You are on page 1of 53

CONT

RUCT
ION SUPERVI
SION CONT
RACT

สั
ญ ญ าจ
าง
บร

หาร
งานก
อสร

าง
มาตรฐาน
*ฉบั
บผ

ทรงคุ
ณวุ
ฒิ
กิตติกรรมประกำศ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง (ชมรมฯ) ได้ริเริ่มทาเอกสารสาคัญเกี่ยวกับการก่อสร้าง


รวม 2 ฉบับ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดทา ฉบับแรกได้แก่เอกสารแนะนาการทาประกันภัยงาน
ก่ อ สร้ า ง (Contractor’s All Risks Insurance หรื อ Contract Works Insurance) โดยได้ ร ั บ การอนุ เ คราะห์
สถานที่ประชุม อุปกรณ์ อาหารและเครื่องดื่ม จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนแล้วเสร็จ ต่อมา
ได้ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาผัง เมือง (โดย ผศ. ดร. ไพจิตร ผาวัน หัวหน้าภาควิชา) คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทาโครงการจัดทาสั ญญาจ้างเหมาก่อสร้างมาตรฐาน โดยยึดเอาสัญ ญา
FIDIC Red Book 2017 (Building and Engineering Works, designed by Employer) เป็นแนวทาง โดยเชิญ
ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกันจัดทา แล้วเสร็จเมื่อเดือน ตุลาคม 2562 และปิดโครงการเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2562
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างมาตรฐานฉบับนี้เรียกว่า สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างมาตรฐาน ฉบับศรีปทุม
ก่อนปิดโครงการจัดทาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างมาตรฐาน ฉบับศรีปทุม ชมรมฯ ได้ริเริ่มโครงการจัดทา
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างขึ้นโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ดังที่ปรากฏชื่อและลายมือชื่อของท่านที่หน้าแรกของ
เอกสารฉบับนี้ มารวมกันจัดทา ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมกันจัดทาไม่เพียงแต่สละเวลาอันมีค่าของท่านเท่านั้น
ท่านยังสละทุนทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมและจัดทาเอกสารฉบับนี้ด้วย
ต่อมาโครงการนี้ได้พัฒนาเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่ง ประเทศไทย
(วปท.) กับชมรมฯ โดยที่ทาง วปท. ได้กรุณาสนับสนุนเอกสารที่จ าเป็นต้องใช้ประกอบการจัดท าสัญญาจ้าง
บริหารงานก่อสร้างฉบับนี้ด้วย
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างมาตรฐานฉบับนี้สาเร็จลงได้จากการเสียสละของผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน
ชมรมฯ ขอขอบพระคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมกัน จัดทาเอกสารฉบับนี้ทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ทาให้
งานนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง

2
สารบัญ

เรื่อง หน้า
กิตติกรรมประกาศ ............................................................................................................................... 2
คานา .................................................................................................................................................... 7
ความเข้าใจเบื้องต้น ............................................................................................................................. 9
ความเป็นมาตรฐานของสัญญา ...................................................................................................... 9
สัญญามาตรฐาน กับ สัญญาสาเร็จรูป ........................................................................................... 11
เงื่อนไขทั่วไป กับ เงื่อนไขเฉพาะ ................................................................................................... 12
สัญญาฉบับนี้เป็นสัญญา “บริหารงานก่อสร้าง” ........................................................................... 14
ผู้บริหารงานก่อสร้าง กับ ผู้ควบคุมงาน ......................................................................................... 14
ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสัญญาฉบับนี้ ................................................................................................. 16
การใช้สัญญาฉบับนี้ ....................................................................................................................... 17
การจัดทาสัญญาให้รวดเร็วขึ้น ....................................................................................................... 21

สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 1 ข้อตกลง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป
ข้อ 1 บททั่วไป .......................................................................................................................... 1
1.1 คาจากัดความ ............................................................................................................. 1
1.2 การตีความ .................................................................................................................. 1
1.3 การสื่อสารระหว่างคู่สัญญา ......................................................................................... 1
1.4 การโอนสิทธิ และ การจ้างช่วง .................................................................................... 2
1.5 ทรัพย์สินทางปัญญา .................................................................................................... 2

3
สารบัญ

1.6 การเผยแพร่เอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ......................................................... 2


1.7 ความสัมพันธ์ระเหว่างคู่สัญญา .................................................................................... 2
1.8 การแก้ไขสัญญา .......................................................................................................... 3
1.9 การแยกส่วนของสัญญา .............................................................................................. 3
1.10 การสละสิทธิ์ ............................................................................................................... 3
ข้อ 2 ผู้ว่าจ้าง ........................................................................................................................... 3
2.1 ข้อมูล และเอกสาร ...................................................................................................... 3
2.2 การตัดสินใจของผู้ว่าจ้าง ............................................................................................. 4
2.3 ผู้แทนผู้ว่าจ้าง ............................................................................................................. 4
2.4 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ................................................................................................ 4
ข้อ 3 ผู้บริหารงานก่อสร้าง ....................................................................................................... 4
3.1 การแต่งตั้งผู้บริหารงานก่อสร้าง .................................................................................. 4
3.2 การปฏิบัตหิ น้าที่ของผู้บริหารงานก่อสร้าง .................................................................. 5
3.3 การทารายงาน ............................................................................................................ 6
3.4 การประชุม .................................................................................................................. 7
3.5 การประสานงาน ......................................................................................................... 8
3.6 มาตรฐานการทางาน ................................................................................................... 8
3.7 ความซื่อสัตย์สุจริต ...................................................................................................... 8
3.8 ผู้แทนผู้บริหารงานก่อสร้าง ......................................................................................... 9
3.9 บุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง ............................................................................... 9
3.10 สิ่งอานวยความสะดวกที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้ .................................................................... 10
ข้อ 4 วันเริ่มงาน เวลาทางานและการแล้วเสร็จของงาน ........................................................... 10
4.1 ระยะเวลาการทางานของผู้บริหารงานก่อสร้าง ........................................................... 10

4
สารบัญ

4.2 การทางานล่วงเวลา ..................................................................................................... 11


4.3 การทางานล่วงเลยวันที่ครบกาหนดสัญญา ................................................................. 11
ข้อ 5 การเปลี่ยนแปลงงาน และการแล้วเสร็จของงานของผู้บริหารงานก่อสร้าง ...................... 11
5.1 การเปลี่ยนแปลงงาน ................................................................................................... 11
5.2 การแล้วเสร็จของงาน .................................................................................................. 12
ข้อ 6 ค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย และการชาระเงิน ................................................................................. 12
6.1 ค่าจ้าง และค่าใช้จ่าย .................................................................................................. 12
6.2 การเบิกเงิน และจานวนเงินที่ชาระ ............................................................................. 13
6.3 การชาระเงินล่าช้า ....................................................................................................... 13
ข้อ 7 ความรับผิด ...................................................................................................................... 14
ข้อ 8 การหยุดงาน .................................................................................................................... 14
8.1 การสั่งหยุดงานโดยผู้ว่าจ้าง ......................................................................................... 14
8.2 การหยุดงานโดยผู้บริหารงานก่อสร้าง ......................................................................... 14
8.3 การหยุดงานเพราะงานก่อสร้างหยุดลง ....................................................................... 14
ข้อ 9 ประกันภัย ....................................................................................................................... 15
ข้อ 10 การบอกเลิกสัญญา ......................................................................................................... 15
10.1 การบอกเลิกสัญญาโดยผู้ว่าจ้าง ................................................................................... 15
10.2 การบอกเลิกสัญญาโดยผู้บริหารงานก่อสร้าง .............................................................. 16
10.3 การบอกกล่าวเลิกสัญญา ............................................................................................. 16
10.4 ผลของการบอกเลิกสัญญา .......................................................................................... 16
10.5 สิทธิของคู่สัญญา ......................................................................................................... 17
ข้อ 11 การระงับข้อพิพาท .......................................................................................................... 17
ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ

5
สารบัญ

ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
เอกสารผนวก 1 – ขอบเขตของงานของผู้บริหารงานก่อสร้าง
เอกสารผนวก 2 – บุคลากร และสิ่งอานวยความสะดวกที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้
เอกสารผนวก 3 – ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
เอกสารผนวก 4 - จานวนและคุณสมบัติบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง



6
คำนำ

ในการก่อสร้างจะต้องมีสัญญาทากันหลายฉบับ เช่น สัญญาจ้างออกแบบ สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญา


ซื้อขายวัสดุก่อสร้าง สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้าง ฯลฯ สัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ ต่างประเทศจัดท าเป็นสัญ ญา
มาตรฐานไว้สาหรับใช้เป็นการทั่วไป แต่เมืองไทยเรายังไม่มีสัญญาเหล่านี้เป็นสัญญามาตรฐาน
ชมรมฯ เห็นว่าสัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้าง เป็นสัญญาฉบับหนึ่งที่ควรจัดทาเป็นสัญญามาตรฐาน จึง
ได้ร่วมมือกับสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (วปท.) เชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกันจัดท าสัญญาฉบับนี้
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ท่านผู้ทรงคุณวุฒิได้กรุณาร่วมกันออก
เนื่องจาก FIDIC เป็นสมาพันธ์วิศวกรที่ปรึกษานานาชาติ ก่อตั้งโดยผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่ปรึกษา
(ผู้บริหารงานก่อสร้าง) ชาวเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และสวิส ซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1913 นานกว่า 100 ปี
มาแล้ว ชื่อ ของสมาพันธ์นี้จึงเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศส ว่า Fédération Internationale Des Ingénieurs-Conseils
แล้วก็ใช้ตัวย่อว่า FIDIC เรียกชื่อเต็มเป็นภาษาอังกฤษว่า International Federation of Consulting Engineers
ได้ทาสัญญามาตรฐานไว้เป็นจานวนมาก รวมทั้งสัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างด้วย เรียกว่า Client/Consultant
Model Services Agreement กับได้ปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ฉบับ (Edition) ปรับปรุงล่าสุดเป็นฉบับปี 2017
สัญญาของ FIDIC จัดทาโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการก่อสร้างหลายสาขา ให้ความสาคัญในเรื่องของความ
เป็นธรรม ความครบถ้วนและชัดเจนของข้อความในสัญญา รวมทั้งการนาสัญญาไปใช้ได้โดยง่าย การจัดทาสัญญา
จ้างบริหารงานก่อสร้างฉบับนี้จึงใช้สัญญา Client/Consultant Model Services Agreement ของ FIDIC ฉบับปี
2017 เป็นแนวทาง
เนื่องจากสัญญาของ FIDIC ส่วนใหญ่จะจัดทาขึ้นเพื่อใช้กับโครงการระหว่างประเทศขนาดใหญ่ (large
international project) ข้อความในสัญญาของ FIDIC ที่เกี่ยวกับเงื่อนไขระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายของ
ประเทศที่ใช้บังคับ ภาษาที่ใช้บังคับ สกุลเงินที่ชาระ ฯลฯ จึงไม่ได้นามาเป็นแนวทางด้วย เพราะสัญญาฉบับนี้จัดทา
ขึ้นเพื่อใช้ในประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติในประเทศไทย ก็
ไม่ได้นามาเป็นแนวทางด้วย
บางกรณีสัญญาของ FIDIC ไม่มีกาหนดไว้ แต่โดยปกติทั่วไปจะมีกาหนดไว้ในสัญญาจ้างบริหารงาน
ก่อสร้างในประเทศไทย สัญญาฉบับนี้ก็ได้เขียนเพิ่มเติมขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สัญญาฉบับนี้ยังคงความเป็นมาตรฐานสากลไว้ โดยเฉพาะรูปแบบที่นาไปใช้ได้ง่าย ความ
ครบถ้วนของเงื่อนไขที่ปกติควรต้องมีในสัญญา ความเป็นธรรมระหว่างคู่สัญญา และความชัดเจนของข้อความ
สัญญาฉบับนี้จัดท าขึ้นโดยผู้ ทรงคุณวุฒิต ามที่ม ีรายชื ่อปรากฏอยู่ ที่ หน้ าแรกของเอกสารฉบั บ นี้

7
คำนำ

เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านจึงเป็นเจ้าของผลงาน แต่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้ผู้สนใจนาไปใช้


นาไปเผยแพร่ต่อ โดยจะเปลี่ยนแปลง ต่อเติม ตัดทอน ด้วยประการใด ๆ ก็ได้ทั้งสิ้น และโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
แต่อย่างใด
ข้อความต่าง ๆ ในเอกสารฉบับนี้ และในแบบสัญญามาตรฐานที่ผู้ทรงคุณวุฒิจัดทาขึ้น ผู้ที่จะนาไปใช้
ควรนาไปใช้ด้วยความระมัดระวัง พิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อน และควรมีผู้รู้โดยเฉพาะนักกฎหมายให้
คาแนะนาด้วย หากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น ผู้ที่นาไปใช้ต้องรับผิดชอบกันเอง
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมกันจัดทาสัญญาฉบับนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สัญญาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการ
ก่อสร้าง และผู้นาไปใช้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ผู้ทรงคุณวุฒิจัดทำสัญญำจ้ำงบริหำรงำนก่อสร้ำงมำตรฐำน
มีนำคม 2563

8
ความเข้าใจเบื้องต้น

ความเป็นมาตรฐานของสัญญา
ความหมายของคาว่า “สัญญามาตรฐาน” ที่นามาใช้นี้ มีความหมายสาคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1. รูปแบบของสัญญาเป็นไปตามมาตรฐาน
2. เงือ่ นไขของสัญญาเป็นไปตามมาตรฐาน
รูปแบบของสัญญาเป็นมาตรฐาน
รูปแบบของสัญญาที่เป็นมาตรฐานมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. สัญญาเดี่ยว
2. สัญญาแบ่งส่วน
ทั้ง 2 รูปแบบเป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทย โดยที่รูปแบบที่เป็นสัญญาเดี่ยว เขียนสัญญาตั้งแต่ต้นจนจบ
ตลอดเรื่อยไป ไม่มีการแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ขึ้นต้นตั้งแต่สัญญาฉบับนี้ทาขึ้นที่ไหนเมื่อวันที่เท่าใด จนจบที่ผู้ลงนาม
ในสัญญา
สาหรับสัญญาที่แบ่งออกเป็นส่วน ๆ จะแบ่งออกเป็นส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนแรก คือ ข้อตกลง
ส่วนที่สอง คือ เงื่อนไขทั่วไป
ส่วนที่สาม คือ เงื่อนไขเฉพาะ
เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบทั้งสองนี้แล้ว จะเห็นว่ารูปแบบของสัญญาเดี่ยวสะดวกในการใช้งานสู้รูปแบบ
ที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ไม่ได้ เพราะทุกครั้ง ที่จะทาสัญญาต้องมาจัดพิมพ์ใหม่หมด เช่น มีเอกสารที่แนบสัญญาหรือที่
ต้องการให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอะไรบ้าง ก็ต้องพิมพ์แทรกเข้าไปในสัญญา ทาให้การทาสัญญาต้องล่าช้ า
เพราะต้องมาพิมพ์ใหม่ทั้งหมด
ส่วนรูปแบบของสัญญาที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ข้อความส่วนใหญ่จะตายตัวแน่นอน ส่วนไหนที่ต้องเขียนหรือ
พิมพ์ข้อความเพิ่มเติม ก็เว้นช่องขนาดที่เหมาะสมไว้ให้กรอก ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ ส่วนที่เป็นเงื่อนไขทั่วไปซึ่งมักต้องมี
อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างใด ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันก็ใช้ข้อความเหล่านั้น พิมพ์แน่นอนตายตัวไว้ ได้เลย
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่ ข้อความที่เป็นเงื่อนไขทั่วไปนี้จะมีความยาวมาก เมื่อไม่ต้องพิมพ์ใหม่
สัญญาก็สามารถทาให้แล้วเสร็จได้ด้วยความรวดเร็ว

9
ความเข้าใจเบื้องต้น

ในกรณีที่ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปไม่เหมาะสม เพราะโครงการที่นาสัญญาแบ่งส่วนไปใช้ตกลงกันเป็น
อย่างอื่นที่ต่างไปจากเงื่อนไขทั่วไป สัญญาที่แบ่งส่วนนี้จะมีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า “เงื่อนไขเฉพาะ” (Particular
Conditions) เพื่อให้เขียนเฉพาะส่วนที่แตกต่างจากข้อความในเงื่อนไขทั่วไป โดยที่สัญญาส่วนที่เป็นข้อตกลงจะมี
ข้อความเขียนไว้ชัดเจนว่า หากข้อความในเงื่อนไขทั่วไปขัดหรือแย้งกับข้อความในเงื่อนไขเฉพาะ ก็ให้ใช้ข้อความใน
เงื่อนไขเฉพาะบังคับ เช่น เงื่อนไขทั่ว ไปกาหนดว่าผู้บริหารงานก่อสร้างต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าการก่อสร้ าง
ทั้งหมดจะแล้วเสร็จ หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ ผู้บริหารงานก่อสร้างปฏิบัติหน้าที่เพียงเท่าที่อายุของสัญญาครบ
กาหนด ก็เขียนข้อความในเงื่อนไขเฉพาะให้เป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญาที่ตกลงกัน ซึ่งจะเท่ากับว่าสัญญา
ฉบับดังกล่าวนั้นผู้บริหารงานก่อสร้างจะทาหน้าที่เพียงถึงวันสัญญาครบกาหนดเท่านั้น ไม่ต้องทาหน้าที่ไปจนถึง
งานก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะเงื่อนไขเฉพาะใช้บังคับได้เหนือกว่าเงื่อนไขทั่วไปตามที่สัญญากาหนดไว้
เนื่องจากรูปแบบของสัญญาที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และมีข้อความครบถ้วนอยู่ในส่วน
ที่เป็นเงื่อนไขทั่วไป ผู้ทรงคุณวุฒิจึงเลือกใช้รูปแบบของสัญญาที่แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ตามรูปแบบของสัญญา FIDIC
แต่มีการปรับปรุงบ้าง โดยเพิ่มส่วนที่ 5 ที่เป็น รายการเอกสารสัญญา เพราะการปฏิบัติในประเทศไทยจะแนบ
เอกสารหรือระบุเอกสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจานวนมาก หากให้ระบุในส่วนอื่นของสัญญาจะทาให้การทา
สัญญาต้องล่าช้าออกไป เพราะส่วนที่สามารถกาหนดได้แน่นอนตายตัวจะไม่สามารถกาหนดให้แน่นอนตายตัวได้
โดยสรุป รูปแบบสัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อตกลง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป
ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ
ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
ทั้ง 5 ส่วนข้างต้นเป็นสัญญาฉบับเดียวกัน เพียงแต่แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ใช้งานง่ายเท่านั้นเอง
สาหรับสัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างนั้น นอกจากจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีเอกสารผนวกอีกหลาย
ฉบับ เหตุที่ต้องมีเอกสารผนวกก็เป็นเพราะข้อความหลายอย่างไม่สามารถเขียนไว้เป็นมาตรฐานได้เนื่องจากแต่ละ
โครงการมีความต้องการแตกต่างกัน ขอบเขตของงานจึง แตกต่างกัน ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้างและอื่น ๆ ก็
แตกต่างกันไปด้วย จึงมีความจ าเป็นต้ องมี เอกสารผนวก เอกสารผนวกตามสัญ ญาของผู ้ท รงคุ ณวุฒ ิฉ บั บ นี้
ประกอบด้วย
เอกสารผนวก 1 ขอบเขตของงานของผู้บริหารงานก่อสร้าง

10
ความเข้าใจเบื้องต้น

เอกสารผนวก 2 บุคลากรและสิ่งอานวยความสะดวกที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้
เอกสารผนวก 3 ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
เอกสารผนวก 4 จานวนและคุณสมบัติบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง
เงื่อนไขของสัญญาเป็นมาตรฐาน
ที่ว่าเงื่อนไขเป็นมาตรฐานนั้นหมายความถึง “เงื่อนไขทั่วไป” เป็นมาตรฐานเพราะเป็นเงื่อนไขที่สัญญา
ประเภทเดียวกันควรมี เงื่อนไขเหล่านี้จะเขียนครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เหมือนหรือคล้ายกัน เช่น สัญญาจ้าง
ก่อสร้างจะมีเงื่อนไขทั่วไปแบบหนึ่ง สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างก็จะมีเงื่อนไขทั่วไปอีกแบบหนึ่ง
ไม่ว่าสัญญาจ้างก่อสร้างหรือสัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างก็ตาม ก็ ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายลักษณะ
เช่น สัญญาจ้างก่อสร้าง อาจแบ่งเป็นสัญญา “จ้างเหมา” (Lump Sum) “จ้างราคาต่อหน่วย” (Unit Price) “จ้าง
ออกแบบและก่อสร้าง” (Design and Build) “จ้างเหมาเบ็ดเสร็จ” (EPC หรือ Turnkey) ฯลฯ
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างก็แบ่ง ออกเป็นหลายลักษณะเช่นกัน เช่น จ้างบริหารทั้ง โครงการ
(Project Management) จ้างบริหารการจั ดซื้อ จั ด จ้ างการก่อ สร้ าง (Construction Management) หรือจ้า ง
เฉพาะบริหารงานก่อสร้าง (Construction Supervision)
เงื่อนไขทั่วไปของสัญญาแต่ละประเภท และแต่ละลักษณะมีความแตกต่างกัน แตกต่างกันมากน้อย
อย่างไร ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละสัญญา
สัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิฉบับนี้ ได้น าสัญ ญามาตรฐานของ FIDIC White Book ฉบับล่าสุด ปี ค.ศ.
2017 มาเป็ น แนวทางในการจั ด ท า แต่ ก ็ แ ตกต่ า งกั น มากพอสมควร เนื ่ อ งจากสั ญ ญาของ FIDIC ท าเป็ น
ภาษาอังกฤษ มีเงื่อนไขในการตีความคาว่า “he” และ “she” ฯลฯ ซึ่งไม่จาเป็นต้องมีสาหรับสัญญาภาษาไทย
และเป็นสัญญาที่ท าขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ กับงานระหว่างประเทศขนาดใหญ่ จึง มีเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษาและ
กฎหมายที่ใช้บังคับ ฯลฯ ซึ่งไม่จาเป็นต้องมีในสัญญาที่ใช้เฉพาะในประเทศไทยเพียงประเทศเดียว
ถึงอย่างไรก็ตาม รูปแบบและเงื่อนไขทั่วไปของสัญญาฉบับนี้ก็สอดคล้องกับรูปแบบและเงื่อนไขทั่วไป
ตามมาตรฐานสากล

สัญญามาตรฐาน กับ สัญญาสาเร็จรูป


บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ขายสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง หรือธนาคาร รวมทั้งบริษัทประกันภัย มักจะมี
สัญญาที่จัดทาขึ้นพร้อมใช้งานได้แทบจะทันทีเพราะสะดวกในการให้บริการแก่ลูกค้า เช่น เวลาไปซื้อตู้เย็น เครื่อง
ซักผ้า หรือทีวี ตามห้างสรรพสินค้า ผู้ขายจะกรอกชื่อที่อยู่ของลูกค้าเข้าไปในสัญญาที่ทาเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว มี

11
ความเข้าใจเบื้องต้น

เงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย หรือเมื่อไปขอกู้เงินจากธนาคาร หลังจากที่ธนาคารอนุมัติให้กู้แล้ว ก็จะทาสัญญาให้ผู้กู้ลง


นาม มีเงื่อนไขอยู่เยอะแยะมากมาย ถ้าได้อ่านจนครบถ้วน ผู้กู้อาจไม่อยากลงนาม แต่ด้วยเหตุจาเป็นต้องกู้ ก็ต้อง
ลงนาม บ่อยครั้งปรากฏว่าผู้กู้ไม่อ่านด้วยซ้าไป เพราะถึงอย่างไรก็แก้ไขข้อความในสัญญาไม่ได้ เหตุสาคัญประการ
หนึ่งคือ ธนาคารต้องการให้สาขาของธนาคารที่ให้กู้เงิน ใช้สัญญาที่มีเงื่อนไขครบถ้วน ที่ธนาคารเตรียมไว้ให้แล้ว ไม่
ต้องการให้สาขาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ถ้าจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขก็ต้องให้ฝ่ายกฎหมายของสานักงานใหญ่ตรวจ
แก้ไขให้ หรือสัญญาประกันภัย ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “กรมธรรม์” หรือ “กรมธรรม์ประกันภัย” บริษัทประกันภัย
ก็เตรียมไว้หมดครบถ้วนแล้ว เพื่อสามารถให้บริการกับผู้เอาประกันภัยได้ทันที หรือแทบจะทันที กรมธรรม์ที่บริษัท
ประกันภัยเตรียมไว้แล้วนั้นมีเงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดไว้มากมาย เช่น กรมธรรม์ประกันภัยงานก่อสร้าง มีชื่อ
บอกว่าเป็นการประกัน “ภัยทุกชนิด” (All Risks) แต่ข้อยกเว้นความรับผิด จากัดความรับผิด เงื่อนไขความรับผิด
และเงื่อนไขอื่น ๆ มากมาย จนทาให้คาว่า “ประกันภัยทุกชนิด” ไม่เป็นความจริง
สัญญาเหล่านี้เป็นสัญญา “สาเร็จรูป” ของบริษัทที่จัดทาขึ้นเพราะความสะดวกของบริษัทในการขาย
หรือให้บริการลูกค้า ข้อความในสัญญาจึงเหมาะสมสาหรับกิจการของผู้จัดทา โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ของผู้จัดทา
สัญญาเอง จึงเรียกว่าเป็น “สัญญาสาเร็จรูป”
ส่วนสัญญามาตรฐานนั้น เป็นแบบของสัญ ญาที่ต้องน าไปพิมพ์ขึ้นใหม่ก็ไ ด้ ส่วนใหญ่แล้วสัญ ญา
มาตรฐานจะอยู่ในรูปแบบของสัญญาสาเร็จรูป แต่ที่แตกต่างไปจากสัญญาสาเร็จรูปก็คือ
1. ทาขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นการทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะเพื่อบริษัทหนึ่งบริษัทใด หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด
2. ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขครบถ้วนตามประเภทและลักษณะของสัญญานั้น ๆ
3. เงื่อนไขที่เขียนในสัญญาให้ความเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
4. ข้อความในที่เป็นเงื่อนไขทั่วไป เปลี่ยนแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ โดยเงื่อนไขเฉพาะ
สัญญามาตรฐานที่แบ่งออกเป็นส่วน ๆ จึงเป็นที่นิยมนาไปใช้กันมาก

เงื่อนไขทั่วไป กับ เงื่อนไขเฉพาะ


“เงื่อนไขทั่วไป” ตามสัญญามาตรฐานของต่างประเทศ ไม่ใช่แต่เฉพาะสัญญามาตรฐานของ FIDIC
เท่านั้น เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า General Conditions ส่วน “เงื่อนไขเฉพาะ” นั้น สัญญามาตรฐานต่างประเทศ
เรียกว่า Particular Conditions
เงื่อนไขทั่วไป หมายความว่า เงื่อนไขที่ใช้ทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการไหนก็ใช้ในทานองเดียวกัน
หรือที่ผู้ร่างสัญญาเห็นว่าควรจะเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมกับโครงการทั่ว ๆ ไป สาหรับสัญญาประเภทและลั กษณะ
เดียวกัน เช่น สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง (Lump Sum Contract) ก็จะมีเงื่อนไขทั่วไป อย่างหนึ่ง สัญญาจ้างบริหาร

12
ความเข้าใจเบื้องต้น

โครงการก่อสร้าง (Project Management Contract) ก็จะมีเงื่อนไขทั่วไปอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น เงื่อนไขทั่วไปนี้


จึงเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมที่จะนาไปใช้เป็นการทั่วไป ไม่ว่าใครจะนาไปใช้กับโครงการใด ๆ ก็ตาม
ผู้ร่างสัญญามาตรฐานของต่างประเทศ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น วิศวกร
สถาปนิก นักกฎหมาย ซึ่งมักจะเป็นผู้มีประสบการณ์สูง ๆ มาร่วมกันพิจารณาจัดท า ข้อความที่ใช้ในสัญญา
นอกจากจะพยายามให้ความเป็นธรรมต่อคู่สัญญามากที่สุดแล้ว ยังพยายามใช้ข้อความที่มีความชัดเจน หลีกเลี่ยง
การตีความไปได้สองนัยต่างกัน เพราะจะทาให้เกิดข้อพิพาทได้ เพราะฉะนั้น เงื่อนไขทั่วไปของสัญญามาตรฐาน จึง
มีคาแนะนาประกอบด้วยว่า ให้ใช้เงื่อนไขทั่วไปโดยไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ อย่างไร แม้ว่าเงื่อนไขทั่วไปนั้นจะไม่
เหมาะสมกับโครงการที่นาไปใช้ก็ตาม โดยสัญญามาตรฐานได้เตรียมพื้นที่สาหรับให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วเพื่อ
ความเหมาะสมของโครงการที่นาสัญญามาตรฐานและเงื่อนไขทั่วไปเอาไปใช้ พื้นที่ส่วนนี้เรียกว่า “เงื่อนไขเฉพาะ”
(Particular Conditions)
สัญญามาตรฐานที่มี “เงื่อนไขเฉพาะ” จะมีข้อความในสัญญาบอกว่าในกรณีที่ข้อความในเงื ่อนไข
เฉพาะแตกต่างไปจากข้อความในเงื่อนไขทั่วไป ให้ใช้ข้อความในเงื่อนไขเฉพาะบังคับ ซึ่งหมายความว่า ข้อความใน
เงื่อนไขเฉพาะ ใช้ได้เหนือว่าข้อความในเงื่อนไขทั่วไป เมื่อเกิดการขัดหรือแย้งกันขึ้นระหว่างข้อความในเงื่อนไขทั้ง
สองฉบับนี้ ข้อความในเงื่อนไขเฉพาะจะเป็นข้อความที่คู่สัญญาตกลงกันให้ใช้ ไม่ใช่ข้อความในเงื่อนไขทั่วไป เช่น
กรมธรรม์ประกันภัยงานก่อสร้าง เงื่อนไขทั่วไปจะมีข้อยกเว้นความรับผิดในกรณี “แบบผิดพลาด” (Faulty
Design) กรมธรรม์ประกันภัยจะมีเอกสารส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่า “ใบสลักหลัง ” (Endorsement) ซึ่ง เท่ากับเป็น
เงื่อนไขเฉพาะ หากใบสลักหลังเขียนว่า คุ้มครองความเสียหายจากแบบผิดพลาดด้วย ก็เท่ากับว่า กรมธรรม์ฉบับ
นั้นคุ้มครองความเสียหายจากแบบผิดพลาด ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปเป็นอันว่าไม่ใช้บังคับ
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างก็เหมือนกัน หากเงื่อนไขทั่วไปกาหนดให้ ผู้บริหารงานก่อสร้างต้องทา
ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ (Professional Indemnity Insurance) หากเงื่อนไขเฉพาะเขียนเป็นอีกอย่าง
หนึ่ง โดยเขียนว่าผู้บริหารงานก่อสร้างไม่ต้องทา หรือเขียนเพียงให้ยกเลิกข้อความดังกล่าวเสีย ข้อความในเงื่อนไข
ทั่วไปก็เป็นอันใช้ไม่ได้ ต้องใช้ข้อความในเงื่อนไขเฉพาะ แทน
เพราะฉะนั้น เงื่อนไขเฉพาะ จึงเขียนให้แตกต่างไปจากเงื่อนไขทั่วไปอย่างไรก็ได้ เพื่อให้เป็นไปตาม
ความต้องการของคู่สัญญา สัญญามาตรฐานและเงื่อนไขทั่ว ไปที่สัญญามาตรฐานเขียนไว้ จึงสามารถนาไปใช้ได้กับ
โครงการใด ๆ ก็ได้ ที่จะมีเงื่อนไขแตกต่างไปจากเงื่อนไขทั่วไป เพราะสามารถเขียนเงื่อนไขที่แตกต่างเหล่านั้นใน
ส่วนของสัญญาที่เรียกว่า “เงื่อนไขเฉพาะ” (Particular Conditions) ได้
หลาย ๆ กรณีพบว่า เมื่อคู่สัญญาเขียนเงื่อนไขเฉพาะให้แตกต่างไปจากเงื่อนไขทั่วไปแล้ว ยังขีดฆ่า
ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปออกด้วย ซึ่งไม่มีความจาเป็นต้องขีดฆ่าทาให้ส่วนที่เป็นเงื่อนไขทั่วไปรกสกปรก อ่านยาก

13
ความเข้าใจเบื้องต้น

บางทีส่วนที่ขีดฆ่าล้าไปในส่วนที่ไม่ต้องการขีดฆ่า ทาให้เกิดปัญ หาได้อีก ทั้งนี้เพราะสัญญาเขียนไว้แล้วว่า ถ้า


ข้อความระหว่างเงื่อนไขทั้งสองฉบับนี้แตกต่างกัน ก็ให้ใช้ข้อความในเงื่อนไขเฉพาะอยู่แล้ว ไม่จาเป็นต้องขีดฆ่า
ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปออกอีก

สัญญาฉบับนี้เป็นสัญญา “บริหารงานก่อสร้าง”
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างฉบับนี้ มีความแตกต่างไปจากสัญญา FIDIC White Book 2017 อยู่
หลายประการที่สาคัญ คือสัญญา FIDIC White Book 2017 เป็นสัญญาที่จัดทาขึ้นเพื่อใช้กับโครงการขนาดใหญ่
ระหว่างประเทศ (Large International Project) และใช้ได้กับในกรณีของการจ้างบริหารทั้งโครงการ (Project
Management) ตั้งแต่เริ่มแรกของโครงการเลยได้ด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น สัญญา FIDIC White Book 2017 ยังทาขึ้นเพื่อให้เหมาะกับโครงการระหว่างประเทศ
ทาให้ต้องมีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เหมาะกับการใช้ระหว่างประเทศด้วย เช่น ภาษาและกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญา
สกุ ล เงิ น ที ่ ช าระกั น ฯลฯ แต่ เ นื ่ อ งจากสั ญ ญาที ่ ผ ู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ ั ด ท าฉบั บ นี ้ จั ด ท าขึ ้ น เพื ่ อ ใช้ ก ั บ เฉ พาะงาน
ภายในประเทศไทยเท่านั้น กรณีจึงไม่จาเป็นต้องมีเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษาและกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญา รวมทั้ง
สกุลเงินที่จะต้องชาระกันตามสัญญาด้วย เพราะเมื่อเป็นสัญญาที่ใช้ภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ภาษาที่ใช้
บังคับกับสัญญาก็ต้องเป็นภาษาไทย กฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมายไทย เงินที่ต้องชาระกันก็ต้องเป็นเงินไทย โดยไม่มี
ความจาเป็นต้องระบุไว้ในสัญญาแต่อย่างใด
อีกประการหนึ่ง เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเห็นว่า สัญญาที่ผู้ทรงคุณวุฒิจัดทาขึ้นนี้ ต้องการให้
สามารถนาไปใช้ได้เป็นการทั่วไป คือ เหมาะกับโครงการทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ กันอยู่เป็นจานวนมาก ซึ่งจะเกิดประโยชน์
ต่อคนทั่วไปมากกว่า และ ต้องการให้สัญญานี้ใช้ได้ง่าย ให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุดเท่าที่จะท าได้ และเห็นว่า
โครงการส่วนใหญ่โดยทั่วไปแล้ว จะจ้างผู้บริหารงานก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant หรือที่
เรียกกันโดยย่อ ว่า CSC) มากกว่า สัญญาฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่ก าหนดเงื่อนไขเหมาะกับการจ้างผู้บริหารงาน
ก่อสร้างมากกว่าที่จะเป็นการจ้างผู้บริหารโครงการก่อสร้าง (Project Management Consultant) หรือบริหาร
การก่อสร้าง (Construction Management Consultant)

ผู้บริหารงานก่อสร้าง กับ ผู้ควบคุมงาน


ผู้บริหารงานก่อสร้าง ผู้ว่าจ้างจ้างมาให้ดูแลการทางานก่อสร้างของผู้รับจ้าง และบริหารสัญญาจ้าง
ก่อสร้าง เพื่อให้ผู้รับจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา ผู้บริหารงานก่อสร้างจึงเป็นตัวแทนของผู้ว่าจ้าง เป็นหูเป็นตา
ให้ผู้ว่าจ้าง ผู้บริหารงานก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างจ้างจะเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจากัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจากัด ก็ได้ ถ้าผู้

14
ความเข้าใจเบื้องต้น

ว่าจ้างแต่งตั้งนิติบุคคลให้เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง นิติบุคคลนั้นก็ต้องตั้งบุคคลธรรมดาทาหน้าที่แทน เพราะนิติ


บุคคลไม่สามารถพูด เขียน จัดประชุม หรือดาเนินการใด ๆ ตามภาระหน้าที่ที่รับจ้างได้
ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้รับจ้าง ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ดูแลการทางานของผู้รับจ้างก่อสร้าง
ด้วย ถ้าผู้รับจ้างทาการก่อสร้างไม่ดีหรือไม่ถูกต้องตามสัญญา จะทาการก่อสร้างอย่างไม่ระมัดระวังอันจะทาให้งาน
ก่อสร้างได้รับความเสียหาย ผู้ว่าจ้างก็ต้องว่ากล่าวตักเตือน เมื่อผู้บริหารงานก่อสร้างมาทาหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้
ว่าจ้าง ผู้บริหารงานก่อสร้างก็ต้องว่ากล่าวตักเตือนผู้รับจ้างก่อสร้างแทนผู้ว่าจ้างด้วย หน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้าง
แทนผู้ว่าจ้างนี้ ทาให้ดูเหมือนว่า ผู้บริหารงานก่อสร้าง เป็น “ผู้ควบคุมงาน” ไปเสียด้วย เลยเรียกผู้บริหารงาน
ก่อสร้างว่า “ผู้ควบคุมงาน”
คาที่ใช้เรียกว่า “ผู้ควบคุมงาน” เป็นคาเดียวกับที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้เรียก
“ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอานวยการหรือควบคุมดูแลการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร” (มาตรา
4) กาหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมงานไว้ด้วย หากปฏิบัติผิดหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนด ก็มีบทลงโทษทางอาญา
ตามมาด้วย
เมื่อผู้ว่าจ้างได้ตกลงจ้างให้ผู้รับจ้างก่อสร้างท าการก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ คนงาน และวัสดุ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้รับจ้างก่อสร้างเป็นคนจัดหา วิธีการก่อสร้างและขั้นตอนในการก่อสร้าง ผู้รับจ้างก่อสร้างก็เป็นคน
ก าหนด เพราะฉะนั้น สัญญามาตรฐาน โดยเฉพาะสัญ ญาของ FIDIC จึง ก าหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิ ด ชอบ
รับผิดชอบตลอดไปถึงงานชั่วคราว (Temporary Works) ที่จาเป็นต้องทาด้วย
สัญญา FIDIC Red Book 2017 สาหรับงานก่อสร้างอาคารและงานวิศวกรรม ออกแบบโดยผู้ว่าจ้าง
(Building and Engineering Works, designed by the Employer) ข้อ 4.1 วรรคสาม เขียนไว้ส่วนหนึ่งว่า
The Contractor shall be responsible for the adequacy, stability and safety of the Contractor’s operations
and activities, of all methods of construction and of all the Temporary Works.

และที่ข้อ 6.8 ตอนหนึ่งเขียนว่า


From the Commencement Date until the issue of the Performance Certificate, the Contractor shall
provide all necessary superintendence to plan, arrange, direct, manage, inspect, test and monitor the
execution of the Works.

ซึ่งจะเห็นว่าผู้รับจ้างก่อสร้างเป็นผู้ รับผิดชอบกระบวนการก่อสร้างซึ่งรวมถึงวิธีการก่อสร้างทั้ง ปวง


(methods) ความเพียงพอ (adequacy) ความมั่นคงแข็งแรง (stability) ความปลอดภัย (safety) และต้องจัดให้มี
การกากับควบคุม (superintendence) เพื่อที่จะสั่งการ (direct) จัดการ (manage) ตรวจสอบติดตามเฝ้าสังเกต
(monitor) ฯลฯ ด้วย
สัญญาจ้างก่อสร้างมาตรฐานของประเทศอื่น ๆ ก็เขียนข้อความที่มีความหมายในทานองเดียวกัน แม้

15
ความเข้าใจเบื้องต้น

จะใช้ถ้อยคาแตกต่างกันออกไปก็ตาม เช่น สัญญามาตรฐานของประเทศอังกฤษฉบับหนึ่ง เขียนที่ข้อ 1 (2) ว่า


The Contractor shall be fully responsible for the adequacy, stability and safety of all site operations,
temporary works and method of construction of the Works, irrespective of any approval by the Project
Manager.

การที่กาหนดให้ผู้รับจ้างก่อสร้างเป็นผู้ควบคุม สั่งการ เฝ้าระวัง ขั้นตอนในการก่อสร้าง ความมั่นคง


แข็งแรง และความปลอดภัย มีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง เพราะผู้ว่าจ้างไม่มีความรู้ความเข้าใจในการก่อสร้ าง
เหมือนผู้รับจ้างก่อสร้าง อีกทั้งยังกาหนดให้ผู้รับจ้างก่อสร้างต้องทาการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กาหนด
ผู้รับจ้างก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพในการก่อสร้างต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการก่อสร้างว่าจะต้องทา
การก่อสร้างอย่างไร มีขั้นตอนและลาดับของการก่อสร้างอย่างไร ทาการก่อสร้างอย่างไรให้มั่นคงแข็งแรงและ
ปลอดภัย อีกทั้งเครื่องมือและคนงานในการก่อสร้าง ผู้รับจ้างก็เป็นคนจัดหา ต้องเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและ
มีประสิทธิภาพที่ดี กับยังมีอานาจบังคับบัญชาคนงานก่อสร้าง การควบคุมงานก่อสร้างจึงควรต้องอยู่กับผู้รับจ้าง
ก่อสร้างถึงจะถูกต้องด้วยความเป็นจริงและเหตุผล การที่เรียก “ผู้บริหารงานก่อสร้าง” ว่าเป็น “ผู้ควบคุมงาน” ใน
ประเทศไทย จึงเรียกไปตามลักษณะของงานที่ทา ไม่ได้เรียกให้สอดคล้องกับ อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่
ถูกต้อง ทาให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนไป
ด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าว “ผู้ควบคุมงาน” ตามกฎหมาย จึงควรต้องเป็นบุคลากรของผู้รับจ้าง จะได้ใช้
ความระมัดระวังในการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบและรายการก่อสร้างที่ทางราชการอนุญาต และจะได้มีความ
ปลอดภัย ตามที่กฎหมายกาหนด
เกี่ยวกับเรื่องนี้ สัญญา FIDIC White Book 2017 ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าผู้บริหารงานก่อสร้างไม่ใช่ผู้
ควบคุมงานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพราะคาว่า “ผู้ควบคุมงาน” มีอยู่ในกฎหมายไทย
สัญญาที่ผู้ทรงคุณวุฒิจัดทาขึ้นฉบับนี้จึงเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้บริหารงานก่อสร้าง “ไม่ใช่” ผู้ควบคุมงาน ตาม
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้ หากผู้บริหารงานก่อสร้าง มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ควบคุมงานตามกฎหมายไทย (วิศวกรควบคุม
หรือสถาปนิกควบคุม) และสมัครใจที่จะเป็นผู้ควบคุมงานด้วย ก็ย่อมทาได้ โดยเขียนใน “เงื่อนไขเฉพาะ” หรือ ใน
ขอบเขตของงานของผู้บริหารงานก่อสร้างให้ชัดเจนว่า ผู้บริหารงานก่อสร้าง จะทาหน้าที่เป็น ผู้ควบคุมงาน ตาม
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ด้วย

ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสัญญาฉบับนี้
เนื่องจากสัญญาฉบับนี้จัดท าขึ้นเป็นภาษาไทย การใช้ภาษาอัง กฤษปะปนจ านวนมากจึงไม่น่าจะ
เหมาะสม สัญญาฉบับนี้จึงหลีกเลี่ยงที่จะใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

16
ความเข้าใจเบื้องต้น

แต่เนื่องจากคาบางคา วงการก่อสร้างเราเรียกขานเป็นภาษาอังกฤษจนเป็นที่คุ้นเคยและรู้จักกันดี เมื่อ


ใช้คาภาษาไทยก็ใช้แตกต่างกันไปจนเกิดความสับสนไม่แน่นอนว่าคานั้นหมายถึงอะไรหรือเอกสารฉบับไหน เมื่อใช้
คาเป็นภาษาอังกฤษก็จะแน่นอนกว่า ในกรณีเช่นนี้ สัญญาฉบับนี้จะมีคาภาษาอังกฤษกากับไว้ด้วยเพื่อให้รู้ว่าคา
ภาษาไทยนั้นมีความหมายตรงกับคาภาษาอังกฤษที่ เรารู้จักกันดีว่าเป็นคาอะไรหรือเอกสารฉบับไหน เช่น คาว่า
ประกันภัยวิชาชีพ ประกันภัยคุ้มครองความรับผิดทางวิชาชีพ หรือ ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ ก็จะมีคา
ภาษาอังกฤษกากับไว้ว่า Professional Indemnity Insurance หรือ PII

การใช้สัญญาฉบับนี้
โดยที่สัญญาฉบับนี้ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวสัญญา และเอกสารผนวก รวม 9 ฉบับ คือ
1. ส่วนที่ 1 ข้อตกลง
2. ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป
3. ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ
4. ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
5. ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
6. เอกสารผนวก 1 ขอบเขตของงานของผู้บริหารงานก่อสร้าง
7. เอกสารผนวก 2 สิ่งอานวยความสะดวกที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้
8. เอกสารผนวก 3 ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
9. เอกสารผนวก 4 จานวนและคุณสมบัติบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง
ที่เรียกเป็นส่วน ๆ รวม 5 ส่วนนั้น เป็นส่วนที่เป็น “สัญญา” ฉบับเดียวกัน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้
สามารถนาไปใช้ได้ง่ายและสะดวก เป็นไปตามรูปแบบของสัญญามาตรฐาน
สาหรับเอกสารผนวก รวม 4 ฉบับนั้น ก็เป็นไปตามมาตรฐานของสัญญา FIDIC ที่เป็นเอกสารผนวกก็
เพราะ ไม่สามารถเขียนข้อความเป็นมาตรฐานได้ เนื่องจากแต่ละโครงการจะเขียนแตกต่างกันเป็นการทั่วไป ทาให้
เขียนข้อความเป็นการมาตรฐานไม่ได้ แต่ละโครงการต้องเขียนข้อความกันเอง การทาเป็นเอกสารผนวกให้ไว้ก็
เพื่อให้รู้ว่า โครงการโดยทั่วไปต้องมีเอกสารผนวกอะไรบ้าง เช่น เอกสารผนวก 1 ขอบเขตของงานของผู้บริหารงาน
ก่อสร้าง แต่ละโครงการผู้บริหารงานก่อสร้างจะมีขอบเขตของงานแตกต่างกั น แบบมาตรฐานแนะน าให้เขี ยน
ขอบเขตของงานในเอกสารผนวกฉบับนี้
เอกสารผนวกทั้ง 4 ฉบับ ผู้บริหารงานก่อสร้างมักจะเสนอต่อผู้ว่าจ้างแล้วในขั้นตอนของการประกวด
ราคาหรือเสนอราคา เมื่อผู้ว่าจ้างตกลง หรือแก้ไขจนผู้ว่าจ้างตกลงแล้ว เอกสารเหล่านั้นอาจนามาเป็นเอกสาร

17
ความเข้าใจเบื้องต้น

ผนวกตามลาดับของเอกสารผนวกที่กาหนดไว้ได้ การนามาผนวกควรนามาผนวกตามลาดับเลขที่ของเอกสารที่
ก าหนดไว้ เพราะเงื่อนไขทั่วไปในสัญญาอ้างถึงเลขล าดับเหล่านั้นไว้แล้ว หากน ามาผนวกผิดล าดับ จะท าให้
ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปอ้างถึงเอกสารผิดไป เกิดความสับสนขึ้นได้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลง
ส่วนที่ 1 นี้เป็นส่วนที่เรียกว่าข้อตกลง ระบุสถานที่และวันที่ทาสัญญา ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา ผู้ มี
อานาจลงนามในสัญญาหรือผู้รับมอบอานาจ มีข้อความเฉพาะเท่าที่จาเป็นตามแบบสัญญามาตรฐาน ส่วนที่จะต้อง
กรอกข้อความลงไป ได้เว้นช่องให้กรอกขนาดที่คิดว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ผู้ น าแบบสัญ ญาไปใช้อาจกรอกเพียง
ข้อความเท่าที่จาเป็นเท่านั้น โดยไม่ต้องไปจัดพิมพ์ใหม่
โดยที่เอกสารสัญญามีจานวนมาก อาจมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกันได้ สัญญาฉบับนี้จึงได้ระบุวิธีการ
บริหารการขัดแย้งกันของเอกสารสัญญา (Discrepancy of Contract Documents) ไว้ในส่วนนี้ของสัญญาแล้วว่า
หากเอกสารสัญญาเกิดขัดหรือแย้งกัน ให้ใช้ข้อความในเอกสารฉบับใดใช้บังคับ
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป
ส่วนที่เป็นเงื่อนไขทั่วไป มีข้อความตามสัญญาของ FIDIC ที่ใช้เป็นแนวทาง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างในประเทศไทย ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปที่จะต้องระบุรายละเอียด จะระบุให้กาหนด
รายละเอียดเหล่านั้นในส่วน 4 ของสัญญาที่เรียกว่า “รายละเอียดของสัญญา”
ตามสัญญามาตรฐาน ข้อความในเงื่อนไขทั่วไป ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแต่อย่างใด แม้ว่าจะไม่ตรงกับ
ความต้องการของคู่สัญญาที่นาสัญญามาตรฐานไปใช้ก็ตาม เพราะมีส่วนของสัญญาที่เรียกว่า “เงื่อนไขเฉพาะ”
เตรียมไว้ให้แก้ไขให้ตรงกับความต้องการของคู่สัญญาอยู่แล้ว โดยที่สัญญาส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลง เขียนเป็น
เงื่อนไขไว้แล้วว่า หากข้อความในเงื่อนไขทั่วไปขัดหรือแย้งกับข้อความในเงื่อนไขเฉพาะ ให้ใช้ข้ อความในเงื่อนไข
เฉพาะบังคับ
เพราะฉะนั้นหากข้อความในเงื่อนไขทั่วไปข้อใดไม่เหมาะสมกับโครงการหนึ่งโครงการใด ก็ ให้เขียน
ข้ อ ความที ่ เ หมาะสมของโครงการนั ้ น ๆ เข้ า ไปในส่ ว นของสั ญ ญาที ่ เ รี ย กว่ า “เงื ่ อ นไขเฉพาะ” (Particular
Conditions) ซึ่งจะทาให้ข้อความในเงื่อนไขทั่วไปไม่ใช้บังคับ และให้ใช้บังคับตามข้อความในเงื่อนไขเฉพาะ
เพราะฉะนั้นสัญญาส่วนที่เป็นเงื่อนไขทั่วไป จึง ไม่ต้องจัดท าใหม่ ซึ่ง จะท าให้สามารถท าสัญญาได้
รวดเร็ว
ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ
ส่วนที่ 3 ของสัญญา เป็นส่วนของ “เงื่อนไขเฉพาะ” เป็นแบบพิมพ์เปล่า เพื่อให้คู่สัญญาเขียนข้อความ

18
ความเข้าใจเบื้องต้น

ใส่เข้าไป ข้อความที่จะเขียนใส่เข้าไปนี้มีความสาคัญมาก เพราะจะเป็นเงื่อนไขของสัญญาที่คู่สัญญาต้องถือปฏิบัติ


และถ้าข้อความนี้มีความหมายขัดหรือแย้งกับเงื่อนไขทั่วไป หรือเอกสารส่วนอื่น ๆ ของสัญญา สัญญาก็กาหนดให้
ใช้บังคับตามที่คู่สัญญาเขียนเข้าไปในเอกสารส่วนนี้ ถึงได้เรียกว่า “เงื่อนไขเฉพาะ” (Particular Conditions)
ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
ส่วนที่ 4 นี้ เป็นส่วนของรายละเอียดของสัญญา เอกสารส่วนนี้รองรับส่วนที่ 2 (เงื่อนไขทั่วไป) เพราะ
ส่วนที่ 2 เป็นเงื่อนไขละเอียดของทุกเงื่อนไขที่สัญญาทั่วไปควรจะมี แต่เนื่องจากรายละเอียดบางอย่างของแต่ละ
โครงการจะแตกต่างกัน จึงต้องมีเอกสารส่วนนี้รองรับการระบุรายละเอียดเหล่านั้น
ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
สัญญาที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างในประเทศไทย รวมถึงสัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างด้วย เอกสารที่
แนบสัญญาหรือที่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญามีจานวนมาก เอกสารบางฉบับมีจานวนหลายสิบหรือหลายร้อย
หน้า บางฉบับเป็นเล่ม ไม่สามารถนามาแนบกับสัญญาได้
เพื่อความสะดวกในการระบุเอกสารเหล่านี้ลงในสัญญา จึงได้แยกสัญญาออกเป็นอีกส่วนหนึ่งเพื่อระบุ
ชื่อเอกสารและจานวนหน้าหรือเล่มตามที่สัญญาในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะระบุไว้ แต่มักระบุในเงื่อนไขทั่วไป
หรือในตัวสัญญา การแยกส่วนที่จะระบุเอกสารแนบท้ายสัญญาหรือที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาออกไปอยู่ในอีก
ส่วนหนึ่งของสัญญาจะเป็นการสะดวกกว่า เพราะไม่กระทบส่วนอื่นของสัญญา ทาให้ส่วนอื่นของสัญญาเป็นส่วนที่
เตรียมได้แล้วเสร็จก่อน
เอกสารผนวก 1 ขอบเขตของงานของผู้บริหารงานก่อสร้าง
ในขั้นตอนของการประกวดราคาหรือการเสนอราคา ผู้ว่าจ้างจะก าหนดขอบเขตของงานที่ว่าจ้าง
ผู้บริหารงานก่อสร้างไว้แล้ว หรือผู้บริหารงานก่อสร้างอาจเสนอขอบเขตของงานที่มากกว่าที่ผู้ว่าจ้างกาหนดก็ได้
เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้บริหารงานก่อสร้างตกลงขอบเขตของงานกันแล้ว ขอบเขตของงานที่ได้ตกลงกันแล้วนี้ อาจนามา
แนบหรืออ้างถึง เป็นเอกสารผนวก 1 ของสัญญาฉบับนี้ได้ โดยไม่ต้องจัดพิมพ์ขึ้นใหม่
เอกสารผนวก 2 สิ่งอานวยความสะดวกที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้
ในการบริหารงานก่อสร้างของผู้บริหารงานก่อสร้าง ผู้บริหารงานก่อสร้างจาเป็นต้องมีสถานที่ทางาน
ชั่วคราวในบริเวณสถานที่ก่อสร้างหรือใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้าง นอกจากสถานที่ทางานชั่วคราวแล้ว ยังต้องมี
เครื่องไม้เครื่องมือในการทางาน เช่น ห้องประชุม โต๊ะเก้าอี้ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรม
ที่จ าเป็น กล้องถ่ายรูป หากเป็นสถานที่ไกล ๆ อาจต้องมีรถยนต์หรือรถกระบะด้วย นอกจากนี้ยังต้องใช้วัสดุ
สิ้นเปลืองต่าง ๆ เช่น กระดาษพิมพ์ หมึกพิมพ์ ฯลฯ อุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้ หากผู้บริหารงานก่อสร้างจัดหามา

19
ความเข้าใจเบื้องต้น

ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้บริหารงานก่อสร้าง ก็จะทาให้ค่าจ้างสูงขึ้น สัญญามาตรฐานจึงกาหนดให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา


เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ให้ ซึ่งสัญญาของ FIDIC เรียกว่า Facilities หรือสิ่งอานวยความสะดวก สิ่งอานวยความ
สะดวกเหล่านี้ เมื่อหมดความจาเป็นต้องใช้แล้ว ต้องคืนผู้ว่าจ้างในสภาพที่ใช้งานแล้วนั้น
ของใช้สิ้นเปลือง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จ าเป็น เช่น ค่ากระดาษพิมพ์ ค่าเดินทาง ฯลฯ สัญ ญา
มาตรฐานก็กาหนดให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ออกชาระ
สัญญามาตรฐานของต่างประเทศยังกาหนดให้ผู้ว่าจ้างจัดหาบุคลากรให้ ผู้บริหารงานก่อสร้างด้วย เพื่อ
เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ว่าจ้าง เช่น จัดหาวิศวกร สถาปนิก ช่างเทคนิค นักกฎหมาย ฯลฯ จานวนหนึ่ง
ตามคุณสมบัติที่กาหนด โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้ออกชาระค่าจ้าง ส่วนใหญ่จะไม่ระบุถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
หรือแม่บ้าน
ส าหรับสัญญาจ้างบริหารงานก่อ สร้ างในประเทศ ไม่มีความจ าเป็นต้องให้ ผู้ว่ าจ้างจั ดหาวิ ศ วกร
สถาปนิก หรือช่างเทคนิค ฯลฯ ให้ เพราะไม่ได้ทาให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้มากนัก อีกทั้งยังเป็นการยุ่งยากในเรื่องของ
การบังคับบัญชาด้วย บางสัญญาหากมีการกาหนดให้ผู้ว่าจ้างจัดหาบุคลากรให้ ก็มักจะระบุให้จัดหาพนักงานรักษา
ความปลอดภัยกับแม่บ้านทาความสะอาดให้ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่มักมีพนักงานรักษาความปลอดภัยกับแม่บ้านอยู่
แล้วโดยการจัดหาของผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างก่อสร้าง จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องระบุในสัญญาจ้างบริหารงาน
ก่อสร้างให้ผู้ว่าจ้างต้องจัดหาให้อีก
เอกสารผนวก 3 ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
จานวนเงินค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง ผู้บริหารงานก่อสร้างแต่ละรายอาจกาหนดไว้แตกต่างกัน บาง
รายอาจกาหนดให้จ่ายเป็นรายเดือนในจานวนที่แน่นอน บางรายอาจกาหนดให้จ่ายเป็นรายเดือนเช่นกัน แต่ตาม
จานวนบุคคลากรที่กาหนดในสัญญา
บุคลากรบางคนทางานเต็มเวลา (Full Time) บางคนทางานเฉพาะบางส่วนของเวลา (Part Time)
อัตราก็แตกต่างกันไป
นอกจากค่าจ้างรายเดือ นแล้ว ยัง มีการก าหนดค่าจ้ างรายชั่ว โมงไว้ด้ว ยในกรณี ที่ บุ คลากรของผู้
บริหารงานก่อสร้างบางคนต้องทางานล่วงเวลาในวันทางาน ทางานในวันหยุด หรือทางานล่วงเวลาในวันหยุด
ในเงื่อนไขทั่วไปอาจมีการระบุให้กาหนดเวลาทางานปกติของผู้บริหารงานก่อสร้างไว้ในรายละเอียด
ของสัญญา เช่นกาหนดเวลาทางานปกติไว้ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยหยุดพักกลางวันเวลา 12.00 –
13.00 น. ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์เป็นเวลา 08.30 – 12.00 น. วันอาทิตย์และวันหยุดตามประเพณี
อื่น ๆ เป็นวันหยุดทางาน หากบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้างทางานล่วงเวลาในวันทางาน ทางานในวันหยุด

20
ความเข้าใจเบื้องต้น

หรือทางานล่วงเวลาในวันหยุด ก็จะมีการคิดค่าล่วงเวลาเหล่านี้ด้วย
เอกสารผนวก 4 จานวนและคุณสมบัติบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง
สัญญาของ FIDIC ไม่มีการพูดถึงจ านวนและคุณสมบัติของบุคลากรของผู้บริหารงานก่อสร้าง แต่
สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้างในประเทศไทยส่วนใหญ่จะต้องมีการระบุรายละเอียดเหล่านี้ไว้
เพื่อให้สอดคล้องกับทางปฏิบัติในประเทศไทย สัญญาฉบับนี้จึงกาหนดเอกสารผนวกอีกฉบับหนึ่ง เป็ น
เอกสารผนวก 4 เพื่อกาหนดรายละเอียดเหล่านี้ การจัดทาสัญญาจะได้เป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว

การจัดทาสัญญาให้รวดเร็วขึ้น
สมัยนี้คอมพิวเตอร์ช่วยท างานยากให้ง ่ายและรวดเร็ว การเขียนสัญญาอาจเขียนได้ด้วยโปรแกรม
word แต่การจะทาเป็นสัญญามาตรฐานสาเร็จรูปพร้อมใช้งาน ถ้าสัญญาที่ทามีจานวนมาก ผู้จัดทาก็ส่งไปโรงพิมพ์
ให้เขาพิมพ์ให้ สัญญาที่เขาพิมพ์ให้ก็จะอยู่ในรูปแบบของกระดาษ เวลาจะนามาใช้ก็กรอกข้อความนิดหน่อย แล้ว
ลงชื่อ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย
ถ้าให้ทันสมัยขึ้นไปอีก บริษัทหรือหน่วยงานบางแห่ง มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิมพ์ข ้อความใน
คอมพิวเตอร์เรียบร้อย กรอกข้อความในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วย พอกรอกเสร็จก็พิมพ์ออกมาทั้งฉบับ รูปแบบ
สวยงาม วิธีการนี้คงเหมาะสมกับปริมาณของสัญญาที่มีลักษณะเดียวกันจานวนมาก เช่น กรมธรรม์ประกันภัย
ไม่อย่างนั้นค่าใช้จ่ายในการทาโปรแกรมเหล่านี้ก็คงไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้
วิธีการง่าย ๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ไม่ต้องส่งไปพิมพ์ที่โรงพิมพ์ คือ การแปลงไฟล์ที่เขียนข้อความที่
ดี ตรวจความถูกต้อง และเว้นช่องห่างสาหรับกรอกอย่างเหมาะสมแล้ว แปลงจากไฟล์ word ที่พิมพ์ไว้เรียบร้อย
แล้ว เป็นไฟล์ pdf แล้วกาหนดบริเวณที่เว้นไว้ให้กรอกข้อความเป็นช่องสาหรับกรอก ช่องสาหรับกรอกข้อความ
เดียวกัน ก็กาหนดให้กรอกทีเดียว ข้อความที่กรอกก็จะขึ้นมาในทุกช่อง ทุกอย่างก็ง่ายเข้า
การทาสัญญาก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น



21
ความเข้าใจเบื้องต้น

22
สั ญญาจ้ างบริหารงานก่อสร้ าง
ส่ วนที่ 1 ข้ อตกลง
โครงการ ............................................................................

สัญญาเลขที่ .........................

สัญญาฉบับนี้ทาขึ้นที่ ...................................................... ตาบล/แขวง ....................................................


อาเภอ/เขต ........................................... จังหวัด ........................................ เมื่อวันที่ ................................ ระหว่าง
.............................................................................................................. โดย ..........................................
และ .................................................................. กรรมการผูม้ ีอานาจ หรื อ โดย ......................................................
ผูร้ ับมอบอานาจ ตามหนังสื อมอบอานาจแนบท้ายสัญญานี้ สานักงานตั้งอยูเ่ ลขที่ ............................. หมู่ที่ ..........
อาคาร/หมู่บา้ น ...................................... ถนน ............................................ ตาบล/แขวง .......................................
อาเภอ/เขต ......................................... จังหวัด ............................................. (ต่อไปในสัญญานี้เรี ยกว่า “ผูว้ ่าจ้าง”)
ฝ่ ายหนึ่ง กับ
.......................................................................................................... โดย ................................................
และ ................................................................ กรรมการผูม้ ีอานาจ หรื อ โดย ......................................................
ผูร้ ับมอบอานาจ ตามหนังสื อมอบอานาจแนบท้ายสัญญานี้ สานักงานตั้งอยูเ่ ลขที่ ............................. หมู่ที่ ..........
อาคาร/หมู่บา้ น .......................................... ถนน ........................................ ตาบล/แขวง .......................................
อาเภอ/เขต ......................................... จังหวัด .......................................... (ต่อไปในสัญญานี้เรี ยกว่า “ผูบ้ ริ หาร
งานก่อสร้าง”) อีกฝ่ ายหนึ่ง
โดยที่ผวู ้ ่าจ้างมีความประสงค์จะทาการก่อสร้างงาน .................................................................................
โครงการ ......................................................................................... ตั้งอยูท่ ี่ ถนน ..................................................
ตาบล/แขวง .......................................... อาเภอ/เขต ........................................... จังหวัด .......................................
มีความประสงค์จะว่าจ้างผูม้ ีความรู้ ความสามารถในการบริ หารและจัดการงานก่อสร้าง ตลอดจนกากับและ
ตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้างตามหลักวิชาการและการบริ หารงานก่อสร้างที่ดี และ
โดยที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างมีความรู้ความสามารถเป็ นอย่างดีในการบริ หารและจัดการงานก่อสร้างตาม
ความประสงค์ของผูว้ ่าจ้างและตามหลักวิชาการบริ หารงานก่อสร้างที่ดี และมีความประสงค์ที่จะให้บริ การแก่
ผูว้ ่าจ้างภายในขอบเขตของสัญญานี้
ทั้งสองฝ่ ายจึงได้ตกลงทาสัญญาฉบับนี้ข้ นึ มีขอ้ ความดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผูว้ ่าจ้างตกลงจ้างและผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตกลงรับจ้างบริ หารงานก่อสร้างให้ผูว้ ่าจ้างด้วยการ
เป็ นผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างของผูว้ ่าจ้าง โดยมีรายละเอียด ขอบเขตของงาน และกาหนดเวลาที่

1
ข้อตกลง (Articles of Agreement) สัญญาเลขที่ .................................

ระบุไ ว้ในเอกสารผนวก 1 (ขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ าง) และเงื่อ นไขแห่ งสัญญานี้ (ต่อ ไปนี้
เรี ยกว่า “งานตามสัญญา”)
ข้อ 2. คู่สัญญาตกลงค่าจ้าง (ต่อไปนี้เรี ยกว่า “ค่าจ้าง”) และการจ่ายค่าจ้างตามที่กาหนดไว้ในเอกสาร
ผนวก 3 (ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง)
ข้อ 3. คู่ สั ญ ญาเข้า ใจและยอมรั บ ว่ า ในการด าเนิ น งานตามสั ญ ญานี้ ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งต้อ ง
ดาเนิ นการให้ถูกต้องสอดคล้องกับหลักวิชาการ มาตรฐานวิชาชี พ เงื่อ นไขแห่ งสัญญาจ้างก่อสร้ างระหว่างผู ้
ว่ า จ้า งกับ ผู ้รั บ จ้างอื่น ๆ และบทกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้อ ง เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู งสุ ด ต่อ งานตามสั ญญานี้ และ
โครงการของผู ้ว่ า จ้า ง ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งจึ ง มี ห น้า ที่ ที่ จ ะต้อ งปฏิ บัติ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้อ งกับ หลัก วิ ช าช่ าง
มาตรฐานการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ของงานก่อสร้าง ธรรมเนี ยมปฏิบตั ิของผูป้ ระกอบวิชาชีพที่ถือปฏิบตั ิเป็ น
การทัว่ ไป และความถูกต้องเป็ นธรรมเป็ นสาคัญ
ข้อ 4. สัญญาฉบับนี้ประกอบด้วย
4.1 ตัวสัญญา ซึ่งได้แก่
(1) ส่วนที่ 1 ข้อตกลงฉบับนี้
(2) ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป
(3) ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ
(4) ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
(5) ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
4.2 เอกสารผนวกสัญญา ซึ่งประกอบด้วย
(1) เอกสารผนวก 1 - ขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(2) เอกสารผนวก 2 - บุคลากรและสิ่ งอานวยความสะดวกที่ผวู ้ ่าจ้างจัดหาให้
(3) เอกสารผนวก 3 - ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
(4) เอกสารผนวก 4 - จานวนและคุณสมบัติของบุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
ในกรณีที่เอกสารผนวกสัญญามีขอ้ ความขัดหรื อแย้งกับสัญญา ให้ใช้ขอ้ ความในสัญญาบังคับ
ในกรณีที่เงื่อนไขทัว่ ไปมีขอ้ ความขัดหรื อแย้งกับเงื่อนไขเฉพาะ ให้ใช้ขอ้ ความในเงื่อนไขเฉพาะบังคับ
ในกรณีที่งานตามสัญญานี้ส่วนใด ๆ มีความไม่ชดั เจน หรื อไม่ได้กาหนดไว้ในเอกสารฉบับใด ๆ ที่เป็ น
ส่ วนหนึ่ งของสัญญานี้ แต่เป็ นงานจาเป็ นที่ตอ้ งทาตามหลักวิชาการที่ดี หรื อตามธรรมเนียมปฏิบตั ิ ที่ถือว่าอยูใ่ น
ขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง หรื อเพื่อความสมบูรณ์ของงานตามสัญญานี้ ให้ถือว่างานดังกล่าวนั้น
รวมอยูใ่ นงานตามสัญญานี้ดว้ ย

2
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 1 ข้อตกลง สัญญาเลขที่ .................................

สัญญานี้ ทาขึ้นเป็ นสองฉบับ มีขอ้ ความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่ งฉบับ ทั้งสอง


ฝ่ ายได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว เห็ นว่าถูกต้อ งตรงตามความประสงค์ จึ งได้ลงลายมือ ชื่ อ และ
ประทับตราสาคัญ (ถ้ามี) ไว้

ลงชื่อ ผูว้ ่าจ้าง ลงชื่อ ผูบ้ ริ หารงาน


( ) ( ) ก่อสร้าง

ลงชื่อ ผูว้ ่าจ้าง ลงชื่อ ผูบ้ ริ หารงาน


( ) ( ) ก่อสร้าง

ลงชื่อ ผูร้ ับมอบอานาจ ลงชื่อ ผูร้ ับมอบอานาจ


( ) ( )

ลงชื่อ พยาน ลงชื่อ พยาน


( ) ( )

3
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป
สัญญาเลขที่ .............................

ข้อ 1 บททัว่ ไป
1.1 คาจากัดความ
นอกจากที่ได้ให้คาจากัดความไว้แล้วในสัญญานี้ หรื อที่ขอ้ ความเดียวกันในสัญญานี้มีความหมาย
เป็ นอย่างอื่น คาหรื อข้อความในสัญญานี้ ให้มีความหมายดังนี้
(1) “การก่อสร้าง” หมายความว่า การก่อสร้างโครงการนี้ของผูว้ ่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็ นการก่อ สร้าง
งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม หรื องานใด ๆ
(2) “ผูร้ ับจ้างก่อสร้าง” หมายความว่า ผูร้ ับจ้างก่อสร้างงานโครงการนี้ของผูว้ ่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็ น
สัญญาจ้างก่อสร้างฉบับเดียวหรื อหลายฉบับ หรื อ ผูร้ ับจ้างก่อสร้างรายเดียวหรื อหลายราย ก็ตาม
(3) “ผูจ้ าหน่ายวัสดุ” หมายความว่า ผูจ้ าหน่ายวัสดุก่อสร้างหรื อสิ นค้าที่ผูว้ ่าจ้างหรื อผูร้ ับ จ้าง
ก่อสร้างเป็ นผูส้ ั่งซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้างงานโครงการก่อสร้างของผูว้ ่าจ้างตามสัญญานี้
(4) “สัญญาจ้างก่อสร้าง” หมายความว่า สัญญาจ้างก่อสร้างงานโครงการนี้ของผูว้ ่าจ้าง ไม่ว่าจะ
เป็ นสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับเดียวหรื อหลายฉบับ ก็ตาม
(5) “วันทีส่ ัญญาครบกาหนด” หมายความว่า วันที่ครบกาหนดระยะเวลาตามสัญญานี้
(6) “วันที่สัญญาสิ้ นสุ ด” หมายความว่า วันที่สัญญาครบกาหนด หรื อ วันที่สัญญานี้เป็ นอันเลิก
กันด้วยการบอกเลิก หรื อด้วยเหตุผลประการอื่น
1.2 การตีความ
(1) หัวข้อของสัญญาเขียนขึ้นเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ใช้ในการตีความสัญญา
นี้ดว้ ย
(2) คาภาษาอังกฤษที่เขียนกากับภาษาไทย เขียนขึ้นเพื่อ ให้เข้าใจว่ามีความหมายในทานอง
เดี ยวกัน ในกรณี ที่คาภาษาไทยมีความหมายที่อ าจตีความไปได้หลายอย่าง ให้มีความหมายที่
เทียบเคียงได้กบั ความหมายในภาษาอังกฤษที่เขียนกากับไว้
1.3 การสื่ อสารระหว่างคู่สัญญา
การติดต่อสื่ อสารระหว่างคู่สัญญาต้องทาเป็ นหนังสื อและลงลายมือชื่อไว้เป็ นหลักฐาน หรื ออาจ
สื่ อสารทางอิเล็กทรอนิ กส์ อย่างอื่น เช่น อีเมล ไลน์ ฯลฯ ก็ได้ แต่จะใช้เป็ นหลักฐานได้จะต้องแสดงให้
เห็นอย่างชัดเจนว่าผูร้ ับได้รับแล้ว หรื อได้สื่อสารตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่า

1
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
1.4 การโอนสิ ทธิ และ การจ้างช่วง
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องไม่โอนสิ ทธิ ประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญานี้ ให้แก่บุคคลอื่นโดย
ไม่ได้รับความยินยอมจากผูว้ ่าจ้างก่อน เว้นแต่เป็ นการโอนสิ ทธิ ในการรับเงินจากผูว้ ่าจ้างที่ถึง
กาหนดหรื อจะถึงกาหนดชาระ
(2) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องไม่จา้ งช่วง มอบหมาย หรื อโอนงานตามสัญญานี้ ไปให้บุคคล
อื่นทาแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรื อแต่เพียงบางส่ วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผูว้ ่าจ้างก่อน และ
เมื่อผูว้ ่าจ้างให้ความยินยอมแล้ว ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างยังคงต้องรับผิดต่อผูว้ ่าจ้างตามสัญญานี้ทุก
ประการ
1.5 ทรัพย์สินทางปัญญา
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเป็ นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิ ทธิ์ ในเอกสารที่ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างทาขึ้นเกี่ยวกับงานตามสัญญานี้ โดยผูว้ ่าจ้างมีสิทธิ นาไปใช้ เก็บรักษา และทาสาเนาเพื่อ
งานตามสัญญานี้ได้โดยไม่ตอ้ งได้รับความยินยอมจากผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างก่อน
(2) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องเป็ นผูร้ ับผิดชอบต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น
ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างนามาใช้ในการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ โดยไม่ไ ด้รับความยินยอมจาก
เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก่อน
1.6 การเผยแพร่ เอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ
(1) ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งอาจใช้ชื่ อ และลัก ษณะโดยย่อ ของโครงการตามสั ญ ญานี้ เ พื่ อ ใช้
ประกอบการเสนอราคางานโครงการอื่นของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างได้
(2) ในกรณี อื่น ๆ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะใช้เอกสารหรื อข้อมูลเกี่ยวกับโครงการตามสัญญานี้
ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็ นหนังสื อ จากผูว้ ่าจ้างก่อน เว้นแต่งานก่อ สร้ างแล้วเสร็ จ หรื อ
สัญญานี้สิ้นสุดลงเกินกว่า 2 (สอง) ปี แล้วแต่เวลาไหนจะสั้นกว่ากัน
1.7 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
(1) คู่สัญญาตกลงกันว่า สัญญานี้ ไ ม่มีผลทาให้เกิ ดห้างหุ้นส่ วน ตัวแทน กิ จการร่ วมค้า หรื อ
กิจการค้าร่ วม ระหว่างคู่สัญญาแต่ประการใด
(2) ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ ายหนึ่ งฝ่ ายใดประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 (สอง) คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็ น

2
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

นิติบุคคลหรื อบุคคลธรรมดา คู่สัญญาฝ่ ายนั้นจะต้องร่ วมกันหรื อแทนกันรับผิดต่อคู่สัญญาอีกฝ่ าย


หนึ่ง
1.8 การแก้ไขสัญญา
สัญญาฉบับนี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อทาเป็ นหนังสื อลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ าย
1.9 การแยกส่วนของสัญญา
ในกรณี ที่ขอ้ ความในสัญญานี้ ส่วนหนึ่ งส่ วนใดใช้บงั คับไม่ได้ดว้ ยประการใด ๆ ก็ตาม ให้ถือว่า
เฉพาะข้อความส่ วนนั้นไม่มีผลใช้บงั คับ ส่ วนข้อความส่ วนอื่น ๆ ยังให้มีผลใช้บงั คับได้โดยครบถ้วน
สมบูรณ์ทุกประการ โดยที่คู่สัญญาจะได้ทาความตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาส่ วนที่ไม่มี
ผลใช้บงั คับเพื่อให้สามารถใช้บงั คับได้ใกล้เคียงที่สุด
1.10 การสละสิ ทธิ์
(1) การสละสิ ทธิ์ของคู่สัญญาตามสัญญานี้ให้มีผลต่อเมื่อคู่สัญญาฝ่ ายที่สละสิ ทธิ์ทาเป็ นหนังสือ
และระบุสิทธิ์ที่สละไว้โดยแจ้งชัด
(2) ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ ายหนึ่ งฝ่ ายใดประพฤติผิดสัญญา และคู่สัญญาอีกฝ่ ายหนึ่งไม่ได้ใช้สิทธิ
ตามสัญญา ให้ถือว่าเป็ นการสละสิ ทธิ์ เฉพาะกรณี น้ นั เท่านั้น และไม่ถือว่าเป็ นการสละสิ ทธิ์ ใน
เรื่ องเดียวกันในทุกกรณี

ข้อ 2 ผูว้ ่าจ้าง


2.1 ข้อมูล และเอกสาร
(1) ผูว้ ่าจ้างจะมอบข้อมูล และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบตั ิหน้าที่ของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างที่ผูว้ ่าจ้างมีอยู่ให้แก่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเพื่อประโยชน์ในการทางานของผูบ้ ริ หารงาน
ก่ อ สร้ า งตามสั ญ ญานี้ โดยไม่ คิ ด มู ล ค่ า และภายในเวลาอัน สมควรที่ จ ะไม่ ท าให้ ง านของผู ้
บริ หารงานก่อสร้างเกิดความล่าช้า
(2) ข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ให้หมายความรวมถึ ง แบบก่อ สร้ าง ข้อ กาหนดการก่อ สร้ า ง
สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาซื้ อขายวัสดุ สาเนาหนังสื อค้ าประกัน สาเนากรมธรรม์ประกันภัย และ
เอกสารที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างจาเป็ นต้องรู้ในการปฏิบตั ิหน้าที่ของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างด้วย
(3) หากผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างไม่ได้รับ ข้อ มูลและเอกสารต่าง ๆ ที่จาเป็ น ทาให้ไ ม่สามารถ
ปฏิบตั ิหน้าที่ได้ถูกต้องสมบูรณ์ ทาให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบตั ิงาน หรื อทาให้เกิดค่าใช้จ่าย

3
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

เพิม่ มากขึ้น ไม่ถือเป็ นความรับผิดของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง


2.2 การตัดสิ นใจของผูว้ ่าจ้าง
ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องการความเห็น ความยินยอม คาสั่ง คาอนุมตั ิ ฯลฯ จากผูว้ ่าจ้าง
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องขอก่อนล่วงหน้าภายในระยะเวลาอันสมควร แล้วแต่ละกรณี โดยเฉพาะใน
กรณีที่ผวู ้ ่าจ้างต้องขอความเห็นจากบุคคลภายนอกด้วย และผูว้ ่าจ้างจะให้ความเห็น ความยินยอม คาสั่ง
คาอนุมตั ิ ฯลฯ ในเวลาอันสมควรเช่นกัน
2.3 ผูแ้ ทนผูว้ ่าจ้าง
(1) ผูแ้ ทนผูว้ ่าจ้างได้แก่บุคคลธรรมดาคนหนึ่ งคนใดที่ล งนามในสัญญานี้ ในนามของฝ่ ายผู ้
ว่าจ้าง เว้นแต่ผูว้ ่าจ้างจะแต่งตั้งผูแ้ ทนผูว้ ่าจ้างไว้เป็ นการเฉพาะและได้ส่งมอบหนังสื อแต่งตั้งให้
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างแล้ว
(2) การส่ งมอบและรับมอบเอกสาร การตัดสิ นใจหรื อตกลงใด ๆ ของผูแ้ ทนผูว้ ่าจ้างให้มี ผล
ผูกพันผูว้ ่าจ้างตามสัญญานี้
2.4 ผูเ้ ชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(1) ในการปฏิ บัติ ง านตามสั ญ ญานี้ ของผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า ง หากมี ค วามจ าเป็ นต้อ งใช้
ผูเ้ ชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการแก้ไขปั ญหาและอุปสรรคในการก่อสร้าง ที่ไม่อยู่ในขอบเขตของ
งานของผู ้บ ริ ห ารงานก่อ สร้ า ง ผู ้ว่ า จ้า งตกลงเป็ นผู ้จัดหาผู ้เ ชี่ ย วชาญเฉพาะด้านที่ จ าเป็ นด้วย
ค่าใช้จ่ายของผูว้ ่าจ้าง
(2) ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้างถูกฟ้อ งร้อ งดาเนิ นคดี โดยไม่ใช่ความผิดของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อ สร้ าง แต่เพราะเป็ นส่ วนหนึ่ งของงานโครงการของผูว้ ่าจ้าง ให้ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างจัดหา
ทนายความเอง โดยผูว้ ่าจ้างตกลงเป็ นผูช้ าระค่าทนายความดังกล่าว แต่ท้ งั นี้ ค่าทนายความที่ว่านี้
ต้องได้รับความเห็นชอบจากผูว้ ่าจ้างก่อน

ข้อ 3 ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง


3.1 การแต่งตั้งผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(1) ในกรณีที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างเป็ นนิ ติบุคคล ให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างแต่งตั้งบุคคลธรรมดา
คนหนึ่ งทาหน้าที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างให้ปฏิบตั ิหน้าที่แทนผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างที่เป็ นนิติบุคคล
โดยที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างนิ ติบุคคลที่เป็ นคู่สัญญายังคงต้องรับผิดต่อผูว้ ่าจ้างตามสัญญานี้ โดย

4
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

ครบถ้วนทุกประการ
(2) บุคคลธรรมดาที่ทาหน้าที่ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างต้อ งเป็ นบุคคลที่มีชื่อ ระบุให้ทาหน้า ที่ ผู ้
บริ หารงานก่อ สร้ างในเอกสารผนวก 4 (จานวนและคุณสมบัติของบุคลากรของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้าง)
(3) ในกรณี ที่เอกสารผนวก 4 (จานวนและคุณสมบัติของบุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ า ง)
ไม่ได้ระบุชื่อบุคคลให้ทาหน้าที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างไว้ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างนิ ติบุคคลจะต้อ ง
เสนอชื่อบุคคลธรรมดาที่แต่งตั้งให้ทาหน้าที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างพร้อมคุณสมบัติและหลักฐาน
แสดงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทางานต่อ ผูว้ ่าจ้าง เพื่อให้ผูว้ ่าจ้างให้ความ
เห็นชอบก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่ มปฏิบตั ิหน้าที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างได้
(4) การเปลี่ยนแปลงบุคคลธรรมดาที่ปฏิบตั ิหน้าที่ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะกระทามิได้ เว้นแต่
จะได้รับความยินยอมจากผูว้ ่าจ้างก่อน
3.2 การปฏิบตั ิหน้าที่ของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
โดยที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างปฏิบตั ิหน้าที่ดูแลการปฏิบตั ิตามสัญญาของผูร้ ับจ้างก่อสร้าง ไม่ใช่ผู ้
ควบคุมงานก่อสร้างตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรื อตามกฎหมายอื่น ที่จะต้องทาการ
ก่อสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายเพราะหน้าที่ดงั กล่าวเป็ นของผูร้ ับจ้างก่อสร้าง ผูร้ ับจ้างก่อสร้างจึงต้อง
แต่งตั้งผูค้ วบคุมงานตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรื อตามที่กฎหมายอื่นกาหนด
เพื่อให้เป็ นไปตามกฎหมาย ก่อนที่ผูร้ ับจ้างก่อสร้างจะเริ่ มทาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างก่อสร้าง
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างมีหน้าที่ตรวจสอบว่าผูร้ ับจ้างก่อสร้างได้แต่งตั้งผูค้ วบคุมงานก่อสร้างตามกฎหมาย
เรี ยบร้อยแล้ว
(1) ขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(ก) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องปฏิบตั ิหน้าที่ที่กาหนดไว้ในสัญญานี้ ให้ถูกต้องครบถ้วน
และภายในระยะเวลาที่กาหนดในสัญญานี้ หรื อที่ได้ขยายออกไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญานี้
(ข) ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างต้อ งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในหรื อ บริ เวณใกล้เคียงสถานที่ก่อ สร้ า ง
ตลอดเวลาที่มีการก่อสร้าง ทั้งนี้ ตามมาตรฐานวิชาชีพที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องอยู่ดู แล
ความถูกต้องของงานที่ทา
(ค) ในกรณี ที่วสั ดุอุปกรณ์การก่อสร้างมีการผลิตหรื อประกอบนอกสถานที่ก่อสร้าง และ
เป็ นวัสดุอุปกรณ์ที่สาคัญ เมื่อผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเห็นสมควร ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างอาจไป

5
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

ตรวจดูความถูกต้องตามสัญญา ณ สถานที่ผลิตหรื อประกอบ ด้วยค่าใช้จ่ายของผูว้ ่าจ้าง


(ง) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องปฏิบตั ิหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผวู ้ ่าจ้างร้องขอ หากหน้าที่ที่ผวู ้ ่าจ้าง
ร้ อ งขอนั้น โดยปกติ ทั่ว ไปอยู่ ใ นขอบเขตของงานของผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งหรื อ ตาม
มาตรฐานทางวิชาชีพ
(2) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างทาหน้าที่ 2 สถานะ ได้แก่
(ก) เป็ นตัวแทนของผูว้ ่าจ้างในการดูแลการทางานของผูร้ ับจ้างก่อสร้ างให้เป็ นไปตาม
สัญญาจ้างก่อสร้าง
(ข) เป็ นผู ้ป ระกอบวิ ช าชี พ อิส ระในกรณี ที่ สั ญญาจ้างก่อ สร้ างกาหนดให้ ผู ้บริ ห ารงาน
ก่อสร้างทาหน้าที่ด้วยความเป็ นกลางและเป็ นธรรมระหว่างคู่สัญญา ในการออกหนังสื อ
รับรองการจ่ายเงิน ออกหนังสื อรับรองการทางาน หรื อการไกล่เกลี่ยและวินิจฉัยข้อพิพาท
ระหว่างผูว้ ่าจ้างกับผูร้ ับจ้างก่อสร้าง
3.3 การทารายงาน
(1) รายงานประจาเดือน
ทุก ๆ เดื อ นในระหว่างการทางานตามสัญญานี้ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างจะต้อ งทารายงาน
ประจาเดื อนเป็ นรู ปเล่มมอบให้ผูว้ ่าจ้างก่อ นวันสิ้ นเดื อ นของแต่ล ะเดื อ น จานวน 3 (สาม) ชุ ด
รายงานประจาเดือนดังกล่าวนี้ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดผลงานในรอบ
เดือนดังต่อไปนี้
(ก) ผลการปฏิบตั ิงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(ข) สถานะการเงินและระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ
(ค) ผลการปฏิบตั ิงานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างทุกราย
(ง) แผนกาหนดเวลาการทางานงานที่ปรับปรุ งให้เป็ นปัจจุบนั ระบุสายงานวิกฤต (Critical
Path)
(จ) จานวนวัสดุที่นาเข้าในหน่วยงานก่อสร้างเพื่อใช้ทาการก่อสร้างงานก่อสร้ างถาวร ไม่
ว่าวัสดุเหล่านั้นผูว้ ่าจ้างหรื อผูร้ ับจ้างก่อสร้างเป็ นผูจ้ ดั หา
(ฉ) สรุ ปปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้างทั้งหมด รวมทั้งที่ได้แก้ไขไปแล้ว และที่ยงั ไม่
สามารถแก้ไขได้ ตลอดจนวิธีการแก้ไขหรื อข้อเสนอแนะในการแก้ไข

6
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

(ช) ภาพถ่ายความก้าวหน้าของงานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างทุกราย


(ซ) ข้อมูลและรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผวู ้ ่าจ้างกาหนด
(2) รายงานความล่าช้า
ในกรณี ดงั ต่อไปนี้ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องทารายงานให้ผูว้ ่าจ้างทราบโดยเร็ วเพื่อ ไม่ให้
การทางานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง ผูร้ ับจ้างก่อสร้าง หรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุ ล่าช้า
(ก) ได้รั บ ค าตอบล่ า ช้า จากผู ้ว่ า จ้า ง ผู ้อ อกแบบ หรื อ บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้อ งที่ ผู ้บ ริ ห ารงาน
ก่อสร้างจาเป็ นต้องได้รับก่อนที่จะดาเนินการที่จาเป็ นต่อไปได้
(ข) ผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุไม่ดาเนินการตามคาสั่งของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างที่
ได้เตือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็ นการเตือนในที่ประชุม หรื อเป็ นหนังสื อ
(ค) วัส ดุ ที่ ผู ้ว่ า จ้า งจัด หาเองหรื อ ที่ ผู ้รั บ จ้างก่อ สร้ างเป็ นผู ้จัด หาส่ งเข้า มายัง หน่ ว ยงาน
ก่อสร้างล่าช้าหรื อไม่ตรงตามที่สัญญากาหนดไว้หรื อที่ได้อนุญาตให้เทียบเท่า
(ง) ความก้าวหน้าของงานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุรายใดมีความล่าช้าจน
เป็ นที่คาดหมายได้ว่าจะไม่แล้วเสร็ จภายในเวลาที่สัญญากาหนด หรื อ จะทาให้เกิดความ
เสี ยหายต่อโครงการก่อสร้างของผูว้ ่าจ้างตามสัญญานี้
(3) รายงานอื่น ๆ
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตกลงที่จะทารายงานอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการทางานของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อ สร้ างตามสัญญานี้ ตามที่ผูว้ ่าจ้า งร้ อ งขอตามความจาเป็ นและไม่เป็ นภาระต่อ ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างเกินสมควร
3.4 การประชุม
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องจัดให้มีการประชุมประจาสัปดาห์ การประชุมทางเทคนิค และการ
ประชุมอื่น ๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างและการจัดส่ งวัสดุก่อสร้างเข้าหน่วยงาน
ก่อสร้าง และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้างตามความจาเป็ นจนกว่างานก่อสร้างจะแล้ว
เสร็จ
(2) ในการประชุ มทุกครั้ ง ให้ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ า งทาหน้า ที่ เป็ นประธานที่ป ระชุ ม กับให้
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างทาหน้าที่เลขานุการของที่ประชุม
เพื่ อ ท าบัน ทึ กการประชุ ม โดยสรุ ป และติ ด ตามการปฏิ บัติต ามมติ ของที่ ประชุ ม ของบุคคลที่

7
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

เกี่ยวข้อง
3.5 การประสานงาน
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างมีหน้าที่ดูแลการทางานให้มีการทางานประสานและสอดคล้องกัน
และอานวยความสะดวกซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้การก่อสร้างได้รับความเสี ยหายหรื อล่าช้า
(2) ในกรณี ที่ผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุรายหนึ่ งรายใดมีความจาเป็ นต้องใช้อุปกรณ์
หรื อ เครื่ อ งมือ ของผูร้ ับ จ้า งก่อ สร้ า งหรื อ ผูจ้ าหน่ ายวัสดุ รายอื่น ให้บุคคลเหล่านั้นตกลงช าระ
ค่าใช้จ่ายกันเอง หากตกลงกันไม่ได้ ให้ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างเป็ นผูก้ าหนดอัตราค่าใช้จ่ายตาม
สมควรให้
3.6 มาตรฐานการทางาน
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทางานให้งาน
ก่อสร้างสาเร็จลุล่วงเรี ยบร้อยตามสัญญาจ้างก่อสร้าง
(2) ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องทาหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ ยินยอม อนุมตั ิ ใด ๆ
แทนผูว้ ่าจ้าง ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องดาเนินการด้วยความรวดเร็ ว ไม่ให้เกิ ดความล่าช้า และให้
ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนมาตรฐานการบริ หารงานก่อสร้าง
(3) ในกรณี ที่แบบก่อสร้างหรื อข้อกาหนดการก่อสร้างที่ผูอ้ อกแบบกาหนดเกิดการขัดแย้งกัน
เกิดความคลาดเคลื่อนตามหลักวิชาวิศวกรรม สถาปั ตยกรรมหรื อเกิดปั ญหาอื่นใด ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างต้องขอคาวินิจฉัยจากผูอ้ อกแบบที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะให้ผูร้ ับจ้างดาเนินการก่อสร้างต่อไป
ได้
(4) ในกรณี ที่เกิดปั ญหาอุปสรรคในการก่อสร้าง หรื อเหตุขดั ข้องในการก่อ สร้างประการอื่น
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างต้องจัดให้มีการประชุ มผูเ้ กี่ยวข้องโดยเร็ วเพื่อแก้ไขปั ญหาอุปสรรคหรื อ
เหตุขัดข้อ งเหล่านั้นทั้งนี้ เพื่อ มิให้การก่อ สร้ างเกิ ดความล่าช้า หากไม่สามารถแก้ไ ขปั ญหาได้
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องรี บแจ้งให้ผวู ้ ่าจ้างทราบโดยเร็ว
(5) ในกรณีที่มีคาสั่งให้หยุดทาการก่อสร้างจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรื อเกิดอุบตั ิเหตุ ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างต้องแจ้งให้ผูว้ ่าจ้างทราบโดยเร็ว
3.7 ความซื่อสัตย์สุจริ ต
(1) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างตามสัญญานี้ หาก
ปรากฏว่าผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างมีผลประโยชน์ร่วมกับคู่สัญญาของผูว้ ่าจ้างหรื อผูเ้ สนอราคารายใด

8
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันเกี่ยวกับงานก่อสร้างโครงการนี้ ของผูว้ ่าจ้าง ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ าง


จะต้องแจ้งให้ผวู ้ ่าจ้างทราบโดยเร็ว
(2) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องไม่รับหรื อสัญญาว่า จะรับเงินหรื อผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ
จากผูร้ ับจ้างก่อสร้าง ผูจ้ าหน่ายวัสดุ หรื อบุคคลใด ๆ ที่เป็ นหรื อจะเป็ นคู่สัญญาของผูว้ ่าจ้า งอัน
เกี่ยวกับงานก่อสร้างโครงการนี้ของผูว้ ่าจ้าง เว้นแต่สิ่งของมีค่าเล็กน้อยที่มีการมอบให้แก่กนั ตาม
ประเพณี และค่าล่วงเวลาการทางานกับค่าบริ หารงานก่อสร้างที่ล่วงเลยกาหนดเวลาแล้วเสร็ จของ
งานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างที่สัญญาจ้างก่อสร้างกาหนดให้ผูร้ ับจ้างก่อสร้างมีหน้าที่ตอ้ งชาระให้แก่
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
3.8 ผูแ้ ทนผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(1) ผูแ้ ทนผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างได้แก่บุคคลธรรมดาคนหนึ่ งคนใดที่ลงนามในสัญญานี้ในนาม
ของฝ่ ายผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง เว้นแต่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะแต่งตั้งผูแ้ ทนผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
ไว้เป็ นการเฉพาะและได้ส่งมอบหนังสื อแต่งตั้งให้ผวู ้ ่าจ้างแล้ว
(2) ผู ้แ ทนผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งที่ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ง ต้อ งเป็ นผู ้มี อ านาจบั ง คั บ บัญ ชาเหนื อ ผู ้
บริ หารงานก่อสร้างบุคคลธรรมดาที่ปฏิบตั ิหน้าที่บริ หารงานก่อสร้างประจาที่สถานที่ก่อ สร้ าง
หรื อบริ เวณใกล้เคียง
(3) ผูแ้ ทนผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องเข้าร่ วมประชุมกับผูว้ ่าจ้างตามที่ผูว้ ่าจ้างร้องขอ เพื่อร่ วมกัน
หาทางแก้ไขปั ญหาอุปสรรคในการก่อสร้าง หรื อหาข้อยุติที่เกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างผูว้ ่าจ้างกับ
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง หรื อหารื อเรื่ องอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการก่อสร้างงานตามโครงการนี้ ของผูว้ ่า
จ้าง
(4) การส่ งมอบและรับมอบเอกสาร การตัดสิ นใจหรื อ ตกลงใด ๆ ของผูแ้ ทนผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างให้มีผลผูกพันผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตามสัญญานี้
3.9 บุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และ
จานวนตามที่ระบุอยู่ในเอกสารผนวก 4 (จานวนและคุณสมบัติของบุคลากรของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้าง) ให้ถูกต้องครบถ้วน
(2) ในกรณี ที่ผูว้ ่าจ้างเห็นว่าการทางานของบุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างคนหนึ่งคนใดจะ
ทาให้เกิ ดความเสี ยหาย หรื อมีความประพฤติไม่เหมาะสม ผูว้ ่าจ้างมีสิทธิ แจ้งให้ผูบ้ ริ หารงาน

9
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

ก่ อ สร้ า งเปลี่ ย นบุค ลากรของผู ้บริ ห ารงานก่อ สร้ า งดัง กล่าวได้ ซึ่ ง ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ างต้อ ง
ดาเนินการตามความประสงค์ของผูว้ ่าจ้างโดยเร็ว
(3) เพื่อความต่อเนื่ องในการทางานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะเปลี่ยน
บุคลากรหลักของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผูว้ ่าจ้างก่อนไม่ได้
3.10 สิ่ งอานวยความสะดวกที่ผวู ้ ่าจ้างจัดหาให้
(1) ในการดาเนินงานตามสัญญานี้ของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง ผูว้ ่าจ้างตกลงจัดหาสิ่ งอานวยความ
สะดวกให้แก่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตามรายละเอียดที่กาหนดในเอกสารผนวก 2 (สิ่ งอานวยความ
สะดวกที่ผวู ้ ่าจ้างจัดหาให้)
(2) เมื่อ หมดความจาเป็ นที่จะต้องใช้สิ่งอานวยความสะดวกที่ผูว้ ่าจ้างจัดหาให้แล้ว หรื อ เมื่อ
สัญญานี้ สิ้นสุ ดลงด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างต้อ งส่ งมอบสิ่ งอ านวยความ
สะดวกดังกล่าวคืนให้แก่ผูว้ ่าจ้างตามสภาพที่ใช้งานแล้วนั้น ยกเว้น สิ่ งอานวยความสะดวกที่ผู ้
บริ หารงานก่อสร้างจัดหามาเอง แม้ว่าจะจัดหาด้วยเงินค่าจ้างตามสัญญานี้หรื อไม่ ก็ตาม
(3) ในการใช้สิ่งอ านวยความสะดวกที่ ผู ้ว่า จ้างจัดหาให้ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างต้อ งใช้อ ย่า ง
ระมัดระวังเสมือนหนึ่งว่าสิ่ งอานวยความสะดวกเหล่านั้นเป็ นของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเอง
(4) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องตรวจดูว่ากรมธรรม์ประกันภัยที่ผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูว้ ่าจ้างเป็ น
ผูท้ าเพื่อคุม้ ครองความเสี ยหายของงานก่อสร้างนั้น ต้องคุม้ ครองความเสี ยหายต่อทรัพย์สินของผู ้
ว่าจ้างอันเป็ นสิ่ งอานวยความสะดวกที่ผูว้ ่าจ้างจัดหาให้ดว้ ย มิฉะนั้นหากเกิดความเสี ยหายใด ๆ
อันเกิดจากการกระทาของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างหรื อบุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง ผูบ้ ริ หาร
งานก่อสร้างต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผวู ้ ่าจ้างจนครบถ้วน

ข้อ 4 วันที่เริ่ มงาน เวลาทางานและการแล้วเสร็จของงาน


4.1 ระยะเวลาการทางานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องเริ่ มทางานตามสัญญานี้นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญานี้ เป็ นต้น
ไปจนถึงวันที่สัญญานี้ครบกาหนด เว้นแต่สัญญานี้จะสิ้นสุดลงก่อนเพราะการบอกเลิกสัญญาหรื อ
เพราะเหตุประการอื่น
(2) วันและเวลาทางานปกติของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเป็ นไปตามที่กาหนดไว้ในรายละเอียดของ
สัญญา

10
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

(3) ภายหลัง จากวันที่ สั ญญานี้ ครบกาหนดแล้ว หากปรากฎว่ างานก่อ สร้ างยังไม่ แล้ว เสร็ จ
สมบูรณ์ตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้ถือว่าสัญญานี้ ขยายออกไปจนกว่างานก่อ สร้ างจะแล้ว เสร็ จ
สมบูรณ์
4.2 การทางานล่วงเวลา
(1) ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งจะท างานล่ว งเวลาได้ก็ต่ อ เมื่อ มีการร้ อ งขอจากผู ้ว่ า จ้าง ผู ้รั บ จ้า ง
ก่อสร้าง ผูจ้ าหน่ายวัสดุ หรื อมีเหตุจาเป็ นอื่น
(2) ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องทางานล่วงเวลา อันมิใช่เหตุหรื อ ความผิดของผูร้ ับจ้าง
ก่อ สร้ างหรื อ ผูจ้ าหน่ ายวัสดุหรื อ ต้อ งทางานล่วงเวลาเพราะเหตุจาเป็ นอื่น ผูว้ ่าจ้างตกลงชาระ
ค่าจ้างและค่าล่วงเวลา ให้แก่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างพร้อมกับการจ่ายค่าจ้างในงวดถัดไป
(3) ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องทางานล่วงเวลา อันเนื่ องมาจากเหตุหรื อความผิดของผู ้
รับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุ ให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างเรี ยกเก็บค่าทางานล่วงเวลาได้โดยตรง
เอาจากผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุที่เกี่ยวข้อง หากผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างไม่สามารถเรี ยก
เก็บเอาได้ ผูว้ ่าจ้างตกลงจะหักเงินค่าจ้างหรื อค่าวัสดุจากผูเ้ กี่ ยวข้อ งมาชาระให้แก่ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้าง
4.3 การทางานล่วงเลยวันที่ครบกาหนดสัญญา
(1) ในกรณีที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องปฏิบตั ิหน้าที่ต่อไปภายหลังจากวันที่สัญญาครบกาหนด
แล้ว อันมิใช่เหตุหรื อความผิดของผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุหรื อต้องทางานล่วงเวลา
เพราะเหตุจาเป็ นอื่น ผูว้ ่าจ้างตกลงชาระค่าจ้างและค่าล่วงเวลา ให้แก่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างพร้อม
กับการจ่ายค่าจ้างในงวดถัดไป
(2) ในกรณีที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องปฏิบตั ิหน้าที่ต่อไปภายหลังจากวันที่สัญญาครบกาหนด
แล้ว อันเนื่ องมาจากเหตุหรื อความผิดของผูร้ ับจ้างก่อ สร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุ ให้ผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้างเรี ยกเก็บค่าจ้างและค่าทางานล่วงเวลาได้โดยตรงจากผูร้ ับจ้างก่อสร้างหรื อผูจ้ าหน่ายวัสดุ
ที่เกี่ยวข้อง หากผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้างไม่สามารถเรี ยกเก็บเอาได้ ผูว้ ่าจ้างตกลงจะหักเงินค่า จ้าง
หรื อค่าวัสดุจากผูเ้ กี่ยวข้องมาชาระให้แก่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้าง

ข้อ 5 การเปลี่ยนแปลงงาน และการแล้วเสร็จของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง


5.1 การเปลี่ยนแปลงงาน

11
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงขอบเขตของงานตามสัญญานี้


(2) ผูว้ ่าจ้างมีสิทธิสงั่ เปลี่ยนแปลงขอบเขตของงานตามสัญญานี้ได้
(3) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างอาจปฏิเสธคาสั่งเปลี่ยนแปลงงานโดยการเพิ่มขอบเขตของงานของผู ้
ว่าจ้างได้หากงานที่เพิ่มไม่อยูใ่ นขอบข่ายความรู้ความสามารถของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(4) ให้คู่สัญญาทาความตกลงในเรื่ องของค่าจ้างที่เพิ่มลดให้แล้วเสร็ จก่อนที่คาสั่งเพิ่มลดงานจะ
มีผลใช้บงั คับได้
(5) ให้ถือ ว่าคาสั่งเพิ่มลดงานที่มีผลใช้บงั คับได้แล้ว เป็ นการแก้ไขสาระสาคัญแห่ งสัญญานี้
โดยไม่จาเป็ นต้องทาสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมแต่ประการใด
5.2 การแล้วเสร็จของงาน
(1) เมื่องานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างที่อยู่ในขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างแต่ละราย
แล้วเสร็ จสมบูรณ์ ตลอดจนได้จัดการฝึ กอบรมพนักงานของผูว้ ่าจ้าง (หากมี) แล้วเสร็ จ และ
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างได้รวบรวมเอกสารและสิ่ งของต่าง ๆ ที่ผรู ้ ับจ้างก่อสร้างรายนั้นต้องส่ งมอบ
ให้ผูว้ ่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่เกี่ยวข้องนั้นแล้ว งานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างอันเกี่ยวกับผู ้
รับจ้างก่อสร้างรายนั้นเป็ นอันแล้วเสร็จ
(2) เมื่องานของผูร้ ับจ้างก่อสร้างรายสุ ดท้ายที่อยู่ในขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
แล้วเสร็ จสมบูรณ์ ตลอดจนได้จัดการฝึ กอบรมพนั กงานของผูว้ ่าจ้าง (หากมี) แล้วเสร็ จ และ
ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างได้รวบรวมเอกสารและสิ่ งของต่าง ๆ ที่ผรู ้ ับจ้างก่อสร้างรายนั้นต้องส่ งมอบ
ให้ผวู ้ ่าจ้างแล้ว ให้ถือว่างานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตามสัญญานี้แล้วเสร็จ

ข้อ 6 ค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย และการชาระเงิน


6.1 ค่าจ้าง และค่าใช้จ่าย
(1) ค่าจ้างรายเดือน
ผูว้ ่าจ้างตกลงชาระค่าจ้างให้ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างเป็ นรายเดือนตามจานวนเงินที่ระบุไว้ใน
เอกสารผนวก 3 (ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง)
(2) ค่าจ้างงานที่เปลี่ยนแปลง
ในกรณี ที่มีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของงาน ทาให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นหรื อลดลง ผูว้ ่าจ้างจะจ่าย
ค่าจ้างในส่วนที่เพิ่มขึ้นหรื อปรับลดค่าจ้างลงในรอบเดือนที่ชาระค่าจ้าง

12
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

(3) ค่าใช้จ่าย
(ก) ผูว้ ่าจ้างตกลงชาระค่าใช้จ่ายที่ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างจาเป็ นต้อ งดาเนิ นการ เช่ น ค่า
เดินทางไปตรวจความถูกต้องในการผลิตหรื อประกอบวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง ณ
สถานที่ผลิตหรื อประกอบ หรื อค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่จาเป็ นต้องใช้ในสานักงานชั่วคราวของผู ้
บริ หารงานก่อสร้าง ที่ผวู ้ ่าจ้างไม่ได้จดั หาให้ หรื อที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างจาเป็ นต้องออกทด
รองไปก่อน
(ข) ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างเบิกพร้อมกับการเบิกค่าจ้างรายเดือนในเดือน
ถัดจากที่ได้มีการจ่ายไปโดยผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(ค) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างอาจออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายไปก่อ นได้ครั้งละไม่เกิน 20,000
บาท (สองหมี่นบาทถ้วน) แต่ตอ้ งไม่เกินเดือนละ 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) มิฉะนั้น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากผูว้ ่าจ้างก่อน
6.2 การเบิกเงิน และจานวนเงินที่ชาระ
(1) ให้ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้ างทาหนังสื อขอเบิกเงินค่าจ้างและค่าใช้จ่ายเมื่อครบกาหนดทุก ๆ
รอบเดือนของการปฏิบตั ิงานตามสัญญานี้แล้ว หากปรากฎว่าเอกสารขอเบิกค่าจ้างและค่าใช้จ่าย
ไม่ถูกต้องครบถ้วน ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องแก้ไขให้ถูกต้องเสี ยก่อน และผูว้ ่าจ้างจะชาระเงินให้
ภายใน 30 (สามสิ บ) วันนับถัดจากวันที่ได้ยื่นหนังสื อขอเบิกเงินที่ถูกต้อง
(2) จานวนเงินที่ผูว้ ่าจ้างจะจ่ายให้แก่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างเป็ นจานวนเงินที่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
และบวกภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่กฎหมายกาหนด ณ วันที่มีการจ่ายเงิน
(3) ในกรณีทผี่ บู ้ ริ หารงานก่อสร้างมีหน้าที่ตอ้ งชาระเงินใด ๆให้แก่ผวู ้ ่าจ้าง ให้ผวู ้ ่าจ้างมีสิทธิหัก
เงินจานวนดังกล่าวไว้ก่อน ถ้าหักแล้วยังไม่เพียงพอ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องชาระเพิ่มให้แก่ผู ้
ว่าจ้าง ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างจะต้องชาระภายในกาหนด 30 (สามสิ บ) วันนับถัดจากวันที่ที่ผวู ้ ่าจ้าง
แจ้งให้ชาระ
6.3 การชาระเงินล่าช้า
(1) ในกรณี ที่คู่สัญญาฝ่ ายหนึ่ งจะต้องชาระเงินให้คู่สัญญาอีกฝ่ ายหนึ่งภายในเวลาที่กาหนด ถ้า
ไม่ได้ชาระภายในเวลาที่กาหนด ให้คู่สัญญาฝ่ ายที่ไ ม่ไ ด้ชาระภายในเวลาที่กาหนดรับ ผิ ด ใน
ดอกเบี้ยของจานวนเงินที่ชาระล่าช้าในอัตราร้อยละ 7.5 (เจ็ดจุดห้า) ต่อปี หรื ออัตราอื่นที่กาหนด
อยูใ่ นรายละเอียดของสัญญา

13
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

(2) ในกรณีที่การชาระเงินไม่มีกาหนดเวลาที่แน่นอน ให้คู่สัญญาฝ่ ายที่มีหน้าที่ตอ้ งชาระเงินรับ


ผิดในดอกเบี้ยนับถัดจากวันที่คู่สัญญาฝ่ ายที่มีสิทธิได้รับเงินทวงถาม

ข้อ 7 ความรับผิด
7.1 เว้นแต่ที่เงื่อนไขเฉพาะจะกาหนดไว้เป็ นอย่างอื่น และในกรณี ที่สัญญานี้ กาหนดให้ผูบ้ ริ หารงาน
ก่ อ สร้ า งท าประกันภัย ความรั บ ผิ ด ทางวิ ช าชี พ (Professional Indemnity Insurance) ให้ ผู ้บ ริ ห ารงาน
ก่อสร้างรับผิดต่อผูว้ ่าจ้างในความเสี ยหายใด ๆ ที่ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างหรื อบุคลากรของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อ สร้ างเป็ นผูก้ ่อให้เกิดขึ้นจนทาให้ผูว้ ่าจ้างได้รับความเสี ยหายในจานวนเงินไม่เกิ นกว่าค่าจ้างและ
ค่าจ้างเพิ่มตามสัญญานี้
7.2 ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างได้ทาประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพตามเงื่อนไขแห่ งสัญญานี้
ให้ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ า งเป็ นผู ้รั บผิ ด ชอบในค่า เสี ย หายส่ ว นแรก และค่าเสี ยหายส่ วนที่ ป ระกัน ภัย
ดังกล่าวไม่คมุ้ ครองภายในวงเงินไม่เกินกว่าค่าจ้างและค่าจ้างเพิ่มตามสัญญานี้

ข้อ 8 การหยุดงาน
8.1 การสั่งหยุดงานโดยผูว้ ่าจ้าง
ในกรณี ที่ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างทางานบกพร่ องไม่เป็ นไปตามสัญญา และผูว้ ่าจ้างได้ตกั เตือนเป็ น
หนังสื อแล้ว แต่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่ผูว้ ่าจ้างกาหนด ผูว้ ่าจ้างมีสิทธิ สั่ง
ให้ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างหยุดงานโดยให้มีผลทันที เป็ นระยะเวลาที่ผูว้ ่าจ้างกาหนดได้ ในกรณี เช่นนี้ ผู ้
ว่าจ้างไม่ตอ้ งจ่ายค่าจ้างให้แก่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างในระหว่างการหยุดงานตามคาสั่งของผูว้ ่าจ้าง
8.2 การหยุดงานโดยผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
ในกรณี ที่ผูว้ ่าจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายให้แก่ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างเป็ นระยะเวลารวม 2
(สอง) งวดขึ้นไป ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างมีสิทธิ หยุดงานได้จนกว่าผูว้ ่าจ้างจะชาระค่าจ้างและค่าใช้จ่าย
ให้ แ ก่ ผู ้บ ริ ห ารงานก่ อ สร้ า งส าหรั บ ระยะเวลาที่ ไ ด้ป ฏิ บัติ ง านไปแล้ว และระหว่ า งระยะเวลาที่ ผู ้
บริ หารงานก่อสร้างหยุดงานเพราะผูว้ ่าจ้างไม่ชาระค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้าง ด้วย
8.3 การหยุดงานเพราะงานก่อสร้างหยุดลง
(1) ในกรณี ที่การก่อ สร้ างหยุดลงเพราะ เหตุสุดวิสัย จนทาให้ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างไม่ต้อ ง
ทางานใด ๆ ในระหว่างที่การก่อสร้างหยุดลง ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตกลงไม่คิดค่าจ้างใด ๆ เอาจาก
ผูว้ ่าจ้าง

14
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

(2) ในกรณี ที่การก่อ สร้ างหยุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ แต่ ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างยังต้อ งทางาน
บางส่ วนให้แก่ผูว้ ่าจ้างตามที่ผูว้ ่าจ้างมอบหมายและอยู่ในความรู้ความเชี่ยวชาญของผูบ้ ริ หารงาน
ก่อสร้าง ให้ผวู ้ ่าจ้างและผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตกลงกันสาหรับค่าจ้างและกาหนดเวลาเบิกจ่ายงาน
ที่ผวู ้ ่าจ้างมอบหมายนี้ ถ้าไม่ได้กาหนดเวลาเบิกจ่ายไว้ ให้ใช้ตามที่กาหนดในสัญญานี้
(3) เมื่อ การก่อ สร้ างเริ่ มดาเนิ นการได้ตามปกติ ให้ใช้อ ัตราค่าจ้างตามสัญญานี้ ใ ช้บัง คับ ไป
จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
(4) ในกรณี ที่ ง านก่ อ สร้ า งหยุด ลงบางส่ ว น และผู ้บ ริ ห ารงานก่อ สร้ างยัง คงต้อ งปฏิบัติงาน
ตามปกติ ให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ตามปกติ

ข้อ 9 การประกันภัย
9.1 หากเงื่ อ นไขเฉพาะ หรื อ รายละเอี ย ดของสั ญญา ก าหนดว่ า ผู ้บ ริ ห ารงานก่อ สร้ า งไม่ต้อ งทา
ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ (Professional Indemnity Insurance) เงื่อนไขข้อนี้ไม่ใช้บงั คับ
9.2 ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างมีหน้าที่ตอ้ งทาประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพกับ บริ ษทั ประกันภัย โดยมี
ระยะเวลาการคุม้ ครอง จานวนเงินที่คุม้ ครอง ค่าเสี ยหายส่ วนแรก เงื่อนไขการคุม้ ครอง ข้อยกเว้นการ
คุม้ ครองและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ผวู ้ ่าจ้างให้ความเห็นชอบ

ข้อ 10 การบอกเลิกสัญญา
10.1 การบอกเลิกสัญญาโดยผูว้ ่าจ้าง
(1) ในกรณี ดงั ต่อไปนี้ ผูว้ ่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้โดยมีผลทันทีที่ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างได้รับ
หนังสื อบอกกล่าวเลิกสัญญา
(ก) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างถูกฟ้องเป็ นคดีลม้ ละลาย
(ข) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างกระทาการใด ๆ อันเป็ นการฝ่ าฝื นข้อ 3.7 (ความซื่อสัตย์สุจริ ต)
(ค) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างทาให้ผวู ้ ่าจ้างได้รับความเสี ยหายร้ายแรง
(2) ในกรณี ดงั ต่อไปนี้ ผูว้ ่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้โดยมีผลเมื่อพ้นกาหนด 30 (สามสิ บ) วันนับ
ถัดจากวันที่ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างได้รับหนังสื อบอกกล่าวเลิกสัญญา
(ก) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างประพฤติผิดสัญญาในส่วนที่เป็ นสาระสาคัญ
(ข) เมื่อผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างมีหน้าที่ตอ้ งชาระเงินให้แก่ผูว้ ่าจ้าง แต่ไม่ชาระเป็ นเวลาเกิน

15
เงื่อนไขทัว่ ไป (General Conditions) สัญญาเลขที่ .................................

กว่า 90 (เก้าสิ บ) วันนับถัดจากวันที่ตอ้ งชาระ


(ค) เหตุ ใ ด ๆ ที่ สั ญ ญานี้ ก าหนดให้ ผู ้ว่ า จ้า งบอกเลิ ก สั ญ ญาได้ เว้น แต่ เ หตุ ที่ สั ญ ญานี้
กาหนดให้บอกเลิกสัญญาได้โดยให้มีผลทันที
10.2 การบอกเลิกสัญญาโดยผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
(1) ในกรณีที่ผวู ้ ่าจ้างถูกฟ้องเป็ นคดีลม้ ละลาย ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างบอกเลิกสัญญาได้โดยมีผล
ทันทีที่ผวู ้ ่าจ้างได้รับหนังสื อบอกกล่าวเลิกสัญญา
(2) ในกรณี ดงั ต่อไปนี้ ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างบอกเลิกสัญญาได้โดยให้มีผลเมื่อพ้นกาหนด 30
(สามสิ บ) วันนับถัดจากวันที่ที่ผวู ้ ่าจ้างได้รับหนังสื อบอกกล่าวเลิกสัญญา
(ก) ผูว้ ่าจ้างประพฤติผิดสัญญาในส่วนที่เป็ นสาระสาคัญ
(ข) ผูว้ ่าจ้างไม่ชาระค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายให้ผบู ้ ริ หารงานก่อสร้างรวม 3 (สาม) งวด ขึ้นไป
(ค) เหตุใด ๆ ที่สัญญานี้ กาหนดให้ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้างบอกเลิกสัญญาได้ เว้นแต่เหตุที่
สัญญานี้กาหนดให้บอกเลิกสัญญาได้โดยให้มีผลทันที
10.3 การบอกกล่าวเลิกสัญญา
การบอกกล่าวเลิกสัญญาต้องทาเป็ นหนังสื อ ส่ งทางไปรษณี ยล์ งทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ของ
คู่สัญญาอีกฝ่ ายหนึ่ งตามที่ปรากฎในสัญญานี้ หรื อตามที่อยู่ที่คู่สัญญาได้แจ้งเป็ นหนังสื อไว้แล้วก่อ น
หน้าการส่ งหนังสื อบอกกล่าว และเมื่อได้ส่งตามที่อยู่ดงั กล่าวนี้แล้ว หากไม่มีผูร้ ับไว้ดว้ ยประการใด ๆ
ก็ตาม ให้ถือว่าผูร้ ับได้รับไว้แล้วโดยชอบ
10.4 ผลของการบอกเลิกสัญญา
(1) ผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างต้องส่ งมอบสิ่ งอานวยความสะดวกที่ผูว้ ่าจ้างจัดหาให้ตามสภาพที่ใช้
งานแล้ว ตลอดจนวัสดุสิ้นเปลืองที่ผูบ้ ริ หารงานก่อ สร้ างจัดหามาด้วยเงินทดรองจ่ายที่ผูว้ ่าจ้าง
ชาระคืนให้แล้ว รวมทั้ง แบบก่อสร้าง ข้อกาหนดการก่อสร้าง และเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับการ
ทางานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้างตามสัญญานี้ คืนให้แก่ผูว้ ่าจ้างภายใน 15 (สิ บห้า) วันนับถัดจาก
วันที่การบอกเลิกสัญญามีผลใช้บงั คับ
(2) นับ แต่ ว ัน ที่ การบอกเลิกสั ญญามีผ ลใช้บัง คับ ผู ้บ ริ ห ารงานก่อ สร้ า งและบุ คลากรของผู ้
บริ หารงานก่อสร้างจะเข้าไปยังสถานที่ก่อสร้าง และสานักงานสนามโดยไม่ได้รับอนุ ญาตจากผู ้
ว่าจ้างก่อนไม่ได้

16
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขทัว่ ไป สัญญาเลขที่ .................................

(3) จานวนเงินใด ๆ ที่แต่ละฝ่ ายต้องชาระให้แก่กนั ต้องชาระให้เสร็ จสิ้ นครบถ้วนภายใน 30


(สามสิ บ) วันนับถัดจากวันที่การบอกเลิกสัญญามีผลใช้บงั คับ
10.5 สิ ทธิของคู่สัญญา
การบอกเลิกสัญญาโดยผูว้ ่าจ้างหรื อ โดยผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง ไม่กระทบกระเทือนถึงสิ ทธิ ของ
คู่สัญญาที่เกิดขึ้นก่อนการบอกเลิกสัญญา

ข้อ 11 การระงับข้อพิพาท
ข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างคู่สัญญาที่เกี่ยวกับสัญญานี้ ให้คู่สัญญาระงับด้วยการเจรจากันก่อน
ไม่ว่าจะได้มีการเจรจาหาทางยุติขอ้ พิพาทหรื อไม่ หากข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถระงับ
สิ้นไปได้ ให้คู่สัญญาใช้สิทธิทางศาลได้
ก่อนการใช้สิทธิ ทางศาล คู่สัญญาอาจทาความตกลงกันให้เสนอข้อพิพาทต่อบุคคลหนึ่ งบุคคลใด
หรื อองค์กรหนึ่งองค์กรใดให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทก็ได้ คาวินิจฉัยของผูช้ ้ ีขาดดังกล่าวให้ผูกพันคู่สัญญาและให้
เป็ นที่สุด
ในระหว่างการวินิจฉัยของผูช้ ้ ีขาดหรื อของศาล หากคู่สัญญาฝ่ ายหนึ่งฝ่ ายใดยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา
นี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ ายยังคงต้องปฏิบตั ิตามเงื่อนไขแห่ งสัญญานี้ ทุกประการ ทั้งนี้ เว้นแต่เฉพาะส่ วนที่เป็ นข้อ
พิพาทของคู่สัญญา



17
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 3 เงื่อนไขเฉพาะ
สัญญาเลขที่ .............................


สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 4 รายละเอียดของสัญญา
สัญญาเลขที่ .............................

เงื่อนไขทัว่ ไป

ข้อ หัวข้อ รายละเอียด


4.1 (2) วันและเวลาทางานปกติของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา

วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา

หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดตาม
ประเพณี
6.3 (1) อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ต่อปี
9.1 ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ ต้องทา / ไม่ตอ้ งทา


สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
ส่วนที่ 5 รายการเอกสารสัญญา
สัญญาเลขที่ .............................

เอกสารดังต่อไปนี้เป็ นส่วนหนึ่งของสัญญานี้
เอกสาร จานวน ฉบับ/เล่ม
(1) ................................................................................................ ............. ...............
(2) ................................................................................................ ............. ...............
(3) ................................................................................................ ............. ...............
(4) ................................................................................................ ............. ...............
(5) ................................................................................................ ............. ...............
(6) ................................................................................................ ............. ...............
(7) ................................................................................................ ............. ...............
(8) ................................................................................................ ............. ...............
(9) ................................................................................................ ............. ...............
(10) ................................................................................................ ............. ...............
(11) ................................................................................................ ............. ...............
(12) ................................................................................................ ............. ...............
(13) ................................................................................................ ............. ...............
(14) ................................................................................................ ............. ...............
(15) ................................................................................................ ............. ...............
(16) ................................................................................................ ............. ...............
(17) ................................................................................................ ............. ...............
(18) ................................................................................................ ............. ...............
(19) ................................................................................................ ............. ...............
(20) ................................................................................................ ............. ...............


สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
เอกสารผนวก 1 - ขอบเขตของงานของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
สัญญาเลขที่ .............................
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
เอกสารผนวก 2 - บุคลากร และสิ่ งอานวยความสะดวกที่ผวู ้ ่าจ้างจัดหาให้
สัญญาเลขที่ .............................

ข้อ 1 บุคลากร

ที่ บุคลากร อายุงาน/ปี จานวน/คน


1
2
3
4
5

ข้อ 2 สิ่ งอานวยความสะดวก

ที่ สิ่ งอานวยความสะดวก


1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
เอกสารผนวก 3 - ค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง
สัญญาเลขที่ .............................
สัญญาจ้างบริ หารงานก่อสร้าง
เอกสารผนวก 4 - จานวนและคุณสมบัติบุคลากรของผูบ้ ริ หารงานก่อสร้าง
สัญญาเลขที่ .............................

ที่ ชื่อ คุณวุฒิ ตาแหน่ง อายุงาน/ปี


1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
CONT
RUCT
ION SUPERVI
SION CONT
RACT
สั
ญญา
จ
างบร
ิหา
รงา
นก
อสร
า
งมา
ตรฐา
น *ฉบั
บผู

ทรงคุ
ณวุ
ฒิ

You might also like