You are on page 1of 12

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

จัดทำโดย
นายสรวิศ เฉลิมนัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 เลขที่ 2
นางสาวอภิญญา อึ้งเจริญทรัพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 เลขที่ 19
นายจิรพล วรกิจการวศิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 เลขที่ 21

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


วิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอ่านและพิจารณาเนื้อหา รวม
ไปถึงกลวิธีในการเขียนวิเคราะห์ การใช้ภาษาและคุณค่าในด้านต่างๆ ของวรรณคดีเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ

คณะผู้จัดทำได้มีการศึกษาและรวบรวมเนื้อหาข้อมูลจากหนังสือเรียน แหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตและ
มีอาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ คอยให้คำปรึกษาตลอดจนรายงานเสร็จสิ้น โดยพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
รายงานนี้จะเป็นประโยชน์และให้ความรู้ต่อผู้อ่านทุกๆท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำจึง
ขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

1.การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1
1.1 เนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่องย่อ 1
1.2 โครงเรื่อง 2
1.3 ตัวละคร 2
1.4 ฉากท้องเรื่อง 3
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน 3
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 4
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 5
2.1 การสรรคำ 5
2.2 การเรียบเรียงคำ 6
2.3 การใช้โวหาร 7
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 7
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 7
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 8
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 8
1

1.การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1.1 เนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่องย่อ


โจโฉมีความคิดที่จะกำจัดเล่าปี่ จึงตัดสินใจยกทัพไปตีเมืองซีจิ๋วซึ่งเป็นเมืองที่เล่าปี่ครองอยู่ โจโฉได้ต่อสู้กับ
เล่าปี่และเตียวหุยซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน ทั้งสองพลาดท่าและพ่ายแพ้โจโฉ เตียวหุยหนีขึ้นภูเขาไปในขณะที่เล่าปี่ได้
ขอความช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยวที่เมืองกิจิ๋ว ซึ่งเล่าปี่ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อโจโฉทราบว่ากวนอูซึ่งเป็น
มิตรสหายกับเล่าปี่และเตียวหุยนั้นกำลังดูแลเมืองแห้ฝืออยู่ จึงตัดสินใจจะยกทัพไปตีเมืองนั้น แต่ในการสู้รบครั้งนี้
โจโฉไม่ได้ต้องการฆ่ากวนอูแต่อยากให้กวนอูมาเป็นทหารร่วมกองทัพของตน เนื่องจากกวนอูเป็นคนที่มีฝืมือและ
มีความเชี่ยวชาญในการรบ โจโฉจึงให้เตียวเลี้ยวซึ่งเป็นทหารเอกของตนและมีทักษะในการพูดนั้นไปเจรจาเกลี้ยก
ล่อมกวนอู โดยเตียวเลี้ยวได้พูดกับกวนอูถึงโทษ 3 ประการที่จะเกิดขึ้น หนึ่ง ถ้ากวนอูตาย เล่าปี่และเตียวหุยก็จะ
ตายด้วยตามที่ทั้งสามคนได้เคยให้คำสาบาญร่วมกันไว้ สอง จะไม่มีคนดูแลภรรยาของเล่าปี่ สาม กวนอูควรสร้าง
คุณประโยชน์ให้แผ่นดินเนื่องจากเป็นคนมีฝืมือ หลังจากนั้นเตียวหุยก็ได้พูดถึงประโยชน์ในการมาร่วมทัพกับโจโฉ 3
ข้อ หนึ่ง กวนอูจะไม่ตายและมีโอกาสได้ดูแลเล่าปี่และเตียวหุย สอง จะมีคนดูแลภรรยาของเล่าปี่ และสาม กวนอู
จะได้ใช้ทักษะของตัวเองในการสร้างประโยชน์ให้กับบ้านเมือง เมื่อฟังเช่นนั้นกวนอูจึงยอมรับคำเสนอของเตียว
เลี้ยวและได้เสนอเงื่อนไขสามข้อ หนึ่ง กวนอูต้องได้รับใข้พระเจ้าเหี้ยนเต้ในการไปของกวนอูครั้งนี้ สอง กวนอูต้อง
เป็นคนดูแลภรรยาทั้งสองของเล่าปี่เท่านั้น สาม กวนอูจะไปหาเล่าปี่ทันทีถ้ารู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดถึงแม้ว่าโจโฉจะไม่อนุ
ญาตก็ตาม เมื่อเตียวเลี้ยวได้กล่าวถึงข้อเสนอต่างๆให้โจโฉฟัง โจโฉไม่เห็นด้วยกับประการที่สาม เตียเลี้ยวจึงพูด
เกลี้ยกล่อมอ้างอิงถึงนิทานอิเยียงผู้กตัญญูให้โจโฉฟัง โดยอธิบายว่าากวนอูนั้นมีความซื่อสัตย์ต่อนายของตน หาก
โจโฉดูแลกวนอูอย่างดี กวนอูจะซื่อสัตย์และกตัญญูต่อโจโฉอย่างแน่นอน เมื่อได้ยินเช่นนั้นแล้วโจโฉจึงยอมรับข้อ
เสนอ ในระหว่างที่กวนอูมาอยู่กับโจโฉนั้น โจโฉพยายามจะซื้อใจกวนอู โดยการเตรียมอาหารอย่างดี พา
ไปเป็นทหารพระเจ้าเหี้ยนเต้ ยกย่องกวนอูให้สูงกว่าขุนนางผู้อื่น ยกเครื่องเงินเครื่องทองให้ แต่กวนอูน้ำของเหล่านี้
ไปให้กับภรรยาของเล่าปี่ทั้งสอง โจโฉเห็นว่าเสื้อที่กวนอูที่ใส่นั้นขาด หมดสภาพ จึงให้เสื้อใหม่กับกวนอู แต่กวนอู
เลือกที่จะใส่เสื้อใหม่ไว้ด้านในและเอาเสื้อตัวเก่าคลุมทับด้านนอก โดยบอกเหตุผลว่าเสื้อตัวเก่าเป็นสิ่งที่เล่าปี่ให้ไว้
ซึ่งเป็นเหมือนสิ่งที่คอยรำลึกถึงเล่าปี่ในตอนที่ห่างไกลกันและเพื่อเป็นการป้องกันคำนินทาของผู้อื่น สุดท้ายนั้นโจ
โฉตัดสินใจให้ม้าเธาว์แก่กวนอู กวนอูดีใจมากและกล่าวว่าเมื่อรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดจะรีบขี่ม้าไปหาทันที เหตุการณ์ทั้ง
2

หมดนี้ทำให้โจโฉได้รู้ถึงความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีที่กวนอูมีต่อเล่าปี่และทำให้โจโฉไม่อยากเสียทหารอย่างกวน
อูไป อย่างไรก็ตามกวนอูได้บอกว่าจะหาโอกาสตอบแทนโจโฉก่อนจากไปอย่างแน่นอน

1.2 โครงเรื่อง
วรรณคดีเรื่อง สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ มีการลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้ดี ทำให้ผู้อ่านรู้ถึง
แนวคิดที่กวีต้องการสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน โดยเนื้อเรื่องนี้ได้กล่าวถึง สงคราม การต่อสู้ การแย่งชิงอำนาจของ
เมืองต่างๆ รวมไปถึง ความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของลูกน้องที่มีต่อเจ้านาย

1.3 ตัวละคร
• กวนอู: เป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง แน่วแน่ นึกถึงประโยชน์ของคนอื่นเป็นหลัก มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้านาย
ไม่เคยลืมบุญคุณคน ไม่สนใจทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศต่างๆ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่โจโฉพยายามจะใส่ร้ายก
วนอู โดยการให้กวนอูอยู่กับภรรยาของเล่าปี่โดยลำพัง แต่สุดท้ายแล้วกวนอูก็ให้เกียรติภรรยาทั้งสองของเล่าปี่
และดูแลอย่างสุจริตใจตลอดระยะเวลาที่เล่าปี่ไม่อยู่ ดังความว่า “...ฝ่ายกวนอูให้พี่สะใภ้ทั้งสองนอนห้องข้างใน
ตัวนั้นก็นั่งจุดเทียนดูหนังสือ รักษาพี่สะใภ้อยู่นอกประตูยันรุ่ง มิได้ประมาทสักเวลาหนึ่งจนถึงเมืองฮูโต๋...” อีก
หนึ่งเหตุการณ์คือ ตอนที่โจโฉสนทนากับเตียวเลี้ยวเรื่องข้อตกลงระหว่างตนและกวนอู โจโฉไม่เห็นด้วยในตอน
แรก เตียวเลี้ยวจึงกล่าวถึงความจริงใจและกตัญญูรู้คุณของกวนอูโดยอ้างอิงผ่านนิทานอิเยียง ดังความว่า “อัน
น้ำใจกวนอูนั้น ถ้าผู้ใดมีคุณแล้วจะเห็นเป็นเหมือนอิเยียง อันเล่าปี่กับกวนอูนั้นมิได้เป็นพี่น้องกัน ซึ่งมีความรัก
กันนั้น เพราะได้สาบานต่อกัน เล่าปี่เป็นแต่ผู้น้อย เลี้ยงกวนอูไม่ถึงขนาด กวนอูยังมีน้ำใจกตัญญูต่อเล่าปี่ จึงคิด
จะติดตามมิได้ทิ้งเสีย อันมหาอุปราชมีวาสนากว่าเล่าปี่เป็นอันมาก ถ้าท่านได้กวนอูมาไว้ทำนุบำรุงให้ถึงขนาด
เห็นกวนอูจะมีกตัญญูต่อท่านยิ่งนัก” นอกจากนี้กวนอูยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสู้รบ เชื่อมั่นในฝีมือ
ตนเอง ตัวอย่างเช่น การที่โจโฉชื่นชมกวนอูให้ทหารฟังและพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้กวนอูมาร่วมทัพด้วย
ดังความว่า “...อันกวนอูนั้นมีฝีมือกล้าหาญชำนาญในการสงคราม เราจะใคร่ได้ตัวมาเลี้ยงเป็นทหาร เราจะแต่ง
คนให้ไปเกลี้ยกล่อมกวนอูจึงจะได้…”
3

• โจโฉ: เป็นมหาอุปราช กุมอำนาจทั้งปวง มีความสามารถ ฝีมือและเล่ห์เหลี่ยมกลยุทธ์ในการสู้รบ ตัวอย่างเช่น


การชนะสงครามเมืองซีจิ๋วและเมืองกิจิ๋ว หนึ่งในกลยุทธ์ของโจโฉที่ปรากฏในเรื่องคือ “...โจโฉจึงแบ่งทหารเป็น
สิบเอ็ดกอง กองหนึ่งให้อยู่รักษาค่ายแปดกองนั้นให้นายทหารเอกคุมทหารเลวยกแยกออกไปซุ่มอยู่นอกค่ายทั้ง
แปดทิศ ถ้าเห็นกองทัพใดมายกปล้นค่ายก็ให้ทหารทั้งแปดกองตีกระหนาบล้อมเข้ามา สองกองนั้นให้แยกกัน
ไปตั้งสกัดอยู่ปากทางเมืองชีจิ๋วกองหนึ่ง เมืองแห้ฝือกองหนึ่ง...” นอกจากนี้โจโฉยังรู้จักใช้คน และตัดสินใจโดย
ใช้เหตุผลเป็นหลัก เช่น การใช้ให้เตียวเลี้ยวไปพูดเจรจาเกลี้ยกล่อมกวนอู รวมไปถึงการยอมรับข้อเสนอของก
วนอู ถึงแม้ว่าตนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ดังความว่า “...ข้าพเจ้ากับกวนอูได้รู้จักกันมา ครั้งนี้ข้าพเจ้าจะขออาสาไป
เกลี้ยกล่อมกวนอูให้ได้ เหียหยกจึงว่า ซึ่งเตียวเลี้ยงจะรับอาสาไปเกลี้ยกล่อมกวนอูนั้น เห็นกวนอูจะไม่มา ข้าพ
เจ้าจะขออาสาล่อลวงให้กวนอูออกจากเมืองแห้ฝือแล้ว ถ้าเห็นกวนอูสิ้นความคิดลงเมื่อใด จึงให้เตียวเลี้ยวไป
เกลี้ยกล่อมเห็นจะได้โดยง่าย...” อีกหนึ่งเหตุการณ์คือหลังจากที่โจโฉได้ฟังเตียวเลี้ยวอ้างอิงถึงนิทานอีเยียงผู้
กตัญญูแล้ว ก็ได้กล่าวว่า “...ท่านว่ากล่าวทั้งนี้ก็ชอบนัก จงเร่งขึ้นไปบอกแก่กวนอูว่า ซึ่งสัญญาสามประกา
รนั้นเรายอมแล้ว ท่านจงเร่งพากวนอูลงมาเถิด...”

1.4 ฉากท้องเรื่อง
สามก๊กเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ที่ประเทศจีน ช่วงที่เกิดความแตกแยกชิงอำนาจกัน ซึ่งเป็นตอนที่
เล่าปี่ได้พ่ายแพ้ให้กับโจโฉ

1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
บทสนทนาในเรื่องมีการใช้วาทศิลป์ในการเจรจาและทำข้อตกลง
• บทเจรจาระหว่างเตียวเลี้ยวกับกวนอู เตียวเลี้ยวพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูเข้าร่วมทัพกับโจโฉโดยการชี้
ให้เห็นโทษและประโยชน์ต่างๆ จนสุดท้ายกวนอูยอมรับข้อเสนอนั้น ดังความว่า “...ประการหนึ่ง เล่าปี่
ก็มอบครอบครัวไว้ให้ท่านรักษา ถ้าท่านตายเสียภรรยาเล่าปี่ทั้งสองนั้นจะพึ่งผู้ใดเล่า อันตรายก็จะมีต่างๆ
การซึ่งเล่าปี่ปลงใจไว้แก่ท่านนั้นก็จะไม่เสียไปหรือข้าพเจ้าเห็นไม่ชอบเป็นสองประการ อีกประการหนึ่งนั้น
ท่านก็มีฝีมือกล้าหาญ แล้วแจ้งใจในขนบธรรมเนียมโบราณมาเป็นอันมาก เหตุใดท่านจึงไม่รักษาชีวิตไว้
คอยท่าเล่าปี่ จะได้ช่วยกันคิดการทำนุบำรุงแผ่นดินให้อยู่เย็นเป็นสุข…” และ “...ถ้าท่านมิสมัครเข้าด้วย
เห็นชีวิตท่านจะถึงแก่ความตายหาประโยชน์มิได้ ขอให้ท่านอยู่กับมหาอุปราชก่อนเถิด จะได้มีประโยชน์
4

สามประการ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านสาบานไว้กับเล่าปี่ เตียวหุยว่าจะช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินความสัตย์


ข้อนี้จะได้คงอยู่ ประการหนึ่งท่านจะได้อยู่ปฏิบัติรักษาพี่สะใภ้ทั้งสองมิให้เป็นอันตรายสิ่งใด ได้สองประ
การ อีกประการหนึ่งนั้น ตัวท่านก็มีฝืมือกล้าหาญมีสติปัญญา จะได้คิดการทำนุบำรุงพระเจ้าเหี้ยนเตให้ค
รองราชสมบัติสืบไป...”
• บทเจรจาระหว่างกวนอูกับโจโฉ ตอนที่โจโฉพยายามซื้อใจกวนอูด้วยวิธีการต่างๆ ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
คือ ฉากที่โจโฉให้ม้าเธาว์แก่กวนอู กวนอูดีใจเป็นอย่างมากและตั้งใจจะใช้ขี่ไปหาเล่าปี่ทันทีเมื่อรู้ว่าเล่าปี่
อยู่ที่ใด คำพูดของกวนอูนั้นทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้านายที่กวนอูมีต่อเล่าปี่
และการที่กวนอูไม่ปิดบังความรู้สึกตนเองกับโจโฉ ดังความว่า “...ข้าพเจ้าแจ้งว่าม้าเธาว์ตัวนี้ มีกำลังมาก
เดินทางได้วันละหมื่นเส้น แม้ข้าพเจ้ารู้ข่าวว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด ถึงมาตรว่าไกลก็จะไปหาได้โดยเร็ว เหตุฉะนี้
ข้าพเจ้าจึงมีความยินดี ขอบคุณมหาอุปราชมากกว่าให้สิ่งของทั้งปวง...”

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
แก่นสำคัญของเรื่องนี้ มุ่งเน้นในเรื่อง ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีที่ลูกน้องมีต่อเจ้านาย ซึ่งเห็นได้
จากเหตุการณ์ที่กวนอูเบี่ยงเบนที่จะทำตามข้อตกลงกับโจโฉ เพื่อแสดงถึงการรักษาคำมั่นสัญญาและความซื่อสัตย์ที่
มีต่อเล่าปี่ นอกจากนี้กวนอูก็ยังคิดที่จะตอบแทนโจโฉก่อนที่จะลาจากไป การกระทำต่างๆเหล่านี้ของกวนอูทำให้
โจโฉถอดใจในที่สุด พิจารณาได้จากคำกล่าวที่ว่า “อันมหาอุปราชนี้มีน้ำใจเมตตาท่าน ทำนุบำรุงท่านยิ่งกว่าเล่าปี่
อีกเหตุใดท่านจึงมีใจคิดถึงเล่าปี่อยู่ กวนอูจึงว่า ซึ่งมหาอุปราชมีคุณแก่เราก็จริงอยู่แต่จะเปรียบเล่าปี่นั้นยังมิได้ด้วย
เล่าปี่นั้นมีคุณค่าแก่เราก่อน ประการหนึ่งก็ได้สาบานไว้ต่อกันว่าเป็นพี่น้อง เราจึงได้ตั้งใจรักษาสัตย์อยู่ ทุกวันนี้เรา
ก็คิดถึงคุณมหาอุปราชอยู่มิได้ขาด ถึงมาตรว่าเราจะไปจากก็จะขอแทนคุณเสียก่อนให้มีชื่อปรากฏไว้เราจึงจะไป
เตียวเลี้ยวได้ฟังดังนั้นจึงถามกวนอูว่า ถ้าเล่าปี่ถึงแก่ความตายแล้ว ท่านจะอยู่กับมหาอุปราชหรือ หรือจะคิด
ประการใด กวนอูจึงตอบว่า ตัวเราเกิดมา เป็นชายรักษาสัตย์มิให้เสียวาจา ถึงมาตรว่าเล่าปี่จะถึงแก่ความตายเรา
ก็จะตายไปตามความที่ได้สาบานไว้ เตียวเลี้ยวเห็นกวนอูนั้นมีใจสัตย์ซื่อต่อเล่าปี่อยู่เป็นมั่นคง ก็ลากลับมาจึงเอา
เนื้อความทั้งปวงบอกแก่โจโฉทุกประการ โจโฉได้ฟังดังนั้นก็ถอดใจใหญ่”
5

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

2.1 การสรรคำ
สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ เป็นวรรณคดีร้อยแก้วแปลจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย ซึ่งมี
ใจความและสาระสำคัญที่ดี เรียบเรียงใหม่ด้วยถ้อยคำโบราณที่ไพเราะ กะทัดรัด ถึงแม้ว่าชื่อตัวละครจะอ่านยาก
แต่ก็มีวรรณยุกต์กำกับอย่างชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพราะเหตุนี้สามก๊กจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของ
ความเรียงประเภทนิทาน

• การเลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์: วรรณคดีนี้เป็นวรรณคดีโบราณทำให้กวีเลือกใช้สำนวน
โบราณที่ต่างไปจากปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับคำประพันธ์ ตัวอย่างเช่น

“โจโฉให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ เห็นกวนอูห่มเสื้อขาด โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดี ให้กวนอู”


ห่มเสื้อ หมายถึง สวมเสื้อ

“บัดนี้พี่สะใภ้ทั้งสองร้องไห้รักกันอยู่ด้วยเหตุสิ่ง ใดมิได้แจ้ง”
ร้องไห้รักกัน หมายถึง ร้องไห้ด้วยความรักห่วงใยกัน

“เตียนห้องจึงตอบว่า คนทั้งปวงก็ลือชาปรากฏว่า ท่านเป็นใหญ่อยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เหตุใดท่านมาคิด


ย่อท้อจะมาตีตัวตายก่อนไข้นั้นไม่ควร”
ตีตัวก่อนไข้นั้น หมายถึง ความกังวลหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

• การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง: กวีเลือกใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างเหมาะสมและ
ถูกต้อง พิจารณาได้จากตอนที่กวนอูไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งเป็นกษัตริย์ ตัวอย่างเช่น

“...ครั้นเวลาเช้ากวนอูไปเฝ้า พระเจ้าเหี้ยนเต้ทอดพระเนตรเห็นกวนอูใส่ถุงหนวดดังนั้นจึงตรัสถามว่า ถุงใส่สิ่ง


ใดแขวนอยู่ที่คอนั้น กวนอูจึงทูลว่า ถุงนี้มหาอุปราชให้ข้าพเจ้าสำหรับใส่หนวดไว้ แล้วกวนอูก็ถอดถวายให้ทอด
6

พระเนตร พระเจ้าเหี้ยนเต้เห็นหนวดกวนอูยาวถึงอกเส้นละเอียดงามเสมอกัน แล้วตรัสสรรเสริญว่ากวนอูนี้


หนวดงาม จึงพระราชทานชื่อว่า บีเยียงก๋ง”

“ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง โจโฉพากวนอูเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้แล้วทูลว่า กวนอูคนนี้มีฝีมือพอจะเป็นทหารได้”

จากสองตัวอย่างนี้ มีการใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างหมาะสม เช่น ทอดพระเนตร ตรัส เสด็จ และทูล แสดงถึง


ความเคารพนับถือ ไม่ใช้คำสามัญชนธรรมดา เนื่องจากพระเจ้าเหี้ยนเต้มีตำแหน่งฐานะที่สูงกว่ากวนอูและโจโฉ

2.2 การเรียบเรียงคำ
การประพันธ์แบบร้อยแก้วในวรรณคดีเรื่องนี้เป็นการแปลเรื่องเป็นภาษาไทยจากภาษาจีน ซึ่งมีการเรียบ
เรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยา ประโยคส่วนใหญ่อธิบายได้อย่างชัดเจน ไม่มีความซับซ้อน ทำให้ผู้อ่าน
เข้าใจเรื่องได้ง่ายและเข้าถึงสิ่งที่ผู้แต่งต้องการสื่อออกมา

• เรียบเรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้หลังสุด
ตัวอย่างเช่น “แม้โจโฉเลี้ยงดูตนอย่างดีแต่ตนก็ไม่วายคิดถึงเล่าปี่”
จากประโยคข้างต้น จะเห็นได้ว่า ลำดับของเนื้อความมีความหนักแน่นและชี้ให้เห็นถึงคุณธรรมสำคัญของเรื่อง

• เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับจนถึงท้ายประโยคที่สำคัญที่สุด
ตัวอย่างเช่น “ผลเสียประการแรกคือกวนอูก็จะไม่มีโอกาสไปตามหาและช่วยเหลือเล่าปี่ได้ ประการที่สอง ภรรยา
ของเล่าปี่จะไม่มีคนดูแล และประการที่สามเท่ากับไม่ยอมเผชิญความลำบากเพื่อรักษาชีวิตไว้ค่อยพบเล่าปี่”
จากประโยคข้างต้น จะเห็นได้ว่า ลำดับของเนื้อความค่อยๆหนักแน่นขึ้นจนถึงประโยคสุดท้าย เตียวเลี้ยวเริ่มต้น
การเจรจาด้วยการชี้ให้เห็นประโยชน์ 3 ประการและต่อด้วยโทษอีก 3 ประการ
7

2.3 การใช้โวหาร

• การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างลึกซึ้งและเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น ฉากที่เตียวเลี้ยวพยายามเจรจาเกลี้ยกล่อ
มให้กวนอูเข้าร่วมทัพกับโจโฉ ซึ่งกวนอูปฏิเสธและเปรียบเทียบว่าความตายก็เหมือนการนอนหลับ หากตาย
ไปก็ไม่เสียดายชีวิต ดังความว่า “...ซึ่งเราจะเข้าด้วยผู้ใดนอกจากเล่าปี่นั้นอย่าสงสัยเลย ตัวเราก็มิได้รักชีวิต
อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม เราจะยกลง
ไปรบ...”

• การใช้สำนวนโบราณ
ตัวอย่างเช่น การใช้สำนวน “ได้ใหม่แล้วลืมเก่า” ในฉากที่โจโฉนำเสื้อใหม่ให้กวนอู แต่กวนอูตัดสินใจใส่ไว้
ด้านในเพราะเกรงว่าจะถูกคนภายนอกนินทาว่ากล่าว ดังความว่า “...กวนอูจึงว่าเสื้อเก่านี้ของเล่าปี่ให้ บัดนี้เล่าปี่
จะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ใส่ชั้นนอก หวังจะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครั้นจะเอาเสื้อใหม่ใส่ชั้นนอก คนทั้ง
ปวงจะนินทาได้ใหม่แล้วลืมเก่า...”
ตัวอย่างเช่น การใช้สำนวน “ตีตัวตายก่อนไข้” ในฉากที่เตียนห้องกล่าวกับอ้วนเสี้ยว ตอนที่อ้วนเสี้ยวแกล้ง
ทำเป็นทุกข์ ดังความว่า “...คนทั้งปวงก็ลือชาปรากฏว่า ท่านเป็นใหญ่อยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เหตุใดท่านมาคิดย่อ
ท้อ จะมาตีตัวตายก่อนไข้นั้นไม่ควร...”

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
วรรณคดีเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความหนักแน่นและจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ของตัวละคร สามารถเห็นได้ชัด
จากการกระทำของกวนอูเป็นต้น ถึงแม้ว่ากวนอูได้ตัดสินใจเข้าร่วมทัพกับโจโฉ แต่กวนอูก็ไม่เคยลืมมิตรภาพความ
เป็นพี่น้องระหว่างตนกับเล่าปี่ เช่นตัวอย่างเหตุการณ์ที่โจโฉได้ให้ม้าเธาว์กับกวนอู กวนอูดีใจเป็นอย่างมาก
8

เนื่องจากสิ่งนี้จะพาตนไปหาเล่าปี่ได้อย่างรวดเร็วในยามที่ตนรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด นอกจากนี้ผู้อ่านยังได้สัมผัสถึงความ
อ่อนโยนของโจโฉ จากเหตุการณ์ที่โจโฉพยายามซื้อใจกวนอูโดยการเอาใจใส่มากขึ้นในหลายๆด้านและยอมทำทุก
วิธีทางเพื่อให้กวนอูอยู่ร่วมทัพกับตน

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
ข้อคิดและคุณธรรมที่แฝงอยู่ในเรื่องสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉนั้นมีมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัด
คือ ความกตัญญูรู้คุณ ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี กวนอูเป็นตัวละครสำคัญที่สะท้อนให้พวกเราเห็นถึงความ
ซื่อสัตย์ ไม่ว่าจะเป็นจากพฤติกรรมหรือคำพูดต่อโจโฉและภรรยาของเล่าปี่ ดังความว่า “...โจโฉรู้ดังนั้นก็เกรงใจ
กวนอูว่ามีความสัตย์แลกตัญญูต่อเล่าปี่ โจโฉจึงให้กวนอูกับภรรยาเล่าปี่ไปอยู่ ณ ตึกสองหลังมีชานกลาง กวนอูจึง
ให้พี่สะใภ้ทั้งสองคนนั้นอยู่ตึกหนึ่ง แล้วให้ทหารที่แก่ชราอยู่รักษาประมาณสิบคน ตัวนั้นอยู่ตึกหนึ่งระวังรักษาพี่
สะใภ้ทั้งสอง...” นอกจากนี้แล้วกวนอูยังได้แสดงถึงความกตัญญูต่อเล่าปี่ ตัวอย่างเช่น ตอนที่เตียวเลี้ยวกล่าวถึงลัก
ษณะนิสัยของกวนอู ดังความว่า “...อันน้ำใจกวนอูนั้น ถ้าผู้ใดมีคุณแล้วจะเห็นเป็นเหมือนอิเยียง อันเล่าปี่กับกวน
อูนั้นมิได้เป็นพี่น้องกัน ซึ่งมีความรักกันนั้น เพราะได้สาบานต่อกัน เล่าปี่เป็นแต่ผู้น้อย เลี้ยงกวนอูไม่ถึงขนาด กวน
อูยังมีน้ำใจกตัญญูต่อเล่าปี่ จึงคิดจะติดตามมิได้ทิ้งเสีย...”

3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ
นอกจากคุณค่าในด้านอารมณ์และคุณธรรมแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ยังมีคุณธรรมด้านสังคมที่สะท้อนแนวคิด
เกี่ยวกับการทำสงครามของจีนในสมัยก่อนอีกด้วย เราสามารถเห็นได้ว่าการทำสงครามนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่กำลังท
หารเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องอาศัยสติปัญญาและกลยุทธ์ต่างๆของผู้นำ รวมไปถึงความมุ่งมั่น ความพยายามและ
ความอดทน ตัวอย่างเช่น โจโฉไม่เคยล้มเลิกความคิดที่จะเอากวนอูซึ่งเป็นทหารที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการรบ
มาเข้าร่วมทัพของตน โจโฉจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อมัดใจกวนอู ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดนั้นกวนอูจะกลับไปหาเล่าปี่ก็
ตาม
9

บรรณานุกรม
ศึกษาธิการ, กระทรวง. ๒๕๕๑. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร. หน้า ๔๖ - ๗๙.

You might also like