You are on page 1of 127

 

โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มี
ต่อเครื่องประดับอัญมณี 
ของบุคลากรเเละนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยี
ธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(A study of attitudes and beliefs toward
jewelry.of staff and students faculty of
Geotechnology Khon Kaen University )
                                                    
คณะผู้จัดทำ
นางสาวบุษยาภรณ์ แก้วทอง                รหันัก
ศึกษา  643021443-9
นายจิร พัน ธ์ เพราะขุน ทด          รหัส
นักศึกษา  653160009-0
นายวชิร ปาณี วงค์ต าขี่                 รหัส
นักศึกษา  653160013-9
นางสาวจารุก ัญ ญ์ คำภิร ะ                   รหัส
นักศึกษา 653160119-3
นางสาววรรณการต์ บุญ ประเสริฐ         รหัส
นักศึกษา  653160130-5

กลุ่มย่อยที่ 2 Section 14
       สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี 
 
เสนอ
              อาจารย์ เบญญาภา วิลัยปาน 
 
โครงงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา  GE 151 144 พหุ
วัฒนธรรม (Multiculturalism) 
สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2565

บทคัดย่อ
ชื่อโครงงาน การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีผลต่อเครื่องประดับ
อัญมณีของบุคลากร และนักศึกษา สาขาวิชาทคนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น

ชื่อวิชา GE151144 พหุวัฒนธรรม

คณะผู้จัดทำ นางสาวบุษยาภรณ์ แก้วทอง รหัสนักศึกษา


643021443-9

นายจิรพันธ์ เพราะขุนทด รหัสนักศึกษา


653160009-0

นายวชิรปาณี วงค์ตาขี่ รหัสนักศึกษา


653160013-9

นางสาวจารุกัญญ์ คำภิระ รหัสนักศึกษา


653160119-3

นางสาววรรณกานต์ บุญประเสริฐ รหัสนักศึกษา


653160130-5

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ เบญญาภา วิลัยปาน

บทคัดย่อ

การจัดทำโครงงาน การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่อง
ประดับอัญมณีของบุคลากรเเละนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี ้ 1. เพื่อศึกษาประวัติความ

เป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีในสังคมไทย 2. เพื่อ


ศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากรและนักศึกษาสาขา
วิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น และ 3.เพื่อศึกษาความเชื่อที่มี
ต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยี
ธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
คณะผู้จัดทำโครงงานได้เลือกการเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจภาค
สนามผ่านการสัมภาษณ์บค
ุ ลากรและนักศึกษา จำนวนทัง้ หมด 5 คน โดย
เป็ นบุคลากรจำนวน 3 คน และนักศึกษาจำนวน 2 คน จากนัน
้ นำผลที่ได้
มาวิเคราะห์
สรุปผลได้ว่าบุคลากรและนักศึกษาทุกคนมีเครื่องประดับอัญมณี ทัง้
ใช้สวมใส่ พกติดตัวและประดับสถานที่ โดยเชื่อว่าเครื่องประดับอัญมณี
เปรียบเสมือนเครื่องรางหรือวัตถุยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ช่วยในเรื่องโชคลาภ
เงินทอง โดยให้ความคิดเห็นว่ามีการโยงข้อมูลวันเดือนปี เกิด ดวงดาวใน
ระบบสุริยะจักรวาลเข้ากับความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งอยู่ใน
ศาสตร์ที่เรียกว่า โหราศาสตร์ ที่มีมานานก่อนพระพุทธศาสนา สืบทอดมา
จากอินเดียสู่ไทยตัง้ แต่สมัยสุโขทัย ทำให้การเลือกชนิดอัญมณีในสวมใส่
เพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย มักใช้วันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์ในการพิจารณา
และให้ความเห็นว่าในอนาคตความเชื่อจะยังคงอยู่และเพิ่มมากขึน
้ หรือ
อาจจะลดลงเนื่องวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึน
้ แต่การใช้เครื่อง
ประดับอัญมณีจะไม่เลือนหายไปอย่างแน่นอน
คำสำคัญ : ทัศนคติ,ความเชื่อ,อัญมณี

กิตติกรรมประกาศ
การจัดทำโครงงาน การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่อง
ประดับอัญมณีของบุคลากรเเละนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี

มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถดำเนินการจนสำร็จลุล่วงไปได้ด้วยความ
กรุณา ความช่วยเหลือ และคำแนะนำที่ดีและเป็ นประโยชน์จากหลายๆ
ท่าน ทางคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ อาจารย์ เบญญาภา วิลัยปาน
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงานและอาจารย์ประจำรายวิชา ที่ได้ให้ความกรุณา
อย่างสูง ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแนะแนวทางความรู้ในการ
ทำโครงงาน การตรวจทานและแก้ไข ข้อบกพร่องของโครงงาน ตลอดจน
ความห่วงใยและเป็ นกำลังใจแก่คณะผู้จัดทำ ทำให้โครงานฉบับนีส
้ ามารถ
สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีขอขอบคุณสมาชิกในกลุ่ม สำหรับการช่วยแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน และ การค้นคว้าหาข้อมูลเอกสารทาง
วิชาการ บทความ และงานวิจัย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ให้โครงงานฉบับนี ้
สมบูรณ์ยิ่งขึน
้ ขอขอบคุณบุคลากรและ นักศึกษากลุ่มเป้ าหมาย ที่ได้
กรุณาให้ผู้จัดทำได้สัมภาษณ์สอบถามถึง ทัศนคติและความเชื่อที่มีผลต่อ
เครื่องประดับอัญมณี ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีธรณี
ทำให้ ทางคณะผู้จัตทำได้ข้อมูลที่สำคัญและเป็ นประโยชน์ต่อโครงงาน
ฉบับนีใ้ นท้ายที่สุดนี ้ คณะผู้จัดทำได้มีความหวัง เป็ นอย่างยิ่งว่า โครงงาน
ฉบับนีจ
้ ะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ศึกษารายละเอียดที่มีความเกี่ยวข้อง
กับการศึกษา ทัศนคติความชื่อที่มีผลต่อเครื่องประดับอัญมณี ของ
บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต่อไป

คณะผู้
จัดทำ

สารบัญ
เรื่อง
หน้า
บ ท ค ัด ย ่อ

กิตติกรรมประกาศ

ส า ร บ ัญ

ส า ร บ ัญ ต า ร า ง

ส า ร บ ัญ ภ า พ

บทที่ 1 บทนำ
1.1 ท ี่ม า แ ล ะ ค ว า ม ส ำ ค ัญ
1
1.2 ว ัต ถ ุป ร ะ ส ง ค ์
3
1.3 ข อ บ เ ข ต ข อ ง ก า ร ศ ึก ษ า
3
1.4 ป ร ะ โ ย ช น ์ท ี่ค า ด ว ่า จ ะ ไ ด ้ร ับ
3
1.5 น ิย า ม ศ ัพ ท ์เ ฉ พ า ะ
4
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 เอกสารงานที่เกี่ยวข้อง 6
2.1.1 อัญมณี 6
2.1.2 ความสำคัญเละแหล่งอัญมณีที่ สำคัญในประเทศไทย
12
2.1.3 ความเชื่อ 12
2.1.4 อัญมณีกับความเชื่อ 14
2.1.5 ค ว า ม เ ช ่ อ
ื เ ร่อ
ื ง อ ัญ ม ณ ีข อ ง ค น ไ ท ย ใ น ปั จ จ ุบ ัน
14
2.1.6 อัญมณีกับราศีเกิด หรืออัญมณี กับวัน/เดือน/ปี เกิด 16
2.1.7 แนวคิดและทฤษีเกี่ยวกับความ เชื่อเรื่องอัญมณี 27

2.1.8 ทัศนคติ 30
2.1.9 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหา
วิทยาลัยขอนเเก่น 31
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 32

บทที่3 วิธีการดำเนินงาน
3.1 พื้นที่เป้ าหมาย 35
3.2 ประชากรเป้ าหมาย
35
3.3 ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน 36
3.4 เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล 36
3.4.1 เครื่องมือ 36
3.4.2 แบบสัมภาษณ์ 37
3.5 การเก็บรวบรวม 38
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 38
3.7 การนำเสนอข้อมูล 39

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
4.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับ
40
อัญมณีในสังคมไทย
4.2 เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อ เครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา 43

สาขาวิชาเทคนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.3 เพื่อศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา 48
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
บทที่5 สรุปอภิปราย และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล 53
5.2 อภิปรายผล 53
5.3 ข้อเสนอแนะ 54
บรรณานุกรม 57
ภาคผนวก ก 61
ภาคผนวก ข 63

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

ตารางที่1 ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน 36

ตารางที่2 แบบสัมภาษณ์ 37

ตารางที่3 ข้อมูลผู้ถูกสัมภาษณ์ 40

ตารางที่4 คำถามข้อที่ 4 คุณคิดว่าความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี


เกิดขึน
้ มาได้อย่างไร 41

ตารางที่5 คำถามข้อทที่ 2 คุณมีทัศนคติเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี


อย่างไร 43

ตารางที่6 คำถามข้อที่ 6 คุณมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับเครื่องประดับ


อัญมณี 44

ตารางที่7 คําถามข้อที่ 7 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบุคคลที่มีความเชื่อ


เรื่องเครื่องประดับ 45

ตารางที่ 8 คําถามข้อที่ 8 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความเชื่อ


เรื่องเครื่องประดับอัญมณี 45 ในปั จจุบัน

สารบัญภาพ
ภาพที่
หน้า

1 ภาพการสัมภาษณ์ นางสาวเมธิณี จันทร์นาค


64

2 ภาพการสัมภาษณ์ นายศุภกฤต ศีรษะพล


64

3 ภาพการสัมภาษณ์ นางฐิติรัตน์ อินสาลี 65

4 ภาพการสัมภาษณ์ นายสมพล จรรยากรณ์ 65

5 ภาพการสัมภาษณ์ นายพิทักษ์สิทธิ ์ ดิษฐ์บรรจง 66

6 ภาพสมาชิกกลุ่มทำรูปเล่มโครงงาน 66

7 ภาพสมาชิกกลุ่มช่วยกันรวบรวมข้อมูล 67
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ

มนุษย์เราได้ร้จ
ู ักอัญมณีมาเป็ นเวลานานกว่า 4,000 ปี พร้อมกับ
ความเชื่อที่ว่า “อัญมณี” เมื่อนำมาพกติดตัวจะสร้างความเป็ นมงคลให้แก่
ตนเอง จากหลักฐานที่ค้นพบเครื่องประดับที่นิยมฝั งไว้กับศพคนตาย
เช่น เครื่องประดับที่ทำจากหินในยุคแรกจนถึงเครื่องประดับของหินสีหรือ
อัญมณี หลักฐานเหล่านีเ้ ป็ นสิ่งที่บ่งชีว้ ่ามนุษย์นน
ั ้ นิยมใช้เครื่องประดับ
อัญมณีมานานนับพันปี โดยมุ่งเน้นที่ความสวยงาม เสริมความเป็ นสิริ
มงคลแก่ตนเอง ทำให้ดูมีราศีเด่นเป็ นสง่าแก่ผู้ทพ
ี่ บเห็น และสามารถบ่ง
บอกถึงฐานะทางการเงินของผู้ที่สวมใส่ได้อีกด้วย (อัญมณีและความเชื่อ)
อัญมณี (natural gems) หมายถึง วัตถุธรรมชาติ ซึง่ ส่วนใหญ่จะ
เป็ นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นหินบางชนิด หรือเป็ นสาร
อินทรีย์บางชนิด ที่มีความคงทนถาวร ความสวยงามและความหายาก
สามารถนำมาเพิ่มความสวยงามด้วยการขัดเงา เจียระไน และแกะสลัก
นิยมนำมาใช้เป็ นเครื่องประดับหรือของประดับตกแต่ง และมีการตัง้ มูลค่า
สำหรับหรับการซื้อขาย (Burapha Gemological Laboratory ,2546)
ปั จจุบันอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็ นสินค้าส่งออกสำคัญในอันดับต้น
ๆ ของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมดัง
กล่าวและมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็ นศูนย์กลางการผลิต
2

และการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในระดับโลก โดยมีนโยบายสำคัญใน
การผลักดันในทุกมิติ ทัง้ ด้านภาษีและลดกฎระเบียบในการนำเข้าวัตถุดิบ
ต่าง ๆ เพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค่าในประเทศ การสร้างความมั่นใจในการ
ซื้อขายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ทำให้ธุรกิจใน
อุตสาหกรรมนี ้ เกิดความยั่งยืน (ทะนง ลีลาวัฒนสุข,มาลิน เศวตกิติธรรม
และวาสนา แววศรี ,2564)
ความเชื่อเป็ นธรรมชาติที่เกิดขึน
้ กับมนุษย์ และถือว่าเป็ นวัฒนธรรม
ของมนุษย์อย่างหนึ่ง การดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณที่มีความ
เจริญทางด้านวิชาการน้อย ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึน
้ และการ
เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่าเป็ นการบันดาลให้เกิดขึน
้ จาก
อำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ เป็ นต้น หรือ เป็ นการยอมรับ
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึง่ เป็ นความจริงหรือเป็ นสิ่งที่เราไว้ใจ ไม่จำเป็ นว่าจะต้องเป็ น
ความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆ เช่น คนที่เชื่อ
ในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อตัว
มนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลัง
ให้คณ
ุ ให้โทษแก่ตนได้จริง ตัวอย่างของความเชื่อ ได้แก่ ไสยศาสตร์
โหราศาสตร์ โชคลาง ของขลัง ผีสาง นางไม้ ความเชื่ออำนาจลึกลับ สิ่ง
ศักดิส์ ิทธิ ์ อิทธิฤทธิป
์ าฏิหาริย์ เหล่านีเ้ ป็ นต้น(ความเชื่อ) เป็ นที่น่าแปลกใจ
ว่าถึงแม้เวลาจะผ่านมาแล้วกี่ยุคกีส
่ มัยแต่ความเชื่อในเรื่องเครื่องราง หรือ
สิ่งศักดิส์ ิทธ์ โดยเฉพาะในเรื่องเครื่องประดับอัญมณีกับ 12 ราศี ยังคงฝั ง
แน่นอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน ในสมัยโบราณมนุษย์ได้ให้ความ
สำคัญกับอัญมณีในฐานะเป็ นเครื่องประดับเป็ นเครื่องรางสำหรับป้ องกัน
ภยันตราย หรือแม้แต่การรักษาโรค เมื่อความสวยงามรวมเข้ากับความ
3

เชื่อในพลังอำนาจของอัญมณีเหล่านี ้ จึงทำให้อัญมณีกลายเป็ นสิ่งมีค่าที่


อยู่คู่กับมนุษย์มาตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบันความเชื่อในพลังแห่งอัญมณี
ทำให้เกิด ทฤษฎีประจำราศีขน
ึ ้ หลายทฤษฎี ทัง้ แบบตะวันตก ตะวันออก
แบบของยิว หรือแม้แต่ของไทยเอง โดยแนวคิดเกี่ยวกับอัญมณีกับ 12
ราศี เป็ นแนวคิดหนึง่ ในการเลือกอัญมณีประจำราศี ตามอิทธิพลแห่ง
ดวงดาวและธาตุ ซึง่ เชื่อว่ามีผลต่อการกำหนดความเป็ นไปในธรรมชาติ
และวิถีชีวิตมนุษย์ ทัง้ นีเ้ พราะผู้บริโภคในปั จจุบันได้ให้ความสำคัญกับการ
ออกแบบที่สอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมและความเชื่อมากยิ่งขึน
้ นัก
ออกแบบและนักการตลาดจึงสะท้อนแนวคิดของสินค้าเพื่อกระตุ้นการ
ตัดสินใจซื้อ ซึ่งการตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีความชอบและความเชื่อส่วน
บุคคล ตราบใดที่ผู้บริโภคจำนวนมากในสังคมเอเชียยังให้ความสำคัญกับ
ความเชื่อด้านไสยศาสตร์ ฮวงจุ้ย หรือแม้แต่ เรื่องการดูดวง ฯลฯ ก็จะ
ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเชื่อเรื่องการเสริมราศีและความ
เป็ นสิริมงคลมีมากขึน
้ (นพดล สมฤกษ์ผล ,2552)
ในทางวิทยาศาสตร์นน
ั ้ หากหินเหล่านีม
้ ีพลังออกมา อย่างมากก็อยู่
ในรูปรังสี และส่วนใหญ่ควรจะพบกับหินหรือแร่ธาตุกัมมันตรังสีที่มีความ
อันตรายอย่างมากต่อร่างกาย ดังนัน
้ การที่อัญมณีจะได้ผลหรือไม่ได้ผล ก็
ขึน
้ อยู่กับความเชื่อมากกว่า (เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, 2558) หากมองใน
มุมจิตวิทยา อัญมณีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันที่ ค่าของความแข็ง การ
ให้แสง รวมถึง สี ความกระจ่างใส และ แหล่งกำเนิด โดยแสงหรือ
ประกายที่สะท้อนออกมาจากอัญมณีแต่ละสีนน
ั ้ คลื่นแสงแต่ละคลื่นจะส่ง
ผลต่อคลื่นสมอง ตา และใจ ของคนเราแตกต่างกัน ก่อให้เกิด
อารมณ์ ความรู้สึกทัง้ ผู้สวมใส่และผู้พบเห็นแตกต่างกัน สิ่งเหล่านีจ
้ ึงก่อให้
4

เกิดความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีต่างๆ มากมาย (บมจ.ธนาคารกรุง


ไทย,2566.รวมความเชื่ออัญมณีจากทั่วโลก ) เครื่องประดับเมื่อมาอยู่บน
ร่างกายของมนุษย์สามารถทำให้บุคลิกภาพดูดีขน
ึ ้ ดึงดูดผูค
้ นให้สะดุดตา
และทำให้มีความมั่นใจในตนเอง ในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต
ประจำวัน ทัง้ นีข
้ น
ึ ้ อยู่ที่วิจารณญานของแต่ละบุคคล
ผู้จัดทำโครงงานในฐานะที่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เรียนรู้
พื้นฐานเรื่องอัญมณี หินและแร่ และแลงเห็นว่าปั จจุบันผู้คนให้ความสนใจ
ในการใช้เครื่องประดับอัญมณีมากขึน
้ พร้อมกับความเชื่อของแต่ละบุคคล
ที่ต่างกันออกไป ผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจในประวัติความเป็ นมา
ของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีในประเทศไทย นำไปสู่การ
ศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากรและ
นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำผลมา
วิเคราะห์ทัศนคติและความเชื่อของบุคลากรและนักศึกษา ในฐานะที่มี
ความรู้เรื่องอัญมณีเหมือนกัน

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยว


กับอัญมณีในสังคมไทย 
5

1.2.2 เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนเเก่น
1.2.3 เพื่อศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอน
เเก่น

1.3 ขอบเขตของการศึกษา

1.3.1 ระยะเวลาในการศึกษา : วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 – วัน


ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566
1.3.2 กลุ่มเป้ าหมาย : บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยี
ธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
โดยกำหนดกลุ่มเป้ าหมายไว้ดังนี ้ 1) นักศึกษาจำนวน 2 คน 2) บุคลากร
จำนวน 3 คน
1.3.3 รูปแบบการเก็บผลดำเนินงาน : การสัมภาษณ์
1.3.4 สถานที่ดำเนินงาน : ภาควิชาสาขาเทคโนโลยีธรณี คณะ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
1.3.5 ขอบเขตด้านเนื้อหา : การจัดทำโครงงานครัง้ นีม
้ ุ่งศึกษาใน
เรื่อง ประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีใน
สังคมไทย  และการศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่ออัญมณีของ
นักศึกษาและบุคลากร สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
6

1.5.1 ได้ทราบประวัติความเป็ นมาและความเชื่อที่มีต่ออัญมณีใน


สังคมไทย 
1.5.2 ได้ทราบทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณี
ของนักศึกษาและบุคลากร สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น
1.5.3 เป็ นประโยชน์หรือแนวทางต่อผู้ที่เข้ามาอ่านหรือเข้ามาศึกษา
เพื่อนำไปต่อยอดต่อไป
1.5.4 ได้ใช้ความรู้พ้น
ื ฐานเกี่ยวกับอัญมณีที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์
ในการต่อยอดทำโครงงาน

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 

1.5.1 อัญมณี (natural gems) หมายถึง วัตถุธรรมชาติ ซึ่งส่วน


ใหญ่จะเป็ นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นหินบางชนิด หรือ
เป็ นสารอินทรีย์บางชนิด มีความคงทนถาวร ความสวยงาม และความ หา
ยาก สามารถนำมาเพิ่มความสวยงามด้วยการขัดเงา เจียระไน แกะสลัก
นิยมนำมาใช้เป็ นเครื่องประดับหรือ ของประดับตกแต่ง และมีการตัง้ มูล
ค่าสำหรับหรับการซื้อขาย อัญมณีแบ่งเป็ น 2 กลุ่ม คือ เพชร (diamond)
และพลอย (colored stones)
7

- อัญมณีอนินทรีย์ (inorganic gems) อัญมณีที่เกิดขึน


้ เองตาม
ธรรมชาติ จำพวก แร่ และหิน
- อัญมณีอินทรีย์ (organic gems) อัญมณีที่เกิดขึน
้ เองตาม
ธรรมชาติ ได้มาจากสิ่งมีชีวิต
- อัญมณีสังเคราะห์ (Synthetic gemstone) อัญมณีที่มนุษย์สร้าง
ขึน
้ ให้มีองค์ประกอบทางเคมีและ ทางกายภาพเหมือนอัญมณีธรรมชาติ
- อัญมณีเลียนแบบ (imitated gemstone) อัญมณีที่มนุษย์สร้าง
ขึน
้ ให้มีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือคล้ายกับอัญมณีชนิดหนึ่ง แต่
องค์ประกอบทางเคมีไม่เหมือนกัน
- อัญมณีปะกบ (assembled gernstones) การนำชิน
้ ส่วนของ
อัญมณีธรรมชาติ อัญมณีสงั เคราะห์ หรืออัญมณีเลียนแบบมาปะรวมกัน
ให้ได้อัญมณีปะกบที่มีลักษณะเป็ นอัญมณีเดียว
1.5.2 ทัศนคติ หมายถึง แนวความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดของ
บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนเเก่น ที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณี โดยมีเหตุผลประกอบ
1.5.3 ความเชื่อ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจและการยอมรับ
นับถือของบุคลากรและนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนเเก่น ที่เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ต้องมีเหตุผลใดมาสนับสนุนหรือ
พิสูจน์ ทัง้ นีบ
้ างอย่างอาจมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรืออาจ
จะไม่มีหลักฐานที่จะนำมาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนัน
้ ก็ได้
1.5.4 สาขาวิชาเทคโนโลยธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมายถึง
สาขาที่ม่งุ เน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พ้น
ื ฐานทางวิทยาศาสตร์และหลัก
การทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีธรณี ได้แก่ การ
สำรวจ ค้นหาวิเคราะห์ทำความเข้าใจและสร้างแบบจำลอง พร้อมทัง้ การ
อนุรักษ์ทรัพยากรดิน หิน แร่ น้ำใต้ดิน และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำเอา
8

ทรัพยากรเหล่านีไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็ นหลักสูตรเดียวใน


ประเทศไทยที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางธรณีวิทยาเพื่อการทำงานเชิง
วิศวกรรม
1.5.5 ราศี หรือ ราศีเกิด หมายถึง การดูดวงตามวันเดือนปี เกิดของ
ตัวเราเอง และในทางโหราศาสตร์ของไทยนัน
้ ได้จัดแบ่งราศีตามวันเกิด
ของคนเราตามการหมุนของดวงอาทิตย์ไว้ 12 ราศีไว้ดังนี ้
ราศีเมษ (15 เมษายน – 14 พฤษภาคม )
ราศีพฤษภ (15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน)
ราศีเมถุน (15 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม)
ราศีกรกฎ(16 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม)
ราศีสิงห์ (17 สิงหาคม – 15 กันยายน)
ราศีกันย์ (16 กันยายน – 16 ตุลาคม)
ราศีตุลย์ (17 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน)
ราศีพิจิก (16 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม)
ราศีธนู (16 ธันวาคม – 13 มกราคม)
ราศีมังกร (14 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์)
ราศีกุมภ์ (13 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม)
ราศีมีน (14 มีนาคม – 14 เมษายน)
9

บทที่2 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
10

โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่ออัญมณีของ
บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี ้
 
2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1.1 อัญมณี 
2.1.2 ความสำคัญและแหล่งอัญมณีที่สำคัญในประเทศไทย 
2.1.3 ความเชื่อ 
2.1.4 ความเชื่อเรื่องอัญมณีของคนไทยในอดีต-ปั จจุบัน 
2.1.5 อัญมณีกับราศีเกิด หรือ อัญมณีกับวัน เดือน ปี เกิด 
2.1.6 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องอัญมณี 
2.1.7 ทัศนคติ 
2.1.8 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยา
ลัยขอนเเก่น 
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1.1 อัญมณี 
   2.1.1.1 ความหมายของคำว่าอัญมณี 
อัญ มณี  คือ มวลของแข็ง ที่ป ระกอบไปด้ว ยแร่ ชนิด เดีย วกัน หรือ
หลายชนิด รวมตัว กัน อยู่ต ามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึน
้ จาก สาร
อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลก ส่วน
ใหญ่เป็ นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนัน
้ เปลือกโลกส่วนใหญ่มัก
เป็ นแร่ต ระกูล ซิล ิเ กต นอกจากนัน
้ ยัง มีแ ร่ต ระกูล คาร์บ อเนต เนื่อ งจาก
11

บรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็ นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลาย
ค า ร ์บ อ น ไ ด อ อ ก ไ ซ ด ์บ น บ ร ร ย า ก า ศ ล ง ม า ส ะ ส ม บ น พ ้น
ื ด ิน แ ล ะ
มหาสมุทร สิ่ง มีช ีวิต อาศัย คาร์บ อนสร้า งธาตุอ าหารและร่า งกาย แพลง
ตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับ ถมกัน เป็ นตะกอน
หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง ๆ
อัญมณีอาจจะเรียกว่า รัตนชาติ หรือเพชรพลอยก็ได้ ปั จจุบันทัง้
สามคำนีใ้ ช้ส่ อ
ื ความหมายเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ อัญมณีและรัตน
ชาติมักจะใช้เรียกเป็ นทางการ ส่วนเพชรพลอยเป็ นคำเรียกทั่วไป สำหรับ
ความแตกต่างของคำว่า อัญมณีและรัตนชาติ คือ รัตนชาติ หมายถึง แร่
หรือหินมีค่าหรือกึ่งมีค่า ซึ่งเมื่อผ่านการตกแต่ง เช่น ขัดมัน เจียระไน หรือ
แกะสลักแล้ว จะมีคุณสมบัติเป็ นอัญมณีเครื่องประดับ หรือเครื่องเพชร
พลอย (Jewelry) ได้ อัญมณี หมายถึง รัตนชาติที่ผ่านการตกแต่ง
เรียบร้อยแล้ว คำว่า อัญมณี รัตนชาติ และเพชรพลอย ตรงกับภาษา
อังกฤษว่า Gemstones และ Gems ดังนัน
้ ความหมายโดยรวมแล้ว
อัญมณี หรือรัตนชาติ คือ วัตถุธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็ นสารอนินทรีย์
ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นสารอินทรีย์บางชนิด เช่น ไข่มุก อำพัน ฯลฯ
หรือเป็ นหินบางชนิด เช่น ลาพิส - ลาซูลี โอนิกซ์มาร์เบิล ฯลฯ วัตถุเหล่า
นีส
้ ามารนำมาตกแต่ง ขัดมัน เจียระไน แกะสลัก ใช้เป็ นเครื่องประดับได้
มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ความสวยงาม ความคงทนถาวร และความหา
ยาก
แร่รัตนชาติที่เป็ นอัญมณีหรือเพชรพลอยต่าง ๆ จะมีลก
ั ษณะและ
คุณสมบัติที่สำคัญ  คือ มีความสวยงาม มีความแข็งคงทนต่อการถูกขูดขีด
และเป็ นสิ่งที่หาได้ยาก หมายความว่า แร่รัตนชาติมิได้มีเหมือนกันทุก
ประเทศ บางประเทศมีเพชรมาก เช่น แอฟริกาใต้ ประเทศไทย และพม่า
มีทับทิมที่มีคุณภาพดี สีสวย เป็ นที่ร้จ
ู ักดีทั่วโลก  ประเทศออสเตรเลียมี
12

โอปอที่มีค่าสูงและสวยงาม  ประเทศจีน มีหยก ประเทศญี่ปุ่นมีไข่มุก


ฯลฯ  ความสวยงามของอัญมณีอยู่ที่สี ประกายแวววาว และความใส
สะอาด ซึง่ เป็ นผลจากการเจียระไนประกอบกันทำให้คุณสมบัติดังกล่าว
เด่นชัดขึน
้   คุณสมบัตินเี ้ ป็ นสิง่ ที่มีอยู่ในตัวเพชรพลอยแต่ละชนิดมีมา
ตัง้ แต่เกิดเองตามธรรมชาติ เพชรพลอยชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ตาม
อาจมีสีอ่อนแก่มีความใสหรือขุ่นมัวหรือมีมลทิน 
   ความหมายอัญมณีแต่ละชนิด 
มณีนพเก้าหรือนพรัตน์ 
1.เพชร สิริมงคล คือ เป็ นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย 
2.ทับทิม สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน 
3.มรกต สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้ องกันภัยอันตรายทัง้ ปวง 
4.บุษราคัม สิริมงคลคือ มีเสน่หเ์ ป็ นที่รัก 
5.โกเมน สิริมงคลคือ สุขภาพดี อายุยืนนาน 
6.นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย 
7.มุกดาหาร สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู 
8.เพทาย สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ 
9.ไพฑูรย์ สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้ องกันฟื นไฟ 
 
   
 
 
 
 
 
 
13

 หินและแร่ 
1.ทับทิม (Ruby) เสริมความรัก ความเมตตา ความร่ำรวย ปกป้ อง
คุ้มครอง ให้ความสนุกสนาน ป้ องกันฝั นร้าย ทับทิมเป็ นตัวแทนแห่งความ
รักอันบริสุทธิ ์ การอยู่ร่วมกันของหญิงชาย เสริมสร้างความรัก ความเข้า
อกเข้าใจ และยังใช้เป็ นหินบำบัดเกี่ยวกับพลังทางเพศ 
2.โกเมน (Garnet) ปกป้ องคุ้มครองช่วยให้สมปรารถนา กระตุ้นพลังทาง
เพศ แก้ไขปั ญหาด้านความรักความสัมพันธ์ ชาวอินเดียโบราณเชื่อว่า ใคร
ได้ครอบครองโกเมน จะช่วยให้รอดปลอดภัยในทุกๆ เรื่อง รวมถึงขับไล่
ภูตผีวิญญาณ หากนำมาประดับตกแต่งเป็ นเครื่องประดับ จะนำความโชค
ดีเสริมสิริมงคล มีโชคลาภ มั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ผู้เป็ นเจ้าของ 
3.ปะการัง (Coral) เป็ นเครื่องรางของขลังขจัดสิ่งชั่วร้าย ปกป้ องคุ้มครอง
ยามเดินทางไกล ปลอดภัยจากภยันตรายทัง้ ปวง ปะการังมีหลากหลายสี
แต่ละสีให้ความหมายเเตกต่างกันไป 
-สีแดง เหมาะกับผู้นำ  
-สีชมพูแดง เหมาะกับ นักคิดนักเขียน  
-สีส้ม เหมาะกับ ผู้ทำการค้า  
หินปะการังเป็ นหินที่เหมาะแก่บค
ุ คลซึ่งประกอบอาชีพดูแลทุกข์สุขของผู้
อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล  พกติดตัวไว้จะเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองใน
อาชีพการงาน 
4.เพทายแดง (Red Zircon) เพทายแดงเป็ นอัญมณีที่จัดอยู่ในชุดอัญมณี
นพเก้า หากสวมใส่อัญมณีชนิดนีเ้ ป็ นเครื่องประดับ จะเสริมลาภยศ ช่วย
ให้มีตำแหน่ง หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า ช่วยขจัดความเครียด ปกป้ อง
คุ้มครอง บำบัดสุขภาพ เสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นพลัง
จินตนาการ 
14

5.ทัวร์มาลีนแดง (Red Tourmaline) ช่วยปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย และ


จิตใจ ประสานรอยร้าว และนำความเข้าใจให้แก่กันและกัน หากเป็ นคนที่
ทำงานหนักเหนื่อยเพลียง่าย เกิดอาการเบื่อหน่าย ขาดความอดทน ไม่
อยากสู้กับปั ญหา ควรพกพาหินชนิดนีต
้ ิดตัว 
6.คาร์เนเลียน (Carnelian) เป็ นเครื่องรางของขลัง ช่วยในการปกป้ อง
คุ้มครอง เสริมบารมี ป้ องกันฝั นร้าย เป็ นหินแห่งคำอวยพรให้พบแต่ความ
สุข ปกป้ องตัวคุณเองให้พ้นจากบุคคลที่มีใจอิจฉาริษยา หินชนิดนีย
้ ัง
เหมาะกับคนที่มีจิตใจสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง พลังหินจะผลัก
ดันให้เกิด อารมณ์สนุกสนานร่าเริง ช่วยให้เกิดความสุข และกล้าเผชิญกับ
ปั ญหา หินคาร์เนเลียน ยังช่วยบำบัดเกี่ยวกับโรคเลือด หรือหญิงที่มีรอบ
เดือน ช่วยให้ผ่อนคลาย และบรรเทาอาการปวดท้องรอบเดือนได้ 
7.บุษราคัม (Yellow Sapphire) เสริมพลังอำนาจ พลังความคิด
สร้างสรรค์ กระตุ้นให้เกิดความกล้า นำความสงบมาสู่จิตใจ 
8.ซิทริน (Citrine) ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ดี ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์
เพิ่มพลังทางสติปัญญา หากมีเรื่องต้องตัดสินใจ ใช้ความคิด หรืออยู่ใน
สถานการณ์ที่เสี่ยง ควรกำซิทรินไว้ในมือ จะช่วยให้การตัดสินใจนัน
้ ถูก
ต้อง และหากต้องการเรียกร้องความเข้าใจ หรือกำลังเสนอเหตุผล ก็ควร
พกซิทรินเป็ นเครื่องประดับ หรือตัง้ ไว้บนโต๊ะทำงานจะช่วยให้คนรอบข้าง
เกิดความเข้าใจในการสื่อสารได้ง่ายขึน
้  
9.ไทเกอร์ อาย (Tiger’s Eye) มีค ุณ สมบัต ิในการพัฒ นาญาณหยั่ง รู้ ให้
เกิดในรูปของการมองเห็น เหมาะกับการใช้นั่งสมาธิ ช่วยกระตุ้นพลังชีวิต
บรรเทาอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียด ช่วยขจัดปั ดเป่ าฝั นร้า ย
ขับไล่วิญญาณไม่ให้มาใกล้ สวมใส่เป็ นเครื่องประดับ หรือพกติดตัวไว้ จะ
มีพลังในการปกป้ องคุ้มครองสูง 
15

10.ไทเกอร์ ไอออน (Tiger Iron) เหมาะกับ นัก คิด นัก เขีย น ผู้ท ี่ท ำงาน
ด้านสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ เพราะพลังหินจะช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจ ให้
ออกมาในรูปของความคิดจินตนาการ 
11.ไหมทอง (Rutile Quartz) สัญ ลัก ษณ์ข องความมั่ง คั่ง ร่ำรวย จะนำ
ความอุดมสมบูรณ์ และโชคลาภมาสู่ผเู้ ป็ นเจ้าของ เจรจาเป็ นผลสำเร็จ
หรืออาจถูกลอตเตอรี่ นอกจากนี ้ ยังเป็ นหินสร้างความเชื่อมั่น ชำระล้าง
พลังด้านลบ ปกป้ องคุ้มครองให้รอดพ้นจากสิง่ ชั่วร้าย เสริมอำนาจบารมี 
12.มรกต (Emerald) หินเสริมความรัก ความสมบูรณ์ ช่วยให้ผู้คนรักใคร่
ปรองดอง ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย และเป็ นหินเรียกเงินเรียกทอง 
13.เพอริดอท (Peridot) ปกป้ องคุ้มครอง เสริมสิริมงคล เสริมความโชคดี
นำความเจริญ รุ่ง เรืองมาให้ เสริมพลังด้านบวก หากไปติด ต่อ งานที่ต ้อ ง
เจรจาปิ ดการขาย ให้สวมใส่ติดตัวให้เห็นเด่นชัด 
14.มาลาไคท์ (Malachite) เสริม อำนาจบารมี ความเจริญ ก้า วหน้า
ป้ องกันอุบัติเหตุ เสริมด้านคำพูด ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง และ
ช่วยให้มีสมาธิ ในด้านความเชื่อ หากหินสั่นสะเทือน มีความหมายในด้าน
การเตือนภัยอุบัติเหตุที่จะเกิดค่อนข้างสูง เป็ นการเตือนภัยล่วงหน้า หิน
จะทำหน้าที่ปกป้ องคุ้มครองต้านพลังร้าย 
15.กรีน อะเวนเจอรีน (Green Aventurine)  เหมาะกับ คนที่ท ำงาน ที่
ต้องใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เสริมให้เกิดความกล้าแสดงออก
และยังเหมาะกับคนที่ทำงานเกี่ยวกับการเจรจาการค้า จะกระตุ้นให้กล้า
พูด กล้าเปิ ดและปิ ดการขาย หรือหากเผชิญหน้ากับเรื่องราวที่วุ่นวาย หิน
ชนิดนีจ
้ ะช่วยชำระล้างอารมณ์ที่ขุ่นมัวให้ใสสะอาด และบำบัดให้สุขภาพ
ดี 
16

 16.หยก (Jade) ดึงดูดความมั่งคั่ง เสริมความเจริญก้าวหน้า ปกป้ อง


คุ้มครอง โดยเฉพาะทารก และคนชรา มีพลังในการปลุกปลอบจิตใจสูง
สร้างสมดุลทัง้ ร่างกาย และจิตใจ ช่วยให้อายุยืน 
-หยกสีเหลือง ช่วยบำบัดอาการฝั นร้าย 
-หยกสีขาว     ช่วยให้จิตใจสงบ 
-หยกสีเขียว   ช่วยบำบัดรักษาโรค 
17.คริสโซเพลส (Chrysoprase) ช่วยเสริมความงามสง่า ดึงดูดเพศตรง
ข้าม ให้มองเห็นความงามลึกซึง้ จากภายใน และมีคณ
ุ สมบัติในการบำบัด
อารมณ์ จิตใจให้ดีขน
ึ ้ นอกจากนีเ้ หมาะที่จะใช้ในการบำบัดสถานที่ในที่
ทำงาน หรือบ้านที่มีแต่ผค
ู้ นทะเลาะเบาะแว้งกัน เพื่อให้หินส่งคลื่นพลัง
ทำให้ผู้คนมีจิตใจสงบลงและเข้าใจกันมากขึน
้  
18.อะความารีน (Aquamarine) ปกป้ องคุ้มครองยามเดิน ทางไกล โดย
เฉพาะทางน้ำ และใช้ในการสื่อสารกับจิตใต้สำนึก ช่วยให้เข้าใจถึงความ
ต้องการที่แท้จริงของตัวเอง หรือพกติดตัวเวลาต้องพบปะคนแปลกหน้า
จะช่วยให้ไม่ประหม่า 
19.เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) เสริมพลังอำนาจบารมีทงั ้ ชาย และหญิง
ช่วยให้สติปัญญาดี และมีความสามารถเหนือผู้อ่ น
ื แคล้วคลาดปลอดภัย
และมีชัยชนะเหนือศัตรู  
20.คริสโซคอลลา (Chrysocolla) มีคณ
ุ สมบัติในการคืนพลังความชุ่มชื้น
หรือพลังชีวิตให้กับผู้เป็ นเจ้าของ หากรู้สึกหมดหวังหรือสิน
้ หวังเสียใจ
พลังของหินจะปลอบโยนจิตใจ ทำให้ความคิดด้านลบหมดไป อารมณ์
แจ่มใส ในขณะเดียวกัน หินชนิดนีจ
้ ะเสริมความมั่นคงก้าวหน้า เสริม
บารมี และทำให้มีคนรักคนเมตตา 
21.อะพาไทท์ (Apatite) หินชนิดนีม
้ ีคุณสมบัติช่วยปลอบประโลมจิตใจให้
เข้าสูค
่ วามสงบ ช่วยให้เกิดความไม่ประมาทเหมาะกับคนที่ไม่ยอมรับ
17

ความจริงในด้านลบ พลังหินจะนำพาหรือชีช
้ ่องทางให้ได้ว่าจะดำเนินชีวิต
ไปทางไหน จึงจะสงบที่สุด 
22.โรสควอตซ์ (Rose Quartz) เป็ นหินที่แสดงถึงความรัก และการให้
อภัย เสริมเสน่ห์ สร้างมิตรภาพ เสริมความร่ำรวย ช่วยให้เจ้านายรักใคร่
และปกป้ องคุ้มครองโดยเฉพาะเด็กแรกเกิด ถือได้ว่าหินโรสควอตซ์ เป็ น
หินครอบคลุมให้คุณประโยชน์ในทุกๆ ด้าน ในทางบำบัดโรสควอตซ์เป็ น
หินที่มีพลังขจัดความโกรธ เกลียด หรือการอิจฉาริษยา คนที่อกหักจะช่วย
ให้ร้ส
ู ึกรักตัวเองมากขึน
้  
23.โรโดไนท์ (Rhodonite) เป็ นหินเสริมดวงเรื่องความรัก ถือเป็ นหิน
บำบัดรักษาจิตใจที่มีพลังสูงชนิดหนึ่ง 
24.คาลซิโดนี (Chalcedony) เป็ นหินเสริมสิริมงคล เสริมความเป็ นหญิง
เสริมความมั่นใจ เหมาะสำหรับคนขีอ
้ าย หินชนิดนีจ
้ ะทำงานกับ
จิตใต้สำนึก กระตุ้นให้เกิดความกล้า เสริมพลังด้านบวก จะช่วยในเรื่อง
การตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และไม่ลังเล นอกจากนีย
้ ังเป็ นเครื่องรางที่
ผลักดันให้เกิดความสุข 
25.ไพลิน หรือบลูแซฟไฟร์ (Blue Sapphire) เสริมดวงชะตา เสริมบารมี
ให้ผู้คนรักใคร่นับถือ ไพลินยังเหมาะกับผู้ที่ต้องใช้สมาธิ มีสติตลอดเวลา
ช่วยให้เกิดความไม่ประมาท ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เหมาะกับผูป
้ ่ วย
ที่พักฟื้ นเกี่ยวกับระบบประสาท หรือผ่าตัดสมองได้เป็ นอย่างดี 
26.ลาพิส ลาซูลี (Lapis Lazuli) เป็ นหินที่เปิ ดดวงตาที่สาม สามารถ
กระตุ้นพลังกายทิพย์ในร่างกายให้สามารถมองเห็นลึกเข้าไปในจิตใจของ
ผู้คน มองลึกลงไปในปั ญหาต่างๆ จึงมักเป็ นหินที่ใช้เกี่ยวกับดวงชะตา
โหราศาสตร์ มีพลังในการปกป้ องคุ้มครองสูง เสริมสร้างสติปัญญา และ
ช่วยนำพาทรัพย์สินมาสู่ผู้เป็ นเจ้าของ 
18

27.อะเมทิสต์ (Amethyst) เป็ นหินที่โดดเด่นในเรื่องการบำบัด รักษา


เกี่ยวกับสุขภาพ โรคเลือด โรคนอนไม่หลับ ขจัดความเครียด ช่วยให้
อารมณ์ที่โมโหอยู่ผ่อนคลายลง และยังเด่นในเรื่องการเสริมฮวงจุ้ยที่ดีให้
กับบ้าน ช่วยให้คนในบ้านสมัครสมานสามัคคีกันมากขึน
้  
28.นิล (Onyx) ปกป้ องคุ้มครองให้ปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ และ
คุ้มครองให้รอดพ้น จากอุบัติเหตุ หรือจากคนที่ไม่หวังดี พกติดตัวไปงาน
ศพ สามารถแก้เคล็ดให้กับคนที่ไม่ค่อยถูกกับงานศพ และคนที่สข
ุ ภาพ
ร่างกายอ่อนแอป่ วยบ่อยๆ จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และนำพา
โชคลาภมาสู่ผู้เป็ นเจ้าของ 
29.สะเก็ดดาว (Tektite) สะเก็ดดาว หรือแร่ดาวตก ที่ตกลงถึงพื้นดิน
คุณสมบัติเด่นคือ เป็ นเครื่องรางของขลังที่พกติดตัว ปกป้ องจากอำนาจ
ด้านมืด หรือคุณไสย์ต่างๆ ให้ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย ช่วยบำบัดรักษาโรค
เครียด เคร่งวินัยจนเกินพอดี ทำให้ผ่อนคลาย และทำอะไรที่เป็ น
ธรรมชาติมากขึน
้  
30.เพชร (Diamond) นำพาความมั่งคั่งร่ำรวย ช่วยให้หลับง่าย ป้ องกัน
ฝั นร้าย ปกป้ องคุ้มครอง มีชัยชนะเหนือศัตรู กล้าเผชิญหน้ากับปั ญหา
อย่างมีสติ 
31.เคลียร์ ควอตซ์ หรือร็อก คริสตัล (Rock Crystal) ดลบันดาลให้ทุกสิ่ง
สมปรารถนาราวกับปาฏิหาริย์ และมีพลังพิเศษอยู่ในตัวเอง นำสิง่ ดีๆ มา
สู่ผเู้ ป็ นเจ้าของ หากนำมาใช้ในการทำสมาธิจะกระจายพลังอย่างยิ่ง ใช้พก
ติดตัวเวลาเดินทางไกล จะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทัง้
ปวง และได้พบสิ่งดีๆ โดยไม่คาดหมาย 
32.มูน สโตน (Moonstone) หิน แห่ง ความรัก ความผูก พัน มาสู่ผ ู้เ ป็ น
เจ้า ของ ผูห
้ ญิง ที่ส วมใส่หิน ชนิดนีจ
้ ะได้รับ การปกป้ องคุ้มครองทางด้า น
อารมณ์เป็ นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงที่กำลังตัง้ ครรภ์ หรือมีรอบเดือน และ
19

หากมีปัญหาในเรื่องความรัก มีความห่างเหินในชีวิตคู่ ควรถือมูนสโตนนี ้


ไว้ในมือ และนึกถึงปั ญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึน
้ ระหว่างกัน คลื่นพลังของ
หินจะช่วยปลอบประโลมให้คณ
ุ คลายความทุกข์เศร้าลง รวมถึงทำให้ผู้ที่
คุณกำลังคิดถึงอยู่นน
ั ้ เข้าใจในความรู้สึกของคุณมากขึน
้  
33.ไข่มุก (Pearl) เป็ นสัญ ลัก ษณ์แ ห่ง เพศหญิง ให้ค ณ
ุ ประโยชน์ใ นด้า น
ปกป้ องคุ้มครอง เสริมในด้านโชคลาง และป้ องกันอาถรรพ์ ช่วยให้ความ
ปรารถนาของผู้ห ญิง เกี่ย วกับ ความรัก นัน
้ สมหวัง จึง นิย มสวมใส่ส ร้อ ย
ไข่มุก เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตแต่งงานมีความสุข 
34.โอปอล (Opal) เหมาะกับคนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในวงการมายา
หรือ วงการบัน เทิง ทุก รูป แบบ และมีล ัก ษณะพิเ ศษเฉพาะคือ สามารถ
ปกป้ องคุ้มครองเสริมสิริมงคล ให้กับบุคคลที่เกิดในราศีตุลย์ ซึ่งเป็ นการ
เสริมดวงชะตาให้เฉพาะกับราศีนต
ี ้ งั ้ แต่ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี ้ คนโบราณ
ยังมีความเชื่อเรื่องการเสริมเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามให้มารักใคร่เสน่หาอีก
ด้วย 
คำแนะนำ เนื่องจากโอปอลเป็ นหินที่ค ่อนข้างเปราะบางแตกหักง่าย จึง
ควรทำเป็ นเครื่องประดับ โดยเฉพาะจี ้ ต่างหู สร้อยคอ และควรเพิ่มพูน
พลังให้โอปอลด้วยการนำไปล้างน้ำทะเล หรือน้ำสะอาดก็ดี 
35.ฟลูอ อไรท์ (Fluorite) มีค วามเชื่อ ว่า หิน ชนิด นีส
้ ามารถพัฒ นาจิต
พัฒ นาการหยั่ง รู้ และช่ว ยในเรื่อ งการทำสมาธิ ทำให้จ ิต ใจสงบ มั่น คง
ปรับสมดุลของความคิดทัง้ ด้านบวก และลบให้ดีขน
ึ้  
36.ซอยไซท์ วิท รูบ ี ้ (Zoisite with Ruby) เสริมสติปั ญญา เพิ่ม ความมี
ชีวิตชีวา ให้คนที่ขาดความกระปรีก
้ ระเปร่า เฉื่อยชา กระตุ้นให้ร่างกาย
ตอบสนอง และสนใจสิ่งรอบข้างดีขน
ึ ้ เสริมความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ
เสริมความมั่งคั่งร่ำรวย เสริมเสน่ห์ มีคนรักใคร่เชื่อถือ และมีคนเกรงอก
เกรงใจ 
20

37.ทัว ร์ม าลีน สีแ ตงโม (Watermelon Tourmaline – Multi Color)


เป็ นหินที่ช่วยบำบัดในด้านอารมณ์ และจิตใจมากกว่าร่างกาย ช่วยให้มอง
เห็นความถูกต้องระหว่างความจริง และความลวง ช่วยให้การทำงานร่วม
กับผู้อ่ น
ื  
38.ลาบราโดไรท์ (Labradorite) ช่วยให้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึน
้ ใจ
ตนเองได้ดีขน
ึ ้ เหมาะจะใช้กับการนั่งสมาธิ ผู้ที่สมาธิสน
ั ้ ช่วยให้เกิดความ
สมดุลระหว่างความคิด และการกระทำ พลังหินช่วยบำบัดจิตใจให้สดชื่น
แจ่มใส และมองโลกในด้านบวก 
 
 
 
 
 
2.1.2ความสำคัญและแหล่งอัญมณีที่สำคัญในประเทศไทย 
   2.1.2.1 ความสำคัญของอัญมณี 
1.พลอยจากแหล่ง จันทบุรี-ตราด เป็ นที่ทราบและรู้จักกันดีมาเป็ นเวลา
นานทัง้ ในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ พลอยจากแหล่งนี ้ มีสส
ี รรลักษณะ
แตกต่างกันไป ตามสภาพพื้นที่ที่กำเนิด เช่น สีน้ำเงิน เขียว เหลือง แดง
พลอยสาแหรก ฯลฯ นอกจากนี ้ ยัง พบอัญ มณีช นิด อื่น ๆเกิด ร่วมในบาง
แหล่ง เช่น เพทาย โกเมน ควอตซ์ 
โดยทั่วไปจะพบทับ ทิมมากในเขต อำเภอขลุง จัง หวัด จัน ทบุรี และเขต
อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ส่วนพลอยแซปไฟร์ พบมากในเขต อำเภอ
ท่าใหม่ อำเภอเมือง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี  ในปั จจุบัน (พ.ศ.2555)
ไม่มีแหล่งผลิตพลอยในจังหวัดตราดแล้ว แต่ยังคงมีแหล่งผลิตในอำเภอ
ท่า ใหม่ จังหวัดจัน ทบุรี และจัน ทบุรียัง เป็ นตลาดซื้อ ขายพลอยที่ส ำคัญ
21

ของประเทศ เนื่องจากมีการนำพลอยคอรันดัมและพลอยชนิดอื่นๆ จาก


แหล่งอื่นๆเช่น พม่า เวียดนาม กัมพูชา แอฟริกา เคนยา โมซัมบิก เป็ นต้น
มาเจียระไนและซื้อขาย 
2.พลอยจากแหล่งกาญจนบุรี พลอยเมืองกาญจนบุรี เป็ นที่ทราบกันดีว่า
มีช่ อ
ื เสียงมานานแต่อดีตจนถึงปั จจุบัน เช่นเดียวกันกับพลอยจากแหล่ง
จัน ทบุร ี-ตราด แหล่ง พลอยอยู่ใ นเขตอำเภอบ่อ พลอย พลอยที่พ บส่ว น
ใหญ่เป็ นแซปไฟร์สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ส่วนสีอ่ น
ื ๆ เช่น สีเหลือง น้ำตาลอ่อน
แดงอ่อน พบบ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนทับทิมพบยาก ขนาดของพลอยที่พบ
ส่วนใหญ่จะมีขนาดโต ส่วนพลอยชนิดอื่นที่พบในแหล่งนี ้ ได้แก่ นิลตะโก
(Black spinel) น ล
ิ เสย
ี ้ น ม (Pyroxene) โ ก เ ม น แ ม ก น ไี ท ต ์ ซ า น ิด ีน
(Feldspar) เป็ นต้น นอกจากจะมีก ารทำเหมือ งขนาดเล็ก โดยชาวบ้า น
แล้ว ในแหล่งนีเ้ คยมีการทำเหมืองขนาดใหญ่โดยหลายๆบริษัท เช่น เอส
เอ พี จำกัด บริษ ัท พีด ี  จำกัด เป็ นต้น ซึ่ง ได้เ ครื่อ งมือ และเทคนิค ที่
ดัด แปลงมาจากการทำเหมือ งดีบ ุก และใช้ค วามรู้เ ชิง วิช าการในการ
ดำเนิน งานอย่า งเป็ นระบบ เพื่อ ให้ไ ด้ข ้อ มูล และผลผลิต อย่า งสูง สุด
เป็ นการเปลี่ยนแปลงผลิกรูปโฉมการทำเหมืองพลอยในประเทศไทยให้
ก้าวหน้าไปอีกขัน
้ หนึง่ ในปั จจุบันนี(้ พ.ศ.2555) เหมืองพลอยดังกล่าว ได้
หยุดการผลิตแล้วและเปลี่ยนแปลงฟื้ นฟูพ้น
ื ที่ไปทำกิจการอย่างอื่นแทน

2.1.3 ความเชื่อ 
   2.1.3.1 ความหมายของความเชื่อ 
   คำว่า "ความเชื่อ" มีความหมายอยู่หลายความหมาย นักวิชาการและผู้รู้
ได้ให้ความหมายของความเชื่อไว้ในแง่มุมต่างๆ 
22

   ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็ นความจริงหรือเป็ นสิ่งที่เรา


ไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็ นรูปของความเชื่อนัน
้ ไม่จำเป็ นว่า
จะต้องเป็ นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คน
ที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผล
ต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องราง
ของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง ตัวอย่างของความเชื่อ ได้แก่
ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ โชคลาง ของขลัง ผีสาง นางไม้ ความเชื่ออำนาจ
ลึกลับ สิ่งศักดิส์ ิทธิ ์ อิทธิฤทธิป
์ าฏิหาริย์ เหล่านีเ้ ป็ นต้น  
  
2.1.3.2 องค์ประกอบของความเชื่อ  
   1. การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งได้ว่าเป็ นความจริง การยอมรับเช่น
นีโ้ ดยสารัตถะสำคัญ แล้วเป็ นการรับ เชิง พุท ธิปั ญญา แม้ว่า จะมีอ ารมณ์
สะเทือนใจเข้ามาประกอบร่วมด้วย ความเชื่อจะก่อให้เกิดภาวะทางจิตขึน

ในบุคคลซึง่ อาจจะเป็ นพื้นฐาน สำหรับการกระทำโดยสมัครใจของบุคคล
นัน
้ ความเชื่อ อาจจะมีพ้น
ื ฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือมีพ้น

ฐานจากความเดียดฉันท์จากการนึกรู้เอาเอง หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิด
ความเข้าใจไขว้เขวก็ได้ เพราะฉะนัน
้ ความเชื่อจึงมิได้ขน
ึ ้ อยู่กับความจริง
เชิงวัตถุ วิสัยในเนื้อหาความเชื่อแปลกวิตถารก็ได้ คนเราอาจจะกระทำ
การอย่างแข็งขันจริงจัง หรืออย่างบ้าคลั่งด้วยความเชื่อที่ผิดได้เท่าๆ กับที่
ทำด้วยความเชื่อที่ถ ูก ต้อง อย่า งไรก็ด ี การทำที่ใช้ส ติปั ญญาใดๆ ก็ต าม
ย่อ มต้อ งอาศัย ความเชื่อ อยู่ด ้ว ยเสมอ แต่ส ติปั ญญาเองนัน
้ อาจใช้ม า
ทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้นฐานความเชื่อนัน
้ ได้ 
   2. การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งว่า เป็ นจริงโดยที่ยังมิได้พิสูจน์ได้
โดยวิธีการของวิทยาศาสตร์จากคำจำกัดความต่างๆ ข้างต้น จึงพอสรุป
ความหมายของความเชื่อไว้ว่า "ความเชื่อ" หมายถึง การยอมรับต่างๆ ว่า
23

เป็ นจริง มีอยู่จริง และมีอำนาจที่จะบันดาลให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการ


ดำรงชีวิตของมนุษย์ ถึงแม้ว่าสิ่งนัน
้ จะไม่สามารถพิส ูจน์ไ ด้ว่า เป็ นความ
จริงด้วยเหตุผล แต่เป็ นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคม 
   2.1.3.3 ประเภทของความเชื่อ 
   ความเชื่อเเบ่งออกเป็ นเป็ น 3 ประเภท  
   1. ความเชื่อเชิงพรรณนา (Descriptive Beliefs) เป็ นความเชื่อที่เกิด
จากการรับรู้ หรือ 
มีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับสิ่งนัน
้ จากการสังเกต โดยอาศัยประสาท
สัมผัสทัง้ ห้ว เช่น เชื่อว่า 
เส้นตรงทัง้ คู่มค
ี วามยาวเท่ากัน ห้องนีม
้ ีขนาดกว้างเท่ากับห้องนัน
้ ความ
เที่ยงตรงของความเชื่อ 
แบบนีข
้ น
ึ ้ อยู่กับประสิทธิภาพในการรับรู้ของบุคคล 
   2. ความเชื่อที่เกิดจากการอนุมาน (Inferential Beliefs) เป็ นความเชื่อ
ที่ไม่ได้เกิดจาก 
การรับรู้โดยตรง แต่เกิดจากการอนุมาน เช่น การพบปะลังสรรค์กับบุคคล
อื่น การอ่านหนังสืออันนำไปสูค
่ วามเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่เคยพบเห็น หรือมี
ประสบการณ์มาก่อน การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ หรือข้อมูลที่ได้จากแหล่ง
อื่นแล้วสรุปผลเป็ นความเชื่อใหม่ ก็จัดอยู่ในความเชื่อเชิงอนุมาน 
แหล่งของความเชื่อดังกล่าวนี ้ ได้แก่ 
2.1 เกิดจากการหาความสัมพันธ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ม าแล้ว (Previously
Learned 
Relationships) เช่น มองเห็นคนร้องไห้ ก็อนุมานว่า เขาคงมีเรื่องเศร้า
เสียใจ หรือเน้นสินค้าที่ประทับตราบริษัทมีช่ อ
ื และผู้ซ้อ
ื เคยเชื่อถือสินค้า
อย่า งอื่น ของบริษ ัท นีก
้ ็เ ชื่อ ว่า สิน ค้า นัน
้ มีค ุณ ภาพทัง้ ๆ ที่ย ัง ไม่เ คยใช้
สินค้าชนิดนัน
้ ๆ เลยก็เป็ นได้ 
24

2.2 การเปรียบเทียบข้อมูลที่มีอยู่ (Formal Coding System) เช่น ถ้ารู้


ว่า ก สูงกว่า ข 
ข สูง กว่า ค ก็จ ะสรุป และเชื่อ ได ้ว ่า ก สูง กว่า ค เป็ นการใช้ห ลัก
ตรรกศาสตร์ โดยไม่ต้องเปรียบเทียบความสูงระหว่าง ก และ ค โดยตรง 
 
 
   3. ความเชื่อจากการรับ ข่า วสาร (Informational Beliefs) เป็ นความ
เชื่อที่สร้างขึน
้ จาก 
การรับข่าวสารจากแหล่งภายนอก และผู้รับข่าวสารเชื่อในสิ่งนัน
้ โดยไม่มี
การอนุมาน เช่น หนังสือ วารสาร การบรรยาย หรือการเล่าต่อ ๆ มา เช่น
ศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า
2.1.4 อัญมณีกับความเชื่อ
 การใช้อัญมณีอย่างจริงจังในด้านต่างๆ มีมานานกว่า ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว
ในอียิปต์ จีน อินเดีย ต่อเนื่องในกรีก โรมัน จนขยายมาทางเอเชียตะวัน
ออกเฉีย งใต้ อัญ มณีท ี่เ ป็ นที่น ิย มรู้จ ัก ในสมัย เริ่ม แรก ได้แ ก่ แอเมทิส ต์
ควอตซ์ ผลึก ใส การ์เ นต ลาพิส -ลาซูล ี ไข่ม ุก ปะการัง แจสเพอร์ หยก
มรกตเทอร์ค อยส์ เป็ นต้น โดยมีรูปแบบของอัญมณีเป็ นแบบง่า ยๆ เช่น
เป็ นเม็ด กรวดกลม มน ลูกปั ด แกะสลัก ฯลฯ และมัก ใช้โ ลหะมีค ่า เช่น
ทองคำ เงิน ทองแดง ฯลฯ ร่วมประกอบเป็ นเครื่อ งประดับ ต่า งๆ ด้ว ย
นอกจากจะใช้ประโยชน์ทางด้านความสวยงาม ทัง้ ทางกาย และสถานที่
แล้ว อัญมณีต่างๆ ยังถูกนำมาใช้เป็ นเครื่องราง ของขลัง ป้ องกันภัย พิษ
ร้าย โรคร้าย ความชั่วร้ายต่างๆ เป็ นเครื่องแสดงถึงความมีฐานะ ความมี
อำนาจ ความมั่งคั่ง ใช้เป็ นยารักษาโรค หรือแม้กระทั่งใช้แทนเงิน ในสมัย
ก่อนนัน
้ ความเจริญ ความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านวิทยาศาสตร์ของมนุษย์
เรายังมีน้อย หรือมีจำกัดอยู่ในบางที่ บางวัฒนธรรมเท่านัน
้ คนโบราณจึง
25

มัก จะเชื่อ ถือ ในอำนาจลึก ลับ ความศัก ดิส์ ิท ธิ ์ อภิน ิห าร ตลอดจนเรื่อ ง


ไสยศาสตร์ต ่า งๆ เลยถือกัน ว่า อัญ มณีแ ต่ล ะอย่า งแต่ล ะชนิด จะมีพ ลัง
อำนาจพิเศษที่ว่านีซ
้ ่อนเร้นอยู่ สามารถให้คณ
ุ ให้โทษแก่ผู้ใช้ และผู้สวมใส่
ได้แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น แอเมทิสต์ ในสมัยกรีกเชื่อว่า ป้ องกันความ
เมามายได้ ทับ ทิม หรือ การ์เ นตสีแ ดง ก็เ ชื่อ ว่า ป้ องกัน พิษ รัก ษาโรค
บาดแผลต่างๆ ได้ เป็ นต้น ซึง่ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการขุดพบอัญมณีชนิด
ต่างๆ มากขึน
้ มีรูปแบบของการตัด ขัด แต่ง เจียระไนต่างๆ มากมาย แต่
การใช้ป ระโยชน์ และความเชื่อ ต่า งๆ ของอัญ มณีข องมนุษ ย์ ก็ไ ม่ไ ด้
เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ความคิด และความเชื่อแบบนี ้ สามารถพบเห็นได้
ในทุกวัฒนธรรม ทุกสังคม ทุกสมัย แม้แต่ในสังคมปั จจุบันนี ้ ที่ความเชื่อ
ถือ อาจจะลดน้อ ยลงไปบ้า ง เนื่อ งจากความรู้ ความก้า วหน้า ทาง
วิทยาศาสตร์มีมากขึน
้ แต่ก็มพ
ี บเห็นได้บ้าง
จากความเชื่อ ถือ ในอำนาจศัก ดิส์ ิท ธิท
์ งั ้ หลาย ที่ม ีม านานนับ แต่ส มัย
โบราณนั่นเอง มนุษย์เราจึงนำอัญมณีหลายชนิดเข้าไปผูกพันกับสิ่งต่างๆ
ที่เชื่อว่า มีพลังอำนาจพิเศษ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวฤกษ์ ดาว
พระเคราะห์ต่างๆ รวมทัง้ สิ่งอื่นๆ อีกหลายอย่าง ก่อเกิดเป็ นวัฒนธรรม
ความนิยมเชื่อถือต่อกันมา ที่ทราบและสนใจกันโดยทั่วไปคือ ความผูกพัน
ของอัญมณีกบ
ั เรื่องราวทางโหราศาสตร์ เช่น การจัดแบ่งชนิดอัญมณีให้
เข้ากับสัญลักษณ์จักรราศี เกิดเป็ นอัญมณีประจำราศี และต่อเนื่องเข้าสู่
อัญมณีประจำเดือนเกิด หรือแม้แต่ฤดูเกิด สัปดาห์เกิด วันเกิด ชั่วโมงที่
เกิด เป็ นต้น การจัดแบ่งชนิดอัญมณีต ามจักรราศี หรืออื่นๆ ก็ไม่ปรากฏ
หลัก ฐานที่ช ัด เจนแน ่น อนว่า เริ่ม มาจากที่ใ ด สมัย ใดแ น ่ มีค วาม
เปลี่ยนแปลงมาแล้วมากน้อยแค่ไหน ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดแน่ชัด
2.1.5 ความเชื่อเรื่องอัญมณีของคนไทยในอดีต-ปั จจุบัน 
26

มนุษย์ร้จ
ู ักอัญมณีมานานกว่า 4000 ปี โดยมีความเชื่อว่า “อัญมณี” เมื่อ
นำมาติดตัวแล้วจะสร้างความเป็ นมงคลให้แก่ตนเอง จากหลักฐานจากที่
ค้นพบเครื่องประดับที่นิยมฝั งไว้ก ับศพคนตาย อาทิ เครื่องประดับที่ท ำ
จากหิน ในยุคแรกจนถึงเครื่องประดับของหินสี หรืออัญมณี เป็ นสิ่งบ่งชี ้
ว่ามนุษย์นน
ั ้ นิยมใช้เครื่องประดับอัญมณีมานานนับพันปี แล้ว โดยมุ่งเน้น
ที่ความสวยงาม การมีราศีเด่นเป็ นสง่าแก่ผู้ที่พบเห็น และความเชื่อที่ว่า
อัญมณีเป็ นเครื่องประดับที่มาพร้อมกับพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก็เกิดขึน

พร้อมๆกับที่มนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้อัญมณีเ ป็ นเครื่อ งมือในการทำงาน
ต่างๆเช่นกัน บ่อยครัง้ อัญมณีจึงถูกนำมาทำเป็ นเครื่องประดับควบคูไ่ ปกับ
การเป็ นเครื่องราง  
    อัญ มณีแ ต่ล ะชนิดมีค วามแตกต่า งกัน ค่า ของความแข็ง การให้แ สง
รวมถึง สี ความกระจ่า งใส และ แหล่ง กำเนิด โดยแสงหรือ ประกายที่
สะท้อ นออกมาจากอัญ มณีแ ต่ล ะสีน น
ั ้ คลื่น แสงแต่ล ะคลื่น จะส่ง ผลต่อ
คลื่นสมอง ตา และใจ ของคนเราแตกต่างกัน ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก
ของทัง้ ผูส
้ วมใส่และผู้พบเห็นแตกต่างกัน สิง่ เหล่านีจ
้ ึงก่อให้เกิดความเชื่อ
เกี่ยวกับอัญมณีต่างๆมากมาย  
   นพเก้า หรือ นพรัตน์กับคนไทย 
คนโบราณมักนิยมนำพลอยนพเก้ามาทำเป็ นแหวน โดยเรียกว่า “แหวน
นพเก้า” หรือ (แหวนนพรัตน์) แหวนนพเก้า เป็ นแหวนสูงค่าที่ร้จ
ู ักกันมา
นานนับ ร้อยปี ตามความเชื่อ ที่ว ่า อัญ มณีแ ต่ล ะชนิด มีค ณ
ุ สมบัต ิในทาง
มงคล ป้ องกันภัยอันตรายต่างๆ และขจัดความไม่เป็ นมงคลทัง้ หลายให้
สิน
้ ไป หากผู้ใดมีไว้ในครอบครอง เท่ากับมีมงคลไว้ติดตัว ทำสิ่งใดย่อมมี
ความสำเร็จ ด้วยเหตุที่แ หวนนพเก้า มีทงั ้ ความงามและคุณ ค่า ในตัวเอง
โดยแทบไม่ต้องปรุงแต่ง นับแต่ โบราณมาแล้ว คนไทยได้รับอิทธิพลความ
เชื่อ ของอัญ มณี 9 ชนิดนีม
้ าจากอิน เดีย แต่ไ ม่ป รากฏแน่ช ัด ว่า เข้า มามี
27

อิท ธิพ ลเมื่อ ใด ด้ว ยเหตุท ี่ค นอิน เดีย มีว ัฒ นธรรมและขนบธรรมเนีย ม
ประเพณีอันยาวนาน จึงรู้คุณค่าและความสวยงามของอัญมณี 9 ชนิดนี ้
เป็ นอย่างดี ทัง้ ยังนำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับดวงดาว ในระบบสุริยะ
จักรวาลและเทพประจำดวงดาวซึ่งมีอำนาจและพลังเป็ นคุณวิเศษ ที่จะ
นำพาความเจริญ รุ่งเรือง และสิริมงคลทัง้ หลาย มาสูผ
่ ู้สวมใส่นอกจากนี ้
ยัง มีพ ลัง แห่ง การรัก ษาโรคภัย ไข้เ จ็บ ไม่เ พีย งเท่า นีช
้ าวตะวัน ตก ชาว
อียิปต์โบราณ ชาวจีน หรือแม้แต่ชาวป่ าเผ่าต่างๆยังมีความเชื่อถือในพลัง
ของอัญมณี เหล่านีเ้ ช่นกัน 
“นพเก้า” หรือ “นพรัตน์” เป็ นอัญมณี 9 ชนิด ที่ถือกันว่าถ้าผู้ใดมีไว้ครบ
ทัง้ หมดก็จะเป็ นสิริมงคลอย่างสูงสุด ประดับด้วยเพชรและพลอยสำคัญ
อีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ(ไพลิน) มุกดาหาร
เพทายและไพฑูรย์ ครบทุกชนิด ตามโบราณราชประเพณี “ความเชื่อ”
ของผูค
้ นที่มีมาแต่โบราณกาลว่า  
อัญ มณีห รือ เพชรพลอยทัง้ 9 ชนิด ที่เ รีย กว่า “นพรัต น์” นัน
้ ถือ เป็ น
สัญ ลัก ษณ์ข องดาวนพเคราะห์ ถือ เป็ นของสูง เป็ นสิร ิม งคลแก่ผ เู้ ป็ น
เจ้าของ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองด้วยประการทัง้ ปวง
เลิศด้วยความดีงามทัง้ ปวง 
เรื่องของอัญมณีโดยเฉพาะแก้วเก้าประการ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อมใส
นับ ถือ เป็ นของมีค ่า สูง และเป็ นสิร ิม งคล นำมาใช้ป ระโยชน์ท งั ้ ในด้า น
ศาสนา และในสถาบันพระมหากษัต ริย์ เช่น ทำเป็ นพระพุทธรูปต่าง ๆ
ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรงและที่ประทับ ใช้เป็ นเครื่องประดับแสดงถึง
ตำแหน่งและเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ตลอดจนสิง่ ของเครื่อ งใช้ข องที่เ ป็ นบำเหน็จรางวัล เครื่อ ง
ประดับต่างๆของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชัน
้ สูง ประชาชน
โดยทั่วไปทุก ระดับ ชัน
้ สามารถหามาใช้ได้ตามกำลัง ฐานะ นอกจากเพื่อ
28

ความสวยงาม และความเป็ นสิริมงคลแล้ว ยังใช้เป็ นหลักทรัพย์ที่ถือเป็ น


มรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล เป็ นของกำนัลตอบแทนผู้มีน ้ำใจ
ช่วยเหลือยามตกยาก 
   หยกกับชาวจีน หยกเป็ นหินที่มีเฉดสีเขียวอมขาว เป็ นอัญมณีส ูงค่าที่
ชาวจีน ยกย่อ งว่า เป็ นสัญ ลัก ษณ์แ ห่ง คุณ ธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ
สมถะ กล้า หาญ ยุต ิธ รรม และมีส ติปั ญญา ทัง้ ยัง มีพ ลัง เร้น ลับ ในการ
ปกป้ องคุ้มครองอันตรายต่างๆ และยังดึงดูดความมั่งคั่งและโชคลาภ 
   โกเมนกับ ชาวอิน เดีย โกเมนเป็ นหนึง่ ในนพรัต น์รัต นชาติที่มีล ัก ษณะ
เป็ นสีแดงแก่ก่ำ ชาวอินเดียโบราณเชื่อว่า โกเมนจะเป็ นเครื่องรางอันทรง
พลัง ที่จะช่วยคุ้มครองผู้ส วมใส่ให้อ ยู่รอดปลอดภัย ทัง้ ยัง นำความโชคดี
เสริมสิริมงคล มีโชคลาภ มั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ผู้เป็ นเจ้าของ 
   อเมทิสต์กับชาวกรีกโบราณ อเมทิสต์เป็ นหินตระกูลควอตซ์ที่ได้รับการ
ยอมรับ ว่า มีค ่า มากที่ส ุด เพราะมีค วามโปร่ง ใสและมีส ีโ ทนม่วงสวยงาม
ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า อเมทิสต์ มีสรรพคุณเป็ นยาแก้เมา นอกจากนีย
้ ังมี
พลังดึงดูดคนให้รักและเอ็นดู 
   ลาพิส ลาซูลก
ี ับชาวอิยิปต์ ป็ นอัญมณีสีน้ำเงินสดค่อนข้างหายากเป็ นที่
นิยมสำหรับ ชาวอิย ิป ต์ เนื่องจากสีฟ้ าเป็ นตัวแทนของแม่น ้ำไนล์ ความ
อุดมสมบูรณ์ การเกิด และรวมไปถึงความศรัทธาต่อเทพอามุน Amun  ผ ู้
สร้างโลก ชาวอิยิปต์จึงมักนำมาทำเป็ นเครื่องประดับเพื่อป้ องกันสิ่งชั่วร้าย
และเป็ นเครื่องรางที่บ่งบอกถึงการกำเนิดของชีวิต 
2.1.6 อัญมณีกับราศีเกิด หรือ อัญมณีกับวัน เดือน ปี เกิด 
   2.1.6.1 อัญมณีประจำปี เกิด 
-ผู้เกิดปี ชวดและปี ระกา ควรประดับ โกเมน 
-ผู้เกิดปี ฉลูและปี มะแม ควรประดับ มุกดา 
-ผู้เกิดปี ขาล ควรประดับ เพทาย 
29

-ผู้เกิดปี เถาะ ควรประดับ ไพฑูรย์ หรือมรกต 


-ผู้เกิดปี มะโรงและปี กุน ควรประดับ ไพฑูรย์ 
-ผู้เกิดปี มะเส็ง ควรประดับ เพชร 
-ผู้เกิดปี มะเมีย ควรประดับ นิล 
-ผู้เกิดปี วอก ควรประดับ บุษราคัม 
-ผู้เกิดปี จอ ควรประดับ มรกต 

   2.6.2 อัญมณีประจำเดือนเกิด 
   เดือนมกราคม : โกเมน (Garnet) 
คนที่เกิดเดือนมกราคม เป็ นคนจริงจัง เก็บความลับเก่ง มีความเห็นอก
เห็นใจต่อผู้อ่ น
ื เจ้าความคิด เป็ นผู้กระตือรือร้น รักความ
ก้าวหน้า เป็ นคนหนักเอาเบาสู้และมักจะประสบความสำเร็จ แต่มักจะ
วิตกกังวล จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ และมักจะมีอาการเจ็บป่ วยแบบผู้สูง
อายุ เช่น ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง เป็ นต้น อัญมณีที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้
ผู้สวมใส่มีสุขภาพที่ดีจึงเป็ นอัญมณีประจำราศีนี ้ นั่นคือ โกเมน(Garnet)
ที่นิยมกันมากคือ สีน้ำตาลแดง สีส้ม สีเขียว ความหมาย คือ มีความ
สม่ำเสมอ มั่นคงเชื่อกันว่า ผู้ใดมีโกเมนไว้ในครอบครองจะทำให้
แคล้วคลาด จากอันตราย มีอายุยืนยาวและเป็ นสัญลักษณ์แห่งพลังทาง
เพศ 
   เดือนกุมภาพันธ์ : แอเมทิสต์ (Amethyst) 
ชาวกุมภาพันธ์ รักอิสระ รักพวกพ้อง ชอบวางแผนสำหรับอนาคต มักไม่
คิดถึงสิ่งที่ผ ่านมาแล้ว ชอบการแสดงออก ทำอะไรตามความคิดของตัว
เอง ฉลาดหลักแหลม มีความคิดก้าวหน้า อัญมณีประจำราศีคือแอเมทิสต์
(Amethyst) พลอยสีม่วง เป็ นพลอยแห่งความมีสติ บอกถึง ความจริงใจ
และความซื่อสัตย์ ผู้ใดได้ครอบครองแอมะทิสต์จะช่วยให้รักษาจิตใจ ให้
30

สงบและเข้มแข็ง เป็ นเครื่องรางป้ องกันฝั นร้ายและโชคร้ายต่างๆ และช่วย


คุ้มครองผู้ที่เดินทางอยู่เสมอ 
   เดือนมีนาคม : อะความมารีน (Aquamarine) 
คนเดือนนีเ้ ป็ นคนที่มีอ ารมณ์อ่อนไหวง่าย ชอบเสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้
อื่น ชอบทำงานที่ล ะเอียดอ่อ น บางคนอาจมีค ุณ ลัก ษณะลึก ลับ พลอย
ประจำเดือนมีน าคม คือ อความารีน (Aquamarine) พลอยที่ม ีตงั ้ แต่ส ี
เขียวน้ำทะลจนถึงสีฟ้ าเข้ม เป็ นอัญมณีที่น ำความสมบูรณ์มาให้ ช่วยให้
จิตใจสงบ ถือเป็ นอัญมณีน ำโชคของชาวเรือและชาวทะเล ช่วยบรรเทา
อาการเมาคลื่นและอุบัติภัยได้และยังเชื่อกันว่าถ้าสามีมอบอัญมณีชนิดนี ้
ให้เป็ นของขวัญวันแต่งงานแก่ภรรยาจะทำให้ชีวิตคู่ ยืนยาวและมีความ
สุข ดังนัน
้ อะความารีนสัญลักษณ์แห่งความสงบเยือกเย็น นอกจากอความ
ารีนแล้วยังมี บลัดสโตน(Bloodstone) อาเมทิสต์ (Amethyst) ที่มีสีม่วง
สีของราศีมีน หยก (Jade) มุกดาหาร (Moonstone) 
   เดือนเมษายน : เพชร (Diamond) 
อัญ มณีค ือ เพชร (Diamond) ซึง่ เป็ นสัญ ลัก ษณ์แ ห่ง ชัย ชนะและความ
สำเร็จผู้ใดมีเพชร ไว้ครอบครองจะทำให้ร่ำรวย มีอำนาจ เป็ นที่เกรงขาม
ชีวิตรุ่งเรือง และชนะศัตรูทุกมวล ซึ่งดูแล้วเหมาะกับนักริเริ่ม นักบุกเบิกที่
แข็งแกร่งอย่างชาวเมษ ที่มีความทะเยอทะยาน มีลักษณะของความเป็ น
ผู้นำ มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น หัวแข่งมีความเป็ นตัวของตัวเองสูง
แต่ก็เป็ นคนผูกมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบอยู่นิ่ง
ชอบค้นคว้าหาคำตอบทุกสิง่ ด้วยตัวเอง อัญมณีที่มีสีข าวใสอย่างเพทาย
ขาวก็จ ัด เป็ นอัญ มณีป ระจำราศีนเี ้ ช่น กัน เนื่อ งจากสีข าวใสเทีย บได้ก ับ
์ ยู่นั่นเอง 
ทารกเกิดใหม่ที่ยังบริสุทธิอ
เดือนพฤษภาคม : มรกต (Emerald) 
31

เป็ นคนเข้ากับคนอื่นได้ง่าย มีอารมณ์เยือกเย็น โกรธยาก แต่ถ้าโกรธแล้ว


รุนแรงมาก เป็ นคนรักครอบครัว ขยัน ชอบบริก าร เป็ นศิลปิ นรักดนตรี มี
จิตใจเข้มแข็ง มรกต (Emerald) เป็ นอัญมณีประจำเดือนพฤษภาคม เป็ น
สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ร่ำรวย ร่มเย็น เชื่อกันว่ารักษาโรคบิด
และเป็ นยาระบายได้ในความหมายทางด้านสรีระ มรกตเป็ นแร่ธรรมชาติ
ที่ช่วยบำรุงสายตา และในความหมายทางด้านพลังจิต มรกตส่งเสริมการ
มองเห็น ภาพอนาคต ส่ว นหยก (Jade) ทำให้ม ีส ุข ภาพแข็ง แรง อายุ
ยืนยาว ค้าขายรุ่งเรื่อง 
เดือ นมิถ ุน ายน : มุก ดาหาร (Moonstone), เจ้า สามสี (Alexandrite),
ไข่มุก (Pearl) 
สำหรับชาวราศีมิถุน เป็ นคนที่มีส องบุคลิก ในตัวเอง ถ้า ภายนอกเป็ นคน
แข็งหรือหัวดื้อ ภายในอาจใจอ่อนอย่างมากๆ มีความคิด สร้างสรรค์ ไม่
เห็น แก่ต ัว มีค วามทรงจำดีอ ย่า งน่า ประหลาด Alexandrite หรือ ”เจ้า
สามสี”คืออัญมณีหลักของราศีนี ้ เป็ นพลอยที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามแสง
ที่ตกกระทบ เชื่อว่าสามารถกระตุ้นพลังงานและเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับ
ผู้สวมใส่ นอกจากนีอ
้ ัญมณีสีขาวซีด หรือขาวขุ่น ก็เป็ นอัญมณีประจำราศี
มิถุนเช่นกัน ได้แก่ มุกดาหาร เชื่อว่า ผู้ใดมีไว้เพื่อครอบครอง จะทำให้โชค
ดีเรื่องความรัก เป็ นสัญลักษณ์ของความนุ่มนวลอ่อนโยน และขจัดพิษร้าย
ป้ องกันสัตว์ร้ายต่างๆ ไข่มุก เชื่อกันว่ารักษาสุขภาพและความเป็ นหนุ่ม
สาวไว้ได้ และไข่มุกยังเป็ นลักษณะของความสง่างามและความบริสุทธิ ์
   เดือนกรกฎาคม : ทับทิม (Ruby) 
ทับ ทิม (Ruby) เป็ นอัญ มณีป ระจำราศีก รกฏมาจากภาษาละติน คำว่า
“Ruber” แปลว่า สีแ ดง จัด เป็ นราชาหรือ ผู้น ำแห่ง อัญ มณี เป็ นเครื่อ ง
ประดับแห่งเกียรติยศ มีอำนาจประหลาดในตัว ทำให้ผส
ู้ วมใส่ประสบแต่
สิ่ง น่า พึง พอใจ เชื่อ กัน ว่า ผู้ใ ดได้ค รอบครองทับ ทิม จะทำให้ม ีอ ำนาจ
32

สมหวัง ในเรื่องความรัก และชีวิต คู่จะมั่น คงยืน ยาว อีก ทัง้ ยัง รัก ษาม้า ม
และตับได้ สปิ เนล(Spinel) ก็ถก
ู นำมาใช้แทนทับทิมได้เช่นกัน โดยเฉพาะ
สปิ เนลสีแดง ซึ่งหากดูเผิน ๆแล้วจะมีค วามคล้า ยคลึงกับ ทับ ทิมมาก จะ
ต่างตรงที่สปิ เนลมีความวาว ความแข็ง และน้ำหนักน้อยกว่า แต่ราคาก็ต่ำ
กว่าเช่นกัน 
   เดือนสิงหาคม : เพริดอต (Peridot) 
คนที่เกิดเดือนสิงหาคม เป็ นคนที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็ นผู้วางเป้ าหมาย
ชีวิตด้วยตัวเอง สง่า เอาการเอางาน ซื่อสัตย์ กตัญญู กล้าหาญ เห็น อก
เห็น ใจผู้อ่ น
ื ทำหน้า ที่ด ้า นการบริห ารการปกครองได้ด ี ไม่ย ่อ ท้อ ต่อ
อุปสรรค Peridot มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนัน
้ ที่ถูกจึงอ่านว่า “เพอริโดต์
เป็ นอัญมณีประจำเดือนสิงหาคม เพริโดต์ถูกขุดพบครัง้ แรกในเหมืองแห่ง
หนึ่งในสมัยอียิปต์โบราณ ชาวโรมัน จะเรียกเพอริโ ดต์ ว่า “มรกต ตอน
กลางคืน(Evening emerald มีคุณสมบัติในการขจัดความหดหู่ และความ
อิจฉา เหมาะที่จะนำมาใช้ในการสร้างเสริมพลังงานทางด้านจิตใจและตับ
ทำให้จ ิต ใจเข้ม แข็ง กล้า หาญ มีอ ำนาจทำให้ผ ู้ส วมใส่ม ีอ ำนาจบารมีย ิ่ง
ใหญ่ 
   เดือนกันยายน :  ไพลิน (Blue Sapphire) 
Blue Sapphire หรือ ชื่อ ไทย คือ “ไพลิน ” เป็ นอัญ มณีป ระจำเดือ น
กันยายน ที่ร้จ
ู ักกันในฐานะอัญมณีสวรรค์ ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา
เชื่อว่า ไพลินเป็ นตัวแทนของพระเจ้าที่พวกเขาเคารพและ ได้มอบให้กับ
พระเจ้าแผ่นดินและพระระดับสูงสุด เป็ นเวลาหลายพันปี มาแล้ว ไพลิน
เป็ นอัญมณีที่ส่ อ
ื ถึงความเมตตากรุณา และความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ เชื่อว่าผู้
ใดที่มีไ พลินไว้ในครอบครอง จะทำให้เป็ นที่รัก ใคร่เ มตตา เป็ นที่ศ รัทธา
ของผู้อ่ น
ื ทำให้สมหวังในสิง่ ที่ตงั ้ ใจไว้ และจิตใจตัง้ มั่นอยู่ในความดีงาม จึง
เหมาะกับชาวราศีกันย์ที่เป็ นคนที่รักความมีระเบียบ ทำงานอย่างมีระบบ
33

คล่องแคล่ว หยิ่งในตัวเองและไม่เพิกเฉยต่อเหตุการณ์ใดๆ เป็ นคนมีเสน่ห์


มักประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน 
   เดือนตุลาคม :  โอปอล (Opal) ทัวร์มาลีน (Tourmaline) 
ชาวตุลย์เป็ นคนเที่ยงธรรม รักสงบ ไม่เป็ นคนก้าวร้าว เป็ นคนสง่างาม มี
เสน่ห ์ จึง เหมาะกับ โอปอล (Opal) สัญ ลัก ษณ์แ ห่ง ความหวัง ความ
บริสุทธิ ์ เป็ นอัญมณีแห่งความรับรู้ทางจิตใจ จึงทำให้การรับรู้ต่อสิ่งรอบ
ข้างสมบูรณ์ขน
ึ ้ ผู้ใดได้ครอบครองโอปอล จะรู้เ หตุล ่วงหน้า ว่า ดีห รือ ร้า ย
อย่า งไร และป้ องกัน ภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะโอปอลสีเ ข้ม หรือ แบล็ก โอ
ปอล และทัว ร์ม าลีน สีช มพู (Pink Tourmaline) คนโบราณเชื่อ กัน ว่า
ทัวร์มาลีน จะนำโชคดีมาสู่เจ้าของ และยังสามารถรักษาโรคบางอย่างได้
อีกด้วย 
   เดือ นพฤศจิก ายน :  บุษราคัม (Yellow Sapphire), ซิทริน (Citrine),
โทแพซ (Topaz) 
ชาวพิจิก เป็ นผู้มีความกล้าหาญ มีค ารมคมคาย ทะเยอทะยาน มุ่งมั่นสู่
เป้ าหมายของตน แต่กส
็ ุภาพอ่อนโยน ทัง้ ในทางปฏิบัติและความรู้สึก จึงคู่
กับ บุษ ราคัม บุษ ราคัม หรือ ซิท ริน (Citrine) มีส เี หลือ งทอง มีค วาม
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ และยังส่งเสริมการตัดสินใจในทางที่ถูก ทัง้ ยังช่วย
เพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารเพิ่มความกระปรีก
้ ระเปร่า ให้กำลัง
ใจและความเชื่อมั่น และ โทแพซ (Topaz) ที่พ บในท้อ งตลาดจะมีส ฟ
ี ้า
เป็ นอัญมณีที่นำความโชคดีมาสู่เจ้าของ เป็ นที่รักใคร่แก่ผู้พบเห็น ปกป้ อง
คุ้มครองผูส
้ วมใส่ให้พ้นจากอันตราย ทำให้ชีวิตรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ 
   เดือนธันวาคม : เทอร์คอยซ์ (Turquoise), เพทาย (Zircon) 
ชาวธันวาคม บุคลิกจะหุนหันพลันแล่น ทำอะไรรวดเร็วเหมือนลูกธนู เป็ น
คนตรง พูดอย่างใจคิด ไม่กลัวใคร ตัดสินใจดี มองโลกในแง่ดี เทอร์ค
วอยส์ หินสีเขียวน้ำทะเล และ เพทายสีฟ้า ถูกจัดเป็ นอัญมณีของราศีนี ้
34

พลอยทัง้ สองชนิดนี ้ หมายถึง ความร่ำรวยและความมั่งคั่ง เทอร์ควอยส์ยัง


มีคุณสมบัติด้านความรักความเมตตา และช่วยเสริมสร้างสติปัญญา คน
โบราณเชื่อว่าเทอร์คอยซ์เป็ นหินแห่งความโชคดี และถูกนำไปใช้ใน
พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ถ้าแร่เทอร์คอยซ์เปลี่ยนสีจะเป็ นการเตือน
อันตรายของผู้สวมใส่ 
  
 
 
 
 
 
  2.1.6.3 อัญมณีประจำราศีเกิด (นับราศีแบบไทย) 
   อัญมณีประจําราศีมังกร 
ธาตุดิน : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์ อัญมณี
ประจำราศีเ กิด คือ โกเมน, บุษราคัม , เพชร หรือ พลอยสีเ หลือ งและสี
ขาว 
ชาวราศีมังกรเป็ นคนจริงจัง มีระเบียบแบบแผน แต่มักจะวิตกกังวล จึงส่ง
ผลเสียต่อสุขภาพ และมักจะมีอาการเจ็บป่ วยแบบผู้สูงอายุ เช่น ปวดข้อ
ปวดเข่า ปวดหลัง เป็ นต้น อัญมณีที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้ผู้สวมใส่มีสุขภาพ
ที่ดีจึงเป็ นอัญมณีประจำราศีนี ้ นั่นคือ โกเมน (Garnet) 
   อัญมณีประจําราศีกุมภ์ 
ธาตุลม : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ อาเมทีสต์, โกเมนไพลิน 
คนราศีนรี ้ ักอิสระ รักพวกพ้อง ชอบคิดและทำอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน แต่
ก็ยังมีเพื่อนเยอะ อาเมทีสต์ (Amethyst) พลอยสีม่วง คืออัญมณีของชาว
35

กุมภ์ บ่งบอกถึงหัวใจที่เป็ นอิสระ ความจริงใจและความซื่อสัตย์ สีม่วงของ


อาเมทิส ต์นย
ี ้ ัง ใกล้เ คียงกับ สีป ระจำราศีก ุมภ์อ ีก ด้วย สีไลแลค หรือ ม่ว ง
ออกแดง 
   อัญมณีประจําราศีมีน 
ธาตุน ้ำ : เกิด ในช่ว งระหว่า งวัน ที่ 15 มีน าคม ถึง 12 เมษายน อัญ มณี
ประจำราศีเกิด คือ อะความารีน,  
บรัดสโตน, อเมทิสต์ 
อะความารีน (Aquamarine) พลอยที่มีตงั ้ แต่สีเขียวน้ำทะลจนถึงสีฟ้าเข้ม
เป็ นอัญมณีที่นำความสมบูรณ์และยิ่งใหญ่ดั่งท้องทะเลมาให้ ช่วยให้จิตใจ
สงบ อ่อ นโยน ถือ เป็ นอัญ มณีน ำโชคของชาวเรือ และชาวทะเล ช่ว ย
บรรเทาอาการเมาคลื่นและอุบัติภัยได้  
   อัญมณีประจําราศีเมษ 
ธาตุไฟ : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 13 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ เพชร, ไพลิน,  
ไทเกอร์อาย, บุษราคัม, เพทาย 
อัญ มณีส ำหรับ ชาวราศีเ มษคือ เพชร คำว่า Diamond ที่แ ปลว่า เพชร
นัน
้ มาจากภาษากรีก คำว่า Adamas มีความหมายว่า ไม่มีใครสามารถ
ทำลายได้ เพชร (Diamond) ซึ่ง เป็ นสัญ ลัก ษณ์แ ห่ง ชัย ชนะและความ
สำเร็จ ผู้ใดมีเพชรไว้ครอบครองจะทำให้ร่ำรวย มีอำนาจ เป็ นที่เกรงขาม
ชีวิตรุ่งเรือง และชนะศัตรูทุกมวล ซึ่งดูแล้วเหมาะกับนักริเริ่ม นักบุกเบิกที่
แข็งแกร่งอย่างผู้ที่เกิดเดือนเมษายน ที่มีความทะเยอทะยาน มีลก
ั ษณะ
ของความเป็ นผู้นำ มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น หัวแข่งมีความเป็ นตัว
ของตัวเองสูง แต่ก็เป็ นคนผูกมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ชอบการเปลี่ยนแปลง
ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบค้นคว้าหาคำตอบทุกสิ่งด้วยตัวเอง
อัญมณีประจําราศีพฤษภ 
36

ธาตุดิน : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม ถึง 14 มิถุนายน อัญมณี


ประจำราศีเกิด คือ มรกต, หยก   
อะเวนเจอรีน, ทูร์มาลีน, พลอยสีฟ้า, โมรา 
พลอยสีเขียว คือ อัญมณีของคนราศีพฤษภ ได้แก่ มรกต ตามความเชื่อ
ของชาวอียิปต์โบราณเป็ นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ความยั่งยืนเป็ น
อมตะ ส่วนในประเทศจีน หยก ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว
ค้าขายรุ่งเรื่อง นอกจากนีย
้ ังเชื่อกันว่าพลอยสีเขียวทัง้ หลายจะทำให้เกิด
ศรัทธาที่มั่นคง และความกล้าหาญ 
   อัญมณีประจําราศีเมถุน 
ธาตุลม : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 14 กรกฎาคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ ไข่มุก, โอนิกซ์,พลอยสีดำ, มุกดาหาร, โมราลาย 
สำหรับชาวราศีมิถุนผู้แคล่วคล่องว่องไว ชอบพูดคุยเจรจา และมีชีวิตชีวา
มีความเป็ นหนุ่มสาวอยู่ในตัว เจ้าสามสี หรือ Alexandrite คือ อัญมณี
หลักของราศีนี ้ เป็ นพลอยที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามแสงที่ตกกระทบ เชื่อ
ว่าสามารถกระตุ้นพลังงานและเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับผู้สวมใส่ 
   อัญมณีประจําราศีกรกฎ 
ธาตุน้ำ : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ ทับทิม, อำพันไพฑูรย์, เทอร์ควอยส์, พลอยสีเขียวขุ่น 
ทับทิม เป็ นอัญมณีประจำราศีกรกฏ เชื่อกันว่าทับทิมทำให้เกิดสติปัญญา
ความแข็งแรงและความมั่นคงทางอารมณ์ เป็ นสัญลักษณ์แห่งความรัก
การกล้าแสดงออก 
   อัญมณีประจําราศีสิงห์ 
ธาตุไฟ : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 16 กันยายน อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ เพริโดต์, ไพฑูรย์ 
37

เพอริโดต์ (Peridot) อัญมณีสีเขียวใส คือ อัญมณีประจำราศีสิงห์ซึ่งมีดวง


อาทิตย์เป็ นเกษตร ว่ากันว่า เพอริโดต์นี ้ มีพลังแห่งดวงอาทิตย์แฝงอยู่ จึง
สามารถขับไล่วิญญาณของภูตผีปีศาจได้ ทำให้ผส
ู้ วมใส่มีอำนาจบารมียิ่ง
ใหญ่ จึงเหมาะกับชาวราศีสิงห์ อย่างไรก็ดี ชาวสิงห์คงต้องดูแลพลอยชนิด
นี ้ อย่างทะนุถนอม และระมัดระวังเป็ นพิเศษ 
   อัญมณีประจําราศีกันย์ 
ธาตุดิน : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึง 16 ตุลาคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ ไพลิน, โมราสีแดงโรสควอตซ์, คาร์เนเลียน, แจส
เปอร์ 
อัญมณีของราศีนี ้ คือ ไพลิน (Sapphire) แต่เดิมถูกเรียกว่า นิลกาฬ แต่
สมัยนีเ้ รียกว่า ไพลิน ตามชื่อของจังหวัดในประเทศกัมพูชาที่เป็ นแหล่ง
ของพลอยชนิดนี ้ ไพลินเป็ นอัญมณีที่ส่ อ
ื ถึงความเมตตากรุณา และความ
เอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ จึงเหมาะกับชาวราศีกันย์ที่เป็ นนักบริการ
   อัญมณีประจําราศีตุลย์ 
ธาตุลม : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ โอปอล,ทูร์มารีน อะความารีน 
ชาวราศีตุลย์เป็ นคนรักสงบ ประนีประนอม และปรารถนาความสุข รัก
สวยรักงาม จึงเหมาะกับ โอปอล (Opal) อัญมณีหลากสีสันที่แต่ละเม็ดจะ
มีความงามไม่ซ้ำกัน โอปอลนัน
้ หมายถึง ความสุขและความสมหวัง
สามารถนำความรักและความสุขมาให้กับผูส
้ วมใส่ โดยเฉพาะโอปอลสีเข้ม
หรือ แบล็กโอปอล 
   อัญมณีประจําราศีพิจิก 
ธาตุน้ำ : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ไปจนถึง 15 ธันวาคม
อัญมณีประจำราศีเกิด คือ โทแพซ, โกเมน, ทับทิม, บุษราคัม, ซิทริน 
38

ชาวพิจิก เป็ นผู้มค


ี วามห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นสู่เป้ าหมายของตน แต่
มุทะลุดุดัน จึงคู่กับ บุษราคัม และ โทแพซ (Topaz) เพราะเป็ นอัญมณีที่
สื่อถึง ความรอบคอบ การปกป้ องจากความทุกข์เข็ญ ช่วยเพิ่มความ
กระปรีก
้ ระเปร่าและความกล้าหาญ และช่วยรักษาความสมดุลแห่ง
อารมณ์ทางเพศ 
   อัญมณีประจําราศีธนู 
ธาตุไฟ : เกิดในช่วงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 14 มกราคม อัญมณี
ประจำราศีเกิด คือ เทอร์ควอยส์, เพทายสีฟ้า, มาลาไคต์, อเมทิสต์,ลา
พิส-ลาซูลี 
เทอร์ควอยส์ (Turqouise) หินสีเขียวน้ำทะเล และ เพทายสีฟ้า ถูกจัด
เป็ นอัญมณีของราศีนี ้ พลอยทัง้ สองชนิดนี ้ หมายถึง ความร่ำรวยและ
ความมั่งคั่ง ซึ่งมีความหมายเดียวกับดาวพฤหัสที่เป็ นดาวเกษตรของราศี
ธนู เทอร์ควอยส์ยังมีคุณสมบัติด้านความรักความเมตตา และช่วยเสริม
สร้างสติปัญญา 
   2.1.6.4 อัญมณีประจำวันเกิด 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์  
คนเกิดวันอาทิตย์ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ น สีแดง เรียกว่า
“รัตนาภรณ์” ได้แก่ 
1. ทับทิม (Ruby) 
2. สปิ เนลสีแดง (Red Spinel) 
3. โกเมนสีแดง (Granet) 
4. ทัวร์มาลีนสีแดง (Rubellite) 
5. เพทายสีแดง (Red Zircon) 
6. เพชรสีแดง (Red Diamond) 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
39

 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน หรือ


เพทาย 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ หยก 
 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม,
บุษราคัม หรือ ซิทริน  
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโทปาซ 
 
    อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันจันทร์  
คนเกิดวันจันทร์ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่มี สีเหลือง เรียกว่า
“เศตาภรณ์” ได้แก่ 
1. บุษราคัม (Yellow Sapphire) 
2. โทปาซสีเหลือง (Yellow Topaz) 
3. ซิทริน (Citrine) 
4. เพทายสีเหลือง (Yellow Zircon) 
5. อำพัน (Amber) 
6. หยกสีเหลือง (Yellow Jade) 
7. เพชรสีเหลือง (Yellow Diamond) 
8. ไข่มุกสีทอง (Golden Pearl) 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ หยก 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
40

 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโทปาซ 


 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม
หรือ ซิทริน  
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน หรือ
เพทาย 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ
ไข่มุก 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 

อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันอังคาร  
คนเกิดวันอังคาร ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่มี สีชมพู เรียกว่า “
ตามภาภรณ์” ได้แก่ 
1. แซพไฟร์สีชมพู (Pink Sapphire) 
2. เบริลสีกห
ุ ลาบ (Rose Beryl) 
3. เพชรสีชมพู (Pink Diamond) 
4. ไข่มุกสีชมพู ( Pink Pearl) 
5. สปิ เนลสีชมพู (Pink Spinel) 
6. โทปาซสีชมพู (Ping Topaz) 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม
หรือ ซิทริน 
 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
41

 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 


 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลู
โทปาซ 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ หยก 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ,
โกเมน หรือ เพทาย 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 
 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันพุธกลางวัน 
คนเกิดวันพุธ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ น สีเขียว เรียกว่า “อิ
นทนิล” ได้แก่ 
1. เขียวส่อง (Green Sapphire) 
2. มรกต (Emerald) 
3. หยก (Jade) 
4. หยกออสเตรเลีย (Chrysoprase) 
5. หยกเม็กซิกัน (Calcite) 
6. โครมไดออฟไซด์ (Chrome Diopside) 
7. ทัวร์มาลีนสีเขียว (Chrome Tourmaline) 
8. เพอริโดต์ (Peridot) 
9. โกเมนสีเขียว (Green Garnet) 
 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม
หรือ ซิทริน 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
42

 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 


 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโท
ปาซ 
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต
หรือ หยก 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน หรือ
เพทาย 
 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันพุธกลางคืน  
คนเกิดวันพุธ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ น สีเขียว เรียกว่า “อิ
นทนิล” ได้แก่ แก้วไพฑูรย์ 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 
 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน
หรือ เพทาย 
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ
หยก 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโทปาซ 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม หรือ
ซิทริน 
43

 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันพฤหัสบดี  
คนเกิดวันพฤหัสบดี ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ นสีส้ม หรือ สี
แสด เรียกว่า “ปิ ตาภรณ์” ได้แก่ 
1. โอปอลไฟ (Fire Opal) 
2. หยกแดง (Red Jade) 
3. หยกแดงไต้หวัน (Carnelian) 
4. สปิ เนลสีส้ม (Orange Spinel) 
5. แซพไฟร์สส
ี ้ม (Padparadscha) 
6. ปะการัง 
 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโทปาซ 
โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ หยก 
ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 
การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน
หรือ เพทาย 
สุขภาพดี (อายุ) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม
หรือ ซิทริน 
ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิสต์ 
 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันศุกร์  
44

คนเกิดวันศุกร์ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ นสีฟ้า หรือ สีน้ำเงิน


เรียกว่า “ปภัสราภรณ์” ได้แก่ 
1. ไพลิน (Blue Sapphire) 
2. โทปาซสีฟ้า (Blue Topaz) 
3. เพทายสีฟ้า (Blue Zircon) 
4. อะความารีน (Aquamarine) 
5. ลาพิส ลาซูลี (Lapis Lazuli) 
6. เทอร์ควอยส์ (Turquoise) 
7. เพชรสีฟ้า หรือน้ำเงิน (Blue Diamond) 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ ไข่มุก 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน
หรือ เพทาย 
 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม หรือ
ซิทริน 
 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ
หยก 
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิ
สต์ 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ
บลูโทปาซ 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
 
   อัญมณีสำหรับผู้เกิดวันเสาร์ 
45

คนเกิดวันเสาร์ ควรใช้เครื่องประดับ หรือ อัญมณีที่เป็ นสีม่วง หรือ สีดำ


เรียกว่า “กัณหาภรณ์” ได้แก่ 
1. แอเมทีสต์ (Amethyst) 
2. แซพไฟร์สีดำ (Black Sapphire) 
3. แซพไฟร์สีม่วง (Violet Sapphire) 
4. สตาร์ แซพไฟร์ (Black Star Sapphire) 
5. นิล (Black Spinel) 
6. โอนิกซ์ (Onyx) 
7. หยกดำ (Black Jade) 
8. ไข่มุกสีดำ (Black Pearl) 
9. ปะการังสีดำ (Black Coral) 
สีของอัญมณีที่ช่วยเสริมดวงในด้านต่างๆ 
 อำนาจ บารมี (เดช) คือ สีเทา, สีขุ่น, มุกดาหาร 
 โชคลาภ ร่ำรวย (ศรี) คือ สีน้ำเงิน, ฟ้ า, ไพลิน หรือ บลูโท
ปาซ 
 ผู้ใหญ่รัก (มนตรี) คือ สีชมพู, ม่วง, แดงอมดำ, โกเมน หรือ
เพทาย 
 ทรัพย์สินมั่นคง (มูละ) คือ สีแดงสด, ทับทิม 
 การงานก้าวหน้า (อุตสาหะ) คือ สีขาว, ขาวนวล, เพชร หรือ
ไข่มุก 
 สุขภาพดี (อายุ) คือ สีเหลืองสด, แสด, ส้ม, บุษราคัม หรือ
ซิทริน 
 คนรักใคร่ เกื้อหนุน (บริวาร) คือ สีดำ, ม่วง, นิล หรือ อเมทิ
สต์ 
 ไม่ควรใส่ (กาลกิณี) คือ สีเขียว, เขียวสด, มรกต หรือ หยก 
46

 
2.1.7 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องอัญมณี 
 

  2.1.7.1 ทฤษฎีค วามต้อ งการของมนุษ ย์ใ นทัศ นะของมาสโลว์


(Maslow) 
ทฤษฎีค วามต้อ งการของมาสโลว์ (สุรพัน ธ์ ฉัน ทแดนสุว รรณ, 2546)ได้
เสนอความต้องการ 
ของมนุษย์ในระดับต่างๆ ดังนี ้
2.1.7.1.1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) เป็ น
ความต้องการขัน
้ พื้นฐานของ 
มนุษ ย์เ พื่อ ให้ต นเองได้ร ับ การตอบสนองเพื่อ ความอยู่ร อด คือ ความ
ต้องการที่จะได้รับประทาน 
อาหาร มีที่อยู่อ าศัย มีย ารัก ษาโรค และมีเ ครื่อ งนุ่ง ห่ม ซึ่ง ถือ ว่า เป็ นสิ่ง
จำเป็ นสำหรับชีวิต 
2.1.7.1.2 ความต้อ งการความมั่น คงปลอดภัย (Safety needs)
เป็ นความต้องการอันดับถัดไป 
ของมนุษย์ ที่จะมั่นใจว่าเขามีหน้าที่การงานที่มั่นคงแน่นอน 
2.1.7.1.3 ความต้อ งการการอยู่ร ่ว มกัน ในสัง คม (Social needs)
เป็ นความต้องการที่จะอยู่ใน 
สังคมเพื่อนๆ ให้สังคมยอมรับเขา ซึง่ บุคคลที่มีความเป็ นอยู่ที่ดี มีอาหาร
ทานแล้ว มีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว ก็อยากจะอยู่ในสังคมนัน
้ ๆ ซึง่ สิ่งที่
มนุษย์ต้องการในขัน
้ นีค
้ ือ ความรัก 
2.1.7.1.4 ความต้องการมีเ กียรติย ศ (Esteem needs) เป็ นความ
ต้องการของผู้ที่อยู่ในสังคมที่จะ 
ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่า เป็ นคนดี คนเด่น คนดังเป็ นบุคคลสำคัญที่
ได้รับเกียรติและมีช่ อ
ื เสียงในสังคมนัน
้ ๆ 
47

2.1.7.1.5 ค ว า ม ต ้อ ง ก า ร บ ร ร ล ุเ ป้ า ห ม า ย ข อ ง ช ีว ิต (Self
actualization needs) เป็ นความต้องการของบุคคลในสังคมที่อยากจะ
ทำอะไรให้ตนเองประสบความสำเร็จ นึก อยากจะเป็ นอะไรต้อ งได้เ ป็ น
อยากจะทำอะไรต้องได้ทำ เมื่อได้สิ่งนัน
้ แล้วก็อยากจะมีสิ่งอื่นๆต่อไปอีก
ซึง่ เป็ นช่วงของความต้องการความอยากได้อยากมีไม่มีที่สน
ิ ้ สุด เมื่อมนุษย์
มีความต้องการ เขาจะเป็ นผู้พยายามทำทุก อย่าง เพื่อให้ไ ด้ส ิ่ง ที่ต ้อ งกา
รนัน
้ ๆ การกระตุ้นความต้องการของมนุษย์จะทำให้เกิดการกระทำซึ่งเป็ น
พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะต่างๆ กัน 
 
  2.1.7.2 พฤติกรรมผู้บริโภค 
พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ (ศิริวรรณ, 2538)
ประกอบด้วย 5 ขัน
้ ตอน คือ 
2.1.7.2.1 การรับรู้ความต้องการ (Need Recognition) เกิดจากสิ่ง
กระตุ้นทัง้ ภายนอกและ 
ภายใน สิ่งกระตุ้นภายนอก ได้แก่ ความต้องการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง 
ส่วนสิ่งกระตุ้นภายใน ได้แก่ ความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ สิ่ง
เหล่านีเ้ มื่อเกิดขึน
้ ถึงระดับหนึ่ง แล้วจะกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมตอบ
ส น อ ง โ ด ย ท ี่บ ุค ค ล ส า ม า ร ถ เ ร ีย น ร ้ไู ด ้ โ ด ย อ า ศ ัย ก า ร เ ร ีย น ร ้แ
ู ละ
ประสบการณ์ในอดีต 
2.1.7.2.2 การค้น หาข้อ มูล เพื่อ สนองความต้อ งการ (Search for
Information) ถ้าความ 
ต้องการถูกกระตุ้นมากพอและสิง่ ที่สามารถสนองความต้องการอยู่ใกล้ตัว
ผู้บริโภคจะต้อง 
48

ตอบสนองความต้องการของเขา แต่ถ้าความต้องการที่เกิดขึน
้ ไม่สามารถ
ถูกตอบสนองได้ทันที  
ความต้องการนัน
้ จะถูก สะสมไว้เ พื่อ การตอบสนองภายหลัง เมื่อ ความ
ต้องการถูกสะสมไว้มาก  
ผู้บริโภคจะพยายามหาข้อมูลเพื่อสนองความต้องการที่ถูกสะสมไว้ โดยผู้
บริโภคเริ่มค้นหาข่าวสารจากสิ่งที่เก็บไว้ในความทรงจำ ถ้าข่าวสารจาก
ประสบการณ์หรือความทรงจำว่ามีไม่พอจะทำการเสาะแสวงหาข่าวสาร
จากแหล่ง ภายนอก ปริม าณของข้อ มูล ที่ผ ู้บ ริโ ภคค้น หาขึน
้ อยู่ก ับ ปั จจัย
ได้แก่ ปั ญหาเกี่ยวกับความต้องการที่บุคคลเผชิญอยู่มากหรือน้อย จำนวน
เวลาที่ใ ช้ใ นการเลือ กราคาสิน ค้า และจำนวนความเสี่ย งที่พ ึ่ง มีถ ้า การ
ตัดสินใจนัน
้ ผิดพลาด 
2.1.7.2.3 ก า ร ป ร ะ เ ม ิน ท า ง เ ล ือ ก ก ่อ น ซ ้อ
ื (Pre-purchase
Alternative Evaluation)ผู้บริโภค 
ประเมินค่าทางเลือกในแง่ประโยชน์ที่ค าดหมายไว้ และทำให้ทางเลือ ก
แคบลง โดยใช้เกณฑ์ในการประเมินทางเลือก เพื่อเปรียบเทียบความแตก
ต่างของแต่ละทางเลือกจนได้ทางเลือกที่ตนชอบมากที่สุด  
2.1.7.2.4 การซื้อ (Purchase) ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ตามทางเลือก
ที่ตนชอบมากที่สุดหรือที่ตน 
ยอมรับว่าสามารถทดแทนกันได้  
โดยก่อนการตัดสินใจซื้อผู้บริโภคจะพิจารณาปั จจัย 3 ประการ 
 (1) ทัศนคติของบุคคลอื่นที่มีต่อสินค้าและบริการนัน
้ ๆ 
 (2) สถานการณ์ท ี่ค าดไว้ เช่น การคาดคะเนประโยชน์ท ี่จ ะได้ร ับ จาก
สินค้าหรือบริการ ทัง้ นี ้
ความตัง้ ใจซื้อ ได้ร ับ อิท ธิพ ลจากรายได้ ขนาดของครอบครัว สภาวะ
เศรษฐกิจ เป็ นต้น 
49

 (3) สถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคะเน อาจเกิดขึน


้ ในขณะที่ผู้บริโภคกำลังซื้อ
เช่น ความไม่พอใจ 
พนักงานขาย เป็ นต้น 
2.1.7.2.5 การบริโ ภคและการประเมิน ทางเลือ กหลัง การบริโ ภค
(Consumption and Post- 
consumption Alternative Evaluation)ถ้า ผู้บ ริโ ภครู้ส ึก พอใจ หลัง
จากที่บริโภคผลิตภัณฑ์นน
ั ้ แล้วก็จะเก็บไว้ในความทรงจำ เป็ นทางเลือก
หนึ่งในการซื้อผลิตภัณฑ์นน
ั ้ ใหม่ แต่ถ้าผู้บริโภครู้สึกไม่พอใจ ก็จะประเมิน
ทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์อ่ น
ื ใหม่ 
2.1.7.2.6 การสละทิง้ (Divestment) เป็ นขัน
้ ตอนสุดท้ายในกระบวนการ
ตัดสินใจ เกิดขึน
้ เมื่อ 
ผู้บริโภคต้องการทิง้ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยกระทำได้ 3 ทาง คือ การ
ทิง้ โดยตรง การนำมาใช้ใหม่และการนำไปขายในตลาดของเก่า 
   2.1.7.3 ปั จจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค 
Kotler (1994) ได้กล่าวถึงปั จจัยส าคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ซื้อของ ผู้บริโภคว่า การ 
ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลอย่างสูงจาก ปั จจัยทางวัฒนธรรม
ปั จจัยทางสังคม ปั จจัยส่วนบุคคล และปั จจัยทางจิตวิทยา ดังนี ้
2.1.6.7.1 ปั จจัยทางวัฒนธรรม (Culture Factors) เป็ นสัญลักษณ์
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึน
้   
โดยเป็ นที่ยอมรับจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง โดยเป็ นตัวกำหนดและควบคุม
พฤติก รรมของมนุษ ย์ใ นสัง คมหนึ่ง ค่า นิย มในวัฒ นธรรมจะกำหนด
ลักษณะของสังคมและกำหนดความแตกต่างของสังคมหนึง่ จากสังคมอื่น
วัฒนธรรมเป็ นสิ่งกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของบุคคล ปั จจัย
50

ทางวัฒนธรรมจึงเป็ นปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ซ้อ


ื หรือผู้บริโภค ประกอบด้วย
วัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อยและลำดับชัน
้ ทางสังคม  
 (1) วัฒนธรรม (Culture) หมายถึงรูปแบบในการดำเนินชีวิตที่ส ามารถ
เรียนรู้ และถ่ายทอด 
สืบต่อกันมาโดยผ่านการอบรมและขัดเกลาทางสังคม 
 (2) วัฒ นธรรมย่อ ย (Sub-Culture) พฤติก รรมของบุค คลในแต ่ล ะ
วัฒนธรรมยังแตกต่างแคบ 
ลงไปอีก โดยพิจ ารณาความแตกต่า งในด้า นเชื้อ ชาติ ศาสนา และพื้น ที่
ทางภูมิศาสตร์ สิ่งเหล่านีม
้ ีบทบาทในการก่อตัวขึน
้ เป็ นทัศนคติของบุคคล 
(3) ลำดับชัน
้ ทางสังคม (Social Class) มนุษย์ที่อ ยู่รวมกัน ในสัง คมจะมี
การแบ่งลำดับชัน
้ ที่ 
แตกต่างกันไปตามอาชีพ ความมั่งคัง่ ชาติตระกูล การมีอำนาจเหนือคน
อื่นและบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล ซึง่ โดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็ น 3
ระดับ คือ ระดับ สูง ระดับ กลาง และระดับ ต่ำ การตัด สิน ใจซื้อ ของผู้
บริโภคขึน
้ อยู่กับลำดับชัน
้ ทางสังคมที่เขาอยู่ด้วย 
2.1.6.3.2 ปั จจัยทางสังคม (Social Factors) ปั จจัยทางสังคมที่มีอิทธิพล
ต่อผู้ซ้อ
ื ประกอบด้วย  
กลุ่มอ้างอิง ครอบครัว สถานภาพสมรส บทบาท และสถานะทางสังคม  
(1) กลุ่ม อ้า งอิง (Reference Group) หมายถึง กลุ่ม ที่ไ ม่เ ป็ นทางการที่
บุคคลในสังคมยอมรับ  นับถือและอยากเป็ น อยากมีอะไรๆ เหมือนกลุ่ม
อ้างอิง ดัง นัน
้ กลุ่มอ้า งอิง จึง มีอ ิทธิพลต่อ ความ คิด เห็น ทัศนคติ และค่า
นิยม 
 (2) ครอบครัว (Family) เป็ นแหล่งที่ฝึกหัดให้บค
ุ คลรู้จักค่าของเงิน รู้จัก
วิธีการซื้อ รู้ว่าควร ซื้ออะไร อย่างไร และที่ไหน 
51

 (3) บทบาทและสถานะภาพ (Roles and Status) เช่น สถานภาพสมรส


สถานะทางสังคมเป็ นต้น 

2.1.7.3.3 ปั จจัยส่วนบุคคล (Personal Factors)ลักษณะภายนอกของตัว


บุคคลที่มีอิทธิพลต่อ 
พฤติกรรมการเลือกซื้อที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ อายุ อาชีพ วัฏจักรชีวิต
บุคลิกภาพ สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิถีทางการดำเนินชีวิต
จากคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลนี ้ ทำให้แต่ละบุคคลมีพฤติกรรมที่แตก
ต่างจากคนอื่น ดังนี ้
 (1) อายุและวัฏจักรชีวิต (Age and Life Cycle) ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภค
เลือกซื้อขึน
้ อยู่กับอายุ 
ของผู้บริโภค เช่น ลักษณะเสื่อผ้าที่ใช้แต่งกายมีการเลือกซื้อเหมาะสมกับ
วัย นอกจากนีค
้ วาม 
ต้องการในตัวผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมการเลือกซื้อ แตกต่างกันในแต่ละ
ช่วงของวัฏจักรชีวิต 
 (2) อาชีพ (Occupation) อาชีพ ในแต่ล ะอาชีพ จะนำไปสูค
่ วามจำเป็ น
และความต้องการใน ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน 
(3) บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึงโครงสร้างทัง้ หมดของมนุษย์ซึ่งจะ
ทำให้บ ุค คลแต่ล ะ คนมีน ิส ัยและทัศ นคติท ี่แ ตกต่า งกัน บุค ลิก ภาพจะมี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ เช่น บุคคลที่มี ความละเอียด ระมัดระวัง ก็
จะมีค วามพีถ พ
ี ิถ ัน ในการซื้อโดยคำนึง ถึง ตราผลิต ภัณ ฑ์ และต้อ งทราบ
ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก่อนการตัดสินใจซื้อ เป็ นต้น 
 (4) สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economics) โอกาสที่ผู้บริโภคจะซื้อ
ผลิต ภัณ ฑ์ขน
ึ ้ อยู่ก ับ  ระดับ รายได้ การออม การเป็ นเจ้า ของทรัพ ย์ส ิน
52

ความสามารถในการกู้ยืม การให้สินเชื่อและ ทัศนคติที่เกี่ยวกับการจ่าย
เงิน 
 (5) วิถ ีท างการดำเนิน ชีว ิต วิถ ีท างการดำเนิน ชีวิต ของบุค คลขึน
้ อยู่ก ับ
วัฒนธรรม ลำดับชัน
้  
ทางสังคม และกลุ่มอาชีพของแต่ละบุคคล 
2.1.7.3.4 ปั จจัยทางจิตวิทยา (Psychology Factors) ประกอบด้วย การ
จูงใจ การรับรู้ การ 
เรียนรู้ ความเชื่อและทัศนคติ  
 (1) การจูง ใจ (Motivation) หมายถึง สิ่ง กระตุ้น หรือ ความรู้ส ึก ที่เ ป็ น
สาเหตุที่ทำให้บุคคลมี 
การกระทำหรือมีพฤติกรรมในรูปแบบที่แน่นอน 
 (2) การรับรู้ (Perception) หมายถึง อะไรก็ตามที่ถูกนำมาสู่ความสนใจ
ของผู้บริโภคโดย ผ่านประสาททัง้ ห้า ดังนัน
้ บุคคลแต่ละคนในภาวะที่ถูก
กระตุ้นจากสิ่งเร้าเดียวกัน   อาจประพฤติ ปฏิบัติต่างกันเพราะ บุค คลมี
การรับรู้ที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน ซึ่งขึน
้ อยู่กับ
ลักษณะของสิ่งกระตุ้น ความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นกับสิ่งแวดล้อม และ
สถานภาพของแต่ละบุคคล 
 (3) การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง พฤติกรรมอันเป็ นผลมาจากการได้
ปฏิบัติ ประสบการณ์  
หรือการเกิดขึน
้ ของสัญชาติญาณ ดังนัน
้ การตลาดจึงใช้แนวคิดนีม
้ าเป็ น
ประโยชน์ด้วยการโฆษณาซ้ำๆ จนเกิดการจูงใจในการซื้อ 
 (4) ความเชื่อ และทัศ นคติ (Believes and Attitude) หมายถึง ความ
รู้ส ึก ที่อ ยู่ภ ายในตัว มนุษ ย์ หรือ ความเห็น ที่เ ป็ นรูป แบบพฤติก รรมของ
บุคคล 
2.1.8 ทัศนคติ 
53

   2.1.8.1 ความหมายของทัศนคติ 
         ทัศนคติ โดยภาพรวมหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกของ
บุคคลมีต่อ  สิ่งใดสิ่งหนึง่ ซึ่งเป็ นผลมาจากประสบการณ์หรือสิง่ แวดล้อม
อันมีแนวโน้มที่จะให้บุคคลแสดงปฏิกริยา และกระทำต่อสิ่งนัน
้ ๆ ในทาง
สนับสนุนหรือปฏิเสธ ทัศนคติเป็ นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
การที่จะรู้ถึงทัศนคติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ต้องใช้วิธีแปลความหมาย
ของการแสดงออก 
   2.1.8.2 องค์ประกอบของทัศนคติ 
    องค์ประกอบของทัศนคติแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน คือ  
1. ส่วนของสติและเหตุผล (Cognitive Component) ในส่วนนีเ้ ป็ นเรื่อง
ของการใช้เหตุผลของบุคคลในการจำแนกแยกแยะความแตกต่าง ตลอด
จนผลต่อเนื่อง ผลได้ผลเสีย กล่าวคือ การที่บุคคลจะสามารถนำเอา
คุณค่าทางสังคมที่ได้รับจากการอบรมสั่งสอนและถ่ายทอด มาใช้ในการ
วิเคราะห์พิจารณาประกอบเหตุผลของการที่ตนจะประเมินข้อแตกต่าง
ระหว่างส่วนนีก
้ ับความรู้สึก คือการพิจารณาของบุคคลในส่วนที่จะมี
ลักษณะปลอดภัยจากอารมณ์ แต่จะเป็ นเรื่องของเหตุผลอันสืบเนื่องมา
จากความเชื่อของบุคคล 
2. ส่วนของความรู้สึก (Affective Component) หมายถึงบรรดาความ
รู้สึกที่ชอบ ไม่ชอบ รักหรือเกลียดหรือกลัว ซึ่งเป็ นเรื่องของอารมณ์ของ
บุคคล 
3. ส่วนของแบบพฤติกรรม (Behavioral Component) หมายถึง แนว
โน้มอันที่จะมีพฤติกรรม         
(Action tendency) แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมนีจ
้ ะมีความสัมพันธ์ต่อ
เนื่องกับส่วนของความรู้สึก ตลอดจนส่วนของสติและเหตุผล ส่วนของ
54

แบบพฤติกรรมนีจ
้ ะเป็ นส่วนที่บุคคลพร้อมที่จะมีปฏิกริยาแสดงออกต่อ
เหตุการณ์หรือสิง่ ใดสิ่งหนึ่ง 
   2.1.8.3 ประเภทของทัศนคติ 
การแสดงออกทางทัศนคติสามารถแบ่งได้เป็ น 3 ประเภท (ดารณี, 2542:
43)  คือ 
1. ทัศนคติในทางบวก (Positive Attitude) คือ ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม
ในทางที่ดีหรือ 
ยอมรับ ความพอใจ เช่น นักศึกษาที่มีทัศนคติที่ดีต่อการ โฆษณา เพราะ
วิชาการ โฆษณาเป็ นการ 
ให้บุคคลได้มีอิสระทางความคิด 
2. ทัศ นคติใ นทางลบ (Negative  Attitude ) คือ การแสดงออก หรือ
ความรู้สึกต่อสิ่งแวคล้อม 
ในทางที่ไม่พอใจ ไม่ดี ไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย เช่น นิดไม่ชอบคนเลีย
้ งสัตว์
เพราะเห็นว่าทารุณสัตว์ 
3. การไม่แ สดงออกทา งทัศ นค ติ หรือ มีท ัศ นค ติเ ฉยๆ (Negative
Attitude)  คือ มีทัศนคติเป็ น 
กลางอาจจะเพราะว่า ไม่ม ีค วามรู้ค วามเข้า ใจในเรื่อ งนัน
้ ๆ หรือ ในเรื่อ ง
นัน
้ ๆ เราไม่มีแนวโน้ม 
ทัศนคติอยู่เดิมหรือไม่มีแนวโน้มทางความรู้ในเรื่องนัน
้ ๆ มาก่อน เช่น เรา
มีทัศ นคติที่เ ป็ นกลางต่อตู้ไ มโครเวฟ เพราะเราไม่มีค วามรู้เ กี่ยวกับ โทษ
หรือคุณของตู้ไมโครเวฟมาก่อน 
จะเห็นได้ว่าการแสดงออกของทัศนคตินน
ั ้ เกิดจากการก่อตัวของทัศนคติ
ที่สะสมไว้เป็ น 
ความคิดและความรู้สึก จนสามารถแสดงพฤติกรรมต่า งๆ ออกมา ตาม
ทัศนคติต่อสิง่ นัน
้  
55

2.1.9 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย


ขอนเเก่น 
   สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี 
มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พ้น
ื ฐานทางวิทยาศาสตร์และหลักการทาง
วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีธรณี ได้แก่ การสำรวจ
ค้นหาวิเคราะห์ทำความเข้าใจและสร้างแบบจำลอง พร้อมทัง้ การอนุรักษ์
ทรัพยากรดิน หิน แร่ น้ำใต้ดิน และสิง่ แวดล้อม เพื่อที่จะนำเอาทรัพยากร
เหล่านีไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
ปรัชญาและความสำคัญ 
   หลัก สูต รวิท ยาศาสตรบัณ ฑิต สาขาวิช าเทคโนโลยีธ รณี (หลัก สูต ร
ปรับ ปรุง พ.ศ. 2555) มุ่ง ผลิต บัณ ฑิต ให้ม ีค วามรู้ค วามสามารถในด้า น
เทคโนโลยีธรณี ที่เน้นหนักทางวิศวกรรมธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา   ธรณี
ฟิ สิก ส์ ธรณีเ คมี ธรณีพ ิบ ัติภัย และธรณีวิทยาสิ่ง แวดล้อ ม มีทัก ษะและ
ประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึ กปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การ
แก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาการ/วิชาชีพเทคโนโลยีธรณี
มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจ
ในสถานการณ์ข องโลกและสัง คมที่ม ีค วามแตกต่า งหลากหลายและ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็ นบัณฑิตที่พงึ ประสงค์ของสังคมและตลาด
งานปั จจุบัน 
   วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 
หลัก สูต รวิท ยาศาสตรบัณ ฑิต สาขาวิช าเทคโนโลยีธ รณี (หลัก สูต ร
ปรับปรุง พ.ศ. 2555)  
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี ้
56

1.มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชา
เทคโนโลยีธรณี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2.มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้
และประสบการณ์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีในการแก้ปัญหาการทำงาน
ได้ 
3.มีท ัก ษะความสามารถด้า นการสื่อ สาร การวิเ คระห์ว ิจ ัย การใช้
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ 
4.มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ และมี
ทัก ษะความพร้อ มด้า นสัง คม ที่จ ำเป็ นต่อ การทำงานและการใช้ช ีว ิต ใน
อนาคต 

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี เปิ ดสอนในหลักสูตรต่างๆ 


 หลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
ธรณี 
 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี 
 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี 
   โครงสร้างหลักสูตร 
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต 
   ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา 
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็ นผู้มีความรู้ความสามารถในการ
ปฏิบ ัต ิง านได้ท งั ้ ในหน่ว ยงานภาครัฐ ภาคอุต สาหกรรม-เอกชน การ
ประกอบวิช าชีพ อิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัว ในสาขาวิช าที่เ รียนมา
โดยสามารถปฏิบ ัติง านได้ห ลากหลาย เช่น การสำรวจเพื่อ ออกแบบใน
ด้านวิศวกรรมธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ การสำรวจเพื่อหาแหล่งน้ำ
บ า ด า ล ส ำ ห ร ับ ก า ร อ ุป โ ภ ค แ ล ะ บ ร ิโ ภ ค ก า ร ผ ล ิต แ ร ่แ ล ะ ห ิน เ พ ่ อ

57

อุตสาหกรรม แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน รวมถึงการทำงานด้านธรณีวิทยา


สิ่ง แวดล้อ มและธรณีพ ิบ ัต ิภ ัย ตลอดจนการบริห ารเพื่อ พัฒ นาการเพิ่ม
ศัก ยภาพการสำรวจหาแหล่ง ทรัพ ยากรธรณีใ หม่ ๆ เพื่อ การพัฒ นา
ประเทศ 
   หน่วยงานของรัฐ 
กรมทรัพยากรธรณี การปิ โตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้ าฝ่ ายผลิต
แห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาที่ดิน เป็ นต้น 
  

2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วรธนัท อชิร ธานนท์ (บทคัด ย่อ : 2564 ) ได้ศ ึก ษางานวิจ ัย เรื่อ ง


พลัง ความเชื่อ และความศรัท ธา ในวัต ถุม งคลสู่เ ครื่อ งประดับ และ
อัญ มณี พบว่า พลัง ความเชื่อ และความศรัท ธาในวัต ถุม งคลสู่เ ครื่อ ง
ประดับและอัญมณี ในสังคมไทยกระแสความนิยมวัตถุมงคลและทิศทาง
ในอนาคต แนวโน้มในอนาคตของผู้เช่าบูชาวัตถุมงคล และ เครื่องประดับ
และอัญมณี ทัง้ นีเ้ พื่อให้ความสำเร็จสูงสุดในการประกอบการจึงปฏิเสธไม่
ได้ว่า ธุรกิจ ออนไลน์เข้ามามีส่วนเป็ นธุรกิจที่น่าสนใจนำมาศึกษาเพื่อหา
แนวทางในการดำเนินการที่ทำให้ความเชื่อ ความศรัทธามาผสมผสานกับ
กระแสการติดต่อในการประกอบการ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจวัตถุมงคล
และเครื่องประดับ และอัญ มณีในยุค ออนไลน์เป็ นธุรกิจที่น ่า สนใจนำมา
ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการที่ทำให้ความเชื่อความศรัทธามา
ผสมผสานกับ กระแสการติด ต่อ ในยุค โลกาภิว ัต น์อ ย่า งการ พาณิช ย์
อิเ ล็ก ทรอนิก ส์ (E-Commerce) ได้อ ย่า งแนบเนีย นในยุค ชีว ิต วิถ ีใ หม่
58

(New Normal) การพัฒ นาของวงการนัก สะสมวัต ถุม งคลและเครื่อ ง


ประดับและอัญมณีมาสู่โลกอินเตอร์เน็ต มีทงั ้ การเปิ ดร้านวัตถุมงคล และ
เครื่อ งประดับ และอัญ มณี ประมูล วัต ถุม งคลและเครื่อ งประดับ และ
อัญมณี ในตลาดออนไลน์ จนกระทั่งกระแสการประชาสัมพันธ์ผ ่านการ
พาณิช ย์อ ิเ ล็ก ทรอนิก ส์ (ECommerce) หรือ การซื้อ ขายผ่า นระบบ
อินเตอร์เน็ต ได้รับความนิยมเป็ นอย่างมาก และด้วยความสะดวกในการ
เข้าถึง ซึ่งเป็ นการจำลองสนามวัตถุมงคลและเครื่องประดับและอัญมณี
ที่ผู้ซ้อ
ื และผู้ขาย สามารถพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงการ
ซื้อขายกันได้สะดวก และคล่องตัวมากที่สุด จึงทำให้กระแสวัตถุมงคลและ
เครื่องประดับและอัญมณีออนไลน์ ได้รับความนิยมจากผู้เล่นอย่างกว้าง
ขวาง ด้วยการนำวิทยาการที่ทันสมัยอย่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-
Commerce) มาร่วมขับเคลื่อน กระแสความนิยมของกลุ่มบุคคล ทำให้
เกิดกระแสความนิยมอย่างแพร่หลาย
อรุณ วรรณ คงมีผ ล (บทคัด ย่อ : 2556 ) ได้ศ ึก ษางานวิจ ัย เรื่อ ง
อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย งานวิจัยนีม
้ ุ่งศึกษา
ตำราอัญมณีของอินเดียโบราณที่เป็ นภาษาสันสกฤตกับตำรานพรัตน์ของ
ไทย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เรื่องอัญมณีวิทยาในวรรณคดีทงั ้ สอง ผล
การศึกษาสะท้อนให้เห็นธรรมเนียมปฏิบัติและความเชื่อในเรื่องอัญมณีที่
มีร่วมกันในสังคมอินเดียและสังคมไทย “รัตนปรีกษา” คือศาสตร์ว่าด้วย
การพิจารณาและตรวจสอบอัญมณี ได้รับการบันทึกในช่วงสมัยพระเวท
จนถึง หลัง สมัย พระเวท (ราว 1,500 ปี ก่อ นคริส ต์ศ ัก ราชจนถึง คริส ต์
ศตวรรษที่ 14) ต้น ฉบับ มีท งั ้ ที่เ ป็ นคัมภีร์โ ดยตรงและเป็ นเรื่อ งแทรกใน
วรรณคดีอ่ น
ื เนื้อหามีล ัก ษณะเป็ นวิทยาศาสตร์ผ สมผสานกับความเชื่อ
59

เกี่ยวกับ เทพเจ้า ตามหลัก ศาสนาพราหมณ์-ฮิน ดู ประกอบด้วยเรื่อ งต้น


กำเนิดของอัญมณีประเภทต่างๆ แหล่งทีพ
่ บอัญมณี ลักษณะคุณและโทษ
ของอัญมณีซงึ่ พิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพ อานุภาพของอัญมณี
ต่อ ผูค
้ รอบครอง ฯลฯ ส่ว นตำรานพรัต น์ซ ึ่ง เรีย บเรีย งขึน
้ ในรัช สมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนัน
้ แม้จะมีรายละเอียดแตกต่าง
กัน ไปบ้า งแต่ห ัว ข้อ และคำอธิบ ายเรื่อ งอัญ มณีว ิท ยาสอดคล้อ งและ
คล้ายคลึงกับในตำรารัตนปรีก ษา นอกจากนีย
้ ัง มีก ารอ้า งถึงตัวละครใน
ตำนานรวมทัง้ ชื่อสถานที่ ที่ปรากฏในคัมภีร์อินเดียโบราณ จึงอาจสรุปได้
ว่า ตำรารัตนปรีกษาเป็ นที่ม าของความรู้แ ละความเชื่อ ในตำรานพรัต น์
ของไทย
นพดล สมฤกษ์ผ ล (บทคัด ย่อ : 2552 ) ได้ศ ึก ษางานวิจ ัย เรื่อ ง
ความเชื่อและพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตรงกับราศี
เกิดของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า วัตถุประสงค์ของ
การศึกษาครัง้ นี ้ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อในการซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่
ตรงกับ ราศีเกิดของประชากรในจัง หวัด กรุง เทพมหานคร 2) เพื่อ ศึก ษา
พฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตรงกับราศีเกิดของประชากรใน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับ
พฤติก รรมการเลือ กซื้อ เครื่อ งประดับ อัญ มณีท ี่ต รงกับ ราศีเ กิด ของ
ประชาชนในจัง หวัด กรุง เทพมหานครประชากรที่ใ ช้ใ นการศึก ษา คือ
ประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีปัจจัยพื้นฐานทางบุคคลที่หลาก
หลายแตกต่างกันเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการใส่อัญมณีตามราศีเกิด
เครื่อ งมือ ที่ใ ช้ใ นการศึก ษาเป็ นแบบสอบถามจำนวน 400 ฉบับ การ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาแสดงจำนวน ร้อยละ ใน
60

ก า ร อ ธ ิบ า ย แ ล ะ ใ ช ้เ ท ค น ค
ิ ก า ร ว ิเ ค ร า ะ ห ์ Chi-square แ ล ะ One
WayANOVA โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาความสัมพันธ์ทาง
สถิต ิ ผลการศึก ษาพบว่า ปั จจัย ส ่ว นบุค คลมีค วามสัม พัน ธ์ต ่อ
พฤติก รรมในการเลือ กซื้อ เครื่อ งประดับ อัญ มณีท ี่ต รงกับ ราศีเ กิด ของ
ประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ การ
ศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้บริโภคมีความสัมพัน ธ์ต ่อการเลือกผู้มี
ส่วนร่วมในการซื้อเครื่องประดับอัญมณีตามราศีเกิด และพบว่า อายุ การ
ศึก ษา อาชีพ รายได้เ ฉลี่ย ต่อ เดือ น และศาสนาของผู้บ ริโ ภคมีค วาม
สัมพันธ์ต่อจำนวนครัง้ เฉลี่ยที่ซ้อ
ื เครื่องประดับ อัญมณีตามราศีเกิดต่อปี
ปั จจัย ส่ว นบุค คลที่แ ตกต่า งกัน มีผ ลต่อ ความเชื่อ ต่อ ความนิย มในการ
บริโภค
เ ค ร่ อ
ื ง ป ร ะ ด ับ อ ัญ ม ณ ีท ี่ต ร ง ก ับ ร า ศ ีเ ก ิด ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ใ น จ ัง ห ว ัด
กรุง เทพมหานคร พบว่า ผู้บ ริโ ภคที่ม ีส ถานภาพ การศึก ษาและรายได้
เฉลี่ยต่อ เดือนแตกต่างกัน มีผ ลต่อ ความเชื่อ ต่อ ความนิยมในการบริโ ภค
เครื่อ งประดับ อัญ มณีที่ต รงกับ ราศีเ กิด แตกต่า งกัน ความเชื่อ ของผู้
บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่
ตรงกับราศีเกิดของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ความเชื่อ
ของผู้บริโภคมี
ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตรง
กับ ราศีเ กิดและความเชื่อของผู้บ ริโ ภคมีค วามสัมพัน ธ์ก ับ จำนวนครัง้ ใน
การซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตรงกับราศีเกิดเฉลี่ยต่อปี
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ความเชื่อเกี่ยว
กับเครื่องประดับอัญมนีมีมาอย่างยาวนานตัง้ แต่ในอดีตจนมาถึงปั จจุบัน
61

ซึ่งอัญมนีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทัง้ ทางกายภาพและโครงสร้างทาง
เคมี โดยอัญมณีแต่ละชนิดใช้ส่ อ
ื ความหมายหรือความเชื่อที่แตกต่างกัน
ด้านความเชื่อโดยส่วนใหญ่จะใช้ราศีเกิดในการพิจารณาเลือกซื้อ คณะผู้
จัดทำจึงมีความสนใจเกี่ยวกับความเชื่ออัญมนีจึงได้เลือกศึกษาและทำ
โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับ
อัญมณีของนักศึกษาและบุคลากรในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทที่3
วิธีการดำเนินงาน

โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่ออัญมณีของ
บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น มีวิธีการดำเงินงานตามขัน
้ ตอน ดังนี ้

3.1 พื้นที่เป้ าหมาย 


3.2 ประชากรเป้ าหมาย 
3.3 ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน 
3.4 เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.7 การนำเสนอข้อมูล
62

3.1 พื้นที่เป้ าหมาย 


คณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น 123
หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น

3.2 ประชากรเป้ าหมาย 


บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอน
เเก่น  
โดยเป็ นนักศึกษาจำนวน 3 คน และบุคลากรจำนวน 2 คน 

3.3 ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน 
 
ระยะเวลาดำเนินงาน(สัปดาห์)
กิจกรรม ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4
1. กำหนดหัวข้อโครงงาน                        
63

2.ทำใบงานโครงงานที่ 1 (กำหนดที่มาและความ
สำคัญวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของโครงงาน ระยะ
เวลาในการทำโครงงานและประโยชน์ที่คาดว่าจะ
ได้รับ)                        
3.ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง                        
4.นำเสนอความคืบหน้าของโครงงาน                        
5. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากการนำ
เสนอ                        
6.ลงพื้นที่เพื่อดำเนินงาน                        
7.เก็บรวบรวมข้อมูลจากการการสัมภาษณ์และนำ
มาวิเคราะห์                        
8.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน                        
9.จัดทำรูปเล่มโครงงาน                        
10.นำเสนอโครงงาน                        

ตารางที่ 1 ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

3.4 เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล


3.4.1 เครื่องมือ
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครัง้ นี ้ คณะผู้จัดทําใช้เครื่องมือ
ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary
Method) การสํารวจภาคสนาม (Surveys) และการสัมภาษณ์แบบมี
โครงสร้าง (Structured Interviews) เพื่อการศึกษาทัศนคติและความ
เชื่อที่มีต่ออัญมณีของบุคลากรและนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีรายละเอียด ดังนี ้
1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Method)
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารจาก หนังสือ เอกสาร รายงาน
วิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็ นต้น โดยคำนึงถึงความตรง
ของการวิจัย เนื่องจากการวิจัยเอกสารมีทงั ้ ข้อดีและข้อจำกัด
2) การสํารวจภาคสนาม (Field Surveys)
64

การสํารวจภาคสนาม เป็ นหนึ่งในขัน


้ ตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ที่จะช่วยทําให้มองเห็นภาพรวม ของทัศนคติและความเชื่อของกลุ่มเป้ า
หมายที่มีต่ออัญมณี
3) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interviews)
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็ นการสัมภาษณ์กลุ่มเป้ าหมายที่มี
ข้อคําถามที่กําหนดไว้แล้วเพื่อทราบทัศนคติและความเชื่อที่มีต่ออัญมนี

3.4.2 แบบสัมภาษณ์
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครัง้ นี ้ คณะผู้จัดทำโครงงานได้เลือกการ
เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจ ภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์บุคลากรและ
นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
ผู้ซึ่งมีทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี จำนวนทัง้ หมด
5 คน โดยเป็ นบุคลากรจำนวน 3 คน และนักศึกษาจำนวน 2 คน ซึ่งมี
แบบสัมภาษณ์ ดังนี ้

แบบสัมภาษณ์
โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่ออัญมณีของ
บุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สัมภาษณ์ ผู้ถูกสัมภาษณ์
ชื่อ-สกุล ชื่อ-สกุล
: .................................................... : ....................................................
วัน/เดือน/ปี ที่สัมภาษณ์ อายุ...............
65

: ................................................. เพศ : ……………….. ระดับการศึกษา


เวลา : .................... สถานที่ : ................................ .............................
: ........................................... ..............................................................
.................................................................
..........................
ตำแหน่ง/สถานะ
: .............................................................
ข้ คำถาม คำตอบ

1 คุณมีเครื่องประดับอัญมณีหรือไม่ .................................................................
หากมีคุณใช้สวมใส่ พกติดตัว หรือ ...........................
ประดับสถานที่ .................................................................
และส่วนใหญ่อัญมณีที่คุณมีเป็ น ...........................
ชนิดใด เช่น หิน แร่ .................................................................
อัญมณีอินทรีย์ เป็ นต้น ...........................
.................................................................
...........................
2 คุณมีทัศนคติเกี่ยวกับเครื่อง .................................................................
ประดับอัญมณีอย่างไร  ...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
3 คุณมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่อง .................................................................
ประดับอัญมณีหรือไม่ เช่น การใส่ ...........................
หินสี เพื่อช่วยเสริมเรื่องโชคลาภ .................................................................
66

หรือความรัก ...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
4 คุณมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ .................................................................
อัญมณีหรือไม่ อย่างไร เช่น คุณ ...........................
สวมโรสควอตซ์ ไปสัมภาษณ์งาน .................................................................
ทำให้การสัมภาษณ์งานผ่านลุล่วง ...........................
ไปได้ด้วยดี หรือได้รับความเมตตา .................................................................
จากผู้ใหญ่  ...........................
.................................................................
...........................
5 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ .................................................................
อัญมณี หากมองในแง่มุม ...........................
วิทยาศาสตร์และจิตวิทยา .................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
6 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับ .................................................................
บุคคลที่มีความเชื่อเรื่องเครื่อง ...........................
ประดับอัญมณี  .................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
67

...........................
7 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ .................................................................
ความเชื่อเรื่อง เครื่องประดับ ...........................
อัญมณีในปั จจุบัน  .................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
8 คุณคิดว่าในอนาคตความเชื่อเกี่ยว .................................................................
กับเครื่องประดับอัญมนีจะเลือน ...........................
หายไปหรือไม่  .................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
9 คุณคิดว่าความเชื่อเกี่ยวกับเครื่อง .................................................................
ประดับอัญมณีเกิดขึน
้ มาได้อย่างไร  ...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
.................................................................
...........................
ตารางที่ 2 แบบสัมภาษณ์
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
68

คณะผู้จัดทำโครงงานได้เก็บรวบรวมข้อมูล ทัง้ หมดเป็ นข้อมูลปฐม


ภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภมิ (Secondary Data) ดังนี ้
3.5.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
ข้อมูลปฐมภูมิ เป็ นข้อมูลที่ได้จากการสํารวจ โดยใช้ข้อมูลจากการ
ลงพื้นที่เป็ นหลัก ดังนี ้ 1. วางแผนลงพื้นที่เก็บ
รวบรวมข้อมูล
2. ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยเครื่องมือในการทําวิจัยที่ผ่านการ
ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
3. นําข้อมูลทได้มาวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของ
ข้อมูล หากข้อมูลยังไม่ครบถ้วน หรือยังขาดตกบกพร่องจะต้องดําเนินการ
เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมอีกครัง้ จนกว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน
สมบูรณ์
3.5.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
ข้อมูลทุติยภูมิ เป็ นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล
เอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกับอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับ
อัญมณีผ่าน หนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย เป็ นต้น
3.6. การวิเคราะห์ข้อมูล
คณะผู้จัดทําโครงงานเชื่อมโยงข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการลงพื้นที่
เป็ นหลัก และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศกึ ษาค้นคว้า และรวบรวม
ข้อมูลเอกสารที่มีความเกี่ยวข้อง ทัง้ ที่เป็ นเอกสาร หนังสือ วารสาร
บทความ งานวิจัย เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในโครงงานครัง้
นี ้ ได้นําข้อมูลจากการลงพื้นที่ ซึ่งเป็ นข้อมูลที่เกี่ยวกับทัศนคติและความ
เชื่อที่มีต่ออัญมณีของบุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยใช้ แนวคิดและ
69

ทฤษฎีมาอภิปรายร่วมกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนัน
้ นําเสนอผลการทํา
โครงงานในรูปแบบรายงานเชิง วิเคราะห์

3.7. การนําเสนอข้อมูล
นําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการรายงานเชิงวิเคราะห์ ประ
กอบถาพถ่าย วีดีโอ ตารางหรือ ไดอะแกรมประกอบคําอธิบาย จากนัน
้ จึง
นําผลงานเสนอสูส
่ าธารณะในรูปแบบของเอกสารโครงงาน
การนําเสนอข้อมูล
70

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อ
อัญมณีของบุคลากรและนักศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีผลการศึกษา
และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ดังนี ้

4.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับ


อัญมณีในสังคมไทย 
4.2 เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของนักศึกษาและ
บุคลากร
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
4.3 เพื่อศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของนักศึกษา
และบุคลากร
71

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น

ข้อมูลผู้ถูกสัมภาษณ์
ลำ ชื่อ-นามสกุลผู้ถูก เพ อา ระดับการ ตำแหน่ง วัน/ เวล สถานที่
ดับ สัมภาษณ์ ศ ยุ ศึกษา เดือน/ปี า
ทีใ่ ห้
สัมภาษณ์
1 นางสาวเมธิณี จันทร์ ห 21 ปริญญาตรีปี นักษึกษา 24/02/2 16. TE-05
นาค ญิง ที่ 3 566 30
2 นายศุภกฤต ศีรษะพล ชา 21 ปริญญาตรีปี นักศึกษา 24/02/2 16. Mesozoic
ย ที่ 3 566 45 park
3 นางฐิติรัตน์ อินสาลี ห 53 จบปริญญา นัก 27/02/2 09. TE-04
ญิง โท วิทยาศาส 566 15
ตร์
4 นายสมพล จรรยากรณ์ ชา 57 จบปริญญา นักวิชาการ 01/03/2 9.4 TE-5
ย โท 566 5
5 ิ ธิ ์ ดิษฐ์
นายพิทักษ์สท ชา 40 จบปริญญา นักวิชาการ 01/03/2 16. TE-5
บรรจง ย เอก 566 00
ผูส
้ ัมภาษณ์ นายจิรพันธ์ เพราะขุนทด ตำแหน่ง คณะผู้จัดทำโครงาน

4.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับ


อัญมณีในสังคมไทย
คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง พบว่า อัญมณี หมายถึง รัตนชาติ ที่ใช้เรียกเเร่หรือหินที่มีค่า
ซึ่งเมื่อผ่านการตกเเต่งเรียบร้อยแล้ว เช่น เจียระไน ขัดมัน หรือเเกะสลัก
จะมีคุณสมบัติเป็ นอัญมณีเครื่องประดับ ซึ่งอัญมณีเป็ นวัตถุธรรมชาติ ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะเป็ นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นหินบางชนิด
หรือเป็ นสารอินทรีย์บางชนิด อัญมณีมค
ี วามคงทนถาวร ความสวยงาม
และความหายาก สามารถนำมาเพิ่มความสวยงามด้วยการขัดเงา
72

เจียระไน และแกะสลักได้ นิยมนำมาใช้เป็ นเครื่องประดับร่างกายหรือ


เป็ นของประดับตกแต่ง และมีการตัง้ มูลค่าสำหรับหรับการซื้อขาย โดย
อัญมณีแบ่งเป็ น 2 กลุ่ม คือ เพชรและพลอย นอกจากนีย
้ ังมีอัญมณี
สังเคราะห์ ที่มนุษย์สร้างขึน
้ ให้มีองค์ประกอบทางเคมีและทางกายภาพ
เหมือนอัญมณีธรรมชาติ หรืออัญมณีเลียนแบบ ที่มนุษย์สร้างขึน
้ ให้มี
ลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือคล้ายกับอัญมณีชนิดหนึ่ง แต่องค์
ประกอบทางเคมีไม่เหมือนกัน และอัญมณีปะกบ คือ การนำชิน
้ ส่วนของ
อัญมณีธรรมชาติ อัญมณีสงั เคราะห์ หรืออัญมณีเลียนแบบมาปะรวมกัน
ให้ได้อัญมณีปะกบที่มีลักษณะเป็ นอัญมณีเดียว
สมัยโบราณมนุษย์เราได้ร้จ
ู ักอัญมณีมาเป็ นเวลานานกว่า 4,000 ปี
พร้อมกับความเชื่อที่ว่า “อัญมณี” เมื่อนำมาพกติดตัวจะสร้างความเป็ น
มงคลให้แก่ตนเอง จากหลักฐานที่ค้นพบเครื่องประดับที่นิยมฝั งไว้กับศพ
คนตาย เช่น เครื่องประดับที่ทำจากหินในยุคแรกจนถึงเครื่องประดับของ
หินสีหรืออัญมณี หลักฐานเหล่านีเ้ ป็ นสิ่งที่บ่งชีว้ ่ามนุษย์นน
ั ้ นิยมใช้เครื่อง
ประดับอัญมณีมานานนับพันปี โดยมุ่งเน้นที่ความสวยงาม เสริมความเป็ น
สิริมงคลแก่ตนเอง ทำให้ดูมีราศีเด่นเป็ นสง่าแก่ผู้ทพ
ี่ บเห็น และสามารถ
บ่งบอกถึงฐานะทางการเงินของผู้ที่สวมใส่ได้อีกด้วย ซึ่งประเทศไทยได้รับ
อิทพลของความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณีจาก เนาวรัตน ในภาษา
สันสกฤต ในภาษาไทยเรียกว่า นพรัตน์ เป็ นความเชื่อเกี่ยวกับอัณมณี
9 ชนิด ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทายและ
ไพฑูรย์ ที่มาจากประเทศอินเดีย กลายเป็ นธรรมเนียมของรัตนโบราณที่
อยู่คู่ดินแดนสุวรรณภูมิหรือเอเชียตัง้ แต่ดงั ้ เดิม จึงไม่ปรากฏที่มา และ
สืบทอดต่อกันมาแต่ครัง้ บุรพกาล ถือตรงกันว่าเป็ นรัตนศักดิส์ ิทธ์นอก
73

เหนือจากศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป คนเอเชียยอมรับ
และนับถือสิริมงคลแห่งนพรัตน์ ซึง่ นำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับ
ดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล และเทพประจำดวงดาวซึ่งมีอำนาจและ
พลังวิเศษ แม้แต่ชาวป่ าชาวเผ่าต่างๆ ก็ยังมีความเชื่อในพลังของอัญมณี
นพรัตน์ นิยมนำมาทำเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อย นิยมเรียกว่า
แหวนนพเก้า สร้อยนพเก้า

คำถามข้อที่ 4 คุณคิดว่าความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี
เกิดขึน
้ มาได้อย่างไร

ลำดับ
ผู้ให้
คำตอบ
สัมภา
ษณ์
"สำหรับเรื่องนีค
้ ิดว่า ในสมัยก่อนเรายังไม่ได้เข้าถึงในเรื่องของ
ข้อเท็จจริงได้มากขึน
้ ดังนัน
้ เวลาเราเกิดความกลัวหรือว่า
ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จำเป็ นต้องมีวัตถุหรืออะไรสักอย่าง
1 ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเป็ นที่พึ่งทางใจได้หรือทำให้ร้ส
ู ึกว่ามันจะผ่าน
พ้นไปได้ด้วยดี เครื่องประดับ อัญมณี ในสมัยก่อนอาจถูกมอง
ว่าเป็ นสิ่งที่แปลกมาก คงเป็ นสิ่งที่พเิ ศษ และนำมาเป็ นที่พึ่ง
ทางใจของคนในสมัยก่อน"
2 “คิดว่าน่าจะเกิดขึน
้ คล้ายๆกับพวกที่เขานับถือผี อย่างสมัย
ก่อนเราไม่ได้เจอในชีวิตประจำวัน อย่างอัญมณีก็ดส
ู วยงาม ไม่
เหมือนต้นไม้ ใบหญ้า ที่เราเห็นได้ทั่วๆไป จึงอาจเชื่อว่าอัญมณี
ไม่ได้เกิดขึน
้ ได้เองทั่วๆไป แต่อาจมีคนมาสร้าง เป็ นสิ่งเหนือ
74

ธรรมชาติ”
“มันโยงมาจากวัน เดือน ปี เกิดของเรา เวลาเราคิดอะไรไม่ออก
อย่างไปสอบสัมภาษณ์อย่างงี ้ เราก็จะเอาวัน เดือน ปี เกิด แล้ว
3 ก็ใช้อัญมณีชนิดนัน
้ ในการเป็ นสิ่งยึดเหนี่ยวว่า อันนีจ
้ ะช่วย
ทำให้เรามีบารมีขน
ึ ้ คนก็จะรักขึน
้ ทำให้เรายึดติดกับตัวนี ้ เป็ น
สิ่งที่ปลูกฝั งมาตัง้ แต่สมัยโบราณ”
“มันก็มี ถามว่ามันมีมานานมัย
้ มันก็มีมาแต่โบราณแล้วเนาะ
ถ้าเรารู้เรื่อง ตัง้ แต่เด็กจนโตเราก็เห็นพ่อแม่แขวนพระเครื่อง
4 เครื่องลางของขลัง แต่ทีนผ
ี ้ มก็มีพระเครื่อง เครื่องลางของขลัง
เหมือนกัน แต่เรามาทำงานในสาขานีเ้ รารู้ว่าพลังที่เกิดจาก
อัญมณีหรือแร่ธาตุอะไรพวกนี”

“อ่า…เมื่อกีพ
้ ูดไปแล้วนะครับว่าอาจจะเป็ นภูมิปัญญาชาวบ้าน
ในประเทศไทย สีนเี ้ หมาะกับวันไหน หรือว่าอัญมณีไหนเหมาะ
กับคนไหน ผมคิดว่ามันเป็ นการเสริมสร้างมูลค่าให้กับเครื่อง
ประดับแล้วมีเรื่องราว มีสตอรี่ คนนีเ้ กิดวันพุธควรจะใส่อัญมณี
แบบนี ้ ทำให้อัญมณีนน
ั ้ มีเรื่องราวนะครับ ทำให้มีความเชื่อขึน

5
มา หลังจากนัน
้ มันอาจจะประกอบกับเรื่องทางโหราศาสตร์
เรื่องดวง ใส่แบบนีแ
้ ล้วดี ดาราเค้าพูดกัน ต้องเปลี่ยนกระเป๋า
ตังค์ มีเพชรมีอะไร มันก็กลายเป็ นความเชื่อเรื่องอัญมณี หรือ
บางคนแล้วแต่ภูมิภาค อาจจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป ขึน

อยู่กับอัญมณีที่อยู่ในพื้นที่นน
ั้ ”

จากคำถามข้อที่ 4 พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีความคิดว่าความ


เชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณีมีมาตัง้ แต่โบราณเกิดขึน
้ มาจากสมัย
ก่อนผูค
้ นไม่เข้าถึงเรื่องข้อเท็จจริง เวลาเกิดความกลัวจึงมองหาที่ยึด
75

เหนี่ยวจิตใจ แล้วมองเห็นว่าอัญมณีเป็ นสิง่ ที่สวยงามและแปลกใหม่ ดูมี


ความพิเศษ คิดว่าอัญมณีเกิดขึน
้ มาจากสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงนำมาเป็ น
วัตถุที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็นำอัญมณีมาใช้ต่างกันไปตาม
อัญมณีที่มีอยู่ในพื้นที่นน
ั ้ ๆ เกิดเป็ นภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกฝั งกันต่อๆมา
คนรุ่นต่อๆมาจึงซึมซับจากคนรอบข้าง อย่างครอบครัวที่มีเครื่องราง ของ
ขลัง บางก็ว่าความเชื่อเรื่องอัญมณีโยงมาจากวันเดือนปี เกิดที่เกิดจาก
ความรู้ด้านโหราศาสตร์ ทำให้การเลือกสวมใส่เพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย จึง
ใช้วันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์ เมื่อความเชื่ออัญมณีเกิดขึน
้ จึงเป็ นการเสริม
มูลค่าให้กบ
ั เครื่องประดับ ผ่านเรื่องราวของอัญมณีแต่ละชนิด

4.2 เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษาสาขาวิชาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น

4.2.1 คำถามข้อที่ 2 คุณมีทัศนคติเกี่ยวกับเครื่องประดับ


อัญมณีอย่างไร

ลำดับผู้ คำตอบ
76

ให้
สัมภาษ
ณ์
1 “เป็ นการสวมใส่เพื่อความสวยงาม ใส่เพื่อความสบายใจ” 
“รู้สึกว่ามันดูสวยงาม น่ามอง  “รู้สึกว่ามันดูสวยงาม น่ามอง 
2 เวลามองแล้วรู้สึกสบายใจ เวลาเหนื่อยๆกลับห้องไปพอได้เห็น
แล้วรู้สึกโล่งใจ”
“หนึ่ง เพราะ ว่ามันสวยงาม สอง หาซื้อได้ง่ายในทุกวันนี ้ เวลา
3 พบเจอคน จะดูที่ข้อมือ ว่าเราใส่อะไร เค้าจะดูรูปลักษณ์ของ
เราด้วย”
“ทัศนคติที่ใช้ในการเลือกนะครับผม คิดว่าอย่างไทเกอร์อายที่
ผมใช้ ผมคิดว่ามันมีความเข้มขลัง ที่เขาบอกว่ามันเหมือน
4 ตาเสือ มันมีพลังที่เกี่ยวข้องกับสิ่งพวกนีส
้ ักอย่างที่ทำให้เวลาไป
ไหนมาไหนจะไปติดต่องาน หรือไปพบปะกับคนอื่นๆจะทำให้
เรามีความมั่นใจในการที่จะพูดคุย”
“ก็เสริมบุคลิกมัง้ ครับ มองว่าถ้าเป็ นเพศหญิงก็จะชอบตกแต่ง
ให้สวยงามขึน
้ ส่วนตัวผมก็คิดว่าเป็ นเรื่องที่ดีนะครับ ในการ
5 เสริมสร้างบุคลิกภาพแสดงถึงความภูมิฐานมีฐานะ ถ้ามีเครื่อง
ประดับอัญมณีไม่ว่าจะเป็ น เพทาย โกเมน อะไรก็แล้วแต่ก็
ถือว่ามีทัศนคติที่ดีต่ออัญมณีนะครับ”
จากคำถามข้อที่ 2 พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีทัศนคติว่า
อัญมณีมีความสวยงาม ช่วยเสริมบุคลิกภาพแสดงถึงความภูมิฐาน เมื่อใส่
ไปพบปะผูค
้ น ไปติดต่องาน หรือไปสถานที่ต่างๆ จะเกิดความมั่นใจใน
การสนทนา หากใช้อัญมณีตกแต่งสถานที่ เมื่อมองผ่านจะทำให้เกิดความ
ผ่อนคลายและสบายใจ อีกทัง้ ยังหาซื้อได้ง่าย
77

4.2.2 คำถามข้อที่ 6 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเครื่อง


ประดับ อัญมณี หากมองในแง่มุมวิทยาศาสตร์

ลำดับผู้
ให้
คำตอบ
สัมภาษ
ณ์
“เครื่องประดับ อัญมณี ทัง้ 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น ก็เกิดโดย
1
ธรรมชาติ”
“อืม… ผมคิดว่า เอาเท่าที่ได้ยินมาเนาะ อย่างเครื่องประดับ
อัญมณีบางตัวช่วยลดพลังด้านลบหรือเพิ่มพลังด้านบวก แร่
2 อัญมณีเหล่านีอ
้ าจมีธาตุกัมมันตภาพรังสีที่เเผ่ออกมาตลอด
เวลา แต่ก็ไม่ได้ร้ายเเรงถึงขัน
้ เป็ นเป็ นอันตรายต่อคน พลังงาน
บวกที่คนเขาเชื่อกัน อาจเกิดจากการแผ่รังสีก็ได้”
3 “อันนีม
้ ันเป็ น ถ้าเราดูใน Google ในอะไรอื่นๆที่เขาพูด
อัญมณีมันก็มีทั่วไป ขุดหาได้ง่าย แต่อย่างหินที่เขาเอามาขัด
บางทีมันก็ทำขึน
้ มาเองก็ได้ เพราะอัญมณีทงั ้ หมดเกิดโดย
78

ธรรมชาติ ก็จะมีมลทิน มีความแตก มันก็จะไม่สวยเท่าเอาไป


ทำเอง มันจะงามกว่า”
“เราทำงานกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เรารู้ว่าไอ้พวกนีม
้ ันไม่
ได้เกิดขึน
้ ได้ง่าย มันต้องมีอะไรสักอย่างนึง บางคนเขาอาจจะ
ทำไมถึงชอบเหล็กไหล ทัง้ ที่มันรู้ว่ามันเป็ นแร่ธาตุที่มันไม่มี ถ้า
เราร่ำเรียนเนอะ ในสาขาวิทยาศาสตร์ มันไม่มีเหล็กไหล แต่ถ้า
เกิดว่ามันมีอะไรที่มันคล้ายๆกับพวกนี ้ มันมักจะถูกดึงมาใช้ ใช่
4
มัย
้ ครับ บางคนเขาก็…อย่างผู้หญิงมักจะสวมควอตซ์โรส ที่เป็ น
แร่ควอตซ์ เพราะว่าแร่ควอตซ์มันก็อยู่กับนาฬิกาอยู่แล้ว
นาฬิกาควอตซ์โรสมันสีชมพู มันเหมือนกับส่งพลังในเรื่องความ
รักความเสน่หาอย่างงี ้ อย่างผู้ชายก็จะชอบพลังอำนาจ ทำให้
น่าเกรงขามอะไรพวกนี ้ ผมก็เลยเลือกใช้ไทเกอร์อาย”
“อ่า…นี่เป็ นคำถามที่ดีมากนะครับ ถ้ามองในแง่มุมวิทยาศาสตร์
เช่น เขาบอกว่าวันจันทร์ สีแดงสีอะไร นอกเหนือจะเสริมสร้าง
ให้การใช้เสื้อผ้าหรืออัญมณียังไงในแต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ ผมมี
ความเชื่อว่าวัตถุบางอย่าง มันอาจจะเหมาะสมกับการมองเห็น
วันจันทร์เลยเหมาะกับอัญมณีแบบนี ้ หรือคนที่เกิดเดือนนี ้ เมื่อ
5
ใส่วัตถุที่เป็ นที่ต้องตาต้องสังเกต เครื่องประดับอะไรพวกนีม
้ ันก็
อาจจะทำให้คนมองเห็นง่าย คุณอาจจะแบบอารมณ์ดีเมื่อมอง
เห็นสีแดงหรือเด่น คุณใส่อัญมณีเสริมมาคู่กับชุดนะครับ มันก็
ทำให้น่าสนใจ น่ามอง ในทางวิทยาศาสตร์ก็น่าจะประมาณนี ้
หากมองในแง่มุมนะครับ”

จากคำถามข้อที่ 6 พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีความคิดเห็น


เกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี หากมองในแง่มุมวิทยาศาสตร์ จัดว่า
79

เป็ นวัตถุที่เกิดขึน
้ โดยธรรมชาติและไม่ได้เกิดขึน
้ ได้ง่าย แต่บางชนิดก็ขุดหา
ได้ง่าย การเกิดขึน
้ โดยธรรมชาติทำให้อัญมณีมีมนทินปะปนอยู่ อีกทัง้ ยังมี
รอยแตกต่างๆ ซึ่งทำให้อัญมณีมีความงดงามน้อยลง มนุษย์จึงคิดค้นการ
ทำอัญมณีขน
ึ ้ มาเอง ซึง่ มีความสวยงามมากกว่า บางครัง้ วัตถุบางอย่างมี
การจัดให้เป็ นอัญมณีอย่างผิด ๆ อย่างเช่น เหล็กไหล ที่บางคนชอบนำมา
เป็ นเครื่องราง แต่ในทางวิทยาศาสตร์นน
ั ้ ไม่มีแร่ธาตุที่เป็ นเหล็กไหล ดัง
นัน
้ หากมีอะไรที่คล้ายกับอัญมณีก็อาจจะถูกนำมาใช้แทน ในทาง
วิทยาศาสตร์นน
ั ้ มีการนำอัญมณีมาใช้ในการทำเทคโนโลยี อย่าง นาฬิกา
ควอตซ์ มักนำเอาผลึกแร่ควอตซ์มาใช้ส่งผ่านพลังงานไฟฟ้ า เพื่อควบคุม
การทำงานของเข็มนาฬิกา บางครัง้ การใช้เครื่องประดับอัญมณีก็เพื่อ
เป็ นการส่งเสริมให้ชุดเสื้อผ้ามีความน่าสนใจ น่ามอง โดยเครื่องประดับ
เหล่านีเ้ ป็ นวัตถุต้องตาและน่าสังเกต คนอื่น ๆ จึงมองเห็นได้ง่าย

4.2.3 คำถามข้อที่ 7 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบุคคลที่มี


ความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณี

ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
“ทุกๆคนล้วนมีความคิดที่ต่างกัน การที่คนเราจะมี
ความเชื่อ นำสิ่งที่นน
ั ้ มาเป็ นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจ ก็
1
ถือว่าเป็ นสิทธิข์ องเค้า เราก็มีเหมือนกันเลยมองว่า
ทุกๆอย่าง มันคือความคิดส่วนบุคคล”
2 “รู้สึกเฉยๆนะครับ ส่วนตัวไม่ได้เชื่อเรื่องอะไรพวก
นัน
้ เท่าไหร่ แต่ก็มีไว้เนาะ สำหรับคนที่เขาเชื่อก็เฉยๆ
เป็ นความสุขของเค้าที่ได้ทำในสิ่งที่เค้าชอบ หรือว่า
80

ช่วยเสริมดวงของเค้า ถ้ามันไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือด
ร้อนก็ไม่เป็ นไรครับ ก็แล้วแต่เค้า”
“มันเป็ นความเชื่อแต่ละบุคคล บางคนก็ยึดถือมาก
3 บางทีมันก็จะมีพลังในตัวของมัน ของพวกนีม
้ ันเกิด
ขึน
้ เองได้ด้วย เพราะมันจะทำให้เรามีจิตใจหึกเหิม”
“มันก็เป็ นสิทธิส่วนบุคคลนั่นแหละ แต่ว่าคุณค่ามัน
จะเกิดมากหรือน้อย มันก็ขน
ึ ้ อยู่กับการนำไปใช้แล้ว
ก็ใจเราต้องไปก่อน ถ้าสักแต่ว่าสวมใส่ พอให้มัน
สวยงาม ผมไม่ได้มองเรื่องความสวยงาม ผมมอง
4
เรื่องสิ่งที่มันจะเกิดขึน
้ จากเราใช้อัญมณีตัวนี ้ ไม่ได้
มองถึงเรื่องสวยงาม อย่างสร้อยผมมันก็เป็ นแท่งไท
เกอร์อายเฉยๆ ไม่ได้รับการเจียระไนแต่ว่าเรามองถึง
ตรงนัน
้ มากกว่า”
5 “ก็เป็ นสิทธิส่วนบุคคลครับ ของบุคคลนัน
้ ๆนะครับ
คือผมก็สงสัยว่า เอ้…แล้วคนบราซิลเค้ามีความเชื่อ
เหมือนกับเรามัย
้ ว่าคนเกิดเดือนพฤศจิกายนต้องใส่ค
วิซ ถ้าเป็ นควอตซ์ หรือคนที่ออสเตรเลีย ผมก็แล้ว
แต่พ้น
ื ที่ แต่ว่าคนที่มีความเชื่อเรื่องแบบนีก
้ ็เป็ นเรื่อง
ของบุคคล แล้วถ้าเค้าใส่แล้วมันทำให้สบายใจหรือมี
ความเป็ นธรรมชาติในการที่จะทำสิ่งใดๆก็ตามให้
ประสบความสำเร็จ ผมคิดว่าอัญมณีก้เป็ นคำตอบที่ดี
สำหรับความเชื่อของบุคคลนัน
้ ๆ เช่นเค้าจะออกรบ
เค้าก็มผ
ี ้ายันต์อะไรงีเ้ ป็ นต้น ถ้าเค้าใส่แล้วเค้ามั่นใจ
นักศึกษาจะชอบใส่เจด หรือหยก คุณใส่แล้วคุณ
มั่นใจคุณมีความเชื่อ พอคุณใส่แล้วมานำเสนอหน้า
81

ห้องก็เสริมสร้างความมั่นใจ ผมคิดว่าอัญมณีก็เป็ น
เครื่องประดับที่เสริมความเชื่อของบุคคลนัน
้ ๆได้ดีนะ
ครับ”

จากคำถามข้อที่ 7 พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีความคิดเห็นต่อ


บุคคลที่มีความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณี ว่า ทุกคนล้วนมีความคิดที่
ไม่เหมือนกัน ความเชื่อเรื่องอัญมณีก็เช่นเดียวกัน เป็ นความสุขส่วนตัว ไม่
ได้สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อ่ น
ื บางครัง้ เราก็ไม่ได้มองที่ความสวยงาม
ของเครื่องประดับอัญมณีเสมอไป แต่อาจมองที่ความหมายของอัญมณีที่
ใส่ ในแต่ละพื้นที่หรือประเทศอื่นๆ ก็มีความเชื่อที่อาจเหมือนหรือต่างกัน
ไปหากบุคคลอื่นใส่แล้วเกิดความมั่นใจ อัญมณีก็เป็ นเครื่องประดับอีก
อย่างที่เสริมความเชื่อของบุคคลเหล่านัน
้ ได้ดี ภาพรวมมีความเห็นตรงกัน
ว่า ความเชื่อเป็ นสิทธิส่วนบุคคล คุณค่าของความเชื่อที่มีต่ออัญมณีจะ
มากหรือน้อยก็ขน
ึ ้ อยู่กับบุคคลและการนำไปใช้

4.2.4 คำถามข้อที่ 8 คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความเชื่อ


เรื่องเครื่องประดับ อัญมณีในปั จจุบัน
ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
“มองว่าในปั จจุบัน ทัง้ ในตัวเครื่องประดับและอัญมณี
สามารถเข้าถึงได้ง่าย ในโลกของความเชื่อก็สามารถเข้าถึง
1
ได้ตามโซเชียลมิเดียหรือทางโปสเตอร์ หรือสถานที่ต่างๆ
สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสามารถหาซื้อได้ง่าย”

“ปั จจุบันก็เราพบเห็นเครื่องประดับ อัญมณีมากมาย มันก็


2
แล้วแต่ช่วงของมัน ว่าช่วงนัน
้ มีเหตุการณ์อะไรสำคัญหรือว่า
82

อย่างเรื่องดวงอะไรอย่างงีค
้ รับ ชอบมีข่าวกันว่าราศีโน้น
ราศีนเี ้ ป็ นอย่างงี ้ ต้องมีอัญมณีเสริมดวง ส่วนใหญ่มันก็จะ
มากับการเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ”
“ถ้าเราทำแล้วไม่เดือดร้อนคนอื่น ไม่ได้ขโมยของคนอื่นมา
ใช้ เราก็ยังมีความสุขที่เรา มีสิ่งนีอ
้ ยู่กับตัวเราเอง เพราะ
ฉะนัน
้ หาซื้อได้ เราก็ซ้อ
ื ซื้อเเล้วไม่ต้องคิดว่ามันจะเป็ นของ
แท้หรือของเทียม มันขึน
้ อยู่กับว่า เราอ่ะ ชอบ แค่ชอบเนี่ย
3
ใครจะบอกว่าแพง ว่ามันเป็ นของปลอม ฉันก็จะซื้อ แต่ถ้า
บางคนแบบเอ่อ ของปลอมนะ จะซื้อได้ไง แต่บางทีอาจมา
อยู่กับเขาแล้วเขาคิดดีทำดี มันก็จะขึน
้ มากับตัวเราเอง เป็ น
สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ อย่างหนึง่ ของคน”
“คนส่วนมากนี่ หลังๆมามักจะหาพวกนีม
้ าพกติดตัวหรือมา
ใช้งาน สมัยเมื่อ 20 ปี ที่แล้วก็จะมีพวกลูกปั ดแก้วที่เป็ นหินสี
นั่นสีนี่ เพราะว่าถ้าเรารู้ สมัยโบราณก็จะมีลูกปั ดแก้วใน
หลุมฝั งศพ
4 คนโบราณอายุ 5 พัน 6 พันปี ก็แสดงว่าเขาใช้พวกอัญมณี
พวกนี ้ เป็ นเครื่องประดับก็ได้ แต่สมัยก่อนไม่มีเรื่องพุทธ
ศาสนา ไม่มีเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้อง เขาอาจจะมองในแง่
ของจิตวิญญาณที่มันอยู่กับอัญมณีพวกนี ้ บวกกับความ
สวยงามที่มันเกิดขึน
้ ด้วย”

“ผมมีความคิดเห็นว่าเป็ นเรื่องที่ดีมากและควรสนับสนุน
อย่างเรื่องของอัญมณีนะครับ อย่างเรื่องอัญมณีถ้าไปสืบค้น
5 ข้อมูลด้านการศึกษา ก็จะมีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาค
วิชาธรณีวิทยา สาขาอัญมณี อาจจะมีที่มหาวิทยาลัยบูรพา
อัญมณีก็จะมีสี่ห้าที่ในเรื่องของการศึกษา เค้าก็จะเรียนเรื่อง
83

การออกแบบ การขึน
้ รูปอัญมณี การออกแบบผลิตภัณฑ์ ถ้า
นำมาเสริมเรื่องความเชื่อซึ่งคนไทยมีเยอะ สังเกตได้จาก
การวัดยอดเงินบริจาคเรื่องความเชื่อ อัญมณีก็จะเป็ นตลาด
ที่ๆ น่าสนใจ น่าลงทุน หรือส่งออกไปสิงคโปร์ มาเลเซีย ส่ง
เสริมในเรื่องเครื่องประดับอัญมณี ประกอบกับการที่เรามี
ความเชื่อและเรื่องราวเนี่ย ฝรั่งอาจจะสนใจ เรามีเรื่องราว
ความเชื่อแบบเนี่ย เป็ นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุนนะครับ แต่
คนจะให้ข้อเสนอตลอดว่าเป็ นความเชื่อส่วนบุคคล ใช้
วิจารณญาณ แต่ถ้าคุณเห็นด้วยอย่างที่เราบอกก็เหมาะนะ
แล้วมันก้จะเป็ นการเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านธรณีวิทยา
อัญมณีให้กับนักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป เรา
สามารถสอดแทรกความรู้ด้านอัญมณี อย่างน้อยเขาก็ร้ว
ู ่า
อันนีค
้ ือแร่ อันนีค
้ ือหิน เป็ นเรื่องที่ดี เราก็เสริมแทรกไป
แบบนี”

จากคำถามข้อที่ 8 พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยว


กับความเชื่อเรื่องเครื่องประดับ อัญมณีในปั จจุบัน ว่า เป็ นเครื่องประดับ
ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย หาซื้อได้ง่าย ปั จจุบันผู้คนจึงมักนิยมซื้อมาใช้
ส่วนเรื่องความเชื่อของอัญมณีแต่ละชนิดก็สามารถดูได้ตามสื่อโซเชียลมิ
เดีย โปสเตอร์ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการขายอัญมณี โดยหากมีความ
สนใจที่อยากจะศึกษาทางด้านอัญมณีเฉพาะทางก็มีมหาวิทยาลัยในไทย
เปิ ดสอน ตัง้ แต่การออกแบบ การขึน
้ รูปอัญมณี ถ้านำมาเสริมเรื่องความ
เชื่อซึ่งในประเทศไทยมีเยอะมาก อัญมณีก็จะเป็ นตลาดหนึ่งที่น่าสนใจ น่า
ลงทุน หรือส่งออก คนต่างชาติอาจสนใจในความเชื่อแบบนีก
้ ็ได้เป็ นเรื่องที่
ดีและน่าสนับสนุน แต่ควรให้ข้อเสนอแนะตลอดว่าเป็ นความเชื่อส่วน
84

บุคคล ควรใช้วิจารณญาณร่วมด้วย และหากมีการสอดแทรกความรู้ด้าน


อัญมณีเข้าไปก็จะเป็ นการเผยแพร่องค์ความรู้ไปในตัว บางครัง้ ปั จจุบัน
ความเชื่ออัญมณีก็มาพร้อมข่าวสารเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางโหราศาสตร์
ที่จะส่งผลต่อ ดวง ราศี ทำให้ต้องมีอัญมณีเพื่อเสริมดวงในช่วงนัน
้ ๆ
ปั จจุบันมีทงั ้ อัญมณีแท้และเทียม หากคุณมีความเชื่อใส่แล้วสบายใจหรือ
มั่นใจก็ถือว่าบรรลุเป้ าหมายในการใช้อัญมณีเหมือนกัน

4.3 ศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากรและ
นักศึกษา สาขาวิชาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น

4.3.1 คำถามข้อที่1 คุณมีเครื่องประดับอัญมณีหรือไม่ หากมี


ส่วนใหญ่เป็ นอัญมณีชนิดใดและคุณใช้ในการสวมใส่ พกติดตัว หรือ
ประดับสถานที่

ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
“มีค่ะ มีทงั ้ ที่เป็ นอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ อินทรีย์วัตถุจะ
เป็ นพวกฟอสซิล ที่มีช่ อ
ื ว่าแกสโทรพอด โดยใช้ในการส่วมใส่
1
(สร้อยคอ) อนินทรีย์วัตถุเป็ นพวกแร่ ที่มีช่ อ
ื ว่า Jade หรือว่า
หยกนั่นเองค่ะ”
“มีครับ เป็ นของที่รุ่นพี่เขาให้มา เอาไว้ประดับห้อง เป็ นตัวแร่ค
2
วอร์ต (quartz)”
3 “มีค่ะ เอาไว้ใส่พกติดตัว ใส่ที่ข้อมือ”

4 “อ่า…ผมมีอัญมณีครับ ที่ใช้ประจำแต่ว่าจะใช้กรณีที่ออกนอก
85

สถานที่หรือไปงานต่างๆนะครับ ก็คือสร้อยข้อมือกับสร้อยคอที่
ทำจากไทเกอร์อาย ถ้าสาขาธรณีจะรู้อยู่แล้วเนาะ ไทเกอร์
อาย”
“ปกติผมใส่แหวนเพชรนะ แต่ว่าเป็ นแหวนแต่งงาน ปกติก็ใส่
ครับใส่แหวนเพชร แต่บางทีก็เก็บไว้ มันเป็ นแหวนเพชร
5 แต่งงานนะครับ แล้วก็พกติดตัวบ้างนะครับ บางทีไปงาน
แต่งงาน งานอะไรก็ใส่บ้างนะครับ ส่วนตัวไม่ค่อยชอบใส่นะ
ครับ”

จากคำถามข้อที่ 1 พบว่า บุคลากรและนักศึกษาที่ให้สัมภาษณ์ทุก


คนมีเครื่องประดับอัญมณีทงั ้ ใช้สวมใส่ พกติดตัวและประดับสถานที่ โดย
อัญมณีที่ใช้แบ่งได้2 ประเภทได้แก่ 1.อัญมณีอนินทรีย์ (inorganic gems)
คือ อัญมณีที่เกิดขึน
้ ในธรรมชาติโดยกระบวนการทางเคมีและจากสภาพ
แวดล้อมภายใต้แผ่นเปลือกโลก เช่น Jade ไทเกอร์อาย เพชร 2.อัญม
ณีอินทรีย์ (organic gems) คือ อัญมณีที่เกิดขึน
้ เองตามธรรมชาติ ได้มา
จากสิ่งมีชีวิตและสารอินทรีย์ เช่น ฟอสซิล และจากการสัมภาษณ์พบว่าผู้
ให้สัมภาษณ์ทงั ้ หมดมีเครื่องประดับอัญมณีเพื่อการประดับ เพื่อความ
สวยงามหรือเพื่อแสดงถึงสถานะภาพของตนเอง
86

4.3.2 คำถามข้อที่ 3 คุณมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับ


อัญมณีอย่างไร

ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
1 “เชื่อในเรื่องของโชคลาภ เป็ นเครื่องรางนำโชค”
“ในมุมมองของตัวเองไม่ได้เชื่อมากขนาดนัน
้ รู้สึกว่า
2 คนที่เชื่อเขาอาจจะเชื่อว่าลบพลังงานด้านลบ เสริม
เสน่ห์ อะไรประมาณนี”

“ เราใช้สีของอัญมณี เฉพาะตัวเรา บางคนอาจใช้ใน
ทางอำนาจ เครื่องยึดเหนี่ยว คือ ทำให้มีเงินมีทอง
3
หรือจะไปสอบอะไรแบบนีค
้ นก็จะยึดติดในการเลือก
อัญมณีนน
ั ้ ๆ”
“มันเหมือนกับว่ามันให้พลังอะไรบางอย่าง สิ่งทีพ
่ วก
นีค
้ วามเชื่อ คำว่าความเชื่อเนี่ย เราเชื่อว่าถ้าเราทำ
แล้ว หรือสวมใส่ มันมีพลังเกิดขึน
้ กับตัวเรา คำว่า
พลังเหล่านีไ้ ม่ใช่พลังอิทธิปาฏิหาริย์นะครับ เป็ นพลัง
ใจที่เสริมความมั่นใจให้ตัวเราในการที่จะทำกิจการ
อะไรก็ตาม หรือการที่จะทำกิจกรรมใดมันทำให้เรามี
4
ความมั่นใจในตัวเรามากขึน
้ แต่ในกรณีที่เอามาใช้ใน
การ…กิจวัตรประจำวัน มันเป็ นกิจวัตรประจำวันอยู่
แล้วเราไม่จำเป็ นอยู่แล้ว คือเรารู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า
อะไรจะเกิดขึน
้ แต่เวลาไปที่ไหนสักแห่งนึง เช่น เดิน
ทางหรือไปพบปะผู้คน มันทำให้เรามีความมั่นใจใน
ตัวพลังของตัวอัญมณีตัวนัน
้ ”
87

“ส่วนตัวความเชื่อไม่มีมากนักนะครับ แต่ก็เคยได้ยิน
ว่าวันจันทร์ต้องใส่เสื้อสีแดง อัญมณีก็น่าจะมีลักษณะ
คล้ายๆนัน
้ ว่าถ้าใส่เพชร ใส่ควอตซ์สีใสสีม่วง วันไหน
ถึงจะเหมาะสำหรับผู้เกิดวันไหน เดือนไหน ผมก็คิด
5 ว่าประเทศไทยเราก็น่าจะมีความเชื่อนีอ
้ ยู่ แต่ส่วนตัว
ผมก็ไม่มีจำเพาะเจาะจงว่าใส่ควอตซ์แล้วจะทำให้
เดินทางปลอดภัยหรือว่าจะใส่มุกแล้วมันจะมีคน
เมตตาแบบนี ้ ผมไม่ได้มีความเชื่อเรื่องเครื่องประดับ
อัญมณี”

จากคำถามข้อที่ 3 พบว่า บุคลากรและนักศึกษาส่วนใหญ่มีความ


เชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณีว่า เป็ นเครื่องรางนำโชคช่วยในเรื่องโชค
ลาภ อำนาจ เงินทอง เป็ นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ บ้างก็เชื่อว่ามีพลังที่ไม่ใช่
พลังอิทธิปฏิหาริย์แต่เป็ นพลังใจที่ส่งผลให้เชื่อในพลังของตัวอัญมณี เมื่อ
สวมใส่จะเสริมสร้างความมั่นใจในการทำกิจกรรมหรือกิจการต่างๆ บ้างก็
เชื่อว่าการใช้สีของอัญมณีมีความเฉพาะตัวในแต่ละบุคคล และสีของ
อัญมณีก็มีผลต่อการเลือกไปใช้ให้บรรลุเป้ าหมายนัน
้ ๆ บุคลากรและ
นักศึกษาบางท่านก็ไม่ได้มีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณีมากนัก
มักจะเคยได้ยินหรือพบเห็นความเชื่อจากบุคคลอื่นมากกว่า เช่น เคย
ได้ยินว่าวันเดือนปี นี ้ เหมาะกับการใส่อัญมณีชนิดนี ้ สีนี ้ หรือเคยได้ยินมา
ว่าช่วยลบพลังงานด้านลบ เสริมเสน่ห์ เป็ นต้น

4.3.3 คำถามข้อที่ 5 คุณบรรลุเป้ าหมายหรือประสบความสำเร็จ


จากการใช้เครื่องประดับอัญมณีหรือไม่ อย่างไร
88

ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
“ถือว่าประสบความสำเร็จนะคะ อย่างในตัวของ
Jade หรือหยกนัน
้ มองว่าเป็ นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุน
1 เรื่องของเงิน พอเวลาที่ส่วมใสหรือพกติดตัว ทำให้
รูปแบบของการใช้เงิน หรือความมั่นคงทางการเงินมี
มากขึน
้ ”
“ไม่เชิงประสบความสำเร็จ แต่เป็ น เช่น อัญมณีที่
อยู่ห้องผม พอได้เห็นก็ร้ส
ู ึกสบายใจ เวลาเหนื่อยๆ
2
พอเราหันไปมองมันก็ทำให้ค่อยๆ รู้สึกสบายใจ โล่ง
ใจ อะไรแบบนีค
้ รับ”
“อ๋อ…มี อย่างแม่เกิดวันอาทิตย์ สีเเดง เวลาแม่
3
เข้าหาผู้ใหญ่แม่จะใช้พวกเพทาย ที่ตัวเองใช้อยู่”
“ถามว่า 90% ผมมีความมั่นใจ เช่นไปพบปะผู้หลัก
4 ผู้ใหญ่ ไปคุยเรื่องงานเรื่องอะไร มักจะสำเร็จ 90%
ขึน
้ มันเลยทำให้เรามั่นใจนะครับ”
“บรรลุเป้ าหมายก็ อย่างผมกบ่าวเบื้องต้นนะครับ ก็
คือผมไม่คิดจะใส่แต่ถ้าไปออกงานแล้วภรรยาใส่ ผม
ก็ต้องใส่แหวนที่มันเหมือนกัน มีเครื่องประดับ
คล้ายๆกัน ก็ถ้าเป็ นไปตามนัน
้ ผมก็ถือว่าผมบรรลุ
5 วัตถุประสงค์ของภรรยา หรือการใส่เครื่องประดับ
อัญมณีนะครับ แต่โดยส่วนตัวผมไม่มีเป้ าหมาย ผม
เลยไม่ร้ว
ู ่าผมต้องบรรลุวัตถุประสงค์มย
ั ้ แบบว่าปี นี ้
ปี กระต่ายต้องใส่อัญมณีแบบนี ้ ดีอย่างนี ้ ผมก็ไม่ได้รู้
ว่ามันจะบรรลุวัตถุประสงค์อะไรยังไงนะครับ”
89

จากคำถามข้อที่ 5 พบว่าบุคลากรและนักศึกษาส่วนใหญ่บรรลุเป้ า
หรือประสบความสำเร็จจากการใช้เครื่องประดับอัญมณี ในเรื่องการงาน
การเงิน ความมั่นคง ความเมตตาจากผู้หลักผู้ใหญ่ หรือรู้สึกสบายใจ
และผ่อนคลาย บางท่านก็ไม่ได้ตงั ้ เป้ าหมายในการใช้ แต่ใช้เพื่อให้แสดง
สถานะภาพของชีวิตคู่ในงานสังคมต่าง ๆ

4.3.4 คำถามข้อที่ 9 คุณคิดว่าในอนาคตความเชื่อเกี่ยวกับเครื่อง


ประดับ อัญมณีจะเลือนหายไปหรือไม่ เพราะอะไร

ลำดับผู้ให้
คำตอบ
สัมภาษณ์
“คิดว่าน่าจะยังมีอยู่นะคะ เพราะว่า หลายๆคนมี
1 หลายๆความคิด ยังไงก็ยังมีคนที่ยังรู้สึกว่า มีความเชื่อ
ตรงส่วนนีอ
้ ยู่ นั่นเองค่ะ”
2 “ในมุมมองของผมนี่ คิดว่าโลกเรานี่ก็จะค่อยๆก้าวไป
ข้างหน้า วิทยาศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญกับเราในปั จจุบัน
อยู่แล้ว ความเชื่อในส่วนนัน
้ เนี่ยอาจจะลดลง แบบเรื่อง
ดวง เรื่องเสริมพลัง หรือเรื่องอะไรอย่างงี ้ อาจจะค่อยๆ
ลดลง ตัวเครื่องประดับ อัญมณี มันก็ยังคงอยู่ เพราะ
มันยังสวยงาม เอาไปทำของตกแต่งบ้านหรือว่าแบบ
90

เครื่องประดับ สร้อย กำไร แต่ในแง่ของความเชื่ออาจมี


บทบาทน้อยลง”
“ไม่อ่ะ มันก็เป็ นวิถีคนไทย อย่างพ่อปู ่ แม่ย่า อะไรที่
เขาไปไหว้กันแต่ละที่ อย่างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงเรา
เราก็เชื่อของเราใช่มย
ั ้ เพราะฉะนัน
้ อัญมณี มันยึดติด
มาตัง้ แต่สมัยโบราณแล้ว ทำไมคนสมัยโบราณเขาถึงมี
3
ลูกประคำโน่นนี่นั่นในการใช้อยู่ ณ ปั จจุบัน เพรา
ฉะนัน
้ ความเชื่อมันไม่หายไปหรอก อยู่ที่ว่าใครจะสนใจ
ไม่สนใจ ใครจะมีปัญญาซื้อมากน้อยแค่ไหน เพราะ
ฉะนัน
้ มันไม่หาย”
“ผมว่ามีแต่จะเพิ่มมากขึน
้ เพราะเดี๋ยวนีม
้ ันเอาอัญมณี
น่ะ มาผูกโยงกับพุทธศาสนา สำนักไหน เจจิอาจารย์
ดังๆ ส่วนมากเวลาทำเครื่องรางของขลังเครื่องประดับ
เขาก็มักจะเลือกใช้อัญมณีในการทำนะครับ มากกว่าที่
4 จะเอาว่านเอาผงอะไรต่างๆที่เขาไม่ร้ม
ู า มันจับต้องไม่
ได้ 1 คือจับต้องไม่ได้ เราไม่ร้ว
ู ่าในมวลสารนัน
้ มันเป็ น
อะไร แต่ถ้าเราใช้อัญมณีมันเห็นความงาม สองมันเป็ น
มิติด้านอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คนสมัยต่อไปๆผม
ว่ามีแนวโน้มที่จะใช้อัญมณีมากขึน
้ นะครับ”
5 “ถ้าเป็ นประเทศไทยผมว่าไม่ อาจจะมากขึน
้ ถ้าอยู่ใน
สภาวะวิกฤติการณ์ คนก็จะไปพึ่งกับความหวัง มีความ
เชื่อที่มากขึน
้ แล้วก็เครื่องประดับอัญมณีเนี่ยถ้าไปบวก
กับความเชื่อราคาไม่ลงนะ อัญมณี ราคาทองน่ะขึน
้ ๆ
ลงๆ เพชรหรืออะไรมันจะคงที่ แล้วถ้าบวกกับความ
เชื่อมันก็ยังมีอยู่ หวยอะ อย่างวันนีห
้ วยออก ก็ยังคงมี
91

ความเชื่อ ขูดเลขอะไร อัญมณีก็คล้ายๆกับความเชื่อ


ในประเทศไทยนะผมมองแบบนี ้ อนาคตก็คงไม่น่าจะ
เลือนหาย แล้วศิลปะในการผูกเรื่องราวในการใช้ชีวิต
กับวันเดือนปี เกิด พฤติกรรมมาอยู่กับเครื่องประดับ
อัญมณีแบบนีเ้ ป็ นต้น”

จากคำถามข้อที่ 9 พบว่า บุคลากรและนักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่า


ความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณีจะยังคงอยู่ไม่เลือนหายไป เนื่องจาก
เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยตัง้ แต่อดีต ที่ยังเจอภาวะ
วิกฤตการณ์ ส่งผลให้มองหาที่พงึ่ เพื่อให้มีความหวัง ผ่านการตีความและ
ให้คณ
ุ ค่ากับความเชื่ออัญมณีต่างกันไป ทำให้แนวโน้มเรื่องความเชื่ออาจ
จะเพิ่มมากขึน
้ อาจจะมีการนำไปผูกโยงกับพิธีกกรรมการสร้างเครื่องราง
ของคลัง ที่เปลี่ยนจากผงมวลสารมาเป็ นอัญมณีแทนเนื่องจากมีความ
สวยงามกว่า อีกอย่างวันเดือนปี เกิดเป็ นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปผูก
โยงกับเรื่องความเชื่อได้ตลอด แต่ส่วนหนึ่งมีความคิดเห็นแย้งว่าความเชื่อ
เรื่องเครื่องประดับอัญมณีจะลดลง โดยให้เหตุผลว่า ปั จจุบันไปจนถึง
อนาคตความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มีการก้าวไปข้างหน้า สิ่งที่ไม่สามารถ
พิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์อาจมีบทบาทที่น้อยลง แต่การใช้เครื่อง
ประดับก็จะยังคงอยู่ เนื่องจากเป็ นสิ่งสวยงามที่ผู้คนยังคงนิยมกัน ทัง้ นี ้
อาจขึน
้ อยู่กับกำลังทรัพย์ในการซื้ออีกด้วย
92

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อ
อัญมณีของบุคลากรและนักศึกษา
93

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปผลและนำไป


สู่การอภิปราย ดังนี ้

5.1 สรุปผล
จากการศึกษาประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับ
อัญมณีในสังคมไทย
พบว่า อัญมณี เป็ นวัตถุธรรมชาติ ซึง่ ส่วนใหญ่จะเป็ นสารอนินทรีย์
ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นหินบางชนิด หรือเป็ นสารอินทรีย์บางชนิด
อัญมณีมีความคงทนถาวร ความสวยงาม และความหายาก สามารถนำมา
เพิ่มความสวยงามด้วยการขัดเงา เจียระไน และแกะสลักได้ นิยมนำมาใช้
เป็ นเครื่องประดับร่างกายหรือเป็ นของประดับตกแต่ง และมีการตัง้ มูลค่า
สำหรับหรับการซื้อขาย โดยความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณีได้รับ
อิทธิพลมาจากอินเดียในเรื่องราวของ นพรัตน์ ที่กล่าวถึงอัญมณี 9 ชนิด
มีการสืบทอดต่อกันมาแต่ครัง้ บุรพกาล คนเอเชียยอมรับและนับถือ
สิริมงคลแห่งนพรัตน์ ซึ่งนำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับดวงดาวในระบบ
สุริยะจักรวาล และเทพประจำดวงดาวซึ่งมีอำนาจและพลังวิเศษ ซึง่ จาก
ผลการสัมภาษณ์บุคลากรและนักศึกษาให้ความเห็นว่า ความเชื่อเรื่อง
เครื่องประดับอัญมณีมีมาตัง้ แต่โบราณเกิดขึน
้ มาจากสมัยก่อนผู้คนไม่เข้า
ถึงเรื่องข้อเท็จจริง เวลาเกิดความกลัวจึงมองหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แล้ว
มองเห็นว่าอัญมณีเป็ นสิ่งที่สวยงามและแปลกใหม่ ดูมีความพิเศษ คิดว่า
อัญมณีเกิดขึน
้ มาจากสิง่ เหนือธรรมชาติ จึงนำมาเป็ นวัตถุที่ยึดเหนี่ยว
จิตใจ ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็นำอัญมณีมาใช้ต่างกันไปตามอัญมณีที่มีอยู่ใน
พื้นที่นน
ั ้ ๆ เกิดเป็ นภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกฝั งกันต่อๆมา คนรุ่นต่อๆมา
จึงซึมซับจากคนรอบข้าง อย่างครอบครัวที่มีเครื่องราง ของขลัง บางก็ว่า
ความเชื่อเรื่องอัญมณีโยงมาจากวันเดือนปี เกิดที่เกิดจากความรู้ด้าน
94

โหราศาสตร์ ทำให้การเลือกสวมใส่เพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย จึงใช้วันเดือน


ปี เกิดเป็ นเกณฑ์ เมื่อความเชื่ออัญมณีเกิดขึน
้ จึงเป็ นการเสริมมูลค่าให้กับ
เครื่องประดับ ผ่านเรื่องราวของอัญมณีแต่ละชนิด
จากการศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของนักศึกษาและ
บุคลากรสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น ได้ผลสรุปว่า
อัญมณีมีความสวยงาม ช่วยเสริมบุคลิกภาพ เมื่อใส่ไปพบปะผู้คน
ไปติดต่องาน หรือไปสถานที่ต่างๆ จะเกิดความมั่นใจในการสนทนา หาก
ใช้อัญมณีตกแต่งสถานที่ เมื่อมองผ่านจะทำให้เกิดความผ่อนคลายและ
สบายใจ อัญมณีในทางวิทยาศาสตร์จัดว่าเป็ นวัตถุที่เกิดขึน
้ โดยธรรมชาติ
ทำให้มีมนทินปะปนอยู่ มีรอยแตกต่างๆ ซึ่งทำให้มีความงดงามน้อยลง
มนุษย์จึงคิดค้นการทำอัญมณีขน
ึ ้ มาเอง ซึ่งมีความสวยงามมากกว่า
ปั จจุบันมีทงั ้ อัญมณีแท้และเทียม หากคุณมีความเชื่อใส่แล้วสบายใจหรือ
มั่นใจก็ถือว่าบรรลุเป้ าหมายในการใช้อัญมณีเหมือนกัน บางครัง้ ใช้
อัญมณีสง่ เสริมให้ชุดเสื้อผ้ามีความน่าสนใจ น่ามอง โดยเครื่องประดับ
เหล่านีเ้ ป็ นวัตถุต้องตาและน่าสังเกต คนอื่น ๆ จึงมองเห็นได้ง่าย นอกจาก
นีอ
้ ัญมณียังนำมาใช้ในการทำเทคโนโลยีบางอย่าง ซึ่งความเชื่อเรื่อง
อัญมณีเป็ นสิทธิส่วนบุคคล ไม่ได้สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อ่ น
ื และ
คุณค่าของความเชื่อที่มีต่ออัญมณีจะมากหรือน้อยก็ขน
ึ ้ อยู่กับบุคคลและ
การนำไปใช้ ปั จจุบันเครื่องประดับที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผูค
้ นจึงมักนิยม
ซื้อมาใช้ ส่วนเรื่องความเชื่อของอัญมณีแต่ละชนิดก็สามารถดูได้ตามสื่อ
โซเชียลมิเดีย หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการขายอัญมณี ถ้ามีความสนใจ
อยากศึกษาทางด้านอัญมณีก็มีหลาย ๆ มหาวิทยาลัยเปิ ดสอนหากนำ
อัญมณีมาเสริมเรื่องความเชื่อซึ่งในประเทศไทยมีเยอะมาก อัญมณีก็จะ
เป็ นตลาดหนึง่ ที่น่าสนใจ น่าลงทุน หรือส่งออก เป็ นเรื่องที่ดีและน่า
สนับสนุน แต่ควรให้ข้อเสนอแนะตลอดว่าเป็ นความเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้
95

วิจารณญาณร่วมด้วย บางครัง้ ปั จจุบันความเชื่ออัญมณีก็มาพร้อมข่าวสาร


เหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางโหราศาสตร์ ที่จะส่งผลต่อ ดวง ราศี ทำให้ต้องมี
อัญมณีเพื่อเสริมดวงในช่วงนัน
้ ๆ
จากการศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น สรุปได้ว่า
บุคลากรและนักศึกษาทุกคนมีเครื่องประดับอัญมณี ทัง้ ใช้สวมใส่ พก
ติดตัวและประดับสถานที่ โดยอัญมณีที่ใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1.อัญ
มณีอนินทรีย์ (inorganic gems) 2.อัญมณีอินทรีย์ (organic gems) โดย
เชื่อว่าเครื่องประดับอัญมณีเปรียบเสมือนเครื่องรางหรือวัตถุยึดเหนี่ยว
จิตใจ ที่ช่วยในเรื่องโชคลาภ เงินทอง เชื่อว่าการสวมใส่ทำให้มีพลังใจที่ส่ง
ผลมาจากพลังของอัญมณี เสริมความมั่นใจในเรื่องต่าง ๆ ของการดำเนิน
ชีวิต บ้างก็เชื่อว่าสีของอัญมณีมค
ี วามเฉพาะต่อบุคคล ต่อการเลือกไปใช้
ให้บรรลุเป้ าหมาย หรือใช้ความเชื่อเรื่องดวงจากวันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์
ในการเลือกใช้อัญมณี บ้างก็ได้รับอิทพลความเชื่อมาจากการพบเห็นหรือ
เคยได้ยินเรื่องความเชื่ออัญมณีจากคนรอบข้างหรือบุคคลอื่น ที่ช่วยใน
เรื่อง ลบพลังงานลบ หรือเสริมเสน่ห์ อีกทัง้ ยังมองว่าในอนาคตความเชื่อ
เกี่ยวกับเครื่องประดับอัญจะยังคงอยู่และเพิ่มมากขึน
้ แต่ยังมีการแย้งว่า
ในอนาคตวิทยาศาตร์มีความก้าวหน้ามากขึน
้ สิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
อย่างความเชื่ออาจมีบทบาทที่น้อยลง แต่การใช้เครื่องประดับอัญมณีจะ
ไม่เลือนหายไปอย่างแน่นอน

5.2 อภิปรายผล

โครงงานเรื่อง การศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับ
อัญมณีของบุคลากรเเละนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัย
96

ขอนแก่น จากความสนใจในเรื่องความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณี
คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้เลือกการศึกษาทัศนคติและความเชื่อที่มีต่อ
เครื่องประดับอัญมณี ของบุคลากรเเละนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะเห็นว่าบุคลากรเเละนักศึกษามีความรู้เรื่อง
อัญมณี จึงเลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อเก็บผลการดำเนินงาน โดยกำหนด
ประชากรเป้ าหมายไว้ที่ นักศึกษาจำนวน 2 คน และบุคลากรจำนวน 3
คน นำผลมาอภิปรายได้ดังนี ้
ประวัติความเป็ นมาของอัญมณีและความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีใน
สังคมไทยมีมาตัง้ แต่สมัยโบราณ
เกิดจากความกลัวปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ซึ่งไม่มีความรู้
วิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบาย นำไปสู่การหาวัตถุยึดเหนี่ยวจิตใจที่เรียกว่า
เครื่องรางของขลัง มาป้ องกันตัว หนึ่งในนัน
้ ก็คืออัญมณีที่ดูแปลกใหม่ ดูมี
ความพิเศษและสวยงาม เช่น ลูกปั ด หินสี เป็ นต้น และเชื่อว่าอัญมณีเกิด
ขึน
้ มาจากสิ่งเหนือธรรมชาติ แนวคิดความเชื่อในลักษณะนีค
้ ือ ความคิด
ความเข้าใจและการยอมรับ นับถือ เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิง่ ใดโดยไม่จําเป็ นว่า
จะต้องเป็ นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ
ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังอย่าง อัญมณีถูกรวมไปอยู่กับ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกฝั งกันต่อๆมาและอาจมีการนำความเชื่อไปเผยแผ่
ให้กับพื้นที่อ่ น
ื ๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างพื้นที่อารยธรรมที่
ต่างกัน ซึง่ มีการใส่โยงข้อมูลวันเดือนปี เกิด ดวงดาวในระบบสุริยะ
จักรวาลเข้ากับความเชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งอยู่ในศาสตร์ที่เรียก
ว่า โหราศาสตร์ มีมานานก่อนพระพุทธศาสนา สืบทอดมาจากอินเดียสู่
ไทยตัง้ แต่สมัยสุโขทัย ทำให้การเลือกชนิดอัญมณีในสวมใส่เพื่อให้บรรลุ
97

เป้ าหมาย มักใช้วันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์ในการพิจารณา เมื่อความเชื่อ


อัญมณีเกิดขึน
้ จึงเป็ นการเสริมมูลค่าให้กับเครื่องประดับอัญมณี ผ่านเรื่อง
ราวของอัญมณีแต่ละชนิดที่ ในปั จจุบันอัญมณีสามรถอธิบายด้วย
วิทยาศาสตร์ว่า เป็ นวัตถุที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ ซึง่ ส่วนใหญ่
จะเป็ นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ชนิดต่างๆ หรือเป็ นหินบางชนิด หรือเป็ น
สารอินทรีย์บางชนิด อัญมณีมค
ี วามคงทนถาวร ความสวยงาม และความ
หายาก สามารถนำมาเพิ่มความสวยงามด้วยการขัดเงา เจียระไน และ
แกะสลักได้ นิยมนำมาใช้เป็ นเครื่องประดับร่างกายหรือเป็ นของประดับ
ตกแต่ง และมีการตัง้ มูลค่าสำหรับหรับการซื้อขาย
จากการศึกษาทัศนคติที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของนักศึกษาและ
บุคลากรสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนเเก่น พบว่า ทุกคน
มองเครื่องประดับอัญมณีมค
ี วามสวยงาม มีสีที่โดดเด่นเฉพาะตัว
ซึ่งอัญมณีที่ได้มาจากธรรมชาติจะมีมนทินปะปนอยู่ มีรอยแตกต่างๆ ซึ่ง
ทำให้มีความงดงามของอัญมณีน้อยลง มนุษย์จึงคิดค้นการทำอัญมณี
เทียมขึน
้ มาให้ได้สี ได้ลักษณะเนื้อตามที่ต้องการ จึงมีความสวยงาม
มากกว่า
ทำให้ปัจจุบันมีทงั ้ อัญมณีแท้และเทียม เมื่อนำมาสวมใส่จะช่วยเสริม
บุคลิกภาพ หรือส่งเสริมให้ชุดเสื้อผ้ามีความน่าสนใจ น่ามอง เนื่องจาก
เป็ นวัตถุต้องตาและน่าสังเกต มองเห็นได้ง่าย การสวมใส่ไปพบปะผูค
้ น
ไปติดต่องาน หรือไปสถานที่ต่างๆ จะเกิดความมั่นใจในการสนทนา และ
ดึงดูดความสนใจกับผู้คนอีกด้วย หรือหากใช้อัญมณีตกแต่งสถานที่ เมื่อ
มองผ่านจะทำให้เกิดความผ่อนคลายและสบายใจ ซึ่งไม่ว่าจะเป็ นอัญมณี
แท้หรือเทียมหากคุณมีความเชื่อว่าใส่แล้วสบายใจหรือมั่นใจก็ถือว่าบรรลุ
เป้ าหมายในการใช้อัญมณีเหมือนกัน ซึ่งความเชื่อเรื่องอัญมณีเป็ นสิทธิ
98

ส่วนบุคคล คุณค่าของความเชื่อที่มีต่ออัญมณีจะมากหรือน้อยก็ขน
ึ ้ อยู่กับ
บุคคล ควรใช้วิจารณญาณร่วมด้วย ปั จจุบันเครื่องประดับสามารถเข้าถึง
และหาซื้อได้ง่าย สามรถดูความเชื่อของอัญมณีผ่านสื่อโซเชียลมิเดีย เช่น
ข่าวสารเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางโหราศาสตร์ ที่จะส่งผลต่อ ดวง ราศี ต้อง
มีอัญมณีชนิดใดเสริมดวงในช่วงนัน
้ ๆ ปั จจุบันมีสถาบันศึกษาใน
ประเทศไทยหลายที่ที่เปิ ดสอนเกี่ยวกับอัญมณีทงั ้ การออกแบบ การขึน
้ รูป
อัญมณี หากนำมาเสริมเรื่องความเชื่อ อัญมณีก็จะเป็ นตลาดหนึง่ ที่น่า
สนใจ น่าลงทุน นอกจากนีอ
้ ัญมณียังนำมาใช้ในการทำเทคโนโลยีบาง
อย่างอีกด้วย
จากการศึกษาความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของบุคลากร
และนักศึกษา ทุกคนมีเครื่องประดับอัญมณี ทัง้ ใช้สวมใส่ พกติดตัวและ
ประดับสถานที่ โดยเชื่อว่าเครื่องประดับอัญมณีเปรียบเสมือนเครื่องราง
หรือวัตถุยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ช่วยในเรื่องโชคลาภ เงินทอง เชื่อว่าการสวมใส่
ทำให้มีพลังใจที่ส่งผลมาจากพลังของอัญมณี เสริมความมั่นใจในเรื่องต่าง
ๆ ของการดำเนินชีวิต บ้างคนก็เชื่อว่าสีของอัญมณีมีความเฉพาะต่อ
บุคคล ต่อการเลือกไปใช้ให้บรรลุเป้ าหมาย บางคนใช้ความเชื่อเรื่องดวง
จากวันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์ในการเลือกใช้อัญมณี บางคนก็ได้รับอิท
พลความเชื่อมาจากการพบเห็นหรือเคยได้ยินเรื่องความเชื่ออัญมณีจาก
คนรอบข้างหรือบุคคลอื่นว่าช่วยในการลบพลังงานลบ หรือเสริมเสน่ห์ อีก
ทัง้ ยังมองว่าในอนาคตความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญจะยังคงอยู่และ
เพิ่มมากขึน
้ แต่ยังมีการแย้งว่าในอนาคตวิทยาศาตร์มีความก้าวหน้ามาก
ขึน
้ สิง่ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างความเชื่ออาจมีบทบาทที่น้อยลง แต่การ
ใช้เครื่องประดับอัญมณีจะไม่เลือนหายไปอย่างแน่นอน
สรุปจากการศึกษาพบว่าบุคลากรและนักศึกษา สาขาวิชา
เทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
99

นักศึกษา ทุกคนมีเครื่องประดับอัญมณี ทัง้ ใช้สวมใส่ พกติดตัวและ


ประดับสถานที่ โดยเชื่อว่าเครื่องประดับอัญมณีเปรียบเสมือนเครื่องราง
หรือวัตถุยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ช่วยในเรื่องโชคลาภ เงินทอง โดยให้ความคิด
เห็นว่า
มีการโยงข้อมูลวันเดือนปี เกิด ดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาลเข้ากับความ
เชื่อเรื่องเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งอยู่ในศาสตร์ที่เรียกว่า โหราศาสตร์ ที่มี
มานานก่อนพระพุทธศาสนา สืบทอดมาจากอินเดียสู่ไทยตัง้ แต่สมัย
สุโขทัย ช่วง (พ.ศ. 1792-1981) มาจนถึงปั จจุบัน ทำให้การเลือกชนิด
อัญมณีในสวมใส่เพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย มักใช้วันเดือนปี เกิดเป็ นเกณฑ์ใน
การพิจารณา และให้ความเห็นว่าในอนาคตความเชื่อจะยังคงอยู่และเพิ่ม
มากขึน
้ หรืออาจจะลดลงเนื่องวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึน
้ แต่
การใช้เครื่องประดับอัญมณีจะไม่เลือนหายไปอย่างแน่นอน สอดคล้อง
กับแนวคิดเรื่อง นพรัตน์ 9 ที่ว่า ประเทศไทยได้รับอิทธิพลความเชื่อเรื่อง
เครื่องประดับอัญมณีมาจากประเทศอินเดียในเรื่องราวของ นพรัตน์ ที่
กล่าวถึงแก้วอัญมณี 9 ชนิด คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล
มุกดา ไพฑูรย์ และกล่าวถึงลักษณะวัน เดือน ปี ที่ควรมีหรือใช้แก้ว
อัญมณีชนิดใดเป็ นเครื่องประดับร่างกาย มีการสืบทอดความเชื่อต่อกัน
มาแต่ครัง้ บุรพกาล คนเอเชียได้ยอมรับและนับถือสิริมงคลแห่งนพรัตน์
ซึ่งนำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล และเทพ
ประจำดวงดาวซึ่งมีอำนาจและพลัง ตัวอย่าง คนที่เกิดปี ชวด เกิดเดือน
มกราคมหรือเกิดวันจันทร์ ควรใช้เครื่องประดับอัณมณีชนิดโกเมน ที่เป็ น
พลอยสีแดงเข้มค่อนข้างดำ ชาวอินเดียโบราณเชื่อว่า โกเมนจะเป็ น
เครื่องรางอันทรงพลังที่จะช่วยคุ้มครองผู้สวมใส่ให้อยู่รอดปลอดภัย ทัง้ ยัง
นำความโชคดีเสริมสิริมงคล มีโชคลาภ มั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ผู้เป็ นเจ้า และ
สอดคล้องกับงานวิจัยของ อรุณวรรณ คงมีผล ( 2556 ) ได้ศึกษางานวิจัย
100

เรื่อง อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย พบว่า งานวิจัย


นีม
้ ุ่งศึกษาตำราอัญมณีของอินเดียโบราณที่เป็ นภาษาสันสกฤตกับตำรา
นพรัตน์ของไทย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เรื่องอัญมณีวิทยาในวรรณคดี
ทัง้ สอง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นธรรมเนียมปฏิบัติและ
ความเชื่อในเรื่องอัญมณีที่มีร่วมกันในสังคมอินเดียและสังคมไทย “รัตน
ปรีกษา” คือศาสตร์ว่าด้วยการพิจารณาและตรวจสอบอัญมณี ได้รับการ
บันทึกในช่วงสมัยพระเวทจนถึงหลังสมัยพระเวท (ราว 1,500 ปี ก่อน
คริสต์ศก
ั ราชจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14) ต้นฉบับมีทงั ้ ที่เป็ นคัมภีร์โดยตรง
และเป็ นเรื่องแทรกในวรรณคดีอ่ น
ื เนื้อหามีลักษณะเป็ นวิทยาศาสตร์ผสม
ผสานกับความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ประกอบด้วยเรื่องต้นกำเนิดของอัญมณีประเภทต่างๆ แหล่งที่พบอัญมณี
ลักษณะคุณและโทษของอัญมณีซงึ่ พิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพ
อานุภาพของอัญมณีต่อผู้ครอบครอง ฯลฯ ส่วนตำรานพรัตน์ซึ่งเรียบเรียง
ขึน
้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2353 แม้จะ
มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างแต่หัวข้อและคำอธิบายเรื่องอัญมณีวิทยา
สอดคล้องและคล้ายคลึงกับในตำรารัตนปรีกษา นอกจากนีย
้ ังมีการอ้าง
ถึงตัวละครในตำนานรวมทัง้ ชื่อสถานที่ ที่ปรากฏในคัมภีร์อินเดียโบราณ
จึงอาจสรุปได้ว่า ตำรารัตนปรีกษาเป็ นที่มาของความรู้และความเชื่อใน
ตำรานพรัตน์ของไทย

5.3 ข้อเสนอแนะ

5.3.1 การขนายขอบเขตด้านประชากรณ์ในการเก็บผลสัมภาษณ์
ให้มีความหลากหลายมากขึน

101

5.3.2 ศึกษาเพิ่มเติมในความเชื่อที่มีต่อเครื่องประดับอัญมณีของ
ต่างประเทศ
102

บรรณานุกรม
กรุงไทย.รวมความเชื่ออัญมณีจากทั่วโลก.สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์
2566 ,
จาก รวมความเชื่ออัญมณีจากทั่ว โลก
(krungthai.com)
เจ้าของร้าน.(2559).รู้จริงเรื่องอัญมณี(Gems) แร่(Mineral)หิน
(rock).
สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก
https://shorturl.asia/dDO9M
เจ้าของร้าน.(2559).อัญมณีตามวันเกิด...เลือกอย่างไรให้เสริมดวง
ชะตา.สืบค้นเมื่อ 7 กุทภาพันธ์ 2566,
จาก วิธีเลือกอัญมณีเสริมดวงชะตาตามวันเกิด เดือนเกิด ปี
เกิด - เพนนิล จิวเวลรี่ เครื่องประดับนิล พลอยแท้ จันทบุรี :
Inspired by LnwShop.com (penninjewelry.com)
นพดล สมฤกษ์ผล.(2552).งานวิจัยเรื่องพลังความเชื่อและพฤติกรรม
การเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตรง
กับราศีเกิดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.
สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ปั จจัยที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องประดับอัชมณีที่ตรงกับราศีเกิด
ของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (bu.ac.th)
103

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร (เพิ่มเติมข้อมูลโดย ณัฐกานต์ พิภูษณ


กาญจน์).(2013).
ลูกปั ด : เครื่องประดับที่ไม่เคยเสื่อมความนิยม.สืบค้นเมื่อ
22 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ลูกปั ด : เครื่องประดับที่ไม่เคย
เสื่อมความนิยม - GotoKnow
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.อัญมณี.
สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จากอัญมณี - สารานุกรม
ไทยสำหรับเยาวชนฯ (saranukromthai.or.th)
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.อัญมณีและแหล่งใน
ประเทศไทย.
สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2566 จาก อัญมณีและแหล่งใน
ประเทศไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
(saranukromthai.or.th)
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.อัญมณีกับความเชื่อ.
ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2556 จาก อัญมณีกับความเชื่อ -
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (saranukromthai.or.th)
ร้านรับซื้อเครื่องประดับ.ข้อดีของเครื่องประดับที่คุณไม่ควรพลาด.
สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ข้อดีของเครื่องประดับ
ที่คุณไม่ควรพลาด (xn--
42cgk2bvgeg0ebdc9jc2cgld4hd0q3gkh.com)
วิกิพีเดีย.(2564).อัญมณี.สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566
จาก อัญมณี - วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
104

วรธนัท อชิรธานนท์.(2564).งานวิจัยเรื่องพลังความเชื่อและความ
ศรัทธา.
สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566 จากดูจาก พลังความเชื่อและ
ความศรัทธาในวัตถุมงคลสู่เครื่องประดับและอัญมณี (tci-
thaijo.org)
หงษ์ฤทัย หอมขจร.(2556).อัญมณีคืออะไร.สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์
2566.จาก article009.pdf (buu.ac.th)
อรุณวรรณ คงมีผล.(2556).
งานวิจัยเรื่องงานวิจัยนีม
้ ุ่งศึกษาตำราอัญมณีของอินเดีย
โบราณที่เป็ นภาษาสันสกฤตกับตำรานพรัตน์ของไทย.สืบค้น
เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566 จาก View of อัญมณีวิทยาใน
วรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย (tci-thaijo.org)
อ.ณภัทร ศรีจักรนารท.(2559).โหราศาสตร์ไทยแก้วนพรัตน์ (แก้ว 9
ประการ).
สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566 จากแก้วนพรัตน์ (แก้ว 9
ประการ) - อาศรมศรีจักรนารท พระเวทโหราศาสตร์
(astroneemo.net)
Digital school.club.ทัศนคติ.สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก
www.digitalschool.club
Gem&Watch.แร่อัญมณีอันทรงคุณค่าของไทย มีอยู่ที่ไหนกัน
บ้าง?.สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566
จาก https://shorturl.asia/DXvkr
105

GIT สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การ


มหาชน).(2560).
นพรัตน์หรือนพเก้า อัญมณีมงคลคู่อารยธรรมไทย.สืบค้น
เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก
https://shorturl.asia/7duzW
Hudsondc.(2017).ประโยชน์ของ เครื่องประดับ ที่มีมากมายจนคุณ
คาดไม่ถึง และวันนีเ้ ราจะมาพูดถึง
ประโยชน์ของเครื่องประดับที่มีผลต่อตัวคุณกัน ซึ่ง
รับรองเลยว่าคุณต้องอยากมี
เครื่องประดับเพิ่มอีกแน่นอน.สืบค้นเมื่อ 22
กุมภาพันธ์ 2566 จาก
ประโยชน์ของ เครื่องประดับ ที่มีมากมายจนคุณคาดไม่
ถึง และวันนีเ้ ราจะมาพูดถึง ประโยชน์ !! (hudsondc.org)
Jewelryswan.ข้อดีของจิวเวอรี เหตุผลว่าทำไม? จิวเวอรีถึงทำให้คุณ
มีความสุขได้.
สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ข้อดีของจิวเวอรี
เหตุผลว่าทำไม? จิวเวอรีถึงทำให้คุณมีความสุขได้ - Swan
(theswanthailand.com)
Precious pieces บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรม.ความเชื่อกับเครื่องประดับ.
สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ความเชื่อกับเครื่อง
ประดับ « °•.★*Precious Pieces*★ .•° (wordpress.com)
Sanook.(2556).อัญมณีและความเชื่อ.สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566.
106

จาก อัญมณี และ ความเชื่อ (คืออะไร หมายถึง ความหมาย)


- Sanook! พีเดีย
TE KKU.(2555).สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์
2566.
จากสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี – คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น (kku.ac.th)
The wisdom.ทฤษฎีมาสโลว์ ลำดับขัน
้ ความต้องการ
Maslow’s hierarchy of needs ลูกค้าต้องการ
อะไร.สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566 จาก ทฤษฎีมาสโลว์
ลำดับขัน
้ ความต้องการ Maslow's hierarchy of needs
ลูกค้าต้องการอะไร - The Wisdom Academy
Thanatporn Suthisansanee.จิตวิทยาของสี (Color Psychology)
ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง?.
สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ จาก จิตวิทยาของสี (Color
Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง? - The
Wisdom Academy
107
108

ภาคผนวก ก
109

ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
110

ภาคผนวก ข
111
112

ภาพการสัมภาษณ์ นางสาวเมธิณี จันทร์นาค เพศหญิง อายุ 21 ปี ระดับ

การศึกษา ปริญญาตรีปีที่ 3 ตำแหน่งนักศึกษา

ภาพการสัมภาษณ์ นายศุภกฤต ศีรษะพล เพศชาย อายุ21 ปี ระดับการ


ศึกษา ปริญญาตรีปีที่ 3 ตำแหน่ง นักศึกษา
113

ภาพการสัมภาษณ์ นางฐิติรัตน์ อินสาลี เพศ หญิง อายุ 53 ปี ระดับการ

ศึกษา จบปริญญาโท ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์

ภาพการสัมภาษณ์ นายสมพล จรรยากรณ์ เพศชาย อายุ 57 ปี ระดับการ


ศึกษา จบปริญญาโท ตำแหน่งนักวิชาการ
114

ภาพการสัมภาษณ์ นายพิทักษ์สิทธิ ์ ดิษฐ์บรรจง เพศชาย อายุ 40 ปี ระดับ

การศึกษา จบปริญญาเอก ตำแหน่ง นักวิชาการ


115

ภาพสมาชิกกลุ่มทำรูปเล่มโครงงาน

ภาพสมาชิกกลุ่มช่วยกันรวบรวมข้อมูล
116

You might also like