You are on page 1of 28

64 Humanities Journal Vol.22 No.

2 (July-December 2015)

มาตุคามสานึกและการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
Sense of Place and Nostalgia of Motherland in the Poetry
of Rewat Panpipat

ธัญญา สังขพันธานนท์
Thanya Sangkapanthanon

บทคัดย่อ
บทความนี้มจี ุดประสงค์สาคัญทีจ่ ะศึกษาสานึกในถิน่ ที่ (sense of place)
และการโหยหาสถานที่ (place nostalgia) ในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ในด้าน
การนาเสนอและการประกอบสร้างความหมายในกวีนิพนธ์ทเ่ี กีย่ วกับการสานึกใน
ถิน่ ที่ โดยศึกษาจากรวมกวีนิพนธ์จานวน 4 เล่ม คือ 1) บ้านแม่น้ า 2) พันฝน เพลงน้ า
3) แม่น้ าเดียวกัน และ 4) แม่น้ าราลึก ผลการศึกษาพบว่า เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒั น์ใช้บท
กวีเพื่อนาเสนออารมณ์ถวิลหาอดีตซึง่ มีศูนย์รวมอยู่ทถ่ี นิ่ ฐานบ้านเกิดอันเป็ นท้องทุ่ง
ชนบทของภาคกลาง สานึกในถิน่ ทีไ่ ด้รบั การนาเสนอผ่านท่วงทานองการเขียนแบบ
โหยหาอดีต ซึง่ มีสาระสาคัญอยู่ทก่ี ารราลึกถึงอดีตแห่งวัยเยาว์ทไ่ี ด้ผ่านมาแล้ว ผ่าน
ร่องรอยหลักฐานหรือสัญญะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นสถานที่ ธรรมชาติ ฤดูกาล พืช สัตว์
วัตถุขา้ วของเครื่องใช้ และวิถีดาเนินชีวติ ของผู้คนในชนบท สานึกในถิ่นที่และการ
โหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์เป็ นวิธกี ารสาคัญทีก่ วีนาเสนอตัวตนและอัตลักษณ์
ของตนเอง ขณะเดีย วกัน ก็ แ สดงให้ เ ห็น ถึ ง มโนทัศ น์ แ ละวิธี คิ ด ของกวี ท่ีม อง
ความสัมพันธ์ระหว่ างมนุ ษย์กบั ธรรมชาติว่า ธรรมชาติเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้
กาเนิด โอบอุ้มและค้าจุนสรรพสิง่ การดาเนินชีวิตภายใต้วถิ ีของธรรมชาติและวิถี
วัฒนธรรมในชนบทเป็ นวิถที ง่ี ดงาม สงบ ปลอดภัยและพอเพียง ซึง่ เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒั น์


ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ประจาภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุ ษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ติดต่อได้ท่ี phaitoon.thanya@gmail.com
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 65

ให้ความหมายว่า นี่คอื วิถีของธรรมชาติ วิถีไทย และวิถีไทที่นาไปสู่อสิ รภาพแห่ง


ชีวติ
คาสาคัญ: สานึกในถิน่ ที;่ การโหยหาอดีต; การโหยหาสถานที่

Abstract
This article aims at studying the sense of place and nostalgia in the
poetry of Rawat Panpipat in terms of presentation and the construction of
meaning relating places. Four collections of Rawat Panpipat are investigated,
namely, Ban Maenam, Pan Fon Plaeng Nam, Maenam Deaw Kan, and Mae Nam
Ram Lauk. It is found that the poet’s works are presented as the nostalgia of
homeliness, which is of the pastoral central part of Thailand. Place attachment
is presented through nostalgic writing styles where childhood memory depicting
through various signs: places, nature, seasons, plants, objects, appliance, and
rural life. The sense of place and nostalgia in these poems are the poet’s ways
to present himself and his identity as well as his concept of the relationship
between man and nature, that is, nature is like the mother who nourishes and
takes care of others. Natural and rural way of life is peaceful, safe, and
sufficient, which, as the poet declares, is the way of Thai way and freedom.
Keywords: sense of place; nostalgia; place attachment

บทนา
สถานที่ (place) เป็ นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งของวรรณกรรมประเภท
เรื่องเล่าและกวีนิพนธ์ รู้จกั กันดีในนามของฉากและบรรยากาศ (setting) ซึ่งใน
ความหมายโดยรวมก็คอื สภาพแวดล้อมทีเ่ กีย่ วข้องกับตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง
ทัง้ ที่เป็ นสิง่ แวดล้อมทางธรรมชาติและสิง่ ที่มนุ ษย์ประดิษฐ์ขน้ึ เลอแฟร์บว์ (Henri
Lefebvre, 1991: 15) กล่าวว่า ถ้าเราค้นหาสถานทีใ่ นตัวบทวรรณคดี เราสามารถค้นพบ
ได้ทุกที่แม้จะถูกปิ ดบังไว้ก็ตาม เช่น การสอดแทรกในเนื้อเรื่อง การบรรยาย การ
66 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

คาดการณ์ ในความฝนั และในความคาดเดา สถานทีใ่ นวรรณกรรมสามารถนิยามได้


หลายแนวทาง แต่ ในทางหนึ่ งเราสามารถนิ ยามสถานที่ในเชิงกายภาพเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อม หรือในฐานะที่เป็ นสิ่งแวดล้อมที่เคลื่อนออกจากนักเขียนสู่นั ก อ่ าน
สถานที่ในบางตัวอย่างเป็ นคาศัพท์ท่ใี ช้เพื่อบรรยายฉากในกรณีของการเขียนและ
ความสัมพันธ์กบั ทักษะและศิลปะทางภาษา ในโลกของวรรณกรรม สถานที่มกั จะ
เชื่อมโยงระหว่างเวลาและเหตุการณ์ทเ่ี รารูจ้ กั กันในนาม “ฉาก” ของสังคม หรือบริบท
ทางสังคมของงานวรรณกรรม สถานทีจ่ ะถูกเผยโฉมให้ปรากฏผ่านความซับซ้อนของ
โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมและการปฏิบตั ิ ภาษา
และวาทกรรม ยิ่งไปกว่ านัน้ สถานที่คือผลผลิตของพลังทางประวัติศาสตร์และ
ธรรมชาติ ตลอดจนการรับรูท้ างร่างกาย อารมณ์และจินตนาการ
พิจารณาในแง่น้ีสถานทีจ่ งึ ไม่ใช่เพียงอาณาบริเวณหรือสิง่ ทีอ่ ยู่รายรอบตัว
ในฐานะสิง่ แวดล้อมทางกายภาพเท่านัน้ แต่คอื สิง่ แวดล้อมทางจิตใจและวัฒนธรรมซึง่
ส่งผลต่อผูอ้ ่าน ในแง่ทว่ี ่าสถานทีไ่ ด้จดั วางผูอ้ ่านให้อยู่ในตาแหน่ งแหล่งทีท่ น่ี ักเขียน
ตัง้ ใจให้ เ กิด ผลทางจิต ใจ ทัง้ การกระตุ้ น ส านึ ก และปลุ ก เร้ า อารมณ์ ข องผู้ อ่ า น
นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ทีใ่ ห้ไว้เกีย่ วกับสถานทีย่ งั ช่วยให้นักอ่านหยังรู ่ ้
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภู มิประเทศ ผู้คน ขนบประเพณีของชุมชน และอื่นๆ ซึ่ง
เป็ นไปตามหลักการทีว่ ่า วรรณกรรมควรปลุกกระตุ้นปฏิกริ ยิ าตอบสนองจากผู้อ่าน
(Rosenblatt, 1968: 42)
ดังนัน้ วรรณกรรมหลายเรื่องและหลายประเภทได้แสดงให้เห็นความสาคัญ
ของสถานทีท่ เ่ี ป็ นมากกว่าฉากหรือสิง่ แวดล้อมของสังคมทีม่ บี ทบาทต่อความรูส้ กึ นึกคิด
และการกระทาของตัวละคร เพราะได้แสดงให้เห็นถึงความผูกพันอย่างใกล้ชดิ ระหว่าง
ตัวผูเ้ ขียนกับสถานทีแ่ ห่งใดแห่งหนึ่ง
ในคานาหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ช่อื "บ้านแม่น้ า" ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์
ผูเ้ ขียนได้กล่าวถึงความผูกพันระหว่างตนเองกับแผ่นดินถิน่ เกิด ไว้ตอนหนึ่งว่า
สะพานไม้เก่าๆ ในความฝนั ฉันนัง่ ห้อยขาอยู่ทน่ี นั ่ เบือ้ งล่าง
คือสายน้ าไม่หวนคืน ท้องทุ่งในความฝนั กว้างไกลเกินจริง ฉัน
กลายเป็ นเด็กชายไม่เดียงสาของบ้านไม้เก่าๆ ริมน้ า ท่ามกลาง
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 67

เสียงกล่อมเด็กทีห่ วานเศร้า เสียงตาน้ าพริกรัวเร้า คนเราน่ าจะบิน


ได้เหมือนนก “ดูเมฆจะกลายเป็ นคนสติลอย” เสียงแม่แว่วมาจาก
ความทรงจา ฉันอยู่ท่นี ัน่ ที่โน่ น ภาวนาให้ถวั ่ เลื้อยขึน้ ไปกอด
ก้อนเมฆ เด็กชายรูส้ กึ แปลกหน้ากับโลกภายนอก ร้านตัดผมทีน่ ่ า
เกรงขาม แม้ว่าช่างตัดผมจะเป็ นคนใจดี ครัง้ หนึ่ งพ่อฝากฉัน
ซ้อนท้ายจักรยานมากับคนที่ฉันไม่รู้จกั เขาแกล้งขู่และทาท่าว่า
จะไม่จอดส่งฉันทีห่ น้าบ้าน ฉันถึงกับร้องไห้โฮพร้อมๆ กับปล่อย
น้าอุ่นๆ ลงรดราดน่อง ความเป็ นลูกแหง่ตดิ แม่ ทาให้ฉันถูกล้ออยู่
เสมอๆ ว่า ฉันน่ าจะเกิดมาเป็ นลูกผูห้ ญิง เวลานอนต้องนอนกอด
แม่ แล้วสายน้าก็ไหลผ่านไป
(เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์, 2538)
ในข้อความสัน้ ๆ ทีย่ กมานี้ ได้แย้มพรายให้เห็นตัวตนของผูแ้ ต่ง ความทรงจา
และความผูกพันทีม่ ตี ่อบางสถานทีใ่ นแผ่นดินถิน่ เกิด ท่วงทานองในการเขียนเต็มไปด้วย
น้ าเสียงของการโหยหาอดีตที่เลยลับ เช่นเดียวกับสายน้ าที่เขาได้กล่าวถึง เมื่อได้
อ่านบทกวีทงั ้ หมดทีอ่ ยู่ในเล่มก็ทาให้ผอู้ ่านทราบในทันทีว่า ข้อเขียนทีเ่ ปรียบเสมือน
คานาของเขาในตอนนี้คอื บทสรุปสารัตถะสาคัญในกวีนิพนธ์ของเขาทัง้ หมดทีเ่ ต็มไปด้วย
มาตุคามสานึก การโหยหาสถานที่ การกล่าวถึงตัวตน และอัตลักษณ์ของเขาเอง
เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ประสบความสาเร็จในการเขียนกวีนิพนธ์เมื่อรวมบทกวี
ชุดแม่น้ าราลึก ของเขาได้รบั รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยีย่ มแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
ประจาปี พ.ศ.2547 ก่อนจะมีผลงานตามมาอีกจานวนหนึ่งทัง้ รวมเรื่องสัน้ นวนิยาย
และความเรียง อย่างไรก็ตาม “แม่น้ าราลึก” ถือว่าเป็ นผลงานเขียนทีไ่ ด้สร้างชื่อเสียง
ให้กวีหนุ่ มผูน้ ้ีเป็ นอย่างมาก งานเขียนประเภทกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ ยังมีอกี สามเล่ม
คือ แม่น้ าเดียวกัน (2555) พันฝน เพลงน้ า (2544) และบ้านแม่น้ า (2538) กวีนิพนธ์
ทัง้ หมดของเรวัตร์ พันธุ์พิพฒ ั น์ มีลกั ษณะร่วมที่สาคัญคือ การแสดงให้เห็นความ
ผูกพันเกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเกิดอย่ างเหนี ยวแน่ น ในขณะเดียวกันก็น าเสนอใน
อารมณ์ โหยหาอดีต ทัง้ หมดนี้ ไ ด้ร ับการกล่ า วถึ งและผลิต ซ้ า อย่ างต่ อเนื่ อ งจน
กลายเป็ นลักษณะเด่นในกวีนิพนธ์ของเขา ดังมีงานศึกษาบางชิน้ ทีไ่ ด้แสดงให้เห็น เช่น
68 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

บทวิจารณ์ของธัญญา สังขพันธานนท์ (2547) เรื่อง “ดาดิง่ ลงสูแ่ ม่น้าราลึก สายน้ าบทกวี


แห่งการโหยหาอดีต” หรือในวิทยานิพนธ์ของอุบลณภา อินพลอย (2551) เรื่อง การถวิลหา
ั น์ทม่ี จี ุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพสะท้อนการ
อดีตในวรรณกรรมของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ถวิลหาอดีตกับจุดมุ่งหมายในการถวิลหาอดีตในวรรณกรรมของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์
ทัง้ บทกวี เรื่องสัน้ และนวนิยาย
แม้ว่างานศึกษาข้างต้นจะมุ่งพิจารณาประเด็นของการโหยหาอดีต อันเป็ น
ลักษณะสาคัญในวรรณกรรมของกวีหนุ่มผูน้ ้ี แต่การศึกษาในครัง้ นี้จะมีความแตกต่าง
จากงานสองชิ้นที่เอ่ยถึง ตรงที่ผู้เขียนบทความนี้มจี ุดประสงค์สาคัญที่จะตรวจสอบ
ข้อสังเกตข้างต้นว่า สานึกทีม่ ตี ่อถิน่ ฐานบ้านเกิด (sense of place) ซึง่ ในการศึกษาครัง้ นี้
จะขอเรียกว่า “มาตุคามสานึก” และการโหยหาสถานที่ (place nostalgia) ในกวีนิพนธ์
ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ ได้รบั การนาเสนออย่างไร และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
ระหว่างมนุ ษย์กบั โลกแห่งธรรมชาติอย่างไร ขณะเดียวกันมันได้ แสดงตัวตนหรือ
อัตลักษณ์ของเขาหรือไม่อย่างไร
เพื่อให้ได้คาตอบดังกล่าวผู้เขียนได้เลือกหนังสือรวมกวีนิพนธ์ของเรวัตร์
พันธุ์พพิ ฒ
ั น์ จานวน 4 เล่ม คือ บ้านแม่น้ า พันฝน เพลงน้ า แม่น้ าเดียวกัน และ
แม่น้ าราลึก มาเป็ นตัวบทในการศึกษา โดยจะเลือกพิจารณาจากบทกวีท่เี ห็นว่ามี
เนื้อหาและแนวคิดแสดงนัยสาคัญของ “สานึกเกีย่ วกับสถานทีแ่ ละอารมณ์โหยหาอดีต”
(nostalgia) ภายใต้การวิเคราะห์และตีความบนฐานคิดของวรรณกรรมวิจารณ์เชิง
นิเวศ (Ecocriticism) ซึง่ เป็ นมโนทัศน์สาคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุ ษย์
กับธรรมชาติในวรรณกรรม

สานึกในถิ่นที่ (sense of place) และการโหยหาสถานที่ (place nostagia)


มโนทัศน์ เกี่ยวกับสานึกในถิ่นที่เป็ นมโนทัศน์ ท่ถี ูกกล่าวถึงในสนามทาง
วิชาการหลายสาขา ทัง้ สถาปตั ยกรรมศาสตร์ ภูมศิ าสตร์มนุ ษย์ มานุ ษยวิทยาและ
สังคมวิทยา การให้ความหมายของคาดังกล่าวก็ขน้ึ อยู่กบั ปรัชญาและมุมมองของแต่ละ
ศาสตร์ กล่าวเฉพาะนักมานุ ษยวิทยา มีความเห็นต่ อสานึกในถิ่นที่ในแง่ของความ
ผูกพันทีม่ ตี ่อสถานที่ (place attachment) ว่าเป็ นสัญลักษณ์ของรูปแบบความสัมพันธ์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 69

ของกลุ่มคนที่ใช้วฒ ั นธรรมร่วมกัน และได้แบ่งปนั ความรู้สกึ และความหมายไปยัง


พืน้ ทีเ่ ฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง ทีเ่ ป็ นดินแดนส่วนหนึ่งซึง่ ช่วยให้ปจั เจกบุคคลและกลุ่มคน
ได้ทาความเข้าใจความสัมพันธ์ของพวกเขาทีม่ ตี ่อสิง่ แวดล้อม (Low & Altman,1992: 2)
ในขณะทีท่ างสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของสานึกในถิน่ ทีว่ ่า หมายถึงการรับรูข้ อง
ป จั เจกบุ คคลที่มีต่ อสิ่งแวดล้อม และจิตส านึ กหรือความรู้ส ึกของพวกเขาที่มีต่ อ
สิง่ แวดล้อมนัน้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย สานึกในถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธรรมชาติในสองทาง
คือมุ มมองหรือการให้ความหมายต่ อสิ่งแวดล้อมกับปฏิกิริยาทางอารมณ์ ท่ีมีต่ อ
สิง่ แวดล้อมดังกล่าว นอกจากนี้แล้วสานึกในถิน่ ทีย่ งั เกีย่ วข้องกับการจัดวางตาแหน่ ง
ของบุคคลในสถานทีต่ ่างๆ นันคื ่ อ ด้านหนึ่งเป็ นความเข้าใจเกีย่ วกับถิน่ ทีแ่ ละอีกด้าน
หนึ่งคือความรู้สกึ ที่มีต่อถิ่นที่ ซึ่งได้หลอมรวมในบริบทของการให้ความหมายต่ อ
สิง่ แวดล้อม (Hummon 1992: 6) แนวคิดนี้สอดคล้องกับความเห็นของ โธมัส วูดส์
(Woods, 2009) ทีว่ ่าคนจะพัฒนาสานึกในถิน่ ทีผ่ ่านประสบการณ์และความรูเ้ กีย่ วกับ
สถานทีแ่ ห่งใดแห่งหนึ่ง สานึกในถิน่ จะปรากฏขึน้ มาจากความรูเ้ กี่ยวกับประวัตศิ าสตร์
ภูมศิ าสตร์ ธรณีวทิ ยา พืชและสัตว์และตานานความเป็ นมาของสถานทีน่ นั ้ ๆ รวมทัง้
การเพิม่ พูนของสานึกในถิน่ ทีแ่ ละประวัตคิ วามเป็ นมาของมัน หลังจากทีเ่ ราได้อาศัย
อยู่ทน่ี นในช่
ั ่ วงเวลาหนึ่ง
ดังนัน้ สานึกในถิน่ ทีจ่ งึ เป็ นปฏิสมั พันธ์ระหว่างมนุ ษย์กบั สถานทีซ่ ง่ึ เขาเคย
มีประสบการณ์หรือเคยอยู่อาศัยและผ่านพบมาก่อน จึงก่อให้เกิดความผูกพันทีม่ ตี ่อ
สถานทีท่ งั ้ ในแง่ของอารมณ์ความรูส้ กึ และมุมมองหรือการให้ความหมายของแผ่นดิน
ถิน่ ทีน่ นั ้ ๆ แม้ว่าสานึกในถิน่ ทีเ่ ป็ นความรู้สกึ ของปจั เจกบุคคลแต่มนั ยังเชื่อมโยงกับ
วัฒนธรรมของคนในชุมชนและสังคมอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว แก่นแกนสาคัญของ
สานึกในถิน่ ทีม่ าจากความผูกพันทีม่ ตี ่อสถานทีแ่ ละอัตลักษณ์ของปจั เจกบุคคล ดังที่
มาร์ตนิ ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) เคยเสนอว่า การโหยหาสถานที่ใดสถานที่
หนึ่งเป็ นพิเศษนัน้ เป็ นธรรมชาติพน้ื ฐานของมนุ ษย์และสะท้อนถึงความปรารถนาที่
ติดตัวเรามาแต่ กาเนิดที่จะมีชีวิตที่แท้จริงกว่าชีวิตที่เป็ นอยู่ แก่ นแท้ของแนวคิด
เกีย่ วกับการกลับสู่บา้ นเกิด (home coming) คือมโนทัศน์ของตัวตนอันจริงแท้และ
ระยะห่างจากตัวตนที่ “แท้จริง” ที่เรารู้สกึ ท้ายทีส่ ุดแล้วมันมีความหมายว่าสถานที่
แห่งใดแห่งหนึ่งสามารถกาหนดและตีกรอบตัวตนที่แท้จริงของปจั เจกบุคคล โดยที่
70 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

สถานที่อ่นื ๆ ไม่สามารถทาเช่นนัน้ ได้ ตัวอย่างเช่น ไฮเดกเกอร์รู้สกึ ว่าเขาสามารถ


เป็ นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงได้ในกระท่อมไม้ซุงในปา่ ดาอันไกลโพ้น แต่ไม่สามารถ
รูส้ กึ แบบเดียวกันได้ในกรุงเบอร์ลนิ (อ้างอิงใน Mansfield: online)
เอ็ดวาร์ด เรล์ฟ (Edward Relph) นักภูมศิ าสตร์มนุ ษย์ ได้ขยายความคิด
ของไฮเดกเกอร์เพิม่ เติม โดยพุ่งประเด็นไปทีค่ วามสัมพันธ์เชิงประสบการณ์ของมนุ ษย์
ทีม่ ตี ่อสถานที่ว่ามีความสัมพันธ์อนั ลึกซึง้ และความตระหนักรู้ระหว่างตัวตนของเรา
กับสถานทีท่ เ่ี ราเกิดและเติบโต ความสัมพันธ์น้ดี จู ะเป็ นต้นกาเนิดพืน้ ฐานของอัตลักษณ์
ส่วนบุคคลและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความมันคงปลอดภั ่ ย เป็ นจุดเริม่ ต้นใน
การก้าวเดินสูโ่ ลกภายนอก (Relph, 1976: 63)
โดยทัวไปแล้
่ ว ความสัมพันธ์ระหว่างมนุ ษย์กบั สถานทีเ่ ป็ นไปใน 3 มิติ คือ
มิตขิ องความรู้ มิตขิ องพฤติกรรมและมิตขิ องอารมณ์ (Hashemnezhad, Heidari
and Hoseini, 2013) ในมิตขิ องความรูน้ นั ่ คือ การรับรูเ้ ชิงพืน้ ทีใ่ นด้านองค์ประกอบ
ของสิง่ แวดล้อมซึ่งจะนาพาไปสู่วิถีทางในการดาเนินชีวติ ความสัมพันธ์ในมิติของ
พฤติกรรมเป็ นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและหน้าที่ของผู้คนกับสิง่ แวดล้อมที่
พวกเขาอาศัยอยู่ ส่วนความสัมพันธ์ในมิติของอารมณ์เป็ นเรื่องของความรู้สกึ และ
ความผูกพันทีค่ นมีต่อสถานที่ (Low and Altman, 1992) ปฏิสมั พันธ์ระหว่างปจั เจก
บุคคลกับสถานทีด่ งั กล่าวมา จะเห็นได้ว่าปฏิสมั พันธ์ในมิตขิ องความรู้ ความเข้าใจที่
มีต่อสถานที่ถือเป็ นความสัมพันธ์อย่างเป็ นทางการและปกติทวไป ั ่ ปฏิสมั พันธ์ใน
ด้านพฤติกรรมเป็ นเรื่องของการทากิจกรรมและพฤติกรรมทีส่ อดคล้องกับสิง่ แวดล้อม
ส่วนปฏิสมั พันธ์ด้านอารมณ์จะเกี่ยวข้องกับความรู้สกึ และการให้ความหมายทีม่ ตี ่อ
สถานทีน่ นั ้ ๆ
เคลลี (Kelly, 1986: 616 อ้างถึงใน พัฒนา กิตอิ าษา, 2546: 5) ให้ความหมายของ
การโหยหาอดีตไว้วา เป็ น “จินตนาการถึงโลกทีเ่ ราได้สญ ู เสียไปแล้ว (imagination of a
world we have lost)” เป็ นปรากฏการณทีเ่ กิดขึน้ กับปจั เจกบุคคลหรือสมาชิกใน
สังคมวัฒนธรรมเดียวกันทีม่ ปี ระสบการณ์ ร่วมกันในอดีตโดยใช้จนิ ตนาการเพื่อเป็ น
เครื่องมือสือ่ สารเพื่อ “เรียกหาอดีตทีเ่ ลือนหายไปแล้วให้คนื กลับ (to call up a vanished
past)” การให้ความหมายของคาศัพท์ดงั กล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของนักมานุษยวิทยา
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 71

แนวประสบการณ์ทอ่ี ธิบายว่า ปรากฏการณ์การโหยหาอดีตเป็ นรูปแบบการมองโลก


หรือการให้ความหมายแก่ประสบการณ์ ของมนุ ษย์ซ่งึ เน้นอารมณ์หรือจินตนาการ
การโหยหาอดีตเป็ นการมองย้อนไปในอดีตเพื่อใคร่ครวญ หรือทาให้เกิดความเข้าใจ
ในอดีตทีผ่ ่านมาในช่วงเวลาปจั จุบนั โดยเรียกวิธกี ารหรือรูปแบบดังกล่าวว่า “วิธกี าร
มองย้อนอดีต (retro mode)” หรือ “วิธกี ารมองแบบโหยหาอดีต (nostalgia mode)”
(Jameson, 1991: 19 อ้างถึงใน พัฒนา กิตอิ าษา, 2546: 4)
จากกรอบแนวคิดข้างต้น จะเห็นได้ว่าการศึกษาเรื่องสานึกในถิน่ ทีแ่ ละการ
โหยหาอดีตดาเนินไปบนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั สถานที่ ประสบการณ์ในวัยเยาว์
ตัวตนและอัตลักษณ์ของเขา การโหยหาอดีตจึงไม่ใช่ภาวะความรูส้ กึ ทีม่ าจากเหตุผล
ทางจิตวิทยาเพียงด้านเดียว

มีอะไรในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
กวีนิ พนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพ ัฒน์ ท่ีน ามาเป็ นข้อมูลในการศึกษาครัง้ นี้
ประกอบด้วยหนังสือรวมบทกวีจานวน 4 เล่ม เรียงตามลาดับปี ทพ่ี มิ พ์คอื บ้านแม่น้ า
(2538) พันฝน เพลงน้ า (2544) แม่น้ าราลึก (2547) และแม่น้ าเดียวกัน (2555) จะ
เห็นได้ว่ารวมบทกวีนิพนธ์ทงั ้ หมดมีลกั ษณะร่วมทีน่ ่าสนใจอยู่ประการหนึ่ง คือการตัง้
ชื่อเล่มที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ าเกือบทุกเล่ม การตัง้ ชื่อเล่มในลักษณะนี้น่าจะมาจาก
ความตัง้ ใจของผู้เขียนมากกว่าเป็ นความบังเอิญ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเนื้อหา
ของกวีนิพนธ์ในแต่ละเล่มก็ยงั พบรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่บา้ ง ดังทีจ่ ะนาเสนอ
ให้เห็นโดยสังเขปดังนี้
บ้านแม่น้ า เป็ นรวมบทกวีเล่มแรกของเรวัตร์ มีการจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็ น
3 ตอน คือ ตัวตน ค้นหา และอารมณ์รกั ซึง่ ถือเป็ นการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาบทกวี
ได้อย่างน่าสนใจ ในตอนแรกคือตัวตน ประกอบด้วยบทกวีทก่ี ล่าวถึงตัวตนและความ
นึกคิดของกวีเอง ในช่วงท้ายของตอนนี้เรวัตร์ได้กล่าวถึงการเดินทางออกจากบ้านเกิด
ออกไปสู่โลกที่กว้างขึ้น ต้องจากบ้านแม่น้ าและแผ่นดินถิ่นเกิดเพื่อไปทางานที่ใ น
เมืองใหญ่ตามวิถขี องสังคมทุนนิยม บทกวีบางบทได้แสดงให้เห็นน้ าเสียงและทัศนะ
ทีก่ วีมตี ่อสังคมเมืองซึง่ ให้ภาพทีแ่ ตกต่างอย่างสิน้ เชิงกับภาพของแผ่นดินถิน่ เกิด และ
72 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

เพิม่ ความเข้มข้นมากขึน้ ในตอน “ค้นหา” ซึง่ เป็ นเรื่องราวของคนหนุ่มสาวทีต่ อ้ งพลัดถิน่


เข้าไปทางานในเมืองใหญ่ บทกวีหลายสิบชิ้นในตอนนี้พูดถึงความรูส้ กึ แปลกแยกกับ
ถิน่ ฐานที่แปลกหน้า ความรูส้ กึ ถวิลหาต่อถิน่ ฐานทีจ่ ากมา และการตัง้ คาถามถึงการ
แสวงหาของคนหนุ่ มสาวผูพ้ ลัดถิน่ ส่วนในตอน “อารมณ์รกั ” เป็ นการแสดงความรัก
ความผูกพันและความโหยหาทีม่ ตี ่ อแผ่นดินถิน่ ที่ ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ดอกไม้
ใบหน้าและฤดูกาล
พันฝน เพลงน้ า รวมบทกวีเล่มที่สองของเรวัตร์ พันธุ์พพิ ฒ ั น์ เนื้อหาของ
บทกวีเกือบทัง้ หมดยังไม่ ฉี กแนวไปจากเล่ มแรก คือยังคงกล่ าวถึงแผ่ นดินถิ่นที่
ประสบการณ์ ความหลัง ความรักและความผูกพันทีม่ ตี ่อถิน่ ฐานบ้านเกิด ผูเ้ ขียนแบ่ง
เนื้อหาออกเป็ นตอนๆ ชื่อตอนบ่งชีถ้ งึ เนื้อหาและแนวคิดของบทกวีแต่ละชิน้ รวมทัง้ หมด
37 ชิน้ คือ ความทรงจาหวานหอมหลอมชีวติ กลับไปยังเถื่อนทีเ่ ธอมา เรียนรูท้ าความ
เข้าใจ ที่เห็นเป็ นไป ที่ยงั ไม่เห็นเป็ นมา หรือว่าเป็ นเช่นนี้วถิ ีชวี ติ เราอยู่ท่นี ่ี -วิถีเรา
สกัดกินหัวใจ– ครช้าช้า และในแสงแดดสีทอง-ใช่ของใคร สว่างไสวในเรา-เท่าเท่ากัน
เมื่อพิจารณาเนื้อหาโดยรวม ถือว่าเป็ นหนังสือรวมบทกวีท่มี เี นื้อหาหนักแน่ นและมี
ความเป็ นเอกภาพทางความคิดค่อนข้างมาก
แม่น้ าราลึก ซึง่ ได้รบั รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2547 เป็ นรวมบทกวีทม่ี เี อกภาพ
มากทีส่ ุด เพราะบทกวีทงั ้ 43 ชิน้ แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความผูกพันกับสถานที่
(place attachment) สานึกในแผ่นดินถิน่ เกิด หรือ “มาตุคามสานึก” ทัง้ หมดถูกนาเสนอ
ผ่านพาหนะทีเ่ รียกกันว่า “การโหยหาอดีต” หรือพูดให้ตรงประเด็นคือการโหยหา
สถานที่ ผู้เขียนจัดหมวดหมู่และแบ่งตอนบทกวีออกเป็ นสองภาค คือ ภาคปฐมบท:
กลับไปเยีย่ มวัยเยาว์ ประกอบด้วยบทกวี 42 ชิน้ และภาคปจั ฉิมบท: กลับไปเยีย่ มวัย
เยาว์ มีบทกวีเพียงชิน้ เดียว คือ แม่น้ าราลึก จุดเด่นของกวีนิพนธ์เล่มนี้คอื การแสดง
อารมณ์หวนหาอดีตพร้อมความรูส้ กึ ผูกพันทีม่ ตี ่อสถานทีผ่ ่านช่วงเวลา ฤดูกาล ข้าวของ
เครื่องใช้ พืช สัตว์และพืน้ ทีต่ ่างๆ
แม่น้ าเดียวกัน รวมบทกวีเล่มล่าสุดทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์
มีบทกวีทงั ้ หมด 80 บท ซึง่ นับว่ามากกว่าทุกเล่มทีก่ ล่าวถึงมา ผูเ้ ขียนแบ่งหมวดหมู่
บทกวีออกเป็ นตอนๆ เช่นเดียวกับเล่มก่อนๆ คือประกอบด้วย ภาคหนึ่ง โลกใบอื่น
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 73

ภาคสอง พืน้ ทีจ่ ริงแท้ ภาคสาม แม่น้าเดียวกัน บทกวีเกือบทัง้ หมดยังวนเวียนอยู่กบั


เรื่องของสถานที่ ความทรงจาและความผูกพันทีม่ ตี ่อสถานที่ แต่ทเ่ี พิม่ เติมขึน้ มาคือ
รวมกวีนิพนธ์เล่มนี้ขยายขอบเขตของสถานทีอ่ อกไปสูโ่ ลกทีก่ ว้างขึน้ คือพูดถึงสถานที่
ต่างๆ ในดินแดนอุษาคเนย์ เพื่อนามาสูบ่ ทสรุปว่า ทัง้ หมดคือ “แม่น้าเดียวกัน”
จากทีน่ าเสนอมาโดยสังเขป จะเห็นได้ว่า เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์เป็ นกวีร่วมสมัย
ของไทยทีใ่ ห้ความสนใจเรื่องราวของสถานที่ ธรรมชาติ ความรูส้ กึ โหยหาและผูกพัน
กับสถานที่อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ประเด็นเหล่านี้ได้รบั การนาเสนอและกล่าวซ้า
ทัง้ ในแง่ของแนวคิด ท่วงทานองแต่งและอารมณ์ความรูส้ กึ จนอาจกล่าวได้ว่าบทกวี
ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ คือบทกวีของความสานึกในถิน่ ทีอ่ ย่างชัดเจน

ไปเป็นคนแผ่นดินอื่นกี่หมื่นพัน: ปฐมบทของการโหยหา
สานึกในถิน่ ทีเ่ ป็ นภาวะของอารมณ์และความรูส้ กึ ของมนุ ษย์ในฐานะปจั เจก
บุคคล ความรูส้ กึ ดังกล่าวไม่อาจเกิดขึน้ ง่ายๆ หากเรายังอาศัยอยู่ในถิน่ ฐานบ้านเกิด
แต่เมื่อใดทีจ่ ากมาหรือเดินทางออกจากทีแ่ ห่งนัน้ เพื่อไปอาศัยในถิน่ ทีอ่ ่นื ความรูส้ กึ
ดังกล่าวก็จะเกิดขึน้ สานึกในถิน่ ทีเ่ ป็ นเรื่องของความทรงจาบวกกับความรูส้ กึ ผูกพัน
ในถิน่ ทีเ่ ดิม โดยมีแรงขับดันมาจากความไม่ลงรอยและแปลกแยกกับสถานทีแ่ ห่งใหม่
ทีม่ สี ภาพแวดล้อมต่างไปจากสถานทีท่ ต่ี นเองคุน้ เคยและประทับใจ
การเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมในโลกปจั จุบนั เป็ นปจั จัย
หลักทีท่ าให้ผคู้ นต้องพลัดพรากจากถิน่ ฐานทีเ่ คยอยู่อาศัยมากขึน้ การละจากถิน่ ฐาน
บ้านเกิดนัน้ เป็ นไปทัง้ โดยสมัครใจและความจาเป็ นในการดิน้ รนหาเลีย้ งชีวติ ความเจริญ
แบบเมืองและวิถแี ห่งทุนนิยมได้ซมึ แทรกเข้าไปสูท่ อ้ งถิน่ ชนบทและส่งผลต่อวิถดี าเนิน
ชีวติ การทามาหากิน ความเชื่อและอุดมการณ์ของผูค้ นมากขึน้ เมื่อเงินและพฤติกรรม
บริโภคนิยมเข้ามาเป็ นตัวกาหนดชีวติ มันได้ส่งผลทีเ่ ห็นได้ชดั อยู่สองทาง หนึ่งคือ
ความเป็ นชนบทถูกแทนที่ด้วยความเป็ นเมือง การผลาญพล่าทรัพยากรธรรมชาติ
และการแตกสลายทางวัฒนธรรม อีกทางคือมันได้ผลักไสคนหนุ่ มสาวทัง้ ทีม่ กี ารศึกษา
และด้อยการศึกษาให้ออกจากแผ่นดินมาตุคามเข้าสู่เมืองใหญ่ด้วยเหตุ ผลหลักคือ
การแสวงหาชีวติ ทีด่ กี ว่าหรือเพื่อค้นหาความหมายให้กบั ตัวเอง
74 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

"แห่งชานชาลาอาลัย ข้ามาเข้าใจ
โลกใหม่, นอกเหนือทุ่งนา
วัยหนุ่มย่อมฝืนชะตา ความฝนั บัญชา
น้าตาแห่งแม่แร-ราย"
(บ้านแม่น้ า: 30-31)
เรวัตร์ตงั ้ คาถามต่อการเดินทางออกจากมาตุคามของคนหนุ่ มสาวเหล่านี้ไว้
ในรวมบทกวี “บ้านแม่น้ า” ว่า “หนุ่ มสาวเดินไปสู่หนไหน จึงร้างไกลอกแม่กระแสสินธุ์
ไปถามหาความรักจากแผ่นดิน หรือให้เมืองหยามหมิน่ จิตวิญญาณ์” (บ้านแม่น้ า: 14-18)
ในเมืองใหญ่พวกเขากลายเป็ น “คนอื่น” และแปลกแยก หรือดังที่เรวัตร์
เรียกว่า “ไปเป็ นคนแผ่นดินอื่น” วิถขี องคนหนุ่ มสาวในโรงงานทีอ่ ยู่กบั เครื่องจักรกล
และการงานอันซ้าซากทาให้รู้สกึ แปลกแยก โศกเศร้าและทุรนทุราย พร้อมกับรู้สกึ
โหยหาสถานทีท่ ต่ี นได้จากมา ดังทีเ่ ขากล่าวไว้ในบทกวีช่อื “ความฝนั กลับบ้าน” ไว้ว่า
ในโรงงาน-หนุ่มเหงา, สาวเหนื่อยหน่าย ทุกวิถที ุรนทุรายคล้ายน้าปา่
ซัดระลอกกระฉอกเชีย่ วเกลียวพันธนา ซึง่ ไหลบ่าพลัดสู่-ประตูโรงงาน
ซึง่ แออัด, อึงอล คน-เครื่องจักร มีหยุดพักผ่อนเพลาเร่งเร้าผลาญ
รีดหยาดเหงื่อ,ตาใสวัยแย้มบาน จนรูส้ กึ วัยกร้าน-ใจด้านชา
(บ้านแม่น้ า: 52)
ชีวติ ในสังคมเมืองและโรงงานคือชีวติ ทีเ่ ต็มไปด้วยพันธนาการ ไร้อสิ ระ ต่างจาก
ถิน่ ฐานเดิมทีจ่ ากมาซึ่งเต็มไปด้วยชีวติ ทีเ่ รียบง่าย ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
พืชพรรณ และช่วงฤดูกาลที่นาสีสนั บรรยากาศมาสู่ชวี ติ แต่เมื่อย้อนกลับไปยังถิ่น
ฐานบ้า นเกิด ก็พบความจริง อัน เจ็บปวดว่ า วิถี และคุ ณค่ า เดิมๆ ของชนบทได้
เปลีย่ นแปลงไปเกือบหมดแล้ว แม้แต่ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมก็สญ ู เสียสภาพดัง้ เดิม
ไปพร้อมๆ กับตัวตนและอัตลักษณ์ของผู้คน ความแปลกแยกครัง้ ทีส่ องก็เกิดขึน้ ใน
แผ่นดินแม่ นาไปสูก่ ารโหยหาอดีตอันแสนงามอีกครัง้ สภาพการณ์ทว่ี ่านี้ดูเหมือนจะ
เป็ นทัง้ แก่นเรื่องสาคัญและในขณะเดียวกันก็เป็ นโครงสร้างที่ค่ อนข้างแน่ นอนที่
ปรากฏในบทกวีแทบทัง้ หมดของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ซึง่ สามารถสรุปออกมาให้เห็น
เป็ นแผนภูมไิ ด้ดงั นี้
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 75

การจากถิน่ ฐานเดิม ความรูส้ กึ แปลกแยก การโหยหาอดีต

การโหยหาอดีต ความรูส้ กึ แปลกแยก การกลับคืนถิน่ ฐานเดิม


ดังทีเ่ ขาสะท้อนภาวะดังกล่าวไว้ในบทกวีทช่ี ่อื “พันฝน” ว่า
กีพ่ นั ฝนแล้วลันทม ่ เราต่างเศร้าโศกตรมในลมฝน
ท่องไปกีห่ มู่บา้ นย่านตาบล ไปเป็นคนแผ่นดินอื่นกีห่ มืน่ พัน
........................................ ...............................................
กีพ่ นั ฝนพันฝนั แล้วลันทม ่ เราต่างเศร้าโศกตรมและหวาดไหว
ฉันกลับคืนบ้านเกิดหลังเตลิดไกล บ้านเก่าในดงไม้เหมือนไม่มี
........................................ ................................................
กีพ่ นั ฝนพันฝนั แล้วลันทม ่ เราต่างเศร้าโศกตรมอยู่เสมอ
จมอยูใ่ นโลกเก่าราวละเมอ เดินบ่นเพ้ออยู่กลางทางแสงจันทร์
(พันฝน เพลงน้ า: 35-36)
เรวัตร์มองว่า เมื่อใครคนหนึ่งเดินทางออกจากแผ่นดินแม่ มันคือการตัดขาด
จากรากเหง้าดัง้ เดิมของตนอย่างแท้จริง ผูค้ นทีต่ ดั ขาดจากรากเหง้าของตนจึงกลายเป็ น
คนปว่ ยทีต่ ่าง “เศร้าโศกตรมอยู่เสมอ” พวกเขากลายเป็ น “คนอื่น” ของถิน่ ทีแ่ ห่งใหม่
อยู่ในภาวะปลาสองน้ าหรือ “กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง” ดังนัน้ วิธเี ดียวทีจ่ ะช่วยกอบกู้และ
เยียวยาจิตวิญญาณดัง้ เดิมให้คนื มาก็คอื หาโหยหาแผ่นดินถิ่นที่ซง่ึ ตนเองได้จากมา
ดังทีเ่ ขาได้ย้าให้เห็นในบทกวีช่อื “ใดจักขับขานสมัย” ไว้ว่า
ปลอดละลิว่ ปลิวคว้างร้างทีพ่ กั ระโหยหาความรักหิวศักดิศรี ์
แสวงหวานชานชาลาสถานี ก่อนสู่เมืองกาลีเบียนบีฑา
เพียงทอดฝนั วันคว้างทางเถื่อนร้อน ฝนั ถึงดินทุกก้อนทุกต้นกล้า
ฝนั พุ่มพฤกษ์ผลึกใบไพรพนา ฝนั รอยเท้าธรรมดาสามัญชน
(บ้านแม่น้ า, 2538: 41)
การโหยหาถิ่นที่ในอดีตเป็ นวิถีเดียวที่ช่วยเยียวยาความโศกเศร้าสิน้ หวัง
นี่เองทีเ่ ป็ นแนวคิดสาคัญในบทกวีของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ มันปรากฏอย่างชัดเจนใน
รวมกวีนิพนธ์ แม่น้ าราลึก
76 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

กลับไปเยี่ยมวัยเยาว์และภาพฝันวันวาน:
มาตุคามสานึกและการโหยหาสถานที่ในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
ในรวมบทกวี แม่น้ าราลึก เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ได้จดั วางเนื้อและเรียงลาดับ
เนื้อหาของบทกวีทงั ้ หมดภายใต้แนวคิด “กลับไปเยีย่ มวัยเยาว์” ซึง่ เปรียบเสมือนชื่อรอง
ของหนังสือเล่มนี้ ในขณะเดียวกันก็ส่อื ความหมายถึงการกลับคืนสู่มาตุภูมิ การคืนสู่
อดีตทีเ่ ลยลับ และประสบการณ์ในวัยเยาว์ ด้วยความรูส้ กึ ผูกพันในแผ่นดินถิน่ ทีแ่ ละ
สานึกโหยหาอดีต
การกลับไปเยี่ยมวัยเยาว์ในความหมายนี้กค็ อื การหวนกลับสู่ประสบการณ์
ดัง้ เดิมทีม่ เี กีย่ วข้องกับสถานที่ ดังทีอ่ อสติน (Austin, 2002: 85) ชีใ้ ห้เห็นว่า ความผูกพัน
กับสถานทีม่ กั จะเริม่ ต้นขึน้ ในวัยเด็ก ความสัมพันธ์ทแ่ี ข็งแกร่งนี้จะเริม่ ก่อตัวขึน้ ใน
วัยเยาว์ มันคือการเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สกึ ของปจั เจกบุคคลกับสถานที่ มันเป็ น
ความรูส้ กึ ทีด่ แี ละประทับใจต่อสถานทีใ่ นอดีต การนาเสนอเนื้อหาของบทกวีใน แม่น้ า
ราลึก ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ดาเนินไปอย่างสอดคล้องกับแนวคิดนี้ ในบทกวีดงั กล่าว
เรวัตร์ใช้ “แม่น้า” เป็ นสถานทีห่ ลัก แวดล้อมไปด้วยสถานทีแ่ ละร่องรอยอื่นๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง
กับประสบการณ์และความทรงจาในวัยเยาว์ นอกจากนี้แล้วในกวีนิพนธ์เล่มอื่นๆ ก็
ปรากฏร่องรอยของความทรงจาและประสบการณ์เกีย่ วกับแผ่นดินถิน่ ทีแ่ ละสิง่ แวดล้อม
ในทานองเดียวกัน หากจัดหมวดหมู่ของร่องรอยหลักฐานเหล่านี้จากรวมบทกวีทุกเล่ม
ก็อาจจาแนกให้เห็นโดยคร่าวๆ ได้ดงั นี้
หมวดหมู่ ร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์
และความทรงจา
ช่วงเวลา/ฤดูกาล ฤดูฝน ฤดูรอ้ น ฤดูหนาว เช้า สาย ค่า กลางคืน ปิ ดเทอม
ฯลฯ
ข้าวของเครื่องใช้/ของเล่น เปล ว่าว เรือ ครกกระเดื่อง หน้าต่าง ตะเกียง จักรยาน
หนังสติก๊ โอ่งน้ า ประตู เรือโปงอนกระดาษ ปลาตะเพียนสาน
ลอบ ไซ ม้าก้านกล้วย กะลา จอบ เสียม ฯลฯ
สถานที่/พืน้ ที่ แม่น้ า ชายฝงั ่ ใต้ถุน ลาราง สวน สะพานไม้ บึงบัว ลานดิน
ร้านตัดผม โรงเรียน กระโจมฟาง ลอมฟาง กระท่อม หาดทราย
รัว้ บ้าน ภูเขา ท้องทุ่ง นา ไร่ ลาห้วย ร้านเหล้าในหมูบ่ า้ น ฯลฯ
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 77

หมวดหมู่ ร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์
และความทรงจา
ธรรมชาติ/ ดวงตะวัน ดาว รุง้ หมูเ่ มฆ ท้องทุ่ง แสงแดด สายลม
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หมอก ไอดิน กลิน่ หญ้า สายฝน ฯลฯ
พืช ดอกไม้ ต้นหว้า ใบไม้ ต้นกล้า ต้นข้าว เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
สัตว์ ปลา ปู หนู นก วัว ควาย ผีเสือ้ จั ๊กจั ่น หมา แมว ไก่ หอย ฯลฯ
อาหาร ห่อข้าว ปลาย่าง ฯลฯ
วัฒนธรรม นิทาน เพลงกล่อมเด็ก เพลงพืน้ บ้าน ฯลฯ
อาจกล่าวได้ว่าร่องรอยหลักฐานของประสบการณ์และความทรงจาในวัยเยาว์
ทัง้ หมดคือสัญญะทีเ่ รวัตร์ต้องการใช้ส่อื ความหมายถึงความผูกพันและความโหยหา
สถานที่ สัญญะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่อื ความหมายถึงการดารงอยู่ของท้องถิน่ ชนบท
เป็ นสิง่ แวดล้อมอันเป็ นร่องรอยของธรรมชาติ วิถชี วี ติ ในอดีตทีผ่ เู้ ขียนเคยมีประสบการณ์
มาก่อนในวัยเยาว์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็ นความทรงจาและความผูกพันในวัยเยาว์ทม่ี ี
ต่อถิน่ ฐานบ้านเกิด นี่คอื พาหนะของความรูส้ กึ โหยหาทีถ่ ูกนาเสนอผ่านเรื่องราวเหตุการณ์
ทีผ่ ูกร้อยเป็ นเรื่องเล่าเหมือนเรื่องสัน้ เรื่องหนึ่ง มีองค์ประกอบของฉาก ตัวละคร
การกระทา ผสมผสานด้วยอารมณ์ความรูส้ กึ ดังตัวอย่าง
การโหยหาผ่านช่วงเวลาและฤดูกาล
พฤศจิกายนฝนสิน้ ฟ้า เช้า, น้าเหนือไหลบ่ามาเร้าปลุก
เอ่อกระทังฝ ั ่ นปี นฝงรุ
่ งดิ ั่ ก บุกลานดินสนามเป็ นลานน้า
ไม่รอช้าเนื่องหนุนใต้ถุนเรือน เสียงกองทัพขับเคลื่อนเสียงสูงต่า
ในเช้าอันอ้อยส้อยไร้ถอ้ ยคา นาฏกรรมเช้าชื่นอันตื่นตา
(แม่น้ าราลึก: 16)
การโหยหาผ่านข้าวของเครื่องใช้
เรามีโลกของเราเสาร์, อาทิตย์ แม้อยากให้โรงเรียนปิดกันติดต่อ
ไปร้อยวันพันเดือนเหมือนไม่พอ โอ้สมุดดินสอหนอตารา
อยากมีเพียงหนังสติก๊ และกระสุน ั ้ มตุนเต็มย่ามผ้า
ดินเหนียวปนเติ
เมื่อทุกอย่างพร้อมพออย่ารอช้า ตะลอนทุ่งแถวท่าและปา่ ดง"
(แม่น้ าราลึก: 44)
78 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

การโหยหาผ่านวิถชี วี ติ กิจกรรมในวัยเยาว์
ข้ารักทุย, ทุยเจ้าเข้าใจข้า แม้เพลงขลุ่ยบ้าบ้าฟงั น่าขัน
ข้ารักทุย, รักรวงข้าว-เท่าเท่ากัน รักดวงจันทร์, ดวงดาว, รักเหย้าเรือน
ทุ่งทีเ่ ราเปลือยกายกลางสายฝน เล่นโจรปล้น, เล่นตารวจ-ไล่กวดเพื่อน
แม้แม่ถอื ไม้เรียวต้องกู่รอ้ งเตือน เราก็ยงั อิดเอือ้ น-ประวิงเวลา
(พันฝน เพลงน้ า: 25)
นักจิตวิทยามองว่า การโหยหาอดีตเป็ นอารมณ์สากลของมนุ ษย์ซง่ึ อาจเกิด
ขึน้ กับใครก็ได้ ดังคากล่าวของคาปลาน (Kaplan, 1987: 465) ทีว่ ่า “ไม่มใี ครสักครัง้ ที่
ไม่มปี ระสบการณ์โหยหาอดีต” อารมณ์โหยหาอดีตจะแสดงให้เห็นทัง้ เชิงบวกและลบ
แต่ส่วนใหญ่จะเป็ นการแสดงออกเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ (Wildschut et al., 2006)
เมื่อนาแนวคิดนี้มาพิจารณาการแสดงออกถึงการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์
ก็พบว่าเรวัตร์ได้ใช้บทกวีแสดงออกถึงการโหยหาอดีตทัง้ สองลักษณะ การแสดงออก
ในเชิงบวกมักจะเป็ นการถวิลหาถึงภาพชีวติ ในเยาว์วยั ซึ่งเปรียบเสมือน “ภาพฝนั
วันวาน” ทีเ่ ต็มไปด้วยความบริสุทธิ ์ งดงาม แสดงถึงความสุข ความมันคงปลอดภั
่ ย
ทัศนียภาพของแผ่นดินถิ่นที่ท่ไี ด้รบั การนาเสนอผ่านการใช้ภาษาในเชิงอุปลักษณ์
เป็ นภาพที่งดงามมากกว่าภาพของความโหดร้าย ต่างจากการพูดถึงถิ่นที่ในเมือง
ใหญ่ท่เี ต็มไปด้วยความหมองหม่น หดหู่ ดังตัวอย่ างเช่น ในบางตอนของบทกวีช่อื
“สวน” ซึง่ พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กสองคนในบ้านเกิดทีถ่ ูกเชื่อมโยงด้วยแม่น้ า
สายเดียวกัน
ชิงช้าใครในสวนช่างชวนมอง น้าสายเดียวเกีย่ วข้องเหมือนน้องสาว
ชิงช้าไกวไม้หมู่กก็ รูกราว ดอกสีเหลืองร่วงพราวเป็ นดาวดิน
เริม่ จากเช้า, ทางดินท่ามถิน่ ทุ่ง เราต่างมุ่งผ่านไปในทุ่งถิน่
จักรยานผ่านนกจึงผกบิน อวลอายกลิน่ ดินฟ้าท้องนานัน้
ระหว่างเราเนานานผ่านทางดิน ระหว่างเราได้ยนิ ความใฝฝ่ นั
ระหว่างเราซับแสงแห่งตะวัน ระหว่างเราแบ่งปนั ธารน้าใจ
เราจึงรูแ้ ม้เราต่างเหย้าเรือน เราจึงเหมือนมิง่ มิตรอันชิดใกล้
เราต่างรูต้ ่างเห็นความเป็ นไป สายน้าในชีวติ ล้วนชิดเชือ้
(แม่น้ าราลึก: 87)
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 79

การนาเสนอภาพฝนั วันวานทีเ่ น้นถึงความงดงามของธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม


วิถชี วี ติ ผูค้ นในชุมชนทีร่ อ้ ยร่วมกันบนวิถชี วี ติ แห่งความเรียบง่าย ทาให้บทกวีของ
เรวัตร์เต็มไปด้วยเสน่หแ์ ละดูจริงใจ ดังเช่นในบทกวีช่อื “ช่างตัดผม” กล่าวถึงเด็กหนุ่มคน
หนึ่งทีก่ ลับมาบ้านเกิดหลังจากทีจ่ ากไปเสียนาน เมื่อเขากลับมาจึงได้ยอ้ นไปเยีย่ มช่าง
ตัดผมที่เคยรู้จกั กันมาก่อน ที่นัน่ เขาพบว่าหลายสิง่ หลายอย่างยังคงมีบรรยากาศ
เหมือนเดิม
เงาของคนต่างวัยในกระจก จึงสะทกสะเทือนลมเคลื่อนไหว
กาลเวลาหมุนเวียนหรือเปลีย่ นใจ บรรยากาศห้องไม้ยงั เหมือนเดิม
หนังสือมวยอับราบนม้าไม้ โหลปลากัดตัง้ ไว้บนชัน้ เสริม
ห้องยังคงเก่าก่อมิต่อเติม เก้าอีก้ ลมมิเพิม่ เพียงหนึ่งเดียว
ทัง้ รูปภาพดาราฝาผนัง อวดทรงผมล้าหลังอยู่โดดเดีย่ ว
รูปใบหน้าทัง้ ผองล้วนหมองเซียว “พุทธทาส” แน่นเหนียวเหนือประตู
(แม่น้ าราลึก: 79)
โลกในร้านตัดผมในบทกวีบทนี้ดูเหมือนจะเป็ นสถานทีแ่ ห่งเดียวทีเ่ ก็บรักษา
บรรยากาศของความเก่าหลังเอาไว้ ทุกอย่างในร้านตัดผมของชนบทยังคงแช่แข็ง
อดีตและอัตลักษณ์ดงั ้ เดิม กวีถ่ายทอดออกมาให้เห็นอย่างเป็ นรูปธรรมซึง่ แฝงน้ าเสียง
ของความรัก ความผูกพันต่อถิ่นฐานบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่ น อย่างไรก็ตาม ภาพ
บรรยากาศเก่าหลังนี้ไม่ได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้เหมือนโลกในร้านตัดผมตลอดไป แต่ได้
ถูกทาลายและเลือนหายไปแล้ว จนแทบไม่หลงเหลืออยู่ในความเป็ นจริง แต่ชดั เจนใน
ความทรงจาและหวนราลึกเท่านัน้ ดังทีเ่ ขานาเสนอไว้ในบทกวี “ต้นไม้แห่งชีวติ ” ที่
กวีสร้างภาพฝนั วันวานของบ้านเกิดที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของพืชพันธุ์
ธัญญาหาร ความอบอุ่นในครอบครัว และวิถชี วี ติ อันเรียบง่าย
ข้าคืนกลับท้องนาข้าวาดฝนั ในอุ่นอ้อมกอดตะวันอันสดใส
ขุดบ่อปลาห้อมล้อมกระท่อมไม้ พร้อมดอกใบไม้พรรณเป็ นบ้านนก
พร้อมหว่านดาข้าวทุ่งไว้หุงกิน ข้าได้ยนิ เสียงใจในห่วงอก
ขณะยกขณะย่าเสียงตาครก ใจเคยตกอกต่า-ระบาบิน
.......................................... .........................................
80 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

พร้อมดอกบัวเบิกบานผ่านโคลนตม ลานใต้ร่มลันทมพรมหญ้ ่ าแผ่


สีทองของทุ่งข้าว-ขาวดอกแค อันจะแปรเป็ นแกงต้มชะอมรัว้
(แม่น้ าเดียวกัน: 29)
ทีส่ ดุ แล้วเรวัตร์ชใ้ี ห้เห็นว่า ภาพฝนั วันวานเหล่านี้มอี ยู่เพียงในความฝนั แต่
ความจริงก็คอื ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอันสวยงามกลับถูกทาลายจนไม่เหลือสภาพ
เดิมอีกต่อไป
เมื่อข้าตื่นจากฝนั พลันพ่ายแพ้ รอยไถแปรพืชพรรณฝนั สลาย
ทัง้ ไฟลมดินน้าล้วนต่าตาย จึงยืนต้นสุดท้ายไม้ชวี ติ
(แม่น้ าเดียวกัน: 29)
ดังนัน้ ในบทกวีบทสุดท้ายของแม่น้ าราลึก เรวัตร์จงึ คล้ายกับสรุปให้เห็นว่า
ทัง้ หมดทีเ่ คยเกิดขึน้ และมีอยู่ในแผ่นดินแม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมที่เคยมี
อยู่ ไม่ต่างจาก “ดังการร่
่ วงดวงดาวและร้าวเดือน ดังการเคลื
่ ่อนไปข้างหน้าอย่างว้า
ว้าง” (แม่น้ าราลึก: 108) ภาพของการโหยหาอดีตจึงออกมาให้อารมณ์โศกเศร้าและ
สิน้ หวัง เรวัตร์มองว่าเขาก็เหมือนใครคนหนึ่งทีอ่ ยู่ในสภาพ “เด็กชายชรา” ทีม่ คี วาม
เหงาเศร้าอยู่เต็มหัวใจ และคอยยื่น “มือไขว่หาดวงจันทร์อยู่นนแล้ ั ่ ว”
เก้าอีโ้ ยกริมระเบียงฟงั เสียงน้ า งามสงบพลบค่าระร่าไหล
เหงาดังว่ ่ าน้าหยดจนหมดใจ เหลือสิง่ ใดไว้บา้ งระหว่างชีวติ
ระหว่างรอแสงจันทร์เขาฝนั ถึง ความละมุนคุน้ ซึง้ อันตรึงจิต
ทีถ่ กั ทอต่อเห็นเป็ นภาพพิศ ทีละนิดทีละน้อยค่อยแจ่มชัด
เห็นเด็กชายคนหนึ่งซึง่ ขลาดเขลา โลกกว้างใหญ่วยั เยาว์เขาข้องขัด
เรือนริมน้ าหลังหนึ่งถึงอัตคัด กลับร้อยรัดเขาไว้ไม่รเู้ ลือน
แต่โลกพลันผันเปลีย่ นคล้ายเขียนทราย ก่อนน้ ากลับลบหายไม่แม้นเหมือน
ดังการร่
่ วงดวงดาวและร้าวเดือน ดังการเคลื
่ ่อนไปข้างหน้าอย่างว้าว้าง
(แม่น้ าราลึก: 108)
จึงอาจกล่าวได้ว่า การสร้างภาพฝนั วันวาน แม้จะเป็ นการโหยหาอดีตที่
จากไป แต่กเ็ ป็ นเครื่องมือสาคัญทีช่ ่วยชดเชยและประกอบสร้างความจริงในประวัตศิ าสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 81

ขึน้ มาใหม่ ด้วยการสร้างภาพของ “ยุคทองในอดีต” ขึน้ แทนที่ โดยเฉพาะเมื่อปจั เจก


บุคคลมีความไม่ลงรอยกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมทีเ่ กิดขึน้ ในวัฒนธรรม
ใดๆ ก็ตาม (Ege University, 2007) นี่คอื การจินตนาการถึงโลกทีไ่ ด้สญ
ู เสียไปแล้ว
ของปจั เจกบุคคลและได้รอ้ื ฟื้นความทรงจาดังกล่าวผ่านการจินตนาการขึน้ มาใหม่อกี
ครัง้ หนึ่ง

มาตุคามสานึก: สานึกถึงสิ่งใด ?
สานึกในถิน่ ทีแ่ ละการโหยหาอดีตไม่ได้เป็ นเพียงเรื่องของความรูส้ กึ และภาวะ
วูบไหวทางอารมณ์เท่านัน้ แต่ในความเป็ นจริงมันคือวิธกี ารมองโลกในอีกแบบหนึ่งที่
กวีได้ประกอบสร้างความหมายบางอย่างพ่วงเข้ามาด้วย จากการศึกษากวีนิพนธ์แห่ง
สานึกในถิน่ ทีแ่ ละการโหยหาอดีตของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ทงั ้ สีเ่ ล่ม พบว่ามีนัยความหมาย
สาคัญบางประการแฝงเอาไว้ คือ 1) สานึกแห่งตัวตนและอัตลักษณ์ของกวี 2) มาตุคาม
สานึกกับธรรมชาติวถิ ี ดังซึง่ จะแสดงให้เห็นดังนี้
1) สานึ กแห่งตัวตนและอัตลักษณ์ของกวี
นักวิชาการมองว่า การโหยหาอดีตมีบทบาทหน้าทีท่ ส่ี าคัญอยู่ 3 ด้านคือ
หน้าทีด่ า้ นสังคม หน้าทีด่ า้ นอัตลักษณ์และหน้าทีด่ า้ นอารมณ์ (Wildschut et al., 2006;
Sedikides, 2010) กล่าวเฉพาะบทบาทด้านอัตลักษณ์ การโหยหาอดีตและมาตุคาม
สานึกทาให้บุคคลสานึกรู้ในตัวตนและอัตลักษณ์ ของตนเอง จิลเลียน โรส (Gillian
Rose) ชีใ้ ห้เห็นว่า สานึกแห่งแผ่นดินถิ่นที่บางครัง้ มีความเข้มข้นและกลายมาเป็ น
ศูนย์กลางของอัตลักษณ์ของแต่ละคน ส่วนหนึ่งของการนิยามตัวตนของบุคคลคือ
การสร้างสัญลักษณ์ให้เห็นว่าสถานทีน่ นั ้ ๆ มีคุณภาพทีส่ มบูรณ์แน่ นอน และคุณภาพ
ของสถานทีจ่ ะกลายมาเป็ นส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่องตัวตนของเรา (Massey and Jess,
1995: 89)
จากแนวคิดของโรส เมื่อนามาพิจารณากวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ซง่ึ
เข้มข้นไปด้วยสานึกในถิน่ ที่ จะเห็นได้ว่าเรวัตร์ได้ใช้บทกวีจานวนหนึ่งในการนิยาม
ตัวตนและอัตลักษณ์ของเขา ว่าคือคนทีถ่ ูกสร้างและหล่อหลอมมาจากธรรมชาติและ
สิง่ แวดล้อมกับวิถชี วี ติ ทีผ่ ูกพันกับแผ่นดินถิน่ เกิดในท้องทุ่งชนบท สิง่ เหล่านี้ได้หล่อ
82 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

หลอมตัวตนและจิตวิญญาณทีแ่ น่ชดั ของเขาขึน้ มา ดังทีน่ าเสนอไว้อย่างชัดเจนในบท


กวี “เพลงกล่อม-กระท่อม-น้า” ว่า
กาเนิด ณ กระท่อมเคียงลอมฟาง วันแดดอุ่นรางชางสว่างไสว
สองมือแม่โอบอุ่นละมุนละไม รินหลังใจ-สายธารผสานชี
่ วติ
เพลงสายลมกลมกล่อมกระท่อมแฝก เพลงน้ านมชาแรกแทรกดวงจิต
เพลงสายธารเบิกบานตระการ-พิศ ทุกเพลงหลอมนฤมิตชีวติ นี้-ฯ
หนอเด็กน้อยรอยยิม้ เจ้าพริม้ เพรา ดวงตาเจ้าซับไว้ดอกไม้สี
ซึง่ แต้มด้วยสีน้า-ลานากวี ทัง้ วจีเสียงหัวเราะเสนาะนัก
เรือกระดาษสีขาวแม่เจ้าพับ เจ้าซึมซับ-ปลาตะเพียนแม่เพียรถัก
เหมือนคาสอนให้เจ้าดูให้รรู้ กั นางฟ้า-ยักษ์, งดงามและความเลว
(บ้านแม่น้ า: 10)
เรวัตร์ใช้คาที่ส่อื ความหมายถึงธรรมชาติ ทัง้ แดดอุ่น สายธาร สายลม ใน
ความหมายเดียวกับเพลงกล่อมของ “มารดา” ผู้ให้ก าเนิดชีวิต ซึ่งแสดงถึงความ
สานึกในความสาคัญของธรรมชาติและวิถีวฒ ั นธรรมท้องถิ่นว่าเป็ นต้นธารในการ
“หลอมนฤมิตรชีวติ ” ของเขา ในทัศนะของเรวัตร์ ชีวติ ที่เกิดมาจากอ้อมกอดของแม่
และได้รบั การโอบอุม้ ด้วยธรรมชาติและวิถชี วี ติ อันเรียบง่ายนัน้ เป็ นชีวติ ทีแ่ สนบริสุทธิ ์
งดงามทัง้ ตัวตนและจิตวิญญาณ ดังในบทจบของกวีเรื่องเดียวกันนี้ว่า
จึงพิสทุ ธิผุ์ ดพรายในสานึก และก็พร้อมจะผลึกผนึกแก้ว
แห่งชีวติ วัยเยาว์อนั วาวแวว คือกาเนิดเพริศแพร้ว-มณีกาล-ฯ
(บ้านแม่น้ า: 11)
บทกวีของเรวัตร์หลายบทได้ผลิตซ้าและตอกย้าให้เห็นว่า วิถขี องธรรมชาติ
และสิง่ แวดล้อมในท้องทุ่งชนบท บทเพลงแห่งสายน้าและผืนแผ่นดิน รวมทัง้ วิถชี วี ติ
อันเรียบง่ายในชนบทแบบไทยๆ ทีเ่ ขาเรียกว่า “วิถไี ท” ได้หล่อหลอม “นฤมิต” ให้เขา
กลายเป็ นคนที่รกั และผูกพันในธรรมชาติ ดื่มด่ากับเพลงกล่อมและการละเล่นพืน้ บ้าน
ทัง้ หมดนี้ได้รบั การนิยามว่าคือ “รากเหง้า” หรือศูนย์กลางแห่งอัตลักษณ์ของเขา
ซึง่ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในบทกวีทช่ี ่อื ว่า “รากเหง้า” ดังตัวอย่างบางตอน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 83

ข้ารักทุย, ทุยเจ้าเข้าใจข้า แม้เพลงขลุ่ยบ้าบ้าฟงั น่าขัน


ข้ารักทุย, รักรวงข้าว-เท่าเท่ากัน รักดวงจันทร์, ดวงดาว, รักเหย้าเรือน
ทุ่งทีเ่ ราเปลือยกายกลางสายฝน เล่นโจรปล้น, เล่นตารวจ, ไล่กวดเพื่อน
แม้แม่ถอื ไม้เรียวต้องกู่รอ้ งเตือน เราก็ยงั อิดเอือ้ น-ประวิงเวลา
(พันฝน เพลงน้ า: 25)
ในบทกวี “เติมแก้วทีพ่ ร่องของกันและกัน” เรวัตร์ได้ตอกย้าถึงตัวตนและ
อัตลักษณ์ ของเขาว่าถูกหล่อหลอมกล่อมเกลามาจากวิถีของแม่น้ าและวัฒนธรรม
พืน้ บ้านและมันกลายเป็ นตัวตนทีย่ งยื
ั ่ น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะไปอยู่ในที่
ไหนๆ ก็ตาม
ท้องทุ่งรุ่งราวบางปลาม้า เขาเดินจากมาใต้ฟ้าฝนั
แม่น้าแม่ลกู ความผูกพัน กลายเป็ นสีสรรพ์คาบรรยาย
บ้านเกิดเพื่อนเก่ารากเหล่ากอ ถักทอให้เห็นเป็ นเส้นสาย
ท่วงทานองของความหลังนัน้ ฟงั คล้าย เสียงน้าเซาะฝงทรายไม่
ั่ หวนคืน
เพลงอีแซวเพลงลูกทุ่งจรุงใจ แม้พรากจากไกลไม่เป็ นอื่น
(แม่น้ าเดียวกัน: 117)
การนิยามตัวตนโดยผูกติดอยู่ก ับแผ่นดินถิ่นเกิดทาให้เกิดความรู้สกึ ถึง
ความอบอุ่นและปลอดภัย มาตุคามสาหรับเรวัตร์ คือถิ่นที่ทต่ี วั ตนของเขาได้หลอม
รวมกับผืนแผ่นดิน ธรรมชาติและวิถีพ้นื บ้านอย่างแนบแน่ น และหยังลึ ่ กลงในจิต
วิญญาณ มันเป็ นตัวตนและอัตลักษณ์แบบเด็กชายทีเ่ ต็มไปด้วยความฝนั และจินตนาการ
แต่กม็ คี วามบอบบางและอ่อนโยนไม่ต่างไปจากฟองน้ า “บอบบางเหมือนกาเนิดจาก
ผิวแก้ว เหมือนชุบวาวราวแพรวแววรุ้งพร่าง เหมือนเนื้อแท้จะตอบว่าบอบบาง
เหมือนไม่มคี วามกระด้าง ณ กลางดวง” (บ้านแม่น้ า: 28) สานึกว่าตัวตนนัน้ บอบบาง
จะเกิดขึน้ เมื่อเขาต้องพลัดพรากจากแผ่นดินแม่ และเป็ นเหตุซง่ึ นาไปสู่ความไม่ลงรอย
ขึน้ ระหว่างอัตลักษณ์เดิมกับสิง่ แวดล้อมใหม่ ทีม่ คี วามแตกต่างไปจากอัตลักษณ์ของ
แผ่นดินถิ่นเกิด ความไม่ลงรอยนี้นามาสู่ความทุกข์และโศกเศร้า ดังนัน้ จะเห็นได้ว่า
ในบทกวีหลายบททีส่ ะท้อนให้เห็นภาวะทุนรนทุรายและสิน้ หวังและความเป็ นอื่นกับ
ถิน่ ทีแ่ บบใหม่ ความรูส้ กึ เหล่านี้ปรากฏอย่างชัดเจนในรวมกวีนิพนธ์ช่อื “บ้านแม่น้ า”
84 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในตอน “ค้นหา” ทีเ่ ล่าถึงการเดินทางของเด็กหนุ่ มเข้าสู่เมืองใหญ่


เพื่อไปขายแรงงาน กวีจะเน้นย้าถึง ความอาลัยอาวรณ์ (แห่งชานชาลา-อาลัย ข้ามา
เข้าใจ โลกใหม่, นอกเหนือทุ่งนา) การแสดงออกถึงการโหยหาอย่างลึกซึง้ นี้เป็ นเพราะ
กวีได้นิยามตัวตนของเขากับแผ่นดินถิน่ เกิดว่า “ต่างเป็ นของกันและกัน” แผ่นดินแม่
เหมือน “รากแก้ว” ส่วนตัวของเขาคือ “รากฝอย” การพลัดพรากจากแผ่นดินแม่กค็ อื
การตัดขาดจากรากแก้ว ซึ่งก็คอื การตัดขาดจากอ้อมอกแม่นัน่ เอง “เจ้ารากน้อย
หงอยเหงาในโรงงาน เปิ ดผนึกร้าวรานเกินขานใคร” และ
รากฝอยรากแก้วจึงแคล้วคลาด หากยังคงใสสะอาดไปทุกที่
สิง่ หนึ่งซึง่ โรงงานไม่เคยมี คือความรักจากแม่น้นี ิรนั ดร
(บ้านแม่น้ า: 36-37)
การตัดขาดจากรากเหง้าจากถิน่ ฐานมาตุคาม หรือนัยหนึ่งคือการจากอ้อมอก
แม่ ทาให้ต้องสูญเสียอัตลักษณ์ดงั ้ เดิมไปจนสิน้ ทางเดียวที่จะกอบกูแ้ ละรืน้ ฟื้ นขึน้
มาใหม่กค็ อื การโหยหาสถานทีใ่ นอดีตนันเอง ่ โดยนัยนี้ การโหยหาสถานทีใ่ นอดีตจึง
เป็ นวิธกี ารกอบกู้อตั ลักษณ์ดงั ้ เดิมขึน้ มาใหม่ ซึ่งเรวัตร์ได้นาเสนอให้เห็นอย่างเต็ม
รูปแบบในรวมกวีนิพนธ์ชุด แม่น้ าราลึก ของเขา
2. มาตุคามสานึ กและธรรมชาติ วิถี
ดังที่นาเสนอให้เห็นในตอนต้นแล้วว่า สัญญะจานวนมากที่เรวัตร์ใช้เพื่อ
นาเสนอภาพแทนของการโหยหาอดีต มีท งั ้ สัญญะที่เป็ นวัตถุ ข้าวของ เครื่องใช้
และสัญญะที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ทัง้ สถานที่ ช่วงฤดูกาล พืชและสัตว์เลี้ยง สัญญะ
เหล่ านี้ ไม่ ได้ท าหน้ าที่เป็ นเพียงภาพแทนของสานึ กในถิ่นที่และการโหยหาอดีต
เท่านัน้ แต่ มนั แสดงนัยให้เห็นมโนทัศน์ เกี่ยวกับธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของกวี
อย่างชัดเจนอีกด้วย
“แม่น้า” ดูเหมือนจะเป็ นสัญญะทางธรรมชาติทเ่ี รวัตร์ใช้มากทีส่ ุด ดังเห็นได้
จากชื่อรวมบทกวีทงั ้ สีเ่ ล่ม มีคาว่าแม่น้ าเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ “บ้านแม่น้ า พันฝน
เพลงน้ า แม่น้ าราลึก และแม่น้ าเดียวกัน” แม่น้ายังสือ่ ความหมายให้เห็นถึงแนวคิด
เกีย่ วกับธรรมชาติของเขาได้อย่างชัดเจน เรวัตร์ประกอบสร้างความหมายของแม่น้ า
ทัง้ ในมิตทิ างกายภาพและมิตทิ างจิตวิญญาณ ในมิตทิ างกายภาพ แม่น้ าคือภาพแทน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 85

ของธรรมชาติ ทีเ่ ปรียบเสมือนสายเลือดหล่อเลีย้ งชีวติ ของผูค้ นและสรรพสิง่ เป็ นทีม่ า


ของความอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แม้เรวัตร์จะให้ความสาคัญแก่แม่น้ าในมิติน้ี
แต่บทกวีของเขากลับพรรณนาถึงแม่น้ าในเชิงกายภาพน้อยมาก ต่างจากการนาเสนอ
แม่น้ าในมิติของจิตวิญญาณ ที่แสดงให้เห็นความผูกพันระหว่างตัวเขากับถิ่นฐาน
บ้านเกิดอย่างลึกซึง้
แม่น้าในมิตขิ องจิตวิญญาณของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ในความหมายหนึ่งคือ
แหล่งกาเนิด หรือมาตุคามสาหรับเขา เรวัตร์ใช้ภาษาในเชิงอุปลักษณ์ ว่า “บ้านแม่น้ า”
“ถึงบ้านเกิด-แม่น้ าเก่า-ทีจ่ ากมา" (บ้านแม่น้ า: 51) หรือ “ข้ามาจากลุ่มลาน้ า...คืนมืด
ชืดดา ข้ารา่ สุรา-น้ าตาคลอ” (บ้านแม่น้ า: 55) แม่น้ ายังถูกให้ความหมายว่าคือ “พืน้ ที่
ของวัยเยาว์” “มองสายฝน-คนหนึง่ คิดถึงแม่น้ า ถึงวัยเยาว์ผุดดาสายน้ าเอ่อ” (บ้าน
แม่น้ า: 70) ในมิตทิ ล่ี กึ ซึง้ เรวัตร์มองว่าแม่น้า คือ “ครู” ผูบ้ ่มเพาะหล่อหลอมให้เรียนรู้
ความเป็ นไปของชีวิต ให้มีจิตวิญญาณอันอิสระและ “รักในงานศิลป์-จินตนาการ”
ดังทีน่ าเสนอในบทกวี “น้าสีน้า-นวลเนื้อนี้คอื สีทราย”
เจ้ารูจ้ กั กระดาษ-ดินสอดา ริมลาน้าลากดินสอทิวกอ-กก
มีสะพานไม้ไผ่ไว้ยอ-ยก และมีนกกระเต็นจับตอไม้
ลากเส้นน้าระยิบกะพริบคลื่น ในเรือโปงคนยืนนัน้ ผูใ้ หญ่
มีเด็กน้อยนังท้่ ายคัดพายไว้ เพื่อจะได้เก็บหอยลอยตามน้า
คือภาพแรกของเจ้าเร้ารูส้ กึ มโนนาล้าลึกตรึก-ดื่มด่า
มโนภาพพร่างพรายสายฝนพรา ให้จดจาแน่นแฟ้นนานแสนนาน
แต่ละหยาดแต่ละหยดระชดช้อย แล้วค่อยค่อยผนึกสายจนไพศาล
เจ้ามิรงู้ านศิลป์จนิ ตนาการ แต่เจ้าจารด้วยดวงตาประสาเยาว์
(บ้านแม่น้ า: 12)
แม้ว่าแม่น้ าจะเป็ นศูนย์กลางของการโหยหาสถานที่ แต่ภาพทีช่ ดั เจนทีส่ ุด
ซึง่ นาเสนอผ่านบทกวีของเรวัตร์คอื ภาพของท้องทุ่งชนบทในลุ่มน้ าของภาคกลาง ที่
ฉายให้เห็นภาพชีวติ หมู่บา้ นทีห่ ่างไกลจากความเจริญแบบเมือง แวดล้อมด้วยเรือกสวน
นาไร่ซ่งึ ผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และชีวติ ของผู้คนก็ปรับตัวให้เข้ากับวิถีดงั กล่าว
อย่างสอดคล้อง กลมกลืน เรวัตร์นาเสนอภาพชีวติ ชนบทไว้ในบทกวีบทแล้วบทเล่า
86 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

จุดทีเ่ ขาเน้นมากทีส่ ดุ ก็คอื วิถชี นบทอันแสนงามทีม่ าจากการโอบอุม้ ค้าจุนของธรรมชาติ


อันอุดมสมบูรณ์ บวกกับวิถีการดาเนินชีวิตตามวิถีและคุณค่าซึ่งสืบทอดมาจาก
บรรพบุรุษซึง่ เรวัตร์เห็นว่าเปรียบเสมือน “รากเหง้า” ของเรา และนี่คอื สิง่ ทีค่ วรค้นหา
ให้พบ ดังทีเ่ ขากล่าวไว้ในบทกวีช่อื “เติบโตเบิกบานจากด้านใน”
มาอยู่เป็ นบ้านเป็ นย่านถิน่ หาอยู่หากินตามถิน่ ฐาน
พรุ น้า ต่า ตม คือลมปราณ ทุ่งธัญญาหารพืชพรรณไม้
ผืนดินถิน่ ไหนข้างในตน น้าฟ้าปรุงปรนบันดาลให้
รุ่มร้อนเยือกเย็นความเป็ นไป หล่อหลอมข้างในไปเช่นนัน้
เติบโตนอบน้อมไปพร้อมกัน เป็ นเธอเป็ นฉันในวันนี้
ปูย่ ่าตายายอยู่ในเรา ดินเก่าพืชพรรณตะวันวิถี
ฟ้าลมน้ารินด้วยยินดี มังมี
่ ยากไร้อยู่ในเรา
(แม่น้ าเดียวกัน: 47)
ทัง้ วิถีธรรมชาติและวิถีของบรรพบุรุษ หรือพูดอีกอย่างก็คอื “วิถีไทย” ดู
เหมือนจะเป็ นวิถที ่กี วีได้คน้ พบแล้ว มันคือแนวทางทีน่ าไปสู่ “วิถีไท” หรือวิถแี ห่ง
อิสรภาพ นันต่ ่ างจากวิถชี วี ติ แบบเมืองหรือวิถที ุนนิยมและวัตถุนิยมทีเ่ ต็มไปด้วยการ
แก่งแย่งแข่งขัน ซึง่ เรวัตร์เรียกว่า “วิถที าส” อันเป็ นวิถแี ห่งความ “ทุรนทุรายคล้าย
น้าปา่ /ซัดระลอกกระฉอกเชีย่ วเกลียวพันธนา” หรือวิถที ก่ี ดั กร่อน บ่อนทาลายน้ าเนื้อ
แห่งชีวติ “รีดหยาดเหงือ่ , ตาใสวัยแย้มบาน/จนรูส้ กึ วัยกร้าน-ใจด้านชา” (บ้านแม่น้ า:
50) เรวัตร์สร้างข้อถกเถียงให้เห็นความแตกต่างในสองวิถนี ้ีอย่างชัดเจนในบทกวีช่อื
“วิถไี ท”
ทีน่ นมี
ั ่ วถิ ไี ทให้เธอเลือก ทุ่งนัน้ มีขา้ วเปลือกให้เธอหว่าน
ทีน่ นมี
ั ่ ฟางหอมลอมบนลาน มีพชื พันธุธ์ ญ ั ญาหารให้เธอกิน
คือทางเลือกทีเ่ ธอไม่เคยเลือก คือทุ่งเทือกทีเ่ ธอดูถูกถิน่
คือดินดาทีเ่ ธอดูถูกดิน ทีเ่ ธอหมิน่ มือกร้านตีนด้านชา
ทีซ่ ง่ึ ชายผูห้ นึ่งดือ้ ดึงฝนั ในยุคโลกเร่งวันฟนคื ั ่ นบ้า
ต่างวิง่ ตามโลกร้อน ตามเวลา ตัดตัวตนออกมาจากดินดง
แต่แล้วชายผูน้ นั ้ พลันค้นพบ ว่าวิถสี ขุ สงบใช่ลุ่มหลง
ไปตามแรงวัตถุทย่ี ุยง ความสุขนัน้ สัน้ ลงหากหลงทะยาน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 87

อย่างไรก็ตาม การเลือกเดินในวิถีธรรมชาติ หรือวิถีไทนัน้ เป็ นเรื่องยาก


สาหรับคนในกระแสสังคมสมัยใหม่
ว่าทางเลือกทางนี้แสนหน่วงหนัก ทวนกระแสสาลักกระแสสมัย
เธอจะเลือกวิถที าส-วิถไี ท ธรรมชาติตอบได้-วิถเี ธอ
ในตอนท้ายของกวีบทนี้ เรวัตร์ได้ย้าให้เห็นว่า การเลือกเดินทางในวิถไี ทนัน้
คือวิถขี องการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิถแี ห่งความพอเพียงนันเอง ่
ทีน่ นคื
ั ่ อการอยู่อย่างรูท้ นั รูแ้ บ่งปนั รูส้ ู้ รูล้ ขิ ติ
มีชวี ติ มีครรลองเป็ นของชีวติ มีมงิ่ มิตรมิง่ ขวัญ-พืชพันธุไ์ ม้
รูจ้ กั พอ รูจ้ กั พลี เพียงมีกนิ ให้ตนี ได้ตดิ ดิน–ได้ฝนั ใฝ่
กวาดใบไม้สมุ รวม-สารวมใจ ได้ศกึ ษาสมุนไพรหลายสรรพคุณ
ได้พดู คุยกับกระแต, แย้และนก ท่ามอ้อมอกแผ่นดินไอแดดอุ่น
อ่านหนังสืออยู่ในสายลมละมุน ได้สดู กลิน่ หอมกรุ่นแห่งผองผกา
(พันฝน เพลงน้ า: 27-28)
อย่างไรก็ตาม นอกจากเรวัตร์จะสร้างความหมายให้แก่ชนบทในฐานะเป็ น
สถานที่ท่ธี รรมชาติและสิง่ แวดล้อมเอื้ออานวยในการดารงชีวิตของผู้คนได้อย่างมี
ความสุขสงบและปลอดภัยแล้ว ชนบทในความหมายของเรวัตร์ยงั เป็ นพืน้ ทีท่ เ่ี ต็มไปด้วย
ความสวยงาม สมบูรณ์เพียบพร้อม ซึง่ ต่างจากภาพของเมืองทีถ่ ูกนาเสนออย่างตรงกันข้าม
การมองเมืองและชนบทในวิธคี ดิ แบบคู่ตรงข้าม ทาให้บทกวีของเขาโน้มเอียงไปทาง
งานเขียนแนวท้องทุ่งชนบท (pastoral) อันเป็ นแนวการเขียนแบบหนึ่งในวิธคี ดิ ของ
วรรณกรรมตะวันตก เทอรี กิฟฟอร์ด (Terry Gifford) กล่าวถึงงานเขียนประเภทนี้ว่า
หมายถึงงานเขียนทีม่ แี นวคิดทีจ่ ะกลับคืนไปสูส่ ถานทีซ่ ง่ึ ปราศจากความเป็ นเมือง หรือ
ดินแดนทีอ่ ุดมไปด้วยธรรมชาติ หรือหมายถึงวรรณกรรมใดๆ ก็ตามทีพ่ รรณนาถึงสภาพ
ของชนบทโดยแสดงนัยอย่างชัดเจนว่าตรงกันข้ามกับความเป็ นเมือง (Gifford, 1999 :2)
นันคื
่ องานเขียนแนวท้องทุ่งชนบทจะให้ความสาคัญแก่ธรรมชาติมากกว่าความเจริญ
ทางวัตถุ ซึง่ ถือว่าเป็ นกระบวนทัศน์แบบจินตนิยม (Romanticism) ทีก่ ่อตัวขึน้ ในยุโรป
ตะวันตกตัง้ แต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็ นต้นมา
88 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

ในหนังสือ Pastoral ของกิฟฟอร์ด เขาได้จาแนกความหมายของงานเขียน


แนวท้องทุ่งชนบทออกเป็ น 3 แบบ ความหมายแรกเป็ นงานเขียนแนวท้องทุ่งชนบท
ในยุคแรกเริม่ ย้อนไปถึงวรรณกรรมสมัยคลาสสิก ความหมายทีส่ องเป็ นความหมายที่
ค่อนข้างแพร่หลาย เพื่ออธิบายงานเขียนที่แสดงความชื่นชมต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะ
หมายถึงสถานทีท่ ต่ี รงกันข้ามกับความเป็ นเมือง โดยเน้นไปทีค่ วามงดงามสมบูรณ์แบบ
ของธรรมชาติทเ่ี หมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเหมือนสวนสวรรค์ของเอเดน ความหมาย
ทีส่ ามเป็ นการมองในเชิงวิพากษ์ต่องานเขียนทีม่ องท้องทุ่งชนบทในเชิงอุดมคติมาก
เกินไปจนมีลกั ษณะของการประดิษฐ์สร้าง (Gifford, 1999: 2-6) ซึง่ ให้ความหมายว่า
ธรรมชาติเป็ นรูปแบบหนึ่งของการหลีกหนีความจริงจากชีวติ ที่ล้มเหลว การนิยาม
ความหมายในลักษณะนี้ค่อนข้างเป็ นปญั หาในสายตาของนักวิจารณ์วรรณกรรมเชิง
นิเวศ เพราะเห็นว่าการหลีกหนีออกมาจากความเจริญรุ่งเรืองสู่ดนิ แดนทีส่ มบูรณ์แบบ
นัน้ ไม่เป็ นผลดีต่อธรรมชาติ เพราะมันเป็ นการผละจากปญั หาแทนทีจ่ ะเผชิญหน้ากับมัน
นอกจากนี้ ธรรมชาติทถ่ี ูกนาเสนอก็ไม่ใช่ความเป็ นจริงทัง้ หมด เพราะให้ภาพธรรมชาติ
ทีส่ มบูรณ์แบบเพียงด้านเดียว ในขณะทีใ่ นความเป็ นจริงแล้ว ชนบทยังมีความตาย การ
ทางานหนักและความทุรกันดารดารงอยู่เช่นกัน (Gifford, 1999: 120) การละเลยด้านทีม่ ดื
ดาของธรรมชาติ ท าให้ธรรมชาติท่ีได้รบั การนาเสนอกลายเป็ นสิง่ ประดิษฐ์สร้าง
มากกว่าความเป็ นจริง
เช่นเดียวกับบทกวีสว่ นใหญ่ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒั น์ ทีแ่ สดงถึงสานึกในถิน่ ที่
และการโหยหาอดีต มักจะให้ภาพความสมบูรณ์แบบของท้องทุ่งชนบทมากกว่าจะฉาย
ให้เห็นภาพของความขาดพร่องและความยากลาบาก อาจกล่าวได้ว่า เรวัตร์มองภาพ
ท้องทุ่งชนบทในลักษณะ “ภาพฝนั วันวาน” ทีก่ ระเดียดไปทางกึง่ จริงกึ่งฝนั มากกว่า
วิธกี ารมองโลกแบบคู่ตรงกันข้ามอาจเป็ นสาเหตุหนึ่งทีท่ าให้บทกวีของเขาเทน้ าหนัก
ไปในชื่นชมความเป็ นชนบทอย่างมาก ในขณะทีเ่ รวัตร์ได้สร้างอัตลักษณ์ของชนบท
ว่าเป็ นถิ่นที่งดงามและอุดมด้วยธรรมชาติ โอบอุม้ ค้าจุนให้ผคู้ นดาเนินชีวติ อย่าง
เรียบง่ายและมันคง ่ เขาก็ได้สร้างอัตลักษณ์ของเมืองว่าเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์
เป็ นสถานทีท่ ค่ี ุกคามและทาลายคุณค่าของมนุ ษย์ เมืองในสายตาของเรวัตร์จงึ เสมือน
“เมืองกาลีเบียนบีฑา” (บ้านแม่น้ า: 41) หรือ “ด้วยเมืองนี้มนั ปล้นทุกคนไป” (บ้านแม่น้ า:
59)
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 89

ในโลกของวรรณกรรมไทยร่วมสมัย การมองเมืองกับชนบทว่ามีความแตกต่าง
แบบคู่ตรงข้ามไม่ได้เป็ นมุมมองใหม่แต่อย่างใด เพราะนี่คอื ประเด็นทีถ่ ูกนาเสนอและ
ผลิตซ้าอยู่เสมอในผลงานของนักเขียนร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็ นนวนิยาย เรื่องสัน้ หรือ
กวีนิพนธ์ สาหรับกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
ั น์ การมองเมืองกับชนบทในคู่ตรงข้าม
อาจต่างไปจากงานเขียนของนักเขียนคนอื่นๆ ตรงทีค่ วามแตกต่างระหว่างเมืองกับ
ชนบทนัน้ ถูกนาเสนอผ่านมาตุคามสานึกและการโหยหาอดีตในระดับทีเ่ ข้มข้น

บทสรุป
จากการศึกษากวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ในประเด็นทีเ่ กีย่ วกับสานึก
ในถิน่ ที่ หรือมาตุคามสานึกกับการโหยหาอดีต จากหนังสือรวมบทกวีจานวนสีเ่ ล่ม
จะเห็นได้ว่า เรวัตร์ใช้บทกวีของเขาเพื่อนาเสนออารมณ์ถวิลหาอดีตซึง่ มีศูนย์รวมอยู่
ทีถ่ นิ่ ฐานบ้านเกิดอันเป็ นท้องทุ่งชนบทของภาคกลาง สานึกในถิน่ ทีไ่ ด้รบั การนาเสนอ
ผ่านท่วงทานองการเขียนแบบโหยหาอดีต ซึง่ มีสาระสาคัญอยู่ทก่ี ารราลึกถึงอดีตแห่ง
วัยเยาว์ทเ่ี ลยลับ ผ่านร่องรอยหลักฐานหรือสัญญะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นสถานที่ ธรรมชาติ
ฤดูกาล พืช สัตว์ วัตถุขา้ วของเครื่องใช้ และวิถดี าเนินชีวติ ของผูค้ นในชนบท สานึก
ในถิน่ ที่และการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ยงั เป็ นวิธกี ารสาคัญทีก่ วีนาเสนอ
ตัวตนและอัตลักษณ์ของตนเอง ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงมโนทัศน์และวิธคี ิด
ของกวีท่มี องความสัมพันธ์ระหว่างมนุ ษย์กบั ธรรมชาติว่า ธรรมชาติเปรียบเสมือน
มารดาผูใ้ ห้กาเนิด โอบอุม้ และค้าจุนสรรพสิง่ การดาเนินชีวติ ภายใต้วถิ ขี องธรรมชาติ
และวิถีวฒ ั นธรรมในชนบทเป็ นวิถีท่งี ดงาม สงบ ปลอดภัยและพอเพียง ซึ่ งเรวัตร์
พันธุพ์ พิ ฒั น์ให้ความหมายว่า นี่คอื วิถที น่ี าไปสูอ่ สิ รภาพแห่งชีวติ หรือวิถไี ท
การเชิดชูความสมบูรณ์ แบบของชีวิตในท้องทุ่งชนบททัง้ ธรรมชาติและ
สิง่ แวดล้อมทาให้บทกวีของเขาสร้างภาพชนบทกับเมืองด้วยวิธคี ดิ แบบคู่ตรงกันข้าม
และเป็ นการผลิตซ้าอัตลักษณ์ของสถานทีท่ งั ้ สองแห่งเช่นเดียวกับทีน่ ักเขียนคนอื่นๆ
ได้ทามาก่อน อย่างไรก็ตาม กวีนิพนธ์ของเรวัตร์กน็ ่ าสนใจตรงทีม่ ลี กั ษณะใกล้เคียง
กับงานเขียนประเภทท้องทุ่งชนบท (pastoral) ของตะวันตก คงจะไม่ผดิ ไปจากความ
จริงนักหากกล่าวว่ากวีนิพนธ์ของเขาควรนับเนื่องอยู่ในประเภทของวรรณกรรมสีเขียว
90 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

(green writing) ตามแนวคิดของสานักคิดวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศทีช่ ดั เจนทีส่ ุด


ในวงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
ธัญญา สังขพันธานนท์. 2547. “ดาดิง่ ลงสูแ่ ม่น้ าราลึก สายน้ าบทกวีแห่งการโหยหาอดีต.”
จุดประกายวรรณกรรม 16, 5755 (12 กันยายน). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=arts31&topic=
513 [วันทีเ่ ข้าถึง 12 มิถุนายน 2558].
พัฒนา กิตอิ าษา, บรรณาธิการ. 2546. มานุษยวิ ทยากับการศึกษาปรากฏการณโหยหา
อดีตในสังคมไทยรวมสมัย. กรุงเทพฯ: แปลนพริน้ ติ้ง.
ั น์ . 2538. บ้านแม่น้า. กรุงเทพฯ: คมบาง.
เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ
เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒั น์. 2544. พันฝน เพลงน้ า. กรุงเทพฯ: สิรมิ งคลคา.
เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์. 2547. แม่น้ าราลึก. กรุงเทพฯ: รูปจันทร์.
เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์. 2555. แม่น้ าเดียวกัน. กรุงเทพฯ: ในดวงใจ.
อุบลณภา อินพลอย. 2551. การถวิ ลหาอดีตในวรรณกรรมของเรวัตร์ พันธุพ์ ิ พฒ ั น์ .
ปริญญานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาษาอังกฤษ
Austin, Linda M. 2002. Emily Bronte's Homesickness. Victorian Studies 44, 4
(Summer): 573-97.
Ege University. “Memory and Nostalgia.” 11th International Cultural Studies
Symposium [Online] https://www.h-net.org/announce/show.cgi?ID=153294
[Accessed 27 June 2015].
Gifford, Terry. 1999. Pastoral. London: Routledge.
Hashemnezhad, Hashem, Heidari, Ali, Akbar and Hoseini, Parisa Mohammad. 2013.
International Journal of Architecture and Urban Development 3, 1
(Winter): 5-12.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 91

Hummon, David. 1992. "Community Attachment: Local Sentiment and Sense of


Place." pp. 253-278 in Place Attachment, edited by Irwin Altman and
Setha Low. New York: Plenum.
Kaplan, H. A. 1987. “The Psychopathology of Nostalgia.” Psychoanalytic Review
74(4): 465–486.
Lefebvre, Henri. 1991. The Production of Space. Oxford: Blackwell.
Rosenblatt, Louise M. 1968. Literature as Exploration. New York: Noble and Noble
Publishers.
Low, Setha and Irwin Altman. 1992. "Introduction." pp. 1-12 in Place Attachment,
edited by Irwin Altman and Setha Low. New York: Plenum Press.
Mansfield, Jane. Nostalgia for Places: The Brontës and Elizabeth Gaskell. [Online]
https://www2.le.ac.uk/offices/english-association/publications/peer-
english/4/5%20Jane%20Mansfield%20-%20Nostalgia%20for%20
Places.pdf/view [Accessed 26 June 2015].
Massey, Doreen and Jess, Pat (eds.) 1995. A Place in the World: Places, Cultures
and Globalization. Oxford: Open University Press.
Relph, Edward 1976. Place and Placelessness. London: Pion.
Sedikides, C. 2010. The Sociality of Nostalgia. Department of Psychology
Colloquium. Ohio State University, Columbus, Ohio. January 21st.
Wildschut, Tim; Sedikides, Constantine; Arndt, Jamie; Routledge, Clay. 2006.
“Nostalgia: Content, Triggers, Functions.” Journal of Personality and
Social Psychology 91(5): 975-993. [Online] http://dx.doi.org/10.1037/0022-
3514.91.5.975 [Accessed 12 June 2015].
Woods, Thomas A. 2009. “What Is Sense of Place?” [Online]
www.importanceofplace.com/2009/04/what-is-sense-of-place.html
[Accessed 14 June 2015].

You might also like