You are on page 1of 5

รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นกรณีสงสัยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา

หมู่ที่ 10 บ้านห้วยขมนอก ต.แม่ยาว อ.แม่ยาว จ.เชียงราย


วันที่ 26 มิถนุ ายน – 3 กรกฎาคม 2563

ทีมสอบสวนโรค
1. นายสิริชัย กําแพงคํา นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัตกิ าร เทศบาลตําบลแม่ยาว
2. นายสุรศักดิ์ ไฟปลิว คนงานทั่วไป เทศบาลตําบลแม่ยาว
3. นายมานะ กันทะคําแหง คนงานทั่วไป เทศบาลตําบลแม่ยาว
4. อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10

ผู้เขียนรายงาน
นายสิริชัย กําแพงคํา นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัตกิ าร เทศบาลตําบลแม่ยาว

ความเป็นมา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตําบลแม่ยาว ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตําบลแม่ยาว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 14.30 น. ว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เดงกี่จํานวน 1 ราย หมู่ที่ 10 บ้านห้วย
ขมนอก ต.แม่ยาว อ.แม่ยาว จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตําบลแม่ยาว จึงประสาน
อสม. หมู่ที่ 10 และดําเนินการพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมโรคในวันเดียวกัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายอื่นๆ ในพื้นที่
2. เพื่อหามาตรการควบคุมโรค
3. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

วิธีการศึกษา
1. ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เพื่อหาลักษณะ ความเสี่ยง แหล่งเพาะพันธุ์โรค และขอบเขตการเกิด
และการกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล เวลา และสถานที่ ทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและข้อมูลของการเกิดโรค
ที่ผ่านมา โดย
1.1. รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยจากรายงาน 506 ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการ เดินทางโดยสัมภาษณ์
ผู้ป่วยและญาติ
1.2. ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยสอบถามถึงอาการป่วย ระยะเวลาการป่วย โดยนิยามการค้นหาผู้ป่วย ดังนี้
1.2.1. ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) คือ ผู้ป่วย ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อย่าง จากอาการดังนี้
ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อหรือกระดูก ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 ถึงปัจจุบัน ซึ่งอาศัย
อยู่ในหมู่ที่ 10 บ้านห้วยขมนอก ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
1.2.2.ผู้ป่วยน่าจะเป็น (Probable case) คือผู้ป่วยสงสัย ร่วมกับมีผลการวินิจฉัยโรคจากแพทย์
1.2.3.ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) ผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยน่าจะเป็นที่มีผลการการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการพบหลักฐานการติดเชื้อ
2. ศึกษาทางสภาพแวดล้อม โดยการสํารวจค่าดัชนีลูกน้ํายุงลาย

ผลการสอบสวนโรค
ข้อมูลทั่วไป
บ้านห้วยขมนอก หมู่ที่ 10 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย มีจํานวน 817 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,626
คน(ชาย 801 คน หญิง 825 คน) มีบ้านบริวารอีก 5 กลุ่มบ้าน ได้แก่บ้านสุขเกษม บ้านห้วยชมพู บ้านหนองผักหนาม
บ้านสองแควพัฒนา และบ้านขุนน้ําแม่ยาว ประชากรประกอบด้วยชนเผ่า ได้แก่ กระเหรี่ยง อาข่า ลีซอ ส่วนใหญ่
อาชีพเกษตรกร บ้านที่พบผู้ป่วยเป็นบ้านหลัก ประชากรเป็นชนเผ่ากระเหรี่ยง ลักษณะภูมิประเทศอยู่ติดภูเขา มีแม่น้ํา
ไหลผ่านหมู่บ้าน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ การปลูกบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวสร้างด้วยไม้หรือปูน ไม่มี
เพดาน ไม่ติดมุ้งลวด มีประตูหน้าต่าง สําหรับระบายอากาศ สภาพแวดล้อมภายในตัวบ้านมืดทึบทุกหลังมีมุ้งสําหรับ
กางกันยุง แต่ในช่วงเวลากลางวันมักไม่นอนในมุ้ง
ข้อมูลผู้ป่วย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตําบลแม่ยาว ได้ลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรค หลังได้รับแจ้งจาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแม่ยาว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 จากการสอบถามย่าของผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 8 ปี เป็นนักเรียนโรงเรีย นแห่งหนึ่ง ขณะป่วยโรงเรีย นยังไม่เปิ ดภาคเรียน เริ่มป่วยวันที่ 24
มิถุนายน 2563 ด้วยอาการ ไข้สูงลอย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ มีผื่นขึ้น ไปรับการรักษาครั้งแรกวันที่ 24 มิถุนายน
2563 สถานพยาบาล A ในตําบลแม่ยาว เจ้าหน้าที่จ่ายยา Ibuprofen/diclofenac/ORS แต่ย่าเห็นว่ายาเม็ดใหญ่
เกินไปจึงไม่ได้ให้ผู้ป่วยรับประทาน วันที่ 25 มิถุนายน 2563 อาการไม่ดีขึ้นจึงพาไปตรวจซ้ําที่โรงพยาบาลเชียงราย
ประชานุเคราะห์ แพทย์ให้นอนพักรักษาตัว และวินิจฉัย DF จากการสอบถามย่าของผู้ป่วยให้ข้อมูลว่าก่อนหน้านี้ใน
บ้านมีผู้ป่วยอาการคล้ายกันอีก 3 ราย รายแรกเพศชาย อายุ 57 ปี(ปู่ของผู้ป่วย) เริ่มป่วยวันที่ 16 มิถุนายน 2563
ด้วยอาการ ไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ มีผื่นแดง ไปรับการรักษาสถานพยาบาล B ในตําบลแม่ยาว วันที่
16 มิถุนายน 2563 รายที่ 2 เพศหญิง อายุ 3 ปี(น้องสาวผู้ป่วย) เริ่มป่วยวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ด้วยอาการ ไข้ ปวด
ศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ไปรับการรักษาสถานพยาบาล B ในตําบลแม่ยาว รายที่ 3 เพศชาย อายุ 30 ปี (พ่อ
ของผู้ป่วย) เริ่มป่วยวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ด้วยอาการ ไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ มีผื่นแดง ซื้อยามา
กินเอง ทีมสอบสวนโรคเทศบาลตําบลแม่ยาว จึงค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม
สมมติฐานการเกิดโรค
จากการสอบสวนโรคผู้ป่วยรายแรก(index case) ในวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ทําให้ทราบว่ามีผู้ป่วยใน
หมู่บ้านอีกหลายราย ทั้งที่ไปรับการรักษา และไม่ได้รับการรักษา ทีมสอบสวนโรคจึงค้นหาผู้ป่วยระแวกบ้านผู้ป่วย
พบว่ามีผู้ป่วยที่อาการคล้ายกันจํานวน 6 ราย ประกอบกับผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อจนลุกเดิน
ไม่ไหว บางรายมีผื่นแดงร่วมด้วย ทีมสอบสวนโรคจึงคาดว่าการเกิดโรคครั้งนี้อาจเป็นโรคชิคุนกุนยา เนื่องจากอาการ
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ พบในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าโรคไข้เลือดออก ประกอบกับผู้ป่วยหลายราย
สามารถหายได้เอง ทั้งนี้โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก และโรคซิกา เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกัน ทีมสอบสวนโรคจึง
วางแผนค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ข้อมูลการเกิดโรคย้อนหลัง
1. ข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี
จากข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออก ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ในปี 2562 ตําบลแม่ยาวมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
สูงสุด โดยพบผู้ป่วย 102 ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558-2562 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจํานวน 15, 26, 69, 64
และ 102 ราย ตามลํา ดับ ทั้ ง นี้ ตั้ ง แต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึ ง ปั จจุบัน ตํา บลแม่ ยาวมี ผู้ป่วยโรค
ไข้เลือดออกแล้วจํานวน 6 ราย
รูปที่ 1 จํานวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจําแนกรายเดือน ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย ปี 2563
เทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

ข้อมูลจากรายงาน 506 อ.เมือง จ.เชียงราย ณ วันที่ 3 ก.ค. 63


2. ข้อมูลการเกิดโรคชิคุนกุนยาและโรคซิกา ย้อนหลัง 5 ปี
จากระบบรายงาน 506 อ.เมือง จ.เชียงราย พบว่าตั้งแต่ปี 2558-2562 ในพื้นที่ตําบลแม่ยาวไม่มีรายงาน
ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาและโรคซิกา
การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม
จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ในหมู่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน ถึงวันที่ 3
กรกฎาคม 2563 พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ บางรายปวดจนลุกเดินไม่ไหว
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีอาการทั้งหมด 48 ราย มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ ตามนิยามจํานวน 46 ราย เพศหญิง 21 ราย
เพศชาย 25 ราย อายุต่ําสุด 3 ปี สูงสุด 90 ปี อายุเฉลี่ย 45.89 ปี
เมื่อพิจารณาวันเริ่มป่วยพบว่าผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 14 มิถุนายน 2563 หลังจากนั้นพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน แนวโน้มการเกิดโรคยังเพิ่มสูงขึ้น โดยยังพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกวัน

รูปที่ 2 จํานวนผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา หมู่ที่ 10 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย


จําแนกตามวันเริ่มป่วย
24 มิ.ย. 63
Index case

จํานวนผู้ป่วย(ราย)
14 มิ.ย. 63
First case

วันเริ่มป่วย

ผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยน่าจะเป็น ผู้ป่วยยืนยัน


จากผู้ป่ วยทั้ง หมด 46 ราย พบว่า ร้ อยละ 100 มีอาการปวดข้ อรุ น แรงผู้ป่วยบางรายปวดจนไม่
สามารถลุกเดินได้ บางรายมีอาการข้อบวมร่วมด้วย รองลงมาได้แก่อาการปวดกล้ามเนื้อและมีไข้ คิดเป็น
ร้อยละ 97.83
รูปที่ 2 ร้อยละแสดงอาการผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา หมู่ที่ 10 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.
เชียงราย

อาการแสดง

ร้อยละ
มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
1. พ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงตัวแก่
เทศบาลตําบลแม่ยาวร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแม่ยาว และ อสม. หมู่ที่ 10 ต.แม่ยาว อ.เมือง
จ.เชียงราย ได้ดําเนินการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงตัวแก่ จํานวน 4 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 วันที่ 26 มิถุนายน 2563 (day 0)
- ครั้งที่ 2 วันที่ 27 มิถุนายน 2563 (day 1)
- ครั้งที่ 3 วันที่ 30 มิถุนายน 2563 (day 5 : พ่นซ้ําเนื่องจากได้รับรายงานผู้ป่วยแพทย์วินิจฉัย DF รายใหม่)
- ครั้งที่ 4 วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 (day 7)
2. ผลการสํารวจดัชนีลูกน้ํายุงลาย
จากการสํารวจลูกน้ํายุงลายในบริเวณบ้านผู้ป่วยพบว่ายังมีค่าดัชนีลูกน้ํายุงลายสูงอยู่ โดยภาชนะที่พบลูกน้ํา
ยุงลายส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะหรือฝาถังน้ําที่อยู่นอกบ้านแต่มีน้ําขัง ผลการสํารวจลูกน้ํายุงลาย เป็นดังนี้
จํานวนบ้านทีพ่ บ
วันที่ จํานวนบ้านทีส่ ํารวจ ค่า HI หมายเหตุ
ลูกน้ํายุงลาย
26 มิ.ย. 63 12 7 58.33
3 ก.ค. 63 10 4 40.00
ทั้ง นี้ อสม. หมู่ที่ 10 ต.แม่ ยาว อ.เมื อง จ.เชียงราย ได้ร ณรงค์และสํ ารวจลูกน้ํา ยุง ลายทุ กวันตั้ งแต่วันที่
26 มิถุนายน 2563 แต่ไม่ได้บันทึกข้อมูลการสํารวจ

ปัญหาและข้อจํากัดในการสอบสวนโรค
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ไปรับการรักษา เนื่องจากหลายคนคิดว่าเป็นแล้วหายเองได้ หรือรายที่ไปรับการรักษา
มักจะไปรักษาตามสถานพยาบาลภายในตําบล
2. สถานพยาบาลบางแห่งจ่ายยากลุ่มแอสไพริน(Ibuprofen) ให้ผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรค
ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
3. หน่วยงานส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันสาเหตุการเกิดโรคได้

สรุปผล
การเกิดโรคกรณีสงสัยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา หมู่ที่ 10 บ้านห้วยขมนอก ต.แม่ยาว อ.แม่ยาว
จ.เชียงราย ในครั้งนี้ เบื้องต้น พบผู้ที่มีอาการเข้าได้ จํานวน 46 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 100 มีอาการปวดตามข้อ บางราย
ปวดจนลุกเดินไม่ไหวและมีอาการข้อบวมร่วมด้วย รองลงมาร้อยละ 97.83 มีอาการไข้และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
แนวโน้มการเกิดโรคยังสูงเนื่องจากยังพบผู้ป่วยรายใหม่อยู่ทุกวัน ผลการสํารวจลูกน้ํายุงลายพบว่าค่าดัชนีลูกน้ํายุงลาย
ยังสูงเกินค่ามาตรฐาน(HI = 40.00 ณ วันที่ 3 ก.ค. 63)

You might also like