You are on page 1of 61

บทที่ 3

การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
สาระสาคัญ
การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ (Shielded Metal Arc Welding: SMAW) คือการเชื่อมด้วยไฟฟ้า
ในลักษณะที่ทาให้เกิดการอาร์กและได้รับความร้อนจากการอาร์กระหว่างลวดเชื่อมชนิดมีสารพอกหุ้มกับ
ชิ้นงาน สารพอกหุ้มบนลวดเชื่อมเมื่อละลายจะทาหน้าที่เป็นเกาะป้องกันบรรยากาศ ลวดเชื่อมทาหน้าที่
เป็ น โลหะเติม ด้ ว ย การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์เป็นกระบวนการเชื่อมวิ ธีหนึ่ งที่ นิ ย มงานใช้กัน อย่า ง
กว้างขวาง เพราะการเชื่อมกระทาได้โดยง่าย มีความสะดวกและคล่องตัวสูง เครื่องมืออุ ปกรณ์ที่ใช้ใน
กระบวนการเชื่อมมีราคาถูก วิธีการเชื่อมที่ไม่สลับซับซ้อนและสามารถเชื่อมงานได้ทุกท่าเชื่อม เป็นต้น
ในบทเรียนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหลักการเชื่อมอาร์ลวดหุ้มฟลักซ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการ
เชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ ลวดเชื่อมและมาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์ ตาแหน่งท่าเชื่อมและรอยต่อในงาน
เชื่อม องค์ประกอบที่มีผลต่อแนวเชื่อม เทคนิคการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ ข้อบกพร่องในการเชื่อมและ
วิธีการแก้ไข และอันตรายและความปลอดภัยในงานเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์

เนื้อหา
1. หลักการเชื่อมอาร์ลวดหุ้มฟลักซ์
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
3. ลวดเชื่อมและมาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์
4. ตาแหน่งท่าเชื่อมและรอยต่อในงานเชื่อม
5. องค์ประกอบที่มีผลต่อแนวเชื่อม
6. เทคนิคการเชื่อมอาร์กลวดหุม้ ฟลักซ์
7. ข้อบกพร่องในการเชื่อมและวิธีการแก้ไข
8. อันตรายและความปลอดภัยในงานเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์

จุดประสงค์ของบทเรียน
1. อธิบายหลักการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ได้
2. บอกชื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ได้
3. อธิบายข้อแตกต่างของเครื่องเชื่อมได้
4. อธิบายวิธีการต่อวงจรเชื่อมได้
5. บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเข้ากับเครื่องเชื่อมได้
6. อธิบายวิธีการกาหนดรหัสลวดหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐานของ AWS (A5.1-1991) ได้
7. บอกตาแหน่งท่าเชื่อมและรอยต่อในงานเชื่อมได้
8. บอกองค์ประกอบที่มีผลต่อแนวเชื่อมได้
9. อธิบายข้อบกพร่องในการเชื่อมและวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องในการเชื่อมได้
10. บอกอันตรายและความปลอดภัยในงานเชื่อมอาร์กลวดหุม้ ฟลักซ์ได้
84

1. หลักการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ (Shielded Metal Arc Welding: SMAW) คือการเชื่อมด้วยไฟฟ้า
ในลักษณะที่ทาให้เกิดการอาร์กและได้รับความร้อนจากการอาร์กระหว่างลวดเชื่อมชนิดมีสารพอกหุ้มกับ
ชิ้นงาน สารพอกหุ้มบนลวดเชื่อมเมื่อละลายจะทาหน้าที่เป็นเกาะป้องกั นบรรยากาศ ลวดเชื่อมทาหน้าที่
เป็นโลหะเติมด้วย สารพอกหุ้มเมื่อแข็งตัวแล้วจะกลายเป็นสแลก (Slag) หรือขี้เชื่อม ดังรูปที่ 3.1

ทิศทางการเชื่อม

รูปที่ 3.1 แสดงหลักการเชื่อมอาร์กลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์


(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 453)

2. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
การเชื่อมอาร์ก ลวดหุ้มฟลักซ์ เป็นการด้วยไฟฟ้าที่ อาศัยเครื่องเชื่อมเป็นต้นกาลังในการผลิต
กระแสเชื่อม โดยเครื่องเชื่อมนี้จะทาหน้าที่จ่ายกระแสไฟจากสายเชื่อมแล้วไหลต่อไปยังลวดเชื่อมและ
ชิ้นงานเพื่อให้เกิดการอาร์กขึ้นขณะเชื่อม เครื่องมือและอุปกรณ์เบื้องต้นในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
แสดงดังรูปที่ 3.2

รูปที่ 3.2 แสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมอาร์กด้วยลวดหุ้มฟลักซ์


(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 452)
85

2.1 เครื่องเชื่อม (Welding Machine)


เครื่องเชื่อมทาหน้าที่จ่ายกระแสไฟเชื่อมไปยังลวดเชื่อมและชิ้นงานเพื่อให้เกิดการอาร์ก และทาให้
เกิดความร้อนจนกระทั่งลวดเชื่อมและเนื้อโลหะงานหลอมเหลวติดกันในขณะเชื่อม เครื่องเชื่ อมที่ใช้ใน
การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ แบ่งตามลักษณะของต้นกาลังที่ผลิตออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
2.1.1 เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Welding Machine) เครื่อง
เชื่อมชนิดนีแ้ บ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
1. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor Generator Welding Machine)
เครื่องเชื่อมชนิดนี้ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นต้นกาลังในการขับมอเตอร์ และส่งกาลังต่อไปยังไปขับเพลา
เจนเนอเรเตอร์อีกครั้ง จากนั้นเจนเนอเรเตอร์ก็จะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อนาไปใช้ในงานเชื่อมต่อไป

รูปที่ 3.3 แสดงลักษณะของเครื่องเชื่อมแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า


(ที่มา : http://www.thomex.com/ebrochures/ranga-enterprises/, วันเข้าถึง 7 มีนาคม 2558)
2. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยเครื่องยนต์ (Engine Generator Welding Machine)
เครื่องเชื่อมชนิ ด นี้ ท างานโดยใช้ เ ครื่องยนต์ขับเจนเนอเรเตอร์ ซึ่งจะได้ ไฟฟ้า กระแสตรงออกมา
เครื่องยนต์ที่ใช้มีทั้งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เหมาะกับงานเชื่อมภาคสนามที่ไม่
สามารถหาไฟฟ้าได้

รูปที่ 3.4 แสดงลักษณะของเครื่องเชื่อมแบบขับด้วยเครื่องยนต์


(ที่มา : http://www.plazathai.com/show-569140.html, วันเข้าถึง 7 มีนาคม 2558)
86

2.1.2 เครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบเรียงกระแส (Rectifier Welding Machine)


เครื่องเชื่อมชนิดนี้ประกอบด้วยแบบหม้อแปลงไฟฟ้าและชุดแปลงกระแส คือซิลิคอน (Silicon) หรือ
ซีลีเนียม (Selenium) ที่ทาหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ปัจจุบันเครื่องเชื่อม
ชนิดนี้สามารถใช้ได้กับกระแสไฟฟ้าได้ 2 ระบบ คือมีทั้งไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง รวมใน
เครื่องเดียวกันทาให้สามารถเลือกใช้ตามความต้องการ ทาให้มีความสะดวกต่อการใช้งาน แต่อย่างไร
ก็ตามเครื่องเชื่อมชนิดนี้จะมีราคาแพงกว่าเครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงธรรมดา

รูปที่ 3.5 แสดงไดอะแกรมการทางานของเครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบเรียงกระแส


(ที่มา : อานาจ ทองแสน, จรูญ พรมสุทธิ์, 2546, น. 121)

รูปที่ 3.6 แสดงลักษณะของเครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบเรียงกระแส


(http://www.parakeet.in/thyristorised-welding-rectifier.htm, วันเข้าถึง 25 มีนาคม 2558)
87

2.1.3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Welding Machine)


เครื่องเชื่อมชนิดนี้ ใช้หม้อแปลงทาหน้าที่ผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ ภายในเครื่องเชื่อมประกอบด้วยขดลวด
ปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ ซึ่งสามารถปรับขนาดของกระแสไฟฟ้าออกมาใช้งานได้ โดยขดลวดปฐมภู มิ
จะรับกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกาเนิด เพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสนามแม่เหล็ก ได้แก่ แกนของหม้อแปลง
ในขณะที่ข ดลวดทุติ ยภูมิ นั้ น ไม่ ไ ด้ ต่อจากแหล่ง กาเนิ ดไฟฟ้า โดยตรง แต่เกิดจากการเปลี่ย นเส้น แรง
แม่เหล็กของสนามแม่เหล็กไหลผ่านตัวนา ทาให้เกิดกระแสไฟฟ้าสูงกว่าต้นกาเนิดและนากระแสไฟฟ้าไป
ใช้ในการเชื่อม กระแสไฟฟ้าที่นาออกมาใช้ถูกควบคุมโดยตัวควบคุมที่สามารถปรับกระแสไฟฟ้าให้สูงต่า
ได้ตามความต้องการ เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งตามวิธีการปรับกระแสไฟฟ้าได้ 3 ชนิดดังนี้
1. เครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสโดยขดลวดตัวเรียงกระแส (Adjustable Reactor
Type) เป็นเครื่องเชื่อมที่ต่อขดลวดตัวปรับเรียงกระแส (Reactor) เข้ากับขดลวดทุติยภูมิที่มีจานวนของ
ขดลวดแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าจานวนรอบของขดลวดทุติ ยภูมิน้อยกว่าก็จะเกิดการเปิดวงจรไฟฟ้า (Open
Circuit Voltage) ทาให้การเหนี่ย วนาของกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงมีน้อยเช่นกัน ส่งผลให้ค่า
กระแสไฟฟ้า ในการเชื่อมสูง ในทางกลับกัน ถ้า จ านวนขดลวดทุติ ย ภูมิ ม ากกว่ า จะท าให้ เกิดการเปิ ด
วงจรไฟฟ้าทาให้การเหนี่ยวนาของกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงมี มากและส่งผลให้ค่ากระแสไฟฟ้าในการ
เชื่อมต่า เป็นต้น

รูปที่ 3.7 แสดงไดอะแกรมการทางานของเครื่องเชื่อมแบบปรับขดลวดตัวเรียงกระแส


(ที่มา : อานาจ ทองแสน, จรูญ พรมสุทธิ,์ 2546, น. 122)
2. เครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสโดยการเคลื่อนที่ของขดลวด (Movable Coil Type)
เป็นเครื่องเชื่อมที่ ควบคุม กระแสไฟฟ้าโดยการปรับระยะห่างของขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติ ยภูมิ
88

ซึ่งขดลวดทุติ ยภูมิจะอยู่ กับที่ ส่วนขดลวดปฐมภูมิสามารถเคลื่อนที่ได้ ในกรณีที่ ระยะห่างของขดลวด


ทั้งสองห่างกันมากก็จะทาให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit Current) ในการใช้งานสามารถปรับ
กระแสไฟฟ้าเชื่อมได้ โดยการหมุนมือหมุนปรับระยะห่างของขดลวด เพื่อให้ได้ค่ากระแสไฟฟ้า เชื่อม
ที่เหมาะสมกับชิ้นงานและขนาดลวดเชื่อม

รูปที่ 3.8 แสดงไดอะแกรมหารทางานของเครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสการเคลื่อนที่ของขดลวด


(ที่มา : อานาจ ทองแสน, จรูญ พรมสุทธิ์, 2546, น. 123)
3. เครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสโดยการเคลื่อนที่ของแกน (Movable Core Type) เป็น
เครื่องเชื่อมที่ให้ขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอยู่คงที่ แต่ใช้แกนหลักซึ่งยึดติดกับสกรูปรับ เคลื่อนที่
แทน ถ้าการหมุนปรับมีช่องว่างมากก็จะทาให้เส้นแรงแม่เหล็กเกิดขึ้นได้น้อยและได้กระแสไฟฟ้าเชื่อมต่า

รูปที่ 3.9 แสดงไดอะแกรมการทางานของเครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสโดยการเคลื่อนที่ของแกน


(ที่มา : อานาจ ทองแสน, จรูญ พรมสุทธิ์, 2546, น. 123)
89

4. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ (Inverter Welding Machine) เป็นเครื่องเชื่อมที่นาระบบ


อิเ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ม าแทนหม้ อแปลงไฟฟ้า โครงสร้า งของเครื่องมี ข นาดเล็ก น้ าหนั ก เบาและประหยัด
พลังงาน หลักการทางานของเครื่องเชื่อมชนิดนี้ คือแปลงกระแสไฟสลับเป็นกระแสตรง จากนั้นใช้วงจร
อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ ยนกระแสตรงให้เป็นกระแสสลับความถี่สูง แล้วผ่านวงจรเพื่อแปลงกระแสสลับให้
เป็นไฟฟ้ากระแสตรงอีกครั้ง

รูปที่ 3.10 แสดงลักษณะของเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.2 การต่อวงจรกระแสไฟฟ้าของการเชื่อมและผลของการเชื่อม
การต่อวงจรกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมแบ่งออกเป็น 3 แบบโดยแต่ละแบบมีผลต่อการเชื่อมดังนี้
2.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงต่อขั้วตรง หรือการต่อไฟฟ้ากระแสตรงลวดเชื่อม
เป็นขั้วลบ (Direct Current Straight Polarity: DCSP or DCEP) เป็นการต่อวงจรกระแสไฟฟ้าให้
ลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ (-) และต่อชิ้นงานเป็นขั้วบวก (+) ทาให้กระแสไฟฟ้าไหลจากลวดเชื่อมไปยังชิ้นงาน
ปริมาณความร้อนประมาณ 2 ใน 3 ส่วนอยู่ที่ชิ้นงานและที่เหลืออีก 1 ส่วนอยู่ที่ลวดเชื่อม ผลของการ
เชื่อม คือทาให้ชิ้นงานเกิดการซึมลึกที่ดี การต่อขั้วไฟฟ้าแบบนี้เหมาะกับการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนา
มาก ดังแสดงในรูปที่ 3.11
2.2.2 การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงต่อกลับขั้ว หรือการต่อไฟฟ้ากระแสตรงลวด
เชื่อมเป็นขั้วบวก (Direct Current Reverse Polarity: DCRP or DCEN) เป็นการต่อวงจร
กระแสไฟฟ้าให้ลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) และต่อชิ้นงานเป็นขั้วลบ (-) ทาให้กระแสไฟฟ้าไหลจาก
ชิ้นงานไปยังลวดเชื่อม ปริมาณความร้อนประมาณ 2 ใน 3 ส่วนอยู่ที่ลวดเชื่อมและที่เหลืออีก 1 ส่วนอยู่
ที่ชิ้นงาน ผลของการเชื่อม คือทาให้ชิ้นงานเกิดการซึมลึกน้อย การต่อขั้วไฟฟ้าแบบนี้เหมาะกับการเชื่อม
ชิ้นงานที่มีความหนาน้อย ดังแสดงในรูปที่ 3.12
90

รูปที่ 3.11 แสดงลักษณะของการต่อขั้วไฟฟ้ากระแสตรงต่อขั้วตรง


(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 126)

รูปที่ 3.12 แสดงลักษณะของการต่อขั้วไฟฟ้ากระแสตรงต่อกลับขั้ว


(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 126)
91

2.2.3 การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) การต่อขั้วไฟฟ้าแบบนี้


จะไม่มีผลกับทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า เพราะการไหลของกระแสจะมีทิศทางการเคลื่อนที่สลับกัน
เป็นคลื่นหรือรอบ (Cycle) โดยใน 1 รอบจะมีกระแสไหลผ่านศูนย์ (0) จานวน 2 ครั้ง ผ่านคลื่นบวก (+)
1 ครั้งและผ่านคลื่นลบ (-) 1 ครั้ง ในช่วงคลื่นบวกอิเล็กตรอนจะไหลไปในทิศทางหนึ่งและในช่วงคลื่น
ลบอิเล็กตรอนจะไหลไปในทิศทางตรงข้าม กระแสไฟฟ้าโดยทั่วไปมีความถี่เท่ากับ 60 เฮิร์ตซ์ (Hertz)
หมายความว่าภายใน 1 วินาทีจะเกิดรอบดังกล่าวกว่า 60 ครั้ง เป็นต้น

รูปที่ 3.13 แสดงลักษณะของวงจรไฟฟ้าเชื่อมแบบกระแสสลับ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.2.4 วัฏจักรการทางานของเครื่องเชื่อม (Duty Cycle) หมายถึงอัตราส่วนของเวลาที่ทา
การเชื่อมต่อเวลามาตรฐานทั้งหมด ซึ่งเวลาเป็นมาตรฐานทั้งหมดของเครื่องเชื่อมกาหนดไว้ที่ 10 นาที
ตัวอย่างเช่น เครื่องเชื่อมขนาด 250 แอมแปร์ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของวัฏจักรการทางาน หมายถึงเครื่อง
เชื่อมนี้เมื่อปรับกระแสไฟเชื่อมที่ 250 แอมแปร์ สามารถเชื่อมแบบต่อเนื่องได้นาน 6 นาที และเวลา
หยุด พัก 4 นาที เป็นต้ น เครื่องเชื่อมโดยทั่ว ไปที่ใช้ ในการเชื่อมอาร์ก ลวดหุ้ม ฟลัก ซ์จ ะใช้วัฏ จักรการ
ทางานประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ การคานวณหาวัฏจักรการทางานของเครื่องเชื่อมเพื่อการใช้งานได้อย่าง
เหมาะสม สามารถคานวณได้จากสูตรดังนี้
(กระแสไฟที่กาหนดของเครือ่ งเชื่อม)2
วัฏจักรการทางาน =  Duty cycle ที่กาหนด
(กระแสไฟที่ต้องการใช้)2
ตัวอย่างเครื่องเชื่อมเครื่องหนึ่งมีวัฏจักรการทางาน 60 เปอร์เซ็นต์ ที่กระแสไฟ 300 แอมแปร์
จงคานวณหาวัฏจักรการทางานของเครื่องเชื่อมเมื่อต้องการใช้กระแสไฟเชื่อม 400 แอมแปร์
(300)2
วัฏจักรการทางาน =  60
(400)2
= 33.75 เปอร์เซ็นต์
92

จากตัวอย่างแสดงว่าเมื่อต้องการเชื่อมโดยใช้กระแสไฟ 400 แอมแปร์ เครื่องเชื่อมเครื่องนี้


สามารถเชื่อมได้ประมาณ 3.4 นาที เป็นต้น
2.2.5 การเลือกเครื่องเชื่อม เพื่อให้สามารถใช้เครื่องเชื่อมในการปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดของกระแสเชื่อมที่ต้องการใช้ในการเชื่อม
2. ชนิดของกระแสไฟที่สามารถจัดหาได้ในสถานที่ตั้ง
3. ความสะดวกและปัจจัยในการจัดหา
4. ปริมาณของงานที่ทาการเชื่อม
5. องค์ประกอบเกี่ยวกับความสะดวกสบายและความประหยัด
6. วัฏจักรการทางานของเครือ่ งเชื่อม (Duty Cycle)
7. แรงดันไฟฟ้าที่ป้อนเข้าเครื่องเชื่อม
8. ความถี่ของกระแสไฟฟ้า
9. จานวนเฟสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าเครื่องเชื่อม
2.3 หัวจับลวดเชื่อม (Electrode Holder)
หัวจับลวดเชื่อม คืออุปกรณ์ที่ใช้จับลวดเชื่อม เป็นตัวนากระแสไฟฟ้าจากสายเชื่อมผ่านไปสู่ลวด
เชื่อมเพื่อให้เกิดการอาร์ก และเป็นมือถือขณะทาการเชื่อม โครงสร้างภายนอกที่ใช้มือจับห่อหุ้มไว้ด้วย
ฉนวนไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าและความร้อนขณะเชื่อม ปากจับทาด้วยทองแดงสามารถจับลวดเชื่อม
ทามุมตามต้องการได้

รูปที่ 3.14 แสดงส่วนประกอบของหัวจับลวดเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.4 คีมจับสายดิน (Ground Clamp)
คีมจับสายดินเป็นอุปกรณ์ที่ใช้จับยึดชิ้นงานหรือโต๊ ะเชื่อม เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรได้
สะดวก ในการติดตั้งสายดินจะต้องยึดให้แน่น เพราะถ้าสายดินหลวมจะทาให้เกิดความต้านทานของ
93

กระแสไฟฟ้าสูง ทาให้เกิดการสูญเสียของพลังงานในขณะเชื่อมบริเวณรอยต่อเกิดความร้อนสูงและ
อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

รูปที่ 3.15 แสดงลักษณะของคีมจับสายดิน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.5 สายไฟเชื่อม (Cable for Welding)
สายไฟเชื่อมทาหน้าที่นากระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องเชื่อมไปสู่บริเวณของการอาร์ก โครงสร้าง
ด้านในประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงเล็กๆ ที่พันรวมกันจานวนมากและใช้เส้นใยพันรอบไว้อีกรอบเพื่อ
รักษารูปทรงของลวดทองแดง ส่วนด้านนอกทาด้วยยางที่เป็นฉนวนไฟฟ้าห่อหุ้มไว้ การที่สายเชื่อมทา
ด้วยทองแดงเส้นเล็กๆ พันรวมกันไว้ก็เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและสามารถโค้งงอได้
สายเชื่อมแบ่งออกเป็น 2 สาย คือสายเชื่อมและสายดิน โดยสายเชื่อมต่อเข้ากับหัวจับลวดเชื่อม
ส่ว นสายดิ น ต่ อเข้า กับ คี ม จั บชิ้น งาน ในการเลือกสายเชื่อมต้องให้มี ความเหมาะสมกับกระแสเชื่อม
ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องเชื่อมขนาดกระแสไฟฟ้า 250 แอมแปร์ ก็ควรเลือกสายไฟเชื่อมที่ใช้กับกระแสไฟฟ้า
ขนาด 250 แอมแปร์เป็นอย่างน้อย เป็นต้น

(ก) สายเชื่อม (ข) สายดิน


ฉนวนหุ้ม ทองแดงเส้น ฉนวนหุ้ม ทองแดงเส้น

(ค) โครงสร้างด้านนอกและด้านในของสายเชื่อม (ง) โครงสร้างด้านนอกและด้านในของสายดิน


รูปที่ 3.16 แสดงลักษณะโครงสร้างของสายเชื่อม
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
94

2.6 อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด
2.6.1 หน้ากากเชื่อม (Welding Helmet) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อป้องกันใบหน้าและ
ดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต รังสีอินฟาเรด ความร้อนและสะเก็ดโลหะร้อนจากการเชื่อม โดยใช้ควบคู่
กับกระจกกรองแสง หน้ากากเชื่อมทาจากวัสดุที่มีน้าหนักเบาและทนความร้อนสูง หน้ากากเชื่อมที่นิยม
ใช้โดยทั่วไปมี 2 ชนิดดังนี้
1. หน้ ากากเชื่อมชนิ ดสวมหัว (Helmet) หน้า กากเชื่อมชนิ ด นี้ มี สายรัดหัวเข้า กับ
หน้ากากด้วยกัน เมื่อสวมหัวแล้วด้านหน้าของหน้ากากสามารถเปิด-ปิดได้ ช่วยป้องกันศีรษะและใบหน้า
ขณะใช้งาน
2. หน้ากากเชื่อมชนิดมือถือ (Hand Shield) หน้ากากชนิดนี้มีโครงสร้างเหมือนกับแบบ
สวมหัว แตกต่างกันที่แบบมือถือจะใช้มืออีกด้านหนึ่งจับเพื่อยกขึ้นปิดใบหน้าขณะเชื่อม

สายรัดหัว
กระจกกรองแสง

หน้ากาก

(ก) ด้านหน้า (ข) ด้านหลัง


รูปที่ 3.17 แสดงลักษณะของหน้ากากเชื่อมชนิดสวมหัว
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

กระจกกรองแสง

หน้ากาก
ด้ามจับ

(ก) ด้านหน้า (ข) ด้านหลัง


รูปที่ 3.18 แสดงลักษณะของหน้ากากเชื่อมชนิดมือถือ
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
95

นอกจากหน้ า กากเชื่อมทั้ง สองชนิ ดที่ก ล่า วมาแล้ว ข้า งต้น ยัง มี หน้ า กากเชื่อมชนิ ดที่ส ามารถ
ป้องกันควันพิษได้ขณะเชื่อมดังแสดงในรูปที่ 3.19

รูปที่ 3.19 แสดงลักษณะหน้ากากป้องกันควันพิษ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.6.2 กระจกกรองแสง (Filter Lens) ใช้กรองแสงจากการเชื่อมที่จะกระทบกับ
ดวงตาและใบหน้า การใช้งานจะใช้กระจกใสวางซ้อนอีกชั้น เพื่อป้องกันสะเก็ดโลหะกระเด็นติดกระจก
การเลือกกระจกกรองแสงสาหรับการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ จะต้องมีความเข้มตามความเหมาะสมกับ
ขนาดของลวดเชื่อมหรือกระแสไฟฟ้าที่ใช้เชื่อม ดังตารางที่ 3.1

กระจกใส กระจกกรองแสง

รูปที่ 3.20 แสดงลักษณะของกระจกใสและกระจกกรองแสง


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
ตารางที่ 3.1 การเลือกใช้ความเข้มของกระจกกรองแสงสาหรับการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
ขนาดลวดเชื่อม ความเข้มของกระจกกรอง
ลาดับที่
(มิลลิเมตร) แสง (เบอร์)
1 ตากว่า ถึง 5/32 นิ้ว (4 มิลลิเมตร) 10
2 ตั้งแต่ 5/32 - 1/4 นิ้ว (4-6 มิลลิเมตร) 12
3 มากกว่า 1/4 นิ้ว (มิลลิเมตร) 14
(ที่มา : Andrew D. Althouse and Others, 2012, p. 163)
96

2.6.3 ค้อนเคาะสแลก (Chipping Hammer) ส่วนปลายของหัวค้อนเคาะสแลกมี


รูปทรงแตกต่างกัน คือด้านหนึ่งแบนใช้เคาะสแลกและเม็ดโลหะกระเด็น (Spatter) ส่วนอีกด้านหนึ่งเรียว
แหลมใช้เคาะสแลกที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ติดอยู่บนแนวเชื่อมและชิ้นงาน
ด้านเรียวแหลม

ด้านแบน
รูปที่ 3.21 แสดงลักษณะของค้อนเคาะสแลก
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2.6.4 แปรงลวด (Wire Brush) ด้ามทาด้วยไม้ ส่วนขนแปรงทาด้วยเหล็กที่จัดเป็นแถว
ฝังติดกับด้ามไม้ ใช้สาหรับขัดทาความสะอาดสิ่งสกปรก เช่น สนิม และคราบน้ามันออกจากชิ้นงานทั้งก่อน
เชื่อมและหลังเชื่อม

รูปที่ 3.22 แสดงลักษณะของแปรงลวด


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

2.6.5 คีมจับยึดงานเชื่อม (Pliers) ใช้จับ บีบ ยึดและล็อคชิ้นงาน คีมจับยึดงานเชื่อม


แบ่งออกเป็นหลายชนิดตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังแสดงในรูปที่ 3.23 - 3.24

รูปที่ 3.23 แสดงลักษณะของคีมล็อคงานเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
97

รูปที่ 3.24 แสดงลักษณะของคีมจับงานร้อน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

3. ลวดเชื่อมและมาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์
3.1 นิยามของลวดเชื่อม
สมาคมการเชื่อมอเมริกา (American Welding Society : AWS) ได้ให้นิยามของลวดเชื่อมไว้ว่า
“ลวดเชื่อมที่ใช้สาหรับเติมลงในแนวเชื่อมและเป็นตัวทาหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จากขั้วจ่ายไฟฟ้า
ผ่านตัวมันเองไปยังการอาร์ก ซึ่งจะผลิตออกมาเป็นเส้นลวดหรือเป็นแท่ง มีทั้งลวดเปลือยและลวดมีสาร
พอกหุ้ม” ลวดหุ้มฟลักซ์เป็นลวดเชื่อมที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้สารพอกหุ้มแกนลวดเชื่อมไว้ โดยที่
แกนลวดเชื่อมมีหน้าที่สาคัญ คือเป็นขั้วไฟฟ้าและในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเติมเนื้อโลหะลงในแนวเชื่อม
อีกด้วย

แกนลวดเชื่อม
ฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม

รหัสลวดเชื่อม
รูปที่ 3.25 แสดงลักษณะของลวดหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
98

3.2 ส่วนประกอบของลวดหุ้มฟลักซ์
ลวดหุ้มฟลักซ์มีส่วนประกอบที่สาคัญ ได้แก่ แกนลวดเชื่อมและฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
บนผิวนอกของฟลักซ์ด้านที่ใช้จับเข้ากับหัวจับลวดเชื่อมจะระบุรหัสของลวดเชื่อม เช่น E6013 เป็นต้น

รูปที่ 3.26 แสดงส่วนประกอของลวดหุ้มฟลักซ์


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
3.3 หน้าที่ของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
ขณะเชื่อมฟลักซ์หรือสารพอกหุ้มหลอมละลายพร้อมกับแกนลวดเชื่อมและทาหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
1. ช่วยให้เกิดการอาร์กที่ดี เช่น การเริ่มต้นอาร์ก ทาได้ง่าย การอาร์กเรียบสม่าเสมอ
การจุดประกายของการอาร์กทาได้ง่ายขึ้นและควบคุมการอาร์กให้สม่าเสมอ เป็นต้น
2. เติมธาตุผสมให้กับเนื้อโลหะเชื่อม
3. ช่วยในการสร้างแก๊สป้องกันบ่อหลอมเหลวและกลายเป็นสแลกเมื่อแนวเชื่อมเย็นตัว
4. ช่วยดึงสิ่งสกปรกในบ่อหลอมขึ้นมารวมตัวกันเป็นสแลก
5. รักษาสมบัติของธาตุที่ผสมอยู่และช่วยเพิ่มสมบัติของแนวเชื่อมตามที่ต้องการ
6. ป้องกันการรวมตัวของออกซิเจน และไนโตรเจนในบรรยากาศทาปฏิกิริยากับโลหะ
งานที่กาลังหลอม
7. ช่วยควบคุมให้แนวเชื่อมเย็นตัวอย่างช้าๆ
8. เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า
9. ขจัดออกไซด์และสารมลทินต่างๆ ทาให้โลหะเชื่อมบริสุทธิ์ขึ้น
3.4 สมบัติของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
สมบัติของสารพอกหุ้มที่ดีควรมีสมบัติ ดังนี้
1. มีความถ่วงจาเพาะต่า สามารถลอยตัวขึน้ จากน้าโลหะที่กาลังหลอมเหลวได้
2. มีอุณหภูมิหลอมละลายขณะเกิดการอาร์ก
3. ขณะหลอมละลายจะเกิดควัน ซึ่งเป็นแก๊สที่ป้องกันและขับไล่แก๊สจากภายนอก ไม่ให้
รวมตัวกับเนื้อโลหะที่กาลังหลอม
4. ไม่แตกหรือหลุดออกจากแกนลวดได้ง่าย
99

3.5 มาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์
ลวดหุ้มฟลักซ์ที่ผลิตออกมาจาหน่ายในปัจจุบันมีหลายมาตรฐาน ได้แก่ AWS, ISO, DIN, JIS
และมาตรฐาน มอก. (TIS) เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะลวดหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐานของสมาคม
การเชื่อมอเมริกา (AWS A5.1-1991) ซึ่งเป็นลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนหุ้มฟลักซ์ (Carbon Steel
Electrode for Shielded Metal Arc Welding) โดยมีการกาหนดรหัสของลวดเชื่อมไว้ดังรูปที่ 3.27
ลวดหุ้มฟลักซ์
ความต้านทานแรงดึงต่าสุด (ksi), คูณด้วย 1,000 มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
ตาแหน่งท่าเชือ่ ม, ชนิดของกระแสไฟ และชนิดของฟลักซ์ (ดูตารางที่ 3.2)
F = ท่าราบ AC = กระแสสลับ
H = ท่าระดับ DCEP = กระแสตรงลวดเชือ่ มเป็นขั้วบวก (DCRP)
H- = ท่าระดับเชื่อมมุม (Fillet) DCEN = กระแสตรงลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ (DCSP)
V-Down = ท่าตั้ง (เชื่อมลง)
V = ท่าตั้ง
OH = ท่าเหนือศีรษะ

รูปที่ 3.27 แสดงการกาหนดรหัสของลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS (A5.1-1991)


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
จากรูปที่ 3.27 ลวดหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐานของ AWS (A5.1-1991) ได้กาหนดรหัสโดยใช้
ตัวอักษรและตัวเลข 4 หลัก ดังนี้
1. หลักที่ 1 ใช้อักษรภาษาอังกฤษ คือ E หมายถึงลวดหุ้มฟลักซ์ (Electrode)
2. หลักที่ 2 ใช้หมายเลข 2-5 หมายถึงค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด มีหน่วยเป็นกิโลปอนด์
ต่อตารางนิ้ว (ksi) และถ้าคูณด้วย 1,000 มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
3. หลักที่ 3 ใช้หมายเลขหมายถึง ตาแหน่งการเชื่อมหรือท่าเชื่อม ประกอบด้วย
1) หมายเลข 0 หรือ 1 หมายถึงเชื่อมได้ทุกตาแหน่งหรือท่าเชื่อม เช่น ท่าราบ ท่าระดับ
ท่าตั้ง และท่าเหนือศีรษะ
2) หมายเลข 2 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบและท่าระดับ
3) หมายเลข 3 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบ
4) หมายเลข 4 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบ ท่าระดับและท่าเหนือศีรษะ
4. หลักที่ 4 ใช้หมายเลข 0-9 เพื่อระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสม
กับลวดเชื่อมและระบุสมบัติของสารพอกหุ้ม ดังนี้
1) หมายเลข 0 หมายถึงเซลลูโลสสูง โซเดียม (High Cellulose Sodium)
2) หมายเลข 1 หมายถึงเหล็กออกไซด์สูง (High Iron Oxide)
3) หมายเลข 2 หมายถึงไททาเนียมสูง โซเดียม (High Titanium Sodium)
4) หมายเลข 3 หมายถึงไททาเนียมสูง โพแตสเซียม (High Titanium Potassium)
5) หมายเลข 4 หมายถึงผงเหล็ก ไททาเนียม (Iron Powder Titanium)
100

6) หมายเลข 5 หมายถึงไฮโดรเจนต่า โซเดียม (Low Hydrogen Sodium)


7) หมายเลข 6 หมายถึงไฮโดรเจนต่า โพแตสเซียม (Low Hydrogen Potassium)
8) หมายเลข 7 หมายถึงเหล็กออกไซด์ (Iron Oxide)
9) หมายเลข 8 หมายถึงผงเหล็ก ไฮโดรเจนต่า (Iron Powder Low Hydrogen)
ตัวอย่างการอ่านรหัสของลวดหุ้มฟลักซ์ เช่น E 6 0 1 3 มีความหมายดังนี้
E หมายถึงลวดหุ้มฟลักซ์
60 หมายถึงค่าความต้านทานแรงดึง (601,000 = 60,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
1 หมายถึงตาแหน่งการเชื่อมหรือท่าเชื่อม
3 หมายถึงชนิดของสารพอกหุ้ม (High Titanium Potassium)
ตารางที่ 3.2 แสดงสมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม ชนิดของฟลักซ์ ท่าเชื่อมและชนิดของกระแสไฟที่ใช้เชื่อม
ของลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS (A5.1-1991) (บางส่วน)
ความเค้น ความเค้น
เปอร์เซ็นต์ ชนิดของ
แรงดึง คราก ชนิดของฟลักซ์ ท่าเชื่อม
การยืดตัว กระแสไฟฟ้า
รหัสลวดเชื่อม (Tensile (Yield (Type of (Welding
(Elongation (Type of
Strength) Strength) covering) Position)
in 2 in. %) Current)
ksi MPa ksi MPa
High Cellulose F, V, OH,
E6010 60 414 48 331 22
Sodium H DCEP
High cellulose F, V, OH,
E6011 60 414 48 331 22
potassium H AC or DCEP
High titasia F, V, OH,
E6012 60 414 48 331 17
sodium H AC or DCEN
High titasia F, V, OH, AC, DCEP
E6013 60 414 48 331 17
potassium H or DCEN
Iron oxide titania F, V, OH, AC, DCEP
E6019 60 414 48 331 22
potassium H or DCEN
H-fillets AC or DCEN
E6020 60 414 48 331 22 High iron oxide AC, DCEP
F
or DCEN
E6022 60 414 Not specified High iron oxide F, H AC or DCEN
H-fillets AC or DCEN
High iron oxide,
E6027 60 414 48 331 22 AC, DCEP
iron power F
or DCEN
(ที่มา : อานาจ ทองแสน, 2558, น. 57)
101

4. ตาแหน่งท่าเชื่อมและรอยต่อในงานเชื่อม
4.1 ตาแหน่งท่าเชื่อม (Welding Position)
ตาแหน่งท่าเชื่อมพื้นฐานในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์แบ่งเป็น 4 ตาแหน่งดังนี้
4.1.1 ท่าราบ (Flat Position) คือตาแหน่งการเชื่อมที่วางชิ้นงานในแนวราบและขนาน
กับพื้น เป็นตาแหน่งที่เชื่อมได้ง่ายเพราะสามารถควบคุมบ่อหลอมเหลวที่อยู่บนชิ้นงานหรือรอยต่อได้สะดวก

รูปที่ 3.28 แสดงลักษณะของการเชื่อมท่าราบ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4.1.2 ท่าระดับ (Horizontal Position) คือตาแหน่งการเชื่อมที่วางชิ้นงานในแนวตั้ง
แนวเชื่อมขนานกับพื้น การเชื่อมท่าระดับนี้จะต้องระมัดระวังการไหลย้อยของน้าโลหะชิ้นงานที่กาลัง
หลอมเหลวเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก

รูปที่ 3.29 แสดงลักษณะของการเชื่อมท่าระดับ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
102

4.1.3 ท่าตั้ง (Vertical Position) คือตาแหน่งการเชื่อมที่วางชิ้นงานในแนวตั้งและ


แนวเชื่อมทามุมตั้งฉากกับแนวพื้น การเชื่อมตาแหน่งท่าตั้งแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. ท่าตั้งเชื่อมขึ้น (Vertical Up) ท่าเชื่อมนี้เหมาะสาหรับเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาตั้งแต่
8 มิลลิเมตร ขึ้นไป
2. ท่าตั้งเชื่อมลง (Vertical down) ท่าเชื่อมนี้เหมาะสาหรับเชื่อมชิ้นงานบางหรือรอยต่อชน
ที่มีการบากร่องชิ้นงาน

(ก) ตาแหน่งท่าตั้งเชื่อมขึ้น (ข) ตาแหน่งท่าตั้งเชื่อมลง

รูปที่ 3.30 แสดงลักษณะของการเชื่อมท่าตั้ง


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4.1.4 ท่าเหนือศีรษะ (Overhead Position) คือตาแหน่งการเชื่อมที่วางชิ้นงานไว้
เหนือศีรษะ รอยต่อขนานกับพื้นและแนวเชื่อมจะอยู่ด้านล่างชิ้นงาน การเชื่อมท่านี้ผู้ปฏิบัติงานต้อ งใช้
ทักษะควบคุมการไหลย้อยของน้าโลหะที่ หลอมเหลว และเป็นท่าเชื่อมที่เชื่อมยากที่สุด

รูปที่ 3.31 แสดงลักษณะของการเชือ่ มท่าเหนือศีรษะ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
103

4.2 รอยต่องานเชื่อม (Welding Joints)


รอยต่อในงานเชื่อม คือรูปแบบการเตรียมชิ้นงานเชื่อม 2 ชิ้นเพื่อนามาเชื่อมต่อกันให้มีความ
คงทนแข็งแรง ง่ายต่อการเชื่อมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รอยต่อในงานเชื่อมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น
5 แบบดังนี้
4.2.1 รอยต่อชน (Butt Joint) คือรอยต่อที่นาขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกันโดยผิว
ของชิ้นงานทั้ง 2 อยู่ในระนาบเดียวกัน การต่อมีหลายแบบขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน เช่น ต่อชนแบบ
เว้นช่องว่างรอยต่อ การต่อชนแบบไม่บากงาน และการต่อชนบากร่อง (Groove Weld) เป็นต้น

รูปที่ 3.32 แสดงลักษณะของรอยต่อชน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4.2.2 รอยต่อเกย (Lap Joint) คือรอยต่อที่นาชิ้นงาน 2 ชิ้นวางซ้อนกันหรือเกยกัน

รูปที่ 3.33 แสดงลักษณะของรอยต่อเกย


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4.2.3 รอยต่อขอบ (Edge Joint) คือรอยต่อที่นาขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกันใน
ลักษณะที่ให้ขอบของชิ้นงานทั้ง 2 แนบชิดกัน ทาให้ขอบของชิ้นงานขนานกันตลอดแนวหรืออาจวาง
ชิ้นงานเอียงทามุมต่อกันและในการเชื่อมจะเชื่อมที่ผิวหน้าของขอบงานให้ติดกัน

(ก) รอยต่อขอบ (ขอบของชิ้นงานขนานกัน) (ข) รอยต่อขอบ (ขอบของชิ้นงานเอียงทามุมต่อกัน)


รูปที่ 3.34 แสดงลักษณะของรอยต่อขอบ
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
104

4.2.4 รอยต่อมุม (Corner Joint) คือรอยต่อที่นาขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกันโดยให้


ขอบชิ้นงานทามุม กัน เท่า กับ 90 องศา ซึ่ง การนาขอบของชิ้น งานมาชนกัน มีหลายลัก ษณะขึ้น อยู่กับ
ความหนาของชิ้นงานและการออกแบบ เช่น การต่อมุมโดยให้ขอบด้านนอกชนกัน (Open) หรือทับกันเต็ม
ความหนา (Close) โดยอาจทาการบากร่องชิ้นงานหรือไม่ก็ได้

(ก) รอยต่อมุมให้ขอบด้านนอกชนกัน (ข) รอยต่อมุมทับเต็มความหนาชิ้นงาน


รูปที่ 3.35 แสดงลักษณะของรอยต่อมุม
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4.2.5 รอยต่อรูปตัวที (T Joint) คือรอยต่อที่นาขอบของชิ้นงานชิ้นหนึ่งวางบนผิวงาน
อีกชิ้นหนึ่งคล้ายกับตัวที โดยอาจบากร่องของขอบชิ้นงานหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนา แนวเชื่อม
ที่เกิดขึ้นบนรอยต่อตัวทีเป็นแนวเชื่อมมุม (Fillet Weld)

รูปที่ 3.36 แสดงลักษณะของรอยต่อรูปตัวที


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

5. องค์ประกอบที่มีผลต่อแนวเชื่อม
5.1 มุมลวดเชื่อม (Electrode Angle)
ในขณะเชื่อมทิศทางเชื่อมและมุมที่ลวดเชื่อมกระทาต่อชิ้นงาน จะมีต่อผลการไหลของกระแสไฟที่
ส่งผ่านน้าโลหะไปยังบ่อหลอม ดังนั้นถ้าตั้งทามุมลวดเชื่อมกับชิ้นงานไม่ถูกต้องจะมีผลทาให้แนวเชื่อม
ไม่สมบูรณ์หรือมีข้อบกพร่อง เช่น การหลอมลึกไม่สมบูรณ์ (Incomplete Penetration) การกัดขอบ
(Undercut) และรอยเกย (Overlap) เป็นต้น
105

(ก) มุมตามลวดเชื่อม (ข) มุมฉาก (ค) มุมนาลวดเชื่อม

รูปที่ 3.37 แสดงทิศทางการเชื่อมและมุมลวดเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

(ก) มุมตามมาก (ข) มุมตามเหมาะสม (ค) มุมฉาก


รูปที่ 3.38 แสดงผลกระทบของมุมเชื่อมต่อรูปร่างของแนวเชื่อม (กรณีมุมตามลวดเชื่อม)
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

รูปที่ 3.39 แสดงผลกระทบของมุมเชื่อมต่อรูปร่างของแนวเชื่อม (กรณีมุมนาลวดเชื่อม)


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
106

มุมในการเชื่อมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือมุมเดินลวดเชื่อม (Travel Angle) และมุม


งาน (Work Angle) โดยมีรายละเอียดดังนี้
5.1.1 มุมเดินลวดเชื่อม (Travel Angle) คือมุมเอียงลวดเชื่อมที่กระทากับชิ้นงานใน
ทิศทางเชื่อมหรือการเคลื่อนที่ของลวดเชื่อม

รูปที่ 3.40 แสดงลักษณะของมุมเดินลวดเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
5.1.1 มุมงาน (Work Angle) คือมุมที่ลวดเชื่อมเอียงทามุมกับด้านข้างของชิ้นงาน
เช่น ในกรณีของการเชื่อมท่าราบลวดเชื่อมจะทามุม 90 องศากับชิ้นงาน

รูปที่ 3.41 แสดงลักษณะของมุมงาน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
5.2 กระแสไฟฟ้าเชื่อม (Welding Ampere)
การใช้กระแสไฟฟ้าเชื่อม ขึ้นอยู่กับชนิดของลวดเชื่อมที่ใช้ว่าก าหนดให้ใ ช้กระแสไฟฟ้าชนิดใด
ดังนั้ นก่อนปฏิบั ติงานช่างเชื่อมจะต้องปรับกระแสไฟฟ้าเชื่อมให้ถูกต้อง เพราะถ้าปรับกระแสไฟฟ้าไม่
ถูกต้องแล้ว จะได้คุณภาพแนวเชื่อมจะไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ก็ยังขึ้นอยู่กับ
ความหนาของชิ้นงานและขนาดของลวดเชื่อมอีกด้วย เช่น ในกรณีที่ปรับกระแสไฟฟ้าสูงเกินไปจะทาให้
บ่อหลอมกว้าง การควบคุมบ่อหลวมทาได้ยากและเกิดการกัดขอบตลอดความยาวแนวเชื่อม แต่ถ้าปรับ
กระแสไฟฟ้าต่าเกินไปจะทาให้แนวเชื่อมกองนูนมาก และขอบแนวเชื่อมไม่หลอมรวมตัว เป็นต้น
107

ในการเลือกใช้กระแสไฟเชื่อม ขนาดและชนิดของลวดเชื่อมที่เหมาะสมกับความหนาของงาน
ขนาดแสดงดังตารางที่ 3.3
ตารางที่ 3.3 การเลือกใช้กระแสไฟเชื่อม ขนาดและชนิดของลวดเชื่อมที่เหมาะสมกับความหนาของงาน
ความหนาของงาน ขนาดลวดเชื่อม ชนิดของลวดเชื่อมและกระแสไฟเชื่อม (แอมแปร์)
E6010
นิ้ว มม. นิ้ว มม. E6011 E6012 E6013 E6020 E6022 E6027
1/16-5/64 1.6-2.0 5/64 2.0 - 25-60 25-60 - - -
5/16-1/8 2.0-3.2 3/32 2.4 40-80 35-85 45-90 - - -
1/8-1/4 3.2-6.4 1/8 3.2 75-125 80-140 80-130 100-150 110-160 125-185
1/4-3/8 6.4-9.5 5/32 4.0 110-170 110-190 105-180 130-190 140-190 169-240
3/8-1/2 9.5-12.7 3/16 4.8 140-215 140-240 150-230 175-250 170-400 210-300
1/2-3/4 12.7-19.1 7/32 5.6 170-250 200-320 210-300 225-310 370-520 250-350
3/4-1 19.1-25.4 1/4 6.4 210-320 250-400 250-350 275-375 - 300-420
มากกว่า 1 25.4
ขึ้นไป ขึ้นไป 5/16 8.00 275-425 300-500 320-430 340-450 - 375-475
(ที่มา : Andrew D. Althouse and Others, 2012, p. 165)

5.3 ระยะอาร์ก (Arc Length)


ระยะอาร์กในการเชื่อม คือระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับปลายลวดเชื่อม ระยะอาร์กมีผลต่อการ
เชื่อมและคุณภาพของแนวเชื่อมเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ถ้าระยะอาร์กมากจะทาให้เกิดความร้อนกระจาย
ที่ชิ้นงานมาก ทาให้เกิดการแตกกระเด็นของน้าโลหะเชื่อม (Spatter) แนวเชื่อมพอกเกย (Overlap)
เกิดการกัดขอบ (Undercut) มีรูพรุน (Porosity) แนวเชื่อมไม่เป็นแนว (Waviness of Bead) ในทาง
ตรงกันข้ามหากระยะอาร์กน้อยเกินไปจะทาให้ลวดเชื่อมติดกับชิ้นงาน แนวเชื่อมเล็ก และมีรอยเกย
(Overlap) เป็นต้น โดยทั่วไปในการเชื่อมอาร์กด้วยลวดหุ้มฟลักซ์จะใช้ ระยะอาร์กประมาณ 1.5 เท่าของ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (d) ของลวดเชื่อม ดังรูปที่ 3.42

รูปที่ 3.42 แสดงระยะอาร์กในการเชื่อมอาร์กลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
108

5.4 ความเร็วในการเชื่อม (Travel Speed)


ในขณะปฏิบัติงานเชื่อม ช่างเชื่อมจะต้องควบคุมความเร็วของการเชื่อมให้เหมาะสมกับระยะ
อาร์กและกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่ มีคุณภาพและไม่มีข้อบกพร่อง ในรูปที่ 2.43 แสดง
รูปร่างของแนวเชื่อมที่เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้า การใช้ความเร็วและการระยะอาร์กที่แตกต่างกัน

(ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ)


หมายเหตุ:
ก. กระแสไฟฟ้าเชื่อมต่า ข. กระแสไฟฟ้าเชื่อมสูง
ค. ระยะอาร์กยาว ง. ความเร็วเชื่อมสูง
จ. ความเร็วเชื่อมต่า
ฉ. กระแสไฟฟ้าเชื่อม ความเร็วเชื่อมและระยะอาร์กเหมาะสม
รูปที่ 3.43 แสดงรูปร่างของแนวเชื่อมเมื่อใช้กระแสไฟฟ้าเชื่อม ความเร็วเชื่อมและระยะอาร์กต่างกัน
(ที่มา : Andrew D. Althouse and Others, 2012, p. 169)

6. เทคนิคการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
ในหัวข้อนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับเทคนิคการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์เบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางใน
การฝึกทักษะภาคปฏิบัติ ดังนี้
109

6.1 การเริ่มต้นอาร์ก
ปัญหาที่มักจะเกิด ขึ้นกับผู้เ ริ่มต้นฝึกเชื่อมใหม่ ๆ คือลวดเชื่อมติดกับชิ้นงานและการอาร์กดับ
อยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรฝึกทักษะในการเริ่มต้นอาร์กให้ถูกต้องและเกิดความชานาญ การเริ่มต้นอาร์ก
โดยทั่วไปมี 2 วิธีดังนี้
6.1.1 วิธีเคาะ (Tapping) หรือวิธีแตะลวดเชื่อม มีวิธีการดังนี้
1. จับลวดเชื่อมให้อยู่ในตาแหน่งตั้งฉากกับชิ้นงาน
2. เคลื่อนลวดเชื่อมลงไปเคาะหรือแตะบนแผ่น ชิ้นงานเบาๆ เมื่อปลายลวดเชื่อมสัมผัส
กับผิวชิ้นงานแล้วให้รีบยกลวดเชื่อมขึ้นทันที โดยที่การอาร์กยังคงอยู่และรักษาระอาร์กให้คงที่
3. เมื่อการอาร์กคงที่แล้วจึงเคลื่อนลวดเชื่อมไปยังตาแหน่งเริ่มต้นเชื่อม

รูปที่ 3.44 แสดงลักษณะของการเริ่มต้นอาร์กวิธีเคาะ


(ที่มา : สมบูรณ์ เต็งหงษ์เจริญ, ม.ป.ป., น. 135)
6.1.2 วิธีขีด (Scratching) หรือวิธีเขี่ยลวดเชื่อม มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ถือลวดเชื่อมในลักษณะเอียงไปตามแนวที่จะเชื่อม
2. ตวัดลวดเชื่อมให้ปลายแตะกับชิ้นงานแล้วยกขึน้ อย่างรวดเร็ว
3. เมื่อเกิดการอาร์กแล้วต้องรักษาระยะอาร์กให้ถูกต้องเหมาะสม แล้วลดระยะอาร์กลง
อย่างช้าๆ ให้เหลือประมาณเท่ากับความโตของลวดเชื่อม
4. ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและหลายครั้งจนเกิดความชานาญ

ลวดเชื่อม

อาร์ก ชิ้นงาน

รูปที่ 3.45 แสดงลักษณะของการเริ่มต้นอาร์กวิธีขีด


(ที่มา : สมบูรณ์ เต็งหงษ์เจริญ, ม.ป.ป., น. 135)
110

6.2 การเชื่อมเดินแนว
การเชื่อมเดินแนวมีขั้นตอนดังนี้
1. การเริ่มต้นเชื่อมที่บริเวณจุดเริ่มต้นของแนวเชื่อม มีวิธีการคือทาให้เกิดการอาร์ก
เมื่อเกิดการอาร์กขึ้นแล้วให้ยกลวดเชื่อมขึ้น ห่างจากชิ้นงานประมาณ 1.5 เท่าของความโตลวดเชื่อม
และตั้ ง มุ ม เชื่ อ มงานและมุ ม เดิ น ลวดเชื่ อมตามลั ก ษณะของรอยต่อ จากนั้ น สร้ า งบ่อ หลอมให้ ก ว้ า ง
ประมาณ 1.5 - 2.0 เท่าของความโตลวดเชื่อม
2. หลังจากเริ่มต้นอาร์กและปรับระยะอาร์กแล้ว ให้เชื่อมเดินแนวไปข้างหน้าอย่างช้าๆ
โดยการจับลวดเชื่อมให้ทามุมตั้งมุมงานเท่ากับ 90 องศา และมุมเดินลวดเชื่อมประมาณ 75 - 85 องศา
ไปตามทิศทางการเชื่อมและขณะเชื่อมจะต้องเติมลวดเชื่อมที่หลอมละลายเติมลงไปในแนวเชื่อม
ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนลวดเชื่อมควรให้ลวดเชื่อมเดิมเหลือความยาวประมาณ 1.50
นิ้ว จึงทาการเปลี่ยนลวดเชื่อมเส้นใหม่เพื่อความประหยัด

(ก) มุมมองด้านหน้า (ข) มุมมองด้านข้างซ้าย


รูปที่ 3.46 แสดงลักษณะการตั้งมุมงานและมุมเดินลวดเชื่อมในการเชื่อมเดินแนวท่าราบ
(ที่มา : ประทีป ระงับทุกข์, 2547. น. 25)

รูปที่ 3.47 แสดงลักษณะของการเชื่อมเดินแนวท่าราบ


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
111

6.3 การเติมลวดเชื่อมที่แอ่งปลายแนวเชื่อม
เมื่อทาการเชื่อมมาถึงจุดสุดท้ายแนวเชื่อมจะเป็นรอยบุ๋มหรือเป็นแอ่ง (Crater) ซึ่งเป็นตาแหน่ง
ที่มีความแข็งแรงต่าสุดของแนวเชื่อมและอาจทาให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้ ดังนั้นจึงจาเป็นต้องเติมลวดเชื่อม
ที่ปลายแอ่งโลหะให้เต็ม โดยการเดินแนวเชื่อมย้อนกลับมาเล็กน้อย (จากจุด A มาที่จุด B) แล้วหยุดเติม
แอ่งปลายแนวเชื่อมให้เต็ม

รูปที่ 3.48 แสดงวิธีการเติมลวดเชื่อมที่แอ่งปลายแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
6.4 การต่อแนวเชื่อม
การเชื่อมต่อแนวให้เป็นแนวเดียวกันกับแนวเชื่อมเดิม วิธีการต่อแนวดังนี้
6.4.1 กรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมยังร้อน ให้เชื่อมต่อได้ทันที ไม่ต้องเคาะสแลกเพื่อทา
ความสะอาดแนวเชื่ อ ม โดยเริ่ ม ต้ น อาร์ ก ห่ า งจากแอ่ ง หลอมเดิม ไปทางด้ า นหน้ า ประมาณ 1/2 นิ้ ว
เมื่อเกิดการอาร์ก แล้วจึงเคลื่อนลวดเชื่อมมาที่ปลายแนวเชื่อมเดิม ดังแสดงในรูปที่ 2.49 เริ่มต้นอาร์ก
ที่จุด A ก่อน จากนั้นจึงถอยลวดเชื่อมกลับไปที่จุด B ซึ่งเป็นบ่อหลอมเดิมของแนวเชื่อม

รูปที่ 3.49 แสดงวิธีการต่อแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
112

6.4.2 กรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมเย็น ให้ทาความสะอาดแนวเชื่อมก่อนโดยใช้ค้อน


เคาะสแลกออกและใช้แปรงลวดขัดให้ จากนั้นให้เริ่มต้นอาร์ก ห่างจากแอ่งหลอมเดิมไปทางด้านหน้า
ประมาณ 1/2 นิ้วเมื่อเกิดการอาร์กแล้วแล้วจึงเคลื่อนลวดเชื่อมมาที่ปลายแนวเชื่อมเดิม

รูปที่ 3.50 แสดงวิธีการต่อแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
6.5 การเคลื่อนที่ของลวดเชื่อม (Electrode Manipulation)
การเชื่อมในตาแหน่งท่าเชื่อมต่างๆ และทุกรอยต่ออาจใช้เทคนิคการส่ายลวดเชื่อมเพื่อช่วยให้
แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ วิธีการส่ายลวดเชื่อมมีหลายรูปแบบดังแสดงในรูปที่ 3.51

รูปที่ 3.51 แสดงรูปแบบของการส่ายลวดเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
113

7. ข้อบกพร่องในการเชื่อมและวิธีการแก้ไข
การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ เป็นการกระบวนการทาให้เนื้อโลหะยึดติดกันโดยการหลอมเนื้อ
โลหะงานและโลหะเติมหรือลวดเชื่อมเข้าด้วยกัน ดังนั้นถ้าหากการเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อัน
เนื่องมาจากสาเหตุใดก็ตามก็จะทาให้เกิดข้อบกพร่อง ซึ่งลักษณะข้อบกพร่องสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในแนว
เชื่อมและโลหะงาน ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงข้อบกพร่องในการเชื่อมและวิธีการแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
7.1 โพรงอากาศฝังในแนวเชื่อมหรือการเกิดรูพรุน (Porosity)
โพรงอากาศหรือรูพรุนมี ลักษณะเป็นวงกลมหรือยาวรีฝังในเชื่อมเชื่อม ซึ่งมีสาเหตุมาจากแก๊ส
ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของสิ่งสกปรก หรือความชื้นไม่สามารถจะลอยตัวออกนอกผิวหน้ ารอยเชื่อมได้ทัน
ก่อนการแข็งตัวของโลหะ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอันเนื่องจากการทาความสะอาดชิ้นงานก่อนการเชื่อมไม่
ดีพอ การเตรียมงานไม่ดีทาให้มีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่บริเวณรอยต่อ และทาให้เกิดฟองแก๊สได้ขณะทาการ
เชื่อม นอกจากนี้ขณะเชื่อมหรือการใช้เทคนิคในการเชื่อมที่ ไม่ถูกต้อง ก็อาจเป็นสาเหตุ ของการเกิดโพรง
อากาศได้เช่นเดียวกัน สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. ทาความสะอาดรอยเชื่อมให้สะอาดก่อนทาการเชื่อม
2. เลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน และอบลวดเชื่อมให้แห้งตามกาหนดเพื่อ
ขจัดความชื้นออกให้หมด
3. ลดกระแสไฟเชื่อมให้ต่าลงเล็กน้อย
4. ใช้เทคนิคการส่ายลวดเชื่อมให้แคบลง หรือเดินลวดเชื่อมให้ช้าลงเล็กน้อย
5. อุ่นชิ้นงานก่อนการเชื่อมและใช้ลวดเชื่อมชนิดไฮโดรเจนต่า

รูปที่ 3.52 แสดงลักษณะของโพรงอากาศที่ฝังในแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.2 การหลอมลึกไม่บริบูรณ์ที่ฐาน (Incomplete root penetration)
การหลอมลึกไม่บริบูรณ์ที่ฐาน เป็นลักษณะของการที่โลหะเชื่อมไม่หลอมลึกลงไปถึงฐานหรือราก
ของรอยต่อโลหะชิ้นงานหรือเป็นลักษณะของเนื้อ แนวเชื่อมไม่สามารถซึมทะลุไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยมี
สาเหตุมาจากการใช้ความร้อนในการเชื่อมไม่เพียงพอ การเตรียมรอยต่อไม่เหมาะสมทาให้เกิดออกไซด์
ในเนื้อชิ้นงานปิดกั้นรบกวนการหลอมเหลวของน้าโลหะ สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. เพิ่มกระแสไฟเชื่อมให้สูงขึ้น
2. ใช้ระยะอาร์กสั้นลง
3. ส่ายลวดเชื่อมแบบสามเหลี่ยม
4. ปรับมุมเดินลวดเชื่อมให้เหมาะสม
5. เลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมชิ้นงาน
114

6. ลดความเร็วในการเชื่อมเพื่อให้การหลอมลึกลงไปถึงส่วนที่เป็นรากของรอยต่อ
7. บากหน้าชิ้นงานให้มีมุมกว้างขึ้น

รูปที่ 3.53 แสดงลักษณะของการหลอมลึกมาบริบรู ณ์ที่ฐาน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.3 สแลกฝังใน (Slag Inclusion)
สแลกเป็นของแข็งที่ไม่ใช่โลหะฝังตัวอยู่ในแนวเชื่อม โดยอาจจะอยู่ในเนื้อชิ้นงานที่หลอมเหลว
หรืออยู่ในขอบรอยต่อของะชิ้นงานกับแนวเชื่อม โดยสาเหตุอาจเกิดจากการออกแบบร่องบากแคบเกินไป
ทาให้น้าโลหะเติมไม่สะดวก เกิดการหมุนของน้าโลหะทาให้สแลกที่กาลังละลายลอยตัวขึ้นเหนือ แนว
เชื่อมได้ยาก เป็นต้น สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. เพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่ลวดเชื่อม เพื่อไม่ให้สแลกไหลลงไปรวมที่ส่วนล่างของ
แนวเชื่อมขณะที่กาลังหลอมเหลว
2. เอียงลวดเชื่อมไปในทิศทางที่จะเชื่อม
3. ใช้ลวดเชื่อมที่มีขนาดเล็กลง
6. ปรับกระแสไฟเชื่อมให้เหมาะสม
5. ใช้ระยะอาร์กสั้นลงเพื่อให้สแลกลอยตัวได้ดีขึ้น
6. ทาความสะอาดแนวเชื่อมให้สะอาดก่อนเชื่อมต่อแนวหรือเชื่อมทับแนว

สแลกฝังในแนวเชื่อม

รูปที่ 3.54 แสดงลักษณะของสแลกฝังในแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.4 รอยแหว่งขอบแนว (Undercut)
รอยแหว่งขอบแนวเป็นลักษณะของร่องที่ไม่สม่าเสมอที่ขอบแนวเชื่อมบนโลหะชิ้นงานซึ่งเกิดจาก
การเชื่อม โดยสาเหตุอาจเกิด จากการใช้กระแสไฟเชื่อมสูงเกินไปและใช้เทคนิคการเชื่อมที่ไม่ ถูกต้อง
สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
115

1. ปรับกระแสไฟเชื่อมให้ต่าลง
2. ปรับระยะอาร์กให้สั้นลง ประมาณเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
3. ใช้มุมลวดเดินลวดเชื่อมให้ถูกต้อง
4. เคลื่อนที่ของลวดเชื่อมให้ช้าลงเล็กน้อยและสัมพันธ์กับการส่ายลวดเชื่อม

รูปที่ 3.55 แสดงลักษณะของรอยแหว่งขอบแนว


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.5 การเกิดรอยเกย (Overlap)
รอยเกย คือเนื้อโลหะเชื่อมที่ยื่นเลยออกไปกองอยู่บนขอบของแนวเชื่อม เป็นความบกพร่อง
ที่ขอบหรือรากแนวเชื่อมซึ่งเกิดจากโลหะเชื่อมไหลเลยไปบนผิวหน้าขิงโลหะชิ้นงานโดยไม่มีการหลอม
ละลายติดกัน โดยสาเหตุอาจเกิดจากการเลือกใช้ลวดเชื่อมไม่เหมาะสม หรือเกิดจากออกไซด์ที่อยู่บริเวณ
ผิวหน้าของชิ้นงานเป็นตัวกั้นการหลอมเหลวของเนื้อชิ้นงาน การปรับกระแสไฟต่าเกินไปและมุมของลวด
เชื่อมไม่ถูกต้อง เป็นต้น สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. เพิ่มกระแสไฟให้สูงขึ้นโดยให้สัมพันธ์กับขนาดของลวดเชื่อมด้วย
2. ใช้มุมลวดเชื่อมให้ถูกต้องตามลักษณะของท่าเชื่อม
3. เคลื่อนที่ลวดเชื่อมให้ช้าลงเล็กน้อยและส่ายลวดเชื่อมให้แคบลง

รูปที่ 3.56 แสดงลักษณะรอยเกยของแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.6 รอยร้าว (Crack)
รอยร้าวที่เ กิดขึ้น ในแนวเชื่อมและโลหะชิ้นงานอาจเป็นรอยร้าวตามยาว รอยร้า วตามขวาง
รอยร้ า วที่ ข อบ รอยร้ า วที่ แอ่ ง หลอมปลายแนวเชื่อ ม ใต้แ นวเชื่อ มที่โ ลหะเชื่ อ มหรือ ที่ โลหะชิ้ น งาน
ลักษณะของรอยร้าวที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือรอยร้าวขณะร้อน (Hot crack) เป็นการร้าวใน
เม็ดโลหะที่เกิดขึ้นในขณะที่โลหะหลอมเหลวกาลังแข็งตัว และรอยร้าวขณะเย็น (Cold crack) เป็นการ
ร้าวหลังจากที่ชิ้นงานเย็นตัวลงมาใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง
116

รอยร้า วมี สาเหตุ หลายประการ ได้แก่ เกิดความเค้น ภายในเนื้ อโลหะ ลวดเชื่อมมี ความชื้น
โลหะชิ้นงานเป็นโลหะที่มีส่วนผสมของโลหะเจือมาก อัตราการเย็นตัวของแนวเชื่อมเร็วเกินไป เนื้อโลหะ
ชิ้นงานมีกามะถันผสมมากขณะอาร์กเกิดไฮโดรเจนมาก หรือออกซิเจนเข้าไปรวมตัวกับน้าโลหะ การทา
ความสะอาดแนวเชื่อมไม่ดี และการเตรียมงานไม่ดี เป็นต้น สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. อบลวดเชื่อมก่อนทาการเชื่อมตามกาหนด
2 อุ่นชิ้นงานก่อนเชื่อมและใช้ลวดเชื่อมชนิดไฮโดรเจนต่า
3. จัดลาดับขั้นการเชื่อมให้เหมาะสม
4. อย่าเชื่อมให้แอ่งหลอมปลายแนวเชื่อมมีขนาดใหญ่เกินไป
5. ทาความสะอาดแนวเชื่อมให้ปราศจากสิ่งสกปรกก่อนเชื่อมต่อแนว
6. เทคนิคการเชื่อมโดยเติมลวดเชื่อมให้เต็มแอ่งหลอมปลายแนวเชื่อม
7. การเคลื่อนที่ลวดเชื่อมให้สัมพันธ์กับการส่ายลวดเชื่อม

รูปที่ 3.57 แสดงลักษณะการเกิดรอยร้าวของแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.7 เม็ดโลหะกระเด็น (Spatter)
เป็นลักษณะของหยดโลหะที่กระเด็นออกมาระหว่างการเชื่อม มีรูปร่างคล้ายกับเม็ดทรายกระจัด
กระจายอยู่บริเวณแนวเชื่อมหรือผิวชิ้นงาน โดยมีสาเหตุมาจากใช้กระแสไฟเชื่อมสูงเกินไป ระยะอาร์ก
ยาวเกินไป ใช้ลวดเชื่อมผิดประเภทและใช้ขั้วไฟเชื่อมไม่ถูกต้องในกรณีเครื่องเชื่อมกระแสตรง เป็นต้น
สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. ลดกระแสไฟเชื่อมให้ต่าลง
2. อบลวดเชื่อมก่อนใช้งาน
3. ปรับระยะอาร์กให้เหมาะสม คือประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
4. ปรับตั้งขั้วไฟเชื่อมให้ถูกต้อง
5. เลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน
117

เม็ดโลหะกระเด็น

รูปที่ 3.58 แสดงลักษณะของเม็ดโลหะกระเด็นบนผิวงาน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7.8 การบิดงอ (Distortion)
เป็นข้อบกพร่องหลังการเชื่อมเสร็จและชิ้นงานเย็นตัวลงมาที่อุณหภูมิห้อง แล้วทาให้ชิ้นงานเกิด
การบิดงอ โดยสาเหตุเกิดจากชิ้นงานได้รับความร้อนเฉพาะจุดมากเกินไป การเตรียมรอยต่อไม่ถูกต้องใช้
เทคนิคการเชื่อมไม่เหมาะสมและปรับกระแสไฟสูงเกินไป สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. ใช้อุปกรณ์ช่วยยึดชิ้นงานหรือเชื่อมยึดไว้ก่อน
2. เชื่อมแนวสั้นๆ และปล่อยให้เย็นก่อนจึงเชื่อมแนวต่อไป
3. เตรียมเผื่อระยะให้งานหดหรือขยายตัวก่อนทาการเชื่อม
4. กระจายรอยเชื่อมให้ทั่วทั้งชิ้นงาน
5. กาจัดความเครียดในเนื้องานก่อนการเชื่อม

รูปที่ 3.59 แสดงลักษณะการบิดงอของชิ้นงานหลังการเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

7.9 รอยเชื่อมไม่เป็นแนว (Poor Appearance)


เป็นข้อบกพร่องที่ไม่สามารถควบคุมให้เป็นแนวเชื่อมทั่วไปได้ เช่น แนวเชื่อมนูนมาก แนวเชื่อม
เว้ามาก แนวเชื่อมกว้างมาก แนวเชื่อมแคบมาก และเกล็ดแนวเชื่อมไม่สม่าเสมอ เป็นต้น โดยมีสาเหตุ
มาจาก ใช้กระแสไฟเชื่อมสูงหรือต่าเกินไปทาให้แนวเชื่อมนูนหรือเว้า การเคลื่อนลวดเชื่อมเร็วและช้า
ไม่สัมพันธ์กับการส่ายลวดเชื่อม ระยะอาร์กไม่คงที่ ความร้อนสะสมในชิ้นงานมากเกินไป ใช้ลวดเชื่อม
ไม่เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน การส่ายลวดเชื่อมไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น สาหรับแนวทางในการ
แก้ไขมีดังนี้
1. ปรับกระแสไฟเชื่อมให้เหมาะกับขนาดของลวดเชื่อม
2. เลือกชนิดของลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชิ้นงาน
3. ไม่ควรเชื่อมต่อกันเป็นแนวยาว แต่ควรหยุดเชื่อมเป็นช่วงๆ
4. ขณะเคลื่อนลวดเชื่อมควรรักษาระยะอาร์กให้คงที่ และส่ายลวดให้สม่าเสมอ
118

5. ปรับมุมลวดเชื่อมให้เหมาะสม

รูปที่ 3.60 แสดงลักษณะของแนวเชื่อมไม่เป็นแนว


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

3.10 การโก่งงอ (Warping)


เป็นข้อบกพร่องที่ชิ้นงานภายหลังจากการเชื่อมตามแนวยาว ซึ่งเป็นผลมาจากแรงหดตัวของ
รอยเชื่อมกับแรงต้านภายในเนื้อโลหะงาน ทาให้ชิ้นงานผิดรูปร่างโก่งงอไม่ได้ศูนย์ โดยมีสาเหตุมาจากการ
หดตัวของรอยเชื่อม ความร้อนสะสมที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป การเตรียมรอยต่อไม่ดี การยึดชิ้นงาน
ไม่ถูกต้องและใช้เทคนิคการเชื่อมไม่เหมาะสม เป็นต้น สาหรับแนวทางในการแก้ไขมีดังนี้
1. เลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีขนาดเล็กลงและมีการซึมลึกปานกลาง
2. ใช้เทคนิคการเชื่อมที่เร็วขึน้
3. ลดระยะเว้นช่องหน้าฐานลง
4. หาวิธีการจับยึดชิ้นงานให้ถูกต้อง
5. ใช้กรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมมาช่วย ได้แก่ การอบคืนตัว การทาให้ชิ้นงาน
เย็นตัวลงอย่างช้าๆ และการเคาะคืนตัว เป็นต้น

รูปที่ 3.61 แสดงลักษณะของการโก่งงอของชิ้นงานหลังเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

8. อันตรายและความปลอดภัยในงานเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
8.1 อันตรายที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้า
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเชื่อมาอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์และวิธีการป้องกันมีดังนี้
1. อันตรายจากกระแสไฟฟ้า ได้แก่ ไฟฟ้ารั่วไหลที่ผู้ปฏิบัติงานไปสัมผัสโดยตรงกับส่วน
ใดส่วนหนึ่งที่ไม่มีฉนวนหุ้ม เช่น เครื่องเชื่อม หัวจับลวดเชื่อม สายเชื่อม สายดิน ชิ้นงานหรืออาจยืน
เชื่อมในบริเวณพื้นเปียกแฉะทาให้กระแสไหลครบวงจรผ่านตัวผู้ปฏิบัติงานและทาให้ไฟฟ้าดูด เป็นต้น
ส าหรั บ แนวทางในการป้ อ งกั น อั น ตราย คื อ ก่อ นปฏิ บั ติ ง านให้ ท าการตรวจสอบสภาพของ
เครื่องมืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเชื่อม สายเชื่อม สายดิน หัวจับลวดเชื่อมและคีมจับสายดิน เป็นต้น
119

หากเครื่องมือ อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ห้ามใช้โดยเด็ดขาด และแจ้งให้ครูผู้ควบคุมทราบ


เพื่อแก้ไข และในการประกอบ ติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องขันยึดให้แน่น เช่น การประกอบสายเชื่อม
เข้ากับหัวจับลวดเชื่อม การประกอบสายดินเข้ากับคีมจับสายดิน และการประกอบสายเชื่อมกับเครื่อง
เชื่อม เป็นต้น

(ก) การประกอบสายเชื่อมเข้ากับเครื่องเชื่อม

(ข) การประกอบสายเชื่อมเข้ากับหัวจับลวดเชื่อม (ค) การประกอบสายดินเข้ากับคีมจับสายดิน


รูปที่ 3.62 แสดงการตรวจสอบการประกอบ ติดตั้งเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2. อันตรายจากรังสีที่เกิดจากการอาร์ก ขณะเชื่อมจะมีรังสีที่เกิดจากการอาร์กซึ่งเป็น
อันตรายอย่างรุนแรงต่อผิวหนังและดวงตา รังสีแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultra
Violet Rays) รังสีช่วงแสงสว่าง (Visible Light Rays) และรังสีอินฟราเรด (Infrared Rays) โดยรังสี
แต่ละชนิดเป็นอันตราย ดังนี้
2.1 รังสีอัลตราไวโอเลต ทาให้นัยน์ตาอักเสบเนื่องจากผนังดวงตาถูกเผาไหม้ แล้วเกิด
อาการระคายเคือง เจ็บปวด ขัดขวางการไหลเวียนของโลหิต โดยสังเกตได้จากดวงตาเป็นสีแดงคล้ายกับ
มีเม็ดทรายเข้าตา และเมื่อผนังดวงตาเกิดการอักเสบจะทาให้ต่อมน้าตาเกิดการอักเสบด้วย มีน้าตาไหล
มาก ซึ่งเกิดจากมีแสงเข้าตานาน ในการลดการเจ็บปวดของดวงตาอาจทาได้โดยใช้ยาหยอดตาและใช้ผ้า
เย็นปิดตาไว้ นอกจากนี้ผิวหนังอักเสบเนื่องจากเส้นเลือดใต้ผิวหนังจะเกิดการขยายตัวทาให้เกิดอาการคัน
และอักเสบ ถ้าได้รับรังสีเป็นเวลานานอาจทาให้มีอาการแพ้บนผิวหนังและเกิดมะเร็งผิวหนังได้
2.2 รังสีช่วงแสงสว่าง เป็นรังสีที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อถูกรังสีจะทาให้ตามัวและ
มืดไปพักหนึ่ง ทาให้ประสาทตาระคายเคืองและอาจทาให้ตาบอดได้
2.3 รังสีอินฟราเรดทาให้ตาดาขุ่นและอาจเกิดต้อกระจกความร้อนจอภาพของนัยน์ตา
ตายและอาจทาให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ยังทาให้ผิวหนังไหม้อย่างเฉียบพลันคือสีผิวหนังเปลี่ยนไปเกิด
อาการคันและอักเสบ เป็นต้น
120

รัง สี ทุ ก ชนิ ด ที่ ก ล่ า วมานี้ จ ะเกิ ดทุ ก ครั้ ง ที่ มี เ ชื่ อ ม ดั ง นั้ น เพื่ อ เป็น การป้ อ งกั น และลด
อันตรายให้น้อยลงต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้ง

รังสีจากการเชื่อม

รูปที่ 3.63 แสดงลักษณะของรังสีที่เกิดจากการเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
3. อันตรายที่เกิดจากไอระเหย ขณะเชื่อมจะมีไอระเหย (Fumes) เกิดขึ้นเนื่องจาก
โลหะชิ้นงานและลวดเชื่อมได้รับความร้อนสูงจนกระทั่งหลอมละลาย ไอระเหยเหล่านี้ประกอบด้วยไอ
ระเหยที่มองเห็นได้ เช่น ควันที่อยู่ในรูปของออกไซต์ของโลหะ แลไอระเหยที่มองไม่เห็นที่อยู่ในรูปของ
แก๊สซึ่งเกิดจากกระบวนการเชื่อม แก๊สที่ใช้ในกระบวนการเชื่อม ชนิดของโลหะชิ้นงาน (ส่วนผสมทาง
เคมี และสารเคลือบบนผิวชิ้นงาน) และชนิดของลวดเชื่อม (ส่วนผสมทางและเคมีชนิดของฟลักซ์)

ไอระเหยจากการเชื่อม

รูปที่ 3.64 แสดงลักษณะของไอระเหยที่เกิดจากการเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4. อันตรายจากแก๊ส ขณะเชื่อมจะเกิดแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์และออกไซด์ของ
ไนโตรเจน ซึ่งถ้าหายใจเข้าไปอาจก่อให้เกิดการอักเสบของปอด น้าท่วมปอด ปอดบวม มีน้าสะสมในปอด
ทาให้ปอดสูญเสียการยืดหยุ่นและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น และถ้าเชื่อมในที่อับอากาศอาจ
ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้เพราะก๊าซเหล่านี้จะเข้าแทนที่แก๊สออกซิเจนทาให้เกิดสภาวะขาด
อากาศหายใจฉับพลัน
121

5. อันตรายที่เกิดจากควัน ละอองหรือฝุ่นโลหะ ขณะเชื่อมจะเกิดจากการเผาไหม้ของ


ธาตุในเนื้อโลหะชิ้นงาน สารเคลือบผิวโลหะชิ้นงาน และสารเคมีที่ผสมอยู่ในฟลักซ์ ธาตุต่างๆ ได้แก่
โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สังกะสี แคดเมียมและฟลูออรีน แล้วแปรสภาพเป็นควัน ละออง ฝุ่นและแก๊ส
ขึ้นมา ถ้าหายใจเอาควันเหล่านี้เข้าไปจะเกิดผลกระทบกับผู้ปฏิบัติงานเชื่อม เช่น ก่อให้เกิดการระคาย
เคือง ทาให้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ทาให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการระคายเคือง
อักเสบ พังผืดขึ้นในปอด สมรรถภาพในการทางานของปอดลดลงทาให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย หอบ
น้าหนักตัวลด เจ็บหน้าอกหายใจลาบาก หายใจถี่และไอ เป็นต้น นอกจากนี้การสัมผัสละอองหรือฝุ่น
โลหะเมื่อถูกผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองขึ้นและส่งผลให้ผิวหนังแตก แห้ง ผิวหนังพุพองจนเกิด
เป็นแผลเรื้อรังได้ เป็นต้น

ควันจากการเชื่อม

รูปที่ 3.65 แสดงลักษณะของควันที่เกิดจากการเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
6. อันตรายจากความร้อนและการเผาไหม้ ขณะเชื่อมจะเกิดการเผาไหม้และมี ความ
ร้อนที่มีอุณหภูมิสูง การกระเด็นของเม็ดโลหะร้อน หรือสะเก็ดโลหะขณะทาการเชื่อม รวมถึงการเคาะส
แลกในขณะชิ้นงานยังร้อนจะมีผลทาให้การเผาไหม้โดยตรงต่อผิวหนังและส่วนต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้ง
สามารถก่อให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้หากมีการติดไฟในวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นก่อนปฏิบัติงานเชื่อมควรมี
การตรวจสอบอุปกรณ์ และบริเวณปฏิบัติงานเชื่อมว่ ามี ความปลอดภัย จากการเกิดเพลิง ไหม้หรือไม่
อีกทั้งต้องสวมชุดป้องกันความร้อน ได้แก่ เสื้อหนัง ปลอกแขน ถุงมือ หน้ากากและรองเท้าหนัง เป็นต้น
122

8.2 ความปลอดภัยในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
1. การเตรียมการก่อนปฏิบัติงาน ต้องเตรียมเครื่องมือที่จาเป็นในงานเชื่อมที่สาคัญ เช่น
คีมจับงานร้อน ค้อนเคาะสแลก แปรงลวด และอุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (ถุงมือ เสื้อหนัง
ปลอกแขน รองเท้าและหน้ากากเชื่อมพร้อมด้วยป้องกันแสง) ให้พร้อม

รูปที่ 3.66 แสดงการเตรียมการก่อนปฏิบัตงิ านเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
2. สวมใส่ชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้งต้องสวมใส่
ชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ครบถ้วน ได้แก่ หน้ากากเชื่อม เสื้อคลุม ปลอกแขน ถุงมือ
และรองเท้า เป็นต้น

รูปที่ 3.67 แสดงชุดปฏิบัติงานเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
123

3. การจับลวดเชื่อมเข้ากับหัว จับลวดเชื่อมจะต้องสวมถุงมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันความ


ร้อนหรืออันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูด

ลวดเชื่อม
คีมจับลวดเชื่อม

รูปที่ 8.68 แสดงลักษณะของการจับลวดเชื่อมเข้ากับด้ามจับลวดเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
4. การเคาะสแลกออกจากแนวเชื่อมให้หันหัวค้อนออกด้านนอกเพื่อให้ทิศทางการ
กระเด็นของสแลกห่างออกจากลาตัวของผู้ปฏิบัติงานและสวมแว่นนิรภัยทุกครั้ง

คีมจับงานร้อน
ทิศทางเคาะสแลก
ชิ้นงาน
แนวเชื่อม
สแลก

รูปที่ 3.69 แสดงลักษณะของการเคาะสแลกออกจากแนวเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
5. ห้ามใช้ถุงมือจับชิ้นงานขณะร้อนโดยตรง หากมีความจาเป็นให้ใช้คีมจับชิ้นงานเพื่อ
ป้องกันไม่ให้ความร้อนถูกร่างกาย
คีมจับงานร้อน

ชิ้นงาน

รูปที่ 3.70 แสดงวิธีการใช้คีมจับงานร้อนหลังการเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
124

6. การเจียระไนตกแต่งแนวเชื่อมหรือชิ้นงานให้สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพื่อป้องกัน
สะเก็ดของโลหะกระเด็นเข้าตา

สวมแว่นตานิรภัย

รูปที่ 3.71 แสดงลักษณะของการสวมแว่นตานิรภัยขณะเจียระไนชิ้นงาน


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
7. ห้ามเชื่อมในบริเวณที่ใกล้กับวัตถุไวไฟ เช่น น้ามันและทินเนอร์ เพราะสะเก็ดไฟจาก
การเชื่อมอาจกระเด็นไปถูกวัตถุไวไฟทาให้เกิดการลุกไหม้หรือระเบิดได้

ถังบรรจุเชื้อเพลิง
หรือวัตถุไวไฟ

รูปที่ 3.72 แสดงลักษณะของการปฏิบัติงานใกล้ถังบรรจุแก๊สเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่าย


(ที่มา : http://www.welovesafety.com, วันเข้าถึง 12 มกราคม 2559)
8. ห้ามปฏิบัติงานเชื่อมในขณะที่สภาพของร่างกายยังไม่พร้อม เช่น ง่วงนอนหรือ
อ่อนเพลีย เพราะจะทาให้เกิดอันตราย เช่น พลัดตกจากที่สูงและเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
9. การจัดสถานที่ปฏิบัติงานเชื่อมต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือใช้เครื่องดูดควัน
ฝุ่นละออง และไอระเหยที่เกิดจากการเชื่อมออกไปจากบริเวณการปฏิบัติงาน
125

10. ห้ามเชื่อมในสถานที่คับแคบหรือสถานที่อับอากาศ แต่หากจาเป็นต้องเชื่อมจะต้อง


ใช้เครื่องดูดควัน พิษ ฝุ่นละอองและไอระเหย เพราะจะทาให้ขาดอากาศหายใจเป็นอันตรายถึงขั้น
เสียชีวิตได้

รูปที่ 3.73 แสดงลักษณะของการใช้เครื่องดูดควันพิษที่เกิดจากการเชื่อมขณะปฏิบัติ


(ที่มา : http://www.millionwelding.com, วันเข้าถึง 12 มีนาคม 2559)
11. หลีกเลี่ยงการเชื่อมในพื้นที่เปียกแฉะ แต่หากมีความจาเป็นต้องทางานเชื่อมในพื้นที่
ดังกล่ าว ควรหาวิธีป้องกันไฟฟ้าดู ดโดยใช้ผ้าฝ้า ยหรือหนัง เทียมที่แห้งและเป็น ฉนวนรองพื้นบริเวณ
ปฏิบัติงาน แต่ห้ามปฏิบัติงานเชื่อมขณะฝนตกเพราะจะทาให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้

วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า

รูปที่ 3.74 แสดงลักษณะของการใช้วสั ดุที่เป็นฉนวนรองพื้นบริเวณปฏิบัติงาน


(ที่มา : อานาจ ทองแสน, 2558, น. 227)
126

12. สถานที่ปฏิบัติงานเชื่อมจะต้องไม่มีวัสดุหรือสารที่ติดไฟง่าย มีอากาศถ่ายเทได้


สะดวกหรื อ มี เ ครื่ อ งดู ด ไอระเหย เช่ น ควั น พิ ษ ฝุ่ น ละออง ฟู ม และก๊ า ซพิ ษ ออกจากบริ เ วณเชื่ อ ม
นอกจากนี้ ต้องมีการติดตั้ง อุปกรณ์ดับเพลิง ที่พร้อมใช้งานได้ทันที เพราะขณะปฏิบัติงานอาจเกิดการ
ลุ ก ไหม้ จ ากความร้ อนและเพื่ อป้ องกัน เหตุ ก ารณ์ฉุก เฉิน รวมทั้ง ติดป้า ยคาอธิบายวิ ธี ก ารใช้อุปกรณ์
ดับเพลิงนั้นอย่างชัดเจน

รูปที่ 3.75 แสดงลักษณะของสถานที่ปฏิบัติงานเชื่อมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)

คาอธิบายวิธีการใช้งาน
ของอุปกรณ์ดับเพลิง

อุปกรณ์ดับเพลิง

รูปที่ 3.76 แสดงลักษณะการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงใกล้สถานที่ปฏิบัติเชื่อม


(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
127

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
จงตอบคาถามต่อไปนี้ (90 คะแนน)
1. จงเขียนเครื่องหมายถูก () หรือเครื่องหมายผิด () ลงในช่องว่าง (............) ด้านหน้าหมายเลข
ทางซ้ายมือดังต่อไปนี้ (25 คะแนน)
............... 1.1 การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ คือการเชื่อมด้วยไฟฟ้าในลักษณะที่ทาให้เกิดการ
อาร์กและได้รับความร้อนจากการอาร์กระหว่างลวดเชื่อมชนิดเปลือยกับชิ้นงาน
............... 1.2 สารพอกหุ้มบนลวดเชื่อมเมื่อละลายจะทาหน้าที่เป็นเกาะป้องกันบรรยากาศ
............... 1.3 ลวดเชื่อมทาหน้าที่เป็นโลหะเติมลงในแนวเชื่อม
............... 1.4 การต่อวงจรเชื่อมแบบ DCEP ให้ลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) และต่อชิ้นงาน
เป็นขั้วลบ (-)
............... 1.5 การต่อวงจรเชื่อมแบบ DCEP กระแสไฟฟ้าไหลจากลวดเชื่อมไปยังชิ้นงาน
............... 1.6 การต่อวงจรเชื่อมแบบ DCEN ให้ลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) และต่อชิ้นงาน
เป็นขั้วลบ (-)
............... 1.7 การต่อวงจรเชื่อมแบบ DCEN กระแสไฟฟ้าไหลจากลวดเชื่อมไปยังชิ้นงาน
............... 1.8 หัวจับลวดเชื่อม คืออุปกรณ์ที่เป็นตัวนากระแสไฟฟ้าจากสายเชื่อมผ่านไป
สู่ลวดเชื่อม
............... 1.9 การเชื่อมชิ้นงานด้วยลวดเชื่อมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.2 มิลลิเมตร
ควรใช้กระจกกรองแสงเบอร์ 12
............. 1.10 สารพอกหุ้มทาหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดสแลกฝังใน
............. 1.11 ลวดหุ้มฟลักซ์ E6013 มีค่าความต้านทานแรงดึง 6,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
............. 1.12 ลวดหุ้มฟลักซ์ E6013 หมายเลข 1 คือตาแหน่งการเชื่อมหรือท่าเชื่อม
............. 1.13 การเชื่อมท่าราบ (Flat Position) คือ ตาแหน่งการเชื่อมที่วางชิ้นงานในแนวตั้ง
แนวเชื่อมขนานกับพื้น
............. 1.14 รอยต่อชน (Butt Joint) คือรอยต่อที่นาขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้น มาวางซ้อนกัน
............. 1.15 มุมเดินลวดเชื่อม (Travel Angle) คือมุมเอียงลวดเชื่อมที่กระทากับชิ้นงาน
ในทิศทางเชื่อมหรือการเคลื่อนที่ของลวดเชื่อม
............. 1.16 ถ้าระยะอาร์กมากจะทาให้เกิดการแตกกระเด็นของน้าโลหะเชื่อม (Spatter)
............. 1.17 การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์โดยทั่วไปมีระยะอาร์กประมาณ 0.5 เท่าของขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
............. 1.18 การเริ่มต้นอาร์กมี 2 วิธี คือวิธีการเคาะและวิธีการแตะลวดเชื่อม
............. 1.19 การต่ อ แนวเชื่ อ มควรเริ่ ม ต้ น อาร์ ก ห่ า งจากแอ่ ง หลอมเดิ ม ไปทางด้ า นหน้ า
ประมาณ 1/2 นิ้ว เมื่อเกิดการอาร์กแล้วจึงเคลื่อนลวดเชื่อมมาที่ปลายแนวเชื่อม
128

............ 1.20 โพรงอากาศฝังในแนวเชื่อม (Porosity) มีสาเหตุมาจากแก๊สที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา


ของสิ่งสกปรก หรือความชื้นไม่สามารถจะลอยตัวออกนอกผิวหน้าแนวเชื่อมได้ทัน
ก่อนการแข็งตัวของโลหะ
............ 1.21 รอยแหว่งขอบแนว (Undercut) มีสาเหตุมาจากการใช้กระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
............ 1.22 รอยเกย (Overlap) คือเนื้อโลหะเชื่อมที่ยื่นเลยออกไปกองอยู่บนขอบของแนว
เชื่อม
............ 1.23 รอยร้าวขณะร้อน (Hot crack) เป็นการร้าวในเม็ดโลหะที่เกิดขึ้นในขณะที่ชิ้นงาน
เย็นตัวลงมาใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง
............ 1.24 การบิดงอ (Distortion) เกิดจากชิ้นงานได้รับความร้อนเฉพาะจุดน้อยเกินไป
เนื่องจากใช้กระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
............ 1.25 การโก่งงอ (Warping) มีสาเหตุมาจากการหดตัวของรอยเชื่อม
2. จากรูป จงอธิบายหลักการของการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักช์ พร้อมระบุชื่อตามหมายเลขที่กาหนดให้
(10 คะแนน)

หลักการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักช์
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................
2.1 หมายเลข 1 ...................................................................................................................................................
2.2 หมายเลข 2 ...................................................................................................................................................
2.3 หมายเลข 3 ...................................................................................................................................................
2.4 หมายเลข 4 ...................................................................................................................................................
2.5 หมายเลข 5 ...................................................................................................................................................
2.6 หมายเลข 6 ...................................................................................................................................................
2.7 หมายเลข 7 ...................................................................................................................................................
2.8 หมายเลข 8 ...................................................................................................................................................
129

3. จากรูป จงบอกและหน้าที่ของเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ ตามหมายเลข


ที่กาหนดให้ (8 คะแนน)

3.1 หมายเลข 1 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................


3.2 หมายเลข 2 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
3.3 หมายเลข 3 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
3.4 หมายเลข 4 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
3.5 หมายเลข 5 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
3.6 หมายเลข 6 ชื่อ .............................................................หน้าที่ ................................-................................
3.7 หมายเลข 7 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
3.8 หมายเลข 8 ชื่อ .............................................................หน้าที่ .................................................................
4. จากรูป จงบอกชื่อของรอยต่อดังต่อไปนี้ (6 คะแนน)

4.1 .............................................. 4.2 .............................................. 4.3 ..............................................

4.4 .............................................. 4.5 .............................................. 4.6 ..............................................


130

5. จากรูป จงบอกชื่อของตาแหน่งท่าเชื่อมดังต่อไปนี้ (5 คะแนน)

5.1 .............................................. 5.2 .............................................. 5.3 ..............................................

5.4 .............................................. 5.5 ..............................................


6. มุมในการเชื่อมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้างจงอธิบายมาพอสังเขป (3 คะแนน)
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
7. การเริ่มต้นอาร์กมีกี่วิธีอะไรบ้าง (3 คะแนน)
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
8. จงอธิบายวิธีการเชื่อมต่อแนวในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมยังร้อนมาพอสังเขป (5 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
131

9. จงบอกลักษณะของข้อบกพร่อง สาเหตุและแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องของงานเชื่อมดังต่อไปนี้
(25 คะแนน)
ข้อบกพร่อง สาเหตุ แนวทางแก้ไข
1. ........................................................... 1. .....................................................
9.1 .................................................. 2. ........................................................... 2. .....................................................
3. ........................................................... 3. .....................................................

1. ........................................................... 1. .....................................................
9.2 .................................................. 2. ........................................................... 2. .....................................................
3. ........................................................... 3. .....................................................

1. ........................................................... 1. .....................................................
9.3 .................................................. 2. ........................................................... 2. .....................................................
3. ........................................................... 3. .....................................................

1. ........................................................... 1. .....................................................
9.4 .................................................. 2. ........................................................... 2. .....................................................
3. ........................................................... 3. .....................................................

1. ........................................................... 1. .....................................................
9.5 .................................................. 2. ........................................................... 2. .....................................................
3. ........................................................... 3. .....................................................
132

แบบทดสอบท้ายบทเรียน
คาชี้แจง : จงเลือกคาตอบข้อที่ถูกต้องที่สุด (66 คะแนน)
1. เครื่องเชื่อมแบ่งตามลักษณะของต้นกาลังที่ผลิตออกได้เป็นกี่ชนิด
ก. 1 ชนิด
ข. 2 ชนิด
ค. 3 ชนิด
ง. 4 ชนิด
2. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจัดเป็นเครื่องเชื่อมชนิดใด
ก. เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง
ข. เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ
ค. เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
ง. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์
3. เจนเนอเรเตอร์ของเครื่องเชื่อมแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทาหน้าที่อะไร
ก. ปรับกระแสไฟฟ้า
ข. ปรับความต้านทานไฟฟ้า
ค. จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ
ง. จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
4. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยเครื่องยนต์เหมาะกับงานเชื่อมในลักษณะใด
ก. งานที่มีสภาพเปียกแฉะซึ่งอาจทาให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหล
ข. งานสนามที่ไม่สามารถหากระแสไฟฟ้าได้
ค. งานซ่อมบารุงภายในโรงงานทั่วไป
ง. ใช้ได้ทุกสภาพงาน
5. ชุดแปลงกระแสของเครื่องเชื่อมทาหน้าที่อะไร
ก. แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
ข. ปรับแรงเคลื่อนของกระแสฟ้าให้ลดลง
ค. ปรับแรงเคลื่อนของกระแสฟ้าให้เพิ่มขึ้น
ง. ขับเพลาเจนเนอเรเตอร์เพื่อนากระแสไฟฟ้าไปใช้ในการเชื่อม
6. ชุดแปลงกระแสไฟฟ้ามีอยู่ในเครื่องเชื่อมชนิดใด
ก. เครื่องเชื่อมแบบปรับกระแส ขดลวดตัวปรับเรียงกระแส
ข. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
ค. เครื่องเชื่อมแบบขับด้วยเครื่องยนต์
ง. เครื่องเชื่อมแบบเรียงกระแส
133

7. ถ้าจานวนรอบขดลวดของตัวปรับเรียงกระแสมากกว่าขดลวดทุติยภูมิจะมีผลอย่างไรกับหม้อแปลง
ไฟฟ้าของเครื่องเชื่อมแบบปรับกระแส
ก. การเหนี่ยวนาของกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงมีค่ามาก
ข. ค่ากระแสไฟฟ้าในการเชื่อมสูง
ค. การเหนี่ยวนาของกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงมีค่าปานกลาง
ง. ค่ากระแสไฟฟ้าในการเชื่อมต่า
8. ขดลวดชนิดใดของเครื่องเชื่อมแบบปรับกระแสที่สามารถเคลื่อนที่ได้
ก. ขดลวดปฐมภูมิ
ข. ขดลวดทุติยภูมิ
ค. ขดลวดเรียงกระแส
ง. ขดลวดปรับแรงเคลื่อน
9. ตัวอักษรย่อของการต่อไฟฟ้ากระแสตรงต่อขั้วตรง คือ
ก. DCSP
ข. DCEP
ค. DECN
ง. DCRP
10. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง เกี่ยวกับการต่อขั้วไฟเชื่อมแบบ DCEP
ก. ความร้อนอยู่ที่ลวดเชื่อม 50% และที่ชิ้นงาน 50%
ข. ความร้อนอยู่ที่ลวดเชื่อม 60% และที่ชิ้นงาน 40%
ค. ความร้อนอยู่ที่ลวดเชื่อม 70% และที่ชิ้นงาน 30%
ง. ความร้อนอยู่ที่ลวดเชื่อม 80% และที่ชิ้นงาน 20%
11. การต่อไฟฟ้ากระแสตรงต่อขั้วตรงจะมีผลอย่างไรต่อชิ้นงาน
ก. ชิ้นงานมีการซึมลึกน้อย
ข. ชิน้ งานได้รับความร้อนน้อยกว่าลวดเชื่อม
ค. ชิ้นงานกับลวดเชื่อมได้รับความร้อนเท่ากัน
ง. ชิ้นงานมีการซึมลึกดี
12. การต่อไฟฟ้ากระแสตรงต่อขั้วตรงเหมาะสาหรับเชื่อมชิ้นงานชนิดใด
ก. ชิ้นงานที่มีความหนาน้อย
ข. ชิ้นงานโลหะแผ่น
ค. ชิ้นงานที่มีความหนามาก
ง. เชื่อมชิ้นงานได้ทุกชนิด
134

13. วงจรไฟฟ้ากระแสตรงต่อกลับขั้วมีผลทาให้ลวดเชื่อมเป็นขั้วชนิดใด
ก. ขั้วบวก
ข. ขั้วลบ
ค. ขั้วบวกและลบ
ง. ขั้วบวกหรือลบก็ได้
14. ข้อใดกล่าวถึงวัฏจักรการทางานของเครื่องเชื่อม (Duty Cycle) ได้ถูกต้องมากที่สุด
ก. ความสามารถในการเชื่อมของเครื่องเชื่อมในเวลากาหนดไม่เกิน 10 นาที
ข. ประสิทธิภาพของเครื่องเชื่อมที่ทาการเชื่อมในเวลา 10 นาที
ค. ประสิทธิภาพของเครื่องเชือ่ มที่กาหนดเวลาในการเชื่อมไม่น้อยกว่า 10 นาที
ง. ตัวเลขที่บ่งชีถ้ ึงความสามารถของเครื่องเชื่อมที่กาหนดไว้ด้วยเวลา 10 นาที
15. ในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.2 มิลลิเมตร ควรใช้เบอร์ของกระจกกรองแสง
ขนาดเท่าใด
ก. เบอร์ 8
ข. เบอร์ 10
ค. เบอร์ 12
ง. เบอร์ 14
16. ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์มีหน้าที่อะไร
ก. ช่วยทาให้การอาร์กเรียบสม่าเสมอ
ข. นากระแสไฟฟ้าไปยังการบริเวณอาร์ก
ค. สร้างแก๊สคลุมแนวเชื่อม
ง. ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน
17. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของฟลักซ์ที่ใช้หุ้มแกนลวดเชื่อม
ก. ช่วยทาให้การอาร์กเรียบสม่าเสมอ
ข. สร้างแก๊สคลุมแนวเชื่อม
ค. ช่วยดึงสิ่งสกปรกในบ่อหลอมขึ้นมารวมตัวกันเป็นสแลก
ง. นากระแสไฟฟ้าไปยังการบริเวณอาร์ก
18. ลวดเชื่อม E6013 มีค่าความแข็งแรงด้านแรงดึงต่าสุดเท่าใด
ก. 600 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ข. 6,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ค. 60,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ง. 600,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว
135

19. ตาแหน่งการเชื่อมที่เหมาะสมกับลวดเชื่อม E6013 คือ


ก. ท่าราบและท่าระดับ
ข. ท่าระดับ
ค. ท่าเหนือศีรษะ
ง. เชื่อมได้ทุกตาแหน่ง
20. การเชื่อมด้วยลวดเชื่อม E 6013 ควรปรับกระแสเชื่อมอย่างไร
ก. DCEP
ข. DCEN
ค. AC
ง. DCRP
21. การเชื่อมชิ้นงานหนา 12.7 มิลลิเมตร ด้วยลวดเชื่อม E6013 ควรใช้กระแสไฟเชื่อมเท่าใด
ก. 80-130 แอมแปร์
ข. 100-150 แอมแปร์
ค. 105-180 แอมแปร์
ง. 150-230 แอมแปร์
22. การเลือกลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร
ก. มีสมบัติเหมือนกันหรือใกล้เคียงกับชิ้นงานที่นามาเชื่อม
ข. เลือกลวดเชื่อมที่สามารถเชื่อมได้กับวัสดุทุกชนิด
ค. เลือกลวดเชื่อมที่มีราคาถูกเพือ่ ความประหยัด
ง. เลือกลวดเชื่อมที่มีค่าความแข็งแรงด้านแรงดึงสูงสุด
23. จากภาพคือตาแหน่งท่าเชื่อมชนิดใด
ก. ท่าราบ
ข. ท่าระดับ
ค. ท่าตั้ง
ง. ท่าเหนือศีรษะ

24. จากภาพคือรอยต่องานเชื่อมชนิดใด
ก. รอยต่อเกย
ข. รอยต่อมุม
ค. รอยต่อชน
ง. รอยต่อขอบ
136

25. รอยต่อชนิดใดที่นาขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกันหรือแนบชิดกันและในการเชื่อมจะเชื่อมที่ผิวหน้า


ของขอบงานให้ติดกัน
ก. รอยต่อมุม
ข. รอยต่อขอบ
ค. รอยต่อเกย
ง. รอยต่อชน
26. รอยต่อชนิดใดที่นาชิ้นงาน 2 ชิ้นวางซ้อนกัน
ก. รอยต่อชน
ข. รอยต่อตัวที
ค. รอยต่อเกย
ง. รอยต่อมุม
27. จากรูป คือรอยต่อชนิดใด
ก. รอยต่อชน
ข. รอยต่อตัวที
ค. รอยต่อเกย
ง. รอยต่อมุม

28. จากรูป คือ รอยต่อชนิดใด


ก. รอยต่อมุม
ข. รอยต่อเกย
ค. รอยต่อขอบ
ง. รอยต่อชน

29. มุมที่เอียงลวดเชื่อมไปทางเดียวกับการทิศทางเชื่อมหรือการเคลื่อนที่ของลวดเชื่อม หมายถึงมุมอะไร


ก. มุมงาน
ข. มุมส่ายลวดเชื่อม
ค. มุมเดินลวดเชื่อม
ง. มุมเอียงหัวจับลวดเชื่อม
137

30. จากรูปมุม 90 องศาหมายถึงอะไร

ก. มุมเดินลวดเชื่อม
ข. มุมงาน
ค. มุมจับลวดเชื่อม
ง. มุมจับชิ้นงาน

31. จากรูปมุม 65-85 องศาหมายถึงอะไร

ก. มุมเดินลวดเชื่อม
ข. มุมงาน
ค. มุมจับลวดเชื่อม
ง. มุมจับชิ้นงาน

32. ระยะอาร์ก (Arc Length) หมายถึง


ก. ระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับหัวจับลวดเชื่อม
ข. ระยะห่างระหว่างปลายลวดเชื่อมกับชิ้นงาน
ค. ระยะห่างระหว่างจากปลายลวดเชื่อมกับหัวจับลวดเชื่อม
ง. ระยะห่างระหว่างลวดเชื่อมกับโต๊ะเชื่อม
33. ถ้าระยะอาร์กในการเชื่อมมากเกินไปจะมีผลอย่างไรต่อชิ้นงาน
ก. ความร้อนกระจายที่ชิ้นงานน้อย
ข. ลวดเชื่อมติดกับชิ้นงาน
ค. แนวเชื่อมเล็ก
ง. เกิดรอยกัดขอบ
34. โดยทั่วไประยะอาร์กในการเชื่อมที่เหมาะสมควรมีขนาดเท่าใด
ก. เท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
ข. เท่ากับความหนาของชิ้นงาน
ค. 2 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
ง. 2 เท่าของความหนางาน
138

35. การเลือกใช้ชนิดของกระแสไฟฟ้าเชื่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอะไรบ้าง
ก. ชนิดของลวดเชื่อม
ข. ท่าเชื่อม
ค. จานวนแนวเชื่อม
ง. รอยต่องานเชื่อม
36. การใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินไปจะมีผลต่อแนวเชื่อมอย่างไร
ก. บ่อหลอมละลายกว้างและเกิดการกัดขอบตามความยาวของแนวเชื่อม
ข. แนวเชื่อมกองนูนมาก
ค. ขอบแนวเชื่อมไม่หลอมรวมตัว
ง. แนวเชื่อมเล็กและไม่เกิดการซึมลึก
37. จากรูป เป็นแนวเชื่อมที่มีผลกระทบมาจากการปรับค่าตัวแปรชนิดใด ไม่ถูกต้อง

ก. กระแสไฟฟ้าเชื่อมต่า
ข. กระแสไฟฟ้าเชื่อมสูง
ค. ระยะอาร์กยาว
ง. ความเร็วเชื่อมสูง
38. จากรูป เป็นแนวเชื่อมที่มีผลกระทบมาจากการปรับค่าตัวแปรชนิดใด ไม่ถูกต้อง

ก. กระแสไฟฟ้าเชื่อมต่า
ข. ระยะอาร์กยาว
ค. กระแสไฟฟ้าเชื่อมสูง
ง. ความเร็วเชื่อมสูง
39. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบสาคัญที่มีผลต่อการปรับค่ากระแสไฟฟ้าเชื่อม
ก. ขนาดของลวดเชื่อม
ข. ความหนาของชิ้นงาน
ค. ความเร็วในการเชื่อม
ง. ทิศทางเชื่อม
139

40. การส่ายลวดเชื่อมเร็วเกินไปจะมีผลอย่างไรกับแนวเชื่อม
ก. เกิดรอยแหว่งขอบแนว
ข. เกิดรอยร้าวที่จุดเชื่อมยึด
ค. เกิดความเค้นตกค้าง
ง. เกิดรูพรุน
41. การปรับกระแสไฟสูงเกินไปจะทาให้เกิดจุดบกพร่องอย่างไร
ก. สแลกฝังใน
ข. เกิดรูพรุน
ค. เนื้อแนวเชื่อมไม่ประสาน
ง. การเชื่อมซึมลึกไปข้างหลังมากเกินไป
42. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุการเกิดรอยเกย (Overlap) ของแนวเชื่อม
ก. กรแสสูงเกินไป
ข. กระแสต่าเกินไป
ค. เลือกใช้ลวดเชื่อมไม่เหมาะสม
ง. มุมลวดเชื่อมไม่ถูกต้อง
43. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุของการหลอมลึกไม่บริบูรณ์ที่ราก (Incomplete root penetration)
ก. ปรับกระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
ข. ความเร็วเดินลวดเชื่อมไม่ถูกต้อง
ค. ใช้ลวดเชื่อมผิดประเภท
ง. ขอบงานบางเกินไป
44. สาเหตุที่ทาให้เกิดรอยร้าว (Crack) ในแนวเชื่อม คือ
ก. ชิ้นงาสกปรก
ข. เคลื่อนที่ลวดเชื่อมช้า
ค. ใช้ลวดเชื่อมโตเกินไป
ง. เชื่อมยึดแนวเชื่อมเล็กเกินไป
45. สาเหตุที่ทาให้เกิดรอยแหว่งขอบแนว (Under cut) คือ
ก. กระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
ข. กระแสไฟเชื่อมสูงเกินไป
ค. ลวดเชื่อมเล็กเกินไป
ง. ลวดเชื่อมมีขนาดใหญ่เกินไป
46. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการป้องกันการรอยแหว่งขอบงาน (Undercut)
ก. ใช้กระแสไฟเชื่อมในช่วงที่เหมาะสม
ข. ปรับมุมเอียงลวดเชื่อมให้มากขึ้น
ค. ใช้ความเร็วในการเดินลวดเชือ่ มที่เหมาะสม
ง. รักษาระยะอาร์กประมาณเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม
140

47. แนวเชื่อมเย็นตัวแล้วมีความเค้นบางส่วนตกค้างอยู่ในแนวเชื่อมจะเกิดข้อบกพร่องใด
ก. ชิ้นงานบิดงอ
ข. แนวเชื่อมมีรูพรุน
ค. แนวเชื่อมมีสแลกฝังใน
ง. แนวเชื่อมหลอมลึกไม่สมบูรณ์
48. ข้อบกพร่องของแนวเชื่อมที่เกิดจากสาเหตุมีสิ่งสกปรกและลวดเชื่อมมีความชื้นสูงคือ
ก. ชิ้นงานบิดงอ
ข. แนวเชื่อมมีรูพรุน
ค. แนวเชื่อมมีสแลกฝังใน
ง. แนวเชื่อมหลอมลึกไม่บริบูรณ์ที่ราก
49. หากผู้ปฏิบัติงานไม่เคาะสแลกหรือเคาะสแลกออกไม่หมดก่อนเชื่อมทับแนวจะเกิดข้อบกพร่องใด
ก. ชิ้นงานบิดงอ
ข. แนวเชื่อมมีรูพรุน
ค. แนวเชื่อมมีสแลกฝังใน
ง. แนวเชื่อมหลอมลึกไม่บริบูรณ์
50. การบิดตัว (Distortion) ของชิ้นงานเชื่อมเกิดจากสาเหตุใด
ก. มีความเค้นบางส่วนตกค้างอยู่ในแนวเชื่อม
ข. ใช้กระแสไฟเชื่อมต่า
ค. ใช้กระแสไฟเชื่อมสูง
ง. ความเร็วในการเชื่อมช้าเกินไป
51. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการป้องกันการบิดตัวของชิ้นงาน
ก. การอุ่นชิ้นงาน (Preheat) ก่อนการเชื่อม
ข. การอุ่นชิ้นงานหลังการเชื่อม (Postheat)
ค. การส่ายลวดเชื่อม
ง. ปรับกระไสเชื่อมให้ต่าลง
52. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุของการเกิดโพรงอากาศหรือรูพรุน (Porosity)
ก. ผิวงานมีสิ่งสกปรก
ข. ลวดเชื่อมมีความชื้นสูง
ค. ใช้กระแสไฟเชื่อมต่ามาก
ง. ระยะอาร์กห่างมากเกินไป
53. วิธีการป้องกันการเกิดรูพรุนในแนวเชื่อมควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ทาความสะอาดชิ้นงานก่อนเชื่อม
ข. อุ่นงานก่อนเชื่อม
ค. ใช้กระแสไฟเชื่อมให้สูง
ง. ส่ายลวดเชื่อมให้กว้างเกิน 3 เท่าของความโตลวดเชื่อม
141

54. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุการหลอมลึกไม่บริบูรณ์ (Incomplete Penetration) ของแนวเชื่อม


ก. ให้ความร้อนไม่ถึงจุดหลอมเหลว
ข. ปรับกระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
ค. เคลื่อนลวดเชื่อมเร็วเกินไป
ง. การเว้นระยะของรอยต่อมากเกินไป
55. สาเหตุที่ทาให้เกิดสแลกฝังใน (Slag inclusion) คือ
ก. ใช้ลวดเชื่อมที่มีขนาดเล็กเกินไป
ข. ไม่แคะสแลกหรือเคาะออกไม่หมดก่อนเชื่อมทับแนว
ค. กระแสไฟเชื่อมต่าเกินไป
ง. ความเร็วในการเดินลวดเชื่อมสูงเกินไป
56. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุที่ทาให้เกิดรอยเกย (Overlap) ของแนวเชื่อม
ก. การเคลื่อนลวดเชื่อมช้าเกินไป
ข. มุมของลวดเชื่อมไม่ถูกต้อง
ค. ระยะอาร์กห่างเกินไป
ง. การตั้งค่ากระแสไฟเชื่อมต่ามากเกินไป
57. การอุ่นชิ้นงานก่อนและหลังการเชื่อมเพื่อการป้องกันข้อบกพร่องใด
ก. การบิดงอของชิ้นงาน
ข. การเกิดโพรงอากาศหรือรูพรุน
ค. รอยร้าว
ง. แนวเชื่อมไม่เป็นแนว
58. ข้อใดเป็นวิธีการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าขณะเชื่อมอาร์กด้วยลวดหุ้มฟลักซ์
ก. เชื่อมงานโดยไม่สวมถุงมือหนัง
ข. ใช้สายเชื่อมที่ฉนวนหุ้มสายเชื่อมขาด
ค. ต่อสายไฟฟ้าโดยไม่มีสายเทปพันป้องกัน
ง. ต่อสายดินเครื่องเชื่อมก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
59. ข้อใดเป็นการป้องกันอันตรายจากการเผาไหม้ขณะทาเชื่อมที่ง่ายและสะดวกมากที่สุด
ก. ใช้ค้อนการเคาะสแลกในขณะที่ชิ้นงานยังร้อนอยู่
ข. ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์และพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้งก่อนเชื่อม
ค. สวมชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและสวมหน้ากากเชื่อมทุกครั้งก่อนเชื่อม
ง. ติดตั้งระบบระบายอากาศในพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้งก่อนเชื่อม
60. อันตรายที่เกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตขณะปฏิบัติงานเชื่อม คือ
ก. หัวใจหยุดเต้น
ข. ผิวหนังอักเสบ
ค. กล้ามเนื้อเกร็งและหดตัวอย่างแรง
ง. ระบบประสาททางานช้า
142

61. ผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุดจากการสูดดมควันและฝุ่นละอองจากการเชื่อมคืออะไร
ก. เป็นโรคผิวหนัง
ข. เป็นโรคปอด
ค. ผิวหนังไหม้
ง. นัยน์ตาอักเสบ
62. ไอระเหย (Fumes) ของสารเคมีที่มีผลกระทบกับช่างเชื่อมอย่างไร
ก. เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ
ข. ผิวหนังไหม้
ค. นัยน์ตาอักเสบ
ง. ระบบประสาททางานช้า
63. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบที่ทาให้เกิดไอระเหยขณะทาการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์
ก. ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของโลหะชิ้นงานที่นามาเชื่อม
ข. วิธีการเชื่อม
ค. เครื่องเชื่อม
ง. ชนิดของลวดเชื่อม
64. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการป้องกันอันตรายจาการเชื่อมอาร์กด้วยเชื่อมหุ้มฟลักซ์
ก. ติดตั้งระบบการระบายอากาศเพื่อดูดควัน ไอระเหย และแก๊สออกจากห้องเชื่อม
ข. ติดตัง้ อุปกรณ์ดับเพลิงไว้บริเวณใกล้ๆ สถานที่เชื่อม
ค. สวมใส่ชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและหน้ากากเชื่อมขณะเชื่อม
ง. จัดสถานที่ปฏิบัติงานเชื่อมทีม่ ิดชิดเพื่อป้องกันควันพิษจากการเชื่อม
65. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการป้องกันไฟฟ้าดูดในขณะเชื่อม
ก. ไม่ใช้สายเชื่อมที่ชารุด
ข. สวมใส่ชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
ค. ไม่เชื่อมในสถานที่มีพื้นปียกแชะ
ง. ไม่สวมถุงมือขณะเชื่อม
66. ข้อใด ไม่ใช่ ผลกระทบของช่างเชื่อมเมื่อได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต
ก. นัยน์ตาอักเสบ
ข. เกิดอาการระคายเคือง เจ็บปวดที่ดวงตา
ค. ดวงตาเป็นสีแดงและมีเม็ดทรายเข้าตา
ง. ผิวหนังอักเสบ
143

บรรณานุกรม
ประทีป ระงับทุกข์. งานเชื่อมโลหะ 1. นนทบุร:ี เอมพันธ์, 2547.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์การเชื่อม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์, 2554.
สมบูรณ์ เต็งหงษ์เจริญ และสุชาติ กิจพิทักษ์. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น รหัส 2100-1005.
กรุงเทพฯ: ศูนย์สง่ เสริมวิชาการ, 2552.
สมบูรณ์ เต็งหงษ์เจริญ. งานเชื่อมโลหะ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ม.ป.ป.
อานาจ ทองแสน. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น รหัสวิชา 2100-1005.
กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2558.
อานาจ ทองแสน และจรูญ พรมสุทธิ์. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น รหัส 2100-1005.
กรุงเทพฯ: ประสานมิตร, 2546.
Andrew D. Althouse, and Others. Modern Welding. 11th Edition,
The Goodheart-Willcox Publisher, 2012.
Jefferson’s. WELDING ENCYCLOPEDIA. 18th Edition. American Welding Society, 1977.
Larry Jeffus. Welding Principles and Application. 7th edition. Delmar Publishers, 2012.

เว็บไซต์ (Website)
http://www.thomex.com/ebrochures/ranga-enterprises.
http://www.plazathai.com/show-569140.html.
http://www.parakeet.in/thyristorised-welding-rectifier.htm.
http://www.welovesafety.com.
http://www.millionwelding.com.

You might also like