You are on page 1of 3

ชื่อ-สกุล นางสาวจีรวรรณ จุลพันธ์ สาขาวิชา คณิตศาสตร์ รหัส 624143010

ใบงาน : บทที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียง


สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้คนเป็นคนดี มีคุณธรรม และเป็นผู้ควรแก่การยกย่องนับถือ
เป็ น คนที ่ ส ามารถดำเนิ น ชี ว ิ ต ที ่ ถ ู ก ต้ อ ง หมายความว่ า ผู ้ ใ ดมี ธ รรมเหล่ า นี ้ แ ล้ ว ผู ้ น ั ้ น ได้ ช ื ่ อ ว่ า เป็ น คนดี ที่
พระพุทธศาสนายกย่อง มิได้เป็นคนงมงายหรือเป็นคนซื่อจนเซ่อ แต่เป็นคนฉลาดมีเหตุผล รู้จักใช้ความคิด วางตัว
ได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์เหมาะสม ถ้าจะแบ่งคนที่เกิดขึ้นและอาศัยอยู่ในโลกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1. คนดี
ได้แก่คนที่มีคุณงามความดีให้ผู้คนรอบข้างชื่นชม คนที่ว่านี้ถึงแม้จะมีความไม่ดีอยู่บ้างก็ถือ ว่าน้อยเมื่อเทียบกับ
ความดีที่มีอยู่ 2. คนชั่วหรือคนไม่ดี ได้แก่คนที่กระทำความชั่ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม
คนประเภทนี้ถึงแม้จะมีความดีอยู่บ้างก็ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความชั่วที่มีอยู่ และจะเป็นความดีที่ได้ผลเฉพาะตัว
หรือคนใกล้ชิดมากกว่าส่วนรวม ในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เรียกคนดีว่าเป็นสัตบุรุษ และคนที่จะเป็นสัตบุรุษ
จะต้องมีธรรม 7 ประการ ซึ่งประกอบด้วย

1. ธัมมัญญุตา แปลว่า ความรู้จักเหตุ หมายถึง รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์แบบแผน


หน้าที่ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุ ผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิ ดผล ซึ่งจะเป็นเหตุให้ทำการใด ๆ ได้
สำเร็จตามความมุ่งหมาย อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร จึงจะเกิดผลที่ต้องการ เป็นต้น
2. อัต ถัญญุต า แปลว่ า ความรู้จ ักผล หมายถึง รู้ความหมาย รู้ ความมุ่งหมายของหลักธรรมหรือหลักการ
กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู้จักประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก
เช่น รู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นมีความหมายว่าอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร พึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์อะไร การที่ตน
กระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นต้น
3. อัตตัญญุตา แปลว่า ความรู้จักตน หมายถึง รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถความถนัด และ
คุณธรรม เป็นต้น ของตนตามจริงว่ามีเท่าไร เป็นอย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. มัตตัญญุตา แปลว่า ความรู้จักประมาณ หมายถึง รู้จักความพอเหมะพอดี เช่น คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้
จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
5. กาลัญญุตา แปลว่า ความรู้จักกาล หมายถึง รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการ
ประกอบกิจ ทำหน้าที่การงานต่าง ๆ เช่น ให้ตรงเวลา เป็นเวลา ทันเวลา พอเวลา และเหมาะเวลา เป็นต้น
6. ปริสัญญุตา แปลว่า ความรู้จักบริษัท รู้จักชุมชน หมายถึง รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้กริยามารยาท
ระเบียบวินัย ขนมธรรมเนียมประเพณี และข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ ต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำ
กิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา แปลว่า ความรู้จักบุคคล หมายถึง รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดย
อัธยาศัย ความสามารถและคุณธรรม เพื่อปฏิบัติตอ่ ผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่น ควรคบหรือไม่ จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยก
ย่อง ตำหนิ หรือแนะนำสั่งสอนอย่างไรจึงจะได้ผล เป็นต้น รวมทั้งเข้าใจธรรมชาติของคน รู้ความแตกต่างของ
บุคคล และรู้ว่าควรปฏิบัติต่อคนประเภทนนี้อย่างไรจึงจะเหมาะสม
ค้นคว้าจาก : 1. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/download/253502/169854/,
หน้า 23 - 25
2. https://mgronline.com/daily/detail/9490000094625
วัน/เดือน/ปี ที่ค้นคว้า 18 สิงหาคม 2564
สัปปุร ิสธรรม สอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. ความพอประมาณ จะสอดคล้องกับหลัก
มัตตัญญุตา, อัตตัญญุตา และกาลัญญุตา โดยมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ รู้จักพอดี รู้จักประมาณในการ
บริโภค และการกระทำทุกอย่าง การรู้จักประมาณจะทำให้เราลดการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อัตตัญญุตา คือ
การรู้จักตนเอง รู้จักลักษณะทางกายภาพ เพศ วัย ทำให้มีการบริโภคที่เหมาะสม ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม การรู้จัก
ความสามารถ และระดับการพัฒนาของตนเอง ย่อมทำให้รู้จักประมาณในการตั้งเป้าหมายในชีวิตไม่ให้สูงเกินกว่า
ขีดความสามารถของตนจนเกินไป ซึ่งจะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างเคร่งเครียด และกาลัญญุตา คือ การรู้จัก
กาลเวลา และระยะเวลาอันเหมาะสมในการกระทำใด ๆ เช่น รู้ว่าเวลานี้ควรทำงาน เวลานี้ควรพักผ่อนร่างกาย
เวลานี้ควรผ่อนคลายจิตใจ รู้ว่าควรทำงานเป็นระยะเวลาเท่าไหร่จึงสัมฤทธิ์ผล เพื่อไม่ให้ช้าเกินจนไม่ทันการณ์ หรือ
เร็วเกินไปจนไม่รอบคอบ
2. ความมีเหตุมีผล จะตรงกับหลักธรรม ธัมมัญญุตา และอัตถัญญุตา โดยธัมมัญญุตา คือ ความรู้จักเหตุ รู้จัก
หลักการต่าง ๆ รู้หลักความจริง รู้ว่าเหตุ ใดทำแล้วจะเกิดผลที่เราต้องการ ในขณะที่อัตถัญญุตา คือ รู้จักผล รู้จัก
ความมุ่งหมาย รู้ถึงจุดประสงค์ และเป้าหมายของการกระทำใด ๆ รู้ว่าหลักการนี้ทำแล้วย่อมปรากฏผลอย่างไร
การมีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิตย่อมทำให้เรามีหลักยึดไม่เดินหลงทาง แม้ระหว่างทางอาจเกิดปัญหา ผลที่ได้อาจ
ไม่ตรงกับที่คาดการณ์ไปบ้าง แต่เพราะมีหลักการในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถหาต้นตอของปัญหาและแก้ไขได้
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง จะสอดคล้องกับหลัก อัตตัญญุตา, ปริสัญญุตา, ปุคคลัญญุตา และกาลัญญุตา
โดยอัตตัญญุตา คือ การรู้จักตนเอง รู้ถึงความสามารถ ข้อดีข้อด้อยของตนเอง ปริสัญญุตา คือ ความรู้จักบริษัท
รู้จักชุมชน รู้จักสังคม รู้ว่าสังคมรอบตัวเป็นอย่างไร รู้ว่าจุดไหนคือโอกาส รู้ว่าสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
รู้จักธรรมชาติของคนในสังคมนั้น ๆ ว่ามีพฤติกรรมอย่าง มีธรรมนิยมอย่างไร ปุคคลัญญุตา คือ ความรู้จักบุคคล
รู้จักความแตกต่างของนิสัย ความสามารถ และข้อดีข้อด้อยของคนแต่ละคน รู้ว่าคนประเภทใดควรคบหาสมาคม
หรือคนประเภทใดควรอยู่ให้ห่าง และกาลัญญุตา คือ การรู้จักกาละเทศะ รู้ว่าเวลาไหนควรพูดเวลาไหนควรฟัง
เวลาไหนควรกระทำการใด ๆ คาดการณ์ได้ว่าในกาลข้างหน้าสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อหาทางในการ
ปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น การรู้จักตนเอง การรู้จักผู้อื่น การรู้จักสังคมที่เราอาศัยอยู่ อาศัยความรู้
เหล่านี้ประเมินพร้อมกับกาลเวลาจะทำให้เราสามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่า ง
ใกล้เคียง ทำให้เราเป็นคนที่ทันต่อโลก ทันต่อยุคสมัย ยากต่อการหลอกลวง ยากต่อการล้มเหลว

☺ นักศึกษาสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว


และท้องถิ่นได้อย่างไร

1) ตนเอง
1. ประหยัด อดออม ลดค่าใช้จ่าย และลดความฟุ่มเฟือยในการดำเนินชีวิต
2. รู้จักพอ ไม่อยากได้อยากมีแบบผู้อื่น เพราะทำให้หลงติดกับวัตถุและชีวิต โดยนำเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายไปออม
3. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันของเราเองก็จะมีการวางแผนหรือจดบันทึกเพื่อที่จะได้ทราบว่าในแต่ละวันเรา
ใช้จ่ายไปเท่าไหร่
2) ครอบครัว
1. ปลูกพืชสวนครัว ไม้ผล หรือสมุนไพรไว้ใช้ไว้กิน หรือแบ่งให้เพื่อนบ้าน จากนั้นเมื่อเหลือจึงนำไปขาย
2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน เพื่อให้ครอบครัวเราใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละวัน ซึ่งเราจะได้รู้ถึงหลักการใน
การใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมภายในครอบครัว
3. ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากกลิ่นเหม็น ใช้ของที่เป็นธรรมชาติ สุขภาพจะดีขึ้น ประหยัดค่ารักษาพยาบาล
3) ชุมชน /หมู่บ้าน /ท้องถิ่น
1. นำไปใช้พัฒนาด้านสิ่ งแวดล้อม ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักการบริหารจัดการ
ทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองและชุมชนอย่างสมดุล เช่น รู้จักการใช้ที่ดินที่ว่าเปล่าภายในบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือแบ่งปันกันระหว่างสมาชิกชุมชน จนนำไปสู่ความสามัคคีของคนในชุมชน ซึ่งเป็น
ภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชนนำไปสู่การพัฒนาของชุมชนที่สมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
3. ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับบุคคลหลายสถานภาพในสิ่งที่จะสร้างประโยชน์สุขของคนส่วนรวม อยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต
ค้ น คว้ า จาก : 1. ธรรมและสุ ข ภาพ: หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง กั บ หลั ก ธรรมสั ป ปุ ร ิ ส ธรรม 7
(chinnapanchara.blogspot.com)
2. ตัวอย่างการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต (trangcity.go.th)
3. การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน • พอแล้วดี The Creator
(porlaewdeethecreator.com)
วัน/เดือน/ปี ที่ค้นคว้า 18 สิงหาคม 2564

You might also like