You are on page 1of 4

เอกลักษณ์ของการสร้างสรรค์นิราศของสุนทรภู่

สุนทรภู่นำเสนอเนื้อหาใหม่ที่เป็ นเรื่องประสบการณ์ชีวิต ความในใจ ค่า


นิยม และปั ญหาของสังคม โดยใช้การพรรณนาครวญ มาเป็ นวิธีการเชื่อม
โยงเรื่อง อันทำให้เนื้อหาของนิราศ เน้นการบันทึกธรรมชาติ และสิ่งที่
พบเห็นต่างๆ ที่เป็ นข้อเท็จจริงตามประสบการณ์ของผู้แต่งมากขึน

นอกจากนี ้ นิราศของสุนทรภู่ยังมีเนื้อหา ที่เป็ นการเชื่อมโยงประสบการณ์
ส่วนตัวไปสู่ประสบการณ์ร่วมของมนุษย์ โดยการกล่าวเป็ นทำนองภาษิต
หรือแง่คิดอีกด้วย

มี ๙ เรื่อง ได้แก่ นิราศ ๘ เรื่อง และเรื่องรำพันพิลาป อีก ๑ เรื่อง ดังนี ้

นิราศเมืองแกลง แต่งตอนกลาง พ.ศ. ๒๓๕๐ ในรัชกาลที่ ๑

นิราศพระบาท แต่งตอนปลาย พ.ศ. ๒๓๕๐ ในรัชกาลที่ ๑

นิราศภูเขาทอง แต่งตอนบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ ในรัชกาลที่ ๑

นิราศเมืองเพชร แต่งตอนบวช เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓

นิราศวัดเจ้าฟ้ า (สำนวนเณรหนูพัด) แต่งตอนบวช พ.ศ. ๒๓๗๕ ในรัชกาล


ที่ ๓

นิราศอิเหนา แต่งตอนบวช ก่อน พ.ศ. ๒๓๗๘ ในรัชกาลที่ ๓

นิราศสุพรรณ แต่งตอนบวชครัง้ ที่ ๒ ก่อน พ.ศ. ๒๓๘๒ ในรัชกาลที่ ๓


รำพันพิลาป แต่งก่อนลาสิกขา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ในรัชกาลที่ ๓

นิราศพระประธม แต่งหลังจากที่ลาสิกขา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ในรัชกาลที่


อธิบายและยกตัวอย่าง

ถึงบางพังน้ำพังลงตลิ่ง

โอ้ช่างจริงเหมือนเขาว่านิจจาเอ๋ย

พี่จรจากดวงใจมาไกลเชย

โอ้อกเอ๋ยแทบพังเหมือนฝั่ งชล

ถึงวังวัดเทียนถวายบ้านใหม่ข้าม

ก็รีบตามเรือที่นั่งมากลางหน

ทุ่งละลิ่วทิวเมฆเป็ นหมอกมน
สะพรั่งต้นตาลโตนดอนาถครัน

เจ้าของตาลรักหวานขึน
้ ปี นต้น

ระวังตนตีนมือระมัดมั่น

เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน

ถ้าพลัง้ พลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

ลักษณะเฉพาะ 3 ประการ

1.ลักษณะการแต่งเป็ นการพรรณา อารมณ์รัก โศกเศร้า เสียใจ อาลัย


อาวรณ์ควบคู่ไปกับการพรรณาธรรมชาติ และการเดินทาง

2. มีความคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับจบ ด้วยวรรคส่ง


ลงท้ายด้วย คำว่า เอย
3.มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่
เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่
กำลังเดินทางไปด้วย

4.มักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตน
ได้เดินทางผ่านไป

You might also like