ไหนเล่า รูปนามที่เกิดมาใหม่ก็ไม่ใช่รูปนามที่ท�ำผิดต่อเธอ แล้วจะหลง
โกรธรูปนามที่เกิดมาใหม่นี้ท�ำไมกัน

95
พรหมวิหาร
๑๐) ถ้าผู้ใดท�ำความผิดต่อผู้อื่น บุคคลทั้งสองนั้นต่างก็มีส่วน
ร่วมกระท�ำความทุกข์ให้เกิดขึ้นได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนในการก่อให้
เกิดความทุกข์ ตัวเธอเองก็ต้องรับผิดชอบด้วย เหตุใดจึงโกรธแต่คน
อื่น ไม่โกรธตัวเองเล่า
ข้อความข้างต้นเป็นการสรุปความในคาถา ๑๐ บทที่กล่าวไว้
ในคัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรคด้วยภาษาง่ายๆ แต่เป็นการพิจารณาทีล่ กึ ซึง้ ยิง่ นัก
ผู้ปฏิบัติจึงควรน�ำมาเป็นแนวทางพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ๘๑

วิธีระงับความโกรธด้วยการพิจารณาว่า
บุคคลมีกรรมเป็นของตน
หากความโกรธยังไม่ระงับไป แม้ว่าจะได้พิจารณาตามวิธีที่
กล่าวไว้ ผู้ปฏิบัติก็อาจพิจารณาถึงกรรมว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน
และจะต้องได้รับผลของกรรมทั้งที่ดีและไม่ดีที่ตนเองได้กระท�ำไว้ ผู้
ปฏิบัติ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “ขณะนี้ก�ำลังเจริญเมตตาภาวนาอยู่
ถ้าโกรธแล้วจะมีประโยชน์อะไร การท�ำกรรมที่มีโทสะเป็นเหตุ ย่อม
ให้ผลเป็นความทุกข์แก่ตัวเองมิใช่หรือ กรรมคือเจตนาในการกระท�ำ
ความดีและความชั่ว กรรมเท่านั้นที่เป็นสมบัติที่แท้จริงของเรา เรา
ย่อมเป็นทายาทของกรรม คือเจตนาที่ก่อให้เกิดการกระท�ำทางกาย
96
พรหมวิหาร
วาจา และใจ ทั้งดีและชั่ว เราย่อมมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ และเป็นที่พึ่งที่
อาศัย กรรมที่เกิดจากความโกรธไม่เป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุมรรคผลได้
และไม่เป็นปัจจัยให้ไปเกิดในโลกมนุษย์หรือเทวดาซึ่งเป็นสุคติภูมิ
กรรมที่ท�ำไปเพราะโกรธนอกจากจะไม่ช่วยให้มีความสุขแล้ว ยังเป็น
เหตุให้ได้รับทุกข์อย่างใหญ่หลวงในนรกเป็นต้น ถ้าท�ำกรรมชั่วเพราะ
ความโกรธ ก็จะเหมือนคนที่เผาตนเอง แล้วถือถ่านเพลิงไว้ในมือ
หรือจับอุจจาระด้วยมือทั้งสอง เพื่อท�ำร้ายคนอื่น”๘๒
หลังจากนั้น ให้พิจารณาถึงผู้ที่เป็นศัตรูว่า เขาก็มีกรรมเป็น
ของตนเช่นกัน เขาท�ำความชั่วเพราะความโกรธแล้วจะได้ประโยชน์
อะไร ความโกรธย่อมท�ำให้เขาเป็นทุกข์เอง เขามีกรรมทั้งดีและชั่วเป็น
ของตน ย่อมเป็นทายาทของกรรมที่ตนเองได้ท�ำไว้ เขาท�ำกรรมชั่ว
เพราะความโกรธเป็นเหตุ ย่อมได้รับผลชั่ว เช่นเดียวกับคนที่โปรยธุลี
ทวนลมใส่คนอืน่ ธุลนี นั้ จะถูกลมพัดเข้าตนเอง สมจริงดังพระพุทธด�ำรัส
ว่า “ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่มีความผิด ผู้บริสุทธิ์ บาปจะส่งผลให้ผู้ที่
กระท�ำนั้นเอง เหมือนธุลีที่ซัดทวนลม”๘๓

97
พรหมวิหาร
การระงับความโกรธด้วยการพิจารณาถึง
การบ�ำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
ถ้าพิจารณาตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ความโกรธยังไม่สงบไป ผู้
ปฏิบัติพึงพิจารณาถึงการบ�ำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆ
ก่อนที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนี้
“พระผู้มพี ระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเธอ ก่อนที่จะตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์บ�ำเพ็ญบารมีอยู่ถึงสี่อสงไขย
กับอีกหนึ่งแสนมหากัป ได้ทรงบ�ำเพ็ญขันติบารมี ทรงอดทนต่อ
ความโกรธ แม้จะถูกผู้เป็นศัตรูฆ่าก็มิได้ทรงท�ำพระหฤทัยให้ขัดเคือง”
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงการบ�ำเพ็ญขันติบารมีของ
ขันติวาทีดาบสเป็นต้น จะขอน�ำเรื่องจากคัมภีร์ชาดกมาเล่าดังนี้

98
พรหมวิหาร
การบ�ำเพ็ญขันติบารมีของขันติวาทีดาบส
ในอดีตกาล พระเจ้ากลาพุทรงครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีสมบัติ
๘๐ โกฏิ ชื่อว่ากุณฑลกุมาร เมื่อบิดามารดาล่วงลับไป ได้มองดูกอง
ทรัพย์แล้วคิดว่า บิดามารดามีทรัพย์มากมายแต่ก็ถือเอาไปไม่ได้เลย
เราควรหาทรัพย์ทสี่ ามารถถือเอาไปเมือ่ สิน้ ชีวติ แล้ว จึงให้ทรัพย์ทงั้ หมด
นั้นแก่คนที่ควรให้คือยาจก วณิพก และสมณะพราหมณ์ แล้วไปบวช
เป็นดาบสบ�ำเพ็ญพรตอยู่ที่ป่าหิมพานต์ อาศัยผลไม้ในป่าเลี้ยงชีวิตอยู่
เป็นเวลาช้านาน
เนื่องจากในป่าไม่มีแร่ธาตุที่จ�ำเป็นต่อสุขภาพ จึงได้มาสู่
หมู่บ้านเพื่อหาอาหารที่มีรสเค็มและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว วันหนึ่งได้มา
ถึงเมืองพาราณสี ขณะที่เที่ยวภิกษาจารนั้น ได้มาถึงประตูบ้านของ
เสนาบดี เสนาบดีเลื่อมใสในอิริยาบถของโพธิสัตว์นั้น จึงให้เข้าไป
บริโภคอาหารในเรือน แล้วนิมนต์ดาบสนัน้ ให้อยูใ่ นราชอุทยานอันร่มรืน่
ดาบสก็ได้พ�ำนักอยู่ในราชอุทยานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากลาพุพร้อมด้วยพระมเหสี ห้อมล้อม
ด้วยนางสนมก�ำนัล เสด็จประพาสอุทยานพร้อมด้วยข้าราชบริพาร
จ�ำนวนมาก ให้ลาดที่บรรทมบนแผ่นศิลา แล้วบรรทมหนุนตักหญิง

99
พรหมวิหาร
ที่ทรงโปรดปรานมากนางหนึ่ง ทอดพระเนตรการขับร้อง ประโคม
ดนตรี และฟ้อนร�ำ จนกระทั่งบรรทมหลับไป หญิงนักฟ้อนนักดนตรี
เหล่านั้นจึงพากันเที่ยวเล่นไปในพระราชอุทยาน ได้เห็นพระโพธิสัตว์
นั้นจึงเข้าไปไหว้แล้วขอฟังธรรมจากท่าน
ขณะนั้น หญิงผู้ที่พระราชาบรรทมหนุนตักอยู่นั้นขยับตัว
พระราชาจึงทรงตื่นบรรทม เมื่อไม่เห็นเหล่าหญิงนักฟ้อน จึงตรัสถาม
ได้ความว่าพากันไปนัง่ ล้อมดาบสอยู่ พระราชาทรงกริว้ จัด ถือพระขรรค์
ได้รีบเสด็จไป ตั้งพระทัยว่าจักสั่งสอนดาบสนั้น หญิงคนโปรดนั้นเห็น
พระราชาทรงกริ้วมาก ได้แย่งเอาดาบจากพระหัตถ์ แต่ก็ไม่สามารถ
ท�ำให้พระองค์สงบลงได้ ท้าวเธอเสด็จไปประทับยืนใกล้พระโพธิสัตว์
แล้วตรัสถามว่า “สมณะ เจ้ามีวาทะว่าอันใด”
พระโพธิสัตว์ตอบว่า “มหาบพิตร อาตมามีขันติวาทะ” และ
อธิบายว่าความไม่โกรธในเวลาที่มีผู้อื่นด่าอยู่ ท�ำร้ายอยู่ เย้ยหยันอยู่
ชื่อว่า ขันติ พระเจ้ากลาพุจึงทรงทดสอบดาบสว่าจะท�ำตามวาทะของ
ตนได้หรือไม่ ตรัสสั่งให้เพชฌฆาตฉุดดาบสให้ล้มลงกับพื้นดิน แล้ว
เฆี่ยนด้วยแซ่หนาม ๒,๐๐๐ ครั้ง ที่ร่างกายทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านหน้า
ด้านหลัง และด้านข้างทั้งสองด้าน

100
พรหมวิหาร
คนธรรมดา ถ้าถูกลงทัณฑ์หนักเช่นนี้คงไม่รอดแล้ว แต่น่า
อัศจรรย์ที่ดาบสยังมีชีวิตอยู่ได้เพราะขันติบารมีของท่าน หรืออาจเป็น
เพราะเพชฌฆาตไม่ได้ออกแรงเฆี่ยนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผิวหนังของ
ดาบสถูกเฆี่ยนจนฉีกขาด และเลือดไหลออกมามากมาย ดาบสคง
ต้องเจ็บปวดทรมานมาก แม้กระนั้น ก็ไม่มีความโกรธเคืองในพระเจ้า
กลาพุหรือเพชฌฆาต การลงโทษอย่างโหดร้ายเช่นนี้เป็นการกระท�ำที่
ปราศจากความละอายหรือไร้เหตุผลซึง่ ตามปกติยอ่ มจะท�ำให้ผถู้ กู กระท�ำ
เกิดความโกรธแค้นมาก ดังนั้น ผู้ที่สามารถอดทนต่อการปฏิบัติเช่นนี้
ได้จึงเป็นผู้ที่มีขันติอย่างยิ่ง
เมือ่ ดาบสยังมีชวี ติ อยู่ พระราชาได้ตรัสถามอีกว่า “เจ้ามีวาทะ
ว่าอันใด” ดาบสตอบว่า “มหาบพิตร อาตมามีวาทะยกย่องขันติ
เหมือนเดิม พระองค์ทรงด�ำริว่า ขันติมีอยู่ในเนื้อหนังของอาตมา
แต่ขันติของอาตมานั้นตั้งอยู่ภายในหทัย ไม่มีวันหมดไป”
เมื่อได้สดับดังนั้น ท้าวเธอพิโรธหนักขึ้น ตรัสสั่งให้ตัดมือทั้ง
สองข้างของดาบส รวมทัง้ เท้าทัง้ สอง หู และจมูกตามล�ำดับ เพชฌฆาต
ก็กระท�ำตามค�ำสั่งของพระราชาอย่างเคร่งครัด ทุกครั้งที่เพชฌฆาต
เอาขวานตัดอวัยวะไปอย่างหนึ่ง พระราชาก็ถามถึงวาทะของดาบส
ทรงได้รับค�ำตอบเหมือนเดิมว่า ยึดหลักขันติที่มีอยู่ในหัวใจ ในที่สุด
พระราชาตรัสด้วยความขุ่นเคืองว่า “เจ้าดาบสโกง จงเชิดชูขันติของ
101
พรหมวิหาร
เจ้าต่อไปเถิด” ทรงยกพระบาทกระทืบทีอ่ กของดาบสแล้วจากไป เมือ่
เสด็จไปถึงประตูอุทยานแผ่นดินก็แยกออก แล้วสูบพระเจ้ากลาพุ
ลงสู่อเวจีมหานรก ในอรรถกถากล่าวว่า “เปลวไฟแลบขึ้นมาหุ้มห่อ
พระวรกายของพระเจ้ากลาพุแล้วลากลงสู่อเวจีมหานรก”๘๔
หลังจากนั้น เสนาบดีได้เข้ามาขอขมาต่อดาบส และขอให้
ดาบสอย่าโกรธเคืองต่อรัฐซึ่งไม่มีความผิด พระดาบสกล่าวตอบดังนี้
“พระราชาผู้ตัดมือเท้า หู และจมูกของเรา จงทรงพระชนม์
ยืนนาน บุคคลเช่นเราย่อมไม่โกรธเคือง”๘๕
ส�ำหรับผู้ปฏิบัติที่ก�ำลังเจริญเมตตาภาวนาอยู่นี้ หากศัตรูของ
ท่านมาท�ำร้าย ก็คงไม่เลวร้ายเท่าพระเจ้ากลาพุ ท่านจึงควรอดทน
ต่อความโกรธเหมือนกับขันติวาทีดาบสที่ได้อดทนต่อการกระท�ำของ
พระเจ้ากลาพุด้วยความอดกลั้น

102
พรหมวิหาร
เรื่องของธรรมปาลกุมาร๘๖
ในอดีตกาล พระเจ้ามหาปตาปะครองราชสมบัติอยู่ในเมือง
พาราณสี ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง
จันทาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้ามหาปตาปะ เมื่อพระกุมารประสูติ
แล้วมีนามว่า ธรรมปาลกุมาร เมื่อพระกุมารมีอายุได้ ๗ เดือน
พระมารดาให้สรงสนานแล้วแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงอันประณีต จาก
นั้นประทับนั่งเล่นอยู่กับพระกุมารด้วยความเสน่หา แม้พระราชา
เสด็จมา ก็มิได้ลุกขึ้นรับ พระราชาจึงด�ำริว่า “แม้เวลานี้ นางยัง
หลงใหลพระโอรสถึงเพียงนี้ ต่อไปถ้าพระกุมารเจริญวัยขึ้น ก็จะ
ละเลยเราแน่ เราควรก�ำจัดพระกุมารเสียแต่บดั นี”้ ด�ำริดงั นีแ้ ล้วก็
เสด็จกลับไปด้วยพระพักตร์ทบี่ งึ้ ตึง ประทับบนราชอาสน์แล้วตรัสสัง่
ให้เพชฌฆาต น�ำพระกุมารมาเข้าเฝ้า พระนางจันทาเทวีนนั้ ทราบว่า
พระราชากริว้ แล้วเสด็จกลับไป จึงประทับนั่งทรงพระกรรแสงพลาง
กอดพระกุมารไว้กับพระอุระ
ในขณะทีท่ รงพระกรรแสงอยูน่ นั้ เพชฌฆาตก็ได้เข้ามาแย่งเอา
พระกุมาร แล้วพามาหน้าพระทีน่ ง่ั วางพระกุมารไว้บนแผ่นไม้กระดาน
พระราชาทรงมีรับสั่งให้เพชฌฆาตตัดพระหัตถ์ทั้งสองของพระกุมาร
โดยไม่สนใจกับค�ำวิงวอนของพระเทวีที่ขอให้ปล่อยพระกุมารผู้ไม่มี
ความผิด และให้ตดั มือของตนแทน เพชฌฆาตก็ปฏิบตั ติ ามพระบัญชา
103
พรหมวิหาร
ตัดพระหัตถ์ของพระกุมารด้วยขวานประดุจตัดหน่อไม้ออ่ น พระกุมาร
ผู้เป็นพระโพธิสัตว์นั้นไม่ร้องไห้ ไม่ทรงสะดุ้งสะเทือน แต่ทรงอดกลั้น
นิ่งเฉยอยู่ ดังในอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่า
“พระธรรมปาลกุมาร เมื่อทรงถูกตัดพระหัตถ์ทั้งสอง มิได้
ร้องไห้ มิได้คร�่ำครวญ ทรงเจริญขันติและเมตตา อดทนต่อความ
เจ็บปวดด้วยการยอมรับชะตากรรมของตน”๘๗
พระนางจันทาเทวีได้ถือเอามือของพระกุมารที่ถูกตัดมากอด
ไว้แนบพระอุระ และทรงพระกรรแสง ฝ่ายพระเจ้ามหาปตาปะได้
บัญชาให้เพชฌฆาตตัดพระบาททั้งสอง และพระเศียรของพระกุมาร
ไม่สนพระทัยกับค�ำวิงวอนของพระมเหสีที่ทูลให้ปล่อยพระกุมารซึ่ง
ไม่มีความผิด
ครั้นนายเพชฌฆาตนั้นตัดพระเศียรแล้ว พระราชาตรัสสั่งให้
นายเพชฌฆาตโยนร่างของธรรมปาลกุมารนั้นขึ้นไปในอากาศ แล้ว
เอาปลายดาบรับร่างของธรรมปาลกุมารนั้น เหมือนกับเป็นช่อดอกไม้
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีบิดาที่ไหนสามารถกระท�ำกรรมที่โหดร้ายทารุณเช่น
นี้ได้โดยปราศจากความเมตตาสงสาร

104
พรหมวิหาร
พระนางจันทาเทวีร�่ำไห้จนหัวใจแตกสลาย
สิ้นพระชนม์ลง ณ ที่นั้น
ฝ่ายพระราชาก็ไม่อาจด�ำรงอยู่บนบัลลังก์ได้
ตกจากพระที่นั่งลงไปที่พื้นท้องพระโรง
จากนั้นตกลงยังพื้นดินข้างล่าง แผ่นดินได้แยกออก
แล้วสูบเอาพระเจ้ามหาปตาปะ
ลงสู่อเวจีมหานรก

ส่วนธรรมปาลกุมารนั้น ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่าสิ้นพระชนม์
ลงอย่างสงบในขณะทีก่ ำ� ลังเจริญขันติ ไม่มคี วามโกรธในขณะสิน้ ชีพ๘๘

105
พรหมวิหาร
การบ�ำเพ็ญขันติบารมีของพญาช้าง
พญาวานร และพญานาค
คัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงขันติบารมีที่พระโพธิสัตว์ได้บ�ำเพ็ญ
ในครั้งที่บังเกิดเป็นพญาช้างฉัททันต์ โดยได้อดกลั้นต่อความเจ็บปวด
โดยไม่โกรธหรือพยาบาทเมื่อถูกนายพรานโสณุตตระยิงด้วยลูกศร
อาบยาพิษ๘๙
ในพระชาติที่เป็นพญาวานรชื่อมหากปิ พระโพธิสัตว์ได้ช่วย
พาบุรุษคนหนึ่งขึ้นจากเหวลึกให้รอดชีวิต ครั้นขึ้นจากเหวแล้วพญา
วานรก็หลับไปเพราะความเหนื่อยอ่อน บุรุษเห็นพญาวานรหลับอยู่ก็
ได้ยกก้อนหินใหญ่ขึ้นทุ่มลงบนกระหม่อมของท่าน เพราะต้องการได้
เนื้อลิงเป็นอาหารและเสบียงเดินทาง แต่พญาวานรที่มีใจประเสริฐนั้น
มิได้โกรธเคือง ทั้งยังช่วยน�ำทางให้เขาออกจากป่าสู่แดนมนุษย์ได้โดย
ปลอดภัยอีกด้วย๙๐
นอกจากนี้ ยังมีเรือ่ งของพระโพธิสตั ว์ในพระชาติทเี่ ป็นพญานาค
ชื่อภูริทัตตะและพญานาคชื่อจัมเปยยะ ได้ถูกหมองูจับไปในขณะที่
ก�ำลังรักษาศีล หมองูได้จับพญานาคใส่ไว้ในข้องเล็ก แล้วน�ำไปแสดง
กลตามที่ต่างๆ แม้นาคจะมีฤทธานุภาพมาก มีพิษร้ายแรง หากจ้อง

106
พรหมวิหาร
มองผู้ใดด้วยความโกรธก็จะท�ำให้ผู้นั้นไหม้เป็นจุณ แต่พญานาคทั้ง
สองได้อดกลั้นต่อความทุกข์ที่หมองูได้กระท�ำโดยไม่โกรธ ขันติของ
พญานาคทัง้ สองดังทีม่ ใี นคัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรค๙๑ เป็นตัวอย่างทีพ่ งึ พิจารณา

การเจริญขันติด้วยสติของพระปุณณะ
ครัง้ หนึง่ พระปุณณะชาวแคว้นสุนาปรันตะ ได้กราบทูลพระผูม้ ี
พระภาคว่า “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดย
ย่อ อันข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผูห้ ลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีใจมุ่งสู่พระนิพพาน” พระผู้มีพระภาคตรัสเทศนาว่า
“ปุณณะ รูปที่พึงรู้ทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้ก�ำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น
ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึน้ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินเกิด
ทุกข์จึงเกิด”๙๒ (ส�ำหรับเสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ [คือ
มโนสัมผัส] ก็ท�ำนองเดียวกัน)

107
พรหมวิหาร
ปุณณะ รูปที่พึงรู้ทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รกั ชักให้ใคร่ พาใจให้กำ� หนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น
ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับ
ทุกข์จึงดับ”๙๓
ปุณณะ เราได้ให้โอวาทแก่เธอด้วยธรรมโดยย่อนี้แล้ว ส่วน
เธอเมื่อได้ฟังธรรมนี้แล้วจักไปอยู่ในแคว้นไหน”
“ข้าพระองค์จักอยู่ในแคว้นชื่อสุนาปรันตะ ทางทิศตะวันตก
ของชมพูทวีป พระพุทธเจ้าข้า”
“ปุณณะ ผู้คนชาวแคว้นสุนาปรันตะดุร้าย หยาบคายนัก ถ้า
ชาวแคว้นสุนาปรันตะจักด่า จักบริภาษเธอ เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักด่า จัก
บริภาษข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวแคว้น
สุนาปรันตะนี้เจริญดีหนอ ที่เพียงด่าเรา บริภาษเรา ไม่ท�ำร้ายร่างกาย
เรา”
“ปุณณะ ก็ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักท�ำร้ายเธอด้วยมือเล่า
เธอจักคิดอย่างไร”

108
พรหมวิหาร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักท�ำร้าย
ร่างกายข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวแคว้น
สุนาปรันตะเจริญดีหนอ ที่เพียงแต่ท�ำร้ายเราด้วยมือ ไม่ปาก้อนดิน
ใส่เรา”
“ปุณณะ ก็ถา้ ชาวแคว้นสุนาปรันตะจักท�ำร้ายเธอด้วยก้อนดิน
เล่า เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักท�ำร้าย
ข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวแคว้น
สุนาปรันตะนี้เจริญดีหนอ ที่เพียงแต่ท�ำร้ายเราด้วยก้อนดิน ไม่ท�ำร้าย
เราด้วยท่อนไม้”
“ปุณณะ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักทุบตีเธอด้วยท่อนไม้เล่า
เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักทุบตีข้า
พระองค์ด้วยท่อนไม้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวแคว้น
สุนาปรันตะนี้เจริญดีหนอ ที่เพียงแต่ทุบตีเราด้วยท่อนไม้ ไม่แทงเรา
ด้วยมีด”
“ปุณณะ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักแทงเธอด้วยมีดเล่า เธอ
จักมีความคิดอย่างไร”

109
พรหมวิหาร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักแทงข้า
พระองค์ด้วยมีด ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวแคว้นสุนา-
ปรันตะนีเ้ จริญดีหนอ ทีเ่ พียงแทงเราด้วยมีด ไม่สงั หารเราด้วยดาบทีค่ ม”
“ปุณณะ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักสังหารเธอเสียด้วยดาบ
อันคมเล่า เธอจักมีความคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชาวแคว้นสุนาปรันตะจักสังหาร
ข้าพระองค์เสียด้วยดาบอันคม ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า
พระสาวกทัง้ หลายของพระผูม้ พี ระภาคนัน้ เอือมระอาเกลียดชังร่างกาย
และชีวิต แสวงหาศาตราส�ำหรับปลงชีวิต เราควรดีใจที่จะมีผู้ปลงชีวิต
ให้ ไม่ตอ้ งเทีย่ วแสวงหาศาตราส�ำหรับปลงชีวติ ข้าแต่พระผูม้ พี ระภาค
ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้”
ต่อมา พระปุณณเถระได้จาริกไปถึงแคว้นสุนาปรันตะ และได้
บ�ำเพ็ญสมณธรรมบรรลุอรหัตตผลในพรรษาแรกนั้นเอง
ถ้าได้พิจารณาถึงคุณธรรมและการปฏิบัติอันประเสริฐของ
พระโพธิสตั ว์แล้วยังไม่สามารถดับความโกรธได้ ก็ควรพิจารณาอานิสงส์
๑๑ ประการของเมตตาภาวนาว่า ถ้าเธอเป็นผู้เจริญเมตตา แต่ไม่
สามารถสละทิ้งความโกรธไปได้แล้ว ก็ควรระงับความโกรธให้หมดไป
ด้วยการพิจารณาว่า “ถ้ายังมีความโกรธอยู่ ก็จะไม่ได้รบั อานิสงส์ของ
เมตตา”๙๔
110
พรหมวิหาร
การระงับความโกรธด้วยการพิจารณา
โดยความเป็นธาตุ
ถ้ายังระงับความโกรธให้สงบไปโดยวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่ได้
ก็ให้ผู้ปฏิบัติแยกธาตุบุคคลที่ท�ำให้โกรธนั้นออกเป็นส่วนๆ ด้วยการ
พิจารณา ดังนี้ว่า
“เธอโกรธเคืองอะไรในตัวคนอื่น เธอโกรธผมบนศีรษะของ
เขาหรือ หรือโกรธปัสสาวะของเขา” หรือพิจารณาว่า “เนื่องจากผม
นั้นประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุน�้ำ (อาโปธาตุ)
ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) และธาตุลม (วาโยธาตุ) ดังนั้น เธอโกรธปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ หรือวาโยธาตุของเขาเล่า” หรือพิจารณาว่า “เพราะ
ศัตรูของเธอประกอบขึ้นจากขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และ ธาตุ ๑๘
ดังนั้น เธอโกรธอะไรในสภาวธรรมเหล่านี้ เธอโกรธรูปขันธ์ เวทนา
ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์กันเล่า หรือว่าเธอ
โกรธจักขายตนะ (อายตนะคือตา) รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) มนา-
ยตนะ (อายตนะคือใจ) หรือธรรมายตนะ (อายตนะคือมโนสัมผัส)
หรือว่า เธอโกรธจักขุธาตุ (ธาตุคือตา) จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือการ
เห็น) มโนธาตุ (ธาตุคือจิตที่รับอารมณ์) ธรรมธาตุ (ธาตุคือมโนสัมผัส)
หรือมโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจิตที่รู้) ของเขาเล่า”๙๕

111
พรหมวิหาร
เมื่อพิจารณาศัตรูโดยความเป็นธาตุแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นว่า
ไม่มีสิ่งใดในตัวของศัตรูที่จะรองรับความโกรธ อุปมาเหมือนไม่มีที่บน
ปลายเข็มส�ำหรับตั้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด และไม่มีที่ส�ำหรับวาดภาพใน
ท้องฟ้า ฉะนั้น

การระงับความโกรธด้วยการ
เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งของ
ผูป้ ฏิบตั ทิ ยี่ งั ไม่สามารถระงับความโกรธด้วยการพิจารณาโดย
ความเป็นธาตุได้ ก็อาจบริจาค หรือเอื้อเฟื้อให้สิ่งของๆ ตนแก่คนที่
เป็นศัตรู และตนเองก็ควรรับสิ่งของของศัตรูด้วย แต่ถ้าคนที่เกลียดชัง
หรือที่เป็นศัตรูนั้นไม่รู้จักให้อะไรตอบแทน หรือไม่มีทรัพย์สิ่งของที่
จะให้ ผู้ปฏิบัติก็ควรเป็นผู้ให้ฝ่ายเดียว ด้วยการเอื้อเฟื้ออย่างนี้ จะ
ท�ำให้ความรู้สึกเป็นศัตรูหมดไป แม้ความไม่พอใจหรือความเกลียดชัง
ที่ติดตามมาแต่อดีตชาติก็จะหมดไปด้วย ดังเรื่องที่จะน�ำมาสาธกต่อ
ไปนี้
112
พรหมวิหาร
ในอดีตกาล พระปิณฑปาติกเถระรูปหนึง่ พ�ำนักอยูท่ วี่ ดั สังฆิกะ
(หมายถึง วัดที่ทายกได้สร้างถวายแก่สงฆ์) บนภูเขาจิตตลบรรพต ยังมี
พระมหาเถระอีกรูปหนึง่ ได้พยายามถึงสามครัง้ ทีจ่ ะขับไล่ทา่ นออกจาก
ทีพ่ �ำนักเพราะความเกลียดชังที่มีมานานในชาติก่อน ตามวินัย-
บัญญัติของพระพุทธเจ้า ภิกษุทอี่ อ่ นพรรษากว่ามีหน้าทีต่ อ้ งถวาย
เสนาสนะแก่พระเถระที่อาวุโส ดังนั้น พระมหาเถระนั้นจึงขับไล่
พระปิณฑปาติกเถระออกจากทีพ่ ำ� นัก เพราะอยากท�ำความร�ำคาญให้
ท่าน ดังนัน้ เพือ่ ระงับความขุ่นเคืองของอีกฝ่ายหนึ่ง พระปิณฑปาติก-
เถระจึงได้มอบบาตรให้แก่พระมหาเถระรูปนั้น พร้อมกับกล่าวว่า
“ท่านขอรับ บาตรใบนีม้ ีราคา ๘ กหาปณะ โยมแม่ของกระผม
ได้ถวายให้มา ขอท่านได้โปรดรับไว้ใช้ เพื่อเป็นบุญแก่โยมผู้ถวายด้วย
เถิด” เมื่อพระมหาเถระได้รับบาตรที่พระปิณฑปาติกเถระถวายแล้ว
ความเกลียดชังที่มีมานานของพระมหาเถระนั้นก็หมดไปทันที ดังนั้น
พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า
อทนฺตทมนํ ทานํ ทานํ สพฺพตฺถสาธกํ
ทาเนน ปิยวาจาย อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จ.๙๖
“ทานข่มคนที่หยาบกระด้างให้อ่อนโยน ทานท�ำให้ส�ำเร็จ
ประโยชน์ได้ทุกอย่าง บุคคลย่อมชื่นชมยินดีและสนิทสนมกลมเกลียว
[ระหว่างผู้ให้และผู้รับ]ด้วยการให้และด้วยวาจาอ่อนหวาน”
113
พรหมวิหาร
การเกิดขึ้นของสีมาสัมเภทคือการรวมแดน
ถ้าความโกรธที่มีต่อศัตรู หรือคนที่เป็นคู่เวรกันได้ระงับหรือ
บรรเทาลงแล้ว ความรู้สึกเมตตาหรือปรารถนาดีต่อศัตรูหรือคู่เวรก็จะ
บังเกิดขึ้น เหมือนกับเมตตาที่มีต่อ (๑) คนที่เราเคารพนับถือ (๒)
คนที่รักมาก (๓) คนที่เป็นกลางๆ ในขณะที่แผ่เมตตาอยู่นั้น จิตของ
ผู้ปฏิบัติก็จะน้อมไปในบุคคลทั้ง ๔ จ�ำพวก คือ ตนเอง คนที่รักมาก
คนที่เป็นกลางๆ และคนที่เป็นศัตรู อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด ด้วย
การพร�่ำสอนตนเองให้มีความเมตตาและปรารถนาให้คนเหล่านั้นมี
ความสุข โดยไม่เลือกทีร่ กั มักทีช่ งั เป็นการท�ำเมตตาให้เป็นสีมาสัมเภท
คือ การรวมแดน หมายความว่า แผ่เมตตาไปในคนทั้งปวงอย่างไม่มี
การขีดคั่น เป็นการท�ำลายก�ำแพงที่กั้นตัวเราและผู้อื่นได้
ลักษณะของสีมาสัมเภท ก็คือ ถ้าคน ๔ จ�ำพวก คือ ตัวผู้
ปฏิบัติเอง คนที่รักมาก คนที่เป็นกลางๆ และคนที่เป็นศัตรู อาศัยอยู่
ในที่เดียวกัน ต่อมามีคนร้ายหรือโจรมาบังคับให้ส่งคนไปให้โจรฆ่า
บูชายัญ หากผู้ปฏิบัติเกิดความคิดว่าจะเลือกส่งคนใดคนหนึ่งให้โจร
ก็จดั ว่ายังไม่มสี มี าสัมเภท เพราะเป็นการท�ำให้บคุ คลทีถ่ กู เลือกนัน้ ต้อง
เสียประโยชน์ไป

114
พรหมวิหาร
ในการแผ่เมตตาแก่คนทั้ง ๔ จ�ำพวกอย่างเสมอกัน ผู้ปฏิบัติ
จะต้องมีความปรารถนาดีต่อทุกคนรวมถึงตนเองด้วยอย่างเท่าเทียม
กันหมด จึงจะเรียกได้ว่าเป็นสีมาสัมเภท๙๗

การเกิดขึ้นของเมตตาฌาน
ในคัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรค๙๘ กล่าวว่า ขณะทีผ่ ปู้ ฏิบตั กิ ำ� ลังเจริญ
เมตตาภาวนาถึงขั้นสีมาสัมเภทแล้ว จะมีนิมิตปรากฏขึ้น เป็นเครื่อง
หมายแสดงว่าผูป้ ฏิบตั ไิ ด้บรรลุอปุ จารสมาธิ เมือ่ บรรลุอปุ จารสมาธิแล้ว
พึงน้อมจิตไปในนิมติ นัน้ หลายๆ ครัง้ ก็จะบรรลุอปั ปนาฌาน และอัปปนา-
ฌานนีท้ จี่ ริงก็คอื ฌาน ๓ อันได้แก่ ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) ทุตยิ ฌาน
(ฌานที่ ๒) และตติยฌาน (ฌานที่ ๓) ที่พึงบรรลุได้ตามล�ำดับ
หลังจากที่ได้บรรลุอัปปนาฌานทั้ง ๓ อย่างแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะ
สามารถเจริญเมตตาฌาน ๕๒๘ ชนิดต่อไปอย่างบริบูรณ์

115
พรหมวิหาร
เตโชพเลน มหตา รตนตฺตยสฺส
โลกตฺตยํ สมธิคจฺฉติ เยน โมกฺขํ
รกฺขา น จตฺถิ จ สมา รตนตฺตยสฺส
ตสฺมา สทา ภชถ ตํ รตนตฺตยํ โภ.
ความคุ้มครองเช่นกับพระรัตนตรัย ซึ่งท�ำให้โลก ๓ บรรลุ
แดนเกษม ด้วยเดชานุภาพอันยิง่ ใหญ่แห่งพระรัตนตรัยนัน้ หามีไม่
ด้วยเหตุนั้น เชิญท่านทั้งหลายซ่องเสพพระรัตนตรัยนั้นเป็นนิตย์

ธมฺโม ติโลกสรโณ ปรโม รสานํ


ธมฺโม มหคฺฆรตโน รตเนสุ โลเก
ธมฺโม หเว ติภวทุกฺขวินาสเหตุ
ธมฺมํ สมาจรถ ชาคริกานุยุตฺตา.
เพระธรรมเป็นสรณะในโลกสาม ยอดเยี่ยมกว่ารสทั้งหลาย
พระธรรมเป็นรัตนะทรงค่ากว่ารัตนะอื่นในโลก พระธรรมแลเป็น
เหตุแห่งการก�ำจัดทุกข์ในภพสาม ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติ
ขวนขวาย ประพฤติธรรมอยู่เสมอเถิด

116
พรหมวิหาร
บทที่ ๓
การแสดงพระธรรมเทศนา
เกี่ยวกับเมตตสูตร เป็นการเจริญเมตตา
และเพิ่มพูนความปรารถนาดี
พระสูตรนี้มีความสำ�คัญยิ่ง
สำ�หรับพุทธศาสนิกชนที่นิยมใช้สวดหรือ
สาธยายในโอกาสต่างๆ
117
พรหมวิหาร
เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากภูตผีปีศาจ และแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
ขณะให้ทานถ้าได้สวดเมตตสูตรและแผ่เมตตาไปด้วย ทั้งผู้ให้
และผู้รับทานจะได้รับอานิสงส์เพิ่มขึ้น ดังนั้น พระภิกษุจึงควรศึกษา
พระสูตรนี้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และควรทรงจ�ำพระสูตรให้ถูกต้อง
และแม่นย�ำ ให้สามารถสวดได้อย่างคล่องแคล่วตลอดจนออกเสียง
ได้ถูกต้องตามอักขรวิธี ขณะที่ฝึกฝนเช่นนี้ เมตตาก็จะเจริญขึ้นด้วย
ประโยชน์มหาศาลก็จะเกิดขึน้ แก่ภกิ ษุนนั้ และทายกทายิกาผูถ้ วายทาน
ด้วย
บทขัดเมตตสูตร๙๙
(ก) ยสฺสานุภาวโต ยกฺขา เนว ทสฺเสนฺติ ภีสนํ ๑๐๐
ยมฺหิ เจวานุยุญฺชนฺโต รตฺตินฺทิวมตนฺทิโต.
(ข) สุขํ สุปติ สุตฺโต จ ปาปํ กิญฺจิ น ปสฺสติ
เอวมาทิคุณูเปตํ ปริตฺตํ ตํ ภณาม เห.
“เหล่าเทวดาย่อมไม่แสดงสิ่งที่น่ากลัว เพราะอานุภาพของ
พระปริตรใด อนึง่ บุคคลผูไ้ ม่เกียจคร้าน เจริญพระปริตรใดทัง้ กลางวัน
และกลางคืน ย่อมหลับสบาย เมื่อหลับย่อมไม่ฝันร้าย ขอเราทั้งหลาย
จงสวดพระปริตรนั้น อันประกอบด้วยคุณอย่างนี้เป็นต้นเถิด”

118
พรหมวิหาร
คาถาสองบทนี้เป็นบทน�ำกล่าวสรรเสริญคุณของเมตตสูตร
ซึ่งโบราณาจารย์ได้ประพันธ์ไว้และสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
เป็นประเพณีที่ผู้สวดมักนิยมน�ำมาสวดก่อนที่จะสวดพระสูตรเพื่อ
เป็นการแสดงอานิสงส์และชักชวนให้ร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์
บทน�ำนี้กล่าวสรรเสริญคุณของพระสูตรว่ามีอานุภาพมาก
และเล่าถึงการที่รุกขเทวดาเมื่อได้ฟังพระสูตรนี้แล้ว ก็ไม่มารบกวน
แสดงรูปหรือเสียงที่น่าหวาดกลัวอีกต่อไป เรื่องเดิมอันเป็นที่มาของ
พระสูตรมีดังนี้ ๑๐๑

รุกขเทวดาหลอกหลอนภิกษุ ๕๐๐ รูป


สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ท่ีพระเชตวันมหา-
วิหาร เขตกรุงสาวัตถี เมื่อใกล้จะเข้าพรรษา ภิกษุ ๕๐๐ รูป ชวนกัน
ไปเข้าเฝ้าขอเรียนพระกรรมฐาน เมือ่ เรียนกรรมฐานแล้วได้ทลู ลาไปหา
สถานที่อันสมควรส�ำหรับบ�ำเพ็ญสมณธรรม คือมีที่พักอันเหมาะสม
และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านที่อาศัยบิณฑบาตได้ เมื่อไปถึงบริเวณ
เชิงเขาแห่งหนึ่งใกล้ป่าหิมพานต์ เป็นที่สงบร่มรื่น จึงได้พักแรมอยู่ ณ
ที่นั้น วันรุ่งขึ้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านที่อยู่ไม่
ไกลนัก เป็นหมู่บ้านค่อนข้างใหญ่ มีประมาณหนึ่งพันหลังคาเรือน
119
พรหมวิหาร
ชาวบ้านเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนิมนต์ให้อยู่จ�ำพรรษา ปลูกกุฏิให้อยู่
รูปละหลัง พร้อมทั้งจัดหาของใช้ต่างๆ เช่น ที่นั่ง ที่วางเท้า และ
หม้อน�้ำ เป็นต้น
วันต่อมา ภิกษุเหล่านัน้ ได้เดินทางต่อไปยังหมูบ่ า้ นอีกแห่งหนึง่
ชาวบ้านก็ได้ถวายอาหารบิณฑบาตและนิมนต์ให้อยู่จ�ำพรรษาใน
หมูบ่ า้ นของตนเช่นเดียวกัน ภิกษุหมูน่ นั้ จึงตกลงจ�ำพรรษาอยูท่ นี่ นั่ และ
ปรารภว่าถ้าสถานที่แห่งนี้ปราศจากอันตราย ก็จะเป็นการดีมาก หลัง
จากนั้นได้เริ่มบ�ำเพ็ญกรรมฐานทั้งกลางวันและกลางคืนในป่าละเมาะ
ใกล้หมู่บ้านแห่งนั้น ในวันฝนไม่ตก ภิกษุเหล่านั้นมักนั่งที่โคนไม้เป็น
ส่วนใหญ่ รุกขเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่บนต้นไม้ เมื่อเห็นผู้ทรงศีลมานั่ง
อยู่ใต้รุกขวิมานของตน ก็ไม่กล้าอยู่ในรุกขวิมาน ต่างพาลูกหลานออก
จากวิมานลงมาอยู่บนพื้นดิน ได้รับความล�ำบากมาก รอคอยเวลาที่
ภิกษุเหล่านัน้ จะจากไป ครัน้ ปรากฏว่าภิกษุหมูน่ นั้ จ�ำพรรษาทีน่ นั่ จึง
วิตกว่าพวกตนกับลูกหลานคงไม่สามารถอยู่นอกวิมานเป็นเวลานานได้
จึงคิดขับไล่โดยท�ำให้หวาดกลัว คือ ท�ำเป็นผีหลอก ร้องเสียงโหยหวน
และส่งกลิ่นเหม็น ในเวลากลางคืนพวกรุกขเทวดาได้เนรมิตตนเป็น
ปีศาจมาปรากฏแก่พวกภิกษุที่ก�ำลังบ�ำเพ็ญภาวนาอยู่ใต้ต้นไม้ พร้อม
กับส่งเสียงโหยหวนน่าหวาดกลัว พวกภิกษุจึงเกิดความหวาดหวั่น
หน้าซีดตัวสั่น ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้กลิ่นเหม็นที่เทวดาเนรมิตขึ้น

120
พรหมวิหาร
ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกลัวจิตไม่สงบ ไม่สามารถบ�ำเพ็ญกรรมฐานได้
ในอรรถกถากล่าวว่า สมองได้เหมือนถูกบีบคั้นด้วยกลิ่นเหม็นนั้น๑๐๒
ค�ำกล่าวนีใ้ กล้เคียงกับความเห็นของแพทย์ปจั จุบนั ทีว่ า่ กลิน่ เหม็นเป็น
สาเหตุให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรงได้ แม้ว่าจะได้รับความทุกข์ทรมาน
อย่างหนัก ภิกษุเหล่านั้นก็ทนอยู่ด้วยขันติที่แรงกล้า มิได้บอกให้เพื่อน
สหธรรมิกได้ล่วงรู้ถึงปัญหาของตน
วันหนึ่ง เมื่อพระมหาเถระผู้เป็นหัวหน้าได้ไต่ถามขึ้น ภิกษุ
เหล่านั้นจึงได้เล่าเรื่องที่ประสบ พระมหาเถระมีความเห็นว่า “เมื่อ
การณ์เป็นเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าสถานที่แห่งนี้ไม่เหมาะสมเป็นที่บ�ำเพ็ญ
สมณธรรม พวกเราควรกลับไปเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วกราบทูลให้
ทรงทราบ และย้ายไปบ�ำเพ็ญกรรมฐานในที่แห่งใหม่จะดีกว่า”

121
พรหมวิหาร
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมตตสูตร
เพื่อให้เทวดาหยุดการหลอกหลอน
เมื่อภิกษุหมู่นั้นกลับไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ทรง
พิจารณาแล้วเล็งเห็นว่าไม่มีที่อื่นในชมพูทวีปจะเหมาะส�ำหรับบ�ำเพ็ญ
กรรมฐานเท่าแห่งนีเ้ ลย จึงมีพระด�ำรัสว่าสถานทีอ่ นื่ ล้วนไม่เหมาะ และ
ทรงแนะน�ำให้พวกภิกษุกลับไปทีเ่ ดิม พร้อมทัง้ ทรงสอนให้ภกิ ษุเหล่านัน้
ประพฤติตนให้สมควรแก่การอยู่ป่า และให้เรียนเมตตสูตรอันเป็น
เครื่องป้องกันภัยอันตรายจากเหล่าเทวดา และยังเป็นแนวทางปฏิบัติ
ธรรมบ�ำเพ็ญกรรมฐานเพือ่ การบรรลุธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ อรรถกถา
ได้กล่าวอธิบายเพิ่มเติมว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสแนะน�ำภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้
“ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอยู่ในราวป่านั้นนั่นแหละ
และจงเคาะระฆังในวันธรรมสวนะ ๘ วันต่อเดือนแล้วจงสวดพระสูตร
นี้ จงท�ำธรรมกถา กล่าวธรรม สนทนาธรรม อนุโมทนากัน จงซ่องเสพ
เจริญท�ำให้มาก ซึ่งกรรมฐานนี้แหละ แม้พวกอมนุษย์เหล่านั้นจักไม่
แสดงอารมณ์นา่ สะพึงกลัวนัน้ แก่พวกเธอ จักเป็นผูห้ วังดี หวังประโยชน์
แก่พวกเธอแน่แท้”๑๐๓

122
พรหมวิหาร
เมื่อได้รับค�ำแนะน�ำจากพระผู้มีพระภาคแล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ก็กลับไปยังป่าแห่งเดิม ได้เจริญเมตตาภาวนาและสวดเมตตสูตร พวก
เทวดาเมื่อเห็นว่าภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรและมีความปรารถนาดีต่อ
พวกตน ก็พอใจมีเมตตาตอบ คอยช่วยเหลือให้ได้รบั ความสะดวกสบาย
ภิกษุเหล่านั้นเมื่อได้เจริญเมตตาและบ�ำเพ็ญวิปัสสนาโดยมีเมตตา
ฌานเป็นบาทฐานก็ได้บรรลุอรหัตตผลในพรรษานั้นเอง

ในการสวดเมตตสูตรควรเจริญเมตตาด้วย
ในบาทที่ ๓ ของคาถาแรก ค�ำว่า อนุยุญฺชนฺโต (เจริญ) มิได้
หมายถึงการสาธยายเมตตสูตรเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งหมายให้เจริญ
เมตตาภาวนาด้วย เพราะในเมตตสูตรซึ่งกล่าวถึงอานิสงส์ของเมตตา
นัน้ หมายถึงอานิสงส์ของเมตตาเจโตวิมตุ ติ ซึง่ ไม่ได้หมายเฉพาะการ
สวดเมตตสูตร แต่หมายถึงอัปปนาฌาน ข้อนี้มีกล่าวอธิบายไว้ใน
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย๑๐๔ ดังนั้น หากประสงค์จะได้รับอานิสงส์ที่
กล่าวว่า สุขํ สุปติ คือ หลับเป็นสุข เป็นต้น ก็ควรเจริญเมตตาภาวนา
ไปพร้อมกับการสวดพระสูตรด้วย
ต่อไปนี้ จะได้อธิบายความของคาถาในเมตตสูตร๑๐๕

123
พรหมวิหาร
เมตตปริตร
๑. กรณียมตฺถกุสเลน
ยนฺต สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ
สูวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี.
ภิกษุผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประสงค์จะบรรลุแดนสงบ
พึงอบรมสิกขาสาม ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง แน่วแน่
ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่ถือตัว
(๑) พึงเป็นคนอาจหาญสามารถปฏิบัติได้
ว่าโดยสรุปก็คือ บุคคลผู้รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ หาก
ประสงค์จะบรรลุพระนิพพานอันเป็นแดนสงบ จะต้องอบรมสิกขาสาม
คือ ศีล สมาธิ และปัญญา กล่าวคือ ต้องสามารถปฏิบัติด้วยการเจริญ
ศีล สมาธิ และปัญญา โดยไม่กังวลถึงร่างกาย และแม้ชีวิตก็สละได้
อธิบายเพิม่ เติมว่า ความสุขทางโลกทีค่ นทัว่ ไปอาจแสวงหามา
ได้ด้วยการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ท�ำไร่ท�ำนา ค้าขาย หรือรับ
ราชการ หรือทรัพย์สนิ เงินทองทีม่ ปี ระโยชน์ในการด�ำรงชีพ มีประโยชน์
ส�ำหรับคนทั่วไป ฉันใด ศีล สมาธิ และปัญญา ก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการเดินทางออกจากสังสารวัฏ ฉันนั้น จึงจ�ำเป็นต้องพัฒนาให้
124
พรหมวิหาร
เจริญขึ้น อย่างน้อยถ้าท�ำศีลให้บริบูรณ์ ก็จะไม่ตกอบาย ได้มาเกิด
ในโลกมนุษย์หรือเทวโลกอันเป็นสุคติภูมิ คือภูมิที่มีความเป็นอยู่ที่ดี
เป็นส่วนมาก ถ้าบรรลุฌานสมาธิขั้นใดขั้นหนึ่ง ก็จะได้เลื่อนชั้นไปอยู่
ในพรหมภูมทิ มี่ คี วามสุขมากขึน้ และมีอายุทยี่ นื ยาวหลายกัป ถ้าบรรลุ
วิปัสสนาปัญญาถึงขั้นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ก็จะพ้นจาก
อบายภูมิทั้ง ๔ โดยเด็ดขาด และจะได้บรรลุอรหัตตผลหลังจากที่เกิด
ในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ถ้าบรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผลในชาตินี้
ก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในสังสารวัฏ ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป นี้คือ
เหตุที่ท�ำให้ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด มีประโยชน์ที่สุด
ในสังสารวัฏนี้
ผู้ที่เข้าใจประโยชน์ของการอบรมสิกขาสาม คือ ศีล สมาธิ
และปัญญาแล้ว จะต้องเป็นคนอาจหาญสามารถบ�ำเพ็ญศีลเป็นต้นได้
โดยไม่กังวลถึงความยากล�ำบากในการปฏิบัติ จะต้องไม่รู้สึกผิดหวัง
หรือท้อแท้ว่า การรู้แจ้งธรรมะนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม จะต้องไม่เพ่งโทษ
ของการปฏิบัติ หรือรู้สึกว่าปฏิบัติไปแล้วไม่มีความสุข เลิกปฏิบัติจะ
ดีกว่า เห็นว่าการเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิง่ ทีย่ ากล�ำบากและน่าเบือ่ หน่าย
จะต้องไม่ล้มเลิกการปฏิบัติเพราะความเกียจคร้านและอ่อนแอ และ
จะต้องมีคติประจ�ำใจว่า

125
พรหมวิหาร
“ประโยชน์ที่แท้จริงของศีล สมาธิ และปัญญา จะได้มาก็ด้วย
ความเพียรที่แรงกล้า๑๐๖ เมื่อเข้าใจแล้วจึงควรปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ประโยชน์เหล่านั้น”
ประโยคว่า “ประโยชน์ที่แท้จริงของศีล สมาธิ และปัญญาจะ
ได้มาก็ด้วยความเพียรที่แรงกล้า” นั้น คล้อยตามค�ำว่า อตฺถกุสเลน
(ผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์) บุคคลจึงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมใน
การปฏิบัติ คือ มีศรัทธา (ความเชื่อมั่นเลื่อมใสอย่างแรงกล้า) และมี
วิริยะ (ความเพียรในการปฏิบัติ) เพราะผู้ที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้าเห็น
ประโยชน์ของการปฏิบัติเท่านั้นจึงจะสามารถทุ่มเทความพยายามให้
กับการปฏิบัติธรรม ซึ่งจะน�ำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด
หากบุคคลใดปราศจากศรัทธาในค�ำสอนของพระบรมศาสดา
ก็จะไม่สามารถอบรม ศีล สมาธิ และปัญญาได้ บางคนอ้างตนเป็น
ชาวพุทธ แล้วกล่าวว่าไม่จ�ำเป็นต้องปฏิบัติในสิกขาสาม เพราะมีแต่
จะท�ำให้ล�ำบาก การพูดเช่นนี้ เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรม
จึงไม่มีความพอใจในการอบรมศีล สมาธิ และปัญญา และเนื่องจาก
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า กรณียํ (พึงอบรม) หมายถึง เป็นสิง่ ควรกระท�ำ
จะเว้นเสียมิได้ และ สกฺโก หมายถึง จะต้องมีความอาจหาญสามารถ
ที่จะปฏิบัติ ดังนั้น จึงถือว่าผู้ที่ไม่สามารถหรือไม่พอใจจะปฏิบัตินั้น
มีความเห็นผิดจากค�ำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค และเป็นผู้ที่ขาด
126
พรหมวิหาร
ศีล สมาธิ และปัญญา จึงไม่ต่างจากคนยากจนที่ไม่มีเงินทองติดตัว
และย่อมจะต้องมีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
นอกจากนี้ ความเพียรพยายามอย่างไม่ยอ่ ท้อเป็นสิง่ ส�ำคัญมาก
ถ้าไม่พยายามก็จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ยาก และเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์
การบ�ำเพ็ญสมาธิและปัญญาก็ย่อมเป็นไปได้ยากด้วย บางคนยังลังเล
หรือเกียจคร้านที่จะฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน ส�ำหรับคนที่มีวิริยะมาก จะพยายามอย่างไม่ย่อท้อที่จะ
กระท�ำสิ่งที่จ�ำเป็นเพื่อให้ส�ำเร็จสิ่งที่ประสงค์ การช�ำระศีลให้บริสุทธิ์
ต้องใช้ความพยายามอย่างที่สุด ผู้ปฏิบัติจึงต้องเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว การ
ปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ระดับนีไ้ ด้ ต้องอาศัยศรัทธาและวิรยิ ะอย่างแรงกล้า ดังนัน้
จึงต้องปลูกฝังคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ในจิตใจ
(๒) และ (๓) พึงเป็นคนตรงและแน่วแน่
ผู้ที่บวชเป็นภิกษุ ในระยะแรกอาจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ด้วยก�ำลังศรัทธาและวิริยะที่ซื่อตรงแล้วอาจลดลงในภายหลัง ท�ำให้
การรักษาศีลหย่อนลง ผู้ที่ปฏิบัติได้อย่างไม่บกพร่องตลอดชีวิตจึงจะ
เรียกได้ว่ารักษาความแน่วแน่ให้บริสุทธิ์ได้ ความหมายอีกอย่างก็คือ
จะต้องไม่เสแสร้งหรืออวดอ้างคุณสมบัติที่ไม่มีในตน จึงจะเป็นผู้มี
ความซื่อตรง (อุชุ) ถ้าภิกษุนั้นไม่มีมารยาสาไถย จึงเป็นผู้แน่วแน่
(สุหุชุ) หรืออีกนัยหนึ่ง คือต้องไม่คดโกงด้วยกายหรือวาจา จึงเป็นผู้
127
พรหมวิหาร
ซือ่ ตรง (อุช)ุ ถ้าผูน้ นั้ ปราศจากเล่หเ์ หลีย่ มกลโกงทางใจ จึงเป็นผูแ้ น่วแน่
(สุหุชุ) ความหมายประการสุดท้ายคือ ถ้าผู้ใดงดเว้นจากการอวดอ้าง
คุณสมบัติที่ตนไม่มี ผู้นั้นเป็นคนซื่อตรง (อุชุ) ถ้าภิกษุใดไม่รับสิ่งของ
ที่ผู้มีศรัทธาน�ำมาถวายเพราะเข้าใจผิดว่าภิกษุผู้นั้นประกอบด้วยคุณ
วิเศษซึ่งภิกษุนั้นไม่มี ภิกษุนั้นก็จัดได้ว่าเป็นผู้แน่วแน่ (สุหุชุ)๑๐๗
ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ความเป็นผู้ซื่อตรงและ
แน่วแน่มคี วามส�ำคัญอย่างยิง่ ผูท้ พี่ ดู เป็นเลศนัยว่าตนบรรลุธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งทั้งที่รู้อยู่ว่ายังไม่ได้บรรลุ เป็นการอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มี
ในตน แสดงว่าผู้นั้นไม่มีความซื่อสัตย์ เขาจะไม่ประสบความก้าวหน้า
ในการปฏิบัติเลย และยากที่พระวิปัสสนาจารย์จะสั่งสอนหรือช่วย
ชี้ทางที่ถูกต้องให้ ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตนอย่าง
ตรงไปตรงมาและไม่รู้หน้าที่ว่าจะต้องพูดความจริงกับวิปัสสนาจารย์
เพราะไม่มคี ณ ุ สมบัตขิ องความซือ่ ตรงแน่วแน่ ถ้าจิตฟุง้ ซ่านหรือไม่อยู่
กับอารมณ์กรรมฐาน เขาต้องยอมรับในข้อนี้และรายงานอารมณ์กับ
วิปสั สนาจารย์ตามความเป็นจริง คือ บอกความจริงแก่วิปัสสนาจารย์
เกี่ยวกับประสบการณ์ในขณะปฏิบัติ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างหรือไม่ เมื่อ
มีความจริงใจและซื่อตรง วิปัสสนาจารย์จึงจะช่วยแนะน�ำทางปฏิบัติ
ทีถ่ กู ต้องให้ได้ ถ้าผูป้ ฏิบตั จิ ริงใจและเคารพค�ำแนะน�ำสัง่ สอนของ
วิปสั สนาจารย์ สมาธิและญาณที่รู้แจ้งตามความเป็นจริงจึงจะพัฒนา

128
พรหมวิหาร
ให้เจริญขึน้ ได้ เมือ่ บรรลุถงึ ขัน้ อุทยัพพยญาณ ปัสสัทธิ (ความสงบ) ลหุตา
(ความเบา) มุทุตา (ความนุ่มนวล) และกัมมัญญตา (ความควรแก่
การงาน) ปาคุญญตา (ความคล่องแคล่ว) และ อุชุกตา (ความซื่อตรง
แน่วแน่) ก็จะเกิดขึ้นในจิตอย่างเห็นได้ชัด
(๔) พึงเป็นคนว่าง่าย
คนที่หัวดื้อ ไม่รับฟังค�ำแนะน�ำที่ดี หรือค�ำตักเตือนจากผู้อื่น
เรียกว่า คนว่ายาก (ทุพฺพจ) คนจ�ำพวกนี้จะดันทุรัง และดื้อดึง ชอบ
โต้เถียงขัดคอผู้อื่นอยู่เป็นประจ�ำ และมีความคิดเห็นตรงข้ามกับคน
อื่นเสมอ ในสายตาเขาคนอื่นอาจเป็นพวกจอมบงการ เจ้ากี้เจ้าการ
เมื่อครูอาจารย์กล่าวตักเตือนก็จะโต้เถียง หรือท�ำอาการหยาบคาย
และหากถูกถามตรงๆ ก็จะไม่ยอมรับว่าเป็นความผิดของตน เวลานิ่ง
เฉยก็มักท�ำให้คนอื่นเดือดร้อนร�ำคาญ และถึงแม้บางครั้งจะยอมรับ
ความผิดของตน แต่ก็จะไม่เลิกการกระท�ำที่ผิดหรือแก้ไข ในคัมภีร์
อรรถกถากล่าวว่า คนพวกนี้อยู่ห่างไกลยิ่งนักจากการบรรลุธรรม๑๐๘

129
พรหมวิหาร
บุคคลที่ว่าง่าย (สุวจ) และพร้อมที่จะร่วมมือหรือท�ำตามค�ำ
แนะน�ำสั่งสอน นอกจากจะยอมรับค�ำแนะน�ำที่ดี หรือค�ำตักเตือนที่
จริงใจด้วยความยินดี แล้วยังพร้อมปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ คัมภีร์
อรรถกถากล่าวว่า คนเช่นนี้อยู่ใกล้การบรรลุธรรม๑๐๙ ผู้ปฏิบัติที่เชื่อฟัง
ค�ำแนะน�ำสัง่ สอนของวิปสั สนาจารย์ มักจะประสบความก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติจนสามารถบรรลุวิปัสสนาญาณได้
คนหัวดื้อที่ไม่ค่อยเชื่อฟัง มักจะโกรธง่ายและไม่สามารถเจริญ
เมตตาภาวนาได้ เพราะมีแต่ความไม่พอใจผูอ้ นื่ ทีพ่ ยายามให้คำ� แนะน�ำ
ที่ดี ผู้ปฏิบัติที่ดีจึงต้องเป็นคนว่าง่าย ถ้าพิจารณาตามเหตุผลแล้ว
เขาจะเห็นว่าค�ำแนะน�ำของผูท้ หี่ วังดีนนั้ ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ตวั เขา
เอง เปรียบได้กับคนที่มีเขม่าเปื้อนใบหน้า ย่อมเป็นที่น่าขบขันส�ำหรับ
คนทั่วไปในงานเลี้ยงหรือในที่สาธารณะ หากมีคนบอกให้รู้ว่าใบหน้า
เปือ้ นเขม่าเขาก็จะได้ลา้ งออกได้ และจะไม่ถกู ล้อเลียนหรือเป็นตัวตลก
คนที่มีข้อบกพร่องเมื่อได้รับการชี้แนะจากผู้อ่ืน ย่อมจะต้องขอบคุณ
ในความหวังดีของเขา ดังนั้น เมื่อมีเพื่อนหรือญาติพี่น้องชี้ข้อบกพร่อง

130
พรหมวิหาร
ของเราให้ จึงควรดีใจแล้วรีบแก้ไขข้อบกพร่องนั้นโดยเร็ว พระราหุล
นั้น เมื่อเป็นสามเณรอายุ ๗ ปี ได้ก่อกองทรายขึ้นแล้วอธิษฐานขอให้
ได้รับค�ำสั่งสอนมากเท่ากับเม็ดทรายในกองทรายนั้น๑๑๐ ผู้ที่เจริญ
เมตตาภาวนาหรือเจริญภาวนาอย่างอืน่ ๆ ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นผูว้ า่
ง่ายจึงจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ

(๕) พึงเป็นคนอ่อนโยน
ส�ำหรับพระภิกษุนั้น พระวินัยห้ามมิให้พูดจาหรือให้สิ่งของแก่
ฆราวาสไม่ว่าหญิงหรือชายเพื่อเป็นการประจบประแจง หรือพยายาม
ให้เขาเคารพนับถือ อย่างไรก็ตาม ในเรือ่ งทีไ่ ม่ผดิ พระวินยั ภิกษุกค็ วร
พูดหรือปฏิบัติต่อทายกทายิกาอย่างนุ่มนวลอ่อนโยน และที่ส�ำคัญยิ่ง
ก็คอื จะต้องปฏิบตั ติ นให้เหมาะสม สุภาพ มีไมตรี ไม่หนุ หัน แข็งกระด้าง
หรือเกียจคร้านในการปฏิบัติ

(๖) ไม่พึงเป็นคนถือตัว
ภิกษุไม่ควรถือตัว เย่อหยิ่งในชาติตระกูล ในความส�ำเร็จด้าน
ปริยัติและปฏิบัติ หรือถือความส�ำคัญของนิกายหรือหมู่คณะของตน
ไม่ควรประพฤติหยาบคายแข็งกระด้างหรือดูถูกผู้อื่นเพราะความถือตัว
การดูหมิน่ ผูอ้ นื่ เพราะส�ำคัญตน หรือไม่เห็นความส�ำคัญของคนอืน่ จะ
ท�ำให้การเจริญเมตตาภาวนาก้าวหน้าได้ยาก ภิกษุบางรูปไม่เคารพ

131
พรหมวิหาร
อ่อนน้อมต่อภิกษุที่ควรเคารพ เพียงเพราะนิกายต่างกัน จึงยากที่จะ
บ่มเพาะเมตตาจิตที่แท้ให้เจริญขึ้นได้ หากพิจารณาในทางโลกียวิสัย
คนที่แสดงความเย่อหยิ่งต่อผู้ที่ดูแล้วเหมือนจะไม่ส�ำคัญ หรือไม่มี
ความสามารถ อาจต้องล�ำบากหรือประสบภัย ดังเช่นราชวงศ์ศากยะ
ที่ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะประหารจนแทบไม่เหลือ ด้วยเหตุจากมานะของ
ราชตระกูล๑๑๑ ดังนั้น คนเราควรมีจิตใจที่อ่อนโยนไม่เย่อหยิ่ง หรือ
ส�ำคัญตน ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาว่า บุคคลควรเป็นผู้ถ่อมตน
เช่นเดียวกับพระสารีบุตรเถระที่มีความอ่อนน้อมเหมือนกับเด็ก
จัณฑาล๑๑๒
ในสีหนาทสูตร๑๑๓ ได้กล่าวถึงความอ่อนน้อมของพระสารีบตุ ร-
เถระไว้ดังนี้ ขอทานไม่ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิงเมื่อถือภาชนะ
เข้าไปในหมูบ่ า้ น ย่อมสวมเสือ้ ผ้าขะมุกขะมอมมีกริ ยิ าอาการอ่อนน้อม
ท่านพระสารีบตุ รเถระก็เช่นเดียวกัน ได้กราบทูลพระพุทธองค์วา่ “ข้า
พระพุทธเจ้ามีความอ่อนน้อมถ่อมตนเหมือนกับเด็กจัณฑาลที่ก�ำลังขอ
อาหาร” พระสารีบตุ รเถระเป็นผูเ้ กิดมาในตระกูลพราหมณ์ทมี่ วี รรณะสูง
แต่สามารถลดตัวลงมาปฏิบัติเหมือนเด็กจัณฑาลได้นี้นับเป็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ สมควรที่ผู้ปฏิบัติจะถือเป็นแบบอย่าง

132
พรหมวิหาร
ต่อไปเป็นคาถาที่ ๒
๒. สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ
อปฺปกิจโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ
อปฺปคพฺโภ กุเลสฺวนนุคิทฺโธ.
พึงเป็นผูส้ นั โดษ เลีย้ งง่าย มีกจิ ธุระน้อย ด�ำเนินชีวติ เรียบง่าย
มีอินทรีย์สงบ มีปัญญารักษาตน มีการส�ำรวมกายวาจาใจ ไม่พัวพัน
กับสกุลทั้งหลาย

(๗) พึงเป็นคนสันโดษ
คนสันโดษจะมีความพอใจ ๓ ประการ คือ (๑) พอใจในสิ่ง
ที่มีอยู่ (๒) พอใจในสิ่งที่ตนเองหามาได้ (๓) พอใจในสิ่งที่เหมาะสม
แก่ตน ลักษณะความสันโดษ ๓ ประการนี้ เมื่อคูณด้วยปัจจัย ๔ ที่
จ�ำเป็นส�ำหรับภิกษุ แล้วจะได้เป็นสันโดษ ๑๒ ประการ (๓ x ๔ = ๑๒)
ภิกษุควรมีความสันโดษทั้ง ๑๒ ประการนี้

133
พรหมวิหาร
ความสันโดษประการแรก ภิกษุพึงมีความพอใจในปัจจัย คือ
อาหาร จีวร วัด หรือเสนาสนะที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตามที่
จะพึงหาได้ ส�ำหรับอาหารบิณฑบาต พระพุทธองค์ทรงสอนภิกษุ
เมื่อแรกอุปสมบทว่า “การบวชอาศัยโภชนะคือค�ำข้าวที่แสวงหาด้วย
ล�ำแข้ง เธอพึงกระท�ำความอุตสาหะในโภชนะนั้นตลอดชีพ”๑๑๔
หมายความว่า ภิกษุพึงรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัดด้วยการอาศัย
อาหารบิณฑบาตที่ได้รับจากบ้านของผู้มีศรัทธาด้วยตนเอง จะน้อย
หรือมาก ก็พึงยังชีพด้วยอาหารที่ได้มาด้วยการบิณฑบาตนี้ตลอดชีวิต
โดยไม่ท�ำตนให้เป็นภาระหรือท�ำความล�ำบากแก่ผู้อื่น
การหุงหาอาหารมาถวายภิกษุทุกวัน อาจเป็นภาระหนักแก่ผู้
อุปัฏฐาก แต่ถ้าพระภิกษุเดินบิณฑบาตไปตามบ้าน ย่อมได้ภัตตาหาร
อย่างเพียงพอแก่การบริโภคโดยไม่รบกวนผู้ใด จึงควรพอใจในอาหาร
จากการบิณฑบาต หากพระภิกษุที่ไม่อาพาธแต่ขออาหารจากบุคคลที่
ไม่ใช่ญาติ ทีไ่ ม่ได้ปวารณา (คือเชือ้ เชิญให้ขอได้) ก็จะเป็นการประพฤติ
ผิดพระวินัย เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ถ้าพระภิกษุรับเงินทองเพื่อซื้อ
อาหาร หรือขอข้าวมธุปายาสเป็นต้นโดยไม่มีผู้เชิญ หรือแม้ในเวลาที่
มีผู้มาถวายภัตตาหาร ถ้าผู้ถวายไม่ได้ถาม พระภิกษุก็ไม่พึงขอ การ
พยายามขอเงินบริจาคนี้ผิดพระวินัย บางครั้งเมื่อขอแล้วอาจมีคน
ถวายเงิน ถ้าพระภิกษุรับเงินนี้ ก็จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ การ

134
พรหมวิหาร
ประพฤติผิดพระวินัยเช่นนี้เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระศาสนา
เพราะท�ำให้คนทั่วไปไม่เลื่อมใส พระภิกษุที่ดีควรพึงพอใจในอาหาร
ตามมีตามได้
ปัจจัยด้านเครื่องนุ่งห่มนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้พอใจใน
บังสุกูลจีวร หมายถึง จีวรที่ท�ำจากผ้าซึ่งเก็บรวบรวมมาจากกองขยะ
ถนน หรือป่าช้า และทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้สอยจีวรที่มีผู้น�ำมา
ถวายด้วยศรัทธา จึงควรพอใจในจีวรที่ได้มา การแสวงหาจีวรโดยวิธี
อื่นนอกจากที่ได้ทรงอนุญาตไว้ถือเป็นการประพฤติผิดพระวินัย
ส่วนในด้านเสนาสนะทีอ่ ยูอ่ าศัยนัน้ พระผูม้ พี ระภาคทรงสอน
ให้ภิกษุอยู่ตามโคนไม้ ใต้ร่มไม้ ในวัด หรือกุฏิที่มีเจ้าภาพสร้างถวาย
พระภิกษุพึงมีความพอใจเสนาสนะตามที่มีหรือที่ได้รับ ถ้าไปรับเงิน
ทองหรือขอให้สร้างกุฏดิ ว้ ยทรัพย์นนั้ หรือรับเงินด้วยตนเองแล้วเก็บไว้
เป็นสมบัติตน หรือใช้จ่ายทรัพย์นั้นเพื่อสร้างกุฏิ จะถือเป็นอาบัติ และ
ภิกษุใดที่เข้าอยู่ในกุฏิที่ได้มาในลักษณะนี้ ก็ต้องอาบัติด้วย
ปัจจัยสุดท้ายเกี่ยวกับยารักษาโรค พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ
ไว้ว่า ภิกษุพึงฉันเภสัชท�ำด้วยน�้ำมูตรของโค เรียกว่า ปูติมุตตะ (น�้ำ
มูตรเน่า)๑๑๕ กล่าวกันว่ามีบางคนหายจากโรคปวดประสาทด้วยการ
กินยาที่ท�ำจากน�้ำมูตรโค นอกจากนั้น เภสัชในที่นี้ยังหมายรวมถึง
ยาอื่นๆ ทั้งหมด พระภิกษุที่อาพาธอาจขอยารักษาโรคจากผู้ใดก็ได้
135
พรหมวิหาร
โดยไม่ผิดพระวินัย แต่หากไปขอเงินจากผู้อื่นเพื่อซื้อยาแล้วบริโภคยา
นัน้ ก็จะต้องอาบัตปิ าจิตตีย์ ดังนัน้ ความสันโดษในยารักษาโรคตามมี
ตามได้นี้ ก็นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญ ความสันโดษในสิ่งที่มีอยู่นี้ เรียกตาม
ศัพท์ว่า ยถาลาภสันโดษ (ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่) ส่วนภิกษุที่อาพาธ
แล้วได้รับอาหารเป็นต้นที่ไม่เหมาะสมแก่ตน จึงไปแลกเอาอาหาร
เป็นต้นที่เหมาะสมกับบุคคลอื่นอย่างถูกต้องตามพระวินัย จัดว่าเป็น
ผู้สันโดษในสิ่งที่ตนเองหามาได้ เรียกว่า ยถาพลสันโดษ (ความพอใจ
ในสิ่งที่ตนเองหามาได้)
นอกจากนี้ การได้ปัจจัย ๔ มาด้วยความบริสุทธิ์ และน�ำสิ่ง
ของที่ได้มาซึ่งประณีตเกินฐานะของตน ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่
เหมาะสมแก่ฐานะ เรียกว่า ยถาสารุปปสันโดษ (ความพอใจในสิ่งที่
เหมาะสมแก่ตน) หมายความว่า มีความพอใจในสิ่งของที่เหมาะสม
แก่ฐานะและจุดประสงค์ของตน กล่าวโดยสรุปก็คือ ควรมีความพอใจ
กับสันโดษทั้งสามประการดังที่กล่าวมาแล้ว หรืออาจจ�ำแนกออกไป
เป็นความพอใจ ๑๒ ประการ มิฉะนั้นจะถือว่าขาดความสันโดษ
ในทางโลกียวิสัย ความพอใจในฐานะของตนเองเป็นสิ่งส�ำคัญ
ถ้าหาไม่ได้กจ็ ะมีแต่ความทุกข์ ความปรารถนาในสิง่ ทีอ่ ยูเ่ กินเอือ้ ม อาจ
เป็นเหตุให้พยายามท�ำสิ่งที่ไม่สมควรเช่นท�ำผิดกฎหมายเพื่อให้ได้ของ
นั้นมา หรือถ้าอยากได้สิ่งใดแล้วไม่ได้ ก็ท�ำให้กระวนกระวายหาความ
136
พรหมวิหาร
สุขไม่ได้ ในปัจจุบนั มีเศรษฐีมากมายทีเ่ ป็นทุกข์เพราะไม่พอใจกับฐานะ
และสมบัติที่มีอยู่ แต่คนยากจนที่หาเช้ากินค�่ำ ถ้าพอใจกับชีวิตของตน
ก็กลับเป็นสุขกว่า เหตุนพี้ ระพุทธองค์จงึ ตรัสว่า สนฺตฏุ ฺ ปิ รมํ ธนํ (ความ
พอใจเป็นทรัพย์อันประเสริฐที่สุด)๑๑๖
(๘) พึงเป็นคนเลี้ยงง่าย
อาหารและจีวรที่มีผู้น�ำมาถวายนั้น ถึงแม้จะไม่ดีพอหรือไม่
ถูกใจ ภิกษุก็ควรรับมาโดยไม่บ่นหรือแสดงความไม่พอใจ ภิกษุจะต้อง
รับถวายของโดยไม่เลือกรับเฉพาะสิ่งที่ชอบ มิฉะนั้นจะเป็นภาระแก่ผู้
อุปัฏฐาก
ภิกษุที่พิถีพิถันบางรูปถ้าไม่ได้อาหารตามที่ต้องการอาจไม่
พอใจหรือถึงกับแสดงสีหน้า แม้วา่ อาหารนัน้ จะเป็นอาหารทีด่ มี ปี ระโยชน์
บางครั้งอาจแสดงความไม่พอใจหรือความโลภออกมาด้วยการต่อว่าผู้
มาถวายหรือสละอาหารนั้นให้แก่ภิกษุรูปอื่นต่อหน้าโยมที่น�ำมาถวาย
นั้น ภิกษุเช่นนี้จัดว่าเป็นคนที่เอาใจยากและเลี้ยงยาก (ทุพฺภโร) ส่วน
ภิกษุทเี่ ลีย้ งง่าย (สุภโร) นัน้ จะรับอาหารทีม่ ผี ถู้ วายด้วยสีหน้าทีพ่ งึ พอใจ
ไม่วา่ อาหารนัน้ จะประณีตหรือไม่ ภิกษุทโี่ ลภมากและเลีย้ งยากจะเจริญ
เมตตาภาวนาได้ยาก และบรรลุวิปัสสนาญาณหรือฌานสมาธิอื่นๆ ได้
ยากเช่นกัน ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ภิกษุท�ำตนเป็นผู้เลี้ยง
ง่าย เพือ่ ให้สามารถประสบความก้าวหน้าในการเจริญภาวนาได้โดยง่าย
137
พรหมวิหาร
(๙) พึงเป็นผู้มีกิจธุระน้อย
ผู้ปฏิบัติที่ประสงค์จะเจริญภาวนาอย่างจริงจัง ควรหลีกเลี่ยง
การปฏิบัติหน้าที่อื่น หรือพยายามไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการงานอื่น
ยกเว้นเรื่องจ�ำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่าพึง
เป็นผู้มีกิจธุระน้อย
(๑๐) พึงเป็นผู้ด�ำเนินชีวิตเรียบง่าย
ค�ำว่า เรียบง่าย หมายถึง เบาสบาย คล่องแคล่ว คือ มีความ
มัธยัสถ์ พอใจในบริขารที่จ�ำเป็นส�ำหรับภิกษุ ๘ อย่าง มีบาตรและ
จีวรเป็นต้น การมีข้าวของส่วนตัวมากเป็นภาระที่ต้องดูแลจัดการ จะ
ไปที่ไหนก็ต้องขนไปด้วยท�ำให้ล�ำบากไม่คล่องตัว บริขาร ๘ อย่าง
ของพระภิกษุ คือ จีวร ๓ ผืน บาตร ประคดเอว เข็มเย็บผ้า มีดโกน
138
พรหมวิหาร
และผ้ากรองน�้ำ๑๑๗ ทั้งหมดนี้ไม่เป็นภาระในการเก็บรักษาและน�ำ
ติดตัวไปในที่ต่างๆ ดังนั้นพระภิกษุที่ด�ำรงชีวิตโดยอาศัยเพียงบริขาร
๘ อย่างนี้ จึงจัดเป็นผู้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายไม่ยุ่งยาก
ทุกวันนี้ แม้เข็มเย็บผ้าอาจจ�ำเป็นน้อยลง แต่ควรพกเข็มและ
ด้ายติดตัวเวลาเดินทางไกล ซึ่งไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ภิกษุบางรูปไม่น�ำ
บาตรไปในเวลาเดินทางเพราะเกรงจะไม่สะดวก และเนื่องจากอาหาร
หาได้ง่ายในที่ที่จะไป แต่ในครั้งสมัยพุทธกาลที่ผ่านมาช้านาน เมื่อ
พระภิกษุเดินทางไปประชุมสงฆ์ ท�ำสังฆกรรม หรือท�ำอุโบสถกรรม
ท่านเหล่านัน้ จะน�ำบาตรและไตรจีวรไปด้วยเสมอ ข้าพเจ้าจึงสอนพระ
ลูกศิษย์ให้นำ� บาตรติดตัวไปในเวลาเดินทางไกล หรือเวลาทีไ่ ด้รบั นิมนต์
ไปฉันภัตตาหาร บริขารที่ส�ำคัญรองลงมาได้แก่ ผ้ากรองน�้ำ ถ้าจะเดิน
ทางไปที่ไกลเกินกว่าครึ่งโยชน์ (๖.๓๖ ไมล์ หรือ ๑๐.๒๕ กม.)๑๑๘
พึงน�ำผ้ากรองน�้ำไปด้วย มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏ๑๑๙ หมายความ
ว่า ภิกษุนั้นท�ำผิดข้อวินัยของสงฆ์ ดังนั้น ถ้าไม่มีผ้ากรองน�้ำ ก็ควร
น�ำผ้าเช็ดหน้าไป โดยคิดว่าถ้าจ�ำเป็นก็จะใช้ผ้าเช็ดหน้านี้กรองน�้ำ ถ้า
ไม่นำ� ผ้าเช็ดหน้าไป อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ให้คดิ ว่าถ้าจ�ำเป็นก็จะใช้จวี รทีห่ ม่
อยู่นี้ส�ำหรับกรองน�้ำ จึงจะไม่ต้องอาบัติ

139
พรหมวิหาร
ภิกษุที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ย่อมไม่
เห็นว่าการพกพาบริขารที่จ�ำเป็น ๘ อย่างของภิกษุติดตัวไปนั้นเป็น
สิ่งยุ่งยากหรือล�ำบาก และเมื่อจ�ำเป็นก็สามารถน�ำบริขาร ๘ อย่างนี้
มาใช้ได้
(๑๑) พึงเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ
ค�ำว่า อินทรีย์ หมายถึง ทวาร ๖ หรืออายตนะภายใน ๖
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรามองเห็นเพราะมีตา และจะเห็น
ได้ชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถของประสาทตา ดังนั้น ตา
จึงเป็นใหญ่ เป็นผู้น�ำในการเห็นนี้เอง จึงเรียกตาว่า จักขุนทรีย์ ส่วน
หูทไี่ ด้ยนิ จมูกทีร่ กู้ ลิน่ ลิน้ ทีร่ รู้ ส กายทีท่ ำ� หน้าทีร่ สู้ มั ผัสนัน้ ก็เป็นใหญ่
เป็นผู้บัญชาการท�ำหน้าที่ของตน ดังนั้น ท่านจึงเรียกหูว่า โสตินทรีย์
เป็นต้น อินทรีย์เหล่านี้จ�ำเป็นต้องควบคุมให้อยู่ในความส�ำรวมด้วยจิต

140
พรหมวิหาร
ทีส่ งบ ถ้าตาเห็นรูปทีส่ วยงาม หรือหูได้ยนิ เสียงไพเราะ บุคคลนัน้ ก็จะ
ถูกดึงดูดไปหาอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น และเห็นว่าเป็นสิ่งน่าปรารถนา
ท�ำให้ไม่สำ� รวม และจะไม่สามารถควบคุมกิรยิ าอาการให้เป็นปกติ แต่
จะยิ้มหรือหัวเราะเมื่อได้สูดกลิ่นหอม ลิ้มรสอร่อย หรือได้รับสัมผัสที่
เป็นสุข ในทางตรงกันข้าม เมื่อใดเห็นภาพที่น่าเกลียด ได้ยินเสียงที่
ไม่เพราะ หรือได้กลิน่ เหม็น เป็นต้น ก็จะรูส้ กึ กระสับกระส่ายไม่เป็นสุข
และถ้าไม่สามารถอดทนต่ออารมณ์เหล่านัน้ ได้ ก็อาจจะบ่นพึมพ�ำหรือ
แสดงอาการไม่พอใจออกมา
ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้องพยายามฝึกความอดทน และส�ำรวม
จิตใจให้อยู่ในความสงบ ไม่ปรุงแต่งอารมณ์ว่าดีหรือไม่ดี อีกทั้งไม่ตอบ
สนองต่ออารมณ์ทั้งดีและไม่ดีที่มากระทบในเชิงลบหรือบวก เพราะ
จะก่อให้เกิดกิเลสขึ้นในใจ ทางที่ดีที่สุดคือต้องก�ำหนดรู้ว่าเป็นเพียง
สภาวะเห็นหรือได้ยินเป็นต้น ในขณะที่เห็นหรือได้ยินนั้น ส�ำหรับผู้ที่
ไม่เคยฝึกเจริญสติมาก่อน อาจรู้สึกว่าการก�ำหนดรู้เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
จึงควรเริ่มต้นด้วยการไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ที่มากระทบว่าเป็นอารมณ์
ที่ดีหรือไม่ดีก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็นทุกขเวทนาอย่าง
แรงกล้า ก็อาจต้องพยายามควบคุมอินทรีย์ของตนด้วยการพิจารณา
อย่างเหมาะสมว่าร่างกายเป็นรังโรค จึงเกิดโรคหรือทุกขเวทนาตาม
สภาวะของมันเอง

141
พรหมวิหาร
(๑๒) พึงเป็นผู้มีปัญญารักษาตน
ค�ำว่า ปัญญารักษาตน นั้น หมายความว่า บุคคลนั้นจะต้องมี
วุฒิภาวะพอสมควร บุคคลยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะมีความเป็นผู้ใหญ่
มากขึ้นด้วย ก�ำลังสติปัญญาและความคิดจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นตาม
อายุจนกระทัง่ แก่กล้าเต็มที่ ในคัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรค๑๒๐ อธิบายว่า ค�ำว่า
นิปโก คือ ปาริหาริกปัญญา ซึ่งหมายความถึง ปัญญาที่พิจารณาและ
ตรึกตรองอย่างถูกต้องซึ่งสามารถท�ำกิจที่ต้องการให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้
ปัญญาที่กล่าวถึงนี้คือ การพิจารณาด้วยสติสัมปชัญญะว่าสิ่งที่กระท�ำ
นั้นมีประโยชน์หรือไม่ (สาตถกสัมปชัญญะ) และเหมาะสมกับตน
หรือไม่ (สัปปายสัมปชัญญะ) ปัญญาทั้งสองชนิดนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์
อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องทางโลก (โลกิยะ) และที่พ้นจากโลก (โลกุตตระ)
เป็นปัญญาที่สมควรอบรมให้เจริญขึ้น ดังกล่าวไว้ในค�ำอธิบายของ
เมตตสูตร๑๒๑ ว่า ปัญญาชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ (๑) เป็นปัญญาที่
คุ้มครองป้องกันศีล (๒) เป็นปัญญาที่ท�ำจีวรให้ส�ำเร็จด้วยการเย็บ
และย้อม (๓) เป็นปัญญาที่เข้าใจสัปปายะทั้ง ๗ ประการ (ได้แก่ สิ่ง
ที่เหมาะสมและมีประโยชน์ ๗ อย่าง) ในบรรดาปาริหาริกปัญญา
เหล่านี้ ปัญญาที่ท�ำจีวรให้ส�ำเร็จนั้น อาจไม่ส�ำคัญมากนักในการเจริญ
เมตตาภาวนา แต่ในการภาวนาที่ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจ�ำเป็น
ต้องจัดการเกี่ยวกับบริขารที่จ�ำเป็นต่างๆ

142
พรหมวิหาร
สัปปายะ ๗ อย่าง
สัปปายะ ๗ อย่าง๑๒๒ ได้แก่
๑) อาวาสสัปปายะ คือ ที่อยู่ที่เหมาะสมส�ำหรับการ
บ�ำเพ็ญภาวนา
๒) โคจรสัปปายะ คือ หมู่บ้านที่เหมาะสมแก่การ
บิณฑบาต
๓) ภัสสสัปปายะ คือ การพูดคุยที่เหมาะสม
๔) ปุคคลสัปปายะ คือ ครูอาจารย์หรือเพื่อนภิกษุที่
เหมาะสม
๕) โภชนสัปปายะ คือ อาหารที่เหมาะสม
๖) อุตุสัปปายะ คือ ดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
๗) อิริยาปถสัปปายะ คือ อิริยาบถที่เหมาะสม
ภิกษุผู้ปฏิบัติจึงจะต้องมีปัญญาพิจารณาอย่างถูกต้องว่า ควร
เลือกอยู่วัดใดจึงจะเป็นที่สัปปายะแก่การปฏิบัติ เป็นต้น

143
พรหมวิหาร
สาตถกสัมปชัญญะ
ภิกษุพึงพิจารณาว่า ควรจะอยู่ในกุฏิที่สร้างด้วยไม้ หรือไม้ไผ่
หรืออิฐ และพิจารณาด้วยว่าสถานที่นั้นเป็นที่สงบเงียบและเป็นมิตร
หรือไม่ ส�ำหรับหมูบ่ า้ นเพือ่ อาศัยบิณฑบาตนัน้ ก็ควรพิจารณาว่าเป็น
หมู่บ้านที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์หรือไม่ และมีสิ่งรบกวนหรือไม่ โดย
เฉพาะบางครัง้ อาจมีเหตุการณ์ทไี่ ม่คาดคิดเกิดขึน้ ได้ และควรพิจารณา
ด้วยว่า เรื่องในการสนทนาจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติหรือไม่ ถ้า
ไม่มีเรื่องจ�ำเป็นที่จะต้องพูดกัน ทางที่ดีที่สุดพึงงดเว้นจากการพูดที่
ไม่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติธรรม๑๒๓ ส�ำหรับบุคคลที่เหมาะสมนั้น พึง
พิจารณาว่า การสัง่ สอนแนะน�ำของวิปสั สนาจารย์ได้ชว่ ยให้การปฏิบตั ิ
ธรรมก้าวหน้าหรือไม่ บุคคลที่อยู่ร่วมกันนั้นช่วยให้ก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติหรือไม่ ในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร พึงพิจารณาว่า อาหารชนิดใด
เหมาะสมแก่สขุ ภาพและช่วยให้กา้ วหน้าในการปฏิบตั ิ นอกจากนี้ พึง
พิจารณาว่าอิริยาบถใดช่วยให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็น
เรื่ อ งที่ ผู ้ ปฏิบัติพึงพิจารณาด้วยปัญญาว่าจะเป็นประโยชน์แก่การ
ปฏิบัติของตนหรือไม่๑๒๔

144
พรหมวิหาร
สัปปายสัมปชัญญะ
แม้วา่ จะมีสงิ่ ทีม่ ปี ระโยชน์ ก็พงึ พิจารณาด้วยว่า สิง่ นัน้ เหมาะสม
หรือไม่ เช่น ในวัดนัน้ บางกุฏอิ าจเหมาะส�ำหรับพระเถระผูใ้ หญ่ แต่ไม่
เหมาะส�ำหรับภิกษุบวชใหม่ และบางกุฏเิ หมาะส�ำหรับภิกษุบวชใหม่
ไม่เหมาะส�ำหรับพระเถระผูใ้ หญ่ ส�ำหรับการพูดจาก็ไม่ควรแสดงธรรม
สั่งสอนคนที่ก�ำลังท�ำกิจธุระอื่นอยู่ แม้ว่าธรรมะนั้นจะเป็นประโยชน์
ก็ตาม และควรพิจารณาว่าเหมาะสมจะแสดงเรื่องอสุภะในงานมงคล
หรือไม่ นี้คือสัปปายสัมปชัญญะ๑๒๕
(๑๓) พึงเป็นผู้ส�ำรวมกายวาจาใจ
ค�ำว่า อปฺปคพฺโภ หมายถึง ความส�ำรวม ๓ ประการ คือ
(๑) ความส�ำรวมทางกาย (๒) ความส�ำรวมทางวาจา (๓) ความส�ำรวม
ทางใจ
(๑) ความไม่ส�ำรวมหรือความไม่สุภาพทางกาย มี ๘ อย่าง
สิง่ ทีพ่ บและควรกล่าวถึงคือ การนัง่ ชันเข่าหรือนัง่ เหยียดขา เป็นท่านัง่
ที่ไม่สุภาพ ไม่ส�ำรวม ไม่ว่าจะนั่งชันเข่าข้างเดียวหรือสองข้างพร้อม
กับเอามือกอดเข่า การนั่งหรือยืนโดยเบียดร่างกายพระเถระ การนั่ง
หรือยืนบังหน้าพระเถระ การนั่งหรือยืนในที่สูงกว่า การนั่งคลุมผ้า
ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า การพูดคุยกันโดยออกท่าทาง (เช่น โบกมือ
เป็นต้น) การเดินเบียดตัวไปในที่แคบที่มีพระภิกษุนั่งอยู่ การนั่งในที่
145
พรหมวิหาร
จัดไว้ส�ำหรับพระเถระ หรือการเดินแซงหน้าพระมหาเถระ เหล่านี้ถือ
ว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพที่พึงหลีกเลี่ยง
ภิกษุอาวุโสบางรูปอ้างตนเป็นพระอริยบุคคล แสดงความเป็น
ผูว้ เิ ศษด้วยการเอามือลูบศีรษะหญิงสาวเพือ่ ให้พร การประพฤติเช่นนี้
ขัดต่อพระวินยั ซึง่ ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ภิกษุไม่พงึ ลูบแม้ศรี ษะของ
ธิดาหรือมารดาตนเอง แม้การลูบคล�ำตุ๊กตาผู้หญิงด้วยความพอใจก็
เป็นสิ่งต้องห้าม
นอกจากนี้ ในขณะที่พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเป็นหมู่คณะ ไม่
พึงสั่งน�้ำมูก ไอ หรือบ้วนน�้ำลาย เพราะเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพและ
น่ารังเกียจ
(๒) ความไม่ส�ำรวมทางวาจา คือ ในที่ประชุมสงฆ์ ในที่
ประชุมฆราวาส หรือต่อหน้าพระมหาเถระ ถ้าจ�ำเป็นต้องพูดก็ควร
ขออนุญาตก่อน การพูดก่อนได้รับอนุญาตเป็นกิริยาไม่สุภาพ การ
อธิบายปัญหาต่างๆ โดยไม่ขออนุญาตจัดเป็นวาจาทีไ่ ม่สภุ าพเช่นเดียว
กัน การถามโยมอุปัฏฐากว่ามีอาหารหรือไม่ หรือถามว่าอาหารเสร็จ
หรือยังในเวลาไปบ้านของทายกทายิกา การกระท�ำที่กล่าวมานี้ ควร
หลีกเลี่ยงเพราะเป็นการท�ำผิดวินัยด้วย

146
พรหมวิหาร
(๓) ความไม่ส�ำรวมทางใจ หมายถึง การไม่เคารพผู้ที่ควร
เคารพ การตีเสมอผู้ที่มีคุณวุฒิ หรือชาติวุฒิสูงกว่าตน การท�ำตัวเสมอ
ผู้ที่ประเสริฐกว่าด้วยศีล สมาธิ และปัญญา บุคคลที่ไม่ได้ศึกษา
พระไตรปิฎกแต่ท�ำตัวเสมอกับบัณฑิตที่เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก คนที่
ไม่ได้เจริญกรรมฐานตีเสมอผู้ที่เจริญกรรมฐานมาอย่างดี เหล่านี้คือ
ความหยาบคายไม่ส�ำรวมทางใจ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรก�ำจัดความไม่
ส�ำรวมทางกาย วาจา และใจให้หมดสิ้นไป
(๑๔) พึงเป็นผู้ไม่พัวพันกับสกุลทั้งหลาย
ในภาษาพม่า ค�ำว่า กุล หมายความว่า ตระกูล หรือครอบครัว
ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในครอบครัว แต่ในที่นี้ พึงแปลว่า ครอบครัวของผู้
ถวายปัจจัย ๔
ข้อนีห้ มายถึง การเป็นผูไ้ ม่พวั พันกับครอบครัวของผูค้ นทีถ่ วาย
ปัจจัย ๔ เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตเพื่อรับอาหารตามบ้าน ภิกษุควร
เข้าไปโดยคิดว่าตนเป็นผู้ประเสริฐที่สมควรจะได้รับการถวายทาน คือ
เป็นทักขิไณยบุคคล ส่วนผู้ถวายทานพึงพิจารณาว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้
ประเสริฐที่สมควรรับทักษิณาทานเพื่อให้การถวายทานนั้นมีอานิสงส์
ไพบูลย์ ถ้าภิกษุมาสนิทสนมคุน้ เคยกับผูถ้ วายของ ก็จะเป็นการรับทาน
นั้นด้วยความผูกพันยึดมั่น เมื่อมีความยึดมั่นภิกษุนั้นก็จะร่วมดีใจ
เมื่อตระกูลของผู้ถวายร�่ำรวยขึ้น (สหนันที) หรือร่วมเสียใจเมื่อรู้ว่า
147
พรหมวิหาร
ครอบครัวนั้นประสบปัญหาหรือได้รับความสูญเสีย (สหโสกี) การคิด
หรือการประพฤติเช่นนี้ไม่เหมาะสม ภิกษุพึงเป็นผู้มีศีล สมาธิ และ
ปัญญาบริบรู ณ์ และสามารถสัง่ สอนธรรมะให้ทายกทายิกาได้เจริญกุศล
ดังนั้น บุคคลจึงควรถวายทานด้วยความเคารพต่อภิกษุผู้เป็น
อาจารย์ของตนซึ่งเสมือนเป็นแผ่นดินที่พึงไถหว่านด้วยเมล็ดพันธุ์แห่ง
กุศล ในการท�ำนานัน้ จ�ำเป็นต้องมีนาทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ ฉันใด ภิกษุผเู้ ป็น
เนื้อนาบุญนั้นก็จ�ำเป็นต้องเป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐ มีศีลเป็นต้นที่
สมบูรณ์ ฉันนั้น การเศร้าโศกเสียใจไปกับทายกทายิกาไม่ได้ประโยชน์
อะไร ถ้าภิกษุขวนขวายช่วยเหลือทายกทายิกา ก็อาจได้รับเงินเพียง
จ�ำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน ภิกษุที่เป็นทักขิไณยบุคคลรักษาศีลให้
บริสุทธิ์โดยไม่พัวพันกับตระกูลของผู้อื่น ย่อมไม่มุ่งหวังลาภสักการะ
ส่วนผู้ที่ถวายทานแม้เล็กน้อยแก่ภิกษุที่มีศีลบริสุทธิ์ย่อมจะได้รับ
อานิสงส์ผลบุญมากหลายแสนหลายล้านเท่า ดังเช่นอินทกมาณพที่ได้
ถวายข้าวเพียงหนึ่งทัพพีแด่พระอนุรุทธเถระ แล้วได้ไปบังเกิดเป็น
เทพบุตรที่มีศักดานุภาพมากในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์๑๒๖
ส่วนการถวายทานแด่พระภิกษุที่สนิทสนมกับตระกูลของตน
เพราะหวังลาภสักการะเช่นทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้นนั้น ก็เหมือนกับ
การยึดมั่นอารมณ์ที่น่าพอใจ (คาหะ) เหมือนกับการท�ำพระภิกษุนั้น
ให้เป็นเลขาส่วนตัว พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ถ้าความสัมพันธ์
148
พรหมวิหาร
ระหว่างพระภิกษุกบั ทายกทายิกานัน้ ไม่ซอื่ ตรง ก็จดั เป็นคาหคาหะ คือ
ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ยึดมั่นทั้งคู่ กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างก็ยึดมั่นซึ่งกันและ
กัน ถ้าทายกทายิกาเป็นฝ่ายไม่ซื่อตรง โดยที่ภิกษุปฏิบัติตนในฐานะ
ที่เป็นทักขิไณยบุคคล ก็เป็นมุตตคาหะ คือ ฝ่ายหนึ่งหลุดพ้นอีกฝ่าย
หนึ่งยึดมั่น หมายถึง ทายกทายิกาเป็นฝ่ายยึดมั่นแต่ฝ่ายเดียว แต่ถ้า
พระภิกษุเป็นฝ่ายยึดมั่นข้างเดียว ก็จะขาดความซื่อตรง จัดเป็นคาห-
มุตตะ คือ ฝ่ายหนึ่งยึดมั่นอีกฝ่ายหนึ่งหลุดพ้น ถ้าทั้งสองฝ่ายมีความ
ซื่อตรงทั้งคู่ ก็เรียกว่าเป็นมุตตมุตตะ หมายความว่า ทั้งสองฝ่ายได้
พ้นจากความเป็นผูย้ ดึ มัน่ การปฏิบตั ติ นโดยซือ่ ตรงเช่นนีเ้ ป็นสิง่ ส�ำคัญ
มาก๑๒๗ ล�ำดับต่อไป จะขออธิบายคาถาบทที่ ๓
๓. น จ ขุทฺทมาจเร กิญฺจิ
เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ
สุขิโน ว เขมิโน โหนฺตุ
สพฺพสตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา.
ไม่พงึ ประพฤติสงิ่ เล็กน้อยอะไรๆ ทีจ่ ะเป็นเหตุให้ผรู้ ตู้ ำ� หนิ [พึง
แผ่เมตตาว่า] ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกาย สุขใจ ปลอด
จากภัยทั้งปวงเถิด

149
พรหมวิหาร
(๑๕) หลักปฏิบัติข้อสุดท้าย
ครึ่งคาถาแรกกล่าวว่า “ไม่พึงประพฤติสิ่งเล็กน้อยอะไรๆ ที่
จะเป็นเหตุให้ผู้รู้ต�ำหนิ” หมายความว่า ไม่พึงกระท�ำ พูด หรือคิด
สิง่ ใดทีจ่ ะท�ำให้ผรู้ ตู้ ำ� หนิได้ การควบคุมความคิดแม้จะท�ำได้ยาก ก็ควร
พยายามหลีกเลี่ยงความคิดที่ไม่ดีให้มากที่สุด ข้อนี้เป็นหลักปฏิบัติข้อ
สุดท้ายที่ผู้เจริญเมตตาภาวนาพึงกระท�ำ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จึง
ขอน�ำหลักปฏิบัติทั้ง ๑๕ ข้อ มาสรุปรวมไว้ ดังนี้
(๑) สกฺโก - พึงเป็นคนอาจหาญสามารถปฏิบัติได้
(๒) อุชู - พึงเป็นคนตรง
(๓) สุหุชู - พึงเป็นคนแน่วแน่
(๔) สุวโจ - พึงเป็นคนว่าง่าย
(๕) มุทุ - พึงเป็นคนอ่อนโยน
(๖) อนติมานี - พึงเป็นคนไม่ถือตัว ไม่ดูถูกคนอื่น
เพราะความส�ำคัญตน
(๗) สนฺตุสฺสโก - พึงเป็นคนสันโดษ
(๘) สุภโร - พึงเป็นคนเลี้ยงง่าย
(๙) อปฺปกิจฺโจ - พึงเป็นผู้มีกิจธุระน้อย
(๑๐) สลฺลหุกวุตฺติ - พึงเป็นผู้ด�ำเนินชีวิตเรียบง่าย
มีทรัพย์สิ่งของน้อย
150
พรหมวิหาร
(๑๑) สนฺตินฺทฺริโย - พึงเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีจิตใจสงบ
ไม่หวั่นไหวเมื่อมีอารมณ์มากระทบ
(๑๒) นิปโก - พึงเป็นผู้มีปัญญารักษาตน
(๑๓) อปฺปคพฺโภ - พึงเป็นผู้ส�ำรวมกายวาจาใจ สุภาพ
ถ่อมตน ไม่หยาบกระด้าง
(๑๔) อนนุคิทฺโธ - พึงเป็นผู้ไม่พัวพันกับสกุลทั้งหลาย
(๑๕) ไม่พึงประพฤติสิ่งเล็กน้อย ที่จะเป็นเหตุให้ผู้รู้ต�ำหนิ
เมื่อได้ปฏิบัติตามหลัก ๑๕ ข้อข้างต้นให้บริบูรณ์แล้ว จึงจะ
เริ่มเจริญเมตตาภาวนาตามวิธีที่จะอธิบายต่อไป ดังนี้

การเจริญเมตตาอย่างปกติ
ครึ่งคาถาหลังกล่าวถึงการเจริญเมตตาอย่างปกติว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกาย สุขใจ ปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด”
เมื่อภาวนาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกาย สุขใจ
ปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด” เป็นการแผ่เมตตาด้วยใจ หรือจะเปล่งเสียง
ออกมาก็ได้ จัดเป็นการแผ่เมตตาทางวาจา

151
พรหมวิหาร
จิตที่น้อมไปในการกล่าวค�ำภาวนานี้ได้เกิดขึ้นและดับไปทุกครั้ง
ที่ภาวนา ในขณะที่กล่าวว่า “จงเป็นสุขเถิด” จะรู้สึกถึงความปรารถนา
ดีในใจ ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปติดต่อกันตลอดเวลา กิริยาอาการทางกาย
และเสียงที่เปล่งออกก็มีการเกิดและดับอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ผู้
ปฏิบัติจะต้องก�ำหนดรู้การเกิดดับไปอย่างรวดเร็วของรูปและนามใน
ขณะที่กล่าวค�ำภาวนาและทุกครั้งที่มีการนึกคิดเกิดขึ้น การก�ำหนดรู้
อย่างนี้ ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่าเป็นวิปัสสนาชนิดที่เรียกว่า ขยโต
วยโต สมฺมสิตฺวา (หยั่งเห็นว่าดับไปเสื่อมสูญไป) อันจัดเป็นวิปัสสนาที่
สามารถท�ำให้บรรลุถงึ อรหัตตมรรค อรหัตตผล หลังจากการก�ำหนดรู้
และหยั่งเห็นการดับไปของสภาวธรรม๑๒๘ ดังนั้น ทันทีที่ภาวนาจบลง
ควรก�ำหนดรู้และหยั่งเห็นความคิดและจิตที่คิดตลอดจนเสียงที่เปล่ง
ออกไป
คาถาที่ ๔ และ ๕ ใน เมตตสูตร สอนวิธีแผ่เมตตาโดยแบ่งสัตว์
ออกเป็น ๒ หรือ ๓ จ�ำพวก

152
พรหมวิหาร
วิธีเจริญเมตตาโดยแบ่งสัตว์เป็น ๒ หรือ ๓ จ�ำพวก
๔. เย เกจิ ปาณภูตตฺถิ
ตสา วา ถาวรา ว'นวเสสา
ทีฆา วา เย ว มหนฺตา
มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา.
สัตว์ทั้งหลายที่มีความหวาดกลัวก็ดี ที่มั่นคงก็ดี ทั้งหมด
ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ ปานกลาง สั้น ละเอียด หรือหยาบ
ครึ่งคาถาแรกสอนให้แผ่เมตตาไปในสัตว์โลกโดยแบ่งออก
เป็น ๒ พวก คือ สัตว์ที่มีความหวาดกลัว (ตสา) คือ สัตว์ที่ตัวสั่นด้วย
ความกลัว ด้วยความโกรธ หรือด้วยตัณหาราคะ พวกที่มักตกใจง่าย
คือคนที่ยังไม่พ้นจากความโกรธและความเกลียด ซึ่งได้แก่สัตว์โลก
ทั่วไปที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ รวมทั้งพระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
พระอนาคามีที่ยังมีความหวาดสะดุ้ง เพราะยังมีตัณหาที่ท�ำให้เกิด
ความกังวลว่าจะไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ส่วนผู้ที่สงบ มั่นคง ปราศจาก
ความกังวลและความหวาดสะดุ้ง คือพระอรหันต์ที่ปราศจากตัณหา
แล้ว ดังนั้น ค�ำว่า ตสา จึงหมายถึงผู้ที่ยังมีตัณหาและอุปาทานอยู่

153
พรหมวิหาร
สัตว์ที่มั่นคง (ถาวรา) คือ สัตว์ที่ไม่มีความกลัวหรือความ
หวาดหวั่น มีจิตที่สงบมั่นคง ได้แก่ พระอรหันต์ ดังนั้น ค�ำว่า ตสา
วา ถาวรา วา จึงหมายถึงสัตว์โลก ๒ จ�ำพวก คือ พวกที่ยังไม่พ้นจาก
ตัณหา และพวกที่หลุดพ้นจากบ่วงตัณหาแล้วอย่างสิ้นเชิง ต่อไปนี้
ขอให้แผ่เมตตาพร้อมกับเจริญวิปสั สนาไปด้วยกัน โดยกล่าวค�ำภาวนา
ดังนี้
- ขอปุถุชนทั้งปวง และพระเสกขบุคคลทั้งปวงที่ยังมีความ
กลัวอยู่ จงเป็นสุขกายสุขใจ”
- ขอพระอรหันต์ทั้งปวง ผู้สงบ แน่วแน่ ไม่มีความกลัว จง
เป็นสุขกายสุขใจ”
- ขอพระอรหันต์ที่ไม่มีความกลัวทั้งปวง กับทั้งสัตว์โลกที่ยัง
มีความกลัวทั้งปวง จงเป็นสุขกายสุขใจ”

154
พรหมวิหาร
การเจริญเมตตาภาวนาโดยแบ่งสัตว์โลกเป็น
๓ พวก
ในครึ่งคาถาหลัง พระพุทธองค์ตรัสวิธีการเจริญเมตตา ๓ วิธี
โดยแบ่งตามลักษณะสัตว์โลกที่มี ๓ ประเภท แต่ละประเภทมี ๓ อย่าง
คือ
วิธีที่ ๑ คือ แบ่งสัตว์โลกตามสัณฐานของกาย คือ สัตว์ที่มี
ร่างกายยาว ปานกลาง และสั้น สัตว์ที่มีร่างกายยาว (ทีฆา) ได้แก่ งู
นาค กิ้งก่า และไส้เดือน เป็นต้น สัตว์ที่มีร่างกายสั้น (รสฺสกา) ได้แก่
ไก่ นก และกบ เป็นต้น สัตว์ที่มีร่างกายปานกลาง (มชฺฌิมา) ได้แก่
ม้า วัว ควาย และหมู เป็นต้น ทั้งนี้การตัดสินว่าสัตว์ชนิดไหนจัด
เข้าประเภทใดนั้นค่อนข้างยาก จึงให้แผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งสามชนิด
ด้วยค�ำภาวนาดังต่อไปนี้
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายยาวทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายสั้นทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายปานกลางทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทงั้ ปวงทีม่ กี ายยาว ทีม่ กี ายสัน้ และทีม่ กี ายปานกลาง
ทั้งปวง จงเป็นสุขเถิด

155
พรหมวิหาร
วิธที ี่ ๒ คือ แบ่งสัตว์โลกตามขนาด คือ สัตว์ทมี่ รี า่ งกายขนาด
ใหญ่ (มหนฺตา), ขนาดกลาง (มชฺฌิมา), และขนาดเล็ก (อณุก) สัตว์
ที่มีร่างกายใหญ่โตมาก ได้แก่ สัตว์น�้ำ เช่น ปลาขนาดใหญ่ เต่าทะเล
เป็นต้น และสัตว์บก เช่น ช้าง นาค เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึง
ยักษ์ รากษส เทวดา และพรหม ซึ่งมีกายใหญ่มหึมา ส่วนสัตว์เล็ก
ได้แก่ สัตว์จ�ำพวกแมลง เป็นต้น ส�ำหรับมนุษย์ สุกร สุนัข เป็ด ไก่
และนกเป็นต้นนั้น จัดเป็นสัตว์ที่มีร่างกายขนาดกลาง การจัดประเภท
สัตว์ทั้งสามเป็นเรื่องยาก จึงให้แผ่เมตตาไปในสัตว์สามจ�ำพวกด้วย
ค�ำภาวนาดังนี้
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายขนาดเล็กทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายขนาดปานกลางทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และขนาด
ปานกลางทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
วิธีที่ ๓ คือ แบ่งสัตว์ตามลักษณะรูปร่างคือ สัตว์ที่มีร่างกาย
หยาบเห็นได้ทั่วไป (ถูลา), กายละเอียด (อณุก), และกายปานกลาง
(มชฺฌิมา) สัตว์ที่มีร่างกายหยาบ ได้แก่ ปลา เต่า หอย เป็นต้น สัตว์ที่
มีร่างกายละเอียด ได้แก่ สัตว์ที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แมลง
ตัวเล็ก เชื้อโรค และตัวเล็น สัตว์ที่มีร่างกายปานกลาง ได้แก่ สัตว์ที่
156
พรหมวิหาร
เห็นได้ด้วยตาเปล่า ที่ไม่ใหญ่มากและไม่เล็กมาก การชี้ชัดว่าสัตว์ชนิด
ใดจัดอยูใ่ นพวกใดนัน้ ท�ำได้ยาก พระอรรถกถาจารย์จงึ กล่าวว่า แม้ใน
สัตว์ประเภทเดียวกันก็ยังสามารถแบ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง
หรือขนาดเล็กได้อีก ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควรจัดให้คนที่มีร่างกายสูงเกิน
๖ ฟุต และหนักมากกว่า ๑๐๐ ปอนด์ เป็นสัตว์ใหญ่ และจัดคนที่
สูง ๒-๓ ฟุต และหนักน้อยกว่า ๑๐๐ ปอนด์ อยู่ในจ�ำพวกสัตว์ที่เตี้ย
และเล็ก ส่วนที่เหลือ จัดอยู่ในจ�ำพวกสัตว์ขนาดกลาง เนื่องจากการ
จัดกลุ่มให้แน่นอนลงไปเป็นเรื่องยาก จึงให้แผ่เมตตาไปในสัตว์ขนาด
ใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กโดยไม่ต้องกล่าวว่าเป็นสัตว์อะไร ผู้
ปฏิบัติสามารถแผ่เมตตาวิธีที่ ๓ ด้วยค�ำภาวนาดังต่อไปนี้
- ขอสัตว์ที่มีกายหยาบทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีกายละเอียดทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่มีกายปานกลางทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวงที่มีกายใหญ่ ที่มีกายละเอียด และที่มีกาย
ปานกลางทั้งปวง จงเป็นสุขเถิด

157
พรหมวิหาร
วิธีแผ่เมตตาอีก ๓ วิธี
๕. ทิฏฺา วา เย ว อทิฏฺา
เย ว ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา ว สมฺภเวสี ว
สพฺพสตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา.
ทั้งที่เคยเห็นหรือไม่เคยเห็น อยู่ไกลหรือใกล้ ที่เกิดแล้ว หรือที่
ก�ำลังแสวงหาทีเ่ กิด สัตว์ทงั้ ปวงเหล่านัน้ จงมีความสุขกาย สุขใจเถิด
สัตว์สองจ�ำพวกแรกที่จะแผ่เมตตาไปถึงนั้น แบ่งเป็นสัตว์ที่
เคยเห็น (ทิฏฺา) และสัตว์ที่ไม่เคยเห็น (อทิฏฺา) ซึ่งสามารถแบ่งได้
ชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถเจริญเมตตาไปในสัตว์สองจ�ำพวกแรกดังนี้
- ขอสัตว์ที่เคยเห็นทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่ไม่เคยเห็นทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็นทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
สัตว์อกี สองจ�ำพวก แบ่งเป็นสัตว์ทอี่ ยูใ่ กล้ (อวิทเู ร) และสัตว์ที่
อยูไ่ กล (ทูเร) ในการแผ่เมตตา ให้กำ� หนดตามความพอใจว่าสถานทีใ่ ด
จัดว่าใกล้ สถานทีใ่ ดเป็นทีไ่ กล และให้เจริญเมตตาไปในสัตว์สองจ�ำพวก
นีด้ ว้ ยค�ำภาวนาว่า

158
พรหมวิหาร
- ขอสัตว์ที่อยู่ใกล้ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่อยู่ไกลทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
ส�ำหรับสัตว์สองจ�ำพวกสุดท้าย คือ ภูตา (ที่เกิดแล้ว) และ
สมฺภเวสี (ที่ก�ำลังแสวงหาที่เกิด) ค�ำว่า ภูตา หมายถึงพระอรหันต์
ผู้จะไม่เกิดอีกเพราะละตัณหาที่ท�ำให้เกิดภพชาติได้หมดแล้ว ส่วนค�ำว่า
สมฺภเวสี หมายถึงสัตว์ที่ยังต้องเกิดอยู่ ได้แก่ ปุถุชนและพระเสกข-
บุคคล เพราะยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาที่ท�ำให้เกิดภพใหม่ เมื่อ
ว่าตามความหมายของศัพท์ ค�ำว่า สมฺภเวสี แยกเป็น สมฺภว (ภพใหม่)
และ เอสี (ผู้แสวงหา) คือ ผู้แสวงหาภพใหม่ หมายถึง สัตว์ที่ยังต้อง
เกิดอยู่นั้นเอง ขอให้แผ่เมตตาตามความหมายที่อธิบายแล้วดังนี้
- ขอพระอรหันต์ผู้จะไม่เกิดอีกทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอปุถุชนและพระเสกขบุคคลที่ยังจะต้องเกิดอีกทั้งปวงจง
เป็นสุขเถิด
- ขอพระอรหันต์ผู้จะไม่เกิดอีกและสัตว์ที่ยังจะต้องเกิดอีก
ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง สมฺภเวสี หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ครรภ์มารดา
ในขณะปฏิสนธิเพื่อแสวงหาภพใหม่ ภูตา หมายถึง สัตว์ที่คลอดจาก
ครรภ์มารดาแล้ว
159
พรหมวิหาร
หรืออีกอย่างหนึ่ง สมฺภเวสี หมายถึง สัตว์ที่เกิดอยู่ในไข่ ก�ำลัง
รอเวลาฟักตัว ส่วน ภูตา หมายถึง สัตว์ที่โตเต็มที่และเจาะเปลือกไข่
ออกมาแล้ว
หรืออีกอย่างหนึง่ สมฺภเวสี หมายถึง สัตว์ประเภทโอปปาติกะ
ที่ผุดเกิดโตเต็มที่ และสัตว์ที่เกิดในยางเหนียวของต้นไม้ เป็นต้น ซึ่ง
ก�ำลังอยู่ในอิริยาบถแรก ส่วน ภูตา หมายถึง สัตว์เหล่านั้นที่อยู่ใน
อิรยิ าบถต่อมา ดังทีอ่ ธิบายไว้ในคัมภีรอ์ รรถกถา๑๒๙ จึงขอให้แผ่เมตตา
ดังนี้
- ขอสัตว์ที่ก�ำลังเกิดทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งที่ก�ำลังเกิดและที่เกิดแล้วทั้งปวง จงเป็นสุขเถิด
วิธีการแผ่เมตตาที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ เพื่อให้เกิดโชคลาภและ
ความมั่งคั่ง ล�ำดับต่อไป เป็นวิธีแผ่เมตตาเพื่อให้แคล้วคลาดจากทุกข์

160
พรหมวิหาร
การแผ่เมตตาเพื่อให้แคล้วคลาดจากทุกข์
๖. น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ
นาติมญฺเถ กตฺถจิ น กญฺจิ
พฺยาโรสนา ปฏิฆสญฺ
นาญฺมญฺสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย.
บุคคลไม่พึงหลอกลวงกัน ไม่พึงดูหมิ่นใครในที่ไหน ไม่พึง
ปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน ด้วยการเบียดเบียน หรือด้วยใจมุ่งร้าย
ข้อความว่า “บุคคลไม่พึงหลอกลวงกัน” หมายความว่า ใน
การค้าขายหรือท�ำธุรกิจ หรือแม้ในวงการศาสนาก็อาจมีการโกงหรือ
หลอกลวงกัน เช่น ผู้ขายอาจถ่วงตาชั่งเพื่อให้น�้ำหนักมากหรือน้อย
กว่าความเป็นจริง หรือด้วยการใช้ถ้วยหรือภาชนะที่ตวงได้น้อยกว่า
มาตรฐานเป็นต้น เล่หเ์ หลีย่ มกลโกงเช่นนี้ คนทัว่ ไปย่อมรูจ้ กั ดี ตัวอย่าง
การหลอกลวงอีกอย่าง คือการใช้โลหะปลอมปนหลอมเข้ากับทองจริง
แล้วขายเป็นทองบริสุทธิ์ บางครั้งคนโกงจะท�ำเป็นคนซื่อสัตย์แล้ว
หลอกเอาทรัพย์ เช่น เมื่อเห็นคนถือธนบัตรอยู่ในมือจ�ำนวนมาก ก็จะ
พูดให้เชื่อว่าเขาสามารถน�ำธนบัตรไปแลกเปลี่ยนให้ได้เงินมากขึ้น ถ้า
หลงเชื่อค�ำพูดและมีความโลภ ยอมให้เงินนั้น ที่สุดก็จะสูญทรัพย์ไป

161
พรหมวิหาร
อีกตัวอย่างคือ อ้างว่าสามารถท�ำทองให้มีน�้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
คนโลภมักจะหลงเชื่อ จึงให้ทองที่มีอยู่ไปเพราะหวังว่าจะได้คืนมากขึ้น
แต่แล้วคนหลอกก็จะหายตัวไปพร้อมกับทอง นอกจากนี้ ยังมีการ
หลอกขายเครื่องลางของขลังโดยโฆษณาว่าจะให้โชคหรือท�ำให้มั่งมี
เงินทอง และยังมีวิธีการหลอกลวงอีกนับไม่ถ้วน
ในด้านศาสนาก็มกี ารหลอกลวงอยูม่ ากมาย เช่น การสอนทีผ่ ดิ
ท�ำให้คนหลงเชื่อ และต้องเสื่อมจากกุศลเพราะเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ในสมัยพุทธกาลนายปุณณะที่ประพฤติเหมือนโคและนายเสนิยะที่
ประพฤติเหมือนสุนัขได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลถามว่า การปฏิบัติ
ของตนนั้น ใครจะได้รับอานิสงส์มากกว่ากัน พระผู้มีพระภาคตรัส
ห้ามไว้ถึงสองครั้ง เมื่อทั้งสองทูลถามเป็นครั้งที่สามจึงตรัสตอบว่า
“ผู้ที่ประพฤติพรตเหมือนโค จะได้ไปเกิดเป็นโคหลังจากสิ้น
ชีพลง ส่วนผู้ที่ประพฤติพรตเหมือนสุนัข จะได้ไปเกิดเป็นสุนัขในชาติ
ต่อไป ถ้าการปฏิบัตินั้นไม่สมบูรณ์หรือไม่ส�ำเร็จ ก็จัดเป็นการกระท�ำ
ที่เสแสร้งหลอกลวง และผู้ปฏิบัติที่เชื่อในการปฏิบัติที่ผิดๆ เช่นนี้ย่อม
ต้องไปเกิดในอบายหรือเกิดเป็นดิรัจฉานหลังจากตายไป”๑๓๐

162
พรหมวิหาร
เมื่อได้ฟังค�ำตอบของพระพุทธองค์ ทั้งปุณณะและเสนิยะก็
ร้องไห้ดว้ ยความเศร้าเสียใจ เพราะถูกหลอกลวงให้ประพฤติในข้อปฏิบตั ิ
ที่ผิดมาเป็นเวลานาน ด้วยหลงเชื่อมั่นในค�ำสอนลวงว่าการประพฤติ
เยี่ยงโคและสุนัข จะเป็นเหตุให้ได้รับความสุขในชาติหน้า
ตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของนายตาลปุฏะผู้มีอาชีพเป็น
ครูสอนนาฏศิลป์ ได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า “ข้าพระองค์เคยได้ยิน
ครูหลายคนสอนต่อกันมาว่า นักฟ้อนร�ำขับร้องทีท่ ำ� ให้ผชู้ มได้รบั ความ
รื่นเริงบันเทิงใจนั้น หลังจากตายลงจะได้รับความสุขสนุกสนานใน
ปหายเทพ พระองค์มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ไม่ทรงตอบปัญหานีถ้ งึ สองครัง้ เมือ่ นายตาลปุฏะ
กราบทูลถามเป็นครั้งที่ ๓ จึงตรัสตอบว่า “นักฟ้อนแสดงการฟ้อนร�ำ
ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ชมซึ่งยังไม่พ้นไปจากความโลภ ความโกรธ
และความหลง จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้ชมเหล่านั้นเพิ่มพูนความโลภ
ความโกรธ และความหลงให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อเขาสิ้นชีวิตลงก็
จะตกนรกที่เรียกว่า ปหายนรก และหากเขามีความหลงผิดว่า การ
แสดงฟ้อนร�ำของเขาจะเป็นเหตุให้ได้เกิดเป็นเทวดาในชาติต่อไป เขา
ก็จะต้องตกนรกหรือมิฉะนั้นก็จะไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเพราะความ
หลงผิดนั้น”๑๓๑

163
พรหมวิหาร
เมื่อได้ยินดังนั้น นายตาลปุฏะหัวหน้าครูสอนฟ้อนร�ำก็ร้องไห้
ด้วยความเสียใจเพราะได้หลงผิดมานานคิดว่าผู้ที่แสดงการฟ้อนร�ำให้
ผูอ้ นื่ ได้รบั ความรืน่ เริงบันเทิงใจนัน้ เมือ่ ตายลงจะได้ไปเกิดเป็นปหายเทพ
ในปัจจุบัน มีนักเทศน์จ�ำนวนมากที่สอนขัดกับหลักธรรมของ
พระบรมศาสดา อาจเป็นเพราะเข้าใจผิดในพระสัทธรรม แม้ว่า
พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาสั่งสอนไว้อย่างชัดเจนไม่คลุมเครือว่า “จง
หลีกเลี่ยงการท�ำอกุศลทั้งปวง พึงท�ำกุศล รักษาศีล เจริญสมาธิ และ
อบรมปัญญาด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน และพัฒนา
มรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ”๑๓๒ ก็ยังมีผู้ที่สอนขัดแย้ง เช่น
อกุศลมีลักษณะไม่เที่ยง (อนิจจัง) ดังนั้น เมื่อไม่มีอกุศลที่ถาวร
ก็ไม่จ�ำเป็นจะต้องพยายามก�ำจัดให้หมดไป การท�ำความพยายามเพื่อ
ฆ่าผู้อื่นนั้นยากกว่าการงดเว้นจากการฆ่า การขวนขวายท�ำกุศลต่างๆ
การรักษาศีล เจริญสมาธิ และปัญญา ตลอดจนการปฏิบัติวิปัสสนา
ภาวนาเป็นความทุกข์ เพราะพระพุทธองค์ตรัสไว้วา่ สพฺเพ สงฺขารา
ทุกฺขา (สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์) และการท�ำกุศลต่างๆ นั้นจัดเป็น
ปุญญาภิสังขาร ดังนั้นจึงเป็นความทุกข์เช่นกัน นอกจากนี้ ยังสอน
ว่า การปฏิบัติธรรมอย่างเข้มงวดเป็นการทรมานตนเอง การปลีกวิเวก
ไปอยู่ตามล�ำพังในที่สงบโดยไม่ต้องท�ำความเพียรในการเจริญสติหรือ
สมาธิ ก็ท�ำให้เกิดความสุขแล้ว เป็นต้น
164
พรหมวิหาร
ค�ำสอนที่เหลวไหลเช่นนี้ขัดต่อค�ำสอนของพระพุทธองค์อย่าง
เห็นได้ชดั คนทีห่ ลงเชือ่ ค�ำสอนทีผ่ ดิ เพีย้ นเช่นนีจ้ ะต้องท�ำแต่บาปอกุศล
ไม่มีวันได้ท�ำกุศล และในที่สุดจะไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งหากต้องประสบ
กับความทุกข์ หรือความเดือดร้อน เพราะได้ท�ำแต่บาปไว้ ไม่มีบุญกุศล
ที่จะคอยส่งผลช่วยเหลือเลย ทั้งนี้เพราะหลงเชื่อค�ำสอนที่ผิดนั้นเอง
การถูกหลอกลวงทางศาสนานั้นจะส่งผลเป็นความทุกข์ที่ร้าย
แรงมาก ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้แผ่เมตตาว่า “บุคคลไม่
พึงหลอกลวงกัน” ดังนั้น จึงควรแผ่เมตตาตามค�ำภาวนาต่อไปนี้
- ขอเราอย่าได้หลอกลวงใครๆ และขอเราอย่าได้ถูกหลอก
ลวงเลย
ข้อความว่า “ไม่พึงดูหมิ่นใครในที่ไหน” หมายความว่า การ
ลบหลู่หรือดูถูกคนอื่นด้วยความส�ำคัญตน จะเป็นบาปแก่ตัวเอง ก่อ
ให้เกิดผลร้ายต่อผู้ที่กระท�ำไม่วันใดก็วันหนึ่ง ผู้ที่ถูกลบหลู่อาจรู้สึกไม่
พอใจหรือเสียใจ ข้าราชการผู้ใหญ่ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อคนที่ไม่ใช่พวกพ้อง
หรือข้าราชการผู้น้อยที่มาติดต่อ พระมหาเถระบางรูปอาจไม่ใส่ใจกับ
พระผู้น้อย ท�ำให้ผู้ท่ีถูกละเลยหรือเมินเฉยนั้นรู้สึกน้อยใจหรือเสียใจ
ผู้ที่ดูถูกผู้อื่นเป็นคนที่ขาดเมตตาจึงไม่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เหตุนี้
พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้แผ่เมตตาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึก
ที่ไม่ดีขึ้นทั้งสองฝ่าย ถ้าทุกฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก
165
พรหมวิหาร
ดูแคลนกัน โลกก็จะน่าอยู่ส�ำหรับทุกคน ขอให้เราแผ่เมตตาตาม
ค�ำสอนในพระสูตรดังนี้
- ขอทุกคนอย่าได้ดูถูกใครๆ เลย
- ขอทุกคนจงมีไมตรีต่อคนอื่นๆ
ข้อความว่า “ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน ด้วยการ
เบียดเบียน หรือด้วยใจมุ่งร้าย” หมายความว่า ถ้าบุคคลท�ำร้ายคนอื่น
ด้วยกายหรือด้วยวาจาก็ตาม ไม่วา่ จะท�ำด้วยตนเองหรือสัง่ ให้คนอืน่ ท�ำ
ก็ตาม ถือเป็นการท�ำอกุศลซึ่งจะส่งผลให้ผู้กระท�ำได้รับความทุกข์ใน
ภายหน้า ส่วนคนที่ถูกท�ำร้ายหรือถูกว่าร้ายนั้นย่อมได้รับความทุกข์
ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงสอนให้แผ่เมตตาให้คนอื่นพ้นจากทุกข์
เหล่านี้ ด้วยการงดเว้นจากการท�ำร้ายผู้อื่นด้วยกายและด้วยวาจา จึง
ขอให้เจริญเมตตาด้วยค�ำภาวนาต่อไปนี้
- ขอทุกคนอย่าเบียดเบียนผู้อื่นด้วยการกระท�ำทางกาย
- ขอทุกคนอย่าเบียดเบียนผู้อื่นด้วยวาจา
- ขอทุกคนอย่าเบียดเบียนผู้อื่นด้วยความคิด
- ขอทุกคนอย่าเบียดเบียนผู้อื่นด้วยการกระท�ำทางกาย
วาจา และความคิด
เมื่อแผ่เมตตา ไม่ควรสักแต่กล่าวไป แต่ควรท�ำจิตให้มีเมตตา
ต่อคนอื่น ปรารถนาให้เขามีความสุขด้วย ดังตัวอย่างในคาถาถัดไป
166
พรหมวิหาร
เมตตาที่แท้จริง
๗. มาตา ยถา นิยํ ปุตต-
มายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ
มานสํ ภาวเย อปริมาณํ.
มารดาถนอมบุตรคนเดียวของตนด้วยชีวิต ฉันใด บุคคลพึง
เจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น
คาถานี้ยกเอาความรักของมารดาที่มีต่อบุตรมาเป็นตัวอย่าง
โดยทั่วไปมารดาย่อมรักและทะนุถนอมบุตรธิดายิ่งกว่าบิดา และบิดา
มารดาก็อาจจะรักและเมตตาบุตรบุญธรรมไม่เท่ากับบุตรแท้ๆ ของตน
แต่ถ้ามีบุตรหลายคนความรักก็อาจต้องเฉลี่ยไปไม่เท่ากับความรักที่มี
ต่อบุตรชายคนเดียวแม้จะเกิดร่วมสายโลหิตก็ตาม บุตรชายทีเ่ ป็นบุตร
คนเดียวย่อมจะได้รับความรักมากมายสุดที่จะประมาณได้ จึงเปรียบ
เทียบเมตตาที่บริสุทธิ์กับความรักที่มารดามีต่อบุตรชายคนเดียวของตน
ความรักอันยิง่ ใหญ่ทมี่ ใี ห้บตุ รของตนนีแ้ ทบไม่ตอ้ งอธิบายมาก มารดา
จะยอมสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเพื่อรักษาชีวิตของบุตรชายในคราว
จ�ำเป็น ในการเจริญเมตตาก็เช่นเดียวกัน เราพึงแผ่ความเมตตาไปใน
สัตว์ทั้งปวงดุจมารดารักและเมตตาต่อบุตรคนเดียวของตน

167
พรหมวิหาร
ในบทที่สองของพระธรรมเทศนานี้ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของ
สีมาสัมเภท คือ แผ่เมตตาไปในคนทั้งปวงอย่างไม่มีการขีดคั่น ดังแสดง
ไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ถ้ามีโจรสั่งให้ส่งคนไปเพื่อฆ่าบูชายัญ ๑ คน ผู้ที่แผ่
เมตตาจนถึงขั้นสีมาสัมเภทจะไม่เลือกใครในบุคคล ๔ จ�ำพวก คือ
คนที่รักมาก คนที่เป็นกลางๆ คนที่เป็นศัตรู และแม้กระทั่งตนเอง
เพราะถึงแม้จะเสียสละตนเองก็ไม่ใช่การแผ่เมตตาที่เป็นสีมาสัมเภท
อย่างแท้จริง แต่ในเมตตสูตรนี้ ได้กล่าวถึงการแผ่เมตตาจิตที่ปรารถนา
ให้ผู้อื่นเป็นสุขเหมือนกับมารดาปรารถนาให้บุตรคนเดียวของตนมี
ความสุข ถึงขนาดยอมสละชีวติ ตน เมือ่ พิจารณาเปรียบเทียบค�ำอธิบาย
ในอรรถกถาและพระบาลีแล้ว ก็อาจสรุปได้วา่ ตัวอย่างทีย่ กมาแสดง
ไว้นนั้ เป็นการเน้นถึงความรักทีล่ กึ ซึง้ เหมือนความรักของแม่ทที่ ะนุถนอม
ดูแลลูกของตน หมายความว่า บุคคลควรมีความเมตตาต่อผู้อื่นเท่า
เทียมกับตนเอง ค�ำสอนในพระสูตรหลายแห่งบ่งว่า พึงเจริญเมตตาใน
สัตว์ทงั้ ปวงให้เสมอกับตนเอง (สพฺพตฺตตาย) ไม่มคี ำ� สอนทีใ่ ดกล่าวว่า
ควรรักผู้อื่นมากกว่ารักตนเองเลย
นอกจากนี้ ค�ำว่า เมตตาภาวนา หมายความว่า บุคคลควร
เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงเสมอกันโดยไม่มีการยกเว้นผู้หนึ่งผู้ใด และ
โดยไม่มีประมาณ และไม่มีการจ�ำกัดขอบเขต ดังคาถาที่จะกล่าวถึง
ต่อไป

168
พรหมวิหาร
วิธีการเจริญเมตตาโดยไม่มีประมาณ
๘. เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมิ
มานสํ ภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ
อสมฺพาธํ อเวรมสปตฺตํ.
บุคคลพึงเจริญเมตตาจิต อันไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ในสัตว์โลกทั้งหมด ทั้งในอรูปภูมิเบื้องบน รูปภูมิ
เบื้องกลาง และกามาวจรภูมิเบื้องต�่ำ
ค�ำว่า อุทฺธํ (ในภูมิเบื้องบน) หมายถึง อรูปภูมิ ได้แก่ ภพของ
พรหมที่ไม่มีรูป ค�ำว่า อโธ (ในภูมิเบื้องต�่ำ) หมายถึง กามาวจรภูมิ
ได้ แ ก่ ภพของสั ต ว์ ที่ ยั ง ยิ น ดี ใ นกามคุ ณ และค� ำ ว่ า ติ ริ ยํ (ในภู มิ
เบื้องกลาง) หมายถึง รูปภพคือภพของพรหมที่ได้รูปฌาน นอกจากนี้
ค�ำเหล่านั้นยังมีค�ำแปลอีกอย่างหนึ่งคือ ค�ำว่า อุทฺธํ แปลว่า ในทิศ
เบื้องบน ค�ำว่า อโธ แปลว่า ในทิศเบื้องล่าง ส่วนค�ำว่า ติริยํ แปลว่า
ในทิ ศ เฉี ย ง หมายถึ ง ทิ ศ ๘ อื่ น ที่ เ หลื อ จากทิ ศ เบื้ อ งบนและทิ ศ
เบื้องล่าง ค�ำแปลตามนัยนี้สอดคล้องกับพระบาลีว่า อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ
(ตามวิธีนี้ ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง) และค�ำอธิบายใน
คัมภีร์อรรถกถาของเมตตสูตร๑๓๓

169
พรหมวิหาร
สรุปความว่า ควรเจริญเมตตาโดยไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ
ไปในสัตว์ทั้งปวงที่อยู่ในทิศทั้ง ๑๐ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดย
ปรารถนาให้สัตว์เหล่านั้นมีความสุข ไม่จ�ำกัดว่าเป็นสถานที่ใด หรือ
เขตใด หรือสัตว์ชนิดใด เป็นการแผ่เมตตาอย่างไม่จำ� กัดขอบเขต และ
เนื่องจากผู้ที่แผ่เมตตาเป็นผู้ปราศจากความมุ่งร้ายต่อสัตว์ทั้งปวง จึง
เป็นผู้ไม่มีภัยที่เกิดจากภายในจิตใจของตน นอกจากนี้ ด้วยความที่
ไม่มีความโกรธเคืองผู้ใดและไม่เป็นศัตรูกับผู้ใด จึงย่อมไม่มีภัยจาก
ภายนอก การแผ่เมตตาตามวิธีนี้ สามารถกล่าวค�ำภาวนาโดยเจริญ
สติก�ำหนดรู้รูปและนามไปพร้อมกันด้วย ดังนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงมีความสุข
- ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่างจงมีความสุข
- ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทั้ง ๘ โดยรอบจงมีความสุข
โบราณาจารย์ได้ประพันธ์คาถาแผ่เมตตาที่เกี่ยวกับทิศทั้ง
๑๐ ข้างต้นว่า
อุทฺธํ ยาว ภวคฺคา จ อโธ ยาว อวีจิโต
สมนฺตา จกฺกวาเฬสุ เย สตฺตา ปถวีจรา
อพฺยาปชฺชา นิเวรา จ นิทฺทุกฺขา นิรุปทฺทวา.๑๓๔

170
พรหมวิหาร
“สัตว์เหล่าใดในจักรวาลโดยรอบ ในทิศเบื้องบนถึงภวัคคภูมิ
(เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของพรหมที่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่า ภวัคคภูมิ เพราะเป็นภูมิที่สูงสุดใน
อรูปภูมิ) ในทิศเบื้องล่างถึงอเวจีนรก สัตว์เหล่านั้นจงอย่าเบียดเบียน
กัน อย่ามีเวรกัน อย่ามีความทุกข์ อย่ามีอุปัทวันตราย”
ในคาถาข้างต้นได้กล่าวถึงอุปัทวันตราย คือ อุบัติเหตุ ภัย
อันตรายต่างๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้อย่างไม่คาดคิด ซึง่ อาจเป็นภัยจากคนร้าย
โจรขโมย สัตว์ร้ายต่างๆ หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ
อนึ่ง ในคาถาบทที่ ๒ กล่าวถึง อุทเกจรา (สัตว์ที่อาศัยอยู่ใน
น�้ำ) และในคาถาบทที่ ๓ กล่าวถึง อากาเสจรา (สัตว์ที่อาศัยอยู่และ
ท่องเที่ยวไปในอากาศหรือในท้องฟ้า) แทนค�ำว่า ปถวีจรา
171
พรหมวิหาร
เวลาและอิริยาบถที่พึงเจริญเมตตา
นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงเวลาและอิริยาบถที่เหมาะสมในการ
เจริญเมตตาไว้ดังนี้ คือ
๙. ติฏฺํ จรํ นิสินฺโน ว
สยาโน ยาวตาสฺส วิตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเยฺย
พฺรหฺมเมตํ วิหารมิธ มาหุ.
“เมื่อยืน เดิน นั่ง หรือนอน พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงตั้ง
สติอย่างนี้ไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสการปฏิบัติเช่นนี้ว่าเป็นความ
ประพฤติอันประเสริฐในพระศาสนานี้”
พึงเจริญเมตตาในขณะนั่ง ขณะยืน ขณะก�ำลังเดินออกก�ำลัง
ทีร่ ะเบียง และแม้ในขณะนอนก็พงึ เจริญเมตตาไปจนกระทัง่ หลับ เวลา
ทีไ่ ม่ตอ้ งเจริญเมตตาก็คอื เฉพาะเวลาทีห่ ลับสนิทเท่านัน้ ทันทีทตี่ นื่ นอน
จะต้องเริ่มเจริญเมตตาตั้งแต่เวลาที่เริ่มรู้สึกตัว หมายความว่า จะต้อง
เจริญเมตตาภาวนาพร้อมด้วยการเจริญสติอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ที่ตื่นอยู่ ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นฌานลาภีบุคคล ก็พึงเจริญเมตตาฌานพร้อม
ด้วยการเจริญสติตลอดเวลา คือจะต้องเข้าเมตตาฌานอยู่เสมอ การ
เจริญเมตตาฌานจึงเป็นการด�ำรงอยู่ในฐานะที่ประเสริฐ พระพุทธเจ้า

172
พรหมวิหาร
ทั้งหลายตรัสการปฏิบัติเช่นนี้ว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐใน
ศาสนานี้ (พรหมวิหาร)

วิหาร (การอยู่) ๔ ประเภท


ค�ำว่า วิหาร จ�ำแนกออกเป็น ๔ อย่าง๑๓๕ คือ
(๑) อิริยาบถวิหาร (๒) ทิพพวิหาร
(๓) อริยวิหาร (๔) พรหมวิหาร
(๑) อิริยาบถวิหาร หมายถึง การยืน เดิน นั่ง นอน สลับกัน
ตามสมควร ที่พระภิกษุและฆราวาสทั้งหลายปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติใน
ชีวิตประจ�ำวัน การยืนเป็นต้นจึงเรียกว่า อิริยาบถวิหาร (การอยู่ด้วย
อิริยาบถ)
(๒) ทิพพวิหาร หมายถึง มหัคคตฌาน เช่น กสิณฌาน
เป็นต้น ทีท่ ำ� ให้ผทู้ บี่ รรลุฌานได้ไปเกิดเป็นพรหมในชาติตอ่ ไป การเข้า
ฌานสมาบัติเป็นการเสวยสุขในฌานซึ่งเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม
เรียกว่า ทิพพวิหาร (การอยู่อย่างเป็นทิพย์)
(๓) อริยวิหาร หมายถึง อริยผล ๔ การเสวยสุขในผลสมาบัติ
โดยพระอริยบุคคลที่บรรลุมรรคผลแล้ว เรียกว่า อริยวิหาร (การอยู่
ของพระอริยะ)
173
พรหมวิหาร
(๔) พรหมวิหาร หมายถึง ฌาน ๔ ได้แก่ เมตตาฌาน กรุณา-
ฌาน มุทิตาฌาน และอุเบกขาฌาน และโดยที่ธรรมเหล่านี้เป็นความ
ประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ เป็นการด�ำเนินชีวิตที่หมดจด พระพุทธ-
องค์จึงตรัสเรียก เมตตาว่าเป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)

อัปปมัญญา และพรหมจรรย์
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ ๑ ว่า ในบางแห่งเรียกพรหม-
วิหาร ๔ นี้ว่า อัปปมัญญา บ้าง เรียกว่า พรหมจรรย์ บ้าง หมายถึง
ความประพฤติอันประเสริฐของผู้บริสุทธิ์ หรืออีกนัยหนึ่ง การเจริญ
อัปปมัญญา คือ การเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขานั้นเอง
ในการเจริญเมตตานั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีบัญญัติ คือ สัตว์
บุคคลเป็นอารมณ์กรรมฐาน จึงอาจจะท�ำให้เกิดมีความเห็นผิดทีเ่ รียก
ว่ า อั ต ตทิ ฏ ฐิ ได้ แ ก่ ความยึ ด มั่ น ในตั ว สั ต ว์ บุ ค คลว่ า เป็ น สิ่ ง ที่
มี จ ริ ง พระพุทธองค์จงึ ตรัสคาถาบทสุดท้ายเพือ่ ก�ำจัดอัตตทิฏฐิทอี่ าจ
จะเกิดขึน้ ได้และเพื่อช่วยให้เวไนยชนสามารถเข้าถึงมรรค ผล และ
นิพพานได้ในที่สุด

174
พรหมวิหาร
การปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเข้าไปอยู่ในครรภ์
๑๐. ทิฏฺญิ ฺจ อนุปคมฺม
สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ
น หิ ชาตุคฺคพฺภเสยฺย ปุนเรติ.
บุคคลผูน้ นั้ จะไม่กล�ำ้ กรายความเห็นผิด เป็นผูบ้ ริบรู ณ์ดว้ ยศีล
ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ เมื่อขจัดความยินดีในกามได้แล้ว ย่อมไม่
เข้าถึงการเกิดในครรภ์อีกอย่างแน่แท้
ข้อความว่า “บุคคลผู้นั้นจะไม่กล�้ำกรายความเห็นผิด” หมายความ
ว่า ในการเจริญเมตตามักใช้คำ� ภาวนาว่า “ขอสัตว์ทงั้ ปวงจงเป็น สุขเถิด”
แต่สิ่งที่เรียกว่า สัตว์ บุคคล หรืออัตตานั้นไม่ได้มีอยู่จริง เมื่อผู้ปฏิบัติ
เห็นประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวตนของ
เรานั้นเป็นแต่เพียงองค์รวมของธาตุทั้ง ๔ ประกอบกันขึ้นเป็นรูป
และนามที่เกิดขึ้นและดับไปต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ก็จะละอัตตทิฏฐิ
คือความเห็นผิดว่ามีอัตตาตัวตนเสียได้ เป็นวิธีละอัตตทิฏฐิด้วยการ
เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อจากเมตตา

175
พรหมวิหาร
นอกจากนี้ พึงก�ำจัดความเห็นผิดด้วยสุตมยปัญญา คือปัญญา
ที่เกิดจากการฟังที่ต้องมีพื้นฐานความรู้มาก่อนเริ่มต้นปฏิบัติ และหาก
ผู้ปฏิบัตินั้นได้บรรลุเมตตาฌานมาแล้ว ก็พึงเข้าเมตตาฌาน เมื่อออก
จากเมตตาฌานแล้วพึงพิจารณาองค์ฌานพร้อมทั้งรูปที่เป็นอารมณ์
กรรมฐาน ส่วนผู้ที่ยังไม่บรรลุฌาน ก็พึงก�ำจัดความเห็นผิดด้วยปัญญา
ที่เกิดจากการก�ำหนดรู้รูปนามปัจจุบันที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน ในทุก
ขณะที่ภาวนาว่า “จงเป็นสุขเถิด” หรือ “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
เถิด” สรุปได้วา่ การละอัตตทิฏฐิ มี ๒ วิธี คือ ด้วยการเข้าเมตตาฌาน
และด้วยการหยั่งเห็นสภาวธรรมรูปนามจนเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง
ในการละอัตตทิฏฐิดว้ ยสุตมยปัญญานัน้ พึงละด้วยการก�ำหนด
รู้สภาวธรรมรูปนามในขณะปฏิบัติ ในการละอัตตทิฏฐิด้วยการเข้า
เมตตาฌานนั้น เมื่อออกจากฌานแล้ว พึงพิจารณาฌานจิตที่เพิ่งดับ
ไป เช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้ฌานที่ก�ำหนดรู้การเกิดและดับของจิต
ที่คิดนึกตรึกตรอง ผู้ปฏิบัติพึงเข้าฌานและออกจากฌานหลายๆ ครั้ง
และทุกครั้งที่ออกจากฌาน ก็พึงพิจารณาฌานจิตที่เพิ่งดับไปนั้น จึง
จะเห็นชัดว่า ฌานจิตที่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข และรูปที่เป็นอารมณ์
ของวิปสั สนากรรมฐาน และจิตทีต่ ามรูน้ นั้ เป็นคนละอย่าง ไม่เหมือนกัน
ในขณะนั้น จะรู้ชัดว่า รูปที่เป็นอารมณ์กรรมฐานไม่สามารถรู้อารมณ์
เป็นคนละส่วนกันกับฌานจิตที่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข และต่างกัน

176
พรหมวิหาร
กับจิตที่ก�ำหนดรู้ เมื่อได้เห็นชัดอย่างนี้ ย่อมเกิดวิปัสสนาปัญญาที่
เข้าใจว่า ไม่มีอัตตาตัวตน สัตว์หรือบุคคล และร่างกายนี้ประกอบขึ้น
ด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนที่รับรู้อารมณ์ และส่วนที่ไม่รับรู้อารมณ์ อัตต-
ทิฏฐิที่เห็นว่ามีอัตตาตัวตนก็จะสลายไป นี้เป็นขั้นตอนของการก�ำจัด
หรือสลัดทิง้ ความเห็นผิดว่ามีอตั ตาตัวตนด้วยปัญญาทีร่ ชู้ ดั ความแตกต่าง
ระหว่างรูปกับนาม ทีเ่ กิดจากการเจริญเมตตาฌานสลับกับการเจริญ
วิปสั สนา
เมือ่ เจริญเมตตาฌานสลับกับการเจริญวิปสั สนาก�ำหนดรูฌ้ าน-
จิตทีเ่ พิง่ ดับไปและรูปทีเ่ ป็นอารมณ์กรรมฐานต่อไปอีก ก็จะมีปญ ั ญา
รู้แจ้งว่ามีเพียงเหตุและผลเท่านั้นที่เกิดขึ้น ปัญญานี้จะน�ำไปสู่การละ
อัตตทิฏฐิเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าฌานจิต และจิต
ที่ก�ำหนดรู้ รวมทั้งรูปที่เป็นอารมณ์กรรมฐานนั้นเกิดขึ้นและดับไปติด
ต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะนั้น จะละความเห็นผิดด้วยปัญญาที่รู้แจ้ง
ในอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จนในที่สุดก็จะ
ละอัตตทิฏฐิได้อย่างเด็ดขาดด้วยปัญญาในโสดาปัตติมรรค จึงเป็นวิธี
ถอนอัตตทิฏฐิให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง

177
พรหมวิหาร
ส�ำหรับวิธีละอัตตทิฏฐิด้วยการเจริญเมตตาด้วยการภาวนา
ว่า “ขอให้เป็นสุขเถิด” และพิจารณารูปที่เป็นอารมณ์กรรมฐานด้วย
เมตตาจิตนั้น ก็คล้ายกันกับการเจริญเมตตาฌาน ต่างกันแต่เพียงใน
การเจริญเมตตาภาวนานั้น จิตที่ประกอบด้วยเมตตานั้นยังไม่ได้บรรลุ
เมตตาฌานเท่านั้น จึงขอให้เจริญวิปัสสนาหลังจากการแผ่เมตตาตาม
วิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว และควรพิจารณาและก�ำหนดรู้รูปนามไปพร้อม
กับการภาวนา

178
พรหมวิหาร
วิธีปฏิบัติเพื่อละอัตตทิฏฐิ
การปฏิบัติเพื่อละอัตตทิฏฐิด้วยการก�ำหนดรู้จิตคิดที่เพิ่งดับ
ไป และสภาวธรรมการสัมผัส การได้ยิน และการเห็นเป็นต้นหลังจาก
การเจริญเมตตาภาวนานั้น มีลักษณะเหมือนกับการเจริญวิปัสสนา
ตามปกติ ข้อแตกต่างอยู่ที่จิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นจิตที่บรรลุฌาน
หรือยังไม่บรรลุฌานก็ได้ ส่วนวิธีการก�ำหนดรู้นั้นไม่ต่างกัน
ถ้าในขณะที่ก�ำลังก�ำหนดรู้อยู่นั้น สติหรือสมาธิอ่อนก�ำลังลง
ก็พงึ กลับเข้าเมตตาฌานใหม่อกี เมือ่ กายและจิตตัง้ มัน่ มีความสงบแล้ว
จึงออกจากฌานแล้วก�ำหนดรู้สภาวะของนามและรูปต่อไป
ผู้ปฏิบัติในปัจจุบันเริ่มต้นการปฏิบัติด้วยการก�ำหนดรู้สภาวะ
พองยุบของท้องเป็นหลัก ในขณะก�ำหนดรูก้ ารพองยุบของท้องนัน้ หาก
มีความคิดนึกผุดขึน้ ในใจก็พงึ ก�ำหนดรูค้ วามคิดนึกนัน้ ด้วย หลังจากนัน้
ให้กลับไปก�ำหนดสภาวะพองยุบของท้องต่อไป หากร่างกายรูส้ กึ ปวด
เมื่อย หรือร้อน พึงก�ำหนดรู้ความรู้สึกเหล่านั้นในขณะที่เกิดขึ้น หลัง
จากนัน้ ให้กลับไปก�ำหนดสภาวะพองยุบของท้องต่อไป ถ้ามีการเหยียด
หรือคู้ของมือและเท้า ก็พึงก�ำหนดรู้ในขณะที่เกิดอาการนั้น ขณะที่
ก�ำหนดรู้อยู่อย่างนี้ผู้ปฏิบัติจะเห็นอารมณ์ที่ถูกรู้ และจิตที่รู้แยกออก
จากกัน และจะเห็นชัดในความเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันของรูป

179
พรหมวิหาร
และนาม จากนั้นลักษณะที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) และ
ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) ก็จะปรากฏชัดในขณะหยั่งเห็นสภาวะรูปนาม
ปัจจุบนั นัน้ หลังจากทีภ่ งั คญาณ (ปัญญาทีร่ เู้ ห็นความดับ) มีความแก่กล้า
ยิ่งขึ้นด้วยสติที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติพึงก�ำหนดความรู้สึกทั่ว
ทั้งร่างกาย แต่ถ้าในขณะที่ก�ำหนดรู้อยู่นั้น มีความรู้สึกเบื่อหน่าย
หรือก�ำหนดได้ไม่ตอ่ เนือ่ ง ก็พงึ กลับมาก�ำหนดรูส้ ภาวะพองยุบของท้อง
อีก ต่อเมื่อร่างกายและจิตมีความสงบดีแล้ว จึงเริ่มก�ำหนดรู้ความรู้สึก
ทั่วทั้งร่างกายอีกครั้ง
เมือ่ สติทกี่ ำ� หนดรูม้ พี ลังมากขึน้ วิปสั สนาญาณก็จะก้าวหน้าขึน้
เป็นล�ำดับ ตั้งแต่ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตา-
ญาณ และปฏิสงั ขาญาณ จนกระทัง่ ถึงสังขารุเปกขาญาณ ในญาณขัน้ นี้
จิตจะรู้อารมณ์ได้เองไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก วิปัสสนาญาณที่
รูแ้ จ้งสภาวธรรมจะเกิดขึน้ เอง ผูป้ ฏิบตั จิ ะไม่สามารถก�ำหนดรูค้ วามรูส้ กึ
ได้ทวั่ ทัง้ ร่างกาย แต่จะสามารถก�ำหนดรูค้ วามรูส้ กึ ได้เพียงสองสามแห่ง
เท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ประณีตสุขุมมาก และการก�ำหนดรู้ก็ชัดเจน
ยิง่ นัก บางขณะจะสามารถก�ำหนดรูส้ ภาวธรรมทีป่ รากฏได้ประมาณ ๓
อย่างสลับกันไป เช่น สภาวะพองและยุบของท้อง ความปวดเมื่อย
จากการนั่ง และมีความรู้สึกเหมือนร่างกายทั้งหมดหายไป บางครั้ง
ผูป้ ฏิบัติรู้สึกเพียงอาการ ๒ อย่าง คือ สภาวะพองและยุบของท้อง

180
พรหมวิหาร
โดยไม่รู้สึกถึงสภาวะนั่ง บางขณะอาจไม่รู้สึกสภาวะพองยุบของท้อง
ถ้าเป็นเช่นนี้ ผูป้ ฏิบตั อิ าจก�ำหนดทีจ่ ติ รูว้ า่ “รูห้ นอๆ” ในขณะทีก่ ำ� หนด
รู้สิ่งต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น สติและสมาธิก็มีความว่องไวขึ้น จน
สังเกตเห็นความดับของอารมณ์และจิตที่รู้อารมณ์ ปัญญาที่เห็นความ
ดับของรูปนามนี้ เรียกว่า มรรคญาณ
ความจริงแล้ว อัตตทิฏฐิที่เรียกว่า อารัมมณานุสัย (อนุสัยที่
นอนเนื่องในอารมณ์) นั้นได้ถูกละไปอย่างสิ้นเชิงแล้วตั้งแต่ก่อนที่จะ
บรรลุมรรคญาณ ด้วยอ�ำนาจของวิปสั สนาญาณทีร่ แู้ จ้งรูปนามในขณะ
ก�ำลังเจริญวิปสั สนาอยูน่ นั้ เอง ส่วนมรรคญาณทีร่ แู้ จ้งความดับของรูป
นาม ได้ก�ำจัดอัตตทิฏฐิที่เรียกว่า สันตานานุสัย (อนุสัยที่นอนเนื่องใน
กระแสจิต) ไปอย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้วอนุสัยที่นอนเนื่องในกระแส
จิตเปรียบได้กับรากไม้ที่ฝังลึกอยู่ในดิน เราไม่อาจใช้มีดฟันได้ เพราะ
ถูกดินกลบไว้ ดังนั้น ในทุกขณะที่เกิดกิเลสคือความโลภ โกรธ หลง โดย
เฉพาะความฟุ้งซ่านที่จัดเป็นความหลงอย่างหนึ่ง เราต้องก�ำหนดมัน
ตลอดเวลา การก�ำหนดเช่นนี้ไม่เสียเปล่า จะท�ำให้อนุสัยที่นอนเนือ่ ง
ในอารมณ์คอ่ ยๆ ลดน้อยลงไปเรือ่ ยๆ เหมือนเราขุดดินตลอดเวลา และ
เมื่อรากไม้แห่งสันตานานุสัยปรากฏชัดเจน เราจึงใช้มีดแห่งมรรคญาณ
ตัดให้ขาดได้ หลังจากนั้น ความเห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคล หรือ อัตตา ก็
ถูกขจัดไปจนหมดสิ้น

181
พรหมวิหาร
ค�ำอธิบายที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นกระบวนการที่ อัตต-
ทิฏฐิ ถูกละได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา แม้ว่าในขณะปฏิบัตินั้น
ได้เจริญเมตตาให้แก่สัตว์ที่จัดเป็น บัญญัติ ก็ตาม และการปฏิบัตินี้
เป็นไปตามค�ำสอนของพระพุทธองค์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺ ญิ จฺ อนุปคมฺม
หมายความว่า บุคคลผู้นั้นจะไม่กล�้ำกรายความเห็นผิดมีสัตว์ บุคคล
หรืออัตตา คือ ไม่ปรารถนาจะยึดมั่นในความเห็นผิดนั้น
ถ้า อัตตทิฏฐิ ได้ถูกละไปด้วยวิปัสสนาแล้ว ย่อมหมายความ
ว่า มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดทั้งปวงก็ได้ถูกขจัดให้หมดไปด้วย เมื่อ
ทิฏฐิถูกขจัดไปหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงช�ำระศีลให้บริสุทธิ์ ในกรณีของ
ฆราวาสพึงรักษาศีล ๕ ศีล ๘ หรือ ศีล ๑๐ ซึ่งเป็นศีลขั้นพื้นฐาน
ส�ำหรับผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มงวดและด้วยความเคารพ ส�ำหรับ ปาติ-
โมกขสังวรศีล อันเป็นศีลของพระภิกษุนั้น ก็พึงช�ำระให้บริสุทธิ์ได้ด้วย
การประพฤติตามพระวินัยบัญญัติอย่างเคร่งครัด ทั้งฆราวาสและ
ภิกษุจ�ำเป็นต้องช�ำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ก่อนเริ่มต้นการปฏิบัต๑๓๖

ความบริบูรณ์ของ อริยมรรคศีล สามารถก�ำจัดมิจฉาทิฏฐิ
ดังที่ได้ตรัสไว้ในข้อความว่า ทิฏฺญิ ฺจ อนุปคมฺม การไม่กล�้ำกราย
ความเห็นผิด หมายถึงการละอัตตทิฏฐิ และเพื่อยืนยันว่ามีความ
บริบูรณ์ของ อริยมรรคศีล จึงตรัสซ�้ำด้วยศัพท์ว่า สีลวา หมายความว่า
บุคคลพึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ นอกจากนั้น ศัพท์ว่า ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
182
พรหมวิหาร
(ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ) หมายถึงการเห็นพระนิพพานซึ่งเป็น
สภาวะดับสังขารทุกข์ด้วย โสตาปัตติมรรค ค�ำนี้หมายความถึงการไม่
ยึดมั่นในอัตตทิฏฐิ คือละอัตตทิฏฐิได้แล้ว และยังมีความหมายเหมือน
ความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอริยมรรคศีลนั่นเอง นี้เป็นการกล่าวซ�้ำเพื่อย�้ำ
ความหมายให้ชัดเจน

วิธีปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเกิดในครรภ์
ข้อความว่า กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ (เมื่อขจัดความยินดีใน
กามได้แล้ว) หมายความว่า ท่านผู้นั้นได้ขจัดกามตัณหาในกามคุณ ๕
ได้แล้วด้วยปัญญาในอนาคามิมรรค กล่าวคือ เมื่อได้บรรลุธรรมเป็น
พระโสดาบันแล้ว ถ้าเจริญวิปัสสนาต่อไปก็จะบรรลุสกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล และหากเจริญวิปัสสนาต่อไป ก็จะบรรลุอนาคามิมรรค
ซึ่งจะขจัดกามตัณหาให้สนิ้ ไป หลังจากนัน้ จะได้บรรลุอนาคามิผลเป็น
พระอนาคามี เมื่อพระอนาคามีสิ้นชีวิตลงก็จะไปเกิดเป็นพรหมในชั้น
อวิหาภูมิ ซึ่งเป็นภูมิต�่ำสุดในสุทธาวาสภูมิ ๕

183
พรหมวิหาร
หากไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในอวิหาภูมิ เมื่อ
ครบอายุขัย ๑,๐๐๐ มหากัป จะจุติจากอวิหาภูมิ ไปเกิดในอตัปปา-
ภูมิ ซึ่งเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นที่อยู่สูงขึ้นไป
หากไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชั้นอตัปปาภูมิ
เมื่ อ ครบอายุ ขั ย ๒,๐๐๐ มหากั ป จะจุ ติ จ ากอตั ป ปาภู มิ ไปเกิ ด ใน
สุทัสสาภูมิ
หากไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชั้นสุทัสสาภูมิ
เมื่ออายุครบ ๔,๐๐๐ มหากัป จะจุติจากสุทัสสาภูมิ ไปเกิดในสุทัสสีภูมิ
หากไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชั้นสุทัสสีภูมิ
เมื่ อ อายุ ค รบ ๘,๐๐๐ มหากั ป จะจุ ติ จ ากสุ ทั ส สี ภู มิ ไปเกิ ด ใน
อกนิฏฐภูมิซึ่งเป็นยอดภูมิของสุทธาวาส พรหมในชั้นอกนิฏฐามีอายุ-
ขัย ๑๖,๐๐๐ มหากัป ในเวลาอันยาวนานนี้ จะต้องได้ส�ำเร็จเป็น
พระอรหันต์แล้วปรินิพพานในภูมินี้แน่นอน
ปรินิพพาน หมายถึงการดับสนิทของรูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหมด
เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีวิตลง เป็นการสิ้นสุดการวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ
กิเลสตัณหาและอุปาทานที่ผูกมนุษย์ไว้ในสังสารวัฏอันเป็นเหตุให้เกิด
ใหม่นั้นได้ดับลงอย่างสิ้นเชิง การปรินิพพานนี้เป็นที่สิ้นสุดของสังสาร-
ทุกข์จงึ เป็นความสุขอย่างยิง่ เป็นการดับทีเ่ ปรียบเหมือนเปลวไฟได้ดบั

184
พรหมวิหาร
ลงเพราะสิ้นเชื้อ เมื่อพระอรหันต์ดับขันธ์ลงแล้วก็เป็นอันว่าไม่มีการ
เกิดใหม่อีกต่อไป จึงเป็นการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เพราะ
ความแก่ ความเจ็บและความตายเป็นผลเนื่องมาจากการเกิดทั้งสิ้น
ดังนั้นการปรินิพพานคือการดับสนิทของกองทุกข์ เป็นความสุขตลอด
กาล
หลังจากที่พระอนาคามีได้อุบัติเกิดในสุทธาวาสภูมิแล้ว ปลาย
ทางของท่านก็คือการตายที่เรียกว่า ปรินิพพานเท่านั้น ท่านจะไม่
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเลย ดังนั้นจึงไม่ต้องมานอนในครรภ์มารดา
อีก คาถาว่า ทิฏฺญิ ฺจ อนุปคมฺม เป็นต้น จึงมีความหมายว่า ท่าน
ผู้บรรลุฌานนั้นไม่กล�้ำกรายความเห็นผิด คือ ได้ละอัตตทิฏฐิได้ด้วย
วิปัสสนาปัญญาและมรรคญาณแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอริยมรรคศีล
ถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ เมื่อขจัดความยินดีในกามคุณ ๕
ด้วยอนาคามิมรรคญาณได้แล้ว ย่อมปรินพิ พานโดยไม่มกี ารเกิดในครรภ์
มารดาอีก

185
พรหมวิหาร
กล่าวโดยสรุป คือ
การเจริญเมตตาภาวนาก่อให้เกิดฌาน
ถ้าเจริญวิปัสสนาโดยมีเมตตาฌานเป็นบาทฐานแล้ว
ผู้นั้นจะบรรลุมรรค-ผลถึงขั้นพระอนาคามีบุคคล
และไม่ต้องมาเกิดด้วยการปฏิสนธิในครรภ์อีก
เพราะเขาจะได้ไปเกิดเป็นพรหมในสุทธาวาสภูมิ
และบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน
ในสุทธาวาสภูมินั้นโดยแน่นอน
ค�ำอธิบายข้างต้นกล่าวตาม
คัมภีร์อรรถกถาของเมตตสูตร๑๓๗

อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ทรงประสงค์ให้ภิกษุทั้งหลาย
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาตินแี้ ละปรินพิ พานในโลกมนุษย์ และ
เนื่องจากการเกิดใหม่จะเป็นการเกิดในครรภ์เป็นส่วนมาก จึงน่าจะ
อนุมานว่า พระพุทธองค์คงหมายความถึงการไม่เกิดใหม่ในภพภูมิ

186
พรหมวิหาร
ทั้งหมด ไม่เพียงเฉพาะการเกิดในครรภ์ของกามภูมิเท่านั้น และศัพท์
ว่า กาเมสุ อาจหมายความว่า “รูปภพและอรูปภพที่น่าปรารถนา”
โดยไม่ค�ำนึงถึงความหมายที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ก็ได้ ดังนั้น
ความหมายของสองบาทคาถาหลังอาจแปลใหม่อีกนัยหนึ่งว่า “เมื่อ
ขจัดความยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนาได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการเกิด
ใหม่อีกอย่างแน่แท้” คือ ท่านผู้นั้นได้ประหาณความยินดีพอใจใน
อารมณ์ทั้งหมดที่น่าปรารถนาด้วยมรรคญาณทั้ง ๔ แล้ว จะไม่เกิดขึ้น
อย่างแน่นอน คือจะปรินิพพานในชาตินี้โดยไม่มีการเกิดใหม่อีก
ค�ำอธิบายนี้แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับการแปลตามศัพท์โดย
ทั่ ว ไป ๑๓๘ ก็ ส อดคล้ อ งกั บ พระพุ ท ธประสงค์ ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว และ
นอกจากนีย้ งั สอดคล้องกับค�ำกล่าวของภิกษุ ๕๐๐ รูป ทีไ่ ด้บรรลุเป็น
พระอรหันต์ด้วยการเจริญวิปัสสนาภายใน ๑ พรรษาหลังจากได้สดับ
เมตตสูตร อีกทั้งยังสอดคล้องกับค�ำสอนของพระพุทธองค์ในพระสูตร
ต่างๆ ว่า การเจริญวิปัสสนาโดยมีเมตตาฌานเป็นบาทนั้นจะส่งผลให้
บรรลุถึงอรหัตตมรรคได้ สมจริงดังพระพุทธด�ำรัสว่า
“ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพุทธศาสนา พึงลุถึงภาวะ
อันสงบ อันเป็นสุข ระงับสังขาร”๑๓๙

187
พรหมวิหาร
โอกาส’มชฺช นตฺถิ สุเว กริสฺสํ
ธมฺมํ อิตีหลสตา กุสลปฺปโยเค
นาลํ ติยทฺธสุ ตถา ภุวนตฺตเย จ
กามํ น จตฺถิ มนุโช มรณา ปมุตฺโต.
ความเกียจคร้านในการบ�ำเพ็ญความดีไม่พงึ มีโดยคิดว่า เรา
ไม่มีโอกาสในวันนี้ เราจักประพฤติธรรมในวันพรุ่ง เพราะนรชน
ผู้พ้นจากความตาย ย่อมไม่มีในกาล ๓ และภูมิ ๓ โดยแท้

ขิตฺโต ยถา นภสิ เกนจิเทว เลฑฺฑุ


ภูมึ สมาปตติ ภารตาย ขเณน
ชาตตฺตเมว ขลุ การณ’เมกเมว
โลเก สทา นนุ ธุวํ มรณาย คนฺตุํ.
ความเกิดเป็นเหตุเพียี งอย่างเดียวเพือ่ ถึงความตาย แน่นอน
ในหมู่สัตว์เป็นนิตย์แน่แท้ เสมือนหนึ่งคนบางคนซัดก้อนดินขึ้น
บนอากาศ [ก้อนดินนั้น]กลับตกลงสู่พื้นในทันใด เพราะก้อนดิน
เป็นของหนัก

188
พรหมวิหาร
บทที่ ๔
ในบทนี้จะขยายความเกี่ยวกับ
วิธีการแผ่เมตตาและ
การเจริญวิปัสสนา โดยจะยกตัวอย่าง
เกี่ยวกับอานิสงส์
ของการแผ่เมตตาตามที่พระพุทธองค์
ได้ตรัสเทศนาไว้
189
พรหมวิหาร
จึงขอยกพระบาลีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เมตตสูตรที่ ๒๑๔๐
มาอธิบายดังต่อไปนี้

เมตตสูตรที่ ๒
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ ปุคฺคโล เมตฺตาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ
ผริตฺวา วิหรติ. ตถา ทุติยํ. ตถา ตติยํ. ตถา จตุตฺถํ. อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ
สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพาวนฺตํ โลกํ เมตฺตาสหคเตน เจตสา วิปุเลน
มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเชน ผริตฺวา วิหรติ.
“บุคคลบางคนในโลกนีม้ เี มตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ และ
แผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เขาแผ่ไปใน
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ ถึงความยิ่งใหญ่
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่”
โส ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ เวทนาคตํ สญฺาคตํ สงฺขารคตํ
วิญฺาณคตํ, เต ธมฺเม อนิจฺจโต ทุกฺขโต โรคโต คณฺฑโต สลฺลโต อฆโต
อาพาธโต ปรโต ปโลกโต สุญฺโต อนตฺตโต สมนุปสฺสติ.
“เขาหยั่งเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในเมตตาจิตนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เสียดแทง
190
พรหมวิหาร
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เบียดเบียน ไม่เชื่อฟัง ต้อง
แตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ในอ�ำนาจ”
โส กายสฺส เภทา ปรํ มรณา สุทธฺ าวาสานํ เทวานํ สหพฺยตํ๑๔๑
อุปปชฺชติ.
“หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวก
เทวดาชั้นสุทธาวาส”
อยํ ภิกฺขเว อุปปตฺติ อสาธารณา ปุถุชฺชเนหิ.
“การเข้าถึงนี้ไม่ใช่มีอยู่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย”
ข้อความว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอด
ทิศที่ ๑ อยู่” คล้ายคลึงกับที่กล่าวไว้ในบทที่ ๑ แต่ในค�ำอธิบายที่
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ธนัญชานิพราหมณ์นั้นไม่ได้แสดงวิธีการ
เจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป ค�ำว่า เอกํ ทิสํ (ตลอดทิศที่ ๑) อาจตีความ
หมายถึงทิศใดทิศหนึ่งในทิศทั้ง ๔ คือ ทิศบูรพา ทิศปัจฉิม ทิศอุดร
และทิศทักษิณ แต่ในการเจริญเมตตาโดยปกติจะเริม่ ด้วยการแผ่เมตตา
ไปในทิศบูรพาก่อน หลังจากนั้น พึงแผ่เมตตาไปในทิศปัจฉิม ทิศอุดร
และทิศทักษิณ ตามล�ำดับ ด้วยค�ำภาวนาดังต่อไปนี้

191
พรหมวิหาร
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ จงเป็นสุขเถิด
ในข้อความว่า “ตามวิธนี ี้ เขาแผ่ไปในทิศเบือ้ งบน ทิศเบือ้ งล่าง
และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอ
กัน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ ถึงความยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มี
เวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่” พระพุทธองค์ทรงสอนให้แผ่เมตตาไป
ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียงทั้งหมด แต่ข้อความนั้นเป็น
เพียงล�ำดับการตรัสสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสเพื่อความสละสลวย
ไม่ใช่ล�ำดับการปฏิบัติจริงๆ๑๔๒ ดังนั้น จึงควรแผ่เมตตาไปในทิศเฉียง
ทิศเบื้องล่าง และทิศเบื้องบนตามล�ำดับทิศที่ระบุไว้ในคัมภีร์ปฏิสัม-
ภิทามรรค๑๔๓ ดังนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงเป็นสุขเถิด
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นสุขเถิด
192
พรหมวิหาร
ค�ำกล่าวเหล่านี้เป็นการแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐ ด้วยฌาน-
จิตที่เรียกว่า มหัคคตจิต หลังจากที่ได้บรรลุเมตตาฌานแล้ว แต่
ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่บรรลุเมตตาฌาน ก็สามารถแผ่เมตตาได้และจะได้รับ
อานิสงส์ตามสมควร กล่าวคือ จะได้รับกามาวจรเมตตากุศลที่ให้ผลดี
หลายประการ เช่น นอนหลับอย่างเป็นสุข ตืน่ นอนก็เป็นสุข ไม่ฝนั ร้าย
เป็นที่รักและนับถือของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีอันตรายที่จะพึงได้รับ
จากทิศทั้ง ๑๐ และหากเป็นภิกษุย่อมเป็นผู้ที่ควรได้รับทาน อีกทั้ง
ท�ำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์ผลบุญมาก และการบริโภคใช้สอย
ปัจจัย ๔ ของภิกษุนั้นก็ย่อมเป็นการบริโภคใช้สอยอย่างไม่เป็นหนี้ที่
จะต้องช�ำระคืนในภายหลัง ถ้าเสียชีวิตลงในขณะมีสติเจริญเมตตาอยู่
ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ
ล�ำดับต่อไป จะอธิบายวิธเี จริญวิปสั สนาในส่วนทีเ่ กีย่ วกับเมตต-
สูตรที่ ๒

193
พรหมวิหาร
วิธีเจริญวิปัสสนาที่เกี่ยวกับเมตตสูตรที่ ๒
ข้อความว่า “เขาหยั่งเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในเมตตาจิตนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เสียดแทง เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เบียดเบียน
ไม่เชื่อฟัง ต้องแตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ในอ�ำนาจ” อธิบายวิธี
เจริญวิปสั สนาภายหลังออกจากฌานสมาบัติ โดยการรูเ้ ห็นรูป เวทนา
เป็นต้น ตามที่สภาวธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะเข้าฌาน เป็นการรู้
เห็นอย่างเดียวกันกับผูป้ ฏิบตั ทิ กี่ ำ� หนดรูส้ ภาวะเห็นหรือได้ยนิ ในขณะ
ที่เห็น ได้ยิน หรือคิดนึก เป็นต้น ด้วยการบริกรรมว่า “เห็นหนอ”
“ได้ยินหนอ” หรือ “คิดหนอ”
ในขณะที่ฌานจิตเกิดนั้น รูปอันเป็นที่ตั้งของฌานจิตคือหทัย-
วัตถุกต็ าม หรือรูปทีเ่ กิดจากฌานจิตก็ตาม มีอยูท่ งั้ สองอย่าง รูปเหล่านัน้
ปรากฏเป็นสิง่ ทีบ่ ริสทุ ธิป์ ระณีตอย่างยิง่ ซึมซาบไปทัว่ สรรพางค์กาย
ท�ำให้รู้สึกเป็นสุขสบาย จึงเป็นเช่นเดียวกันกับความรู้สึกในขณะที่ผู้
ปฏิบตั บิ รรลุอทุ ยัพพยญาณ พระบาลีตรัสเรียกรูปอันเป็นทีต่ งั้ ของฌาน
จิตและรูปที่เกิดจากฌานจิตว่า ยเทว รูปคตํ (รูป) และเรียกเวทนาที่
เกิดขึ้นพร้อมกันกับฌานว่า เวทนาคตํ (เวทนา), สญฺาคตํ (สัญญา)
และ สงฺขารคตํ (สังขาร) ส่วนฌานจิตนัน้ เรียกว่า วิญฺ าณคตํ (วิญญาณ)
นี่เป็นวิธีที่ฌานลาภีบุคคล หมายถึงบุคคลที่ได้ฌานรู้เห็นฌานจิต
194
พรหมวิหาร
เป็นต้นเมื่อออกจากฌานแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกันกับนักปฏิบัติทั่วไป
ก�ำหนดรู้สภาวะของเวทนาเป็นต้นว่า “สุขหนอ” หรือ “จ�ำได้หนอ”
หรือ “อิ่มใจหนอ” หรือ “คิดหนอ” เมื่อมีเวทนาเป็นต้นปรากฏขึ้น
ชัดเจน
ส�ำหรับลักษณะที่เห็นได้ด้วยปัญญาซึ่งเกิดขึ้นจากการรู้เห็น
ดังกล่าวนั้น มีอยู่ ๑๑ ประการคือ อนิจฺจโต เป็นต้น บุคคลที่มีการศึกษา
หรือมีปัญญามากอาจเห็นทั้งหมด แต่ผู้มีการศึกษามาน้อยอาจรู้ได้
เพียงบางลักษณะ ลักษณะที่ส�ำคัญที่สุด ๓ อย่างที่พึงรู้ก็คือ อนิจจัง
ทุกขัง และ อนัตตา ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนาโดยเน้น
ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้เป็นหลัก ถ้าเข้าใจ ๓ ประการนี้ ก็ถือได้ว่า
เข้าใจลักษณะอีก ๘ อย่างที่เหลือได้ เช่น สภาวะที่ต้องแตกสลายไป
(ปโลกะ) มีความหมายเหมือนกับอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ลักษณะ
ทั้ง ๕ อย่างนี้ คือ สภาวะที่เสียดแทง (โรค) เป็นดังหัวฝี (คณฺฑ) เป็น
ดังลูกศร (สลฺล) เป็นสิ่งคับแค้น (อฆ) เบียดเบียน (อาพาธ) เหมือน
กับทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์ อันเป็นสภาวะอึดอัดบีบคั้นหรือน่ากลัว
นอกจากนั้น สภาวะที่ไม่เชื่อฟัง (ปร) และว่างเปล่า (สุญฺ) ทั้งสอง
อย่างนี้มีความหมายเหมือนกับอนัตตา คือ การไม่อยู่ในอ�ำนาจ บังคับ
บัญชาไม่ได้ ล�ำดับต่อไป จะอธิบายเกี่ยวกับการหยั่งเห็นลักษณะสาม
อย่างที่พึงรู้

195
พรหมวิหาร
อนิจจัง อนิจจลักษณะ และอนิจจานุปัสสนา
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
“พึงเข้าใจสภาวะที่ไม่เที่ยง พึงเข้าใจความไม่เที่ยง พึงเข้าใจ
วิปัสสนาญาณที่รู้เห็นความไม่เที่ยง”๑๔๔
พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า
“ในเรื่องนั้น บทว่า อนิจฺจํ (สภาวะที่ไม่เที่ยง) คือ ขันธ์ ๕
เพราะเหตุไร เพราะขันธ์ ๕ เหล่านั้น มีสภาพเกิดขึ้น ดับไป และ
กลายเป็นอย่างอื่น”๑๔๕
สิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูปและนาม หรือกายและ
ใจที่มีอยู่ในขณะที่เกิดฌานจิต ในพระบาลีกล่าวถึงสภาวะเหล่านี้ว่า
รูปคตํ เวทนาคตํ เป็นต้น ธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรก�ำหนดรู้และ
เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่เทีย่ ง ในขณะออกจากฌาน การรูเ้ ห็นอนิจจ-
ลักษณะนี้ ก็เหมือนกับวิปสั สนาปัญญาของผูป้ ฏิบตั ทิ กี่ ำ� หนดรูร้ ปู นาม
ในขณะเห็น ได้ยิน คิดนึก อย่างมีสติ การก�ำหนดรู้ลักษณะความไม่
เที่ยงนี้ อาจอธิบายได้ดังนี้

196
พรหมวิหาร
“ลักษณะที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นลักษณะไม่เที่ยง”๑๔๖
สิง่ ทัง้ หลายไม่เทีย่ งแท้แน่นอน เกิดขึน้ แล้วก็ดบั ไปอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น บ้านหลังหนึ่งปลูกอยู่ในทุ่งนา เป็นบ้านปลูกใหม่เพราะ
เมื่อก่อนไม่มี แต่บ้านหลังนี้ย่อมต้องผุพังไปไม่วันใดก็วันหนึ่งไม่คงทน
ถาวร สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไปย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คงทน ไม่ยั่งยืนโดยแท้
ในท�ำนองเดียวกัน บุคคลเกิดมาในโลกนี้ มีชีวิตอยู่ แล้วก็ตายไป ย่อม
นับว่าชีวิตคนไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน เช่นเดียวกับสายฟ้าแลบที่เกิดขึ้นเพียง
ชั่วขณะแล้วดับไปในทันที ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างความไม่เที่ยง อัน
ได้แก่อนิจจลักษณะ
ผูป้ ฏิบตั ทิ กี่ ำ� หนดรูส้ ภาวธรรมต่างๆ เช่น การสัมผัส การคิดนึก
การได้ยิน และการเห็น ย่อมจะสังเกตเห็นการเกิดดับที่เป็นไปอย่าง
รวดเร็วในขณะทีส่ มาธิมกี ำ� ลังแก่กล้า เมือ่ เห็นประจักษ์ดว้ ยประสบการณ์
จากการปฏิบตั ขิ องตนเองเช่นนี้ ผูป้ ฏิบตั จิ ะรูส้ กึ เบิกบานด้วยความปีติ
ทีไ่ ด้เห็นความเกิดขึน้ และดับไปของสิง่ ทัง้ ปวง ทีเ่ รียกว่า อนิจจลักษณะ
การได้เห็นสภาวะเกิดดับในขณะที่ก�ำหนดรู้รูปนามนี้ ท�ำให้ผู้ปฏิบัติรู้
ได้วา่ สิง่ ทัง้ ปวงไม่เทีย่ ง ปัญญาทีห่ ยัง่ รูเ้ ช่นนี้ เรียกว่า อนิจจานุปสั สนา
ญาณ เป็นปัญญาทีเ่ กิดขึน้ จากการปฏิบตั ซิ งึ่ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
คือ ปัญญาที่เกิดจากการอบรมจิต ไม่ใช่เกิดจากความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง
มาที่เรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง หรือเกิดจาก
197
พรหมวิหาร
การนึกคิดหาเหตุผลที่เรียกว่า จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจาก
การนึกคิด๑๔๗
เมือ่ ผูป้ ฏิบตั บิ รรลุเมตตาฌานทีเ่ กิดจากการเจริญเมตตาภาวนา
โดยภาวนาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด เป็นต้น ฌานจิตของผู้
ปฏิบตั นิ นั้ ย่อมปรารถนาให้ผอู้ นื่ มีสขุ ฌานจิตนีอ้ าจเกิดขึน้ ชัว่ เวลาเพียง
๑ วินาทีหรือสองสามนาที เมือ่ ฌานจิตดับลง ความคิดหรือความรูส้ กึ
ก็จะเกิดขึ้นตามปกติ เรียกว่า ออกจากฌาน มีลักษณะเหมือนคนที่
นอนหลับสนิทแล้วตื่นขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัตินั้นได้อธิษฐานจิตไว้ก่อนที่จะเข้า
ฌานว่า เมื่อออกจากฌานแล้วจงรู้เห็นฌานจิตที่เพิ่งจะดับลง จิตที่
ประกอบด้วยวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นต่อจากฌานจิตที่เพิ่งดับลงนั้น จะ
รับรู้ได้ถึงการดับลงของฌานจิตและการเกิดขึ้นของวิปัสสนาจิต นอก
จากนี้ยังรู้ถึงการเกิดดับของ รูป เวทนา สัญญา และสังขารด้วย เขา
ย่อมรับรู้และเข้าใจว่า สิ่งทั้งปวงมีการเกิดขึ้นและดับไปอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นสิ่งทั้งปวงจึงไม่เที่ยง
198
พรหมวิหาร
ทุกขัง ทุกขลักษณะ และทุกขานุปัสสนา
ทุกข์ หมายถึง สภาวะที่ตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
(ยทนิจจฺ ํ ตํ ทุกขฺ )ํ ๑๔๘ กล่าวคือ ขันธ์ ๕ ไม่เทีย่ ง ดังนัน้ ขันธ์ ๕ จึงเป็น
ทุกข์ ในบรรดาขันธ์ทั้ง ๕ นั้น มีเพียง ทุกขเวทนา เป็นความทุกข์อย่าง
ที่เข้าใจกัน ส่วนสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา และขันธ์ที่เหลืออีก ๔
ขันธ์ ไม่เป็นความรูส้ กึ ทุกข์ทที่ ำ� ให้เจ็บปวดไม่สบาย แต่เนือ่ งจากสภาวะ
ทัง้ หมดนี้ ไม่มคี วามคงทน มีความเปลีย่ นแปรไปเป็นธรรมดา และไม่
น่าเพลินเพลินยินดี จึงจัดว่าเป็นทุกข์ คือ สภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการ
เกิดดับ หรือเป็นสภาวะที่น่ากลัวไม่น่าเพลิดเพลิน๑๔๙ จึงควรเข้าใจว่า
ทุกข์ คือ ไม่น่าเพลิดเพลิน ท�ำให้ไม่สุขสบายอยู่ตลอดเวลา
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดรู้การเกิดดับของรูปนามอยู่ตลอดเวลานั้น
ย่อมเห็นการเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วของขันธ์ ๕ ย่อมรู้ชัดว่า
ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดทุกข์และความไม่สบาย
เป็นเหตุให้เกิดความเมื่อย ตึง ร้อน เจ็บปวด เป็นต้น จึงเรียกขันธ์ ๕
ว่า ทุกข์ และเกิดความเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่อึดอัดบีบคั้น
หรือน่ากลัวด้วยวิปสั สนาปัญญาของตนเอง นีเ้ ป็นทุกขานุปสั สนาญาณ
ที่แท้จริง

199
พรหมวิหาร
อนัตตา อนัตตลักษณะ และอนัตตานุปัสสนา
พระพุทธองค์ตรัสว่า อนัตตา คือ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา (ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา)๑๕๐ ดังนั้น ขันธ์ ๕ ซึ่งชื่อว่า ทุกข์ จึงไม่ใช่
อัตตา แต่เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน หมายความว่า ขันธ์ ๕ เป็น
อนัตตา เพราะเป็นสิง่ ทีบ่ งั คับบัญชาไม่ได้ ไม่อยูใ่ นอ�ำนาจของตน เรา
ไม่สามารถอ้อนวอนขอร้องให้ขนั ธ์ ๕ เป็นสุขได้ เนือ่ งจากขันธ์ ๕ เป็น
ทุกข์โดยธรรมชาติ และเราไม่สามารถบังคับหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้
เป็นไปตามที่ต้องการได้ ขันธ์ ๕ จึงไม่ชื่อว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวตน
ของเรา ดังนั้น อนัตตาจึงเป็นสภาวะที่บังคับบัญชาไม่ได้
ถ้าขันธ์ ๕ เป็นตัวตนของเรา ก็ควรเป็นไปตามที่เราปรารถนา
แต่ขนั ธ์ ๕ กลับเป็นไปตามเหตุปจั จัยทีบ่ างครัง้ ไม่สามารถก�ำหนดล่วง
หน้าได้ จึงไม่เป็นไปตามความต้องการของเราเสมอไป ความสุขความ
ส�ำราญทีเ่ กิดขึน้ ในบางครัง้ ก็ไม่คงทนอยูไ่ ด้นานอย่างทีเ่ ราต้องการ แต่
กลับสลายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อขันธ์ ๕ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา
ของเราเช่นนี้ จึงควรก�ำหนดรู้จนกระทั่งเข้าใจว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตน
หรืออัตตาของเรา แต่เป็นอนัตตา และเป็นสภาวะที่ควบคุมบังคับ
บัญชาไม่ได้ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ดังข้อความว่า อวสวตฺตนา-
กาโร อนตฺตลกฺขณํ (ลักษณะที่ไม่เป็นไปในอ�ำนาจ เป็นลักษณะของ
อนัตตา)๑๕๑
200
พรหมวิหาร
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดรู้รูปนามอยู่อย่างต่อเนื่อง จะพบว่ารูปนาม
เกิดดับอยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย และไม่เป็นไปตามความต้องการ
ดังนัน้ จึงรูช้ ดั ด้วยวิปสั สนาปัญญาของตนว่า รูปนามเป็นไปตามธรรมดา
ของอนัตตา คือไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ นี้เป็นอนัตตานุ-
ปัสสนาที่แท้จริง
แม้เราอยากจะเจริญเมตตาตลอดวันตลอดคืน ด้วยการแผ่
เมตตาจิตและภาวนาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” แต่ถ้าความ
เพียรพยายามยังย่อหย่อนอยู่ ก็จะไม่สามารถท�ำได้ นอกจากผู้ที่มี
ความเพียร มีอุตสาหะและความตั้งใจที่แน่วแน่เท่านั้นจึงจะสามารถ
ท�ำได้ จนเห็นได้วา่ อนัตตาเป็นธรรมชาติทไี่ ม่เป็นไปตามความต้องการ
ของเราอย่างแท้จริง ดังนัน้ ในการเจริญวิปสั สนาเกีย่ วกับอนัตตา ควร
เริ่มต้นด้วยการเจริญเมตตา แล้วกล่าวค�ำภาวนาว่า
- ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด
ถ้าก�ำหนดรู้จิตที่ประกอบด้วยเมตตาในขณะกล่าวค�ำภาวนา
เพือ่ ให้เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ขณะนัน้ จัดเป็นกามาวจรกุศล กล่าวคือ
เป็นการท�ำกุศลในชั้นกามาวจร
ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นฌานลาภีบุคคลที่เข้าเมตตาฌาน ต่อมาออก
จากฌานแล้วก�ำหนดรู้ฌานจิตเพื่อให้เห็นอนิจจลักษณะ ขณะนั้นจัด
เป็นมหัคคตกุศล กล่าวคือเป็นการท�ำกุศลชัน้ สูง ความแตกต่างระหว่าง
201
พรหมวิหาร
กามาวจรกุศล และ มหัคคตกุศล อยู่ที่ฌานจิตเท่านั้น ส�ำหรับวิธี
การเจริญเมตตาภาวนานั้นเหมือนกันทุกอย่าง ดังนั้น ในขณะที่เจริญ
เมตตาภาวนาอยูน่ นั้ เมือ่ วิปสั สนาญาณแก่กล้าขึน้ ก็จะบรรลุมรรคญาณ
สามารถเข้าถึงพระนิพพานที่เป็นความดับของรูปนาม หลังจากนั้น
ผลญาณก็เกิดขึ้น ท�ำให้ส�ำเร็จเป็นพระโสดาบัน ผู้ที่บรรลุเมตตาฌาน
ถ้าเจริญวิปัสสนาต่อไป ก็อาจได้บรรลุสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
และอนาคามิมรรค อนาคามิผล ตามล�ำดับ ถ้าบรรลุเป็นอนาคามี ก็
จะพ้นจากกามราคะ ไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะได้ไปเกิด
ในรูปาวจรภูมิหรืออรูปาวจรภูมิ และอาจได้ไปบังเกิดอยู่ในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นภูมิส�ำหรับพระอนาคามีโดยเฉพาะที่อยู่ในรูปา-
วจรภูมิก็ได้

202
พรหมวิหาร
อธิบายเมตตสูตรที่ ๒ (ต่อ)
ข้อความว่า “หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพวกเทวดาชัน้ สุทธาวาส การเข้าถึงนีไ้ ม่ใช่มอี ยูท่ วั่ ไปกับปุถชุ น
ทั้งหลาย” หมายความว่า ผู้ที่จะเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสได้นั้น ต้อง
เป็นพระอนาคามีที่บรรลุปัญจมฌานด้วยการเจริญอุเบกขาภาวนา แต่
ผูเ้ จริญเมตตาภาวนาจะสามารถส�ำเร็จได้เพียงจตุตถฌานเท่านัน้ การจะ
ได้เกิดในสุทธาวาสภูมิ เป็นไปไม่ได้เมื่อผู้นั้นส�ำเร็จเป็นพระอนาคามี
และได้เจริญเมตตาฌานอย่างเดียว บุคคลนั้นพึงเจริญอุเบกขาภาวนา
ต่อไปเพื่อให้บรรลุปัญจมฌาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากส�ำหรับพระอนาคามี
ผู้ได้บรรลุฌานแล้ว แม้ผู้ที่ส�ำเร็จเป็นพระอนาคามีด้วยการเจริญวิปัส-
สนาล้วนๆ โดยไม่ได้ฌานขั้นหนึ่งขั้นใดเลย ก็ยังสามารถเจริญฌาน
จนถึงปัญจมฌานแล้วไปเกิดในสุทธาวาสภูมิได้
ส�ำหรับคนทั่วไป แม้ว่าจะได้บรรลุเมตตาฌานและอุเบกขา
ฌานก็ไม่สามารถไปเกิดในสุทธาวาสภูมิได้ แม้แต่พระโสดาบันและ
พระสกทาคามีก็ยังไม่สามารถไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิได้ แต่มีโอกาส
จะบรรลุเป็นพระอนาคามีโดยไม่ยากแล้วสามารถไปเกิดในสุทธาวาส
ภูมิได้ ดังนั้นในเมตตาสูตรที่ ๒ นี้ จึงตรัสไว้เฉพาะปุถุชนว่าเป็นบุคคล
ที่ไม่มีโอกาสไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ

203
พรหมวิหาร
ส�ำหรับเมตตสูตรที่ ๑ นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสอานิสงส์ของ
เมตตาว่า ผู้ที่ได้เมตตาฌานเมื่อตายไป จะได้เป็นพรหมในชั้นปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน และเวหัปผลา และเมื่อตายจากพรหมแล้วจะได้
ไปเกิดในกามสุคติภูมิ เมื่อตายจากกามสุคติภูมิแล้ว ก็มีโอกาสต้องไป
เกิดในอบายภูมไิ ด้อกี แต่สำ� หรับพระอริยบุคคลทีเ่ กิดอยูใ่ นพรหมโลกนัน้
ท่านย่อมจะส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในพรหมโลกอย่าง
แน่นอน ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ จึงขอยกข้อความในพระบาลี
มาแปลและอธิบาย ดังต่อไปนี้

เมตตสูตรที่ ๑๑๕๒
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ ปุคฺคโล เมตฺตาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ
ผริตฺวา วิหรติ. ตถา ทุติยํ. ตถา ตติยํ. ตถา จตุตฺถํ. อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ
สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพาวนฺตํ โลกํ เมตฺตาสหคเตน เจตสา วิปุเลน
มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเชน ผริตฺวา วิหรติ.
204
พรหมวิหาร
“บุคคลบางคนในโลกนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
และแผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เขาแผ่
ไปในทิศเบือ้ งบน ทิศเบือ้ งล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทัว่ ทุกหมูเ่ หล่า
ในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ ถึงความ
ยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่”
เทศนาที่พระบรมศาสดาทรงแสดงส่วนนี้มีเนื้อความตรงกับ
เมตตสูตรที่ ๒ โดยอธิบายถึงวิธีแผ่เมตตา และการเข้าเมตตาฌาน
ต่อจากนั้น ได้ตรัสการเข้าเมตตาฌานโดยไม่มีวิปัสสนา ดังต่อไปนี้
โส ตทสฺสาเทติ, ตํ นิกาเมติ, เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ. ตตฺถ
ิโต ตทธิมุตฺโต ตพฺพหุลวิหารี อปริหีโน กาลํ กุรุมาโน พฺรหฺม-
กายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ. พฺรหฺมกายิกานํ ภิกขฺ เว เทวานํ
กปฺโป อายุปฺปมาณํ.
“เขาชอบใจเมตตาฌานนัน้ ติดใจเมตตาฌานนัน้ และถึงความ
ปลืม้ ใจกับเมตตาฌานนัน้ เขาด�ำรงอยูใ่ นเมตตาฌานนัน้ น้อมใจไปใน
เมตตาฌานนั้น ชอบอยู่กับเมตตาฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตาย
ไปย่อมเข้าถึงความเป็นผูอ้ ยูร่ ว่ มกับพวกเทวดาชัน้ หมูพ่ รหม พวกเทวดา
ชั้นหมู่พรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป”

205
พรหมวิหาร
ในประโยคข้ า งต้ น ตรั ส ถึ ง ผู ้ ที่ เจริ ญ เมตตาฌานจนบรรลุ
ปฐมฌานแล้วมีฌานไม่เสื่อม หลังเสียชีวิตแล้วจึงไปเกิดเป็นพรหมใน
พรหมโลก ชั้นปฐมฌานภูมิด้วยก�ำลังของฌาน หลังจากนั้น พระพุทธ-
องค์ได้ตรัสถึงผู้ที่บรรลุทุติยฌานว่าไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกชั้น
อาภั ส สราภู มิ ใ นที่ นี้ เ น้ น ว่ า ผู ้ ที่ บ รรลุ ทุ ติ ย ฌานจะไปเกิ ด ในพรหม
อาภัสสราภูมิซึ่งเป็นภูมิที่สูงสุดในบรรดาทุติยฌานภูมิทั้ง ๓ คือ
ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ และอาภัสสราภูมิ โดยกล่าวถึงอาภัสสรา
ภูมทิ ี่สูงสุดไว้เป็นประธาน
ส่วนผู้ที่บรรลุตติยฌานนั้น เมื่อสิ้นชีพลงก็จะไปเกิดในตติย-
ฌานภูมิ ซึ่งมี ๓ ภูมิ ได้แก่ ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ และ
สุภกิณหาภูมิ โดยพระพุทธองค์ตรัสระบุถึงชั้นสุภกิณหาซึ่งเป็นชั้นที่
สูงที่สุดในตติยฌานภูมินี้ โดยกล่าวถึงภูมิที่สูงสุดไว้เป็นประธานเช่น
เดียวกัน
ผูป้ ฏิบตั ทิ บี่ รรลุจตุตถฌานด้วยการเจริญอุเบกขาภาวนา เมือ่
สิ้นชีพลงจะได้ไปเกิดอยู่ในเวหัปผลาภูมิ อันเป็นยอดภูมิในชั้นรูปาวจร
ที่ปุถุชนจะไปเกิดได้ พรหมในเวหัปผลาภูมิมีอายุยืน ๕๐๐ กัป เมื่อ
สิ้นอายุขัยก็จะไปเกิดในกามสุคติภูมิ ซึ่งได้แก่มนุษย์โลก หรือเทวโลก
หลังจากนั้น เมื่อตายลงจากกามสุคติภูมิ ก็อาจต้องไปเกิดในอบายภูมิ
๔ ดังมีค�ำอธิบายต่อไปนี้
206
พรหมวิหาร
ตตฺถ ปุถุชฺชโน ยาวตายุกํ ตฺวา ยาวตกํ เตสํ เทวานํ
อายุปฺปมาณํ, ตํ สพฺพํ เขเปตฺวา นิรยมฺปิ คจฺฉติ ติรจฺฉานโยนิมฺปิ
คจฺฉติ เปตฺติวิสยมฺปิ คจฺฉติ.
“คนที่เป็นปุถุชนด�ำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ครั้น
ให้ระยะเวลาที่เป็นก�ำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้ว ไปสู่
นรกบ้าง ไปสู่ก�ำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง”
ผู้ที่เป็นพรหม ถ้าหมดอายุขัยลงก็ยังอาจตกไปสู่อบายภูมิได้โดย
เกิดในนรกหรือเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาหรือเป็นเปรตได้หากยังไม่หลุดพ้น
จากกรรมและกิเลส แต่พรหมจะไม่ตกไปสู่อบายทันทีที่ตายจาก
พรหมภูมิ เพราะยังมีกศุ ลวิบากเหลืออยูจ่ ากการทีไ่ ด้เจริญอุปจารสมาธิ
ก่อนที่จะได้ฌาน กุศลนั้นจึงส่งให้ไปเกิดในมนุษยภูมิ หรือเทวภูมิหลัง
จากจุติจากพรหม แต่พระอริยสาวกที่บรรลุมรรคผลด้วยเมตตาฌาน
เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะไปบังเกิดในพรหมภูมิหากยังมีกิเลสเหลืออยู่ และ
หากเขาบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล ในขณะที่อยู่ในพรหมภูมิ ก็
จะปรินิพพานอยู่ในพรหมภูมินั้นเอง ข้อความต่อไปนี้แสดงความแตก
ต่างระหว่างพรหมที่เป็นปุถุชนและพรหมที่เป็นพระอริยบุคคล
ภควโต ปน สาวโก ตตฺถ ยาวตายุกํ ตฺวา ยาวตกํ เตสํ เทวานํ
อายุปฺปมาณํ, ตํ สพฺพํ เขเปตฺวา ตสฺมึเยว ภเว ปรินิพฺพายติ.

207
พรหมวิหาร
“ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคด�ำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้น
จนสิน้ อายุ ครัน้ ให้ระยะเวลาทีเ่ ป็นก�ำหนดอายุของเทวดาเหล่านัน้ หมด
ไปแล้วย่อมปรินิพพานในภพนั้นแล”
อยํ โข ภิกฺขเว วิเสโส อยํ อธิปฺปยาโส อิทํ นานากรณํ สุตวโต
อริยสาวกสฺส อสฺสุตวตา ปุถุชฺชเนน, ยทิทํ คติยา อุปปตฺติยา สติ.
“นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุท�ำ
ให้ตา่ งกันระหว่างอริยสาวกผูไ้ ด้สดับกับปุถชุ นผูไ้ ม่ได้สดับ เมือ่ คติและ
อุบัติยังมีอยู่”
ข้อความว่า “นีแ้ ลเป็นความแปลกกัน” คือ การทีพ่ รหมทีเ่ ป็น
ปุถุชน เมื่อหมดอายุขัยลง ย่อมกลับไปเกิดในกามาวจรสุคติภูมิ และ
หลังจากนั้น เมื่อตายจากกามาวจรสุคติภูมิก็มีโอกาสที่จะต้องไปเกิด
ในโลกของดิรัจฉานหรือเปรตได้ แต่ส�ำหรับพรหมที่เป็นอริยสาวกจะ
ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพรหมโลก แล้วเข้าสู่ปรินิพพานในพรหมโลก
เป็นความแตกต่างระหว่างพรหมทีเ่ ป็นปุถชุ น และพรหมทีเ่ ป็นพระอริย-
สาวก

208
พรหมวิหาร
สิ่งที่ควรทราบ คือ ผู้ที่พอใจการบรรลุเพียงเมตตาฌาน เมื่อ
ตายลงก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลก แต่เนือ่ งจากยังไม่ได้บรรลุมรรคผล
ด้วยการเจริญวิปัสสนา เมื่ออายุขัยของพรหมสิ้นสุดลง ก็จะต้องกลับ
มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาในกามาวจรภูมิอีก และในขณะที่เป็น
มนุษย์หรือเทวดาอยู่นั้น หากได้ก่ออกุศลไว้ก็จะไม่พ้นที่จะต้องไปเกิด
ในอบายภูมิ ๔ ภูมิใดภูมิหนึ่งในชาติต่อไป แต่หากได้เจริญวิปัสสนา
หลังจากบรรลุเมตตาฌานจนส�ำเร็จเป็นอริยบุคคลระดับพระโสดาบัน
แล้ว เมื่อสิ้นชีพลงก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลกและไม่กลับมาเกิดใน
กามาวจรภูมิอีกเลย และจะบรรลุมรรคผลยิ่งๆ ขึ้นไปจนกระทั่งส�ำเร็จ
เป็นพระอรหันต์แล้วปรินพิ พานในพรหมโลก ถึงจุดสิน้ สุดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวล แม้ว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นพระอนาคามี ก็จะไม่กลับมาเกิดใน
กามาวจรภูมิอีก เพราะได้ละกามราคะแล้วด้วยองค์ฌาน เรียกว่า
ฌานอนาคามี ส�ำหรับพระสกทาคามีที่ได้ฌานก็เช่นกัน จะเป็น ฌาน-
อนาคามี และไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภูมิอีกเลย
แต่ถ้าบุคคลนั้นบรรลุเป็นพระอนาคามีหลังจากได้ฌาน ก็มี
โอกาสไปเกิดในอวิหาภูมิ ซึ่งเป็นพรหมชั้นต�่ำสุดในบรรดาสุทธาวาส
พรหมทั้ง ๕ แล้วส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในอวิหาภูมิ
นั้น

209
พรหมวิหาร
ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์หลังจากสิ้นอายุขัยของอวิหา-
พรหม คือ ๑,๐๐๐ กัป ก็จะได้ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป
ได้แก่ อตัปปาภูมิ
ถ้าหากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในอตัปปา-
ภูมิ เมื่อสิ้นอายุขัยของอตัปปาพรหม คือ ๒,๐๐๐ กัปแล้ว จะได้ไปเกิด
ในสุทธาวาสภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป ได้แก่ สุทัสสาภูมิ
ถ้าหากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินพิ พานในสุทสั สาภูมิ
เมื่อสิ้นอายุขัยของสุทัสสาพรหม คือ ๔,๐๐๐ กัปแล้ว จะได้ไปเกิดใน
สุทธาวาสภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป ได้แก่ สุทัสสีภูมิ
ถ้าหากยังไม่บรรลุเป็น พระอรหันต์แล้วปรินพิ พานในสุทสั สีภมู ิ
เมื่อสิ้นอายุขัยของสุทัสสีพรหม คือ ๘,๐๐๐ กัปแล้ว จะได้ไปเกิดใน
อกนิฏฐภูมิ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของสุทธาวาสภูมิ และจะต้องได้บรรลุ
เป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในอกนิฏฐภูมินี้แน่นอน เมื่อสิ้นเวลา
๑๖,๐๐๐ กัป ซึ่งเป็นอายุขัยของอกนิฏฐพรหม
การอธิบายเรื่องอานิสงส์ข้อ ๑๑ ของเมตตาภาวนาตามที่
แสดงไว้ในอังคุตตรนิกาย จบลงสมบูรณ์เพียงนี้ ที่จริงแล้วอานิสงส์
ดังกล่าวที่มีข้อความว่า อุตฺตริ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ
(เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก) ใน
คัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายว่า
210
พรหมวิหาร
“ค�ำว่า อุตฺตริ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต (เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษ
อันยอดยิ่ง) หมายความว่า เมื่อยังไม่อาจบรรลุอรหัตตผลที่ยอดยิ่งไป
กว่าเมตตาสมาบัติ ครั้นจุติจากภพนี้แล้ว ย่อมไปเกิดในพรหมโลก
เหมือนผู้ที่หลับแล้วตื่นขึ้น”๑๕๓
ข้อความว่า “เมื่อยังไม่อาจบรรลุอรหัตตผลที่ยอดยิ่งไปกว่า
เมตตาสมาบัติ” หมายถึง ถ้าผู้นั้นบรรลุเพียงเมตตาฌาน ก็จะได้ไป
เกิดในพรหมโลก และหมายถึง ถ้าผู้นั้นเจริญเมตตาฌานเป็นบาทฐาน
แล้วได้บรรลุมรรคผลเบื้องต�่ำ ๓ ขั้น ก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลกเช่นกัน
อนึ่ง เพื่อให้การเจริญเมตตาภาวนามีประโยชน์มากที่สุด จึง
ควรใช้เมตตาภาวนาเป็นพื้นฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาโดยก�ำหนดรู้
รูปนามในขณะที่เจริญเมตตาด้วยการท่องค�ำภาวนานั้น

211
พรหมวิหาร
กามํ นรสฺส ปตโต คิริมุทฺธนโต
มชฺเฌ น กิญฺจิ ภยนิสฺสรณาย เหตุ
กามํ วชนฺติ มรณํ ติภเวสุ สตฺตา
โภเค รตึ ปชหถาปิ จ ชีวิเต จ.
เมื่อนรชนตกจากยอดเขา เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้พ้น
ภัยในระหว่าง ย่อมไม่มีโดยแท้ [เช่นเดียวกันนี้] เหล่าสัตว์ย่อม
บรรลุความตายในภพสามแน่นอน ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงขจัด
ความยินดีในทรัพย์และชีวิตเถิด

เวลาตเฏ ปฏุตโรรุตรงฺคมาลา
นาสํ วชนฺติ สตตํ สลิลาลยสฺส
นาสํ ตถา สมุปยนฺติ นรามรานํ
ปาณานิ ทารุณตเร มรโณทธิมฺหิ.
กระแสคลืน่ ลูกใหญ่ทรี่ วดเร็ว ย่อมสลายไปทีร่ มิ ฝัง่ แห่งมหา-
สมุทรเสมอ ฉันใด ชีวิตของมนุษย์และเทวดาย่อมถึงความสิ้นไป
ในมหาสมุทรคือความตายอันทารุณยิ่งกว่า ฉันนั้น

212
พรหมวิหาร
บทที่ ๕
คำ�ว่า กรุณา
แปลได้ตรงกับคำ�ว่า สงสาร
ต่างจากคำ�ว่า เมตตา ซึ่งแปลได้ว่า “รัก”
คือ ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
แต่อาจหมายรวมถึงความผูกพันยึดมั่น
ด้วยราคะ
213
พรหมวิหาร
“กรุณา” หรือ “สงสาร” หมายถึง “ปรารถนาให้ผู้ที่มีความ
ทุกข์จงพ้นจากทุกข์นั้น” โดยไม่มีความหมายอื่นเข้ามาเจือปน จึงเป็น
ความหมายที่ตรงตัวและชัดเจน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายไว้ว่า มี
ลักษณะเป็นไปด้วยอาการก�ำจัดความทุกข์ (ทุกฺขาปนยนาการปฺ-
ปวตฺตติลกฺขณา)๑๕๔

กรุณาคืออะไร
ถ้ามีคนก�ำลังประสบความทุกข์ ผูท้ ใี่ จดียอ่ มต้องการช่วยก�ำจัด
ความทุกข์นั้นให้หมดไป เรียกได้ว่าเป็นความสงสาร ดังนั้น ถ้าผู้อื่น
ก�ำลังประสบทุกข์ หมายถึง ถ้าเห็นหรือได้ยินว่าใครก�ำลังได้รับทุกข์
กรุณาจึงท�ำให้หวั ใจของคนดีหวัน่ ไหวด้วยความกรุณาสงสาร กล่าวอีก
อย่างหนึ่ง กรุณาเป็นสภาวะก�ำจัดความทุกข์ของคนอื่น
ค�ำถามอาจมีว่า มีการก�ำจัดความทุกข์ไปจริงหรือไม่ ตอบได้
ว่า อาจมีการช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์อยู่นั้นให้พ้นจากทุกข์ที่ได้รับ หรือ
อาจไม่ช่วยเหลือเลยก็ได้ แม้ว่าความทุกข์จะไม่ได้ถูกก�ำจัด แต่ผู้ที่มีใจ
กรุณานัน้ ก็ยงั มีความต้องการก�ำจัดทุกข์ให้ผนู้ นั้ กล่าวคือมีความสงสาร
เห็นใจผู้ที่ตกทุกข์ และปรารถนาจะช่วยก�ำจัดทุกข์แก่ผู้ตกทุกข์ เช่น
เมื่อเห็นคนเจ็บไข้ ผู้มีใจกรุณาย่อมรู้สึกสงสาร ต้องการให้เขาได้รับ

214
พรหมวิหาร
การรักษา หรือให้หายป่วยโดยเร็ว แต่ถึงจะต้องการช่วยเหลือเพียงไร
หากผู้นั้นไม่มีความสามารถที่การรักษาได้ ก็ไม่อาจช่วยได้จริง แม้ไม่
อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือได้ แต่ความต้องการช่วยเหลือนั้นก็จัดเป็น
ความกรุณาด้วย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง กรุณาเป็นสภาวะขัดขวางความสุขของตน
ดังนั้น กรุณาจึงมีลักษณะขัดขวางไม่ให้ตนมีความสุข บุคคลที่มีจิต
กรุณาย่อมเสียโอกาสทีจ่ ะหาความสุขให้ตนเองเพราะคอยช่วยเหลือผูอ้ นื่
ให้พ้นทุกข์ ถ้าเห็นใครทุกข์ร้อน เขาก็พร้อมช่วยเหลือ บางครั้งอาจ
ต้องอดหลับอดนอนเพราะต้องช่วยดูแลคนอื่นให้สุขสบาย ถ้าพบเห็น
คนเจ็บป่วย เขาก็จะช่วยพยาบาลเท่าที่จะท�ำได้ จนบางครั้งท�ำให้
ตนเองเหน็ดเหนื่อยหรือไม่สบาย แพทย์คนหนึ่งป่วยเป็นโรคกระเพาะ
อาหารเพราะยุ่งกับการดูแลคนไข้จนรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
ภายหลังเขาจึงเสียชีวติ ด้วยโรคกระเพาะอาหารตัง้ แต่อายุยงั น้อย ดังนัน้
ความกรุณาสงสารนี้จึงอาจเป็นสิ่งขัดขวางความสุขของตนเอง๑๕๕

215
พรหมวิหาร
ความกรุณาของพระโพธิสัตว์
เมื่อ ๔ อสงไขยกับแสนมหากัปที่ล่วงมาแล้ว พระบรมศาสดา
เสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ได้ถวายร่างกายของตนเป็นสะพานเพื่อ
ให้พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระอริยสาวกเสด็จด�ำเนิน
ข้ามทางที่ก�ำลังซ่อมแซมไปได้ ในเวลานั้น ถ้าสุเมธดาบสออกบวชเป็น
ภิกษุแล้วเจริญวิปัสสนา ก็จะส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน
ในชาตินั้น พระสุเมธดาบสเองก็เข้าใจและเชื่อเช่นนั้น เนื่องจากท่าน
เป็นบุคคลทีไ่ ด้สงั่ สมบารมีมามาก ทัง้ ยังได้ฌานอภิญญาสามารถแสดง
อิทธิฤทธิ์ได้ ผู้ที่ได้ฌานแล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้แม้ในขณะที่ฟัง
พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเท่านั้น แต่ท่านสุเมธดาบส
ใคร่ครวญว่า
“บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยสัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิ
พละ และปัญญาพละเช่นเรานี้ หาได้ยากในโลก คนส่วนมากมักจะ
ขาดพละ ๕ อย่างนี้ จึงไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมที่น�ำออกจากทุกข์
216
พรหมวิหาร
ทั้งหลายอันมีความแก่ความเจ็บและความตายได้ นอกจากนี้พวกเขา
ไม่สามารถจะปฏิบัติธรรมเช่นนั้นได้ ดังนั้น แม้เราจะมีคุณสมบัติพอที่จะ
บรรลุธรรมได้ในชาตินี้ แต่จะมีประโยชน์อะไรในการที่เอาตัวรอดเพียง
คนเดียว เราพึงด�ำเนินรอยตามพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสั่งสม
บารมีเพือ่ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วช่วยสัตว์ทงั้ หลายทีไ่ ม่มกี ำ� ลัง
และปัญญา” ดังข้อความในพระบาลีว่า
อิจฺฉมาโน อหํ อชฺช กิเลเส ฆาตยามหํ.๑๕๖
กึ เม เอเกน ติณฺเณน ปุริเสน ถามทสฺสินา
สพฺพญฺญุตํ ปาปุณิตฺวา สนฺตาเรสฺสํ สเทวกํ.๑๕๗
“เราเมื่อต้องการอยู่ ก็พึงเผากิเลสได้ในวันนี้ จะมีประโยชน์
อะไรแก่เราทีเ่ ป็นบุรษุ เห็นก�ำลังความสามารถ จะข้ามพ้นแต่เพียงผูเ้ ดียว
เราจักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณช่วยมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้
ข้ามพ้นด้วย”
หลังจากที่ได้ตั้งปณิธานอย่างนี้แล้ว พระสุเมธดาบสโพธิสัตว์
ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะได้เป็น
พระพุทธเจ้าในอนาคต หลังจากนัน้ ได้บำ� เพ็ญบารมีเป็นเวลา ๔ อสงไขย
กับอีก ๑ แสนมหากัป ต้องประสบกับความทุกข์ยากล�ำบากอย่างแสน
สาหัสตลอดเวลาที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดนับชาติไม่ถ้วน ต้องพบกับ
ความแก่ ความเจ็บ และความตายซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า
217
พรหมวิหาร
ในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดร ซึ่งเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะ
เป็นพระพุทธเจ้า ทรงถูกชาวเมืองขับไล่ออกจากเมืองเพราะไม่พอใจที่
พระองค์ประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองให้แก่พราหมณ์จากเมืองอื่น
ทีม่ าขอ และในขณะทีป่ ระทับอยูใ่ นป่านัน้ พราหมณ์ชอื่ ชูชกยังได้มาขอ
พระโอรสและพระธิดาไปเป็นทาสรับใช้ แม้จะทรงอาลัยรักพระโอรส
พระธิดาก็ยังประทานพระชาลีและพระกัณหาชินาให้แก่พราหมณ์ชูชก
เพือ่ เป็นทานบารมี พระองค์ได้ทรงอดกลัน้ ต่อความทุกข์อนั ใหญ่หลวงนี้
เพื่อบ�ำเพ็ญบารมีให้ได้มาซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
เนือ่ งจากพระโพธิสตั ว์ยงั ไม่พน้ จากกิเลสทีจ่ ะส่งให้ไปสูอ่ บาย-
ภูมิ จึงยังท�ำอกุศลทุจริตอยู่ ผลจากการท�ำทุจริตต่างๆ เนือ่ งด้วยความ
โลภ ความโกรธ และความหลง ท�ำให้พระโพธิสัตว์ต้องไปทนทุกข์เป็น
สัตว์นรกและดิรัจฉานหลายต่อหลายชาติ ในเตมิยชาดกได้กล่าวว่า
พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในนรกเพราะในชาติหนึ่งทรงเป็นพระราชา
แล้ว ทรงพิพากษาตัดสินลงโทษคนอย่างโหดร้าย
ความทุกข์ทั้งมวลที่ทรงประสบในขณะที่บ�ำเพ็ญบารมีตลอด
เวลา ๔ อสงไขยกับแสนมหากัปนี้ เป็นผลจากการตั้งความปรารถนา
เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยน�ำสัตว์ออกจากสังสารทุกข์ ดังนั้น จึงเห็นได้
ชัดว่า ความกรุณาสงสารผู้อื่นเป็นการขัดขวางความสุขของตนเอง

218
พรหมวิหาร
พระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์
หลังจากทรงตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แม้พระองค์จะสามารถ
หาความสุขด้วยการพักผ่อน ไม่ต้องกังวลกับการเทศนาสั่งสอนเวไนย
สัตว์ทั้งหลาย แต่ก็มิได้ทรงท�ำเช่นนั้น ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา ทรง
เทศนาสั่งสอนทั้งกลางวันและกลางคืนจนแทบไม่ได้พักผ่อน ทรงอด
กลั้นต่อความเหนื่อยยากล�ำบาก เพราะทรงมีพระมหากรุณาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ต่อเหล่าสัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงน�้ำแห่งสังสารวัฏอัน
หาที่สิ้นสุดไม่ได้นี้
สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในภพใดก็ตาม ย่อมต้องการหนีจาก
ความทุกข์ คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตายด้วยกันทั้งนั้น ทุก
คนเมื่อเกิดมาแล้วก็จะต้องแก่ เจ็บ และสุดท้ายก็ต้องตายไป ด้วยเหตุ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ไม่มีผู้ใดจะสามารถช่วยสัตว์โลกให้พ้น
จากความทุกข์แห่งสังสารวัฏได้นอกจากพระองค์เพียงผูเ้ ดียว จึงทรง
เทศนาสั่งสอนสัตว์โลกโดยไม่อาทรกับความเหนื่อยซึ่งเป็นหลักฐาน
แสดงถึงพระมหากรุณาคุณอันหาที่สุดมิได้

219
พรหมวิหาร
ความกรุณานีม้ สี ภาพอ่อนโยนนุม่ นวลอย่างยิง่ คนทีจ่ ติ ใจดีมกั
จะสงสารเห็นใจคนที่ได้รับทุกข์ แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่ไม่สงสาร
เห็นใจผูอ้ นื่ ทีก่ ำ� ลังตกทุกข์ได้ยากมักไม่ใช่คนดี เหตุนกี้ รุณาจึงเป็นธรรม
ที่คนดีพึงเสพและพัฒนาให้มีขึ้นในตน ตามธรรมดาแล้ว แม้ในขณะที่
ไม่ได้เจริญภาวนาอยู่ เราก็ควรมีความเห็นใจเมือ่ พบเห็นคนทีน่ า่ สงสาร
เพราะทุกครั้งที่มีจิตคิดสงสารเกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นการเจริญกุศลอย่าง
หนึ่ง
การเจริญกรุณาภาวนา มีวธิ กี ารคล้ายกับการเจริญเมตตาภาวนา
คือไม่ควรเริ่มด้วยการเจริญกรุณาในคนที่ใกล้ชิด ในคนที่รักมาก ใน
คนที่เป็นกลาง หรือในคนที่เป็นคู่เวร หรือเป็นศัตรูกัน ทั้งนี้เพราะคน
ที่รักย่อมจะเป็นที่รักอยู่แล้วจึงไม่ต้องสงสาร และในท�ำนองเดียวกัน
คนที่รักมากก็ย่อมเป็นที่รักมากอยู่แล้วจึงไม่จ�ำเป็นต้องสงสาร ส�ำหรับ
คนที่เป็นเพศตรงกันข้ามก็ไม่ควรเจริญกรุณา ในระยะเริ่มแรก เพราะ
อาจเกิดราคะขึน้ ได้ และก็ไม่ควรเจริญกรุณาในคนทีต่ ายแล้วเพราะไม่
จ�ำเป็น

220
พรหมวิหาร
คนที่ควรเจริญกรุณาให้ในเบื้องแรก
ในคัมภีร์วิภังค์ได้ตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขุ กรุณาสหคเตน เจตสา
เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ. เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ทุคฺคตํ ทุรูเปตํ
ทิสฺวา กรุณาเยยฺย,๑๕๘ เอวเมว สพฺพสตฺเต กรุณาย ผรติ.๑๕๙
“ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยกรุณาย่อมแผ่กรุณาจิตไปทางทิศ
หนึ่งอยู่นั้นอย่างไร คือ ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยกรุณา ย่อมแผ่กรุณา-
จิตไปยังสัตว์ทงั้ ปวงทุกๆ จ�ำพวก เหมือนอย่างทีไ่ ด้เห็นคนทีต่ กทุกข์ได้
ยากคนหนึ่งแล้วพึงเกิดความกรุณาขึ้น”
ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๑๖๐ จึงกล่าวว่า แรกทีเดียว
พึงแผ่กรุณาในบุคคลที่น่าสงสารที่ได้รับทุกข์มากก่อน กล่าวคือ พึง
แผ่กรุณาในคนที่ก�ำลังได้รับความทุกข์อย่างหนักเป็นอันดับแรก เช่น
คนที่มีเคราะห์ร้ายมาก หรือคนที่ยากจนเข็ญใจ ไม่มีญาติมิตรให้พึ่งพา
อาศัย หรือคนป่วยที่นอนร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดโดยไม่มี
หมอรักษา หรือคนโรคเรือ้ นทีน่ า่ สมเพชไม่มใี ครอยากเข้าใกล้ เมือ่ เห็น
คนที่น่าสงสารเหล่านี้ ความกรุณาสงสารจะเกิดขึ้นในใจได้ง่าย
ถ้าไม่พบเห็นคนทีน่ า่ สงสาร ก็ควรเจริญกรุณาในคนมีความสุข
ทีท่ ำ� อกุศลกรรม โดยเปรียบคนเช่นนีเ้ หมือนคนทีก่ ำ� ลังรอค�ำสัง่ ประหาร
ชีวิต หรือก�ำลังจะถูกประหารชีวิต ดังมีสาธกต่อไปนี้

221
พรหมวิหาร
ในสมัยโบราณ นักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตจะถูกประจาน
ด้วยการเอาเชือกมัดแล้วพาเดินไปตามถนนสู่ที่ประหาร เมื่อไปถึงแต่
ละทางแยก ก็ให้นักโทษหยุดเดินแล้วโบยด้วยหวายหนึ่งร้อยครั้ง ผู้ที่
ถูกพาตัวไปสู่ที่ประหารนั้น มักจะได้รับอาหารอย่างดีมีรสเลิศจากคน
ใจดีที่กรุณาสงสารผู้ที่ใกล้จะถูกประหาร ฝ่ายนักโทษก็พยายามหา
ความสุขเล็กๆ น้อยๆ จากการกินอาหารที่คนให้ แต่คนส่วนมากที่ดู
อยู่นั้นไม่เห็นว่านักโทษมีความสุขแต่อย่างใด พวกเขาสงสารนักโทษที่
เดินเข้าไปใกล้ความตายทุกขณะ บุคคลทีก่ ำ� ลังเจริญกรุณาก็เช่นเดียวกัน
แม้วา่ จะเห็นคนมีความสุขทีท่ ำ� บาป เขาก็อาจเจริญกรุณาในบุคคลทีท่ ำ�
บาปนั้น โดยพิจารณาว่า คนที่ท�ำบาปแม้จะเป็นสุขอยู่ในขณะนี้ แต่
อีกไม่นานก็ตอ้ งได้รบั ทุกข์ เพราะเมือ่ เขาตายไปจะต้องไปเกิดในอบาย-
ภูมิเนื่องด้วยบาปที่ได้ท�ำไว้
ในปัจจุบันนี้ก็เห็นได้ไม่ยากนัก เช่น คนที่เป็นทุกข์เพราะถูก
เบียดเบียนรังแก คนทีเ่ ป็นโรคร้ายแรง หรือคนทีย่ ากจนแร้นแค้น คน
ที่น่าสงสารเหล่านี้เห็นได้ทั่วไป ดังนั้นจึงควรเจริญกรุณาในคนพวกนี้
การเจริญกรุณามีอยู่วิธีเดียว ต่างจากการเจริญเมตตาซึ่งท�ำ
ได้หลายวิธี ในการเจริญกรุณา พึงภาวนาว่า ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ แปลว่า
“จงพ้นจากทุกข์เถิด” ถ้าเป็นการเจริญกรุณาในสัตว์ทงั้ ปวงพึงกล่าวว่า
สพฺเพ สตฺตา ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ “ขอสัตว์ทั้งปวงจงพ้นจากทุกข์เถิด” ถ้า
222
พรหมวิหาร
ต้องการแผ่กรุณาให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง พึงกล่าวชื่อในเวลาแผ่กรุณา
ว่า “ขอให้...จงพ้นทุกข์เถิด”
ความทุกข์ที่ต้องการให้หลุดพ้นนี้ หมายถึงความทุกข์ทางกาย
ทีเ่ กิดขึน้ แก่บคุ คลนัน้ ในขณะนัน้ และพึงเจริญกรุณาอย่างต่อเนือ่ งและ
จริงใจ มีความปรารถนาให้บุคคลนั้นพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง
การเจริญกรุณาวิธีนี้ สามารถน�ำมาใช้ได้กับทุกกรณี เช่น
บุคคลที่ประสบทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ จากภัยธรรมชาติ จากการถูก
กลั่นแกล้ง หรือมีความไม่สบายใจก็ได้ และถึงแม้จะไม่มีความทุกข์ที่
มองเห็นได้ บุคคลนัน้ ก็ยอ่ มมีทกุ ข์ทเี่ กิดจากการแก่ เจ็บ และตาย ซึง่ เป็น
วัฏฏทุกข์อยู่เสมอ ในกรณีนี้ ควรเจริญกรุณาโดยปรารถนาให้บุคคล
นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
ในขณะเจริญกรุณาโดยนึกถึงผู้ที่ก�ำลังประสบทุกข์อยู่นั้น
“ศัตรู” จากที่ใกล้หรือไกลอาจปรากฏขึ้นในความคิด ถ้าผู้เจริญกรุณา
รู้สึกเกิดโทมนัสเสียใจ ความเสียใจนี้เป็นศัตรูใกล้ของกรุณา เพราะ
ใกล้เคียงกับกรุณาด้วยการเห็นวิบัติเหมือนกัน บางครั้งอาจจะอยาก
แก้แค้นต่อศัตรูที่เคยท�ำผิดต่อเรา เช่น ถ้าเห็นสุนัขตัวหนึ่งก�ำลังกัด
สุนขั อีกตัวหนึง่ อาจรูส้ กึ อยากเอาไม้ตสี นุ ขั ตัวทีก่ ดั ด้วยความสงสารตัว
ที่ถูกกัด หรือถ้าคนเห็นงูก�ำลังกัดกบอยู่ กบร้องด้วยความตกใจและ
เจ็บปวด คนที่เห็นเหตุการณ์อยู่เกิดความสงสารกบและปรารถนาให้
223
พรหมวิหาร
กบนั้นพ้นจากการถูกงูกิน ความรู้สึกนี้เป็นความกรุณา หลังจากนั้น
เขาอาจคิดจะตีงูเพื่อช่วยกบ ความอยากตีงูเป็นความโกรธที่เรียกว่า
วิหิงสาจึงเกิดขึ้นต่อจากกรุณา จัดเป็นศัตรูที่อยู่ไกล เพราะมีสภาวะ
ขัดแย้งกับกรุณา เราจ�ำเป็นต้องก�ำจัดศัตรูทั้งใกล้และไกลให้หมดไป
และเจริญเฉพาะกรุณาที่บริสุทธิ์เท่านั้น
ขัน้ ต่อไป ผูเ้ จริญกรุณาจ�ำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผทู้ ตี่ ก
อยู่ในความทุกข์ ทั้งด้วยการกระท�ำและด้วยค�ำพูดให้ดีที่สุดเท่าที่จะ
สามารถท�ำได้ เพื่อให้ความทุกข์นั้นบรรเทาลง การช่วยเหลือที่กระท�ำ
ทางกาย เรียกว่า “กรุณากายกรรม” การช่วยทางวาจา เรียกว่า
“กรุณาวจีกรรม” ถ้าไม่สามารถช่วยด้วยกายหรือวาจาก็อาจเจริญกรุณา
ทางใจด้วยการแผ่ความกรุณาให้ยกตัวอย่าง เช่น วัว ควาย แพะ หมู
และเป็ดไก่ ที่ก�ำลังจะถูกฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์แม้จะสงสารสักเพียงใด เรา
ก็ไม่สามารถช่วยสัตว์ที่น่าสงสารเหล่านั้น นอกจากให้ความสงสาร
ซึ่งเป็นมโนกรรมเท่านั้น ถ้าความรู้สึกกรุณาเกิดขึ้นในขณะภาวนาว่า
“ขอเหล่าสัตว์จงพ้นจากทุกข์เถิด” ก็จัดเป็นกุศล ถ้าเขาเป็นผู้เคย
สั่งสมบารมีมาแล้ว ก็อาจบรรลุกรุณาฌาน ในขณะเจริญกรุณาได้
การเจริญกรุณาไม่ง่ายเหมือนกับการเจริญเมตตา เพราะการ
เจริญเมตตาสามารถท�ำได้ด้วยการแผ่ความเมตตาที่มีอยู่ภายในออก
ไปว่า “ขอให้เขาเป็นสุขเถิด” หรือ “จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด” แต่การแผ่
224
พรหมวิหาร
กรุณานั้น จะต้องแผ่ความรู้สึกสงสารไปยังผู้ที่น่าสงสาร การแผ่กรุณา
ไปยังคนทีม่ คี วามสุขนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย อย่างไรก็ตาม การฝึกเจริญกรุณา
ให้แก่สัตว์ทั้งปวงมีแสดงไว้ในพระบาลี ซึ่งในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ย่อม
จะมีสัตว์ที่น่าสงสารอยู่จ�ำนวนมาก

วิธีเจริญกรุณา ๑๓๒ ประเภท


สัตว์ที่อยู่ในนรกย่อมต้องประสบทุกข์ทรมานอย่างสาหัส
บรรดาเปรตก็ต้องทนทุกข์อย่างมากมายเช่นเดียวกัน สัตว์ดิรัจฉาน
เช่น วัว ควาย แพะ หมู เป็ด ไก่ เป็นต้นก็มีชีวิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์
ส่วนมนุษย์นั้น บางพวกก็ทุกข์เพราะถูกผู้ที่มีอ�ำนาจมากกว่าข่มเหง
รังแก บ้างก็เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ บ้างก็ยากจนข้นแค้นแสนสาหัส
บางพวกก็มีทุกข์ทั้งทางกายและทางใจเนื่องด้วยการวิวาทบาดหมาง
ในหมู่พวกของตน บางพวกก็ถูกบีบคั้นด้วยความแก่ ความเจ็บ และ
ความตาย บางพวกก็โศกเศร้าเพราะต้องสูญเสียคนทีร่ กั ยิง่ ไป บางพวก
เป็นทุกข์เพราะธุรกิจล้มเหลว หรือเพราะสูญเสียทรัพย์สมบัติ บาง

225
พรหมวิหาร
พวกทุกข์เพราะต้องพลัดพรากจากคนที่รัก ส�ำหรับในหมู่เทวดานั้น
เป็นทุกข์เพราะไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาบ้างเมื่อมีนิมิตมาปรากฏให้รู้ตัวว่า
จะต้องตายก็เศร้าเสียใจ ดังนั้น จึงควรเจริญกรุณาถึงสัตว์โลกที่กล่าว
ถึงข้างต้น แล้วปรารถนาให้ทั้งหมดพ้นจากทุกข์เหล่านั้น โดยกล่าวค�ำ
ภาวนาดังต่อไปนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ สตฺตา)
- ขอสัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ ปาณา)
- ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ ภูตา)
- ขอบุคคลทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ ปุคฺคลา)
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ อตฺต-
ภาวปริยาปนฺนา) ค�ำภาวนาข้างต้น เป็นการเจริญอโนธิสกรุณาแก่
บุคคล ๕ ประเภท ต่อไปเราจะเจริญโอธิสกรุณา ๗ ประเภท
- ขอสตรีทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺพา อิตฺถิโย)
- ขอบุรุษทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ ปุริสา)
- ขอพระอริยะทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ อริยา)
- ขอปุถุชนทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ อนริยา)
- ขอเทวดาทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ เทวา)
- ขอมนุษย์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ มนุสฺสา)
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ (สพฺเพ วินิปาติกา)

226
พรหมวิหาร
ที่กล่าวนี้เป็นค�ำภาวนาส�ำหรับเจริญโอธิสกรุณา ๗ ประเภท
ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับอโนธิสกรุณา ๕ ประเภท จะได้ทิสาอโนธิสกรุณา
๑๒ ประเภท คือการแผ่กรุณาโดยไม่ได้ระบุทิศหรือขอบเขต ถ้าเจริญ
กรุณาโดยระบุทศิ หรือขอบเขตด้วย คือ ทิสาโอธิสกรุณา ก็จะได้ทศิ ละ
๑๒ ประเภท เมื่อคูณด้วยทิศ ๑๐ ก็จะได้ ๑๒๐ ประเภท ขอให้เรา
เจริญกรุณา ๑๒๐ ประเภท โดยกล่าวค�ำภาวนาดังต่อไปนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอบุคคลทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอสตรีทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอบุรุษทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอพระอริยะทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอปุถุชนทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอเทวดาทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขอมนุษย์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงพ้นจากทุกข์

227
พรหมวิหาร
ข้างต้นนี้เป็นการแผ่กรุณา ๑๒ ประเภท ไปในทิศบูรพา ส่วน
ในทิศที่เหลืออีก ๙ ทิศ ก็ท�ำนองเดียวกัน ขอให้เราภาวนาดังต่อไปนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ

228
พรหมวิหาร
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงพ้นจากทุกข์
ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงพ้นจากทุกข์
เมื่อเจริญทิสาโอธิสกรุณาครบทั้ง ๑๒๐ ประเภทแล้วรวมกับ
ทิสาอโนธิสกรุณา ๑๒ ประเภท จะท�ำให้ได้วิธีเจริญกรุณาครบ ๑๓๒
ประเภท

229
พรหมวิหาร
สิ่งส�ำคัญคือ จะต้องมีความกรุณาอย่างแท้จริงในจิตใจขณะที่
แผ่กรุณา การแผ่กรุณาจะได้ผลมากหรือน้อยขึน้ อยูก่ บั ความรูส้ กึ กรุณา
อย่างจริงใจที่เกิดขึ้นโดยนึกถึงสภาพความทุกข์ที่สัตว์โลกต้องประสบ
ในเรื่องนี้ หากเรานึกถึงการแผ่พระมหากรุณาสมาบัติของพระบรม-
ศาสดาเป็นตัวอย่าง ก็จะเข้าใจได้ถงึ ความน่าสงสารของสัตว์โลกทัง้ หลาย
ล�ำดับต่อไปนี้ จะยกข้อความจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงให้
เห็นถึงการเกิดขึ้นของพระมหากรุณาสมาบัติ ซึ่งนอกจากจะท�ำให้
เกิดศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งแล้ว ยังช่วยให้เห็นว่าสัตว์โลกทั้งหลายนั้น
น่าสงสารเพียงใด โดยจะยกมาแสดงเพียงบางตอน

การเกิดขึ้นของมหากรุณาสมาบัติ
กตมํ ตถาคตสฺส มหากรุณาสมาปตฺติยา าณํ.๑๖๑
“ปัญญาที่จัดเข้าในมหากรุณาสมาบัติแห่งพระตถาคต คือ
อะไร”
ปัญญาทีม่ ใี นเฉพาะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีอยู่ ๖ ประการ
คือ
๑) อินทริยปโรปริยัตตญาณ
ปัญญาที่รู้เห็นความความยิ่งและหย่อนของอินทรีย์
230
พรหมวิหาร
๒) อาสยานุสยญาณ
ปัญญาทีร่ เู้ ห็นอัธยาศัย (ความคุน้ เคยของจิต) และอนุสยั
๓) ยมกปาฏิหาริยญาณ
ปัญญาที่สามารถแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔) มหากรุณาสมาปัตติญาณ
ปัญญาที่เจริญมหากรุณาสมาบัติ
๕) สัพพัญญุตญาณ
ปัญญาที่รู้เห็นธรรมทั้งหมดที่เป็นทั้งบัญญัติและปรมัตถ์
๖) อนาวรณญาณ
ปัญญาที่ไม่มีอะไรปิดกั้นในการรู้เห็นธรรมทั้งปวง
ปัญญาเหล่านี้ไม่ใช่ของพระสาวก จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
อสาธารณญาณ๑๖๒ หมายถึงปัญญาที่ไม่มีทั่วไปในบุคคลอื่น มีค�ำถาม
ว่า มหากรุณาสมาปัตติญาณ คืออะไร ค�ำตอบคือ
พหุเกหิ อากาเรหิ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ สตฺเตสุ
มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๖๓
“พระมหากรุ ณ าย่ อ มหยั่ ง ลงในสั ต ว์ ทั้ ง หลายแก่ พ ระผู ้ มี -
พระภาคผู้ตรัสรู้ด้วยอาการเป็นอันมาก”

231
พรหมวิหาร
พระพุทธองค์ทรงมีพระหฤทัยเปี่ยมด้วยพระมหากรุณา เมื่อ
ทรงเห็นความทุกข์นานาชนิดที่เบียดเบียนสัตว์โลก แต่สัตว์โลกส่วน
มากไม่เห็นสภาพเป็นทุกข์เหล่านั้น พวกเขาเห็นแต่สัตว์โลกที่ได้รับ
ความล�ำบากอย่างรุนแรงเท่านัน้ เมือ่ สัตว์โลกทีม่ คี วามสุขพอประมาณ
เห็นผู้อื่นที่อยู่ในสภาพเดียวกันก็เข้าใจว่าผู้อื่นก็มีความสุขเช่นเดียวกับ
ตน และเมื่อเห็นผู้ที่มีความสุขมากกว่าตน ก็เข้าใจว่าเขามีความสุข
อย่างมากมาย และไม่จำ� เป็นต้องได้รบั ความกรุณาสงสาร ทีเ่ ป็นเช่นนี้
เพราะยังไม่เข้าใจความทุกข์อย่างแท้จริง พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่าง
แจ่มแจ้งถึงความทุกข์นานาชนิดที่บีบคั้นสัตว์โลก จึงมีพระมหากรุณา
เกิดขึ้นในพระหฤทัย ความทุกข์ทั้งหลายนั้น ทรงอธิบายไว้ดังต่อไปนี้

232
พรหมวิหาร
ความวิตกกังวลตลอดเวลาเป็นความทุกข์
อุยฺยตฺโต โลกสนฺนิวาโสติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๖๔
“พระมหากรุ ณ าย่ อ มหยั่ ง ลงในสั ต ว์ ทั้ ง หลายแก่ พ ระผู ้ มี -
พระภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นอยู่ว่า ชาวโลกต้องขวนขวายอยู่”
สัตว์ทั้งปวงต้องพยายามขวนขวายและมีความวิตกกังวลอยู่
ตลอดเวลา เมือ่ พระพุทธองค์ทรงเห็นสัตว์โลกเป็นทุกข์เพราะการดิน้ รน
ขวนขวายเพื่อความอยู่รอด ทรงมีพระหฤทัยเปี่ยมด้วยพระมหากรุณา
พึงเข้าใจว่า มนุษย์ทงั้ หลายต้องดิน้ รนและกังวลอยูต่ ลอดเวลา
เพือ่ หาเลีย้ งชีวติ ปุถชุ นทัว่ ไปอาจไม่คดิ ว่าเป็นความทุกข์อย่างหนึง่ แต่
เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต โดยคิดว่าคนเราเมื่อเกิดมาแล้ว ก็เป็น
ธรรมดาทีจ่ ะต้องขวนขวายพยายามหาเลีย้ งชีพ ไม่จำ� เป็นต้องร้องทุกข์
แต่อย่างใด แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการต้องดิ้นรนขวนขวายและ
กังวลกับขันธ์ ๕ นั้นเป็นภาระหนัก ดังนั้น จึงเป็นความทุกข์ หมายถึง
เป็นความบีบคั้นที่ยิ่งใหญ่ สัตว์โลกทุกชีวิตไม่ว่าจะเกิดมาเป็นอะไร
ต้องคอยกังวลกับการดูแลขันธ์ ๕ อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดพัก
ในชีวติ มนุษย์ ตัง้ แต่เด็ก ก็ตอ้ งอาศัยพ่อแม่และผูอ้ นื่ ไม่สามารถอยูไ่ ด้
ด้วยตนเอง พอโตขึ้น ก็ต้องเข้าโรงเรียนเพื่อจะได้มีความรู้ พอโตขึ้นอีก

233
พรหมวิหาร
ก็ต้องท�ำงานหาเลี้ยงชีพ หรือเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ถ้าโชคไม่ดีหรือ
ฐานะไม่ร�่ำรวยก็มีปัญหาเพราะได้เงินมาไม่พอใช้จ่าย บางคนเป็นทุกข์
เพราะสุขภาพไม่ดี บางครั้งต้องประสบกับมรสุมชีวิต หรือประสบภัย
อันตรายต่างๆ ท�ำให้ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความห่วงกังวลและต้องดิ้นรน
ขวนขวายอยูต่ ลอดเวลา และหลังจากทีไ่ ด้ดนิ้ รนมาแล้วตลอดชีวติ เขา
ก็ต้องทุกข์เพราะความแก่ ความเจ็บป่วย และความตายในที่สุด บาง
คนตายไปในขณะยังท�ำงานอยู่อย่างขะมักเขม้น แสดงให้เห็นวงจร
ชีวติ มนุษย์ทเี่ กิดมา เติบโต แล้วก็แก่ตายไป โดยมีความทุกข์บบี คัน้ อยู่
ตลอดเวลา
ชีวิตสัตว์ดิรัจฉานส่วนมากต้องดิ้นรนเพื่อหาอาหารยังชีพ ตัง้
แต่เกิดจนตายไป ยิ่งในถิ่นที่ขาดแคลนอาหารและน�้ำ ความเป็นอยู่
ของสัตว์กจ็ ะยิง่ ล�ำบากมากขึน้ ในป่าไม่มที หี่ ลบภัย สัตว์ปา่ จึงต้องกังวล
กับความปลอดภัยของชีวิตตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ต้องหาอาหาร
มาเลี้ยงชีวิต สัตว์บางอย่างต้องออกมาในเวลากลางคืน เพราะกลัวที่
จะออกหาอาหารในเวลากลางวัน สัตว์นรก เปรต และสัตว์ในอบาย
ต้องได้รับความทุกข์อยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์เราไม่สามารถมองเห็น
สัตว์เหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า แม้เทวดาบางพวก รวมทั้งยักษ์ และ
รากษส ก็มีความทุกข์ไม่น้อยกว่าพวกเปรต พวกเทวดาชั้นต�่ำก็มีความ
เป็นอยู่อย่างทรมานเพราะขาดแคลนอาหาร สัตว์เหล่านี้เป็นพวกที่มี

234
พรหมวิหาร
ความทุกข์มาก ส่วนพวกเทวดาทีอ่ ยูใ่ นสวรรค์นนั้ แม้จะมีความสุขก็จริง
แต่เมื่อสิ้นอายุหรือสิ้นบุญก็จะต้องพบกับความทุกข์อีก
ดังนัน้ จึงกล่าวได้วา่ สัตว์ทงั้ ปวงมีชวี ติ อยูก่ บั ความทุกข์และต้อง
พยายามเลี้ยงดูขันธ์ ๕ ของตนให้อยู่รอดปลอดภัยและมีความสุขตาม
สมควร ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามเพื่อให้ได้ขันธ์ ๕ ชุดใหม่ที่
สุขสบายยิ่งขึ้นในชาติหน้า แม้คนที่มีชีวิตสุขสบาย ก็ยังคอยกังวลกับ
การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และพยายามท�ำกุศลไว้ส�ำหรับชีวิตที่ดีขึ้น
ในชาติหน้า พวกเขาปรารถนาจะมีชีวิตสุขสบายในภพหน้า จึงต้อง
พยายามสะสมบุญกุศลไว้มากๆ ส่วนพวกทีไ่ ม่เชือ่ ว่ามีการเวียนว่ายตาย
เกิด คือเชื่อว่าเมื่อตายแล้วก็สูญสิ้นไม่มีการเกิดใหม่อีก ก็จะพยายาม
หาความสุขให้ได้มากที่สุดในชีวิตนี้
พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเห็น
ความทุกข์ของสัตว์โลกที่ต้องกระเสือกกระสนด้วยความหวังจะได้พบ
ความสุขในชีวิตนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องแบกภาระอันหนักของขันธ์ ๕
ไว้ด้วย พระพุทธองค์ทรงตระหนักว่า นอกจากพระองค์แล้ว ไม่มีใคร
ในโลกทีจ่ ะสามารถช่วยน�ำสัตว์โลกให้ไปถึงพระนิพพาน อันเป็นสภาวะ
ทีด่ บั ขันธ์ ๕ อย่างไม่มเี หลือ ดังนัน้ พระองค์จงึ ทรงจาริกไปในทีต่ า่ งๆ
ไม่ว่าจะไกลสักเพียงใด เพื่อทรงเทศนาสั่งสอนพระธรรมอันประเสริฐ
ตลอดเวลา ๔๕ พรรษาตราบจนปรินิพพาน ทรงตอบปัญหาธรรมะทุก
235
พรหมวิหาร
ปัญหาทีเ่ ทวดาและมนุษย์ทลู ถาม ทัง้ กลางวันกลางคืนจนแทบจะไม่มี
เวลาพักผ่อนพระวรกาย ทรงเทศนาสั่งสอนเทวดา มนุษย์ และพรหม
วันละประมาณ ๒๐ ชั่วโมง พระมหากรุณาอันใหญ่หลวงเป็นเหตุ
ขัดขวางความสุขส�ำราญของพระพุทธองค์ แม้ในขณะก่อนปรินพิ พาน
เพียง ๒-๓ ชั่วโมง พระพุทธองค์ก็ยังทรงพระกรุณาสั่งสอนธรรมะเพื่อ
โปรดปริพาชกชื่อสุภัททะ ซึ่งมาเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามปัญหาจนสุภัทท-
ปริพาชกได้บรรลุธรรมเป็นสาวกองค์สุดท้าย

ชาวโลกที่ถูกน�ำไปสู่ความแก่ ความเจ็บ
และความตาย เป็นผู้ที่ควรสงสาร
อุปนียติ โลโก อทฺธุโวติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๖๕
“พระมหากรุณาย่อมหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลายแก่พระผู้มีพระ-
ภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า โลกถูกชราน�ำไปแล้ว ไม่ยั่งยืน”
ข้อนี้หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงแผ่พระมหากรุณาไปใน
สัตว์โลก ไม่ว่าจะอยู่ในภพใด สัตว์ทั้งปวงถูกน�ำพาไปสู่ความแก่ตั้งแต่
แรกเกิด และต่อไปยังต้องพบความเจ็บและความตายอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยพระปัญญาในความไม่เที่ยงนี้ ทรงมี
236
พรหมวิหาร
พระมหากรุณาในสัตว์ทงั้ ปวง ถ้าสัตว์โลกรูจ้ กั พิจารณาใคร่ครวญก็ยอ่ ม
มองเห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ของตน แต่โดยมากยังชอบคิดว่า
ตนเองจะมีชีวิตอยู่อีกนาน เพราะยังเป็นหนุ่มสาวแข็งแรง แต่ขณะที่
คิดอยู่ ความเจ็บป่วยก็อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ได้คาดคิด บางคนตายเสีย
ตั้งแต่อายุยังน้อย ถ้าไม่ตายก็จะแก่ลงตามวันคืนที่ผ่านไป เมื่อผมเริ่ม
หงอกและฟันเริ่มหัก จึงจะมองเห็นความแก่ชราของตน รูปนาม
ขันธ์ ๕ ของตัวเองที่น�ำบุคคลไปสู่ความแก่ ความเจ็บ และความตาย
โดยเริ่มตั้งแต่ขณะปฏิสนธิในครรภ์ เมื่อรูปและนามปรากฏเกิดขึ้น
ครั้งแรกแล้วก็มีการเกิดดับต่อเนื่องเรื่อยมา ท�ำให้มีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา คนเราค่อยๆ แก่ไปทุกวินาทีอย่างช้าๆ จนแทบไม่มีใคร
สามารถสังเกตเห็น จนกระทั่งอายุมากขึ้นจึงเห็นความแก่ได้ชัดเจน
เช่น ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น เมื่อร่างกายเสื่อมลงเพราะ
ความแก่ ก็ท�ำให้โรคต่างๆ เข้ามาเบียดเบียนได้ง่าย จนในที่สุดเมื่อ
สุขภาพอ่อนแอมากเข้าก็จะล้มป่วยแล้วตายไป จึงเห็นได้ว่า ยิ่งเวลา
ผ่านไป เราก็ยิ่งเข้าใกล้ความตายมากขึ้นทุกขณะ เพราะเวลายิ่งนาน
ก็ยิ่งเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ

237
พรหมวิหาร
กรุณาที่เกิดขึ้นในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นสามเณร
ครั้งหนึ่งเมื่อยังเป็นสามเณรได้เห็นคนฆ่าสัตว์กลุ่มหนึ่งพา
วัวไปยังที่ฆ่า แต่ละก้าวที่วัวเดินไปก็พาให้ใกล้ความตายยิ่งขึ้น วัว
เหมือนจะรูว้ า่ มีความตายรออยูข่ า้ งหน้า จึงพยายามดิน้ รนเพือ่ จะหนีไป
แต่คนฆ่าวัวก็ใช้แรงฉุดกระชากไว้ วัวจึงจ�ำต้องเดินไปตามแรงฉุด ภาพ
ที่ได้เห็นท�ำให้เกิดความสงสารขึ้นมาจับใจและได้เลิกฉันเนื้อวัวตั้งแต่
นั้น คนเราก็ไม่ต่างจากวัวที่ก�ำลังถูกลากไปโรงฆ่าสัตว์ เราถูกรูปนาม
ขันธ์ ๕ ของเราน�ำไปสู่ความแก่ ความเจ็บ และความตายทุกๆ วินาที
ที่ล่วงไป
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ในขณะนี้ ก็อาจเห็นได้ว่า
ตนเองก�ำลังเข้าใกล้ความแก่ ความเจ็บ และความตายเข้าไปทุกขณะ
เมือ่ เห็นความไม่เทีย่ งของจิตทีเ่ ปลีย่ นแปรอย่างรวดเร็ว ผูป้ ฏิบตั ทิ เี่ จริญ
วิปสั สนาถึงขัน้ ภังคญาณ จะสังเกตเห็นได้ชดั เจนว่าอารมณ์ทถี่ กู ก�ำหนด
รู้และจิตที่รู้อารมณ์อยู่นั้นดับไปอย่างรวดเร็ว อุปมาเหมือนลูกปัดที่
ร้อยเชือกไว้เป็นสาย ได้หลุดตกตามกันลงมาอย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่
มีการดับของรูปนามเกิดขึ้น ก็จะน�ำเราให้เข้าใกล้ความแก่ ความเจ็บ
และความตายมากขึน้ แม้คนทัว่ ไปก็อาจจะจินตนาการถึงสภาพที่
เปลีย่ นแปลงไปได้ ถ้าเปรียบเทียบตนเองในปัจจุบันกับปีก่อน จะ
สามารถเห็นร่องรอยของความเสื่อมชราที่จะตามมา
238
พรหมวิหาร
มนุษย์มีอายุขัย ๗๐-๘๐ปี ไม่ว่าจะมั่งมีหรือยากจน เป็น
นายกรัฐมนตรี หรือเป็นวีรบุรุษ ในที่สุดจะต้องมาถึงปลายทางของ
ชีวิตคือต้องตายทั้งนั้น รูปและนามที่ประกอบกันเป็นร่างกายย่อมน�ำ
บุคคลไปสู่ความแก่ ความเจ็บ และความตาย อยู่ทุกขณะ ขอให้เรา
เจริญรอยตามพระพุทธองค์ ด้วยการเจริญกรุณาภาวนาดังต่อไปนี้
- ชาวโลกไม่ยั่งยืน ย่อมถูกฉุดคร่าไปสู่ความแก่ ความเจ็บ
และความตาย
- ขอสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์เถิด
วิธเี จริญกรุณาภาวนาดังกล่าว เป็นการพิจารณาในระดับสูงสุด
เช่ น เดี ย วกั บ พระมหากรุ ณ าที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงแผ่ ไ ปในสั ต ว์ โ ลก
ส�ำหรับคนทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นทุกข์เพราะกิจการล้มเหลวบ้าง
เพราะทรัพย์สินถูกท�ำลายบ้าง หรือเพราะต้องพลัดพรากจากคนอัน
เป็นที่รักบ้าง เราอาจจะแผ่กรุณาไปให้คนที่ตกทุกข์เหล่านี้ว่า
- ขอสัตว์ทงั้ ปวงทีม่ ที กุ ข์ไม่วา่ ประการใดๆ จงพ้นจากทุกข์เถิด

239
พรหมวิหาร
คนที่ไม่มีที่พึ่งเป็นคนที่น่าสงสาร
อตาโณ โลโก อนภิสฺสโรติ ปสฺสนฺตานํ พุทธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๖๖
“พระมหากรุณาย่อมหยัง่ ลงในสัตว์ทงั้ หลายแก่พระผูม้ พี ระภาค
ผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า ชาวโลกไม่มีผู้คุ้มครอง ไม่มีที่พึ่ง”
สัตว์ทั้งปวงไม่มีผู้คุ้มครองป้องกันและไม่มีที่พึ่งพิง พระเจ้า
โกรัพยะไม่เข้าพระทัยความหมายของข้อความนี้ ได้ตรัสถามพระรัฏฐ-
ปาลเถระว่า “ท่านอาจารย์รฏั ฐปาละ เรามีกองทัพมากมายทีจ่ ะป้องกัน
เรา กองทัพของเราพึ่งพาอาศัยได้ ค�ำที่ท่านกล่าวว่า ‘ไม่มีผู้คุ้มครอง
ป้องกันและไม่มีที่พึ่งนี้’ หมายความว่ากระไร”
พระรัฏฐปาละวิสชั นาว่า “มหาบพิตร พระองค์ไม่เคยประชวร
หนักเลยหรือ ถ้าพระองค์ต้องประชวรหนัก จะรู้สึกอย่างไร”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสตอบว่า “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเคยเจ็บ
หนัก บางครั้งก็เกือบตาย บรรดาอ�ำมาตย์และญาติมิตรได้เข้ามา
ห้อมล้อมแล้วร้องไห้สะอึกสะอื้นเพราะคิดว่าข้าพเจ้าก�ำลังจะตาย”

240
พรหมวิหาร
พระรัฐปาละถามต่อว่า “มหาบพิตร เมื่อพระองค์เสวยเวทนา
กล้าอยูน่ นั้ พระองค์แบ่งความเจ็บปวดนัน้ ให้แก่ญาติและสหายได้บา้ ง
หรือไม่เล่า พระองค์ขอให้พวกเขาช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทา่ นได้
หรือไม่”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่สามารถแบ่งความ
เจ็บปวดให้ได้ และพวกเขาก็ช่วยอะไรข้าพเจ้าไม่ได้ ข้าพเจ้าต้องเสวย
เวทนาแต่ผู้เดียว”
พระรัฏฐปาลถวายพระพรว่า “ถูกแล้ว มหาบพิตร ไม่มีใคร
จะสามารถคุ้มครองป้องกันหรือเป็นที่พึ่งพาอาศัยในยามตกทุกข์ได้
ยากเช่นนี้ เหตุนนั้ พระพุทธองค์จงึ ตรัสว่า สัตว์โลกไม่มผี คู้ มุ้ ครองและ
ไม่มีที่พึ่ง”๑๖๗
ถึงแม้จะมีพ่อแม่ญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครอง
แต่ไม่สามารถปกป้องให้รอดพ้นจากความแก่ ความเจ็บ และความตาย
ได้ เมื่อถึงเวลาเราก็จะต้องแก่ จะแบ่งความแก่ให้ใครไม่ได้ แม้ว่าจะ
มีวิธีบริหารสุขภาพและยารักษาโรคต่างๆ แต่เราก็ไม่สามารถป้องกัน
หรือรักษาโรคได้ทุกโรค ยังมีโรคร้ายแรงที่ไม่มียาวิเศษชนิดไหนที่จะ
รักษาให้หายได้ เมื่อเป็นโรคก็จะให้คนอื่นช่วยแบ่งโรคไปก็ไม่ได้

241
พรหมวิหาร
ส่วนความตายนั้นก็ไม่มีใครห้ามไม่ให้ใครตายได้ ไม่มีใครจะ
หยุดยั้ง ความแก่ ความเจ็บ และความตายได้ และไม่มีใครจะป้องกัน
ใครไม่ให้ตกไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ ได้ถ้าผู้นั้นได้ท�ำกรรมที่จะส่งให้ไปเกิด
ในอบาย เขาก็จะต้องไปสูอ่ บายอย่างแน่นอน เนือ่ งจากพระพุทธองค์
ทรงเล็งเห็นชะตากรรมของสัตว์โลกอย่างนี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณา
ไปในสัตว์ทั้งปวง
ทั่วทั้งจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ ผู้ที่ช่วยให้รอดพ้นจากความแก่
ความเจ็บ และความตาย หรือให้พ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ หรือช่วยให้
หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏได้นั้นมีเพียงพระพุทธองค์ที่ทรงช่วย
เหล่ามนุษย์ด้วยการสอนวิธีประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์
ทั้งมวลเปรียบเหมือนแพทย์ที่ให้ยารักษาโรคแก่คนไข้ ส่วนคนที่ปฏิบัติ
ตามค�ำสอนแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ในอบาย และทุกข์ในสังสารวัฏนั้น
เปรียบเหมือนคนไข้ที่กินยาและท�ำตามค�ำแนะน�ำของแพทย์แล้วหาย
จากโรค ดังมีพระบาลีที่ตรัสไว้ดังต่อไปนี้

242
พรหมวิหาร
พระตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง
ตุมฺเหหิ กิจฺจมาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.๑๖๘
“พวกเธอจงพยายามท�ำความเพียรเถิด พระตถาคตเป็นผูบ้ อก
ทางเท่านั้น ผู้บ�ำเพ็ญฌานวิปัสสนาเดินตามทางสายนี้ จะพ้นจาก
เครื่องผูกของพญามาร”
คนทีบ่ ากบัน่ ตามค�ำสอนของพระบรมศาสดา ย่อมจะหลุดพ้น
จากเครื่องพันธนาการซึ่งได้แก่กิเลสและตัณหาที่เป็นเหตุของทุกข์ใน
สังสารวัฏ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามค�ำเทศนา ความหลุดพ้นจะไม่สามารถ
มีได้ และทางปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น จะมีในสมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
ในโลกเท่านั้นซึ่งเรียกว่า นวมขณะ (ขณะที่ ๙)๑๖๙ ทางปฏิบัติเพื่อ
ความหลุดพ้นที่นอกจากค�ำสอนในพระพุทธศาสนานั้นไม่มีเลยถ้า
ปราศจากทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว สัตว์โลกก็จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่
ในวัฏฏทุกข์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น

243
พรหมวิหาร
น่าสงสารเพราะต้องทิ้งทุกสิ่งไป
อสฺสโก โลโก สพฺพํ ปหาย คมนียนฺติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ
ภควนฺตานํ สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๗๐
“พระมหากรุณาย่อมหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลายแก่พระผู้มีพระ-
ภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า ชาวโลกไม่มีอะไรเป็นของตน จ�ำต้องละทิ้งสิ่ง
ทั้งปวงไป”
สัตว์โลกไม่มีอะไรเป็นของตนเองอย่างแท้จริงแม้ว่าในทางโลก
จะสมมติกนั ว่าทุกคนล้วนมีทรัพย์สมบัตเิ ป็นของตนเอง แต่มมี ากน้อย
ต่างกันก็ตามฐานะ ตราบที่ทรัพย์ยังไม่สูญหายหรือประสบภัยพิบัติ
ทรัพย์นั้นก็ยังเป็นของผู้นั้นอยู่ แต่ทรัพย์สมบัติทั้งปวงมีวิบัติในที่สุด
ดังทีท่ า่ นกล่าวว่า สมฺปตฺติ วิปตฺตปิ ริโยสานา (สมบัตมิ วี บิ ตั ใิ นทีส่ ดุ )๑๗๑
กล่าวคือ ความส�ำเร็จทั้งหลายในทางโลก เช่น ทรัพย์สินเงินทอง
สมบัติพัสถานต่างๆ จะต้องหมดไปในที่สุด ข้อนี้เป็นความจริง ดังจะ
เห็นได้ว่าความแข็งแรงต้องพ่ายแพ้แก่โรคภัยไข้เจ็บ ความเยาว์วัยถูก
ความชราเข้ามาแทนที่ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ร่างกายที่แข็งแรง
กระฉับกระเฉงจะต้องแก่ลงในทีส่ ดุ และแม้วา่ คนทีป่ ระสบความส�ำเร็จ
มีทงั้ ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ และชือ่ เสียง เมือ่ ถึงเวลาตายก็ไม่สามารถ
เอาสิ่งเหล่านั้นติดตัวไปได้ แม้กระทั่งครอบครัว ญาติพี่น้อง บริวารก็

244
พรหมวิหาร
พาไปด้วยไม่ได้ ทุกชีวิตต้องจบลงด้วยความตายเสมอ และทุกคนต้อง
ละทิ้งทุกอย่างที่คนในโลกเห็นว่าดีงามน่าพอใจเมื่อสิ้นชีวิตลงทั้งสิ้น
ดังตัวอย่างจากพระราชประวัติของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

พระราชประวัติของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
เมื่อประมาณ ๒๑๘ ปีหลังจากพุทธปรินิพพาน พระมหา-
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระนามว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์
ในชมพูทวีป กล่าวกันว่าทรงมีพระเกียรติยศชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว
ทั้งชมพูทวีปซึ่งพระองค์ได้สถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ ตาม
หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกที่โปรดให้สร้างไว้ ท�ำให้ทราบว่า
ประเทศอินเดียในสมัยนั้น เรียกว่า ชมพูทวีป ในศิลาจารึกได้กล่าว
ถึงหัวเมืองรอบนอกท�ำให้ประมาณได้ว่าอาณาจักรของพระเจ้าอโศก-
มหาราชนัน้ มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตมาก ทรงได้รบั ยกย่องว่าเป็น
กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประเทศอินเดีย และในคัมภีร์
อรรถกถากล่าวว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริยผ์ มู้ เี ดชานุภาพยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ
พระองค์หนึ่ง มีพระราชอ�ำนาจแผ่ขึ้นไปในอากาศเป็นระยะทางถึง
หนึ่งโยชน์๑๗๒ แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีอ�ำนาจเหนือ
คนทั้งปวง อีกทั้งมีพระราชสมบัติมหาศาล แต่เมื่อใกล้จะสิ้นพระชนม์

245
พรหมวิหาร
นั้น พระราชอ�ำนาจก็ถดถอยลงจนเกือบหมดสิ้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
กล่าวว่า ทรงครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งของผลสมอเท่านั้น ดังข้อความ
ว่า
“แม้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองแผ่นดินทัง้ สิน้ ทรงสละ
พระราชทรัพย์ตั้งร้อยโกฏิ ทรงเป็นผู้มีความสุข ในบั้นปลาย ถึงความ
เป็นใหญ่ในผลมะขามป้อมเพียงครึ่งผล”๑๗๓
ใจความก็คอื พระเจ้าอโศกมหาราช พระมหากษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่
แห่งชมพูทวีป แม้จะทรงมีพระราชอ�ำนาจและพระราชทรัพย์จ�ำนวน
มหาศาล แต่หลังจากที่ทรงบริจาคพระราชทรัพย์แล้ว เมื่อมรณภัย
ย่างกรายมา ก็เหลืออ�ำนาจปกครองอาณาเขตเพียงเท่ากับครึง่ หนึง่ ของ
ผลมะขามป้อมเท่านั้น
ในระหว่างที่ยังครองอ�ำนาจอยู่นั้น ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีอ�ำนาจ
แผ่ไปทั่วทั้งชมพูทวีป ทรงมีพระราชทรัพย์จ�ำนวนมหาศาล ได้ทรง
บริจาคพระราชทรัพย์จ�ำนวนถึง ๙๖ โกฏิ แต่ภายหลังต่อมาเมื่อทรง
ชราภาพใกล้จะสิ้นพระชนม์ บรรดาเสนาบดีและอ�ำมาตย์ได้ปฏิบัติต่อ
พระองค์อย่างไม่เคารพ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ทิพยาวทาน ซึ่งใน
คัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรคฉบับพม่าได้บรรยายไว้คอ่ นข้างละเอียด สามารถสรุป
โดยย่อได้ดังนี้

246
พรหมวิหาร
ในเวลาทีพ่ ระเจ้าอโศกมหาราชประชวร ใกล้จะสิน้ พระชนม์นน้ั
พนักงานถวายพระกระยาหารมาในภาชนะทองค�ำเช่นที่เคยท�ำเป็น
ปรกติ เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงมีรับสั่งให้น�ำถาด จาน และถ้วยทองค�ำ
ไปถวายวัดกุกกุฏาราม วันรุ่งขึ้น พนักงานถวายพระกระยาหารมา
ในถาดเงิน เมื่อเสวยเสร็จก็ทรงมีรับสั่งให้น�ำถาด จาน และชามเงิน
ไปถวายวัดกุกกุฏารามอีก เพราะทรงประสงค์จะถวายทานในพระพุทธ-
ศาสนาให้ครบ ๑๐๐ โกฏิกหาปณะ ซึ่งขณะนั้นได้ทรงถวายแล้ว ๙๖
โกฏิ ยังขาดอยู่อีก ๔ โกฏิ หลังจากนั้น มหาอ�ำมาตย์ก็ให้เปลี่ยนมา
ถวายพระกระยาหารในภาชนะดิน พระเจ้าอโศกมหาราชไม่ทรงพอ
พระทัยและยิ่งได้ทอดพระเนตรผลมะขามป้อมเพียงครึ่งผลที่ถวายมา
ในส�ำรับ ก็ทรงมีรับสั่งให้เรียกประชุมอ�ำมาตย์ราชบริพารทั้งปวง แล้ว
ตรัสถามว่า “ใครเป็นผู้ปกครองประเทศนี้” มหาอ�ำมาตย์กราบทูลว่า
“พระองค์ทรงเป็นพระประมุขปกครองประเทศ พระเจ้าข้า”
พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสแย้งว่า “ที่ท่านเสนาบดีพูดนั้น ไม่
ตรงกับความจริง เพราะขณะนี้ เราเป็นผู้ปกครองผลมะขามป้อม
เพียงครึ่งผลเท่านั้น” แล้วตรัสต่อไปว่า “ความส�ำเร็จทั้งหลายทั้งปวง
ของเรา ในที่สุดก็พินาศไปหมด” สมจริงดังข้อความที่กล่าวไว้ข้างต้น
ว่า สมบัติมีวิบัติในที่สุด

247
พรหมวิหาร
ดังนั้น ค�ำกล่าวที่ว่า “สัตว์ทั้งหลายไม่มีทรัพย์สินเป็นของ
ตนเอง และเมือ่ ตายลงก็จะต้องทิง้ ทุกสิง่ ทุกอย่างไป” นัน้ เป็นความจริง
แท้แน่นอน ทุกสิ่งที่คนเราคิดว่าเป็นของๆ ตน ด้วยความยึดมั่นผูกพัน
จะต้องถูกทิ้งไว้เบื้องหลังเมื่อชีวิตสิ้นสุดลง

การเป็นทาสของตัณหานั้นน่าสงสารโดยแท้
อูโน โลโก อติตฺโต ตณฺหาทาโสติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ
ภควนฺตานํ สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๗๔
“พระมหากรุ ณ าย่ อ มหยั่ ง ลงในสั ต ว์ ทั้ ง หลายแก่ พ ระผู ้ มี -
พระภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า ชาวโลกพร่อง ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของ
ตัณหา”
สัตว์ทงั้ หลายมักจะไม่ได้รบั ทุกสิง่ ทุกอย่างตามทีต่ อ้ งการ และ
ไม่พอใจในสิ่งที่มี เมื่อก�ำลังแสวงหาสิ่งที่ต้องการ ก็คิดว่าถ้าได้สิ่งนั้น
มาแล้วก็คงจะเพียงพอ แต่เมือ่ ได้มาจริงก็ยงั ต้องการสิง่ อืน่ ต่อไป คนที่
มีเงิน ๑ เหรียญก็อยากจะมีเงิน ๒ เหรียญ ส่วนคนที่มีเงิน ๒ เหรียญ
ก็อยากจะมีเงิน ๓ เหรียญ และมากขึ้นไปเรื่อยๆ ความหิวกระหายที่
จะได้มากขึ้นและมากขึ้นนี้ ไม่มีอะไรท�ำให้อิ่มได้ เหตุนี้ มหาเศรษฐี
ทั้งหลายจึงพยายามคิดหาวิธีเพิ่มความร�่ำรวยให้มากยิ่งขึ้นอีก และ
248
พรหมวิหาร
ในที่สุดก็ต้องตายไปในขณะที่พยายามแสวงหาทรัพย์สมบัติอยู่ด้วย
ความโลภที่ไม่สิ้นสุดนี้
ขอยกตัวอย่างท้องทะเลที่ไม่เคยเต็มหรือล้น ไม่ว่าจะมีน�้ำฝน
และน�้ำจากแม่น�้ำล�ำธาร ไหลมาลงทะเลมากมายสักเพียงใด หรือ
ตัวอย่างกองเพลิงที่ไม่ว่าจะใส่เชื้อไฟเข้าเพียงใดก็จะเผาไหม้ได้หมด
ทุกครั้งที่ใส่เชื้อไฟในกองเพลิง มันจะยิ่งลุกโชนและกลืนกินเชื้อไฟเข้า
ไปมากยิง่ ขึน้ สัตว์โลกก็เช่นเดียวกัน มีความต้องการทีไ่ ม่เคยอิม่ ความ
โลภที่ไม่รู้จักพอนี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ ตัณหาเป็นตัวการผลักดันให้
สัตว์โลกดิ้นรนขวนขวายที่จะหาเลี้ยงชีวิต และต่อมาก็กลายเป็นทาส
ของตัณหา พระพุทธองค์ทรงเห็นสัตว์โลกหาเลี้ยงชีวิตเพราะมีตัณหา
เป็นตัวกระตุ้น จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในสัตว์โลกเหล่านั้น ซึ่ง
เป็นเหมือนทาสทีต่ อ้ งท�ำงานหนัก ต้องอาบเหงือ่ ต่างน�ำ้ ด้วยความทุกข์
ยากตามค�ำสั่งของตัณหาผู้เป็นนาย จึงเป็นผู้ที่น่าสงสารส�ำหรับคนที่มี
ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
เหล่าสัตว์ที่ยังไม่หลุดพ้น ต้องเป็นทาสของตัณหา และท�ำ
ทุกอย่างที่ตัณหาบงการ คนที่ยังเป็นปุถุชนอาจถูกตัณหาสั่งให้ท�ำกรรม
ทีช่ วั่ ช้าเลวทรามได้ ดังเช่นพระเจ้าอชาตศัตรูทที่ รงปลงพระชนม์พระเจ้า
พิมพิสารพระราชบิดา เพราะเชื่อการยุยงของตัณหาซึ่งต้องการชีวิต
เป็นสุขเยี่ยงพระราชา ปุถุชนที่ยังไม่หลุดพ้นจากอ�ำนาจของตัณหา
249
พรหมวิหาร
อาจกระท�ำปัญจานันตริยกรรม คือ กรรมหนัก ๕ อย่างที่ส่งผลให้ไป
เกิดในนรกในชาติต่อไป๑๗๕ แต่พระโสดาบันบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจาก
ตัณหาที่จะส่งผลให้ไปเกิดในอบาย ดังนั้น พระโสดาบันจึงไม่ท�ำบาป
กรรมที่จะส่งให้ไปเกิดในอบาย เช่น การฆ่าสัตว์ และลักทรัพย์ แต่
เหตุที่ยังไม่หลุดพ้นจากกามตัณหา คือความยินดีพอใจในกามคุณ จึง
ยังต้องแสวงหากามคุณอารมณ์ เช่น รูปที่สวย เสียงที่ไพเราะเป็นต้น
ตามที่ตัณหาต้องการ
ส� ำหรั บ พระสกทาคามี ก็ ยั ง ต้ อ งท� ำ ตามความต้ อ งการของ
กามตัณหาเช่นเดียวกัน แต่เป็นกามตัณหาชนิดที่ละเอียดสุขุมกว่า
กามตัณหาของพระโสดาบัน ส�ำหรับพระอนาคามีนั้น แม้ว่าจะละ
กามตัณหาได้หมดสิ้นแล้ว แต่ก็ยังต้องท�ำตามความต้องการของรูป-
ตัณหาและอรูปตัณหาอยู่ พระอนาคามีไม่มีความทุกข์กายหรือความ
ทุกข์ใจที่เนื่องด้วยกามตัณหา มีแต่เพียงสังขารทุกข์อย่างเดียว ส่วน
พระอรหันต์ผู้ที่ได้ประหาณตัณหาได้หมดแล้ว จึงเป็นอิสระจากอ�ำนาจ
ของตัณหา ดังนัน้ พระมหากรุณาของพระผูม้ พี ระภาคจึงเกิดขึน้ เพราะ
พระองค์ทรงพบเห็นปุถุชนและพระเสกขบุคคลที่ประสบกับความ
ทุกข์อันใหญ่หลวงเพราะเป็นทาสของตัณหา

250
พรหมวิหาร
สัตว์ทงั้ หลายในโลกนีแ้ ละในจักรวาลทีป่ ระกอบด้วยดาวเคราะห์
ทั้งปวง ตลอดจนสัตว์ทั้งปวงในประเทศพม่าต้องประสบกับความทุกข์
ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เราจึงควรแผ่กรุณาให้ทั้งหมดจากความทุกข์
ตามคาถาที่แสดงวิธีแผ่กรุณาซึ่งปรากฏในพระปริตรว่า
ทุกฺขปฺปตฺตา จ นิทฺทุกฺขา ภยปฺปตฺตา จ นิพฺภยา
โสกปฺปตฺตา จ นิสฺโสกา โหนฺตุ สพฺเพปิ ปาณิโน.๑๗๖
“ขอสัตว์ทั้งปวงที่มีทุกข์ จงไร้ทุกข์ ที่มีภัย จงไร้ภัย ที่มีโศก
จงไร้โศก”
เราอาจแผ่กรุณาตามข้อความข้างต้น โดยภาวนาว่า
- ขอสัตว์ทั้งปวงที่มีทุกข์ จงพ้นจากทุกข์
- ขอสัตว์ทั้งปวงที่มีภัย จงพ้นจากภัย
- ขอสัตว์ทั้งปวงที่มีโศก จงพ้นจากความเศร้าโศก

251
พรหมวิหาร
โภ มารุเตน มหตา วิหโต ปทีโป
ขิปฺปํ วินาสมุข’เมติ มหปฺปโภปิ
โลเก ตถา มรณจณฺฑสมีรเณน
ขิปฺปํ วินสฺสติ นรายุมหาปทีโป.
ท่านผูเ้ จริญทัง้ หลาย ดวงประทีปคือชีวติ ของชนในโลก ย่อม
ดับสูญโดยพลันเพราะลมแรงคือความตาย เหมือนดวงประทีป
สว่างไสว เมื่อถูกลมแรงพัด ย่อมดับไปโดยพลัน

พฺรหฺมา สุราสุรคณา จ มหานุภาวา


คนฺธพฺพกินฺนรมโหรครกฺขสา จ
เต จาปเร จ มรณคฺคิสิขาย สพฺเพ
อนฺเต ปตนฺติ สลภา อิว ขีณปุญฺา.
พรหม เทพและเหล่าอสูรผู้มีฤทธิ์มาก พร้อมด้วยคนธรรพ์
กินนร นาค และรากษส ทั้งหมดนั้นพร้อมด้วยชนเหล่าอื่นย่อม
ตกไปในเปลวไฟคือความตายในทีส่ ดุ เปรียบดัง่ แมลงเม่าผูห้ มดบุญ

252
พรหมวิหาร
บทที่ ๖
ในบทที่แล้ว ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของ
มหากรุณาที่เกี่ยวกับธัมมุทเทส คือ
ธรรมะที่ควรแสดง ๔ ประการ๑๗๗
ต่อไปนี้ จะได้อธิบายเกี่ยวกับการที่สัตว์โลก
ถูกลูกศรเสียบแทง ยุ่งเหยิง
ถูกกระแสตัณหาพัดไป และถูกไฟเผาให้เร่าร้อน
253
พรหมวิหาร
สัตว์โลกถูกลูกศรเสียบแทง
สสลฺโล โลกสนฺนิวาโส วิทฺโธ ปุถุสลฺเลหิ. ตสฺส นตฺถญฺโ
โกจิ สลฺลานํ อุทฺธตา อญฺตฺร มยาติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๗๘
“พระมหากรุ ณ าย่ อ มหยั่ ง ลงในสั ต ว์ ทั้ ง หลายแก่ พ ระผู ้ มี -
พระภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า สัตว์โลกมีลูกศรปักตรึงอยู่ ถูกลูกศรเป็น
อันมากเสียบแทงแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยถอนลูกศรนั้นได้
เป็นไม่มี”
ศัพท์ว่า สลฺล หมายถึง ลูกศร หรือหมายถึงตอไม้ปลาย
แหลมที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินก็ได้ แต่ในอรรถกถากล่าวว่าหมายถึง
ลูกศร๑๗๙ จึงแปลว่าสัตว์ที่ถูกลูกศรเสียบแทงเป็นผู้ที่ควรแก่ความ
กรุณา เช่นเดียวกับคนสมัยนี้ที่บาดเจ็บเพราะต้องกระสุนปืนในขณะ
ที่ท�ำสงครามกัน คนในสมัยโบราณเวลาต่อสู้กันก็ยิงกันด้วยธนู ความ
ทุกข์ของสัตว์ทงั้ หลายเหมือนผูท้ ถี่ กู ลูกศรเสียบแทง และลูกศรเหล่านัน้
254
พรหมวิหาร
ก็คือ บาปอกุศล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส
ทัง้ หลายที่เป็นความชั่ว และทุจริตคือความประพฤติที่ผิดจากศีลธรรม
อันดี๑๘๐ ถ้าลูกศรเสียบจากทรวงอกทะลุกระดูกสันหลัง ก็จะต้องเจ็บ
ปวดทรมานอย่างยิ่ง สัตว์ทั้งปวงก็เช่นกัน เป็นผู้ควรแก่ความกรุณา
อย่างมาก เพราะถูกลูกศรเจ็ดดอกมีราคะเป็นต้นนั้นเสียบแทง
แต่สตั ว์โลกทีเ่ ป็นปุถชุ นทัว่ ไป กลับชืน่ ชมยินดีทถี่ กู ลูกศรเสียบ
แทง สัตว์ในกามภูมิมีความพอใจในกามคุณอารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่า
ปรารถนาทั้งหลาย และเห็นว่ากามราคะเป็นสิ่งที่ดี จึงเพิ่มพูนและ
สนับสนุนให้เกิดกามราคะ ด้วยการแสวงหาอารมณ์ทนี่ า่ รักใคร่ทงั้ หลาย
แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นว่าการเกิดขึ้นของกาม-
ราคะนั้นเป็นความทุกข์ เหมือนถูกลูกศรเสียบแทง ราคะที่พอใจใน
รูปภพ (รูปพรหม) และอรูปภพ (อรูปพรหม) ก็มีลักษณะเป็นทุกข์
ที่ยากจะทนได้เช่นเดียวกัน ส่วนความทุกข์ที่เกิดจากถูกลูกศรโทสะ
เสียบแทงนั้น เห็นได้ง่าย เพราะเมื่อโทสะเกิดขึ้น ความสุขจะหายไป
สีหน้าจะเปลี่ยนไปกลายเป็นสีด�ำคร�่ำเครียด จิตใจกระสับกระส่าย
แต่คนที่ก�ำลังโกรธจัดก็คิดว่าความโกรธเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ดังนั้น
หากมีใครปรารถนาดีพยายามไกล่เกลี่ยให้ประนีประนอมกันและ
แนะน�ำให้เลิกโกรธเคืองกัน คนที่ก�ำลังโกรธจะรู้สึกไม่พอใจ อาจคิด
ไปอีกว่าคนที่เข้ามาไกล่เกลี่ยนั้นพยายามเข้าข้างอีกฝ่ายด้วย

255
พรหมวิหาร
โมหะ หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่ง
ทีไ่ ม่เทีย่ งว่าเป็นสิง่ ทีค่ งทนถาวร เห็นสิง่ ทีเ่ กิดดับอยูต่ ลอดเวลาว่าเป็น
สิง่ ทีน่ า่ ยินดีพอใจ เห็นสภาวธรรมซึง่ เป็นเพียงรูปกับนามว่าเป็นอัตตา
ตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลเป็นต้น เมื่อราคะและโทสะเกิดขึ้นก็จะมี
โมหะเกิดตามมาด้วย สัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เพราะถูกลูกศรโมหะ
เสียบแทง และเพราะถูกโมหะเข้าครอบง�ำ บุคคลจึงท�ำกายทุจริต วจี-
ทุจริต และมโนทุจริต ทั้งสามอย่างนี้ย่อมเป็นเหตุให้ได้รับผลที่เป็น
ความทุกข์
นอกจากนี้ ยังมีลกู ศรชือ่ มานะ คนทัง้ หลายจึงประสบทุกข์เพราะ
ความถือตัวหรือความทะนงตนที่ผิด และมีอีกลูกศรคือทิฏฐิ ที่เสียบ
แทงนามขันธ์ คนทั้งหลายจึงยึดมั่นอยู่กับความเห็นผิดอย่างแน่นแฟ้น
จนไม่สามารถละทิง้ ความเห็นผิดของตนได้ และเพราะความเห็นทีผ่ ดิ
จึงท�ำชั่วด้วยกาย วาจา และใจ เพื่อหวังประโยชน์ที่ไม่ควรจะได้ เป็น
เหตุให้ต้องรับผลเป็นความทุกข์ ในสมัยพุทธกาล ปูรณกัสสปะและ
ศาสดาอื่นของพวกเดียรถีย์อีก ๕ คน พร้อมทั้งสาวกได้พากันก่อกรรม
ชั่วต่อพระพุทธองค์เป็นอันมาก จึงได้รับอกุศลวิบาก ได้รับความทุกข์
ทรมานในนรก มีคนจ�ำนวนมากที่ได้รับทุกข์เพราะถูกลูกศรแห่งทิฏฐิ
เสียบแทง

256
พรหมวิหาร
นอกจากนี้ ยังถูกเสียบแทงด้วยลูกศรกิเลสอย่างอื่นอีก เช่น
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่ามี
จริงหรือไม่ สงสัยว่าการบ�ำเพ็ญศีล สมาธิ และวิปสั สนาสามารถก่อให้
เกิดประโยชน์แท้จริงหรือไม่ สงสัยว่า ฌาน วิปัสสนาญาณ และมรรค
ผล นิพพาน มีจริงหรือไม่ รวมถึงความสงสัยว่า การท�ำกุศลกรรมจะ
ส่งผลให้ไปเกิดในสุคติภูมิจริงหรือไม่ หรือการท�ำอกุศลกรรมจะส่งผล
ให้ไปเกิดในอบายภูมิจริงหรือไม่ ผู้ที่ถูกลูกศรวิจิกิจฉาเสียบแทง จะ
ไม่สามารถเจริญภาวนาตามหลักปฏิบตั ทิ ถี่ กู ต้องได้ และจะไม่มโี อกาส
ที่จะหลบหนีจากความทุกข์ในสังสารวัฏซึ่งรออยู่อย่างแน่นอน
ลูกศรดอกต่อไปชื่อว่า ทุจริต หมายถึงการกระท�ำชั่ว หรือ
ความประพฤติทผี่ ดิ ทีไ่ ด้รบั การกระตุน้ จากลูกศรกิเลส ซึง่ ได้แก่ ราคะ
และโทสะ เป็นต้น เมื่อราคะมีก�ำลังแรงจะท�ำให้ผู้นั้นประพฤติชั่ว ก่อ
ทุจริตกรรม เช่น สามารถฆ่าคน ลักทรัพย์ ฉ้อโกง เป็นต้น การก่อ
อกุศลกรรม คือ การท�ำบาปนี้ ย่อมส่งผลให้ผู้กระท�ำต้องได้รับทุกข์
ในอบายภูมิ
พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นสัตว์ที่ถูกลูกศรเสียบแทง
อยู่ดังนี้ จึงแผ่พระมหากรุณาไปในสัตว์ทั้งหลาย ทรงเทศนาสั่งสอน
เวไนยชนตลอดเวลา ๔๕ พรรษา ทั้งกลางวันและกลางคืน คนที่
ปฏิบัติตามพระธรรมค�ำสอนของพระองค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ
257
พรหมวิหาร
จะสามารถถอนลูกศรมีราคะเป็นต้นที่เสียบอยู่ออกเสียได้ ยิ่งถอนลูกศร
ที่เสียบแทงออกไปได้มากเพียงใด ก็จะยิ่งเป็นทุกข์น้อยลงเพียงนั้น และ
หากพยายามถอนลูกศรกิเลสออกได้เรือ่ ยๆ จนหมด ก็จะสามารถพ้นไป
จากกองทุกข์ทั้งปวง

วิธีการถอนลูกศรด้วยการก�ำหนดรู้สภาวธรรม
ในขณะที่ผู้ปฏิบัติก�ำหนดรู้รูปนามที่เกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖
กล่าวคือ ก�ำหนดรู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิตของตน ตาม
หลักในสติปฏั ฐานสูตร เขาย่อมเป็นอิสระจากนิวรณ์ คือ อุปสรรคที่
ขัดขวางความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ๕ ประการ๑๘๑ ท�ำให้ผู้ปฏิบัติ
มีจิตสงบและตั้งมั่น เรียกว่า จิตตวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งจิต) เมื่อ
จิตมีความสงบปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ต่อเนื่องตลอดเวลาที่เจริญ
ภาวนาก�ำหนดรู้รูปนาม ผู้ปฏิบัติจะสังเกตเห็นว่า อารมณ์ที่ถูกจิตรู้
เป็นคนละอย่างกับจิตทีร่ อู้ ารมณ์ เมือ่ ผูป้ ฏิบตั กิ ำ� หนดรูส้ ภาวะพองขึน้
ของท้อง ย่อมสังเกตเห็นว่า สภาวะพองซึ่งเป็นรูป กับจิตที่ก�ำหนดรู้
258
พรหมวิหาร
ซึง่ เป็นนาม เป็นคนละอย่างกัน ส่วนในการก�ำหนดรูส้ ภาวะยุบของท้อง
สภาวะเดิน สภาวะย่างเท้า สภาวะเหยียบ สภาวะคู้ เป็นต้น ก็เป็น
ไปในท�ำนองเดียวกัน และทุกครัง้ ทีก่ ำ� หนดรูส้ ภาวะอย่างใดอย่างหนึง่
จะสังเกตเห็นว่า มีแต่รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ และนามคือสิ่งที่รู้ ที่ประกอบ
กันขึ้นเป็นขันธ์ ๕ ของบุคคล ปัญญาที่รู้เห็นเช่นนี้สามารถก�ำจัด
ลูกศรแห่งทิฏฐิไปได้ส่วนหนึ่ง จึงเรียกปัญญานี้ว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
หลังจากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติก�ำหนดรู้ต่อไปอีก จะสังเกตเห็นความ
เป็นเหตุเป็นผลกันของรูปนามว่า เพราะมีจิตที่อยากจะคู้ จึงท�ำให้
การคู้ของกายเกิดขึ้น เช่นเดียวกันนั้น เพราะมีจิตที่ต้องการจะเดิน
จึงท�ำให้การเดินของกายเกิดขึ้นได้ และเพราะมีอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้
เกิดขึ้น จิตที่รู้จึงเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ก�ำหนดรู้อยู่อย่างนี้ ลูกศรแห่ง
ความสงสัย หรือกังขา ได้ถูกถอนออกไปส่วนหนึ่ง หลังจากนั้น
ทุกขณะที่ก�ำหนดรู้ จะสังเกตเห็นการเกิดขึ้นและการดับไปของ
สภาวธรรมทางกายและจิตได้อย่างชัดเจน เช่น ความปวดเมื่อย การ
พองยุบของท้อง การคู้ การเหยียด การยก การย่าง การเหยียบ เป็นต้น
เมื่อสติและสมาธิมีความแก่กล้าขึ้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นการเกิดดับติดต่อ
กันเป็นขั้นๆ อย่างชัดเจน ท�ำให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
และความไม่ใช่ตัวตนได้

259
พรหมวิหาร
ในขณะทีผ่ ปู้ ฏิบตั ริ ชู้ ดั ถึงสภาวธรรมรูปนามก็จะพบว่า ค�ำสอน
ของพระพุทธองค์เกี่ยวกับความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนั้น
เป็นความจริงอย่างไม่มีข้อสงสัย ความรู้ความเข้าใจเช่นนี้ท�ำให้ศรัทธา
ความเชื่อในความเป็นสัพพัญญูของพระบรมศาสดา ความเชื่อใน
พระธรรมค�ำสอนจะยิ่งแข็งแกร่งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีก ความเชื่อใน
พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามค�ำสอนของพระพุทธองค์ก็จะยิ่งเพิ่มพูน
ขึ้นเช่นกัน ยิ่งผู้ปฏิบัติมีศรัทธาความเชื่อมากเพียงไร วิจิกิจฉาก็จะถูก
ถอนออกไปมากเพียงนั้น
ต่อจากนัน้ เมือ่ ก�ำหนดรูส้ ภาวธรรมรูปนามต่อไปอีก วิปสั สนา
ปัญญา ๑๐ ขั้นก็จะพัฒนาขึ้นตามล�ำดับจนบรรลุพระนิพพาน อัน
เป็นที่ดับรูปและนามตลอดจนความทุกข์ทั้งมวล ด้วยอริยมรรคญาณ
ซึ่งเป็นปัญญาที่เห็นแจ้งว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา หรือตัวตน และ
ตัวของเรานั้นก็เป็นเพียงองค์ประกอบของรูปกับนามเท่านั้น ดังนั้น
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นต้นว่า อัตตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ ก็จะ
ถูกก�ำจัดไปจนหมดสิ้น ส่งผลให้ลูกศรแห่งทิฏฐิได้ถูกถอนออกไปใน
ที่สุด ซึ่งเป็นขั้นตอนการละสักกายทิฏฐิของพระโสดาบัน
ในขณะที่พิจารณาสภาวธรรมรูปนามอยู่นั้น ได้เกิดปัญญา
หรือความรู้อย่างแจ่มแจ้งขึ้นว่า มีเพียงรูปกับนามที่เกิดขึ้นและดับไป
อยู่ตลอดเวลาเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่เป็นอัตตา หรือ ตัวตน เรา เขา ล�ำดับ
260
พรหมวิหาร
ต่อมา ความสงสัยเกี่ยวกับคุณค่าของศีล สมาธิ และปัญญา ก็หมดไป
เกิดมีศรัทธาความเชื่อมั่นอย่างไม่คลอนแคลนว่า ด้วยการประพฤติ
ปฏิบัติในศีล สมาธิ และปัญญา อย่างต่อเนื่องเท่านั้นจึงจะท�ำให้บรรลุ
พระนิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ จะต้องเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง
ทุกขัง และอนัตตา อย่างแจ้งชัดด้วยการก�ำหนดรู้การเกิดดับของสภาว-
ธรรมรูปนามเท่านั้น จึงจะท�ำให้บรรลุพระนิพพานได้ นี้เป็นวิธีขจัด
วิจกิ จิ ฉา ความลังเลสงสัยของพระโสดาบัน ตลอดจนวิธปี ฏิบตั ทิ เี่ กีย่ วกับ
ศีล สมาธิ ปัญญา ตามที่ตรัสไว้ในการแสดงมหากรุณาสมาบัติ
พระโสดาบันนอกจากเป็นผู้ที่ละสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ได้แล้ว ยังสามารถละกิเลสอย่างอื่น เช่น ราคะ โทสะ โมหะ มานะ
เป็นต้น ที่จะส่งให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้ และยังหลุดพ้นจาก
วิบากของอกุศลกรรมที่จะส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ด้วย ดังนั้น
บุคคลที่บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จะไม่
ถูกเสียบแทงด้วยลูกศรที่ส่งให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔
ผู้เพียรพยายามเจริญวิปัสสนาหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็น
พระโสดาบันแล้ว ก็จะบรรลุเป็นพระสกทาคามี และพระอนาคามีตาม
ล�ำดับ เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี แล้วจะเป็นอิสระจากลูกศรแห่ง
กามราคะ และพยาบาท หลังจากนั้น ถ้ายังพากเพียรเจริญวิปัสสนา
ต่อไป ก็จะบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถอน
261
พรหมวิหาร
ลูกศรแห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ และอวิชชา ทีย่ งั เสียบแทง
พระอนาคามีออกได้ หมายความว่า ลูกศรแห่งอกุศลได้ถูกถอนออก
ไปทั้งหมด เหตุนี้ หลังจากที่พระอรหันต์ปรินิพพานจึงเป็นการหลุดพ้น
จากความทุกข์ทุกชนิดที่เกี่ยวเนื่องด้วยรูปนามขันธ์ ๕ เพราะได้ถอน
ลูกศรออกไปหมดแล้ว เป็นความสงบสุขอย่างถาวร
พระอนาคามียังคงมีลูกศรแห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
และอวิชชาเสียบแทงอยู่ จึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารทุกข์
หลังจากทีไ่ ปบังเกิดในรูปภูมแิ ละอรูปภูมแิ ล้ว แต่สำ� หรับพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี ยังมีลูกศรแห่งกามราคะเสียบแทงอยู่ จึงยังต้อง
วนเวียนเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอยูใ่ นกามภูมิ ต้องพบกับสภาพทีเ่ ป็น
ทุกข์อันเนื่องด้วยความแก่ ความเจ็บ และความตายต่อไป
พระพุทธองค์ทรงเห็นเหล่าปุถุชนที่ประสบทุกข์เพราะถูกลูกศร
มากมายเสียบแทงรูปขันธ์แล้วทรงตระหนักว่า ไม่มผี ใู้ ดนอกจากพระองค์
ที่จะช่วยถอนลูกศรเหล่านั้นออกได้ จึงทรงมีพระมหากรุณาเทศนา
สั่งสอนธรรมแก่สัตว์โลก

262
พรหมวิหาร
พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาแก่สรรพสัตว์โดยเท่าเทียม
กัน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนใกล้ชิดหรือเป็นคนแปลกหน้า ทรงมี
พระกรุณาในพระราหุลซึ่งเป็นพระโอรส ไม่ต่างจากพระกรุณาใน
พระเทวทัต ซึ่งพยายามท�ำร้ายพระองค์ด้วยวิธีต่างๆ๑๘๒ ครั้งหนึ่ง
พระเทวทัตได้ร่วมสมคบกับพระเจ้าอชาตศัตรูเพื่อจะปลงพระชนม์
พระพุทธเจ้า ได้ให้ควาญช้างมอมเหล้าช้างนาฬาคิรที กี่ ำ� ลังตกมันดุรา้ ย
แล้วปล่อยออกมาให้ท�ำอันตรายพระพุทธองค์ในขณะที่ก�ำลังเสด็จ
ออกบิณฑบาต ช้างนาฬาคิรนี นั้ เคยอาละวาดเหยียบคนทีข่ วางหน้าจน
ตายมาแล้ว
ในครัง้ นัน้ มีพระสงฆ์สาวกตามเสด็จออกบิณฑบาตจ�ำนวนมาก
เมื่อเห็นช้างตกมันวิ่งมาทางที่พระพุทธองค์ก�ำลังเสด็จด�ำเนินไป จึงได้
กราบทูลขอให้เสด็จกลับ พระพุทธองค์ตรัสว่า
อาคจฺฉถ ภิกฺขเว. มา ภายิตฺถ. อฏฺานเมตํ ภิกฺขเว อนวกาโส,
ยํ ปรูปกฺกเมน ตถาคตํ ชีวิตา โวโรเปยฺย. อนุปกฺกเมน ภิกฺขเว
ตถาคตา ปรินิพฺพายนฺติ.๑๘๓
“ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด อย่ากลัวเลย การที่บุคคลพึงปลง
พระตถาคตจากชีวิตด้วยความพยายามของผู้อื่น ไม่ใช่โอกาส ไม่ใช่
ฐานะ ภิกษุทงั้ หลาย พระตถาคตทัง้ หลายย่อมไม่ปรินพิ พานด้วยความ
พยายามของผู้อื่น”
263
พรหมวิหาร
พระสงฆ์สาวกทั้งหลายได้อ้อนวอนพระพุทธองค์ถึงสามครั้ง
ให้เสด็จกลับ แต่พระพุทธองค์ได้ตรัสยืนยันด้วยค�ำเดิมทั้งสามครั้ง
ขณะนั้นพระอานนท์เห็นช้างวิ่งเข้ามาเกรงว่าจะมีอันตรายแก่พระผู้มี-
พระภาค ได้รบี ก้าวออกไปยืนขวางหน้าด้วยประสงค์จะสละชีวติ แทน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามถึงสามครั้ง และให้พระอานนท์หลีกไป
แต่พระอานนท์คงยืนขวางหน้าอยูเ่ ช่นนัน้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าจึงทรง
ท�ำปาฏิหาริยใ์ ห้พระอานนท์หลีกไป แล้วทรงแผ่เมตตาให้กบั ช้างนาฬา-
คิรี นี้เป็นความส�ำคัญของเมตตา ความสงสารที่เกิดขึ้นก็ควรจัดว่า
เป็นการสนับสนุนให้เกิดมหากรุณาสมาบัตดิ งั ทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ดังนัน้
เมื่อช้างนาฬาคิรีได้สัมผัสกระแสแห่งเมตตาธรรมของพระผู้มีพระภาค
จึงสร่างเมาทันที มีจิตใจอ่อนโยน ลดงวงลงแล้วเยื้องกรายเข้าไป
คุกเข่าลงต่อหน้าพระพักตร์ด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
พระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคิรี
พลางตรัสว่า
“นาฬาคิรี เจ้าอย่าเข้าไปหาพระพุทธเจ้าด้วยจิตทีค่ ดิ จะท�ำร้าย
การท�ำอันตรายพระพุทธเจ้านั้นจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ใหญ่หลวงใน
อบาย เจ้าจงสร่างเมาและอย่าประมาท ผู้ที่ประมาทขาดสติแล้วจะ
ไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้าจงฝึกฝนอบรมตนเอง และท�ำแต่กรรมดีที่จักน�ำไป
สู่สุคติ”๑๘๔
264
พรหมวิหาร
ตั้งแต่นั้นมา ช้างนาฬาคิรีก็กลายเป็นช้างที่สงบเสงี่ยม ตั้งอยู่
ในเบญจศีล ไม่อาละวาดฆ่าคน และเมาสุราอย่างแต่ก่อน ตัวอย่างนี้
แสดงให้เห็นพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ที่ทรงสั่งสอนช้างที่เคย
พยายามจะท�ำร้ายพระองค์ ทรงแผ่พระเมตตาและพระกรุณาแก่ช้าง
นาฬาคิรีเท่าเทียมกับพระราหุลผู้เป็นพระโอรส

สัตว์โลกถูกข่ายตัณหาครอบไว้
ถูกกระแสตัณหาพัดพาไป
ตณฺหาชาเลน โอตฺถโฏ โลกสนฺนิวาโสติ ปสฺสนฺตานํ ฯเปฯ
ตณฺหาโสเตน วุยฺหติ โลกสนฺนิวาโสติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๘๕
“พระมหากรุณาย่อมหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลายแก่พระผู้มีพระภาค
ผูต้ รัสรูท้ รงเห็นว่า สัตว์โลกถูกข่ายตัณหาครอบไว้ ฯลฯ สัตว์โลกถูก
กระแสตัณหาพัดไป”
ศัพท์ว่า ตัณหา หมายถึง ความกระหาย หรือ ความทะยาน
อยาก ความต้องการจะเห็น หรือความยินดีในรูปที่เห็น และความ
เพลิดเพลินติดข้องอยู่กับอารมณ์ที่เห็น หรือได้ยิน เป็นต้น แม้ว่าจะ
265
พรหมวิหาร
ได้เห็นรูปสวยหรือนานมากสักเพียงไร ความกระหายจะได้เห็นก็ยงั ไม่
หมดสิ้นไป ในท�ำนองเดียวกัน ความต้องการได้ยินเสียงไพเราะน่า
ปรารถนาอย่างไม่รู้จักพอ ล้วนเป็นตัณหา หรือความกระหายที่จะดม
กลิ่นหอม ได้ลิ้มรสอร่อย ได้สัมผัสที่เป็นสุข หรือคิดนึกเรื่องราวที่ชอบ
ก็เป็นตัณหา อันที่จริงตัณหาเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุด ในทุกสิ่ง
ทุกอย่างที่ได้เห็น ได้ยิน เป็นต้น ตัณหาเกิดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาก็คิดถึงสิ่งที่น่าพอใจอยากได้ คนเราพอใจตนเอง
พอใจคนอื่น และทรัพย์สินสิ่งของทุกชนิด เพราะความเพลิดเพลิน
ผูกพันที่มีตัณหาเป็นเหตุนี้ ท�ำให้คนเราต้องเวียนว่ายตายเกิดชาติแล้ว
ชาติเล่า และเมื่อเกิดในทุกภพทุกชาติก็ยังต้องพบกับวงจรของความ
แก่ ความเจ็บ และความตาย การต้องคอยแสวงหาสิ่งที่ต้องการ ท�ำให้
เป็นทุกข์ เมื่อได้มาแล้วก็ยังเป็นทุกข์ในการดูแลรักษา
ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้มีเหตุจากตัณหาที่กระหายใคร่จะ
ได้ที่เจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลาเหมือนเถาวัลย์ที่เลื้อยไปไม่หยุด เราไม่
สามารถเอาชนะและหลบหนีตณ ั หาได้พน้ ดังนัน้ ตัณหาจึงเป็นเหมือน
ข่ายยักษ์ขนาดมหึมาที่ครอบคลุมสรรพสัตว์ทั้งหลายไว้ภายใน สัตว์ที่
ติดอยู่ในตาข่ายไม่สามารถหนีไปได้ มีแต่ความตายเท่านั้นรอคอยอยู่
ข้างหน้า สัตว์ที่ติดอยู่ในตาข่ายตัณหาก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถหนี
รอดได้

266
พรหมวิหาร
นอกจากนีย้ งั เปรียบได้กบั บุคคลทีล่ อ่ งลอยอยูก่ ลางกระแสน�ำ้
ย่อมถูกสายน�้ำพัดพาไป และในที่สุดก็จะต้องจมน�้ำตาย ในท�ำนอง
เดียวกัน สัตว์โลกย่อมถูกตัณหาซัดไป พัดพาไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔
เนือ่ งจากการกระท�ำกรรมชัว่ บางครัง้ การกระท�ำกรรมดีสง่ ผลให้ไป
เกิด เป็นมนุษย์หรือเทวดา แต่ถึงแม้จะได้เกิดในสุคติภูมิก็ยังต้องพบ
ความทุกข์ที่เนื่องด้วยความแก่ ความเจ็บ และความตาย พระพุทธ-
องค์จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในสัตว์ทั้งปวงที่ก�ำลังติดอยู่และถูก
กระแสตัณหาพัดพาไปสู่ความทุกข์

267
พรหมวิหาร
สัตว์โลกถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้
ถูกกระแสทิฏฐิซัดไป
ทิฏฺชิ าเลน โอตฺถโฏ โลกสนฺนิวาโสติ ปสฺสนฺตานํ ฯเปฯ
ทิฏฺโิ สเตน วุยฺหติ โลกสนฺนิวาโสติ ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ
สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๘๖
“พระมหากรุณาย่อมหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลายแก่พระผู้มีพระภาค
ผูต้ รัสรูท้ รงเห็นว่า สัตว์โลกถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้ ฯลฯ สัตว์โลกถูก
กระแสทิฏฐิพัดไป”
ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด หรือความเข้าใจที่ผิด เช่น การ
ยึดมัน่ ในความเป็นตัวตนของตนเอง ในความเป็นจริงสิง่ ทีเ่ รียกว่าบุคคล
หรือตัวตนของเรานั้นไม่มี มีเพียงสภาวธรรมสองอย่าง คือ รูปและ
นามที่ประกอบกันเท่านั้น การยึดมั่นในตัวตนเช่นนี้เรียกว่า อัตตทิฏฐิ
หรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า สักกายทิฏฐิ ค�ำว่า สกฺกาย หมายถึง องค์รวม
ของรูปนามทีม่ จี ริง ส่วน ทิฏฺ ิ หมายถึง ความเห็นผิด นัน่ คือความเห็น
ผิดว่า รูปกับนามที่ประกอบกันขึ้นนี้เป็นอัตตาตัวตนหรือเป็นบุคคล
จึงเรียกว่า สักกายทิฏฐิ เพราะเป็นความเห็นผิดว่าสิ่งที่เป็นเพียงรูป
กับนามนั้นเป็นตัวตนของเรา๑๘๗ ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่เห็น ย่อม
มีประสาทตาที่เห็นและรูปที่ถูกเห็นเกิดขึ้น สองอย่างนี้เป็น รูป ส่วน
268
พรหมวิหาร
จิตที่เห็นเป็น นาม แต่ปุถุชนทั่วไปเข้าใจว่าสิ่งที่ถูกเห็นหรือถูกรู้นั้น
เป็น ตัวเรา หรือเข้าใจว่ารูปที่ตาเห็นเป็นตัวเรา หรือถ้าเข้าใจว่าตัว
ตนของเรามีอยู่จริง ก็เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ส�ำหรับการได้ยินเสียง
การได้กลิ่นเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน ถ้าผู้นั้นคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็น ตัวเรา
ก็จัดว่าเป็น สักกายทิฏฐิ
ถ้าบุคคลมีความเห็นผิดว่าอัตตาหรือตัวตนที่เป็นสักกายทิฏฐิ
นั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน และเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้ว อัตตาก็จะเคลื่อนไป
อยู่ในร่างใหม่ บุคคลนั้นก็ได้ชื่อว่ามี สัสสตทิฏฐิ ในทางตรงกันข้าม
ถ้าบุคคลมีความเห็นผิดว่าอัตตาหรือตัวตนนี้ เมื่อตายแล้วก็สูญสลาย
ไปหมด และการกระท�ำของตนไม่ถอื ว่าเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม
บุคคลนัน้ จะได้ชอื่ ว่ามี อุจเฉททิฏฐิ การคิดว่าการท�ำกรรมดีและกรรม
ชัว่ ไม่มผี ล เรียกว่า ทุจริตมิจฉาทิฏฐิ บุคคลทีเ่ ป็นอุจเฉททิฏฐิสว่ นใหญ่
มักจะมีความเห็นเป็นทุจริตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดและน่า
ต�ำหนิอย่างยิ่ง เพราะคนที่เป็นฝ่ายทุจริตมิจฉาทิฏฐิ นอกจากจะไม่
หลีกเลี่ยงท�ำกรรมชั่วแล้ว ยังไม่ท�ำกรรมดีอีกด้วย กล่าวคือเขาจะไม่
ลังเลที่จะท�ำความชั่วทุกชนิด ดังนั้น คนที่มีทุจริตมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย
แล้วย่อมต้องไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน นอกจากนี้ การเลื่อมใส
ศรัทธาในผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้า โดยที่ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
จริงๆ ก็จดั เป็นความเห็นผิดอย่างหนึง่ การเชือ่ ในวิธปี ฏิบตั ทิ ผี่ ดิ ว่าเป็น

269
พรหมวิหาร
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จัดเป็นความเห็นผิด เช่น เชื่อในการฆ่าสัตว์
บูชายัญเพื่อเป็นการล้างบาป ก็จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ กล่าวคือ เชื่อในการ
ปฏิบัติที่ผิด และมีความเห็นความเข้าใจที่ผิดจากความเป็นจริง
ในเวลาก่อนหน้าและแม้ในสมัยที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ
ขึน้ ในโลก คนทีไ่ ม่เคยได้ยนิ ได้ฟงั พระสัทธรรม และคนทีเ่ ข้าใจพระธรรม
ค�ำสอนอย่างผิดๆ ก็มักจะเชื่อถือและยึดมั่นความเห็นผิด มีคนมาก
มายทัว่ โลกทีม่ คี วามเห็นผิดตามทีก่ ล่าวมาแล้ว จึงเข้าใจพุทธธรรมผิด
มีอตั ตทิฏฐิหรือความเห็นผิดทีย่ ดึ มัน่ ในรูปและนามว่าเป็นอัตตาตัวตน
เป็นเรา ของเรา ดังนั้น ค�ำกล่าวที่ว่า สัตว์โลกถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้
สัตว์โลกถูกกระแสทิฏฐิพัดไป จึงเป็นความจริง
คนที่เชื่อตามฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ และทุจริตมิจฉาทิฏฐิ มีโอกาส
จะตกไปในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้มาก แต่ส�ำหรับพวกที่เชื่อถือสัสสต-
ทิฏฐิจะมีโอกาสสร้างกุศลกรรม เช่น ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการท�ำบาป ตามความเชื่อของตนว่าสิ่งใดควรท�ำและไม่ควร
ท�ำ เพราะหวังจะได้เกิดในภพใหม่ทเี่ ป็นสุข การท�ำกุศลกรรมย่อมเป็น
เหตุให้ได้ไปเกิดในสุคติภูมิเมื่อตายไป อย่างไรก็ตาม ความเชื่อในเรื่อง
สิ่งที่ควรท�ำนั้นบางอย่างก็อาจเป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้
ท�ำอกุศล ยกตัวอย่างการฆ่าสัตว์ในพิธีกรรมบางอย่าง เช่น การต้ม
หอยทากและหอยนางรมทั้งเป็น เพื่อช่วยสัตว์เหล่านั้นให้พ้นจากทุกข์
270
พรหมวิหาร
ในสังสารวัฏ แม้ในความเห็นของพวกเขาจะเชื่อว่าเป็นการฆ่าสัตว์
เพื่อท�ำบุญ แต่การฆ่าสัตว์ทุกชนิดไม่สามารถจัดว่าเป็นบุญกุศลได้
เลย เพราะสัตว์ที่ถูกฆ่าย่อมไม่ปรารถนาจะถูกฆ่า
ดังนัน้ พวกทีม่ คี วามเห็นผิดเหล่านี้ ย่อมมีโอกาสได้ไปเกิดใน
อบายภูมทิ งั้ ๔ อย่างแน่นอน และจะต้องได้รบั ทุกข์ทรมานจากบาป
กรรมที่ได้กระท�ำ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นความดี นอกจากนั้น ผู้ที่เชื่อตาม
สัสสตทิฏฐิและอัตตทิฏฐิอย่างงมงาย จะไม่เชือ่ ในค�ำสอนของพระพุทธ-
องค์ว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา มีแต่รูปกับนามที่ด�ำเนินไปตาม
ธรรมชาติของมัน มีแต่ความเป็นเหตุเป็นผลกันของรูปและนาม ถ้า
สมุทยตัณหา ความยึดมั่นถือมั่น ถูกก�ำจัดไปด้วยภาวนามยปัญญา
ซึ่งก�ำจัดกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความทุกข์ของกระแสรูปและนาม
ก็จะดับลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ไม่เชื่อค�ำสอนก็จะวนเวียน
เกิดอยู่ในสังสารวัฏ ต้องพบความทุกข์ที่เนื่องด้วยความแก่ ความเจ็บ
และความตาย อย่างไม่จบสิ้น ไม่สามารถไปถึงแดนเกษมที่ปลอดภัย
จากความทุกข์ ทัง้ นีเ้ พราะถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้ ถูกกระแสทิฏฐิพดั ไป
จึงต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏโดยไม่มีการหยุดพัก กระแสตัณหาที่
กล่าวมาแล้วมักจะไหลลงสู่อบายภูมิ ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่พ้นจากพันธนา-
การของตัณหาและทิฏฐิย่อมต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิทั้ง ๔

271
พรหมวิหาร
สัตว์โลกเร่าร้อนเพราะถูกไฟเผา
อาทิตฺโต โลกสนฺนิวาโส ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา
ชาติยา ชราย มรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ
อุปายาเสหิ. ตสฺส นตฺถญฺโ โกจิ นิพฺพาเปตา อญฺตฺร มยาติ
ปสฺสนฺตานํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ สตฺเตสุ มหากรุณา โอกฺกมติ.๑๘๘
“พระมหากรุณาย่อมหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลายแก่พระผู้มีพระ-
ภาคผู้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า สัตว์โลกถูกไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสกระทบแล้ว ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่โลกสันนิวาสได้เป็นไม่มี”
เหล่าสัตว์เป็นทุกข์หนักเพราะถูกเพลิง ๑๑ กองแผดเผาอยู่
ได้แก่ เพลิงแห่งราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในทั้งหมดนี้ ไฟราคะ ท�ำให้ติดใจใน
อารมณ์ที่เป็นสุข สิ่งที่เรียกว่า ตัณหา และโลภะ หมายถึง ราคะ อัน
ได้แก่ความทะยานอยาก สัตว์โลกถูกไฟราคะแผดเผา เพราะยึดมั่น

272
พรหมวิหาร
ด้วยความพอใจในจักษุ (ตา) รูปารมณ์ (รูปที่เห็น) และจักขุวิญญาณ
(จิตที่เห็น) เมื่อมีการเห็นเกิดขึ้นแล้ว ก็ยึดมั่นพอใจในจักษุของตน
และในรูปอันน่ารักที่ได้เห็น และไม่ได้ติดใจเพียงรูปที่ได้เห็น แต่ยัง
ติดใจในตัวหญิงหรือชายที่ได้เห็นอีกด้วย ดังนั้น การได้เห็นรูปที่น่า
พอใจย่อมก่อให้เกิดความผูกพันยึดมัน่ ในสิง่ นัน้ ความรูส้ กึ ผูกพันยึดมัน่
คือไฟราคะ ท�ำให้ต้องการได้รับอารมณ์ที่น่าพอใจนั้นอีก ถ้าไม่ได้
รับก็จะมีความอยากอยูไ่ ม่รหู้ าย ท�ำให้คดิ หาทางทีจ่ ะได้อารมณ์นนั้ มา
ไม่ว่าด้วยวิธีสุจริตหรือทุจริต บางครั้งความอยากนั้นอาจรุนแรงถึงกับ
กินไม่ได้นอนไม่หลับทีเดียว และเมื่อได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาเป็นสมบัติ
ก็ต้องคิดวางแผนเฝ้ารักษาสิ่งนั้นไว้เป็นอย่างดี
แต่คนทั่วไปกลับเห็นว่า เพลิงราคะที่แผดเผาตนอยู่นั้นเป็น
ความสุขอย่างหนึง่ จึงกระตือรือร้นพยายามทีจ่ ะหาความสุขจากอารมณ์
ทีน่ า่ พอใจนัน้ ด้วยความยึดมัน่ คอยคิดกังวลเกีย่ วกับครอบครัว ธุรกิจ
การงาน หรือในความสัมพันธ์กับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา โดยที่เข้าใจ
ผิดว่าความกังวลนั้นเป็นความสุข และไม่รู้ความจริงนั้นว่าก�ำลังถูกไฟ
ราคะแผดเผาอยู่ เมื่อไรไฟราคะถูกดับไป ก็จะได้เห็นตามความเป็น
จริงว่า ความคิดและความกังวลเป็นความทุกข์เหมือนถูกไฟเผา ดังนัน้
พระพุทธองค์จึงทรงเห็นว่า ราคะนั้นเป็นเพลิงที่ก�ำลังแผดเผาสัตว์
โลกอยู่

273
พรหมวิหาร
ในท�ำนองเดียวกัน ขณะที่มีการได้ยินเกิดขึ้น สัตว์โลกจะเห็น
ว่า โสตะ (หู) สัททารมณ์ (เสียง) และโสตวิญญาณ (จิตที่ได้ยิน) เป็น
สิ่งที่น่ายินดีพอใจ การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสถูกต้อง หรือการ
คิดนึก ก็เป็นเช่นเดียวกัน กล่าวโดยย่อคือ การยึดมั่นผูกพันอยู่กับ
ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และการคิดนึก ล้วนเป็นการ
ถูกไฟราคะเผาไหม้ทงั้ สิน้ ไม่วา่ ความพอใจเกิดขึน้ ทางทวารใด ไฟราคะ
ก็แผดเผาที่ทวารนั้น เปรียบเหมือนเชื้อไฟ เช่น ฟืน หรือน�้ำมัน ถ้า
เชื้อนั้นติดไฟได้ง่าย ไฟจะเผาไหม้รุนแรง อารมณ์ใดเป็นอารมณ์ที่น่า
ปรารถนามาก ไฟราคะก็เผาไหม้รุนแรงมากเช่นกัน
ไฟโทสะก็ไม่ตา่ งกัน เห็นได้งา่ ยเวลาทีโ่ กรธ จิตจะร้อนรุม่ เพราะ
ถูกเผาด้วยไฟโทสะ แต่คนที่ก�ำลังโกรธอาจจะรู้สึกพอใจที่ได้โกรธ แต่
ส�ำหรับโมหะนั้น เป็นไฟที่เห็นได้ยากกว่าไฟราคะ และไฟโทสะ
ถ้าเกิดความคิดว่า สิ่งที่เห็นหรือได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นสิ่งที่
ยัง่ ยืน น่าปรารถนาพอใจ และสิง่ นัน้ มีตวั ตน เป็นเรา ของเรา ความคิด
อย่างนี้ เรียกว่า โมหะ ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด ความเห็นผิดนี้ปิดบังไม่
ให้เห็นสภาวธรรมอันได้แก่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของ
อารมณ์ที่เกิดทางทวารทั้ง ๖ เมื่อเห็นสิ่งต่างๆ ว่าเป็นเที่ยง เป็นสุข
และเป็นตัวตน ก็หมายความว่าก�ำลังถูกไฟโมหะแผดเผาอยู่ แต่ปุถุชน
ทัว่ ไปมักมองไม่เห็น ไม่เข้าใจว่าก�ำลังถูกไฟโมหะแผดเผาอยู่ ต่อเมือ่ ได้
274
พรหมวิหาร
รู้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตนได้อย่างแจ่มชัด จึงเข้าใจ
ได้ถงึ การเผาของไฟโมหะ โมหะนีท้ ำ� ให้สตั ว์โลกไม่รตู้ ามความเป็นจริง
เพราะถูกความหลงครอบง�ำ จึงท�ำและวางแผนท�ำสิ่งที่ไม่สมควรท�ำ
หรือพูดสิ่งที่ไม่ควรพูดเป็นต้น การท�ำสิ่งที่ไม่สมควรทั้งทางกาย วาจา
และใจเหล่านี้ ก่อให้เกิดผลเป็นความทุกข์ในชาติปัจจุบัน และท�ำให้
พบกับความทุกข์ในสังสารวัฏ เช่น ต้องได้รับทุกข์ในอบายภูมิ เป็นต้น
ความทุกข์เหล่านี้เกิดจากการถูกไฟโมหะแผดเผา
ไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ รวมเรียกว่า อกุศลกิเลส
นอกจากนั้น ยังมีไฟแห่งสังสารทุกข์อีก ๘ อย่าง คือ ชาติ (การเกิด)
ชรา (ความแก่) และมรณะ (ความตาย) ๓ อย่างนี้ เห็นได้งา่ ย ทีก่ ล่าว
ว่าการเกิดเป็นไฟแผดเผาให้เกิดทุกข์ ด้วยเหตุวา่ ในทุกๆ ชาติทบี่ คุ คล
เกิดมา เวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ต้องพบกับความทุกข์ต่างๆ ก็เพราะมี
การเกิดเป็นต้นเหตุ หากเขาได้รับทุกข์ในนรก ก็เพราะเกิดอยู่ในนรก
ในท�ำนองเดียวกัน ทุกข์ที่สัตว์ดิรัจฉาน และเปรตได้รับ ก็เพราะต้อง
เกิดอยูใ่ นก�ำเนิดของสัตว์ดริ จั ฉาน เช่น สุนขั สุกร เป็ด ไก่ นก เป็นต้น
หรือไปเกิดเป็นเปรตแล้วแต่กรณี ส่วนพวกที่ไปเกิดกับพ่อแม่ที่ยากจน
ส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่ในภาวะยากจนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย แม้ผู้ที่ไป
เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ยังต้องได้รับทุกข์ตามฐานะของเทวดาหรือ
พรหม ไฟแห่งการเกิดนี้ มีสาเหตุโดยอาจอธิบายได้ดังนี้

275
พรหมวิหาร
การเกิดเป็นผลจากกิเลสและกรรม ซึ่งเป็นผลวิบากที่เนื่องมา
จากการเห็นภาพทางตาและการได้ยินเสียงทางหูเป็นต้นอีกทีหนึ่ง จิต
ทีเ่ กิดขึน้ รับรูอ้ ารมณ์ในขณะตาเห็นรูป หูได้ยนิ เสียง เป็นต้นนีไ้ ด้ชอื่ ว่า
เป็นไฟคือชาติ ทีส่ ง่ ผลให้มกี ารเกิดในภพใหม่ อธิบายอย่างง่ายๆ ก็คอื
ไฟคือชาตินั้น ได้แก่กิเลสและกรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นทุกๆ ขณะที่มี
การรับอารมณ์ทางตาและหูเป็นต้น ส่วนไฟคือ ชรา และมรณะ ก็เกิด
ขึ้นโดยท�ำนองเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ชราและมรณะ เป็นสิ่งที่
เห็นได้ชัดว่าเป็นความทุกข์ ส่วนการเกิดนั้นเห็นได้ไม่ชัดว่าเป็นความ
ทุกข์
ในอาทิตตสูตรได้ตรัสถึงการเผาไหม้ของไฟคือชาติไว้ว่า
จกฺขุ อาทิตฺตํ. รูปา อาทิตฺตา. จกฺขุวิญฺาณํ อาทิตฺตํ.๑๘๙
“จักษุถูกไฟเผา รูปถูกไฟเผา จักขุวิญญาณถูกไฟเผา”
และในมหากรุณาสมาบัติที่กล่าวถึง โลกสนฺนิวาโส นั้น ใน
ความหมายว่า หมู่สัตว์ที่ถูกไฟแผดเผา จึงตีความได้ว่า ไฟที่เผาสัตว์
โลกอยู่นั้น ได้แก่ ไฟแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เผาสัตว์ทั้งหลายให้
เร่าร้อนไม่ว่าจะเกิดในภพใด กล่าวได้ว่าความทุกข์ที่เกิดจากความแก่
ความเจ็บป่วย และความตายนั้นเริ่มต้นมาจากไฟแห่งการเกิดทั้งสิ้น
ในการเกิดทุกภพ ความเสื่อมที่เกิดจากไฟแห่งความแก่จะปรากฏให้
เห็นได้จากผมทีห่ งอก ตาทีฝ่ า้ ฟาง และหูทตี่ งึ และในทีส่ ดุ เมือ่ ความ
276
พรหมวิหาร
ตายมาถึงก็เป็นเครื่องหมายว่าไฟแห่งความตายได้ท�ำหน้าที่แผดเผา
แล้ว ในทุกภพทุกชาติ ไฟชราและไฟมรณะ เป็นไฟที่เห็นได้ง่าย

ไฟแห่งความทุกข์ที่เหลือ คือ
โสกะ ความกังวล, ปริเทวะ ความคร�่ำครวญ,
ทุกขะ ความทุกข์กาย, โทมนัส ความทุกข์ใจ,
อุปายาสะ ความคับแค้นใจสิ้นหวัง
อันเกิดจากการตายของญาติ การสูญเสียทรัพย์สมบัติ เป็นต้น
ในการเกิดทุกครั้งต้องประสบกับความทุกข์กาย
และความทุกข์ใจนานาชนิด ความวิตกกังวลอย่างหนัก
ด้วยการเผาผลาญของไฟโทมนัส และไฟอุปายาส
ที่ทุกคนจะต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พระพุทธองค์ทรงเห็นสัตว์ประสบกับความทุกข์
จากไฟทั้ง ๑๑ กองเหล่านี้
จึงทรงแผ่มหากรุณาไปในหมู่สัตว์ทั้งหลาย

277
พรหมวิหาร
สัตว์ทั้งปวงถูกไฟ ๑๑ กอง มีไฟราคะเป็นต้นแผดเผาอยู่เป็น
นิตย์ พระพุทธองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาแผ่ไปในสัตว์โลกทั้งหลาย
เหล่านั้น เนื่องจากทรงเห็นแล้วว่าไม่มีผู้ใดสามารถช่วยสัตว์โลกให้
พ้นได้ เพราะความทุกข์จากการถูกไฟ ๑๑ กองที่แผดเผานั้น ยากจะ
ทนทานได้ ทรงทราบชะตากรรมของสัตว์ทั้งปวง และด้วยพระมหา-
กรุณาอันเปี่ยมล้นนี้จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงเทศนาสั่งสอนวิถีทาง
ไปสู่ความพ้นทุกข์ และชี้แนวทางปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง คือ
มัชฌิมาปฏิปทาอันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วยศีล สมาธิ
และปัญญา ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา และในขณะนี้เราก็ก�ำลังศึกษา
พระธรรมค�ำสอนอันประเสริฐนั้น
วิธีแผ่กรุณาโดยพิจารณาความทุกข์จากไฟที่แผดเผาสัตว์โลก
นี้ เป็นการเจริญกุศลและเพิ่มพูนบารมีของตน ผู้ที่มีบารมีแก่กล้า
จะสามารถบรรลุอปั ปนาฌานในขณะแผ่ได้ ถ้าประสงค์จะเจริญกรุณา
เพื่อให้บรรลุกรุณาฌาน ก็ไม่พึงเริ่มจากคนที่รักมากเป็นต้น ไม่พึงแผ่
กรุณาในคนเพศตรงข้าม และผู้ที่ตายแล้ว แต่พึงแผ่กรุณาในคนที่น่า
สงสารและคนที่ก�ำลังได้รับทุกข์ก่อน ด้วยการภาวนาว่า “ขอเขาจงพ้น
จากทุกข์” เมื่อฌานเกิดขึ้นแล้ว จึงค่อยแผ่ต่อไปยังคนที่รัก จากนั้น
จึงแผ่กรุณาไปในคนที่เป็นกลาง และสุดท้ายจึงแผ่ให้คู่เวรกัน ในขณะ
ที่แผ่กรุณาในคนที่เป็นคู่เวร หรือเป็นศัตรูนั้น หากเกิดความรู้สึกโกรธ

278
พรหมวิหาร
ก็ควรข่มความโกรธนั้นด้วยวิธีเดียวกับในวิธีแผ่เมตตา เมื่อความโกรธ
สงบแล้ว จึงค่อยแผ่กรุณาไปสูค่ นทีร่ กั คนทีเ่ ป็นกลาง คนทีเ่ ป็นคูเ่ วรกัน
และตนเอง ตามล�ำดับ ทัง้ นีพ้ งึ แผ่กรุณาให้เสมอกันในคนทัง้ ๔ จ�ำพวก
เพื่อให้ส�ำเร็จเป็นสีมาสัมเภท หลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องท�ำ
ความเพียรต่อไปจนกระทั่งบรรลุกรุณาฌานทั้งสี่ คือ ปฐมกรุณาฌาน
ทุติยกรุณาฌาน ตติยกรุณาฌาน และจตุตถกรุณาฌาน (ตามปัญจก-
นัย)

279
พรหมวิหาร
พุทฺธาปิ พุทฺธกมลามลจารุเนตฺตา
พาตฺตึสลกฺขณวิราชิตรูปโสภา
สพฺพาสวกฺขยกราปิ จ โลกนาถา
สมฺมทฺทิตา มรณมตฺตมหาคเชน.
แม้พระพุทธเจ้าผูม้ พี ระเนตรงามหมดจดดัง่ บัวบาน ทรงมี
พระรูปกายบรรเจิดด้วยพระลักษณะ ๓๒ ทรงก�ำจัดอาสวะทั้งปวง
แล้ว ก็ถูกพญาคชสารตกมันคือมฤตยูย�่ำยีแล้ว

โรคาตุเรสุ กรุณา น ชราตุเรสุ


ขิฑฺฑาปเรสุ สุกุมารกุมารเกสุ
โลกํ สทา หนติ มจฺจุมหาคชินฺโท
ทาวานโล วนมิวาวิรโต อเสสํ.
พญาคชสารคือความตาย ปราศจากความการุณย์ในคนไข้
คนแก่ และเด็กเยาว์วยั ผูเ้ พลิดเพลินในการเล่น มันฆ่าชาวโลกอยู่
เสมอเหมือนไฟป่าเข้าไปเผาป่าทั้งสิ้น

280
พรหมวิหาร
บทที่ ๗
มุทิตาภาวนา
ลำ�ดับต่อไป
จะเป็นการอธิบายความหมายของคำ�ว่า
มุทิตา
และวิธีการเจริญมุทิตาภาวนา
281
พรหมวิหาร
มุทิตาคืออะไร
มุทิตา หมายความว่า ความพลอยยินดี เป็นความยินดีใน
ความสุขความส�ำเร็จและสมบัติของผู้อื่น บางคนเห็นคนอื่นอยู่ดีมีสุข
กว่าตนเองก็รสู้ กึ ริษยา ซึง่ ในภาษาบาลีเรียกว่า อิสสฺ า แต่มทุ ติ ามีลกั ษณะ
ตรงข้ามกับความริษยา ผูท้ มี่ คี วามริษยาจะไม่อยากเห็นคนอืน่ มีความสุข
ความเจริญหรือประสบความส�ำเร็จในชีวิตและการงาน ไม่อยากเห็น
ผู้อื่นมีบริวาร หรือมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม มีการศึกษาดี มีต�ำแหน่ง
หน้าที่การงานดี และได้รับเกียรติยศชื่อเสียง แต่คนที่มีมุทิตานั้นจะ
ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับความส�ำเร็จในหน้าที่การงาน สามารถท�ำจิตใจ
ให้เป็นสุขไปด้วย โดยอาจกล่าวว่า “ขอให้มีความสุขความเจริญ” ดัง
มีข้อความเป็นภาษาบาลีว่า โมทติ วตายํ สตฺโต อโห สาธุ อโห สุฏฺฐุ
(บุคคลนี้เพลิดเพลินยินดีอยู่หนอ ช่างดีจริงหนอ) การน้อมใจไปเช่นนี้
เรียกว่า มุทิตา ซึ่งเป็นธรรมที่แสดงถึงความมีจิตใจสูง และสะอาด
บริสุทธิ์
282
พรหมวิหาร
การเจริญมุทิตาแก่คนอื่นที่สูงส่งกว่าตัวเรา ท�ำได้ง่าย แต่เรา
อาจเจริญมุทิตาแก่คนอื่นที่เสมอกับเรา หรือต�่ำกว่าเราก็ได้ เพียงแต่
อาจท�ำได้ยากกว่า การเจริญมุทิตาแก่คนที่เสมอกับเรา ยังพอท�ำได้
บ้าง แต่การเจริญมุทิตาแก่คนที่ตกต�่ำกว่าเรา ท�ำได้ยาก เพราะเรามัก
เกิดความกรุณาสงสารมากกว่าจะเกิดมุทติ า การเจริญมุทติ านัน้ ก็เหมือน
กับการเจริญเมตตากับกรุณา คือ เจริญทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ทางกายก็เป็นการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ประสบความส�ำเร็จอยู่แล้วให้
ประสบความส�ำเร็จยิ่งขึ้นไป ทางวาจาก็เป็นการแนะน�ำเขาให้ประสบ
ความส�ำเร็จมากขึน้ ทางใจก็เป็นการพลอยยินดีกบั ความส�ำเร็จของผูน้ นั้
ผลชัว่ ของความริษยาผูอ้ นื่ มีมากมาย ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

283
พรหมวิหาร
เรื่องของอัครมเหสี
ก่อนทีพ่ ระพุทธเจ้าจะตรัสรูใ้ นภัทรกัปนี้ มีกษัตริยพ์ ระองค์หนึง่
นามว่า พระเจ้ากลิงคะ ครั้งหนึ่งหลังจากที่พระองค์สนานพระวรกาย
เสร็จแล้ว นางฟ้อนคนหนึ่งใช้มือผิงไฟที่กะทะใส่ถ่านเพลิงแล้วนวดให้
พระองค์ พระองค์ก็ทรงสนทนาแสดงอากัปกิริยาสนิทสนมกับนาง
ท�ำให้พระมเหสีไม่พอพระทัย ครั้นพระเจ้ากลิงคะเสด็จกลับไปไม่นาน
พระมเหสีจึงยกกะทะที่เต็มไปด้วยถ่านเพลิงขึ้นแล้วเทลงบนศีรษะ
ของนางฟ้อนนั้น ด้วยแรงกรรมนั้นท�ำให้พระมเหสีไปเกิดเป็นเปรตที่
นอนบนถ่านเพลิงถูกไฟเผาตลอดเวลา๑๙๐

เรื่องของพระโลสกติสสะ
ในสมัยพุทธกาลมีพระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อว่าโลสกติสสะ ตอน
ท่านถือปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาได้รับทุกข์แสนสาหัส คือ ไฟไหม้
บ้านจนบิดามารดาสิ้นเนื้อประดาตัว พวกเขาได้อดทนเลี้ยงดูท่านจน
กระทั่งเติบใหญ่รู้ความ หลังจากนั้นจึงได้ทิ้งไปเพราะถือว่าเป็นลูกที่
ท�ำให้บิดามารดาได้รับความทุกข์ยาก ท่านโลสกติสสะจึงกลายเป็น
เด็กขอทานทีซ่ บู ผอมข้างถนนเดินขอทานเรือ่ ยไป วันหนึง่ พระสารีบตุ ร
ได้พบเห็นเกิดความสงสาร และหยัง่ รูด้ ว้ ยญาณว่าเด็กคนนีเ้ คยมีบารมี
284
พรหมวิหาร
มาก่อน จึงได้นำ� มาทีว่ ดั แล้วให้บวชเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้อปุ สมบท
เป็นภิกษุนามว่าโลสกติสสะ ภายหลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานและได้
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตัง้ แต่ทที่ า่ นเกิดจนกระทัง่ บรรลุเป็นพระอรหันต์
นั้น ท่านไม่เคยฉันอาหารอิ่มท้องแม้เพียงสักวันเดียว ทั้งนี้เพราะเวลา
ที่ท่านบิณฑบาตอยู่ บางครั้งข้าวในบาตรที่คนใส่บาตรแล้วได้หายไป
ก็มี หรือบางครั้งแม้จะมีข้าวอยู่เพียงเล็กน้อย แต่คนใส่บาตรเห็นเป็น
ข้าวเต็มบาตร จึงไม่ได้ใส่บาตรก็มี อกุศลกรรมนี้เป็นผลของความ
ริษยา
มีประวัติเล่าว่า ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ
โลสกติสสะเถระได้บวชเป็นภิกษุผู้ทรงศีลรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา
วันหนึ่งได้พบพระอาคันตุกะผู้เป็นพระอรหันต์มาจากที่ไกล แต่ท่าน
ไม่ทราบว่าเป็นพระอรหันต์ ได้เกิดความริษยากลัวว่าญาติโยมจะไป
เลื่อมใสพระอาคันตุกะ จึงทิ้งอาหารที่โยมอุปัฏฐากถวายพระอาคันตุกะ
นั้นเสีย พระอาคันตุกะทราบเรื่องนั้นแล้วได้เหาะไปสถานที่อื่น ด้วย
แรงกรรมของความริษยา ท�ำให้ท่านต้องตกนรกหลายแสนปี แล้วไป
เกิดเป็นยักษ์และสุนัขอย่างละห้าร้อยชาติ ไม่เคยกินอิ่มแม้สักวันเดียว
หลังจากนัน้ เมือ่ มาเกิดเป็นคนก็ไม่เคยกินอิม่ ท้องแม้สกั วันเดียวเช่นกัน
ในวันที่ท่านจะปรินิพพาน พระสารีบุตรหยั่งรู้ด้วยปัญญาว่า
ท่านจะปรินิพพานในวันนั้น จึงมอบหมายให้คนส่งอาหารไปให้ เพื่อ
285
พรหมวิหาร
จะได้ฉนั อาหารมือ้ หนึง่ จนอิม่ ท้องก่อนทีจ่ ะปรินพิ พาน แต่ดว้ ยอ�ำนาจ
ของอกุศลที่ได้เคยท�ำมา ท�ำให้คนที่น�ำอาหารนั้นลืมไปในระหว่างทาง
แล้วเทอาหารทิง้ เสีย เมือ่ ล่วงเลยเวลาเทีย่ งแล้ว พระสารีบตุ รนึกขึน้ ได้
จึงส่งคนไปถามว่าท่านได้ฉันอาหารแล้วหรือยัง ท่านตอบว่าวันนี้ยัง
ไม่ได้ฉนั อาหาร พระสารีบตุ รจึงได้นำ� จตุมธุ (หวานสีป่ ระสาน ประกอบ
ด้วยนมส้ม น�้ำผึ้ง เนยใส และน�้ำอ้อย) ซึ่งจัดเป็นยาฉันในเวลาวิกาล
ได้ ไปให้ทา่ นโลสกติสสะฉัน ในขณะนัน้ พระสารีบตุ รได้ใช้มอื จับบาตรไว้
เพราะคิดว่าถ้าไม่ใช้มือจับบาตร จตุมธุในบาตรอาจจะหายไปก่อน
ฉันเสร็จด้วยแรงกรรมที่ท่านโลสกติสสะได้เคยท�ำมา ในตอนนั้นท่าน
โลสกติสสะฉันจตุมธุจนอิ่ม ในชีวิตของท่านได้ฉันอิ่มในวันนั้นเพียง
วันเดียว และท่านได้ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง จะเห็นได้ว่าผลของ
ความริษยาเป็นสิ่งที่ไม่เพียงส่งผลในปัจจุบันชาติเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่
ส่งผลถึงเวลาที่จะปรินิพพานอีกด้วย๑๙๑

286
พรหมวิหาร
เรื่องขนมใส่ยาพิษ
ที่ประเทศพม่ามีเรื่องเล่าว่า ในชนบทแห่งหนึ่งได้มีวัดๆ หนึ่ง
เป็นทีพ่ ำ� นักของพระเณรและชีปะขาว ชีปะขาวคนหนึง่ มักเจริญมุทติ า
อยู่เสมอ บางครั้งก็พูดพึมพ�ำว่า “ริษยาคนอื่น ให้โทษแก่ตน” ใน
ขณะนั้นหญิงคนหนึ่งเข้าออกอยู่ที่วัดนี้ประจ�ำได้ยินชีปะขาวกล่าวอยู่
เนืองๆ เช่นนั้น เข้าใจผิดว่าเขากล่าวพาดพิงถึงตนเอง เพราะนางเป็น
คนทีช่ อบริษยาคนอืน่ นางจึงได้ผกู อาฆาตในชีปะขาวคนนี้ ตัง้ ใจว่าจะ
ฆ่าให้ตาย นางได้รอเวลาจนกระทั่งวันหนึ่งก็ได้พบโอกาสที่เหมาะสม
ชีปะขาวได้ออกบิณฑบาตทีบ่ า้ นของนางในเวลาเช้าตรู่ นางจึงแอบเอา
ยาพิษใส่ไว้ในขนมและถวายชีปะขาว กล่าวว่า ขนมนี้เป็นขนมที่ดิฉัน
ได้ท�ำขึ้นมาเอง ขอให้ท่านรับประทานให้ได้นะเจ้าค่ะ เมื่อชีปะขาว
กลับไปถึงวัดคิดว่า ขนมนี้คงจะอร่อยมาก ถ้าเรารับประทานก็สักแต่
อิม่ ท้องวันหนึง่ เท่านัน้ อย่ากระนัน้ เลยเราจะถวายขนมนีแ้ ด่พระพุทธเจ้า
(ประเทศพม่ามีขนบธรรมเนียมที่ไม่นิยมรับประทานอาหารที่ถวาย
พระพุทธเจ้าแล้ว เพราะถือว่าให้ขาดไม่รับคืน) ชีปะขาวได้น�ำขนมนี้
ไปถวายพระพุทธเจ้า แล้วรับประทานอาหารอืน่ ซึง่ ตนบิณฑบาตได้มา
แต่คงจะเป็นเพราะกรรมของคนที่ถวายขนม และก็เป็นกรรมของเด็ก
ที่จะกินยาพิษด้วย ท�ำให้มีเด็กวัดซึ่งพ�ำนักอยู่ที่วัดนี้และก็เป็นลูกของ
หญิงนางนี้ เห็นขนมนั้นก็อยากกิน จึงได้แอบไปกิน และเมื่อกินขนม
287
พรหมวิหาร
แล้วจึงต้องยาพิษเสียชีวิตลงทันที หญิงที่ใส่ยาพิษรอฟังข่าวอยู่ที่บ้าน
คิดว่าคงจะได้ยินข่าวว่าชีปะขาวเสียชีวิตไปแล้ว แต่นางกลับได้ยินว่า
ลูกของนางได้กินขนมที่นางถวายและถึงแก่ความตาย ท�ำให้นางโศกเศร้า
อย่างยิ่ง ได้ฟูมฟายร้องไห้วิ่งเข้ามาวัดและร�ำพันว่า “กรรมฐานของ
ชีปะขาว ท�ำลายคนเขลาเช่นกับเรา”๑๙๒
ผลดีจากการเจริญมุทติ านัน้ มีได้ทงั้ ในปัจจุบนั ชาติและอนาคต-
ชาติ ดังเรื่องเล่าในคัมภีร์อรรถกถา ดังนี้

เรื่องของชุณหอ�ำมาตย์
ครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายอสทิสทาน คือ ทาน
ที่ถวายอันไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน โดยใช้ทรัพย์ ๑๔ โกฏิ ในขณะนั้น
อ�ำมาตย์คนหนึง่ ชือ่ กาฬะคิดต�ำหนิวา่ พระราชาผลาญทรัพย์ของแผ่นดิน
โดยเปล่าประโยชน์ ภิกษุเหล่านั้นฉันแล้วคงจะจ�ำวัดพักผ่อน แต่มี
อ�ำมาตย์อกี คนหนึง่ ชือ่ ชุณหะคิดชืน่ ชมว่า พระราชาท�ำบุญทีย่ งิ่ ใหญ่ ถ้า
เป็นไปได้เราก็ต้องการจะท�ำบุญเช่นนี้บ้าง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
ทราบความคิดของทัง้ สองคนจากพระพุทธเจ้า จึงตรัสถามว่าจริงหรือ
ไม่ อ�ำมาตย์ทั้งสองคนยอมรับความคิดของตน พระราชาได้เนรเทศ
อ�ำมาตย์กาฬะออกไปจากแว่นแคว้น แล้วรับสั่งให้ยกราชสมบัติให้
288
พรหมวิหาร
อ�ำมาตย์ชุณหะ ๗ วันเพื่อให้ท�ำอสทิสทานดังกล่าวตามที่ต้องการ จะ
เห็นได้ว่า มุทิตาของอ�ำมาตย์ชุณหะส่งผลให้เขาได้ครองราชสมบัติ ๗
วัน และท�ำบุญตามที่ตนปรารถนาได้ในปัจจุบันชาติ๑๙๓

เรื่องของเพื่อนนางวิสาขา
ในสมัยพุทธกาลมีเพื่อนของนางวิสาขาคนหนึ่ง ได้อนุโมทนา
บุญที่นางวิสาขาสร้างวัดปุพพาราม ท�ำให้นางไปเกิดเป็นนางฟ้าใน
สวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์ เพียบพร้อมด้วยรัศมี ยศถาบรรดาศักดิ์ และบริวาร
มากมาย๑๙๔ นอกจากนั้น แม้เปรตที่ได้รับความทุกข์ยากล�ำบากอยู่
เมื่ออนุโมทนาบุญของผู้อื่นด้วยมุทิตา ก็สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์
ที่ก�ำลังได้รับอยู่ บางคนแม้ไม่อาจพ้นไปจากเปรตวิสัย ก็อยู่ดมี ีสุขมาก
ขึ้นกว่าเดิม บางคนที่มีกรรมไม่หนักมากก็อาจพ้นไปจากภพนั้นแล้ว
เสวยสุขในสวรรค์ได้ เรื่องนี้มีอยู่มากมายในวิมานวัตถุและเปตวัตถุ

289
พรหมวิหาร
วิธีเจริญมุทิตาภาวนา
บุคคลควรแผ่มุทิตาให้คนที่เป็นเพื่อนสนิทที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม
อยู่เสมอเป็นล�ำดับแรก หรือเมื่อเห็นคนที่รักมากได้รับความสุข ความ
เจริญ แต่งกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม ก็รู้สึกพลอยยินดีไปกับ
ความสุขของผูน้ นั้ ในคัมภีรว์ ภิ งั ค์ตรัสว่า
กถญฺจ ภิกขฺ ุ มุทติ าสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ.
เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ปิยํ มนาปํ ทิสฺวา มุทิโต อสฺส, เอวเมว
สพฺเพ สตฺเต มุทิตาย ผรติ.๑๙๕
“ภิกษุมจี ติ ประกอบด้วยมุทติ าแผ่ไปตลอดทิศหนึง่ อยู่ เป็นไฉน
คือ ภิกษุแผ่มุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่งผู้
เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น”
ค�ำกล่าวแสดงมุทิตาว่า อโห สาธุ อโห สุฏฺฐุ (ช่างดีจริงหนอ
ช่างดีจริงหนอ) ไม่ตรงกับค�ำกล่าวที่ภิกษุและฆราวาสนิยมใช้แสดง
มุทิตาจิตในปัจจุบันว่า ยถาลทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ (จงอย่าพราก
จากสมบัติที่ได้รับแล้ว) บทภาวนานี้แม้ไม่พบโดยตรงในพระบาลีและ
อรรถกถา ก็สอดคล้องกับค�ำอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

290
พรหมวิหาร
“อุเบกขามีเหตุใกล้คือการเห็นความมีกรรมเป็นสมบัติของ
ตนที่ด�ำเนินไปอย่างนี้ว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน สัตว์โลกนั้นจัก
มีความสุข หรือพ้นจากทุกข์ หรือไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้รับตามความ
ชอบใจของใครเล่า (นอกจากของกรรมเท่านั้น)”๑๙๖
ด้วยเหตุนั้น จึงอาจใช้ค�ำบริกรรมดังกล่าวในการเจริญมุทิตา
ได้เช่นกัน
เมื่อบุคคลได้ยินหรือได้เห็นว่าผู้หนึ่งผู้ใดมีทรัพย์สมบัติหรือได้
รับความสุขก็ตาม พึงเจริญมุทิตาโดยคิดในใจว่า “ขอให้ทรัพย์ของเขา
อย่าได้เสียหาย อย่าได้สูญเสียไป ขอให้เขารักษาทรัพย์และความสุข
ที่มีไว้ได้ตลอดไป” และพึงแผ่มุทิตาไปในคนทั่วไปว่า “ขอให้ทรัพย์
สมบัติที่ได้มาแล้วอย่าได้ลดน้อยหรือเสียหายไป ขอให้เขารักษาทรัพย์
และความสุขสบายในปัจจุบันไว้ตลอดไป” ค�ำว่า ทรัพย์สมบัติและ
ความสุขสบาย ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความร�่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีหรือ
มีความเป็นอยู่ที่หรูหรา แต่หมายถึงฐานะที่ดีพอสมควรเท่านั้น เมื่อ
แผ่มุทิตาด้วยการท�ำใจให้ยินดีอย่างจริงใจในเวลาที่เห็นผู้ที่มีฐานะดี
พอประมาณได้แล้ว ต่อจากนั้นเมื่อได้เห็นคนที่มีฐานะร�่ำรวยมาก ก็จะ
สามารถแผ่มุทิตาด้วยความยินดีมากยิ่งขึ้นไป

291
พรหมวิหาร
ส�ำหรับคนยากจนหรือตกทุกข์ ก็อาจจะหาความสุขเท่าที่
สามารถท�ำได้ แม้พวกสัตว์นรกที่ถูกไฟนรกแผดเผาให้ทุกข์ทรมานอยู่
ตลอดเวลา ก็ยังได้รับความสุขขณะที่พระพุทธองค์และพระอริยสาวก
เสด็จเทศนาโปรดสัตว์ในอบายภูมิ ดังนั้น เราจึงสามารถแผ่มุทิตาไป
ในสัตว์ทั้งปวงได้ วิธีการแผ่มุทิตาก็คล้ายกับการแผ่กรุณา ด้วยการ
ภาวนาดังนี้
- ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่าพรากจากสมบัติที่ได้รับแล้ว จงมี
สมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป
การแผ่มุทิตาข้างต้นนี้สอดคล้องตามค�ำบาลีว่า สพฺเพ สตฺตา
ยถาลทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ นอกจากนี้ยังสามารถแผ่มุทิตาให้
แก่สัตว์จ�ำพวกต่างๆ เช่น สัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง (สพฺเพ ปาณา), สัตว์
ที่มีชีวิตทั้งปวง (สพฺเพ ภูตา) บุคคลทั้งปวง (สพฺเพ ปุคฺคลา), สัตว์ที่มี
ร่างกายทั้งปวง (สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา) นี้คือการแผ่มุทิตาแบบ
อโนธิสมุทิตานี้ เป็นการแผ่มุทิตาไปในสัตว์ทั้งปวงโดยไม่เจาะจง
ส่วนการแผ่มุทิตาแบบเจาะจง เรียกว่า โอธิสมุทิตา มี ๗
จ�ำพวก ได้แก่ สตรีทงั้ ปวง บุรษุ ทัง้ ปวง พระอริยะทัง้ ปวง ปุถชุ นทัง้ ปวง
เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง อบายสัตว์ทั้งปวง โดยกล่าวค�ำภาวนา
เป็นต้นว่า

292
พรหมวิหาร
- ขอสตรีทั้งปวง จงอย่าพรากจากสมบัติที่ได้รับแล้ว จงมี
สมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป
วิธแี ผ่มทุ ติ าแบบโอธิสมุทติ า ๗ ชนิด รวมกับอโนธิสมุทติ า ๕
ชนิดจะได้ทสิ าอโนธิสมุทติ า ๑๒ ชนิด เป็นการแผ่มทุ ติ าทีไ่ ม่ระบุทศิ
และไม่มขี อบเขต เมือ่ แผ่มทุ ติ าไปยังทิศอีก ๑๐ ทิศ ทิศละ ๑๒ ประเภท
ก็จะได้ ทิสาโอธิสมุทิตา ๑๒๐ ประเภท เช่น
- ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่าพรากจากสมบัติที่ได้
รับแล้ว จงมีสมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป ฯลฯ
- ขออบายสัตว์ทงั้ ปวง ในทิศเบือ้ งบน จงอย่าพรากจากสมบัติ
ที่ได้มาแล้ว จงมีสมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป

293
พรหมวิหาร
เมื่อแผ่มุทิตา ๑๒๐ ชนิดที่เป็นทิสาโอธิสมุทิตา อย่างย่อๆ
และรวมทิสาอโนธิสมุทิตา ๑๒ ชนิดที่แสดงแล้วในตอนต้น ก็จะได้วิธี
แผ่มุทิตาทั้งหมด ๑๓๒ ชนิด จึงนับว่าเป็นการแผ่มุทิตาพรหมวิหารที่
ครบถ้วนสมบูรณ์ ในกรณีที่ไม่มีเวลามากพอ ผู้ปฏิบัติก็อาจแผ่มุทิตา
ได้ด้วยการท�ำใจให้พลอยยินดีในทุกครั้งที่พบเห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับ
ความร�่ำรวยหรือทรัพย์สมบัติและความสุขของผู้อื่นโดยอาจเพียงคิด
ในใจ หรือกล่าวค�ำแผ่มุทิตาว่า “ขอให้เขาจงอย่าพรากจากสมบัติที่ได้
รับแล้ว จงมีสมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป” การแผ่มุทิตาเช่นนี้
มีผลท�ำให้ได้รับความสุขทั้งในชาตินี้ และในชาติต่อๆ ไป
คนส่วนใหญ่เมือ่ เห็นใครได้ดกี ว่าหรือร�ำ่ รวยกว่าก็มกั รูส้ กึ ริษยา
ถ้าหักห้ามความริษยาไว้ไม่ได้ ก็อาจคิดกลัน่ แกล้งให้ทรัพย์สนิ ของเขา
เสียหายไป ความริษยาเป็นอกุศลที่ให้ผลเป็นความทุกข์ ผู้ที่ชอบริษยา
คนอื่นมักจะไม่มีเพื่อน และไม่มีคนคอยช่วยเหลือในกิจการงาน เมื่อ
เกิดชาติหน้าจะมีชีวิตที่ล�ำบาก ขาดเพื่อนฝูงและบริวาร เกี่ยวกับเรื่องนี้
จะขอยกข้อความจากอุปริปัณณาสก์ จูฬกัมมวิภังคสูตร มาแสดง
ดังนี้

294
พรหมวิหาร
อิธ มาณว เอกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส วา อิสฺสามนโก โหติ,
ปรลาภสกฺการครุการมานนวนฺทนปูชนาสุ อิสฺสติ อุปทุสฺสติ อิสฺสํ
พนฺธติ. โส เตน กมฺเมน เอวํ สมตฺเตน เอวํ สมาทินฺเนน กายสฺส
เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ. โน เจ กายสฺส
เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ, สเจ มนุสฺสตฺตํ
อาคจฺฉติ ยตฺถ ยตฺถ ปจฺจาชายติ อปฺเปสกฺโข โหติ. อปฺเปสกฺขสํวตฺตนิกา
เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ อิสฺสามนโก โหติ ปรลาภสกฺการครุการ-
มานนวนฺทนปูชนาสุ อิสฺสติ อุปทุสฺสติ อิสฺสํ พนฺธติ.๑๙๗
“มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีกต็ าม เป็นบุรษุ ก็ตาม
เป็นผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความริษยาในลาภสักการะ
ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศ
ตกไป หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข เป็นทีต่ งั้
แห่งทุกข์ เป็นที่พินาศตกไป กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะ
เป็นผู้มีบริวารน้อย

295
พรหมวิหาร
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูก
ความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้
และการบูชาของบุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
บริวารน้อย”
กล่าวโดยสรุป ผูท้ อี่ จิ ฉาในทรัพย์สมบัตแิ ละชือ่ เสียงหรือความ
ส�ำเร็จของผูอ้ นื่ จะต้องไปเกิดในอบายภูมเิ พราะอกุศลกรรมทีม่ ใี จริษยา
นั้น เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้ว หากได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยผลบุญอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง เขาจะเป็นคนไร้ญาติขาดมิตรและไม่มีคนช่วยเหลือ ใน
คัมภีร์อรรถกถากล่าวอุปมาว่า เปรียบเหมือนคนที่ถูกตัดมือ แม้จะ
กระหายน�้ำก็ไม่มีใครให้น�้ำดื่มเพื่อดับความกระหาย๑๙๘
ส่วนคนที่ยินดีกับความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อื่นนั้น จะได้เกิด
ในสุคติภูมิ เช่น เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ด้วยกุศลกรรมจากการเจริญ
มุทิตา ถ้าเขาได้เกิดเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด เขาจะเป็นผู้มี
บริวารมาก มีอ�ำนาจมีชื่อเสียงดีงาม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
มเหสกฺขสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา ยทิทํ อนิสฺสามน
โก โหติ, ปรลาภสกฺการครุการมานนวนฺทนปูชนาสุ น อิสฺสติ น อุป-
ทุสฺสติ น อิสฺสํ พนฺธติ.๑๙๙

296
พรหมวิหาร
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่
ประทุษร้าย ไม่ผูกความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ
นับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอืน่ นีเ้ ป็นปฏิปทาทีเ่ ป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีบริวารมาก”
นอกจากนี้ ในการเจริญมุทิตาภาวนาตามวิธีที่กล่าวมา คัมภีร์
วิสทุ ธิมรรคสอนว่าให้ปฏิบตั จิ นถึงขัน้ สีมาสัมเภท เช่นเดียวกับการเจริญ
กรุณาภาวนา โดยให้ภาวนาจนบรรลุจตุตถฌานตามปัญจกนัยเหมือน
เมตตาและกรุณา

297
พรหมวิหาร
อาปุณฺณตา น สลิเลน ชลาสยสฺส
กฏฺสฺส จาปิ พหุตา น หุตาสนสฺส
ภุตฺวาน โส ติภุวนมฺปิ ตถา อเสสํ
โภ นิทฺทโย น ขลุ ปีติ’มุเปติ มจฺจุ.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชลาศัยย่อมไม่เต็มด้วยน�้ำ ไฟไม่อิ่ม
ด้วยฟืน ฉันใด มัจจุราชผู้ปราศจากความเอ็นดูแม้กลืนกินโลก
สามทั้งสิ้นแล้ว ก็ไม่เข้าถึงความอิ่มใจเลย ฉันนั้น

รูปํ ชรา ปิยตรํ มลินี กโรติ


สพฺพํ พลํ หรติ อตฺตนิ โฆรโรโค
นานูปโภคปริรกฺขิต’มตฺตภาวํ
โภ มจฺจุ สํหรติ กึ ผลมตฺตภาเว.
ความแก่ย่อมท�ำรูปที่น่ารักยิ่งให้เศร้าหมอง โรคร้ายย่อม
ขจัดเรี่ยวแรงทั้งหมดในร่างกาย ความตายย่อมฉุดคร่าอัตภาพที่
บ�ำรุงรักษาด้วยเครื่องใช้สอยนานัปการ ประโยชน์อะไรเล่าจะพึง
มีในร่างกายนี้

298
พรหมวิหาร
บทที่ ๘
อุเบกขาภาวนา
ในบทที่ผ่านมา
ได้กล่าวถึงเรื่องเมตตา กรุณา
และมุทิตาแล้ว
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงเรื่องอุเบกขาภาวนา
299
พรหมวิหาร
อุเบกขาคืออะไร
ค�ำว่า อุเบกขา มีความหมายตามรูปวิเคราะห์ (ค�ำจ�ำกัดความ)
ว่า สภาวะเห็นตามสมควร (อุปปตฺติโต ยุตฺติโต อิกฺขตีติ อุเปกฺขา)๒๐๐
หมายความว่า การก�ำหนดรู้สิ่งต่างๆ ด้วยความวางเฉย มีใจเป็นกลาง
ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในการเจริญอุเบกขาพรหมวิหารนั้น
ศัพท์ว่า อุเบกขา หมายถึง ความรู้สึกที่วางเฉยโดยปราศจากความ
ปรารถนาให้ผอู้ นื่ มีสขุ (เมตตา) ปราศจากความปรารถนาให้ผอู้ นื่ พ้น
ทุกข์ (กรุณา) ปราศจากความปรารถนาให้ผอู้ นื่ ไม่พลัดพรากจากสมบัติ
ที่ได้รับแล้ว (มุทิตา)
ในการเจริญเมตตานั้น ใช้ค�ำภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา
โหนฺตุ (ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน) เป็นต้น เพื่อให้สัตว์เหล่านั้น
เป็นสุข และในการเจริญกรุณานั้น ใช้ค�ำภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา
ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ (ขอสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์) เพื่อให้สัตว์ทั้งหลาย
พ้นจากทุกข์ทไี่ ด้รบั อยู่ ส่วนการเจริญมุทติ านัน้ ใช้คำ� ภาวนาว่า สพฺเพ
สตฺตา ยถาลทฺธสมฺปตฺตโิ ต มา วิคจฺฉนฺตุ (ขอสัตว์ทงั้ ปวง จงอย่าพราก
จากสมบัติที่ได้รับแล้ว)

300
พรหมวิหาร
ส�ำหรับการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร ต้องละอารมณ์กรรม-
ฐานที่เกี่ยวกับความหวังดีห่วงใยในความสุขของสัตว์โลกให้หมด แล้ว
ท�ำจิตให้วางเฉย ภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา (สัตว์ทั้งปวงมี
กรรมเป็นของตน) หมายความว่า กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตามที่สัตว์ได้
กระท�ำในอดีตภพและในปัจจุบันภพ ย่อมส่งผลให้ได้รับสุขหรือทุกข์
ฉะนั้น การที่สัตว์จะสุขหรือทุกข์ ก็เป็นผลจากกรรมที่ตนเองได้กระท�ำ
ไว้นั้น เป็นไปตามกฎของกรรม สมจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
“บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนท�ำดีย่อมได้ดี
คนท�ำชั่วย่อมได้ชั่ว”๒๐๑

การวางเฉยต่อความสุขความทุกข์ของคนอื่น
สมควรหรือไม่
ผู้ปฏิบัติที่ต้องการเจริญอุเบกขาภาวนา ต้องฝึกตนให้วางเฉย
ต่อความสุขและความทุกข์ของผู้อื่น วางใจโดยพิจารณาได้ว่าจะสุข
หรือทุกข์เป็นผลเนื่องจากกรรมที่ได้เคยกระท�ำไว้เอง ถ้าเป็นดังนี้จะ
ดูเหมือนว่า อุเบกขา เป็นธรรมที่ไม่ดี เพราะผู้เจริญอุเบกขาภาวนา
ไม่สนใจจะช่วยเหลือสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น
ตรงกันข้ามอุเบกขาไม่ใช่ธรรมทีไ่ ม่ดี ในเวลาพบสัตว์ทตี่ กทุกข์ ก่อนอืน่
301
พรหมวิหาร
เราควรช่วยเหลือสัตว์ที่ตกทุกข์เท่าที่จะช่วยได้ ด้วยการเจริญเมตตา
และกรุณา ต่อเมื่อได้พยายามช่วยจนสุดความสามารถแล้วไม่ได้ผล
จึงวางใจเป็นกลาง วางเฉยด้วยการเจริญอุเบกขาภาวนา เพราะใน
สถานการณ์เช่นนี้ การวางเฉยเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะพึงกระท�ำ
ประการต่อมาคือ ในการเจริญฌานนั้น ไม่สามารถบรรลุ
จตุตถฌาน (ตามจตุกกนัย) ได้ด้วยเมตตา กรุณา หรือมุทิตาภาวนา
แต่ตอ้ งเจริญอุเบกขาภาวนาจึงจะบรรลุจตุตถฌานได้๒๐๒ ดังนัน้ ผูป้ ฏิบตั ิ
ที่บรรลุตติยฌานด้วยการเจริญเมตตา กรุณา หรือมุทิตาภาวนาแล้ว
และปรารถนาจะบรรลุจตุตถฌาน จ�ำเป็นต้องเจริญอุเบกขาภาวนา
ต่อไป
การท�ำใจเป็นกลางด้วยอุเบกขาถือว่าเป็นธรรมะที่ส�ำคัญ
ส�ำหรับผูพ้ พิ ากษาทีท่ ำ� หน้าทีต่ ดั สินคดี เขาต้องวางใจเป็นกลางโดยไม่มี
เมตตา กรุณา หรือมุทิตา ที่ต้องการจะให้คนอื่นเป็นสุข พ้นทุกข์ หรือ
ได้รับทรัพย์สมบัติเหมือนเดิม เพราะถ้าเขาวางใจด้วยเมตตาเป็นต้นก็
จะท�ำให้ลุแก่อ�ำนาจของความล�ำเอียงด้วยความพอใจ (ฉันทาคติ) หรือ
ความล�ำเอียงด้วยความหลง (โมหาคติ) ส่งผลให้การตัดสินคดีไม่เป็น
ธรรมแก่ทุกฝ่าย

302
พรหมวิหาร
บางคนเข้าใจว่าอุเบกขาเป็นความไม่สนใจใยดีในบุคคลอื่น
เหมือนความเห็นแก่ตัวที่ต้องการจะอยู่ดีมีสุขคนเดียว ที่จริงแล้ว
อุเบกขา ไม่ใช่ธรรมที่เราควรเจริญในทุกสถานการณ์ แต่ควรเจริญใน
สถานการณ์ที่เราช่วยเหลือไม่ได้เท่านั้น เช่น กรณีคนถูกกล่าวหาว่า
กระท�ำอาชญากรรม ในขั้นต้นเราควรเจริญเมตตาและกรุณาด้วยการ
ช่วยให้ผู้นั้นพ้นจากข้อกล่าวหา แต่ถ้าศาลไต่สวนคดีแล้ว เห็นว่ามี
ความผิดจริงและตัดสินให้ลงโทษจ�ำคุกหรือประหารชีวติ เมือ่ เป็นเช่นนี้
ไม่ควรเป็นห่วงกังวลกับผู้นั้นจนเกินไป เพราะการกังวลกับสิ่งที่เกิน
ความสามารถจะช่วยเหลือย่อมท�ำให้เราต้องเป็นทุกข์ใจและทุกข์กาย
โดยเปล่าประโยชน์ จึงจ�ำเป็นต้องท�ำใจวางเฉย เพื่อไม่ต้องเป็นทุกข์
กับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
นอกจากนี้ แม้บางคนอาจไม่ได้ท�ำความผิดไว้จริง เพียงแต่ถูก
กล่าวร้ายให้ต้องโทษ ถ้าเราไม่รู้จักวางเฉย ก็อาจโกรธคนที่กล่าวร้าย
ท�ำให้เกิดโทสะที่คิดท�ำร้ายคนอื่น และอาจได้รับความทุกข์ใจอันเป็น
ผลของโทสะนั้น ในกรณีเช่นนี้ เราควรท�ำใจวางเฉยโดยคิดว่าสิ่งที่เกิด
ขึ้นนั้นเป็นผลของกรรมที่ผู้นั้นได้ท�ำไว้ แม้เขาอาจไม่ได้ท�ำกรรมชั่วใน
ชาตินี้ ก็อาจเคยท�ำไว้ในชาติก่อน เขาจึงต้องได้รับผลของกรรมที่ท�ำ
ไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

303
พรหมวิหาร
เรื่องของนายมหากาล
ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อมหากาลได้บรรลุธรรม
เป็นพระโสดาบัน เขามารักษาศีลและฟังธรรมที่วัดพระเชตวันในเมือง
สาวัตถีอยู่เสมอ โดยค้างคืนที่วัดพระเชตวันในวันอุโบสถคืนหนึ่ง ถึง
เวลาเช้าจึงล้างหน้าและกลับบ้านของตน ในวันอุโบสถวันหนึ่ง นาย
มหากาลมาที่วัดพระเชตวันดังเช่นปกติ เขาสมาทานศีลอุโบสถและฟัง
พระธรรมเทศนาแล้วค้างคืนทีว่ ดั พระเชตวัน ในเวลาเช้าได้เดินออก
มาจากวัดไปล้างหน้าที่สระน�้ำข้างวัดพระเชตวัน บังเอิญขณะนั้นได้
มีพวกขโมยไปลักทรัพย์ของชาวบ้านแล้ววิ่งผ่านทางนั้น พวกชาวบ้าน
พากันวิ่งตามมา พวกขโมยเห็นว่าคงจะวิ่งหนีไปไม่รอดถ้ายังมีของ
ติดตัวอยู่ จึงทิ้งทรัพย์ที่ตนขโมยมาข้างสระน�้ำที่นายมหากาลก�ำลัง
ล้างหน้าอยู่ พวกชาวบ้านวิ่งมาถึงได้เห็นทรัพย์ของตนกองอยู่ข้างสระน�้ำ
และพบนายมหากาลก�ำลังล้างหน้าอยู่ ได้เข้าใจผิดว่านายมหากาลเป็น
ขโมย จึงพากันจับเขาทุบตีจนเสียชีวิต (ในประเทศอินเดียสมัยก่อนมี
กฎหมายว่า ถ้าเจ้าของทรัพย์จับขโมยได้พร้อมของกลาง อาจทุบตีจน
ขโมยเสียชีวิตได้ ไม่ผิดกฎหมาย)
ภิกษุทพี่ ำ� นักอยูใ่ นวัดพระเชตวันกล่าวกันว่า นายมหากาลเป็น
อุบาสกที่เลื่อมใสในพระศาสนา มาถือศีลอุโบสถฟังพระธรรมเทศนา
ทุกวันอุโบสถเป็นเวลานาน จัดว่าเป็นบุคคลที่มีความประพฤติดี ท�ำไม
304
พรหมวิหาร
เขาจึงได้รับกรรมคือถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย และถูกทุบตีจนเสียชีวิต
โดยที่ตนไม่มีโทษ และภิกษุบางรูปได้ทูลถามเรื่องนี้กับพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ตรัสว่า พวกเธออย่าดูกรรมในปัจจุบนั ของเขาอย่างเดียว
จะต้องดูกรรมในอดีตอีกด้วย แม้ในชาตินเี้ ขาจะได้รบั กรรมทีไ่ ม่สมควร
แต่ผลของกรรมเก่าถือว่าเป็นสิ่งที่เขาควรได้รับ เรื่องในอดีตมีว่า ใน
ชาติก่อนเขาท�ำหน้าที่เป็นคนรักษาป่าโดยคุ้มครองคนเดินทางให้
ปลอดภัย วันหนึ่งพบเห็นสองสามีภรรยานั่งเกวียนเดินทางมา แต่
นายมหากาลเกิดความเสน่หาในภรรยารูปงามของบุรุษนั้น จึงออก
อุบายว่าวันนี้ค�่ำแล้ว ถ้าเดินทางไปก็อาจได้รับอันตรายได้ ควรจะพัก
เสียที่บ้านของเขาสักคืนก่อน วันพรุ่งนี้ค่อยออกเดินทาง สามีภรรยา
ทั้งคู่จึงไปพักที่บ้านของเขา คืนนั้นเขาให้ลูกน้องเอาแก้วมณีไปวางที่
เกวียนของคนเดินทาง พอถึงเช้าก็แกล้งพูดว่าแก้วมณีหายไป แล้วสั่ง
ให้ลกู น้องค้นเกวียน ได้พบแก้วมณีทซี่ อ่ นไว้ในเกวียนนัน้ จึงกล่าวหา
สามีเจ้าของเกวียนว่าเป็นคนขโมยแก้วมณี แล้วสั่งให้จับกุมทุบตีจน
กระทัง่ เสียชีวติ ด้วยผลของกรรมชัว่ นีท้ ำ� ให้นายมหากาลต้องตกอเวจี-
มหานรกเป็นเวลานาน และหลังจากเกิดเป็นมนุษย์ ก็ถูกกล่าวหาว่า
เป็นขโมยแล้วถูกทุบตีเสียชีวิตถึงร้อยชาติ๒๐๓

305
พรหมวิหาร
วิธีแผ่อุเบกขา ๑๓๒ อย่าง
ผูป้ ฏิบตั ทิ ปี่ ระสงค์จะเจริญอุเบกขาภาวนา จะต้องเจริญเมตตา-
ภาวนา กรุณาภาวนา หรือมุทิตาภาวนาจนบรรลุจตุตถฌาน (ตาม
ปัญจกนัย) จนคล่องแคล่วก่อน๒๐๔ เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พึง
พิจารณาโทษของฌานเหล่านั้น เป็นต้นว่า ฌานเหล่านี้เป็นความรู้สึก
ที่ใกล้กับความรักใคร่ผูกพันกับคนอื่น เพราะปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
จึงเป็นความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องกับความรักและความชัง และเนื่องจาก
องค์ฌานประกอบด้วยโสมนัส จึงจัดเป็นความรู้สึกที่ยังหยาบอยู่ ไม่
ประณีต ส่วนลักษณะของอุเบกขานั้นเป็นความรู้สึกที่ประณีตสุขุม จึง
ควรเจริญอุเบกขาในคนที่เป็นกลาง ไม่ใช่คนที่รักหรือศัตรูก่อนเป็น
เบือ้ งแรก วิธเี จริญอุเบกขานัน้ ใช้คำ� ภาวนาว่า สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา
(สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นของตน) หมายความว่า บุคคลมีกรรมเป็น
ของตน ท�ำกรรมใดไว้ยอ่ มได้รบั ผลของกรรมนัน้ หลังจากบรรลุปญ ั จม-
ฌานด้วยการภาวนาอย่างนี้แล้ว พึงเจริญอุเบกขาในผู้เป็นที่รักและ
ผู้ที่เป็นศัตรูต่อไป ขณะเจริญอุเบกขาไปยังในคนที่เป็นศัตรู หากรู้สึก
โกรธขึ้นมาในใจ พึงบรรเทาความโกรธด้วยวิธีเดียวกับเวลาที่เจริญ
เมตตา หลังจากความโกรธได้สงบลงแล้ว จึงเจริญอุเบกขา และพึง
เจริญอุเบกขาในคน ๔ จ�ำพวก คือ คนที่รัก คนที่เป็นกลาง คนที่เป็น
ศัตรู และตนเอง ให้สม�่ำเสมอกันจนถึงขั้นสีมาสัมเภท แล้วพากเพียร
306
พรหมวิหาร
ปฏิบัติต่อไปอีก จตุตถฌานอันมีอุเบกขาพรหมวิหารเป็นนิมิตย่อม
บังเกิดขึ้น ดังข้อความแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๒๐๕
ผู้ที่ต้องการจะเจริญอุเบกขาพึงกล่าวค�ำภาวนาว่า
- สัตว์ทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- สัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- สัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- บุคคลทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- สัตว์โลกที่มีร่างกายทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
ค�ำภาวนาทั้ง ๕ ประโยคที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ เป็นการแผ่ อโน-
ธิสอุเบกขา เป็นการแผ่อุเบกขาโดยไม่จ�ำกัดขอบเขต นอกจากนี้ยัง
มีการแผ่ โอธิสอุเบกขา ๗ ชนิด คือ
- สตรีทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- บุรุษทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- พระอริยะทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- ปุถุชนทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- เทวดาทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- มนุษย์ทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน
- อบายสัตว์ทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน

307
พรหมวิหาร
ค�ำแผ่อุเบกขา ๗ ประโยคข้างต้น เป็นการแผ่โอธิสอุเบกขา
ซึ่งเมื่อรวมกับอโนธิสอุเบกขา ๕ ชนิด จะได้ ทิสาอโนธิสอุเบกขา
๑๒ ชนิด ซึ่งเป็นการแผ่อุเบกขาโดยไม่ระบุทิศทางหรือเขตแดน ถ้า
มีการแผ่อุเบกขาโดยระบุทิศ ก็จะได้ทิศละ ๑๒ ชนิด เมื่อคูณกับ
ทิศทัง้ ๑๐ ก็จะได้ทสิ าโอธิสอุเบกขา ๑๒๐ ชนิดซึง่ สามารถกล่าว
อย่างย่อ เป็นต้นว่า
- สัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา มีกรรมเป็นของตน ฯลฯ
- อบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา มีกรรมเป็นของตน
จากนั้นจึงกล่าวแผ่ไปยังทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศ
อาคเนย์ ทิศพายัพ ทิศอีสาน ทิศหรดี ทิศเบื้องล่าง และทิศเบื้องบน
จนครบ
เมื่อได้แผ่ทิสาโอธิสอุเบกขา ๑๒๐ ชนิดโดยย่อแล้ว รวมเข้า
กับทิสาอโนธิส ๑๒ ชนิด จะได้อุเบกขาทั้งหมด ๑๓๒ ชนิด เป็นวิธี
การแผ่อุเบกขาอย่างสมบูรณ์

308
พรหมวิหาร
เหตุใกล้ของอุเบกขา
คัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายถึงเหตุใกล้ของอุเบกขาไว้ดังนี้ คือ
กมฺมสฺสกา สตฺตา, เต กสฺส รุจิยา สุขิตา วา ภวิสฺสนฺติ,
ทุกฺขโต วา มุจฺจิสฺสนฺติ, ปตฺตสมปตฺติโต วา น ปริหายิสฺสนฺตีติ เอวํ
ปวตฺตกมฺมสฺสกตาทสฺสนปทฏฺานา.๒๐๖
“อุเบกขามีเหตุใกล้คือการเห็นความมีกรรมเป็นสมบัติของตน
ที่ด�ำเนินไปอย่างนี้ว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน สัตว์โลกนั้นจักมี
ความสุข หรือพ้นจากทุกข์ หรือไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้รับตามความ
ชอบใจของใครเล่า (นอกจากของกรรมเท่านั้น)”
ในการแผ่เมตตาด้วยค�ำภาวนาว่า จงเป็นสุขเถิด นัน้ ผูน้ นั้ ไม่ได้
มีความสุขขึน้ มาจริงๆ ตามความปรารถนาของผูแ้ ผ่เมตตา หมายความ
ว่า โชคชะตาของคนย่อมเป็นไปตามกรรมที่เขาได้สั่งสมไว้ซึ่งเป็นสิ่งที่
หลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจะหลีกหนีความทุกข์ของเขาได้อย่างไรคือ เป็นไป
ไม่ได้ที่จะผลักไสหรือลบล้างความทุกข์ให้หมดไปด้วยความปรารถนา
ของผู้ที่แผ่กรุณาเท่านั้น เนื่องด้วยสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้
ท�ำไว้ และเขาจะไม่พลัดพรากจากไปได้อย่างไร คือ เป็นไปไม่ได้ที่
สมบัติ ที่ได้รับแล้วจะไม่พลัดพรากจากไป เพราะทุกคนมีกรรมเป็น
ของตน และจะต้องเป็นไปตามกรรมที่ท�ำไว้

309
พรหมวิหาร
ข้อความนีห้ มายความว่า ปัญญาทีเ่ ข้าใจว่า คนเรามีกรรมเป็น
ของตน เป็นเหตุใกล้ของอุเบกขาภาวนา ในเรือ่ งนี้ มีขอ้ ควรพิจารณา
คือ ในการเจริญเมตตา กรุณา และมุทติ านัน้ ผูท้ แี่ ผ่เมตตาจะปรารถนา
ให้ผู้รับการแผ่เมตตาเป็นสุข ให้ผู้รับการแผ่กรุณาพ้นจากทุกข์ และ
ให้ผู้รับการแผ่มุทิตาไม่พลัดพรากจากสมบัติที่ตนได้แล้ว แต่ค�ำว่า
กมฺมสฺสกา ที่ใช้ในการเจริญอุเบกขาภาวนา กล่าวว่า สิ่งต่างๆ ไม่ได้
เป็นไปตามความปรารถนาของผู้ที่แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา แต่
เป็นไปตามกรรมของแต่ละคน ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็อาจมีค�ำถามขึ้นมาว่า
การเจริญเมตตา กรุณา และมุทิตา จะมีประโยชน์อะไร
ข้อนีอ้ ธิบายได้วา่ ถ้าไม่มอี กุศลกรรมใดเป็นกรรมหนัก ประโยชน์
ที่จะได้รับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพลังของเมตตาที่แผ่ออกไป แต่ก็จะ
ไม่ได้รับเต็มตามความปรารถนาของผู้แผ่ ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่
ปรารถนาให้ลกู ของตนมีความสุข ย่อมเลีย้ งดูให้ลกู ได้รบั ทุกสิง่ ทีจ่ ำ� เป็น
และสั่งสอนลูกให้รู้จักผิดชอบชั่วดี มีศีลธรรม แต่ถึงแม้พ่อแม่จะได้
พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกมีความสุขสบายและปลอดภัยแล้วก็ตาม
ลูกบางคนก็ยงั ท�ำสิง่ ทีไ่ ม่ถกู ต้อง หรือไม่ทำ� ตามทีพ่ อ่ แม่ตอ้ งการ เพราะ
ลูกๆ มีกรรมเป็นของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ได้หมายความ
ว่า พ่อแม่ไม่ควรเลี้ยงดูและอบรมลูกตามวิธีที่ตนคิดว่าถูกต้องและ
เหมาะสม เพราะเป็นหน้าทีข่ องพ่อแม่ทจี่ ะต้องเลีย้ งดูอบรมลูกในขณะ

310
พรหมวิหาร
ที่ลูกยังเป็นเด็กอยู่ และโดยทั่วไปแล้ว การเจริญเมตตามีผลดีมากกว่า
ผลเสีย
ในการแผ่เมตตาให้แก่คนอื่น แม้ว่าผลดีที่ได้รับโดยมากจะไม่
ดีเท่ากับที่ลูกได้รับจากพ่อแม่ก็ตาม การเจริญเมตตาภาวนาก็ยังเป็น
สิ่งสมควรกระท�ำถึงแม้ว่าผู้ที่ได้รับการแผ่เมตตาจะได้รับประโยชน์ไม่
เท่ากับที่ผู้แผ่คาดหวังไว้
ส�ำหรับการเจริญอุเบกขาภาวนานั้น อุเบกขาจะเกิดขึ้นต่อ
เมื่อมีความรู้สึกว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน ทุกคนจะต้องได้รับผล
ของกรรมที่ได้ท�ำไว้ ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกัมมัสสกตา-
ญาณ ซึ่งเป็นเหตุใกล้ให้เกิดอุเบกขา ด้วยการค�ำนึงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาของผู้ปฏิบัติ แต่เป็นไปตามกรรมที่
แต่ละคนได้ทำ� ไว้ ดังสาธกในจูฬกัมมวิภงั คสูตร อุปริปณ ั ณาสก์๒๐๗ ดัง
ต่อไปนี้

311
พรหมวิหาร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
ในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อสุภะ อยู่ในกรุงสาวัตถี
(ค�ำว่า สุภ ในภาษาบาลีแปลว่า งาม, หล่อ สุภมาณพจึงแปลว่า นาย
หล่อ) เขาเป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้า
ปเสนทิโกศล โตเทยยพราหมณ์เป็นเศรษฐี มีทรัพย์ถึง ๘๗ โกฏิ แต่
มีความตระหนีม่ าก เขาคิดว่า การให้ทานเป็นการสิน้ เปลืองทรัพย์ ท�ำ
ให้ทรัพย์ของเขาหมดไป จึงไม่ท�ำบุญให้ทานเลยตลอดชีวิต เขาได้
กล่าวสั่งสอนบุตรและสหายว่า
อญฺชนานํ ขยํ ทิสฺวา วมฺมิกานญฺจ สญฺจยํ
มธูนญฺจ สมาหารํ ปณฺฑิโต ฆรมาวเส.๒๐๘
“บุคคลผู้ฉลาด เห็นความสิ้นไปแห่งยาแต้มตา ความก่อขึ้น
แห่งจอมปลวก และการสะสมของตัวผึ้ง พึงอยู่ครองเรือน”
ยาแต้มตาที่เรียกว่า อญฺชน เป็นของนิยมใช้กันทั่วไปใน
ประเทศอินเดีย ยานี้ไม่ใช่ยาหยอดตา เป็นสีที่ใช้ทาขอบตาและขนตา
ให้สวยงาม๒๐๙ หินที่ใช้ท�ำสีทาตานี้ ถ้าน�ำมาฝนบ่อยครั้งจะค่อยๆ
หมดไปจนในที่สุดไม่มีเหลือ การบริจาคทรัพย์ท�ำบุญท�ำทานก็เช่น
เดียวกัน แม้บริจาคครั้งละน้อย นานเข้าก็จะร่อยหรอไปจนไม่มีอะไร
เหลือ จึงไม่พึงท�ำบุญให้ทาน ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด

312
พรหมวิหาร
ส่วนจอมปลวกที่ใหญ่โตขึ้นได้นั้นก็เพราะตัวปลวกได้น�ำผงฝุ่น
มาสะสมไว้ทีละเล็กละน้อย แม้ปลวกจะเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ แต่มีความ
พยายามสะสมผงฝุ่นจนเป็นจอมปลวกที่ใหญ่โต ในการบริหารทรัพย์
สมบัตกิ เ็ ช่นกัน ควรหมัน่ สะสมทรัพย์เอาไว้ทลี ะเล็กละน้อย นานเข้า
จะเป็นทรัพย์มหาศาล ดังนั้น จึงควรเก็บเงินที่ได้มาโดยไม่ใช้จ่ายเลย
ส�ำหรับน�้ำผึ้งก็เช่นกัน ตัวผึ้งต้องสะสมน�้ำหวานจากดอกไม้
ทีละเล็กละน้อยด้วยความระมัดระวังจนกระทั่งเป็นน�้ำผึ้งจ�ำนวนมาก
จึงควรเอาเยี่ยงอย่างผึ้ง แม้ว่าจะเป็นเงินจ�ำนวนน้อย เพียง ๑ สลึง
ถ้าเก็บไว้มากๆ เข้าก็จะท�ำให้ร�่ำรวยได้
สรุปความว่า หัวหน้าครอบครัวพึงหลีกเว้นจากการบริจาคเงิน
แม้จำ� นวนเล็กน้อยเนือ่ งจากท�ำให้สนิ้ เปลืองโดยไม่มปี ระโยชน์ พึงเก็บ
ออมทรัพย์ไว้อย่างระมัดระวัง
ในสมัยนั้น พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถีพร้อม
ด้วยภิกษุจำ� นวนมาก ชาวเมืองทีม่ คี วามเลือ่ มใสในพระพุทธศาสนา รับ
ไตรสรณคมน์ และสมาทานรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ อย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการถวายทานแด่พระสงฆ์ที่
พระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข พวกเขาฟังธรรมทีพ่ ระพุทธองค์ทรงเทศนา
สั่งสอนด้วยความเคารพ และเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ บางคนบรรลุ
เป็นพระโสดาบัน บางคนบรรลุเป็นพระสกทาคามี และบางคนก็บรรลุ
313
พรหมวิหาร
เป็นพระอนาคามี บางคนบวชเป็นพระภิกษุแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุ
อรหัตตมรรคอรหัตตผล สมัยนัน้ เป็นสมัยทีผ่ คู้ นมีโอกาสได้ฟงั พระธรรม
ค�ำสอนจากพระโอษฐ์โดยตรง ท�ำให้สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงได้ ซึ่ง
โอกาสเช่นนี้หาได้ยากยิ่งในโลก
โตเทยยพราหมณ์ไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า เขามีความ
ยึดมั่นตามความเชื่อและค�ำสอนของศาสนาพราหมณ์ จึงไม่เลื่อมใส
ในพระสัพพัญญุตญาณ ไม่ประสงค์จะสดับค�ำสอนของพระพุทธองค์
และไม่เคยถวายบิณฑบาตแม้ข้าวยาคูเพียงกระบวยหนึ่งแด่พระผู้มี-
พระภาค นอกจากนี้ เขาได้เรียกพระองค์ด้วยค�ำว่า โภ โภ ซึ่งเป็น
ค�ำเรียกผู้ที่เสมอกันหรือต�่ำกว่า (แปลว่า ท่าน เช่น โภ โคตม = ท่าน
โคตมะ) ด้วยเหตุที่เขามีความโลภในทรัพย์สมบัติ และใช้ค�ำเรียก
พระพุทธองค์โดยไม่เคารพ เมื่อตายลงโตเทยยพราหมณ์จึงได้ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์สุนัขที่อยู่ในบ้านของตนนั้น
เมือ่ ลูกสุนขั โตมีอายุประมาณเดือนครึง่ หรือ๒เดือนสุภมาณพรัก
สุนัขนั้นมาก ให้กินอาหารอย่างดีที่ตนบริโภค และให้นอนบนที่ นอนที่
สบาย ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะเขารู้ว่าสุนัขเป็นบิดากลับชาติมาเกิด แต่เป็น
เพราะคนทีเ่ คยอยูร่ ว่ มกันจะมีความรักใคร่กนั ดังทีต่ รัสไว้ในพระพุทธ-
นิพนธ์คาถา ดังต่อไปนี้

314
พรหมวิหาร
“ความรักนั้นย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการอย่างนี้ คือ ด้วย
ความอยู่ร่วมกันในกาลก่อน และด้วยการเกื้อกูลกันในกาลปัจจุบัน
เหมือนดอกอุบล (อาศัยเปือกตมและน�้ำ) เกิดในน�้ำ”๒๑๐
ดอกบัวงอกงามแข็งแรงในที่มีน�้ำ ฉันใด ความรักย่อมเกิดขึ้น
เพราะเคยได้อยู่ร่วมกันในภพก่อน ฉันนั้น ถ้าเคยอยู่ด้วยกันมานาน
ความรักทีเ่ กิดขึน้ จะลึกซึง้ มาก ส่วนการทีไ่ ด้เคยอุปการะกันมาก่อน เช่น
เคยท�ำบุญท�ำกุศลร่วมกันมา ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด แม้ในชาติปัจจุบันนี้
ถ้าได้เคยอุปการะกันมาก็จะท�ำให้เกิดความรักขึน้ ได้เหมือนกัน ส�ำหรับ
กรณีของโตเทยยพราหมณ์ที่เกิดเป็นสุนัขนั้น เนื่องจากเคยอยู่ร่วมกัน
เป็นพ่อลูกมาก่อน จึงไม่น่าแปลกใจที่สุภมาณพมีความรักใคร่ผูกพันใน
สุนัขเป็นพิเศษ
วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วย
พระสัพพัญญุตญาณและพระมหากรุณาสมาบัติญาณ ทรงพิจารณา
เวไนยบุ ค คลที่ พ ร้ อ มฟั ง พระธรรมเทศนาแล้ ว น้ อ มใจให้ ตั้ ง อยู ่ ใ น
ไตรสรณะ ทรงเห็นสุภมาณพในข่ายพระญาณ จึงเสด็จไปสู่เรือนของ
อดีตโตเทยยพราหมณ์เพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จเข้าในบริเวณบ้าน
โตเทยยพราหมณ์ที่เกิดเป็นสุนัขได้วิ่งเข้ามาเห่าหอน พระองค์จึงตรัส
กับสุนัขว่า “แน่ะ โตเทยยะ เจ้ามาเกิดเป็นสุนัข เพราะเคยกล่าวกับ
เราว่า โภ โภ บัดนี้ เจ้ามาเห่าหอนเราแล้ว จะไปเกิดในอเวจีมหานรก”
315
พรหมวิหาร
สุนัขได้ฟังพระด�ำรัสดังนี้แล้ว ทราบว่า พระสมณโคดมทรงทราบว่า
เรามาเกิดเป็นสุนัข เกิดความเศร้าเสียใจ เดินไปหลังบ้านแล้วนอนใน
ขี้เถ้าที่พื้นเตาไฟ คนในบ้านพยายามยกขึ้นให้นอนบนที่นอนสบาย
อย่างที่เคย แต่ก็ไม่สามารถจะยกขึ้นได้
เมือ่ สุภมาณพเสร็จธุระกลับมาถึงบ้าน ถามคนในบ้านว่า “ใคร
ยกสุนขั ลงมาจากทีน่ อนเล่า คนเหล่านัน้ จึงเล่าเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ สุภมาณพ
ทราบเรือ่ งแล้วโกรธขึน้ ทันทีคดิ ในใจว่า “โตเทยยะเป็นบิดาของเรา ถ้า
พระสมณโคดมตรัสเรียกสุนัขว่า โตเทยยะ ก็เท่ากับตรัสว่าบิดาของเรา
ไปเกิดเป็นสุนัข ที่จริงแล้วบิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก พระสมณ-
โคดมนั้นพูดพล่อยๆ แล้วจึงรีบไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลต่อว่า
ความเชื่อมั่นว่าพราหมณ์บิดาตายไปเกิดในพรหมโลกนั้น เป็น
ความเชือ่ ถือในศาสนาพราหมณ์ทมี่ วี า่ การประพฤติปฏิบตั ติ ามค�ำสอน
ในศาสนาจะท�ำให้ได้ไปเกิดในพรหมโลกหลังจากสิ้นชีพลง มีเรื่อง
เล่าว่า ครั้งหนึ่ง เสนาบดีผู้หนึ่งชื่อมหาทัตตะ มีความเชื่ออย่างมั่นคง
ในลัทธิพราหมณ์ ได้ประกอบพิธีฆ่าสัตว์บูชายัญสังเวยเทพเจ้า โดย
ได้ใช้จ่ายเงินในการจัดพิธีนี้เป็นจ�ำนวนมหาศาล ต่อมามหาทัตตะได้

316
พรหมวิหาร
เห็นนิมิตของนรกในคืนก่อนจะสิ้นชีวิต เมื่ออาจารย์พราหมณ์ถามเขา
ว่าเห็นนิมิตอะไร เขาตอบว่า เห็นแสงตะเกียงสีแดงที่สว่างเจิดจ้า
อาจารย์พราหมณ์บอกเขาว่า นั่นเป็นนิมิตของพรหมโลก มหาทัตตะ
ถามว่า พรหมโลกอยู่ที่ไหน อยู่ในทิศเบื้องล่างหรือเบื้องบน เมื่ออาจารย์
พราหมณ์ตอบว่า อยู่ในทิศเบื้องบน เขาจึงกล่าวว่า นิมิตที่ตนเห็นนั้น
อยู่เบื้องล่าง อาจารย์พราหมณ์ก็ยืนยันว่า ถึงแม้เขาจะเห็นเป็นทิศ
เบื้องล่าง ที่จริงแล้วเป็นทิศเบื้องบน เมื่อมหาทัตตะสิ้นชีพลงในขณะ
ที่เพ่งจิตอยู่ที่นิมิตนั้น ก็ได้ไปอุบัติเกิดในนรก๒๑๑
ความเชื่อที่ผิดเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เช่น เชื่อว่าการฆ่าสัตว์
เพื่อบูชายัญสังเวยเทพเจ้าจะท�ำให้ได้เกิดในสุคติภูมิ และยังแนะน�ำ
ให้คนใกล้จะตายคิดถึงพิธีบูชายัญที่ตนได้เคยท�ำอีกด้วย ยิ่งเป็นสิ่งที่
น่ากลัวมาก เพราะเมื่อตายไปจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิ
เมื่อสุภมาณพได้พบพระพุทธองค์ ได้ทูลถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น
ทรงตอบว่า ได้ตรัสอย่างนั้นจริง และเพื่อให้เขาได้พิสูจน์ความจริง
จึงตรัสถามว่า “ดูกรมาณพ ทรัพย์ที่บิดาของเธอยังไม่ได้บอกที่เก็บไว้
ยังมีอยูห่ รือไม่” เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ มีสร้อยทองค�ำ
ราคาหนึ่งแสน รองเท้าทองค�ำราคาหนึ่งแสน แจกันทองค�ำราคาหนึ่ง
แสน และกหาปณะอีกหนึง่ แสนทีอ่ ยูใ่ นบัญชีทรัพย์สนิ แต่ยงั หาไม่พบ”

317
พรหมวิหาร
พระพุทธองค์ตรัสสั่งว่า “เธอจงกลับไป เมื่อถึงบ้านจงให้สุนัข
กินข้าวปายาสและอาหารอย่างดีอื่นๆ แล้วให้นอนในที่นอน เมื่อมัน
ใกล้จะหลับจงถามมันถึงทรัพย์เหล่านั้น มันจะบอกที่ซ่อนทรัพย์
ทั้งหมดแก่เธอ”
สุภมาณพได้ฟังพระด�ำรัสแล้วดีใจด้วยเหตุ ๒ ประการ คิดว่า
“ถ้าเป็นความจริงตามนัน้ เราจะได้ทรัพย์ ถ้าไม่เป็นความจริง เราก็จะ
ได้ข่มพระสมณโคดมว่ากล่าวค�ำเท็จ” แล้วรีบกลับไปบ้าน ท�ำตามที่
พระพุทธองค์ตรัสสั่งทุกประการ สุนัขคิดว่ามาณพได้รู้เรื่องหมดแล้ว
ไม่อาจปิดบังได้อีกต่อไป จึงเห่าหอนขึ้นแล้วพาไปสู่ที่ฝังทรัพย์ เอาขา
หน้าตะกุยดินให้รู้ เมื่อมาณพให้ขุดดินขึ้นมาก็พบทรัพย์ ๔ อย่างนั้น
การได้พบสมบัตทิ ำ� ให้สภุ มาณพรูว้ า่ สุนขั เป็นบิดาของตน จึงมี
จิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เชื่อในพระสัพพัญญุตญาณอันสามารถ
หยั่งรู้ความเป็นไปในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ซึ่งเป็นธรรมดาที่คน
เราจะไม่เชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูดจนกว่าจะได้พิสูจน์ความจริงแล้วด้วย
ประสบการณ์ของตนเอง
ผู้ที่เชื่อในค�ำสอนของลัทธิต่างๆ มักไม่เชื่อถือค�ำสอนอื่นที่ไม่
สอดคล้องกับค�ำสอนในศาสนาของตน ข้อนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งแปลก บางศาสนา
มีความเห็นว่าการตายของมนุษย์เป็นการขาดสูญ คือเมื่อตายแล้วก็
จบสิ้นไม่มีอะไรเหลือ หมายความว่า คนเราเกิดมาเพียงครั้งเดียว
318
พรหมวิหาร
เมือ่ ตายไปทุกสิง่ ทุกอย่างก็จบลง ความคิดเห็นนีไ้ ม่ใช่ความรูท้ เี่ กิดจาก
ประสบการณ์ของตนเอง แต่เกิดจากจินตนาการหรือความเชื่อของ
แต่ละคน บางศาสนากล่าวว่า เมือ่ คนเราตายจากความเป็นมนุษย์แล้ว
ก็จะต้องไปอยู่ในนรกชั่วนิจนิรันดร์ หรือมิฉะนั้นก็ไปอยู่ในสวรรค์ มี
ทางเลือกสองทางเท่านั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไม่มีใครสามารถรับรอง
ได้จากประสบการณ์ของตนเอง หากแต่เป็นความเชื่อที่ตกทอดกันมา
ตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บางศาสนากล่าวว่า เมื่อคนเราตายไปแล้ว อาจ
จะได้เกิดเป็นคน เทวดา หรือสัตว์ดริ จั ฉานเป็นต้น แล้วแต่สถานการณ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการยืนยันโดยบุคคลบางคนที่อ้างตัวว่าเป็นผู้มีความ
สามารถพิเศษ เช่น มีตาทิพย์ หรือหูทพิ ย์ สามารถรูเ้ ห็นทุกสิง่ ทุกอย่าง
ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งจักรวาล

319
พรหมวิหาร
แต่ในพุทธศาสนา พระบรมศาสดาตรัสว่า ตราบใดที่ตัณหา
ยังมีอยู่ในกระแสจิตของสัตว์โลก ตราบนั้นจะยังมีการท�ำกรรมดีและ
กรรมชั่ว ที่ส่งผลให้มีการสืบต่อของกระแสรูปนามจากภพหนึ่งไปสู่อีก
ภพหนึ่ง ต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจะพูดตามโวหารของ ชาว
โลกก็หมายความว่า มนุษย์อาจเกิดเป็นเทวดา เทวดาอาจเกิดเป็น
มนุษย์ มนุษย์อาจเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือสัตว์ดิรัจฉานอาจเกิดเป็น
มนุษย์ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงนั้น ที่เรียกกันว่า คน สัตว์ เทวดา
เป็นเพียงสภาวธรรมสองอย่าง คือ รูปกับนาม ที่เกิดขึ้นและดับไป
ติดต่อกันเรื่อยไปไม่ขาดสาย โดยมีตัณหาและอุปาทานเป็นต้นเหตุ
ถ้าตัณหาและอุปาทานถูกก�ำจัดให้หมดไปด้วยการเจริญวิปัสสนาจน
กระทั่งบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล กระแสรูปนามก็จะดับลงหลัง
จากจุติจิตของพระอรหันต์ดับลง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรินิพพาน
หรือเข้าสูป่ รินพิ พาน ทีเ่ ป็นการดับภพชาติอย่างสิน้ เชิง เรือ่ งนีเ้ ป็นค�ำสอน
ของพระพุทธองค์ผู้ทรงพระสัพพัญญุตญาณ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาย่อม
สามารถรู้เห็นความจริงนี้ด้วยประสบการณ์ของตนเมื่อบรรลุวิปัสสนา
ญาณในขณะเจริญวิปัสสนา
320
พรหมวิหาร
บุคคลที่มีนิยตมิจฉาทิฏฐิซ่ึงเป็นความเชื่อผิดที่ฝังใจอยู่อย่าง
มัน่ คง อาจเห็นว่าการกลับชาติมาเกิดเป็นเรือ่ งเหลวไหล แต่สภุ มาณพ
ไม่ได้มคี วามเห็นผิดเช่นนัน้ เมือ่ ได้ประสบกับเรือ่ งนีเ้ องจึงเกิดความเชือ่
เรื่องการเกิดใหม่อย่างไม่สงสัยอีก แล้วจึงไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
ยังที่ประทับ เพื่อกราบทูลถามปัญหา ปัญหาของสุภมาณพ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คนทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ แม้จะ
เป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่มีความเลวและความประณีตต่างกัน อะไร
เป็นเหตุแห่งความต่างกันของมนุษย์
๑. บางคนอายุสั้น ตายเสียตั้งแต่ยังเป็นทารก บางคนอายุยืน
๒. บางคนมีโรคมาก บางคนแข็งแรง
๓. บางคนมีผิวพรรณทราม บางคนมีผิวพรรณงาม
๔. บางคนมีบริวารน้อย บางคนมีบริวารมาก
๕. บางคนยากจน บางคนร�่ำรวย
๖. บางคนเกิดในตระกูลต�่ำ บางคนเกิดในตระกูลสูง
๗. บางคนโง่ บางคนฉลาด
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์เกิดมาต่างกัน

321
พรหมวิหาร
พระด�ำรัสตอบ
พระพุทธองค์ได้ตรัสอธิบายไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร ดังนี้
กมฺมสฺสกา มาณว สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู
กมฺมปฺปฏิสรณา. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตายาติ.๒๑๒
“มาณพ สัตว์ทงั้ หลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม
มีกรรมเป็นเหตุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรม
ย่อมจ�ำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน”
สัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมที่ได้ท�ำไว้เท่านั้นที่เรียกได้ว่าเป็น
สมบัติของตน ทรัพย์สมบัติภายนอก เช่น เงินทองที่คนทั้งหลาย
คิดว่าเป็นสมบัติของตนนั้น ถ้าอยู่ในมือของคนอื่นก็ไม่เป็นของตนอีก
ต่อไป หรือแม้จะรักษาทรัพย์ไว้ได้ตลอดอายุขัย เมื่อตายไปก็จะต้อง
พรากจากทรัพย์เหล่านั้น ไม่สามารถน�ำติดตัวไปได้ แต่กรรมที่ได้ท�ำ
ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการท�ำกิจการงานต่างๆ ทางโลก หรือการท�ำกุศล เช่น
การบริจาคทาน รักษาศีล หรือการท�ำอกุศล เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น
กรรมเหล่านี้เป็นสมบัติของคนที่ท�ำกรรมเหล่านั้น ความพยายามท�ำ
การงานในทางโลก ย่อมท�ำให้เกิดผลตามความพยายามทีไ่ ด้ใช้ในการ
ประกอบการงานนัน้ ส่วนการท�ำกุศลย่อมส่งผลให้ได้รบั ความสุขสบาย
ทั้งในภพนี้และภพหน้า การท�ำอกุศลก็ส่งผลให้ได้รับความทุกข์ทั้งใน

322
พรหมวิหาร
ภพนี้และภพหน้าเช่นเดียวกัน ความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นเอง
โดยบังเอิญเลย แต่เกิดขึ้นจากผลของกรรมที่บุคคลนั้นได้ท�ำไว้ในอดีต
ทั้งสิ้น ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า กมฺมสฺสกา (มีกรรมเป็นของตน)
พระด�ำรัสนี้มีความส�ำคัญที่สุดในการเจริญอุเบกขาภาวนา
สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทของกรรม คือ เป็นทายาทของกรรม
ที่ตนได้ท�ำไว้ เหมือนกับบุตรที่เป็นทายาทรับมรดกทั้งที่ดีและไม่ดีจาก
บิดามารดา ถ้าชาวโลกท�ำการงานดี ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดี คนที่ท�ำ
อาชญากรรม ก็จะต้องถูกลงโทษ คนที่ดื่มสุราและเล่นการพนัน ย่อม
ได้รับผลที่ไม่ดี เช่น ท�ำให้เสียสุขภาพ เสียชื่อเสียง และความทุกข์
อื่นๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนฝูง เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม คนที่
ท�ำกุศล เช่น บริจาคทาน รักษาศีล เป็นต้น ย่อมได้รบั ผลเป็นความสุข
ทั้งในภพนี้ และในภพต่อๆ ไปในสังสารวัฏอันไม่มีที่สิ้นสุด คือท�ำให้
ได้เกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ และเทวดา และในที่สุดก็อาจได้บรรลุ
พระนิพพาน หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล แต่ผู้ที่ท�ำอกุศล เช่น ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ เป็นต้น ย่อมได้รับผลเป็นความทุกข์ทั้งในภพนี้ และภพ
ต่อๆ ไปในสังสารวัฏ คือท�ำให้ไปเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต
ดิรัจฉาน เป็นต้น ค�ำอธิบายที่กล่าวมาแล้วนี้ ตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย
อภิณหปัจจเวกขิตัพพฐานสูตร (สูตรที่กล่าวถึงฐานะที่ควรพิจารณา
เนืองๆ) ดังนี้

323
พรหมวิหาร
ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา, ตสฺส ทายาทา
ภวิสฺสนฺติ.๒๑๓
“จักกระท�ำกรรมใดทีด่ หี รือชัว่ ก็จกั เป็นทายาทของกรรมนัน้ ”
อนึ่ง ค�ำว่า กมฺมทายาทา (มีกรรมเป็นทายาท) มีความหมาย
เหมือนกับ กมฺมสฺสกา (มีกรรมเป็นของตน) ตรัสไว้เพือ่ เป็นค�ำอธิบาย
ศัพท์หน้าให้ชัดเจนขึ้น
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเหตุ คือ ได้รับผลของกรรมที่ได้ท�ำไว้
ด้วยเจตนาของตนเอง อันจะส่งผลให้เป็นสุขหรือทุกข์ คือ กรรมดี
ย่อมให้ผลเป็นความสุข กรรมชั่วย่อมให้ผลเป็นความทุกข์ เพราะ
กรรมทุกอย่างย่อมก่อให้เกิดผลวิบากทัง้ สิน้ ค�ำอธิบายนีเ้ ป็นความหมาย
อีกอย่างหนึ่งของค�ำว่า กมฺมสฺสกา
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ กรรมเท่านั้นที่เป็นญาติ
และมิตรที่จะขอพึ่งพาอาศัยได้ การมีญาติและมิตรดี ก็ย่อมเป็นที่พึ่ง
ที่จะอ�ำนวยประโยชน์ให้ได้ แต่ถ้าไม่มีญาติมิตรที่ดี ก็จะไม่มีที่พึ่งที่
อาศัย ในท�ำนองเดียวกัน กรรมดีย่อมเป็นที่พึ่งที่ส่งเสริมให้ความช่วย
เหลือเหมือนมีญาติมิตรที่ดี ถ้าไม่เคยท�ำกรรมดีไว้ ก็จะไม่มีที่พึ่งที่
คุ้มกัน และถ้าเคยท�ำแต่กรรมชั่ว ผลของกรรมชั่วนั้นจะย้อนมาท�ำร้าย
ได้โดยไม่มีอะไรช่วยเหลือขัดขวางเลย ค�ำว่า กมฺมพนฺธู นี้ก็เป็นการ
อธิบายความหมายของค�ำว่า กมฺมสฺสกา เช่นเดียวกัน
324
พรหมวิหาร
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือ กรรมเท่านั้นจะเป็น
ที่พึ่งที่อาศัยยังชีพให้เจริญ คนเราต้องอาศัยการกระท�ำการงานต่างๆ
ในทางโลกเพื่อสร้างความมั่งคั่งร�่ำรวย และอาศัยการท�ำบุญกุศล
ส�ำหรับสร้างคุณงามความดี ส่วนอกุศลกรรมนัน้ เป็นสิง่ ทีพ่ งึ หลีกเลีย่ ง
ให้ห่างไกล การหลีกเลี่ยงจากสิ่งอกุศลจึงจะเป็นที่พึ่งให้เราได้ ยิ่งเรา
หลีกเลี่ยงได้มากเพียงใด ก็จะหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ได้มากเพียง
นั้น ดังนั้น การท�ำกุศลและหลีกเลี่ยงจากอกุศลจึงเป็นที่พึ่งของเราได้
ค�ำว่า กมฺมปฺปฏิสรณา นี้ เป็นค�ำอธิบายความหมายของค�ำว่า กมฺมสฺ-
สกา เช่นเดียวกัน
กรรมเป็นสิ่งจ�ำแนกสัตว์ให้ต่างกัน กรรมดีท�ำให้สัตว์ประเสริฐ
สูงส่ง กรรมชั่วท�ำให้สัตว์ตกต�่ำ การได้รับทุกข์และการเกิดในตระกูล
ต�ำ่ เป็นผลเนือ่ งมาจากอกุศลกรรมทีบ่ คุ คลนัน้ ได้กระท�ำในอดีต กรรม
เช่นกันที่ท�ำให้บุคคลได้รับสุขและเกิดในตระกูลสูง ท�ำให้มีเกียรติยศ
ชื่อเสียง ไม่ใช่เพราะการกระท�ำของคนอื่น หรือของพระเจ้าองค์ใดที่
บันดาลให้เป็นไป กรรมเท่านั้นที่จ�ำแนกสัตว์ให้ต่างกัน
สุภมาณพไม่เข้าใจค�ำตอบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้โดยย่อ
จึงกราบทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยพิสดาร พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสขยายความต่อไปว่า

325
พรหมวิหาร
(๑) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้อายุสั้นและอายุยืน
อิธ มาณว เอกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส วา ปาณาติปาตี โหติ ลุทฺ
โท โลหิตปาณิ หตปหเต นิวิฏฺโ อทยาปนฺโน ปาณภูเตสุ. โส เตน กมฺ
เมน เอวํ สมตฺเตน เอวํ สมาทินฺเนน กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ
ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ. โน เจ กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ
ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ, สเจ มนุสฺสตฺตํ อาคจฺฉติ ยตฺถ ยตฺถ
ปจฺจา ชายติ อปฺปายุโก โหติ.๒๑๔
“มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ฝักใฝ่ในการประหัต
ประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ท้ังหลาย เพราะกรรมนั้นที่เขาให้
บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในนรกอัน
ปราศจากสุข เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศตกไป หลังจากตายแล้ว
ถ้าไม่ไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศ
ตกไป กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะเป็นคนมีอายุสั้น”
ข้อความข้างต้นหมายความว่า เพราะการท�ำอกุศลกรรมคือ
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมท�ำให้บุคคลนั้นต้องตกไปสู่อบายภูมิเมื่อตาย
ไป และหากได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เขาก็จะมีอายุสั้น

326
พรหมวิหาร
อปฺปายุกสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ ปาณา-
ติปาตี โหติ ลุทฺโท โลหิตปาณิ หตปหเต นิวิฏฺโ อทยาปนฺโน ปาณ-
ภูเตสุ.๒๑๕
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือ
เปื้อนเลือด ฝักใฝ่ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์
ทั้งหลาย นี้เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น”
หลังจากนั้น ได้ตรัสเหตุที่ท�ำให้อายุยืนดังนี้
อิธ ปน มาณว เอกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส วา ปาณาติปาตํ ปหาย
ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ลชฺชี ทยาปนฺโน
สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี วิหรติ. โส เตน กมฺเมน เอวํ สมตฺเตน เอวํ
สมาทินฺเนน กายสฺส เภทา ปรํ มรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ.
โน เจ กายสฺส เภทา ปรํ มรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ, สเจ
มนุสฺสตฺตํ อาคจฺฉติ ยตฺถ ยตฺถ ปจฺจาชายติ ทีฆายุโก โหติ. ทีฆายุกสํวตฺ-
ตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ ปาณาติปาตํ ปหาย ปาณาติปาตา
ปฏิวิรโต โหติ นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ลชฺชี ทยาปนฺโน สพฺพปาณภูต-
หิตานุกมฺปี วิหรติ.๒๑๖

327
พรหมวิหาร
“มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษ
ก็ตาม เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์
เพราะกรรมนัน้ ทีเ่ ขาให้บริบรู ณ์ยดึ มัน่ ไว้อย่างนัน้ หลังจากตายแล้ว เขา
จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะเป็นคนมีอายุยืน
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วาง
ทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์
เกื้อกูลในสรรพสัตว์ นี้เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน”
กล่าวโดยย่อ ผู้ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เมื่อตายไปจะได้เกิด
ในสวรรค์ อันเป็นผลจากกุศลกรรมนั้น ถ้าเขาได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็
จะเป็นผู้มีอายุยืน หมายความว่า กุศลกรรมในการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์ เป็นเหตุให้อายุยืน
ค�ำตอบข้อที่ ๑ การฆ่าสัตว์ อธิบายว่า การท�ำให้ชีวิตของสัตว์
ทุกชนิดตกล่วงไป ซึ่งหมายรวมถึงสัตว์เล็กๆ เช่น มด เหา และไข่มด
ไข่เหาด้วย คนบางคนตายตัง้ แต่อยูใ่ นครรภ์มารดา บางคนตายในขณะ
คลอด บางคนเกิดมาได้เพียง ๑ หรือ ๒ เดือนก็ตาย บางคนตายเมื่อ
อายุ ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือ ๓๐ ปี การตายก่อนหมดอายุขัยเช่นนี้ เป็นผล
ของการท�ำอกุศลชนิดปาณาติบาตในชาติที่แล้วมา
328
พรหมวิหาร
อาจมีค�ำถามว่า เหตุใดทารกบางคนจึงเกิดมาแล้วตายทันที
ในเรื่องนี้ พระเถระชาวสิงหลชื่อว่าท่านนารทะ กล่าวว่า ไม่สามารถ
ตอบค�ำถามนี้โดยใช้ทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก เพราะผู้ที่เชื่อว่ามนุษย์มี
พระเจ้าสร้างขึน้ นัน้ ไม่สามารถตอบได้วา่ เหตุใดพระเจ้าจึงสร้างมนุษย์
ขึน้ มาเพือ่ ให้ตายในทันทีทเี่ กิด เพราะยังไม่ได้ทำ� ความผิดอะไรต่อพระเจ้า
จึงไม่ควรถูกส่งไปลงนรก และยังไม่ได้ทำ� ความดีอะไรทีจ่ ะส่งให้ขนึ้ สวรรค์
มีแต่ในพุทธศาสนาเท่านั้นที่มีค�ำตอบที่มีเหตุผลที่สุด คือ การมีอายุยืน
หรืออายุสั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่บุคคลนั้นได้ท�ำมาในอดีตชาติ นอกจากนี้
พ่อแม่ที่ต้องได้รับทุกข์เพราะลูกตายตั้งแต่เกิด ก็เพราะได้เคยร่วมมือ
และพอใจในการฆ่าสัตว์ที่คนอื่นได้กระท�ำในชาติก่อนๆ
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ได้แก่ ศีลข้อ ๑ คือ ปาณาติปาตา
เวรมณิสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบทที่งดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์) หมายความว่า การสมาทานสิกขาบทเพื่องดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมก่อให้เกิดศีลกุศล ตราบที่มีการรักษาศีลข้อนี้ไว้
ไม่ให้ขาดไป ส่วนการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์แม้จะมีโอกาสโดยไม่ได้
สมาทานก่อน เรียกว่า วิรตีกุศล ก็จัดเป็นศีลกุศลเช่นกัน

329
พรหมวิหาร
วิรตีกุศลนั้นแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ ถ้าบุคคลงดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ถ้า
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีการสมาทานไว้ก่อน เรียกว่า สมาทานวิรัติ
ส่วนการงดเว้นในขณะที่บรรลุโสดาปัตติมรรค เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ
ในบรรดาวิรัติทั้ง ๓ อย่างนี้ สมุจเฉทวิรตีเป็นการงดเว้นทุจริตกาย-
กรรมและวจีกรรม อันเป็นกรรมชัว่ ทางกายและทางวาจาทีส่ ง่ ให้ไปเกิด
ในอบายภูมิ ดังนั้น ผู้ที่บรรลุโสดาปัตติมรรคจึงเป็นผู้ปิดประตูอบาย
ได้อย่างเด็ดขาด ส่วนสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ และสมาทานกุศลนั้น
ท�ำให้ได้ไปเกิดในสุคติภูมิ และถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะมีอายุยืน
(๒) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้เป็นคนมีโรคมาก
และท�ำให้เป็นคนสุขภาพดี
อิธ มาณว เอกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส วา สตฺตานํ วิเหกชาติโก
โหติ, ปาณินา วา เลฑฺฑุนา วา ทณฺเฑน วา สตฺเถน วา. โส เตน กมฺเมน
เอวํ สมตฺเตน เอวํ สมาทินฺเนน กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ
วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ. โน เจ กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ
วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติ, สเจ มนุสฺสตฺตํ อาคจฺฉติ ยตฺถ ยตฺถ ปจฺจา-
ชายติ พวฺหาพาโธ โหติ.๒๑๗

330
พรหมวิหาร
“มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษ
ก็ตาม เป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง
ด้วยท่อนไม้บา้ ง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะกรรมนัน้ ทีเ่ ขาให้บริบรู ณ์ ยึดมัน่
ไว้อย่างนัน้ หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข เป็น
ที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศตกไป ถ้าไม่ไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศตกไป กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ
เขาก็จะเป็นผู้มีโรคมาก”
พวฺหาพาธสํวตฺตนิกา๒๑๘ พวฺหาพาธ เอสา มาณว ปฏิปทา,
ยทิทํ สตฺตานํ วิเหกชาติโก โหติ ปาณินา วา เลฑฺฑุนา วา ทณฺเฑน
วา สตฺเถน วา.๒๑๙
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ
บ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บา้ ง ด้วยศัสตราบ้าง นีเ้ ป็นข้อปฏิบตั ิ
ที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมาก”
การเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ก้อนหิน ท่อนไม้ หรืออาวุธ
อื่นๆ ย่อมท�ำให้ผู้ที่ท�ำอกุศลกรรมนั้นต้องตกไปสู่อบาย และหากว่า
เขาได้มาเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มักจะเป็นผู้มีโรคมาก หมายความว่า การ
เบียดเบียนท�ำร้ายสัตว์ดว้ ยวิธตี า่ งๆ นัน้ จะให้ผลเป็นผูม้ โี รคเบียดเบียน
มาก ดังเรื่องของพระปูติคัตตติสสเถระที่จะยกมาสาธกดังต่อไปนี้

331
พรหมวิหาร
เรื่องของพระปูติคัตตติสสเถระ
ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่ง เดิมเป็นชาวกรุงสาวัตถี
เมื่อได้บวชในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่าพระติสสเถระ ต่อมาเกิดมีต่อม
ฝีเกิดขึ้นตามร่างกายของท่าน แรกทีเดียวต่อมเหล่านั้นมีขนาดเท่า
เมล็ดผักกาด แล้วค่อยโตขึ้นตามล�ำดับ จากขนาดเท่าเมล็ดผักกาด
เป็นเมล็ดถัว่ และใหญ่ขนึ้ โตเท่าผลมะตูม แล้วแตกออก ท�ำให้รา่ งกาย
เต็มไปด้วยแผลเน่าเปื่อย มีน�้ำหนองน�้ำเหลืองไหลเปรอะเปื้อน ท่าน
จึงได้ชื่อว่า พระปูติคัตตติสสเถระ แปลว่า พระติสสเถระผู้มีกายเน่า
ต่อมาโรคได้ก�ำเริบมากขึ้นจนกระดูกแตกออก บรรดาภิกษุที่เป็นสัทธิ-
วิหาริกไม่สามารถจะปรนนิบัติได้ จึงทอดทิ้งให้นอนอยู่ตามล�ำพัง
ในเวลานั้น พระบรมศาสดาทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูว่า
ผูใ้ ดมีอปุ นิสยั จะบรรลุธรรม และทรงเห็นอุปนิสยั แห่งอรหัตตมรรคของ
พระปูติคัตตติสสเถระ ทรงด�ำริว่า ที่พึ่งของภิกษุนี้ไม่มีใครนอกจาก
ตถาคต จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เหมือนเสด็จตรวจในวิหาร
เมื่อเสด็จไปถึงโรงไฟใกล้ที่อยู่ของพระปูติคัตตติสสเถระ ทรงล้างหม้อ
ใส่น�้ำ แล้วยกขึ้นตั้งบนเตา เมื่อน�้ำจวนจะเดือดก็เสด็จไปจับที่เตียงที่
พระปูติคัตตติสสะนอนอยู่
332
พรหมวิหาร
ขณะนั้น พวกภิกษุกราบทูลว่า “ขอพระองค์โปรดเสด็จหลีกไป
พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยกเอง” แล้วช่วยกันยกเตียงไปสู่โรงไฟ
พระพุทธองค์ทรงสัง่ ให้ภกิ ษุนำ� ผ้าห่มของพระปูตคิ ตั ตติสสเถระซักด้วย
น�้ำร้อนแล้วผึ่งแดดไว้ ทรงรดสรีระของพระติสสเถระด้วยน�้ำอุ่น ทรงถู
สรีระ เมื่ออาบเสร็จแล้ว ผ้าที่ผึ่งแดดไว้ก็แห้งพอดี
พระศาสดาทรงช่วยให้พระติสสเถระนุง่ ผ้าห่มนัน้ ทรงให้ซกั ผ้า
ทีน่ งุ่ ด้วยน�ำ้ อุน่ แล้วผึง่ แดด ในสมัยนัน้ ผ้านุง่ ผ้าห่มเป็นของหายาก ไม่มี
ผ้าส�ำหรับผลัดเปลี่ยนเหมือนอย่างทุกวันนี้ เมื่อผ้านั้นแห้ง ทรงให้นุ่ง
ผ้าผืนหนึ่ง ห่มผ้าผืนหนึ่ง
การทีพ่ ระบรมศาสดาท�ำทรงท�ำการพยาบาลพระปูตคิ ตั ตติสสะ
ด้วยพระองค์เอง เพื่อให้พระเถระได้บรรลุพระอรหันต์นั้น แสดงให้
เห็นถึงพระมหากรุณาอันยิง่ ใหญ่ เมือ่ พระเถระมีกายเบามีจติ สงบแล้ว
พระพุทธองค์ประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะ ตรัสว่า
“ไม่นานหนอ กายทีถ่ กู ทิง้ ไว้ไร้วญ
ิ ญาณนี้ จักนอนทับแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้หาประโยชน์มิได้”๒๒๐

333
พรหมวิหาร
ใจความก็คือ รูปขันธ์ คือร่างกายที่ปราศจากวิญญาณนี้ อีก
ไม่นานก็จะถูกทิ้งให้นอนเปลือยอยู่ในป่าช้า เหมือนท่อนไม้ที่ผุพังหา
ประโยชน์มิได้ ในสมัยนั้น ไม่มีประเพณีการฝังหรือเผาศพ แต่จะน�ำ
ศพไปทิ้งที่ป่าช้า
เมื่อจบพระเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระก็ได้บรรลุธรรมเป็น
พระอรหันต์ แล้วปรินิพพาน
ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปูติคัตตติสสะนี้
มีอาชีพเป็นนายพรานนก เมื่อจับนกได้มากก็หักขาและปีกเพื่อไม่ให้
บินหนีไปแล้วกองไว้ วันรุง่ ขึน้ จึงน�ำไปขาย ส่วนนกทีเ่ หลือก็ปง้ิ ไว้กนิ เอง
ด้วยอกุศลกรรมที่ได้หักขาหักปีกนกนี้ ร่างกายในชาตินี้จึงเกิดเป็นฝี
หนองเน่าเปื่อย แต่ในอดีตชาติเดียวกันนั้น นายพรานนกได้ถวาย
ภัตตาหารประกอบด้วยข้าวสุกกับแกงนกแด่พระอรหันต์รูปหนึ่งที่
บิณฑบาตอยู่ แล้วได้อธิษฐานขอให้ได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกันกับ
พระอรหันต์รูปนั้น จึงท�ำให้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้
ส่วนการไม่เบียดเบียนสัตว์ท�ำให้ไม่มีโรค ดังพระพุทธด�ำรัสที่
ได้ตรัสไว้ว่า

334
พรหมวิหาร
อปฺปาพาธสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ สตฺตานํ
อวิเหกชาติโก โหติ ปาณินา วา เลฑฺฑุนา วา ทณฺเฑน วา สตฺเถน
วา.๒๒๑
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วย
ฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง นี้เป็น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อย”
สรุปได้ว่าการเบียดเบียนผู้อื่น จะส่งผลให้เจ็บป่วยด้วยโรค
ต่างๆ อยู่เป็นนิตย์ การเบียดเบียนผู้อื่นอย่างโหดร้าย จะท�ำให้เป็นคน
มีโรคมาก ส่วนคนที่มีใจกรุณา งดเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ย่อม
เป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง
(๓) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้มีผิวพรรณทราม
และมีผิวพรรณงาม
คนที่โกรธง่ายเสมอ มีความแค้นเคืองอยู่เป็นนิตย์ มักแสดง
ความโกรธออกมาทางกิรยิ าหรือวาจา เมือ่ ตายไปย่อมไปเกิดในอบาย-
ภูมิ และหากได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนน่าเกลียด มีผิวพรรณ
ทราม ดังพระบาลีว่า
ทุพฺพณฺณสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ โกธโน
โหติ อุปายาสพหุโล.๒๒๒

335
พรหมวิหาร
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น นี้
เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม”
เมื่อบุคคลมีความโกรธ สีหน้าและท่าทางของเขาย่อมเปลี่ยน
ไป กลายเป็นคนน่าเกลียด คนที่โกรธง่าย เมื่อถูกว่ากล่าวเล็กน้อยก็
ขัดใจแสดงอาการขึ้งเคียด เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าหาก
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็มักจะเป็นคนน่าเกลียด มีผิวพรรณทราม
ส่วนผูท้ มี่ คี วามอดทนอดกลัน้ ต่อความไม่พอใจ แม้จะถูกด่าว่า
อย่างไรก็อดกลั้นไว้ไม่แสดงอาการโกรธให้ปรากฏ เมื่อตายไปย่อมได้
ไปเกิดในสุคติภูมิ หรือหากว่าได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็จะมีผิวพรรณงาม
หน้าตาสวยงามมีบคุ ลิกน่านิยมชมชอบ ดังทีพ่ ระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วา่
ปาสาทิกสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ อกฺโกธโน
โหติ อนุปายาสพหุโล.๒๒๓
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น
นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส”
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีหน้าตาสวยงาม มีผิวพรรณดี ต้องหมั่น
ฝึกฝนตนให้มีความอดทนและอดกลั้นต่อความโกรธ

336
พรหมวิหาร
(๔) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้มีบริวารน้อย และท�ำให้มีบริวารมาก
ค�ำอธิบายข้อที่ ๔ เป็นภาษาบาลีนนั้ ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อน
(บทที่ ๗) เรื่องมุทิตา ซึ่งสรุปได้ว่า
คนที่อิจฉาในความสุขสบายและทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เมื่อ
ตายไป ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เขาก็ยอ่ มเป็น
คนมีบริวารน้อย ส่วนคนที่ประกอบด้วยมุทิตา มีความยินดีในความ
สุขและทรัพย์สมบัติของคนอื่น เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ ถ้า
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะมีบริวารมาก
(๕) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้เป็นคนยากจน และเป็นคนร�่ำรวย
คนที่ไม่บริจาคทานอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่าง ได้แก่
ข้าว น�้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่
อาศัย และแสงสว่าง เช่น เทียนไข หรือตะเกียง เป็นต้น หรือขัดขวาง
การให้ทานของผู้อื่น เมื่อตายไป ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ หรือหากว่า
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนยากจน ดังข้อความที่แสดงไว้ใน
พระบาลีว่า
อปฺปโภคสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ น ทาตา
โหติ สมณสฺส วา พฺราหฺมณสฺส วา อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลาคนฺธ-
วิเลปนํ เสยฺยาวสถปทีเปยฺยํ.๒๒๔

337
พรหมวิหาร
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น�้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครือ่ งลูบไล้ ทีน่ อน ทีพ่ กั เครือ่ งประทีปแก่สมณะหรือ
พราหมณ์ นีเ้ ป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะน้อย”
การให้ทานด้วยจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะส่งผลให้เกิดใน
สุคติภมู ิ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์กจ็ ะเป็นคนมีทรัพย์มาก ดังในพระบาลีวา่
มหาโภคสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ ทาตา โหติ
สมณสฺส วา พฺราหฺมณสฺส วา อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลาคนฺธวิเลปนํ
เสยฺยาวสถปทีเปยฺยํ.๒๒๕
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ให้ข้าว น�้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือ
พราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะมาก”
ตัวอย่างที่แสดงการไม่ให้ทานที่เป็นเหตุให้เป็นคนยากจนมี
ดังนี้

338
พรหมวิหาร
เรื่องของอานันทเศรษฐี
ในสมัยพุทธกาล มีเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ชื่อว่าอานันท-
เศรษฐี มีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ เป็นคนตระหนี่มาก ทุกกึ่งเดือนเขาให้พวก
ญาติมาประชุมกันแล้วกล่าวสอนนายมูลสิริผู้เป็นบุตรว่า “เจ้าอย่าได้
คิดว่า ทรัพย์ ๔๐ โกฏินี้มาก เจ้าไม่ควรให้ทรัพย์ที่มีอยู่ และควรเพิ่ม
พูนทรัพย์ใหม่ เพราะถ้าเจ้าให้เงินแม้เพียงเล็กน้อย ไม่นานทรัพย์ก็จะ
หมดไป เพราะฉะนั้น เจ้าจงจ�ำไว้ว่า
อญฺชนานํ ขยํ ทิสฺวา อุปจิกานญฺจ สญฺจยํ
มธูนญฺจ สมาหารํ ปณฺฑิโต ฆรมาวเส.๒๒๖
“บุคคลผู้ฉลาด เห็นความสิ้นไปแห่งยาทาตา ความก่อขึ้นแห่ง
ตัวปลวก และการสะสมของตัวผึ้ง พึงอยู่ครองเรือน”
คาถานี้มีเนื้อความเหมือนกับโอวาทที่โตเทยยพราหมณ์ให้แก่
บุตรและสหายของตน ต่างกันเพียง ๒ ค�ำเท่านั้น คือ อุปจิกานํ
(ตัวปลวก) แทนค�ำว่า วมฺมิกานํ (จอมปลวก) ซึ่งอาจตีความได้ว่า
จอมปลวกเกิดขึ้นจากการสะสมฝุ่นดินของพวกปลวก
อยู่มาไม่นานอานันทเศรษฐีก็ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ได้บอกที่
ซ่อนขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่งของตนแก่บุตร เมื่อตายไปแล้วได้ปฏิสนธิ
ในครรภ์ของหญิงขอทานในหมูบ่ า้ นขอทานแห่งหนึง่ ใกล้ประตูพระนคร
339
พรหมวิหาร
หมู่บ้านขอทานแห่งนี้มีขอทานอยู่ ๑,๐๐๐ ครอบครัว เมื่อ
อานันททารกมาปฏิสนธิในครรภ์หญิงขอทาน พวกขอทานทั้งหมู่บ้าน
ก็หาเงินไม่ได้เลย ได้เพียงอาหารพอประทังชีวิตเท่านั้น ท�ำให้ต้องอยู่
กันอย่างแร้นแค้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พวกเขาไม่ได้รับทั้งค่าจ้าง
และเงินที่เคยมีคนให้ทาน อาหารที่ได้ก็แทบจะไม่พอประทังชีวิตเลย
พวกเขาจึงปรึกษากันลงความเห็นว่า คงจะเป็นเพราะมีคนกาลกิณีอยู่
ในหมูบ่ า้ น แล้วจึงแยกกันออกไปขอทานเป็นสองพวก ปรากฏว่าพวกที่
ไม่มีแม่ของอานันททารกไปด้วยนั้นขอทานได้ตามปรกติ ส่วนอีกพวก
ที่มีแม่ของอานันททารกไปด้วยนั้นไม่ได้อะไรเลย จึงแบ่งพวกที่อับโชค
นัน้ ออกเป็นสองกลุม่ อีก ท�ำอย่างนีไ้ ปเรือ่ ยๆ จนในทีส่ ดุ แม่ของอานันท-
ทารกก็ถูกแยกให้อยู่คนเดียว หญิงนั้นต้องอยู่อย่างอดอยากแร้นแค้น
เมื่อคลอดทารกออกมา เด็กนั้นมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดมาก แต่นาง
มิได้ทอดทิ้งไป ได้ขอทานเลี้ยงบุตรอย่างฝืดเคืองจนกระทั่งบุตรอายุ
ได้ ๔ ปี สามารถเที่ยวขอทานได้แล้ว จึงวางกระเบื้องส�ำหรับขอทาน
ไว้ในมือบุตร แล้วกล่าวกับบุตรว่า แม่ต้องล�ำบากเพราะเจ้ามามาก
ไม่อาจเลี้ยงเจ้าได้ต่อไปอีก เจ้าจงไปขอทานเลี้ยงชีวิตเองเถิด
เด็กนั้นเที่ยวขอทานไปตามบ้าน จนกระทั่งมาถึงบ้านที่เคยอยู่
ในชาติที่เป็นอานันทเศรษฐีจึงได้เกิด ชาติสรญาณ คือญาณที่ระลึก
ชาติได้ รูว้ า่ เป็นบ้านของตน จึงเดินเข้าไปข้างในบ้าน บรรดาบุตรของ

340
พรหมวิหาร
มูลสิรเิ ศรษฐีซงึ่ ทีจ่ ริงก็คอื หลานปูข่ องอานันทเศรษฐีนนั้ เห็นคนหน้าตา
น่าเกลียดน่ากลัวก็ร้องไห้ด้วยความตกใจกลัว คนใช้ของเศรษฐีจึงช่วย
กันทุบตีแล้วลากไปทิ้งไว้ที่กองขยะ
ในขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ
เสด็จบิณฑบาตมาถึงทีน่ นั้ พอดี ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์แล้ว ทรง
เล่าเรื่องทั้งหมดแก่พระอานนท์โดยละเอียด พระเถระจึงให้เชิญมูลสิริ
เศรษฐีออกมา ผูค้ นในละแวกบ้านนัน้ ก็มาชุมนุมกัน พระพุทธองค์ตรัส
ถามเศรษฐีว่า ท่านรู้จักเด็กคนนี้หรือไม่ เศรษฐีทูลว่า ไม่รู้จัก จึงตรัส
ว่า เด็กนี้คืออานันทเศรษฐีบิดาของท่าน เมื่อเศรษฐีไม่เชื่อ ทรงสั่งให้
เด็กนั้นบอกที่ฝังขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่งแก่เศรษฐี เมื่อเศรษฐีให้คนไป
ขุดตามที่บอกก็ได้ทรัพย์มาทั้งหมด ท�ำให้เศรษฐีมีศรัทธาในพระพุทธ-
องค์เป็นอันมาก และได้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมแก่มลู สิรเิ ศรษฐี ด้วยพระพุทธนิพนธ์
คาถาว่า
ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ.๒๒๗
“คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ จริงอยู่ เมื่อ
ตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา บุตร และทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร”

341
พรหมวิหาร
คนทั่ ว ไปมั ก จะมี ค วามเดื อ ดร้ อ นใจเกี่ ย วกั บ บุ ต รธิ ด าและ
ทรัพย์สินของเขา เพราะเขาส�ำคัญว่า บุตรธิดาและทรัพย์สินเหล่านั้น
เป็นของตนจริงๆ เมื่อสูญเสียบุตรธิดาหรือทรัพย์สินก็ย่อมมีความ
โศกเศร้าเสียใจ หรือมิฉะนัน้ ก็มกั ห่วงกังวลอยูว่ า่ จะมีภยั เกิดขึน้ แก่บตุ ร
ธิดาหรือทรัพย์สินของตน ไม่ต้องพูดถึงความทุกข์กายและทุกข์ใจที่
เขาจะได้รบั เมือ่ สูญเสียบุตรธิดาและทรัพย์สนิ ไปจริงๆ นอกจากนี้ เขา
ยังต้องท�ำงานด้วยความเหนือ่ ยยากเพือ่ เลีย้ งดูบตุ รธิดา และเพือ่ แสวง
หาทรัพย์ให้มากขึ้น ฉะนั้น เขาจึงต้องเป็นทุกข์เพราะบุตรธิดาและ
ทรัพย์สินด้วยประการฉะนี้
ข้อความว่า “เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา” หมายความว่า
เมื่อเขานอนรอความตายอยู่บนเตียง ก็ยังช่วยตัวเองไม่ได้ และเมื่อ
ตายไปแล้ว ก็ไม่สามารถช่วยตัวเองไม่ให้ตกไปสูค่ วามทุกข์ในอบายได้
ดังนั้น บุตรและทรัพย์สินเงินทองจะเป็นของเขาได้อย่างไร คือ จะเป็น
ที่พึ่งได้อย่างไร
จะเห็นได้ว่าอานันทเศรษฐีต้องรับทุกข์อย่างมากมายหลัง
จากตายไปแล้ว เพราะหวังจะพึ่งบุตรชายและทรัพย์สินที่มีอยู่ แทนที่
จะพึง่ บุญกุศลในการให้ทาน นอกจากนี้ ยังมีตวั อย่างอีกมากมายเกีย่ ว
กับคนที่กลายเป็นเศรษฐีเพราะได้บริจาคทานด้วยศรัทธา และเรื่อง
ของอินทกมาณพที่เป็นคนจนอาศัยอยู่ในเขตกรุงราชคฤห์ ได้ถวาย
342
พรหมวิหาร
อาหารบิณฑบาตแด่พระอนุรุทธเถระด้วยข้าวสุกเพียงทัพพีเดียว แล้ว
ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรที่มีศักดิ์มากมีรัศมีรุ่งเรือง๒๒๘
(๖) กรรมเป็นเหตุที่ท�ำให้เกิดในตระกูลต�่ำ และเกิดในตระกูลสูง
การไม่เคารพคนที่ควรเคารพ เพราะความถือตัวหรือความ
เย่อหยิ่งเป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ และถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะ
เกิดในตระกูลต�่ำ ดังข้อความพระบาลีว่า
นีจกุลีนสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ ถทฺโธ โหติ
อติมานี อภิวาเทตพฺพํ น อภิวาเทติ ฯเปฯ๒๒๙
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้
ผู้ที่ควรกราบไหว้ ฯลฯ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิดใน
ตระกูลต�่ำ”
ผู้ที่ควรแก่การเคารพและอ่อนน้อมได้แก่ บิดามารดา ผู้มีวัย
วุฒิ และผู้มีคุณวุฒิ เช่น ครูอาจารย์ และพระสงฆ์ เป็นต้น ผู้มีอายุ
เช่น บิดามารดา ปู่ยาตายาย ก็เป็นผู้ที่ควรได้รับการเคารพ พระภิกษุ
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ก็ควรได้รับการเคารพสักการะเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรแก่การเคารพบูชาเป็น
อย่างยิง่ การไม่เคารพผูท้ คี่ วรเคารพเหล่านี้ เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบาย
หลังจากตายไป ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดมาในตระกูลต�่ำ

343
พรหมวิหาร
ส่วนการแสดงความเคารพนอบน้อมต่อบุคคลที่ควรเคารพ
โดยปราศจากความเย่อหยิ่งนั้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ ถ้าได้
เกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะได้เกิดในตระกูลสูง ดังพระบาลีว่า
อุจฺจากุลีนสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ อตฺถทฺโธ
โหติ อนติมานี อภิวาเทตพฺพํ อภิวาเทติ ฯเปฯ๒๓๐
“มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบ
ไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้ ฯลฯ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิด
ในตระกูลสูง”
ผลของกรรมทั้ง ๖ ข้อที่กล่าวมาแล้ว เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปใน
ชีวิตของมนุษย์ เช่น ถ้าเราเกิดมาเป็นคนอายุสั้น มีโรคมาก ผิวพรรณ
ไม่งาม ไม่มีบริวาร ยากจน และเกิดในตระกูลต�่ำ เราก็จะมีแต่ความ
ทุกข์ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเกิดมาเป็นคนอายุยืน มีสุขภาพแข็งแรง
ผิวพรรณงาม มีบริวารมาก ร�่ำรวย เกิดในตระกูลสูง เราก็จะมีความ
สุข
ด้วยเหตุนี้ การที่เราแผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา ด้วยการ
ภาวนาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” “ขอสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
เถิด” และ “ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่าพรากจากสมบัติที่ได้รับแล้ว” จึง
เกี่ยวข้องกับการให้ผลของกรรม ๖ อย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และใน

344
พรหมวิหาร
การแผ่อุเบกขาด้วยค�ำภาวนาว่า กมฺมสฺสกา (ทุกคนมีกรรมเป็นของ
ตน) ก็มีความเกี่ยวข้องกับการให้ผลของกรรม ๖ อย่างนั้นมากกว่า
การแผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา เพราะในการแผ่เมตตา กรุณา และ
มุทิตานั้น ความปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงมีความสุข เป็นต้น ไม่อาจจะ
เป็นจริงได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ปรารถนาเสมอไป แต่จะต้องได้รับการ
สนับสนุนจากกรรมดีทจี่ ะช่วยส่งผลให้สตั ว์เหล่านัน้ มีอายุยนื มีสขุ ภาพ
แข็งแรงเป็นต้นด้วย ดังนั้น การพิจารณาถึงการให้ผลของกรรม ๖
อย่าง จึงมีความส�ำคัญกับการแผ่อุเบกขาเป็นอย่างมาก
ล�ำดับต่อไป จะได้แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับปัญหาข้อที่
๗ ของสุภมาณพ ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่สุภมาณพจะแสดงตนเป็น
พุทธมามกะ
(๗) กรรมเป็นเหตุทที่ ำ� ให้เป็นคนอับปัญญา และเป็นคนมีปญ
ั ญา
ทุปฺปญฺสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ สมณํ วา
พฺราหฺมณํ วา อุปสงฺกมิตฺวา น ปริปุจฺฉิตา โหติ กึ ภนฺเต กุสลํ, กึ
อกุสลํ, กึ สาวชฺชํ, กึ อนวชฺชํ, กึ เสวิตพฺพํ, กึ น เสวิตพฺพํ, กึ เม กรีย-
มานํ ทีฆรตฺตํ อหิตาย ทุกฺขาย โหติ, กึ วา ปน เม กรียมานํ ทีฆรตฺตํ
หิตาย สุขาย โหตีติ.๒๓๑
“มาณพ การทีบ่ คุ คลไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบ

345
พรหมวิหาร
ถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไร
ไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่า
กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทราม”
บางคนไม่รู้จักวิธีเข้าไปหาผู้มีความรู้และประสบการณ์เพื่อ
ขอค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับเรื่องที่ตนไม่เข้าใจหรือที่ตนยังไม่รู้ บางคนก็ไม่
กระตือรือร้นที่จะหาค�ำตอบในสิ่งที่ไม่รู้ กลับพอใจโดยไม่หาความรู้
เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา การไม่ไต่ถามเรื่องที่ไม่รู้ จัดเป็นความละเลยใน
หน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ในเรื่องธุรกิจการงานทางโลก ควรต้องสอบถามใน
สิ่งที่ไม่รู้จัก และถ้าจ�ำเป็นก็ต้องศึกษาเล่าเรียนให้เข้าใจ จึงจะประสบ
ความส�ำเร็จในหน้าที่การงานได้ ส่วนในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน ควร
ต้องแสวงหาความรู้ด้วยการถามในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องถามว่า อะไรคือกุศล อะไรคืออกุศล เป็นต้น แต่บุคคลที่ไม่
สนใจหาความรู้ก็ยังพอใจที่จะหาความสุขไปวันๆ โดยไม่อาทรกับเรื่อง
เหล่านี้
ถ้าไม่แสวงหาความรู้ก็จะเป็นคนโง่เขลา และเพราะความโง่
เขลาจึงอาจท�ำสิ่งที่ไม่ควรกระท�ำ การท�ำบาปส่งผลให้ไปเกิดในอบาย
หลังจากสิ้นชีวิตลง ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็มักจะเป็นคนไม่รู้จักผิด
346
พรหมวิหาร
ชอบชั่วดี เพราะไม่เคยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกุศลและอกุศล
มาก่อน จึงพอจะผูกเป็นสุภาษิตได้ว่า “ไม่ถามปัญหา ปัญญามืดบอด”
ส่วนบุคคลที่ถามและศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่ไม่รู้ ย่อมจะมี
ความรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งควรท�ำ อะไรไม่ควรท�ำ เขาย่อมเป็นคนที่สุขุม
รอบคอบ กระท�ำแต่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะเป็นคนที่มีปัญญา
จึงไม่ท�ำความชั่ว และเพราะเขาไม่ท�ำชั่ว เมื่อตายไปก็ย่อมไปสู่สุคติ
โลกสวรรค์ และหากได้เกิดเป็นคน จะได้เป็นคนที่มีปัญญามาก ดัง
พระบาลีว่า
มหาปญฺสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ สมณํ วา
พฺราหฺมณํ วา อุปสงฺกมิตฺวา ปริปุจฺฉิตา โหติ กึ ภนฺเต กุสลํ, กึ อกุสลํ,
กึ สาวชฺชํ, กึ อนวชฺชํ, กึ สวิตพฺพํ กึ น เสวิตพฺพํ, กึ เม กรียมานํ
ทีฆรตฺตํ อหิตาย ทุกฺขาย โหติ, กึ วา ปน เม กรียมานํ ทีฆรตฺตํ
หิตาย สุขาย โหตีติ.๒๓๒
“มาณพ การที่บุคคลเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบ
ถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไร
ไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่า
กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอด

347
พรหมวิหาร
กาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก”
ถ้าบุคคลรูจ้ กั ถามปัญหา ก็จะเป็นคนมีปญ
ั ญา เช่นถามว่า อะไร
คือกุศล อะไรคืออกุศล กุศลคือธรรมที่ดี ไม่มีโทษ (อนวัชชะ) เป็น
ธรรมที่ยึดเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ การท�ำกุศลจะเป็นประโยชน์และให้ผล
เป็นความสุขทั้งในภพนี้ และภพต่อๆ ไปตราบใดที่ยังเวียนว่ายอยู่ใน
สังสารวัฏ ส่วนอกุศลเป็นธรรมที่ชั่ว เป็นการกระท�ำที่ผิดศีลธรรม มี
ต้นเหตุมาจากความโลภ ความโกรธ และความหลง อกุศลให้ผลเป็น
ทุกข์ และไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้เราได้ การท�ำอกุศลจะท�ำให้ไปเกิด
ในอบายภูมิ นอกจากนี้ การท�ำอกุศลยังให้ผลเป็นความทุกข์ในชาตินี้
และทุกๆ ชาติที่จะเกิดต่อไปในสังสารวัฏ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจที่
ถูกต้องว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศลจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ใน
ที่นี้ จึงขอกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างกุศลและอกุศลโดยสังเขป

อกุศลเป็นสิ่งที่ไม่ควรท�ำ พึ่งพาอาศัยไม่ได้
อกุศล ว่าโดยย่อ หมายถึง ทุจริต ๑๐ อย่าง คือ
๑. ปาณาติปาต การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
๒. อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
ได้แก่ การลักทรัพย์
348
พรหมวิหาร
๓. กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม
สามอย่างนี้เป็นการท�ำชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต ๓
๑. มุสาวาทา การพูดไม่จริง คือการพูดเท็จ
๒. ปิสุณวาจา การพูดส่อเสียด
๓. ผรุสวาจา การพูดค�ำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ
สี่อย่างนี้เป็นการท�ำชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ๔
๑ อภิชฌา การคิดอยากได้ของผู้อื่นอย่างผิด
ศีลธรรม หรือความละโมบนั้นเอง
๒ พยาปาท การคิดปองร้ายผู้อื่น
๓ มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อในกรรม
และผลของกรรมเป็นต้น
สามอย่างนี้เป็นการท�ำชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต ๓
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทุจริต ๑๐ อย่างนี๒๓๓ ้ เป็นอกุศล
ยึดถือเป็นที่พึงพาอาศัยไม่ได้ และเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง กล่าวโดย
สรุปก็คอื การกระท�ำใดๆ ไม่วา่ จะเป็นทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
ทีจ่ ะท�ำให้เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ผอู้ นื่ รวมเรียกว่า อกุศล
เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง และถือเป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้

349
พรหมวิหาร
กุศลเป็นสิ่งที่ควรท�ำ พึ่งพาอาศัยได้
กุศล กล่าวโดยย่อ คือ สุจริต ๑๐ อย่าง ได้แก่ การงดเว้น
จากกายทุจริต ๓ ท�ำให้เกิดกายสุจริต ๓ การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔
ท�ำให้เกิดวจีสุจริต ๔ และการงดเว้นจากมโนทุจริต ๓ ท�ำให้เกิด
มโนสุจริต ๓๒๓๔
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง กุศล หมายถึง การให้ทาน รักษาศีล และ
เจริญภาวนา๒๓๕ เรื่องการให้ทานนั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้วจึง
ไม่จ�ำเป็นต้องอธิบาย ศีล คือ การงดเว้นจากทุจริตทางกายและวาจา
ด้วยการไม่ท�ำกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเอง
ภาวนา คือ การอบรมจิต มีอยู่สองอย่างโดยจ�ำแนกตามสมถภาวนา
เป็นการปฏิบัติเพื่อท�ำให้จิตสงบ ส่วนวิปัสสนาภาวนา เป็นการปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งอริยสัจ ๔
ตามอรรถาธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค๒๓๖ สมถภาวนาแบ่ง
ออกเป็นกรรมฐาน ๔๐ อย่าง ในบรรดา ๔๐ อย่างนี้ นอกจากพรหม-
วิหาร ๔ (ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมี
สมถกรรมฐานอีก ๓๖ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ ๑๐
อรูปกรรมฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ จตุธาตุววัตถาน ๑
350
พรหมวิหาร
รวมเป็นสมถกรรมฐาน ๔๐ อย่าง ผู้ปฏิบัติพึงศึกษาวิธีเจริญกรรมฐาน
อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๐ อย่างนี้ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก่อนลงมือ
ปฏิบัติ หรือมิฉะนั้น การฟังธรรมอย่างตั้งใจ หรือการอ่านหนังสือธรรมะ
ด้วยความตัง้ ใจจดจ่อ ก็จดั เป็นการไต่ถามผูร้ โู้ ดยอ้อมเช่นเดียวกัน และ
ยังเป็นเหตุให้เกิดปัญญาอีกด้วย
แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญยิง่ กว่าการเจริญสมถกุศล คือการเจริญวิปสั สนา
กุศล ผูป้ ฏิบตั พิ งึ เข้าไปหาผูร้ ทู้ สี่ ามารถสอนวิธเี จริญวิปสั สนาภาวนา ตาม
หลักที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดวิปัสสนากุศล การฟังพระธรรมเทศนา
อย่างตั้งใจหรือการศึกษาจากหนังสือที่สอนแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
อย่างถูกต้องก็เป็นวิธีที่จะเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญา
ได้ แต่การได้ปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานอย่างจริงจัง ภายใต้การแนะน�ำ
จากวิปัสสนาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอนอย่าง
ถูกต้องจะเป็นวิธีฝึกที่ได้ผลดีที่สุด ในที่นี้จึงกล่าวถึงวิธีเจริญวิปัสสนา
พอเป็นสังเขป

351
พรหมวิหาร
วิธีการเจริญวิปัสสนากุศล
คนส่วนใหญ่จะมีจิตที่เต็มไปด้วยอกุศล มีโลภะ โทสะ และ
โมหะ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้า
มาทางทวารทั้ง ๖ ในขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส และ
คิดนึกเรื่องราวต่างๆ อกุศลเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะขาดความเข้าใจถึง
ลักษณะที่แท้จริงของอารมณ์ที่มากระทบว่า สิ่งที่เห็นเป็นต้นนั้น เป็น
อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา คือมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่
ตัวตน ดังนั้น จึงควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อป้องกันไม่ให้โลภะ
โทสะ และโมหะ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะวิปัสสนากุศลที่เกิดจาก
การเจริญวิปสั สนาโดยการก�ำหนดรูร้ ปู นามนี้ ท�ำให้เกิดปัญญามองเห็น
สภาวธรรมตามที่เป็นจริงของรูปนามได้ชั่วขณะ จึงควรก�ำหนดรู้รูป
นามให้ทนั ปัจจุบนั ขณะทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ เพราะการก�ำหนดให้ทนั ปัจจุบนั
ขณะเท่านั้นจึงจะสามารถรู้เห็นรูปนามตามความเป็นจริงได้
อุปมาเหมือนสายฟ้าแลบที่เกิดขึ้นและดับไปในชั่วพริบตา
ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะเห็นสายฟ้าแลบจะต้องมองให้ทันในขณะที่ฟ้า
ก�ำลังแลบ เพราะเมื่อฟ้าแลบผ่านไปแล้ว แสงก็ดับไปหมดสิ้น ไม่มี
อะไรเหลือให้เห็น และไม่อาจเห็นได้โดยในจินตนาการ๒๓๗ ลักษณะ
ปรมัตถ์ของสภาวธรรมรูปนามก็เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้ก็ต่อ
เมื่อรูปนามก�ำลังเกิดขึ้น๒๓๘ เพราะเมื่อดับไปแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือให้
352
พรหมวิหาร
เห็น และก่อนที่จะเกิดก็ไม่มีอะไรให้สังเกตเห็นเช่นเดียวกัน เมื่อเป็น
ดังนี้ การพิจารณารูปนามหลังจากทีม่ นั ดับไปแล้วจะไม่สามารถเห็นตาม
ความเป็นจริงได้ การก�ำหนดรู้รูปนามจะต้องตามรู้ในปัจจุบันขณะที่
ก�ำลังเกิดขึ้นและดับไปในทันที
เมื่อสติมีก�ำลังมากและคล่องแคล่วขณะก�ำหนดรู้ความเป็นไป
ของรูปนามในปัจจุบนั ขณะทีก่ ำ� ลังเกิดและดับ ผูป้ ฏิบตั จิ ะเห็นลักษณะ
ปรมัตถ์ของรูปและนามได้อย่างชัดเจนด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า มีการ
เกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร เพียงการภาวนาว่า “เกิดหนอ ดับหนอ”
อย่างผิวเผินไม่สามารถช่วยให้เห็นการเกิดดับได้ แต่จะต้องตามก�ำหนด
รู้รูปนามอย่างจดจ่อต่อเนื่องจนกระทั่งเห็นโดยประจักษ์ถึงการเกิด
ขึ้นและดับไปของรูปนาม จึงจะช่วยให้เข้าใจถึงอนิจจลักษณะได้
เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นอนิจจลักษณะแล้ว ก็เป็นอันว่าได้เห็นทุกข-
ลักษณะและอนัตตลักษณะอีกด้วย เพราะเข้าใจว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็น
สภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยความเกิดดับ และไม่อยู่ในอ�ำนาจของตนที่ต้อง
การให้เที่ยงและเป็นสุขอยู่เสมอ การก�ำหนดรู้สภาวธรรมรูปนามโดย
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนนี้แหละคือการเจริญวิปัสสนา-
กรรมฐาน

353
พรหมวิหาร
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะเห็น
วิธีการก�ำหนดรู้รูปนาม สามารถปฏิบัติดังนี้
ในขณะเห็นรูป ให้ก�ำหนดว่า “เห็นหนอ” ท�ำนองเดียวกัน
กับในมหาสติปัฏฐานสูตร๒๓๙ ที่ตรัสไว้ว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ
ปชานาติ (เมื่อเดิน ย่อมรู้ว่าเดินอยู่) หมายความว่า ในขณะที่ผู้ปฏิบัติ
ก�ำลังเดินอยู่ พึงก�ำหนดว่า “เดินหนอ” ดังนั้น ในขณะที่ก�ำหนดว่า
“เห็นหนอ” อยู่นั้น สภาวลักษณะที่แท้จริงของรูปและนามจะปรากฏ
ชัดในขณะที่เห็นนั้น การปรากฏขึ้นของรูปนามในขณะที่เห็นนั้น มี
ความเป็นไปดังนี้
จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺาณํ. ติณฺณํ
สงฺคติ ผสฺโส. ผสฺสปจฺจยา เวทนา.๒๔๐
“จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นอาศัยจักขุประสาทและรูป การ
ประชุมของธรรมทั้งสาม เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
เวทนา”
354
พรหมวิหาร
ข้อความว่า “จักขุวญ ิ ญาณย่อมเกิดขึน้ อาศัยจักขุประสาทและ
รูป” หมายความว่า การเห็นเกิดขึ้นได้เพราะมี จักขุประสาท (รูป)
และรูปารมณ์ (รูป) เมื่อมีจักขุประสาทและรูปารมณ์เกิดขึ้น จักขุ-
วิญญาณ (นาม) คือ จิตที่ท�ำหน้าที่เห็นจึงเกิดขึ้น แต่คนทั่วไปที่ไม่มี
วิปัสสนาปัญญาก็มักจะคิดว่า มีสิ่งที่ถูกเห็น และมี ฉัน เป็นผู้เห็น
เมื่อเห็นสิ่งที่น่าพอใจ ก็ยินดีพอใจ คิดว่าสิ่งนั้นดี นอกจากนั้น ยังเห็น
ว่านัยน์ตาและร่างกายของตนเป็นสิ่งที่คงทนถาวรและน่าปรารถนา
พอใจ เป็นสมบัติของตน มีตัวตน มีชีวิต และเห็นว่ารูปารมณ์ก็เป็น
สิ่งที่คงทนถาวร น่าพอใจ มีตัวตน มีชีวิตเช่นเดียวกัน กระบวนการนี้
เป็นการเกิดขึ้นของความยึดมั่นเพราะความยินดีพอใจที่เกิดขึ้นเมื่อเห็น
รูปารมณ์ที่มีชีวิตว่ามีอัตตาตัวตน แต่ถ้าเห็นสิ่งไม่มีชีวิต คนส่วนใหญ่
ก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ตาม
ชื่อที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกสิ่งต่างๆ บัญญัติเหล่านี้แท้จริงแล้วไม่มี
สภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่
ผู้ปฏิบัติที่เจริญวิปัสสนาก�ำหนดรู้รูปนามอยู่ทุกขณะที่ตาเห็น
รูป หูได้ยนิ เสียง เป็นต้น จะมีสมาธิทแี่ ก่กล้าขึน้ จนสามารถเห็นได้วา่ ตา
ก็เป็นอย่างหนึ่ง และรูปที่เห็น ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง การเห็นก็เป็นอีก
อย่างหนึ่ง จิตที่เห็นและจิตที่ก�ำหนดรู้ก็เป็นคนละอย่าง ต่อจากนั้น
ตา รูป การเห็น และจิตที่เห็นก็ดับลงอย่างรวดเร็ว จึงท�ำให้ผู้ปฏิบัติ

355
พรหมวิหาร
เห็นความไม่ยั่งยืนของสภาวธรรมการเห็น และเพราะเป็นสภาพไม่
ยั่งยืน จึงเป็นทุกข์ นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยว่าเป็นเพียงสภาวธรรมที่
อาศัยกันเกิดขึ้น จึงไม่มีอัตตาตัวตนที่บังคับบัญชาได้ และไม่ใช่เป็น
สัตว์เป็นบุคคลแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญามากย่อมเข้าใจได้ว่า รูป
ที่เห็นไม่ว่าจะเป็นรูปที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่
ยั่งยืน เป็นทุกข์ และไม่มีอัตตาตัวตน
ความรูเ้ ช่นนีจ้ ดั เป็นวิปสั สนาปัญญาอย่างแท้จริง คือ การหยัง่ รู้
สามัญญลักษณะทั้งสาม คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่
ตัวตน โดยการก�ำหนดรู้รูปนามในทุกๆ ขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น
ดังนัน้ อรรถกถาจารย์ จึงให้รปู วิเคราะห์ (ค�ำจ�ำกัดความ) ของ วิปสั สนา
ว่า อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธหิ อากาเรหิ ปสฺสตีติ วิปสฺสนา (สภาวะที่เห็น
โดยลักษณะต่างๆ ด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า วิปัสสนา)๒๔๑

วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะได้ยิน
ส�ำหรับปุถุชนทั่วไป เมื่อได้ยินเสียงจะคิดว่า หู และเสียง เป็น
สิ่งยั่งยืน น่ายินดีพอใจ และมีอัตตาตัวตน นี้เป็นเพราะอวิชชาความ
โง่เขลาปิดบังความจริงเอาไว้ และเพราะอาศัยอวิชชานี้เองเป็นตัว
ต้นเหตุ ความทุกข์ทั้งหลายอันมีสังขารและวิญญาณเป็นต้นจึงเกิดขึ้น

356
พรหมวิหาร
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดว่า “ได้ยินหนอ” ทุกครั้งที่หูได้ยินเสียง
ย่อมท�ำให้สมาธิมีก�ำลังแก่กล้าขึ้น จนรู้ได้ว่า หู และเสียง เป็นรูป ส่วน
จิตที่ได้ยิน จิตที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม และรู้ด้วยว่า หู เสียง จิตที่ได้ยิน
และจิตที่ก�ำหนดรู้ ดับไปทันทีหลังจากมีการได้ยินเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติ
ย่อมรู้ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาที่หยั่งรู้เช่นนี้
เรียกว่าวิปัสสนาปัญญาที่แท้จริง

วิธีการก�ำหนดรู้รูปนามในขณะได้กลิ่น
คนทั่วไป เมื่อได้กลิ่นจะคิดว่า จมูก และกลิ่น เป็นสิ่งยั่งยืน
น่ายินดีพอใจ และมีอัตตาตัวตน นี้เป็นเพราะอวิชชาความโง่เขลา
ปิดบังความจริงเอาไว้ และเพราะอาศัยอวิชชานี้เองเป็นตัวต้นเหตุ
ความทุกข์ทั้งหลายอันมีสังขารและวิญญาณเป็นต้นจึงเกิดขึ้น
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดว่า “ได้กลิ่นหนอ” หรือ “รู้หนอ” ทุกครั้ง
ที่จมูกได้กลิ่น ย่อมท�ำให้สมาธิมีก�ำลังแก่กล้าขึ้น จนรู้ได้ว่า จมูก และ
กลิ่น เป็นรูป ส่วนจิตที่รู้กลิ่น จิตที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม และรู้ด้วยว่า
จมูก กลิ่น จิตที่ได้กลิ่น และจิตที่ก�ำหนดรู้ ดับไปทันทีหลังจากมีการ
ได้กลิ่นเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
ปัญญาที่หยั่งรู้เช่นนี้เรียกว่าวิปัสสนาปัญญาที่แท้จริง
357
พรหมวิหาร
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะลิ้มรส
ค�ำว่า ในขณะลิ้มรส หมายถึงขณะที่รับประทานอาหาร ส่วน
การมองดูอาหาร การหยิบอาหาร การยกอาหารใส่เข้าในปาก การ
เคี้ยวอาหาร นั้นไม่ใช่การลิ้มรส แต่เป็นการสัมผัสทางตาและทางกาย
ในขณะที่เคี้ยวและกลืนอาหาร ลิ้นเป็นอวัยวะที่กระทบกับรสอาหาร
และทุกครั้งที่มีการรู้รสทางลิ้น ปุถุชนทั่วไปจะคิดว่า ลิ้น และรส เป็น
สิ่งยั่งยืน น่ายินดีพอใจ และมีอัตตาตัวตน นี้เป็นเพราะอวิชชาความ
โง่เขลาปิดบังความจริงเอาไว้ และเพราะอาศัยอวิชชานี้เองเป็นตัว
ต้นเหตุ ทุกข์ทั้งหลายอันมีสังขารและวิญญาณเป็นต้นจึงเกิดขึ้น
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดว่า “รู้หนอ” ทุกครั้งที่ลิ้นรู้รส ย่อมท�ำให้
สมาธิมีก�ำลังแก่กล้าขึ้น จนรู้ได้ว่า ลิ้น และรส เป็นรูป ส่วนจิตที่รู้
รส จิตที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม และรู้ด้วยว่า ลิ้น รส จิตที่รู้รส และจิตที่
ก�ำหนดรู้ ดับไปทันทีหลังจากมีการรู้รสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ว่า ทุกสิ่ง
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาที่หยั่งรู้เช่นนี้เรียกว่า วิปัสสนา-
ปัญญาที่แท้จริง

358
พรหมวิหาร
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะถูกต้องสัมผัส
ค�ำว่า ในขณะถูกต้องสัมผัส มีขอบเขตกว้างขวางมาก เมื่อ
เทียบกับการเห็น หรือการได้ยนิ เพราะเราอาจหลีกเลีย่ งการเห็นได้
ด้วยการหลับตา หลีกเลี่ยงการได้ยินด้วยการหลบไปอยู่ในที่ไม่มีเสียง
การได้กลิน่ และการลิม้ รสก็เกิดขึน้ เป็นครัง้ คราวเท่านัน้ แต่การถูกต้อง
สัมผัสนั้น จะรู้สึกได้ทุกเวลาที่ใส่ใจความรู้สึกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของ
ร่างกาย หรือเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบกับร่างกาย เราจะรู้สึกได้
ทันทีโดยไม่ต้องตั้งใจใช้ความพยายามมากนัก ในขณะที่นั่งอยู่การ
กระทบของร่างกายส่วนล่างกับพื้นหรือเก้าอี้ก็รู้สึกได้ชัดเจน หรือ
การสัมผัสของเสื้อผ้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็มีความชัดเจน
หรือการสัมผัสของลิ้นกับฟันในปาก ในขณะก�ำลังเดิน หรือเปลี่ยน
อิริยาบถ เราจะรู้สึกถึงการสัมผัสกันระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หรือทุกครั้งที่หายใจเข้าและหายใจออก จะรู้สึกได้ถึงการกระทบของ
ลมที่ปลายจมูก หรือสภาวะตึงหย่อนของท้อง นอกจากนี้ การกระทบ
กับอากาศร้อนหรืออากาศเย็นก็รู้สึกได้ง่ายเช่นเดียวกัน

359
พรหมวิหาร
ส�ำหรับปุถุชนทั่วไปนั้น เมื่อได้เกิดการกระทบกับสัมผัสที่เกิด
ขึน้ ทางกาย จะคิดว่าร่างกายเป็นอัตตาของตน เมือ่ ได้รบั สัมผัสทีส่ บาย
ก็เกิดความยินดีพอใจ และต้องการให้คงอยู่ตลอดไป เพราะอวิชชา
ความโง่เขลาปิดบังความจริงเอาไว้ และเพราะอาศัยอวิชชานี้เองเป็น
ตัวต้นเหตุ ความทุกข์ทั้งหลายอันมีสังขารและวิญญาณเป็นต้น จึง
เกิดขึ้น
ผู้ปฏิบัติที่ก�ำหนดว่า “ถูกหนอ” ทุกครั้งที่มีการสัมผัสเกิดขึ้น
และก�ำหนดว่า “เดินหนอ” หรือ “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ”
หรือ “ยกหนอ” “ย่างหนอ” “เหยียบหนอ” เป็นต้นในขณะที่เดินอยู่
โดยคล้อยตามวิธีที่กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร๒๔๒ ว่า คจฺฉนฺโต วา
คจฺฉามีติ ปชานาติ (เมื่อเดิน ย่อมรู้ว่าเดินอยู่) ค�ำว่า “ย่อมรู้ว่าเดิน
อยู่” นี้ พึงเข้าใจว่า หมายถึง รูปที่เดินอยู่ ไม่มีค�ำสอนว่าให้ก�ำหนดรู้
วาโยธาตุโดยใช้ค�ำบริกรรมว่า “วาโยธาตุ” แต่ผู้ปฏิบัติพึงก�ำหนดรู้
การเดินว่า “เดินหนอ” ด้วยภาษาชาวบ้านทัว่ ไปก็จะรับรูส้ ภาวะ
เคลือ่ นไหวและผลักดันของวาโยธาตุได้ หรือในขณะที่เปลี่ยนอิริยาบถ
เช่น ยืน นั่ง หรือนอนเป็นต้นนั้น พึงก�ำหนดว่า “ยืนหนอ” “นั่งหนอ”
“นอนหนอ” “คู้หนอ” “เหยียดหนอ” เป็นต้น สภาวะผลักดันและ
เคลื่อนไหวนี้ เป็นลักษณะปรมัตถ์ของวาโยธาตุ

360
พรหมวิหาร
ต่อจากนั้น ในขณะที่ก�ำหนดรู้สภาวะพองหรือยุบของท้อง
สภาวะปรมัตถ์ของวาโยธาตุทมี่ ลี กั ษณะผลักดัน และท�ำให้เคลือ่ นไหว
ย่อมปรากฏชัด แต่มีความพิเศษในการก�ำหนดรู้สภาวะพองยุบ คือ
เมื่อสภาวะพองสิ้นสุดลง สภาวะยุบก็เกิดขึ้น และเมื่อสภาวะยุบสิ้น
สุดลง สภาวะพองก็เกิดขึ้น ไม่มีช่องว่างระหว่างสภาวะพองกับสภาวะ
ยุบ ซึ่งต่างจากการนั่งและการสัมผัส ฉะนั้น ในการก�ำหนดรู้สภาวะ
พองยุบนั้น เมื่อสภาวะพองสิ้นสุดลง จึงต้องก�ำหนดสภาวะยุบต่อไป
ทันที และเมื่อสภาวะยุบสิ้นสุดลง ต้องก�ำหนดสภาวะพองต่อไปทันที
การก�ำหนดรูอ้ ย่างต่อเนือ่ งเช่นนี้ ท�ำให้เกิดสติและสมาธิทตี่ อ่ เนือ่ ง และ
เมื่อเกิดสมาธิที่ต่อเนื่อง วิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้น นี้เป็นลักษณะ
พิเศษของการก�ำหนดสภาวะพองยุบของท้อง
หากในขณะที่ก�ำลังก�ำหนดสภาวะพองยุบของท้องอยู่นั้น มี
ความคิดนึกถึงเรื่องราวต่างๆ แทรกเข้ามา พึงก�ำหนดสภาวะคิด ด้วย
ค�ำว่า “คิดหนอ” ถ้ารู้สึกเมื่อย หรือรู้สึกร้อน พึงก�ำหนดว่า “เมื่อย
หนอ” หรือ “ร้อนหนอ” ถ้ารู้สึกปวด พึงก�ำหนดว่า “ปวดหนอ” ถ้ามี
การเปลี่ยนอิริยาบถ ก็พึงก�ำหนดรู้การเปลี่ยนอิริยาบถด้วย ถ้าในขณะ
ที่ก�ำหนดสภาวะพองยุบอยู่นั้น ได้ยินเสียงหรือเห็นรูป ก็พึงก�ำหนด
ว่า “เห็นหนอ” หรือ “ได้ยินหนอ” เช่นเดียวกัน เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นใด
ที่ชัดเจนมาปรากฏ ผู้ปฏิบัติพึงกลับมาก�ำหนดสภาวะพองยุบต่อไป

361
พรหมวิหาร
สภาวะผลักดันหรือเคลื่อนไหวที่ปรากฏในขณะที่เคลื่อนไหว
เป็นลักษณะของวาโยธาตุ ส่วนการกระทบสัมผัสนั้น รู้ได้ด้วยกาย-
วิญญาณ (นาม) ซึ่งเกิดขึ้นที่กายประสาท (รูป) ทุกครั้งที่ก�ำหนดรู้
สภาวะพองยุบของท้อง จะรู้สึกถึงความตึงและความหย่อนที่เกิดขึ้น
ได้อย่างชัดเจน เมื่อสมาธิมีก�ำลังแก่กล้ามั่นคง ผู้ปฏิบัติจะเห็นความ
แตกต่างของสภาวะพอง จิตที่รู้สภาวะพอง สภาวะยุบ และจิตที่
ก�ำหนดรู้สภาวะยุบ อย่างชัดเจน
ดังนั้น ในขณะที่ก�ำหนดรู้สภาวะพองยุบนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็น
ได้ชดั เจนว่า ร่างกายทีก่ ระทบสัมผัส เป็นรูป ความรูส้ กึ กระทบสัมผัส
และจิตทีร่ บั รูก้ ารกระทบสัมผัสเป็นนาม ส�ำหรับการเคลือ่ นไหวอิรยิ าบถ
ในการเดิน หรือการย่างเท้า ก็เช่นเดียวกัน ร่างกายที่เคลื่อนไป เป็น
รูป การรู้สภาวะเคลื่อนไหว และจิตที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม ในขณะคู้
หรือเหยียดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้ชัดว่า ร่างกาย เป็นรูป และจิตที่รู้
เป็นนาม เมื่อสมาธิมีความแก่กล้าถึงระดับญาณที่มีก�ำลังมาก ผู้ปฏิบัติ
จะเห็นได้ว่า รูปที่ถูกรู้ และจิตที่รู้ ได้ดับไปในทันทีที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็น
ลักษณะของความไม่เทีย่ ง การรูเ้ ห็นเช่นนีจ้ ดั เป็นวิปสั สนาญาณทีแ่ ท้จริง

362
พรหมวิหาร
วิธีก�ำหนดรู้รูปนามในขณะคิดนึก
การยึดมั่น (อุปาทาน) ที่เหนียวแน่นที่สุด คือการยึดมั่นใน
ความเป็นตัวตน เห็นว่าตนเองมีอัตตาที่ยั่งยืนอยู่ตลอดชีวิต สามารถ
บังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ จึงวางแผนจัดแจงท�ำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เป็นไป
ตามความประสงค์ของตน และเพือ่ ให้ได้ความสุขและความพอใจ ทัง้ นี้
เพราะมีอวิชชาความโง่เขลาปิดบังความจริงเอาไว้ และเพราะอาศัย
อวิชชานีเ้ องเป็นตัวต้นเหตุ ความทุกข์ทงั้ หลายอันมีสงั ขารและวิญญาณ
เป็นต้นจึงเกิดขึ้น
การก�ำจัดอวิชชาให้หมดไปได้ จะต้องก�ำหนดรู้ทุกครั้งที่มี
ความคิดเกิดขึ้นในจิต คือ ในขณะที่เจริญสติก�ำหนดสภาวะพองยุบ
ว่า “พองหนอ” “ยุบหนอ” อยู่นั้น หากมีความคิดแทรกเข้ามา ต้อง
ก�ำหนดว่า “คิดหนอ” หรือ “วางแผนหนอ” การก�ำหนดเช่นนี้เพื่อ
ให้มีสติเท่าทันความคิดที่เกิดขึ้น เพราะทุกครั้งที่ก�ำหนดรู้ความคิดที่
เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นได้ว่า จิตและเจตสิกที่ประกอบกันซึ่งเป็น
ผู้รู้ว่าก�ำลังคิดนั้นเป็นนาม เรื่องที่คิดเป็นบัญญัติ (นามบัญญัติ คือ
ชื่อเรียก และสัณฐานบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐาน) ทั้งความคิดและจิต
ที่รู้ก็ดับไปในทันทีที่เกิดขึ้น การรู้เห็นว่า ความคิด และจิตที่รู้ความคิด
ดับไปในทันทีหลังจากมีการคิดเกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึง ความไม่เที่ยง
ความรู้เห็นเช่นนี้จัดเป็นวิปัสสนาปัญญาอย่างแท้จริง
363
พรหมวิหาร
ในขณะที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ หทัยวัตถุอันเป็นที่อาศัยเกิด
ของจิตคิดเป็นรูป ความคิด และจิตที่คิด เป็นนาม สภาวะคิด สภาวะ
รู้ และสภาวะพิจารณา เป็นนาม มีเพียงรูปกับนามเพียงสองอย่างนี้
เท่านัน้ และรูปกับนามนี้ ก็ดบั ไปทันทีทเี่ กิดขึน้ ด้วยเหตุนี้ สภาว-
ธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ในขณะก�ำลังฟัง
พระธรรมเทศนานี้อยู่ เมื่อท่านทั้งหลายเจริญเมตตาด้วยค�ำภาวนา
ว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขเถิด” แล้วก�ำหนดรู้ไปด้วย การก�ำหนดรู้
สภาวธรรมทีป่ รากฏในขณะแผ่เมตตาจัดเป็นวิปสั สนาญาณ กล่าวคือ
ความตั้งใจจะแผ่เมตตา และความต้องการจะกล่าวค�ำภาวนา เป็น
นาม เสียงที่เปล่งออกมา เป็นรูป สติที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม ทั้งรูปและ
นามได้ดับไปทันทีที่เกิดขึ้น การเห็นเช่นนี้ท�ำให้เข้าใจได้ว่า สภาว-
ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ปัญญาที่เห็นนี้เป็น
วิปัสสนาญาณที่รู้แจ้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
หลังจากทีไ่ ด้แผ่เมตตาพร้อมกับเจริญวิปสั สนาแล้ว ล�ำดับต่อ
ไปให้แผ่กรุณาพร้อมกับเจริญวิปสั สนาโดยกล่าวค�ำภาวนาว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงพ้นทุกข์เถิด” ความตั้งใจจะแผ่กรุณา และความต้องการจะ
กล่าวค�ำภาวนา เป็นนาม เสียงที่เปล่งออกมา เป็นรูป สติที่ก�ำหนดรู้
เป็นนาม ทั้งรูปและนามได้ดับไปทันทีที่เกิดขึ้น เพราะรูปและนามมี
ธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

364
พรหมวิหาร
ล�ำดับต่อไป จึงเจริญวิปัสสนาไปพร้อมกับการแผ่มุทิตาโดย
กล่าวค�ำภาวนาว่า “ขอสัตว์ทงั้ ปวง จงอย่าพรากจากสมบัตทิ ไี่ ด้รบั แล้ว
จงมีสมบัตแิ ละความสุขอย่างนีต้ ลอดไป” ความตัง้ ใจจะแผ่มทุ ติ า และ
ความต้องการจะกล่าวค�ำภาวนา เป็นนาม เสียงที่เปล่งออกมา เป็น
รูป สติที่ก�ำหนดรู้ เป็นนาม มีแต่รูปและนามเท่านั้นที่เกิดขึ้น ทั้งรูป
และนามดับไปในทันทีที่เกิดขึ้น การเห็นเช่นนี้ท�ำให้รู้ชัดว่า สภาว-
ธรรมทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

กุศลเป็นที่พึ่งได้และเป็นสิ่งที่พึงท�ำให้เจริญ
ข้าพเจ้าได้อธิบายมาแล้วถึงกุศลธรรม ๒ ชนิด คือ สมถภาวนา
กุศล และวิปัสสนาภาวนากุศล ที่เกี่ยวกับการเจริญเมตตา กรุณา
และมุทิตา พร้อมกับวิธีการปฏิบัติโดยละเอียด การสดับหรือศึกษา
พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับกุศลธรรมทั้งสองอย่างนี้ เป็นการเจริญกุศล
ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมทั้งสองอย่าง สามารถจะน�ำไปปฏิบัติเพื่อให้
เกิดผลต่อไปในภายภาคหน้า ประโยชน์ทพี่ งึ ได้รบั จากการปฏิบตั ธิ รรม
นี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้
มหาปญฺสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา, ยทิทํ สมณํ วา
พฺราหฺมณํ วา อุปสงฺกมิตฺวา ปริปุจฺฉิตา โหติ กึ ภนฺเต กุสลํ, กึ อกุสลํ,

365
พรหมวิหาร
กึ สาวชฺชํ, กึ อนวชฺชํ, กึ สวิตพฺพํ กึ น เสวิตพฺพํ, กึ เม กรียมานํ
ทีฆรตฺตํ อหิตาย ทุกฺขาย โหติ, กึ วา ปน เม กรียมานํ ทีฆรตฺตํ หิตาย
สุขาย โหตีติ.๒๔๓
“มาณพ การที่บุคคลเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบ
ถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไร
ไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่า
กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าท�ำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก”
ด้วยประการฉะนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงวิสัชชนาปัญหา ๗ ข้อ
ของสุภมาณพ คือ
๑. อะไรเป็นเหตุให้มีอายุสั้น มีอายุยืน
๒. อะไรเป็นเหตุให้มีโรคมาก มีโรคน้อย
๓. อะไรเป็นเหตุให้มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
๔. อะไรเป็นเหตุให้มีบริวารน้อย มีบริวารมาก
๕. อะไรเป็นเหตุให้มีทรัพย์น้อย มีทรัพย์มาก
๖. อะไรเป็นเหตุให้เกิดในตระกูลต�่ำ เกิดในตระกูลสูง
๗. อะไรเป็นเหตุให้อับปัญญา มีปัญญา

366
พรหมวิหาร
ผลที่บุคคลได้รับในภพนี้ ๗ ประการ หรือ ๑๔ ประการ ถ้า
นับผลทั้งที่ดีและไม่ดีรวมกัน ย่อมเป็นวิบากที่เกิดจากกุศลกรรมและ
อกุศลกรรมที่บุคคลนั้นได้กระท�ำในภพก่อน ไม่ใช่เป็นเพราะมีใคร
บันดาลให้เป็นไปเช่นนัน้ หากแต่เป็นผลของกรรมทีไ่ ด้ทำ� ไว้ในอดีตภพ
ส่วนค�ำอธิบายผลของกรรมที่ได้ท�ำในปัจจุบันภพ มีในล�ำดับต่อไป

ผลกรรมที่ท�ำในปัจจุบันภพ
คนที่ไม่ใส่ใจในสุขภาพของตน ไม่รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ไม่ออกก�ำลังกายตามสมควร จะกลายเป็นคนขีโ้ รค คนทีเ่ ล่น
กีฬาและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้โทษ
จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งนี้เขาจะต้องไม่มีอกุศลกรรมอย่างหนักที่ได้
ท�ำไว้ในอดีตด้วย ข้อนี้เป็นค�ำตอบปัญหาของสุภมาณพ ข้อ ๒
ข้อปฏิบัติที่ส่งผลให้มีบริวารมาก ๔ ประการ คือ ๑) การแบ่ง
ปันเจือจาน ๒) การกล่าวค�ำอ่อนหวาน ๓) การช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้
รับความสุข ๔) การปฏิบตั ติ อ่ ผูอ้ นื่ อย่างเพือ่ นทีเ่ สมอกันโดยปราศจาก
ความเย่อหยิ่งถือตัว
ทั้ง ๔ ข้อเป็นปฏิปทาท�ำให้มีบริวารและมีผู้ช่วยเหลือมากใน
ชาติปัจจุบัน ถ้ามีการปฏิบัติตามสังคหวัตถุ ๔ ประการที่ว่านี้เป็น
367
พรหมวิหาร
ประจ�ำ๒๔๔ จะท�ำให้ผู้ที่ปฏิบัติมีบริวารมากและมีมิตรสหายมาก แต่
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะเป็นคนไม่มีบริวารและไม่มีเพื่อน
ข้อนี้เป็นค�ำตอบปัญหาของสุภมาณพ ข้อ ๔
ข้อปฏิบัติที่ท�ำให้เป็นคนร�่ำรวย พระพุทธองค์ได้ตรัสอธิบาย
ไว้ในสัมปทา ๔ คือ ๑) อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่
การงาน แสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสม และใส่ใจใน
งานที่ท�ำ ๒) อารักขสัมปทา รักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้รั่วไหลหรือ
ถูกท�ำลายไป ๓) กัลยาณมิตตตา มีมิตรที่ดี ๔) สมชีวิตา เลี้ยงชีพแต่
พอสมควร ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินจ�ำเป็น๒๔๕
ผู้ที่ด�ำรงชีวิตตามหลักสัมปทา ๔ ประการดังกล่าวนี้ ย่อมจะ
ร�่ำรวยเป็นเศรษฐี หรือหากไม่ได้เป็นเศรษฐีก็จะผู้มีฐานะดีพอสมควร
การปฏิบัติตนตรงข้ามกับที่กล่าวมา จะท�ำให้เป็นคนยากจน
ส�ำหรับข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้มีปัญญามากหรือมีปัญญาน้อย
นั้น ขึ้นกับการตอบปัญหาและศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่ควรรู้เหมือนกับ
ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อที่ ๗
ข้ อ ปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น เหตุ ใ ห้ มี อ ายุ ยื น หรื อ มี อ ายุ สั้ น ซึ่ ง ท� ำ ได้ ใ น
ปัจจุบันนั้น คือ การใส่ใจรักษาสุขภาพเหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้วใน
ข้อ ๒

368
พรหมวิหาร
ส่วนข้อปฏิบตั ทิ เี่ ป็นเหตุให้ผวิ พรรณงามหรือทราม เป็นคนสวย
หรือขี้เหร่ ที่จะท�ำได้ในปัจจุบันนั้น ไม่มีอะไรควรจะกล่าวได้มากนัก
ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้เกิดในตระกูลสูง หรือตระกูลต�่ำในข้อ
๖ ที่สามารถท�ำได้ในปัจจุบันก็คือ การท�ำตนให้เป็นที่นับถือของคน
ทัว่ ไปด้วยการมีทรัพย์สมบัติ การคบกัลยาณมิตร ความมีปญ ั ญา และ
การศึกษาหาความรู้ จนเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
สัตว์ทั้งปวงย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้ท�ำไว้ในอดีตภพและ
ในปัจจุบนั ภพ ความสุขความทุกข์ในปัจจุบนั จึงขึน้ อยูก่ บั กุศลกรรมและ
อกุศลกรรมที่ได้ท�ำไว้ กรรมดีย่อมให้ผลเป็นความสุข กรรมชั่วย่อมให้
ผลเป็นความทุกข์ กฎของกรรมเช่นนีไ้ ม่มสี ตั ว์โลกผูใ้ ดจะแก้ไขหรือ
หลีกเลี่ยงได้ ทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในความสุขและความทุกข์ของ
ตนเอง ไม่มีใครสามารถบันดาลความสุขความทุกข์ให้ผู้อื่นได้ ทุกอย่าง
เป็นผลมาจากกรรมที่ตนได้กระท�ำไว้ทั้งสิ้น
เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภมาณพมีความเลื่อมใสในพระศาสดา
ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ในการเจริญอุเบกขาภาวนานี้ มีหลักการส�ำคัญคือ ความทุกข์
ความสุข วิบากทัง้ ดีและไม่ดที งั้ หลายนัน้ ไม่มผี ใู้ ดสามารถแก้ไข หรือ
เปลีย่ นแปลง หรือบันดาลให้เป็นไปตามความต้องการได้ ต้องเป็นไป
ตามกรรมที่แต่ละคนได้กระท�ำไว้ ผู้ที่เจริญอุเบกขาภาวนาจึงต้อง
369
พรหมวิหาร
วางเฉยต่อความสุขและความทุกข์ที่สัตว์โลกต้องประสบ ไม่จ�ำเป็น
ต้องแสดงความห่วงใยหรือความปรารถนาดีด้วยการภาวนาให้เขามี
ความสุขพ้นจากทุกข์ หรือให้รำ�่ รวยมีสขุ ภาพดีมคี วามสุขอยูต่ ลอดไป
เพราะความห่วงใยท�ำให้เดือดร้อนโดยเปล่าประโยชน์ การคิดว่า
กมฺมสฺสกา (สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน) เป็นการสร้างความรูส้ กึ วางเฉย
ต่อสัตว์ทงั้ ปวง ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เพราะย่อม
เป็นไปตามกรรม ผูป้ ฏิบตั สิ ามารถกล่าวค�ำภาวนาเพือ่ เจริญอุเบกขา-
ภาวนาควบคูไ่ ปกับการเจริญวิปสั สนาภาวนาว่า “สัตว์ทงั้ หลายมีกรรม
เป็นของตน” ความตั้งใจจะแผ่อุเบกขา และความต้องการจะ
กล่าวค�ำภาวนา เป็นนาม เสียงที่เปล่งออกมา เป็นรูป สติที่ก�ำหนดรู้
เป็นนามทั้งรูปและนามได้ดับไปทันทีที่เกิดขึ้น เพราะรูปและนามมี
ธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
ทรัพย์สมบัติและความสุขเป็นผลที่เกิดจากกรรม ความทุกข์
ก็เป็นผลทีเ่ กิดจากกรรมเช่นเดียวกัน คนเรามีกรรมเท่านัน้ ทีเ่ ป็นของตน
มีกรรมเท่านั้นที่ให้ผล ด้วยการเจริญอุเบกขาภาวนาอันวางเฉยต่อ
ความสุขความทุกข์ของสัตว์โลก จะช่วยให้มีจิตใจปลอดโปร่งไม่เป็น
ทุกข์เมื่อเห็นสัตว์โลกได้รับทุกข์ โดยน้อมใจไปในหลักธรรมที่ว่า ทุกสิ่ง
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เพราะอาศัยกรรมเป็นต้นเหตุ ดังนั้น การท�ำใจ
ให้เป็นอุเบกขาจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและช่วยให้พ้นจากความทุกข์ใจ

370
พรหมวิหาร
ได้ในชาตินี้ การละเว้นจากอกุศลกรรมและการเพิ่มพูนกุศลกรรมให้
มากขึ้นอย่างเต็มก�ำลังความสามารถจะเป็นที่พึ่งพาอาศัยต่อไปในภพ
เบือ้ งหน้า แต่ถา้ ไม่ปฏิบตั ติ ามนี้ เมือ่ ประสบความทุกข์ในอนาคตก็จะ
เกิดมีโทสะขึ้นมา แล้วพยายามโทษว่าเป็นความผิดของคนอื่น โทสะ
นี้เป็นอกุศลที่จะส่งผลเป็นความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น ทางปฏิบัติที่ดี
ที่สุดก็คือ ด�ำเนินชีวิตตามกฎแห่งกรรม (กมฺมสฺสกา) และยอมรับสิ่ง
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามกรรมที่ได้ท�ำไว้ การท�ำใจไว้เช่นนี้ จะ
ท�ำให้เกิดความสบายใจ เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ เป็นสัจธรรมที่ประเสริฐ
การอธิ บ ายเกี่ ย วกั บ วิ ธี เจริ ญ อุ เ บกขาภาวนาที่ ไ ด้ ก ล่ า วมา
แล้วนี้ ได้จบลงอย่างบริบรู ณ์แล้ว ล�ำดับต่อไป ข้าพเจ้าจะยุตกิ ารแสดง
พระธรรมเทศนาด้วยการกล่าวสุภาษิตทีส่ รุปค�ำสอนเกีย่ วกับการเจริญ
อุเบกขาภาวนาว่า กมฺมสฺสกา (สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน) จ�ำแนกได้
ดังต่อไปนี้
(๑) การฆ่าสัตว์ท�ำให้อายุสั้น
การไม่ฆ่าสัตว์ท�ำให้อายุยืน
(๒) การเบียดเบียนผู้อื่นท�ำให้มีโรคมาก
การไม่เบียดเบียนผู้อื่นท�ำให้มีสุขภาพดี
(๓) ความโกรธท�ำให้น่าเกลียด
ความอดทนท�ำให้สวยงาม
371
พรหมวิหาร
(๔) ความริษยาท�ำให้ขาดบริวารและผู้ช่วยเหลือ
ความไม่ริษยาท�ำให้มีบริวารมาก
(๕) การไม่ให้ทานท�ำให้ยากจน
การให้ทานท�ำให้ร�่ำรวย
(๖) การไม่อ่อนน้อมท�ำให้เกิดในตระกูลต�่ำ
การอ่อนน้อมท�ำให้เกิดในตระกูลสูง
(๗) การไม่สอบถามธรรมะท�ำให้เป็นคนโง่เขลา
การสอบถามธรรมะท�ำให้เป็นคนมีปัญญา
(๘) การท�ำชั่วให้ผลชั่ว
การท�ำดีให้ผลดี
(๙) กรรมเป็นผู้วางแผนและจัดแจงให้เกิดผลดีและชั่ว
กรรมท�ำให้สัตว์ได้รับความทุกข์และความสุข
การเจริญอุเบกขาภาวนาจะท�ำให้ผู้ที่ได้จตุตถฌานแล้วบรรลุ
ปัญจมฌานอันเนื่องด้วยอุเบกขา ปุถุชนทั่วไปที่ยังไม่ได้ฌาน เมื่อ
ประสบกับความทุกข์หรือมีญาติมิตรที่ประสบกับความทุกข์ พึงระลึก
ถึงค�ำสอนว่า สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา แล้วคิดว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรม
เป็นของตน ซึ่งได้แก่ กรรมดีและกรรมชั่วที่ตนได้ท�ำไว้เอง และกรรม
ที่ได้ท�ำไว้นั้นเป็นผู้ก�ำหนดโชคชะตา ท�ำให้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การ
คิดเช่นนี้จะช่วยบรรเทาความทุกข์ใจที่อาจเกิดขึ้นได้

372
พรหมวิหาร
พระธรรมเทศนาเรื่องพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ ได้จบลง
อย่างบริบูรณ์แล้ว ต่อไปนี้จะได้ทบทวนวิธีการเจริญพรหมวิหาร-
ธรรมทั้ง ๔ ประการ
(๑) ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ จงมีความสุข จงรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยเถิด
(๒) ขอสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์
(๓) ขอสัตว์ทงั้ ปวง จงอย่าพรากจากสมบัตทิ ไี่ ด้รบั แล้ว และ
จงมีสมบัติและความสุขอย่างนี้ตลอดไป
(๔) สัตว์ทั้งปวง มีกรรมเป็นของตน

บทส่งท้าย
ด้วยกุศลที่ทุกท่านได้มาประชุมกันในที่นี้ เพื่อฟังพระธรรม-
เทศนาเรื่องพรหมวิหารด้วยความเคารพและตั้งใจ ขอให้ท่านจง
ปราศจากภัยอันตรายทัง้ ปวง มีศรัทธาและวิรยิ ะในการก�ำหนดรูส้ ภาว-
ธรรมรูปนามที่เกิดขึ้นภายในขันธ์ ๕ ของท่าน และบรรลุมรรคผล
เข้าถึงพระนิพพานที่เป็นความปรารถนาสูงสุดโดยเร็วพลันด้วยกัน
ทุกท่านเทอญ

373
พรหมวิหาร
โภคา จ มิตฺตสุตโปริสพนฺธวา จ
นารี จ ชีวิตสมา อปิ เขตฺตวตฺถู
สพฺพานิ ตานิ ปรโลก’มิโต วชนฺตํ
นานุพฺพชนฺติ กุสลากุสลํว โลเก.
ทรัพย์สมบัติ ญาติมิตร บุตรธิดา คนใช้ และภริยารักปาน
ชีวิต พร้อมด้วยไร่นาที่ดิน ทั้งหมดนั้นย่อมไม่ติดตามผู้ไปสู่โลก
หน้าจากโลกนี้ ความดีและความชั่วเท่านั้นที่ท�ำไว้ในโลกนี้ย่อม
ติดตามไปได้

โภ วิชฺชุจญฺจลตเร ภวสาครมฺหิ
ขิตฺตา ปุรากตมหาปวเนน เตน
กามํ วิภิชฺชติ ขเณน สรีรนาวา
หตฺเถ กโรถ ปรมํ คุณหตฺถสารํ.
เรือคือร่างกายที่ถูกกรรมเก่าอันเหมือนลมซัดไปในสาคร
แห่งภพอันไม่ยั่งยืนดั่งสายฟ้าแลบ ย่อมอัปปางไปเพียงชั่วขณะ
เป็นแน่แท้ ด้วยเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสั่งสมคุณงามความดีไว้
ในตนเถิด

374
พรหมวิหาร
เชิงอรรถ

บทที่ ๑

พฺรหฺมานํ พฺรหฺมภูตา วา หิตูปสํหาราทิวเสน ปวตฺติยา
เสฏฺภูตา วิหาราติ พฺรหฺมวิหารา, เมตฺตาชฺฌานาทิวเสน ปวตฺตา
จตสฺโส อปฺปมญฺาโย. (สี. นวฏี. ๒.๔)
“ความประพฤติของผูป้ ระเสริฐ หรือว่าความประพฤติอนั
ประเสริฐ เพราะด�ำเนินไปด้วยการก่อให้เกิดประโยชน์สุขเป็นต้น
ชื่อว่า พรหมวิหาร คือ อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นไปโดยเนื่องด้วยเมตตา-
ฌานเป็นต้น”

วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๒

อหํ เตน สมเยน มหาโควินฺโท พฺราหฺมโณ อโหสึ. อหํ เตสํ
สาวกานํ พฺรหฺมโลกสหพฺยตาย มคฺคํ เทเสสึ. ตํ โข ปน เม ปญฺจสิข
375
พรหมวิหาร
พฺรหฺมจริยํ น นิพฺพิทาย น วิราคาย น นิโรธาย น อุปสมาย น
อภิฺาย น สมฺโพธาย น นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ยาวเทว พฺรหฺมโลกูป-
ปตฺติยา. (ที. มหา. ๑๐.๓๒๙.๒๑๖)
“ปัญจสิขะ เรายังระลึกได้ สมัยนั้น เราเป็นมหาโควินท-
พราหมณ์ ได้แสดงทางแห่งความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมในพรหมโลก
แก่สาวกเหล่านั้น แต่พรหมจรรย์นั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายก�ำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อไปเกิดในพรหมโลกเท่านั้น”
เมตฺตาสหคเตนาติอาทินา นเยน ปาฬิยํ พฺรหฺมวิหาราว
อาคตา. มหาปุริโส ปน สพฺพาปิ อฏฺ สมาปตฺติโย จ ปฺ จ จ อภิญฺ-
าโย นิพฺพตฺเตสิ. (ที. อ. ๒.๒๘๔)
“พรหมวิหารตรัสไว้ในพระบาลีตามนัยว่า เมตฺตาสหคเตน
(มีเมตตาจิต) เป็นต้นทีเดียว แต่มหาบุรุษได้ก่อให้เกิดสมาบัติ ๘ และ
อภิญญา ๕ ทั้งหมด”

จตสฺโส อปฺปมญฺา. อิธาวุโส ภิกฺขุ เมตฺตาสหคเตน เจตสา
เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ. ตถา ทุติยํ. ตถา ตติยํ. ตถา จตุตฺถํ. อิติ
อุทธฺ มโธ ติรยิ ํ สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพาวนฺตํ โลกํ เมตฺตาสหคเตน
เจตสา วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเชน ผริตฺวา

376
พรหมวิหาร
วิหรติ. กรุณาสหคเตน เจตสา ฯเปฯ มุทิตาสหคเตน เจตสา ฯเปฯ
อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ. ตถา ทุติยํ. ตถา
ตติยํ. ตถา จตุตฺถํ. อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพา-
วนฺตํ โลกํ อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน
อเวเรน อพฺยาปชฺเชน ผริตฺวา วิหรติ. (ที. ปา. ๑๑.๓๐๘.๒๐๐)
“อัปปมัญญา ๔ มีดังนี้
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
และแผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เธอ
แผ่ไปในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่าในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
ถึงความยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
และแผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เธอแผ่
ไปในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ ถึงความ
ยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
และแผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธนี ี้ เธอแผ่
ไปในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
377
พรหมวิหาร
ในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ ถึงความ
ยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
และแผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน ตามวิธีนี้ เธอ
แผ่ไปในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่าในที่ทุกสถานโดยมีตนเสมอกัน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์
ถึงความยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่”
ข้อความข้างต้นพบใน อภิ. วิ. ๓๕.๖๔๒.๒๔๗ อีกด้วย แต่
เปลี่ยนจาก อิธาวุโส ภิกฺขุ เป็น อิธ ภิกฺขุ เท่านั้น
อปราปิ จตสฺโส ภูมิโย- จตฺตาโร สติปฏฺานา, จตฺตาโร
สมฺมปฺปธานา, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา, จตฺตาริ ฌานานิ, จตสฺโส
อปฺปมฺ าโย, จตสฺโส อรูปสมาปตฺติโย, จตสฺโส ปฏิสมฺภิทา,
จตสฺโส ปฏิปทา, จตฺตาริ อารมฺมณานิ, จตฺตาโร อริยวํสา,
จตฺตาริ สงฺคหวตฺถูนิ จตฺตาริ จกฺกานิ, จตฺตาริ ธมฺมปทานิ.
อิมา จตสฺโส ภูมิโย. (ขุ. ปฏิ. ๓๑.๗๒.๘๘)
“ภูมิ ๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสมั ภิทา ๔
ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ กลุ่มธรรม ๔
ภูมิเหล่านี้ชื่อว่า ภูมิ ๔”
378
พรหมวิหาร
อปฺปมฺ าติ ปมาณํ อคเหตฺวา อนวเสสผรณวเสน อปฺป-
มฺ าว. (ที. อ. ๓.๒๐๔)
“ค�ำว่า อปฺปมญฺา (อัปปมัญญา) หมายความว่า ชื่อว่า
อัปปมัญญา ด้วยการแผ่ไปสู่สรรพสัตว์ไม่ถือเอาประมาณ”
จตสฺโส อปฺปมฺ าโยติ เมตฺตา, กรุณา, มุทิตา, อุเปกฺขา.
ผรณอปฺปมาณวเสน อปฺปมฺ าโย. เอตาโย หิ อารมฺมณวเสน
อปฺปมาเณ วา สตฺเต ผรนฺติ, เอกํ สตฺตมฺปิ วา อนวเสสผรณวเสน
ผรนฺตีติ ผรณอปฺปมาณวเสน อปฺปมฺ าโยติ วุจฺจนฺติ. (ปฏิสํ. อ.
๑.๓๑๔)
“ค�ำว่า จตสฺโส อปฺปมฺ าโย (อัปปมัญญา ๔) คือ เมตตา
กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ชื่อว่า อัปปมัญญา ด้วยความไม่มีประมาณ
ในการแผ่ไป เพราะอัปปมัญญาเหล่านี้แผ่ไปสู่สัตว์ไม่มีประมาณโดย
ความเป็นอารมณ์ หรือแผ่ไปสู่สัตว์ผู้หนึ่งได้บ้างด้วยการแผ่ไปไม่มี
ส่วนเหลือ ดังนัน้ จึงชือ่ ว่า อัปปมัญญา ด้วยความไม่มปี ระมาณในการ
แผ่ไป”
ตามค�ำอธิบายข้างต้น ค�ำว่า อปฺปมาเณ สตฺเต ผรนฺติ
(แผ่ไปสู่สัตว์ไม่มีประมาณ) แสดงรูปวิเคราะห์ (ค�ำจ�ำกัดความ) ของ
อปฺปมญฺา ว่า

379
พรหมวิหาร
- นตฺถิ ปมาณํ เอเตสนฺติ อปฺปมาณา, สตฺตา (เหล่าสัตว์
ไม่มีประมาณ ชื่อว่า อัปปมาณะ)
- อปฺปมาเณสุ ภวา อปฺปมญฺา (ธรรมที่มีในเหล่าสัตว์
ไม่มีประมาณ ชื่อว่า อัปปมัญญา)
ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์ปรมัตถทีปนีว่า
อปฺปมาเณสุ ภวาติ อปฺปมญฺา. เอตา หิ เอตฺตเกสุเยว
สตฺเตสุ ปวตฺเตตพฺพา, น อิโต อฺ เสูติ เอวํ ปริจฺเฉทปฺปมาณสฺส
อภาวา เอกสฺมึ สตฺเต ปวตฺตาปิ อปฺปมญฺา เอว นาม โหนฺตีติ.
(ปรมตฺถทีปนี. หน้า ๑๐๐)
“อัปปมัญญา คือ เจตสิกที่มีในเหล่าสัตว์ไม่มีประมาณ
ความจริงเจตสิกเหล่านี้แม้เป็นไปในบุคคลผู้เดียวก็ชื่อว่า อัปปมัญญา
เพราะไม่มีประมาณในการก�ำหนดว่า พึงเจริญในบุคคลมีประมาณ
เพียงนี้ ไม่พึงเจริญในบุคคลเหล่าอื่นนอกจากนี้”

มิชฺชตีติ เมตฺตา. สินิยฺหตีติ อตฺโถ (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๙)

ตคฺฆ มยํ ภนฺเต สมคฺคา สมฺโมทมานา อวิวทมานา ขีโร-
ทกีภูตา อญฺมญฺํ ปิยจกฺขูหิ สมฺปสฺสนฺตา วิหรนฺติ. (ม. มู. ๑๒.
๓๒๖.๒๙๓)

380
พรหมวิหาร

มิตฺเต ภวา เมตฺตา (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๙)

มิตฺตสฺส เอสา ปวตฺติ เมตฺตา (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๙)

โย ปนายํ โลกิโย, โส วุตฺตนเยน สีลานิ วิโสเธตฺวา สุปริ
สุทฺเธ สีเล ปติฏฺเิ ตน ยฺวาสฺส ทสสุ ปลิโพเธสุ ปลิโพโธ อตฺถิ, ตํ อุปจฺ-
ฉินฺทิตฺวา กมฺมฏฺานทายกํ กลฺยาณมิตฺตํ อุปสงฺกมิตฺวา อตฺตโน จริยา-
นุกูลํ จตฺตาลีสาย กมฺมฏฺาเนสุ อฺ ตรํ กมฺมฏฺานํ คเหตฺวา สมาธิ-
ภาวนาย อนนุรูปํ วิหารํ ปหาย อนุรูเป วิหาเร วิหรนฺเตน ขุทฺทก-
ปลิโพธุปจฺเฉทํ กตฺวา สพฺพํ ภาวนาวิธานํ อปริหาเปนฺเตน ภาเว-
ตพฺโพ. (วิสุทฺธิ. ๑.๙๖)
“อนึ่ง โยคีบุคคลช�ำระศีลให้บริสุทธิ์ตามนัยที่ได้แสดงมาแล้ว
ด�ำรงอยูใ่ นศีลอันบริสทุ ธิด์ แี ล้ว ตัดปลิโพธเครือ่ งกังวลในปลิโพธเครือ่ ง
กังวล ๑๐ ประการที่มีอยู่แก่ตนนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้
กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐
ประการอันเหมาะสมแก่จริตของตน แล้วออกจากวัดที่ไม่สมควรแก่
สมาธิภาวนาไปอยู่ในวัดที่สมควร ครั้นแล้วท�ำการตัดเครื่องกังวลเล็กๆ
น้อยๆ [เช่น ตัดเล็บ โกนหนวด เป็นต้น] แล้วไม่ท�ำวิธีภาวนาทุกๆ
อย่างให้ขาดตกบกพร่องไป พึงเจริญสมาธิที่เป็นโลกิยะนั้น”

381
พรหมวิหาร
๑๐
อภิชานามหํ อคฺคิเวสฺสน คิมฺหานํ ปจฺฉิเม มาเส ปจฺฉาภตฺตํ
ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต จตุคฺคุณํ สงฺฆาฏึ ปฺ เปตฺวา ทกฺขิเณน
ปสฺเสน สโต สมฺปชาโน นิทฺทํ โอกฺกมิตา. (ม. มู. ๑๒.๓๘๗.๓๔๘)
“อัคคิเวสสนะ เรารู้อยู่ว่า ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เรากลับ
จากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ปูผ้าสังฆาฏิให้เป็น ๔
ชั้น มีสติสัมปชัญญะ นอนตะแคงข้างเบื้องขวา”
๑๑
ในคัมภีร์อปทานมีข้อความว่า
สา สห ตาหิ คนฺตฺวาน ภิกฺขุนุปสฺสยํ สกํ
อฑฺฒปลฺลงฺกมาภุชฺช นิสีทิ ปรมาสเน.
(ขุ. อป. ๓๓.๒๓๘.๓๒๔)
“พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น กลับไปยัง
ส�ำนักของตนแล้ว นั่งขัดพับเพียบบนอาสนะที่ประเสริฐ”
ค�ำว่า อฑฺฒปลฺลงฺกมาภุชฺช แปลตามศัพท์ว่า คู้กึ่งบัลลังก์
หรือนั่งขัดสมาธิกึ่งหนึ่ง หมายถึง การนั่งพับเพียบที่นั่งพับขาให้ปลาย
เท้าไปทางเดียวกัน โดยทั่วไปภิกษุณีไม่อาจนั่งขัดสมาธิเหมือนภิกษุ
แต่ต้องนั่งพับเพียบเท่านั้น ดังค�ำอธิบายที่พบในคัมภีร์อรรถกถาของ
พระวินัยว่า

382
พรหมวิหาร
อฑฺฒปลฺลงฺกนฺติ เอกํ ปาทํ อาภุชิตฺวา กตปลฺลงฺกํ. (วิ. อ.
๓.๔๑๒)
“ค�ำว่า อฑฺฒปลฺลงฺกํ (กึ่งบัลลังก์) หมายความว่า บัลลังก์ที่
กระท�ำโดยคู้ขาข้างหนึ่ง”
๑๒
ติฏฺํ จรํ นิสินฺโน ว
สยาโน ยาวตาสฺส วิตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเยฺย
พฺรหฺมเมตํ วิหารมิธ มาหุ. (เมตฺตสุตฺต. คาถา ๙)
๑๓
ที. มหา. ๙.๓๗๕.๒๕๙
๑๔
สพฺพมฺหิ ตํ อรฺ มฺหิ ยาวนฺเตตฺถ มิคา อหุํ
เวสฺสนฺตรสฺส เตเชน นาฺ มฺ ํ วิเหยุํ.
(ขุ. ชา. ๒๘.๒๔๒๔.๓๘๓)
๑๕
ทุฏฺโ โข อาวุโส โทเสน อภิภูโต ปริยาทินฺนจิตฺโต อตฺตพฺยา-
พาธายปิ เจเตติ, ปรพฺยาพาธายปิ เจเตติ, อุภยพฺยาพาธายปิ เจเตติ,
เจตสิกมฺปิ ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ปฏิสํเวเทติ ฯเปฯ ทุฏฺโ โข อาวุโส โทเสน
อภิภูโต ปริยาทินฺนจิตฺโต กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ. วาจาย ทุจฺจริตํ จรติ.
มนสา ทุจฺจริตํ จรติ. (องฺ. ติก. ๒๐.๗๒.๒๑๐)
383
พรหมวิหาร
“ผู้มีอายุ บุคคลผู้โกรธแล้วถูกความโกรธครอบง�ำ มีจิตถูก
โทสะกลุม้ รุม ย่อมคิดเพือ่ เบียดเบียนตนเองบ้าง เพือ่ เบียดเบียนผูอ้ นื่
บ้าง เพือ่ เบียดเบียนทัง้ สองฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง ฯเปฯ
บุคคลผู้โกรธแล้วถูกความโกรธครอบง�ำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อม
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”
๑๖
ขุ. ธ. ๒๕.๑๘๔.๕๐
๑๗
ขุ. ธ. ๒๕.๓๙๙.๘๖
๑๘
สํ. ส. ๑๕.๒๕๐.๒๖๖
๑๙
ธมฺม. อ. ๑.๒๐๐-๑
๒๐
ขุ. ธ. ๒๕.๑๘๔.๕๐
๒๑
วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๒-๒๓
๒๒
ที. มหา. ๑๐.๓๕๐.๒๓๖, วิสุทฺธิ. ๑.๔๐
๒๓
ขุ. ขุ. ๒๕.๓.๑๐, วิสุทฺธิ. ๑.๑๐๕, ๓๔๘,
๒๔
ขุ. ธ. ๒๕.๑๔๕.๓๖๒

384
พรหมวิหาร
๒๕
เมตฺตํ กายกมฺมํ ปจฺจุปฏฺติ ํ โหติ อาวิ เจว รโห จ. เมตฺตํ
วจีกมฺมํ ปจฺจุปฏฺติ ํ โหติ อาวิ เจว รโห จ. เมตฺตํ มโนกมฺมํ
ปจฺจุปฏฺติ ํ โหติ อาวิ เจว รโห จ. (ม. มู. ๑๒.๓๒๖.๒๙๐)
๒๖
อตฺถิ อโนธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. อตฺถิ โอธิโส
ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. อตฺถิ ทิสาผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ.
กติหากาเรหิ อโนธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. กติหากาเรหิ โอธิโส
ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. กติหากาเรหิ ทิสาผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ.
ปฺ จหากาเรหิ อโนธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. สตฺตหากาเรหิ
โอธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. ทสหากาเรหิ ทิสาผรณา เมตฺตา
เจโตวิมุตฺติ.
กตเมหิ ปฺ จหากาเรหิ อโนธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ.
สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ.
สพฺเพ ปาณา ฯเปฯ สพฺเพ ภูตา ฯเปฯ สพฺเพ ปุคฺคลา ฯเปฯ สพฺเพ
อตฺตภาวปริยาปนฺนา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ
ปริหรนฺตูติ. อิเมหิ ปฺ จหากาเรหิ อโนธิโส ผรณา เมตฺตา เจโต-
วิมุตฺติ.
กตเมหิ สตฺตหากาเรหิ โอธิโส ผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ.
สพฺพา อิตฺถิโย อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ.
สพฺเพ ปุริสา ฯเปฯ สพฺเพ อริยา ฯเปฯ สพฺเพ อนริยา ฯเปฯ สพฺเพ
385
พรหมวิหาร
เทวา ฯเปฯ สพฺเพ มนุสฺสา ฯเปฯ สพฺเพ วินิปาติกา อเวรา อพฺยาปชฺชา
อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ. อิเมหิ สตฺตหากาเรหิ โอธิโส ผรณา
เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ.
กตเมหิ ทสหากาเรหิ ทิสาผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. สพฺเพ
ปุรตฺถิมาย ทิสาย สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ
ปริหรนฺตุ.
สพฺเพ ปจฺฉิมาย ทิสาย สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ อุตฺตราย ทิสาย
สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ ทกฺขิณาย ทิสาย สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ ปุรตฺถิมาย
อนุทิสาย สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ ปจฺฉิมาย อนุทิสาย สตฺตา ฯเปฯ
สพฺเพ อุตฺตราย อนุทิสาย สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ ทกฺขิณาย อนุทิสาย
สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ เหฏฺมิ าย ทิสาย สตฺตา ฯเปฯ สพฺเพ อุปริมาย
ทิสาย สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ. สพฺเพ
ปุรตฺถิมาย ทิสาย ปาณา ฯเปฯ ภูตา ฯเปฯ ปุคฺคลา ฯเปฯ อตฺตภาว-
ปริยาปนฺนา ฯเปฯ สพฺพา อิตฺถิโย ฯเปฯ สพฺเพ ปุริสา ฯเปฯ สพฺเพ
อริยา ฯเปฯ สพฺเพ อนริยา ฯเปฯ สพฺเพ เทวา ฯเปฯ สพฺเพ มนุสฺสา
ฯเปฯ สพฺเพ วินิปาติกา อเวรา อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริ-
หรนฺตุ. สพฺเพ ปจฺฉิมาย ทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ อุตฺตราย
ทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ ทกฺขิณาย ทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ
สพฺเพ ปุรตฺถิมาย อนุทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ ปจฺฉิมาย

386
พรหมวิหาร
อนุทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ อุตฺตราย อนุทิสาย วินิปาติกา
ฯเปฯ สพฺเพ ทกฺขิณาย อนุทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ เหฏฺมิ าย
ทิสาย วินิปาติกา ฯเปฯ สพฺเพ อุปริมาย ทิสาย วินิปาติกา อเวรา
อพฺยาปชฺชา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ. อิเมหิ ทสหากาเรหิ
ทิสาผรณา เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ. (ขุ. ปฏิ. ๓๑.๒๒.๓๔๑)
“เมตตาเจโตวิมตุ ติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมตุ ติ
แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี
ถามว่า : เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ
เท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตา-
เจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร
ตอบว่า : เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ
๕ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่า
มีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
๒. ขอสัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวง ฯลฯ

387
พรหมวิหาร
๓. ขอสัตว์ที่เกิดแล้วทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียน
กัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไร
บ้าง คือ
๑. ขอสตรีทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามี
ความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขอพระอริยะทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขอปุถุชนทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
๗. ขออบายสัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
388
พรหมวิหาร
๑. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) จงอย่ามี
เวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
๒. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม (ทิศตะวันตก) ฯลฯ
๓. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร (ทิศเหนือ) ฯลฯ
๔. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ทิศใต้) ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
ฯลฯ
๖. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
ฯลฯ
๗. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
ฯลฯ
๘. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ฯลฯ
๙. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรกัน อย่า
เบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
ขอสัตว์ที่มีลมหายใจทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สัตว์ที่เกิดแล้ว
ทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สัตว์ที่มีร่างกายทั้งปวง ฯลฯ
สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ พระอริยะทั้งปวง ฯลฯ ปุถุชน
ทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
389
พรหมวิหาร
๑. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา จงอย่ามีเวรกัน อย่า
เบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
๒. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขออบายสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรกัน
อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้”

๒๗
ค�ำว่า สตฺต (สัตว์) มีรากศัพท์มาจาก สญฺช ธาตุ (ราเค =
ก�ำหนัด) + ต ปัจจัย มีรูปวิเคราะห์ว่า รูปาทีสุ สญฺชนฺตีติ สตฺตา
(บุคคลเหล่าใดย่อมยึดติดผูกพันในรูปเป็นต้น เหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น
ชื่อว่า สัตว์) ตามความหมายของศัพท์ ค�ำนี้หมายถึงบุคคลผู้ยังมี
ราคะอยู่ ซึง่ ก็คอื ปุถชุ นและพระเสกขะ แต่ยงั หมายรวมถึงพระอรหันต์
390
พรหมวิหาร
ที่ปราศจากราคะแล้วอีกด้วย ดังนั้น ค�ำว่า สตฺต จึงเป็นส�ำนวนทาง
ภาษาที่เรียกว่า รุฬหีศัพท์ มีความหมาย ๓ ประการ คือ
๑. ชื่อเรียกประจ�ำ เหมือนคนที่เป็นครูสอนหนังสือประจ�ำ
ได้ชื่อว่า ครู แม้เขาจะไม่สอนหนังสือแล้วก็ยังได้ชื่อว่า ครู เหมือนเดิม
ดังนั้น ค�ำว่า สัตว์ ที่หมายถึงผู้ยังมีราคะอยู่ แม้เขาปราศจากราคะแล้ว
ก็ยังเรียกว่า สัตว์ ได้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นชื่อเรียกประจ�ำ
๒. ชื่อที่ยกขึ้นกล่าวโดยมีรูปร่างเป็นต้นเหมือนกัน ดังเช่น
ค�ำว่า ตาลวณฺฏ (พัดก้านตาล) แม้ท�ำมาจากไผ่ก็เรียกว่า พัดก้านตาล
เพราะมีรูปร่างเหมือนกัน ดังนั้น ผู้ยังมีราคะอยู่ก็มีขันธ์ ๕ แม้
พระอรหันต์ก็มีขันธ์ ๕ เช่นกัน จึงเรียกพระอรหันต์ว่า สัตว์ เพราะมี
ขันธ์ ๕ เหมือนกัน เพราะเป็นชื่อที่ยกขึ้นกล่าวโดยมีรูปร่างเป็นต้น
เหมือนกัน
๓. ชื่อที่ปรากฏทางโลก ดังค�ำว่า คจฺฉนฺตีติ คาโว (สัตว์ผู้
ไป ชื่อว่า วัว) แม้ค�ำว่า โค จะมีความหมายตามรากศัพท์ (คมุ ธาตุ +
กฺวิ ปัจจัย) ว่า “สัตว์ผู้ไป” แต่ค�ำนี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ทุกประเภท
ที่ไปได้ เพียงหมายถึงวัวเท่านั้น ฉันใด ค�ำว่า สัตว์ ที่แปลตามศัพท์
ว่า “ผู้ผูกพันในรูปเป็นต้น” ก็ไม่ได้หมายถึงปุถุชนและพระเสกขะ
เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงพระอรหันต์อีกด้วย ฉันนั้น เพราะเป็น
ชื่อที่ปรากฏทางโลก อนึ่ง สัททนีติปกรณ์ (สุตตมาลา) กล่าวถึงรุฬหี
391
พรหมวิหาร
ประเภทนี้ว่า
อนฺวตฺถนฺตุ สมานมฺปิ รุฬฺหี โคมหิสาทิกํ
คติภูสยนาทีนํ อฺ เสุปิ ปวตฺติโต.
(นีติ. สุตฺต. หน้า ๔๓๐)
“ศัพท์ว่า โค (วัว) มหิส (กระบือ) เป็นต้น แม้เป็นชื่อที่คล้อย
ตามความหมาย ก็เป็นรุฬหี (ชื่อที่ปรากฏทางโลก) เพราะการไปและ
การนอนบนแผ่นดินเป็นต้นมีได้แม้ในสัตว์อื่น”
อีกอย่างหนึ่ง ค�ำนี้เป็นส�ำนวนทางภาษาที่เรียกว่า ภูตปุพพ-
คติกนัย คือ ส�ำนวนที่กล่าวถึงสิ่งที่เคยมีมาก่อน ดังค�ำว่า มณฺฑูกเทว-
ปุตฺโต (เทพบุตรกบ) ที่จริงแล้วพระอรหันต์นั้นแม้จะปราศจากความ
ยึดติดผูกพันอยู่ในอารมณ์ทั้ง ๖ แล้วยังนับเรียกว่าสัตว์ได้ เพราะ
เคยยึดติดผูกพันในอารมณ์ ๖ มาก่อน เนื่องจากไม่มีผู้ที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นพระอรหันต์ทันทีหลังถือก�ำเนิด
ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและมหาฎีกาว่า
รุฬฺหีสทฺเทน ปน วีตราเคสุปิ อยํ โวหาโร วตฺตติเยว วิลีว-
มเยปิ พีชนิวิเสเส ตาลวณฺฏโวหาโร วิย. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๐)
“แต่ค�ำนี้ย่อมใช้ในผู้ปราศจากราคะแล้วด้วยรุฬหีศัพท์ ดัง
ค�ำว่า ตาลวณฺฏ (พัดก้านตาล) ที่ใช้ในพัดชนิดหนึ่งซึ่งท�ำด้วยไม้ไผ่
อีกด้วย”
392
พรหมวิหาร
ยทิ สตฺตตาย สตฺตา, กถํ วีตราเคสูติ อาห “รุฬฺหีสทฺเทนา”ติ-
อาทิ. อวีตราเคสุ รุฬฺเหน, อวีตราเคสุ วา ปวตฺติตฺวา อินฺทฺริยพทฺธ-
ขนฺธสนฺตานตาย ตํสทิเสสุ วีตราเคสุ รุฬฺเหน สทฺเทน. อถ วา กิฺจิ
นิมิตฺตํ คเหตฺวา สติปิ อฺ สฺมึ ตนฺนิมิตฺตยุตฺเต กตฺถจิ วิสเย สมฺมุติยา
จิรกาลตาย นิมิตฺตวิรเหปิ ปวตฺติ รุฬฺหี นาม ยถา คจฺฉนฺตีติ คาโวติ,
เอวํ สตฺตสทฺทสฺสาปิ รุฬฺหีภาโว ทฏฺพฺโพ. ภูตปุพฺพคติยา วา
วีตราเคสุ สตฺตโวหาโร ทฏฺพฺโพ. (วิสุทฺธิ. ฏี. ๑.๔๓๖)
“ท่านกล่าวว่า รุฬฺหีสทฺเทน (ด้วยความเป็นรุฬหีศัพท์) เพื่อ
แก้ความสงสัยว่า ถ้าชื่อว่าสัตว์เพราะเป็นผู้ผูกพัน ชื่อว่าสัตว์ย่อมมีได้
ในอรหันต์ผู้ปราศจากราคะอย่างไร
[ค�ำว่า รุฬฺหีสทฺเทน (ด้วยรุฬหีศัพท์)] หมายความว่า ด้วย
ศัพท์[ว่าสัตว์]ที่ยกขึ้นไว้ในผู้ยังไม่ปราศจากราคะ หรือด้วยศัพท์ที่เป็น
ไปในผูย้ งั ไม่ปราศจากราคะแล้วยกขึน้ ในผูป้ ราศจากราคะทีเ่ หมือนกับ
ผู้ยังไม่ปราศจากราคะนั้น เพราะมีกระแสขันธ์เนื่องด้วยอินทรีย์
อีกอย่างหนึ่ง แม้จะมีเนื้อความอื่นที่ประกอบด้วยเหตุนั้น
การถือเอาเหตุ[ให้เกิดศัพท์]อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วใช้เรียกถึงสิ่งที่
ปราศจากเหตุเพราะบัญญัติไว้เป็นเวลานาน [ซึ่งปรากฏ]ในสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง ชื่อว่า รุฬหี ดังค�ำว่า คจฺฉนฺตีติ คาโว (สัตว์ผู้ไป ชื่อว่า วัว)
โปรดทราบความเป็นรุฬหีของ สตฺต ศัพท์อย่างนี้
393
พรหมวิหาร
อีกอย่างหนึ่ง โปรดทราบ สตฺต ศัพท์ในผู้ปราศจากราคะ
แล้วด้วยความเป็นไปที่เคยมีมาก่อน (ภูตปุพพคติกนัย)”
๒๘
ในพระสูตรต่างๆ ที่กล่าวถึงการแผ่เมตตา ฉบับไทยและ
ฉบับฉัฏฐสังคีติมีรูปว่า อพฺยาปชฺช บ้าง อพฺยาปชฺฌ บ้าง อพฺยาพชฺฌ
บ้าง โดยพบรูปที่ลงปฐมาวิภัตติ พหูพจน์ว่า อเวรา อพฺยาปชฺชา,
อพฺยาปชฺฌา หรือ อพฺยาพชฺฌา บ้าง หรือพบรูปที่ลงตติยาวิภัตติ
เอกพจน์ว่า อเวเรน อพฺยาปชฺเชน, อพฺยาปชฺเฌน, อพฺยาพชฺเฌน บ้าง
ตามหลักภาษาทั่วไป ค�ำว่า อพฺยาปชฺช ส�ำเร็จรูปมาจาก น ศัพท์ +
พฺยาปชฺช ศัพท์ (พฺยาปาท ศัพท์ + ณฺย ปัจจัยในอรรถสกัตถ์) แปลว่า
“อย่าเบียดเบียน, อย่าปองร้าย” มีรูปวิเคราะห์ว่า พฺยาปาโทเยว
พฺยาปชฺชํ, นตฺถิ พฺยาปชฺชํ เอเตสนฺติ อพฺยาปชฺชา (ผู้ไม่มีการ
เบียดเบียน ชื่อว่า อัพยาปัชชะ) ดังหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถาว่า
อพฺยาปชฺชาติ พฺยาปาทรหิตา. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๑, ปฏิสํ. อ.
๒.๒๔๓)
“ค�ำว่า อพฺยาปชฺชา แปลว่า ผู้ปราศจากการเบียดเบียน”
พฺยาปาทรหิตาติ โทมนสฺสพฺยาปาทรหิตา. (วิสุทฺธิ. ฏี. ๑.
๔๓๗)
“ค�ำว่า พฺยาปาทรหิตา (ผู้ปราศจากการเบียดเบียน) หมายถึง
ปราศจากการเบียดเบียนด้วยโทมนัส”
394
พรหมวิหาร
อย่างไรก็ตาม รูปว่า อพฺยาปชฺฌ ก็สมควรเช่นกัน กล่าวคือ
ค�ำว่า พฺยาพาธ และ พฺยาปชฺฌ มีความหมายว่า ความทุกข์, ความ
ล�ำบาก โดย พฺยาปชฺฌ ศัพท์มาจาก พฺยาพาธ + ณฺย ปัจจัยใน
สกัตถตัทธิต เมื่อส�ำเร็จเป็นรูปว่า พฺยาพชฺฌ แล้ว ให้แปลง พ เป็น
ป จึงได้รูปว่า พฺยาปชฺฌ ดังข้อความในคัมภีร์ฎีกาของวิสุทธิมรรคว่า
พฺยาพาธนฏฺเน พฺยาพาโธ, พฺยาพาโธว พฺยาปชฺฌํ, ทุกฺขนฺติ
อตฺโถ. นตฺถิ เอตฺถ พฺยาปชฺฌนฺติ อพฺยาปชฺฌํ, นิทฺทุกฺขตา. เตนาห
“อพฺยาปชฺฌปรมตายาติ นิทฺทุกฺขปรมตายา”ติ. (วิสุทฺธิ. ฏี. ๑.๗๖)
[ในฉบับฉัฏฐสังคีติพบรูปว่า พฺยาพชฺฌ แต่ในฉบับสิงหลมีรูปว่า
พฺยาปชฺฌ]
ชื่อว่า พยาพาธะ โดยความหมายว่า เบียดเบียน สภาวะ
เบียดเบียนนั้นแหละ ชื่อว่า พยาปัชฌะ (แปลง พ เป็น ป) หมายถึง
ทุกข์
“ค�ำว่า อัพยาปัชฌะ คือ สภาวะไม่มีทุกข์ หมายถึง ความ
ไม่มีทุกข์ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า อพฺยาปชฺฌปรมตายาติ นิทฺทุกฺขปรมตาย
(ค�ำว่า อพฺยาปชฺฌปรมตาย แปลว่า เพื่อมีความไม่มีทุกข์เป็นอย่าง
ยิ่ง)”
อนึ่ง รูปว่า อพฺยาปชฺฌา ที่กล่าวมานี้ สอดคล้องกับข้อความ
ในวิสุทธิมรรคและฎีกาฉบับสิงหลที่น�ำมาอ้างไว้ข้างต้น แต่มีรูปต่างกัน
395
พรหมวิหาร
ว่า อพฺยาปชฺฌาติ พฺยาพาธรหิตา (ค�ำว่า อพฺยาปชฺฌา แปลว่า
ปราศจากความทุกข์ใจ) และ พฺยาพาธรหิตาติ โทมนสฺสพฺยาพาธร
หิตา (ค�ำว่า พฺยาพาธรหิตา หมายความว่า ปราศจากความล�ำบาก
คือความทุกข์ใจ) จะเห็นได้ว่า พฺยาพาธ ศัพท์แสดงความหมายว่า
ความทุกข์, ความล�ำบาก พระฎีกาจารย์ต้องการจะระบุว่าความทุกข์
นั้นเป็นความทุกข์ใจ ไม่ใช่ความทุกข์กาย จึงอธิบายว่า “ค�ำว่า พฺยา-
พาธรหิตา หมายความว่า ปราศจากความล�ำบากคือความทุกข์ใจ”
มีหลักฐานจากฎีกาของวิสุทธิมรรคอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า
เจตโส พฺยาปตฺติวเสน หนนโต พฺยาปชฺฌํ, เจตสิกํ อสาตํ,
ตทภาวโต อพฺยาปชฺฌํ. เตนาห นิทฺทุกฺขนฺติ. (วิสุทฺธิ. ฏี. ๑.๔๓๕)
“ชื่อว่า พยาปัชฌะ (สภาวะล�ำบาก) เพราะเบียดเบียนด้วย
การถึงความแปรปรวนของจิต หมายถึง ความไม่สบายทางใจ ชื่อว่า
อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความล�ำบากนั้น ฉะนั้นจึงกล่าวว่า นิทฺทุกฺขํ
(ไม่มีทุกข์)”
แม้ ใ นอรรถกถาและฎี ก าของที ฆ นิ ก ายก็ แ สดงอรรถของ
พฺยาปชฺฌ และ อพฺยาปชฺฌ ในท�ำนองนี้ว่า
อพฺยาปชฺฌาติ วิคตโทมนสฺสา. (ที. อ. ๒.๓๓๓) บางฉบับมี
รูปเป็น อพฺยาปชฺชาติ

396
พรหมวิหาร
“ค�ำว่า อพฺยาปชฺฌา แปลว่า ผู้ปราศจากโทมนัส”
พฺยาปชฺฌํ วุจฺจติ จิตฺตทุกฺขํ, ตพฺพิรหิตา อพฺยาปชฺฌาติ
อาห “วิคตโทมนสฺสา”ติ. (ที. ฏี. ๒.๓๑๗)
“ความทุกข์ใจชื่อว่า พยาปัชฌะ ผู้ปราศจากความทุกข์ใจ
นั้น ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า วิคตโทมนสฺสา (ผู้ปราศจาก
โทมนัส)”
เมื่อค�ำว่า อพฺยาปชฺฌา มีความหมายว่า “อย่ามีความทุกข์
ใจ” ดังนั้น ค�ำว่า อนีฆา จึงมีความหมายว่า “อย่ามีความทุกข์กาย”
โดยปาริเสสนัย คือ วิธีที่ถือเอาสิ่งที่เหลือจากข้อความที่กล่าวมาแล้ว
หรือจะกล่าวต่อไป เช่นค�ำว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา (สภาพธรรม
ทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่) แม้ค�ำว่า ธมฺมา (สภาพธรรม) จะเป็นค�ำกลางๆ
หมายถึงส่วนรวมคือนามขันธ์ ๔ แต่ในที่นี้หมายเอานามขันธ์ ๓
นอกจากวิญญาณขันธ์ที่กล่าวมาไว้ในค�ำว่า มโน ดังนั้น ในค�ำแปล
ของบทแผ่เมตตา จึงอาจมีรูปศัพท์และค�ำแปลอีกอย่างหนึ่งว่า
- อเวรา โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่ามีเวรกัน
- อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่ามีความทุกข์ใจ
- อนีฆา โหนฺตุ = จงเป็นสุขเถิด อย่ามีความทุกข์กาย
- สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ = รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

397
พรหมวิหาร
รูปศัพท์และค�ำแปลข้างต้น เป็นที่นิยมใช้ในประเทศพม่า
พบในหนังสือวิสุทธิมรรคแปลของมหาสีสยาดอ (เล่ม ๒ หน้า ๕๐๑)
และวิสุทธิมรรคมหาฎีกานิสสัยของมหาสีสยาดอ (เล่ม ๑ หน้า ๑๕๕
เล่ม ๒ หน้า ๓๒๙, ๓๓๔)
สรุปความว่า ค�ำว่า พฺยาปชฺช มีศัพท์เดิมมาจาก พฺยาปาท
(การเบียดเบียน) แต่ พฺยาปชฺฌ มาจาก พฺยาพาธ (ความล�ำบาก) การ
จะตัดสินว่าศัพท์ใดถูกต้องนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะฉบับต่างๆ มีรูป
ต่างกัน ๓ อย่างว่า พฺยาปชฺช, พฺยาปชฺฌ และ พฺยาพชฺฌ และทัง้ สอง
รูปก็มหี ลักฐานอ้างอิงในคัมภีรอ์ รรถกถาและฎีกา อย่างไรก็ตาม ผูแ้ ปล
ขอเสนอความเห็นว่า รูปว่า พฺยาปชฺช น่าจะใกล้เคียงกับความจริง
มากที่สุด เพราะถ้าถือว่า พฺยาปชฺฌ (บางฉบับเป็น พฺยาปชฺช) มีความ
หมายว่า ความทุกข์ใจ เป็นเพียงค�ำอธิบายเท่านั้น ไม่ใช่ค�ำแปลตาม
ศัพท์จริงๆ เพราะความหมายว่า ผู้ไม่เบียดเบียน ก็คือผู้ปราศจาก
ความทุกข์ใจนั้นเอง หากถือเอาเช่นนี้ก็จะท�ำให้ได้รูปว่า พฺยาปชฺช
และ อพฺยาปชฺช เป็นศัพท์เดิม ตามหลักฐานในพระบาลี อรรถกถา
และฎีกาของอังคุตตรนิกายว่า
ส โข โส กาลามา อริยสาวโก เอวํ อเวรจิตฺโต เอวํ อพฺยาปชฺช-
จิตฺโต เอวํ อสํกิลิฏฺจิตฺโต เอวํ วิสุทฺธจิตฺโต. (องฺ. ติก. ๒๐.๖๖.๑๘๖)
[ฉบับฉัฏฐสังคีติมีรูปว่า อพฺยาปชฺฌจิตฺโต]
398
พรหมวิหาร
“กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต
ไม่เบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้”
อพฺยาปชฺชจิตฺโตติ โกธจิตฺตสฺส อภาเวน นิทฺทุกฺขจิตฺโต.
(องฺ. อ. ๒.๒๐๓) [ฉบับฉัฏฐสังคีติมีรูปว่า อพฺยาพชฺฌจิตฺโต]
“ค�ำว่า อพฺยาปชฺชจิตฺโต (มีจิตไม่เบียดเบียน) หมายความ
ว่า มีจิตปราศจากทุกข์ เพราะไม่มีจิตที่คิดโกรธ”
โกโธ นาม เจตโส ทุกฺขนฺติ อาห “โกธจิตฺตสฺส อภาเวนา”ติ.
(องฺ. ฏี. ๒.๒๐๙)
“ที่ชื่อว่าความโกรธ เป็นทุกข์ทางใจ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า โกธ-
จิตฺตสฺส อภาเวน (เพราะไม่มีจิตที่คิดโกรธ)”
ค�ำอธิบายของคัมภีร์ฎีกาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ความโกรธเป็น
ทุกข์ทางใจ ดังนั้น ค�ำอธิบายของ พฺยาปชฺช (บางฉบับใช้เป็น พฺยา-
ปชฺฌ) ที่กล่าวว่าเป็นทุกข์ทางใจ จึงเป็นเพียงค�ำอธิบายความหมาย
ไม่ใช่ค�ำแปลตามศัพท์จริงๆ หากถือเอาตามนี้ ค�ำว่า พฺยาพาธ และ
พฺยาปชฺฌ (ความล�ำบาก) ตามที่กล่าวไว้เพื่ออธิบาย อพฺยาปชฺฌปร-
มตาย (เพื่อมีความไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง) ซึ่งพบในวิสุทธิมรรคมหา-
ฎีกา ก็สมควรมีรูปตามนั้นเพราะเกี่ยวกับประโยชน์ของการบริโภค
อาหาร ไม่ใช่การแผ่เมตตา อีกทั้งในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถา
คัณฐิก็อธิบาย พฺยาปชฺช ศัพท์ว่ามาจาก พฺยาปาท ศัพท์ ดังข้อความ
399
พรหมวิหาร
กล่าวว่า
“อพฺยาปชฺชา อนีฆา”ติ อิทํ ทฺวยํ “สุขิโน”ติ วจเนน สงฺ-
คหิตนฺติ เวทิตพฺพํ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๒๔๕)
“ค�ำว่า อพฺยาปชฺชา (อย่าเบียดเบียนกัน) และ อนีฆา (อย่า
มีความทุกข์) ทั้งสองนี้ พึงทราบว่านับเข้าด้วยค�ำว่า สุขิโน”
พฺยาปาทรหิตตฺตาเยว โสมนสฺสสิทฺธิโต อาห อพฺยาปชฺชา
ฯเปฯ เวทิตพฺพนฺติ. (ปฏิสํ. คณฺ.ิ หน้า ๓๓๒)
“ท่านกล่าวว่า อพฺยาปชฺชา ฯเปฯ เวทิตพฺพํ (ค�ำว่า อพฺยา-
ปชฺชา และ อนีฆา ทั้งสองนี้ พึงทราบว่านับเข้าด้วยค�ำว่า สุขิโน)
เพราะโสมนัสส�ำเร็จได้เนื่องจากปราศจากการเบียดเบียนนั้นเอง”
ผู้แปลเห็นว่าเรื่องนี้มีความละเอียดลึกซึ้งมาก ขอฝากให้ผู้รู้
พิจารณาเพื่อความถูกต้องตามต้นฉบับเดิมต่อไป
๒๙
องฺ. จตุกฺก. ๒๑.๑๗๐.๑๗๘
๓๐
อาจมีค�ำถามว่า มีพระอริยบุคคล เทวดา และมนุษย์ประเภท
ไหนอยูใ่ นทิศเบือ้ งล่าง และมีอบายสัตว์ประเภทไหนอยูใ่ นทิศเบือ้ งบน
ในเรื่องนี้มีค�ำอธิบายดังต่อไปนี้

400
พรหมวิหาร
คนที่แผ่เมตตานั้นอาจนั่งอยู่ที่ชั้นบนของบ้านหรือชั้นบน
ของวัด ขณะชั้นล่างหรือในบริเวณใกล้เคียงอาจจะมีพระอริยะ เทวดา
หรือมนุษย์ก็ได้ หรือผู้แผ่เมตตาอาจนั่งอยู่บนยอดเขา โดยที่เชิงเขา
หรือในหุบเขาอาจจะมีพระอริยะ เทวดา หรือมนุษย์ก็ได้ แม้ผู้ที่เจริญ
เมตตาภาวนานั้นอยู่บนผิวโลกชั้นที่ต�่ำที่สุดที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้ ก็
อาจมีเทวดาที่เป็นปุถุชนหรือพระอริยะอยู่ใต้ทะเลก็ได้
ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นสามารถสถิตอยู่ในเมืองบาดาลใต้
มหาสมุทร ในเรื่องนี้มีต�ำนานเกี่ยวกับพระอุปคุตต์ที่ท�ำให้บางคนเชื่อ
ว่าพระอริยะนั้นสามารถอยู่ใต้ทะเลได้ ในท�ำนองเดียวกัน ถ้าผู้แผ่
เมตตานั้นนั่งบนพื้นดิน ก็อาจมีมนุษย์อื่นในที่สูงกว่า เช่น บนภูเขา
หรือที่ชั้นบนของบ้านหรือวัด นอกจากนั้น สัตว์จ�ำพวกแมลง หรือ
นก ก็อาจบินอยู่ในอากาศหรือบนท้องฟ้าก็ได้ หรือพวกเปรตที่อยู่ใน
อากาศ ดังที่ปรากฏในวินีตวัตถุ (เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัย) ของ
ปาราชิกข้อที่ ๔ ในพระวินัยปิฎก และในนิทานวรรค ลักขณสังยุตต์
ว่า เปรตที่อยู่ในอากาศได้วิ่งไปมาพร้อมกับร้องไห้ด้วยความทุกข์
ทรมานจึงเป็นไปได้วา่ มีอบายสัตว์อยูใ่ นทิศเบือ้ งบน ดังข้อความกล่าว
ว่า
อิธาหํ อาวุโส คิชฺฌกูฏา ปพฺพตา โอโรหนฺโต อทฺทสํ อฏฺกิ -
สงฺขลิกํ เวหาสํ คจฺฉนฺตึ. ตเมนํ คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปิ อนุปติตฺวา
401
พรหมวิหาร
อนุปติตฺวา ผาสุฬนฺตริกาหิ วิตุเทนฺติ วิตจฺเฉนฺติ วิราเชนฺติ. สา สุทํ
อฏฺฏสฺสรํ กโรติ. ตสฺส มยฺหํ อาวุโส เอตทโหสิ- อจฺฉริยํ วต โภ. อพฺภุตํ
วต โภ. เอวรูโปปิ นาม สตฺโต ภวิสฺสติ. เอวรูโปปิ นาม ยกฺโข ภวิสฺสติ.
เอวรูโปปิ นาม อตฺตภาวปฏิลาโภ ภวิสฺสตีติ. (วิ. มหาวิ. ๑.๒๒๘.๑๕๙,
สํ. นิ. ๑๖.๒๐๒.๒๔๒)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิ-
สังขลิกเปรต (เปรตมีแต่โครงกระดูก) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง
นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตาม
ระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึก
ว่า อัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการ
ได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
๓๑
อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เมตฺตาจิตฺตํ อาเสวติ,
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อริตฺตชฺฌาโน วิหรติ สตฺถุสาสนกโร โอวาท-
ปติกโร อโมฆํ รฏฺปิณฺฑํ ภุฺชติ. โก ปน วาโท เย นํ พหุลีกโรนฺติ.
( องฺ. เอกก. ๒๐.๕๓.๙)
๓๒
อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เมตฺตํ อาเสวนฺตสฺส ภิกฺขุโน ทินฺน-
ทานํ มหฏฺยิ ํ โหติ มหปฺผลํ มหานิสสํ ํ มหาชุตกิ ํ มหาวิปผฺ ารนฺตปิ สิ สฺ
อโมโฆ รฏฺปิณฺฑปริโภโค. (องฺ. อ. ๑.๖๓)

402
พรหมวิหาร
“ทานที่บุคคลถวายแก่ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือ
เดียว ย่อมมีความส�ำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุง่ เรือง
มาก มีความกว้างขวางมาก แม้เพราะเหตุนี้ การฉันอาหารบิณฑบาต
ของชาวบ้านของภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมไม่สูญเปล่า”
๓๓
เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ ทกฺขิเณยฺยานํ ยทิทํ
สุภูติ. (องฺ. เอกก. ๒๐.๒๐๒.๒๓)
“สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณย-
บุคคล”
๓๔
ค�ำว่า สพฺพตฺตตาย (โดยมีตนเสมอกัน) แปลตามศัพท์ว่า
โดยความมีตนในสัตว์ทั้งปวง หมายความว่า โดยมีตนเสมอกันไม่แบ่ง
เขาแบ่งเรา ตามนัยนี้ค�ำว่า สพฺพตฺตตา ประกอบรูปศัพท์มาจาก
สพฺพ (ทั้งปวง) + อตฺต (ตน) + ตา (ความเป็น) อีกอย่างหนึ่ง อตฺต
ศัพท์มีความหมายว่า จิต ค�ำนี้จึงแปลว่า โดยมีจิตทั้งปวง หมายความ
ว่า ไม่มีจิตซัดส่ายฟุ้งซ่านไปสู่ภายนอก ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์อรรถ-
กถาว่า
สพฺพตฺตตายาติ สพฺเพสุ หีนมชฺฌิมุกฺกฏฺมิตฺตสปตฺต-
มชฺฌตฺตาทิปฺปเภเทสุ อตฺตตาย, “อยํ ปรสตฺโต”ติ วิภาคํ อกตฺวา อตฺต-
สมตายาติ วุตฺตํ โหติ. อถ วา สพฺพตฺตตายาติ สพฺเพน จิตฺตภาเวน,

403
พรหมวิหาร
อีสกมฺปิ พหิ อวิกฺขิปมาโนติ วุตฺตํ โหติ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๗๘)
“บทว่า สพฺพตฺตตาย (โดยมีตนเสมอกัน) หมายความว่า
โดยมีตนอยู่ในสัตว์ทั้งปวงที่จ�ำแนกเป็นสัตว์ที่ทราม ปานกลาง ประณีต
มิตร ศัตรู และคนที่เป็นกลางเป็นต้น ความหมายคือ โดยมีตนเสมอ
กันไม่แบ่งว่าบุคคลนี้เป็นคนอื่น อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพตฺตตาย
แปลว่า โดยมีจิตทั้งปวง ความหมายคือ ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกแม้
เล็กน้อย”
อนึ่ง ตามนัยแรก อตฺต ศัพท์มีความหมายว่า “ตน” ซึ่งก็คือ
ร่างกาย นัยหลังมีความหมายว่า “จิต” ดังคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาได้
แสดงความหมายของ อตฺต ศัพท์ไว้ ๔ อย่างว่า จิต, กาย, สภาวะ และ
อาตมัน ดังนี้
จิตฺเต กาเย สภาเว จ โส อตฺตา ปรมตฺตนิ.
(ธาน. ๘๖๑)
“อตฺต ศัพท์เป็นปุงลิงค์ ย่อมเป็นไปในความหมายว่า จิต
กาย สภาวะ และอาตมัน”
๓๕
ค�ำว่า สพฺพาวนฺตํ ประกอบรูปศัพท์มาจาก สพฺพ ศัพท์ +
อาวนฺตุ ปัจจัย ลง อาวนฺตุ ปัจจัยด้วยสูตรในโมคคัลลานไวยากรณ์
(ปริจเฉทที่ ๔ สูตร ๔๓) ว่า สพฺพา จาวนฺตุ (ลง อาวนฺตุ ปัจจัยท้าย

404
พรหมวิหาร
สพฺพ ศัพท์และอื่นๆ [คือ ย, ต และ เอต]) ท่านแสดงอุทาหรณ์ว่า
สพฺพํ ปริมาณมสฺส สพฺพาวนฺต,ํ ยาวนฺต,ํ ตาวนฺต,ํ เอตาวนฺตํ (จ�ำนวน
ทั้งหมดมีอยู่แก่สิ่งนั้น เหตุนั้น สิ่งนั้นชื่อว่า สัพพาวันตะ = มีจ�ำนวน
ทั้งหมด, ยาวันตะ = เพียงใด, ตาวันตะ = เพียงนั้น, เอตาวันตะ =
เพียงนี้) ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาว่า
สพฺพาวนฺตนฺติ สพฺพสตฺตวนฺตํ, สพฺพสตฺตยุตฺตนฺติ อตฺโถ.
สพฺพวนฺตนฺติปิ ปาโ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๗๘)
“ค�ำว่า สพฺพาวนฺตํ (ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า) คือ ตลอด
โลกที่มีสัตว์ทุกเหล่า หมายความว่า อันประกอบด้วยสัตว์ทั้งปวง มี
ปาฐะ[อื่น]ว่า สพฺพวนฺตํ บ้าง”
นอกจากรูปที่ลง อาวนฺตุ ปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังพบรูปว่า
สพฺพาวโต กายสฺส (ของร่างกายทุกส่วน) ในพระบาลีว่า
นาสฺส กิฺจิ สพฺพาวโต กายสฺส วิเวกเชน ปีติสุเขน อปฺผุฏํ
โหติ. (ที. สี. ๙.๒๒๖.๗๔)
“ไม่มีที่ไหนของร่างกายทุกส่วนอันปีติและสุขซึ่งเกิดจาก
ความสงัดนิวรณ์จะไม่กระทบอยู่”
อย่างไรก็ตาม ปาฐะว่า สพฺพวนฺต ก็ถูกหลักภาษา โดยลง
วนฺตุ ปัจจัยท้าย สพฺพ ศัพท์ในอัสสัตถิตัทธิตซึ่งพบมากในภาษาบาลี

405
พรหมวิหาร
ปาฐะนี้พบในคัมภีร์ฎีกาของทีฆนิกาย (เล่ม ๑ หน้า ๓๒๑) โดยท่าน
แสดงรูปวิเคราะห์ว่า สพฺพํ เอตสฺส อตฺถีติ สพฺพวา (มีอวัยวะทุกส่วน)
๓๖
ม. ม. ๑๓.๔๕๑.๔๔๕
๓๗
เอตฺตาวตา เอกเมกํ ทิสํ ปริคฺคเหตฺวา โอธิโส เมตฺตาผรณํ
ทสฺสิตํ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๗๘)
“ด้วยถ้อยค�ำเพียงนี้ ท่านก�ำหนดเอาทิศหนึ่งๆ แล้วแสดง
การแผ่เมตตาไปโดยจ�ำกัดขอบเขต”
๓๘
สพฺพธีติอาทิ ปน อโนธิโส ทสฺสนตฺถํ วุตฺตํ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๗๘)
“ส่วนบทว่า สพฺพธิ (ในที่ทุกสถาน) เป็นต้น กล่าวไว้เพื่อ
แสดงโดยไม่จ�ำกัดขอบเขต”
๓๙
เถโรปิ ตํขณํเยว คนฺตฺวา มหาพฺรหฺมุโน ธมฺมํ เทเสสิ. ตโต
ปฏฺาย จาตุปฺปทิกํ คาถํ กเถนฺโตปิ จตุสจฺจวิมุตฺตํ นาม น กเถสีติ.
(ม. อ. ๓.๓๐๙)
“แม้พระเถระก็ไปในขณะนั้นทันที แล้วแสดงธรรมแก่ท้าวมหา-
พรหม ตั้งแต่นั้น พระเถระแม้เมื่อกล่าวคาถาประกอบด้วย ๔ บาท ก็
ไม่กล่าวคาถาให้พ้นไปจากสัจจะ ๔”

406
พรหมวิหาร
๔๐
ปทรูปสิทธิปกรณ์ (สูตร ๓๕๑) กล่าวถึงรูปว่า ปุพฺพนฺห,
มชฺฌนฺห, สายนฺห โดยมีรูปวิเคราะห์ว่า อหสฺส ปุพฺพํ ปุพฺพนฺหํ (ส่วน
แรกของวัน ชื่อว่า ปุพพันหะ), อหสฺส มชฺฌํ มชฺฌนฺหํ (ส่วนกลาง
ของวัน ชื่อว่า มัชฌันหะ), มชฺฌนฺหํ เอว มชฺฌนฺหิกํ (ส่วนกลางของวัน
นั้นแหละ ชื่อว่า มัชฌันหิกะ), อหสฺส สายํ สายนฺหํ (ส่วนหลังของวัน
ชือ่ ว่า สายันหะ) ท่านให้แปลง อห เป็น อนฺห ด้วยมหาสูตรในกัจจายน-
ไวยากรณ์ (สูตร ๔๐๔) ว่า เตสุ วุทฺธิโลปาคมวิการวิปรีตาเทสา จ
(การพฤทธิ์ การลบ การลงอาคม การวิการะ การแปลงกลับกัน และ
การอาเทศย่อมมีที่พยางค์ต้น กลาง หรือท้ายในบางแห่ง)
อย่างไรก็ตาม โมคคัลลานไวยากรณ์ (ปริจเฉทที่ ๓ สูตร
๑๑๐) กล่าวถึงรูปเหล่านี้ว่าเป็นวิเสสนบุรพบทกรรมธารยสมาส และ
แปลง อห เป็น ณฺห โดยตั้งสูตรว่า ปุพฺพาปรชฺชสายมชฺเฌหาหสฺส
ณฺโห (แปลง อห ศัพท์ท้าย ปุพฺพ, อปร, อชฺช, สาย และ มชฺฌ ศัพท์
เป็น ณฺห) เช่น ปุพฺพณฺโห (วันอันเป็นส่วนแรก, เช้า) อปรณฺโห (วันอัน
เป็นส่วนหลัง, บ่าย) อชฺชณฺโห (วันนี้) สายณฺโห (เย็น) และ มชฺฌณฺโห
(กลางวัน)
เมื่อเทียบดูกับสันสกฤตได้พบว่า มติของปทรูปสิทธิปกรณ์นี้
ปรากฏในไวยากรณ์สันสกฤตชื่อพาลมโนรมา (ค�ำอธิบายสูตร ๗๑๓)
โดยมีรูปวิเคราะห์ในคัมภีร์นั้นเป็นตัปปุริสสมาสว่า อหสฺส มชฺฌํ

407
พรหมวิหาร
(ท่ามกลางของวัน, กลางวัน) ดังข้อความว่า
มชฺฌนฺโห อิติ อหสฺส มชฺฌมิติ วิคฺคเห อยํ สมาโส. <มธฺยาหฺน
อิติ อหฺโน มธฺยมิติ วิคฺรเห อยํ สมาสะ.> (พาลมโนรมา. ค�ำอธิบายสูตร
๗๑๓)
“ค�ำว่า มชฺฌนฺโห เป็นรูปสมาสอย่างนี้ในรูปวิเคราะห์ว่า
อหสฺส มชฺฌํ (ท่ามกลางแห่งวัน)”
มติที่แปลง อห เป็น อนฺห ของปทรูปสิทธิปกรณ์สอดคล้อง
กับหลักภาษาศาสตร์มากกว่าการแปลง อห เป็น ณฺห ตามมติของ
โมคคัลลานไวยากรณ์ กล่าวคือ บทเดิมเป็น อห = อหนฺ (ลง นฺ อักษร
เป็นอาคม) เมื่อสลับอักษรโดยวิปรีตนัย (Metathesis) แล้วจึงกลาย
มาเป็น อหนฺ = อหฺน = อนฺห
๔๑
คทฺทุหนมตฺตนฺติ โคทุหนมตฺตํ, คาวิยา เอกวารํ อคฺคถนา-
กฑฺฒนมตฺตนฺติ อตฺโถ. คนฺธอูหนมตฺตํ วา, ทฺวีหิ องฺคุลีหิ คนฺธปิณฺฑํ
คเหตฺวา เอกวารํ ฆายนมตฺตนฺติ อตฺโถ. (สํ. อ. ๒.๒๔๘)
“ค�ำว่า คทฺทุหนมตฺตํ แปลว่า เพียงขณะรีดน�้ำนมโค
หมายความว่า เพียงขณะดึงปลายถันของแม่โคหนึ่งครั้ง อีกอย่างหนึ่ง
แปลว่า เพียงขณะสูดดมกลิ่นหอม หมายความว่า เพียงขณะใช้มือ
สองนิ้วตักก้อนของหอมขึ้นมาแล้วดมครั้งหนึ่ง”

408
พรหมวิหาร
ค�ำว่า คทฺทุหน ตามนัยแรกมีรากศัพท์มาจาก โค ศัพท์ +
ทุห ธาตุ + ยุ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า คุนฺนํ ทุหนํ
คทฺทุหนํ (ขณะรีด[นม]วัว ชื่อว่า คัททุหนะ) แปลงสระ โอ ใน โค
เป็น อ แล้วซ้อน ทฺ เป็น ทฺทุ ส่วนนัยหลังมาจาก คนฺธ (กลิ่นหอม) +
อูหธาตุ (ดม) + ยุ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ แปลง นฺธ เป็น ทฺท และ
รัสสะ อู เป็น อุ เมื่อเชื่อมบทแล้วจึงได้รูปว่า คทฺทุหน มีรูปวิเคราะห์
ว่า คนฺธานํ อูหนํ คทฺทุหนํ (ขณะดมกลิ่นหอม ชื่อว่า คัททุหนะ)
๔๒
สํ. นิ. ๑๖.๒๒๖.๒๕๑
๔๓
ค�ำว่า อสมฺมูฬฺห ประกอบรูปศัพท์มาจาก น ศัพท์ (แปลง น
เป็น อ) + สมฺมูฬฺห (สํ บทหน้า + มุห = สงสัย + ต ปัจจัย) เมื่อ
ส�ำเร็จรูปเป็น สมฺมุฬฺห ตามวิธีทั่วไปแล้ว ให้ทีฆะสระ อุ ใน มุ เป็น อู
ด้วยสูตรในโมคคัลลานไวยากรณ์ (ปริจเฉทที่ ๕ สูตร ๑๐๖) ว่า มุห-
พหานฺ จ เต กานุพนฺเธ’เตฺว (ให้ทีฆะสระของ มุห ธาตุ, พห ธาตุ และ
คุห ธาตุ ในที่มี ต ปัจจัยที่มี ก อนุพันธ์อันไม่มี ตฺว อักษร[ใน ตฺวา
ปัจจัย และ ตฺวาน ปัจจัย]) เช่น มูฬฺโห (ผู้ที่หลงลืมแล้ว), พาฬฺโห (อัน
รุนแรง)
๔๔
องฺ. เอกาทสก. ๒๔.๑๕.๒๘๔-๘๕

409
พรหมวิหาร
๔๕
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต มโน.
(ขุ. ธ. ๒๕.๓๐๑.๖๘
๔๖
วิ. มหา. ๕.๓๐๑.๙๒-๔
๔๗
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๒-๔๔
๔๘
ยาวตา อุปสมฺปนฺโน ยาวตา อิธ อาคโต
เอตฺถนฺตเร ขลิตํ นตฺถิ อโห ลาภา เต มาริส.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๓)
๔๙
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๔
๕๐
ธมฺม. อ. ๒.๒๓๓
๕๑
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๔
๕๒
ธมฺม. อ. ๑.๕๐๒
๕๓
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๔
๕๔
ธมฺม. อ. ๒.๒๓๓

410
พรหมวิหาร
๕๕
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธุํ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ.
(ขุ. ธ. ๒๕.๒๒๓.๕๖)
๕๖
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๔
๕๗
สามเณโร นิสีทมาโน ฌานํ สมาปชฺชิตฺวาว นิสีทิ. โจร-
เชฏฺโก อสึ ปริวตฺเตตฺวา สามเณรสฺส ขนฺเธ ปาเตสิ. อสิ นมิตฺวา
ธารายธารํ ปหริ. (ธมฺม. อ. ๑.๕๐๔)
“สามเณรเมื่อนั่งเข้าฌานมั่น หัวหน้าโจรแกว่งดาบฟันลงที่
คอสามเณร ดาบงอเอาคมกระทบคม”
๕๘
นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมตีติ เมตฺตาวิหาริสฺส
กาเย อุตฺตราย อุปาสิกาย วิย อคฺคิ วา, สํยุตฺตภาณกจูฬสิวตฺเถรสฺเสว
วิสํ วา, สํกิจฺจสามเณรสฺเสว สตฺถํ วา น กมติ, น ปวิสติ. นาสฺส กายํ
วิโกเปตีติ วุตฺตํ โหติ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๔)
“ค�ำว่า นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ (ไฟ ยาพิษ หรือ
ศัสตรา กล�้ำกรายไม่ได้) หมายความว่า ไฟไม่กล�้ำกรายในกายของ
ผู้ที่อยู่ด้วยเมตตาเหมือนอุบาสิกาชื่ออุตตรา หรือยาพิษไม่ก�ำซาบใน
ร่างกายของผู้ที่อยู่ด้วยเมตตาเหมือนกับพระจูฬสิวเถระผู้สาธยาย
สังยุตตนิกาย หรือศัสตราไม่บาดร่างกายของผูท้ อี่ ยูด่ ว้ ยเมตตาเหมือน
411
พรหมวิหาร
สังกิจจสามเณร ความหมายคือ ไม่ท�ำร้ายร่างกายของบุคคลผู้ที่อยู่
ด้วยเมตตานั้น”
๕๙
ธมฺม. อ. ๑.๑๒๓
๖๐
ทิสฺวาน ตณฺหํ อรตึ รคญฺจ
นาโหสิ ฉนฺโท อปิ เมถุนสฺมึ
กิเมวิทํ มุตฺตกรีสปุณฺณํ
ปาทาปิ นํ สมฺผุสิตุํ น อิจฺเฉ. (ธมฺม. อ. ๑.๑๕๓)
๖๑
กึ ปน สตฺถา ตาย อตฺตนิ อาฆาตุปฺปตฺตึ ชานาติ, โนติ.
ชานาติเยว. ชานนฺโต กสฺมา คาถมาหา”ติ. อิตเรสํ ทฺวินฺนํ วเสน. พุทฺธา
หิ อาฆาตํ อคเณตฺวา มคฺคผลาธิคมารหานํ วเสน ธมฺมํ เทเสนฺติเยว.
(ธมฺม. อ. ๑.๑๕๓-๕๔)
“ถามว่า : พระศาสดาทรงทราบว่าพระนางเกิดความผูกโกรธ
ในพระองค์หรือไม่ทรงทราบ
ตอบว่า : ทรงทราบแน่นอน
ถามว่า : เมื่อพระองค์ทรงทราบ เหตุใดจึงตรัสพระคาถา
ตอบว่า : พระองค์ตรัสพระคาถาโดยเนื่องด้วยพราหมณ์
และพราหมณีทงั้ สองคนนอกนี้ โดยแท้จริงแล้ว พระพุทธเจ้าทัง้ หลาย
ไม่ทรงค�ำนึงถึงความอาฆาต ย่อมทรงแสดงธรรมโดยเนื่องด้วยบุคคล
412
พรหมวิหาร
ผู้ควรบรรลุมรรคผลเท่านั้น”
๖๒
สมฺมุยหามิ ปมุยฺหามิ สพฺพา มุยฺหนฺติ เม ทิสา
สามาวตี มํ ตายสฺสุ ตฺวญฺจ เม สรณํ ภว.
(ธมฺม. อ. ๑.๑๖๔)
๖๓
มา มํ ตฺวํ สรณํ คจฺฉ ยมหํ สรณํ คตา
เอส พุทฺโธ มหาราช เอส พุทฺโธ อนุตฺตโร
สรณํ คจฺฉ ตํ พุทฺธํ ตฺวญฺจ เม สรณํ ภว.
(ธมฺม. อ. ๑.๑๖๔)
๖๔
มหาวงศ์ ปริจเฉทที่ ๖ คาถา ๑-๔๗
๖๕
มิลินฺท. หน้า ๒๐๙
๖๖
ยุคนัทธนัย คือ นัยประกอบกันเป็นคู่ หมายความว่า ผู้ที่
ปฏิบัติที่บรรลุฌานได้เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปตามล�ำดับ
ฌาน โดยเข้าปฐมฌานแล้วเจริญวิปัสสนาก�ำหนดรู้ฌานจิต หลังจาก
นั้นจึงเข้าทุติยฌานแล้วก�ำหนดรู้ฌานจิตอีก เขาเข้าฌานตามล�ำดับ
พร้อมกับเจริญวิปัสสนาเมื่อออกจากฌานนั้นๆ จนกระทั่งบรรลุมรรค
นัยนี้นับเข้าในสมถปุพพังคมนัย เพราะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะเป็น
เบือ้ งหน้า ยุคนัทธนัยนีพ้ บในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ยุคนัทธสูตรว่า

413
พรหมวิหาร
ปุน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ สมถวิปสฺสนํ ยุคนทฺธํ ภาเวติ. ตสฺส
สมถวิปสฺสนํ ยุคนทฺธํ ภาวยโต มคฺโค สฺ ชายติ. โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ
ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส ตํ มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต
สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ. (องฺ. จตุกฺก. ๒๑.๑๗๐.
๑๗๘)
“ผู้มีอายุ ข้ออื่นยังมีอีก คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา
ควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อม
เกิด เธอเสพ เจริญ ท�ำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ท�ำให้
มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป”
๖๗
วิสุทฺธิ. ๒.๒๗๔

414
พรหมวิหาร
บทที่ ๒
๖๘
ที. มหา. ๑๐.๓๗๔.๒๕๘
๖๙
อยฺ หิ เมตฺตา อปฺปิยปุคฺคเล, อติปฺปิยสหายเก, มชฺฌตฺเต,
เวรีปุคฺคเลติ อิเมสุ จตูสุ ปมํ น ภาเวตพฺพา. กึการณา อปฺปิยาทีสุ
ปมํ น ภาเวตพฺพา. อปฺปิยํ หิ ปิยฏฺาเน เปนฺโต กิลมติ. อติปฺ-
ปิยสหายกํ มชฺฌตฺตฏฺาเน เปนฺโต กิลมติ. อปฺปมตฺตเกปิ จสฺส
ทุกฺเข อุปฺปนฺเน อาโรทนาการปฺปตฺโต วิย โหติ. มชฺฌตฺตํ ครุฏฺาเน
จ ปิยฏฺาเน จ เปนฺโต กิลมติ. เวริมนุสฺสรโต โกโธ อุปฺปชฺชติ, ตสฺมา
อปฺปิยาทีสุ ปมํ น ภาเวตพฺพา. (วิสุทฺธิ.๑.๓๒๒-๒๓)
“กล่าวโดยพิสดารแล้ว เมตตานี้ไม่ควรเจริญก่อนในบุคคล
๔ จ�ำพวกนี้ คือ ในบุคคลทีเ่ กลียดกัน ในบุคคลทีเ่ ป็นสหายรักกันมาก
ในบุคคลที่เป็นกลางๆ และในบุคคลที่เป็นศัตรูกัน
ถามว่า : เหตุใดเล่าจึงไม่ควรเจริญไปในบุคคลที่เกลียดกัน
เป็นต้นก่อน
ตอบว่า : เพราะเมื่อบุคคลนึกตั้งคนที่เกลียดกันไว้ในฐานะ
แห่งคนรัก ย่อมล�ำบากใจ เมื่อนึกตั้งสหายที่รักกันมาไว้ในฐานะแห่ง
คนกลางๆ ก็ล�ำบาก อนึ่ง เมื่อทุกข์แม้เล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เขา เธอจะ
ถึงกับร้องไห้ออกมาก็เป็นได้ เมื่อนึกตั้งคนกลางๆ ไว้ในฐานะแห่งผู้ที่
415
พรหมวิหาร
ควรเคารพและผู้เป็นที่รัก ก็ล�ำบาก เมื่อระลึกถึงคนที่เป็นศัตรูกัน
ความโกรธย่อมเกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรเจริญไปในบุคคลที่เกลียดกัน
เป็นต้นก่อน”
๗๐
ลิงฺควิสภาเค ปน ตเมว อารพฺภ โอธิโส ภาเวนฺตสฺส ราโค
อุปฺปชฺชติ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๓)
“ส่วนในบุคคลที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน เมื่อเจริญโดยเจาะจงถึง
ผู้มีเพศเป็นข้าศึกกันนั้นเข้า ความก�ำหนัดย่อมเกิดขึ้น”
๗๑
วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๓
๗๒
กาลกเต ปน ภาเวนฺโต เนว อปฺปนํ, น อุปจารํ ปาปุณาติ.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๓)
“ส่วนในคนที่เสียชีวิตแล้ว เมื่อเจริญไปก็ไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึง
อุปจาระได้เลย”
๗๓
สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา
เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ
เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ
ตสฺมา น หึเส ปรมตฺถกาโม. (ขุ. อุ. ๒๕.๔๑.๑๕๙)

416
พรหมวิหาร
๗๔
วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๕
๗๕
วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๕
๗๖
อุภโตทณฺฑเกน เจปิ ภิกฺขเว กกเจน โจรา โอจรกา องฺค-
มงฺคานิ โอกนฺเตยฺยุํ, ตตฺราปิ โย มโน ปโทเสยฺย, น เม โส เตน
สาสนกโร. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๖)
“ภิกษุทั้งหลาย แม้หากพวกโจรจะพึงตัดองค์อวัยวะด้วย
เลือ่ ยทีม่ ดี า้ มสองข้าง แม้นผูใ้ ดยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจรนัน้ ผูน้ นั้
ไม่ชื่อว่า ผู้ท�ำตามค�ำสอนของเราด้วยเหตุนั้น”
๗๗
ตสฺเสว เตน ปาปิโย โย กุทฺธํ ปฏิกุชฺฌติ
กุทฺธมปฺปฏิกุชฺฌนฺโต สงฺคามํ เชติ ทุชฺชยํ.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๖)
“ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธ[ก่อน] ผู้นั้นกลับเลวกว่าผู้ที่โกรธ
[ก่อน]นั้นเสียอีก เพราะเหตุที่โกรธตอบนั้น แต่ผู้ไม่โกรธตอบผู้โกรธ
ก่อนชื่อว่า ย่อมชนะสงครามที่ชนะยาก”
๗๘
อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ปรํ สงฺกุปิตํ ตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๒๖)
417
พรหมวิหาร
“ผูใ้ ดรูว้ า่ ผูอ้ นื่ ขุน่ เคืองขึน้ มาแล้วมีสติระงับใจเสียได้ (ไม่เคือง
ตอบ) ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่าย
ผู้อื่น”
๗๙
สตฺติเม ภิกฺขเว ธมฺมา สปตฺตกนฺตา สปตฺตกรณา โกธนํ
อาคจฺฉนฺติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา. กตเม สตฺต. อิธ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺ-
ตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ ทุพฺพณฺโณ อสฺสาติ. ตํ กิสฺส เหตุ. น
ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส วณฺณวตาย นนฺทติ. โกธโนยํ ภิกฺขเว
ปุริสปุคฺคโล โกธาภิภูโต โกธปเรโต กิฺจาปิ โส โหติ สุนฺหาโต
สุวิลิตฺโต กปฺปิตเกสมสฺสุ โอทาตวตฺถวสโน, อถ โข โส ทุพฺพณฺโณว
โหติ โกธาภิภูโต. อยํ ภิกฺขเว ปโม ธมฺโม สปตฺตกนฺโต สปตฺตกรโณ
โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
ทุกฺขํ สเยยฺยาติ. ตํ กิสฺส เหตุ. น ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส สุข-
เสยฺยาย นนฺทติ. โกธโนยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล โกธาภิภูโต โกธปเรโต
กิฺจาปิ โส ปลฺลงฺเก เสติ โคนกตฺถเต ปฏลิกตฺถเต กทลิมิคปวร-
ปจฺจตฺถรเณ สอุตตฺ รจฺฉเท อุภโตโลหิตกูปธาเน, อถ โข โส ทุกขฺ ญฺเว
เสติ โกธาภิภโู ต. อยํ ภิกขฺ เว ทุตโิ ย ธมฺโม สปตฺตกนฺโต สปตฺตกรโณ
โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.

418
พรหมวิหาร
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
น ปจุรตฺโถ อสฺสาติ. ตํ กิสสฺ เหตุ. น ภิกขฺ เว สปตฺโต สปตฺตสฺส ปจุรตฺถ-
ตาย นนฺทติ. โกธโนยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล โกธาภิภูโต โกธปเรโต
อนตฺถมฺปิ คเหตฺวา อตฺโถ เม คหิโตติ มฺ ติ, อตฺถมฺปิ คเหตฺวา อนตฺโถ
เม คหิโตติ มฺ ติ. ตสฺสิเม ธมฺมา อฺ มฺ ํ วิปจฺจนีกา คหิตา
ทีฆรตฺตํ อหิตาย ทุกฺขาย สํวตฺตนฺติ โกธาภิภูตสฺส. อยํ ภิกฺขเว ตติโย
ธมฺโม สปตฺตกนฺโต สปตฺตกรโณ โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
น โภควา อสฺสาติ. ตํ กิสฺส เหตุ. น ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส
โภควตาย นนฺทติ. โกธนสฺส ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคลสฺส โกธาภิภูตสฺส
โกธปเรตสฺส เยปิสฺส เต โหนฺติ โภคา อุฏฺานวีริยาธิคตา พาหาพล-
ปริจิตา เสทาวกฺขิตฺตา ธมฺมิกา ธมฺมลทฺธา, เตปิ ราชาโน ราชโกสํ
ปเวเสนฺติ โกธาภิภูตสฺส. อยํ ภิกฺขเว จตุตฺโถ ธมฺโม สปตฺตกนฺโต
สปตฺตกรโณ โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
น ยสวา อสฺสาติ. ตํ กิสฺส เหตุ. น ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส ยสวตาย
นนฺทติ. โกธโนยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล โกธาภิภูโต โกธปเรโต โยปิสฺส
โส โหติ ยโส อปฺปมาทาธิคโต, ตมฺหาปิ ธํสติ โกธาภิภูโต. อยํ ภิกฺขเว

419
พรหมวิหาร
ปญฺจโม ธมฺโม สปตฺตกนฺโต สปตฺตกรโณ โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา
ปุริสํ วา.
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
น มิตฺตวา อสฺสาติ. ตํ กิสฺส เหตุ. น ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส มิตฺต-
วตาย นนฺทติ. โกธนํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคลํ โกธาภิภูตํ โกธปเรตํ เยปิสฺส
เต โหนฺติ มิตฺตามจฺจา าติสาโลหิตา, เตปิ อารกา ปริวชฺชนฺติ
โกธาภิภูตํ. อยํ ภิกฺขเว ฉฏฺโ ธมฺโม สปตฺตกนฺโต สปตฺตกรโณ โกธนํ
อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.
ปุน จปรํ ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส เอวํ อิจฺฉติ- อโห วตายํ
กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺเชยฺยาติ.
ตํ กิสฺส เหตุ. น ภิกฺขเว สปตฺโต สปตฺตสฺส สุคติคมเน นนฺทติ. โกธโนยํ
ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล โกธาภิภูโต โกธปเรโต กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ,
วาจาย ทุจฺจริตํ จรติ, มนสา ทุจฺจริตํ จรติ. โส กาเยน ทุจฺจริตํ จริตฺวา
วาจาย ฯเปฯ กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ
อุปปชฺชติ โกธาภิภูโต. อยํ ภิกฺขเว สตฺตโม ธมฺโม สปตฺตกนฺโต
สปตฺตกรโณ โกธนํ อาคจฺฉติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา. อิเม โข ภิกฺขเว สตฺต
ธมฺมา สปตฺตกนฺตา สปตฺตกรณา โกธนํ อาคจฺฉนฺติ อิตฺถึ วา ปุริสํ วา.
(องฺ. สตฺตก. ๒๓.๖๔.๗๘)

420
พรหมวิหาร
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่พึง
ท�ำประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษ
ก็ตาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้มีผิวพรรณทรามเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อม
ไม่ยินดีให้ศัตรูมีผิวพรรณงาม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูก
ความโกรธครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้อาบน�้ำดีแล้ว ไล้ทา
ดีแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้วนุ่งผ้าขาวก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความ
โกรธครอบง�ำนั้น ก็เป็นคนมีผิวพรรณทรามอยู่นั่นเอง ความเป็นผู้มี
ผิวพรรณทรามนีเ้ ป็นธรรมประการที่ ๑ ทีศ่ ตั รูมงุ่ หมาย ทีพ่ งึ ท�ำประโยชน์
แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม
๒. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้นอนเป็นทุกข์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่
ยินดีให้ศัตรูนอนสบาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้นอนอยู่บนเตียงมีเท้าเป็นรูป
สัตว์ร้าย ลาดด้วยพรมขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ มี
เครื่องลาดหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง
ก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบง�ำนั้น ก็นอนเป็นทุกข์อยู่นั่นเอง
การนอนเป็นทุกข์นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่พึงท�ำ
421
พรหมวิหาร
ประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษ
ก็ตาม
๓. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้อย่าได้รับประโยชน์อันมากเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูได้รับประโยชน์อันมาก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผูม้ กั โกรธ ถูกความโกรธครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้ได้ความ
เสื่อมก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเจริญ’ แม้ได้ความเจริญก็เข้าใจว่า ‘ตน
ได้ความเสื่อม’ ธรรมเหล่านี้เป็นข้าศึกต่อกันและกันที่บุคคลผู้ถูก
ความโกรธครอบง�ำนั้นยึดถือแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
ตลอดกาลนาน การไม่ได้รบั ประโยชน์อนั มากนีเ้ ป็นธรรมประการที่ ๓
ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่พึงท�ำประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ
จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม
๔. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้เป็นคนไม่มีโภคทรัพย์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรู
ย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูมีโภคทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูก
ความโกรธครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้มีโภคทรัพย์ที่หามา
ได้ดว้ ยความขยันหมัน่ เพียร เก็บรวบรวมด้วยน�ำ้ พักน�ำ้ แรง อาบเหงือ่
ต่างน�ำ
้ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรมก็จริง แต่พระราชาก็รบั สัง่
ให้ริบโภคทรัพย์ของบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบง�ำ การเป็นคนไม่มี
422
พรหมวิหาร
โภคทรัพย์นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่พึงท�ำประโยชน์
แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม
๕. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้เป็นคนไม่มีบริวารเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อม
ไม่ยินดีให้ศัตรูมีบริวาร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้มีบริวารที่ได้มาด้วยความไม่
ประมาทก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบง�ำก็เสื่อมจากบริวารนั้น
คนไม่มีบริวารนี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่พึงท�ำ
ประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษ
ก็ตาม
๖. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้เป็นคนไม่มีมิตรเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อม
ไม่ยินดีให้ศัตรูมีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบง�ำ คล้อยตามความโกรธนี้ แม้มีมิตร อ�ำมาตย์ ญาติสายโลหิต
ก็จริง แต่คนเหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบง�ำ
นั้นไปห่างไกล คนไม่มีมิตรนี้เป็นธรรมประการที่ ๖ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่
พึงท�ำประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรีหรือ
บุรุษก็ตาม

423
พรหมวิหาร
๗. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เจ้าคนนี้ไปเกิดในนรกอันปราศจากสุข เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่พินาศ
ตกไป หลังจากตายแล้ว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดี
ให้ศตั รูไปสูส่ คุ ติ ภิกษุทงั้ หลาย บุคคลผูม้ กั โกรธ ถูกความโกรธครอบง�ำ
คล้อยตามความโกรธนี้ ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทาง
วาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก การไปเกิดในนรกนี้เป็นธรรมประการที่ ๗ ที่ศัตรู
มุ่งหมาย ที่พึงท�ำประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะ
เป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ที่ศัตรู
มุ่งหมาย ที่พึงท�ำประโยชน์แก่ศัตรู ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็น
สตรีหรือบุรุษก็ตาม”
๘๐
เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ฉวาลาตํ อุภโตปทิตฺตํ มชฺเฌ คูถคตํ เนว
คาเม กฏฺตฺถํ ผรติ น อรญฺเ กฏฺตฺถํ ผรติ. ตถูปมาหํ ภิกฺขเว อิมํ
ปุคฺคลํ วทามิ, ยฺวายํ ปุคฺคโล เนวตฺตหิตาย ปฏิปนฺโน โน ปรหิตาย.
(องฺ. จตุกฺก. ๒๑.๙๕.๑๐๘)
“ภิกษุทั้งหลาย ฟืนเผาศพที่ไฟไหม้ทั้งสองข้าง เปื้อนคูถอยู่
ตรงกลาง ใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้านหรือป่าไม่ได้ ฉันใด เรากล่าว
บุรุษบุคคลที่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นว่ามีอุปมา
ฉันนั้น”
424
พรหมวิหาร
๘๑
ข้อความข้างต้นพบในคัมภีร์วิสุทฺธิมรรค (เล่ม ๑ หน้า ๓๒๘-
๒๙) ดังนี้
อตฺตโน วิสเย ทุกฺขํ กตํ เต ยทิ เวรินา
กึ ตสฺสาวิสเย ทุกฺขํ สจิตฺเต กตฺตุมิจฺฉสิ.
“ถ้าศัตรูท�ำทุกข์ให้แก่เจ้าในกายอันเป็นวิสยั ของตนไซร้ ไฉน
เจ้าจึงปรารถนาจะท�ำทุกข์ไว้ในใจของตัว ซึ่งมิใช่วิสัยของเขาเล่า”
พหูปการํ หิตฺวาน าติวคฺคํ รุทมฺมุขํ
มหานตฺถกรํ โกธํ สปตฺตํ น ชหาสิ กึ.
“เจ้าได้สละหมู่ญาติที่มีอุปการคุณมาก ผู้ร้องไห้น�้ำตานอง
หน้า แล้วท�ำไมจึงละความโกรธอันเป็นศัตรูท�ำความพินาศอันใหญ่หลวง
ไม่ได้เล่า”
ยานิ รกฺขสิ สีลานิ เตสํ มูลนิกนฺตนํ
โกธํ นามุปฬาเลสิ โก ตยา สทิโส ชโฬ.
“เจ้าไปพะนอความโกรธ อันเป็นตัวตัดมูลรากของศีลที่เจ้า
รักษา ใครจะโง่เหมือนเจ้าบ้าง”
กตํ อนริยํ กมฺมํ ปเรน อิติ กุชฺฌสิ
กึ นุ ตฺวํ ตาทิสํเยว โย สยํ กตฺตุมิจฺฉสิ.

425
พรหมวิหาร
“เจ้าโกรธว่า คนอื่นท�ำกรรมป่าเถื่อนให้ เหตุใดเจ้าจึง
ปรารถนาจะท�ำกรรมเช่นเดียวกันนั้นเองเล่า”
โทเสตุกาโม ยทิ ตํ อมนาปํ ปโร กริ
โทสุปฺปาเทน ตสฺเสว กึ ปูเรสิ มโนรถํ.
“ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงท�ำความไม่พอใจให้ ไฉนเจ้า
จึงช่วยท�ำความต้องการของเขาให้ส�ำเร็จด้วยการท�ำให้เกิดความโกรธ
เล่า”
ทุกฺขํ ตสฺส จ นาม ตฺวํ กุทฺโธ กาหสิ วา น วา
อตฺตานํ ปนิทาเนว โกธทุกฺเขน พาธสิ.
“อนึ่ง น่าต�ำหนิ เจ้าโกรธแล้วจะท�ำทุกข์ให้แก่เขาหรือหาไม่
ก็ตาม แต่เดีย๋ วนีเ้ จ้าเบียดเบียนตนเองด้วยทุกข์คอื ความโกรธอยูแ่ ท้ๆ”
โกธํ วา อหิตํ มคฺคํ อารุฬฺหา ยทิ เวริโน
กสฺมา ตุวมฺปิ กุชฺฌนฺโต เตสํเยวานุสิกฺขสิ.
“ถ้ า พวกศั ต รู ขึ้ น ไปสู ่ ท างที่ มี โ ทษคื อ ความโกรธแล้ ว ไซร้
เหตุไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาด้วยเล่า”
ยํ โทสํ ตว นิสฺสาย สตฺตุนา อปฺปิยํ กตํ
ตเมว โทสํ ฉินฺทสฺสุ กิมฏฺาเน วิหญฺสิ.

426
พรหมวิหาร
“ศัตรูอาศัยความโกรธอันใดของเจ้าเป็นชนวน จึงท�ำสิง่ ไม่พงึ
ใจให้ เจ้าจงตัดความโกรธอันนั้นเถิด เจ้าจะมาเดือดร้อนในฐานะอัน
ไม่ควรท�ำไมกัน”
ขณิกตฺตา จ ธมฺมานํ เยหิ ขนฺเธหิ เต กตํ
อมนาปํ นิรุทฺธา เต กสฺส ทานีธ กุชฺฌสิ.
“อนึ่ง ศัตรูท�ำสิ่งไม่พอใจแก่เจ้าด้วยขันธ์เหล่าใด ขันธ์
เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้า
มาโกรธให้ใครกันในที่นี้”
ทุกฺขํ กโรติ โย ยสฺส ตํ วินา กสฺส โส กเร
สยมฺปิ ทุกฺขเหตุตฺต- มิติ กึ ตสฺส กุชฺฌสิ.
“ศัตรูใดจะท�ำทุกข์ให้แก่บุคคลใด ศัตรูนั้นจะท�ำทุกข์ให้ใคร
ได้เมื่อไม่มีตัวบุคคลนั้น ตัวเจ้าเป็นเหตุของทุกข์อยู่เองฉะนี้ ท�ำไมเจ้า
จึงโกรธเขาเล่า”
๘๒
อมฺโภ ตฺวํ ตสฺส กุทฺโธ กึ กริสฺสสิ, นนุ ตเวว เจตํ โทสนิทานํ
กมฺมํ อนตฺถาย สํวตฺติสฺสติ. กมฺมสฺสโก หิ ตฺวํ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ
กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ. ยํ กมฺมํ กริสฺสสิ, ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสสิ.
อิทฺ จ เต กมฺมํ เนว สมฺมาสมฺโพธึ น ปจฺเจกโพธึ น สาวกภูมึ น
พฺรหฺมตฺตสกฺกตฺตจกฺกวตฺติปเทสราชาทิสมฺปตฺตีนํ อฺ ตรํ สมฺปตฺตึ

427
พรหมวิหาร
สาเธตุํ สมตฺถํ, อถ โข สาสนโต จาเวตฺวา วิฆาสาทาทิภาวสฺส เจว
เนรยิกาทิทกุ ขฺ วิเสสานฺ จ เต สํวตฺตนิกมิทํ กมฺม.ํ โส ตฺวํ อิทํ
กโรนฺโต อุโภหิ หตฺเถหิ วีตจฺจิเต วา องฺคาเร คูถํ วา คเหตฺวา ปรํ ปหริตุ-
กาโม ปุริโส วิย อตฺตานเมว ปมํ ทหสิ เจว ทุคฺคนฺธฺ จ กโรสิ. (วิสุทฺธิ.
๑.๓๒๙-๓๐)
“นี่แน่ะพ่อ เจ้าโกรธเขาแล้ว เจ้าจักท�ำอะไร กรรมอันมีโทสะ
เป็นเหตุนั่นจักเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียแก่ตัวเจ้าเองมิใช่หรือ เพราะ
เจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับมรดกของกรรม เป็นผู้มีกรรม
เป็นเหตุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เจ้าจักท�ำกรรม
ใดไว้ เจ้าจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น อนึ่ง กรรมคือความโกรธ
นี้จะสามารถยังพระสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สาวกญาณ
สมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในสมบัติมีความเป็นพระพรหม พระอินทร์
พระเจ้าจักรพรรดิ และพระราชาเฉพาะในประเทศหนึ่งเป็นต้น ให้
ส�ำเร็จแก่เจ้าก็หามิได้ ที่แท้กรรมนี้มีแต่จะยังเจ้าให้เคลื่อนจากพระ-
ศาสนาแล้วยังภาวะแห่งคนกินเดนเป็นต้นและทุกข์อันยิ่งใหญ่มีทุกข์
ในนรกเป็นต้นให้เป็นไปแก่เจ้า ตัวเจ้านั้นเมื่อท�ำกรรมอันนี้ ก็เท่ากับ
เผาตัวเองก่อน และท�ำตัวเองให้เหม็นก่อน ดังบุรษุ ผูจ้ บั ถ่านอันปราศจาก
เปลวหรือคูถด้วยมือทั้งสอง หวังจะท�ำร้ายคนอื่น ก็เท่ากับเผาตัวเอง
ก่อน หรือท�ำตัวให้เหม็นก่อน”

428
พรหมวิหาร
๘๓
โย อปฺปทุฏฺสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต.
(ขุ. ธ. ๒๕.๑๒๕.๓๙, ขุ. สุ. ๒๕.๖๖๘.๔๖๕)
“บาปย่อมตามสนองคนเขลาผู้ท�ำร้ายบุคคลที่ไม่ท�ำร้ายตอบ
ผู้หมดจด ปราศจากกิเลส เหมือนธุลีที่ซัดทวนลม ฉะนั้น”
๘๔
รฺ โ อุยฺยานา นิกฺขมนฺตสฺส โพธิสตฺตสฺส จกฺขุปถํ วิชหน-
กาเลเยว อยํ จตุนหุตาธิกา ทฺวิโยชนสตสหสฺสพหลา มหาปถวี ขลิ-
พทฺธสาฏโก วิย ผลิตา. อวีจิโต ชาลา นิกฺขมิตฺวา ราชานํ กุลทตฺติเยน
รตฺตกมฺพเลน ปารุปนฺตี วิย คณฺห.ิ โส อุยยฺ านทฺวาเรเยว ปถวึ ปวิสติ วฺ า
อวีจิมหานิรเย ปติฏฺหิ. (ชา. อ. ๔.๒๒๖-๒๗)
“ในกาลที่พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ลับคลอง
จักษุของพระโพธิสัตว์เท่านั้น มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์
นี้ก็แยกออก ประดุจผ้าติดกาวไว้แยกออกไป เปลวไฟจากอเวจีนรก
แลบออกมาจั บ พระราชาเหมื อ นห่ ม ด้ ว ยผ้ า กั ม พลแดงที่ ต ระกู ล
มอบให้ พระราชานั้นเข้าสู่แผ่นดินที่ประตูพระราชอุทยานนั่นเองแล้ว
ตั้งอยู่ในอเวจีมหานรก”

429
พรหมวิหาร
๘๕
โย เม หตฺเถ จ ปาเท จ กณฺณนาสญฺจ เฉทยิ.
จิรํ ชีวตุ โส ราชา น หิ กุชฺฌนฺติ มาทิสา.
(ขุ. ชา. ๒๗.๔๙-๕๒.๑๐๒-๓)
๘๖
ขุ. ชา. ๒๗.๔๔-๔๙.๑๓๐
๘๗
โส ทฺวีสุ หตฺเถสุ ฉิชฺชมาเนสุ เนว โรทิ น ปริเทวิ, ขนฺติญฺจ
เมตฺตฺ จ ปุเรจาริกํ กตฺวา อธิวาเสสิ. (ชา. อ. ๔.๓๒๕)
“เมื่อนายเพชฌฆาตตัดมือทั้งสองอยู่ ธรรมปาลกุมารนั้น ไม่
ร้องไห้คร�ำ่ ครวญ ทรงกระท�ำขันติและเมตตาให้เป็นเบือ้ งหน้า อดกลัน้
ไว้ได้”
๘๘
เอวํ วิปฺปลปมานาย มาตุยา ปิตรา มหาปตาเปน นาม
รฺ า วํสกฬีเรสุ วิย จตูสุ หตฺถปาเทสุ เฉทาปิเตสุ ตาวตาปิ สนฺตุฏฺึ
อนาปชฺชติ วฺ า สีสมสฺส ฉินทฺ ถาติ อาณตฺเต อยํ ทานิ เต จิตตฺ ปริคคฺ ณฺหน-
กาโล. อิทานิ อมฺโภ ธมฺมปาล สีสจฺเฉทาณาปเก ปิตริ, สีสจฺเฉทเก ปุริเส,
ปริเทวมานาย มาตริ, อตฺตนิ จาติ อิเมสุ จตูสุ สมจิตฺโต โหหีติ ทฬฺหํ
สมาทานมธิฏฺาย ปทุฏฺาการมตฺตมฺปิ นากาสิ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๑)
“ธรรมปาลกุมารถูกพระเจ้ามหาปตาปะผู้เป็นพระบิดาสั่งให้
ตัดมือและเท้าทั้ง ๔ ข้างอัน[เรียวสลวย]เหมือนหน่อไม้แล้ว เพียง
เท่านั้นยังไม่พอพระหฤทัย ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตัดหัวมันเสีย จึง
430
พรหมวิหาร
เตือนตนว่า กาลบัดนี้เป็นกาลที่เจ้าจะข่มจิตของเจ้าไว้ให้ดี เอาละ
เจ้าธรรมบาล คราวนี้ เจ้าจงเป็นผู้มีจิตเสมอในบุคคลทั้ง ๔ คือ ใน
พระบิดาผู้ทรงสั่งให้ตัดศีรษะ ในเจ้าหน้าที่ผู้ตัดศีรษะ ในพระมารดา
ผูก้ �ำลังคร�ำ่ ครวญ และในตัวเองเถิด แล้วทรงอธิษฐานสมาทานมัน่ มิได้
ทรงแสดงแม้แต่ลักษณะไม่พอพระทัย”
๘๙
วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๒
๙๐
วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๒
๙๑
วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๒-๓๓
๙๒
สนฺติ โข ปุณฺณ จกฺขุวิฺเยฺยา รูปา อิฏฺา กนฺตา มนาปา
ปิยรูปา กามูปสํหิตา รชนียา. ตฺ เจ ภิกฺขุ อภินนฺทติ อภิวทติ
อชฺโฌสาย ติฏฺติ. ตสฺส ตํ อภินนฺทโต อภิวทโต อชฺโฌสาย ติฏฺโต
อุปฺปชฺชติ นนฺที. นนฺทิสมุทยา ทุกฺขสมุทโย ปุณฺณาติ วทามิ. (สํ. สฬา.
๑๘.๘๘.๕๙)
๙๓
สนฺติ โข ปุณฺณ จกฺขุวิฺเยฺยา รูปา อิฏฺา กนฺตา มนาปา
ปิยรูปา กามูปสํหิตา รชนียา. ตญฺเจ ภิกฺขุ นาภินนฺทติ นาภิวทติ
นาชฺโฌสาย ติฏฺติ, ตสฺส ตํ อนภินนฺทโต อนภิวทโต อนชฺโฌสาย
ติฏฺโต นิรุชฺฌติ นนฺที. นนฺทินิโรธา ทุกฺขนิโรโธ ปุณฺณาติ วทามิ.
(สํ. สฬา. ๑๘.๘๘.๕๙)
431
พรหมวิหาร
๙๔
สเจ ตฺวํ อิทํ จิตฺตํ น นิพฺพาเปสฺสสิ, อิเมหิ อานิสํเสหิ
ปริพาหิโร ภวิสฺสสิ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๕)

“ถ้าเจ้าไม่ระงับจิต[ร้าย]นี้ ก็จะเป็นผู้ห่างจากอานิสงส์เหล่านี้”
๙๕
อมฺโภ ปพฺพชิต ตฺวํ เอตสฺส กุชฺฌมาโน กสฺส กุชฺฌสิ. กึ เกสานํ
กุชฺฌสิ, อุทาหุ โลมานํ, นขานํ ฯเปฯ มุตฺตสฺส กุชฺฌสิ. อถ วา ปน
เกสาทีสุ ปถวีธาตุยา กุชฺฌสิ, อาโปธาตุยา, เตโชธาตุยา, วาโยธาตุยา
กุชฺฌสิ. เย วา ปญฺจกฺขนฺเธ ทฺวาทสายตนานิ อฏฺารส ธาตุโย อุปาทาย
อยมายสฺมา อิตฺถนฺนาโมติ วุจฺจติ, เตสุ กึ รูปกฺขนฺธสฺส กุชฺฌสิ, อุทาหุ
เวทนา สญฺา สงฺขาร วิญฺาณกฺขนฺธสฺส กุชฺฌสิ. กึ วา จกฺขายตนสฺส
กุชฺฌสิ, กึ รูปายตนสฺส กุชฺฌสิ ฯเปฯ กึ มนายตนสฺส กุชฺฌสิ, กึ ธมฺมา-
ยตนสฺส กุชฺฌสิ. กึ วา จกฺขุธาตุยา กุชฺฌสิ, กึ รูปธาตุยา, กึ จกฺขุวิญฺาณ-
ธาตุยา ฯเปฯ กึ มโนธาตุยา, กึ ธมฺมธาตุยา, กึ มโนวิญฺาณธาตุยา.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๕)
“นี่แน่ะพ่อบรรพชิต ตัวเจ้าเมื่อโกรธบุคคลนั้น โกรธอะไร
โกรธผมหรือ หรือว่าโกรธขน โกรธเล็บ ฯลฯ โกรธมูตร หรือมิฉะนั้น
โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน�้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม ที่มีอยู่ในส่วน
ประกอบมีผมเป็นต้น หรือว่าท่านผูน้ ไี้ ด้ชอื่ อย่างนี้ เพราะอาศัยขันธ์ ๕
เหล่าใด อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เหล่าใด เจ้าโกรธรูปขันธ์หรือ หรือ

432
พรหมวิหาร
ว่าโกรธเวทนาขันธ์...สัญญาขันธ์...สังขารขันธ์...วิญญาณขันธ์ ในขันธ์
เป็นต้นเหล่านั้น มิฉะนั้น เจ้าโกรธจักขายตนะหรือ โกรธรูปายตนะ
หรือ ฯลฯ โกรธมนายตนะหรือ โกรธธัมมายตนะหรือ มิฉะนั้น เจ้า
โกรธจักขุธาตุหรือ โกรธรูปธาตุหรือ โกรธจักขุวิญญาณธาตุหรือ ฯลฯ
โกรธมโนธาตุหรือ โกรธธัมมธาตุหรือ โกรธมโนวิญญาณธาตุหรือ”
๙๖
คาถานี้พบในวิสุทธิมรรค (เล่ม ๑ หน้า ๓๓๖) แต่ในอรรถ
กถาของทีฆนิกาย (เล่ม ๓ หน้า ๒๔๓) และอังคุตตรนิกาย (เล่ม ๓
หน้า ๒๕๓) พบรูปในบาทที่ ๒ ว่า อทานํ ทนฺตทูสกํ แปลว่า “การไม่
ให้ทานท�ำลายคนที่อ่อนโยนสนิทสนมกัน” หมายความว่า การไม่ให้
ทานแก่ผู้ที่ควรให้นั้นย่อมก่อให้เกิดความแตกร้าวแก่คนที่สนิทสนม
กลมเกลียวกันขึ้นได้
๙๗
อตฺตนิ หิตมชฺฌตฺเต อหิเต จ จตุพฺพิเธ
ยทา ปสฺสติ นานตฺตํ หิตจิตฺโตว ปาณินํ.
น นิกามลาภี เมตฺตาย กุสลีติ ปวุจฺจติ
ยทา จตสฺโส สีมาโย สมฺภินฺนา โหนฺติ ภิกฺขุโน.
สมํ ผรติ เมตฺตาย สพฺพโลกํ สเทวกํ
มหาวิเสโส ปุริเมน ยสฺส สีมา น ายติ.
(วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๗)

433
พรหมวิหาร
“เมื่อใด ภิกษุที่มีจิตคิดเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ยังเห็นความ
ต่างกันในคน ๔ ประเภท คือ ในตน ในคนที่เกื้อกูลกัน ในคนกลางๆ
และในคนไม่ชอบกัน เมื่อนั้นยังไม่เรียกว่าเป็นผู้ฉลาดได้เมตตาอย่าง
ที่ต้องการ ต่อเมื่อใด ภิกษุรวมแดนทั้ง ๔ เข้าด้วยกันแล้ว แผ่เมตตา
ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงกับทั้งเทวดาเสมอกันหมด เมื่อนั้น เธอผู้มีเมตตา
ไม่ปรากฏแดน จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่[ในเมตตา]กว่าภิกษุรูปก่อน”
๙๘
วิสุทฺธิ. ๑.๓๓๗
๙๙
บทขัด คือ บททีเ่ ข้ามาคัน่ การสวดพระปริตร คือ เมือ่ ประสงค์
จะสาธยายพระปริตรใด ก็ควรสวดบทขัดพระปริตรนั้นก่อน ที่จะ
สาธยายพระปริตรที่ต้องการ ที่ประเทศลังกาพระเถระผู้น�ำสวดมนต์
จะสาธยายบทขัดพระปริตรก่อน หลังจากนั้นผู้ร่วมสวดจึงสาธยาย
พระปริตรพร้อมกัน ประเพณีนี้ได้สืบทอดมายังประเทศไทยจวบจน
ปัจจุบัน โบราณาจารย์ได้เรียกบทขัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า บทขัดต�ำนาน
ค�ำว่า ต�ำนาน มาจากศัพท์บาลีว่า ตาณา ที่แปลว่า “เครื่องป้องกัน”
หรือพระปริตรนั่นเอง
ประวัติของผู้ประพันธ์บทขัดพระปริตรไม่มีหลักฐานแน่ชัด
ท่านอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต สันนิษฐานว่า คง
เป็นโบราณาจารย์ชาวสิงหลประพันธ์ขนึ้ หลังพุทธศักราช ๙๐๐ เพราะ

434
พรหมวิหาร
เป็นการน�ำข้อความจากคัมภีร์อรรถกถาที่รจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย์
มาแต่งเป็นบทขัด และประพันธ์ขึ้นก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๓ เพราะ
ปรากฏในปริตตฎีกาซึ่งรจนาที่ประเทศพม่าในสมัยนั้น

บทที่ ๓
๑๐๐
ฉบับฉัฏฐสังคีติมีรูปว่า ภีสนํ ส่วนฉบับไทยและฉบับสิงหลมี
รูปว่า ภึสนํ รูปนี้มีศัพท์เดิมมาจาก ภิสิ ธาตุ (ภเย = กลัว) + ยุ ปัจจัย
เมื่อทีฆะสระ อิ ใน ภิ เป็น อี ก็มีรูปว่า ภีสน หรือถ้าลงนิคคหิตเป็น
อาคม ก็ได้รูปว่า ภึสน โดยความเป็นจริง วรรณกรรมบาลีในฉบับไทย
และสิงหลมักพบรูปที่ลงนิคคหิตเป็นอาคม เช่น ภึสน, มหึส, อาสึสนา
และ สุํสุมาร ส่วนวรรณกรรมบาลีในฉบับพม่ามักพบรูปอื่นว่า ภีสน,
มหิส, อาสีสนา หรือ อาสิสนา และ สุสุมาร
๑๐๑
ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๐๙
๑๐๒
เตสํ เตน ทุคคฺ นฺเธน นิมมฺ ถิยมานมิว มตฺถลุงคฺ ํ อโหสิ. (ขุททฺ ก.
อ. หน้า ๒๑๐)

435
พรหมวิหาร
“สมองของภิกษุเหล่านั้นเหมือนถูกบีบคั้นด้วยกลิ่นเหม็น
นั้น”
๑๐๓
คจฺฉถ ภิกฺขเว ตสฺมึเยว วนสณฺเฑ วิหรถ. อิมฺ จ สุตฺตํ
มาสสฺส อฏฺสุ ธมฺมสฺสวนทิวเสสุ ฆณฺฑึ อาโกเฏตฺวา อุสฺสาเรถ
ธมฺมกถํ กโรถ สากจฺฉถ อนุโมทถ. อิทเมว กมฺมฏฺานํ อาเสวถ ภาเวถ
พหุลีกโรถ. เตปิ โว อมนุสฺสา ตํ เภรวารมฺมณํ น ทสฺเสสฺสนฺติ, อฺ ทตฺถุ
อตฺถกามา หิตกามา ภวิสฺสนฺติ. (ขุทฺทก. อ. ๒๒๕-๒๖)
๑๐๔
เมตฺตา เจโตวิมุตฺตีติ สพฺพสตฺเตสุ หิตผรณกา เมตฺตา. ยสฺมา
ปน ตํสมฺปยุตฺตจิตฺตํ นีวรณาทีหิ ปจฺจนีกธมฺเมหิ วิมุจฺจติ, ตสฺมา สา
“เจโตวิมุตฺตี”ติ วุจฺจติ. วิเสสโต วา สพฺพพฺยาปาทปริยุฏฺาเนน
วิมตุ ตฺ ตฺตา สา เจโตวิมตุ ตฺ ตี ิ เวทิตพฺพา. ตตฺถ “เมตฺตา”ติ เอตฺตาวตา
ปุพพฺ ภาโคปิ วฏฺฏติ. “เจโตวิมตุ ตฺ ”ี ติ วุตตฺ ตฺตา ปน อิธ ติกจตุกกฺ ชฺฌาน-
วเสน อปฺปนาว อธิปฺเปตา. (องฺ. อ. ๑.๔๒)
“ค�ำว่า เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ (เมตตาเจโตวิมุตติ) คือ เมตตา
ที่แผ่ความเกื้อกูลไปในสัตว์ทั้งปวง อนึ่ง เมตตานั้นชื่อว่า เจโตวิมุตติ
เพราะจิตประกอบด้วยเมตตานั้นหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรมมีนิวรณ์
เป็นต้น อีกอย่างหนึง่ พึงทราบว่าเมตตานัน้ ชือ่ ว่า เจโตวิมตุ ติ เพราะ
พ้นไปจากการฟูขนึ้ ของพยาบาททัง้ ปวงเป็นพิเศษ ในเรือ่ งนัน้ แม้ปฏิปทา

436
พรหมวิหาร
เบือ้ งต้นย่อมสมควรด้วยค�ำเพียงเท่านีว้ า่ เมตตา แต่พระพุทธองค์ทรง
หมายเอาอัปปนาโดยความเป็นฌาน ๓ และฌาน ๔ เพราะตรัสว่า
เจโตวิมุตติ” ตามค�ำอธิบายข้างต้น ค�ำว่า เจโตวิมุตฺติ มีความหมาย
๒ ประการ คือ
- ความหลุดพ้นแห่งจิตจากปฏิปักขธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น
- ความหลุดพ้นแห่งจิตจากการฟูขึ้นของพยาบาท
๑๐๕
ขุ. ขุ. ๒๕.๑.๑๓
๑๐๖
หิตฺวา หิ สมฺมาวายามํ วิเสสํ นาม มาณโว
อธิคจฺเฉ ปริตฺตมฺปิ านเมตํ น วิชฺชติ.
(วิสุทฺธิ. ๑.๑๔๗)
“โดยแท้จริงแล้ว เมื่อบุรุษทอดทิ้งความเพียรชอบแล้ว จะ
พึงได้บรรลุคุณวิเศษแม้เพียงเล็กน้อยนั้น ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้”
๑๐๗
อุชุ โหนฺโตปิ จ สกึ อุชุภาเวน ทหรกาเล วา อุชุภาเวน
สนฺโตสํ อนาปชฺชิตฺวา ยาวชีวํ ปุนปฺปุนํ อสิถิลกรเณน สุฏฺุตรํ อุชุ อสฺส.
อสตาย วา อุชุ, อมายาวิตาย สุหุชุ. กายวจีวงฺกปฺปหาเนน วา อุชุ,
มโนวงฺกปฺปหาเนน สุหุชุ. อสนฺตคุณสฺส วา อนาวิกรเณน อุชุ, อสนฺต-
คุเณน อุปฺปนฺนสฺส ลาภสฺส อนธิวาสเนน สุหุชุ. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๑๔)

437
พรหมวิหาร
“อนึ่ง แม้ภิกษุที่เป็นผู้ซื่อตรง ก็ควรเป็นผู้แน่วแน่ โดยเป็นผู้
ตรงคราวเดียว[ตลอดชีพ] หรือโดยไม่ถึงความพอใจด้วยความตรงใน
วัยหนุ่ม แต่ยังท�ำให้ไม่ย่อหย่อนเสมอจนตลอดชีพ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ
ว่า ซื่อตรง (อุชุ) เพราะท�ำด้วยความไม่หลอกลวง ชื่อว่า แน่วแน่
(สุหุชู) เพราะไม่มีมารยา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ซื่อตรง เพราะละความ
คดทางกายและวาจา ชื่อว่า แน่วแน่ เพราะละความคดทางใจ อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ซื่อตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มีจริง ชื่อว่า แน่วแน่
เพราะไม่ยอมรับลาภที่เกิดขึ้นด้วยคุณที่ไม่มีจริง”
๑๐๘
โส วิเสสาธิคมสฺส ทูเร โหติ. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๑๕)
“บุคคลนั้นย่อมมีในที่ไกลจากการบรรลุคุณธรรมพิเศษ”
๑๐๙
โส วิเสสาธิคมสฺส อวิทูเร โหติ. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๑๕)
“บุคคลนั้นย่อมมีในที่ไม่ไกลจากการบรรลุคุณธรรมพิเศษ”
๑๑๐
ราหุโลปิ ปาโตว วุฏฺาย หตฺเถน วาลุกํ อุกฺขิปิตฺวา “ทสพลสฺส
เจว อาจริยุปชฺฌายานฺ จ สนฺติกา อชฺช เอตฺตกํ โอวาทํ ลเภยฺยนฺ”ติ
วทติ. (องฺ. อ. ๑.๒๓๑)
“แม้ราหุลลุกขึ้นแต่เช้าแล้วใช้มือกอบทรายขึ้นกล่าวว่า ใน
วันนี้กระผมพึงได้รับค�ำสั่งสอนเพียงเท่านั้นจากส�ำนักของพระทศพล
และอุปัชฌาย์อาจารย์”
438
พรหมวิหาร
๑๑๑
ธมฺม. อ. ๑.๒๕๒
๑๑๒
สาริปุตฺตตฺเถโร วิย จณฺฑาลกุมารกสเมน เจตสา วิหเรยฺย.
(ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๑๕)
“ภิกษุควรมีใจเสมอกับเด็กจัณฑาลอยู่เหมือนพระสารีบุตร
เถระ”
๑๑๓
เสยฺยถาปิ ภนฺเต จณฺฑาลกุมารโก วา จณฺฑาลกุมาริกา วา
กโฬปิหตฺโถ นนฺตกวาสี คามํ วา นิคมํ วา ปวิสนฺโต นีจจิตฺตํเยว
อุปฏฺเปตฺวา ปวิสติ, เอวเมวํ โข อหํ ภนฺเต จณฺฑาลกุมารกจณฺฑาล-
กุมาริ กาสเมน เจตสา วิหรามิ วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน
อเวเรน อพฺยาปชฺเชน. ยสฺส นูน ภนฺเต กาเย กายคตาสติ อนุปฏฺติ า
อสฺส, โส อิธ อฺ ตรํ สพฺรหฺมจารึ อาสชฺช อปฺปฏินิสฺสชฺช จาริกํ
ปกฺกเมยฺย. (องฺ. นวก. ๒๓.๑๑.๓๑๐)
“เด็กจัณฑาลผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง หิ้วตะกร้า นุ่งผ้า
ชายขาด เมื่อเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเท่านั้นเข้าไป
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาลผู้ชาย
หรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง อันไพบูลย์ ถึงความยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มี
เวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่น
กายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน

439
พรหมวิหาร
ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป”
๑๑๔
ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา, ตตฺถ เต ยาวชีวํ
อุสฺสาโห กรณีโย. (วิ. มหา. ๔.๗๓.๗๔)
๑๑๕
ค�ำว่า ปูติมุตตะ (น�้ำมูตรเน่า) คือ น�้ำปัสสาวะของวัวตาม
ความเห็นของวิมติวิโนทนี หรือหมายถึงน�้ำปัสสาวะทุกอย่างตาม
ความเห็นของสารัตถทีปนี ดังข้อความในคัมภีร์เหล่านั้นว่า
ปูติมุตฺตนฺติ ยํ กิฺจิ มุตฺตํ. ยถา สุวณฺณวณฺโณปิ กาโย “ปูติ-
กาโย”ติ วุจฺจติ, เอวํ อภินวมฺปิ มุตฺตํ ปูติมุตฺตเมว. (สารตฺถ. ๓.๒๘๕)
“น�้ำมูตรทุกชนิด ชื่อว่า ปูติมุตตะ (น�้ำมูตรเน่า) น�้ำมูตรใหม่
ก็จัดเป็นน�้ำมูตรเน่าทีเดียว เหมือนกายที่มีสีทองได้ชื่อว่า ปูติกาโย
(กายเน่า)”
ปูติมุตฺตนฺติ โคมุตฺตํ. (วิมติ. ๒.๑๓๕)
“ค�ำว่า ปูติมุตฺตํ (น�้ำมูตรเน่า) คือ น�้ำมูตรของวัว”
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของวิมติวิโนทนีได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวาง ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์อภิธานฎีกาว่า
โคมุตฺเต ควํ สมฺพนฺธินิ มุตฺเต ปูติมุตฺตสทฺโท วตฺตติ. อชฺช
ปวตฺตมฺปิ หิ ตํ ทุคฺคนฺธภาเวน ปูติมุตฺตนฺเตฺวว วุจฺจติ ยถา ปูติกาโยติ.
(ธาน. ฏี. ค�ำอธิบายคาถา ๒๗๖)
440
พรหมวิหาร
“ปูติมุตฺต ศัพท์ย่อมเป็นไปในน�้ำมูตรของวัว คือ น�้ำมูตรที่
เกี่ยวเนื่องกับวัว โดยแท้จริงแล้ว น�้ำมูตรนั้นแม้เป็นไปในวันนี้ ก็เรียก
ว่า น�้ำมูตรเน่า ดังค�ำว่า ปูติกาโย (กายเน่า)”
๑๑๖
ขุ. ธ. ๒๕.๒๐๔.๕๓
๑๑๗
ติจีวรฺ จ ปตฺโต จ วาสิ สูจิ จ พนฺธนํ
ปริสฺสาวเนน อฏฺเเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.
(ที. อ. ๑.๑๘๖)
“ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคตเอว และผ้ากรองน�้ำ รวม
เป็น ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร”
๑๑๘
ระยะทางระหว่างราชคฤห์กบั นาลันทาซึง่ ในคัมภีรอ์ รรถกถา
ของทีฆนิกาย (เล่ม ๑ หน้า ๓๕) ระบุวา่ มีระยะทาง ๑ โยชน์ เมือ่ เทียบ
กับมาตราวัดของไทย คือ ๑๒ นิ้ว = ๑ คืบ, ๒ คืบ = ๑ ศอก, ๔ ศอก =
๑ วา, ๒๐ วา = ๑ เส้น, ๔๐๐ เส้น = ๑ โยชน์ ก็จะเท่ากับ ๑๖ กม.
แต่มาตราวัดสมัยพุทธกาลไม่เหมือนกับของไทย จึงควรนับจากมาตรา
วัดในสมัยก่อน จะท�ำให้ได้ระยะทางที่แน่นอน กล่าวคือ
๗ เมล็ดข้าวเปลือก = ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว = ๑ คืบ
๒ คืบ = ๑ ศอก
441
พรหมวิหาร
๗ ศอก = ๑ ยัฏฐิ (ไม้เท้า)
๒๐ ยัฏฐิ = ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ = ๔ คาวุต
๔ คาวุต = ๑ โยชน์
ตามมาตราวัดข้างต้นนี้ ระยะทาง ๑ โยชน์เทียบได้กับ
๒๐.๗๕ กม. หรือเทียบได้กับ ๑๒ ไมล์ ๕ เฟอร์ลอง ๕๔๐ ฟุต
(เฟอร์ลอง คือ หน่วยระยะทาง ๒๒๐ หลา หรือ ๑ ส่วน ๘ ไมล์ =
๒๐๑ เมตร ภาษาอังกฤษใช้เป็น furlong ใช้อักษรย่อว่า fur) มีวิธีคูณ
ดังนี้
๑ นิ้ว (บาลี) = ๐.๗๕ นิ้ว (สากล) เพราะเมล็ดข้าวเปลือกเรียง
ตามด้านกว้าง ๗ เม็ด = .๗๕ นิ้ว (สากล) หรือ ๓/๔ นิ้ว (สากล)
๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว x ๒ คืบ x ๗ ศอก x ๒๐ ยัฏฐิ x ๘๐
อุสภะ x ๔ คาวุต = ๑,๐๗๕,๒๐๐ นิ้ว (บาลี)
๑ นิ้ว (บาลี) = ๐.๗๕ นิ้ว (สากล)
๑ โยชน์ จึงเท่ากับ ๑,๐๗๕,๒๐๐ x ๐.๗๕ = ๘๐๖,๔๐๐ นิ้ว
(สากล)
๖๓,๓๖๐ นิ้ว (สากล) = ๑ ไมล์
๑ โยชน์ = ๘๐๖,๔๐๐ นิ้ว (สากล) ÷ ๖๓,๓๖๐ นิ้ว =
๑๒.๗๓ ไมล์ (หรือ ๑๒ ไมล์ ๕ เฟอร์ลอง ๕๔๐ ฟุต)
442
พรหมวิหาร
๑ ไมล์ = ๑.๖๐๙ กม. ๑๒.๗๓ ไมล์ = ๑๒.๗๓ x ๑.๖๐๙ =
๒๐.๔๘ กม.
สรุปความว่า ๑ โยชน์เท่ากับ ๑๒.๗๓ ไมล์ หรือ ๒๐.๔๘
กม.
อนึ่ง มาตราวัดตามบาลีที่กล่าวไว้ข้างต้น ปรากฏในคัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกาว่า
รตนํ ตานิ สตฺเตว ยฏฺิ ตา วีสตูสภํ
คาวุต’มุสภาสีติ โยชนํ จตุคาวุตํ.
(ธาน. คาถา ๑๙๖)
“[๒ คืบเหล่านั้น]เป็น ๑ ศอก, ๗ ศอกเป็น ๑ ยัฏฐิ, ๒๐
ยัฏฐิเหล่านั้นเป็น ๑ อุสภะ, ๘๐ อุสภะเป็น ๑ คาวุต, ๔ คาวุตเป็น ๑
โยชน์”
คัมภีร์ข้างต้นกล่าวตามคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีว่า
เทฺว วิทตฺถิโย รตนํ. สตฺต รตนานิ ยฏฺ.ิ ตาย ยฏฺยิ า วีสติ
ยฏฺโิ ย อุสภํ. อสีติ อุสภานิ คาวุตํ. จตฺตาริ คาวุตานิ โยชนํ. (อภิ. อ.
๒.๓๖๘)
“๒ คืบเป็น ๑ ศอก, ๗ ศอกเป็น ๑ ยัฏฐิ, ๒๐ ยัฏฐิตามยัฏฐิ
นั้นเป็น ๑ อุสภะ, ๘๐ อุสภะเป็น ๑ คาวุต, ๔ คาวุตเป็น ๑ โยชน์”
443
พรหมวิหาร
คัมภีร์สังขยาปกาสกะที่แต่งโดยท่านพระวิลาสะแห่งเชียงใหม่
ได้ประพันธ์ข้อความนี้เป็นคาถาว่า
สตฺต หตฺถา มโต ทณฺโฑ วีสทณฺโฑ จ อุสโภ
อสีติ อุสภา คาวี คาวี จตฺตาริ โยชนํ.
(สงฺขฺยาปกาสก. คาถา ๑๒)
“๗ ศอกเป็น ๑ ทัณฑะ (ไม้เท้า), ๒๐ ทัณฑะเป็น ๑ อุสภะ,
๘๐ อุสภะเป็น ๑ คาวี (คาวุต), ๔ คาวีเป็น ๑ โยชน์”
ในคัมภีร์กังขาโยชนาพบคาถาที่คล้ายคลึงกับคัมภีร์สังขยา-
ปกาสกะ ดังนี้
สตฺต หตฺถา มโต ทณฺโฑ ทณฺฑา วีสติ อุสภํ
อสีติ อุสภา คาวี คาวี จตฺตาริ โยชนํ.
(กงฺขาโยชนา. หน้า ๒๗๑)
“๗ ศอกเป็น ๑ ทัณฑะ (ไม้เท้า), ๒๐ ทัณฑะเป็น ๑ อุสภะ,
๘๐ อุสภะเป็น ๑ คาวี (คาวุต), ๔ คาวีเป็น ๑ โยชน์”
๑๑๙
น จ ภิกฺขเว อปริสฺสาวนเกน อทฺธาโน ปฏิปชฺชิตพฺโพ. โย
ปฏิปชฺเชยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส. สเจ น โหติ ปริสฺสาวนํ วา ธมฺมกรโณ
วา, สงฺฆาฏิกณฺโณปิ อธิฏฺาตพฺโพ “อิมินา ปริสฺสาเวตฺวา ปิวิสฺสามี”ติ.
(วิ. จูฬ. ๗.๒๕๙.๒๐)

444
พรหมวิหาร
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีผ้ากรองน�้ำ ไม่พึงเดินทางไกล รูปใด
เดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน�้ำหรือธมกรก (กระบอก
กรองน�้ำของพระสงฆ์) แม้มุมสังฆาฏิก็ควรอธิษฐานใช้กรองดื่มได้”
อทฺธานมคฺโค ปฏิปชฺชิตพฺโพติ เอตฺถ อทฺธโยชนํ อทฺธาน-
มคฺโค นาม, ตํ ปฏิปชฺชิตุกามสฺส สฺ จิจฺจ วิหารูปจาราติกฺกมเน
อาปตฺติ. อสฺ จิจฺจ คตสฺส ปน ยตฺถ สรติ, ตตฺถ ตฺวา สงฺฆาฏิ-
กณฺณาทึ อนธิฏฺหิตฺวา คมเน ปทวาเรน อาปตฺตีติ เวทิตพฺพํ. (วิมติ.
๒.๓๐๒)
“ในปาฐะว่า อทฺธานมคฺโค ปฏิปชฺชิตพฺโพ (เดินทางไกล)
หนทางไกล คือ กึ่งโยชน์ เมื่อภิกษุต้องการจะเดินทางไปกึ่งโยชน์นั้น
ต้องอาบัติในขณะจงใจแล้วล่วงอุปจาระ (ที่ใกล้) ของวัด แต่ถ้าไม่จงใจ
ไป พึงทราบว่าด�ำรงอยู่ในที่ระลึกได้ ต้องอาบัติทุกย่างเท้าเพราะไปไม่
อธิษฐานมุมผ้าสังฆาฏิเป็นต้น[เพื่อใช้กรองดื่ม]
๑๒๐
นิปโกติ เนปกฺกํ วุจฺจติ ปฺ า, ตาย สมนฺนาคโตติ อตฺโถ.
อิมินา ปเทน ปาริหาริกปฺ ํ ทสฺเสติ. (วิสุทฺธิ. ๑.๔)
“ปัญญาชื่อว่า เนปักกะ ในค�ำว่า นิปโก หมายความว่า ผู้
ประกอบด้วยปัญญานัน้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงแสดงปาริหาริกปัญญา
ด้วยบทนี้”

445
พรหมวิหาร
๑๒๑
นิปโกติ วิฺู วิภาวี ปฺ วา, สีลานุรกฺขณปฺ าย จีวรา-
ทิวิจารณปฺ าย อาวาสาทิสตฺตสปฺปายปริชานนปฺ าย จ สมนฺนา-
คโตติ อธิปฺปาโย. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๑๗)
“บทว่า นิปโก แปลว่า ผู้ฉลาด คือ ผู้แจ่มแจ้ง กล่าวคือ ผู้มี
ปัญญา ความหมายคือ ผูป้ ระกอบด้วยปัญญาในการรักษาศีล ปัญญา
ในการจัดท�ำจีวรเป็นต้น และปัญญาในการก�ำหนดรู้สัปปายะ ๗ มี
อาวาสสัปปายะ เป็นต้น”
๑๒๒
อาวาโส โคจโร ภสฺสํ ปุคฺคโล โภชนํ อุตุ
อิริยาปโถติ สตฺเตเต อสปฺปาเย วิวชฺชเย.
สปฺปาเย สตฺต เสเวถ เอวฺ หิ ปฏิปชฺชโต
นจิเรเนว กาเลน โหติ กสฺสจิ อปฺปนา.
(วิสุทฺธิ. ๑.๑๓๘)
ผู้ปฏิบัติพึงเว้นสิ่งที่เป็นอสัปปายะ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่)
โคจรคาม (หมู่บ้านบิณฑบาต) การพูดคุย บุคคล โภชนะ อุตุ และ
อิริยาบถเหล่านี้ พึงเสพสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๗ อย่าง ที่จริงแล้ว เมื่อ
ผู้ปฏิบัติใดๆ ก็ดีท�ำได้อย่างนั้น อัปปนาย่อมมีโดยกาลไม่นาน”
๑๒๓
สนฺนิปติตานํ โว ภิกฺขเว ทฺวยํ กรณียํ. ธมฺมี วา กถา, อริโย
วา ตุณฺหีภาโว. (ม. มู. ๑๒.๒๗๓.๒๓๘)
446
พรหมวิหาร
“เธอทั้งหลายผู้มาประชุมกันมีกิจที่ควรท�ำ ๒ ประการ
คือ การสนทนาธรรม หรือการเป็นผู้นิ่งอย่างประเสริฐ[ด้วยการเจริญ
กรรมฐาน]”
๑๒๔
ที. อ. ๑.๑๖๖
๑๒๕
ที. อ. ๑.๑๖๖
๑๒๖
กฏจฺฉุภิกฺขํ ทตฺวาน อนุรุทฺธสฺส อินฺทโก
โส หิตฺวา มานุสํ เทหํ ตาวตึสูปโค อหุ.
ทสหิ าเนหิ องฺกุรํ อินฺทโก อติโรจติ
รูเป สทฺเท รเส คนฺเธ โผฏฺพฺเพ จ มโนรเม.
อายุนา ยสสา เจว วณฺเณน จ สุเขน จ
อาธิปจฺเจน องฺกุรํ อินฺทโก อติโรจติ.
(ขุ. วิ. ๒๖.๓๑๔-๑๖.๑๙๑)
“อินทกมาณพถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระอนุรุทธเถระ
ละร่างมนุษย์แล้วได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ อินทกเทพบุตรรุ่งเรือง
ยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตรด้วยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุข และความเป็นใหญ่ยิ่ง
อินทกเทพบุตรย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตร”

447
พรหมวิหาร
๑๒๗
เอโก หิ ภิกฺขุ คาหคาหโก โหติ, เอโก คาหมุตฺตโก, เอโก
มุตฺตคาหโก, เอโก มุตฺตมุตฺตโก. ตตฺถ ยํ ภิกฺขุํ มนุสฺสาปิ อามิเสน
อุปลาเปตฺวา คหณวเสน อุปสงฺกมนฺติ, ภิกฺขุปิ ปุปฺผผลาทีหิ อุป-
ลาเปตฺวา คหณวเสน อุปสงฺกมติ, อยํ คาหคาหโก นาม. ยํ ปน มนุสฺสา
วุตฺตนเยน อุปสงฺกมนฺติ, ภิกฺขุ ทกฺขิเณยฺยวเสน อุปสงฺกมติ, อยํ
คาหมุตฺตโก นาม. ยสฺส มนุสฺสา ทกฺขิเณยฺยวเสน จตฺตาโร ปจฺจเย
เทนฺติ, ภิกฺขุ ปุปฺผผลาทีหิ อุปลาเปตฺวา คหณวเสน อุปสงฺกมติ, อยํ
มุตฺตคาหโก นาม. ยสฺส มนุสฺสาปิ ทกฺขิเณยฺยวเสน จตฺตาโร ปจฺจเย
เทนฺติ, ภิกฺขุปิ จูฬปิณฺฑปาติยติสฺสตฺเถโร วิย ทกฺขิเณยฺยวเสน ปริ-
ภุฺชติ, อยํ มุตฺตมุตฺตโก นาม. (ม. อ. ๒.๕๓-๔)
“กล่าวโดยพิสดารแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ต่างคนต่างจับ
(คาหคาหกะ) รูปหนึ่งเป็นผู้พ้นจากผู้จับ (คาหมุตตกะ) รูปหนึ่งเป็น
ผู้จับผู้ปล่อย (มุตตคาหกะ) รูปหนึ่งเป็นผู้ต่างคนต่างปล่อย (มุตต-
มุตตกะ)
ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น พึงทราบว่า-
- ผู้ต่างคนต่างจับ คือ พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุด้วยการใช้
อามิสล่อจับไว้ก็ดี ภิกษุเข้าไปหาพวกมนุษย์ด้วยการใช้ดอกไม้และ
ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ก็ดี

448
พรหมวิหาร
- ผู้พ้นจากผู้จับ คือ พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุตามนัยที่
กล่าวแล้ว ภิกษุก็เข้าไปหาพวกมนุษย์ด้วยความเป็นทักขิไณยบุคคล
- ผู้จับผู้ปล่อย คือ พวกมนุษย์ถวายปัจจัย ๔ แก่ภิกษุด้วย
ความเป็นทักขิไณยบุคคล แต่ภิกษุเข้าไปหาพวกมนุษย์ด้วยการใช้
ดอกไม้และผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้
- ผู้ต่างคนต่างปล่อย คือ พวกมนุษย์ถวายปัจจัย ๔ แก่
ภิกษุด้วยความเป็นทักขิไณยบุคคลก็ดี ภิกษุบริโภคด้วยความเป็น
ทักขิไณยบุคคลเป็นเหมือนพระจูฬปิณฑปาติยติสสเถระก็ดี
๑๒๘
พุทฺธานุสฺสตีติ พุทฺธสฺส คุณานุสฺสรณํ. เอวํ อนุสฺสรโต หิ
ปีติ อุปฺปชฺชติ. โส ตํ ปีตึ ขยโต วยโต ปฏฺเปตฺวา อรหตฺตํ ปาปุณาติ.
อุปจารกมฺมฏฺานํ นาเมตํ คิหีนมฺปิ ลพฺภติ. (ที. อ. ๓.๒๓๕)
“ค�ำว่า พุทฺธานุสสติ แปลว่า การระลึกถึงพระพุทธคุณ
โดยแท้จริงแล้ว ความปีติปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึงอย่างนี้
บุคคลนัน้ ตัง้ ความปีตปิ ราโมทย์นนั้ โดยความดับไปเสือ่ มสูญไป ย่อมถึง
อรหัตตผล ขึ้นชื่อว่ากรรมฐานที่ก่อให้เกิดอุปจารสมาธิ ย่อมมีได้แม้
แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย”

449
พรหมวิหาร
ตามหลักภาษา ค�ำว่า พุทฺธานุสฺสติ ตัดบทเป็น พุทฺธ
(พระพุทธเจ้า) + อนุสฺสติ (การระลึกถึง) แต่ค�ำนี้ไม่ใช่หมายถึงการ
ระลึกถึงพระพุทธรูปหรือพระวรกายของพระพุทธเจ้า แต่มุ่งให้หมาย
ถึงการระลึกถึงพระพุทธคุณ การใช้ค�ำในลักษณะนี้เป็นส�ำนวนทาง
ภาษาที่เรียกว่า คุณยูปจาระ คือ ส�ำนวนที่กล่าวถึงสิ่งที่มีคุณลักษณะ
แต่มุ่งให้หมายถึงคุณลักษณะ จะเห็นได้ว่า ค�ำว่า พุทฺธ กล่าวถึง
พระพุทธเจ้า แต่เจตนาหมายถึงพระพุทธคุณอันเป็นคุณลักษณะของ
พระพุทธเจ้า ดังค�ำอธิบายในคัมภีร์อนุทีปนีว่า
พุทฺธานุสฺสตีติ เอตฺถ พุทฺธสทฺโท คุณฺยูปจารวจนํ โหติ คุณิโน
ทพฺพสฺส นาเมน คุณานํ คเหตพฺพตฺตาติ วุตฺตํ “พุทฺธคุณสฺส อนุสฺสติ
พุทฺธานุสฺสตี”ติ. (อนุทีปนี. หน้า ๒๗๗)
“พุทฺธ ศัพท์ในค�ำว่า พุทฺธานุสฺสติ นี้ เป็นส�ำนวนที่กล่าวถึง
คุณลักษณะ เพราะควรถือเอาคุณลักษณะด้วยชื่อของทัพพะ (บุคคล
สิ่งของ) ที่มีคุณลักษณะ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า พุทฺธคุณสฺส อนุสฺสติ
พุทฺธานุสฺสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ) ชื่อว่า พุทธานุสสติ”
๑๒๙
ภูตาติ ชาตา อภินิพฺพตฺตา. เย ภูตา เอว, น ปุน ภวิสฺสนฺตีติ
สงฺขฺยํ คจฺฉนฺติ, เตสํ ขีณาสวานํ เอตํ อธิวจนํ. สมฺภวเมสนฺตีติ สมฺภเวสี.
อปฺปหีนภวสํโยชนตฺตา อายติมปฺ ิ สมฺภวํ เอสนฺตานํ เสขปุถชุ ชฺ นานเมตํ

450
พรหมวิหาร
อธิวจนํ. อถ วา จตูสุ โยนีสุ อณฺฑชชลาพุชา สตฺตา ยาว อณฺฑโกสํ
วตฺถิโกสฺ จ น ภินฺทนฺติ, ตาว สมฺภเวสี นาม. อณฺฑโกสํ วตฺถิโกสฺ จ
ภินฺทิตฺวา พหิ นิกฺขนฺตา ภูตา นาม. สํเสทชา โอปปาติกา จ ปม-
จิตฺตกฺขเณ สมฺภเวสี นาม. ทุติยจิตฺตกฺขณโต ปภุติ ภูตา นาม. เยน วา
อิริยาปเถน ชายนฺติ, ยาว ตโต อฺ ํ น ปาปุณนฺติ, ตาว สมฺภเวสี นาม.
ตโต ปรํ ภูตาติ. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๒๑)
“ค�ำว่า ภูตา แปลว่า ผู้เกิดแล้ว คือ ผู้บังเกิดแล้ว ค�ำนี้เป็นชื่อ
ของพระขีณาสพผู้เกิดแล้วไม่ถึงการนับว่าจักเกิดอีกเหล่านั้น
ค�ำว่า สัมภเวสี คือ ผูแ้ สวงหาทีเ่ กิด ค�ำนีเ้ ป็นชือ่ ของพระเสขะ
และปุถุชนทั้งหลายที่ก�ำลังแสวงหาที่เกิดแม้ในอนาคต เพราะยังขจัด
ภวสังโยชน์ไม่ได้
อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาก�ำเนิด ๔ เหล่า สัตว์ที่เป็นอัณฑชะ
(เกิดในไข่) และชลาพุชะ (เกิดในมดลูก) ยังไม่ท�ำลายเปลือกฟองไข่
และรกออกมาตราบใด ตราบนั้นชื่อว่า สัมภเวสี เมื่อท�ำลายเปลือก
ฟองไข่และรกแล้วออกมาข้างนอก ชื่อว่า ภูตะ สัตว์ที่เป็นสังเสทชะ
(เกิดในยางเหนียว) และโอปปาติกะ (ผุดเกิดขึ้นทันที) ชื่อว่า สัมภเวสี
ในขณะจิตดวงแรก ตั้งแต่ขณะจิตดวงที่สองไปชื่อว่า ภูตะ

451
พรหมวิหาร
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเกิดโดยอิริยาบถใด ยังไม่เปลี่ยน
อิริยาบถเป็นอื่นไปจากอิริยาบถนั้น ตราบใด ตราบนั้นยังชื่อว่า สัมภเวสี
ถัดจากนั้นไปชื่อว่า ภูตะ”
๑๓๐
อิธ เสนิย เอกจฺโจ โควตํ ภาเวติ ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ, โคสีลํ
ภาเวติ ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ, โคจิตฺตํ ภาเวติ ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ,
ควากปฺปํ ภาเวติ ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ. โส โควตํ ภาเวตฺวา ปริปุณฺณํ
อพฺโพกิณฺณํ, โคสีลํ ภาเวตฺวา ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ, โคจิตฺตํ ภาเวตฺวา
ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ, ควากปฺปํ ภาเวตฺวา ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ
กายสฺส เภทา ปรํ มรณา คุนฺนํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ. สเจ โข ปนสฺส
เอวํทิฏฺ ิ โหติ- อิมินาหํ สีเลน วา วเตน วา ตเปน วา พฺรหฺมจริเยน-
วา เทโว วา ภวิสฺสามิ เทวฺ ตโร วาติ, สาสฺส โหติ มิจฺฉาทิฏฺ.ิ
มิจฺฉาทิฏฺสิ ฺส โข อหํ เสนิย ทฺวินฺนํ คตีนํ อญฺตรํ คตึ วทามิ- นิรยํ
วา ติรจฺฉานโยนึ วา. อิติ โข เสนิย สมฺปชฺชมานํ โควตํ คุนฺนํ สหพฺยตํ
อุปเนติ, วิปชฺชมานํ นิรยํ. (ม. ม. ๑๓.๘๐.๕๗-๘)
“บุคคลบางคนในโลกนี้บ�ำเพ็ญโควัตร บ�ำเพ็ญตนตามปกติ
แบบโค บ�ำเพ็ญจิตแบบโค บ�ำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์
ไม่ขาดสาย ครั้นบ�ำเพ็ญโควัตร บ�ำเพ็ญตนตามปกติแบบโค บ�ำเพ็ญจิต
แบบโค บ�ำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสายแล้ว หลัง
จากตายไป ย่อมไปเกิดในหมูโ่ ค แต่ถา้ เขามีทฏิ ฐิอย่างนีว้ า่ ‘เราจักเป็น
452
พรหมวิหาร
เทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’
ทิฏฐิของเขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
มี ๒ อย่าง คือ นรก หรือก�ำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เสนิยะ โดยประการดังนี้ โควัตรที่ถูกประพฤติสมบูรณ์ ย่อม
น�ำไปเกิดในหมู่โค เมื่อประพฤติบกพร่อง ย่อมน�ำไปเกิดในนรก”
๑๓๑
ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตราคา ราคพนฺธนพทฺธา. เตสํ
นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา รชนียา, เต อุปสํหรติ ภิยฺโยโส-
มตฺตาย ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตโทสา โทสพนฺธนพทฺธา. เตสํ นโฏ
รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา โทสนียา, เต อุปสํหรติ ภิยฺโยโส-
มตฺตาย. ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตโมหา โมหพนฺธนพทฺธา. เตสํ
นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา โมหนียา, เต อุปสํหรติ ภิยฺโยโส-
มตฺตาย. โส อตฺตนา มตฺโต ปมตฺโต ปเร มเทตฺวา ปมาเทตฺวา
กายสฺส เภทา ปรํ มรณา ปหาโย นาม นิรโย, ตตฺถ อุปปชฺชติ. สเจ
โข ปนสฺส เอวํทิฏฺิ โหติ- โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ
สจฺจาลิเกน ชนํ หาเสติ รเมติ, โส กายสฺส เภทา ปรํ มรณา ปหายานํ
เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชตีติ, สาสฺส โหติ มิจฺฉาทิฏฺ.ิ มิจฺฉาทิฏฺกิ สฺส
โข ปนาหํ คามณิ ปุริสปุคฺคลสฺส ทฺวินฺนํ คตีนํ อฺ ตรํ คตึ วทามิ
นิรยํ วา ติรจฺฉานโยนึ วา. (สํ. สฬา. ๑๘.๓๕๔.๒๘๐-๘๑)

453
พรหมวิหาร
“นายบ้าน เมื่อก่อน สัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากราคะ ถูก
เครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักฟ้อนร�ำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
ความก�ำหนัดเข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้น
โดยประมาณยิ่ง
เมือ่ ก่อนสัตว์ทงั้ หลายไม่ปราศจากโทสะ ถูกเครือ่ งผูกคือโทสะ
ผูกไว้ นักฟ้อนร�ำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเข้าไป
กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
เมือ่ ก่อนสัตว์ทงั้ หลายไม่ปราศจากโมหะ ถูกเครือ่ งผูกคือโมหะ
ผูกไว้ นักฟ้อนร�ำ ย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงเข้าไป
กลาง โรงละคร กลางงานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
นักฟ้อนร�ำนั้นตนเองก็มัวเมาประมาท ทั้งท�ำให้ผู้อื่นมัวเมา
ประมาทด้วย หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในนรกชื่อปหายะ แต่ถ้าเขา
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า นักฟ้อนร�ำคนใดท�ำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วย
ค�ำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนร�ำ
คนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดา
ชื่อปหายะ ทิฏฐิของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉา
ทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ นรก หรือก�ำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”

454
พรหมวิหาร
๑๓๒
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺส อุปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
(ขุ. ธ. ๒๕.๑๘๓.๔๙)
“ไม่ควรท�ำความชั่วทุกชนิด ท�ำแต่ความดี ท�ำใจให้ผ่องใส นี้
เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
สีเล ปติฏฺาย นโร สปฺ โ จิตฺตํ ปฺ ฺ จ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ.
(สํ. ส. ๑๕.๒๓.๑๖)
“ภิกษุผู้เป็นคนฉลาด มีความเพียร มีปัญญารักษาตน ตั้งอยู่
ในศีลแล้ว อบรมจิตและปัญญาอยู่นั้น พึงถางชัฏนี้ได้”
๑๓๓
กถํ. อุทฺธํ อโธ จ ติริยฺ จ, อุทฺธํ ยาว ภวคฺคา, อโธ ยาว
อวีจิโต, ติริยํ ยาว อวเสสทิสา. อุทฺธํ วา อารุปฺปํ, อโธ กามธาตุํ,
ติริยํ รูปธาตุํ อนวเสสํ ผรนฺโต. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๒๓)
“ภิกษุแผ่เมตตาอย่างไร คือ แผ่เมตตาไปไม่มีเหลือ ทั้งทิศ
เบือ้ งบน ทิศเบือ้ งล่าง และทิศเฉียง กล่าวคือ ทิศเบือ้ งบนจนถึงภวัคค-
พรหม ทิศเบือ้ งล่างจนถึงอเวจีนรก ทิศเฉียงจนถึงทิศทีเ่ หลือ หรือแผ่
เมตตาสูอ่ รูปภูมเิ บือ้ งบน กามาวจรภูมเิ บือ้ งตำ
�่ และรูปภูมเิ บือ้ งกลาง”

455
พรหมวิหาร
๑๓๔
สามเณรสิกขา ฉบับวิสุทธาราม หน้า ๔๔
๑๓๕
อิริยาปถ ฯเปฯ วิหาเรสูติ อิริยาปถวิหาโร ทิพฺพวิหาโร
พฺรหฺมวิหาโร อริยวิหาโรติ เอเตสุ จตูสุ วิหาเรสุ. ตตฺถ อิริยนํ ปวตฺตนํ
อิริยา, กายปฺปโยโค กายิกกิริยา. ตสฺสา ปวตฺตนุปายภาวโต อิริยาย
ปโถติ อิริยาปโถ, านนิสชฺชาทิ. น หิ านนิสชฺชาทีหิ อวตฺถาหิ วินา
กฺ จิ กายิกกิริยํ ปวตฺเตตุํ สกฺกา. านสมงฺคี วา หิ กาเยน กิฺจิ กเรยฺย
คมนาทีสุ อฺ ตรสมงฺคี วาติ. วิหรณํ, วิหรติ เอเตนาติ วา วิหาโร,
อิริยา-ปโถว วิหาโร อิรยิ าปถวิหาโร, โส จ อตฺถโต านนิสชฺชาทิอาการปฺ-
ปวตฺโต จตุสนฺตติรูปปฺปพนฺโธว. ทิวิ ภโว ทิพฺโพ, ตตฺถ พหุลปฺปวตฺติยา
พฺรหฺมปาริสชฺชาทิเทวโลกภโวติ อตฺโถ. ตตฺถ โย ทิพฺพานุภาโว ตทตฺถาย
สํวตฺตตีติ วา ทิพฺโพ, อภิฺาภินีหารวเสน มหาคติกตฺตา วา ทิพฺโพ,
ทิพฺโพ จ โส วิหาโร จาติ ทิพฺพวิหาโร, ทิพฺพภาวาวโห วา วิหาโร
ทิพฺพวิหาโร, มหคฺคตชฺฌานานิ. อารุปฺปสมาปตฺติโยปิ หิ เอตฺเถว
สงฺคหํ คจฺฉนฺติ. เนตฺติยํ ปน “จตสฺโส อารุปฺปสมาปตฺติโย อาเนฺ ช-
วิหาโร”ติ วุตฺตํ, ตํ เมตฺตาฌานาทีนํ พฺรหฺมวิหารตา วิย ตาสํ ภาวนา-
วิเสสภาวํ สนฺธาย วุตฺตํ. อฏฺกถาสุ ปน ทิพฺพภาวาวหสามฺ โต
ตาปิ “ทิพฺพวิหารา”เตฺวว วุตฺตา. พฺรหฺมานํ วิหารา พฺรหฺมวิหารา,
พฺรหฺมาโน วา วิหารา พฺรหฺมวิหารา. หิตูปสํหาราทิวเสน ปวตฺติยา
พฺรหฺมภูตา เสฏฺภูตา วิหาราติ อตฺโถ. เมตฺตาฌานาทิกา จตสฺโส
456
พรหมวิหาร
อปฺปมฺ าโย. อริยา อุตฺตมา วิหาราติ อริยวิหารา, อนฺ สาธารณตฺตา
อริยานํ วา วิหารา อริยวิหารา, จตสฺโส ผลสมาปตฺติโย. วิเสสโต
ปน รูปาวจรจตุตฺถชฺฌานํ จตสฺโส อปฺปมฺ าโย จตุตฺถชฺฌานิก-
ผลสมาปตฺติ จ ภควโต ทิพฺพพฺรหฺมอริยวิหารา. (สารตฺถ. ๑.๒๕๓-
๕๔)
“ค�ำว่า อิริยาปถ ฯเปฯ วิหาเรสุ (ในบรรดาการอยู่ด้วย
อิริยาบถ ฯลฯ) หมายความว่า ในบรรดาการอยู่ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
อิริยาปถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
ในเรื่องนั้น ค�ำว่า อิริยา คือ การเป็นไป หมายถึง การ
ประกอบทางกาย คือ กิริยาทางกาย
ค�ำว่า อิริยาบถ คือ เหตุของการเป็นไป เพราะเป็นเหตุให้การ
เป็นไปนั้นด�ำเนินไปได้ หมายถึง การยืนและการนั่งเป็นต้น เพราะ
บุคคลไม่อาจท�ำกิริยาทางกายอะไรก็ตามให้ด�ำเนินไปได้เว้นจากระยะ
กาลมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ดังจะเห็นว่า บุคคลถึงพร้อมด้วยการ
ยืนหรือการเดินเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจึงท�ำกิริยาอะไรก็ตาม
ทางกาย
ค�ำว่า วิหาร แปลว่า การอยู่ หรือธรรมท�ำให้อยู่ได้
ค�ำว่า อิริยาปถวิหาร คือ การอยู่อันได้แก่อิริยาบถ (หรือ)
ธรรมท�ำให้อยู่ได้คืออิริยาบถ
457
พรหมวิหาร
อนึ่ง อิริยาปถวิหารนั้นเป็นกระแสของรูปที่ต่อเนื่อง ๔ อย่าง
อันด�ำเนินไปโดยลักษณะมีการยืนและการนั่งเป็นต้น
ค�ำว่า ทิพพะ คือ มีในสวรรค์ หมายความว่า มีในเทวโลกมี
พรหมปาริสัชชาเป็นต้นเพราะด�ำเนินไปมากในสวรรค์นั้น (ในที่นี้เรียก
พรหมโลกว่าสวรรค์ และเรียกพรหมว่าเป็นเทวดา)
อีกอย่างหนึ่ง ค�ำว่า ทิพพะ คือ ด�ำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่
ทิพพานุภาพในสวรรค์นั้น
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิพพะ เพราะมีความเป็นไปยิ่งใหญ่ด้วย
การน้อมไปสู่อภิญญา
ค�ำว่า ทิพพวิหาร คือ การอยู่อย่างเป็นทิพย์ อีกอย่างหนึ่ง
ค�ำว่า ทิพพวิหาร คือ การอยู่ที่น�ำความเป็นทิพย์มาให้ หมายถึง ฌาน
ที่เป็นมหัคคตะ เพราะแม้อรูปสมาบัติก็นับเข้าในทิพพวิหารนี้ แต่ใน
เนตติปกรณ์กล่าวว่า ‘อรูปสมาบัติ ๔ เป็นอาเนญชวิหาร (การอยู่
อย่างไม่หวั่นไหว)’ ค�ำนี้กล่าวไว้โดยระบุว่าอรูปสมาบัติเหล่านั้นเป็น
ภาวนาพิเศษ เหมือนการที่เมตตาฌานเป็นต้นชื่อว่าพรหมวิหาร ส่วน
ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า แม้อรูปฌานเหล่านั้นก็ชื่อว่า ทิพพวิหาร
เพราะน�ำภาวะที่เกิดในเทวโลก (พรหมโลก) มาให้เหมือนกัน

458
พรหมวิหาร
ค�ำว่า พรหมวิหาร คือ การอยู่ของพรหม หรือค�ำว่า พรหม-
วิหาร คือ การอยู่อย่างประเสริฐ หมายความว่า การอยู่อันยิ่งยวด
เพราะเป็นไปด้วยการน�ำประโยชน์เกื้อกูลมาให้เป็นต้น หมายถึง
อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาฌานเป็นต้น
ค�ำว่า อริยวิหาร คือ การอยู่อย่างประเสริฐ คือ สูงสุด หรือ
ค�ำว่า อริยวิหาร คือ การอยู่ของพระอริยะ เพราะไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน
อื่น หมายถึง ผลสมาบัติ ๔
อนึ่ง รูปาวจรฌานที่ ๔ เป็นทิพพวิหาร อัปปมัญญา ๔ เป็น
พรหมวิหาร และผลสมาบัติที่ประกอบด้วยฌานที่ ๔ เป็นอริยวิหาร
โดยพิเศษของพระผู้มีพระภาค”
๑๓๖
ตสฺมา ตฺวํ อุตฺติย อาทิเมว วิโสเธหิ กุสเลสุ ธมฺเมสุ. โก จาทิ
กุสลานํ ธมฺมานํ. สีลฺ จ สุวิสุทฺธํ. ทิฏฺิ จ อุชุกา. ยโต โข เต อุตฺติย
สีลฺ จ สุวิสุทฺธํ ภวิสฺสติ ทิฏฺิ จ อุชุกา, ตโต ตฺวํ อุตฺติย สีลํ นิสฺสาย สีเล
ปติฏฺาย จตฺตาโร สติปฏฺาเน ภาเวยฺยาสิ. (สํ. มหา. ๑๙.๓๘๒.๑๔๔)
“ดูกรอุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอพึงช�ำระเบื้องต้นของกุศล-
ธรรมทั้งหลาย อะไรคือเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลที่หมดจด
ดีและความเห็นที่ถูกต้อง คือเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกร
อุตติยะเมื่อศีลของเธอหมดจดดี และความเห็นถูกต้องแล้ว ต่อแต่นั้น

459
พรหมวิหาร
เธออาศัยศีลด�ำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔”
๑๓๗
ตสฺสตฺโถ- ยฺวายํ พฺรหฺมเมตํ วิหารมิธ มาหูติ สํวณฺณิโต
เมตฺตาฌานวิหาโร, ตโต วุฏฺาย เย ตตฺถ วิตกฺกวิจาราทโย ธมฺมา, เต
เตสฺ จ วตฺถาทิอนุสาเรน รูปธมฺเม ปริคฺคเหตฺวา อิมินา นามรูปปริจฺ-
เฉเทน “สุทฺธสงฺขารปุฺโชยํ, นยิธ สตฺตูปลพฺภตี”ติ เอวํ ทิฏฺิ ฺ จ
อนุปคฺคมฺม อนุปุพฺเพน โลกุตฺตรสีเลน สีลวา หุตฺวา โลกุตฺตรสีล-
สมฺปยุตฺเตเนว โสตาปตฺติมคฺคสมฺมาทิฏฺสิ ฺ ิ เตน ทสฺสเนน สมฺปนฺโน,
ตโต ปรํ โยปายํ วตฺถุกาเมสุ เคโธ กิเลสกาโม อปฺปหีโน โหติ, ตมฺปิ
สกทาคามิอนาคามิมคฺเคหิ ตนุภาเวน อนวเสสปฺปหาเนน จ กาเมสุ
เคธํ วิเนยฺย วินยิตฺ วา วูปสเมตฺวา น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรติ
เอกํเสเนว ปุน คพฺภเสยฺยํ น เอติ, สุทฺธาวาเสสุ นิพฺพตฺติตฺวา ตตฺเถว
อรหตฺตํ ปาปุณิตฺวา ปรินิพฺพาตีติ. (ขุทฺทก. อ. หน้า ๒๒๕)
“คาถานั้นมีความหมายว่า การอยู่ด้วยเมตตาฌานใดได้รับ
สรรเสริญว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐในพระศาสนานี้ ผู้ปฏิบัติ
ออกจากการอยู่ด้วยเมตตาฌานนั้นแล้ว ก�ำหนดนามธรรมมีวิตกและ
วิจารเป็นต้นและรูปธรรมโดยคล้อยตามวัตถุรูปเป็นต้นของนามธรรม
เหล่านั้นในฌานนั้นแล้ว จะไม่กล�้ำกรายความเห็นผิดอย่างนี้ว่า รูป
นามนีเ้ ป็นกองสังขารล้วนๆ ไม่ปรากฏว่าเป็นสัตว์บคุ คลในกองสังขารนี้

460
พรหมวิหาร
เป็นผูม้ ศี ลี ด้วยโลกุตตรศีลตามล�ำดับ ถึงพร้อมด้วยทัศนะทีช่ อื่ ว่าสัมมา-
ทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค อันประกอบด้วยโลกุตตรศีล ต่อจากนั้นได้
ขจัดคือระงับความยินดีในกามด้วยการขัดเกลากิเลสกามที่ยินดีใน
วัตถุกามซึ่งยังละไม่ได้ด้วยสกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค และ
ด้วยการขจัดโดยสิ้นเชิง ย่อมไม่เข้าถึงการเกิดในครรภ์อีกอย่างแน่แท้
คือ ไม่ต้องนอนในครรภ์อีกอย่างแน่นอน กล่าวคือ บังเกิดในหมู่เทพ
ชั้นสุทธาวาสแล้วบรรลุอรหัตตผล แล้วจึงปรินิพพานในชั้นสุทธาวาส
นั้นนั่นเอง”
๑๓๘
โดยทั่วไปค�ำว่า คพฺภเสยฺย (การนอนในครรภ์, การเกิดใน
ครรภ์) หมายถึง ก�ำเนิดของชลาพุชะ คือ สัตว์ที่เกิดในมดลูก แต่ค�ำ
นี้ยังหมายรวมถึงปฏิสนธิของสัตว์อื่น ได้แก่ อัณฑชะ คือ สัตว์ที่เกิด
ในฟองไข่ สังเสทชะ คือ สัตว์ทเี่ กิดในยางเหนียว และโอปปาติกะ คือ
สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นทันที การใช้ค�ำในลักษณะนี้เรียกว่า รุฬหีศัพท์ คือ
ส�ำนวนที่นิยมใช้กันทางโลกซึ่งเป็นที่เข้าใจของคนทั่วไป ดังนั้น ค�ำว่า
คพฺภเสยฺย แม้จะระบุถึงก�ำเนิดของชลาพุชะโดยตรง ก็หมายรวมถึง
ก�ำเนิดของสัตว์อนื่ ได้อกี ด้วย ข้อนีเ้ หมือนพัดทัว่ ไปทีไ่ ด้ชอื่ ว่า ตาลวณฺฏ
(พัดก้านตาล) ตามศัพท์ค�ำว่า ตาลวณฺฏ หมายถึง พัดที่ท�ำมาจาก
ก้านใบตาลเท่านั้น แต่ค�ำนี้ยังหมายถึงรวมถึงพัดที่ท�ำมาจากวัตถุอื่น
ทั้งหมดมีไม้ไผ่หรือเสื่อร�ำแพนเป็นต้น ดังค�ำอธิบายว่า
461
พรหมวิหาร
ยถา หิ ตาลปณฺเณหิ อกตฺวา กิลฺ ชาทีหิ กตมฺปิ ตํ-
สริกฺขตฺตา รุฬฺหีสทฺเทน ตาลวณฺฏนฺเตฺวว วุจฺจติ, เอวํ าณวิปฺปยุตฺตมฺปิ
กุสลนฺเตฺวว เวทิตพฺพํ. (อภิ. อ. ๑.๑๑๐)
“พัดทีท่ �ำด้วยเสือ่ ล�ำแพนเป็นต้นไม่ได้ท�ำด้วยใบตาล ก็ได้ชอื่
ว่า พัดใบตาล โดยรุฬหิศัพท์ เพราะเหมือนใบตาลนั้น ฉันใด พึงทราบ
ว่าแม้จิตที่เป็นญาณวิปปยุตต์ก็ได้ชื่อว่า กุศล ฉันนั้น”
ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาว่า
ตาลวณฺเฏหิ กตตฺตา ตาลวณฺฏํ. วณฺฏํ นาม พีชนาทิกรณตฺถํ
วิสุํ ภาชิโต ตาลปตฺตาวยโว. ตาลวณฺฏสทฺทสฺส ยถาวุตตฺ วจนตฺถโยเคปิ
สติ สญฺาสทฺทตฺตา พีชนีสามญฺเ ปวตฺติ เวทิตพฺพา. ยทา ปน ตาล-
วณฺเฏหิ กตพีชนิเมว วตฺตุมิจฺฉติ, ตทา เอเกน ตาลสทฺเทน วิเสเสตฺวา
ตาลตาลวณฺฏนฺติ วตฺตพฺพํ ยถา ติลสฺส เตลํ, สุคตสฺส สุคตจีวรนฺติ.
(ค�ำอธิบายคาถา ๓๑๗)
“ชื่อว่า ตาลวัณฏะ (พัดก้านตาล) เพราะท�ำมาจากก้านของ
ตาล ที่ชื่อว่า ก้านตาล คือ ส่วนหนึ่งของใบตาลที่แยกออกต่างหาก
เพื่อท�ำพัดเป็นต้น แม้ ตาลวณฺฏ ศัพท์จะประกอบด้วยความหมาย
ของศัพท์ตามที่กล่าวแล้ว ก็พึงทราบความเป็นไปในพัดสามัญทั่วไป
เพราะเป็นสัญญาศัพท์ (ศัพท์ระบุถึงชื่อ) แต่เมื่อใดต้องการกล่าวถึง

462
พรหมวิหาร
พัดที่ท�ำจากก้านตาลจริงๆ เมื่อนั้น พึงกล่าวระบุด้วย ตาล ศัพท์อีก
ค�ำหนึ่งว่า ตาลตาลวณฺฏํ (พัดก้านตาลของตาล) ดังค�ำว่า ติลสฺส เตลํ
(น�้ำมันงา), สุคตสฺส สุคตจีวรํ (จีวรของพระสุคต)”
ค�ำว่า เตล มีค�ำแปลตามรูปศัพท์ว่า น�้ำมันงา โดยมี
รูปวิเคราะห์ว่า ติลสฺส อิทํ เตลํ (น�้ำมันของงา ชื่อว่า เตละ) แม้ค�ำว่า
สุคตจีวร ก็มีค�ำแปลตามรูปศัพท์ว่า จีวรของพระสุคต มีรูปวิเคราะห์
ว่า สุคตสฺส จีวรํ สุคตจีวรํ (จีวรของพระสุคต ชื่อว่า สุคตจีวระ) แต่
ค�ำว่า เตล ใช้โดยทั่วไปว่าหมายถึงน�้ำมัน ไม่ได้ระบุว่าเป็นน�้ำมันงา ถ้า
ต้องการจะระบุถงึ ว่าเป็นนำ�้ มันงา ต้องประกอบอีกศัพท์หนึง่ ไว้ขา้ งหน้า
เป็นรูปว่า ติลสฺส เตลํ (น�้ำมันของงา, น�้ำมันงา) แม้ค�ำว่า สุคตจีวร ก็
ใช้โดยทั่วไปว่าเป็นจีวร ไม่ได้ระบุว่าเป็นจีวรของพระสุคต ถ้าต้องการ
จะระบุถึงว่าเป็นจีวรของพระสุคต ก็ต้องประกอบอีกศัพท์หนึ่งไว้
ข้างหน้าเป็นรูปว่า สุคตสฺส สุคตจีวรํ (จีวรของพระสุคต) พบในประโยค
ว่า ตตฺริทํ สุคตสฺส สุคตจีวรปฺปมาณํ (ขนาดจีวรของพระสุคตในเรื่อง
นั้นมีดังนี้) นอกจากนั้น ยังพบอีกศัพท์หนึ่ง คือศัพท์ว่า เทวานํ เทวา-
นุภาโว (อานุภาพของทวยเทพ) มีใช้ในประโยคว่า อติกฺกมฺม เทวานํ
เทวานุภาวํ (ล่วงพ้นอานุภาพของทวยเทพ)

463
พรหมวิหาร
คัมภีร์มณิสารมัญชูสากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
ตทฺธิโต จ สมาโส จ วากฺยตฺเถสุ วิเสสกา
ปสิทฺธิยนฺตุ สามฺ ํ เตลํ สุคตจีวรํ.
(มณิมฺ ชูสา. ๑.๖๖)
“บทตัทธิตและสมาสมีความหมายพิเศษในรูปวิเคราะห์ แต่
ในบทส�ำเร็จมีความหมายโดยสามัญทั่วไป ดังค�ำว่า เตลํ (น�้ำมัน) สุคต-
จีวรํ (จีวร)”
นอกจากนั้น ในอรรถกถาของสุตตนิบาตยังกล่าวว่า คพฺภ-
เสยฺย ศัพท์อาจกล่าวถึงก�ำเนิดทั้ง ๔ อย่างได้ด้วยวิธี ๒ อย่าง คือ
๑. ทวันทสมาส มีรูปวิเคราะห์ว่า คพฺภฺ จ เสยฺยฺ จ คพฺภ-
เสยฺยํ (ครรภ์และการนอน ชื่อว่า คัพภเสยยะ) คพฺภ ศัพท์หมายถึง
ก�ำเนิดของชลาพุชะ ส่วน เสยฺย ศัพท์หมายถึง ก�ำเนิดของสัตว์ที่เหลือ
๒. ปธานนัย คือ นัยที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นประธาน แต่ยังหมาย
รวมถึงสิ่งอื่นๆ อีกด้วย เช่นค�ำว่า ราชา อาคจฺฉติ (พระราชาเสด็จมา)
กล่าวถึงพระราชาเป็นหลัก แต่ยังหมายรวมถึงข้าราชบริพารอื่นๆ อีก
ด้วย ซึง่ ในทีน่ ไี้ ด้กล่าวถึงก�ำเนิดของชลาพุชะเป็นหลัก แต่ยงั หมายรวม
ถึงก�ำเนิดอื่นอีกด้วย
ดังข้อความในคัมภีร์อรรถกถาข้างต้นว่า

464
พรหมวิหาร
ตตฺถ คพฺภคฺคหเณน ชลาพุชโยนิ, เสยฺยคฺคหเณน อวเสสา.
คพฺภเสยฺยมุเขน วา สพฺพาปิ ตา วุตฺตาติ เวทิตพฺพา. (สุตฺตนิ. อ. ๑.๓๘)
“ในเรื่องนั้น คพฺภ ศัพท์หมายถึง ก�ำเนิดของชลาพุชะ ส่วน
เสยฺย ศัพท์หมายถึง ก�ำเนิดที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าตรัส
ก�ำเนิดทั้งหมดนั้นไว้โดยมีการเกิดในครรภ์เป็นประธาน”
๑๓๙
เมตฺตาวิหารี โย ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ.
(ขุ. ธ. ๒๕.๓๖๘.๘๑)

บทที่ ๔
๑๔๐
องฺ. จตุกฺก. ๒๑.๑๒๖.๑๔๖
๑๔๑
ค�ำว่า สหพฺยตา ประกอบรูปศัพท์มาจาก สหพฺย ศัพท์ + ตา
ปัจจัยในภาวตัทธิต มีรูปวิเคราะห์ว่า สหพฺยสฺส ภาโว สหพฺยตา (ความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยตา) ค�ำว่า สหพฺย มาจาก สห บทหน้า +
พฺเย ธาตุ (ปวตฺติยํ = เป็นไป) + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ มีรูปวิเคราะห์
ในคัมภีร์ต่างๆ ว่า

465
พรหมวิหาร
- สห พฺเยติ สห ปวตฺตตีติ สหพฺโย, สหาโย เอกภวูปโค วา
(ผู้เป็นไปร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยะ คือ สหาย หรือผู้เข้าถึงภพเดียวกัน)
<นีติ. ธาตุ. หน้า ๑๘๗>
- สห พฺเยติ วตฺตตีติ สหพฺโย, สหวตฺตนโก (ผู้เป็นไปร่วมกัน
ชื่อว่า สหัพยะ คือ ผู้อยู่ร่วมกัน) <ที. ฏี. ๑.๔๘๑-๘๒>
- สห พฺยยติ คจฺฉตีติ สหพฺโย, สหวตฺตนโก (ผู้เป็นไปร่วมกัน
ชื่อว่า สหัพยะ คือ ผู้อยู่ร่วมกัน) <ม. ฏี. ๒.๓๐๕>
- สห พฺยายติ ปวตฺตตีติ สหพฺโย (ผู้เป็นไปร่วมกัน ชื่อว่า
สหัพยะ) <สี. นวฏี. ๑.๕๑๒>
- สห โทสํ ปฏิจฺฉาเทตีติ สหพฺโย (ผู้ปกปิดโทษร่วมกัน ชื่อว่า
สหัพยะ) <สี. นวฏี. ๑.๕๑๒>
ดังหลักฐานในคัมภีร์เหล่านั้นว่า
พฺเย ปวตฺติยํ. พฺเยติ, สหพฺโย. เอตฺถ สหพฺโยติ สห พฺเยติ สห
ปวตฺตตีติ สหพฺโย, สหาโย เอกภวูปโค วา. ตถา หิ “ตาวตึสานํ เทวานํ
สหพฺยตํ อุปปนฺโน”ติอาทีสุ เอกภวูปโค “สหพฺโย”ติ วุจฺจติ. (นีติ. ธา.
หน้า ๑๘๗)
“พฺเย ธาตุมีความหมายว่า เป็นไป เช่น พฺเยติ (ย่อมเป็นไป),
สหพฺโย (ผู้เป็นไปร่วมกัน, สหาย) ในเรื่องนี้ ค�ำว่า สหพฺโย หมายความ

466
พรหมวิหาร
ว่า บุคคลผู้เป็นไปร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยะ คือ สหาย หรือผู้เข้าถึงภพ
เดียวกัน ดังจะเห็นได้ว่า ผู้เข้าถึงภพเดียวกันกล่าวว่าเป็น สหพฺโย ใน
ประโยคว่า ตาวตึสานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปนฺโน (เข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกันของเทวดาชั้นดาวดึงส์)”
สห พฺเยติ วตฺตตีติ สหพฺโย, สหวตฺตนโก, ตสฺส ภาโว สหพฺย-
ตาติ อาห “สหภาวายา”ติอาทิ. สหภาโวติ จ สโลกตา, สมีปตา วา
เวทิตพฺพา. เตนาห “เอกฏฺาเน ปาตุภาวายา”ติ. (ที. ฏี. ๑.๔๘๑-๘๒)
“บุคคลผูเ้ ป็นไปร่วมกัน ชือ่ ว่า สหัพยะ หมายถึง ผูอ้ ยูร่ ว่ มกัน
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยตา ฉะนั้นจึงกล่าวว่า สหภาวาย
(เพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน) เป็นต้น อนึ่ง ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน พึง
ทราบว่าเป็นความมีโลกอย่างเดียวกัน หรือความอยู่ใกล้กัน ฉะนั้น
จึงกล่าวว่า เอกฏฺาเน ปาตุภาวาย (คือ เพื่อความปรากฏในที่แห่ง
เดียวกัน)”
สห พฺยยติ คจฺฉตีติ สหพฺโย, สหวตฺตนโก, ตสฺส ภาโว
สหพฺยตา, สหปวตฺตีติ อาห “สหภาวํ อุปคจฺเฉยฺยนฺ”ติ. (ม. ฏี. ๒.๓๐๕)
“บุคคลผู้เป็นไปร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยะ หมายถึง ผู้อยู่ร่วม
กัน ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน ชื่อว่า สหัพยตา หมายถึง การอยู่ร่วมกัน
ฉะนั้นจึงกล่าวว่า สหภาวํ อุปคจฺเฉยฺยํ (พึงเข้าถึงการอยู่ร่วมกัน)”

467
พรหมวิหาร
สหพฺยตนฺติ สหายภาวมิจฺเจว สทฺทโต อตฺโถ สหพฺยสทฺทสฺส
สหายตฺเถ ปวตฺตนโต. โส หิ สห พฺยายติ ปวตฺตติ, โทสํ วา ปฏิจฺฉาเทตีติ
สหพฺโยติ วุจฺจติ, ตสฺส ภาโว สหพฺยตา. สหายภาโว ปน สหภาโวเยว
นามาติ อธิปฺปายโต อตฺถํ ทสฺเสตุํ “สหภาวนฺ”ติ วุตฺตํ. (สี. นวฏี.
๑.๕๑๒)
“ค�ำว่า สหพฺยตํ มีความหมายตามศัพท์ว่า ความเป็นสหาย
นั่นเทียว เพราะ สหพฺย ศัพท์เป็นไปในความหมายว่า สหาย ดังจะ
เห็นได้ว่า สหายนั้นย่อมเป็นไปร่วมกัน หรือปกปิดโทษร่วมกัน จึงได้
ชื่อว่า สหัพยะ ภาวะของสหายนั้น ชื่อว่า สหัพยตา อนึ่ง ท่านกล่าวว่า
สหภาวํ (การอยู่ร่วมกัน) เพื่อแสดงเนื้อความโดยอธิบายว่า ความเป็น
สหายก็จัดเป็นการอยู่ร่วมกันทีเดียว”
๑๔๒
ล�ำดับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามฐานะ มี ๕ ประเภท
พบในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีว่า
ตตฺถ กมโตติ อิธ อุปฺปตฺติกฺกโม, ปหานกฺกโม, ปฏิปตฺติกฺกโม,
ภูมิกฺกโม, เทสนากฺกโมติ พหุวิโธ กโม. ตตฺถ “ปมํ กลลํ โหติ, กลลา
โหติ อพฺพุทนฺ”ติ เอวมาทิ อุปฺปตฺติกฺกโม. “ทสฺสเนนปหาตพฺพา ธมฺมา,
ภาวนายปหาตพฺพา ธมฺมา”ติ เอวมาทิ ปหานกฺกโม, “สีลวิสุทฺธิ, จิตฺต-
วิสุทฺธี”ติ เอวมาทิ ปฏิปตฺติกฺกโม. “กามาวจรา รูปาวจรา”ติ เอวมาทิ

468
พรหมวิหาร
ภูมิกฺกโม. “จตฺตาโร สติปฏฺานา, จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา”ติ วา
“ทานกถํ สีลกถนฺ”ติ วา เอวมาทิ เทสนากฺกโม. (อภิ. อ. ๒.๓๒-๓)
“ในเรื่องนั้น ล�ำดับในค�ำว่า กมโต (ตามล�ำดับ) นี้ มีหลาย
อย่าง คือ
๑. อุปปัตติกมะ ล�ำดับการเกิดขึ้น เช่น ปมํ กลลํ โหติ
(น�้ำใสเกิดขึ้นก่อน) กลลา โหติ อพฺพุทํ (จากน�้ำใสเป็นฟองใส) เป็นต้น
๒. ปหานกมะ ล�ำดับแห่งการละ เช่น ทสฺสเนนปหาตพฺพา
ธมฺมา (ธรรมที่โสดาปัตติมรรคพึงละมีอยู่), ภาวนายปหาตพฺพา ธมฺมา
(ธรรมที่มรรคขั้นสูงพึงละมีอยู่) เป็นต้น
๓. ปฏิปัตติกมะ ล�ำดับการปฏิบัติ เช่น สีลวิสุทฺธิ (ความ
หมดจดแห่งศีล), จิตฺตวิสุทฺธิ (ความหมดจดแห่งจิต) เป็นต้น
๔. ภูมิกมะ ล�ำดับแห่งภูมิ เช่น กามาวจรา (ธรรมที่เป็น
กามาวจร) รูปาวจรา (ธรรมที่เป็นรูปาวจร) เป็นต้น
๕. เทสนากมะ ล�ำดับแห่งเทศนา เช่น จตฺตาโร สติปฏฺานา
(สติปัฏฐานสี่), จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา (สัมมัปปธานสี่) หรือล�ำดับ
ว่า ทานกถํ (เรื่องทาน) ศีลกถํ (เรื่องศีล) เป็นต้น
๑๔๓
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๒๒.๓๔๑

469
พรหมวิหาร
๑๔๔
อนิจฺจํ เวทิตพฺพํ. อนิจฺจตา เวทิตพฺพา. อนิจฺจานุปสฺสนา
เวทิตพฺพา. อนิจฺจานุปสฺสี เวทิตพฺโพ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๑๖)
๑๔๕
ตตฺถ อนิจฺจนฺติ ปฺ จกฺขนฺธา. กสฺมา. อุปฺปาทวยญฺถตฺต-
ภาวา. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๑๖)
๑๔๖
หุตฺวา อภาวากาโร อนิจฺจตา นาม. (อภิ. อ. ๑.๔๐๒)
๑๔๗
ตตฺถ ยา วีมํสา อุสฺสาหนา ตุลนา อุปปริกฺขา, อยํ สุตมยี
ปญฺา. ตถา สุเตน นิสฺสเยน ยา วีมํสา ตุลนา อุปปริกฺขา มนสานุ-
เปกฺขณา, อยํ จินฺตามยี ปฺ า. อิมาหิ ทฺวีหิ ปฺ าหิ มนสิการ-
สมฺปยุตฺตสฺส ยํ าณํ อุปฺปชฺชติ ทสฺสนภูมิยํ วา ภาวนาภูมิยํ วา, อยํ
ภาวนามยี ปฺ า. (เนตฺติ. หน้า ๑๐)
“ปัญญาที่ใช้พิจารณา ฝึกฝน เทียบเคียง และใคร่ครวญ
ในธรรมนั้น ชื่อว่า สุตมยปัญญา ปัญญาที่ใช้พิจารณา เทียบเคียง
ใคร่ครวญ และทบทวนด้วยใจ โดยอาศัยการฟัง[ธรรม]อย่างนั้น ชื่อว่า
จินตามยปัญญา [มรรค]ปัญญาที่เกิดแก่ผู้กอปรด้วยมนสิการด้วย
ปัญญาทั้งสองอย่างนี้ในทัสสนภูมิ [โสดาปัตติมรรค] หรือในภาวนา-
ภูมิ [มรรคขั้นสูง ๓] ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา”
๑๔๘
สํ. ข. ๑๗.๑๕.๑๙

470
พรหมวิหาร
๑๔๙
ค�ำว่า ทุกข์ มีความหมาย ๓ ประการ คือ
๑. ทุกขเวทนา แปลว่า “สภาพทนได้ยาก” คือ ทุกขเวทนา
ทางกายและใจที่ทนด้วยความรู้สึกไม่ดี ค�ำนี้ประกอบรูปศัพท์มาจาก
ทุ บทหน้า + ขมุ ธาตุ (ขนฺติยํ = ทน) + กฺวิ ปัจจัยในกรรมสาธนะ มี
รูปวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน ขมิตพฺพนฺติ ทุกฺขํ (ทุกข์ คือ สภาพทนได้ยาก)
พบในคัมภีร์อรรถกถา ๓ ฉบับว่า ทุกฺขานนฺติ ทุกฺขมานํ. (วิ. อ. ๒.๔๑๕,
องฺ. อ. ๒.๑๕๕, องฺ. อ. ๓.๕๔)
“ค�ำว่า ทุกฺขานํ หมายความว่า อันทนได้ยาก”
๒. ทุกข์ในไตรลักษณ์ แปลว่า “สภาพน่ากลัว” หรือ
“สภาพถูกบีบคัน้ ” ประกอบรูปศัพท์มาจาก ทุกขฺ ธาตุ (ภยปฏิปฬี เน =
น่ากลัว, บีบคั้น) + อ ปัจจัยในอปาทานสาธนะหรือกรรมสาธนะ มี
รูปวิเคราะห์วา่ ทุกขฺ ติ ภายติ เอตสฺมาติ ทุกขฺ ํ (ทุกข์ คือ สภาพน่ากลัว)
หรือ ทุกฺขียติ ปฏิปีฬียตีติ ทุกฺขํ (ทุกข์ คือ สภาพถูกบีบคั้น) ดังข้อความ
ในคัมภีร์อรรถกถาว่า
อภิณฺหปฏิปีฬนากาโร ทุกฺขลกฺขณํ. (วิสุทฺธิ. ๒.๓๑๓)
“อาการที่บีบคั้นอยู่เสมอ เป็นลักษณะของทุกข์”
ทุกฺขฏฺเนาติ ภยฏฺเน, ปฏิปีฬนฏฺเน วา. (ปฏิสํ. อ. ๒.
๑๔๐)
“ค�ำว่า ทุกฺขฏฺเน แปลว่า โดยสภาพน่ากลัว หรือโดยสภาพ
471
พรหมวิหาร
ถูกบีบคั้น”
๓. ทุกข์ในอริยสัจ แปลว่า “สภาพว่างเปล่าอันน่ารังเกียจ”
มีรูปวิเคราะห์ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา (เล่ม ๒ หน้า ๒๑๒) ซึ่งกล่าว
ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค (เล่ม ๒ หน้า ๑๔๐) ว่า กุจฺฉิตํ ขํ ทุกฺขํ (ทุกข์
คือ สภาพว่างเปล่าอันน่ารังเกียจ)” ตามนัยนี้เป็นปาทิบุรพบทกรรม
ธารยสมาส โดย ทุ ศัพท์มีความหมายว่า กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ) และ ข
ศัพท์มีความหมายว่า ตุจฺฉ (ว่างเปล่า, ไร้แก่นสาร)
๑๕๐
สํ. ข. ๑๗.๑๕.๑๙
๑๕๑
วิสุทฺธิ. ๒.๓๑๓
๑๕๒
องฺ. จตุกฺก. ๒๑.๑๒๕.๑๔๔
๑๕๓
อุตฺตริ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโตติ เมตฺตาสมาปตฺติโต อุตฺตริ อรหตฺตํ
อธิคนฺตุํ อสกฺโกนฺโต อิโต จวิตฺวา สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย พฺรหฺมโลกํ
อุปปชฺชตีติ. (องฺ. อ. ๓.๓๘๕)

472
พรหมวิหาร
บทที่ ๕
๑๕๔
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๙
๑๕๕
ค�ำว่า กรุณา มีความหมาย ๓ ประการ พบในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรค (เล่ม ๑ หน้า ๓๔๙) ดังนี้
- สภาวะท�ำให้หัวใจของคนดีหวั่นไหวเมื่อพบทุกข์ของคน
อืน่ = ปรทุกเฺ ข สติ สาธูนํ หทยกมฺปนํ กโรตีติ กรุณา (กร ธาตุ = กระท�ำ +
รุณ ปัจจัย + อา อิตถีปัจจัย ลบ รฺ ของ กรฺ ธาตุ)
- สภาวะก�ำจัดความทุกข์ของคนอื่น = กิณาติ ปรทุกฺขํ
หึสติ วินาเสตีติ กรุณา (กี ธาตุ = ท�ำลาย + รุณ ปัจจัย แปลง อี
ใน กี เป็น อ)
- สภาวะที่ถูกแผ่ไปด้วยการกระจายไปในผู้มีทุกข์ = กิริยติ
ทุกฺขิเตสุ ผรณวเสน ปสาริยตีติ กรุณา (กิร ธาตุ = แผ่ไป + รุณ ปัจจัย
+ อา อิตถีปัจจัย แปลง อิ ใน กิ เป็น อ และลบ ร ของ กิร ธาตุ)
นอกจากนั้น ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “สภาวะปิดกั้น
ความสุข” มีรูปวิเคราะห์ กํ รุนฺธตีติ กรุณา (ก = ความสุข + รุธิ ธาตุ
= ปิดกั้น + ณ ปัจจัย + อา อิตถีปัจจัย) ตามที่กล่าวไว้ในฎีกาของ
ทีฆนิกาย (เล่ม ๑ หน้า ๓) และสัททนีติปกรณ์ (ธาตุมาลา หน้า ๔๘๘)

473
พรหมวิหาร
๑๕๖
ขุ. พุทฺธ. ๓๓.๕๔.๔๕๓
๑๕๗
ขุ. พุทฺธ. ๓๓.๕๖.๔๕๓
๑๕๘
ค�ำว่า กรุณาเยยฺย ประกอบรูปศัพท์มาจาก กรุณา ศัพท์ +
อาย ปัจจัย + อ ปัจจัย + เอยฺย วิภัตติ ลง อาย ปัจจัยในความหมายว่า
กระท�ำ ด้วยสูตรในโมคคัลลานไวยากรณ์ (ปริจเฉทที่ ๕ สูตร ๑๐) ว่า
สทฺทาทีนิ กโรติ (ลง อาย ปัจจัยท้าย สทฺท ศัพท์เป็นต้นในความหมาย
ว่า ท�ำเสียง เป็นต้น) เช่น
- สทฺทายติ (ย่อมกระท�ำเสียง, ส่งเสียง)
- เวรายติ (ย่อมกระท�ำเวร, จองเวร)
- กลหายติ (ย่อมกระท�ำการวิวาท)
- เมตฺตายติ (ย่อมกระท�ำเมตตา, แผ่เมตตา)
- กรุณายติ (ย่อมกระท�ำกรุณา, เจริญกรุณา)
- มุทิตายติ (ย่อมกระท�ำมุทิตา, เจริญมุทิตา)
- อุเปกฺขายติ (ย่อมกระท�ำอุเบกขา, เจริญอุเบกขา)
- กุกฺกุจฺจายติ (ย่อมกระท�ำความเดือดร้อนใจ)
- ปิยายติ (ย่อมกระท�ำความรัก)
- สมฺปิยายติ (ย่อมกระท�ำความรักยิ่ง)

474
พรหมวิหาร
อุทาหรณ์เหล่านี้อาจลงกิตก์ปัจจัยแล้วส�ำเร็จรูปเป็นบทกิตก์
ก็ได้ เช่น สทฺทายนฺโต, สทฺทายมาโน (กระท�ำเสียงอยู่), เมตฺตายนฺโต,
เมตฺตายมาโน (กระท�ำเมตตาอยู่), สทฺทายิตพฺพํ” (พึงกระท�ำเสียง),
เมตฺตายิตพฺพํ (พึงกระท�ำเมตตา) เป็นต้น
๑๕๙
อภิ. วิ. ๓๕.๖๕๓.๒๔๘
๑๖๐
“กถฺ จ ภิกฺขุ กรุณาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ.
เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ทุคฺคตํ ทุรูเปตํ ทิสฺวา กรุณาเยยฺย,
เอวเมว สพฺพสตฺเต กรุณาย ผรตี”ติ วิภงฺเค ปน วุตฺตตฺตา สพฺพปมํ
ตาว กิฺจิเทว กรุณายิตพฺพรูปํ ปรมกิจฺฉปฺปตฺตํ ทุคฺคตํ ทุรูเปตํ กปณ-
ปุริสํ ฉินฺนาหารํ กปาลํ ปุรโต เปตฺวา อนาถสาลาย นิสินฺนํ หตฺถ-
ปาเทหิ ปคฺฆรนฺตกิมิคณํ อฏฺฏสฺสรํ กโรนฺตํ ทิสฺวา “กิจฺฉํ วตายํ สตฺโต
อาปนฺโน, อปฺเปว นาม อิมมฺหา ทุกฺขา มุจฺเจยฺยา”ติ กรุณา ปวตฺเต-
ตพฺพา. ตํ อลภนฺเตน สุขิโตปิ ปาปการี ปุคฺคโล วชฺเฌน อุปเมตฺวา
กรุณายิตพฺโพ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๕)
“อนึง่ ในคัมภีรว์ ภิ งั ค์ตรัสว่า ‘ภิกษุผมู้ จี ติ ประกอบด้วยกรุณา
ย่อมแผ่กรุณาจิตไปทางทิศหนึง่ อยูน่ นั้ อย่างไร คือ ภิกษุผมู้ จี ติ ประกอบ
ด้วยกรุณา ย่อมแผ่กรุณาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวงทุกๆ จ�ำพวก เหมือน
อย่างที่ได้เห็นคนที่ตกทุกข์ได้ยากคนหนึ่งแล้วพึงเกิดความกรุณาขึ้น’

475
พรหมวิหาร
ดังนั้น ก่อนอื่นหมด ผู้ปฏิบัติได้พบใครสักคนที่น่าสงสาร มีรูปร่าง
น่าเกลียด ถึงความล�ำบากเต็มประดา ยากแค้นแสนเข็ญ เป็นคนก�ำพร้า
อดอยาก นอนอยู่ที่ศาลาคนอนาถา วางเศษกระเบื้องไว้ข้างหน้า มี
หมู่หนอนออกจากมือและเท้า ท�ำเสียงครวญครางอยู่ พึงยังกรุณาให้
เป็นไปว่า ‘สัตว์ผนู้ ถี้ งึ ซึง่ ความทุกข์ยากหนอ ไฉนเล่าหนอเขาจะพึงพ้น
จากทุกข์นี้ได้’
เมือ่ ไม่ได้คนเข็ญใจเช่นนัน้ เป็นอารมณ์ แม้บคุ คลผูม้ คี วามสุข
แต่มักท�ำบาป ก็พึงเจริญกรุณาได้โดยเปรียบกับโจรที่เขาจะฆ่าก่อน”
๑๖๑
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๖๒
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๒๑.๑๓๗, องฺ. อ. ๓.๒๗๐
๑๖๓
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๖๔
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๖๕
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๖๖
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๖๗
รัฏฐปาลสูตร (ม. ม. ๑๓.๒๙๓.๒๖๙)
๑๖๘
ขุ. ธ. ๒๕.๒๗๖.๖๔

476
พรหมวิหาร
๑๖๙
ขณะที่ ๙ คือ พุทธุปปาทขณะ (โอกาสที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ
ขึ้น) เป็นโอกาสเดียวที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ขณะ ๘ อย่างที่เหลือ
เรียกว่า อักขณะ คือ ขณะที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การเกิดในนรก การ
เกิดเป็นสัตว์ดริ จั ฉาน การเกิดเป็นเปรต การเกิดในอสัญญสัตว์ภมู แิ ละ
อรูปภูมิ การเกิดในชายแดนทีพ่ ระพุทธศาสนาแผ่ไปไม่ถงึ การเป็นคน
มีมจิ ฉาทิฏฐิ การเป็นคนเขลาไร้ปญ ั ญา และการไม่มพี ระพุทธเจ้าอุบตั ิ
ขึ้น (องฺ. อฏฺก. ๒๓.๒๙.๑๘๔-๖) คัมภีร์ชินาลังการฎีกาประพันธ์
คาถาที่แสดงถึงอักขณะ ๘ ว่า
ตโย อปายา อารุปฺปา- สญฺํ ปจฺจนฺติมมฺปิ จ
ปญฺจินฺทฺริยานํ เวกลฺลํ มิจฺฉาทิฏฺิ จ ทารุณา.
อปาตุภาโว พุทฺธสฺส สทฺธมฺมามตทายิโน
อฏฺกฺขณา อสมยา อิติ เอเต ปกาสิตา.
(ชินาลงฺการฏีกา. ค�ำอธิบายคาถา ๖)
“อบาย ๓ (นรก สัตว์ดิรัจฉาน และเปรต) อรูปภูมิ อสัญญ-
สัตว์ภูมิ แคว้นชายแดน ความบกพร่องของอินทรีย์ ๕ มิจฉาทิฏฐิ
อย่างแรงกล้า ความไม่ปรากฏของพระพุทธเจ้าผู้ประทานอมตธรรม
อักขณะ ๘ อันมิใช่สมัยที่สมควรเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงประกาศไว้
แล้วอย่างนี้”

477
พรหมวิหาร
๑๗๐
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๗๑
สมฺปตฺติ จ วิปตฺยนฺตาติ ยา เอตฺถ สมฺปตฺติ, สา วิปตฺติปริ-
โยสานา. (เถร. อ. ๒.๒๒๓)
“สมบัตนิ นั้ ทีก่ ล่าวไว้ในบาทคาถานีว้ า่ สมฺปตฺติ จ วิปตฺยนฺตา
(สมบัติมีวิบัติในตอนท้าย) มีวิบัติในที่สุด”
๑๗๒
อภิเสกานุภาเวน จสฺส อิมา ราชิทฺธิโย อาคตา. มหาปถวิยา
เหฏฺา โยชนปฺปมาเณ อาณา ปวตฺตติ, ตถา อุปริ อากาเส. (วิ. อ.
๑.๓๘)
“อนึ่ง ฤทธิ์ของพระราชาเหล่านี้ปรากฏแล้วแก่พระองค์ด้วย
อานุภาพของการอภิเษก คือ อ�ำนาจย่อมเป็นไปในพื้นที่ประมาณ ๑
โยชน์ใต้มหาปฐพี และในท้องฟ้าเบื้องบนเช่นเดียวกัน”
๑๗๓
สกลํ เมทินึ ภุตฺวา ทตฺวา โกฏิสตํ สุขี
อฑฺฒามลกมตฺตสฺส อนฺเต อิสฺสรตํ คโต.
(วิสุทฺธิ. ๑.๒๕๓)
๑๗๔
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๐
๑๗๕
ปัญจานันตริยกรรม คือ กรรมหนัก ๕ (องฺ. ปญฺจก. ๒๒.๙๔.
๔๑๗, อภิ. วิ. ๓๕.๘๐๙.๓๐๔) ได้แก่
478
พรหมวิหาร
๑. ฆ่ามารดาผู้เป็นมนุษย์ (มาตุฆาตกะ)
๒. ฆ่าบิดาผู้เป็นมนุษย์ (ปิตุฆาตกะ)
๓. ฆ่าพระอรหันต์ (อรหันตฆาตกะ)
๔. ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต (โลหิตุปปาทกะ)
๕. ท�ำสงฆ์ให้แตกกันด้วยการท�ำสังฆกรรมแยกกันภายใน
สีมาเดียวกัน (สังฆเภทกะ)
๑๗๖
พระปริตรธรรม หน้า ๑๗๘

บทที่ ๖
๑๗๗
ม. ม. ๑๓.๓๐๕.๒๘๒
๑๗๘
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๑
๑๗๙
สสลฺโลติ ปีฬาชนกตาย อนฺโตตุทนตาย ทุนฺนีหรณียตาย จ
สลฺลาติ สงฺขํ คเตหิ ราคาทีหิ สลฺเลหิ สหวตฺตนโก. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๘)
“ปาฐะว่า สสลฺโล (มีลูกศรปักตรึงอยู่) หมายความว่า เป็นไป
กับลูกศรมีราคะเป็นต้นที่ถึงการนับว่าลูกศร เพราะก่อให้เกิดการ
บีบคั้น เสียบแทงอยู่ภายใน และน�ำออกได้ยาก”

479
พรหมวิหาร
๑๘๐
ปุถุสลฺเลหีติ “สตฺต สลฺลานิ ราคสลฺลํ, โทสสลฺลํ, โมหสลฺลํ,
มานสลฺลํ, ทิฏฺสิ ลฺลํ, กิเลสสลฺลํ, ทุจฺจริตสลฺลนฺ”ติ วุตฺเตหิ สตฺตหิ
สลฺเลหิ. (ปฏิสํ. อ. ๒.๑๘)
“ปาฐะว่า ปุถุสลฺเลหิ (ลูกศรเป็นอันมาก) คือ ลูกศร ๗ ดอก
ทีต่ รัสว่า ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ
ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือกิเลส และลูกศรคือทุจริต”
๑๘๑
นิวรณ์ ๕ คือ
๑. กามฉันทะ ความยินดีพอใจในกาม คือ สิ่งที่น่าชอบใจ
อันได้แก่ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสอ่อนนุ่ม
เหมือนน�้ำที่ผสมสีต่างๆ
๒. พยาบาท ความหงุดหงิด ไม่พอใจ โกรธ ปองร้าย
เหมือนน�้ำที่ถูกต้มจนเดือดมีฟองผุดขึ้น
๓. ถีนมิทธะ ความง่วงซึมเซา เหมือนน�้ำที่ถูกจอกแหน
ปกคลุมอยู่
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านเดือดร้อนใจ เหมือนน�้ำที่
ถูกลมพัดจนเกิดเป็นละลอกคลื่น
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้ง
ธรรมทั้งปวง สงสัยในพระธรรมคือมรรค ผล และนิพพาน สงสัยใน

480
พรหมวิหาร
พระอริยสงฆ์ผู้บรรลุธรรม สงสัยในรูปนามที่เกิดจากเหตุคืออวิชชา
สงสัยในแนวทางแห่งการปฏิบตั ิ หรือสงสัยในค�ำแนะน�ำของวิปสั สนา-
จารย์ เป็นต้น เหมือนน�้ำในที่มืดและผสมด้วยโคลนตม
๑๘๒
เทวทตฺเต จ วธเก โจเร องฺคุลิมาลเก
ราหุเล ธนปาเล จ สพฺเพสํ สมโก มุนิ.
(ขุ. อป. ๓๒.๕๘๕.๖๘)
“พระมุนีทรงมีพระทัยสม�่ำเสมอในสัตว์ทั้งปวง คือ ในพระ
เทวทัต นายขมังธนู โจรองคุลีมาล พระราหุล และช้างธนบาล (ช้าง
นาฬาคิรี)”
๑๘๓
วิ. จูฬ. ๗.๓๔๑.๑๓๒
๑๘๔
มา กุฺชร นาคมาสโท
ทุกฺขฺ หิ กุฺชร นาคมาสโท
น หิ นาคหตสฺส กุฺชร สุคติ
โหติ อิโต ปรํ ยโต.
มา จ มโท มา จ ปมาโท
น หิ ปมตฺตา สุคตึ วชนฺติ เต
ตฺวฺ เว ตถา กริสฺสสิ
เยน ตฺวํ สุคตึ คมิสฺสสิ. (วิ. จูฬ. ๗.๓๔๒.๑๓๕)
481
พรหมวิหาร
“กุญชรเอ๋ย เจ้าอย่าคิดเข้ามาท�ำร้ายพระพุทธเจ้า กุญชรเอ๋ย
การคิดเข้ามาท�ำร้ายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความทุกข์
กุญชรเอ๋ย ผู้ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจะไม่มีสุคติภูมิจากชาตินี้ไปสู่ชาติ
หน้าเลย เจ้าอย่ามัวเมา อย่าประมาท เพราะคนผู้ประมาทแล้วย่อม
ไม่ไปสุคติ เจ้านี่แหละจักกระท�ำเหตุให้เดินทางไปสุคติ”
๑๘๕
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๑
๑๘๖
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๑
๑๘๗
สกฺกายทิฏฺตี ิ วิชฺชมานฏฺเน สติ ขนฺธปฺ จกสงฺขาเต กาเย,
สยํ วา สตี ตสฺมึ กาเย ทิฏฺตี ิ สกฺกายทิฏฺ.ิ (อภิ. อ. ๑.๔๐๗)
“ค�ำว่า สกฺกายทิฏฺิ (สักกายทิฏฐิ) มีรูปวิเคราะห์ว่า สักกาย-
ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดในหมู่ขันธ์ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ อันมีอยู่จริง
เพราะเป็นสภาวะปรากฏอยู่ หรือความเห็นผิดที่มีอยู่ในหมู่ขันธ์”
ตามค�ำอธิบายข้างต้น ค�ำว่า สกฺกายทิฏฺิ มีความหมาย ๒
ประการ คือ
- ความเห็นผิดในหมูข่ นั ธ์อนั มีอยูจ่ ริง = สนฺโต กาโย สกฺกาโย
(แปลง สนฺต เป็น ส), สกฺกาเย ทิฏฺิ สกฺกายทิฏฺิ (สัตตมีตัปปุริส-
สมาส)
- ความเห็นผิดที่มีอยู่ในหมู่ขันธ์ = กาเย ทิฏฺิ กายทิฏฺ,ิ
482
พรหมวิหาร
สตี กายทิฏฺิ สกฺกายทิฏฺิ (วิเสสนบุรพบทกรรมธารยสมาส)
๑๘๘
ขุ. ปฏิ. ๓๑.๑๑๗.๑๓๑
๑๘๙
สํ. ส. ๑๘.๒๘.๑๗

บทที่ ๗
๑๙๐
วิ. มหาวิ. ๑.๒๓๐.๑๖๒, วิ. อ. ๑.๕๕๔
๑๙๑
ชา. อ. ๒.๑-๗
๑๙๒
พรหมวิหารธรรม. หน้า ๒๖-๒๗
๑๙๓
ธมฺม. อ. ๑.๓๙๔, ธมฺม. อ. ๒.๑๔๕
๑๙๔
วิหารวิมานวตฺถุ (ขุ. วิ. ๒๖.๗๒๙-๕๔, วิมาน. อ. หน้า ๒๑๔)
๑๙๕
อภิ. วิ. ๓๕.๖๖๓.๓๓๕
๑๙๖
กมฺมสฺสกา สตฺตา, เต กสฺส รุจิยา สุขิตา วา ภวิสฺสนฺติ,
ทุกฺขโต วา วา มุจฺจิสฺสนฺติ, ปตฺตสมปตฺติโต วา น ปริหายิสฺสนฺตีติ เอวํ
ปวตฺตกมฺมสฺสกตาทสฺสนปทฏฺานา. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๕๐)
๑๙๗
ม. อุ. ๑๔.๒๙๓.๒๖๘
483
พรหมวิหาร
๑๙๘
อุจฺฉิฏฺหตฺโถ นิสีทิตฺวา อุทกทายกมฺป” น ลภติ. (ม. อ. ๔.
๑๘๔)
“ผู้มีมือขาดนั่งแล้วย่อมไม่ได้แม้คนที่จะให้น�้ำดื่ม”
๑๙๙
ม. อุ. ๑๔.๒๙๓.๒๖๘

บทที่ ๘
๒๐๐
วิสุทฺธิ. ๑.๑๗๓
๒๐๑
ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ หรเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.
(สํ. ส. ๑๕.๒๕๖.๒๗๓)
๒๐๒
วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๘
๒๐๓
ธมฺม. อ. ๒.๑๑๓-๔
๒๐๔
อุเปกฺขาภาวนํ ภาเวตุกาเมน ปน เมตฺตาทีสุ ปฏิลทฺธติก-
จตุกฺกชฺฌาเนน ปคุณตติยชฺฌานา วุฏฺาย “สุขิตา โหนฺตู”ติอาทิวเสน
สตฺตเกลายนมนสิการยุตฺตตฺตา, ปฏิฆานุนยสมีปจาริตฺตา, โสมนสฺส-
โยเคน โอฬาริกตฺตา จ ปุริมาสุ อาทีนวํ, สนฺตสภาวตฺตา อุเปกฺขาย

484
พรหมวิหาร
อานิสํสฺ จ ทิสฺวา ยฺวาสฺส ปกติมชฺฌตฺโต ปุคฺคโล, ตํ อชฺฌุเปกฺขิตฺวา
อุเปกฺขา อุปฺปาเทตพฺพา. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๘)
“ส่วนผูป้ ฏิบตั ผิ ตู้ อ้ งการจะเริม่ เจริญอุเบกขาภาวนา ออกจาก
ฌานที่ ๓ อันคล่องแคล่ว ตามทีเ่ ป็นติกฌานหรือจตุกกฌานทีไ่ ด้บรรลุ
ในภาวนา ๓ มีเมตตาภาวนาเป็นต้นแล้ว เห็นโทษในภาวนา ๓ ข้างต้น
เพราะเป็นภาวนาประกอบด้วยมนสิการอันเป็นไปโดยความรักในสัตว์
เนื่องด้วยความนึกแผ่ไปว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเป็นต้น
เพราะเป็นภาวนาที่อยู่ใกล้ความยินดียินร้าย และเพราะเป็นภาวนาที่
ยังหยาบ เนือ่ งจากยังประกอบด้วยโสมนัส และเห็นอานิสงส์ในอุเบกขา
โดยความเป็นธรรมอันสงบแล้ว พึงวางเฉยกะบุคคลที่เป็นกลางๆ อยู่
โดยปกติของเธอนั้น ยังอุเบกขาให้เกิดขึ้น”
๒๐๕
ตสฺมา วุตฺตนเยน มชฺฌตฺตปุคฺคเล อุเปกฺขํ อุปฺปาเทตฺวา
อถ ปิยปุคฺคเล, ตโต โสณฺฑสหายเก, ตโต เวริมฺหีติ เอวํ “อิเมสุ จ
ตีสุ อตฺตนิ จา”ติ สพฺพตฺถ มชฺฌตฺตวเสน สีมาสมฺเภทํ กตฺวา ตํ
นิมิตฺตํ อาเสวิตพฺพํ ภาเวตพฺพํ พหุลีกาตพฺพํ. ตสฺเสวํ กโรโต ปถวี-
กสิเณ วุตฺตนเยเนว จตุตฺถชฺฌานํ อุปฺปชฺชติ. (วิสุทฺธิ. ๑.๓๔๘)
“เพราะเหตุนนั้ ผูป้ ฏิบตั ยิ งั อุเบกขาให้เกิดขึน้ ในบุคคลกลางๆ
ตามนัยที่กล่าวแล้ว ทีนี้จึงยังอุเบกขาให้เกิดในบุคคลที่รัก แต่นั้นใน
สหายสนิท ต่อนั้นในคนที่เป็นศัตรู แล้วท�ำสีมาสัมเภท (การรวมแดน)
485
พรหมวิหาร
โดยวางใจเป็นกลางในบุคคลทั้งปวงคือ ในบุคคล ๓ ตามที่กล่าวมานี้
และในตนเอง แล้วเสพนิมิตนั้น เจริญนิมิตนั้น ท�ำนิมิตนั้นให้มากเมื่อ
ผู้ปฏิบัติท�ำไปอย่างนั้น จตุตถฌานย่อมเกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวไว้ใน
ปฐวีกสิณนั้นแหละ
๒๐๖
วิสุทฺธิ. ๑.๓๕๐
๒๐๗
ม. อุ. ๑๔.๒๘๙.๒๖๕
๒๐๘
ม. อ. ๔.๑๗๙
๒๐๙
ยถา วา ปเนเก โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา สทฺธาเทยฺยานิ
โภชนานิ ภุฺชิตฺวา เต เอวรูปํ มณฺฑนวิภูสนฏฺานานุโยคํ อนุยุตฺตา
วิหรนฺติ, เสยฺยถิทํ- อุจฺฉาทนํ ปริมทฺทนํ นฺหาปนํ สมฺพาหนํ อาทาสํ
อฺ ชนํ มาลาคนฺธวิเลปนํ มุขจุณฺณํ มุขเลปนํ หตฺถพนฺธํ สิขาพนฺธํ
ทณฺฑํ นาฬิกํ อสึ ฉตฺตํ จิตฺรุปาหนํ อุณฺหีสํ มณึ วาลพีชนึ โอทาตานิ
วตฺถานิ ทีฆทสานิ อิติ วา อิติ เอวรูปา มณฺฑนวิภูสนฏฺานานุโยคา
ปฏิวิรโต สมโณ โคตโม. (ที. สี. ๙.๑๖.๘)
“พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการขวนขวายในการประดับ
ตกแต่งร่างกาย เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายในการประดับตกแต่งร่างกายอย่าง
นี้ คือ อบผิว นวด อาบน�้ำหอม เพาะกาย ส่องกระจก แต้มตา ทัดพวง
486
พรหมวิหาร
ดอกไม้ ประทินผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือสวมเกี้ยว ใช้ไม้ถือ
ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ร่ม สวมรองเท้าวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้
พัดแส้ขนหางจามรี นุ่งห่มผ้าขาวชายยาว”
อฺ ชนนฺติ อลงฺการฺ ชนเมว. (ที. อ. ๑.๘๔)
“ค�ำว่า อญฺชนํ คือ ยาแต้มตาที่เป็นเครื่องประดับนั้นเอง”
๒๑๐
ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
เอวํ ตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํว ยโถทเก.
(ขุ. ชา. ๒๗.๑๗๔.๖๘)
๒๑๑
ม. อ. ๓.๓๑๘
๒๑๒
ม. อุ. ๑๔.๒๘๙.๒๖๖
๒๑๓
องฺ. ปญฺจก. ๒๒.๕๗.๖๘
๒๑๔
ม. อุ. ๑๔.๒๙๐.๒๖๖
๒๑๕
ม. อุ. ๑๔.๒๙๐.๒๖๖
๒๑๖
ม. อุ. ๑๔.๒๙๐.๒๖๗
๒๑๗
ม. อุ. ๑๔.๒๙๑.๒๖๗
๒๑๘
ค�ำว่า พวฺหาพาธ ตัดบทเป็น พหุ + อาพาธ เมื่อแปลง อุ
487
พรหมวิหาร
ใน หุ เป็น วฺ แล้ว ได้รูปว่า พหฺวาพาธ หลังจากนั้นจึงสับเสียง หฺว
เป็น วฺห ดังค�ำว่า พวฺเหตฺถ = พหฺเวตฺถ (พหุ + เอตฺถ) ในประโยคว่า
พวฺเหตฺถ นฺหายตี ชโน (ชนจ�ำนวนมากย่อมอาบในที่นี้) การสับเสียง
ดังกล่าวท�ำได้ด้วย จ ศัพท์ในสูตรกัจจายนไวยากรณ์ (สูตร ๒๐)
ว่า โท ธสฺส จ (แปลง ธ อักษรเป็น ท อักษรและอักษรอื่นๆ ในเพราะ
สระหลัง ในบางแห่ง) ดังปทรูปสิทธิปกรณ์กล่าวว่า
เตน “โท ธสฺส จา”ติ สุตฺเต จสทฺเทน ปริยาทีนํ ร-ห-นาทิ-
วณฺณสฺส วิปริยาโย ย-วาทีหิ. ยถา ปริยุทาหาสิ ปยิรุทาหาสิ, อริยสฺส
อยิรสฺส, พหฺวาพาโธ พวฺหาพาโธ, น อภิเนยฺย อนภิเนยฺย. (รูป. สูตร
๕๙)
“เพราะเหตุนั้น การสับเสียง ร, ห, น เป็นต้น ของศัพท์มี
ปริ เป็นต้น กับ ย และ ว เป็นต้น ย่อมมีด้วย จ ศัพท์ ในสูตรว่า โท
ธสฺส จ เช่น
- ปริยุทาหาสิ สับเสียงเป็น ปยิรุทาหาสิ (แสดงแล้ว)
- อริยสฺส สับเสียงเป็น อยิรสฺส (แห่งพระอริยะ)
- พหฺวาพาโธ สับเสียงเป็น พวฺหาพาโธ (ผู้มีอาพาธหนัก)
- น อภิเนยฺย สับเสียงเป็น อนภิเนยฺย (ไม่พึงน�ำมา)”
๒๑๙
ม. อุ. ๑๔.๒๙๑.๒๖๗

488
พรหมวิหาร
๒๒๐
อจิรํ วตยํ กาโย ปวึ อธิเสสฺสติ
ฉุทฺโธ อเปตวิญฺาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ.
(ขุ. ธ. ๒๕.๔๑.๒๓)
๒๒๑
ม. อุ. ๑๔.๒๙๑.๒๖๘
๒๒๒
ม. อุ. ๑๔.๒๙๒.๒๖๘
๒๒๓
ม. อุ. ๑๔.๒๙๒.๒๖๘
๒๒๔
ม. อุ. ๑๔.๒๙๔.๒๖๙
๒๒๕
ม. อุ. ๑๔.๒๙๔.๒๗๐
๒๒๖
ธมฺม. อ. ๑.๓๔๘
๒๒๗
ขุ. ธ. ๒๕.๖๒.๒๘
๒๒๘
ขุ. วิ. ๒๖.๓๑๔-๑๖๑.๙๑
๒๒๙
ม. อุ. ๑๔.๒๙๕.๒๗๐
๒๓๐
ม. อุ. ๑๔.๒๙๕.๒๗๐
๒๓๑
ม. อุ. ๑๔.๒๙๖.๒๗๑
๒๓๒
ม. อุ. ๑๔.๒๙๖.๒๗๑
489
พรหมวิหาร
๒๓๓
ตีณิ ทุจฺจริตานิ- กายทุจฺจริตํ, วจีทุจฺจริตํ, มโนทุจฺจริตํ. (ที.
ปา. ๑๑.๓๐๕.๑๙๓)
“ทุจริต ๓ คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”
๒๓๔
ตีณิ สุจริตานิ- กายสุจริตํ, วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ. (ที. ปา. ๑๑.
๓๐๕.๑๙๓)
“สุจริต ๓ คือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต”
๒๓๕
ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ สีลํ ปูเรตฺวา อเสสโต
เนกฺขมฺมปารมึ คนฺตฺวา ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ.
(ขุ. อป. ๓๒.๗๔.๙, ขุ. จริยา. ๓๒.๑๒๒.๖๒๗)
“เราให้ทานที่ควรให้ รักษาศีลโดยสิ้นเชิง บ�ำเพ็ญบารมีที่
ออกจากกามคุณแล้ว ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด”
๒๓๖
ตตฺริมานิ จตฺตาลีส กมฺมฏฺานานิ ทส กสิณา, ทส อสุภา, ทส
อนุสฺสติโย, จตฺตาโร พฺรหฺมวิหารา, จตฺตาโร อารุปฺปา, เอกา สฺ า,
เอกํ ววตฺถานนฺติ. (วิสุทฺธิ. ๑.๑๑๙)
“ในเรื่องนั้น กรรมฐานมี ๔๐ อย่างเหล่านี้ คือ กสิณ (วง
กสิณ) ๑๐ อสุภะ (ซากศพ) ๑๐ อนุสสติ (การหมั่นระลึก) ๑๐ พรหม-
วิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ) ๔ อารุปปะ (อรูปฌาน) ๔ สัญญา

490
พรหมวิหาร
(ความส�ำคัญในอาหารว่าปฏิกูล) ๑ ววัตถาน (การก�ำหนดรูปธาตุ) ๑
๒๓๗
อทสฺสนโต อายนฺติ ภคฺคา คจฺฉนฺตฺยทสฺสนํ
วิชฺชุปฺปาโทว อากาเส อุปฺปชฺชนฺติ วยนฺติ จ.
(ขุ. มหา. ๒๙.๑๐.๓๕, วิสุทฺธิ. ๒.๒๙๔)
“ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ ดับแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ
ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น”
๒๓๘
อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ยทตีตํ ปหีนํ ตํ อปฺปตฺตฺ จ อนาคตํ.
ปจฺจุปฺปนฺนฺ จ ยํ ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ
อสํหีรํ อสํกุปฺปํ ตํ วิทฺวา อนุพฺรูหเย.
(ม. อุ. ๑๔.๒๗๒.๒๔๑)
“อดีตดับไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถงึ จึงไม่ควรค�ำนึงถึงอดีต
ไม่มุ่งหวังอนาคต พึงเจริญวิปัสสนาญาณที่รู้แจ้งสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
อยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆ อันตัณหาทิฏฐิไม่อาจฉุดรั้ง และไม่วิบัติ[ด้วย
ตัณหาทิฏฐิ]”
๒๓๙
ที. มหา. ๙.๓๗๕.๒๕๙
๒๔๐
สํ. นิ. ๑๖.๔๔.๖๙
491
พรหมวิหาร
๒๔๑
วิสุทฺธิ. ฏี. ๒.๕๗๗
๒๔๒
ที. มหา. ๙.๓๗๕.๒๕๙
๒๔๓
ม. อุ. ๑๔.๒๙๖.๒๗๑
๒๔๔
จตฺตาริ สงฺคหวตฺถูนิ- ทานํ, เปยฺยวชฺชํ, อตฺถจริยา, สมานตฺตตา.
(ที. ปา. ๑๑.๓๑๓.๓๐๖)
“สังคหวัตถุ ๔ คือ การให้ การกล่าวค�ำอ่อนหวาน การ
ประพฤติประโยชน์ และการวางตนเสมอกับผู้อื่น”
๒๔๕
จตฺตาโรเม พฺยคฺฆปชฺช ธมฺมา กุลปุตฺตสฺส ทิฏฺธมฺมหิตาย
สํวตฺตนฺติ ทิฏฺธมฺมสุขาย. กตเม จตฺตาโร. อุฏฺานสมฺปทา, อารกฺข-
สมฺปทา, กลฺยาณมิตฺตตา, สมชีวิตา. (องฺ. อฏฺก. ๒๓.๕๔.๒๓๔)
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลใน
ภพนี้ เพื่อความสุขในภพนี้แก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น), อารักขสัมปทา
(ความถึงพร้อมด้วยการรักษา), กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
และ สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)”

492
พรหมวิหาร
ดัชนีค้นค�ำ


กรรมฐาน ๔๐ อย่าง ๓๕๐
กรุณา ๒๑๔, ๔๗๑
กรุณาภาวนา ๔, ๒๒๐
กามาวจรกุศล ๒๐๒
กายทุจริต ๓ ๓๔๙
การเจริญเมตตา ๕๒๘ อย่าง ๒๕
การบ�ำเพ็ญขันติบารมี ๑๐๖
การพิจารณาเพื่อระงับความโกรธ ๙๑
การละอัตตทิฏฐิ ๑๗๖, ๑๗๙

ขันติวาทีดาบส ๙๙
493
พรหมวิหาร

คาหคาหะ ๑๔๙, ๔๔๗
คาหมุตตะ ๑๔๙, ๔๔๗
คาหะ ๑๔๘
คุณของความอดทน ๑๗
โควัตร ๔๕๑

จตุมธุ ๒๘๖
จักขุนทรีย์ ๑๔๐
จักขุวิญญาณ ๓๕๔
จิตตวิสุทธิ ๒๕๘
จินตามยปัญญา ๑๙๘
จูฬกัมมวิภังคสูตร ๒๙๔, ๓๑๒
ฉ, ช, ฌ
ฉันทาคติ ๓๐๒
ฉันนปริพาชก ๑๕
ชลาพุชะ ๔๕๐
ช้างนาฬาคิรี ๒๖๓
ชุณหอ�ำมาตย์ ๒๘๘
ฌานอนาคามี ๒๐๙
494
พรหมวิหาร

ตติยฌานภูมิ ๒๐๖
ตัณหา ๒๖๕
โตเทยยพราหมณ์ ๓๑๔

ทาน ๑๐ อย่าง ๓๓๗
ท่านั่ง ๙
ท้าวสักกเทวราช ๑๘
ทิฏฐิ ๒๖๘
ทิฏฐิวิสุทธิ ๒๕๙
ทิพพวิหาร ๑๗๓
ทิสโอธิสเมตตา ๓๒
ทุกข์ ๓ ประการ ๔๖๙
ทุกขลักษณะ ๑๙๙
ทุกขัง ๑๙๙
ทุกขานุปัสสนา ๑๙๙
ทุจริต ๑๐ อย่าง ๓๔๘
ทุจริตมิจฉาทิฏฐิ ๒๖๙
ทุติยฌานภูมิ ๒๐๖
โทษของความโกรธ ๑๕
495
พรหมวิหาร
ธ, น
ธรรมปาลกุมาร ๑๐๓
นวมขณะ ๒๔๓
นามบัญญัติ ๓๖๓
นายตาลปุฏะ ๑๖๓
นายมหากาล ๓๐๔
นิปโก ๑๔๒, ๔๔๕
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓๒๑
นิวรณ์ ๕ ๒๕๘, ๔๗๙
บ, ป
บทขัดต�ำนาน ๔๓๓
บทขัดเมตตสูตร ๑๑๘
บุคคลที่ไม่พึงแผ่เมตตาให้ ๘๔
ปฐมฌานภูมิ ๒๐๖
ปธานนัย ๔๖๓
ปรินิพพาน ๑๘๔
ปลิโพธ ๘
ปหายนรก ๑๖๓
ปัญจานันตริยกรรม ๔๗๗
ปาติโมกขสังวรศีล ๑๘๒
496
พรหมวิหาร
ปาริหาริกปัญญา ๑๔๒
ปุณณะและเสนิยะ ๑๖๓
ปูติมุตตะ ๑๓๕

พรหมจรรย์ ๑๗๔
พรหมวิหาร ๑, ๑๗๔
พระเจ้าโกรัพยะ ๒๔๐
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ๒๔๕
พระนางสามาวดี ๖๐
พระปุณณสุนาปรันตะ ๑๐๗
พระปูติคัตตติสสเถระ ๓๓๒
พระรัฏฐปาลเถระ ๒๔๐
พระโลสกติสสเถระ ๒๘๔
พระวิสาขเถระ ๔๙
พระเวสสันดร ๑๓
พระสุภูติเถระ ๓๗
พราหมณ์ธนัญชานี ๓๘
พัดก้านตาล ๓๙๒
พุทธานุสสติ ๔๔๙
เพื่อนนางวิสาขา ๒๘๙
497
พรหมวิหาร
ฟ, ภ
ไฟ ๑๑ กอง ๒๗๒
ภังคญาณ ๑๘๐
ภาวนา ๓๕๐
ภาวนามยปัญญา ๑๙๗
ภิกษุ ๕๐๐ รูป ๑๑๙
ภูตปุพพคติกนัย ๓๙๒
ภูตะ ๑๕๙, ๔๕๐
ภูมิ ๔ ๓๗๘

มโนทุจริต ๓ ๓๔๙
มหัคคตกุศล ๒๐๒
มหัคคตจิต ๑๙๓
มหากรุณาสมาบัติญาณ ๒๓๑
มิจฉาทิฏฐิ ๑๘๒
มุตตคาหะ ๑๔๙, ๔๔๗
มุตตมุตตะ ๑๔๙, ๔๔๗
มุทิตา ๒, ๒๘๒
มุทิตาภาวนา ๔, ๒๙๐
เมตตปริตร ๑๒๔
498
พรหมวิหาร
เมตตสูตรที่ ๒ ๑๙๐
เมตตา ๒, ๗
เมตตาเจโตวิมุตติ ๓๘๗, ๔๓๕
เมตตาภาวนา ๔
โมหาคติ ๓๐๒

ยถาลาภสันโดษ ๑๓๖
ยถาสารุปปสันโดษ ๑๓๖
ยมกปาฏิหาริยญาณ ๒๓๑
ยุคนัทธนัย ๗๘, ๔๑๓

ระยะทาง ๑ โยชน์ ๔๔๐
รุฬหีศัพท์ ๓๙๑
โรชะมัลลกษัตริย์ ๔๗
ล, ว
โลกสันนิวาส ๒๗๖
วจีทุจริต ๔ ๓๔๙
วาโยธาตุ ๓๖๒
วิธีการเจริญวิปัสสนากุศล ๓๕๒
วิธีเจริญกรุณา ๑๓๒ ประเภท ๒๒๕
499
พรหมวิหาร
วิธีเจริญมุทิตาภาวนา ๒๙๐
วิธีเจริญเมตตาภาวนา ๒๑
วิธีแผ่อุเบกขา ๑๓๒ อย่าง ๓๐๖
วิปัสสนากุศล ๓๕๑
วิรตีกุศล ๓๓๐
วิหาร ๔ ประเภท ๑๗๓
เวหัปผลาภูมิ ๒๐๖

สมถกุศล ๓๕๐
สมาทานวิรัติ ๓๓๐
สมุจเฉทวิรัติ ๓๓๐
สหนันที ๑๔๗
สหโสกี ๑๔๘
สักกายทิฏฐิ ๒๖๘, ๔๘๑
สังคหวัตถุ ๔ ๓๖๗
สังเสทชะ ๔๕๐
สัณฐานบัญญัติ ๓๖๓
สัตว์ ๓๙๐
สันตานานุสัย ๑๘๑
สัปปายสัมปชัญญะ ๑๔๒, ๑๔๕
500
พรหมวิหาร
สัปปายะ ๗ อย่าง ๑๔๓
สัพพัญญุตญาณ ๒๓๑
สัมปทา ๔ ๓๖๘
สัมปัตตวิรัติ ๓๓๐
สัมภเวสี ๑๕๙, ๔๕๐
สัสสตทิฏฐิ ๒๖๙
สาตถกสัมปชัญญะ ๑๔๒, ๑๔๔
สีมาสัมเภทะ ๑๑๔
สีหพาหุ ๗๒
สุจริต ๑๐ อย่าง ๓๕๐
สุตมยปัญญา ๑๗๖, ๑๙๗
สุทธาวาสภูมิ ๒๐๓
สุภมาณพ ๓๑๔
สุเมธดาบส ๒๑๖
สุวรรณสาม ๑๒, ๗๔
โสตินทรีย์ ๑๔๐

เหตุใกล้ของอุเบกขา ๓๐๙

501
พรหมวิหาร

อกุศลกิเลส ๒๗๕
อนัตตลักษณะ ๒๐๐
อนัตตา ๒๐๐
อนัตตานุปัสสนา ๒๐๑
อนาวรณญาณ ๒๓๑
อนิจจลักษณะ ๑๙๗
อนิจจัง ๑๙๖
อนิจจานุปัสสนา ๑๙๗
อโนธิสเมตตา ๒๖
อพฺยาปชฺช ๓๙๔
อริยมรรคศีล ๑๘๒
อริยวิหาร ๑๗๓
อสาธารณญาณ ๒๓๑
อักขณะ ๘ อย่าง ๔๗๕
อัครมเหสีของพระเจ้ากลิงคะ ๒๘๔
อัณฑชะ ๔๕๐
อัตตทิฏฐิ ๑๗๔
อัปปมัญญา ๔ ๒, ๓๗๗
อาทิตตสูตร ๒๗๖
502
พรหมวิหาร
อานันทเศรษฐี ๓๓๙
อานิสงส์ของการเจริญเมตตา ๔๓
อารัมมณานุสัย ๑๘๑
อาสยานุสยญาณ ๒๓๑
อินทริยปโรปริยัตตญาณ ๒๓๐
อินทรีย์ ๑๔๐
อิริยาบถวิหาร ๑๗๓
อุจเฉททิฏฐิ ๒๖๙
อุตตราอุบาสิกา ๕๔
อุเบกขา ๒, ๓๐๐
อุเบกขาภาวนา ๔, ๓๐๑
โอกขาสูตร ๔๑
โอธิสเมตตา ๒๖
โอปปาติกะ ๔๕๐

503
พรหมวิหาร
ประวัติและผลงาน
ของ พระคันธสาราภิวงศ์
ชื่อ
พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร (สาราภิวงศ์) อายุ ๕๒ พรรษา
๓๑ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, เจติยังคณะ คณวาจกธรรมาจริยะ
และสาสนธชธรรมาจริยะ (เทียบเท่า ป.ธ. ๙ ของประเทศไทย)
ปัจจุบันอยู่ วัดท่ามะโอ ต�ำบลเวียงเหนือ อ�ำเภอเมือง
จังหวัดล�ำปาง ๕๒๐๐๐
โทรศัพท์ (๐๕๔) ๒๒๘-๘๑๙
โทรสาร (๐๕๔) ๒๒๘-๘๑๙
E-mail: tamaoh24@gmail.com
หน้าที่การงาน
l เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำปาง
l อาจารย์บรรยายพิเศษ วิชาไวยากรณ์บาลี และวิชาวิปสั สนา
ของวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม
l วิปัสสนาจารย์ในหลักสูตรอบรมวิทยากรของยุวพุทธิก-
สมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

504
พรหมวิหาร
บรรพชา
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ
จิตตภาวันวิทยาลัย พัทยา โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น
ปุณณสิริ) เป็นอุปัชฌาย์
อุปสมบท
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ
วัดท่ามะโอ จังหวัดล�ำปาง โดยมีพระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหา-
บัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ
เป็นอุปัชฌาย์
วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๕๒๒ สอบได้ชั้นโสตุชนปันติ (ชั้นนักศึกษา) ของ
วัดท่ามะโอ จังหวัดล�ำปาง
พ.ศ. ๒๕๒๗ เดินทางไปศึกษา ณ ประเทศเมียนม่าร์ โดย
พ�ำนักอยู่ที่วัดวิสุทธาราม จังหวัดแปร (prome)
๗ ปี และวัดวิสุทธาราม จังหวัดมันดเลย์ ๓ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๙ สอบได้ ชั้นพื้นฐาน ของรัฐบาลพม่า (เกียรติ-
นิยมของภาค)
พ.ศ. ๒๕๓๐ สอบได้ ชั้นนักศึกษา ของสมาคมพุทธศาสนา-
นุเคราะห์ จังหวัดแปร (เกียรตินิยม)
505
พรหมวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๑ สอบได้ ชั้นนักศึกษา ของสมาคมเอกชน
เจติยงั คณะ ประเทศเมียนม่าร์ (สอบได้เป็น
อันดับ ๓ ของประเทศ)
พ.ศ. ๒๕๓๔ สอบได้ ธรรมาจริยะ ของสมาคมเอกชน
เจติยังคณะ ประเทศเมียนม่าร์ ได้รับเกียรติ-
บัตรเป็น เจติยงั คณะ คณวาจกธรรมาจริยะ
(เกียรตินิยมอันดับ ๒ ของประเทศ)
พ.ศ. ๒๕๓๕ สอบได้ ธรรมาจริยะ ของรัฐบาลพม่า ได้รับ
เกียรติบัตรเป็น สาสนธชธรรมาจริยะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ สอบได้ ป.ธ.๘ ส�ำนักเรียนวัดท่ามะโอ จังหวัด
ล�ำปาง
พ.ศ. ๒๕๕๑ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เกียรติคุณ
l เข็มเชิดชูเกียรติวิปัสสนาจารย์ ถวายเนื่องในโอกาสฉลอง
ครบรอบ ๕๐ ปีสถาปนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระ-
บรมราชูปถัมภ์ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
l เกียรติบัตรในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นสาขาพระพุทธศาสนา
มูลนิธิจ�ำนงค์ ทองประเสริฐ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

506
พรหมวิหาร
l เสาเสมาธรรมจักร ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธ-
ศาสนา สาขาการแต่งหนังสือพระพุทธศาสนา วันที่ ๒๗ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐
l ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบาลี-
พุทธศาสตร์ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
l เสาธรรมอโศก จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม-
บรมราชกุมารี ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรม-
ราชูปถัมภ์ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ผลงานฝ่ายพระอภิธรรม
๑. อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี (แปล)
๒. อภิธัมมาวตาร (แปลและอธิบาย)
๓. สัจจสังเขป (แปลและอธิบาย)
๔. พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ และประวัติคัมภีร์สัททา-
วิเสส
๕. อัฏฐสาลินี (แปลและอธิบาย)
ผลงานฝ่ายพระสูตร
๖. เนตติปกรณ์ (แปลและอธิบาย)
๗. เนตติอรรถกถา (แปลและอธิบาย)
๘. เนตติฎีกา (แปลและอธิบาย)
507
พรหมวิหาร
ผลงานฝ่ายพระวินัย
๙. สารัตถทีปนี มหาวรรค (แปลและอธิบาย)
๑๐. สารัตถทีปนี จูฬวรรคและปริวารวรรค (แปลและอธิบาย)
๑๑. กังขาวิตรณี เล่ม ๑ (แปลและอธิบาย)
ผลงานฝ่ายวิปัสสนา
๑๒. สติปัฏฐาน ทางสายเดียว (แปลจาก SATIPATTHANA-
THE ONLY WAY)
๑๓. ศึกษาวิธีเจริญสติด้วยภาษาง่ายๆ
๑๔. การเจริญสติปัฏฐาน
๑๕. โพธิปักขิยธรรม
๑๖. ทางสู่นิพพาน
๑๗. ส่องสภาวธรรม
๑๘. อานาปานทีปนี (แปล)
๑๙. วิปัสสนานัย เล่ม ๑ (แปล)
๒๐. วิปัสสนานัย เล่ม ๒ (แปล)
๒๑. มหาสติปัฏฐานสูตร (แปล)
๒๒. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (แปล)
๒๓. ปฏิจจสมุปบาท (แปล)
๒๔. นิพพานกถา (แปล)
508
พรหมวิหาร
๒๕. พรหมวิหาร (แปล)
ผลงานฝ่ายหลักภาษา
๒๖. สังวัณณนานิยาม และสาธนะในกิตก์
๒๗. พาลาวตาร (ปริวรรต)
๒๘. ปทสังคหะ (ปริวรรต)
๒๙. กัจจายนสารมัญชรี
๓๐. คันถาภรณมัญชรี
๓๑. ถามตอบคัณฐิบทในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
๓๒. วฤตตรัตนากร (แปล)
๓๓. วุตโตทยมัญชรี
๓๔. สุโพธาลังการมัญชรี
๓๕. สังวัณณนามัญชรี
๓๖. ปทรูปสิทธิมัญชรี (เล่ม ๑)
๓๗. ปทรูปสิทธิมัญชรี (เล่ม ๒)
๓๘. ปทรูปสิทธิมัญชรี (เล่ม ๓)
๓๙. คัมภีร์ฉันท์ ๔ ฉบับ (ปริวรรต)
ผลงานปกิณกธรรม
๔๐. เตลกฏาหคาถา (แปล)
๔๑. พระปริตรธรรม (แปล)
509
พรหมวิหาร
๔๒. นมักการะ (แปล)
๔๓. มหาปณามะ (แปล)
๔๔. เมตตาภาวนา
๔๕. ทารุกขันโธปมสูตร (แปลจาก PARABLE OF THE LOG)
๔๖. คุณธรรมของคนดี
๔๗. พรหมวิหาร ๔
๔๘. ปัชชมธุ (แปลและอธิบาย)
๔๙. ชินาลังการ (แปลและอธิบาย)
๕๐. เตลกฏาหคาถา (แปล)
๕๑. ค�ำอธิบายเมตตปริตร
๕๒. ปรองดองประคองมิตร
๕๓. อุปปาตสันติ (แปลและอธิบาย)
๕๔. ประกายส่องใจ
๕๕. เมตตา

510
พรหมวิหาร
เพื่อการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่
นาย/นาง/นางสาว ..........................................................................................
ที่อยู่ ................................................................................................................
.......................................................................................................................
โทรศัพท์ ................................................. มือถือ ............................................

มีความประสงค์จะร่วมบริจาคสมทบกองทุนพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่
ของวัดท่ามะโอ เป็นเงิน .......................................................................... บาท
(.....................................................................................................................)
โดยบริจาคเป็น เงินสด โอนเข้าบัญชี
โปรดโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์
๑. วัดท่ามะโอ (พิมพ์หนังสือ)
ธ.ทหารไทย สาขาล�ำปาง
ออมทรัพย์ ๓๒๘ - ๒ - ๖๑๗๐๑ - ๒
๒. พระมหาสมลักษณ์ สาราภิวงศ์ (พิมพ์หนังสือ)
ธ.ไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาลาดหญ้า
ออมทรัพย์ ๐๑๒ - ๒ - ๖๒๑๗๙ - ๐
๓. พระมหาสมลักษณ์ คันธสาโร (พิมพ์หนังสือ)
ธ.ทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) สาขาลาดหญ้า
ออมทรัพย์ ๐๓๓ - ๒ - ๓๔๔๔๓ - ๑
แล้วส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมชื่อและที่อยู่ที่ชัดเจนมายัง
พระคันธสาราภิวงศ์
๓๗ วัดท่ามะโอ ต�ำบลเวียงเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำปาง ๕๒๐๐๐
หรือโทรสาร ๐๕๔-๒๒๘๘๑๙ Email:tamaoh24@gmail.com
เพื่อทางวัดจะได้จัดส่งใบอนุโมทนากลับมายังท่านต่อไป
(ใบอนุโมทนาจากวัดท่ามะโอสามารถใช้ประกอบการหักลดหย่อนภาษีได้)

524
พรหมวิหาร
รายนามผู้ร่วมจัดพิมพ์
รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท รายละ ๘,๐๐๐ บาท
ครอบครัวคุณภูมิชนัตถ์ - คุณศิริพร ศรีทอง
คุณพุฒิพิชฌา เรืองชัยนันท์ และ
บุคลากรโรงเรียนอนุบาลอรณิชชา รายละ ๖,๐๐๐ บาท
๑๑ ท่าน ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
คุณปลิว - สายเกษม ตรีวิศวเวทย์
คุณอักษรา ศิลป์สุข และครอบครัว รายละ ๕,๐๐๐ บาท
พระมหาสมชาย อธิปญฺโ
รายละ ๒๖,๒๕๐ บาท บ.แม่วังสื่อสาร แอนด์ ซัพพลาย จ�ำกัด
คุณมาลี วรปัญญา คุณกุลวัฒน์ - คุณศิริเนตร เจนวัฒนวิทย์
คุณบุญยภักร์ วณิชพันธุ์
รายละ ๒๕,๐๐๐ บาท คุณถวิล - คุณนิภา อินทรักษา
คุณพิลาวัณย์ มหพันธ์ คุณครรชิต - ภัทรานิษฐ์ ณ บางช้าง
คุณสมพร ชัยบุตร พร้อมครอบครัว
รายละ ๒๓,๐๐๐ บาท คุณปรีญา มณีโชค พร้อมครอบครัว
คุณไพพรรณ บุญมาก - คุณชัยวลัญช์ - น.ส. พิชญ์สิณี หนูเพ็ชร์
น.ส. สุนทรี วัธนเวคิน คุณยายทองสุข ประดิษฐชลอ
คุณนิภา รัศมีดารา
รายละ ๑๐,๐๐๐ บาท คุณนิภาพร โกวิทวรางกูร
คุณกิมเลื่อน แซ่ฮัน คุณวีรวัฒน์ กาญจนดุล
คุณพิลาวัณย์ มหพันธ์
คุณสิเรียม ภักดีด�ำรงฤทธิ์ รายละ ๔,๐๐๐ บาท
คุณชวนชื่น ชีวะกานนท์ คุณครรชิต - คุณภัทรานิษฐ์ ณ บางช้าง
คุณศุภกิจ โรจน์ศรไพบูลย์ คุณล้วน วาณิชย์เจริญ
คุณพรพัน ชาญชีวพิทักษ์กุล
511
พรหมวิหาร
คุณพิมพ์พันธ์ เนตรนพรัตน์ รายละ ๒,๕๐๐ บาท
คุณสุวรรณี เหล่าหะเกียรติ คุณอนันต์ - คุณจตุพร อัศวกุล
คุณประวิตร - คุณวัลฎา อิ่มอมรพงศ์ คุณอดิเทพ - รศ.ดร.นฤมล เกษมพรรณราย
คุณกาญจนา เกิดโพธิ์ทอง
รายละ ๓,๕๐๐ บาท คุณก้านตอง มีเมศกุล
คุณพัชรวรรณ คูณะรังสี คุณจุฬารัตน์ มณีวงศ์วัฒนา
คุณวารุณี อารัมภีร
รายละ ๓,๒๐๐ บาท
คุณสมพล อัฒรัตติพันธุ์ รายละ ๒,๔๐๐ บาท
คุณฮั่งซิม แซ่จึง - นางอริณี กิติอาภา
รายละ ๓,๐๐๐ บาท
คุณนพดล - คุณวิภา แนบเนียร รายละ ๒,๑๐๐ บาท
พญ.ฐิติมา หุตะจิตต์ คุณสุนทรี วัธนเวคิน
คุณเพิ่ม - คุณอุทัย คุณวรรณพัชร คงปรีชา
คุณศิริวัฒน์ เหล่าหะเกียรติ
คุณศิริสรรพ เหล่าหะเกียรติ รายละ ๒,๐๐๐ บาท
คุณจารุวรรณ ภู่เจริญ คุณชลัฐพร เจียรนิลกุลชัย
คุณฉัตรฉันท์ เอี่ยมพานิช คุณอารีย์ เลิศศักดิ์ชัย
คุณจารุณี อัศวกาญจน์ คุณอรุณ - คุณบสพันธ์ พงษ์สุวรรณ
คุณวราภรณ์ พนัสโณทัย คุณพงษ์ศักดิ์ - พญ.เมตตา อนุจารี
คุณสุวรรณี ธรรมวุฒิ และครอบครัว คุณสุริยาวดี เดชส่งจรัส
คุณพรศรี สุวรรณฉายา คุณกาญจนา เฮงมี และครอบครัว
คุณลาวัณย์ บุญจินดา คุณโสภณวิชญ์ รตนะกมลเศรษฐ์
คุณปัททมา มีครองธรรม คุณสุค�ำ - คุณปะ -
คุณสุพิชญา จันทร์สุริยะ
รายละ ๒,๖๐๐ บาท คุณคะนึง จันทร์สงเคราะห์
คุณณภัทรดิส สุริยกมลจินดา คุณรชยา วีระพงษ์
คุณวิศิษฏ์ แดนโพธิ์ และครอบครัว
512
พรหมวิหาร
คุณจิรนันท์ แสนยานุสิน นายสภณกฤสภัทร - นายสิรวีร์ -
คุณเสานิจ ตัณฑัยย์ ด.ช.สิรยุตม์ เตชะวรบท
คุณณชนก เตชะวสัญญู คุณลัดดา กมลจิตร์ประภา
คุณธวัช - คุณรัชนี มีสมมนต์
คุณเสวก วีระเกียรติ รายละ ๑,๘๐๐ บาท
คุณธินา สิงห์สัจจะ(ทีน่า) คุณอัญชลี จึ่งสกุล - คุณสอิ้ง สืบสะอาด
คุณจงจิตร ฐปนางกูร คุณกองแก้ว จันทรวิรุจ
คุณอุดมพร สิรสุทธิ์
คุณณัฐธีรา สันหพาณิชย์ รายละ ๑,๗๐๐ บาท
คุณคะนึง จันทร์สังเคราะห์ คุณปภาภร จงธรรมสุขยิ่ง
คุณจุฑามาศ ธนานาถ
คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ รายละ ๑,๕๐๐ บาท
คุณกมลวรรณ พิมุขมนัสกิจ คุณยุทธนา น�้ำเงิน
คุณวรรณิภา ร่วมรังษี คุณจตุรภัทร ภิญโญมงคล
คุณวีระยุทธ - ศนิ - ภัคจิรา สุวรรณศิริ คุณคะนึง จันทร์สงเคราะห์
คุณสมคิด - กัลยา พันธ์รักษ์เดชา คุณปรมาภรณ์ โอสถสงเคราะห์
คุณวรวุฒิ วีระเกียรติ และครอบครัว คุณสุภาภรณ์ แซ่เตียว
คุณวศนี - ก�ำลูน รัตนพิศิฐ คุณวรพงษ์ - คุณนงลักษณ์ -
คุณอิทธิ - ทัศนีย์ พินิจกุล คุณวรภัทร พรวิศณุกูล
คุณอัญชลี ชวนิชย์ คณะวารสารศาสตร์ธรรมศาสตร์
คุณลักษณา จารุแสงไพโรจน์ ล�ำปาง รุ่นที่ ๓๗
คุณกชมณฑ์ อัศวมหาพงษ์ คุณสรรชัย ศรีพรสวรรค์ และครอบครัว
คุณสุกาญจนา ลิมปิสวัสดิ์ คุณบานเย็น จันทราฤทธิกุล
คุณจุติมา เมทณีธร คุณสุธิต คุณประดิษฐ์
คุณสุนทร ค�ำชมนันท์ - คุณนฤมล หวังธรรมคุ้ม
น.ส.ศศิปรียา ยวงการ คุณจ�ำรัส นิมิตรพรชัย
คุณยุพา กาญจนตุล
คุณปิยวัฒน์ - นางแพรววไล -
513
พรหมวิหาร
รายละ ๑,๔๘๐ บาท คุณดวงฤทัย ผณนันท์
คุณกิมเลื่อน แซ่ฮุ้น คุณวนิดา จึงประสิทธิ์
คุณสิริยาภรณ์ สูยานนท์
รายละ ๑,๔๐๐ บาท คุณเพิ่มยศ บุญปาน
คุณมาโนช โลหิตโยธิน คุณศรชัย - คุณเบ็ญจวรรณ เขียวอ้าย
คุณสุนทรี วัธนเวคิน คุณปราโมทย์ จามรเนียม
คุณอัมรา เปี่ยมศิลปกุลชร ร.ร.อนุบาลทิวฟ้าล�ำปาง
คุณรตนพร ขันตี
รายละ ๑,๓๐๐ บาท คุณอุ้ยเหย่า แซ่ฮุ้น
คุณภวิษย์พร คณาธนะวนิชย์ คุณวิทยา เชิดชูวงศ์สันติ
คุณธีระชัย คงเอี่ยมตระกูล คุณนันทนา ทวีรัตนศิลป์
คุณไพฑูรย์ ว่องวุฒิเวช คุณเมธา พวงพันธุ์
คุณญิบพรรณ ฤทัยสวัสดิ์
รายละ ๑,๒๐๐ บาท คุณสุนี ประจวบเหมาะ
คุณสะอาด พิมพกันต์ คุณวัลฎา อิ่มอมรพงศ์
คุณบุญเกียรติ สถาพรวัฒนกิจ คุณเบญจพร เตชะภาคย์พรชัย
คุณสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ คุณวนิดา ธาระรูป
คุณขจรจิตร์ ส่งไพศาล
รายละ ๑,๑๑๑ บาท คุณดวงสมร มหพันธ์ และครอบครัว
คุณดรุณี โตสมภาค และครอบครัว คุณสุภาวดี หาญเมธี
ศ.นพ.จ�ำลอง - ศ.ดร.พริ้มเพรา ดิษย-
รายละ ๑,๑๐๐ บาท วณิช - อ.สุดสวาท วรศรี
คุณไชยยันต์ ลิ้มกาญจนาพันธุ์ คุณอรวรรณ คนซื่อ
คุณอรพิน เฉลิมสกุลรัตน์
รายละ ๑,๐๐๐ บาท คุณจิตเลขา สุขเสริมส่งชัย
คุณณัฐเสกข์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์ คุณลัดดา กมลจิตร์ประภา
คุณศรีสุดา ฤกษ์พูลสวัสดิ์ คุณพงศ์ศิริ สิงหผลัน
คุณอดุล - คุณสุนทรี ม้ามณี EVELYN WOON WEE THENG
514
พรหมวิหาร
คุณภาดา สิงหะผลัน ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
ลัดดาวัลย์ ปัญจวิโรจน์ คุณจินดา - นางสาวภัคจีรา อุดมวงศ์ทรัพย์
คุณธน เศรตศรีถวัลย์ คุณเพิ่มยศ บุญปาน
คุณอโนชา ศศิประภา คุณเอกชัย อัศวนฤนาท
คุณพิมพ์ประภา คณาธนะวนิชย์ คุณนภัทร ประดับศรี
คุณธเนศ - คุณสร้อยเพชร อุตรภัทริยากุล คุณวนิดา ชัยชโลธร
คุณชัยฤทธิ์ ชามพูนท คุณวิรุณ แก้วเขื่อน
คุณอโนทัย สงวนสัตย์ คุณพรรณิภา ลิ่มเส็ง
คุณสุรเชษฐ จงเกษม คุณวรญา วิไลรัตน์
คุณทวีเดช - คุณแขไข ปิติชัยชาญ คุณวาสนา อรัญศรี
คุณวินัย - คุณเพ็ญแข วงศ์ฟูเฟื่องขจร คุณภัทรา พุทธิวโรดม
คุณสมศักดิ์ - คุณบุบผา กี้เจริญ คุณสินีรัตน์ ศรีประทุม
คุณสถาพร - คุณแสงจันทร์ วุฒิกานนท์ คุณอรจิตร วิชชุวรรณ
คุณชนัญสันต์ สุขารมณ์ คุณรตนพร - คุณมานพ -
คุณเลื่องบุญ ลาวัลยะวัฒน์ ด.ญ.ธรรศญา ขันตี
คุณจิระพรรณ ยงวณิชย์ คุณนิกรม ค�ำทราย
Mrs. Li Chin Chang คุณฐิติรัตน์ ลดาวัลย์
คุณศิริวรรณ สังขกุลชร และครอบครัว คุณพิมพา ชินะนาวิน
คุณเพ็ญพร บัวงาม และครอบครัว คุณกุลกิติกร เนาวจ�ำเนียร
คุณประภานิช ร่วมเริ่งชัย คุณฉันทนา สีทะเสน
คุณพรศริน เมธีวัชรานนท์ คุณสุวรรณี จักรภีร์ศิริสุข
คุณสุพรรณี นิลประดับ คุณกระแสร์ - คุณเรวดี รังคะรัตน
คุณเจริญ มิตราเวคิน คุณยอด - คุณเอ๋ งามสูตร
คุณวิสาร เปล่งข�ำ คุณนพวรรณ แสงธีรกิจ
คุณจิราภรณ์ โชติภะพุกกะณะ คุณประเสริฐ - คุณอัญชลี -
คุณคณิศร ดั่นเจริญ คุณอาทิตยา ปรีชากุล
คุณทักขวดี เสถียรภาพอยุทธ์ - คุณอัญชนินทร์ สุรัตพิพิธ
คุณไพสิฐ พิริยะพงศ์ คุณอารมณ์ สุรัตพิพิธ
515
พรหมวิหาร
คุณสุรศักดิ์ สุรัตพิพิธ คุณนาถทิวา กังรวมบุตร
คุณสุภาพร คุณสง่า ศิลาอาสน์ คุณเจริญ มิตราเวคิน
คุณมณเทียร - คุณจงชนก จิรพาณิช คุณนิภาวรรณ ว่องวิชัย
คุณอนุชา ลาภนิรันดร์ คุณวนศักด์ ท�ำสวย
คุณวนิดา - คุณเดชา เกื้อกูล คุณณิษา กุลอัครศิริ
คุณเกษรา ลิ่มชูเชื้อ และครอบครัว คุณสุวรรณี เจริญธุระยนต์
คุณวัชรินทร์ ศิริวิโรจน์ คุณปุณยนุช ฟ้าภิญญ์โญ -
คุณไตรทัต คุณนัยนา ตั้งพานิช คุณอนัญญา ทรายทอง
คุณเฉลียว วีระเกียรติ คุณอุษาพร พุกกะเวส
คุณพัชรี พนัสโณทัย คุณรุ่งทิพย์ เจริญวิสุทธิวงศ์
คุณศุภิสรา ทยังหลัง คุณบวรวัฒน์ รัมพณีนิล
คุณรัญชิดา ทยังหลัง
คุณจักรพันธ์ - คุณภัทรภร - รายละ ๙๐๐ บาท
คุณอุทัย วีระเกียรติ คุณณัฐธิดา กิตติเด่นรุ่งเรือง
คุณอัญชลี ชวนิชย์ คุณสุคนธ์ วัฒนะพันธุ์
คุณรุ่งฟ้า อุดมวงศ์
คุณทิพรัตน์ หงภัทรคีรี - รายละ ๘๕๐ บาท
คุณแม่โช่ยหยิ่ง หงภัทรคีรี คุณณภัทรดิส สุริยกมลจินดา
คุณสมจิตร โสมสิรินาค - คุณนสินภัทร
คุณนงเยาว์ จันทนาคม รายละ ๘๐๐ บาท
คุณนิพนธ์ หอวัฒนพันธ์ คุณศิริกุล สินฤๅนาม
คุณอนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขนี คุณกนิษฐา ธรรมพิทักษ์
คุณสราพร คิรดิเสวี คุณจุฬภา ดีวาจา
คุณนฤมล อิงเจริญสุนทร คุณธีรารัตน์ ควรสมาน
คุณจิตตินันท์ เชาว์ชัยพร
คุณสมบัติ ควรสมาน รายละ ๗๐๐ บาท
คุณปรีชา อังคณานุพงศ์ พัทชกฤษณ์ เฟื่องนันทน์ชัย
คุณสุจิตรา ศรีเกษตรกุล
516
พรหมวิหาร
รายละ ๕๕๕ บาท คุณน้อย - คุณเพียงฤดี วราภักดิ์
คุณสมบูรณ์ เอื้อมอารีวงศ์ คุณจิราลักษณ์ รังศิริ
คุณจิรศักดิ์ บุญรอด
รายละ ๕๐๐ บาท คุณจาริณี บุญรอด
คุณทนงศักดิ์ ฉิมมาแก้ว คุณวันทนา คุณากร
คุณชูศักดิ์ ฮวดสุนทร คุณวิมลรัตน์ แก้วสัตตบุษย์
คุณสุดารัตน์ ฮวดสุนทร คุณชวนชื่น ชูเชื้อ
คุณเดี่ยว - คุณจุรีย์พร อูปแก้ว คุณเฉลิม - คุณระพีพรรณ วีระผล
คุณสุณี รัตนะวีวะกุล - คุณธัญญารัตน์ ทรงวานิช
คุณบุณชญา วิวิธขจร คุณอรทัย น้องการ
คุณปรียานันท์ เพ็งพุ่ม คุณนวินดา ปักษี
คุณสุทธินันท์ ไชยอัชนรัตน์ คุณไพบูลย์ ปักษี
คุณลัดดา ธนาสนธิราช คุณจารุพรรณี ปักษี
คุณชัยยุทธ ปั้นวงศ์สกุล คุณเจนเนตร ปักษี
คุณตี่ตู้ แซ่ตั้ง - เกี้ยว และครอบครัว คุณขจรไสย สัณฑมาศ
คุณอาริยา ยาสมุทร คุณนัฐธีรา สันหพาณิชย์
คุณมณเฑียร ยาสมุทร คุณตวง รักธรรม
คุณโสภณ คงคารัตน์ คุณอิทธิ - คุณแสงแข ปิติชัยชาญ
คุณอรุณวรรณ ลาภะวัฒนาพันธ์ ม.ล.จริดา ชมพูนุท
คุณพิชชา จันทรนิภาพงศ์ คุณพิสิษฐ์ - คุณเบญจวรรณ
คุณกุณชลีย์ รติสุข วงศ์ฟูเฟื่องขจร
คุณดารณี เลาหศรีวิจิตร คุณวีระ - คุณอัษณีย์
คุณทิพาภรณ์ อุณหเลขกะ คุณกฤษติเดช พันธ์ธันยา
คุณบุญส่ง - คุณพยอม อัมรี คุณภิรญา - ด.ญ.สาริสา -
คุณเอกลักษณ์ - คุณมาริสา ศรินจันทรกุล ด.ญ.ร่มปรางค์ ทีฆตระกูล
คุณสินธุ์ - คุณพรนภา - ด.ญ.ปวรรัตน์ อัมรี คุณสุพัตตา มูลแดง
คุณสุวรรณ - คุณศรีทอง - คุณประหยัด - คุณรพีพรรณ ถิรวัฒน์
คุณประสพโชค รุ่งศิริไพบูลย์ คุณเจริญศรี จันไพบูลย์ และครอบครัว
517
พรหมวิหาร
คุณเกตุแก้ว บุญเสวก คุณกาญจนา อังสิทธากุล และครอบครัว
คุณอภิญญา จิวาภิบาลฐนากิจ คุณสุดารัตน์ คูกิมิยะ
คุณอภิชญา เตชะวสัญญู คุณงามทรัพย์ ว่องวุฒิเวช
คุณถนอม วีระผล คุณวราภรณ์ บุษราคัมวงศ์
คุณสวรส วีระผล คุณบุหรง ราชเจริญกิจ
คุณอ�ำพร รักษาสุข คุณสุทัศน์ ราชเจริญกิจ
คุณธัญญารัตน์ ธีรพรเลศรัฐ คุณรุ่งเรือง อังสิทธากุล
คุณวาทินี วราเดชสถิตวงศ์ คุณชไมพร อทิกุลวณิช
คุณใหญ่ เชาวกุล คุณรัตนา - คุณกรองแก้ว ตันธนะศิริวงศ์
คุณบานเย็น จันทราฤทธิกุล คุณไตรดา - นางสุชิญญา เพชรประดับ
คุณภานุวัฒน์ นวกะวงษ์การ คุณรัตนพร ขันตี
คุณสุนทรี วิธีสอน และครอบครัว คุณสุพิชญา จันทร์สุริยะ
คุณสุรเกียรติ คุณณัฐกัญญา วาวแวง
คุณรวีวรรณ วิไลเลิศสมบัติ คุณดวงมณี อาณาประโยชน์
คุณปวีณา สอนดี คุณรุ่งฟ้า อุดมวงศ์
คุณภคิน แก้วพิจิตร คุณกิตติมา เพิ่มสมบัติ
คุณยุพิน กลิ่นจันทร์ คุณนันทวรรณ วงษ์ปัญญา
คุณจุฬาพรณ์ สิงห์แป คุณทิพย์ธารา ธาราทิพยกุล
คุณนงนุช ปาปวน คุณนงคราญ ธาราทิพยกุล
คุณอมรรัตน์ ทังสุภูติ คุณนิพนธ์ แสงสว่าง
คุณณกัชนันท์ จงมั่นคง คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์
คุณวิมลศิริ ทองโอฬาร คุณวัฒนา แสงอรุณ
คุณวัลลีย์ หงษ์สวัสดิ์ คุณศรีพร ชอบคุย
คุณสุทธินันท์ ไชยวัชนรัตน์ คุณเยี่ยมพล โชติปัญญาธรรม
คุณพัชรียา ไชยวัชนรัตน์ คุณณัชชา ปั้นวงศ์สกุล
คุณอังคณา อยู่หัตถ์ ปลัดนิยมมุนี เนกฺขมฺมาภิรโต
คุณยงยุทธ เติมติกุล คุณวัลรา คุณสุรชัย ตันฑศกิจวนิช
คุณเบญจพร แซ่เตียว คุณพันธ์ทิพย์ เอี้ยวสกุล
518
พรหมวิหาร
คุณพัชรีย์ ชัยชนะ รายละ ๔๖๐ บาท
คุณวลัยรัตน์ พนัสโณทัย คุณปิยชนิดร์ สุขจันทร์ และคณะ
คุณอ�ำพล วิวัฒน์เจริญกุล
คุณรุ่งจิต คงตระกูล รายละ ๔๐๐ บาท
คุณภิรมย์ คุณปราณี ชุมเกลี้ยง คุณศิลา ผรณาปิติ
คุณวนิดา บุญศิริ คุณธีระศักดิ์ ใจห้าว
คุณมยุเรศ เตชะพงษ์ คุณสลิลทิพย์ เจนพิทักษ์สมบัติ
คุณพิศุทธิ์ วิสุทฺโธ คุณถนอม - คุณสวรส วีระผล
คุณขนิษฐา ทองบุญและบุตรี คุณกฤชวรรณ บุญรังษี
คุณพงษ์ศักดิ์ - สายเพชร กุลชาติ คุณยุวดี ชัยศรีพิพัฒน์
คุณอรอุษา ลีลาวัฒนานันท์ คุณฐิติรัตน์ - น.ส.ฐิตารีย์ วงศ์ตั้งสกุล
คุณณัชชา ปั้นวงศ์สกุล
คุณสุทธินันท์ ไชยวัชนรัตน์ รายละ ๓๗๐ บาท
คุณศุภชัย ว่องวิชัย คุณณัชชา เกษหอม และเพื่อน
คุณสุนีตา จักรเทพวงศ์
คุณคนิศร บุญซ้อน รายละ ๓๖๐ บาท
คุณพูนทรัพย์ การย์เกรียงไกร ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
คุณซิม - วิสุทธิ เสรีพันธุ์ และครอบครัว
คุณภาณุวัฒน์ นวกะวงษ์การ รายละ ๓๕๐ บาท
คุณชื่นฤทัย - ณัฏฐพร พรภัทรกุล คุณปิยชนิดร์ สุขจันทร์ -
คุณนิธิมา เชาวลิต คุณภัทร์ชนิดร์ จันทร์สกาว -
ท.พญ.รัตนาวดี บุปผาเจริญสุข คุณวิไล สุทธินนท์ -
คุณชนิกานต์ ทิวบุญเลี้ยง คุณมนชนิดร์ จันทร์สกาว
คุณอดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา
คุณนาถนดา คุณณรงค์ฤทธิ์ รายละ ๓๔๒ บาท
คุณอรพินท์ ญาณสร้อย คุณหนึ่งฤทัย โคตรส�ำนวน
คุณสหรรษพร ขันทอง
คุณพรรณลักษณ์ อังศุธรรทัต
519
พรหมวิหาร
รายละ ๓๐๐ บาท คุณด�ำริ - นางพรรณี บุณยเวทย์ -
คุณสุจิตา คะเณย์ คุณมนทิรา บุตรกระจ่าง -
คุณกุลพัตร วิโรจน์รัตนรัศมี น.ส.รัชนก สุวรรณจักร์
คุณณัชชา ปั้นวงศ์สกุล ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์
คุณพัชรียา ไชยอัชนรัตน์ คุณสิริภา พานุทัต และครอบครัว
คุณชัชภัสสร จงธรรมสุขยิ่ง คุณสุทธ์ธรรม พันธ์ธุมวงษ์
คุณอรรถนนท์ - คุณวรรณพร เทียนทอง
คุณอาพร - คุณนิตยา สนธิกรณ์ รายละ ๒๕๐ บาท
คุณสุพร ไชยศิริพุ่มคีรี คุณธีระชัย คงเอี่ยมตระกูล
คุณสุขสันต์ อยู่รอด และครอบครัว คุณแม่บุญทับ - คุณยุทธนา สิริค�ำทกูล
คุณอาทิตย์ เกิดเกตุ และครอบครัว คุณเอื้อมจิตร ฮึงสกุล
คุณชัยยุทธ - คุณนวลจันทร์ -
ด.ช.เอกภูมิ เกียรตินฤปการ รายละ ๒๔๐ บาท
คุณวราภรณ์ เฉลิมพงษ์ คุณนิตยวรรณ ศุขบุญ
คุณอรยา โมรากุล
คุณพรทิพย์ สุริยมานพ รายละ ๒๐๐ บาท
คุณนพธนันท์ มีผลกิจจารุกร และ คุณจันทราภรภ์ งามสอาด
ครอบครัว, คุณเพ็ญสินี ด้วงข�ำ คุณมนต์รัก มงคลเจริญกิจ
คุณบรรจบ - คุณบุญญนิจ จันทิรางกูร คุณอัปสร หมอมูล
คุณสฤดี รุจิรักษ์พิพัฒน์ แม่ชีโมรี มุฑิตา - น.ส.ศมาภา เพชรมา
คณะลูกหลานคุณแม่ชลอ อุ่นนันธ์ คุณญาณภัทรา เปรมสกุล
คุณเทียนชัย ชมภูงาม คุณนงลักษณ์ แสงทอง
คุณสุเทวี พืชอ�ำนวย คุณดนยา เทพวัลย์
คุณเรือนแก้ว ค�ำหลวง คุณสุดา คูสวัสดิ์
คุณพิมพ์มาดา ประชาเดชสุวัฒน์ คุณณัฐฐาพร สิทธิเวช
คุณรัชดา วีระเกียรติ คุณพนม มาชรงค์
คุณวรนุช มยุรคุทธิ์ภิบาล คุณรัตนา มาชรงค์
คุณขวัญหทัย จันทร์ฟอง (ใจบุญ) คุณสุพิชญา มาชรงค์
520
พรหมวิหาร
คุณธิดาวรรณ ใจค�ำ คุณปรีดาภรณ์ สายน�้ำผึ้ง
คุณสะอาด - คุณเจียมจิตร - คุณธนาเดช โสมะบุตร
คุณนภาพร เยาวรัตน์ คุณอดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา
คุณสุภาพร เที่ยงบุญทวี คุณปานพร อาภาธ๊รญาณ
คุณสุมิตร - คุณบุษกร เห็นประเสริฐแท้ คุณพุทธพร บุญจ้าง -
คุณประดิษฐ์ - คุณทองเจือ ประถมทอง คุณชุลีพร สาระไชย
คุณยุพิน ทองทรัพย์ และครอบครัว คุณธีรารัตน์ ควรสมาน
คุณชลลดา แซ่หลี และครอบครัว คุณดวงพร อรชร
คุณญาณวัฒน์ อิ่มจ�ำลอง - คุณปัทมา ชูกลิ่น คุณประกายดาว พิมพ์ชาติ
คุณปราณี หัตถกรรมวิจิตร คุณสุชาติ สุขธีรอนันตชัย
คุณดวงมณี อาณาประโยชน์ คุณปินารินทร์ อาริยธีรานนท์
คุณภาษิต พัฒนะพันธ์ คุณเฉลิมพล เจริญวัฒนมงคล
คุณพรรณี เลรามัญ และครอบครัว คุณฐรัชญา บุญวรลภย์
คุณศิษฐา ศรีวัชรานนท์ คุณอุทิศ อังวิสุทมากุล
คุณวิชัย - คุณวัชรี ประทินแสงทอง คุณทัศสุวรรณ สายปะละ
คุณประสิทธิ์ - คุณจรินทร์ ยวงเกตุ คุณเสรี - ยุพิน สุประดิษฐอาภรณ์
คุณวิธาน รุ้งรุจิเมฆ คุณส�ำเริง สุนทรชาติ
คุณสมสิริ รักษาพันธุ์ คุณนพดล - จันทนา แม่นเจริญ
คุณไพพรรณ บุญมาก
คุณเอื้อ - คุณอัญชลี ประภาศิริ รายละ ๑๐๐ บาท
คุณณัฐภัทร ถวัลยโพธิ คุณสิริพุทธนัดดา ดิศศานุวงศ์
คุณสุพรรณี พิมพาพร คุณธีรารัตน์ ควรสมาน
คุณแสน สิเวชสกุล คุณวศิณา เปรมสกุล
คุณพนิดา ทิพย์บ�ำรุง คุณลัดดาวัลย์ นันทกุศล
คุณชญาภา ชูสถาพรกุล คุณสุภร ภู่เทือง
คุณน�้ำฝน ค้วงแล้ว คุณภีสุภา - คุณฒนาคม วิภาศรีนิมิต
คุณเยาวนันท์ สุขะ คุณกาญจนา
คุณวิศิษฏ์ - รุ่งเรือง อังสิทธากุล คุณป้อมเพชร ไชยญาติ
521
พรหมวิหาร
คุณพนิดา นาบุญญ์ คุณส�ำรวย ปฐมโชคชัยกุล และครอบครัว
คุณสรัณกร วรรณแก้ว คุณพัตรพิมล ปฐมโชคชัยกุล
คุณกุญชร วรรณแก้ว คุณประเสริฐ นวลแก้ว และครอบครัว
คุณปิยธิดา ตติรัตน์ และครอบครัว คุณจันทร ศิริวรรณ
คุณสุพี - คุณพะเยาว์ สาริกา คุณสุจิตรา บุญณรงค์ และครอบครัว
คุณนิยม เรืองฤทธิ์ และครอบครัว ด.ญ. ชนิกานต์ มาลาวงษ์
คุณพัชราภรณ์ เมตตา และครอบครัว คุณตู้ - คุณชุนบ๊วย ศรีคง
คุณอดิเรก - ศิริวรรณ บุญรอด คุณสมทรง เสาวโกมุท และครอบครัว
คุณอุษณีย์ เหลืองธนพลกุล พันเอก (พิเศษ) อนุชา - คุณภารุจา
คุณกานดา ภาษาประเทศ คุณอรทัย ฝั้นแปง
คุณเทวินทร์ โตเต็ม และครอบครัว คุณนภา จูเมา
คุณภาณี ตรีนุชจรัสกุล และครอบครัว คุณวิไลวรรณ บุญเคลือบ
คุณสุทธิรัตน์ ใจดี คุณลดาวัลย์ จันทรังษี
คุณชานนท์ จริยสุขสกุล และครอบครัว คุณธนิฏฐา ปีกอง
คุณบุญเพิ่ม - สุรีย์ ป้านทอง คุณนพวรรณ ชอนตะวัน
คุณสุรีย์ ชูเลิศ และครอบครัว คุณบุญยิ่ง - คุณสุกัญญา มูลทองชุน
คุณนาฏนภา ม่วงดิษฐ์ และครอบครัว คุณจ�ำนวล สุขุยานนท์
คุณนพอนันต์ - วรินทร์พร คุณพรรณนฤมิตร พิรุณสาร
พีระกนกพัฒน์ และครอบครัว คุณสนชัย พิรุณสาร
คุณกิตติพงษ์ ปลื้มสุด และครอบครัว คุณชมพูนุท พิรุณสาร
คุณประสิทธิ์ - คุณกัญญา เลิศศรีสุวัฒนา คุณชนนิกานต์ พิรุณสาร
คุณสิทธิเลิศ - คุณอัญชลี เลิศศรีสุวัฒนา คุณปัญญารัตน์ การสมโชค
คุณท้อน - คุณแก้ว อินทะเกตุ คุณพัชรี มีสกุล
คุณสมศรี มหาศักดิ์พันธ์ และครอบครัว คุณณัฐกฤตา ราชบัณฑิตย์
คุณพลเดช สุนทร และครอบครัว คุณน�้ำค้าง สโรบล
คุณเอื้อมพร พรหมจันทร์ และครอบครัว คุณน�้ำทิพย์ สโรบล
คุณประสิทธิ์ - คุณมนีวัน สุบุญพงษ์ คุณทมยันต์ สุคนธรัตน์ และครอบครัว
คุณนภา มะโรงทอง และครอบครัว คุณอรพิน พวงทะวาย
522
พรหมวิหาร
คุณพัชรินทร์ คุณพรพรรณ เอี่ยมโอกาส
คุณพรรดิตรา ภุมรินทร์ คุณกาญจนา จันทรพิศุทธิ์
คุณอภันตรี ไตรลักษณ์ คุณทิพย์จุฑา ถาวรรักษ์ -
คุณพีนารินทร์ อาริยธีรานนท์ คุณสมภพ วัฒนสุข
คุณมิตร ศิริอางค์ คุณค�ำมวล เสือน้อย
คุณเข็มชาติ ทนกระโทก คุณพัชรินทร์ อินสะอาด
คุณพรพรรรณ เมฆสวี - คุณจรรยา คุณชลมาศ ธนารักษ์โชค
เจริญโชค คุณชลลลิลล์ ธนารักษ์โชค
คุณพรรณี มณีบุตร คุณสมควร ทองดี
คุณพรทิพย์ อชว. คุณพายัพ อารัมภีร
คุณศีวิไล แก้วกระจ่าง คุณสุรางค์ ศิริโสภณ
คุณทิพจุฑา ไตรโลกา คุณอังคณา วิฑิตวิริยะกุล
คุณจีระภรณ์ สุขสวัสดิ์ ครอบครัวโสมนัส
คุณธีรภัทร์ ว่องวุฒิเวช
คุณพสธร ว่องวุฒิเวช รายละ ๕๐ บาทหรือน้อยกว่า
คุณอรัญญา เวชพาณิชย์ คุณเปรมประภาศิริ - คุณอุบลวรรณี มลิลา
คุณวรรณี โกวิทสุทธิศักดิ์ คุณพิจิตรา สีตลานุชิต
คุณกิภนา แก้วร่วมวงศ์ คุณมัณฑนา สีตลานุชิต
คุณสุกานดา ตั้งพัฒนธนา คุณแสงอุดม คมปิยะรัตน์
คุณวงเดือน - น.ส. ศศิภา ปริปุณณะ คุณจันทร์เพ็ญ ศิริไสย
คุณศุภนา ทิพย์มณฑา คุณสุกานดา - รัตนพร - ปัทมเรขา -
คุณยุพยงค์ พรหมมูล ตั้งพัฒนธนา
คุณรัตนา ตรีรัตน์ดิลกกุล คุณเพ็ญพร บัวงาม และครอบครัว
คุณเธียร ช่างรัตน์ คุณพิสิษฐ์สรรค์ นวลอนงค์
คุณวรัญญา พรมมา คุณกรกฎ จอมวิญญาณ์
คุณเฉลิมพล ฝันปันวงศ์ - คุณอักษราภัค พุทธสอน
น.ส.ศิริพร ประทุมมาศ
คุณตรรกพร สุขเกษม
523
พรหมวิหาร

You might also like