You are on page 1of 150

5.

1 ระบบของไหลในท่อรับแรงดัน
5.1.1 การวางโครงการ
ระบบท่อเป็นระบบที่ใช้ส่งของไหลจากต้นทางไปสู่ปลายทางที่ต้องการใช้ของไหลในอัตราการไหลและ
ความดั นที่ ต้องการ ท่อจึ งมี รูปตัดเป็นพื้นที่ วงกลมซึ่งง่ายต่อการผลิต มี ความดันตกน้อย ท่อต้องสามารถ
ทนทานต่ อ ความดั น ภายในและภายนอกท่ อ การออกแบบ การประกอบติ ด ตั้ ง การควบคุ ม การใช้ และ
การบํารุงรักษาจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของระบบท่อ ตั้งแต่วัสดุของท่อ สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ
ของแต่ ล ะระบบ วิ ธี ก ารประกอบติ ด ตั้ ง การตรวจสอบและการทดสอบ เพื่ อ ให้ ร ะบบทํ า งานได้ ต าม
ความต้องการและถูกต้องตามมาตรฐาน กฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
5.1.1.1 การศึกษาข้อมูล
ก.ความต้องการ
ก.1 ทั่วไป ข้อมูลความต้องการของโครงการ ได้แก่
- ประเภทและคุ ณ สมบั ติ ท างกายภาพและทางเคมี ข องของไหลที่ จ ะต้ อ งส่ ง เพื่ อ
การเลือกประเภทและวัสดุท่อ
- อัตราการส่งของไหลที่ต้องการเพื่อการคํานวณขนาดของท่อ
- อุณหภูมิของของไหล
- ตํ า แหน่ ง และระดั บ ต้ น ทางและปลายทางที่ รั บ ของไหล และแนวทางที่ ส ามารถ
เดินท่อได้
- ความดันของไหลที่ต้องการที่ต้นทางและปลายทาง
- ค่าพลังงานที่ต้นทางเพื่อการเลือกขนาดท่อและเครื่องต้นกําลังสําหรับส่งของไหล
ก.2 ประเภทของงาน สามารถจัดประเภทของงานออกได้ตาม ASME 31 ซึ่งต้องมี
ข้อควรพิจารณาเป็นพิเศษดังต่อไปนี้
- ระบบท่อสําหรับโรงไฟฟ้า (นอกหม้อน้ํา) และท่อในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป
- ระบบท่อสําหรับก๊าซเชื้อเพลิง
- ระบบท่อสําหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมน้ํามันและเคมี
- ระบบท่อสําหรับเครื่องเย็น
- ระบบท่อสําหรับอาคาร
- ระบบท่อสําหรับการขนถ่ายก๊าซ ได้แก่ ก๊าซเชื้อเพลิง ก๊าซอื่นๆ การขนถ่ายของเหลว
ได้แก่ น้ํามัน สารไฮโดรคาร์บอน น้ําและอื่นๆ และการขนถ่ายของไหลแขวนลอย
(Slurry)
ข. ชนิดของท่อรับแรงดัน
อาจแบ่งท่อออกได้ตามวัสดุหลักเป็นท่อโลหะ และท่ออโลหะซึ่งได้แก่ท่อพลาสติก ท่อดิน
เผา ท่ อ คอนกรี ต เสริ ม แรง เป็ น ต้ น วั ส ดุ ท่ อ ต้ อ งเหมาะสมกั บ การใช้ ง านทั้ ง ด้ า นของไหลภายในท่ อ และ
ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ท่อสัมผัส ท่อจะต้องสามารถทนความดันและอุณหภูมิ การกัดกร่อน การผุกร่อน
ปฏิกิริยาเคมี
ท่อโลหะจะมีลักษณะโครงสร้างเป็นผลึกขนาดเล็ก ต่อเนื่องกัน รูปร่างของผลึกสะท้อนถึง
คุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ได้แก่ความแข็ง ความเหนียว การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติจากอุณหภูมิ ทําให้
สามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพได้โดยใส่วัสดุอื่นเข้าไปปรับปรุงโครงสร้างซึ่งเรียกว่าโลหะผสม เพื่อให้มี
ความแข็งแรงมากขึ้น ทนต่อการผุกร่อนมากขึ้น เหล็กและโลหะผสมจากเหล็ก เป็นวัสดุที่ใช้ผลิตท่อมากที่สุด
- 311 -
 
ได้แ ก่ ท่อ เหล็ กหล่ อ ท่ อ เหล็ ก กล้า ท่ อเหล็ กไร้ส นิมเป็น ต้น ทองแดงอลู มิ เนียม และตะกั่วก็ ใ ช้ผ ลิ ตท่ อ ได้
เช่นเดียวกัน แต่ใช้ในลักษณะงานต่างกันไป วัสดุสําหรับท่อโลหะจะมีกําหนดโดยมาตรฐานท่อ ASTM, API,
ASME, BS, DIN, ISO และอื่นๆ
ข.1 เหล็กหล่อ (Cast iron)
- เหล็ ก หล่ อ มี ค าร์ บ อนเป็ น ส่ ว นผสมมากกว่ า 2% โดยน้ํ า หนั ก ไหลง่ า ยจึ ง เหมาะ
สําหรับการหล่อชิ้นงานมากกว่าและราคาถูกกว่าเหล็กกล้า
- เหล็กหล่อขาวเมื่อแตกจะมีสีเงินคาร์บอนที่ผสมจะอยู่ในลักษณะเหล็กคาร์ไบน์ทนต่อ
การสึกหรอได้ดีแต่เปราะ เหล็กหล่อมาริเอเบิลคือเหล็กหล่อขาวที่ปรับโครงสร้างด้วย
ความร้อนทําให้คาร์บอน
- เหล็กหล่อเทามีคาร์บอนเป็นเกล็ด มีความแข็งแรงอตามขนาดของเกล็ดคาร์บอน
- เหล็กหล่อเหนียวเป็นเหล็กหล่อที่มีคาร์บอนสูงและปรับโครงสร้างด้วยแมกนีเซียม
สามารถกลึงได้เหมือนเหล็กหล่อเทาแต่มีคุณสมบัติทางกายภาพสูงกว่า
ข.2 เหล็กกล้าและเหล็กกล้าผสม (Steel and Alloy steel)
เหล็กกล้าคือเหล็กที่ มีค าร์ บอนเป็นส่วนผสมไม่เกินกว่า 2% โดยน้ํ าหนักด้วยการใช้
ออกซิ เ จนดึงคาร์ บ อนที่ เ กิ น ในเหล็ ก ออกซึ่ง มี ก รรมวิ ธีใ นการผลิตหลายแบบทํ าให้ส ามารถแบ่งเหล็ กกล้ า
ออกเป็น 3 ประเภท
- เหล็กกล้าคาร์บอนต่ํา (Low carbon steel) มีคาร์บอน 0.05 – 0.25%
- เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium carbon steel) มีคาร์บอน 0.25 – 0. 5%
- เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High carbon steel) มีคาร์บอน 0. 5% และมากกว่า
การผสมโลหะและธาตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่คาร์บอนเข้าไปในเหล็กกล้าและการปรับโครงสร้าง
โมเลกุลของเหล็กทําให้ได้คุณสมบัติทางกายภาพที่ดีขึ้น
ข.3 เหล็กไร้สนิม (Stainless steel)
คื อ เหล็ ก กล้ า ผสมที่ มี โ ครเมี ย มเกิ น 12% ทํ า ให้ มี ค วามทนทานต่ อ การผุ ก ร่ อ น และ
มีโครงสร้างที่สามารถใช้ความร้อนปรับโครงสร้าง (heat treatment) ทําให้มีความแข็งมากขึ้น และเมื่อผสม
นิเกิ้ลลงในเหล็กไร้สนิมมากพอ ก็จะทําให้มีโครงสร้างออสติเนติก (Austenatic structure) ซึ่งมีความแข็งแรง
ความเหนียวและทนทนต่อการผุกร่อน
ข.4 ท่อทองแดง
ทองแดงเป็ น วั ส ดุ สํ า หรั บ ท่ อ ที่ มี ก ารใช้ ที่ อุ ณ หภู มิ ต่ํ า กว่ า อุ ณ หภู มิ ที่ เ กิ ด การเปลี่ ย น
โครงสร้างซึ่งจะทําให้วัสดุอ่อนตัว ทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองแดงมากกว่า 70% ใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกิน
200oซ และเมื่อมีส่วนผสมทองแดง 60% ควรใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกิน 150oซ
ข.5 ท่อพลาสติก
พลาสติ ก เป็ น วั ส ดุ ที่ สั ง เคราะห์ ขึ้ น จากโมโนเมอร์ แ ละโพลี เ มอร์ ข อง คาร์ บ อนและ
ไฮโดรเจน สามารถทนทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดีแต่ทนต่อแรงกระแทก ความร้อน และการเสื่อม
คุณสมบัติจากอายุการใช้งานด้อยกว่าท่อโลหะ แบ่งออกเป็นเทอร์โมพลาสติกและพลาสติกเทอร์โมเซ็ตติ้ง
ข.5.1 ท่อเทอร์โมพลาสติก
เทอร์โมพลาสติกมีโครงสร้างที่ใช้ความร้อนสามารถผลิตได้หลายครั้ง ประกอบด้วย

- 312 -
 
- ท่อ PB (Polybutylene) ใช้กับน้ําร้อนได้แต่ต้องตรวจสอบเรื่องความดันที่ท่อ
สามารถรับได้ที่อุณหภูมิที่ใช้งานการติดตั้งมีทั้งแบบข้อต่อเกลียวและการใช้
ความร้อน (การใช้ความร้อนต่อเชื่อมใช้เวลาค่อนข้างมากโดยเฉพาะท่อขนาด
ใหญ่) ที่สหรัฐอเมริกามีการฟ้องร่วม (class-action) เนื่องจากความเสียหาย
จากการรั่ว ซึ่งเกิดจากข้อต่อ
- ท่ อ CPVC (Chlorinated Poly-Vinyl Chloride) เป็ น ท่ อ ที่ ใ ช้ กั น อยู่ อ ย่ า ง
แพร่ ห ลาย สามารถใช้ กั บ น้ํ า ร้ อ นได้ ถึ ง 80oซ แต่ ก ลุ่ ม นั ก รณณรงค์ เ พื่ อ
สิ่งแวดล้อมท้วงว่าท่อชนิดนี้มีข้อเสียทั้งในการผลิตและการทิ้งทําลายเนื่องจาก
วัตถุดิบ คือ vinyl monomer เป็นสารก่อมะเร็ง การผลิตและการเผาทําลาย
จะทําให้เกิดก๊าซพิษได้
- ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) ไม่สามารถใช้กับน้ําร้อนได้ผู้ผลิต
จึงทํา PEX (Cross-linked Polyethylene) ซึ่งทนอุณหภูมิได้สูงและมีความ
แข็งแรง แต่ไม่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ การติดตั้งต้องใช้ข้อต่อพิเศษ
- ท่อ ABS (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene) เป็นท่อที่ PPFA (Plastic Pipe
& Fittings Association) แนะนําสําหรับระบบท่อ DWV(Drain, waste, vent)
ทนความร้อนได้ถึง 80oซ รับความดันได้เล็กน้อยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แต่ไม่ใช้สําหรับท่อน้ําร้อนที่มีความดัน
- ท่ อ PP-R (Polypropylene Random Copolymer) เท่ า ที่ ท ราบยั ง ไม่ ร ะบุ
ความเคร้นและผลิตภัณฑ์ใน PPI แต่ก็มีมาตรฐานอื่นๆ รองรับ ได้แก่ DIN8077,
DIN8078 ทั้งยังมีการผลิตในจีน อินเดีย และไทย ทําให้มีราคาถูกเป็นที่นิยมใช้
ในปัจจุบันที่อุณหภูมิสูงขึ้นไปความดันที่ยอมให้ใช้และอายุการใช้งานลดลงมาก
จึงควรระวังเรื่องความดันที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่อาจเข้ามามีผลต่อท่อ เช่น
การเกิดแรงกระแทกและอื่นๆ ด้วย
ข.5.2 พลาสติกเทอร์โมเซ็ตติ้ง
เป็นพลาสติกที่โครงสร้างจะเสถียรหลังได้รับความร้อน ไม่สามารถนํามาใช้ได้อีก
ได้แก่ ท่ออีพ็อกซี่และท่อโพรีเอสเตอร์ซึ่งมักจะเสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส
ข.6 อื่นๆ
ท่อชนิดอื่นๆ ที่ผลิตได้แก่ ท่อวัสดุผสม (Composite pipe) ประกอบด้วยวัสดุหลาย
ประเภทซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้แก่ ท่อพลาสติกทีมีภายในเป็นท่ออลูมิเนียม เป็นต้น
ค. ขนาดของท่อและความหนา
ค.1. ท่อเหล็ก ขนาดของท่อเหล็ก กําหนดให้เป็นตามมาตรฐาน
- ASME B36.10M Welded and Seamless Wrought Steel Pipe
- ASME B36.19M Stainless Steel Pipe
IPS (iron pipe size) กํ า หนดขนาดท่ อ ประมาณเส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางภายในของท่ อ
เป็นนิ้วและกําหนดความหนาค่าหนึ่งและเรียกความหนานี้เป็น STD ซึ่งต่อมางานต้องใช้กับความดันสูงขึ้นจึงมี
การตั้งค่าความหนาเพิ่มขึ้นเรียกท่อนี้ว่า XS โดยให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเท่าเดิม และต่อมาก็มีท่อ
XXS ในลักษณะเดียวกัน

- 313 -
 
NPS (Norminal pipe size) ตั้งขึ้นเนื่องจากได้พัฒนาวัสดุให้แข็งแรงและทนการกัด
กร่อนมากขึ้นจึงระบบนี้กําหนดขนาด ท่อขนาด NPS 12 ลงมามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกใหญ่กว่า
ขนาดเป็ น นิ้ ว แต่ ท่ อ ขนาด NPS 14 ขึ้ น ไปมี ข นาดเส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางภายนอกเท่ า กั บ ขนาดเป็ น นิ้ ว และ
มีความหนาของท่อที่บางลงตาม schedule ของท่อ
ค.2.ท่อทองแดง
ขนาดของท่อทองแดงกําหนดให้เป็นตามมาตรฐาน ASTM B88 ท่อทองแดงสําหรับงาน
ประปา มี 3 ประเภท ได้แก่ K, L และ M ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (เท่ากับขนาดท่อบวก 0.125 นิ้ว)
ความหนาและข้อมูลที่สําคัญสําหรับการออกแบบสามารถอ้างอิงจากมาตรฐานข้างต้น
ค.3.ท่อพลาสติก
การระบุประเภทของท่อพลาสติกมีหลายแบบ ได้แก่ Schedule (IPS). SDR (Standard
Diameter Ratio), ‘S’ Series และ PN (Metric/ Bar Rating)
- Schedule (IPS) มีท่อพลาสติกผลิตตามแบบนี้น้อยเนื่องจากขนาดและความหนา
เป็นไปตามแบบของท่อเหล็ก IPS(Iron Pipe Size) ความดันใช้งานจึงลดลงเมื่อขนาด
ของท่อใหญ่ขนึ้ ตัวเลขของ Schedule ไม่สื่อความหมายที่เข้าใจได้ง่าย
- SDR (Standard Diameter Ratio) SDR คืออัตราส่วนของเส้นผ่าน
ศูนย์กลางต่อความหนาของท่อเมื่อกําหนด SDR ความดันของท่อชนิดหนึ่งจะเท่ากัน
หมดทุกขนาดท่อ
- ‘S’ Series : ISO 4065 แสดงความสัมพันธ์ของความหนาของท่อกับ
เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อโดยที่ S = (SDR-1)/2
- PN (Pressure Nominal) PN เป็นระบบที่ใช้ระบุการทํางานของท่อนอก
สหรัฐอเมริกา มีหน่วยเป็นระบบเมตริก (Metric/ Bar Rating)บอกค่าความดันใช้งาน
ของท่อมีหน่วยเป็นบาร์ ที่อุณหภูมิ 20oซเมือ่ ระบุค่า PN อัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลาง
ต่อความหนาของท่อจะเท่ากันหมดทุกๆขนาดท่อ การระบุค่า PN ช่วยบอกการทํางาน
ขั้นต้นของท่อได้
PN = 2.HDS/(t/d)
เมื่อ PN คือ ความดันใช้งานมีหน่วยเป็นMPa
HDS คือ แรงเคร้นของวัสดุที่ยอมให้ใช้ได้ หน่วยเป็นMPa
t, d คือความหนาท่อ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ
ในซีกด้านอเมริกา การคํานวณความดันของท่อตาม ASTM Test Method และ PPI
(Plastic Piping Institute) ใช้ PN เป็ น MPa และ HDS คื อ Hydrostatic design stress = HDB * DF
ซึ่ง HDB คือ Hydrostatic design basis กําหนดค่าแรงเคร้นของเทอร์โมพลาสติกแต่ละชนิดจากการทดสอบ
โดยมาตรฐาน ASTM (American Standard of Testing Material) และประกาศเพื่อการใช้งานระยะยาว
(50ปี) ใน PPI’s TR-4 (Plastic Piping Institute- technical report no.4) สําหรับน้ําร้อนใช้มาตรฐาน
แรงเคร้นที่ 82.2oซ (180oฟ) โดยที่ DF เป็นตัวประกอบเพื่อการออกแบบซึ่งเป็นสัดส่วนกลับกับตัวประกอบ
ความปลอดภัยความปลอดภัย

- 314 -
 
ในด้านยุโรปก็มีมาตรฐานของท่อและวัสดุเทอร์โมพลาสติกหลายประเภทซึ่งโดยหลักการ
แล้วสามารถอ้างอิงไปในทางเดียวกัน ได้แก่ BS, DIN และ ISO ซึ่งแปลงสมการที่ 2 เป็นสมการที่ 3 และ
มีวิธีการทดสอบเพื่อใช้ค่าแรงเคร้นมาคํานวณหาความดันใช้งานและอายุการทํางานของท่อที่ใช้ที่อุณหภูมิสูง
PN = 20.H/(SDR-1)
เมื่อ PN คือ ความดันใช้งานมีหน่วยเป็นบาร์ (1 บาร์ = 0.1 MPa )
H คือ แรงเคร้นของวัสดุที่ยอมให้ใช้ได้มีหน่วยเป็น N/mm2
SDR คือ Standard Diameter Ratio = เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของท่อ (mm.)/
ความหนาของท่อ (mm.)
เมื่อมีข้อมูลความดันใช้งานและอายุการใช้งานของท่อเทอร์โมพลาสติก ควรหาข้อมูล
เรื่องความดันใช้งานของท่อเมื่อนําไปใช้งานที่อุณหภูมิสูงขึ้นโดยใช้ค่าจากตารางที่ 5.1.1.1 และรูปที่ 5.1.1.1
เพื่อประเมินคร่าวๆ แต่เพื่อความแน่ใจควรเป็นข้อมูลจากผู้ผลิตโดยตรง
ตารางที่ 5.1.1.1 ตัวประกอบความดันของท่อพลาสติกที่ลดลงเมื่ออุณหภูมิของท่อสูงขึ้น

รูปที่ 5.1.1.1 ตัวประกอบความดันของท่อพลาสติกที่ลดลงเมื่ออุณหภูมิของท่อสูงขึ้นในรูปของกราฟ

- 315 -
 
ง. วิธีการติดตัง้
ง.1 การเชื่อมต่อท่อโลหะ
ง.1.1 การเชื่อมประสาน (Soldering)
การเชื่ อ มประสานเป็ น กระบวนการในการเชื่ อ มต่ อ โลหะ 2 ชิ้ น เข้ า ด้ ว ยกั น
โดยการใช้ความร้อนหลอมโลหะอีกชิ้นหนึ่งซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ํากว่าโลหะทั้ง 2 ชิ้นที่ต้องการเชื่อมจนกระทั่ง
โลหะที่หลอมนั้นไหลเข้าไปเชื่อมประสานรอยต่อของโลหะทั้ง 2 เมื่อรอยเชื่อมประสานแข็งตัวโลหะที่นํามาเป็น
ตัวเชื่อมประสานก็จะมีความแข็งพอๆ กับโลหะที่ต้องการเชื่อมต่อกันการเชื่อมประสานโดยทั่วไปแยกออกเป็น
2 ประเภทคือ การเชื่อมประสานแบบแข็ง (Hard solder) และการเชื่อมประสานแบบอ่อน (Soft solder)
การเชื่ อ มประสานแบบแข็ ง เป็ น การเชื่ อ มประสานโดยการใช้ โ ลหะที่ แ ข็ ง และ
มีจุดหลอมเหลวสูงเป็นตัวเชื่อมประสาน เช่น ลวดเงินหรือเรียกว่าลวดเชื่อมทองแดง
การเชื่ อ มประสานแบบอ่ อ นเป็ น การเชื่ อ มประสานที่ ใ ช้ โ ลหะที่ อ่ อ นและ
มีจุดหลอมเหลวที่ต่ํากว่าเป็นตัวเชื่อมประสานเช่น โลหะผสม
โลหะส่วนมากเมื่อถูกความร้อนในระดับหนึ่งก็จะกลายเป็นสีดําอันเป็นผลจาก
การทําปฏิกิริยาของโลหะกับอ็อกซิเจนในอากาศซึ่งทําให้การยึดติดและการไหลของตัวน้ําประสานเป็นไปได้
ไม่ดีเท่าที่ควร Flux จะช่วยทําให้การยึดติดและการไหลของน้ําประสานในการเชื่อมเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
ง.1.2 การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (Shield Metal – Arc Welding)
หรือ (SMAW)
ลวดเชื่ อ มที่ มี ส ารพอกหุ้ ม อยู่นี้ จ ะทํา หน้ า ที่เ ป็น ตั ว อาร์ ค กั บ โลหะงานทํ าให้ เ กิ ด
ความร้อนสูงจนกระทั่งโลหะงานหลอมละลายในขณะเดียวกันความร้อนที่ได้จากการอาร์คจะหลอมละลายตัว
มั น เองด้ ว ยและหยดลงเติ ม ลงในบ่ อ หลอมละลายเมื่ อ เย็ น ตั ว ลงจะกลายเป็ น แนวเชื่ อ มส่ ว นฟลั๊ ก ซ์ ห รื อ
สารพอกหุ้มเมื่อได้รับความร้อนก็จะหลอมละลายเกิดเป็นควันปกคลุมแนวเชื่อมเพื่อไม่ให้ออกซิเจนในอากาศ
เข้าไปรวมตัวกับน้ําโลหะเหลวและฟลั๊กซ์ที่หลอมละลายลงในบ่อหลอมละลายก็ยังช่วยดึงสารมลทินหรือ
สิ่งสกปรกลอยขึ้นมาจากน้ําโลหะเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นสแลค (Slag) พอกหุ้มแนวเชื่อมอยู่เพื่อควบคุมให้
แนวเชื่อมเย็นตัวอย่างช้าๆ และสม่ําเสมอ
การเชื่อมท่อกับท่อทําโดยการเชื่อมชนขอบ (Butt weld) เชื่อมแนวบาง (Fillet
weld) การเชื่ อ มชนขอบจะต้ อ งเตรี ย มขอบท่ อ ที่ จ ะต่ อ ด้ ว ยการบาก (Bevel) เพื่ อ ให้ เ ชื่ อ มพอกได้ ต ลอด
ความหนาของท่อ รูปร่างของการบากทั่วไปกําหนดตามความหนาของท่อ

รูปที่ 5.1.1.2 ลักษณะการบากปลายเพื่อการเชื่อมชนขอบ

- 316 -
 
ตารางที่ 5.1.1.2 ระยะการบากตามรูปซึ่งท่อเหล็กคาร์บอน เหล็กเฟอร์ริติกผสม (Ferritic alloy steel) และเหล็กรัฟ
(wrought iron) มี x=3/16 นิ้ว เหล็กผสมออสติเนติก (Austenetic alloy steel) มี x=1/8 นิ้ว
ความหนาท่อ การเตรียมปลายท่อ
น้อยกว่า x ตัดตรงหรือเอียงเล็กน้อย
x – 7/8 นิ้ว บากธรรมดา
>7/8 นิ้ว บากผสม

การเชื่อมท่อเหล็กคาร์บอน เหล็กผสมต่ํา (Low alloy steel) เหล็กไร้สนิม และท่อ


โลหะที่ ไ ม่ ใ ช่ เ หล็ ก (Nonferrous piping) ที่ ใ ช้ ก ารเชื่ อ มทั ง สเต็ น -ก๊ า ซเฉื่ อ ย (Inert-gas tungsten-arc
welding) จะเตรียมขอบด้วยการบากเป็นตัววีและตัวยูซึ่งจะทําให้การเชื่อมหลอมโลหะได้ลึกกว่า
แหวนปะหลัง (Backing rings) ใช้สําหรับระบบท่อที่เชื่อมด้วยกระบวนการคลุม
ประกายไฟเชื่ อ ม (Shielded metal-arc welding process) ด้ ว ยลวดเชื่ อ มที่ มี เ คลื อ บ (covered
electrodes) ระบบท่อที่ใช้งานหนักเช่นท่อไอน้ําความดันสูงในหม้อไอน้ําและเทอร์ไบน์ ท่อน้ําเติมหม้อไอน้ํา
ของโรงไฟฟ้า วัสดุสําหรับแหวนปะหลังจะต้องมีคุณสมบัติทางเคมีเข้ากับวัสดุท่อได้
ในงานส่วนใหญ่ ไม่ใ ช้ แหวนปะหลั งเพราะจะต้องเจียรท่อด้ านในสําหรับการใส่
แหวน จะมีส่วนกีดขวางทางไหลของของไหล เป็นที่สะสมของสารที่กัดกร่อนวัสดุท่อ และทําให้เกิดน้ํานิ่ง จึงใช้
น้อยมากในระบบท่อของโรงกลั่น โรงงานปรมาณู และโรงงานเคมี

รูปที่ 5.1.1.3 การเตรียมขอบท่อสําหรับเชื่อมด้วยทังสเต็น-ก๊าซเฉื่อย(Inert-gas tungsten-arc welding)

- 317 -
 
รูปที่ 5.1.1.4 การเตรียมขอบท่อเพื่อใช้แหวนปะหลังแบบเอียงและแบบตรง

แหวนเสริม (Insert rings) ทําจากวัสดุที่ช่วยการปรับคุณภาพของรอยเชื่อมจึงช่วย


ลดความบกพร่องของรอยเชื่อมจากคนเชื่อม ช่วยให้รอยเชื่อมดีไม่เกิดการยืดหดหรือเปราะของวัสดุที่ละลาย
และทําให้รอยเชื่อมมีส่วนผสมที่ดี แข็งแรง ทนทาน รูปที่ 5.1.1.4 แสดงแหวนเสริมระหว่างท่อ

ง.1.3 การเชื่อมแนวบาง (Fillet weld)


เป็นการเชื่อมท่อเข้ากับข้อต่อแบบสอด (Socket joints) ขนาดท่อไม่เกิน 2 นิ้ว

รูปที่ 5.1.1.5 การเชื่อมแนวบาง (Fillet weld) ที่ข้อต่อแบบปลอก (Socket joints)

- 318 -
 
ง.1.4 ข้อต่อเกลียว
ข้อต่อสําหรับการต่อท่อกับท่อและท่อกับอุปกรณ์มีแบบเกลียว แบบหน้าแปลน
แบบเชิงกล และแบบเชื่อม ข้อต่อเกลียวใช้กับท่อขนาดเล็ก ใช้กับของไหลที่มีความดันต่ํา การทําเกลียว
มีมาตรฐานระบุทั้งขนาด ความยาวเกลียวเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามขนาดท่อ
ข้ อ ต่ อ เกลี ย วผลิ ต ตามมาตรฐาน ASME Standard สํ า หรั บ วั ส ดุ แ ต่ ล ะประเภท
จะมีระดับความดันระบุตามความดันและอุณหภูมิของไอน้ํา
ตารางที่ 5.1.1.3 ความดันที่ข้อต่อเหล็กหล่อเกลียวตามมาตรฐาน ASME Standard B16.4. ยอมรับได้ที่อุณหภูมิต่างๆ
อุณหภูมิ Class 125 Class 250
o
ฟ ปอนด์/ตร.นิ้ว ปอนด์/ตร.นิ้ว
-20 to 150 175 400
200 165 370
250 150 340
300 150 310
350 125 300
400 _ 250†

ตารางที่ 5.1.1.4 ความดันที่ข้อต่อเหล็กมาริเอเบิลเกลียวตามมาตรฐาน ASME Standard B16.3. ยอมรับได้ที่อุณหภูมิต่างๆ


อุณหภูมิ Class 150 Class 300 ปอนด์/ตร.นิ้ว
o
ฟ ปอนด์/ตร.นิ้ว 1/4to 1 นิ้ว 1 1/4 to 2 นิ้ว 2 1/2 to 3 นิ้ว
-20 to 150 175 2000 1500 1000
200 265 1785 1350 910
250 225 1575 1200 825
300 185 1360 1050 735
350 150 1150 900 650
400 ... 935 750 560
450 ... 725 600 475
500 ... 510 450 385
550 ... 300 300 300

ตารางที่ 5.1.1.5 ความดันที่ข้อต่อบรอนส์เกลียวตามมาตรฐาน ASME Standard B16.15-1985 ยอมรับได้ที่อุณหภูมิต่างๆ


อุณหภูมิ Class 125 Class 250
o
ฟ ปอนด์/ตร.นิ้ว ปอนด์/ตร.นิ้ว
-20 to 150 200 400
200 190 385
250 180 365
300 165 335
350 150 300
400 125 250

เกลียวและข้อต่อเกลียวมีมาตรฐานหลายประเภท มาตรฐานอเมริกาจะใช้เกลียว
ASME B1.20.1 ท่ อ ทั่ ว ไปใช้ เ กลี ย วเอี ย ง (Taper threads) ทั้ ง ตั ว นอกและตั ว ใน เกลี ย วตรง (Straight
internal threads) จะใช้กับงานเฉพาะเช่นถ้วยจารบี ข้อต่อน้ํามัน ข้อต่อเชิงกลสําหรับสุขภัณฑ์ ท่อร้อยสาย
และข้อต่อสายดับเพลิง

- 319 -
 
บางครั้งจะใช้เกลียวในเป็นเกลียวตรง (Straight internal threads) คู่กับเกลียว
นอกแบบเอียง (Taper external threads) เพื่อให้ข้อต่อป้องกันการรั่ว ความเหนียวของวัสดุจะช่วยรับแรงอัด
จากเกลียวโดยข้อต่อไม่แตกหัก
สําหรับงานที่ต้องไม่ให้สารหล่อลื่นเกลียวและสารที่ใช้กันรั่วปนเปื้อนของไหลในท่อ
จะใช้เกลียวแห้ง (Dry seal pipe threads) ตาม ASME B1.20.3 ซึ่งเกลียวมีลักษณะเดียวกับ ASME B1.20.1
แต่ควบคุมความลึกเกลียวและยอดเกลียวให้แน่ใจว่ามีโลหะสัมผัสกันตลอดจึงไม่มีช่องว่างระหว่างเกลียวให้มี
การรั่วไหล
ง.1.5 ข้อต่อหน้าแปลน
ข้อต่อหน้าแปลนทําให้สามารถถอดอุปกรณ์บํารุงรักษาได้ง่าย ประเภทของหน้า
แปลนแตกต่างกันตามลักษณะการประกอบกับท่อ ได้แก่ เกลียว (Threaded flange) แบบเชื่อม (Welded
flange) และแบบซ้อน (Lapped) หน้าสัมผัสของหน้าแปลน ได้แก่ แบบเรียบ (Plain) ขอบฟัน (Serrate) ร่อง
(Ring & groove) แบบสอด (Slip on flange)

รูปที่ 5.1.1.6 ลักษณะการใช้หน้าแปลนแบบต่างๆ

หน้าแปลนที่แสดงในบทนี้ใช้มาตรฐานทางอเมริกา ได้แก่ ASME, ANSI/AWWA


ซึ่ ง ผลิ ต ต่ า งกั น ตามวั ส ดุ ที่ ใ ช้ และงานที่ ใ ช้ นอกจากนี้ ยั ง มี ห น้ า แปลนตามมาตรฐานอื่ น ได้ แ ก่ JIS, BS
การเลือกใช้จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมจากมาตรฐานเหล่านี้เนื่องจากขนาดรูยึดสําหรับระดับความดันไม่เท่ากันอาจ
ใส่กับอุปกรณ์ไม่ได้
ปะเก็น การกลึงผิวสัมผัสหน้าแปลนเพื่อป้องกันการรั่วทําได้ยากและมีราคาแพงจึง
ใช้ปะเก็นซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าหน้าแปลน เมื่ออัดหน้าแปลนปะเก็นจะช่วยป้องกันการรั่วจากผิวสัมผัสของ
หน้าแปลนที่บกพร่อง

- 320 -
 
ตารางที่ 5.1.1.6 วัสดุสําหรับปะเก็น (ปัจจุบันเลิกใช้แอสเบสตอสแล้วควรปรึกษาผู้ผลิตสําหรับวัสดุที่ใช้ทดแทน)
ของไหล สภาพการใช้งาน วัสดุสําหรับปะเก็น
ไอน้ําความดันสูง อุณหภูมิ ไม่เกิน 538oซ แอสเบสตอสอัดม้วน (Spiral-wound) หรือกราไฟต์อัดม้วน
เหล็กเรียบหรือผิวคลื่น (Corrugated)
โมเนล (Monel) เรียบหรือผิวคลื่น (Corrugated)
เหล็กเฟอร์นิเจอร์อบไฮโดรเจน (Hydrogen-anneal)
เหล็กไร้สนิม 12-14% โครเมียม ผิวคลื่น (Corrugated)
เหล็กอินก็อต (Ingot iron) แบบแหวนพิเศษ (Special ring-type joint)
อุณหภูมิ ไม่เกิน 399oซ แอสเบสตอสอัดม้วน (Spiral-wound)
อุณหภูมิ ไม่เกิน 316oซ แอสเบสตอสทอ เหล็กแอสเบสตอส
แผ่นทองแดงเรียบหรือผิวคลื่น (Corrugated)
ไอน้ําความดันต่ํา อุณหภูมิ ไม่เกิน 105oซ ยางสีแดงเสริมลวด
น้ําร้อน ความดันปานกลางและสูง ยางสีดําเสริมลวด ยางสีแดงเสริมลวด
ความดันต่ํา ยางสีน้ําตาลเสริมเส้นใย
ทั่วไป แผ่นแอสเบสตอสอัด
น้ําเย็น ยางสีแดงเสริมลวดยางสีดํา ยางอ่อน แอสเบสตอส ยางสีน้ําตาลเสริมเส้นใย
น้ํามันร้อน อุณหภูมิ ไม่เกิน 399oซ แอสเบสตอสอัด
อุณหภูมิ ไม่เกิน 538oซ เหล็กอินก็อต (Ingot iron) แบบแหวนพิเศษ (Special ring-type joint)
น้ํามันเย็น อุณหภูมิ ไม่เกิน 100oซ ไม้ก็อก หรือใยพืช
อุณหภูมิ ไม่เกิน 149oซ ยางนีโอพรีนแอสเบสตอสอัด
อากาศอัด อุณหภูมิ ไม่เกิน 105oซ ยางสีแดง
อุณหภูมิ ไม่เกิน 399oซ แอสเบสตอสอัด
อุณหภูมิ ไม่เกิน 538oซ แอสเบสตอสอัดม้วน(Spiral-wound)
ก๊าซ อุณหภูมิ ไม่เกิน 105oซ ยางสีแดง
อุณหภูมิ ไม่เกิน 316oซ แอสเบสตอสทอ
อุณหภูมิ ไม่เกิน 399oซ แอสเบสตอสอัด
อุณหภูมิ ไม่เกิน 538oซ แอสเบสตอส โลหะ
กรด ตามการกัดกร่อน แผ่นตะกั่ว หรือเหล็กผสม (Alloy steel)
กรดอนินทรีย์ร้อนหรือเย็น แอสเบสตอสสีน้ําเงินอัด หรือทอ
แอมโมเนีย อุณหภูมิ ไม่เกิน 538oซ แอสเบสตอส โลหะ
อุณหภูมิ ไม่เกิน 371oซ แอสเบสตอสอัด
สารละลายเจือจาง ยางสีแดง
ร้อน แผ่นแอสเบสตอสบาง
เย็น แผ่นตะกั่ว

โบล์ทและนัท (Bolts and nuts) ใช้สําหรับยึดข้อต่อหน้าแปลนท่อและอุปกรณ์


และสร้างแรงอัดที่หน้าสัมผ้สเพื่อป้องกันการรั่ว ปะเก็นยางนุ่มต้องการความดัน 280 – 420 กก./ตร.ซม.
ปะเก็นแอสเบสตอสต้องการ 850 – 1260 กก./ตร.ซม. ปะเก็นโลหะ ได้แก่ ทองแดง โมเนล และเหล็กอ่อน
จะต้องใช้ความดันสูงกว่ายีลของวัสดุเพื่อให้วัสดุเปลี่ยนรูปตามผิวหน้าแปลน 2100 – 4200 กก./ตร.ซม.
เมื่อท่อได้รับความดันวัสดุปะเก็นจะต้องมีแรงดันหลงเหลือมากกว่า 4–6 เท่าของความดันใช้งานเพื่อป้องกัน
การรั่ว ขนาดหน้าแปลน วัสดุสําหรับหน้าแปลน โบล์ท และนัทโบล์ท และนัท ออกแบบตามมาตรฐาน ASME
Boiler and Pressure Vessel Code, Sections III and VIII
ง.2 การเชื่อมต่อท่อพลาสติก
ง.2.1 กาวเชื่อมประสาน
น้ํ า ยาประสานท่ อ พี วี ซี ผลิ ต ตามมาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมเลขที่ ม อก.
1032-2534 มีคุณสมบัติพิเศษสามารถใช้ต่อท่อ ทั้งระบบท่อรับความดันและท่อไม่รับความดัน น้ํายาจะละลาย
- 321 -
 
เนื้ อพี วีซีที่ท่อและข้อต่อ เมื่อดันท่อเข้ากับข้ อต่อที่มี ลักษณะเอียงเล็กน้อยเนื้อท่อและข้อต่ อจะกลายเป็น
เนื้อเดียวกันทําให้มีความแข็งแรง
ง.2.2 ข้อต่อแหวนยาง
ท่อ PVC ชนิดต่อด้วยแหวนยาง เป็นท่อ PVC ชนิดแข็งหัวท่อด้านหนึ่งแข็งแรงเป็น
พิ เ ศษและบานสํ า หรั บ ใช้ กั บ แหวนยางเพื่ อ ต่ อ ท่ อ กั บ ท่ อ หรื อ ใช้ ข้ อ ต่ อ แหวนยางผลิ ต ตามมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.1131-2535 เพื่อต่อกับท่อตรง แหวนยางตัดปัญหาการรั่วซึม ยางเป็นแบบ Hip
Up Rubber Ring Socker จึงป้องกันไม่ให้แหวนยางหลุดออกเมื่อสอดท่อเข้าไปมีระดับคุณภาพ 5 8.5 และ
13.5 ท่อและข้อต่อผ่านการทดสอบความดันที่ 3.6 เท่า (short-term hydrostatic pressure test) ของ
ความดั น ใช้ ง าน (working pressure) และสามารถทนทานต่ อ ความดั น ไม่ ต่ํ า กว่ า 2.1 เท่ า (long-term
hydrostatic pressure test) ของความดันใช้งานตลอดระยะเวลา 50 ปี
ง.2.3 การต่อด้วยความร้อน
การเชื่ อ มท่ อ ด้ ว ยความร้ อ นเป็ น เทคนิ ค ที่ ใ ห้ ค วามร้ อ นแก่ ท่ อ ที่ จ ะทํ า การเชื่ อ ม
พร้อมๆกันทั้งสองด้านที่แผ่นความร้อนจนพลาสติกหลอมที่บริเวณผิวแต่ละด้านเอาแผ่นความร้อนออกและ
อัดผิวสัมผัสท่อทั้งสองด้านโดยควบคุมความดันและเวลาในการเย็นตัวของพลาสติกจะได้รอยเชื่อมที่เป็นเนื้อ
เดียวกันและยังสามารถรับแรงต่างๆ ได้เหมือนกับท่อก่อนทําการเชื่อม
อุ ป กรณ์ สํ า คั ญ ที่ ใ ช้ ใ นการเชื่ อ มท่ อ ด้ ว ยวิ ธี นี้ คื อ แผ่ น ความร้ อ นที่ ทํ า หน้ า ที่ เ พิ่ ม
อุณหภูมิของปลายท่อที่จะทําเชื่อมให้ถึงอุณหภูมิที่ต้องการสําหรับการเชื่อมการเชื่อมท่อด้วยความร้อนนี้
สามารถใช้กับท่อพีอี พีพีอาร์ และท่อเอชดีพีอีซึ่งเป็นท่อที่มีเนื้อพลาสติกอ่อน ความแข็งแรงของรอยเชื่อม
จึงขึ้นกับตัวแปรต่อไปนี้
- อุณหภูมิของแผ่นความร้อน (heater plate temperature)
- ความกลมและการเรียงตัวของท่อ (ovality and alignment)
- ความดันบริเวณผิวสัมผัสในการเชื่อม (interface pressure)
- ความกว้างของแถบเชื่อม (bead width)
- ระยะเวลาที่ให้ความร้อน (heat soak time)
- ระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาวะ (changeover time)
ง.2.4 ข้อต่อเชิงกล (Mechanical coupling)
ประกอบด้วยปลอกโลหะซึ่งรับความดันได้ตามที่ต้องการแหวนยาง 2 ด้านของ
ปลอกและแกรนด์ (Gland) ซึ่งจะกดยางให้อัดท่อที่สอดเข้าไปในข้อต่อมิให้รั่ว การสอดท่อเข้าในข้อต่อจะมี
ระยะเหลือไม่ให้ท่อชนกันเพื่อให้ท่อสามารถขยายตัวได้ ท่อจะเอียงได้เล็กน้อยตามมุมเอียงของแกรนด์ความดัน
ของไหลที่ใช้ควรสอบถามหรือแจ้งความต้องการแก่ผู้ผลิต
เนื่องจากใช้แหวนยางกดท่อ จึงต้องใช้กับท่อเนื้อแข็งได้แก่ ท่อพีวีซี ท่อพีพี และ
ท่อโลหะ ไม่สามารถใช้กับท่อเนื้ออ่อนได้

รูปที่ 5.1.1.7 ข้อต่อเชิงกล


- 322 -
 
จ. อุปกรณ์อื่นๆ
จ.1 การทํางานของวาล์ว
วาล์วเป็นอุปกรณ์สําคัญ ใช้สําหรับการเปิด-ปิด ควบคุมความดัน ควบคุมอุณหภูมิ และ
ควบคุ ม อั ต ราการไหล ตามความต้ อ งการของระบบท่ อ มาตรฐานควบคุ ม การออกแบบ การผลิ ต และ
การทดสอบวาล์ ว ในอเมริ ก าประกอบด้ ว ย ASME, ANSI, AWWA, ARbIb (Air-Conditioning and
Refrigeration Institute), ASSEb (American Society of Sanitary Engineers), APIb (American
Petroleum Institute), The International Society for Measurement and Control (ISA)
Recommended Practices (RP), MSS ในยุโรปก็มีมาตรฐาน ได้แก่ BS, DIN, ISO ซึ่งจะต้องศึกษาและใช้
สําหรับการอ้างอิงสําหรับการออกแบบและเลือกใช้
สามารถจําแนกวาล์วออกได้ตามการใช้งานเป็น
จ.1.1 วาล์วปิดเปิด (Isolating valve)
ใช้สําหรับปิดเปิดของไหล หรือแยกระบบท่อออกจากส่วนอื่นๆ วาล์วจะต้องมี
ความดันตกน้อยเมื่อเปิดสุดและไม่รั่วเมื่อปิดสุด ซึ่งวาล์วประตู (Gate valve) โกลบวาล์ว (Globe valve)
บอลวาล์ ว (Ball valve) วาล์ ว ปี ก ผี เ สื้ อ (Butterfly valve) ปลั๊ ก วาล์ ว (Plug valve) วาล์ ว ไดอะแฟรม
(Diaphragm valve) สามารถใช้ในลักษณะนี้ได้ถึงจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง จึงต้องพิจารณาคุณสมบัติต่อไปนี้ใน
การเลือกใช้
- ความดันตกเมื่อเปิดสุด
- การรั่วที่หน้าวาล์ว
- คุณสมบัติของของไหล
- การรั่วของระบบท่อ
- ต้องการอุปกรณ์ควบคุม(Actuator)อย่างไร
- ราคา
- การบํารุงรักษา
จ.1.2 วาล์วปรับแต่ง (Regulating valve)
ใช้สําหรับปรับแต่งอัตราการไหลของของไหลเพื่อควบคุมความดัน อุณหภูมิ หรือ
ระดับ ตามชุดควบคุมที่จะสั่งการขยับของวาล์ว วาล์วที่สามารถใช้งานในลักษณะนี้ ได้แก่ โกล์บวาล์ว (Globe
valve) บอลวาล์ว (Ball valve) วาล์วปีกผีเสื้อ (Butterfly valve) ปลั๊กวาล์ว (Plug valve) วาล์วไดอะแฟรม
(Diaphragm valve) ซึ่งออกแบบมาพิเศษ
จ.1.3 ป้องกันการไหลย้อน (Backflow prevention)
เช็กวาล์ว ใช้ป้องกันการไหลย้อนของของไหลโดยอัตโนมัติโดยใบของวาล์วจะปิด
กลับด้วยความดันของของไหลเมื่อของไหลเริ่มจะไหลย้อน บางแบบจะมีสปริงช่วยให้ปิดเร็วขึ้น และบางแบบก็
จะมีอุปกรณ์ควบคุมช่วยปิด
จ.1.4 การลดความดัน (Pressure relief device)
เป็นอุปกรณ์สําหรับป้องกันระบบท่อไม่ให้รับความดันสูงกว่าความดันที่ออกแบบไว้
โดยทั่วไปจะใช้วาล์วรีรีฟ (Relief valve) ซึ่งทํางานด้วยสปริงซึ่งดันแผ่นวาล์วต้านความดันในระบบท่อ
เมื่อความดันบนแผ่นวาล์วเกินแรงจากสปริงวาล์วก็จะเปิดเพื่อลดความดัน

- 323 -
 
อุปกรณ์ลดความดันอีกแบบใช้แผ่นประลัยซึ่งทนแรงดันได้ระดับหนึ่ง เมื่อความดัน
สูงเกิน แผ่นประลัยจะแตกทําให้ของไหลรั่วออกและแรงดันในระบบท่อจะลดลง สามารถระบายของไหลออก
ได้มาก แต่ไม่สามารถปรับตั้งความดันที่ใช้ได้

รูปที่ 5.1.1.8 แผ่นประลัย (Rupture disc)

จ.2 ประเภทวาล์ว
จ.2.1 วาล์วประตู (Gate valve)
เหมาะสําหรับทํางานเป็นวาล์วปิดเปิด ถ้าใช้เป็นวาล์วปรับอัตราการไหลจะทําให้
หน้าวาล์วสึกและเกิดการสั่นสะเทือน แต่ถ้าใช้กับของไหลที่มีความเร็วต่ําก็สามารถใช้ปรับอัตราการไหลได้ เช่น
วาล์วกิโยติน (Guillotine gate valve) ซึ่งใช้กับเยื่อกระดาษ
วาล์ ว ประตู มี ข้ อ ดี คื อ สามารถปิ ด ได้ ส นิ ท ใช้ กั บ ของไหลได้ ทั้ ง สองทาง และ
มีความดันตกน้อย ส่วนข้อด้อยคือเปิดและปิดได้ช้า ใช้พื้นที่ติดตั้งเพื่อการเข้าถึงมาก มักเกิดการสึกกร่อนที่หน้า
วาล์วทําให้รั่วเนื่องจากเกิดความเร็วสูงระหว่างปิด-เปิด และการซ่อมแซมในสถานที่ติดตั้งทําได้ยาก

รูปที่ 5.1.1.9 วาวล์ประตูแบบลิ่มแยก

รูปที่ 5.1.1.10 วาล์วประตูแบบใบคู่แกนยก (Double-disc, rising stem, gate valve)


- 324 -
 
จ.2.2 วาล์วโกลบ (Globe valve)
สามารถใช้เป็นวาล์วเปิดปิดและปรับอัตราการไหลได้ ระยะแกนสั้นกว่าวาล์วประตู
มี3แบบ คือรูปตัวที ตัววายและแบบมุมทําให้สามารถเลือกการติดตั้งได้ เจียรหน้าแท่น (Seat) ได้ง่าย ถ้าใบไม่
ติดกับแกนสามารถใช้เป็นวาล์วเปิดปิดและกันย้อนได้ แต่มีความดันตกมากแม้เมื่อเปิดสุด ต้องใช้แรงมากที่จะ
ปิดวาล์ว

รูปที่ 5.1.1.11 โกลบวาล์วแบบมุม (Angle globe valve)

รูปที่ 5.1.1.12 โกลบวาล์วขนาดใหญ่แบบหน้าแปลน

จ.2.3 วาล์วเข็ม (Needle valve)


มักใช้กับเครื่องมือวัด และงานที่มีความดันและอุณหภูมิสงู

รูปที่ 5.1.1.13 วาล์วเข็ม(Needle valve) สําหรับการปรับอัตราการไหลอย่างละเอียด

จ.2.4 เช็ควาล์ว
เป็นวาล์วที่ออกแบบให้ของไหลเดินทางได้ทางเดียวโดยมีการรั่วน้อยที่สุดเช็กวาล์ว
แบบยก (ใช้กับงานที่มีความดันสูงและของไหลมีความหนืดซึ่งความเร็วจะยกแผ่นวาล์วขึ้นได้ เช็กวาวล์แบบโยก
จะมีมุมของแหวนรองแผ่นวาวล์กับแนวดิ่ง 0 – 45องศา เพื่อป้องกันแรงตะบันน้ํา (Water hammer) ควรให้
มุมของแหวนรองแผ่นวาวล์กับแนวดิ่ง 5 – 7องศา สามารถใช้ติดตั้งในแนวดิ่งได้แต่จะต้องให้ของไหลไหลขึ้น
- 325 -
 
เท่านั้น เช็ควาล์วแบบแผ่นบาง (Wafer body check valve) ใช้สปริงช่วยปิดเหมาะสําหรับของเหลวความ
ดันต่ําหรือก๊าซ มีน้ําหนักเบาและเล็ก เช็กวาล์วปิดได้ (Swing disc stop check valve)สามารถใช้เป็นวาล์ว
ปิดเปิดได้ด้วยการใช้ก้านวาล์วดันแผ่นวาล์วปิด

รูปที่ 5.1.1.14 เช็กวาล์วแบบยก (Lift check valve)

รูปที่ 5.1.1.15 เช็กวาล์วแบบโยก (Swing check valve)

รูปที่ 5.1.1.16 เช็กวาล์วแบบแผ่นบาง (Wafer body check valve)

รูปที่ 5.1.1.17 เช็กวาล์วปิดได้ (Swing disc stop check valve)


- 326 -
 
ตารางที่ 5.1.1.7 การใช้เช็กวาล์ว
ประเภทการไหล ของไหล ความเร็ว(ม./วินาที) ประเภทเช็กวาล์ว
สม่ําเสมอมีการไหลกลับ น้ําหรือน้ํามัน 0.3 - 2 เช็กวาล์วแบบโยกพร้อมแขนและนน.ถ่วง
น้อยมาก ไอน้ํา น้ํา ก๊าซ 2 - 30 เช็กวาล์วแบบโยก
สม่ําเสมอ น้ําหรือน้ํามัน 1.5 - 3 เช็กวาล์วแผ่นวาวล์เคลื่อนในแนวบังคับตามแกน
เป็นจังหวะ อากาศหรือก๊าซ 1.5 - 3 แบบเดียวกับข้างต้นแต่มีปริมาตรรับการเปลี่ยนความ
ดัน
สม่ําเสมอมีการไหลกลับ น้ําหรือน้ํามัน 2-3 เช็กวาล์วแบบโยกมีสปริงช่วยในการปิด
ปกติ
สม่ําเสมอมีการไหลกลับแรง น้ําหรือน้ํามัน 2-3 เช็กวาล์วแบบโยกมีปริมาตรรับแรงดัน
สม่ําเสมอหรือเป็นจังหวะ ไอน้ํา น้ํา ก๊าซ 2.5 - 50 เช็กวาล์วแบบยกรูปตัวทีหรือวาย
สม่ําเสมอหรือเป็นจังหวะมี ไอน้ํา น้ํา ก๊าซ 3 - 50 เช็กวาล์วแบบยกรูปตัวทีและมีปริมาตรรับแรงดัน
การไหลกลับรุนแรง
สม่ําเสมอ ไอน้ํา น้ํา ก๊าซ 4 - 75 เช็กวาล์วแบบแผ่นเอียง
สม่ําเสมอหรือเป็นจังหวะ ไอน้ํา น้ํา ก๊าซ 6 - 75 เช็กวาล์วแบบยกรูปตัววาย
สม่ําเสมอหรือเป็นจังหวะมี เช็กวาล์วแบบยกรูปตัววายและมีปริมาตรรับแรงดัน
การไหลกลับรุนแรง
จ.2.5 บอลวาล์ว (Ball valve)
บอลวาล์วใช้ สําหรับเป็นวาล์ วระบายน้ําที่ด้านล่างของระบบท่อและใช้ เป็ นท่อ
ระบายอากาศบนท่อ ใช้ติดตั้งและปิดเปิดเครื่องมือวัดใช้กับระบบระบายความร้อนและระบบเติมน้ํา และ
ท่อไอน้ํา
บอลวาล์วประกอบด้วย ตัวถัง บอล (ปลั๊กแบบกลม) และแหวน ซึ่งแต่ละส่วนมี
การสร้างหลายแบบ ตัวถังมีแบบที่แยกออกเป็น 2 ชิ้น เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนอื่นๆ ได้ ตัวถังมีแบบ
แยกกลาง (Split body) เปิดบน (Top entry) หรือใส่บอลจากด้านข้าง (End entry)
บอลที่มีช่องเต็มขนาดท่อ (Full port) หรือเล็กกว่าท่อ (Reduced port) ช่องเป็น
ลักษณะเวนจูรี (Venturi port) ส่วนแหวนรับบอลมีวัสดุหลายแบบ ได้แก่ ไนลอน (Nylon) ยางสังเคราะห์
ฟลูโอรีเนตโพลีเมอร์ (Fluorinated polymer, ใช้กับอุณหภูมิ -270 – 260oซ) กราไฟต์ (Graphite, <528oซ)
ถ้าเป็นโลหะก็จะสามารถใช้ในงานกันไฟ (Fire safe)
ข้อดีของบอลวาล์วคือป้องกันการรั่วได้ดี เปิดได้เร็วเพียงหมุน ¼ รอบ มีขนาดเล็ก
น้ําหนักเบา มีหลายแบบให้เลือก ใช้ได้กับทั้งของเหลวสะอาดและที่มีสิ่งแขวนลอย สามารถเลือกใช้กับงาน
ความดันสูงและอุณหภูมิสูงได้ ใช้แรงหมุนน้อยจึงสะดวกในการเลือกอุปกรณ์ควบคุมข้อเสียคือไม่สามารถใช้
ปรับอัตราการไหลได้และสิ่งแขวนลอยอาจตกตะกอนทําให้เกิดการสึกกร่อน การรั่วหรือติดได้

รูปที่ 5.1.1.18 บอลวาล์วหน้าแปลนตัวถังแยก (Ball valve, split body, regular port, flanged ends)
- 327 -
 
จ.2.6 ปลั๊กวาล์ว (Plug valve)
ใช้สําหรับของไหลหลายประเภท ทั้งอากาศ ไอ ก๊าซ และก๊าซธรรมชาติ มีลักษณะ
ที่ล้างตัวเองได้ไม่เกิดการสะสมหรือตะกอนจึงใช้กับของไหลที่มีสิ่งแขวนลอยได้แก่น้ําเหมืองแร่ น้ําถ่านหินโคลน
น้ําเสีย น้ํามัน และใช้กับสุญญากาศไปจนถึงความดันสูง
ข้อดีคือมีหลักการทํางานง่ายๆ มีชิ้นส่วนน้อย เปิดและปิดได้เร็ว สามารถซ่อมแซม
ในสถานที่ติดตั้งได้ มีความต้านทานการไหลน้อย มีการรั่วไหลน้อย สามารถอัดสารหล่อลื่นลงไปซีล หรือ
เปลี่ยนปลอกได้ มีแบบหลายทางทําให้เปลี่ยนทิศทางการไหลได้โดยไม่ต้องใช้วาล์วหลายตัว
ปลั๊กวาล์วแบบมีสารหล่อลื่นจะใช้สารหล่อลื่นซีลระหว่างตัวถังกับปลั๊กป้องกั น
การรั่วได้หรือทําให้มีการรั่วน้อยที่สุด สารหล่อลื่นจะช่วยลดการสึกหรอของแผ่นรับปลั๊ก และลดแรงเสียดทาน
ในการหมุนวาล์ว
ข้อเสียคือมีพื้นที่สัมผัสมากจึงมีความเสียดทานมากต้องใช้แรงหมุนมากกว่า วาล์ว
ขนาดใหญ่กว่า 4 นิ้วจึงต้องอุปกรณ์ควบคุม จะต้องมีทางไหลลดลงเนื่องจากปลั๊กมีลักษณะเอียงเหมือนจุกขวด
และมีราคาสูงกว่าบอลวาล์ว

รูปที่ 5.1.1.19 ปลั๊กวาล์วแบบมีสารหล่อลื่น (API Standard 600)

รูปที่ 5.1.1.20 ปลั๊กวาล์วแบบหลายช่อง (Multiport valve)

จ.2.7 วาล์วไดอะแฟรม (Diaphragm valve)


เหมาะสําหรับความดันต่ําซึ่งไม่เหมาะกับวาล์วประเภทอื่น มีช่องทางไหลที่เรียบมี
ความดั น ตกน้ อ ย สามารถปรั บ อั ต ราการไหลได้ ร ะดั บ หนึ่ ง ปิ ด ได้ ส นิ ท ป้ อ งกั น การรั่ ว ไหลได้ ดี แ ม้ จ ะมี
สิ่งแขวนลอย มีไดอะแฟรมป้องกันชิ้นส่วนเคลื่อนไหวอื่นๆ ของวาล์วจึงป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหลผ่านก้านวาล์ว
ได้ดี
วาวล์ ไ ดอะแฟรมแบบรั้ ว (Weir-type diaphragm valve) มี ส่ ว นตั ว ถั ง ยื น
ทํ า หน้ า ที่ ร องรั บ ไดอะแฟรมทํ า ให้ ไ ดอะแฟรมไม่ ต้ อ งเคลื่ อ นที่ ม ากจึ ง เหมาะสํ า หรั บ วาล์ ว ขนาดใหญ่

- 328 -
 
แบบทางตรง (Straightway type diaphragm valve) และแบบไหลเต็ ม (Full flow diaphragm valve)
มีความดันตกน้อยกว่าและอัดได้แน่นกว่า โดยเฉพะแบบไหลเต็มสามารถให้ลูกบอลทําความสะอาดผ่านได้
สรุปข้อดีคือสามารถใช้ปิดเปิดและปรับอัตราการไหลได้ ทนทานสารเคมีสามารถ
เลือกวัสดุและเคลือบให้เหมาะสมกับงานได้ ไม่มีของไหลรั่วผ่านก้านวาล์ว ใช้กับของไหลที่มีสิ่งแขวนลอยได้ดี
ไม่มีที่สําหรับตะกอน เหมาะสําหรับอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตยา เหล้าเบียร์ละอื่นๆที่ไม่ต้องการการให้มี
การรั่วไหลสู่ภายนอก แต่มีข้อเสียแบบรั้วทําให้ไม่สามารถระบายของไหลได้หมด ความดันและอุณหภูมิมี
ข้อจํากัดที่แผ่นไดอะแฟรมจึงต้องระวังในการทดสอบความดัน ในช่วงที่มีการหรี่มากจะเกิดการกัดกร่อนสูง

รูปที่ 5.1.1.21 วาล์วไดอะแฟรมแบบรั้ว (Weir-type diaphragm valve) ในตําแหน่งเปิดและปิด

รูปที่ 5.1.1.22 วาล์วไดอะแฟรมแบบทางตรง (Straightway type diaphragm valve)

รูปที่ 5.1.1.23 วาล์วไดอะแฟรมแบบไหลเต็ม (Full flow diaphragm valve)

- 329 -
 
ตารางที่ 5.1.1.8 วัสดุสําหรับแผ่นไดอะแฟรม
ประเภทวาล์ว การใช้งาน วัสดุ อุณหภูมิ 0ซ
ต่ําสุด สูงสุด
แบบรั้ว(Conventional weir) มีสารกัดกร่อน ยางธรรมชาติ (นิ่ม) -34 82
น้ํา ยางธรรมชาติ -34 82
อาหารและเครื่องดื่ม ยางธรรมชาติ (ขาว) -18 71
สารเคมีเจือจาง อากาศ น้ํามัน นีโอพรีน -34 93
สารเคมีเจือจาง สุญญากาศสูง นีโอพรีนเสริมแรง -34 93
สารเคมีอื่นๆ ก๊าซ คลอรีเนทบิวทิวสีดํา (Black -29 121
chlorinated butyl)
อาหารและเครื่องดื่ม คลอรีเนทบิวทิวสีขาว (White -23 107
chlorinated butyl)
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พิเศษ ไทกอนใส (Clear Tygon) -18 66
(Hydrogen peroxide)
น้ํามันและก๊าซโซลีน ไฮเยียร (Hyear) -12 82
สารออกซิไดซ์ ไฮพารอน (Hypalon) -18 107
โรงงานเบียร์ ยางเหนียวบริษุทธิ์(Pure gum -34 71
rubber)
งานเกี่ยวกับอุณหภูมิ ซิลิโคน 10 177
สารกัมมันตภาพ GRS -23 107
สารเคมีอันตราย สารละลาย เทฟลอน (Teflon) -34 163
สารเคมีอันตราย เคลเอฟ(Kel-F) 16 121
กรด โพลีเอธิลีน(Polyethylene) -12 57
แบบไหลเต็ม(Full flow) เบียร์เย็น ยางขาว -34 71
มอลท์ร้อน (Hot wort) เบียร์เย็น คลอรีเนทบิวทิวสีขาว (White -23 107
chlorinated butyl)
เบียร์เย็น ยางเหนียวบริษุทธิ์(Pure gum -34 71
rubber)
แบบทางตรง (Straightway) น้ํา ยางธรรมชาติ -34 82
สารเคมี อากาศ น้ํามัน นีโอพรีน -18 82
น้ํามันและก๊าซโซลีน ไฮเยียร (Hyear) -23 82
กรดไขมัน คลอรีเนทบิวทิวสีดํา (Black ขค 107
chlorinated butyl)
สารออกซิไดซ์ ไฮพารอน (Hypalon) -18 93
อาหารและเครื่องดื่ม คลอรีเนทบิวทิวสีขาว (White -23 93
chlorinated butyl)

จ.2.8 วาล์วปีกผีเสื้อ (Butterfly valve)


เหมาะสําหรับอุณหภูมิและความดันต่ําไปจนถึงอุณหภูมิและความดันสูงขึ้นอยู่กับ
การเลือกวัสดุตัวถัง แผ่นวาล์วและแหวนรับ มีความดันตกน้อย ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย น้ําหนักเบา เปิดปิดได้เร็ว
เพียงหมุน 1/4รอบ ใช้ปรับอัตราการไหลได้ ปิดได้สนิทสําหรับแบบที่ใช้แหวนรองนิ่ม แต่มีข้อเสียคือมีความดัน
ตกน้อยทําให้การปรับอัตราการไหลจํากัดในช่วง 30 – 80 องศาของมุมแผ่นวาล์ว ต้องระวังเรื่องการกระแทก
ของน้ําและการเกิดขีดจํากัดอัตราการไหล (Chock flow) แผ่นวาล์วหมุนโดยไม่มีการบังคับการไหลจึงมี
ผลกระทบจากการไหลแบบปั่ น ป่ ว น (Turbulence) ต้ อ งเลื อ กตํ า แหน่ ง การติ ด ตั้ ง 4–6 เท่ า ของขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางท่อจากตําแหน่งที่เกิดการไหลปั่นป่วนเช่นทางออกเครื่องสูบน้ํา ข้องอ หรือสามทาง และ
เมื่อใช้กับอุปกรณ์ควบคุม (Actuator) จะต้องใช้แรงหมุนมากกว่า

- 330 -
 
เหมาะสํ า หรั บ ใช้ กั บ น้ํ า ระบายความร้ อ น อากาศ ก๊ า ซ ระบบดั บ เพลิ ง ระบบ
สุญญากาศ เคมีอาหาร การผลิตยา ของไหลที่มีสิ่งแขวนลอย งานที่มีการกัดกร่อนต้องเป็นแบบที่มีเคลือบตัวถัง
และแผ่นวาล์ว งานที่ปรับอัตราการไหลที่ต้องมีความดันตกน้อยเช่นน้ําระบายความร้อนและอากาศอัด

รูปที่ 5.1.1.24 วาล์วปีกผีเสื้อแบบบาง (Wafer type) ติดตั้งโดยใช้หน้าแปลนประกบสองด้าน

จ.2.9 วาล์วนิรภัย (Safety valve) และวาล์วระบายความดัน (Pressure


relief valve)
วาล์วทั้งสองเป็นอุปกรณ์ลดความดันเพื่อความปลอดภัยของระบบท่อ วาล์วนิรภัย
จะใช้กับไอน้ําและก๊าซซึ่งเปลี่ยนปริมาตรได้ตามความดัน ที่ความดันปกติสปริงจะกดแผ่นวาล์วให้ปิดที่แหวนรับ
(Seat) เมื่อแรงจากความดันในระบบเท่ากับค่าที่ตั้งไว้ ไอหรือก๊าซจะขยับแผ่นวาล์วขึ้นเป็นการเพิ่มพื้นที่กดจาก
แรงดันทําให้มีแรงมากกว่าแรงจากสปริงทําให้สามารถยกแผ่นวาล์วขึ้นให้เปิดเต็มที่ จนกว่าความดันในระบบจะ
ลดลงต่ํากว่าความดันที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นความดันที่ปลอดภัย แผ่นวาล์วจึงจะปิดกลับมา
วาล์ ว ระบายความดั น ใช้ กั บ ของเหลวมี ก ารทํ า งานเหมื อ นกั บ วาล์ ว นิ ร ภั ย แต่
ของเหลวไม่ขยายตัวมากเหมือนก๊าซ จึงไม่มีแรงเพิ่มที่แผ่นวาล์วระยะที่แผ่นวาล์วยกจึงแปรผันตามความดัน
ของระบบไม่เปิดเต็มที่และปิดกลับเมื่อความดันลดลงอุปกรณ์ลดความดันชนิดที่สามคือวาล์วนิรภัยและลด
ความดัน (Safety-relief valve) สามารถใช้ได้ทั้งก๊าซ ไอ และของเหลว

รูปที่ 5.1.1.25 วาล์วปลอดภัย (Safety valve)

- 331 -
 
รูปที่ 5.1.1.26 วาล์วระบายความดัน(Pressure relief valve)

จ.2.10 อุปกรณ์ควบคุมวาล์ว (Actuator)


การควบคุมวาล์วมีข้อจํากัดด้วยขนาดวาล์ว ความดันในระบบ ระยะเวลาที่ต้องการ
เปิดปิดวาล์ว ต้องเปิดปิดวาล์วจากระยะไกล เมื่อต้ องการเปิดปิดวาล์วในกรณีฉุกเฉิน ทําให้จําเป็นต้องมี
อุปกรณ์ควบคุมวาล์วซึ่งมีแบบที่ใช้ไฟฟ้า ใช้อากาศอัด ใช้น้ํามันไฮโดรลิก ใช้สปริง หรือใช้หลายอย่างร่วมกัน
ซึ่งจะต้องคํานึงถึงตําแหน่งของวาล์วเมื่อเกิดเหตุพลังงานที่ใช้ควบคุมหายไปโดยอุบัติเหตุ โดยไม่กระทบต่อ
จุดประสงค์ของการทํางานและความปลอดภัย ได้แก่
- ค้างตําแหน่งเดิม (Fail as is, FAI) วาล์วจะค้างที่ตําแหน่งเมื่อเกิดเหตุ
- ปิดเมื่อเสีย (Fail-closed) มีพลังงานอีกชุดเช่นสปริงหรือไฟฟ้าทําให้วาล์วปิด
เมื่อมีเหตุ
- เปิดเมื่อเสีย (Fail-open) มีพลังงานอีกชุดเช่นสปริงหรือไฟฟ้าทําให้วาล์วเปิด
เมื่อมีเหตุ
จ.3 ที่ดักฝุ่น (Strainers)
ใช้สําหรับป้องกันอุปกรณ์ที่ไวต่อการสึกกร่อนและมีผลต่อการทํางานของระบบ
เมื่อติดตั้งใหม่ๆจะติดตั้งที่ดักฝุ่นชั่วคราวเพื่อป้องกันขยะจากการติดตั้งที่ค้างในระบบท่อแล้วจึงถอดออก
หลังจากไล่ระบบท่อด้วยน้ําจนแน่ใจว่าไม่มีขยะหลงเหลือในระบบท่อแล้ว

รูปที่ 5.1.1.27 ที่ดักฝุ่นชั่วคราว

ที่ ดั ก ฝุ่ น แบบวาย (Y-strainer หรื อ Wye strainer) ใช้ สํ า หรั บ ป้ อ งกั น แทรป
เพื่อมิให้หน้าสัมผัสสึกกร่อนทําให้เกิดการรั่ว และป้องกันอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ที่ดักฝุ่นแบบตะกร้า (Busket
strainer) ซึ่งใช้กับกรณีที่มีอัตราการไหลมาก

- 332 -
 
รูปที่ 5.1.1.28 ที่ดักฝุ่นแบบวาย

รูปที่ 5.1.1.29 ที่ดักฝุ่นแบบตะกร้า

จ.4 ข้อต่อขยายตัว (Expansion joints) และข้อต่ออ่อน (Flexible joints)


เมื่อระบบท่อมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดการขยายหรือหดตัวจะทําให้เกิดแรง
ขึ้นกับอุปกรณ์ยึดท่อและอุปกรณ์อื่นๆ ข้อต่อขยายตัวจะช่วยตัดแรงที่เกิดขึ้นนี้ ข้อต่อขยายตัวที่ใช้มากได้แก่
แบบเบลโลว์โลหะ (Metal bellows type) และแบบยาง (Rubber type)
ข้อต่อขยายตัวแบบเบลโลว์โลหะทํางานด้วยการยืดหยุ่นของเบลโลว์โลหะซึ่งจะรับ
การขยายและหดตัวของท่อ นอกจากนี้ยังสามารถรับการเอียงได้ด้วยการยืดของด้านหนึ่งและการหดตัวของอีก
ด้านหนึ่งของข้อต่อขยายตั ว ความหนาของเบลโลว์ จึงต้องน้อยกว่าความหนาของท่อมากเพื่อให้สามารถ
ยืดหยุ่นได้ ความเสียหายของข้อต่อแบบนี้จึงอาจเกิดเมื่อรับความดันที่สูงกว่าปกติและจากการล้าเมื่อรับการ
เปลี่ยนแรงเป็นจังหวะเป็นเวลานาน
ข้ อ ต่ อ ขยายตั ว แบบยางมี ห ลั ก การทํ า งานเช่ น เดี ย วกั บ แบบเบลโลว์ โ ลหะ แต่
ประกอบด้วยผ้าใบ ลวดเสริมและยางทําให้รับการขยายตัวได้มากกว่ามักใช้กับงานที่มีอุณหภูมิต่ํา
เนื่องจากข้อต่อขยายตัวทั้งสองแบบสามารถรับการเอียงได้ระดับหนึ่งจึงสามารถใช้
เป็นข้อต่ออ่อนเพื่อรับการสั่นสะเทือนของท่อได้ด้วย

รูปที่ 5.1.1.30 ข้อต่อขยายตัวแบบเบลโลว์โลหะและแบบยาง

จ.5 อุปกรณ์ยึดท่อ (Hangers & Supports)


การติ ด ตั้ ง งานทั่ ว ไปมั ก จะลื ม ความสํ า คั ญ ของอุ ป กรณ์ ยึ ด ท่ อ เพราะสามารถ
ใช้อุปกรณ์ยึดท่อทั่วไปได้แต่ในงานที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมเคมี การใช้อุปกรณ์ยึดท่อ
ที่ถูกต้องมีความสําคัญเป็นอย่างมากเพื่อการยึดท่อที่มีของไหลที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูง และมีอันตรายหาก
ระบบท่อเกิดความเสียหายเนื่องมาจากการใช้อุปกรณ์ยึดท่อไม่ถูกต้อง

- 333 -
 
รูปที่ 5.1.1.31 อุปกรณ์ยึดท่อทั่วไปแบบต่างๆ

อุ ป กรณ์ ยึ ด ท่ อ ทํ า จากวั ส ดุ ห ลายชนิ ด ได้ แ ก่ เหล็ ก โครงสร้ า งเหล็ ก อาบสั ง กะสี


อลูมิเนียม เหล็กเหนียว ที่ยึดท่อจะผ่านกรรมวิธีเพื่อป้องกันสนิมด้วยการใช้ระบบสีเคลือบสังกะสีชุบสังกะสี
(hot dip galvanizing) หรือใช้หลายวิธีประกอบกัน
มาตรฐานสําหรับอุปกรณ์ยึดท่อประกอบด้วย
 การออกแบบ: ASME B31.1, ASME B31.3, ASME Section VIII Pressure
Vessels
 การผลิต: MSS-SP58 (Material, Design, Manufacture, Selection,
Application & Installation), MSS-SP69 (Selection & Application),
MSS-SP77, MSS-SP89, MSS-SP90, AWS-D1.1, ASTM-A36, ASTM-A53,
ASTM-A120, ASTM-A123 and A446, ASTM-A125, ASTM-A153, ASTM-
307 and A325, ASTM-C916, ASTM-D1621, ASTM-D1622, ASTM-
D1623
 ระบบคุณภาพ: ISO 9001, ASQC Q-92, CAN3 Z299
 การทดสอบ: ANSI B18.2.3
วัสดุของอุปกรณ์ยึดท่อจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอสําหรับรองรับน้ําหนักตามที่
กําหนดในตาราง มาตรฐานการผลิตได้กําหนดค่าสําหรับใช้คํานวณออกแบบอุปกรณ์ยึดท่อ การเชื่อม การอบ
ความร้อน การชุบแข็ง และการป้องกันการผุกร่อน
- 334 -
 
ตารางที่ 5.1.1.9 มาตรฐาน นน. ที่อุปกรณ์ยึดท่อสามารถรองรับได้ แสดงตามขนาดท่อ
ใช้กับ นน. ท่อ ส่วนประกอบทั้งหมดรวมกัน ที่อุณหภูมิ -29 ถึง 343oซสําหรับเหล็กคาร์บอน และ -20 ถึง 450oซสําหรับ
เหล็กหล่อและเหล็กมาริเอเบิล สําหรับอุณหภูมิสูงกว่าปกติจะต้องลดค่าตามความเคร้นของเหล็กที่ลดลงตามอุณหภูมิ
ขนาดท่อ นน.ที่อุปกรณ์ยึดท่อรับ ขนาดท่อ นน.ที่อุปกรณ์ยึดท่อรับ
นิ้ว มม. ปอนด์ กก. นิ้ว มม. ปอนด์ กก.
3/8 10 150 65 5 125 400 180
1/2 15 150 65 6 150 5 30 240
3/4 20 150 65 8 200 760 345
1 25 150 65 10 250 1120 505
1 1/4 32 150 65 12 300 1480 670
1 1/2 40 150 65 14 350 1710 775
2 50 150 65 16 400 2030 920
2 1/2 65 170 75 18 450 25 80 1170
3 90 210 95 20 500 2920 1325
4 100 300 135 24 600 4180 1895

ตารางที่ 5.1.1.10 มาตรฐาน นน.ที่อุปกรณ์ยึดท่อสามารถรองรับได้ แสดงตามขนาดท่อ


นน.ที่เหล็กเพลาปลาทําเกลียวสามารถรับได้
วัสดุ-ASTM 36, A575 Gr 1020 or A576 Gr 1020
ขนาดเหล็กเพลา พท.รากเกลียว นน.ที่เหล็กเพลารับได้
นิ้ว มม. ตร.นิ้ว ตร.มม. ปอนด์ กก.
3/8 9.6 0.068 43.8 610 275
1/2 12.7 0.126 81.3 1130 515
5/8 15.8 0.202 130.3 1810 820
3/4 19.0 0.302 194.8 2710 1230
7/8 22.2 0.419 270.3 3770 1710
1 25.4 0.552 356.1 4960 2250
1 1/4 31.8 0.889 573.5 8000 3630
1 1/2 38.1 1.293 834.2 11630 5280
1 3/4 44.4 1.744 1125 15690 7120
2 50.8 2.292 1479 20690 9390
2 1/4 57.2 3.021 1949 27200 12350
2 1/2 63.5 3.716 2397 33500 15200
2 3/4 69.8 4.619 2980 41600 18890
3 76.2 5.621 3626 50600 22970
3 1/4 82.6 6.720 4435 60500 27460
3 1/2 88.9 7.918 5108 71260 32350
3 3/4 95.2 9.214 5945 82900 37640
4 101.6 10.608 6844 95500 43360
4 1/4 108.0 12.100 7806 108900 49440
4 1/2 114.3 13.690 8832 123200 55930
4 3/4 120.6 15.379 9922 138400 62830
5 127.0 17.165 11074 154500 70140

ใช้เหล็กเพลา 9.6 มม.สําหรับท่อ 50 มม. ลงมา และใช้เหล็กเพลาขนาดไม่ต่ํากว่า


12.7 มม. สําหรับท่อ 65 มม. ขึ้นไป และขนาดต่ําสุดของเหล็กเพลาให้คํานวณตาม นน. สําหรับคํานวณ
อุปกรณ์ยึดท่อตามตาราง

- 335 -
 
อุปกรณ์ยึดท่อสปริงมี 3 แบบ ได้แก่ กันชนสปริง (Spring cushion) แบบเปลี่ยน
แรง (variable support) และแบบแรงคงที่ (Constant support)

รูปที่ 5.1.1.32 กันชนสปริง (Spring cushion) จะยอมให้มีการเปลี่ยนระยะไม่เกิน 50 มม.

รูปที่ 5.1.1.33 แบบเปลี่ยนแรง (variable support) จะรับแรงเปลี่ยนตามระยะที่ท่อเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของ


ท่อ ระยะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดที่อุปกรณ์ยึดท่อรับจะคํานวณโดยให้ Variability factor<25% (Variability factor=ระยะที่
ท่อเปลี่ยน x ค่าคงที่ของสปริง/แรงที่ให้อุปกรณ์ยึดท่อรับ)

รูปที่ 5.1.1.34 แบบแรงคงที่จะมีกลไกที่ทําให้แรงที่อุปกรณ์ยึดท่อรับแรงเปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 6%


ตลอดระยะท่อที่เปลี่ยนแปลง

รูปที่ 5.1.1.35 อุปกรณ์กันท่อเอียง (Spring sway brace) ใช้ป้องกันท่อเปลี่ยนรูปในทิศทางที่ไม่ต้องการ

ฉ.การติดตั้งท่อกับเครื่องจักร
เครื่องจักรจะต้องไม่ได้รับผลจากน้ําหนักท่อและอุปกรณ์ท่อ แรงจากความดันของไหลในท่อ
ไม่ได้รับแรงจากการขยายตัวหรือหดตัวของท่อเนื่องจากอุณหภูมิ และในขณะเดียวกันเครื่องจักรจะต้องไม่
ส่งผ่านการสั่นสะเทือนไปยังระบบท่อ การยึดท่อจะต้องแยกเครื่องจักรออกจากระบบท่อด้วยข้อต่อขยายตัว
(Expansion joints) และข้อต่ออ่อน (Flexible joints) หรือยึดท่อใกล้เครื่องจักรให้เป็นจุดสมอ (Anchor
point) และใช้ท่อย้อย (loop) เพื่อลดแรงจากการขยายตัวเพื่อให้มีผลกระทบจากแรงที่เกิดขึ้นจากระบบท่อต่อ
เครื่องจักรน้อยที่สุด

- 336 -
 
ช. การผุกร่อนและการป้องกัน
การผุกร่อนเกิดจากปฏิกิริยาเคมีหรือชีวเคมี เมื่อวัสดุ2ชนิดมีศักย์ทางไฟฟ้าต่างกัน อยู่ใน
สารละลายทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของไฟฟ้าได้ครบวงจร วัสดุที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ํากว่าจะเป็นขั้วบวกและสูญเสีย
อนุภาควัสดุนั้นจึงเกิดการผุกร่อน วัสดุชิ้นเดียวกันถ้ามีเคมีผิดกันเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมก็ทําให้เกิดศักย์ไฟฟ้า
แตกต่างกันได้เมื่อมีสารละลายก็จะทําให้ครบวงจรไฟฟ้าทําให้เกิดการผุกร่อนได้
การป้องกันการผุกร่อนคือการตัดไม่ให้มีการเคลื่อนที่ของอนุภาคไฟฟ้าโดยตัดสารละลาย
ออกด้วยการใช้สีเคลือบหรือใช้แผ่นฟิล์ม หรือการเกิดออกไซด์เคลือบผิวทําให้ไม่สูญเสียอนุภาคโลหะจึงไม่
ผุ ก ร่ อ นเมื่ อ สี ห รื อ ฟิ ล์ ม มี ร อยรู เ ข็ ม หรื อ ถลอกก็ จ ะเกิ ด ผุ เ ฉพาะที่ พื้ น ที่ เ ปิ ด ลึ ก ลงไปเรี ย กว่ า การผุ เ ป็ น หลุ ม
(Pit corrosion) ถ้าพื้นที่เปิดเป็นร่องยาวก็จะเกิดการผุกร่อนเป็นร่องยาว (Clevice corrosion)
อีกวิธีหนึ่งคือการปล่อยประจุไฟฟ้าเพื่อให้โลหะเป็นขั้วลบไม่สูญเสียอนุภาคหรือนําโลหะที่มี
ศักย์ไฟฟ้าต่ํากว่ามาติดเพื่อให้เหล็กกลายเป็นขั้วลบ การสูญเสียอนุภาคจึงเกิดที่โลหะที่นํามาติดแทนซึ่งจะใช้
ร่วมกับระบบสีหรือฟิล์มเพื่อป้องกันการผุกร่อนที่พื้นที่เปิดแบบรูเข็มหรือรอยถลอก

ตารางที่ 5.1.1.11 ศักย์ทางไฟฟ้าของโลหะในน้ําทะเล


Anodic (less noble)
Magnesium
Magnesium alloys
Zinc
Galvanized steel
Aluminum alloy 5052
Cadmium
Aluminum alloy 2024-T4
Low carbon steel
Wrought and cast Iron
410 stainless steel (active)
50-50 lead-tin solder
304 and 316 Stainless (active)
Lead
Tin
Some Copper alloys
Nickel 200 (active)
Inconel alloy 600 (active)
Brass, Bronze
Inconel 600
Some Copper alloys
Monel alloy 400
Nickel and Inconel (passive)
302, 304, 321, 347, 410 Stainless (passive, intact oxide film)
Ni - Cu alloy
Inconel 625, Hastelloy C
316, 317 Stainless (passive)
Silver
Titanium
Gold, Platinum
Graphite - Carbon
Cathodic (most noble)

- 337 -
 
การผุกร่อนทําให้เกิดการรั่วของระบบท่อ การป้องกันการผุกร่อนจึงมีความสําคัญต่อระบบ
ท่อมากโดยเฉพะระบบส่ง (Pipeline) จึงมีทั้งการเคลือบภายใน (Lining) เพื่อป้องกันการผุกร่อนภายในท่อ
และการป้องกันภายนอก (Coating) เพื่อป้องกันการผุกร่อนที่ภายนอกท่อ
ช.1 การเคลือบภายในท่อ
การเคลือบภายในท่อใช้วัสดุหลายประเภทได้แก่
ช.1.1 คอนกรีต
คอนกรีตมีข้อดีในเรื่องราคา แต่มีข้อเสียเรื่องความหนาที่ใช้ทําให้เส้นผ่า ศูนย์กลาง
ของท่อลดลงและความขรุขระของผิวทําให้เกิดความดันตกในระบบท่อสูงกว่าวัสดุอื่นๆ
ช.1.2 ยาง
ใช้ได้ดีกับของไหลที่ทําให้เกิดการสึกกร่อนและสารเคมี ยางที่ใช้เลือกได้จากตาราง
ต่อไปนี้
ตารางที่ 5.1.1.12 ประเภทของยางที่ใช้ป้องกันภายในท่อ
ของไหล อุณหภู %ความ ยางธรรมชาติ Butyl EPDM Neop. Nitrile Hypa- Ure-
มิ oซ เข้มข้น นุ่ม แข็ง lon thanes
มีการสึกกร่อน √ √ √
Acetic acid 60 100 √ √ √
Ammonium sulfate 93 Sat. √ √
Chlorine gas wet 79 Sat. √
Copper cyanide 71 Sat. √ √
Ferric chloride 79 Sat. √ √
Hydrochloric 52 37 √
Hydrofluoric 32 50 √
Kerosene 32 Sat. √
Nickle chloride 88 Sat. √ √
Nitric acid 66 10 √ √
Phosphoric acid 60 85 √
Sodium chlorite 88 Sat. √
Sodium hypoc. 66 15 √
Sodium hydroxide 90 50 √ √
Sodium sulfate 88 Sat. √ √ √
Sulfuric acid 82 20 √
Sulfuric acid 66 50 √
Water-fresh 79 √ √
Water -salt 79 √
Water-mine tailings 49 √ √ √

ช.1.3 พลาสติก
มีความทนทานสารเคมี มีผิวเรียบและบาง จึงนิยมใช้แทนคอนกรีต มีวัสดุให้เลือก
หลายประเภทตามตาราง FBE (Fusion bonded epoxy) ใช้ความร้อนเพื่อให้อีพ็อกซีติดท่อมีปฏิกิริยาและ
แข็งตัวความหนา FBE ประมาณ 400 ไมครอน

- 338 -
 
ตารางที่ 5.1.1.13 ประเภทพลาสติกที่ใช้เคลือบภายในท่อ
วัสดุ ข้อดี ข้อเสีย อุณหภูมิสูงสุดoซ ชั้นเดียว ประเภท
ฟีโนลิก -ดูดซึมน้ําน้อย -ไม่ทนการกระแทก 200 x TS
Phenolic -ทนการสึกกร่อน -มีความยืดหยุ่นน้อย L
คาร์บอนไดออกไซด์ สารทําละลาย -ทนคอสติกปานกลาง
ยูรีเทน -ทนการสึกกร่อน 105 √ TS
Urethane -มีความยืดหยุ่น
-เรียบและไม่เกิดพาราฟินเกาะ
ไนลอน -ทนการสึกกร่อน -ทนไฮโดรเจนซัลไฟด์ 105 √ TP
Nylon -มีความยืดหยุ่น และกรดได้น้อย P
-ทนน้ําเกลือได้ดี
-ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง
อีพ็อกซี-ฟีโนลิก -ปรับปรุงความยืดหยุ่นและทนคอ -การดูดซับไอน้ํามากขึ้น 120 x TS
Epoxy- สติกดีขึ้นกว่าฟีโนลิก -ลดการทนกรดเมื่อ L
phenolic -ทนการลดความดัน เทียบกับฟีโนลิก
Epoxy- -ปรับปรุงความยืดหยุ่นและทนคอ -การดูดซับไอน้ํามากขึ้น 150 √ TS
novolac สติกดีขึ้นกว่าฟีโนลิก -ลดการทนกรดเมื่อ P
FBE -ทนการลดความดัน เทียบกับฟีโนลิก
อีพ็อกซี-Epoxy -ยืดหยุ่นดี -การดูดซับไอน้ํามากขึ้น 120 √ TS
FBE -ทนน้ําเกลือได้ดี -ลดการทนกรดเมื่อ
-ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง เทียบกับฟีโนลิก
หมายเหตุ TS thermoset coating, TP thermoplastic coating, L ของเหลว P ผง

สําหรับงานที่ใช้กับสารเคมีที่มีการกัดกร่อนสามารถใช้พลาสติกเคลือบภายใน
ท่อได้หลายประเภทตามตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 5.1.1.14 การทนสารเคมีของพลาสติกที่ใช้ป้องกันการกัดกร่อนภายในท่อ PTFE และ PFA ทนสารเคมีในตารางได้ถึง


232oซ และ FEP ทนได้ถึง 149oซ
อุณหภูมิสูงสุดที่วัสดุสามารถใช้งานได้ (นซ)
สารเคมี ETFE PVDF PP PVDC
Acetic acid (glacial) 110 ไม่แนะนํา 21 52
Acetone (10%) 66 24 49 24
Ammonia (dry gas) 149 ไม่แนะนํา 60 ไม่แนะนํา
Ammonia aqua(30%) 110 79 66 ไม่แนะนํา
Amyl acetate 121 52 ไม่แนะนํา 52
Benzene 100 77 ไม่แนะนํา 24
Bromine liquid 66 66 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Chlorine liquid 100 93 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Chlorine gas 100 79 ไม่แนะนํา 24
Chlorine dioxide (15%) 121 66 ไม่แนะนํา 52
Chlorosulfonic acid 24 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Cyclohexane 149 135 ไม่แนะนํา 52
Diethylamine 110 21 49 ไม่แนะนํา
Ethyl acrylate 100 21 ไม่แนะนํา! ไม่แนะนํา
Formaldehyde(37%) 110 49 60 52
Formic acid 135 121 60 66
Hydrochloric acid (10%) 149 135 85 79
Hydrochloric acid (20%) 149 135 79 79
Hydrochloric acid (36%) 149 135 66 ไม่แนะนํา
Hydrofluoric acid (35%) 135 121 93 79
Hydrofluoric acid (100%) 110 100 21 ไม่แนะนํา

- 339 -
 
Hydrogen peroxide (30%) 121 100 21 52
Hydrogen peroxide (90%) 66 24 21 52
Methyl ethyl ketone 110 ไม่แนะนํา 21 ไม่แนะนํา
Methylene chloride 100 21 21 ไม่แนะนํา
Nitric acid (10%) 100 107 66 66
Nitric acid (50%) 66 49 21 52
Nitric acid (90%) ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Phenol 100 49 60 24
Phosgene (gas or liquid) 100 49 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Phosphoric acid 135 121 107 52
Propyl alcohol 100 49 60 66
Sodium hydroxide (10%) 110 ไม่แนะนํา 107 66
Sodium hydroxide (50%) 110 ไม่แนะนํา 107 24
Sodium hypochlorite 149 52 66 52
Sulfuric acid (30%) 149 110 93 24
Sulfuric acid (50%) 149 110 52 ไม่แนะนํา
Sulfuric acid (93%) 149 93 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Sulfuric acid (98%) 93 49 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Sulfuric acid—fuming 49 ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา ไม่แนะนํา
Toluene 121 77 ไม่แนะนํา 24
Trisodium phosphate 135 135 66 66

ช.2 การป้องกันภายนอก
สําหรับท่อฝังดินต้องคํานึงถึงตัวประกอบต่อไปนี้ในการเลือกระบบป้องกัน
- ความคงทนทางกายภาพและทางเคมี
- ความทนทานต่อแรงกดของดิน
- การติดท่อ
- ความทนทานต่อแรงแคโทดิก (Cathodic disbonding)

ตารางที่ 5.1.1.15 ประเภทวัสดุของระบบป้องกันการผุกร่อนภายนอกท่อ


วัสดุ ข้อดี ข้อเสีย อุณหภูมิ±0.5oซ
เทปโพลีเอทธีลีน -ใช้ในงานสนามทั่วไป -ต้านทานแรงดันของดินได้น้อย 35
ฉีดโพลีเอทธีรีน -ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง -ขนาดไม่เกิน 24นิ้ว 40
-ติดได้เองไม่ต้องใช้กาว -ถูกจํากัดค้วยอุณหภูมิใต้ดิน
แว็กซ์/ไวนิลเทป -เทคโนโลยีง่ายๆ -ไวต่ออุณหภูมิ 30
-ความชื้นผ่านได้น้อย -อาจเกิดแรงแคโทดิกได้
สีน้ํามันแอสฟัลท์ -เทคโนโลยีง่ายๆ -ไม่ทนความชื้นและแรงจากดิน 35
(Asphalt enamel) -ไวต่ออุณหภูมิ
สีน้ํามันถ่าน -ทนต่อการผุกร่อนได้ดี -ทนความชื้นและแรงจากดินได้น้อย 50
(Coal tar enamel) -ไวต่ออุณหภูมิ
FBE -ทนต่อการผุกร่อนได้ดี -อมความชื้นและความชื้นผ่านได้ 80
-ไม่กั้นระบบป้องกันแคโทดิก
-ไม่เกิดการแตกจากแรงเคร้น
FBE 2ชั้น -ทนต่อการผุกร่อนได้ดี -อมความชื้นและความชื้นผ่านได้ 110
-ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง
โพลีเอทธีลีน 3ชั้น -ทนต่อการผุกร่อนได้ดี -กั้นระบบป้องกันแคโทดิก 80
-ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง
โพลีพรอพพีรีน3ชั้น -ทนต่อการผุกร่อนได้ดี -กั้นระบบป้องกันแคโทดิก 120
-ทนต่อความเสียหายระหว่างติดตั้ง

- 340 -
 
ช.3 ระบบป้องกันแคโทดิก (Cthodic protection)
การแตกตัวแคโทดิก (Cathodic disbondment) คือ ปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีที่ทําให้
ไอออนเหล็ ก แยกตั ว ออกจากท่ อ ในสารละลายทํ า ให้ เ กิ ด การผุ ก ร่ อ น การป้ อ งกั น แคโทดิ ก (Cathodic
protection) ทํ าโดยการปล่ อยประจุเข้ าไปในท่อเพื่อไม่ใ ห้ไอออนเหล็กหลุดออกมา หรือติดตั้งแท่งโลหะ
สูญเสีย (Sacrifice anode) ซึ่งมีศักดิ์ทางไฟฟ้าต่ํากว่าเหล็กทําให้แท่งโลหะสูญเสียไอออนแทนเหล็ก
ระบบป้องกันแคโทดิกนี้จะใช้ร่วมกับการเคลือบภายในท่อและการป้องกันภายนอก
ซึ่ ง แม้ จ ะทํ า ระบบป้ อ งกั น ทั้ ง 2 แบบแล้ ว ความชื้ น ยั ง สามารถผ่ า นได้ และเมื่ อ ใช้ ง านไประยะหนึ่ ง อาจมี
ข้อบกพร่องในระบบป้องกัน เช่น การถลอกซึ่งระบบป้องกันแคโทดิกสามารถแก้ไขได้
ซ. การระบุสีความปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ท่อในโรงไฟฟ้า โรงงานเคมี โรงกลั่น จึงต้องระบุสี
ความปลอดภัยแสดงประเภทของไหลในท่อ ซึ่งเป็นแถบสีร่วมกับสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ มาตรฐาน
เหล่านี้ ได้แก่ ANSI/ASME A13.1 Standard Pipe Marker Color Codes, BS 1710 และมาตรฐานอื่นๆ
ที่กําหนดโดยเจ้าของงาน นอกจากความปลอดภัยยังช่วยในการทํางานและการบํารุงรักษาอีกด้วย
ฌ. มาตรฐานวัสดุ มาตรฐานท่อ และข้อกําหนดและมาตรฐานตามการใช้งาน
ณ.1 มาตรฐานวัสดุ
ในอเมริกาเหนือ AISI (the American Iron and Steel Institute) และ SAE (the
Society of Automotive Engineers) ได้กําหนดมาตรฐานวัสดุ (เฉพาะส่วนผสมทางวัสดุ) ประเภทเหล็กและ
เหล็กกล้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นตัวเลข 4 หลัก ซึ่ง 2 หลักแรกเป็น%ของคาร์บอน เช่น 10XX (เหล็ก
คาร์บอนทั่วไป) และ 41XX (เหล็กที่มีโครเมี่ยม-โมลิบดินั่ม) สําหรับเหล็กไร้สนิมเป็นตัวเลข 3 หลัก เช่น 2XX
(เหล็กไร้สนิมออสธีเนติกที่มีโครเมี่ยม-นิเกิล)
ฌ.2 มาตรฐานท่อ
ANSI The American National Standards Institute เป็นหน่วยงานที่จัดทํา
หรือจัดการให้มีข้อตกลงยอมรับมาตรฐานที่มีผลกระทบต่ออเมริกา ทั้งจาก
สถาบันมาตรฐานระหว่ างประเทศ และจากประเทศอื่นๆ ให้การอนุมั ติ
มาตรฐานจากสมาคมทางวิชาการต่างๆ
ASTM The American Society for Testing and Materials เป็นหน่วยงาน
ทางด้านเทคนิคซึ่งจัดทํามาตรฐานและข้อกําหนดของวัสดุ การผลิต ได้แก่
การการตรวจสอบ การอบความร้อน (Heat treatment) เพื่อให้วัสดุได้
คุณภาพทางกายภาพ
API The American Petroleum Institute ออกมาตรฐาน ข้อกําหนด และ
วิธีการทํางาน ที่ใช้ในวงการน้ํามัน ซึ่งในอุตสาหกรรมหลายประเภทก็นํา
ข้อกําหนดเหล่านี้มาใช้
PPI Plastics Pipe Institute
ISO The International Organization of Standardization เป็นหน่วยงาน
อิสระที่ออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การบริการ และแนวการทํางานเพื่อลด
ปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศ มีสมาชิก 164 ประเทศ
BS British Standards
- 341 -
 
JIS Japanese Industrial Standards
DIN DIN Standards and Specifications
TISI Thai Industrial Standard Institute หรือ มอก.
ฌ.3 ข้อกําหนดและมาตรฐานตามการใช้งาน
NFPA The National Fire Protection Association ใช้สําหรับการออกแบบและ
ทดสอบความดันของท่อดับเพลิง
AGA American Gas Association ใช้สําหรับการออกแบบ ติดตั้ง ควบคุม
การทํางานและการซ่อมแซมท่อก๊าซต่างๆ
AWWA The American Water Works Association ใช้สําหรับการออกแบบและ
ติดตั้งระบบท่อจ่ายน้ําประปาและท่อส่งน้ํา
ASME B31จัดทําขึ้นโดย ASME โดยความเห็นชอบของ ANSI เป็นข้อกําหนดสําหรับ
งานท่อรับแรงดันดังต่อไปนี้
- ASME B31.1 Power Piping สําหรับท่อภายนอกหม้อน้ํา ท่อไอน้ําที่มี
ความดันสูงกว่า 1บาร์ และน้ําร้อนที่มีความดันมากกว่า 11 บาร์และมี
อุณหภูมิสูงกว่า 121oซ
- ASME B31.2 Fuel Gas Piping สํ า หรั บ ท่ อ ก๊ า ซเชื้ อ เพลิ ง ทั้ ง ท่ อ ใน
การผลิตก๊าซ ก๊าซแอลพีจี ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิงผสมที่เกินขอบเขต
การติดไฟ ขอบเขตรวมถึงท่อจากมิเตอร์ก๊าซไปถึงวาล์วความดันตัวแรก
- ASME B31.3 Process Piping สําหรับท่อในอุตสาหกรรมเคมีโรงกลั่น
และโรงงานอื่นๆ
- ASME B31.4 Liquid Transportation Systems for Hydrocarbons,
Liquid Petroleum Gas, Anhydrous Ammonia, and Alcohol
สําหรับ ท่อระบบขนถ่ายน้ํามัน สารไฮโดรคาร์บอน แอนไฮดรัสแอมโมเนีย
และแอลกอฮอร์
- ASME B31.5 Refrigeration Piping สําหรับท่อสารทําความเย็นและท่อ
น้ําเกลือ ไม่รวมท่อในเครื่องปรับอากาศ
- ASME B31.8 Gas Transmission and Distribution Piping Systems
สําหรับท่อในระบบขนถ่ายก๊าซจากสถานีอัดก๊าซ สถานีลดแรงดัน ท่อส่ง
ก๊าซ ไปจนถึงมิเตอร์ของผู้ใช้
- ASME B31.9 Building Services Piping สําหรับท่อของอาคารได้แก่ ท่อ
ระบบให้ ค วามร้ อ นและระบายความร้ อ น ท่ อ ไอน้ํ า ความดั น ไม่ เ กิ น
10 บาร์ หรือน้ําร้อนที่มีความดันไม่เกิน 11บาร์ อุณหภูมิไม่เกิน 121oซ
ท่ออากาศอัด ท่อสุญญากาศ ท่อน้ํามัน ท่อก๊าซไม่ติดไฟ
- ASME B31.11 Slurry Transportation Piping Systems

- 342 -
 
5.1.1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลและทางเลือกที่เหมาะสม
ก. การวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
จากข้อมูลต่างๆ ข้างต้น จะต้องประมวลและสรุปข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
ต่อไปเนื่องจากงานท่อได้มีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งานมานาน จึงมีมาตรฐานอ้างอิงมากจนสามารถให้
ความเชื่อมั่นในทางวิศวกรรมได้ การประมวลข้อมูลจึงทําให้สามารถหาทางเลือกที่เหมาะสมทางวิศวกรรมให้
เหลือทางเลือกที่น้อยที่สุดสําหรับการตัดสินด้วยการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ต่อไป
ก.1 ระบบท่อโรงงาน
สําหรับโรงงานสามารถแบ่งระบบท่อออกได้เป็นระบบท่อสําหรับกระบวนการแต่ละส่วน
(ขั้นต้น และขัน้ ต่อๆไป) และระบบท่อของระบบเสริมตามจุดประสงค์ได้แก่
- ระบบที่ ใ ช้ ช่ ว ยกระบวนการผลิ ต ได้ แ ก่ ท่ อ อากาศอั ด สํ า หรั บ อุ ป กรณ์ ค วบคุ ม
(Instrument air) ท่อน้ําระบายความร้อน ท่อไอน้ํา เป็นต้น
- ระบบท่อสําหรับช่วยการบํารุงรักษา ได้แก่ ท่ออากาศอัด
- ระบบท่อสําหรับความปลอดภัย ได้แก่ ท่อน้ําดับเพลิง ท่อโฟมดับเพลิง
อาจมีแนวทางการวางระบบท่อ การเลือกขนาดท่อ เครื่องจักรและอุปกรณ์ได้หลายแบบ
ต่ า งกั น จึ ง จะต้ อ งเปรี ย บเที ย บในเรื่ อ งการใช้ ง าน ความสะดวกในการติ ด ตั้ ง การทดสอบละตรวจรั บ
ความสะดวกในการตรวจสอบและการการบํารุงรักษาควรทํารายการสําหรับแต่ละระบบท่อดังนี้
- สภาวะการทํางาน
- การผุกร่อน
- รายการอุปกรณ์ท่อ
- ตารางทางแยกของท่อ
- ข้อต่อที่ต้องทําพิเศษ
- การยึดท่อ
แต่ละระบบจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้
- ประเภทของไหล คุณสมบัติ การผุกร่อน ความเป็นพิษ ความหนืด
- ช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน
- ช่วงความดันใช้งาน
- ช่วงขนาดท่อ
- วิธีการเชื่อมต่อ
- การผุกร่อน
อาจเลือกวัสดุท่อได้หลายประเภทแม้จะมีข้อกําหนดและมาตรฐานสําหรับแต่ละงาน แต่
ข้อกํ าหนดและมาตรฐานเหล่านั้ นจะเปิดเพื่ อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีวัสดุใหม่ๆ อุปกรณ์ และ
เครื่องจักรใหม่ ซึ่งสามารถใช้ได้ตามความต้องการในลักษณะเดียวกันควรจัดกลุ่มระบบท่อทางเลือกให้เหลือ
น้อยที่สุด เพื่อประโยชน์ในการจัดซื้อ การตรวจสอบ และการก่อสร้าง
ก.2 ระบบท่ออาคาร
ส่วนใหญ่ใช้การประเมินการใช้จากสถิติ ขนาดท่อและการติดตั้งจะทําตามข้อแนะนํา
และมาตรฐาน ปั จจุบันมี ท่ อพลาสติก มาให้เลือ กใช้เนื่องจากมีราคาถู ก แม้แ ต่งานท่อน้ําร้ อนการเลือกท่อ
พลาสติกสําหรับใช้กับน้ําร้อนเพื่อให้มีอายุการใช้งานทนนานจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้

- 343 -
 
- ความดันใช้งาน ขึ้นกับลักษณะการติดตั้งระบบท่อ ที่สําคัญควรป้องกันไม่ให้เกิด
สุญญากาศซึ่งจะทําให้ท่อเสียรูปและไม่สามารถคืนตัวได้
- อุ ณ หภู มิ ข องน้ํ า ร้ อ น สํ า หรั บ ระบบน้ํ า ร้ อ นทั่ ว ไปมี อุ ณ หภู มิ สู ง สุ ด 60oซ หรื อ
80oซ เพื่อฆ่าเชื้อลิจีเนลล่าตามแต่วิธีการที่เลือก ระบบน้ําร้อนแสงอาทิตย์อาจมี
อุณหภูมิสูงถึง 95oซ
- สารเคมีที่เกิดจากท่อ เนื่องจากเป็นระบบน้ําร้อนที่ใช้กับผู้พักจึงต้องไม่มีสารเคมีจาก
ท่อละลายปะปนจนเป็นอันตรายต่อผู้พักได้
- ความทนทานต่อสารเคมี ท่อน้ําร้อนจะต้องสามารถทนต่อสารเคมีที่อาจใช้ในระบบ
น้ําร้อน
- การยืดหดตัว เป็นคุณสมบัติที่ควรรู้เพื่อให้การติดตั้งท่อไม่เกิดปัญหาทางกายภาพแก่
ท่อ ข้อต่อ และอุปกรณ์

ก.3 การเลือกวาล์ว
ผู้ใช้จะต้องเข้าใจการทํางานระบบท่อในทุกๆขั้นตอนได้แก่การเริ่มทํางาน (Startup)
การทํางานปกติ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อรอการทํางาน (Standby) ปิดการทํางาน และอื่นๆ ประเภทของของไหล
คุ ณ สมบั ติ อั ต ราการไหล ความดั น และอุ ณ หภู มิ ที่ อ อกแบบไว้ ขนาดท่ อ และข้ อ มู ล ท่ อ ที่ ต้ อ งใช้ กั บ วาล์ ว
ข้อกําหนดที่ใช้และได้กําหนดเรื่องวาล์วไว้อย่างไร กําหนดความดันตกของวาล์วที่ต้องการ
การเลือกวาล์วขั้นต้นใช้ตารางด้านล่างแล้วจึงเลือกที่เหมาะสมที่สุดต่อไป ทั่วไปขนาดวาล์ว
จะเท่ากับขนาดท่อยกเว้นแต่จะมีความต้องการพิเศษ
ตารางที่ 5.1.1.16 หลักการเบื้องต้นสําหรับการเลือกใช้วาล์วประเภทต่างๆ
ประเภทวาล์ว การใช้งาน
เปิด-ปิด ปรับอัตราการไหล ลดความดัน เปลี่ยนทิศทาง
วาล์วประตู √ × × ×
วาล์วโกลบ √ √ × √(1)
วาล์วเช็ค × × × ×
วาล์วเช็คปิดได้ √ × × ×
วาล์วปีกผีเสื้อ √ √ × ×
วาล์วบอล √ (2) × √(3)
วาล์วปลั๊ก √ (2) × √(3)
วาวล์ไดอะแฟรม √ × × ×
วาล์วนิรภัย/ลดความดัน × × √ ×
(1) เฉพาะวาล์วโกลบแบบมุมเท่านั้น
(2) ผู้ผลิตบางรายให้ใช้ปรับอัตราการไหลได้
(3) เฉพาะวาล์วบอลและวาล์วปลั๊กแบบหลายช่องเท่านั้น

ข. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเลือกระบบทีเ่ หมาะสม
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และเลือกระบบที่เหมาะสมจากทางเลือกต่างๆ ซึ่งให้ผลลัพธ์
ที่สามารถยอมรับได้ เช่นขนาดท่อซึ่งท่อใหญ่จะมีราคาสูงขึ้นแต่ค่าความต้านทานจะลดลง ทําให้ค่าพลังงานที่ใช้
ลดลง จะต้องเปรียบเทียบการทํางานตลอดอายุการใช้งาน (Life cycle cost) โดยการคํานวณค่าใช้จ่ายต่างๆ
ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายสําหรับการซ่อมแซมและการบํารุงรักษา เงินเดือนและค่าแรงบุคลากร

- 344 -
 
ค่าใช้จ่ายในการทํางานของระบบได้แก่ค่าพลังงานเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นการประเมินสําหรับอนาคต โดยใช้
ข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันของทางเลือกต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบหาทางเลือกที่ดีที่สุด
5.1.1.3 การออกแบบและข้อกําหนด
ความเคร้นที่เกิดกับท่อประกอบด้วยความเคร้นตามแนวสัมผัสของท่อ (Hoop stress) และ
ความเคร้นตามความยาว (longitudinal stress) ความเคร้นตามแนวสัมผัสนี้เกิดจากแรงดันของไหลในท่อและ
แรงดันภายนอกท่อซึ่งจะทําให้ท่อแตกในแนวตะเข็บท่อ ส่วนความเคร้นตามความยาวเกิดจากความดันที่
เกิดขึ้นที่ข้อต่อเปลี่ยนทิศทางและการยึดท่อ
ก. การออกแบบแนวท่อและอุปกรณ์
โดยปกติเจ้าของโครงการจะให้แนวทางของเส้นท่อ เจ้าของโครงการรู้จักคุณสมบัติของไหล
เป็นอย่างดีแต่ไม่เข้าใจในลายละเอียดการออกแบบระบบท่อ ผู้ออกแบบจึงต้องเข้าใจในทุกๆ ส่วนเริ่มจาก
ไดอะแกรมแสดงท่ อ และอุ ป กรณ์ (Piping & instrument diagrams) แสดงรายละเอี ย ดและขนาดท่ อ
รายละเอียดอุปกรณ์ต่างๆ มีแบบการวางอุปกรณ์และตําแหน่งท่อเข้าและออก
การวางแนวท่อต้องคํานึงถึงการใช้พื้นที่ การบํารุงรักษา ความปลอดภัย และราคาของท่อที่
แพงที่ สุดในด้านต้ นทุ นและการทํางานซึ่งควรจะมี ระยะสั้นที่สุดแต่ยังมี ความยืดหยุ่นได้แ ม้จะต้ องเปลี่ยน
อุปกรณ์ที่ติดตั้ง จนกว่าทุกอย่างจะลงตัวแล้วจึงจะทําการออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม
ข้อควรพิจารณาในการวางแนวท่อมีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการต่อท่อตรงระหว่างเครื่อง 2ชุด
- ท่อระหว่างจุดสมอ 2จุดในระนาบเดียวกันอย่างน้อยที่สุดควรเป็นท่อรูปตัวแอลซึ่งมี
1 ข้องอ และควรตรวจสอบจากตารางท่อแอล เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ต้องทําการวิเคราะห์
ท่อด้วยคอมพิวเตอร์
- ท่อระหว่างจุดสมอ 2 จุดใน 2 ระนาบ ซึ่งอาจมีท่อรูปตัวแอล 2 ชุดและควรตรวจสอบ
จากตารางท่อแอล เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ต้องทําการวิเคราะห์ท่อด้วยคอมพิวเตอร์
- ท่อระหว่างจุดสมอ 2 จุดใน 3 ระนาบควรประกอบด้วยท่อรูปตัวแอลและ/หรือชุดท่อ
ขยายตัวรูปตัวยู ใส่ในแนวท่อ
- เมื่อคาดว่าจะมีการขยายตัวมากควรมีจุดสมอประมาณกึ่งกลางและและลดการขยายตัว
ในท่อทั้ง 2 ส่วน
- ท่อเมนที่มีท่อแยกขนาดเล็กกว่าจะต้องแน่ใจว่าท่อแยกแต่ละท่อยืดหยุ่นพอที่จะรับ
การยืดหดตัวของท่อเมนได้
- ท่อที่ต้องใช้ไอน้ําหรือก๊าซร้อนไล่ทําความสะอาดจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรับการไล่
ด้วยไอน้ําหรือก๊าซร้อนได้
- ท่อลัด (Bypass) อุปกรณ์หรือระบบจะเย็นเมื่ออุปกรณ์หรือระบบทํางานแต่จะร้อนเมื่อมี
การลัด ท่อลัดจึงมีแรงเคร้นมาก
- อุณหภูมิในช่วงเริ่มทํางานครั้งแรก (Initial start-up) และช่วงการทดสอบมักจะสูงกว่า
อุณหภูมิใช้งานปกติ
- วาล์วรีรีฟและวาล์วโบล์วดาวน์จะมีอุณหภูมิสูงเป็นช่วงสั้นๆ จึงต้องพิจารณาเป็นพิเศษ

- 345 -
 
การติดตั้งวาล์วในระบบท่อควรพิจารณาข้อแนะนําดังต่อไปนี้
- ควรติดตั้งวาล์วให้ก้านอยู่ระหว่างแนวตั้ง (ดิ่ง) กับแนวนอนและหลีกเลี่ยงระดับศีรษะ
และหั ว เข่ า วาล์ ว มอเตอร์ ข นาดใหญ่ ค วรให้ ก้ า นอยู่ ใ นแนวตั้ ง (ดิ่ ง ) เพื่ อ ให้ ยึ ด และ
ซ่อมแซมได้ง่าย
- วาล์วในงานกรดและด่างควรติดตั้งต่ํากว่าระดับตาของพนักงานเพื่อความปลอดภัย
- วาล์วที่ต้องใช้เสมอควรอยู่ในแนวท่อธรรมดา ไม่อยู่ในแนวท่อขยายตัว
- เมื่อก้านวาล์วอยู่ในแนวนอนควรให้มือหมุนอยู่ที่ระดับที่เอื้อมมือถึง ระดับวาล์วที่สูง
กว่านี้ควรหมุนด้วยโซ่และโซ่ต้องไม่ชนศีรษะ
- วาล์วจะต้องไม่ติดตั้งกลับลงล่าง
- จะต้องมีระยะพอสําหรับการถอดชิ้นส่วนภายในวาล์ว
- วาล์วควบคุมควรให้มีระยะท่อก่อนและหลังวาล์วยาว3เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อเพื่อ
ลดการปั่นป่วนของของไหลและท่อควรมีขนาดลดลงเท่ากับขนาดของวาล์วควบคุม
- วาล์วผีเสื้อควรมีท่อตรงอย่างน้อย 5เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อก่อนเข้าวาล์ว
และตําแหน่งก้านวาล์วอยู่ในมุมใดก็ได้ที่สะดวกกับการใช้ แต่ถ้าไม่สามารถจัดระยะได้
เช่น มีข้องออยู่ก่อนระยะดังกล่าวควรให้ก้านวาล์วควรอยู่ในแนวเดียวกับข้องอเพื่อไม่ให้
ใบวาล์วสั่น
- วาล์วทางเดียวควรอยู่ในแนวนอนโดยหันฝาขึ้นด้านบน วาล์วแบบโยกสามารถติดตั้งใน
แนวดิ่งได้เมื่อน้ําไหลขึ้นถ้าและความเร็วน้ําสูงพอที่จะยกแผ่นวาล์วได้ ท่อเข้าวาล์วควรมี
ท่อตรงเป็นระยะอย่างน้อย 5เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ ซึ่งผู้ผลิตบางแบบก็
ต้องการท่อตรงถึง 10เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
- วาล์วนิรภัย (Safety valve) และวาล์วระบายความดัน(Pressure relief valve)
ตําแหน่งการติดตั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต้องป้องกัน การต่อท่อระบายความดันและท่อ
ระบายน้ําควรทําตามความแนะนําของผู้ผลิตและข้อแนะนําเบื้องต้นดังต่อไปนี้
ติดตั้งวาล์วระบายความดันในแนวดิ่งต่อโดยจากท่อความดันที่อยู่ในแนวราบที่ระยะ
ไม่เกินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อความดันจากรอยเชื่อม
ติดตั้งวาล์วนิรภัยที่ระยะ 8-10 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อไอน้ําความเร็วสูง
หลังจากข้องอ และก่อนหรือหลังของท่อรวมและท่อแยก
ที่ตําแหน่งของวาล์วนิรภัยต้องไม่มีท่อแยก
ถ้า มี ว าล์ ว นิ ร ภั ย มากกว่ า 1 ชุ ด หรือ มี ว าล์ วนิ ร ภั ย อยู่ใ นแนวเดี ย วกั น กับ ท่ อ แยก
จะต้องมีระยะห่างต่ําสุดเป็นค่ามากกว่าระหว่าง 60 ซม. กับ 3 เท่าของรัศมีน็อตเซิล
ของวาล์วรวมกัน
เมื่อมีวาล์วนิรภัยมากกว่า 2 ในแนวท่อเดียวกันระยะระหว่างวาล์วต่ําสุดต้องไม่น้อย
กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของน็อตเซิล
ท่อระบายแบบเปิดระบายไอน้ําหรือก๊าซออกสู่อากาศจะต้องมีขนาดเพียงพอสําหรับ
การระบายตามอั ต ราที่ต้ อ งการโดยไม่ เกิ ด ความดั น ย้อ นยกเว้น ต้ อ งการให้ ว าล์ ว
ระบายความดันปิดกลับ
ปล่องระบายจะต้องมีขนาดสม่ําเสมอตลอดความยาว

- 346 -
 
ทางออกของวาล์วระบายความดันจะต้องมีหน้าแปลนและข้องอสั้นเพื่อลดโมเมนต์
และแรงที่จะทํากับตัววาล์ว
ปล่องระบายจะต้องมีขนาดสม่ําเสมอตลอดความยาวตรงและสั้นที่สุด ถ้าจําเป็นต้อง
เปลี่ยนแนวควรมีมุมไม่เกิน 30 องศา และปลายเปิดต้องสูงกว่าหลังคาไม่ต่ํากว่า
2.2 ม.
ท่อระบายแบบปิด คือ การต่อท่อระบายจากวาล์วระบายความดันไปยังถังปิดได้แก่
ถังคอนเดนเซอร์และถังระบาย (Blow-off tank) อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ ฟีดฮีทเตอร์
(Feed water heater) เพื่อป้องกันท่อของอุปกรณ์เสียหาย
ท่อระบายของวาล์วระบายความดันและปล่องระบายช่วยไม่ให้มีน้ําค้างที่ข้องอและ
แหวนรองแผ่นวาล์วทําให้วาล์วทํางานได้ดีและเกิดความปลอดภัยกับระบบท่อ
สามารถทําท่อระบายน้ํารวมของวาล์วระบายความดันหลายชุดได้
- ระบบท่อเครื่ องสูบน้ํ า ท่อด้านดูดของเครื่องสูบน้ํามีความสําคั ญ ต่อการทํ างานมาก
การสู บ จากระบบเปิ ด หรื อ มี อุ ณ หภู มิ สู ง อาจเกิ ด ไอหรื อ ก๊ า ซทํ า ให้ เ กิ ด คาวิ เ ตชั่ น
(Cavitation) ทําให้ใบสึกกร่อน การสั่นสะเทือน มีผลต่ออายุเครื่องสูบน้ํา จึงควรวาง
แนวท่อตามข้อแนะนําต่อไปนี้
จะต้องให้แรงจากท่อกระทบกับเครื่องสูบน้ําน้อยที่สุด ถ้าจําเป็นติดตั้งข้อต่ออ่อนที่
ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้านของเครื่องสูบน้ํา หรือใช้ข้อต่อเชิงกล (Mechanical
coupling) แล้วแต่กรณี
ท่อด้านดูดจะต้องมีน้ําเต็มอยู่เสมอ ไม่มีอากาศขังในท่อ
เมื่ อ มี ก ารเปลี่ ย นขนาดท่ อ ที่ ด้ า นดู ด ข้ อ ลดต้ อ งเป็ น แบบหลั ง เรี ย บ (Eccentric
reducer) และติดตั้งให้ด้านเรียบอยู่ด้านบนไม่ให้มีอากาศ
เมื่อท่อดูดอยู่ในแนวนอนระยะท่อตรงเข้าเครื่องสูบน้ําจากข้องอตัวแรกควรมีความ
ยาว 3-4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ระยะนี้นับรวมข้อลดแบบหลังเรียบได้ด้วย
- ท่อระบายน้ําและท่อไล่อากาศ ที่จุดสูงสุดของระบบท่อและส่วนที่อาจมีอากาศสะสม
ควรมี ว าล์ ว และท่ อ ที่ อ ยู่ ใ นระดั บ ต่ํ า ควรมี ท่ อ สํ า หรั บ การระบายน้ํ า เพื่ อ ใช้ สํ า หรั บ
การเติมน้ํา การระบายน้ําออกหลังจากการทดสอบ ซึ่งในระหว่างการใช้งานอาจต้องไล่
อากาศบ่อยครั้ง
- ท่อที่ฝังใต้ดินมีต้นทุนการติดตั้งน้อยกว่าท่อเหนือดินเพราะไม่ต้องมีฐานรับและไม่มี
อุปกรณ์ยึดที่มีราคาแพง แต่ถ้าเป็นท่อโลหะจะต้องมีระบบสีและระบบป้องกันคาโทดิก
ทําให้มีราคาแพงซึ่งถ้าสามารถใช้ท่อพลาสติกได้จะช่วยลดต้นทุนระบบท่อได้มากเหมาะ
สําหรับท่อที่ใช้กับของไหลที่มีความดันและอุณหภูมิต่ําเช่นท่อระบายความร้อนและ
ท่อน้ําดีมิน (Demineralized water)
กฎเกณฑ์เฉพาะสําหรับระบบท่อตามการใช้งานแต่ละประเภทจะต้องศึกษาและนํามาใช้ใน
การออกแบบ เช่นงานท่อไอน้ําในโรงไฟฟ้า ท่ออากาศอัด ท่อดับเพลิงเป็นต้น
ข. ขนาดท่อ
การเลือกขนาดท่อจะต้องเทียบระหว่างราคาท่อ อุปกรณ์และค่าติดตั้ง กับพลังงานที่ใช้ใน
การขับเคลื่อนของไหลจากต้นทางผ่านระบบท่อไปยังปลายทาง

- 347 -
 
รูปที่ 5.1.1.36 ความเร็วของไหลที่ดีที่สุด

ข.1 ของไหลไม่เปลี่ยนปริมาตร (Incompressible fluid)


ความเร็ ว เบื้ อ งต้ น ในการเลื อ กขนาดท่ อ อาจเป็ น ค่ า ที่ ใ ช้ ม าก่ อ นตามตาราง แล้ ว จึ ง
คํานวณหาความดันตกและพลังงานที่ใช้ส่งของไหลสําหรับเปรียบเทียบกับราคาเพื่อหาขนาดท่อที่เหมาะสม
ตารางที่ 5.1.1.17 ความเร็วทั่วไปที่ใช้ในการออกแบบระบบท่อน้ํา
รายการท่อ ความเร็ว (ม./
วินาที)
ท่อด้านดูดของเครื่องสูบน้ําระบายความร้อน 1
ท่อด้านส่งของเครื่องสูบน้ําระบายความร้อน 3
ท่อด้านส่งของเครื่องสูบน้ําบูสเตอร์(Booster pump) 3
ท่อด้านดูดของเครื่องสูบน้ําป้อนหม้อไอน้ําเมื่อไม่มีอุปกรณ์ไล่อากาศ(Boiler feed pump, no deaerator) 3
เมื่อมีอุปกรณ์ไล่อากาศต้องเทียบความเหมาะสมของขนาดท่อที่ต่อจากอุปกรณ์ไล่อากาศมาที่เครื่องสูบน้ํากับค่าความดันบวกด้านดูด(NPSH)
ท่อด้านส่งของเครื่องสูบน้ําป้อนหม้อไอน้ํา 6-7
เครื่องสูบน้ําหมุนเวียน (Circulating pump) ≤3
เครื่องสูบน้ําทั่วไป 1.5-3
ความดันตกของของไหลในท่อคํานวณได้จาก
∆P = ƒp (V2/2g) (L/d)
เมื่อƒ คือD’Arcy-Weisbach friction factor (สามารถอ่านค่าได้จากรูป)

รูปที่ 5.1.1.37 Moody Diagram แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง friction factor กับ Reynold number
- 348 -
 
เมื่อ Re คือ ค่าเรย์โนลด์ (Reynold number) = pVd/μ
μ คือ ความหนืด (Viscosity) ของของไหล
Relative pipe roughness = ℮/d
℮ คือความขรุขระของผิวท่อ (ม.)
สามารถคํานวณค่า ƒ โดยไม่ต้องอ่านจากรูปได้ดังนี้
สําหรับการไหลแบบลามีนา (laminar flow) ƒ = 64/Re เมื่อ Re<2100
สําหรับการไหลแบบเทอบูเลนท์ (Turbulent flow) ต้องใช้เทคนิค iteration ในการคํานวณ
1/ ƒ1/2 = 1.14-2log10(e/d+9.35/(Re ƒ1/2)) เมื่อ Re > 4000
ข้อต่อต่างๆ และวาล์วสามารกแปลงความดันตกเป็นความยาวท่อเทียบเท่าซึ่งนําไปรวมกับ
ความยาวท่อเพื่อความสะดวกในการคํานวณโดยสมการ
Le = Kd / ƒ
เมื่อ K คือ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานของอุปกรณ์

ข.2 ของไหลเปลี่ยนปริมาตรได้ (Compressible fluid)


ของไหลนี้ ได้แก่ ก๊าซต่างๆ และไอน้ํา ถ้าไม่มีการให้ความร้อนจากสมการพลังงานจะได้
สมการด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นว่าการไหลในท่อที่มีขนาดคงที่จะมีค่าเอ็นทาลปีคงที่อยู่ค่าหนึ่ง (Stagnant
enthalpy)

ใช้กฎของก๊าซเขียนกราฟของสมการการไหลลงบนแกนเอนทาลปีและเอ็นโทรปีจะได้
เส้นแฟนโน (Fanno lines) ตามรูป ที่อัตราการไหลค่าหนึ่งเมื่อไหลมานานขึ้นความดันลดลงปริมาตรจะเพิ่มขึ้น
ทํ า ให้ ค วามเร็ ว สู ง ขึ้ น จนถึ ง ขี ด จํ ากั ด เรี ย กว่า โชค (Choke) ซึ่ งอั ต ราการไหลจะถู ก จํา กั ด สามารถคํ า นวณ
ระยะทางจากจุดเริ่มต้นมาที่จุดโชคและทราบความดันตกมาถึงจุดนี้ ความดันตกของท่อท่อใดๆจึงสามารถ
คํานวณได้เป็นผลต่างของความดันของจาก 2 จุดมาที่จุดโชค

รูปที่ 5.1.1.38 เส้นแฟนโนบนไดอะแกรมเอ็นทาลปี-เอ็นโทรปี

- 349 -
 
เมื่อ p* คือความดันที่เกิดโชค และ Ma คือความเร็วเป็นมัค (Mach number<1)

จากสมการข้างบนนี้สามารถคํานวณความดันที่จุดใดๆ ในท่อได้ทําให้สามารถคํานวณ
ความดันตกของท่อได้ ท่ออากาศอัดสามารถออกแบบขนาดท่อได้ง่ายโดยใช้สมการข้างต้นคํานวณตารางขนาด
ท่อและความดันตกตามอัตราการไหล สําหรับไอน้ําสามารถคํานวณโดยใช้คุณสมบัติของไอน้ําช่วยในการ
คํานวณด้วยสมการในลักษณะเดียวกันความเร็วเริ่มต้นสําหรับการคํานวณขนาดท่อใช้ค่าตามตารางจากั้นจึง
คํานวณหาความยาวสูงสุดที่ไม่ทําให้เกิดโชค และขนาดที่เหมาะสม

ตารางที่ 5.1.1.18 ความเร็วไอน้ําทั่วไปที่ใช้ในการคํานวณท่อไอน้ํา


ความดันไอน้ํา(บาร์เกจย์) ความเร็ว(ม./วินาที) ความดันตก(บาร์/100ม.)
3.5ลงมา ~50 ~0.1
ไอน้ําอิ่มตัว >3.5 ~35 ~0.25
ไอน้ํายิ่งยวด>3.5 ~50 ~0.25

ค. ความหนาของท่อ
ระบบท่ออาคารจะมีการใช้งานไม่คงที่ตามสถิติการใช้ของแต่ละระบบ หรือตามข้อกําหนด
และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดท่อจึงถูกกําหนดไว้แล้ว แต่ในงานท่อนอกหม้อน้ํา งานท่อในโรงงานและงานท่อ
ส่งของไหลมีอัตราการใช้แน่นอนและมีปริมาณท่อที่ใช้มากพอที่จะทําการคํานวณเลือกท่อความหนาพิเศษได้
การคํานวณความหนาท่อตาม ASME ใช้สมการดังต่อไปนี้
t = PD/2 (SE+Py)
เมื่อ t คือความหนาต่ําสุดของท่อ (นิ้ว)
P คือความดันของท่อที่ออกแบบ (ปอนด์/ตร.นิ้ว เกจย์)
D คือขนาดเส้นผ่านผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อ (นิ้ว)
S คือความเค้นของวัสดุที่ยอมให้ใช้ (ปอนด์/ตร.นิ้ว)
E คือตัวประกอบประสิทธิภาพการเชื่อม (ไม่มหี น่วย)
y คือตัวประกอบที่ขึ้นกับอุณหภูมิ (ไม่มีหน่วย)
และควรมีความหนาเผื่อสําหรับ
- การลดความหนาของท่อเนื่องจากการผุกร่อน การสึกกร่อน และการสึกหรอ
- เพื่อทดแทนเนื้อท่อที่หายไปจากการติดตั้งท่อ เช่น การตัดเกลียว
- เผื่อสําหรับแรงจากภายนอก เช่น เมื่อมีการขนส่ง
ง. ระบบท่อในอาคาร
ระบบท่อในอาคารตาม ASME B31.9 คือ ท่อที่ใช้กับของไหลความดันและอุณหภูมิต่ํา
ได้แก่ท่อน้ําเย็น ท่อน้ําระบายความร้อน ท่อน้ําร้อน ท่ออากาศอัดในโรงงานอุตสาหกรรม สถานศึกษา อาคาร
พาณิชย์ อาคารสาธารณะและอื่นๆ
- 350 -
 
ง.1 วัสดุท่อ
ตัวประกอบที่จะต้องคํานึงถึงสําหรับการเลือกวัสดุท่อได้แก่
- ความต้องการและข้อจํากัดของอาคารและมาตรฐานของอาคาร
- ของไหลในท่อ
- อุณหภูมิและความดัน
- สิ่งแวดล้อมของท่อ
- ความสะดวกในการซ่อม และเปลี่ยน
- อายุการใช้งาน
- ราคา
ท่อสําหรับไอน้ําและน้ํากลั่นตัว

ตารางที่ 5.1.1.19 ความดันระบุ (ปอนด์/ตร.นิ้ว) ของข้อต่อทองแดงแบบเชื่อมประสานขนาดต่างๆ


ข้อต่อเชือ่ มประสาน(Solder, อุณหภูมิใช้งาน ขนาดท่อ ประเภท K, L, M (นิ้ว)
brazing) ด้วยวัสดุต่างๆ สูงสุด oฟ น้ํา ของไหลที่ไม่กดั กร่อน และก๊าซ ไอน้ํา
1⁄4-1 1 1⁄4-2 2 1⁄2-4 5-8† 10-12† ทุกขนาด
50–50 Tin-lead Solder 100 200 175 150 130 100 —
ASTM B32 Gr 50A‡ 150 150 125 100 90 70 —
200 100 90 75 70 50 —
250 85 75 50 45 40 15
95–5 Tin-antimony Solder 100 500 400 300 270 150 —
ASTM B32 GR 95TA 150 400 350 275 250 150 —
200 300 250 200 180 140 —
250 200 175 150 135 110 15
Brazing alloys 200 § § § § § —
ANSI/AWS A5.8 250 300 210 170 150 150 —
(melting above 1000นF) 350 270 190 150 150 150 120
หมายเหตุ ความดันระบุตาม ASME B16.22 และ B16.18
† B31.9 ห้ามใช้กับท่ออากาศอัด และก๊าซที่มีความดันสูงกว่า 20ปอนด์/ตร.นิ้วเกจย์
§รอยเชื่อมทนความดันได้เท่ากับท่อ

ความหนาของท่ อคํ านวณโดยใช้คุ ณ สมบั ติข องวัส ดุ ลัก ษณะของข้อ ต่ อ ตามตาราง


ต่อไปนี้
ตารางที่ 5.1.1.20 ความเคร้นที่ยอมรับได้
ASTM Grade NPS (DN) E factor ความแข็งแรง Strength ความเคร้นสูงสุดที่ยอมให้ใช้ SE (ksi)
no. แรงดึงต่ําสุด ยีลต่ําสุด 0- 200oF 300oF 400oF
o
(ksi) (ksi) 100 F
Carbon steel seamless pipe & tube
A 53 B 1⁄4-26(8- 650) 1.00 60.0 35.0 15.0 15.0 15.0 15.0
A 106 B 1⁄4- 30(8-750) 1.00 60.0 35.0 15.0 15.0 15.0 15.0
Carbon steel ERW PIPE & tube
A 53 B 2-20 (50- 500) 0.85 60.0 35.0 12.8 12.8 12.8 12.8
A 106 B 2-30 (50- 750) 0.85 60.0 35.0 12.8 12.8 12.8 12.8
Carbon steel furnace butt welded(continuous weld) pipe & tube
A 53 F 1⁄2-4(15-100) 0.60 45.0 25.0 6.8 6.8 6.8 6.8
Carbon steel Wrought welding fittings
A 234 WPB 1⁄2-42(15-1050) 1.00 60.0 35.0 15.0 15.0 15.0 15.0
Stainless steel; welded pipe and tube
A 312 TP304 1⁄4-30(8-750) 0.85 75.0 30.0 18.8 15.7 14.1 13.0
A 312 TP316 1⁄4 - 30 (8- 750) 0.85 75.0 30.0 18.8 16.2 14.6 13.4
Ductile iron

- 351 -
 
C151/ 4 -48 100-1200 — 60.0 42.0 4.2 4.2 4.2 4.2
A21.51
Aluminum Alloy; seamless pipe and tube
B 241 3003 3⁄4- 24 (20-600) 0 14.0 — 3.4 3.4 2.4 1.4
B 241 6061 3⁄4- 24 (20-600) T4 26.0 — 6.5 6.5 6.0 4.5
Copper and copper alloys; seamless pipe and tube
B 75 102-142 ¼-12 (8–300) anneal 30.0 9.0 6.0 4.8 4.7 3.0
B 75 102-142 1⁄4-12 (8–300) light 36.0 30.0 9.0 9.0 9.0 8.2
drawn
B 75 102-142 1⁄4-12 (8–300) hard 45.0 40.0 11.3 11.3 11.3 4.3
drawn
B 88 102-122 1⁄4-12 (8–300) anneal 30.0 9.0 6.0 4.8 4.8 3.0
B 88 102-122 ¼-12 (8–300) drawn 36.0 30.0 9.0 9.0 9.0 8.2
Structural shapes for pipe supports
A 36 — — — 58.0 36.0 11.6 11.6 11.6 11.6
Bolts, nuts, and studs for flanges and supports
A 307 B — — 55.0 — 7.0 7.0 7.0 7.0

ตารางที่ 5.1.1.21 ความลึกของเกลียวและร่อง (ความลึกเกลียวตาม ASME B1.20.1 ร่องตามข้อต่อบริษัท Victauric)


ขนาดท่อ ความลึกเกลียว ความลึกร่อง
นิ้ว(มม.) นิ้ว นิ้ว
1⁄2 (15) 0.057 —
3⁄4 (20) 0.057 0.056
1 (25) 0.070 0.063
1 1⁄4 (32) 0.070 0.063
1 1⁄2 (40) 0.070 0.063
2 (50) 0.070 0.063
2 1⁄2 (65) 0.100 0.078
3 (80) 0.100 0.078
4 (100) 0.100 0.083
5 (125) 0.100 0.084
6 (150) 0.100 0.085
8 (200) 0.092
10 (250) 0.094
12 (300) 0.109
14 (350) 0.109
16 (400) 0.109
18 (450) 0.109
20 (500) 0.109
24 (600) 0.172

ง.2 ข้องอ (Elbows) ข้อโค้ง (Bends) และข้อโค้งเหลีย่ ม (Miters)


การเปลี่ยนทิศทางของไหลทั่วไปใช้ข้อต่อซึ่งมีมาตรฐานความหนามากกว่าความหนาท่อ
แต่มีราคาแพง การใช้ข้อโค้งหรือข้อโค้งเหลี่ยมจากท่อสามารถทําได้ถ้าค่าแรงถูกแต่การนําท่อมาดัดโค้งเป็น
ข้อโค้งต้องให้มีความหนาเพิ่มขึ้นเพื่อรับแรงจากการเปลี่ยนทิศทางการไหลและการเสียรูปจากการดัด ข้อโค้ง
เหลี่ยมประกอบจากท่อตรงตัดเป็นมุมชิ้นละ 3องศาเมื่อติดตั้งแล้วจึงทํามุมกับแนวท่อชิ้นละ 1.5 องศา ซึ่งไม่
จําเป็นต้องเพิ่มความหนาและสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลได้ 3-45 องศาที่ความดันไม่เกิน 3.4 บาร์ ถ้าจะใช้
ความดันมากกว่านี้จะต้องคํานวณจาก ASME B31.1 หรือ B31.3

- 352 -
 
ตารางที่ 5.1.1.22 ความหนาสําหรับข้อโค้ง (Bends)
ขนาดท่อ นิ้ว ความหนาต่ําสุด
6 และมากกว่า 1.06tm
5 1.08tm
4 1.14tm
3 1.24tm

ง.3 ท่อแยก (Branch)


การต่อท่อแยกใช้ข้อต่อเกลียว ข้อต่อเชื่อม หรื อใช้ท่อแยกเชื่อมกับท่อหลักโดยตรง
เนื่องจากการเชื่อมท่อตรงเข้ากับท่อหลักต้องคว้านท่อหลักให้เปิดจึงสูญเสียความแข็งแรง การติดตั้งท่อแยก 45
และ 90 องศา ที่ใช้วัสดุ ASTM A53 Grade B และ A106 Grade B ตามตารางต่อไปนี้ไม่ต้องใช้การเสริม
แรงเพิ่ม

ตารางที่ 5.1.1.23 ความดันสูงสุด (ปอนด์/ตร.นิ้ว เกจย์) ที่สามารถใช้ท่อแยกเชื่อมตรงกับท่อหลักได้โดยไม่ต้องเสริมแรง


อุณหภูมิสูงสุด 343oซ สําหรับวัสดุ ASTM A53, A135 และ A106 Grade B (S=15,000ปอนด์/ตร.นิ้ว)
ขนาดท่อ NPS (DN) ท่อ นน.มาตรฐาน(Standard weight) ท่อหนักพิเศษ(Extra heavy)
ท่อหลัก ท่อแยก 90o 45o 90o 45o
3 (80) 2 (50) 842 713 1252 1076
4 (100) 3 (80) 720 620 1105 963
2 (50) 723 613 1096 942
6 (150) 4 (100) 567 490 934 816
3 (80) 583 502 955 831
2 (50) 582 494 945 813
8 (200) 6 (150) 489 426 826 724
4 (100) 503 435 830 724
3 (80) 515 444 846 735
2 (50) 513 437 835 719
10 (250) 8 (200) 443 387 667 586
6 (150) 448 389 674 589
4 (100) 458 396 674 587
3 (80) 468 403 686 595
2 (50) 465 398 674 580
12 (300) 10 (250) 385 336 544 477
8 (200) 387 337 570 499
6 (150) 390 339 574 501
4 (100) 356 345 573 498
3 (80) 406 350 582 504
2 (50) 404 345 570 491
14 (350) 12 (300) 346 302 483 424
10 (250) 352 307 498 436
8 (200) 353 308 522 457
6 (150) 356 309 525 459
4 (100) 363 314 523 455
3 (80) 371 319 531 461
2 (50) 368 314 520 448
16 (400) 14 (350) 301 263 420 368
12 (300) 304 266 426 373
10 (250) 310 270 439 384
8 (200) 311 270 460 403
6 (150) 313 272 463 404

- 353 -
 
4 (100) 319 276 460 400
3 (80) 325 280 467 404
2 (50) 322 275 456 393
18 (450) 16 (400) 265 231 369 323
14 (350) 269 234 376 329
12 (300) 272 237 381 333
10 (250) 276 241 393 343
8 (200) 277 241 412 360
6 (150) 279 242 413 360
4 (100) 284 246 411 357
3 (80) 290 249 416 360
2 (50) 287 245 406 350
20 (500)) 18 (450 236 206 329 288
16 (400) 239 209 333 292
14 (350) 243 212 340 297
12 (300) 245 214 345 301
10 (250) 249 217 355 310
8 (200) 250 218 372 325
6 (150) 251 218 373 326
4 (100) 256 221 371 322
3 (80) 261 225 376 325
2 (50) 258 221 366 315
24 (600) 20 (500) 196 171 273 238
18 (450) 198 173 276 241
16 (400) 200 175 280 245
14 (350) 203 177 285 249
12 (300) 205 179 289 253
10 (250) 209 182 298 260
8 (200) 209 182 312 273
6 (150) 210 182 313 273
4 (100) 214 185 310 269
3 (80) 218 188 314 272
2 (50) 215 184 306 263
หมายเหตุ ความดันเปลี่ยนตามอัตราส่วน SE/ S

ตารางนี้คํานวณโดยใช้ความคลาดเคลื่อนในการผลิต (mill tolerance) 12.5% ความหนา


สําหรับการผุกร่อน 1/32 นิ้ว
สําหรับท่อ A53 type F เชื่อม ใช้ตัวคูณ 0.75
ถ้าท่อแยกเชื่อมท่อหลักที่ตะเข็บท่อ คูณความดันในตารางดังนี้ ท่อ ERW 0.85 ท่อ A53
type Fbuttweld 0.45

ง.4 การปิดปลายท่อ
การปิดปลายท่อใช้ข้อต่อ เช่น แค็ป ปลั๊ก หรือหน้าแปลนบอดได้ผลิตตามมาตรฐาน
สามารถทนความดันและอุณหภูมิได้เท่ากับท่อ แต่ก็สามารถใช้แผ่นเหล็กเชื่อมกับปลายท่อได้โดยตรงซึ่งต้องใช้
ความหนาแผ่นเหล็กตามสมการต่อไปนี้
t = d (C P/S)1/2 + A
เมื่อ d คือเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน (นิ้ว)
C = 0.5tm/T แต่ไม่น้อยกว่า 0.3
- 354 -
 
tm คือความหนาต่ําสุดของท่อ (นิ้ว)
T คือความหนาของท่อ (นิ้ว)
P คือความดันในท่อ (ปอนด์/ตร.นิ้ว)
S คือความเคร้นที่ยอมรับสูงสุดของแผ่นเหล็ก (ปอนด์/ตร.นิ้ว)
ถ้าใช้แผ่นเหล็กปิดด้วยหน้าแปลน ความหนาแผ่นเหล็กใช้สมการต่อไปนี้
t = dg (3P/16S)1/2 + A
เมื่อ dg คือเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของปะเก็น (นิ้ว)
ถ้าใช้แผ่นเหล็กชั่วคราวเฉพาะสําหรับการทดสอบ P คือความดันที่ใช้ทดสอบ และ S ใช้ 0.95
ยีลต่ําสุดของแผ่นเหล็ก

จ. การยึดท่อ
การยึดท่อที่ดีจะช่วยขจัดปัญหาที่เกิดกับระบบท่อได้ สําหรับระบบที่ซับซ้อน มีความดันและ
อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสูงจึงควรออกแบบทั้งระบบท่อและการยึดท่อไปพร้อมกัน แม้การยึดท่อจะเตรียมโดย
ผู้ออกแบบระบบท่อมาแล้ว ความรับผิดชอบยังอยู่กับผู้ติดตั้งที่จะต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอุปกรณ์ยึดท่อ
ซึ่งจะตรวจสอบและจัดหาอุปกรณ์ยึดท่อให้กับงาน
จ.1 ข้อควรพิจารณาในการออกแบบอุปกรณ์ยึดท่อ
ผู้ออกแบบจะต้องเข้าใจการทํางานของระบบท่อทั้งหมดที่จัดแนวอยู่ด้วยกันโครงสร้าง
อาคารและโครงสร้างสําหรั บยึดท่ อ ซึ่งโครงการควรมีเวลาให้กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อแลกเปลี่ ยนความคิดกับ
ผู้ออกแบบท่อ และผู้ออกแบบโครงสร้างซึ่งจะทําให้การยึดท่อไม่ซับซ้อน
ตําแหน่งยึดท่อเริ่มจากจุดที่ควรยึดได้แก่ระยะระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อตามข้อกําหนดและ
มาตรฐาน และจุดที่มี น้ําหนักอุปกรณ์ ข้องอ ท่ อแยก จากนั้ นจึงจัดเข้าหาโครงสร้าง จัดกลุ่ ม และบันทึก
ตําแหน่งและโครงเหล็กที่ต้องใช้รับเพื่อใช้ในการตรวจสอบ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ออกแบบหลายคน กระบวนการนี้
จะเป็นลักษณะที่ต้องลองและแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
เมื่อตําแหน่งเรียบร้อย ขั้นต่อไปคือการคํานวณภาระจากน้ําหนัก การยืดตัว หดตัว ซึ่ง
จะนํามาใช้เลือกประเภทอุปกรณ์ยึดท่อและข้อจํากัดต่างๆ และภาระที่เกิดจากเหตุการณ์อื่นๆจึงต้องคิดภาระ
มากกว่าค่าที่มี 20% สําหรับการออกแบบ

ตารางที่ 5.1.1.24 ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อที่แนะนําให้ใช้สําหรับท่อเหล็กความหนา STD ใช้เป็นท่อน้ํา มีความเคร้น


รวม 10.35 เม็กกะปาสคาล ระยะตกท้องช้าง 2.54 มม.
ขนาดท่อ(DN) ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อที่แนะนํา(ม.)
ท่อน้ํา ท่อไอน้ํา ท่อก๊าซ และท่อ
อากาศอัด
25 2.13 2.74
50 3.05 3.96
80 3.66 4.57
100 4.27 5.18
150 5.18 6.40
200 5.79 7.32
300 7.01 9.14
400 8.23 10.7
500 9.14 11.9
600 9.75 12.8

- 355 -
 
จะต้องยึดท่อใกล้ นน. โดด เช่น วาล์วเพื่อลดแรงเคร้นที่จะเกิดกับท่อ และถ้ามีท่อแยก
ระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อ 2 ชุด ระยะระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อควรยาวไม่เกิน 0.75 เท่าของระยะของท่อตามตาราง
และถ้าเป็นไปได้ควรยึดท่อใกล้ท่อที่แยกออกมามากที่สุด
ท่อไอน้ําที่มีระยะระหว่างที่ยึดท่อมากอาจมีน้ํากลั่นตัวค้างในท่อส่วนที่ตกท้องช้าง เมื่อ
เริ่มปล่อยไอน้ํา น้ําที่ค้างอยู่อาจกลายเป็นไอทําให้เกิดการสั่นของท่อได้จึงควรติดตั้งท่อให้เอียงมากกว่าระยะ
ที่ตกท้องช้างเพื่อระบายน้ําออก

ตารางที่ 5.1.1.25 ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ยึดท่อที่แนะนําให้ใช้สําหรับท่อเหล็กความหนา STD ใช้เป็นท่อเปล่า ท่ออากาศ


อัดและท่อไอน้ํา มีความเคร้นรวม 10.35 เม็กกะปาสคาล ระยะตกท้องช้าง 2.54 มม.
ขนาดท่อ ประเภทท่อ ระยะห่างระหว่างที่ยึดท่อ (ม.)
ไม่มีฉนวน ฉนวน 25มม. ฉนวน 40มม. ฉนวน 50มม.
15 40 2.16 1.68 1.40 1.24
80 2.08 1.68 1.45 1.27
160 2.01 1.68 1.45 1.30
20 40 2.46 2.03 1.75 1.52
80 2.39 2.03 1.78 1.57
160 2.26 2.01 1.78 1.63
25 40 2.79 2.29 2.06 1.83
80 2.69 2.31 2.11 1.91
160 2.59 2.26 2.11 1.93
32 40 2.79 2.29 2.06 1.83
80 2.69 2.31 2.11 1.91
160 2.59 2.26 2.11 1.93
40 40 3.43 2.97 2.72 2.34
80 3.35 3.00 2.79 2.46
160 3.20 2.92 2.79 2.51
50 40 3.86 3.40 3.15 2.90
80 3.78 3.43 3.23 3.02
160 3.61 3.35 3.20 3.05

จ.2 แรงและการเคลื่อนที่ของท่อ
การเลือกอุปกรณ์ยึดท่อจะเริ่มจากแบบง่ายๆและราคาถูกและขยับสู่อุปกรณ์ที่ซับซ้อน
ขึ้นราคาแพงขึ้นตามความจําเป็น เพลาแขวนท่อ (Rod hangers) สามารถใช้เมื่อท่อเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเล็กน้อย
และมีการเคลื่อนที่ในแนวราบได้โดยทําให้เกิดมุมเอียงจากแนวดิ่งโดยทั่วไปไม่เกิน 4 องศา จึงสามารถขยับจุด
ที่ยึดเพลาด้านบนขึ้นให้รักษามุมเอียงได้ ในกรณีที่รับท่อจากด้านล่างจะใช้อุปกรณ์ยึดท่อที่ผอมให้ท่อเคลื่อนใน
แนวราบได้ด้วยการไถลหรือมีลูกล้อถ้าการเคลื่อนที่มาก
ท่ อ ที่ มี ก ารเคลื่ อ นที่ ใ นแนวดิ่ ง มากจะต้ อ งใช้ อุ ป กรณ์ ยึ ด ท่ อ แบบสปริ ง (รั บ แรง
เปลี่ย นแปลง)หรือ แบบรั บ แรงคงที่ (Constant supports) ระบบท่อ ทั่ว ไปจะใช้ แบบรั บแรงเปลี่ ย นแปลง
นอกจากระบบท่อในโรงไฟฟ้า โรงกลั่นและบางกระบวนการในโรงงานเคมีซึ่งมีท่อเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเป็น
ระยะมาก แรงที่ทําบนอุปกรณ์ยึดท่อในช่วงติดตั้งและในช่วงใช้งานเปลี่ยนมากจนอุปกรณ์ยึดท่อแบบสปริง
ไม่สามารถรับได้ จึงต้องใช้แบบรับแรงคงที่
อุปกรณ์ยึดท่อแบบสปริงทําหน้าที่ยึดท่อโดยยอมให้ท่อเคลื่อนที่ได้ เมื่อสปริงถูกกดตาม
ระยะของท่อแรงของสปริงก็จะเพิ่มขึ้นและทําให้ท่อได้รับแรงเพิ่มขึ้นตามแรงสปริงด้วย ขอบเขตของการใช้
สปริ ง จึ ง พิ จ ารณาจากแรงดั ด (Bending) ที่ เ กิ ด กั บ ท่ อ การควบคุ ม ระดั บ ของท่ อ แรงที่ เ กิ ด กั บ ท่ อ แยก
- 356 -
 
ที่ยอมรับได้ โดยทั่วไประบบท่อไอน้ําหลัก (Main steam) ท่อรีฮีท (Reheat) ท่อไอน้ําแยกจากเทอร์ไบน์
(Extraction line) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 400oซ ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงที่อุปกรณ์ยึดท่อได้ ±6% ส่วนระบบ
ท่ออื่นๆ ยอมให้เปลี่ยนแปลงได้ถึง 25%

จ.3 การวิเคราะห์แรงเคร้นของระบบท่อและอุปกรณ์ยดึ ท่อ


จุดประสงค์ ของการวิเคราะห์แรงเคร้นของระบบท่ อคือเพื่อตรวจสอบแรงที่ท่อและ
อุปกรณ์ยึดท่อ จึงต้องอยู่ใ นขั้นตอนที่แ บบระบบท่อและตําแหน่งอุปกรณ์ยึดท่อลงตั วแล้ว ประโยชน์ของ
การวิเคราะห์คือจะช่วยให้สามารถแน่ใจในเรื่องความปลอดภัยในการทํางานของระบบท่อ และทําให้สามารถ
ลดความยุ่งยากของการติดตั้งและลดราคาของอุปกรณ์ยึดท่อลงได้ การทํางานจึงอาจต้องทําหลายครั้งจนกว่า
จะได้ตามความต้องการทุกด้าน
การคํานวณวิเคราะห์แรงเคร้นของระบบท่อใช้สมการ ข้อมูลอ้างอิง
ความเคร้นสูงสุด (Maximum principal stress)
แรงเฉือนสูงสุด (Maximum shear stress)
ความล้า (Fatigue)
กําหนดขีดจํากัดของแรงเคร้นสูงสุดซึ่งแบ่งออกเป็น
- แรงเคร้นปฐมภูมิ (Principal stress) ได้แก่ แรงเคร้นจากความดัน (Hoop stress
หรือ Membrane stress) และแรงเคร้นจากการดัด (Bending) กําหนดขีดจํากัด
เพื่อป้องกันการการระเบิดและการเปลี่ยนรูป (plastic deformation)
- แรงเคร้นทุติยภูมิ (Secondary stress) ได้แก่ แรงเคร้นเนื่องจากการขยายตัวและ
หดตัว กําหนดขีดจํากัดเพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปมากเกินไป (Excessive plastic
deformation) จนทําให้เกิดความเสียหาย
- แรงเคร้ น สู ง สุ ด (Peak stress) เป็ น แรงเคร้ น สูง สุ ด ที่เ กิ ด ขึ้น จากแรงเคร้ นขั้ น ต้ น
กําหนดขีดจํากัดเพื่อป้องกันการล้าจากการรับแรงเป็นจังหวะ
แรงที่เกิดจากความดันและการดัดจากน้ําหนักเมื่อทําให้แรงเคร้นปฐมภูมิเกินยีลแล้ว
แรงเคร้นจะไม่ลดลงจนระบบท่อเสียหาย แต่แรงเคร้นทุติยภูมิซึ่งเกิดจากการขยายตัวของท่อถ้าเกินยีลก็จะทํา
ใช้ท่อเปลี่ยนรูปร่างลดการขยายตัวและลดแรงเคร้นเองได้ แรงเคร้นจากความดันที่ยอมรับสําหรับการคํานวณ
เท่ากับ 0.66 ของค่ายีล แรงเคร้นจากการดัดและแรงเคร้นจากความดันที่ยอมรับสําหรับการคํานวณเท่ากับ
ค่ายีล ส่วนแรงเคร้นทุติยภูมิที่ยอมรับสําหรับการคํานวณเท่ากับ 2 เท่าของค่ายีล
ความล้าสําหรับงานท่อจะมีจังหวะของแรงเคร้นสูงสุดเป็นพันถึง 105 รอบซึ่งน้อยกว่า
รอบของเครื่องจักรมาก แรงเคร้นสูงสุดถ้าเกินค่ายีลก็จะทําให้วัสดุยืดและสะสมทําให้เกิดความเสียหายแก่ท่อ
คําจํากัดความ ค่าที่ยอมรับ ตัวประกอบ วิธีการคํานวณ และสมการที่ใช้สามารถหาได้
จากมาตรฐาน ASME 31 ตามประเภทของระบบท่อที่คํานวณ มีการคํานวณหลายวิธีสําหรับคํานวณแต่ละค่า
และจําเป็นต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย ดังนั้นจึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีสัญญาควบคุม
การทํางานที่รอบคอบ

- 357 -
 
5.1.2 การควบคุมการติดตั้ง
การประกอบ (Fabrication) หมายถึง การตัด การงอ การขึ้นรูป การเชื่อมชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
การใช้กระบวนการทางความร้อน (Heat treatment) การตรวจสอบแบบไม่ทําลาย (Non destructive test)
เพื่อให้ได้ชิ้นงานย่อย (Sub-assembly หรือ Spool piece) สําหรับใช้ติดตั้งต่อไป
การติดตั้ง (Installation) หมายถึงการนําชิ้นส่วนท่อ วาล์ว อุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อม ต่อเข้ากับเครื่อง
ตรวจสอบแบบไม่ทําลายครั้งสุดท้าย การใช้กระบวนการทางความร้อน ทดสอบการรั่ว ทําความสะอาดและส่ง
งานการประกอบอาจทําที่โรงงานหรือโรงประกอบใกล้สถานที่ติดตั้ง ท่อขนาดเล็กกว่าจะ DN50 โดยทั่วไปจะ
ประกอบที่โรงประกอบทดสอบขั้นต้นแล้วจึงขนย้ายไปติดตั้ง แต่ถ้าเป็นท่อตรงมักจะติดตั้งที่หน้างาน
5.1.2.1 จุดประสงค์ เป้าหมาย
การควบคุมการติดตั้งจะช่วยให้ผลงานการติดตั้งได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยทั้งในระหว่าง
การติดตั้งและเมื่อใช้งานระบบ และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และข้อกําหนด มีพื้นที่เพียงพอสําหรับการบํารุงรักษา
เข้าถึ งอุ ปกรณ์ได้ง่าย แล้วเสร็ จ ตามกํ าหนดเวลาและงบประมาณที่กํ าหนด และอายุการใช้งานนานตาม
ความคาดหมาย
5.1.2.2 การศึกษาข้อมูล
ก. ข้อกําหนด มาตรฐาน แบบ กําหนดเวลาการติดตั้ง
การควบคุมงานจะต้องศึกษาลักษณะการใช้งาน คุณสมบัติของของไหลและคุณสมบัติของ
วัสดุท่อที่ใช้ วิธีการต่อท่อ การเชื่อม การทดสอบ การทดสอบโดยไม่ทําลาย การป้องกันการผุกร่อน มาตรฐาน
ของระบบท่อที่อ้างอิง ข้อกําหนดของงาน แบบ และกําหนดเวลาการติดตั้งของงานซึ่งกําหนดโดยผู้ออกแบบ
และความต้องการของโครงการ
ผู้ควบคุมงานจะต้องเข้าใจขั้นตอนและมาตรฐานการทํางาน การทําแบบขออนุมัติ การทํา
กําหนดการทํางาน การรายงานความก้าวหน้า เพื่อให้ได้ผลงานการติดตั้งที่ดี ที่แล้วเสร็จในกําหนดเวลาที่
ต้ อ งการศึ ก ษากํ า หนดการและขั้ น ตอนต่ า งๆ ของงานอื่ น ๆ ทั้ ง หมดที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ โครงการ และเข้ า ใจ
ความสําคัญของกําหนดเวลาการติดตั้ง และความเสียหายที่จะเกิดกับโครงการถ้ามีความล่าช้าในการติดตั้ง
ระบบท่อ
ข. วิธีการติดตัง้
เทคโนโลยีใหม่สําหรับวิธีการการต่อ การเชื่อม ข้อกําหนดเพื่อความมั่นใจในคุณภาพ (QA,
Quality assurance) วิธีการควบคุมคุณภาพ (QC, Quality control) พัฒนามากขึ้นทําให้การทํางานซับซ้อน
ขึ้ น การเลื อ กวิ ธี ก ารและเทคนิ ค ประกอบอาจทํ า ให้ ง านติ ด ตั้ ง มี อ ายุ ก ารใช้ ง านไม่ น านเท่ า ที่ ค วร ผู้ ติ ด ตั้ ง
ผู้ควบคุมงานจึงควรประสานงานกับผู้ออกแบบอย่างใกล้ชิดและระวังให้ถูกต้องตามหลักทางวิศวกรรมและ
ข้อกําหนด
สําหรับงานพิเศษเช่นงานระบบท่อโรงไฟฟ้า ระบบท่อโรงกลั่น ระบบท่อโรงงานเคมี ผู้ติดตั้ง
จะต้องมีคุณภาพและผ่านงานระบบท่อเหล่านี้มาแล้ว มีบุคคลากรที่มีประสบการณ์มีเครื่องมือและอุปกรณ์
ทดสอบ และมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้าใจมาตรฐานการติดตั้งท่อ และวิธีการทํางานช่วยให้การทํางานมีมาตรฐานที่ดี
5.1.2.3 การควบคุมงาน
ก. แบบและรายละเอียดการติดตั้ง
สําหรับงานที่ซับซ้อนผู้ติดตั้งควรจัดผู้เชี่ยวชาญสําหรับการวิเคราะห์ความเคร้นของระบบท่อ
และการจัดอุปกรณ์ยึดท่อเพื่อให้ความปลอดภัยในการติดตั้งและการใช้งาน และลดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์
ยึดท่อและโครงสร้าง
- 358 -
 
ทําแบบการติดตั้ง (Shop drawing) แสดงรายละเอียดการติดตั้ง รายละเอียดการทดสอบ
(Non destructive test) การใช้กระบวนการทางความร้อน (Heat treatment) และแสดงส่วนของท่อที่เป็น
ชิ้นงานย่อยซึ่งจะประกอบในโรงประกอบแล้วนําไปติดตั้งหน้างาน เอกสารการป้องกันการผุกร่อน การใช้สีเพื่อ
ความปลอดภัย และการทดสอบเพื่อตรวจรับงาน
จํานวนชิ้นงานย่อยมากจะทําให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหน้างานน้อยลง ชิ้นงานย่อยถูกจํากัด
ด้ ว ย ส่ ว นของท่ อ ตรง ขี ด จํ า กั ด ของระยะและน้ํ า หนั ก ของชิ้ น งานย่ อ ยที่ จ ะขนส่ ง ได้ ผู้ ติ ด ตั้ ง จะทํ า แบบ
รายละเอียดของชิ้นส่วนย่อยที่จะต้องประกอบในโรงประกอบ การใช้กระบวนการทางความร้อนและการ
ตรวจสอบแบบไม่ทําลาย
ข. กําหนดการทํางาน
ผู้ติดตั้งจะต้องกําหนดระยะเวลาการประกอบ การทดสอบ การใช้กระบวนการทางความ
ร้อนการขนส่งชิ้นส่วนย่อย การติดตั้งหน้างานตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการทดสอบเพื่อส่งงาน เพื่อให้ผู้ควบคุมงาน
เข้าร่วมตรวจสอบการทํางาน
เมื่อผู้ติดตั้งทํากําหนดการทํางาน ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบกําหนดการทํางานว่าเป็นไปได้
ตามความต้องการของโครงการหรือไม่ กําหนดการจัดส่งอุปกรณ์ต่างๆเหมาะสมกับแผนงานหรือไม่ ปรับปรุง
ปรับเปลี่ยน และเร่งรัดงานให้เป็นไปตามแผนงาน
กําหนดการจะต้องมีระยะเวลาสําหรับการทดสอบและตรวจรับซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ
การตืดตั้ง ซึ่งงานจะแล้วเสร็จเมื่อผู้ติดตั้งทดสอบระบบตามขอบเขตการทํางาน จัดส่งรายงานการทดสอบ
พร้อมคู่มือการใช้ การบํารุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ค. การตรวจสอบ การทดสอบและตรวจรับ
การตรวจสอบคือการที่เจ้าของงานหรือตัวแทนเจ้าของงานตรวจสอบการทํางานของผู้ติดตั้ง
การตรวจสอบงานระบบท่ อ ต้ อ งทํ า ตั้ ง แต่ โ รงประกอบเพื่ อ คุ ณ ภาพของชิ้ น ส่ ว นย่ อ ย และการตรวจสอบ
การทํางาน ณ.สถานที่ติดตั้ง ผู้ติดตั้งจะต้องทําการทดสอบงานท่อตามข้อกําหนดเฉพาะของงานและตาม
มาตรฐานที่อ้างอิงของงานภายใต้การตรวจสอบของเจ้าของงานหรือตัวแทนเจ้าของงาน การทดสอบระหว่าง
การทํางานติดตั้งได้แก่การตรวจสอบรอยเชื่อม การทดสอบรอยรั่ว การทดสอบความดันซึ่งอาจแยกการทดสอบ
เป็นส่วนๆ หรือทั้งระบบ
ในการการตรวจรั บ ผู้ ติ ด ตั้ ง จะต้ อ งทํ า งานสะอาด และรวบรวมผลการทดสอบต่ า งๆ
ที่ทดสอบภายใต้การตรวจสอบของเจ้าของงานหรือตัวแทนเจ้าของงาน และแบบสร้างจริง ตามข้อกําหนด
ของงาน
การทดสอบโดยไม่ทําลาย (Non destructive tests) ประกอบด้วย
ค.1 วิธีการเชือ่ มและช่างเชือ่ ม
มาตรฐาน ASME B31 ส่วนใหญ่อ้างอิงมาตรฐาน ASME Section IX สําหรับ
การทดสอบวิ ธี ก ารเชื่ อ มและทดสอบช่ า งเชื่ อ ม มาตรฐาน ASME B31.4, B31.8 และ B31.11 อ้ า งอิ ง
การทดสอบวิ ธี ก ารเชื่ อ มและทดสอบผู้ เ ชื่ อ มตาม API 1104 ส่ ว น ASME B31.5 ให้ ท ดสอบตาม AWS
D10.9.28
ค.2 การทดสอบโดยไม่ทําลาย (Non destructive test)
สําหรับงานระบบท่อภายนอกของหม้อไอน้ํา ASME Section I, III and B31.1 กําหนด
ให้ใ ช้การตรวจสอบแบบไม่ทําลาย (ตาม ASME Section V) โดยผู้ที่ผ่านการอบรมการตรวจสอบแบบไม่
ทําลายพร้อมทั้งกําหนดเกณฑ์สําหรับการตรวจสอบของส่วนต่างๆการตรวจสอบแบบไม่ทําลายประกอบด้วย
- 359 -
 
ค.2.1 การตรวจพินิจ (Visual inspection)
การตรวจพินิจคือการใช้สายตาตรวจสอบ ได้แก่ ระยะ แนวท่อ ลักษณะผิว ตะเข็บ
เชื่อม การระบุชิ้นงาน รวมถึงการระบุวัสดุ วิธีการเชื่อม ความสามารถของผู้เชื่อม ลวดเชื่อม ความสะอาด
ซึ่งทําการตรวจสอบได้ในแต่ละขั้นตอนของการทํางาน
ค.2.2 ภาพรังสี (Radiographic)
รังสีเอ็กซ์ (X-ray) ให้ภาพชัดแต่ต้องใช้หลายฟิล์มต่อรอยเชื่อมและมีขนาดเครื่อง
ใหญ่จึงไม่เหมาะสําหรับใช้หน้างาน การทดสอบหน้างานนิยมใช้อีรีเดียม 192 สําหรับผนังท่อเหล็กความหนา
ไม่เกิน 63.5 มม. และใช้โคบอลท์ 60 สําหรับท่อเหล็กความหนาไม่เกิน 179 มม.
แหล่ ง รั ง สี กํ ามั น ตภาพเสื่อ มตามระยะเวลาฮาฟไลพ์ (Half life) เมื่อ แหล่ ง รั ง สี
กํ า มั น ตภาพเริ่ ม เสื่ อ มก็ ต้ อ งใช้ ร ะยะเวลาฉายรั ง สี เ พิ่ ม ขึ้ น อี รี เ ดี ย ม 192 มี ฮ าฟไลฟ์ 75 วั น โคบอลท์ 60
มีฮาฟไลฟ์ 5.3 ปี ความเข้มรังสีสําหรับการตรวจสอบงานท่อใช้ตั้งแต่ความเข้มเล็กน้อยไปจนสูงถึง 100 คูรี
(Curies)
การวางฟิล์มและแหล่งรังสีทําได้หลายแบบถ้าวางแหล่งรังสีไว้ภายในสามารถใช้
ฟิล์มวางได้รอบในครั้งเดียว ถ้าวางแบบผนังตรงข้ามจะต้องวางฟิล์มหลายครั้ง การวางฟิล์มแบบสองผนังง่ายที่
สุดแต่ต้องใช้เวลาฉายนานขึ้น

รูปที่ 5.1.2.1 การวางแหล่งรังสีและฟิล์มสําหรับการตรวจสอบงานท่อ

รายละเอียดเรื่องการตรวจสอบด้วยภาพรังสีสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ASME
Section ผู้ทดสอบจะต้องผ่านการอบรม
ค.2.3 อูลตร้าโซนิค (Ultrasonic)
ใช้สําหรับการตรวจคุณภาพการเชื่อมและความหนาของท่อ หลักการทํางานคือ
การปล่อยคลื่นเสียงช่วงสั้นๆ เข้าท่อที่จะตรวจสอบคลื่นเสียงจะสะท้อนที่ผิวมาสู่หัวอ่าน จากนั้นจะได้ผล
การตรวจสอบระยะเวลาและขนาดคลื่นที่สะท้อนกลับมาด้วยออสซิโลสโคป (Oscilloscope) การวางตําแหน่ง
เครื่องมือมีผลต่อการตรวจสอบมาก ถ้ารอยเชื่อมที่บกพร่องอยู่ขนานกับคลื่นเสียงจะไม่สามารถตรวจสอบได้
ผู้ตรวจสอบจึงต้องให้ความระมัดระวังในการทดสอบ

รูปที่ 5.1.2.2 การตรวจสอบรอยเชื่อมด้วยอูลตร้าโซนิค


- 360 -
 
ค.2.4 สีแทรกซึม (LLiquid peneetrant)
เหมาะสสําหรับการตรรวจสอบผิวที่เรียบเพื่อดูรอยแยกของวั
อ สสดุ ผิวที่ทดสออบจะต้อง
เจียรให้เรีียบและทําความสะอาดด้
ค ด้วยสารทําละลาย (Solvennt) จากนั้นจึ น งทาสารแทรกซึม แล้วรออให้สารนี้
ม าในรอยแยยกที่ผิว แล้วจึงเช็ดออกและทาด้วยสารเร่ง (Developer) เพื่อดึงงสารแทรกซึมจากรอย
แทรกซึมเข้ ม
ออกมาทีที่ ผิ ว ทํ า ให้ เ ห็ น รอยแยกชัชั ด ขึ้ น มั ก จะะใช้ ส ารแทรกกซึ ม สี แ ดงกั บสารเร่
บ ง สี ข าว หรื อ สี ที่ เปล่
เ ง แสง
(Fluoresscent dye) ที่เห็นได้ในแสสงเหนือม่วง (UUltraviolet light) l
ค.2.5 ผงแม่
ผ เหล็ก (Magnetic particle) p
ใช้สําหรรับตรวจสอบบผิวและในบางกรณีสามารรถใช้ตรวจสอบความไม่สม่ําเสมอใต้
ผิวของวัสดุ
ส ได้ ใช้ตรวจจสอบได้เฉพาาะวัสดุที่สามาารถทําให้เป็นแม่ แ เหล็กได้ (PParamagnetic materialss) โดยใช้
ไฟฟ้าเหนีนี่ยวนําให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็ ห กแล้วโรยผงงเหล็กเพื่อดูความผิดปกติของเส้ ข นแรงแมม่เหล็ก
ค.2.6 กํกาหนดลักษณ ณะงาน
ASME B31.1 Poower Piping สําหรับท่อไออน้ําที่มีความดดันสูงกว่า 1 บาร์ และ
ง า 121oซ ทุกๆ รอยเชื่อมจะต้
น้ําร้อนทีที่มีอุณหภูมิสูงกว่ อ องตรววจสอบด้วยกการตรวจพินิจ รอยเชื่อมที่มีมการเติม
เนื้อท่อ (Groove
( ม องเติมลงงไปได้100% ของความหนนาสําหรับท่อที่มีอุณหภูมิเกิน 399oซ
welld) วัสดุเชื่อมจะต้
ณ มิระหว่าง 177 – 3999oซ และความดันสูงกว่า 69.7
หรือมีอุณหภู 6 บาร์ จะะต้องทดสอบรรอยเชื่อมด้วยภาพรั ย งสี
หรืออูลตร้
ต าโซนิค
ง. การตรวจสอบสีเคลือบท่อ
การตรวจด้วยเคครื่องฮอลิเดย์ (Holiday detector) d จ สําหรับกการตรวจสอบรอยรูเข็ม
จะใช้
(Pin hoole) และรอยยถลอกของสีทีท่ีเคลือบท่อหรืือแผ่นฟิล์มหุห้้มท่อที่ใช้ป้องกันการผุกร่ออนตลอดความมยาวของ
ระบบท่อ ซึ่งใช้ได้ทั้งในการตรวจส
ใ อบคุณภาพกการประกอบทท่อที่หน้างานททํางานโดยกาารสร้างไฟฟ้าแรงดั แ นสูง
พอที่จะกกระโดดจากเคครื่องมือมาที่ท่ทอผ่านช่องอาากาศที่รอยรูเข็มหรือรอยถลลอกได้

รูปที่ 5.1.2.33 การตรวจสอบบสีด้วยเครื่องฮออลิเดย์ (Holidaay detector)

- 361 -
 
จ. การทดสอบความดันและการทดสอบการรั่ว
ใช้ทดสอบในหลายลักษณะ ได้แก่ สําหรับงานที่ติดตั้งใหม่แล้วเสร็จ งานทดสอบระบบที่ติด
ตั้งอยู่เพื่อดูความแข็งแรง ทดสอบเมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงหรือซ่อมแซม มีการทดสอบหลายแบบ ได้แก่
จ.1 การทดสอบด้วยน้ํา
เป็นวิธีการทดสอบที่ใ ช้มากที่สุดเนื่องจากการใช้ของเหลวมีความปลอดภัยมากกว่า
การใช้ก๊าซเมื่อเกิดการแตก ข้อเสียในการใช้น้ําทดสอบคือต้องเสียเวลาในการเติมน้ําและระบายน้ํา และ
ถ้าการใช้งานของระบบท่อต้องไม่มีน้ําเมื่อทดสอบเสร็จจะต้องใช้เวลามากในการไล่น้ําออกให้หมดและเป็น
การเสี่ยงต่อทํางาน การใช้น้ําตรวจสอบรอยรั่วจะต้องหารอยน้ําซึ่งทําได้ยากกว่าการใช้ลม โดยเฉพาะถ้าใช้ก๊าซ
ฮาโลเจนหรือฮีเลี่ยมสามารถตรวจสอบรอยรั่วด้วยเครื่องตรวจก๊าซได้
จ.2 การทดสอบด้วยอากาศอัดหรือก๊าซ
การทดสอบใช้อากาศอัดหรือก๊าซไนโตรเจนนอกจากจะมีอันตรายเมื่อเกิดท่อแตกแล้ว
ถ้าทดสอบในสถานที่ปิดก๊าซไนโตรเจนอาจทําให้ขาดออกซิเจนได้ จากอันตรายของการทดสอบ ASME 31.1
จึงลดความดันสําหรับการทดสอบลงต่ํากว่า 6.8 บาร์
จ.3 การทดสอบด้วยอากาศอัดและน้ํา
การทดสอบใช้อากาศอัดความดัน 1.7 บาร์เพื่อหารอยรั่วขนาดใหญ่ และซ่อมแซมก่อนที่
จะทดสอบด้วยน้ํา ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาสําหรับงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาเติมน้ํานาน ถ้าจะทดสอบด้วยน้ํา
แล้วพบรอยรั่วจะต้องเสียเวลาระบายน้ํา ซ่อมแซม ทดสอบใหม่และระบายน้ําอีกครั้ง
จ.4 การทดสอบก่อนการเริ่มใช้งาน
เมื่อเริ่มใช้งานระบบท่อที่ใช้กับของไหลที่ไม่เป็นอันตรายทํางานที่ความดันต่ํากว่า 1 บาร์
และมีอุณหภูมิ -29 – 185oซ ได้แก่ระบบท่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ท่อของระบบหม้อน้ํา สามารถทดสอบเมื่อเริ่มใช้งาน
ด้ ว ยการเพิ่ ม ความดั น ไปจนเท่ า กั บ ความดั น ใช้ ง าน (จาก ASME 31.1) หรื อ เท่ า กั บ ความดั น ที่ อ อกแบบ
(จาก ASME 31.3) และรักษาแรงดันไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ใช้หารอยรั่ว
จ.5 การทดสอบสุญญากาศเพื่อตรวจสอบการรั่ว
ทดสอบโดยการดึ ง อากาศออกให้ ภ ายในเป็น สุญ ญากาศ ถ้ า ไม่ ส ามารถรั ก ษาระดั บ
สุญญากาศได้แสดงว่ามีรอยรั่ว สามารถใช้ตรวจสอบการรั่วได้ดีแต่หาตําแหน่งรอยรั่วได้ยาก มักจะใช้สําหรับ
ผู้ผลิตเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์
จ.6 การทดสอบโดยระดับน้ํา (ความดันสถิตย์)
ทดสอบโดยการเติมน้ําเต็มและทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่ต้องการสําหรับการรั่ว ระดับน้ําที่
ลดลงแสดงว่ามีการรั่ว
จ.7 การเตรียมการทดสอบความดัน

รูปที่ 5.1.2.4 ปลั๊กสอดเพื่อปิดปลายท่อสําหรับทําการทดสอบด้วยความดัน

- 362 -
 
รูปที่ 5.1.2.5 ปลั๊กสวมเพื่อปิดปลายท่อสําหรับทําการทดสอบด้วยความดัน

รูปที่ 5.1.2.6 ปลั๊กหน้าแปลนเพื่อปิดปลายท่อหน้าแปลนสําหรับทําการทดสอบด้วยความดัน

จ.8 ความดันที่ใช้ในการทดสอบ
การทดสอบความดันทําเพื่อให้แน่ใจว่าระบบท่อจะทํางานได้อย่างปลอดภัย หลักการ
เลือกความดันที่ใช้ทดสอบคือความดันจะต้องไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนขนาดถาวร (Yield) ASME 31.1
กําหนดให้ทดสอบไม่เกิน 90% ของแรงเคร้น (yield) การทดสอบที่ความดันสูงกว่าความดันออกแบบจะใช้
เวลาสั้นๆ (10นาทีขึ้นไป) สําหรับการทดสอบก่อนการใช้งานมักจะใช้ความดัน 1.5 เท่าของความดันที่ออกแบบ
สามารถลดความดันที่ใช้ทดสอบลงได้เพื่อใช้ทดสอบการรั่วเพียงอย่างเดียว

ตารางที่ 5.1.2.1 ความดันที่ใช้ทดสอบระบบท่อ


มาตรฐาน การ ความดัน ความดันสูงสุด ระยะเวลา ความดันทดสอบ
ทดสอบ ต่ําสุด
ASME น้ํา 1.5 เท่า ความดันสูงสุดของอุปกรณ์/ 10นาที ความดันออกแบบ
B31.1 90%yield
ลม 1.2 เท่า 1.5 เท่า/ความดันสูงสุดของ 10นาที 6.8บาร์/ความดัน
อุปกรณ์ ออกแบบ
เริ่มใช้งาน ความดันใช้ ความดันใช้งานปกติ 10นาที/ระยะเวลา ความดันใช้งานปกติ
งานปกติ การตรวจรอยรั่ว
ASME น้ํา 1.5 เท่า ไม่เกิน yield ระยะเวลาการ 1.5 เท่าความดัน
B31.3 ตรวจรอยรั่ว>10 ออกแบบ
นาที
ลม 1.1 เท่า 1.1เท่า+ค่ามากกว่า 3.4บาร์/10% 10นาที ความดันออกแบบ
ความดันทดสอบ
เริ่มใช้งาน ความดันใช้ ความดันใช้งานปกติ ระยะเวลาการ ความดันใช้งานปกติ
งานปกติ ตรวจรอยรั่ว

- 363 -
 
5.1.3 การพิจารณาตรวจสอบ
การพิจารณาตรวจสอบในที่นี้หมายถึงการตรวจสอบระบบท่อหลังจากการใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง
ซึ่งระบบท่ออาจเสื่อมสภาพเนื่องจากลักษณะการใช้งาน
5.1.3.1 การศึกษาข้อมูล
ผู้ตรวจสอบจะต้องศึกษาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจการทํางานของระบบท่อ คุณสมบัติของของไหล
ภายในท่อ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบท่อ ข้อมูลการออกแบบ แบบการติดตั้งจริง รายการคํานวณวิเคราะห์
ความเคร้นท่อและอุปกรณ์ยึดท่อ ผลการทดสอบต่างๆ ประวัติการซ่อม ปัญหา และสภาพการใช้งานในปัจจุบัน
ผู้ ต รวจต้ อ งเข้ า ใจปรากฏการณ์ ที่ ทํ า ให้ เ กิ ด การกัด กร่ อ น การผุ ก ร่ อ น และการป้ อ งกั น
การผุกร่อนด้วยวิธีต่างๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบท่อจากปัญหาและประวัติการซ่อม
5.1.3.2 การวิเคราะห์ระบบท่อ
ก. ทั่วไป
การวิเคราะห์ระบบท่อรวมไปถึงการทดสอบและการแก้ไข มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เดิ น ตรวจสอบระบบท่อตลอดทั้งโครงการ และเน้น ในบริ เ วณที่ สําคั ญ บริ เ วณที่ ค น
จะต้ อ งเข้ า ไปเกี่ ย วข้ อ ง ได้ แ ก่ บริ เ วณที่ มี ข้ อ ต่ อ วาล์ ว และอุ ป กรณ์ อุ ป กรณ์ ยึ ด ท่ อ
ซึ่งบริเวณเหล่านี้มีโอกาสที่จะมีของไหลรั่วไหลได้
- ทําความเข้าใจความจําเป็นและความต้องการของโครงการ
- เป้าหมายคือการตรวจสภาพระบบท่อในปัจจุบัน
- หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และแนะนําวิธีการแก้ปัญหา
- คํานวณค่าใช้จ่ายการปรับปรุงโครงการ
- นําเสนอผลการวิเคราะห์ระบบท่อกับผู้บริหารควรมีข้อมูลดังต่อไปนี้
- ตั้งเป้าหมายสําหรับการปรับปรุง
- วิธีที่จะใช้เป็นการปรับปรุงตามเป้าหมาย
- อธิบายผลลัพธ์ที่จะได้จากการปรับปรุง
- อธิบายวิธีการที่จะปรับปรุง
- ตั้งเกณฑ์ที่จะตัดสินความสําเร็จของการปรับปรุง แสดงแนวทางการปรับปรุงเพิ่มเติม
และทบทวนมาตรฐานการทํางานของระบบท่อ
- ซึ่งการปรับปรุงเหล่านี้จะต้องมีผลกระทบกับการทํางานของโครงการน้อยที่สุด
- โครงการปรับปรุงที่ประสบความสําเร็จจะต้องทําเอกสารรายงานมีรายละเอียดด้าน
ปริมาณที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข รายงานที่ไม่ชัดเจนจะทําให้พนักงานไม่มั่นใจและทําให้
การปรับปรุงไม่ประสบความสําเร็จ
- การสํ า รวจ วิ เ คราะห์ และแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง จะต้ อ งคํ า นึ ง ถึ ง ความปลอดภั ย และ
การตรวจสอบผล อย่างสม่ําเสมอประชาสัมพันธ์ผลการปรับปรุงในโครงการ เพื่อสร้าง
ความประทับใจ ซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมประสบความสําเร็จ ก้าวหน้าต่อไปได้
ข. วิเคราะห์การเสื่อมสภาพ
ควรทํ าการตรวจสอบระบบท่อ เป็น ระยะและวิเ คราะห์ เ พื่อตั ดสิ น ใจเรื่ องการซ่อมหรื อ
ยังสามารถใช้งานต่อได้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้ระบบท่อ ความเสียหายที่อาจเกิดกับท่อหลังการใช้งาน
ถ้าไม่พบความบกพร่องจากการออกแบบหรือการติดตั้ง อาจเกิดอันเนื่องจากสภาพการใช้งานซึ่งทําให้เกิด
การผุกร่อนและการสึกกร่อน
- 364 -
 
สําหรับวัสดุท่อที่มีความเหนียว (Ductile) เมื่อท่อมีความหนาลดลงเนื่องจากการผุกร่อน
หรือสึกกร่อนท่อจะถูกความดันของชองไหลดันจะทําให้เกิดแรงเคร้นมากกว่ายีลทําให้บวมออกด้านนอกก่อนที่
จะแตกในแนวตามยาว แต่ถ้าวัสดุของท่อเปราะ (Brittle) จะมีการบวมให้เห็นน้อย

รูปที่ 5.1.3.1 การพัฒนาการเสื่อมสภาพจากการผุกร่อน

การวิเคราะห์การเสื่อมสภาพท่อควรอ้างอิงจากมาตรฐานดังต่อไปนี้
- API 570, ‘‘Piping Inspection Code: Inspection, Repair, Alteration, and
Rerating of In-service Piping Systems’’
- ASME B31G, ‘‘Remaining Strength of Corroded Pipe’’
- API RP 574, ‘‘Inspection of Piping, Tubing, Valves, and Fittings’’

5.1.3.3 การตรวจสอบและการทดสอบ
ก. ความหนาท่อ
สําหรับระบบท่อส่งของไหลเช่นท่อส่งน้ํามันและท่อส่งก๊าซควรใช้ลูกหมูอัจฉริยะ (Smart
pig)ตรวจสอบความหนาของท่อตลอดความยาว เนื่องจากความหนาของท่อจะลดลงจากการผุกร่อนและ
การสึกกร่อน สําหรับท่อเหล็กคาร์บอนในน้ําทะเลมีการผุกร่อน 0.07- 0.3 มม./ปี เหล็กที่มีโครเมียม 5 มีการผุ
กร่อน 0.07 - 0.1 มม./ปี
ความหนาของท่ อที่วัดได้ถ้ ายังมากกว่าความหนาน้อยที่ สุดที่ ยอมรับได้ จะต้ องประเมิ น
ช่วงเวลาในอนาคตว่าเมื่อไรความหนาจะลดลงจนเหลือความหนาน้อยที่สุด เพื่อวางโครงการที่จะทําการแก้ไข
และคอยตรวจสอบความหนาเป็นระยะๆ เมื่อวัดความหนาได้น้อยกว่าความหนาต่ําสุดจะต้องตัดสินใจว่าจะใช้
งานต่อโดยลดแรงดันหรือจะหยุดใช้งานเพื่อทําการแก้ไข
ASME B31G ใช้สําหรับอ้างอิงวิธีการวิเคราะห์ท่อส่งของไหลที่ผนังบางลงเนื่องจากการผุ
กร่อน สําหรับท่อที่ใช้วัสดุเหนียวและแรงเคร้นสําคัญเกิดจากความดันของไหล
ข. การเสื่อมสภาพของสีและฟิล์ม
สํ า หรั บ ท่ อ เหนื อ ดิ น สามารถใช้ ก ารตรวจพิ นิ จ ตรวจสอบการเสื่ อ มสภาพของสี แ ละ
ทําการซ่อมแซมได้ง่ายท่อส่งของไหลสามารถใช้เครื่องฮอลิเดย์ตรวจสอบความบกพร่องของสีเพื่อการซ่อมแซม
และสําหรับท่อฝังดินที่มีการป้องกันการผุกร่อนแบบปล่อยประจุสามารถตรวจสอบสภาพของระบบสีหรือ
ฟิล์มได้จากกําลังไฟฟ้าที่ใช้
- 365 -
 
ค. การรั่วของท่อฝังดิน
การตรวจสภาพการรั่ วของท่อฝังดินสามารถดูจากปริมาตรของน้ํ าที่ใ ช้เติมเมื่อไม่ ใช้ น้ํา
เพื่อรักษาความดันไว้ให้คงที่จะต้องใช้อัตราการส่งน้ําเข้าเท่าไรแสดงถึงการรั่วของท่อนั่นเอง
การตรวจสอบตําแหน่งของรอยรั่วใต้ดินถ้าของไหลเป็นน้ําตรวจสอบในวันที่แห้งโดยดูจาก
พื้นที่ที่เปียกและอาจใส่สีเพื่อให้เห็นตําแหน่งที่รั่วแล้วจึงขุด ถ้าของไหลเป็นก๊าซอาจใส่กลิ่นและใช้เครื่องตรวจ
กลิ่นเพื่อหาตําแหน่งของรอยรั่ว
อีกวิธีหนึ่งคือการฟังเสียง จะต้องขุดดินลงไปบริเวณกลางระบบท่อและฟังเสียงว่ารัวจาก
ด้านใดแล้วจึงขุดดินกลางทางเพื่อหาทิศทางลดระยะลงจนถึงจุดที่รั่ว
สําหรับท่อไฮโดรคาร์บอนฝังดินซึ่ งมีฉนวนและเปลื อกท่อควรมี ท่อรับก๊า ซตัวอย่ างเป็น
ระยะๆ เพื่อตรวจสอบการรั่วจากตัวอย่างที่ดูดออกมาจากท่อตัวอย่าง

5.1.4 การอํานวยการใช้
5.1.4.1 การควบคุมการใช้
การควบคุมการใช้จะมีเป้าหมายทางด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ และการทํางานของระบบงาน ได้แก่
กระบวนการผลิ ต ของโรงงานเคมี ระบบหม้ อ น้ํ า ระบบน้ํ า เย็ น ปรั บ อากาศ เป็ น ต้ น ซึ่ ง ระบบท่ อ เป็ น
ส่วนประกอบสําคัญส่วนหนึ่ งของการทํางานระบบท่อจึงต้องการการตรวจวิเคราะห์ การบํ ารุงรักษาและ
การซ่อมแซม
5.1.4.2 การบํารุงรักษา
การบํ า รุ ง รั ก ษาระบบท่ อ ช่ ว ยให้ ค วามพร้ อ ม ความปลอดภั ย และมี ผ ลกระทบในด้ า นพลั ง งาน
แก่การทํางานของระบบงาน
ก. การวางแผนการบํารุงรักษา
ทีมงานบํารุงรักษาควรจัดเตรียมข้อมูลของระบบท่อดังต่อไปนี้
- ทํารายการท่อ อุปกรณ์ เช่น วาล์ว เครื่องสูบน้ํา เครื่องอัดอากาศ เป็นต้น
- แต่ ล ะรายการควรวางแผนการบํ า รุ ง รั ก ษาให้ เ ป็ น แบบแก้ ไ ขตามสภาพหรื อ แบบ
ตรวจสอบเป็นระยะก่อนต้องทําการแก้ไข
- แต่ละรายการระบุการทํางาน รวมลักษณะของการเสียหายและสาเหตุ
- แต่ละรายการ รวบรวมวิธีการตรวจสอบและแนวทางเพื่อตัดสินใจที่จะหยุดการใช้งาน
เพื่อแก้ไขหรือจะใช้ต่อด้วยมาตรการอย่างไร
- วางแผนการเข้าตรวจสอบบํารุงรักษาทั้งขณะใช้งานและขณะไม่ใช้งาน
- จัดทํารายงานการบํารุงรักษา อธิบายการทํางานพร้อมรูป มีรายละเอียดเพื่อให้สามารถ
สืบค้นได้
- อธิบายข้อนะนําอย่างชัดเจนสามารถใช้ต่อไปได้ เริ่มเสื่อมสภาพแต่สามารถใช้ไปจนถึง
การตรวจสอบครั้งต่อไป หรือต้องซ่อมหรือเปลี่ยน
หลังจากการตรวจสอบอาจทําแผนการบํารุงรักษาเป็นระยะตามช่วงเวลาที่ระบุแน่นอน
เรี ย กว่ า การบํ า รุ ง รั ก ษาแบบป้ อ งกั น (Preventive maintenance) และแบบการคาดการ (Predictive
maintenance) ซึ่งการตรวจสอบจะวิเคราะห์สภาพอย่างแม่นยําทําให้การเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ จะทําเมื่อ
จําเป็นจากข้อมูลและการวิเคราะห์ สําหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยและการทํางานของ
ระบบงานจึงใช้การบํารุงรักษาแบบแก้ไข
- 366 -
 
การบํารุงรักษาแบบตรวจสอบจะต้องให้ความสําคัญต่อสิ่งต่อไปนี้
- อุปกรณ์ความปลอดภัยเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบจากอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดแก่
คนงาน และสิ่งแวดล้อม
- รักษาให้การทํางานยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ค่าบํารุงรักษา อุปกรณ์ที่มีราคาแพงอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาจัดหานาน
- ส่วนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายมากได้แก่ส่วนที่มีความดันและอุณหภูมิสูง
หรือสภาพใช้งานที่เกินจากข้อแนะนําของผู้ผลิต
- ข้อกําหนด กฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง
ข. การซ่อมแซม
เป้าหมายของการซ่อมแซมคือให้ระบบท่อกลับมาใช้งานอย่างมั่นใจในระดับหนึ่ง โดยใช้
ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่ใช่ทําให้ดีเหมือนใหม่เมื่อวางแผนการซ่อมต้องรู้ที่มาของปัญหา เทคนิคการซ่อม วัสดุ
แบบ การประกอบ การตรวจสอบหน้างาน และการทดสอบหลังจากการซ่อม
ข.1 การเจียร
เมื่อมีรอยร้าว รอยแตก รอยย่นจากการติดตั้งหรือหลังจากการใช้งาน ควรเจียรผิวออก
มิให้การแตกลามต่อไป แล้วตรวจสอบผิวที่เจียรด้วยสีว่าได้เจียรออกหมดแล้ว จากนั้นจึงตรวจสอบความหนาที่
เหลือ ถ้าความหนามากกว่าค่าความหนาต่ําสุดและผิวเรียบมีความยาวต่อความลึกของการเจียร (ความยาว/
ความกว้าง>3) สามารถใช้งานต่อได้
การเจียรควรทําในขณะไม่มีความดันภายในท่อ หรือถ้าจําเป็นต้องลดความดันเหลือไม่
เกิน20% ท่อบางประเภทไม่ให้มีความหนาต่ําสุดเช่น ASTM A53 จึงต้องเชื่อมพอกและใช้กระบวนการทาง
ความร้อนลดความเคร้น ทดสอบ ทําความสะอาด และทดสอบด้วยการทดสอบไม่ทําลาย
ข.2 การเชื่อมเสริม (Weld overlay)
ใช้สําหรับท่อที่บางลงเนื่องจากการผุกร่อนหรือสึกกร่อนภายใน ไม่ใช้สําหรับท่อที่มีรอย
ร้าวภายนอกที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ ลวดเชื่อมและวัสดุท่อจะต้องเข้ากันได้ จํานวนตะเข็บเชื่อม ซึ่งทั้งหมดจะ
ตัดสินด้วยการทดสอบความดันระเบิด (Burst test)กับท่อในลักษณะเดียวกัน
ถ้าภายในท่อเป็นของไหลติดไฟ ลวดเชื่อมจะต้องไม่ทําให้เกิดตะเข็บย้อยด้านในของท่อ
ASME B31.8 ยอมให้ใช้วิธีนี้ซ่อมท่อที่ผุเล็กน้อยด้วยวิธีเชื่อมเสริมโดยใช้ลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ํา

รูปที่ 5.1.4.1 การเชื่อมเสริม

ข.3 การเชื่อมปลอก
การเชื่อมปลอกท่อทับท่อที่ผุกร่อนมี 2 แบบ แบบ ก. ไม่เชื่อมขอบปลอก และแบบ ข.
เชื่อมขอบปลอกเข้ากับท่อทั้ง 2 แบบช่วยเพิ่มความแข็งแรงของท่อที่ผุกร่อนและและป้องกันการบวมเนื่องจาก
ความดันจากของไหลสําหรับท่อที่ใช้วัสดุเหนียว แบบ ข. ช่วยป้องกันการรั่วและผ่านขอบปลอกเมื่อท่อแตก
และป้องกันการเลื่อน ปลอกเชื่อมนี้จะไม่ใช้กับท่อที่พบรอยร้าวเพราะรอยร้าวอาจลามออกมา

- 367 -
 
รูปที่ 5.1.4.2 การเชื่อมปลอก

ข.4 การเชื่อมปะ
ใช้แผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปไข่เชื่อมทับท่อที่มีรอยร้าว ใช้กับท่อที่มแี รงเคร้นเบ่ง
(Hoop stress) มากกว่า 20% ของยีล แผ่นเหล็กต้องเป็นวัสดุเดียวกันหรือดีกว่าท่อ และมีความหนาพอ
เพื่อให้แรงเคร้นในแผ่นปะและตะเข็บเชื่อมน้อยกว่าค่าแรงเคร้นที่ยอมรับได้

รูปที่ 5.1.4.3 การเชื่อมปะ

API 570 กําหนดให้ใช้กับวัสดุที่มียีลต่ํากว่า 40 ksi ASME B31.4 และ ASME B31.8


กําหนดไม่ให้ใช้กับท่อที่มีความแข็งแรงสูง
สําหรับของไหลที่มีอันตราย ASME B31.4 กําหนดให้ใช้แผ่นขนาดไม่เกิน15ซม.กับท่อ
ไม่เกินDN300
ใช้แก้ไขท่อที่มีการรั่วแบบรูเข็มกับท่อไม่เกินDN50

ข.5 กล่องรับ (Weld leak box)


กล่องรับประกอบด้วยปลอกและแผ่นปิดสองด้านเชื่อมครอบแนวท่อ กล่องรับจะต้อง
ออกแบบให้สามารถรับความดันของไหลได้ และเมื่อแตกจะต้องท่อระบายหรือเกจย์ความดันเพื่อตรวจสอบ
การรั่ว จะต้องวิเคราะห์ให้แน่ใจเมื่อท่อแตกจะไม่ลามเกินแนวกล่องและกล่องมีความแข็งแรงสามารถรับทั้ง
ความดันการดัดและแรงที่เกิดเป็นครั้งคราวเช่นลม การกระแทกและอื่นๆ

รูปที่ 5.1.4.4 การใส่กล่องรับ

ข.6 ที่รัดท่อเชิงกล (Meachanical clamp)


เป็นครึ่งทรงกระบอกที่ประกบท่อทั้งบนและล่างและขันด้วยน็อตปลายทั้งสองด้านมี
แหวนยางเพื่อกันรั่วบางชนิดก็เชื่อมเข้ากับท่อซึ่งจะต้องทดสอบรอยเชื่อมและความดัน
API 570 กําหนดให้เป็นวิธีการแก้ไขชั่วคราวก่อนการซ่อม

รูปที่ 5.1.4.5 ที่รัดท่อเชิงกล

- 368 -
 
ข.7 การพันท่อ (Composite overwrap)
ท่อที่ใช้วัสดุเหนียวเมื่อผุกร่อนหรือสึกกร่อนท่อจะบวมและแตก การพันท่อเป็นวิธีที่อยู่
ในหลักการเดียวกับการเชื่อมปลอกโดยใช้เอฟอาร์พี (Fibreglass reinforced plastic) พันรอบท่อด้วยมือ
เพื่อรัดป้องกันท่อไม่ให้บวมเนื่องจากความดันภายในท่อ ท่อที่เริ่มแตกก็สามารถใช้วิธีนี้ป้องกันการรั่วได้

ข.8 การแก้ไขท่อฝังดิน
สําหรับท่อส่งของไหลการวางท่อใต้ดินมีค่าใช้จ่ายที่ยึดท่อน้อยแต่การซ่อมมีค่าใช้จ่าย
มากกว่ามาก จึงใช้การสอดท่อพลาสติกที่ทนการกัดกร่อนของไหลในท่อแทนการซ่อมแซมทีละส่วน ท่อที่ใช้
ได้แก่ ท่อเอชดีพีอี (HDPE) ซึ่งใช้กับน้ําและโพลีอาร์ไมด์ (Polyamide) ซึ่งใช้กับน้ํามันและก๊าซ ท่อจะมีรูปเป็น
ตัวยูเพื่อให้ดึงผ่านท่อได้ง่าย เมื่อสอดเข้าไปตลอดทั้งท่อแล้วจึงใช้ความดันและความร้อนทําให้พลาสติกติดกับ
ท่อเดิม

รูปที่ 5.1.4.6 การดึงท่อผ่านท่อฝังดิน

ค. การเปลี่ยน
การเปลี่ยนท่อเป็นการนําท่อใหม่ตามการออกแบบเดิมเข้ามาติดตั้งทําให้สภาพท่อกลับมา
เหมือนเดิมก่อนการใช้งาน แต่อาจไม่สามารถจัดหาท่อตามการออกแบบเดิมได้จึงควรอ้างอิงท่อที่จะเปลี่ยน
จากการออกแบบตามกฎข้อบังคับล่าสุด
ขั้นตอนการทํางานเพื่อเปลี่ยนระบบท่อมีข้อกําหนดตาม OSHA 29 CFR 1910.147 ซึ่ง
จะต้องระบุท่อให้ชัดเจน ปิดของไหลทั้งสองด้านของท่อที่จะเปลี่ยน ติดตั้งป้ายแสดงการทํางาน ลดความดัน
ระบายของไหลออกและปิดอากาศเข้า ก่อนที่จะตัดเปิดท่อเพื่อเปลี่ยน
สําหรับระบบท่อส่งของไหลการระบายของไหลทั้งหมดออกไม่สามารถทําได้ จึงใช้อุปกรณ์
อุดแบบสอดปล่อยเข้าไปเพื่อปิดใกล้ท่อที่จะเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่อร้อน (Hot tap) ติดตั้งวาล์วระบายของ
ไหลและนําอากาศเข้าก่อนที่จะตัดเปลี่ยนท่อ

รูปที่ 5.1.4.7 ที่อุดท่อแบบเบ่งได้

ชุดเครื่องมือต่อร้อนตามรูปจะเชื่อมปลอกเสริมเข้ากับท่อติดตั้งวาล์วประตูและเครื่องตัด
แล้ว จึงเจาะท่อจากนั้นดึงใบตัดขึ้นพ้นวาล์ว ปิดวาล์วเปลี่ยนเป็นเครื่องอุด เปิดวาล์วสอดที่อุดเข้าไปในท่อเพื่อ
อุดของไหล อุดท่อทั้งสองด้านของท่อที่จะเปลี่ยน อาจระบายของไหลและใส่อากาศด้วยชุดเครื่องมือแบบ
เดี ย วกั น แล้ ว จึ ง ตั ด เปลี่ ย นท่ อ ท่ อ ส่ ว นที่ ใ ช้ เ ปลี่ ย นควรมี ก ารทดสอบในลั ก ษณะเดี ย วกั บ ระบบท่ อ เดิ ม
เมื่อเปลี่ยนและทดสอบเรียบร้อยจึงดึงที่อุดออก เปลี่ยนเป็นเครื่องอุดทางเข้าแล้วจึงเปลี่ยนเป็นหน้าแปลนบอด

- 369 -
 
รูปที่ 5.1.4.8 ชุดเครื่องมือสําหรับการเจาะร้อน (Hot tap)

5.1.4.3 การเลือกบริษทั ดูแลรักษาและซ่อมแซม


ทีมช่างงานระบบจะมีข้อจํากัดในเรื่องกําลังคน เครื่องมือและความเชี่ยวชาญ ไม่สามารถที่จะดูแล
ซ่อมแซมบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ทีมช่างควรจะต้องเข้าใจหลักการทํางาน และ
เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาเครื่องจักร ระบบท่อสามารถหาบริษัทภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญช่วยแบ่งเบา
ภาระได้ การเลือกบริษัทดูแลรักษาและซ่อมแซมควรคํานึงถึงคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- บริษัททางเลือกจะต้องมีบุคคลากรที่มีประสบการณ์การทํางานซ่อมแซมบํารุงรักษาระบบท่อ และ
ผ่านการอบรมความปลอดภั ย การเชื่ อม หลักการทํางานทั้งขั้นต้ น และระบบที่ก้าวหน้าจาก
สถาบันที่อบรมในเรื่องระบบท่อโดยเฉพาะบุคลากรที่ทํางานจะต้องมีหลักการทํางานเป็นระบบ
เพื่อให้สามารถชี้สภาพ ที่มีผลต่อการทํางานของระบบท่อได้
- จะต้องเสนอการวิเคราะห์ระบบท่อปัจจุบัน และมาตรการที่ควรจะดําเนินการต่อไปเพื่อให้เกิดการ
ปรับปรุง ผลงานที่เคยทําในลักษณะเดียวกัน ประวัติบุคคลากร และข้อมูลลูกค้า
- มีเครื่องเชื่อม เครื่องมือต่อร้อน เครื่องมือติดตั้ง เครื่องมือตรวจสอบ/ทดสอบและอื่นๆ
- มีความเชี่ยวชาญในระบบท่อ และวิธีการตรวจสอบโดยไม่ทําลาย และการทดสอบความดัน
- มีความเชี่ยวชาญในอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของระบบท่อ ได้แก่ วาล์ว วาล์วควบคุม อุปกรณ์
ระบายน้ํา และอื่นๆ และมีความสามารถในการตรวจสอบการทํางานของระบบควบคุม
- บริษัททางเลือกจะมีวิธีการทํางานสําหรับ การซ่อมฉุกเฉิน การจัดหาอะไหล่ และตัวประกอบอื่นๆ
ได้แก่ ความสามารถในการติดตั้ง การส่งส่งอะไหล่ และอื่นๆ
- ควรแสดงสถานะทางการเงิน มีการประกันการทํางาน มีการรับรองถูกต้องตามกฎหมายและ
มีโรงซ่อม เครื่องมือ เพียงพอสําหรับให้บริการ

5.1.4.4 การประหยัดพลังงาน
การออกแบบมี ผ ลโดยตรงกั บ การประหยั ด พลั ง งานหากได้ รั บ ข้ อ มู ล การใช้ ขั้ น ตอน
การทํางานและการขยายตัวของธุร กิจจากเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น ผู้ออกแบบสามารถเลือกเครื่องจักร
ขนาดท่อ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการทํางานเบื้องต้น อุปกรณ์ใดที่จะให้มีขนาดเผื่อไว้และอุปกรณ์ใด
จะติดตั้งเพิ่มในภายหลังเพื่อให้ระบบสามารถรองรับงานได้ทุกช่วงงาน และการประหยัดพลังงาน
การควบคุมการใช้เป็นสิ่งสําคัญต่อการประหยัดพลังงานเพราะผู้ออกแบบไม่สามารถบังคับ
การใช้งานได้ ผู้ควบคุมเท่านั้นที่ทราบการเปลี่ยนแปลงการใช้งานและข้อมูลอื่นๆที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจําเป็นจะต้อง
ปรับเปลี่ยนการทํางานของระบบให้มีประสิทธิภาพในการทํางานสูงสุดเท่าที่ระบบมีอยู่ได้ การบํารุงรักษาให้

- 370 -
 
ระบบอยู่ในสภาพที่ดีก็เป็นการประหยัดพลังงานสําหรับการใช้งานหลังจากการบํารุงรักษาซึ่งทางผู้ใช้ไม่ทราบ
และละเลยไป
การลดความดันที่ของไหลเป็นมาตรการแรกจะช่วยในการประหยัดพลังงาน การลดความดันอาจเพิ่ม
ระยะเวลาการส่งของไหล
การบํ า รุ ง รั ก ษาเพื่ อ ลดการรั่ ว ไหลหรื อ ป้ อ งกั น การรั่ ว ไหลช่ ว ยให้ ร ะบบท่ อ ส่ ง ของไหลได้ อ ย่ า ง
มีประสิทธิภาพ ทําให้เกิดความปลอดภัยในการทํางานและประหยัดพลังงาน

เอกสารอ้างอิง
1. Mohinder L. Nayyar, P.E., “PIPING HANDBOOK” Seventh edition, MCGRAW-HILL
2. George A. Antaki, “Piping and Pipeline Engineering: Design, Construction, Maintenance,
Integrity, and Repair”, Copyright © 2003, Marcel Dekker, Inc
3. Henry liu, ”Pipeline Engineering”, LEWIS PUBLISHERS, A CRC Press Company, Boca
Raton London, New York Washington, D.C.
4. Peter Smith, ”PIPING MATERIALS SELECTION AND APPLICATIONS”, Gulf Professional
Publishing, an imprint of Elsevier
5. MSS SP-58, “PIPE HANGERS AND SUPPORTS - MATERIALS, DESIGN AND
MANUFACTURE” Developed and Approved by the Manufacturers Standardization
Society of the Valve and Fittings Industry, Inc.

- 371 -
 
5.2 เครื่องสูบ และพัดลมระบายอากาศ
5.2.1 เครื่องสูบ
5.2.1.1 การวางโครงการ เครื่องสูบ (Pump)
ก. การศึกษาข้อมูล
ก.1 บทนํา
สิ่งประดิษฐ์เพื่อเคลื่อนย้ายของเหลวจากที่มีพลังงานต่ํากว่าไปยังที่มีพลังงานสูงกว่า
ได้ถูกสร้างขึ้นมากกว่า 2,000 ปีที่แล้ว ชาวกรีกในยุคนั้นได้สร้างเครื่องสูบน้ําที่มีรูปแบบคล้ายเครื่องสูบแบบ
สกรู (Screw Pump) เพื่อใช้ในระบบส่งน้ําเพื่อการเกษตรและการระบายน้ํา

รูปที่ 5.2.1.1 เครื่องสูบแบบสกรูในยุคกรีกเพื่อการเกษตรและการระบายน้ํา

จนกระทั่ ง ในช่ว งศตวรรษที่ 15 เครื่อ งสู บน้ํ า ได้ถู กพั ฒ นาเป็ น เครื่อ งสู บน้ํ าแบบลู ก สู บ ชั ก ด้ ว ยมื อ
(Reciprocating Hand Pump) เพื่ อ สู บ น้ํ า จากบ่ อ น้ํ า ที่ อ ยู่ ต่ํ า ลงไปจากผิ ว ดิ น ผ่ า นท่ อ ส่ ง น้ํ า ขึ้ น มาใช้ ใ น
อุตสาหกรรมเหมืองแร่

รูปที่ 5.2.1.2 เครื่องสูบลูกสูบชักด้วยมือใช้งานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในศตวรรษที่ 15

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องสูบน้ําก็ยังเป็นกลอุปกรณ์ที่ทํางานตามหลักการเดิมเพื่อยกและ/หรือ
เคลื่อนของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยการเพิ่มพลังงานให้กับของเหลวในรูปของความดันเพื่อที่จะชนะ
พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ แรงเสียดทาน ของท่อและอุปกรณ์ประกอบท่อ รวมถึงความดันที่ต้องการจาก
อุปกรณ์ในระบบ ในขณะที่การใช้งานเครื่องสูบได้ขยายการใช้งานเข้าไปในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย
เช่ น การผลิ ต และสู บ จ่ า ยน้ํ า ประปา การระบายน้ํ า การสู บ เก็ บ และบํ า บั ด น้ํ า เสี ย การชลประทานและ
การเกษตร การก่อสร้าง บ้านและอาคารพาณิชย์ โรงงานผลิตอาหารและยา อุตสาหกรรมเคมี โรงกลั่น
น้ํามัน เป็นต้น
- 372 -
 
ก.2 ประเภทของเครื่องสูบ
เมื่อพิจารณาหลักการทํางานของเครื่องสูบ สามารถจัดเป็นกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- Positive Displacement Pumps
- Roto – Dynamic Pumps

ก.2.1 Positive Displacement Pumps


เครื่ อ งสู บ กลุ่ ม นี้ จ ะสู บ จ่ า ยของไหลด้ ว ยปริ ม าตรที่ กํ า หนดไว้ ใ นแต่ ล ะวงจร
การทํางาน และสูบจ่ายเป็นวงจรต่อเนื่องไป เครื่องสูบกลุ่มนี้จะสามารถสูบจ่ายของไหลเข้าไปในเส้นท่อส่ง
และเพิ่มความดันในเส้นท่อส่งให้สูงขึ้นได้อย่างไม่มีข้อจํากัด ตราบเท่าที่ยังมีพลังงานเพียงพอที่จะสูบจ่ายของ
ไหลเข้าไปในเส้นท่อส่งได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องพิจารณาติดตั้งวาล์วระบายความดัน (Pressure Relief Valve)
ที่ท่อส่งหรือที่ตัวเรือนเครื่องสูบเพื่อป้องกันความดันในท่อส่งเพิ่มสูงเกินกว่าความดันใช้งาน (Case Working
Pressure) ของท่อและอุปกรณ์ เครื่องสูบกลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก.2.1.1 เครื่องสูบลูกสูบชัก (Reciprocating Pumps)
เครื่องสูบลูกสูบชักทํางานโดยการเคลื่อนตัวของลูกสูบ (Piston) เพื่อดูดของ
ไหลเข้ า มาในช่ อ งว่ า งหรื อ กระบอกสู บ (Cylinder) และอั ด กลับ เพื่ อจ่ า ยของไหลในกระบอกสู บ เข้ า ไปใน
เส้นท่อส่ง ลิ้นดูดและลิ้นส่ง (Suction & Discharge Valve) ที่หัวกระบอกสูบจะควบคุมการดูดและอัดของ
ไหลเข้ า และออกจากกระบอกสู บ เป็ น จั ง หวะต่ อ เนื่ อ ง ทั้ ง นี้ บ นเพลาข้ อ เหวี่ ย ง (Crank Shaft) เดี ย วกั น
จะสามารถติ ด ตั้ ง ชุ ด ลู ก สู บ และกระบอกสู บ ได้ ห ลายชุด เพื่ อ ให้ ส ามารถสู บ จ่ า ยของไหลให้ ไ ด้ ข องไหลที่
สม่ําเสมอต่อเนื่องมากขึ้น เครื่องสูบลูกสูบชักแบ่ง ได้เป็นหลายชนิด ดังนี้
- Piston Pump
- Plunger Pump
- Diaphragm Pump

รูปที่ 5.2.1.3 Piston Pump

รูปที่ 5.2.1.4 Plunger Pump

- 373 -
 
รูปที่ 5.2.1.5 Diaphragm Pump

ก.2.1.2 เครื่องสูบโรตารี่ (Rotary Pumps)


เครื่องสูบโรตารี่ทํางานโดยการหมุนของกลไกที่หมุนบนเพลา เช่น เฟือง
ลูกเบี้ยวเป็นต้น ในตัวเรือนที่ออกแบบไว้ เพื่อให้เกิดเป็นช่องว่างดูดให้ของไหลเข้ามาในช่องว่างนี้ ในขณะที่
กลไกหมุนต่อเนื่องไปจะดูดอัดของไหลผ่านจากด้านดูดไปยังด้านส่ง เครื่องสูบโรตารี่จะสามารถสูบจ่ายของไหล
ให้ได้การไหลที่สม่ําเสมอต่อเนื่องได้ดีกว่าเครื่องสูบลูกสูบชัก เครื่องสูบโรตารี่แบ่งได้เป็นหลายชนิด ดังนี้
- External Gear Pump
- Internal Gear Pump
- Lobe Pump
- Vane Pump
- Progressive Cavity Pump
- Screw Pump

รูปที่ 5.2.1.6 External Gear Pump

รูปที่ 5.2.1.7 Internal Gear Pump

- 374 -
 
รูปที่ 5.2.1.8 Lobe Pump

รูปที่ 5.2.1.9 Vane Pump

รูปที่ 5.2.1.10 Progressive Cavity Pump

รูปที่ 5.2.1.11 Screw Pump

ก.2.2 Roto – Dynamic Pumps


Roto – Dynamic Pumps ทํางานโดยใช้หลักการเพิ่มความดันให้กับของไหล โดย
เครื่ อ งจั ก รต้ น กํ า ลั ง เช่ น มอเตอร์ ไ ฟฟ้ า เครื่ อ งยนต์ สั น ดายภายใน กั ง หั น ไอน้ํ า เป็ น ต้ น โดยในเบื้ อ งต้ น
เครื่องจักรต้นกําลังจะส่งถ่ายพลังงานให้กับของไหลในรูปแบบพลังงานความเร็ว (Velocity Energy) แล้ว
จึงเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความดัน (Pressure Energy)

- 375 -
 
Roto – Dynamic Pumps ที่ ใ ช้ ง านกั น อย่ างแพร่
า ห ลา ยมากคื อ เคครื่ อ งสู บ
ย (Centrifuggal Pumps) เครื่องสูบแรงเหวี่ยง มีโครรงสร้างที่ไม่ซัซับซ้อน ซึ่งปรระกอบด้วยตัวเรื
แรงเหวี่ยง ว อนที่มี
ลักษณะคคล้ายกับก้นหอย ห (Volute (1)) และใบพพัด (Impelleer (2)) ที่อยู่ภายในตั
ภ วเรือนนและติดตั้งอยูยู่บนเพลา
บ วเรือนรองลืลื่น (Bearing Housing
(Shaft (55)) ที่รองรับด้วยรองลื่น (BBearings (7)) ตัวเรือนสูบถูกประกอบกับตั
(6)) ที่จะทํ
ะ าหน้าที่เป็นขาของเครื
น ่องสู
ง บ รองลื่นจะะถูกหล่อลื่นด้วยจารบีหรือน้ํามันหล่อลื่น

รูปที่ 5.2.1.12 โครงสร้างเครืองสู


่อ บแรงเหวี่ยง

ปลายเพพลาที่อยู่ด้านตตัวเรือนรองลืน่ จะถูกติดตัั้งด้วยคับปลิ้ง (Flexible Coupling)


C
เพื่อต่อกัับเครื่องจักรตต้นกําลังและสส่งผ่านพลังงาานลงไปสู่ของไไหลผ่านใบพััด เมื่อใบพัดหหมุน ของไหลลจะถูกดูด
ผ่านตาของใบพัด (Impeller Eye) และถูกเหวี่ยงออกรอบใบพ
ง พัด ของไหลจะถูกเพิ่มพลังงงานในรูปแบบบพลังงาน
ความเร็ว (Velocity Energy) ของงไหลที่ถูกเหวีวี่ยงออกรอบใบพัดจะถูกรววบรวมโดยตัวเรือนที่มีลักษณะคล้ ษ าย
ก้นหอย จากตําแหน่งที ง ่ใบพัดมีระยะห่างจากตััวเรือนน้อยทีที่สุด (Cut Waater) ของไหลลจะมีความเร็ร็วสูงที่สุด
เมื่อของไไหลเดินทางจจากตําแหน่ง Cut Water ไปยังตําแหนน่งปากท่อส่ง ความเร็วของงของไหลจะลลดลงและ
พลังงานคความเร็วของขของไหลจะถูกเปลี ก ่ยนเป็นพลั พ งงานความดดัน (Pressuree Energy)

รูปที
ป ่ 5.2.1.13 กาารทํางานของเคครื่องสูบแรงเหวีวี่ยง

- 376 -
 
เครื่องสูบแรงเหวี่ยงถูกจําแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้หลักการพื้นฐาน ดังนี้
1) ทิศทางของแกนเพลา
1.1) เครื่องสูบแบบแกนเพลาแนวดิ่ง (Vertical Pumps)
1.2) เครื่องสูบแบบแกนเพลาแนวนอน (Horizontal Pumps)

รูปที่ 5.2.1.14 เครื่องสูบแรงเหวี่ยงแบบแกนเพลาแนวดิ่งและแกนเพลาแนวนอน

2) จํานวนชั้นของใบพัด
2.1) เครื่องสูบแบบใบพัดชั้นเดียว (Single Stage Pumps)
2.2) เครื่องสูบแบบใบพัดสองชั้น (Double Stage Pumps)
2.3) เครื่องสูบแบบใบพัดหลายชั้น (Multi Stage Pumps)

รูปที่ 5.2.1.15 เครื่องสูบแรงเหวี่ยงแบบใบพัดหลายชั้น

3) จํานวนทางดูดของใบพัด
3.1) เครื่องสูบแบบทางดูดด้านเดียว (Single Suction Pumps)
3.2) เครื่องสูบแบบทางดูดสองด้าน (Double Suction Pumps)

- 377 -
 
รูปที
ป ่ 5.2.1.16 เคครื่องสูบแบบทาางดูดด้านเดียวแและเครื่องสูบแบบบทางดูดสองด้ด้าน

4) จํานวนชั
า ้นของตัตัวเรือน
4.1) เครื่องสูบแบบตั
บ วเรือนชั
น ้นเดียว (Sinngle Volutee Casing Pum
mps)
4.2) เครื่องสูบแบบตั
บ วเรือนสองชั
น ้น (Double Volutee Casing Pum mps)

รูปที
ป ่ 5.2.1.17 เคครื่องสูบแบบตัวเรื
ว อนชั้นเดียวแและเครื่องสูบแบบบตัวเรือนสองชชั้น

5) ทิศทางการผ่
ศ าตัวเรือน
5.1) เครื่องสูบแบบผ่
บ าตัวเรืรือนแนวนอน (Horizontall Split Case Pumps)
5.2) เครื่องสูบแบบผ่
บ าตัวเรืรือนแนวดิ่ง (VVertical Split Case Pum
mps)
5.3) เครื่องสูบแบบผ่
บ าตัวเรืรือนแนวรัศมี (Radial Split Case Pum mps)

รูปทีท่ 5.2.1.18 เครืรื่องสูบแบบผ่าตัวเรือนแนวดิ่ง เครื่องสูบแบบผผ่าตัวเรือนแนวนนอน


และเครื่องสสูบแบบผ่าตัวเรืรอนแนวรัศมี
- 378 -
 
6) โคครงสร้างและลัลักษณะเพลาขขับ
6.1) เครื่องสูบแบบเพลาขั
บ บตรง
บ (Closee Coupled M Monobloc Pumps)
6.2) เครื่องสูบแบบขั
บ บผ่านคั
น บปลิง้ (Frame Mounteed With Flexxible
Couplinng Pumps)

รูปที่ 5.2.1.19 เครื่องสูบแบบเพลาขับตรงและเครื่องสูบแบบบขับผ่านคับปลิ้ง

ก.3 ลําความมดัน (Headd)


Webster’s Dictionary ได้ให้คําจํากััดความว่า ลําความดั
า น (Heead) คือ ความสูงของ
รูปทรงขอองน้ําที่ถูกเก็บสะสมไว้

รูปที่ 5.2.1.20 A Body of


o Water Keptt in Reserve at
a a Height

ที่ระดับน้ําทะะเล ความดันบรรยากาศ
น = 14.7 PSIA (ความดั
( นสมบูบูรณ์)
หรือความดันบรรยากาศ
น = 33.9 Feeet of Water
ความดัน 144.7 PSI = 33.9 Feeet of Water
ความดัน 1 PSI P = 33.9 = 2 .31 Feet F of Watter
14.7
จึงกล่าวได้ว่าความดันสามารถแปลงเป็นลํ
น าความดันด้วยสูตร
P essurePSSI 
Head (Ft) = 2.31x Pr
Sp.Gr.
หรือ ลําความมดันสามารถแแปลงเป็นความมดันด้วยสูตร
Pressure (PSI) = Head Ft xSSp.Gr.
2.31
- 379 -
 
เมื่อ Sp.Gr. = Specific Gravity
ถ้าลองพิจารณาว่า เมื่อมีของเหลวชนิดต่างๆ กัน เก็บไว้ในถังเก็บที่มีความสูงเท่ากันคือ 125 ฟุต
ให้คํานวณหาความดันที่ก้นถัง ถ้าของเหลวที่เก็บในถัง คือ
- น้ําที่มี Sp.Gr. = 1.00
- น้ํามันที่มี Sp.Gr. = 0.70
- กรดเข้มข้นที่มี Sp.Gr. = 2.00
- น้ําทะเลที่มี Sp.Gr. = 1.03
ความดันที่ก้นถังของถังเก็บของเหลวต่าง ๆ คํานวณได้ดังนี้
ความดันที่ก้นถังน้ํา = (125 x 1.00) / 2.31 = 54.11 PSIG
ความดันที่ก้นถังน้ํามัน = (125 x 0.70) / 2.31 = 37.88 PSIG
ความดันที่ก้นถังกรดเข้มข้น = (125 x 2.00) / 2.31 = 108.23 PSIG
ความดันที่ก้นถังน้ําทะเล = (125 x 1.03) / 2.31 = 55.74 PSIG
เครื่องสูบน้ําจากรูปที่ 5.2.1.21 เมื่อสูบน้ําจากถังเก็บด้านทางดูดและส่งน้ําไปยังถังเก็บน้ําด้านทางส่ง
ถ้าใช้เส้นศูนย์กลางเพลาของเครื่องสูบน้ําเป็นระดับอ้างอิง

รูปที่ 5.2.1.21 Configuration of Suction Head Application

- ลําความดันด้านดูด (Suction Head) คือ ลําความดันที่ทางเข้าของเครื่องสูบน้ํา


เกิดจากความสูงของระดับน้ําในถังเก็บน้ําด้านดูด โดยวัดจากระดับผิวน้ําในถังเก็บน้ํา
ไปยังระดับอ้างอิง
- ลําความดันด้านส่ง (Discharge Head) คือ ลําความดันที่ทางออกของเครื่องสูบน้ํา
เกิดจากความสูงของระดับน้ําในถังเก็บน้ําด้านส่ง โดยวัดจากระดับผิวน้ําในถังเก็บน้ํา
ไปถึงระดับอ้างอิง

- 380 -
 
- ยกน้ําด้านดูด (Suction Lift) คือ ค่าลบของลําความดันด้านดูด เกิดจากการสูบน้ําที่
ระดับน้ําในถังเก็บด้านดูดที่อยู่ต่ํากว่าระดับอ้างอิง โดยวัดจากระดับผิวน้ําในถังเก็บ
น้ําขึ้นมาถึงระดับอ้างอิง

รูปที่ 5.2.1.22 Configuration of Suction Lift Application

- ลําความดันรวม (Total Head) คือ ลําความดันส่วนต่างระหว่างลําความดันด้านส่ง


และลําความดันด้านดูด ในกรณีที่ระดับน้ําในถังเก็บน้ําด้านดูดอยู่สูงกว่าระดับอ้างอิง
แต่ในกรณีที่ระดับน้ําในถังเก็บน้ําด้านดูดอยู่ต่ํากว่าระดับอ้างอิง ลําความดันรวม คือ
ลําความดันผลรวมของลําความดันด้านส่งและยกน้ําด้านดูดหรืออาจจะกล่าวได้ว่า
ลําความดันรวม คือ ส่วนของพลังงานที่เครื่องสูบน้ําต้องสร้างขึ้นเพื่อสูบน้ําจากถัง
เก็บน้ําด้านดูดไปยังถังเก็บน้ําด้านส่ง

ก.4 Net Positive Suction Head (NPSH)


ปัญหาส่วนใหญ่ท่ีเกิดขึ้นกับเครื่องสูบ มักจะเกิดจากท่อ ฟิตติ้งและอุปกรณ์ประกอบท่อ
ทางด้านดูด รวมทั้งของไหลที่เข้ามาสู่ตาของใบพัด (Impeller Eye)
NPSH คือ ลําความดันที่เกิดขึ้นที่ปากทางเข้าของเครื่องสูบต่อเนื่องไปจนถึงตาของใบพัด
NPSH จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ท่อ ฟิตติ้ง และวาล์ว ทางด้านดูด
- อุณหภูมิและชนิดของของไหล
- ลําความดันสถิต (Static Head) ที่ทางเข้าของเครื่องสูบ
- ความดันรวมสมบูรณ์ (Absolute Total Pressure) ของของไหลที่ทางเข้าของ
เครื่องสูบ

- 381 -
 
เมื่อของไหลเคลื่อนเข้ามาหาเครื่องสูบ ของไหลต้องมีพลังงานเพียงพอที่ตาของใบพัด
เพื่อให้ใบพัดสามารถเพิ่มพลังงานและเปลี่ยนรูปแบบพลังงานเป็นความดันและอัตราการไหลตามที่ต้องการได้
โดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน

ก.4.1 Required Net Positive Suction Head (NPSHr)


NPSHr คือ ลําความดันของของไหลที่ต้องการเพื่อให้ชนะความเสียดทาน ความดัน
ลดต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ปากทางเข้าของเครื่องสูบไปจนถึงตาของใบพัด

รูปที่ 5.2.1.23 Required Net Positive Suction Head (NPSHr)

Hydraulic Institute ได้นิยาม NPSHr ว่าเป็นค่า NPSH ที่ทําให้ลําความดันรวม


ของเครื่องสูบลดลง 3% เนื่องจากอัตราการไหลถูกขัดขวางจากไอของของเหลวที่เกิดการระเหยตัวภายใน
ใบพัด

รูปที่ 5.2.1.24 When The Margin of NPSHa and NPSHr Lowers, The differential Head Drops

ในทางปฏิบัติผู้ผลิตเครื่องสูบจะเป็นผู้คํานวณและทดสอบค่า NPSHr และแสดงไว้


ในกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ (Pump Performance Curve)

- 382 -
 
รูปที่ 5.2.1.25 Pump Performance Curve

ก.4.2 Available Net Positive Suction Head (NPSHa)


NPSHa คื อ ลําความดันรวมสมบูร ณ์ที่มีอยู่ที่ปากทางเข้าของเครื่องสูบ โดยลํา
ความดันรวมสมบูรณ์ต้องสูงกว่าความดันไอของของเหลวที่อุณหภูมิการสูบ การใช้งานเครื่องสูบ ค่า NPSHa
ต้องสูงกว่า NPSHr เพื่อไม่ให้เกิดการระเหยตัวของของไหลเป็นไอ ฟองไอจะเป็นอุปสรรค์ต่อการไหลภายใน
ใบพัด และเมื่อฟองไอผ่านไปถึงย่านที่มีความดันสมบูรณ์สูงกว่าความดันไอของของไหล ฟองไอก็จะเกิดการ
ยุบตัวเกิดเป็นปรากฏการณ์คาวิเตชั่น
NPSHa สามารถคํานวณได้ดังนี้
NPSHa = (Pa – Pv) x 2.31   - hf
เมื่อ Pa = ความดันบรรยากาศ (PSI)
Pv = ความดันไอของของไหลที่อุณหภูมิการสูบ (PSI)
Z = ระดับการสูบวัดจากระดับผิวของเหลวที่จะสูบถึงเส้นผ่านศูนย์กลางเพลาของเครื่องสูบ (Ft)
hf= ความดันลดที่เกิดจากแรงเสียดทานต่อการไหลของท่อ ฟิตติ้ง วาล์ว และอุปกรณ์ทางด้านดูด
ของเครื่องสูบ (Ft)
การเผื่อค่า NPSHa ให้สูงกว่า ค่า NPSHr เพื่อให้เกิดการใช้งานเครื่องสูบอย่างมีประสิทธิภาพและ
ไม่เกิดปัญหาจากปรากฏการณ์คาวิเตชั่น สามารถใช้แนวทางจากตารางที่ 5.2.1.1 ได้

- 383 -
 
ตารางที่ 5.2.1.1 Minimum NPSH Margin Ratio Guidelines

Minimum NPSH Margin Ratio Guidelines


(NPSH-a/NPSH-r)
Suction Energy Levels
Application Low Medium High
Petroleum 1.1-a 1.3-c
Chemical 1.1-a 1.3-c
Electrical Power 1.1-a 1.5-c 2.0-c
Nuclear Power 1.5-b 2.0-c 2.5-c
Cooling Towers 1.3-b 1.5-c 2.0-c
Water/Waste water 1.1-a 1.3-c 2.0-c
General Industry 1.1-a 1.2-b
Pulp and Paper 1.1-a 1.3-c
Building Services 1.1-a 1.3-c
Slurry 1.1-a
Pipeline 1.3-b 1.7-c 2.0-c
Water Flood 1.2-b 1.5-c 2.0-c
Source - www.pumps.org
‘a’ - Or 0.6 m (2 ft) whichever is greater
‘b’ - Or 0.9 m (3 ft) whichever is greater
‘c’ - Or 1.5 m (5 ft) whichever is greater.

ก.5 ปรากฏการณ์คาวิเตชั่น (Cavitation)


เมื่อมีการใช้งานเครื่องสูบ โดยที่มีค่า NPSHa ต่ํากว่าค่า NPSHr นอกจากสมรรถนะของ
เครื่องสูบจะถูกบั่นทอนลงแล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์คาวิเตชั่นที่จะสร้างความเสียหายให้กับใบพัดได้อย่าง
รุนแรง ในขณะที่ของไหลเคลื่อนที่เข้าสู่ตาของใบพัด และมีพลังงานไม่เพียงพอ จนมีความดันสมบูรณ์ต่ํากว่า
ความดันไอของของไหลที่อุณหภูมิการสูบ ของไหลจะระเหยเป็นไอ ฟองไอจะลอยไปพร้อมกับของไหลในใบพัด
จนถึงย่านที่มีพลังงานสูงขึ้นจนของไหลมีความดันสมบูรณ์สูงกว่าความดันไอ ฟองไอจะยุบตัวและก่อให้เกิดเป็น
Microjet เมื่อฟองไอยุบตัวลงใกล้กับผนังของใบพัด Microjet ก็จะกระทบกับผนังใบพัดด้วยความเร็ว
สู ง มาก เมื่ อ เกิ ด ขึ้ น บ่ อ ยๆ ครั้ ง ผิ ว ของใบพั ด จะเกิ ด การล้ า (Fatique) จนเกิ ด การผุ ก กร่ อ นที่ ผ นั ง ใบพั ด
ปรากฏการณ์นี้ คือ คาวิเตชั่น
การเกิดปรากฎการณ์คาวิเตชั่นที่รุนแรงอาจทําให้ผนังใบพัดเป็นรูพรุนจนขาดทะลุ และ
ระหว่างที่เกิดปรากฏการณ์คาวิเตชั่น จะเกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงจนรองลื่นและชุดกันรั่วของเครื่องสูบ
เสียหายได้

- 384 -
 
รูปที่ 5.2.1.26 ปรากฏการณ์คาวิเตชั่น
ก.6 เส้นกราฟของระบบ (System Head Curve)
อัตราการไหลที่สูบจ่ายโดยเครื่องสูบจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับลําความดันความ
ต้ า นทานของระบบ (Friction Head) และลํ า ความดั น สถิ ต (Static Head) เส้ น กราฟของระบบจึ ง
ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
- ลําความดันสถิต (Static Head) จะไม่แปรผันตามอัตราการไหลตลอดช่วงการสูบ
จ่ า ย เครื่ อ งสู บ ต้ อ งเพิ่ ม พลั ง งานให้ กั บ ของไหลเพื่ อ สู บ จ่ า ยของไหลให้ ถึ ง ระดั บ
ความสูงที่ต้องการได้
- ลําความดันความดัน (Pressure Head) เป็นความดันที่ต้องการของระบบเพื่อให้
ระบบสามารถทํางานได้หรือเป็นความดันที่ต้องการโดยเครื่องจักรหรืออุปกรณ์
- ลําความดันลด (Head Loss) จากแรงเสียดทานของท่อ ฟิตติ้ง วาล์ว และอุปกรณ์
ต่างๆ ลําความดันลดจะแปรเปลี่ยนตามกําลังสองของอัตราการไหล ชนิดและเส้น
ผ่านศูนย์กลางของท่อความยาวของท่อ และลักษณะการเดินท่อ

รูปที่ 5.2.1.27 เส้นกราฟของระบบ

ก.7 กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ (Pump Performance Curve)


กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ แสดงข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้เลือกใช้เครื่องสูบ
เพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องสูบได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่ผู้ที่ทําการทดสอบและการปรับแต่งเครื่องสูบก็ต้องใช้
กราฟแสดงสมรรถนะเพื่อหาและกําหนดจุดทํางานจริงของเครื่องสูบ กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ
ประกอบด้วยเส้นกราฟ 4 เส้น คือ

- 385 -
 
- H-Q Curve เป็ น เส้ น กราฟแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งลํ า ความดั น และอั ต รา
การไหล
- Efficiency Curve เป็นเส้นกราฟแสดงประสิทธิภาพของเครื่องสูบ
- Power Curve เป็นเส้นกราฟแสดงกําลังที่ต้องใช้ในการขับเพลาเครื่องสูบที่จุดที่
ทํางานของเครื่องสูบบนเส้นกราฟ H - Q ค่าที่แสดงผลเป็น Brake Horse Power
(BHP)
- NPSHr CURVE

รูปที่ 5.2.1.28 กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ

ทั้งนี้เมื่อติดตั้งเครื่องสูบเข้ากับระบบท่อส่งจ่ายและอุปกรณ์แล้ว จุดทํางานของเครื่องสูบ
บนเส้นกราฟ H - Q ต้องเป็นจุดตัดกันระหว่างเส้นกราฟ H - Q ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดที่ติดตั้งจริง
กับเส้นกราฟของระบบเท่านั้น

- 386 -
 
รูปที่ 5.2.1.29 กราฟแสดงจุดทํางานของเครื่องสูบบนเส้นกราฟของระบบ
ก.8 การแก้ไขเส้นกราฟสมรรถนะของเครือ่ งสูบ (Curve Correction)
เส้นกราฟต่างๆ ที่แสดงไว้ในกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบถูกคํานวณและทดสอบ
ด้วยน้ําที่มีค่าความถ่วงจําเพาะเท่ากับ 1 และยังทดสอบโดยเฉพาะเจาะจงที่ความเร็วรอบและขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของใบพัด ในทางปฏิบัติ เครื่องสูบสามารถใช้ในการสูบจ่ายของเหลวหลากหลายชนิดที่มีค่าความ
หนืด หรือความถ่วงจําเพาะที่ต่างไปจากน้ํา หรือสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ หรือการตัดขนาดใบพัด
เพื่อให้สามารถสูบจ่ายของไหลให้สอดคล้องกับอัตราการไหลและลําความดันลดจริงของระบบ ทั้งนี้เพื่อการ
ประหยัดพลังงาน การแก้ไขเส้นกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบ เมื่อพารามิเตอร์เปลี่ยนไปสามารถคํานวณ
ได้โดย Affinity Laws และ Viscous Correction Factor
ก.8.1 Affinity Laws
Affinity Laws เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่สามารถคํานวณผลลัพธ์ของอัตรา
การไหล ลําความดัน และกําลังขับเครื่องสูบ เมื่อมีการเปลี่ยนความเร็วรอบ หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด
สูตรที่ 1 : เมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดคงที่ และปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ
(N)
 N2
Q2 = Q1 x  N1 
 
 N2
H2 = H1 x  N1  2
 
 N2
P2 = P1 x  N1  3
 
สูตรที่ 2 : เมื่อความเร็วรอบคงที่ และเปลี่ยนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด (D)
 D2 
Q2 = Q1 x  D1 
 

- 387 -
 
 D2 
H2 = H1 x  D1  2
 
 D2 
P2 = P1 x  D1  3
 

ทั้งนี้การใช้ Affinity Laws สูตร 2 ผลลัพธ์ที่คํานวณได้อาจมีความคลาดเคลื่อนเมื่อ


ต้องการตัดใบพัดให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมมาก การตัดใบพัดให้เล็กลงจะทําให้เกิดระยะห่างระหว่างปลาย
ใบพัดและตัวเรือนมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องสูบ ค่าความคลาดเคลื่อนอาจจะ
ปรับแก้ไขได้บ้าง โดยการปรับแก้เส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัดจากที่คํานวณได้โดย Affinity Laws สูตร 2 ดังนี้
A = 16.2 + 0.838 x C
เมื่อ A = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดที่ปรับแก้แล้วมีหน่วยเป็นร้อยละ (%) ของ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดตั้งต้น

C = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดที่คํานวณได้ โดย Affinity Laws สูตร 2


มีหน่วยเป็นร้อยละ (%) ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดตั้งต้น

ก.8.2 Viscous Correction Factor


เมื่อใช้เครื่องสูบสูบจ่ายของไหลที่มีค่าความหนืด (Viscosity) สูงกว่าน้ํา สรรถนะ
ของเครื่องสูบจะเปลี่ยนไป ในการเลือกเครื่องสูบเพื่อสูบจ่ายของไหลที่มีค่าความหนืดสูงกว่าน้ํา จึงต้องใช้
ค่าสัมประสิทธิ์เพื่อปรับแก้อัตราการไหล ลําความดัน และประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนําไปเลือกใช้เครื่องสูบจาก
กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบน้ํา สมการของการปรับแก้ คือ
Qvis = Cq x Qw
Hvis = Ch x Hw
 vis = C x  w
ค่าสัมประสิทธิ์ Cq ,Ch ,C และ สามารถหาได้จาก Viscous Correction Chart
ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 5.2.1.30

- 388 -
 
รูปที่ 5.2.1.30 Performance Correction Chart for Viscous Liquid

ก.9 ข้อกําหนดและมาตรฐาน
เมื่อเครื่องสูบได้ถูกพัฒนาและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ข้อกําหนดและมาตรฐานต่างๆ
จึ ง ถู ก กํ า หนดขึ้ น ตั้ ง แต่ ม าตรฐานการออกแบบ ข้ อ กํ า หนดด้ า นขนาดและมิ ติ รวมทั้ ง มาตรฐานด้ า น
ความปลอดภัย ข้อกําหนดและมาตรฐานที่นิยมใช้กัน มีดังนี้
- Hydraulic Institute
- ISO 5199 , ISO 2858 (International Standard Organization)
- ANSI B73.1 (American National Standard Institute)
- API 610 (American Petroleum Institute)
- NFPA-21 (National Fire Protection Agency)
- 389 -
 
- DIN 24256 (German Standard)
- BS 5257 (United Kingdom Standard)
- NF E44.121 (France Standard)
- AS 2417-2001 Grade 1& 2 (Australia and New Zealand Standard)

ข. การวิเคราะห์ข้อมูลและทางเลือกทีเ่ หมาะสม
ข.1 การประเมินประสิทธิภาพของเครื่องสูบ
ปัจจัยจํานวนมากสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องสูบ โดยเฉพาะใบพัด
ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสําคัญมากที่สุด ปัจจัยจากใบพัดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ คือ
- ความเร็วรอบของใบพัด
- เส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัด
- จํานวนครีบของใบพัด
- เส้นผ่านศูนย์กลางของตาใบพัด (Impeller Eye)
- ความหนาของผนังใบพัด
- มุมของครีบใบพัด
- วัสดุและพื้นผิวของใบพัด
นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ ที่ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องสูบ คือ
- ลักษณะพื้นผิวภายในของตัวเรือนเครื่องสูบ พื้นผิวที่มีความราบเรียบสูง จะเป็นผลให้
ประสิทธิภาพของเครื่องสูบสูงขึ้น
- ระยะห่างระหว่างบ่าของใบพัดและแหวนรองกันสึก (Wearing Ring) บ่าของใบพัด
จะถูกรองไว้ ด้วยแหวนรองกั นสึกเพื่อป้ องกันการสึกหรอของบ่ าใบพัดระยะห่า ง
ระหว่างบ่าของใบพัดและแหวนรองกันสึกยิ่งต่ําเท่าใด ประสิทธิภาพของเครื่องสูบก็
จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
- ความสูญเสียทางกล พลังงานส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับรองลื่นและชุดกันรั่ว
- ขนาดของใบพัดเครื่องสูบจะถูกออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างขอบใบพัดกับตัวเรือน
อย่ า งเหมาะสม เพื่ อ ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด เมื่ อ มี ก ารตั ด ใบพั ด ให้ มี เ ส้ น ผ่ า น
ศูนย์ กลางเล็ ก ลง ระยะห่างระหว่างขอบใบพัดกั บตั ว เรือนจะสูงขึ้ น และบั่น ทอน
ประสิทธิภาพลง ด้วยเหตุนี้การตัดใบพัดต้องถูกพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อยังคง
สมรรถนะตามที่ต้องการ และแนะนําว่าไม่ควรตัดใบพัดมากกว่า 20 % จากขนาด
ใบพัดเต็ม (Full Trim Impeller)
- การสูบจ่ายของไหล ที่มีความหนืดสูงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของเครื่องสูบลดลง

ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องสูบ สามารถคํานวณได้จากสมการ ดังนี้


WATER _ HORSEPOWER WHP
Pump Efficiency = = BHP
BRAKE _ HORSEPOWER
HxQxSP.GR
WHP =
3960

- 390 -
 
HxQxSP.GR
Pump Efficiency =
3960xBHP
HxQxSP.GR
BHP =
3960 xPUMP _ EFF

รูปที่ 5.2.1.31 ประสิทธิภาพของชุดเครื่องสูบ

ข.2 การเลือกใช้เครื่องสูบอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเครื่องสูบแรงเหวี่ยงมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายและยังครอบคลุมไปถึงทุกๆ
อุตสาหกรรม การพิจารณาเลือกใช้เครื่องสูบให้เหมาะสมจึงมีความสําคัญมาก เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องสูบ
ได้ โ ดยไม่ มีปั ญ หาและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู งสุ ด ข้ อมู ล สํ า คัญ ที่ต้ อ งนํ ามาพิ จ ารณาเลือ กใช้เ ครื่อ งสู บ แบ่ ง เป็ น
3 หัวข้อ คือ
- ข้อมูลพื้นฐานของระบบ
- ประเภทของเครื่องสูบ
- ลักษณะโครงสร้างของเครื่องสูบ

ข.2.1 ข้อมูลพื้นฐานของระบบ
เมื่อได้กําหนดรูปแบบของท่อส่งจ่าย เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อมูล
พื้นฐานของระบบที่ต้องนํามาพิจารณาเลือกใช้เครื่องสูบ คือ

ข.2.1.1 อัตราการไหลที่ต้องการโดยระบบ
ข.2.1.2 ลํ า ความดั น รวมสูง สุดที่ เ กิดขึ้ น จากอั ต ราการไหลที่ต้ อ งการโดย
ระบบ
ข.2.1.3 Available Net Positive Suction Head (NPSHa)
ข.2.1.4 ชนิดของของเหลว และลักษณะเฉพาะของของเหลวที่จะสูบจ่าย
ดังนี้
- ความถ่วงจําเพาะ (Specific Gravity)
- ความหนืด (Viscosity)
- ความดันไอ (Vapor Pressure)
- 391 -
 
- อุณหภูมิ (Temperature)
- ลักษณะเฉพาะของของเหลวอื่นๆ เช่น ความเป็น กรด - ด่า ง
ความอันตราย ความเป็นผลึกของเหลวที่มีตะกอนหรือของแข็ง
ผสมมาด้วย เป็นต้น
ข.2.1.4 ความดันใช้งานรวมสูงสุด (Maximum Working Pressure)

ข.2.2 ประเภทและลักษณะโครงสร้างของเครื่องสูบ
จากข้อมูลพื้นฐาน ส่วนของอัตราการไหล และลําความดันรวมสูงสุดที่ต้องการของ
ระบบ เมื่อได้กําหนดความเร็วรอบของเครื่องสูบที่ต้องการใช้งานอย่างเหมาะสมแล้ว พารามิเตอร์ทั้ง 3 ตัว
สามารถใช้คํานวณค่าความเร็วจําเพาะ (Specific Speed) เพื่อใช้ในการกําหนดประเภทใบพัดของเครื่องสูบได้

Ns =
เมื่อ Ns = ความเร็วรอบจําเพาะ
N = ความเร็วรอบที่ต้องการ
Q = อัตราการไหลที่จุด BEP บนกราฟ H - Q ที่ขนาดใบพัดเต็ม
H = ลําความดันรวมที่จุด BEP บนกราฟ H - Q ที่ขนาดใบพัดเต็ม
BEP = เป็นตําแหน่งบนเส้นกราฟ H – Q ที่เครื่องสูบมีประสิทธิภาพสูง
ที่สุด และยังมีการทํางานที่สมดุลย์และเสถียรที่สุด
เมื่อได้ค่าความเร็วรอบจําเพาะแล้ ว ให้เลือกประเภทของใบพัดที่ เหมาะสมกับ
ลักษณะของงาน จากแผนภาพตามรูปที่ 5.2.1.32

รูปที่ 5.2.1.32 Specific Speed Chart


ตัวอย่างประเภทเครื่องสูบในแต่ละช่องของค่าความเร็วจําเพาะแสดงไว้ในรูปที่ 5.2.1.33 ถึงรูปที่
5.2.1.36

- 392 -
 
รูปที่ 5.2.1.33 เครื่องสูบประเภท Radial Vane มีค่า Nsระหว่าง 500 - 1,000 (D2/D1  4)

รูปที่ 5.2.1.34 เครื่องสูบประเภท Francis Vane มีค่า Nsระหว่าง 1,000 - 4,000 (D2/D1 = 1.5 - 2)

รูปที่ 5.2.1.35 เครื่องสูบประเภท Mixed Flow มีค่า Nsระหว่าง 4,000 - 9,000 (D2/D1  1.5)

รูปที่ 5.2.1.36 เครื่องสูบประเภท Axial Flow มีค่า Nsระหว่าง 9,000 - 20,000 (D2/D1 = 1 )

จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเร็วจําเพาะกับประสิทธิภาพของ
เครื่องสูบที่อัตราการไหลต่างๆ กัน ตามรูปที่ 5.2.1.37 จะเห็นได้ว่าเครื่องสูบจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงค่า
ความเร็วจําเพาะระหว่าง 2,000 - 4,000 ซึ่งเป็นช่วงของเครื่องสูบประเภท Francis Vane ซึ่งก็คือ เครื่องสูบ
แรงเหวี่ยงชนิด End Suction Centrifugal Pumps หรือ Double Suction Centrifugal Pumps ที่นิยมใช้
กันอย่างแพร่หลายที่สุดในอุตสาหกรรมต่างๆ

- 393 -
 
รูปที่ 5.2.1.37 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเร็วจําเพาะและประสิทธิภาพของเครื่องสูบ
แบบใบพัดชั้นเดียว (Single Stage)

และจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเร็วจําเพาะและประสิทธิภาพ
ของเครื่องสูบประเภท End Suction และ Double Suction Centrifugal Pumps และมีใบพัดชั้นเดียว
ตามรูปที่ 5.2.1.38 จะช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องสูบในอัตราการไหลต่างๆ ได้

รูปที่ 5.2.1.38 กราฟแสดงประสิทธิภาพของเครื่องสูบแบบ End Suction และ


Double Suction Centrifugal Pumps แบบใบพัดชั้นเดียว

ข.2.3 ลักษณะโครงสร้างของเครื่องสูบ
เครื่องสูบได้ถูกออกแบบให้มีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับ
การใช้งานและการติดตั้งในลักษณะต่างๆ กัน โดยในรูปแบบหลักได้ จัดแบ่งลักษณะโครงสร้างของเครื่องสูบ
เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
ข.2.3.1 End Suction Pumps

- 394 -
 
เครื่ อ งสู บ แบบ End Suction จะมี ใ บพั ด เป็ น แบบใบพั ด ดู ด ด้ า นเดี ย ว
(Single Suction Impeller) โดยของไหลจะถูกดูดเข้าที่ด้านปลายของตัวเรือนและถูกส่งออกที่ด้านบนของ
ตัวเรือน โดยท่อส่งจะทํามุมเป็นมุมฉากกับท่อดูด (ดูรูปที่ 5.2.1.39) การที่เครื่องสูบดูดของไหลเข้าด้านเดียว
ใบพัดจึงต้องรับภาระแรงผลักตามแนวแกนของใบพัด (Axial Thrust Load) กระทําลงที่เพลากับรองลื่น และ
แรงผลักตามแนวแกนจะสูงมากเมื่อเครื่องสูบต้องทํางานที่ภาระสูง และจากลักษณะโครงสร้างที่จะทําการซ่อม
บํารุงได้ลําบากขึ้นเมื่ อเครื่ องสูบมีขนาดใหญ่ เครื่องสูบแบบ End Suction จึงนิยมใช้กันในช่วงเครื่องสู บ
ขนาดเล็กถึงเครื่องสูบขนาดกลาง การจะพิจารณาเลือกใช้เครื่องสูบแบบ End Suction ที่มีขนาดใหญ่ต้องวาง
แผนการบํารุงรักษาและซ่อมบํารุงให้ดี (ดูรูปที่ 5.2.1.40)

รูปที่ 5.2.1.39 แรงผลักตามแนวแกนกระทําลงที่ใบพัดของเครื่องสูบแบบ End Suction

รูปที่ 5.2.1.40 การซ่อมบํารุงเครื่องสูบแบบ End Suction

เครื่องสูบแบบ End Suction ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


1. Close – Coupled End Suction Pumps
Close – Coupled End Suction Pumps จะมี ตั ว เรื อ นของเครื่ อ งสู บ และ
ตั ว เรื อ นของมอเตอร์ ต่ อ ติ ด กั น โดยตรง (ดู รู ป ที่ 5.2.1.41) โดยใบพั ด จะถู ก ติ ด ตั้ ง บนเพลาของมอเตอร์

- 395 -
 
ทํา ให้ ไ ม่ต้ อ งมี ภ าระในการดู แ ลเรื่ อ งศูน ย์ เ พลา (Shaft Alignment) และไม่ เกิ ด แรงสั่ น สะเทื อ นที่ ผิ ด ปกติ
เนื่องจากการสูญเสียศูนย์เพลาที่ดี ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเครื่องสูบชนิดนี้ถึงขนาด 60 แรงม้าเท่านั้น

รูปที่ 5.2.1.41 Close – Coupled End Suction Pumps

2. Frame – Mounted End Suction Pumps


Frame – Mounted End Suction Pumps จะมีตัวเรือนของเครื่องสูบและเครื่อง
ต้นกําลังแยกออกจากกัน ชุดเครื่องสูบและเครื่องต้นกําลังจะถูกยึดตรึงบนแท่นโครงเหล็กอย่างแข็งแรง และ
เพลาขับของเครื่องต้นกําลังจะต่อกับเพลาของเครื่องสูบด้วยคับปลิ้ง (Flexible couplings) เพื่อส่งถ่ายกําลัง
ขับไปยังเพลาของเครื่องสูบ

รูปที่ 5.2.1.42 FRAME-MOUNTED END SUCTION PUMPS

เครื่ อ งสู บ ชนิ ด นี้ อ าจมี ข นาดอั ต ราการสู บ ได้ ม ากถึ ง 25,000 GPM แต่ อ าจต้ อ ง
พิ จ ารณาใช้ ตั ว เรื อ นเป็ น แบบตั ว เรื อ นสองชั้ น (Double Volute) เพื่ อ ลดแรงผลั ก ที่ ไ ม่ ส มดุ ล ในแนวรั ศ มี
(Unbalanced Radial Thrust Load) จากที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเครื่ อ งสู บ ที่ มี ตั ว เรื อ นแบบ Single Volute (ดู รู ป ที่
5.2.1.43) และต้องวางแผนการบํารุงรักษาและซ่อมบํารุงให้ดีตามที่กล่าวแล้ว

- 396 -
 
รูปที่ 5.2.1.43 ตัวเรือนเครื่องสูบแบบตัวเรือนชั้นเดียวและตัวเรือนสองชั้น

1.) Vertical Inline Pumps


Vertical Inline Pumps ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถติดตั้งได้ในแนวเส้นท่อได้
โดยตรงและติดตั้งให้เพลาของเครื่องสูบอยู่ในแนวดิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตั้งได้ง่ายและลดพื้นที่การติดตั้ง
(ดูรูปที่ 5.2.1.44) Vertical Inline Pumps ส่วนใหญ่ยังถูกออกแบบให้เป็นชนิด Close - Coupled เพื่อลด
แรงสั่นสะเทือนและไม่ต้องมีภาระการดูแลเรื่องศูนย์เพลา แต่จากการที่ติดตั้งเครื่องสูบบนเส้นท่อจึงต้องมีการ
วางแผนเรื่องการบํารุงรักษาและซ่อมบํารุง โดยเฉพาะถ้าติดตั้งเครื่องสูบไว้ในที่สูง จากข้อจํากัดเรื่องการติดตั้ง
ผู้ผลิตจึงผลิตเครื่องสูบถึงขนาด 200 แรงม้าเท่านั้น

รูปที่ 5.2.1.44 Vertical Inline Pumps

2.) Self – Priming Pumps


ก่อนการเดินเครื่องสูบแรงเหวี่ยงต้องมีการเติมของเหลวให้เต็มตลอดท่อด้านดูด
และต้องไล่อากาศออกจากตัวเครื่องสูบให้หมด (Priming) จึงสามารถเดินเครื่องสูบเพื่อสูบจ่ายได้ ฉะนั้นเมื่อ
ต้องการสูบของเหลวที่มีระดับของเหลวต่ํากว่าเครื่องสูบ (Suction Lift Application) จึงจําเป็นต้องติดตั้ง
วาล์วกันกลับ (Foot Valve) ที่ปลายท่อดูด เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวไหลย้อนกลับลงบ่อเก็บเมื่อหยุดเครื่อง
สูบ และต้องทําการเติมของเหลวและไล่อากาศออกจากท่อด้านดูดทุกครั้งที่จะเดินเครื่องสูบ
Self – Priming Pumps ได้รับการออกแบบให้สามารถเดินและดูดของเหลวขึ้น
จากบ่อเก็บได้ โดยที่ไม่จําเป็นต้องมีของเหลวในท่อดูด (ดูรูปที่ 5.2.1.45) เครื่องสูบจะมีห้องเก็บของเหลวที่
ส่วนต่ําสุดของตัวเรือนเครื่องสูบ เมื่อเริ่มเดินเครื่องสูบ ใบพัดจะดูดของเหลวจากห้องเก็บของเหลวเพื่อมาเลี้ยง
- 397 -
 
ห้องสูบและชุดกันรั่วแบบแมคคานิคอล ของเหลวจะถูกส่งเข้าในห้องสูบด้านบนของตัวเรือนและค่อยๆ ไล่
อากาศภายในตัวเรือนของเครื่องสูบออกทั้งหมดและสร้างสุญญากาศ จนสามารถดูดของเหลวในบ่อเก็บเข้าเติม
เต็มท่อดูดและตัวเรือนเครื่องสูบ ในช่วงนี้อาจใช้เวลาประมาณ 3 - 5 นาที จนเครื่องสูบสามารถไล่อากาศออก
จากท่อดูดและตัวเรื อนได้ห มด (Fully Prime) และสูบจ่ายของเหลวได้ เป็นปกติ อย่ างไรก็ตามไม่ควรสูบ
ของเหลวด้วย Self – Priming Pumps ที่มีระดับของเหลวในบ่อเก็บที่ต่ํากว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเพลาเครื่องสูบ
ลึกกว่า 20 ฟุต เครื่องสูบชนิดนี้ยังเหมาะที่จะสูบจ่ายของเหลวที่มีตะกอนหรือของแข็งปะปนมาด้วย

รูปที่ 5.2.1.45 Self – Priming Pumps

3.) Split Case Doulbe Suction Pumps


Split Case Double Suction Pumps (ดูรูปที่ 5.2.1.46) ได้รับการออกแบบให้มี
โครงสร้างที่แข็งแรงและซ่อมบํารุงได้ง่าย ใบพัดถูกวางไว้ที่ตําแหน่งกึ่งกลางของรองลื่นที่หัวและท้ายของปลาย
เพลา ตั ว เรื อ นถู ก ผ่ า ตามแนวนอน (Horizontal Split Case) เพื่ อ ให้ ส ามารถเปิ ด ตั ว เรื อ นออกได้ แ ละให้
ความสะดวกในการบํารุงรักษาและซ่อมบํารุง และจากที่ใบพัดเป็นแบบใบพัดดูดสองด้าน (Double Suction
Impeller) จึงทําให้ลดแรงผลักในแนวแกนเพลาเนื่องจากมีความสมดุลจากแรงกระทําของของไหลต่อใบพัด
และแรงดันภายในเครื่องสูบ ใบพัดดูดสองด้านยังมีพื้นที่ตาใบพัดเป็นสองเท่าของใบพัดดูดด้านเดียว จึงมีค่า
NPSHr ต่ํากว่าเครื่องสูบแบบใบพัดดูดด้านเดียวที่อัตราการไหลเท่ากัน เครื่องสูบชนิดนี้สามารถใช้ในการสูบ
จ่ายได้ที่อัตราการไหลสูงถึง 70,000 GPM และลําความดันรวมได้ถึง 2,000 ฟุต

รูปที่ 5.2.1.46 Split Case Double Suction Pumps

- 398 -
 
Split Case Suction Pumps ยังถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งได้ในแนวดิ่ง เพื่อจะ
ได้ลดพื้นที่การติดตั้งลงได้มาก (ดูรูปที่ 5.2.1.47)

รูปที่ 5.2.1.47 Vertical Split Case Double Suction Pumps

4.) Multi – Stage Pumps


Multi – Stage Pumps ถูกออกแบบให้สามารถสร้างลําความดันให้สูงมากได้ด้วย
การใช้จํานวนใบพัดหลายใบติดตั้งบนเพลาเดียวกัน และให้ของไหลที่สูบจ่ายไหลต่อเนื่องแบบอนุกรมจาก
ใบพัดหนึ่งไปยังอีกใบพัดหนึ่ง
Multi – Stage Pumps ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะ
การใช้งาน ดังนี้
- Horizontal Split Case Multi-Stage Pumps
- Radial Split Case Multi-Stage Pumps
- Vertical Barrel Multi-Stage Pumps

รูปที่ 5.2.1.48 Horizontal Split Case Multi – Stage Pumps

- 399 -
 
รูปที่ 5.2.1.49 Radial Split Case Multi – Stage Pumps

รูปที่ 5.2.1.50 Vertical Barrel Multi – Stage Pumps

5.) Vertical Column Pumps


การสูบของเหลวจากบ่อเก็บที่มีระดับของเหลวต่ํากว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเพลาของ
เครื่องสูบ และต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดจากค่า Net Positive Suction Head
Vertical Column Pumps (ดูรูปที่ 5.2.1.51) ได้รับการออกแบบให้มีตัวเรือน
เครื่องสูบจุ่มอยู่ใต้ของเหลวในบ่อ และต่อเพลาขับขึ้นมาหามอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ปากบ่อ ใบพัดอาจเป็นชนิด
ใบพัดแบบปิดเพื่อสูบของเหลวที่สะอาด หรือเป็นชนิดใบพัดแบบไม่อุดตัน (Non - Clog) เพื่อสูบของเหลวที่มี
ตะกอนหรือของแข็งปะปนมาด้วย

รูปที่ 5.2.1.51 Vertical Column Pumps


- 400 -
 
6.) Suubmersible Pumps
Submeersible Pum mps คื อ เครืรื่ อ งสู บ ชนิ ด Close – CCoupled Pumps ที่ มี
มอเตอร์ขัขบแบบที่มีตัวเรื
ว อนแบบกันน้น ําตามมาตรฐาน Enclosure Classs ไม่ต่ํากว่า IPP 68 เพื่อใหห้สามารถ
ทํางานใต้ต้น้ําได้ Subm
mersible Puumpsแบ่งอออกได้เป็น 2 กลุ ก ่มใหญ่ คือ กลุ่มเครื่องสูบบน้ําบาดาล ที่ใช้เครื่อง
สูบชนิด Multi – Staage ที่ใช้ใบพัพัดแบบปิด (ดูดูรูปที่ 5.2.1.552) เพื่อให้สามารถสร้
า างลําาความดันสูงเพื
เ ่อสูบน้ํา
จากบ่อน้ําบาดาล แลละกลุ่มเครื่องสูบที่ใช้ในระะบบระบายน้ํา ระบบป้องกกันน้ําท่วม แและระบบบําบับดน้ําเสีย
ที่ต้องใช้เครื
เ ่องสูบที่มีใบพั
ใ ดแบบไม่อุอดตัน (ดูรูปที่ 5.2.1.53)

รูปที่ 5.2.1.52 Suubmersible Deeep Well Pum


mps

รูปที่ 5.2.1.53 Submersibble Pumps with


w Non – Cloog Impeller

7.) Veertical Pumpps


เครื่องสูสูบอีกกลุ่มหนึงที
่ ่ใช้ในการสูสบของเหลว จากบ่
จ อเก็บที่มมีีระดับของเหลวต่ํากว่า
ระดับปากบ่อมาก โดยยสามารถสูบส่สงของเหลวได้ด้ในช่วงอัตราการไหลถึง 200,000 GPM M และลําควาามดันรวม
ได้ถึง 5,0000 Ft เครืองสู
อ่ บกลุ่มนี้ได้รับการออกแแบบให้ตัวเรือนและใบพั
น ดที่เรียกว่า Bow
wl ติดตั้งอยู่ใต้้ของเหลว
ที่จะสูบและสามารถเ
แ B เป็นชั้น ๆ เพื่อเพิ่มลําความดันให้ได้
พิ่มจํานวน Bowl ไ ตามต้องกาาร เพลาขับของ Bowl
อ านในท่อส่งของเหลว (Coolumn) ขึ้นมาหาชุดต้นกําลังที่ปากบ่อ เครื่องสูบกลลุ่มนี้จะสามารรถช่วยลด
จะถูกต่อผ่
พื้นที่ห้องเครื
ง ่องสูบลงไได้มาก และยัังช่วยลดปัญหาที ห ่เกิดจาก NPSH
N และ การทําPrimingg ได้ Vertical Pumps
แบ่งออกได้ เป็น 3 ชนินิด

- 401 -
 
- Veertical Turbine Pumps
- Veertical Mix Flow
F Pumpss
- Veertical Axial Flow Pumpps

รูปที่ 5.2.1.54 Vertical Turbine


T & Verrtical Axial Floow Pumps

ค. การออกแบบบและข้อกําหนด ห
การออกแบบท่อส่ อ งจ่ายของรระบบเครื่องสูสูบต้องได้รับการออกแบบใ
ก ให้มีรูปแบบแและขนาด
ท่ออย่างถู
ง กต้อง การรกําหนดขนาดดท่อมักจะถูกกํ ก าหนดไว้ให้หสามารถรองรับอัตราการไหลสูงสุดของระบบ ข
แต่ในการรใช้งานจริงขอองแต่ละระบบบ อัตราการไหหลสูงสุดอาจจจะไม่ได้เกิดขึ้นต่ น อเนื่องตลออดเวลาในการรออกแบบ
และการกําหนดขนาดดเครื่องสูบให้ห้เหมาะสมจึงจํ ง าเป็นต้องพิพิจารณาช่วงออัตราการไหลลที่จะเกิดขึ้นจริ จ งตั้งแต่
อัตราการไหลต่ําสุดถึึงอัตราการไหหลสูงสุด ซึ่งอาจจะมี
อ การพิพิจารณากําหนดขนาดเครื
ห รื่องสูบให้รองงรับอัตรา
การไหลใในช่วงต่ํา เพื่อให้เครื่องสูบน้
บ ําทํางานได้ด้อย่างมีประสิสิทธิภาพและประหยัดพลังงงาน และกําหนดให้ า มี
การเดินเครื
เ ่องสูบคู่ขนานเพิ
น ่มขึ้นเพื่อให้อ สามารถรรองรับการใช้งานและสอดค
ง คล้องกับอัตราาการไหลที่ตองการของ
้อ
ระบบจากช่วงต่ําสุดไปปจนถึงช่วงสูงสุ ง ดอย่างมีประสิร ทธิภาพ อย่อ างไรก็ตามต้องระลึกไว้เเสมอว่าในขณ ณะที่อัตรา
การไหลแแปรเปลี่ยนไปปในระบบท่อส่สงจ่ายเดียวกักัน ลําความดัันความต้านททานของระบบบท่อก็จะแปรเเปลี่ยนไป
ด้วยตามเส้นกราฟของงระบบตามที่ได้ ไ กล่าวแล้วในน หัวข้อที่ ก.66
อ องการสูบจ่จายน้ําที่อัตราาการไหลสูงสุด 3,000 GPPM ด้วยการรคํานวณหาลําความดั
เมื่อต้ า น
ความต้านทานของระบ
น บบจะสามารถถสร้างเส้นกราฟของระบบได้ (ดูรูปที่ 5..2.1.55) จะเเห็นได้ว่าจุดที่เครื่องสูบ
น้ําจะทํางาน คือจุดตัดกั
ด นระหว่างเส้นกราฟ H - Q และเส้นกราฟของระบ
ก บบ ที่จุดนี้จะออ่านค่าอัตรากการไหลได้
3,000 GPMG และลํ า ความดั
ค น รวมม 80 FT แต่ จากข้
จ อ มู ล กาารออกแบบมีมี ค วามต้ อ งกการสู บ จ่ า ยน้น้ํ า ที่ อั ต รา
การไหลตต่ําสุด 1,500 GPM จึงเลือกใช้อ เครื่องสูบน้บ ําที่มีขนาดอัตราการไหลลชุดละ 1,5000 GPM จํานวน 2 ชุด
เพื่อให้สามารถสู
า บจ่ายน้
ย ําได้ตั้งแต่ความต้
ค องการต่ําสุดที่ 1,500 GPM ถึงความต้ ค องการรสูงสุดที่ 3,0000 GPM
เมื่อเดินคู่ขนานกัน แลละกําหนดลําความดั
ค นรวมขของเครื่องสูบน้ําแต่ละชุดที่ 80 FT ในเบืบื้องต้นจึงกําหนดขนาด

ของเครื่องสู
อ บน้ําแต่ละชุ
ะ ดที่อัตรากาารไหล 1,5000 GPM ลําควาามดัน 80 FTT อย่างไรก็ตาม เมื่อเดินเครืรื่องสูบน้ํา
เพียงชุดเดี
เ ยว ลําความมดันความต้านทานของระบ
น บบจะลดต่ําลงงตามเส้นกราฟฟของระบบ เเครื่องสูบน้ําจึงไม่ได้สูบ
จ่ายที่อัตราการไหล
ต 1,500 GPM ตามขนาดทีที่ระบุ แต่เครื่องสู อ บน้ําจะพยายามปรับสมดุลเข้าหาลําความดั า น
ความต้านทานของระบ
น บบ และจะทํางานสูบจ่ายนน้ําในตําแหน่งจุ ง ดตัดกันระหหว่างเส้นกราฟฟ H - Q ของเครืข ่อ ง
- 402 -
 
สูบน้ําชุดเดียวและเส้นกราฟของระบบ ซึ่งที่ตําแหน่งนี้ เครื่องสูบน้ํา 1 ชุด จะสูบจ่ายน้ําที่อัตราการไหล 2,280
GPM ลําความดันรวม 57 FT

รูปที่ 5.2.1.55 Pump Performance Curve for 1 Pump and 2 Pumps in Parallel

จากเส้นกราฟสมรรถนะของเครื่องสูบน้ําตามรูปที่ 5.2.1.55 สามารถอ่านค่าสมรรถนะของเครื่องสูบน้ําได้ดังนี้

DESCRIPTION FLOWRATE (GPM) TOTAL HEAD (FT) BHP (HP)


1 PUMP 2,280 57 41.00
2 PUMPS INPARALEL 3,000 80 71.40
EACH 1,500 80 35.70

ด้วยเหตุนี้ การจะสูบจ่ายน้ําให้ได้อัตราการไหลตามที่ต้องการ จึงจําเป็นต้องมีการปรับแต่ง


ระบบ (Commissioning) ซึ่งสามารถทําได้ 2 ลักษณะคือ
1) การเพิ่มลําความดันความต้านทานให้กับระบบ
ให้เพิ่มความต้านทานให้กับระบบ เช่น การหรี่วาล์ว ฯลฯ การหรี่วาล์วจะทําให้เส้นกราฟ
ของระบบมีความชันเพิ่มมากขึ้น (ดูรูปที่ 5.2.1.56) จึงสามารถปรับหรี่วาล์วจนเส้นกราฟของระบบวิ่งเข้าหาจุด
ทํางานบนเส้นกราฟ H - Q และได้อัตราการไหลตามที่ต้องการ

- 403 -
 
รูปที่ 5.2.1.56 การปรับแต่งเส้นกราฟของระบบด้วยการหรี่วาล์ว

2) การปรับเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องสูบ
เมื่ อ ใช้ เ ครื่ อ งปรั บ ความเร็ ว รอบของมอเตอร์ (Variable Speed Drive) หรื อ VSD เพื่ อ
ปรั บ เปลี่ ย นความเร็ ว รอบของเครื่ อ งสู บ น้ํ า สมรรถนะของเครื่ อ งสู บ น้ํ า จะเปลี่ ย นไปตาม Affinity Laws
เส้นกราฟ H - Q ของเครื่องสูบจะแปรเปลี่ยนไปตามความเร็วรอบของเครื่องสูบน้ํา (ดูรูปที่ 5.2.1.57) เมื่อปรับ
ความเร็วรอบเครื่องสูบน้ําให้ลดลงเพื่อให้เส้นกราฟ H - Q วิ่งเข้าหาจุดทํางานบนเส้นกราฟของระบบ และ
ได้อัตราการไหลตามที่ต้องการ

รูปที่ 5.2.1.57 การปรับเปลี่ยนความเร็วของเครื่องสูบน้ํา

- 404 -
 
การออกแบบและการกําหนดขนาดของเครื่องสูบให้เหมาะสม จึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
ระบบท่อ ฟิตติ้ง และเครื่องจักรต่างๆ ในระบบ รวมทั้งการออกแบบยังต้องคํานึงถึงการใช้งานตลอดช่วงอัตรา
การไหลต่างๆ จากการใช้งานจริง เพื่อให้เครื่องสูบมีขนาดที่เหมาะสมที่สุด และการใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา
และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ค.1 ลําความดันลด (Head Loss)
ในเส้ น ท่ อ เมื่ อ ของไหลไหลในเส้ น ท่ อ จะเกิ ด แรงต้ า นทานต่ อ การไหล (Friction)
แรงต้านทานต่อการไหลเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระหว่างชั้นของของไหลเอง และแรงต้านทานระหว่างของไหลและ
ผิวท่อ ฉะนั้นแรงต้านทานต่อการไหลจึงขึ้นกับความหนืด (Viscosity) ของของไหล และความขรุขระของ
ผิวท่อ (Surface Roughness) เครื่องสูบจึงต้องสร้างลําความดันส่วนหนึ่งให้ชดเชยกับลําความดันลดที่เกิดจาก
แรงต้านทานต่อการไหล เพื่อให้สามารถสูบจ่ายของไหลได้ตามต้องการ ลําความดันที่สูญเสียคํานวณได้โดย
สมการ ดังนี้
Hf = F(L/D) (V2/2g)
เมื่อ Hf = ลําความดันลด (Ft)
F = Darcy–Weisbach Friction Factor (Dimensionless)
L = ความยาวของท่อ (Ft)
D = เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อ (Ft)
V = ความเร็วเฉลี่ยของของไหล (Ft/Sec)
g = Acceleration of Gravity (32.174 Sec2)

ในทางปฏิบัติ สามารถหาค่า hf (ลําความดันลดต่อความยาวท่อ 100 Ft) ได้จากตารางที่


5.2.1.2 หรือจาก แผนภาพในรูปที่ 5.2.1.58

ตารางที่ 5.2.1.2 PIPE FRICTION OR HEAD LOSS FOR WATER IN SCHEDULE 40 STEEL PIPE

- 405 -
 
ตารางที่ 5.2.1.2 PIPE FRICTION OR HEAD LOSS FOR WATER IN SCHEDULE 40 STEEL PIPE

- 406 -
 
ตารางที่ 5.2.1.2 PIPE FRICTION OR HEAD LOSS FOR WATER IN SCHEDULE 40 STEEL PIPE

- 407 -
 
ตารางที่ 5.2.1.2 PIPE FRICTION OR HEAD LOSS FOR WATER IN SCHEDULE 40 STEEL PIPE

- 408 -
 
รูปที่ 5.2.1.58 Pipe Friction or Head Loss for Water in Schedule 40 Steel Pipe

ในการออกแบบและกําหนดขนาดท่อ เพื่อให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อที่เหมาะสม
นั้น จะพิจารณาจากการกําหนดความเร็วของการไหลให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ความเร็วของการไหลที่สูงมากจะ
ทําให้เกิดลําความดันลดสูง เครื่องสูบจะต้องใช้พลังงานในการสูบจ่ายสูงขึ้น นอกจากนี้ความเร็วของการไหลที่
สูงยังกัดกร่อนท่อมากกว่า เป็นผลทําให้ท่อมีอายุสั้น การกําหนดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทํา
ให้ความเร็วของการไหลลดลง เป็นผลให้ลําความดันลดลดลงและเครื่องสูบใช้พลังงานในการสูบจ่ายลดลง
รวมทั้งท่อจะมีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น การกําหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อให้เหมาะสมจึงต้องพิจารณา
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งจากราคาท่อ ค่าใช้จ่ายพลังงานในการสูบจ่าย และอายุการใช้งานของท่อ โดยทั่วไป
มักจะกําหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อเพื่อให้มีความเร็วของการไหลไม่สูงกว่า 10 Ft/Sec และ hf ไม่สูงกว่า
4 FT/100FT และมักจะกําหนดให้ท่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น 1 ขนาด ถ้าเป็นท่อดูดจากเครื่องสูบ
ไปยังบ่อ
- 409 -
 
ลําความดันที่ลดทั้งหมดคํานวณได้
า จากสสูตร ดังนี้
L
Hf = hf x 1000

ค.2 ลําความดันลดของววาล์วและฟิตติ้ง
ในระบบท่อจะมี
จ วาล์วและะฟิตติ้งประกออบอยู่ด้วย วาลล์วและฟิตติ้งจจะมีลําความดัดันลด
จากการไไหลเช่นเดียวกกับท่อ ลําควาามดันลดของววาล์วและฟิตติง้ คํานวณได้โดยสมการ
โ ดังั นี้
2
Hf = K x (VV /2g)
เมื่อ Hf = ลําคววามดันลด (Ftt)
K = สัมปรระสิทธิ์ความต้ต้านทานของววาล์วและฟิตติง้
V = ความมเร็วเฉลี่ยของของไหล (Ft//Sec)
g = Acceeleration of Gravity (322.174 Sec2)

ค่าสัม ประสิทธิ์ค วามต้านทานของวา


น ล์ว และฟิ ตติ้งชนิ ดต่า งๆ กัน แสดงไว้ในตาราง

ที่ 5.2.1.3

ตารางที่ 5.2.1.3
5 ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานของวาล์
า ว
วและฟิ ตติ้ง

ในทางปฏิบัติติ เพื่อให้สะดดวกต่อการคํานวณ
า ลําควาามดันที่สูญเสีสียจากวาล์วและฟิ
แ ตติ้ง
ซึ่งมักจะมีอยู่เป็นจํานวนมากในระ
น บบท่อ จึงใช้วิวิธีการเปรียบเทียบวาล์วแลละฟิตติ้งให้มีความยาวเทียบเท่
ย ากับ
ท่อตรง ดังที่แสดงไว้ในตารางที
น ่ 5.22.1.4

- 410 -
 
ตารางที่ 5.2.1.4 ความยาวเทียบเท่าของท่อตรงสําหรับวาล์วและฟิตติ้ง

- 411 -
 
ค.3 ลําความดันความเร็ว (Velocity Head)
ลําความดันความเร็วเป็นค่าพลังงานของของไหลที่เกิดขึ้นจากความเร็วของการไหล
ลําความดันความเร็วคํานวณได้จากสมการ ดังนี้
Hv = (V2/2g)
เมื่อ Hv = ลําความดันความเร็ว (Ft)
V = ความเร็วเฉลี่ยของของไหล (Ft/Sec)
g = Acceleration of Gravity (32.174 Sec2)
ในการสูบจ่ายของไหลที่มีท่อดูดใหญ่กว่าท่อส่ง ลําความดันความเร็วของของไหลในท่อ
ดูด จะมีค่าต่ํากว่าในท่อส่ง เครื่องสูบจึงต้องเพิ่มพลังงานในรูปของลําความดันความเร็วเพื่อส่งผ่านของไหลจาก
ท่อดูดไปยังท่อส่ง โดยทั่วไปส่วนต่างระหว่างลําความดันความเร็วด้านท่อส่งและด้านท่อดูดจะมีค่าต่ํามาก
ในทางปฏิบัติอาจจะละไว้

ค.4 ลําความดันรวมของเครื่องสูบ (Total Pump Head)


การออกแบบและกํ า หนดขนาดของเครื่อ งสู บ มีค วามต้ อ งการที่ สํ า คั ญ 2 ตัว ที่ต้ อ ง
กํ า หนดให้ ชั ด เจน คื อ อั ต ราการไหลและลํ า ความดั น รวมของเครื่ อ งสู บ ลํ า ความดั น รวมของเครื่ อ งสู บ
คือพลังงานรวมทั้งสิ้นที่เครื่องสูบต้องสร้างขึ้นเพื่อสูบจ่ายของไหล มีองค์ประกอบ ดังนี้
H = Hs + Hp + Hv + Hf
เมื่อ H = ลําความดันรวมของเครื่องสูบ (Ft)
Hs = ลําความดันสถิต หรือระดับความสูง วัดจากผิวของเหลวในถังเก็บที่ด้านส่ง
มายังผิวของเหลวในถังเก็บทีด่ ้านดูด (Ft)
Hp = ลําความดันความดัน เป็นความดันที่ต้องการโดยระบบ เพื่อให้ระบบทํางาน
ได้ หรือเป็นความดันที่ต้องการโดย เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Ft)
Hv = ลําความดันความเร็ว (Ft)
Hf = ลําความดันลด เป็นผลรวมของลําความดันที่สูญเสียของท่อ ฟิตติ้งและ
วาล์ว (FT)
เนื่องจากเครื่องสูบและระบบท่อจะต้องใช้งานเป็นเวลาไม่ต่ํากว่า 10 - 15 ปี การกัด
กร่อนของผิวท่อและตะกรันที่อาจจับเกาะที่ผิวท่อ จะเป็นผลให้สัมประสิทธิ์ความต้านทานของท่อมีค่าเพิ่มขึ้น
และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อจะเล็กลงเนื่องจากความหนาของตะกรัน การกําหนดลําความดัน
รวมของเครื่องสูบจึงต้องคาดการณ์และเผื่อลําความดันลดที่จะเพิ่มขึ้นตลอดอายุการใช้งานด้วย ในทางปฏิบัติ
จึงต้องเพิ่มค่า Hf ประมาณ 10 - 20% เพื่อให้เครื่องสูบยังมีลําความดันรวมเพียงพอต่อการทํางานตลอดช่วง
อายุการใช้งาน ทั้งนี้การเผื่อค่าลําความดันลดจะขึ้นกับคุณภาพน้ําและวัสดุท่อ

ค.5 การกําหนดขนาดมอเตอร์ขบั เครื่องสูบ


เมื่อได้พิจารณาเลือกเครื่องสูบและได้กําหนดจุดทํางานที่ต้องการบนเส้นกราฟ H - Q
ของกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบแล้ว จากกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบจะสามารถอ่านค่า BHP ที่
ตําแหน่งนี้ได้ ค่า BHP ที่อ่านได้นี้จะเป็นกําลังที่ต้องการเพื่อขับเครื่องสูบโดยยังไม่ได้รวมค่ากําลังสูญเสียจาก
คับปลิ้ง การกําหนดขนาดมอเตอร์ให้เหมาะสม สามารถทําได้ 2 วิธี คือ

- 412 -
 
ค.5.1 กําหนดให้มีค่า Service Factor 15% จาก BHP ที่อ่านได้จากกราฟแสดง
สมรรถนะของเครื่องสูบ เพื่อให้ชดเชยกําลังสูญเสียจากคับปลิ้ง และมีกําลังเผื่อไว้เพื่อไม่ให้มอเตอร์ต้องทํางาน
ที่ภาระเต็มพิกัด
ค.5.2 กํ า หนดให้ ม อเตอร์ มี กํ า ลั ง เพี ย งพอที่ ส ามารถขั บ เครื่ อ งสู บ ได้ ต ลอดช่ ว ง
เส้นกราฟ H – Q จนถึงตําแหน่งทํางานที่ปลายเส้นกราฟ H – Q ของขนาดใบพัดที่ต้องการ การกําหนดขนาด
มอเตอร์จึงต้องใช้ค่า BHP ที่อ่านได้จากตําแหน่งบนเส้นกราฟ H - Q ที่ปลายใบพัดเป็นเกณฑ์ และมอเตอร์
ยังต้องมีค่า Service Factor ไม่ต่ํากว่า 15% จาก BHP ที่จุดออกแบบด้วย

รูปที่ 5.2.1.59 การกําหนดขนาดมอเตอร์

ค.6 วัสดุและโครงสร้างของเครือ่ งสูบ (Material and Pump Construction)


เมื่อได้เลือกและกําหนดขนาดของเครื่องสูบแล้ว การกําหนดลงในรายละเอียดของวัสดุ
และชิ้นส่วนโครงสร้างของเครื่องสูบให้เหมาะสมกับประเภทของของเหลวที่สูบจ่าย อุณหภูมิและความดันใช้
งาน จะมีผลต่อความคงทนและอายุการใช้งานของเครื่องสูบ โดยทั่วไป การกําหนดรายละเอียดของวัสดุและ
โครงสร้างของเครื่องสูบต้องพิจารณาในหัวข้อดังนี้
ค.6.1 ชิ้นส่วนของเครื่องสูบที่ต้องสัมผัสกับของเหลวที่จะสูบมีดังนี้
- ตัวเรือน ( Casing)
- ใบพัด (Impeller)
- เพลา (Shaft)
- ปลอกหุ้มเพลา (Shaft Sleeve)
- แหวนกันสึก (Wearing Ring)
- ชุดกันรั่วแบบแมคคานิคอล(Mechanical Seal)

- 413 -
 
รูปที่ 5.2.1.660 โครงสร้างของเครือ่ งสูบแรงงเหวี่ยงแบบ End
E Suction

ชิ้นส่วนเหล่
น านี้ต้องเลืลือกใช้วัสดุทสามารถทนทา
สี่ นและไม่ถูกกััดกร่อนโดยของเหลวที่
จะสูบจ่าย การเลือกใชช้วัสดุจําเป็นต้องพิจารณาด้ด้านอุณหภูมและความดั
ิแ นใชช้งานควบคู่ไปปด้วย
ค.6.2 ความดั
ค นใช้งานของตัวเรือน (Case Worrking Pressuure)
ตัวเรือนของเครื
น ่องสูสูบจะต้องถูกออกแบบให้
อ สามารถทนทาานต่อความดันใช้น งานที่
เกิดขึ้นภายในระบบสูบจ่ บ าย
Workinng Pressure = Suction Static Pressure + Totaal Pump Heaad
ทั้งนี้ผู้ผลิ
ผ ตจะต้องทําการทดสอบก
า การทนทานต่อความดันใช้งงานของตัวเรือนเครื่อง
สูบโดยวิธีธี Hydrostattic Pressure Test ที่ความมดันไม่ต่ํากว่า 1.5 เท่าของคความดันใช้งาานของตัวเรือนที น ่ระบุไว้
0 0
และความมดันใช้งานขอองตัวเรือนที่ระบุ ร ไว้มักจะอ้างอิงไว้ที่อุณหภู ห มิใช้งาน 150 F (65 C ) ฉะนั้นเมื่อต้
อ องการ
ใช้งานเคครื่องสูบที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิใช้งานนที่อ้างอิงไว้ ความดั
ค นใช้งานของตั
า วเรือนนจะถูกลดทออนลงตาม
อุณหภูมิทีท่สูงขึ้นด้วย

5.2.1.2 การติดตั้งเครือ่ งสู ง บ


ก. จุดประสงค์และเป้
แ าหมายย
เมื่อได้
อ ทําการเลือกชนิดและขขนาดของเครื่องสูบอย่างเหหมาะสมแล้ว การติดตั้งเครืรื่องสูบให้
ถูกต้องบบนแท่นเครื่องสูบที่มีความแแข็งแรงเพียงพพอ รวมทั้งกาารติดตั้งและกการวางแนวท่ออโดยเฉพาะทท่อด้านดูด
ให้ถูกต้อง จะมีความสํสําคัญและส่งผลต่ ผ อการใช้งานเครื า ่องสูบทัง้ ในด้านสมรรรถนะและอายยุการใช้งาน
ก.1 ห้องเครืรื่องเครือ่ งสูบ
ห้องเครื่องเคครื่องสูบต้องมีมีขนาดพื้นที่และความสู
แ งที่เพียงพอเพื่อใให้สามารถจัดวางแท่
ด น
เครื่องสูบและตั
บ วเครื่องสู
ง บได้อย่างเหหมาะสม สิ่งที่ต้องให้ความสําคัญในการกกําหนดขนาดห้องเครื่องสูบ คือ
ก.1.1 ต้ต อ งให้ มี พื้ น ที่ โ ดยรอบแทท่ น เครื่ อ งสู บเพี
บ ย งพอ เพืพื่ อ ให้ ส ามารรถเข้ า ทํ า
การติดตัั้ง บํารุงรักษาและซ่อมบํารุงเครื
ง ่องสูบได้โดยสะดวกแล
โ ละมีความปลออดภัยในการทํทํางาน
ก.1.2 ให้ออกแบบกการวางแนวท่ท่อภายในห้องเครื่องให้ดี เพืพื่อไม่ให้แนวทท่อเป็นอุป
สรรค์ต่อการเข้าถึงเครืรื่องสูบ เพื่อการบํารุงรักษาาและซ่อมบํารุรง หรือการเคคลื่อนย้ายอะไไหล่หรือตัวเครืรื่องสูบใน
อนาคต

- 414 -
 
ก.1.3 การจัดวางตํตําแหน่งของเคครื่องสูบภายใในห้องเครื่องต้องพิจารณาาควบคู่กับ
การวางแแนวท่อ ทั้งนีต้ต้ อ้ งพยายามใหห้มีการหักเลี้ยวเปลี
ย ่ยนทิศทางของท่ ท อให้้น้อยที่สุด โดยยเฉพาะท่อทาางด้านดูด
ที่ต้องสูบของเหลวจา
บ กถังเก็บ ห้ามยกแนวท่
ม อดูดให้สูงกว่าเส้ส้นผ่านศูนย์กลางของเพลาาเครื่องสูบโดยยเด็ดขาด
เพื่อป้องกกันการเกิดช่องว่
อ างเก็บอากกาศภายในท่อดู อ ดและเป็นสาเหตุ ส ให้เครื่องสูอ บสูญเสียคความสามารถใในการดูด
ของเหลววจากถังเก็บ
ก.1.4 ห้ห อ งเครื่ อ งเคครื่ อ งสู บ สํ า หรั
ห บ เครื่ อ งสู บขนาดใหญ่
บ หรื อ เครื่ อ งสู
ง บ แบบ
Verticall ควรพิจารณ ณาจัดเตรียมระะบบรอกเพื่อสามารถเคลื่อนย้ อ ายเครื่องสู ง บ มอเตอร์ หรือชิ้นส่วนที น ่มีขนาด
ใหญ่และะน้ําหนักมากไได้ เพื่อความสสะดวกในการบบํารุงรักษาแลละการซ่อมบํารุ าง
ก.2 แท่นเครื่อื งสูบ (PUUMP Foundation)
แท่นเครื่องสูสูบต้องได้รับการออกแบบใ
ก ให้มีขนาดและความแข็งแรรงเพียงพอที่จะยึ จ ดตรึง
เครื่องสูบให้
บ มั่นคง แลละมีความปลออดภัยในระหว่างการใช้งานน ในขณะที่ต้ต้องสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทื ส อนที่
เกิดขึ้นในนระหว่างการรทํางานได้ โดดยทั่วไปเครื่องสู อ บที่ติดตั้งในโรงงานอุ
ใ ตสาหกรรม โดดยเฉพาะเครืรองสู ่ บที่มี
ขนาดใหญ ง บมักจะถูกติดตั้งบนฐานรรากแยกออกจจากฐานรากขของเครื่องจักรรอื่นๆ รวมทั้งตัวอาคาร
ญ่ แท่นเครื่องสู
เพื่อหลีกเลี่ยงแรงสั่นสะเทื
ส อนที่อาจจจะรบกวนกัน รวมทั้งโอกาาสที่จะเกิด Resonant Freequency ตัวแท่ ว นควร
ทําด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ เ กที่มีมวลนน้ําหนักไม่ต่ํากว่ก า 3 เท่า ของน้ ข ําหนักชุดเครื ด ่องสูบที่ตติิดตั้งบนแท่นเครื่องสูบ
ิ ้งในอาคารรมักจะมีการรองรับด้วยสปริงิ เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนและคลื่นเสียงที
ในขณะทีที่เครื่องสูบที่ตดตั ง ่ส่งผ่าน
ลงสู่โครงงสร้างของอาคคาร แท่นเครืองสู ง ่บน Inertiia Base และรองรับ Inertiia Base ด้วยสปริง
อ่ บจึงติดตั้งอยู

รูปที่ 5.22.1.61 การติดตั้งเครื่องสูบบนแแท่นคอนกรีตเสสริมเหล็ก

รูปที่ 5.2.1.62 การติติดตั้งเครื่องสูบบนแท่


บ น Inertiaa Base
- 415 -
 
อนึ่งการยึดฐานโครงเหล็กของเครื่องสูบกับแท่นเครื่องสูบ ควรใช้ Anchor Bolts ที่ยึด
ตรึงกับเหล็กเสริมความแข็งแรงภายในแท่นเครื่องสูบคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้หลีกเลี่ยงการใช้ Expansion
Bolts ในการยึดตรึงฐานโครงเหล็กของเครื่องสูบกับแท่นเครื่องสูบ แรงสั่นสะเทือนจาการทํางานของเครื่องสูบ
มักจะทําให้ Expansion Bolts ถอนตัวออกเสมอ

รูปที่ 5.2.1.63 การยึดฐานโครงเหล็กของเครื่องสูบกับแท่นเครื่องสูบด้วย Anchor Bolts

ก.3 ท่อทางดูดของเครื่องสูบ
ท่อทางดูดของเครื่องสูบต้องได้รับการออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการไหลก่อน
เข้าสู่เครื่องสูบ การรบกวนการไหลอาจอยู่ในรูปแบบความเร็วของของไหลที่ไม่สม่ําเสมอ หรือ การเกิดกระแส
น้ําวน และ Vortex ที่ปลายท่อดูด ทําให้พลังงานของของไหลลดลงจนเกิดปัญหาเรื่อง NPSH ท่อทางดูด
ควรออกแบบให้ได้รับผลกระทบจากท่อโค้ง ท่อแยก วาล์วต่างๆ ให้น้อยที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นสาเหตุให้
ความเร็ ว ของของไหลไม่ ส มมาตรก่ อ นเข้ า สู่ เ ครื่ อ งสู บ ได้ และความเร็ ว ในท่ อ ดู ด ไม่ ค วรเกิ น 6 FT/SEC
ข้อแนะนําการติดตั้งท่อดูดตามมาตรฐานของ Hydraulic Institute มีดังนี้

รูปที่ 5.2.1.64 การติดตั้งท่อดูดต้องให้แนวท่อลาดลงจากเครื่องสูบไปสู่ถังเก็บ

- 416 -
 
รูปที่ 5.2.1.65 การติดตั้งข้อลดดก่อนเข้าเครื่องสู
ง บ เมื่อระดับของเหลวอยู
ข ่ต่ํากว่าเครื่องสูบ ต้องใช้ข้อลดเบียว
้ย

รูปที่ 5.2.11.66 ควรมีระยะะท่อตรงไม่น้อยกว่า 6D ก่อนเขข้าเครื่องสูบ

รูปที่ 5.2.1.67 การใช้


ก ข้องอในแแนวระบายก่อนเข้
น าเครื่องสูบแบบบทางดูดสองททาง จะทําให้นา้ําแบ่งเข้าที่ตาขออง
ใบบพัดไม่เท่ากัน และเป็
แ นเหตุให้เกิดความไม่สมดดุลของแรงตามแแนวแกนของเพพลา

- 417 -
 
รูปที่ 5.2.1.68 ระยะการวางงท่อดูดภายในบบ่อ ต้องมีระยะหห่างของท่อจากผผนัง ( B) และปปลายท่อดูแบบ
Bell Moouth จากพื้นบ่อ (C) ที่เหมาะสสม รวมถึงระดับผิ
บ วน้ําต้องสูงกวว่าปลายท่อ (S) เพื่อป้องกันไม่ใให้เกิดน้ําหมุนวนและการ
ดึงอากาศจากผิวน้ํา ระะยะที่แนะนําให้ห้ดูจากตารางที่ 5.2.1.5

ตารางที่ 5.2.1.5
5 STANDDARD DIMENSIION OF SUCTTION SUMP WITH
W FREE WATTER SURFACEE

- 418 -
 
รูปที่ 5.2.1.69 UNDESIRABLE SUCTION SUMP SHAPES AND THEIR IMPROVEMENT

- 419 -
 
ก.4 การต่อท่อเข้ากับเครื่องสูบ
การต่อท่อเข้ากับเครื่องสูบ ต้องปรับแนวท่อให้ได้ศูนย์กลางและระนาบเดียวกับปากท่อ
เข้าและออกของเครื่องสูบ (Pipe Alignment)

รูปที่ 5.2.1.70 PIPE ALIGNMENT

ถ้าการต่อท่อเข้าเครื่องสูบทําได้ไม่ถูกต้อง จะทําให้เกิดเป็นแรงบิด แรงกดทับ หรือแรง


ดึงที่เป็นสาเหตุให้เกิดการบิดตัว (Deflection) ของโครงสร้างตัวเครื่องสูบ ศูนย์เพลาระหว่างเครื่องสูบถึง
มอเตอร์จะถูกรบกวนและคลาดเคลื่อนไป ในขณะที่การบิดตัวของโครงสร้างตัวเครื่องสูบจะทําให้ศูนย์กลางของ
เพลาและใบพัดเบี่ยงเบนไป จนเกิดการเสียดสีของใบพัดและแหวนกันสึกผิดปกติ และยังบั่นทอนอายุการใช้
งานของรองลื่น การบิดตัวที่รุนแรงอาจเป็นเหตุให้ตัวเรือนเครื่องสูบแตกหักเสียหายได้
โดยทั่วไปควรใช้ข้อต่อท่ออ่อน (Flexible Pipe Connectors) ต่อระหว่างปากท่อเข้า
และออกของเครื่องสูบกับท่อเพื่อให้รองรับการเยื้องศูนย์ท่อที่เบี่ยงเบนให้ได้ตามมาตรฐาน ทั้งนี้ข้อต่อท่ออ่อน
ยังช่วยลดแรงสั่นสะเทือนและคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นจากการทํางานของเครื่องสูบที่จะถ่ายผ่านลงสู่ท่อได้

รูปที่ 5.2.1.71 การต่อท่อเข้าเครื่องสูบด้วยข้อต่อท่ออ่อน

- 420 -
 
ก.5 การตั้งศูศนย์เพลา (SShaft Alignm ment)
เมื่อได้ทําการรติดตั้งเครื่องสู
ง บบนแท่นเคครื่องและได้ต่ตอท่อเข้ากับเครื่องสูบเรียบร้
บ อยแล้ว
ก่อนที่จะเริ
ะ ่มเดินและะทดสอบเครื่องสู อ บ ให้เติมของเหลวให้เต็มระบบเพื่อให้ อ เครื่องสูบบรับภาระน้ําหนั
ห กที่จะ
เกิดขึ้นทัั้งหมด และให้ห้ทําการตั้งศูนย์
น เพลาระหว่างเครื
า ่องสูบแลละมอเตอร์ให้้อยู่ในค่ามาตรรฐานที่ยอมรับได้
บ ตามที่
แสดงไว้ในตารางที
ใ ่ 5.22.1.6

Perrfect Alignm
ment

Offset Mis - Alignnment

Angulaar Mis - Alignment

รูปที่ 5.2.1.72 Shaft Allignment

- 421 -
 
ตารางที่ 5.2.1.6
5 Shaft Alignment
A Tolerances

การตั้งศูนย์เพลาอาจทําได้โดยการรใช้ Dial Gauuge หรือการรใช้เครื่องตั้งศูนย์เพลา


ด้วยแสงงเลเซอร์ ซึ่งสามารถตั
ส ้งศูนย์
น เพลาได้แม่ม นยําและรวดเร็วกว่าการรติดตั้งศูนย์เพพลาด้วย Diaal Gauge
ในขณะทีที่ยังสามารถบัันทึกค่าศูนย์เพลาและทําเป็ป็นรายงานได้้โดยละเอียด

รูปทีท่ 5.2.1.73 การรติดตั้งศูนย์เพลลาด้วย Dial Gauge

รูปที่ 5.2.1.774 การติดศูนย์เพลาด้


เ วยเครื่องตั
ง ้งศูนย์เพลาด้วยแสงเลเซอร์

- 422 -
 
5.2.1.3 การพิจารณาการตรวจสอบเครื่องสูบ
ก. การทดสอบและตรวจสอบเครื่องสูบ (Pump Testing and Inspection)
ผู้ผลิตจะต้องควบคุมการผลิตให้เครื่องสูบมีคุณภาพและสมรรถนะด้านต่างๆ ตามที่แจ้งไว้
โดยผู้ผลิตจะมีการสุ่มตัวอย่างเครื่องสูบเพื่อทําการทดสอบและตรวจสอบตามมาตรฐาน
ตัวอย่างมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบ ดังนี้
- Hydraulic Institute : Centrifugal Pumps
- ANSI B73.1 M : Horizontal Centrifugal Pumps
- ANSI B73.2 M : Vertical Centrifugal Pumps
- API 610 - 9 th Edition : Centrifugal Pumps
ในกรณีที่เครื่องสูบมีขนาดใหญ่มาก และผู้ใช้ต้องการความมั่นใจว่าเครื่องสูบที่ผลิตจะมี
สมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ ผู้ใช้จะสามารถกําหนดความต้องการและแจ้งให้ผู้ผลิตทําการทดสอบเครื่องสูบที่
โรงงานผู้ผลิต (Shop Test) และทํารายงานก่อนส่งมอบได้ การทําการทดสอบที่โรงงานผู้ผลิต ประกอบด้วย
- Hydrostatic Test
- Shop Running Test
ก.1 Hydrostatic Test
ตัวเรือนและชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงดันของเครื่องสูบต้องได้รับการทดสอบ Hydrostatic
Testโดยการอัดน้ําที่ความดัน 1.5 เท่าของความดันที่ใช้งานของเครื่องสูบ การทดสอบความดัน 1.5 เท่าของ
ความดันที่ใช้งานต้องถูกทดสอบไว้ตามเวลาที่กําหนด โดยไม่ตรวจพบการรั่วใดๆ มาตรฐานต่างๆ กําหนดเวลา
การทดสอบไว้ดังนี้
ก.1.1 Hydraulic Institute Standard กําหนดการทดสอบไว้ 3 นาที สําหรับ
เครื่องสูบขนาด 100 แรงม้า หรือเล็กกว่า และทดสอบ 10 นาที สําหรับ
เครื่องสูบที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 แรงม้า
ก.1.2 ANSI Standard กําหนดการทดสอบไว้ 10 นาที สําหรับเครื่องสูบทุกขนาด
ก.1.3 API 610 Standard กํ า หนดการทดสอบไว้ 30 นาที สํ า หรั บ เครื่ อ งสู บ
ทุกขนาด
ก.2 Shop Running Test
การทดสอบนี้เป็นการทดสอบสมรรถนะของเครื่องสูบ (Performance Test) รวมถึง
การตรวจวัดความสั่นสะเทือนและเสียงจากการทํางานของเครื่องสูบ ผู้ผลิตจะติดตั้งเครื่องสูบบนแท่นทดสอบ
พร้อมด้วยเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ต่างๆ

รูปที่ 5.2.1.75 Typical Test Rig for Centrifugal Pumps


- 423 -
 
ข้อมูลที่จะได้จากการทํา Shop Running Test ประกอบด้วย
- Flow Rate
- Discharge Pressure
- Suction Pressure
- Elevation Correction
- Test Fluid Temperature
- Test Fluid Specific Gravity
- Power Reading
- Voltage at Driver
- Current to the Driver
- Power Factor of the Supply
- Frequency of Electrical Supply
- Vibration Levels
- Bearing Temperatures
- Noise Level
- Speed
การทดสอบจะเริ่มต้นจากตําแหน่ง Shut - Off โดยปิดวาล์วที่ด้านทางออก และจะ
ค่อยๆ เปิดวาล์วไปถึงตําแหน่งที่อัตราการไหลเป็น 120 % ของอัตราการไหลที่ต้องการ (Rated Flow Rate)
การทดสอบจะทํา 5 ถึง 7 จุด บนเส้นกราฟ H - Q ระหว่าง Shut - Off ถึงตําแหน่ง 120% ของอัตราการไหล
ที่ต้องการ และต้องทําการทดสอบที่ตําแหน่งอัตราการไหลที่ต้องการ (Rated Flow Rate) ด้วย ในตารางที่
5.2.1.7 แสดงค่าเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้จากผลของการทดสอบ

ตารางที่ 5.2.1.7 Shop Acceptance Criteria

- 424 -
 
ข. การเริ่มเดินเครื่องสูบครั้งแรก (Pump Start - up)
ข.1 การตรวจสอบก่อนการเดินเครื่องสูบครั้งแรก
เมื่อได้ติดตั้งเครื่องสูบเข้ากับระบบท่อเรียบร้อยแล้ว การเริ่มต้นเดินเครื่องสูบเป็นครั้ง
แรกจะต้องทําให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องสูบได้ รายการต่างๆ ต่อไปนี้ต้องได้รับ
การตรวจสอบและแก้ไข ก่อนการเดินเครื่องสูบเป็นครั้งแรก
- ได้ทําการล้างเส้นท่อ ( Flushing) เพื่อกําจัดเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เข้ามาในเส้นท่อ
ระหว่างการติดตั้ง รวมถึงคราบน้ํามัน สนิมเหล็ก
- เติมน้ําให้เต็มระบบ และไล่อากาศออกจากระบบ และตัวเครื่องสูบทั้งหมดแล้ว
- ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีภาระน้ําหนักจากเส้นท่อกระทําลงบนเครื่องสูบ
- ตรวจสอบศูนย์เพลาระหว่างเครื่องสูบและมอเตอร์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตามที่
กล่าวแล้วในหัวข้อ 5.2.1.2.ก.5
- ตรวจสอบการเป็นฉนวนของขดลวดในมอเตอร์ และการเข้าสายมอเตอร์ให้ถูกต้อง
- ตรวจสอบ Starter และตั้งอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์ให้ถูกต้อง
- ตรวจสอบสภาพจารบีหรือน้ํามันหล่อลื่นของเครื่องสูบและมอเตอร์ ให้เปลี่ยนถ่าย
ใหม่หรือเติมให้เต็มตามสภาพ
- ให้หมุนเพลาของเครื่องสูบด้วยมือ และให้ตรวจสอบการเสียดสีที่ผดิ ปกติ
- ตรวจสอบทิศทางการหมุนของเครื่องสูบให้ถูกต้อง

ข.2 การเริ่มเดินเครื่องสูบครั้งแรก
ก่ อ นที่ จ ะเริ่ ม เดิ น เครื่อ งสู บ ให้ เปิด วาล์วทางด้ า นดูด 100% และพึ งทราบไว้ ว่าวาล์ ว
ทางด้านดูดต้องเปิด 100% ตลอดเวลาที่ใช้งานเครื่องสูบ เพื่อให้มีความดันลดที่เกิดจากแรงเสียดทานต่อ
การไหลต่ําที่สุด ในขณะที่ให้เปิดวาล์วทางด้านส่ง 10% สําหรับเครื่องสูบที่มีค่าความเร็วจําเพาะต่ําในช่วง
Radial & Francis Vane และให้เปิด 100% สําหรับเครื่องสูบที่มีค่าความเร็วจําเพาะสูงในช่วง Axial Flow
เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์ขับเครื่องสูบต้องรับภาระสูงเกินพิกัด
เมื่อเดินเครื่องสูบแล้วให้ทําการตรวจวัด และตรวจสอบการทํางานของเครื่องสูบ ดังนี้
1) ทั นที ที่ เ ดิ น เครื่ อ งสูบ ให้ต รวจวั ดค่า กระแสไฟฟ้ า ของมอเตอร์ กระไฟฟ้า ที่วั ด ได้
ควรอยู่ในช่วง 50 - 60 % ของกระแสไฟฟ้าเต็มพิกัด ถ้าตรวจวัดกระแสไฟฟ้าได้สูง
หรือสูงเกินพิกัดตามที่ระบุในป้ายเครื่องให้หยุดเครื่องสูบทันที เพื่อตรวจสอบหาเหตุ
ของความผิดปกติและแก้ไข
2) เมื่อการตรวจวัดกระแสไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์แล้ว ให้ตรวจวัดมาตรวัดความดันที่ด้านดูด
และด้ า นส่ ง เครื่ อ งสู บ ต้ อ งสามารถสร้ า งความดั น ให้ สู ง ขึ้ น กว่ า ด้ า นดู ด ได้ และ
ความแตกต่างของความดันระหว่างด้านดูดและด้านส่งจะสูงมาก สําหรับเครื่องสูบที่
มีค่าความเร็วจําเพาะต่ํา ถ้าเครื่องสูบไม่สามารถสร้างความแตกต่างของความดันได้
เลย แสดงว่าเครื่องสูบนั้นได้สูญเสียความสามารถของการดูดแล้ว (Loss Priming)
ให้หยุดเครื่องสูบและทําการตรวจสอบ หาสาเหตุ อาจมีอากาศถูกกักอยู่ในตัวเครื่อง
สูบและท่อด้านดูด

- 425 -
 
3) เมื่อเครื่องสูบสามารถสร้างความแตกต่างของความดันระหว่างด้านดูดและด้านส่งได้
ดี สําหรับเครื่องสูบที่มีค่าความเร็วจําเพาะต่ํา ให้ค่อยๆ เปิดวาล์วด้านส่งเพิ่มขึ้นช้าๆ
ระหว่ า งที่ เ ปิ ด วาล์ ว เพิ่ ม ขึ้ น จะเห็ น ค่ า ความแตกต่ า งของความดั น ค่ อ ยๆ ลดลง
ในขณะที่มอเตอร์จะกินกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ให้เปิดวาล์วด้านส่งไปจนกระทั่งมอเตอร์
กินกระแสไฟฟ้า 85% และให้หยุดตําแหน่งวาล์วไว้ที่ตําแหน่งนี้
4) ระหว่างนี้ให้ตรวจวัดหรือสังเกตความสั่นสะเทือนของเครื่องสูบ และเสียงการทํางาน
ที่ผิดปกติ
5) ให้ตรวจหาการรั่วซึมของของเหลวออกจากชุดกันรั่วและตัวเรือนเครื่องสูบที่ผิดปกติ
6) ให้ทดสอบเดินเครื่องสูบประมาณ 30 นาที และให้ตรวจวัดอุณหภูมิของรองลื่นทั้งที่
เครื่องสูบและมอเตอร์ รวมถึงอุณหภูมิที่ตัวเรือนมอเตอร์ อุณหภูมิต้องไม่สูงกว่าที่
แนะนําโดยผู้ผลิต
เมื่อการตรวจสอบวัดค่าต่างๆ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและถูกต้องแล้ว เครื่องสูบจะผ่าน
การทดสอบและสามารถใช้สูบจ่ายของเหลวในระบบได้ แต่ให้ทราบว่าอัตราการไหลและลําความดันรวมอาจจะ
ยังไม่ตรงตามค่าที่ออกแบบไว้จนกว่าจะได้ทําการปรับแต่งการทํางานของเครื่องสูบ

ข.3 การปรับแต่งเครื่องสูบ (Pump Commissioning)


เมื่อต้องการใช้งานเครื่องสูบและให้เครื่องสูบจ่ายอัตราการไหลตามค่าที่ได้ออกแบบไว้
จําเป็นต้นทําการปรับแต่งเครื่องสูบ โดยปกติการออกแบบและคํานวณค่าลําความดันความต้านทานของท่อ
และอุปกรณ์จะคํานวณไว้ที่ภาระสูงสุดหรืออัตราการไหลสูงสุดที่ต้องการ และยังมีการเผื่อค่า Service Factor
ไว้อีก แต่เมื่อเดินเครื่องสูบในช่วงต้น โดยเฉพาะเมื่อเดินเครื่องสูบที่ภาระที่ต่ํากว่าภาระสูงสุดที่ออกแบบไว้
ลําความดันความต้านทานจะต่ํากว่าค่าที่ได้คํานวณออกแบบไว้ การปรับแต่งเครื่องสูบเพื่อให้เครื่องสูบสูบจ่าย
ให้ได้อัตราการไหลและลําความดันตามค่าที่ออกแบบไว้ สามารถใช้กราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องสูบที่สร้าง
โดยผู้ผลิต เพื่อตรวจวัดและกําหนดจุดทํางานของเครื่องสูบบนเส้นกราฟ H - Q ได้ จากตัวอย่างที่กล่าวไว้
ในหัวข้อที่ 5.2.1.1.ค. ถ้าเดินเครื่องสูบตัวเดียว และต้องการปรับแต่งให้อัตราการไหลได้ 1,500 GPM ตามค่าที่
ออกแบบไว้ สามารถทําได้ 2 วิธี ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ 5.2.1.1.ค.
1) ให้เพิ่มลําความดันลดของระบบ (ดูรูปที่ 5.2.1.76) โดยการหรี่วาล์ว และตรวจวัด
ความแตกต่างของความดันระหว่างด้านดูดและด้านส่ง (  P) ให้ได้ 34.63 PSI

PPSI x 2.31
HEAD (FT) = SP.GR
34.63x 2.31
= 1
= 80 FT

- 426 -
 
รูปที่ 5.2.1.76 การปรับแต่งเครื่องสูบโดยการหรี่วาล์ว

2) เมื่ อ ใช้ VSD เพื่ อ ปรั บ แต่ ง การทํ า งานของเครื่ อ งสู บ จนได้ อั ต ราการไหลตามที่
ออกแบบไว้ จากรูปที่ 5.2.1.77 จะสามารถอ่านค่าเครื่องสูบลําความดันได้ 38 FT
เมื่ออัตราการไหล 1,500 GPM บนเส้นกราฟของระบบ จึงสามารถคํานวณค่า
(  P) ได้
HEADFT xSP.GR
P = 2.31
38x1
= 2.31
= 16.45 PSI
ให้ปรับ VSD ลดความเร็วรอบลงจนได้ค่า  P = 16.45 PSI เพื่อให้ได้อัตราการไหล 1,500 GPM
ตามต้องการ

- 427 -
 
รูปที่ 5.2.1.77 การแปรับแต่งเครื่องสูบโดยการใช้ VSD

5.2.1.4 การอํานวยการใช้เครื่องสูบ
ก. การบํารุงรักษาเครื่องสูบ
กระบวนการและแผนงานบํ า รุ ง รั ก ษาเครื่ อ งสู บ จะขึ้ น กั บ ระดั บ ความจํ า เป็ น ของงานที่
แตกต่างกัน การจัดการบํารุงรักษาที่เหมาะสม คือ การเลือกวิธีการบํารุงรักษาที่ทําให้สมรรถนะตามต้องการ
ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ําที่สุด ในอุตสาหกรรมบางประเภท ถ้าเครื่องสูบหยุดทํางานจากเหตุความชํารุดโดยที่ไม่ได้
คาดหมาย อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายสูงมาก จากขบวนการผลิตที่ต้องการผลิตต่อเนื่อง หรือเป็นอันตราย
จึงอาจต้องเลือกใช้การบํารุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือการบํารุงรักษาตามสภาพ
(Condition Based Maintenance) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความชํารุดของเครื่องสูบโดยที่ไม่ได้คาดหมาย แต่ใน
งานบางประเภทที่มีการเตรียมเครื่องสูบสํารองไว้ หรือการหยุดทํางานของเครื่องสูบจากความชํารุดโดยที่ไม่ได้
คาดหมาย จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบใดๆ ก็อาจพิจารณาเลือกใช้การบํารุงรักษาหลังเกิด
เหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาต่ํากว่าการบํารุงรักษาเชิงป้องกัน
และการบํารุงรักษาตามสภาพ
โดยทั่วไป เพื่อให้เครื่องสูบมีอายุการใช้งานยาวนานและไม่ต้องหยุดเพื่อทําการซ่อมแซม
บ่อยครั้ง ในขณะที่ใช้งานเครื่องสูบควรมีขบวนการตรวจสอบด้วยว่า เครื่องสูบแสดงอาการผิดปกติใดๆ หรือไม่
ตามปกติระดับลําความดันการสูบจ่ายและกระแสไฟฟ้าที่ใช้ควรจะมีค่าคงที่สม่ําเสมอ ดังนั้นถ้าเครื่องสูบแสดง
ความผิดปกติ มีลําความดันที่ไม่สม่ําเสมอ ลดต่ําลงหรือสูงกว่าปกติมาก หรือมีกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ําเสมอ หรือ
ตรวจพบเสียงหรือแรงสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ ก็ควรหยุดเดินเครื่องสูบและตรวจหาสาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
ความเสียหายที่ร้ายแรงได้
การบั นทึ ก ผลการตรวจสอบรายชั่ วโมง (Check Sheet) จะทํา ให้ท ราบความผิ ด ปกติ ที่
อาจจะเกิดขึ้นได้ทันการณ์ รวมทั้งการบันทึกประวัติการใช้งานและการบํารุงรักษาตลอดจนมีตารางเวลา

- 428 -
 
สําหรับตรวจสอบและการบํารุงรักษาที่แน่นอน จะทําให้แผนงานการบํารุงรักษามีประสิทธิภาพสูง ลดโอกาส
การเกิดเหตุขัดข้องโดยไม่ได้คาดหมายและลดค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาและซ่อมแซมลงได้
ก.1 รายการตรวจสอบประจําวัน
- บันทึกความดันด้านดูดและด้านจ่าย
- บันทึกกระแสไฟฟ้า (Volt & Amp)
- บันทึกอุณหภูมิที่ผิวของห้องรองลื่นทั้งที่เครื่องสูบและมอเตอร์
- ตรวจหาการรั่วซึมของของเหลว จากกันรัว่ กันรั่วและตัวเรือนที่ผิดปกติ
- ตรวจสอบการสั่นสะเทือน และเสียงที่ผิดปกติ
ก.2 รายการตรวจสอบทุก 3 เดือน
- เติมน้ํามันหรือจารบีที่ห้องรองลื่นของเครื่องสูบและมอเตอร์
- ตรวจสอบสภาพของคับปลิ้งด้วยสายตาที่อาจเกิดความชํารุดการจากเสียศูนย์
ของเพลา (Shaft Mis - Alignment)
ก.3 รายการตรวจสอบทุก 6 เดือน
- ตรวจสภาพของน้ํามันหรือจารบี ว่าเกิดการเสื่อมสภาพจากความชื้นหรือมี
การปนเปื้อนเศษวัสดุจากการสึกหรอของตลับลูกปืนหรือไม่
- ตรวจสอบและปรับตั้งศูนย์เพลาระหว่างเครื่องสูบและมอเตอร์
ก.4 รายการตรวจสอบประจําปี
- เปลี่ยนน้ํามันหล่อลื่นหรือจารบีทั้งที่ห้องรองลื่นของเครื่องสูบและมอเตอร์
- ตรวจสอบความแน่นหนาของจุดยึดแท่นเครื่องสูบและท่อน้ํา
- ตรวจสอบขั้วยึดสายไฟฟ้าที่หัวหลักของมอเตอร์และกวดให้แน่น
- ตรวจสอบและทําความสะอาดหน้าสัมผัสของชุดจ่ายไฟฟ้าและกวดขั้วสายให้แน่น
- ทดสอบและปรับแก้ความแม่นยําของมาตรวัดความดัน และมาตรวัดกระแสไฟฟ้า

5.2.2 พัดลมระบายอากาศ
5.2.2.1 การวางโครงการพัดลมระบายอากาศ
การวางโครงการ วิศวกรระดับภาคีทํางานได้โดยมีข้อจํากัดอยู่ที่ขนาดของงาน และสามัญวิศวกร
ทํางานได้โดยไม่มีข้อจํากัดในเรื่องของขนาดโครงการ
ก. การศึกษาข้อมูล
ข้อมูลต่างๆ ที่มีความสําคัญในการเลือกใช้พัดลมระบายอากาศ มีดังต่อไปนี้
- เข้าใจการใช้งาน พัดลมระบายอากาศจะต้องทํางานอย่างไร ทํางานที่สภาพต่างๆ กัน
อย่างไร มีชั่วโมงการทํางานเท่าไหร่และคุณภาพอากาศที่ต้องการเป็นอย่างไร
- พัดลมระบายอากาศจะใช้กับอากาศที่สภาวะไหน อุณหภูมิของอากาศ Altitude ความ
ดันของระบบ ความชื้นความหนาแน่นของอากาศและสภาพแวดล้อมของสถานที่ติดตั้ง
- ปริมาณการส่งลมของสภาพอากาศปกติและในสภาวะอื่นๆ
- ต้นกําลังที่ใช้ขับเคลื่อนเป็นแบบขับตรงหรือขับด้วยสายพานระบบไฟฟ้าเป็นแบบ single
phase หรือ three phase
- ประสิทธิภาพของพัดลมระบายอากาศ
- ความชํานาญของช่างที่จะดูแลรักษา และราคาที่เหมาะสม
- 429 -
 
อัตราการส่งลมและแรงดันสถิตย์ที่เหมาะสมต้องให้แน่ใจว่ามีความต้องการอย่างไร โดยอาจ
กําหนดได้หลายแบบได้แก่
DESCRIPTION S.I. UNIT IMPERIAL CONVERSION
UNIT
AIR CAPACITY CMH,CMS,LPS CFM CMH = CFM×1.7
CMS = (CFM×1.7)/3600
LPS = (CFM×1.7)/3.6
PRESSURE MM.WG,Pa INCH.WG MM-WG = INCH-WG×25.4
Pa = INCH-WG×254
CFM (Cubic Ft/Min) คือ ลบ.ฟุต/นาที
CMH (Cubic M/Hr) คือ ลบ.เมตร/ชั่วโมง
CMS (Cubic M/Sec) คือ ลบ.เมตร/วินาที
LPS (Litre /Sec) คือ ลิตร/วินาที
MM.WG คือ มิลลิเมตรน้ํา
Pa คือ ปาสคาล
INCH.WG คือ นิ้วน้ํา

ก.1 พื้นฐานพัดลมระบายอากาศ
การระบายอากาศคือการจัดการเคลื่อนย้ายปริมาณลมที่กําหนด ให้ไหลไปในทิศทาง
และความเร็วที่ต้องการ สามารถกําจัดอากาศเสีย หรือเติมอากาศบริสุทธิ์เข้ามาแทนที่ โดยปกติแล้ว อากาศ
สามารถเคลื่อนที่ได้โดยตามธรรมชาติโดยอาศัย ความแตกต่างของอุณหภูมิและความแตกต่างของแรงดัน แต่
ถ้าหากต้องการให้อากาศเคลื่อนตัวด้วยอัตราความเร็วและทิศทางที่ต้องการจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าพัดลมและ
โบลว์เวอร์
ก่อนเลือกพัดลมเราจําเป็นต้องทราบตัวแปรที่เกี่ยวข้องและนิยามของตัวแปรที่สําคัญ
ได้แก่
- อัตราการระบายอากาศ (Air Flow) หรืออัตราการไหลของอากาศซึ่งมีหน่วยเป็น
ปริมาตรต่อเวลา
- ค่าแรงดัน (Fan Pressure) ซึ่งประกอบด้วยแรงดันสถิตย์ (Static Pressure) คือ
แรงดันที่กระทําในทุกทิศทางและตั้งฉากกับวัตถุ , แรงดันจลน์ (Velocity Pressure)
คือแรงดันที่เร่งให้อากาศ เคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่งไปสู่ ความเร็วค่าหนึ่งซึ่งผลรวมของ
ค่าแรงดันทั้งสองเรียกว่าแรงดันรวม (Total Pressure) เป็นไปตามสมการดังนี้
ซึ่งค่าแรงดันสถิต (Static Pressure) ดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นกับตัวแปรต่างๆ เช่น
วัสดุที่ใช้ทําท่อลม ความยาวท่อลมและขนาดพื้นที่หน้าตัดของท่อลม โดยมีความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ
ตามสมการดังนี้
1000
                          
2

- 430 -
 
12
2
                     
109
97

โ ่ SP
โดยที = friction losss in terms of
o total presssure, Pa, IN.WG
= friction facttor
l = duct lengthh, m, ft.
Dh = 4A/P, hydraaulic diametter, mm, in
A = duct area, mmm 2, in2
P = perimeter ofo cross secction, mm, inn
V = velocity, m/s, fpm
p = density, Kg//m3, lbm/ft3

สําหรับค่าแรงดันจลน์ (Velocity
( Pressure) นัน้นขึ้นกับควาามเร็วลมเป็นหลั
น กและ
เป็นไปตาามสมการดังนี้
1.3

4
4005

โ ่ v
โดยที = velocity m//s, fpm
VP = velocity preessure Pa, inn.wg

รูปที่ 5.2.2.1 แสดงค่าแรงดันทางด้านดูด (Inlet) และด้านเป่า (Outlet) ของพััดลม

ก.2 ประเภททของพัดลมรระบายอากาศศ
การศึกษาถึงพั
ง ดลมประเภภทต่างๆรวมทัทั้งทฤษฏีเกี่ยวข้
ว องจะทําให้ห้การเลือกใช้งานพั
ง ดลม
เหมาะสมและประหยยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น ในยยุคแรกๆจะแแบ่งพัดลมโดยพิจารณาจาากการไหลขอองอากาศ
ออกมาเป็ป็น 2 ประเภทท คือ
- พัดลมแบบบแรงเหวี่ยงหหนีศูนย์กลาง (Centrifugall fan)
- พัดลมแบบบลมไหลตามมแนวแกน (Axxial fan)

- 431 -
 
ต่ อ มาในระะยะหลั ง ได้ มีมี ก ารพั ฒ นา พั ด ลมที่ นํ า ข้ข อ ดี ข องพั ดดลมของทั้ ง สองแบบ

Centrifuugal และ Axxial มาไว้ด้วยกัย นเรียกว่า Mixed
M Floww Fan คือ มีแรงดันสูงคล้ล้าย Centrifuugal และ
ขนาดกะทัดรัดใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยแบบบ Axial
ปัจจุบันในธุรกิ
ร จอุตสาหกรรรมพัดลมพอทที่จะ จําแนกปประเภทพัดลมมออกมาได้ดงต่ งั อไปนี้
1. Axial Fan
2. Centrifuugal Fan
3. Mixed Flow
F Fan
4. Special Fan หรือการรที่นําพัดลมในนข้อ 1,2 และะ 3 มาพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาพการใช้งานและกการติดตั้ง
ก.2.1 พัพดลมแบบหมมุนตามแนวแกกน (Axial Faan)
พัดลมแแบบหมุนตามมแนวแกนจะดึงให้อากาศเเคลื่อนที่ไปตาามแนวแกนขของพัดลม
การทํางาานของพัดลมเหล่านี้เปรียบเทีบ ยบได้กับใบพั ใ ดของเครืรื่องบินซึ่งใบพัพัดของเครื่องบบินจะสร้างแรรงยกตาม
หลักกลศศาสตร์ของไหลลโดยสร้างแรงงกดอากาศพัดลมแบบนี ด ้เป็นที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพราะว่ามีราคาไม่
แพงมีขนาดกะทั
น ดรัดและมี
แ น้ําหนักเบา เ

ก.2.1.1 พัดลมมแบบหมุนตาามแนวแกนแบบบใบพัดธรรมมดา (Propelller Fan)
ใช้กับงานที่มีค่าแรงดันสถิตย์ต่ํา (Low static presssure) ส่วนมาากมักเป็น
แบบชนิดติดผนัง มักไม่มีมีงานท่อลมหรือมีก็เป็นท่อลมสั้นๆ เช่น Rain hood

รูปที่ 5.2.2.2 พัดลมแบบหมุ


ล นตามมแนวแกนแบบใใบพัดธรรมดา

กก.2.1.2 พัดลมมแบบหมุนตาามแนวแกนแบบบท่อ (Tubee axial Fan)


มีลักษณะเป็นใบเรี
น ยวยาวปประกอบอยู่บนดุ น มและมีลักกษณะของเสือเป็ ้อ นแบบ
กลม โด ยไม่ มี ค รี บ นํ าลม
า (Straighhtening vanne) ส่ ว นมากใใช้ ต่ อ กั บ ท่ อ ลม มี ค่ า แรง ดั น สถิ ต ย์ สู ง กว่ า แบบ
Propelleer fan

รูปที่ 5.2.2.33 พัดลมแบบหมมุนตามแนวแกนนแบบท่อ (Tube Axial Fan)

- 432 -
 
กก.2.1.3 พัดลมแบบหมุนตามแนวแกนแ
ต แบบครีบ (Vaane Axiall Fan)
ใบพัดเป็น Aiirfoil ประกออบอยู่บนดุมที่ใหญ่และแข็งแรง อยู่ภายยในตัวเสื้อ
แบบกลมมพร้อมทั้งมีครีบนํา (Straigghtening vanne) ติดตั้งอยูภายในตั
่ภ วถัง ณ ตําแหน่งด้าานจ่ายลมและสามารถ
ทําแรงดันสถิ
น ตสูงกว่า Axial fan แบบอืแ ่นๆทําให้ ใ มีประสิทธิภาพสู
ภ งที่สุด แต่แ สามารถใช้ไได้กับอากาศทีที่ค่อนข้าง
สะอาดเทท่านั้น

รูปทีท่ 5.2.2.4 พัดลมแบบหมุ


ล นตามมแนวแกนแบบคครีบ

ก.2.2 พัพดลมแบบแรงเหวี่ยงหนีศนย์ นู กลาง (Cenntrifugal Fann)


พัดลมแแบบแรงเหวี่ยงหนี
ย ศูนย์กลาางจะเพิ่มควาามเร็วของกระะแสลมโดยใช้ช้การหมุน
ของวงล้อใบพัดความมเร็วจะเพิ่มมากขึ้นที่จุดปลายของใบพัพัดและจะถูกเปลี เ ่ยนให้เป็นนแรงดันพัดลมเหล่
ล านี้
สามารถททําให้เกิดแรงงดันสูงๆ ได้ซึ่งก็
ง ทําให้มีควาามเหมาะสมสํสําหรับสภาพกการทํางานที่ลลําบากได้เช่นระบบที
น ่ มี
อุณหภูมิสูสงมีความชื้นสูสงกระแสลมสสกปรกหรือกาารส่งวัสดุไปตตามท่อลมพัดลมแบบแรงเห
ล หวี่ยงจะถูกจําแนกออก

ตามรูปร่างของใบพั
า ดคือ

ก.2.2.1 พัดลมแบบแรงเหวีวี่ยงชนิดใบพัดตรงตามแนว
ด วรัศมี (Radial Blade)
มีประสิทธิ
ท ภาพต่ําแต่ออกแบบมา
อ เพพื่อใช้กับงานลลําเลียงวัสดุไปตามท่
ป อลม
- ใบมีคุณสมมบัติ ต้านการรกระแทกได้ดและเศษวั
ี สดุไไม่ติดใบพัด

รูปที่ 5.22.2.5 พัดลมแบบแรงเหวี่ยงชนิดใบพัดตรงตามมแนวรัศมี

กก.2.2.2 พัดลมแบบแรงเห
ล หวี่ยงชนิดใบพััดโค้งหน้า (Foorward Curvve)
- ใบพั ด แบ บกรงกระรออก ลั ก ษณะ ซี่ ใ บพั ด ชี้ ไ ป ข้ า งหน้ า ตามมทิ ศ ทาง
การหมุน
- เป็นพัดลมมที่มีรอบการใช้งานต่ํา
- เสียงเงียบเหมาะกับงานนระบายอากาศและงานปรับั อากาศ
- 433 -
 
- ข้อจํากัดสามารถใช้
ส กับอากาศที
อ ่ค่อนขข้างสะอาด
- จํานวนใบที่มาก ทําให้ฝุฝ่นหรือสิ่งสกปปรกติดค้างตาามใบได้ง่ายเป็ป็นสาเหตุ
ของการเสีสียสมดุลย์ของงพัดลม
- อาจเกิดการเกินกําลังของมอเตอร์
ข (Overload) ถ้าคํานวณ ค่คาแรงดัน
ของระบบบไม่ถูกต้องหรืรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าแแรงดันของระะบบขณะ
ใช้งาน

รูปที่ 5.2.2.6 พัดลมมแบบแรงเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งหน้


ง า

กก.2.2.3 พัดลมมแบบแรงเหวีวี่ยงชนิดใบพัดโค้ด งหลัง (Backward Curvve)


- ลักษณะซีใบพั
ใ่ ดเอียงไปทางด้านหลังตรงกั ต นข้ามกับบทิศการหมุนของ
พัดลม
- มีรอบการใใช้งานค่อนข้างสู
า ง
- มีประสิทธิภาพสูงที่ค่าแรงดั
แ นของระบบบสูง
- เป็นพัดลมมที่มภี าระจํากัด (Non-Oveerload) เหมืออน Axial Fann
- เหมาะสําหรั
ห บอากาศทีมี่มฝี ุ่นหรือสิ่งสกกปรก เช่น งงาน Kitchenn Hood,
งานดูดอากกาศห้องพ่นสี
แแบ่งตามลักษณะใบพัดได้เป็น 3 ชนิด
- Backwardd Curved Inclined : มีลักษณะใบพัพัดเอียงไปทางงด้านหลัง
เป็นเส้นตรรง
- Backwardd Curved Shape : มีลักษณะใบพัดเอีอียงไปทางด้านหลั น งเป็น
เส้นโค้ง แบบบนี้เป็นแบบบที่ใช้กันมาก เนื่องจากราคาถูก
- Backwardd Curved Aiirfoil : ใบแบบบนี้จะให้ประสิทธิภาพสูงและมี แ เสียง
เงี ย บ ในแแง่ ก ารประหหยั ด พลั ง งาน แล้ ว สมควรนนํ า ไปใช้ ง าน แต่ ร าคา
ค่อนข้างสูง ในปัจจุบันราคามี
ร แนวโน้้มถูกลง

รูปที่ 5.2.2.7 พัดลมแบบแรงเหวี่ยงชนิดใบพัพัดโค้งหลัง

- 434 -
 
พัดลม Centrifugal Fan ที่แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของพัดลมโดยจําแนกตามทางเข้าของลมได้ 2 แบบ
1. Single Inlet : แบบดูดทางเดียว
- มีทางเข้าของลมด้านเดียวใช้กับงานที่จําเป็นต้องต่อท่อลมทางด้านดูด
- ลักษณะตัวถัง (Casing) จะแคบส่วนมากใช้กับงานที่ต้องต่อท่อลมด้านดูด
- งานระบายอากาศทั่วๆ ไปหรือจะใช้เป็นพัดลมเติมอากาศก็ได้
- แบ่งออกตามลักษณะโครงสร้างของพัดลม คือ
Standard Type
ตลับลูกปืนอยู่ด้านลมเข้า 1 ตัว และด้านตรงข้ามคือด้าน Pulley อีก 1 ตัว
ข้อดี คือ ขนาดของพัดลมมีขนาดเล็กใช้พื้นที่การติดตั้งน้อย
ข้อเสีย คือ
- ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงหรือมีฝุ่นจะมีผลทําให้อายุการใช้งานของลูกปืนสั้นลง
- การบํารุงรักษายาก เนื่องจากจะถูกปิดด้วยท่อลม
Overhang Type
ออกแบบให้ตลับลูกปืนทั้งสองตัวอยู่ด้านชุดขับ ด้านนอกกระแสลม
ข้อดีคือ
- เหมาะกับงานที่อากาศมีสิ่งสกปรก หรืออุณหภูมิสูง
- เหมาะกับงานที่ต้องการการซ่อมบํารุงรักษา ลูกปืนง่าย เช่น ห้องครัว
ข้อเสีย คือ ขนาดพัดลมจะใหญ่กว่าแบบมาตรฐาน และราคาสูงกว่า

2. Double Inlet : แบบทางดูดคู่


- มีด้านอากาศเข้าสองด้าน ไม่สามารถต่อท่อลมทางด้านดูดโดยตรง
- จุดประสงค์ในการออกแบบ เพื่อต้องการเติมอากาศหรือ ระบายอากาศให้ได้ปริมาณมากๆ โดย
ลดขนาดความสูงของตัวพัดลมลง

3. พัดลมแบบพิเศษ (Mixed Flow Fan)


พัดลมแบบพิเศษจะเป็นพัดลมที่รวมเอาคุณสมบัติที่ดีของพัดลม หมุนตามแนวแกนและพัดลมแบบ
แรงเหวียงหนีศูนย์กลาง เข้าด้วยกัน
- อากาศไหลเข้าในแนวแกนแต่ปล่อยออก (Discharge) เป็นมุม 30º ถึง 80º จึงเป็นลูกผสม
ระหว่าง Axial กับ Centrifugal Fan
- ติดตั้งกับระบบท่อได้ง่ายกว่า Centrifugal Fan และให้ความดันสูงกว่า Vane Axial Fan ที่
ขนาดใบพัดและความเร็วรอบเท่ากัน
- ประสิทธิภาพสูง
- รวมคุณสมบัตทิ ี่ดีของพัดลม Axial Fan กับ Centrifugal Fan
- ใช้ในงาน HVAC (Heating Ventilation and Air conditioning system) ทั่วไปรวมถึงใช้ใน
งานอุตสาหกรรมด้วย

- 435 -
 
แบ่งอออกเป็น 2 ประะเภท คือ
1. Mixxed Flow Centrifugal Fan
F (Turbulaar Fan)

รูปที่ 5.2.2.8 พัดลมแบบบพิเศษ (Mixed Flow Centriffugal Fan)

2. Mixxed Flow Axial


A Fan

รูปที่ 5.2.2.9
5 พัดลมแแบบพิเศษ (Mixxed Flow Axiaal Fan)

4. พัดลมแบบบอื่นๆ (Special Fan)


Power Roof Ventilattor
- เป็นพัดลมที
ด ่ใช้ติดตังบนหลั
ง้ งคา หรื
ห อ ดาดฟ้า
- ใบพัดเป็
เ นแบบ Cenntrifugal หรือ แบบ Axiaal
- มีหมวกป้องกันฝนปิปิดคลุมอยู่มีลกษณะเป็
กั นรูปโดม
-

รูปที่ 5.2.2.110 Power Rooof Ventilator

- 436 -
 
Tunnnel Fan
- ใช้กักบงานระบายยอากาศในอุโมงค์
ม หรือ ถนนทางลอดต่างๆ

รูปที่ 5.2.2.11
5 Tunnel Fan

Jet Faan
- ใช้สํสาหรับการระะบายอากาศในนลานจอดรถ (Car Park)

รูปที่ 5.2.2.12 Jet Fan

Domeestic Fan
- Ceeiling Type
- Mini sirocco Fan
F
- ใช้ภายในที
ภ ่พักอาศัยห้องน้ําห้้องประชุม

รูปที่ 5.2..2.13 Ceiling Type


T และ Minni sirocco Fann

- 437 -
 
ลักษณะการขับเคลื่อนของพัดลม
ขับตรง (Direct Drive)
ข้อดี ข้อเสีย
ราคาถูก ไม่สามารถเพิ่มหรือลดรอบได้
ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่า ปรับมุมใบกรณีใบพัดเป็นแบบ Adjustable pitch
การบํารุงรักษาน้อย(Free Maintenance) อาจเพิ่มหรือลดรอบได้โดยใช้ Invertor
ขับสายพาน (Belt Drive)
ข้อดี ข้อเสีย
สามารถเพิ่มหรือลดรอบได้โดยเปลี่ยนอัตราทดของ ต้องมีการ Maintenance เช่น ตั้ง Alignment
Pulley และ ความตึงสายพาน, เปลี่ยน Bearing
อาจเพิ่มหรือลดรอบได้โดยปรับอัตราทด Pulley
ราคาแพง

Non-overload Fan หมายถึง


- ค่ า แรงม้ า สู ง สุ ด ที่ ใ ช้ ใ นการขั บ พั ด ลมจะถู ก จํ า กั ด อยู่ ที่ จุ ด สู ง สุ ด ของเส้ น คุ ณ ลั ก ษณะ (Fan
Performance Curve)
- การเปลี่ยนค่าแรงดันของระบบ ไม่มีผลต่อกําลังมอเตอร์ที่ใช้ หากเลือกค่ากําลังมอเตอร์มากกว่า
ค่าแรงม้าสูงสุดที่ใช้ในการขับพัดลม
- ใช้กับงานที่มีการปรับเปลี่ยนค่าแรงดันของระบบขณะใช้งานเช่นระบบอัดอากาศบันไดหนีไฟ
- พัดลมที่มีลักษณะเป็นแบบ Non overload ได้แก่ Centrifugal backward curved และ Axial
fan

ก.3 เส้นโค้งของระบบ (System Curve)


เส้นโค้งของระบบ (System Curve) หมายถึง ความสัมพันธ์หรืออัตราการเปลี่ยนแปลง
ระหว่าง ปริมาณลมกับแรงดันของ “ระบบ”
System Curve จะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลง แรงดันสถิตย์ แรงต้านทานระบบที่มา
จากผลรวมของแรงดันสถิตย์ที่สูญเสียไปในระบบ ตัวอย่างเช่น ท่อลม คอยล์ แผ่นกรองอากาศหรือลิ้นปรับลม
ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณการไหลของอากาศซึ่งจะเปลี่ยนเป็นอัตราส่วนกับค่ายกกําลังสองของปริมาตร
อากาศที่ไหลผ่าน เส้นโค้งของระบบ (System Curve) โดยทั่วๆ ไป (ดูรูปที่ 5.2.2.14) จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ค่า
อัตราการไหลต่างๆ บนแกน X และค่าแรงต้านทานระบบบนแกน Y ซึ่งได้มีสมการแสดงความสัมพันธ์
ดังต่อไปนี้

,

- 438 -
 
รูปที่ 5.2.2.14 เส้นโค้งของระบบ

ก.4 เส้นโค้งของพัดลม (Fan Curve)


เส้นโค้งของพัดลม (Fan Curve) หมายถึง ความสัมพันธ์หรืออัตราการเปลี่ยนแปลง
ระหว่าง ปริมาณลมกับแรงดันของ “พัดลม”
Fan Curve จะอธิ บ ายถึ ง สมรรถนะของพั ด ลม ที่ ม าจากการทดสอบพั ด ลมใน
ห้องปฏิบัติการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณลมและแรงดันที่สามารถทําได้ ที่ความเร็วรอบหรือองศา
ของมุมใบพัด (Axial) ณ จุดที่ทําการทดสอบว่าให้อัตราการไหลของอากาศที่แรงดันแตกต่างกันอย่างไร รวมไป
ถึ ง แสดงค่ า ของแรงม้ า ที่ ใ ช้ ใ นการขั บ เคลื่ อ นและประสิ ท ธิ ภ าพของพั ด ลมอี ก ด้ ว ยโดยมากผู้ ผ ลิ ต จะแสดง
Fan curve ใน 2 ระบบ คือ แบบ Linear และ Logarithm

- 439 -
 
รูปที่ 5.2.2.15 เส้นโค้งของพัดลมแบบ Logarithm และ Linear

จุดทํางาน (Operating point) (รูปที่ 2.2.2.16) คือ จุดที่เส้น System curve และ Fan
curve มาตัดกันซึ่งก็คือจุดที่ผู้เลือกใช้งานคาดหวัง แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้เลือกใช้งานอาจจะไม่ได้จุดทํางาน
ตามที่คาดหวังไว้ก็ได้ขึ้นกับตัวแปรหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของ System curve อันเนื่องมาจาก
การติดตั้งหรือการคํานวณที่ไม่ถูกต้อง

- 440 -
 
รูปที่ 5.2.2.16 จุดทํางาน (Operating point)

ก.5 กฎของพัดลม (Fan Laws)


กฎของพั ดลม (Fan Laws) หมายถึง ความสั ม พั นธ์ ห รือ การเปลี่ ย นแปลงของอั ต รา
การไหลของอากาศ แรงดันและแรงม้าที่ใช้ในการขับพัดลมว่าสัมพันธ์กับรอบของพัดลมอย่างไร ซึ่งกฎดังกล่าว
ถูกนํามาใช้ประโยชน์ในการสร้าง Fan curve รวมไปถึงการใช้ในการแก้ปัญหาจากการใช้งานพัดลม ในสภาพ
การติดตั้งจริง เช่น การเพิ่มหรือลดอัตราการไหลของอากาศอีกด้วย
สมการกฎของพัดลม (Fan Laws)

โดยที่ Q = Air Capacity


P = Pressure
W = Power
N = Fan speed
d = Density
D = Wheel Diameter

- 441 -
 
ก.6 การควบคุมพัดลม
โดยปกติพัดลมที่ถูกติดตั้งแล้วจะทํางานด้วยความเร็วคงที่ แต่ในบางสถานการณ์อาจ
ต้องมีการปรับเปลี่ยนอัตราการไหลของอากาศ ตัวอย่าง เช่น ต้องการให้มีอัตราการไหลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก
มีความต้องการใช้งานเพิ่ม หรืออาจต้องการให้มีอัตราการไหลของอากาศน้อยลงถ้าพัดลมมีขนาดใหญ่เกินไป
มีหลายวิธีที่จะลดหรือควบคุมการไหลของอากาศจากพัดลมดังนี้
ก.6.1 การจํ า กั ด การไหลบางส่ ว นโดยปิ ด แผ่ น กั้ น ลม (Damper) ในระบบ
การทําเช่นนั้นจะทําให้เกิดเส้นโค้งของระบบ (System Curve) ขึ้น (SC2) จากเดิม คือ เส้น (SC1) ที่ก่อนมีการ
ปรับแผ่นกั้นลมโดยจะต้องการใช้แรงดันมากกว่าสําหรับปริมาณการไหลค่าหนึ่งๆ พัดลมจะทํางานที่จุด “B”
เพื่อให้ปริมาณการไหลของอากาศที่ลดลง (Q2)

รูปที่ 5.2.2.17 การควบคุมพัดลม

ก.6.2 การลดการไหลของอากาศโดยลดความเร็วจาก (N1) ไปเป็น (N2) พัดลมจะ


ทํางานที่จุด “C” เพื่อให้ได้ปริมาณการไหล (Q2) ที่เท่ากันแต่ว่ามีแรงดันต่ํากว่าคือ (P3) ดังนั้นการลดความเร็ว
พัดลมจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการลดการไหลของอากาศเนื่องจากต้องการใช้กําลังและพลังงาน
น้อยกว่าจะสังเกตได้ว่าเส้นโค้งของระบบจะยังคงเป็นเส้นเดิม คือ (SC1) เนื่องจากเราปรับที่ตัวพัดลมแทนที่จะ
ไปเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
ก.6.2.1 การเปลี่ ย นแปลงอั ต ราทดของ Pulley (กรณี ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ย
สายพาน)
ก.6.2.2 ใช้อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ที่ปรับเปลี่ยนความเร็วได้ (VSD) เป็น
การปรับความถี่ของระบบไฟฟ้าเพื่อลดความเร็วของมอเตอร์

ก.6.3 การปรับมุมใบพัด ใช้ได้กับเฉพาะ Axial Fan เท่านั้น เป็นการเปลี่ยนมุมของ


ใบพัดเพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณการไหลของอากาศ

- 442 -
 
รูปที่ 5.22.2.18 เส้นโค้งทีท่เปลี่ยนไปของงพัดลมเมื่อปรับมุมใบพัด

ก.6.4 การเพิ
ก ่ม Inlett Guide Vanne ให้กับพัดลมเพื
ล ่อให้อากาศที่ไหลเข้าพัดลมไหล
ผ่านน้อยลงหรื
ย อมากขึ้นตามองศาขออง Inlet Guide Vane

รูปที่ 5.2.2.199 เส้นโค้งที่เปลี่ยนไปของพัดลมมเมื่อเพิ่ม Inlett Guide Vane

ก.7 ข้อกําหนนด มาตรฐานนและกฎหมาายทีเ่ กี่ยวข้อง


ในแต่ ล ะประเทศจะมีห น่นว ยงานรัฐ บาลที่ มีห น้ าที่ จั ดทํา ข้อกํ าหหนดและมาตตรฐานใน
่ ไปจนถึงมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมที
การทํางาานในแต่ละเรืรอง ต ่เกี่ยวข้องก็จะมีบทบาท
ช่วยในกาารร่างข้อกําหนดและมาตร
ห รฐานเหล่านั้นให้
น แก่หน่วยงงานมาตรฐานของรัฐบาลเนืนื่องจากมีควาามชํานาญ
ในงานที่เกี
เ ่ยวข้องในอุตสาหกรรมพั
ต ัดลม ก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างมาตรฐานอุ
า ตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ แ
ม.อ.ก. : สํานักงานมมาตรฐานผลิตภั
ต ณฑ์อุตสาหหกรรม
วสท. : วิศวกรรมสสถานแห่งประะเทศไทย
AMCA : AIR MOVEMENT ANDD CONTROL ASSOCIATIOON
ANSI : AMERICAAN NATIONAAL STANDARD INSTITUTE
ARI : AIR CONDDITIONING ANDA REFRIGEERATION INSSTITUTE
ASHRAE :AMERICANN SOCIETY OF O HEATINGG, REFRIGERAATING AND AIR- A
CONDITIONNING ENGINEERS
ASME : AMERICAAN SOCIETY OF MECHANNICAL ENGINNEERS
BS : BRITISH STANDARD
S
- 443 -
 
IEC : INTERNATIONAL ELECTRO-TECHNICAL COMMISSION
SMACNA : SHEET METAL AND AIR-CONDITIONING CONTRACTORS
NATIONAL ASSOCIATION INC.
UL : UNDERWRITERS LABORATORIES, INC.
EN : EUROPEAN STANDARDS
ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรมีมาตรฐานรองรับเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

ข. การวิเคราะห์ข้อมูลและทางเลือกที่เหมาะสม
ข.1 การประเมินประสิทธิภาพของพัดลม
ประสิทธิภาพของพัดลม คือ อัตราส่วนระหว่างอัตราการไหลและแรงดันที่ได้จากพัดลม
ที่ต่อกําลังขับหรือแรงม้าที่ใช้ในการขับพัดลมนั้น
ประสิทธิภาพของพัดลมจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับประเภทของพัดลม จุดใช้งานที่เลือกและ
เทคโนโลยีของผู้ผลิต
ช่วงของค่าประสิทธิภาพสูงสุดที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ (Peak Efficiency)
การที่พัดลมระบายอากาศจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วน
ระหว่างปริมาณลมและแรงดัน หากตัวแปรทั้งสองตัวนั้นมีความสัมพันธ์กันเหมาะสมก็จะส่งผลให้การเลือกจุด
ทํางานของพัดลมระบายอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปด้วย เราสามารถพิจารณาจุดที่มีประสิทธิภาพ
สูงสุดของของพัดลมได้จาก Catalog ผู้ผลิต
- พัดลมแรงเหวี่ยงหนีศูนย์แบบโค้งหน้า (Forward Curve) 30-65%
- พัดลมแรงเหวี่ยงหนีศูนย์แบบโค้งหลัง (Backward Curve)50-85%
- พัดลมหมุนตามแนวแกนแบบท่อ (Tube Axial Fan)30-70%
- พัดลมหมุนตามแนวแกนแบบครีบ (Vane Axial Fan)40-80%
- พัดลมระบายอากาศแบบ Mixed Flow 50-85%

การคํานวณประสิทธิภาพของพัดลมสามารถคํานวณได้โดยใช้สมการต่อไปนี้
- Fan Total Efficiency
, ,
% 100

- Fan Static Efficiency


, ,
% 100

- 444 -
 
ข.2 การเลือกใช้พัดลมระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
การเลือกใช้ประเภทของพัดลมระบายอากาศแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
ข.2.1 แบ่งตามความเหมาะสมของงานแต่ละประเภท
พัดลมแบบ Propeller Fan สร้างความดันได้ไม่สูงมาก จึงเหมาะกับงานส่งลมที่ท่อ
ส่งลมสั้นหรือไม่มีท่อส่งลม ราคาจึงถูกจึงนิยมใช้เป็นพัดลมดูดอากาศที่ติดไว้ตามผนังหรือหน้าต่างห้อง
พั ด ลมแบบ Tube axial และ Vane axial สามารถใช้ ไ ด้ กั บ ระบบท่ อ ส่ ง ลมที่
ต้ อ งการอั ต ราการไหลสู ง แต่ มี แ รงดั น ไม่ สู ง มากนั ก จึ ง จะทํ า ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด มี ข นาดเล็ ก กว่ า
Centrifugal และใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่า แต่ Axial Fan จะมีข้อเสียคือมีเสียงดังมาก จึงต้องมีระบบกัก
เก็บเสียงที่ดี อาจจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์กักเก็บเสียง (Silencer)
พั ด ลมแบบ Centrifugal Fan เป็ น แบบที่ ใ ช้ กั น มากในงานระบบปรั บ อากาศ
ใบแบบ Forward curved จะมีราคาเริ่มต้นต่ํากว่าใบแบบ Backward curved ที่ได้สมรรถนะเท่ากัน แต่มี
ค่าใช้จ่ายในการทํางานสูงกว่าเนื่องจากประสิทธิภาพต่ํากว่า การเพิ่มขึ้นของค่า Absorbed power จะมีผลทํา
ให้มอเตอร์กินกําลังมากถ้าทํางานที่ค่า CFM สูงกว่าค่าที่ได้เลือกไว้ ส่วนพัดลมแบบ Backward curved จะมี
ราคาสูงกว่าแบบ Forward curved แต่จะเสียค่าใช้จ่ายในการทํางานน้อยกว่าเพราะว่ามีประสิทธิภาพสูง
การเพิ่มแรงม้าจะมีขีดจํากัด มอเตอร์หรือระบบจ่ายไฟจะไม่ได้รับภาระเกิน ถึงแม้ว่าพัดลมจะส่งลมมากกว่า
ที่ ไ ด้ อ อกแบบไว้ (Non Overload) พั ด ลมใบพั ด แบบ Airfoil จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ที่ สุ ด ในพั ด ลมทุ ก ชนิ ด
ข้อควรคํานึงในการเลือกใช้พัดลม ได้แก่
1. ปริมาณลมและความดัน
2. เสียง
3. ความเร็วรอบของพัดลม (อายุการใช้งานของลูกปืน)
4. คุณลักษณะของกระแสอากาศ เช่น อากาศสะอาด สกปรก หรือมีอุณหภูมิสูง
5. การเปลี่ ย นแปลงของสภาพของการทํ า งาน เช่ น มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอั ต รา
การไหลขณะใช้งานหรือไม่
6. ข้อจํากัดของพื้นที่และการจัดวาง
7. ค่าใช้จ่ายในการซื้อค่าใช้จ่ายในการดําเนินการค่าพลังงาน (คิดจากประสิทธิภาพ
และการบํารุงรักษา) และอายุการใช้งาน

ข.2.2 แบ่งตามการคํานวณ โดยใช้วิธี Fan Specific Speed Method


Fan Specific Speed ของพั ด ลมเป็ น การเลื อ กพั ด ลมโดยการคํ า นวณทาง
คณิตศาสตร์ว่าการเลือกชนิดของพัดลมโดยใช้ปริมาณลม , ความดันรวม (Total Pressure) และความเร็วรอบ
ของพัดลม สมควรจะใช้พัดลมแบบใดจึงจะให้ค่าประสิทธิภาพออกมาดีที่สุด โดยไม่ได้คํานึงถึงประเภทของ
การใช้งานประกอบเลย ซึ่งค่าที่คํานวณได้ให้เปรียบเทียบกับตารางเพื่อพิจารณาตัดสินใจเลือกชนิดพัดลมต่อไป
.
5.54
       

N = Fan Speed (RPM)


Q = Flow rate (CMS)
Pt = Total Pressure (Pa)
- 445 -
 
Specific Speed Fan Type
Ns < 10 Radial Blade
Ns = 15 - 65 Forward Curve
Ns = 20 - 90 Backward Inclined
Ns = 45 - 90 Mixed Flow
Ns = 50 - 150 Vane Axial
Ns = 70 - 250 Tube Axial
Ns = 100 - 400 Propeller

ค. การออกแบบและข้อกําหนด
ค.1 การคํานวณปริมาณลมที่เหมาะสม
- อ้างอิงเอกสารหัวข้อ 4.3 ระบบระบายอากาศ
ค.2 การออกแบบท่อลม
ค.2.1 วัตถุประสงค์ของการออกแบบท่อลม
- เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งาน
- เพื่อการกระจายลมที่เหมาะสม (การส่งลมจากตัวพัดลมไปยังหัวจ่าย
แต่ละหัว)
- กําหนดขนาดของท่อลมได้เหมาะสมในด้านต้นทุนปริมาณการใช้วัสดุ
และถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
- ประหยัดพลังงานจากการเลือกขนาดท่อลมและ pressure drop ที่
เหมาะสมสิ่งทีต่ ้องพิจารณา
- พื้นที่ติดตั้ง
- ระดับเสียง
- ความดันสูญเสียในท่อลม
- ข้อกําหนดเกี่ยวกับการควบคุมเพลิง
- ต้นทุนในการติดตั้ง
- ต้นทุนในการดําเนินงาน

ค.2.2 หลักการพื้นฐานทีค่ วรคํานึงถึงในการออกแบบ


- การกําหนด layout ควรเป็นเส้นทางที่ตรงที่สุดและสั้นทีส่ ุดเท่าที่เป็น
ไปได้
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนทิศทางของท่ออย่างกะทันหัน กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ให้พิจารณาการใช้ turning vanes เพื่อลด pressure loss.
- การเปลี่ยนขนาดท่อลมควรมีมุม slope <=20 องศา
- อัตราส่วนความกว้างต่อความสูงไม่ควรเกิน 4:1
- ความเร็วในท่อลมไม่ควรเกินค่าแนะนํา (อ้างอิงจากมาตรฐานต่างๆ เช่น
ASHRAE, SMACNA) เพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงและการสั่นสะเทือน
- 446 -
 
ค.2.3 วิธีการออกแบบท่อส่งลม แบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
1. velocity constant
2. equal friction
3. static regain

ค.2.3.1 วิธีที่ 1 velocity constant


- ความเร็วทุกตําแหน่งของท่อลมที่อยู่ในระบบเดียวกันจะต้องเท่ากันหมด
(ความเร็วคงที่)
- เหมาะกับระบบลําเลียงวัสดุไปตามท่อ
- ความเร็วที่ใช้พิจารณาจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการขนถ่าย (Transport
Velocity)
- ค่าความเร็วที่ใช้ในการออกแบบที่เหมาะสมมาจากประสบการณ์หรือ
อ้างอิงจากคําแนะนําในมาตรฐานต่างๆ

ข้อแนะนําการใช้วิธี Velocity Constant


- เลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสม
- กรณีเลือกความเร็วไม่เหมาะสม อาจทําให้กําหนดท่อลมใหญ่เกินไปซึ่ง
ทําให้ใช้พื้นที่มากและต้นทุนสูง
- การกําหนดท่อลมที่เล็กเกินไปทําให้ Pressure Drop สูง ส่งผลให้ต้อง
เลือกพัดลมที่มแี รงม้าสูงขึ้น ราคาพัดลมและค่าไฟจากการดําเนินงาน
สูงขึ้นตามไปด้วย
- ทุกท่อแยกจากท่อลมหลัก ควรพิจารณาใส่ Dampers
- การกําหนด Static Pressure ของพัดลมคํานวณจากท่อเส้นที่มี Static
Pressure สูงสุด

ค.2.3.2 วิธีที่ 2 Equal Friction


- การกําหนดท่อลมด้วยวิธีนี้ทั้งระบบจะมีค่า Pressure loss/ ความยาว
ท่อเท่ากันทั้งหมด (Friction Rate)
- Friction Rate ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและค่าแนะนํา เช่น
ในงานปรับอากาศนิยมใช้ 0.1 in.wg/100 ft หรือ1 Pa/m
- ความเร็วลมจะลดลงโดยอัตโนมัติในทุกๆ ท่อแยกที่มีการเปลี่ยนแปลง
ปริมาณลม
- ความเร็วลมที่ลดลงจะอยู่ในเกณฑ์การออกแบบเรื่องเสียงที่เหมาะสม

- 447 -
 
ข้อแนะนําการใช้วิธี Equal Friction
- กําหนดปริมาณลมในทุกๆ พื้นที่ใช้งานและในท่อแยกให้เรียบร้อยก่อน
ออกแบบ
- กําหนดปริมาณลมรวมทั้งระบบ
- กําหนดความเร็วสูงสุดของท่อลมหลักที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากพื้นที่
ใช้งาน
- กําหนด Friction Rate จากท่อลมหลัก
- Friction Rate จากท่อลมหลักนี้จะถูกใช้กับท่อลมที่เหลือทั้งหมด
- คํานวณหาขนาดของท่อลมทั้งระบบ
- คํานวณหา Static Pressure ที่ระบบต้องการ
- เป็นที่นิยมใช้ในการออกแบบอย่างมาก

ค.2.3.3 วิธีที่ 3 Static Regian


- ใช้กับระบบที่มีความเร็วลมสูงและท่อทีม่ ีความยาวมากๆ
- ความเร็วลมจะลดลงทุกๆครั้ง หลังผ่านท่อแยก
- ซับซ้อนและยุ่งยากในการใช้งาน

ข้อแนะนําการใช้วิธี Static Regian


- กําหนดความเร็วลมในท่อลมหลักเป็นอันดับแรก
- Static Regain ที่ ไ ด้ จ ะต้ อ งมากกว่ า หรื อ เท่ า กั บ Static Pressure ที่
เกิดขึ้นของท่อลมในท่อนที่อยู่ถัดไป
- Static Pressure ที่เกิดขึ้นในระบบทั้งหมดจะเท่ากับ Static Pressure
ท่อลมหลักในช่วงแรกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การออกแบบท่อส่งลมทั้ง 3 วิธีที่ก็เพื่อหาค่าผลรวมของแรงดันสถิตย์ที่


เกิดขึ้นในระบบและเป็นตัวกําหนดค่าแรงดันสถิตย์เพื่อใช้ในการเลือกพัดลมซึ่งเป็นไปตามสมการ ดังนี้
Total Static Pressure = Straight duct Loss + Fitting Loss + Equipment
Loss (Damper, Coil, Filter, Silencer etc.)

สํา หรั บ รายละเอี ย ดในการคํ า นวณและตารางสํ าหรับ Fitting Loss ให้ดู จ ากตาราง
เพิ่มเติม คือ Duct Design ของ SMACNA

5.2.2.2 การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
ก. จุดประสงค์ เป้าหมาย
จุดประสงค์และเป้าหมาย เพื่อต้องการให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการติดตั้งพัดลมระบาย
อากาศที่ถูกต้อง และแน่นอนว่า การติดตั้งพัดลมที่ดีนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของ การลดต้นทุนของ
การทํางาน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในเรื่องเวลา การใช้วัสดุและแรงงาน เป็นการลดการใช้พลังงาน ส่งผลในเรื่อง
- 448 -
 
ของการรอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานอี ก ทางหหนึ่ ง ด้ ว ย ถ้ า ติ ด ตั้ ง พั ด ลมไไม่ ดี ก็ จ ะส่ ง ผลให้
ผ ไ ด้ ร ะบ บที่ ไ ม่ มี ป ระสิสิ ท ธิ ภ าพ
ซึ่งในทางงปฏิบัติ การแก้ไขงานการรติดตั้งพัดลมมที่ไม่ถูกต้องนันั้น จะเป็นกาารสูญเสียทั้งเเวลา วัสดุและแรงงาน
ทําให้กระะทบต่อการส่ส่งมอบงานขอองทางผู้รับจ้าง นําไปสู่การเกิดความไม่น่นาเชื่อถือในตััวบริษัทได้ แลละในส่วน
ทางเจ้าของงานก็
ข จะเสีสียโอกาสในกการใช้พัดลมตตามเวลาที่ต้องการอี อ กด้วย จะเห็นว่าจะะกระทบไปทุกส่ ก วนงาน
การติดตัั้งพัดลมระบาายอากาศที่ถูกต้ ก องนั้นจึงที่ความสําคัญมาก ม และถ้าทุกคนมีความรรู้ ความเข้าใจจที่ดี ก็จะ
ส่งผลในภภาพรวม คือการมี ก ส่วนร่วมในการรั
ม บผิดชอบต่อสังคมมอีกรูปแบบหนึ่ง ในเรื่องกาารอนุรักษ์พลัังงานหรือ
ทรัพยากกรของประเทศศ
ข. ข้อกําหนดแลละมาตรฐานกการติดตั้ง
ใน การติ ด ตั้ ง พั ดลมที
ด ่ ดี นั้ น จ ะต้ อ งคํ า นึ งถึ ง เรื่ อ งการซ่ อมบํ า รุ ง ของงตั ว เครื่ อ งแลละต้ อ งให้
ความสําคัคญกับอุปกรณ ณ์ต่างๆ ที่จะมีมีผลต่อการติดตั ด ้งคือ
- ท่อลม จะต้องติ อ ดตั้งอย่างดีดี สามารถถอดได้ในกรณีเพื่อการตรวจซซ่อมตัวเครื่องพพัดลม
- เพลาพั ด ลมม ต้ อ งตรวจสสอบพื้ น ที่ ก ารรถอดประกออบเพลาพั ด ลลมว่ า เพี ย งพ อหรื อ ไม่
เนื่องจากในนกรณีต้องการเปลี่ยนหรือซ่ อ อมแซมตัวใบพั ว ดลมจะตต้องสามารถเอาเพลา
ออกมาได้
- ตัวเสื้อพัดลมม จะต้องมีช่อง อ service สําหรับการตตรวจสอบใบพพัดลมและลูกปื ก น และ
จะต้องมี draain plug สําหรั ห บระบายน้าที ํา ่ขังอยู่ ตอนนทําความสะอาดของเครื่อง
ข.1 การพิจารณาการติ
า ดตั้ง สิ่งที่จําเป็ป็นที่ตอ้ งพิจารณาได้ดังนี้
ข.1.1. พัดลมชนิด Centrifugaal fan จะต้้องพิจารณาทิทิศทางการหมุน (Fan
rotationn)
การระบบุทิศทางการหหมุนที่ถูกต้องของพั ง ดลมชนินิด Centrifuggal fan นั้น จะทําให้
ไม่ส่งผลกกระทบต่อความดันในระบบ (Pressuree loss) เพิ่มขึ้น ถ้าการอออกแบบความดันของระบบบ ไม่ได้มี
การเผื่อเรื
เ ่องความดันสูน ญเสียที่เกิดจากการระบุ
ด บุทิศทางการหหมุนพัดลมที่ผิผิด ก็จะส่งผลลทําให้ ปริมาณ ณลมและ
ความดันน้
น อยกว่าที่ออกแบบไว้
อ า เกิดปัญหาาในการส่งมออบงานตามมาา ให้ดูตาม รูปปที่ 5.2.2.20 เป็นแบบ
ทําให้
ทิศทางการหมุนของพัพัดลม Centriffugal fan

รูปที่ 5.2..2.20 แบบทิศทางการหมุ


ท นของพัดลม Centriifugal fan

- 449 -
 
ข.1.2 ตรวจสอบกา
ต รติดตั้งของ Flexible
F Coonnection
การติดตั้ง Flexible connectionn จําเป็นมากกในระบบระบบายอากาศ เพืพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดการสั
ด ่นสะเทืทือนระหว่างพัพัดลมระบายออากาศกับท่อลม ชนิดของง Flexible connectioon เป็น
โพลิเมอร์ร์พิเศษเคลือบด้
บ วยพลาสติกทัก ้งสองด้าน จุดประสงค์เพื่อ ป้องกันสิ่งสกปรกต่
ง างๆๆไม่ว่าจะเป็นละอองฝุ
ล ่น
หรือละออองน้ํามัน โดยยทั่วไปแล้วอุณหภู
ณ มิการใช้งานจะอยู
ง ่ที่ -220 ถึง +85 องศาเซลเซียยส และจะต้องคํ
อ านึงถึง
ลักษณะกการใช้งานในกรณีพิเศษ เชช่น ถ้าใช้งานที่ต้องทนอุณหภูมิสูงการเลืลือกใช้ Fleexible connnection
ก็จะต้องเป็นชนิดทนอุอุณหภูมิสูงได้ ตามมาตรฐานน EN12101-3: F250 F3000 หรือ F4000

รูปที่ 5.2.2.2.ข.1.2
5 ช ดของ Flexibble Connectioon แบบ Rectaangular และ Circular
ชนิ

ข.1.3 ตรวจสอบกา
ต รติดตั้งสปริงลดการสัน่ สะะเทือน
การติดตั้งสปริงลดกการสั่นสะเทือนแสดงไว้
อ ในรู
น ปที่ 5.2.2.221 และรูปที่ 5.2.2.22
เป็ น การรแสดงการติ ดตั้ ง พั ด ลม Centrifugal
C fan และรู ป ทีท่ 5.2.2.23 และรู
แ ป ที่ 5.22.2.24 เป็ น การแสดง

การติดตัั้งพัดลม Axial fan

รูปที่ 5.2.2.21 การติดตั้งพัดลม Centtrifugal fan แบบบตั้งพื้น

- 450 -
 
รูปที่ 5.2.2.22 การติดตั้งพัดลม Centtrifugal fan แบบบแขวน

รูปที่ 5.2.2.23 การรติดตั้งพัดลม Axxial fan แบบตัตั้งพื้น

รูปที่ 5.2.2.24 การรติดตั้งพัดลม Axxial fan แบบแแขวน

การติดตั้งสปริงนั้นลดการสั่นสะเทืทือน จะต้องคํคํานึงถึง ความมถี่ (frequency) จาก


รู ป ที่ 5.22.2.25 เป็ น การแสดงค่
ก า ความถี
ค ่ ข องกการติ ด ตั้ ง พั ดลมโดยพั
ด ด ลมตั
ล ้ ง อยู่ บ นแแท่ น เครื่ อ งแและสปริ ง
เราทราบบว่าเมื่อเราเดินเครื
น ่อง การสัสั่นสะเทือนเป็ปนแบบ forcee vibration “fd” ทําให้เเราต้องระมัดระวั ร งเรื่อง
ความถี่ (frequency)
( ของสปริง หรื
ห อที่เราเรียกว่
ก า naturall frequencyy “fn” ซึ่งตต้องไม่ให้ใกล้้เคียงหรือ
เท่ า กั บ ความถี่ ข อง พั ด ลมหรื อ มอเตอร์
ม (fann frequencyy or motor frequency) เพื่ อ ป้ อ งกั นการเกิ น ด
ampliflyy หรือ resonnance ซึ่งจะททําให้พัดลมที่อาการสั
อ ่นสะเทือนมาก

- 451 -
 
รูปที่ 5.2.2.25 ค่าความถีถี่ ของการติดตังพั
ง้ ดลม Centriffugal fan

- Force Frequuency (fd1,fd2d )


- Fan Natural Frequencyy (fn,fan)
- Natural Frequency (fn)
Forcce Frequenncy (fd)
fd1 = NF / 60
fd2 = NM / 60
โดยทที่
fd1 = Fan Frequency NF = Fan speed (rpm)
fd2 = Motor Frequency
F NM = Motor speeed (rpm)

Nattural Frequency (fn)


โดยส่วนมมากแล้ว Nattural frequeency ขึ้นอยู่กักบระยะยุบตััวของสปริง (ST) ที่รับ
Stattic loadซึ่งสาามารถหาได้จากสู
า ตรดังต่อไปนี
ไ ้
หรือ .
fn = Natural Freequency
K = Spring Constant (lb/incch) or (kg/m m)
m = Total mass (lb) or (kg)
ST = Static Deeflection undder load unnit is centimmeter (cm)
จากที่กล่าวมาแล้วนัั้น ทําให้เราทราบว่า Forcee frequencyy มี 2 ตัว คือ fd1 และ
fd2 โดยคค่า Force freequency ที่เรานํ
เ าไปเปรียบเที ย ยบกับ Natural
N freqquency นั้นใให้ใช้ตัวที่มีค่าน้
า อยที่สุด
เพื่อที่เราาจะทราบว่า Transmissibi
T ility (T) อยู่ในช่
น วงไหน มีคาเท่
่ าไหร่ ดังแสดงไว้
แ ในรูปที่ 5.2.2.26

- 452 -
 
รูปที่ 5.2.2.26 ค่า Transmissibility (T)

ค่าTransmissibility (T) คือการส่งผ่าน Vibration จากแหล่งกําเนิดผ่านสปริง


ไปยังฐานแท่นเครื่องพัดลมหรือพื้นค่า Transmissibility (T) หาได้จากสมการนี้

จากสมการนี้ ทําให้เราทราบว่า ถ้า fd เท่ากับ fnจะทําให้ T เป็น Infinity หรือที่เรา


เรียกว่า Resonace เพราะฉะนั้นในการออกแบบสปริง เราจะต้องพยายามทําให้ค่า T นั้นต่ํา อยู่ในค่าที่
เหมาะสมค่ า หนึ่ ง โดยทั่ ว ไปแล้ ว ในระบบระบายอากาศและ AHU ค่ า T มี ค่ า โดยประมาณ 0.1 ดั ง นั้ น
เราสามารถหาค่าประสิทธิภาพของสปริง (Spring Isolator Efficiency) ได้ดังต่อไปนี้
E = (1-Transmissibility) X 100%
เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพของสปริงในระบบระบายอากาศและ AHU นั้นไม่ควร
ต่ํากว่า 90% และเรายังสามารถนําไปคํานวณหาค่าของ Static deflection load ได้ดังรูปที่ 5.2.2.27

รูปที่ 5.2.2.27 Vibration Isolation Efficiency Chart

- 453 -
 
ดังนั้นการเลื
ก อกสปริง จึงควรเลือกตามขั้นตอนดัดังต่อไปนี้
1. กําหนดจํ
ห านวนสปปริงว่าใช้กี่ตัว
2. หา Operation load l ที่สปริงแต่
แ ละตัว
3. กําหนดประสิ
ห ทธิภาพของ
ภ Spriing isolator
S จากรูปที่ 5.2.2.27
4. หาคค่า Static Deflection (ST)
5. หาคค่า Spring Coonstant (K) จากสู
จ ตร K= Operation
O looad on beaaring /
Stattic Deflectioon
6. นําค่คา Spring Coonstant (K) เพื
เ ่อนําไปเลือก Spring moodel ตามแคตตตาล็อก
ของงสปริงยี่ห้อนั้นๆ

ข.1.4 ตรวจสอบระ
ต ยะ Effectivve Duct Length
L ทางงเข้าและทางงออกของ
พัดลม
การติดตั้งท่อลมทางงเข้าและทางอออกพัดลมจะะต้องไม่ทําให้ห้เกิดผลกระททบกับเส้น
คุณลักษณ ณะของพัดลมม (System Effect)
E เนื่องจากการคํ
ง านวณ
น System m pressure loss ในระบบบระบาย
อากาศ เราจะต้
เ องมีการคํ
า านึงถึง Syystem Effect loss ทีจะเกิ่จ ดขึ้นที่ทางเข้
า าและทางงออกของพัดลมเท่ ล านั้น
และแน่ นอนถ้
น า เกิ ด System Efffect loss แล้ล้ ว จะทํ า ให้ Fan perform mance ไม่ เ ป็ น ตามที่ เ รา ต้ อ งการ
หมายความว่า เมื่อวัดปริมาณลมแลละความดันจะะไม่ได้ตามที่เราออกแบบไว้
ร ว้ System Efffect loss ไมม่สามารถ
วัดได้ที่หน้างานได้ ดังนั้นเราจะต้องมี
ง การคํานวณ m Effect looss เพื่อจะทําให้เราได้
ณเผื่อในส่วนทีที่เป็น System
ปริมาณลลมและความดัดันตามที่เราต้้องการ

รูปที่ 5.2.22.28 System Effect


E loss

- 454 -
 
ทางออกกพัดลม Fan Outlet

รูปที่ 5.2.2.29 Fan outlet velocity profilee

ค่าระยะะแนะนําของ De (Effecttive Duct Leength)


ค่าระยะะแนะนําของททางออกควรมีมีระยะ 2.5 เทท่าของเส้นผ่าานศูนย์กลางทท่อจากนั้น
สามารถติติดตั้งข้องอ,Silencer หรือ Damper ได้ ไ จะทําให้ไม่เกิด System Effect losssส่วนทางด้านดู น ดควรมี
ระยะ 5-8 เท่าของเส้นผ่
น านศูนย์กลาางท่อ
หมายเหหตุ
- ควาามเร็วในท่อไมม่เกิน 2500 ฟุตต่อนาที
- กรณ ณีค วามเร็วในนท่ อ ลมเกินใ ห้เพิ่ม ระยะ 1 เท่ าของเส้ส้น ผ่านศูนย์กลางทุ
ก กๆ
10000 ฟุตต่อนาทีที
- ในกกรณีท่อทางอออก หรือท่อทาางดูดเป็นสี่เหลีลี่ยมควรเปลี่ยยนเป็นขนาดทท่อกลม
เทียบเท่า (Equivvalent Duct Diameter) ตามสู
ต ตรนี้

d= B /
4AB

ในกรณี
ณีเป็นพัดลมแบบบ Centrifuugal fan
พิจารณ
ณาด้านทางอออก
ทางออกของพัดลมนันั้นระยะแนะนนําของ De (DDuct Effectivve Length) ขึ้นอยู่กับ
ความเร็วที
ว ่ปากทางอออกของพัดลม (Outlet Velocity) และอัตราส่วนของพื น ้นที่ปาากด้านในต่อ พื้นที่ปาก
ด้านนอกก (Blast Areaa per Outlett Area) นํามาาคํานวณหา loss ที่เพิ่มจาก System Efffect Curve

- 455 -
 
รูปที่ 5.2.2.330 System Efffect Curves foor SWSI Centrrifugal Fans

ยกตัวอย่างการหาค่า System efffect loss ของ


ข SWSI CCentrifugal Fans ใน
กรณีที่ไม่มมีท่อทางด้านออก
น (ปล่อย Free blow บ บต่อท่อทาางออก 25% ของ Duct Effective
w) เปรียบเทียบกั E
Length ตามรูปที่ 5.22.2.31

รูปที
ป ่ 5.2.2.31 System Effect Curves for Outlet
O Ducts-CCentrifugal Fans

ป ่ 5.2.2.31 กํ า หนดให้ พั ด ลมตั ว นี้ มี ค วามเร็ ว ที่ ป าากทางออกข องพั ด ลม


จากรู ปที
(Outlet Velocity) อยู อ ่ที่ 3000 fppm และมี Blaast Area/Ouutlet Area ทีท่ 0.6 กรณีททีี่ 1 ไม่มีท่อลมมทางด้าน
ออกมีค่า System Efffect Curve ที่ R-S และในนกรณีที่ 2 ต่อท่อทางออก 25% 2 ของ Duuct Effectivee Length
มีค่า Sysstem Effect Curve ที่ U-V นํามาอ่านคค่า System Effect E Pressuure ตามรูปที่ 5.2.2.32
สรุปได้ว่วา ในกรณีที่ 1 ไม่มีท่อลมมทางด้านออก ค่า System m Effect Pressure
ที่อ่านได้้คือ 0.68 INNCH-WG. ซึ่งจะสูงกว่ากรณ ณีที่ 2 ต่อท่อทางออก
อ 25% % ของ Ducct Effective Length
ค่า Systeem Effect Pressure
P ที่อานได้
า่ คือ 0.233 INCH-WG. เท่านั้น

- 456 -
 
รูปที่ 5.2.2.332 System Efffect Curves

ณาด้านทางเข้ข้า
พิจารณ
ทางด้านทางเข้
น าของพัดลมนั้นระยยะแนะนําของง De (Ductt Effective Length)
ขึ้นอยู่กับความเร็
บ วลมของท่อทางเข้ข้าพัดลม (Inlet Velocitty) โดยปกติติแล้ว ความเร็ร็วลมทางเข้าจะเท่
จ ากับ
ความเร็วลมทางออกข
ว ของปากพัดลมม (Outlet Veelocity) และสิสิ่งที่ต้องพิจารรณาต่อมาคือลักษณะของกการต่อท่อ
ทางเข้าถ้าเป็นท่อกลมม ต้องดูว่าข้องอเป็
ง นท่อกลมมชนิด 2,3 หรื ห อ 4 ชิ้นไปปวัดโดยรอบ หหรือถ้าเป็นท่อสี
อ ่เหลี่ยม
ต้องดูว่าข้ของอเป็นท่อที่มีturning vanes แบบยาาวหรือแบบสั้น ซึ่งจะส่งผลลกระทบต่อกาารเกิด System m Effect
Lossได้มากน้
ม อยเพียงใใด

รูปที่ 5.2..2.33 ลักษณะขของการต่อท่อทางเข้


ท ามีข้องอเป็ป็นท่อกลม

ตัวอย่างที่ 1 จากรูป 5.2.2.33 การต่อท่อทาางเข้าของพัดดลมมีข้องอเป็นท่อกลม


แบบ 3 Piece miteered round section กําหนด R/D = 1.0 และมีมีการต่อท่อทางเข้า เป็น 2 เท่าของ
เส้นผ่าศูนย์
น กลางพัดลมมอ่านค่า Sysstem Effect Curve ที่ S-T
S ซึ่งจะทําให้
ใ รู้ว่า เมื่อคววามเร็วลมทางงออกของ
ด (Outlett Velocity) มากกว่ า 1500 fpm จ ะทํ า ให้ เ กิ ด System Efffect Loss ตามรู
ปากพั ดลม ต ป ที่
5.2.2.344

- 457 -
 
รูปที่ 5.2.2.334 System Efffect Curves

ตัวอย่างที
ง ่ 2 จากรูปที
ป ่ 5.2.2.35 การต่อท่อทาางเข้าเป็นแบบบท่อสี่เหลี่ยมทที่มีการใส่
Turning vanes เป็นแบบ
น Squaree elbow-lonng turning vanes กําหนนดให้ R/D = 1.0 และมีการต่ ก อท่อ
ทางเข้า เป็น 2 เท่าของเส้
ข นผ่าศูนย์น กลางพัดลมมอ่านค่า Systtem Effectt Curve ที่ U-V ซึ่งจะทําให้รู้ว่า
ความเร็วลมทางออกข
ว ของปากพัดลมม (Outlet Veelocity) มากกกว่า 2250 fpm
f จะทําใหห้เกิด System m Effect
Loss ตาามรูปที่ 5.2.22.36

รูปที่ 5.2.2.35 กาารต่อท่อทางเข้าที


า ่มีข้องอเป็นท่อสี่เหลี่ยมและใใส่ Turning vannes

- 458 -
 
รูปที่ 5.2.2.36 System Effecct Curves

ในกรณี ณีเป็นพัดลมแบบบไหลตามแแนวแกน (Axxial Fan)


พิจารณ ณาด้านทางอออก
ทางออกของพัดลมนันั้นระยะแนะนนําของ De (DDuct Effectivve Length) ขึ้นอยู่กับ
ความเร็วที
ว ่ปากทางอออกของพัดลม (Outlet Vellocity) และ ลัลกษณะของกการต่อท่อทางงออกและต้องพิ ง จารณา
ว่า เป็นพัดลมแบบไหลลตามแนวแกนน (Axial Fan)ชนิดใด เป็น Tube axiaal fan หรือเป็น Vane axial a fan
เพื่อนํามาคํานวณหา loss l ที่เพิ่มจาาก System Effect
E Curvee ตามวิธีเดียวกั
ว นกับพัดลมม Centrifugaal fan ให้
ใช้ค่าตามมรูปที่ 5.2.2.337

รูปที
ป ่ 5.2.2.37 การต่อท่อทางอออกของพัดลมแบบบไหลตามแนววแกน (Axial Faan)

พิจารณ
ณาด้านทางเข้ข้า
ทางด้านทางเข้
น าของพพัดลมแบบไหหลตามแนวแกกน (Axial Fan)นั้นระยะแนนะนําของ
De (Duuct Effectivee Length) ขึ้นอยู่กับลักษณะของการ
ษ ต่อท่อทางเข้าว่
า ามีข้องอเป็นท่อกลมชนิด 2 หรือ
4 ชิ้น ชนิดของพัดลมมแบบไหลตามมแนวแกนเป็นชนิ น ดใด เป็น Tube axial fan หรือ Vane axial fanและ
อัตราส่วนของเส้
น นผ่านศู
น นย์กลางดุมต่
ม อเส้นผ่านศูศูนย์กลางใบพัพัดลม (Hub/TTube Ratio)) เพื่อนํามาคํคํานวณหา
loss ที่เพิ่มจาก Systeem Effect Cuurveให้ใช้ค่าตามรู
ต ปที่ 5.2..2.38

- 459 -
 
รูปที
ป ่ 5.2.2.38 การต่อท่อทางเข้้าของพัดลม แบบบไหลตามแนววแกน (Axial Faan)

บทสรุป จะเห็ห็นได้การติดตัต้งพัดลมระบายอากาศที่ถูกต้องนั้นก่อให้
ใ เกิดประโยชชน์ในเรื่องขออง การลด
ต้นทุนขอองการทํางานน ไม่ว่าจะเป็นต้น นทุนในเรื่องเวลา การใใช้วัสดุและแแรงงาน ซึ่งสิ่งงที่พิจารณาที่ด้วยกันมี
4 เรื่องสําคั
า ญคือ
1. ถ้าเป็นพัดลมชนิด Ceentrifugal fan จะต้องพิจารณาทิ
า ศทางกการหมุน (Fann rotation)
2. ตรวจสออบการติดตั้งของข Flexible Connectionn
3. ตรวจสออบการติดตั้งสปริ
ส งลดการสััน่ สะเทือน
4. ตรวจสออบระยะ Effective Duct LengthL ทางเเข้าและทางอออกของพัดลม
เมื่อเราพิจารรณาทั้งหมดแแล้ว นํามาใช้้ในการติดตั้งพัดลมในแต่ละงาน
ล ก็จะสสามารถใช้พัดลมนั
ด ้นๆ
ได้เต็มปรระสิทธิภาพสามารถทราบค่า loss ที่จะเพิ่มขึ้นในกกรณีที่ทางเข้้าและทางออกของพัดลมนันั้นมีระยะ
ข De (Ducct Effective Length) น้อยกว่าที่กําหนด เมื่อเราทําการเผื
แนะนําของ ก ่อค่า looss ก็จะส่งผลลให้การใช้
งานก็จะไไม่เกิดปัญหาา การส่งมอบบงานก็จะตรงตามเวลาที่กําหนด า สร้างคความน่าเชื่อถือแก่เจ้าของงโครงการ
ดังนั้นกาารติดตั้งพัดลมมระบายอากาาศที่ถูกต้องนั้นจึ
น งที่ความสํําคัญมาก แลละถ้าทุกคนมีคความรู้ ความมเข้าใจที่ดี
ก็จะส่งผลลในภาพรวม คือการมีส่วนร่ น วมในการรับผิบ ดชอบต่อสังคมอีกรูปแบบบหนึ่ง ในเรื่อองการอนุรักษ์ษพลังงาน
หรือทรัพยากรของประ
พ ะเทศได้

5.2.2.3 การพิจารณากาารตรวจสอบ
ระบบระบายยอากาศเมื่อออกแบบและ
อ ะติดตั้งเสร็จเรี
เ ยบร้อยแล้ว ทั้งก่อนใช้งงาน ขณะใช้งาน ง และ
มีการใช้งานไปแล้
ง วระยะหนึ่ง จะต้องมี
อ การตรวจจสอบประสิทธิผล (Effectivveness) ซึ่งหหมายถึงการตตรวจสอบ
ว่าระบบรระบายอากาศศมีความสามาารถในการทํางานได้ ง ตามวัตถุประสงค์ของงการออกแบบบติดตั้งใช้งานนหรือไม่
ก.กการศึกษาข้อมูมลและวิเคราาะห์ปัญหา
ก.1 ข้อมูลปริ
ป มาณลม
จากการเก็ บข้
บ อ มู ล และตตรวจสอบปริริ ม าณลมที่ ห น้ า งาน ค่ า ข องปริ ม าณล มที่ วั ด ได้
สามารถแแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี ง ้
- ปริมาณลมทีว่ ัดได้มีค่า เท่
เ ากับ ปริมาณ ณลมที่ออกแบบบไว้
- ปริมาณลมทีว่ ัดได้มีค่า น้อยกว่าปริมาณลมที
า ่ออกแแบบไว้
- ปริมาณลมทีว่ ัดได้มีค่า มากกว่
ม าปริมาณลมที า ่ออกแแบบไว้
ก.2 สาเหตุตุ ข องปั ญ หา ที่ มี ผ ลทํ า ให้ห้ ป ริ ม าณลมมที่ วั ด ได้ ไ ม่ ตตรงกั บ ค่ า ปริริ ม าณลม
ที่ออกแบบบไว้ มีดังนี้

- 460 -
 

You might also like