You are on page 1of 10

การศึกษาปั จจัยที่ส่งผลกระทบต่ อค่ าความหยาบผิวในวัสดุ S50C

Study of factors affecting the surface roughness in the S50C material


ธเนศ ตาปราบ1,กฤษฎา วิชาผง2,สมเดช อิงคะวะระ3,สมศักดิ์ ศิวดารงพงศ์4
1,2
สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
3
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
4
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต สานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทโนโลยีสรุ นารี
1
Email : tong_99944@hotmail.com

บทคัดย่ อ
งานวิจยั นี ้มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ ในการตัดเฉื อนที่ส่งผลค่า
ความหยาบผิวของชิน้ งานซึ่งประกอบด้ วยความเร็ วรอบ, อัตราการป้อน และระยะป้อนลึก ใน
งานวิจยั นี ้เครื่ องกัดอัตโนมัติถูกนามาใช้ ร่วมกับเครื่ องมือตัดเฉื อนแบบเอ็นมิลล์ไฮสปี ดเคลือบผิว
ด้ วย TiCN แบบ 4 คมตัด ที่มีขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ในการกัดวัสดุเหล็ กกล้ า
คาร์ บ อนปานกลาง S50C โดยปราศจากการหล่ อ เย็ น ค่า ความหยาบผิ ว ชิ น้ งานถูก วัด ด้ ว ย
Mitutoyo Surf test รุ่ น Surftest SJ-210 การออกแบบการทดลองแบบแฟคทรอเรี ย ล 23 ถูกใช้
สาหรับการออกแบบการทดลองและใช้ การวิเคราะห์ผลทางสถิติ จากการทดลองพบว่าผลกระทบ
หลักที่ส่งผลต่อค่าความหยาบผิวชิ ้นงานคือ อัตราการป้อน ที่ระดับความเชื่อมัน่ 95% นอกจากนี ้
ยังพบว่าค่าพารามิเตอร์ ที่ส่งผลให้ ค่าความหยาบผิวน้ อยที่สดุ คือความเร็ วรอบ 1270 รอบต่อนาที
อัตราป้อน 20 มิลลิเมตรต่อนาที และระยะป้อนลึกในแนวรัศมี 2.5 มิลลิเมตร
คาสาคัญ : กระบวนการตัดเฉือน, เหล็กกล้ า S50C, ความหยาบผิว,แฟคทรอเรี ยล 23, เอ็นมิลล์

Abstract
This research aims to study the effects of machining parameters which consists
of spindle speed, feed rate and depth of cut on surface roughness of the workpiece. In
this research, an CNC milling is used in with 4 flute TiCN coated high speed end milling
cutting tool a diameter of 10 mm in the carbon steel material S50C without coolant. The
surface roughness is measured by Mitutoyo Surf test SJ-210. The, factorial design 23 is
used for experimental design and statistical analysis. From the experiment, it was found
that the main effect that affects the surface roughness is the feed rate at 95% confidence
level. In addition, the parameters that result in the lowest surface roughness are the
spindle speed of 1270 rpm, feed rate 20 mm/minute and a radial depth of cut 2.5 mm.
Keywords: CNC milling, S50C, Surface roughness, Factorial design 23, Endmills
1

1.บทนา
ปั จจุบนั กระบวนการกัดขึ ้นรูป เป็ นกระบวนการตัดเฉือนวัสดุอีกหนึง่ วิธีการที่นิยมใช้ ในการ
กัดขึ ้นรู ป นับว่ามีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการเจริ ญเติบโตอย่างต่อเนื่องทางด้ านเทคโนโลยีการ
ผลิตและการพัฒนาด้ านบุคลากรของอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่นการผลิตชิ ้นส่วนยานยนต์
แม่พิมพ์ที่ใช้ ในอุตสาหกรรมการฉีดพลาสติก รวมไปถึงการผลิตเครื่ องมือทางการแพทย์ ซึ่งปฏิ เสธ
ไม่ได้ ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี ม้ ีส่วนสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หนึ่งในผลลัพธ์ ที่
ส าคัญ ที่ สุ ด ของกระบวนการกั ด ขึ น้ รู ป วัส ดุก็ คื อ ค่ า ความหยาบ ผิ ว มี นัก วิ จัย หลายท่ า นได้
ทาการศึกษาถึงพารามิเตอร์ ในกระบวนการปาดหน้ าที่มีผลต่อค่าความหยาบผิวดังต่อไปนี ้
Thanasuptawee, และคณะ (2018) ได้ ศึก ษาพารามิ เ ตอร์ ก ารตัด เฉื อ นประกอบด้ ว ย
ความเร็ วรอบ อัตราป้อนและความลึกของการตัด โดยออกแบบการทดลองแบบแฟคทรอเรี ยล
จานวนเต็ม และจุดกลึ่งกลางสี่จุด เพื่อศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ ในกระบวนการกัดปาด
หน้ าที่สง่ ผลต่อความหยาบผิว สาหรับกระบวนการผลิตชิ ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย โดยที่วสั ดุ
ทดสอบเป็ นอลูมิเนียมอัลลอยด์ ADC12 ที่ขึน้ รู ปชิน้ งานด้ วยกระบวนการหล่อโลหะกึ่งของแข็ง
ด้ วยหัวกัดแบบปาดหน้ าขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลาง 63 มิลลิเมตร พบว่าอิทธิพลหลักที่มีอิทธิพลต่อ
ความขรุขระของผิวชิ ้นงานมากที่สุดคือ ความเร็ วรอบ ตามด้ วยอัตราป้อนและความลึกตัดที่ระดับ
นัยสาคัญ 0.05
สมเสียง จันทาสี (2560) ได้ ศกึ ษาปั จจัยที่มีผลต่อการตัดเฉื อนในงานกัดอะลูมิเนียมผสม
เกรด 6061-T6 โดยนาเทคนิคการออกแบบเซ็นทรัลคอมโพสิตแบบเฟสเซ็นเตอร์ และกาหนดระดับ
ปั จจัยใช้ วิธีการปี นขึ ้นด้ วยเส้ นทางที่ชนั ที่สดุ ผลการศึกษาพบว่า ระยะป้อนลึกและอัตราป้อนมีผล
ต่อความหยาบผิวของชิ ้นงานอย่างมีนยั สาคัญ
(อังศุมาริ นทร์ ประภาสพงษ์ , 2559) การวัดความหยาบผิวของชิน้ งานจากการตัดขึน้ รู ป
โลหะมีความสาคัญต่อคุณภาพชิ ้นงานเป็ นอย่างมาก โดยเฉพาะงานที่ต้องการความละเอียดผิวสูง
ปั จ จัย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่อ ผลการวัด ความหยาบผิ ว มี ห ลายอย่ า ง ตัง้ แต่ก ารก าหนดค่า ความ
คลาดเคลื่ อนของความหยาบผิ วในขัน้ ตอนการออกแบบ การเลื อกเครื่ องมื อ ที่ เหมาะสมและ
ครอบคลุมมาตรฐานที่ต้องการ รวมทังการตั ้ งค่
้ าพารามิเตอร์ ของเครื่ องมือวัดให้ เหมาะกับลักษณะ
ของชิ ้นงาน
(ปรเมศวร์ เบ้ าวรรณ และคณะ, 2556) ได้ ศึกษาการพัฒ นาและปรั บ ปรุ ง คุณภาพใน
อุตสาหกรรมการกัดขึ ้นรู ปแม่พิมพ์ด้วยการออกแบบการทดลอง ในวัสดุ AISI P20 มีคา่ ความแข็ง
30HRC ด้ วยเครื่ องกัดอัตโนมัติ MIKRON รุ่น VCE 7050 ร่วมกับดอกกัดไฮสปี ดบอลเอ็นมิล (HSS
Co8%) ขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ออกแบบการทดลองแบบ 2k แฟคทรอเรี ยล การวัด
ค่าความหยาบผิวชิน้ งานด้ วยเครื่ อง Mitutoyo Surf Test 3D พบว่า ปั จจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อค่า
2

ความหยาบผิวคือ Feed, Depth of Cut และ Step over และปั จจัยร่ วมที่มี อิทธิ พลร่ วมระหว่าง
ปั จจัยคือ Feed กับ Depth of Cut และ Feed กับ Step over
(วิมล บุญรอด และคณะ,2555)ได้ ศกึ ษาอิทธิพลของปั จจัยในการกลึงปอกต่อความขรุขระ
ของผิวอลูมิเนี่ยมหล่อกึ่งของแข็งเกรด 7050 โดยใช้ เครื่ องกลึงควบคุมด้ วยคอมพิวเตอร์ และใช้ มีด
กลึง คาร์ ไ บด์ เครื่ องหมายการค้ า Plansee Tizit ชนิด DCGT 070204FN-27 เกรด H10T โดยมี
ส่วนผสมของ Co 6.0% มีปัจจัยที่ใช้ ในการศึกษาได้ แก่ ความเร็ วตัด อัตราการป้อน และความลึก
ในการตัด ผลกาศึกษาพบว่าอัตราการป้อนมีผลต่อความหยาบผิวสูงสุด โดยค่าความหยาบผิวมี
แนวโน้ มลดลงเมื่อใช้ อตั ราการป้อนต่าลง
ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวทาให้ ผ้ วู ิจยั จึงสนใจจะศึกษาปั จจัยที่ส่งผลกระทบ
ต่อ ค่า ความหยาบผิ ว ในกระบวนการกัด วัส ดุ เ หล็ ก กล้ า S50C โดยก ารู ป แบบการทดลองเชิ ง
แฟคทรอเรี ยล 23 แฟคทรอเรี ยลประกอบด้ ว ย ความเร็ วรอบ อัตราการป้ อน ระยะป้อนลึก ใน
แนวแกนและรัศมี ซึ่งคาดว่าจะเป็ นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมผลิตชิ ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อลดต้ นทุนใน
การผลิต ลดเวลาการผลิต และเพิ่มคุณภาพการผลิตให้ เป็ นไปตามมาตฐานสากล

2.วัตถุประสงค์ การวิจัย
1.เพื่ อศึกษาผลกระทบของพารามิ เตอร์ ในการตัดเฉื อนที่ ส่ง ผลค่าความหยาบผิ ว ของ
ชิ ้นงาน S50C

3.ขอบเขตการศึกษา
1.ตัวแปรควบคุม
- เครื่ องกัดที่ควบคุมด้ วยคอมพิวเตอร์ (CNC) แบบ 3 แกน
- วัสดุทดสอบเหล็กกล้ าคาร์ บอน เกรด S50C ขนาด 64x64x24 มิลลิเมตร
- เครื่ องมือตัดเฉือนไฮสปี ดเอ็นมิลล์ (HSE) แบบ 4 คมตัด ชนิดเคลือบผิว TiCN
เส้ นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ความยาวคมตัด 24 มิลลิเมตร
- การตัดเฉือนแบบแห้ ง (Dry Cutting Condition)
- ระยะป้อนลึกในแนวแกน (Axial Depth of Cut : Ap) ที่ระยะ 10 มิลลิเมตร
- การออกแบบการทดลองเชิงแฟกทรอเรี ยล 23 แฟกทรอเรี ยล ทาการทดลอง 2 ซ ้า
2.ตัวแปรที่ทาการศึกษา
- ความเร็วรอบ (Spindle Speed) 800 และ 1270 รอบต่อนาที
- อัตราการป้อน (Feed Rate) 20 และ 60 มิลลิเมตรต่อนาที
- ระยะป้อนลึกในแนวรัศมี (Radial Depth of Cut : Ae) 2.5 และ 5 มิลลิเมตร
3

4.อุปกรณ์ และวิธีการวิจัย
4.1 เครื่ องมือ อุปกรณ์และวัสดุ
4.1.1 เครื่ อ งจัก ร การปฏิ บัติก ารกัด ขึน้ รู ป ชิ น้ งานทดสอบถูก ด าเนิ น การด้ ว ย
เครื่ องกัดอัตโิ นมัติ CNC Vertical Machining Center รุ่น VMC 500-16 เคลื่อนที่แบบ 3 แกน

รู ปที่1 เครื่ องกัดอัตโนมัติ รุ่น VMC 500-16

4.1.2 เครื่ อ งมื อ วัด ความหยาบผิ ว ค่า ความหยาบผิ ว จะถูก วัด ด้ ว ยเครื่ อ งมื อ
Mitutoyo Surf test รุ่น Surftest SJ-210 เทียบด้ วยแผ่นเทียบผิวมาตรฐาน Mitutoyo Ra 2.95 µm.

รู ปที่2 เครื่ องวัดความหยาบผิวรุ่น Surftest SJ-210

4.1.4 เครื่ องมื อตัดเฉื อน ดอกกัดไฮสปี ดเอ็นมิล (HSE Co 8%) แบบ 4 คมตัด
เคลือบผิวด้ วยไทเทเนียม คาร์ โบ-ไนไตร (TiCN) เส้ นผ่านศูนย์กลาง (D) 10 มิลลิเมตร ความยาว
คมตัด (l) 25 มิลลิเมตร ความโตด้ ามจับ (d) 10 มิลลิเมตร ความยาวทัง้ หมด (L) 75 มิลลิเมตร
เนื่องจากดอกกัดชนิดนี ไ้ ม่จาเป็ นที่จะต้ องใช้ Spindle Speed ที่ สูงมากนัก อีกทัง้ ยังสามารถนา
กลับมาลับคมตัดเพื่อใช้ ใหม่ได้ อีกจึงถูกนามาใช้ ในการศึกษาครัง้ นี ้
4

รู ปที่3 เครื่ องมือตัดเฉือนเอ็นมิลไฮสปี ด

4.1.5 วัสดุทดสอบ เหล็กกล้ าคาร์ บอน เกรด S50C จัดเป็ นกลุม่ เหล็กกล้ าคาร์ บอน
ปานกลางที่ นิ ย มใช้ ใ นงานผลิ ต ชิ น้ ส่ ว นพื น้ ฐาน งานโครงสร้ าง งานอุป กรณ์ ก ารเกษตร งาน
เครื่ องจักรกล งานแม่พิมพ์ชิ ้นส่วนในเครื่ องยนต์เป็ นต้ น โดยทัว่ ไปเหล็กกล้ าคาร์ บอน เกรด S50C
ที่มีคณุ สมบัติที่ดีในหลายด้ านเช่น ด้ านความแข็งแรงที่มีค่าความแข็งอยู่ที่ 235 HB ความเหนียว
แกร่ง และที่สาคัญมีราคาถูก และถูกทาให้ มีขนาด กว้ าง 64 มิลลิเมตร ยาว 64 มิลลิเมตร และหนา
24 มิลลิเมตรสาหรับใช้ ในการศึกษา

รู ปที่4 วัสดุทดสอบเหล็กกล้ าคาร์ บอน เกรด S50C

ตารางที่1 องค์ประกอบทางเคมีของชิ ้นงานทดสอบ S50C


องค์ ประกอบทางเคมี C Si Mn P S Cr Fe
เปอร์ เซ็นโดยนา้ หนัก
0.5320 0.2630 0.7770 0.0187 0.0017 0.0947 Bal.
(%Wt.)
5

4.2 วิธีการวิจยั
4.2.1 การออกแบบการทดลอง ในการศึกษาครัง้ นี ว้ ิธีการออกแบบการทดลอง 2k
แฟคทรอเรี ยลถูกนามาใช้ เพื่ อหาจานวนปั จจัยที่มีผลกระทบต่อผลตอบสนองอย่างมีนัยส าคัญ
ปั จ จัยที่ ใช้ ในการทดลองประกอบด้ วย ความเร็ วรอบ (spindle speed), อัตราการป้อน (Feed
rate), ระยะป้อนลึกในแนวรัศมี (Radial Depth of Cut) ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึง่ จะได้ 23=16 แฟค
ทรอเรี ยล 2 ซ ้า

ตารางที่2 ปั จจัยที่ใช้ ในการทดลอง


Level
Factor Symbol Unit
Low ( - ) High ( + )
Spindle Speed S 800 1270 rpm
Feed rate F 20 60 mm/min
Radial Depth of Cut Ae 2.5 5 mm
Axial Depth of Cut Ap 10 mm

4.2.2 การกาหนดรู ปแบบการตัดเฉื อน (Tool path operation) ในการศึกษาการ


เลือกใช้ รูปแบบการตัดเฉื อนจะมีลกั ษณะการตัดเฉื อนเป็ นแบบ งานกัดทวน คือทิศทางการหมุน
ของเครื่ องมือตัดเฉือนจะมีทิศทางตรงกันข้ ามกับการเคลื่อนที่ของชิ ้นงานดังที่ได้ แสดงในไว้ ในรู ป
ที่5

รู ปที่5 การกาหนดรูปแบบการตัดเฉือน
6

4.2.3 การวัดค่าความหยาบผิวถูกดาเนินด้ วยเครื่ องมือวัดความผิว Mitutoyo Surf


test รุ่ น Surftest SJ-210 ก่ อ นท าการวัด เครื่ อ งมื อ วัด จะต้ อ งถูก สอบเที ย บด้ ว ยแผ่ น เที ย บผิ ว
มาตรฐาน Mitutoyo Ra2.95 µm. สาหรับการวัดค่าความหยาบผิวชิ ้นงานจะถูกวัดบริเวณด้ านหน้ า
ของแนวการตัดเฉื อน ดัง แสดงในรู ป 6 เพื่ อให้ ไ ด้ ค่า ความหยาบผิว ที่ เหมาะสมที่ สุด เพื่ อ น าไป
วิเคราะห์หาปั จจัยที่สง่ ผลต่อความหยาบผิว

รู ปที่6 กระบวนการการวัดค่าความหยาบผิว

5.ผลการวิจัยและอภิปรายผล
ตารางที่3 ค่าความหยาบผิวชิ ้นงานในรูปแบบ Ra
S F Ae Ap Ra
StdOrder RunOrder PtType Blocks
(rpm) (mm/min) (mm) (mm) (µm)
14 1 1 1 1270 20 5 10 1.018
1 2 1 1 800 20 2.5 10 1.327
16 3 1 1 1270 60 5 10 2.260
15 4 1 1 1270 60 2.5 10 2.201
6 5 1 1 1270 20 5 10 1.970
12 6 1 1 800 60 5 10 1.466
11 7 1 1 800 60 2.5 10 2.703
9 8 1 1 800 20 2.5 10 1.255
10 9 1 1 800 20 5 10 1.353
7 10 1 1 1270 60 2.5 10 1.982
4 11 1 1 800 60 5 10 1.538
8 12 1 1 1270 60 5 10 1.476
13 13 1 1 1270 20 2.5 10 1.617
2 14 1 1 800 20 5 10 1.864
5 15 1 1 1270 20 2.5 10 1.611
3 16 1 1 800 60 2.5 10 2.345
7

จากตารางที่3 จะเห็นได้ วา่ ค่าความหยาบผิวพารามิเตอร์ ที่ ความเร็วรอบ 800 รอบต่อนาที


อัตราการป้อน 60 มิลลิเมตรต่อนาที ระยะป้อนลึกในแนวรัศมี 2.5 มิลลิเมตร จะให้ คา่ ความหยาบ
ผิวที่สงู ที่สดุ เมื่อนาค่าที่วดั ได้ ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงแฟกทอเรี ยลแบบ 23 แฟกทอเรี ยลจะ
ได้ ผลการวิเคราะห์ในตารางที่4
ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงแฟกทอเรี ยลแบบ 23 แฟกทอเรี ยล
Analysis of Variance for RA, using Adjusted SS for Tests
Source DF Seq SS Adj SS Adj MS F P
S 1 0.0050 0.0050 0.0050 0.04 0.845
F 1 0.9781 0.9781 0.9781 7.95 0.023
AE 1 0.2746 0.2746 0.2746 2.23 0.174
S*F 1 0.0189 0.0189 0.0189 0.15 0.705
S*AE 1 0.0326 0.0326 0.0326 0.26 0.621
F*AE 1 0.5206 0.5206 0.5206 4.23 0.074
S*F*AE 1 0.3819 0.3819 0.3819 3.10 0.116
Error 8 0.9843 0.9843 0.1230
Total 15 3.1960
S = 0.350768 R-Sq = 69.20% R-Sq(adj) = 42.25%

Main Effects Plot for RA


Data Means
S F

1.95

1.80

1.65

1.50
Mean

800 1270 20 60
AE

1.95

1.80

1.65

1.50
2.5 5.0

รู ปที่7 การวิเคราะห์อิทธิพลหลัก (Main effect plot)


8

Interaction Plot for RA


Data Means
20 60 2.5 5.0

S
2.1 800
1270
S 1.8

1.5

F
2.1 20
60
F 1.8

1.5

AE

รู ปที่8 การวิเคราะห์อิทธิพลร่วมระหว่างปั จจัย (Interaction plot)

จากตารางที่ 4 ได้ แสดงผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงแฟกทอเรี ยลแบบ 23 แฟกทอ


เรี ยล ของค่าความหยาบผิวชิ ้นงาน โดยกาหนดระดับความเชื่อมัน่ ที่ 95% (α=0.05) สังเกตจากค่า
P-value ของปั จจัยจะต้ องมีคา่ น้ อยกว่า 0.05 จึงจะเป็ นปั จจัยที่มีผลต่อความหยาบผิวชิ ้นงานอย่าง
มีนยั สาคัญ ซึง่ ปั จจัยที่สง่ ผลกระทบต่อความหยาบผิวชิ ้นงานมากที่สดุ คือ อัตราการป้อน (F)
จากรู ปที่ 4 แสดงการวิเคราะห์อิทธิ พลหลัก (Main effect plot) ที่จะส่งผลกระทบต่อค่า
ความหยาบผิวชิ ้นงาน จากกราฟจะเห็นได้ ว่าอัตราการป้อน (F) และระยะป้อนลึกในแนวรัศมี (Ae)
เมื่อระดับปั จจัยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก จะส่งผลให้ ค่าความหยาบผิวชิ ้นงานเพิ่มขึ น้ ส่วน
ความเร็ วรอบ (S) เมื่อระดับปั จ จัยเปลี่ ยนแปลงไปในทิศทางลบ จึงจะส่งผลให้ ค่าความหยาบ
ผิวชิ ้นงานเพิ่มขึ ้น ปั จจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าความหยาบผิวชิ ้นงาน ที่ระดับนัยสาคัญ
95% คืออัตราการป้อน (F) โดยอัตราการป้อนเพิ่มขึ ้นจาก 20 เป็ น 60 มิลลิเมตรต่อนาที จะส่งผล
ต่อค่าความหยาบผิวชิ ้นงานที่มากขึ ้น
จากรู ป 8 แสดงการวิ เ คราะห์ อิ ท ธิ พ ลร่ ว มระหว่า งปั จ จัย (Interaction plot) จากกราฟ
สามารถอธิบายได้ ดงั นี ้
1) อิทธิพลร่ วมระหว่างความเร็ วรอบกับอัตราการป้อน (S*F) พบว่าที่ความเร็ วรอบ 800
หรื อ 1270 รอบต่อนาที ค่าความหยาบผิวชิ ้นงานจะเพิ่มขึ ้น เมื่ออัตราการป้อนเพิ่มขึ ้นจาก 20 เป็ น
60 มิลลิเมตรต่อนาที
9

2) อิทธิพลร่วมระหว่างความเร็วรอบกับระยะป้อนลึกในแนวรัศมี (S*Ae) พบว่าที่ความเร็ ว


รอบ 800 หรื อ 1270 รอบต่อนาที ค่าความหยาบผิวชิ ้นงานจะเพิ่มขึ ้นจะเพิ่มขึ ้น เมื่อระยะป้อนลึก
ในแนวรัศมีเพิ่มขึ ้นจาก 2.5 เป็ น 5 มิลลิเมตร
3) อิทธิพลร่ วมระหว่างอัตราการป้อนกับระยะป้อนลึกในแนวรัศมี (F*Ae) พบว่าที่อตั รา
การป้อน 20 มิลลิเมตรต่อนาที ค่าความหยาบผิวชิ ้นงานจะเพิ่มขึ ้น เมื่อระยะป้อนลึก ในแนวรัศมี
เพิ่ม ขึน้ จาก 2.5 เป็ น 5 มิ ล ลิ เ มตร และที่ อัตราการป้อน 60 มิ ลลิเมตรต่อนาที ค่าความหยาบ
ผิวชิ ้นงานจะเพิ่มขึ ้น เมื่อระยะป้อนลึกในแนวรัศมีลดลงจาก 5 เป็ น 2.5 มิลลิเมตร

6.สรุปผลการวิจัย
การศึกษาค่าความหยาบผิวชิ ้นงานสามารถสรุปได้ ว่า อัตราการป้อนเป็ นปั จจั ยที่ส่งผลกระทบต่อ
ค่าความหยาบผิวชิน้ งาน เมื่อพิจารณาที่ความเร็ วรอบ และระยะป้อนลึกคงที่ การตัดเฉื อนที่ มี
อัตราการป้อนที่ต่าชิ ้นงานจะถูกตัดเฉื อนซ ้า ประกอบกับงานวิจยั นี ้ไม่เกิดการพอกติดของชิน้ งาน
บนคมตัด จึงส่งผลให้ คา่ ความหยาบผิวชิ ้นงานมีคา่ ที่ดี

7.เอกสารอ้ างอิง
Thanasuptawee, U., Thakhamwang, C., & Siwadamrongpong, S. (2018). Evaluation of
Face Milling Operation Parameters on Surface Roughness of Crankcase Housing
by Two Level Factorial Design with Center Points. Key Engineering Materials,
780, 105–110.
สมเสียง จันทาสี . (2560). การศึกษาปั จจัยที่มีผลต่อการตัดเฉือนในงานกัดอะลูมิเนียมผสมเกรด
6061-T6 Naresuan University Journal: Science and Technology. 25,(1): 138–149.
อังศุมาริ นทร์ ประภาสพงษ์ . (2559). การคัดกรองปั จจัยที่มีผลต่อความหยาบผิวและการสึกหรอ
ของเครื่ องมือตัดในกระบวนการกัดวัสดุอลูมิเนียมหล่อแบบกึ่งของแข็ง A356. วิทยานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี .
ปรเมศวร์ เบ้ าวรรณ และชาญณรงค์ สายแก้ ว . (2556). การพัฒ นาและปรั บ ปรุ ง คุณภาพใน
อุตสาหกรรมการกัดขึ ้นรู ปแม่พิมพ์ด้วยการออกแบบการทดลองวารสารวิจัย มข(บศ.). 13,(2):
42–53.
วิมล บุญรอด และธเนศ รัตนวิไล. (2555). อิทธิพลของปั จจัยในการกลึงปอกต่อความขรุ ขระของ
ผิวอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็งวิศวกรรมวารสารฉบับวิจัยและพัฒนา. 23,(4): 71-77.

You might also like