You are on page 1of 6

โลหะหนัก: ความเป็นพิษและการปนเปื้อนในสัตว์น้าไทย

(Heavy Metals: Toxicity and Contamination in Thai Aquatic animals)

ธัญพรรณ ฮ่อบรรทัด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยมีการตั้งเขตอุตสาหกรรม และโรงงาน


อุตสาหกรรมเป็นจานวนมาก การทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นลงสู่ดิน น้า อากาศ ทาให้
เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนโลหะหนัก ซึ่งโลหะหนักที่ปนเปื้อนใน
แหล่งน้ารวมไปถึงสะสมในสัตว์น้าสามารถเข้าสู่ร่างกายและเป็นพิษต่อมนุษย์ได้จากการบริโภคสัตว์น้าที่
ปนเปือ้ นโลหะหนักเห่านั้น ดังนั้นในที่นี้ขอกล่าวถึงโลหะหนัก ความเป็นพิษของโลหะหนักแต่ละชนิด และ
การปนเปื้อนของโลหะหนักในสัตว์น้าของไทย
ก่อนอื่นมาทาความรู้จักกับโลหะหนัก และความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์กันก่อน
ความหมายของโลหะหนัก
โลหะหนัก หมายถึง โลหะหนักที่มีความหนาแน่ นเกินกว่า 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
(ขนิษฐ พานชูวงศ์, 2550) ตัวอย่างเช่น สารหนู 5.70 แคดเมียม 8.65 เหล็ก 7.90 ตะกั่ว 11.34 และ
ปรอท 13.55 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นต้น (Lide, 1992).
ความเป็นพิษของโลหะหนักแต่ละชนิดต่อมนุษย์จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวถึงโทษ
ของโลหะหนักที่เป็นพิษที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศเป็นโลหะหนักที่สาคัญที่มีการปนเปื้อนใน
อาหาร 4 ตัว คือ ทองแดง ตะกั่ว สารหนู และ ปรอท โดยปนเปื้อนได้ไม่เกินข้อกาหนดดังต่อไปนี้
(ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98, 2529)
(1.) ทองแดง 20 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(2.) ตะกั่ว 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติ
ในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(3) สารหนูในรูปอนินทรีย์ (Inorganic Arsenic) 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาหรับสัตว์
น้าและอาหารทะเล และสารหนูทั้งหมด (Total Arsenic) 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาหรับ
อาหารอื่น (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 273, 2546)
(4.) ปรอท 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาหรับอาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม
ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาหรับอาหารอื่น
นอกจากนี้ ขอกล่าวถึง แคดเมียม เพิ่มเติมเนื่องจากมีพิษรุนแรงต่อมนุษย์ และปนเปื้อนจาก
อุตสาหกรรมได้ในปริมาณที่มาก
ทองแดง (Cupper; Cu)
ทองแดงพบมากในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทองแดงเป็น
วัตถุดิบเช่น สายไฟ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น อุตสาหกรรม
เครื่องจักรกล เช่น วาล์วที่ใช้ในโรงงาน ท่อ เครื่องทาความร้อนและระบบทาความเย็นต่างๆ อุตสาหกรรม
งานหล่อ ตลอดจนนาไปใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สายไฟฟ้า เหรียญ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
(ดนุรุจ วินมูน, 2548) ตัวธาตุทองแดงไม่มีพิษต่อมนุษย์ แต่เกลือของทองแดงบางชนิดเป็นพิษ เช่น เกลือ
ซัลเฟต หรือ blue vitriol และ sub-acetate หรือ Verdigris โดยถ้าได้รับคอปเปอร์ซัลเฟตเข้าไปจะทา
ให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารและลาไส้ เกิดเป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลาไส้ (Ashish, E.,
et al. 2013)
ตะกั่ว (Lead; Pb)
เป็นโลหะหนักมีสีเทาเงินหรือแกมน้าเงิน ตะกั่วถูกใช้ในการทาอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค คอมพิวเตอร์
และแบตเตอรี่ ซึ่งทาให้เกิดการปลดปล่อยตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วในรูปของสารมลพิษออกสู่
สภาวะแวดล้อม ทาให้มีการปนเปื้อนของตะกั่วทั้งในดิน น้า และอากาศ ตะกั่วสามารถเข้ าสู่ร่างกายได้ 3
ทาง คือ ทางอาหาร ทางการหายใจและทางผิวหนัง เมื่อสารตะกั่วเข้ าสู่ร่างกายส่วนใหญ่จะจับยึดอยู่กับ
เม็ดเลือดแดงจะไปลดการสร้ างฮีม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สาคัญของเม็ดเลือดแดงโดยไปยับยั้งเอ็น ไซม์ที่
เกี่ยวกับการสร้างฮีม นอกจากนี้ ตะกั่วยังมีผลต่อตับ หัวใจและเส้นเลือด ภาวะเจริญพันธุ์ โครโมโซม เป็น
สารก่อโรคมะเร็ง ความพิการแต่กาเนิด (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค, 2547) และเกิดความผิดปกติต่อ
ระบบประสาทส่วนกลาง (FLORA. 2012)
สารหนู (Arsenic; As)
สารหนูอนินทรีย์ เป็นสารโลหะหนักที่ถูกนามาใช้ทั้งด้านอุตสาหกรรม และใช้เป็นส่วนประกอบ
ของยาสมุนไพรรักษาโรค อุตสาหกรรมที่มักใช้สารหนูได้แก่ อุตสาหกรรมถลุงแร่ การพิมพ์ลายผ้า การทา
เครื่องปั้นดินเผา การหลอมและชุบโลหะ การผลิต น้ายาถนอมเนื้อไม้ และการผลิตสารป้องกันกาจัดแมลง
ศัตรูพืช เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่สี่ยงได้รับสารหนูในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ผู้ที่ใช้หรือดื่มน้าที่มีสารหนูปนเปื้อน
เกษตรกรที่ใช้สารกาจัดแมลงศัตรูพืช และผู้ที่ใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของสารหนู เป็นต้น อาการ
ของพิษสารหนู พบได้ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน การได้รับพิษเฉียบพลัน จะมีผลต่อระบบทางเดิน
อาหาร เกิดคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ท้องเดิน อุจจาระเป็นเลือด อาจหมดสติได้ทันทีอาจมีผลต่อ
ระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการปวดศี รษะ เพ้อคลั่ง สับสน การเคลื่อนไหวช้าลง การได้รับพิษต่อเนื่อง
จะมีอาการเรื้อรัง ทาให้ผิวหนังกระดากระด่างเป็นหย่อม ๆ ทั่วตัว ตุ่มแข็งที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าอาการชาตาม
ปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เลือดจาง ตับโต และเป็นมะเร็งผิวหนัง หรืออวัยวะภายในได้ (สรุป
รายงานการเฝ้าระวังโรค, 2547)
ปรอท (Mercury; Hg)
เป็นโลหะหนักที่ของเหลวระเหยเป็นไอได้งา่ ยในภาวะปกติ ลักษณะภายนอกมีสีเงินสามารถไหล
ได้ ปรอทพบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ามันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ในอุตสาหกรรมที่มี
การใช้สารประกอบของปรอท นอกจากนี้ยังใช้ในวงการแพทย์เช่น เป็นสารอุดฟัน ไอปรอทที่เข้าสู่รา่ งกาย
จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตทันที และกระจายไปยังสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว
การได้รับสารปรอทสะสมเป็นเวลานานจะทาให้มีอาการมือ และใบหน้าเกิดอาการบวมและเจ็บ บางคน
อาจเกิดอาการเหน็บชา บางส่วนจนเป็นอัมพาต โรคที่เกิดจากปรอท เรียกว่า “โรคมินามาตะ” (สรุป
รายงานการเฝ้าระวังโรค, 2547)
แคดเมียม (Cadmium; Cd)
เป็นโลหะมีสีเงิน มีอยู่ ตามธรรมชาติ โดยทั่วไปแคดเมียมที่ปนเปื้ อนอยู่ในสิ่งแวดล้ อมจะพบใน
แหล่งทาเหมืองสังกะสี และตะกัว่ ในอุตสาหกรรม ยาสูบและบุหรี่ พลาสติกและยาง นอกจากนี้ยังนิยมใช้
เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุปกรณ์ ไฟฟ้า โลหะผสม แคดเมียมที่ปนเปื้ อนในน้า อาหาร
เมื่อเข้าสู่รา่ งกายจะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร แล้วแพร่กระจายไปที่ตับ และสะสมเพิ่มขึ้นใน
ปริมาณสูงจะทาให้เกิดมะเร็ง ไตทางานผิดปกติ นอกจากนี้ยังทาให้ เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปวดกระดูก
สันหลังแขนขา ซึ่งจะทาให้ ไตพิการได้โรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียมเรียกว่ า “โรคอิไต-อิไต” (สรุป
รายงานการเฝ้าระวังโรค, 2547)

การปนเปื้อนของโลหะหนักในสัตว์น้าทะเลไทย
จากพิษของโลหะหนักที่กล่าวไปข้างต้น ในหัวข้อ นี้จะขอกล่าวถึงการปนเปื้อนของโลหะหนักใน
สัตว์น้าไทย โดยเรียบเรียงจากบทความวิจัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
แววตา ทองระอาและคณะ (2557) ได้มีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนัก
จากการบริโภคอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งวิเคราะห์ตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 36 ชนิด จานวน 369 ตัวอย่าง พบว่าโลหะหนักในอาหารทะเลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.8) อยู่ใน
ระดับที่ปลอดภัยสาหรับการบริโภค พบโลหะหนักสู งเกินมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของตัวอย่าง
ทั้งหมด โดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินมาตรฐานเรียงตามลาดับ คือ ทองแดง สังกะสี และแคดเมียม ซึ่ง
ส่วนใหญ่พบใน กั้ง หอย และหมึก สาหรับการประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารจากงานวิจัยนี้
พบว่า การปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงยังคงปลอดภัยในการบริโภค
ยกเว้นผู้บริโภคอาจมีความเสี่ยงในการได้รับทองแดงเกินกาหนดจากการบริโภคกั้งตั๊กแตนและแคดเมียม
จากการบริโภคหอยเชลล์
ศุภลักษณ์ พวงสุวรรณ (2557) ได้ศึกษาปริมาณโลหะหนักบางชนิด (ทองแดง สังกะสี แคดเมียม
ตะกั่ว เหล็ก นิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์ ) ในปลาทูน่าบริเวณแนวสันเขาใต้น้า จานวน 61 ตัวอย่าง
พบว่ามีระดับการปนเปื้อนของโลหะหนักตะกั่ว นิกเกิล และแมงกานีสสูงสุด ส่วนใหญ่มีระดับการปนเปื้อน
ของโลหะหนักในเนื้อเยื่อส่วนท้องสูงกว่าบริเวณเนื้อเยื่อส่ วนหลัง แต่การปนเปื้อนโดยเฉลี่ยไม่เกินเกณฑ์
มาตรฐานที่กาหนดโดยคณะกรรมาธิการยุโรปและกระทรวงสาธารณสุข ของไทย จากการประเมินความ
เสี่ยงต่อสุขภาพในการบริโภค พบว่าปลาทุกชนิดไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้บริโภค
นุชนาถ รังคดิลกและคณะ (2557) ได้ตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในอาหารทะเลจากจังหวัด
ระยอง โดยทาการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารทะเลในปี พ.ศ. 2552-2553 ได้แก่ ปลาหมึก 33 ตัวอย่าง, ปลา
กะพง3 ตัวอย่าง, หอยบิด 30 ตัวอย่าง, หอยแมลงภู่ 30 ตัวอย่าง, หอยตลับ 10 ตัวอย่าง, และหอยคราง
10 ตัวอย่างพบว่า ในเนื้อปลากะพงมีปริมาณสารหนูและแคดเมียมต่ากว่าค่ามาตรฐานที่กาหนดในอาหาร
แต่ปลาหมึกและหอยมีปริมาณสารหนูและแคดเมียมสูงกว่าในเนื้อปลากะพง ส่วนหัวและตัวปลาหมึกมี
ปริมาณสารหนูใกล้เคียงกัน สาหรับตัวอย่างหอยต่าง ๆ พบว่า หอยครางมีปริมาณสารหนูสูงที่สุด สาหรับ
ปริมาณแคดเมียมในอาหารทะเลนี้ พบว่า ในตัวอย่างปลา ปลาหมึก และหอยนี้ มีปริมาณแคดเมียมอยู่ใน
ระดับต่า ยกเว้น หอยคราง ที่มีปริมาณแคดเมียมสูง ปริมาณสารหนูในตัวอย่างปลาหมึกและหอยสูงเกิน
กว่าค่ามาตรฐานที่กาหนดให้มีได้ในอาหาร แต่ชนิดของสารหนูที่พบมากนี้ จะเป็นสารหนูอินทรีย์ ชนิดที่
เป็นอันตรายน้อยกว่า ทาให้เราสามารถบริโภคอาหารทะเลเหล่านี้ได้ แต่ก็ไม่ควรที่จะบริโภคเป็นประจา
อย่างต่อเนื่อง เพราะอาจทาให้เกิดการสะสมโลหะหนักนี้ในร่างกายได้ โดยเฉพาะแคดเมียม ซึ่งมีการสะสม
ในร่างกายได้นานกว่าสารหนู
จิราภา อุณหเลขกะและคณะ (2552) ได้ศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ดีบุกและปรอทที่
ปนเปื้อนในหอยแครง และ หอยแมลงภู่บริเวณอ่าวไทยตอนในปี 2552 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครงและ
หอยแมลงภู่ จ ากแหล่ ง เพาะเลี้ ย งบริ เ วณชายฝั่ ง ทะเลและบ่ อ เลี้ ย งในแผ่ น ดิ น ของจั ง หวั ด เพชรบุ รี
สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร พบว่าหอยแครง จานวน 4 ตัวอย่างจากบ่อเลี้ยง 4 แห่ง มีแคดเมียมสูง
กว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป Commission Regulation (EC) No.221/2002 ส่วนตัวอย่างที่เหลือ
ทั้งหมดผ่าน มาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) แสดงว่าอาหารทะเล
จากอ่าวไทยตอนในมีความปลอดภัยจากพิษของโลหะหนัก ยกเว้นหอยแครงจากบ่อเลี้ยงที่อาจไม่ได้ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสาหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้า (Good Aquaculture Practice:
GAP) ทาให้มีการสะสมของแคดเมียมในตะกอนดิน

การปนเปื้อนของโลหะหนักในสัตว์น้าจืดไทย
ในหัวข้อนี้ขอเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนของโลหะหนักในสัตว์น้าจืด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กชพรรณ วงค์เจริญ และศิรินันท์ ยุบลศิริ (2555) ศึกษาปริมาณตะกั่ว และ แคดเมียมในปลากด
คัง ปลาตอง ปลาเนื้ออ่อน ปลาบู่ ปลาเก และกุ้ง บริเวณเขื่อนลาปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ผล พบว่า ปริมาณ
ตะกั่ว และแคดเมียมในตัวอย่างสัตว์น้าจากท่าขึ้นปลาประจา 4 ท่า มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่เป็น
อันตรายต่อร่างกาย ตามเกณฑ์กาหนดมาตรฐานของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศ
ไทย และเกณฑ์กาหนดมาตรฐานของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
สุพรรษา เกียรติสยมภู และสุนิสา ชายเกลี้ยง (2555) ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการ
บริโภคสัตว์น้าที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณแหล่งประมงหนองน้าล้น จังหวัดขอนแก่น โดยได้หาความ
เข้มข้น ของตะกั่ว ในปลานิ ล ปลาตะเพียน หอยขม และหอยเชอรี่ ชนิดละ 20 ตัว อย่าง พบว่า ความ
เข้มข้นของตะกั่ว ในสัตว์น้าส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินมาตรฐาน ยกเว้นหอยขมมีความเข้ มข้นของตะกั่วเกิน
มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 30.00 และเกินมาตรฐานของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ร้อยละ
10.00 การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพตามสมการของ US.EPA พบว่าปริมาณสารตะกั่วที่ได้รับตลอด
ช่วงชีวิตจากการบริ โภคสัตว์น้ารวมหลายชนิดบริเวณหนองน้าล้นนี้ มีค่าไม่เกินปริมาณสารที่ร่างกาย
สามารถทนรับได้ต่อสัปดาห์ตลอดชีวิตแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (PTWI)
ธวัดชัย ธานี และชัญญาณ์ภัช นารอง (2555) ศึกษาปริมาณการสะสมของโลหะหนัก ได้แก่
สังกะสี ทองแดง เหล็ก และตะกั่ว ในน้า ตะกอนดิน และปลา ในแม่น้าชี ในเขตอาเภอเมืองมหาสารคาม
ซึ่งพบว่าปริมาณโลหะหนักทั้งหมดในน้า และดินตะกอนมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานกาหนด แต่พบปริมาณ
ตะกั่วในปลาทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ ปลากด ปลากราย ปลาคัง ปลาจอก ปลาตอง ปลานาง และปลาเพี้ยสูงเกิน
เกณฑ์มาตรฐานกาหนด แต่ปริมาณโลหะหนักอีก 3 ชนิด มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
จากงานวิจัยข้างต้นทั้งหมดสรุปได้ว่า ถึงแม้งานวิจัยแต่ละงานจะตรวจพบโลหะหนักในสัตว์น้า แต่
ก็ตรวจพบในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และมีการแนะนาให้ผู้บริโภคให้บริโภคอาหารที่
หลากหลายไม่ทานอาหารประเภทเดิมซ้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของโลหะหนักเหล่านั้นในร่างกาย

เอกสารอ้างอิง
กชพรรณ วงค์เจริญ และศิรินันท์ ยุบลศิริ. (2555). การศึกษาปริมาณตะกั่ว และ แคดเมียมในปลากดคัง
ปลาตอง ปลาเนืออ่อน ปลาบู่ ปลาเก และกุ้ง บริเวณเขื่อนล้าปาว จังหวัดกาฬสินธุ์.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 42-46.
ขนิษฐ พานชูวงศ์. (2550). ปรอท ตะกั่ว สารหนูโลหะหนักภัยใกล้ตัว. นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่: 334
จิราภา อุณหเลขกะและคณะ. (2552). การศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ดีบุกและปรอทที่ปนเปื้อนใน
หอยแครง และ หอยแมลงภู่บริเวณอ่าวไทยตอนในปี 2552. วารสารอาหารและยา:
พฤษภาคม-สิงหาคม 2554. 15-22.
ดนุรุจ วินมูน. (2548). ภาวะอุตสาหกรรมทองแดงปี 2547. ส่วนอุตสาหกรรม 2. สานักนโยบาย
อุตสาหกรรมรายสาขา 1. สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.
ธวัดชัย ธานี และชัญญาณ์ภัช นารอง. (2555). การปนเปื้อนโลหะหนักในแม่น้าชี จังหวัดมหาสารคาม.
สารวิจัยเพื่อชุมชน : ปีที่ 1 ฉบับที่ 3. 16-20.
นุชนาถ รังคดิลกและคณะ. (2557). สารหนูและแคดเมียม ในอาหารทะเล…ปลอดภัยต่อการบริโภค
หรือไม่?. ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. แหล่งข้อมูล
http://www.eht.sc.mahidol.ac.th/article/1657. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98. (2529). เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน.
ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 103 ตอนที่ 23 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่273. (2546). เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ 2).
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 120 ตอนพิเศษ 77 ง. ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.
2546
แววตา ทองระอาและคณะ. (2557). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการ
บริโภคอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสาร
วิทยาศาสตร์บูรพา. 19(2). 39-54.
ศุภลักษณ์ พวงสุวรรณ. (2557). ปริมาณโลหะหนักบางชนิดในปลาทูน่าบริเวณแนวสันเขาใต้น้า 90̊E.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: 118 หน้า
สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. (2547) แหล่งข้อมูล http://epid.moph.go.th/ สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน
2558.
สุพรรษา เกียรติสยมภู และสุนิสา ชายเกลี้ยง (2555). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการ
บริโภคสัตว์น้าที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณแหล่งประมงหนองน้าล้น. KKU Research
Journal. 2012; 17(4). 671-686.
Ashish, E., et al. (2013). Copper Toxicity: A Comprehensive Study. Research Journal of
Recent Sciences. 2, 58-67.
Lide, D. (1992). CRC Handbook of Chemistryand Physics, 73rd Edition 1992. Boca Raton,
FL: CRC Press.
Flora, G. et al. (2013). Toxicity of lead: A review with recent updates. Interdiscip
Toxicol. 2.5(2): 47–58.

You might also like