You are on page 1of 18

กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No.

2 September – December 2011

พุทธจิตรกรรมทังกาในลัทธิวชั รยานแบบทิเบตที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น (โผวเหย่งหยี่) อําเภอท่ามะกา


จังหวัดกาญจนบุรี และมูลนิธพิ ันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี *

Thangkas, Tibetan Vajrayana Buddhist Painting Reserved at Wat Pho Yen, Tha Maka
District, Kanchanaburi Province and the Thousand Stars Foundation, Muang District,
Nonthaburi Province

ลลิดา ชัยกุล**

บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและรูปแบบทางศิลปกรรมของพุทธจิตรกรรมทังกาใน
ลัทธิวัชรยานแบบทิเบตที่ถูกเก็บรักษาไว้ในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บ
รักษาไว้ที่วั ดโพธิ์เย็นและมูลนิธิ พันดาราเป็ นกรณีศึก ษา โดยนํามาเปรีย บเทียบกับจิต รกรรมทัง กาตามแนว
ประเพณีของทิเบตตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา
ผลการศึกษาด้านเนื้อหาสรุปได้ว่าจิตรกรรมทังกาที่เป็นกรณีศึกษามีรูปลักษณ์สําคัญตามที่ระบุไว้ใน
คั ม ภี ร์ ส าธนมาลาและประติ ม านวิ ท ยาของพระพุ ท ธศาสนาลั ท ธิ วั ช รยานแบบทิ เ บต ทั้ ง นี้ อ าจปรั บ เปลี่ ย น
รายละเอี ย ดรู ป ลั ก ษณ์ บ างประการไปตามรสนิ ย มของชาวทิ เ บตโดยที่ ไ ม่ ทํ า ให้ เ นื้ อ หาหลั ก หรื อ การตี ค วาม
สัญลักษณ์เปลี่ยนไป
ส่วนผลการศึกษาด้านรูปแบบศิลปกรรมของจิตรกรรมทังกาที่เป็นกรณีศึกษาแบ่งได้ 2 รูปแบบสําคัญ
คือ จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลาง และจิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคตะวันออก โดยทั้งสองรูปแบบนี้มี
ลักษณะร่วมกันทั้งการจัดองค์ประกอบ การใช้รูปทรงบุคคลตามประติมานวิทยา การใช้เส้นรอบนอก และการรับ
อิทธิพลรูปทรงแบบศิลปะจีน โดยล้วนเป็นรูปแบบจิตรกรรมทังกาทิเบตตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา แต่
ความแตกต่างของรูปแบบทั้งสองคือการใช้สีที่จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลางเน้นสีที่สดจัดและหนา ส่วน
จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคตะวันออกมีสีที่ไม่สดจัด บาง และเน้นการสร้างบรรยากาศคล้ายจิตรกรรมทิวทัศน์
แบบศิลปะจีน
การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้จะเป็นประโยชน์ด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปกรรมทิเบตโดยเฉพาะ
พุทธจิตรกรรมทังกาทิเบตที่ถูกเก็บรักษาไว้ในประเทศไทย และเพื่อให้สังคมไทยได้เข้าใจในศิลปกรรมและ
พระพุทธศาสนาในลัทธิวัชรยานแบบทิเบตให้มากยิ่งขึ้น

คําสําคัญ : จิตรกรรมทังกา วัชรยาน ทิเบต

Abstract
The initial research conducted for the objectives of studying information and pattern
of artistitic work in Thangkas Buddhist painting art, a more predominant form of painting which
is in Tibetan Vajrayana Buddhism that has been preserved currently in Thailand. According to
*
เนื้อหาของบทความเรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ปีการศึกษา 2554 เรื่อง พุทธจิตรกรรมทังกาในลัทธิวัชรยานแบบทิเบตที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น (โผวเหย่งหยี่) อําเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี และมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยมี ดร.สุธา ลีนะวัต เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมการทําวิทยานิพนธ์
**
ลลิดา ชัยกุล นักศึกษาปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, aramisron@hotmail.com

26
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

the, the Thangkas masterpieces of art which are belongs to Wat Pho Yen and the Thousand
Stars Foundation, they were chosen to reveal as the thesis cases study. The study is included
the logical comparison with Traditional Tibetans Thangka since 17th century AD.
According to the research result, the chosen samples has properly appeared as the
same frequent themes of Thangkas in sacred books of Tibetan Vajrayana Buddhism
iconography. Even though it might be the details flexibility throughout the Tibetans
preferences without causing the theme distortion and distort the interpretation.
In addition, the result of studying those pattern art objects can be divided to two
insignificant patterns. One is Tibetans Thangka masterpiece in Central region, and Tibetans
Thangka masterpiece in East Region. Apparently, these two type of patterns have the common
characteristics, which including the composition arrangement, the portrait configuration in
iconography, outline pattern, and Chinese structure influenced. All of them clearly appear
since 17th century AD. However, there are a pattern difference which is the color adoption, the
Tibetans Thangka masterpiece in Central region reveal clearly using a very bright and thick
color style, while the Tibetans Thangka masterpiece in East Region clearly using more softer
and more thinner including highlight on creating the circumstance which is resemble to the
Chinese perspective artworks.
The study of this thesis will be valuable for dissemination of Tibetan artistic
knowledge, especially Thangkas Buddhist painting that was preserved in Thailand. Thus, the
study could be utilized for Thai society can gain more understanding in artistic work and
Tibetan Vajrayana Buddhism.

Key word : Thangka Vajrayana Tibet

บทนํา
พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบตมีลักษณะเฉพาะตนแตกต่างจากพระพุทธศาสนาในประเทศ
อื่นในเอเชีย เนื่องจากได้นําพิธีกรรมของลัทธิเพิน (Bon) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของทิเบตผสมผสานเข้าไปด้วย
ประกอบกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ยากลําบากต่อการเข้าถึง ทําให้องค์ความรู้ในพระพุทธศาสนาและ
วัฒนธรรมของทิเบตยากที่โลกภายนอกจะเข้าใจ อย่างไรก็ตามองค์ความรู้เหล่านี้ของทิเบตเพิ่งถูกเปิดเผยและ
ศึกษาอย่างจริงจังโดยนักสํารวจและนักวิชาการเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสนใจนี้เพิ่มขึ้นหลังจากที่
ทิเบตถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนในปี ค.ศ. 1959 สังคมโลกจึงหันมาสนใจและศึกษาเกี่ยวกับทิเบตใน
หลากหลายด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ สังคม ศาสนา รวมถึงศิลปกรรม
ความรู้เกี่ยวกับทิเบตในสังคมไทยช่วงแรกเริ่มมาจากผลงานแปลและเรียบเรียงจากหนังสือของชาว
ต่างประเทศ เป็นต้นว่าเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือ “ลัทธิของเพื่อน” ของเสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป ซึ่งเก็บ
ใจความมาจากหนังสือเรื่อง “พระพุทธศาสนาแบบทิเบต” (Tibetan Buddhism) ของ ลอเรนซ์ ออสติน แวด
เดล (Laurence Austine Waddell ค.ศ. 1854 – 1938) หลังจากนี้ก็มีนักวิชาการชาวไทยศึกษามาอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และภิกษุณีธัมมนันทา ซึ่งทั้งสองท่านมีผลงานเกี่ยวกับการศึกษาสภาพ
สังคมการเมือง วัฒนธรรมประเพณี และศาสนาของทิเบตอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าด้านศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา
ลั ท ธิ วั ช รยานของทิ เ บตมี ผู้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า อยู่ เ ป็ น จํ า นวนน้ อ ย ทั้ ง ๆ ที่ พุ ท ธศิ ล ป์ เ หล่ า นี้ แ สดงถึ ง เอกลั ก ษณ์
พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบตได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดประการหนึ่ง

27
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

พุทธศิลป์ทิเบตถือได้ว่าถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการและวัสดุที่หลากหลาย มีความโดดเด่นไม่ด้อยไปว่าพุทธ
ศิลป์ในวัฒนธรรมอื่น พุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิวัชรยานคือจิตรกรรมที่เรียกว่า “ทังกา”
(Thangka) ซึ่งคล้ายกับภาพพระบฏของไทย และถูกสร้างขึ้นในหลายพื้นที่ซึ่งนับถือลัทธินี้ ทั้งในทิเบต จีน ภูฏาน
เนปาล และอินเดีย เป็นต้น จิตรกรรมทังกาเป็นงานจิตรกรรมบนผืนผ้า มีทั้งแบบวาดด้วยสี ทอเป็นผืน หรือใช้ผ้า
เย็บติดเข้าเป็นลวดลาย มีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีคุณสมบัติสามารถขนย้ายนําติดตัวไปได้ง่ายโดยม้วน
เก็บ จึง ทําให้จิตรกรรมทังกาเป็นพุทธศิลป์ที่ยังคงเป็ นที่นิยมเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน ผู้ศึกษาพิจารณาเห็นว่ า
จิตรกรรมทังกาสามารถเป็นกรณีศึกษาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบต
ได้ เนื่องจากการแสดงออกทางทัศนธาตุเป็นไปอย่างครบถ้วน อีกทั้งสีสันและการจัดองค์ประกอบก็สะท้อนถึง
ระบบสัญลักษณ์ทางพุทธปรัชญาได้ชัดเจนกว่าพุทธศิลป์แขนงอื่น
จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นศิลปวัตถุที่ถูกเก็บรักษาไว้ในพุทธศาสน
สถานจีนนิกาย พิพิธภัณฑ์ และบ้านฆราวาสผู้ศรัทธา ในการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ผู้ศึกษาจะเน้นศึกษาจิตรกรรมทัง
กาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น (โผวเหย่งหยี่) ตําบลดอนขมิ้น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 13
ภาพ และที่มูลนิธิพันดารา ถนนรัตนาธิเบศร์ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จํานวน 14 ภาพ มาเป็นกรณีศึกษา
เพื่อเรียนรู้ถึงรูปแบบ เทคนิค เนื้อหาทางพุทธปรัชญา และการใช้จิตรกรรมทังกาในสมัยปัจจุบันที่ปรากฏอยู่ใน
ประเทศไทย วัดโพธิ์เย็นเป็นสถานที่หนึ่งในประเทศไทยซึ่งเก็บรักษาจิตรกรรมทังกา ถูกก่อตั้งโดยพระมหา
คณาจารย์ จี น ธรรมสมาธิ วั ต ร (โพธิ์ แ จ้ ง มหาเถระ) ซึ่ ง ท่ า นเจ้ า คุ ณ อาจารย์ เ คยได้ รั บ การฝึ ก ปฏิ บั ติ ใ น
พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานจากทิเบตและได้นําจิตรกรรมทังกาจากทิเบตกลับมารักษาไว้ในประเทศไทยเมื่อราว
พุทธทศวรรษ 2490 (คริสต์ทศวรรษ 1940) บริเวณที่ท่านได้เดินทางไปจาริกแสวงบุญนี้มีปฏิสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับ
เขตแดนจีนที่มีพรมแดนติดกับทิเบต ประกอบกับพระอาจารย์ของท่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีอํานาจของจีนผู้
หนึ่งในขณะนั้น จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นจึงเป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่มีรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึง
อิทธิพลด้านพุทธศิลป์ทิเบตในเขตแดนจีน
ส่วนมูลนิธิพันดารานั้น เป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้ และอนุรักษ์
เกี่ยวกับภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต รวมทั้งส่งเสริมการติดต่อสื่อสารระหว่างประเพณี
ของพระพุทธศาสนาลัทธินิกายต่าง ๆ โดยมี รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิและเป็นนักวิชาการ
ด้านทิเบตศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมของทิเบต ท่านได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ทั่วทิเบต
โดยเฉพาะบริเวณทิเบตตะวันออก จากการเดินทางนี้เองทําให้ท่านได้พบเห็นและได้รับจิตรกรรมทังกาจากที่ต่าง
ๆ ซึ่งมีทั้งที่เช่าซื้อเพื่อเก็บรักษาและได้รับจากพระลามะผู้ใหญ่ ฉะนั้นจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่มูลนิธิพัน
ดาราจึงสะท้อนถึงความหลากหลายด้านเชิงช่างที่แตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นที่อันกว้างใหญ่ของทิเบต
ในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิตรกรรมทังกาของนักวิชาการไทยยังมีอยู่เป็นจํานวนน้อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดารายังไม่เคยมีผู้ศึกษามาก่อน
ดังนั้นผู้ศึกษาจึงคาดว่าการศึกษาจิตรกรรมทังกาของทั้งสองแห่งนี้ ทั้งทางด้านรูปแบบศิลปกรรมและเนื้อหาพุทธ
ปรัชญาของลัทธิวัชรยานแบบทิเบต จะเป็นตัวอย่างหนึ่งอันสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมทังกาที่ปรากฏ
อยู่ในปัจจุบัน และหวังว่าการศึกษาค้นคว้านี้จะเป็นประโยชน์ต่อชาวไทยเพื่อให้รู้จักคุณค่าของพุทธจิตรกรรมทัง
กาและเข้าใจลัทธิวัชรยานแบบทิเบตมากขึ้น

วิธีการวิจัย
1. เก็บข้อมูลจากเอกสารชั้นรองด้านประวัติศาสตร์ของทิเบต การเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยา
นจากอินเดียสู่ทิเบต ลักษณะพุทธศิลป์แบบทิเบตโดยสังเขป และพัฒนาการด้านจิตรกรรมทังกาของทิเบตอย่าง
ละเอียด
2. เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และถ่ายภาพจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น
และมูลนิธิพันดาราอย่างละเอียด
28
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

3. นําข้อมู ลภาคสนามมาศึก ษาประกอบกับข้อ มูลเอกสารเรื่องการเผยแผ่พ ระพุท ธศาสนาลัท ธิ


วัชรยานในประเทศไทย เรื่องรูปแบบ เทคนิค เนื้อหาทางพุทธปรัชญา และพัฒนาการของจิตรกรรมทังกา
4. วิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างจิตรกรรมทังกาซึ่งถูกเก็บรักษาไว้
ที่วัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดารา กับจิตรกรรมทังกาแนวประเพณีของทิเบตตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา
5. สรุปการวิเคราะห์เปรียบเทียบและจัดทํารายงานวิทยานิพนธ์สมบูรณ์

ผลการวิจัย
การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “พุทธจิตรกรรมทังกาในลัทธิวัชรยานแบบทิเบตที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น
(โผวเหย่งหยี่) อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี” มีตัวอย่าง
กรณีศึกษาจํานวนทั้งสิ้น 27 ภาพ โดยแบ่งเป็นจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นจํานวน 13 ภาพ อีก
ส่วนหนึ่งคือจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่มูลนิธิพันดารา จํานวน 14 ภาพ โดยจิตรกรรมทังกาเหล่านี้ถูกเก็บ
รักษาไว้ที่ มูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี, มูลนิธิพันดารา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และศูนย์
ขทิรวัน* หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัน” ตั้งอยู่ที่ อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง
ทั้งสามแห่งอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิพันดาราทั้งหมด
ทั้งนี้การศึกษาวิเคราะห์จิตรกรรมทัง กา ผู้ศึกษาได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่
เนื้อหาด้านพุทธปรัชญาในจิตรกรรมทังกา และรูปแบบทางศิลปกรรมในจิตรกรรมทังกา การวิเคราะห์เนื้อหาด้าน
พุทธปรัชญา เป็นไปเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพุทธปรัชญาของพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบตที่ถูก
ถ่ายทอดในจิตรกรรมทังกา ส่วนการวิเคราะห์รูปแบบด้านศิลปกรรมเป็นไปเพื่อศึกษาลักษณะเด่นด้านรูปแบบ
จิตรกรรมทังกาของทิเบต โดยใช้จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดาราเป็นกรณีศึกษา

เนื้อหาด้านพุทธปรัชญา
เนื้อหาด้านพุทธปรัชญาของจิตรกรรมทังกาจํานวน 27 ภาพที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิ
พันดาราแบ่งตามสถานะของบุคคลองค์ประธานในภาพได้ 4 ประเภท คือ พระพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์, พระธรรม
บาล และพระอาจารย์และบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ของทิเบต
1. พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์, พุทธเกษตรสุขาวดี, พระไภษัชยคุรุไวฑูรย
ประภา และพระพุทธเจ้าแห่งการปลงอาบัติ 35 พระองค์

ภาพที่ 1 พระไวโรจนะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 2 พระอักโษภยะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ภาพที่ 3 พระรัตนสัมภวะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

*
สะกด “ขทิรวัน” ด้วย “ท” ตามชื่อที่มูลนิธิพันดารากําหนด
29
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ภาพที่ 4 พระอมิตาภะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 5 พระอโมฆสิทธิ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

จิตรกรรมทังการูปพระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น มีจํานวน 5 ภาพ ภาพ


ละ 1 พระองค์ พระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ประกอบไปด้วย พระไวโรจนะ (ภาพที่ 1), พระอักโษภยะ (ภาพที่
2), พระรัตนสัมภวะ (ภาพที่ 3), พระอมิตาภะ (ภาพที่ 4) และพระอโมฆสิทธิ (ภาพที่ 5) ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าที่
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาในลัทธิมหายานและวัชรยาน รูปลักษณ์ตามประติมานวิทยาของพระธยานิ
พุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีลักษณะร่วมกันคือทรงประทับวัชราสนะ ในจิตรกรรมทังกาทั้งห้าภาพนี้ทุกภาพพระองค์
ต่างปรากฏในรูปนิรมานกายจึงมีพระเกศาสั้นม้วนขดเป็นก้นหอยติดพระเศียร อุษณีษะนูน มีอูรณาที่กลางพระ
ขนงทั้งสองข้าง พระกรรณยาวซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ แต่ละพระองค์ทรงห่มจีวร
เฉียง ข้อแตกต่างในแต่ละพระองค์ คือ ทรงมีวรรณะและมุทราแตกต่างกัน คือ พระไวโรจนะทรงมีวรรณะขาว
กระทําธรรมจักรมุทรา พระอักโษภยะทรงมีวรรณะน้ําเงินกระทําภูมิสปรรศมุทรา พระรัตนสัมภวะทรงมีวรรณะ
เหลืองกระทําวรทมุทรา พระอมิตาภะทรงมีวรรณะแดงกระทําธยานมุทรา และพระอโมฆสิทธิมีวรรณะเขียว
กระทําอภัยมุทรา แต่จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็นที่ปรากฏรูปพระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์มีเพียงพระอมิ
ตาภะและพระอโมฆสิทธิที่แสดงรูปลักษณ์ตรงตามประติมานวิทยา ส่วนพระไวโรจนะ พระอักโษภยะ และพระ
รัตนสัมภวะล้วนแสดงมุทราที่แตกต่างออกไป คือ พระไวโรจนะแสดงมุทราที่คล้ายกับการทําดัชนีมุทราทั้งสอง
พระหัตถ์และนํามาประสานกันไว้ที่พระอุระ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ปรากฏในพระไวโรจนะตามแบบพุทธศิลป์ของ
ทิเบต ส่วนพระอักโษภยะและพระรัตนสัมภวะกลับแสดงมุทราที่สลับกันซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดจากความผิดพลาด
ของศิลปินผู้วาดที่วาดมุทราสลับกันหรือลงสีวรรณะสลับกันก็ได้
จิตรกรรมทังการูปพุทธเกษตรสุขาวดี (ภาพที่ 6) ถูกเก็บรักษาไว้ที่มูลนิธิพันดาราแสดงเรื่องราวพุทธ
เกษตรประจําทิศตะวันตกของพระอมิตาภะ ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาสุขาวดีวยุหสูตร จุลสุขาวดีวยุหสูตร
และอมิตายุรธยานสูตรเป็นสําคัญ โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับที่ปรากฏในจิตรกรรมทังกานี้ คือ พระอมิตาภะอยู่ใน
รูปพระพุทธเจ้านิรมานกาย ทรงกระทําธยานมุทรา และประทับวัชราสนะเป็นองค์ประธานของภาพ ขนาบข้าง
ด้วยพระโพธิสัตว์สาวกคือ พระอวโลกิเตศวรวรรณะขาวที่เบื้องขวาและพระมหาสถามปราปต์วรรณะน้ําเงิน
ประทับทางเบื้องซ้ายของพระอมิตาภะ รวมทั้งกลุ่มพระอัษฏมหาโพธิสัตว์ซึ่งบางพระองค์ก็แสดงไม่ชัดเจนและ
บ้างก็มีวรรณะไม่สอดคล้องตามประติมานวิทยา นอกจากนี้ในจิตรกรรมทังกายังประกอบด้วยพระธยานิพุทธเจ้า
5 พระองค์ พระพุทธเจ้าแห่งสามกาล พระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศ และพระพุทธเจ้าจากภูมิทั้งหก รวมทั้งพระโพธิสัตว์
และผู้ที่ไปบังเกิดในพุทธเกษตรสุขาวดีต่างเคลื่อนเข้ามาฟังธรรมะจากพระอมิตาภะ การแสดงรูปพุทธเกษตร
สุขาวดีในจิตรกรรมทังกานี้เป็นไปเพื่อให้ผู้ศรัทธาเห็นภาพรายละเอียดมากมายของพุทธเกษตรสุขาวดีในคัมภีร์ให้
เป็นรูปธรรมและมีความถูกต้องตรงกัน
30
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

ภาพที่ 6 พุทธเกษตรสุขาวดี จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี


ภาพที่ 7 พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

จิตรกรรมทังการูปพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (ภาพที่ 7) เป็นจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา


แสดงพระพุทธเจ้าที่ทรงขจัดโรคภัยทั้งทางกายและใจแก่ผู้ที่นับถือพระองค์ คัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปต
พุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตรเป็นคัมภีร์สําคัญที่อุทิศแก่พระองค์โดยเฉพาะ ตามประติมานวิทยาพระไภษัชยคุรุมัก
เป็นพระพุทธเจ้าในรูปนิรมานกาย มีวรรณะน้ําเงิน พระหัตถ์ซ้ายกระทําธยานมุทราโดยอุ้มบาตรบรรจุโอสถหรือ
ผลสมอ และพระหัตถ์ขวากระทําวรทมุทราพร้อมถือก้านต้นสมอที่ติดผลหรือถือผลสมอ ในรูปนี้ยังปรากฏพระ
ศากยมุนีพร้อมด้วยพระสองขะปะเป็นบริวารร่วมด้วย โดยพระศากยมุนีทรงปรากฏรูปลักษณ์คล้ายกับพระ
ไภษัชยคุรุแต่ทรงมีวรรณะเหลืองและไม่ปรากฏผลสมอในพระหัตถ์หรือภายในบาตร ส่วนพระสองขะปะทรง
ปรากฏในรูปพระสงฆ์ทรงจีวรแบบทิเบตพร้อมด้วยหมวกทรงสูงแหลมสีเหลือง เมื่อพิจารณาเนื้อหาตามคัมภีร์
ไภษัช ยคุ รุ ไ วฑูร ยประภาสั ป ตพุ ท ธปูร วปณิ ธานวิ เ ศษสูต รแล้ ว ผู้ศึ ก ษาตีค วามว่า พระศากยุ มนี ใ นภาพนี้คื อ ผู้
ถ่ายทอดเรื่องราวของพระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ประทานแด่เหล่าสรรพสัตว์ตามที่พระมัญชุศรีทรงทูลขอ ซึ่งพระ
มัญชุศรีอาจสื่อแทนด้วยพระสองขะปะที่ถูกเชื่อว่าเป็นนิรมานกายของพระองค์

ภาพที่ 8 พระพุทธเจ้าแห่งการปลงอาบัติ 35 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา


จังหวัดกาญจนบุรี
ภาพที่ 9 พระพุทธเจ้าแห่งการปลงอาบัติ 35 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี

31
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

จิตรกรรมทังการูปพระพุทธเจ้าแห่งการปลงอาบัติ 35 พระองค์เป็นจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น
(ภาพที่ 8) และมูลนิธิพันดารา (ภาพที่ 9) แห่งละ 1 ภาพ ต่างแสดงรูปพระพุทธเจ้า 35 พระองค์ที่มีเนื้อหาจาก
คัมภีร์อุปาลิปฤจฉา และบทสวดของพระสองขะปะ เพื่อขอขมากรรมจากการละเมิดศีลให้ผู้ที่สวดมนต์ถึงพระองค์
นั้นกลับมาบริสุทธิ์ดังเดิม พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงอยู่ในรูปนิรมานกายแต่แตกต่างระหว่างกันที่วรรณะ
การแสดงมุทรา และบางพระองค์ทรงถือสัญลักษณ์เฉพาะไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบพระพุทธเจ้าแต่ละ
พระองค์ในจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดารา กับจิตรกรรมทังกาของทิเบต จะเห็นได้ว่ามีบาง
พระองค์แสดงวรรณะไม่ตรงตามประติมานวิทยาเสมอไป
2. พระโพธิสัตว์ ได้แก่ พระมัญชุศรี 5 พระองค์, พระนางตาราเขียว, พระนางตารา 21 พระองค์,
พระนางตาราขาว, พระอจละ และพระนางมหามายุรี*
จิตรกรรมทังการูปพระมัญชุศรี 5 พระองค์ (ภาพที่ 10) เป็นจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา แสดง
รูปพระมัญชุศรีซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะตามความเชื่อว่าแต่ละ
พระองค์ทรงประทับอยู่บนภูเขาปัญจศีรษะหรือภูเขา 5 ยอด พระโชเกียล พักปะ พระอาจารย์ในพระพุทธศาสนา
ลัทธิวัชรยานแบบทิเบตนิกายสาเกียช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นผู้เผยแพร่ความเชื่อนี้ พระมัญชุศรีแต่ละ
รูปลักษณ์ได้แก่ ลําดับแรก คือ พระนามสังคีติวรรณะทองทรงมี 4 กรที่ถือจาปะ, พาณะ, ปุสตกะ และขัฑคะ
ลําดับที่ 2 พระอรปจนะมีวรรณะแดงทรงถือขัฑคะชูไว้เหนือพระเศียรและถือก้านปัทมะรองรับปุสตกะ ลําดับที่ 3
พระมัญชุโฆษะวรรณะแดงประทับบนหลังสิงห์ทรงกระทําธรรมจักรมุทราพร้อมถือก้านปัทมะที่รองรับขัฑคะและ
ปุสตกะ ลําดับที่ 4 พระมัญชุโฆษะวรรณะขาวพระหัตถ์ขวากระทําวรทมุทรา พระหัตถ์ซ้ายถือก้านปัทมะที่รองรับ
ปุสตกะและขัฑคะ และลําดับที่ 5 พระกฤษณมัญชุศรีซึ่งมีวรรณะน้ําเงิน ทรงถือขัฑคะที่พระหัตถ์ขวาและชูขึ้น
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือปุสตกะ อย่างไรก็ตามพระมัญชุศรีที่ในจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารานี้ก็มีรูปลักษณ์บาง
ประการ เช่น วรรณะ และตําแหน่งของสัญลักษณ์แตกต่างไปจากที่ระบุในประติมานวิทยาเล็กน้อย อีกทั้งหาก
เปรียบเทียบกับจิตรกรรมทังกาทิเบตในเนื้อหาเดียวกันแล้ว จะเห็นว่าแต่ละพระองค์ก็แสดงรูปลักษณ์ที่ไม่ตรงกับ
ประติมานวิทยาเสมอไป แต่ส่วนใหญ่พระมัญชุศรี 5 พระองค์นั้นจะทรงมีวรรณะขาว เหลือง ส้ม (หรือแดง) แดง
และน้ําเงิน

ภาพที่ 10 พระมัญชุศรี 5 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี


ภาพที่ 11 พระนางขฑิรวนีตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

*
จากการศึกษาพบว่าจิตรกรรมทังการูปพระอจละและพระนางมหามายุรีซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น มีรูปลักษณ์ที่แตกต่าง
จากประติมานวิทยาอย่างมาก ผู้ศึกษาจึงได้เรียบเรียงไว้ในช่วงท้ายของเนื้อหาในหัวข้อเนื้อหาด้านพุทธปรัชญา
32
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

พระนางตาราเขียวหรืออีกพระนามคือพระนางขฑิรวนีตารา ตามประติมานวิทยานั้นทรงมีวรรณะ
เขียว ประทับลลิตาสนะและมีดอกอุตปาละเป็นสัญลักษณ์ รูปลักษณ์ของพระองค์ปรากฏเป็นองค์ประธานใน
จิตรกรรมทังการูปพระนางขฑิรวนีตาราของมูลนิธิพันดารา และรูปพระนางตารา 21 พระองค์ในจิตรกรรมทังกา
ของวัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดาราแห่งละ 1 ภาพ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารารูปพระนางขฑิรวนีตารา
(ภาพที่ 11) ในที่นี้ทรงอยู่ในสถานะอัษฏมหาภยตารา ที่ทรงคุ้มครองผู้ที่นับถือพระองค์ให้พ้นจากภัยอันตราย 8
ประการทั้งในทางโลกและทางธรรมโดยปรากฏเป็นสัญลักษณ์อยู่ในระยะหน้าของภาพ ได้แก่ ภัยจากวิญญาณชั่ว
ร้าย (ความสงสัย), การถูกคุมขัง (ความใจแคบ), อุทกภัย (โลภะ), ภัยจากสัตว์มีพิษ (ริษยา), อัคคีภัย (โทสะ), ภัย
จากช้าง (โมหะ), ภัยจากสิงห์ (มานะ) และภัยจากโจร (มิจฉาทิฏฐิ)
สําหรับจิตรกรรมทังการูปพระนางตารา 21 พระองค์ของวัดโพธิ์เย็น (ภาพที่ 12) และมูลนิธิพันดารา
(ภาพที่ 13) แม้แสดงเรื่องราวเช่นเดียวกันแต่ก็ถูกสร้างบนพื้นฐานของประติมานวิทยาที่ต่างกัน ได้แก่ รูปพระนาง
ตารา 21 พระองค์ของวัดโพธิ์เย็นถูกสร้างตามประติมานวิทยาของพระโชกยูร์ ลิงปะ ในความเชื่อของนิกายนิงมะ
ซึ่งพระนางตาราแต่ละพระองค์ทรงกระทําวิตรรกมุทราพร้อมถือดอกปัทมะหรืออุตปาละรองรับสัญลักษณ์
แตกต่างกัน แต่มีบางพระองค์ที่ปรากฏรูปลักษณ์โดดเด่นต่างจากพระองค์อื่น คือ ทรงถือจินดามณีในพระหัตถ์
ขวาพระองค์หนึ่ง กระทําอัญชลีมุทราพร้อมถือกิลาไว้ที่พระอุระพระองค์หนึ่ง และทรงถือคทาดอกไม้ในพระหัตถ์
ขวาพระองค์หนึ่ง ต่างจากจิตรกรรมทังการูปพระนางตารา 21 พระองค์ของมูลนิธิพันดาราซึ่งสร้างตามประติมาน
วิทยาของพระนาคารชุนหรือของพระอติศะ ซึ่งพระนางตาราบริวารทุกพระองค์มีรูปลักษณ์เหมือนพระนางข
ฑิรวนีตาราองค์ประธานแต่ต่างกันเฉพาะวรรณะ

ภาพที่ 12 พระนางตารา 21 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 13 พระนางตารา 21 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

จิตรกรรมทังการูปพระนางตาราขาวหรือสิตตาราปรากฏอยู่ที่มูลนิธิพันดาราจํานวน 6 ภาพ โดยต่างมี


ที่มาแตกต่างกัน ได้แก่ พระนางสิตตาราภาพที่ 14 มาจากกรุงลาซา, พระนางสิตตาราภาพที่ 15 มาจากเมืองเร็บ
กง, พระนางสิตตาราภาพที่ 16 มาจากเมืองชินหนิง, พระนางสิตตาราภาพที่ 17 มาจากเมืองชัมโด, พระนางสิต
ตาราภาพที่ 18 ถูกนําเข้ามาจากภายในเขตแดนทิเบตแต่ไม่ทราบภูมิภาค และพระนางสิตตาราภาพที่ 19 จาก
เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ทั้งนี้พระนางสิตตาราทุกภาพต่างอยู่ในรูปพระนางตารา 7 พระเนตร ซึ่งตามประ
ติมานวิทยาของลัทธิวัชรยานแบบทิเบตนั้นพระนางตารา 7 พระเนตรทรงมีวรรณะขาว ประทับวัชราสนะ พระ
หัตถ์ขวากระทําวรทมุทรา พระหัตถ์ซ้ายกระทําวิตรรกมุทราพร้อมถือก้านดอกปัทมะ พระเนตร 7 ดวงปรากฏเป็น
พระเนตรหลัก 2 ดวง กลางพระนลาฏ 1 ดวง และบนฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทข้างละ 1 ดวง รูปลักษณ์
ดังกล่าวนี้ยังถูกเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า จินตาจักร
33
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ภาพที่ 14 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ภาพที่ 15 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ภาพที่ 16 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ภาพที่ 17 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี


ภาพที่ 18 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ภาพที่ 19 พระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

3. พระธรรมบาล ได้แก่ พระยมานตกะ และพระฑากินีสิงหวักตรา


จิตรกรรมทังการูปพระยมานตกะ (ภาพที่ 20) อยู่ที่วัดโพธิ์เย็น แสดงรูปพระยมานตกะหรือผู้พิชิต
พระยม ซึ่งเป็นพระธรรมบาลปางดุร้าย ในที่นี้ทรงอยู่ในรูปลักษณ์ที่เรียกว่า พระมหาวัชรไภรวะ ตามประติมาน
วิทยาระบุไว้ในคัมภีร์ศรีมหาวัชรไภรวะตันตระว่าพระองค์ทรงมีวรรณะน้ําเงิน มี 9 พระเศียรโดยพระเศียรหลัก
เป็นกระบือ ทรงมี 34 พระกร โดยแต่ละพระกรถือสัญลักษณ์ต่าง ๆ และมี 16 พระบาทที่ทรงประทับแบบ
อาลีฒาสนะเหยียบบนเหล่าสัตว์ นก และเทพต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ซึ่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ล้วนเป็นสัญลักษณ์
ทางพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานทั้งสิ้น

34
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

ภาพที่ 20 พระยมานตกะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 21 พระนางสิงหวักตรา จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

จิตรกรรมทังการูปพระฑากินีสิงหวักตรา (ภาพที่ 21) ถูกเก็บรักษาที่วัดโพธิ์เย็นเป็นรูปของพระธรรม


บาลฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบตนิกายนิงมะที่มีพักตร์เป็นสิงห์ ในภาพนี้เป็นรูปลักษณ์ของ
พระนางสิงหวักตราของพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบตในนิกายปฏิรูป (สาเกีย กาจู และเกลุก) โดยแสดง
ปางดุมีวรรณะน้ําเงิน พระเศียรสิงห์วรรณะขาว ประทับแบบอรรธปรยังกาสนะบนซากศพมนุษย์ที่สื่อถึงอํานาจ
ของพระองค์ที่อยู่เหนือความชั่วร้าย พระหัตถ์ขวาถือกรรตฤกาชูขึ้นและพระหัตถ์ซ้ายถือกปาลไว้ที่พระอุระ และ
ทรงประคองขัฏวางคะไว้ที่พระอังสาซ้าย
4. พระอาจารย์และบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ของทิเบต ได้แก่ พระปัทมสัมภวะ และอาณาจักร
แห่งที่พึ่งของพระปัทมสัมภวะ
สําหรับจิตรกรรมทังกาที่เกี่ยวกับพระอาจารย์และบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ของทิเบตแสดงรูป
พระปัทมสัมภวะทั้งหมด พระปัทมสัมภวะทรงเป็นพระสงฆ์ชาวอินเดียผู้วางรากฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต
อย่างมั่นคงและชาวทิเบตเรียกว่าพระองค์ว่า คุรุริมโปเช จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็นแสดงรูปพระปัทมสัมภวะ
อยู่ 2 ภาพ ได้แก่ รูปพระคุรุตรักโปเช (ภาพที่ 22) ซึ่งเป็นพระปัทมสัมภวะในรูปพระธรรมบาล มีความเกี่ยวเนื่อง
กับคําสอนในคัมภีร์ที่ถูกซ่อนเร้นของนิกายนิงมะ ทรงแสดงรูปลักษณ์แบบพระธรรมบาลอ้วนเตี้ย วรรณะแดง ถือ
วัชระและแมงป่องเป็นสัญลักษณ์ และมีครุฑอยู่เหนือพระเศียรซึ่งครุฑถูกเชื่อว่าเป็นผู้ปกป้องสมบัติและคัมภีร์ที่
ถูกซ่อนเร้น อีกรูปหนึ่งคือรูปอาณาจักรแห่งที่พึ่งของพระปัทมสัมภวะ (ภาพที่ 23) เป็นรูปแบบที่เริ่มปรากฏใน
นิกายนิงมะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แสดงบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่ถูกจัดอย่างเป็นระเบียบได้แก่ พระพุทธเจ้า พระ
โพธิ สั ต ว์ ยิ ตั ม พระธรรมบาล และพระอาจารย์ ใ นนิ ก ายนิ ง มะ ซึ่ ง ห้ อ มล้ อ มพระปั ท มสั ม ภวะองค์ ป ระธาน
จิตรกรรมทังกาลักษณะดังกล่าวถูกสร้างเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติสมาธิตั้งนิมิตถึงพระอาจารย์ประจํานิกายได้ชัดเจน
มากขึ้นและสะท้อนถึงความเชื่อเรื่องการเคารพบูชาพระอาจารย์ประจํานิกายในอดีต

35
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ภาพที่ 22 พระคุรุตรักโปเช จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 23 อาณาจักรแห่งที่พึ่งของพระปัทมสัมภวะ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี

ส่วนจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารามีรูปพระปัทมสัมภวะ 2 ภาพ (ภาพที่ 24 และ 25) ต่างแสดง


รูปพระปัทมสัมภวะที่มีรูปลักษณ์แบบโยคีที่ทรงจีวรร่วมกับการทรงเสื้อคลุมแบบกษัตริย์ทิเบตซึ่งสื่อว่าพระองค์
ทรงมีสถานะเป็นกษัตริย์นักบวช โดยทั่วไปพระองค์ทรงถือวัชระในพระหัตถ์ขวาและกปาลในพระหัตถ์ซ้าย และ
ยังทรงประคองขัฏวางคะและทรงมาลาห้าเหลี่ยมสีแดงซึ่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นสําหรับพระองค์เท่านั้น ทั้งนี้รูป
หนึ่งแสดงพระปัทมสัมภวะปางสงบพระโอษฐ์แย้มยิ้ม (ภาพที่ 24) ส่วนอีกรูปทรง (ภาพที่ 25) ปรากฏพระโอษฐ์
อ้าเห็นพระทนต์เล็กน้อย และมีนางปราชญาคือพระนางมัณฑรวะและพระนางเยเช โซเกียลประทับยืนข้าง
พระองค์

ภาพที่ 24 พระปัทมสัมภวะ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี


ภาพที่ 25 พระปัทมสัมภวะ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

36
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

ภาพที่ 26 พระอจละ จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ภาพที่ 27 พระนางมหามายุรี จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

แต่จากการศึกษาเนื้อหาและรูปลักษณ์ตามประติมานวิทยาของจิตรกรรมทังกาที่เป็นกรณีศึกษา
ทั้งหมดมีเพียงรูปพระอจละ (ภาพที่ 26) และรูปพระนางมหามายุรี (ภาพที่ 27) ซึ่งเป็นจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์
เย็นที่แสดงรูปลักษณ์ไม่ตรงตามประติมานวิทยาใด ๆ พระอจละ ซึ่งพระนามมีความหมายว่า ผู้ไม่หวั่นไหว มี
คัมภีร์หลายเล่มที่บรรยายถึงรูปลักษณ์ของพระองค์ เช่น คัมภีร์มหาไวโรจนสูตร และคัมภีร์สาธนมาลา เป็นต้น
แต่รูปลักษณ์ที่ปรากฏในจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น ที่เป็นพระธรรมบาลมีวรรณะขาว ประทับแบบอาลีฒา
สนะ พระหัตถ์ขวากระทําดัชนีมุทราพร้อมถือวัชระชูขึ้น และพระหัตถ์ซ้ายกระทําวิตรรกมุทราไว้ที่พระอุระ ก็ไม่
สอดคล้องกับเนื้อหาจากคัมภีร์ใดเลย ผู้ศึกษาจึงตั้งข้อสังเกตว่ารูปลักษณ์ดังกล่าวอาจเกิดจากการวาดตามนิมิตที่
ปรากฏของพระอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง ส่วนรูปพระนางมหามายุรีของวัดโพธิ์เย็นนั้น ทรงมีวรรณะขาว 6 พระ
เศียร 6 พระกรซึ่งถือสัญลักษณ์ต่าง ๆ และ 2 พระบาท อีกทั้งปรากฏนกยูงอยู่เบื้องหลังพระองค์อย่างชัดเจน แม้
รูปลักษณ์ดังกล่าวนี้จะไม่สอดคล้องกับเนื้อหาในคัมภีร์ที่กล่าวถึงพระองค์ เช่น คัมภีร์สาธนมาลา และคัมภีร์นิษ
ปันนโยคาวลี เป็นต้น แต่การปรากฏรูปนกยูงอย่างโดดเด่นก็สามารถเชื่อมโยงความสําคัญของพระองค์ซึ่งมีที่มา
จากมนต์นกยูงทอง อันเป็นมนต์คาถาป้องกันพิษงูได้

รูปแบบทางศิลปกรรม
สําหรับการวิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรม ผู้ศึกษาได้แบ่งจิตรกรรมทังกาที่วิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่มตาม
ที่มาของจิตรกรรมทังกา ได้แก่ จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น และจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพัน
ดารา จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็นมีที่มาจากทิเบตบริเวณที่ติดกับพรมแดนจีน (อาณาเขตก่อนปี ค.ศ. 1959 ซึ่ง
ทิเบตสูญเสียเอกราช) จึงเป็นไปได้ว่ามีที่มาจากภาคตะวันออก (แคว้นคาม) หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แคว้น
อัมโด) ของทิเบต ส่วนจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดาราถูกนําเข้ามาประเทศไทยทั้งจากการเช่าซื้อและว่าจ้างให้
วาด รวมทั้งได้รับจากชาวทิเบตที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของมูลนิธิพันดารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา
จึงมีแหล่งที่มาหลากหลาย โดยผู้ศึกษาได้แบ่งกลุ่มจิตรกรรมตามภูมิภาคแหล่งที่มา ได้แก่ จิตรกรรมทังกาที่มา
จากภายในทิเบต ซึ่งในที่นี้คือภูมิภาคปกครองตนเองทิเบตอันมีกรุงลาซาเป็นเมืองหลวง (ทิเบตภาคกลาง) และ
ทิเบตภาคตะวันออกซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นมณฑลต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของประเทศสาธารณรัฐประชาชน
จีน และจิตรกรรมทังกาที่นํามาจากภายนอกทิเบต ซึ่งในที่นี้คือประเทศอินเดียและเนปาล
จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดาราที่นํามาจากภายในทิเบตนั้น ผู้ศึกษาแบ่งกลุ่มเป็นจิตรกรรมทังกา
ที่มาจากภาคกลาง ได้แก่ รูปพระนางสิตตาราซึ่งนํามาจากกรุงลาซา (ภาพที่ 14) และรูปพระไภษัชยคุรุไวฑูรย
ประภา (ภาพที่ 7) จิตรกรรมทังกาจากภาคตะวันออก ซึ่งในกลุ่มนี้ได้แบ่งย่อยออกเป็นแคว้นตามภูมิภาคเดิมของ
ทิเบต คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือแคว้นอัมโด ได้แก่ รูปพระนางสิตตาราจากเมืองเร็บกง (ภาพที่ 15) รูป
พระนางสิตตาราจากเมืองชินหนิง (ภาพที่ 16) และรูปพระปัทมสัมภวะจากเมืองอาบา (ภาพที่ 25) และจิตรกรรม
37
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ทังกาจากภาคตะวันออกหรือแคว้นคาม ได้แก่ รูปพระพุทธเจ้าแห่งการปลงอาบัติ 35 พระองค์ซึ่งมาจากเมืองเดร


เก (ภาพที่ 9) รูปพระมัญชุศรี 5 พระองค์ (ภาพที่ 10) รูปพระนางตารา 21 พระองค์ (ภาพที่ 13) และรูปพระนาง
สิตตารา (ภาพที่ 17) ซึ่งทั้งสามภาพนี้ถูกนํามาจากเมืองชัมโด สําหรับจิตรกรรมทังการูปพุทธเกษตรสุขาวดี (ภาพ
ที่ 6) และรูปพระนางสิตตารา (ภาพที่ 18) ผู้ศึกษาได้จัดกลุ่มแยกไว้เฉพาะ เนื่องจากทราบเพียงว่าถูกนําเข้ามา
จากทิเบต แต่ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่ามาจากภูมิภาคใด ส่วนจิตรกรรมทังกาที่ถูกนํามาจากภายนอกทิเบต ได้แก่ รูป
พระนางขฑิรวนีตาราจากประเทศเนปาล (ภาพที่ 11) รูปพระนางสิตตารา (ภาพที่ 19) และรูปพระปัทมสัมภวะ
จากเมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย (ภาพที่ 24)
ผู้ศึกษาวิเคราะห์โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ องค์ประกอบ รูปทรง และการใช้สี การไล่น้ําหนัก
การใช้เส้นและลวดลาย ผลจากการวิเคราะห์นั้นสรุปผลรูปแบบด้านศิลปกรรมของจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น
และมูลนิธิพันดาราได้ 2 รูปแบบสําคัญ ได้แก่ จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลาง และจิตรกรรมทังกาทิเบตแบบ
ภาคตะวันออก โดยรูปแบบทั้งสองนี้มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นรูปแบบจิตรกรรมทังกาทิเบตที่พัฒนาจนเป็น
รูปแบบของตนเองแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ได้แก่ องค์ประกอบเน้นบุคคลประธานให้มีขนาด
ใหญ่ที่สุดและประทับอยู่กึ่งกลางภาพ ล้อมรอบด้วยรูปบุคคลบริวารหรือรูปทรงทิวทัศน์ที่จัดวางอย่างสมมาตร
ฉากหลังโดยทั่วไปถูกแบ่งออกเป็นท้องฟ้าที่ส่วนบนและเนินหญ้าที่ส่วนล่างของภาพ รูปทรงบุคคล เครื่องทรงและ
เครื่องประดับส่วนใหญ่เป็นแบบแผนที่ถูกกําหนดไว้ในประติมานวิทยา
รูปทรงบุคคลหากเป็นพระพุทธเจ้ามักอยู่ในรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมที่มีแกนพระวรกายตั้งตรงเพื่อสื่อ
ถึงความสงบมั่นคง รูปทรงพระโพธิสัตว์ปางสงบมักมีเส้นแกนพระวรกายเฉียงออกจากเส้นแกนแนวตั้งเพื่อแสดง
กิริยาเคลื่อนไหวและมักมีพระวรกายผอมเพรียวด้วยเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลอย่างอ่อนช้อย ส่วนรูปทรงของพระ
โพธิสัตว์ปางดุและพระธรรมบาลมักมีพระวรกายอ้วนเตี้ย เส้นแกนพระวรกายเฉียงออกจากเส้นแกนแนวตั้ง
ประกอบกับส่วนใหญ่ประทับแบบอาลีฒะหรืออรรถปรยังกาสนะซึ่งทําให้แสดงกิริยาเคลื่อนไหวที่รุนแรงดุดัน
มากกว่าพระโพธิสัตว์ปางสงบ
เครื่องทรงและเครื่องประดับสําหรับพระโพธิสัตว์ปางสงบและพระพุทธเจ้าในรูปสัมโภคกายส่วนใหญ่
ทรงโธตี 2 – 3 ชั้น คล้องผ้าคล้องพระอังสา ผ้าคาดเฉียง ประดับด้วยสร้อยพระศอเส้นสั้นและยาว กุณฑล พาหุ
รัด ทองพระกรและทองพระบาท ทรงศิราภรณ์ตาบรัตนะรูปหยดน้ํา 5 ตาบและผูกด้วยผ้ากรรเจียก ชายผ้าคล้อง
พระอังสาและชายของผ้ากรรเจียกบ่อยครั้งถูกประดิษฐ์ให้ปลิวขึ้นเป็นแนวซิกแซกขึ้นสู่ด้านบน ทั้งนี้ริ้วผ้าที่ต้อง
ลมมักนิยมประดิษฐ์ให้มีรูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้จนกลายเป็นแบบแผนทางพุทธศิลป์ของทิเบต สําหรับเครื่องทรง
และเครื่องประดับของพระธรรมบาลมักทรงหนังเสือแทนโธตี คล้องมาลัยศีรษะมนุษย์ หนังช้าง หนังมนุษย์ และ
ประดับพระวรกายด้วยเครื่องประดับที่ทําจากกระดูก และส่วนใหญ่ทรงศิราภรณ์กะโหลก 5 ยอด ทั้งนี้บาง
พระองค์อาจเปลือยพระวรกาย ขึ้นอยู่กับรายละเอียดตามประติมานวิทยาของแต่ละพระองค์ เช่น พระยมานตกะ
จะทรงเปลือยพระวรกาย เป็นต้น ส่วนรูปทรงตกแต่งฉากหลังได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน ที่สําคัญอาทิ ก้อนเมฆ
รูปยู่อี่ ดอกไม้แบบดอกโบตั๋น ก้อนหินขรุขระ

ภาพที่ 28 การไล่น้ําหนักเพียงเล็กน้อย แต่ไม่เน้นการสร้างปริมาตรสมจริง ในรูปพระอักโษภยะ


จิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็น
38
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

ภาพที่ 29 การใช้เส้นรอบนอกสีแดงสําหรับพื้นที่สีวรรณะร้อน ในรูปพระไภษัชยคุรุ จิตรกรรมทังกาของ


มูลนิธิพันดารา
ภาพที่ 30 รายละเอียดส่วนพระพักตร์ถูกวาดด้วยเส้นที่ประณีตเป็นพิเศษ ในรูปพระไภษัชยคุรุจิตรกรรม
ทังกาของมูลนิธิพันดารา

ด้านการใช้สี การไล่น้ําหนัก การใช้เส้นและลวดลาย จิตรกรรมทังกาทิเบตนิยมการใช้เส้นสร้างรูปทรง


และตกแต่งรายละเอียดต่าง ๆ มากกว่าการสร้างปริมาตรจากการไล่น้ําหนักให้กลมกลึง (ภาพที่ 28) ถึงกระนั้นก็
ปรากฏการไล่น้ําหนักอยู่บ้าง สีของเส้นที่ใช้มักเป็นสีน้ําเงินสําหรับพื้นที่สีเข้มวรรณะเย็นและเส้นสีแดงสําหรับ
พื้นที่สีวรรณะร้อน (ภาพที่ 29) โดยเฉพาะส่วนพระพักตร์ถูกวาดด้วยเส้นที่ประณีตเป็นพิเศษ (ภาพที่ 30)

ภาพที่ 31 การใช้เส้นทองวาดคู่กับเส้นสีเข้มบนปลายใบไม้ ในรูปพระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของ


มูลนิธิพันดารา
ภาพที่ 32 การใช้เส้นทองแบบริ้วสลับแบบฟันปลาแทนรัศมีของประภาวลี ในรูปพระนางสิตตารา
จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา

ภาพที่ 33 รายละเอียดการใช้เส้นทองวาดคู่กับเส้นสีเข้มบนปลายใบไม้ (กลาง) และการใช้เส้นทองแบบ


ริ้วสลับแบบฟันปลาแทนรัศมีของประภาวลี (ขวา) ในรูปพระษฑักษรีโลเกศวร (ซ้าย) จิตรกรรม
ทังกาจากสถาบันศิลปะทังกาทิเบต เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย

39
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ด้านความแตกต่างกันเชิงรูปแบบศิลปกรรมนั้น จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลางมีลักษณะเด่น
สําคัญ คือ นิยมใช้สีน้ําเงินและเขียวเป็นพื้นหลังสําหรับท้องฟ้าและเนินหญ้า สีหนาและสดใส มักใช้ประภาวลีสีน้ํา
เงินเข้มและประภามณฑลเป็นสีเรียบหรือเป็นลวดลายทองประดับรัตนะ นิยมใช้เส้นสีทองวาดคู่กับเส้นสีเข้ม
โดยเฉพาะใบไม้ที่มักปรากฏอยู่บนปลายใบไม้แบบแฉก (ภาพที่ 31) และเส้นสีทองแบบริ้วโค้งและแบบหยักฟัน
ปลาวาดสลับกันแทนรัศมีของประภาวลี (ภาพที่ 32) รูปแบบทางศิลปกรรมนี้มักเป็นรูปแบบโดยทั่วไปใน
จิตรกรรมทังกาของทิเบต ดังปรากฏในจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารารูปพระนาง สิตตารา (ภาพที่ 14) และ
รูปพระไภษัชยคุรุ (ภาพที่ 7) จากกรุงลาซา นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบของจิตรกรรมทังกาทิเบตที่ถูกสร้างตาม
ความเชื่อของลัทธิวัชรยานแบบทิเบตโดยช่างชาวจีน ดังเห็นได้จากจิตรกรรมทังกาของวัดโพธิ์เย็นทุกภาพ ทั้งนี้
รูปแบบดังกล่าวถูกนําไปเผยแพร่ยังนอกเขตแดนทิเบตโดยชาวทิเบตลี้ภัยด้วย ดังเห็นได้จากรูปพระนางสิตตารา
(ภาพที่ 19) ที่ถูกวาดโดยชาวไทยที่ไปศึกษาที่โรงเรียนสอนจิตรกรรมทังกาที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย และ
รูปพระนางขฑิรวนีตารา (ภาพที่ 11) หรืออัษฏมหาภยตาราจากประเทศเนปาลโดยรูปพระนางขฑิรวนีตารานี้ได้
สอดแทรกรูป แบบเฉพาะของศิ ล ปิ น เข้ า ไปด้ ว ย เช่ น การใช้ เส้ น ที่ แสดงความเคลื่ อ นไหวอย่ า งมาก รูป แบบ
จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลางนี้ยังมีลักษณะเหมือนกับสกุลช่างเมนรีที่ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลพลัดถิ่น
ของทิเบตด้วย ดังเห็นได้จากรูปพระษฑักษรีโลเกศวร (ภาพที่ 33) จิตรกรรมทังกาสกุลช่างเมนรีสมัยปัจจุบัน จาก
สถาบันศิลปะทังกาทิเบต (Institute of Tibetan Thangka Art) เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย
ส่วนจิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคตะวันออกแบ่งออกได้ 3 รูปแบบย่อย คือ จิตรกรรมทังกาจาก
แคว้นอัมโด จิตรกรรมทังกาจากเมืองเดรเก (แคว้นคาม) และจิตรกรรมทังกาจากเมืองชัมโด (แคว้นคาม)
จิตรกรรมทังกาจากแคว้นอัมโดรูปแบบโดยทั่วไปยังเหมือนกับจิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลาง ทั้งการจัด
องค์ประกอบ การใช้สี เส้น น้ําหนักและลวดลาย ดังเห็นได้จากจิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารารูปพระปัทม
สั ม ภวะจากเมื อ งอาบา (ภาพที่ 25) ยกเว้ น จิ ต รกรรมทั ง กาเมื อ งเร็ บ กงของแคว้ น อั ม โดที่ มี ลั ก ษณะเด่ น ที่
ประภามณฑลเป็นแถบสีต่าง ๆ ดังเห็นได้จากรูปพระนางสิตตารา (ภาพที่ 15) ส่วนจิตรกรรมทังกาที่มาจากเมือง
เดรเก (ภาพที่ 9) มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับจิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคกลางเช่นกัน แต่การใช้สีไม่สดจัดและ
บางมากกว่า แต่จิตรกรรมทังกาจากเมืองชัมโดแสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่โดดเด่นและแตกต่างจากจิตรกรรมทังกา
ทิเบตแบบภาคกลางอย่างชัดเจน คือ การใช้สีไม่สดจัด เน้นสร้างบรรยากาศบางเบาผ่านการไล่น้ําหนักอย่าง
กลมกลืนคล้ายจิตรกรรมจีนในส่วนพื้นหลัง แต่สําหรับรูปทรงหลักยังคงใช้สีที่หนา รูปทรงภูเขาและทะเลสาบมักมี
พื้นที่ว่างแบบเปิด แม้ว่ายังนิยมใช้เส้นสําหรับการสร้างรูปทรงแต่บางครั้งเส้นก็ถูกไล่น้ําหนักให้เจือจางกลืนไปกับสี
ของพื้นหลัง สําหรับเส้นรัศมีประภาวลีที่มีลักษณะเป็นริ้วโค้งและแบบหยักฟันปลามักใช้สีน้ําเงินและสีแดง (ภาพ
ที่ 34) ส่วนการใช้เส้นทองบนใบไม้มักปรากฏโดดเด่นเฉพาะเส้นกลางใบมากกว่าบริเวณปลายใบ (ภาพที่ 35)
และไม่นิยมประภามณฑลลวดลายทองประดับรัตนะแบบภาคกลางแต่นิยมใช้ประภามณฑลที่มีสีโปร่งแสง (ภาพที่
36) ลักษณะดังกล่าวปรากฏในจิตรกรรมทังการูปพระมัญชุศรี 5 พระองค์ (ภาพที่ 10), รูปพระนางตารา 21
พระองค์ (ภาพที่ 13) และรูปพระนางสิตตารา (ภาพที่ 17) นอกจากนี้รูปแบบจิตรกรรมทังกาแบบภาคตะวันออก
จากเมืองชัมโดยังเหมือนกับจิตรกรรมทังกาสกุลช่างการ์มะ กาดรี ซึ่งเป็นสกุลช่างสําคัญทางภาคตะวันออกของ
ทิเบต ดังเช่นรูปพระนางสรัสวดี (ภาพที่ 37) จิตรกรรมทังกาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18

40
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

ภาพที่ 34 การใช้เส้นสีน้ําเงินและสีแดงแบบริ้วสลับกับแบบฟันปลาแทนรัศมีของประภาวลี
ในรูปพระมัญชุศรี 5 พระองค์ จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา
ภาพที่ 35 การใช้เส้นทองวาดคู่กับเส้นสีเข้มบนปลายใบไม้ ในรูปพระนางตารา 21 พระองค์จิตรกรรม
ทังกาของมูลนิธิพันดารา
ภาพที่ 36 การใช้ประภามณฑลสีโปร่งแสง ในรูปพระนางสิตตารา จิตรกรรมทังกาของมูลนิธิพันดารา

ภาพที่ 37 การใช้บรรยากาศเบาบางแบบจิตรกรรมจีน ในรูปพระนางสรัสวดี จิตรกรรมทังกา ศิลปะทิเบต


ภาคตะวันออก สกุลช่างการ์มะ กาดรี สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18
ที่มา : Tsarak Pema Namdol Thaye, “A Painter’s Approach to Style,” in Tibetan Art :
Towards a Definition of Style, Edited by Jane Casey Singer and Philip Denwood
(London : Laurence King Publishing, 1997), 274.

อย่างไรก็ตาม จิตรกรรมทังกาที่ถูกสร้างด้วยเทคนิควิธีการสมัยใหม่ผู้ศึกษาได้จัดแยกไว้อีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมีแนวโน้มเป็นผลงานพาณิชย์ศิลป์ จิตรกรรมทังกากลุ่มนี้มักใช้วัสดุและวิธีการผลิตที่ให้ผลงานจํานวนมาก
รวดเร็ว และมีต้นทุนประหยัด หากเป็นวิธีการวาดก็ไม่แสดงความประณีตวิจิตรเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามจิตรกรรม
ทังกาที่ถูกสร้างด้วยวิธีการนี้มีรูปแบบทั้งจากภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น รูปพระปัทมสัมภวะจากเมือง
ธรรมศาลา (ภาพที่ 24) และรูปพระนางสิตตาราที่ไม่ทราบแหล่งที่มาถูกสร้างด้วยวิธีการวาด (ภาพที่ 18) และรูป
พระนางสิตตาราจากเมืองชินหนิงที่ถูกสร้างด้วยวิธีภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (ภาพที่ 16) ต่างแสดงรูปแบบจิตรกรรม

41
กลุ่มศิลปะและการออกแบบ Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011

ทังกาทิเบตแบบภาคกลาง ส่วนรูปพุทธเกษตรสุขาวดีที่ถูกสร้างด้วยวิธีภาพพิมพ์คอมพิวเตอร์ (ภาพที่ 6) มีรูปแบบ


จิตรกรรมทังกาทิเบตแบบภาคตะวันออก
ทางด้านการใช้งานในปัจจุบันนี้จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นไม่ได้มีบทบาทด้าน
พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานอย่างชัดเจนเนื่องจากคณะสงฆ์ของวัดโพธิ์เย็นเน้นการปฏิบัติธรรมในฝ่ายจีนนิกาย
มากกว่า ต่างจากจิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่มูลนิธิพันดาราซึ่งถูกใช้ประกอบกิจกรรมสําหรับเผยแพร่องค์
ความรู้ด้านทิเบตศึกษา หรือใช้สําหรับประกอบพิธีกรรมทางลัทธิวัชรยานโดยมีพระอาจารย์ในลัทธิวัชรยานที่
ได้รับการนิมนต์มาเป็นผู้ประกอบพิธี

สรุปผล
จิตรกรรมทังกาที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็นและมูลนิธิพันดารา ซึ่งเป็นจิตรกรรมทังกากรณีศึกษาใน
ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพุทธศิลป์ทิเบตที่ได้รับการสืบทอดการสร้างตามประเพณี
โดยในด้านเนื้อหาทางพุทธปรัชญาที่ปรากฏในจิตรกรรมทังกาจําเป็นต้องถ่ายทอดรูปลักษณ์ให้ถูกต้องตามที่คัมภีร์
ศาสนาหรือประติมานวิทยาเฉพาะของทิเบตได้กําหนดไว้ หากมีลักษณะที่แตกต่างออกไปอาจเป็นไปได้ว่าเกิดจาก
การเห็นรูปลักษณ์ใหม่ผ่านการตั้งนิมิตถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ โดยเฉพาะ สําหรับรูปแบบด้านศิลปกรรมมี
2 รู ป แบบสํ า คั ญ คื อ จิ ต รกรรมทั ง กาแบบทิ เ บตภาคกลาง และจิ ต รกรรมทั ง กาแบบทิ เ บตภาคตะวั น ออก
จิตรกรรมทังกาแบบทิเบตภาคกลางเป็นลักษณะที่ถูกสร้างอย่างแพร่หลายทั้งในเขตแดนทิเบต ศิลปะจีนที่ได้รับ
อิทธิพลพุทธศิลป์ทิเบตและประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีชาวทิเบตอพยพไปอาศัย อีกทั้งมีรูปแบบที่เหมือนกับจิตรกรรมทัง
กาทิเบตสกุลช่างเมนรี ส่วนจิตรกรรมทังกาแบบทิเบตภาคตะวันออกแม้ว่ามีรูปแบบโดยทั่วไปเหมือนกับจิตรกรรม
ทังกาแบบทิเบตภาคกลาง แต่จิตรกรรม ทังกาที่มาจากเมืองชัมโดก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะอันโดดเด่น
ที่แตกต่างจากจิตรกรรมทังกาทิเบตภาคกลางอย่างชัดเจน โดยรูปแบบดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกับจิตรกรรมทัง
กาสกุลช่างการ์มะ กาดรี ที่แพร่หลายอยู่ในทิเบตภาคตะวันออก ปัจจุบันการสร้างจิตรกรรมทังกามีวิธีการเชิง
พาณิชย์มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงพบว่าจิตรกรรมทังกาที่เป็นกรณีศึกษาส่วนหนึ่งถูกสร้าง
ขึ้นในเชิงพาณิชย์โดยมีคุณภาพการสร้างสรรค์งานที่ไม่วิจิตรเท่าที่ควร ต้นทุนการผลิตต่ํา สามารถผลิตได้จํานวน
มากในเวลาไม่นาน และบางภาพถูกสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจิตรกรรมทังกาจะถูกสร้างตามแบบประเพณีดั้งเดิมหรือวิธีการสมัยใหม่ และมี
ความงามอย่างวิจิตรแบบสกุลช่างต่าง ๆ หรือมีรูปแบบเรียบง่าย แต่หากรูปลักษณ์ของบุคคลรวมทั้งส่วนประกอบ
ต่าง ๆ ในจิตรกรรมทังกาถูกถ่ายทอดได้ตรงตามเนื้อหาที่คัมภีร์ทางศาสนากําหนดไว้ จิตรกรรมทังกานั้นก็สามารถ
ตอบสนองความศรั ท ธาของผู้ สั ก การะได้ โดยจิ ต รกรรมทั ง กาเป็ น เสมื อ นพระปฏิ ม าอี ก รู ป แบบหนึ่ ง ใน
พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบทิเบต

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบธิเบต. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ไทยธิเบต, 2538.
วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ, หลวงจีน, ผู้แปล. พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธ ปูรวปณิธานวิเศษสูตร.
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ไทยธิเบต, 2544.
_________, ผู้แปล. มหาสุขาวตีวยูหสูตร. กรุงเทพมหานคร : ส่องศยาม, 2551.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ [ส. ศิวรักษ์]. พุทธตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ไทย – ธิเบต, 2542.

ภาษาต่างประเทศ
Bhattacharyya, Benoytosh. The Indian Buddhist Iconography. Calcutta : Firma K. L.
Mukhopadhyay, 1968.
42
Veridian E-Journal, SU Vol.4 No. 2 September – December 2011 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

Chandra, Lokesh and Vira, Raghu. Buddhist Iconography. New Delhi : International
Academy of Indian Culture and Aditya Prakashan, 1991.
Getty, Alice. The Gods of Northern Buddhism : Their History, Iconography and Progressive
Evolution through the Northern Buddhist Countries. Tokyo : Charles E. Tuttle
Company, 1962.
Heller, Amy. Tibetan Art. Milan : Jaca Book, 1999.
Jackson, David Paul and Jackson, Janice A. Tibetan Thangka Painting : Methods and
Materials. London : Serindia Publications, 1984.
Rhie, Marylin M. The Sacred Art of Tibet : Wisdom and Compassion. London : Thames
and Hudson, 1991.
Singer, Jane Casey and Denwood, Philip edited. Tibetan Art : Towards A Definition of
Style. London : Laurence King Publishing, 1997.

43

You might also like