You are on page 1of 15

การให้แสงสว่างสําหรับสิมอีสานโบราณ

Lighting guidelines for antique Isann Sim

ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล1* และ ธีรพัฒน์ หนองหารพิทักษ์2


1
รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2
นักศึกษาปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Yingsawad Chaiyakul1* and Theeraphat Nongharnpitak2


1
Associate Professor, Faculty of Architecture,
Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002
2
Graduate student, Faculty of Architecture,
Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002
*Email: cyings@kku.ac.th

บทคัดย่อ
สิมอีสานโบราณมีการเปลี่ยนแปลง ถูกรื้อถอน ถูกทิ้งร้างและถูกสร้างทดแทนด้วยสิมใหม่ (โบสถ์)
ที่มีรูปแบบสมัยใหม่ เนื่องจาก ชุมชนขาดจิตสํานึก ไม่รู้ซึ้งถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความต้องการพื้นที่
ใหญ่ขึ้น หรือการปรับเปลี่ยนรสนิยมของช่าง คณะกรรมการวัด และเจ้าศรัทธา โดยการสร้างอุโบสถ
ใหม่หรือการบูรณะปรับปรุงด้วยรูปแบบประเพณีภาคกลาง และสิมที่ได้รับการบูรณะที่คงอยู่ไม่ได้ถูก
ดูแลในสภาพที่เหมาะสมเพื่อการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือเพื่อการ
เรียนรู้ศึกษาสถาปัตยกรรมและภาพเขียน (ฮูปแต้ม) ในสิม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจสภาพ
สิ ม อี ส านโบราณ และเพื่ อ วิ เ คราะห์ ปั จ จั ย ด้ า นแสงสว่ า งสํ า หรั บ การใช้ ง านตามบริ บ ทของสิ ม ที่
เปลี่ยนแปลงและนําเสนอปัจจัยด้านแสงสว่างที่ส่งเสริมการใช้งานและสภาพแวดล้อมภายในของสิม
การให้แสงสว่างที่ดีจะช่วยเพิ่มความสวยงามเพื่อส่งเสริมคุณค่าของสิมอีสานโบราณในวัด และจะช่วย
ส่งเสริมการท่องเที่ยว ขอบเขตของบทความนี้รวมการสํารวจสิม จํานวน 8 หลัง ใน 3 จังหวัด ได้แก่
ขอนแก่น มหาสารคาม และนครพนม เพื่อศึกษากายภาพ รูปแบบการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป และ
เก็บข้อมูล ตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้านแสงสว่าง
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของสิมมีความแตกต่างกัน พื้นที่ใช้งานมีขนาดใกล้เคียงกันตั้งแต่ 22–
54 ตารางเมตร ความสูงภายใน 2.00 - 3.65 เมตร สิมมีสัดส่วนของพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอยู่ใน
ระหว่าง 2.28 - 11.44% และตําแหน่งช่องเปิดไม่พบบริเวณด้านหน้าบริเวณแท่นบูชาพระประธานใน
ทุกสิม และสิมจํานวน 4 หลัง ไม่มีการใช้งานสําหรับประกอบกิจวัตรของสงฆ์ เนื่องจากมีโบสถ์ใหม่ใน
2

บริเวณวัดเพื่อใช้ทดแทน และผลการสํารวจด้านแสงสว่างพบว่าการให้แสงสว่างภายในอาคารสิมใน
เวลากลางวันจะต้องอาศัยแสงสว่างจากดวงโคมแสงประดิษฐ์ วิธีและตําแหน่งการติดตั้งขึ้นกับรูปแบบ
ภายใน และไม่สัมพันธ์กับตําแหน่งช่องแสง (หน้าต่างหรือประตู) ปริมาณแสงสว่างไม่เพียงพอในการใช้
งานและการให้แสงสว่างไม่สัมพันธ์กับลักษณะงานทางสายตา (Visual task) และไม่สร้างหรือส่งเสริม
บรรยากาศของสิม
แนวทางการปรับปรุงสําหรับแต่ละสิม ควรกําหนดวัตถุประสงค์ในการให้แสงสว่าง 3 ประเด็น
ได้แก่ (1) ความปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้งานและอาคารด้านอัคคีภัย โดยอุปกรณ์ที่อาจ
มาทดแทนแสงจากเทียนไข เช่น เทียน LED (2) กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสิมพิจารณาตัวแปรที่ส่งผลต่อ
การมองเห็น และ (3) ส่งเสริมบรรยากาศของสิม ระบบแสงสว่างที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้แสงสว่างตาม
การใช้งานตามช่วงเวลาสําหรับสิมที่ยังมีการใช้งานเป็นเขตพัทธสีมาสําหรับพระสงฆ์ และปรับเปลี่ยน
แสงสว่างภายในเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจเพื่อการท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงกับสภาพแวดล้อม
ในการมองเห็นและส่งเสริมการใช้งานอาจจะทําให้สิม กลับมามีความสําคัญต่อชุมชน และดึงดูดการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น
คําสําคัญ: สิมอีสานโบราณ, การท่องเที่ยวสิม, แนวทางการให้แสงสว่าง

Abstract
Antique Isann Sim has been changed and demolished. Some Sims had been
replaced with new Buddhism church because community lacked of awareness and
conscious of cultural and heritage values. Another change to remaining Sims are that
the building configurations are renovated under other region traditional styles. This
depends upon the taste of temple committee and donators who sometimes
dominate the renovation style of Sim. Many renovate Sims have not been kept in
good conditions for maintaining the changes such as cultural and heritage tourism
and learning architectural and art visiting. The research goals are to survey existing
antique Isaan Sims and to study lighting factors for new contexts of Sims. The
lighting factors to promote the visual tasks and create better interior environment.
Great lighting installation and design will emphasis exquisiteness of Sim buildings. By
using lighting in Sim, it may stimulate more tourists to visit Sim. This article includes
eight Sims in three provinces: Khon Kaen, Mahasarakham, and Nakorn Pranom. The
information gathered from the field survey include: present usage of the building,
lighting factors, and lighting equipment installed.
3

The results of the survey show that area of Sim ranges from 22-54 m2 with the
ceiling height from 2.00-3.65 m. The opening to wall ratios are from 2.28% – 11.44%.
The opening position is not found at the front part of Sim. Four Sims have not been
used for deed performed by Buddhist monks as there is a new replacing church in
the temple precinct. Artificial lighting is used during the daytime. The lamp
installations are not relate to the opening positions. Illuminance level is not enough
to meet visual task illuminance. Moreover, under the exiting lighting setting, Sim
environment is not enhanced.
Lighting design guidelines for Sim is to set three goals that are: (1) security to
prevent cause of fire and air quality in Sim from wax candle and oil lamp; (2) visual
tasks to perform under various scenarios; and (3) enhancing Sim environment to
create visual and lighting environment that can be adjusted according to occupants
and usage times. The changeable lighting scheme is suitable for that Sim is still used
by monks and tourists. Better lighting in Sim may make Sim become viable and
magnetized for cultural and heritage tourism.

Keywords: Antique Isann Sim, Isann Sim tourism, lighting guideline

1. บทนํา
สิมคือคําเรียกของโบสถ์หรืออุโบสถ ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถูก
สร้างขึ้นเพื่อให้คณะสงฆ์ประกอบพิธีการทางศาสนา สิมอีสานพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมที่มีการสั่งสม
ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่ได้ถูกมองข้ามความสําคัญและละเลยจากชุมชนที่ไม่มีความเข้าใจและรู้ซึ้ง
ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของพื้นถิ่น การเปลี่ยนแปลงของสิมอีสานยังเกิดจากปัจจัยตามช่วงเวลาต่างๆ
เช่น สังคมการเมือง การคมนาคม ความต้องการพื้นที่ใหญ่ขึ้น หรือการปรับเปลี่ยนรสนิยมของช่าง
คณะกรรมการวัด และเจ้าศรัทธา ทําให้เกิดการสร้างอุโบสถทดแทนจากแบบสําเร็จรูป หรือจากการ
สร้างทดแทนด้วยรูปแบบประเพณีภาคกลาง เป็นต้น (ติ๊ก แสนบุญ, 2561; ไธพัตย์ ภูชิสส์ชวกรณ์,
2554) จากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สิมอีสานโบราณถูกรื้อถอนถูกทิ้งร้างและถูกสร้างทดแทน
ด้ วยโบสถ์ ที่ มี รู ปแบบสมั ยใหม่ สิ มที่ คงอยู่ ไม่ ได้ รั บการดู แลในสภาพที่ เหมาะสมเพื่ อการใช้ งานที่
เปลี่ยนแปลงไป ผู้ใช้งานไม่ได้มีแค่พระสงค์ แต่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้งานสิม เพื่อการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม หรือเพื่อการเรียนรู้ศึกษาสถาปัตยกรรมและภาพเขียน (ฮูปแต้ม)
การใช้งานหลักภายในสิมของพระสงฆ์ ได้แก่ การทําวัตรในช่วงเวลาเช้าและเย็น การทําสังฆกรรม
ตามพระวิ นั ยอื่ นๆ ในการใช้ งานสมั ยก่ อนที่ ไม่ มี แสงประดิ ษฐ์ การทํ าวั ตรเช้ าและเย็ นจะเกิ ดใน
4

ช่วงเวลาที่ไม่มีแสงสว่างภายนอกมากเพียงพอ แสงสว่างภายในสิมจะได้จากเทียนไขและตะเกียงเป็น
หลัก แม้ว่าในเวลากลางวันจะมีแสงธรรมชาติภายนอก แต่รูปแบบของสิมอีสานที่มีช่องเปิดขนาดเล็ก
จํานวนและตําแหน่งช่องเปิดของสิม ทําให้พื้นที่ช่องเปิดมีปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่
ภายใน และสิมอีสานโบราณบางแห่งมีหลังคาคลุมช่องเปิดภายนอก ทําให้แสงธรรมชาติเข้ามาในสิม
น้อยมาก แสงจากเทียนไขและตะเกียงจึงเป็นแหล่งกําเนิดแสงหลักในสิม เมื่อพิจารณาผังภายในสิม
ระดั บ และตํ า แหน่ ง ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป เป็ น องค์ ป ระธานเพื่ อ เป็ น ตั ว แทนของพระพุ ท ธเจ้ า
ตําแหน่งของเชิงเทียนหลักตั้งตรงกลางหน้าพระประธาน ให้แสงสว่างจากด้านล่าง โดยตําแหน่งของ
แหล่งกําเนิดแสงทําให้การมองเห็นหลักมุ่งไปบริเวณที่มีแสงสว่างมากสุด จะทําให้พระสงฆ์เกิดสมาธิ
สําหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนา เมื่อตําแหน่งเทียนไขด้านหน้าเพียงจุดเดียว ทําให้การกระจาย
และปริมาณแสงสว่างที่ต่ําไปยังบริเวณอื่น สร้างบรรยากาศสลัวกับพื้นส่วนอื่นๆของสิม ส่งผลให้องค์
พระประธานเด่นออกจากพื้นหลังสิ่งแวดล้อมภายใน ดังแสดงในภาพที่ 1 ทําให้เกิดบรรยากาศ ความ
สงบ ความศักดิ์สิทธิ์ และความน่าเคารพ สร้างความรู้สึกตัดขาดจากโลกภายนอก ที่พระพุทธรูปที่
เป็นพระประธาน ความเคลื่อนไหววูบวาบจากแสงเทียน ส่งเสริมให้บรรยากาศมีการเคลื่อนไหว ไม่นิ่ง
เพิ่มความงามให้สถาปัตยกรรม

ภาพที่ 1 การใช้เทียนเพื่อบูชา ในสิม

ในปัจจุบันแสงประดิษฐ์จากดวงโคม เข้ามามีบทบาทในการให้แสงสว่างในอาคารปริมาณความ
สว่างที่ได้จากดวงโคมติดตั้งที่ใช้ในสิม ทําให้แสงและบรรยากาศที่ได้จากเทียนไขหรือตะเกียงไม่
สามารถสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้งานให้สิมแบบเดิม ทิศทางการส่องสว่างเปลี่ยนแปลงจาก
ด้านล่างไปเป็นการกระจายแสงสว่างจากด้านบน มิติของการกระจายแสง ที่มีผลกับการรับรู้ ดังนั้น
การเลือกดวงโคมและหลอดไฟ และวิธีการติดตั้งส่งผลต่อลักษณะแสงสว่างภายในสิม ทําให้เกิดความ
แตกต่าง รวมถึงบรรยากาศภายในสิมที่มีความนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง จากการใช้แสงประดิษฐ์ที่ให้แสง
สว่างในทิศทางและปริมาณแบบคงที่ทุกช่วงเวลา นอกจากนั้นแสงสว่างที่ติดตั้งในสิมไม่ได้ถูกกําหนด
5

เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานใหม่ เช่น การท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมและชมภาพฮูปแต้มของ


สิม
การศึ ก ษาที่ ผ่ า นมา เรื่อ งการให้ แ สงสว่ า งกั บ อาคารทางศาสนา (นริศ า พงศ์ ศ รี เ พีย ร และ
พรรณขลัท สุริโยธิน, 2558; พรหมธิดา มิเลียง, 2558; วีระยุต ขุ้ยศร, 2560) แสดงแนวทางการให้
แสงสว่างกับอาคารโบสถ์รูปแบบต่าง แต่ยังไม่มีการศึกษารูปแบบการให้แสงสว่างที่เหมาะสมกับสิม
อีสาน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจสภาพสิมอีสานเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านแสงสว่างสําหรับ
การใช้งานตามบริบทของสิมอีสานที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวทางการนําแสงสว่างมา
ช่วยในการส่งเสริมการใช้งานภายในสิมและส่งเสริมสภาพแวดล้อมภายในของสิมให้เหมาะกับบริบท
การใช้งานที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการให้แสงสว่างที่ดีจะช่วยเพิ่มความสวยงามเพื่อส่งเสริมคุณค่าของ
สิมอีสานโบราณในวัด และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวจากความสวยงามได้อีกทาง

2. วิธีการดําเนินการศึกษา
สิ ม โบราณ ที่ ใ ช้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งในการศึ ก ษานี้ ถู ก สุ่ ม เลื อ ก ในเขตจั ง หวั ด ขอนแก่ น จั ง หวั ด
มหาสารคาม และจังหวัดนครพนม เพื่อสํารวจข้อมูลที่หลากหลาย จากนสถานที่ตั้งของสิมที่แตกต่าง
กัน ครอบคลุม สิมจํานวนทั้งหมด 8 หลัง ดังแสดงในภาพที่ 2 โดยวันที่ทําการสํารวจ แบ่งเป็น 3
ช่วง ได้แก่ (1) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ในจังหวัดขอนแก่น (2) สํารวจสิมในจังหวัดนครพนม ใน
วันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2561 และ (3) สํารวจสิมในจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 12 ธันวาคม
2561 ช่วงเวลาในการสํารวจเป็นเวลากลางวัน ชั่วโมงของการสํารวจที่เวลาประมาณ 10:00 –
16:00 น. ทั้งสามพื้นที่
การเก็บข้อมูลกายภาพ สภาพและรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยทําการรังวัดระยะภายใน สํารวจ
วัสดุที่ใช้ภายในสําหรับพื้น ผนัง และ รูปแบบฝ้าเพดาน รวมถึงเก็บข้อมูลการใช้งานในสิม และ
กิ จ กรรมที่ มี ก ารใช้ ง านภายในสิ ม และงานทางสายตาอื่ น ๆที่ น อกเหนื อ จากการใช้ ง านตาม
วัตถุประสงค์ของสิมโบราณ นอกจากนั้น ทําเก็บข้อมูลด้านแสงสว่างในสิมโดยการวัดปริมาณความ
สว่างของงานทางสายตาในระนาบแนวนอน (Horizontal task illuminance) ได้แก่ การเดิน การ
สวดมนต์ และงานทางสายตาในแนวดิ่ง (Vertical task illuminance) ได้แก่ การมององค์
พระพุทธรูปประธานในสิม และภาพฮูปแต้ม โดยใช้เครื่องวัดแสงสว่างยี่ห้อ Konica Minolta รุ่น
Illuminance Spectrophotometer CL-500A และ Luminance Meters LS-100 ดังแสดงใน
ภาพที่ 3 การวัดแสงดําเนินการภายใต้แสงประดิษฐ์ร่วมกับแสงจากภายนอกที่เข้ามาจากทางช่องเปิด
ในช่วงเวลาที่ทําการวัดแสง
6

วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น วัดสนวนวารี พัฒนาราม จังหวัดขอนแก่น

วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น วัดโกศลมัชฌิมาวาส จังหวัดนครพนม

วัดบูรพาราม จังหวัดนครพนม วัดพุทธสีมา จังหวัดนครพนม

วัดป่าเลไลย์ จังหวัดมหาสารคาม วัดโพธาราม จังหวัดมหาสารคาม


ภาพที่ 2 สิมที่สํารวจในงานวิจัย

(ก) (ข)

ภาพที่ 3 อุปกรณ์วัดแสงที่ใช้ในงานวิจัย: (ก) Illuminance Spectrophotometer CL-


500A และ (ข) Luminance Meters LS-100
7

3. ลักษณะกายภาพ การใช้งานสิมโบราณจากการสํารวจ
ลักษณะการบูรณะที่พบ ขึ้นกับองค์ความรู้ ฝีมือของช่าง รวมถึงรสนิยมของช่าง คณะกรรมการ
วัด และเจ้าศรัทธาการบูรณะปรับปรุงสิม เช่น การบูรณะสิม วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ดัง
แสดงในภาพที่ 5 ที่มีการเปลี่ยนแปลงและลดทอนรายละเอียดของรูปแบบของสี และรายละเอียด
ของภาพนู น ต่ํา และสีหลังคาและอาคาร ภาพที่ 6แสดงสิมวัดพุทธสีมา จัง หวัดนครพนม ที่ถูก
กําหนดในการสํารวจก่อนการเดินทาง แต่เมื่อเข้าพื้นที่พบว่า กําลังดําเนินการบูรณะ โดยที่มีการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบหลังคา บันไดและผนังภายนอก และ ภายในบูรณะ พื้น ผนังและฝ้าเพดานใหม่
โดยไม่ได้คงรูปแบบวัสดุเดิมของอาคาร
ลักษณะทางกายภาพของสิม มีพื้นที่ขนาดเล็กมีจํานวนช่องเปิดน้อยและขนาดช่องเปิดเล็ก มีทั้ง
รูปแบบที่มีแนวเสาและชายคาโดยรอบอาคาร และไม่มีแนวเสาโดยรอบ สิมบางหลังมีภาพวาด
จิตรกรรมฮูปแต้มบนผนังโดยรอบ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร รูปแบบและขนาดของสิม มีผังเป็น
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีระเบียงด้านหน้า หรือ ระเบียงรอบ ความกว้างมีขนาด 3.40-4.15 เมตร และ
ความยาว 5.90-8.80 เมตร ดังแสดงในภาพที่ 8 ภายในสิมมีความสูงพอดีสําหรับคนทั่วไป มีความ
กว้างพอสําหรับพระภิกษุ 4-10 รูป มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปที่ก่อขึ้นด้วยอิฐยกสูงจากพื้นที่
ระดับ 0.50-0.80 เมตร บางสิมมีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูปแต้มเพื่อบอกเล่าเรื่องราว
ตามพุทธประวัติ ตํานานพื้นบ้าน หรือ นิทานปรัมปรา

(ก) (ข)
ภาพที่ 4 สภาพสิมปัจจุบันที่มีการเสื่อมสภาพลงหลังจากบูรณะสิมโบราณ วัดสนวนวารีพัฒนาราม
จังหวัดขอนแก่น: (ก) ผนังภายนอกแตกร่อน และ (ข) ภาพฮูปแต้ม ที่เกิดคราบดํา จากความชื้น ที่
สะสมในผนังของสิม
8

(ก) (ข)
ภาพที่ 5 สภาพสิมวัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการบูรณะ:
(ก) ภาพถ่ายก่อนการบูรณะที่พบในศาลาการเปรียญภายในวัด และ (ข) สิมภายหลังจากการบูรณะ

(ก) (ข)
ภาพที่ 6 สภาพสิมวัดพุทธสีมา จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คงรูปแบบ
และวัสดุเดิมของอาคาร: (ก) รูปแบบหลังคา บันไดและผนังภายนอก และ (ข) การบูรณะภายใน

อาคารสิ ม แต่ เ ดิ ม มี ไ ว้ สํ า หรั บ ประกอบพิ ธี ก รรมทางพุ ท ธศาสนาของพระภิ ก ษุ ส งฆ์ ซึ่ ง จะ


ประกอบด้วยพิธีกรรมอันเป็นกิจวัตร จากการสัมภาษณ์พระภิกษุสงฆ์ ที่วัดบูรพาราม และวัดพุทธ
สีมา จังหวัดนครพนมพบว่า พิธีกรรมอันเป็นกิจวัตรที่เกิดขึ้นภายในสิม ได้แก่ การทําวัตรเช้า ในช่วง
เวลา 4:00-6:00 น. และการทําวัตรเย็น ในช่วงเวลา 17:00-20:00 น. และพิธีกรรมสําคัญอื่นๆ เช่น
พิธีทําสังฆอุโบสถ การปวารณา พิธีอุปสมบท เป็นต้น และข้อมูลจากการสํารวจพบว่าสิมจํานวน 4
หลัง ที่สํารวจ ไม่มีการใช้งานสําหรับประกอบกิจวัตรของสงฆ์ภายในสิม เนื่องจากมีสิมใหม่ (โบสถ์)
ในบริเ วณวั ด เพื่อ ใช้ท ดแทนได้แก่ วั ดสนวนวารีพั ฒนาราม จ.ขอนแก่ น วั ดสระทองบ้านบัว จ.
ขอนแก่น วัดโกศลมัชฌิมาวาส จ.นครพนม และ วัดบูรพาราม จ.นครพนม การใช้งานสิมจึงถูก
ละเลย และถูกลดความสําคัญ
9

จากการสังเกตในระหว่า งการสํารวจพบว่า จํา นวนนัก ท่องเที่ยวเชิ ง วั ฒนธรรมเพื่อชมสิ มมี


จํานวนน้อย ในระหว่างที่สํารวจสิมจํานวน 8 หลัง แต่ละหลังใช้เวลาเก็บข้อมูลในสิมและรอบบริเวณ
ประมาณ 2 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน ส่วนมากไม่พบนักท่องเที่ยวหรือการทํากิจกรรมในสิมของ
พระ มีเพียงนักท่องเที่ยว 2 คนที่พบ ที่สิม ในวัดสนวนวารี พัฒนาราม และวัดสระทอง บ้านบัว ใน
จังหวัดขอนแก่น

4. ผลการศึกษาด้านแสงสว่าง
อาคารสิมมีช่องเปิดที่น้อยรวมถึงสิมบางหลังยังมีแนวเสาที่รับชายคาโดยรอบอาคาร ส่งผลให้
ภายในได้รับแสงธรรมชาติไม่เพียงพอ จําเป็นต้องมีการเปิดไฟร่วมด้วย มีการติดตั้งหลอดไฟเพียง
เพื่อให้ภายในสว่างขึ้น โดยไม่ได้คํานึงถึงการให้แสงสว่างเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ หรือสร้างบรรยากาศ
โดยการให้แสงสว่าง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชมสิมมากขึ้น
การให้แสงสว่างที่เหมาะสมสําหรับสิม ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในพื้นที่สิมในปัจจุบันมีการ
เปิด บริก ารให้บุ ค คลทั่ว ไปมาเยี่ย มชม สัก การะตลอดทั้ง วัน รวมถึง กิ จกรรมเดิม ของพระสงฆ์ใน
บางส่วนโดยมีกิจกรรมการใช้งานทางสายตาภายในสิม ได้แก่ ทางสัญจรภายใน การอ่านบทสวดมนต์
การกําหนดจิตและมองไปที่พระพักตร์ของพระพุทธรูป และการรับชมภาพจิตรกรรมฝาผนังภายของ
สิมเรียกว่า ฮูปแต้ม ที่ทั้งภายในและภายนอกของสิม เพื่อแสดงเรื่องราวพุทธประวัติหรือวรรณกรรม
พื้ น บ้ า น ตั ว แปรการให้ แ สงสว่ า งภายในสิ ม ที่ พ บ และแนวทางการปรั บ ปรุ ง แสงสว่ า งนํ า เสนอ
ดังต่อไปนี้
4.1 ดวงโคมและอุปกรณ์ในสิมจากการสํารวจ
ดวงโคมที่พบในสิมทั้ง 8 แห่ง การติดตั้งดวงโคมขึ้นกับรูปแบบการติดตั้งฝ้าเพดาน สิมที่พบบาง
แห่งไม่มีฝ้าเพดาน การติดตั้งดวงโคมจะติดตั้งที่ตําแหน่งแนวขื่อหลังคา ความสัมพันธ์ของจํานวนดวง
โคมและขนาดพื้นที่แสดงใน ภาพที่ 7-8 แสดงให้เห็นว่า สิมส่วนมากไม่มีการให้แสงสว่างกับองค์พระ
ประธานหลัก หรือ แสงสว่างโดยเฉพาะสําหรับส่องผนังที่มีฮูปแต้ม วงจรการเปิดปิดแสงสว่างเป็นไป
แบบง่าย สวิทช์วงจรเปิดควบคุมดวงโคมทุกจุดภายในสิมไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงแสงสว่างกับแสงที่
ได้จากช่องเปิดและประตูทางเข้า แม้ว่าการใช้แสงสว่างหลักจะเป็นแสงประดิษฐ์ การใช้ธูปและ
เทียนไขเพื่อการกราบไหว้บูชาในสิม ยังพบในสิมบางหลังที่มีการอนุญาต ส่งผลให้เกิดเขม่า และ
ความสกปรกที่เกิดจากขี้เถ้าและ น้ําตาเทียนที่ละลายติดที่แท่นบูชา และพื้นรอบบริเวณแท่นบูชา

4.2 ผลการศึกษาปริมาณแสงสว่าง
ในอดีตการใช้งานสิมเพื่อประกอบการทําสังฆกรรมของพระสงฆ์ แสงสว่างที่จําเป็นเพื่อส่อง
ด้านหน้าองค์พระประธานโดยใช้เทียนไขและตะเกียงทิศทางแสงสว่างเป็นการส่องจากด้านล่าง
10

เพื่อให้แสงสว่างไปบริเวณผนังด้านหน้าองค์พระประธาน ลักษณะของแสงที่ได้มีความเคลื่อนไหว
ตามการเผาไหม้ของไส้เทียนและตะเกียง ปริมาณแสงที่ได้ไม่มากเพียงพอที่จะทําให้ผนังทุกด้านมี
ความสว่าง ทําให้บรรยากาศภายในสิมมีความสลัว เมื่อมีแสงสว่างที่ด้านหน้าเป็นหลักทําให้ การใช้
งานในระหว่างประกอบพิธี การมองเห็นจึงเน้นไปที่องค์พระ ในปัจจุบันการใช้สิมมีการเปลี่ยนแปลง
ทําให้ช่วงเวลาในการใช้งานและ การมองและกิจกรรมภายใน การใช้งานเพิ่มเติมแตกต่างไปจากอดีต
การให้แสงสว่างหลักโดยดวงโคมที่ใช้ได้แก่ โคมประเภทต่างๆ ที่ติดตั้งด้านบน แสงที่ได้จะเป็นแสงที่มี
ความนิ่ง การกระจายแสงไปทั้งพื้นที่เพื่อให้มองเห็น การพิจารณาความเหมาะสมของปริมาณแสง
สว่างจากการสํารวจที่แสดงในตารางที่ 1 เกณฑ์เพื่อการใช้งานทางสายตาที่แนะนําโดยสมาคมแสง
สว่างแห่งประเทศไทย พบว่าปริมาณแสงสว่างที่ต้องการเพื่อการเดินอยู่ที่ 100 lx การอ่าน การ
มองฮูปแต้ม และ พระประธานต้องการที่ 300 lx (สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย, 2559)
หากพิจารณาปริมาณความสว่างเทียบกับเกณฑ์พบว่าปริมาณแสงสว่างสําหรับกิจกรรมส่วนใหญ่ไม่
ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ก) (ข)

(ค) (ง)

ภาพที่ 7 ตําแหน่งการติดตั้ง และชนิดของหลอดไฟภายในสิม ได้แก่ (ก) โคมไฟแขวน (ข) โคมกลม


ติดใต้ฝ้าเพดาน (ค) โคมเปลือยหลอดฟลูออเรสเซนต์ และ (ง) โคมดาวน์ไลท์
11

วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น วัดสนวนวารี พัฒนาราม จังหวัดขอนแก่น

วัดสระทอง บ้านบัว จังหวัดขอนแก่น วัดป่าเลไลย์ จังหวัดมหาสารคาม

วัดโพธาราม จังหวัดมหาสารคาม วัดโกศลมัชฌิมาวาส จังหวัดนครพนม

วัดบูรพาราม จังหวัดนครพนม วัดพุทธสีมาจังหวัดนครพนม

ภาพที่ 8 แปลนสิมแสดงตําแหน่งช่องแสงของสิม และการติดตั้งดวงโคม


12

ตารางที่ 1 ปริมาณแสงสว่างภายในสิมจากการวัดแสงในการสํารวจ
ความสว่างเฉลี่ย (Illuminance- lx)
สิม ทางเดิน การอ่านระดับ 0.50 ม. พระประธาน ผนังฮูปแต้ม
ชื่อวัด
ที่ (100 lx) จากพื้น (300 lx) (300 lx)
(300 lx)
1 วัดไชยศรี 75 88 117 138
2 วัดสนวนวารี พัฒนาราม 187 229 431 252
3 วัดสระทอง บ้านบัว* 261 205 133 -
4 วัดโกศลมัชฌิมาวาส* 615 489 84 -
5 วัดบูรพาราม* 369 386 269 -
6 วัดพุทธสีมา 253 219 123 422
7 วัดป่าเลไลย์ 36 41 21 69
8 วัดโพธาราม 50 59 59 79
* ไม่มีภาพฮูปแต้มภายในสิม
** ช่องที่มีสีคือระดับแสงสว่างไม่ผ่านตามเกณฑ์
4.3 คุณภาพแสงสว่าง
การให้แสงสว่างเพื่อให้เหมาะสมกับบรรยากาศของสิม ควรส่งเสริมให้พระพุทธรูปที่ประดิษฐาน
และพื้นที่ในสิม เกิดมิติจากการมอง เพื่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศน่าศรัทธาของพื้นที่ภายในเมื่อ
เข้าไปใช้งาน รวมถึงการส่องเน้นภาพฮูปแต้มเพื่อการมองเห็นและเพิ่มความสวยงาม การติดตั้งและ
ประเภทดวงโคมที่ใช้ในสิมที่สํารวจ ทําให้การกระจายแสงกระจายแบบสม่ําเสมอดังแสดงในตารางที่
2 และไม่สร้างมิติด้านบรรยากาศภายใน การปรับปรุงวิธีการให้แสงสว่าง ทั้งตําแหน่งและอุปกรณ์
ที่ใช้ หากมีการปรับเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ ความสงบ ความน่าศรัทธา โดยการกําหนดตําแหน่ง
ติดตั้งให้แสงสว่างอย่างเหมาะสม เช่น การติดตั้งแสงสว่างเพื่อส่องเน้นให้มองเห็นเฉพาะจุดที่สําคัญ
เช่น องค์พระประธาน แสงสว่างที่ส่องเน้น ช่วยให้มองเห็นเพียงแต่องค์พระประธาน ก่อให้เกิดสมาธิ
ในการกําหนดจิต ขณะสวดมนต์ภาวนา การติดตั้งแสงสว่างส่องเน้นที่ผนังฮูปแต้ม ช่วยส่งเสริมให้
ลวดลายเด่น ชั ดขึ้น สามารถถ่า ยทอดเรื่อ งราวของภาพได้ โดยการมองเห็น รายละเอียดอย่า งมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น การติดตั้งแสงสว่างที่มีความสลัวในพื้นที่ทั่วไปภายในสิม เพื่อเกิดความต่างของ
แสงสว่างเพื่อให้เกิดจุดเด่น จุดรองในการมอง
คุณสมบัติของแสงสว่างโดยเกณฑ์ของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทยในการใช้งานในสิม
ทุกกิจกรรมทางสายตา ควรมีค่าดรรชนีการเรนเดอร์วัตถุ (Colour rendering index) ที่ไม่ต่ํากว่า
80 และค่าความสม่ําเสมอ (Contrast) ไม่ต่ํากว่า 0.4 ซึ่งเมื่อพิจารณาผลในตารางที่ 2 สิมทุกหลัง
ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด มีลักษณะอุณหภูมิของสีในโทนขาว (4,000-6,000 K) เนื่องจากหลอดที่เลือกใช้
ในสิม และจากลักษณะการสะท้อนแสงกับพื้นผิว ผนัง และฝ้าเพดาน ที่ส่งผลต่อสีของแสงที่ตกลงบน
13

พื้นผิวภายในสิม ทําให้อุณหภูมิสีที่วัดได้ มีความแตกต่างจากการให้แสงของสิมโดยเทียนหรือตะเกียง


ในอดีต ที่มีอุณหภูมิสีของแสงเป็นโทนอุ่น หรือประมาณ 3,000-3,500 K ใกล้เคียงสีของแสงที่ได้จาก
แหล่งกําเนิดแสงแบบสมัยก่อนจากเทียนไข และติดตั้งตําแหน่งของดวงโคมให้สร้างบรรยากาศของ
ความสงบ สมาธิ ความศักดิ์สิทธิ์ และน่าศรัทธา เมื่อเบื้องหน้าเป็นองค์พระประธานที่มีแสงสีโทน
อบอุ่น ส่องเน้นให้โดดเด่น ในห้องที่มีบรรยากาศแสงสลัว
ตารางที่ 2 การกระจายแสงสว่างและคุณสมบัติสีของแสงสว่างภายในวัดที่สํารวจ
Colour rendering ความ Correlated colour
สิม
ชื่อวัด index (Ra) สม่ําเสมอ temperature (K)
ที่
(Emin/ Eavg)
1 วัดไชยศรี 89 0.61 2,914
2 วัดสนวนวารี พัฒนาราม 82 0.59 3,409
3 วัดสระทอง บ้านบัว 91 0.54 4,136
4 วัดโกศลมัชฌิมาวาส 95 0.31 4,033
5 วัดบูรพาราม 99 0.49 4,386
6 วัดพุทธสีมา 96 0.46 4,720
7 วัดป่าเลไลย์ 87 0.59 4,602
8 วัดโพธาราม 81 0.56 5,104

4.4 แนวทางการให้แสงสว่างภายในสิม
ผลจากการสํารวจด้านแสงสว่างแสดงความสอดคล้องกับงานศึกษาเรื่องการให้แสงสว่างในพระ
อุโบสถรูปแบบแสงสว่างที่พบในสิมทั้ง 8 แห่ง ที่ติดตั้งดวงโคมแบบกระจายเพื่อให้แสงสว่าง ไม่
ส่งเสริมบรรยากาศของสิม หรือเหมาะสมสําหรับการใช้งาน ที่ส่งให้สิมมีบรรยากาศที่เกิดศรัทธาและ
ความสงบ หลักการให้แสงสว่าง อาจมีหลากหลายแนวทางเนื่องจากสิมมีการใช้งานที่เปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิม แต่ในบางวัดที่มีการสํารวจ สิมยังคงเป็นสถานที่สําหรับการสังฆกรรมและมีการเข้าชมเชิง
การท่องเที่ยงวัฒนธรรมในช่วงเวลาอื่นๆ ที่ไม่มีพระสงฆ์ประกอบกิจ ดังนั้นการให้แสงสว่างที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนตาม การใช้งาน เพื่อให้แสงสว่างในส่วนต่างๆ เช่นการให้แสงสว่างหลักส่งเสริมให้พระ
ประธานเป็นจุดเน้นภายในสิม การให้แสงสว่างเพียงพอเพื่อเน้นรูปแบบสถาปัตยกรรม หรือ การให้
แสงสว่างเพื่อให้มองเห็นภาพฮูปแต้ม อาจต้องพิจารณาเป็นกรณี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจาก
รูปแบบสิมที่สํารวจในงานศึกษานี้ มีแนวทางการให้แสงสว่างที่สามารถใช้ร่วมกันเบื้องต้น คือ การ
สร้างบรรยากาศให้กับสภาพแวดล้อมภายในซึ่งการให้แสงสว่างที่ดีสามารถส่งผลต่อการรับรู้ อารมณ์
ความรู้สึก (พรหมธิดา มิเลียง, 2558) รวมถึงทิศทางของการให้แสงสว่าง เนื่องจากดวงโคมที่ติดตั้งจะ
14

ให้แสงสว่างที่องค์พระประธานและสิมภายในจากด้านบน ซึ่งแตกต่างจากการให้แสงจากเทียนไขหรือ
ตะเกียงในสมัยอดีต
แนวทางการปรับปรุงสําหรับแสงสว่างของสิม อ้างอิงตัวแปรจากเกณฑ์การให้แสงสว่างของ
อาคาร (CIBSE, 2002) และการวิเคราะห์ผลที่พบจากการสํารวจอาจกําหนดเป้าหมายสําคัญในการ
ให้แสงสว่างสําหรับสิมโบราณ ดังนี้ (1) ความปลอดภัย เพื่อคํานึงถึงอุปกรณ์ที่อาจมาทดแทนแสงจาก
ธูปและเทียนไข เช่น ธูปและเทียน LED เพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้งานและอาคารด้านอัคคีภัย และ
ผลกระทบจากควันและฝุ่นจากธูปและเทียนไข (2) กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสิมพิจารณาตัวแปรที่ส่งผลต่อ
การมองเห็น เพิ่มดวงโคมเพื่อให้ปริมาณแสงสว่างเพียงพอในการใช้งาน และ (3)ส่งเสริมบรรยากาศ
ของสิม และส่งเสริมให้เกิดความน่าสนใจ ความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่องค์พระประธาน หรือส่งเสริม
ให้เกิดความรู้สึกในการเข้ามาใช้งานสิม โดยการใช้คุณสมบัติด้านสี เช่น ดรรชนีการเรนเดอร์วัตถุ
(Colour rendering index) หรือ อุณหภูมิสีของของหลอดไฟ Correlated colour temperature)
เพื่อให้แสงสว่างเหมาะสมเชิงปริมาณและคุณภาพแสงสว่าง รูปแบบการติดตั้งดวงโคมที่เลือกเปิดปิด
ตามการใช้งาน โดยระบบแสงสว่างที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้แสงสว่างตามการใช้งานตามช่วงเวลาสําหรับ
สิมที่ยังมีการใช้งานโดยพระสงฆ์ เพื่อทําสังฆกรรม และปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจเพื่อ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในบางช่วงเวลา จะทําให้การใช้งานสิม มีความหลากหลายและเป็นไปตาม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5. สรุปการศึกษา
การไม่สนองต่อประโยชน์ใช้สอยและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป และการขาด
จิตสํานึกของชุมชน สิมที่มีการอนุรักษ์ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ถูกทิ้งร้าง การส่งเสริมให้
สิมคงอยู่เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของพื้นถิ่น และ สนองประโยชน์ใช้สอยที่ปรับเปลี่ยนไป การใช้แสง
สว่างเพื่อการใช้งานที่หลากหลายขึ้น และเพิ่มความสวยงามให้กับสถาปัตยกรรม เพื่อคงคุณค่าของ
สิมด้านสุนทรียภาพ ศิล ปกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ข้อมูลได้จากทฤษฎีและข้อมู ลในการ
สํารวจ กําหนดแนวทางการให้แสงสว่างที่สําคัญเพื่อตรวจสอบเริ่มต้นสําหรับการปรับปรุงแสงสว่างให้
สิมแต่ ละหลั ง งานศึกษาเพื่อใช้แ สงสว่ า ง ร่วมส่งเสริมคุณ ค่า ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ
ตอบสนองการใช้งานพื้นที่ และผู้ใช้อาคารที่เปลี่ยนแปลง เพื่ออนุรักษ์สิมอีสานที่เหลือน้อย และอาจ
มีส่วนช่วยให้ชุมชนเกิดความภูมิใจ และผูกพันกับตัวอาคารทําให้เกิดการเก็บดูแลรักษาต่อไป
การติดตั้งระบบแสงสว่างเพื่อให้ความสว่างภายนอกสิม เป็นประเด็นที่ควรศึกษาร่วมเพิ่มเติม
เพื่อให้สมบูรณ์ ในการศึกษานี้มีเพียงสิม วัดสระทอง บ้านบัว จังหวัดขอนแก่น และวัดโกศลมัชฌิมา
วาส จังหวัดนครพนม ระบบแสงสว่างที่ติดตั้งใช้ดวงโคมภายนอกแบบฝังพื้น ส่องไปยังผนังภายนอก
อาคารและตกแต่งอาคาร โดยที่ไม่ได้มีการเน้นเพื่อส่งเสริมรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความ
สวยงาม
15

6. กิตติกรรมประกาศ
งานศึก ษานี้ไ ด้รับ ทุน สนับ สนุน จาก มหาวิท ยาลัย ขอนแก่น และคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียนขอขอบคุณ อาจารย์อาณัฐพงษ์ ภาระหัส อาจารย์มาณพ ต้นเคน
และ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้างและสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และอาจารย์ศุภโชค สนธิไชย สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน
และนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

7. เอกสารอ้างอิง
CIBSE. (2002). Code for Lighting. London: Butterworth Heinemann.
ติ๊ก แสนบุญ. (2561). สิมอีสาน สถาปัตยกรรมอันเป็นอัตลักษณ์อีสาน. ได้จาก
https://www.isangate.com/new/isan-land/32-art-culture/knowledge/527-sim-
isan.html [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์, 2562].
ไธพัตย์ ภูชิสส์ชวกรณ์. (2554). สิมอีสาน...จากวาทกรรมถึงบทวิเคราะห์: แผนผัง ที่ว่าง รูปด้าน
รูปทรง และการดํารงอยู่. หน้าจั่ว 7 (กันยายน 2553 - สิงหาคม 2554), 189-214.
นริศา พงศ์ศรีเพียร และพรรณขลัท สุริโยธิน. (2558). การออกแบบแสงสว่างบริเวณโถงที่
ประดิษฐานพระพุทธรูปภายในสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร.
Building Technology Alliance Conference on Energy and Environment, 2(1),
12.
พรหมธิดา มิเลียง. (2558). อิทธิพลของการให้แสงสีภายนอกอาคาร ต่อการรับรู้สภาพบรรยากาศ
และความรู้สึกสงบ กรณีศึกษาโบสถ์วัดกาลหว่าร์ กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
วีระยุต ขุ้ยศร. (2560). การศึกษาตําแหน่งช่องเปิดที่ส่งผลด้านแสงสว่างต่อพระประธานภายในพระ
อุโบสถ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 24(1).
สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือแนวทางการออกแบบ การส่องสว่างภายใน
อาคาร. กรุงเทพ: สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย.

You might also like