You are on page 1of 25

Journal of Liberal Arts, Thammasat University

วารสารศิ ลปศาสตร์ มหาวิ ทยาลัยธรรมศาสตร์


Journal homepage: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/index

สังข์ทองตอนกําเนิดพระสังข์: กรณี ศึกษาสุวรรณสังขชาดกสังข์ทอง


ฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์
ศุภธัช คุ้มครอง * และสุปาณี พัดทอง
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

Sangthong Kamnerd Prasang: A case study of Suwannasang


Chadok Sangtong Royal Writings and Kamnerd Prasang Tale
Suppatat Khumkrong * and Supanee Patthong
Faculty of Liberal Arts, Thammasat University, Thailand

Article Info บทคัดย่อ


Research Article สังข์ทอง เป็ นวรรณกรรมทีแพร่หลายในสังคมไทยและในแถบเอเชีย มา
Article History: ยาวนาน โดยปรากฏในรูปแบบและสํานวนต่าง ๆ จํานวนมาก บทความนี
Received 27 January 2020 มุง่ ศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรืองสังข์ทองสํานวนต่าง ๆ ทีสร้างสรรค์
Revised 1 June 2020
ต่างสมัยกัน ได้แก่ สุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และ
Accepted 20 July 2020
นิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ซงยั
ึ งไม่มผี ใู้ ดศึกษามาก่อน ในด้านจุดมุ่งหมาย
คําสําคัญ การแต่ง รูปแบบ ฉันทลักษณ์ ชือตัวละคร ฉาก และเนือเรือง ผลการศึกษา
พบว่า รูปแบบ ฉันทลักษณ์ ชือตัวละคร ฉาก และเนือเรืองของสังข์ทอง
สังข์ทอง
แต่ละสํานวนนันมีทงความเหมื
ั อนและต่างกันตามวัตถุประสงค์การแต่ง
สุวรรณสังขชาดก
เช่น มีการดัดแปลง เติมแต่ง และตัดเนือหา ผลการศึกษานีทําให้เห็นถึง
สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์
การสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณกรรมเรืองสังข์ทองทีข้ามผ่านยุคสมัย ทัง
กําเนิดพระสังข์
ยังทําให้เห็นว่าสังข์ทองเป็ นวรรณกรรมทีทรงคุณค่า ไม่สูญหายไปตาม
กาลเวลา
Keywords:
Sangthong
Suwannasang Chadok
Sangtong Royal writing
Kamnerd Prasang

* Corresponding author
E-mail address:
suppatat.k@hotmail.com
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

Abstract
Sangthong has been a folktale that has been widespread in Thai
society and some other areas in Asia for a long time. It appeared
in many forms and many styles of writing. This article’s aim was to
study and compare the various versions of Sangthong that were
produced in different times. Those versions were Suwannasang
Chadok, Sangthong in the royal version and The Tale of Kamnerd
Prasang which has never been studied before. This article studied
the purposes, forms, characters’ names, scenes, and storylines.
The findings found that the purposes, forms, characters’ names,
scenes, and storylines of each style have both similarity and
differences in adaptation, enhancement of contents, and cutting off
some stories according to the purpose of the authors. This study
shows the inheritance and producing of the tale of Sang Thong that
happened throughout the years and also indicated that this tale is a
masterpiece and would not be lost in time.

190
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

1. บทนํา

สังข์ทอง เป็ นวรรณกรรมทีแพร่หลายในสังคมไทยมายาวนาน จะเห็นได้ว่าตังแต่อดีต


จนถึงปั จจุบนั สังข์ทองปรากฏในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทังบทละครนอก นิทาน แบบเรียน ละคร
แม้กระทังภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัชราภรณ์ ดิษฐป้ าน (2556, น.1) อธิบายว่า เรืองสังข์ทองเป็ น
นิทานพืนบ้านทีเล่าอยู่ในท้องถินต่างๆ ทัวประเทศ เช่น พังงา นครศรีธรรมราช สุโขทัย อุตรดิตถ์
นครสวรรค์ ในขณะทีอภิวฒ ั น์ ปรีชาประศาสน์ (2521, น. 3-4) อธิบายว่า “วรรณกรรมเรืองสังข์ทอง
เกิดจากนิทานพืนเมืองทีเล่ากันแพร่หลายในแถบเอเชีย. . . ชาวไทยมีเรืองสังข์ทอง ชาวจีนมี
เรืองผลไม้ทอง และชาวเกาหลีมเี รืองไข่ทอง” แสดงให้เห็นว่าเรืองสังข์ทองไม่เพียงแต่แพร่หลาย
ในท้องถินไทยเท่านัน หากยังมีเนือเรืองทีคล้ายคลึงกับวรรณกรรมของชาติอนื ๆ ด้วย
ในประเทศไทยสังข์ทองสํานวนทีเก่าแก่มากคือ สุวรรณสังขชาดก หรือสุวณ ั ณสังขชาดก
คาดว่าเป็ นฉบับทีมีอทิ ธิพลต่อการสร้างสรรค์สงั ข์ทองในสมัยต่อมา สุวรรณสังขชาดก เป็ นนิทาน
ปั ญญาสชาดก 1 ซึงเป็ นนิทานทางพระพุทธศาสนาทีพระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ประพันธ์ดว้ ยภาษา
บาลีในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช และพระเมืองแก้ว กษัตริยแ์ ห่งลานนาไทย ดังทีสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ (อ้างถึงใน อภิวฒ ั น์ ปรีชาประศาสน์, 2521, น. 5)
ทรงพระนิพนธ์คํานําในหนังสือปั ญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติว่า

“หนังสือปั ญญาสชาดกนีคือประชุมนิทานเก่าแก่ทเล่ ี ากันในเมืองไทยโบราณ


50 เรือง พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมแต่งเป็ นชาดกไว้ในภาษามคธ
เมือพุทธศักราชประมาณ 2000 จนถึง 2200 ปี อันเป็ นสมัยเมือพระสงฆ์พากัน
ไปเล่าเรียนมาแต่ลงั กาทวีป มาแต่งหนังสือเป็ นภาษามคธขึนในเรืองของตน
และเป็ นอย่างอรรถกถาธรรมาธิบาย เช่น มงคลทีปนี เป็ นต้นบ้างตามอย่าง
พงศาวดารของลังกาบ้าง แต่งเป็ นชาดก เช่น ปั ญญาสชาดกบ้าง เอาอย่าง
นิบาตชาดกบ้าง โดยเจตนาจะบํารุงพระศาสนาให้ถาวร”

สังข์ทองสํานวนทีได้รบั ความนิยมและเป็ นทีรู้จ กั ของผู้อ่ านมากทีสุด คือ สังข์ทอง


ฉบับพระราชนิ พนธ์ หรือ บทละครนอกเรืองสัง ข์ท อง พระราชนิพ นธ์ใ นพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็ นสํานวนทีมีความไพเราะงดงามมาก ซึงพระองค์ทรงนําเค้าโครงเรือง
มาจากบทละครครังกรุงเก่า (สุภคั มหาวรากร, 2547, น. 16) ซึงมีเค้าเรืองมากจากสุวรรณสังขชาดก

1
ปั ญญาสชาดก หรือ ปั ณณาสชาดก เป็ นชาดกนอกนิบาตหรือพาหิรชาดก แต่งขึนโดยนํานิทานจาก
อรรถกถาชาดกและนิทานพืนบ้านมาดัดแปลงให้เป็ นเรืองราวของพระโพธิสตั ว์ในชาติภพต่าง ๆ. . .ตามชือ
ปั ญญาสชาดก แปลว่า ชาดก 50 เรือง (มรดกภูมปิ ั ญญาทางวัฒนธรรม, 2562)
191
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

โดยบทละครนอกสํานวนนี แบ่งเป็ น 9 ตอน ได้แก่ กําเนิดพระสังข์ ถ่วงพระสังข์ นางพันธุรตั


เลียงพระสังข์ พระสังข์หนีนางพันธุรตั ท้าวสามนต์ให้นางทังเจ็ดเลือกคู่ พระสังข์ได้นางรจนา
ท้าวสามนต์ให้ลกู เขยหาปลา หาเนือ พระสังข์ตคี ลี ท้าวยศวิมลตามพระสังข์
ในปั จจุบนั มีการนําเนือเรืองบทละครนอกเรืองสังข์ทองมาสร้างสรรค์ในรูปแบบนิทาน
สําหรับเด็กหลากหลายสํานวน หนึงในนันคือนิทานเรือง กําเนิ ดพระสังข์ เล่าเรืองโดย ตุ๊บปอง
ซึงเป็ นหนังสือชุดนิทานจากนามานุกรมวรรณคดีไทย ของสํานักพิมพ์แฮปปี คิดส์ พิมพ์ครังแรก
เมือ พ.ศ. 2558 และได้รบั รางวัลหนังสือดีสําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart
ปี 2558 ของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และมูลนิธหิ นังสือเพือเด็ก ทังยังได้รบั คัดเลือก
เป็ น 100 หนังสือดีสาํ หรับเด็กและเยาวชน ปี 2561 ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
อีกด้วย
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีผรู้ วบรวมและศึกษาลักษณะการเปลียนแปลง ตลอดจน
เปรียบเทียบวรรณกรรมเรืองสังข์ทองสํานวนต่างๆ ไว้จํานวนหนึง เช่น อภิวฒ ั น์ ปรีชาประศาสน์
(2521) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของสังข์ทองฉบับปั ญญาสชาดก
และฉบับพระราชนิพนธ์ พบว่าสังข์ทองทัง 2 ฉบับมีความแตกต่างกันทังเนือเรืองและตัวละคร
แต่ทเหมื
ี อนกันคือจุดมุ่งหมายทีเน้นถึงผลของการทําความดี และเชือในกรรมทีทําในชาติปางก่อน
วัชราภรณ์ ดิษฐป้ าน (2546) ได้ศกึ ษาแบบเรืองนิทานสังข์ทอง การแพร่กระจายและความหลายหลาก
โดยพบว่านิทานเรืองสังข์ทองนีแพร่หลายมาก ทําให้เกิดสํานวนท้องถินมากมาย ทังในประเทศไทย
และในดินแดนชนชาติไทนอกประเทศไทย สุภคั มหาวรากร (2547) ได้ศกึ ษาการแปรรูปวรรณกรรม
เรืองสังข์ทอง พบว่าตัวละครสําคัญของสํานวนต่าง ๆ มีลกั ษณะร่วมกัน แต่จะแตกต่างกันในด้าน
ความคิด เนือเรือง รูปแบบการนําเสนอ และภาษา อีกทัง รัชรินทร์ อุดเมืองคํา (2551) ยังได้ศกึ ษา
วรรณกรรมแนววัฒนธรรมประชานิยม เรืองสังข์ทองฉบับต่าง ๆ โดยพบว่าสังข์ทองฉบับต่าง ๆ
ยังคงเค้าเรืองหลักจากฉบับพระราชนิพนธ์ แต่จะมีการดัดแปลงตามวัตถุประสงค์ของการผลิต
ช่องทางการนําเสนอ กลุ่มเป้ าหมาย ตลอดจนยุคสมัยทีผลิต นอกจากนียังมีผู้ศกึ ษาเกียวกับการ
เปรียบเทียบหรือดัดแปลงชาดกไว้ เช่น ณัฐกาญจน์ นาคนวล (2559) ศึกษาการสืบทอดเรืองเล่า
ทศชาติชาดกในสังคมไทยร่วมสมัย โดยพบว่า รูปแบบร้อยกรองและร้อยแก้วมีการใช้บทพรรณานา
กับภาษาจินตภาพเพือสร้างอารมณ์สะเทือนใจและรสวรรณคดี ส่วนรูปแบบหนังสือภาพประกอบ
การ์ตูน และการ์ตูน แอนิเมชันมีก ารสืบทอดและดัดแปลงรายละเอีย ดต่าง ๆ เพือตอบสนอง
วัตถุประสงค์และกลุ่มผูอ้ ่านทีหลากหลายมากขึน อาทิตย์ ดรุนยั ธร และ กิงกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล
(2562) ศึกษากลวิธกี ารดัดแปลงชาดกเป็ นวรรณคดีชาดกในสรรพสิทธิคําฉันท์ โดยพบว่าสรรพสิทธิ
คําฉันท์ได้รกั ษารูปเรืองบางอย่างของชาดกเอาไว้ ทังยังมีการดัดแปลงเนือหาในลักษณะต่างๆ ด้วย
เป็ นต้นว่า เพิมเติม เปลียนแปลง และตัดรายละเอียดบางอย่างเพือความเหมาะสม

192
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

จากการศึกษาพบว่า แม้จะมีผศู้ กึ ษาเปรียบเทียบสุวรรณสังขชาดกกับสังข์ทองฉบับ


พระราชนิพนธ์แล้ว แต่การเปรียบเทียบดังกล่าวก็ยงั มีบางประเด็นทีขาดหายไป นอกจากนียัง
ไม่มผี ใู้ ดนําสุวรรณสังขชาดกและสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ มาศึกษาเปรียบเทียบกับนิทาน
เรืองกําเนิดพระสังข์ ซึงเป็ นนิทานทีหน่ วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความสําคัญ ในบทความนี
ผู้ศกึ ษาจึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบ สุวรรณสังขชาดก กับ สังข์ทองฉบับพระราชนิ พนธ์ และ
นิทานเรือง กําเนิ ดพระสังข์ ในด้านจุดมุ่งหมายการแต่ง รูปแบบ ฉันทลักษณ์ ชือตัวละครและฉาก
ตลอดจนเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของเนือเรืองของทังสามสํานวน โดยจะเลือก
ศึกษาด้วยวิธกี ารอ่านละเอียดและยกตัวอย่างตัวบทวรรณกรรมของแต่ละสํานวนมาเปรียบเทียบ
กันเฉพาะตอนกําเนิดพระสังข์ ทังนีเพือให้เห็นถึงการสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณกรรมไทย
ข้ามยุคสมัย และเพือเติมเต็มองค์ความรูใ้ ห้วงวรรณกรรมไทย

2. จุดมุ่งหมายในการแต่ง รูปแบบ และฉันทลักษณ์ : ความเหมือนและความต่างของ


ทังสามสํานวน

สุวรรณสังขชาดก เป็ นปั ญญาสชาดกทีแต่งขึนโดยนํานิทานจากอรรถกถาชาดกและ


นิทานพืนบ้านมาดัดแปลงให้เป็ นเรืองราวของพระโพธิสตั ว์ในชาติภพต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมาย
เพือสอนหลักธรรมทางพุทธศาสนา (มรดกภูมปิ ั ญญาทางวัฒนธรรม, 2562) ในขณะทีสังข์ทอง
ฉบับพระราชนิพนธ์ เป็ นวรรณกรรมการแสดง มีจุดมุ่งหมายเพือการแสดงเป็ นหลัก มีผูแ้ สดง
เป็ นตัวพระ ตัวนาง ตัวประกอบ มีตน้ เสียงและลูกคู่สาํ หรับร้อง หรือตัวละครบางตัวอาจร้องเอง
มีการร่ายรํา มีฉาก มีดนตรีปีพาทย์ ซึงจะเป็ นเครืองห้า เครืองคู่ หรือเครืองใหญ่กไ็ ด้ (ละครนอก
ละครใน, 2562) ส่วนนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์มจี ุดมุ่งหมายเพือสืบทอดวรรณกรรมซึงเป็ น
มรดกอันลําค่าของชาติไทย โดยให้ผปู้ กครองและคุณครู ร่วมกันปลูกฝั งลูกหลานและศิษย์ ให้
คุน้ ชินและชืนชอบในเรืองราวของวรรณกรรมไทย
จะเห็นได้ว่า แม้จุดมุ่งหมายหลักของทังสามสํานวนจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
หากแต่จุดมุ่งหมายรองหรือจุดมุ่งหมายแฝงนันไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ทังสามสํานวนมุ่งหวัง
ให้ความบันเทิงแก่ผอู้ ่าน ผูช้ ม หรือ ผูฟ้ ั ง และด้วยเหตุททัี งสามสํานวนนันต่างมีทมาจากนิ
ี ทาน
พืนบ้านเหมือนกันจึงย่อมสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินได้เป็ นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม เมือทังสามสํานวนมีจุดมุ่งหมายในการแต่งทีแตกต่างกัน จึงทําให้มี
รูปแบบและฉันทลักษณ์แตกต่างกันด้วย จะเห็นได้ว่า สุวรรณสังขชาดกซึงเป็ นปั ญญาสชาดก
จะประพันธ์ด้วย “ร้อยแก้วภาษาบาลี” แปลเป็ นร้อยแก้วภาษาไทย โดยหลวงธํารงเจดียรัฐ
(เทศวิรยิ รัต) เปรียญ 4 ประโยค และจะมีรูปแบบในการเขียนเช่นเดียวกับปั ญญาสชาดกเรือง
อืนๆ คือ เริมต้นด้วยภาษาบาลี และในต้นเรืองจะกล่าวถึงสถานทีทีพระพุทธเจ้าตรัสเล่าชาดก

193
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

และมูลเหตุทพระองค์
ี ทรงปรารภชาดกให้ภกิ ษุฟัง ในสุวรรณสังขชาดกพระพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า
ชาดก ณ พระเชตวัน อารามของปิ ณฑิกคฤหบดี โดยมีเหตุมาจากพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์
พระองค์ ดังข้อความทีว่า

“ . . สมเด็จพระบรมศาสดา เมือประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อันเป็ นอาราม


ของปิ ณฑิก คฤหบดี ทรงพระปรารภภิกษุเทวทัต ผูข้ วนขวายอยู่เพือจะ
ปลงพระชนม์ข องพระองค์ เป็ น มูล เหตุต รัส พระธรรมเทศนา มีคํา เริม
ว่ า สัจฺจํ กิเรวมาหํ สุ ดังนีเป็นอาทิ ดําเนินความในนิทานวจนว่า กิร ดังได้
สดับฟั งมาว่า ภิกษุเทวทัตนันเป็ นโอรสแห่งสุปพุทธสากยราช ครันบรรพชา
ในพระพุทธศาสนาแล้ว พยายามคอยจะฆ่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้า. . . .”
(ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 1)

หลังจากนันจะกล่าวถึงเนือเรืองของสุวรรณสังขชาดกซึงผูศ้ กึ ษาจะกล่าวถึงต่อไป และ


ต่อท้ายด้วยการประชุมชาดก กล่าวถึงตัวละครในเรืองว่ามาเกิดเป็ นใครในปั จจุบนั เป็ นต้นว่า

“ พระยานาคเอาเรือมารับสุวรรณสังขกุมารนัน กลับชาติมาคือพระองคุลมิ าล
เถระ. . . นางสุวรรณจัมปากเทวีแกล้งใส่โทษแก่พระนางจันทาเทวี กลับชาติมา
คือนางจิญจมานวิกา. . .พระเจ้าพรหมทัตต์ราชบิดาสุว รรณสัง ขกุม าร
กลับชาติมาคือ สุทโธทนพุทธบิดา พระนางจันทาเทวี กลับชาติมาคือพระนาง
สิรมิ หามายาพุทธมารดา. . . พระสุวรรณสังขราชา กลับชาติมาคือเราตถาคต”
(ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 61-62)

ในขณะที สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์เป็ นวรรณกรรมเพือการแสดง ประพันธ์ด้วย


กลอนลํานําสําหรับขับร้อง คือ “กลอนบทละคร” ซึงเป็ นบันเทิงคดีรอ้ ยกรองทีได้รบั ความนิยม
และสืบทอดขนบมาจากอยุธยา มีความประณีตบรรจงเชิงศิลปะ โดยกลอนบทละครนันมีลกั ษณะ
เหมือนกลอนสุภาพ ในแต่ละวรรคนิยมใช้คํา 6-7 คํา โดยมากคําขึนต้นบทอาจมีเพียง 2 คําก็ได้
และใช้แทนวรรคสดับทังวรรค เช่น เมือนัน ใช้ขนต้ ึ นเมือกล่าวถึงผู้ใหญ่ บัดนัน ใช้ขนต้
ึ นเมือ
กล่าวถึงผูน้ ้อย มาจะกล่าวบทไป ใช้ขนต้
ึ นเรือง หรือเรืองราวทีแทรกเข้ามา นอกจากนีกลอน
แต่ละท่อนมักมีชอเพลงกํ
ื ากับ และระบุจาํ นวนคํากลอนไว้ทา้ ยท่อนอีกด้วย (โชษิตา มณีใส, 2557,
น. 81; สุปาณี พัดทอง, 2561, น. 78-79) ดังตัวอย่าง

194
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

๏ เมือนัน พระสังข์ซ่อนอยู่กร็ สู้ นิ


พระแม่ไปป่ าเป็ นอาจิณ ในจิตคิดถวิลทุกเวลา
จะใคร่ออกช่วยพระแม่เจ้า สงสารผ่านเกล้าเป็ นหนักหนา
เหนือยยากลําบากกายา กลับมาจนคําแล้วรําไร
……………………………….
ฯ 10 คํา ฯ เพลงฉิง
(พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 51)

ส่วนนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ เป็ นวรรณกรรมสําหรับเด็กทีมีความน่ าสนใจอย่างยิง


เนืองจากประพันธ์โดยประยุกต์ใช้ “กลอนหัวเดียว” ซึงเป็ นร้อยกรองรูปแบบใหม่ทประยุี กต์
ฉันทลักษณ์จากเพลงพืนบ้าน กล่าวคือ ประพันธ์โดยใช้เพลงพืนบ้านเข้ามาผสมผสาน โดยเพลง
พืนบ้านทีเป็ นกลอนหัวเดียวจะลงสัมผัสเสียงเดียวกันทีวรรคคู่ทุกวรรค และประยุกต์ให้มลี ลี า
ใหม่ๆ (สุปาณี พัดทอง, 2561, น. 193) ดังตัวอย่าง

ลูกน้อยหอยสังข์หน้าแห้ง เห็นแม่ใช้แรงแอบนําตาย้อย
ทุกวันออกช่วยเช็ดถู ตอนแม่ไม่อยู่ลกู ออกจากหอย
นางจันท์เทวีแปลกใจ ไม่รวู้ ่าใครมาช่วยบ๊อยบ่อย
ทุกวันทุกวีมิขาด กระท่อมสะอาดเก็บกวาดเรียบร้อย
(ตุ๊ปปอง, 2561, น.15)

3. ตัวละครและฉาก: ความเหมือนและความต่างของทังสามสํานวน

ด้วยจุดมุ่งหมายและช่วงเวลาการแต่งของทังสามสํานวนมีความแตกต่างกัน จึงเป็ น
ส่วนหนึงทีทําให้ชอตั
ื วละครและฉากในแต่ละเรืองมีทงความเหมื
ั อนและความแตกต่างกัน อภิวฒ ั น์
ปรีชาประศาสน์ (2521, น. 9) ได้เปรียบเทียบ “ชือตัวละคอน” และชือเมืองในเรืองสังข์ทองฉบับ
ปั ญญาสชาดก และฉบับพระราชนิพนธ์ไว้ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปี ท ี 17 ฉบับที 4 เดือนเมษายน
พ.ศ. 2521 ผูศ้ กึ ษาจึงนําข้อมูลนีมาเปรียบเทียบเพิมเติมกับนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ ทังยังปรับ
และเพิมข้อมูลให้ครบสมบูรณ์ ดังตารางต่อไปนี

195
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

ตารางที 1
การเปรียบเทียบชือตัวละครและฉากของสังข์ทองทังสามสํานวน

ตัวละคร/ฉาก ปัญญาสชาดก พระราชนิ พนธ์ นิ ทาน


พระสังข์ พระสุวรรณสังข์โพธิสตั ว พระสังข์ ลูกน้อยหอยสังข์
หรือพระสังข์
พระราชบิดาของพระสังข์ พระเจ้าพรหมทัต ท้าวยศวิมล ท้าวยศวิมล
พระราชมารดาของพระสังข์ นางจันทาเทวี นางจันท์เทวี พระนางจันท์เทวี
(มเหสีฝ่ายขวา)
มเหสีฝ่ายซ้าย นางสุวรรณจัมปากเทวี นางจันทาเทวี จันทา
มเหสีพระสังข์ นางคันธา นางรจนา -
นางยักษ์ นางยักษ์ขนิ ี นางพันธุรตั นางพันธุรตั น์
เมืองรจนา เมืองพาราณสี เมืองสามล -
เมืองพระสังข์ เมืองพรหมนคร เมืองยศวิมล เมืองยศวิมล

จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าชือตัวละครในสุว รรณสัง ขชาดก ส่วนมากจะมีความ


เกียวเนืองกับพระพุทธศาสนา เป็ นต้นว่า ตัวละคร “พระสุวรรณสังข์โพธิ สตั ว” แสดงให้เห็นว่า
พระสังข์ในสุวรรณสังขชาดกเป็ นพระโพธิสตั ว์ไม่ใช่เจ้าชายทัวไป ซึงสํานักราชบัณฑิตยสภา
(2556) ให้ความหมายของพระโพธิสตั ว์ไว้ว่าเป็ น “บุคคลทีบําเพ็ญบารมีหรือกระทําความดีต่างๆ
เพือให้ได้ตรัสรูเ้ ป็ นพระพุทธเจ้า” เช่นเดียวกับชือ “เมืองพาราณสี” หรือ “วาราณสี” เป็ นเมือง
ทีปรากฏในนิทานชาดกเรืองต่าง ๆ เช่น ภูรทิ ตั ชาดก เตมีย ชาดก จันทกุมารชาดก รวมถึง
สุวรรณสังขชาดก คัมภีร์ทางพระพุท ธศาสนาได้กล่าวถึงเมืองนีว่าเป็ นเมืองทีอยู่บริเวณลุ่ม
แม่นําคงคา เมืองแห่งนีเป็ นเมืองทีมีความสําคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างยิง เนืองจากเป็ น
ทีตังของ “ป่ าอิสปิ ตนมฤคทายวัน” สถานทีซึงพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
คือ “ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร” (พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วียุทฺโธ), 2555) ส่วนชือ “พระเจ้า
พรหมทัต” เป็ นชือทีปรากฏในชาดกหลายเรืองเช่นกัน เนืองจากในทางพระพุทธศาสนาพระเจ้า
พรหมทัตเป็ นกษัตริย์ผู้ครองกรุงพาราณสี พระโพธิสตั ว์ถือกําเนิดเป็ นพระโอรสของพระองค์
ต่อมาทรงได้ข นครองราชสมบั
ึ ติต่อจากพระราชบิดา โดยมีพระนามว่า “พระเจ้าพรหมทัต”
เช่นเดียวกัน (พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี และพระมหาอมรวิช ญ์ ชาครเมธี, 2559, น. 22-23)
ดังนันจึงกล่ าวได้ว่า พระนามพระเจ้าพรหมทัต ในชาดกเรืองต่ า ง ๆ เป็ น คํา ทีนิย มใช้เ รีย ก
พระมหากษัตริยโ์ ดยทัวไป ไม่ใช่พระนามเฉพาะพระมหากษัตริยพ์ ระองค์ใดพระองค์หนึง
ชือตัวละครและฉากในสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ดัดแปลงมาจากบทละครนอก
ครังกรุงเก่า ซึงได้รบั อิทธิพลจากสุวรรณสังขชาดก แต่จะเห็นว่าชือตัวละครและฉากในฉบับ
พระราชนิพนธ์กบั ฉบับปั ญญาสชาดกมีความแตกต่างกันมาก เช่น “นางจันทาเทวี” ในสุวรรณ

196
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

สังขชาดกเป็ นพระราชมารดาของพระสังข์ หรือ มเหสีฝ่ายขวา ซึงเป็ นตัวละครฝ่ ายดี แต่ ใน


ฉบับพระราชนิพนธ์ “นางจันทาเทวี” กลายเป็ นชือของพระมเหสีฝ่ายซ้าย ซึงเป็ นตัวละคร
ปรปั กษ์ และเนืองด้วยสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์นันไม่มคี วามเกียวข้องกับพระพุ ทธองค์
ดังนัน ชือตัวละครและชือเมืองในฉบับนี จึงไม่มคี วามสัมพันธ์กบั พระพุทธศาสนาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามจะสังเกตได้ว่าในฉบับนีจะมีการเรียกชือผูป้ กครองเมืองตามชือเมือง คือ เรียกชือ
ผูป้ กครองเมืองว่าท้าวสามลเนืองจากเป็ นผูป้ กครองเมืองสามล
ส่วนชือตัวละครและชือเมืองในนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์นัน มีความคล้ายคลึงกับชือ
ตัวละครในฉบับพระราชนิพนธ์มาก เนืองจากนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์นําตอนแรกของฉบับ
พระราชนิพนธ์มาถ่ ายทอดในรูปแบบนิท าน อย่างไรก็ตามชือตัว ละครในนิทานเรืองกําเนิด
พระสังข์มคี วามแตกต่างจากฉบับพระราชนิพนธ์เล็กน้อย เป็ นต้นว่า ในฉบับนิทานส่วนมากจะ
เรียกพระสังข์ว่า ลูกน้อย ลูกน้อยหอยสังข์ พบการเรียกว่า “พระสังข์” ในท้ายเรืองเพียงครังเดียว
เท่า นั น นอกจากนี ยัง พบว่า ในฉบับ นิ ท านเรีย กพระนางจัน ทาเทวี มเหสีฝ่ ายซ้า ยในฉบับ
พระราชนิพนธ์ว่า “จันทา” โดยไม่มคี าํ นําหน้าชือ “นาง” หรือ “พระนาง” แต่อย่างใด
จะเห็นได้ว่า สาเหตุทชืี อตัวละครและฉากของทังสามสํานวนนันมีความแตกต่างกัน
เกิดจากทังสามสํานวนมีวตั ถุประสงค์ในการแต่งทีต่างกัน กล่าวคือ การทีตัวละครและฉากใน
สุวรรณสังขชาดกมีความเกียวข้องกับพระพุทธศาสนาเนืองจากสุวรรณสังขชาดกเป็ นชาดก
มีจุดมุ่งหมายเพือสอนคติธรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์นันเป็ น
วรรณกรรมเพือการแสดง จึงสร้างสรรค์ชอตั ื วละครและฉากใหม่ หากยังคงสืบทอดบางส่วนของ
ชือตัวละครหลักจากชาดกไว้ ได้แก่ คําว่า “สังข์” หรือ “จันท์” นอกจากนีจะเห็นได้ว่านิทานเรือง
กําเนิดพระสังข์นันสืบทอดชือตัวละครและฉากจากฉบับพระราชนิพนธ์มาอย่างชัดเจน ทังยัง
สร้างสรรค์ชอตั
ื วละครบางส่วนให้เหมาะสมกับความเป็ นวรรณกรรมเด็ก เห็นได้ชดั เจนจากคําว่า
“ลูกน้อยหอยสังข์”

4. เนื อเรืองของสังข์ทองทังสามสํานวน: กรณี ศึกษาตอนกําเนิ ดพระสังข์

ในหัวข้อนีผูศ้ กึ ษาจะนําเสนอเนือเรืองสุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์


และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ โดยหัวข้อแรกจะกล่าวถึงเนือเรืองย่อสุวรรณสังขชาดกช่วงกําเนิด
พระสังข์ ต่อมาจะกล่าวถึงเนือเรืองย่อสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ตอนกําเนิดพระสังข์ ส่วน
นิทานเรืองกําเนิดพระสังข์มเี นือเรืองเช่นเดียวกับสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ดังนันผูศ้ กึ ษาจึง
ไม่ขอกล่าวถึงเนือเรืองย่อของนิทานเรืองนี และต่อมาผู้ศกึ ษาจะเปรียบเทียบความเหมือนและ
ความต่างของทังสามสํานวน ส่วนหัวข้อสุดท้ายผู้ศกึ ษาจะกล่าวถึงลักษณะและปั จจัยในการสืบทอด
และสร้างสรรค์จากการศึกษาเปรียบเทียบเนือเรืองของทังสามสํานวน เพือให้เห็นถึงการสืบทอด
และสร้างสรรค์วรรณกรรมต่างสมัย
197
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

4.1 เนื อเรืองย่อสุวรรณสังขชาดกช่วงกําเนิ ดพระสังข์


ในอดีตกาลมีกษัตริย์พระองค์หนึงมีพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต ครองพรหมนคร
มีมเหสีสองพระองค์ คือ นางจันทา เป็ นพระมเหสีฝ่ายขวา และนางสุวรรณจัมปากหรือจําปาทอง
เป็ นมเหสีฝ่ายซ้าย ต่อมาพระมเหสีทงสองพระองค์
ั ทรงครรภ์พร้อมกัน เมือนางจําปาทองทราบว่า
พระโพธิสตั ว์จุตมิ าเกิดในครรภ์ของนางจันทา นางจําปาทองจึงนึกอิจฉา และคิดเป็ นใหญ่แต่
ผูเ้ ดียว จึงให้ปาลกเสนาบดีใส่รา้ ยนางจันทา ปาลกเสนาบดีเพ็ดทูล และยุยง ส่วนนางจําปาทอง
ก็คอยส่งเสริม พระเจ้าพรหมทัตทรงมิได้พจิ ารณาอย่างถีถ้วนจึงรับสังให้ไล่นางจันทาทีกําลัง
ทรงครรภ์ออกจากพระราชวังเสีย
นางจันทาออกจากพระราชวังไปอาศัยอยู่ในป่ ากับตายาย พระโพธิสตั ว์ทอยู ี ่ในครรภ์
พิจารณาแล้วว่ามารดากําลังทุกข์ยากเกรงว่าจะเลียงดูตนลําบาก จึงอธิษฐานให้กลายเป็ นรูป
สังข์ทอง เมือตังครรภ์ได้ 10 เดือน นางจันทาจึงคลอดลูกออกมาเป็ นหอยสังข์ แม้จะทราบว่าลูก
เป็ นหอยสังข์ แต่นางยังคงรักษาไว้จนพระโพธิสตั ว์เติบใหญ่ วันหนึงนางจันทาเข้าป่ า พระโพธิสตั ว์
จึงออกจากหอยสังข์เพือมาทํางานบ้านคอยมารดา เมือนางจันทากลับมา นางเห็นกุมารอยู่ไกลๆ
แต่ไม่รวู้ ่าเป็ นลูก ฝ่ ายพระโพธิสตั ว์เมือเห็นแม่กร็ บี หลบเข้าไปซ่อนในสังข์
วันหนึงนางจึงออกอุบายทําทีจะออกไปป่ าตามเคย แต่นางไปแอบใกล้ๆ พระโพธิสตั ว์
คิดว่าแม่ไม่อยู่แล้ว จึงออกจากหอยสังข์มาหุงหาอาหาร ทํางานบ้านคอยแม่เช่นทุกครัง เมือ
นางจันทาทราบว่ากุมารคนนันเป็ นลูกของตน จึงเข้ามาทุบและใช้ไฟเผาหอยสังข์จนเสียหายมาก
ในทีสุดนางจึงได้ลกู มาเลียงดู
4.2 เนื อเรืองย่อสังข์ทองฉบับพระราชนิ พนธ์ ตอนกําเนิ ดพระสังข์
นานมาแล้ว มีกษัตริยพ์ ระองค์หนึง นามว่าท้าวยศวิมลครองเมืองยศวิมลมีพระมเหสี
นามว่านางจันท์เทวี และมีพระสนมนามว่านางจันทา นางจันทาริษยานางจันท์เทวี จึงหาทาง
กลันแกล้ง เมือนางจันท์เทวีทรงครรภ์และประสูตพิ ระโอรสเป็ นหอยสังข์ นางจันทาได้ทจี งึ ยุให้
โหรหลวงทํานายว่าพระโอรสของนางจันท์เทวีเป็ นกาลีบา้ นเมือง ท้าวยศวิมลจึงให้นางจันท์เทวี
และพระโอรสในหอยสังข์ออกจากเมืองตามคําทีโหรทํานาย
นางจัน ท์เทวีเ ดิน ทางออกจากเมือ งด้ว ยความยากลําบาก เมือถึง ชายป่ าตายาย
เกิดความสงสาร จึงให้นางจันท์เทวีพกั อยู่ดว้ ยกัน วันหนึงนางจันท์เทวีเข้าป่ าเพือเก็บผักเก็บฟื น
ช่วยตายาย มีไก่ป่ามาจิกกินข้าวทีบ้าน พระโอรสจึงออกจากหอยสังข์เพือมาไล่ไก่ป่า และช่วย
ทํางานบ้าน เมือเสร็จจึงกลับเข้าไปอยู่ในหอยสังข์เช่นเดิม เมือนางจันท์เทวีออกจากบ้านคราใด
พระโอรสจะออกจากหอยสังข์มาช่วยทํางานบ้านทุกครัง
นางจันท์เทวีแปลกใจว่าใครช่วยมาทํางานบ้าน และอยากรูว้ ่าเป็ นใคร วันหนึงจึงทําที
ออกจากบ้านไปป่ าเช่นทุกครัง แต่แล้วก็ยอ้ นกลับมาทีบ้านจึงพบพระโอรสออกจากหอยสังข์

198
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

มาช่วยทํางานบ้าน เมือนางจันท์เทวีเห็นว่าพระโอรสเป็ นมนุษย์จงึ ทุบหอยสังข์ทงและสวมกอด



พระโอรสด้วยความดีใจ
4.3 เปรียบเทียบเนื อเรืองของทังสามสํานวน: กรณี ศึกษาตอนกําเนิ ดพระสังข์
ในหัวข้อนีผูศ้ กึ ษาจะเปรียบเทียบเนือหาสุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์
และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์มเี นือหาทีเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร โดยจะใช้วธิ พี จิ ารณา
ทุกสํานวนไปตามลําดับเรือง ดังรายละเอียดต่อไปนี
4.3.1 การเสด็จเลียบพระนครและบวงสรวงขอพระโอรส
สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ เริมต้นเรืองด้วยการเสด็จเลียบพระนครของท้าวยศวิมล
ราษฎรต่างเรียกร้องให้พระองค์หาบุตร ทําให้พระองค์มจี ติ ใจร้อนรุ่ม จึงตังมันรักษาศีล และโปรด
ให้มกี ารบวงสรวงเทวดาเพือขอบุตร ดังตัวอย่าง

๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวยศวิมลไอศวรรย์
ไร้บุตรสุดวงศ์พงศ์พนั ธุ์ วันหนึงนันไปเลียบพระนคร
ราษฎรร้องว่าให้หาบุตร พระทรงภุชร้อนจิตดังพิษศร
มิได้เสวยสรงสาคร นังนอนร้อนใจใช่พอดี
.................................
จึงดํารัสตรัสเล่ามเหสี ถ้วนถีชีแจงแถลงไข
เจ้ามาช่วยพีคิดนะดวงใจ ค้นคว้าหาไปดูตามบุญ
บวงสรวงซ่องเซทุกเวลา รักษาศีลด้วยช่วยอุดหนุน
ถ้วนทุกนางในให้พร้อมมูล เกลือกบุญของใครได้สร้างมา
(พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 31)

เนือหาการเสด็จเลียบพระนครและบวงสรวงขอพระโอรสของท้าวยศวิมลนีเป็ นการ
เติมแต่งเหตุการณ์ทปรากฏเฉพาะในสั
ี งข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์เท่านัน มิได้ปรากฏในสุวรรณ
สังขชาดกและนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์
4.3.2 การสุบินและทํานายสุบิน
เรืองสุวรรณสังขชาดก พระนางจันทาเทวีและพระมเหสีฝ่ายซ้ายทรงสุบนิ ในลักษณะ
“เทพสังหรณ์” ในยามใกล้สว่างในคืนเดียวกัน พระนางจันทาเทวีทรงสุบนิ ว่า “พระอาทิตย์เปล่งรัศมี
แผ่ไ ปในทิสานุ ท ิส แล้ว เวีย นสิเ นรุบ รรพตสามรอบมาตกต้อ งทรวงของพระนางจัน ทาเทวี”
(ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 2) ในขณะทีพระมเหสีฝ่ายซ้ายทรงสุบนิ ว่า “ท้าววาศพเจ้าพิภพ
ดาวดึงส์ ทรงประทานดอกจําปาทองให้แก่นางเทวีแล้วก็เสด็จกลับไป นางเทวีรบั ดอกจําปาทอง

199
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

นันแล้วก็เชยชมชูพระทัย” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 3) เนมิกาจารย์จงึ พยากรณ์ถวายว่า


พระนางจันทาเทวีจะได้พระโอรส ส่วนพระมเหสีฝ่ายซ้ายจะได้พระธิดา ในขณะทีสังข์ทองฉบับ
พระราชนิพนธ์ผทู้ ทรงสุ
ี บนิ มิใช่ราชเทวีทงสองพระองค์
ั หากแต่เป็ นท้าวยศวิมล ซึงโหรทํานายว่า
พระองค์จะได้พระโอรส ดังตัวอย่าง

ฝั นว่าอาทิตย์ฤทธิรงค์ ตกลงตรงพักตร์ขา้ งทักษิณ


ดาวน้อยพลอยค้างอยู่กลางดิน เราผินพักตร์ฉวยเอาด้วยพลัน
มือซ้ายได้ดวงดารา มือขวาคว้าได้สรุ ยิ ฉ์ นั
แล้วหายไปแต่พระสุรยิ นั ต่อโศกศัลย์ราไรจึ
ํ งได้คนื
(พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 34)

เนือหาการทรงสุบนิ นีปรากฏเฉพาะในสุวรรณสังขชาดก และสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์


เท่านัน มิได้ปรากฏในนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์
4.3.3 การประทานเรือนหลวงและสร้างเบ็ญจกุกธุ ภัณฑ์
เรืองสุวรรณสังขชาดกเมือพระเจ้าพรหมทัตทราบคําทํานายพระสุบนิ พระองค์จงึ “ตรัส
ประทานเรือนหลวงเป็ นทีสบายให้แก่ราชเทวีทงสองพระองค์
ั ด้วยพระประสงค์จะให้ราชเทวีรกั ษา
ครรภ์ไว้ให้ด”ี (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 3) ทังยัง “มีพระประสงค์ให้สร้างเบ็ญจกุกุธภัณฑ์
ไว้ท่า 2 สําหรับจะได้ทาํ ราชาภิเษกพระราชบุตร” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 3) ในขณะที
สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ตดั เนือหาตอนนีออกไป
4.3.4 ผูท้ ี จุติมาเกิ ดเป็ นพระสังข์
เรืองสุวรรณสังขชาดกผูท้ มาเกิี ดเป็ นพระโอรสของพระนางจันทาเทวีคอื พระบรมโพธิสตั ว
ดังตัวบททีว่า “คราวนันพระบรมโพธิสตั วยังท่องเทียวอยู่ในสงสารวัฏ จุตจิ ากเทวโลกได้เกิดใน
ครรภ์แห่งมเหษีขวาของพระเจ้ากรุงพรหมทัต” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 2) ในขณะที
สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ผูท้ มาเกิ ี ดเป็ นพระโอรสของพระนางจันท์เทวีคอื เทวดาทัวไปทีจุติ
มาเกิดบนโลกมนุษย์ตามความต้องการของท้าวยศวิมลทีจัดพิธบี วงสรวง ดังตัวบทต่อไปนี

2
ท่า เป็ นภาษาเก่า แปลว่า รอคอย

200
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

๏ มาจะกล่าวบทไป สุราลัยในดาวดึงส์สวรรค์
เมือผลจะสินพระชนม์นนั อัศจรรย์รอ้ นรนเป็นพ้นไป
รัศมีศรีตนก็หม่นหมอง สิงของของตัวก็มวั ไหม้
เทวาตระหนกตกใจ แจ้งในพระทัยจะวายชนม์
แล้วจึงตรึกตรองส่องเนตร แจ้งใจในเหตุเภทผล
พระเจ้าท้าวยศวิมล เสสรวงบวงบนแก่เทวัญ
เทวาจะมานิมนต์เรา ให้พรากจากดาวดึงส์สวรรค์
อย่าเลยจะจุตพิ ลัน อย่าให้เทวัญทันนิมนต์
ลงไปเกิดในมนุสสา แสวงหาศีลทานการกุศล
คิดแล้วกลันใจให้วายชนม์ ปฏิสนธิยังครรภ์กลั ยา
(พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 33)

เนือหาเกียวกับผู้ทจุี ติมาเกิดเป็ นพระสังข์ปรากฏในสุว รรณสัง ขชาดกและสังข์ท อง


ฉบับพระราชนิพนธ์เท่านัน ส่วนนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์มไิ ด้กล่าวถึง
4.3.5 การคลอดพระสังข์
เรืองสุวรรณสังขชาดกพระนางจันทาเทวีถูกพระเจ้าพรหมทัตไล่ออกจากเมืองก่อน
จึงไปคลอดพระสังข์ในป่ า ณ กระท่อมตายาย เมืออายุครรภ์ครบ 10 เดือน ดังข้อความทีว่า
“. . . ตายายทราบเหตุแล้วนึกสมเพชและนึกดีใจ จึงพาพระนางจันทาเทวีมาเลียงไว้ยงั เรือน พระนาง
จันทาเทวีอาศัยอยู่ต่อมาจนทรงครรภ์ได้หกเดือน . . . เมืออยู่ในครรภ์ครบสิบเดือน รูปสังข์ทองนัน
จึงออกจากครรภ์มารดา งดงามยิงนัก. . . ” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 6-7) ในขณะทีสังข์ทอง
ฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ พระนางจันเทวีคลอดพระสังข์ในพระบรมหาราชวัง
ต่อหน้าท้าวยศวิมล ตัวอย่างดังตารางต่อไปนี

ตารางที 2
เปรียบเทียบตัวบทการคลอดพระสังข์ระหว่างฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับนิทาน

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน

๏ เมือนัน ด้วยพระนางจันท์เทวี
มเหสีป่วนปันพระครรภ์เจ้า พระมเหสีจะคลอดลูกน้อย
มิ ได้วายว่างบางเบา โอรสหรือพระธิดา
เจ็บราวกับเขาผูกคร่าร้า ทุกคนตังหน้าตังตารอคอย
เป็ นกรรมตามทันมเหสี ท้าวยศวิมลลุน้ จัด

201
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน


จะจากที สมบัติวตั ถา บ่าวไพร่คอยพัดคอยวีหว็อยหว็อย
ยามปลอดก็คลอดพระลูกยา ฉับพลันเสียงดังอึงมี
กุมารากําบังเป็ นสังข์ทอง นางจันท์เทวีมีลกู เป็ นหอย
.................................
ภูมินทร์เพียงจะสิ นชีวนั
อับอายสาวสรรค์กาํ นัลใน

(พุทธเลิศหล้านภาลัย, (ตุ๊ปปอง, 2561, น. 4-5)


พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 39)

4.3.6 สาเหตุการออกจากเมืองของนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี


การออกจากเมืองของนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี ในทุกสํานวนเป็ นเหตุมาจาก
การใส่รา้ ยของมเหสีฝ่ายซ้ายร่วมกับเสนาบดีทงสิ ั น แต่การใส่รา้ ยในแต่ละสํานวนนันมีความ
แตกต่างกัน กล่าวคือ เรืองสุวรรณสังขชาดกนางจันทาเทวีถูกเสนาบดีและนางสุวรรณจัมปากเทวี
ใส่รา้ ยว่า “พระนางจันทาเทวีจะมีใจซือตรงต่อพระองค์กห็ าไม่ ย่อมไปเสพกามคุณกับชนชาติ
ตําช้า พระนางจันทาเทวีนนประพฤติ
ั การหาสมควรไม่” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 5) ด้วย
เหตุนีนางจันทาเทวีจงึ ถูกพระเจ้าพรหมทัตไล่ออกจากเมือง
ส่วนสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์พระนางจันท์เทวีถูกไล่ออกจากเมือง เนืองจากพระนาง
จันทาติดสินบนโหรให้ทํานายใส่ความว่าการคลอดพระโอรสเป็ นหอยสังข์นันเป็ นกาลกิณี ในขณะที
นิทานเรืองกําเนิดพระสังข์นางจันทาเป็ นผูใ้ ส่ความด้วยตนเองในเรืองเดียวกัน ตัวอย่างดังตาราง
ต่อไปนี

ตารางที 3
เปรียบเทียบสาเหตุการออกจากเมืองของนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวีระหว่างฉบับพระราชนิพนธ์และ
ฉบับนิทาน

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน

๏ บัดนัน จันทาใส่ไฟฉอดฉอด
โหรใหญ่ได้กินสิ นจ้าง พระพีนางคลอดลูกมาเป็นหอย
สมจิ ตคิ ดไว้จะให้นาง อัปรียก์ าลีบา้ นเมือง
พลัดพรากจากปรางค์ไปทางไกล เอาเรืองเอาเรือง อย่าช้าอย่าคอย
ทําค้นตํารามาดูแล
บิดเบือนเชือนแชแก้ไข (ตุ๊ปปอง, 2561, น.7)

202
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน


แล้วทูลพระองค์ผทู้ รงชัย
ทายไว้มิใคร่จะคลาดคลา
.................................
จะเลิ ศเรืองเฟื องฟุ้งทังกรุงไกร
เคราะห์ร้ายกลายไปเสียสิ นสุด
บ้านเมืองก็จะล่มโทรมทรุด
ม้วยมุดฉิ บหายวายปราณ
แม้นขับไล่ไปไกลบุรี
ธานี จะเย็นเกษมศานต์
อย่าไว้พระทัยให้เนิ นนาน
เพลิ งกาฬจะเผาเอาพารา

(พุทธเลิศหล้านภาลัย,
พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 39)

4.3.7 ความรูส้ ึกของผูค้ นรอบข้างเมือนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวีถกู ขับไล่


ออกจากเมือง
เหตุการณ์ทนางจั
ี นทาเทวี หรือนางจันท์เทวีถูกขับไล่ออกจากเมือง ผู้คนรอบข้างทังสาม
สํานวนนัน มีความรูส้ กึ ทังเหมือนและแตกต่างกัน โดยผูศ้ กึ ษาจะแบ่งเป็ นความรูส้ กึ ของพระเจ้า
กรุงพรหมทัต หรือท้าวยศวิมล และความรูส้ กึ ของนางสนม ดังนี
4.3.7.1 ความรูส้ ึกของพระเจ้ากรุงพรหมทัต หรือท้าวยศวิมล
เมือนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวีถูกขับไล่ออกจากเมือง พระเจ้ากรุงพรหมทัตในเรือง
สุวรรณสังขชาดกกริวมาก ดังตัวบททีว่า “ทรงสดับถ้อยคําปาลกเสนาบดีและนางสุวรรณจําปากเทวี
ทูลบรรยายนัน หาทรงวิจารณ์โทษของนางจันทาเทวีให้ได้ความเท็จจริงก่อนไม่ ทรงกริวกราด
เป็นกําลัง จึงรับสังให้ขบั ไล่นางจันทาเทวีให้ไปเสียจากราชนิเวศน์เรือนหลวง” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง,
2471, น. 5) สอดคล้องกับนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ทท้ี าวยศวิมลอยู่ในอาการกริวเช่นกัน ดัง
ข้อความทีว่า “ท้าวยศวิมลทรงไล่ ออกไป๊ ออกไป ทังแม่ ทังหอย” (ตุ๊ปปอง, 2561, น. 10) ในขณะที
ท้าวยศวิมลในสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์นนโศกเศร้ ั ายิงนัก พระองค์ “รําพลางกอดพลางฟูม
ฟาย ระทวยกายกอดซบสลบพลัน” (พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 43)
ทังยังรับสังให้นางจันทาช่วยจัดแจงทรัพย์สนิ เงินทองของแห้ง และนําเรือไปส่งให้พน้ เขตเมืองด้วย

203
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

4.3.7.2 ความรูส้ ึกของนางสนม


เมือนางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี โดนไล่ออกจากเมือง นางสนมในทุกสํานวนมีความ
โศกเศร้าเสียใจเช่นเดียวกัน ดังข้อความในเรืองสุวรรณสังขชาดกทีว่า “พวกนักสนมและพนักงาน
ทังหลาย สดับฟั งสําเนียงพระนางจันทาเทวีปริเทวนาดําเนินจากอิฏฐาคารกาลครังนัน พากัน
ร้องไห้ล้มกลิงเกลือกอยู่ไ ปมาเหมือนไม้รงั อันถูกลมยุค นั ทวาตพัด ผันให้ล้ม ระเนไปฉะนัน”
(ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 5-6) และสอดคล้องกับตัวบทของสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์
และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ ตัวอย่างดังตารางต่อไปนี

ตารางที 4
เปรียบเทียบความรูส้ กึ ของนางสนมระหว่างฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับนิทาน

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน

ว่าพลางนางข้อนทรวงไห้ สงสารนางจันท์เทวี
เพียงขาดใจม้วยด้วยโหยหา นําตาไหลปรีกอดลูกไม่ปล่อย
เหล่ากํานัลไม่กลันนํ าตา ใครว่าอะไรก็ช่างเขา
ชวนกันโศการิ มแท่นทอง แต่แม่รกั เจ้านะจ๊ะลูกน้อย

(พุทธเลิศหล้านภาลัย,
พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น.46) (ตุ๊ปปอง, 2561, น. 9)

4.3.8 นางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวีพบตายาย


ในทุกสํานวน เมือพระนางจันทาเทวีเดินออกจากเมืองมาถึงป่ าก็พบตายายเช่นเดียวกัน
ดังข้อความในเรืองสุวรรณสังขชาดกทีว่า “ตังแต่นางถูกขับไล่ออกมาหามีเครืองหอมประปรุงไม่มี
กายอันเหม็นสาบ เงือไหลอาบทัวสรีราพยพ ขมกคะมอมไปด้วยละอองผงธุรี ดําเนินพลางปริเทวนา
ไปจนได้พบตายายสองคนเข้า” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 6) และสอดคล้องกับสังข์ทอง
ฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ แต่ในฉบับพระราชนิพนธ์นันจะเพิมรายละเอียด
อาชีพของตายาย คือ ปลูกถัวงา ดังตัวอย่าง

204
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

ตารางที 5
เปรียบเทียบเหตุการณ์นางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวีพบตายายระหว่างฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับนิทาน
ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน

๏ เดิ นมา เดินป่ าลําบากลําบน


สุริยาร้อนแรงแสงใส พระนางไม่บ่น ไม่โอดสําออย
แลเห็นบ้านป่ าพนาลัย กระเซอะกระเซิงเหนือยล้า
โฉมยงดีใจเข้าไปพลัน มาพบยายตาในกระท่อมน้อย
พบสองเฒ่าปลูกถัวงา
นางนังวันทาขมีขมัน
ฝ่ ายว่าสองราดูหน้ ากัน
ยายถามตานันทันใด

(พุทธเลิศหล้านภาลัย, (ตุ๊ปปอง, 2561, น.13)


พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 49)

4.3.9 พระสังข์ออกจากหอยสังข์เพือช่วยเหลืองานบ้าน
พระสุวรรณสังข์โพธิสตั วในเรืองสุวรรณสังขชาดกออกมาจากหอยสังข์เพือช่วยมารดา
ทํางานบ้านด้วยตัวเอง ดังข้อความทีว่า “วันหนึงจึงพระนางจันทาเทวี เสด็จไปสู่ป่าด้วยกิจอันหนึง
พระสุวรรณสังข์โพธิสตั วออกจากรูปหอยสังข์แล้ว ทําการปั ดกวาดบ้านเรือนทีนอนของมารดา
แล้วก็เข้าไปยังทีอยู่แห่งรูปหอยสังข์ตามเดิม” (ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 7) สอดคล้องกับ
นิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ทพระสั
ี งข์ออกจากหอยสังข์มาทํางานบ้านด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน ดัง
ตัวอย่าง

ลูกน้อยหอยสังข์หน้าแห้ง เห็นแม่ใช้แรงแอบนําตาย้อย
ทุกวันออกช่วยเช็ดถู ตอนแม่ไม่อยู่ลกู ออกจากหอย
นางจันท์เทวีแปลกใจ ไม่รวู้ ่าใครมาช่วยบ๊อยบ่อย
ทุกวีทุกวันมิขาด กระท่อมสะอาดเก็บกวาดเรียบร้อย
(ตุ๊ปปอง, 2561 น. 15)

ในขณะทีสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์นนั พระสังข์ออกมาช่วยมารดาทํางานบ้านเช่นกัน
หากแต่มกี ารแต่งเติมให้เทพยาดาทีสิงสถิตอยู่ตามต้นไม้แปลงกายเป็ นไก่ป่ามาจิกข้าวทีมารดา
ตากไว้เพือล่อให้พระสังข์ออกมาจากหอยสังข์ ดังตัวบททีว่า

205
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

๏ มาจะกล่าวบทไป เทพไทสิ งสู่อยูพ่ ฤกษา


สงสารนางจันท์กลั ยา เจ้ามาเหนีอยยากลําบากกาย
.....................................
จึงบันดาลให้เป็ นไก่ป่า กินข้าวมารดาหาช้าไม่
ขันก้องร้องตีกนั มีไป คุย้ เขียข้าวให้กระจายดิน
.....................................
เยียมลอดสอดดูทงซ้ ั ายขวา จะเห็นใครไปมาก็หาไม่
ออกจากสังข์พลันทันใด ฉวยจับไม้ได้ไล่ตี
.....................................
หุงข้าวหาปลาไว้ท่าแม่ ดูแลจัดแจงทุกแห่งหน
ช่วยขับไก่ป่าประสาจน สาละวนเล่นพลางไม่ห่างดู
(พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 51-52)

4.3.10 การทุบหอยสังข์
เมือพระราชมารดาทราบว่าในหอยสังข์นันมีพระราชโอรสอยู่ พระราชมารดาจึงทุบทําลาย
หอยสังข์ โดยในเรืองสุวรรณสังขชาดกพระนางจันทาเทวีไม่เพียงแต่ทุบหอยสังข์เท่านัน หากแต่
นําเปลือกหอยไปเผาไฟด้วย ดังข้อความทีว่า “ถ้าหากว่าโอรสของเราจักเป็นหอยสังข์อยู่อย่างนี
คนเราจักพูดกันไปต่างๆ นาๆ คิดแล้วจึงเอาหอยสังข์นนทุ
ั บเสียให้แตกเก็บเอาเปลือกเผาไฟเสีย”
(ธํารงเจดียรัฐ, หลวง, 2471, น. 8) ในขณะทีสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานเรืองกําเนิด
พระสังข์พระราชมารดาทุบหอยสังข์อย่างเดียว ไม่มกี ารเผาไฟ ดังตัวอย่าง

206
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

ตารางที 6
เปรียบเทียบเหตุการณ์ทุบหอยสังข์ระหว่างฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับนิทาน

ฉบับพระราชนิ พนธ์ ฉบับนิ ทาน

มารดาซ่อนเร้นเห็นพร้อมมูล วันหนึง จึงซุ่มแอบดู


อุแม่เอ๋ยพ่อคุณทูนหัว วันนันจึงรูล้ กู อยู่ในหอย
ซ่อนอยู่ในสังข์กาํ บังตัว คิดปุ๊ ป คว้าปั บ จับไม้
พ่อทูนหัวของแม่ประหลาดคน รีบวิ งเร็วไวเข้าไปทุบหอย
ย่างเข้าในห้องทับจับได้ไม้
ก็ต่อยสังข์ให้แหลกแตกป่ น
พระสังข์ตกใจดังไฟลน
จะหนี เข้าหอยตนก็จนใจ

(พุทธเลิศหล้านภาลัย, (ตุ๊ปปอง, 2561, น. 16)


พระบาทสมเด็จพระ, 2540, น. 53)

จากทีกล่าวมาทังหมด จะเห็นได้ว่าสุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์


และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์มเี นือหาทีทังเหมือนและแตกต่างกัน ผูศ้ กึ ษาจึงขอนําประเด็นต่างๆ
มาสรุปในรูปแบบตารางเพือให้เห็นความเหมือนและความต่างทีชัดเจนมากขึนดังตารางต่อไปนี

ตารางที 7
เปรียบเทียบรายละเอียดของเนือเรืองจากทังสามสํานวน: กรณีศกึ ษาตอนกําเนิดพระสังข์
เนื อเรือง ฉบับชาดก ฉบับ ฉบับนิ ทาน
พระราชนิ พนธ์
1. การเสด็จเลียบพระนครและบวงสรวง -  -
ขอพระโอรส
2. การสุบินและทํานายสุบิน พระมเหสีทงั ท้าวยศวิมล -
สองทรงสุบนิ ทรงสุบนิ
3. การประทานเรือนหลวงและสร้าง  - -
เบ็ญจกุกธุ ภัณฑ์
4. ผูท้ ี จุติมาเกิ ดเป็ นพระสังข์ พระโพธิสตั ว์ เทวดาทัวไป -
5. การคลอดพระสังข์ คลอดในป่ า คลอดในวัง คลอดในวัง
หลังถูกไล่ แล้วจึงถูกไล่ แล้วจึงถูกไล่
ออกจากเมือง ออกจากเมือง ออกจากเมือง

207
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

เนื อเรือง ฉบับชาดก ฉบับ ฉบับนิ ทาน


พระราชนิ พนธ์
6. สาเหตุการออกจากเมืองของ มเหสีฝ่ายซ้าย มเหสีฝ่ายซ้าย มเหสีฝ่ายซ้าย
นางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี ใส่รา้ ยว่านาง ให้โหรทํานายว่า ใส่ความว่า
เสพกามคุณกับ พระโอรสเป็ น พระโอรสเป็ น
ชนชาติตําช้า กาลกิณี กาลกิ ณี
7. ความรู้สึกของผู้คนรอบข้างเมือ
นางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี
โดนไล่ออกจากเมือง กริว ทรงโศกเศร้า กริ ว
7.1 พระเจ้าพรหมทัต หรือท้าวยศวิ มล โศกเศร้า โศกเศร้า โศกเศร้า
7.2 นางสนม
8. นางจันทาเทวี หรือนางจันท์เทวี   
พบตายายเมือออกจากเมือง
9. พระสังข์ออกจากหอยสังข์ ออกจากหอย ออกจากหอยสังข์ ออกจากหอย
เพือช่วยเหลืองานบ้าน สังข์ดว้ ยตัวเองเพราะเทพยาดา สังข์ด้วยตัวเอง
แปลงกายเป็ น
ไก่ป่ามาจิกข้าว
10. การทุบหอยสังข์ ทุบหอยสังข์แล้ว ทุบหอยสังข์อย่าง ทุบหอยสังข์
นําเปลือกไปเผา เดียว อย่างเดียว
ไฟ

4.4 ลักษณะและปัจจัยในการสืบทอดและสร้างสรรค์จากการศึกษาเปรียบเทียบ
เนื อเรืองของทังสามสํานวน: กรณี ศึกษาตอนกําเนิ ดพระสังข์
จากการเปรียบเทียบรายละเอียดเนือเรืองสุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์
และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์นัน หากผูศ้ กึ ษายึดสํานวนนิทานเป็ นหลักจะพบลักษณะการสืบทอด
และสร้างสรรค์จากสองสํานวนก่อนอย่างชัดเจน ดังรายละเอียดต่อไปนี
4.4.1 ลักษณะและปั จจัยในการสืบทอดเนื อเรืองของทังสามสํานวน
เมือศึกษาตัวบทของฉบับนิทานแล้วเปรียบเทียบกับฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับชาดก
พบว่าสํานวนนิทานมีการสืบทอดลักษณะต่าง ๆ จากสํานวนก่อนอย่างเห็นได้ชดั ผู้ศกึ ษาจะยก
ตัวอย่างลักษณะการสืบทอดทีสําคัญ เป็ นต้นว่า สืบทอดข้อคิดคติสอนใจมาจากสํานวนก่อน จะ
เห็นได้ว่าสํานวนนิทานยังคงข้อคิดเรืองจากฉบับพระราชนิพนธ์และชาดกไว้ คือ “ความกตัญ ู
กตเวที” ของลูกทีมีต่อบุพการี เห็นได้จากปรากฏเหตุการณ์พระสังข์ออกมาจากหอยสังข์เพือช่วย
มารดาทํางานบ้านในทุกสํานวน รวมถึงข้อคิด “ความรักของแม่ทมีี ต่อลูก” ดังจะเห็นว่าในทุกสํานวน

208
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

ไม่ว่าลูกจะเกิดมาเป็ นหอยสังข์แต่พระมารดาก็ยงั รักและดูแลลูกเสมอ หรือจะเป็ นการสืบทอด


ลักษณะเด่นของตัวละครต่าง ๆ ทีผู้คนจดจําได้ เช่น คงความชัวร้ายหรือความอิจฉาริษยาของ
มเหสีฝ่ายซ้าย คงความน่ าสงสารของมเหสีฝ่ายขวาและพระสังข์ หรือคงความเด็ด ขาดของ
พระราชบิดาของพระสังข์ เป็ นต้น
สาเหตุทนิี ทานกําเนิดพระสังข์สบื ทอดลักษณะต่างๆ จากสุวรรณสังขชาดก และสังข์ทอง
ฉบับพระราชนิพนธ์ดงั ทีผูศ้ กึ ษาได้ยกตัวอย่างไปนัน เกิดจากปั จจัยหลัก คือ วัตถุประสงค์ในการ
แต่งนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์เป็ นวรรณกรรมสําหรับเด็กจึงยังคงข้อคิดอันดีงามทีแฝงไว้ในเรือง
อย่างแยบยล ปราณี เชียงทอง (2526, น. 134) อธิบายว่า “การเขียนเรืองสําหรับ เด็ก ไม่ควร
เป็ นเรืองสังสอนโดยตรง เพราะถ้าเป็นเรืองสังสอนโดยตรง เด็กจะเกิดความรู้สกึ ต่อต้าน” ดังนัน
ลักษณะดังกล่าวนีจึงเหมาะสมในการสืบทอดอย่างยิง นอกจากนีการทียังคงลักษณะเด่น ของ
ตัวละครต่าง ๆ ทีผู้คนจดจําได้ไว้ เกิดจากการทีนิทานกําเนิดพระสังข์ต้องการอนุรกั ษ์ สืบทอด
วรรณกรรมซึงเป็ นมรดกอันลําค่าของชาติไทย จึงยังคงลักษณะเด่นของตัวละครต่าง ๆ ไว้ เพือ
เป็ นการปลูกฝั งให้เด็กคุน้ ชินกับวรรณกรรมไทย
4.4.2 ลักษณะและปั จจัยในการสร้างสรรค์เนื อเรืองของทังสามสํานวน
เมือศึกษาตัวบทของฉบับนิทานแล้วเปรียบเทียบกับฉบับพระราชนิพนธ์และฉบับชาดก
พบว่าฉบับนิทานนอกจากจะมีการสืบทอดแล้ว ยังมีการสร้างสรรค์ใหม่ในลักษณะต่างๆ อีกด้วย
ผู้ศกึ ษาจะยกตัวอย่างลักษณะการสร้างสรรค์ต่าง ๆ เป็ นต้นว่า การปรับเปลียนเนือหา เช่น
สาเหตุการออกจากเมืองของนางจันท์เทวีในฉบับนิทาน มีการปรับเปลียนให้มเหสีฝ่ายซ้ายเป็ น
ผูใ้ ส่ความนางจันท์เทวีว่าพระโอรสเป็ นกาลกิณีดว้ ยตนเอง ไม่ได้มกี ารร่วมมือกับโหรหลวงดังเช่น
ฉบับพระราชนิพนธ์ ทังยังมีการตัดเหตุการณ์ต่างๆ ออกไปด้วย เช่น ตัดเนือหาการเสด็จเลียบ
พระนครและบวงสรวงขอพระโอรส ตัดเนือหาทีอธิบายว่าผูใ้ ดจุตมิ าเกิดเป็ นพระสังข์ ตัดเนือหา
การสุบนิ และทํานายสุบนิ ทังยังมีการเพิมรายละเอียดต่าง ๆ เข้ามาในเนือเรืองด้วย โดยเฉพาะ
การบรรยายฉาก รวมถึงการอธิบายอากัปกริยาและความรู้สกึ ของตัวละครต่าง ๆ อย่างตรงไป
ตรงมา เช่น “. . . ทุกคนตังหน้าตังตารอคอย ท้าวยศวิมลลุน้ จัด บ่าวไพร่คอยพัดคอยวีหว็อยหว็อย. . .”
(ตุ๊ปปอง, 2561, น. 4) “เดินป่ าลําบากลําบน. . . กระเซอะกระเซิงเหนือยล้า. . . ” (ตุ๊ปปอง, 2561,
น. 13) หรือ “. . . แม่รกั เจ้านะลูกน้อย” (ตุ๊ปปอง, 2561, น. 9)
สาเหตุทนิี ทานกําเนิดพระสังข์มกี ารสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆ ดังทีผูศ้ กึ ษาได้ยกตัวอย่าง
ไปนัน เกิดจากปั จจัยหลัก คือ วัตถุประสงค์ในการแต่งเช่นเดียวกับการสืบทอด เนืองด้วยนิทาน
เรืองนีเป็ นวรรณกรรมเด็ก ผูร้ บั สารเป็ นเด็ก ผูเ้ ขียนจึงต้องสร้างสรรค์นิทานในลักษณะทีเด็กชืนชอบ
สุพตั รา ชมเกตุ (2522, น. 98 อ้างถึงใน ภิญญาพร นิตยะประภา, 2534, น. 33) กล่าวถึงสาเหตุ
ทีเด็กชอบนิทานไว้ หนึงในนันคือ “นิทานมีการดําเนินเรืองอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา และตอบ

209
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

คําถามด็กได้ทนั ทีว่าใคร ทําอะไร ทีไหน เมือไหร่ และผลเป็ นอย่างไร ซึงความรวดเร็วในการ


ดําเนินเรืองนี ตรงกับลักษณะของเด็กซึงชอบความรวดเร็ว อยากรู้ทนั ทีว่า มีอะไรเกิดขึน และ
ผลเป็ นอย่างไร” ดังนันฉบับนิทานจึงมีการสร้างสรรค์ให้เนือเรืองดําเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยมี
การตัดเนือหาออกจํานวนมากเพือไม่ให้เรืองมีความซับซ้อนจนเกินไป และมีการอธิบายอากัปกริยา
และความรูส้ กึ ของตัวละครต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาเพือให้เด็กเข้าใจเนือเรืองได้ง่ายขึน

5. สรุปและอภิ ปรายผล

วรรณกรรมนิทานเรืองสังข์ทองไม่เพียงแต่เป็ นวรรณกรรมพืนบ้านของไทยเท่านัน
หากยังเป็ นวรรณกรรมพืนบ้านทีเล่ากันแพร่หลายในแถบเอเชีย ด้วย โดยวรรณกรรมเรืองนี
รังสรรค์มาตังแต่ โบราณกาล ได้รบั อิทธิพ ลจากนิทานพืนบ้าน สู่ปัญญาสชาดก พัฒนาเป็ น
บทละครนอก และนิทานสําหรับเด็ก แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณกรรมไทย
ในด้านต่างๆ ทังตัวละคร ฉาก รูปแบบ ฉันทลักษณ์ และเนือหา โดยสังข์ทองแต่ละสํานวนจะมี
ความเหมือนและแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการแต่งและยุคสมัย
ด้านตัวละครและฉาก จะเห็นได้ว่าชือตัวละครและฉากในเรือง สุวรรณสังขชาดก จะมี
ความเกียวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีความแตกต่างจาก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และ
นิทานเรืองกําเนิดพระสังข์อย่างยิง เนืองจากทังสามสํานวนมีวตั ถุประสงค์ในการแต่งทีต่างกัน
เช่น พระราชบิดาของพระสังข์ในเรืองสุวรรณสังขชาดก คือ พระเจ้าพรหมทัต ส่วนในสังข์ทอง
ฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์ คือ ท้าวสามล หรือ พระราชมารดาของพระสังข์
ในเรือง สุวรรณสังขชาดก คือ พระนางจันท์ทาเทวี ส่วนใน สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์และ
นิทานเรือง กําเนิดพระสังข์ คือ พระนางจันท์เทวี
ด้านรูปแบบและฉันทลักษณ์ จะเห็นได้ว่าเรืองสุวรรณสังขชาดก จะมีรูปแบบและ
ฉันทลักษณ์ตามขนบหรือแบบแผนของการประพันธ์ปัญญาสชาดก ซึงมีลาํ ดับการนําเสนอเรือง
ทีชัดเจน ส่วนสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ มีการสืบขนบการประพันธ์ลกั ษณะบทละครนอกมาจาก
กรุงศรีอยุธยา และนิทานเรืองกําเนิดพระสังข์สร้างสรรค์โดยการประยุกต์ใช้ฉันทลักษณ์ของ
เพลงพืนบ้านโบราณในการประพันธ์เรือง จึงเสริมสร้างอารมณ์ความเป็ นวรรณกรรมพืนบ้านได้
เป็ นอย่างดี
ด้านเนื อหา จะเห็นได้ว่าสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ตอนกําเนิดพระสังข์ มีเนือหาที
แตกต่างจากเรืองสุวรรณสังขชาดกอย่างมาก มี การดัดแปลงเนื อหา เช่น การทรงสุบนิ ในเรือง
สุวรรณสังขชาดก ผูท้ ทรงสุ
ี บนิ คือ พระราชเทวีทงสองพระองค์
ั ส่วนสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์
ผูท้ ทรงสุ
ี บนิ คือ ท้าวยศวิมล หรือ ช่วงเวลาการคลอดพระสังข์ในรืองสุวรรณสังขชาดกพระนาง

210
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

จันทาเทวีทรงคลอดพระสุวรรณสังขกุมาร ณ กระท่อมของตายายในป่ า ส่วนในสังข์ทองฉบับ


พระราชนิพนธ์ พระนางจันท์เทวีทรงคลอดพระสังข์ในพระบรมมหาราชวัง การเติ มแต่งเนื อหา
เช่น เพิมเนือหาการเสด็จเลียบพระนครและบวงสรวงขอพระโอรสของท้าวยศวิมล เพิมเนือหา
ให้เทพยดาแปลงกายเป็ นไก่ป่าเพือล่อให้พระสังข์ออกมากจากหอยสังข์ และการตัดเนื อหา
เช่น ตัดเนือหาการประทานเรือนหลวงและสร้างเบ็ญจกุกุธภัณฑ์แก่พระราชเทวีของพระเจ้า
พรหมทัต ทังนีการทีทังสองสํานวนนีมีเนือหาทีแตกต่างกัน เป็ นผลมาจากมีวตั ถุประสงค์ใ น
การแต่งทีต่างกัน และจะสังเกตได้ว่า สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์นนแต่ ั งขึนเพือการแสดง จึงมี
รายละเอียดของเนือหาทีมากกว่าเรืองสุวรรณสังขชาดก ส่วนนิทานเรือง กําเนิดพระสังข์ เป็ น
นิทานทีสร้างขึนจากสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ ทําให้มเี นือหาไม่ต่างกันมากนัก แต่ดว้ ยนิทาน
เรืองนีเป็ นนิทานสําหรับเด็ก จึงมีการการตัดเนือหาออกจํานวนมาก ดําเนินเรืองอย่างรวดเร็ว
และสร้างเนือเรืองให้เข้าใจง่ายไม่ซบั ซ้อน
ทังนี ผูศ้ กึ ษามองว่าสิงทีสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์และนิทานยังคงสืบไว้จากชาดก
ไม่มกี ารเปลียนแปลง คือ ข้อคิดของเรืองและลักษณะเด่นของตัวละคร ส่วนรายละเอียดบางส่วน
ทีมีการเปลียนแปลงนัน เกิดจากวัตถุประสงค์ในการแต่งของแต่ละฉบับทีมีความแตกต่างกัน
เช่น ฉบับพระราชนิพนธ์เป็ นวรรณกรรมการแสดงจึงทําให้มเี นือหาทียาวกว่าและมีรายละเอียด
มากกว่า ส่วนฉบับนิทานเป็ นวรรณกรรมสําหรับเด็ก ผูเ้ ขียนสร้างสรรค์ให้มลี กั ษณะทีเหมาะสม
กับช่วงวัยของเด็กหรือเพือให้เด็กชืนชอบ
จากทีกล่าวมาทังหมดแสดงให้เห็นว่า การสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณกรรม เรือง
สังข์ทองนัน นอกจากจะเห็นพัฒนาการของวรรณกรรมเรืองนีทีข้ามผ่านยุคสมัยแล้ว ยังทําให้
วรรณกรรมเรืองนีเป็ นวรรณกรรมทีทรงคุณค่า ไม่สญ ู หายไปตามกาลเวลา และอยู่ค่แู ผ่นดินไทย
ไปตราบนานเท่านาน

211
วารสารศิลปศาสตร์ ปี ที 21 ฉบับที 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)

เอกสารอ้างอิ ง/References

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2559). เรืองเล่าทศชาติชาดก: การสืบทอดในสังคมไทยร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์


ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตุ๊บปอง. (2561). กําเนิดพระสังข์ ชุดนิทานจากนามานุ กรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: แปลนฟอร์
คิดส์.
ธํารงเจดียรัฐ, หลวง. (2471). ปั ญญาสชาดก ปั จฉิมภาค ภาคที 193 สุวรรณสังขชาดก. กรุงเทพฯ:
โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพอํามาตย์โท พระยาประเสริฐ
สุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี))
ปราณี เชียงทอง. (2526). วรรณกรรมสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวรี ยิ าสาส์น.
พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี และพระมหาอมรวิชญ์ ชาครเมธี. (2559). หนังสือเรียน รายวิชาพืนฐาน
พระพุทธศาสนา ชันมัธยมศึกษาปี ท ี 2. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชัน.
พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วียุทฺโธ). (2555). มหัศจรรย์แห่งพาราณสี (พิมพ์ครังที 2). กรุงเทพฯ:
อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พรินติงแอนด์พบั ลิชชิง.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2540). บทละครนอกเรืองสังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ.
ภิญญาพร นิตยะประภา. (2534). การผลิตหนังสือสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พรินติง เฮ้าส์.
มรดกภูมปิ ั ญญาทางวัฒนธรรม. (2562). ปั ญญาสชาดก. สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th/index.php/
th/ich/folk-literature/252-folk/455--m-s
รัชรินทร์ อุดเมืองคํา. (2551). การศึกษาวรรณกรรมแนววัฒนธรรมประชานิยม เรือง สังข์ทอง
ฉบับต่างๆ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ละครนอก ละครใน. (2562). สืบค้นจาก http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/
km/item/ละครนอก-ละครใน
วัชราภรณ์ ดิษฐป้ าน. (2546). แบบเรืองนิทานสังข์ทอง การแพร่กระจายและความหลายหลาก.
กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภคั มหาวรากร. (2547). การแปรรูปวรรณกรรมเรืองสังข์ทอง (รายงานวิจยั ). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, คณะมนุษยศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก.
สุปาณี พัดทอง. (2561). การประพันธ์รอ้ ยกรอง (พิมพ์ครังที 2). สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชา
ภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สํานักราชบัณฑิตยสภา. 2556). พระโพธิสตั ว์มหายาน. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/?
knowledges=พระโพธิสตั ว์มหายาน-13-ตุ

212
JOURNAL OF LIBERAL ARTS 21, 1 (JANUARY - JUNE 2021)

อภิวฒ
ั น์ ปรีชาประศาสน์. (2521). สังข์ทอง ฉบับปั ญญาสสชาดกและฉบับพระราชนิพนธ์.
วารสารวัฒนธรรมไทย, 17(4), 3-12.
อาทิตย์ ดรุนยั ธร และ กิงกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). สรรพสิทธิคําฉันท์: กลวิธกี ารดัดแปลง
ชาดกเป็ นวรรณคดีชาดก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่, 1(1). 99-123.

213

You might also like