You are on page 1of 27

Journal of Liberal Arts, Thammasat University

วารสารศิ ลปศาสตร์ มหาวิ ทยาลัยธรรมศาสตร์


Journal homepage: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/index

สถานภาพการใช้ แ นวคิ ด สัจ นิ ยมมหัศจรรย์ (Magical Realism)


ในงานวิ ชาการไทยรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543 - 2563)
อัษฎาวุธ ไชยวรรณ *
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประเทศไทย

The Status of Magical Realism Concept in Thai Academic Works


during 2000 - 2020
Audsadawut Chaiyawan*
Faculty of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, Thailand

Article Info บทคัดย่อ


Academic Article บทความนี้มวี ตั ถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กลุ่มข้อมูลแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์
Article History: ในงานวิชาการไทยรอบ 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2543-2563) โดยเก็บรวบรวม
Received 31 March 2020 ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทเ่ี ผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ผลการศึกษา
Revised 31 July 2020
พบว่า ประเภทของงานวิช าการไทยที่ว เิ คราะห์โ ดยใช้แนวคิดสัจนิย ม
Accepted 9 September 2020
มหัศจรรย์ มีทงั ้ สิน้ จานวน 20 เรือ่ ง ดังนี้ บทความวิชาการจานวน 10 เรื่อง
คาสาคัญ วิทยานิพนธ์ จานวน 7 เรื่อง หนังสือ จานวน 2 เรื่อง และงานวิจยั อิสระ
จานวน 1 เรื่อง สถาบันการศึกษาทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์มที งั ้ หมด
สถานภาพ
5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดีเปรียบเทีย บ
แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์
จานวน 6 เรือ่ ง สาขาวิชาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง สาขาวิชาภาษาสเปน
สองทศวรรษ
จานวน 1 เรือ่ ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษ
จานวน 7 เรื่อง มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาทฤษฎีศลิ ป์ จานวน 2 เรื่อง
สาขาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาภาษาไทย
จานวน 1 เรื่อง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สาขาวิชาภาษาไทย
เพือ่ การสือ่ สาร จานวน 1 เรือ่ ง ประเภทของข้อมูลทีน่ ามาใช้พบ จานวน 5
ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมผสม จานวน 9 เรื่อง นวนิยาย จานวน 6 เรื่อง
สื่อ ภาพยนตร์ จานวน 2 เรื่อ ง สื่อ ศิล ปะ จานวน 2 เรื่อ ง และเรื่อ งสัน้
จานวน 1 เรื่อ ง ในด้านประเด็น ที่นามาวิเคราะห์พ บจานวน 4 ประเด็น
ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการ การวิเคราะห์เชิงสังคม การวิเ คราะห์
เฉพาะเรื่อ ง และการวิเคราะห์ เ ชิงเปรีย บเทีย บ การศึกษาครัง้ นี้พ บว่า
งานวิชาการไทยมุ่งเชิงบูรณาการมากขึน้ ไม่ได้จากัดเฉพาะกลุ่มสาขาภาษา
* Corresponding author
E-mail address: และวรรณคดี แต่มกี ารนาไปใช้ในสื่อศิลปะอีกด้วย ถือได้ว่าเป็ นการเปิ ด
famefame2539fame@gmail.com พืน้ ทีใ่ นการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ให้ขยายกว้างออกไป
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

Keywords: Abstract
Status,
The objective of this article is to synthesize the data regarding
magical realism concept,
magical realism concept in Thai academic works over two decades
two-decade
(2000-2020) by collecting data from reference databases published
in several websites. The results show that there are 20 Thai
academic written works using the magical realism concept which
consist of 10 academic articles, 7 dissertations, 2 published books,
and 1 independent study from various academic institutions. These
are works in Comparative Literature, Spanish Studies and Thai
Studies from Chulalongkorn University; 7 works from the English
Language and Literature Department, Thammasat University; 2
works from Art Theory and Thai Studies at Silapakorn University,
and 1 research and 1 dissertation in Thai studies, Thai language
and communication from Chiang Mai University and Nakhon
Pathom Rajabhat University. The genres of text under analysis
varied from hybrid literary-genres, novels, movies, artworks, and a
short story. Hybrid literary works and novels were the two most
analysed among these. The study found that 4 concepts of magical
realism were considerably employed in the analysis, namely
progressive, social, specific, and comparative analysis. This paper
also argued that Thai academic works regarding the concept of
magical realism were mostly focused not only on language and
literature, but also on interdisciplinary integration. Thus, the concept
of magical realism can be understood as presumably widely
accepted in Thai academia.

565
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

1. บทนา

สัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นทีร่ จู้ กั ในวงการวรรณกรรมทัวโลก่ ซึง่ จุดเริม่ ต้นมาจากงานทัศนศิลป์


ประเภทหนึ่งในประเทศเยอรมัน เมื่อศิลปิ นเริม่ ตระหนักขีดจากัดของการนาเสนอความจริงตาม
แบบสัจนิยม เล็งเห็นถึงความสาคัญของจิตใจและจินตนาการ จึงมุ่งโจมตีวาทกรรมสัจนิย มซึง่
เป็ นสถาบันทางความคิดและปั ญญาทีม่ นคงสถาบั ั่ นหนึ่งในโลกเก่าโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในยุโรป
แต่ต่อมานักเขียนในละตินอเมริกาได้พฒ ั นาต่อยอดองค์ความรู้จากงานแปลของนักวิชาการ
ด้านศิลป์ คนสาคัญอย่าง ฟรันซ์ โรห์ สู่การสร้างสรรค์วรรณกรรมจนกลายเป็ นแนวการเขียนทีเ่ ป็ น
อัตลักษณ์ของวรรณกรรมละตินอเมริกา โดยถือหมุดหมายสาคัญจากวรรณกรรม เรื่อง หนึ่งร้อยปี
แห่งความโดดเดีย่ วของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ เป็ นสาคัญ ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559, น. 28)
อธิบายถึงลักษณะพิเศษของสัจนิยมมหัศจรรย์ว่า เอกลักษณ์เฉพาะตัวของวรรณกรรมสัจนิยม
มหัศจรรย์จงึ มิได้อยู่ทก่ี ารสอดแทรกเรื่องราว แปลกประหลาดมหัศจรรย์ต่างๆ เข้ามาในเนื้อเรื่อง
แต่อยู่ท่กี ารนาเสนอเรื่องราวในโลกแห่งความเป็ นจริงและโลกมหัศจรรย์ว่าดารงอยู่ร่วมกัน
ภายใต้ตรรกะเดียวกัน ในวรรณกรรม สัจนิยมมหัศจรรย์ คนเป็ นและคนตาย ข้างในกับข้างนอก
ความปกติและความผิดปกติ ธรรมชาติกบั วิทยาศาสตร์ ความจริงและความเหนือจริง มิได้มี
เส้นแบ่งทีช่ ดั เจนตายตัวแต่อย่างใด และถ้าจะว่าไปแล้วเส้นแบ่งนัน้ อาจจะไม่มอี ยู่ดว้ ยซ้าไป
หลังจากเหตุการณ์สงั หารหมู่ 6 ตุลาคม 2519 วรรณกรรมเพื่อชีวติ ทีเ่ คยเป็ นกระแสหลัก
ซึง่ ถือเป็ นวรรณกรรมสะท้อ นภาพสังคมและการรับใช้ประชาชน เป็ นกระบอกเสียงสาคัญของ
กลุ่มคนผูใ้ ช้แรงงานทีม่ กั ถูกเอาเปรียบจากชนชัน้ นายทุนได้ลดบทบาทความสาคัญลงอย่างเห็นชัด
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559, น. 119) กล่าวว่า หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 วรรณกรรม
เพื่อชีวติ ถูกตัง้ คาถาม ท้าทายและต่อ ต้านอย่างหนักหน่ วง ทัง้ จากนักเขียนทีเ่ คยปวารณาตัว
เป็ นนักเขียนแนวเพื่อชีวติ และจากนักวิจารณ์ นักวิชาการสายเสรีนิยมและอนุ รกั ษนิยม ส่งผล
ให้มคี วามพยายามแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม วรรณกรรมสัจนิยม
มหัศจรรย์กลายเป็ นทางเลือกหนึ่งทีค่ นในวงการขณะนัน้ ให้ความสนใจ เมื่อผนวกเข้ากับการหวน
กลับไปเชิดชูประวัตศิ าสตร์และภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ และการหันไปแห่แหนวัฒนธรรมชุมชนในช่วง
กลางทศวรรษ 2530
วงการวรรณกรรมไทยมีการกล่าวถึงวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ในช่วง ปี 2529 ซึง่
เป็ นการแปลวรรณกรรม เรื่อง หนึง่ ร้อยปี แห่งความโดดเดีย่ ว ของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ
โดยมีปณิธาน-ร.จันเสน เป็ นผูแ้ ปลเป็ นภาษาไทยครัง้ แรก สุชาติ สวัสดิศรี ์ ซึง่ เป็ นบรรณาธิการ
ผูท้ รงอิทธิพลต่อบรรดานักเขียนและนักอ่านเป็ นอย่างมาก เป็ นบุคคลแรกๆ ทีเ่ ริม่ กล่าวถึงวรรณกรรม
แนวนี้ มีสว่ นสาคัญในการผลักดันชักจูงคนในวงการวรรณกรรมไทยให้สนใจวรรณกรรมแนวนี้
แพร่หลายยิง่ ขึน้ นักเขียนไทยจึงใช้กลวิธกี ารแต่งแนวสัจนิยมมหัศจรรย์สร้างสรรค์ผลงานปรากฏ
566
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

วรรณกรรมทีโ่ ดดเด่น เช่น รวมเรื่องสัน้ แผ่นดินอืน่ ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เรื่อง หมานคร


ของคอยนุช และเรื่อง เด็กชายสามตาผูบ้ งั เอิญเกิดมาบนโลก ของมหรรณพ โฉมเฉลา เป็ นการนา
กลวิธกี ารแต่งแนวสัจนิยมมหัศจรรย์มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมไทยซึง่ วรรณกรรมเหล่านี้
ได้รบั เสียงตอบรับเป็ นอย่างมาก
ต่อมานักวิชาการทีม่ คี วามสนใจวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ เช่น ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์
(2543) ได้เขียนบทความวิชาการ เรื่อง วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ ถือเป็ นครัง้ แรกทีว่ รรณกรรม
สัจนิยมมหัศจรรย์ปรากฏในวงการวิชาการ หลังจากนัน้ กลายเป็ นนักวิชาการคนสาคัญในการ
ขับเคลื่อนด้านการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวข้องวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ทงั ้ การนิยาม
ประวัตคิ วามเป็ นมา หรือเปรียบเทียบวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของละตินอเมริกากับ
วรรณกรรมไทย ขณะเดียวกันนพวรรณ รองทอง (2543) ได้ทาวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ แนวคิด
สัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นเล่มแรกของงานวิชาการไทย เรื่อง กาเนิดและพัฒนาการของนวนิยาย
สัจนิยมแนวมหัศจรรย์ หลังจากนัน้ สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2554) นักวิชาการสาคัญอีกคนที่
ศึกษาค้นคว้าวิจยั เกีย่ วกับรากเหง้าของสัจนิยมมหัศจรรย์ในละตินอเมริกาวิเคราะห์ผ่านผลงาน
ทัง้ หมดของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซในงานวิจยั อิสระ เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรม
ของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึง่ ส่งผลให้นักวิชาการคนอื่นๆ หรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
หันมาทาวิจยั วรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์มากขึน้ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2551 - 2556 ถือเป็ นช่วงที่
มีการศึกษาวิจยั ในรูปแบบงานวิจยั และบทความวิชาการอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปี 2558 - 2562
เป็ นการศึกษารวบรวมเป็ นหนังสือสาหรับวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์โดยเฉพาะและเป็ นเชิง
บูรณาการมากขึน้
จากการทบทวนงานวิชาการไทย พบว่า แนวคิดนี้ค่อนข้างมีความโดดเด่นอย่างมาก
แต่การศึกษาสถานภาพการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยยังไม่มกี ารศึกษา
อย่างลึกซึง้ และเป็ นระบบ แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์นนั ้ ยังมีหลายแง่มุมทีไ่ ม่เคยมีผศู้ กึ ษามาก่อน
เนื่องจากแนวคิดนี้มคี วามซับซ้อน ตัง้ แต่จุดเริม่ ต้นมาจากการสร้างสรรค์งานศิลปะทีต่ ้องการ
ต่อต้านความคิดสัจนิยมหรือเหตุผลนิยมทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการ
ย้อนยุคกลับสูโ่ ลกของตานาน หรือนิทานปรัมปราอันเหนือจริง ก่อให้เกิดการผสมผสานระหว่าง
ความจริงกับความมหัศจรรย์ทอ่ี ยู่บนตรรกะเดียวกัน ต่อมาองค์ความรูเ้ หล่านี้ได้ขยายสู่ละติน
อเมริกาจนเกิดการสร้างสรรค์ขน้ึ เป็ นวรรณกรรมแนวหนึ่งทีถ่ อื เป็ น อัตลักษณ์ของวรรณกรรม
แถบนี้ไปโดยปริยาย ดังนัน้ การศึกษาแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์จงึ ไม่ใช่เป็ นเพียงการทาความ
เข้าใจถึงตัวบทเท่านัน้ แต่จาเป็ นต้องมีการทบทวนถึงจุดเริม่ ต้นจากสกุลงานศิลปะในยุโรปสู่
การเป็ นสกุลหนึ่งของวรรณกรรมละตินอเมริกา เพื่อเป็ นพื้นฐานสาหรับการเรียนรู้สายธาร
แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์

567
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ด้วยเหตุน้ี ผูศ้ กึ ษาจึงสนใจสถานภาพการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทย


ช่วง พ.ศ. 2543 - 2563 เพื่อต้องการรวบรวมบทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ หนังสือ และงานวิจยั
อิสระที่เกี่ยวข้องกับการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ทเ่ี ผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ และสังเคราะห์กลุ่มข้อมูลแนวคิดสัจนิ ยมมหัศจรรย์
ในงานวิชาการไทยรอบ 2 ทศวรรษ เพื่อเป็ นแนวทางให้แก่นิสติ นักศึกษาได้นาข้อมูลจากการศึกษา
ครัง้ นี้ไปสร้างองค์ความรูห้ รือใช้เป็ นประเด็นในการศึกษาเรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ต่อไป

2. ประเภทของงานวิ ชาการไทยที่ใช้แนวคิ ดสัจนิ ยมมหัศจรรย์

งานวิชาการไทยทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์สามารถจัดได้เป็ น 4 ประเภท ดังนี้


2.1 บทความวิ ชาการ
จากการสารวจงานเขียนประเภทบทความทางวิชาการ พบว่ามีจานวน 10 เรื่อง
ประกอบด้วย ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2543, 2552, 2555ก, 2555ข, 2556) สุรเดช โชติอุดมพันธ์
(2548, 2551) Chotiudompant (2008) ธงชัย แซ่เจีย่ (2558) และพัชราภรณ์ หนังสือ (2562)
บทความวิชาการส่วนใหญ่เขียนโดยชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ มีจานวนถึง 5 เรื่อง เป็ นครึ่งหนึ่ ง
ของทัง้ หมด การศึกษาของชูศกั ดิท์ าให้มองเห็นภาพรวมของพัฒนาการตัง้ แต่ประวัตคิ วามเป็ นมา
กลวิธี ตลอดจนการนาเสนอสัจนิยมมหัศจรรย์ทงั ้ ในและนอกประเทศ เพราะแต่ละพืน้ ทีม่ กี ารรับ
อิทธิพลจากวรรณกรรมละตินอเมริกา โดยวิธกี ารหรือภูมหิ ลังทีแ่ ตกต่างกัน
จากการศึกษาบทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2543, 2552, 2555ก, 2555ข,
2556) ทัง้ 5 เรื่องข้างต้น ทาให้เห็นพัฒนาการของแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ได้ดเี ริม่ ต้นของแนวคิดนี้
มาจากโลกตะวันตกโดยปรากฏในงานจิตรกรรมของกลุ่มจิตรกรแนวหน้ายุคสงครามโลกครัง้ ที่ 1
ส่วนคาว่า ‘สัจนิยมมหัศจรรย์’ เป็ นคาทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์ ชาวเยอรมัน ฟรันซ์ โรห์เป็ นผูบ้ ญ
ั ญัติ
ในหนังสือชื่อ โพสต์เอ็กเพรสชันนิ ่ สต์และสัจนิยมมหัศจรรย์: ปั ญหาของจิตรกรรมยุโรปสมัยใหม่
พร้อมอธิบายให้เห็นถึงจุดหักเหสาคัญทีท่ าให้บรรดานักเขียนละตินอเมริกาหันมาแสวงหาแนวทาง
ใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม โดยเฉพาะการนาสัจนิยมมหัศจรรย์มาใช้ เพื่อสานึกในความ
เป็ นอดีตเมืองขึน้ และแรงปรารถนาทีจ่ ะสร้างอัตลักษณ์ของวรรณกรรมละตินอเมริกา โดยนิยาม
ให้เห็นถึงหัวใจหลักของวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ผ่านการยกตัวอย่างวรรณกรรม เรื่อง
หนึง่ ร้อยปี แห่งความโดดเดีย่ วของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซว่า โลกสัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นการ
หลอมรวมโลก 2 ประเภท คือ โลกแห่งความเป็ นจริงกับโลกแห่งความมหัศจรรย์จะดารงอยู่ค่กู นั
และดาเนินไปภายใต้ตรรกะชุดเดียวกัน ผูเ้ ขียนสามารถตัง้ ข้อสรุปสาหรับหัวใจสาคัญของวรรณกรรม
สัจนิยมมหัศจรรย์ได้จากทฤษฎีของนักวิชาการตะวันตกพร้อมคาอธิบายให้เห็นถึงการนาเสนอผี

568
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

ในงานสีช่ น้ิ ได้แก่ ผีแม่นาค ในตานานแม่นาคพระโขนง ผีพรูเดนซิโอในนวนิยาย ร้อยปี แห่ง


ความโดดเดีย่ วของการ์เซีย มาร์เกซ ผีของอดีตในนวนิยายเรื่อง แอ็บซาลอม, แอ็บซาลอม !
ของโฟร์คเนอร์ และ ผีบเี ลิฟเว็ดด์ ในนวนิยายเรื่อง บีเลิฟเว็ดด์ ของโทนี่ มอร์รสิ นั เห็นได้ชดั เจน
ว่า ผีแม่นาคพระโขนงอยูใ่ นโลกมหัศจรรย์ทด่ี าเนินไปภายใต้ตรรกะคนละชุดกับโลกคนธรรมดา
ในท้องเรื่อง ส่วนผีของอดีตในในนวนิยาย แอ็บซาลอม,แอ็บซาลอม ! มีสถานะอุปลักษณ์เพื่อ
สือ่ ความหมายของความขัดแย้งภายในจิตใจตัวละคร ส่วนผีพรูซเิ ดนซิโอ และผีบเี ลิฟเว็ดด์อยู่
ภายใต้ตรรกะชุดเดียวกับตัวละครทีเ่ ป็ นคนในท้องเรื่อง
หากพิจารณาความเฉพาะของบทความแต่ ละเรื่อง พบว่า บทความ เรื่อง สัจนิยม
มหัศจรรย์ในคาถาภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ (ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์, 2555) เป็ นบทความที่นาเสนอ
ปรากฏการณ์หลังเหตุการณ์สงั หารหมู่ 6 ตุลาคม 2519 ในฐานะทีเ่ ป็ นวรรณกรรมเพื่อชีวติ ที่
เคยเป็ นกระแสหลัก ถูกตัง้ คาถามจากบรรดานักเขียน นักวิจารณ์ ส่ งผลให้นักเขียน มีความ
พยายามแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม สัจนิยมมหัศจรรย์กลายเป็ น
ทางเลือกหนึ่งทีน่ ักเขียนในขณะนัน้ ให้ความสนใจ หันกลับไปเชิดชูภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ และ
วัฒนธรรมชุมชนในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ช่วงนี้จงึ มีการสร้างสรรค์วรรณกรรมที่เน้นการ
ผสมผสานสีสนั ท้องถิน่ มากขึน้
ส่วนอีกบทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2556) เรื่อง การแปรอุปมาให้เป็ น
ความมหัศจรรย์และการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมา: กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบวรรณกรรม
สัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและละตินอเมริกนั เน้นการแสดงถึงลักษณะต่างของสัจนิยมมหัศ จรรย์
ละตินอเมริกากับสัจนิยมมหัศจรรย์ไทย เนื่องจากความมหัศจรรย์ในงานเขียนของการ์เซีย มาร์เกซ
มุ่งท้าทายและตัง้ คาถามต่อขนบการเขียนแนวสัจนิยม ผ่านการแปอุปลักษณ์หรืออุปมาให้กลายเป็ น
ความมหัศจรรย์ โดยการทาให้อุปมาดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษร (literalization) แต่ในงาน
ของมหรรณพ โฉมเฉลานัน้ กลับเป็ นการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมาหรืออุปลักษณ์ ในแง่
ของเนื้อเรื่องความมหัศจรรย์อาจจะเกิดขึน้ จริง แต่ในแง่ของความหมายความมหัศจรรย์เป็ นเพียง
ความเปรียบเท่านัน้
ตามด้วยบทความวิชาการของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2548, 2551; Chotiudompant,
2008) อีกจานวน 3 เรื่อง เป็ นบทความทีเ่ น้นแสดงให้เห็นถึงการเดินทางของวรรณกรรมสัจนิยม
มหัศจรรย์ทเ่ี ริม่ ต้นจากประเทศเยอรมัน ถือเป็ นพืน้ ทีแ่ ห่งวิทยาศาสตร์ แล้วข้ามไปสู่วฒั นธรรม
ละตินอเมริกา ซึง่ เป็ นพืน้ ทีม่ รี ะบบความเชื่อทีแ่ ตกต่างพร้อมกับบริบททางการเมืองที่ เคยเป็ น
ประเทศเมืองขึน้ และเคยปกครองด้วยเผด็จการทหารอย่างยาวนาน แนวคิดมุ่งนาเสนอถึงการ
ปะทะและสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างกันในแต่ละพืน้ ทีโ่ ดยยกตัวอย่าง กรณีโคลัมเบีย
ชิลแี ละเม็กซิโกซึง่ มีลกั ษณะร่วมกันเพื่อชีใ้ ห้เห็นถึงการพัฒนาด้านกระแสวิทยาการสมัยใหม่ ท่ี

569
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ส่งผลกระทบต่อวิถชี วี ติ ของผู้คน จนกระทังแสดงให้


่ เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม
โดยเฉพาะเกิดจากการปะทะของวัฒนธรรมตะวันตกทีบ่ ุกรุกเข้ามาอย่างรวดเร็วและภูมปิ ั ญญา
ท้องถิน่ ซึง่ ทัง้ สองต่างก็มคี วามสาคัญในฐานะองค์ความรูห้ นึ่งเช่นเดียวกัน ขึน้ อยู่กบั มุมมองใน
การใช้ประโยชน์ ท้ายที่สุดอธิบายถึงโลกปั จจุบนั ที่มเี ทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวติ ผู้คน
สะท้อนผ่านวรรณกรรมแนวนี้
ส่วนบทความวิชาการอื่นๆ จานวน 2 เรื่อง ต่างนาเสนอในมุมมองทีต่ ่างจากการศึกษา
ในอดีต เห็นได้ชดั ว่า ธงชัย แซ่เจีย่ (2558) มุ่งประเด็นศึกษาเกีย่ วกับเพศทางเลือก ซึง่ ถือเป็ น
การเปิ ดขอบฟ้ าใหม่ในทางวิชาการก็ว่าได้ เนื่องจากประเด็นเหล่านี้ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงมากนัก
ทาให้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์นนั ้ มีความหลากหลายยิง่ ขึน้ นอกจากนี้ยงั ปรากฏการศึกษา
ประวัติท่มี า กลวิธหี รือแนวคิดของเรื่อง โดยเฉพาะบทความของพัชราภรณ์ หนังสือ (2562)
เป็ นการตัง้ ข้อสังเกตต่อแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ผ่านการศึกษาภาพยนตร์ เรื่อง Birdman
(2014) หรืออีกนัยหนึ่งเป็ นสารวจแนวคิดนี้ว่ายังคงมีความสาคัญในวงการวิชาการอยู่หรือไม่
2.2 วิ ทยานิ พนธ์
ผลงานประเภทวิทยานิพนธ์มจี านวน 7 เรื่อง ได้แก่ นพวรรณ รองทอง (2543) เรื่อง
กาเนิดและพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ กัญญา วัฒนกุล (2550) เรื่อง สัจนิยม
มหัศจรรย์และสหบทในนวนิยาย เรื่อง คาฟกา ออน เดอะ ชอร์ของฮารุกิ มูราคามิ เกศวรางค์
นิลวาส (2552) เรื่อง การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ งานของ
หัตถกาญจน์ อารีศลิ ป์ (2556) เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุ สรณ์ ติปยานนท์
รัตนาวดี ปาแปง (2556) เรื่อง ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
ในบริบทสังคมไทย บุญฑริก บุญพบ (2559) เรื่อง การวิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย:
ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา และงานของนัทธมน เปรมสาราญ (2562) เรือ่ งเล่าย่อยทาง
การเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิ นไทย ปี 2557-2560
วิทยานิพนธ์เล่มแรกทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ คือ นพวรรณ รองทอง
(2543) เป็ นการศึกษากาเนิดและพัฒนาการของสัจนิยมแนวมหัศจรรย์เพื่อวิเคราะห์ความ
เป็ นมาและทิศทางความคิดทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงระยะตัง้ แต่ ค.ศ.1967 เป็ นต้นมา เป็ นการ
เปรียบเทียบในภาพรวมเพื่อจะจัดโครงสร้างและแบบแผนอันเป็ นลักษณะเฉพาะร่วมกันของ
ของนวนิยายแนวนี้ เนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษาแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายอย่าง
เป็ นระบบมาก่อน
กัญญา วัฒนกุล (2550) ศึกษา “สัจนิยมมหัศจรรย์และสหบทในนวนิยาย เรื่อง คาฟกา
ออน เดอะ ชอร์ ของ ฮารูกิ มูราคามิ” อธิบาย magical realism ว่าสัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นการแสดง
ให้เห็นถึงการผสมผสานอย่างซับ ซ้อ นระหว่า ง “ความจริง ” และ “ความลวง” เพื่อ วิพ ากษ์

570
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

กระบวนทัศน์แบบสัจนิยมที่มแี นวโน้มแบ่งแยกสิง่ ต่าง ๆ ออกเป็ นขัว้ ตรงข้ามองค์ประกอบ


มหัศจรรย์ทป่ี รากฏมีบทบาทในการโต้กลับเพื่อวิพากษ์เรื่องเล่าแม่บทเช่นอุดมการณ์ชาตินิยม
การเข้าครอบงาของตะวันตกและระบบทุนนิยมจากหลากหลายแง่มุมในสังคมทุนนิยมสมัยใหม่
พร้อมกับการแสดงให้เห็นถึงสหบททัง้ ในตัวบทของฮารุกิ มูราคามิเล่มอื่นก่อนหน้าและนอกตัวบท
เช่น วรรณคดีญป่ี ่ นุ ดัง้ เดิม วรรณกรรมญีป่ ่ นุ สมัยยุคเมจิ
เกศวรางค์ นิลวาส (2552) ศึกษา “การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยม
มหัศจรรย์” แสดงให้เห็นความพร่าเลือนของเส้นแบ่งพรมแดนต่างๆ กล่าวคือ นาเสนอการสลาย
พรมแดนของประเภทวรรณกรรมผ่านการผสมผสานตัวละครสัจนิยมและตัวละครมหัศจรรย์เข้าไว้
ด้วยกัน นาเสนอการสลายพรมแดนทางอัตลักษณ์โดยแสดงให้เห็นความหลากหลาย การสูญสลาย
และการดารงอัตลักษณ์ในรูปลักษณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลง รวมถึงนาเสนอการสูญสลายพรมแดนของเวลา
ผูว้ จิ ยั ยังชีใ้ ห้เห็นว่า วรรณกรรมไทยทีน่ ามาศึกษาแสดงให้เห็นการปะทะสังสรรค์ของวาทกรรม
กระแสต่าง ๆ ในบริบทสังคมไทย การต่อรองระหว่างวาทกรรมกระแสหลักและกระแสรองเพื่อ
แย่งชิงพืน้ ทีใ่ นสังคม รวมถึงเสนอแนวคิดที่วพิ ากษ์วาทกรรมกระแสหลักอันได้แก่ วาทกรรม
อานาจรัฐ วาทกรรมตะวันตก วาทกรรมการพัฒนา และวาทกรรมการเมือง
หัตถกาญจน์ อารีศลิ ป (2556) ได้ศกึ ษา “สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์
ติปยานนท์” ซึง่ เป็ นการศึกษาสัจนิยมมหัศจรรย์ในเชิงวิเคราะห์เฉพาะเรื่องจากวรรณกรรมไทย
เป็ นคนแรกๆ การศึกษานี้ไม่เพียงเป็ นการใช้กลวิธกี ารประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์เพื่อสร้าง
ความแปลกใหม่ให้งานวรรณกรรมของตนเท่านัน้ แต่ให้ความสาคัญกับการผสมผสานและหลอม
รวมลักษณะสมจริงตามแนวการประพันธ์สจั นิยมและลักษณะมหัศจรรย์ไว้ในองค์ประกอบการ
สร้างงานทุกส่วน ทัง้ ในการผูกเรื่อง การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละครและฉาก ภาพรวมของสัจนิยม
มหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุ สรณ์แล้วพบว่า มีทงั ้ ลักษณะทีผ่ สมผสานกันระหว่างสัจนิยม
มหัศจรรย์เชิงญาณวิทยา (Epistemological magical realism) หรือแบบปรัชญา (scholarly type)
ซึง่ ให้ความสาคัญกับมุมมองการทาความจริงอันสามัญให้เป็ นเรื่องมหัศจรรย์เพื่อตัง้ คาถามหรือ
เสนอความคิดในเชิงปรัชญา และสัจนิยมมหัศจรรย์เชิงภววิทยา (Ontological magical realism)
หรือแบบคติชน (mythic type) ซึง่ ผูกโยงกับภูมปิ ั ญญาพืน้ ถิน่ ความมหัศจรรย์ในวรรณกรรม
ของอนุสรณ์จงึ มีขอบเขตกว้างขวาง
รัตนาวดี ปาแปง (2556) ได้ศกึ ษา “ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยม
มหัศจรรย์ในบริบทสังคมไทย” พบว่า วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์มคี ุณค่าจากการใช้ความ
มหัศจรรย์เพื่อวิพากษ์วาทกรรมหลักในสังคมไทย จากการตอบโต้เรื่องเล่าเดิมโดยการสร้างใหม่
ผสมผสานเพิม่ เติม ปรับเปลีย่ น แก้ไข และการผลิตซ้า ให้เรื่องราวในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์
ให้แตกต่างไปจากวรรณกรรมสัจนิยม เพื่อใช้เรื่องเล่าใหม่ทน่ี ักเขียนนาเสนอตอบโต้เรื่องเล่าเดิม

571
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ในยุคสมัยใหม่นิยม ส่วนการวิพากษ์ระบบทุนนิยมยังเปิ ดเผยให้เห็นถึงเสียงต่างๆ ทีม่ อี ยู่ในสังคมนี้


อย่างแตกต่างหลากหลาย และสุดท้ายการปฏิเสธแนวคิดตะวันตกนิยม เพื่อชีใ้ ห้เห็นคุณค่าของ
ความรู้ และภูมปิ ั ญญาอื่นๆ ทีด่ ารงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลายในสังคม
บุญฑริก บุญพบ (2559) ได้ศกึ ษา “การวิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย:
ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา” ซึง่ เป็ นการวิเคราะห์งานกลุ่มแผนทีข่ องควีทกา ทีน่ าเสนอว่า
ลักษณะของเครื่องหมาย ขนาด สี รวมถึงตาแหน่งของสัญญะในแผนทีส่ ามารถจาลองความจริง
โดยพิจารณาจากระบบสัญญะแผนที่ (Map sign systems) เพื่อนาเสนอความสัมพันธ์ของวัตถุ
กับพืน้ ทีต่ ามจริง การสื่อความหมายผ่านการดัดแปลงแผนทีด่ ว้ ยภาพสัญลักษณ์ และการใช้พน้ื ที่
ทีร่ ่วมกับการตีความคล้ายโครงสร้างในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ของฮอร์เฮ หลุยส์ บอร์เฮซ
จนเกิดความเข้าใจชนิด ของพืน้ ทีแ่ ละเนื้อหาทีไ่ ด้จากการถอดรหัสองค์ประกอบในงาน
นัทธมน เปรมสาราญ (2562) ศึกษา “เรื่องเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์
ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิ นไทย ปี 2557-2560” ทีส่ งั เกตเห็นความสอดคล้องของสัจนิยม
มหัศจรรย์กบั ผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 ทาให้เห็นว่าสัจนิยม
มหัศจรรย์ในผลงานของศิลปิ นไทยร่วมสมัยมีความสอดคล้องกับการนาเสนอเรื่องเล่าย่อย ๆ
เช่น เรื่องเล่าทีม่ ลี กั ษณะเป็ นส่วนตัว เฉพาะที่ เฉพาะกลุ่ม เฉพาะกาล รวมไปถึงการไม่สถาปนา
ตัวเองเป็ นความรูเ้ บ็ดเสร็จเด็ดขาดและตายตัว ความรูเ้ ฉพาะจากเรื่องเล่านี้มบี ทบาทสาคัญใน
การอธิบายและทาความเข้าใจปรากฏการณ์ในสังคมต่าง ๆ อันเป็ นการแสดงออกว่าไม่เห็นด้วย
ต้องการตอบโต้หรือต่อต้านเรื่องเล่าหลัก ผูว้ จิ ยั ได้คดั เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็ นผลงานศิลปะร่วมสมัย
ของไทย ปี พ.ศ. 2557-2560 จานวน 4 ชุด จากศิลปิ นทัง้ หมด 4 ท่าน ได้แก่ ผลงานชุด “Songs
without lyrics” โดย วันทนีย์ ศิรพิ ฒ ั นานันทกูร ผลงานชุด “The Shards Would Shatter at
Touch สุขสลาย” (2560) โดย ธาดา เฮงทรัพย์กุล ผลงานชุด "ไร้มลทิน: Whitewash" (2559-
2560) โดย หฤษฏ์ ศรีขาว และผลงานชุด "246247596248914102516... And then there
were none" (2560) โดยอริญชย์ รุ่งแจ้ง เป็ นทีท่ ราบกันว่าภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.
2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทาให้การแสดงออกของประชาชนถูกจากัด
มากขึน้ เนื่องจากมีการสอดแนมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและข้อมูลออนไลน์อ่นื ๆ อย่างกว้างขวาง
มีการแทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองบ่อยครัง้ รวมทัง้ การแทรกแซงการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ใน
ประเด็นเกีย่ วกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุ ษ ยชน ดังนัน้ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านงาน
ศิลปะจึงเป็ นเครื่องมือหนึ่งในการตอบโต้อานาจรัฐทีพ่ ยายามควบคุมมวลชนและข้อมูลข่าวสาร
จะเห็นได้ว่า ผลงานวิทยานิพนธ์ขา้ งต้นเน้น การศึกษาประเภทนวนิยายเป็ นหลัก ซึง่
ส่วนใหญ่ใช้ระเบียบวิธวี จิ ยั เชิงเอกสาร พร้อมกับประยุกต์ใช้ทฤษฎีเดียวในการศึกษา โดยเฉพาะ
การศึกษากลวิธกี ารแต่ง ผ่านองค์ประกอบวรรณกรรม ประกอบด้วยโครงเรื่อง การเล่าเรื่อง

572
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

ฉาก ตัวละคร หรืออื่น ๆ และสาหรับการศึกษาแนวคิดหลักนัน้ ถือว่าเป็ นการศึกษาพื้นฐานที่


วิทยานิพนธ์ทุกเรื่องต้องอธิบาย เนื่องจากเป็ นการพิสจู น์แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ว่ามีลกั ษณะเฉพาะ
อย่างไร ทัง้ ในตัวบทวรรณกรรมและสือ่ ศิลปะ แต่วทิ ยานิพนธ์แต่ละเรื่องจะมีความโดดเด่นได้นนั ้
ขึน้ อยู่กบั ขัน้ ตอนการเรียบเรียงประเด็นมากกว่า เพราะลักษณะการอธิบายมีความแตกต่างกัน
พร้อมกับการตัง้ ประเด็นทีเ่ ร้าความสนใจผูอ้ ่าน วิทยานิพนธ์บางเรื่องมีการอธิบายพัฒนาการให้
เห็นตัง้ แต่ประวัตคิ วามเป็ นมา กลวิธแี ละบริบททางสังคมก็ส่งผลต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรม
เเละสื่อศิลปะ ส่วนบางเรื่องมีการวิเคราะห์ถงึ อัตลักษณ์ของวรรณกรรมแนวสัจนิยมหัศจรรย์
ในแต่ละภูมภิ าคของไทย หรือผูเ้ ขียนวิทยานิพนธ์บางคนได้สรุปถึงการแบ่งยุควรรณกรรมแนว
สัจนิยมมหัศจรรย์ของไทยด้วยเช่นกัน ทาให้วทิ ยานิพนธ์ทงั ้ หมดมีลกั ษณะภาพรวมไม่แตกต่าง
กันมาก ที่น่าสังเกตก็คอื มีวทิ ยานิพนธ์เพียงเรื่องเดียวทีใ่ ช้ทฤษฎีผสมโดยเพิม่ การวิเคราะห์
ประเด็นสหบทร่วมด้วย
2.3 หนังสือ
ในแง่ของหนังสือ พบว่ามีจานวน 2 เรื่อง ได้แก่ หนังสือของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559)
เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์: ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย
และหนังสือของภาสุรี ลือสกุล (2561) เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัตศิ าสตร์
ชาติพนั ธุ์ วรรณกรรม หนังสือทัง้ สองเล่มนี้ถอื ได้ว่าเป็ นคุณูปการสาคัญอย่างยิง่ ต่อการศึกษาแนวคิด
สัจนิยมมหัศจรรย์ในวงวิชาการไทย เนื่องจากเมื่อมีตพี มิ พ์เป็ นรูปเล่มหนังสือและมีการจาหน่าย
ในวงกว้างทาให้ผทู้ ส่ี นใจในประเด็นเหล่านี้ได้ศกึ ษาเพิม่ เติม หนังสือของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์
(2559) นัน้ เป็ นการปูพน้ื ฐานตัง้ แต่จุดเริม่ ต้นจากงานศิลปะในยุโรปจนกระทังเข้ ่ าสู่ละตินอเมริกา
ในทีส่ ดุ กลายเป็ นอัตลักษณ์ของวรรณกรรมละตินอเมริกา มีการอธิบายค่อนข้างละเอียดในแต่ละ
ประเด็น การยกตัวอย่างงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ โทนี มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย
ทาให้มองเห็นสายธารแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ได้อย่างเข้าใจขึน้ ส่วนหนังสือของภาสุรี ลือสกุล
(2561) นัน้ เป็ นการศึกษาเฉพาะสัจนิยมมหัศจรรย์ในละตินอเมริกา ถือเป็ นการอธิบายทีล่ ะเอียด
ครอบคลุมไปถึงประวัตศิ าสตร์และชาติพนั ธุ์ ทาให้ผอู้ ่านมองเห็นการถือกาเนิดขึน้ ของวรรณกรรม
แนวนี้ ซึง่ ไม่ได้เน้นแต่เฉพาะงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซเท่านัน้ แต่ได้ศกึ ษางานของ
นักเขียนอื่น ๆ ด้วยอย่างเช่น ฆวล รุลโฟ นักเขียนชาวเม็กซิโกทีม่ คี วามสาคัญอย่างยิง่ ในการ
ถือกาเนิดของวรรณกรรมแนวนี้ เนื่องจากเป็ นต้นแบบของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ
2.4 งานวิ จยั อิ สระ
ด้านงานวิจยั พบจานวน 1 เรื่อง ได้แก่ งานของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2554) เรื่อง สัจนิยม
มหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ เป็ นงานวิจยั ทีไ่ ด้รบั ทุนสนับสนุนจาก
สถาบันการศึกษาเพื่อศึกษาค้นคว้า เน้นการศึกษาพัฒนาการของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ

573
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ตัง้ แต่เริม่ ต้น ทาให้มองเห็นการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ของนักเขียนว่ามีความหลากหลาย


ขึน้ อยู่กบั อิทธิพลและแรงบันดาลใจแต่ละช่วงชีวติ ช่วงแรกได้รบั อิทธิพลจากนักเขียนชื่อดัง
ในอเมริกาและยุโรป เช่น วิลเลียม โฟร์คเนอร์และฟรันซ์ คาฟกา ถือเป็ นพืน้ ฐานสาคัญทีช่ ว่ ย
พัฒนาให้คน้ พบรูปแบบทีส่ ามารถนาเสนอภาพชีวติ และความเป็ นจริงของชาวละตินอเมริกา
นัยทีซ่ ่อนเร้นอยู่ภายใต้รปู แบบดังกล่าวก็มคี วามสาคัญ เนื่องจากความมหัศจรรย์ทเ่ี กิดขึน้ ใน
วรรณกรรมไม่ได้มเี พราะความบันเทิงเท่านัน้ แต่เป็ นการวิพากษ์วจิ ารณ์สภาพสังคมร่วมสมัย
ด้วยเช่นกัน ประเด็นทีเ่ น้นย้าความสัมพันธ์ระหว่างขัววั ้ ฒนธรรมทีแ่ ตกต่าง เช่น ขัว้ อารยธรรม
ยุโรปหรืออเมริกาเหนือกับละตินอเมริกา หรือขัวคริ ้ สต์ศาสนากับศาสนาของชนพืน้ ถิน่ หรือที่
นาเข้าจากทวีปแอฟริกา
จากสารวจผลงานวิชาการทัง้ หลายทีน่ ิยมใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์พบว่า ส่วนใหญ่
มักเป็ นบทความวิชาการ ทัง้ นี้น่าจะเป็ นเพราะลักษณะของบทความวิชาการจะเน้นประเด็น
สาคัญเฉพาะเรื่องได้ ทาให้ผู้เขียนสามารถตัง้ ข้อสังเกต การอธิบายถึงความเป็ นมา หรือการ
เปรียบเทียบอย่างตรงประเด็น ทีน่ ่าสังเกตก็คอื จะเห็นได้ว่าก่อนถึงขัน้ ตอนการวิเคราะห์ตวั บท
นักวิชาการต้องทาความเข้าใจบริบทสังคมและการเมืองของตัวบททีจ่ ะนามาเขียนอย่างลึกซึง้
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559, น. 35) กล่าวว่า การศึกษาสัจนิยมมหัศจรรย์จงึ มิใช่การนาไม้บรรทัด
มานังวั
่ ดความเป็ นสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวรรณกรรม แต่อยู่ทก่ี ารวิเคราะห์ปัจจัยภายในและ
ภายนอกทีท่ าให้งานชิน้ หนึ่งถูกจัดให้เป็ นสัจนิยมมหัศจรรย์ควบคู่ไปกับการพิจารณานัยและผล
สะเทือนทีง่ านชิน้ นัน้ มีต่อความเข้าใจวรรณกรรม ชีวติ และสังคม
ด้วยเหตุน้จี งึ ทาให้ตงั ้ ข้อสังเกตได้ว่า เหตุใดงานวิชาการทีศ่ กึ ษาโดยใช้แนวคิดสัจนิยม
มหัศจรรย์จงึ ไม่ปรากฏมากนัก เนื่องจากแนวคิดนี้ตคี วามยาก เพราะจะต้องเชื่อมโยงกับเนื้อหา
วรรณกรรมทีซ่ บั ซ้อนด้วยกลวิธกี ารแต่งแปลกใหม่และสัญญะในเรื่อง จาเป็ นต้องใช้ความคิด
ร่วมกับการพิจารณาถ้อยคาและประโยคอย่างละเอียดจึงสามารถวิเคราะห์ได้ อย่างไรก็ตาม
ถึงแม้ไม่ได้ มีงานวิชาการอย่างแพร่หลาย แต่ดา้ นคุ ณภาพถือว่า งานวิชาการเหล่านี้สามารถ
สร้างองค์ความรูไ้ ด้อย่างค่อนข้างครอบคลุม

574
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

แผนภูมิที่ 1
ประเภทต่างๆ ของงานวิชาการไทยทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์

3. สถาบันและสาขาที่ใช้แนวคิ ดสัจนิ ยมมหัศจรรย์

หากพิจารณาทีส่ ถาบันการศึกษาทีม่ ผี ลงานทางวิชาการทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์


แล้ว พบว่ามีทงั ้ หมด 5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย วิทยานิพนธ์ในสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ
ผลงานของนพวรรณ รองทอง (2543) กัญญา วัฒนกุล (2550) ของสาขาวิชาภาษาไทย ได้แก่
งานของหัตถกาญจน์ อารีศลิ ป (2556) ส่วนบทความวิชาการส่วนใหญ่เป็ นผลงานของสุรเดช
โชติอุดมพันธ์ (2548, 2551) สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2551) เรื่องพืน้ ทีก่ บั การเดินทางข้ามวัฒนธรรม
ในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ทางด้านงานวิจยั มี 2 เรื่อง ได้แก่ งานวิจยั อิสระของสุรเดช
โชติอุดมพันธ์ (2551) และงานวิจยั สาขาวิชาภาษาสเปน จานวน 1 เรื่อง คือ หนังสือของภาสุรี
ลือสกุล (2561)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีงานส่วนใหญ่มาจากสาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษ จานวน
7 เรื่องประกอบด้วย บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ ได้แก่ เรื่องวรรณกรรมสัจนิยม
มหัศจรรย์ (2543) เรื่องวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้านและการเมือง
ว่าด้วยอัตลักษณ์วรรณกรรม (2552) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในคาถาภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ (2555)
เรื่องกาเบรียล การ์เซีย มาเกซกับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกา (2555) เรื่องการแปร
อุปมาให้เป็ นความมหัศจรรย์และการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมา (2556) และหนังสือของ
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี
มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย ตามด้วยบทความวิชาการของพัชราภรณ์ หนังสือ (2562) เรื่องศิลปะ
จิตวิญญาณ(อ)สัจนิยมมหัศจรรย์ในภาพยนตร์เรื่อง Birdman (2014)

575
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

สาหรับมหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่ามีงานจากสาขาทฤษฎีศลิ ป์ ปรากฏเพียง 2 เรื่อง


ประกอบด้วย วิทยานิพนธ์ของบุญฑริก บุญพบ (2559) เรื่องการวิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงาน
ศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา วิทยานิพนธ์ของนัทธมน เปรมสาราญ (2562)
เรื่องเรื่องเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิ นไทย
ปี 2557-2560 และสาขาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง คือ วิทยานิพนธ์ของเกศวรางค์ นิลวาส (2552)
เรื่องการวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พบสถาบันละ 1 เรื่องเป็ น
วิทยานิพนธ์ของรัตนาวดี ปาแปง (2556) จากสาขาภาษาไทย และบทความวิชาการของธงชัย
แซ่เจีย่ (2558) จากสาขาภาษาไทยและการสือ่ สาร
อาจกล่าวได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็ นสถาบันการศึกษาทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยม
มหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยมากทีส่ ุด โดยเฉพาะสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ เนื่องจากสาขา
วรรณคดีเปรียบเทียบเป็ นสาขาทีเ่ น้นการศึกษาแนวคิดทีม่ าจากต่างประเทศพร้อมกับการเปรียบเทียบ
ตัวบทตามต้นฉบับภาษาเดิม ทาให้งานวิชาการเหล่านี้มคี วามลุ่มลึก ด้วยแง่มุม อื่นเพิม่ ขึน้
เนื่องจากมีความเข้าใจทัง้ แนวคิดและตัวบทที่เป็ นต้นฉบับภาษาเดิม เช่นเดียวกับสาขาวิชา
ภาษาสเปนทีม่ ุ่งทาความเข้าใจต้นกาเนิดของแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ทม่ี าจากยุโรป ก่อนเข้าสู่
ละตินอเมริกาจึงจาเป็ นต้องศึกษาลงลึกไปถึงประวัตศิ าสตร์การเมืองทีส่ ่งผลต่อการสร้างสรรค์
วรรณกรรมหรือประเทศอื่นทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์การต่อสูก้ บั ประเทศเจ้าอาณานิคม พร้อมกับวิเคราะห์
ผ่านต้นแบบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์อย่างเรื่อง หนึง่ ร้อยปี แห่งความโดดเดีย่ วของกาเบรียล
การ์เซีย มาร์เกซ และ เรื่อง เปโดร ปาราโมของฆวล รุลโฟ ซึง่ เป็ นไปตามปรัชญาของหลักสูตร
ทีม่ ุ่งผลิตบัณฑิตทีม่ คี วามเชีย่ วชาญด้านวรรณคดีเปรียบเทียบ มีศกั ยภาพในการค้นคว้าวิจยั
และมีความรอบรูท้ างวรรณคดีเพื่อไปเป็ นอาจารย์ นักวิจยั และผูเ้ ชีย่ วชาญในสถาบันการศึกษา
ระดับอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน
รองลงมาเป็ นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบทีส่ าขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษซีง่ เป็ น
สาขาเน้นการศึกษาวรรณกรรมทีม่ าจากต่างประเทศพร้อมกับวิเคราะห์ หากพิจารณาลักษณะร่วม
สาคัญระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษ ก็คอื การอ่านตัวบทภาษาอังกฤษและภาษาอื่นตามต้นฉบับ
ภาษาเดิม จึงเป็ นการเปิ ดโลกทางวรรณกรรมอย่างกว้างขว้าง โดยไม่มอี ุปสรรคทางภาษา ทาให้
สามารถเรียนรูแ้ นวคิดสมัยใหม่จากต่างประเทศได้รวดเร็ว ถือเป็ นการเปิ ดโอกาสทีท่ าให้บรรดา
นักวิชาการที่สนใจแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ได้ศกึ ษาอย่างเป็ นระบบและเต็มที่ในการสร้าง
องค์ความรู้ เพื่อเป็ นพืน้ ฐานสาหรับให้ผทู้ ม่ี คี วามสนใจในแนวคิดเดียวกันได้นาไปประยุกต์ใช้
และต่อยอดให้เกิดเป็ นงานวิชาการทีม่ คี วามสมบูรณ์มากยิง่ ขึน้ ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

576
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

ทีต่ ้องการผลิตนักวิชาการทีส่ ามารถทาการค้นคว้าวิจยั และศึกษาเพิม่ เติมทางด้านภาษาและ


วรรณคดีองั กฤษ รวมทัง้ สาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้อง
สถาบันการศึกษาทัง้ สองได้ผลิตนักวิชาการทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการสร้างองค์ความรูข้ องแนวคิด
สัจนิยมมหัศจรรย์ โดยเฉพาะนักวิชาการสองท่านที่ศกึ ษาด้านนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องตัง้ แต่
ช่วงสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543 - 2563) ได้แก่ ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษมีผลงานวิชาการทัง้ หมด จานวน 6 เรื่อง ประกอบด้วยบทความ
วิชาการ จานวน 5 เรื่อง และหนังสือ จานวน 1 เรื่อง ด้านสุรเดช โชติอุดมพันธ์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ มีงานวิชาการทัง้ หมด 4 เรื่อง ประกอบด้วย บทความ
วิชาการ จานวน 3 เรื่อง งานวิจยั อิสระจานวน 1 เรื่อง อีกทัง้ ยังปรากฏรวมผลงานวิชาการของ
ทัง้ สองเป็ นจานวน 10 เรื่อง ซึง่ ถือเป็ นจานวนครึง่ หนึ่งของงานวิชาการทัง้ หมด เพราะนักวิชาการ
คนอื่นต่างศึกษาคนละเรื่องเท่านัน้
ผูศ้ กึ ษาตัง้ ข้อสังเกตว่า งานวิชาการไทยทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ยงั เป็ นความสนใจ
เฉพาะกลุ่ม เห็นได้จากสถาบันที่ใช้แนวคิดนี้ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนกลางและปริมณฑล ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม แต่สว่ นภูมภิ าคนัน้ พบเพียงสถาบันเดียว คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาหรับ
สถาบันส่วนภูมภิ าคอื่น ๆ ยังไม่ปรากฏ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าแต่ละสถาบัน แต่ละสาขาอาจมี
แนวทางการศึกษาที่เป็ นจุดเด่นหรืออัตลักษณ์ของตนอยู่แล้ว จึงไม่มเี หตุจาเป็ นในการศึกษา
แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสถาบันเหล่านี้ยงั ขาดนิสติ นักศึกษา อาจารย์ที่มคี วามสนใจ
แนวคิดนี้อย่างจริงจัง ทาให้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์กลายเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของ ‘ความแปลกหน้า
ทางวิชาการ’ โดยปริยาย

577
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

แผนภูมิที่ 2
สถาบันและสาขาทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดี
เปรียบเทียบ
5% จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษา
5% สเปน
5% จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา
ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาษาและ
10 % 30 % วรรณคดีองั กฤษ
มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาทฤษฎีศลิ ป์

มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชา
5% ภาษาไทย
35 % 5% มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชา
ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สาขาวิชา
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

4. ประเภทของกลุม่ ข้อมูลที่นามาใช้

ประเภทของข้อมูลทีน่ ามาใช้ศกึ ษาแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยพบ


จานวน 5 ประเภท ดังนี้
4.1 วรรณกรรมผสม เป็ นการนาทัง้ นวนิยายและเรื่องสัน้ มาเป็ นข้อมูล โดยไม่มขี อ้ กาหนด
ว่าเป็ นวรรณกรรมไทยหรือต่างประเทศ ปรากฏจานวน 9 เรื่อง ได้แก่ บทความวิชาการ ของสุรเดช
โชติอุดมพันธ์ (2548) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยกับวาทกรรมแห่งความเป็ นอื่น
บทความวิชาการของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2551) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์กบั โลกาภิวตั น์ วิทยานิพนธ์
ของเกศวรางค์ นิลวาส (2552) เรื่องการวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
งานวิจยั อิสระของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2554) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล
การ์เซีย มาร์เกซ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2555) เรื่องกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ
กับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกา บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2556)
เรื่องการแปรอุปมาให้เป็ นความมหัศจรรย์และการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมา: กรณีศกึ ษา
เปรียบเทียบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและละตินอเมริกนั วิทยานิพนธ์ของหัตถกาญจน์

578
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

อารีศลิ ป์ (2556) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุ สรณ์ ติปยานนท์ วิทยานิพนธ์


ของรัตนาวดี ปาแปง (2556) เรื่องลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
ในบริบทสังคมไทย และหนังสือของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์: ในงาน
ของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย
4.2 นวนิ ยาย เป็ นการนานวนิยายมาใช้เป็ นข้อมูล โดยไม่มขี อ้ กาหนดว่าต้องเป็ น
วรรณกรรมไทยหรือต่างประเทศ ซึง่ จานวนเรื่องขึน้ อยู่กบั นักวิชาการแต่ละคนจะกาหนดขอบเขต
ข้อมูลอย่างไร ปรากฏจานวน 6 เรื่อง ได้แก่ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2543)
เรื่องวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ วิทยานิพนธ์ของนพวรรณ รองทอง (2543) เรื่องกาเนิดและ
พัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ วิทยานิพนธ์ของกัญญา วัฒนกุล (2550) เรื่อง
สัจนิยมมหัศจรรย์ และสหบทในนวนิย ายเรื่อง คาฟกา ออน เดอะ ชอร์ของฮารุก ิ มูราคามิ
บทความวิชาการของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2551) เรื่องพื้นที่กบั การเดินทางข้ามวัฒนธรรม
ในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2552) เรื่อง
วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้าน และการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์
วรรณกรรม และหนังสือของภาสุรี ลือสกุล (2561) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา:
ประวัตศิ าสตร์ ชาติพนั ธุ์ วรรณกรรม
4.3 สื่อภาพยนตร์ เป็ นการนาภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้เป็ นข้อมูลการศึกษาแทนวรรณกรรม
ปรากฏจานวน 2 เรื่อง ได้แก่ บทความวิชาการของธงชัย แซ่เจีย่ (2558) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์
กับการนาเสนอภาพความรักของเกย์ในภาพยนตร์ไทย เรื่อง คืนนัน้ และบทความวิชาการของ
พัชรภรณ์ หนังสือ (2562) เรื่องศิลปะ จิตวิญญาณ (อ) สัจนิยมมหัศจรรย์ ในภาพยนตร์ เรื่อง
Birdman (2014)
4.4 สื่อศิ ลปะ เป็ นการนาผลงานศิลปะหลากหลายประเภทมาประยุกต์ใช้เป็ นข้อมูล
การศึกษาแทนวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็ นภาพวาด ภาพถ่าย วีดโี อขนาดสัน้ ประติมากรรมและ
แผนที่ ปรากฏจานวน 2 เรื่อง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของบุญฑริก บุญพบ (2559) เรื่องการวิเคราะห์
การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา และวิทยานิพนธ์ของนัทธมน
เปรมสาราญ (2562) เรื่องเรื่องเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัย
ของศิลปิ นไทย ปี 2557-2560
4.5 เรื่องสัน้ เป็ นการนาเรื่องสัน้ เพียงเรื่องเดียวมาใช้เป็ นข้อมูล จานวน 1 เรื่อง คือ
บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2555) เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในคาถาภูมปิ ั ญญา
ท้องถิน่
ประเภทของข้อมูลทีน่ ามาใช้ทงั ้ 5 ประเภทพบว่า การจัดประเภทของวรรณกรรมนัน้
ไม่ได้กาหนดว่าเป็ นวรรณกรรมไทยหรือวรรณกรรมต่างประเทศ แต่จดั ประเภทเป็ นนวนิยาย

579
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

เรื่องสัน้ และวรรณกรรมผสมเป็ นหลัก ซึง่ พบว่าวรรณกรรมผสมมีจานวนการใช้มากทีส่ ุด ผูศ้ กึ ษา


ตัง้ ข้อสังเกตว่างานวิชาการมักใช้ขอ้ มูลทีเ่ ป็ นวรรณกรรมจากละตินอเมริกา แต่ยงั มีวรรณกรรม
จากยุโรป แอฟริกาและเอเชียอยู่บา้ ง ไม่ว่าจะเป็ นนวนิยายต่างประเทศของกาเบรียล การ์เซีย
มาเกซ นักเขียนชาวโคลัมเบีย จานวน 8 เรื่อง โดยในจานวนนี้มกี ารใช้ขอ้ มูลทีเ่ ป็ นนวนิยาย
เรื่อง หนึ่งร้อยปี แห่งความโดดเดีย่ วถึงจานวน 7 เรื่อง รองลงมาเป็ นโทนี มอร์รสิ นั นักเขียน
ชาวแอฟริกา จานวน 3 เรื่อง จากนวนิยาย เรื่อง บีเลิฟ
ต่อมาเป็ นอิซาเบล อเยนเต้ นักเขียนชาวชิลี จานวน 2 เรื่อง จากนวนิยาย เรื่อง บ้าน
ปรารถนารักพร้อมกับเลารา เอสกิเบล นักเขียนชาวเม็กซิโก จานวน 2 เรื่อง จากนวนิยายเรื่อง
รักซ้อนซ่อนรัก ส่วนอเลโฆ การ์เปนเตียร์ นักเขียนชาวคิวบา จากนวนิย าย เรื่อง แผ่นดินโลก
มิเกล อังเฆล อัสตูเรียส นักเขียนชาวกัวเตมาลาจากนวนิยาย เรื่อง มนุ ษย์ขา้ วโพด และฆวล รุลโฟ
นักเขียนชาวเม็กซิโก จากนวนิยาย เรื่อง เปรโด ปาราโม ทัง้ สามเรื่องอยู่ในหนังสือของภาสุรี
ลือสกุล เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัตศิ าสตร์ ชาติพนั ธุ์ วรรณกรรม และงาน
วิชาการอื่น ๆ ที่พบการใช้ขอ้ มูลนวนิย ายต่า งประเทศที่โดดเด่น เช่น วิลเลียม โฟร์ค เนอร์
นักเขียนชาวอเมริกา จากนวนิยาย เรื่อง แอ็บซาลอม,แอ็บซาลอม ! ซัลมาน รุสดี นักเขียน
ชาวอินเดีย จากนวนิยายเรื่อง ทารกเทีย่ งคืน และ ฮารุกิ มูราคามิ นักเขียนชาวญี่ป่ ุน จากเรื่อง
คาฟกา ออน เดอะชอว์
ข้อมูลทีเ่ ป็ นวรรณกรรมไทยทีน่ ามาใช้จะเป็ นนวนิยายหรือเรื่องสัน้ ในงานวิชาการ ส่วนใหญ่
มักเป็ นผลงานของนักเขียนทีม่ ชี ่อื เสียงในวงวรรณกรรมไทย ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องสัน้ แม่มดแห่งหุบเขา
ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ จานวน 5 เรื่อง นวนิยาย เรื่องหมานครของคอยนุ ช จานวน 4 เรื่อง
นวนิยาย เรื่องโลกทีก่ ระจัดกระจายของศิรวิ ร แก้วกาญจน์ นวนิยายเรื่ อง สาวงามตาบอดทัง้
สิบสองของมหรรณพ โฉมเฉลา จานวน 3 เรื่อง เรื่องสัน้ ตะขูข้ องประชาคม ลุนาชัย จานวน 3
เรื่อง และเรื่องสัน้ เด็กชายกับต้นไม้ประหลาดของอุเทน พรมแดง จานวน 3 เรื่อง
ผูศ้ กึ ษาตัง้ ข้อสังเกตว่า ข้อมูลวรรณกรรมไทยทีน่ ามาใช้มกั นาผลงานของนักเขียนทัง้
6 คน ได้แก่ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ คอยนุ ช ศิรวิ ร แก้วกาญจน์ มหรรณพ โฉมเฉลา ประชาคม
ลุนาชัย และอุเทนพรมแดง ซึง่ ถือว่าเป็ นนักเขียนกลุ่มสาคัญ และเป็ นกลุ่มแรก ๆ ทีน่ าสัจนิยม
มหัศจรรย์มาใช้ในกลวิธกี ารแต่ง นักวิชาการจึงเล็งเห็นคุณค่าและมุมมองบางอย่าง ท่ามกลาง
บริบททางสังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลง ทาให้เกิดการตีความขึน้ ใหม่เพื่อหาความหมาย ยิง่ เป็ นการสร้าง
องค์ความรูใ้ หม่ผ่านข้อมูลวรรณกรรมเดิม แต่ในช่วงสองทศวรรษ มีนักวิชาการความพยายาม
นาข้อมูลวรรณกรรมจากนักเขียนไทยร่วมสมัยคนอื่น ๆ เช่น อนุ สรณ์ ติปยานนท์ เพื่ออธิบาย
ปรากฏการณ์ทางสังคม ซึง่ ผูศ้ กึ ษาเห็นว่า งานวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์มกี ารสร้างสรรค์
อย่างต่อเนื่อง แม้ไม่ใช่วรรณกรรมกระแสหลัก แต่เป็ นทางเลือกหนึ่งทีส่ าคัญของบรรดานักเขียน

580
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

ดังนัน้ งานวิชาการจึงควรนาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อตีความหมายของสัญญะ ปรากฏการณ์ทาง


สังคม บริบททางการเมืองและพัฒนาการของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ยุคอดีตแตกต่าง
กับวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ยุคปั จจุบนั อย่างไร เพราะ ‘น้ าเสียงของยุคสมัยเปลีย่ นแปลง
ตลอดเวลา’

แผนภูมิที่ 3
ประเภทของข้อมูลทีน่ ามาใช้

5. ประเด็นที่นามาวิ เคราะห์

การศึกษาแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยปรากฏประเด็นทีน่ ามาวิเคราะห์
แบ่งเป็ น 4 ประเด็น ดังนี้
5.1 การวิ เคราะห์เชิ งพัฒนาการ
การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการเป็ นการวิเคราะห์ภาพรวมของพัฒนาการตัง้ แต่ประวัติ
ความเป็ นมา กลวิธกี ารแต่ง หรือรูปแบบการนาเสนอสัจนิยมมหัศจรรย์ ทัง้ วรรณกรรมไทยและ
ต่างประเทศ จานวน 7 เรื่อง ได้แก่ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2543) เรื่อง
วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ วิทยานิพนธ์ของนพวรรณ รองทอง (2543) เรื่องกาเนิดและพัฒนาการ
ของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ วิทยานิพนธ์ของเกศวรางค์ นิลวาส (2552) เรื่องการวิเคราะห์
วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2555)

581
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

เรื่องกาเบรียล การ์เซีย มาเกซกับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกา วิทยานิพนธ์


ของรัตนาวดี ปาแปง (2556) เรื่องลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
ในบริบทสังคมไทย หนังสือของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์: ในงานของ
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย และหนังสือของภาสุรี ลือสกุล
(2561) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัตศิ าสตร์ ชาติพนั ธุ์ วรรณกรรม
ยุคเริม่ ต้นของการวิเคราะห์สจั นิยมมหัศจรรย์ เป็ นการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการของสัจนิยม
มหัศจรรย์ในวรรณกรรมต่างประเทศเป็ นหลัก วิทยานิพนธ์ของนพวรรณ รองทอง (2543) ทาให้
มองเห็นภาพรวมขององค์ประกอบแนวนี้ 2 ประการ ประการหนึ่ง คือ “ความมหัศจรรย์” ซึง่ เสนอ
ผ่านกลวิธกี ารประพันธ์ ได้แก่ การสร้างตัวละคร การนาเสนอเรื่องเวลา การใช้ตานาน ความเชื่อ
และเรื่องเหนือธรรมชาติ การสร้างอารมณ์ขนั การสร้างสีสนั เฉพาะถิน่ และการใช้สญ ั ลักษณ์อกี
ประการหนึ่ง คือ “สัจนิยม” ซึง่ มีบทบาทในการวิจารณ์สงั คมและประวัตศิ าสตร์สงั คม
เนื่องจากช่วงแรกวรรณกรรมไทยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ ยังไม่ได้รบั ความนิยมมาก
เริม่ มีการแปลผลงานวรรณกรรมแนวนี้ ตัง้ แต่เรื่องหนึ่งร้อยปี แห่งความโดดเดีย่ วของ กาเบรียล
การ์เซีย มาร์เกซ ใน พ.ศ. 2529 หลังจากนัน้ มีผลงานแปลเรื่องอื่นๆ ตามมา วรรณกรรมแปลมี
อิทธิพลสาคัญทัง้ การเป็ นต้นแบบ ตัวอย่างวิธคี ดิ และวิธีการนาเสนอ วรรณกรรมไทยมักมีการ
อ้างถึง แล้วนาเอาลักษณะการสร้างตัวละคร และเหตุการณ์ทม่ี คี วามเชื่อมโยงกับวรรณกรรม
แปลเหล่านี้มาใช้ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็ นจุดเปลีย่ นของนักเขียนไทยกับการก้าวผ่านจากงาน
สัจนิยมสูส่ จั นิยมมหัศจรรย์ โดยนาวิธคี ดิ แบบสัจนิยมมหัศจรรย์มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคม
รวมทัง้ คานา บทความ และเอกสารทางวิชาการ ถือว่ามีส่วนสาคัญมากในการสร้างองค์ความรู้
เกี่ยวกับสัจนิยมมหัศจรรย์ในสังคมไทย ยุคเริม่ ต้นคานาที่มคี วามสาคัญ คือ คานาของสุชาติ
สวัสดิศรี ์ และบทความอีกชิ้นหนึ่งที่มสี ่วนสาคัญต่อการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม
แนวนี้อย่างมาก คือ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวาณิชย์ (2543) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์
ซึง่ เป็ นครัง้ แรกทีม่ กี ารใช้คาว่า สัจนิยมมหัศจรรย์ แทน magical realism ทาให้ภายหลังคาว่า
สัจนิยมมหัศจรรย์ถูกนามาใช้อย่างแพร่หลาย
ต่อมาเริม่ มีการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการของสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยเป็ นหลัก
คือ วิทยานิพนธ์ของเกศวรางค์ นิลวาส (2552) รัตนาวดี ปาแปง (2556) พบว่าทัง้ สองเป็ น
การศึกษาทีแ่ สดงให้เห็นถึงการปะทะสังสรรค์ของวาทกรรมกระแสต่าง ๆ ในบริบทสังคมไทย
การต่อรองระหว่างวาทกรรมกระแสหลักและกระแสรองเพื่อแย่งชิงพืน้ ทีใ่ นสังคมสะท้อนคุณค่า
ของความรูแ้ ละภูมปิ ั ญญาอื่นๆ ทีด่ ารงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลายในสังคม
หลังจากนัน้ ช่วง พ.ศ. 2556 พัฒนาการของสัจนิยมมหัศจรรย์ของสังคมไทยสามารถ
แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ยุคแรก โดยมีการเน้นนาเสนอภาพของ

582
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

ชนบทและนาเสนอเรื่องเล่าตานาน เป็ นการนาเสนอประเด็นการปะทะกันระหว่างสองขัว้ ตรงข้าม


เช่น ระหว่างความเชื่อดัง้ เดิมกับความทันสมัย และลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ยุคใหม่ทม่ี คี วาม
สลับซับซ้อนยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะวิกฤติดา้ นตัวตนของคนปั จจุบนั และความพร่าเลือนของความจริง
ซึง่ มีการนาเสนอในรูปแบบกลวิธอี ย่างหลากหลาย และมีการต่อเติมลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์
จากยุคแรกอย่างเห็นได้ชดั
5.2 การวิ เคราะห์เชิ งสังคม
การวิเคราะห์เชิงสังคมเป็ นการวิเคราะห์โดยใช้ตวั บทวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์
ของนักเขียนที่หลากหลายมากขึน้ แต่มปี ระเด็นสาคัญร่วมอยู่ที่ การสะท้อ นสังคมที่เกิดขึน้
ในช่วงนัน้ ไม่ว่าจะเป็ นการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับภูมปิ ั ญญาท้องถิ่นหรือ
วัฒนธรรมชุมชนที่ก่อตัวขึน้ ในช่วงกลางทศวรรษ 2530 การยอมรับเพศทางเลือกเพิม่ ขึน้ ของ
คนในสังคมพร้อมกับกระแสการเรียกร้องเสรีภาพทางเพศกาลังเป็ นทีก่ ล่าวถึง อย่ างมากในต้น
ทศวรรษ 2560 หรือการเปลีย่ นแปลงของการเมืองไทยช่วงหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 จานวน
6 เรื่อง ได้แก่ ผลงานของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยกับ
วาทกรรมแห่งความเป็ นอืน่ (2548) พื้นทีก่ บั การเดินทางข้ามวัฒนธรรมในวรรณกรรมสัจนิยม
มหัศจรรย์ (2551) สัจนิยมมหัศจรรย์กบั โลกาภิวตั น์ (2551) บทความวิช าการของชูศ กั ดิ ์
ภัทรกุลวณิชย์ (2555) เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในคาถาภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ ธงชัย แซ่เจีย่ (2558)
เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์กบั การนาเสนอภาพความรักของเกย์ในภาพยนตร์ไทย เรือ่ ง คืนนัน้ และ
วิทยานิพนธ์ของนัทธมน เปรมสาราญ (2562) เรื่องเรือ่ งเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์
ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิ นไทยปี 2557-2560
5.3 การวิ เคราะห์เฉพาะเรือ่ ง
การวิเคราะห์เฉพาะเรื่องเป็ นการวิเคราะห์ทเี่ น้นเฉพาะขอบเขตข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง
เป็ นหลัก ไม่ว่าจะเป็ นนักเขียนคนเดียวหรือวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์เพียงเรื่องเดียว
เท่านัน้ เพื่อวิเคราะห์รปู แบบ กลวิธี บทบาทของสัจนิยมมหัศจรรย์หรือสะท้อนแนวคิดทางสังคม
ทาให้เห็นอัตลักษณ์ของนักเขียนหรือวรรณกรรมเรื่องนัน้ อย่างชัดเจน เนื้อหาแนวนี้พบจานวน
4 เรื่อง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของกัญญา วัฒนกุล (2550) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์และสหบทใน
นวนิยายเรื่อง คาฟกา ออน เดอะ ชอร์ของฮารุกิ มูราคามิ งานวิจยั อิสระของสุรเดช โชติอุดมพันธ์
(2554) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ วิทยานิพนธ์ของ
หัตถกาญจน์ อารีศลิ ป์ (2556) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุ สรณ์ ติปยานนท์
และวิทยานิพนธ์ของบุญฑริก บุญพบ (2559) เรื่องการวิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย:
ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา

583
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

5.4 การวิ เคราะห์เชิ งเปรียบเทียบ


การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพบว่าเป็ นการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างตัวบทวรรณกรรม
แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของละตินอเมริกากับวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของภูมภิ าคอื่น ๆ
เช่น เปรียบเทียบกับวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของไทย ทัง้ ด้านเนื้อหาและกลวิธี หรือ
เปรียบเทียบกับวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของยุโรปถึงความแตกต่างบางประการในเชิง
ปรัชญาเกีย่ วกับ ‘ความจริง’ จานวน 3 เรื่อง คือ บทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2552)
เรื่อง วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้าน และการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์
วรรณกรรม ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2556) เรื่องการแปรอุปมาให้เป็ นความมหัศจรรย์และการแปร
ความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมา: กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและ
ละตินอเมริกนั และบทความวิชาการของพัชราภรณ์ หนังสือ (2562) เรื่องศิลปะ จิตวิญญาณ(อ)
สัจนิยมมหัศจรรย์ในภาพยนตร์ เรือ่ ง Birdman (2014)
การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์เน้นลักษณะต่างของสัจนิยม
มหัศจรรย์ละตินอเมริกากับสัจนิยมมหัศจรรย์ของไทย เนื่องจากความมหัศจรรย์ในงานเขียน
ของการ์เซีย มาร์เกซ มุ่งท้าทายและตัง้ คาถามกับขนบการเขียนแนวสัจนิยม ผ่านการแปรอุปมา
ให้กลายเป็ นความมหัศจรรย์ โดยการทาให้อุปมาดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษร (literalization)
แต่ในงานของมหรรณพ โฉมเฉลานัน้ กลับเป็ นการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมาในแง่ของ
เนื้อเรื่องความมหัศจรรย์อาจจะเกิดขึน้ จริง แต่ในแง่ของความหมายความมหัศจรรย์เป็ นเพียง
ความเปรียบเท่านัน้
ส่วนบทความวิชาการของพัชรภรณ์ หนังสือ (2562) เป็ นการตัง้ คาถามและเปรียบเทียบ
ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสัจนิยมมหัศจรรย์ของนักเขียนยุโรปกับสัจนิยมมหัศจรรย์ของ
นักเขียนละตินอเมริกาว่า นักเขียนยุโรปต้องเก็บความมหัศจรรย์อยู่ในเพียงจินตทัศน์ของตัวละคร
เนื่องจากความคิดแบบเหตุนิยมกับแบบวิทยาศาสตร์เป็ นรากฐานสาคัญ เพราะมักถูกปฏิเสธว่า
ไม่จริงอยู่เสมอ แต่สภาวะสัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นสิง่ ทีอ่ ยู่ในความคิด ความเชื่อของชาวละติน
อเมริกาอยู่แล้ว จึงสามารถเข้ามารวมอยู่กบั ชีวติ ธรรมดาของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
ในละตินอเมริกาได้ ถือเป็ นมิตใิ หม่ในการตัง้ ข้อสังเกตเกีย่ วรายละเอียดทีเ่ น้นถึงรากเหง้าความคิด
ปรัชญา ‘ความจริง’

584
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

แผนภูมิที่ 4
ประเด็นทีน่ ามาวิเคราะห์

15 %
35 % การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการ
การวิเคราะห์เชิงสังคม
20 % การวิเคราะห์เฉพาะเรือ่ ง
การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ

30 %

6. พัฒนาการการใช้แนวคิ ดสัจนิ ยมมหัศจรรย์ในงานวิ ชาการไทย

งานวิชาการไทยทีใ่ ช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ พบว่า แม้ส่ วนใหญ่มกี ารศึกษากันใน


กลุ่มสาขาภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม ทัง้ ด้านวรรณคดีเปรียบเทียบ แต่ปัจจุบนั มุ่งเชิงบูรณาการ
เพิม่ ขึน้ เห็นได้จากสาขาทฤษฎีศลิ ป์ จากการศึกษาพัฒนาการการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ของ
งานวิชาการไทยตามประเภทข้อมูลและประเด็นทีน่ ามาวิเคราะห์ พบว่า สามารถแบ่งได้เป็ น 3
ช่วง คือ ช่วงแรก พ.ศ. 2543-2547 ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2548-2557 และช่วงที่ 3 พ.ศ. 2558-2563
ดังนี้
ช่วงแรก พ.ศ. 2543-2547 งานวิชาการไทยใช้ขอ้ มูลประเภทนวนิยาย 2 เรื่อง แต่เป็ น
การใช้นวนิยายต่างประเทศเป็ นหลัก ในบทความวิชาการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2543)
เรื่องวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ และวิทยานิพนธ์ของนพวรรณ รองทอง (2543) เรื่องกาเนิด
และพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ เนื่องจากวรรณกรรมไทยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
ยังไม่ค่อยแพร่หลาย ช่วงนี้จงึ เป็ นการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการทัง้ หมดเพื่ ออธิบายองค์ความรู้
พืน้ ฐานทีเ่ กีย่ วข้องกับลักษณะของแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานศิลปะของยุโรปและงานวรรณกรรม
ของละตินอเมริกาเป็ นหลัก เพราะเน้นการให้ความสาคัญกับพืน้ ทีเ่ ริม่ ต้นทางศิลปะกับพืน้ ที่
เริม่ ต้นทางวรรณกรรมในละตินอเมริกา และทีส่ าคัญ คือ การอ้างถึง กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ
นักเขียนต้นแบบแนวสัจนิยมมหัศจรรย์อยู่เสมอ

585
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2548-2557 ช่วงนี้งานวิชาการไทยยังคงมีการใช้ขอ้ มูลประเภทนวนิยาย


ในช่วงต้นทศวรรษ 2550 จานวน 3 เรื่อง เช่น วิทยานิพนธ์ของกัญญา วัฒนกุล (2550) เรื่องสัจนิยม
มหัศจรรย์ และสหบทในนวนิยายเรือ่ ง คาฟกา ออน เดอะ ชอร์ของฮารุกิ มูราคามิ และมีการใช้
เรื่องสัน้ เพียงเรื่องเดียวใน พ.ศ. 2555 คือ ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2555) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์
ในคาถาภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ แต่ช่วงนี้กลับใช้ขอ้ มูลประเภทวรรณกรรมผสมมากขึน้ อย่างเห็นได้ชดั
จานวน 8 เรื่อง เช่น บทความวิชาการของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2548) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์
ในวรรณกรรมไทยกับวาทกรรมแห่งความเป็ นอืน่ และวิทยานิพนธ์ของหัตถกาญจน์ อารีศลิ ป์
(2556) เรื่อง สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์ ถือได้ว่าวรรณกรรมผสม
ได้รบั ความนิยมสูงสุด เนื่องจากนักเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมแนวนี้เพิม่ ขึน้ พร้อมกับมีงานแปล
จากญีป่ ่ นุ เข้ามาโดยเฉพาะงานของฮารุกิ มูราคามิทท่ี าให้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์เป็ นทีแ่ พร่หลาย
มากขึน้
ช่วงนี้พบว่า นักวิชาการยังคงใช้การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการเหมือนเดิม จานวน 3 เรื่อง
เช่น วิทยานิพนธ์ของรัตนาวดี ปาแปง (2556) ส่วนการวิเคราะห์เชิงสังคม จานวน 4 เรื่อง เช่น
บทความวิชาการของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2551) ต่อมาการวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง จานวน 3 เรื่อง
เช่น งานวิจยั อิสระของสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2554) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของ
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ จานวน 2 เรื่อง เช่น บทความ
ของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2556) เรื่องการแปรอุปมาให้เป็ นความมหัศจรรย์และการแปรความ
มหัศจรรย์ให้เป็ นอุปมา: กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและละติน
อเมริกนั
ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2558-2563 ช่วงนี้งานวิชาการไทยได้เปลีย่ นแปลงไปสู่เชิงบูรณาการ
มีการใช้ขอ้ มูลจากสื่อภาพยนตร์และสือ่ ศิลปะเพิม่ ขึน้ ประเภทละ 2 เรื่อง เช่น บทความวิชาการ
ของพัชรภรณ์ หนังสือ (2562) เรื่องศิลปะ จิตวิญญาณ(อ)สัจนิยมมหัศจรรย์ในภาพยนตร์ เรื่อง
Birdman (2014) วิทยานิพนธ์ของนัทธมน เปรมสาราญ (2562) เรื่องเรื่องเล่าย่อยทางการเมือง
ผ่าน สัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิ นไทยปี 2557-2560 ซึง่ ช่วงทีผ่ ่านมา
มักถูกจากัดอยู่แต่ในสาขาภาษา วรรณคดีและวรรณกรรมเท่านัน้ การใช้ประเภทข้อมูลวรรณกรรม
ผสมและนวนิยายลดจานวนลงเหลือเพียงจานวนประเภทละ 1 เรื่อง ประเด็นการวิเคราะห์เชิง
พัฒนาการเหลือจานวน 2 เรื่อง เช่น หนังสือของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2559) เรื่องสัจนิยม
มหัศจรรย์: ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย การวิเคราะห์
เชิงสังคม จานวน 2 เรื่อง เช่นบทความวิชาการของธงชัย แซ่เจีย่ (2558) เรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์
กับการนาเสนอภาพความรักของเกย์ในภาพยนตร์ไทย เรื่อง คืนนัน้ การวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง
และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบประเด็นละ 1 เรื่องเท่านัน้ ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของบุญฑริก

586
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

บุญพบ (2559) เรื่องการวิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา


กับบทความวิชาการของพัชรภรณ์ หนังสือ (2562) เรื่องศิลปะ จิตวิญญาณ(อ) สัจนิยมมหัศจรรย์
ในภาพยนตร์ เรื่อง Birdman (2014)
ช่วงนี้พบว่า ประเด็นในการวิเคราะห์ยงั คงเหมือนเดิม แต่มกี ารใช้ขอ้ มูล แบบบูรณาการ
มากขึน้ ทาให้มองเห็นแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในสื่อภาพยนตร์และสื่อศิลปะว่ามีมุมมองมอง
แปลกใหม่ในการตีความกลายเป็ นองค์ความรูใ้ หม่ เนื่องจากสื่อศิลปะสามารถเล่าเรื่องทางการเมือง
ได้อย่างแยบยล อีกทัง้ สะท้อนให้เห็นความสาคัญของแนวคิดนี้ทไ่ี ม่ได้เป็ นเพียงองค์ความรูใ้ น
งานวิชาการเท่านัน้ แต่กลายเป็ นองค์ความรู้ทส่ี ามารถช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมให้
ผูอ้ ่านได้เข้าใจอย่างลึกซึง้ และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจาวันได้

7. บทสรุป

จากการศึกษาสถานภาพการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical Realism) ในงาน


วิชาการไทยรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543-2563) พบงานวิชาการทัง้ หมดจานวน 20 เรื่อง โดย
นามาจัดกลุ่มประเภทของงานวิชาการได้ 4 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการจานวน 9 เรื่อง
วิทยานิพนธ์จานวน 8 เรื่อง งานวิจยั อิสระจานวน 1 เรื่อง และหนังสือจานวน 2 เรื่อง ส่วน
สถาบันการศึกษาที่นาแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ไปใช้ในงานวิชาการไทยมีทงั ้ หมด 5 สถาบัน
สถาบันทีใ่ ช้แนวคิดนี้มากที่สุด ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ
จานวน 6 เรื่อง สาขาวิชาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง และสาขาวิชาภาษาสเปน จานวน 1 เรื่อง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษ จานวน 7 เรื่อง มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาทฤษฎีศลิ ป์ จานวน 2 เรื่อง กับสาขาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สาขาภาษาไทย จานวน 1 เรื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อ
การสือ่ สาร จานวน 1 เรื่อง
นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาทัง้ สองแห่งได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดี
เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณคดีองั กฤษ ได้ผลิตนักวิชาการ
ที่มอี ทิ ธิพลต่อการสร้างองค์ความรู้ของแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ โดยเฉพาะสองนักวิชาการ
ที่ศกึ ษาด้านนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543-2563) ได้แก่ สุรเดช
โชติอุดมพันธ์ และชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ รวมผลงานวิชาการของทัง้ สองคนเป็ นจานวน 10 เรื่อง
ถือเป็ นจานวนครึง่ หนึ่งของงานวิชาการทัง้ หมด
ต่อมานามาจัดกลุ่มประเภทของข้อมูลทีใ่ ช้วเิ คราะห์ในงานวิชาการไทย พบจานวน 5
ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมผสม จานวน 9 เรื่อง นวนิยาย จานวน 6 เรื่อง สื่อภาพยนตร์
จานวน 2 เรื่อง สื่อศิลปะจานวน 2 เรื่อง และเรื่องสัน้ จานวน 1 เรื่อง งานวิชาการไทยพบ
587
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

ประเด็นทีน่ ามาวิเคราะห์แบ่งเป็ น 4 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการ จานวน 7 เรื่อง


การวิเคราะห์เชิงสังคม จานวน 6 เรื่อง การวิเคราะห์เฉพาะเรื่องจานวน 4 เรื่อง และการวิเคราะห์
เชิงเปรียบเทียบ จานวน 3 เรื่อง
จากการศึกษาพัฒนาการการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ของงานวิชาการไทยตามประเภท
ข้อมูลและประเด็นที่นามาวิเคราะห์ พบว่า สามารถแบ่งได้เป็ น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก พ.ศ.
2543-2547 งานวิชาการไทยเน้นข้อมูลประเภทนวนิยายต่างประเทศเป็ นหลัก เนื่องจากวรรณกรรมไทย
แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ยงั ไม่ค่อยแพร่หลายมาก ส่วนใหญ่วเิ คราะห์เชิงพัฒนาการ และทีส่ าคัญ
ของช่วงนี้ คือ การอ้างถึงกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักเขียนต้นแบบแนวสัจนิยมมหัศจรรย์
อยู่เสมอ ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2548-2557 ช่วงนี้งานวิชาการไทยยังคงมีการใช้ขอ้ มูลประเภท นวนิยาย
ในช่วงต้นทศวรรษ 2550 ถือได้ว่าเป็ นช่วงทีใ่ ช้ขอ้ มูลวรรณกรรมผสมสูงสุดในช่วงนี้ เนื่องจาก
นักเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมแนวนี้พร้อมกับการวิเคราะห์ครบทัง้ 4 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์
เชิงพัฒนาการ การวิเคราะห์เชิงสังคม การวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ
และช่วงที่ 3 พ.ศ. 2558-2563 ช่วงนี้งานวิชาการไทยเป็ นช่วงเปลีย่ นแปลงสู่การบูรณาการมากขึน้
มีการใช้ขอ้ มูลจากสื่อภาพยนตร์และสื่อศิลปะ ในช่วงที่ผ่านมามักจากัดอยู่แต่ในสาขาภาษา
วรรณคดีและวรรณกรรมเท่านัน้ เห็นได้ว่าประเด็นในการวิเคราะห์ยงั คงเหมือนเดิม เพียงแค่
ลดจานวนลง แต่มกี ารใช้ขอ้ มูลเชิงบูรณาการมากขึน้ ทาให้มองเห็นแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์
ในสื่ออื่น ๆ ทีม่ มี ุมมองแปลกใหม่ในการตีความกลายเป็ นองค์ความรูใ้ หม่ และสามารถนาไป
ประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจาวันได้
จากการศึกษาการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยรอบสองทศวรรษ
(พ.ศ. 2543-2563) พบว่า งานวิชาการยังคงนิยมการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการ แต่การวิเคราะห์
เชิงสังคมกาลังได้รบั ความนิยมมากขึน้ เนื่องจากปรากฏการณ์ทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ ไม่ว่ าจะเป็ น
บริบทสังคม การเมืองหรือกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมกันของมนุ ษย์ในประเด็นต่าง ๆ
เมื่องานวรรณกรรมและสื่ออื่น ๆ สร้างสรรค์ขน้ึ เพื่อสะท้อนสังคมในช่วงสาคัญนัน้ ๆ ย่อมส่งผล
โดยตรงต่อนักวิชาการทีส่ ามารถเลือกข้อมูลและประเด็นวิเคราะห์เชิงสังคมในมุมมองของแนวคิด
สัจนิยมมหัศจรรย์ เพื่อตีความแง่มุมใหม่ได้อย่างลุ่มลึกและมีความน่ าสนใจผ่านองค์ประกอบ
วรรณกรรม กลวิธกี ารแต่งและแนวคิดของเรื่อง

588
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 2 (JULY - DECEMBER 2021)

เอกสารอ้างอิ ง/References
กัญญา วัฒนกุล. (2550). สัจนิยมมหัศจรรย์และสหบทในนวนิยายเรือ่ ง คาฟกา ออน เดอะชอร์
ของฮารุกิ มูราคามิ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศวรางค์ นิลวาส. (2552). การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2543). วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์. สารคดี, 16(183), 152-154.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2552). วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้าน
และการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์วรรณกรรม. รัฐศาสตร์สาร รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี /
รัฐศาสตร์สาร 30 ปี , 2, 53-87.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2555ก). กาเบรียล การ์เซีย มาเกซกับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรม
ละตินอเมริกา. มติชนสุดสัปดาห์, 32, 1639-1650.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2555ข). สัจนิยมมหัศจรรย์ในคาถาภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ . อ่าน, 4(1), 36-62.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2556). การแปรอุปมาให้เป็ นความมหัศจรรย์และการแปรความมหัศจรรย์
ให้เป็ นอุปมา: กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและละตินอเมริกนั .
รัฐศาสตร์สาร, 34(2), 1-30.
ชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์: ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี
มอร์รสิ นั และวรรณกรรมไทย. อ่าน.
ธงชัย แซ่เจีย่ . (2558). สัจนิยมมหัศจรรย์กบั การนาเสนอภาพความรักของเกย์ในภาพยนตร์ไทย
เรือ่ ง คืนนัน้ . บทความนาเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ครัง้ ที่ 10 ประจาปี 2558 เรื่อง ผลงานวิจยั และนวัตกรรมสูก่ ารพัฒนาทีย่ งยื
ั ่ น วันที่ 22
ธันวาคม 2558.
นัทธมน เปรมสาราญ. (2562). เรือ่ งเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะ
ร่วมสมัยของศิลปิ นไทยปี 2557-2560 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
นพวรรณ รองทอง. (2543). กาเนิดและพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญฑริก บุญพบ. (2559). วิเคราะห์การใช้แผนทีใ่ นงานศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของกีเยอโม
ควีทกา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร

589
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

พัชราภรณ์ หนังสือ. (2562). ศิลปะ จิตวิญญาณ(อ)สัจนิยมมหัศจรรย์ ในภาพยนตร์ เรื่อง Birdman


(2014). อ่านคนละเรือ่ ง (Read Other-Wise) ปริทศั น์งานวิจารณ์ร่วมสมัย, ฉบับเนื่องใน
วาระถูกกาหนดให้เกษียณอายุราชการของชูศกั ดิ ์ ภัทรกุลวณิชย์ 29 กันยายน 2561,
น. 81-89.
ภาสุรี ลือสกุล. (2561). สัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัตศิ าสตร์ ชาติพนั ธุ์ วรรณกรรม.
โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนาวดี ปาแปง. (2556). ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในบริบท
สังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยกับวาทกรรมแห่งความเป็ นอื่น.
วารสารอักษรศาสตร์, 34(2), 84-106.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2551). พืน้ ทีก่ บั การเดินทางข้ามวัฒนธรรมในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์.
วารสารอักษรศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 29-60.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2554). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ.
สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หัตถกาญจน์ อารีศลิ ป์ . (2556). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์ [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chotiudompant, S. (2008). Thai Magical and Globalization. In T. Chong (Ed.). Globalization
and Its Counter Forces in Southeast Asia (pp. 380-395). Institute of Southeast
Asia Studies.

590

You might also like