You are on page 1of 35

Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.

1 (2020): January-June

Cherngchai Magazine: The Origin of Masculine


Images Consumption of Thai Gay Men
Narupon Duangwises

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre,


Taling Chan, Bangkok 10170, Thailand

*Corresponding author’s e-mail: narupon.d@sac.or.th

Received: November 20, 2019


Revised: March 13, 2020
Accepted: April 21, 2020

169
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

“นิตยสารเชิงชาย” จุดกําเนิดของการบริโภค
ภาพความเปนชายของเกยไทย

นฤพนธ ดวงวิเศษ

ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170


อีเมล: narupon.d@sac.or.th

บทคัดยอ
บทความเรื่ อ งนี้ เ ป น การศึ ก ษาเนื้ อ หาและภาพของนายแบบที่ เ ผยแพร ใน
นิตยสารเชิงชาย ซึ่งเปนตนกําเนิดของนิตยสารเกยไทยในชวงทศวรรษ 2520 ผูเขียนได
นํ า แนวคิ ด เรื่ อ ง “ดิ น แดนเพศในฝ น ” ของ Linda Williams และแนวคิ ด เรื่ อ ง
“ประสบการณทางกามารมณ” ของ Fred Fejes มาเปนกรอบในการวิเคราะห เพื่อทํา
ความเขาใจบทบาทของสื่อโปเปลือยของเกยที่สังคมมองวาเปน “สื่อลามก” ผูเขียน
ตองการเสนอวาเรือนรางของนายแบบที่ถูกทําใหเปนความเยายวนทางเพศไมเพียงแต
ช ว ยตอบสนองความต องการของเกย แต นิตยสารเชิงชายยังเปน ภาพสะทอนของ
วัฒนธรรมบริโภคที่ชวยสรางประสบการณและกระบวนการเรียนรูตัวตนและความรูสึก
ทางเพศใหกับชายรักชายในสังคมไทยซึ่งพวกเขาถูกปดกั้นและไมไดรับการยอมรับใน
พื้นที่สาธารณะ

คําสําคัญ: นิตยสารเชิงชาย, เกยไทย, ความเปนชาย, ดินแดนเพศในฝน, ประสบการณ


ทางกามารมณ

170
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Cherngchai Magazine: The Origin of Masculine


Images Consumption of Thai Gay Men

Narupon Duangwises

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre,


Taling Chan, Bangkok 10170, Thailand
*Corresponding author’s e-mail: narupon.d@sac.or.th

Abstract
This article is a study of the content and images of male models
published in Cherngchai magazine, which was the origin of Thai gay
magazines in the 1980s. The author uses the concept of Linda Williams's
"Sexual Utopia" and the concept of Fred Fejes's "erotic experience" as a
framework for analysis to understand the role of gay magazine that society
considers as an "obscene pornography". The author would like to suggest
that the masculine body of a male model that is sexually seductive not
only meets the needs of gay men, but it also reflects the consumer
culture that contributes to broadening personal experiences, promoting
sexual-self learning process, and developing sexual feelings for male
homosexuals in Thai society in which homosexuality has been curbed and
disapproved in public areas.

Keywords: Cherngchai magazine, Thai gay men, Masculinity, Sexual


Utopia, Erotic experience

171
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

บทนํา
การศึกษาความเปนชายในชุมชนเกยไทยในมิติวัฒนธรรมบริโภค มีการศึกษา
ดวยกรอบแนวคิดแบบวัตถุภาวะ (Materialist Approach) ซึ่งสนใจการสรางเรือนราง
ความเปนชายที่เกยใชเพื่อตอบสนองอัตลักษณทางเพศและระบบการตลาดนําเรือนราง
ชายมาเปนสินคาเพื่อแสวงหาประโยชนทางธุรกิจ การศึกษาของ Duangwises (2003,
2006, 2010a, 2010b, 2013) ชี้ใหเห็นการเติบโตของธุรกิจสิ่งพิมพประเภทนิตยสาร
เกยและสถานประกอบการตางๆ ที่นําเรือนรางชายมาเปนสินคาตั้งแตชวงทศวรรษ
2520 เป น ต น มา การศึ ก ษาของ Samakkeekarom et al. (2009, 2012) และ
Duangwises et al. (2014) อธิบายเกี่ยวกับการแสดงความเปนชายของเกยวัยรุนใน
สังคมออนไลนเพื่อแสดงตัวตนและใชเปนเครื่องมือในการแสวงหาคนรักและคูนอน
การศึ กษาเหล า นี้ ม องความเป น ชายของเกยใ นฐานะสิ่ งที่ ถู กสรา งขึ้ น ภายใต ร ะบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งหลอหลอมใหเกยยกยองเชิดชู “ภาพลักษณความเปนชาย”
ที่จะตองไมแสดงกิริยาทาทางเหมือนผูหญิง (ออกสาว) และพยายามจัดระเบียบและ
แกไขปรับปรุงเรือนรางใหมีความเปนชายในแบบอุดมคติที่ระบบการตลาดของเกยได
สรางเอาไว อยางไรก็ตาม แมวาระบบทุนนิยมจะเปดโอกาสใหเกยไดแสดงอัตลักษณ
ความเป น ชาย (Jackson, 2011) แต ก็อยู ใตโ ครงสรางอํ านาจทางการตลาดในช ว ง
ทศวรรษ 2520 ซึ่งในชวงนี้ภาพลักษณความเปนชายตามอุดมคติจะตองเปน “ผูชายที่
ทั น สมั ย ” ที่ แ สดงออกด ว ยการแต ง กายตามแฟชั่ น และมี ร สนิ ย มในการใช สิ น ค าที่
สงเสริมบุคลิกภาพของตนเอง รูจักดูแลรูปรางหนาตาของตัวเองใหมีเสนหทางเพศ ซึ่ง
สะทอนแบบแผนชีวิตของชนชั้นกลางในเมือง
ในบทความนี้จะชี้ใหเห็นจุดกําเนิดของการบริโภคภาพความเปนชายในกลุม
เกยไทย ซึ่งนิตยสารเชิงชายคือสื่อสิ่งพิมพรุนแรกที่กลานํา “เรือนรางผูชาย” มาเปนจุด
ขาย และชักจูงใหกลุมเกยเขามาเสพเพื่อปลดปลอยความปรารถนาของตัวเอง ทั้งนี้
นิตยสารเชิงชายเกิดขึ้นกอนที่จะมีนิตยสารของชาวเกยโดยตรง ซึ่งจะตีพิมพในเวลา
ตอมา เชน นิตยสารมิถุนา นีออน มรกต และมิดเวย เปนตน แมวาในชวงกลางทศวรรษ
2520 สถานประกอบการประเภทบารเกย บารอะโกโก จะเกิดขึ้นอยางแพรหลายและ

172
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

มีการนําผูชายมาใหบริการทางเพศแกลูกคาแลวก็ตาม (Duangwises, 2010b) แตยัง


ไมมีสื่อสิ่งพิมพใดที่นําเอาภาพเรือนรางผูชายมานําเสนอตอผูอานที่เปนเกยอยางมีนัย
ยะสําคัญเทากับนิตยสารเชิงชาย การยอนกลับไปศึกษาจุดกําเนิดของการบริโภคภาพ
ความเป น ชายในนิ ต ยสารเชิ ง ชายของบทความนี้ จะช ว ยให เ กิ ด ความเข า ใจใน 2
ประเด็น คือ 1) นิตยสารเชิงชายมีความสําคัญในฐานะเปนนิตยสารเลมแรกที่ประกาศ
อย า งชั ด เจนว า เกย คื อ กลุ ม เป า หมายสํ า คั ญ และต อ งการทํ า ให เ กย ไ ด พ บกั บ สิ่ ง ที่
ปรารถนา นั่นคือการไดเห็นเรือนรางเปลือยของผูชาย และ 2) นิตยสารเชิงชายสะทอน
บริบทสังคมไทยในชวงทศวรรษ 2520 ที่ชุมชนเกยในกรุงเทพฯ กําลังกอรางสรางตัว
ภายใตการใชชีวิตในบารและสถานเริงรมยยามค่ําคืน ซึ่งเปนกลุมผูบริโภคที่มีทุนทรัพย
ในการจับจายใชสอย ทําใหเกิดการผลิตนิตยสารเชิงชายในฐานะเปนสินคาชนิดหนึ่งที่
ตอบสนองความตองการของเกย ทั้งสองประเด็นนี้จะชวยใหเราเขาใจการเริ่มตนของ
การสราง การเสพ และการแสดงความเปนชายในชุมชนเกยที่อยูในเขตเมืองกรุงเทพฯ

องคความรูและกรอบแนวคิดในการศึกษา
Williams (1989) และ Fejes (2002) ตั้งขอสังเกตวาเทาที่ผานมาการศึกษา
นิตยสารโปเปลือยและสื่อที่กระตุนกามารมณมักจะโตเถียงกันดวยแนวคิดที่ตรงกันขาม
ระหวางกลุมที่มองวาสื่อโปเปลือยคือวิธีการใชอํานาจของผูชายที่ใชผูหญิงเปนวัต ถุที่
ตอบสนองความตองการทางเพศ กับกลุมที่มองวาสื่อโปเปลือยคือชองทางปลดปลอย
อิ ส ระและเสรี ภ าพทางเพศ ข อโต เ ถี ย งนี้ ผ ลิต ซ้ํา คูต รงขา มระหวา งกลุม ที่เ คร ง ครั ด
ศีลธรรมกับกลุมที่เรียกรองเสรีภาพ แต Williams (1989) เสนอมุมมองในการศึกษาที่
ตางออกไปโดยมองวาสื่อโปเปลือยคือกลไกของอํานาจที่ตองการสถาปนา “ความจริง”
เกี่ยวกับเพศภาวะ เพศวิถี เซ็กส และกามารมณ กลาวคือสื่อโปเปลือยกําลังผลิตซ้ํา
ความรูที่อธิบายวาเซ็กสและความตองการทางเพศของมนุษยเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เปน
แรงขับตามสัญชาตญาณ และแสดงออกมาตามความรูสึกจากภายใน Williams โตแยง
วาการนําเสนอเพศภาวะและเพศวิถีในสื่อโปเปลือยผลิตซ้ําคูตรงขามระหวางหญิงชาย
ซึ่งถูกสรางขึ้นภายใตบรรทัดฐานแบบรักตางเพศ (Heteronormativity) ซึ่งมิใชสิ่งที่

173
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

เกิดขึ้นเอง แตถูกประกอบสรางขึ้นในสังคมภายใตความรูแบบเหตุผลนิยมของตะวันตก
(Ahmed, 2006; Butler, 1990; Connell, 1987; Herek, 1986; Jackson, 1999;
Katz, 1995) ประเด็ น นี้ Foucault (1990) ได วิ จ ารณ ว า สถาบั น ความรู แ บบ
วิทยาศาสตรไดสรางความชอบธรรมใหกับความสัมพันธคูตรงขามของหญิงชาย ใน
ฐานะที่เปนเครื่องมือของกลไกอํานาจทางการเมืองของชนชั้นกฎมพีและรับใชร ะบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ความสัมพันธแบบรักตางเพศจึงมีสิทธิพิเศษและถูกยกใหอยูสูง
กว า ความสั ม พั น ธ แ บบอื่ น หรื อ เรี ย กว า “ความเป น รั ก ต า งเพศที่ ค วบคุ ม กดทั บ ”
(compulsory heterosexuality) (Rich, 1980) ดังนั้น การนําเสนอภาพเปลือยของ
ผูหญิงเพื่อกระตุนเราอารมณทางเพศของผูชายจึงเปนรูปแบบของการยืนยัน “ความ
จริงแท” เกี่ยวกับกามารมณของรักตางเพศ ที่ผูหญิงและผูชายตางใชสรีระทางเพศเปน
เครื่องมือในการปรนเปรอและเติมเต็มความตองการของตน (Jagose, 2012)
ในกรณีสื่อโปเปลือยของเกย Fejes (2002) อธิบายในทํานองเดียวกันวาสื่อโป
เปลือยของเกยกําลังสราง “อุดมคติทางเพศ” (sexual utopias) ที่ทําใหเกยรูสึกวาการ
ไดดูสรีระของเพศชายคือการไดปลดปลอยและเติมเต็มความปรารถนา ขณะเดียวกันก็
ทําใหเกิดรูสึกวาตนกําลังทาทายบรรทัดฐานสังคมที่ความรักใครระหวางผูชายเปนสิ่ง
ตองหาม สื่อที่ตอบสนองกามารมณของเกยคือเครื่องมือสําคัญในการสรางอัตลักษณ
และตัวตนของเกย (Burger, 1995; Waugh, 1996; McKee, 1999) ซึ่งตางไปจากสื่อ
โปเ ปลื อยของผู ช ายที่ การสรา งอั ตลักษณ “ความเปน ชายแบบชี้นํา” (hegemonic
masculinity) เกิดขึ้นในพื้นที่ทางสังคมมากกวา (Chapman, 1988; Connell, 1990;
Lichterman, 1989; Messner, 1987) Fejes (2002) กลาววา การศึกษาสื่อโปเปลือย
ของเกยเทาที่ผานมามักจะมองวาเกยผลิตซ้ําอํานาจแบบชายเปนใหญที่ใชสื่อโปเปลือย
เพื่อตอบสนองความตองการทางแพศเปนสําคัญ (Stoltenberg, 1992) แตสิ่งที่สื่อโป
เปลือยของเกยตางไปจากสื่อโปเปลือยของผูชายก็คือจะไมมีการนําเสนอภาพสรีระของ
เพศหญิ ง (Dworkin, 1989) ดั ง นั้ น สื่ อ โป เ ปลื อ ยของเกย ไ ม อ าจเป น ภาพสะท อ น
วัฒนธรรมชายเปนใหญไดเหมือนกับสื่อโปเปลือยของผูชาย รวมทั้งไมสามารถนําวิธีคิด
และคําอธิบายแบบสตรีนิยมมาใชวิเคราะหไดเชนเดียวกัน

174
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Fejes (2002) กลาววากามารมณของเกยมิไดวางอยูบนโครงสรางอํานาจแบบ


เดียวกับรักตางเพศ โดยเฉพาะเรื่องการสรางความสัมพันธแบบคูตรงขามที่รองรับการ
สรางครอบครัวและการมีบุตรเพื่อสืบทายาท แตกามารมณและอัตลักษณทางเพศของ
เกยถูกสรางขึ้นนอกโครงสรางดังกลาว สิ่งสําคัญที่ทําใหเกยสรางตัวตนไดก็คือการมี
ความปรารถนาที่ไมหยุดนิ่ง กลาวคือ กามารมณของเกยวางอยูบนการตอบสนองความ
ปรารถนา ความรูสึกเสนหาตอเรือนรางเพศชาย ซึ่งดานหนึ่งอยูนอกกรอบจารีตทาง
สังคม แตอีกดานหนึ่งเกี่ยวโยงกับบรรทัดฐานทางเพศที่ถูกกํากับและควบคุมโดยสังคม
ซึ่งสังคมมองวา “เบี่ยงเบนทางเพศ” หรือ “ผิดปกติทางจิต” การที่เกยแสดงความ
ปรารถนาตอลักษณะความเปนชายจึงเปนทั้งการทาทายและตอกย้ําบรรทัดฐานแบบรัก
ตางเพศ นั่นคือการนําเอาเซ็กสระหวางผูชายมาสรางวัฒนธรรมและผลิตหมวดหมูของ
เพศวิถีที่ตางไปจากคูหญิงชาย ซึ่งการสรางสิ่งเหลานี้ก็คือการยอนกลับไปยืนยัน “การ
ดํารงอยู” ของบรรทัดฐานรักตางเพศนั่นเอง (Oswald et al., 2006; Theodore &
Basow, 2000)
ในประเด็นความเปนชายที่เปนเปาหมายแหงความปรารถนาของเกย มิใชภาพ
จําลองหรือเงาสะทอนความเปนชายในระบบรักตางเพศ หากแตเปนการทําให “ความ
เปนชาย” ไมหยุดนิ่งอยูกับที่และมีรูปแบบที่หลากหลาย การศึกษาความเปนชายใน
วัฒนธรรมเกยเทาที่ผานมามักจะอธิบายดวยกรอบความคิดแบบคูตรงขาม โดยมองวา
การแสดงความเปนชายของเกยคือการทาทาย เปนปฏิปกษ และตอตานบทบาทผูชาย
แบบรักตางเพศที่ตองแสดงความแข็งแกรง กลาหาญ และทรหดอดทน ทั้งนี้มีความเชื่อ
วาเกยคือผูที่แสดงบทบาททางเพศที่อยูนอกบรรทัดฐานและกฎระเบียบที่สังคมกําหนด
รวมทั้งยังเชื่อวาบทบาททางเพศของเกยมีความเปนหญิงเจือปนอยู ซึ่งทําใหเกิดการ
เหมารวมและตี ตราว า เกย จ ะมี พฤติ กรรมและอารมณแบบผูห ญิง (Bronski, 1998;
Carrigan et al., 1985) ความเชื่อเหลานี้มีผลตอการสรางคําอธิบายที่วาผูชายรักตาง
เพศจะมีอาการเกลียดกลัวเกย เพราะเกยทําลายลางบทบาทผูชายตามอุดมคติของ
สังคม (Herek, 1986)

175
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Levine (1979, 1998) และ Bronski (1998) กลาววาอัตลักษณใหมของเกย


เกิดขึ้นอยางชัดเจนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกอบดวย 2 ลักษณะ ซึ่งถือเปน
การปฏิวัติบทบาททางเพศแบบเกา นั่นคือ การไมยึดติดกับความเปนชายที่เขมแข็งแบบ
จารี ต แล ะการเส ริ ม ให ค วามเป น ช ายมี พ ลั งมา กกว า ปกติ (homoerotic
hypermasculinity) (Goltz, 2010; Hancock, 2015) การศึกษาของ Johnson and
Johnson (1988) และ Sanchez et al. (2010) ชี้วาเกยพยายามแสดงและธํารงรักษา
ความเปนชายในแบบเดียวกับบรรทัดฐานรักตางเพศ กลาวคือ ความเปนชายของเกยมี
ลักษณะไมตางจากผูชาย รวมทั้งในวัฒนธรรมเกย มีความนิยมความเปนชายมากกวา
ความเปนหญิง มีการแบงแยกคุณคาใหเกยที่มีลักษณะเปนชายอยูเหนือกวาเกยที่แสดง
ออกแบบผูหญิง ในแงนี้ วัฒนธรรมเกยก็ยังคงผลิตซ้ําความไมเทาเทียมระหวางความ
เปนหญิงและความเปนชาย ตัวอยางในการศึกษาของ Bergling (2001) และ Sanchez
et al. (2009) อธิบายใหเห็นวาการแสดงความเปนชายของเกยในสังคมอเมริกัน เนน
การทําใหรูปรางหนาตา กิริยาทาทาง และการแสดงอารมณของตัวเองดูสมเปนชาย
เพื่อที่จะใชสิ่งนี้สรางความรักและความสัมพันธทางกามารมณ กลาวคือ วัฒนธรรมเกย
ไดนําเอา “ความเปนชาย” มาเปนเครื่องมือที่จะสรางอัตลักษณและแสวงหาความสุข
ทางเพศเปนสําคัญ
เช น เดี ย วกั บ การศึ ก ษาของ Taywaditep (2001), Eguchi (2011) และ
Sanchez & Vilain (2012) พบวาในวัฒนธรรมเกยแบบตะวันตกมีการรังเกียจและไม
ชอบเกยที่แสดงพฤติกรรมคลายผูหญิง ทําใหเกยที่แสดงทาทางและอารมณเ หมื อน
ผูหญิงไมใชบุคคลที่นาปรารถนาทางเพศ ความรังเกียจนี้เกิดขึ้นบนโครงสรางที่แบงแยก
ความเปนหญิงและชายออกจากกัน และการเชิดชูความเปนชายใหเหนือและสูงกวา สิ่ง
นี้ไดนําไปสูการกดทับและการเหยียดหยามเกยที่ไมแสดงความเปนชาย ในสังคมเกยจึง
มีการแบงแยกกันเอง Donaldson (1993) กลาววาในสังคมเกย สิ่งที่ทําใหเกยหลงใหล
และนิยมชมชอบมิใชการแสดงอัตลักษณเกย หากแตเปนการแสดงความเปนชายที่มี
เสนหทางเพศ ฉะนั้น สิ่งที่หลอหลอมใหเกิดวัฒนธรรมแหงความปรารถนาทางเพศใน
สังคมเกย จึงมิใชอื่นใดนอกจากการธํารงรักษาและผลิตซ้ําความเปนชายตามบรรทัด

176
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

ฐาน Ravenhill and Visser (2017) อธิบายในทํานองเดียวกันวาเกยพยายามสร าง


ความเปนชายตามแบบจารีตนิยม เพื่อทําใหตนเองมีคาและใชเปนทุนในการสรางตัวตน
ซึ่งทําใหเกยชื่นชอบผูที่แสดงบทบาทฝายรุกมากกวาผูที่เปนฝายรับ Edwards (2005)
ตั้งขอสังเกตวาการอธิบายอัตลักษณของเกยในทํานองนี้จะอธิบายถึงการแสดงออกใน
ความเปนชายแบบนอยเกินไป หรือมากเกินไป ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเปนวิธีคิดแบบโลก
ตะวันตก
Bronski (1998) อธิบายวาการทําใหเรือนรางของเพศชายดูเยายวนทางเพศ
ในชวง 50 ปที่ผานมา เปนผลมาจากอิทธิพลของวัฒนธรรมเกย โดยชี้ใหเห็นวาแตเดิม
ภาพลักษณผูชายจะตองเงียบขรึมหนักแนน หาวหาญ อดทน คอยๆ เปลี่ยนไปสูการมี
อารมณออนไหวและเปดเผยความรูสึกมากขึ้น สิ่งสําคัญคือการเผยใหเห็นเรือนรางที่
เยายวนทางเพศมากขึ้น คือการทําใหรางเพศชายเปนรางที่ตองแสดงอารมณทางเพศ
ซึ่งจะถูกเชยชมในฐานะวัตถุที่ตอบสนองกามารมณ ซึ่งจะเปนสินคาสําคัญในวัฒนธรรม
บริโภค (Jung, 2011; Rohlinger, 2002) ในชวงกลางทศวรรษที่ 1950 รางกายของ
ผูชายจะกลายเปนพื้นที่การตอสูทางวัฒนธรรม นิตยสารเกี่ยวกับการบริหารรางกาย
กลายเปนนิตยสารที่เกี่ยวข องกับวัฒนธรรมเกย เพราะนําเสนอสรีระเพศชายอย าง
เปดเผย นิตยสารเกยในสหรัฐอเมริกาจึงเนนนําเสนอภาพนายแบบที่มีกลามใหญโต ซึ่ง
ทําใหความเปนเกยกับความเปนชายเขามาใกลชิดกันมากขึ้น อารมณทางเพศของเกย
กับเรือนรางของผูชายที่เยายวนมีความสัมพันธกันมากขึ้น รางกายที่บึกบึนแบบผูชาย
ผสมผสานกับความออนไหวของเกยมากขึ้น ทําใหเกิดการสรางความเปนชายแบบเกย
(homomasculinity) เช น ภาพวาดของ Tom of Finland ที่ นํ า เสนอภาพผู ช ายมี
กล า มใหญ ไว ห นวดเครา แต มี เ อวคอดเล็ ก เหมื อ นผู ห ญิ ง (Hooven, 1993; Lahti,
1998; Ramakers, 2000)
จากขอถกเถียงเรื่องความเปนชายและความปรารถนาทางเพศของเกยจาก
นั ก วิ ช าการหลายคนที่ ก ล า วมาข า งต น นํ า มาสู ค วามคิ ด ของ Fejes (2002) ที่ ว า
วัฒนธรรมเกยมิไดมีเอกภาพหรือมีเพียงหนึ่งเดียว ในสังคมตะวันตก สังคมเกยมีการ
แยกยอยออกเปนกลุมตางๆ ตามเงื่อนไขและสภาพแวดลอม รวมถึงการแสดงออกและ

177
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

การชื่นชอบความเปนชายของเกยแตละกลุมก็ตางกัน ไป ดังนั้น การทําความเข าใจ


วิธีการบริโภคความเปนชายในสื่อโปเปลือยของเกยก็จําเปนตองหลีกเลี่ยงการสราง
คําอธิบายแบบเหมารวมวาเกยทุกคนจะชื่นชอบความเปนชายแบบเดียวกัน เมื่อนํา
แนวคิดเรื่องดินแดนเพศในฝน (Sexual Utopias) ของ Williams (1989) และแนวคิด
เรื่องประสบการณทางกามารมณ (erotic experience) ของ Fejes (2002) มาเปน
แนวทางศึกษาเรื่องนี้ เราอาจมองวาสื่อโปเปลือยของเกยดํารงอยูในสังคมในฐานะเปน
“จินตนาการและความฝนทางเพศ” ที่ทําใหเกยแตละคนเขามาสัมผัสและมองดูภาพ
นายแบบซึ่งเปนบุคคลที่มีชีวิตอยูในโลกของความจริง
ในบทความนี้จะนํากรอบความคิดของ Williams (1989) และ Fejes (2002)
มาอธิบายใหเห็นวานิตยสารเชิงชายคือตัวอยางแรกของสื่อสิ่งพิมพในสังคมไทยที่สราง
จินตนาการและประสบการณทางเพศใหเกยภายใตสังคมที่ยังไมยอมรับพฤติกรรมชาย
รักชาย นิตยสารเชิงชายคือหลักฐานสําคัญที่ชี้ใหเห็นวาภาพนายแบบและความเปน
ชายไดชวยใหเกยไทยสามารถสัมผัสและจองมองวัตถุแหงความปรารถนาไดอยางเปน
รูปธรรม บทความนี้ตองการลบมายาคติของสังคมที่มองสื่อของเกยในเปน “สื่อลามก
อนาจาร” และชี้ชวนใหเกิดความเขาใจใหมวานิตยสารเชิงชายคือประสบการณทาง
กามารมณที่เปนเรื่องปกติของมนุษย ซึ่งเกยไทยไดใชเปนเครื่องมือในการเรียนรูตัวตน
และความรูสึกทางเพศ

นิตยสารเชิงชายกับการมีอยูของกลุมเกย
ในเดือนพฤศจิกายน ป พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) นิตยสารเชิงชายไดถือกําเนิด
ขึ้นในวงการสิ่งพิมพไทย โดยวางจําหนายในราคา 20 บาท กลุมเปาหมายคือผูหญิงและ
ผูชายที่ตองการรูเรื่องราวและเห็นเรือนรางของผูชาย ตองการแสดงอารมณปรารถนา
ทางเพศตอผูชาย ซึ่งจะมีการระบุไวอยางอยางชัดวา “เพื่อเนนถึงสรีระแหงความเปน
ชาย” มีนําเสนอดวยเรื่องราวประสบการณความรักและเซ็กส บทความเชิงสารคดีและ
ความรูเกี่ยวกับอาหาร กีฬา เทคโนโลยี กฎหมาย และการทองเที่ยว บทสัมภาษณ
บุคคล เรื่องสั้น เรื่องแปล คอลัมนหาคู ภาพแฟชั่น ภาพนายแบบและนางแบบ และ

178
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

ภาพนูดผูชาย ในหนาปกของนิตยสารเชิงชายฉบับแรกมีขอความเขียนวา “พลังแหง


ความเปนชายเปนไดทั้งหนามแหลมและกลีบดอกที่ออนไหว คุณเองก็อาจเปนเชนนั้น”
แตนิตยสารเชิงชายตีพิมพเพียง 2 ฉบับ และไดหยุดลงไปในเดือนธันวาคม ป พ.ศ.2525
บทบรรณาธิการของนิตยสารเชิงชายเลมแรก อธิบายวา
“เชิงชาย กับคํากลาวที่วาพลังแหงความเปนชายเปนไดทั้งหนามแหลมและ
กลีบดอกที่ออนไหวนั้น คงมิผิดไปจากความหมายนี้ และกับความรัก ความ
ตองการ และความเปนจริง คือความผูกพันที่แบงแยกไมไดจาก “เชิงชาย”
อารมณใฝหา จุดหมายของอารมณที่ไมแตกตางกัน จะมีก็แตเพียงการกระทํา
และความเป นจริงเท านั้น ความแข็งกราวและความอ อนไหว คือรูป แบบที่
แสดงออกใหรูในอารมณ สิ่งสนองตอบเปนความปรารถนาที่ แนน อน “เชิง
ชาย” เปนนิตยสารฉบับหนึ่งที่กลาสัมผัสกับอารมณความตองการเชนนี้ เรา
สรางงานนี้เพื่อใคร ใช.....นี่คือคําถาม และ...คําตอบของมัน คุณคงทราบโดย
แน ชัดเมื่ อคุ ณเป ดหน า สุ ดท า ยของ “เชิงชาย” “เชิงชาย” คือสิ่งที่ร องรับ
อารมณ ทุกหนากระดาษคืองานของเราเพื่อตัวคุณ เพียงหนาแรกของ “เชิง
ชาย” คงทําใหผูมีไฟปรารถนาเชนเดียวกับเราทราบถึงอารมณการทํางานของ
พวกเรา เรากําลังเสนอตัวออกมารองรับอารมณของคุณ เพื่อสังคมรับรูความ
รั ก ความต อ งการ และความเป น จริ ง ที่ มี อ ยู ใ นตั ว คุ ณ ...”(Cherngchai
Magazine, 1982)

จากขอความขางตนแสดงใหเห็นวานิตยสารเชิงชายตองการนําเสนออารมณ
ปรารถนาที่มีตอผูชาย โดยมุงหวังวาสังคมจะเปดกวางใหผูหญิงและผูชาย(ที่ชอบเพศ
เดียวกัน) แสดงความรูสึกและความตองการทางเพศของตัวเอง ผานการมองดูสรีระ
ทางกายของผูชาย การไดอานเรื่องสั้น อานนิยาย และอานประสบการณทางเพศที่บอก
เล า เกี่ ย วกั บ ความต องการทางเพศ ซึ่ งเป น การแสดงออกในพื้น ที่สว นตัว การอา น
เรื่องราวและดูภาพผูชายที่เซ็กซี่ในนิตยสารเชิงชาย จึงชวยสรางจินตนาการทางเพศ ทํา
ใหนิตยสารเชิงชายเปรียบเสมือนเปนสื่อทางเลือกที่เปดโอกาสใหผูหญิงและผูชายที่

179
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

ชอบเพศเดียวกันไดแสดงตัวตน ทามกลางสังคมที่ยังคงปดกั้นมิใหผูหญิงและเกยได
เปดเผยความปรารถนาทางเพศ ขณะเดียวกันก็เปรียบเสมือนเปนตําราเพศศึกษาฉบับ
ประชาชน ที่ นํ า เสนอเรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ สุ ข ภาพทางเพศและอั ต ลั ก ษณ ท างเพศที่
หลากหลาย อาจกลาวไดวานิตยสารเชิงชายคือสื่อสิ่งพิมพแรกที่พยายามตระหนักถึง
การมีอยูของกลุมคนที่เปน “เกย” แมวาเนื้อหาจะมีสวนผสมของการแสดงความรัก
และความปรารถนาแบบรักตางเพศ แตเปาหมายที่ชัดเจนก็ยังกลาวถึงผูชายที่รักเพศ
เดียวกันอยางเปดเผย เห็นไดจากการมีขอเสนอใหกลุมเกยที่ตองการดูภาพลับเฉพาะ
ของนายแบบสงบัตรไปขอรับภาพไดฟรี ดังขอความที่วา “จุ!... จุ! อยานอยใจ เมื่อถูก
เรียกวาเกย เราอาจเปนเพื่อนที่ดีของคุณ” (Cherngchai Magazine, 1982) ผูอานที่
เปนเกยจะตัดบัตรที่มีขอความในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสวา “ตัดบัตรนี้สงกลับ “เชิงชาย”
คุ ณจะได รั บ ภาพ “นายแบบลั บ เฉพาะ” จากเราทัน ที” ขอความทั้งสองนี้แสดงวา
นิตยสารเชิงชายกํ าลั งเชิญ ชวนให เ กย ไดป ลดปลอยความตองการทางเพศและคอย
ติดตามภาพลับเฉพาะของนายแบบ เพื่อที่นิตยสารเชิงชายจะไดมีกลุมผูอานที่เปนเกย
มากขึ้น
ในคอลัมนคุยของรยะ รติรส ซึ่งเปนการตอบจดหมายของผูอานที่สงความ
คิ ด เห็ น มาถึ งกองบรรณาธิ ก ารนิ ตยสารเชิ งชาย จะพบวามีกลุมเกยสงจดหมายมา
จํานวนหนึ่งเพื่อแสดงความรูสึกวานิตยสารเชิงชายคือสื่อที่เขาใจชีวิตของชาวเกย ดัง
ตัวอยางตอไปนี้
“ขอบคุ ณ คุ ณ ทั้ ง คณะที่ ไ ด แ นะนํ า นิ ต ยสาร “เชิ ง ชาย” ให ท ราบ สํ า หรั บ
คําแนะนําที่จะใหกับ “เชิงชาย” นั้น ผมมีความคิดเห็นวาสาระบันเทิงภายใน
เลมนั้นควรมีบทความและการตีขอความของเนื้อเรื่องโดยใชหลักจิตวิทยา เพื่อ
เขียนบรรยายถึงขอคิดและใหความเห็นใจ ความยุติธรรม แกพวก “ปญหา
สังคม” ที่ยังไมยอมรับในกลุมสังคมบานเมืองเรา ควรชี้แจงใหมนุษยที่อยูบน
โลกเดียวกันไดเขาใจถึงจุดของการเกิดปญหาตอกลุมสังคมเล็กๆ อยางพวกเรา
อย า มองคนพวกนี้ อ ย า งตั ว ประหลาดซึ่ ง มี อ วั ย วะอย า งคนทั่ ว ไปครบทุ ก
ประการ” (Cherngchai Magazine, 1982)

180
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

คําตอบของรยะ รติรส ตอจดหมายขางตน มีดังนี้


“ผมเขาใจถึงถึงความรูสึกของคุณไดดีครับ เพราะเหตุนี้ “เชิงชาย” จึงเกิด
ขึ้นมา ผมตองการใหมนุษยเราอยูรวมกันอยางมีความสุข ไมวาเปนใครมาจาก
ไหนก็ตาม ลวนมีเลือดเนื้อและวิญญาณอยางเดียวกัน ตองการได “ความรัก”
“ความเขาใจ” “ความเอาใจใส” และไดรับ “การยกยอง” เหมือนกัน “คน
เห็น คนเป น คนนั่น แหละคน” นี่ คือคติป ระจําใจของผมและทุกคนใน “เชิง
ชาย” ความทุกขของคุณคือความทุกขของผม “เชิงชาย” จะไมทําใหพวกคุณ
พบกับความผิดหวังอยางแนนอน ฉบับหนาเรามีเรื่องของพวกคุณที่เขมขนมาก
ยิ่งขึ้น ชวยบอกตอๆกันไปดวยนะครับ” (Cherngchai Magazine, 1982)

จากจดหมายขางตนสะทอนใหเห็นวากลุมเกยคือกลุมผูอานที่สําคัญสวนหนึ่ง
ของนิ ต ยสารเชิ งชาย ซึ่ งคาดหวั งว า นิ ตยสารเชิงชายจะเปน กระบอกเสีย งและเปน
ตัวแทนเพื่อสรางความเขาใจที่ดีแกสังคมเกี่ยวกับการดํารงชีวิตของเกย ซึ่งมักจะถูกดู
หมิ่นเหยียดหยาม และถูกตีตราเปน “ตัวประหลาด”
ในคอลั ม น ภ าษาอารมณ ด อกไม (Cherngchai Magazine, 1982) มี ก าร
อธิ บ ายความหมายของคํ า ศั พ ท ภ าษาอั ง กฤษและคํา แสลงที่บ งบอกอัตลั ก ษณ แ ละ
คุณลักษณะทางเพศที่แตกตางจากชายและหญิง ดังเชนตัวอยางคําอธิบายที่วา คําวา
“คิง” หมายถึงโฮโมเซ็กชวล (homosexual) ที่เปนผูชาย คําวา “ควีน” หมายถึงโฮโม
เซ็กชวลที่แตงตัวและมีทาทางเปนผูหญิง คําวา “ลูกไก” หมายถึงโฮโมเซ็กชวลหนุมๆ
คําวา “อาหารทะเล” หมายถึงโฮโมเซ็กชวลเกาเก็บไมมีใครสนใจ คําวา “คุณปา”
หมายถึ งโฮโมเซ็ กชวลที่ สูงอายุ คํ า ว า “แดร็กควีน ” (Drag Queen) หมายถึ งโฮโม
เซ็กชวลที่แตงตัวเปนหญิง (แสดงทาทางกิริยาเหมือนผูหญิง สวนมากจะใชเรียกเกยที่
เปนนักแสดงโชว หรือ นางโชวในบารเกย ) คําวา “ทริค” (Trick) หมายถึงคู น อน
ชั่วคราวของโฮโมเซ็กชวล คําวา “บุทช” (Butch) หมายถึงโฮโมเซ็กชวลที่มีรางกาย
ใหญโต มีกลามเนื้อเปนมัดๆ เปนตน การอธิบายคําศัพทและคําแสลงเหลานี้ไดนําคํา

181
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

นิยามอัตลักษณทางเพศในสังคมตะวันตกมาเผยแพรในสังคมไทย ซึ่งเปนการยืนยันวา
นิ ต ยสารเชิ ง ชายเป ด รั บ การมี อ ยู ข องกลุ ม เกย ที่ มี ก ารแสดงพฤติ ก รรมและความ
ปรารถนาทางเพศเปนของตัวเอง
เรื่องสั้นในนิตยสารเชิงชาย นําเรื่องราวชีวิตของชายรักชายมาตีแผ ตัวอยาง
เรื่อง “คนรักของอี๊ด” (Cherngchai Magazine, 1982) ที่บงบอกถึงชีวิตที่นาเศราและ
ความตายของอี๊ด อี๊ดคือตัวละครชายที่มีกิริยาทาทางคลายผูหญิงที่มีความรักกับชายคน
หนึ่งที่อายุนอยกวา อี๊ดเชื่อใจและไวใจใหชายคนรักนําเงินไปลงทุนสรางฟารมไก แต
เมื่อไดเงินไปแลว ผูชายคนนั้นก็หายไป เมื่อผานไปประมาณหาเดือน เขาก็กลับมาหา
อี๊ดและบอกวาเขามีปญหาในการทําฟารมไก จําเปนตองหาเงินเพิ่ม เขาจึงออนวอน
ขอรองใหอี๊ดเอาโฉนดที่ดินไปจํานองเพื่อจะนําเงินไปทําฟารมไก อี๊ดใจออนจึงยอมนํา
โฉนดที่ดินไปจํานองและใหเงินผูชายคนนั้น หลังจากนั้นเขาก็หายหนาไป อี๊ดพยายาม
ออกตามหาเขา จนในที่สุดก็พบวาเขาไดเสียกับผูหญิงคนหนึ่งจนตั้งครรภ ผูชายคนนั้น
สารภาพวาเขาไมไดรักอี๊ด และพยายามตบตีและขับไลอี๊ด หามไมใหอี๊ดไปยุงเกี่ยวกับ
เขาอีก ในที่สุดอี๊ดตัดสินใจกินยาฆาตัวตาย เรื่องสั้นนี้สะทอนใหเห็นชีวิตรักที่ไมสมหวัง
ของคนที่เปนเกย ซึ่งนิตยสารเชิงชายตองการสื่อใหกลุมเกยเขาใจวาความรักระหวาง
ชายกับชายเปนเรื่องนาเศรา
ในบทสัมภาษณพิเศษ หัวขอปรัชญาและความรักของด็อกเตอรหนุม ดร.เสรี
วงศมณฑา (Cherngchai Magazine, 1982) มีการนําเสนอประสบการณชีวิตรักและ
ความสัมพันธระหวางเสรี วงศมณฑากับผูชาย ซึ่งชีวิตของเสรีคือภาพสะทอนปญญาชน
คนชั้นกลางที่มีการศึกษา เปนที่รูจักของสังคม และกลาเปดเผยตัวเปนเกยที่ทาทาย
บรรทัดฐานทางสังคมในเวลานั้น เสรีกลาววา
“พี่มีความรูสึกว าอยากประกาศ (เปดเผยตัวเปนเกย ) เพราะแนใจวา เรามี
ความนารักพอ อยากจะเปลี่ยนภาพพจนของเกยที่วาเกยขี้หึง หิวรัก ขี้ขลาด นี่
เปนภาพพจนของเกยที่ทุกคนรูจักใชไหม ถาคนอยางเราไปซาสซะอีกคน ไอ
ภาพนั้นก็ยังคงชัดอยูอยางนั้น หากเราเดินออกมา มันทําใหภาพนั้นเลือน...ก็
อยางที่เคยพูดไววาการเปดเผยตัวออกมาเปนการเสียโอกาสของตัวเอง เพราะ

182
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

คนหลายคนที่เขาเปน แลวเขาไมบอก เขาสามารถขึ้นไปอยูในตําแหน งสู งๆ


อะไรมากมายก า ยกอง แล ว ดู เ ราซิ ไม มี ท างได เ ป น อะไร” (Cherngchai
Magazine, 1982)

อยางไรก็ตาม ตัวอยางความรักของเสรีเปนความรักระหวางผูชายที่เปนรักตาง
เพศกั บ เสรี ที่ เ ป น เกย ที่มี จิ ต ใจแบบผู ห ญิ ง ซึ่งเสรีใหสัมภาษณว าผูห ญิง เหมื อ นเพศ
เดียวกับตนเอง (Cherngchai Magazine, 1982) หมายถึงฝายหนึ่งนิยามตัวเองเปน
ผูชาย ใชชีวิตแบบผูชายและยังคงมีความตองการทางเพศกับผูหญิง ในขณะที่เสรีนิยาม
ตัวเองเปนเกย แตมีความรักความเสนหากับผูชายที่ไมไดเปนเกย ดังเชนคําบอกเลาที่
บทสัมภาษณที่วา
“...ไมมีใครกลับมาหรอก เพราะทุกคนแตงงานกันไปแลวทั้งนั้น สวนแฟนที่มี
อยูเปนแฟนปกติ ผูชายที่ปกติเขาก็ตองมีแฟน ที่จริงเรามีอารมณกับอูดเปน
รายแรก ที่เราไปจีบเขา ไปพูดกับเขา จนเขาสงสารเห็นใจ และยินดีทําอะไร
กับเราโดยที่จิตใจมิไดฝกใฝทางดานนี้โดยตรง เพราะเขามีแนวโนมจะชอบ
ผูหญิง...” (Cherngchai Magazine, 1982)

จากเรื่องราวที่ปรากฏอยูในคอลัมนตางๆ ของนิตยสารเชิงชายที่ยกตัวอยางมา
ขางตน ชี้ใหเห็นวานิตยสารเชิงชายพยายามนําเสนอประเด็นที่สอดคลองกับความสนใจ
ของผูอานที่เปนเกย ซึ่งเปรียบเสมือนการรับรูวาเกยคือกลุมเปาหมายสําคัญที่ตองการ
เสพสื่อเฉพาะทาง เพราะในชวงเวลานั้น (ทศวรรษ 2500-2520) สื่อสิ่งพิมพกระแส
หลักในทองตลาดจะเจาะกลุมเปาหมายที่เปนผูชายที่ตองการเสพเรื่องราวเซ็กสและ
ภาพนูดของผูหญิง เชน นิตยสารหนุมสาว นิตยสารแมน นิตยสารหนุม นิตยสารเฟยว
นิ ต ยสารระทึ ก ฯลฯ ซึ่ ง สื่ อ เหล า นี้ รู จั ก กั น ในนาม “หนั ง สื อ ปลุ ก ใจเสื อ ป า ” หรื อ
“หนังสือปกขาว” เมื่อนิตยสารเชิงชายนําเสนอเรื่องและภาพนูดผูชาย ก็เทากับเปนสื่อ
แนวใหมที่กลุมเกยและผูหญิงจะใชเปนที่ปลดปลอยความปรารถนาทางเพศ

183
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

การนําเสนอ “ความเปนชาย” ในนิตยสารเชิงชาย


นิตยสารเชิงชายเปรียบเสมือนเปนพื้นที่ทางสังคมแบบใหมที่มีการโนมนําและ
ชักชวนใหคนในสังคมโดยเฉพาะผูหญิงและกลุมเกยเขามาพูด แสดงความคิดเห็น และ
เรียนรูพฤติกรรม อารมณ บุคลิกลักษณะ และเรือนรางของผูชายผานเรื่องเลา เรื่องสั้น
บทความ และภาพถาย ซึ่งในชวงทศวรรษ 2520 สังคมไทยยังไมไดมองผูชายในฐานะ
“วัตถุทางเพศ” แตมองในฐานะผูนําทางความคิด มีบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม การนําเสนอเรื่องราวของผูชายจึงเนนเรื่องราวของการเปนผูนํา สิ่งพิมพ
สําหรับผูชายจึงนําเรื่องราวที่ผูชายสนใจมานําเสนอ โดยเฉพาะการนําภาพและเรื่องราว
ของผูหญิงมาดําเนินเรื่อง สื่อสิ่งพิมพกระแสหลักจึงเปนผลผลิตของบรรทัดฐานรักตาง
เพศที่เนนความสัมพันธคูตรงขามของหญิงและชาย ภาพและเรื่องราวของผูหญิงจะถูก
นําเสนอเพื่อตอบสนองความตองการของผูชาย แตนิตยสารเชิงชายไดทําในสิ่งตรงกัน
ข าม โดยนํ า เอาความเป น ชายมาทํ า ใหมีเ สนหทางเพศและกระตุน อารมณทางเพศ
เพื่อใหเกย (และผูหญิง) ไดปลดปลอยอารมณความปรารถนาและเสพความเปนชาย
ตามที่ตองการ ดังนั้น นิตยสารเชิงชายจึงนําเสนอ “ความเปนชาย” อยางเปดเผย

ภาพสรีระความเปนชาย
ภาพชายหนุมในนิตยสารเชิงชายประกอบดวย 3 รูปแบบ แบบที่หนึ่งคือภาพ
ชายหนุมที่แตงกายดวยเสื้อผาตามสมัยนิยม คลายกับการโฆษณายี่หอของเสื้อผา แบบ
ที่สองคือภาพชายหนุมที่ถอดเสื้อ เปลือยรางกายทอนบน และสวมกางเกงชั้นใน และ
แบบที่สามคือภาพชายหนุมไมสวมเสื้อผา แตจะไมเปดเผยใหเห็นอวัยวะเพศ หากผูอาน
ที่เปนเกยตองการเห็นภาพเปลือยของนายแบบจะตองสงบัตรไปขอรับภาพลับเฉพาะ
จากกองบรรณาธิการนิตยสารเชิงชายโดยตรง
ภาพชายหนุ มทั้ งสามลั กษณะ คื อสัญ ลักษณห รือภาพตัว แทนของผูช ายใน
ทศวรรษ 2520 ซึ่งเปนทศวรรษหลังเหตุการณความรุนแรงทางการเมืองและการเติบโต
ของสํานึกประชาธิปไตยและการเรียกรองสิทธิพลเมือง เปนชวงเวลาที่หนุมสาวกําลังมี
บทบาทในสังคม มีความกลาที่จะแสดงความคิดเห็นตอปญหาตางๆ ที่พวกเขารูสึกวาไม

184
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

เปนธรรม หรือเปนการเอาเปรียบประชาชน ทศวรรษนี้เปนชวงที่วัฒนธรรมอเมริกัน


และญี่ปุนเขามามีบทบาทตอการดําเนินชีวิตของคนหนุมสาว ซึ่งวงวิชาการไทยยังคง
ขาดการศึ ก ษาและการทํ า ความเข า ใจบริ บ ทสัง คมในชว งเวลานี้ เทาที่ผานมาการ
วิเคราะหอิสรเสรีภาพของคนรุนใหมจึงมองขามมิติทางดานอารมณความรูสึกและการ
แสดงออกทางเพศ ผู เ ขี ย นจึ ง พยายามทํ า ความเข า ใจว า นิ ตยสารแนวอี โ รติ ก เช น
นิตยสารเชิงชายคือบันทึกของประวัติศาสตรวัฒนธรรมเกี่ยวกับการแสดงตัวตนทางเพศ
ที่ ท า ทายขนบธรรมเนี ย มและจารี ต ประเพณี ซึ่ ง อาจเป น หลั ก ฐานที่ ทํ า ให เ ห็ น การ
คลี่คลายของการสรางเสนหทางเพศใหกับเรือนรางผูชาย อยางไรก็ตาม ผูเขียนเชื่อวา
นิตยสารเชิงชายไมเคยถูกนํามาศึกษา และมักจะถูกมองขามไปจากวงวิชาการไทย การ
ชี้ที่ผูเขียนหยิบนิตยสารนี้มาเปนประเด็นศึกษาก็เพื่อตั้งขอสังเกตเพื่อทําความเขาใจ
ความสัมพันธระหวางชีวิตของหนุมสาว ซึ่งรวมถึงกลุมเกยที่กําลังแสวงหาอิสระทางเพศ
และอาจเลือกนิตยสารเชิงชายเปนเครื่องมือที่จะไดปลดปลอยจินตนาการทางเพศที่
สังคมปดกั้นไว

ความเปนชายในฐานะคูตรงขามกับความเปนหญิง
นิ ต ยสารเชิ งชายได นํ า เสนอเรื่ องราวเกี่ย วกับ ความสัม พัน ธแ บบคูต รงข า ม
ระหวางชายและหญิง ตัวอยางเชนในคอลัมนเชิงชายนัดพบ มีการสัมภาษณนักแสดง
หญิงชื่อกาญจนา นิ่มนวล ซึ่งมีชื่อเสียงในชวงป พ.ศ.2525 กาญจนาแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับผูชายไทยในประเด็นตางๆ ไดแก

ประเด็นความเห็นแกตัว
“...ผูชายบางคนออกจะหลงตัวเองมากเกินไป ไมมีความจริงใจ ในบั้นปลายจะ
ไมมีอะไรเลย เพราะเขาเลือกมากไป บางคนก็ผลาญเงินพอแม เกลียดมากเลย
ผูชายแบบนี้ เห็นแกตัวคบไมได ยิ่งเห็นผูหญิงอุมทองขึ้นรถเมลมาแลวไมลุกให

185
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

นั่ง ก็เหลือเกินแลว ผูชายไทยสมัยนี้เห็นแกตัวมาก เพราะเขาคิดถึงความสุข


ของตัวเองมากกวาคนอื่น เขาคงคิดวา ที่เห็นแกตัวนี้เนื่องจากเศรษฐกิจรัดตัว
เขามา จึงตองรักตัวเองเขาไวกอน” (Cherngchai Magazine, 1982)

ประเด็นการมีภรรยาหลายคน
“...คุณสมบัติของชายไทยอีกอยางคือรายมาก เราตองตามเขาใหทัน ผูชายที่มี
เมียมากนะ โอย มีมานานแลว เราตองยอมรับขอนี้ สมัยนี้ไมมีใครมีภรรยาคน
เดียว มีนะมีไดแตตองเจียมบอดี้วาฐานะของเขาดีพอที่จะไมทําใหครอบครัว
ตองเดือดรอนหรือเปลา ถาฐานะดี โอเค มีไปเลย ตองตองเฉลี่ยความยุติธรรม
ใหเทาๆ กันดวย ถึงอยางไรผูชายก็คือผูชาย เมียตองตามหลัง นอยคนที่จะ
ยอมใหเมียขึ้นเสียง” (Cherngchai Magazine, 1982)

ประเด็นฐานะทางเศรษฐกิจ
“...ผูชายสมัยนี้อายุแค 33-34 เขากลา กลาลงทุน กลาเสี่ยง เจงก็เจงไปเลย
ขวนขวายจนมีบานหลังใหญ มีที่ดิน” (Cherngchai Magazine, 1982)

ประเด็นการเลือกคู
“...ชอบผูชายที่ทําแตงาน งาน และงาน ชอบคนที่ทําอะไรก็แลวแตที่เรื่องงาน
จะตองมากอน ความรักมาทีหลัง นิสัยพอใชได ถาเขาผิดนัดเพราะมัวไปยุงแต
งาน จะไมตอวาเขาเลย ถาจะรักใครสักคนหนึ่ง จะเลือกนักธุรกิจ ขาราชการ
ไมชอบ เพราะขาราชการ เขาก็ทําไปแคนั้น แตนักธุรกิจ เขาจะไมอยูเฉย ตอง
วิ่งเตน” (Cherngchai Magazine, 1982)
จากความคิ ดของกาญจนาที่ กล า วมาขางตน จะเห็น วาความเปน ชายจะมา
พรอมกับความคาดหวังทางสังคม ที่ผูชายจะตองแสดงบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบ
ในครอบครัวและหนาที่การงาน ในสังคมไทยชวงทศวรรษ 2520 เปนชวงที่คนหนุมสาว
กําลังแสวงหาความสําเร็จทางเศรษฐกิจที่มีการแขงขันในตลาดแรงงานอยางเขมขน ทํา

186
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

ใหผูชายถูกคาดหวังวาจะตองเปนที่พึ่ง เปนผูนํา กลาหาญ มีรายไดที่มั่นคง และประสบ


ความสําเร็จในอาชีพ ซึ่งเปนอุดมคติสําคัญในระบบทุนนิยม นอกจากนั้น ยังสะทอนให
เห็นการเปลี่ยนความคิดตอความเปนชาย ซึ่งเดิมจะใหความสําคัญกับผูชายในระบบ
ราชการที่มีการจัดลําดับชวงชั้นตามระบบอาวุโส เปลี่ยนไปสูการเปนผูชายในภาคธุรกิจ
ที่ตองมีความรับผิดชอบในหนาที่ และตองแสดงความรูความสามารถในงานเพื่อพิสูจน
และสร างความสํ า เร็ จ ให ตัว เอง ความเป น ชายแบบใหมนี้ถูกสรางขึ้น พรอมกับ การ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแบบปจเจกนิยมที่ผูชายตองเขามาทํางานในเมือง มีความเปนอิสระ
จากครอบครั ว สามารถแสวงหาสิ่ ง ที่ ต นเองต อ งการได ด ว ยตั ว เอง ความเป น ชาย
ลักษณะนี้จะกลายเปนเปาหมายของการสรางอัตลักษณและการเปนวัตถุทางเพศที่ถูก
นําเสนอใหนาหลงใหลโดยสื่อชนิดตางๆ
ในบทความเรื่อง “ลองพิจารณาตัวคุณซิ” อธิบายใหเห็นความสัมพันธระหวาง
หญิงชาย ซึ่งถูกแยกใหเปนคูตรงขาม โดยฝายชายจะตองพิจารณาตัวเองวามีคุณสมบัติ
และแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับผูหญิงหรือไม ตัวอยางเชน
“คุณเปนคนสุภาพ มีมารยาท กับคนอื่นๆ บางไหม คุณเคยใชคําวาขอบคุณ
ขอบใจ ขอโทษ หรือยกมือไหวเคารพผูใหญบางไหม คุณเคยพูดนินทาหรือ
วิจารณผูหญิงแลวเปรียบเทียบไปในทางเสียหายหรือไม คุณเคยใชอารมณ
โกรธหรือความไมพอใจในคนรัก และคนอื่นๆ หรือเปลา คุณเคยชวยถือสิ่งของ
ตางๆ ใหกับคนรักของคุณหรือไม คุณเคยซื้อของขวัญใหกับคนรักของคุณหรือ
คนสนิทของคุณ เนื่องในโอกาสพิเศษ เชน วันขึ้นปใหม วันเกิด ฯลฯ หรือไม
เวลาเดินเลนหรือเดินซื้ อของ คุณเดินไปกอนคนรักของคุ ณหรื อไม คุณเคย
ตําหนิคนรักของคุณในใจบางไหม คุณเคยคิดจะบอกคนรักของคุณวาคุณชอบ
หรือไมชอบอะไรบางไหม คุณใหเกียรติคนรักของคุณเพียงใด คุณเคยใชคําพูด
ที่ ทํ า ให ค นรั ก ของคุ ณ น อ ยใจหรื อ ไม . .. คุ ณ ได พิ จ ารณาตั ว คุ ณ แล ว ใช ไ หม
คุณสมบัติเหลานี้ ถาสิ่งไหนที่ขาดตกบกพรองไป หรือเปนสิ่งที่คุณคิดไมถึง ก็
ตองแกไขปรับปรุงตัวใหดีขึ้น ถาคุณมีอยูแลวหรือปฏิบัติเปนประจํา ขอใหคุณ
จงรักษามันไวเหมือนสมบัติอันมีคาตอไป โลกของความรักจะเปนของคุณ และ

187
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

คนที่คุณรักจะประทับใจไปอีกนานแสนนาน เพราะคุณมีคุณสมบัติประจําตัว
ซึ่งนอกเหนือจากทรัพยสินเงินทองของมีคา และคุณจะไมพบกับความผิดหวัง
เปนแน” (Cherngchai Magazine, 1982)

จากคําอธิบายขางตน ชี้ใหเห็นวาผูชายจะตองฝกฝนตนเองใหมีพฤติกรรมที่
เหมาะสมเปนไปตามความคาดหวังของคนรัก นั่นคือตองรูจักดูแลเอาใจใสคนรัก มี
ความละเอียดออนทางอารมณ เพื่อทําใหความสัมพันธดําเนินไปอยางราบรื่น การ
ปรับปรุงและพัฒนาคุณสมบัติดังกลาว ทําใหความเปนชายมิใชความแข็งกราวดุดัน แต
ตองเปนความสุภาพออนโยน คุณสมบัตินี้เปนความคาดหวังในสังคมทุนนิยม ที่ตองการ
ทําใหผูชายมิใชเปนเพียงแรงงานที่สรางรายไดและมั่นคงทางเศรษฐกิจ แตยังตองสราง
ความสมบูรณและความสุขในครอบครัวดวย

ความเปนชาย สรีระ และกามารมณ


นิ ต ยสารเชิ งชายนํ า เสนอเรื่ อ งราวที่ผูช ายจะต องหัน มาสนใจและใส ใ จกั บ
กิจกรรมและพฤติกรรมทางเพศของตัวเองมากขึ้น เห็นไดจากบทความเรื่อง “ทดสอบ
สมรรถภาพทางเพศดวยตัวเอง” เปนการอธิบายใหผูชายเขาใจวาอะไรคือความสามารถ
ทางเพศ ความสมบู ร ณ ของร า งกายจะส งผลตอการทํากิจ กรรมทางเพศของตนเอง
อยางไร การถึงจุดสุดยอดของผูชายจะกลายเปนดัชนีชี้วัดสมรรถภาพและความสําเร็จ
ในเรื่องเซ็กสและกามารมณของผูชาย เรือนรางและสรีระของเพศชายจะมีความสําคัญ
มากขึ้น สิ่งเหลานี้คือการใหคุณคาแกความเปนชายในเชิงวัตถุ และเปนเปาหมายหลัก
ของการสรางความเปนชายภายใตอุดมการณความสุขทางเพศ
ตัวอยางคําแนะนําเกี่ยวกับการสรางสมรรถภาพทางเพศ ดังขอความตอไปนี้

“ผูชายที่มีสมรรถภาพทางเพศปกติจะไมรักผูหญิงในเวลาเดียวกันหลายคน ไม
เปลี่ยนคูควงบอย และไมชอบการแลกเปลี่ยนคูนอนกับผูชายอื่น มองโลกในแง
ดี ไมเห็นเรื่องเพศเปนเรื่องนารังเกียจ และใหคุณคาของกามารมณในทางสาย

188
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

กลาง คือไมมากหรือนอยเกินไป กับตองมีความเชื่อมั่นในตนเองดีพอสมควร


ดวย” (Cherngchai Magazine, 1982)

“การหยอนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากการแปรปรวนของจิตใจ เชน เหนื่อย


อ อนเพลี ย ตกใจกลั ว ความรู สึ กว าตนเองผิดหรืออาย บอกบอกว าอาการ
เหลานี้จะชวยใหตรงจุดยุทธศาสตรของคุณไมขยายเทาที่ควร จึงไมสามารถฝก
ภาคปฏิบัติกับคนรักของคุณได การเจ็บปวยแบบสามวันดีสี่วันไข หรือเปนโรค
ประสาท หรือมีความพิการของเสนประสาทที่ควบคุมความรูสึกทางกายอยู ก็
อาจทํ า ให เ กิ ด กามตายด า นได เ ช น กั น การขาดจิ น ตนาการทางเพศ และ
ลมเหลวในการปฏิบัติกิจทางเพศบอยๆ เปนสัญญาณแสดงวาสมรรถภาพทาง
เพศของคุณเริ่มออนแอลงแลว สัญญาณอันตรายอีกอยางหนึ่งคือ ชอบชวย
ตัวเองอยูเปนประจํา ความจริงการชวยตัวเองเปนเรื่องธรรมดาในทางเพศถา
เปนครั้งคราว การปฏิบัติอยูบอย ๆ ทําใหสมรรถภาพในการงานเสื่อมถอย
บางคนใชแทนการรว มทางเพศไปเลยก็ มี แสดงถึงจิตใจอ อนแอ ไมมีความ
ยับยั้งชั่งใจ” (Cherngchai Magazine, 1982)

ในบทความเรื่อง “ธรรมชาติทางเพศของผูชาย” กลาววา


“...ธรรมชาติของผูชายในทุกเรื่อง ไมเฉพาะแตเรื่องเพศที่เขาจะตองมี ความ
เปนหนึ่งอยูเสมอ แตเรื่องเพศจะตองนําหนามากอนเรื่องใด ถาจะพิสูจนความ
เปนชายชาตรีกันละก็ อยูตรงที่ใครจะพบกับความสําเร็จในสัมพันธภาพทาง
เพศมากกวากันตางหาก อยางไรก็ถอนความรูสึกเชนนี้ออกไปจากความคิด
ของผูชายคนไหนไมไดงายนักหรอก เนื่องจากธรรมชาติของเขาเปนเชนนั้น
ผูหญิงจะตองเขาใจธรรมชาติขอนี้ของผูชายใหดีเสียกอน ความจริงอีกอยาง
หนึ่งเกี่ยวกับผูชายในเรื่องเพศ ก็คือ เขาจะมีความตองการทางเพศมากกวา
ผูหญิง ผูชายที่ควบคุมความตองการทางเพศของเขาไวได หมอบอกวาพวกนี้

189
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

จะผอนคลายความตองการทางเพศดวยการพูดคุยในแงขบขันในเรื่องเพศกับ
เพื่อนฝูงเปนทางออก” (Cherngchai Magazine, 1982)

ในบทความเรื่อง “เสริมพลังเซ็กสดวยคุณคาอาหาร” อธิบายวา


“วัยหนุมถือวาเปน วัย ที่มีประสิทธิภ าพมากที่สุด ในชีวิต เพราะอุดมไปดว ย
พละกําลัง สติปญญา ความนึกคิดที่สรางสรรและเซ็กส แตสิ่งตาง ๆ เหลานี้
จะเกิดขึ้นไดอยางสมบูรณที่สุด ดีที่สุดนั้น จะตองอาศัยอาหาร ตอไปนี้เปน
ปริมาณอาหารที่รางกายวัยหนุมตองการในแตละวัน เนื้อสัตว 200 กรัม นม
3-5 ถวยแกว ไข 1 ฟอง ผักใบเขียวและผักอื่นๆ 1-2 ถวยตวง ผลไมมื้อละ
ครึ่ ง -1 ผล ข า วสุ ก 5-6 ถ ว ยตวง ไขมั น หรื อ น้ํ า มั น 2ครึ่ ง -3 ช อ นโต ะ
นอกจากนั้นตองกินอาหารทะเลและเครื่องในสัตว อยางนอยอาทิตยละ 1-2
ครั้ง” (Cherngchai Magazine, 1982)

จากคําอธิบายขางตน จะเห็นการนําความรูทางการแพทย สุขภาพอนามัย


โภชนาการ และจิตวิทยาเขามาประกอบเพื่อชี้วาสมรรถภาพทางเพศของผูชายเปนเรื่อง
ทางรางกาย เชน ความผิดปกติของระบบประสาท และการรับประทานอาหาร ดังนั้น
การสรางความสมบูรณแข็งแรงของรางกายจะมีความสําคัญและชวยใหมีความสุขทาง
เพศ ประกอบกับการสรางความพอดีใหกับการทํากิจกรรมทางเพศ เชน มีคูรักคนเดียว
ไมเปลี่ยนคูนอน ไมสําเร็จความใครมากเกินไป จะชวยทําใหผูชายมีความแข็งแรงทาง
เพศ คําอธิบายลักษณะนี้คือการทําให “ความเปนชาย” เปนเรื่องทางวัตถุและเปนสิ่งที่
ธรรมชาติ ส ร า งไว แ ล ว เปลี่ ย นไม ไ ด เป น การเน น ย้ํ า ว า สรี ร ะทางเพศของผู ช ายมี
ความสําคัญมากที่สุด ความตองการทางเพศของผูชายจึงเปนสิ่งที่ปดกั้นมิได แตผูชาย
ต องรู จั กควบคุ มและใช ให ถูกกาลเทศะ การทําใหความเปน ชายเทากับ หรือเปนสิ่ง
เดียวกับความใครและกามารมณ คือการทํางานของอํานาจความรูวิทยาศาสตร และ
กระบวนทัศนแบบเหตุผลที่สรางระเบียบกฎเกณฑของความเปนชายที่พิสูจนไดในเชิง
ประจั ก ษ รวมทั้ ง หลั ก คํ า สอนทางพุ ท ธศาสนาเรื่ อ งทางสายกลาง ทํ า ให ผู ช ายใน

190
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

สังคมไทยบางกลุมควบคุมความตองการทางเพศของตนเองใหอยูในความพอดี ไมแสดง
ความตองการมากเกินไปหรือนอยเกินไป ซึ่งผูเขียนเชื่อวาการควบคุมตนดังกลาวนี้
อาจจะพบได ในกลุ มผู ช ายชนชั้ น กลางที่ มีก ารศึ กษา และอาจจะมีคานิย มทางเพศ
แตกตางจากผูชายชนชั้นอื่น

ความเปนชายกับความหลอ
ในคอลั มน เ ชิ งชายชวนคุ ย มี การสั มภาษณชว งทําผม ชื่อคุณฐิตาพร วิจิตร
ทฤษฎี ซึ่งเรียนวิชาทําผมมาจากประเทศอังกฤษ ไดแสดงความคิดเกี่ยวกับการดูแล
ตัวเองของผูชาย ดังคํากลาวตอไปนี้
“ผูชายสมัยนี้ควรจะพิถีพิถันในเรื่องการแตงตัวใหมากขึ้น อยาปลอยใหตัวเอง
แลดูเชย”
คํากลาวขางนี้ ทําใหเห็นทัศนะคติเกี่ยวกับการดูแลรูปรางหนาตาของผูชาย
โดยสังคมคาดหวังวาผูชายที่ดูแลตัวเองจะเปนผูที่ไดรับการยอมรับ หมายถึง ผูชายไม
ควรปลอยใหตัวเองดูโทรม หรือไมนามอง การแสดงออกในความเปนชายจึงตองรูจัก
การแตงตัว เลือกใสเสื้อผาและทําผมใหเปนระเบียบเรียบรอย ภายใตบริบทสังคมไทย
สมัยใหมในชวงทศวรรษ 2520 กระแสวัฒนธรรมอเมริกันและแฟชั่นตะวันตกมีผลทํา
ใหการดูแลรูปรางหนาตาของผูชายเปนเรื่องจําเปน ซึ่งในการศึกษาภาพลักษณผูชายใน
นิตยสาร GQ ของสหรัฐอเมริกา ในป 1985-2000 โดย Mason (2003) พบวาผูชายจะ
ถูกนําเสนอใหมีภาพลักษณที่หลอเท สะอาดและสงางาม ซึ่งภาพลักษณดังกลาวนี้สอด
รับกับบทบาทของผูชายในแวดวงธุรกิจที่มีความพิถีพิถันในการแตงตัวเพื่อการออกงาน
สังคม

ขอพิจารณาเรื่อง “ความเปนชาย” ในนิตยสารเชิงชาย


จากตัวอยางที่กลาวมาขางตน จะพบวานิตยสารเชิงชายไดบุกเบิกการนําผูชาย
มาถายแบบเปลือยแตไมโป ภายใตคําโฆษณาวา “นิตยสารรายเดือนเพื่อเนนถึงสรีระ

191
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

แห งความเป น ชาย” รู ป ภาพ เนื้ อหา เรื่ องราว บทสัมภาษณ เรื่องสั้น บทความใน
คอลัมนตางๆ ของนิตยสารเชิงชาย สะทอนใหเห็นอยางชัดเจนวาผูจัดทํานิตยสารไดนํา
ความรูเกี่ยวกับเพศภาวะหญิงชายแบบตะวันตกมาเผยแพร ทําใหเกิดการผลิตซ้ําภาพ
ความเปนชายแบบรักตางเพศที่จะตองแสดงอารมณความรูสึกที่ตรงขามกับผูหญิง ดัง
ประโยคที่วา “พลังแหงความเปนชายเปนไดทั้งหนามแหลมและกลีบดอกที่ออนไหว”
แสดงใหเห็นลักษณะคูตรงขามระหวางความรุนแรง (หนามแหลม) กับความนุมนวล
(กลีบดอกที่ออนไหว) เมื่อมีการนําเสนอความเปนชายในลักษณะนี้ก็หมายถึงการทําให
สรีระความเปนชายคือเปาหมายของการครอบครอง และการไดพบความสุขทางเพศ
ดั งประโยคที่ ว า “เพื่อเน น ถึ งสรี ร ะแห ง ความเป น ชาย” ในหลายคอลั ม น มีการให
ความสําคัญกับการดูแลสรีระของเพศชาย และการทําใหผูอานตระหนักถึงการสร าง
ความสุขทางเพศและกามารมณ
ในการนําเสนอภาพเปลือยของนายแบบ คือหลักฐานที่บงชี้วาสรีระของเพศ
ชายในกรอบความคิดแบบรักตางเพศมีอิทธิพลตอการสรางจินตนาการทางเพศของ
กลุมเกย ดังคําอธิบายที่วา “จุ!... จุ! อยานอยใจ เมื่อถูกเรียกวาเกย เราอาจเปนเพื่อนที่
ดีของคุณ ตัดบัตรนี้สงกลับ “เชิงชาย” คุณจะไดรับภาพ “นายแบบลับเฉพาะ” จากเรา
ทั น ที ” ข อ ความนี้ ส ะท อ นความคิ ด สํ า คั ญ ในสั ง คมเกย ต ามการวิ เ คราะห ข อง
Donaldson (1993) วาสิ่งที่ทําใหเกยหลงใหลและนิยมชมชอบมิใชการแสดงอัตลักษณ
เกย หากแตเปนการแสดงความเปนชายที่มีเสนหทางเพศ หากยอนไปดูภาพนายแบบ
ในนิตยสารเชิงชาย จะพบวานายแบบที่ถูกนํามาแสดงจะเปนผูชายผิวขาว ซึ่งสะทอน
ใหเห็นคานิยมทางสังคมที่เชื่อวาผูชายผิวขาวมีเสนหทางเพศมากกวาผูชายผิวดํา เกย
ไทยจะใหความสําคัญตอรูปรางหนาตาและสีผิว มากกวาการนิยมเรือนรางที่มีมัดกลาม
ใหญโต ซึ่งเปนขอแตกตางที่สําคัญที่ทําใหเกยไทยตางไปจากเกยตะวันตกและเกยใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Hooven, 2002; Johnson, 2010; Khoo & Karan, 2007)
ผูชายผิวขาวที่มีหนาตาเหมือนคนจีน มีรูปรางสมสวน ไมมีกลามใหญเกินไป จะเปนที่
นิยมของเกยไทย

192
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

ประเด็นนี้ทําใหเขาใจไดวาการเสพความเปนชายในสังคมเกยไทยมาพรอมกับ
การใหคุณคาตอสีผิวเชื้อชาติ ซึ่งหมายถึง การบงบอกชวงชั้นของการเสพความเปนชาย
โดยผูชายผิวขาวจะมีเสนหทางเพศสําหรับเกย ดังนั้น การนิยมผิวขาวจึงถูกสถปนาขึ้น
ในวัฒนธรรมเกยไทยผานการเสพภาพเปลือยของนายแบบ นิตยสารเชิงชายที่นําเสนอ
ภาพนายแบบผิ ว ขาว ซึ่ ง มี รู ป ลั ก ษณ ที่ บ ง บอกเชื้ อ ชาติ แ บบชาวจี น จะกลายเป น
จุดเริ่มตนของการยกยองเชิดชูผิวขาว ผูชายที่มีเชื้อสายจีน หรือเปนลูกครึ่งจีน จึงไดรับ
ความนิยมในชุมชนเกยไทยเปนอยางมาก (Duangwises, 2003)

นิ ต ยสารเชิ ง ชายในฐานะเป น “ดิ น แดนเพศในฝ น ” และ “ประสบการณ ท าง


กามารมณ”
จากแนวคิดเรื่อง “ดินแดนเพศในฝน” ของ Williams (1989) และแนวคิ ด
“ประสบการณทางกามารมณ” ของ Fejes (2002) ผูเขียนจะนํามาใชเปนกรอบในการ
วิเคราะหเพื่อชี้ใหเห็นวาเรื่องราวของความเปนชายและภาพของนายแบบที่ปรากฏใน
นิ ต ยสารเชิ ง ชายคื อ พรมแดนแห ง ประสบการณ ที่ ช ว ยต อ เติ ม ความฝ น และความ
ปรารถนาทางเพศของเกย ซึ่งอาศัยภาพลักษณและบุคลิกลักษณะของผูชายรักตางเพศ
มาเปนเครื่องมือ ภาพลักษณดังกลาวมาพรอมกับความทันสมัยที่ผูชายตองมีความคิด มี
อิสระ มีความมุงมั่น เปนตัวของตัวเอง และมีมารยาทในการเขาสังคม ในขณะเดียวกัน
ก็ยังมีเสนหทางเพศ รูจักดูแลรักษารูปรางหนาตาและสุขภาพ พิถีพิถันในการแตงตัว
และรูจักเลือกรับประทานอาหารเพื่อทําใหตนเองมีความสมบูรณทั้งรางกายและจิตใจ
และมีสมรรถภาพทางเพศ ภาพลักษณดังกลาวนี้วางอยูบนฐานคิดที่วาธรรมชาติผูชาย
คือการมีพลังและความตองการทางเพศ
นิตยสารเชิงชายนําเสนอภาพลักษณผูชายที่เปนผูที่ตองอยูในความสมดุล เพื่อ
เปาหมายของการสรางความรักและเซ็กสที่สมบูรณ ภาพลักษณนี้คือตัวแทนของผูชาย
รุนใหมที่มีการศึ กษาและอาศัย อยู ในเมือง ซึ่งเปนชนชั้นกลางที่กําลังแสวงหาความ
เจริญกาวหนาทางการงานและชีวิตทางเพศ ซึ่งไมแตกตางจากเกยที่แสดงบทบาทเปน
ชายตามที่สังคมคาดหวัง เพียงแตเขาไมสามารถเปดเผยตัวตนและความปรารถนาทาง

193
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

เพศตอสังคมได เกยที่มีลักษณะเชนนี้จึงถูกสังคมเหมารวมวาเปน “ผูชาย” สิ่งที่เกิดขึ้น


ก็คือ ผูชายที่มีความสนใจเพศเดียวกันจะไมสามารถพูดและแสดงความรูสึกของตัวเอง
ออกมาได ถึงแมวาเขาจะรูสึกชอบและมีความรักกับผูชายคนอื่น เขาก็จะตองปกปด
ความรูสึกของตนเอาไว วิธีการที่จะเติมเต็มความรูสึกนี้ไดก็คือการเขาไปอานและดูภาพ
ผูชายในนิตยสารเชิงชาย ซึ่งเปรียบเสมือนดินแดนเพศในฝนที่เขาไมสามารถหาเจอใน
โลกความจริง
เมื่อเกยไดมีโอกาสอานเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธทางเพศในเรื่อง
สั้ น และบทสั มภาษณ ของเกย ที่เ ป ดเผยตั ว ตอสังคม พรอมกับ ไดสั่งซื้อภาพลับ ของ
นายแบบที่เห็นรูปรางอยางเปดเผยซึ่งเกยจะนําไปใชสรางจินตนาการเพื่อสําเร็จความ
ใครและปลดปลอยความปรารถนาทางเพศที่เขาไมสามารถทําเชนนี้ไดกับผูชายที่มีชีวิต
ในโลกความจริง สิ่งเหลานี้คือประสบการณทางกามารมณที่ทําใหเกยตระหนักรูวา
ตนเองเปนใคร ทามกลางสังคมที่ยังไมยอมรับความสัมพันธระหวางชายกับชาย การ
เป ด โอกาสให เ กย ได เ รี ย นรู กามารมณ ของตนเองเปน สิ่งสําคัญ มาก อาจกลาวไดวา
นิตยสารเชิงชายคือ “ตําราเรียน” แบบที่ไมเปนทางการที่สงเสริมและชวยเหลือใหเกย
ไดรูจักความรัก ความปรารถนาและความสัมพันธทางเพศที่ผูชายจะมอบใหแกกัน
การใชภาพนายแบบเปนเครื่องมือในการปลดปลอยความปรารถนาทางเพศใน
พื้นที่สวนตัวและกระทําแบบลับๆ คือรูปแบบของกามารมณอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏ
ขึ้นมาในสังคมไทยในชวงทศวรรษ 2520 ผูเขียนขอเรี ย กกามารมณ ในรูป แบบนี้ ว า
“ความใครที่ซอนเรน” ซึ่งเกยจะไมแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ แตจะกระทําในพื้นที่
ส ว นตั ว กามารมณ ข องเกย (Homoeroticism) ไม เ คยถู ก รั บ รู แ ละถู ก ปฏิ เ สธจาก
สังคมไทย การปรากฎขึ้นของนิตยสารเชิงชายจึงเทากับเปนการจารึกและบันทึกของ
การมีอยูของกามารมณป ระเภทนี้ จะเห็นไดวาการทํ าความเข าใจการดํารงอยู ข อง
นิตยสารเชิงชายไมใชแคเพียงการศึกษาเนื้อหาและเรื่ องราวเกี่ยวกับ ความเป น ชาย
อารมณและความปรารถนาทางเพศของเกย เทานั้น แตยังเปนการมองเห็น “ความ
หลากหลายของกามารมณ” ในสังคมซึ่งถูกปกปดเอาไวภายใตกฎระเบียบและบรรทัด
ฐานทางเพศที่ใหความสําคัญเฉพาะกามารมณแบบรักตางเพศเทานั้น

194
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

จากความคิดของ Fejes (2002) ที่อธิบายวาตัวตนทางเพศของเกยไมเคยไดรับ


การยอมรับในสังคม แตสื่อโปเปลือยของเกยไดชวยทําใหตัวตนของเกยปรากฏขึ้นและ
สั ม ผั ส ได จ ริ ง ซึ่ ง ทํ า ให เ กิ ด สิ่ ง ที่ เ รี ย กว า “ดิ น แดนความฝ น ที่ ไ ด รั บ การยื น ยั น ”
(affirmative utopias) เชนเดียวกับนิตยสารเชิงชายในสังคมไทย ที่เปนหลักฐานที่บงชี้
วาตัวตนทางเพศของเกยจะไมถูกปฏิเสธแตจะไดรับการยืนยันดังคําอธิบายในปกของ
นิ ต ยสารเชิ งชายวา “พลั งแห งความเป น ชายเปน ไดทั้งหนามแหลมและกลีบดอกที่
ออนไหว คุณเองก็อาจเปนเชนนั้น” ซึ่งเปนการบงบอกวาตัวตนของเกยคือผูที่มีความ
แข็งแกรงและออนไหวในเวลาเดียวกัน รวมทั้งประโยคที่วา “จุ!... จุ! อยานอยใจ เมื่อ
ถูกเรียกวาเกย เราอาจเปนเพื่อนที่ดีของคุณ” ซึ่งตอกย้ําวานิตยสารเชิงชายจะอยูเคียง
ขางเกยและทําใหเกยพบกับความฝนที่เปนจริง

บทสรุป
บทความเรื่องนี้ตองการจะชี้ใหเห็นวาการเสพความเปนชายในนิตยสารเชิงชาย
ของเกย ไ ทย คื อ รู ป แบบของการแสดงความปรารถนาทางเพศและช ว ยสร า ง
ประสบการณทางกามารมณ ซึ่งเปนสิ่งที่สังคมไทยมองขามและมักจะตีตราแบบเหมา
รวมวาสื่อโปเปลือยทั้งหมดคือความลามกและทําใหสังคมเสื่อมเสียทางศีลธรรม ผูเขียน
ตองการจะชี้ใหเห็นวาประสบการณทางกามารมณมักจะถูกมองขามเสมอในแวดวง
วิชาการ เพราะเปนประเด็นที่สังคมไมกลาพูดอยางเปดเผย การทําความเขาใจใหมวา
นิตยสารเชิงชายคือสื่อที่ชวยใหเกยรูจักและแสดงความปรารถนาทางเพศ จะทําใหเรา
มองสื่ อ ประเภทนี้ ใ นเชิ งบวกและมองเห็ น มิ ติ ข องความเปน มนุ ษ ย ข องเกย ม ากขึ้น
ถึงแมวาบริบทของการผลิตสื่อประเภทนี้จะวางอยูบนฐานคิดเรื่องการนําเรือนรางผูชาย
มาเป น สิ น ค า ทางเพศภายในระบบทุ น นิ ย ม แต สื่ อ ประเภทนี้ ก็ เ ป น บั น ทึ ก ทาง
ประวัติศาสตรวัฒนธรรมที่สังคมไทยกําลังเปลี่ยนผานไปสูสังคมของปจเจกนิย มและ
บริ โ ภคนิ ย ม ที่ กลุ มเกย ช นชั้ น กลางในเมื องพยายามแสวงหาความสุขสว นตัว และ
ปลดปลอยความปรารถนาทางเพศ โดยมีสื่อสิ่งพิมพแนวโปเปลือยเปนเครื่องมือในการ
แตงแตมและเติมเต็มจินตนาการและความฝน

195
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

หากถามวาสังคมไทยเริ่มสนใจเสนหทางเพศของเรือนรางผูชายเมื่อไหร เรา
อาจนึ กภาพไม ชั ดเจนมากนักและอาจคิ ดวา สังคมไทยเพิ่งนําเรือนรางผูชายมาเปน
สินคาในยุคอินเตอรเน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม แตเมื่อยอนกลับไปเกือบ 40 ป
ที่แลวในชวงป พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) เราจะพบวานิตยสารเชิงชายคือหลักฐานสําคัญที่
ช ว ยทํ า ให เ ห็ น ภาพที่ ชั ด เจนมากขึ้ น เกี่ ย วกั บ กระบวนการทํ า ให “เรื อ นร า งชาย”
กลายเปนสินคาทางเพศในสังคมไทย พรอมๆ กับการมองเห็นดินแดนเพศในฝนและ
ประสบการณทางกามารมณของเกยที่แทรกตัวและพยายามตอสูดิ้นรนอยูในบรรทัด
ฐานแบบรักตางเพศที่เครงครัด

196
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Reference
Ahmed, S. (2006). Queer phenomenology: Orientations, objects, others.
Durham: Duke University Press.
Bergling, T. (2001). Sissyphobia: Gay men and effeminate behavior. New
York: Harrington Park Press.
Bronski, M. (1998). The pleasure principle: sex, backlash, and the struggle
for gay freedom. New York: St. Martin’s Press.
Burger, J. R. (1995). One-handed histories: The eroto-politics of gay male
video pornography. New York: Harrington Press.
Butler, J. (1990). Gender trouble. New York: Routledge.
Carrigan, T. , Connell, B. , & Lee, J. ( 1985) . Toward a new sociology of
masculinity. Theory and Society, 14(5), 551-604.
Chapman, R. ( 1988) . The great pretender: Variations in the new Man
theme. In Chapman, R., & Rutherford, J. ( Eds. ) . Male order:
Unwrapping masculinity. (pp. 225-249). London: Lawrence and
Wishart.
Cherngchai Magazine. (1982). 1(1). Retrieved from
http://thairainbowarchive.anu.edu.au/commercial_1980s/cherngc
hai/contents.htm
Connell, R. W. (1987). Gender and power: Society, the person and sexual
politics. Sydney Boston: Allen & Unwin.
Connell, R. W. (1990). An iron man: The body and some contradictions of
hegemonic masculinity. In Messner, M., & Sabo, D. ( Eds. ) . Sport,
men and the gender order. (pp. 83-114). Champaign Ill: Human
Kinetics Books.

197
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Donaldson, M. (1993). What is hegemonic masculinity? Theory and Society,


Special Issue: Masculinities, 22(5), 643-657.
Duangwises, N. (2003). Naked man: Pornography and sexual life of Thai
gay male. Rattasartsarn, 25(2), 164-203.
Duangwises, N. ( 2 0 0 6 ) . Exposing body: Thai gay men in sauna space.
Rattasartsarn, 27(3), 56-98.
Duangwises, N. (2010a). Mithuna magazine: The normativity of Thai gay
middle-class. Rattasartsarn, 31(3), 89-132.
Duangwises, N. (2010b). Gay Movement in Thai society: Practices and
paradigms. Dissertation, Thammasat University.
Duangwises, N. (2013). The masculine images on coyote boy’s body:
Reflection of Bangkok gay consumer culture. In Duangwises, N., &
Jackson, P. A. (Eds.). Different color of gender: Cultural pluralism
and sex/ gender diversity in Thailand. ( pp. 120- 151) . Bangkok:
Sirindhorn Anthropology Centre.
Duangwises, N., Iamsilpa, R., Topananan, S., Boonmongkon, P., Ojanen, T.
T., & Guadamuz, T. E. (2014). BlackBerry smartphones and
sexuality among queer university students in Bangkok. In
Boonmongkon, P., & Ojanen, T. T. (Eds.), Mobile sexualities:
Transformations of gender and sexuality in Southeast Asia (pp. 281-
356). Salaya, Nakhon Pathom: Southeast Asian Consortium on
Gender, Sexuality and Health.
Dworkin, A. (1989). Pornography. New York: Plume.
Edwards, T. (2005). Queering the pitch? Gay masculinities. In Kimmel, M.
S., Hearn, J., & Connell, R. W. ( Eds. ) Handbook of studies on men
& masculinities (pp.51-71). London: SAGE Publication.

198
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Eguchi, S. (2011). Negotiating sissyphobia: A critical/interpretive analysis of


one “femme” gay Asian body in the heteronormative world. The
Journal of Men’s Studies, 19(1), 37-56.
Fejes, F. ( 2002) . Bent passions: Heterosexual masculinity, pornography,
and gay male identity. Sexuality & Culture, 6(3), 95-113.
Foucault, M. (1990). The history of sexuality, volume 1: An introduction.
New York: Vintage Books.
Goltz, D. B. (2010). Laughing at absence: Instinct magazine and the hyper-
masculine gay future? Western Journal of Communication, 71(2),
93-113.
Hancock, J. H. (2015). Chelsea on 5th Avenue: Hypermasculinity and gay
clone culture in the retail brand practices of Abercrombie & Fitch.
Fashion Practice, 1(1), 63-85.
Herek, G. M. ( 1986) . On heterosexual masculinity: Some psychical
consequences of the social construction of gender and sexuality.
American Behavioral Science, 29(5), 563-577.
Hooven, F. V. III. ( 2002) . Beefcake: The muscle magazines of America
1950-1970. London: Taschen.
Hooven, F.V. III, (1993). Tom of Finland: His life and time. New York: St.
Martin’s Press.
Jackson, P. A. (2011). Queer Bangkok: 21st century markets, media, and
rights. Hong Kong: Hong Kong University Press.
Jackson, S. (1999). Heterosexuality in question. London: Sage.
Jagose, A. (2012). Orgasmology. Durham, NC: Duke University Press.
Johnson, C., & Johnston, R. (1988). The making of homosexual men. In
Burgmann, V., & Lee, J. (Eds.) Staining the wattle: A people's history

199
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

of Australia since 1788. ( p p . 8 7 - 9 9 ) . Fitzroy: McPhee


Gribble/Penguin.
Johnson, D. K. ( 2010) . Physique pioneers: The politics of 1960s gay
consumer culture. Journal of Social History, Summer, 867-892.
Jung, J. (2011). Advertising images of men: Body size and muscularity of
men depicted in Men’ s Health magazine. Journal of Global
Fashion Marketing, 2(4), 181-187.
Katz, J. N. (1995). The Invention of Heterosexuality. New York: Dutton.
Khoo, M. , & Karan, K. ( 2007) . Macho or metrosexual: The branding of
masculinity in FHM magazine in Singapore Intercultural
Communication Studies, XVI(1), 34-45.
Lahti, M. (1998). Dressing up in power: Tom of Finland and gay male body
politics. In Lofstrom, J. (Ed.). Scandinavian homosexualities: essay
on gay and lesbian studies. (pp.185-206). New York: Harrington Park
Press.
Levine, M. P. (1979). Gay ghetto. Journal of Homosexuality, 4(4), 363-377.
Levine, M. P. (1998). Gay macho: The life and death of the homosexual
clone. New York: New York University Press.
Lichterman, P. (1989). Making a politics of masculinity. Comparative Social
Research, 11, 185-208.
Mason, M. ( 2003) . A content analysis of the portrayal of men in
advertising: Gentlemen's quarterly 1985- 2000. Thesis, Rochester
Institute of Technology.
McKee, A. ( 1999) . Australian gay porn videos: The national identity of
despised cultural objects. International Journal of Cultural
Studies, 2(2), 178-198.

200
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Messner, M. (1987). The meaning of success: The athletic experience and


the development of male identity. In Brod, H., (Ed.) The making of
masculinities: the new men's studies. (pp. 193-210). Boston: Allen
and Unwin.
Oswald, R. M. , Blume, L. B. , & Marks, S. R. ( 2005) . Decentering
heteronormativity: A model for family studies. In Bengston, V.,
Acock, A., Allen, K., Dilworth- Anderson, P., & Klein, D. ( Eds.) .
Sourcebook of family theory and research. ( pp. 143- 165) .
Thousand Oaks: Sage
Ramakers, M. (2000). Dirty pictures: Tom of Finland, homosexuality and
masculinity. New York: St. Martin Press.
Ravenhill, J. P. , & Visser, R. O. D. ( 2017) . Perceptions of gay men’ s
masculinity are associated with their sexual self-label, voice quality
and physique. Retrieved from https://www.researchgate.net
Rich, A. C. ( 1980) . Compulsory heterosexuality and lesbian experience.
Signs: Journal of Women in Culture and Society, 5(4), 631-660.
Rohlinger, D. ( 2002) . Eroticizing men: Cultural influences on advertising
and male objectification. Sex Roles, 46(3/4), 61-74.
Samakkeekarom, R., Boonmongkon, P., & Chanthong, W. (2009). Camfrog
and sexuality of the Thai male adolescent in cyberspace: power
structure and sexual agency. In Proceedings of the 1st annual
sexuality studies in Thai society: Critique of knowledge and
traditions of sexuality practices in Thai society ( pp. 230- 240) .
Bangkok: The Establishment Project of Public Health Policy Study
Office, Mahidol University.

201
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Samakkeekharom, R. , Ojanen, T. T. , Boonmongkon, P. , & Guadamuz, T.


( 2012) . Online sexuality: Globalization of gay sexual citizenship,
power and sexual representations on smartphones. Sexuality
Studies Journal, 2(2), 181-196.
Sanchez, F. J. , & Vilain, E. (2012). Straight- acting gays: The relationship
between masculine consciousness, anti- effeminacy, and negative
gay identity. Archive of Sexual Behavior, 41(1), 111-119.
Sanchez, F. J., Greenberg, S. T., Liu, W. M., & Vilain, E. (2009). Reported
effects of masculine ideals on gay men. Psychology of Men &
Masculinity, 10(1), 73-87.
Sanchez, F. J., Westefeld, J. S., Liu, W. M., & Vilain, E. (2010). Masculine
gender role conflict and negative feelings about being Gay.
Professional Psychology, Research and Practice, 41(2), 104-111.
Stoltenberg, J. (1992). Pornography, homophobia and male supremacy. In
Itzin, C. ( Ed. ) . Pornography: Women, violence and civil liberties.
(pp. 245-274). Oxford: Oxford University Press.
Taywaditep, K. J. ( 2001) . Marginalization among the marginalized: Gay
men's anti-effeminacy attitudes. Journal of Homosexuality, 42(1),
1-28.
Theordore, P. S., & Basow, S. A. (2000). Heterosexual masculinity and
homophobia: A reaction to the self? Journal of Homosexuality,
40(2), 31-48.
Waugh, T. ( 1996) . Hard to imagine: Gay male eroticism in photography
and film from their beginnings to Stonewall. New York: Columbia
University Press.

202
Walailak Journal of Social Science Vol.13 No.1 (2020): January-June

Williams, L. (1989). Hard core: Power, pleasure and the ‘frenzy of the
visible. Berkeley: University of California Press.

203

You might also like