You are on page 1of 58

หน่วยการเรียน

เรื่อง คำประพันธ์วรรณศิลป์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายลักษณะการแต่งคำประพันธ์ โคลง กลอน กาพย์
ฉันท์ ร่ายและลิลิตได้
2. สรุปคุณค่าของงานประพันธ์ในบทร้อยกรองต่าง ๆ ได้

สาระการเรียนรู้
๑. ลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ คือ
- โคลง
- กลอน
- กาพย์
- ฉันท์
- ร่าย
- ลิลิต
๒. สรุปคุณค่าของบทร้อยกรอง

กิจกรรม
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. ศึกษาตามเนื้อหาสาระจากสื่อเอกสารประกอบการเรียน
รู้ หน่วยการเรียนที่ ๕
3. ทดสอบหลังการเรียน
4. ใบงานที่ ๑ ให้นักศึกษาเตรียมศึกษาค้นคว้าเอกสารและ
หนังสือเรียน เรื่อง
58
แต่งคำประพันธ์เพื่อรับฟั งการสอนเสริมจากวิทยากรภายนอก
5. ใบงานที่ ๒ ให้นักศึกษาสรุปคุณค่าของบทร้อยกรองที่
ศึกษาจากหนังสือ
คำประพันธ์บทร้อยกรองต่าง ๆ
59
แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียน เรื่อง คำประพันธ์วรรณศิลป์

คำชีแ
้ จง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วกา
เครื่องหมาย  ลงในกระดาษคำตอบ
ก ข ค ง

๑. ข้อใดคือสิ่งสำคัญที่สุดของการเขียนร้อยกรองที่จะสื่อสารกับผู้
อื่นได้
ก. ควรศึกษาสภาพสังคมว่าผู้อ่านเป็ นกลุ่มใดบ้าง
ข. ควรอ่านบทร้อยกรองจากผู้เขียนที่ช่ น
ื ชอบ
ค. สามารถรู้ใจผู้อ่านว่าชอบร้อยกรองประเภทใด
ง. จดจำฉันทลักษณ์ของร้อยกรองแต่ละชนิดได้ถก
ู ต้อง

๒. ร้อยกรองประเภทใด ที่มีการบังคับครุ ลหุ


ก. ร่าย ข. กาพย์
ค. โคลง ง. ฉันท์

๓. ข้อใดเป็ น “กาพย์ยานี ๑๑”


ก. สุพรรณหงส์ทรงสูห
่ ้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือน
ตาชม
ข. เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟั งวังเวง
ค. วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
60
ฝูงวัวควายเฝ้ าลาทิวากาล มุ่งกลับบ้านชาน
เรือนท้องถิ่นตน
ง. นกน้อยนอนแนบน้ำ ในนา
ตมเตอะติดเต็มตา ต่ำต้อย

๔. “เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟั งวังเวง” จากบทประพันธ์ข้างบนนี ้ คือข้อใด
ก. กาพย์ยานี ๑๑ ข. กาพย์สุรางคนาง
๒๘
ค. กาพย์ฉบัง ๑๖ ง. วิชชุมาลาฉันท์ ๘

๕. การเขียนบทประพันธ์ร้อยแก้ว คือข้อใด
ก. อิเหนา ข. รามเกียรติ ์
ค. พระอภัยมณี ง. ราชาธิราช

๖. ข้อใดเป็ นคำประพันธ์ประเภท “ฉันท์”


ก. เกิดมาเป็ นคน
หนังสือเป็ นต้น วิชาหนาเจ้า
ข. แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนห่างผู้
หนึ่งใดนึกดู เห็นใคร่ไป่ มี
ค. เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
ง. สุพรรณหงส์ทรงพูห
่ ้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

๗. ข้อใด ไม่ใช่ ชื่อคำประพันธ์ประเภทร่าย


61
ก. ร่ายสุภาพ ข. ร่ายโบราณ
ค. ร่ายยาว ง. ร่ายยานี

๘. บทประพันธ์ที่ประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลง ๒ สุภาพ โคลง ๓


สุภาพ และโคลง ๔ สุภาพ
หมายถึงข้อใด
ก. ร่าย ข. โคลง
ค. ลิลิต ง. บทกวี

๙. ข้อใดเป็ นคำประพันธ์ของสุนทรภู่
ก. ราชาธิราช ข. กาพย์เห่เรือ
ค. นิราศภูเขาทอง ง. ลิลิตตะเลงพ่าย

๑๐. “โส โพธิสตโต ส่วนสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ตรัสได้ทรงฟั งพระ


สุรเสียง....” หมายถึง
วรรณคดี อะไร
ก. รามเกียรติ ์ ข. พระอภัยมณี
ค. พระไชยสุริยา ง. มหาเวสสันดรชาดก

กระดาษคำตอบ ก่อน หลัง

หมวดวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ทดสอบครัง้ ที่ ......... เรื่อง .........................................................
62
ชื่อ.....................................................
สกุล.................................................... กลุ่ม...............................

ก่อนเรียน หลังเรียน
ตัวเลือก ตัวเลือก
ข้อที่ ข้อที่
ก ข ค ง ก ข ค ง
๑ ๑
๒ ๒
๓ ๓
๔ ๔
๕ ๕
๖ ๖
๗ ๗
๘ ๘
๙ ๙
๑๐ ๑๐
63

ลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ

ความนำ
“คนไทยเป็ นเจ้าบทเจ้ากลอนมาแต่อ้อนแต่ออก”
คำกล่าวนีน
้ ่าจะเป็ นความจริง เนื่องจากลูกหลานที่เยาว์วัย ส่วน
ใหญ่จะถูกเห่กล่อมจากผู้เป็ นแม่ ด้วยทำนองที่ไพเราะ อ่อนหวาน
ชวนให้ง่วงเหงาหาวนอน จากบทที่ว่า

แม่นกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟั ก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูก


ในอุทรณ์
ไปคาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้ อน ถนอมไว้ในรังนอน
ช้อนเหยื่อมาให้กิน อีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล พ่อแม่จะสอนบิน แม่
กาพาไปกิน ที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าก็เหยียบสาหร่าย ปากก็ไซร้หาปลา กินกุ้งและกินกัง้
กินหอยกระทัง้ แมงดา กินแล้วโผมา จับที่ตีนหร้าไพร่ทอง
ยังมีนายพราน เที่ยวเยี่ยม ๆ มอง ๆ ยกปื นขึน
้ ส่อง จ้องเอา
แม่กาดำ ตัวหนึ่งนัน
้ ว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งนัน
้ ว่าจะยำ กินนางแม่กา
ดำ ค่ำวันนีอ
้ ุแม่นา
64
บทกล่อมลูกนี ้ คนอายุตงั ้ แต่ ๓๐ ปี ขึน
้ ไป (นับถึงปี ๒๕๕๑)
น่าจะเคยได้ฟัง พ่อ แม่ ปู ่ ย่า ตา ยาย กล่อมให้นอนมาบ้าง โดย
เฉพาะในชนบท ซึ่งต่างจดจำต่อ ๆ กันมา
ด้านคำประพันธ์วรรณศิลป์ ที่มีแบบสอนการประพันธ์หลาก
หลายนัน
้ เชื่อว่าอาจจะได้มาจากวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
บ้าง และจากต่างชาติต่างภาษาบ้าง แล้วประยุกต์เป็ นรูปแบบไทย
ๆ เองบ้าง จึงเกิดเป็ นบทกวีที่ส่งให้ไทยมีวรรณกรรมร้อยกรอง
มากมาย

การเขียนร้อยกรอง
ร้อยกรองเป็ นข้อความที่ประดิษฐ์ประดอยตกแต่งถ้อยคำ
ภาษาอย่างมีแบบแผนและมีเงื่อนไขพิเศษบังคับไว้ เช่น บังคับ
จำนวนคำ บังคับวรรค บังคับสัมผัส เรียกว่า “ฉันทลักษณ์”
คำประพันธ์หรือร้อยกรองมีหลายประเภท เช่น โคลง กลอน
กาพย์ ฉันท์ และร่าย
แนวการเขียนบทร้อยกรองมีดังนี ้
1. ศึกษาฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์นน
ั ้ ๆ ให้เข้าใจอย่างแจ่ม
แจ้ง
2. คิดหรือจินตนาการว่าจะเขียนเรื่องอะไร สร้างภาพให้เกิด
ขึน
้ ในห้วงความคิด
3. ลำดับภาพหรือลำดับข้อความให้เป็ นไปอย่างสมเหตุผล
4. ถ่ายทอดความรู้สึกหรือจินตนาการนัน
้ เป็ นบทร้อยกรอง
5. เลือกใช้คำที่ส่ อ
ื ความหมายได้ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเกิด
ภาพพจน์และจินตนาการร่วมกับผู้ประพันธ์
6. พยายามเลือกใช้คำที่ไพเราะ
65
7. แต่งให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์

โคลงสี่สุภาพ

การเขียนโคลงสี่สุภาพ มีหลักการที่ต้องการทราบดังนี ้
1. บทหนึ่งมี ๔ บาท
2. บาทหนึ่งมี ๒ วรรค เรียกวรรคหน้ามี ๕ คำ (หรือพยางค์ใน
บางกรณี) วรรคหลังมี ๒ คำ เพิ่มสร้อยได้อีก ๒ คำ (สำหรั
บบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓)
3. บาทที่ ๓ กำหนดวรรคหลังไว้เพียง ๒ คำเท่านัน

4. บาทที่ ๔ วรรคหลังมี ๔ คำ (อาจเพิ่มสร้อยได้อีก ๒ คำ แต่
ไม่นิยม)
5. กำหนดวรรณยุกต์เอก ๗ แห่ง วรรณยุกต์โท ๔ แห่ง ตาม
แผนผัง (ถ้าวางผิดที่หรือใช้คำอื่นแทน เรียกว่า เอกโทษ
โทโทษ) ดังผังต่อไปนี ้
แผนผังโคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ

จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พีพ
่ ร้อง
66
เรือ แผงช่วยพานาง
เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
(นิราศนรินทร์)
หมายเหตุ : รูปวรรณยุกต์ที่กำกับ หมายถึงเสียง (แต่ไม่นิยม
เขียนรูปวรรณยุกต์)
กลอนสุภาพ

การเขียนกลอนสุภาพ
เจริญ เจษฎาวัลย์ (๒๕๔๖ : ๑๗๕) กล่าวว่า “กลอน” เป็ นคำ
ประพันธ์ที่คนไทยนิยมกันมากที่สุดอย่างหนึ่งพอ ๆ กับ “โคลง” ดุจ
เป็ นส่วนหนึ่งของความเป็ นไทย โดยเฉพาะกลอนแปดหรือกลอน
สุภาพ
กลอนสุภาพ หรือเรียกกันว่า กลอนแปดบ้าง กลอนตลาดบ้าง
มีรูปแบบและบังคับ ดังนี ้
แผนผังกลอนสุภาพ

บทที่ ๑ 
 



67
บทที่ ๒
 
 




ตัวอย่าง กลอนสุภาพ

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำ
เหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลีย
้ วลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่ง
ในน้ำใจคน
มนุษย์นท
ี ้ ี่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมัก
เป็ นผล
ที่พึ่งหนึง่ พึ่งได้แต่ใจตน เกิดเป็ นคนคิดเห็น
จึงเจรจา
(จากพระอภัยมณี : สุนทร
ภู่)
68
ลักษณะบังคับของกลอนสุ ภาพมีอะไรบ้างนะ

ลักษณะบังคับของกลอนสุ ภาพ มีดงั นี้


บทหนึ่งมี ๔ วรรค คือ (๑) (๒) (๓) และ (๔) เรี ยกว่า “วรรคหนึ่ง”
วรรคแรก (๑) เรี ยกว่า “วรรคสดับ” วรรค (๒) เรี ยกว่า “วรรครับ” วรรค (๓) เรี ยกว่า
“วรรครอง” และวรรค (๔) เรี ยกว่า “วรรคส่ ง”
แต่ละวรรคกำหนดจำนวนคำไว้ ๗-๘ คำ
กำหนดสัมผัสนอกเป็ นเกณฑ์ คือคำท้ายวรรคสดับให้สมั ผัสคำที่ ๓-๕ ของวรรครับ
(ในวรรครอง สัมผัสกับวรรคส่ ง)
คำท้ายของวรรครับ ให้สมั ผัสกับคำท้ายของวรรครอง
1.
คำท้ายของวรรคส่ ง (ของบทที่หนึ่ง) ให้สมั ผัสกับคำท้ายของวรรครับ (ของบทที่ ๒)
สำหรับสัมผัสใน มีได้ตลอดทุกช่วง เช่น ได้-ใจ / ทาง-สว่าง / ดี-มี / เพียร-เรี ยน /
ตาม- งาม / อยู-่ ครู / หน้า- สถา เป็ นต้น

เทคนิคหรือกลวิธีในการแต่งกลอน
69
วราภรณ์ บำรุงกุล (๒๕๓๗ : ๑๗๙-๑๘๐) ได้กล่าวว่า เทคนิค
การแต่งกลอนควรกำหนดจุดมุ่งหมายก่อนว่าจะเสนอสิ่งใดแก่ผู้อ่าน
ศึกษาฉันทลักษณ์ให้ถูกต้อง เลือกคำที่มีเสียงวรรณยุกต์เหมาะสมมา
ใส่ เพื่อสร้างเสียงไพเราะในบทกลอน และพยายามสรรหาคำมาใช้
ให้ตรงกับความเป็ นจริง ที่ผเู้ ขียนต้องการจะสื่อกับผู้อ่าน
70
กาพย์

กาพย์ มีหลายชนิด เช่น กาพย์ยานี๑๑ กาพย์ฉบัง๑๖ กาพย์


สุรางคนางค์๒๘
1. กาพย์ยานี ๑๑ มีลก
ั ษณะบังคับของร้อยกรอง ดังนี ้
คณะ คณะของกาพย์ยานีบทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า
บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี ๒ วรรค คือ วรรค
หน้าและวรรคหลัง
พยางค์ พยางค์คือคำในวรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
เป็ นเช่นนี ้ ทัง้ บาทเอก และ
บาทโท จึงนับจำนวนได้บาทละ ๑๑ คำ เลข ๑๑ ซึ่งเขียนไว้หลังชื่อ
กาพย์ยานีเพื่อบอกจำนวนคำ (ยานี ๑๑) เจริญ เจษฎาวัลย์
(๒๕๔๖ : ๑๘๔) กล่าวว่า กาพย์ยานี๑๑ สัมผัสนอก อย่างน้อยต้อง
มี คำที่ ๕ ในวรรคแรกของบาทเอกส่งสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรค
หลังของบาทเอก

ผังของกาพย์ยานี ๑ บท
วรรคหน้า วรรคหลัง

บาทเอก           
๑ ๑
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ ๑
บาทโท           
๑ ๑
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ ๑
71

ตัวอย่ างกาพย์ ยานี ๑๑

สุ พรรณหงส์ทรงพูห่ อ้ ย งามชดช้อยลอยหลังสิ นธุ์


เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
(กาพย์ เห่ เรื อ เจ้ าฟ้ าธรรมธิ เบศ)
72

สัมผัส มีสัมผัสนอกระหว่างคำสุดท้ายใน
วรรคหนึ่ง
ไปคำที่สามอีกวรรคหนึ่งดังแผนผังข้างบน
ส่วนสัมผัสในนัน
้ ยืดหยุ่นได้
เสียงวรรณยุกต์ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้เสียงวรรณยุกต์ใน
กาพย์ยานี อยู่บางประการ คือ

1) คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทโท ใช้เสียงวรรณยุกต์
สามัญและจัตวาส่วนใหญ่
2) ที่ใช้คำตายเสียงตรี หรือเอกก็มีบ้าง แต่ไม่ค่อยพบมาก
นัก

2. กาพย์ฉบัง ๑๖ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง ดังนี ้


คณะ กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาทแต่มี ๓ วรรคคือ
วรรคต้น วรรคกลาง และวรรคท้าย
พยางค์ พยางค์ หรือ คำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรคกลางมี ๔
คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทัง้ บทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลัง
ชื่อกาพย์ฉบัง (ฉบัง ๑๖)
สัมผัส มีสัมผัสนอก สัมผัสใน และส่งสัมผัสระหว่างบทตาม
ผังของกาพย์ฉบัง
ผังดังนี ้

(๑)
บทที่ ๑
(๒ )
73
บทที่ ๒

ตัวอย่ างกาพย์ ฉบัง ๑๖ มีดงั ต่ อไปนี้


เขาสู งฝูงหงส์ลงเรี ยง เริ งร้องซ้องเสี ยง
สำเนียงน่าฟังวังเวง
กลางไพรไก่ขนั บรรเลง ฟังเสี ยงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรี ยงเวียงวัง
(กาพย์เรื่ องพระไชยสุ ริยา-สุ นทรภู่)
74
๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง
ดังนี ้
คณะ บทหนึ่งมี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ คำ ตามผัง ดังนี ้

  ผัง
ของกาพย์
 สุรางคนางค์

วิธีที่ ๒        

บทที่ ๑        

       

   

บทที่ ๒        

       

       
75
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

วิชาหนาเจ้า
เกิดมาเป็ นคน
หนังสือเป็ นต้น วิชาหนาเจ้า
ถ้าแม้นไม่รู้ อดสูอายเขา
เพื่อนฝูงเยาะเย้า ว่าเง่าว่าโง่
บางคนเกิดมา
ไม่ร้ว
ู ิชา เคอะอยู่จนโต
ไปเป็ นข้าเขา เพราะเง่าเพราะโง่
บ้างเป็ นคนโซ เที่ยวขอก็มี

ถ้ารู้วิชา
ประเสริฐนักหนา ชูหน้าราศี
จะไปแห่งใด มีคน
ปรานี
ยากไร้ไม่มี สวัสดีมงคล
(ประถม ก กา ฉบับ
หอสมุดแห่งชาติ)

พยางค์ จำนวนคำในวรรคมีวรรคละ ๔ คำ ๗ วรรครวมเป็ น ๒๘


คำจึงเขียนเลข ๒๘ ไว้หลัง
สัมผัส
๑. มีสัมผัสบังคับหรือสัมผัสนอก ดังผังที่แสดงไว้
76
๒. เฉพาะหมายเลข (๔) เป็ นสัมผัสระหว่างบท
๓. สัมผัสในยืดหยุ่นได้ บางทีก็เป็ นสัมผัสสระ บางทีก็เป็ น
สัมผัสอักษรบางทีก็ไม่สัมผัสในเลยมุ่งเอาคำที่มีความหมายเป็ นใหญ่
77
ฉันท์

ฉันท์ มีหลายชนิด เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ วิ


ชุมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ อิทฉ
ิ น
ั ท์ เป็ นต้น และมีผู้
ประดิษฐ์ขน
ึ้ ใหม่อก
ี เช่น สยามมณีฉน
ั ท์ ของ น.ม.ส. เป็ นต้น

1. วิชชุมาลาฉันท์ ๘ มีความหมายว่า ระเบียบสายฟ้ า หรือ


อาจแปลว่าฉันท์ที่เปล่งสำเนียงดุจสายฟ้ าแลบที่มีรัศมียาวก็ได้ มี
ลักษณะบังคับ ดังนี ้

       

       

       

       

ตัวอย่างวิชชุมาลาฉันท์ ๘
(บทแรก) แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู ้
หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่ มี
หลายวันถัน่ ล่วง เมืองหลวงธานี
นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป
(บทหลัง) ผูกไมตรี จิตร์ เชิงชิดชอบเชื่อง
กับหมู่ชาวเมือง ฉันท์อชั ฌาสัย
เล่าเรื่ องเคืองขุน่ ว้าวุน่ วายใจ
จำเปนมาใน ด้าวต่างแดนตน

(สามัคคีเภทคำฉันท์-ชิต บุรทัต)
หมายเหตุ แทน ครุ
78
บังคับ
คณะและพยางค์ ฉันท์บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค
วรรคละ ๔ คำ รวม ๘ วรรค
มี ๓๒ คำ
สัมผัส สัมผัสภายในบทมี ๕ แห่ง ดังที่โยงไว้ให้ดูในแผนผัง
สัมผัสระหว่างบทมี ๑ แห่ง คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๘ สัมผัสกับ
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ในบทต่อไป
ครุ-ลหุ ฉันท์ชนิดนี ้ บังคับครุทุกคำ จึงทำให้ง่ายต่อการแต่ง
เพราะไม่ต้องกังวลกับการหาคำลหุมาใช้เลย

๒. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง ดังนี ้

(๑)

บทที่ ๑

หมายเหตุ แทน ครุ


แทนหมายเหตุ
ลหุ แทน ครุ
แทน ลหุ
79
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ภาคพื้นพนารัญ จรแสนสราญรมย์
เนินราบสลับสม พิศเพลินเจริ ญใจ
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สู งลิ่วละลานนั- ย น พ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุ จิเรขเรี ยงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาฉาย ก็สลับระยับสี
ขาบแสงประภัสสร นิลก้อนตระการดี
ขาวแม้นมณี มี รตรุ ้งรำไพพรรณ
ทอแสงผสานสาย สุ ริยฉ์ ายก็ฉายฉัน
เหลืองเรื่ ออุไรวรร- ณ วิจิตรจำรู ญ
(อิลราชคำฉั นท์ :พระศรี สุนทรโวหาร : ผัน สาลักษณ์ )

คณะและพยางค์ อินทรวิเชียรฉันท์บทหนึง่ มี ๒ บาท เรียกบาท


เอกและบาทโท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ พยางค์ วรรค
หลังมี ๖ พยางค์ รวมเป็ น ๑๑ พยางค์ ในแต่ละบาทเท่ากับกาพย์
ยานี
สัมผัส บังคับสัมผัส ๓ แห่ง คือ
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกในบาทเอก สัมผัสกับคำที่ ๓ ใน
วรรคหลัง
80
๒. คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทเอก สัมผัสกับคำสุดท้ายใน
วรรคแรกของบาทโท
๓. คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทโทสัมผัสกับคำสุดท้ายใน
วรรคหลังของบาทเอก ของฉันท์บทต่อไป
ครุ-ลหุ มีการเรียง ครุ ลหุ ตามที่เขียนไว้ในแผนผัง ถ้าจะดู
เฉพาะลหุก็จะเห็นได้ว่าอยู่ที่คำที่ ๓ ของวรรคแรกและคำที่ ๑, ๒, ๔
ของวรรคหลัง เป็ นเช่นนีท
้ ุกวรรคไป แต่ละบาทจะมีครุ ๗ ลหุ ๔ อยู่
ในตำแหน่งที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
คณะและพยางค์ ภุชงคประยาตฉันท์ บทหนึ่งมี ๒ บาท
แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกและวรรคหลังมีจำนวนคำเท่ากัน
คือ มีวรรคละ ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็ น ๑๒ คำ มากกว่า
อินทรวิเชียรฉันท์ เพียง ๑ คำเท่านัน
้ สัมผัสบังคับเหมือน
อินทรวิเชียรฉันท์ แต่กำหนดครุ ลหุ ต่างกันไปเล็กน้อย
สัมผัส บังคับสัมผัสตามผังที่โยงไว้ให้ดูจึงเห็นได้ว่าบังคับ
สัมผัสเหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ บางแห่งกวีอาจใช้สัมผัสอักษรได้
ครุ-ลหุ มีการเรียง ครุ ลหุ ตามที่เขียนไว้ในผัง ถ้าจะพูด
เฉพาะ ลหุ ก็จะเห็นได้ว่าอยู่ที่คำที่ ๑ และคำที่ ๔ ทุกวรรค และ
เป็ นระเบียบเช่นนีไ้ ม่เปลี่ยนแปลง

๓. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง
ดังนี ้
(๑)

บทที่ ๑
(๒)

(๓)
81

คุณครู ช่วยยกตัวอย่างภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ด้วย


ครับ

ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
ทิชงค์ชาติฉลาดยล คเนกลคนึงการ
กษัตริ ยล์ ิจฉวีวาร ระวังเหื อดระแวง
หาย
เหมาะแก่การจะเสกสัน ปวัตติ์วญั จะนโยบาย
มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัคคิ์สนธิ์ สโมสร
ณ วันหนึ่งลุถึงกา ละศึกษาพิชากร
กุมารลิจฉวีวร เสด็จพร้อมประชุม
กัน
ตระบัดวัสสการมา สถานราชะเรี ยนพลัน
ธแกล้งเชิญกุมารฉันท์ สนิทหนึ่งพระองค์
ไป
82

ประยอม ซองทอง (๒๕๔๕ : ๖๗-๖๙) ได้สรุปสาระสำคัญของการ


เขียนฉันท์ ให้ประสบความสำเร็จนัน
้ ควรศึกษาวรรณคดีชน
ั ้ เยี่ยม
เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ ของพระโหราธิบดี กับสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช อิลราชคำฉันท์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน) พระนล
คำหลวง และมัทนะพาธาของรัชกาลที่ ๖
83
ร่าย

กรมศิลปากร (๒๕๔๔ : ๑๗๐) ได้แบ่งชนิดของร่าย มีอยู่ ๔


ชนิดคือ
ร่ายแบ่งเป็ น ร่ายโบราณ ร่ายสุภาพ ร่ายดัน
้ และร่ายยาว
ส่วนร่ายยาวที่เรารู้จักคือ ร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดก จะยกตัวอย่าง ร่ายยาวและร่ายสุภาพ ดังนี ้

(๑) ร่ายยาว มีลักษณะบังคับของร้อยกรองตามผัง ดังนี ้


คณะและพยางค์ ร่ายบทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนมากมี ๕
วรรค ขึน
้ ไป คำในวรรคหนึ่ง ๆ มีตงั ้ แต่ ๖ คำขึน
้ ไปจนถึง ๑๐ คำ
หรือบางทีก็มากกว่านัน
้ สำหรับร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกจะมี
การยกศัพท์บาลีขน
ึ ้ ก่อน แล้วจึงจะมีร่ายตามด้วยร่าย
สัมผัส มีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรค
ดังนี ้ มีสัมผัสส่งท้ายวรรคและมีสัมผัสตรงคำที่ ๑ถึง ๕ คำใด
คำหนึง่ ของวรรคต่อไป เช่นนีเ้ รื่อยไปจนจบ
เอกโทและคำสร้อย ไม่มีการบังคับเอกโท และคำสร้อยอย่าง
ร่ายสุภาพ ส่วนมากมีคำสร้อยเมื่อจบตอน เช่น “นัน
้ แล” “นีแ
้ ล”
หรืออาจจะมีคำสร้อยทุกวรรคก็ได้
ผัง

              
(คำภาษาบาลี)

            
84
85
ตัวอย่างร่ายยาว

คุณครู ช่วยยกตัวอย่างร่ ายยาวให้อ่านด้วยครับ

ตัวอย่างร่ ายยาวมหาเวชสันดรชาดก
โส โพธิสตโต ส่ วนสมเด็จพระบรมโพธิ สตั ว์ ตรัสได้ทรงฟังพระสุ รเสี ยง แก้วกัณหา
เสี ยวพระสกลกายาเย็นระย่อ เศร้าสลดระทดท้อพระหฤทัยเธอถอยหลัง พระนาสิ กอึดตั้ง
อัสสาสะปัสสาสะ น้ำพระเนตรเธอไหลหยาดหยด เป็ นสายเลือด ไม้เว้นวายหายเหื อดซึ่ งโศกา
จึงเอาพระปัญญาวินิจฉัยเข้าข่มโศก ว่าบุตรวิโยคทั้งนี้ บังเกิดมีเพราะความรัก จำจะเอา
อุเบกขาเข้ามาประหารหักให้เสื่ อมหาย ท้าวเธอกลับสุ ขเกษมเปรมสบาย พระกายก็ใสสด ดัง่
พระจันทร์ทรงกรด นั้นแล
(มหาเวสสั นดรชาดก ฉบับ ๑๓ กัณฑ์ )

(๒) ร่ายสุภาพ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง ดังนี ้


คณะและพยางค์ ร่ายสุภาพบทหนึง่ ๆ มีตงั ้ แต่ ๕ วรรคขึน
้ ไป
แต่ละวรรคมี ๕ คำจะแต่ง สักกี่วรรคก็ได้ แต่ตอนจบด้วยโคลงสอง
86
สัมผัส มีสัมผัสส่งท้ายวรรค และมีสัมผัสรับเป็ นเสียง
วรรณยุกต์เดียวกันตรงคำที่ ๑-๒-๓ คำใดคำหนึ่งจนถึงตอนท้าย จบ
ด้วยการส่งสัมผัสไปยังบาทต้นของโคลงสองสุภาพต่อจากนัน
้ ก็
บังคับสัมผัสตามแบบของโคลงสอง จึงถือว่าจบร่ายแต่ละบท ส่วน
สัมผัสในนัน
้ ไม่บังคับมีทงั ้ สัมผัสสระและสัมผัสอักษร
คำเอก-คำโท มีบังคับคำ เอก คำโท เฉพาะโคลงสองตอน
ท้ายบทเท่านัน

คำสร้อย ร่ายสุภาพแต่ละบท มีคำสร้อยได้เพียง ๒ คำ คือ
สองคำสุดท้ายของบทต่อจากคำสุดท้ายของโคลงสองสุภาพ
กรมศิลปากร (๒๕๔๔ : ๑๗๖) ได้กล่าวถึงผังร่ายสุภาพ ดังนี ้
ผัง
ร่ายสุภาพ
             
คุณครู ครับช่วยยกตัวอย่าง
ร่ ายสุ ภาพให้ผมทราบด้วยครับ
   
ให้ผมทราบด้วยครับ
่ ้ ่ ้
โคลง ๒
สุภาพ          
่ ้
(
      )
ครับ : ตัวอย่างร่ ายสุ ภาพ มีดงั นี้
ร่ าย
๒๗๗. ณ ทันใดอาบู แลนา ยกถ้วยชู บ มิชา้ แลนา อ้าปากกินสิ้ นหมด แลนา
ไม่ ปรากฎอันใด แลนา ผินหน้าไปหาน้อง แลนา คิดจักพร้องพจนา แลนา วาจา บ ทันใข
แลนา ณ บัดใดตาหลับ แลนา ศรี ษะพับสยบ แลนา ซบโต๊ะไม่ติงกาย แลนา ดูดงั วายชีพ
มรณ์ แลนา เช่นภูธรทำแต่ปาง แลนา จึงอนงค์นางเข้ารับ แลนา จับถ้วยมาจากมือ แลนา ซึ่ ง
ยังถือ บ ทันวาง แลนา ปางภูบาลเห็นเสร็ จ แลนา ธ ก็เสด็จไคลคลา แลนา ออกมาที่หะซัน
แลนา ธ ก็สรวลสันต์กึกก้อง เสร็ จกินสัมฤทธิ์ตอ้ ง จิตให้พึงประสงค์ แลนา
(ที่มา : นิทราชาคริ ต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
87
88
ลิลิต

ลิลิตเป็ นฉันทลักษณ์อีกประเภทหนึ่ง ประกอบด้วย ร่าย


สุภาพ โคลง ๒สุภาพ โคลง ๓สุภาพ และโคลง ๔ สุภาพ สลับกัน
ตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่อง ซึง่ มีลักษณะดังนี ้
คำสุดท้ายของบทประพันธ์ที่มาก่อนจะส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑
หรือคำที่ ๒ หรือคำที่ ๓ ของบทต่อไปตลอดทัง้ เรื่อง เรียกว่า เข้า
ลิลิต ลิลิตจะเริ่มต้นด้วยร่ายนำ ซึง่ เป็ นบทยอพระเกียรติพระมหา
กษัตริย์ และสดุดค
ี วามรุ่งเรืองของบ้านเมือง ชื่อ ตะเลงพ่าย นัน

แปลตรงตัวว่า มอญแพ้ ที่เรียกเช่นนี ้ น่าจะเป็ นเพราะเมือง
พม่ามีอำนาจเหนือมอญ พม่าได้ย้ายเมืองหลวงมาตัง้ ที่
กรุงหงสาวดีอันเป็ นเมืองหลวงของมอญมาก่อน กองทัพของพม่าจึง
ยกมาจากเมืองมอญ ทัง้ ได้เกณฑ์พวกมอญมาในกองทัพด้วยเป็ น
อันมาก คนไทยจึงเรียกว่า ทัพมอญ

คุณครู ช่วยยกตัวอย่างลิลิต
ให้ผมทราบด้วยครับ

ครู จะยกตัวอย่าง ลิลิตตะเลงพ่าย บางบทของ ลิลิต


ซึ่ งประกอบด้วย ร่ าย โคลง ๒ โคลง ๓ และโครง ๔ ดัง
ต่อไปนี้

ตัวอย่ างลิลติ
89
ตัวอย่างลิลิตตะเลงพ่าย

ร่าย
๑๙(๓๒) เสร็จสั่งความโอวาท ไท้ธประสาทพระพร แด่
ภูธรเอารส ธก็ประณตรับคำ อำลาท้าวลีลาศ ยุรยาตรยังเกยชัย
เสนาในเตรียมทัพ สรรพพลห้าสิบหมื่น ขุนคชหื่นหาญแกล้ว ขับ
ช้างแก้วพัทธกอ รอรับราชริมเกย ควาญเคยคัดท้ายเทียบ เสด็จ
ย่างเหยียบหลังสาร ทรงคชาธารยรรยง อลงกตแก้วแกมกาญจน์
เครื่องพุดตานตกแต่ง แข่งสีทองทอเนตร ปั กเศวตฉัตรฉานฉาย
คลายคชบาทยาตรา คลี่พยุหคลาคลาดแคล้ว คล้ายคล้ายนาย
ทแกล้ว ย่างเยื้องธงทอง แลนา ฯลฯ
โคลง ๒
๒๐(๔๑) ทัพถึงทวารกรุงแก้ว เดียรดาษพลคลาด
แคล้ว
คล่ำคล้ายคลาขบวน
โคลง ๓
๒๑(๔๒) ด่วนเดินโดยโขลนทวาร พวกพลหาญแห่หน้า
ล้วนทแกล้วทกล้า กลาดกลุ้มเกลื่อนสถล
มารคนา
ฯลฯ
พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
โคลง ๒
๒๒(๕๓) ยกพลผ่านด่านกว้าง เสียงสนั่นม้าช้าง
กึกก้องทางหลวง
โคลง ๓
๒๓(๕๔) ล่วงลุด่านเจดีย์ สามองค์มแ
ี ห่งหัน

แดนต่อแดนกันนัน
้ เพื่อรู้ราวทาง
ขับพลวางเข้าแหล่ง แห่งอยุธเยศหล้า
แลธุลฟ
ี ุ ้งฟ้ า มืดคลุ้มมัวมล ยิ่งนา
ฯลฯ
90
โคลง ๔
๒๕(๗๙) มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน
ฯลฯ
(ที่มา : ลิลิตตะเลงพ่ายของกรมพระปรมานุ
ชิตชิโนรส)

สรุปคุณค่าของงานประพันธ์ในบทร้อยกรอง

ร้อยกรองเป็ นคำประพันธ์ที่ให้คุณค่าทัง้ ต่อตัวผู้แต่งเอง ต่อผู้


อ่านหรือผู้ฟัง และคุณค่าต่อสังคม ดังนี ้
๑. คุณค่าของการแต่งร้อยกรองที่มีต่อผู้แต่ง
โดยทั่วไปคำประพันธ์ร้อยกรองมีคุณค่าต่อผู้แต่งเป็ นอัน
มาก เพราะผู้แต่งมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและความสามารถทาง
ด้านการประพันธ์ ได้แสดงออกทางด้านจินตนาการ แสดงอารมณ์
ความรู้สึกได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ได้เสนอแนวคิดและทัศนคติ
เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ทำให้คลายเครียด ผู้แต่งเกิดอารมณ์สุนท
รีย์ บางคนอาจได้รับเกียรติยศชื่อเสียงและมีรายได้เพิ่มขึน
้ คือ
91
๑) ผูแ
้ ต่งได้แสดงความคิดเห็นและแสดงความสามารถทาง
ด้านการประพันธ์ ผูแ
้ ต่งร้อยกรองมักจะเป็ นผูท
้ ม
่ี ค
ี วามถนัดเป็ นพิเศษ
การได้แสดงออกในรูปของบทร้อยกรองจึงเป็ นการประกาศให้ผอ
ู้ ่ น
ื ได้
รับทราบความสามารถพิเศษของตน ทำให้บค
ุ คลซึง่ ไม่เป็ นทีร่ ้จ
ู ก
ั กลาย
เป็ นทีน
่ ย
ิ มชมชอบและมีช่ อ
ื เสียงขึน
้ มาได้ เช่น กวีซไี รท์ของไทย
หลายคน ได้แก่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, แรดำ ประโดยคำ,
คมทวน คันธนู ,หรือ จีระนันท์ พิตรปรีชา เป็ นผูแ
้ ต่งคำประพันธ์ทม
่ี ช
ี ่อ

เสียงเป็ นทีร่ ้จ
ู ก
ั ของคนส่วนใหญ่
๒) ผูแ
้ ต่งได้แสดงออกทางด้านจินตนาการ งานประพันธ์รอ
้ ย
กรองส่วนใหญ่ ทำให้ผแ
ู้ ต่งสามารถแสดงจินตนาการของตนเองออกมา
เป็ นถ้อยคำได้ เช่น คำประพันธ์ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่
แสดงออกทางด้านจินตนาการในบททีว่ า่

ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล่
เลีย
้ วเรียวไผ่
ออดแอดแอดออดยอดไกว แพใบไล่น้ำลำคลอง
(ที่มา : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

๓) ผู้แต่งได้แสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึก เช่น
อารมณ์ร่ น
ื เริง สนุกสนาน มีความสุขดื่มด่ำกับธรรมชาติ หรือโศก
เศร้า อาลัยอาวรณ์ ซึ่งผูแ
้ ต่งสามารถแสดงอารมณ์ได้เต็มที่ เช่น
กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ าธรรมาธิเบศร์ ที่แสดงให้เห็นความอ่อนไหวของ
อารมณ์ที่คิดถึงนางอันเป็ นที่รัก ยามเห็นอาทิตย์คล้อยต่ำลงในคำ
ประพันธ์ที่ว่า
92

รอนรอนสุริยะโอ้ อัสดง
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอนจิตจำนง น ุช พ ี่
เพียงแม่
เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลบ
ั ค ล ้า ย เ ร ือ น
เหลียว

(ที่ม า : กาพย์เ ห่เ รือ ของเจ้า ฟ้ าธร


รมาธิเบศร์)

แสดงความรู้สึกต่อสภาพชีวิตว่า

ถึงหน้าวังดังหนึง่ ใจจะขาด ค ิด ถ ึง บ า ท บ พ ิต ร
อดิศร
โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แ ต ่ป า ง ก ่อ น
เคยเฝ้ าทุกเช้าเย็น
พระนิพพานปานประหนึง่ ศีรษะขาด ด ้ว ย ไ ร ้ญ า ต ิ
ยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ทัง้ โรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็ น ไม่เล็งเห็นที่ซึ่ง
จะพึ่งพา
93
จะ สร้างพรตอุตสาห์ส่งส่วนบุญถวาย ประพฤติฝ่ าย
สมถะทัง้ วสา
เป็ นสิง่ ฉลองคุณมุลิกา ขอเป็ นข้า เคีย งบาท
ทุกชาติไป

(ที่มา : นิราศภูเขาทองของสุนทร
ภู่)

๔) ผู้แต่งได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ งาน
ประพันธ์ร้อยกรองถือได้ว่าเป็ นผลงานที่สร้างสรรค์
รูปแบบหนึ่งเมื่อผู้แต่งคำประพันธ์เกิดอารมณ์
ความรู้สึกชนิดใด ก็จะสร้างผลงานออกมาให้เห็น
เป็ นบทร้อยกรองให้พบเห็นอยู่มากมาย
๕) ผู้แต่งได้เสนอแนวคิดและทัศนคติเกี่ยว
กับการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็ นประโยชน์ไม่เพียงแต่ผู้แต่งคำประพันธ์
เท่านัน
้ แต่ยังมีประโยชน์ต่อผู้อ่านมากมาย เช่น คำประพันธ์ของ
อังคาร กัลยาณพงศ์ ที่แสดงแนวคิดที่ว่า โลกเราทุกวันนีป
้ ระกอบไป
ด้วยบุคคลหลายจำพวกหลายฐานะ ไม่ใช่โลกของใครคนใดคนหนึ่ง
หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนัน
้ การอยู่ในโลกอย่างมีความสุขได้
ทุกคนต้องมีน้ำใจไมตรี ต่อกันดังคำประพันธ์ที่ว่า

ภพนีม
้ ิใช้หล้า หงส์ทอง เดียวเอย
94
กาก็เจ้าของครอง ร่วมด้วย
เมาสมมติจองหอง หีนชาติ
แล้งน้ำมิตรโลกม้วย ้ สุขศานติ ์
หมดสิน

(ที่มา : กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์)

๖) ผู้แต่งได้ผ่อนคลายอารมณ์และคลายเครียด นักจิตวิทยา
กล่าวว่า ถ้าผู้ใดก็ตามมีความรู้สึกรัก เกลียด โกรธ ก็ให้ระบาย
อารมณ์เหล่านัน
้ ด้วยการเขียนข้อความที่บ่งบอกความรู้สึกในขณะ
นัน
้ ลงไปในกระดาษแล้วจุดไฟทิง้ เสีย จะช่วยให้ระบายความเครียด
ได้ดีกว่าจะไปทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็ นต้นเหตุของความไม่สบ
อารมณ์ในขณะเดียวกันถ้าต้องระบายอารมณ์ต่าง ๆ ก็อาจจะเขียน
ถ่ายทอดออกมาเป็ นคำประพันธ์ซึ่งนอกจากจะทำให้หายเครียดแล้ว
ยังสร้างสรรค์งานศิลปะทางภาษาได้อีกด้วย นับเป็ นการคลาย
เครียดที่เป็ นประโยชน์อย่างหนึ่ง
๗) ผู้แต่งกลายเป็ นคนที่มีอารมณ์สุนทรีย์ ทัง้ นีเ้ พราะผู้ที่จะ
แต่งร้อยกรองได้ต้องใช้สมาธิและความละเอียดอ่อน เป็ นการพัฒนา
ความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์และเรียบเรียงถ้อยคำให้
ไพเราะสละสลวย
๘) ผู้แต่งได้รับเกียรติ มีช่ อ
ื เสียง และได้รับรางวัลเป็ น
ทรัพย์สินเงินทอง นอกจากรางวัลด้านเกียรติยศชื่อเสียง และความ
นิยมชมชอบจากผู้อ่านแล้ว คำประพันธ์ร้อยกรองยังสามารถ
จำหน่าย ทำรายได้เป็ นทรัพย์สิน เงินทอง ให้แก่ผู้แต่งได้อีกด้วย

๒. คุณค่าของร้อยกรองที่มีต่อผู้อ่านหรือผู้ฟัง
95

อ่านแล้ว ร้อยกรอง นับเป็ นผลงานทางศิลปะซึง่ อาศัยการ


เข้ าใจ
แสดงออกที่ดี เป็ นสื่อนำความรู้สึกนึกคิด ความ
สะเทือนใจ และจินตนาการของผู้เขียน
ออกสู่ผู้อ่าน ดังนัน
้ การอ่านหรือการฟั ง
ร้อยกรอง จึงมีคุณค่าต่อผู้อ่านหรือผู้ฟัง
หลายประการ ได้แก่ ช่วยให้ผู้อ่านมีจิตใจ
ละเมียดละไม เข้าใจความปรารถนาดีต่อ
เพื่อนมนุษย์และเพื่อนร่วมโลกอย่างกว้างขวาง ช่วยสร้าง
จินตนาการ ช่วยให้เกิดปั ญญา ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ ทราบความ
คิดของผู้แต่ง ช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลิน เกิดความประทับ
ใจ เป็ นผู้รักษาวัฒนธรรม ประเพณี ให้เป็ นมรดกไปสู่ลก
ู หลาน ช่วย
สั่งสอนและส่งเสริมศีลธรรม จรรยาที่ดีงามแก่ประชาชนได้อย่างดี
อีกด้วย
๑) ช่วยให้ผอ
ู้ ่านมีจิตใจละเมียดละไม จิตใจที่สัมผัสกับ
ความละเอียดอ่อนของคำประพันธ์ร้อยกรองอยู่เสมอ ย่อมจะเกิด
ความละเอียดอ่อนขึน
้ ภายใน และเกิดความนึกคิดในแนวทางที่ดี
งามมากขึน
้ ยกตัวอย่าง

“สรวงสวรรค์ชน
ั ้ กวีรุจีรัตน์
ผ่องประภัสส์พลอยหาวพราวเวหา
พริง้ ไพเราะเสนาะกรรณวัณนา
สมสมญาแห่งสวรรค์ชน
ั ้ กวี”
(ที่มา : สามกรุง “น.ม.ส.” )
96

๒) ช่วยให้ผอ
ู้ ่านเข้าใจและปรารถนาดีต่อผู้อ่ น
ื เห็นอก
เห็นใจและเข้าใจปั ญหาของผู้อ่ น
ื และปลูกฝั งนิสัยรักธรรมชาติ
ตัวอย่าง

“หัวขวานลงจับไม้ มองคยิก
อิแอ่นแล่นเสียงจิก จีดร้อง
ขมิน
้ เหลืองอ่อนกรีกกริก คอยกระ
บินเอย
บังรอกด๊อกด๊อก ร้อง ร่ำแสร้ผสาน
กัน”

(ที่มา : นิราศไทรโยค พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ


นราธิปประพันธ์พงศ์)

๓) ช่วยสร้างจินตนาการ สิ่งหนึ่งทีค
่ ำประพันธ์นำเสนอต่อ
ผู้อ่านก็คือจินตนาการของผู้แต่งบทร้อยกรองจำนวนไม่น้อยจะวาด
ภาพที่สวยงาม ใช้ถ้อยคำที่ประณีตด้วยเสียงและความหมาย ด้วย
คำเพียงไม่กี่คำที่มีอยู่ในคำประพันธ์ จะชีใ้ ห้ผู้อ่านสังเกตบางสิ่งบาง
อย่างที่มีคุณค่า เป็ นการยกระดับจิตใจของผู้อ่าน กระตุ้นอารมณ์
และจินตนาการของผู้อ่านได้เป็ นอย่างดีอีกด้วย ตัวอย่าง
97

“ชมโฉม สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
ทัง้ สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิว้ ก่งเหมืองกงเขาดีดฝ้ าย
จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
ลำคอโตตันสัน
้ กลม”

(ที่มา : ระเด่นลันได ผูแ


้ ต่ง พระมหามนตรี
(ทรัพย์))

๔)ช่วยให้ผอ
ู้ ่านเกิดปั ญญา ทัง้ นีเ้ พราะคำประพันธ์จะนำ
เสนอความรู้ที่มีคุณค่า และมีความหมายลึกซึง้ คมคายของผู้แต่ง
แทรกอยู่ ตัวอย่าง

“พาทีมีสติรงั ้ รอคิด
รอบคอยชอบแลผิด ก่อนพร้อง
คำพูดพ่างลิขิต เขียนร่าง เรียงแฮ
ฟั งเพราะเสนาะต้อง โสตทัง้ ห่างภัย”
98

(ที่มา : โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ พระราชนิพนธ์พระบาท


สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

๕)ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ และได้ทราบความคิดของผู้
แต่ง เป็ นการสร้างปั ญญาแก่ผู้อ่านได้อย่างดี และช่วยให้ผู้อ่านเกิด
โลกทัศน์ที่กว้างไกลยิ่งขึน
้ ตัวอย่าง

“ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง ลิงลอด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลีย
้ วลางลิง”

(ที่มา : ลิลิตพระลอ)
๖)ช่วยให้ผอ
ู้ ่านเกิดความประทับใจ การได้อ่านหรือได้ฟัง
ร้อยกรองทำให้ผู้อ่านได้ความรู้สึกและบรรยากาศที่แปลกใหม่ ผ่อน
คลายความเครียดที่อาจมีอยู่ภายในจิตใจได้เป็ นอย่างดี ตัวย่าง

“ลมละเรื่อยเฉื่อยเฉียวในเคียงข้าว
กังหันน้าว ระหัดน้ำทำนบขัง
ระลอกนองกรองใส ร่มใบบัง
แพงพวยหยั่งยอดพันสันตะวา”
99
(ที่มา : คำหยาด ของเนาวรัตน์ พงษ์
ไพบูลย์)

๗)ทำให้ผู้อา่ นเกิดความประทับใจ การเขียนร้อยกรอง


หากแต่งขึน
้ มาอย่างฉับพลันจากอารมณ์สะเทือนใจหรือความผูกพัน
ต่อสิ่งหนึง่ สิ่งใด หรือบุคคลหนึง่ บุคคลใดอย่างลึกซึง้ แล้วย่อมทำให้
เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่านมาก ตัวอย่าง

เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลาก
สวรรค์

(ที่มา : นิราศนรินทร์)

๘)รักษาวัฒนธรรมและ
ประเพณีให้เป็ นมรดกต่อไป ร้อยกรอง
จำนวนมาก ที่ให้ผู้อ่านหรือผูฟ
้ ั งทราบ
ถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
ตลอดจนความเชื่อ และค่านิยมของ สุ ภาษิตสอนหญิง
สังคมไทยในแต่ละยุคสมัย อันจะเป็ น
แนวทางให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติสืบต่อกันไป จนเปรียบ
100
เสมือนผู้ทำหน้าที่รักษาวัฒนธรรมประเพณีให้เป็ นมรดกของไทย
สืบต่อให้เยาวชนได้อย่างดี เช่น

ประการหนึ่งซึ่งจะเดินดำเนินนาด ค ่อ ย เ ย ้อ
ื ง
ยาตรยกย่างไปกลางสนาม
อย่าไกวแขนสุดแขนเขาห้ามปราม เ ส ง ี่ย ม ง า ม
สงวนไว้แต่ในที
อย่าเดินกรายย้ายอกยกผ้าห่ม อ ย ่า เ ส ย ผ ม
กลางทางหว่างวิถี
อย่าพูดเพ้อเจ้อไปไม่สู้ดี เหย้า เรือ นมีก ลับ มา
จึงหารือ

(ที่มา : สุนทรภู่)

๙)ช่วยสั่งสอนและส่งเสริมศีลธรรมจรรยาที่ดีงามแก่
ประชาชน ร้อยกรองสามารถช่วยยกระดับจิตใจของผู้อ่าน ให้เป็ นผู้
มีคุณธรรมประจำใจ โดยอาจสั่งสอนโดยตรงหรือสอดแทรก ในตอน
ใดตอนหนึ่งของเรื่อง เช่น เรื่องลิลิตพระลอ ตอนหนึ่งความว่า

ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา
101
ตามแต่บาปบุญแล้ ก่อเกื้อรักษา

(ที่มา : ลิลิตพระลอ)

๓. คุณค่าของร้อยกรองที่มีต่อสังคม
บทร้อยกรองมีคุณค่าต่อสังคม เป็ นผลงานที่แสดงให้เห็นถึง
ภูมิปัญญาไทย เป็ นมรดกให้ลูกหลาน เป็ นสมบัติทางวัฒนธรรม
ของชาติ และเป็ นเครื่องชีน
้ ำสังคมได้

คุณค่าของร้อยกรองที่มีต่อ
สังคมมีอะไรบ้างคะ

คุณค่าของร้ อยกรองที่มีต่อสั งคม มีดงั นี้


๑) แสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาไทย ร้อยกรอง เป็ นสิ่ งที่
แสดงถึงภูมิปัญญาของกวีไทย
ให้ปรากฏว่า เป็ นผูม้ ีความสามารถประพันธ์ได้
อย่างไพเราะ นอกจากนี้ ข้อคิดหรื อ
คำคม ที่แทรกอยูใ่ นบทร้อยกรองล้วนเป็ นสิ่ งที่
แสดงภูมิปัญญาไทยทั้งสิ้ น
๒) เป็ นมรดกให้ ลูกหลาน ร้อยกรองจัดเป็ นคำประพันธ์
ที่เป็ นวรรณศิลป์ ซึ่ งบรรพบุรุษ
ไทย ได้สร้างสรรค์ และสัง่ สมมาตั้งแต่โบราณกาล
และเป็ นมรดกตกทอดมาสู่
คนรุ่ นหลังที่มีค่ายิง่
ได้วา่ เป็ นสมบัติทางวัฒนธรรม
อันล้ำค่า ไม่วา่ จะเป็ นวัฒนธรรมทางภาษา หรื อชีวิต
ความเป็ นอยู่ เช่นประเพณี 102
การเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่ งปรากฏอยูใ่ น
วรรณคดี เป็ นต้น
ชายข้าวเปลื
๔) เป็อนเครืกหญิ
่องชีง้นข้ำสัางวสารโบราณว่
คม ข้อคิด คำคมหรื อาคติเตือนใจที
น้ำพึ ่ ่ง เรือ เสือ
พึ่งป่ าอัชฌาสัย สอดแทรกในร้อยกรอง ล้วนเป็ น
เครื่ องชี้น ำสังคมทั้งสิ้ น เช่น ในอิศรญาณภาษิตของ
เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ ร ัก ก ัน ไ ว ้ด ีก ว ่า ช ัง
หม่อมเจ้าอิศรญาณ มีขอ้ เขียน
ระวังการ ที่ประทับใจ ของคนทุกยุคทุกสมัย ตอนหนึ่งความ
ผู้ใดดีดีต่อว่อย่
า าก่อกิจ ผู้ใ ดผิด ผ่อ นพัก อย่า
หักหาญ
สิบดีก็ไม่ถงึ กับกึ่งพาล เ ป็ น ช า ย ช า ญ อ ย ่า
เพ่อคาดประมาทชาย

(ที่ม า : อิศ รญาณภาษิต ของหม่อ มเจ้า


อิศรญาณ)

สรุป จะเห็นว่า ร้อยกรองเป็ นคำประพันธ์ที่มีคุณค่ามากมาย


มหาศาล ทัง้ คุณค่าต่อผู้ประพันธ์ คุณค่าต่อผู้อ่านหรือผู้ฟัง และ
คุณค่าต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าที่เกิดแก่จิตใจ ทำให้ทุก
คนมองโลกในแง่ดี รู้จักเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มีความคิดสร้างสรรค์
และจินตนาการที่กว้างไกล นอกจากนัน
้ ยังเป็ นพื้นฐานของการ
เรียนรู้ในระดับที่สูงขึน

103

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียน เรื่อง คำประพันธ์วรรณศิลป์

คำชีแ
้ จง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วกา
เครื่องหมาย  ลงในกระดาษคำตอบ
ก ข ค ง

๑. การเขียนร้อยกรอง ผู้เขียนควรมีความรู้อะไรเป็ นอันดับแรก


ก. การนิยมของผู้อ่าน
ข. ฉันทลักษณ์
104
ค. สังคมต้องการหรือไม่
ง. คำเป็ น - คำตาย - คำประสม

๒. ร้อยกรองประเภทใด มีการบังคับเอก ๗ โท ๔
ก. ร่าย ข. กาพย์
ค. โคลง ง. ฉันท์

๓. ข้อใดเป็ นบทร้อยกรอง
ก. ป้ ากะปู ่ กู้อีจู้
ข. ตาดีมือแป แกไปนาตาคำ
ค. ไปเที่ยวทะเล ต้องระวังคลื่นลม
ง. ทะเลแม่ว่าห้วย เรียมฟั ง

๔. ข้อใดเป็ น กาพย์ฉบัง ๑๖
ก. นกน้อยนอนแนบน้ำ ในนา
ตมเตอะติดเต็มตา ต่ำต้อย
ข. เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟั งวังเวง
ค. วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายเฝ้ าลาทิวากาล มุ่งกลับบ้านชานเรือนท้อง
ถิ่นตน
ง. สุพรรณหงส์ทรงพูห
่ ้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
105
๕. ข้อใดเป็ นวรรณคดีแบบร้อยกรอง
ก. พระอภัยมณี
ข. จดหมายจางวางหร่ำ
ค. สามก๊ก
ง. พระราชพงศาวดาร

๖. ข้อใด ไม่ใช่ คำประพันธ์ประเภท “กาพย์”


ก. เห่เรือ
ข. ชมอาหารคาวหวาน
ค. พระไชยสุริยา
ง. พระเวสสันดร

๗. การแบ่งชนิดคำประพันธ์แบบร่าย คือข้อใด
ก. ร่ายสัน

ข. ร่ายโบราณ
ค. ร่ายยานี
ง. ร่ายดัน
้ ยานี

๘. บทประพันธ์ประเภทลิลิต หมายถึงข้อใด
ก. กลอนแปด
ข. โคลง ๔ สุภาพ, ร่ายสุภาพ
ค. กลอน โคลง กาพย์ ฉันท์
ง. ร่ายสุภาพ โคลง ๒, ๓ และ ๔ สุภาพ

๙. วรรณคดีเรื่องใด สุนทรภู่ เป็ นผูป


้ ระพันธ์
ก. อิเหนา
106
ข. รำพันพิลาป
ค. สามกรุง
ง. สังข์ทอง

๑๐. ข้อใดเป็ นบทประพันธ์วรรณคดีเรื่อง “มหาเวสสันดรชาดก”


ก. อิติปิโส ภควา
ข. นโม ตสฺส ภควโต
ค. ปานาติปาตา เวรมณี สิกขา ปทัง สมา ทิยามิ
ง. “โส โพธิสตโต ส่วนสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์....”
107

กระดาษคำตอบ ก่อน หลัง

หมวดวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ทดสอบครัง้ ที่ ......... เรื่อง .........................................................
ชื่อ.....................................................
สกุล.................................................... กลุ่ม...............................

ก่อนเรียน หลังเรียน
ตัวเลือก ตัวเลือก
ข้อที่ ข้อที่
ก ข ค ง ก ข ค ง
๑ ๑
108
๒ ๒

๓ ๓
๔ ๔
๕ ๕
๖ ๖
๗ ๗
๘ ๘
๙ ๙
๑๐ ๑๐

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
หน่วยการเรียน เรื่อง คำประพันธ์วรรณศิลป์
109
ข้อ ก่อน หลัง
เรียน เรียน
๑. ง ข
๒. ง ค
๓. ก ง
๔. ค ข
๕. ง ก
๖. ข ง
๗. ง ข
๘. ค ง
๙. ค ข
๑๐. ง ง
110

ใบงานที่ ๑

คำชีแ
้ จง ให้นักศึกษาปฏิบัติดังนี ้
๑. จงแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ ๑ คำกลอน โดย
เลือกแต่งอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงข้อเดียวในหัวข้อที่นักศึกษา
ประทับใจ
๑.๑ กลอนแปด
๑.๒ กลอนดอกสร้อย
๑.๓ กลอนสักวา

๒. จงเลือกแต่งคำประพันธ์ต่อไปนีอ
้ ีกคนละ ๑ บท
๒.๑ กาพย์ยานี ๑๑
๒.๒ โคลงสีส
่ ุภาพ
๒.๓ ฉันท์ประเภทใดประเภทหนึ่ง

๓. นำคำประพันธ์ส่งผู้สอนหรือส่งวิทยากร เพื่อแนะนำ
วิจารณ์ ในการพบกลุ่มครัง้ ต่อไป
111

...................................................................................

ใบงานที่ ๒

คำชีแ
้ จง ให้นักศึกษาสรุปคุณค่าของบทร้อยกรองที่ศึกษาจาก
หนังสือ คำประพันธ์บทร้อยกรองต่าง ๆ

..........................................................................................................
...................................................
112
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
113
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
..........................................................................................................
...................................................
114
..........................................................................................................
...................................................

You might also like