You are on page 1of 416

เอกสารประกอบการประชุมวิ ชาการระดับชาติ

เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิ ทยา และสังคมวิ ทยาภาคใต้ ครัง้ ที่ 2


“ศาสตร์แห่งการจา ศิ ลป์ แห่งการลืม” เล่ม 1
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เลขมาตรฐานสากลประจาหนังสืออิ เล็กทรอนิ กส์ 978-616-271-328-6

กองบรรณาธิ การ ณภัค เสรีรกั ษ์, พุทธพล มงคลวรวรรณ, ภมรี สุรเกียรติ,


พิชามนชุ์ วรรณชาติ, นันดา การแข็ง, นันทพร แสงมณี
แบบปก/รูปเล่ม พุทธพล มงคลวรวรรณ, ณภัค เสรีรกั ษ์
ประสานงานการผลิ ต รชฎ สาตราวุธ, ภมรี สุรเกียรติ

จัดทาโดย ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ และ แผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล
อ.เมืองปั ตตานี จ.ปั ตตานี 94000
สนับสนุนการจัดพิ มพ์โดย สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)
พิ มพ์ที่ ปั ตตานีอนิ โฟร์เซอร์วสิ 17/289 หมู่ 1
ถ.มอ.-ชลประทาน ต.รูสะมิแล
อ.เมืองปั ตตานี จ.ปั ตตานี 94000
โทร. 0 7333 2655
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ
เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา
และสังคมวิทยาภาคใต้ ครัง้ ที่ 2

“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”


เล่ม 1
25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จัดโดย
ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ และ แผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สนับสนุนโดย
สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)
ศูนย์ภมู ภิ าคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยังยื
่ น คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (RCSD)
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CAS)
ศูนย์วจิ ยั พหุลกั ษณ์สงั คมลุ่มน้าโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CERP)
This page is intentionally left blank
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สารบัญ

“แบบประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ท้จริง”?: วิกฤตการณ์และการวางเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ชาติแบบเส้นตรง


ในประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทย ช่วงทศวรรษ 2490-2510 1
กฤชกร กอกเผือก

อองซาน: พลวัตการจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมโดยรัฐบาลพม่า 23
กฤษณะ โชติสทุ ธิ์

เทคโนโลยีการทาแผนทีใ่ นยุคสงครามเย็นกับกาเนิดของแผนทีส่ มัยใหม่ของชาติในประเทศไทย 49


เก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ

ความทรงจาในดวงแก้ว: ความทรงจาทีแ่ ปรเปลีย่ นไปเกีย่ วกับวัดพระธรรมกาย


ภายใต้ปริมณฑลรัฐบาลทหาร พ.ศ. 2557-2559 71
เจษฎา บัวบาล

ความทรงจาและการลืมต่อการเปลีย่ นแปลงภูมปิ ระเทศ ในบริบท “ความไม่สงบ” ชายแดนภาคใต้ 85


ชลิตา บัณฑุวงศ์

การแทนทีค่ วามทรงจา กรณี พิพิธ ภัณ ฑ์ ร ัฟ เฟิ ลส์ สมัย อาณานิ ค ม


และพิพิธ ภัณ ฑสถานแห่ ง ชาติ สิง คโปร์ ห ลัง เอกราช 101
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

วีถคี นอีสานและการเปลีย่ นผ่าน: ประเพณีบุญบัง้ ไฟ (ชุมชนลุ่มน้าชี อาเภอเขือ่ งใน จังหวัดอุบลราชธานี) 125


ชุลพี ร ทวีศรี

ร้านมามัก-มาเลเซีย: พืน้ ทีข่ องการต่อรองทางอัตลักษณ์ระหว่างชาติพนั ธุใ์ นมาเลเซีย 135


ญาณิน วงค์ใหม่

การสร้างอัตลักษณ์ของเมืองบุรรี มั ย์ ในฐานะทีเ่ ป็ น “มหานครแห่งกีฬา”: ศึกษาการบริโภคสินค้ากีฬา 149


ฐากูร ข่าขันมะลี

พิธกี รรมฟ้ อนผี: ความทรงจา ความหมายและตัวตนของ 'มา้ ขี'่ ในบริบทสังคมสมัยใหม่ 169


ณัฐภัทร์ สุรนิ ทร์วงศ์ และ นิศา บูรณภวังค์

การกาหนดบทบาทหญิงชาย ผ่านตาราเรียนระดับประถม ของประเทศพม่า 185


ณัฐราพร พรหมประสิทธิ์

i
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปฏิบตั กิ ารทางชายแดนของ รัฐเวียดนามในยุคสมัยจารีต ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 203


ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์

การประกอบสร้างอัตลักษณ์เชือ้ ชาตินา วรรณะนา และประวัตศิ าสตร์อนิ เดียกระแสนา


ด้วยวาทกรรมความเป็ นอารยัน ในอินเดียยุคอาณานิคม 217
ตุลย์ จิรโชคโสภณ

JALAN RAYA POS: เรื่องเล่าของถนนสายประวัตศิ าสตร์ 239


ทิวาพร จันทร์แก้ว

นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็นบางวัน: ความทรงจาของสตรีฟิลปิ ปิ นส์กบั การพินจิ ด้วยคติบรู พนิยม 249


ธงชัย แซ่เจีย่

“จีน” ในมุมมองของเวียดนาม วิเคราะห์ผ่านหนังสือ ข้อเท็จจริงเกียวกั


่ บ เวียดนาม-จีนช่วง 30 ปีทผี ่ ่านมา 271
ธนนันท์ บุ่นวรรณา

แผ่นดินไทยใต้รม่ พระบารมี: อนุสาวรียอ์ นั เนื่องมาแต่การต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์ในภาคเหนือตอนบน


กับปฏิบตั กิ ารสร้างความทรงจาของรัฐไทย 289
ธนาวิ โชติประดิษฐ

เสียงเล็กๆ ของ “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ ในหนังสือพิมพ์ สารเสรี พ.ศ. 2502:


ประวัตศิ าสตร์อาพราง เบีย้ ล่าง (อยาก) เล่าเรื่อง 305
ธิกานต์ ศรีนารา

ประวัตศิ าสตร์ชมุ ชน ลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา ในบริบททางด้านสังคม “มองราก รูต้ วั ตน เพื่อชุมชนเข้มแข็ง” 329


นันทยา ศรีวารินทร์

ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง คือ ประวัตศิ าสตร์ของประชาชน:


เรื่องเล่าจากฝ่ ายซ้ายอังกฤษ เมื่อ ‘ประชาชน’ เข้าแทนทีช่ นชัน้ 353
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทยั

“อยู่บา้ นเถิดลูก พ่อปลูกอโศกเพือ่ เจ้า”: ชีวติ ทางเศรษฐกิจกับสังคมพุทธในจินตนากรรมของชาวอโศก 371


บัณฑิต ศิรริ กั ษ์โสภณ

พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ กับการต่อรอง ภาพตัวแทนความเป็ นจริงของชุมชน 391


เบญจวรรณ นาราสัจจ์

ii
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R3-03

“แบบประวัติศาสตร์ท่แท้
ี จริง”?
วิ ก ฤตการณ์ แ ละการวางเค้ า โครงประวั ติ ศ าสตร์ ช าติ แ บบเส้ น ตรง
ในประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ไ ทย ช่ วงทศวรรษ 2490-2510

กฤชกร กอกเผือก*
นิสิตสหกิจศึกษา หน่วยวิจัยเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
e-mail: Krijakorn@gmail.com

บทความนี้ ป รั บ ปรุ ง จากวิ ท ยานิ พ นธ์ ร ะดั บ ปริ ญ ญาตรี เรื่ อ ง “การเมื อ งในประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ไ ทยของคณะกรรมการช าระ
ประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ.2495-2533” สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2558

* กว่าการเขียนบทความชิ้ นนี้จะสาเร็จลุล่วงนั้น ผู ้เขียนได้รับความช่ วยเหลือหลายประการจากมวลมหามิตรหลายท่าน จึงขอขอบคุณ


คุณสถาปนา เชิ งจอหอ, คุ ณ ปรี ชภั ก ดิ์ ที คาสุ ข , คุณ สิ ริฉั ต ร รัก การ, คุณ วรยุ ทธ พรประเสริฐ , อาจารย์ ณั ฏ ฐพงษ์ สกุ ล เลี่ยว,
คุณภัทรนิษฐ์ เกียรติธนวิชญ์ และคุณนพปฏล กิจไพบู ลทวี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู ้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม กับ
อาจารย์ ช นิ ด า เผื อ กสม ที่ ใ ห้ ค วามช่ วยเหลื อ และค าแนะน าแก่ ผู้ เ ขี ย นมากมายตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนเขี ย นบทความเสร็ จ เรี ย บร้ อ ย
อย่างไรก็ตาม ความบกพร่องใดที่ปรากฏอยู ่ในบทความชิ้ นนี้ผู้เขียนของน้อมรับไว้แต่เพียงผู ้เดียว

1
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าบรรดารัฐเกิดใหม่ทไ่ี ด้รบั เอกราชภายหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2
ต่างก็ให้ความสาคัญต่อการเขียนประวัตศิ าสตร์ของรัฐอย่างยิง่ ไม่ว่าจะเป็ น การทีฟ่ ิ ลปิ ปิ นส์ตงั ้ คณะกรรมาธิการ
ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติฟิลปิ ปิ นส์ขน้ึ ใน พ.ศ.2490 (สิรฉิ ตั ร รักการ 2559) อินโดนีเซียจัดงานสัมมนาประวัตศิ าสตร์
แห่งชาติใน พ.ศ.2500 (นพปฏล กิจไพบูลทวี 2556, 10) รวมทัง้ การทีล่ าวได้ตงั ้ คณะกรรมการค้นคว้าและเขียน
ประวัตศิ าสตร์ลาวขึน้ ใน พ.ศ.2526 ทีล่ ่วงเลยมาถึงเสีย้ วทีส่ องของพุทธศตวรรษที่ 26 ก็เนื่องด้วยความยุ่งยากทาง
การเมืองบางประการ (กาพล จาปาพันธ์ 2558, 217-218) ในลักษณะเดียวกันรัฐไทยผูท้ ะนงหนักหนาเรื่องไม่เคย
ตกเป็ นอาณานิ ค มของใคร พร้ อ มทัง้ มีป ระวัติ ศ าสตร์อ ัน ยาวนานนั บ พัน ปี ก็ย ัง ด าเนิ น การตัง้ องค์ ก รทาง
ประวัตศิ าสตร์ทม่ี ชี ่อื ว่า “คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย” ขึน้ เมื่อ พ.ศ.2495 จึงเป็ นสิง่ ทีน่ ่าขบคิดอย่างมาก
ว่า สาเหตุ ของการจัดตัง้ องค์กรดังกล่าวนี้ข้นึ ณ ช่วงเวลานัน้ มาจากปั จจัยใด กอปรกับมีบทบาท หน้ าที่และ
ปฏิบตั กิ ารต่างๆ อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงทศวรรษ 2490-2510 นัน้ อันน่ าจะช่วยขยายเส้นขอบฟ้ า
แห่ ง ความรู้/ ความเข้า ใจที่มีต่อ ประวัติศ าสตร์นิ พนธ์ไ ทยได้มากยิ่งขึ้น กว่าเดิม เนื่ อ งจากงานศึกษาที่ว่าด้วย
ประวัติศ าสตร์นิ พ นธ์ไ ทยในปั จ จุ บ ัน ชิ้น ส าคัญ หลายชิ้น ก็ไ ม่ เ คยน าเอาคณะกรรมการฯ ในฐานะองค์ก รทาง
ประวัตศิ าสตร์ทต่ี งั ้ ขึน้ อย่างเป็ นทางการและมีการดาเนินงานยาวนานมากกว่าครึง่ ศตวรรษเข้ามาร่วมพิจารณาแต่
อย่างใด (ดูตวั อย่างเช่น Charnvit 1979; Winai 1983; Somkiat 1986; ธงชัย วินิจจะกูล 2543; แพทริค โจรี 2553;
Thongchai 2011, 2014)
แต่ ก ระนั น้ งานศึก ษาที่ว่ า ด้ ว ยประวัติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ไ ทยชิ้น หนึ่ ง ที่ก ล่ า วถึง คณะกรรมการช าระ
ประวัตศิ าสตร์ไทย คือ “200 ปี ของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยและทางข้างหน้า” ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2529) ใน
ฐานะหน่ ว ยงานที่ร ัฐ ไทยลงทุ น เสริม สร้ า งให้เ ป็ นสถาบัน ด้ า นการศึก ษาประวัติ ศ าสตร์ ที่ข้ึน ตรงกับ ส านั ก
นายกรัฐมนตรี อันเป็ นส่วนหนึ่งของการเกิดช่วงจังหวะแห่งความคึกคักของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยช่วงที่ 3
โดยนิธเิ สนอว่า การศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยในรอบ 200 ปี ทผ่ี ่านมาเกิดความคึกคักขึน้ อยู่ 3 ช่วง กล่าวคือ ช่วง
ต้นรัตนโกสินทร์ครัง้ หนึ่ง ช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงกรมพระยาดารงราชานุ ภาพครัง้ หนึ่ง และช่วงประมาณ พ.ศ.2500-
2525 อีก ครัง้ หนึ่ ง ทัง้ นี้ ข้อ ควรสังเกตที่สาคัญ คือ ความคึก คักนัน้ เกิดจากความสนใจของชนชัน้ สูงของไทย
โดยเฉพาะ อันเป็ นตรรกะมาจากการมองว่า ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์เป็ นสมบัตขิ องชนชัน้ สูงอีกชัน้ หนึ่ ง และทีส่ าคัญ
การเสนอว่าช่วงเวลาที่ 3 คือ ประมาณ พ.ศ.2500 จนถึง 2525 เกิดจากการไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมอเมริกนั
ผูเ้ ชีย่ วชาญหรือผูช้ านัญจากองค์กรช่วยเหลือต่างประเทศของอเมริกาต่างๆ ทีเ่ ข้ามาเดินกันขวักไขว่ไปมา จนทา
ให้ชนชัน้ สูงไทยรู้สกึ อึดอัดต่ อ “เอกลักษณ์ ไทย” ของตนอย่างมากว่า “เราคือใคร และเราควรเป็ นอะไรในโลก
ข้า งหน้ า ” (2529, 105-106, 115) จึง เป็ น ประเด็น ชวนสงสัย ว่ า ข้อ เสนอของนิ ธิต่ อ การเกิด ความคึก คัก ของ
การศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยในช่วงที่ 3 ดังกล่าวจะมีลกั ษณะเป็ นเช่นนัน้ หรือไม่ และจะสัมพันธ์กนั อย่างไรกับการ
แต่งตัง้ ของคณะกรรมการฯ ตัง้ แต่ก่อนทีอ่ เมริกนั ชนจะเพิม่ จานวนและ “ออกเดินเพ่นพ่านไปทัวทุ ่ กหัวระแหง” ของ
รัฐไทย ดังนัน้ คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยจึงถูกเรียกตัวขึน้ มาเพื่อใช้สอบสวนข้อสงสัยดังกล่าว ซึง่ ผล
จากการสอบสวนคณะกรรมการฯทีถ่ ูกเรียกขึน้ มาให้ปากคาต่อข้อสงสัยทีม่ ตี ่อนิธิ เอียวศรีวงศ์จะออกมาในรูปการณ์
ใด จะสามารถ “สะกดตามไปโดยรอยเท้าและสายโลหิตอันหยดย้อย” ได้หรือไม่ได้ ก็ขอให้ร่วมกันพิจารณาผลลัพธ์
ด้วยกันดังต่อไปนี้

2
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

คณะกรรมกำรชำระประวัติศำสตร์ไทยคือใคร?
สาหรับวงวิชาการประวัตศิ าสตร์ไทยแล้ว ความรับรู/้ เข้ าใจทีม่ ตี ่อบทบาทและหน้าทีข่ องคณะกรรมการ
ชาระประวัตศิ าสตร์ไทยนับว่าน้อยยิง่ ทัง้ เมื่อพิจารณาในแง่ระยะเวลาการทางานขององค์กรแล้วก็จะยิง่ พบข้อชวน
สงสัยอีกว่า ในฐานะองค์กรทางประวัติศาสตร์โดยตรงทีม่ กี ารจัดตัง้ มายาวนานกว่า 50 ปี เหตุใดจึงยังไม่มใี คร
ทาการศึกษาอย่างลึกซึง้ จริงจัง หากจะมีการเอ่ยถึงบ้างก็เป็ นเนื้อหาเปลือกกระพีท้ ท่ี าหน้าทีเ่ พียงแค่เสริมเพื่อเติม
เต็มความสมบูรณ์ให้แก่แก่นเนื้อหาหลักเท่านัน้
กล่าวโดยสังเขป คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยได้รบั การแต่งตัง้ ขึน้ อย่างเป็ นทางการจากรัฐบาล
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 เพื่อ “สอบสวนประวัตคิ วามเป็ นมาของชาติไทย”
(ประธานคณะกรรมการฯ 2519, 1) โดยมีบุคคลทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็ นกรรมการชุดแรกทัง้ สิน้ 10 คน ได้แก่ กรม
หมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ม.จ.หญิงสิบพันพารเสนอ โสณกุล พระยาอนุมานราชธน พระยาโกษากรวิจารณ์ (บุณศรี
ประภาศิร)ิ พันโทหลวงรณสิทธิพชิ ยั (เจือ กาญจนินทุ) ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล นายรอง ศยามานนท์ หลวง
บริบาลบุรภี ณ ั ฑ์ (ป่ วน อินทุวงศ์) นายธนิต อยู่โพธิและนายตรี
์ อมาตยกุล และเริม่ มีการประชุมคณะกรรมการฯ
กันเป็ นครัง้ แรกในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2495 (สิบพันพารเสนอ โสณกุล 2501, [1]-[2]) หลังจากการประชุมกันอีก
หลายครัง้ หลายคราว คณะกรรมการฯ จึงได้มติในการวางโครงการเขียนประวัติศาสตร์ไทยอย่างย่อที่อยู่ใน
ระยะเวลาการด าเนิ น งาน 5 ปี กล่ า วคือ ตัง้ แต่ พ.ศ.2495-2500 (ศธ.07001.9.10.2/1 [17-21]) อย่ า งไรก็ดี
ภายหลังจากการแต่งตัง้ กรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ขน้ึ ในครัง้ แรกนี้แล้ว ก็มบี ุคคลเข้ามารับตาแหน่งเป็ นกรรมการ
เพิม่ ขึน้ อีก แต่กล็ ้วนเป็ นในภายหลัง พ.ศ.2500 ทัง้ สิน้ ไม่ว่าจะเป็ นนายประเสริฐ ณ นคร พลตรีดาเนิน เลขะกุล
นายขจร สุขพานิช ม.จ.สุภทั รดิศ ดิศกุล นางสาววิลาสวงศ์ นพรั ตน์ นางวิมล พงศ์พพิ ฒ ั น์ และ ม.ร.ว.แสงโสม
เกษมศรี เป็ นต้น
ขณะที่ขอ้ เขียนหนึ่งของชาญวิทย์ เกษตรศิรทิ อ่ี าจกล่าวได้ว่าเป็ นบุคคลแรกๆ ที่เขียนข้อมูลไว้สนั ้ ๆ ถึง
คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยในเรื่อง ต้นกาเนิดว่ามีท่าทีจะโน้มเอียงไปในทางลัทธิเชือ้ ชาตินิยม เพราะ
เกิดขึน้ จากปฏิกริ ยิ าทีม่ ตี ่อบทความของแคลเร็นซ์ ดับเบิลยู. ฮอลล์ (Clarence W. Hall) ใน พ.ศ.2505 อันมีเนื้อหา
พอสรุปได้ว่า ไทยเคยตกเป็ นเมืองขึน้ ของเขมรมาก่อน จนนามาสู่การตัง้ คณะกรรมการฯ ขึน้ ใน พ.ศ.2506 (ชาญ
วิทย์ เกษตรศิริ 2519, 13-14) กระนัน้ เองดูเหมือนชาญวิท ย์จะจงใจไม่กล่าวถึงการแต่งตัง้ คณะกรรมการฯ อย่าง
เป็ นทางการใน พ.ศ.2495 เลย (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ 2510, 129) ทัง้ ๆ ที่หลักฐานที่ชาญวิทย์ใช้อ้างอิงก็ระบุถงึ
เรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน จนท้ายทีส่ ดุ ข้อมูลดังกล่าวของชาญวิทย์ ก็มผี ลสืบเนื่องทาให้เกิดความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน
ต่อต้นกาเนิดของคณะกรรมการฯ ตามไปด้วย
ในอีกแง่หนึ่ง การทางานของคณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์ไทยทีเ่ ริม่ ตัง้ แต่ พ.ศ.2495 เรื่อยมานัน้
อาจถูกมองว่าเป็ นช่วงแรกเริม่ ที่ไม่เห็นผลงานอย่างเป็ นชิ้นเป็ นอัน แต่จากเอกสารที่หลงเหลือมาบ้างบางชิน้ ก็
พอจะทาให้รวู้ ่า คณะกรรมการฯ ได้พยายามดาเนินงานให้สอดคล้องกับแผนการทีว่ างไว้ตงั ้ แต่ปีแรกของการเริม่
งานเช่นกัน เพราะรายงานการประชุมครัง้ ที่ 1/2498 ระบุเรื่องหนึ่งในระเบียบวาระการประชุมทีเ่ สนอให้ทป่ี ระชุม
พิจารณาคือ งานเขียนประวัตศิ าสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อันเป็ นไปตามโครงการเขียนประวัตศิ าสตร์ใน
พ.ศ.2497 ซึง่ กาหนดให้เป็ นลาดับของการเขียนประวัตศิ าสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา การประชุมครัง้ ทีม่ ขี น้ึ ในวันที่ 28
มกราคม พ.ศ.2498 จึงเท่ากับเป็ นเสมือนการรายงานความก้าวหน้าของงานทีท่ ามาใน พ.ศ.2497 แม้ว่างานเขียน
ดัง กล่ า วจะมีเ พีย ง 26 หน้ า ก็ต าม (ศธ.07001.9.10.2/1 [12]) อย่ า งไรก็ดี เมื่อ ระยะเวลาของโครงการเขีย น

3
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ประวัติศาสตร์ยุติลงใน พ.ศ.2500 งานเขียนประวัติศาสตร์ท่สี าเร็จลุล่วงออกมาก็มถี ึง 2 ยุคสมัยด้วยกัน ซึ่งจะ


กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า กระนัน้ ข้อมูลประการหนึ่งทีจ่ าเป็ นต้องเข้าใจก็คอื ฐานะการทางานของคณะกรรมการฯ
ซึ่งเป็ นองค์กรที่ได้รบั การจัดตัง้ และขึ้นตรงต่ อสานักนายกรัฐมนตรี มิใช่หน่ วยงานราชการปกติจึงทาให้ไม่มี
โครงสร้างหน่ วยงานที่ชดั เจน ขัน้ แรกสุด งบประมาณทีไ่ ด้รบั มาจากการสนับสนุ นของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีในขณะนัน้ ทีอ่ นุมตั เิ งินตามโครงการเขียนประวัตศิ าสตร์ ระยะเวลา 5 ปี เป็ นเงินปี ละ 90,000 บาท
รวมทัง้ สิน้ 450,000 บาท (ศธ.07001.9.10.2/1 [22]) แต่ท่สี าคัญก็คอื เมื่อต้องการทราบถึงหลักเกณฑ์อนั แน่ ชดั
ของการกาหนดคุณสมบัตใิ นการคัดเลือกบุคคลผูเ้ ข้ามารับตาแหน่ งกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์แล้ว ก็ไม่พบใน
เอกสารใดเลยทีส่ ามารถใช้คน้ คว้าได้อย่างน้อยจนถึงทศวรรษ 2520 จึงยังคงเป็ นเรื่องทีน่ ่าขบคิดว่า อะไรคือมาตร
ทีใ่ ช้ในการคัดสรรคนทัง้ ในแรกเริม่ และเวลาต่อมา?
ด้วยเหตุทม่ี ไิ ด้เป็ นหน่ วยงานราชการปกติธรรมดานี้เอง จึงทาให้สภาวะการดารงอยู่ของคณะกรรมการ
ชาระประวัตศิ าสตร์ไทยมีความพิเศษขึน้ ตามไปด้วย เนื่องจากต้นกาเนิดในชัน้ แรกเริม่ ทีม่ าจากความเห็นชอบของ
รัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อมีรฐั บาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศก็จะมีประกาศ
แต่งตัง้ คณะกรรมการฯ ให้กลับเข้าทางานใหม่ตามมา จนกล่าวได้ว่า การทางานของคณะกรรมการฯ นัน้ แปรผัน
ไปตามรัฐบาลหนึ่งๆ เช่น ภายหลังทีร่ ฐั บาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามถูกยึดอานาจในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.
2500 รัฐบาลของนายพจน์ สารสินก็ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการฯ ขึน้ ใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคมปี เดียวกัน หรือการ
แต่งตัง้ ให้คณะกรรมการฯ ทางานต่ อในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2506 ภายหลังที่จอมพลถนอม กิตติขจรขึน้ เป็ น
นายกรัฐมนตรีแทนจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ทถ่ี งึ แก่อสัญกรรมไป หรือการแต่งตัง้ คณะกรรมการฯ ให้ทางานต่ออีก
ครัง้ ของนายสัญญา ธรรมศักดิในวั ์ นที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 เมื่อในคราวเกิดการปฏิวตั ปิ ระชาชนขับ ไล่จอม
พลถนอมและพวกได้สาเร็จในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เป็ นต้น (สิบพันพารเสนอ โสณกุล 2501, [8]; ประธาน
คณะกรรมการฯ 2519, 8, 12) รวมทัง้ เมื่อพิจารณาร่วมกับการจัดตัง้ คณะกรรมการฯ อย่างเร่งด่วนในวันที่ 17
สิงหาคม พ.ศ.2506 ของจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ หลังจากเหตุการณ์ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตก
เป็ นของกัมพูชาทีย่ งั ความปวดร้าวแก่หวั ใจชาตินิยมไทยอยู่ไม่ทนั สร่าง ก็มบี ทความเรื่อง “Angkor-Lost City of
the Jungle” หรือ “นครวัด-นครโบราณในดงดิบ ” โดยนายแคลเร็นซ์ ดับเบิลยู. ฮอลล์ (Clarence W. Hall) พิมพ์
ออกมาในนิ ตยสาร The Reader’ s Digest ฉบับ เดือ นธัน วาคม พ.ศ.2505 ที่ก ล่ า วถึง นครวัด นครโบราณของ
อาณาจัก รเขมร พร้อ มเสนอข้อ สัน นิ ษฐานเกี่ยวกับ การล่ มสลายและอ่ อนแอลงของเขมรว่า เป็ น เพราะความ
ฟุ่ มเฟื อ ยในการใช้ชีวิต อยู่อย่ างหรูหรา จนท าให้ “ชาวไทยซึ่งเคยเป็ น ทาสของเขมรมาก่อ น” ยกกองทัพมา
ปล้นสะดมนครวัดและนครหลวง ใน พ.ศ.1974 แถมยังชีช้ ดั ว่าไทยเคยเป็ นเมืองขึน้ ของเขมร จอมพลสฤษดิจึ์ งมีคา
บัญชา “ด่วน” ถึงนายฉันทิชย์ กระแสสินธุว์ ่า “ให้นักประวัตศิ าสตร์ไทยเขียนคัดค้านความจริงในเรื่องนี้โดยตัง้ เป็ น
กรรมการด่วน หรือจะควรอย่างไร” โดยทันที ในวันที่ 26 ธันวาคมปี เดียวกันนัน้ เอง (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ 2510,
123-125)
ด้วยเหตุทไ่ี ม่น่าจะมีใครปฏิเสธว่า “ประวัตศิ าสตร์” เป็ นความรูห้ นึ่งทีม่ คี วามสาคัญอันยิง่ ยวด โดยเฉพาะ
ต่อรัฐประชาชาติทต่ี อ้ งอาศัยความช่วยเหลือจากประวัตศิ าสตร์เพื่อพิสจู น์ความจริงแท้และเก่าแก่ของตน เพราะถ้า
ขาด “ประวัตศิ าสตร์” ไป รัฐประชาชาติกค็ งกลายเป็ นเพียงผูด้ ใี หม่ไร้หวั นอนปลายตีนไม่มใี ครนับถือ (สมเกียรติ
วันทะนะ 2530, 73-74) คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยในฐานะองค์กรทีร่ ฐั ไทยอนุ มตั แิ ต่งตัง้ และให้การ
สนับสนุ นตลอดมานับตัง้ แต่แรกเริม่ จนกระทังถึ่ งทศวรรษ 2510 ก็ได้แสดงให้เห็นชัดถึงความเป็ นการเมืองทีท่ รง
พลวัต อย่ า งสูง ต่ อ องค์ก รทางประวัติศ าสตร์น้ี ทัง้ นี้ ข้อ มูลที่ช่ ว ยสนับ สนุ น ความเป็ น “การเมือ ง” ของคณะ

4
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กรรมการฯ ที่ยากจะแยกออกจากรัฐไทยก็คอื การแต่งตัง้ คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนใน


เอกสารภาษาจีนขึน้ ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2515 เพื่อสืบค้นตรวจสอบเรื่องราวความสัมพันธ์ทางประวัตศิ าสตร์
ของไทยและจีนให้มากขึน้ ว่ามีความถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงเพียงใดอันดูเหมือนจะสอดคล้องกับสถานการณ์ทาง
การเมืองที่รฐั ไทยเริ่มจาเป็ นต้องกลับมามีความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศกับจีนมากขึ้น หลังจากที่ได้ตัดขาด
ความสัมพันธ์กนั ไปนานเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ตรงกัน (ประธานคณะกรรมการฯ 2519, 11; วริศรา
2556,194-195) ก็ยิ่ง สะท้อ นให้เ ห็น ถึงความสาคัญ ในฐานะองค์ก รผู้ท าหน้ า ที่เขียนประวัติศาสตร์ของรัฐไทย
รวมทัง้ ตรวจสอบค้นคว้าความจริงให้ตรงกับข้อเท็จจริงในทางประวัตศิ าสตร์ดงั ทีค่ วรจะเป็ น(?) และสร้างสานึกทาง
ประวัตศิ าสตร์ทร่ี ฐั ไทยเห็นชอบว่าควรเป็ นเยีย่ งไร(?)
กระนัน้ แม้ว่าหน้าทีส่ าคัญของคณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย คือ การเขียนประวัตศิ าสตร์ขน้ึ ตาม
ความต้องการของรัฐไทยดังทีไ่ ด้รบั มอบหมายมา แต่ทว่าในขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯ ก็มคี วามคาดหวังและ
จุ ด มุ่ ง หมายต่ อ การศึก ษาค้น คว้า เรื่อ งราวในอดีต ของตนเองด้ว ยเช่ น กัน อัน จะน ามาสู่ก ารหาหนทางเขีย น
ประวัตศิ าสตร์ไทยทีไ่ ม่ให้มลี กั ษณะทีเ่ หมือนกับการเขียน “พงศาวดารไทยซึง่ เขียนไว้แต่เดิมมานัน้ แม้ผเู้ ขียนจะได้
พยายามเขียนด้วยความอุตสาหะเป็ นอย่างดี และได้มกี ารชาระกันใหม่หลายครัง้ หลายคราวก็ตาม แต่พงศาวดาร
เหล่านัน้ ก็เขียนไปในทานองพระราชประวัตขิ องพระมหากษัตริยเ์ ป็ นส่วนใหญ่ ” (สิบพันพารเสนอ โสณกุล 2501,
[1]) โดยส่วนหนึ่งของความคาดหวังและจุดมุ่งหมายดังกล่าวอาจจะเป็ นผลมาจากการมีนักประวัตศิ าสตร์อาชีพ
อย่ า ง นายรอง ศยามานนท์ ผู้จ บการศึก ษาศิล ปศาสตรบัณ ฑิต เกีย รตินิ ย มอัน ดับ สอง ( B.A. Hons) ด้า น
ประวัติศาสตร์จากสานักเพมโบรค มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (วรพิน ชัยรัชนีกร 2524, 76; สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
2555, 215) ทีม่ แี นวคิดและวิธกี ารทางประวัตศิ าสตร์แบบสาขาวิชาเข้ามานัง่ เป็ นกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์อยู่
ด้วย ทาให้ยงั คงเป็ นประเด็นที่น่าสนใจศึกษาต่ อไปถึงการก่อรูปของการเป็ น สาขาวิชาประวัติศาสตร์ของวง
วิชาการไทย เช่นเดียวกับกรณีท่ี ทิเพศ จักรพรรติ (Dipesh Chakrabarty) ได้ศกึ ษาถึงกรณีการเกิดประวัตศิ าสตร์
แบบสาขาวิชาขึน้ ในอินเดียทีพ่ ฒ ั นามาตัง้ แต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยมีนักประวัตศิ าสตร์อนิ เดียคนสาคัญนามว่า
เซอร์ จตุรนาถ สาร์การ (Sir Jadunath Sarkar) เป็ นผูร้ เิ ริม่ และวางรากฐาน (Dipesh 2016, 51-56)
ด้วยเหตุ น้ี ทาให้พบว่างานศึกษาจานวนหนึ่งที่เกี่ย วข้องกับคณะกรรมการฯ มีข้อจากัดอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะในเรื่องการมุ่งพิจารณาถึงความเป็ นการเมืองทีม่ อี ยู่สงู และการทาหน้าทีเ่ ขียนประวัตศิ าสตร์ให้รฐั ไทย
บ้างเป็ นครัง้ คราว เช่น กรณีการหาทางตอบโต้ต่อบทความเรื่อง “นครวัด-นครโบราณในดงดิบ” ของนายแคลเร็นซ์
ดับเบิลยู. ฮอลล์ใน พ.ศ.2505 จึงทาให้คาอธิบายทีม่ อี ยู่เป็ นการนาเสนอบทบาทของคณะกรรมการฯ ทีเ่ กีย่ วเนื่อง
ในทางการเมืองและการผลิตซ้าประวัติศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของรัฐไทยเพียงมิติเดียวเท่านัน้
(ยุพา ชุมจันทร์ 2530, 124-9; วริศรา ตัง้ ค้าวานิช 2556, 193-200)

ประวัติศำสตร์ของคณะกรรมกำรชำระประวัติศำสตร์ไทย

ด้วยความคาดหวังและจุดมุ่งหมายของการเขียนประวัตศิ าสตร์ไทยว่าจะให้มลี กั ษณะแตกต่างออกไปจาก


การเขียนพงศาวดาร ทาให้คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยร่วมมือกันวางโครงการเขียนประวัตศิ าสตร์ไทย
ขึน้ และผลทีอ่ อกมาก็คอื “เค้าโครงประวัตศิ าสตร์ไทย ฉบับ พ.ศ.2495” ทีเ่ ปรียบเป็ นหมุดหมายสาคัญต่อการแบ่ง
ยุคสมัยของประวัตศิ าสตร์ไทยให้มที งั ้ สิน้ 5 สมัยได้แก่ สมัยก่อนไทยเข้ามาในแหลมอินโดจีน สมัยไทยเข้ามาใน
แหลมอินโดจีน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยจลาจลและกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนแรก พร้อมทัง้ ยังถูกทา
ขึน้ เพื่อใช้เป็ นกรอบกาหนดการทางานรวมระยะเวลา 5 ปี โดยคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันตกลงแบ่งหน้าทีแ่ ละวาง

5
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ขัน้ ตอนการเขีย นประวัติ ศ าสตร์ ต ามเค้ า โครงที่ว างไว้อ อกเป็ นสองขัน้ ตอน กล่ า วคือ “ในขัน้ ต้ น นี้ จ ะท า
ประวัตศิ าสตร์อย่างง่ายสาหรับให้นักเรียนอ่านก่อน คือจะเขียนอย่างธรรมดา ไม่ให้มเี รื่องราวละเอียดพิสดารมาก
นัก” เพราะ “การจัดทาโดยละเอียดพิสดารนัน้ จะต้องใช้เวลาจัดทายาวนาน” ส่วนขัน้ ต่อมาจะเริม่ ขึน้ ก็ต่อ “เมื่อ
จัดทาประวัตศิ าสตร์อย่างง่ายนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะลงมือทาประวัตศิ าสตร์อย่างละเอียดพิสดาร หรือทีเ่ รียกว่า
ประวัตศิ าสตร์เชิงซ้อน (Complex History) ต่อไป” (สิบพันพารเสนอ โสณกุล 2501, [7]; ศธ.0701.9.10.2/1 [17])
ดังนัน้ เมื่อพิจารณาบนฐานความเข้าใจต่อสถานะของคณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยว่าเป็ นองค์
คณะผู้เ ขีย นประวัติศ าสตร์ข องรัฐไทยแล้ว ก็จ ะพบว่ า “เค้า โครงประวัติศ าสตร์ไ ทย” และขัน้ ตอนการเขียน
ประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าว เป็ นปฏิบตั กิ ารทีแ่ สดงนัยยะของความพยายามอันต้องการจะสร้างบรรทัดฐานหรือแบบแผน
ในการเขียนประวัตศิ าสตร์ให้แก่รฐั ไทย ดังนัน้ จึงไม่น่าแปลกใจนักทีจ่ ะเห็นว่า การเขียนประวัตศิ าสตร์ก่อนหน้านี้
ทีบ่ รรทัดฐานหรือแบบแผนใดยังมิถูกสร้างขึน้ ให้ยดึ ถืออย่างเป็ นทางการจะมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะการแบ่ง
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์นามกระเดื่องหลายคน เช่น แสดง
บรรยายพงศาวดารสยาม ของกรมพระยาดารงราชานุ ภาพซึ่งเขียนใน พ.ศ.2467 ยึดหลักการแบ่งยุคตามลาดับ
ราชธานีทเ่ี ริม่ ต้นด้วยกรุงสุโขทัยต่อด้วยกรุงศรีอยุธยา แต่ หลักไทย ของขุนวิจติ รมาตราซึง่ เขียนใน พ.ศ.2471 และ
เรือ่ งของชาติไทย ของพระยาอนุมานราชธนซึง่ เขียนใน พ.ศ.2483 นัน้ กลับลากให้ประวัตศิ าสตร์ของชาติไทยย้อน
ไปเริม่ ต้น ณ ใจกลางแผ่นดินจีน ในอาณาจักรไทยมุง อาณาจักรไทยอ้ายลาวหรืออาณาจักรน่านเจ้า ก่อนจะอพยพ
โยกย้ายลงมายังแหลมอินโดจีน การสร้างบรรทัดฐานหรือแบบแผนของคณะกรรมการฯ จึงทาให้เกิดความแน่ นอน
และความต่อเนื่องของเวลาจนกลายเป็ นประวัตศิ าสตร์แบบเส้นตรงสายเดีย่ วขึน้ มาในประวัตศิ าสตร์ไทย จนเป็ นที่
ยอมรับอย่างสูงและแพร่หลายไปในหมู่นกั วิชาการและนักประวัตศิ าสตร์สมัครเล่นในเวลาต่อมา (กาญจนี ละอองศรี
2532, 208-219)
อย่ า งไรก็ต าม ลัก ษณะส าคัญ อีก ประการหนึ่ ง ในการเขีย นประวัติศ าสตร์ข องคณะกรรมการช าระ
ประวัติศ าสตร์ไ ทย คือ การพยายามสร้า ง “ประวัติศ าสตร์ท่ีแ ท้จ ริง ” ฉบับ หนึ่ ง อัน ไม่ เ หมือ นกับ การเขีย น
ประวัตศิ าสตร์แบบเดิมที่ “ผูเ้ ขียนไม่ใคร่จะสนใจกล่าวถึง” โดยเฉพาะ “เหตุผลในทางการเมือง การเศรษฐกิจและ
การสังคม ตลอดจนเรื่องราวทีเ่ กีย่ วกับวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนัน้ มีน้อย” (สิบพันพานเสนอ โสณกุล 2501, [1])
จึง ท าให้ “เค้า โครงประวัติ ศ าสตร์ไ ทย ฉบับ พ.ศ.2495” มีก ารแบ่ ง หัว ข้อ ย่ อ ยที่สมั พัน ธ์ก ับ ประเด็น การเมือง
เศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น สมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 ถึงสิน้
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มกี ารแบ่งการเขียนออกเป็ น 5 บทได้แก่ บทที่ 1 การสืบราชสมบัติ-กฎ
มณเฑียรบาล, บทที่ 2 การปกครอง-ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 และแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ-
เหตุทเ่ี ปลีย่ นแปลงในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค-กฎหมาย, บทที่ 3 สังคมและเศรษฐกิจ-ความเป็ นอยู่ของคนไทย-
ขนบธรรมเนียมประเพณี-อาชีพ การกสิกรรม การหัตถกรรม และพาณิชยกรรม รวมการแต่งสาเภาไปค้าขายกับ
ต่างประเทศ, บทที่ 4 ศิลปวิทยา-ภาษาและวรรณคดี-ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และบทที่ 5 ความสัมพันธ์
กับต่างประเทศ-เขมร-ลานนาไทย-จีน (ศธ.0701.9.10.2/1 [18])
ทัง้ นี้ ผลิตผลสาคัญทีถ่ ูกรังสรรค์ขน้ึ ภายใต้ลกั ษณะดังกล่าวในการเขียนประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการ
ชาระประวัติศาสตร์ไทยก็ทยอยออกมาทัง้ ช่วงก่อนและหลังการแต่งตัง้ คณะกรรมการฯ ขึน้ อีกครัง้ ใน พ.ศ.2506
สมัยจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ไม่ว่าจะเป็ น ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคแรก ฉบับ พ.ศ.2501 ของ
ม.จ.สิบพันพารเสนอ โสณกุล และ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ฉบับ พ.ศ. 2502 ของนายรอง

6
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ศยามานนท์, ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุลกับ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี แต่เนื่องจากงานทัง้ สองชิน้ เป็ นฉบับร่างทาให้มี


เนื้อหาเพียงแค่ 41 หน้าและ 78 หน้าตามลาดับ กระนัน้ ผลงานประวัตศิ าสตร์ชน้ิ สาคัญสองชิ้นของคณะกรรมการ
ชาระประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รบั การตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในช่วงทศวรรษ 2510 ก็งอกเงยขึ้นมาจากการน า
บทความที่พมิ พ์ลงเป็ นตอนๆ ใน แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี มาปรับปรุงโดยเพิม่ เติมข้อมูล ข้อ
ถกเถีย งและข้อ เสนอใหม่ ท่ีเ กิด ขึ้น ในช่ ว งก่ อ นการตีพิม พ์ห นัง สือ เข้า ไป แล้ว จึง รวมเล่ ม เข้า เป็ น หนัง สือ คือ
ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที ่ 1 ถึงแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร ของนายรอง
ศยามานนท์ นางสาววิลาสวงศ์ นพรัตน์และพลตรีดาเนิน เลขะกุลกับ ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาล
ที ่ 1 ถึงรัชกาลที ่ 3 ของ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรีและนางวิมล พงศ์พพิ ฒ ั น์ ซึง่ ทัง้ สองเล่มตีพมิ พ์ออกมาพร้อมกันใน
พ.ศ.2515 ทัง้ นี้เนื้อหาภายในของหนังสือทัง้ สองเล่มก็เป็ นไปตามเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ทว่ี างกันไว้ตงั ้ แต่ยุคแรก
โดยใน ประวัติศ าสตร์ไ ทยสมัย กรุ ง ศรีอ ยุ ธ ยาฯ มีท ัง้ หมด 8 บท เริ่ม ตัง้ แต่ ก ารตัง้ กรุ ง ศรีอ ยุ ธ ยาและการ
สืบราชสมบัต,ิ การปกครอง, สังคมและเศรษฐกิจ, ศิลปวิทยา ภาษาและวรรณคดี ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ไทยรบพม่า, สมเด็จพระนเรศวรทรงกูอ้ สิ รภาพและการแผ่อาณาเขตของสมเด็จ
พระนเรศวร ส่วนใน ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ฯ ก็มลี กั ษณะการแบ่งบทคล้ายกับเล่มก่อนหน้าโดยมี
ทัง้ หมด 9 บท เริม่ ตัง้ แต่แรกตัง้ กรุงรัตนโกสินทร์, สงครามกับพม่า-ความเป็ นไปในประเทศพม่า, ความสัมพันธ์กบั
ญวนและเขมร, การขยายพระราชอาณาเขต, การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม, การทะนุ บารุง ประเทศ, ศิลปและ
วรรณคดี, การทะนุ บารุงพระพุทธศาสนาและสัมพันธภาพกับต่างประเทศ กล่าวให้ถงึ ทีส่ ุดแล้ว หนังสือสองเล่มนี้
เป็ นผลผลิตที่ผลิดอกออกผลต่อจากฉบับร่างทัง้ สองฉบับที่คณะกรรมการฯ ทาค้างไว้ในช่วงต้นทศวรรษ 2500
ก่อนทีจ่ ะมีผลงานหลายชิน้ ตามออกมาอีกภายหลังจากนัน้
นอกจากนี้ ผลงานชิน้ ใหญ่ทส่ี ดุ ทีค่ ณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยร่วมกันผลิตออกมาคือ การจัดทา
วารสาร แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี อันมีท่มี าจากแรงสะเทือนในกรณีบทความ “นครวัด-นคร
โบราณในดงดิบ” ของนายแคลเร็นซ์ ดับเบิลยู. ฮอลล์ เมื่อ พ.ศ.2505 จนทาให้คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์
ไทยได้รบั การฟื้ นฟูขน้ึ มาอีกครัง้ หลังจากคล้ายว่าจะหมดบทบาทลงภายหลังการหมดอานาจของจอมพล ป. พิบลู
สงคราม เมื่อ พ.ศ.2500 เพื่อทาหน้าทีค่ ดั ค้านข้อเขียนดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องทีไ่ ทยถูกกล่าวหาว่าเคยเป็ น
ทาสเขมร โดยมีนายฉันทิชย์ กระแสสินธุเ์ ป็ นผูไ้ ด้รบั มอบหมายหน้าทีใ่ ห้ดาเนินการเขียนข้อความคัดค้านกลับไปยัง
นิตยสาร The Reader’s Digest ซึง่ เขียนส่งไปในชื่อ “ไทยไม่เคยเป็ นเมืองขึน้ ของเขมร” และแม้ว่าสุดท้ายข้อความ
ดังกล่าวจะมิได้รบั การตีพิมพ์ แต่ ข้อเขียนคัดค้านนี้ได้กลายเป็ นเสมือนต้นร่างของการเขียนถึ งความสัมพันธ์
ระหว่างไทยกับเขมรของคณะกรรมการฯ ในเวลาต่อมา (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ 2510, 130-131) โดยวารสาร แถลง
งานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี ซึง่ เริม่ พิมพ์ใน พ.ศ.2510 เป็ นฉบับแรก จากนัน้ ก็พมิ พ์เรื่อยมาจนกระทังใน

พ.ศ.2533 จึงหยุดดาเนินการไป
วารสาร แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็ นพืน้ ทีใ่ นการตีพมิ พ์บทความเป็ น
ตอนๆ ของคณะกรรมการฯ โดยแต่ละคนทีร่ บั ผิดชอบเขียนประวัตศิ าสตร์ตามแต่ละยุคสมัยจากการจัดแบ่งตามเค้า
โครงซึง่ ถือเป็ นส่วนหลักส่วนหนึ่งในวารสารฉบับนี้ ทว่าความเปลีย่ นแปลงบางอย่างทีพ่ บในวารสารก็คอื ได้มกี าร
ปรับเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ไทย คือไม่มกี ารเขียนถึงสมัยก่อนไทยเข้ามาในแหลมอินโดจีน อันมีถนิ่ อาศัยอยู่ทแ่ี ม่
น้าเหลือง เมืองเชียงคูแ้ ละเมืองเชียงแสน โดยยุคสมัยดังกล่าวถูกแทนทีด่ ว้ ยเรื่อง “สภาพการณ์ภาคเอเชียอาคเนย์
ก่อน พ.ศ.1800” อันมี ม.จ.สุภทั รดิศ ดิศกุล เป็ นผูร้ บั ผิดชอบ ทัง้ นี้เนื้อหาของเรื่องดังกล่าวก็จะกล่าวถึงอาณาจักร
โบราณต่างๆ เช่น ฟูนัน จัมปา ทวารวดี ศรีเกษตรและขอม และในตอนจบของการเขียนประวัตศิ าสตร์อาณาจักร

7
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ขอมก็จบลงด้วยการชีแ้ จงให้เห็นว่าไทยไม่เคยเป็ นทาสเขมรมาก่อน ทัง้ เขมรยังถูกกรุ งศรีอยุธยานากองทัพมา


ทาลายล้างอยู่หลายครัง้ จนอาณาจักรขอมทีม่ อี ายุนับพันปี ต้องล่มสลายลงใน พ.ศ.1974 (สุภทั รดิศ ดิศกุล 2514,
12-13) ฉะนี้เอง หากจะนับว่างานเขียนของ ม.จ.สุภทั รดิศเป็ นดังผลิ่ ตผลทีง่ อกเงยออกมาจากข้อเขียนคัดค้านนาย
แคลเร็นซ์ ดับเบิลยู. ฮอลล์ของนายฉันทิชย์ กระแสสินธุเ์ มื่อครัง้ กระโน้นก็ไม่น่าจะเป็ นการผิดฝาผิดตัวไปแต่อย่าง
ใด
แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเนื้อหาของงานเขียนอื่นๆ ในวารสาร แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี
แล้ว จะพบว่ า ยัง มีง านอีก สองส่ว นที่ไ ด้ร ับ การพิม พ์ลงในวารสารที่อ อกมาทุ ก ๆ ฉบับ ได้แ ก่ ส่ว นของเอกสาร
ประวัตศิ าสตร์และส่วนของโบราณคดี กล่าวคือ ในส่วนของเอกสารประวัตศิ าสตร์จะเป็ นการนาเอาเอกสารชัน้ ต้น
ต่างๆ อันมีหลากหลายประเภททัง้ ทีเ่ ป็ นเรื่องของประเทศไทยโดยตรงหรือมีเอีย่ วเกีย่ วข้องเท่าทีส่ ามารถจะค้นหา
มาตีพมิ พ์ได้ ตัวอย่างเช่น จารึกวัดป่ าโมกข์ จารึกวัน ตระพังช้างเผือก เอกสารฮอลันดา เอกสารเมืองถลาง คัทธน
กุมมาน คาให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม-เอกสารจากหอหลวง ตานานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตานานเชียงแสน
(ตานานสิงหนวัติ) ตานานพระชินธาตุแห่งเมืองหริภุญชัย เอกสารที่เก็บอยู่ใต้ถุนสถานทูตไทยในปารีส เป็ นต้น
สาหรับส่วนของโบราณคดีนนั ้ นับว่ามีน้อยทีส่ ุดและเป็ นการนาข้อเขียนทางโบราณคดีกบั รายงานการสารวจทาง
โบราณคดีในสถานที่ต่างๆ ของประเทศมาตีพิมพ์ ตัวอย่างเช่น “บันทึกเรื่องเมืองอู่ทอง” “ทวารวดีอยู่ทไี หน”
“สารวจเมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ” “รายงานการสารวจเส้นทางคมนาคมค้าขายและที่ตงั ้ เมืองโบราณสมัย
สุโขทัย” เป็ นต้น นอกจากนี้ยงั มีขอ้ เขียนทีจ่ ะตีพมิ พ์เป็ นกรณีพเิ ศษ คือ ข้อเขียนของประธานคณะกรรมการชาระ
ประวัตศิ าสตร์ทส่ี ่วนใหญ่ออกมาในทานองของการเสนอแนวคิดแก่ผอู้ ่านและไม่เน้นการเขียนทีจ่ ะต้องมีหลักฐาน
ชัดเจนอันสามารถอ้างอิงได้ เช่น “พระมหากษัตริยใ์ นประเทศไทย” ของพระยาศรีวสิ ารวาจา “หนูเอ๋ย จงจาคาครู
ว่า” และ “รัตนบุรุษไทยสมัยก่อน” ของนายสุกจิ นิมมานเหมินทร์ เป็ นต้น
จากการพรรณาภาพรวมของผลงานในการเขียนประวัติศาสตร์และกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการ
ชาระประวัตศิ าสตร์ไทยในช่วงทศวรรษ 2490 ถึง 2510 จะเห็นได้ว่า คณะกรรมการฯ มีแนวคิดและวิธกี ารทาง
ประวัติศาสตร์อนั เป็ นลักษณะจาเพาะของตนเองที่ใช้เป็ นพื้นฐานสาหรับการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยอยู่เช่นกัน
แต่กระนัน้ นักประวัตศิ าสตร์คนสาคัญของไทยกลับมองแนวทางการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของกลุ่มนักประวัตศิ าสตร์
ไทยทีส่ ว่ นใหญ่แล้วดารงตาแหน่งกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ว่ามีลกั ษณะเป็ น “แนวการศึกษาประวัตศิ าสตร์แบบ
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภ าพ” เหตุ เ พราะการใช้ข้อ มูลในฐานะเป็ น ความจริง อัน เที่ย งแท้อ ย่ า งไม่
วิพากษ์วจิ ารณ์ การศึกษาทีเ่ น้นตัวบุคคลสาคัญผูม้ กี ารกระทาอันส่งผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปรากฏการณ์
ทางประวัติศ าสตร์ รวมถึง ในแง่ สาระที่ไ ม่ ค่ อ ยให้ค วามสนใจกับ ความเคลื่อ นไหวทางเศรษฐกิจ สัง คมและ
วัฒนธรรมนัก (นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2512, 24-25) ซึ่งลักษณะการศึกษาประวัติศาสตร์เช่นนี้ของกรมพระยาดารงรา
ชานุภาพ ผูเ้ ป็ นหัวหอกสาคัญทีล่ งแรงสถาปนา “ประวัตศิ าสตร์สมัยใหม่” ของรัฐสยามขึน้ นัน้ เกิดขึน้ ในห้วงขณะที่
รัฐสยามต้องประสบกับปั ญหาการล่าอาณานิคมของตะวันตก จึงทาให้เกิดองค์ประกอบสาคัญสองประการ คือ
ความเก่าแก่มีอารยธรรมและการต่อสู้เพื่อการมีอิสรภาพของรัฐสยาม โดยองค์ประธานหรือผู้กระทาการทาง
ประวัตศิ าสตร์ย่อมหนีไม่พน้ บรรดาเหล่าบุรพกษัตริยท์ งั ้ หลายทีล่ ่วงลับ ผูถ้ ูกนามาสวมใส่ความหมายจนเกิดสถานะ
ความเป็ นวีรบุรุษแห่งการต่อสูก้ บั อริราชศัตรูเพื่อคงไว้เพื่ออิสรภาพของรัฐสยาม (Thongchai 2014, 265-6; 2011,
31-32) อันไม่น่าจะเป็ นคาอธิบายทีช่ ่วยสร้างความเข้าใจต่อแนวทางการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการฯ
ได้อย่างลึกซึง้ นัก เพราะอย่างน้อยแนวคิดและข้อเสนอทีม่ ตี ่อการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยของพระยาอนุ มานราช
ธนในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เมื่อ พ.ศ.2500 ก็ยงั เห็นว่า “วิชาประวัตศิ าสตร์ในสมัยปั จจุบนั ขยายตัวออกไป

8
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กว้า งขวาง ไม่ เ ฉพาะแต่ จ ะบรรยายเหตุ การณ์ ท่เี กิดขึ้นเท่ านัน้ ยัง จะต้อ งศึก ษาไปถึงความเป็ นไปของสังคม
เศรษฐกิจ สถาบันสังคม ความคิดเห็น และอื่นๆ ซึง่ รวมเรียกว่าวัฒนธรรมของประเทศชาตินนั ้ ไปด้วยในตัว ” (สิบ
พันพารเสนอ โสณกุล 2501, [ก]) อันมีความแตกต่างจากแนวคิดทางประวัตศิ าสตร์ของกรมพระยาดารงราชานุ
ภาพที่เชื่อว่า “ประวัติศาสตร์เป็ นวิชาว่าด้วยตัวอย่าง Science of Example” และมีหลักการทีใ่ ช้ศกึ ษาอยู่ 3 ส่วน
คือ “ส่วนที่ ๑ เกิดเหตุการณ์อย่างไร ส่วนที่ ๒ ทาไมจึงเกิดเหตุการณ์อย่างนัน้ ส่วนที่ ๓ เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ นัน้
ให้ผลอย่างไร” (นริศรานุวดั ติวงศ์ 2499, 675) อย่างเห็นได้ชดั จนอาจถือได้ว่าเป็ นพัฒนาการอีกขัน้ ของการเขียน
ประวัติศาสตร์ไทยที่มกี ารเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ปั ญหาสาคัญที่ชวนสงสัยอย่างยิง่ ต่อมา คือ
แล้วสาเหตุใดเป็ นปั จจัยส่งผลให้เกิดการผลิตคาอธิบายทางประวัตศิ าสตร์ไทยขึน้ อีกชุ ดหนึ่งในช่วงทศวรรษ 2490
ทัง้ ทีร่ ฐั ไทยในขณะนัน้ ก็มงี านเขียนและคาอธิบายทางประวัตศิ าสตร์ส่องแสงแห่งความยิง่ ใหญ่และเก่าแก่ของชาติ
ไทยอยู่ก่อนแล้ว

กำรประยุ กต์และกำรตีควำมกับวิกฤตกำรณ์ของกำรเขียนประวัติศำสตร์ไทย
หากกล่ า วให้ ถึ ง ที่สุ ด แล้ ว การแสวงหาเหตุ ปั จ จัย ที่ ส่ ง ผลต่ อ การก าเนิ ด ของคณะกรรมการช าระ
ประวัตศิ าสตร์ไทย อันนามาสู่ความพยายามผลิต “ประวัตศิ าสตร์ไทย” ขึน้ ในเวลาต่อมานัน้ อาจถือได้ว่าไม่เคยมี
การศึกษากันอย่างจริงจัง โดยก่อนหน้านี้มกั เป็ นเพียงการพิจารณาถึงบทบาทและหน้าทีต่ ่างๆ รวมถึงดอกผลทาง
ประวัติศาสตร์ของคณะกรรมการฯ ตัง้ แต่การแต่งตัง้ อย่างเป็ นทางการใน พ.ศ.2495 ไปจนถึงประมาณทศวรรษ
2510 ว่ามีลกั ษณาการสัมพันธ์เชื่อมติดอยู่กบั การเมืองของรัฐไทยเช่นไร ด้วยเหตุน้ี จึงจาเป็ นอย่างยิง่ ต่อการให้
ความสาคัญแก่ความคิดเรื่อง “จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย” (Zeitgeist) หรือ “ความรูส้ กึ นึกคิดแห่งยุคสมัย ” (mente)
(อาร์โนลด์ 2549, 145; Berlin 2000, 95-96) กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การทาความเข้าใจถึงบริบทของการเมืองไทย
ในต้นช่วงทศวรรษ 2490 อันกาลังเคลื่อนคล้อยไปสู่จุดเริม่ ต้นใหม่ของการต่อสูร้ ะหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง
สองค่าย ได้แก่ เสรีนิยมประชาธิปไตยกับสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุคสมัยทีม่ ชี ่อื ว่า สงครามเย็น
ย่อมเป็ นทีร่ บั รูก้ นั ดีถงึ บริบทการเมืองโลกว่า ภายหลังทีส่ งครามโลกครัง้ ที่ 2 ยุตลิ ง สงครามครัง้ ใหม่ทม่ี ี
ชื่อว่า สงครามเย็น อันมีหวั หน้าค่ายเป็ นสองประเทศยักษ์ใหญ่จากสองทวีปคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ก็ก่อตัวขึน้ ตามลาดับ ในช่วงปฐมบทแห่งสงครามครัง้ นี้ รัฐไทยยังมิได้ปวารณาตัวฝั กฝ่ ายใดอย่างชัดเจน เพราะ
อยู่ในภาวะของการต่อสูแ้ ย่งชิงอานาจทางเมืองกันอย่างดุเดือดของ 3 กลุ่มการเมือง ไม่ว่าจะเป็ นกลุ่มนิยมกษัตริย์
กลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกลุ่ มของนายปรีดี พนมยงค์ (ณัฐพล ใจจริง 2552) แต่รฐั ไทยก็มที ศิ ทาง
โน้มเอียงไปยังฝั ง่ ของสหรัฐอเมริกาอย่างเห็นได้ชดั เพราะนโยบายของสหรัฐฯ ที่ต้องการแสวงหาสันติภาพและ
ความมังคั่ งด้
่ วยการผลักดันนโยบายเปิ ดประตูการค้าเพื่อกระตุน้ เศรษฐกิจทีก่ าลังเสื่อมโทรมให้ฟ้ื นคืนมา รัฐไทย
จึงกลายเป็ นแหล่งทรัพยากรสาคัญ เช่น ข้าว ดีบุกและยางพารา อันเป็ นสิง่ ทีส่ หรัฐฯ ต้องการ ซึง่ ทาให้สหรัฐฯ มี
นโยบายรับรองอานาจอธิปไตยและความเป็ นอิสระของรัฐไทยเพื่อยังผลเรื่องการค้าเสรีในไทย (ณัฐพล ใจจริง
2552, 20-22) ด้วยเหตุน้ี สหรัฐฯ จึงเป็ นประเทศทีใ่ ห้การสนับสนุนรัฐไทยในหลายๆ ด้านเนื่องด้วยมีผลประโยชน์
สอดคล้องต้องกันอยู่ ในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยและสหภาพโซเวียตกลับดูเหมือนมิค่อยจะ
ชื่นมื่นเท่าไหร่ เพราะความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ของราชสานักสยามจึงมิได้ตดิ ต่อกันมานับตัง้ แต่ พ.ศ.2460 ทา
ให้ประสบกับปั ญหาการคัดค้านของสหภาพโซเวียตในการสมัครเข้าเป็ นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของรัฐไทย
ภายหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 และทางเดียวทีจ่ ะสามารถแก้ไขปั ญหาดังกล่าวได้กค็ อื การสถาปนาความสัมพันธ์

9
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ทางการทูตและยกเลิกพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476 เพื่อคลายความรูส้ กึ เป็ นอริและปฏิปักษ์ของ


สหภาพโซเวียตทีม่ ตี ่อรัฐไทยลงเสียก่อน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 2544, 422-425; วิวฒ
ั น์ คติธรรมนิตย์ 2539, 34)
อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาบริบททางการเมืองไทยในช่วงทศวรรษ 2490 ทีส่ บื เนื่องมาจาก
ปลายทศวรรษก่อน สิง่ สาคัญอย่า งหนึ่งที่เกิดขึน้ ภายหลังจากการยกเลิกพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยคอมมิวนิสต์ใน
พ.ศ.2489 คือ การเกิด “พืน้ ทีส่ าธารณะ” (Public Sphere) ในความหมายของการมีบรรยากาศอันเอือ้ ต่อการศึกษา
แนวคิดมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์มากขึน้ กว่าเดิม ดังทีเ่ ห็นจากการเปิ ดร้านขายหนังสือมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ขน้ึ ทัว่
กรุงเทพมหานคร โดยหนังสือส่วนใหญ่ถูกนาเข้ามาจากสหภาพโซเวียตและจีน (Kasian 2001, 110) กอปรกับ
เป็ นช่วงเวลาเดียวกันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสามารถดาเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อเผยแพร่
แนวคิดของพรรคได้อย่างเปิ ดเผยจนถึงขนาดสามารถจัดตัง้ ขบวนการแรงงานภายใต้ชอ่ื ว่า “สหอาชีวะกรรมกร” ได้
สาเร็จ -ครัง้ เดียวทีเ่ กิดขึน้ ในประวัตศิ าสตร์ไทย- และยังมีกลุ่มนักศึกษา นักเขียน/นักหนังสือพิมพ์ทพ่ี ร้อมผจญภัย
ไปในดินแดนแห่งความรูอ้ นั แปลกใหม่เป็ นทุนเดิมอยู่แล้ว จนสุดท้ายด้วยเหตุของเชือ้ ชนวนทัง้ ปวง กระแสนิย ม
แนวคิดแบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์กจ็ ุดปะทุขน้ึ ในสังคมไทย (ธิกานต์ ศรีนารา 2556, 108; โสภา ชานะมูล 2550,
84-85)
ด้ว ยบรรยากาศเช่น นี้ เ องจึง ได้ก่ อ ให้เ กิด การสมาทานแนวคิด แบบมาร์ก ซิสม์/ คอมมิว นิ สม์ของกลุ่ม
ปั ญญาชนหัวก้าวหน้าขึน้ โดยคนที่รู้จกั กันดีกเ็ ช่น นายอุดม สีสุ วรรณ นายอัศนี พลจันทร นายสุภา ศิรมิ านนท์
นายสมัคร บุราวาส นายเปลื้อง วรรณศรีและนายทวีป วรดิลก เป็ นต้น ทาให้ในเวลาต่อมากลุ่มคนเหล่านี้ได้
กลายเป็ นผูม้ คี วามกระตือรือร้นในการวิพากษ์วจิ ารณ์และตัง้ คาถามต่อการทางานของรัฐไทยโดยใช้พน้ื ทีใ่ นหน้า
หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นอย่างสม่าเสมอ โดยเฉพาะใน มหาชน, อักษรสาส์น และ การเมือง ด้วยแล้วจะยิง่
เห็นชัดถึงข้อเขียนทีน่ าเอาแนวคิดแบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์มาประยุกต์ใช้มากกว่าหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ทีอ่ ยู่
ร่วมสมัยเดียวกัน (Kasian 2001, 151-188) นอกจากนี้ ข้อเขียนต่างๆ ยังตีขลุมรวมไปถึงการวิพากษ์วจิ ารณ์จารีต
ศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและวรรณคดีต่างๆ ของกลุ่มชนชัน้ ปกครองของรัฐไทยอีกด้วย
จะว่าไปแล้ว การวิพากษ์วจิ ารณ์ดงั กล่าวของกลุ่มปั ญญาชนด้วยแนวคิดแบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ต่อ
รัฐไทยก็ดี หรือจารีตศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและวรรณคดีต่างๆ ของเหล่ าชนชัน้ ปกครอง ซึ่งจะถูกนิยามเป็ น
“วัฒนธรรมของชนชัน้ ศักดินา” นัน้ ก็ดี ล้วนเป็ นไปเพื่อต้องการล้มล้างความศักดิสิ์ ทธิและช
์ าแหละให้เห็นถึงความ
ล้มเหลวและความลวงโลกทัง้ หลายทีส่ ร้างขึน้ มาเป็ นเครื่องมือในการกดขีข่ ดู รีดชนชัน้ ใต้ปกครอง ซึง่ ในความหมาย
สังคมไทยคือ ไพร่และทาส อันเป็ นการวิเคราะห์รฐั ไทยผ่านแว่นแนวคิดแบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ ดังตัวอย่าง
ใน อักษรสาส์น ทีม่ คี นอย่างนายอัศนี พลจันทร ภายใต้นามปากกา อินทราวุธ มีขอ้ เขียนหลายชิน้ ทีล่ งในแผนก
เรื่อง ข้อคิดจากวรรณคดี เช่น “ศาสนาถูกกระชากไปสูต่ ะแกง” พิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2492 “ลิลติ พระลอ...
วรรณคดีศกั ดินา” พิมพ์ในเดือนเมษายน พ.ศ.2493 หรือ “บทอัศจรรย์เป็ นลักษณะการประพันธ์ของชนชัน้ ทีท่ กึ ทัก
ตนเป็ นสมมติเทวดา” และ “นิยายพืน้ บ้านเป็ นแกนสาคัญยิง่ ในชีวติ สังคมของประชาราษฎร์ ” ทีท่ งั ้ สองชิน้ พิมพ์ใน
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2493 (อินทราวุธ 2559) คนอย่างนายสุภา ศิรมิ านนท์ทม่ี ขี อ้ เขียนว่าด้วยเรื่องปรัชญาและ
ทฤษฎี ข องมาร์ ก ซ์ กระทัง่ มีห นั ง สือ แคปิ ต ะลิส ม์ ตี พิ ม พ์ อ อกมาใน พ.ศ.2494 (สุ ภ า ศิ ริ ม านนท์ 2517)
เช่นเดียวกันใน มหาชน สิง่ พิมพ์กระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทีม่ จี ุดยืนชัดเจนในเรื่องการ
เผยแพร่ลทั ธิมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ ต่อต้านจักรพรรดินิยมตะวันตก/สหรัฐอเมริกาและสนับสนุ นฝ่ ายสังคมนิยม
ประชาธิป ไตยอย่ า งเปิ ด เผยตัง้ แต่ เ ดือ นมกราคม พ.ศ.2490-ธัน วาคม พ.ศ.2491 ทัง้ ยัง มีเ นื้ อ หาเกี่ย วกับ

10
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แถลงการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของพรรค คอลัมน์ “ทฤษฎี” ที่จะตีพมิ พ์ขอ้ เขียนเกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์


หรือคอลัมน์ “ภาพยนตร์” ที่แนะนาภาพยนตร์ต่างประเทศจากค่ายคอมมิวนิสต์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์
หนังสือแปลเกีย่ วกับลัทธิคอมมิวนิสม์ออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ประชาธิปไตยโซเวียต กับ ประวัตกิ ารปฏิวตั ิ
รัสเซีย ใน พ.ศ.2490 (ธิกานต์ ศรีนารา 2556, 111-116) และ วิวฒั นาการของสังคม เขียนโดย เดชา รัตตโยธิน ใน
พ.ศ.2493 (เดชา รัตตโยธิน 2523) แต่ทว่าตัวอย่างทัง้ หมดทีย่ กมานี้คงเป็ นแค่ส่วนหนึ่งของกระแสนิยมแนวคิด
มาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ของกลุ่มปั ญญาชนทีน่ ่าจะมีความคึกคักมากกว่านี้อกี หลายเท่านัก
กล่ า วได้ว่ า กระแสนิ ย มแนวคิด มาร์ก ซิส ม์/ คอมมิว นิ ส ม์เ หล่ า นี้ ท่ีเ กิด ขึ้น ในรัฐ ไทยภายหลัง ยกเลิก
พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476 ใน พ.ศ.2489 น่ าจะสร้างความราคาญต่อรัฐไทย -ชนชัน้ ปกครอง- อยู่
พอสมควร กอปรด้วยเป็ นช่วงเวลาเดียวกันทีส่ ถานการณ์ในประเทศจีนก็มที ที า่ ว่ากองทัพคอมมิวนิสต์จนี ของเหมา
เจ๋อตุงกาลังจะประสบชัยชนะ และก็มชี ยั ชนะเหนือกองทัพก๊กมินตั ๋งของเจียงไคเช็คในเวลาต่อมา ซึ่งสร้างความ
วิตกกังวลแก่สนั ติภาพและความมังคั ่ งของสหรั
่ ฐอเมริกาเป็ นอย่างมาก นับตัง้ แต่ต้นทศวรรษ 2490 เป็ นต้นไป จึง
กลายเป็ นช่วงเวลาของโฆษณาการและผลิตความรู้เกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์ โดยรัฐไทยเองก็ได้กลายเป็ นจุด
ยุทธศาสตร์สาคัญของสหรัฐอเมริกาที่ใช้เป็ นฐานในการสกัดยับยัง้ ภัยร้ายแห่งสันติภาพโลก -ลัทธิคอมมิวนิสม์-
ดังกล่าวมิให้ขยายตัวไปไกลกว่านี้ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 2544, 466; ณัฐพล ใจจริง 2552, 77) และรัฐไทยก็มี
ปฏิกริ ยิ าเห็นชอบพร้อมให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเป็ นอย่างดี จนกระทังเกิ ่ ดการปราบปรามผูม้ แี นวคิดแบบ
มาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ใน พ.ศ.2495 ทีร่ จู้ กั กันในชื่อ “กบฏสันติภาพ” อันยังผลให้มกี ารเสนอพระราชบัญญัตกิ าร
กระทาอันเป็ นคอมมิวนิสต์ต่อสภาผูแ้ ทนราษฎรและผ่าน 3 วาระรวดในวันเดียวกันอย่างไม่เคยเกิดขึน้ มาก่อน (ณัฐ
พล ใจจริง 2552, 108-109) แต่ท้ายที่สุดแล้ว รัฐไทยก็ประสบความสาเร็จในการจัดการแนวคิดแบบมาร์กซิสม์/
คอมมิวนิสม์ให้เลือนหายไปจากความทรงจาของสังคมได้อย่างราบคาบในต้นทศวรรษ 2500 ภายใต้การนาของ
จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ผเู้ ป็ นหัวขบวน (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ 2552)
ในขณะที่จารีตศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและวรรณคดีต่างๆ ของชนชัน้ ปกครองกาลังถูกวิพากษ์วจิ ารณ์
อย่างหนัก องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ของไทยที่มอี ยู่ในขณะนัน้ ก็มีชะตากรรมไม่แตกต่างกันนัก เพราะการที่
ประวัติศาสตร์มแี ต่เรื่องราวของกษัตริย์ในสถานะผู้กระทาการทางประวัติศาสตร์ ช่างแตกต่างกันราวฟ้ าดินกับ
ค าอธิบ ายทางประวัติศ าสตร์ด ัง ที่ป รากฏอยู่ใ นแนวคิด แบบมาร์ก ซิสม์/ คอมมิว นิ สม์ซ่ึง เชื่อ ว่ า ประวัติศ าสตร์
ขับ เคลื่อ นโดยการต่ อ สู้กนั เพื่อ แย่ง ชิงทรัพ ยากรระหว่ างชนชัน้ ปกครองและชนชัน้ ใต้ปกครอง อีก ทัง้ การให้
ความสาคัญ กับ ชนชัน้ ปกครอง คือ กษัต ริย์แ ละราชวงศ์เ พีย งอย่ า งเดีย วนัน้ ก็ย ัง เท่ า กับ ไม่ เ ห็น คุ ณค่ า และ
ความสาคัญของชนชัน้ ใต้ปกครองอันหมายถึง ไพร่และทาส ในฐานะผูถ้ ูกกดขีข่ ดู รีดจากชนชัน้ ปกครองอย่างหนัก
และเป็ นผู้ขบั เคลื่อนประวัติศาสตร์ให้เดินมาได้จนถึงทุกวันนี้ต่างหาก ดังที่ทวีป วรดิลกแต่งบทกวีลงใน อักษร
สาส์น ภายใต้นาม ทวีปวร ใน พ.ศ.2493 ว่า “ประวัติศาสตร์ชาติไทยอยู่ไหนเล่า ได้แต่เฝ้ าใฝ่ จิตต์คดิ กังขา อ่าน
ประวัตคิ ดิ เขียนพากเพียรมา ช่างไร้สาระแห่งศาสตร์อนาถใจ ล้วนแต่วาด ‘ราชประวัต’ิ จัดมาอ้าง โกหกบ้างจริง
บ้างต่างขานไข ชีวติ ผองของคนบนแดนไทย ไม่เคยได้เปิ ดเผยหรือเอ่ยกัน ” (ทวีปวร 2493 อ้างใน โสภา ชานะมูล
2550, 267) ประจวบเหมาะในปี เดียวกันนี้ สานักพิมพ์มหาชนยังได้ตพี มิ พ์หนังสือ ไทยกึง่ เมืองขึ้น เขียนโดยอรัญ
พรหมชมพู (อุดม สีสุวรรณ) อัน ถือเป็ นหนังสือประวัติศาสตร์ไทยเล่มแรกที่วเิ คราะห์ให้เห็นถึงการก่อรูปของ
สังคมไทยผ่านความคิดเรื่อง “กึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินา” ซึง่ อรัญเคยเสนอความคิดนี้ไว้ใน มหาชน ตัง้ แต่ พ.ศ.2490
(ธิกานต์ ศรีนารา 2556, 115) โดยความคิดดังกล่าวได้รบั อิทธิพลมาจากแนวคิดของโจเชฟ สตาลินทีเ่ คยเสนอไว้
เมื่อ พ.ศ.2481 สืบมาอีกทอดหนึ่ง (Reynolds and Hong 1983, 79-81)

11
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ฉะนัน้ เมื่อพิจารณาบริบททางการเมืองไทยที่กาลังอยู่ในห้วงเวลาแห่งการต่อสูร้ ะหว่างอุดมการณ์เสรี


นิยมประชาธิปไตยกับสังคมนิยมประชาธิปไตยหรือยุคสงครามเย็นแล้ว การอนุ มานถึงเหตุ ปัจจัยอันนามาสู่การ
แต่งตัง้ คณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์ไทยขึน้ อย่างเป็ นทางการใน พ.ศ.2495 ทัง้ ยังทางานขึน้ ตรงต่อสานัก
นายกรัฐมนตรีเพื่อเขียนประวัตศิ าสตร์ให้ตรงตามความต้องการของรัฐไทยก็คอื การสร้างเครื่องมือในการต่อต้าน
การอธิบายประวัตศิ าสตร์ไทยทีถ่ ูกเขียนขึน้ โดยปั ญญาชนผูป้ ระยุกต์เอาแนวคิดมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์มาวิเคราะห์
เพื่อ ค้น หาวิถีทางบรรลุ สู่สงั คมคอมมิวนิสต์ของรัฐไทย กอปรด้ว ยความคิด ริเริ่มของการเสนอให้มีการชาระ
ประวัติศาสตร์ไทยมิใช่แค่เพิง่ เกิดขึน้ ใน พ.ศ.2495 แต่มมี าก่อนหน้าดังปรากฏหลักฐานในบันทึกของอธิบดีกรม
ศิลปากรในขณะนัน้ คือ พันโทหลวงรณสิทธิพิชยั (เจือ กาญจนินทุ) ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในลงวันที่ 29
พฤษภาคม พ.ศ.2493 เรื่อง “การชาระประวัตศิ าสตร์ไทย” ก่อนรายงานเรื่องต่อไปยังนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผล
ว่า “สมควรจะมีหนังสือประวัตศิ าสตร์ไทยทีถ่ ูกต้องแน่ นอนสักฉบับหนึ่ง เพื่อจะได้ใช้เป็ นหลักในปั จจุบนั แม้จะมี
ผูเ้ ขียนประวัตศิ าสตร์ไทยเป็ นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกันแล้วหลายเล่มก็ตาม แต่กย็ งั กระท่อนกระแท่นไม่
เป็ นหลักฐานที่เชื่อถือได้” (ศธ.0701.9.10.2/1 [24]) ประกอบกับเหตุผลที่สนับสนุ นข้อเสนอในเรื่องการตัง้ คณะ
กรรมการฯ เป็ นเครื่องมืออีกชัน้ หนึ่งของรัฐไทยในการต่อสูก้ บั ภัยร้ายคอมมิวนิสต์อกี ประการหนึ่งก็คอื อเมริกนั ชน
ผูม้ สี ่วนเกีย่ วข้องในการแต่งตัง้ คณะกรรมการฯ คือ ผูอ้ านวยการฝ่ ายมนุ ษยธรรมของมูลนิธริ อ็ กกีเ้ ฟลเลอร์นามว่า
นายชาร์ลส์ ฟาห์ส (Charles Fahs) ได้มาขอเข้าพบพันโท หลวงรณสิทธิพิชยั อธิบดีกรมศิลปากรในวันที่ 19
พฤษภาคม พ.ศ.2493 เพื่อขอปรึกษาเรื่องการค้นคว้าวัฒนธรรมไทยและหารือไปถึงเรื่องประวัตศิ าสตร์ไทยว่า “ถ้า
ประเทศไทยสามารถจัดตัง้ คณะกรรมการผูท้ รงคุณวุฒขิ น้ึ เพื่อชาระประวัตศิ าสตร์ไทยโดยมี พระวรวงศ์เธอ กรม
หมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เป็ นประธาน และพระยาอนุ มานราชธน ร่วมด้วย ทางมูลนิธริ อกกีเ้ ฟลเลอร์จะสนับสนุน
หรือไม่” (ศธ.0701.9.10.2/1 [24]) คาตอบทีไ่ ด้รบั เป็ นไปในทานองว่า ถ้าหากทางมูลนิธฯิ ได้รบั ข้อเสนอโครงการ
รวมทัง้ รายนามของกรรมการจัดทาประวัตศิ าสตร์จนเป็ นทีน่ ่ าพอใจแล้วก็พร้อมให้ทุน สนับสนุ น ซึง่ ในท้ายทีส่ ดุ เมื่อ
รายงานส่งถึงจอมพล ป. พิบลู สงคราม นายกรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบในหลักการจัดตัง้ กลับได้รบั คาตอบดัง
ความว่า

“ทราบ ควรจะได้ทาไว้เป็ นประจาเสมอ และเมื่อไม่มใี ครทาไว้ก็ควรจะได้จดั การทาขึน้


ตามทีเ่ สนอมานี้ ผมเห็นด้วย นอกนัน้ ควรจะได้ตงั ้ ตาแหน่งประจาทาไว้

ส่วนเงินนัน้ อย่าไปเอาจากต่างประเทศเลยของเราก็มี ถ้ามีเหตุผลและประโยชน์ ก็ตงั ้


งบประมาณได้ ให้คานวณมาจะต้องการเท่าใด” (ศธ.0701.9.10.2/1 [24])
ด้วยการอนุ มตั ิเห็นชอบของจอมพล ป. พิบูลสงครามในครัง้ นี้จงึ ส่งผลให้มกี ารตัง้ คณะกรรมการชา ระ
ประวัตศิ าสตร์ไทยขึน้ อย่างเป็ นทางการในอีกสองปี ต่อมาและยังคงดาเนินงานเรื่อยมาจนถึงปั จจุบนั โดยในขณะนี้
คณะกรรมการฯ เป็ น หน่ ว ยงานที่สงั กัด อยู่ก ับ สานัก วรรณกรรมและประวัติศ าสตร์ กรมศิลปากร กระทรวง
วัฒนธรรม โดยมีนายประเสริฐ ณ นครกับนายวุฒิชยั มูลศิลป์ เป็ นประธานและรองประธานคณะกรรมการฯ
ตามลาดับ พร้อมด้วยกรรมการฯ โดยการแต่งตัง้ และตัง้ ตามตาแหน่ งทางราชการ รวมทัง้ สิน้ 19 คน (เอกสาร
ประกอบการประชุม คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย ครัง้ ที่ 3/2558, 26 มีนาคม พ.ศ.2558, หน้า 1-2)
ทัง้ นี้ มิใช่เพียงแค่คณะกรรมการชาระประวัติ ศาสตร์ไทยเท่านัน้ ทีถ่ ูกใช้เป็ นเครื่องมือสาหรับการต่อต้าน
ลัทธิคอมมิวนิสม์ของรัฐไทยอย่างน้อยตัง้ แต่ทศวรรษ 2490 เป็ นต้นไป แต่การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์ได้กลายเป็ น
เหมือนไวรัสทีแ่ พร่กระจายไปสู่ทุกๆ กิจกรรมของรัฐไทย ตัวอย่างเช่น ในด้านการแพทย์ทพ่ี ยายามผลักดันให้ มี
12
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การฟื้ นฟูแนวคิดการสร้าง “รัฐเวชกรรม” เพื่อสุขอนามัยทีด่ แี ก่ราษฎร โดยการรับเงินสนับสนุ นจากสหรัฐอเมริกา


เพื่อจัดตัง้ โรงพยาบาลประจาจังหวัดขึน้ ทัวประเทศ
่ (ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม 2557, 108-115) ในด้านการทหารและ
ตารวจที่ได้รบั ความช่วยเหลือทัง้ เงิน อาวุธ รวมถึงที่ปรึ กษาด้านต่างๆ จากสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็ น “ป้ อมปราการ”
(Bastion of Resistance) ประจาภูมภิ าคและแหล่งปฏิบตั ิการลับ สาหรับการหาข่าวและการส่งอาวุธ (ณัฐพล ใจ
จริง 2552, 115-122) หรือการคืนความหมาย “พระมหากษัตริย”์ ให้กลับเข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของธงไตรรงค์ซง่ึ ถูก
เบียดขับออกหลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และกระทังการเขี ่ ยนงานวรรณกรรม
ประเภทอาชญนิยายเรื่อง ลว. สุดท้าย ของ พล.ต.อ.วิสษิ ฐ เดชกุญชร ก็ลว้ นแต่เป็ นการปลูกฝั งอุดมการณ์ “ชาติ
ศาสน์ กษัตริย์” ของรัฐไทยเพื่อต่อสูก้ บั ภัยคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน (ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม 2546, 235;
สถาปนา เชิงจอหอ 2558, 15-19)
ในแง่หนึ่งดูเหมือนว่า การวิเคราะห์ถงึ สาเหตุของการแต่งตัง้ คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยก่อน
หน้านี้จะเน้นการพิจารณาจากบริบททางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ.2500 เป็ นต้นมาแล้วเท่านัน้ แต่เมื่อพิจารณาถึง
บทบาททัง้ ทางตรงหรืออ้อมของกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยในการต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสม์
ด้วยแล้วจะพบว่ามีหลายคน เช่น ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล เคยเข้าปฏิบตั กิ ารพิเศษร่วมกับอธิบดีกรมตารวจเพื่อ
ติดต่อผูเ้ ชีย่ วชาญของสหรัฐอเมริกาในการเตรียมงานในด้านสงครามจิตวิทยาและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยใน
เรื่องการแพร่ลทั ธิคอมมิวนิสม์ในมหาวิทยาลัยร่วมกับตารวจ (โสภา ชานะมูล 2550, 170) หรือพระยาอนุมานราช
ธนผู้สร้างความรู้ทางวัฒนธรรมไทยให้เป็ น “เมืองไทยนี้ดี” และ “ชนบทนี้ดี” ที่เน้ นเรื่องการพัฒนาชนบทด้วย
ขนบธรรมเนียมประเพณีและการปรับตัวอย่างค่อยเป็ นค่อยไป อันจะช่วยให้สามารถตัง้ รับกับลัทธิคอมมิวนิสม์ได้
อย่างมีพลัง (สายชล สัตยานุ รกั ษ์ 2556, 129-132) ทัง้ นี้วริศรา ตัง้ ค้าวานิชเองก็มคี วามเห็นต่ อการริเริม่ ฟื้ นฟู
บูรณะแหล่งโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดสุโขทัยและประกาศให้เป็ น “จังหวัดวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ของ
ชาติ” พร้อมกับจัดตัง้ คณะอนุกรรมการรวบรวมประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยขึน้ ใน พ.ศ.2496 โดยมีพระยาอนุมานราชธน
เป็ นประธานคณะอนุ กรรมการฯ และมีอนุ กรรมการฯ เช่น หลวงบริบาลบุรภี ณ ั ฑ์ นายตรี อมาตยกุล และ ม.ร.ว.สุ
มนชาติ สวัสดิกุล ซึง่ เป็ นกรรมการชาระประวัติ ศาสตร์ไทยอยู่ก่อนแล้วนัน้ เพื่อช่วยกันสร้างสุโขทัยให้เป็ นแหล่ง
ศึกษาประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมของชาติเพื่อสร้าง/ขับเน้นสานึกความเป็ นไทยออกมาให้เด่นชัด สาหรับใช้ใน
การ “ต่อต้านวิธดี าเนินการจัดตัง้ รัฐไทยอิสระของฝ่ ายคอมมิวนิสต์ ” (2557, 183-186) แต่ทว่าวริศรากลับไม่ได้นา
สองหน่ วยงานข้างต้นมาวิเคราะห์เชื่อมโยงถึงบทบาท ทัง้ ทีผ่ รู้ บั ตาแหน่ งเป็ นกลุ่มบุคคลเดียวกัน ฉะนี้จงึ ทาให้ไม่
เห็นบทบาททีแ่ ท้จริงของคณะกรรมการฯ ในฐานะผูเ้ ขียนประวัตศิ าสตร์ให้แก่รฐั ไทยว่าเป็ นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่
รัฐไทยใช้ต่อสู/้ ตอบโต้กบั ภัยคอมมิวนิสต์ดว้ ยเช่นกัน

กำรวำงเค้ำโครงประวัติศำสตร์ชำติแบบเส้นตรง: กำรต่อสู้ในประวัตศิ ำสตร์นิพนธ์ไทย


การเกิด “พื้นที่สาธารณะ” ภายหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ของสังคมไทย จนนามาสู่บรรยากาศทาง
การเมืองทีเ่ อือ้ ต่อการศึกษาแนวคิดมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ ได้ส่งผลทาให้เกิดการท้าทายต่อรัฐไทยในเวลาต่อมา
โดยเฉพาะความพยายามท้า ทายค าอธิบ ายทางประวัติศ าสตร์ท่ีมีอ ยู่ข องรัฐไทยด้ว ยการแสดงให้เ ห็น ความ
หลอกลวง ความเลวร้ายและความล้มเหลวต่างๆ เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิวตั เิ ปลีย่ นแปลงการปกครองของรัฐไทยที่
เป็ นอยู่ไปสู่ระบอบสังคมนิยม (อรัญ พรหมชมพู 2519, 314-318) ด้วยสาเหตุน้ีเองต่างหากทีผ่ เู้ ขียนเห็นว่าทาให้
คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยถูกก่อตัง้ ขึน้ มา และได้กลายเป็ นจุดกาเนิดของสภาวะทีป่ ระวัตศิ าสตร์นิพนธ์
ไทยไม่เคยเผชิญมาก่อน กล่าวคือ การต่อสูร้ ะหว่างการเขียนประวัตศิ าสตร์ของผูส้ มาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์/

13
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

คอมมิวนิสม์กบั การเขียนประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการฯ โดยคณะกรรมการฯ ได้กาหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้


ด้วยการวางเค้าโครงประวัตศิ าสตร์แบบเส้นตรงขึน้ มาชุดหนึ่งเพื่อเบียดขับและกดทับคาอธิบายประวัตศิ าสตร์แบบ
มาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ อีกทัง้ ยังประกาศศึกกับการเขียนประวัตศิ าสตร์แบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ ดังจะเห็น
จากงานเขียนประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการฯ ชิน้ ต่อมาในภายหลังอย่างชัดเจน
กล่าวได้ว่า งานประวัตศิ าสตร์แบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ชน้ิ สาคัญทีเ่ ป็ นตัวอย่างอันแสดงให้เห็นถึงการ
ต่อสูด้ งั กล่าวก็คอื ไทยกึง่ เมืองขึ้น ทีเ่ ขียนขึน้ ภายใต้นาม “อรัญ พรหมชมพู” ของอุดม สีสวุ รรณตัง้ แต่ตน้ ทศวรรษ
2490 โดยมีจุดประสงค์สาคัญเพื่อเป็ นตัวแทนทีส่ อ่ื ถึงความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองของความหวังและความ
ต้ อ งการให้ร ัฐ ไทยเกิด การเปลี่ย นแปลงระบอบการปกครองจากที่เ ป็ น อยู่ ใ ห้ก ลายเป็ น ระบอบสัง คมนิ ย ม
ประชาธิปไตย เพื่อปลดแอกจักรวรรดินิยมตะวันตกทีท่ าให้รฐั ไทยต้องอยู่ในสภาพกึง่ เมืองขึน้ ตัง้ แต่องั กฤษเข้ามา
ท าสนธิสญ ั ญาเบาริง ค์ใน พ.ศ.2498 เพราะได้ท าให้ต้อ งสูญเสีย อานาจทางการศาล ศุ ลกากร การทหารและ
เศรษฐกิจ จนถึงปั จจุบนั (พ.ศ.2493) ทีร่ ฐั ไทยก็ต้องตกอยู่ภายใต้จ กั รวรรดินิยมอเมริกาทีเ่ ข้ามาใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรต่างๆ และการสร้างฐานทัพเพื่อ “แอนตีค้ อมมิวนิสต์อย่างเป็ นบ้าเป็ นหลัง” อีกทัง้ ก่อนจะตกอยู่ในสภาพ
กึง่ เมืองขึน้ ของรัฐไทยนัน้ อรัญอธิบายว่าสังคมไทยเป็ นสังคมศักดินาทีม่ กี ษัตริยเ์ ป็ นเจ้าทีด่ นิ รายใหญ่และเจ้าชีวติ
ของทวยราษฎร์ท่ี “หลอกต้มประชาชนด้วยการเทิดตนเองเป็ น ‘เทวดาลงมาจากฟากฟ้ าสุราลัย ’ เป็ น ‘ลูกฟ้ าข้า
สวรรค์’ และมี ‘อภินิหาร’ เหนือคนสามัญ ” ซึ่งผลของการกดขี่ขูดรีดจากชนชัน้ ปกครองในสังคมศักดินาทาให้
“ประชาชนไม่มคี วามเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เพราะปั จจัยแห่งการผลิตอันสาคัญของสังคม เรือกสวนไร่นา ตกเป็ น
กรรมสิทธิของชนชั
์ น้ ศักดินาฝ่ ายเดียว” “ไม่มสี ทิ ธิเสรีภาพทางการเมืองเลย” “ไม่มสี ทิ ธิเสรีภาพทางวัฒนธรรม” “ไม่
มีความเสมอภาคทางเชือ้ ชาติ” และทีส่ าคัญ “ประชาชนต้องบารุงบาเรอความสุขสาราญแก่ชนชัน้ ปกครอง” อีกด้วย
โดยอรัญได้ชท้ี างแก้ปัญหาทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานี้เอาไว้ในตอนสุดท้ายของหนังสือว่า จาเป็ นต้องพึง่ “นักปฏิวตั ขิ อง
ประชาชน ผูท้ ม่ี หี ลักการต่อสูอ้ ย่างแจ่มชัด หลักการนัน้ คือ โค่นอิทธิพลจักรพรรดินิยม ศักดินาทีเ่ หลือเดน และพวก
ฟั สซิสต์นิยมเผด็จการที่เป็ นสมุนของจักรพรรดินิยม เพื่อเอกราชประชาธิปไตย สันติภาพ และอยู่ดีกินดีของ
ประชาชน” และจาเป็ น “ต้องอาศัยกาลังของประชาชนทัง้ ชาติร่วมกัน” จึงจะประสบผลสาเร็จได้สมดังใจปอง ่ (อรัญ
พรหมชมพู 2519) แม้ ไทยกึง่ เมืองขึ้น ของอรัญ อาจจะไม่ใช่ยากระตุ้นขนานเอกที่ส่งผลให้คณะกรรมการชาระ
ประวัติศาสตร์ไทยต้องลุก ขึน้ มาเขียนประวัติศาสตร์เพื่อตอบโต้อย่างทันควัน แต่กค็ งจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้
ความสาคัญต่อการกดขีข่ ดู รีดประชาชนหรือราษฎรจากชนชัน้ ศักดินาไทยและสภาพสังคมไทยอันย่าแย่จากการตก
เป็ นประเทศกึ่งเมืองขึน้ ของจักรวรรดินิยมตะวันตกทัง้ ในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนัน้ เป็ นหนึ่งในเหตุ
ปั จจัยทีส่ ง่ ผลต่อการหันมาสนใจและให้ความสาคัญต่อการศึกษาค้นคว้าถึงเหตุผลการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอัน
ทาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอดีตเพื่อเขียนประวัตศิ าสตร์ไทยให้มลี กั ษณะที่ไม่ใช่แค่การบรรยายเหตุการณ์ท่ี
เกิดขึน้ ในอดีตหรือเหมือนกับพงศาวดารที่มีแต่เรื่องราวของกษัตริย์เพื่อตอบโต้กบั การเขียนประวัตศิ าสตร์แบบ
มาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์
ตั ว อย่ า งที่ ช ัด เจนของการตอบโต้ ต่ อ การเขีย นประวัติ ศ าสตร์ แ นวมาร์ ก ซิ ส ม์ / คอมมิว นิ ส ม์ ข อง
คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย คือ การวางเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ชาติไทยแบบเส้นตรงโดยขยายขอบเขต
ความรู้ให้ครอบคลุมเรื่อง “เหตุ ผลในทางการเมือง การเศรษฐกิจและการสังคม ตลอดจนเรื่องราวที่เกี่ย วกับ
วรรณกรรมหรือ ศิลปกรรม” (สิบ พัน พารเสนอ โสณกุ ล 2500, [1]) ดัง เห็น ได้ช ัด จากการแบ่ ง หัว ข้อ ย่ อ ยทาง
ประวัตศิ าสตร์ในการเขียนยุคสมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรแี ละกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่า
หนังสือสองเล่มทีเ่ ขียนออกมาได้แก่ ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และ ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุง

14
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รัตนโกสินทร์ยุคแรก จะมิได้มกี ารประกาศหรือแถลงอย่างชัดแจ้งแต่ประการใดว่าเป็ นการตอบโต้ต่อการเขียน


ประวัตศิ าสตร์แนวมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ แต่ในแง่ของเนื้อหาแล้ว โดยเฉพาะหัวข้อ “ความเป็ นอยู่ของชาวไทย”
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่นาเสนอว่าเป็ นสังคมพระพุทธศาสนา มีศูนย์กลางอยู่ท่วี ดั อันเป็ นแหล่งรวมของ
พระสงฆ์ พระธรรมคัมภีร์และพระพุทธรูป อีกทัง้ ยังเป็ นสถานศึกษาอบรมบ่มนิสยั จรรยามารยาทของกุลบุตรใน
สมัยนัน้ ส่วนความเป็ นอยู่ของราษฎรนัน้ “การทามาหากินของคนสมัยนัน้ ก็เป็ นไปอย่างเจริญรุ่งเรือง มีหมู่บา้ น
ร้านตลาดตัง้ อยู่เป็ นตาบลๆ ไป และตาบลก็ทาสินค้าขึน้ แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน ” และ “ด้านกสิกรรมนัน้ เมืองไทย
อุดมด้วยการปลูกข้าวเป็ นอาชีพทีส่ าคัญที่สุดของไทยเป็ นประดุจกระดูกสันหลังของชาติ จึงได้รบั ความเอาใจใส่
จากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยในอันทีจ่ ะผดุงการทานาให้ได้ผลดีอยู่เสมอ” (รอง ศยามานนท์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล
และ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี 2502, 35-36) ด้วยการเขียนทีพ่ ยายามสร้างภาพความเป็ นอยู่อนั สวยงาม สุขสบาย
และเจริญรุ่งเรืองให้กบั ประชาราษฎรในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นนี้ จึงเท่ากับเป็ นการโต้ตอบหักล้างต่อการวิเคราะห์
สังคมไทยในอดีตของประวัตศิ าสตร์แนวมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ทเ่ี สนอว่าการกดขีข่ ดู รีดจากชนชัน้ ผูป้ กครองต่อชน
ชัน้ ผูใ้ ต้ปกครองเป็ นความล้าหลัง เอารัดเอาเปรียบและป่ าเถื่อนอย่างชัดเจน
ตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ กรณีของนายจิตร ภูมิศกั ดิ ์ ปั ญญาชนอีกผู้หนึ่งที่น้อมนาแนวคิดมาร์กซิสม์/
คอมมิวนิสม์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สงั คมไทย โดยเฉพาะงานเขียนชิน้ สาคัญเรื่อง โฉมหน้าศักดินาไทย ซึง่
ทรงอิทธิพลอย่างสูงต่อเหล่าปั ญญาชนและถูกนากลับมาตีพมิ พ์อย่างแพร่หลายอีกครัง้ ภายหลังเหตุ การณ์ 14
ตุลาคม พ.ศ.2516 (เรย์โนลด์ส 2534, 17-26) กล่าวได้ว่า การตีพมิ พ์ออกมาสู่บรรณพิภพครัง้ แรกเมื่อ พ.ศ.2500
ก็น่าจะสร้างความไม่พอใจต่อรัฐไทยและกลุ่มปั ญญาชนฝ่ ายอนุ รกั ษ์นิยมอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะ
รัชต์ขน้ึ เถลิงอานาจใน พ.ศ.2501 ก็ได้นาไปสู่การจับกุมบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็ นคอมมิวนิสต์และต่อต้านรัฐบาล
โดยมีจติ รเป็ นหนึ่งในผูถ้ ูกจับกุมนัน้ ส่วน โฉมหน้าศักดินาไทย ของจิตรก็ถูกประกาศเป็ นหนังสือต้องห้าม พร้อม
กันกับถูกปั ญญาชนฝ่ ายอนุรกั ษ์นิยมโจมตี ตัวอย่างเช่น ม.ร.ว.คึกฤกษ์ ปราโมชซึง่ คงทนต่อข้อเขียนของจิตรไม่ได้
จึงต้องเขียนหนังสือเรื่อง ฝรังศั่ กดินา ลงตีพมิ พ์เป็ นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ตัง้ แต่ปลาย พ.ศ.2500 จนถึง
ต้นปี ถดั มาเพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างศักดินาไทยและฝรัง่ หรือนายขจร สุขพานิชตีพมิ พ์ “ฐานันดรไพร่” ลง
ใน ชุมนุ มจุฬา เดือนธันวาคม พ.ศ.2502 เพื่อเสนอว่าสังคมไทยที่แท้จริงเป็ นอย่างไรและหอมหวลเช่นไร (เรย์
โนลด์ส 2534, 298-300; ดูการวิเคราะห์อย่างละเอียดของ Somkiat 1986)
สาหรับคณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยแล้ว เนื่องด้วยมีเป้ าหมายของการเขียนประวัตศิ าสตร์ไทย
เพื่อตอบโต้กบั ประวัตศิ าสตร์แนวมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์มาตัง้ แต่ตน้ ดังนัน้ ไม่ว่าจะเกิดงานเขียนใดทีม่ คี วามโน้ม
เอียงไปในทิศทางของลัทธิคอมมิวนิสม์ ก็น่าจะล้วนถูกมองเป็ นปฏิปักษ์ต่อรัฐไทยซึง่ อยู่ในขอบข่ายหน้าทีๆ่ คณะ
กรรมการฯ จะต้องต่อต้านอยู่แล้ว ดังนัน้ แม้คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยจะถูกฟื้ นฟูขน้ึ มาใน พ.ศ.2506
จากกรณีบทความ “นครวัด-นครโบราณในดงดิบ” ของนายแคลเร็นซ์ ดับเบิลยู. ฮอลล์ ทีเ่ ขียนลงในนิตยสาร The
Reader’ s Digest พ.ศ.2505 อันเป็ นเพราะกระแสชาตินิยมไทยขณะนัน้ กาลังเดือดดาลด้วยกรณี คดีปราสาทเขา
พระวิหารทีศ่ าลโลกเพิง่ ตัดสินให้กมั พูชาเป็ นฝ่ ายครอบครองตัวปราสาทไป แต่ทว่าผลิตผลของคณะกรรมการฯ ที่
เริ่ม ออกมาใหม่อีกครัง้ นับ ตัง้ แต่ พ.ศ.2510 คือ วารสาร แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี นัน้ ก็ไ ด้
กลายเป็ นเครื่องมือชิน้ ใหม่ทร่ี ฐั ไทยใช้ในการผลิต งานประวัตศิ าสตร์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์ทก่ี าลังทวีปัญหา
หนักหน่ วงยิง่ ขึน้ จนปะทุออกเป็ นสงครามระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทีเ่ ริม่ ต้นขึน้ อย่าง
เป็ นทางการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2508 หรือทีเ่ รียกกันว่า “วันเสียงปื นแตก” (สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล 2546, 168)
จึงทาให้ไม่แปลกใจเลยทีบ่ ทความหลายชิน้ ในวารสารดังกล่าวจะมีท่าทีเชิงสังสอนและปลู
่ กฝั งอุดมการณ์รฐั ไทยใน

15
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เวลานัน้ กล่าวคือ การยกย่องความศักดิสิ์ ทธิสู์ งส่งของสถาบันกษัตริยท์ ไ่ี ด้รบั การฟื้ นฟูขน้ึ เพื่อใช้แสดงความชอบ
ธรรมในการปกครองประเทศในสมัยจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์เป็ นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับใช้เป็ นเครื่องมือในการ
ต่อสูก้ บั ลัทธิคอมมิวนิสม์ด้วยในอีกทางหนึ่ง (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ 2552, 352-367) ดังนัน้ การเสนอภาพลักษณ์
กษัตริยไ์ ทยในบทความ “พระมหากษัตริยใ์ นประเทศไทย” ใน แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี ของพระ
ยาศรีวสิ ารวาจาทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากบทความ “Thai Old Siamese Conception of Monarchy” ใน Journal of the
Siam Society พ.ศ.2489 ของกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร จึงสอดคล้องและเห็นพ้องกับสถานะของกษัตริย์
ภายใต้รฐั ธรรมนูญของรัฐไทย การปกครองประชาราษฎร์ดว้ ยหลักทศพิศราชธรรมและเปรียบดังพ่ ่ อปกครองลูกอยู่
ได้ดารงมาแล้วตัง้ แต่อดีต จนทาให้ประชาชนยินยอมพร้อมใจยกให้เป็ นกษัตริยใ์ นนาม “อเนกชนนิกรสโมสรสมมต”
(พระยาศรีวสิ ารวาจา 2510) หรือบทความของนายสุกจิ นิมมานเหมินทร์สองเรื่อง คือ “หนูเอ๋ย จงจาคาครูว่า” กับ
“รัตนบุรุษไทยสมัยก่อน” ทีพ่ ยายามใช้บุคคลในประวัตศิ าสตร์สองคนมาแสดงบทบาทของคนดีทส่ี มควรยึดถือเอา
เป็ นแบบอย่างได้แก่ เจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ผูท้ ม่ี คี วามจงรักภักดีต่อกษัตริยไ์ ทย
ประพฤติตนตามกฎระเบียบอย่างตรงไปตรงมา จนแม้แต่บุตรของตนเองทาผิดก็ไม่ละเว้ น พร้อมลงโทษอย่าง
หนักเพื่อมิให้บุคคลอื่นทาเป็ นเยีย่ งอย่างได้ จึงเป็ นสิง่ ทีท่ าให้เป็ นทีย่ าเกรงและเคารพนับถือแก่คนทัง้ ปวง (สุกจิ
นิมมานเหมินทร์ 2513) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้เป็ นราชทูต
นาพาให้ประเทศไทยได้เจริญสัมพัน ธไมตรีอนั ดีกบั ฝรังเศส ่ ด้วยอาศัยไหวพริบกับความพากเพียรเพื่อสนองคุณ
รับใช้กษัตริยอ์ ย่างเต็มกาลัง (สุกจิ นิมมานเหมินทร์ 2515) ทัง้ สามบทความใน แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสาร
โบราณคดี ทีก่ ล่าวมาจึงสะท้อนให้เห็นนัยยะของสารทีต่ อ้ งการสือ่ ถึงประชาชนให้ปฏิบตั ติ นอย่างมีประโยชน์ต่อการ
ด ารงรัก ษาและพัฒ นาประเทศชาติเ อาไว้อ ย่ า งมัน่ คง ตลอดจนการท างานเพื่อ ชาติบ้ า นเมือ งให้มีค วาม
เจริญก้าวหน้าต่อไป
ส่วนบทความประวัติศาสตร์อ่นื ๆ ใน แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี คณะกรรมการชาระ
ประวัตศิ าสตร์ไทยก็ยงั คงร่วมกันดาเนินงานตามเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ไทย ฉบับ พ.ศ.2495 เป็ นส่วนใหญ่และมิได้
ปรับแก้มากไปกว่าการตัดยุค “สมัยก่อนไทยเข้ามาในแหลมอินโดจีน” ออกดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว ทัง้ ต่อมายังได้นา
บทความชิ้นต่างๆ มาตีพิมพ์รวมเล่มเป็ นหนังสือใน พ.ศ.2515 ได้อีกคือ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที ่ 1 ถึงแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร และ ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที ่
1 ถึงรัชกาลที ่ 3 อย่างไรก็ตาม การเขียนประวัติศาสตร์ของคณะกรรมการฯ ในช่วงทศวรรษ 2520 นัน้ ยังคง
ดาเนินต่อไปในฐานะส่วนหนึ่งของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์ดงั ทีท่ ามาแต่เริม่ แรก โดยมุ่งสถาปนาชุดคาอธิบาย
ทางประวัตศิ าสตร์ไทยของตนให้สาเร็จเพื่อใช้เป็ นเกราะป้ องกันการท้าทายทีอ่ าจเกิดขึน้ ในภายภาคหน้าให้มคี วาม
มันคงถาวรยิ
่ ง่ ขึน้ ต่อไป แม้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวรัฐไทยจะสามารถควบคุมการต่อต้านทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ
และจัดการความรับรู้/ความจริงเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์ของประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ (พวงทอง รุ่ง
สวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์ 2549) จนปราศจากการท้าทายของประวัติศาสตร์แนวมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ไปแล้วก็
ตามที
ฉะนัน้ แล้ว การศึกษาประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยจึงย่อมไม่อาจละเลยการพิจ ารณาบริบททางการเมืองใน
ช่วงเวลาหนึ่งๆ ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ถูกเขียนขึน้ ได้ เพราะนันจะช่
่ วยยังความเข้าใจต่อนัยยะอยู่เบือ้ งหลังของการเขียน
ประวัติศาสตร์ เช่นตัวอย่างงานเขียนที่ดมี ากคือ ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา ที่ร้อื
นัง่ ร้านของการอธิบายประวัตศิ าสตร์ไทยอย่างถึงรากและแหลมคม โดยพยายามแสดงข้อคิดต่อธรรมชาติของการ
เขียนงานประวัตศิ าสตร์สมัยจารีตอันเคลือบแฝงอยู่ดว้ ยนัยยะซ่อนเร้นทางการเมือง (นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2523) จน

16
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เห็นได้ว่าเรื่องเล่าบางเรื่องอาจจะมิใช่เหตุการณ์จริงทีเ่ กิดขึน้ เลย แต่กลับถูกนามาเขียนลงในเอกสารประวัตศิ าสตร์


อาทิ การชาระพระราชพงศาวดารใน พ.ศ.2338 ทีเ่ ขียนให้การชิงราชบัลลังก์ของพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก ผูเ้ ป็ น
ต้นวงศ์จกั รีจากพระเจ้ากรุงธนบุรเี มื่อ พ.ศ.2325 เกิดสิทธิอนั ชอบธรรมมากยิง่ ขึน้ โดยเขียนให้พระเจ้ากรุงธนบุรี
วิก ลจริตเป็ น บ้า ไปเสียเลย (นิ ธิ เอีย วศรีวงศ์ 2557, 483-485) สมเกีย รติ วัน ทะนะก็ก ล่า วทานองเดียวกันใน
การศึกษา “อยุธยา” ในประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยว่า เหตุผลทางการเมืองคือ ปั จจัยสาคัญอันส่งผลต่อภาวะความ
เปลี่ยนแปลงของการเขียนประวัติศาสตร์ “อยุธยา” ทัง้ 4 ระยะ โดยเฉพาะในระยะที่ 4 พ.ศ.2475-2527 ที่การ
ตีความหมายของคาว่า “ศักดินา” อันเป็ นวิวาทะทางประวัตศิ าสตร์ทก่ี า้ วไปเป็ นวิวาทะทางการเมืองภายหลังช่วง
สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ระหว่าง “กลุ่มอุดมการปฏิวตั ิ” ทีต่ ้องการสร้างความเปลีย่ นแปลงให้สภาพทีล่ า้ หลัง การกดขี่
ประชาชนและการเอารัดเอาเปรียบของคนส่วนน้อย [ชนชัน้ ศักดินา] ให้หมดไปจากสังคมไทยกับ “กลุ่มอุดมการ
อนุ รกั ษ์” ทีต่ ะโกนบอกอยู่ตลอดเวลาว่าอดีตมิได้เลวร้ายเสมอไป เพราะสิง่ ทีเ่ ลวร้ายจะทาให้ไทยอยู่รอดมีเอกราช
มาจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร หรือแม้จะมีอยู่บา้ งก็ได้แก้ไขยกเลิกไปแล้ว พร้อมยกตัวอย่างอรัญ พรหมชมพูกบั จิตร
ภู มิศ ัก ดิใ์ ห้เ ป็ น ตัว แทนกลุ่ ม แรกและยกเอาขจร สุข พานิ ช กับ ม.ร.ว.คึก ฤกษ์ ปราโมช เป็ น ตัว แทนกลุ่ ม หลัง
(สมเกียรติ วันทะนะ 2527, 132-134) กระนัน้ แม้ว่าในบริบทการวิวาทะดังกล่าวจะมิได้มกี ารเอ่ยถึงคณะกรรมการ
ช าระประวัติศ าสตร์ไทยในฐานะเป็ นตัว แทนหรือ ส่ว นหนึ่ งของ “กลุ่ ม อุ ด มการอนุ ร ักษ์ ” แต่ ด้วยบทบาทที่ถูก
มอบหมายให้เขียนประวัติศาสตร์ไทยขึน้ เพื่อต่ อสู้/ตอบโต้กบั การเขียนประวัติศาสตร์ไทยแบบมาร์กซิสม์/คอม
มิวนิสม์ กอปรกับการ “ชาระ” ประวัตศิ าสตร์เพื่อสร้าง “แบบประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ท้จริง” คณะกรรมการฯ จึงช่วยเป็ น
เครื่องสนับสนุนสถานะการเป็ นส่วนหนึ่งของ “กลุ่มอุดมการอนุรกั ษ์” ในความหมายของสมเกียรติได้เป็ นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม นิธิ เอียวศรีวงศ์กลับมองว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วงจังหวะทีส่ าม ประมาณ
พ.ศ.2500-2525 นี้ มีความคึกคักขึ้นมาอีกครัง้ นัน้ มีบ่อเกิดมาจากการประสบปั ญหาการไหลบ่ าเข้ามาของ
วัฒนธรรมอเมริกนั อย่างรวดเร็วที่อดั แน่ นและปะทุออกมาเป็ น “วิกฤตการณ์ทางเอกลักษณ์ ” จนเกิดความสงสัย
และตัง้ คาถามต่อการแสวงหาตัวตนว่า “เราคือใคร และเราควรจะเป็ นอะไรข้างหน้า ” ของชนชัน้ นาไทย อันทาให้
บุคคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ น นายสุลกั ษณ์ ศิวรักษ์ นายประเสริฐ ณ นคร นายมานิต วัลลิโภดม ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
หรือนายธนิต อยู่โพธิ ์ ฯลฯ กระโดดเข้ามาร่วมวงแสวงหาตัวตนของ “เอกลักษณ์ไทย” ในขณะเดียวกันอรัญ พรหม
ชมพู จิตร ภูมศิ กั ดิหรื
์ อสรร รังสฤษฎิซึ์ ง่ เป็ นกลุ่มปั ญญาชนปี กซ้ายของสังคมไทยก็ถูกนับรวมเข้าเป็ นส่วนหนึ่งของ
การแสวงหาตัวตนดังกล่าวด้วย แม้ว่างานเขียนของพวกเขาจะไม่สามารถเผยแพร่ได้จนกระทังเกิ ่ ดเหตุการณ์การ
ปฏิว ัติข องประชาชนในวัน ที่ 14 ตุ ล าคม พ.ศ.2516 แล้ว ก็ต าม (นิ ธิ เอีย วศรีว งศ์ 2529) ดัง นั น้ การเรีย ก
คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยขึน้ มาพิจารณาเพื่อไต่สวนในข้อสงสัยทีม่ ตี ่อนิธิ เอียวศรีวงศ์ในข้อเสนอของ
เรื่องการเกิดความคึกคักของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วงที่ 3 นี้ ทาให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
กาลังเกิดวิกฤตการณ์การต่อสูข้ น้ึ ระหว่างการเขียนประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการฯ กับการเขียนประวัตศิ าสตร์
ของผู้สมาทานแนวคิดมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ภายใต้บริบททางการเมืองโลกทีอ่ ุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย
และสังคมนิยมประชาธิปไตยกาลังโรมรันพันตูกนั อย่างดุเดือดในห้วงทศวรรษ 2490
ท้ายที่สุดแล้ว วิกฤตการณ์การต่อสูข้ องการเขียนประวัติศาสตร์ไทยดังกล่าวนัน้ จึงเป็ นเหตุ ปั จจัยอัน
ส่งผลสาคัญอย่างน้อยสองประการต่อการเข้าใจประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยได้แก่ ประการแรก คือ การเป็ นจุดเริม่ ต้น
สาคัญของจังหวะทีส่ ามในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยซึง่ จะมีความคึกคักขึน้ อีกหลายเท่าตัวในช่วงทศวรรษ 2500
เพื่อบรรลุเป้ าหมายสาคัญในการต่อต้านและปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสม์ท่เี ปรียบเป็ นดังเชื่ ้อโรคร้ายของสังคม
ส่วนรัฐไทยกลายฐานะเป็ นดังแพทย์
่ ผเู้ ปี่ ยมด้วยเมตตาและมียาดีทรงประสิทธิภาพและได้ถอื วิสาสะเข้ามาจัดการ

17
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปั ญหาทีเ่ กิดจากโรคร้ายดังกล่าวให้หมดไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อปั ญหาทีเ่ กิดขึน้ ภายในภูมกิ ายาของรัฐไทยที่


กาลังประสบสภาวะถูกโยกคลอนจากเชือ้ ร้ายดังกล่าว และประการทีส่ อง คือ คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์
ไทยได้กลายเป็ นผูค้ อยปฐมพยาบาลและสร้างภูมคิ มุ้ กันให้แก่องค์ความรูป้ ระวัตศิ าสตร์ไทยอันยิง่ ใหญ่ทเ่ี ปรียบเป็ น
ดังใบสู
่ ตบิ ตั รของชาติโดยการวางเค้าโครงประวัตศิ าสตร์แบบเส้นตรงให้กบั ประวัตศิ าสตร์ชาติไทยเพื่อไม่ให้ถูกเชือ้
ร้ายอย่างลัทธิคอมมิวนิสม์กดั กินจนพังทลายลงไปต่อหน้าต่อตา นับตัง้ แต่ได้รบั การแต่งตัง้ อย่างเป็ นทางการใน
พ.ศ.2495 จนกระทังถึ ่ งกลางทศวรรษ 2510 (หลังจากช่วงเวลาต่อจากนี้ไปได้เกิดการท้าทายขึน้ ในรูปแบบใหม่ท่ี
มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเป็ นเหตุ ผลสาคัญที่ทาให้งานศึกษาชิ้นนี้มขี อบเขตของ
ช่วงเวลาอยู่เพียงระหว่างทศวรรษ 2490-2510 เท่านัน้ )

บทสรุ ป
ด้วยภายใต้สภาวะของการต่อสูร้ ะหว่างอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยและสังคมนิยมประชาธิปไตยที่
กาลังลุกโหมขึน้ ทุกขณะหลังจากการยุตขิ องสงครามโลกครัง้ ที่ 2 คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยจึงได้ถูก
แต่งตัง้ ขึน้ เพื่อต่อสู/้ ตอบโต้กบั การเขียนประวัตศิ าสตร์ไทยแบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ทเ่ี พิม่ ทวีขน้ึ อย่างต่อเนื่อง
ในช่วงทศวรรษ 2490 ปฏิบตั กิ ารการแย่งชิงอานาจนาของการครอบครองพืน้ ทีค่ วามทรงจาในสังคมไทยจึงได้แตก
ปะทุขน้ึ ด้วยการกาหนดยุทธศาสตร์การ “ชาระประวัติศาสตร์” ของรัฐไทยให้มี “แบบประวัติศาสตร์ท่แี ท้จริง ”
เพียงแบบเดียวซึง่ เห็นได้จากการวางเค้าโครงประวัตศิ าสตร์ชาติไทยแบบเส้นตรง เพื่อกดทับ/กดปราบคาอธิบาย
ทางประวัติศ าสตร์แ บบอื่น ที่ ร ัฐ ไทยไม่ อ าจยอมรับ ได้ กล่ า วอีก นั ย หนึ่ ง การเขีย นประวัติศ าสตร์ไ ทยของ
คณะกรรมการฯ คือ การสร้าง “แบบประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ท้จริง ” ของไทย เพื่อใช้ตอบโต้กบั การเขียนประวัตศิ าสตร์
แบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ทต่ี ้องการจะสถาปนา “แบบประวัติศาสตร์ทแ่ี ท้จริง ” ของตนขึน้ ด้วยเช่นกัน ดังนัน้
กระบวนการก่อรูปของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่รบั รู้และเข้าใจกันอยู่ในปั จจุบนั ในนามของ “ประวัติศาสตร์แบบ
ราชาชาตินิยม” นัน้ จึงมีตน้ ธารมาจากวิกฤตการณ์ของการเขียนประวัตศิ าสตร์ไทยในช่วงทศวรรษ 2490 มากกว่า
จะเป็ นแค่เพียงผลอันสืบเนื่องมาจากการผลิตซ้า ประวัตศิ าสตร์บาดแผล การแสวงหาความเป็ นอารยะ และการ
ต่ อต้านอาณานิคมของชนชัน้ นาไทยที่ประสบมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเพียงมิติเดียว
เท่านัน้ (ธงชัย วินิจจะกูล 2544; Thongchai 2011, 2014) ซึง่ ข้อเสนอดังกล่าวเป็ นสิง่ ทีผ่ เู้ ขียนกาลังค้นคว้าวิจยั อยู่
ในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การนางานเขียนประวัตศิ าสตร์ของคณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทยกลับมาพิจารณา
ร่วมกับบริบททางการเมืองทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทาให้เกิดข้อคิดใหม่ต่อประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยในการ
อธิบายบทบาททางความคิดของนักประวัตศิ าสตร์ไทยกลุ่มหนึ่ง ซึง่ ส่ วนใหญ่เป็ นกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์และ
ถูกมองว่ามีแนวทางการศึกษาประวัตศิ าสตร์แบบกรมพระยาดารงราชานุ ภาพ จนถูกขนานนามให้เป็ นสานุ ศษิ ย์
กรมพระยาดารงฯ -ประวัตศิ าสตร์สกุลดารงราชานุภาพ- อย่างเปลีย่ นแปลงไปจากเดิม เพราะในท้ายทีส่ ุดจะเห็น
ว่า คณะกรรมการฯ ก็พยายามหาวิธี การทางประวัติศาสตร์อนั เป็ นลักษณะเฉพาะของตนเองขึน้ มาเพื่อใช้เป็ น
เครื่องมือต่อสู/้ ตอบโต้กบั ประวัตศิ าสตร์แบบมาร์กซิสม์/คอมมิวนิสม์ ในทานองเดียวกัน การนาเอาคณะกรรมการฯ
กลับเข้ามาโลดแล่นในการพิจารณาชีวประวัตขิ องการเขียนประวัตศิ าสตร์ไทยอีกครัง้ ก็น่าจะทาให้เข้าใจถึงความ
จาเป็ นและเงื่อนไขของกรมศิลปากรทีต่ ้องนาเสนอความเป็ นมาของชาติไทยอย่างทีเ่ ห็นในหนังสือ ประวัตศิ าสตร์
ชาติไทย (2558) มากขึน้ กว่าเดิมและทาให้เห็นว่า การต่อสูว้ วิ าทะครัง้ ใหม่ในประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยไม่เพียงแต่

18
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ได้เ ริ่ม ต้น ขึ้น แล้ว หากทว่ า ยัง ดาเนิ น ไปอย่ า งดุ เ ดือ ดเข้ม ข้น ค าถามอัน เป็ น ปรัศ นี ก็คือ คู่ต่ อ สู้ก ลุ่ ม ใหม่ คือ
ประวัตศิ าสตร์แบบใด? ของใคร? และดาเนินไปในลักษณะเยีย่ งใด?

รำยกำรอ้ำงอิง

หจช. ศธ. 0701.9.10.2/1 เรื่อง กรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย (พ.ศ.2493-2496).


เอกสารประกอบการประชุม คณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย ครัง้ ที่ 3/2558 วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2558 ณ
สานักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. 2558. ประวัตศิ าสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
กาพล จาปาพันธ์. 2558. นาคยุคครุฑ: “ลาว” การเมืองในประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
จิตร ภูมศิ กั ดิ.์ 2550 [2500]. โฉมหน้าศักดินาไทย. พิมพ์ครัง้ ที่ 10. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม. 2546. การเมืองในประวัตศิ าสตร์ธงชาติไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ชาญวิทย์ เกษตรศิร.ิ 2544 [2533]. ประวัตกิ ารเมืองไทย: 2475-2500. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการ
ตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
———. 2519. วิชาประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทย. ใน ประวัตศิ าสตร์และนักประวัตศิ าสตร์ไทย, ชาญวิทย์ เกษตรศิ
ริและสุชาติ สวัสดิศรี
์ , บรรณาธิการ. หน้า 1-26. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
ณัฐพล ใจจริง. 2552. การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา
(พ.ศ.2491-2500). วิทยานิพนธ์รฐั ศาสตร์ดุษฎีบณ ั ฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เดชา รัตตโยธิน. 2523 [2493]. วิวฒ ั นาการของสังคม. กรุงเทพฯ: ศตวรรษ.
แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสาร โบราณคดี, (2510-2533).
ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม. 2557. คาสัญญาของความปรารถนา: การเมืองว่าเรื่องด้วยการดูแลรักษาสุขภาพกับวาทกรรม
ของศีลธรรมในช่วง 2490-2550. จีรพล เกตุจมุ พล แปล. ฟ้ าเดียวกัน 12 (2-3): 105-137.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. 2552 [2522]. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว.
ประกายทอง สิรสิ ขุ และธารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์ แปล. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธงชัย วินจิ จะกูล. 2533. ผูร้ า้ ยในประวัตศิ าสตร์ไทย: กรณีพระมหาธรรมราชา ผูร้ า้ ยกลับใจเมื่อถูกใส่ความโดย plot
ของนักประวัตศิ าสตร์. ใน ไทยคดีศกึ ษา: รวมบทความทางวิชาการเพือ่ แสดงมุทติ าจิต อาจารย์ พันเอก
หญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, สุนทรี อาสะไวย์, หม่อมหลวงวัลย์วภิ า บุรุษรัตนพันธุแ์ ละกาญจนี
ละอองศรี, บรรณาธิการ. หน้า 173-196. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงานแสดงมุทติ าจิต อาจารย์ พัน
เอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.
———. 2543. การเปลีย่ นแปลงภูมทิ ศั น์ของอดีต: ประวัตศิ าสตร์ใหม่ในประเทศไทยหลัง 14 ตุลาคม. กุลลดา เกษ
บุญชู แปล. ใน สถานภาพไทยศึกษา: การสารวจเชิงวิพากษ์, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, บรรณาธิการ. หน้า
18-47. กรุงเทพฯ: ตรัสวิน(ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์).
———. 2544. ประวัตศิ าสตร์ไทยแบบราชาชาตินยิ ม จากยุคอาณานิคมอาพรางสูร่ าชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จ
พ่อของกระฎุมพีไทยในปั จจุบนั . ศิลปวัฒนธรรม 23 (1): 43-52.
ธิกานต์ ศรีนารา. 2556. มหาชน หนังสือพิมพ์ของ “พรรคคอมมิวนิสต์ไทย” กับการเมืองไทยในช่วง พ.ศ.2485-
2493. อ่าน 4 (3): 100-118.
นพปฏล กิจไพบูลทวี. 2556. สร้างชาติดว้ ยปากกา: การนิพนธ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติอนิ โดนีเซียยุคหลังอาณา
นิคม. ชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทศั น์ 2 (2): 9-83.

19
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นริศรานุวดั ติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ ากรมพระยา. 2499. สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้า


ฟ้ ากรมพระยานริศรานุวดั ติวงศ์และสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ. พระนคร: คลังวิทยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2512. สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ กับ อาร์โนล์ด ทอยน์บ.ี สังคมศาสตร์ปริทศั น์ 7 (1):
17-34.
———. 2523 [2521]. ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
———. 2529. 200 ปี ของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยและทางข้างหน้า. ศิลปวัฒนธรรม 7 (4): 104-120.
———. 2557 [2529]. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร.ี พิมพ์ครัง้ ที่ 11. กรุงเทพฯ: มติชน.
เปรมา สัตยาวุฒพิ งศ์. 2555. กว่าจะมาเป็ นคณะกรรมการชาระประวัตศิ าสตร์ไทย. ใน ปกิณกคดีประวัตศิ าสตร์
ไทย เล่ม 3. หน้า 70-87. กรุงเทพฯ: สานักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร.
แพทริค โจรี. 2553. สงครามประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทย: การต่อสูข้ องสถาบันกษัตริยใ์ นประวัตศิ าสตร์สมัยใหม่.
จิรวัฒน์ แสงทอง แปล. ฟ้ าเดียวกัน 8 (1): 101-124.
ยุพา ชุมจันทร์. 2530. ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ.2475 – พ.ศ.2516. วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาประวัตศิ าสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รอง ศยามานนท์, ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุลและ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี. 2502. ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนต้น. พระนคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
รอง ศยามานนท์ พลตรีดาเนิร เลขะกุลและวิลาสวงศ์ นพรัตน์. 2515. ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา:
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที ่ 1 ถึงแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพฯ: สานักทาเนียบ
นายกรัฐมนตรี.
เรย์โนลด์ส. เคร็ก เจ. 2534. ความคิดแหวกแนวของไทย: จิตร ภูมศิ กั ดิ์ และโฉมหน้าศักดินาไทย. อัญชลี สุ
สายัณห์ แปล. กรุงเทพฯ: อักษรสาส์น&สถาบันสันติประชาธรรม.
วรพิน ชัยรัชนีกร. 2524. วิธกี ารศึกษาประวัตศิ าสตร์ของ ศจ. รอง ศยามานนท์. วารสารธรรมศาสตร์ 10 (2): 74-
91.
วริศรา ตัง้ ค้าวานิช. 2557. ประวัตศิ าสตร์ “สุโขทัย” ทีเ่ พิง่ สร้าง. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิวฒ ั น์ คติธรรมนิตย์. 2539. กบฏสันติภาพ. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ศรีวสิ ารวาจา, พระยา. 2510. พระมหากษัตริยใ์ นประเทศไทย. แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี 1 (3):
1-13.
สถาปนา เชิงจอหอ. 2558. การปลูกฝั งค่านิยมอุดมการณ์และผลกระทบแห่งสงครามเย็น: กรณีศกึ ษาอาชญนิยาย
ของวสิษฐ เดชกุญชร. วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ ภาควิชาประวัตศิ าสตร์
คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมเกียรติ วันทะนะ. 2527. กึง่ ศตวรรษธรรมศาสตร์: 2477-2527 ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ:
สถาบันไทยคดีศกึ ษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
———. 2530. เมืองไทยยุคใหม่: สัมพันธภาพระหว่างรัฐและประวัตศิ าสตร์สานึก. ใน อยู่เมืองไทย: รวมบทความ
ทางสังคมการเมือง เพือ่ เป็ นเกียรติแด่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี , สมบัติ จัน
ทรวงศ์และชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ. หน้า 71-128. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล. 2546. ประวัติ พคท. ฉบับ พคท.(1). ฟ้ าเดียวกัน 1 (1): 155-168.
สิรฉิ ตั ร รักการ. 2559. คณะกรรมาธิการประวัตศิ าสตร์แห่งชาติฟิลปิ ปิ นส์: การแสวงหาความทรงจาร่วมของชาติ.
วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศกึ ษา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะ
สังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกจิ นิมมานเหมินทร์. 2513. หนูเอ๋ย จงจาคาครูว่า. แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี 4 (3): 1-10.

20
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

———. 2513. รัตนบุรษุ ไทยในอดีต. แถลงงานประวัตศิ าสตร์ เอกสารโบราณคดี 6 (1): 105-152.


สุธาชัย ยิม้ ประเสริฐ. 2555. ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ของ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์. ใน บรรณรฦก ร้อยปี สี ่
ศาสตราจารย์, สุวมิ ล รุ่งเจริญ, บรรณาธิการ. หน้า 213-246. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุภา ศิรมิ านนท์. 2517 [2494]. แคปิ ตะลิสม์. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สายชล สัตยานุรกั ษ์. 2556. พระยาอนุมานราชธน: ปราชญ์สามัญชนผูน้ ิรมิต “ความเป็ นไทย”. กรุงเทพฯ: มติชน.
———. 2558. ประวัตศิ าสตร์รฐั ไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวติ สามัญชน ความทรงจาและอัตลักษณ์
ทางชาติพนั ธุ,์ อรรถจักร์ สัตยานุรกั ษ์, บรรณาธิการ. เชียงใหม่: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิบพันพารเสนอ โสณกุล, ม.จ. 2501. ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนแรก. พระนคร:
ราชบัณฑิตยสถาน.
แสงโสม เกษมศรี, ม.ร.ว. และวิมล พงศ์พพิ ฒ ั น์. 2523 [2515]. ประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที ่ 1
ถึงรัชกาลที ่ 3 (พ.ศ.2325-2395). กรุงเทพฯ: สานักเลขาธิการสานักนายกรัฐมนตรี.
โสภา ชานะมูล. 2550. “ชาติไทย” ในทัศนะปั ญญาชนหัวก้าวหน้า. กรุงเทพฯ: มติชน.
อรัญ พรหมชมพู. 2519 [2493]. ไทยกึง่ เมืองขึ้น. กรุงเทพฯ: ชมรมหนังสืออุดมธรรม.
อินทราวุธ [อัศนี พลจันทร]. 2559. ข้อคิดจากวรรณคดี. กรุงเทพฯ: อ่าน.
อาร์โนลด์, จอห์น เอช. 2549. ประวัตศิ าสตร์ของประวัตศิ าสตร์. ไชยันต์ รัชชกูล แปล. กรุงเทพฯ: ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน).
Berlin, Isaiah. 2000. Three critics of the Enlightenment: Vico, Hamann, Herder. Henry Hardy, Editor.
Princeton and Oxford: Princeton University Press.
Charnvit Kasetsiri. 1979. Thai Historiography from Ancient Times to the Modern Period. in Perceptions of
the Past in Southeast Asia, Anthony Reid and David Marr, Editors. pp. 156-170. Hong Kong:
Heinemann.
Dipesh Chakrabarty. 2015. The Calling of History: Sir Jadunath Sarkar and his empire of truth. Chicago
and London: The University of Chicago Press.
Kasian Tejapira. 2001. Commodifying Marxism: The Fomation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958.
Kyoto: Kyoto University Press.
Reynolds, Craig J. and Hong Lysa. 1983. Marxism in Thai Historical Studies. The Journal of Asian
Studies 43 (1): 77-104.
Somkiat Wanthana. 1986. The Politics of Modern Thai Historiography. Ph.D. thesis, Department of
History, Monash University.
Thongchai Winichakul. 2011. Siam's Colonial Conditions and the Birth of Thai History. in Southeast Asian
historiography unravelling the myths: essays in honour of Barend Jan Terwiel, Volker Grabowsky,
Editor. pp. 21-43. Bangkok: River Books.
Thongchai Winichakul. 2014. Modern Historiography in Southeast Asia: The Case of Thailand’s Royal-
Nationalist History. in A Companion to Global Historical Thought, Prasenjit Duara, Viren Murthy
and Andrew Sartori, Editors. pp. 257-268. West Sussex: Wiley Blackwell.
Winai Pongsripian. 1983. Traditional Thai Historiography and its Nineteenth Century Decline. Ph.D.
thesis, Department of History, University of Bristol.

21
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

22
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R3-03

อองซาน
พลวั ต การจั ด การความทรงจาร่ ว มทางสั ง คมโดยรั ฐ บาลพม่ า

กฤษณะ โชติสุทธิ์
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ช่ ื อ “อองซาน: ความทรงจาร่วมของแรงงานพม่าในจังหวัดระนอง” ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุน


สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์

23
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ควำมนำ
นับตัง้ แต่ระบบอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จวบจนกระทังการบริ
่ หารงานของอาณานิคมได้
ออกไป ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉีย งใต้ต่างมีการเปลีย่ นแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวมากมาย ไม่ว่าจะเป็ นการ
เปลีย่ นแปลงอานาจจากผูน้ าในช่วงเวลาจารีตมาเป็ นเจ้าอาณานิคม การสร้างระบบราชการขึน้ มาเป็ นกลไกในการ
จัดการทรัพยากร การเข้ามาขององค์ความรูแ้ บบตะวันตก และระบบการศึกษาแบบใหม่ ทัง้ นี้เป็ นไปเพื่อตอบสนอง
ต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้แล้วหลังจากระบบอาณานิคมได้ออกไป วีรบุรุษแห่งชาติได้ปรากฏอยู่ทวทั
ั ่ ง้ ภูมภิ าค
วีรบุรุษแห่งชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็ นปรากฏการณ์ทส่ี ะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของบุคคลทีด่ ารง
สถานะวีรบุรุษแห่งชาติของแต่ละชาติร่วมกันบางประการ คือ เป็ นบุคคลที่ มอี ทิ ธิพลสาคัญในการต่อต้าน ต่อรอง
หรือทาให้ประเทศหลุดพ้นจากเจ้าอาณานิคม1 ในกรณีของพม่า อองซาน2 ได้ดารงสถานะวีรบุรุษแห่งชาติหลังจาก
เสียชีวติ ลง และรัฐบาลพม่ายังได้ให้ความสาคัญในเวลาต่อมา
นับตัง้ แต่อองซานเสียชีวติ ในปี 1947 ความสาคัญของอองซานที่มตี ่อรัฐบาลพม่าพบเห็นได้จากการที่
รัฐบาลพม่าได้สร้างตัวบทและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอองซานอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็ นอนุ สาวรีย์
ธนบัตร รูปภาพ ชื่อสถานที่ วันสาคัญ รวมถึงแบบเรียน รัฐบาลพม่าพยายามนาเสนอ ภาพลักษณ์อองซานในฐานะ
ทหารทีม่ คี วามเป็ นวีรบุรุษและผูส้ ละชีวติ เพื่อชาติ รัฐบาลพม่าเป็ นผูม้ บี ทบาทสาคัญในการนาตัวบทและสัญลักษณ์
ดังกล่าวเข้ามาในพืน้ ทีส่ าธารณะ เนื่องจากเป็ นหนึ่งในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชนเพื่อสร้างความชอบ
ธรรมทางการเมืองให้แก่รฐั บาลพม่า และเกิดการไหลเวียนไปมาของตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน
จนเป็ นความทรงจาร่วมทางสังคม อย่างไรก็ดคี วามทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานกลับไม่ได้ถูกผูกขาดไว้ในเงือ้ ม
มือของรัฐบาลแต่เพียงผูเ้ ดียว แต่ถูกท้าท้ายจากผูต้ ่อต้านรัฐตลอดเวลา อีกทัง้ ในแต่ละช่วงเวลาทางประวัตศิ าสตร์
การจัดการความทรงจาร่วมที่เกี่ยวข้องกับอองซานโดยรัฐ บาลพม่าล้วนแตกต่างกันออกไป การศึกษาชิ้นนี้จงึ
มุ่งเน้นการศึกษาไปยังการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานโดยรัฐบาลพม่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลวัต
การจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานในแต่ละช่วงเวลา
จากการศึกษาทีผ่ ่านมาพบว่ามีการศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องกับงานศึกษาชิน้ นี้ได้แก่ การศึกษาความทรงจาร่วม
ทางสังคม (Collective memory) และการศึกษาทีเ่ กี่ยวข้องกับอองซาน ในส่วนความทรงจาร่วมทางสังคม คาว่า
ความทรงจ าร่ ว มทางสัง คมได้ป รากฏขึ้น ครัง้ แรกปี 1902 ในงานของฮู โ ก ฟาน ฮอฟแมนส์เ ทล (Hugo von
Hofmannsthal) ความว่า “พลังลี้ลบั ของบรรพบุรุษของเราอยู่ภายในตัวเรา และสะสมเป็ นความทรงจาร่วมทาง
สัง คม” (Olick and Robins 1998, 106) แต่ ใ นแง่ ข องการศึก ษาในเชิง แนวคิด นั น้ มู ริช ฮาล์บ วาชส์ (Maurice
Halbwachs) ได้ถอื เป็ นหมุดแดนสาคัญในการศึกษา ฮาล์บวาชส์มองว่า ในสังคมทีบ่ ุคคลทัวไปจะมี ่ ความทรงจาได้
นัน้ บุคคลจาเป็ นต้องเข้าไปมีพนั ธะกับสังคม บุคคลเหล่านัน้ ถึงจะราลึก รับรูเ้ รื่องราวของอดีตในสังคมของพวกเขา
นอกจากนัน้ แล้วสังคมยังเป็ นแหล่งกาเนิดของความทรงจา เช่นเดียวกับ พอล คอนเนตัน (Paul Connerton 1989)
ได้ให้รปู แบบของการจดจาทีท่ าให้เกิดเป็ นความทรงจา ความว่า บุคคลจดจาบางอย่างได้จาเป็ นต้องมีการพบ การ
เรียนรูส้ งิ่ ทีจ่ ะจาในอดีต เพื่อให้เกิดเป็ นความทรงจา ความทรงจาดังกล่าวเกิดจากการสร้าง ผลิตซ้า และถ่ายทอด

1 ซูกาโน่ของประเทศอินโดนีเซีย โฮเซ รีซลั ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ โฮจิมนิ ห์ของประเทศเวียดนาม พระนโรดม สีหนุ ของประเทศกัมพูชา เจ้าเพชรราช
รัตนวงศา ของประเทศลาว และอองซาน ของประเทศพม่า
2 อองซานเกิดเมือ ่ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 และเสียชีวติ ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ก่อนการประกาศเอกราชจากอังกฤษ ช่วงเวลาทีอ่ อง
ซานมีชวี ติ อยู่ เขามีบทบาทในเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ครัง้ สาคัญของพม่า และได้ปรากฏเป็ นเรือ่ งเล่าต่อตัวเขาในเวลาต่อมา ทัง้ ในฐานะ บิดาแห่ง
เอกราช ผูน้ ากองทัพสมัยใหม่ กบฏ นักชาตินิยม และนักกิจกรรมขณะเป็ นนักศึกษา

24
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ภายในสังคมผ่านรูปแบบของพิธเี ฉลิมฉลองและการปฏิบตั ทิ างร่างกายจนกระทังบุ ่ คคลเกิดความเคยชิน และเกิด


ความทรงจาทีเ่ ก็บรักษาอดีตไว้ภายใต้โครงสร้างทางสังคมทีฝ่ ั งอยู่ในจิตใจของบุคคล เพื่อให้บุคคลเกิดความรูส้ กึ
ร่วมถึงประสบการณ์ในอดีต แม้ว่าทัง้ ฮาล์บวาชส์และคอเนตันจะให้ความสาคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบริบททาง
สังคมและรูปแบบในการจดจา แต่ยงั มีกลไกอื่นๆ ทีเ่ ป็ นส่วนประกอบสาคัญในการก่อให้เกิดความทรงจาร่วมทาง
สังคม
เมื่อมองมายังเครื่องมือสาคัญที่ใช้ผสานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับอดีตของสังคม บาร์บารา เอ
มิสเทล (Barbara A. Mistal 2003) มองว่ารัฐเป็ นแกนหลักในการสร้างความทรงจาขึน้ ทางสังคม เนื่องจากรัฐต้อง
อาศัยการใช้รูปแบบความต่อเนื่องของอดีตปรับให้เหมาะสมกับปั จจุบนั และต้องสร้างความน่ าเชื่อถือต่ออนาคต
ของชาติให้แก่ประชาชน ผ่านการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคม ขณะที่ สมิธ (Smith 1997) ได้มองไปทีก่ ารสร้าง
สังคมร่วมกันผ่านการหวนกลับไปใช้ความทรงจาในอดีตของยุคทอง และวีรบุรุษ ในอดีต การมองของสมิธและมิ
สเทลจึงเน้นความสาคัญไปยังรัฐ ผูม้ บี ทบาทสาคัญในการหยิบใช้อดีตให้มาดารงอยู่เป็ นความทรงจาร่วมทางสังคม
ในเวลาปั จจุบนั ความทรงจาที่ดารงอยู่ในปั จจุบนั จึงทาหน้าที่เป็ นทัง้ สร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั และวางแนว
ทางการนาเนินชีวติ ของประชาชนให้เป็ นไปตามวิถีทส่ี อดรับกับอุดมการณ์ของรัฐ การเลือกช่วงเวลายุคทอง หรือ
วีรบุรุษในอดีตจึงมีความสาคัญ เพราะการเลือกเป็ นไปภายใต้เงื่อนไขเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั ในปั จจุบนั
และวางแนวทางเพื่ออนาคต ผ่านเครื่องมือทีส่ าคัญไม่ว่าจะเป็ นตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องและเชื่อมโย งกับ
ช่วงเวลาหรือวัตถุทร่ี ฐั ได้เลือกใช้สร้างความทรงจา ในแต่ละช่วงเวลาบริบททางสังคม อุดมการณ์ และเป้ าประสงค์
ของรัฐล้ว นแตกต่ า งกัน ออกไป การตีค วามตัว บทและสัญ ลัก ษณ์ ต่ า งๆในอดีต ของแต่ ละช่ ว งเวลาจึง มีค วาม
หลากหลาย นอกจากนัน้ รัฐบาลยังเป็ นผูม้ คี วามชอบธรรมตามกฎหมายในการอนุญาตตัวบทและสัญลักษณ์ให้ดารง
อยู่ หรือกดทับตัวบทและสัญลักษณ์เหล่านัน้ บนพื้นที่สาธารณะอีกด้วย แต่ภายใต้ความหลากหลายและกระจัด
กระจายของกลุ่มทางสังคม ทาให้ฝ่ายผูต้ ่อต้านรัฐบาลได้พยายามยือ้ แย่ง แข่งขันการจัดความทรงจาร่วมทางสังคม
ผ่านการเลือกใช้ตวั บทและสัญลักษณ์ ในอดีตแตกต่างจากตัวบทและสัญลักษณ์ทร่ี ฐั บาลได้เลือกใช้ หรือแม้กระทัง่
เลือกตีความตัวบทและสัญลักษณ์เดียวกับรัฐบาลแต่ให้ความหมายใหม่เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มตนเอง
การปะทะกันในการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมระหว่างรัฐบาลกับผูต้ ่อต้านจึงมีความน่าสนใจในการศึกษา เมื่อ
มองมายังพม่า รัฐบาลได้เลือกอองซาน เข้ามาสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมในฐานะวีรบุรุษแห่งชาติ แม้ตลอด
ช่วงเวลาอันยาวนาน พม่าจะมีรฐั บาลทีเ่ ป็ นเผด็จการทหาร แต่ความทรงจาร่วมทางสังคมทีร่ ฐั บาลเลือกนามาใช้
กลับถูกยือ้ แย่งแข่งขันในการตีความตัวบทและสัญลักษณ์จากฝ่ ายต่อต้านตลอดมาจนเกิดเป็ นพลวัตในการจัดการ
ความทรงจาร่วมทางสังคมโดยรัฐบาลพม่า
ขณะทีก่ ารศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานสามารถแบ่งได้เป็ น 2 ลักษณะ ได้แก่ การศึกษาบทบาทและชีวติ
อองซานตอนทีอ่ องซานมีชวี ติ อยู่ และการศึกษาการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานหลังจากอองซาน
เสียชีวติ การศึกษาบทบาทและชีวติ ของอองซานในขณะทีอ่ องซานมีชวี ติ อยู่มกี ารศึกษาในรูปแบบชีวประวัติ และ
บทบาทภายในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองพม่าตลอดช่วงเวลาที่พม่าได้ตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ
จนกระทังอองซานได้
่ เสียชีวติ 3 งานเหล่านี้ต่างชีใ้ ห้เห็นถึงลักษณะของการเป็ นนักกิจกรรมขณะเป็ นนักศึกษา นัก
ชาตินิยม ผู้นากองทัพสมัยใหม่ ผู้เสียสละต่อชาติ และบิดาแห่งเอกราช ส่วนงานศึกษาการจัดการความทรงจาที่
เกีย่ วข้องกับอองซานหลังจากอองซานเสียชีวติ เป็ นการศึกษาการจัดการความทรงจาร่วมในพม่า แม้จะไม่ปรากฏ
3งานศึกษาในกลุม่ นี้ประกอบไปด้วย งานศึกษาของ Silverstein (1993), Aung San Suu Kyi (1991), Aung San Suu Kyi, and Aris (1995), Maung
Maung (1962), และ Naw (2001) เป็ นต้น

25
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

การใช้คาว่าความทรงจาร่วมทางสังคมโดยตรง แต่มงี านหลายชิน้ ทีแ่ สดงให้เห็นความพยายามของรัฐบาลพม่าทีม่ ี


บทบาทสาคัญในการจัดการความทรงจาของบุคคลทีม่ ตี ่ออองซาน ผ่านเครื่องมือทีร่ ฐั บาลผูกขาดการจัดการความ
ทรงจาแต่เพียงผู้เดียว ได้แก่ สื่อ แบบเรียน และสัญลักษณ์บนพื้นที่สาธารณะ การจัดการความทรงจาดังกล่าว
เป็ นไปเพื่อให้ก่อเกิดลักษณะความทรงจาร่วมตามแบบแผนที่รฐั ต้องการ และสร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั บาล
พม่า4
ขณะเดียวกันการศึกษาทีผ่ ่านมาพบว่ามีการแบ่งช่วงเวลาเป็ น ช่วงเวลาตัง้ แต่เป็ นเอกราชจนถึงปี 1988
และ หลัง ปี 1988 จนถึง ปี 2010 การแบ่ ง ช่ ว งเวลาในลัก ษณะดัง กล่ า วเป็ น ไปในลัก ษณะที่เ น้ น การเชื่อ มโยง
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมเข้ากับบริบททางการเมืองที่เกิดการลุกฮือต่อต้าน
รัฐบาลพม่าในปี 1988 และการเข้ามาเป็ นแกนนาฝ่ ายต่อต้านรัฐบาลพม่าของอองซาน ซูจี แต่หลังปี 1988 บนพืน้ ที่
สาธารณะของพม่ายังได้มกี ารสร้างตัวบทและสัญลักษณ์ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานโดยรัฐบาลพม่าทีส่ ามารถพบ
เห็นได้ในปั จจุบนั อย่างมากมาย ส่งผลให้การศึกษาชิ้นนี้เป็ นไปเพื่อลดความคลุมเครือของเส้นแบ่งเวลา รวมทัง้
การศึกษาชิน้ นี้จะศึกษาต่อยอดการจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานหลังจากอองซาน ซูจี
ได้รบั การปลดปล่อยจวบจนกระทังก่่ อนเลือกตัง้ ปี 2015
จากการศึกษาพบว่า การจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับอองซานโดยรัฐบาลพม่ามี
พลวัต โดยสัมพันธ์กบั การเปลีย่ นแปลงทางการเมือง แบ่งออกเป็ น 6 ช่วงเวลา

กำรจัดกำรควำมทรงจำที่เกี่ยวข้องกับอองซำนหลังอองซำนเสียชี วิตจนถึงก่อนกำรประกำศเอกรำช
หลังจากอองซาน ผูด้ ารงตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีรกั ษาการได้เสียชีวติ พร้อมๆกับรัฐมนตรีและคนสนิทอีก
8 คน จนถึงช่วงเวลาทีพ่ ม่าได้รบั เอกราชจากอังกฤษ แม้ว่าเป็ นแค่ช่วงเวลาไม่ถงึ 6 เดือน แต่ความสาคัญของออง
ซานได้ป รากฏขึ้น บนพื้น ที่ส าธารณะผ่ า นการจัด งานศพอย่ า งยิ่ง ใหญ่ และการกล่ า วสุ น ทรพจน์ ใ นสภาร่ า ง
รัฐธรรมนูญโดยอูนุ5 ผูร้ ่วมชะตากรรมนับตัง้ แต่ครัง้ เป็ นนักศึกษา จนถึงช่วงเวลาทีอ่ องซานได้เสียชีวติ ลง
การจัดการพิธศี พของอองซานและผูเ้ สียสละคนอื่นๆ ได้ถูกจัดขึน้ อย่างยิง่ ใหญ่ การเดินขบวนนาศพมุ่งไป
ยังหลุมฝั งศพ ภายในขบวนประกอบด้วยประชาชน ข้าราชการ และทหาร หลุมฝั งศพของอองซานและผูเ้ สียสละคน
อื่นๆ ตัง้ อยู่ใกล้กบั เจดียช์ เวดากอง หลุมฝั งศพถูกขุดเป็ น 9 หลุม และมีหลุมฝั งศพของอองซานอยู่กลาง ก่อนฝั งศพ
ลงในหลุมทีจ่ ดั เตรียมไว้ได้มกี ารวางพวงมาลาโดยตัว แทนจากอังกฤษและพม่า ต่อมาหลังจากเสร็จสิน้ พิธกี ารฝั ง
ศพ หลุมฝั งศพได้แปรสภาพกลายเป็ นอนุสรณ์สถานผูเ้ สียสละ อนุสรณ์สถานดังกล่าวมีลกั ษณะของหลุมฝั งศพเรียง
กัน ในลักษณะทีก่ ่ออิฐโบกปูนยื่นขึน้ มาเหนือแนวราบของพืน้ ดิน ตัง้ อยู่ภายใต้หลังคา
นอกจากพิธกี ารฝั งศพของอองซานที่ถูกจัดอย่างยิง่ ใหญ่แล้ว หลังอองซานเสียชีวติ ตัวบทและสัญลักษณ์
ทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานได้เริม่ ถูกใช้เป็ นเครื่องมือทางการเมืองโดยอูนุ อูนุได้กล่าวสุนทรพจน์ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันที่ 29 กรกฎาคม 1947 หลังจากอองซานเสียชีวติ แล้วเป็ นเวลา 10 วัน การกล่าวสุนทรพจน์ของอูนุเป็ นการกล่าว
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอองซาน ตีพมิ พ์ลงในหนังสืออองซานแห่งพม่า (Aung San of Burma) (Maung Maung
1962) และถูกแบ่งเป็ นสามบทความ บทความแรกชื่อ “คุณลักษณะดีเลิศของอองซาน” บทความถัดมาชื่อ “นายพล

4 งานศึกษาในกลุม
่ นี้ประกอบไปด้วย งานศึกษาของ Salem-Gervais and Metro (2012), Cheesman (2002), Houtman (1999), Steinberg (2006)
5ความสัมพันธ์ระหว่างอูนุและอองซาน ดาเนินมาตัง้ แต่สมัยเป็ นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุง้ ได้มบี ทบาทร่วมกันในฐานะนักเคลือ่ นไหวทางการเมือง
จนกระทั ่งอองซานได้เสียชีวติ ในปี 1947 ก่อนการประกาศเอกราช หลังอองซานเสียชีวติ ก่อนอูนุจะขึน้ เป็ นนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏตัวบทและสัญลักษณ์
ทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานนับตัง้ แต่นนั ้ เป็ นต้นมา

26
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ผู้เป็ นวีรบุรุษแห่งชาติ” และบทความสุดท้ายชื่อ “ที่ตงั ้ ตลอดกาลในประวัติศาสตร์ ”6 การกล่าวสุนทรพจน์ ในวัน


ดังกล่าวได้ชช้ี วนให้เห็นถึงการให้ความสาคัญต่ออองซานในฐานะวีรบุรุษแห่งชาติก่อนพม่าจะประกาศเอกราชจาก
อังกฤษ
การกล่าวสุนทรพจน์ทถ่ี ูกบรรจุลงในบทความ“คุณลักษณะดีเลิศของอองซาน” ได้แสดงถึง จุดเริม่ ของการ
พบเจอกันระหว่างอูนุและอองซานรวมถึงเพื่อนคนอื่นๆทีม่ บี ทบาทสาคัญในเวลาต่อมาทีม่ หาวิทยาลัยย่างกุง้ อูนุได้
กล่าวถึงบุคลิกของอองซานในแง่ของบุคลิกทีแ่ ตกต่างจากคนอื่น “อองซานเป็ นคนพูดน้อย ไม่มกี ารทักทาย ไม่เชื่อ
ในมารยาท แต่เขาไม่ได้เป็ นคนไม่มสี งั คม ในทางกลับกันเขาเป็ นผู้มคี วามเทีย่ งตรง และปฏิบตั จิ ริง หลังจากนัน้ ได้
ก่อเกิดกลุ่มเราชาวพม่า (Dobama Asi-ayon) ในกลุ่มดังกล่าว อูนุได้กล่าวถึงอองซานว่าเป็ นบุคคลที่มคี ุณภาพ
ยอดเยีย่ มด้วยการมีความรับผิดชอบต่อหน้าทีแ่ ละทางานอย่างหนักหน่ วง แต่ภายหลังจากเข้ากลุ่มชีวติ ของพวก
เขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป จากชีวติ นักศึกษาทีใ่ ช้ชวี ติ อย่างหรูหรากลับต้องมาอยู่ในสภาวะทีข่ ดั สนเรื่องเงินทอง แต่
อองซานไม่เคยถามถึงเงินทองหรืออาหาร เมื่ออองซานหิว เขาจะเพ่งไปทีห่ นังสือจนทาให้เขาแข็งแกร่ง รวมทัง้
ลักษณะห้องของอองซาน แม้อองซานจะมีตาแหน่ งเป็ นเลขานุ การแต่หอ้ งของเขากลับเต็มไปด้วยแมลง การเมือง
จึงเป็ นชีวติ ของอองซาน เขาไม่เคยปรารถนาทีจ่ ะกินอาหารดีๆ ไปพร้อมกับฟั งเพลงเบาๆ เหมือนเพื่อนร่วมงานคน
อื่น เขาไม่มคี วามอ่อนไหว เขาเป็ นคนทีถ่ ูกสร้างจากเหล็ก และด้วยความแข็งแกร่งของเขา เขาจึงเป็ นผูส้ ร้างการ
ปฏิวตั ิ นอกจากนี้ อูนุยงั กล่าวถึงช่วงเวลาในการประชุมทีท่ ราวดี ในทีป่ ระชุมมีการประกาศวิธกี ารแก้ปัญหาเพื่อให้
ได้มาซึง่ เอกราช ด้วยการใช้วธิ กี ารออกเดินสายในประเทศและบอกให้ประชาชนรับรูถ้ งึ จากการทางานดังกล่าวได้
ส่งผลให้รฐั บาลเข้าจับกุมด้วยกฎหมายปลุกระดมมวลชนทันทีทเ่ี ขาปลุกระดม หลังจากได้รบั การประกันตัวแล้ว
อองซานต่อต้านการยอมจานนให้แก่เจ้าหน้าทีข่ องรัฐบาล เขาอ้างว่าการอยู่ในคุกเป็ นการสูญเสียเวลาโดยเปล่า
ประโยชน์ เขาต้องการทีจ่ ะเคลื่อนไหวใต้ดนิ และไปอีกประเทศเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือการทางานเกีย่ วกับการ
เรียกร้องเอกราชจากเพื่อนทีอ่ ยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ดอี ูนุไม่เห็นด้วยกับอองซาน แต่อูนุกไ็ ม่สามารถทาให้ออง
ซานเห็นด้วยกับความคิดของอูนุได้ ส่งผลให้อูนุถูกจับกุมตัวเข้าเรือนจาในวันถัดมา และสูญเสียเวลาไปในคุกถึง
สองปี จนทาให้อนู ุรสู้ กึ ผิดหวังมาก และอูนุได้แสดงความชื่นชม ยกย่องสติปัญญาในการมองการณ์ไกลของอองซาน
การกล่าวสุนทรพจน์ชน้ิ ถัดมาชื่อ “นายพลผูเ้ ป็ นวีรบุรุษแห่งชาติ” อูนุได้กล่าวถึงความอ่อนล้าของตัวเขา
เองภายในคุก เป็ นเวลาเดียวกันกับอองซานไล่ล่าตามหาความฝั นทีจ่ ะนาพาพม่าให้ได้มาซึง่ อิสระ อองซานได้เป็ น
หัวหน้ากองทัพปลดปล่อยพม่า หรือ BIA (Burma Independence Army) ตลอดช่วงเวลาทีอ่ ยู่ภายใต้การปกครอง
ของญี่ป่ ุน แม้ว่ารัฐบาล (ญี่ป่ ุน) จะออกระเบียบและประกาศ แต่ไม่มนี ้ าหนักเพียงพอต่อประชาชนให้ปฏิบ ั ตติ าม
เทียบเท่ากับคาพูดอันเรียบง่ายของอองซาน อองซานจึงกลายเป็ นวีรบุรุษ ผูค้ นทีม่ ตี าแหน่งน้อยกว่าอองซาน อาจ
มีการเก็บผลประโยชน์และทรัพย์สมบัติเพื่อตัวเขาและครอบครัวสาหรับรุ่นต่ อไป แต่อองซานไม่ได้ต้องการสิง่
เหล่านัน้ ทาให้อูนุแสดงให้เห็นถึงความมัธยัสถ์ของอองซานในช่วงหลังจากสงครามสงบลง ประกอบด้วย ชุด
เครื่องแบบ 2 ชุด ชุดดังกล่าวอยู่ในสภาพเก่า สึกกร่อนจนหมดขน บางครัง้ เมื่ออองซานถอดเสือ้ กองทัพข้างนอก
ออก ข้างในกลับไม่มเี สือ้ กล้าม อูนุได้ยนื ยันว่าสิง่ ต่างๆ เหล่านี้คอื อองซาน และอองซานเป็ นบุคคลทีไ่ ม่เห็นแก่ตวั
อุทศิ ทุกอย่างเพื่อให้ประเทศเป็ นหนึ่งเดียว ไม่มใี ครเสมอเหมือนอองซาน ไม่ว่าจะเป็ นความกล้าหาญ คุณธรรม

6 จากการกล่าวสุนทรพจน์ของอูนุเป็ นการกล่าวเรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานตีพมิ พ์ลงในหนังสือ สังเกตได้วา่ ทัง้ สามบทความมีความต่อเนื่องกันในแง่


เนื้อหา และการกล่าวสุนทรพจน์ดงั กล่าวเป็ นการกล่าวในเวลาและสถานทีเ่ ดียวกัน การแยกเป็ นสามบทความจึงเป็ นการแยกโดยตัวหนังสือเพือ่ ให้สอดรับ
กับการแบ่งบทในหนังสือโดยมี หม่อง หม่องเป็ นบรรณาธิการ นอกจากนี้เนื้อหาภายในสุนทรพจน์ยงั มีความน่าสนใจในแง่การเป็ นแนวคิดของอูนุหลังจาก
ได้กลายเป็ นผูน้ าประเทศในเวลาต่อมา

27
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

และร่างกาย นอกจากนัน้ อูนุย งั ได้แสดงภาพตลอดช่วงเวลาทีพ่ ม่าอยู่ภายใต้การยึดครองอย่างโหดร้ายและทรมาน


อย่างเจ็บปวดด้วยน้ ามือของสารวัตรทหารญี่ป่ ุน (Japanese Kempetai) อยู่ตลอดเวลา ประชาชนไม่ได้มอี สิ ระใน
การพูด แต่อองซานกลับพูดในที่สาธารณะด้วยเสียงที่ดงั และมีความชัดเจนว่า ตอนนี้เป็ นเอกราชเพี ยงในนาม
เท่านัน้ ทัง้ สารวัตรทหาร และเจ้าหน้าทีร่ ฐั จะตามไปในสถานทีท่ อ่ี องซานปรากฏตัวทุกครัง้ และกังวลทุกครัง้ ทีอ่ อง
ซานพูด หลังจากนัน้ อูนุได้อธิบายถึงการวางแผนต่อต้านญีป่ ่ นุ การต่อต้านญีป่ ่ นุ มีอองซานเป็ นตัวแกนนาคนสาคัญ
เพราะถ้าไม่มอี องซานแผนการต่อต้านอาจไม่สาเร็จ และอองซานถูกรับเลือกให้เป็ นผูน้ าอย่างเป็ นทางการ แม้บาง
เหตุ การณ์ อูนุจะไม่ได้เดินทางไปกับอองซาน แต่ อูนุได้ยินเรื่องเล่าความกล้าหาญในการต่ อ สู้ของอองซาน ผู้
บัญชาการทีอ่ องซานจัดเตรียมไว้ไม่ได้เป็ นผูน้ าแนวหน้าบนสนามรบ เป็ นเพียงผูส้ งการจากข้
ั่ างหลัง แต่อองซาน
ต้องการให้ผู้บญ ั ชาการอยู่สงการทหารตลอดเวลา
ั่ เมื่ออองซานลงพื้นที่ด้วยตนเองจนพบเหตุการณ์การต่อสูใ้ น
สนามรบ เขาออกจากแนวป้ องกันไปยังทีต่ งั ้ ของปื นกลจนทหารคนสนิทต้องเตือน และเมื่อไม่สามารถโน้มน้าวออง
ซานให้กลับเข้ามาสู่แนวป้ องกันได้ ทหารเหล่านัน้ จึงต้องลากดึงอองซานกลับมา จนอูนุกล่าวว่า นัน่ คือเอกลักษณ์
ของอองซาน
การกล่าวสุนทรพจน์ทถ่ี ูกบรรจุลงบทความชิน้ สุดท้ายชื่อ “ทีต่ งั ้ ตลอดกาลในประวัตศิ าสตร์” อูนุได้แสดง
ภาพหลังจากการต่อต้านญี่ป่ นุ ว่า อองซานเป็ นศูนย์รวมความต้องการและความปรารถนาของประชาชน อูนุกล่าว
ว่า อองซานไม่ได้บรรลุจุดสูงสุดของอานาจและอิทธิพลอย่างง่ายดาย อองซานได้รบั สิง่ เหล่านัน้ จากการเสียสละ
ความซื่อสัตย์ ความอ่อนน้อม การอุทศิ ตัวเอง ความรักชาติ ความกล้าหาญของตัวอองซาน คุณลักษณะทีด่ เี ลิศของ
อองซานได้แสดงออกมาผ่านชีวติ ของตัวอองซาน และผลทีต่ ามมาคือ ประชาชนรักและวางใจอองซาน อูนุกล่าวว่า
ผูน้ าของกลุ่ม AFPFL ต่างชื่นชอบในตัวของชิตหล่าย (Chit Hlaiang) และ โอตะมะ (Ottama) บุคคลทีไ่ ด้รบั การชื่น
ชมในบางเมือง และบางเขตชนบท แต่ไม่มบี ุคคลใดทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนอย่างท่วมล้น และได้รบั ความไว้วางใจจาก
รัฐฉาน กะเหรี่ยง ฉิ่น กระยิ่น เฉกเช่นตัวอองซาน ต่ อมาอูนุได้แสดงถึงผู้นาในประวัติศาสตร์ท่สี ร้างความเป็ น
เอกภาพให้แก่พม่าตลอด 2000 ปี ทผ่ี ่านมา ตลอดเวลาทีผ่ ่านมา พม่ามีการต่อสูร้ ะหว่างอาณาจักร และการทะเลาะ
วิวาทระหว่างหมู่บา้ น แต่ อโนรธา บุเรงนอง มังระ และอลองพญา เป็ น 4 กษัตริยแ์ ละผูน้ าของชาวพม่าทีไ่ ด้สร้าง
เอกภาพในประวัติศาสตร์พม่าที่เพิง่ ผ่านพ้นมา อูนุได้กล่าวว่า ในช่วงเวลาของพวกเราชาวพม่า อองซานเป็ น
ผู้ส ร้า งความส าเร็จ ในการรวมชาติแ ละสร้า งเอกภาพ นอกจากนั น้ ยัง ได้ท าให้พ ม่ า มีเ อกราช เรามีส ภาร่ า ง
รัฐธรรมนูญในวันนี้ได้เพราะความปรองดอง ความวางใจต่อกัน ผ่านการทางานร่วมกันซึง่ มีจุดกาเนิดมาจากออง
ซาน ชาวพม่าได้เลือกทีจ่ ะเดินขบวนร่วมกันเพื่อเอกราช และสถาปนาสหภาพ เป็ นการแสดงออกถึงการเคารพและ
เชื่อใจต่ออองซาน ก่อนลงท้ายการประกาศสุนทรพจน์ว่า อองซานไม่ได้ตาย เขาดารงอยู่ในประวัตศิ าสตร์ และเขา
มีอทิ ธิพลสาคัญและเป็ นแนวปฏิบตั ใิ ห้ดาเนินต่อไปสูค่ วามยิง่ ใหญ่
ถ้อยคาภายในเนื้อหาของสุนทรพจน์เต็มไปด้วยการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอองซานและอูนุ
นับตัง้ แต่เป็ นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุง้ และอยู่ร่วมกันในกลุ่มต่างๆ ทีต่ ่อสูจ้ นพม่าได้รบั เอกราช การแสดง
รายละเอียดของบุคลิกรวมทัง้ สภาพห้องของอองซานถือเป็ นรายละเอียดทีย่ นื ยันถึงความสัมพันธ์ทแ่ี นบชิดระหว่าง
ตัวอองซานและอูนุ ทัง้ สุนทรพจน์ทอ่ี ูนุกล่าวถึงอองซานเป็ นการยกย่องอองซานทัง้ สุนทรพจน์ ไม่ว่าจะเป็ นการใช้
ชีวติ การเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความอ่อนน้อม การอุทศิ ตัวเอง ความรักชาติ ความกล้าหาญของตัวอองซาน แต่
เหตุการณ์ทอ่ี องซานร่วมมือกับญีป่ ่ นุ เข้ามาขับไล่องั กฤษออกจากพม่าจนชาวพม่าได้รบั ความสูญเสียเป็ นอย่างมาก
กลับไม่ได้รบั การพูดถึงในสุนทรพจน์ แต่อูนุกลับเน้นความสาคัญของอองซานในฐานะผูม้ สี ่วนสาคัญในการขับไล่
ญีป่ ่ นุ ออกจากพม่าแทน ดังนัน้ แล้ว สุนทรพจน์ชน้ิ ดังกล่าวจึงเป็ นการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับ

28
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อองซาน พร้อมๆ กับการพยายามทาให้ลมื บางเหตุการณ์ในอดีตทีอ่ องซานได้กระทา ในส่วนของการแพร่กระจาย


ของตัวบทและสัญลักษณ์ แม้ว่าการกล่าวสุน ทรพจน์ของอูนุจะเป็ นไปในสภาร่างรัฐธรรมนู ญ แต่การกล่าวสุนทร
พจน์ครัง้ ดังกล่าวได้กลายเป็ นร่องรอยที่สาคัญที่แสดงให้เห็ นถึงการให้ความสาคัญต่ออองซานจนกลายมาเป็ น
วีรบุรุษแห่งชาติในเวลาต่อมา

กำรแข่งขัน และกำรใช้ประโยชน์อองซำนในยุ ครัฐบำลอู นุ


วันที่ 4 มกราคม 1948 อูนุได้กา้ วขึน้ มาเป็ นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า เป็ นวันเดียวกันกับการได้รบั
เอกราชจากอังกฤษ นโยบายทางการเมืองของอูนุและผูน้ าของพรรค AFPFL พบว่าอุดมการณ์สงั คมนิยมเข้ามามี
อิทธิพลสาคัญ ทีม่ าทางนโยบายทางการเมืองเกิดจากกลุ่มผูน้ าทีม่ อี ทิ ธิพลสาคัญหลังประกาศเอกราชมาจากกลุ่ม
เราชาวพม่า กลุ่มดังกล่าวเป็ นกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่ อต้านอาณานิคม ประกอบกับภายในตัวอูนุเองมีความสนใจใน
แนวคิดสังคมนิยมตัง้ แต่สมัยเป็ นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุง้ เป็ นผูด้ าเนินการกลุ่มมังกรแดง (Negani) กลุ่มที่
แปลและรวบรวมหนังสือลัทธิมาร์กซ์ นอกจากนี้ยงั เป็ นความต้องการในการต่อต้านอาณานิคมทีน่ าระบบลัทธิทุน
นิยมเข้ามาในพม่า ส่งผลให้การปกครองหลังประกาศเอกราชเป็ นไปในลักษณะของอุดมการณ์สงั คมนิยมภายใต้
ระบบรัฐสภา อย่างไรก็ดี อูนุต้องเผชิญกับปั ญหาทัง้ ภายในพรรคAFPFL และปั ญหาการลุกฮือของกลุ่มชาติพนั ธุ์
จนอูนุตอ้ งให้เนวินผูเ้ ป็ นผูน้ าของกองทัพเข้ามาดูแลชัวคราวในปี
่ 1958 จนกระทังกลั
่ บมามีการเลือกตัง้ อีกครัง้ และ
อูนุได้รบั ชนะในการเลือกตัง้ ก่อนจะถูกเนวินทาการรัฐประหารยึดอานาจในปี 1962 ตลอดช่วงเวลาทีอ่ ูนุเป็ นผูน้ า
ทางการเมืองได้ปรากฏการจัดการความทรงจาร่วมทางสังคม เพื่อสร้างความชอบธรรมด้วยวิธกี ารต่างๆมากมาย
ในระยะแรกอูนุได้รอ้ื ฟื้ นการสร้างความชอบธรรมผ่านศาสนาพุทธเพื่อสร้างความทรงจาร่วมถึงยุคราชอาณาจักรอัน
เรืองรอง และยังเป็ นหนึ่งในเครื่องมืออันทรงพลังทีใ่ ช้ในการต่อต้านอังกฤษทีม่ รี ากแห่งการต่อต้านทีห่ ยังลึ
่ กไปยัง
ระดับหมู่บา้ น
หนึ่งในเหตุผลของการดึงศาสนาเข้ามาสร้างความชอบธรรมทางการเมืองอีกครัง้ เกิดจากตลอดช่วงเวลา
ของการตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้มกี ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบการปกครองของพม่าคือ
การถอดกษัตริยอ์ อกจากส่วนยอดสุดของการปกครอง ทาให้สถาบันสงฆ์ได้รบั ผลกระทบอย่างหนักหน่วง 7 การเข้า
มาของอังกฤษจึงปรากฏภาพการลดทอนความสาคัญของศาสนาพุทธทีเ่ คยมีความสาคัญ และเป็ นความทรงจาร่วม
ของชาวพม่าในช่วงเวลาก่อนอาณานิคมอย่างชัดเจน การลดทอนความสาคัญของศาสนาพุทธทาให้เป็ นบ่อเกิดการ
ต่ อ ต้ า นผ่ า นการใช้ค วามทรงจ าร่ ว มกัน ของชาวพม่ า ในยุ ค จารีต และสร้า งความชอบธรรมให้แ ก่ ข บวนการ
เคลื่ อ นไหวต่ อ ต้ า นอั ง กฤษในเวลาต่ อ มา ไม่ ว่ า จะเป็ นสมาคมยุ ว พุ ท ธ (YMBA: Young Men’s Buddhist
Association) ได้ก่อตัง้ ขึ้นในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง สมาคมยุวพุทธถือเป็ นสมาคมชาตินิยมกลุ่มแรกในพม่า การ
ตัง้ ขึน้ ของสมาคมระยะแรกเน้นการถกเถียงในเรื่องของศาสนา และขยายประเด็นมายังสังคมและวัฒนธรรมในเวลา
ต่อมา(Mendelson 1975, 197) ปรากฏการณ์ต่อต้านการใส่รองเท้าเข้าวัดของชาวต่างชาติ 8 ทาให้ทางสมาคมยุว
พุทธได้รวมกลุ่มกันเรียกร้องต่ออังกฤษให้เข้ามาจัดการปั ญหา ในครัง้ แรกทางสมาคมยุวพุทธได้ทาจดหมายไปยัง
อังกฤษ เพื่อให้มกี ารตัง้ ระเบียบในเรื่องการถอดรองเท้าในบริเวณเจดีย์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ องั กฤษ

7 เดิมทีอานาจกษัตริยม์ สี องทางคือ ทางโลกและทางศาสนา กษัตริยใ์ นยุคก่อนอาณานิคมมีอานาจและอิทธิพลทางศาสนาเป็ นอย่างมากได้แก่ การ


สนับสนุ นปัจจัย วัตถุ การแต่งตัง้ พระสังฆราชซึง่ เป็ นหัวหน้าฝ่ ายสงฆ์ และการลงโทษพระนอกรีต เป็ นต้น แต่แล้วความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์
และศาสนาพุทธได้เปลีย่ นแปลงไปพร้อมๆ กันกับการหายไปของสถาบันกษัตริย์ หลังจากการเข้ามาของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ อังกฤษไม่ได้เข้าไปทา
หน้าทีแ่ ทนสถาบันกษัตริยท์ ม่ี คี วามสัมพันธ์กบั ศาสนา
8 ความคิดเห็นการถอดรองเท้าเข้าวัดเกิดจากความคิดเห็นต่อแนวคิดเรือ ่ งสถานทีแ่ ตกต่างกัน ชาวต่างชาติมองว่าการถอดรองเท้าจะไม่เป็ นผลดีตอ่
สุขภาพเท้าจึงควรสวมรองเท้า กลับกันชาวพม่ากลับมองว่าการสวมรองเท้าเข้าไปในสถานทีศ่ กั ดิ ์สิทธิ ์เป็ นสิง่ ทีไ่ ม่ให้เกียรติและดูถกู ศาสนาพุทธ

29
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปฏิเสธและห้ามไม่ให้มกี ารอภิปรายเรื่องนี้ (Smith 1965, 87) สมาคมยุวพุทธได้พยายามยื่นเรื่องการถอดรองเท้า


ในบริเวณเจดียอ์ กี ครัง้ แต่กไ็ ด้รบั การปฏิเสธ (Mendelson 1975, 197) ต่อมาเลขานุ การสภาสงฆ์พม่า (All-Burma
Sangha Council) ได้ร่วมกับสมาคมยุวพุทธส่งหนังสือกับรัฐบาลอีกครัง้ ผลปรากฏว่าอังกฤษได้ยอมให้คณะสงฆ์มี
สิทธิกาหนดหลักการแต่งกายให้เหมาะสมกับลักษณะของวัด การเรียกร้องของสมาคมยุวพุทธถือเป็ นครัง้ แรกของ
ความสาเร็จในการเรียกร้องความต้องการของชาวพม่าจากอังกฤษ และการใช้ศาสนาพุทธเป็ นเครื่องมือในการ
เรียกร้องทางการเมืองจากอังกฤษยังปรากฏภาพความสาเร็จในระยะเวลาต่ อมา ไม่ว่าจะเป็ น การตัง้ กลุ่มพระ
การเมืองที่รู้จกั ในนาม “ธรรมกติกา (dhamakatika)” (Taylor 2009, 183) ทาหน้าที่ในการเชื่อมกลุ่มสมัชชาสังฆ
สามัคคี สมัชชาสมาคมชาวพม่า เข้ากับกลุ่มชาตินิยมในระดับหมู่บา้ นทีต่ งั ้ ขึน้ จากอิทธิพลของอู โอตะมะ การเชื่อม
ระหว่างกลุ่มดังกล่าว มีการส่งผ่านข่าวสาร ข้อมูลของกลุ่มสมัชชาสมาคมชาวพม่าไปยังกลุ่มชาตินิยมในระดับ
หมู่บา้ น สอนความรูท้ างการเมือง และยังยุยงปลุกเร้าประชาชนในหมู่บา้ นให้เกิดการต่อต้านอังกฤษ การต่อต้ าน
อังกฤษในระดับหมู่บ้านกลุ่มชาตินิยมในระดับหมู่บ้านซึ่งได้รบั อิทธิพลจากกลุ่มธรรมกติกาปรากฏขึน้ ในหลาย
ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็ นการที่ภายในหมู่บ้านมีการแขวนป้ ายวันทานุ (Wunthanu) แทบทุกบ้าน (Maung Maung
1976, 20) ผู้คนต่ างพากันซื้อสินค้าในร้านที่มีการแขวนป้ ายดังกล่ าวซึ่งแสดงออกถึงการแทรกซึมการต่ อต้าน
อังกฤษลงไปในระดับบ้านและเศรษฐกิจ ความสาคัญของศาสนาพุทธในฐานะเครื่องมือต่อต้านอังกฤษ และการสืบ
ทอดอานาจของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆจนถึงยุคอูนุ ส่งผลให้ศาสนาพุทธกลายเป็ นเครื่องมือ
สาคัญในการสร้างความชอบธรรมในยุคหลังประกาศเอกราชจากอังกฤษ
สัญลักษณ์ประจาชาติทป่ี รากฏผ่านการสร้างความชอบธรรมในช่วงอูนุมอี านาจจะพบว่ามี นกยูง (Green
peafowl)9 และสิง ห์ (Chinthe)10 เข้า มามีอิทธิพ ลอย่ างสาคัญ สัญ ลัก ษณ์ ต่ า งๆ เหล่ า นี้ ล้ว นแล้วแต่ เป็ น สัตว์ใน
ตานานทีถ่ ูกผูกเชื่อมคาอธิบายไว้กบั ศาสนาพุทธและสถาบันกษัตริยพ์ ม่าในอดีต สัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้เข้ามา
ปรากฏบนพืน้ ทีส่ าธารณะหลังประกาศเอกราชเป็ นทีส่ ญ ั ลักษณ์เดิมทีม่ มี าตลอดช่วงเวลาของยุคอาณานิคม
นกยูงราแพนได้เข้ามาปรากฎบนธนบัตรพร้อมๆ กับตัวอักษรภาษาพม่าทีม่ คี วามหมายรัฐบาลแห่งพม่า
อยู่ด้า นบนกลางธนบัตรฉบับ มูลค่ า 1 รูปี 11 ธนบัต รได้ป ระกาศใช้ในเดือ นกุม ภาพัน ธ์ ปี 1948 ต่ อ มาในเดือน
สิงหาคมทางรัฐบาลพม่าได้ประใช้ธนบัตรมูลค่า 5 รูปี ภายในธนบัตรได้ปรากฏรูปของสิงห์ทน่ี ัง่ เชิดหน้า อ้าปาก
คล้ายคารามอย่างน่าเกรงขาม ขนาดภาพของสิงห์ได้กนิ เนื้อทีป่ ระมาณหนึ่งในสามของธนบัตร เช่นเดียวกับเหรียญ
ที่ป รากฏรูป ของสิง ห์ใ นท่ ว งท่ า เดีย วกัน กับ ธนบัต รอยู่ใ จกลางของเหรีย ญ สิง ห์แ ละนกยูง ถือ เป็ น การแทนที่
สัญลักษณ์เดิมบนธนบัตรที่ใช้ตลอดช่วงเวลาตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ 12 การประกาศใช้ธนบัตรที่มรี ูปของ
นกยูงและสิงห์ในช่วงระยะแรกหลังได้รบั เอกราชจึงไม่ใช่การเกิดขึน้ ใหม่ของตัวบทและสัญลักษณ์ แต่กลับเป็ นการ
หวนกลับไปใช้สญ ั ลักษณ์เก่าในช่วงก่อนตกเป็ นอาณานิคมเพื่อสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมถึงความรุ่งเรืองของ
พม่าในยุคอดีตทีม่ สี ถาบันกษัตริยแ์ ละศาสนา ธนบัตรจึงเป็ นหนึ่งในพืน้ ทีท่ ่มี ตี วั บทและสัญลักษณ์ทเ่ี กี่ยว ข้องกับ
อองซาน

9 Green peafowl นกยูง เป็ นสัญลักษณ์ดงั กล่าวปรากฏในพม่าตัง้ แต่สมัยราชวงศ์คองบอง และเป็ นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอาณานิคม


10 Chinthe เป็ นภาพของสิงห์ทม่ี ลี กั ษณะคล้ายคน ปรากฏหน้าทางเข้าของประตูของวัดแทบทุกวัดในพม่า ชิเตถูกใช้เป็ นสัญลักษณ์ตงั ้ แต่หลังประกาศเอก
ราช ส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏร่วมกับรูปนกยูง
11 เงินสกุลรูปี รูปีเป็ นภาษาสันสกฤต แปลว่าเหรียญเงิน เริม
่ ใช้สกุลเงินดังกล่าวในพม่าตัง้ แต่ช่วงพม่าเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ
12 เดิมทีบนธนบัตรจะปรากฏภาษา Urdu Telugu Kaithi Tamil Bengali Kannada Burmese Gujarathi เริม ่ ใช้ตงั ้ แต่ปี 1824 และรูปบนธนบัตรในช่วง
อาณานิคมจะปรากฏรูปกษัตริยจ์ อร์จที่ 5 แห่งอังกฤษ (King George V) และกษัตริยจ์ อร์จที่ 6 แห่งอังกฤษ (King George VI ) ในช่วงปี 1938-1947

30
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

นอกจากสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธจะถูกใช้เป็ นเครื่องมือสร้างความทรงจาร่วมทางสังคม


แล้ว ยังพบเห็นการเข้าไปจัดการศาสนาพุทธด้วยวิธกี ารต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ศาลศาสนา(Smith 1965) นอกจากนี้ในปี 1950 ยังมีการจัดประชุ มชาระพระไตรปิ ฎกครัง้ ที่ 6 การประชุมครัง้
ดังกล่าวมีการใช้งบประมาณสร้างถ้าจาลองอย่างมหาศาล มีการสร้างเจดียก์ ะบาเอ้ (Kaba Aye) และอูนุยงั ได้เชิด
ชูนัต13จนกลายเป็ นรัฐพิธี การใช้ศาสนาเป็ นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมเกิดจากความพยายามของอูนุท่ี
จะรื้อฟื้ นการอุปถัมภ์ศาสนาพุทธโดยรัฐเฉกเช่นสมัยรัฐจารีต นอกจากศาสนาพุทธจะเป็ นหนึ่งในเครื่องมือสร้าง
ความทรงจาร่วมทางสังคมแล้ว อองซาน บุคคลทีเ่ พิง่ จะเสียชีวติ ก่อนจะประกาศเอกราชไม่นานได้กลับมาเป็ นหนึ่ง
ในเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองร่วมกับการสร้างความชอบธรรมผ่านศาสนาพุ ทธ ก่อนทีต่ วั บทและ
สัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานจะได้กระชับพืน้ ทีบ่ างพืน้ ทีข่ องศาสนาในเวลาต่อมา
การนาตัวบทและสัญลักษณ์ท่เี กีย่ วข้องกับอองซานมาใช้สร้างความชอบธรรมตลอดช่วงเวลาที่อูนุเป็ น
ผู้น าประเทศไม่ ไ ด้มีลัก ษณะที่น่ า แปลกใจ เมื่อ ย้อ นกลับ ไปพิจ ารณาการกล่ า วสุ น ทรพจน์ ข องอู นุ ท่ีส ภาร่ า ง
รัฐธรรมนู ญ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1947 การกล่าวสุนทรพจน์ ในวันเวลาดังกล่าวได้ยกอองซานให้เหนือกว่า
บุคคลอื่นๆ ทีเ่ คลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษก่อนหน้าอองซาน อูนุยงั ยกอองซานให้มี
ความสาคัญเทียบเท่ากับกษัตริยย์ ุคจารีตที่สามารถสร้างเอกภาพบนผืนแผ่นดินพม่า และอองซานยังมีคุณสมบัติ
พิเศษอีกประการคือ การต่อต้านอาณานิคมอังกฤษจนได้รบั เอกราช สอดรับกับความต้องการขจัดอิทธิพลเจ้าอาณา
นิ ค ม ท าให้ตัว บทและสัญ ลัก ษณ์ ท่ีเ กี่ย วข้อ งกับ อองซานได้เ ข้า มาปรากฏบนพื้น ที่สาธารณะร่ ว มกับ ตัว บทที่
เกีย่ วข้องกับศาสนาพุทธ
แสตมป์ พม่า หนึ่งในพืน้ ทีท่ เ่ี ป็ นเครื่องมือในการจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน
พื้นที่ดงั กล่าวได้มรี ูปภาพของอองซานตลอดช่วงการถือครองอานาจโดยอูนุ ก่อนพม่าได้รบั เอกราชจากอังกฤษ
พื้น ที่บ นแสตมป์ พม่ า ได้มีรูป ของกษัต ริย์จอร์จ ที่ 5 แห่ ง อัง กฤษ (King George V) และกษัต ริย์จ อร์จ ที่ 6 แห่ ง
อัง กฤษ (King George VI )แต่ ห ลัง จากพม่ า ได้ร ับ เอกราชจากอัง กฤษ รูป ภาพบนแสตมป์ ได้เ ปลี่ย นแปลงไป
แสตมป์ ที่มีรูปของอองซานได้ออกขายครัง้ แรก นับเป็ นสองวันหลังจากการได้รบั เอกราชจากอังกฤษ ภายใน
แสตมป์ ประกอบด้วยภาพสิงห์อนั สะท้อนอุดมการณ์ทางพุทธศาสนาทีอ่ ูนุได้นามาสร้างความทรงจาร่วมทางสังคม
ในระยะแรก และภาพของอองซานได้กลายเป็ นสัญลักษณ์ของการรวมเอกภาพและสร้างเอกราชให้แก่พม่า แม้ว่า
อองซานจะมีความต้องการในการแยกศาสนาออกจากการเมือง แต่บริบททางการเมืองระยะแรกทีอ่ ูนุเป็ นผู้ นา อูนุ
ได้ให้ความสาคัญต่อพุทธศาสนาเป็ นอย่างมาก ส่งผลให้อองซานและศาสนาพุทธปรากฏตัวร่วมกันบนวัตถุ ช้นิ
เดียวกัน อย่างไรก็ดนี อกจากจะมีการปรากฏร่วมกันระหว่างอองซานและศาสนาพุทธ ยังมีอกี บางพืน้ ทีท่ อ่ี องซาน
ได้ปรากฏตัวบทและสัญลักษณ์เพื่อสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมได้ ตงั ้ สง่าอย่างโดดเด่น ปราศจากอิทธิพลของ
พุทธศาสนา
วัน ผู้เ สีย สละ (Martyrs' Day) โดยทัว่ ไปวัน ดัง กล่ า วถือ เป็ น วัน สาคัญ ประจ าปี ข องแต่ ละประเทศ วัน
ดังกล่าวทาหน้าที่เพื่อให้ประชาชนแสดงความเคารพต่อผู้เสียชีวติ ที่สละชีพเพื่อชาติ แต่ละประเทศมีวนั เสียสละ

13นัต หมายถึง “วิญญาณศักดิ ์สิทธิ ์ของผูต้ ายร้าย” เป็ นภูตผูเ้ ป็ นทีพ่ ง่ึ ของปุถุชนทั ่วไป นัตทีเ่ ป็ นภูตผี นี้จะมีฐานะกึง่ เทพกึง่ ผี คืออยูร่ ะหว่างเทพและผี มี
ระดับสูงกว่าผีท ั ่วไป แต่มเิ ทียบเท่าาเทวดา นัตจึงไม่ใช่ผธี รรมดาสามัญ หากทว่าเป็ นวิญญาณของมนุ ษย์ผตู้ ายจากด้วยภัยอันร้ายแรง ผูค้ นให้ความ
เคารพบูชา และมีพธิ เี ข้าทรงลงผี ด้วยเชื่อว่านัตจะให้ความช่วยเหลือและคุม้ กันภัยในหมูผ่ ศู้ รัทธากราบไหว้” (วิรชั นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม
2551, 144)

31
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แตกต่ างกันไป ในกรณีของพม่า วันผู้เสียสละได้ถูกยึดโยงไปยังตัวอองซานโดยตรง และประกาศให้วนั ที่ 19


กรกฎาคม ของทุกปี เป็ นวันผู้เสียสละ วันดังกล่าวเป็ นวันที่อองซานพร้อมๆกับสมาชิกอีก 8 คน ถูกลอบสังหาร
ระหว่างการประชุม ภายใต้การสังการโดย
่ อู ซอ วันผูเ้ สียสละได้ถูกกาหนดเป็ นวันหยุดราชการนับตัง้ แต่ปี 1948 มี
กิจกรรมการวางพวงมาลาหน้าอนุสรณ์สถานโดยชนชัน้ ผูป้ กครอง การกล่าวสุนทรพจน์ของผูน้ าประเทศเชิดชูคุณ
งามความดีของอองซานทีม่ ตี ่อพม่า การให้เสียงสัญญาณไซเรนโดยรัฐบาลเพื่อไว้อาลัยในเวลาทีผ่ เู้ สียสละเลียชีวติ
และมีการผลิตซ้าวันสาคัญดังกล่าวทุก ปี ปรากฏการณ์ดงั กล่าวสามารถพบเห็นได้จากการเผยแพร่ข่าวสารของ
รัฐบาลผ่านวารสารพม่า (Burma)14 และในวันผูเ้ สียสละ ทางราชการพม่าได้ออกแสตมป์ เป็ นทีร่ ะลึก และนาออกมา
จาหน่ ายในวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 แม้ว่าภาพปรากฏบนแสตมป์ จะไม่ได้มกี ารปรากฏของรูปอองซาน แต่ภาพ
อนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละรวมทัง้ การลดธงลงครึง่ เสาทีป่ รากฏเป็ นใจกลางของแสตมป์ เป็ นการสื่อแสดงออกถึงออง
ซานและผูเ้ สียสละอื่นๆ
นอกจากนี้แล้วยังมีการปรากฏของอองซานในรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็ นวัตถุหรือแม้กระทังชื ่ อ่
เรีย กสถานที่ต่ า งๆ การปรากฏในรูป แบบของอนุ สาวรีย์ท่ีสร้ า งขึ้น ในปี 1953 อนุ สาวรีย์อ องซาน ตัง้ อยู่ห น้ า
สวนสาธารณะชื่อ สวนสาธารณะนายพลอองซาน (Bogyoke Aung San Park) สวนสาธารณะดังกล่าว ตัง้ อยู่ทาง
ทิศเหนือของทะเลสาบกันดอว์จี (Kandawgyi Lake) ใกล้กบั ถนนนัตเมาก์ ชื่อเมืองบ้านเกิดของอองซาน และยังมี
ภาพถ่ายในสถานทีร่ าชการต่างๆ อย่างมากมาย ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกแขวนติดผนังห้องประชุม วางอยู่ระดับล่างของ
ธงพม่า แต่อยู่สงู กว่าโต๊ะของประธานในทีป่ ระชุม
แม้จะเห็นตัวบทและสัญลักษณ์ ท่เี กี่ยวข้องกับอองซานทัง้ ในลักษณะที่โดดเดี่ยว และปรากฏร่วมกับ
สัญลักษณ์ ทางศาสนาพุทธ แต่ ระยะต่อมาการใช้ศาสนาในการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคม เพื่อก่อให้เกิด
ความชอบธรรมทางการเมืองของอูนุได้รบั ความล้มเหลว เทยเลอร์มองว่า สาเหตุ ความล้มเหลวเกิดจากความ
หลากหลายทางสังคมทัง้ ทางศาสนาและการศึกษา(Taylor 2009) รวมทัง้ ภายในพรรค AFPFL เริ่มมีปัญหาทัง้
ภายในพรรค และแนวคิดของอองซานต้องการแยกศาสนาออกจากการเมือง และอองซานยังเป็ นที่ยอมรับของ
บุคคลภายในพรรค รวมทัง้ คนทัวประเทศ ่ การเปลีย่ นแปลงดังกล่าวอาจเป็ นการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง
ให้แก่ตวั อูนุเอง หรือเป็ นการเปลีย่ นแปลงเพื่อลดแรงเสียดทานทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่การ
เปลีย่ นแปลงครัง้ ดังกล่าวทาให้ตวั บทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานได้เข้ามาปรากฏบนพืน้ ทีส่ าธารณะของ
พม่ามากยิง่ ขึน้ และได้เข้ามากระชับบางพืน้ ทีท่ เ่ี ดิมทีจะปรากฏเฉพาะตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับศาสนา
พุทธ หนึ่งในพืน้ ทีท่ ส่ี ามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนคือ การเปลีย่ นแปลงรูปบนเหรียญและธนบัตร
เงิน ตราสาหรับการแลกเปลี่ยนของพม่าได้กลายเป็ น หนึ่ งในพื้น ที่ท่ีปรากฏรูป หน้ าของอองซาน รูป
ดังกล่าวถือได้ว่าเป็ นรูปภาพใบหน้าชาวพม่าคนแรกบนธนบัตรทีม่ กี ารนาออกมาใช้แลกเปลีย่ น 15 รูปของอองซาน
บนธนบัตรไม่ได้เป็ นการปรากฏในทันทีทนั ใด ตลอดช่วงเวลาตัง้ แต่ปี 1948 จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี 1958 บน
ธนบัตรพม่าเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาประกอบด้วยภาพของสิงห์ นกยูง ภาพวิถีชวี ติ ชาวพม่า
ผูห้ ญิงทอผ้า ช้างขนไม้ คนทานาโดยใช้ววั ต่อมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1958 ภาพของอองซานได้เข้ามาแทนที่

14 วารสาร Burma เป็ นวารสารทีท่ าหน้าทีเ่ ป็ นกระบอกเสียงของรัฐบาลพม่าตีพมิ พ์ตงั ้ แต่ปี 1950-1962 และต่อมาได้เปลีย่ นเป็ นวารสาร Forward วารสาร
ฉบับนี้ได้ทาหน้าทีต่ งั ้ แต่ปี 1962-1987 ตีพมิ พ์โดยกระทรวงสารสนเทศ (Ministry of Information)
15 ก่อนหน้าพม่าจะเป็ นเอกราชจากอังกฤษ ในช่วงเวลาทีพ ่ ม่าตกอยูภ่ ายใต้อานาจของญีป่ ่ ุน เคยปรากฏรูปหน้าของ ดร.บามอ บุคคลทีเ่ ป็ นหัวหน้าของรัฐ
พม่า บนธนบัตรมูลค่า 100 จ๊าต แต่อย่างไรก็ดธี นบัตรดังกล่าวไม่ได้ถูกเอาออกนามาใช้เนื่องจากถูกข้อจากัดของญีป่ ่ ุน

32
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับศาสนา ภาพของสิงห์ทก่ี นิ เนื้อทีเ่ กือบหนึ่งในสามของธนบัตร ได้เปลีย่ นแปลงเป็ นรูปของ


อองซานในทุกๆ ธนบัตร
ตลอดช่วงเวลาทีใ่ ช้ภาพอองซานบนธนบัตร ภาพของอองซานเป็ นภาพที่เกิดขึน้ เมื่อวันที่ 13 มกราคม
1947 ณ ถนนดาวน์นิ่งหมายเลข (10 Dawning Street) เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็ นช่วงเวลาทีอ่ องซานไป
เจรจาเพื่อให้พม่าได้รบั เอกราช ด้วยการเข้าพบกับคลีแมนต์ แอตลี จนเกิดเป็ นข้อตกลง อองซาน แอตลี (Aung
San- Attlee Agreement) ชุดเครื่องแบบทีอ่ องซานใส่ เสือ้ คลุมกันหนาวเป็ นของทีเ่ นห์รูมอบให้ 16 ภาพดังกล่าวได้
สือ่ นัยไปยังการเดินทางไปเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษโดยตรง การให้ความสาคัญของอองซานตลอดช่วงเวลาที่อู
นุ เ ป็ น ผู้น าประเทศจึงเป็ นการเน้ นให้ค วามทรงจาที่เ กี่ยวข้อ งกับการได้มาซึ่งเอกราชโดยอองซานเป็ นสาคัญ
นอกจากนัน้ แล้วในมิตขิ วั ้ ความสัมพันธ์อ่นื ทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน พบว่าในส่วนครอบครัวของอองซาน ได้เข้ามามี
อิทธิพลทางการเมืองพม่าในช่วงเวลาทีม่ อี นู ุเป็ นนายกรัฐมนตรี
ความสัมพันธ์ในช่วงทีอ่ ูนุเป็ นผู้นาในการปกครองกับครอบครัวของอองซานได้เป็ นไปในทิศทางทีแ่ นบ
แน่ น สังเกตได้จาก ขิน่ จี ผูเ้ ป็ นภรรยาของอองซาน ได้เข้ามารับตาแหน่ งเป็ นสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรในรัฐบาล
ของอูนุ ระหว่างปี 1947-1948 ต่อมาในปี 1953 เธอได้รบั ตาแหน่ งเป็ นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการสังคม
(Minister of Social Welfare) และในปี 1960 ขิน่ จีได้รบั การแต่งตัง้ เป็ นเอกอัครราชทูตพม่าไปดารงตาแหน่ งใน
ประเทศอินเดียและเนปาลในเวลาต่อมา(O'Shannassy 2000) นอกตาแหน่ งทางการเมืองทีข่ นิ่ จีได้รบั แล้ว ภาพ
ของขิน่ จียงั ได้ปรากฏในวารสารพม่าเป็ นจานวนมาก ภาพทีป่ รากฏเป็ นภาพของตัวแทนสตรีชาวพม่าในระหว่าง
การเดินทางเยีย่ มกลุ่มชาติพนั ธุฉ์ ิ่น การปรากฏตัวในสถานทีต่ ่างๆ รวมถึงการให้การต้อนรับผูน้ าชาวต่างชาติ จาก
การสารวจดูในวารสารพม่า พบว่าขิน่ จีได้ถูกนาเสนอในสถานะสตรีหมายเลขหนึ่ง บทบาทของเธอมีมากกว่า มยา
ยี (Mya Yee) ผู้เป็ นภรรยาของอูนุ สถานะทางการเมืองของขิน่ จีจงึ เป็ นการยืนยันถึงความสัมพันธ์อนั แบนแน่ น
ระหว่างอูนุในฐานะผูน้ าประเทศกับขิน่ จีผเู้ ป็ นภรรยาหม้าย
ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานทีใ่ ช้ในการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมบนพืน้ ทีส่ าธารณะ
ช่วงเวลาของอูนุยงั เป็ นไปในวงจากัดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทีเ่ นวินเป็ นผูน้ า เนื่องจากอูนุขน้ึ มาเป็ นผูน้ าจาก
การเป็ นพลเรือน และแนวคิดของอูนุเน้นหนักไปยังการใช้ศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธถือเป็ นหนึ่งในความทรงจา
ร่วมทางสังคมของพม่ายุคจารีต และเป็ นเครื่องมือในการต่อต้านอาณานิคม เข้ามาสร้างความชอบธรรมให้แก่
รัฐบาลในระยะแรกมากกว่าการใช้สถานะของอองซาน การแสดงออกของอูนุในการสร้างความชอบธรรมทาง
การเมืองของเขานัน้ แสดงให้เห็นถึงการมองว่าอานาจอยู่ในมือเขาเพียงคนเดียว เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวแตกต่าง
จากแนวคิดของอองซานทีต่ อ้ งการแยกศาสนาออกจากการเมือง(Silverstein 1993) อย่างไรก็ดกี ารใช้ศาสนาสร้าง
ความชอบธรรมทางการเมืองของอูนุได้รบั ความล้มเหลว จนทาให้อูนุต้องเปลี่ยนการสร้างความชอบธรรมทาง
การเมือง จากศาสนาพุทธมาเป็ นอองซานเนื่องจากความเป็ นเพื่อนสนิท เป็ นผูส้ ร้างเอกภาพให้พม่า และเป็ นแกน
นาคนสาคัญทีป่ ลดแอกพม่าให้หลุดพ้นจากเจ้าอาณานิคม กระทังตั ่ วบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานได้
ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาทีเ่ นวินก้าวขึน้ มาเป็ นผูน้ าประเทศแทนอูนุในช่วงเวลาถัดมา

16 เสือ้ คลุมกันหนาวทีอ่ องซานใส่ในช่วงเวลาทีเ่ ดินทางไปลอนดอน และปรากฏผ่านภาพถ่ายทีม่ กี ารผลิตซ้ามาจนถึงปัจจุบนั แท้ทจ่ี ริงแล้วเสือ้ ตัวดังกล่าว


เป็ นของ ชวาหระลา เนห์รู หนึ่งในผูเ้ รียกร้องเอกราชให้แก่อนิ เดียเสือ้ คลุมดังกล่าวได้รบั เมือ่ อองซานเดินทางไปอังกฤษ และได้แวะทีอ่ นิ เดียเป็ นเวลา 2
วัน เนห์รเู ห็นว่าเสือ้ ของอองซานคือเครือ่ งแบบของ PVO เป็ นผ้าฝ้ ายสีจาง และช่วงเวลาทีอ่ องซานเดินทางไปอังกฤษเป็ นช่วงหน้าหนาว เนห์รจู งึ มอบ
เสือ้ ให้แก่อองซาน เสือ้ ชุดดังกล่าวยังดารงอยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์บา้ นอองซานในเมืองย่างกุง้

33
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

กำรจัดกำรควำมทรงจำที่เกี่ยวข้องกับอองซำนในช่ วงที่เนวินเป็นผู น้ ำ
เนวิน17 หนึ่งในบุคคลที่มอี ิทธิพลทางการเมืองของพม่าได้กลับสู่สถานะผู้นาประเทศอีกครัง้ ในวันที่ 2
มีนาคม ปี 1962 การก้าวขึน้ มาเป็ นผูน้ าพม่าอีกครัง้ เกิดจากการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนทีม่ อี ูนุเป็ นนายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารของเนวินได้ให้เหตุผลว่า ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไม่เหมาะสมกับประเทศพม่า รวมทัง้
ปั ญหากลุ่มชาติพนั ธุท์ พ่ี ยายามเรียกร้องอานาจในการปกครองได้สง่ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของประเทศพม่า การ
กลับมาของรัฐบาลชัวคราวที
่ น่ าโดยเนวินจึงเป็ นไปเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่พม่า การรัฐประหารครัง้ นี้ได้ส่งผลให้มี
การรวบอานาจมารวมศูนย์อยู่ทต่ี วั เนวินเพียงผูเ้ ดียว กล่าวคือ มีการยุบองค์กรทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็ นฝ่ ายนิติ
บัญญัติ ฝ่ ายบริหาร ฝ่ ายตุลาการทีม่ ที ม่ี าจากรัฐธรรมนู ญปี 1947 รวมทัง้ การประกาศให้พรรคการเมืองฝ่ ายค้าน
ทัง้ หมดเป็ นพรรคการเมืองทีผ่ ดิ กฎหมาย
ก่อนเนวินจะขึน้ สู่อานาจโดยการรัฐประหาร เนวินได้รบั การถ่ายโอนอานาจจากอูนุเข้ามาเป็ นรัฐบาล
ชัวคราวระหว่
่ างปี 1958 ถึงปี 1960 ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานได้ปรากฏรูปของอองซานคู่กบั เน
วิน บนหน้าแรกของเอกสารรายงานของรัฐบาลชัวคราว ่ (caretaker government’s report) ก่อนจะมีการเลือกตัง้ ใน
ปี 1960 อูนุได้รบั ชัยชนะอีกครัง้ แต่ถูกเนวินรัฐประหารแย่งชิงอานาจคืนมาในปี 1962
หลังจากเนวินขึน้ มาเป็ นผูน้ าของประเทศพม่า เนวินได้นาตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานมา
นาเสนอบนทีส่ าธารณะอย่างมากมาย ด้วยลักษณะการบริหารประเทศของเนวินทีใ่ ช้แนวคิดวิถพี ม่าสู่สงั คมนิยม
(Burmese Way to Socialism) และยังลดระดับการให้ความสาคัญของศาสนาซึง่ แตกต่างจากสมัยของอูนุ โดยเน
วินได้ให้ความสาคัญต่ อบทบาทของกองทัพแทน คุณสมบัติของอองซานในช่ วงเรียกร้องเอกราช ไม่ว่าจะเป็ น
คุณสมบัตขิ องการเป็ นทหาร การเป็ นผูส้ ถาปนากองทัพพม่าในรูปแบบใหม่ และการเป็ นผูก้ ่อตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์
แห่งพม่า ต่างถูกเนวินหยิบเอามาใช้ในการสร้างความทรงจาร่วมให้กบั ชาวพม่าอย่างมากมาย เช่น การนาเอารูป
อองซานมาแทนที่รูป สิง ห์ การให้ค วามสาคัญ กับ รูป อองซานที่แ ต่ ง เครื่อ งแบบทหาร และในบางตัว บทและ
สัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานทีร่ เิ ริม่ โดยอูนุ ก็ได้ถูกผลิตซ้าเรื่อยมา เหมือนจะเพิม่ ระดับความเข้มข้นในการให้
ความสาคัญมากกว่าช่วงเวลาที่อูนุเป็ นนายกรัฐมนตรี สิง่ ต่ างๆ เหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นการขยายวงของตัวบทที่
เกีย่ วเนื่องกับอองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะทัง้ สิน้ ไม่ว่าจะเป็ นธนบัตร เอกสารวิถพี ม่าสูส่ งั คมนิยม แบบเรียนพม่า วัน
ผูเ้ สียสละ วารสาร แสตมป์ และอนุสรณ์สถานวันผูเ้ สียสละ
หลังจากเนวินได้ยดึ อานาจจากอูนุ ในส่วนภาพบนธนบัตรและเหรียญของพม่าก็ถูกยึดอานาจในการ
จัดการอีกเช่นกัน ภาพของอองซานในยุคเนวินได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภาพของอองซานในขณะเดินทางไป
เจรจาเรียกร้องเอกราชเป็ นภาพของอองซานมาเป็ นภาพของอองซานในขณะทีแ่ ต่งเครื่องแบบของทหารในกองทัพ
แห่งชาติพม่า (Burma National Army) เครื่องแบบของทหารได้เข้ามาผูกติดตัวตนของอองซานตลอดช่วงเวลาทีเ่ น
วินมีอานาจในการปกครองพม่า เช่นเดียวกันกับแบบแผนการปกครองพม่า เนวินได้ดงึ เอาคาพูดของอองซานมา
เป็ นหนึ่งในแบบแผนของการปกครอง
เอกสารวิถพี ม่าสูส่ งั คมนิยมทัง้ ฉบับลับ และฉบับทีม่ กี ารเผยแพร่ เอกสารดังกล่าวถือเป็ นแบบแผนในการ
ปกครองประเทศภายใต้อานาจของเนวิน ภายในเอกสารได้อ้างอิงถึงคาพูดของอองซาน เมื่อวันที่ 20 มกราคม
1946 ที่บริเวณเจดีย์ชเวดากอง คาพูดของอองซานมีใจความมุ่งถึงการสร้างเอกภาพแห่งชาติ และความรักชาติ

17 เนวิน เป็ นชื่อเรียกทางทหารของของ ซุ หม่าว ภายในกลุม่ สามสิบสหาย และซุ หม่าว ได้ใช้ชอ่ื เนวินตลอดช่วงชีวติ สืบมานับตัง้ แต่บดั นัน้

34
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากความสาคัญของเอกสารวิถพี ม่าสู่สงั คมนิยมทาให้มองได้ว่า เนวินได้รบั เอาแนวคิดของอองซานมาใช้เป็ นแบบ


แผนในการปกครอง โดยเฉพาะเรื่องการสร้างเอกภาพของชาติ อันเป็ นผลมาจากความพยายามในการแยกการ
ปกครองอย่างอิสระของกลุ่มชาติพนั ธุต์ ่างๆ ขณะเดียวกันการศึกษาของพม่ายังสามารถพบเห็นการจัดการความ
ทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานทีไ่ ด้ส่งผ่านและกระจายตัวลงไปสู่นักเรียน และมีการไหลเวียนอยู่ในระบบการศึกษา
อยู่ตลอดเวลา
เมื่อมองมายังแบบเรียนของพม่า หนึ่งในเครื่องมือสร้างความทรงจาร่วมทางสังคม และมีการไหลเวียน
ของความทรงจาอยู่ตลอดเวลา ปรากฏว่าในวิชาประวัติศาสตร์ ระดับ 4 ได้มหี วั ข้อ “เส้นทางท่านนายพล(ออง
ซาน)” ประกอบกับภาพวาด การปราศรัยของอองซานหน้าเจดียช์ เวดากอง พร้อมๆกับเนื้อหาของคาปราศรัยของ
อองซานในบทดังกล่าว มีการอ้างอิงบทบาทอองซานถึงผูน้ าแห่งชาติ ตลอดถึงบิดาแห่งเอกราช(Salem-Gervais
and Metro 2012) ขณะเดียวกัน หม่อง ซานิ(1998) มองว่า เดิมทีรฐั บาลให้ความสาคัญกับการศึกษาศาสนา และ
ขนบธรรมเนียมประเพณี ต่อมาได้มกี ารเปลีย่ นเป็ นการเลือกตีความตัวบทของอองซานในแง่ของผูน้ ากองทัพ และ
นักชาตินิยม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็ นการเปลีย่ นแปลงเพื่อให้วาระทางการศึกษาสอดรับกับอุดมการณ์ทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของรัฐบาล จากข้อสังเกตของซานิส่งผลให้เมื่อมองไปยังแบบเรียนตลอด
ช่ ว งเวลาที่เ นวิน ด ารงต าแหน่ ง ผู้ น า จะพบเห็น ตัว บทต่ า งที่มีเ นื้ อ หาเกี่ย วข้อ งกับ อองซานอย่ า งมากมาย
ขณะเดียวกัน สื่อสิง่ พิมพ์ของรัฐบาล ได้กลายเป็ นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความทรงจาร่วมทางสังคมให้กระจาย
ตัว จากรัฐบาลสู่ป ระชาชน ตลอดช่ วงเวลาที่เ นวิน มีอานาจได้มีส่อื สิ่งพิมพ์ 3 สื่อ ได้ส่ง ผ่ า นความทรงจาร่วมที่
เกี่ย วข้อ งกับ อองซาน ได้แ ก่ วารสารฟอร์เ วิร์ด (Forward) วารสารทหารของประชาชน (People’s Military
Magazine) และหนังสือพิมพ์กรรมาชีพ (The Working People's Daily)
วารสารฟอร์เวิรด์ เป็ นวารสารทีเ่ ป็ นกระบอกเสียงของรัฐต่อจากวารสารพม่า มีการตีพมิ พ์ตงั ้ แต่ปี 1962-
1987 ตีพมิ พ์โดยกระทรวงสารสนเทศ (Ministry of Information) วารสารฉบับนี้ได้มกี ารนาความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้อง
กับอองซานมาสร้างความชอบธรรมให้แก่เนวินมาตลอดการตีพมิ พ์ พบเห็นได้จาก ในฉบับแรกของการตีพมิ พ์มี
การนาเสนอบทความพิธคี รบรอบ 15 ปี วันผูเ้ สียสละ บทความได้กล่าวถึงรายละเอียดพิธกี รรมทีจ่ ดั ขึน้ ในสถานที่
ฝั งศพของอองซานและผูเ้ สียสละอีก 8 คน พิธปี ระกอบด้วยการวางพวงมาลาของผูน้ าในส่วนราชการต่างๆ รวมถึง
อู ออง ตัน (U Aung tun) ผูเ้ ป็ นน้องชายของอองซานก็ได้เข้ามาร่วมวางพวงมาลา ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่าขิน่ จี
ภรรยาหม้ายของอองซานจะไม่ได้มาร่วมในพิธี แต่ เธอได้ส่งกระเช้าดอกไม้มายังพิธี เนื่องจากเธอทางานเป็ น
เอกอัครราชทูตประจากรุงนิวเดลี ในพิธมี กี ารส่งสัญญาณเสียงไซเรนเป็ นระยะเวลาสองนาที หลังจากนัน้ มีการลด
ธงลงครึง่ เสา เพื่อเป็ นการยกย่องและระลึกถึงอองซานและผู้เสียสละคนอื่นๆ นอกจากนัน้ ในวันดังกล่าว วารสาร
ฟอร์เวิรด์ ยังมีการนาเสนอนิทรรศการการราลึกถึงวันผูเ้ สียสละ ประกอบด้วยภาพของกองทัพทีเ่ ข้าร่วมสงครามใน
ยุคคองบอง สงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษ การเดินทางของกลุ่มสามสิบทะขิน่ การต่อสูเ้ พื่อเอกราช รวมทัง้ อาวุธ
ทีใ่ ช้ฆ่าอองซาน นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงพิพธิ ภัณฑ์อองซาน(บ้านของอองซานในขณะมีชวี ติ อยู่) บนซอยทาว
เวอร์ (Tower Lane) วารสารฟอร์เวิร์ด ยังได้แสดงภาพของพิธวี นั ผูเ้ สียสละทีก่ ระจายตัวออกไปในเมืองใหญ่และ
เขตเมือง ในปี 1963 วารสารฟอร์เวิร์ดฉบับที่ 22 มีการนาเสนอพิธวี นั ผู้เสียสละเช่นเคย มีภาพของเนวินยืนทา
ความเคารพหลุมศพของอองซาน วารสารดังกล่าวได้ทาหน้าทีผ่ ลิตซ้าการนาเสนอข่าวพิธวี นั ผูเ้ สียสละอยู่เรื่อยมา
จนกระทังวารสารได้
่ ปิดตัวลงในปี 1987 เช่นเดียวกันกับ หนังสือพิมพ์กรรมาชีพ ทีท่ ุกวันผูเ้ สียสละจะมีการเผยแพร่
รายละเอียดของพิธกี รรม รวมทัง้ มีการเขียนบทความสัน้ ๆ ทีเ่ ชิดชูอองซานตลอดมา นอกจากนี้ยงั มีวารสารทหาร

35
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ของประชาชน อีกหนึ่งวารสารทีม่ กี ารส่งผ่านความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน แม้ส่วนใหญ่จะเป็ นการเผยแพร่


จากัดวงในหมู่ของกองทัพ
วารสารทหารของประชาชน (People’s Military Magazine) ถือเป็ นหนึ่งในพื้นที่การส่งสารของรัฐบาล
พม่า วารสารตีพมิ พ์ครัง้ แรกเมื่อปี 1964 เป็ นพื้นที่ในการถ่ายทอดหลักการของรัฐบาล แต่วารสารดังกล่าวมีการ
เผยแพร่ในลักษณะทีจ่ ากัดวง แตกต่างจากวารสารฟอร์เวิรด์ และหนังสือพิมพ์กรรมาชีพ เนื่องจากจานวนส่วนใหญ่
ของวารสารเน้นเผยแพร่ในแวดวงกองทัพมากกว่าที่จะจัดจาหน่ ายทัวไปบนพื ่ น้ ที่สาธารณะ จากการศึกษาของ
โยชิฮโิ ร นากานิชิ (Yoshihiro Nakanishi 2013) พบว่า หน้าปกวารสารทหารของประชาชน ได้นาเสนอภาพความ
ใกล้ชิดระหว่างทหารกับชาวนา ไม่มีภาพความรุนแรงระหว่างกลุ่ มชาติพนั ธุ์กบั ทหาร ความสมบูรณ์ แบบของ
ครอบครัวแต่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผูห้ ญิงกับทหาร รวมทัง้ มีการปรากฏอองซานในรูปแบบและท่วงท่าต่างๆ ที่
เป็ นสัญลักษณ์ของกองทัพ และมีคาพูดของอองซานปรากฏในวารสารฉบับต่างๆ ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้อง
กับอองซานบนวารสารทหารของประชาชนแตกต่างจากตลอดช่วงทศวรรษ 1950 อองซานไม่เคยปรากฏบนปก
วารสารเหตุการณ์ปัจจุบนั (Current Event)
นอกจากตัวบททีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานทีไ่ ด้ปรากฏบนวารสารแล้ว ยังมีตวั บทอื่นๆปรากฏอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็ นธนบัตรทีย่ งั ปรากฏรูปอองซานอย่างต่อเนื่องจากยุคอูนุ ในเดือนเมษายนปี 1942 ธนบัตรและเหรียญ
รูปแบบดังกล่าวประกาศใช้ในปี 1965 จนกระทังปี ่ 1972 มีรปู แบบของภาพอองซานทีห่ ลากหลายมากยิง่ ขึน้ ไม่ว่า
จะเป็ น อองซานในเครื่องแบบกองทัพญี่ป่ ุน อองซานในเครื่องแบบกองทัพที่ปราศจากหมวก ต่อมาปี 1987 ได้มี
ภาพบุคคลอื่นทีเ่ ข้ามาปรากฏภาพถ่ายบนธนบัตรร่วมกับอองซาน นัน่ คือ ทะขิน่ โป หลา จี (Thakin Po Hla Gyi)
และ ซยาซาน (Saya san) บุคคลทัง้ สองทีเ่ ข้ามาปรากฏร่วมกับอองซาน ล้วนแล้วเน้นย้าถึงการต่อต้านภัยอาณา
นิคมและอุดมการณ์สงั คมนิยม เนื่องจากการก้าวขึน้ สู่อานาจของเนวินได้ใช้ขอ้ อ้างความแตกแยกของประชาชน
ภายในประเทศอันก่อเกิดจากมรดกที่เจ้าอาณานิคมได้ทง้ิ ไว้ สอดรับกับบริบททางการเมืองของพม่าในช่วงเวลา
ดังกล่าวทีภ่ ายในประเทศเต็มไปด้วยการประท้วง อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ย ัง มีก ารผลิต แสตมป์ เนื่ อ งในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของวัน ได้ ร ับ เอกราชจากอัง กฤษ
ส่วนประกอบของแสตมป์ ประกอบด้วย ภาพของอองซานวางอยู่ตาแหน่ งด้านบนซ้ายของสแตมป์ ใต้ภาพอองซาน
ในขณะทีแ่ ต่งเครื่องแบบของทหารแห่งชาติในขณะทีเ่ ป็ นสมาชิกกองทัพแห่งชาติพม่า มีภาพของชาวนากาลังปลูก
ข้าว ทางด้านขวาเป็ นรูปของรถแทรคเตอร์ ออกจาหน่ ายวันที่ 4 มกราคม 1968 สอดรับกับทัง้ อุดมการณ์เอกราช
และสังคมนิยม ต่อมามีสแตมป์ ออกมาอีกครัง้ ในโอกาสครบรอบ 25 ปี วันสหภาพ ภายในสแตมป์ ประกอบด้วยภาพ
ของอองซานในขณะทีแ่ ต่งเครื่องแบบของทหารแห่งชาติในขณะที่เป็ นสมาชิกกองทัพแห่งชาติพม่า ควบคู่ไปกับ
ภาพของอนุสาวรียป์ างโหลง รวมทัง้ ภาพของอองซานในขณะทีแ่ ต่งกายเครื่องแบบของคะฉิ่นยืนเรียงแถวกับกลุ่ม
ชาติพนั ธุ์ต่างๆจานวน10คนหน้ าอนุ สาวรีย์ปางโหลง ออกจาหน่ ายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1972 ซึ่งเน้ นย้าถึง
ความสาคัญของเอกภาพ
การวางระเบิดลอบสังหารผูน้ าเกาหลีใต้ ณ อนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละ จนส่งผลให้อนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละ
ได้รบั ความเสียหายเป็ นอย่างมาก ถือเป็ นหนึ่งในเหตุการณ์ท่ตี อกย้าการให้ความสาคัญต่ออองซานในการสร้าง
ความชอบธรรมทางการเมือง การวางระเบิดลอบสังหารผู้นาของเกาหลีใต้เกิดขึน้ เมื่อวันที่ 9 ตุ ลาคม ปี 1983
ระเบิดถูกแขวนไว้ใต้หลังคาโดยชาวเกาหลีเหนือ มีเป้ าประสงค์เพื่อสังหารประธานาธิบดีเกาหลีใต้ จากการระเบิด
ครัง้ ดังกล่าวได้ทาให้อนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละได้พงั ลง แต่ต่อมาอนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละได้ถูกบูรณะใหม่โดยรัฐบาล

36
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ของเนวิน ผู้วจิ ยั ได้เข้าไปสารวจอนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละทีเ่ ป็ นมรดกจากยุคเนวิน พบว่า พื้นของอนุ สรณ์สถานปู


ด้วยแผ่นหินสีขาวขนาดใหญ่เรียงตัวกันสูงกว่าระดับพืน้ รอบๆ ตัวอนุ สรณ์สถานทาสีแดง ตัง้ ตระหง่านใกล้ช เวดา
กอง และยิง่ ใหญ่กว่าอนุสรณ์สถานเดิมทีถ่ ูกระเบิดทาลายลง
ท่ามกลางการประท้วงของประชาชนจานวนมากในปี 1987 หนังสือพิมพ์กรรมาชีพ ฉบับประจาวันที่ 21
เดือ นกรกฎาคม ได้บ รรยายกิจ กรรมวัน Arzani Day Ceremonies จัด ขึ้น ในวัน ที่ 19 กรกฎาคม ถือ เป็ น การ
ครบรอบ 40 ปี ของการสูญเสียผูเ้ สียสละ ในข้อความได้เน้นถึงอองซานโดยตรงผ่านการใช้คาว่า วีรบุรุษแห่งชาติ
อองซาน โดยปราศจากชื่อ ของผู้เ สีย สละคนอื่น ๆ มีก ารวางพวงหรีด ณ อนุ ส รณ์ ส ถานผู้เ สีย สละ น าโดย
นายกรัฐมนตรี อู หม่อง หม่อง กลา (U Maung Maung Kla) ในงานยังประกอบด้วยครอบครัวของผูเ้ สียสละ รัฐบาล
สมาชิก BSPP ผูน้ าทางศาสนา ทูต และผูเ้ ข้าร่วมงานมากกว่า 137,000 คน ระหว่าง วันที่ 19-20 ไม่แตกต่างกัน
ในปี 1988 หนังสือพิมพ์กรรมาชีพได้รายงานถึงวันสาคัญดังกล่าว ภายในกิจกรรมมีอองซาน ซูจี ผูเ้ ป็ นลูกสาวของ
อองซานได้เข้ามาเป็ นตัวแทนของครอบครัวผูเ้ สียสละ งานวันผูเ้ สียสละในปี ดงั กล่าวเกิดก่อนทีจ่ ะเกิดปรากฏการณ์
8888 ปรากฏการณ์ทก่ี ่อให้เกิดการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลพม่าครัง้ สาคัญในประวัตศิ าสตร์
หลังจากพม่าใช้นโยบายโดดเดี่ยวจากต่างประเทศ พร้อมๆ กับการประกาศใช้แนวคิดสังคมนิยมเป็ น
แม่ แ บบในการปกครองประเทศตลอดมานับตัง้ แต่ เ นวิน ขึ้นสู่อ านาจ แต่ ห ลัง จากพม่ าประสบปั ญ หาทางด้าน
เศรษฐกิจ จนส่งผลให้รฐั บาลต้องหันกลับมายอมรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่นตลอดปี 1986-
1987 หนึ่งในสามของเงินได้มาจากเงินกู้ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ(พันธุส์ รู ย์ ลดาวัลย์ 2542, 37) ตลอด
ช่วงวิกฤตของภาวะทางเศรษฐกิจส่งผลให้เดือนกันยายน 1987 ได้มกี ารยกเลิกธนบัตรมูลค่า 25 35 และ 75 จ๊าต
จนส่งผลกระทบต่อประชาชน และก่อให้เกิดการลุกฮือขึน้ มาต่อต้านรัฐบาลพม่าในเวลาต่อมา การลุกฮือต่อต้าน
รัฐบาลเนวินได้สะสมความตึงเครียดและทวีความรุนแรงทางการเมืองเรื่อยมาจนกระทังวั ่ นที่ 23 กรกฎาคมเนวินได้
ประกาศลาออกจากการเป็ นผู้นาประเทศ และเคลื่อนย้ายภาพผู้กาหนดทิศทางการเมืองพม่าของตนเองไปไว้
เบื้องหลัง ผ่านการเชิดเส่งลวิน (Sein Lwin) ทายาททางการเมืองของเนวิน อย่างไรก็ตามชาวพม่าต่างรับรู้ถึง
สายใยอานาจระหว่างเนวินกับเส่งลวิน ส่งผลให้ฟากฝั ง่ ประชาชนไม่ได้ตอบรับการลงจากอานาจของเนวิน ในทาง
กลับกันกลับมีการต่อต้านอานาจรัฐบาลที่ทวีความรุนแรงขึน้ เรื่อยๆ จนกระทังเกิ ่ ดเหตุการณ์การนองเลือดครัง้
ยิง่ ใหญ่ในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 หรือรูจ้ กั กันในเวลาต่อมาว่า เหตุการณ์ “8888” เหตุการณ์นองเลือดครัง้ ดังกล่าว
ได้เกิดการเสียชีวติ ของผูค้ นมากกว่าพันคน จนเส่งลวินได้ประกาศลาออกในเวลาถัดมา
เมื่อ ย้อ นกลับ มาพิจ ารณาการจัด การความทรงจาที่เ กี่ย วข้อ งกับ อองซานบนพื้น ที่สาธารณะ ตลอด
ช่วงเวลาทีเ่ นวินขึน้ สู่อานาจจวบจนช่วงเวลาเหตุการณ์ “8888” พบว่าตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน
ไม่ว่าจะเป็ นวันผูเ้ สียสละ อนุสรณ์สถานผูเ้ สียสละ อนุสาวรีย์ ธนบัตร แสตมป์ เนื้อหาในแบบเรียน ภาพอองซานใน
ห้องเรียน ความทรงจาร่วมทางสังคมทีถ่ ูกรัฐบาลจัดการผ่านตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานเหล่านี้ได้
ประกาศความยิง่ ใหญ่เหนือตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับศาสนาพุทธ และกษัตริยใ์ นยุคจารีต เนื่องจากการ
เน้นขยับให้ความสาคัญกับความทรงจาร่วมทีเ่ กีย่ วข้อกับอองซานได้สอดรับกับอุดมการณ์ทางการเมือง และกลุ่ม
ผูป้ กครองของพม่า อีกทัง้ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวเนวินได้ใช้อุดมการณ์สงั คมนิยมในการปกครอง และที่มาของ
ผูป้ กครองส่วนใหญ่มาจากฝ่ ายทหารเช่นเดียวกับสถานะของอองซานในช่วงเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ นอกจาก
ความยิ่ง ใหญ่ ข องอองซานที่มีศ าสนาพุ ทธและกษัต ริย์ใ นยุค จารีตแล้ว อองซานยัง ถู ก เน้ น ขยับ ให้สาคัญใหม่

37
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นอกเหนื อ ไปจากผู้ น าในการเรีย กร้ อ งเอกราชจากอัง กฤษที่ถู ก ให้ ค วามส าคัญ ตลอดช่ ว งเวลาที่อู นุ เ ป็ น
นายกรัฐมนตรี
ความทรงจาร่วมทางสังคมที่เ กี่ย วข้อ งกับอองซานจากเดิมที่ถู กให้ความสาคัญในฐานะ ผู้น าในการ
เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตลอดช่วงเวลาทีเ่ นวินเป็ นผูน้ าในการปกครอง อองซานได้ถูกให้ความสาคัญใน
ฐานะของนักสังคมนิยม ผูก้ ่อตัง้ กองทัพแบบสมัยใหม่ และใช้สถานะทหารของอองซานตลอดช่วงเวลาทีเ่ รียกร้อง
เอกราชจากอังกฤษเข้ามาสร้างความทรงจาร่วมต่อชาวพม่าเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่เ นวิน
ปรากฏผ่านการเปลีย่ นภาพอองซานจากภาพอองซานในช่วงเวลาทีไ่ ปเจราจาเรียกร้องเอกราชทีอ่ งั กฤษ มาเป็ น
ภาพของอองซานใส่ชุดของทหารยืน และขีม่ า้ อย่างสง่า พบเห็นได้จากอนุสาวรียท์ ม่ี อี ยู่มากมายในประเทศ อนุสรณ์
สถานผูเ้ สียสละ แบบเรียน แสตมป์ วารสารฉบับต่างๆ ธนบัตร และพิธกี รรมวันผูเ้ สียสละ นอกจากนี้คาพูดของออง
ซานยังถูกเลือกนามาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่เนวินอย่างมากมาย
เหตุการณ์ “8888” ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลาทีอ่ องซานซูจี ผูเ้ ป็ นลูกสาวของอองซาน เดินทางกลับจากอังกฤษ
เพื่อดูแลแม่ทป่ี ่ วย ได้เกิดแรงผลักดันและส่งผลให้อองซาน ซูจี ได้เข้ามาร่วมต่อต้านรัฐบาลพม่า และได้เป็ นแกนนา
ของฝ่ ายต่อต้านในเวลาต่อมา ปรากฏการณ์ดงั กล่าวได้ส่งผลให้เกิดการยือ้ แย่ง ช่วงชิงการจัดการความทรงจาที่
เกีย่ วข้องกับอองซานระหว่างรัฐบาลกับผูต้ ่อต้านทีน่ าโดยอองซานซูจใี นเวลาต่อมา

กำรยื้อแย่ง ช่ วงชิ งกำรจัดกำรควำมทรงจำที่เกี่ยวข้องกับอองซำน ระหว่ำงรัฐบำลกับผู ้ต่อต้ำน


หลังจากอองซาน ซูจี ได้กลับจากอังกฤษในปี 1988 เพื่อดูแลรักษาอาการป่ วยของขิน่ จี ผูเ้ ป็ นแม่ ตลอด
ห้วงเวลาดังกล่าว พม่าเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองบนพื้นที่สาธารณะจนกลายเป็ นความรุนแรงเชิง
กายภาพ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็ นจานวนมาก ในเหตุ การณ์ 8888 ก่อนอองซาน ซูจีจะเข้ามาเคลื่อนไหว
ทางการเมือง ภาพผูต้ ่อต้านรัฐบาลพม่าถือรูปอองซานเหนือศีรษะเดินประท้วงรัฐบาลพม่า ถือเป็ นหนึ่งในการท้า
ทายรัฐบาลพม่าทีถ่ อื ครองการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะตลอดมา
หลังเหตุการณ์ “8888” เส่งลวินผูเ้ ป็ นทายาททางการเมืองของเนวินไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองได้ จนนาไปสูก่ ารปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง ประชาชนเสียชีวติ มากกว่าพันคน สีว่ นั ถัดมาเส่งลวิน
ได้ประกาศลาออก และในวันที่ 19 สิงหาคม 1988 มีการแต่งตัง้ หม่อง หม่อง (Maung Maung) พลเรือนผูใ้ กล้ชดิ เน
วินขึน้ มาเป็ นผูน้ าประเทศแทน หลังจากการขึน้ สู่ตาแหน่ งของหม่อง หม่อง ได้มกี ารผ่อนปรนมาตรการของรัฐเพื่อ
ลดแรงเสียดทานทางการเมือง อาทิเช่น การยกเลิกกฎอัยการศึก การให้สญ ั ญาว่าจะมีประชาธิปไตยในไม่ช้า
อย่างไรก็ดฝี ่ ายต่อต้านรัฐบาลพม่ายังคงเรียกร้องให้รฐั บาลลาออกเช่นเดิม แรงเสียดทานทางการเมืองยิง่ เพิม่ ขึน้
เมื่อ อองซาน ซูจี ผูเ้ ป็ นลูกสาวของอองซานได้เข้ามาเป็ นแกนนาในการต่อต้านรัฐบาลพม่า การเข้ามาเป็ นแกนนา
ฝ่ ายต่อต้านรัฐบาลพม่าของอองซาน ซูจี แม้อองซานจะเสียชีวติ เมื่ออองซาน ซูจอี ายุเพียงสองขวบ แต่อองซาน ซูจี
กลับได้รบั การตอบรับจากชาวพม่าอย่างรวดเร็ว และยิง่ ใหญ่ การยือ้ แย่ง ช่วงชิงการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้อง
กับอองซานเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจึงได้ทวีความเข้มข้นเพิม่ มากขึน้
ย่ า งก้า วของอองซานซู จีท่ีส ร้า งการยอมรับ จากประชาชนชาวพม่ า ได้ถู ก ตั ้ง ค าถามจาก เซท มาย
เดนส์(Seth Mydans) ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ (The New York Times) “อองซาน ซูจี มาย่างกุง้ เป็ นการ
มาจากแคมบริดจ์อย่ างชัวคราว
่ เธอมีสามีเ ป็ นผู้เ ชี่ยวชาญที่อ ังกฤษ อองซาน ซูจี ไม่ ไ ด้มีส่วนที่เกี่ยวพันกับ
การเมืองมาก่อน แต่ช่อื ของเธอได้ถูก กล่าวจากนักการทูตผูห้ นึ่ง ถึงความมหัศจรรย์ของอองซาน ซูจที ไ่ี ด้รบั จาก

38
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สาธารณชน”(Mydans 1988) ความมหัศจรรย์ของอองซาน ซูจี ผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองพม่า ได้ถูก


ยืนยันจากการได้รบั ความต้อนรับจากประชาชนชาวพม่าอย่างยิง่ ใหญ่ ผ่านการกล่าวปราศรัยต่อต้านรัฐบาลพม่ าใน
บริเวณเจดียช์ เวดากอง
ในวันที่ 26 สิงหาคม 1988 อองซาน ซูจี ได้กล่าวปราศรัย ณ เจดีย์ชเวดากอง ท่ามกลางฝูงชนจานวน
กว่าครึง่ ล้านคนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย บนเวทีมรี ูปขนาดใหญ่ของอองซานผูเ้ ป็ นพ่อของอองซานซูจี เป็ นพืน้
หลังอยู่ทางขวามือ บางการกล่าวปราศรัย ได้มกี ารดึงเอาพ่อของเธอ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตวั เธอด้วยการ
บ่งบอกว่า เธอคือ “ลูกสาวของพ่อ” เธอใช้อองซานมาเป็ นหนึ่งในการต่อต้านรัฐบาลพม่า ความว่า
ความทุกข์ยากลาบาก เป็ นสิง่ ที่ฉันรู้ดี ครอบครัวของฉันรูด้ ถี งึ ความยากทีจ่ ะแก้ไข และเล่ห์
เหลีย่ มของการเมืองพม่า และสิง่ ทีพ่ ่อของฉันมีความทุกข์ใจ พ่อของฉันพยายามใช้จติ ใจและ
ร่างกายจานวนมากโดยปราศจากผลประโยชน์ของตนเอง มันเป็ นมูลเหตุให้พ่อของฉันพูด ณ
ช่วงเวลาหนึ่งว่า เมื่อพม่าได้รบั เอกราช พ่อจะไม่เข้ามายุ่งเกีย่ วกับอานาจทางการเมือง มัน
เป็ นสิง่ ทีจ่ ะดาเนินตาม (Aung San Suu Kyi and Aris 1995)
ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นถือได้ว่า อองซาน ซูจี ได้นาพ่อของเธอเข้ามาอธิบายปรากฏการณ์ทางการ
เมืองที่เป็ นอยู่อกี ครัง้ ในรูปแบบทีแ่ ตกต่างจากรัฐบาลพม่าทีเ่ ดิมทีรฐั บาลใช้อองซานเข้ามาสร้างความชอบธรรม
ทางการเมืองให้แก่บรรดาผู้ปกครอง และอุดมการณ์ ทางการเมือง แต่ อองซาน ซูจี ได้นาพ่อของเธอมาสร้า ง
ความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายต่อต้าน จนกลายเป็ นเป็ นอองซานในฐานะ นักประชาธิปไตย ดังการปราศรั ่ ยของออง
ซาน ซูจที ไ่ี ด้อ่านข้อความตอนหนึ่งทีพ่ ่อของเขาเขียนเกีย่ วกับประชาธิปไตย ความว่า
เราต้องปลูกฝั งประชาธิปไตยให้เป็ นหลักนาจิตใจทางความคิดของประชาชน เราต้องสร้าง
พม่าที่เสรีและสอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ถ้าเราไม่ทาเช่นนัน้ ประชาชนของเราต้อง
ลาบาก หากระบอบประชาธิปไตยของเราล่มสลายลงแล้ว โลกอาจนิ่งดูดายอยู่ได้ และวันหนึ่ง
พม่าก็จะถูกเหยียดหยาม และชิงชัง เช่นเดียวกับ ญี่ป่ ุนและเยอรมัน ประชาธิปไตยเป็ นเพียง
อุดมการณ์เดียวทีส่ อดคล้องกับเสรีภาพ และยังเป็ นอุดมการณ์ทส่ี นับสนุนและสร้างสันติภาพ
ดังนัน้ เราควรยึดถืออุดมการณ์น้เี พียงอุดมการณ์เดียวเป็ นเป้ าหมายของเรา (Aung San Suu
Kyi and Aris 1995)
นอกจากอองซาน ซูจจี ะเข้าไปอธิบายเกีย่ วกับอุดมการณ์ ทางการเมืองของพ่อเธอใหม่แล้ว อองซาน ซูจี
ยังได้นาพ่อของเธอไปอ้างอิง เพื่อวิพากษ์วจิ ารณ์การกระทาของทหารในยุคปั จจุบนั ความว่า
ในปั จจุบนั ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับกองทัพ กองทัพในปั จจุบนั ก่อตัง้ จากพ่อ
ของฉัน นี่ไม่ใช่การกล่าวว่าพ่อของฉันคือผู้สร้างกองทัพ แต่เป็ นข้อเท็จจริง มีเอกสารที่พ่อ
ของฉันร่างขึน้ มาแจกแจงแนวทางในการก่อตัง้ กองทัพและการจัดตัง้ องค์กรอย่างละเอียด
วัตถุประสงค์ของการก่อตัง้ กองทัพ กองทัพจัดตัง้ ขึน้ มาเพื่อชาติและประชาชน และควรเป็ น
กองกาลังทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจและได้รบั ความเคารพจากประชาชน หากประชาชนเกลียด
กองทัพ แล้ว ก็ไ ม่ มีป ระโยชน์ อ ะไรที่จ ะก่ อ ตัง้ กองทัพ ขึ้น มา...ความรัก ความชื่น ชมของ
ประชาชนที่มตี ่อพ่อฉัน ฉันรู้สกึ ตื้นตันในความรักและความชื่นชมดังกล่าว ดังนัน้ ฉันจึงไม่

39
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ต้องการที่จะเห็นความแตกแยก และการต่ อสู้ระหว่างกองทัพที่พ่อของฉันสร้างขึน้ มากับ


ประชาชนทีร่ กั และชื่นชมในตัวของฉัน (Aung San Suu Kyi and Aris 1995)
การวิพากษ์วจิ ารณ์กองทัพพม่าของอองซาน ซูจี ได้ใช้เหตุผลการก่อตัง้ กองทัพของพ่อเธอ อองซาน ซูจี
ไม่ได้ปฏิเสธการก่อตัง้ กองทัพทีก่ ่อให้เกิดวิกฤตการณ์ในปั จจุบนั โดยพ่อของเธอ แต่อองซาน ซูจไี ด้แสดงให้ เห็นว่า
กองทัพในปั จจุบนั ไม่ได้เดินตามวัตถุประสงค์ของอองซาน
การปราศรัยครัง้ ดังกล่าวทาให้เห็นว่า อองซาน ซูจี ได้พยายามช่วงชิงการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้อง
กับอองซาน จากเดิมทีทร่ี ฐั บาลได้ให้ความหมายของอองซานในฐานะ ทหาร ผูส้ ร้างเอกภาพ ผูน้ าในการประกาศ
เอกราช ผูก้ ่อตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์ และนักสังคมนิยม เปลีย่ นแปลงเป็ น อองซาน ในฐานะนักประชาธิปไตย ผูก้ ่อตัง้
กองทัพเพื่อประชาชน ไม่ใช่กองทัพที่สร้างความเกลียดชังให้แก่ป ระชาชนเฉกเช่น ปั จจุบนั การปราศรัย ครัง้
ดังกล่าวถือเป็ นการปราศรัยอย่างเป็ นทางการครัง้ แรกของอองซาน ซูจี และเธอได้ยกสถานะเป็ นแกนนาผูต้ ่อต้าน
รัฐบาลอย่างเต็มตัว พร้อมๆ กับการแย่งชิงการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับพ่อของเธอจากรัฐบาลพม่าให้เข้า
มาสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายต่อต้านอย่างมีพลัง พร้อมๆ กับการปฏิเสธอานาจของหม่อง หม่อง ผูเ้ ป็ นผูน้ า
ทางการปกครองทีม่ ที ม่ี าจากพลเรือน ส่งผลให้ซอ หม่องได้เข้ามาทาการรัฐประหารในวันที่ 18 กันยายน 1988 ถือ
เป็ นระยะเวลาสามสัปดาห์หลังจาก อองซาน ซูจขี น้ึ ปราศรัย ณ บริเวณเจดียช์ เวดากอง
รัฐประหารของซอหม่อง เกิดขึน้ พร้อมกับการตัง้ สภาฟื้ นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order
Restoration Council (SLORC)) มีการยุบองค์กรทางการเมืองเดิมทัง้ หมด ประกาศยุบพรรคโครงการสังคมนิยม
พม่า หลังจากนัน้ ได้มกี ฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ออกมาพร้อมๆ กับการสัญญาว่าจะเปิ ดให้มกี ารเลือกตัง้ ใน
ระยะเวลาอันใกล้ การออกกฎหมายพรรคการเมืองส่งผลให้ในวันที่ 24 กันยายน 1988 อองซาน ซูจี อูทนิ อู และ
อองยี (อองยีเคยเป็ นนายทหารระดับสูงก่อนทีจ่ ะขัดแย้งกับเนวินในเวลาต่อมาจนถูกกักขังภายในคุก หลังจากนัน้
ได้เป็ นแกนนาในการต่อต้านรัฐบาลพม่า ) ทัง้ สามได้ร่วมก่อตัง้ พรรคสันติบาตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National
League for Democracy (NLD)) และพรรคดังกล่าวได้กลายเป็ นพรรคทีต่ ่อต้านและมีอทิ ธิพลอย่างมากต่อรัฐบาล
พม่าในเวลาต่อมา พลังแห่งการต่อต้านรัฐบาลพม่าได้เริม่ อีกครัง้ โดยมีงานศพของขิน่ จี ผูเ้ ป็ นภรรยาของอองซาน
และเป็ นแม่ของอองซาน ซูจี เป็ นศูนย์กลางในการต่อต้าน
หลังจากนัน้ ขิน่ จี ผูเ้ ป็ นแม่ของอองซานซูจี และภรรยาของอองซาน ได้เสียชีวติ ลงในวันที่ 27 ธันวาคม
ปี 1988 หนังสือพิมพ์กรรมาชีพ ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม 1988 ได้นาเสนอข่าวการเสียชีวติ สังเขปชีวประวัตอิ ย่าง
ย่อ การเป็ นภรรยาของอองซานผูน้ าของชาติ บิดาแห่งกองทัพ และได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสาคัญของขิน่ จี ตัง้ แต่
การเป็ นสมาชิกรัฐสภา เอกอัครราชทูตที่อนิ เดียและเนปาล รวมทัง้ การเป็ นผู้นาในหลายๆ กลุ่มกลุ่มทางสังคม
หลังจากนัน้ ได้มกี ารเสนอภาพของซอหม่อง บุคคลทีเ่ ป็ นผูน้ าพม่าในขณะนัน้ ได้ไปทาความเคารพศพขิน่ จีท่บี ้าน
และมีการให้ความช่วยเหลือแก่อองซานอู และอองซาน ซูจี ก่ อนทีจ่ ะเดินทางไปสารวจสถานทีฝ่ ั งศพบริเวณถนนช
เวดากอง ในพิธฝี ั งศพจัดขึน้ ในวันที่ 2 มกราคม 1989 หลุมฝั งศพของขิน่ จี อยู่ระหว่างหลุมศพของทะขิน่ โกดอว์
หม่าย (Thakin kodaw hmaing) และราชินีศุภยาลัต ราชินีของกษัตริย์ธบี อ พิธฝี ั งศพนาโดยอองซานอู และออง
ซาน ซูจี รวมทัง้ บรรดารัฐมนตรี ผูพ้ พิ ากษาสูงสุด ผูน้ าระดับสูงภายในรัฐบาล เอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ
เจ้าหน้าทีจ่ ากสหประชาชาติ พระ แม่ชี นักการเมือง ตัวแทนกลุ่มชาติพนั ธุต์ ่างๆ และนักศึกษา จากการรายงาน
ของหนังสือพิมพ์กรรมาชีพ ไม่พบว่าซอหม่อง ผูน้ าประเทศในขณะนัน้ เข้าร่วมพิธฝี ั งศพของขิน่ จี แต่กลับเข้าเคารพ
ศพในบ้านของขิน่ จี ทาให้มองได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ าประเทศกับครอบครัวของอองซานยังมีการให้เกียรติ

40
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แก่ตวั อองซาน แต่การเข้าร่วมงานศพบนพืน้ ทีส่ าธารณะจะสามารถทาให้ประชาชนเห็นถึงความสาคัญของอองซาน


ซูจี เนื่องจากขิน่ จีไม่ได้เป็ นเพียงภรรยาของอองซาน แต่ขนิ่ จียงั เป็ นแม่ของอองซาน ซูจอี กี ด้วย ประกอบกับหลัง
การเข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของกลุ่มเคลื่อนไหวต่ อต้านรัฐบาลพม่า อองซาน ซูจีได้กลายเป็ นสัญลักษณ์ แห่งการ
ต่อต้านรัฐบาลพม่า อีกทัง้ ภายในงานศพได้เต็มไปด้วยผูต้ ่อต้านรัฐบาลพม่าเป็ นจานวนมาก หลัง จากซอหม่องขึน้ สู่
อานาจ ได้มกี ารตัง้ คาถามถึงสายใยของอานาจจากเนวิน ซอหม่องได้ตอบคาถามพร้อมๆ การอ้างอิงถึงอองซาน
ในฐานะผูก้ ่อตัง้ กองทัพพม่า
ช่วงเดือนมกราคม 1989 ซอหม่อง ได้ให้สมั ภาษณ์กบั เอเชีย วีค (Asiaweek) มีนักข่าวนาโดยเดวิด คิง
(David King) เป็ นผูส้ มั ภาษณ์ หนึ่งในคาถามทีน่ ่ าสนใจคือ เส่งลวิน และหม่อง หม่อง ผูน้ าหลังเนวินและก่อนการ
ขึน้ มาของซอหม่องเป็ นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน (แต่งตัง้ โดยเนวิน) ผูส้ มั ภาษณ์ได้ถามซอหม่องว่า คุณได้รบั การ
แต่งตัง้ จากเนวิน เป็ นผูร้ บั ใช้เนวินใช่หรือไม่ ซอหม่องได้ตอบคาถาม ความว่า
“ฉันค่อนข้างจะตรงไปตรงมากับคุณ แต่เรามีขนบในกองทัพ บิดาของกองทัพ คืออองซาน และบุคคลที่
พัฒนากองทัพคือเนวิน... มันยากทีจ่ ะอธิบายข่าวลือทีว่ ่าเนวินเป็ นผูอ้ ยู่เบือ้ งหลังของฉัน เมื่อคนเห็นฉันไปพบเนวิน
ทุกคนจะคิดว่าฉันไปรับคาสังหรื ่ อขอคาแนะนา แต่เนวินเป็ นเหมือนพ่อ แม่ของฉัน” เมื่อมีความชัดเจนถึงสายใย
อานาจแล้ว ต่อมาอองซาน ซูจไี ด้กล่าวหาเนวิน พร้อมๆ กับการพยายามจัดงานวันผูเ้ สียสละ คู่ขนานกับงานวันผู้
เสียสละทีร่ ฐั บาลได้จดั ขึน้
อองซาน ซูจี ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันที่ 26 มิถุนายน 1989 พร้อมๆ กับการกล่าวหาว่าเนวินเป็ น
เบือ้ งหลังของการปกครอง นอกจากนัน้ เธอยังได้ประกาศจะจัดงานราลึกเหตุการณ์สาคัญในประวัตศิ าสตร์ ได้แก่
วันที่ 7 กรกฎาคม เป็ นวันทีม่ กี ารระเบิดตึกของสหภาพนักศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม วันผูเ้ สียสละ ในปี 1947 พ่อ
ของเธอได้ถูกฆ่า วันที่ 8 สิงหาคม เป็ นวันทีก่ องทัพได้ระดมยิงเข้าใส่ผปู้ ระท้วงทีไ่ ม่มอี าวุธ และวันที่ 18 กันยายน
ในปี ท่เี พิง่ จะผ่านพ้นมา ทหารได้เข้ายึดอานาจ(Aung San Suu Kyi and Aris 1995) การจัดงานราลึกเหตุการณ์
สาคัญ ในประวัติศ าสตร์ข องพรรคNLD ดัง ที่ก ล่ า วมาข้า งต้น จึง ถือ เป็ น การช่ ว งชิง การจัด การความทรงจ าใน
เหตุการณ์ต่างๆจากเงือ้ มมือของรัฐบาล แต่แล้วช่วงเดือนกรกฎาคม อองซาน ซูจไี ด้ถูกกักกันบริเวณให้อยู่เพียงใน
บ้านริมทะเลสาบอินเล เมืองย่างกุง้ เพื่อไม่ให้เธอออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง และจัดกิจกรรมทีเ่ ธอได้แถลงไว้
ข้างต้น แม้การกักกันบริเวณของอองซาน ซูจจี ะแสดงออกถึงการคุกคามสิทธิ เสรีภาพของอองซาน ซูจผี เู้ ป็ นลูก
สาวของอองซาน แต่รฐั บาลพม่ายังมีการผลิตซ้าความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน ไม่ว่าจะเป็ นการจัดงานวันผู้
เสียสละ การพิมพ์หนังสือชีวประวัตอิ องซาน และการจัดพิมพ์ธนบัตรทีม่ รี ปู อองซาน ทีส่ วมชุดเครื่องแบบทหาร
เมื่อถึงวันผูเ้ สียสละทีจ่ ดั โดยรัฐบาลพม่า ทัง้ 8 ครอบครัวผูเ้ สียสละได้รบั เชิญให้เข้าร่วมงาน แต่ครอบครัว
ของอองซานไม่ได้ตอบกลับการเข้าร่วมงาน และไม่เข้าร่วมงาน ในพิธนี าโดย Phone Myint รัฐมนตรีกระทรวง
วัฒนธรรม กระทรวงสารสนเทศ กระทรวงกิจการภายในและศาสนา พร้อมๆกับการพาดหัวข่าวว่าบนหนังสือพิมพ์
กรรมาชีพ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม 1989 “ผู้เสียสละถูกฆ่าจากฝี มอื ของขีข้ า้ จักรวรรดินิยม” รัฐบาลได้ประกาศ
เคอร์ฟิวตัง้ แต่เวลา 6.00 - 18.00 น. การพาดหัวข่าวเป็ นการโจมตีไปยังตัวอองซาน ซูจี เนื่องจากการทีอ่ องซาน ซู
จีแต่งงานและมีบุตรกับชาวต่างชาติ ทาให้ รฐั ประโคมข่าวโจมตีตลอดเวลาว่าอองซาน ซูจเี ป็ นขีข้ า้ ของจักรวรรดิ
นิยม

41
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

การจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานโดยรัฐบาลพม่า ดูเหมือนจะมีลกั ษณะทีแ่ ยกตัวอองซาน ซู


จี ออกจากตัวอองซานพบเห็นได้จากผลิตซ้า และมีการกระจายตัวของตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน
มากขึน้ โดยวันที่ 22 สิงหาคม 1989 ได้มกี ารสร้างอนุสาวรียอ์ องซาน ในลักษณะสวมชุดทหารขีม่ า้ อยู่ใจกลางสาม
แยกที่สาคัญในเมืองเกาะสอง การก่อสร้างแล้วเสร็จและมีพธิ เี ปิ ดในวันที่ 22 พฤศจิกายน 1989 อีกทัง้ ในวันที่ 9
มกราคม 1990 ซอหม่องได้กล่าวปราศรัย หนึ่งในคาปราศรัยที่ตพี มิ พ์ลงในหนังสือพิมพ์กรรมาชีพ ฉบับวันที่ 10
มกราคม 1990 และมีความน่าสนใจคือ มีการจัดทาหนังสือ และวิจยั เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สงครามของแองโกพม่า
เสร็จเรียบร้อยแล้ว หนังสือประวัตศิ าสตร์การต่อสูเ้ พื่อเอกราชกาลังได้รบั การรวบรวม รวมถึงหนังสือชีวประวัตขิ อง
อองซานก็กาลังมีการรวบรวมอยู่เช่นกัน และในวันที่ 15 มกราคม 1990 ธนาคารกลางแห่งพม่าได้ออกข่าวแจ้งให้
ทราบถึงการพิมพ์ธนบัตรมูลค่า 1 จ๊าต ขึน้ มาใหม่ และจะมีการประกาศใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 1990 บนธนบัตรมีรูป
ของอองซาน ในเครื่องแบบของกองทัพพม่า เพื่อใช้เป็ นเงินตราในการแลกเปลีย่ น
หลังจากมีการประกาศใช้ธนบัตรมูลค่า 1 จ๊าต ทีป่ รากฏรูปอองซาน ในเครื่องแบบของกองทัพพม่า บน
ธนบัตร แรงเสียดทานของผูต้ ่อต้านรัฐบาลพม่าไม่ได้มที า่ ทีว่าจะลดน้อยถอยลง จนรัฐบาล SLORC ได้ประกาศให้มี
การเลือกตัง้ ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1990 ถือเป็ นการเลือกตัง้ ครัง้ แรกหลังจากเนวิน ได้ท าการรัฐประหารอู นุ
บรรยากาศก่อนเลือกตัง้ มีการตระเวนหาเสียงอย่างมากมาย สมาชิกพรรค NLD ต่างติดเข็มกลัดรูปทรงสีเ่ หลีย่ ม มี
ภาพธงพรรค NLD อยู่ตรงกลาง ถัดมาทางด้ายซ้ายเป็ นรูปของอองซานในเครื่องแบบขณะเดินทางไปเจราจา
เรียกร้องเอกราชทีอ่ งั กฤษ อีก ด้านเป็ นรูปของอองซาน ซูจี ในส่วนทีต่ งั ้ สาขาของพรรค NLD จะถูกประดับประดา
ไปด้วยธงของพรรค และรูปของอองซาน นอกจากนี้ยงั ได้ปรากฏรูปของทะขิน่ โกดอว์ หม่าย สมาชิกกลุ่มเราชาว
พม่า ผูเ้ คลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ อีกทัง้ โกดอว์ หม่าย ยังมีหลุมศพฝั งติดกับขิน่ จี
แม้การเลือกตัง้ ครัง้ ดังกล่าวจะดาเนินไปพร้อมๆกับการกักกันอองซาน ซูจไี ว้ในบ้าน อย่างไรก็ดผี ลของ
การเลือกตัง้ พรรค NLD ทีม่ อี องซาน ซูจเี ป็ นแกนนา ได้รบั ทีน่ งั ่ มากถึง 392 ทีน่ งั ่ ส่วนพรรคของ SLORC ได้ทน่ี งั ่
เพียงแค่ 10 ทีน่ งั ่ จากจานวน 76 เปอร์เซ็นต์ของผูม้ สี ทิ ธิในการเลื
์ อกตัง้ ถึงกระนัน้ รัฐบาลทหารทีน่ าโดยซอหม่อง
กลับไม่ยอมรับผลการเลือกตัง้ และปฏิเสธการส่งมอบอานาจให้แก่พรรค NLD จนกว่าจะมีรฐั ธรรมนูญฉบับใหม่ร่าง
ขึน้ มาแล้วเสร็จ
ดังนัน้ แล้ว ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานตลอดเวลานับนับตัง้ แต่ปี 1958 จนถึงปี 1990 แม้
จะปรากฏแตกต่างกันหลายลักษณะ เพื่อให้สอดรับกับอุดมการณ์ รวมทัง้ ทีม่ าของอานาจผูป้ กครองทีแ่ ตกต่างกัน
แต่การเปลีย่ นแปลงเหล่านี้ยงั คงดารงไว้ซง่ึ ความทรงจาร่วมต่ออองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะ กระทังการเข้ ่ ามาของ
อองซานซูจี และได้เป็ นแกนนาฝ่ ายต่อต้านรัฐบาลในปี 1988 จนเกิดการยือ้ แย่ง ช่วงชิงการจัดการความทรงจาที่
เกี่ยวข้องกับอองซานบนพื้นที่สาธารณะ แต่ ทงั ้ รัฐบาลและฝ่ ายต่ อต้านยังคงดาเนินการผลิตซ้าความทรงจาที่
เกี่ยวข้องกับอองซานเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน แต่หลังจากซอหม่อง ผู้นารัฐบาลไม่ยอมรับผลการ
เลือกตัง้ และปฏิเสธการส่งมอบอานาจให้แก่พรรค NLD ได้แสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ในการจัดการความทรงจา
ร่ ว มทางสัง คมที่เ กี่ย วข้อ งกับ อองซานเพื่อ สร้า งความชอบธรรมให้แ ก่ ร ัฐ บาล อองซานได้ก ลายเป็ น วีร บุ รุ ษ
ประชาธิปไตยด้วยน้ามือของอองซาน ซูจผี เู้ ป็ นลูกสาว ซึง่ เป็ นคู่ตรงข้ามกับรัฐบาล ทาให้ใ นระยะเวลาหลังจากการ
เลือ กตัง้ ในปี 1990 อองซานไม่ ไ ด้เ ป็ น วีร บุรุ ษ แห่ง ชาติ แต่ เ ป็ น วีร บุ รุษ แห่ง ประชาธิป ไตย ส่ง ผลให้เ กิด ความ
พยายามของรัฐบาลทีจ่ ะกดทับ ปิ ดกัน้ การดารงอยู่ของความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ที่

42
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สาธารณะ พร้อมๆ กับการย้อนกลับไปให้ความสาคัญต่อตัวบท และสัญลักษณ์ท่เี กี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และ


สถาบันกษัตริยใ์ นอดีต เข้ามาสร้างความทรงจาร่วมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั บาลขึน้ มาแทน

กำรกดทับ ปิ ดกั้น ควำมทรงจำที่เกี่ยวข้องกับอองซำนบนพื้นที่สำธำรณะ


กระบวนการจัดการปิ ดกัน้ การความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะเห็นได้
อย่างชัดเจนในยุคสมัยของรัฐบาลทีม่ ี ตาน ฉ่วย ผูท้ ส่ี บื ทอดอานาจมาจากซอหม่องเป็ นผูน้ าสูงสุด การกระทาต่างๆ
เห็นได้จาก ภาพเสมือนของอองซานได้ถูกถอดออกจากธนบัตรทีเ่ คยปรากฏแทบทุกมูลค่าของธนบัตรทีม่ นี บั ตัง้ แต่
ปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1990 รวมถึงในวันผูส้ ละชีวติ ซึง่ จัดในวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปี จากทีร่ ฐั บาลพม่าเคย
ส่งเสียงสัญญาณในช่วงเวลาทีอ่ องซานถูกยิงเสียชีวติ เพื่อให้ประชาชนยืนไว้อาลัยนัน้ ก็ได้ถูกยกเลิกไป และจากเดิม
ที่มรี ฐั มนตรีของประเทศเข้ามาเป็ นผู้นาในการประกอบพิธกี รรม ได้ลดทอนความสาคัญ เปลี่ยนแปลงเป็ นนายก
สภาเมืองย่างกุง้ มาเป็ นผูน้ าในการประกอบพิธกี รรมแทน
ธนบัตรทีป่ รากฏรูปภาพของอองซานนับตัง้ แต่ปี 1948-1990 แม้จะมีการเลือกใช้รูปภาพของอองซานใน
แต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันออกไป แต่หลังปี 1990 รูปภาพของอองซานได้หายออกไปจากธนบัตร การหายออกไป
ของรูปภาพอองซานได้เกิดขึน้ พร้อมๆ กับการกลับเข้ามาอีกครัง้ ของตัวบทและสัญลักษณ์ ท่เี กี่ยวข้องกับพุทธ
ศาสนา และสถาบันกษัตริยพ์ ม่าในอดีต สิงห์ถอื เป็ นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาได้เข้ามาปรากฏในธนบัตรทุกมูลค่า
นับตัง้ แต่ปี 1990 รวมทัง้ ยังพบภาพของ มหาบันดุละ 18 ภาพบุคคลบุคลเดียวทีเ่ ข้ามาปรากฏบนธนบัตรมูลค่า 500
จ๊าต แทนทีภ่ าพของอองซาน นอกจะมีการกดทับไม่ให้ปรากฏบนธนบัตรแล้ว ยังพบการกดทับและลดความสาคัญ
ของอองซานในแบบเรียนอีกด้วย
ภายในแบบเรียนพม่า อองซานได้ถูกลดความสาคัญลง ปรากฏผ่านในวิชาประวัติศาสตร์ ระดับ 4 จาก
เดิมในปี 1978 ได้มหี วั ข้อ “เส้นทางท่านนายพล(อองซาน)” ประกอบกับภาพวาด การปราศรัยของอองซานหน้า
เจดียช์ เวดากอง พร้อมๆ กับเนื้อหาของคาปราศรัยของอองซานในบทดังกล่าว แต่ในปั จจุบนั เนื้อหาบทดังกล่าวได้
ยกย่ อ งบุ ค คลที่มีช่ือ เสีย งแห่ ง ชาติ ได้ แ ก่ มหาพัน ธุ ล ะ โบ มยา ตัน (Bo myat htun) และกษั ต ริย์ ผู้ยิ่ง ใหญ่
นอกจากนัน้ เนื้อหาของอองซานในเกรด 10 ได้ถูกลบออก อย่างไรก็ดี Salem-Gervais และ Metro(2012, 37) ได้
มองว่า กระบวนการต่างๆทีเ่ กิดขึน้ กับอองซานในแบบเรียน ไม่ได้เป็ นการตัดขาดอย่างสิน้ เชิงโดยรัฐบาล แต่เป็ น
การลดระดับความสาคัญของอองซานจากวีรบุรุษทีเ่ ป็ นศูนย์กลางให้เหลือเพียงฐานะบุคคลสาคัญทางประวัตศิ าสตร์
นอกจากกระบวนการกดทับ และลดความสาคัญของอองซานจะปรากฏตลอดช่วงเวลาที่ต่านฉ่ วยขึน้ สู่อานาจ
ช่วงเวลาดังกล่าวได้มกี ารจัดการความทรงจาร่วมทางสังคมขึน้ มาใหม่ ด้วยการย้อนไปจัดการความทรงจาร่วมทาง
สังคมในยุคจารีตให้กลับมาปรากฏ
ความทรงจาร่วมในยุคจารีตของพม่าเต็มไปด้วยความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา ความเจริญรุ่งเรือง
ดังกล่าวก่อเกิดจากการอุปถัมภ์ของสถาบันกษัตริย์ และความเป็ นเอกภาพของประเทศ ต่านฉ่วยจึงได้ใช้ความทรง
จาในยุคดังกล่าวเข้ามาสร้างความชอบธรรมให้แก่ อานาจ อีกทัง้ ยังได้คดั สรรกษัตริยใ์ นยุคจารีตทีม่ คี ุณสมบัตเิ ป็ น
ผู้นาทางกองทัพจนสถาปนาเอกราชขึน้ มาได้ในสามยุค ได้แก่ อนรธา บายินนอง และอลองพญา กระบวนการ

18มหาบันดุละ ถือเป็ นหนึ่งในสามัญชนทีก่ ลายเป็ นวีรบุรษุ แห่งชาติ วีรกรรมทีม่ หาบันดุละได้ถูกรัฐบาลพม่าส่งผ่านคือ การต่อสูก้ บั อังกฤษทีเมืองจิตตา
กองจนทาให้องั กฤษต้องถอยทัพ

43
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ดังกล่าวได้เริม่ ปรากฏเมื่อขิน่ ยุ่นต์ ได้จดั ตัง้ คณะกรรมาธิการการบูรณะและการเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมของ


พม่า
หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ (New light of Myanmar) ได้นาเสนอข่าว ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 1994
เรื่อง ขิน่ ยุ้น ประธานคณะกรรมาธิการการบูรณะและการเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมของพม่า ได้ประชุมกับ
กรมศิลปากรของพม่า ขิน่ ยุ่นมีความต้องการทีจ่ ะบูรณะและเก็บรักษาบันทึกทางประวัติศาสตร์ทส่ี มั พันธ์กบั การ
สถาปนาราชอาณาจักรพม่าครัง้ แรกโดย กษัตริยอ์ นรธา การสถาปนาราชอาณาจักรครัง้ ทีส่ องโดย กษัตริยบ์ ายิน
นอง การสถาปนาราชอาณาจักรครัง้ ที่ 3 โดย กษัตริยอ์ ลองพญา และมีการฟื้ นฟูพระราชวังของกษัตริยท์ งั ้ สามองค์
พร้อ มๆ กัน นั น้ ขิ่น ยุ่ น ยัง ได้ เ ตือ นว่ า หากไม่ มีร ะบบการเก็บ รัก ษามรดกทางวัฒ นธรรม และหลัก ฐานทาง
ประวัติศาสตร์ สิง่ เหล่านี้จะค่อยๆ จางหายไปกับการครอบงาจากวัฒนธรรมต่างชาติ และความอ่อนแอของจิต
วิญญาณทีร่ กั ชาติ หลังจากนัน้ ทางรัฐบาลพม่า ได้กระจายอนุสาวรียข์ องบายินนองออกไปยังพืน้ ทีอ่ ่นื ๆ
อนุ สาวรียบ์ ายินนองได้ถูกสร้างขึน้ ในเขตเมืองท่าขีเ้ หล็ก มีลกั ษณะยืนกอดอก นอกจากนัน้ ยังพบได้ใน
เมืองเกาะสอง เมืองทางตอนใต้ของพม่า มีการสร้างอนุสาวรียบ์ ายินนองบนจุดยอดของเนินเขา สวมใส่เครื่องแบบ
ทหารในยุคจารีต พร้อมๆ กับการก้าวเท้าซ้ายออกมาข้างหน้า และมือซ้ายถือฝั กของดาบ มือขวาจับด้ามดาบใน
ลักษณะดึงออกมาจากฝั กประมาณเกือบครึ่งเล่ม รอบๆ อนุ สาวรีย์บายินนองยังถูกจัดให้เป็ นสวนสาธารณะชื่อ
“สวนสาธารณะบายินนอง” อีกทัง้ เมื่อเดินลงมาจากเนินเขา จะพบจุดปลายสุดของพม่า เดิมทีจุดดังกล่าวถูกเรียกว่า
วิคเตอร์เรียพอยด์ ชื่อของราชินีของอังกฤษ แต่ในปี ดงั กล่าวยังมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจุดดังกล่าวเป็ น บายินนอง
พอยด์ นอกจากนี้ กษัตริยท์ งั ้ สามองค์ได้รวมตัวกันในพืน้ ทีต่ ่างๆ ได้แก่หน้าพิพธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงย่างกุง้
หน้าโรงเรียนป้ องกันราชอาณาจักร เมืองมัณฑเลย์ และ เมืองหลวงแห่งใหม่ทช่ี ่อื เนปยีดอว์
นอกจากการยกย่องกษัตริยใ์ นยุคจารีตทีม่ คี ุณสมบัตเิ ป็ นราชานักรบ และผูก้ อบกูเ้ อกราชแล้ว รัฐบาลตาน
ฉ่วยยังมีการทาหน้าทีข่ องกษัตริยท์ ห่ี ายไป นันคื
่ อการบูรณะเจดียต์ ่างๆ มากมาย หนึ่งในการบูรณะเจดียค์ รัง้ สาคัญ
คือ การบูร ณะและยกฉัตรเจดีย์ชเวดากองเมื่อ เดือ นเมษายน ปี 1999(Seekins 2011, 179) ตามหลัก ฐานทาง
ประวัตศิ าสตร์ กษัตริยม์ นิ ดงได้ยกฉัตรเจดียช์ เวดากองครัง้ สุดท้ายเมื่อปี 1871 นอกจากนี้ยงั มีการสร้างพระพุทธรูป
ทีท่ ามาจากหินอ่อนนับเป็ นพระพุทธรูปทีท่ าจากหินอ่อนทีม่ ขี นาดใหญ่ทส่ี ุดในโลก อีกทัง้ รัฐบาลยังมีการสร้างเมือง
หลวงใหม่ขน้ึ มา อยู่ใจกลางประเทศ ชื่อเมืองเนปี ดอว์ ชื่อเมืองมีความหมายถึง บ้านของราชวงศ์ และประกาศย้าย
เมืองหลวงจากเมืองย่างกุง้ เมืองทีเ่ ต็มไปด้วยตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน มาเป็ นเมืองเนปี ดอว์ในปี
2008 การกระทาการต่างๆ ในยุคตานฉ่วยจึงเป็ นการแสดงให้เห็นถึงการทาหน้าทีข่ องทหารในบทบาทของกษัตริย์
ในยุคจารีต นาความทรงจาร่วมของพม่ายุคจารีตทีม่ คี วามเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาพุทธเข้ามาผลิตซ้า และกด
ทับ ลดทอนความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานลง พร้อมๆ กับการกักขังอองซาน ซูจไี ว้เพียงในบ้าน

กำรปลดปล่อยอองซำน ซู จผ ี ู ้เป็นลูกสำว และอองซำนผู ้พ่อให้สำมำรถปรำกฏกำยบนพื้นที่สำธำรณะ


ตลอดช่วงเวลาทีอ่ องซาน ซูจี ถูกกักขังอยู่ภายในบริเวณบ้าน ความทรงจาร่วมทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับ
อองซาน ผู้เป็ นพ่อได้ถูกจัดการโดยรัฐบาลพม่าไม่แตกต่างกัน การกดทับ ปิ ดกัน้ ความทรงจาที่เกี่ยวข้องกับออง
ซานได้ถู ก แทนที่ด้ว ยความทรงจ าร่ ว มต่ อ กษั ต ริย์ใ นยุ ค จารีต อย่ า งไรก็ดี การปฏิรู ป ทางการเมือ งที่ ริ เ ริ่ม
กระบวนการด้วยการประกาศเส้นทางประชาธิปไตย 7 ขัน้ ในปี 2003 จนถึง การเปิ ดให้มกี ารเลือกตัง้ ซ่อมในปี
2012 แม้จะเป็ นการปฏิรปู ทีว่ างรากฐานทีเ่ อือ้ ประโยชน์ต่อกองทัพจนการเลือกตัง้ ในปี 2010 พรรค NLD และพรรค
กลุ่มชาติพนั ธุไ์ ด้คว่าบาตรการเลือกตัง้ โดยไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตัง้ ผลเลือกตัง้ จึงตกเป็ นพรรคทีส่ บื ทอดอานาจมา

44
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากรัฐบาล แต่ในทีส่ ุดแล้ว หลังจากอองซาน ซูจไี ด้รบั การปลดปล่อยการกักขังบริเวณ ฝ่ ายต่อต้านทีน่ าโดยพรรค


NLD ได้ปรับเปลีย่ นสถานะตัวเองจากผูเ้ คลื่อนไหวทางการเมืองมาลงเลือกตัง้ ซ่อมในปี 2012 และอองซานซูจไี ด้รบั
การเลือกตัง้ จนเป็ นนักการเมืองในตาแหน่งสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรอย่างเต็มตัว
หลังจากตาน ฉ่ วย ได้ลงจากตาแหน่ งผู้นาทางการเมือง และเต็ง เส่ง เป็ นประธานาธิบดีท่มี าจากการ
เลือกตัง้ ตัวบทและสัญลักษณ์ท่เี กี่ยวข้องกับอองซานได้รบั การปลดปล่อยให้ดารงอยู่บนพื้นที่สาธารณะอย่างมี
อิสระเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จาก วันผู้เสียสละ เดิมทีในยุคตาน ฉ่ วย มีการเข้มงวดและลดความสาคัญเป็ นเพียง
กิจกรรมทีอ่ ยู่ภายใต้การจัดการของสภาเมืองย่างกุง้ แต่ภายหลังจากเต็งเส่งเป็ นประธานาธิบดี ได้เปิ ดให้ประชาชน
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้ นอกจากนี้ภายในตัวหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ หนังสือพิมพ์ทไ่ี ด้ช่อื
ว่ า เป็ น กระบอกเสีย งให้แก่ รฐั บาลพม่ า เนื้ อ ข่า วของวัน ผู้เสีย สละได้ข ยับ ขึ้น มาเป็ น พาดหัว ข่า วหน้ า หนึ่ งของ
หนังสือพิมพ์ พร้อมๆกับภาพการวางพวงหรีดของประธานการจัดงาน แม้ในปี 2011 ประธานการจัดงานยังคงเป็ น
สภาเมืองย่างกุ้ง แต่ในปี 2012 หลังจากอองซาน ซูจไี ด้รบั การปลดปล่อยจากการกักบริเวณ อองซาน ซูจไี ด้เข้า
ร่วมวางพวงหรีดไว้อาลัยร่วมกับครอบครัวผู้เสียสละคนอื่นๆ สายหมอกคา รองประธานาธิบดี อองจี รัฐมนตรี
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ ได้เข้าร่วมวางพวงหรีด ณ อนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละ ในปี ดงั กล่าวนอกจากจะเห็น
การเพิม่ ความสาคัญจากงานทีจ่ ดั โดยสภาเมืองเปลีย่ นมาเป็ นงานทีจ่ ดั โดยรัฐบาลส่วนกลางแล้ว การเข้าร่วมงาน
ของอองซาน ซูจี ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลีย่ นแปลงบทบาททางการเมืองอย่างเต็มตัว จากเดิมทีในปี 1989 ออง
ซาน ซูจี ได้พยายามช่วงชิงการจัดการความทรงจาที่เกี่ยวข้องกับอองซานผ่านการไม่ยอมรับเข้าร่วมงานวันผู้
เสียสละ พร้อมกันกับจะจัดงานวันผูเ้ สียสละคู่ขนานไปการจัดงานของรัฐบาลพม่า การเข้าร่วมงานวันผูเ้ สียสละในปี
2012 ของอองซาน ซูจี จึงเป็ นการยอมรับในการจัดการความทรงจาร่วมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานโดยรัฐบาลพม่า
รัฐบาลพม่ายังได้มคี วามพยายามทีจ่ ะสร้างอนุ สาวรียอ์ องซานในพืน้ ทีร่ ฐั คะฉิ่นในโอกาสครบรอบร้อยปี
ชาตกาลของอองซาน การเพิ่มความสาคัญตัวบทและสัญ ลักษณ์ ท่ีเกี่ย วข้องกับอองซานได้สอดรับกับ สภาวะ
ทางการเมืองที่มกี ารสูร้ บระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพนั ธุท์ ่ยี ดื เยื้อมาอย่างยาวนาน ตัวบทและสัญลักษณ์ท่ี
เกีย่ วข้องกับอองซานได้ถูกหยิบมาใช้เพื่อสร้างความทรงจาร่วมในช่วงเวลาทีร่ ่วมมือกันของกลุ่มชาติพนั ธุร์ ่วมลง
นามข้อตกลงปางโหลงจนเป็ นปั จจัยทาให้พม่าได้รบั เอกราช อีกทัง้ แนวคิดของอองซานได้เน้นย้าถึงเอกภาพของรัฐ
ความว่า “ทุกชาติในโลกดารงอยู่ดว้ ยการรวมเข้าเป็ นหนึ่งของเชือ้ ชาติ และศาสนา ควรพัฒนาด้วยชาตินิยม...ไม่
ควรคานึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา หรือชนชัน้ หรือเพศ” (Silverstein 1993) นอกจากรัฐบาลจะปลดปล่อยและเพิ่ม
ความสาคัญของตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะแล้ว ฟากฝั ง่ ของอองซาน ซูจที อ่ี ดีต
นักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่าทีผ่ นั ตัวเองมาเป็ นนักการเมือง ได้ฉวยใช้ตวั บทและสัญลักษณ์ของอองซานเข้า
มาเป็ นเครื่องมือหาเสียงในการเลือกตัง้ ปลายปี 2015 อย่างเข้มข้น จนตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน
ได้กลายเป็ นหนึ่งในสัญลักษณ์ของพรรค NLD ไม่แตกต่างไปจากการเลือกตัง้ ปี 1990
หลังจากขึน้ สู่อานาจของเต็งเส่ง ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซาน ได้กลับมาดารงอยู่บนพืน้ ที่
สาธารณะอีกครัง้ จนเกิดเป็ นความทรงจาร่วมทางสังคม แต่เป็ นความทรงจาร่วมทีเ่ กิดจากการจัดการทีแ่ ตกต่างกัน
รัฐบาลเต็งเส่งได้ใช้ความทรงจาร่วมทีเ่ กีย่ วกับอองซานเข้ามาแก้ไขปั ญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับกลุ่ม
ชาติพนั ธุ์ รวมทัง้ ความพยายามในการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ แตกต่างไปจากอองซาน ซูจี ที่ใช้ความ
ทรงจ าร่ ว มที่เ กี่ย วกับ อองซานมาใช้ส ร้ า งความชอบธรรมให้ แ ก่ ตัว ของเธอ รวมทัง้ ยัง ใช้ใ นการเรีย กร้อ ง
ประชาธิปไตยที่ปราศจากอานาจแทรกแซงการเมืองจากฝ่ ายทหาร ท่ามกลางการเพิ่มความสาคัญตัวบทและ

45
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานของทัง้ สองฝ่ าย ส่งผลให้ความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานได้กลับมามีชวี ติ ชีวา


ขึน้ อีกครัง้ บนพืน้ ทีส่ าธารณะ

สรุ ป
หลังจากอองซานได้เสียชีวติ ลง ความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน ได้เข้ามาปรากฏบนพืน้ ทีส่ าธารณะ
นับตัง้ แต่ก่อนพม่าได้รบั เอกราชจากอังกฤษ ผ่านการจัดการงานศพอย่างยิง่ ใหญ่ ในเวลาต่อมา หลุมฝั งศพของออง
ซานได้กลายเป็ นอนุ สรณ์สถานผูเ้ สียสละ รวมทัง้ ก่อนขึน้ มาเป็ นนายกรัฐมนตรีของอูนุ อูนุได้กล่าวสุนทรพจน์ ยก
ย่องวีรกรรมของอองซาน และยกอองซานให้สงู กว่าผูน้ าในการเรียกร้องเอกราช จนในทีส่ ดุ อูนุได้ยกอองซานเข้าไป
รวมกลุ่มกับกษัตริยใ์ นยุคจารีตที่ได้กอบกู้เอกราช และสร้างความเป็ นเอกภาพให้แก่พม่า ความยิง่ ใหญ่ของออง
ซานได้ดารงสืบมาจนกระทังพม่ ่ าได้รบั เอกราชจากอังกฤษ พร้อมๆ กันกับการทีอ่ นู ุได้ขน้ึ เป็ นนายกรัฐมนตรี
เมื่อ อูนุ ไ ด้ก้า วขึ้น มาเป็ น นายกรัฐมนตรี อูนุ กลับ เน้ น ย้ า การสร้า งความทรงจ าร่ วมทางศาสนาพุทธ
มากกว่าความทรงจาทรงจาที่เกี่ยวข้องกับอองซาน แต่ความทรงจาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธกลับไม่ได้รบั การ
ตอบรับจากสังคมทีม่ คี วามหลากหลายมากยิง่ ขึน้ ส่งผลให้อนู ุหนั กลับมาใช้ความทรงจาร่วมทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน
ในอดีตเข้ามาผลิตซ้า ไม่ว่าจะเป็ นการปรากฏตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานร่ วมกับศาสนาพุทธ การ
ปรากฏตัวแบบโดดเดีย่ วอย่างสง่า และการเข้ามากระชับพืน้ ทีค่ วามทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับพุทธศาสนาในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ดี ความทรงจาร่วมทางสังคมกลับถูกผลิตซ้าอย่างเข้มข้นเพิม่ มากขึน้ หลังจากอูนุถูกเนวินรัฐประหารยึด
อานาจการปกครอง
การยึดอานาจโดยเนวินไม่ได้เป็ นเพียงการยึดอานาจทางการเมืองเท่านัน้ แต่ ยงั มีการยึดอานาจการ
จัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซาน ตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับอองซานได้ประกาศความยิง่ ใหญ่
เหนือตัวบทและสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับศาสนาพุทธ พร้อมๆ กับการให้ความหมายอื่นของอองซานมากกว่าอูนุท่ี
ได้เน้นย้าถึงผูป้ ระกาศเอกราช อองซานได้ถูกให้ความสาคัญในฐานะใหม่ ได้แก่ ผูก้ ่อตัง้ กองทัพสมัยใหม่ นักสังคม
นิยม ผูส้ ร้างเอกภาพ และสถานะทหารของอองซานตลอดการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ กระทังการเข้ ่ ามาของ
อองซานซูจี และได้เป็ นแกนนาฝ่ ายต่อต้านรัฐบาลในปี 1988 ได้ก่อให้เกิดการยือ้ แย่ง ช่วงชิงการจัดการความทรง
จาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ทีส่ าธารณะ
หลังวิกฤตการณ์ “8888” อองซาน ซูจกี ลับไม่ได้ผูกขาดการจัดการความทรงจาที่เกีย่ วข้องกับอองซาน
เพียงฝ่ ายเดียว ทัง้ รัฐบาลและฝ่ ายต่อต้านยังคงดาเนินการผลิตซ้าความทรงจาที่เกี่ ยวข้องกับอองซานเพื่อสร้าง
ความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน จนเกิดการช่วงชิง แข่งขันการจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานบนพืน้ ที่
สาธารณะ แต่หลังจากซอหม่อง ผูน้ ารัฐบาลไม่ยอมรับผลการเลือกตัง้ ในปี 1990 ได้แสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ใน
การจัดการความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานทีส่ บื เนื่องมา ส่งผลให้เกิดความพยายามของรัฐบาลทีจ่ ะกดทับ ปิ ด
กัน้ การปรากฏตัว บทและสัญ ลัก ษณ์ ท่ีเ กี่ยวข้อ งกับ อองซานบนพื้น ที่สาธารณะ พร้อ มๆ กับ การเน้ น ขยับให้
ความสาคัญต่อตัวบท และสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับพุทธศาสนา และสถาบันกษัตริยใ์ นอดีต เข้ามาสร้างความทรง
จาร่วมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั บาลขึน้ มาแทน
ดังนัน้ แล้วจึงเห็นได้ว่า นับตัง้ แต่อองซานเสียชีวติ ลงจวบจนกระทังช่
่ วงเวลาที่ตานฉ่ วยมีอานาจในการ
ปกครอง ความทรงจาที่เกี่ยวข้องกับอองซานได้ถูกผลิตซ้าแตกต่างกันออกไป ขึน้ อยู่กบั อุดมการณ์ของรัฐและ
สภาพปั ญหาทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนัน้ แล้ว การกลับมาของอองซาน ซูจผี มู้ คี วามสัมพันธ์เป็ นลูก

46
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สาว และเข้ามาเป็ นแกนในของฝ่ ายต่อต้านรัฐบาลหลังปี 1988 กลับไม่ได้ทาให้ให้รฐั บาลพม่ากดทับ ปิ ดกัน้ ความ


ทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานโดยทันทีทนั ใด เนื่องจากตัวบทและสัญลักษณ์บางอย่ างที่เกีย่ วข้องกับอองซานยัง
สามารถทาหน้าทีส่ ร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั บาลได้ แต่เมื่ออองซานไม่สามารถทาหน้าทีส่ ร้างความชอบธรรม
ให้แก่รฐั บาลได้ จึงเกิดการกดทับปิ ดกัน้ ความทรงจาทีเ่ กีย่ วข้องกับอองซานขึน้ พร้อมๆ กับการย้อนกลับไปใช้ความ
ทรงจาในยุคจารีตทีส่ ามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่รฐั บาล

บรรณำนุกรม
เอกสารภาษาไทย
ชาญวิทย์ เกษตรศิร.ิ 2544. พม่า: ประวัตศิ าสตร์และการเมือง. พิมพ์ครัง้ ที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
พันธุส์ รู ย์ ลดาวัลย์. 2542. การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองพม่า. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรชั นิยมธรรม และอรนุช นิยมธรรม. 2551. เรียนรูส้ งั คม และวัฒนธรรม พม่า. พิษณุโลก: ศูนย์พม่าศึกษา คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สายันห์ สุธรรมสมัย. 2517. วีรชนอาเซีย. กรุงเทพ: กองบรรณาธิการสังคมศาสตร์ปริทศั น์.
เอกสารภาษาอังกฤษ
Aung San Suu Kyi. 1991. Aung San of Burma: a biographical portrait. Edinburgh: Kiscadale.
Aung San Suu Kyi, and Michael Aris. 1995. Freedom from fear: and other writings. London: Penguin
Books.
Mistral, Barbara A. 2003. Theories of Social Remembering. Maidenhead and Philadelphia: Open
University Press.
Cheesman, N. 2002. Legitimising the Union of Myanmar through primary school textbooks. Master of
Education, University of Western Australia.
Connerton, Paul. 1989. How societies remember. Cambridge: Cambridge University Press.
Halbwachs, Maurice. 1950. The Collective Memory, translated. F.J. and V.Y. Ditter. London: Harper
Colophon Books.
Houtman, Gustaaf. 1999. "Remaking Myanmar and human origins." Anthropology Today.
———. 1999. Mental culture in Burmese crisis politics: Aung San Suu Kyi and the National League for
Democracy. Tokyo: Tokyo University of Foreign Studies, Institute for the Study of Languages
and Cultures of Asia and Africa.
Maung Maung. 1962. Aung San of Burma. The Hague: Published for Yale University, Southeast Asia
Studies by M. Nijhoff.
Maung Maung. 1976. Nationalist movements in Burma, 1920-1940: changing patterns of leadership, from
Sangha to Laity.
Mendelson, E. Michael. 1975. Sangha and state in Burma: a study of monastic sectarianism and
leadership. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press.
Naw, Angelene. 2001. Aung San and the struggle for Burmese independence. Chiang Mai, Thailand:
Silkworm Books.
Nakanishi, Yoshihiro. 2013. Strong soldiers, failed revolution: the state and military in Burma, 1962-88.

47
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

O'Shannassy, Teresa. 2000. Burma's excluded majority: women, dictatorship and the democracy
movement. London: CIIR.
Olick, Jeffrey K. and Robbins, Joyce. 1998 “Social Memory Studies: From “Collective Memory” to the
Historical Sociology of Mnemonic Practices”, Annual Review of Sociology.
Salem-Gervais, Nicolas, and Rosalie Metro. 2012. "A Textbook Case of Nation-Building: The Evolution of
History Curricula in Myanmar". Journal of Burma Studies. 16 (1): 27-78.
Seekins, Donald M. 2011. State and society in modern Rangoon. London: Routledge.
Silverstein, Josef. 1993. The political legacy of Aung San. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell
University.
Smith, Donald Eugene. 1965. Religion and politics in Burma. Princeton, N.J.: Princeton University Press.
Smith, Anthony D. 1997. “The ‘Golden Age’ and national renewal.” in G.A. Hosking and G. Schopflin
(eds) Myths and Nationhood, pp. 36–59. London: Hurst & Company.
Steinberg, David I. 2006. Turmoil in Burma contested legitimacies in Myanmar. Norwalk, Conn:
EastBridge.
Taylor, Robert H. 2009. The state in Myanmar. Singapore: NUS Press.
Zar ni. 1998. Knowledge, control, and power: the politics of education under Burma’s military dictatorship
(1962–88). Ph.D. thesis, University of Wisconsin Madison.
เอกสารของรัฐบาลพม่า
Burma. Published by the Director of Information. Union of Burma. 1950-1962
Forward. Published by the Department of Information and Broadcasting, Ministry of Information,
Government of the Socialist Republic of Union of Burma. 1962-1987
Myanmar Ministry of Education. (2013). Myanmar textbook, Myanmar reading grade 4.
หนังสือพิมพ์
Burma
Forward
People’s Military Magazine
The Working People's Daily
Asian wall street Journal
New light of myanmar

48
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R3-03

เทคโนโลยีการทาแผนที่ในยุ คสงครามเย็น
กับกาเนิดของแผนที่สมัยใหม่ของชาติในประเทศไทย

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่
e-mail: kkengkij@gmail.com

49
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
บทความนี้เป็ นงานต่อยอดจากงานวิจยั ของผูเ้ ขียนเกีย่ วกับการประดิษฐ์สร้างความรู้เกี่ยวกับ “หมู่บา้ น
ชนบทไทย” ของนักมานุษยวิทยาอเมริกนั และไทยในยุคสงครามเย็น1 ข้อค้นพบของงานวิจยั ดังกล่าวก็คอื สงคราม
เย็นและสหรัฐอเมริกามีส่วนอย่างสาคัญในการสนับสนุ นการทาวิจยั เกีย่ วกั บประเทศไทยในสองทศวรรษแรกของ
สงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ไทยศึกษาในยุคแรกได้รบั อิทธิพลจากการทาวิจยั หมู่บา้ นชนบทหรือที่เรียกว่า
ชนบทศึกษาโดยนักมานุ ษยวิทยาอเมริกนั ที่เข้ามาในประเทศไทย รวมถึงสหรัฐฯยังมีส่วนในการสนับสนุ นการ
ก่อตัง้ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุ ษยวิทยาในประเทศไทย พร้อมๆกับการสนับสนุ นการเรียนต่อและการทาวิจยั
เกีย่ วกับหมู่บา้ นชนบทไทยของนักมานุษยวิทยาไทยรุ่นบุกเบิกด้วย อุตสาหกรรมการวิจยั ชนบทศึกษาในประเทศ
ไทยในยุคแรกนัน้ ถูกชี้นาด้วยวาระทางการเมืองที่เ กี่ยวพันกับความมันคงและการต่
่ อต้านภัย คอมมิวนิ สต์ใ น
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผลก็คอื หน่ วยการวิเคราะห์ทเ่ี รียกว่าหมู่บา้ นชนบทกลายมาเป็ น
ฐานหลักของการสร้างความรู้เกี่ยวกับสังคมไทย ซึ่งยังเป็ นมรดกตกทอดมาถึงแวดวงวิชาการมานุ ษยวิทยาไทย
จนถึงปั จจุบนั
ในระหว่างการเก็บข้อมูลงานวิจยั ผูเ้ ขียนพบร่องรอยหลายประการที่ควรค่าแก่การศึกษาต่อ หนึ่งในนัน้ ก็
คือ กระบวนการประดิษฐ์สร้างหมู่บ้านชนบทในฐานะหน่ วยของการหาความรู้ไม่ได้เกิดขึน้ จากบทบาทของนัก
มานุ ษยวิทยาเท่านัน้ แต่ศาสตร์ต่างๆ ทัง้ วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ถูกนามาใช้เพื่อสร้างความรู้ด้านไทย
ศึก ษาด้ว ย วิช าภู มิศาสตร์โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง ศาสตร์ว่า ด้วยการท าแผนที่ (cartography) คือ ส่ว นสาคัญที่นัก
สัง คมศาสตร์ท งั ้ ไทยและอเมริก ัน ใช้เ ป็ น ฐานในการท าวิจ ัยหมู่บ้า นชนบท เมื่อ สืบ ย้อ นกลับ ไป ผู้เ ขีย นพบว่า
นอกจากที่นักมานุ ษยวิทยารุ่นบุกเบิกด้านไทยศึกษาอย่าง Lauriston Sharp, Charles Keyes และสุเทพ สุนทร-
เภสัช งานวิจยั ชาติพนั ธุว์ รรณนาเกีย่ วกับชาวเขาในประเทศไทยของศูนย์วจิ ยั ชาวเขามีบทบาทอย่างมากในการทา
แผนทีห่ มู่บา้ นชนบทไทยร่วมกับรัฐ แผนทีห่ มู่บา้ นกลายมาเป็ นทัง้ เครื่องมือในการเข้าถึงหมู่บา้ น/ชาวเขา พร้อมๆ
กับทีแ่ ผนทีก่ ลายมาเป็ นผลิตผลของการลงสนาม จากข้อมูลดังกล่าว ผูเ้ ขียนจึงสืบค้นต่อเกีย่ วกับการทาแผนทีใ่ น
ประเทศไทย พบว่า ในช่วงสองทศวรรษแรกของสงครามเย็นนี้เองทีแ่ ผนทีท่ ม่ี รี ายละเอียดระดับหมู่บา้ นถูกสร้างขึน้
เป็ นครัง้ แรก พร้อมๆ กับการเข้ามาของเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีการบิน การถ่ายภาพและ
กล้อง รวมถึงการเกิดขึน้ ของสถาบันความรูต้ ่างๆทีม่ สี ว่ นในการสร้างและตีความแผนที่
สิ่ง ที่ผู้เ ขียนทาต่ อไปก็คือ การตามหาว่า เทคโนโลยีและเครื่อ งมือ ดัง กล่ าวเกิดขึ้น ภายใต้บริบทอะไร
ข้อสรุปเบือ้ งต้นคือสงครามโลกครัง้ ทีห่ นึ่งและครัง้ ทีส่ อง และโดยเฉพาะอย่างยิง่ สงครามเย็นก็คอื เงื่อนไขเชิงบริบท
ทีส่ าคัญทีส่ ุดทีผ่ ลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดงั กล่าว ผลของสงครามก็คอื การทาแผนทีจ่ ากภาพถ่ายทาง
อากาศทีส่ ามารถมองเห็นรายละเอียดเชิงพื้นทีไ่ ด้จากบนฟากฟ้ าแบบสายตาของนก โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รบั
การพัฒนาขึน้ โดยรัฐบาลและกองทัพอเมริกนั ในช่วงปลายสงครามโลกครัง้ ทีส่ องและช่วงต้นของสงครามเย็น นี่เป็ น
เงื่อนไขเชิงเทคโนโลยีทท่ี าให้จกั รวรรดินิยมสหรัฐฯมีความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่และผูค้ นที่ตนเองปกครอง
มากไปกว่าและแตกต่างจากเจ้าอาณานิคมยุโรป
ภายใต้เงื่อนไขทางการเมืองของสงครามเย็นและอิทธิพลของสหรัฐฯ ประเทศไทยในฐานะทีเ่ ป็ นพันธมิตร
สาคัญในภูมภิ าคนี้ได้รบั ความช่วยเหลือโดยตรงจากกองทัพสหรัฐฯในการสารวจและทาแผนที่จากภาพถ่ายทาง

1 ดู เก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ, “มานุษยวิทยาจักรวรรดิ: การสร้างหมูบ่ า้ นชนบทไทยในยุคสงครามเย็น,” รัฐศาสตร์สาร (อยูใ่ นระหว่างการจัดพิมพ์ 2559)

50
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อากาศทีม่ มี าตรฐานทัวประเทศขึ
่ น้ เป็ นครัง้ แรก แผนทีข่ องประเทศไทยทีท่ าขึน้ ภายหลังจากนัน้ เป็ นการต่อเติมและ
แก้ไขข้อผิดพลาดของแผนทีช่ ุดแรกทีท่ าโดยกองทัพสหรัฐฯ ผูเ้ ขียนพบว่า นักมานุ ษยวิทยาและนักภูมศิ าสตร์ชาว
ไทยมีส่วนสาคัญอย่างมากในการช่วยแก้ไขและตรวจสอบข้อผิดพลาด พร้อมทัง้ ช่วยใส่รายละเอียดคุณลักษณะใน
เชิงสังคมและวัฒนธรรมให้แก่สงิ่ ทีป่ รากฏอยู่ในแผนที่ (เมื่อเข้าทศวรรษ 1970 ดาวเทียมเข้ามาแทนทีก่ ารถ่ายภาพ
ทางอากาศ) ภายใต้ปฏิบตั กิ ารดังกล่าว มีการสารวจทีส่ าคัญเกิดขึน้ โดยนักมานุ ษยวิทยาอย่างน้อย 2 กลุ่ม กลุ่ม
แรก คือ การสารวจโดยนักมานุ ษยวิทยาอเมริกนั ภายใต้โครงการ Bennington-Cornell Anthropological Survey
of Hill Tribes ซึง่ ดาเนินการสารวจและกาหนดพิกดั หมู่บา้ นต่างๆทีป่ รากฏในแผนทีท่ ท่ี าโดยสหรัฐฯจานวน 3 ครัง้
ในปี 1964, 1969 และ 1974 และกลุ่มทีส่ อง คือ การสารวจของศูนย์วจิ ยั ชาวเขา ซึง่ มีเป้ าหมายเพื่อเก็บรวบรวม
และกาหนดพิกดั ที่แน่ นอนของหมู่บ้านชาวเขาในประเทศไทยลงในแผนที่ชุดเดียวกัน การสารวจดังกล่าวได้ถูก
รวบรวมและตีพมิ พ์ในเอกสารชุดใหญ่ทช่ี ่อื ว่า ทาเนียบหมู่บา้ นชาวเขาในประเทศไทย ซึง่ ผลิตขึน้ ในช่วงทศวรรษ
1960 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นทศวรรษ 1970
แม้ว่าการสารวจของทัง้ สองกลุ่มจะยังไม่สมบูรณ์และมีขอ้ ผิดพลาด แต่นับได้ว่า นี่เป็ นความพยายามครัง้
สาคัญของรัฐไทยซึง่ ได้รบั การสนับสนุ นจากมหาอานาจอย่างสหรัฐฯให้มกี ารเก็บข้อมูลหมู่บา้ นไทยอย่างละเอียด
ทีส่ ุด ข้อมูลดังกล่าวอยู่ในรูปของตัวเลขเชิงสถิตแิ ละสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ทซ่ี บั ซ้อนจานวนมาก พร้อมๆกับ
พิกดั ในแผนทีท่ ร่ี ะบุตาแหน่ งของสิง่ ต่างๆทีย่ บิ ย่อยทีส่ ุดเป็ นองศาและละติจูด/ลองติจูด แน่ นอนว่า การทาแผนที่
ของรัฐไทย/รัฐสยามในอดีตก่อนหน้าทศวรรษนี้ไม่เคยสามารถระบุตาแหน่งแห่งทีห่ รือพิกดั ของหมู่บา้ นได้ชดั ขนาด
นี้มาก่อน ข้อจากัดดังกล่าวเกิดขึน้ ทัง้ จากความขาดแคลนเทคโนโลยีและจากลักษณะของหมู่บา้ นในประเทศไทย
เองทีไ่ ม่เคยมีขอบเขตชัดเจน หมู่บา้ นจานวนมากมีการเคลื่อนทีอ่ ยู่ตลอด หลายแห่งเกิดใหม่และหลายแห่งยุบตัว
ลงไป2 การทาแผนทีใ่ นยุคสงครามเย็นจึงเป็ นความพยายามตอบโจทย์สาคัญของรัฐสมัยใหม่ทต่ี ้องการเข้าถึงผูใ้ ต้
ปกครองผ่านเทคโนโลยีและเครื่องมือที่เป็ นระบบตรวจสอบได้ มากไปกว่านัน้ ก็คอื การหาทางทาให้หมู่บ้านที่
เคลื่อนทีไ่ ด้หยุดนิ่งภายใต้การจับจ้องของอานาจรัฐ ซึง่ การแพร่ขยายอานาจของรัฐลงไปในระดับทีเ่ ล็กที่สุด และ
ควบคุมทุกส่วนของชีวติ ของพลเมืองให้ได้นนั ้ เป็ นคุณสมบัตสิ าคัญของรัฐประชาชาติทต่ี ้องขยับขยายแขนขาและ
สายตาลงไปจับจ้องทุกสัดส่วนของประชากร
บทความนี้เป็ นบททดลองเสนอก่อนทีผ่ เู้ ขียนจะเริม่ ดาเนินการวิจยั เกีย่ วกับการทาแผนทีย่ ุคสงครามเย็น
ต่อไป โดยจะแบ่งการนาเสนอออกเป็ น 2 ส่วนหลัก ดังนี้ 1) เทคโนโลยีการทาแผนทีใ่ นบริบทของสงครามเย็น ซึง่
จะชี้ให้เห็นว่าการทาแผนที่ในยุคนี้เป็ นผลของการมาบรรจบพบกันของการพัฒนาเทคโนโลยี 3 ประเภท คือ
เทคโนโลยีการบิน เทคโนโลยีการถ่ายภาพและกล้อง และทักษะความรูร้ วมถึงสถาบันทีม่ คี วามเชีย่ วชาญในการทา
และอ่านแผนที่ทางอากาศ 2) กาเนิดการทาแผนทีภ่ าพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย โดยจะชีใ้ ห้เห็นว่าการทา
แผนทีจ่ ากภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทยนัน้ เป็ นผลิตผลของการเปลี่ ยนแปลงทางการเมืองในระดับโลก นัน่
คือ สภาวะของสงครามเย็นและอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา พร้อมๆกับเป็ นผลผลิตของการพัฒนาเทคโนโลยีของการ
ทาแผนทีใ่ นช่วงเวลานี้ และในบทสรุป ผูเ้ ขียนจะกลับไปสนทนากับงานเขียนก่อนหน้า 2 ชุด คือ งานศึกษาหมู่บา้ น
ของนักมานุ ษยวิทยา และงานประวัติศาสตร์การทาแผนที่ของธงชัย วินิจจะกูล เพื่อนาไปสู่การทดลองเสนอ
ข้อเสนอทางทฤษฎีต่อๆ ไป

2ดูการอภิปรายประเด็นนี้ใน Lauriston Sharp, “Philadelphia Among the Lahu,” in Lucien Hanks, Jane Hanks and Lauriston Sharp eds.,
Ethnographic Notes on Northern Thailand (Ithaca: Southeast Asian Program, Department of Asian Studies, Cornell University, 1965), pp. 84-90.

51
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เทคโนโลยีกำรทำแผนที่ในบริบทของสงครำมเย็น
นักประวัติศาสตร์การทาแผนทีค่ นสาคัญ คือ John Cloud ชี้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีการทาแผนทีข่ อง
สหรัฐฯสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกจากสงครามเย็น “การทาแผนที่ในตัวมันเองคือรูปแบบหนึ่งของวาทกรรมทาง
การเมืองทีเ่ กีย่ วข้องกับการขยายและการรักษาอานาจ”3 เช่นเดียวกัน นักภูมศิ าสตร์คนสาคัญอย่าง Brian Harley
ก็เสนอว่า แผนที่ไม่ใช่เอกสารที่เป็ นกลางปราศจากอคติ แต่แผนที่ กระบวนการสร้างแผนที่ และกระบวนการใช้
แผนทีน่ นั ้ เต็มไปด้วยเรื่องของอานาจและมีความเป็ นการเมืองในตัวของมันเอง การศึกษาเกีย่ วกับความรูข้ องการ
สร้างแผนทีส่ าหรับ Harley จึงต้องวางอยู่บนเงื่อนไขเบือ้ งต้น 3 ประการ คือ 1) บริบททางการเมืองของการสร้าง
แผนที่ ซึง่ เปลีย่ นแปลงไปในแต่ละช่วงยุคสมัย 2) อานาจและกลไกของอานาจทีก่ าหนดเนื้อหาสาระทีป่ รากฏอยู่ใน
แผนที่ และ 3) การสือ่ สาร เผยแพร่ รวมถึงการใช้แผนที่ ซึง่ ก็หมายถึงกระบวนการถอดรหัสความหมายของแผนที่
ทีใ่ นตัวของแผนทีเ่ องจะไม่มคี วามหมายใดๆ หากผูใ้ ช้แผนทีไ่ ม่สามารถเข้าใจรหัสหรือสัญญะทีอ่ ยู่ในแผนทีไ่ ด้ ใน
แง่น้กี ารใช้แผนทีจ่ งึ ต้องการความรูเ้ กีย่ วกับแผนที่ (map knowledge)4
แผนทีท่ พ่ี ฒ
ั นาขึน้ โดยสหรัฐฯในสภาวะสงครามจึงเป็ นเรื่องปกปิ ดและเป็ นความลับ (secrecy) Cloud5 ชี้
ว่า แผนทีแ่ ละเอกสารเกีย่ วกับเทคโนโลยีการทาแผนทีม่ กั จะถูกจัดให้เป็ นเอกสารลับ (classified) โดยเฉพาะอย่าง
ยิง่ การพัฒนาของศาสตร์ว่าด้วยภูมศิ าสตร์ภาคพื้นดิน (geo-spatial science) ซึ่งเป็ นการรวมเอาความรู้แขนง
ต่ า งๆเข้า มา 3 ส่ ว น คือ 1) ยีอ อเดซี (geodesy) ซึ่ง หมายถึง ความรู้แ ละเทคโนโลยีเ กี่ย วกับ สัณ ฐานโลกที่
ประกอบด้วยพืน้ ผิวหลายลักษณะ ในกรณีของไทย การสารวจแบบยีออเดซีเริม่ ขึ้ นอย่างเป็ นระบบภายใต้สญ ั ญา
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี 2495 โดยใช้การถ่ายภาพทางอากาศอัตราส่วน 1:50,000 โดย
หน่วยงานของสหรัฐฯทีเ่ ข้ามาทาการสารวจและทาโครงข่ายยีออเดติคก็คอื U.S. Coast and Geodetic Survey6 2)
ภูมศิ าสตร์ (geography) และ 3) วิชาการเขียนแผนที่ (cartography) นอกจากนี้ สหรัฐฯยังนาเอาเทคโนโลยีการ
ถ่ ายภาพทางอากาศ (aerial photography) ซึ่งถือกาเนิดขึน้ ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 1 และใช้อย่างแพร่หลาย
ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เข้ามาพัฒนาต่อด้วย โดย “เป้ าหมายหลักของการใช้การถ่ายภาพทางอากาศในการ
สอดแนม (reconnaissance) ก็มุ่งไปทีก่ ารกาหนดพิกดั ทิง้ ระเบิด และการกาหนดยุทธศาสตร์การสูร้ บในแนวราบ”7
เป็ นสาคัญ
พบว่าหน่ วยงานทีพ่ ฒั นาเทคโนโลยีดงั กล่าวจึงผูกขาดอยู่ทห่ี น่ วยงานทางการทหารเป็ นหลัก นอกจากนี้
หน่ ว ยงานที่ทางานสืบ ราชการลับ ก็เ ป็ น อีก หน่ วยงานหนึ่ ง ที่มีส่ว นทัง้ ในการท าและการใช้แผนที่ด้วย ในช่ วง
สงครามโลกครัง้ ที่ 2 สหรัฐฯใช้กลไกของการสืบราชการลับแบบเก่า นัน่ คือ ส่งสายลับที่เป็ นนักวิทยาศาสตร์
(scientist spies) เข้าไปเพื่อทาการเก็บข้อมูลและทาแผนที่ แต่เมื่อสิน้ สุดสงครามโลกครัง้ ที่ 2 แล้ว สหรัฐฯได้นาเอา
เทคโนโลยีการทาแผนทีจ่ ากเยอรมันซึง่ เป็ นฝ่ ายแพ้สงครามเข้ามา ในปี 1944 สหรัฐฯได้สง่ ทีมนักภูมศิ าสตร์ทช่ี อ่ื ว่า
HOUGH TEAM เข้าไปในเยอรมันเพื่อขโมยเอกสารเกีย่ วกับเทคโนโลยีการทาแผนทีแ่ ละการสารวจออกมา และนา

3 John C. Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” Cartography and Geographic Information Science, p. 261.
4 J. Brian Harley, “Maps, knowledge, and power,” in D. Cosgrove and S. Daniels eds., The Iconography of Landscape, p. 280.
5 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 262.
6 http://www.rtsd.mi.th/sections/Geodesy/index.php/historyofgeodesy.html
7 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 263.

52
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เอกสารดังกล่าวไปเก็บไว้ท่ี Army Map Service และเอกสารดังกล่าวกลายมาเป็ นเอกสารลับและถือเป็ นจุดเริม่ ต้น


สาคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีการทาแผนทีแ่ ละการสารวจของสหรัฐฯตลอดสงครามเย็น
ในปี 1946 สหรัฐฯได้ก่อตัง้ Inter-American Geodetic Survey (IAGS) เพื่อเป็ นหน่ วยงานในการสร้าง
ภาพทางภูมศิ าสตร์ แผนที่ และเครือข่ายความสัมพันธ์ทางกายภาพของประเทศที่เป็ นมิตรกับสหรัฐฯ เริม่ แรก
สหรัฐฯส่ง IAGS ไปเก็บข้อมูลและสารวจทีแ่ คริเบียนซึง่ เดิมเป็ นอาณานิคมของสหรัฐฯ และต่อมาก็ขยายออกไปทัว่
โลก รวมถึงเอเชียด้วย เป้ าหมายสาคัญก็คอื การสร้างภาพและแผนที่ 3 มิตทิ วทั ั ่ ง้ พืน้ ผิวโลก และเพื่อทีส่ หรัฐฯจะ
สามารถกาหนดพิกดั ทางภูมศิ าสตร์ของทุกจุดทุกทีใ่ นพืน้ ผิวโลกได้อย่างแม่นยา Cloud ชีว้ ่า ทีมนักวิทยาศาสตร์
และนักภูมศิ าสตร์ทท่ี าการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีซง่ึ ประกอบไปด้วยบุคคลสาคัญ 3 คนคือ Walder Tobler,
Frederick J. Doyle และ Amron Katz ทัง้ สามคนทางานอยู่ภายใต้สงั กัดของ CIA โดยได้รบั การสนับสนุ น และ
ความร่วมมือจาก RAND Corporation หน้าทีข่ อง Tobler ก็คอื การคิดค้นการสารวจและการทาแผนทีโ่ ดยใช้เรด้าร์
Doyle เป็ นผูพ้ ฒ ั นาเทคโนโลยีการทาแผนทีโ่ ดยการถ่ายภาพทางอากาศ หรือ photogrammetry และ Katz มุ่งไปที่
การพัฒนากล้องถ่ายภาพแบบพาโนรามา (panoramic camera) หรือทีต่ ่อมาเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ภายใต้โครงการ
ลับทีช่ ่อื ว่า CORONA8
ความสาคัญของการทาแผนทีด่ ว้ ยเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศ และสภาวะเร่งเร้าของสงครามเย็น
ได้ส่งผลให้เกิดความเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในโครงสร้างของกองทัพสหรัฐฯด้วย ในปี 1947 กองทัพของสหรัฐฯได้
สร้างหน่วยงานใหม่ทแ่ี ยกออกจากกองทัพปกติ นันคื ่ อ U.S. Army Air Force ซึง่ มีหน้าทีห่ ลักคือ 1) การสร้างแผน
ที่ และ 2) การจัดการข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลทีม่ าจากการสอดแนมและการสืบราชการลับ ส่วนภารกิจของ
กองทัพ บก (U.S. Army) ก็คือ การประมวลผลและเปลี่ย นข้อ มู ล ที่ไ ด้ม าให้เ ป็ น การก าหนดนโยบาย (data
reduction) Cloud ชีว้ ่า การแบ่งแยกภารกิจกันภายในกองทัพสหรัฐฯส่งผลให้ รูปแบบการทาและการใช้ขอ้ มูลของ
ทัง้ 2 หน่ วยงานมีความแตกต่างกันไปด้วยในตลอดช่วงสงครามเย็น นัน่ คือ “การแยกระหว่างระบบการจัดการ
ข้อมูล (data acquisition) กับระบบการประมวลผลข้อมูล (data reduction) เกิดขึน้ ควบคู่และได้รบั แรงหนุ นเสริม
จากการแบ่งแยกที่เข้มข้นขึ้นระหว่างโครงการและระบบที่เป็ นความลับ (classified) กับโครงการและข้อมูลที่
เปิ ดเผย (declassified) ลักษณะของการสร้างชัน้ ความลับในเอกสารและข้อมูลที่สมั พัน ธ์กบั การแบ่งแยกภารกิจ
ของหน่ วยงานได้ขยายออกไปทัวในทุ ่ กหน่ วยงานของภาครัฐและวงการวิชาการ ลักษณะทีว่ ่านี้กค็ อื ความเฉพาะ
ของระบบของการผลิตความรูใ้ นช่วงสงครามเย็นของสหรัฐฯ”9
การแบ่งแยกภารกิจดังกล่าวภายในกองทัพส่งผลให้ กองทัพบกสหรัฐฯสร้างความเฉพาะของตัวเองใน
ด้านการทาแผนที่โดยการถ่ายภาพทางอากาศเป็ นหลัก เนื่องมาจากการสร้างภาพแผนที่ในแนวระนาบเป็ น สิง่
สาคัญสาหรับการรบ โดยเฉพาะการรบในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่คนุ้ เคย ส่วนกองทัพอากาศมุ่งเน้นไปทีก่ ารสร้างภาพขนาดใหญ่
ทีเ่ กีย่ วพันกับภูมริ ฐั ศาสตร์ของโลก ซึง่ ไม่ใช่การสร้างภาพในแนวดิง่ แต่เ ป็ นการสร้างวิธกี ารเข้าถึงข้อมูลแบบ real
time อย่ า งไรก็ดี ในช่ ว งต้น ของสงครามเย็น ภารกิจ ทัง้ สองส่ว นของสองหน่ ว ยงานนั น้ ไม่ สอดคล้อ งกัน อัน
เนื่องมาจากไม่สามารถผสานเทคโนโลยีการถ่ายภาพในแนวระนาบกับแนวดิง่ เข้าหากันเพื่อประมวลผลร่วมกันได้
ต่ อ มาจึง มีค วามพยายามแก้ไ ขข้ อ จ ากัด ดัง กล่ า วโดยการพัฒ นาการถ่ า ยภาพแบบพาโนรามา (panoramic

8 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 266.


9 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 268-269.

53
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

photography) ขึน้ พร้อมๆกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล 10 ซึ่งเทคโนโลยีดงั กล่าวคือหัวใจของ


โครงการลับทีช่ ่อื ว่า CORONA ในปี 1958 ถึง 1972 ทีส่ หรัฐฯสามารถถ่ายและทาแผนทีข่ องส่วนต่างๆในโลกได้ใน
ภาพที่โ ค้ง ตามทรงกลมของโลก หรือ orbit ได้ นับ ตัง้ แต่ ปลายทศวรรษ 1950 เป็ นต้นมา เทคโนโลยีลบั ที่ถู ก
พัฒนาขึน้ โดยโครงการ CORONA ได้กลายมาเป็ นเครื่องมือสาคัญในการทาแผนทีข่ องสหรัฐฯ โดยแผนทีท่ ท่ี าได้
นัน้ มีความละเอียดขึน้ เรื่อยๆ ถึง 1:50,000 และสามารถถ่ายภาพส่วนต่างๆของโลกแบบเกือบจะ real time คือ
ถ่ายภาพทุกๆ 48 ชัวโมง ่ 11
Keith Clarke และ John Cloud12 ชีว้ ่า โครงการ CORONA มีความสาคัญอย่างมากในการรบของสหรัฐฯ
ในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะการถ่ายภาพจากบนฟ้ าทีผ่ สานเทคโนโลยีต่างๆได้ถูกนามาใช้ในการเปิ ดโปงข้อมูล
เกีย่ วกับฐานทัพของโซเวียตในทีต่ ่างๆ รวมถึงการสร้างแผนทีเ่ อเชียและอัฟริกาอย่างละเอียดทีส่ ุดอย่างไม่เคยมีมา
ก่อน ซึง่ เทคโนโลยีการทาแผนทีข่ องโครงการ CORONA ได้ทง้ิ มรดกสาคัญให้กบั การพัฒนาเทคโนโลยี GPS และ
automated cartography ในเวลาต่อมาจวบจนปั จจุบนั

แผนที่ทวีปอัฟริกาที่ถา่ ยโดยดาวเทียมของโครงการ CORONA


เทคโนโลยีดงั กล่าวถูกนามาใช้อย่างกว้างขวางตลอดสงครามเวียดนาม เป้ าหมายก็คอื การกาหนดพิกดั
ตาแหน่ งของศัตรูได้ “ยิง่ ขอบเขตของการทาสงครามของสหรัฐฯในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวมาก
เท่าไร แผนที่ยงิ่ ถูกสร้างและถูกใช้มากขึน้ เท่านัน้ ระบบคิดซึ่งเป็ นหัวใจสาคัญเบื้องหลังแนวคิดทางการเมืองที่
สหรัฐฯใช้ในการกาหนดแนวทางของการทาสงครามก็คอื โครงการทีเ่ รียกว่า ‘ระบบการประเมินหน่วยการปกครอง
ระดับหมู่บา้ น’ (Hamlet Evaluation System) ซึง่ เป็ นระบบทีว่ างอบู่บนทฤษฎีทส่ี ร้างขึน้ โดยนักสังคมวิทยาและนัก
รัฐศาสตร์อเมริกนั ในช่วงเวลานัน้ นักสังคมศาสตร์เหล่านี้เสนอว่า เสถียรภาพของหมู่บา้ นในเวียดนามแต่ละแห่ง
ต้องถูกวัดได้และประเมินได้บนฐานของการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บา้ น”13 โดยเทคโนโลยีการ
ทาแผนทีด่ งั กล่าวจะสอดรับและหนุ นเสริมกับการเก็บข้อมูลหมู่บา้ นในระดับพืน้ ราบ ในขณะทีก่ องทัพจะทาหน้าที่
ในการสร้างแผนทีข่ นาดใหญ่ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์กท็ าหน้าทีเ่ ก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในรายละเอียดในพื้นที่

10 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 268.


11 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 271.
12 Keith C. Clark and John C. Cloud, “On the Origin of Analytical Cartography,” Cartography and Geographic Information Science, p. 199.
13 Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 277.

54
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แต่ละแห่ง ระบบการประเมินฯดังกล่าวนี้จงึ ผสานทัง้ เทคโนโลยีการทาแผนทีภ่ ายใต้โครงการ CORONA เข้ามากับ


การทางานภาคสนามของนัก สังคมศาสตร์ในพืน้ ที่ โดยนักสังคมศาสตร์จะใช้แผนที่ทท่ี าขึน้ ไว้แล้วซึ่งในแผนทีจ่ ะ
สามารถเห็นหลังคาบ้านของบ้านทุกหลังทุกหมู่บา้ นในเวียดนาม และนักสังคมศาสตร์จะลงสนามเพื่อตรวจสอบ
ความเทีย่ งตรงและให้รายละเอียดแก่หมู่บา้ นต่างๆเพื่อเสริมกับข้อมูลภาพถ่ายแผนทีท่ ก่ี องทัพทาไว้
อย่างไรก็ดี หากเราต้องการเข้าใจว่าเทคโนโลยีการทาแผนทีข่ องสหรัฐฯพิเศษแตกต่างจากการทาแผนที่
ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการทาแผนทีใ่ นยุคอาณานิคมอย่างไร เราจาเป็ นอย่างยิง่ ต้องพิจารณาทีเ่ ทคโนโลยีการทา
แผนทีท่ ถ่ี ูกพัฒนาขึน้ เป็ นหลัก พูดให้ชดั กว่านัน้ ก็คอื เราต้องจัดวางเรื่องดังกล่าวลงบนประวัตศิ าสตร์ของเทคโนโลยี
และในทีน่ ้ีกค็ อื ประวัตศิ าสตร์ของเทคโนโลยีการทาแผนที่ โดยในช่วงก่อนหน้าสงครามโลกครัง้ ที่ 2 การทาแผนที่
โดยทัวไปนิ
่ ยมใช้การสารวจภาคพืน้ ดินโดยการใช้คณิตศาสตร์แบบตรีโกณมิติ หรือ triangulation ซึง่ เป็ นรูปแบบ
การทาแผนทีโ่ ดยทัวไปของประเทศต่
่ างๆ โดยเฉพาะในโลกตะวันตก และประเทศทีร่ บั อิทธิพลตะวันตกอย่างญี่ป่ ุน
อย่ า งไรก็ดี ข้อ จ ากัด ของการท าส ารวจแบบตรีโ กณมิติก็คือ เป็ น การส ารวจที่ใ ช้ก าลัง คนมากและล่ า ช้า 14
เช่ น เดีย วกัน การท าแผนที่ข องสยามในศตวรรษที่ 19 และต้ น ศตวรรษที่ 20 ซึ่ง รับ เอาเทคโนโลยีแ ละวิช า
คณิตศาสตร์จากเจ้าอาณานิคมตะวันตกเองก็ใช้วธิ กี ารทาแผนที่โดยการสารวจแบบตรีโกณมิตเิ ป็ นหลัก การทา
แผนทีข่ องพระวิภาคภูวดล หรือ James McCarthy ซึง่ เป็ นแผนทีส่ มัยใหม่ตามแบบตะวันตกฉบับแรกๆและมีขนาด
1:2,000,000 หรือทีใ่ ช้ช่อื ว่า Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies นัน้ ก็ใช้วธิ กี ารสารวจด้วยคน
จริงๆเป็ นหลัก โดยอิงกับการตีเส้นสามเหลี่ยมแบบตรีโกณมิติซ่งึ เป็ นวิธกี ารและเทคโนโลยีท่แี พร่หลายในโลก
ตะวันตกในขณะนัน้ การทาแผนที่โดยอาศัยวิธกี ารดังกล่าวนัน้ เต็มไปด้วยความล่าช้าและยากลาบาก ดังที่ เส็ง
วิรยศิริ หรือพระยามหาอามาตยาธิบดี เล่าประสบการณ์ในสมัยทีช่ ่วยงาน McCarthy ไว้ว่า สยามขาดทัง้ กาลังคนที่
รู้ภ าษาอัง กฤษ การฝึ ก ฝนทัก ษะของการใช้เ ครื่อ งมือ ต่ างๆที่เ กี่ย วข้อ งกับ การสารวจ รวมถึง ขาดก าลังใจใน
ความหมายทีผ่ ทู้ จ่ี ะทาหน้าทีส่ ารวจนัน้ ต้องออกเดินทางไปไกล ส่วนใหญ่ อาศัยการเดินเท้าเข้าไปในป่ าดง และต้อง
อาศัยอยู่ในป่ าดอยเป็ นระยะเวลายาวนานกว่าจะได้กลับบ้าน การทาแผนที่อย่างละเอียดภายใต้เทคโนโลยีและ
กาลังคนทีข่ าดทักษะจึงเป็ นเรื่องทีเ่ ป็ นไปไม่ได้ แผนทีใ่ นสมัยนัน้ จึงมุ่งเน้นไปทีก่ ารกาหนดเขตแดนของรัฐสยามที่
กาลังก่อรูปขึน้ มาใหม่มากกว่า และก็เป็ นแผนที่ท่ไี ม่มรี ายละเอียดในระดับเล็กๆ เพียงแต่กาหนดชื่อเมืองหรือ
จังหวัดได้กถ็ อื ว่าละเอียดมากแล้ว สาหรับเส็งแล้ว แผนทีท่ ท่ี าขึน้ ในสมัยนัน้ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็ นแผนทีท่ จ่ี ะระบุ
รายละเอียดของการถือครองทีด่ นิ หรือประชากรได้จริง แผนทีด่ งั กล่าวเป็ นเพียง “แผนทีเ่ มืองหรือจังหวัด” เท่านัน้ 15
การทาแผนที่สมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19 จึงมีขอ้ จากัดอย่างมากเมื่อเทียบกับครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20
แม้ว่าการเข้ามาของอาณานิคมตะวันตกจะมีส่วนสาคัญในการสารวจและการทาแผนที่ แต่กเ็ ป็ นเพียงแผนที่ท่ี
กาหนดเขตแดนรอบๆอาณาเขตของรัฐเสียมากกว่าทีจ่ ะเป็ นแผนทีท่ ม่ี รี ายละเอียด อัตราส่วนของแผนทีท่ ท่ี าขึน้ จึง
มุ่งไปที่อตั ราส่วนแบบ 1:2,000,000 เป็ นต้นไป มากไปกว่านัน้ การทาแผนที่ในยุคนี้ไม่ได้มุ่งไปที่ความสมบูรณ์
แบบทีค่ รอบคลุมทุกพืน้ ที่ หากจะมีการทาแผนทีท่ ล่ี ะเอียดขึน้ แล้วก็จะมุ่งเน้นการทาแผนทีเ่ ฉพาะทีเ่ จ้าอาณานิคม

14 ดูกรณีการสารวจของญีป่ ่ ุนใน Sigeru Kobayashi, “Japanese Mapping of Asia-Pacific Areas, 1873-1945: An Overview,” Cross-Currents: East
Asian History and Cultural Review, No. 2 (March 2012); กรณีของการสารวจของเจ้าอาณานิคมอังกฤษในอินเดียดู Oyndrila Sarkar, “The Great
Trigonometrical Survey: Histories of Mapping 1790-1850,” The Indian Journal of Spatial Science, Vol. 3, No. 3 (2012), pp. 3-8. และดูงานที่
ชี้ให้เห็นประวัตศิ าสตร์พฒ
ั นาการของเทคโนโลยีทาแผนทีข่ องยุโรปได้ใน David Turnbull, “Cartography and Science in Early Modern Europe:
Mapping the Construction of Knowledge Spaces,” Imago Mundi, Vol. 48 (1996), pp. 5-24. เป็ นต้น
15 พระยามหาอามาตยาธิบดี, “กาเนิดการทาแผนทีใ่ นประเทศไทย,” วารสารแผนที ่ ฉบับพิเศษครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์, ปี ท่ี 24-25 (กรกฎาคม

2524-มิถุนายน 2526), หน้า 1-18.

55
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เห็นว่าจาเป็ นจริงๆ เท่านัน้ สาเหตุสาคัญก็ดงั ทีก่ ล่าวไปแล้วข้างต้นคือ ต้นทุนของการทาแผนทีโ่ ดยการสารวจแบบ


ตรีโกณมิตนิ นั ้ สูงมาก ในกรณีของอินเดีย จักรวรรดิองั กฤษต้องใช้เวลาหลายสิบปี กว่าจะทาแผนทีไ่ ด้ครอบคลุม แต่
แผนทีท่ ล่ี ะเอียดทีส่ ดุ ทีท่ าได้กเ็ ป็ นแผนทีอ่ ตั ราส่วน 1:253,440 เท่านัน้ 16 ต้องรอจนถึงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการ
เกิดขึน้ ของสงครามโลกทัง้ 2 ครัง้ จึงจะทาให้เทคโนโลยีการทาแผนทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ได้แบบก้าวกระโดด และเทคโนโลยี
ดังกล่าวคือเงื่อนไขสาคัญทีส่ ดุ ของการทาแผนทีท่ ค่ี รอบคลุมและละเอียดลงลึกมากขึน้ ตลอดศตวรรษที่ 20
ข้อเสนอเบือ้ งต้นในส่วนนี้กค็ อื การทาความเข้าใจความรูแ้ ละเทคโนโลยีเกีย่ วกับการทาแผนที่สมัยใหม่
โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 20 นัน้ ต้องแยกออกเป็ นอย่างน้อย 3 ช่วงคือ ช่วงแรก ก่อนหน้าสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ซึง่
โลกตะวันตกใช้ความรูท้ างคณิตศาสตร์คอื หลักตรีโกณมิตแิ ละใช้การสารวจในการทาแผนทีเ่ ป็ นหลัก ช่วงทีส่ อง คือ
ช่วงสงครามโลกครัง้ สองและสองทศวรรษแรกของสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาคือผูน้ าในการพัฒนาเทคโนโลยีการ
ทาแผนทีโ่ ดยมีการผสมผสานเอาความรูห้ ลายประการเข้ามา ตัง้ แต่เทคโนโลยีการบิน เทคโนโลยีการถ่ายภาพและ
การผลิตกล้อง และการสร้างสถาบันและผูเ้ ชีย่ วชาญในการสร้างและตีความแผนที่ แรงผลักดันสาคัญของสหรัฐฯใน
ช่วงเวลานี้กค็ อื การป้ องกันและปราบปรามการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะการปฏิบตั กิ ารทางการทหาร
ของสหรัฐฯในสงครามเวียดนามและภูมภิ าคเอเชียแปซิฟิค เทคโนโลยีทส่ี าคัญทีส่ ดุ ในช่วงเวลานี้กค็ อื การถ่ายภาพ
ทางอากาศและการทาแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ และช่วงที่สาม คือ หลังจากทศวรรษ 1960 เป็ นต้นมาที่
สหรัฐฯได้พฒ ั นาเทคโนโลยีดาวเทียมทีส่ ามารถถ่ายภาพจากนอกโลกได้ โดยเฉพาะการพัฒนาการถ่ายภาพด้วย
ดาวเทียมภายใต้โครงการทีเ่ รียกว่า CORONA ซึง่ เป็ นโครงการลับทีส่ หรัฐฯใช้เพื่อการสอดแนมอาวุธยุทโธปกรณ์
และฐานทัพของโซเวียต และการถ่ายภาพด้วยดาวเทียมดังกล่าวยังใช้ในการทาแผนทีท่ วีปอัฟริกาอย่างละเอียด
ด้วย เทคโนโลยีดาวเทียมดังกล่าวนี้เองกลายมาเป็ นฐานสาคัญสาหรับการพัฒนาระบบ GIS และ GPS รวมถึง
google map ในปั จจุบนั 17
อย่ า งไรก็ดี บทความนี้ มุ่ ง เน้ น ศึก ษาเฉพาะช่ ว งที่ส อง คือ สองทศวรรษแรกของสงครามเย็น และ
เฉพาะเจาะจงเฉพาะการทาแผนทีใ่ นประเทศไทยเป็ นหลัก ก่อนทีจ่ ะไปถึงการทาแผนทีใ่ นประเทศไทย ผูเ้ ขียนจะ
จัดวางประเด็นดังกล่าวโดยเชื่อมโยงกับประวัตศิ าสตร์ของการพัฒนาเทคโนโลยี โดยจะชีใ้ ห้เห็นว่าการทาแผนทีใ่ น
ประเทศไทยในสองทศวรรษแรกของสงครามเย็น นั น้ เกิด ขึ้น ได้โ ดยอาศัย การมาบรรจบกัน ของความรู้แ ละ
เทคโนโลยีสาคัญของช่วงเวลานี้ใน 3 ส่วนคือ เทคโนโลยีการบิน เทคโนโลยีการถ่ายภาพและกล้อง และการสร้าง
สถาบันและผูเ้ ชีย่ วชาญในการทาแผนทีจ่ ากภาพถ่ายทางอากาศ

เทคโนโลยีการบิน
สยามมีความพยายามในการเข้าถึงเทคโนโลยีการบินมาตัง้ แต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็ นอย่างน้อยภายใต้
ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิง่ สงครามโลกครัง้ ที่ 1 และ 2 ที่สยาม/ไทย
กลายมาเป็ นส่วนหนึ่งของสงคราม ภายหลัง 2475 การบินยังถือเป็ นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กบั รัฐ
ประชาชาติของไทยที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย 18 อย่างไรก็ดี การที่ไทยกลายเป็ นส่วนหนึ่งของสงครามเวีย ดนามและ

16 Matthew H. Edney, Mapping an Empire: The Geographical Construction of British India, 1765-1843 (Chicago and London: The University
of Chicago Press, 1997), p. 30.
17 ดูเพิม
่ เติมใน Cloud, “American Cartographic Transformation during the Cold War,” 261-292.; Clark and Cloud, “On the Origin of Analytical
Cartography,” 195-204.; John C. Cloud, “Imaging the World in a Barrel: CORONA and the Clandestine Convergence of Earth Science,”
Social Studies of Science, 31/2 (April 2001), pp. 231-251.
18 ดู Edward M. Young, Aerial Nationalism: A History of Aviation in Thailand (Washington and London: Smithsonian Institution Press, 1995)

56
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สงครามเย็นนัน้ ยิง่ เร่งเร้าให้ไทยเปิ ดรับเทคโนโลยีการบินจากมหาอานาจอย่างสหรัฐอเมริกามากขึน้ อย่างเทียบ


ไม่ได้กบั ช่วงก่อนหน้านัน้ สาหรับประวัตศิ าสตร์การทหารของช่วงสงครามเวียดนามนัน้ แน่นอนว่า ปฏิบตั กิ ารของ
กองทัพอากาศสหรัฐฯในภูมภิ าคนี้มคี วามสาคัญอย่างมาก ปั ญหาใหญ่ของปฏิบตั กิ ารของสหรัฐฯในเวียดนาม การ
ทีเ่ ครื่องบินในช่วงแรกบินต่ าเกินไป ในปี เดียวกัน สหรัฐฯแก้ปัญหาโดยการนาเข้ าเครื่องบินทีส่ ามารถบินได้สงู ขึน้
แต่กส็ ามารถเล็งเป้ าหมายที่ศตั รูได้ชดั ขึน้ ไปพร้อมๆกัน ซึ่งเรียกปฏิบตั ิการนี้ว่า Bird Eye โดย Bird Eye ซึ่งใช้
เครื่องบินรุ่น F-4C มีเป้ าหมายสาคัญ คือ “การสอดส่องด้วยเรดาร์บนทีส่ งู ” โดยบินออกจากฐานทัพของสหรัฐฯ ใน
ประเทศไทยเพื่อสอดแนมในเวียดนามและลาว โดยเฉพาะอย่างยิง่ การบินไปทิ้งระเบิดและสอดแนมเส้นทาง
โฮจิมนิ ห์19 อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาเดียวกัน สหรัฐฯได้ทดลองนาเข้าเครื่องบินรุ่น RF-101 หรือ Voodoo จานวน 4
ลาเข้ามาเพื่อปฏิบตั ิการการสอดแนมทางอากาศโดยเฉพาะ ในการนาเข้า Voodoo กองทัพอากาศสหรัฐจะส่ง
เครื่องบินเข้ามาลงเทียบท่าทีส่ นามบินดอนเมือง ต่อจากนัน้ จะส่งไปประจาการทีฐ่ านทัพสหรัฐฯในภาคอีสานของ
ประเทศไทย ในการปฏิบตั กิ ารสอดแนม Voodoo จะบินออกจากฐานทัพในประเทศไทยเพื่อตระเวนถ่ายภาพทาง
อากาศทัง้ ในประเทศไทย เวียดนาม และลาว เมื่อได้ภาพถ่ายทางอากาศแล้วจะส่งภาพเหล่านัน้ ไปทีฐ่ านทัพ Clark
ทีฟ่ ิ ลปิ ปิ นส์เพื่อประมวลผลและแปรภาพถ่ายเหล่านัน้ ออกมาเป็ นแผนทีท่ างอากาศ20 คุณสมบัตสิ าคัญของ Voodoo
ก็คอื ระดับการบินทีส่ งู จากพืน้ ดินซึง่ ทาให้ศตั รูไม่สามารถยิงเครื่องบินประเภทนี้จนตกจากฐานทัพภาคพืน้ ดินได้
มากไปกว่านัน้ Voodoo แต่ละลาจะสามารถบรรจุกล้องถ่ายภาพทางอากาศได้ซง่ึ มีขนาดใหญ่และสามารถถ่ายได้
จากทีส่ งู จากระดับพืน้ ดินได้ไม่น้อยกว่า 4 ตัว
เทคโนโลยีการบินโดยเฉพาะเครื่องบินรุ่น Voodoo ถูกนามาใช้ปฏิบตั กิ ารสอดแนมทางอากาศของสหรัฐฯ
ในช่วงนี้มคี วามสาคัญอย่างมากต่อการหาความรู้และสร้างภาพแผนที่ของภูมภิ าคนี้ โดยเฉพาะ Voodoo เป็ น
เครื่องบินที่มสี ่วนสาคัญในการใช้ทาแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทยอย่างเป็ นระบบเป็ นครัง้ แรก
ภาพถ่ า ยทางอากาศเหล่ า นี้ มีความสาคัญต่ อ การรบอย่ างยิ่ง การสอดแนมทางอากาศมีเ ป้ า หมายสาคัญเพื่อ
แก้ปัญหาทางการทหารที่สหรัฐฯขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับพื้นทีแ่ ละฐานทัพของฝ่ ายคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯมีเพียง
แผนที่เก่าสมัยอาณานิคมที่ทาขึน้ โดยฝรังเศส
่ แต่ ก็เป็ นแผนที่ท่ลี ้าสมัยและจากัดอยู่เฉพาะในตัวเมืองสาคัญๆ
เท่านัน้ การนาเข้าและการพัฒนาเทคโนโลยีการบินแบบใหม่ๆทีส่ ามารถทาหน้าทีเ่ ก็ บข้อมูลจากทางอากาศได้จงึ
เป็ นเรื่องสาคัญสาหรับสหรัฐฯ

เทคโนโลยีการถ่ายภาพและกล้อง

เครื่องบินสอดแนม RF-101 หรือ Voodoo การติดตั้งกล้องถ่ายภาพทางอากาศจานวน 4 ตัว


ที่ด้านหน้าของเครื่องบิน

19 Robert Frank Futrell and others, Aces & Aerial Victories: U.S. Air Force in Southeast Asia, 1965-1973 (Washington: Office of Air Force
History, USAF, 1976), p. 4.
20 Robert F. Futrell, The United States Air Force in Southeast Asia: The Advisory Years to 1965 (Washington: Office of Air Force History,

USAF, 1981), pp. 74-75.

57
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นอกจากนี้ สิ่ง ที่จ าเป็ น อย่า งยิ่งต่ อ การสอดแนมทางอากาศก็คือ เทคโนโลยีก ารถ่ า ยภาพและกล้อง
คุณภาพสูง กล้องถ่ายภาพทางอากาศของสหรัฐฯในระหว่างสงครามโลกครัง้ ที่ 2 และช่วงต้นของสงครามเย็นเป็ น
กล้องที่ผลิตโดยบริษัท Fairchild Aviation ซึ่งก่อตัง้ ขึน้ ในปี 1927 ตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ บริษัทนี้มุ่งเน้นการผลิตกล้อง
สาหรับถ่ายภาพทางอากาศให้กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็ นหลัก ในทศวรรษ 1950 Fairchild ได้คดิ ค้นกล้องถ่ายภาพ
ทางอากาศทีส่ ามารถถ่ายด้วยระบบอัตโนมัตไิ ด้ จากเดิมทีก่ ารถ่ายภาพทางอากาศต้องอาศัยกาลังคนอย่างน้อย 2
คนต่อการบินขึน้ ถ่ายภาพ คือ คนขับเครื่องบิน 1 คน และคนถ่ายภาพอีก 1 คน แต่การคิดค้นเทคโนโลยีของกล้อง
ทีถ่ ่ายอัตโนมัตแิ ละเทคโนโลยีเรดาร์ รวมถึงการคิดค้นกล้องทีม่ คี วามไวสูง จึงทาให้กล้องของ Fairchild สามารถ
ถ่ายภาพทางอากาศได้อย่างง่ายดายเมื่อติดตัง้ บนเครื่องบินทีบ่ นิ สูงถึง 500 ฟุต กล้องทีส่ ามารถถ่ายในทีส่ งู ได้นนั ้ มี
ความสาคัญและสัมพันธ์กบั เทคโนโลยีการบิน เพราะภายหลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถสร้างเครื่องต่ อต้าน
ทางอากาศ (anti-aircraft machine) ที่สามารถยิงเครื่องบินที่บินเข้ามาสอดแนมทางอากาศได้ ส่งผลให้สหรัฐฯ
จาเป็ นต้องพัฒนาเครื่องบินสอดแนมทีส่ ามารถถ่ายภาพทางอากาศในระดับของการบินทีส่ งู ขึน้ ไปอีกเพื่อหลีกเลีย่ ง
การถูกยิงจากพื้นดินโดยฝ่ ายตรงข้าม เช่นเดียวกัน เมื่อเครื่องบินบินสูงขึน้ กล้องที่ใช้กต็ ้อง มีคุณภาพดีขน้ึ คือ
สามารถถ่ายภาพที่ชดั เจนจากทีส่ ูงมากๆได้ และ Fairchild ก็คอื ผู้คดิ ค้นเทคโนโลยีกล้องสอดแนมทางอากาศที่
สาคัญทีส่ ุดของสหรัฐฯในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 การใช้กล้องทีม่ คี ุณภาพสูงเหล่านี้มคี วามสาคัญอย่างมาก
ในช่วง 2 ทศวรรษแรกของสงครามเย็น เพราะในภายหลังคือในปลายทศวรรษ 1960 สหรัฐฯเริม่ โครงการทีช่ ่อื ว่า
CORONA ซึ่งมุ่งที่การถ่ายภาพ การสอดแนม และการทาแผนที่จากดาวเทียมเป็ นหลัก กล้องและการถ่ายภาพ
ทางอากาศโดยเครื่องบินจึงลดความสาคัญลงไปด้วย

กล้องถ่ายภาพทางอากาศของบริษัท Fairchild
สถาบันและผู ้เชี่ ยวชาญในการทาและอ่านแผนที่
James B. Campbell ชี้ว่า นับตัง้ แต่สงครามโลกครัง้ ที่ 1 สหรัฐฯเริม่ ให้ความสาคัญกับการทดลองการ
ถ่ า ยภาพทางอากาศมากขึ้น เมื่อ เทีย บกับ ประเทศตะวัน ตกอื่น ๆในยุ โ รปแล้ว สหรัฐ ฯดู จ ะเป็ น ประเทศที่มี
ความก้าวหน้าทีส่ ุดในการมุ่งมันพั
่ ฒนาเทคโนโลยีการถ่ ายภาพทางอากาศ เห็นได้ชดั จากการก่อตัง้ โรงเรียนสอน
การสอดแนมและการหาข่าวให้แก่ทหารทีช่ ่อื ว่า AEF Intelligence School (1918) ในทันทีหลังจากสิน้ สุดสงคราม
สาเหตุสาคัญของการก่อตัง้ โรงเรียนดังกล่าวก็คอื การตระหนักถึงภาวะการขาดแคลนข้อมูลของฝ่ ายตรงข้าม ทุก
ฝ่ ายรบกันโดยที่ไม่มแี ผนที่ของค่ายทหารและหน่ วยรบของศัตรู Campbell ชี้ว่า ด้วยความมุ่งมันดั ่ งกล่าว “การ

58
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ทดลองทางการทหารของสหรัฐฯในการใช้กล้องถ่ายภาพในช่วงระหว่างสงครามโลกทัง้ สองครัง้ คือเงื่อนไขสาคัญให้


เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศทัง้ ทีใ่ ช้ในการทหารและใช้ในกิจการพลเรือนในเวลาต่อมา”21
ในขณะทีส่ หรัฐฯให้ความสาคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศ เจ้าอาณานิคมเก่าอย่าง
อังกฤษกลับมีลกั ษณะอนุ รกั ษนิยมอย่างมาก โดยรัฐบาลอังกฤษเองไม่ได้ให้ความสาคัญกับการทาแผนที่ด้วย
ภาพถ่ายทางอากาศมากนัก แต่ยงั คงใช้การสารวจด้วยการลากเส้นตรีโกณมิตแิ บบเก่าอยู่22 ส่งผลให้สหรัฐฯดูจะ
เป็ นมหาอานาจเดียวทีถ่ อื ครองเทคโนโลยีในการทาแผนทีด่ งั กล่าวอย่างค่อนข้างเบ็ดเสร็จ (แม้ว่าเยอรมันจะเป็ น
ประเทศหนึ่งทีม่ เี ทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศและการทาแผนทีท่ ท่ี นั สมัย แต่อานาจของเยอรมันกลับจากัด
อยู่เฉพาะในยุโรป เมื่อพ่ายแพ้สงครามโลกครัง้ ที่ 2 แล้ว เทคโนโลยีการทาแผนที่ของเยอรมันได้ถูกยึดไปโดย
กองทัพสหรัฐฯ) ในระหว่างสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ฝ่ ายต่างๆเริม่ ใช้การสอดแนมด้วยการถ่ายภาพทางอากาศมากขึน้
แต่ดว้ ยข้อจากัดและเงื่อนไขเฉพาะ ญี่ป่ ุนซึง่ พัฒนาการทาแผนทีม่ าตัง้ แต่ศตวรรษที่ 19 แล้วก็ยงั ไม่สามารถแปล
ภาพถ่ายทางอากาศให้เป็ นแผนทีท่ ม่ี มี าตรฐานได้ กอปรกับในช่วงสงคราม ญีป่ ่ นุ เองไม่ได้สนใจการทาแผนทีท่ เ่ี ป็ น
ระบบครอบคลุมแบบมีมาตรฐานเดียว ภาพถ่ ายทางอากาศที่กองทัพญี่ป่ ุนถ่ ายจึงจากัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านัน้
โดยเฉพาะพืน้ ทีท่ เ่ี กีย่ วข้องกับการทหารและการรบ ในช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯจึงเป็ นเพียงประเทศเดียวทีม่ กี าร
สร้างหน่ วยงานและผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการทาแผนทีแ่ ละการอ่านแผนทีข่ น้ึ มาอย่างเป็ นระบบพร้อมๆกับเทคโนโลยีท่ี
พัฒนาขึน้ มาได้ คือ U.S. Army Map Service (AMS) ซึง่ ในเวลาต่อมา สหรัฐฯยุบรวมหน่วยงานต่างๆรวมทัง้ AMS
เป็ น National Geospatial-Intelligence Center (NGIC) AMS คือหน่ วยงานของสหรัฐฯทีร่ บั ผิดชอบการทาแผนที่
ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 และในช่วงต้นของสงครามเย็น ถือกาเนิดขึน้ ในปี 1941 และปฏิบตั ภิ ารกิจการทาแผนที่
จนถึงปี 1968 (หลังจากนัน้ ผูร้ บั ผิดชอบหลักคือ NGIC ซึง่ เน้นการถ่ายภาพด้วยดาวเทียม) นับเฉพาะช่วงสงคราม
เวียดนามคือประมาณ 2 ทศวรรษ AMS สามารถผลิตแผนทีไ่ ด้กว่า 200 ล้านชิน้ ในช่วงต้นของสงครามเวียดนาม
AMS รับผิดชอบในการทาแผนทีม่ าตรฐานสัดส่วน 1: 50,000 เพื่อใช้ในการทหารในเวียดนาม (แผนทีฉ่ บับ L7014
และ L8020 ซึ่งทาในปี 1964 และ 1965 จนถึง 1971) ลาว (แผนที่ฉบับ L7015 ทาในปี 1965) กัมพูชา (ฉบับ
L7015) และไทย (แผนที่ฉ บับ L708 ท าเสร็จ สิ้น ในปี 1969) อย่ า งไรก็ดี ก่ อ นหน้ า ทศวรรษ 1960 ท่ า มกลาง
สัญญาณความพ่ายแพ้ของฝรังเศสในเวี ่ ยดนาม และในบรรยากาศทีส่ หรัฐฯเริม่ หวาดกลัวชัยชนะของคอมมิวนิสต์
เวียดนามและคอมมิวนิสต์จีนในภูมิภาคนี้ AMS ได้ริเริ่มทาแผนที่ภูมิภาคนี้มาก่อนแล้วในปี 1954 ซึ่งเป็ นปี ท่ี
ฝรังเศสแพ้
่ ขบวนการกู้ชาติเวียดนาม 23 โดยเป็ นการสารวจและการทาแผนทีช่ ุด L509 หรือที่เรียกว่า Indochina
and Thailand แต่แผนที่ชุดนี้มีอตั ราส่วน 1:250,000 ซึ่งขาดความละเอียด แผนที่ท่ลี ะเอียดมากขึน้ ในอัตราส่วน
1:50,000 และ 1:12,500 ซึง่ สัมพันธ์กบั เทคโนโลยีของกล้องและเทคโนโลยีการบินนัน้ เพิง่ เกิดขึน้ ในทศวรรษ 1960
เท่านัน้
Martin K. Gordon ชี้ว่า เป้ าหมายของการสารวจโดย AMS ซึ่งมีบทบาทในภูมภิ าคนี้และโดยเฉพาะใน
เวียดนามก็คอื “การรวบรวมข้อมูลชื่อในพืน้ ทีส่ าหรับการทาแผนทีส่ นามของเวียดนามและประเทศอื่นๆใกล้เคียง
เช่นเดียวกับหน่ วยงานอย่าง Naval Oceanographic Office และ Aeronautical Chart and Information Center ที่

21 James B. Campbell, “Origins of Aerial Photographic Interpretation, U.S. Army, 1916 to 1918,” Photogrammetic Engineering & Remote
Sensing, Vol. 47, No. 1 (January 2008), pp. 77-93.
22 ดู Michael Hefferman, “The Politics of the Map in the Early Twentieth Century,” Cartographyand Geographical Information Science, Vol.

29, No. 3 (2002), pp. 207-226.


23 Martin K. Gordon, “New Look at Vietnam War Support,” Pathfinder (January/February 2012), pp. 34-35.

59
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

มีเป้ าหมายเพื่อกาหนดชื่อเรียกของสถานทีแ่ ละสิง่ ต่างๆลงในตารางข้อมูลเกี่ยวกับผืนน้ าและอากาศ รวมถึงการ


รวบรวมและตีพมิ พ์รายละเอียดของประเทศต่างๆด้วยรายการชื่อทีม่ มี าตรฐานเดียวกันโดยมุ่งตอบสนองต่อการใช้
งานของกองทัพและรัฐบาลในหลากหลายรูปแบบ”24 Gary E. Weir ชีว้ ่า การทดลองทาแผนทีท่ างอากาศในภูมภิ าค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นของสงครามเย็นมีความสาคัญอย่างมากต่อรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิง่
การที่สหรัฐฯให้ความสาคัญกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมภิ าคนี้นับตัง้ แต่ท่สี หรัฐฯตัดสินใจเข้าสนับสนุ นการ
ปราบปรามคอมมิวนิสต์ของฝรังเศส ่ อุปสรรคสาคัญของกองทัพสหรัฐฯในเวียดนามในทศวรรษ 1950 ก็คอื การ
ขาดข้อมูลพืน้ ฐานทัง้ ในเชิงภูมศิ าสตร์และในเชิงประชากรศาสตร์ของภูมภิ าคนี้ สหรัฐฯพบว่า แผนทีท่ ท่ี าโดยอาณา
นิคมฝรังเศสนั
่ น้ ล้าสมัยและขาดความเทีย่ งตรงแม่นยา ซึง่ ก็เป็ นสิง่ ทีเ่ ข้าใจได้ทงั ้ ในแง่ของอายุของแผนทีแ่ ละในแง่
ของเทคโนโลยีทฝ่ี รังเศสใช้
่ “การเข้ามาเกีย่ วพันทางการทหารทีเ่ พิม่ ขึน้ ของสหรัฐฯจึงจาเป็ นต้องมีขอ้ มูลทีเ่ ทีย่ งตรง
เกีย่ วกับชื่อของสิง่ ต่างๆทัง้ ทีเ่ ป็ นธรรมชาติและสิง่ สร้างของมนุ ษย์ในเวียดนามและประเทศรายล้อมทีเ่ กีย่ วข้องกับ
สงคราม ความจาเป็ นดังกล่าวได้มุ่งไปสู่การสร้างแผนที่และตารางข้อมูลจานวนมากสาหรับตอบโจทย์ให้กบั การ
ปฏิบตั ิการทางการทหารในภูมภิ าคนี้ ”25 การทาแผนที่ทางอากาศจึงเป็ นเทคโนโลยีใหม่ทถ่ี ูกนามาใช้เพื่อการ
สงคราม ดังที่ Peter Collier ชี้ว่า คุณสมบัติหรือข้อได้เปรียบสาคัญของการทาแผนที่จากภาพถ่ ายทางอากาศ
(photogrammetry) ก็คือ “มันสร้างโอกาสให้เราสามารถสารวจอย่ างละเอียดลออต่ อพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้โ ดยที่
ประหยัดต้นทุนทีส่ ดุ ตราบเท่าทีเ่ รามีเทคโนโลยีและเครื่องมือทีเ่ พียงพอ”26
สาหรับความละเอียดของการถ่ายภาพทางอากาศซึง่ เป็ นการมองจากแนวดิง่ นวลศิริ วงศ์ทางสวัสดิ ์ ชีว้ ่า
ในการถ่ายภาพทางอากาศนัน้ “บ้านจะเห็นแต่หลังคา ต้นไม้จะเห็นแต่ยอด รูปถ่ายทางอากาศมีลกั ษณะคล้ายกับ
แผนที่ แต่มรี ายละเอียดกว่ามาก เพราะว่าทุกสิง่ ทุกอย่างทีป่ รากฏบนพื้นผิวจะถูกบันทึกไว้ทงั ้ หมด ไม่ว่าจะเป็ น
ร่องรอยทางน้าเก่า ทางเดิน คันนา กองฟาง หนองน้าขนาดเล็กๆ ฯลฯ” และภาพทีไ่ ด้จะมีลกั ษณะเป็ นภาพสามมิติ
คล้ายตาของคนทีม่ องจากบนฟ้ า ซึง่ ในการมองเห็นภาพในลักษณะนูนสูงนูนต่าก็ตอ้ งใช้กล้องสามมิตหิ รือทีเ่ รียกว่า
stereoscope มาช่วย โดย “คุณสมบัตทิ ด่ี อี ย่างหนึ่งของรูปถ่ายทางอากาศก็คอื เมื่อนาคู่ภาพ ซึง่ เป็ นรูปข้างเคียง
กัน 2 รูปถ่ายเหลื่อมซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 มาส่องดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ จะเห็นความสูงของวัตถุ ท่มี ี
ความสูงคือภาพทีด่ นู นั ้ จะมีลกั ษณะเป็ นภาพสามมิติ ภูมปิ ระเทศใดเป็ นเนินหรือทีส่ งู ก็จะเห็นสูงขึน้ มา ทีใ่ ดเป็ นร่อง
ก็จะดูลกึ ลงไป เหมือนมองดูจากภูมปิ ระเทศจริงๆ”27 ความละเอียดของภาพถ่ายทางอากาศจึงขึน้ กับระดับของ
ความสูงต่ าของการบิน ความละเอียดของกล้อง และความสามารถรวมถึงเครื่องมือในการแปลงภาพถ่ายมาเป็ น
แผนที่ (เครื่องมือ เช่น กล้อง ระบบการคานวณ grid และความรูเ้ กีย่ วกับการคานวณความโค้งของโลก) เป็ นสาคัญ
แน่ นอนว่า นอกจากแผนที่ทางอากาศทีท่ าขึน้ โดยสหรัฐฯจะมีความละเอียดอย่างมากที่สามารถระบุถงึ
ตาแหน่ งของหมู่บา้ น ถนนหนทาง รายละเอียดสถานทีต่ ่างๆ รวมถึงการเคลื่อนกาลังพลของศัตรูได้กต็ าม แต่สงิ่ ที่
ขาดไปในแผนทีท่ น่ี อกจากชื่อของสถานทีก่ ค็ อื รายละเอียดทางสังคมวัฒนธรรม วิถชี วี ติ ความเป็ นอยู่ ความคิดจิตใจ
และการหาเลี้ยงชีพของกลุ่มคนที่อยู่ในรายชื่อสถานที่แ ละหมู่บ้านต่ างๆในแผนที่ แม้จะมีแผนที่ท่สี ามารถให้
รายละเอียดทางกายภาพของพืน้ ทีไ่ ด้ แต่การสารวจและการลงพืน้ ทีเ่ พื่อเก็บข้อมูลคุณสมบัตขิ องผูค้ นในเชิงสังคม

24 Gordon, “New Look at Vietnam War Support,” 35.


25 Gary E. Weir, “The Evolution of Geospatial Intelligence and the National Geospatial-Intelligence Agency,” Intelligencer: Journal of U.S.
Intelligence Studies, Vol. 21, No. 3 (Fall/Winter 2015), p. 55.
26 Peter Collier, “The Impact on Topographic Mapping of Developments in Land and Air Survey,” Cartography and Geographic Information

Science, Vol. 29, No. 3 (2002), p. 170.


27 นวลศิร ิ วงศ์ทางสวัสดิ ์, ชุมชนโบราณในเขตล้านนา (เชียงใหม่: ภาควิชาภูมศ
ิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528), หน้า 27.

60
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

วัฒนธรรมก็ยงั เป็ นสิง่ จาเป็ นเพื่อทีจ่ ะเติมเต็มสิง่ ทีต่ วั แผนทีเ่ องบอกเล่าไม่ได้ ในทางกลับกัน หากปราศจากแผนทีท่ ่ี
สามารถระบุพน้ื ทีท่ างกายภาพอย่างละเอียดแล้ว การเก็บข้อมูลภาคสนามในเชิงวัฒนธรรมและชาติพนั ธุว์ รรณนา
เพื่อมาเติมในพื้นที่ว่างของแผนที่กจ็ ะเป็ นสิง่ ที่เป็ นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน แผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศจึงเป็ น
เครื่องมือสาคัญของการเก็บข้อมูลและระบุตาแหน่งแห่งทีข่ องสภาพชีวติ ความเป็ นอยู่ของคนทีส่ มั พันธ์กบั พืน้ ทีท่ าง
กายภาพ เช่น แหล่งเพาะปลูกและแหล่งน้าซึง่ สัมพันธ์กบั การหาเลีย้ งชีพ การเคลื่อนทีข่ องผูค้ น/หมู่บา้ นซึง่ สัมพันธ์
กับลักษณะทางชาติพนั ธุ์ เป็ นต้น ประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับเอกสารของกรมแผนทีท่ หารทีช่ แ้ี จงถึงความจาเป็ น
ของการสารวจภาคพืน้ ดินควบคู่ไปด้วยว่า “อาจมีอกี อย่างหนึ่งทีบ่ างท่านเข้าใจว่า ถ้าทาแผนทีจ่ ากรูปถ่ายแล้ว ก็
ไม่จาเป็ นต้องออกป่ าฝ่ าดง อันนี้นบั ว่าผิดถนัด เพราะกล้องถ่ายรูปนัน้ ใครเคยใช้กย็ ่อมทราบแล้วว่ามันถ่า ยได้เพียง
‘รูป’ แต่ ‘นาม’ มันถ่ ายไม่ติด ดังนัน้ หมู่บ้านอาจปรากฏในรูปถ่ ายรูปหนึ่ง แต่ ไม่มีใครทราบว่าชื่อหมู่บ้านอะไร
นอกจากนัน้ ยังแม่น้ า หนอง ชื่อวัด ชื่อโรงเรียน และอื่นๆ เล็กๆ น้อย ซึง่ แผนทีท่ ด่ี ตี อ้ งมีช่อื ปรากฏโดยละเอียด”28
ในแง่น้ี ภาพถ่ายทีแ่ ม้จะมีความละเอียด แต่กไ็ ม่เพียงพอในตัวมันเอง ภาพถ่ายเพียงแต่ระบุตาแหน่งหรือพิกดั ของ
สิง่ ต่างๆว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนบนโลก แต่ภาพถ่ายไม่สามารถระบุช่อื เสียงเรียงนามและคุณสมบัตใิ นด้านต่างๆ ของ
สิง่ ทีเ่ ห็นในแผนทีไ่ ด้
แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศทีท่ าในช่วงเวลานี้มสี ่วนช่วยและสัมพันธ์ อย่างแยกไม่ออกจากงานชาติพนั ธุ์
วรรณนาทัง้ ทีท่ าโดยรัฐบาลสหรัฐฯ กองทัพและหน่วยงานความมันคง ่ นักมานุษยวิทยาสหรัฐฯ และผูเ้ ชีย่ วชาญของ
หน่วยงานราชการพืน้ ถิน่ ทีท่ างานให้กบั ฝ่ ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ข้อมูลทีม่ าประกอบกันระหว่างแผนทีจ่ ากภาพถ่าย
ทางอากาศและข้อมูลจากการทาวิจยั หมู่บา้ นจะถูกนาไปใช้เพื่อกาหนดทัง้ ยุทธศาสตร์ยุทธวิธที างการทหารและทัง้
การทาสงครามจิตวิทยาในระดับล่างสุดของสังคมนันคื ่ อหน่ วยทีเ่ รียกว่าหมู่บา้ น การเห็นและเข้าใจจึงเป็ นสิง่ ทีต่ อ้ ง
พึง่ พาอาศัยกันในทรรศนะของผูก้ าหนดนโยบายความมันคง ่ 29

กำเนิดกำรทำแผนที่ภำพถ่ำยทำงอำกำศในประเทศไทย

ก่อนการสิน้ สุดสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในภูมภิ าคนี้ท่แี ม้จะเคยตกเป็ นอาณา


นิคมของยุโรปไม่เคยมีการทาแผนทีม่ าตรฐานมาก่อน สาเหตุสาคัญมีอยู่ 2 ประการ คือ หนึ่ง เจ้าอาณานิคมยุโรป
ไม่ได้สนใจจะทาแผนทีท่ ม่ี มี าตรฐานทัวทั ่ ง้ ประเทศ แต่มุ่งเน้นเฉพาะการทาแผนทีแ่ ละการสารวจเฉพาะบริเวณหรือ
การทาแผนทีเ่ กีย่ วกับทรัพยากรธรรมชาติเท่าทีจ่ าเป็ นสาหรับการปกครองและการแย่งชิงผลประโยชน์ต่อประเทศ
อาณานิคมเท่านัน้ และสอง เจ้าอาณานิคมยุโรปขาดแคลนเทคโนโลยีทส่ี ามารถทาแผนทีท่ เ่ี ป็ นมาตรฐานเดียวกัน
ครอบคลุมพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ การสารวจด้วยคนผ่านเทคโนโลยีตรีโกณมิตนิ นั ้ ใช้กาลังคนและทรัพยากรอื่นๆสูงมาก
การทาแผนทีม่ าตรฐานอย่างละเอียดต้องรอการเข้ามาของเทคโนโลยีแบบใหม่คอื การทาแผนทีจ่ ากภาพถ่ายทาง
อากาศของสหรัฐอเมริกาแล้วเท่านัน้ ชัดเจนว่า สหรัฐฯเข้ามามีบทบาทในภูมภิ าคนี้เต็มตัวก็เมื่อภายหลังจากการ
สิน้ สุดสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ซึง่ ทาให้ญป่ี ่ นุ ซึง่ เคยถ่ายภาพทางอากาศในไทยและภูมภิ าคนี้ในช่วงสงครามพ่ายแพ้ไป
ก่อน และต้องรอจนกระทังยุ ่ โรปเริม่ ถอนตัวจากการเป็ นเจ้าอาณานิคมแล้วเท่านัน้

28 ไม่ปรากฏชื่อผูเ้ ขียน, “การทาแผนทีจ่ ากรูปถ่ายทางอากาศในประเทศไทย,” วารสารแผนที ่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ (2526), หน้า
189.
29 ดูกรณีทน
่ี กั มานุ ษยวิทยาอเมริกนั ผูเ้ ชีย่ วชาญเวียดนามคนสาคัญอย่าง Gerald C. Hickey ทีอ่ อกมาเปิ ดเผยว่า งานวิจยั ของเขาเกีย่ วกับหมูบ่ า้ นใน
เวียดนามนัน้ ได้รบั การสนับสนุ นจากกระทรวงกลาโหมและหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐฯมาตัง้ แต่ตน้ และงานวิจยั ของเขาจะถูกนาไปใช้เพือ่ กาหนด
ยุทธศาสตร์การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ใน Gerald C. Hickey, Window on a War: An Anthropologist in the Vietnam Conflict (Lubbock:
Texas Tech University Press, 2002)

61
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แผนที่ท่ ีระบุ ระวางต่างๆ ของแผนที่ชุด L708

แผนที่มาตรฐานหมายเลข L708 คือ แผนที่มาตรฐานฉบับแรกของไทยที่ทาโดยวิธกี ารถ่ ายภาพทาง


อากาศโดยความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริม่ ทาในปี 249430 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2512 แผนที่น้ี
แบ่งออกเป็ นตารางสีเ่ หลี่ยมจานวนมากที่เรียกว่าระวางจานวน 1,161 ระวางซึ่งแต่ละระวางคือแผนที่ย่อยๆทีม่ ี
มาตราส่วน 1:50,000 รัฐไทย/สยามไม่เคยมีแผนทีท่ ่มี รี ายละเอียดย่อยๆของทัง้ ประเทศในมาตราส่วน 1:50,000
แบบนี้มาก่อน แผนทีช่ ุดนี้ทาขึน้ ในเวลาไล่เลีย่ กับทีส่ หรัฐฯทาในอินโดจีนคือ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ระวางของ
แผนทีฉ่ บับนี้จงึ ต่อพอดีกบั แผนทีฉ่ บับ L7011 และ L7012 ของเพื่อนบ้านแถบอินโดจีน คาอธิบายว่าทาไมการทา
แผนทีม่ าตรฐานของไทยและอินโดจีนเกิดขึน้ ก่อนพม่า ก็คอื ในขณะนัน้ พม่าไม่ได้อยู่ในภูมริ ฐั ศาสตร์ของการต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ของมหาอานาจอย่างสหรัฐฯ การทาแผนที่มาตรฐานในพม่าจึงไม่ใช่สงิ่ ที่สหรัฐฯให้ความสนใจ ซึ่ ง
แตกต่างจากไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา

30เฉพาะตัวเมืองเชียงใหม่นนั ้ มีการถ่ายภาพทางอากาศครัง้ แรกในปี 2495 โดยเป็ นภาพถ่ายอัตราส่วน 1:12,500 ดูตวั อย่างภาพถ่ายเมืองเชียงใหม่ใน


นวลศิร ิ วงศ์ทางสวัสดิ ์, ชุมชนโบราณในเขตล้านนา, หน้า 29, 31, 39-40.

62
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ตัวอย่างระวาง 5357 III ของแผนที่ชุด L708

ภายหลังจากการทาแผนทีม่ าตรฐานฉบับ L708 แล้ว สหรัฐฯยังเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยในการทา


แผนทีม่ าตรฐานอีกหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็ นแผนทีถ่ นนและเส้นทางการบินในประเทศ (ปี 1966) แผนที่
สภาพอากาศตลอดทัง้ ปี ทงั ้ ประเทศ (ปี 1964) แผนทีก่ รรมสิทธิที์ ด่ นิ และการใช้ทด่ี นิ (1964) แผนทีแ่ หล่งพลังงาน
(1964) แผนที่ความหนาแน่ นของประชากร (1960) แผนที่ป่าไม้ (1964) เป็ นต้น และที่สาคัญที่สุดคือแผนที่ชุด
L9013 หรือทีเ่ รียกว่า “แผนทีจ่ งั หวัด” ซึง่ เป็ นแผนทีม่ าตรฐานระดับอาเภอทัวทั
่ ง้ ประเทศในมาตราส่วน 1:12,500
ซึง่ เป็ นแผนทีท่ ม่ี คี วามละเอียดอย่างมากสาหรับใช้ในการวางแผนการรบในเมือง สามารถระบุหลังคาเรือน สิง่ ปลูก
สร้าง ต้นไม้ แหล่งน้ า ที่นา และอื่นๆได้อย่างละเอียด แผนที่ดงั กล่าวส่วนใหญ่ทาขึน้ ในทศวรรษ 1960 เป็ นหลัก
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมแผนทีท่ หาร และ U.S. Army Map Service
ความน่ าสนใจก็คอื หน่ วยที่เล็กที่สุด (basic units) ที่ปรากฏในแผนทีก่ ค็ อื บ้านหรือหมู่บา้ น (village)31
ซึง่ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยๆจานวนหนึ่งทัง้ ทีเ่ ป็ นองค์ประกอบโดยธรรมชาติและสิง่ ทีม่ นุษย์สร้างขึน้ เช่น
โรงเรียน โรงสีไฟ สถานีตารวจ วัด สุขศาลา ถนน รวมถึงบึง ห้วย เขา คลอง ลา เหมือง และหนอง แผนทีช่ ุด L708
นัน้ มีความละเอียดยังไม่มากนัก แต่เป็ นครัง้ แรกที่แผนที่มาตรฐานของไทยระบุหน่ วยที่เรียกว่า “หมู่บ้าน” หรือ
“บ้าน” เอาไว้ มากไปกว่านัน้ คือแผนที่ชุด L7017 มาตราส่วน 1:50,000 มีจานวน 830 ระวางครอบคลุมทุกจังหวัด
การใช้งานมุ่งทีก่ ารกาหนดยุทธวิธแี ละการวางแผนทางการทหารเป็ นหลัก (เริม่ ทาปี 2510 และใช้ได้จริงปี 2515)
และ L9013 ซึ่งทาในทศวรรษ 1960 บนฐานข้อมูลเดิมที่แผนที่ L708 ทาเอาไว้ในทศวรรษ 1950 แผนที่ L7017
และ L9013 ซึง่ มีความละเอียดมากขึน้ นัน้ จึงเป็ นการแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของแผนทีท่ ท่ี าในช่วงก่อน
หน้านัน้ คือ L708 อย่างไรก็ดี เมื่อแผนทีช่ ุด L7017 เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงได้มกี ารประกาศเลิกใช้แผนทีช่ ุด L708 ใน
ปี 2517 ความคลาดเคลื่อนดังกล่าวก็มใิ ช่ความคลาดเคลื่อนของเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว ปั จจัยสาคัญทีส่ ุด
ประการหนึ่งของการทาแผนทีฉ่ บับใหม่ในทศวรรษถัดมาก็คอื การตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทีเ่ กิดขึน้ ภายใน
พืน้ ทีท่ างกายภาพ กล่าวอย่างง่ายก็คอื ในพืน้ ทีจ่ ริงนัน้ มีความเคลื่อนไหวเปลีย่ นแปลงไปอย่างไรบ้างในรอบ 10-20
ปี การถ่ายภาพทางอากาศซ้าในพืน้ ทีเ่ ดิม และการถ่ายภาพทางอากาศใหม่ทล่ี ะเอียดขึน้ จึงเป็ นเครื่องมือสาคัญของ
31 อาจแย้งว่าในทศวรรษ 2470 รัฐสยามได้ดาเนินการทาแผนทีเ่ ขตเทศบาลในเมืองต่างๆตามพระราชกฤษฎีกาจัดตัง้ เขตเทศบาล แต่แผนทีด่ งั กล่าวก็
จากัดอยูเ่ ฉพาะในเขตเมืองของจังหวัดต่างๆเท่านัน้ มากไปกว่านัน้ แผนทีท่ ถ่ี ูกทาขึน้ ประกอบพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวซึง่ แม้จะมีความละเอียดกว่าทีร่ ฐั
สยามเคยทามา แต่แผนทีด่ งั กล่าวก็ไม่ได้มาจากการถ่ายภาพทางอากาศ การสารวจทีเ่ กิดขึน้ ใช้วธิ กี ารตัง้ หลักเขตและวัดระยะด้วยระบบตรีโกณมิตพิ ร้อม
ทัง้ การใช้คนเดินสารวจไม่ตา่ งจากทีเ่ คยทามาตลอดศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20

63
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รัฐในการตรวจสอบความเป็ นไปและความเปลีย่ นแปลงภายในหน่ วยทีเ่ รียกว่าหมู่บา้ น แรงขับดันเพื่อการควบคุม


ปกครองภายใต้ความรูส้ กึ ไม่มนคงของรั
ั่ ฐนัน้ จึงเป็ นปั จจัยที่ควบคู่ไปกับปั จจัยของการพัฒนาของเทคโนโลยี

ตัวอย่างระวาง 4922 I ของแผนที่ชุด L7017

ตัวอย่างแผนที่ชุด L9013 ซึ่ งมีมาตราส่วน 1:12,500

เมื่อ พิจ ารณาแผนที่ในฐานะเอกสารราชการประเภทหนึ่ ง การท าแผนที่ม าตรฐานทัว่ ทัง้ ประเทศใน


ช่วงเวลา 2 ทศวรรษแรก (จวบจนปั จจุบนั ) ได้ถูกผูกขาดไว้โดยหน่ วยงานด้านความมันคงเป็ ่ นหลัก แผนที่คือ
เอกสารราชการประเภทหนึ่งทีม่ กั จะถูกทาให้มสี ถานะปกปิ ดและเป็ นความลับ 32 ในกรณีของไทย หน่ วยงานหลักที่
ท าหน้ า ที่ท าแผนที่ในช่ว งเวลานี้ ก็คือ กรมแผนที่ทหาร สัง กัด กองบัญ ชาการทหารสูง สุด ซึ่ง ประกอบไปด้วย
หน่วยงานต่างๆภายในกรม รวมถึงยังมีการหยิบยืมนาเข้าและได้รบั ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีจากมหาอานาจ
อย่างสหรัฐฯด้วย ในแง่ของความมันคงแล้ ่ ว แผนที่ส่วนใหญ่ทท่ี าขึน้ โดยความร่วมมือดังกล่าวในช่วงเวลานี้เป็ น

32Stephen Aftergood, “Government Secrecy and Knowledge Production: A Survey of Some General Issues,” in Judith Reppy ed., Secrecy
and Knowledge Production (Ithaca: Peace Studies Program, Cornell University, 1999), pp. 17-29.

64
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เอกสารลับทีไ่ ม่ถูกเปิ ดให้คนทัวไปเข้


่ าถึงได้ โดย “กรมแผนทีท่ หารจะเก็บฟิ ลม์ ถ่ายรูปทุกบริเวณไว้และทาสารบัญ
อย่างเป็ นระเบียบ เมื่อหน่ วยราชการใดประสงค์จะใช้รูปที่กรมแผนทีท่ หารเคยผลิตแล้วก็ตดิ ต่อขอดูสารบัญและ
สังซื
่ ้อได้ ทัง้ นี้จะต้องขออนุ มตั ิจากเจ้ากรมแผนที่ทหารเสียก่อน เพราะรูปถ่ายทางอากาศนี้ถือเป็ นเอกสารที่ใช้
เฉพาะในราชการเท่านัน้ ”33
ดังที่กล่าวไว้บ้างแล้ว แม้ว่าแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศจะมีความละเอียดทีส่ ามารถเห็นและบันทึก
ความเป็ นไปในหน่วยทีเ่ ล็กทีส่ ดุ คือระดับบ้านและหมู่บา้ นได้ แต่กม็ ขี อ้ จากัดในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภาพถ่าย
หรือแผนทีน่ นั ้ ในตัวมันเองปราศจากความหมายและการบ่งคุณลัก ษณะในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ภาพถ่ายหรือ
แผนทีเ่ พียงแต่ระบุพกิ ดั ของสิง่ ต่างๆ แม้เราจะเห็นบ้านหรือหลังคาบ้าน แต่เราไม่อาจรูไ้ ด้ว่าคนทีอ่ าศัยในบ้านหรือ
หมู่บา้ นคิดหรือมีสภาพความเป็ นอยู่อย่างไร ดังที่ เส็ง วิรยศิริ ชีว้ ่า “อาจมีอกี อย่างหนึ่งทีบ่ างท่านเข้าใจว่า ถ้า ทา
แผนที่จากรูปถ่ายแล้ว ก็ไม่จาเป็ นต้องออกป่ าฝ่ าดง อันนี้นับว่าผิดถนัด เพราะกล้องถ่ายรูปนัน้ ใครเคยใช้กย็ ่อม
ทราบแล้วว่ามันถ่ายได้เพียง ‘รูป’ แต่ ‘นาม’ มันถ่ายไม่ตดิ ดังนัน้ หมู่บา้ นอาจปรากฏในรูปถ่ายรูปหนึ่ง แต่ไม่มใี คร
ทราบว่าชื่อหมู่บา้ นอะไร นอกจากนัน้ ยังแม่น้ า หนอง ชื่อวัด ชื่อโรงเรียน และอื่นๆ เล็กๆ น้อย ซึง่ แผนทีท่ ด่ี ตี อ้ งมี
ชื่อปรากฏโดยละเอียด”34 ในแง่น้ีแผนที่จงึ เป็ นเครื่องนาทางให้กบั การสารวจโดยคนซึ่งต้องทาควบคู่กนั ไปด้วย
โดยเฉพาะการสารวจเพื่อเข้าใจความคิดจิตใจของผูค้ นทีอ่ ยู่ในพืน้ ทีห่ รือชาวบ้าน การสารวจด้ว ยคนจึงเป็ นการเติม
คุณสมบัตใิ นเชิงสังคมวัฒนธรรมแบบชาติพนั ธุว์ รรณนาลงไปในแผนทีห่ รือชื่อหมู่บา้ นและชนเผ่าทีป่ รากฏในแผนที่
การสารวจและเก็บข้อมูลในเชิงสังคมวัฒนธรรมทีช่ น้ี าโดยหมู่บา้ นทีป่ รากฏในพิกดั ต่างๆของแผนทีจ่ งึ เป็ นการขยับ
ขยายความรู้ของรัฐลงไปในระดับทีเ่ ล็กที่สุดของสังคม นัน่ คือ ระดับหมู่บ้าน และสิง่ เหล่านี้จะเป็ นไปได้กต็ ่อเมื่อ
ศาสตร์ของการทาแผนที่ท่มี คี วามละเอียดยิบย่อยดังกล่าวมาบรรจบกับความรู้ด้านมานุ ษยวิทยาและชาติพนั ธุ์
วรรณนาซึง่ เริม่ สถาปนาหน่วยการวิเคราะห์ทเ่ี รียกว่า “หมู่บา้ น” ให้เกิดขึน้ ในช่วงเวลาไล่เลีย่ กัน35
ดังทีก่ ล่าวไปแล้วว่า แม้ว่าแผนทีท่ างอากาศจะมีความละเอียด แต่กไ็ ม่สามารถระบุช่อื และคุณสมบัตอิ ่นื ๆ
ของหน่วยต่างๆได้ แผนทีเ่ ป็ นเพียงเค้าโครงหรือเป็ นเพียงภาพทีร่ ะบุตาแหน่ งของสิง่ ต่างๆเท่านัน้ แม้ว่าจะมีความ
ละเอียดในแง่ตาแหน่ งแห่งทีห่ รือพิกดั แต่กไ็ ม่มีรายละเอียดว่าแต่ละพิกดั มีหน้าตาเป็ นอย่างไรอย่างชัดเจน กอปร
กับ สิง่ ทีป่ รากฏในพิกดั ก็เคลื่อนทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอยู่ตลอดเมื่อเวลาผ่านไป ยิง่ ในพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามไม่มนคงหรื
ั่ อเป็ น
พืน้ ทีข่ องการรบด้วยแล้ว สิง่ ทีป่ รากฏในแผนทีใ่ นช่วงเวลาหนึ่งก็อาจเปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ วเมื่อเวลาผ่านไป
เพีย งไม่ น าน แผนที่จึง เป็ น สิ่งที่ต้อ งถู กตรวจสอบหรือ ท าให้ทนั สมัยอยู่ตลอด ในปี 1963 คณะสารวจของนัก
มานุ ษยวิทยาได้ทาการสารวจที่ช่อื ว่า Bennington-Cornell Anthropological Survey of Hill Tribes in Thailand
ซึง่ มีนักวิจยั อีก 3 คนเข้าร่วม คือ Lucien Hanks, Jane Hanks และ Ruth B. Sharp (นอกจากนี้ยงั มีผชู้ ่วยวิจยั คน
ไทยอีกจานวนหนึ่ง เช่น ม.ร.ว.วุฒเิ ลิศ เทวกุล, สุเทพ สุนทรเภสัช และปราโมทย์ นาครทรรพ เป็ นต้น) โดยมุ่งไปที่
การสารวจหมู่บา้ นบริเวณแม่น้ ากก ซึง่ กินพืน้ ทีข่ องจังหวัดเชียงรายและอาเภอเชียงดาว จังหวั ดเชียงใหม่ สุเทพ
สุนทรเภสัช36เล่าว่า เขาได้รบั มอบหมายให้เก็บข้อมูลหมู่บา้ นชาวเขาบริเวณอาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เป็ น
ระยะเวลา 3 เดือน ความสาคัญของข้อมูลทีไ่ ด้จากการสารวจจานวนและรายชื่อของประชากร รวมถึงการทาแผนที่

33 นวลศิร ิ วงศ์ทางสวัสดิ ์, ชุมชนโบราณในเขตล้านนา, หน้า 28.


34 ไม่ปรากฏชื่อผูเ้ ขียน, “การทาแผนทีจ่ ากรูปถ่ายทางอากาศในประเทศไทย,” วารสารแผนที ่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์, ปี ท่ี 24-25
(กรกฎาคม 2524-มิถุนายน 2526), หน้า 189.
35 ดู เก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ, “มานุ ษยวิทยาจักรวรรดิ,” (อยูใ่ นระหว่างการจัดพิมพ์ 2559)
36 สัมภาษณ์ สุเทพ สุนทรเภสัช 29 กันยายน 2558 และ 16 พฤศจิกายน 2558

65
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

หมู่บา้ นอย่างละเอียดก็คอื หากประชาชนในหมู่ บา้ นย้ายถิน่ หรือหลบหนีเข้าป่ า รัฐจะสามารถติดตามคนเหล่านี้ได้


จากแผนทีท่ งั ้ ในเชิงกายภาพและแผนทีเ่ ครือข่ายทางสังคมในชุมชนทีส่ ุเทพทาขึน้ นอกจากนี้สุเทพยังเล่าว่า การ
สารวจในครัง้ นัน้ Sharp ได้รบั คาสังจากกระทรวงกลาโหม
่ สหรัฐฯ และ CIA ให้มาตรวจสอบว่าแผนที่ทหารที่
สหรัฐฯเคยทาให้กบั รัฐบาลไทยในช่วงทศวรรษ 1950 ยังคงแม่นยาหรือไม่
การสารวจในครัง้ นัน้ ทีน่ าโดย Hanks และ Sharp ตามมาด้วยการสารวจซ้าอีก 2 ครัง้ รวมสารวจทัง้ หมด
3 ครัง้ เว้นห่างกันครัง้ ละ 5 ปี รวม 15 ปี คือ 1964, 1969 และ 1974 ผลของการสารวจทีส่ าคัญประกอบด้วยข้อมูล
2 ส่วนทีส่ มั พันธ์ คือ ส่วนแรก คือเอกสารทีช่ ่อื ว่า Gazetteer for 1964, 1969, 1974: Maps of Ethnic Settlements
of Chiengrai Province, North of the Mae Kok River, Thailand37 ซึ่งเป็ นรายงานข้อมูลที่รวบรวมรายชื่อหมู่บ้าน
ต่างๆ พร้อมระบุช่อื หมู่บา้ น ชื่อกลุ่มชาติพนั ธุ์ ชื่อของหัวหน้าหมู่บา้ น จานวนประชากรในหมู่บา้ น และทีส่ าคัญทีส่ ดุ
คือ พิกดั ของหมู่บา้ น (coordinator) โดยอิงกับแผนทีท่ างอากาศฉบับ L708 ในการสารวจ 3 ครัง้ หมู่บา้ นเดิมจะถูก
สารวจซ้าว่ายังตัง้ อยู่ทเ่ี ดิมหรือไม่ ข้อค้นพบก็คอื หมู่บา้ นเกือบทุกแห่งเคลื่อนที่ ออกจากพิกดั เดิมที่เคยสารวจไว้
ก่อนหน้าทัง้ สิน้ และมีหลายหมู่บา้ นทีห่ ายไปหรือยุบตัวลงไป หลายหมู่บา้ นเกิดขึน้ ใหม่ และส่วนทีส่ องคือรายงานที่
ชื่ อ ว่ า A Report on Tribal Peoples in Chiengrai Province North of the Mae Kok River: Bennington-Cornell
Anthropological Survey of Hill Tribes in Thailand38 และเอกสารการวิเคราะห์ทแ่ี บ่งเป็ นบทความย่อยๆอีกชิน้ คือ
Ethnographic Notes on Northern Thailand39 ทัง้ สองชิ้นเป็ นรายงานจากข้อมูลสนามเชิงชาติพนั ธุ์วรรณนาของ
หมู่บา้ นทีไ่ ปสารวจ ซึง่ นอกจากการบรรยายข้อมูลลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของหมู่บา้ นชาวเขาแต่ละแห่ง
แล้ว ยังพบว่า หมู่บา้ นของชาวเขาหลายเผ่าโดยเฉพาะลีซูนนั ้ มีลกั ษณะทีไ่ ม่มอี าณาเขตแน่ นอนและเคลื่อนทีย่ า้ ย
ถิน่ อยู่ตลอดเวลา การสารวจทัง้ สามครัง้ จึงค้นพบว่า หมู่บา้ นชาวเขาไม่ใช่หมู่บา้ นทีม่ พี กิ ดั ตายตัวหรือหยุดนิ่ง แต่
หมู่บา้ นมีลกั ษณะยืดหยุ่นเคลื่อนไหว หน้าทีป่ ระการหนึ่งของการสารวจในครัง้ นี้กค็ อื การติดตามและบันทึกความ
เคลื่อนไหวเหล่านี้และรายงานกลับไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ
นอกจากการสารวจของคณะนักมานุ ษยวิทยาอเมริกนั ข้างต้นแล้ว ในทศวรรษ 1970 ยังมีการสารวจทีม่ ี
เป้ าหมายคล้ายกันที่ทาโดยศูนย์วจิ ยั ชาวเขา คือ การกาหนดพิกดั ของหมู่บา้ นชาวเขาทัง้ ประเทศ โดยเฉพาะใน
ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย การสารวจของศูนย์วจิ ยั ชาวเขาอิงอยู่กบั แผนทีม่ าตรฐาน 2 ชุด คือ L708 และ
L7017 (1975) ซึ่งแผนทีท่ งั ้ สองชุดเป็ นแผนที่ทท่ี าโดยกรมแผนทีท่ หารโดยได้รบั ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี
จาก AMS ข้อมูลจากการสารวจดังกล่าวปรากฏในเอกสารชุด ทาเนียบหมู่บา้ นชาวเขาในประเทศไทย ซึง่ ห้องสมุด
ของพิพธิ ภัณฑ์ชาวเขาทีอ่ าเภอแม่รมิ จังหวัดเชียงใหม่รวบรวมไว้ และเอกสารชุดดังกล่าวมีการทาให้ขอ้ มูลทันสมัย
ขึน้ อยู่ตลอดทศวรรษ 1970 และต้น 1980 จนกระทังเริ ่ ม่ มีการนาเข้าเทคโนโลยีดาวเทียมเข้ามา เทคโนโลยีการ
สารวจหาตาแหน่งพิกดั ทีแ่ น่นอนของหมู่บา้ นจึงเปลีย่ นแปลงไป
อาจกล่าวได้ว่า การทาแผนที่ในระดับหมู่บ้านนัน้ เป็ นสิง่ ใหม่ท่มี าพร้อมๆกับการทาแผนที่ทางอากาศ
แผนทีข่ องไทยก่อนหน้าการเกิดขึน้ ของแผนทีช่ ุด L708 ไม่สามารถระบุตาแหน่งแห่งทีห่ รือพิกดั ของหมู่บา้ นไทยให้

37 Lucien M. Hanks, Gazetteer for 1964, 1969, 1974: Maps of Ethnic Settlements of Chiengrai Province, North of the Mae Kok River, Thailand
(Ithaca: Cornell University Press, 1975)
38 Lucien M. Hanks, A Report on Tribal Peoples in Chiengrai Province North of the Mae Kok River: Bennington-Cornell Anthropological Survey

of Hill Tribes in Thailand (Bangkok: The Siam Society, 1964)


39 Lucien M. Hanks, Jane R. Hanks and Lauriston Sharp, Ethnographic Notes on Northern Thailand (Ithaca: Southeast Asia Program,

Department of Asian Studies, Cornell University, 1965)

66
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สามารถนาไปเทียบเคียงหรือนาทางได้ ข้อเสนอข้างต้นจะหนักแน่ นขึน้ เมื่อพิจารณาหลักฐานเพิม่ เติม คือ แผนที่


ทัง้ หมดที่ทาขึน้ ก่อนหน้าปี 2500 ไม่มกี ารระบุตาแหน่ งของหน่ วยทีเ่ รียกว่าหมู่บ้านไว้ แผนที่สยามปี 2469 ระบุ
เฉพาะตาแหน่ งสาคัญๆทีเ่ ป็ นหมุดหมาย (landmark) ต่างๆ แผนทีส่ ยามปี 2479 เริม่ มีการระบุอาเภอต่างๆ แต่ไม่
ครบถ้วนทุกอาเภอ ส่วนแผนทีป่ ระเทศไทยปี 2493 มีการระบุอาเภอทุกอาเภอในประเทศไทย แต่กย็ งั ไม่มกี ารระบุ
ถึงตาแหน่งของตาบลและหมู่บา้ นอยู่ในนัน้ ต้องรอจนกว่าปี 2495 และอีกทศวรรษหลังจากนัน้ ทีก่ ารสารวจเสร็จสิน้
และเมื่อไทยกลายเป็ นส่วนหนึ่งของสงครามเวียดนามอย่างเต็มตัวเท่านัน้ ทีบ่ า้ นหรือหมู่บา้ นจะกลายมาเป็ นหน่วย
พืน้ ฐานทีม่ รี ายละเอียดและมีชวี ติ ของตัวเองโลดแล่นอยู่บนแผนทีข่ องรัฐไทย

สรุ ป

ข้อเสนอหลักของบทความนี้ก็คือ รัฐประชาชาติไทยไม่เคยแผ่ขยายอ านาจของตนเองเข้าสู่ห น่ ว ยที่


เรียกว่าหมู่บ้านมาก่อนหน้ าการสิ้นสุดสงครามโลกครัง้ ที่สอง สงครามเย็นและการเข้ามาของสหรัฐอเมริกาใน
ภูมภิ าคนี้คอื ปั จจัยสาคัญทีเ่ กือ้ หนุนให้รฐั สามารถสร้างภาพ (visual image) แบบทีม่ องด้วยสายตานกเกีย่ วกับพืน้ ที่
ทางกายภาพที่วางอยู่บนหน่ วยทางสังคมที่เรียกว่า “หมู่บ้าน” ชนชัน้ นาไทยไม่เคยเห็นสิง่ ที่พวกเขาเรีย กว่ า
“หมู่บา้ น” พวกเขาเพียงแต่จนิ ตนาการถึงกลุ่มคนทีอ่ ยู่บา้ นนอกคอกนาไกลโพ้นและเป็ น “คนอื่น” แต่เทคโนโลยีการ
ทาแผนทีจ่ ากภาพถ่ายทางอากาศได้ทาให้จนิ ตนาการของชนชัน้ นาและรัฐไทยทีม่ รี ายละเอียดสามารถก่อตัวขึน้ ได้
เพียงพวกเขามองไปทีแ่ ผนทีท่ จ่ี ะเห็นในภาพใหญ่กไ็ ด้หรือจะมองในรายละเอียดก็ได้ พวกเขาสถาปนาความชอบ
ธรรมของอานาจรัฐอยู่บนการอ้างว่าตนเองเข้าใจ เข้าถึง และสามารถมองเห็นทัง้ หมดด้วยการกวาดสายตาเพียง
คราวเดียว อานาจของรัฐประชาชาติทส่ี ามารถเข้าถึงผู้ ใต้ปกครองเช่นนี้กไ็ ม่ต่างจากที่ Michel Foucault เรียกว่า
“ชีวอานาจ” (biopower) ทีอ่ านาจของรัฐแทรกซึมลงไปในทุกอณูของชีวติ จะเห็นได้ว่าโครงการพัฒนาชนบทของรัฐ
ไทยในช่วงนี้นนั ้ วางอยู่การทีร่ ฐั เข้าไปสอดส่องและควบคุมผูค้ นในพืน้ ทีห่ ่างไกลทีพ่ วกเขาเรียกว่า “หมู่บา้ นชนบท”
อย่างใกล้ชดิ ผ่านการพัฒนาสาธารณสุข ถนนหนทาง การศึกษา และสภาพความเป็ นอยู่โดยรวม อาจกล่าวได้ว่า
หากปราศจากเทคโนโลยีหรือเครื่องมือ (dispositif) เหล่านี้แล้ว การสถาปนาอานาจของรัฐประชาชาติของไทยจะ
ไม่สามารถเกิดขึน้ ได้เลย
หากจะหาญกล้าทดลองผลักข้อค้นพบข้า งต้นให้ขยับต่อไปอีก เราอาจจะสนทนากับงานเขียนเกี่ยวกับ
หมู่บา้ นชนบทศึกษาของนักมานุ ษยวิทยาและงานประวัตศิ าสตร์แผนทีส่ ยามของธงชัย วินิจจะกูลได้ดว้ ย จากข้อ
ค้นพบเบือ้ งต้นดังกล่าว ผูเ้ ขียนเห็นว่า Jeremy Kemp40 เข้าใจผิดอย่างมากเมื่อเขาเสนอว่า หมู่บา้ นชนบทเป็ นสิง่ ที่
มีมาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที ่ 5 ผ่านการสร้างหมู่บา้ น (hamlet)41 ขึน้ ในฐานะทีเ่ ป็ นหน่วยในการปกครอง (administrative
unit) เช่นเดียวกับที่ Peter Vandergeest42 เข้าใจผิดอย่างมหันต์ว่าหมู่บา้ นชนบทในฐานะที่เป็ นการลากเส้นแบ่ง

40 Jeremy Kemp, “On the Interpretation of Thai Village,” in Philip Hirsch ed., Thai Village in Perspective: Community and Locality in Rural
Thailand (Chiangmai: Social Research Institute, Chiangmai University, 1993), pp. 81-96.
41 ในงานศึกษาหมูบ ่ า้ นบางชันของ Sharp และคณะเองก็ช้วี า่ “หมูบ่ า้ น” ซึง่ เขาใช้คาภาษาอังกฤษว่า hamlet นัน้ เป็ นคนละเรือ่ งกับหมูบ่ า้ นทีห่ มายถึง
village หรือชุมชนทีห่ มายถึง community Sharp และคณะชี้วา่ หมูบ่ า้ น/hamlet เป็ นเพียงหน่วยการปกครองทีส่ ร้างขึน้ ด้วยกฎหมายของรัฐเก่าในปี
1914/2457 ซึง่ ในตัวมันเองเป็ นคนละเรือ่ งกับหมูบ่ า้ นหรือชุมชน “โดยธรรมชาติ” (Sharp และคณะใช้คาว่า “natural” community) ในแง่น้ี งานของ
Sharp และคณะก็มคี วามเข้าใจทีม่ าทางประวัตศิ าสตร์ของหมูบ่ า้ นสอดคล้องกับทีผ่ เู้ ขียนเสนอในงานนี้ และแตกต่างออกไปจากงานของ Kemp และ
Vandergeest ซึง่ นี่เป็ นฐานคติและข้อเสนอของงานวิจยั หมูบ่ า้ นบางชันทีช่ ้วี า่ หมูบ่ า้ นในฐานะทีเ่ ป็ นหน่วยของการปกครองมีความขัดแย้งไม่ลงตัวกับ
หมูบ่ า้ น/ชุมชนโดยธรรมชาติ ดู Lauriston Sharp, Hazel M. Hauck, Kamol Janlekha and Robert B. Textor, Siamese Rice Village: A Preliminary
Study of Bang Chan 1948 (Bangkok: Cornell Research Center, 1953), pp. 16-109.
42 Peter Vandergeest, “Real Villages: National Narratives of Rural Development,” in E. Melanie DuPris and Peter Vandergeest eds., Creating

the Countryside: The Politics of Rural and Environmental Discourse (Philadelphia: Temple University Press, 1999), pp. 279-302.

67
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ของการปกครองของรัฐเกิดขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 Vandergeest พูดถูกในแง่ความเข้าใจทางทฤษฎีว่า การก่อรูป


ของรัฐประชาชาติจาเป็ นต้องวางอยู่บนการสร้างหน่ วยของการปกครองและความรูต้ ่อหน่ วยของการหาความรู้ท่ี
เรียกว่าหมู่บา้ นขึน้ มา แต่สงิ่ ที่เขาเข้าใจผิด (ทัง้ ๆที่เขาเขียนงานชิน้ นี้หลังจากที่ Benedict Anderson ได้วพิ ากษ์
ความคิดแบบนี้มาแล้วตัง้ แต่ทศวรรษ 1970) ก็คอื การทาให้การสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของรัชกาลที่ 5 เป็ น
สิง่ ทีเ่ ท่ากับการสร้างรัฐประชาชาติ ส่งผลให้เมื่อเขาอ่านเอกสารเกีย่ วกับการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 ซึง่
กาหนดหน่วยการปกครองทีเ่ รียกว่า “หมู่บา้ น” (ซึง่ Sharp และคณะมีความระแวดระวังมากกว่านัน้ ใช้คาว่า hamlet
ไม่ใช่ village แบบที่ Vandergeest ใช้รวมๆกันไป และผูเ้ ขียนอภิปรายปั ญหาเกีย่ วกับการแปลคาว่า hamlet และ
village เป็ น “หมู่บา้ น” ในงานอีกชิน้ หนึ่ง43) ขึน้ เขาจึงทึกทักเอาว่า รัฐสยามรูจ้ กั หมู่บา้ นและอานาจของรัฐสยาม
เข้าถึงหมู่บา้ นชนบทมาตัง้ แต่สมัยนัน้
ข้อเสนอของผู้เขียนในงานวิจยั ก่อนหน้านี้และในบทความนี้โต้แย้งหักล้างกับข้อเสนอของ Kemp และ
Vandergeest โดยชี้ว่า รัฐไทยเพิ่งรู้จกั /ค้นพบหมู่บ้านอย่างมีรายละเอียดผ่านการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ลงสนาม
สารวจ ทาแผนที่ ผลิตงานเขียนงานวิจยั และนาเสนอความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้านก็เมื่อเข้าสู่สงครามเย็นเป็ นต้นมา
เท่านัน้ นับเฉพาะที่ Sharp และคณะสารวจบางชันในปลายทศวรรษ 1940 พวกเขาพบว่า ไม่มกี ารเก็บข้อมูลสถิติ
เกีย่ วกับการปลูกข้าวและอื่นๆของหมู่บา้ นมาก่อน เมื่องานวิจยั บางชันจะอ้างถึงสถิตขิ องการปลูกข้าวจึงไม่สามารถ
หาสถิติระดับหมู่บ้านหรือใหญ่กว่านัน้ ได้ แต่ ต้องใช้สถิติรวมทัง้ หมดของประเทศมาคาดการณ์ แทน เมื่อเทียบ
หมู่บา้ นบางชันซึง่ เป็ นหมู่บา้ นทีอ่ ยู่ใกล้กรุงเทพฯแล้ว หมู่บา้ นในภาคอื่นๆทีอ่ ยู่ไกลจากกรุงเทพฯก็ยงิ่ แน่นอนว่าไม่
เคยถูกสารวจในรายละเอียดมาก่อน44 หมู่บา้ นในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเป็ นเพียงการเรียกหน่วยการปกครองทีใ่ นทาง
ปฏิบตั ิแล้วรัฐไม่เคยเข้าถึง/รู้จกั /สร้างความรูเ้ กี่ยวกับหมู่บ้านมาก่อน และหมู่บา้ นในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เป็ นเพียง
หน่ วยการปกครองที่ Kemp เองก็ชว้ี ่าเป็ นการลอกเลียนมาจากการปกครองของระบอบอาณานิคมเท่านัน้ การที่
Vandergeest อ้างงาน กาเนิดสยามจากแผนที ่ หรือ Siam Mapped ของธงชัย วินิจจะกูลเกีย่ วกับการสร้างแผนที่
สยามในสมัยรัชกาลที่ 5 มาเป็ นหมุดหมายเพื่อนาเสนอเกี่ยวกับการสร้างหมู่บ้านของเขาส่งผลให้ Kemp และ
Vandergeest ยิง่ ก้าวพลาดจนนาเสนอไปไกลเกินจริงว่า รัฐสยามได้สถาปนาอานาจของตนเองลงบนส่วนต่างๆ
ของสังคมผ่านการสร้างหน่ วยการปกครองที่เล็กที่สุดนัน่ คือหมู่บ้านมาตัง้ แต่ศตวรรษที่ 19 ทัง้ ๆที่สงิ่ เหล่านี้เพิง่
เกิดขึน้ ในครึง่ หลังของศตวรรษที่ 20
นอกจากความเข้าใจผิดดังกล่าวจะวางอยู่บนการละเลยเงื่อนไขปั จจัยของการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว
ข้อเสนอดังกล่าวตอกย้าความผิดพลาดในเชิงความเข้าใจทางทฤษฎี (ของธงชัย) ทีส่ บั สนระหว่างการสร้างรัฐกับ
การสร้างชาติ การสร้างแผนทีส่ ยามในศตวรรษที่ 19 เป็ นการสร้างแผนทีส่ มัยใหม่ในระดับรัฐเพื่อกาหนดขอบเขต
ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิที์ ่พยายามสร้างความทันสมัยใหม่ท่แี ตกต่างออกไปจากรัฐโบราณที่ไม่เคยมีเขตแดนที่
ชัดเจนมาก่อน แผนทีส่ ยามในศตวรรษที ่ 19 จึงเป็ นแผนทีข่ องรัฐมากกว่าจะเป็ นแผนทีข่ องชาติ เป้ าหมายของการ
สร้างแผนที่ของรัฐก็คอื การสร้างอานาจและความทันสมัยให้กบั รัฐรวมศูนย์อานาจของกษัตริ ย์ ไม่ใช่การสร้างรัฐ
ประชาชาติ การสร้างแผนทีใ่ นระดับย่อยคือในระดับจังหวัด อาเภอ ตาบล และโดยเฉพาะในระดับหมู่บา้ นซึง่ เป็ น
ส่วนหนึ่งของการสร้างและขยายอานาจของรัฐประชาชาติทล่ี งไปในระดับล่างสุดของสังคมเป็ นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ภายหลัง

43 เก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ, “การสร้างรัฐประชาชาติกบั การสารวจและการทาแผนทีห่ มูบ่ า้ นชาวเขาในประเทศไทยยุคสงครามเย็น” (บทความสาหรับนาเสนอ


ในเวทีวจิ ยั มนุษยศาสตร์ไทย ครัง้ ที่ 10 วันที่ 19-20 กันยายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา)
44 ดูท่ี กมล ชาญเลขาชี้วา่ การเก็บข้อมูลค่อนข้างมีขอ ้ จากัดเพราะขาดข้อมูลสถิตพิ น้ื ฐาน ทาให้ตอ้ งใช้ขอ้ มูลสถิตริ วมทัง้ หมดของประเทศ ใน Lauriston
Sharp, Hazel M. Hauck, Kamol Janlekha and Robert B. Textor, Siamese Rice Village: A Preliminary Study of Bang Chan 1948, pp. 110-139.

68
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากสงครามโลกครัง้ ที่ 2 หรือทีเ่ รียกว่าสงครามเย็น เมื่อสหรัฐอเมริกาเริม่ ทาแผนทีท่ างอากาศอย่างละเอียด และ


เริม่ ส่งนักภูมศิ าสตร์ นักประชากรศาสตร์ และนักสังคมวิทยาและมานุ ษยวิทยามาศึกษา สารวจ และทาแผนที่
ควบคู่ไปกับการสารวจและทาวิจยั ชาติพนั ธุว์ รรณนาในหมู่บา้ นชนบทและชาวเขาแล้วเท่านัน้ กล่าวให้กระชับกว่า
นัน้ ก็คอื แผนทีท่ ส่ี ร้างโดยรัฐสยามในศตวรรษที่ 19 เป็ นเพียงแผนทีข่ องรัฐ ไม่ใช่แผนทีข่ องชาติแบบทีธ่ งชัยเสนอ
และคนอื่นๆว่าตาม การสารวจหัวเมืองภาคอีสานและภาคใต้ของกรมพระยาดารงราชานุภาพในปี 2449 ก็จากัดอยู่
เฉพาะหัวเมืองของมณฑลเท่านัน้ ยิง่ ไปกว่านัน้ สายตาของชนชัน้ นาสยามก็ยงั วางอยู่บนฐานคติของความเป็ นอื่น
แบบการแบ่งแยกเชือ้ ชาติตามวิธคี ดิ ของระบอบอาณานิคม 45 ไม่ใช่การขยายอานาจของรัฐลงไปในระดับเล็กหรือ
ย่อยกว่าตัวหัวเมืองหรือหมู่บ้านต่างๆแบบทีป่ รากฏในช่วงเวลาต่อมา ในแง่น้ี แผนที่ของชาติซ่งึ หมายถึงการที่
อานาจของรัฐสามารถแผ่ขยายลงไปบนหน่ วยทีเ่ รียกว่าหมู่บา้ นนัน้ เป็ นเพียงผลิตผลโดยตรงของสภาวะทีเ่ รียกว่า
สงครามเย็น ซึง่ เริม่ ต้นขึน้ ก็ในช่วงครึง่ หลังของศตวรรษที่ 20 เท่านัน้
รัฐสมัยใหม่โดยตัวมันเองจึงทางานคล้ายกับอานาจของจักรวรรดิท่ตี ้องขยายขอบเขตของตัวมันเอง
ออกไปเรื่อยๆทัง้ ในแง่ของความกว้างและความลึก สิง่ ทีร่ ฐั ประชาชาติมมี ากกว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิและรั ์ ฐอาณา
นิคมก็คอื เครื่องไม้เครื่องมือ ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิซึ์ ง่ เป็ นรูปแบบรัฐในช่วงเปลีย่ นผ่านสู่รฐั สมัยใหม่ก็
ต้องการการขยายแผ่ของอานาจ แต่รฐั ดังกล่าวก็มขี อ้ จากัดในตัวเองคือขาดแคลนเครื่องไม้เครื่องมือ หรือถ้าพูดให้
ชัดกว่านัน้ ก็คอื ขาดแคลนเทคโนโลยีทจ่ี ะสามารถกลายมาเป็ นเทคนิคของอานาจได้ ความพิเศษของรัฐประชาชาติ
ในศตวรรษที่ 20 ก็คอื มันสามารถหยิบฉวยเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของตนเอง เฉพาะเจาะจงกว่า
นัน้ ก็คอื รัฐประชาชาตินนั ้ มีเครื่องไม้เครื่องมือทีจ่ ะสามารถสร้างความรูท้ ว่ี างอยู่บนการสร้างภาพ (visualization)
ต่อสิง่ ต่างๆทีม่ นั ปกครอง จากเดิมทีบ่ า้ นนอกเป็ นเพียงสิง่ ทีถ่ ูกถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่าให้จติ นาการกันเอาเอง ด้วย
การสนับสนุ นของเทคโนโลยีการถ่ายภาพและการทาแผนที่ หมู่บ้ านชนบทกลายมามีตวั ตนในสานึกคิดเกีย่ วกับ
ความเป็ นชาติและความเป็ นอื่นในรูปแบบทีแ่ ตกต่างไปจากความเป็ นอื่นในระบอบอาณานิคม ความเป็ นอื่นของ
หมู่บา้ นชนบทถูกวาดและจินตนาการผ่านแผนทีแ่ ละภาพถ่ายจานวนมากทีท่ าขึน้ ทัง้ โดยจากฝี มอื ของรัฐและจาก
ฝี มอื ของกลุ่มคนต่างๆ แต่แน่ นอนว่าการทาแผนทีต่ ่างจากรูปถ่ายเป็ นกิจกรรมของรัฐ เพราะการทาแผนทีไ่ ม่ใช่สงิ่
ทีใ่ ครๆจะสามารถทาได้ รัฐกลายมาเป็ นผูผ้ ูกขาดเทคโนโลยีการทาแผนทีแ่ ละแผนที่กลายมาเป็ นสิง่ ทีป่ กปิ ดหรือ
เอกสารลับที่รฐั และผู้มอี านาจเท่านัน้ ที่จะเข้าถึงได้ อานาจรัฐสมัยใหม่ท่วี างอยู่บนการสร้ างความรู้เกี่ยวกับผู้ใต้
ปกครองจึงเป็ นมากกว่าอานาจในการเขียนหรือเล่าด้วยปากเปล่า แต่เป็ นอานาจในการสร้างให้ภาพของสิง่ ต่างๆ
เหล่านี้สามารถปรากฏขึน้ ในแผ่นกระดาษได้ และแลดูเสมือนจริงจนมันสามารถแทนค่าความเป็ นจริงได้ พูดให้ชดั
กว่านัน้ ก็คอื หมู่บา้ นชนบททีป่ รากฏในแผนทีแ่ ละภาพกลายมาเป็ นสิง่ ทีจ่ ริงในตัวเอง จริงเสียยิง่ กว่าหมู่บา้ นชนบท
“จริงๆ” เสียอีก มากไปกว่านัน้ การทีแ่ ผนทีส่ ามารถรวบเอาหมู่บา้ นและองค์ประกอบจานวนมากมายมหาศาลของ
มันเข้ามาอยู่ในกระดาษเพียงไม่กแ่ี ผ่นนัน้ ทาให้รฐั สามารถสถาปนาอานาจของตนเองประดุจดังสายตาของเทพเจ้า
หรือพระพุทธรูปทีม่ องจากบนลงล่างเสมอ การมองของรัฐต่อสิง่ ทีอ่ ยู่ใต้ปกครองด้วยการกวาดตาเพียงปราดเดียว
จึงเป็ นอานาจทีส่ ถาบันหรือกลุ่มบุคคลอื่นไม่สามารถทาได้ รัฐประชาชาติสมัยใหม่จงึ กลายมาเป็ นผูผ้ ูกขาดความรู้
เกีย่ วกับประชากรผูอ้ ยู่ใต้ปกครองแต่ผเู้ ดียว ภาพถ่า ยทีช่ นชัน้ นาถือแผนทีอ่ ยู่ในมือซึง่ แพร่หลายในสื่อจานวนมาก
ทัง้ ๆทีแ่ ผนทีเ่ ป็ นเอกสารทีค่ นทัวไปเข้
่ าถึงไม่ได้จงึ ตอกย้าสถานะพิเศษของรัฐสมัยใหม่และสถานะการนาของชนชัน้
45 ดู Thongchai Winichakul, “The Others Within: Travel and Ethno-Spatial Differentiation of Siamese Subjects, 1885-1910,” in Andrew Turton
ed., Civility and Savagery: Social Identity in Tai States (London: Curzon Press, 2000), pp. 38-62. นอกจากงานชิ้นนี้ สามารถดูเพิม่ เติมประเด็นนี้
ทีผ่ เู้ ขียนศึกษาเปรียบเทียบวิธคี ดิ ของระบอบอาณานิคมกับวิธคี ดิ ของจักรวรรดิอเมริกนั ได้ใน เก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ, “มานุ ษยวิทยาจักรวรรดิ,” (อยูใ่ น
ระหว่างการจัดพิมพ์ 2559)

69
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บนของสังคม แน่ นอนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านความมันคง ่ และนักมานุ ษยวิทยาจานวนมากที่ทางานให้กบั รัฐและ


จักรวรรดิเองสามารถเข้าถึงแผนทีด่ งั กล่าวได้เท่าทีช่ นชัน้ บนสุดของสังคมอนุญาต การเขียนแผนที่ การเข้าถึงแผน
ที่ และการอ่านแผนทีจ่ งึ เป็ นความสามารถพิเศษของรัฐและผูเ้ ชีย่ วชาญ และแผนทีเ่ องกลายมาเป็ นเครื่องมือในการ
ควบคุมสังคมของรัฐสมัยใหม่ทท่ี างานผ่านสถาบันทางสังคมจานวนมากคล้ายกับที่ Foucault เรียกว่าการปกครอง
ชีวญาณ (governmentality)

70
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P2-R1-04

ความทรงจาในดวงแก้ว
ความทรงจาที่ แปรเปลี่ ยนไปเกี่ ยวกั บ วั ด พระธรรมกาย
ภายใต้ ป ริ ม ณฑลรั ฐ บาลทหารปี พ.ศ. 2557-2559

เจษฎา บัวบาล*
นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-mail: jesada.bua@gmail.com

* ปั จจุ บั น ก าลั ง เขี ย นวิ ท ยานิ พ นธ์ เ รื่ อง Religion and Translocality: The Propagation of Thai Theravada Buddhism in
Indonesia by Dhammayutta Missionaries

71
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
วัดพระธรรมกาย เป็ นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตัง้ เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตัง้ อยู่ ณ ตาบลคลอง
สาม อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปั จจุบนั มีพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺ มชโย) เป็ นเจ้าอาวาส
อย่างไรก็ตาม แม้วดั นี้จะเป็ นวัดของพระภิกษุ ซ่งึ เป็ นเพศชาย แต่อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ก่อตัง้ วัดและผู้เป็ น
อาจารย์สอนสมาธิแบบธรรมกายให้กบั พระธัมมชโย ได้ถูกเชิดชูให้มบี ทบาทอย่างมาก1 ควบคู่ไปกับพระมงคลเทพ
มุนี (สด จนฺ ทสโร) วัดปากน้า ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ การต้องอิงอยู่กบั อานาจบารมีของหลวงพ่อสด ในฐานะผูค้ น้ พบ
วิชาธรรมกายและผูเ้ ป็ นอาจารย์ของอุบาสิกาจันทร์อกี ทีหนึ่ง ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัดพระธรรมกายและวัด
ปากน้าดาเนินไปด้วยดีเสมอมา2 นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายยังมีสอ่ื DMC (Dhammakaya Media Channel) เป็ น
ช่องรายการธรรมะ คือ ทีวีช่องคุณธรรม สื่อสีขาวที่เผยแพร่ไปทัวโลกและออกอากาศผ่
่ านดาวเทียมตลอด 24
ชัวโมง
่ รวมทัง้ วารสารอื่นๆ ของวัด เช่น อยู่ในบุญ เป็ นต้น เพื่อเป็ นช่องทางในการสือ่ สารระหว่างศาสนิก
อย่างไรก็ตาม ปั จจัยที่ทาให้วดั พระธรรมกายกลายเป็ นที่สนใจทัง้ ในและนอกวงวิชาการคือ กระแสที่
เติบโตอย่างรวดเร็วในสามทศวรรษที่ผ่านมา กอปรกับกระแสต่อต้านทัง้ ในรูปของกฎหมายและมวลชน ซึ่งวัด
พระธรรมกายก็สามารถผ่านวิกฤติต่างๆ มาได้ดว้ ยดี งานชิน้ นี้ ผูเ้ ขียนจะกล่าวถึงธรรมกายในวิกฤติครัง้ ล่าสุดซึง่
ตรงกับการปกครองของรัฐบาลทหาร โดยเสนอว่า ธรรมกายได้รบั ประโยชน์โดยตรงจากการเติบโตทางความคิด
ของกระแสแบ่งแยกรัฐจากศาสนาและทีส่ าคัญ ธรรมกายได้ใช้ยุทธวิธถี ่ายโอนจุดสนใจของชาวพุทธทีต่ ่อต้านลัทธิ
ของตนไปสูก่ ระแสเกลียดกลัวอิสลาม
ด้านระเบียบวิธวี จิ ยั ผู้เขียนเริม่ จากการทบทวนวรรณกรรมและข้อมูลทีป่ รากฏตามเว็บไซต์ตลออดจน
เฟซบุ๊ก ซึ่งประกอบด้วยการนาเสนอและข้อถกเถียงของกลุ่มคนต่างๆ บทสัมภาษณ์ของนักวิชาการผูส้ นับสนุ น
แนวคิดโลกียวิสยั ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างมาก 3 คนคือ นิธิ เอียวศรีวงศ์, สุรพศ ทวีศกั ดิ ์ และ วิจกั ขณ์
พานิช กอปรกับการสังเกตการณ์ภาคสนามผ่านการอยู่ร่วมกับพระสงฆ์วดั พระธรรมกายในจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็ นเวลา 5 เดือน ปฏิสมั พันธ์ระหว่างผู้เขียนกับพระวัดพระธรรมกาย สังเกตการณ์ปฏิสมั พันธ์ของพระสงฆ์กบั
ฆราวาสและสื่อ ที่ใช้ในการเผยแผ่ของพระวัด พระธรรมกาย อีก ทัง้ พฤติก รรมที่พ ระเหล่า นี้ ต้องตอบสนองต่ อ
นโยบายส่วนกลางของธรรมกาย ช่วยทาให้ขอ้ เสนอของผูเ้ ขียนมีความแจ่มชัดขึน้

ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับธรรมกำย
งานศึกษาเกีย่ วกับธรรมกายส่วนใหญ่แบ่งได้เป็ น 2 ลักษณะ คือ (1) งานทีช่ ใ้ี ห้เห็นถึงความผิดเพีย้ นด้าน
คาสอนและภัยทีจ่ ะกระทบต่อพุทธศาสนาไทย (พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี 2546, พระธรรมปิ ฎก ประยุทธ์ ปยุตฺโต
2543, วรัญญู ชายเกต 2544 , Laohavanich, M. 2012 เป็ นต้น และ (2) งานที่ไม่สนใจวิเคราะห์คาสอน แต่ มุ่ง

1 การเชิดชูสตรีข้นึ เป็ นที่สกั การบูชาน่ าจะมีนัยสาคัญที่ควรศึกษาหากมองธรรมกายเป็ นหนึ่งในองค์กรของพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งยกย่ องผู้ชายคือ


พระสงฆ์เป็ นศูนย์กลาง ผูเ้ ขียนตัง้ ข้อสันนิษฐานว่า แท้จริงเอกลักษณ์ของธรรมกายทีเ่ ป็ นรูปธรรมคือ ความมีระเบียบวินัย การรักความสะอาดและการ
อุทศิ ตนเพือ่ กิจการพระศาสนาของอุบาสิกาจันทร์ (พระมหาสุวทิ ย์ วิเชสโก, 2551) จริยวัตรนี้อาจกลายเป็ นอุดมคติหลักทีใ่ ช้ในการก่อตัง้ และดึงดูดความ
สนใจของเหล่าศาสนิกธรรมกายก็เป็ นได้ กล่าวให้ชดั คือ ธรรมกายซึง่ เป็ นองค์กรผูช้ าย หากแต่โดยกระบวนการเผยแผ่และสร้างจุดดึงดูดสาวก กลับใช้
สตรีผเู้ ป็ นแบบอย่างในการครองเรือนควบคูไ่ ปกับการสนับสนุ นศาสนา สิง่ นี้อาจตอบสนองความต้องการของผูค้ นได้ดรี ะดับหนึ่ง
2 สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) กล่าวว่า “วัดปากน้ ากับวัดพระธรรมกายเป็ นวัดพีว ่ ดั น้อง หรือเสมือนหนึ่งว่าเป็ นวัดเดียวกันมีอะไรก็
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน” ในพิธอี ญ ั เชิญรูปหล่อทองคาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺ ทสโร) หล่อด้วยทองคาถึง 1 ตัน และจัดกระบวนแห่ดว้ ยการเดินธุดงค์ธรรม
ชัยของพระภิกษุ ราว 1,500 รูป เพื่อประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ า ภาษีเจริญ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555; ดู ธุดงค์ธรรมชัย
โอวาทสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในพิธปี ระดิษฐานรูปหล่อทองคา ทีม่ า http://www.dmc.tv/pages/พระพุทธศาสนา/20120407-โอวาทสมเด็จพระ
มหารัชมังคลาจารย์-ในพิธอี ญ ั เชิญรูปหล่อทองคา.html เข้าถึงวันที่ 30 เมษายน 2556)

72
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อธิบายกระบวนการการเผยแผ่ทไ่ี ด้ผลของธรรมกาย (อภิญญา เฟื่ องฟูสกุล 2541, นาตยา แก้วใส 2542, Zehner
Edwin 1990, Rory, Mackenzie 2007, Wattanasuwan, K., & Elliott, R. (1999). Tylor James 2008) ซึ่ ง ง า น
ประเภทหลังมักเป็ นงานในสายสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
งานของพระมหาวุฒชิ ยั เป็ นการศึกษาบทบาทโดยตรงของ ปยุตฺโต ผู้ซ่งึ ถือกันว่าเป็ นปราชญ์ทางพุทธ
ศาสนาเถรวาทของไทย งานชิน้ นี้เกิดจากการวิเคราะห์หนังสือของ ปยุตฺโต ทีเ่ ขียนเพื่อคลีค่ ลายประเด็นการตีความ
คาสอนของวัดพระธรรมกาย ซึ่งในทัศนะของปยุตฺโตและพระมหาวุฒชิ ยั เอง เป็ นการบิดเบือนคาสอนของพุทธ
ศาสนาให้ผดิ เพี้ยนเพื่อแสวงหาอานาจและผลประโยชน์ พระมหาวุฒชิ ยั เสนอเป็ นข้อสรุปของวิทยานิพนธ์ถงึ ขัน้
ทีว่ ่า ถ้าหากวัดพระธรรมกายสาเร็จตามจุดมุ่งหมายทีต่ งั ้ เอาไว้ ก็จะส่งผลให้พุทธศาสนาในประเทศไทยซึง่ เป็ นพุทธ
ศาสนาเถรวาทต้องสูญสิน้ อันตรธานไปฯ (พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี, 2546, น. ก) ซึง่ เป็ นข้อเสนอเดียวกับหนังสือ
กรณีธรรมกาย ทีเ่ ขียนโดย ปยุตฺโต ขณะที่ วรัญญู ชายเกต ศึกษาความเป็ นมาของคณะสงฆ์ไทย เพื่อจะแก้ปัญหา
ความขัด แย้งกรณี ธรรมกาย วรัญ ญูมองว่า ปรากฏการณ์ น้ี ส่งผลกระทบต่ อ ทัง้ พระธรรมวินัยและสถาบันสงฆ์
ทางออกที่ดคี อื การต้องยึดหลักพระธรรมวินัยเป็ นหลัก ที่สาคัญต้องไม่ละเลยการให้ความรู้พุทธบริษัทด้านพระ
ธรรมวินัยทีถ่ ูกต้อง ธรรมกายเองควรปรับปรุงองค์กรตามทีม่ หาเถรสมาคมแนะนา เช่นปรับปรุงคาสอนให้ถูกต้อง
ตามกับธรรมวินัย มีความระมัดระวังในการทาธุรกิจซึ่งไม่เหมาะกับศาสนา ทานองเดียวกับ นายแพทย์ มโน
เลาหวนิช (Laohavanich, M) ผูเ้ คยเป็ นศิษย์ได้รบั การสนับสนุ นจากพระธัมมชโยให้ศกึ ษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
และต่อมาได้ยา้ ยออกจากวัดพระธรรมกายด้วยเหตุผลว่ารับไม่ได้กบั การบิดเบือนคาสอนและแนวคิดที่ผดิ เพีย้ น
มากขึน้ ของพระธัมมชโย มโน เสนอว่ากระบวนการสร้างความศรัทธาทีธ่ รรมกายได้ปลูกฝั งลงไปในเยาวชนตาม
โรงเรีย นและมหาวิท ยาลัย ต่ า งๆ อัน น ามาซึ่ง การท าให้พ วกเขาจงรัก ภัก ดีแ ละยอมท างานอุ ทิศ ถวายตนแก่
พระธัมมชโยเป็ นปรากฏการณ์ท่พี บเจอได้ยากในสังคมเถรวาท ทัง้ นี้เกิดจากการสร้างกระแสผู้นาที่มบี ารมีและ
ปาฏิหาริยล์ ล้ี บั กอปรกับการปลูกฝั งความเชื่อให้ศรัทธาในบุญทีม่ ใิ ช่การทาประโยชน์เพื่อสาธารณะ หากแต่ผกู ขาด
อยู่กบั ธรรมกายเป็ นหลัก มโนมองว่าเป็ นสิง่ ทีส่ งั คมต้องตระหนัก
ลัก ษณะร่ ว มของงานทัง้ 4 ชิ้น คือ การวางอยู่ บ นฐานคิด เรื่อ งศาสนาพุ ท ธแบบบริสุ ท ธิ ์ (Authentic
Buddhism) ทีย่ งิ่ กว่านัน้ คือ เชื่อว่าพุทธศาสนาเถรวาท ทีอ่ า้ งตนว่ายึดตามคัมภีรพ์ ระไตรปิ ฎกบาลี ซึง่ เป็ นคัมภีรท์ ่ี
มีความน่าเชื่อถือมากทีส่ ดุ สก็อต (Scott, 2009) เสนอว่า แนวคิดเรื่องศาสนาบริสทุ ธิเป็ ์ นแนวคิดทีไ่ ด้รบั จากอาณา
นิคมตะวันตก ผูซ้ ง่ึ มองศาสนาของตะวันตกและตะวันออกในแบบของขัว้ ตรงข้าม เนื่องจากฝรังเห็ ่ นว่าศาสนาคริสต์
เน้นคาสอนไปทีค่ วามเชื่อ เมื่อพวกเขาได้ศกึ ษาพุทธศาสนาและศึกษาหลักกาลามสูตรเป็ นต้น ก็มองและตีความให้
พุทธศาสนามีความเป็ นเหตุเป็ นผลโดยส่วนเดียว โดยมิได้มองถึงการประสมประสานความเชื่อทางศาสนาเข้ากับ
ความเป็ นท้องถิน่ ซึง่ เกิดขึน้ จริงในทางปฏิบตั ิ สาหรับ สก็อต การทีศ่ าสนาจะคลุกคลีกบั เรื่องทางโลกเช่นทรัพย์สนิ
เงินทอง รวมถึงความเชื่อเรื่องอานาจเร้นลับเป็ นต้นจึงไม่ใช่เรื่องประหลาด หากแต่แนวคิดความเป็ นสมัยใหม่ได้ทา
ให้พุทธศาสนาของปั ญญาชนมีเพียงมิตเิ ดียว ขณะเดียวกันก็ตตี ราว่าสิง่ ทีไ่ ม่ตรงกับคัมภีรห์ รือการจะตีความคัมภีร์
เป็ น อย่ า งอื่น ที่มิยืน อยู่บ นหลัก เหตุ ผ ลเป็ น พฤติก รรมที่บิด เบือ น และนี่ จึง กลายเป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ของการมอง
ธรรมกายในแง่ลบ
สาหรับงานวรรณกรรมประเภทที่สอง อภิญญา เฟื่ องฟู ส กุล (2541), Tylor James 2008 และ Zehner
Edwin (1990) ได้ศกึ ษาธรรมกายผ่านระเบียบวิธที างมานุ ษยวิทยา ทัง้ สามมองว่า ธรรมกายสามารถตอบสนอง
ความต้องการของคนชัน้ กลางในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แม้ว่า นิยามความเป็ นชนชัน้ กลางจะไม่ชดั เจน) การ

73
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สร้างเครือข่ายทีเ่ ข้มแข็งกับนักการเมือง ข้าราชการ ความเป็ นระเบียบ การจัดองค์กรทีไ่ ด้ผลและการผลิตสือ่ ธรรมะ


ที่น่าสนใจด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ทาให้ธรรมกายเติบโตได้อย่างมันคงและมี ่ บทบาทน่ าสะดุดตา นาตยา แก้วใส
(2542) ศึกษาธรรมกายผ่านมิตขิ องสือ่ สารสนเทศ นาตยาเชื่อว่าวัดพระธรรมกายเป็ นวัดแรกของประเทศทีส่ ามารถ
ปรับตัวรับกับยุคสมัยและใช้อุปกรณ์เหล่านัน้ เป็ นเหตุให้ศาสนิกของวัดพระธรรมกายสามารถติดตามรับชมและ
เสพธรรมะของวัดผ่านดาวเทียมเป็ นต้นได้โดยมิจากัดกับระยะทาง เวลา สถานที่ และดินฟ้ าอากาศ Rory (2007)
เสนอว่า ผู้นาที่มีบารมี เป็ นปั จจัยสาคัญของการเติบโตของกระบวนการทางศาสนาของไทย ทัง้ นี้บริบทของ
สังคมไทยเองก็เอื้อให้ศาสนิกขึน้ ตรงต่อผู้นามากกว่าจะเข้าถึงคาสอนด้วยตนเอง กอปรกับการนาเสนอคาสอน
รวมทัง้ หลักปฏิบตั ิสมาธิผ่านวิธกี ารที่ง่ายต่อการฟั งและเข้าถึง เป็ นการสร้างความผ่อนคลาย พักผ่อนมากกว่า
จะต้องทุ่มเทอย่างจริงจัง (Rory, 2007, Pp. 55-63)
งานในกลุ่มหลังนี้มุ่งศึกษาธรรมกายในฐานะองค์กรทางศาสนามากกว่าการชีผ้ ดิ ถูกดังที่ปรากฏในงาน
ประเภทแรก อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ธรรมกายได้เติบโตและประสบความสาเร็จด้วยการตอบสนองต่อชนชัน้ กลาง
ในเมือง ซึง่ สอดรับกับการเติบโตขึน้ ของกระแสบริโภคนิยมและเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียน
มิได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว หากแต่เสนอเพิม่ ว่า บุคคลและกระแสเดียวกันนี้ ยังทาให้เกิดแนวคิดเรื่องรัฐโลกียวิสยั
ซึง่ สนับสนุนการแยกรัฐออกจากศาสนาและเห็นว่าศาสนามีเสรีภาพทีจ่ ะขยายฐานของตน คนกลุ่มนี้จงึ เปลีย่ นจากผู้
ทีเ่ คยมองธรรมกายในแง่ลบและอาจถึงขัน้ ต่อต้าน มาสูค่ วามเป็ นผูว้ างเฉย

กรอบแนวคิดเรื่องควำมทรงจำ
แม้ก รณี ข องวัด พระธรรมกายจะไม่ ได้ถู ก ศึก ษาผ่า นกรอบแนวคิด เรื่อ งความทรงจาร่ วม (Collective
Memory) ทีศ่ กึ ษาปรากฏการณ์ภายใต้ความเชื่อทีว่ ่า องค์กรนัน้ ๆ ได้ใช้กระบวนการในการสร้างภาพและความทรง
จา (รวมถึงการสนับสนุ นให้ลมื บางอย่าง) ของเหล่าศาสนิก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานแต่ละชิน้ ทีบ่ รรยายให้เห็นถึง
ความสาเร็จในการสร้างเครือข่ายของวัดพระธรรมกาย เท่ากับอธิบายกระบวนการสร้างความทรงจาและการทาให้
ลืมของวัดพระธรรมกายไปโดยอัตโนมัติ งานชิ้นนี้ ผู้เขียนเลือกที่จะเปลี่ยนมุมมองด้านความทรงจาที่มตี ่ อวัด
พระธรรมกายจากเหล่าสาวกเป็ นบุคคลภายนอกผูซ้ ง่ึ มิได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย
อย่างไรก็ตาม กรอบคิดเรื่องความทรงจาร่วมทีผ่ เู้ ขียนจะนามาใช้อธิบายในบทความนี้มไิ ด้เหมารวมเอาว่า
คนกลุ่มหนึ่งๆ จะต้องมีความทรงจาต่อปรากฏการณ์หนึ่งๆ เหมือนกันทัง้ หมด แม้กลุ่มบุคคลเหล่านัน้ จะอยู่ร่วม
เสพข่าวสารหรือเคยผ่านเหตุการณ์เดียวกัน แม้งานวิชาการยุคปั จจุบนั โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีเ่ กีย่ วโยงกับแนวคิด
เรื่องความทรงจา จะเป็ นงานทีป่ ฏิเสธแก่นแท้ของปั จเจกบุคคล (Anti-Individual) ด้วยเหตุว่า บุคคลล้วนถูกก่อร่าง
ผ่านบริบททางสังคม แต่ทงั ้ นี้กป็ ฏิเสธมิได้ว่ามนุ ษย์ทุกคนจะไม่มคี วามแตกต่างกันเลย เนื่องจากปั จเจกบุคคลใน
ฐานะผู้กระทา (Agency) สามารถเลือกรับและปฏิเสธบางอย่างทีส่ งั คมจัดสรรให้ แต่ด้วยเหตุท่คี วามทรงจาหรือ
เรื่องราวเหล่านัน้ มิได้ล่องลอยอยู่ในอากาศ มนุษย์รบั ทราบและจดจามันในฐานะสมาชิกของสังคม ดังนัน้ การซึมซับ
จึงเกิดผ่านการนาเสนอของสังคมซึ่งมีลกั ษณะร่วมกันและอาจแตกต่างกันได้ (Barbara A. Misztal, 2013, p.12)
แนวคิดนี้ถูกยกมาเพื่อเสนอว่า งานหลายชิน้ ทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับธรรมกายมีลกั ษณะเหมารวม เช่น กระแสธรรมกาย
เกิดจากการเติบโตขึน้ ของชนชัน้ กลางในเมือง ซึง่ การนิยามและจัดประเภทของคนชัน้ กลางมีปัญหาและแท้ทจ่ี ริง
บุคคลกลุ่มเดียวกันนี้กอ็ าจมิได้สนใจหรือศรัทธาธรรมกายดังข้อเสนอหลักของบทความนี้ ซึง่ จะอภิปรายด้านล่าง
ในที่น้ีผู้เขียนจะอภิปรายปรากฏการณ์ผ่านกระบวนการสร้างความทรงจาด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
ของ วูลฟ์ คานสไตน์เนอร์ Wulf Kansteiner ได้แก่ 1).ผูส้ ร้างความทรงจา (Memory makers) 2).ผูบ้ ริโภคหรือผูใ้ ช้

74
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ความทรงจา (Memory consumers/users) และ 3).ตัววัตถุเป็ นทีส่ ถิตของความทรงจา (Visual objects) คานสไตน์
เนอร์ ยังได้กล่าวถึงความทรงจาแบบรวมหมู่ว่า ได้มาจากการต่อรองหรือแย่งพืน้ ทีก่ นั (Negotiated) ความทรงจา
ถูกเลือกมานาเสนอภาพปั จจุบนั เพื่อผลประโยชน์ของปั จจุบนั (การศึกษาเรื่องความทรงจาจึงไม่ตอ้ งการข้อเท็จจริง
สูงสุด) แต่เป็ นความจริงซึง่ มีลกั ษณะเป็ นสัมพัทธ์ (Wulf Kansteiner, 2002, p.165)

รัฐโลกียวิสัยนำไปสู่เสรีภำพทำงศำสนำและกำรยอมรับธรรมกำย
รัฐโลกียวิสยั (Secular State) เป็ นผลกระทบของเหตุผลนิยมและการจัดสรรอานาจระหว่างอาณาจักร
และศาสนจักร ทัง้ นี้ ในอดีตศาสนาพยายามเข้าไปมีบทบาทต่อชีวติ คนตัง้ แต่เกิดจนกระทังตาย ่ หากแต่ต่อมาได้ถูก
รัฐซึง่ พัฒนาผ่านความเจริญทางการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีได้แย่งชิงพืน้ ทีก่ ารเข้าไปมีบทบาทต่อผูค้ นแทบจะ
ทุกมิติ เช่น การคลอดและรักษาโรคด้วยแพทย์สมัยใหม่ ให้การศึกษาผ่านโรงเรียนของรัฐ โดยมิต้องขึน้ กับความ
เชื่อทางศาสนาแบบเดิม ทัง้ นี้ในทัศนะของรัฐสมัยใหม่ ศาสนาทีใ่ ช้รฐั เป็ นเครื่องมือในการสร้างความมันคงและเผย

แผ่และรัฐซึง่ ใช้ศาสนาเป็ นฐานเสียงและตัวอ้างอิงความชอบธรรมเป็ นสิง่ ทีไ่ ม่พงึ ปรารถนา ดังนัน้ จึงมีการเสนอให้
แยกทัง้ สองออกจากกัน กล่าวคือ รัฐไม่มหี น้าทีท่ ่จี ะสนับสนุ นศาสนาใดเป็ นพิเศษ (เช่น เป็ นศาสนาประจาชาติ)
โดยกาหนดให้ศาสนาเป็ นองค์กรเอกชน (Privatized) แข่งกันเพื่อดึงดูดศรัทธาศาสนิกด้วยความสามารถของ
ตนเอง ด้วยว่า แนวคิดเช่นนี้ยงั มองถึงคุณค่าความเป็ นมนุ ษย์ทว่ี ่า มนุ ษย์มเี สรีภาพและวิจารณญาณทีจ่ ะเลือกรับ
ฟั งและเชื่อศาสนาใดศาสนาหนึ่งด้วยตัวของเขาเอง มิใช่การถูกบังคับหรือกาหนดให้มเี พียงศาสนาเดียวซึ่งรัฐจะ
รับรองว่าถูกต้องมากทีส่ ดุ
อย่างไรก็ตาม ไม่พงึ เข้าใจว่า ศาสนาทีถ่ ูกแยกออกจากรัฐด้วยเหตุผลเดียวคือเกิดจากการเห็นคุณค่าของ
พหุ ว ัฒ นธรรมตามระบอบเสรีนิ ย มประชาธิปไตยเท่า นัน้ แม้ค วามเป็ น ชาตินิ ย ม ตามข้ อ เสนอของ Benedict
Anderson ในหนั ง สือ Imagined Communities (1983) ก็ส ามารถน าไปสู่ ร ัฐ โลกีย วิส ัย เช่ น กัน เช่ น กรณี ข อง
อินโดนีเซียทีผ่ คู้ นมีความเชื่อหลากหลาย รัฐบาลจึงต้องใช้สานึกความเป็ นชาติในการรวมคน มากกว่าจะใช้ศาสนา
อิสลามซึง่ จะเบียดขับให้ศาสนิกอื่นๆ ตกขอบไป (อ้างใน Wolf Eric, 1991, p. 19)
รัฐโลกียวิสยั หรือรัฐทีป่ ราศจากการครอบงาของศาสนามักถูกกล่าวถึงในแง่หลักการใหญ่ (Macro-level
secularization) คือ รัฐธรรมนูญทีไ่ ม่ให้การสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็ นศาสนาประจาชาติ และไม่มกี ฎหมาย
ลูกให้ความชอบธรรมในการปกป้ องคุ้มครองศาสนาใดพิเศษกว่าศาสนาอื่นๆ แท้จริงแนวคิดนี้ยงั มีอกี 2 ระดับคือ
ระดับกลาง (Meso level) ทีอ่ งค์กรเล็กลงมาจะไม่มกี ารตัดสินใจ กาหนดนโยบายรวมถึงการคัดเลือกพนักงานผ่าน
กรอบคิด ทางศาสนา ส่ว นในระดับ ที่เล็ก ที่สุดคือ (Mecro level) เป็ น ระดับ ของปั จเจกบุ คคลที่จะไม่ถู กศาสนา
ครอบง าในการใช้ชีวิต (Bjorn Mastiaux, 2012) แน่ น อนว่ าระดับหลังนี้ เ กิด ขึ้น ได้ยาก เพราะแม้กระแสโลกจะ
เปลี่ยนผ่านไปสู่เสรีนิยมประชาธิปไตย แต่กต็ ้องไม่ลมื ว่า กระแสนัน้ มิได้ปฏิเสธการตัดสินใจและความเชื่อส่วน
บุคคล คาสอนทางศาสนาก็ได้ซมึ ซาบเข้าไปสู่ส่อื สิง่ พิมพ์และโลกออนไลน์จนเข้าถึงได้ง่ายยิง่ ขึน้ ดังนัน้ ความเจริญ
ทางเทคโนโลยีจงึ มิใช่ตวั ตัดสินว่าศาสนาจะหายไปจากชีวติ ของผูค้ น ด้วยเหตุน้ี ความเป็ นโลกียวิสยั ใน 2 ระดับต้น
จึงเป็ นสิง่ ทีเ่ พียงพอในการเรียกร้องให้รฐั สมัยใหม่กา้ วให้ถึง เพื่อหลีกเลี่ยงปั ญหาการใช้อานาจรัฐรุ กรานคาสอน
หรือความเชื่ออื่นทีร่ ฐั มิได้ให้การรับรอง
ในบทความนี้ ผูเ้ ขียนจะนาคัดบางตอนของข้อเขียนและบทให้สมั ภาษณ์ของนักวิชาการไทย 3 ท่าน คือ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ สุรพศ ทวีศกั ดิ ์ และ วิจกั ขณ์ พานิช ผูซ้ ง่ึ มีอทิ ธิพลอย่างมากในการเปลีย่ นแปลงความคิดของคน
ไทยในมิติของการโน้มน้าวให้รฐั ไทยเป็ นรัฐโลกียวิสยั และเชื่อว่าด้วยเหตุผลนี้จะเป็ นปั จจัยสาคัญที่จะแก้ปัญหา

75
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ความรุนแรงทางศาสนาและกลับมาเป็ นคุณูปการในการสนับสนุ นให้รฐั ไทยก้าวสู่ความเป็ นประชาธิปไตยทีไ่ ม่ถูก


วาทกรรมความดีและคนดีตามกรอบคิดของศาสนาครอบงาอีกด้วย
นิธิ เอียวศรีวงศ์ แสดงความไม่เห็นด้วยของการเสนอให้มี พ.ร.บ. ปกป้ องพุทธศาสนา ซึ่งตีพิมพ์ใน
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจาวันที่ 30 เมษายน 2555 เรื่อง อุปถัมภ์คุม้ ครองพระพุทธศาสนา อะไรและ
อย่างไร ว่า

“... ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุม้ ครองพระพุทธศาสนาของสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,


พรรครัฐบาล และ ปชป. กาลังจะเข้าสภา ร่าง พ.ร.บ.ทัง้ สามฉบับล้วนมีโทษทางอาญา
ประกอบอยู่ ด้ ว ย และล้ ว นเป็ นโทษที่ค่ อ นข้า งหนั ก ทัง้ สิ้น ข้ อ ก าหนดเหล่ า นี้ ล ะเมิด
รัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง กาลังเป็ นทีถ่ กเถียงอภิปราย
กั น อยู่ ท ั ว่ ไปอยู่ เ วลานี้ ... ผมจะไม่ ข อน ามาพู ด อี ก ในที่ น้ี แต่ ใ คร่ จ ะตั ้ง ค าถามว่ า
พระพุ ท ธศาสนาที่นัก การเมือ งและข้า ราชการในสานัก งาน ก าลัง อยากจะอุ ป ถัม ภ์และ
คุม้ ครองนัน้ คืออะไร? และวิธอี ุปถัมภ์คุม้ ครองแบบนัน้ จะส่งผลอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ในประเทศไทย ทีเ่ รียกว่า "พระพุทธศาสนา" - ไม่ว่าคนอื่นเรียกหรือศาสนิกเรียกเองก็ตาม -
ทัง้ ในเมืองไทยและในโลกนี้มคี วามหลากหลายมาก ผมไม่ได้หมายความเพียงเถรวาทและ
มหายานซึ่งมีหลายนิกายเท่านัน้ ว่าเฉพาะในเมืองไทย พระพุทธศาสนาก็มหี ลายกระแส
ความเชื่อและการปฏิบตั มิ าแต่โบราณ พระพุทธศาสนาทีเ่ ราเรียนในโรงเรียนนัน้ เป็ นเพียง
กระแสเดียว แม้เป็ นกระแสเดียวทีม่ อี านาจรัฐหนุนหลัง แต่กเ็ ป็ นกระแสเดียวเท่านัน้ และขอ
เรียกว่าพระพุทธศาสนาทีเ่ ป็ นทางการ...”
สุรพศ ทวีศกั ดิ ์ ให้สมั ภาษณ์ กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล จาก TCIJ ในประเด็น “รัฐ (ไทย) ทีไ่ ม่มศี าสนา เมื่อ
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ว่า

“... จริงๆ แล้ว ผมคิดว่าการล้อเลียน เสียดสีศาสนา สามารถทาได้ ด้วยเหตุผลว่าศาสนาได้


อะไรจากสังคมเยอะ ไม่ว่าจะในประวัตศิ าสตร์สองสามพันปี ทผ่ี ่านมาจนถึงปั จจุบนั ศาสนา
ได้รบั ความศรัทธา ได้รบั ความเชื่อถือ หรือสถานะ อานาจ ผลประโยชน์ต่างๆ ศาสนาได้รบั
เยอะมาตลอด ถ้าจะมีคนจานวนหนึ่งเล็กๆ ทีอ่ ยากจะล้อเลียน ก็ไม่ได้กระทบต่อความมันคง ่
ของศาสนานัน้ หรือจะทาให้ล่มสลาย ผมคิดว่าเสรีภาพตรงนี้ เราน่ าจะยอมรับได้ และในแง่
หนึ่งมันก็จะพิสจู น์คาสอนของศาสนาเองด้วยทีส่ อนเรื่องสันติภาพ อย่างอิสลามก็สอนว่าฆ่า
มนุ ษย์คนหนึ่งเท่ากับฆ่ามนุ ษยชาติทงั ้ มวล หรือการสอนเรื่องขันติธรรม ความอดทน ความ
เมตตา ความรัก ถ้าคุณมีคุณธรรมเหล่านี้จริง คุณทนกับคาล้อเลียนไม่ได้ มันก็เป็ นเรื่องที่
แปลกมาก ... คาถามก็คอื ถ้าเราจะอยู่ดว้ ยกันด้วยความหลากหลาย ความหลากหลายอยู่บน
พื้น ฐานของอะไร มัน ก็ต้ อ งมีเ สรีภ าพก่ อ น ความหลากหลายจึง จะเป็ นไปได้ ความ
หลากหลายไม่สามารถจะอยู่ใต้เผด็จการ พระเจ้าของฉันต้องดีทส่ี ุด พุทธก็ต้องดีทส่ี ุด แต่
เสรีภาพจะทาให้ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ ทาให้ความหลากหลายเป็ นไปได้จริง ...”
วิจกั ขณ์ พานิช ให้สมั ภาษณ์ใน มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558 หัวข้อเรื่อง มอง "ศาสนา
ในโลกสมัยใหม่" ผ่านแนวคิด "แยกรัฐจากศาสนา" ว่า

76
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

“... แนวทางของอินเดียซึง่ รัฐเป็ นกลางทางศาสนาเป็ นแนวทางทีม่ แี นวโน้มเข้ากับสังคมไทย


ได้ดี โดยรัฐสนับสนุนทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมและไม่กา้ วก่าย ... คิดว่า แนวคิดนี้สอดคล้อง
กับ สัง คมสมัย ใหม่ซ่ึง เป็ น สัง คมที่เ ปิ ด ให้ก ับความแตกต่ า ง หลากหลายทางความเชื่อมี
เสรีภาพทางความคิดและมีขอ้ สันนิษฐานว่ามนุษย์ ทุกคนสามารถคิดเองลองผิดลองถูกด้วย
ตัวเอง มันเปิ ดกว้าง มนุษย์ทุกคนสามารถแสวงหาเรื่องคุณค่า ความหมายของชีวติ ศาสนา
ในโลกสมัยใหม่เป็ นเรื่องที่รฐั ไม่ต้องเข้ามาก้าวก่าย แต่ละคนสามารถลองผิดลองถูกด้วย
ตัวเอง ... ไม่ได้หมายความว่า ไม่มศี าสนา แต่แปลว่า รัฐไม่กา้ วก่ายกิจการทางศาสนาคือ
ปล่อยอิสระ หรือถ้าจะมีการสนับสนุ น กิจการทางศาสนาก็ต้อ งทาอย่างเท่า เทียมกัน ทุ ก
ศาสนา แต่ปัญหาของรัฐไทยคือเราดูเหมือนจะเป็ นรัฐสมัยใหม่และเราดูเหมือนมีเ สรีภาพใน
การนับถือศาสนา แต่อย่างที่ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ พูด คือเราดูเหมือนมีเสรีภาพในการนับถือ
ศาสนาแต่เราไม่มคี วามเท่าเทียมกันทางศาสนา...”
เหตุผลทีผ่ เู้ ขียนเลือกหยิบการนาเสนอของทัง้ 3 ท่าน ด้วยเหตุผลว่า ทัง้ สามได้กลายเป็ นกระบอกเสียง
สาคัญในการเผยแพร่แนวคิดรัฐโลกียวิสยั ได้รบั เชิญให้บรรยาย และแสดงความเห็นต่ อสื่อสาธารณะบ่อยครัง้
ประการสาคัญคือ แม้ทงั ้ สามจะไม่แสดงท่าทีเห็นด้วยกับกรณีต่างๆ ของธรรมกาย หากแต่เมื่อถูกซักถาม ก็จะตอบ
ไปในทานองที่รฐั ต้องพิจารณาบทบาทตัวเองว่ามีสทิ ธิมากแค่ไหนในการตัดสินชี้ถูกผิดด้านคาสอน โดยเฉพาะ
อย่างยิง่ กรณีปาราชิกของธัมมชโยที่ปรากฏในบันทึกของสมเด็จพระสังฆราช สุรพศก้าวข้ามข้อถกเถียงถึงลาย
พระหัตถ์จริงหรือปลอมไปตัง้ คาถามต่อการพิพากษาคดีดงั สมัยพุทธกาล ด้วยว่าการตัดสินวินยั ทีห่ นักหนาร้ายแรง
ขัน้ ปาราชิก ควรต้องพิพากษาต่อจาเลย (สัมมุขาวินัย) ซึง่ พระสงฆ์ไทยรวมถึงพระสังฆราชเองกลับมองข้าม ทัง้ นี้
การวินิจฉัยทีเ่ ป็ นธรรม จะนามาสู่การชีแ้ จง คัดง้างด้วยข้อมูลหลักฐาน และฝ่ ายจาเลยมีเสรีภาพในการจะต่อสูค้ ดี
อีกด้วย
แนวคิดโลกียวิสยั เติบโตอย่างมากในสังคมไทยช่วงหนึ่งทศวรรษทีผ่ ่านมา หลักฐานประการหนึ่งสังเกต
จากการชุมนุ มเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติและ พ.ร.บ. คุม้ ครองพุทธศาสนา เช่น ทีพ่ ุทธ
มณฑลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ทีผ่ ่านมา ซึง่ แต่ละครัง้ มีผเู้ ข้าร่วมชุมนุ มไม่มากนัก อีกทัง้ รัฐบาลเอง แม้จะเป็ น
เผด็จการทหารก็มไิ ด้รบั ข้อเสนอทีจ่ ะบรรจุพุทธศาสนาเป็ น ศาสนาประจาชาติ การถกเถียงในการประชุมรัฐสภาถึง
ประเด็นนี้สะท้อนอย่างชัดเจนว่า เหตุผลหลักของการไม่รบั ข้อเสนอของกลุ่มพระสงฆ์อยู่ท่กี ารต้องให้ความเป็ น
ธรรมกับทุกศาสนา การมองว่าศาสนาควรเป็ นอิสระและศาสนิกชนมีเสรีภาพในการตีความคาสอนนี้เอง เป็ นปั จจัย
หนึ่งทีท่ าให้กระแสต่อต้านธรรมกายลดน้อยลง นันมิ่ ได้หมายความว่า คนชัน้ กลางทีม่ กี ารศึกษาตลอดจนคนชัน้ ล่าง
ที่เรียกร้องเสรีภาพตามระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยจะเปลี่ยนไปเห็นด้วยกับพฤติการณ์ของธรรมกาย เพราะ
จานวนสาวกของธรรมกายเองในช่วง 3 ปี ทผ่ี ่านมามิได้เพิม่ ขึน้ อย่างมาก3 หากแต่อยู่ในระดับทีค่ งตัว จะมีกแ็ ต่ชาว

3 ผูเ้ ขียนทราบข้อมูลนี้จากการสัมภาษณ์พระภิกษุของศูนย์ธุดงคสถานนครธรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในโอกาสทีเ่ ข้าร่ว มพิธถี วายข้าวพระวันอาทิตย์


ต้นเดือนพฤศจิกายน ในวันนัน้ มีการทอดผ้าป่ าและมีประชาชนเข้าร่วมราว 70 คน (ซึง่ ถือว่าน้อยมากหากเทียบกับวัดทั ่วไป) ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์เล่าว่า แท้จริง
กัลยาณมิตรผูใ้ ห้การสนับสนุ นธุดงคสถานแห่งนี้ เป็ นกลุม่ คนเดียวกันทีเ่ ดินทางไปทาบุญทีว่ ดั พระธรรมกาย แต่เมือ่ ทางจังหวัดมีศูนย์เป็ นของตน การมา
ทาบุญในทีใ่ กล้บา้ นก็สะดวกยิง่ ขึน้ อย่างไรก็ตาม ประมาณ 2 ปี ทผ่ี า่ นมา ผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์กย็ งั อยูใ่ นหลักร้อย สมาชิกก็เป็ นคนเดิมๆ ไม่มวี แ่ี วว
ว่าจะเพิม่ มากขึน้ ทัง้ นี้ การจัดกิจกรรมใหญ่ๆ ในแต่ละทีซ่ ง่ึ มีผู้เข้าร่วมเป็ นจานวนมากเกิดจากการรวมพลังทีไ่ ด้ผลของกัลยาณมิตรหลายจังหวัดใกล้เคียง
และคนเหล่านี้กพ็ ร้อมจะรวมตัวกันเพือ่ จัดพิธกี รรมใหญ่ๆ ทีว่ ดั พระธรรมกาย (สัมภาษณ์, พฤศจิกายน 2558)

77
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พุทธที่เปิ ดใจยอมรับธรรมกายได้มากขึน้ ผ่านแนวคิดโลกียวิสยั ซึ่งพวกเขาก็มไิ ด้เข้าร่วมหรือให้การสนับสนุ น


ธรรมกายแต่อย่างใด
อาจเกิดคาถามขึน้ ว่า มีความเป็ นไปได้หรือไม่ ทีแ่ นวคิดโลกียวิสยั มิได้เติบโตขึน้ จริงในสังคมไทย เหตุผล
หลักทีร่ ฐั บาลทหาร (รวมถึงรัฐบาลอื่นๆ ก่อนหน้านี้) เลือกทีจ่ ะปฏิเสธไม่บรรจุพุทธศาสนาให้เป็ นศาสนาประจาชาติ
ในรัฐธรรมนูญคือความกลัวต่อการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอานาจรัฐและองค์กรพุทธศาสนา
อีกทัง้ ยังสร้างความร้าวฉานต่อศาสนาอื่นในเมืองไทยด้วย? ผู้เขียนเชื่อว่า แนวคิดรัฐโลกียวิสยั เติบโตขึน้ อย่าง
ปฏิเสธไม่ได้โดยเฉพาะในวงวิชาการ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ทัง้ นี้ ต้องไม่ลมื ว่าผูเ้ ขียนหมาย
เอาความเป็ นรัฐโลกียวิสยั ใน 2 ระดับแรกคือ (1) ในแง่หลักการใหญ่ (Macro-level secularization) ทีร่ ฐั ธรรมนู ญ
จะไม่ให้การสนับสนุ นศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็ นศาสนาประจาชาติ และไม่มกี ฎหมายลูกให้ความชอบธรรมในการ
ปกป้ องคุม้ ครองศาสนาใดพิเศษกว่าศาสนาอื่นๆ และ (2) ระดับกลาง (Meso level) ทีอ่ งค์กรเล็กลงมาจะไม่มกี าร
ตัดสินใจ กาหนดนโยบายรวมถึงการคัดเลือกพนักงานผ่านกรอบคิดทางศาสนา รัฐไทยดูจะให้ความเป็ นธรรมกับ
ประชาชนและมีความเป็ นรัฐโลกียวิสยั ที่เพียงพอ ส่วนระดับที่ 3 อันหมายถึงการใช้ชวี ติ ของผูค้ นในระดับปั จเจก
บุคคลจะไม่ถูกครอบงาด้วยความเชื่อทางศาสนา ประเด็นนี้เป็ นสิง่ ที่ต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นได้ยาก เพราะหาก
พยายามทาให้ศาสนาหายไปจากชีวติ มนุ ษย์ รัฐก็เท่ ากับจากัดและกีดกันเสรีภาพของปั จเจกบุคคลในการเลือก
ศึกษาและปฏิบตั ติ ามหลักศาสนานัน้ ๆ
ทัง้ นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับพุทธศาสนายังคงมีความเกีย่ วโยงกันมาตลอดนับตัง้ แต่ยุคของการ
ก่อตัง้ รัฐชาติ ซึ่งพุทธศาสนาสามารถเอื้อประโยชน์ให้กบั รัฐในฐานะเป็ นเครื่องมือที่ใ ช้ในการรวมผู้คนและสร้าง
ความชอบธรรมแก่ชนชัน้ ปกครอง (Swearer, 2010, Pp. 71-73) อย่างไรก็ตาม การที่รฐั บาลเกรงว่า หากเปิ ด
โอกาสให้พุทธศาสนาได้มบี ทบาทมากขึน้ ซึง่ รับรองโดยรัฐธรรมนูญ จะส่งผลต่อการบริหารและกาหนดนโยบายของ
รัฐบาลก็อาจมีความเป็ นไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม การทีร่ ฐั บาลต้องรักษาสัมพันธภาพกับศาสนิกชนอื่นๆ ด้วยการให้
ความเป็ นธรรมเพื่อป้ องกันความขัดแย้งทีจ่ ะเกิดขึน้ เป็ นเหตุผลทีด่ มู ตี รรกะมากกว่า นัน่ หมายถึง แนวคิดเรื่องสิทธิ
เสรีภาพ ความเท่าเทียม และรัฐโลกียวิสยั ได้พฒ ั นาขึน้ เรื่อยๆ ในสังคมไทย อนึ่ง แนวคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้ดว้ ยเหตุวา่
อานาจความชอบธรรมของรัฐบาลในปั จจุบนั แทบไม่มคี วามจาเป็ นทีจ่ ะต้องได้รบั จากศาสนาเช่นในอดีตอีกต่อไป
กล่าวคือ นับตัง้ แต่กระบวนการเข้าสู่ตาแหน่ งทางการเมือง (ทัง้ ในระบอบเผด็จการและการเลือกตัง้ ) ก็มติ ้องอาศัย
อานาจบารมีของพระสงฆ์ในการชี้นาผู้คนให้ เลือกหรือภักดีต่อตัวแทนนัน้ ๆ สังเกตได้ว่า ความชอบธรรมของ
นักการเมือง (รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย)์ ได้เปลีย่ นจากการสนับสนุนวัดหรือพระสงฆ์ ไปสูก่ ารพัฒนาประเทศ
ไปสูค่ วามเจริญและการยกระดับชีวติ ปากท้องของประชาชนผูซ้ ง่ึ เลือกตนเองมาเป็ นตัวแทนเสียมากกว่า
แต่ ทงั ้ นี้ก็มิได้หมายความว่า รัฐบาลจะไม่ให้ความสาคัญกับพุทธศาสนาเลย แนวคิดของการปกป้ อง
ศาสนาหรือทาให้ศาสนามีความเป็ นแก่นแท้ตรงตามคัมภีร์ ยังคงถูกผลิตซ้าเป็ นระยะๆ โดยเฉพาะสังคมเถรวาททีม่ ี
พระสงฆ์เป็ นศูนย์กลางอานาจและเป็ นตัวแทนของศาสนา ทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาทคือการยอมรับพระสงฆ์ใน
ฐานะหนึ่งในพระรัตนตรัยว่าเป็ นผูป้ ฏิบตั ดิ ี จดจาคาสอน และเผยแผ่ธรรมแก่ฆราวาสผูซ้ ง่ึ ใช้เวลาส่วนใหญ่กบั การ
ทามาหากิน ดังนัน้ ฆราวาสจึงไม่มเี วลาค้นคว้าและทีส่ าคัญไม่สามารถเข้าถึงพระธรรมได้โดยไม่ผ่านพระสงฆ์ผเู้ ป็ น
เนื้อนาบุญ การจะปฏิเสธพระสงฆ์และเข้าถึงธรรมด้วยการปฏิบตั ขิ องปั จเจกบุคคลจึงเกิดขึน้ ยากในโลกของพุทธ
ศาสนาเถรวาท ด้วยเหตุน้ี พฤติกรรมของพระสงฆ์จงึ เป็ นปั จจัยสาคัญในการสร้างบุญและทรงไว้ซ่งึ ศาสนา หาก

78
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ประสงค์จะรักษาศาสนาก็ต้องรักษาพระสงฆ์ หรือหากต้องการจะชาระพระศาสนาก็ต้องชาระพฤติกรรมทีเ่ ชื่อว่า


หย่อนยาน ผิดพระธรรมวินยั ของพระสงฆ์เช่นเดียวกัน

กระแสปฏิรูปพุ ทธศำสนำนำไปสู่ควำมปรองดองของชำวพุ ทธ
การก่อรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตัง้ แต่
เวลา 16:30 น. โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็ นหัวหน้าคณะ ได้นาไปสูก่ ารตัง้ กรรมการปฏิรปู แนวทางและ
มาตรการปกป้ องพิทกั ษ์กจิ การพระพุทธศาสนา สภาปฏิรปู แห่งชาติ (สปช.) มี นายไพบูลย์ นิตติ ะวัน เป็ นประธาน
คณะ ได้เสนอแนวทางในการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้ องพิทกั ษ์กจิ การพระพุทธศาสนาต่อ สปช. 4 เรื่อง
หลักๆ ได้แก่ (1) เรื่องทรัพย์สนิ ของวัดและพระสงฆ์ (2) เรื่องปั ญหาของคณะสงฆ์ทไ่ี ม่ปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินัย
นามาซึง่ ความเสือ่ มศรัทธา (3) เรื่องการทาให้พระธรรมวินยั วิปริต และการประพฤติปฏิบตั วิ ปิ ริตจากพระธรรมวินยั
และ (4) เรื่องฝ่ ายอาณาจักรทีต่ อ้ งเข้าไปสนับสนุ น ปกป้ องคุม้ ครองกิจการของฝ่ ายศาสนจักร (รชยา นัทธี, 2558)
ทัง้ สี่ป ระเด็น น าไปสู่ก ารถกเถีย งและต่ อ ต้า นของพระสงฆ์ใ นวงกว้า ง โดยมี พระเมธีธ รรมาจารย์ (ประสาร
จนฺ ทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เป็ น
แกนนาหลัก โดยให้เหตุผลว่า การปฏิรูปดังกล่าวเป็ นการเหยีย บย่า ทาลายพุทธศาสนา เช่นกรณีของการเสนอให้
เจ้าอาวาสมาจากการเลือกของประชาชนซึ่งมีวาระห้าปี เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ตาแหน่ งโดยการใช้เงินซื้อของ
พระสงฆ์ หากแต่ สปช. เองก็ยงั ไม่มาจากประชาชนส่วนการเก็บภาษี ควรจะพิจารณาวัดทีย่ ากจนซึง่ แทบไม่มเี งิน
จ่ายค่าไฟด้วย มิใช่มองเฉพาะพระทีม่ รี ายได้สงู ซึง่ มีจานวนน้อยเป็ นต้น พระเมธีธรรมาจารย์ยงั กล่าวอีกว่า ประเทศ
ไทยมีถึง 6 ศาสนา แต่รฐั บาลพยายามเหยียบย่ าจับผิดเฉพาะพุทธศาสนาเท่านัน้ ขณะที่ พระพยอม กลฺ ยาโณ
เห็นด้วยกับนโยบายเก็บภาษีพระสงฆ์ โดยให้เหตุผลว่า ปั ญหาปั จจุบนั เกิดจากการทีพ่ ระเก็บสะสมและร่ารวยจริง
หากเอาตามพระพุทธเจ้าก็ไม่ตอ้ งเดือดร้อนให้ใครมาตรวจสอบ (อินทรชัย พาณิชกุล, 2558)
นอกจากแนวทางการปฏิรูปหลักทัง้ 4 ด้านแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปั จจัยสาคัญประการหนึ่งทีส่ ่งผลต่อการ
ต้องตัง้ คณะกรรมการปฏิรูปคือ กรณีของวัดพระธรรมกาย เรื่องการยักยอกเงินของพระธัมมชโยกับกลุ่มสหกรณ์
เครดิตยูเนี่ยนคลองจัน่ และ การต่อต้านการขึน้ สู่ตาแหน่ งสังฆราชของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ า
นาโดยพระสุวทิ ย์ (หลวงปู่ พุทธอิสระ) อนึ่ง ผู้เขียนมิได้ประสงค์จะถกเรื่องหลักการและความเป็ นธรรมของการ
ปฏิรูปและการต่อต้านกระแสปฏิรูปนี้ หากแต่มุ่งจะเสนอว่า กระแสดังกล่าวได้นาไปสู่การปรองดองของพระสงฆ์
หลายกลุ่มทีเ่ ห็นว่าตนกาลังถูกเบียดเบียนจากรัฐบาล เช่นการถูกตรวจสอบบัญชี การกาหนดให้ตอ้ งจ่ายภาษี การ
อนุมตั ใิ ห้ศกึ ษาแต่ทางธรรม (นักธรรมและบาลีเป็ นหลัก)
เพื่อต่อต้านการปฏิรูปนี้ เกิดการก่อตัง้ เฟซบุ๊กเพจ “ปกป้ องสังฆมณฑล” ขึน้ เพื่อโจมตีการทางานของ
สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิง่ นายไพบูลย์ นิตติ ะวัน จานวนผูก้ ดไลค์ คอมเม้นท์และแชร์โพสต์สว่ นใหญ่
เป็ นพระสงฆ์ แต่อย่างไรก็ตาม ความน่ าสนใจของเพจนี้มนี ้อยกว่าเพจ “พุทธสามัคคี” ซึง่ ดูภายนอกมิได้เกีย่ วโยง
กับประเด็นทางการเมือง แต่เน้นเป็ นการรวมกลุ่มชาวพุทธเพื่อให้ความรูด้ า้ นคาสอนของพุทธศาสนา เพจนี้ สร้าง
และดูแลโดยธรรมกาย มีสโลแกนคือ “ส่งเสริมการทางานสร้างสรรค์ของชาวพุทธทุกกลุ่ม ป้ องปราบการใช้โทสวาท
(Hate Speech) สร้างความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธ” เพจนี้ก่อตัง้ ขึน้ ในระยะเวลาเดียวกับเพจ ปกป้ องสังฆมณฑล
แต่มวี ตั ถุประสงค์ทต่ี ่างออกไป คือ เสนอให้ผตู้ ดิ ตามเห็นว่าพุทธศาสนากาลังมีภยั (ทัง้ จากรัฐบาลและศาสนาอื่นๆ)
ดังนัน้ ชาวพุทธจึงไม่ควรมาตรวจสอบจับผิดกันเอง อันจะเป็ นการทาลายความมันคงของพุ ่ ทธศาสนา แต่เสนอให้ใช้
ความแตกต่างของแต่ละสานักในการสร้างศรัทธาต่อศาสนิก เนื้อหาในเพจนี้ระบุไว้ชดั เจนว่า “รวบรวมเรียบเรียง

79
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

และเพิม่ เติมจากบทความของท่านผูร้ ทู้ งั ้ หลาย มาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและไม่สงวนลิขสิทธิใน



การนาไปเผยแพร่ต่อในสื่อทุกรูปแบบ” ซึ่งในความเป็ นจริง โพสต์ส่วนใหญ่นาเสนอผ่านกรอบคิดแบบธรรมกาย
ทัง้ สิน้ ปั จจุบนั มียอดไลค์ถงึ 911,9564
ประสบการณ์ของผู้เขียนที่อยู่ร่วมกับพระสงฆ์วดั พระธรรมกายอาจเป็ นกรณีหนึ่งที่ยนื ยันถึงวาทกรรม
ความสามัคคีทไ่ี ด้ผลของธรรมกายในการสร้างความเชื่อว่า การวิพากษ์วจิ ารณ์จะนาไปสูก่ ารทาลายศาสนา ผูเ้ ขียน
เล่าให้พระท่านหนึ่งฟั งถึงการจะนาเสนองาน ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเรื่อง การทาศาสนาให้เป็ นสินค้า “กรณีพระ
วัดป่ าของไทย” สิง่ ทีท่ ่านตอบกลับมาคือ “คุณมีความสุขมากกับการได้ทาลายศาสนาหรือ ? ใครจะเป็ นอย่างไรก็ให้
เป็ นเรื่องของเขา แต่เมื่อเราไปหยิบมาวิจารณ์ จะทาให้กลายเป็ นประเด็นใหญ่ สุดท้ายเมื่อคนมารับทราบเข้า อาจ
ทาให้เขาเสือ่ มศรัทธาต่อพุทธศาสนาทีเ่ ขาเคยเชื่อ” เมื่อฟั งแล้วผูเ้ ขียนก็พยายามชีแ้ จงให้เห็นว่าการวิพากษ์ในทาง
วิชาการต่างจากการด่าเพื่อทาลายอย่างไร ซึง่ ก็ดไู ม่เป็ นทีป่ ระทับใจของพระธรรมกายรูปนัน้ พระรูปเดียวกันนี้ มัก
เอาโพสต์เกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่วางแผนจะทาลายศาสนาพุทธ เรียกร้องกฎหมาย และฆ่าคนในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ใ ห้ผู้เ ขีย นดูเ สมอ ที่น่ า แปลกใจคือ แม้ป ระเด็น ที่น ายกรัฐมนตรีนัง่ คุ ก เข่า เพื่อ รับ ดุ อ า อ์จ าก
จุฬาราชมนตรี ก็ถูกท่านรูปนี้ (รวมทัง้ ชาวพุทธในโลกออนไลน์ ) วิจารณ์ว่าหันไปจงรักภักดีต่อศาสนาอิสลามเสีย
แล้ว ชาวพุทธก็จะไม่มที พ่ี ง่ึ อีก5
นอกจากการโจมตีรูปแบบการทางานของรัฐบาลทหารโดยเฉพาะอย่างยิง่ นโยบายปฏิรูปพุทธศาสนาซึง่
ในทัศนะของพระสงฆ์เป็ นสิง่ ทีน่ ่าสะพรึงกลัวและต้องตระหนักเพื่อหาทางรับมือ (สังเกตการณ์จากแสดงความเห็น
ผ่านเฟซบุ๊กของพระสงฆ์ และ สัมภาษณ์พระสงฆ์ในอาเภอท่าศาลา) ความน่ าหวาดกลัวของอิสลามได้ถูกนาเสนอ
อย่างมากในกลุ่มไลน์สว่ นตัวของพระสงฆ์ธรรมกาย (ผูเ้ ขียนมิได้เป็ นสมาชิกด้วย หากแต่รบั ทราบจากการนาเสนอ
ของพระหลายท่าน) แม้การชุมนุ มทีพ่ ุทธมณฑลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ทผ่ี ่านมา ประเด็นเรื่องศาสนาพุทธถูกรัฐบาล
และศาสนาอิสลามเบียดเบียนจนต้องนาไปสู่การเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติกไ็ ด้รบั การ
สนับสนุ นหลักจากวัดพระธรรมกาย แต่ทงั ้ นี้ กระบวนการกลับเป็ นไปด้วยความแยบยล คือดาเนินไปในนามของ
พระสงฆ์ทงั ้ แผ่นดิน ผู้เขียนมิได้ยืนยันว่าพระสงฆ์กลุ่มอื่นมิได้เห็นด้วยและมิได้เข้าร่วมกับการชุมนุ มในครัง้ นี้
เพราะแน่นอนว่า กระแสการกดไลค์ทร่ี วมกันจานวนนับล้านของเฟซบุ๊กเพจทัง้ สองข้างต้น สะท้อนได้ว่า วาทกรรม
เรื่องศาสนาอิสลามทาลายศาสนาพุทธผ่านมือของรัฐบาลและชาวพุทธควรต้องหันมาสามัคคีก ั นโดยไม่แบ่งฝ่ าย

4 โพสต์ทน่ี ่ าสนใจมีดงั นี้ วันที่ 20 มีนาคม เหตุผลทีว่ ดั พระธรรมกายประสบความสาเร็จ ในการเผยแผ่, วันที่ 15 มีนาคม หยุดใช้ปากเป็ นหอก โจมตีกนั
ด้วยเรือ่ งคาสอน, วันที่ 12 มีนาคม หลวงพ่อธัมมชโย หลวงพ่อคือผูส้ ร้างวัดและเลีย้ งวัด, วันที่ 14 มกราคม อย่าเอาวิธที าลายล้างทางการเมืองมาทาลาย
คณะสงฆ์ (สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ที่มา https://www.facebook.com/BuddhaSamakkee/?fref=ts เข้าถึงวันที่ 30 เมษายน
2559 เ หตุ ผ ลอี ก ป ระก ารหนึ่ งที่ ย ื น ยั น ว่ า เ พจนี้ ดู แ ล โด ยธ รร มก าย คื อ เ ว็ บ ที่ ป ร าก ฏ ด้ า นซ้ า ย ขอ งเพ จเพื่ อ ติ ด ตาม ข้ อ มู ล อื่ น ๆคื อ
http://gettoknowdhammakaya.blogspot.com/
5 มีความเป็ นไปได้มากว่า การทาให้รฐั บาลและพรรคประชาธิปัตย์กลายเป็ นของมุสลิมของคนเหล่านี้ อาจส่งผลถึงการทีพ ่ ระสงฆ์หนั ไปให้ความหวั งกับ
พรรคเพือ่ ไทยเพิม่ ขึน้ ด้วย นั ่นหมายความว่า กลุม่ พระเสือ้ แดงทีเ่ พิม่ จานวนขึน้ มิได้เกิดจากการตระหนักถึงความเท่าเทียมของสิทธิเสรีภาพ เพราะพระ
ส่วนใหญ่มไิ ด้เห็นด้วยกับความเท่าเทียมทางศาสนา (ผ่านรัฐโลกียวิสยั เป็ นต้น) หากแต่เชื่อว่า พรรคเพื่อไทย (ซึง่ มีเจ้าคุณ ประสาน เป็ นต้นเข้าพบ
ตัวแทนคนสาคัญเพือ่ พูดคุยถึงประเด็นของพุทธศาสนา) จะเอื้อประโยชน์ตอ่ การออกกฎหมายและให้การสนับสนุ นกิจการพุทธศาสนามากกว่าพรรคอื่นๆ
มิเพียงพระสงฆ์ทอ่ี าจระบุวา่ เป็ นเสือ้ แดงเท่านัน้ พระป่ ากรรมฐานเองซึง่ มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับราชสานักก็มองการทางานของรัฐบาลว่าเป็ น
ภัยต่อพุทธศาสนา เช่น การสั ่งระงับการกระจายเสียงวิทยุชุมชนชั ่วคราว ซึง่ รวมถึงสถานีธรรมะของพระป่ าด้วย เหตุการณ์น้นี าไปสูก่ ารออกแถลงการณ์
ของพระป่ าในการไม่ไว้วางใจรัฐบาล (สานักข่าวเพือ่ การตืน่ รู,้ 2559)
ผูเ้ ขียนใช้คาว่า Islamophobia ซึง่ เป็ นคาศัพท์ทใ่ี ช้กนั ในตะวันตกหลังจากโศกนาฏกรรมถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ขณะทีค่ าว่า Dhammajayophobia
เป็ นคาทีเ่ ลียนแบบคาแรก โดยเอาชื่อฉายาของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมาสนธิกบั คาทีแ่ ปลว่า เกลียดกลัว อย่างไรก็ตาม ศัพท์น้มี ไิ ด้ใช้ในทานองดูถูก
แต่ประการใด เสมือนกับการใช้คาว่า ทักษิโณโฟเบีย ซึง่ ใช้ในหมูค่ นเสือ้ แดงเองเพือ่ เรียกความรูส้ กึ ของคนเสือ้ เหลืองทีม่ ตี อ่ ทักษิณ ชินวัตร เป็ นต้น

80
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กลับได้ผล ข้อยืนยันประการสาคัญคือ เครื่องเสียง เต้นท์ น้าดื่มและภัตตาหารทีใ่ ช้ในการชุมนุมได้รบั การสนับสนุ น


หลักจากวัดพระธรรมกาย พระสงฆ์ต่างจังหวัดตามศูนย์สาขาต่างๆ ถูกขอร้องให้ขน้ึ ไปชุมนุ มโดยทางวัดมีจวี รสี
พระราชทานให้เปลี่ยน (ซึ่งปกติพระสงฆ์วดั พระธรรมกายจะห่มจีวรสีส้ม ) เพื่อจะได้ไม่ถูกสังเกตว่ามาจากวัด
พระธรรมกาย6
เมื่อเหตุการณ์ดงั กล่าวผ่านพ้นไป ปั จจุบนั (เมษายน 2559) กระแสต่อต้านธรรมกายลดลงไปอย่างเห็นได้
ชัด วิทยานิพนธ์ของ พระมหาวุฒิชยั วชิรเมธี เองซึ่งอดีตได้ถูกนามาตีแผ่เพื่อวิจารณ์ ธรรมกายได้ หดหายไป
พระสงฆ์จากมหาวิทยาลัยทัง้ สองคือ มหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (ซึง่ เคยยกย่องและ
จัดพิมพ์วทิ ยานิพนธ์ของพระมหาวุฒชิ ยั ) ได้รวมพลังกัน (แม้กบั ธรรมกาย) เพื่อพิทกั ษ์พุทธศาสนาที่ตนเชื่อว่า
กาลังจะถูกทาลาย จึงกล่าวได้ว่า กระแสปฏิรปู ของรัฐบาลทีเ่ กิดขึน้ ได้ทาให้ภาพลักษณ์ในแง่ลบของธรรมกายลดลง
ในทางตรงกันข้าม วาทกรรมเรื่องความสามัคคีและการยอมรับในจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละสานักได้กลายเป็ นจุด
สนใจและได้รบั การยอมรับมากยิง่ ขึน้
หากอภิป รายปรากฏการณ์ ผ่ า นกระบวนการสร้า งความทรงจ าด้ว ยองค์ป ระกอบ 3 ประการของ
คานสไตน์เนอร์ (Wulf Kansteiner) ธรรมกายคือผูส้ ร้างความทรงจา (Memory makers) โดยมีผตู้ ดิ ตามเพจทัง้ ที่
เป็ นสาวกและผูม้ ใิ ช่สาวกเป็ นผูบ้ ริโภคหรือผูใ้ ช้ความทรงจา (Memory consumers/users) และ มีเพจตลอดจนสื่อ
ออนไลน์ ต่างๆ เป็ นวัตถุ เป็ นที่สถิตของความทรงจา (Visual objects) ซึ่งสามารถแบ่งปั นกันได้ในวงกว้างมาก
ยิง่ ขึน้ แน่ นอนว่า ความทรงจาแบบรวมหมู่ ได้มาจากการต่อรองหรือแย่งพืน้ ทีก่ นั (Negotiated) กับความทรงจา
หรือข้อมูลอื่นๆ ดังนัน้ สิง่ ทีถ่ ูกเลือกมาจึงเป็ นสิง่ ทีต่ อบสนองผลประโยชน์ของปั จจุบนั (Wulf Kansteiner, 2002, p.
165) บริบทของสังคมทีพ่ ระสงฆ์มองว่าตนถูกบีบคัน้ เบียดเบียนจากรัฐและศาสนาอื่น เป็ นปั จจัยหนึ่งทีป่ ลุกกระแส
คลังศาสนาและท
่ าให้ท่านต้องเลือกรับเอาข้อมูลหรือความทรงจาทีจ่ ะส่งผลต่อการต่อสูแ้ ละรักษาสถานะรวมถึง
ผลประโยชน์เดิมของตนไว้ ทัง้ นี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ สุรพศ ทวีศกั ดิ ์ และวิจกั ขณ์ พานิช อาจมองได้ว่าเป็ นผูผ้ ลิตความ
ทรงจาใหม่ให้กบั สังคมไทยในหมู่ของชาวพุทธผูซ้ ง่ึ มิได้ศรัทธาธรรมกาย ให้หนั มาเปิ ดใจและพร้อมจะจับตาดูการ
แสดงของธรรมกายมากกว่าจะลุกขึน้ ต่อต้านเพื่อรักษาศาสนาทีบ่ ริสทุ ธิของตน ์
อาจตัง้ คาถามได้ว่า ในเมื่อธรรมกายได้รบั ประโยชน์โดยตรงจากแนวคิดโลกียวิสยั ไฉนธรรมกายจึงต่อสู้
เพื่อให้ได้มาซึง่ การบรรจุเอาพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ? ประเด็นนี้สนั นิษฐานได้ว่า
1) ธรรมกายอาจเห็นด้วยกับรัฐโลกียวิสยั เพราะเชื่อว่าหากรัฐบาลเลิกให้การสนับสนุ นศาสนา ตนก็ยงั
ดารงอยู่ได้ด้วยสานุ ศษิ ย์นั บล้าน แต่ ท่ตี ้องหันมาให้การสนับสนุ นการบรรจุพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ
เพราะต้องเกาะกระแสทีก่ าลังดาเนินอยู่ในฐานะพระสงฆ์ไทย
2) อาจเป็ นได้เช่นกันว่า แท้จริงธรรมกายไม่ได้ส่งเสริมแนวคิดรัฐโลกียวิสยั แต่ อย่างใด หากแต่ ได้รบั
ประโยชน์โดยที่ตนไม่ได้คาดหวังเท่านัน้ เพราะวัดพระธรรมกายมิได้ออกแบบคาสอนเพื่อดึงใจนักวิชาการหรือ
ปั ญญาชนอยู่แล้ว หากแต่ เป็ นพุทธศาสนาในรูปแบบที่กินได้ คือ มีพิธีกรรมที่น่าประทับใจและสอนคุณธรรม
พืน้ ฐานทีจ่ ะส่งผลต่อกิรยิ ามารยาทและการดาเนินชีวติ ของศาสนิกทีล่ ดระดับความตึงเครียดลงด้วยเครื่องบันเทิง
ธรรมหลายประเภท เช่น การ์ตูน ข่าว และสารคดีธรรมะ ซึง่ มีเนื้อหาง่ายๆ แต่น่าติดตาม กล่าวได้ว่า ธรรมกายมุ่ง

6 ข้อมูลเหล่านี้ถูกเล่าอย่างเปิ ดเผยในการสัมภาษณ์ ด้วยว่า ตัวผูเ้ ล่าเองมิได้มองว่าตนถูกบังคับจากวัดพระธรรมกาย หากแต่ตนมีความสมัค รใจทีจ่ ะร่วม


ชุมนุ มแสดงพลังปกป้ องพุทธศาสนา (สัมภาษณ์ มีนาคม 2559)

81
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เผยแผ่ศาสนาเพื่อคนส่วนใหญ่ของโลก7 (พระวีรชัย, สัมภาษณ์, 2558) พระสงฆ์วดั พระธรรมกาย (รวมทัง้ พระสงฆ์


ไทยส่วนใหญ่จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทงั ้ สองแห่ง) ได้ถูกปลูกฝั งให้เชื่อเรื่องรัฐมีหน้าทีค่ มุ้ ครองและเผยแผ่ศาสนา อัน
นับจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็ นต้นมา ตัวอย่างสาคัญที่วดั พระธรรมกายใช้รฐั เป็ นช่องทางในการเผยแผ่
ศาสนาคือ การจับมือกับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานและขอให้ครูทุกโรงเรียนเข้าร่วมอบรมใน
โครงการ “ครูดศี รีตาบล” และ “โรงเรียนดีศรีตาบล” นับตัง้ แต่ปี พ.ศ.2553 (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้
พืน้ ฐาน, 2555) ซึง่ แน่ นอนว่า หากรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุ น (ในรูปแบบของรัฐโลกียวิสยั ) โครงการใหญ่เช่นนี้จะ
เกิดขึน้ ได้ยาก ดังนัน้ การเกาะอยู่กบั รัฐจึงเป็ นสิง่ ที่ธรรมกายและพระสงฆ์ ส่วนใหญ่อุ่นใจว่าตนสามารถเผยแผ่
ศาสนาได้ง่ายขึน้ จึงไม่แปลกหากจะพบว่า ธรรมกายเองก็สนับสนุ นให้ศาสนาพุทธเป็ นศาสนาประจาชาติซง่ึ จะเอื้อ
ต่อการทางานเผยแผ่ของตนยิง่ ขึน้ เพราะได้รบั การรับรองและสนับสนุ นโดยรัฐ กล่าวสัน้ ๆ คือ แนวคิดการเผยแผ่
ของวัดพระธรรมกายเองยังคงฝั งแน่นอยู่กบั การสนับสนุ นของรัฐ หากแต่ว่า ธรรมกายยังได้รบั ประโยชน์จากการที่
คนกลุ่มหนึ่งอันได้แก่นักวิชาการและนักศึกษาผู้หนั ไปให้ความรู้เรื่องเสรีภาพในการตีความคาสอนกับประชาชน
เป็ นเหตุให้แรงต่อต้านวัดพระธรรมกายเองลดลงไปด้วย ในทางทฤษฎี ความทรงจาของบุคคลผู้มไิ ด้ศ รัทธาต่อ
ธรรมกายได้ถูกทาให้เปลีย่ นแปลงไปด้วยปั จจัยหลัก 2 ประการคือ การเติบโตขึน้ ของกลุ่มปั ญญาชนผูซ้ ง่ึ สนับสนุ น
แนวคิดรัฐโลกียวิสยั และ การต้องรวมตัวกันของชาวพุทธผูซ้ ง่ึ เห็นว่ารัฐบาลและศาสนาอิสลามมีความน่ ากลัว กว่า
ธรรมกาย

สรุ ป
แนวคิดเรื่องรัฐโลกียวิสยั ทีแ่ พร่ขยายในสังคมไทยช่วงหนึ่งทศวรรษทีผ่ ่านมา ส่งผลให้คนไทยจานวนหนึ่ง
เห็นความสาคัญของรัฐสมัยใหม่ท่ไี ม่ตกเป็ นเครื่องมือและไม่ได้เปรียบจากการให้การสนับสนุ นศาสนาใดศาสนา
หนึ่งเหนือศาสนาอื่นๆ เมื่อเป็ นเช่นนี้ เจ้าสานักต่างๆ จึงถูกมองว่ามีเสรีภาพในการตีความคาสอนเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของศาสนิกได้ตราบเท่าทีก่ ารตีความนัน้ ไม่นาไปสู่การทาร้ายผูอ้ ่นื เพราะแนวคิดรัฐโลกียวิสยั เชื่อว่า
ผูค้ นสามารถเลือกทีจ่ ะลองผิดลองถูกตามข้อเสนอของสานักนัน้ ๆได้ อย่างน้อยย่อมดีกว่าการปล่อยให้รฐั สนับสนุ น
คุม้ ครองหรือออก พ.ร.บ. จากัดการตีความคาสอนให้เป็ นนัยเดียว แม้แนวคิดนี้จะขัดกับความต้องการของศาสนิก
ธรรมกายทีอ่ ยากให้รฐั เข้ามาสนับสนุนพุทธศาสนามากกว่าศาสนาอื่นๆ แต่ธรรมกายก็ได้รบั ประโยชน์โดยตรงจาก
แนวคิด นี้ กล่ า วคือ ชาวพุ ท ธที่แต่ เ ดิมเคยมองว่าธรรมกายมีความน่ ากลัว (Dhammajayophobia) แต่ เ มื่อ เกิด
เหตุการณ์ปฏิรปู พุทธศาสนาของกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้ องพิทกั ษ์กจิ การพระพุทธศาสนา สภา
ปฏิรูป แห่ งชาติ (สปช.) ซึ่ง มีก ารเสนอให้ตรวจสอบบัญ ชีวดั บัญ ชีพ ระสงฆ์ ปั ญ หาพฤติกรรมที่ ย่อ หย่อ นของ
พระสงฆ์ ตลอดจนการตีความศาสนาให้ผดิ เพีย้ น เป็ นต้น ทาให้พระสงฆ์ต่นื ตัวและมองว่ารัฐบาลทหารเองกลับเป็ น
ภัย น่ า สะพรึง กลัว พระสงฆ์แ ละชาวพุ ทธได้ย้า ยความสนใจจากวัด พระธรรมกายที่ตนเคยมองว่า “มีค าสอน
ผิดเพีย้ น” ไปยังรัฐบาลผูซ้ ง่ึ จะทาลายพุทธศาสนาลงด้วยการไม่ให้การสนับสนุนและตรวจสอบทีเ่ ข้มข้นกว่าศาสนา
อื่นๆ ทีย่ งิ่ กว่านัน้ ชาวพุทธหลายกลุ่มกลับเชื่อมโยงว่ารัฐบาลทหารรวมทัง้ พรรคประชาธิปัตย์ทางานรับใช้ศาสนา

7 การนาเสนอธรรมะให้งา่ ย และ/หรือ เลือกนาเสนอธรรมะเฉพาะในระดับพืน้ ฐาน เช่น เริม่ ต้นจากการทาบุญให้ทาน เป็ นแนวคิดทีว่ ่า ระดับของการขัด
เกลามนุ ษย์ควรเริม่ จากทานตามแนวหลักบุญกิรยิ าวัตถุ 3 ส่วนการนาเสนอประเด็นยากทีเ่ ปิ ดโอกาสแก่การโต้เถียง จะนามาซึง่ ความขุ่นหมองใจ การ
ต้องสละเวลาในการค้นคว้าทีม่ ากกว่าปกติทาให้ลดทอนเวลาในการทาบุ ญหรือทางานอย่างอื่นลง นอกจากนี้ การใช้คาว่า “วิชาธรรมกาย” แทนคาว่า
“ศาสนาพุทธ” เมื่อต้องเผยแผ่แก่ชาวต่างชาติ นอกจากจะเกิดจากเหตุผลที่ต้องการเคารพในตัวหลวงพ่อสด ผู้ค้นพบวิชานี้แล้ว การใช้คานี้ ยังสร้าง
ความรูส้ กึ ให้คนต่างศาสนาได้มโี อกาสปฏิบตั ไิ ด้งา่ ยขึ้น เพราะจะไม่มองว่าแนวการปฏิบตั นิ ้เี ป็ นศาสนา (Religion) แต่เป็ นวิชาศาสตร์หนึ่ง (Science) ซึง่
ใครก็สามารถทดลองและเข้าถึงได้ (พระสุนนั ท์, สัมภาษณ์, 2558)

82
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อิสลาม ซึง่ กาลังดาเนินนโยบายยึดประเทศไทยทัง้ ในมิตขิ องการออกกฎหมายและการใช้อาวุธ เป็ นเหตุให้ความ


เกลียดกลัวรัฐบาลและอิสลาม (Islamophobia) เติบโตขึน้ และดึงความสนใจไปจากวัดพระธรรมกายได้ไม่น้อย

บรรณำนุกรม
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJ. (2558). สัมภาษณ์ สุรพศ ทวีศกั ดิ:์ รัฐ (ไทย) ทีไ่ ม่มศี าสนา. เข้าถึงวันที่ 15
เมษายน 2559 http://tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=5393
นาตยา แก้วใส. 2542. การศึกษาบทบาทของวัดพระธรรมกายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเผยแผ่พทุ ธ
ศาสนาทัวโลก.
่ สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ : อุปถัมภ์คมุ้ ครองพระพุทธศาสนา อะไรและอย่างไร (หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับ
ประจาวันที่ 30 เมษายน 2555 มติชนออนไลน์ เข้าถึงวันที่ 30 เมษายน 2559
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435404590
พระธรรมปิ ฎก ป.อ.ปยุตฺโต. 2543. กรณีธรรมกาย (ฉบับเพิม่ เติม-จัดลาดับใหม่). กรุงเทพฯ: บริษทั ธรรมสาร
จากัด
พระมหาสุวทิ ย์ วิเชสโก, เรียบเรียง. 2551. คาสอนของยาย 2. ปทุมธานี: วัดพระธรรมกาย.
พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี. 2546. บทบาทในการรักษาพระธรรมวินยั ของพระธรรมปิ ฎก (ป.อ. ปยุตฺโต): ศึกษา
เฉพาะกรณีธรรมกาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
รชยา นัทธี (สัมภาษณ์). (2558). ไพบูลย์ นิตติ ะวัน′ กระเทาะ..วงการ′ผ้าเหลือง′ ไฉน..ต้านปฏิรปู ฯ ฉบับ สปช.
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558 โพสต์ทเู ดย์.
วรัญญู ชายเกต. 2544. องค์กรสงฆ์กบั ปั ญหาความขัดแย้งในพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย
วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตร์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
มติชนออนไลน์. 2558. วิจกั ขณ์ พานิช มองศาสนาในโลกสมัยใหม่ ผ่านแนวคิดแยกรัฐจากศาสนา. เข้าถึง
วันที่ 18 มิถุนายน 2559 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1425016967
สานักข่าวเพื่อการตื่นรู้ (Mindfulnews). 2559. คณะสงฆ์กรรมฐานมีมติไม่ไว้วางใจ ต่อ พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา ในการปฏิบตั ติ ่อสถาบันพระพุทธศาสนา. เข้าถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2559
http://www.mindfulnews.net/2016/04/blog-post_77.html?m=1
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน. 2555. การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบตั ธิ รรม ครูแกนนาโรงเรียน
ดี ศรีตาบล (โรงเรียนดีประจาตาบล). เข้าถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2559
http://www.obec.go.th/documents/26121
อินทรชัย พาณิชกุล. 2558. ภาษีพระ ระเบิดลูกใหม่ในวงการสงฆ์ โพสต์ทเู ดย์ 28 พฤษภาคม 2558 เข้าถึง
วันที่ 30 เมษายน 2559 http://www.posttoday.com/analysis/report/367499
Barbara A. Misztal. 2013. Theories of social remembering. England: Open University Press
Bjorn Mastiaux. 2012. Secularization: A Look at Individual Level Theories of Religious
Change. Retrieved on May 25, 2016 from website
http://www.religiousstudiesproject.com/2012/04/18/bjorn-mastiaux-secularization-%E2%80%93-a-
look-at-individual-level-theories-of-religious-change/
Edwin Zehner. 1990. Reform Symbolism of a Thai Middle-Class Sect: The Growth and
Appear of The Dhammakaya Movement Journal of Southeast Asian Studies, NUS, 11(2) 402-426.

83
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Laohavanich, M. M. 2012. Esoteric Teaching of Wat Phra Dhammakaya. Journal of Buddhist


Ethics, 19, 483-513.
Mackenzie, R. 2007. New Buddhist Movements in Thailand: Toward an Understanding of
Wat Phra Dhammakaya and Santi Asoke (Vol. 7). Oxford/New York: Routledge.
Olick, J. K., & Robbins, J. 1998. Social Memory Studies: From "Collective Memory" to the
Historical Sociology of Mnemonic Practices. Annual Review of sociology, 105-140.
Rory, M. 2007. New Buddhist Movements in Thailand: Towards an Understanding of Wat
Phra Dhammakaya and Santi Asoke. New York, Routledge.
Scott, M. R. 2009. Nirvana for Sale?: Buddhism, Wealth, and the Dhammakaya Temple in
Contemporary Thailand. New York, State University of New York Press.
Swearer, K. Donald. 2010. The Buddhist world of Southeast Asia. USA. State University of
New York Press
Taylor, J. 2008. Buddhism and Postmodern Imaginings in Thailand: The Religiosity of Urban
Space. Surrey: Ashgate.
Wattanasuwan, K., & Elliott, R. 1999. The Buddhist Self and Symbolic Consumption: The
Consumption Experience of the Teenage Dhammakaya Buddhists in Thailand. Advances in
consumer research, 26(1). 150-155.
Wolf, Eric. 1991. Religious Regimes and State-formation: Perspectives From European
Ethnology. State University of New York Press.
Wulf Kansteiner. 2002. Finding Meaning in Memory: A Methodological Critique of Collective
Studies. Wesleyan University.

84
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P4-R3-01

ความทรงจาและการลืม
ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ
ในบริบท “ความไม่สงบ” ชายแดนภาคใต้

ชลิตา บัณฑุวงศ์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

85
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
การเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศชายแดนใต้ โดยเฉพาะทีเ่ กีย่ วข้องกับความเสือ่ มโทรมของระบบนิเวศ มี
ความสัมพันธ์อย่างน่ าสนใจต่อสภาพความรุนแรงและ “ความไม่สงบ” ในพื้นที่ อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์น้ีไม่ได้
เกิดขึน้ อย่างตรงไปตรงมาอย่างที่งานศึกษาหลายชิ้นของเอ็นจีโอและนักวิช าการมักชี้ในทานองที่ว่า “เนือ่ งจาก
แนวทางการพัฒนาชายแดนภาคใต้ของรัฐไทยเป็ นแนวทางการพัฒนาทีไ่ ม่ยงยื ั ่ น ซึง่ ได้สง่ ผลเสียต่อระบบนิเวศและ
ฐานทรัพยากร จึงทาให้การทามาหากินของผู้คนฝื ดเคือง จนบางส่วนต้องเข้าร่วมกับขบวนการความไม่สงบ” (ดู
ศรีศกั ร วัลลิโ ภดม 2550; ประเวศ วะสี 2550; ศูนย์ศึกษาและพัฒ นาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล 2552) ตาม
แนวคิดเช่นนี้ การพัฒนาทีไ่ ม่ยงยืั ่ นเป็ นปั จจัยสาคัญทีท่ าให้ความมันคงของรั
่ ฐในพืน้ ทีช่ ายแดนใต้ถูกบันทอนมาก

ยิง่ ขึน้ บทความชิน้ นี้ต้องการเสนอมุมมองทีแ่ ตกต่างออกไป โดยได้เสนอว่า การเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศและ
ความเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ มีทม่ี าหลักจากแนวทางการพัฒนาของรัฐนัน้ กลับ
ยิง่ สร้างความเข้มแข็งและความชอบธรรมให้กบั รัฐไทยมากยิง่ ขึน้ ในการสถาปนาอานาจเหนือดินแดนแห่งความ
ขัดแย้งนี้ ทัง้ นี้ ความทรงจาและการลืมทีม่ ตี ่อการเปลี่ยนแปลงภูมปิ ระเทศของฝ่ ายต่างๆ อันประกอบไปด้วย รัฐ
ไทย ภาคประชาสังคม และชาวบ้านในพืน้ ทีศ่ กึ ษา (กาปงไอย์ฮแี ต) ทีม่ ผี ลต่อปฏิบตั กิ ารและการตัดสินใจของแต่ละ
ฝ่ ายเอง และมีผลต่อการรับรูข้ องสังคม ได้มสี ว่ นอย่างสาคัญต่อการเสริมสร้างสถานะของรัฐไทย อันส่งผลทาให้การ
สร้างชีวติ ทีด่ ขี องชาวบ้านและการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้เป็ นไปได้ยากมากขึน้
บทความนี้ ป ระกอบด้ว ย 4 ส่ว น ส่ว นแรกว่ า ด้วยภาพรวมลักษณะและการเปลี่ยนแปลงภู มิประเทศ
ตอนกลางของลุ่มน้าสายบุรี อันเป็ นภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ตตัง้ อยู่ ส่วนทีส่ องว่าด้วยการจัดการภูมปิ ระเทศผ่าน
โครงการพัฒนาต่างๆของรัฐในฐานะที่เป็ นกระบวนการสถาปนาอานาจรัฐไทยเหนือพื้นที่ชายแดนภาคใต้ท่เี ป็ น
ดินแดนแห่งความไม่สงบ ส่วนทีส่ ามเป็ นชุดคาอธิบายจากภาคประชาสังคมทีม่ องการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศ
ในฐานะทีเ่ ป็ นความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ส่วนทีส่ ว่ี ่าด้วยการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศจากมุมมองและวิถี
ชีวติ ของชาวบ้าน สุดท้ายเป็ นส่วนทีอ่ ภิปรายถึงความทรงจาและการลืมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมปิ ระเทศของ
ฝ่ ายรัฐไทย ภาคประชาสังคม และชาวบ้าน เพื่อทีจ่ ะชีใ้ ห้เห็นว่าความทรงจาและการลืมเหล่านี้มสี ่วนทาให้ปัญหา
ชายแดนภาคใต้ซง่ึ มีสาเหตุหลัก มาจากกรอบคิดเรื่องความมันคงของรั
่ ฐและอุดมการณ์รฐั ชาติไทยยังคงดารงอยู่
ต่อไปอย่างไร

ภูมิประเทศตอนกลำงของลุ่มน้ำสำยบุ รีและกำรเปลี่ยนแปลง
บนถนนสายมายอ-รามันมีสแ่ี ยกหลักทีด่ า้ นหนึ่งเป็ นเส้นทางไปยัง อ.รามัน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็ นเส้นทาง
ไปยังตัวเมือง จ.ยะลา ทีแ่ ยกนัน้ มีถนนคอนกรีตเล็กๆ ทอดยาวราว 2-3 กิโลเมตรผ่านกาปงไอย์ฮแี ตทีม่ บี า้ นเรือน
ตัง้ เรียงรายอยู่สองข้างทาง เมื่อพ้นจากแหล่งบ้านเรือนมาก็จะเริม่ พบทุ่ง (ภาษาถิน่ เรียกว่า “บาโง”) กว้างใหญ่สดุ
ตา กินขอบเขตพืน้ ทีห่ ลายหมู่บา้ นและตาบล ในทุ่งมีฝงู ควาย วัว และแกะกระจัดกระจายอยู่ ทุ่งกว้างนี้เป็ นส่วน
หนึ่งของแอ่งกระทะ พืน้ ทีบ่ างส่วนของทุ่งถูกใช้ประโยชน์เป็ นนาลุ่มสาหรับปลูกข้าวนาปรัง ขณะทีอ่ กี ด้านถูกใช้เป็ น
พืน้ ทีป่ ลูกแตงโม ทัง้ ข้าวนาปรังและแตงโมเป็ นพืชอายุสนั ้ ทีเ่ หมาะกับสภาพพืน้ ทีล่ ุ่มต่ าทีม่ นี ้ าท่วมขัง 3-4 เดือนต่อ
ปี อย่างไรก็ดีมีพ้นื ที่ท่ลี ุ่มต่ ากว่าพื้นที่ทุ่งลงไปอีก ได้แก่ บึง (ภาษาถิ่นเรียกว่า “บาโร๊ะ”) ที่มีขนาดใหญ่ คล้าย
ทะเลสาบ ปั จจุบนั มีน้ าท่วมขังตลอดปี เป็ นแหล่งทาประมงที่สาคัญของชาวบ้าน ถัดจากทุ่งและบึง ภูมปิ ระเทศ
โดยรอบค่อยๆ ลาดชันขึน้ ทีละน้อย จนกลายเป็ นพืน้ ทีท่ น่ี ้ าท่ วมไม่ถงึ หรือหากท่วมก็ท่วมในช่วงเวลาสัน้ ๆ ไม่กว่ี นั

86
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เท่านัน้ พื้นที่เหล่านี้ถูกใช้เป็ นทีต่ งั ้ บ้านเรือน สวนไม้ผลผสมผสาน และพื้นที่ทานาปี ถัดขึน้ ไปเป็ นพื้นที่เนินเขา


เตีย้ ๆ ทีเ่ ต็มไปด้วยสวนยางพารา
ลักษณะภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ตตัง้ อยู่น้ีเป็ นตอนกลางของแม่น้ าสายบุรี หนึ่งในสามแม่น้ าสายหลัก
ของชายแดนภาคใต้ แม่น้าสายบุรมี ภี ูมปิ ระเทศตอนบนเป็ นป่ าต้นน้าและตอนล่างเป็ นป่ าชายเลนและปากแม่น้า ใน
แต่ละโซนของแม่น้ ามีความซับซ้อนของระบบนิเวศภายใน เอือ้ ต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตรทีห่ ลากหลาย
หากกล่าวเฉพาะโซนตอนกลางซึ่งกาปงไอย์ฮีแตตัง้ อยู่ โซนนี้ประกอบด้วยภูมปิ ระเทศย่อยหลายส่วน มีทงั ้ บึง/
หนองน้ า ทุ่งหญ้า ทีร่ าบ และเนินเขา ซึง่ แต่ละส่วนเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ทแ่ี ตกต่างกันไป ตัง้ แต่การทาประมง
การเลีย้ งปศุสตั ว์แบบปล่อย การปลูกพืชผักอายุสนั ้ การทานา การทาสวนไม้ผล และการทาสวนยาง
สิง่ ทีน่ ่ าสนใจก็คอื ว่า สภาพภูมปิ ระเทศและการประกอบอาชีพทีห่ ลากหลายบนฐานของระบบนิเวศดังที่
กล่าวมาเป็ นผลมาจากกระบวนการเปลีย่ นแปลงทีย่ าวนานจากอดีต บึงขนาดใหญ่คล้ายทะเลสาบเนื้อทีน่ ับร้อยไร่
ในปั จจุบนั ทีม่ นี ้ าลึกปกคลุมตลอดปี นนั ้ ไม่ใช่สงิ่ ทีม่ มี าแต่เดิม เพราะเดิมพืน้ ที่ น้แี ม้จะมีน้าท่วมขัง แต่กไ็ ม่ใช่น้าลึกที่
ปกคลุมตลอดทัง้ ปี ที่สาคัญมีป่าขนาดเล็กกระจายอยู่เป็ นหย่อมๆ ป่ าเหล่านี้แลดูคล้ายเกาะเล็กๆ เมื่อระดับน้ า
ลดลงในช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านเล่าว่าในบางบริเวณมีต้นไม้หนาทึบจนสามารถเป็ นทีห่ ลบซ่อนตัวของ “ครูเปาะสู”
จากการตามจับกุมของทางการไทยในช่วงทศวรรษ 2520-2530 ขณะทีท่ ุ่งหญ้าสาหรับเลีย้ งสัตว์ ปลูกแตงโม และ
ทานาปี เดิมก็ไม่ได้โล่งเตียนสุดลูกหูลกู ตาอย่างในปั จจุบนั แต่เต็มไปด้วยต้นหญ้าและไม้พุ่มเล็กๆ กระจัดกระจาย
ขณะทีก่ ารใช้ประโยชน์หรือการทามาหากินจากพืน้ ทีเ่ หล่านี้แม้จะยังคงมีความหลากหลายสอดคล้องกับสภาพพืน้ ที่
แต่ละส่วน แต่รายละเอียดและรูปแบบการใช้กแ็ ตกต่างไปจากอดีตมาก ไม่ว่าจะเป็ นสวนยางทีเ่ ปลีย่ นจากการปลูก
แบบดัง้ เดิมมาเป็ นแบบเชิงเดีย่ ว การลดลงของสวนไม้ผลผสมผสาน (หรือทีเ่ รียกว่า “สวนดูซง”) การหันมาลงทุน
ปลูกพืชเงินสดอายุสนั ้ ชนิดใหม่ ๆ เช่น แตงโม ฟั กทอง การที่ต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวสาหรับนาลุ่มให้เป็ นพันธุ์ท่ี
สามารถเก็บเกีย่ วได้เร็วขึน้ (ข้าวเบา) เนื่องจากเส้นทางไหลและฤดูกาลของน้ าเปลีย่ นไปจากเดิมมาก การเพิม่ ขึน้
ของสวนยางใหม่ๆ ในช่วงไม่เกิน 10 ปี ทผ่ี ่านมาแม้ในพืน้ ทีน่ ้าท่วมขังทีไ่ ม่เหมาะสมต่อการปลูก ขณะทีก่ ารเลีย้ งปศุ
สัตว์ในทุ่งแม้จะยังคงมีอยู่แต่กล็ ดจานวนลงมาก เนื่องจากพืน้ ทีส่ าหรับปล่อยให้สตั ว์หากินมีน้อยลงจากการแบ่ง
พื้นที่ส่วนหนึ่งมาเป็ นแปลงปลูกแตงโมของชุมชน และจากการใช้พ้นื ที่สาหรับการก่อสร้างสานักงานของหน่ วย
ราชการใหม่ๆ ของอาเภอที่เพิ่งปรับระดับมาจากการเป็ นกิง่ อาเภอ รวมทัง้ จากการทีพ่ ้นื ทีท่ ุ่งบางส่วนกลายเป็ น
สวนยางด้วย นอกจากนัน้ ทุกวันนี้ทุ่งหญ้าและบริเวณโดยรอบยังเต็มไปสระน้ าขนาดใหญ่ คูคลองส่งน้ า และทาง
ระบายน้ าที่อยู่กระจัดกระจาย รวมทัง้ มีการขุดคันดินความยาวหลายกิโลเมตรเชื่อมต่อพื้นที่ร ะหว่างตาบลและ
อาเภอเพื่อป้ องกันน้ าท่วม สิง่ เหล่านี้เป็ นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาต่างๆ ของหน่ วยงานรัฐหลายแห่ง รวมทัง้
การตัดถนนหลายสายในบริเวณนี้ทม่ี ที งั ้ ถนนลาดยางสายหลักและถนนสายรองๆ ทีต่ ดั ผ่านทีน่ า ทีท่ ุ่ง และทีเ่ นิน
เขา
การเปลี่ย นแปลงของภู มิป ระเทศและการใช้ประโยชน์ จากพื้น ที่ด ังที่ก ล่ า วมามีปั จจัย สองประการที่
เกี่ย วข้อ ง ปั จ จัย แรก คือ นโยบายและปฏิบ ัติก ารพัฒ นาของรัฐ ที่อ้า งว่ า ต้อ งการยกระดับ คุ ณภาพชีวิต ของ
ประชาชนในชนบทชายแดนภาคใต้ ทีน่ ามาสูก่ ารพยายามส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตผ่านทางการจัดการพัฒนา
พืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศทีย่ งั ดูลา้ หลังให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกแผนใหม่ อย่างไรก็ดี ด้วยสาเหตุหลายๆ ประการกลับ
ส่งผลทาให้การเปลีย่ นแปลงของสภาพภูมปิ ระเทศเป็ นไปอย่างไม่ยงยื ั ่ นและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และทาให้
ชาวบ้านต้องปรับตัวในการทามาหากินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ ปั จจัยอี กด้านหนึ่งก็คอื การ

87
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ขยายตัวของระบบตลาด ซึง่ แม้ในด้านหนึ่งการขยายตัวของตลาดเป็ นผลมาจากการส่งเสริมของรัฐ แต่ในอีกด้าน


หนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างระบบตลาดกับชาวไอย์ฮแี ตก็เติบโตและมีความแนบแน่ นมากขึน้ เรื่อยๆ โดยทีพ่ วกเขา
เองก็ได้มบี ทบาทอย่างสาคัญด้วย ทัง้ นี้ ชาวกาปงไอย์ฮแี ตบางรายได้ผนั ตัวมาเป็ นคนกลางทีเ่ ชื่อมโยงชาวบ้านกับ
ระบบตลาด ทาหน้ าที่รบั ซื้อผลผลิตและเป็ นตัวแทนจาหน่ ายวัตถุ ดิบและเครื่องมือการเกษตรต่ างๆ ในชุมชน
ขณะทีก่ ารบริโภคของผูค้ นก็ค่อยๆ เข้าสูแ่ บบแผนชีวติ สมัยใหม่มากขึน้ สิง่ เหล่านี้มผี ลทาให้การลงทุนเพื่อการผลิต
แบบแผนใหม่หรือแบบเข้มข้นมีบทบาทสาคัญในฐานะแหล่งรายได้ สอดคล้องกับความต้องการของรัฐที่มุ่งให้
ชาวบ้านเข้าสู่ระบบตลาดอย่างเต็มตัว แม้ว่าการผลิตในระบบตลาดของชาวบ้านไอย์ฮแี ตจะลุ่มๆ ดอนๆ เพราะ
ประสบปั ญหาหลายด้านก็ตาม (Chalita Bundhuwong 2013)

ทุ่งไอย์ฮีแต

กำรจัดกำรภูมิประเทศกับกำรสถำปนำอำนำจรัฐไทยเหนือดินแดนควำมขัดแย้ง

การเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศที่กาปงไอย์ฮแี ตตัง้ อยู่ เป็ นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ออกจากนโยบายและ


ปฏิบตั กิ ารเพื่อจัดการความไม่สงบชายแดนใต้ในภาพรวม เป็ นทีท่ ราบกันดีว่านับตัง้ แต่เริม่ สร้างรัฐสมัยใหม่ รัฐไทย
ไม่เคยทีจ่ ะมีอานาจเหนือพืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้ได้อย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการต่อต้านท้าทาย กว่าครึง่ ทศวรรษ
แล้วทีร่ ฐั ไทยได้เปลีย่ นแนวทางในการจัดการกับชาวมลายูมุสลิมจากการกลืนกลายเชิงบังคับมาเป็ นการพัฒนาเพื่อ
แก้ ปั ญหาความไม่ ส งบ (ดู Che Man 1990, Haemindra 1976, Pitsuwan 1988, Dulyakasem 1988, Yegar
2002) การพัฒนาดังกล่าวนี้วางอยู่บนฐานคิดเรื่องความเป็ นชาติ ความมันคงของชาติ
่ และอุดมการณ์ชาติ มีงาน
ศึกษาที่ช้วี ่าการพัฒนา คือ การพยายามสร้างความจงรักภักดีหรือซื้อใจคนมลายูมุสลิม (อาทิงานของ ปิ ยะนาถ
บุนนาค 2546) โดยเชื่อว่าความยากจนคือสาเหตุหลักของความไม่สงบและการต่อต้านรัฐไทย ดังนัน้ หากได้มกี าร

88
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

พัฒนาคุณภาพชีวติ ผู้คนเพื่อลดความยากจนก็จะลดช่องว่างระหว่างรัฐไทยกับคนมลายูมุสลิมที่น่ีได้ อนึ่ง การ


พัฒนาซึง่ ส่วนหนึ่งก็คอื การจัดการกับพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศได้กลายเป็ นแนวทางสาคัญของการสถาปนาอานาจรัฐไทย
เหนือดินแดนแห่งความไม่สงบนี้
ในงานของ Peter Vandergeest และ Nancy Lee Peluso (1995) ได้พิจารณาถึงกระบวนการที่รฐั ไทย
สมัยใหม่ได้ขยายและกระชับอานาจภายในอาณาเขตของตนที่ห่างไกลและเสีย่ งต่อภัยความมันคงผ่ ่ านทางการ
ควบคุมทรัพยากรธรรมชาติอย่างที่ดินและป่ า และควบคุมประชาชนที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านัน้ ว่าใครที่
สามารถมีสทิ ธิใช้และจะต้องใช้อย่างไร กระบวนการดังกล่าวเกิดขึน้ ผ่านระบบกรรมสิทธิหรื ์ อเอกสารสิทธิและการ
กาหนดนิยามพื้นที่ป่าและที่ดินออกเป็ นเขตหรือประเภทต่ างๆ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ า พื้นที่การเกษตร ป่ าเพื่อการ
อนุ รกั ษ์ ป่ าเศรษฐกิจ โดยใช้ความรูท้ างวิทยาศาสตร์และเครื่องมือทางเทคนิค เช่น GPS ความรูเ้ รื่องชนิดของดิน
ความลาดชัน พืชพรรณ พร้อมทัง้ จัดสรรอานาจให้หน่ วยงานที่เกีย่ วข้องดาเนินการบังคับควบคุมโดยมีกฎหมาย
รองรับ Vandergeest และ Peluso ชีว้ ่ากระบวนการเหล่านี้เป็ นได้ทงั ้ การกีดกันและผนวกรวมประชาชนในขอบเขต
ภูมศิ าสตร์นนั ้ ๆ พร้อมทัง้ ชีว้ ่ากระบวนการอ้างสิทธิของรัฐเหนือทรัพยากรเช่นนี้อาจถูกต่อต้านและคัดค้านได้จาก
ชาวบ้าน เอ็นจีโอ และนักวิชาการ ทัง้ นี้ พืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้ซง่ึ เป็ นพืน้ ทีห่ ่างไกลและเปราะบางต่อปั ญหาความ
มัน่ คง ก็เ ป็ น เป้ า หมายหลัก ของกระบวนการสถาปนาอ านาจรัฐเหนื อ ดิน แดนนี้ เช่ นกัน ไม่ ว่ า จะเป็ น พื้นที่ท่มี ี
ทรัพยากรมูลค่าสูง เช่น พืน้ ทีป่ ่ าเขา พืน้ ทีช่ ายฝั ง่ ทะเล และพืน้ ทีท่ ร่ี ฐั มองว่าไม่มคี ุณค่า หรือเป็ นเพียงทีร่ กร้างน้ า
ท่วมขังอย่างทีร่ าบลุ่มตอนกลางของแม่น้ า สายหลัก ซึง่ เรียกกันว่า “พรุ” อย่างไรก็ดี สิง่ หนึ่งที่ Vandergeest และ
Peluso ไม่ได้กล่าวไว้ในบทความก็คอื การสถาปนาอานาจเหนือดินแดนไม่สามารถทีจ่ ะเน้นเฉพาะการเข้าควบคุม
ทรัพยากรและผูค้ นเท่านัน้ แต่การสถาปนาอานาจเหนือดินแดนจะมีความชอบธรรมได้กต็ อ้ งวางอยู่บนความทรงจา
และเรื่องเล่าว่าด้วยความเมตตา การช่วยเหลือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวติ ของผูค้ นทีอ่ ยู่ห่างไกลด้วย ซึง่ การสร้าง
ความทรงจาและเรื่องเล่าทีว่ ่านี้เห็นได้ชดั ในกรณีพน้ื ที่ “พรุ”
เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะของภูมปิ ระเทศชายแดนภาคใต้มรี าบลุ่มน้าท่วมขังหรือ “พรุ” กระจัดกระจายและ
กินพืน้ ทีท่ ก่ี ว้างขวางอย่างเด่นชัด รัฐไทยจึงให้ความสาคัญกับพรุค่อนข้างสูง ทัง้ นี้ โครงการพระราชดาริมบี ทบาท
อย่างสาคัญในการริเริม่ และวางรากฐานการพัฒนาพรุทน่ี ่ี โดยมีกรมชลประทานและกรมพัฒนาทีด่ นิ เป็ นหน่วยงาน
หลักสนองนโยบาย อนึ่ง การพัฒนาพรุวางอยู่บนแนวคิดทีว่ ่า พรุ คือ พืน้ ทีร่ กร้าง ไร้ประโยชน์ น้ าท่วมขัง เสื่อม
โทรม ทัง้ ยังเป็ นสาเหตุ ของน้ าท่วมในบริเวณใกล้เคียง” และ น่ าเสียดายหากจะปล่อยให้พรุอยู่ในสภาพแบบนี้
ดังนัน้ หน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจึงพยายามหาวิธกี ารใช้ประโยชน์และเพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจจากพรุ สิง่ สาคั ญอันดับ
แรกทีต่ อ้ งดาเนินการก็คอื การจัดการน้าเพื่อเปลีย่ นทีด่ นิ พรุทม่ี นี ้าท่วมขังให้มาเป็ นพืน้ ทีเ่ พาะปลูกและเพื่อบรรเทา
อุทกภัย ด้วยการขุดคลองระบายน้ าออกจากพรุและจัดทาประตูกนั ้ น้ า รวมทัง้ การทาระบบส่งน้ าต่างๆ ทัง้ นี้
โครงการพัฒนาพรุบาเจาะ ที่หน่ วยงานทีเ่ กี่ยวข้องประสบความสาเร็จในการเปลี่ยนพืน้ ทีน่ ้ าขังมาเป็ นพืน้ ทีป่ ลูก
ปาล์มน้ ามันยกร่องขนาดหลายหมื่นไร่ (สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริ ม.ป.ป.) ได้กลายมาเป็ นต้นแบบของการพัฒนาพืน้ ทีล่ ุ่มน้ าขังและพรุในบริเวณอื่นๆ ในเขตชายแดน
ภาคใต้ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ดี การพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็ นไปอย่างราบรื่น การเอาน้าออกจากพรุก่อให้เกิดภาวะดินเปรีย้ ว
ในบริเ วณกว้างจนแทบไม่อ าจเพาะปลูก ใดๆ ได้ ตลอดเกือ บสามทศวรรษที่ผ่า นมาหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องได้
พยายามอย่างหนักในการปรับปรุงดิน มีการระดมงบประมาณและบุคลากรในการทดลองศึกษาวิจยั และได้นาองค์

89
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ความรู้จากการทดลองไปให้ชาวบ้านที่ได้รบั การจัดสรรที่ดินในโครงการไปปฏิบตั ิในการปลูกพืชผักชนิดต่ า งๆ


จนกระทังในที
่ ส่ ุดก็พบว่าปาล์มน้ ามันดูจะเป็ นเพียงพืชชนิดเดียวทีพ่ อจะเติบโตได้ในพื้นดินที่ถูกแปรสภาพเช่นนี้
บนเงื่อนไขที่ว่าแปลงปลูกต้องได้รบั การดูแลเป็ นพิเศษในการใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดิน ซึง่ หน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องก็ได้
ทาหน้าที่สนับสนุ นช่วยเหลือด้านปั จจัยการผลิตแก่ชาวบ้านในโครงการมาจนถึงปั จจุบนั นอกจากนัน้ การเอาน้ า
ออกจากพรุ ก็ยงั ก่อให้เกิดปฏิกริ ยิ าจากซากพืชที่ทบั ถมใต้ดนิ ทาให้เกิ ดไฟป่ าจากใต้ดนิ อยู่บ่อยครัง้ สร้างความ
เสีย หายให้แก่สวนและผลผลิตของชาวบ้านในพื้นที่ ไฟป่ าจากใต้ดิน นัน้ ดับยากและยังยากที่จะป้ อ งกัน สิ่ง ที่
หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทาได้กเ็ พียงการระดมกาลังมาดับไฟไม่ให้ลุกลามไปมากเท่านัน้
น่ าสนใจว่า ปั ญหาและผลกระทบจากการพัฒนาพรุ ตามแนวทางเช่นนี้ไม่ได้ถูกพูดถึงหรือเป็ นทีร่ บั รูใ้ น
สาธารณะมากเท่าๆ การรับรูท้ ว่ี ่าการพัฒนาพรุเป็ นโครงการของรัฐทีม่ ุ่งสร้างความกินดีอยู่ดแี ก่ชาวบ้านผูม้ ชี วี ติ ที่
ล้าหลัง ยากลาบากและยากจน ซึง่ ชาวบ้านเหล่านี้จาต้องได้รบั การปกป้ องคุม้ ครองดูแลเอาใจใส่จากรัฐและสถาบัน
หลักของชาติ ดังนัน้ แนวทางการจัดการพืน้ ทีล่ ุ่มน้ าขังหรือพรุและบริเวณข้างเคียงเช่นนี้จงึ ยังคงเป็ นตัวแบบในที่
อื่นๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และดาเนินการโดยหลากหลายหน่ วยงาน รวมไปถึงโครงการขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ ส่วนภูมภิ าค รวมทัง้ หน่วยงานทหารในระยะหลัง
โครงการพัฒนาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ตก็เป็ นไปในลักษณะเดียวกัน ที่
หน่ ว ยงานที่เ กี่ยวข้อ งมองว่ าที่ทุ่ง และที่ลุ่มน้ า ท่วมขังเป็ น พื้น ที่ไ ร้ประโยชน์ ท่ีจะต้อ งถู กพัฒนาให้มีมูลค่ าทาง
เศรษฐกิจ และมองว่าภาวะน้ าท่วมในฤดูน้ าหลากเป็ นปั ญหาทีต่ ้องหาทางป้ องกันผ่านทางการควบคุมและจัดการ
น้ า ทัง้ ๆ ที่สาหรับคนกาปงไอย์ฮแี ตแล้วนัน้ น้ าท่วมเป็ นส่วนหนึ่งของฤดูกาลตามธรรมชาติทเ่ี กิดขึน้ เป็ นปกติทุก
ปี ประกอบกับทีพ่ น้ื ทีเ่ หล่านี้ถูกกาหนดให้เป็ นพืน้ ทีส่ าธารณะของรัฐตามกฎหมาย ไม่ใช่ทด่ี นิ กรรมสิทธิสว่ นบุคคล
ดังนัน้ การดาเนินโครงการต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากโดยหน่ วยงานรัฐ จึงสามารถดาเนินการได้โดยไม่มี
ข้อจากัดเรื่องพืน้ ที่ ทัง้ นี้ การที่พ้นื ทีท่ ุ่งมีน้ าท่วมสูงปี ละหลายเดือนได้กาหนดลักษณะการใช้ประโยชน์และระบบ
กรรมสิทธิของชาวบ้าน สาหรับพวกเขาพืน้ ทีท่ ุ่งคือพืน้ ทีส่ ่วนรวมทีท่ ุก คนสามารถใช้ประโยชน์ในการเลีย้ งปศุสตั ว์
แบบปล่อยในช่วงที่น้ าไม่ท่วม แม้การใช้ประโยชน์ทุกวันนี้จะเปลี่ยนไป โดยมีการแบ่งพื้นที่ไว้ปลูกแตงโมและ
พืชผักล้มลุกอื่นๆ ในทุ่ง แต่การจัดสรรเพื่อใช้ประโยชน์ชวคราวก็ ั่ ยงั วางอยู่บนฐานทีว่ ่าพืน้ ทีน่ ้คี อื พืน้ ทีส่ ว่ นรวม และ
มีการจัดแบ่งการใช้ประโยชน์ให้เท่าๆ กันทุกครัวเรือน
นับตัง้ แต่การสร้างสระเก็บน้ าอันแรกในทุ่งไอย์ฮแี ตเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยสานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
(รพช.) โครงการก่อสร้างต่างๆ ทัง้ สระน้ าขนาดใหญ่และคูคลองส่งน้ าหรือระบายน้ าของหน่ วยงานต่างๆ ก็ทยอย
เกิดขึน้ อีกเป็ นจานวนมากในทุ่งและพืน้ ที่โดยรอบ ล่าสุดในยุครัฐบาลเผด็จการ คสช. มีโครงการขนาดใหญ่ของ
หน่ วยงานทหารทีข่ ุดลอกคลองและขุดคันดินกัน้ ทางน้ า อ้างว่าเพื่อป้ องกันน้ าท่วมชุมชน คันดินนี้มคี วามยาวกิน
พื้นที่หลายตาบลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมทัง้ มีการขุดสระน้ าขนาดใหญ่เพิม่ ขึ้ นหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ใน
ความคิดเห็นของชาวบ้านโครงการเหล่านี้ทม่ี มี าแต่อดีตแทบไม่มปี ระโยชน์อะไร อ่างเก็บน้ ามักอยู่ไกลและลึกเกิน
กว่าทีจ่ ะดึงน้ามาใช้ประโยชน์ได้ และยังทาให้ววั ควายเสีย่ งต่อการตกน้ าตาย คลองส่งน้าก็ไม่สามารถใช้การได้จริง
เพราะสร้างโดยไม่คานึงถึงความลาดชันของพืน้ ที่ เช่นเดียวระบบท่อส่งน้าพลังงานไฟฟ้ าทีเ่ พิง่ สร้างเสร็จเมื่อสามปี
ก่อน ที่ใช้การไม่ได้เลยเพราะระบบไม่สมบูรณ์และถูกทิ้งร้าง ส่วนคูและคันดินกัน้ น้ าท่วมก็เป็ นสิง่ ที่ชาวบ้านไม่
เข้าใจว่าจะทาไปเพื่ออะไรเพราะภาวะน้ าหลากเป็ นฤดูกาลตามธรรมชาติ ความล้มเหลวของโครงการเหล่านี้ไม่ได้
เกิดขึน้ ในพืน้ ทีท่ ุ่งในเขตกาปงไอย์ฮแี ตเท่านัน้ แต่ยงั เกิดในพืน้ ทีต่ ดิ กันในเขตตาบลอื่นด้วย โครงการเหล่านี้เกิดขึน้

90
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ซ้าไปซ้ามาตลอดช่วงเวลา 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาด้วยงบประมาณจานวนมหาศาล จากมุมมองของคนพื้นที่


งบประมาณเหล่านี้คอื ผลประโยชน์ทต่ี กไปอยู่กบั หน่วยงานเจ้าของโครงการ ผูร้ บั เหมา และผูม้ อี ทิ ธิพลหรือผูน้ าใน
ท้องถิน่
การมองว่าพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศเช่นนี้เป็ นพืน้ ทีร่ กร้างไร้ประโยชน์ ได้ทาให้โครงการก่อสร้างต่างๆ สามารถ
เกิดขึน้ ได้โดยไม่ตอ้ งคานึงถึงผลกระทบของด้านระบบนิเวศและสิง่ แวดล้อม อาทิ มีการสร้างถนนหลายสายทัง้ สาย
หลักและสายรองทีข่ วางเส้นทางไหลของน้ าตามธรรมชาติและไม่มกี ารวางท่อระบายน้ าใต้พน้ื ถนนอย่างเพียงพอ
หรือในกรณีการก่อตัง้ หน่ วยทหารพัฒนาในพื้นที่ ที่ในเว็บไซต์ของหน่ วยงานได้กล่าวถึงช่วงเริม่ ก่อสร้างหน่ วยฯ
เอาไว้ว่า

ณ บ้านเลขที่ 66 (ตัวเลขสมมุต)ิ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 66 บ้านตลาดนัด หมู่ท่ี 6 ตาบล


ไอย์ฮแี ต อาเภอปาแดแมเราะห์ จังหวัดปั ตตานี ทีต่ งั ้ หน่ วยในสนามแห่งใหม่ของนักรบสีน้า
เงิน ทีค่ ่อยๆ เติบโตจากทีร่ กร้างป่ าพรุสบู่ า้ นหลังใหญ่ ในนามบ้านนักรบ...นักพัฒนา...ชื่อว่า
...นักรบสีน้าเงิน 66 จานวนกว่า 160 ชีวติ ทีม่ าร่วมอาศัยอยู่ดว้ ยกัน
ข้อความนี้สะท้อนความคิดของหน่ วยทหารพัฒนาทีม่ องพรุและทุ่งเป็ นพืน้ ทีร่ กร้าง ต้องเอาถูกชนะผ่าน
ทางการแผ้วถางและพัฒนาโดยหน่ วยงานของตน น่ าสนใจว่าในการตัง้ หน่ วยทหารพัฒนาแห่งนี้ได้เข้าครอบครอง
พืน้ ทีท่ ุ่งหญ้าสาธารณะในบริเวณกว้าง มีการทารัว้ มิดชิด ทีด่ นิ ได้ถูกใช้ไปสาหรับทาแปลงสาธิต สถานีผสมเทียม
สัตว์ และสถานที่เก็บเครื่องมือการก่อสร้างและแหล่งน้ า เดิมบริเวณนี้เป็ นพื้นที่ท่คี นกาปงไอย์ฮแี ตนาวัวควาย
อพยพมาอยู่ในช่วงหน้าน้ าและเป็ นพื้นทีห่ าฟื นในยามปกติ การก่อสร้างหน่ วยฯ จึงทาให้ชาวบ้านเข้าไปใช้พน้ื ที่
ไม่ได้อกี ต่อไป ทัง้ นี้ แม้หน่ วยทหารพัฒนาจะมีบทบาทหลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ทีต่ ามหลักการแล้ว
ควรเน้นการพึง่ ตนเองหรือการทามาหากินบนฐานทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิน่ ซึง่ หมายรวมถึงการใช้ประโยชน์
จากพืน้ ทีพ่ รุ ทุ่งหญ้า และป่ าละเมาะที่มอี ยู่เดิมของชาวบ้านด้วย แต่ในความเป็ นจริงพืน้ ทีเ่ หล่านี้กลับถูกมองว่า
เป็ นเพียงพืน้ ทีร่ กชัฏ ไร้ประโยชน์ และควรต้องถูกเปลีย่ นสภาพ
น่ าสนใจว่า ตามปกติแล้วโครงการพัฒนาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่สามารถดาเนินการได้ใน
ระดับหมู่บ้านหรือตาบลหากปราศจากการผ่านชนชัน้ นาในชุมชนให้การสนับสนุ น สถานการณ์ความไม่สงบและ
ความไม่ปลอดภัยทาให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั และผูร้ บั เหมาก่อสร้างจากภายนอกไม่สามารถเข้าพืน้ ทีไ่ ด้ ชนชัน้ นาเหล่านี้ ซึง่
ส่วนใหญ่กค็ อื ผูน้ าทางการทีด่ ารงตาแหน่ งกานัน ผูใ้ หญ่บา้ น และผูบ้ ริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ นอกจากจะ
มีสถานะเป็ นคนของรัฐทีต่ ้องช่วยขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่างๆ แล้ว พวกเขายังสามารถต่อรองหรือเสนอต่อ
เจ้าหน้ าที่รฐั ในพื้นที่ว่าควรหรือไม่ควรดาเนินโครงการพัฒนาใดในชุมชนของตนเอง พวกเขามักมีฐานะทาง
เศรษฐกิจที่ดกี ว่าชาวบ้านทัวไปมาก
่ เมื่อชาวบ้านกล่าวถึงผู้นาเหล่ านี้กม็ กั เป็ นไปในแง่ท่วี ่าผู้นาสามารถเข้าถึง
ผลประโยชน์จากหน่ วยงานรัฐ โดยหลายรายประกอบอาชีพหลักในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างหรือไม่กม็ กั ได้รบั ค่าหัว
คิวต่างๆ จากโครงการ ดังนัน้ ผูน้ าจึงมีแนวโน้มทีจ่ ะสนับสนุ นหรือริเริม่ โครงการพัฒนาหรือการก่อสร้างต่างๆ ใน
พืน้ ทีต่ น โครงการเหล่านี้มกั ไม่มปี ระโยชน์และไม่มปี ระสิทธิภาพตามเป้ าทีต่ งั ้ ไว้ หรือไม่กส็ ่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
อย่างไรก็ดี ผูน้ าเหล่านี้มกั อธิบายว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ทีต่ นสนับสนุนล้วนเป็ นไปเพื่อประโยชน์สว่ นรวม
นอกจากนัน้ การรับผลประโยชน์จากโครงการพัฒนาโดยชนชัน้ นาไม่ได้ จากัดเฉพาะแต่ในระดับหมู่บา้ น
หรือตาบลเท่านัน้ แต่ยงั เกิดขึน้ ในระดับที่สูงขึน้ ไปโดยชนชัน้ นาที่มอี ทิ ธิพลในระดับทีก่ ว้างขวางขึน้ ผู้มอี ทิ ธิพล

91
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เหล่านี้มกั มีบารมีเป็ นที่นับถือของผู้นาเล็กๆ อื่นๆ และสามารถเข้าถึงผลประโยชน์จากภาครัฐได้มากกว่า เช่น


สามารถรับเหมาก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ๆ และสามารถเข้าถึงเจ้าหน้าทีร่ ฐั ในระดับทีส่ งู ขึน้ ไปได้ ทัง้ นี้ ทุน
ทางเศรษฐกิจของชนชัน้ นาที่สงสมผ่ ั ่ านผลประโยชน์จากโครงการพัฒนาได้ถูกแปรมาสร้างสถานะทางสังคมและ
การเมืองให้พวกเขา นอกจากนัน้ ชนชัน้ นาก็มกั มีบทบาทสาคัญทางศาสนาด้วยในฐานะผู้ ปฏิบตั ิและผู้อุปถัมภ์
ศาสนา ซึ่งก็เป็ นสิง่ ที่ช่วยทาให้พวกเขาสามารถกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชนชัน้ นาด้วยกันผ่านชุมชนทาง
ศาสนาทีม่ เี ครือข่ายครอบคลุมกว้างขวาง เช่น ขบวนการดาวะห์ทค่ี นเข้าร่วมจานวนมาก

ควำมเสื่อมโทรมของระบบนิเวศจำกกำรเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ: ชุ ดคำอธิบำยจำก “ภำคประชำสังคม”


ในขณะทีก่ ารจัดการพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศตอนกลางของลุ่มน้ าสายบุรโี ดยรัฐไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในส่วน
ของพืน้ ทีน่ ้ าขังหรือพืน้ ทีพ่ รุ อยู่บนฐานความคิดทีต่ ้องการปรับปรุงพืน้ ทีซ่ ง่ึ ถูกมองว่าไร้ค่าให้กลายมามีมลู ค่าทาง
เศรษฐกิจ โดยไม่ได้นาเอาความเข้าใจในแง่นิเวศเชิงระบบเข้ามาเกีย่ วข้องด้วยนัน้ นักวิชาการท้องถิน่ ด้านชีววิทยา
และเอ็นจีโอด้านการอนุ รกั ษ์ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในภาคใต้เป็ นคนกลุ่มแรกที่ช้ถี ึงผลกระทบของโครงการ
เหล่านี้ทม่ี ตี ่อระบบนิเวศตอนกลางของลุ่มน้ าสายบุรี ไม่ว่าจะเป็ นการเปลีย่ นระบบการไหลของน้ า การทาให้เกิด
พื้น ที่น้ า ท่ ว มถาวร การท าลายป่ าละเมาะและพืช พรรณท้อ งถิ่น ทัง้ นี้ เมื่อ แรกเริ่ม ในช่ ว งต้น ทศวรรษ 2530
นักวิชาการและเอ็นจีโอกลุ่มนี้ได้ร่วมกับชุมชนในการต่อต้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกัน้ แม่น้ าสายบุรี ต่อมาเมื่อ
โครงการก่อสร้างเขื่อนฯ ถูกยกเลิกตามมติคณะรัฐมนตรี พวกเขาก็เริม่ หันมาทากิจกรรมด้านการอนุ รกั ษ์และการ
พัฒนาที่ยงยื ั ่ นร่วมกับชุมชนในพืน้ ที่ อย่างไรก็ดี เมื่อความไม่สงบระลอกใหม่เริม่ เกิดขึน้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 การ
ดาเนินงานของพวกเขาหยุดชะงักไป 3-4 ปี และได้ถูกรือ้ ฟื้ นขึน้ มาอีกครัง้ ผ่านทางการสนับสนุ นของภาคประชา
สังคมที่ทางานด้านชุมชนและการพัฒนาในระดับชาติ การทางานในยุคหลังนี้เน้นการทาวิจยั เชิงปฏิบตั ิการเพื่อ
ศึกษาถึงสาเหตุและปั ญหาของการพัฒนาและการจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยการพัฒนาทีย่ งยื ั ่ นต่อหน่วยงาน
รัฐ
แม้ว่าข้อเสนอต่างๆ จากนักวิชาการ เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมจะไม่ถูกนาไปเป็ นนโยบายหรือนามา
ปฏิบตั โิ ดยภาครัฐมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงรัฐบาลเผด็จการทหาร แต่ทางานของพวกเขา โดยเฉพาะของ
นักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอตัง้ แต่ทศวรรษที่ 2530 มีบทบาทอย่างสาคัญในการสร้างคาอธิบายว่าด้วย “ระบบ
นิเวศ” ของพืน้ ทีต่ อนกลางของลุ่มน้ าสายบุรใี ห้เกิดขึน้ จากทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ ภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ต
ตัง้ อยู่ถูกกาหนดให้เป็ น ระบบนิ เวศแบบพรุ ระบบหนึ่ง ที่มีช่อื เรียกว่า “พรุไอย์ฮีแต” ในขณะเดียวกันในต าบล
ใกล้เคียงก็จะมีระบบนิเวศแบบพรุขนาดเล็กๆ ใกล้เคียงเดียวกับพรุไอย์ฮแี ต กระจัดกระจายอยู่อกี 4-5 แห่ง ซึง่ ต่าง
ก็เป็ นส่วนหนึ่งระบบนิเวศแบบพรุทใ่ี หญ่กว่า เรียกว่า “พรุทุ่งกระบือ” ซึง่ กินขอบเขตพืน้ ทีร่ าว 6,000 ไร่ ในเขต 14
หมู่บา้ น ใน 2 ตาบล 2 อาเภอ ใน จ.ปั ตตานี และ จ.ยะลา คาอธิบายภูมปิ ระเทศในฐานะทีเ่ ป็ นระบบนิเวศเช่นนี้เป็ น
การมองและให้ความหมายภูมปิ ระเทศแบบพรุวา่ เป็ นสิง่ ทีม่ คี ุณค่าในด้านสิง่ แวดล้อม พร้อมกันนี้นกั วิชาการท้องถิน่
และเอ็นจีโอกลุ่มนี้กไ็ ด้ทากิจกรรมและทาการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารร่วมกับชาวบ้านในพืน้ ทีอ่ ย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวม
เผยแพร่ความรูท้ อ้ งถิน่ เกีย่ วกับระบบนิเวศแบบพรุ และการใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ จากระบบนิเวศแบบพรุ
ของชาวบ้าน อันเป็ นสิง่ ทีก่ ารพัฒนาเพื่อปรับเปลีย่ นพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศของหน่วยงานรัฐไม่เคยตระหนักมาตัง้ แต่ตน้
น่ าสนใจว่าในระยะแรก “พรุทุ่งกระบือ” ในฐานะที่เป็ นระบบนิเวศแบบพรุขนาดใหญ่ท่คี รอบคลุมระบบ
นิเวศแบบพรุขนาดเล็กหลายแห่ง รวมทัง้ “พรุไอย์ฮแี ต” นัน้ ไม่ได้เป็ นสิง่ ทีร่ บั รูข้ องผูค้ นในท้องถิน่ มาก่อน แม้แต่คา
ว่า “พรุ” ก็ดูจะเป็ นคาทีย่ งั มีความหมายทีค่ ลุมเครือและไม่สามารถระบุให้ชดั เจนได้ว่าคืออะไรหรือกินขอบเขตแค่

92
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ไหน ทัง้ นี้ คนส่วนใหญ่มคี วามสัมพันธ์และใช้ประโยชน์จากพื้ นทีภ่ ูมปิ ระเทศใกล้ๆ หมู่บ้านของตนเป็ นหลัก แม้
พวกเขาจะมีอ งค์ความรู้พ้นื บ้า นว่า ด้วยลัก ษณะภูมิป ระเทศและทรัพยากรธรรมชาติในพื้น ที่อ ย่ างลึก ซึ้งผ่าน
ประสบการณ์จากรุ่นต่อรุ่น แต่องค์ความรูเ้ หล่านี้กอ็ าจไม่ได้ซ้อนทับเป็ นหนึ่งเดียวความรูว้ ่าด้วยระบบนิเวศที่ถูก
นามาอธิบายโดยนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอ แม้ว่าความรูว้ ่าด้วยระบบนิเวศโดยนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอ
นี้ถูกสร้างบนฐานของการคานึงและความเคารพชื่นชมต่อภูมปิ ั ญญาความรูข้ องคนท้องถิน่ ก็ตาม “ก๊ะ” คนหนึ่งได้
กล่าวกับผู้เขียนขณะที่เรานัง่ คุยกันในแปลงแตงโมกลางทุ่งว่า “ ‘พรุทุ่งกระบือ’ เมือ่ ก่อนไม่มนี ะ ตรงนี้เราก็เรียก
แบบอืน่ แต่ละจุดก็มชี อื ่ นันชื่ อ่ นี ่ แต่พออาจารย์สมชาย (ชือ่ สมมุต)ิ เข้ามา แกก็เรียกว่า ‘พรุทุ่งกระบือ พรุทุ่งกระบือ’
รวมไปหมด” อาจกล่าวได้ว่า “พรุทุ่งกระบือ” ในความหมายเชิงระบบนิเวศในระดับทีก่ ว้างกว่าขอบเขตของหมู่บา้ น
หรือตาบลเริม่ เป็ นทีร่ จู้ กั ของคนในพืน้ ทีแ่ ละคนภายนอกหลังจากการเข้ามาทางานของนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจี
โอแล้วระยะหนึ่งและเมื่อได้มกี ารเผยแพร่ความรูน้ ้ผี ่านสือ่ ทางเลือกช่องทางต่างๆ ของภาคประชาสังคมแล้ว
ในคาอธิบายของนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอ นอกจาก “พรุทุ่งกระบือ” จะประกอบไปด้วยพืน้ ทีน่ ้าท่วม
ถึง บึง ป่ าพรุ และทุ่งหญ้าแล้ว ยังมีความเชื่อมโยงกับสภาพภูมปิ ระเทศโดยรอบ เช่น พืน้ ทีเ่ นินเขา/ภูเขาเตี้ยๆ ที่
น้ าท่วมไม่ถงึ ซึง่ เป็ นแหล่งต้นน้ าของพรุ ทีส่ าคัญ “พรุทุ่งกระบือ” ไม่ใช่ระบบนิเวศทีจ่ บในตัวเอง แต่เป็ นส่วนหนึ่ง
ของระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า นัน่ คือ “ลุ่มน้ าสายบุรี” ซึ่งประกอบไปด้วยระบบนิเวศ 3 ส่วนที่สมั พันธ์ต่อกัน คือ 1)
พืน้ ทีต่ น้ น้า 2) พืน้ ทีร่ าบตอนกลาง ทีม่ ที งั ้ ทีร่ าบลุ่มน้าท่วมถึงและทีร่ าบน้าท่วมไม่ถงึ และ 3) ชายฝั ง่ ทะเล ทัง้ นี้ การ
ทีพ่ รุทุ่งกระบือจะสมบูร ณ์และสร้างคุณภาพชีวติ ทีด่ ใี ห้แก่คนท้องถิ่นได้หรือไม่ ขึน้ อยู่กบั ความสมบูรณ์ของระบบ
นิเวศอื่นๆ ด้วย อันนามาสู่การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยังยื ่ นและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติใน
ระดับลุ่มน้าของนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอ
จากคาอธิบายว่าด้วยระบบนิเวศแบบพรุทาให้มองเห็นถึงผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศ
ได้อย่างชัดเจน ทีส่ าคัญช่วยชีใ้ ห้เห็นว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ทีก่ ระจัดกระจายอยู่ในเขตหมู่บา้ น ตาบล และอาเภอ
ต่างๆ ทีแ่ บ่งตามตามเขตการปกครองได้สง่ ผลต่อระบบนิเวศแบบพรุทงั ้ หมดอย่างมีผลกระทบสืบเนื่องถึงกัน ทัง้ นี้
นักวิชาการและเอ็นจีโอได้เน้นถึงปั ญหาจากการทีห่ น่ วยงานรัฐไม่ตระหนักถึงนัยยะในเชิงระบบนิเวศของพืน้ ทีภ่ ูมิ
ประเทศและไม่คานึงถึงการทามาหากินของชาวบ้านทีส่ มั พันธ์กบั ระบบนิเวศทีม่ าตัง้ แต่อดีต นอกจากนัน้ ก็ยงั ชีถ้ งึ
บทบาทของผู้มอี ิทธิพลท้องถิ่นในการมีส่วนอย่างสาคัญในการทาลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศผ่าน
ทางการรับเหมาดาเนินการโครงการหรือสนับสนุ นให้มโี ครงการต่างๆ ผ่านทางตาแหน่งผูน้ าทางการหรือผูบ้ ริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีส่ าคัญได้ชว้ี ่าชาวบ้านเองก็มบี ทบาทในการทาลายสิง่ แวดล้อมและระบบนิเวศจาก
การหัน มาท าการเกษตรเชิง พาณิ ช ย์ ท่ีมีก ารเพาะปลู ก เชิง เดี่ย วและใช้ส ารเคมีก ารเกษตรมาก อย่ า งไรก็
ดี ค าอธิบ ายและข้อ เสนอของนัก วิช าการท้อ งถิ่น และเอ็น จีโอแม้จ ะเป็ น ที่ร ับรู้ใ นวงกว้า งมากขึ้นผ่ า นทางสื่อ
ทางเลือกต่างๆ แต่กด็ เู หมือนว่าคาอธิบายและข้อเสนอต่างๆ ของพวกเขาแทบไม่ได้สง่ ผลในการเปลีย่ นแปลงแนว
ทางการทางานของรัฐไทย รวมทัง้ แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิธกี ารใช้ประโยชน์ จากพื้นที่และการทาเกษตรของ
ชาวบ้านแต่อย่างใด
แม้ในช่วงต้นทศวรรษ 2540 นักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอได้เข้ามาทากิจกรรมเชิงอนุ รกั ษ์และส่งเสริม
เกษตรยังยื ่ นที่กาปงไอย์ฮแี ต แต่ กิ จกรรมเหล่านี้ก็ไม่มคี วามคืบหน้ ามากนัก ส่วนหนึ่งเป็ นเพราะกิจกรรมการ
อนุ รกั ษ์หลายอย่างขัดแย้งกับโครงการพัฒนาที่ผนู้ าทางการและหน่ วยงานรัฐในท้องทีด่ าเนินการอยู่ จนเกิดเป็ น
ความหวาดระแวง ทาให้ไม่ได้รบั ความร่วมมือจากผูน้ าทางการ และถูกเพื่อนฝูงเครือญาติของผูน้ าทางการมองใน

93
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แง่ลบ ยิง่ เมื่อมีความรุนแรงระลอกใหม่เกิดขึน้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 สมาชิกกลุ่มอนุ รกั ษ์ของเครือข่ายลุ่มน้ าสายบุรี
รวมทัง้ ทีก่ าปงไอย์ฮแี ต ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมก็เกิดความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและการถูกจับตามองจาก
ฝ่ ายต่างๆ ทาให้การทากิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อ มทีน่ ่ีหยุดชะงักลงอยู่หลายปี ในขณะทีส่ มาชิกก็ดาเนินชีวติ ต่อไป
ด้วยการทาเกษตรแบบแผนใหม่ พึ่งพิงยางพาราในฐานะพืชเศรษฐกิจหลัก ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางเกษตรกรรม
ยังยื
่ นทีน่ กั วิชาการและเอ็นจีโอพยายามส่งเสริม
การทางานของนักวิชาการท้องถิ่นและเอ็นจีโอเริม่ ฟื้ นคืนมาอีกครั ง้ หลังจากที่องค์กรภาคประชาสังคม
ระดับชาติเข้ามาผนวกการทางานร่วมกันในพืน้ ที่ ทัง้ นี้ นับแต่มคี วามรุนแรงระลอกใหม่เกิดขึน้ ภาคประชาสังคมมี
บทบาทอย่างสาคัญ ในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึง “ภาคประชาสังคม” ที่ชายแดนใต้
ผูเ้ ขียนได้ตระหนักถึงนัยยะที่แตกต่างจาก “ภาคประชาสังคม” ระดับชาติ เนื่องจากภาคประชาสังคมชายแดนใต้
โดยเฉพาะทีท่ างานด้านกระบวนการสันติภาพและสิทธิมนุ ษยชน ได้ก่อตัวขึน้ ภายใต้บริบทเฉพาะจากกลุ่มต่างๆ
ในท้องถิ่น ในขณะที่ “ภาคประชาสังคม” ที่บทความนี้ต้องการกล่าวถึงเป็ นภาคประชาสังคมในระดับประเทศที่
ทางานด้านชุมชนท้องถิน่ และการพัฒนา ทีไ่ ด้ขยายการทางานเดิมของตนมายังพืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้หลังความไม่
สงบระลอกใหม่ได้เกิดขึน้ นับแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็ นต้นมา ภาคประชาสังคมระดับชาติเหล่านี้เป็ นส่วนเดียวกันกับ
หน่ ว ยงานอิสระภาครัฐที่ท าหน้ า ที่เ ป็ น แหล่ ง ทุ น สนับ สนุ น องค์ก รในเครือ ข่า ย มีผู้น า คือ กลุ่ ม ราษฎรอาวุ โ ส
นายแพทย์ท่สี นใจปั ญหาสังคม นักเทคโนแครต และปั ญญาชน และเอ็นจีโอชนชัน้ กลาง ภาคประชาสังคมให้
ความสาคัญกับการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่นและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ในขัว้ ตรงข้ามกับระบบ
เศรษฐกิจแบบตลาดและทุนนิยม แนวคิดนี้สอดรับกันเป็ นอย่างดีกบั คาอธิบายพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศในฐานะทีเ่ ป็ นระบบ
นิเวศทีเ่ ชื่อมโยงและซับซ้อน และคาอธิบายว่าด้วยการทามาหากินของคนท้องถิน่ ทีส่ อดคล้องกับลักษณะของระบบ
นิเวศมาตัง้ แต่ อดีต แต่ ทงั ้ นี้ คาอธิบายว่าด้วยฐานเศรษฐกิจเช่นนี้อาจดูห่างไกลจากสภาพชีวิ ตที่เป็ นจริง ของ
ชาวบ้าน ผู้ซ่งึ มีชวิ ติ อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดและทุนนิยมมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ขณะที่คาอธิบายว่าด้วย
สาเหตุของความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศก็มกั มุ่งไปตรงทีก่ ารคอรัปชันของข้ ่ าราชการและผลประโยชน์ของผู้มี
อิทธิพลท้องถิ่น ตลอดจนความมักง่ายของเกษตรกรที่ ทาการเกษตรหรือการผลิตที่ไม่ยงยื ั ่ นและไม่เป็ นมิตรกับ
สิง่ แวดล้อม เป็ นทีน่ ่าสังเกตว่า ในคาอธิบายเหล่านี้ได้ละทิง้ สาเหตุของปั ญหาทีเ่ ชื่อมโยงกับแนวคิดของรัฐชาติไทย
ในแบบอนุรกั ษ์นิยมทีใ่ ช้การพัฒนาและการปรับเปลีย่ นพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศเป็ นเครื่องมือสถาปนาอานาจเหนือดิน แดน
และครอบครองจิตใจของชาวมลายูมุสลิมด้วยข้ออ้างแห่งความมันคงชาติ ่ (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อที ่ 5)

กำรเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในชี วติ ของชำวบ้ำน

ในขณะทีน่ ักวิชาการ เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมมองการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศว่าเป็ นวิกฤติท่ี


ส่งผลให้การประกอบอาชีพของชาวบ้าน ทาให้พวกเขาไม่สามารถดารงชีพแบบพึง่ ตนเองและอย่างสอดคล้องกับ
ธรรมชาติหรือระบบนิเวศได้อกี ต่อไป แต่จากมุมของชาวบ้านการเปลี่ยนแปลงของภูมปิ ระเทศได้เกิดขึน้ พร้อมๆ
กับการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจกิจ ทีน่ ามาสู่การปรับตัวในวิธกี าร/รูปแบบการทามาหากิน ซึง่ อาจระบุไ ด้ยากว่า
สิง่ ใดคือเหตุและสิง่ ใดคือผล ดังนัน้ มุมมองต่อการเปลีย่ นแปลงภูมปิ ระเทศของชาวบ้านจึงไม่มนี ยั ยะของความโหย
หาหรือเสียดายสิง่ ทีด่ งี ามในอดีต แต่เป็ นการหาทางทีจ่ ะปรับตัวอยู่ให้ได้กบั สภาพทีเ่ ปลีย่ นไปแล้วมากกว่า
ในกรณีพน้ื ทีพ่ รุไอย์ฮแี ต (ซึง่ ประกอบไปด้วยหนอง บึง ทางน้ าจานวนมาก รวมทัง้ ป่ าละเมาะทีท่ นน้ า ที่
เดิมมีน้าท่วมขังมากบ้างน้อยบ้างหรืออาจแห้งตามฤดูกาลและตามบริเวณทีต่ งั ้ ) ทีป่ ั จจุบนั กลายเป็ นทะเลสาบถาวร
ขนาดใหญ่มนี ้ าลึกตลอดทัง้ ปี หรือทีเ่ รียกว่า “ลูโบ๊ะ” ได้เปลีย่ นระบบนิเวศของพรุไปอย่างมาก ป่ าละเมาะหลายจุด

94
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ต้องจมอยู่ใต้น้ าอย่างถาวร การกลายเป็ นลูโบ๊ะนี้เกิดขึน้ หลังจากทีม่ กี ารสร้างถนนคันกัน้ น้ าเมื่อราว 15 ปี ก่อน แม้


จะมีการถกเถียงกันถึงผลกระทบจากถนนคันกัน้ น้ านี้อยู่บ้างในระยะแรกๆ ที่นักวิชาการท้องถิ่นและเอ็นจีโอยัง
ทางานในพื้นที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปทะเลสาบถาวรแห่งนี้ กก็ ลายมาเป็ นส่วนหนึ่งในชีวติ ประจาวันของชาวไอย์ฮี
แตจานวนไม่น้อย เนื่องจากการเกิดขึน้ ของลูโบ๊ะได้ช่วยเพิม่ พืน้ ทีแ่ ละช่วงเวลาที่ชาวบ้านสามารถทาการประมง
แบบเป็ นล่าเป็ นสันได้ ซึง่ ไม่ใช่แค่การจับปลาเล็กปลาน้อยในช่วงน้ าหลากเท่านัน้ ตลอดระยะ 15 ปี ทผ่ี ่านมา คนที่
ไม่มที ด่ี นิ และไม่มรี ายได้จากสวนยางได้ลงทุนไปมากกับเรือทีม่ ขี นาดใหญ่ขน้ึ เครื่องยนต์เรือ และเครื่องมือประมงที่
มีประสิทธิภาพมากขึน้ เพื่อทาการประมงเป็ นอาชีพหลัก สิง่ นี้เกิดขึน้ พร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดปลาใน
ท้องถิ่น ที่มที งั ้ ตลาดหมู่บา้ น ตลาดนัดตาบล และการเร่ข าย ความสะดวกในการคมนาคมและการทีค่ รัวเรือนมี
มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (หรือทีเ่ รียกกันในท้องถิน่ ว่า “รถโชเล่”) หรือแม้แต่รถกระบะกันมากขึน้ ทาให้เป็ นไปไม่ได้อกี
ต่อไปทีค่ นกลุ่มนี้ซง่ึ ปรับตัวมาทาประมงเป็ นอาชีพหลักแล้วจะสนับสนุ นให้รอ้ี ประตูน้ าใต้ถนนเพื่อให้พน้ื ทีก่ ลั บไป
เป็ นแบบเดิม อีกทัง้ พวกเขาก็มองว่าการกลายเป็ นลูโบ๊ะซึง่ มีน้าเต็มตลอดเวลาได้ช่วยป้ องกันไม่ให้คนนอกพืน้ ทีเ่ ข้า
มาระเบิดปลาหรือช็อตปลาได้ ซึง่ ก่อนการสร้างถนนคันกัน้ น้าปั ญหานี้มคี วามรุนแรงมาก
คนกาปงไอย์ฮแี ตพยายามปรับตัวมาโดยตลอดเพื่อให้ยงั สามารถใช้ประโยชน์จากภูมปิ ระเทศและระบบ
นิเวศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปได้ ทีผ่ ่านมาพวกเขาได้ปรับเปลีย่ น “การทานาพรุ” มาเป็ น “การทานาปรัง” ทีม่ รี ะยะเวลา
การผลิตและเก็บเกีย่ วสัน้ กว่า เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะน้ าหลากทีเ่ ปลีย่ นไปเนื่องจากการก่อสร้างต่างๆ ในพืน้ ที่
การทานาปรังเกิดจากการทีใ่ นระยะหลังฤดูน้ าหลากมาถึงเร็วและท่วมนานกว่าเดิม นอกจากนัน้ ในส่วนของการหัน
มาปลูกพืชระยะสัน้ อย่างแตงโมและพืชผักสวนครัวอายุสนั ้ อื่นๆ ในพืน้ ทีท่ ุ่ง ก็คอื การพยายามหาพืชทีม่ อี ายุสนั ้ ที่
เหมาะสมกับฤดูและการไหลของน้า และเหมาะสมกับการจัดระบบกรรมสิทธิในการเข้าใช้ประโยชน์แ บบชัวคราวใน ่
รอบปี ซึง่ ไม่ใช่การครอบครองแบบถาวร การปลูกแตงโมคือการปรับใช้พน้ื ทีเ่ ท่าทีพ่ อจะใช้ได้โดยชาวบ้านให้เกิด
ประโยชน์ นอกจากนัน้ ก็มกี ารปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอ่นื ๆ บนภูมปิ ระเทศทีเ่ ปลีย่ นแปลง
ทีน่ ่ าสนใจคือ การเก็บเห็ดเสม็ด ซึง่ จะมีการเก็บกันอย่างคึกคักในช่วงต้นฤดูฝน ในบริเวณทีใ่ กล้กบั ทีต่ งั ้ ของหน่วย
ทหารพัฒนา พืน้ ทีเ่ ก็บเห็ดมีต้นเสม็ดขึน้ หนาแน่ นและเห็ดเสม็ดก็จะขึน้ ตามโคนต้นไม้และถูกปกคลุมด้วยใบไม้ท่ี
ทับถม ทุกเช้ามืดผูห้ ญิงและเด็กจานวนมากจะขับมอเตอร์ไซค์มายังป่ าเสม็ดพร้อมด้วยตระกร้าใบโต บางครัง้ ก็มี
คนจากหมู่บา้ นหรือตาบลอื่นขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนเต็มหลังรถมาเก็บเห็ดด้วย เห็ดสร้างรายได้ให้ผหู้ า 2-300
บาทต่อวันต่อคน อย่างไรก็ดี “แบโก๊ะ” ซึง่ เลีย้ งควายในทุ่งและเป็ นผูค้ ุน้ เคยกับพืน้ ทีท่ ุ่งรวมทัง้ ป่ าเสม็ดในปั จจุบนั
เล่าให้ผเู้ ขียนฟั งว่า เดิมทีต้นเสม็ดและเห็ดเสม็ดในทุ่งไอย์ฮแี ตและบริเวณใกล้เคียงไม่ได้มมี ากเท่าในทุกวันนี้ แต่
เมื่อมีการเข้ามาตัง้ หน่ วยทหารพัฒนาและได้มกี ารขุด การถม และการพลิกพืน้ ดินในบริเวณกว้าง ก็ได้ทาให้พชื
พรรณเดิมตามธรรมชาติหายไปและมีตน้ เสม็ดเพิม่ ขึน้ มาแทน นอกจากนัน้ ชาวบ้านก็ยงั สามารถหารายได้เสริมจาก
การจับสัตว์น้าตามแหล่งต่างๆ กระจายกันไป เช่น การดักกุง้ ฝอยในคูสง่ น้าลงนา การวางกัดดักปลาข้างถนนทีก่ นั ้
ให้น้ าขังอยู่ฝัง่ ใดฝั ง่ หนึ่ง ซึ่งแหล่งน้ าหรือคูคลองส่งน้ าเหล่านี้ล้วนเกิดขึน้ จากโครงการพัฒนาไม่ใช่สงิ่ ที่เคยมีมา
ตัง้ แต่อดีต
ประเด็นทีน่ ่าสนใจในเรื่องนี้กค็ อื ว่า ความสามารถและความพยายามในการปรับตัวของชาวกาปงไอย์อแี ต
ในการท ามาหากิน เพื่อ ความอยู่ ร อดอย่ า งสอดคล้อ งกับ ภู มิป ระเทศ ทรัพ ยากรธรรมชาติ และระบบนิ เ วศที่
เปลีย่ นแปลงไป ทาให้มองเห็นได้ยากว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ทีเ่ ข้ามาและส่งผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลงนี้มผี ลเสีย
อย่างแท้จริงหรือไม่อย่างไร เพราะก็ดูเหมือนว่าชาวบ้านก็ยงั คงดาเนินชีวติ ได้มาเรื่อยๆ บนฐานทรัพยากรทีย่ งั คง
เหลืออยู่ แม้ในการปรับตัวนี้อาจทาได้ยากในคนบางกลุ่มก็ตาม เช่น กลุ่มคนทีเ่ ลีย้ งฝูงปศุสตั ว์แบบปล่อย เมื่อทีด่ นิ

95
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในทุ่งลดน้อยลงจากขยายตัวเข้ามาของทีต่ งั ้ หน่ วยงานรัฐและโครงการก่อสร้างต่างๆ จนทาให้การเลีย้ งฝูงปศุสตั ว์


ต้องอาศัยความระมัดระวังและการดูแลใกล้ชดิ มากขึน้ กว่าเดิมเพื่อไม่ให้สตั ว์เลีย้ งตกน้ าตายหรือเข้าไปบุกรุกแปลง
เกษตรของคนอื่น ทาให้ต้นทุนและแรงงานในการเลี้ยงเพิม่ ขึน้ จนการเลี้ยงฝูงปศุส ั ตว์ได้ลดน้อยลงไปมากในทุก
วันนี้ แต่ กระนัน้ ในอีกมุมหนึ่งการลดลงของการเลี้ยงฝูงปศุสตั ว์ได้เกิดขึน้ อย่างค่อยเป็ นค่อยไป พร้อมกับการ
ปรับตัวหรือการเปลีย่ นของจังหวะชีวติ เช่น คนรุ่นพ่อทีเ่ ลีย้ งควายฝูงเริม่ แก่ตวั และไม่มรี ุ่นลูกมาเลีย้ งต่อเพราะลูก
ไปทางานอื่นกันหมด จึงขายควายไปเสียทัง้ ฝูง
อีกปั จจัยหนึ่งทีท่ าให้ผลกระทบต่อระบบนิเวศจากโครงการพัฒนาทีเ่ ปลี่ยนแปลงภูมปิ ระเทศไม่มคี วาม
ชัด เจนและดู จ ะไม่ มีบ ทบาทต่ อ ชีวิต ของชาวบ้า นมากนั ก ก็คือ การที่ปั จ จุ บ ัน คนก าปงไอย์ฮีแ ตส่ ว นใหญ่ ใ ช้
ทรัพยากรธรรมชาติหรือใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศเฉพาะบางส่วนเท่านัน้ แม้ว่าระบบนิเวศไอย์ฮแี ตมีหลายส่วนก็
ตาม กล่าวคือ สาหรับคนทีท่ าสวนยางพาราเป็ นรายได้หลัก ก็อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์จากส่วนอื่นๆ ของระบบนิเวศ
อีกต่อไป ชาวบ้านหลายรายแทบไม่เคยออกมาทีท่ ุ่งเลยในปี หนึ่งๆ พวกเขาเพียงแค่ขบั มอเตอร์ไซค์ผ่านทุ่งเพื่อ
เดินทางระหว่างบ้านกับสวนยางบนภูเขาเท่านัน้ ส่วนคนทีท่ าประมงในลูโบ๊ะเป็ นอาชีพหลักก็มกั ไม่ได้ใช้ประโยชน์
จากส่วนอื่นๆ ของระบบนิเวศเช่นกัน เพราะพวกเขาไม่มที ด่ี นิ บนภูเขาและไม่มที ่นี าในทุ่งเป็ นของตนเอง ขณะที่
บางส่วนก็เป็ นโซนระบบนิเวศทีถ่ ูกลืมไปแล้ว เช่น พืน้ ทีต่ ลิง่ ริมน้ า ซึง่ แทบไม่มใี ครเข้าไปใช้ประโยชน์ ดังนัน้ การ
เปลี่ย นแปลงของพื้น ที่ภู มิป ระเทศในเชิง ระบบนิ เ วศจึงไม่ ใช่ปั ญ หาร่ ว มของผู้ค นทัง้ หมด ตราบเท่ า ที่ย ัง ไม่มี
ผลกระทบรุนแรงต่อโซนพืน้ ทีท่ ต่ี นใช้ประโยชน์
ในขณะเดียวกันก็มคี รัวเรือนจานวนไม่น้อยทีม่ รี ายได้หลักจากนอกภาคเกษตร ครัวเรือนเหล่านี้สมั พันธ์
กับทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน้อยมาก แม้กาปงไอย์อแี ตจะมีความเป็ น “หมู่บ้านชนบท” หรือ “ชุมชน
เกษตร” แต่กม็ คี รัวเรือนกว่าครึง่ ทีม่ รี ายได้จากการทางานรับจ้างหรืออาชีพนอกภาคเกษตรอย่างสาคัญ โดยเฉพาะ
ในครัวเรือนที่มสี วนยางพาราน้อยหรือไม่ มเี ลย ปั จจุบนั คนกาปงไอย์อแี ตมีท่ดี นิ การเกษตรไม่เพียงพอที่จะแบ่ง
ให้แก่คนในรุ่นลูกหลานที่มจี านวนมากขึน้ ทุกที ทัง้ นี้ อาชีพนอกภาคเกษตรมีทงั ้ ในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ใน
หมู่บา้ นเป็ นงานรับจ้างรายวันและค้าขาย ส่วนใหญ่ขายกับข้าวสด อาหาร และของชา ส่วนนอกหมู่บา้ นมักเป็ นคน
รุ่นหนุ่ มสาวทีเ่ ดินทางไปทางานรับจ้างในร้านอาหารทีป่ ระเทศมาเลเซีย นอกจากนัน้ งานนอกภาคเกษตรทีส่ าคัญ
มากตัง้ แต่หลังปี พ.ศ. 2547 ก็คอื การทางานเป็ นลูกจ้างรัฐ นับตัง้ แต่ความรุนแรงระลอกใหม่เกิดขึน้ งบประมาณ
จานวนมหาศาลของภาครัฐก็ถูกทุ่มลงมายังชายแดนภาคใต้ งบประมาณส่วนหนึ่งถูกนามาใช้ในงานบริการและการ
รักษาความมันคง ่ และได้นามาซึ่งการจ้างงานโดยภาครัฐเป็ นจานวนมาก บางครัวเรือนกาปงไอย์ฮแี ตถึงกับมี
รายได้หลักจากการเป็ นลูกจ้างรัฐเพียงทางเดียวเท่านัน้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทม่ี วี ุฒกิ ารศึกษา เช่น คน
เหล่านี้ได้งานเป็ นอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เป็ นครู หรือเป็ นพนักงานในทีว่ ่าการอาเภอ นอกจากนัน้ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง อบต.ไอย์ฮีแต ก็เป็ นแหล่งงานสาคัญของคนในหมู่บ้านด้วย เพราะจ้างคนในพื้นที่
ทัง้ หมด ตัง้ แต่ตาแหน่งระดับล่างอย่างพนักงานเก็บขยะ คนขับรถ นักการภารโรง รวมไปถึงตาแหน่งระดับกลางๆ
อย่างพนักงานธุรการ ครูพเ่ี ลีย้ งเด็กก่อนวัยเรียน เป็ นต้น ผูป้ ระกอบอาชีพนอกภาคเกษตรเหล่านี้อยู่ห่างไกลจาก
ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของภูมปิ ระเทศ และแทบไม่ได้รบั รู้ถึงความเป็ นมาของการเปลี่ยนแปลงและ
โครงการพัฒนาทีเ่ กีย่ วข้อง
จะเห็นได้ว่า การดารงชีพทีก่ ระจัดกระจายหลากหลายของคนกาปงไอย์ฮแี ต จากการทาเกษตรเฉพาะ
อย่างทีน่ ามาสู่การใช้พน้ื ทีแ่ ละทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะส่วน และจากการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร ได้ทา

96
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ให้ผ ลกระทบจากการเปลี่ย นแปลงของภู มิป ระเทศที่มีต่ อ คนกลุ่ ม ต่ า งๆ ในชุ ม ชนมีค วามแตกต่ า ง ขณะที่
ความสามารถในการปรับตัวต่อภูมปิ ระเทศทีเ่ ปลีย่ นไปก็ทาให้ผลกระทบจากโครงการพัฒนาเห็นได้ไม่ชดั เจน คน
ที่น่ีจานวนไม่น้อยจึงไม่ได้ถอื ชุดคาอธิบายเดียวกันกับของภาคประชาสังคมทีว่ ่าด้วยผลกระทบจากการพัฒนาที่
เน้นแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนัน้ การดารงชีพทีก่ ระจัดกระจายหลากหลายก็ยงั ทาให้การต่อต้านหรือ
ทัดทานโครงการพัฒนาทีส่ ่งผลกระทบต่อภูมปิ ระเทศและระบบนิเวศเกิดขึน้ ได้ยาก แม้แต่ในหมู่คนทีเ่ คยทางาน
อนุ รกั ษ์ร่วมกับนักวิชาการท้องถิน่ และเอ็นจีโอมาก่อน ดังที่ “ก๊ะ” คนหนึ่งกล่าวถึงความอ่อนแรงและการทีจ่ าต้อง
ปล่อยให้ความเปลีย่ นแปลงในทุ่งไอย์ฮแี ตเกิดขึน้ ว่า

ตอนนี้เห็นทุ่งถูกขุดจนเละจากหลายๆ โครงการแบบนี้เราก็ใจหายนะ เมื่อก่อนทุ่งนี้สวยงาม


มาก ยิง่ ยุค คสช.ก็ยงิ่ มีโครงการมาก แต่เราก็ไม่รจู้ ะทาอะไร ก๊ะก็ไม่ได้เลีย้ งควาย แล้วก็ไม่
ค่อยได้อยู่บา้ น (ก๊ะมีสามีรบั ราชการและอาศัยอยู่ในบ้านพักข้าราชการในเมืองยะลา) เราก็
มีธุระส่วนตัวเยอะ ตอนนี้คนเลีย้ งควายมีไม่กค่ี นแล้ว แล้วคนเลีย้ งควายก็ไม่กล้าพูดอะไรเลย
จะมีแค่ผหู้ ญิงคนสองคนทีก่ ล้าพูดปั ญหาเวลาประชุมกับรองผูว้ ่าฯ....

ควำมทรงจำและกำรลืมต่อกำรเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศที่กำปงไอย์ฮแี ต
บทบาทของรัฐไทยทีม่ ีต่อการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ตวางอยู่บนความคิดทีว่ ่า รัฐมี
หน้าทีด่ ูแลจัดการพัฒนาพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีเ่ ป็ นพืน้ ทีส่ าธารณะทีร่ ฐั เป็ นเจ้าของโดยตรง ให้เกิด
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทัง้ นี้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนทีถ่ ูกมองว่าเป็ นสาเหตุห ลักของความไม่สงบทีช่ ายแดน
ภาคใต้ น่ าสนใจว่าแนวทางการพัฒนาเช่นนี้ของรัฐไม่มคี วามคิดเรื่องระบบนิเวศเข้ามาเกีย่ วข้อง แม้แต่ในช่วงหลัง
ทีม่ กี ารพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้วก็ตาม การขาดซึง่ มิตเิ ชิงระบบนิเวศเช่นนี้คอื ลักษณะเด่นทีส่ าคัญ
ของความทรงจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมปิ ระเทศทีก่ าปงไอย์ฮแี ตโดยฝ่ ายรัฐ ซึง่ ภูมปิ ระเทศในปั จจุบนั ถูกมอง
อย่างหยุดนิ่งแยกขาดจากภูมิประเทศในอดีตที่ถูกทาให้เปลี่ยนแปลงและเสื่อมโทรมลง โดยที่รฐั ไทยเองได้มี
บทบาทอย่างสาคัญต่อการเปลีย่ นแปลงและความเสือ่ มโทรมนี้ (ดังทีก่ ล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้ า)
ดังนัน้ โครงการพัฒนาบนพื้นที่ภูมปิ ระเทศในปั จจุบนั จึงยังคงสร้างความชอบธรรมให้กบั รัฐไทยได้อยู่
แม้ว่าในความจริงแล้วโครงการเหล่านี้ไม่ควรต้องมีตงั ้ แต่ต้น อาทิ โครงการปล่อยพันธุป์ ลาในลูโบ๊ะหรือทะเลสาบ
ถาวรขนาดใหญ่ทไ่ี ม่ใช่ส่วนของระบบนิเวศแบบพรุทม่ี มี าแต่เดิม หรือการส่งเสริมการปลูกแตงโมและการเลีย้ งวัว
แบบขุน (แทนที่จะเป็ นการเลี้ยงแบบปล่อยอย่างเดิม) ซึ่งเป็ นการกระตุ้นให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากพื้นทีแ่ บบ
จากัดบริเวณและใช้อย่างเข้มข้นเนื่องจากพืน้ ทีถ่ ูกจากัดลงจากความเสื่อมโทรมและการถูกยึดครองโดยหน่ วยงาน
รัฐ โครงการเหล่านี้ดูเผินๆ ก็คอื การส่งเสริมการประกอบอาชีพของชาวบ้านบนฐานของทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถิ่น ซึ่งอาจช่วยสร้างความกินดีอยู่ดใี ห้เกิดขึน้ ได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งสิง่ ทีถ่ ูกลืมไปก็คอื ความเป็ นจริงทีว่ ่า นี่คอื
การเอาโครงการพัฒนาใหม่ๆ ทับลงไปบนภูมปิ ระเทศทีไ่ ด้เปลีย่ นแปลงไปแล้วในทิศทางทีเ่ สื่อมโทรมลงจากการ
พัฒนาที่ผ่านมาของรัฐ นอกจากนัน้ โครงการเหล่านี้ยงั วางอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการมองปั ญหา
ความยากจนว่าเกิดจากตัวเกษตรกรทีข่ าดความรู้ ความขยันอดทน และความมัธยัสถ์ ซึง่ ก็ยงิ่ ทาให้ความทรงจาว่า
ด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศจากฝ่ ายรัฐสามารถดารงอยู่ได้ บนฐานของการลืมปั ญหาเชิงโครงสร้างทีม่ ี
สืบเนื่องมาหลายทศวรรษจากความพยายามสถาปนาอานาจของรัฐไทยเหนือพืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้ผ่านโครงการ
พัฒนาต่างๆ

97
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในส่วนของนักวิชาการท้องถิ่นและเอ็นจีโอ ที่ในช่วงหลังได้กลายมาเป็ นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคม


ระดับชาติด้านชุมชนท้องถิ่นและการพัฒนานัน้ แม้ระยะหลังจะได้ดาเนินงานหลายอย่างร่วมกับภาครัฐในพืน้ ที่
โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แต่กย็ งั ไม่สามารถผลักดันให้เกิด
การพัฒนาที่ยงยื ั ่ นและเป็ นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมต่อภาครั ฐได้มากนักทัง้ ในระดับนโยบายและในระดับปฏิบตั ิการ
อย่างไรก็ดอี าจถือได้ว่าภาคประชาสังคมได้ประสบความสาเร็จในการสร้างองค์ความรูว้ ่าด้วยระบบนิเวศแบบพรุ
และสร้างความทรงจาว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศในฐานะทีเ่ ป็ นความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ อันมี
สาเหตุมาจากแนวทางการพัฒนาทีเ่ น้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนัน้ ในชุดคาอธิบายของภาคประชาสังคม
ได้ใ ห้ค วามสาคัญกับความไร้ป ระสิทธิภ าพและการทุ จริต คอรัป ชันของเจ้ ่ าหน้ า ที่รฐั ระดับ ล่ างและผู้มีอิทธิพล
ท้องถิน่ รวมทัง้ การทีช่ าวบ้านตกอยู่ภายใต้การชีน้ าของระบบทุนนิยมและการทีช่ าวบ้านมีความเห็นแก่ประโยชน์
เฉพาะหน้า สิง่ ทีถ่ ูกลืมไปในชุดคาอธิบายหรือความทรงจาของภาคประชาสังคมนี้กค็ อื การพัฒนาเพื่อปรับเปลีย่ น
ภูมปิ ระเทศในฐานะที่เป็ นวิธกี ารผนวกรวมชายแดนภาคใต้ซ่งึ เป็ นพื้นที่แห่งความไม่สงบและอ่อนไหวต่อความ
มัน่ คงของชาติ รวมถึ ง การผนวกชาวมลายู มุ ส ลิ ม เข้า กับ อุ ด มการณ์ ข องรัฐ ชาติไ ทย ซึ่ง ในงานศึก ษาทาง
ประวัติศาสตร์หลายชิ้นได้ช้ใี ห้เห็นแล้วว่าอุดมการณ์ของรัฐชาติไทยคือต้นเหตุสาคัญของความไม่สงบ (ดู Che
Man 1990, Haemindra 1976, Pitsuwan 1988, Dulyakasem 1988, Yegar 2002) ทีส่ าคัญ ไม่เพียงแต่ลมื เท่านัน้
แต่ในชุดคาอธิบายและปฏิบตั ิการของภาคประชาสังคมยังผลิตซ้าอุดมการณ์รฐั ชาติผ่านทางการอ้างอิงแนวคิด
“เศรษฐกิจพอเพียง” และยุทธศาสตร์ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของรัฐไทยด้วย โดยมองแต่เพียงแค่ว่าแนวคิดและ
ยุทธศาสตร์น้ีสอดคล้องกับชุดคาอธิบายของตนทีว่ ่า หากชาวบ้านชายแดนใต้ “พึง่ ตนเอง” ได้กจ็ ะนามาสู่คุณภาพ
ชีวติ ทีด่ แี ละจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบและความรุนแรงได้ในทีส่ ดุ
สิง่ ทีถ่ ูกลืมไปในความทรงจาว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงภูมปิ ระเทศของภาคประชาสังคมไม่ใช่สงิ่ เรื่องที่น่า
แปลกใจ หากมองย้อนไปถึงบทบาทของภาคประชาสังคมไทยท่ามกลางบริบทความขัดแย้งทางการเมืองร่วมสมัย
ในรอบทศวรรษทีผ่ ่านมาก็จะพบว่า ภาคประชาสังคมไทยได้เป็ นส่วนหนึ่งของอานาจรัฐแบบจารีตและอนุรกั ษ์นิยม
มาโดยตลอด พวกเขาเห็นว่ารัฐบาลทีม่ าจากการเลือกตัง้ มักส่งเสริมระบบทุนนิยมทีท่ าลายการพึง่ ตนเองของชุมชน
ท้องถิ่น ดังนัน้ ที่ผ่านมาภาคประชาสังคมจึงมีบทบาทสาคัญในการผลักดันสังคมไทยให้มีระบอบการบริห าร
ปกครองโดย “คนดี” บนฐานของความไม่เชื่อมันในระบอบประชาธิ
่ ปไตยแบบตัวแทน ทีพ่ วกเขามองว่ามีการซือ้
ขายเสียงจากประชาชนที่ยากจน ขาดการศึกษา และขาดจิตสานึก ทัง้ นี้ ชนชัน้ นาในภาคประชาสังคมไทยไม่ มี
ปั ญหาใดๆ กับการทารัฐประหาร พวกเขาได้ทางานร่วมกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารทุกชุดนับตัง้ แต่ การ
รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึง่ มีทงั ้ การดารงตาแหน่งรัฐมนตรี การร่วมในคณะกรรมการ “ปฏิรปู ” ชุดต่างๆ ล่าสุด
ก็คือ การเข้า ไปเป็ นส่ ว นหนึ่ ง ของนโยบายประชารัฐ ที่เ ป็ นนโยบายของรัฐ บาล คสช. ที่ก าลัง ได้ ร ับ การ
วิพากษ์วจิ ารณ์อย่างหนักว่าเอือ้ ประโยชน์ต่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่มากกว่าประโยชน์ของชาวบ้าน อุดมการณ์เช่นนี้ได้
ถูกสืบทอดมายังการทางานของเครือข่ายภาคประชาสังคมทีช่ ายแดนภาคใต้ดว้ ย รูปธรรมทีผ่ ่านมาก็คอื การจัดตัง้
“สภาปฏิรูปชายแดนภาคใต้” ทีเ่ ชื่อมโยงกับสภา/คณะกรรมการปฏิรูปทีต่ งั ้ ขึน้ มาในสมัยรัฐบาลนายอภิสทิ ธิ ์ เวชชา
ชีวะ ภายหลังการปราบปราบผูช้ ุมนุมในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนถึงปั จจุบนั องค์กรภายใต้เครือข่ายภาค
ประชาสังคมก็ยงั คงดาเนิ นโครงการพัฒนาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อ ย่างต่ อเนื่ องบนฐานของอุ ด มการณ์ ทาง
การเมืองเช่นนี้ โดยได้รบั การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอิสระต่างๆ ในภาครัฐ
ในส่วนของชาวกาปงไอย์ฮแี ต ความทรงจาต่อการเปลีย่ นแปลงภูมปิ ระเทศสัมพันธ์กบั สถานการณ์ใน 3
ส่วน คือ 1) การปรับตัวทีค่ ่อยๆ เกิดขึน้ เพื่อให้ยงั คงสามารถทามาหากินได้ในภูมปิ ระเทศและทรัพยากรธรรมชาติท่ี

98
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เปลี่ยนแปลงไป 2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือพื้นที่ภูมปิ ระเทศแบบ


เฉพาะส่วนเสีย้ ว โดยไม่จาเป็ นต้องสัมพันธ์กบั ทุกส่วนของระบบนิเวศ และ 3) การแตกตัวของอาชีพของชาวกาปง
ไอย์ฮแี ต ทีป่ ั จจุบนั อาชีพนอกภาคเกษตรมีความสาคัญอย่างมากจนถึ งขัน้ ว่าหลายครอบครัวไม่มรี ายได้จากภาค
เกษตรอีกต่อไปแม้จะยังมีชวี ติ อาศัยอยู่ในชุมชนก็ตาม ทัง้ นี้ สถานการณ์ทงั ้ สามด้านนี้แม้ในแง่หนึ่งจะเป็ นผลมา
จากการพัฒนาของรัฐ แต่ในขณะเดียวเป็ นการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดจากการตัดสินใจของชาวบ้านเองในการปรับตัว
ด้านอาชีพ และวิถชี วี ติ จากการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ปั จจัยเหล่านี้ต่างเป็ นเหตุเป็ นผลซึ่ง
กันและกัน ดังนัน้ ความทรงจาของชาวไอย์ฮแี ตต่อการเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศ จึงไม่ได้เป็ นไปในลักษณะที่
สืบเนื่องหรือเชื่อมโยงได้อย่างเป็ นลาดับขัน้ ตอนกับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ ทีข่ าดการคานึงถึงความเป็ น
ระบบนิเวศและการทามาหากินเดิมของชาวบ้านที่วางบนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว อนึ่ง ความทรงจาที่ไม่
ปะติดปะต่อนี้ทาให้ต้นตอของปั ญหาถูกลืมหรือไม่ถูกมองเห็น ขณะทีก่ ารพยายามร้องเรียนปั ญหาที่เกิดจากการ
เปลีย่ นพืน้ ทีภ่ ูมปิ ระเทศต่อหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องโดยชาวบ้านก็เกิดขึน้ อย่างแผ่วเบา เพราะพวกเขาทุ่มเทไปกับการ
ปรับเปลีย่ นวิธกี ารทามาหากินมากกว่า ปั จจุบนั โครงการพัฒนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นการขุดสระ การทาคันดิน การ
ขุดลอกขยายทางน้ า ยังคงเกิดในพื้นที่ทุ่งไอย์ฮอี ย่างต่อเนื่อง มีโครงการขนาดใหญ่ท่ดี าเนินการโดยหน่ วยงาน
ทหาร และโครงการเหล่านี้กไ็ ด้รบั การสนับสนุนอย่างดีจากผูน้ าทางการในท้องถิน่
สุดท้ายนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจาว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงภูมปิ ระเทศของทัง้
สามฝ่ ายซึ่งล้วนมีการลืมเป็ นองค์ประกอบสาคัญด้วยนัน้ จะพบว่าความทรงจาของชาวกาปงไอย์ฮแี ตเป็ นสิง่ ที่
ไหลเวียนและรับรูร้ ่วมกันภายใน ยากทีค่ นนอกจะเข้าถึงหรือเข้าใจ ในขณะทีค่ วามทรงจาทีถ่ ูกสร้างโดยรัฐดูจะมี
เสียงดังที่สุดและเป็ นความทรงจาที่สาธารณะในวงกว้างรับรู้ ในความทรงจาทีร่ ฐั สร้างนี้มชี าวบ้านเป็ นเป้ าหมาย
หลักทีจ่ ะต้องถูกพัฒนาให้พน้ จากความยากจน การรับรูข้ องสาธารณะได้สร้างความชอบธรรมและความเข้มแข็ง
ให้กบั การขยายอานาจรัฐไทยเหนือพืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้ และทาให้การพัฒนาทีส่ ่งผลเสียต่อระบบนิเวศและการ
พัฒนาทีไ่ ม่มคี วามชัดเจนว่าได้ส่งเสริมคุณภาพชีวติ ของผูค้ นทีช่ ายแดนใต้อย่างไรยังคงดาเนินต่อไป ขณะทีก่ าร
พัฒนานี้กย็ งิ่ การสร้างความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างชาวบ้านทัวไปกั่ บผูม้ อี ทิ ธิพลในท้องถิน่ ให้
มากยิ่งขึ้น สาหรับความทรงจาของภาคประชาสังคมนัน้ จะเห็นได้ว่ารัฐไทยเองก็ไม่ได้ให้ความสาคัญ กับ ชุ ด
คาอธิบายว่าด้วยระบบนิเวศแบบพรุและความเสื่อมโทรมจากการพัฒนาเลย แม้ว่ าภาคประชาชนจะแทรกตัวเอง
เข้าไปส่วนหนึ่งของรัฐและช่วยผลิตซ้าอุดมการณ์ของรัฐชาติไทยก็ตาม ทีส่ าคัญชุดคาอธิบายของภาคประชาสังคม
ก็ไม่ได้รบั ความสนใจจากชาวไอย์ฮแี ตด้วย เพราะให้คุณค่าแต่เฉพาะเพียงระบบการผลิตแบบพึ่งตนเอง ซึ่งไม่
สอดคล้องกับสภาพชีวติ ทีเ่ ป็ นจริงของชาวบ้านในปั จจุบนั

บทสรุ ป
การเปลีย่ นแปลงของภูมปิ ระเทศและความเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติทน่ี ามาสู่
ความยากลาบากในชีวติ ของผูค้ น ไม่ใช่สงิ่ ทีบ่ นทอนความมั
ั่ นคงของรั
่ ฐไทยในพืน้ ทีช่ ายแดนใต้อย่างทีถ่ ูกเชื่อกันมา
ในทางกลับกันกลับยิ่งสร้างความเข้มแข็งและความชอบธรรมให้กบั รัฐไทยในการสถาปนาอานาจเหนื อ พื้น ที่
ชายแดนภาคใต้ โดยผ่านโครงการพัฒนาที่อ้างการยกระดับคุณภาพชีวติ ของคนมลายูมุสลิม โครงการพัฒนา
เหล่านี้วางทับลงไปบนพื้นที่ภูมปิ ระเทศที่เสื่อมโทรม ซึ่งจริงๆ แล้วความเสื่อมโทรมก็เกิดขึน้ จากบทบาทและ
ปฏิบตั กิ ารของรัฐไทยในอดีตนันเอง
่ ในขณะเดียวกันแม้ภาคประชาสังคมจะมีชุดคาอธิบายต่อการเปลีย่ นแปลงของ
ภูมปิ ระเทศทีใ่ ห้ความสาคัญกับระบบนิเวศและการพัฒนาที่ยงยื ั ่ น แต่ภาคประชาสังคมกลับนาชุดคาอธิบายนี้มา

99
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กบั อุดมการณ์ของรัฐชาติไทย อันเป็ นต้นตอสาคัญของ “ความไม่สงบ” ชายแดนภาคใต้


พร้อมกันนี้การปรับตัวและความกระจัดกระจายหลากหลายในการดารงชีพของชาวบ้านไอย์ฮแี ตก็ได้ทาให้ผล
กระทบจากการพัฒนาและอุดมการณ์รฐั ชาติมองเห็นได้ไม่ชดั เจน สภาพการณ์ทงั ้ หมดนี้ดาเนินไปผ่านกระบวนการ
สร้างความทรงจาและการลืมโดยแต่ละฝ่ ายทีม่ ตี ่อการเปลี่ยนแปลงของภูมปิ ระเทศ อันส่งผลทาให้การแก้ปัญหา
ชายแดนภาคใต้และการสร้างชีวติ ทีด่ ที งั ้ ในทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของชาวบ้านมลายูมุสลิมยังคงเป็ นไปได้
ยาก

บรรณำนุกรม
ปิ ยะนาถ บุนนาค. 2546. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2475
– 2516). พิมพ์ครัง้ ทีส่ อง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. 2550. ดับไฟใต้ดว้ ยจิตวิวฒ ั น์และพลังแห่งทางสายกลาง. กรุงเทพฯ: กรีนปั ญญาญาณ.
ศูนย์ศกึ ษาและพัฒนาสันติวธิ ี มหาวิทยาลัยมหิดล. 2552. ชุมชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง: พลวัตและการ
พัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีศกั ร วัลลิโภดม. 2550. ไฟใต้ฤาจะดับ. กรุงเทพฯ: มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ.์
สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ. ม.ป.ป. โครงการพัฒนาพื้นที ่
พรุบาเจาะ-ไม้แก่นอันเนือ่ งมาจากพระราชดาริ (ประตูระบายน้ าปากคลองบาเจาะ-ไม้แก่น). เข้าถึงเมื่อ 29
เมษายน 2559. http://km.rdpb.go.th/Project/View/7825
Bundhuwong, Chalita. 2013. “Economic Life of Malay Muslims in Southernmost Thailand amidst
Ecological Changes and Unrest.” Ph.D. Dissertation in Anthropology. University of Hawaii at
Manoa.
Che Man, Wan Kadir. 1990. Muslim Separatism: The Moros of Southern Philippines and the Malays of
Southern Thailand. Singapore: Oxford University Press
Dulyakasem, Uthai. 1984. “Muslim-Malay Separatism in Southern Thailand: Factors Underlying the
Political Revolt.” In Armed Separatism in Southeast Asia, edited by Lim Joo-Jock and Vani S.
Pasir Panjang: Institute of Southeast Asian Studies.
Haemindra, Nantawan. 1976. “The Problem of the Thai-Muslims in the Four Southern provinces of
Thailand (Part One.,” Journal of Southeast Asian Studies 7 (2).
Pitsuwan, Surin. 1988. “The Lotus and the Crescent: Clashes of Religious Symbolisms in Southern
Thailand.” In Ethnic Conflict in Buddhist Societies, edited by K.M. de Silva et.al. London: Pinter.
Vandergeest, Peter and Nancy Lee Peluso. 1995. “Territorialization and state power in Thailand.” Theory
and Society 24: 385-426.
Yegar, Moshe. 2002. Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern
Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar. Lanham: Lexington Books.

100
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R2-03

การแทนที่ความทรงจา
กรณี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ รั ฟ เฟิ ลส์ สมั ย อาณานิ ค ม
และพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ สิ ง คโปร์ ห ลั ง เอกราช

ชี วสิทธิ์ บุ ณยเกียรติ
นิสิตหลักสูตรปริญญาดุษฎีบันฑิต สาขาเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

101
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

“ยามใดที่เราพิเคราะห์วตั ถุในคลังสะสมแล้ว เราจะเห็นวัฒนธรรมของผูผ้ ลิตวัตถุเหล่านัน้


และยังจะเห็นวัฒนธรรมของผูค้ นทีร่ วบรวมวัตถุทห่ี ลากหลายเอาไว้เป็ นหนึ่ง”1
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยความนิยมของการเก็บสะสม ทัง้ วัตถุท่เี กี่ยวข้องกับธรรมชาติ เหรียญ
และโบราณวัตถุ เป็ นฐานสาคัญในการก่อตัง้ เป็ นพิพธิ ภัณฑ์ในยุโรป ลัทธิล่าอาณานิคมเป็ นกลไกสาคัญทีก่ ่อให้เกิด
การยักย้ายถ่ายเทวัตถุธรรมชาติและวัฒนธรรมจากสถานทีต่ น้ ทางสู่ประเทศเจ้าอาณานิคม สวนพฤกษศาสตร์และ
สวนสัตว์ พิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยาและประวัติผู้คน รวมทัง้ สมาคมทางมานุ ษยวิทยาและภูมศิ าสตร์ ทาหน้าที่
อย่างสาคัญในฐานะสถาบันทีผ่ ลิตและเผยแพร่ความรูใ้ ห้ลทั ธิอาณานิคม2
ตัง้ แต่ คริสต์ทศวรรษ 1830 พิพิธภัณฑ์ชาติพนั ธุ์ได้รบั ความสนใจและก่อตัง้ มาแล้วก่อนหน้ านัน้ โดย
ปรากฏอยู่ในรูปแบบของพิพธิ ภัณฑ์อาณานิคม ทีจ่ ดั ตัง้ อยู่ในยุโรปและในประเทศภายใต้การปกครองอาณานิคม
เพื่อแสดงแสนยานุภาพของเจ้าอาณานิคม รวมถึงการรวบรวมสรรพความรูเ้ กีย่ วกับโลกดังเช่นผูค้ นจากประเทศใน
อาณัติเหล่านัน้ 3 นอกจากนี้ นิทรรศการ งานเทศกาลขนาดใหญ่ และมหกรรมนิทรรศการนานาชาติ กลายเป็ น
เครื่องมือสาคัญในการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเจ้าอาณานิคมและประเทศทีอ่ ยู่ใต้อาณานิคม 4 ในหลาย
กรณีนามาสูก่ ารก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ถาวร เช่น พิพธิ ภัณฑ์อาณานิคม (Museé des Colonies) ทีป่ รับเปลีย่ นจากปาเล
เดอ ลา ปอร์ดอเร่ (Palais de la Porte Dorée) ซึง่ เป็ นสถานทีส่ าหรับการจัดประชุมวิชาการในงานมหกรรมอาณา
นิคม กรุงปารีส ค.ศ. 1931
แอนเดอร์สนั (Anderson) กล่าวถึงบทบาทของพิพธิ ภัณฑ์ในกระบวนการสร้างรัฐชาติในคริสต์ศตวรรษที่
19 ทัง้ การขุดค้นทางโบราณคดีและการจัดหาวัตถุ สะสมจากวัฒนธรรมอื่น เพื่อสถาบันทีอ่ ยู่ในประเทศเจ้าอาณา
นิคม ย้าให้เห็นบทบาทของเจ้าอาณานิคมในฐานะผูป้ กปั กรักษาวัฒนธรรมทีส่ ญ ู หาย 5 ฉะนัน้ การจัดแสดงวัตถุจดั
แสดงในดินแดนอันห่างไกลในทีม่ นของตนเอง
ั่ หรือการผลิตภาพลักษณ์และข้อมูลด้วยสือ่ สิง่ พิมพ์ ล้วนเป็ นกลไกใน
การสร้างอัตลักษณ์ชาติ “การขุดค้น การสะสม การจัดประเภท และการจัดแสดงคนกลุ่มอื่นเป็ นวิธที างทีใ่ ห้ ‘ผูอ้ ่นื ’
เป็ นกรรม (/วัตถุ) และเป็ นการย้าถึงอัตลักษณ์ทม่ี รี ่วมกันในระหว่างสมาชิกของชุมชนในจินตนาการของรัฐชาติ”6
ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึน้ อย่างสาคั ญ เมื่อหลายประเทศทีเ่ คยเป็ นอาณานิคม
ได้รบั เอกราช แนวคิดเกี่ยวกับชาติ ชาตินิยม และวัฒนธรรมชุมชนมีส่วนสาคัญในการกาหนดความหมายและ
นิยามของพิพธิ ภัณฑ์ และการสร้างภาพแทนต่างๆ 7 ในหลายกรณี พิพธิ ภัณฑ์สถาบันของอดีตเจ้าอาณานิคมต้อง
ส่งคืนสมบัตวิ ฒ
ั นธรรมกลับไปยังชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม รวมถึงการตีความมรดกวัฒนธรรมใหม่ตามสายตาของผู้

1 Paul Michael Taylor, “A Collector and His Museum: William Louis Abbott (1860-1936) and the Smithsonian,” in Treasure Hunting?, ed.
Reimer Schefold and Han F. Vermeulen (Leiden: CNWS, 2002), 223.
2 Brendan Luyt, “Imagining the User in the Raffles Library and Museum, Singapore: 1874 to 1900” (World Library and Information Congress:

72nd IFLA Genreal Conferance and Council, Seoul, 2006), 2.


3 Megan S. Osborne, “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and Library,” The Heritage Journal 3 (2008): 3.
4 Marieke Bloembergen and Beverley Jackson, Colonial Spectacles: The Netherlands and the Dutch East Indies at the World Exhibitions,

1880-1931 (Singapore: Singapore University Press, 2006).


5 Benedict R. O’G Anderson, Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, Rev. and extended ed (London ;

New York: Verso, 1991).


6 Mary Bouquet, Museums: A Visual Anthropology (London : New York: Berg, 2012), 48.
7 Peter Vergo, ed., The New Museology (London: Reaktion Books, 1989); Henrietta Lidchi, “The Poetics and the Politics of Exhibiting Other

Cultures,” in Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, ed. Stuart Hall, Culture, Media, and Identities (London ;
Thousand Oaks, Calif: Sage in association with the Open University, 1997), 153–208.

102
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สืบ ทอด เช่ น กรณี ข องพิพิธ ภัณฑ์อ เมริก ัน พื้น ถิ่น ในสหรัฐฯ และอะบอริจิน ในออสเตรเลีย 8 ในอีก หลายกรณี
พิพธิ ภัณฑ์ทาหน้าทีส่ ร้างความเป็ นชาติ (ใหม่) หลังอาณานิคม และเปลีย่ นแปลงความหมายของสมบัตวิ ฒ ั นธรรม
ให้สอดคล้องกับการสร้างชาตินนั ้ เช่น ทามันมินิ (Taman Mini) ในกรุงจาการ์ต้า ทีแ่ ม้จะความตัง้ ใจสะท้อนความ
หลากหลายด้วยเรือนพื้นถิ่น ไว้ในพื้นที่เ ดียวกัน แต่ เรือนและสถานที่ตงั ้ เหล่ านัน้ อยู่ใ นระเบียบและระบบที่ร ัฐ
ปรารถนา9
ทัง้ หมดนี้ ผู้เ ขีย นกล่ า วถึง ความเป็ น มาอย่ า งย่ น ย่ อ ต่ อ พัฒ นาการพิพิธ ภัณฑ์บ างส่ว น เพื่อ โยงเข้า สู่
กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ (National Museum of Singapore หรือ NMS) ที่มีการจัดตัง้ ขึ้น
ตัง้ แต่สมัยอาณานิคมอังกฤษ และเกิดความเปลีย่ นแปลงเป็ นลาดับในแต่ละช่วงเวลา ในทีน่ ้ี ผูเ้ ขียนไล่เรียงให้เห็น
พัฒ นาการพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ น 3 ช่ ว งเวลา โดยเนื้ อ หาต่ า งๆ มาจากการเรี ย บเรี ย งบทความที่ เ กี่ ย วข้ อ งกับ
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติสงิ คโปร์ อันได้แก่
(1) พิพิธ ภัณฑ์แ ละหอสมุ ด รัฟ เฟิ ลส์ ในสมัย อาณานิ ค ม ซึ่ง โจทย์ข องการสะสมและการจัด แสดงคือ
พิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา (2) หัวเลีย้ วหัวต่อของการนิยามพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ (ปลายทศวรรษ 1950-1980)
ช่วงเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นความยอกย้อนของรัฐในการใช้ประโยชน์พพิ ธิ ภัณฑ์ ทัง้ ความอิหลักอิเหลื่อของมรดก
อาณานิคม การปรับเปลีย่ นพิพธิ ภัณฑ์ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติสพู่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ และการสร้างพิพธิ ภัณฑ์
ประเภทอื่นๆ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ (3) พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ (ตัง้ แต่
ทศวรรษ 1990 ถึงปั จจุบนั ) ความชัดเจนของการใช้ประโยชน์ ในการสร้างสานึกของความเป็ นชาติ วาระทาง
การเมือง และอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว
แกนกลางของการอภิปรายในบทความนี้ ได้แก่ การอ่านวาระพิพธิ ภัณฑ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลงในแต่ละช่วงเวลา
วาระดัง กล่ าวสะท้อ นให้เห็น ชุด อุด มการณ์ ท่พี ิพิธภัณฑ์โดยรัฐอาณานิ คมและรัฐหลังเอกราชทาหน้ าที่ในการ
ถ่ า ยทอดสู่สาธารณะ เมื่อ ศึก ษาพิพิธ ภัณฑสถานแห่ ง ชาติ สิง คโปร์ท่ีใ นช่ ว งเวลาต่ า งๆ นี้ ผู้เ ขีย นพบความ
เปลีย่ นแปลงชุดความหมายที่กากับความเป็ นสถาบันของพิพธิ ภัณฑ์ โดยมีกลุ่มคนทัง้ ในระดับปฏิบตั แิ ละในระดับ
บริหารเป็ นตัวละคร ทัง้ นี้กลไกของการถ่ายทอดชุดอุดมการณ์ ในที่น้ี ปฏิบตั ิการพิพธิ ภัณฑ์ ได้เกิดขึน้ ดารงอยู่
และดับไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ พิพธิ ภัณฑสถานจึงมิใช่สถาบันที่สร้างความรู้ทเ่ี ป็ นกลาง หากแต่เป็ น
ความรูท้ ม่ี บี ริบทต่างๆ กากับ
ดังเช่นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอาณานิคมอังกฤษกับอินเดีย ในระหว่างการสารวจการตัง้ รกรากของกลุ่ม
ชนต่างๆ เพื่อการจัดเก็บภาษี กลายเป็ นโอกาสในการระบุแหล่งโบราณคดี และนามาสู่การขุดค้นทางโบราณคดี
ขนาดใหญ่ เช่น โคลิน แม็คแคนซี (Colin Mackenzie) ในฐานะผู้อานวยการขุดค้น และทาหน้าที่ในการวบรวม
หลักฐานทางโบราณคดี คัมภีร์ หรือการก่อตัง้ หน่ วยสารวจโบราณคดีในอินเดีย (Archeological Survey of India)
ค.ศ. 1859 ซึ่งมี อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (Alexander Cunningham) วิศวกรกองทัพ เป็ นผู้อานวยการคนแรก
ผลพวงจากการทางานดังกล่าวก่อให้เกิดการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ในแหล่งขุดค้นและการก่อสร้างพิพธิ ภัณฑ์ขนาดใหญ่
เพื่อการจัดเก็บหลักฐานทางโบราณคดี ซึง่ ในเวลาต่อมาเป็ นพิพธิ ภัณฑ์อนิ เดีย การจัดเก็บศิลปวัตถุ จิตรกรรม และ

8 Moira G. Simpson, Making Representations: Museums in the Post-Colonial Era (London ; New York: Routledge, 1996).
9 Shelly Errington, The Death of Authentic Primitive Art and Other Tales of Progress (Berkeley: University of California Press, 1998), 222.

103
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

โบราณวัตถุกลายเป็ นภาพแทนของอดีตทีส่ ร้างขึน้ โดยเจ้าอาณานิคม และเสริมฐานะภาพของความเป็ นผูป้ กครอง


ทีป่ กป้ องความเสือ่ มสลายของอารยธรรม10
การนาเสนอเนื้อหากาหนดไว้ใน 3 ช่วงเวลาตามทีผ่ เู้ ขียนได้กล่าวไว้แล้ว ในแต่ละช่วง ผูเ้ ขียนพิจารณาใน
สองสามประเด็นด้วยกัน เป้ าประสงค์หรือความตัง้ ใจในการใช้ประโยชน์พพิ ธิ ภัณฑ์ การสะสมที่เป็ นภาพสะท้อน
ของปฏิบตั กิ ารพิพธิ ภัณฑ์ ทัง้ นี้ ปฏิบตั กิ ารดังกล่าวเกิดขึน้ ได้จากผูป้ ฏิบตั ิ เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางานใน
ระดับสานึกของผูค้ นอย่างไร และการนาเสนอ ในส่วนสุดท้ายของบทความ ผูเ้ ขียนจะวิเคราะห์ถงึ การปรับเปลีย่ น
เงื่อนไขของกระบวนการพิพธิ ภัณฑ์ พิพธิ ภัณฑ์นบั เป็ นกลไกสาคัญที่ “ผูน้ า” ในแต่ละช่วงเวลามุ่งมาดปรารถนาให้
เป็ นเบ้าหลอมผูค้ นในสังคม

พัฒนำกำรพิพิธภัณฑ์รฟ
ั เฟิ ลส์และวำระพิพธิ ภัณฑ์ของอำณำนิคม

“ธรรมชาติมไิ ด้เป็ นหน่วยทีม่ ลี กั ษณะร่วมเป็ นหนึ่งเดียว ธรรมชาติมกั มีความซับซ้อนของชุด


ความหมาย ความหมายเหล่านัน้ มาจากสังคมและชุดคุณค่าทีเ่ ปลีย่ นแปลง”
โอลวิก (Olwig)11
ปฐมบทของพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ มักได้รบั การอ้างอิงกลับไปยังการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์และ
หอสมุดรัฟเฟิ ลส์ ซึง่ ใช้นามของเซอร์ สแตมฟอร์ด รัฟเฟิ ลส์ ตัวแทนของรัฐบาลอาณานิคมทีส่ ร้างสถานีการค้าให้กบั
เจ้าอาณานิคมอังกฤษ และเปิ ดฉากหน้ าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ให้กบั สิงคโปร์ อย่างไรก็ดี ประวัติท่ไี ด้รบั การ
กล่ า วถึง ต้น ก าเนิ ด ของพิพิธ ภัณฑ์แ ละห้อ งสมุ ด ได้แ ก่ หอสมุ ด ของสถาบัน สิง คโปร์ พ.ศ. 1823 12 ต่ อ มาเป็ น
สถาบัน รัฟ เฟิ ลส์ ค.ศ. 184413 แต่ ป ระสบปั ญหาด้ว ยข้อจากัดทางการเงิน และความไม่ชดั เจนของการท างาน
พิพธิ ภัณฑ์
เควิน ตัน (Kevin Tan) กล่าวถึงการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ทไ่ี ม่ประสบความสาเร็จมากนัก กระทังการน
่ าเสนอ
วัตถุชน้ิ ล้าค่าเมื่อ ค.ศ. 1849 โดยแดง อิบราฮิม (Daeng Ibrahim) ซึง่ รัง้ ตาแหน่ งผูร้ กั ษาความสงบในยะโฮร์หรือ
“เตอเมิง-กอง” (Temenggong) โดยผ่านผูป้ กครองท้องถิน่ ในบัตเตอร์เวิรต์ เพื่อนาเสนอไว้เป็ นประวัตศิ าสตร์ของ
มาเลย์ในห้องอ่านหนังสือของสถาบันรัฟเฟิ ลส์ และการวางโจทย์ของพิพธิ ภัณฑ์ใหม่ ตันได้อา้ งถึงข้อสรุปจากการ
ประชุมของผูท้ ด่ี ูแล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1849 “...จัดเก็บเหรียญตรา, จารึกและหนังสือโบราณ, เสือ้ ผ้าและ
เครื่องใช้ของชนพื้นถิ่น หรือทัง้ งานหัตถกรรม, รูปเคารพในพิธกี รรม, อาวุธและอุปกรณ์ในการสงคราม, เครื่อง
ดนตรี ภาชนะทีใ่ ช้ในศาสนกิจ, สินแร่และโลหะ ประเภทของแร่ธาตุ ซากฟื ชซากสัตว์ และวัตถุต่างๆ เพื่อเป้ าหมาย
ในการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์”14

10 Bernard S. Cohn, Colonialism and Its Forms of Knowledge: The British in India, Princeton Studies in Culture/power/history (Princeton, N.J:
Princeton University Press, 1996), 9–10.
11 อ้างใน Lily Kong and Brenda S. A. Yeoh, “Social Constructions of Nature in Urban Singapore,” Southeast Asian Studies 34, no. 2

(September 1996): 419.


12 Timothy P. Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” in Nature Contained: Environmental Histories of

Singapore, ed. Timothy P. Barnard (Singapore: NUS Press, 2014), 186.


13 ปี ในการอ้างอิงแตกต่างในบทความของออสบอร์น กล่าวถึง ค.ศ. 1850 ปี ทจ ่ี ดั ตัง้ หอสมุดและพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ ใน Osborne, “Early Collectors and
Their Impact on the Raffles Museum and Library,” 4.
14 Gretchen Liu อ้างใน Kevin Y. L. Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” in The Makers & Keepers of

Singapore History, ed. Kah Seng Loh, Kai Khiun Liew, and Singapore Heritage Society (Singapore: Ethos Books : Singapore Heritage
Society, 2010), 122.

104
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จนกระทังทรั
่ พย์สนิ ต่างๆ 15 ของหอสมุดสิงคโปร์กลายเป็ นส่วนหนึ่งของหอสมุดและพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์
และอยู่ในความดูแลของรัฐบาลอาณานิคมโดยย้ายที่ตงั ้ ศาลาว่าการเมือง (ปั จจุบนั อนุ สรณ์สถานวิคตอเรียหรือ
Victoria Memorial Hall) ใช้พน้ื ทีส่ ามห้องชัน้ ล่าง จากนัน้ ย้ายขึน้ สู่ชนั ้ สองของอาคาร ซึง่ มีความเหมาะสมในการ
อนุ รกั ษ์หนังสือและพืน้ ทีส่ าหรับการอ่าน เปิ ดให้บริการครัง้ แรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 187416 ในระบบการ
ทางาน อาศัยบรรณารักษ์และภัณฑารักษ์ทอ่ี ยู่ในความดูแลของคณะกรรมการ 2 ชุด หนึ่ง คณะกรรมการหอสมุด
และสอง คณะกรรมการพิพธิ ภัณฑ์17 ในอีกสีป่ ี ต่อมา (ค.ศ.1878) รัฐบาลอาณานิคมตราระเบียบการจัดตัง้ สมาคม
ต่างๆ หนึ่งในนัน้ ได้แก่ หอสมุดและพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์และสวนพฤกษศาสตร์18 โดยสมบัตขิ องทัง้ สองสถาบันถือ
เป็ นองค์กรสาธารณะ
ในขณะทีส่ วนพฤกษศาสตร์เน้นการจัดเก็บตัวอย่างพืช พืน้ ถิน่ พิพธิ ภัณฑ์เริม่ มีชดั เจนในการสะสมวัตถุ
โดยรัฐบาลระบุให้พิพิธภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์จดั เก็บ “ไม่เฉพาะสินค้า แต่ วตั ถุ ท่แี สดงถึงชาติพนั ธุ์วิทยา โบราณวัตถุ
ธรรมชาติวทิ ยา และลักษณะทางกายภาพของประเทศ” พิพธิ ภัณฑ์ได้รบั การกาหนดให้เป็ นทัง้ หน่ วยวิจยั และการ
จัดแสดงสาธารณะ ซึง่ แสดงให้เห็นกรอบทางวิชาการของสถาบันธรรมชาติวทิ ยาในช่วงอาณานิคมคริสต์ศตวรรษที่
19 การสะสมเริม่ ต้นจากกลุ่มวัตถุในงานจัดแสดงผลิตภัณฑ์อาณานิคม ซึ่งจัดแสดงที่พพิ ธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา
ลอนดอน เมื่อค.ศ. 1874 จากนัน้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้รบั การส่งกลับมายังสิงคโปร์ และกลายเป็ นจุดเริม่ ต้น คลัง
พิพธิ ภัณฑ์19
เมื่อ ค.ศ. 1875 พิพธิ ภัณฑ์ได้รบั วัตถุบริจาคทีผ่ แู้ ทนรัฐบาลอาณานิคม แอนดรู คลาร์ก (Andrew Clarke)
บริจาคโครงกระดูกแรดให้กบั สวนพฤกษศาสตร์ แต่ในสองปี ต่อมา ทางคณะกรรมการส่งให้กบั พิพธิ ภัณฑ์ ในระยะ
ต่อมา พิพธิ ภัณฑ์ได้รบั บริจาคเพิม่ จากโรเวลล์ (T. I. Rowell) บุคคลสาคัญในการบริหารสิงคโปร์ กว่า 200 ชิน้ และ
วาเลนไทน์ ไนท์ (Valentine Knight) ได้ดาเนินการจัดหาวัตถุต่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลังวัตถุพฒ ั นา
มากขึน้ จากการหมุนเวียนของข้าราชการทีป่ ฏิบตั หิ น้าทีใ่ นบอร์เนียวและมลายา พวกเขามักเดินทางกลับมาพร้อม
กับซากสิง่ มีชวี ติ 20
นอกจากการจัดเก็บตัวอย่างสิง่ มีชวี ติ ในภูมภิ าคแล้ว ในบทความของออสบอร์นอ้างอิงถึงรายงานของ ดร.
ฮาวิเลน (Dr. G. D. Haviland) ค.ศ. 1893 กล่าวถึงกลุ่มวัตถุทางวัฒนธรรม “วัตถุพพิ ธิ ภัณฑ์ทางชาติพนั ธุ์ล้วน
สาคัญอย่างยิง่ ในการบอกเล่าวิถกี ารดารงชีวติ และประเพณีของคนต่างๆ จึงจาเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการจัดระบบ
เพื่อนามาสู่การจัดแสดง วัตถุ ทุกชิ้นควรได้รบั การจัดทาทะเบียนอย่างเหมาะสม มิเช่นนัน้ แล้ว วัตถุ ท่ไี ร้ระบบ
ทะเบียนคงไม่คมุ้ กับการจัดเก็บและการดูแล ซึง่ ในตอนนี้ วัตถุทางชาติพนั ธุ์นนั ้ ไร้ป้ายทะเบียนหรือกระทังประวั
่ ต”ิ 21

15 เควิน ตัน อ้างถึงมติคณะกรรมการหอสมุดสิงคโปร์ให้ถ่ายโอนให้เป็ นกิจการของรัฐบาลอาณานิคม เพือ่ ชดเชยหนี้ทเ่ี กิดขึน้ ราว 500 เหรียญ ทีม่ วี ตั ถุ
และหนังสือในความดูแลราว 3,000 เล่ม ใน Ibid., 123.
16 วันทีอ่ า้ งอิงในการเปิ ดให้บริการครัง้ แรกแตกต่างจากทีร่ ะบุวนั ในบทความของลุยต์ คือวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1874 ใน Luyt, “Imagining the User in
the Raffles Library and Museum, Singapore: 1874 to 1900,” 2.
17 Ibid.
18ในบทความเรือ ่ ง Jeyamalar KathirithambyLS, “Peninsular Malaysia in the Context of Natural History and Colonial Science,” New Zealand
Journal of Asian Studies 11, no. 1 (June 2009): 337–74.
19 Brendan Luyt, “Collectors and Collecting for the Raffles Museum in Singapore: 1920–1940,” Library & Information History 26, no. 3

(September 2010): 185, doi:10.1179/175834810X12731358995235.


20 Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” 188.
21Raffles Museum and Library Annual Reports 1893 อ้างใน Osborne, “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and

Library,” 5.

105
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เมื่อ ค.ศ. 1887 ทัง้ หอสมุดและพิพธิ ภัณฑ์ได้รบั การโยกย้ายไปยังสถานทีส่ ร้างขึน้ ใหม่เป็ นการเฉพาะ นัน่
คืออาคารที่ฟอร์ต แคนนิ่ง (Fort Canning สถานที่ตงั ้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ในปั จจุบนั ) และเปิ ด
ให้บริการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 188722 คลังวัตถุขยายเพิม่ เติมในช่วงสองทศวรรษต่อมา พิพธิ ภัณฑ์จงึ ได้
เริม่ ต้นการจัดหาวัตถุจากแหล่งต่างๆ ในคาบสมุทรมลายู อาศัยการซือ้ และการบริจาค เมื่อถึง ค.ศ. 1920 จานวน
วัตถุหลังไหลเข้
่ ามาอย่างมหาศาลโดยมีจานวนเจ้าหน้าทีไ่ ม่มากนัก
ผู้เขียนกล่ าวถึงพัฒนาการของพิพธิ ภัณฑ์และคลังสะสมของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ ด้วยวัตถุประสงค์ให้
ผูอ้ ่านเห็นภาพของความก่อตัวและพัฒนาการทีเ่ ชื่อมโยงของเจ้าอาณานิคม และเป็ นฐานทีแ่ สดงให้เห็นเป้ าประสงค์
หรือกล่าวให้กว้างกว่านัน้ “อุดมการณ์” ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ (รวมทัง้ หอสมุด) มุ่งหมายให้สมาชิกในสังคมอาณา
นิคมเพิ่งตระหนักหรือรับทอดความคิดที่ผลิตโดยกลุ่มผู้บริหารอาณานิคมหรือคณะกรรมการอ านวยการของ
สถาบันทางวัฒนธรรม ในที่น้ี ผู้เขียนพบการวิเคราะห์บทบาทของพิพธิ ภัณฑ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ เป้ าหมายกับ
สาธารณะในวงกว้างและการตอบโจทย์ผเู้ ชีย่ วชาญ
สาหรับในวัตถุประสงค์เบือ้ งแรก ทัง้ ห้องสมุดและพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์พยายามรักษาความเป็ นอารยะของ
เจ้าอาณานิคม ลุยต์อา้ งอิงถึงฟิ ชเชอร์-ไทน์ (Fisher-Tine) ทีว่ เิ คราะห์สถาบันทางวัฒนธรรมทีส่ ร้างขึน้ ในอาณานิคม
“บทบาทของหอสมุดในการรักษาอารยธรรมของยุโรป จากเหล่าชาวยุโรปทีพ่ านักห่างไกลบ้านเกิดเมืองนอน ด้วย
ความเชื่อทีว่ ่า ทัง้ เหล่าบุรุษและสตรีองั กฤษ อาจถูกลดทอนลักษณะอารยะ เพราะความเผลอไผลไปกับโลกีย์กจิ ใน
แถบเส้นศูนย์สตู ร”23 ข้อกังวลดังกล่าวของรัฐบาลอาณานิคมแสดงถึงความต้องการรักษาความเหนือกว่าของชาว
ยุโรป กลไกเชิงสถาบันทีป่ รากฏนี้เป็ นไปเพื่อ สร้างความเป็ นกลุ่มก้อนระหว่างประชากรยุโรปในแผ่นดินใต้อาณา
นิคม และในอีกทางหนึ่ง เป็ นภารกิจของการสร้างอารยะภายในระหว่างชาวยุโรป และภารกิจภายนอกในการสร้าง
ความมีอารยะให้กบั คนท้องถิน่ 24
ลุยต์ระบุว่าหอสมุดรัฟเฟิ ลส์สร้างขึน้ เพื่อตอบสนองการสร้า งอารยะภายใน ดังปรากฏในการบันทึกการ
ประชุมของคณะกรรมการทีอ่ า้ งในไฮทัช (Haitasch) ซึ่งดารงตาแหน่ งผู้อานวยการ ค.ศ. 1921 ระบุถึงบทบาทที่
หอสมุดรัฟเฟิ ลส์จะต้องสร้างให้สมาชิกตระหนักถึงสมบัตขิ องความรูท้ อ่ี ยู่ในหอสมุด และเป็ นโอกาสทีพ่ วกเขาจะได้
บ่มเพาะการเรียนรูข้ องตนเอง “ทัง้ ความรูเ้ กีย่ วกับชนชาติต่างๆ ชีวประวัตบิ ุคคลสาคัญ และนวนิยายทีไ่ ด้รบั การคัด
สรรอย่างเหมาะสมทีใ่ ห้บริการในหอสมุด ” นอกจากนี้ หอสมุดเองยังมีส่วนงานกิจการพิพธิ ภัณฑ์ทาหน้าทีใ่ นการ
รวบรวมวัตถุจากการจัดเก็บตัวอย่างพืชและสัตว์ เพื่อเป็ นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กบั
พิพธิ ภัณฑ์ในอังกฤษและแวดวงความรูท้ างวิทยาศาสตร์ในภูมภิ าคอื่นๆ25
ส่ว นบทบาทในอีก ลัก ษณะหนึ่ ง ของหอสมุ ด และพิพิธภัณฑ์ร ัฟเฟิ ลส์ คือ ศูน ย์ก ลางของการก าหนด
นโยบายที่เหมาะสมกับภูมิภาค ในส่วนนี้ลุยต์อ้างอิงถึงข้อวิเคราะห์ของลาตูร์เกี่ยวกับกระบวนการสร้างความ
ศักดิสิ์ ทธิของความรู
์ ้ นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ต่างสร้างหลักฐานให้ปรากฏในรูปของแผนที่ แผนภูมติ ่างๆ
เพื่อโน้มน้าวให้ผกู้ งั ขานัน้ เชื่อตาม การสร้างหลักฐานในรูปของลายลักษณ์ดงั นัน้ เป็ นเสมือนเครื่องยืนยันทีค่ งอยู่
ดังเช่นกรณีเวชระเบียนทางการแพทย์ ฉะนัน้ การจัดเก็บ เอกสารต่างๆ เหล่านี้ไว้ในที่เดียวกันนับเป็ น การสร้าง

22 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 123.
23 Fisher-Tine อ้างใน Luyt, “Imagining the User in the Raffles Library and Museum, Singapore: 1874 to 1900,” 3.
24 Fisher-Tine อ้างใน Ibid., 4.
25 KathirithambyLS, “Peninsular Malaysia in the Context of Natural History and Colonial Science,” 351.

106
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

"ศูนย์กลางของการคานวณ" (centres of calculation) ประกอบด้วยพิพธิ ภัณฑ์ สวนพฤกษศาสตร์ ห้องทดลอง


สานักงานสถิตติ ่างๆ และหอสมุด ซึง่ อนุรกั ษ์ทรัพยากรของตนเองไว้อย่างถาวร26
ปฏิบตั กิ ารของพิพธิ ภัณฑ์ทช่ี ดั เจนในระยะนี้ได้แก่การศึกษาและจัดประเภทวัตถุ เพื่อเป็ นฐานในการสร้าง
ความเข้า ใจในระดับ ลึก ของสรรพสิ่ง คาร์ล ไลน์ นัส (Carl Linnaeus) สร้า งระบบ “binomial nomenclature” ที่
จะต้องระบุช่อื ของพืชสัตว์สองส่วนเพื่อแสดงให้เห็นตระกูล และสายพันธุ์ ประเภท และเชื่อมโยงกับอาณาจักรพืช
สัตว์ และอิทธิพลของวิลเลี่ยม เฮนรี่ ฟลาวเวอร์ (William Henry Flower) ผู้อานวยการบริติช มิวเซียมในช่วง
ทศวรรษ 1880 ทีเ่ สนอให้มกี ารแยกพืน้ ทีข่ องคลังวัตถุ เพื่อการวิจยั และพืน้ ทีก่ ารจัดแสดงเพื่อสาธารณะ27
พิพิธภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ครอบครองวัตถุ สะสมจากเมืองต่างๆ ในสเตรทส์ เซทเทิลเมนต์และมลายา โดย
ระหว่ า ง ค.ศ. 1895 ถึง 1918 คาร์ล ริช าร์ด ฮานิ ต ช์ (Karl Richard Hanitsch) ท าหน้ า ที่เป็ น ภัณฑารักษ์ ของ
พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ และต่อมาเป็ นผูอ้ านวยการ เขามีพน้ื เพทางปั กษาวิทยา และจัดเก็บตัวอย่างนกกว่า 1,300 ตัว
ซึง่ ประกอบด้วย 680 สายพันธุ์ ทัง้ การจัดแสดงและการจัดการคลังวัตถุได้รบั อิทธิพลจากฟลาวเวอร์ นอกจากนก
แล้ว ยังมีส่วนการจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน ลิง จระเข้ และปลา สัตว์ต่างๆ มาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและ
นักสะสมจากทัวสารทิ
่ ศ28 และยังมีผอู้ านวยการคนต่อๆ มา ดังเช่น โคลสส์ (C. Boden Kloss) ทีจ่ ดั ระบบใหม่เมื่อ
ค.ศ. 1924 จัดแสดงในส่วนสาธารณะให้มวี ตั ถุจานวนน้อยลง นอกจากการจัดการส่วนจัดแสดงแล้ว ผูอ้ านวยการ
แต่ละคนเป็ นนักวิทยาศาสตร์ท่จี ดั เก็บตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น เอฟ เอ็น ชาเซ่น (F. N. Chasen) ผู้ดารง
ตาแหน่ งผูอ้ านวยการในช่วงทศวรรษ 1930 เน้นการจัดเก็บนกและสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนม มีจานวนถึงสามในสีข่ อง
วัตถุสะสม ส่วนไมเคิล ทวิดี (Michael Tweedie) ผูอ้ านวยการระหว่าง ค.ศ. 1946 ถึง 1971 ศึกษาสัตว์พวกกุง้ กัง้
ปู ปลา และสัตว์เลือ้ ยคลาน ตามพืน้ เพความสนใจทางวิชาการ29
ส่วนวัตถุทางชาติพนั ธุบ์ างส่วนได้รบั จากหมอสอนศาสนา การบริจาคจากนักสารวจทีอ่ ยู่ในแวดวงสังคม
อาณานิคม การจัดซื้อจากผู้ท่ตี ระเวนหาวัตถุและเสนอขายให้กบั พิพิธภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ หรือในช่วงเวลาของการ
สารวจของภัณฑารักษ์และผูอ้ านวยการพิพธิ ภัณฑ์ ผูเ้ ขียนยกตัวอย่างข้อมูลทีอ่ อสบอร์นกล่าวถึง
เซอร์รุติ (Cerruti) นักสารวจชาวอิตาลี ที่เดินทางในดินแดนอาณานิคมดัตช์ ร่วมทางกับนักสารวจและ
นักวิทยาศาสตร์นาม โมดิกลิอานิ (Elio Modigliani) พวกเขาเดินทางสู่เกาะไนแอส คศ. 1887 นับว่ามีความสาคัญ
อย่างยิง่ ในการรวบรวมวัตถุทางชาติพนั ธุว์ รรณนา ประกอบด้วยโล่ หลาว มีดที่ใช้ในการต่อสู้ และเครื่องไม้สลัก ใน
เบื้อ งแรกเข้า ต้อ งการบริจ าคสิ่ง เหล่ า นั น้ ให้ก ับ พิพิธ ภัณฑ์เ ปรัค ในมาเลเซีย แต่ สุ ด ท้า ยส่ ง วัต ถุ ต่ า งๆ ให้ก ับ
พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์เมื่อ ค.ศ. 1909 เซอร์รุตลิ ุ่มหลงกับภูมภิ าคและผูค้ นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลายเป็ น
ผูด้ แู ลกลุ่มซาไก (Orang Asli) นานถึง 16 ปี และ ค.ศ. 1908 เขาตีพมิ พ์หนังสือเรื่อง “ผองเพื่อนคนเถื่อนไพร” (My
Friends the Savages)30 ในปั จจุบนั วัตถุทเ่ี ขาบริจาคหลายชิน้ ได้รบั การจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย31

26 Latour อ้างใน Luyt, “Imagining the User in the Raffles Library and Museum, Singapore: 1874 to 1900,” 5–6.
27 Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” 187.
28 สามารถอ่านรายละเอียดเพิม ่ เติมได้ใน Osborne, “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and Library.”
29 Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” 189–90.
30 Osborne, “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and Library,” 9.
31 Asian Civilisations Museum หนึ่งในพิพธิ ภัณฑ์ทอ่ี ยูใ่ นความดูแลของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ สิงคโปร์.

107
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บาทหลวงชาร์ป (Archdeacom Arthur Frederick Sharp) ประจาที่กูชงิ เกาะบอร์เนียว มอบวัตถุให้กบั


พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บาทหลวงชาร์ปเริม่ ต้นเป็ นผูช้ ่วยอนุศาสนาจารย์ทว่ี หิ ารแองกลิ-
กันในสิงคโปร์ตงั ้ แต่ ค.ศ. 1892 ต่อมาเขาถูกเรียกไปรับตาแหน่ งทีก่ ชู งิ ค.ศ. 1897 เขากลายเป็ นผูท้ รงอิทธิพลคน
สาคัญในบอร์เนียว แม้ภารกิจในศาสนาจะมีมาก แต่เขายังมีเวลาในการสะสมวัตถุต่างๆ จากกลุ่มดายัคและกลุ่ม
ชาติพนั ธุอ์ ่นื ๆ ในเกาะบอร์เนียว และส่งวัตถุเหล่านัน้ กลับมายังสิงคโปร์ ในรายงานพิพธิ ภัณฑ์และหอสมุดรัฟเฟิ ลส์
ค.ศ. 1903 ระบุถงึ กลุ่มวัตถุทไ่ี ด้รบั จากอนุ ศาสนาจารย์ชาร์ปเมื่อเดือนมีนาคมประกอบด้วยเสือ้ ทีท่ าจากเปลือกไม้
และเครื่องมือดักปลาของดายัค รวมถึงหมวกจากกลุ่มเซบูโย (Sebuyau) และอันดุบดยัค (Undup Dyak) โล่ทม่ี ลี าย
สลักอย่างวิจติ รของดายัคบก ฆ้องสาริดทีเ่ ป็ นของกลุ่มคนจีน ฯลฯ32
ในช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ 2 พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์คงเติบโตและมีการสะสมวัตถุทางธรรมชาติและ
ชาติพนั ธุอ์ ย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในเอกสารรายงานประจาปี ของพิพธิ ภัณฑ์ ค.ศ. 1920 พลตรีมุลตัน (Major J. C.
Moulton) “กลุ่มวัตถุของพิพธิ ภัณฑ์จะต้องมาจากบริเวณทีเ่ ป็ นมาเลย์โดยแท้ ” ซึ่งในเวลานัน้ หมายถึงคาบสมุทร
มลายู บอร์เนียว สุมาตรา ชวา และหมู่เกาะน้อยใหญ่ทเ่ี กีย่ วข้อง33 พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ทาหน้าทีเ่ ป็ นศูนย์กลางทาง
วิชาการในภูมภิ าคดังทีเ่ จ้าอาณานิคมได้ตงั ้ หวังไว้ ดังปรากฏวารสารทางวิชาการของพิพธิ ภัณฑ์ในนาม Bulletin of
the Raffles Museum” และบทความทางวิชาการต่างๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารของโลกวิชาการในคามสมุทรมลายูและ
หมู่เกาะอินโดนีเซีย เช่น บทความของ โรบินสันและคลอสส์เรื่อง Additional notes on the Semang Paya of Ijok,
Selama ซึ่ ง ป รา กฏ ใ นว า รสา ร Journal of the Federated Malays States Museums (JFMSM) Vol. 5 No. 4
(1915)34
ผู้เขียนไล่เรียงความเป็ นไปของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ตงั ้ แต่การก่อตัง้ การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสาคัญของความรู้ทางธรรมชาติวทิ ยาที่เป็ นเงื่อนไขสาคัญในการพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์ ศาสตร์
ดังกล่าวมิใช่เพียงการสร้างความรูเ้ พื่อความรู้ หากแต่ยงั แฝงด้วยวาระทางการเมืองของอาณานิคม แม้พพิ ธิ ภัณฑ์
รัฟเฟิ ลส์จะมิได้มบี ทบาทโดยตรงในเชิงเศรษฐกิจเช่นเดียวกับสวนพฤกษศาสตร์ ทีม่ บี ทบาทในการคัดสรรพืชทีก่ ่อ
มูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ยาง หรือการใช้ประโยชน์จากป่ าไม้ แต่พพิ ธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์คอื หน่ วยทีส่ ร้างภาพจาลอง
ของสรรพสิง่ ต่างๆ ทีอ่ ยู่ในการควบคุมของจักรวรรดิ ทัง้ พืช สัตว์ และผูค้ น ดังทีค่ าธิรธิ มั บิ-เวลล์สกล่าวไว้ว่า การ
สารวจ การท าระบบข้อ มูล (cataloguing) การท าแผนที่ข องสิ่ง มีชีวิต ต่ า งๆ ของเจ้า อาณานิ ค มคือ การสร้า ง
พรมแดน (territorialization)35
ในช่วงเวลาของสงคราม ค.ศ. 1941-1945 ปรากฏข้อมูลไม่มากนักเกีย่ วกับกิจการของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์
ในหนังสือสมบัตจิ ากพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ระบุไว้ว่า ค.ศ.1942 เชเซ่นซึง่ เป็ นผูอ้ านวยการในช่วงเวลา
นัน้ เสียชีวติ ในมหาสมุทรระหว่างการลาเลียงพลเมืองออกจากสิงคโปร์ ส่วนผูช้ ่วย ดร.กิบสัน-ฮิลล์ถูกจองจาอยู่ทค่ี ุก
ชางฮี มีเ พีย งโยชฌิชิก ะ โตกูก าวา (Yoshichika Tokugawa) ข้า ราชการพลเรือ นของญี่ป่ ุ นที่ทาหน้ าที่ดูแลทัง้

32 Osborne, “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and Library,” 10–11.
33 รายงานของผูอ้ านวยการ พลตรี มุลตัน ค.ศ. 1920 อ้างใน National Museum (Singapore) and Eng-Lee Seok Chee, eds., Treasures from the
National Museum, Singapore (Singapore: The Museum, 1987), 14.
34 อ้างใน KathirithambyLS, “Peninsular Malaysia in the Context of Natural History and Colonial Science,” 368.
35 Ibid., 337.

108
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

พิพิธภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์และสวนพฤกษศาสตร์ จนถึงกลาง ค.ศ. 1944 โดยมีหน้ าที่สาคัญในการคุ้ มกันมิให้สมบัติ


พิพธิ ภัณฑ์ถูกลักลอบและจาหน่ายในท้องตลาดดังทีเ่ กิดขึน้ กับบ้านและร้านค้าเอกชนหลายแห่ง36
เหตุ การณ์ ทางประวัติศาสตร์ของการเรียกร้องเอกราช ค.ศ. 1945-1959 และการสร้างชาติใหม่ ค.ศ.
1959-1965 นับเป็ นช่วงสาคัญทางประวัตศิ าสตร์ทส่ี ่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงบทบาทของพิพธิ ภัณฑ์ ช่วงหัวเลีย้ ว
หัว ต่ อ จนสิง คโปร์ได้ร ับเอกราชอย่ างสมบูร ณ์ และในช่ วงสองทศวรรษหลัง จากนัน้ นับ เป็ น ช่วงเวลาที่มีความ
เปลีย่ นแปลงกับกิจการของพิพธิ ภัณฑ์ รวมทัง้ โครงการของรัฐในการสร้างพิพธิ ภัณฑ์ประเภทอื่น เช่น พิพธิ ภัณฑ์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์กบั การพัฒนาประเทศอุตสาหกรรม
ในช่วงเวลาดังกล่าว มโนทัศน์เกี่ยวกับ “พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ” ก่อตัวขึน้ อย่างชัดเจนเมื่อสิงคโปร์
ปกครองตนเอง (ค.ศ. 1959) แต่ ค วามเปลี่ยนแปลงกลับ ส่ง ผลให้เกิด ภาวะสูญญากาศในการจัด การวัตถุ บาง
ประเภทของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ โดยเฉพาะวัตถุทเ่ี กีย่ วข้องกับธรรมชาติวทิ ยา ในอีกทางหนึ่ง จุดเปลีย่ นของการ
สะสมปรากฏอย่างชัดเจนเช่ นกัน ความคิดเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมส่งอิทธิพลกับประเภทวัตถุท่เี ข้ามาสู่คลัง
พิพิธ ภัณฑ์ เครื่อ งประดับ อาคาร ป้ า ยถนน เครื่อ งพิธีในประเพณี ท่ีปฏิ บตั ิกนั น้ อ ยลง ฯลฯ เริ่ม หลัง่ ไหลเข้าสู่
พิพธิ ภัณฑ์แทนทีต่ วั อย่างสิง่ มีชวี ติ (พืชและสัตว์) เรื่องราวทัง้ หมดนี้ปรากฏในเนื้ อหาส่วนต่อไป

พิพิธภัณฑสถำนแห่งชำติ: รอยต่อและรอยแยกในกิจกำรพิพธิ ภัณฑ์


การท าความเข้า ใจเหตุ ก ารณ์ ต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ร ัฟเฟิ ลส์จนกลายเป็ น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สิงคโปร์ ตัง้ แต่ ค.ศ. 1959 ถึงสิน้ ทศวรรษ 1980 ต้องพิจารณาใน 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ ชะตากรรมคลังสะสม
ของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ทเ่ี ชื่อมโยงกับโครงการพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจุดเปลีย่ นของการจัดหา
วัตถุพพิ ธิ ภัณฑ์เมื่อเปลีย่ นสถานภาพเป็ นพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์
ในช่วงสามทศวรรษดังกล่าว สังคมสิงคโปร์อยู่ในช่วงหัวเลีย้ วหัวต่อของเปลีย่ นแปลง ทัง้ การต่ อสูเ้ พื่อเอก
ราช ความวุ่นวายทางสังคม และการสร้างประเทศ รัฐบาลในช่วงเวลานัน้ ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนและความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ ความเปลี่ยนแปลง
รูปแบบการอยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิง่ การโยกย้ายผูค้ นจาก “กัมปง” หรือหมู่บา้ นสู่อาคารสูงตามโครงการการ
เคหะทีร่ ฐั บาลจัดสรร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ที่พฒ ั นาขึ้นจากพิพิธภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ เมื่อ ค.ศ. 1960 ไม่ได้ดารง
สถานะในฐานะศูนย์กลางของภูมภิ าคตามโจทย์ของพิพธิ ภัณฑ์ในสมัยอาณานิคม พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติได้รบั
การก าหนดบทบาทของพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ ด ั ง ปรากฏในเอกสารการประชุ ม สภา (ค.ศ. 1960)
“พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติจะต้องได้รบั การจัดระบบใหม่ เพื่อบอกเล่าถึงประเพณีและขนบในท้องถิน่ มากขึน้ และ
แสดงให้เ ห็น ความมังคั่ งวั
่ ฒนธรรม เราหวังว่ าพิพิธภัณฑ์จะเชื่อ มโยงกับ วัฒนธรรมมลายู รวมทัง้ การเน้ นย้า
ประวัตศิ าสตร์ของผูค้ นหลากหลายเชือ้ ชาติ ทีก่ ่อตัวเป็ นสิงคโปร์สมัยใหม่”37
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ได้รบั “มรดก” จากพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ ทัง้ วัตถุชาติพนั ธุ์ มานุษยวิทยา
ธรรมชาติวทิ ยา และกลุ่มงานศิลปะรวมทัง้ โบราณวัตถุในสิงคโปร์และภูมภิ าค แต่พพิ ธิ ภัณฑ์จะต้องทาหน้าทีเ่ พื่อ
36National Museum (Singapore) and Chee, Treasures from the National Museum, Singapore, 11.
37Singapore Legislative Assembly Debated, Vol. 13, 20 July 1960 col. 24 อ้างใน Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of
Singapore History,” 124.

109
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เชื่อมโยงกับผู้คนต่างพื้นเพเพื่อสร้างสานึกของชาติ และในช่วงก่อนการมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ค.ศ. 1965 ใน


หนังสือสมบัติจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงิ คโปร์ ระบุถึงความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการสะสมและการให้
ความสาคัญระหว่างวัตถุธรรมชาติวทิ ยาและชาติพนั ธุเ์ ป็ นไปอย่างเท่าเทียมกัน ซึง่ ปรากฏในรายงานประจาปี ค.ศ.
1949 ข้อมูลยังระบุดว้ ยว่า ดร.กิบสัน -ฮิลล์ (ค.ศ.1956-1963) ทีท่ าหน้าทีเ่ ป็ นภัณฑารักษ์และผูอ้ านวยการในระยะ
ต่อมา เดินทางสารวจเพื่อสะสมวัตถุจากวัฒนธรรมต่างๆ ในคาบสมุทรมลายูและซาราวัค38
ตัง้ แต่ ทศวรรษ 1960 ความเปลี่ยนแปลงในสังคมสิงคโปร์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็ นเหตุ ท่ใี ห้วตั ถุ
ประเภทใหม่เข้าสู่คลังสะสมของพิพธิ ภัณฑ์สงิ่ ประกอบอาคารสถาปั ตยกรรม ป้ ายบอกทางและร้านค้า เครื่องเรือน
หรือ เครื่อ งตกแต่ งภายในบ้า นเรือ น เช่ น บานพับ ไม้สลักของอาคารนิ งหยางหุยกวน (Ning Yang Hui Guan)
ประติมากรรมประกอบวัดฮินดูบนถนนออชาร์ด เครื่องเรือนในร้านเครื่องยาจีนและร้านชาในย่านไชนาทาวน์39
แม้พพิ ธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์มสี ถานภาพเป็ นพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ แต่กลับไม่ได้รบั ความนิยมและประสบ
ปั ญหาเกี่ยวกับการบริหาร ควา จง กวาน (Kwa Chong Guan) หนึ่งในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
พิพธิ ภัณฑสถานฯ แสดงความเห็นเกีย่ วกับสภาพของพิพธิ ภัณฑสถานฯ “พิพธิ ภัณฑ์จดั แสดงเพียงสัตว์สตัฟฟ์ และ
มีกลิน่ แปลกภายในอาคาร”40 พิพธิ ภัณฑสถานฯ ถูกวิพากษ์ วจิ ารณ์ถึงความล้าสมัย และนาไปเปรียบเทียบกับ
พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ แ ห่ ง ใหม่ ใ นกั ว ลาลั ม เปอร์ หรื อ Muzium Negara (ค.ศ.1963) รั ฐ มนตรี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเวลานัน้ ดร.เถ้าชินซี (Dr. Toh Chin Chye) วิจารณ์สภาพของพิพธิ ภัณฑ์
ทีจ่ ดั แสดงวัตถุปนเป ทัง้ เครื่องเรือนจีน เครื่องแต่งกายมาเลย์ และตัวอย่างสิง่ มีชวี ติ
อนึ่ง ค.ศ. 1967 โรสแมรี มาร์ก ซ์ (Rosemarie Marx) ผู้รบั ผิดชอบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รุ่นที่ 5
ดาเนินการจัดตัง้ สมาคมเพื่อนพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ ประกาศแผนในการปรับปรุงพิพธิ ภัณฑ์ แต่แผนดังกล่าวไม่ได้
รับการอนุมตั ิ เหตุการณ์ทงั ้ หมดนี้นามาสู่การวางแผนปรับปรุงให้เป็ นพิพธิ ภัณฑ์ทเ่ี น้นความรูท้ างวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีโดยรัฐบาลและมีงบประมาณลงทุนราว 245,000 เหรียญ41
การวางแผนปรับปรุงพิพธิ ภัณฑ์ได้จา้ งทีป่ รึกษา ดร.แวนเดอฮุป (Dr. A. N. J. Vandehoop) จนนามาสู่
การวางแผนสร้างพื้นที่ใหม่ให้กบั พิพธิ ภัณฑ์ และมีนิทรรศการพิเศษที่จดั แสดงวัตถุ พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เสือ้ ผ้า เครื่องโลหะ เครื่องปั ้นดินเผา เป็ นอาทิ และยังได้รบั ข้อเสนอแนะจากเจมส์ การ์ดเิ นอร์ (James Gardiner)
(1969) ให้มกี ารจัดนิทรรศการเป็ นธีมต่างๆ การปรับปรุงนิทรรศการนามาสู่การแบ่งประเภทวัตถุเป็ น 2 ประเภท
อย่างชัดเจน ได้แก่ วัตถุทางธรรมชาติวทิ ยาและวัตถุทางชาติพนั ธุแ์ ละศิลปวัตถุ และส่งผลต่อการสร้างความหมาย
ชุดใหม่ให้กบั การสะสม ความเปลีย่ นแปลงต่างๆ เกิดขึน้ ดังนี้ กลุ่มวัตถุทางชาติพนั ธุแ์ ละศิลปวัตถุกลายเป็ นเสมือน
ตัวแทนทีบ่ อกเล่าความเป็ นมาของผู้คนต่างพื้นเพทีร่ วมเข้ามาเป็ นชาติสงิ คโปร์ การนาเสนอวัตถุชาติพนั ธุ์ในหอ
นิทรรศการชาติพนั ธุ์ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Ethnographic Gallery) วัตถุโดยส่วน
ใหญ่เกีย่ วข้องกับกลุ่มคนมาเลย์ เพื่อเข้าใจความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมในภูมภิ าค42

38 National Museum (Singapore) and Chee, Treasures from the National Museum, Singapore, 12.
39 Ibid., 13.
40 Kwa Chong Guan, “Transforming the National Museum of Singapore,” in Rethinking Cultural Resource Management in Southeast Asia:

Preservation, Development, and Neglect, ed. John N. Miksic, Geok Yian Goh, and Sue O’Connor (London ; New York: Anthem Press,
2011), 202.
41 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 126.
42 Guan, “Transforming the National Museum of Singapore,” 203.

110
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กลุ่มงานศิลปวัตถุร่วมสมัยเกิดขึน้ ในช่วงทศวรรษ 1960 จากการบริจาคของนักสะสมที่มชี ่อื เสียง เช่น


โล๊ก วัน โถว (Loke Wan Tho) และยังผลให้ ค.ศ. 1969 สภาศิลปะสิงคโปร์ (Singapore Art Council) (สมาคม
เอกชน) เสนอให้มกี ารจัดตัง้ หอศิลป์ และจะเป็ นผู้ดาเนินการ โดยได้รบั ทุนสนับสนุ นจากรัฐ แต่ด้วยปั ญหาทาง
การเงินจึงส่งเรื่องกลับมายังรัฐบาล ในทีส่ ดุ รัฐบาลเลือกพืน้ ทีช่ นั ้ ล่างพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ43 ตัง้ แต่ ค.ศ. 1976
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ กาหนดพืน้ ทีจ่ ดั เก็บและการจัดแสดงสาหรับงานศิลปวัตถุ รวมถึงการจัดเก็บ
งานวิจิตรศิลป์ ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของจีนช่องแคบ (เปอรานากัน) เช่น เครื่องเงิน ไม้แกะสลั ก ผ้า เพื่อ
ถ่ายทอดให้เห็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมทีเ่ กิดขึน้ จากวัฒนธรรมต่างๆ ทัง้ จีน อินเดีย มาเลย์ และขนบของเจ้า
อาณานิคมอังกฤษ44 และกลุ่มเซรามิก จากการบริจาคทีเ่ รียกว่า Haw Par Jade Collection45
กระทัง่ ค.ศ. 1984 เริ่ม ต้ น วาระส าคัญ ของงานวัฒ นธรรมได้แ ก่ ก ารบอกเล่ า อดีต ของสิง คโปร์ ใน
นิทรรศการสาคัญเกีย่ วกับ 25 ปี ของการสร้างชาติ นับจากการปกครองตนเองเมื่อ ค.ศ. 1959 วิสยั ทัศน์ในระยะยาว
สาหรับพิพธิ ภัณฑ์ รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาการสื่อสารในเวลานัน้ หวองเคนเซง (Wong Kan Seng) กาหนด
แผนการระยะยาวในการพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์ “พิพธิ ภัณฑ์ใหม่จะต้องเชื่อมโยงอดีตสูป่ ั จจุบนั และอนาคต”46
คณะทางานเชิญ ดร.แม็คโดนัลด์ (Dr. George MacDonald) ซึง่ เคยดูแลโครงการพิพธิ ภัณฑ์อารยธรรม
คานาดา โดยให้ความเห็นถึงการพัฒนาให้พน้ื ทีโ่ ดยรอบพิพธิ ภัณฑ์ เป็ นย่านพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ะตอบโจทย์การเป็ นนคร
รัฐในยุคโลกาภิวตั น์ ทัง้ นี้ คณะทางานให้ความสาคัญกับการเชื่อมโยงพิพธิ ภัณฑ์กบั เรียนรู้รากมรดกวัฒนธรรม
ด้วยเพราะพิพธิ ภัณฑ์ได้รบั การกาหนดให้มบี ทบาทในการสร้างให้ผคู้ นตระหนักพัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ท่ี
เชื่อมโยงภูมภิ าค และตาแหน่งแห่งทีข่ องสิงคโปร์กบั บทบาททางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง47 นอกจากนี้ยงั
มีการวางแผนส่วนการจัดแสดงสาหรับเด็กๆ และแผนในระยะต่อมาคือการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์สาหรับเด็กทีโ่ รงเรียน
เถ้าหนาน ถนนอาร์มาเนียน48
ตันได้กล่าวถึง สภาพของพิพิธภัณฑสถานฯ ช่วงทศวรรษ 1980 ผู้ชมได้ชมวัตถุ ทางโบราณคดี จาก
ภูมภิ าคต่างๆ ในเอเชีย อินโดนีเชีย มาเลเซีย และวัตถุต่างๆ ของการตัง้ ถิ่นฐานและการค้าชาวจีน ฉากจาลอง
ต่างๆ อีกกว่า 20 จุด เรื่องเริม่ ต้นตัง้ แต่การตัง้ สถานการค้า 1819 จนถึงเอกราช การจัดแสดงหลายอย่างได้รบั
มรดกจากนิทรรศการนอกสถานที่ เช่น นิทรรศการสามมิติ Singapore Story: Overcoming the Odds (ก้าวข้าม
อุปสรรค) จากอาคารศูนย์ประชุมซันเท็ค ภาพวาดของฟาร์กวั กลุ่มภาพธรรมชาติวทิ ยา และแบบจาลองคฤหาสน์
เปอรานากัน49
ในทีน่ ้ี ผูเ้ ขียนพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์พพิ ธิ ภัณฑ์และการตีความวัตถุเกิดความเปลีย่ นแปลง ประการ
แรก การใช้ประโยชน์วตั ถุทางชาติพนั ธุเ์ ชื่อมโยงกับประวั ตศิ าสตร์พลเมืองของชาติ พิพธิ ภัณฑสถานฯ นาเสนอ

43 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 131.
44 National Museum (Singapore) and Chee, Treasures from the National Museum, Singapore, 14.
45 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 131.
46 Guan, “Transforming the National Museum of Singapore,” 201.
47 Ibid., 202.
48 โครงการพิพธ ิ ภัณฑ์สาหรับเด็กทีโ่ รงเรียนเถ้าหนาน กลายเป็ นบริเวณจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมเอเชียในระยะแรก เน้นอารยธรรมจีน และเปิ ด
ให้บริการ ค.ศ. 1997 ส่วนในระยะที่ 2 เปิ ดให้บริการ ณ เอ็มเพรส เพลส โดยนายกรัฐมนตรี โก๊ะ จ๊ก ตง เป็ นผูเ้ ปิ ดอาคารทีไ่ ด้รบั การอนุ รกั ษ์และแบ่งส่วน
การจัดแสดงตามภูมภิ าค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมือ่ ค.ศ. 2003 ส่วนสถาบันเซนต์โจเซฟ (Saint
Joseph's Institution) ได้รบั การปรับปรุงเป็ นพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะสิงคโปร์ ซึง่ เปิ ดอย่างเป็ นทางการเมื่อ ค.ศ. 2006 ใน Ibid., 206.
49 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 131.

111
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทเรียนทางประวัตศิ าสตร์ของความเป็ นชาติมากกว่าการนาเสนอเรื่องราวของผูค้ นผ่านวัตถุจากการสะสมของนัก


สะสมในช่วงอาณานิคม ในเวลานัน้ วัตถุต่างๆ เป็ นตัวแทนของดินแดนทีน่ ักสารวจ นักบวช และนักเดินทางจาก
โลกตะวันตกเดินทางไปถึงและนากลับมายังพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ ในช่วงทศวรรษ 1980 พิพธิ ภัณฑสถานฯ สร้าง
ความทรงจาชุดใหม่ให้กบั ผูค้ น นัน่ คือ ความทรงจาร่วมที่สงิ คโปร์เติบโตจากการเป็ นเมืองท่าในสมัยอาณานิคม
และฟั นฝ่ าอุปสรรคจนกลายเป็ นรัฐชาติทร่ี วมเอาผูค้ นทีม่ าจากดินแดนอื่นเข้าไว้ดว้ ยกัน
การสะสมวัตถุเป็ นอีกตัวอย่างของกิจกรรมพิพธิ ภัณฑ์ท่แี สดงถึงความหมายของมรดกที่เผยตัวอย่าง
ชัดเจนมากยิง่ ขึน้ เครื่องเรือน เครื่องประกอบอาคาร วัตถุในพิธกี รรม จากชุมชนต่างๆ ทีต่ ้องเคลื่อนย้ายออกจาก
ย่านต่างๆ ในใจกลางเมือง ได้รบั การอนุ รกั ษ์ ทัง้ หมดนี้กลายเป็ นวัตถุพยานของสิงคโปร์ทเ่ี ปลีย่ นผ่านสู่ฉากหน้า
ใหม่ ของความทัน สมัยให้ก ับพัฒนาการของสังคมสิงคโปร์ และจะเป็ น ทรัพยากรสาคัญในการจัด แสดงให้กบั
พิพธิ ภัณฑสถานฯ ในระยะต่อไป
ในทางตรงข้าม กลุ่มวัตถุธรรมชาติวทิ ยากลับประสบชะตากรรมที่ต่างกันออกไป กลุ่มวัตถุธรรมชาติ
วิทยาที่เคยเป็ นหมุ ดหมายของความเข้าใจในธรรมชาติของภูมิภาคกลับไม่ไ ด้รบั การเหลียวแล ในช่วงคริสต์
ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 คงมีการใช้คลังธรรมชาติวทิ ยาสาหรับการสอนหรือให้ความรู้เกีย่ วกับการเก็บตัวอย่าง
และสตัฟฟ์ สัตว์ให้กบั นักเรียนและครูในระดับมัธยมศึกษา ประกอบกับในช่วงเวลาเดียวกันนัน้ มีการเปิ ดสวนสัตว์
สวนนก และรัฐ มนตรีว่ า การกระทรวงวิท ยาศาสตร์ ฯ มองข้า มพิพิธ ภัณ ฑสถานแห่ ง ชาติ จนในท้ า ยที่สุ ด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาดูแลและให้น้าหนักกับวัตถุทางวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์มากกว่า50
ค.ศ. 1970 มีแนวคิดของการสร้างศูนย์วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในแผนงาน เนื้อหาส่วนหนึ่งในศูนย์
วิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสาคัญกับการนาเสนอธรรมชาติวทิ ยาจากพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แก่ Life Sciences
Division และเพิม่ เติมเนื้อหาใหม่เกีย่ วข้องกับวิศวกรรมและเทคโนโลยี การสือ่ สารและการคมนาคม ในระยะต่อมา
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มีคณะกรรมการบริหารของตนเอง ในท้ายที่สุด แนวคิดในการพัฒนาให้พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติเพื่อเป็ นพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยาไม่ได้อยู่ในความสนใจของผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องอีกต่อไป51
กลุ่มวัตถุธรรมชาติวทิ ยาในจานวนไม่มากนักได้รบั การคัดเลือกไว้จดั แสดงในส่วนนิทรรศการเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์ชวี ภาพในศูนย์วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในขณะที่วตั ถุจานวนมากได้รบั การโยกย้ายมาสูค่ วาม
รับผิดชอบของคลังสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ค.ศ. 1972 ยัง (C. M. Yang) บันทึกไว้ในการเตรียมการ
โยกย้ายวัตถุจากพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ "วัตถุตวั อย่างธรรมชาติวทิ ยา นับพั นนับหมื่น ทีอ่ ยู่ในห้องต่างๆ หลัง
ฉากการจัดแสดง" ในระยะต่อมา คลังวัตถุได้รบั การโยกย้ายไปยังวิทยาเขตทีบ่ กู ติ ทิมาห์ โดยเจ้าหน้าทีจ่ ากัด และ
คงค้างอยู่ใน "ทีพ่ กั ชัวคราว"
่ นัน้ ในอีกหลายปี ต่อมา
ยังได้ขอคาแนะนาต่างๆ จากพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา ลอนดอน ทัง้ การอนุ ร ักษ์และการประเมินมูลค่า
เพื่อการประกันภัย ซึง่ ผูเ้ ชีย่ วชาญในแต่ละด้านเห็นถึงความสาคัญของคุณค่า ทีไ่ ม่สามารถหาทดแทนกลุ่มวัตถุจาก
พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ได้อกี แต่กลับเป็ นเรื่องยากนักในการตีมลู ค่าของวัตถุธรรมชาติวทิ ยาเหล่านัน้ ซึง่ สูงถึงราวสอง
ล้านเหรียญ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 197052

50 Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” 198.
51 Tan, “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History,” 129.
52 Barnard, “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore,” 202–5.

112
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจากัดในเรื่องพืน้ ทีข่ องวิทยาเขตบูกติ ทิมา ส่งผลให้วตั ถุประเภทต่างๆ กระจายจัดเก็บ


ชัวคราวในหลายแห่
่ ง ช่วงเวลาดังกล่าว ในแต่ละคณะวิชาต้องการใช้พน้ื ทีส่ าหรับชัน้ เรียน กลายเป็ นความกดดัน
ให้กบั ยังในการประสานงานหาสถานที่ใหม่ จนที่สุดได้ชนั ้ บนสุดของหอสมุด มหาวิทยาลัยนานยาง (Nanyang
Technology University) เมื่อ ค.ศ. 1980 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เกิดเสียงสะท้อนจากวงวิชาการทางวิทยาศาสตร์
ทีข่ มขืน่ กับสถานการณ์ของกลุ่มวัตถุธรรมชาติวทิ ยา ทัง้ ๆ ที่ “วัตถุเหล่านัน้ เกิดและอยู่ในสิงคโปร์มากว่าร้อยปี และ
แตกต่างจากกลุ่มวัตถุสตั ว์ศาสตร์อ่นื ใดในโลก นัน่ คือ ประวัตศิ าสตร์และมรดกของชาวสิงคโปร์ ” อย่างไรก็ดี หาก
พิจารณากันในระดับลึกแล้ว วัตถุทส่ี ะสมมาในช่วงอาณานิคมมิได้มนี ัยของความเป็ นมรดกของสังคมสิงคโปร์ร่วม
สมัย เพราะเป็ นการสะสมเพื่อการสร้างความรูต้ ามขนบวิทยาศาสตร์แบบปฏิฐานนิยม ต่อเมื่อความเปลีย่ นแปลง
เกิดขึน้ กับคลังสะสมและไม่ได้รบั ความใส่ใจ การอ้างถึงความชอบธรรมทีจ่ ะต้องดูแลวัตถุเหล่านัน้ ในฐานะมรดกของ
สังคมกลับเป็ นความหมายเพิม่ เติมมาในชัน้ หลัง
ในทีส่ ุด เดือนตุลาคม ค.ศ.1988 มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิงคโปร์ จัดสรรสถานทีใ่ หม่ให้กบั คลังวัตถุมรดก
จากพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ จานวนกว่า 160,000 ชิน้ มีกว่า 7,600 สายพันธุ์ ทีส่ ะท้อนให้เห็นสิง่ มีชวี ติ ในคาบสมุทร
มลายูและเกาะสิงคโปร์ จากความยิง่ ใหญ่ของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ทอ่ี ยู่ใกล้ศนู ย์กลางอานาจ ได้ถูกจัดเก็บไว้ในกลุ่ม
วัตถุสตั ว-ศาสตร์ในมุมเล็กๆ ของมหาวิทยาลัย วัตถุจานวนหนึ่งได้รบั การจัดแสดงไว้ในพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์เพื่อการ
วิจยั ความหลากหลายทางธรรมชาติ ในมหาวิทยาลัยที่เปิ ดสาหรับสาธารณะ จนกลายเป็ น พิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติ
วิทยาลีคงเฉียน (Lee Kong Chian Natural History Museum) มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิงคโปร์ เปิ ดเมื่อปี 201553
ชะตากรรมของวัตถุทางธรรมชาติวทิ ยาเผยให้เห็นเงื่อนไขประวัติศาสตร์สาคัญทีพ่ ลิกความหมายของ
พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ทเ่ี คยรุ่งเรือง แม้รฐั บาลในช่วงทศวรรษ 1980 ตระหนักถึงความสาคัญของวิทยาศาสตร์ และมุ่ง
หมายให้เป็ นฐานรากในการพัฒนาเยาวชน แต่ความสาคัญของเทคโนโลยีและวิทยาประยุกต์กลับลดทอนคุณค่า
ของวัตถุทางธรรมชาติวทิ ยา รัฐบาลสิงคโปร์ในช่วงเวลานัน้ ต้องการคนที่มศี กั ยภาพที่ตอบสนองผลิตภาพเชิง
อุตสาหกรรมมากกว่าความรูท้ างวิทยาศาสตร์แบบอธิบายสรรพสิง่ เช่นทีน่ ักธรรมชาติวทิ ยาและนักสารวจเมื่อต้น
ศตวรรษที่ 20 ให้ความสนใจ
การตีความในอีกลักษณะหนึ่งของสถานการณ์ดงั กล่าว นันคื ่ อ “ความเป็ นศูนย์กลาง” เคลื่อนทีอ่ อกไปจาก
มิตทิ างธรรมชาติ หากแต่เป็ นมิตทิ างวัฒนธรรมทีร่ ฐั บาลสิงคโปร์ปรารถนาจะใช้พพิ ธิ ภัณฑ์เป็ นกลไกในการสื่อสาร
กับสาธารณชน บัดนี้ ผูช้ มมิใช่ผเู้ ชีย่ วชาญ นักเดินทาง และคนในแวดวงสังคมอาณานิคม แต่เป็ นพลเมืองของชาติ
ทีร่ ฐั บาลชูนโยบายสาคัญเกีย่ วกับพหุวฒ ั นธรรมและสังคมสมานฉันท์เพื่อความเป็ นปึ กแผ่น ในระยะต่อมา รัฐบาล
สิงคโปร์มองเห็นวัฒนธรรมกลายเป็ น “ทุน” มิใช่เพื่อสร้างคนให้กบั สังคมเท่านัน้ แต่ เป็ นทุนที่สร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจ งานวัฒนธรรมและกิจการพิพธิ ภัณฑ์ทด่ี าเนินการโดยรัฐพัฒนาอย่างสาคัญในช่วงปลายทศวรรษ 1990
สืบเนื่องมาถึงปั จจุบนั
ทศวรรษก่อนสหัสวรรษนับเป็ นช่วงเวลาสาคัญของการสร้างพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ เรื่องราว
ทีไ่ ด้รบั การร้อยเรียงในนิทรรศการ อาศัยการทางานทีผ่ สานข้อมูล การคัดสรรเนื้อหา และการถ่ายทอดเรื่องราวของ
ความเป็ นชาติ ทัง้ นี้ เพื่อตอบโจทย์ของอุดมการณ์ชาตินิยม ในช่วงถัดไปของบทความ ผูเ้ ขียนไล่เรียงลาดับความ

53 Ibid., 206–9.

113
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เปลี่ยนแปลงของพิพธิ ภัณฑสถานฯ โดยจากัดเฉพาะการจัดนิทรรศการถาวรของพิพธิ ภัณฑสถานฯ เมื่อ ค.ศ.


2006 และปรับปรุงอีกครัง้ เพื่อการฉลอง 50 ปี เอกราชสิงคโปร์ เมื่อ ค.ศ. 2015
ในเวลานี้ พิพธิ ภัณฑสถานฯ มิใช่หลงเหลือร่องรอยของพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ทเ่ี คยพัฒนาในขนบของการ
สร้างพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา มิใช่สถาบันทีใ่ ห้การศึกษาเพื่อรักษาความอารยะของเจ้าอาณานิคม หรือเพื่อบ่ม
เพาะความรู้ให้กบั คนพื้นถิ่น ในวันนี้ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ กลายเป็ นกลไกหนึ่งที่รฐั บาลสิงคโปร์
พยายามสร้างสานึกของความเป็ นพลเมือง พร้อมๆ ไปกับการเป็ นฐานทุนของเศรษฐกิจ ทีพ่ ยายามวางโจทย์ทงั ้ คน
ในและคนนอกไว้ในกระบวนการทางาน
ผูเ้ ขียนยังมิอาจตอบได้ว่า รัฐบาลสิงคโปร์ประสบความสาเร็จเพียงใดในการใช้ประโยชน์พพิ ธิ ภัณฑ์เพื่อ
กิจการดังกล่าว หากแต่สงิ่ ทีจ่ ะในนาเสนอในส่วนถัดไปของบทความ อาจช่วยให้เห็นความเอาจริงเอาจังของการ
สร้างพิพธิ ภัณฑสถานฯ เพื่อสนทนากับสังคม แม้บทสนทนาเหล่านัน้ จักวางไว้เพื่อสร้างความชอบธรรมและการ
ยอมรับกับโครงการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อรัฐบาลสิงคโปร์วางโจทย์ให้ประเทศของตนเป็ นโลกนคร (Global
City) หรือ “ความเป็ นศูนย์กลาง” แม้จะเป็ นประเทศทีม่ อี าณาบริเวณทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ในภูมภิ าค

“สำนึกชำติ ห่วงใยตลำด” พิพิธภัณฑสถำนฯ ในเวลำร่วมสมัย


“เพื่อความยิง่ ใหญ่ ชาติต้องมีจุดหมายปลายทาง ยามใดเราย้อนราลึกถึงบรรพชน ด้วยการ
สารวจเหล่าวัตถุ ท่ฉี ายความเข้าใจถึงเหตุผลที่เรามาถึง ณ จุดนี้ และด้วยการศึกษาและ
ปรับ เปลี่ย นขนบปฏิบ ัติท่ีเ รารับ ไว้เ ป็ น มรดก เราจะสร้า งวิสยั ทัศ น์ ข องอนาคตได้อ ย่าง
ชัดเจน”
จอร์จ เยว54
ในช่วงทศวรรษ 1990 นับเป็ นช่วงเวลาสาคัญของวาทกรรมเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมในสิงคโปร์ ทิศทาง
ใหญ่ของแนวคิดของมรดกวัฒนธรรมสัมพันธ์กบั มิตทิ างสังคมและมิตทิ างเศรษฐกิจ ในประเด็นแรก รัฐบาลสิงคโปร์
เริ่มตระหนกกับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ท่เี กิดขึ้นกับความเจริญทางเศรษฐกิจ ความกังวลใจกับอิทธิพล
ตะวันตกและบริโภคนิยมนามาสูก่ ารวางโจทย์เพื่อสร้างอุดมการณ์ให้พลเมือง ด้วยการสร้างวิสยั ทัศน์อนั พึงประสงค์
ในการสร้างความเจริญให้กบั ชาติ55
ตัวอย่างของการนาเสนอวิสยั ทัศน์ในการสร้างพลเมืองในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น
จอร์จ เยว (George Yeo) “5 C’s” ประกอบด้วย “character, culture, community, courtesy, commitment” แทนที่
“condominium, cash, credit card, car, club membership”56 อุดมคติทร่ี ฐั บาลต้องการสร้างให้คนรุ่นใหม่ในสังคม
สิงคโปร์พฒ
ั นาศักยภาพของตนเองเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจ การเสียสละเพื่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะชาติ และ
การรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรม มากกว่าความสุขในการบริโภควัตถุ ปฏิบตั กิ ารทีเ่ กิดขึน้ จากความพยายามของ

54 รัฐมนตรีการคลังและต่างประเทศ George Yeo, “Importance of Heritage and Identity,” in Speeches: A Bimonthly Selections of Ministers
Speeches, vol. 131 (Singapore: Ministry of Communications and Information, 1989), 48.
55 Leo Suryadinata, “National Ideology and Nation-Building in Multi-Ethnic States,” in In Search of Singapore’s National Values, ed. Jon S. T.

Quah (Singapore: Institute of Policy Studies : Times Academic Press, 1990), 91–105.
56 George Yeo, quoted in The Straits Times 15 July 1996 อ้างใน Brenda Yeoh and Lily Kong, The Politics of Landscapes in Singapore:

Constructions Of “nation,” 1st ed, Space, Place, and Society (Syracuse: Syracuse University Press, 2003), 49.

114
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รัฐบาลในการสร้างอุดมการณ์ชาติ ได้รบั การถ่ายทอดในระบบการศึกษา 57 และงานวัฒนธรรม ดังเช่นการจัดตัง้


คณะกรรมการว่าด้วยงานมรดก (Committee on Heritage) ซึง่ จัดตัง้ ขึน้ เมื่อ ค.ศ. 1988 ทาหน้าทีใ่ นการส่งเสริมให้
ชาวสิงคโปร์ตระหนักในมรดกวัฒนธรรม และกลายเป็ นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติเพื่อสร้างสมดุลระหว่างคุณค่า
แบบเอเชียและอิทธิพลทางตะวันตก58
ในมิติทางเศรษฐกิจ จากในสองทศวรรษหลังเอกราชรัฐบาลมุ่งเน้ นการปรับปรุงคุณภาพชีวติ และการ
พัฒนาอุตสาหกรรม ในช่วงสองทศวรรษก่อน ค.ศ. 2000 หันมาให้ความสาคัญเกีย่ วกับมาตรฐานชีวติ อื่นๆ ดังเช่น
ทีโ่ ก๊ะ จ๊ก ตง กล่าวได้กล่าวถึง “มาตรฐานความเป็ นแบบสวิส”59 ทีส่ ่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม รวมทัง้ การพัฒนา
ให้ภู มิทศั น์ ของเมืองเป็ นสถานที่ท่มี ีเอกลัก ษณ์ ของตนเองด้ว ยมรดกค.ศ. 1989 หน่ ว ยงานที่เกี่ยวข้อ งในการ
วางแผนพัฒ นาอย่ า ง URA หรือ Urban Redevelopment Authority และการท่ อ งเที่ย วสิง คโปร์ (Singapore
Tourism Board) แถลงแผนการในการคัดเลือกเมืองชัน้ ใน ทีส่ ะท้อนให้เห็นการตัง้ ถิ่นฐานของกลุ่มชาติพนั ธุ์หลัก
(จีน, มาเลย์, อินเดีย) ในรูป แบบของเขตเมืองอนุ รกั ษ์ เพื่อแสดงให้เห็นมรดกพหุวฒ ั นธรรมแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน
ท้องถิน่ และนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติ 60

ด้วยเหตุน้ี “มรดกชาติพนั ธุ”์ หรือ Ethnic Singapore กลายเป็ นกรอบการเล่าเรื่องการท่องเทีย่ ว ทัง้ ไชนา
ทาวน์ อินเดียน้อย และกัมปงกลามกลายเป็ นสถานทีข่ องการจัดแสดงทีไ่ ด้รบั ความสนใจอย่างรวดเร็ว ในรายงาน
คณะทางานในการพัฒนาการท่องเทีย่ ว หรือ Tourism Task Force (1984) ระบุถงึ ความเปลีย่ นแปลงต่างๆ ของ
สิงคโปร์ ซึง่ ส่งผลกระทบให้สญ ู เสีย “มนต์ขลังและเสน่หต์ ะวันออกซึง่ ปรากฏเชิงสัญลักษณ์ในอาคารต่างๆ กิจกรรม
ในแต่ละชุมชนและในท้องถนน” ในการพัฒนาความเป็ นนครทีท่ นั สมัย61 พืน้ ทีต่ ่างๆ ทีไ่ ด้รบั การกาหนดไว้เพื่อการ
พัฒนาเป็ นย่านประวัตศิ าสตร์ นอกจากปรับเปลีย่ นเชิงกายภาพแล้ว “เรื่องเล่า” บางชุดได้รบั การร้อยเรียงขึน้ ใหม่
โครงการพัฒนาพืน้ ที่เพื่อการท่องเทีย่ วดังกล่าวส่งผลในเชิงบวกและลบต่อผู้ทอ่ี ยู่อาศัย เช่น ความเปลี่ยนแปลง
ภายหลังการพัฒนาห้างสรรพสินค้า “ลิตเติ้ล อินเดีย อาเขต” ที่ส่งผลต่อค่าเช่าทีส่ ูงมากขึน้ และทาให้ผู้ค้าเดิมซึง่
เติบโตมากับพืน้ ทีต่ อ้ งออกจากพืน้ ที่ หรือในอีกทางหนึ่ง การบูรณะย่านเก่าไชน่าทาวน์สง่ ผลให้มลู ค่าทางเศรษฐกิจ
เพิม่ สูงขึน้ 62
ในช่วงเวลาเดียวกันนัน้ รัฐมนตรีจดั ตัง้ สภาศิลปะแห่งชาติ และเสนอแนวทางการพัฒนาคณะกรรมการ
มรดกแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังเกิดการปรับเปลีย่ นกระทรวงจากกระทรวงพัฒนาการสื่อสาร เป็ นกระทรวงข่าวสาร
และศิลปะ (MITA) โดยรวมงานด้านพิพธิ ภัณฑ์ จดหมายเหตุ และแผนกประวัตศิ าสตร์คาบอกเล่า จอร์จ เยว ผูร้ บั
ตาแหน่ งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เล็งเห็นการเชื่อมโยงประวัตศิ าสตร์กบั ผูค้ นกับความเป็ นสิงคโปร์และภูมภิ าค
แต่ยงั ต้องขยายเรื่องราวให้เชื่อมโยงกับจีน เอเชียใต้และเอเชียตะวันตก โดยพิจารณาจากความหลากหลายของ

57 Saravanan Gopinathan, “Being and Becoming: Education for Values in Singapore,” in The Revival of Values Education in Asia and the
West, ed. William K. Cummings, Saravanan Gopinathan, and Yasumasa Tomoda, 1st ed, Comparative and International Education Series,
v. 7 (Oxford, England ; New York: Pergamon Press, 1988), 131–45.
58 Yeoh and Kong, The Politics of Landscapes in Singapore, 133.

59 อ้างใน Kennie Ting, Heritage, Singapore Chronicles (Singapore: Institute of Policy Studies : Straits Times Press Pte Ltd, 2015), 58.
60 Tourism 21. Vision of a Tourism Capital (Singapore: URA Media Division, 1996).
61 อ้างใน Yeoh and Kong, The Politics of Landscapes in Singapore, 136.
62 สาหรับผูท
้ ส่ี นใจความเปลีย่ นแปลงและผลกระทบโครงการพัฒนาของรัฐบาลสิงคโปร์ในย่านประวัตศิ าสตร์ โปรดดู ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, “การเมืองเรือ่ ง
‘ย่านประวัตศิ าสตร์’ ในสิงคโปร์,” หน้าจั ่ว 11 (2557): 130–51.

115
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ประชากรหลายชาติพนั ธุ์ เขาเสนอให้จดั ตัง้ พิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมเอเชียเพื่อให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้โลกที่รอ้ ยรัดเข้า


ด้วยกันและรากเหง้าบรรพบุรุษ63
ในช่วงต้น ค.ศ.1992 การจัดตัง้ คณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) รัฐมนตรีเริม่
วางแผนในการจัดตัง้ คณะกรรมการเพื่อดูแลพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติทงั ้ สามแห่ง และดูแลหอจดหมายเหตุและ
แผนกประวัติศาสตร์คาบอกเล่า อันที่จริง นอกจากนี้ ยังได้เชิญ สมาคมมรดกสิงคโปร์ให้ความเห็นในการตัง้
คณะกรรมการมรดกสาหรับสิงคโปร์ โดยมีวลิ เลี่ยม ลิม (William Lim) เป็ นนายกสมาคม และควา จง กวน ผูท้ ่ี
เขียนบทความเรื่องการเปลีย่ นแปลงพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ในฐานะสมาชิกกิตติมศักดิของสมาคม
์ 64

ค.ศ. 1993 คณะกรรมการมรดกแห่ ง ชาติ เปลี่ย นชื่อ พิพิธ ภัณ ฑสถานแห่ ง ชาติ เ ป็ น “พิพิธ ภัณ ฑ์
ประวัตศิ าสตร์สงิ คโปร์” สืบเนื่องจากห้องจัดแสดงประวัตศิ าสตร์สงิ คโปร์ ทีใ่ ช้การนาเสนอด้วยฉากจาลองสร้างขึน้
ค.ศ. 1984 อนึ่ง ควา จง กวน เสนอให้มกี ารจัดแบ่งความรับผิดชอบของกลุ่มวัตถุในแต่ละพิพธิ ภัณฑ์ทงั ้ สามแห่ง
และการจัดการของหอจดหมายเหตุท่รี วมแผนกประวัตศิ าสตร์คาบอกเล่าไว้เป็ นส่วนหนึ่ง โครงการสร้างทางาน
ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล ระดมทุนและงบประมาณ การจัดการคลังและการอนุ รกั ษ์ และประชาสัมพันธ์ ในทศวรรษ
ต่อมา งานต่างๆ แยกส่วนการทางานในแต่ละองค์กร ฉะนัน้ คณะกรรมการมรดกแห่งชาติจงึ ทาหน้าทีใ่ นการพัฒนา
ประเด็นทางวัฒนธรรมแห่งชาติในภาพกว้าง การพัฒนาวัฒนธรรมการเยี่ ยมชมพิพธิ ภัณฑ์ และสร้างความร่วมมือ
ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการอนุรกั ษ์มรดกของสิงคโปร์65
ผูเ้ ขียนไล่เรียงให้เห็นบริบทเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมสิงคโปร์กบั กิจการทางวัฒนธรรมทีด่ าเนินการโดยรัฐ
เพื่อชีใ้ ห้เห็นว่างานพิพธิ ภัณฑ์ของรัฐในช่วงนี้ขยายตัวอย่างชัดเจน ดังทีผ่ เู้ ขียนได้เกริน่ เกีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์อารย
ธรรมเอเชีย (ACM) ไว้บา้ งแล้ว นอกจากนี้ ยังปรากฏพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะ สิงคโปร์ (SAM)66 และศูนย์มรดกวัฒนธรรม
ตามย่านประวัตศิ าสตร์อกี จานวนหนึ่ง67 ตัง้ แต่ทศวรรษ 1990 พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์เอง ต้องปรับตัว
เองและรูปแบบการนาเสนอที่พยายามตอบโจทย์ของรัฐบาล นัน้ คือ การสร้างวิญญาณของความเป็ นชาติและ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ทส่ี ร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในทางวัฒนธรรม
คณะกรรมการจากหน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจัดจ้างบริษทั วางแผนและจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมลอร์ด
(Lord Cultural Resources Planning & Management Inc.) วางแผนปรับปรุงพิพธิ ภัณฑ์และพัฒนากลุ่มพิพธิ ภัณฑ์
ใหม่ ในแผนงานการพัฒนาย่านพิพธิ ภัณฑ์ ซึง่ แล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1991 พืน้ ทีต่ งั ้ แต่ถนนอาร์มาเนียน สแตมฟอร์ด
เนินแคนนิ่ง และถนนแคนนิ่ง ได้กลายเป็ นย่านพิพธิ ภัณฑ์68

63 Guan, “Transforming the National Museum of Singapore,” 206.


64 Ibid., 207.
65 Ibid., 208–9.
66 สาหรับผูท้ ส่ี นใจสามารถอ่านพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์อ่นื ๆ เพิม่ เติมได้ใน Can-Seng Ooi, “Dialogic heritage: Time, space and visions of the National
museums of Singapore,” trans. Panita Sarawasee, Thammasat University Archves Bulletin 9 (2006): 56–71; Kennie Ting, “Museums in
Singapore: A Short History,” MUSE SG 8, no. 2 (2015): 18–25.
67 เนื้อหาเกีย
่ วกับงานศูนย์มรดก เช่น ศูนย์มรดกไชน่าทาวน์ใน สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์, “ศูนย์มรดกวัฒนธรรมไชน่าทาวน์: ตานานแห่งความทนทุกข์
(Chinatown Heritage Centre: A Legend of Endurance),” in พิพธิ ภัณฑ์สงิ คโปร์, ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, บรรณาธิการ (กรุงเทพ: ศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ
ธร (องค์การมหาชน), 2553), 18–41; เนื้อหาอ้างอิงถึงศูนย์มรดกมาเลย์ใน David Tantow, “Globalisation, Identity and Heritage Tourism: A Case
Study of Singapore’s Kampong Glam” (PhD thesis, National University of Singapore, 2009).
68 Guan, “Transforming the National Museum of Singapore,” 205.

116
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงในช่วงทศวรรษ 1960-1980 พิพธิ ภัณฑสถานฯ ปรับเปลี่ยนบทบาทสู่การสร้าง


สานึกของความเป็ นชาติ และการจัดแสดงนิทรรศการเมื่อสิงคโปร์ฉลอง 25 ปี 69 หลังเอกราชในศูนย์ประชุมซันเท็ก
พิพธิ ภัณฑสถานฯ รับเอาแนวทางของการบอกเล่าประวัตศิ าสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่องในการจัดแสดงของพิพธิ ภัณฑ์
เค้าโครงประวัตศิ าสตร์ในรายงาน “The Committee on Heritage 1988” ของคณะกรรมการว่าด้วยมรดก (ต่อมา
คือคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ ค.ศ. 1992) ระบุถงึ มรดกสาคัญในการสร้างชาติคอื ประสบการณ์ของผูค้ นทีผ่ ่าน
เหตุการณ์สาคัญใน 5 ช่วงเวลา ประกอบด้วยการบริหารของอาณานิคมอังกฤษ การยึดครองของกองทัพญีป่ ่ นุ การ
ต่อสูเ้ พื่อเอกราชหลังสงคราม การต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์ และมรดกความสาเร็จเชิงเศรษฐกิจทีม่ าจากคนอพยพรุ่นพ่อ
แม่70
นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยมรดกพหุวฒ ั นธรรมทีแ่ สดงออก “รูปแบบการดาเนินชีวติ ประเพณีของชุมชน
ชาติพนั ธุ”์ และมรดกทีม่ นุ ษย์สร้างสรรค์ขน้ึ “ภูมทิ ศั น์ทางกายภาพทีเ่ ชื่อมโยงกับอดีต ” และมรดกทางธรรมชาติท่ี
ฉายให้เห็นความเชื่อมโยงเชิงนิเวศวิทยาระหว่างสิงคโปร์และภูมภิ าค 71 นิยามมรดกแห่งชาติน้ีมสี ่วนสาคัญใน
โครงการพัฒนาต่างๆ ของย่านประวัติศาสตร์ท่กี ล่าวไว้แล้ว มากไปกว่ากรอบของเหตุ การณ์ ประวัติศาสตร์ใน
รายงานนี้นับว่ามีความสอดคล้องกับโครงสร้างเรื่องราวในนิทรรศการของพิพิ ธภัณฑสถานฯ ดังทีป่ รากฏเมื่อเปิ ด
ให้บริการภายหลังการปรัปปรุง ค.ศ. 2006 และปรับปรุงอีกครัง้ เพื่อร่วมฉลองเอกราชครบ 50 ปี เมื่อ ค.ศ. 2015
ในลาดับถัดไปผูเ้ ขียนกล่าวถึงเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ในการ
เยี่ยมชมเมื่อ ค.ศ. 2008 และ ค.ศ. 2015 การถ่ายทอดชุดประสบการณ์และข้อมูลทีไ่ ด้จากเอกสารประกอบอื่นๆ
สามารถสะท้อนให้เห็นเป้ าประสงค์ของพิพธิ ภัณฑสถานฯ ในฐานะองค์กรของรัฐ อาคารพิพธิ ภัณฑสถานฯ ได้รบั
การปรับ ปรุ ง เพิ่ม เติม ส่ว นต่ อ ขยาย เพื่อ ประโยชน์ ใ นการต้อ นรับ สาธารณชนและการก าหนดรูป แบบการใช้
ประโยชน์ ข องพื้น ที่ก ับ กิจ กรรมที่ห ลากหลาย ในเอกสารของคณะกรรมการมรดกกล่ า วถึง ภาพลัก ษณ์ ข อง
พิพิธ ภัณ ฑสถานแห่ ง ชาติ “ที่เ กิด ใหม่ ” กล่ า วไว้ว่ า “พิพิธ ภัณ ฑ์มิใ ช่ ส ถานที่จ ัด เก็บ วัต ถุ ห รือ คลัง ศิล ปวัต ถุ
ประวัติศาสตร์ไม่ต้องกลายเป็ นสิง่ ล้าสมัยพร้อมกับกรอบรูปที่ฝนเกาะหรื
ุ่ อจารึกที่ขน้ึ คราบเหลือง เรื่องราวต่างๆ
สามารถบอกเล่าผ่านธีมต่างๆ และนาเสนอด้วยสื่อทันสมัยทีส่ ามารถเข้าถึงได้ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาตินาเสนอ
เรื่องราว”72
ค.ศ. 2006-2013 นิทรรศการถาวรจัดแบ่งเป็ น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ หอประวัติศาสตร์และหอเรื่องเล่า
วัฒนธรรม ผ่านเรื่องราวของอาหาร มหรสพ ภาพถ่าย และเครื่องแต่งกาย ในหอประวัตศิ าสตร์ อยู่ในบริเวณทีเ่ ป็ น
ส่วนต่อขยายของอาคารโดยกาหนดให้ผเู้ ยีย่ มชมสามารถเลือกเส้นทางการเรียนรูไ้ ด้ 2 เส้นทาง หนึ่ง เรื่องกระแส
หลัก หรือ สอง เรื่องเล่าส่วนบุคคล โดยผูช้ มสามารถเดินตัดข้ามไปมา นันหมายถึ
่ ง การใช้บนั ทึกทางประวัตศิ าสตร์
และประวัติศาสตร์คาบอกเล่า เป็ น ส่ว นขยายให้เห็นชุด ประสบการณ์ ท่แี ตกต่ างกันของผู้คนในแต่ ละช่วงเวลา
ประวัตศิ าสตร์ ผูช้ มจะได้รบั เครื่องเสียงพกพาทีส่ ามารถฟั ง-ชมข้อมูลแบบดิจทิ ลั เพิม่ เติมจากการจัดแสดงวัตถุ ป้ าย
บรรยายธีม และป้ ายวัตถุ

69 ด้วยข้อจากัดในการติดตามเอกสารชัน้ ต้นในระหว่างการเขียนบทความ ผูเ้ ขียนบทความยังไม่สามารถให้รายละเอียดเพิม่ เติมเกีย่ วกับการจัด


นิทรรศการในวาระการฉลอง 25 ปี หลังเอกราช.
70 อ้างใน Yeoh and Kong, The Politics of Landscapes in Singapore, 133.
71 Ibid., 134.
72 National Heritage Board Press Release "Rebirth of a National Icon," 29 November 2006 อ้างใน Tan, “The National Museum as Maker and

Keeper of Singapore History,” 133.

117
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เหตุการณ์ของเรื่องราวไล่เรียงตามเวลาทางประวัตศิ าสตร์ ศตวรรษที่ 14-15 ดินแดนเทมาเส็กก่อนการ


มาถึงของอังกฤษ ในบริเวณนี้อาศัยหลักฐานทางโบราณคดีและภาพยนตร์ 360 องศา ในการตีความสภาพสังคม
ด้วยละครเชิงประวัตศิ าสตร์ จากนัน้ การตัง้ สถานีการค้า (1819-1824) แหล่งรวมการค้า (ทศวรรษ 1820-1860)
เมืองท่า (ทศวรรษ 1870-1890) สมัยใหม่ (ทศวรรษ 1900-1940) ปราการ (1941-1942) การยึดครองของญี่ป่ ุน
(1942-1945) เอกราช (1945-1959) ชาติใหม่ (1959-1972) ส่วนเรื่องราวในหอเรื่องเล่าวัฒนธรรม เป็ นบริเวณการ
จัด แสดงที่ใ ช้กิจวัตรประจ าวัน หรือ ความทรงจาที่เ ชื่อมร้อ ยสามารถสะท้อ น “ความเป็ น สิง คโปร์ ” เช่ น ความ
หลากหลายของอาหารทีบ่ อกเล่าความแตกต่างทางชาติพนั ธุ์
ทิศทางของการเล่าเรื่องพยายามแสดงให้เห็นสภาพของสังคมทีส่ ะท้อนจากมุมมองของคนสองกลุ่มได้แก่
กลุ่มผูป้ กครองและกลุ่มผูอ้ าศัยในสังคม พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติไล่เรียงให้เห็นความเปลีย่ นแปลงต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้
จากนโยบายของผู้ปกครองที่ส่งผลกระทบต่ อสิง คโปร์ในภาพรวม การพัฒนาเป็ นเมืองท่าการค้า การพัฒนา
สถาบันการศึกษา การจัดการระบบทางสังคมทีอ่ าศัยกลไกดัง้ เดิม เช่น สมาคมแซ่ ความช่วยเหลือกันในระหว่างคน
จากภูมลิ าเนาเดียวกัน ความเปลีย่ นแปลงต่างๆ เหล่านี้หยุดชะงักลงเมื่อเกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ผูค้ นในสิงคโปร์
โดยเฉพาะคนจีนได้รบั ผลกระทบทัง้ ความเป็ นอยู่และความปลอดภัยในชีวิต ภายหลังสงครามเกิดปั ญหาการ
เรียกร้องอิสรภาพและปั ญหาความขัดแย้งของพรรคการเมืองต่างอุดมการณ์ จนถึงการได้รบั ชัยชนะของพรรคกิจ
ประชาชน (PAP) และผลงานต่างๆ ในการพัฒนาของพรรครัฐบาล
การนาเสนอภายหลังการปรับปรุงนิทรรศการ ค.ศ. 2015 ในหอประวัติศาสตร์ คงยึดการเล่าเรื่องตาม
พัฒนาการประวัตศิ าสตร์แต่ลดทอนเรื่องราวให้กระชับมากขึน้ สิงคปุระ (ทศวรรษ 1299-1818) อาณานิคมอังกฤษ
(1891-1941) การยึดครองของญี่ป่ ุน (1941-1945) สิงคโปร์ (1945-ทศวรรษ 1980) เส้นทางการชมถูกบังคับตาม
เนื้อหาหลัก แนวคิดของการใช้ประสบการณ์บุคคลเสริมเรื่องเล่าหลักด้วยเส้นทางเรื่องเล่า 2 ทางเลือกไม่ปรากฏอีก
ต่อไป
เนื้อหาในส่วนต้นก่อนการมาถึงของอังกฤษ คงเริ่มต้นจากหลักฐานทางโบราณคดี โดยเฉพาะจารึก
ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ฉากจาลองหมู่บา้ นชาวประมงและชาวเลฉายบนฉากรับภาพขนาดใหญ่ โดยมี
การจัดแสดงตัวอย่างสินค้า ซ่อนอยู่เบือ้ งหลังเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ หลักฐานทางโบราณคดีทบ่ี อกเล่าถึงสินค้าใน
การเดินทางทะเล ส่วนเนื้อหาในช่วงอาณานิคมคงใช้การจั ดแสดงนิทรรศการถาวรเดิมบางส่วน การปรับปรุง
นิทรรศการตัง้ แต่การยึดครองของญีป่ ่ นุ การเรียกร้องเอกราช ปรับใช้นิทรรศการบางส่วนและเสริมการจัดแสดง ใน
ส่วนสุดท้ายตัง้ แต่ทศวรรษ 1960 ได้รบั การขยายเพิม่ เติมอย่างมากจากนิทรรศการถาวรแรก
ส่วนห้องนิทรรศการ 4 ห้องทีเ่ คยบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรม กลายเป็ นห้องจัดแสดงทีบ่ อกเล่าวิธชี วี ติ
4 ธีม ด้วยกัน ความทันสมัยในช่วงอาณานิ คม (ค.ศ.1925-1935) ชีวติ ในช่วงการยึดครองของญี่ป่ ุน (ค.ศ.1942-
1945) การเติบใหญ่ ท่แี สดงวัฒนธรรมการละเล่นและชีวติ วัยเรียนช่วงเรียกร้องเอกราชและช่วงการสร้างชาติ
(ทศวรรษ 1950-1960) และเสียงสิงคโปร์ทบ่ี อกเล่าวัฒนธรรมดนตรีป๊อบ (1975-1985) การนาเสนอใน 4 ห้องจัด
แสดงอาศัยวัตถุประกอบกับเรื่องราวและฉากจาลอง และบางส่วนทีใ่ ห้ผชู้ มสามารถเคลื่อนไหวอุปกรณ์ บางอย่าง
เพื่อเรียนรูเ้ นื้อหาเพิม่ เติม เช่น การลองนังในรถจ
่ าลองครึง่ คันเพื่อสัมผัสบรรยากาศของโรงหนังแบบไดรฟ์ อิน
หากเปรียบเทียบการจัดแสดงนิทรรศการถาวร (ค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2015) เฉพาะเนื้อหาตัง้ แต่ทศวรรษ
1960 ถึง 1980 ในนิทรรศการ ค.ศ. 2006 นาเสนอผลงานของรัฐบาลในด้านต่างๆ โครงการทีอ่ ยู่อาศัย การพัฒนา

118
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ด้านการศึกษาวิจยั การพัฒนาอุต สาหกรรม การถ่ายทอดเนื้อหาแสดงให้เห็นในห้องสุดท้ายของนิทรรศการถาวร


โดยมีการจาลองลักษณะคล้ายอาคารทีอ่ ยู่ในขัน้ ตอนการก่อสร้าง เหล็กเส้นที่มดั ไว้เป็ นแกนของผนังโผล่ให้เห็น
อย่างชัดเจน ภาพขาว-ดาจานวนมากมายขนาดไม่ใหญ่นักจัดแสดงประกอบกับวีดโิ อจากภาพข่าวหรือการบันทึ ก
คาสัมภาษณ์ของผูบ้ ุกเบิกในกิจการต่างๆ ของรัฐ
การนาเสนอเนื้อหานิทรรศการในช่วงทศวรรษเดียวกันแตกต่ างอย่างมากในการจัดแสดง ค.ศ. 2015
เรื่องราวได้รบั การขยายเป็ น 3 ส่วนการจัดแสดง การพัฒนาอุตสาหกรรมได้รบั การจัดแสดงด้วยฉากจ าลอง
สายพานการผลิตและตัวเลขทางเศรษฐกิจด้วยอินโฟกราฟิ กในแต่ละช่วงทศวรรษ จากนัน้ เป็ นการกล่าวถึงสภาพ
ความเป็ นอยู่ในอาคารการเคหะทีจ่ าลองการตกต่างภายในห้องชุดด้วยเครื่องเรือนในช่วงทศวรรษ 1970-1980 และ
การพัฒนาสิง่ แวดล้อม ตัง้ แต่การจัดการมลพิษทางน้าในแม่น้าสิงคโปร์ทใ่ี ช้งานแอนิเมชัน่ เพื่อแสดงวิสยั ทัศน์ของลี
กวน ยิว ยืนตระหง่านที่หวั เรือที่แหวกเข้าไปในน้ าเน่ าเหม็นก่อนความสาเร็จในการกาจัดขยะมูลและสิง่ ปฏิกูล
รวมทัง้ การโยกย้ายผูค้ นทีเ่ คยอยู่ในเรือนแถวปากแม่น้าสิงคโปร์ หรือโครงการเมืองในสวนทีเ่ น้นโครงการสีเขียวใน
การจัดการด้านนิเวศเพื่อการใช้ชวี ติ ของคนสิงคโปร์อ ย่างรื่นรมย์ ฉากดังกล่าวอาศัยการจาลองต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้
กลางห้อง และเปิ ดพืน้ ทีส่ นามหญ้าจาลองทีผ่ ชู้ มสามารถแวะพัก
นิ ท รรศการปิ ดฉากด้ ว ยงานจัด วางศิล ปะที่เ ป็ นเสมือ นการสรุ ป เหตุ ก ารณ์ ส าคัญ ตลอดเส้น ทาง
ประวัตศิ าสตร์ ด้วยระบบภาพและเสียงทีฉ่ ายลงโมเดลของเมืองสีขาว เพื่อรองรับภาพต่างๆ ทีไ่ ด้รบั การสร้างสรรค์
เป็ นผลงานศิลปะดิจติ ลั พร้อมๆ กับเสียงประกอบฉาก ก่อนทางออกนิทรรศการ แสดงภาพอิ นโฟกราฟิ กบนผนัง
ขนาดใหญ่กล่าวถึงกิจการสาคัญต่างๆ ทีท่ าให้สงิ คโปร์สามารถเป็ นประเทศสาคัญระดับนานาชาติ ท่าอากาศยาน
ท่าเรือ และภาคการผลิตอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นความสามารถในการทะยานขึน้ เป็ นโลกนคร (Global City)
ผู้เ ขีย นน าเสนอห้อ งจัด แสดงถาวรในพิพิธ ภัณฑสถานฯ อย่ า งย่ น ย่ อ ไว้ใ นที่น้ี เ พื่อ ฉายให้เ ห็น ความ
เปลีย่ นแปลงอย่างสาคัญในการใช้ประโยชน์พพิ ธิ ภัณฑ์ การนาเสนอวัตถุพพิ ธิ ภัณฑ์เป็ นส่วนประกอบการตีความ
เรื่องราวมากกว่าจะแสดงบทบาทหลักดังทีเ่ คยปรากฏมาก่อนในช่วงทีเ่ ป็ นพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ กรอบการเล่าเรื่อง
ได้รบั การกากับด้วยความหมาย “มรดกเพื่อสร้างชาติ” สื่อสมัยใหม่และ “ลูกเล่น” เพื่อให้คนรุ่นใหม่หรือเยาวชน
สนใจกับเนื้อหาการจัดแสดงกลายเป็ นกลวิธใี นการถ่ายทอดเรื่องราว
พิพธิ ภัณฑฯ ได้รบั การวิจารณ์จากกลุ่ม/สมาคมเอกชนทีต่ งั ้ ข้อกังขาเกีย่ วกับบทบาทบ้าง ดังปรากฏในการ
งานของตันในฐานะของสมาคมมรดกสิงคโปร์ “การนาเสนอในลักษณะปั จจุบนั มี ‘วัตถุจริง เพียง 800 ชิน้ และฉาก
การจัดแสดงและสือ่ สมัยใหม่ ซึง่ ในทีน่ ้ี ตันเห็นว่า การลดทอนบทบาทของการเป็ นผูร้ กั ษา (keeper) พืน้ ทีจ่ ดั แสดง
ทัง้ หมดเสมือนกับโลกเสมือนมิใช่พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติทค่ี วรจะเป็ น ” ตามสายตาของตันพิพธิ ภัณฑสถานฯ ไม่
ควรจะเป็ นศูนย์ตคี วาม (interpretive center)73
ตันสาทับด้วยข้อวิพากษ์พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ดูไม่แตกต่างจาก “Images of Singapore”
เกาะเซนโตซา ที่เน้นฉากจาลองเพื่อการเล่าเรื่องอย่างหยาบมากกว่าการตีความจากหลักฐาน หรือการนาเสนอ
วัตถุทางประวัตศิ าสตร์และชาติพนั ธุ์ ตันเรียกพิพธิ ภัณฑสถานฯ ภาคปั จจุบนั ว่า “มิใช่เป็ นผู้รกั ษาประวัตศิ าสตร์
สิงคโปร์ กลับกลายเป็ นเพียงผูเ้ ล่าเรื่องเท่านัน้ ” นอกจากนี้ในทัศนะของตัน ยังพิจารณาว่า นิทรรศการหมุนเวียนมี

73 Ibid., 134.

119
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เรื่องราวท้องถิน่ อย่างจากัดหรือนิทรรศการ “ทาเงิน” (Blockbuster) ไม่ใช่เรื่องราวของท้องถิน่ การนาเสนอต่างๆ


เป็ นเพียงภาคหนึ่งของการเล่าเรื่องอดีต และการออกแบบไม่สามารถสร้างพลวัตได้74
ผูเ้ ขียนพบว่าข้อวิจารณ์ของเอกชนไม่ส่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงมากนัก เพราะการจัดแสดงภายหลังการ
ปรับปรุงและเปิ ดเมื่อ ค.ศ. 2015 ได้พสิ จู น์ให้เห็นแล้วว่า พิพธิ ภัณฑสถานฯ วางโจทย์ของการสื่อสารกับมวลชน
มากกว่า หรืออีกนัยหนึ่ง พิพธิ ภัณฑสถานฯ พยายามสร้างนิยามใหม่ของ “พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ” สาหรับ
ผู้เขียน ในกาลปั จจุบนั พิพธิ ภัณฑ์กลายเป็ นกลไกอย่างสาคัญของรัฐบาลสิงคโปร์ พิพธิ ภัณฑสถานฯ ทาหน้าที่
สื่อสารหรือพยายามสร้างสานึกทางอุดมการณ์ของการเป็ นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชาติ พิพธิ ภัณฑ์ในระดับชุมชม
ทยอยเกิด ขึ้น อีก เป็ น จ านวนหนึ่ ง เช่ น พิพิธ ภัณ ฑ์ชุ ม ชน ทามัน จู ร ง (Our Museum@Taman Jurong) หรือ
นิทรรศการขนาดเล็กๆ ทีจ่ ดั แสดงในหลายสถานทีใ่ นชุด “เราสร้างชาติ” (WE Build Nation/WE Define Stories)
พิพิธ ภัณ ฑสถานฯ และพิพิธ ภัณ ฑ์ เ กิด ใหม่ อีก เป็ นจ านวนมากในสัง คมสิง คโปร์ มีเ ป้ าหมายและ
กระบวนการทางานทีแ่ ตกต่างอย่างมากจากพิพธิ ภัณฑ์ร ัฟเฟิ ลส์ การสะสมวัตถุและกระบวนการทางานในตลอด
ศตวรรษจนถึงต้นศตวรรษที่ 21 นี้สะท้อนทัง้ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเชิงความหมายงานพิพธิ ภัณฑ์ใน
บริบทสิงคโปร์ ในส่วนสุดท้าย ผูเ้ ขียนจะวิเคราะห์บางแง่มุมเกีย่ วกับพัฒนาการพิพธิ ภัณฑ์ ข้อวิเคราะห์นาเสนอให้
เห็นถึงชุดความรูแ้ ละวิธกี ารทางานของพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ในปั จจุบนั ได้ทาบทับชุดความทรงจาของ
เจ้าอาณานิคม ในเวลานี้ พิพธิ ภัณฑสถานฯ ไม่ทาหน้าที่ “ศูนย์กลางของความรู้/การคานวณ” “เครื่องมือในการ
รัก ษา/การถ่ า ยทอดความเป็ นอารยะ” ดัง เช่ น การจัด เก็ บ ตั ว อย่ า งธรรมชาติ วิ ท ยาอย่ า งที่ เ คยเป็ น แต่
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติกลายเป็ น “ศูนย์กลางในการคานวณ” ในแบบใหม่ นัน่ คือการมุ่งมองภาคปฏิบตั กิ ารของ
ประชาชนทีค่ วรจะเป็ นในโลกที่รฐั บาลได้กาหนดทิศทางของประเทศไว้อย่างแน่ นหนา การสร้างสานึกความเป็ น
พลเมืองผ่านเรื่องเล่าทางประวัตศิ าสตร์ทม่ี ุ่งไปข้างหน้าด้วยกลวิธกี ารสื่อสารที่ “ถูกจริต” กับคนรุ่นใหม่ ทัง้ ความ
ทันสมัยและความสาเร็จทีท่ ุกคนจะต้องร่วมเป็ นฟั นเฟื องตัวหนึ่งในสายตาของรัฐบาล

ควำมทรงจำถูกแทนที่
“พิพิธ ภัณ ฑ์ใ นฐานะพื้น ที่ข องความรู้ธ ารงอ านาจด้ว ยการสร้า งความรู้ พิพิธ ภัณ ฑ์จึง
กลายเป็ นผูก้ ะเกณฑ์ความรู้ และส่งผลต่ออานาจนาทีน่ ิยามวัฒนธรรม”75
พิพธิ ภัณฑ์เป็ นองค์กรผลิตความรูผ้ ่านปฏิบตั กิ ารพิพธิ ภัณฑ์ การวิจยั และการจัดแสดงความรู้ ด้วยเหตุน้ี
พิพธิ ภัณฑ์ได้สร้างอานาจในการนิยามวัฒนธรรม 76 พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์
ปฏิบ ัติก ารด้ว ยแนวคิด และในบริบททางประวัติศ าสตร์ท่แี ตกต่ าง ผู้เ ขีย นต้อ งการชี้ใ ห้เ ห็น ถึง การแทนที่ของ
ปฏิบตั ิการและกรอบเป้ าหมายของพิพธิ ภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลาปรับเปลี่ยนตามผู้ท่ถี ือครองสิทธิอานาจในการ
นิยามความรู้ (/วัฒนธรรม) รวมถึงการผลิตชุดมโนสานึกที่พพิ ิธภัณฑ์ต้องการสื่อสารกับสาธารณะด้วยท่าที ท่ี
แตกต่างเช่นกัน ในที่น้ี การสะสมวัตถุพพิ ธิ ภัณฑ์และเป้ าประโยชน์ ของพิพธิ ภัณฑ์เป็ นประเด็นของการวิเคราะห์

74 Ibid., 135.
75 Dai-rong Wu, “Cultural Hegemony in Museum World,” 2006.
76 Daniel J. Sherman and Irit Rogoff, eds., Museum Culture: Histories, Discourses, Spectacles, Media & Society, v. 6 (Minneapolis:

University of Minnesota Press, 1994).

120
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เพื่อเปรียบเทียบหรืออีกนัยหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่า ปฏิบตั กิ ารพิพธิ ภัณฑสถานฯ ทีม่ าในชัน้ หลังสวมทับกับการ


ทางานพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ในสมัยอาณานิคมอย่างไร
ตัง้ แต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์เน้นการทางานในกรอบคิดของ
ธรรมชาติวทิ ยา ซึง่ จะต้องประกอบด้วยวัตถุทางธรรมชาติ (สัตว์ พืช แร่ธาตุ) และศิลปวัตถุ (ทัง้ ผลงานศิลปะชัน้ สูง
และสิง่ ที่มนุ ษย์ประดิษฐ์) เพื่อนามาสู่การอธิบายให้มนุ ษย์เข้าใจสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความคิดเชิง
นามธรรม77 ภัณฑารักษ์และผูอ้ านวยการพิพิธภัณฑ์ออกเดินทางสารวจและจัดเก็บตัวอย่างสิง่ มีชวี ติ และวัตถุทาง
วัฒนธรรมในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแลกเปลี่ยน/รับบริจาคจากนักเดินทาง หมอสอนศาสนา หรือ
ผูป้ ฏิบตั งิ านทางวัฒนธรรมในพืน้ ทีอ่ ่นื พิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์แสดงบทบาทของ “สารานุกรม” ทีพ่ ยายามอธิบายสรรพ
สิง่ ในอาณาบริเวณทีเ่ จ้าอาณานิคมครอบครอง
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ ทีร่ บั เอา “มรดก” จากพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์ตงั ้ แต่ ค.ศ. 1960 กลับมาให้
คุณค่ากลุ่มวัตถุทางวัฒนธรรมมากยิง่ ขึน้ วัฒนธรรมทีม่ าจากคาบสมุทรมาเลย์และหมู่เกาะอินโดนีเซีย78 และขยาย
การสะสมไปยังอาณาบริเวณอื่นในเอเชียในตลอดสองสามทศวรรษนี้ วัตถุ ทางวัฒนธรรมมิได้พยายามอธิบาย
“ความเป็ นอื่น” อย่างที่ปรากฏในพิพธิ ภัณฑ์รฟั เฟิ ลส์สมัยอาณานิคม มิได้ต้องการรักษาระยะห่าง หากแต่วตั ถุ
เหล่านัน้ กลับได้รบั การตีความว่าเป็ น “วัฒนธรรมของบรรพชน” คนอพยพทีเ่ ป็ นกลุ่มคนทีบ่ ุกเบิกและสร้างความ
เป็ นชาติสงิ คโปร์ในทุกวันนี้
มากไปกว่านัน้ เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางกาพภาพเกิดขึ้น อย่างต่ อเนื่อง จากแผนพัฒนาเมืองและ
เศรษฐกิจของรัฐบาลสิงคโปร์ “วัตถุพยาน” จากอาคารบ้านเรือนหรือ กระทังเครื ่ ่องพิธขี องประเพณีทไ่ี ม่ได้รบั การ
ปฏิบตั ใิ นครัวเรือนของชาวสิงคโปร์ เหล่านี้กลายเป็ นวัตถุสะสมของพิพธิ ภัณฑสถานฯ เพื่อทาหน้าทีใ่ นการบอกเล่า
ถึงพัฒนาของความเป็ นชาติ ในการจัดแสดงนิทรรศการตัง้ แต่ ค.ศ. 2006 วัตถุประกอบการเล่าเรื่องประวัตศิ าสตร์
ชาติในพิพธิ ภัณฑสถานฯ วัตถุมไิ ด้รบั การนาเสนอด้วยการจัดเรียงตามประเภทวัตถุและนาเสนอความหลากหลาย
ของวัฒนธรรม แต่วตั ถุถูกนามาเชื่อมโยงกับพัฒนาการของชาติท่พี ลเมือง (ในกากับของรัฐสิงคโปร์) ร่วมฟั นฝ่ า
อุปสรรคและวิกฤตการณ์ต่างๆ ทัง้ นี้ เรื่องราวของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ คงทอดยาวสู่
อนาคตทีห่ วังให้ผชู้ มโดยเฉพาะพลเมืองของตนร่วมก่อสานต่อสืบเนื่องไป
พัฒนาการของพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ เผยให้เห็นวาทกรรมที่เข้ามากากับการใช้ประโยชน์
พิพิธ ภัณ ฑ์เ พื่อ ตอบโจทย์ภ าวะปั จ จุ บ ัน ของรัฐ ชาติสิง คโปร์ ในเวลานี้ “โลกนคร” ที่ป รากฏในช่ ว งท้า ยของ
นิทรรศการถาวรกลายเป็ นการกาหนด ตาแหน่ งแห่งที่ของ “ความเป็ นศูนย์กลาง” ทางเศรษฐกิจหรือตลาดการ
ท่องเทีย่ วทัง้ ทางวัฒนธรรมและอื่นๆ ความเป็ นศูนย์กลางดังกล่าวแตกต่างไปจากเป้ าหมายดัง้ เดิมของพิพธิ ภัณฑ์
รัฟเฟิ ลส์ ทีเ่ คยครองบทบาทของความเป็ นวิชาการ การทาบทับความเป็ นศูนย์กลางด้วยวาทกรรมชุดใหม่มไิ ด้กลบ
หรือลบเลือนชุดเดิม
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ คงรักษาสถานะความเป็ นศูนย์กลางของความรูเ้ ฉกเช่นพิพธิ ภัณฑ์
รัฟเฟิ ลส์ ด้วยการใช้พพิ ธิ ภัณฑ์เป็ นพืน้ ทีข่ องการฉายประวัตศิ าสตร์ในฉบับของผูป้ กครอง วัตถุตวั อย่างธรรมชาติ
(จากธรรมชาติและวัฒนธรรม) ในยุคของพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยาเคยเป็ นส่วนสาคัญในการรับรูส้ รรพสิง่ ของเจ้า

77 Susan M. Pearce, Museums, Objects, and Collections: A Cultural Study (Washington, D.C: Smithsonian Institution Press, 1993), 98–99.
78 National Museum (Singapore) and Chee, Treasures from the National Museum, Singapore, 14.

121
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อาณานิคมและกาหนดนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ โดยมีคนพื้นถิ่นและคนผลัดถิ่นจาก
อิน เดีย จีน และหมู่เ กาะมาเลย์เ ป็ น ฟั น เฟื อ งในการดาเนิ น เศรษฐกิจ และสั ง คม แต่ ค วามเป็ น ศูน ย์ก ลางของ
พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติในเวลาร่วมสมัยนี้ได้รบั การแทนที่ด้วยชุดประวัติศาสตร์สงั คมที่เดินเป็ นเส้นตรงจาก
อาณานิคมสูก่ ารสร้างชาติ นันคื ่ อความพยายามทีร่ ฐั บาลต้องการฉายให้พลเมืองของตนพึงคิดและปฏิบตั กิ บั โจทย์ท่ี
ได้ตงั ้ ไว้ “ประเทศทีก่ า้ วสูค่ วามเป็ นศูนย์กลาง” ในแบบต่างๆ คอสโมโปลิเตนิสม์ โลกนคร เป็ นอาทิ

บรรณำนุกรม

ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ. “การเมืองเรื่อง ‘ย่านประวัตศิ าสตร์’ ในสิงคโปร์.” หน้าจัว่ 11 (2557): 130–51.


สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์. “ศูนย์มรดกวัฒนธรรมไชน่ าทาวน์: ตานานแห่งความทนทุกข์ (Chinatown Heritage
Centre: A Legend of Endurance).” ใน พิพธิ ภัณฑ์สงิ คโปร์, บรรณาธิการโดย ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, 18–
41. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน), 2553.
Anderson, Benedict R. O’G. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.
Rev. and extended ed. London and New York: Verso, 1991.
Barnard, Timothy P. “The Raffles Museum and the Fate of Natural History in Singapore.” In Nature
Contained: Environmental Histories of Singapore, edited by Timothy P. Barnard, 184–211.
Singapore: NUS Press, 2014.
Bloembergen, Marieke, and Beverley Jackson. Colonial Spectacles: The Netherlands and the Dutch East
Indies at the World Exhibitions, 1880-1931. Singapore: Singapore University Press, 2006.
Bouquet, Mary. Museums: A Visual Anthropology. London and New York: Berg, 2012.
Cohn, Bernard S. Colonialism and Its Forms of Knowledge: The British in India. Princeton Studies in
Culture/power/history. Princeton, N.J: Princeton University Press, 1996.
Errington, Shelly. The Death of Authentic Primitive Art and Other Tales of Progress. Berkeley: University
of California Press, 1998.
Gopinathan, Saravanan. “Being and Becoming: Education for Values in Singapore.” In The Revival of
Values Education in Asia and the West, edited by William K. Cummings, Saravanan Gopinathan,
and Yasumasa Tomoda, 1st ed., 131–45. Comparative and International Education Series, v. 7.
Oxford, England ; New York: Pergamon Press, 1988.
Guan, Kwa Chong. “Transforming the National Museum of Singapore.” In Rethinking Cultural Resource
Management in Southeast Asia: Preservation, Development, and Neglect, edited by John N.
Miksic, Geok Yian Goh, and Sue O’Connor, 201–16. London ; New York: Anthem Press, 2011.
KathirithambyLS, Jeyamalar. “Peninsular Malaysia in the Context of Natural History and Colonial
Science.” New Zealand Journal of Asian Studies 11, no. 1 (June 2009): 337–74.
Kong, Lily, and Brenda S. A. Yeoh. “Social Constructions of Nature in Urban Singapore.” Southeast
Asian Studies 34, no. 2 (September 1996): 402–23.
Lidchi, Henrietta. “The Poetics and the Politics of Exhibiting Other Cultures.” In Representation: Cultural
Representations and Signifying Practices, edited by Stuart Hall, 153–208. Culture, Media, and
Identities. London ; Thousand Oaks, Calif: Sage in association with the Open University, 1997.

122
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

Luyt, Brendan. “Collectors and Collecting for the Raffles Museum in Singapore: 1920–1940.” Library &
Information History 26, no. 3 (September 2010): 183–95.
doi:10.1179/175834810X12731358995235.
———. “Imagining the User in the Raffles Library and Museum, Singapore: 1874 to 1900.” Seoul, 2006.
National Museum (Singapore), and Eng-Lee Seok Chee, eds. Treasures from the National Museum,
Singapore. Singapore: The Museum, 1987.
Ooi, Can-Seng. “Dialogic heritage: Time, space and visions of the National museums of Singapore.”
Translated by Panita Sarawasee. Thammasat University Archves Bulletin 9 (2006): 56–71.
Osborne, Megan S. “Early Collectors and Their Impact on the Raffles Museum and Library.” The
Heritage Journal 3 (2008): 1–15.
Pearce, Susan M. Museums, Objects, and Collections: A Cultural Study. Washington, D.C: Smithsonian
Institution Press, 1993.
Sherman, Daniel J., and Irit Rogoff, eds. Museum Culture: Histories, Discourses, Spectacles. Media &
Society, v. 6. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1994.
Simpson, Moira G. Making Representations: Museums in the Post-Colonial Era. London ; New York:
Routledge, 1996.
Suryadinata, Leo. “National Ideology and Nation-Building in Multi-Ethnic States.” In In Search of
Singapore’s National Values, edited by Jon S. T. Quah, 91–105. Singapore: Institute of Policy
Studies : Times Academic Press, 1990.
Tan, Kevin Y. L. “The National Museum as Maker and Keeper of Singapore History.” In The Makers &
Keepers of Singapore History, edited by Kah Seng Loh, Kai Khiun Liew, and Singapore Heritage
Society, 122–36. Singapore: Ethos Books : Singapore Heritage Society, 2010.
Tantow, David. “Globalisation, Identity and Heritage Tourism: A Case Study of Singapore’s Kampong
Glam.” PhD thesis, National University of Singapore, 2009.
Taylor, Paul Michael. “A Collector and His Museum: William Louis Abbott (1860-1936) and the
Smithsonian.” In Treasure Hunting?, edited by Reimer Schefold and Han F. Vermeulen. Leiden:
CNWS, 2002.
Ting, Kennie. Heritage. Singapore Chronicles. Singapore: Institute of Policy Studies : Straits Times Press
Pte Ltd, 2015.
———. “Museums in Singapore: A Short History.” MUSE SG 8, no. 2 (2015): 18–25.
Tourism 21. Vision of a Tourism Capital. Singapore: URA Media Division, 1996.
Vergo, Peter, ed. The New Museology. London: Reaktion Books, 1989.
Wu, Dai-rong. “Cultural Hegemony in Museum World,” 2006.
Yeo, George. “Importance of Heritage and Identity.” In Speeches: A Bimonthly Selections of Ministers
Speeches, Vol. 131. Singapore: Ministry of Communications and Information, 1989.
Yeoh, Brenda, and Lily Kong. The Politics of Landscapes in Singapore: Constructions Of “nation.” 1st ed.
Space, Place, and Society. Syracuse: Syracuse University Press, 2003.

123
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

124
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P1-R1-03

วีถีคนอีสานและการเปลี่ยนผ่าน
ประเพณี บุ ญ บั ง้ ไฟ (ชุ ม ชนลุ่ ม น้า ชี
อาเภอเขื่ องใน จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี )

ชุลีพร ทวีศรี
สาขาประวัติศาสตร์ โปรแกรมสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

125
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บุญบัง้ ไฟคือประเพณีสาคัญที่ถูกสร้างขึน้ จากความเชื่อของคนในพื้นที่ภาคอีสานเป็ นอีกหนึ่งประเพณี


ประจาเดือนหกในฮีตสิบสอง บุญถูกจัดขึน้ ในช่วงก่อนทานา(ต้นฝน) เพื่อบูชาเทวดา(พระยาแถน) ให้ฝนตกต้อง
ตามฤดูกาล และมีนัยว่าเข้าสู่ฤดูทานาของชาวอีสานแล้ว นอกจากนัน้ บุญบัง้ ไฟยังเป็ นเหมือนช่วงเวลาปลดเปลือ้ ง
พันธนาการด้านอารมณ์ของชาวบ้านอีกด้วย โดยเฉพาะในขบวนแห่บงั ้ ไฟนัน้ นอกจากจะมีหญิงสาวมาฟ้ อนตาม
ขบวนแห่แล้วนัน้ ก็มกั จะเห็นชาวบ้านบางกลุ่มออกมาแสดงท่าทาง แต่งกายเป็ นตัวตลกหรือล้อเลียนเกีย่ วกับเรื่อง
เพศ และสามารถล่วงเกินกันได้เต็มที่ โดยถือว่าเป็ นเรื่องปกติและสนุ กสนานอีกด้ วย นอกจากนัน้ บุญบัง้ ไฟยังเต็ม
ไปด้วยความเชื่อและสะท้อนให้เห็นวิถชี วี ติ ของคนอีสาน
ปั จจุบนั บุญบัง้ ไฟก็ยงั มีการจัดเป็ นประจาทุกปี ของคนลุ่มน้ าชี โดยเฉพาะพื้นที่รมิ แม่น้ าชี เช่น จังหวัด
ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี และมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ เช่น เปลี่ยนวิถี
ปฏิบตั ิ เปลีย่ นความมุ่งหมาย ซึง่ แน่นอนว่าต้องมีงานทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับประเด็นนี้มาแล้วบ้าง และปั จจัยทีส่ าคัญของ
การเปลี่ยนแปลงก็คอื กาลเวลาและค่านิยมของผู้คน ดังนัน้ ประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาในครัง้ นี้คอื ผู้ศกึ ษา
เติบโตมาจากชุมชนทีใ่ ห้ความสาคัญกับบุญบัง้ ไฟและได้เข้าไปมีสว่ นร่วมในกิจกรรมของบุญบัง้ ไฟมาโดยตลอด ทา
ให้มองเห็นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทาให้ได้เข้าใจบริบทของบุญบัง้ ไฟตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบนั ได้เป็ นอย่างดี ด้วย
เหตุน้ีการนาเสนอของงานนี้จงึ ได้ใช้วธิ กี ารศึกษาผ่านการเล่าเรื่องของคนแก่เฒ่าในชุ มชนตนเองเป็ นสาคัญกับ
ประเด็นของการเปลีย่ นผ่านของบุญบัง้ ไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ
เมื่อกล่าวถึงงานบุญของภาคอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)ของประเทศไทย มีหลายงานบุญทีค่ นต่างถิ่น
โดยเฉพาะนักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติรจู้ กั กันอย่างแพร่หลาย เช่น จะเป็ นงานวันเข้าพรรษา งานบุญ
พระเวส งานแห่เรือไฟ (ไหลเรือไฟ) งานบูชาพระธาตุพนม งานบุญบัง้ ไฟ เป็ นต้น งานบุญชาวอีสานมีตลอดปี ซง่ึ
เป็ นไปตามวิถปี ฏิบตั ฮิ ตี สิบสอง ซึ่งหากทาความเข้าใจจะเห็นภาพสะท้อนเรื่องของวิถีชวี ติ ของชาวบ้านในแต่ละ
พืน้ ทีไ่ ด้เป็ นอย่างดี โดยเฉพาะประเพณีบุญบัง้ ไฟ ทีน่ าเอาความเชื่อดัง้ เดิมมาประยุกต์กบั วิถอี าชีพของตนเองจน
ก่อให้เกิดวิถปี ฏิบตั ขิ น้ึ มา งานบุญบัง้ ไฟ สาหรับบุคคลโดยทัวไปมั
่ กนึกถึงจังหวัดยโสธร หรือเข้าใจว่าต้นกาเนิดอยู่
ทีจ่ งั หวัดยโสธร ซึง่ ไม่น่าแปลกเท่าไรนักเพราะบุญบัง้ ไฟถูกสร้างให้กลายเป็ นงานบุญ/ประเพณีประจาปี ข องชาว
ยโสธรมา 3-4 ศตวรรษแล้ว โดยภาครัฐผ่านการท่องเที่ยวอีกด้วย บุญบัง้ ไฟถูกเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อตาม
พุทธคติชาวอีสานเรื่องของพญาคันคาก, ผาแดงนางไอ่ โดยมีเป้ าหมายเพื่อส่งสัญญาณเตือนพญาแถนส่งฝนลง
มาให้แก่มนุ ษย์เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงเวลาเดียวกันของทุ กปี แท้จริงแล้วบุญบัง้ ไฟ คือบุญทีอ่ ยู่ใน ฮีตสิบ
สองของชาวอีสาน เป็ นบุญทีถ่ ูกจัดขึน้ ในเดือนหกและในปั จจุบนั ได้กลายเป็ นบุญประจาปี ของหลายๆ พืน้ ทีใ่ นภาค
อีสานของประเทศไทย โดยเฉพาะชุมชนของคนลุ่มน้ าชี ตัง้ แต่จงั หวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคามและจังหวัด
อุบลราชธานี
ฮีตสิบสอง หรือ จารีตสิบสองเดือนของชาวอีสานทีย่ ดึ ถือเป็ นแนวทางปฏิบตั ริ ่วมกับการดารงชีวติ ตนเอง
ฮีตสิบสองเสมือนเป็ นเครื่องมือของการจัดการสังคมของชาวอีสานเกีย่ วข้องกับความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้ได้
มีโอกาสทาบุญหรือกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน เว้นจากงานหลัก มาร่วมทาบุ ญกันก่อให้เกิดความใกล้ชดิ ช่วยเหลือ
กัน ได้ทากิจกรรมร่วมกันผ่านงานบุญ จนกลายเป็ นแนวทางปฏิบตั ทิ ช่ี าวบ้านร่วมมือร่วมใจกันอย่างเคร่งครัด ทา
ให้ผคู้ นในชุมชนเกิดความรักสามัคคี การเอือ้ เฟื้ อ การพึง่ พาอาศัยทัง้ ทางตรงทางอ้อม มีความสาคัญอย่างมากและ

126
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ถือว่าเป็ นจารีตทีท่ ุกคนควรปฏิบตั ิ ในเดือนต่างๆ บุญสิบสองเดือนของชาวอีสานคือบุญทีเ่ กีย่ วข้องกับพุทธศาสนา


อาชีพ และการดารงชีวติ ตามสภาพแวดล้อมและฤดูกาล เช่น
เดือนยี่ - ทาบุญคูณข้าว (ทาขวัญข้าวหรือสูตรขวัญข้าว) เพื่อเป็ นสิรมิ งคลแก่ขา้ วเปลือก โดยการนิมนต์
พระมาสวดมนต์เย็นฉันเช้า
เดือนสาม : บุญข้าวจี่ เอาข้าวจีใ่ ส่บาตรนาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จ
แล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนา ข้าวจีท่ เ่ี หลือจากพระฉันก็แบ่งกันรับประทานจะถือว่าโชคดี
เดือนเจ็ด : บุญซาฮะ ทาบุญบูชาเทวดา (วีรบุรุษ) ทาการเซ่นสรวง หลักเมือง ผีพ่อแม่ ผี ปู่ตา ผีเมือง
(บรรพบุรุษ) ผีแฮก(เทวดารักษานาไร่) เช่นเดียวกันกับแรกนาขวัญเป็ นพิธกี รรมก่อนจะมีการทานา
เดือนแปด : บุญเข้าพรรษา ทาบุญตักบาตร ถวายอาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟั งธรรม
ชาวบ้านนาขีผ้ ง้ึ มาหล่อเทียน สาหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็ นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษา
เดือนเก้า : บุญข้าวประดับดิน ทาบุญข้าว และอาหารความหวานพร้อมทัง้ หมากพลูบุหรีห่ ่อด้วยใบตอง
กล้ว ยแล้ว น าไปวางไว้ต ามต้น ไม้แ ละพื้น หญ้า เพื่อ อุ ทิศ ให้แ ก่ บ รรดาญาติผู้ล่ว งลับ ไปแล้ว ภายหลัง นิ ย มท า
ภัตตาหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แล้วอุทศิ ให้ “ผูแ้ ก่” ตามด้วยการหยาดน้า (กรวดน้า)
เดือนสิบสอง : บุญกฐิน ทาบุญกองกฐิน ซึง่ เริม่ ตัง้ แต่วนั แรมหนึ่งค่าเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบเอ็ดถึง
กลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครัง้ ก่อนนิยมเริม่ ทาตัง้ แต่วนั แรมหนึ่งค่าเดือนสิบสอง จึงมักเรียกว่าบุญกฐินว่าเป็ น
บุญเดือนสิบสอง มีทงั ้ มหากฐิน(กองใหญ่) และบุญจุลกฐิน(กองเล็ก) หลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐิน
ไม่ได้อกี จึงต้องทาบุญกองบัง(บังสุกุลหรือทอดผ้าป่ า) และทาบุญกองอัฏฐะ คือการถวายอัฐบริขารแปดอย่างแก่
พระสงฆ์1 เป็ นต้น
บุญบัง้ ไฟ หรือ บุญบ้องไฟ (ภาษาอีสาน) ในบริบทเฉพาะพืน้ ถิน่ คือบุญตามฮีตสิบสอง เป็ นบุญเดือนหก
ของชาวอีสานในประเทศไทย แน่นอนว่าในปั จจุบนั เป็ นทีร่ จู้ กั ของคนโดยทัวไปในฐานะเทศกาล(ประเพณี
่ )ประจาปี
ดัง้ เดิมของชาวจังหวัดยโสธร แม้แต่คนอีสานรุ่นใหม่กเ็ ชื่อเช่นกัน ที่ถูกจัดขึน้ อย่างยิง่ ใหญ่มนี ักท่องเทีย่ วทัง้ ชาว
ไทยและต่างประเทศเดินทางมาเที่ยวชมจานวนมากในทุกๆปี โดยการสนับสนุ นทัง้ ส่วนของภาครัฐและเอกชน
ตัง้ แต่ พ.ศ. 2520 เป็ นต้นมา

รู ปที่ 1 ขบวนนางรา (นางฟ้อน)


ที่มา: บุ ญบัง้ ไฟ บ้านเสียม
อ.เขื่องใน จ.อุ บลราชธานี,
(http//.cyberspaceandtime.com).

1 จารุบุตร เรืองสุวรรณ.(มปป). ของดีอสี าน.หน้า 147-150.

127
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ประเพณีบุญบั้งไฟ วิถีชุมชนลุ่มน้ำชี อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุ บลรำชธำนี


ชุมชนลุ่มน้ าชี ที่ผู้ศกึ ษากล่าวถึงหมายถึง หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ าชี ที่อยู่ในอาเภอเขื่องใน
จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็ นภูมลิ าเนาของผู้ศกึ ษาเอง และประกอบกับหมู่บ้านในบริเวณนี้มงี านบุญบัง้ ไฟ
ควบคู่ไปกับงานบุญผ้าป่ าเป็ นงานประจาทุกหมู่บา้ นมาตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบนั มีเนื้อหาสาระและลักษณะกิจกรรม
ไม่แตกต่างกัน คือ เนื้อหาสาระสาคัญของงานบุญบัง้ ไฟในปั จจุบนั นี้อยู่ในลักษณะบัง้ ไฟถูกใช้เป็ นเครื่องมือเพราะ
ผู้คนจัดงานไม่ได้มคี วามสาคัญต่อเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาเช่นแต่ก่อน แต่จดั ขึน้ ตามประเพณีท่เี คยจัด
ตามๆกันมาเท่านัน้ เพราะงานบุญบัง้ ไฟก็คอื ช่วงเวลาทีญ ่ าติพ่นี ้องกลับมาพบหน้าตากันอีกครัง้ ดั งนัน้ เรื่องราว
ของตานานบุญบัง้ ไฟ ผีแถน หรือผาแดงนางไอ่ จึงเป็ นเพียงแค่การนามาใช้เพื่อเพิม่ ความศักดิสิ์ ทธิให้ ์ แก่พธิ กี รรม
เท่านัน้ เพราะโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ทเ่ี กิดและเติบโตมากับงานบุญบัง้ ไฟเองก็ยงั ไม่เข้าใจความหมายทีเ่ ชื่อมโยงกับ
พุทธศาสนาเท่าใดนัก เข้าใจเพียงแต่ว่า “จุดเพื่อขอฝน ให้ฝนตกตามฤดู” เมื่อเป็ นงานบุญถึงเวลาก็ต้องทาบุญถ้า
ไม่ทาจะ “คะลา” ทาให้เกิดเพศภัยหรือสิง่ ไม่ดตี ่อหมู่บา้ น ตนเองและครอบครัว

รู ปที่ 2 งานบุ ญบั้งไฟบ้านชี ทวน


ที่มา: ช่ างภาพอุ บล ,(http//.blogspot.com).
ดังนัน้ บุญบัง้ ไฟถูกจัดขึน้ ในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี เช่นเดิม คือ ในช่วงเวลาตัง้ แต่ เดือนพฤษภาคม
ถึง ต้นเดือนกรกฎาคม (แต่ละหมู่บา้ นจะหาฤกษ์ยามของตนเอง) เพราะบุญบัง้ ไฟเป็ นประเพณีทช่ี าวบ้านในภาค
อีสานบางพื้นที่ให้ความสาคัญมากกว่าประเพณีอ่นื จนกลายเป็ นประเพณีประจาปี ความสาคัญที่ว่าคือเมื่อถึง
ช่วงเวลาจัดบุญ คนทีท่ างานต่างถิน่ ก็กลับมาร่วมประเพณี ญาติพน่ี ้องได้พบปะกันปี ละครัง้ ก่อให้เกิดกิจกรรมอื่น
ตามมาในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ได้แก่ บุญผ้าป่ า งานศิษย์เก่า งานบวช มี
มหรสพมากมาย เช่น หมอลาซิง่ หมอลาหมู่ หนังกลางแปลง การประกวดนางงาม เป็ นต้น ดังนัน้ สาระสาคัญของ
งานบุญบัง้ ไฟของชาวบ้านจึงไม่ใช่แค่การขอฝน แต่คอื ประเพณีทเ่ี กิดขึน้ และมีความสาคัญอย่างมากในบริบทของ
ปฏิสมั พันธ์ของคนในชุมชน เริม่ ตัง้ แต่กระบวนการทาบัง้ ไฟ การเตรียมพร้อมสาหรับการเซิง้ บัง้ ไฟของหญิงสาวใน
หมู่บา้ น การทาความสะอาดบ้านรอการกลับมาของลูกหลานทีไ่ ปทางานต่างถิน่ การทาบุญร่วมกันของคนในชุมชน
การทาให้ชุมชนทีเ่ งียบเหงามาตลอดปี ทเ่ี คยมีแต่คนเฒ่าคนแก่ เด็กเล็ก กลับมามีสสี นั ขึน้ แม้จะปี ละครัง้ ก็ตาม

128
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ลักษณะของกิจกรรมในปั จจุบนั คือ การนาบัง้ ไฟทีท่ าขึน้ โดยชาวบ้านแต่ละคุม้ (ชุมชน/หมู่บ้ าน) เกวียน
หรือรถเข็น แห่ไปวัดในชุมชนของตนเอง และแห่รอบวัดอีกครัง้ ในขบวนประกอบไปด้วย นางรา ก ลองยาว
โปงลาง การล้อเลียนเรื่องลามกอนาจาร เรื่องเพศ เพราะมีความเชื่อว่าเทวดาหรือเทพโปรดป ราน ซึ่งหมายถึง
ความอุดมสมบรูณ์ เพราะบุญบัง้ ไฟคือพิธกี รรมที่เกีย่ วข้องกับวิถชี วี ติ และอาชีพของชาวอีสาน ดังนัน้ ความมุ่งหมาย
ของพิธกี รรมบุญบัง้ ไฟจึงถูกสร้างขึน้ มาเพื่อขอฝนตามคติความเชื่อของคนในท้องถิน่ ให้ตกตามฤดูกาล
อย่างไรก็ตาม ในความเป็ นจริงตลอด 3-4 ทศวรรษทีผ่ ่านมา บุญบัง้ ไฟของชาวอีสานไม่ได้มคี วามสาคัญ
แค่การขอฝนเพียงเท่านัน้ เพราะยังมีงานบุญอื่นๆ ถูกจัดขึน้ ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น บุญผ้าป่ า บุญบวช บุญกฐิน
เป็ นต้น ซึ่งเป็ นบุญทีถ่ ูกจัดมาแล้วหรือยังไม่ได้จดั ก็มกั จะถูกจัดขึน้ ในช่วงนี้ เรียกว่าเป็ นการ โฮมบุญ (รวมบุญ)
ด้วยเหตุน้จี งึ ทาให้ชาวอีสานทีอ่ อกไปทางานต่างถิน่ ถือโอกาสลางานกลับบ้านเกิดเพื่อร่วมงานประจาปี ในช่วงเวลา
นี้เป็ นจานวนมาก โดยทัวไป ่ บุญบัง้ ไฟจะจัดขึน้ ใช้เวลา 2-3 วัน (แล้วแต่ทอ้ งถิน่ กาหนด) อย่างเช่น หมู่บา้ นโพน
ทอง อาเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ก็จะจัด 3-4 วัน ซึง่ เป็ นการ โฮมบุญ ในปั จจุบนั ระยะเวลาจัดก็ลดน้อยลง
ตามสภาวการณ์ โดยแบ่งเป็ น
วันที1่ รับขบวนผ้าป่ า (รับญาติ)
- แห่ผา้ ป่ า คือ คนทีไ่ ปทางานต่างถิน่ จะนาเงินทีร่ วบรวมกันมาตามจิตศรัทธามาถวายวัด และโรงเรียน
- บุญบวช แห่นาค
- กลางคืนมีการเลีย้ งต้อนรับ โดยจัดมหรสพ เช่น ประกวดนางงาม และจ้างคณะหมอลา หรือโปงลาง
เป็ นต้น
วันที่ 2 แห่บงั ้ ไฟ
- ให้ทุกคุ้มนาบัง้ ไฟของตนเองมาแห่ในวัดของหมู่บ้าน ขบวนแห่ประกอบไปด้วย แถวนางราเซิ้ง
โปงลาง กลองยาว
- กลางคืนมีการแสดงของคณะหมอลา
วันที่ 3 จุดบัง้ ไฟ
- นาบัง้ ไฟไปรวมพลที่ฮา้ งบัง้ ไฟ (ที่จุดบัง้ ไฟ) ตลอดทัง้ วัน ประกอบกับจ้างคณะหมอลาซิง่ มาแสดง
เพื่อเพิม่ สีสนั ให้งาน
วันที่ 4 ส่งคณะผ้าป่ ากลับไปทางาน

รู ปที่ 3 นาต้นเงินไปร่วมทาบุ ญที่วัด, ที่มา: ภาพโดยผู ้เขียน, 4 พฤษภาคม 2558.

129
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รู ปที่ 4 รถแห่บั้งไฟ
ที่มา: งานประเพณีบุญบั้งไฟประจาปี 2557, (http://kudchompu.go.th/).

รู ปที่ 5 ขบวนแห่บั้งไฟ
ที่มา: ภาพโดยผู ้เขียน, 5 พฤษภาคม 2558

130
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รู ปที่ 6 บรรยากาศชาวบ้านนั่งฟั งหมอลาบริเวณจุ ดบั้งไฟ


ที่มา: ภาพโดยผู ้เขียน, 5 พฤษภาคม 2558

รู ปที่ 7 หมอลาซิ่ งในงานจุ ดบั้งไฟ


ที่มา: ภายโดยผู ้เขียน, 6 พฤษภาคม 2558

131
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

กิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ เพื่อเน้นความสนุ กสนาน (ดังทีเ่ ห็นในภาพประกอบ) เสมือนเป็ นการผ่อนคลาย


จากการทางานหนักมาตลอดปี ของผูค้ นทัง้ ทีม่ าจากทางานต่างถิน่ และคนในหมูบ่ า้ น แทบจะไม่มชี ่องว่างหรือกล่าว
ให้แก่พุทธศาสนา ยกเว้น การนาเงินมาทานุ บารุงวัดและโรงเรียนประจาหมู่บ้านของตน ซึง่ หากเปรียบเทียบกับ
อดีตในฐานะผู้เติบโตมากับงานบุญบัง้ ไฟของผู้คนที่อาศัยลุ่มน้ าชี จึงเห็นพัฒนาการของงานบุญบัง้ ไฟค่อนข้าง
ชัดเจน
สาหรับงานบุญบัง้ ไฟเป็ นงานบุญทีเ่ กีย่ วข้องกับวิถขี องชาวอีสาน คือ ฮีตสิบสอง ดังนัน้ แต่ละหมู่บา้ นได้มี
การทาบุญตามช่วงเวลาปกติเป็ นประจาทุกปี มาตัง้ แต่อดีต บุญบัง้ ไฟก็เช่นกัน ถูกจัดขึน้ เพื่อเป็ นการสร้างความ
เชื่อมัน่ เสริมสร้างกาลังใจในการประกอบอาชีพของตนเอง และกลายเป็ นงานบุญประจาปี ในเวลาต่อมาด้วยเหตุน้ี
งานบุญบัง้ ไฟจึงเป็ นงานบุญทีม่ งี านบุญอื่นๆจัดในช่วงเวลาเดียวกันจนกลายเป็ นงานเดียวกันในปั จจุบนั คือ บุญ
ผ้าป่ า โดยลูกหลานทีไ่ ปทางานต่างถิน่ ร่วมกันทาบุญแล้วนามามอบให้วดั และโรงเรียนทัง้ นี้เพื่อกลับมาร่ วมงานบุญ
ประจาปี ของหมู่บา้ นตนอีกด้วย กิจกรรมถูกผลิตซ้าแบบเดียวกันทุกๆปี โดยตลอด ดังนัน้ ความสาคัญและลักษณะ
ของงานบุญบัง้ ไฟในปั จจุบนั จึงแตกต่างจากอดีตค่อนข้างมาก โดยงานบุญให้ความสาคัญกับคณะผ้าป่ า มากกว่า
การทาบัง้ ไฟหรือขบวนแห่บงั ้ ไฟ เพราะคณะผ้าป่ าคือลูกหลานของตนเอง ก่อให้เกิดการเฝ้ ารอของผู้มาเยือน
มากกว่าการเฝ้ ารอฝน
จากทีผ่ ศู้ กึ ษาได้ยกตัวอย่างกิจกรรมทีจ่ ดั ขึน้ ในงานรวมทัง้ วัตถุประสงค์ของงานทีเ่ ปลีย่ นไป ทาให้เห็นว่า
กิจกรรมจะเน้นความบันเทิง ความสนุ กสนาน การปลดปล่อย มากกว่าการขอฝนจากผีแถน หรืองานบุญตามวิถี
ชาวพุทธ เช่น ในวัยเด็กผูศ้ กึ ษาเฝ้ ารอให้ถงึ งานบุญบัง้ ไฟ ไม่ได้คาดจะได้ถอื ป้ ายให้คุม้ ตนเอง หรือเข้าร่วมขบวน
แห่บงั ้ ไฟในฐานะนางฟ้ อน แต่สงิ่ ทีร่ อคอยคือการชมขบวนแห่บงั ้ ไฟในวัด ซึง่ เป็ นสีสนั ของงาน โดยเฉพาะขบวนตัว
ตลก(ชายหนุ่ มจะแต่งตัวเป็ นหญิง การนาเรื่องเพศมาหยอกล้อกัน) ซึ่ง แต่ละคุ้มก็จะนามาประชันกันอย่างเต็มที่
รวมถึงการนาเอาสาวงามประจาคุม้ ของตนเองมาถือป้ ายให้ขบวน และมีการมอบรางวัลให้แก่คมุ้ ทีช่ นะอีกด้วย ใน
ส่วนของกิจกรรมการจุดบัง้ ไฟในอดีตคือการจุดประชันกันคุ้มใดขึน้ สูงทีส่ ดุ ชนะได้รบั รางวัล คุม้ ทีแ่ พ้หรือบัง้ ไฟแตก
บัง้ ไฟไม่ขน้ึ ก็จะถูกจัดการโดยการอุม้ คนทาบัง้ ไฟไปลงโคลนอย่างสนุ กสนาน แต่ปัจจุบนั ขบวนแห่ในลักษณะนี้
หายไปเหลือเพียงขบวนนางฟ้ อน โปงลาง สาวงามถือป้ าย และคนเมาฟ้ อน เต้น ตามขบวน การจุดบัง้ ไฟใน
ปั จจุบนั ไม่ได้รบั ความสาคัญเท่ากับหน้าเวทีหมอลาซิง่ การลุยโคลนหน้าเวที เป็ นต้น
ดังนัน้ เมื่อให้เปรียบเทียบลักษณะกิจกรรมและบรรยากาศของงานบุญบัง้ ไฟเกิดการเปลี่ยนแปลงของ
บริบทงานได้อย่างชัดเจน จากหลายเหตุผลในการวิเคราะห์ของผูศ้ กึ ษา ดังนี้ ก่อนอื่นต้องทาความเข้าใจสภาวะ
ทัวไปของปั
่ จจุบนั ไม่ว่าจะเป็ นการดารงชีวติ ค่านิยม อาชีพ ของผู้คนแตกต่างจากอดีตอย่างสิน้ เชิงด้วยหลายๆ
ปั จจัย เช่น สภาวะเศรษฐกิจ เหตุการณ์บา้ นเมือง การศึกษา เทคโนโลยี ฯ ทีเ่ ข้ามามีอทิ ธิพลและส่งผลต่อชีวติ ของ
ผูค้ นในทุกด้าน โดยมองผ่านงานบุญบัง้ ไฟ ดังนี้
1. การที่ผู้คนไม่ให้ความสาคัญแก่ผแี ถน หรือ การขอฝน ก็อาจเป็ นเพราะว่าในปั จจุบนั วิ ถีเกษตรไทย
ไม่ได้พง่ึ พิงธรรมชาติเป็ นสาคัญ เนื่องจากมีการพัฒนาคลองส่งน้าชลประทานแทบทุกพืน้ ที่ สร้างฝาย และอ่างเก็บ
น้าขนาดเล็กไว้ทุกหมู่บา้ น
2. ด้วยอาชีพของผูค้ นเปลีย่ นไปเมื่อผลผลิตจากการเกษตรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผูค้ น
ได้อย่างเพียงพอ คนจึงเลือกทีจ่ ะประกอบอาชีพอื่น เช่น ค้าขาย ทาสวน ขายแรงงาน เป็ นต้น

132
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

3. ปั จจุบนั ผูค้ นในชนบทเริม่ ให้ความสาคัญกับการศึกษามากขึน้ เพราะหลีกหนีความยากจนไม่ตอ้ งการให้


ลูกหลานต้องเป็ นชาวนาเหมือนตนเอง จบแล้วเข้ามาทางานหาเงินในเมืองใหญ่แล้วส่งกลับมาให้ทางบ้าน (จาก
มุมมองของคนในหมู่บา้ น) อีกทัง้ การศึกษายังช่วยเชิดหน้าชูตาทางสังคมให้แก่ครอบครัวอีกด้วย
จากปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ กับงานบุญบัง้ ไฟของชาวบ้านลุ่มน้ าชีในปั จจุบนั ทาให้ไม่ได้ถูกจัดมาจากความ
ศรัทธาของชาวบ้าน แต่ถูกจัดขึน้ ตามเทศกาลบุญมากกว่า เพราะสาระไม่ได้อยู่ท่บี งั ้ ไฟอีกต่อไปดังเช่น ทีเ่ ห็นใน
ปั จจุบนั โดยเฉพาะพืน้ ที่ แนวโน้มในอนาคตบุญบัง้ ไฟและบุญอื่นๆ อาจได้รบั ความสาคัญน้อยลงไปเรื่อยๆ อย่าง
หลีกเลีย่ งไม่ได้ จนไม่มอี ะไรมาเป็ นจุดร่วมให้คนในหมูบ่ า้ นเดียวกันมาพบปะมีปฏิสมั พันธ์กนั เช่นเดิมและกลายเป็ น
สังคมในรูปแบบสังคมเมืองได้ในอนาคต (กาลังเกิดขึน้ ในปั จุบนั )
แต่อย่างไรก็ตาม งานบุญบัง้ ไฟของชาวลุ่มน้าชีกต็ อ้ งมีการจัดขึน้ ทุกปี ควบคู่ไปกับงานบุญผ้าป่ าต่อไปอีก
หลายสิบปี แต่จะคงอยู่อย่างไรผูศ้ กึ ษาไม่สามารถคาดการณ์ได้ และถึงแม้ว่างานบุญบัง้ ไฟจะไม่ได้เกิดขึน้ เพื่อรับใช้
วิถกี ารดารงชีวติ ในฐานะของพุทธศาสนิกชนตามตานานเล่าต่อกันมา แต่ในฐานะผูท้ ม่ี สี ่วนได้ส่วนเสียก็ยงั มีความ
คาดหวังกับงานบุญบัง้ ไฟในฐานะงานบุญทีท่ าให้ลกู หลานทีไ่ ปทางานต่างถิน่ ได้กลับมาพบปะครอบครัวของตนเอง
ได้ปลดเปลือ้ งความเหน็ดเหนื่อยจากงานอย่างน้อยปี ละครัง้ ให้อยู่ค่กู บั วิถชี นบทของชาวลุ่มน้าชีไปอีกนาน

อ้ำงอิง
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. ม.ป.ป. ของดีอสี าน. ม.ป.ท.

อ้ำงอิงรู ปภำพ
http//.cyberspaceandtime.com, บุญบัง้ ไฟ บ้านเสียม อ.เขือ่ งใน จ.อุบลฯ
http//.blogspot.com, งานบุญบัง้ ไฟบ้านชีทวน
http://kudchompu.go.th/, งานประเพณีบุญบัง้ ไฟประจาปี 2557

133
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

134
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P5-R3-02

ร้านมามัก-มาเลเซี ย
พื้ น ที่ ของการต่ อ รองทางอั ต ลั ก ษณ์
ระหว่ า งชาติ พั น ธุ์ ใ นมาเลเซี ย

ญาณิน วงค์ใหม่
นักวิจัยอิสระ

135
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
บทความนี้เป็ นงานที่ทาการศึกษาเกี่ยวกับร้านมามัก (Kedai Mamak หรือ Gerai Mamak) ในแง่ของ
“พืน้ ที”่ อันเป็ นผลมาจากการประกอบสร้างสังคมมาเลเซียเชิงพหุสงั คมวัฒนธรรม (Multi-cultural Society) นัน่ คือ
เป็ นสังคมที่มสี ่วนผสมของวัฒนธรรมอันหลากหลายระหว่างผู้คนที่หลากหลายชาติพนั ธุ์ ศาสนา และความเชื่อ
โดยเฉพาะหลังจากปี 1970 ทีเ่ กิดความเปลีย่ นแปลงในสังคมมาเลเซียอย่างเห็นได้ชดั เพราะรัฐบาลได้สนับสนุ นให้
ทุกๆชาติพนั ธุเ์ ข้ามามีปฏิสมั พันธ์ระหว่างกันให้มากขึน้ ตามนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) รวม
ไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศอันนาพาไปสู่การเกิดขึน้ เกิดชนชัน้ กลางใหม่ในเมืองใหญ่ๆ กลุ่มคน
เหล่านี้มรี ปู แบบวิถชี วี ติ แบบใหม่และรสนิยมทีต่ ่างจากเดิม เช่น นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็ นต้น
จึงไม่น่าแปลกใจว่าในช่วงหลายสิบปี ทผ่ี ่านมา ร้านมามักเป็ นตัวเลือกทีน่ ่ าสนใจสาหรับทุกกลุ่ม (มาเลย์
จีน อินเดีย และอื่นๆ) รูปแบบของร้านมามักถูกออกแบบให้เป็ นพืน้ ที่ทด่ี งึ ดูดให้ผคู้ นเข้ามาใช้บริการเพราะมีทาเล
ทีต่ งั ้ ร้านอยู่ในย่านชุมชนและย่านธุรกิจ ผูค้ นสามารถใช้เป็ นทีพ่ บปะ กิน ดื่ม ได้ตลอด 24 ชัวโมง
่ อีกทัง้ มีเมนูทม่ี ี
ราคาไม่แพงและมีความหลากหลาย เหมาะทัง้ สาหรับสังสรรค์ในกลุ่มของตนและระหว่างกลุ่มชาติพนั ธุ์ มุสลิมก็จะ
ไม่ ต้อ งกัง วลเกี่ย วกับ อาหารที่ไ ม่ ฮาลาล (ไม่ เ ป็ น ที่อ นุ ม ัติต ามหลัก การทางศาสนาอิสลาม) หรือ คนอิน เดีย ที่
รับประทานอาหารมังสวิรตั กิ ส็ ามารถเข้ามาใช้บริการได้เพราะมีขายมังสวิรตั ทิ ห่ี ลากชนิด
หากมองอย่างคร่าวๆแล้ว ร้านมามักเปรียบเสมือนพืน้ ทีท่ ส่ี ะท้อนเอกภาพของสังคมมาเลเซีย (Malaysian
Unity) ทีม่ ปี ระชากรหลากหลายสามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้ แต่หากพิจารณาจากองค์ประกอบหลายๆด้านแล้วเรา
จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของร้านมามักเป็ นพื้นที่ของการสร้างอัตลักษณ์ของคนกลุ่มต่างๆเพื่อการต่อรองกับอัตลักษณ์
กระแสหลักในมาเลเซีย ทัง้ ในแง่อตั ลักษณ์ทางชาติพนั ธุแ์ ละอัตลักษณ์ทางศาสนา (อธิบายต่อไปในภายหลัง)
คาถามของบทความชิน้ นี้คอื 1.ทาไมร้านมามักจึงถูกสร้างขึน้ มาในฐานะพืน้ ทีส่ าหรับทุกกลุ่มชาติพนั ธุ์ 2.
ด้วยบริบทอะไรที่ทาให้ร้านมามักเป็ นที่นิยมในสังคมมาเลเซีย และ 3. กลุ่มชาติพนั ธุอ์ ่นื ๆใช้ร้านมามักเป็ นพืน้ ที่
สร้างอัตลักษณ์ย่อยทีบ่ ่งบอกถึงความเป็ นกลุ่มชาติพนั ธุต์ นอย่างไร
บทความชิน้ นี้เสนอว่า การเติบโตของร้านมามักซึง่ เป็ นผลมาจากความสาเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ตัง้ แต่ปี 1970 ร้านมามักส่วนมากจะพบได้ในกัวลาลัมเปอร์และปี นัง อันเป็ นสองเมืองทีถ่ ูกพัฒนาให้มลี กั ษณะเป็ น
เมืองใหญ่ของคาบสมุทรมาเลเซีย และมีความหลากหลายของผูค้ นในแง่ของชาติพนั ธุแ์ ละศาสนาต่างๆทีอ่ าศัยอยู่
ร่วมกันมากกว่ารัฐอื่นๆในประเทศมาเลเซีย ร้านมามักจึงเป็ นพืน้ ที่ทส่ี ามารถตอบสนองปฎิสมั พันธ์เมื่อต้องมีการ
พบปะระหว่างกลุ่ม แม้ว่าร้านมามักจะเน้นขายอาหารทีม่ อี ทิ ธิพลมาจากอาหารอินเดีย เพราะเจ้าของกิจการและคน
ทาอาหารส่วนมากจะเป็ นคนมาเลเซียเชือ้ สายอินเดียทีน่ ับถือศาสนาอิสลาม แต่เราก็จะไม่สามารถพบ “อาหารมา
มัก” ได้ในประเทศอินเดีย เพราะอาหารในร้านมามักก็จะถูกสรรค์สร้างออกมาในลักษณะของลูกผสมระหว่างอาหาร
อินเดียและอาหารกลุ่มชาติพ ันธุ์ อ่นื ที่รสชาติถูกปรับให้เข้ากับรสสัมผัสการรับรู้ข องคนมาเลเซีย ดังนัน้ การ
รับประทานอาหารในร้านมามักจึงสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมทีค่ นมาเลเซียมีต่อกัน และใน
รูปแบบความสัมพันธ์ดงั กล่าวมีสว่ นทีผ่ สมผสานกันและส่วนทีต่ ่อรองซึง่ กันและกัน

136
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ปี นัง: จุ ดเริ่มต้นของร้ำนมำมัก
นับตัง้ แต่ ปลายคริสศตวรรษที่ 18 เมื่อสุลต่ านเคดะห์ท าสัญญากับจักวรรดิองั กฤษเพื่อ เช่า เกาะปี นัง
ภายใต้การบริหารงานของจักรวรรดิองั กฤษ ซึง่ นาโดย Sir Francis Light ทาให้ปีนงั ถูกพัฒนาเป็ นเมืองท่าหนึ่งของ
กลุ่ ม Straits Settlements เป็ น ผลให้เ กิดการหลัง่ ไหลเข้ามาของแรงงานจากนอกคาบสมุท ร เช่ น จีน อิน เดีย
อินโดนีเซีย และอื่นๆ หลากหลายระดับเข้ามาทางานบนเกาะปี นัง เป็ นจานวนมากตัง้ แต่กลุ่มแรงงานไปจนถึง
เจ้าของกิจการ

ร้านมามักหาบเร่ ณ มุ มถนนแห่งหนึ่งบนเกาะปี นงั


(ภาพจาก http://zilzarlife.com/the-merchants-of-kapitan-keling-in-penang/)

ท่ามกลางกลุ่มผูอ้ พยพเข้ามาทางานทีเ่ กาะปี นัง กลุ่มคนอินเดียถูกจัดได้ว่าเป็ นกลุ่มผูอ้ พยพเข้ามาอยู่บน


เกาะปี นังทีม่ จี านวนมากกลุ่มหนึ่งและก็มคี วามหลากหลายในกลุ่มตนเองอย่างน่ าสนใจ เพราะมีทงั ้ กลุ่มคนอินเดีย
ได้ทาการค้าขายทางทะเลผ่านทางช่องแคบมะละกาเรื่อยมาตัง้ แต่ช่วงต้นคริสต์ศวรรษ โดยเฉพาะเมืองท่าสาคัญที่
เป็ นจุดจอดพักเรือ คือ เคดะห์ และมะละกา ต่อมา เมื่ออังกฤษจัดตัง้ ให้ปีนังเป็ นหนึ่งใน Straits Settlements เป็ น
ผลให้คนอินเดียเดิมย้ายเข้ามาอยู่ทป่ี ี นังเป็ นจานวนมาก รวมไปถึงมีคนอิ นเดียจากภูมภิ าคต่างๆในอินเดียอพยพ
เข้ามาทางานในบริตชิ มาลายา ชาวอินเดียมุสลิมในยุคทีอ่ งั กฤษปกครองมาลายาสามารถแบ่งได้อย่างคร่าวๆ ดังนี้
ทมิฬ มะละบาร์ เบงกาลี กุจราช และบอมเบย์ (Duruz and Cheng Khoo 2015, 72)
คนอินเดียที่ย้ายเข้ามาทางานในบริติชมาลายาตัง้ แต่ ต้ นคริสศตวรรษที่ 20 เป็ นต้นมา ประมาณ 80
เปอร์เซ็นต์เป็ นคนอินเดียทีม่ าจากทางภาคใต้ (Hagan and Wells 2005, p.144) คนอินเดียแต่ละกลุ่มจะถูกจัดสรร
ให้ทางานในแต่ละภาคส่วน คนอินเดียจากมันดราสทีน่ ับถือศาสนาฮินดูถูกจ้างให้มาเป็ นแรงงานในสวนยางพารา
ส่วนคนอินเดียทมิฬมุสลิมจะทางานเกีย่ วกับการค้าขายแถวท่าเรือ ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทาให้ชาวทมิฬมุสลิมจึงมี
บทบาทเป็ นผูร้ เิ ริม่ ในแง่ของการค้าขายอาหารมากกว่ากลุ่มคนอินเดียที่นับถือศาสนาอื่นๆ ดังนัน้ จึงมีรา้ นมามัก
ขายนาซิกนั ดาตอนเช้าทีเ่ ก่าแก่หลายร้านซึง่ ดาเนินการโดยคนทมิฬมุสลิม ได้แ ก่ ร้าน Hameediyah บนเกาะปี นงั
ทีเ่ ปิ ดกิจการขายนาซิกนั ดามาตัง้ แต่ปี 1907 และร้าน Craven Cafe and Restaurant เปิ ดมาตัง้ แต่ปี 1920 เป็ นต้น
(Duruz and Cheng Khoo 2015, 73)
ธุรกิจการขายอาหารของกลุ่มทมิฬมุสลิม หรือ มามัก ในยุคแรกๆนัน้ โดยส่วนมากไม่ได้มกี ารตัง้ เป็ น
ร้านอาหาร การขายอาหารของกลุ่มมามักเริม่ จากการขายโดยเอาอาหารทัง้ ข้าวและกับข้าวต่างๆมาใส่ตะกร้าสาน
137
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สองใบแล้วนาเชือกมาผูกทาเป็ นหูหว้ิ ให้กบั ตะกร้าทัง้ สองใบ และเอาไม้ยาวมาสอดกับเชือกเพื่อหาบอาหารไว้บน


บ่าเพื่อนาไปขายแบบหาบเร่ การขายอาหารในรูปแบบนี้จงึ เป็ นทีม่ าของอาหารทีช่ ่อื ว่า นาซิกนั ดา (Nasi Kandar)
ซึ่ง นาซิ ในภาษามลายู แปลว่า ข้าว และ กันดา (Kandar, หรือ Kandha) ในภาษาอูรดู แปลว่า ไหล่ บ่า (Abdul
Rais et al. 2013, p.1989) กลุ่มคนขายนาซิกนั ดาจะหาบอาหารมาขายทีท่ ่าเรือปี นังในตอนเช้า ลูกค้าส่วนมากจะ
เป็ นกลุ่มคนใช้แรงงาน หรือ กุลี ทัง้ จีน อินเดีย และผูค้ นจากเกาะอินโดนีเซีย ทีต่ อ้ งการกินข้าวให้มากๆ ให้เพียงพอ
ต่อร่างกายทีต่ อ้ งทางานใช้แรงงานตลอดทัง้ วัน
ส่ว นค าเรีย กขานว่ า “มามัก ” (Mamak) มีข้อ สัน นิ ษ ฐานว่ า เป็ น ค าที่แ ผลงมาจากภาษาทมิฬ “มามา”
(Mamaa) แปลว่า “ลุง” (Zarina Zawawi and Faizal Ibrahim 2012, p.50) มีการสันนิษฐานกันว่าคนมาเลย์เป็ น
กลุ่ ม คนที่เ ริ่มเรียกขานคนทมิฬมุสลิมว่ า “มามัก ” เพราะในวัฒนธรรมมาเลย์จ ะมีก ารเรียกขานบุ คคลที่มีอายุ
มากกว่าด้วยถ้อยคาทีแ่ ฝงนัยของการแสดงความนับถือ แต่กม็ อี กี ข้อสันนิษฐานหนึ่งเสนอว่าคาว่า “มามัก” เป็ นคา
ที่เด็กๆชาวมาเลย์ใช้เรียกชาวทมิฬมุสลิมที่มาแต่งงานกับหญิงชาวมาเลย์ (Intermarriage) (Duruz and Cheng
Khoo 2015, p.70) สาหรับผูท้ ม่ี เี ชือ้ สายผสมระหว่างอินเดียและมาเลย์ นับถือศาสนาอิสลามและพูดภาษามาเลย์
จะถูกเรียกว่า Jawi Peranakan หรือ Chulia ต่อมากลุ่มคนเหล่านี้ถูกจักรวรรดิองั กฤษจัดแบ่งเข้าในสามะโนครัวปี
1911 ให้ไปอยู่ในหมวดหมู่ “มาเลย์” จึงทาให้ Jawi Peranakan หรือ Chulia กลายเป็ น sub-ethnic ของมาเลย์เป็ น
ต้นมา แม้ว่ากลุ่มคนอินเดียมุสลิมเป็ นกลุ่มชาติพนั ธุท์ ม่ี จี านวนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มชาติพนั ธุ์อ่นื ๆ ทีอ่ พยพเข้ามา
อยู่ท่คี าบสมุทรมลายา แต่ ด้วยความเชื่อมโยงทางด้านประวัติศาสตร์ของระหว่างอินเดียมุสลิมและคาบสมุทร
มลายา ทีส่ ง่ ผลต่อกันทัง้ ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อด้านศาสนา จึงทาให้กลุ่มคนอินเดียมุสลิม
ถูกทาให้กลายเป็ นคนมาเลย์ได้ไม่ยากนัก
ตามทะเบียนสามะโนครัวประชากรปี 1957 ซึ่งเป็ นปี ท่ปี ระกาศเอกราช ทัง้ ประเทศมีประชากรทัง้ หมด
6,278,763 คน มีคนมาเลย์ 3,126,706 คน ซึง่ น้อยว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทัง้ หมด คนจีน 2,332,936 คน
ซึง่ คิดเป็ น 37 เปอร์เซ็นต์ คนอินเดีย 695,985 คนซึง่ คิดเป็ น 12 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มชาติพนั ธุอ์ ่นื ๆ 123,136 คน
ซึ่ง คิด เป็ น 0.2 เปอร์ เ ซ็น ต์ (Cheah Boon Kheng 2002, p. 79-80) และด้ ว ยนโยบายทางการเมือ งหลัง จาก
ประกาศเอกราชในปี 1957 แล้ว รัฐบาลมาเลเซียนาโดยพรรค UMNO ให้อภิสทิ ธิพิ์ เศษแก่คนมาเลย์มุสลิมกว่ากลุม่
ชาติพ ัน ธุ์อ่ืน ๆ ซึ่ง แม้ ย ัง ไม่ มีผ ลในทางปฎิบ ัติม ากนัก เพราะกลุ่ ม คนมาเลย์ส่ว นมากยัง คงท างานในภาคการ
เกษตรกรรมของประเทศ แต่กม็ สี ่วนดึงดูดความสนใจให้กลุ่มชาติพนั ธุอ์ ่นื ๆทีน่ ับถือศาสนาอิสลามในมาเลเซียให้
“กลายเป็ นมาเลย์” จนกระทังปี ่ 1970 ทีม่ กี ารประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) อภิสทิ ธิ ์
พิเศษของคนมาเลย์จงึ มีความเป็ นรูปธรรมและกลายเป็ นวาระของรัฐ (อธิบายเพิม่ เติมในหัวข้อ สังคมมาเลเซียหลัง
ปี 1970) ก็เป็ นผลให้กลุ่มคนมาเลเซียเชือ้ สายอินเดียทีน่ ับถือศาสนาอิสลามส่วนมากในปั จจุบนั จึงนิยามตนเองว่า
เป็ น “มาเลย์” เพราะจะสามารถรับสิทธิต่างๆ เช่น เรื่องการศึกษา ในแบบกลุ่มมาเลย์ภูมปิ ุตรา ตามรัฐธรรมนูญใน
มาตรา 152 ดังนัน้ ในปั จจุบนั คาว่า “มามัก” จึงกลายเป็ นคาเรียกที่บ่งบอกอัตลักษณ์ว่าคนคนนัน้ คือ คนทมิฬ
มาเลเซียทีน่ ับถือศาสนาอิสลามและไม่ใช่กลุ่มภูมปิ ุตรา ซึง่ กลุ่มคนเหล่านี้ยงั คงรักษาไว้ซ่ึ งอัตลักษณ์ของกลุ่มตน
เช่น พูดภาษาทมิฬและมีการติดต่อค้าขายสินค้าเฉพาะอย่างในเครือข่ายคนทมิฬเอง เป็ นต้น
จะเห็นได้ว่า ร้านมามักได้มจี ุดเริม่ ต้นมาจากอาหารข้างทางตามถนนในปี นังในช่วงคริส ต์ศตวรรษที่ 18
เป็ นการขายอาหารให้แรงงานแถวท่าเรือโดยพ่อค้าอาหารเป็ นชาวทมิฬมุ สลิม ซึง่ สามารถกล่าวได้ว่า “ร้านมามัก”
ประกอบด้วยสองอัตลักษณ์ คือ อัตลักษณ์ชาวทมิฬ และ อัตลักษณ์มุสลิม ซึง่ อัตลักษณ์ดงั กล่าวก็ทาหน้าทีส่ ่อื ถึง

138
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

คนทมิฬทีม่ คี วามช่าชองในงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการค้าและการบริการ รวมไปถึงความสามารถในการปรับตัวของชาว


ทมิฬให้เข้ากับบริบทของสังคมมาเลเซียได้ในสภาวะต่างๆ โดยตัวรูปแบบส่วนมากของร้านมามักเริม่ ให้บริการแบบ
หาบเร่ (บางร้านอาจจะมีการตัง้ โต๊ะและเก้าอีใ้ ห้นงั ่ กินริมถนน) ต่อมามีรา้ นมามักหลายๆร้านได้ตงั ้ ร้านให้มคี วาม
มันคงและถาวรมากขึ
่ น้ โดยตัง้ ร้านเป็ นเพิงหรือกระท่อมริมถนน และในปั จจุบนั ร้านมามักส่วนมากจะเป็ นร้านขนาด
กลางถึงขนาดใหญ่ มีส่วนให้บริการทัง้ ในร่มและกลางแจ้ง และเปิ ดให้บริการตลอด 24 ชัวโมง ่ (อธิบายเพิม่ เติมใน
หัวข้อถัดไป)

สังคมมำเลเซี ยหลังปี 1970


หัวข้อต่อไปนี้จะอธิบายให้เห็นถึงบริบททางสังคมของประเทศมาเลเซียหลังจากปี 1970 ซึง่ นับได้ว่าเป็ น
ช่วงเวลาทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง (1) โครงสร้างทางการเมือง (2) นโยบายทางวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับศาสนาอิสลาม
และการเติบโตทางเศรษฐกิจทีม่ ผี ลกระทบต่อวิถชี วี ติ และวิธคี ดิ ของผูค้ นในประเทศมาเลเซีย บริบททางสังคมและ
เศรษฐกิจของมาเลเซียทีเ่ ติบโตขึน้ ส่งผลต่อการปรับตัวของร้านมามักในบริบททีแ่ ปรเปลีย่ น สามารถพิจารณาได้
ดังนี้

นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy)


หลังจากปี 1970 ทีม่ กี ารประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) โดยนายกรัฐมนตรี
ตุน อับดุล ราซัค อันเป็ นผลมาจากความไม่สงบในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 1969 ทีม่ กี ารปะทะกันระหว่างกลุ่ม
คนมลายูและคนจีน จุดประสงค์หลักของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ คือ การขจัดความยากจน การรณรงค์ให้ผู้คน
ต่างชาติพนั ธุเ์ ข้ามามีปฏิสมั พันธ์ระหว่างกันให้มากขึน้ ลดระดับช่องว่างระหว่างกลุ่มชาติพนั ธุ์ และรวมไปถึงการ
ยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของคนมลายูให้ดขี น้ึ เช่น การให้โควต้าการศึกษาของคนมาเลย์ การออกนโยบายให้
สามารถกูเ้ งินเพื่อการลงทุน และการกาหนดสัดส่วนการเป็ นเจ้าของธุรกิจ เป็ นต้น
ผลจากนโยบายที่ต้อ งการขจัด ความยากจนตามแนวทางนโยบายเศรษฐกิจ ใหม่ ส่ง ผลให้ป ระเทศ
มาเลเซียเข้าสู่การมีระบบเศรษฐกิจทีอ่ งิ กับระบบอุตสาหกรรมมากกว่าการเกษตร ระหว่างปี 1971 ถึง 1991 GDP
เพิม่ ขึน้ เป็ น 3 เท่า และอัตราความยากจนบนคาบสมุทรลดลงจากร้อยละ 49.3 เหลือร้อยละ 15 ( บาร์บารา และ ลี
โอนาร์ด วาย อันดายา 2546, หน้า 517) จากเดิมทีค่ นมาเลย์อาศัยอยู่ในชนบทและทาการเกษตร ชาวมลายูเข้ามา
อาศัยอยู่ในเมืองมากขึน้ และมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย ซึง่ สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในเขต
เมืองเป็ นปั จจัยทีส่ าคัญทีท่ าให้คนในเมืองมีความสามารถใช้จ่ายกับเรื่องอาหารมากขึน้ (Noraziah Ali and Mohd
Azlan Abdullah 2012, p.163) โดยเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้าน จึงสามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการใน
การบริโภคอาหารทีม่ ากขึน้ ไม่ได้เพียงสัมพันธ์กบั การเพิม่ ขึน้ ของประชากรในเขตเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ความ
ต้องการในการบริโภคอาหารที่หลากหลายทัง้ ในประเภทของอาหารและต้องการตัวเลือกทางอาหารมากขึน้ ยังมี
ความสัมพันธ์ทโ่ี ยงไปถึงรูปแบบและวิถกี ารบริโภคอาหารของคนในสังคมทีเ่ ปลีย่ นไป

139
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ร้าน Nasi Kandar Pelita สาขา Bangsar


(ภาพจาก http://www.timeout.com/kuala-lumpur/restaurants-and-cafes/nasi-kandar-pelita)
จากข้อมูลของร้านมามักทีเ่ ปิ ดบริการในเขตเมืองใหญ่อย่างกัวลาลัมเปอร์และปี นัง จะพบได้ว่าร้านมามัก
ซึง่ แต่เดิมจะขายอาหารเฉพาะตอนเช้าถึงตอนเทีย่ งทีเ่ น้นการขายอาหารให้ผทู้ ท่ี างานบนท่าเรือบนเกาะปี นงั ร้าน
มามักก็ได้เปลีย่ นบริการเป็ นการขายอาหารตลอด 24 ชัวโมง ่ ตัวอย่างเช่น ร้านนาซิกนั ดาเปอลิต้า (Nasi Kandar
Pelita) ซึ่ง เป็ น ร้า นมามัก ขนาดใหญ่ และมีสาขาประมาณ 28 ร้า นทัว่ ประเทศมาเลเซีย ซึ่ง แรกเริ่ม นัน้ Kirudu
Muhamed Kuppaikanni หนึ่งในผู้ก่อตัง้ ได้เล่าว่า ในปี 1956 เขาเปิ ดร้านขายนาซิกนั ดาอยู่ทถ่ี นนทมิฬบนเกาะ
ปี นัง เดิมชื่อร้านว่า Chowrasta เปิ ดบริการตัง้ แต่เช้ามืดถึงตอนเที่ยง และแต่มาในปี 1973 เขาได้นาเงินจานวน
32,000 ริง กิต เพื่อ ปรับ ปรุ ง ร้า นและเปลี่ย นรู ป แบบเป็ น ร้า นขายนาซิก ัน ดาตลอด 24 ชัว่ โมง (Chin 2006)
นอกจากนี้ ความนิยมในตัวของร้านมามักยังสามารถพิสูจน์ ได้จากจากตัวเลขการเพิ่มขึน้ ของสมาชิกเจ้าของ
ร้านอาหารมามัก The Malaysian Muslim Restaurant Owners Assosiation (PRESMAS) มีจุดประสงค์เพื่อดูแล
สวัสดิการของผูป้ ระกอบกิจการร้านอาหารของกลุ่มคนมาเลเซียเชือ้ สายอินเดีย ทีก่ ่อตัง้ ปี 1994 เดิมทีมสี มาชิก 40
คน แต่ในปี 2014 PRESMAS มีสมาชิกมากกว่า 3500 คน (Warzir 2014)
ดังนัน้ ในบริบทการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดังกล่าวดังกล่าว สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของร้านมามักทีจ่ าก
เดิมเป็ นการขายอาหารแบบหาบเร่ไม่มอี าคาร/โครงสร้างของร้าน และขายนาซิกนั ดาเป็ นเมนูหลักหรือบางหาบเร่ก็
จะขายเพียงนาซิกนั ดาเพียงอย่างเดียว นับตัง้ แต่ปี 1970 เป็ นต้นมา ร้านมามักถูกพัฒนาร้านให้มสี ถานทีต่ งั ้ ร้านที่
แน่นอนและมีการแบ่งสัดส่วนร้านทีล่ กู ค้าสามารถเลือกนังได้
่ ทงั ้ ในตัวร้านและกลางแจ้ง เมนูอาหารและเครื่องดื่มจึง
ต้องถูกพัฒนาให้ดงึ ดูดใจให้คนเข้ามาใช้บริการกันมากขึน้ ร้านมามักหลายร้านจึงเพิม่ เมนูของร้านให้หลากตัวเลือก
มากขึน้ เช่น โรตีอนิ เดีย อาหารจานเดียว โจ๊กและซุ ปไก่แบบจีน เป็ นต้น ทัง้ นี้กเ็ พื่อตอบสนองความหลากหลาย
ทางชาติพนั ธุแ์ ละสถานะทางเศรษฐกิจของคนในทุกระดับชัน้ ร้านมามักจึงมีเมนูเริม่ ตัง้ แต่ราคาไม่ถงึ 1 ริงกิต อย่าง
โรตีจาไน (Roti Canai) ไปจนถึงเมนูทท่ี าจากวัตถุดบิ ราคาแพง เช่น ปู ล็อบสเตอร์ และเนื้อแกะ เป็ นต้น รวมไปถึง
ร้านมามักต้องมีการออกแบบสภาพร้านและบรรยากาศในร้านให้คนรู้สกึ ว่าสามารถมานัง่ พบปะกับเพื่อนๆได้
บ่อยครัง้ เป็ นเวลาหลายชัวโมงอย่
่ างสบายใจ ตัง้ แต่นงพู
ั ่ ดคุยหรือดูฟุตบอลด้วยกัน ลูกค้าของร้านมามักสามารถเข้า
มาใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ถูกกดดันว่าอยู่นานไปหรือไม่ แม้ว่าการเข้ามาใช้บริการครัง้ นัน้ จะสังเครื
่ ่องดื่มเป็ น
เพียงชาชักแค่หนึ่งแก้ว
ดังนัน้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจเช่นกัวลาลัมเปอร์และปี นังจะเป็ นบริเวณทีส่ ามารถพบความหลากหลายทาง
ชาติพนั ธุม์ ากกว่าเมืองอื่นๆในมาเลเซีย วิถกี ารรับประทานอาหารของคนในเขตเมืองดังกล่าวก็ ย่อมมีโอกาสที่จะ

140
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สัมผัสประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ต่างจากวัฒนธรรมของตนบ่อยครัง้ กว่าคนทีอ่ ยู่แถบชนบทและชาน


เมือง ร้านมามักขยายตัวขึน้ ได้บนความเปลี่ยนแปลงทางรสนิยมการกินของคนในเมืองทีม่ คี วามต้องการบริโภค
อาหารทีห่ ลากหลายและต้องการอาหารทีม่ ตี วั เลือกมากยิง่ ขึน้

นโยบายทางด้านวัฒนธรรม - Malaysia’s Islamic Brand


หลังจากปี 1970 เป็ นต้นมา นอกเหนือจากทีร่ ฐั บาลมาเลเซียจะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อยกระดับ
สถานะคนมลายูแล้ว ปั จจัยทีส่ าคัญทีส่ ่งผลต่อบริบททางสังคมของประเทศมาเลเซียก็คอื แผนกการศาสนาอิสลาม
(Islamic Affairs Division - BAHEIS) ปี 1968 (นโยบายทางด้านวัฒนธรรมแห่งชาติ (Malaysian National Policy)
ปี 1971 ประกอบไปด้วยสามหลักการใหญ่คือ 1.วัฒนธรรมแห่งชาติตงั ้ อยู่บนวัฒนธรรมมาเลย์ 2. วัฒนธรรม
บางอย่างที่เหมาะสมของวัฒนธรรมอื่นจะถูกจัดให้เป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งชาติ 3.ศาสนาอิสลามเป็ น
แม่พมิ พ์สาคัญของวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกอบกับผลจากการปฏิวตั อิ สิ ลาม (Islamic Revolution) ในอิหร่าน ซึง่
ส่งผลต่อมุสลิมในประเทศต่างๆ ทัวโลก
่ ให้ตระหนักและเรียกร้องให้มุสลิมหันมาสูก่ ารปฏิบตั ิทถ่ี ูกต้องตามหลักการ
ศาสนาอิสลาม
โดยเฉพาะยุคของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่ยดึ หลักความเป็ นมุสลิมหัวก้าวหน้าที่เคร่งครัด
ศาสนา ศาสนาอิสลามก็ถูกทาให้เป็ นส่วนหนึ่งกับรัฐชาติมากขึน้ หลังจากดารงตาแหน่ งนายกในปี 1981 ก็ได้
อุดหนุ นการอบรมเรื่อง “The concept of development in Islam” (แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในศาสนาอิสลาม)
และในปี 1984 รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศนโยบายการเปลี่ยนแปลงไปสู่อิสลาม คือ “การพร่ าสอนค่านิยมของ
อิสลาม” ในรัฐบาล มีการให้ความสาคัญกับโครงการทีเ่ กีย่ วเนื่องของอิสลามมากขึน้ ทางโทรทัศน์และวิทยุ รวมไป
ถึงการกาหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจก็ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้สมดุลกับการพัฒนาทางด้านจิต
วิญญาณด้วย (บาร์บารา และ ลีโอนาร์ด วาย อันดายา, หน้า 548) ดังนัน้ ความเป็ นภูมบิ ุตร (bumiputera) จึงไม่ได้
หมายความแต่เพียงว่าเป็ นการเป็ นบุตรของแผ่นดิน แต่ยงั หมายรวมไปถึง การจะเป็ นภูมบิ ุตรที่ดงี ามน้ัน ต้อง
กลับไปหารากเหง้าของความเป็ นมาเลย์ คือ ดาเนินตามแนวทางศาสนาอิสลามทีถ่ ูกต้อง
ความเปลีย่ นแปลงหนึ่งทีเ่ ห็นได้ในสังคมมาเลเซียทีเ่ ห็นในเมืองใหญ่ก็ คือ คนมาเลย์มุสลิมได้หนั มาสู่การ
ปฎิบตั ิท่ตี รงตามทานองคลองธรรมมากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผูห้ ญิงและผู้ชายที่นับถือศาสนา
อิสลามก็ถูกจัดระเบียบให้ออกมาอยู่ในพืน้ ทีเ่ ปิ ด เพื่อให้อยู่ในสายตาของรัฐมากยิง่ ขึน้ เพราะการทีผ่ หู้ ญิงและผูช้ าย
อยู่ดว้ ยกันในทีล่ บั ตาสองต่อสองเป็ นสิง่ ทีไ่ ม่ถูกอนุมตั ใิ นศาสนาอิสลาม หรือ ฮะรอม (Haram)
จากงานวิจยั ชิน้ หนึ่งชีใ้ ห้เห็นว่า ลูกค้าของร้านมามักส่วนมากจะเป็ นกลุ่มผูท้ ม่ี อี ายุต่ากว่า 25 ปี เป็ นลูกค้า
กลุ่มมากที่สุด มีจานวน 67.7% ที่เป็ นโสด และ 46.4% ยังเป็ นนักเรียน (Katina Abu Bakar and Abdul Ghani
Farinda 2012, p.6) นอกเหนือจากราคาอาหารที่ไม่แพงแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่าเราจะพบว่าร้านมามักจะได้รบั
ความนิยมในหมู่คนหนุ่ มสาวที่มานัง่ กินดื่มทัง้ แบบที่เป็ นคู่และแบบกลุ่มในเวลากลางดึก เพราะร้านมามัก เป็ น
“พื้นที่ฮาลาล” ทัง้ ในเชิงที่เป็ นความฮาลาลของอาหารและฮาลาลในเชิงของความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายทีย่ งั
ไม่ได้แต่งงานกัน
ดังนัน้ การขยายตัวของร้านมามักนอกเหนือจากความสาเร็จด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว
ความนิยมของร้านมามักก็มสี ่วนเกิดขึน้ มาจากความเปลี่ยนแปลงในทางความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ
นโยบายของรัฐ เมื่อ คนเข้า ไปเป็ น ส่ว นหนึ่ ง ของระบบเศรษฐกิจ ที่แ ปรเปลี่ย นไปย่ อ มส่ง ผลต่ อ วิถีชีวิต ที่ต้ อ ง

141
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เปลีย่ นแปลงตามไปด้วย การส่งเสริม ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีปฎิสมั พันธ์กนั มากขึน้ ในบริบททางเศรษฐกิจทีเ่ ติบโต


ขึน้ และนโยบายทีถ่ ูกสร้างโดยรัฐอย่างเช่น ความเป็ นฮาลาล - ฮะรอม เช่นนี้ ทาให้ผคู้ นมาเลย์ต้องนิยามตนเองให้
สัมพันธ์กบั สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ทถ่ี ูกกาหนดขึน้ โดยรัฐ

พหุวัฒนธรรมในร้ำนมำมัก
ร้านมามัก มีบทบาทในแง่เป็ น “พื้นที่เปิ ด ” (Open access) ที่ทุกชาติพนั ธุ์สามารถมาร่วมพบปะดื่มกิน
ร่วมกันได้ และแม้ว่าร้านมามักจะขายแต่อาหารทีฮ่ าลาล ร้านมามักก็ยงั เป็ นพืน้ ทีท่ ด่ี งึ ดู ดผูค้ นให้เข้ามาใช้บริการที่
ไม่จากัดแต่กลุ่มชาติพนั ธุม์ ลายู กล่าวคือ

ความสัมพันธ์ระหว่างผู ้คนในร้านมามัก
วิถีชวี ติ ของคนมาเลเซียในทางหนึ่งก็ได้ถูกกาหนดด้วยความเป็ นกลุ่มก้อนทางชาติพนั ธ์และวัฒนธรรม
โดยพื้น ที่สาธราณะ (Public Space) คนมาเลย์จ ะมีแนวโน้ ม รู้สึกผ่ อ นคลายเมื่อ อยู่ในภาวะที่ต้องตอบรับสิง่ ที่
สัมพันธ์กบั ความเป็ นมาเลย์ ขณะทีค่ นอินเดียและคนจีน จะรูส้ กึ สะดวกสบายใจเมื่ออยู่ในวัฒนธรรมเฉพาะของกลุ่ม
ตน (Tang Hoay Nee and Tareef Hayat Khan 2010, p.203) จากคากล่าวอ้างในข้างต้นก็มสี ่วนทีเ่ ป็ นจริงอยู่ไม่
น้อย เพราะเราจะเห็นว่าในมาเลเซียคนจีนหรือคนอินเดียเมื่อรวมกลุ่มกันก็จะสื่อสารกันด้วยภาษาของตน ขณะที่
คนมลายูกจ็ ะต้องมีวธิ กี ารดาเนินชีวติ โดยหลักๆอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมมลายูและศาสนาอิสลาม ในบริบท
ดังกล่าว จึงมีคาถามทีน่ ่าสนใจตามมาว่า ด้วยบริบทอะไรทีท่ าให้รา้ นมามักเป็ นพืน้ ทีท่ ท่ี ุกคนรูส้ กึ ว่าตนเองสามารถ
เข้ามาใช้บริการได้อย่างสบายใจ
ด้วยอัตลักษณ์ของร้านมามัก (ตัง้ แต่ยุคเริม่ ต้นทีเ่ ป็ นร้านหาบเร่) เป็ นพืน้ ทีร่ วบรวมความหลากหลายของ
อาหารทีข่ ายและลูกค้าทีเ่ ข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพของร้านมามักเองได้สร้างบรรยากาศที่ทา
ให้ทุกคนรูส้ กึ ว่าสามารถเข้าร้านได้ตลอด 24 ชัวโมง
่ รูปแบบของร้านทีจ่ ะต้องอยู่ตรงมุมของอาคารทีม่ กี ารเปิ ดผนัง
มากกว่าสองด้านช่วยทาให้ลกู ค้าเข้าถึงร้านด้วยความรูส้ กึ โล่งสบายของตัวร้าน มีพน้ื ทีใ่ ห้เลือกทีจ่ ะนังทั่ ง้ ในร่มและ
กลางแจ้ง ซึ่งความไม่เป็ นทางการ (Casual) การเข้ามาใช้บริการแต่ละครัง้ ก็สามารถนัง่ ภายในร้านได้เป็ นเป็ น
เวลานาน กินอาหารได้ในราคาไม่แ พงและลูกค้ามีความรู้สกึ คุ้มกับการเสียเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ จึงเป็ น
เหตุผลสาคัญทีด่ งึ ดูดให้คนมารับประทานอาหารทีร่ า้ นมามัก และทาให้รา้ นมามักประสบความสาเร็จมากกว่าร้าน
โกปี้ เตี่ยมทีบ่ รรยากาศค่อนไปทางการพูดคุยทีค่ ่อนข้างจริงจัง มีขอ้ มูลทีน่ ่ าสนใจแสดงให้เห็ นถึงลูกค้าทีเ่ ข้ามาใช้
บริการร้านมามักในกัวลาลัมเปอร์ กลุ่มใหญ่ท่สี ุด คือ กลุ่มคนจีน 46 เปอร์เซ็นต์ คนมาเลย์ 38.5 เปอร์เซ็นต์ คน
อินเดีย 8.2 เปอร์เซ็นต์ และ อื่นๆ 4.2 เปอร์เซ็นต์ (Katina Abu Bakar and Abdul Ghani Farinda 2012, p.6)
จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่า กลุ่มผูเ้ ข้าใช้บริการของร้านมามักกลุ่มใหญ่ทส่ี ุดเป็ นคนจีน รองลงมาคือ คน
มาเลย์ ตามด้วยคนอินเดียและอื่นๆ แสดงว่าร้านมามักสามารถดึงดูดกลุ่มคนจีน (ซึง่ ไม่ใช่มุสลิม) แม้ว่ากลุ่มมาเลย์
จะเป็ นกลุ่มลูกค้ารองลงมา แต่รา้ นมามักก็ประสบความสาเร็จในการได้ลูกค้ามาเลย์มุ สลิมจากคู่แข่งร้านอาหารฮา
ลาลประเภทอื่นๆ ผูค้ นทีเ่ ข้ามาใช้บริการในร้านมามักยังมีส่วนในการสรรสร้างวัฒนธรรมมามักและต่อรองระหว่าง
วัฒนธรรมต่อกัน การสร้างภาษาใหม่ๆ อย่างคาว่า “Jom Mamak” (ไปมามัก) จึงหมายถึงการเชิญชวนระหว่าง
ผูค้ นทีส่ ่อื ถึงการไปสัมผัสถึงวัฒนธรรมผสมผสาน การต่อรองทางด้านอัตลักษณ์บนพืน้ ทีข่ องร้านมามักไม่ได้จากัด
อยู่แค่เพียงกลุ่มคนมาเลเซียเชือ้ สายทมิฬทีน่ ับถือศาสนาอิสลามเพียงเท่านัน้ จากการทาวิจยั เป็ นผูร้ ่วมสังเกตุของ
ผู้เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับร้านมามัก เรื่อง “Mamak, Anyone?” ได้บรรยายถึงการที่เข้าไปมีส่วนร่วมใน
บรรยากาศการพูดคุยเกีย่ วกับเรืองการเมืองมาเลเซียในกลุ่มคนทีป่ ระกอบไปด้วยคนมาเลย์ จีน อินเดีย ในร้านมา

142
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

มัก (Duruz and Cheng Khoo 2015, p.90) กิจกรรมดังกล่าวย่อมมีนัยสื่อถึงว่าร้านมามักมีความเหมาะสมในแง่


ของความเป็ น “พื้นที่เปิ ด ” ที่คนจากกลุ่มที่ต่างกันสามารถหล่อหลอมความรู้สกึ นึกคิดให้มาอยู่ร่วมในกิจกรรม
เดียวกันได้ รวมไปถึงการใช้พน้ื ทีร่ า้ นมามักเป็ นการพบปะพูดคุยเรื่องการเมืองยังมีนัยแฝงถึงการทีอ่ ยากให้กลุ่ม
คนต่างๆเข้ามามีสว่ นสัมพันธ์กบั คนกลุ่มทีต่ ่างจากตนให้มากขึน้
วัฒนธรรมมามักได้เข้ามาเป็ นสัญลัก ษณ์ร่วมของอัตลักษณ์ชาติมาเลเซียอย่างไม่เป็ นทางการ (Zarina
Zawawi and Faizal Ibrahim 2012, p.57) ด้ว ยประเภทของขายอาหารของร้า นมามัก เองก็มีก ารปรับเมนู ให้มี
ทางเลือกจากวัฒนธรรมดัง้ เดิมของแต่ละกลุ่มชาติพนั ธุ์ รวมไปถึงการสร้างการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอาหาร
ดัง้ เดิมอื่นเพื่อต่อยอดวัฒนธรรมอาหารใหม่ (Cultural Hybridity) เช่น บะหมีผ่ ดั มามัก (Mee Goreng Mamak) เป็ น
อาหารทีใ่ ช้เส้นบะหมีฮ่ กเกีย้ นทีม่ เี หลือง เต้าหู้ เนื้อสัตว์ ไข่ มาผัดให้เข้ากันกับพริกแดง หัวหอม กระเทียม ปรุงรส
ด้ว ยเครื่องเทศ ผงกระหรี่ ซอสถัว่ เหลืองรสหวานและซอสมะเขือเทศ ดัง นัน้ การสร้า งสรรค์อ าหารหนึ่งจาน
นอกเหนือจากเรื่องความสามารถในการหาวัตถุดบิ แล้ว ตัวแปรทีส่ าคัญหนึ่งก็คอื บริบททางสังคมว่าผูค้ นในสังคมมี
พืน้ ฐานมาจากวัฒนธรรมไหนก็ย่อมพอใจในรสชาติของวัฒนธรรมตน จึงทาให้รา้ นมามักสามารถจัดการตนเองให้
เป็ นพืน้ ทีท่ เ่ี ปิ ดสาหรับทุกกลุ่มชาติพนั ธุ์ และสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารหลากหลายประเภท
ของลูกค้าได้

ความสัมพันธ์ระหว่างร้านมามักกับรัฐ
รัฐเข้ามาจัดการร้านมามักทัง้ ทางอ้อมและทางตรง กล่าวคือ (1) การใช้อานาจทางอ้อมอันจะเห็นได้จาก
ความพยายามสร้างร้านมามักให้เห็นภาพแทนของสังคมมาเลเซียทีม่ เี อกภาพ และการใช้อานาจทางตรงเข้ามาจัด
ระบียบวิถแี ห่งชีวติ ของคนมาเลเซียให้เป็ นไปในทิศทางทีร่ ฐั กาหนด และ (2) มีทงั ้ การใช้อานาจโดยตรงให้รา้ นมา
มักที่ขายอาหารฮาลาลทุกร้านควรมีทศิ ทางร้านอาหารภายใต้นโยบายของรัฐ โดยเฉพาะจาก JAKIM (Jabatan
Kemajuan Islam Malaysia หรือ Department of Islamic Development)
แต่นับตัง้ แต่ประเทศมาเลเซียได้รบั เอกราชในปี 1957 เป็ นต้นมา รัฐบาลในทุกยุคก็ต่างเน้นย้าถึงความ
เป็ นเอกภาพของสังคมมาเลเซีย (Malaysian Unity) ดังทีไ่ ด้กล่าวในข้างต้นจาก นโยบาย New Economic Policy
1970 และ New Cultural Policy 1971 ในยุคของนายกรัฐมนตรีตุน อับดุล ราซัค มาจนถึงยุคของนายกรัฐมนตรีนา
จิบ ราซัค ก็ได้ประกาศนโยบาย One Malaysia ในปี 2009 เพื่อย้าภาพลักษณ์ ความเป็ นหนึ่งเดียวกันในสังคม
ท่ า มกลางความหลากหลาย เพื่อ ที่จ ะสามารถผลักดัน ประเทศไปในทางที่ก้า วหน้ า ภายใต้เ งื่อ นไขนี้ รัฐบาล
มาเลเซียในยุคสมัยต่างๆ ได้นาองค์ประกอบย่อยต่างๆในสังคม เข้ามาทาหน้าทีเ่ ชื่อมโยงส่วนซึง่ กันและกันเพื่อให้
เข้ามารวมอยู่ในภาพเดียว นัน่ คือ ผู้คนต่ างวัฒนธรรมสามารถมานัง่ กินอาหารร่วมกันได้เพราะมาเลเซียเป็ น
ประเทศที่มเี อกภาพ แม้ว่าร้านมามักไม่ได้ถูกให้ความหมายจากรัฐโดยตรงว่าร้านมามักเป็ นภาพแทนอย่างเป็ น
ทางการ เพราะร้านมามักได้พฒ ั นาตัวเองโดยการดาเนินการโดยชาวทมิฬมุสลิมได้พฒ ั นาร้านอาหารของตนมาจาก
การปรับตัวให้เข้ากับบริบทของความเป็ นพหุสงั คมวัฒนธรรมในประเทศมาเลเซีย แต่ในการรับรูข้ องคนมาเลเซียที่
ถ่ายทอดออกมาสู่สงั คมก็แสดงให้เห็นว่าคนมาเลเซียตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย จะเห็นได้ว่า
ภายในระยะเวลาไม่กป่ี ี มีการสื่อถึงร้านมามักในเชิงความเป็ นชาติออกมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น เมนูเด็ดของ
ร้านมามักอย่าง “นาซิกนั ดา” ถูกจัดให้เป็ น “อาหารมาเลเซียทีแ่ ท้จริง” (A truly Malaysian dish) (Chin 2006) หรือ
มีการเรียกนาซิกนั ดาว่า เป็ นอาหารมาเลเซียดัง้ เดิม (Malaysian Original) รวมถึงควรยกนาซิกนั ดาให้เป็ นทีห่ นึ่ง
ในบรรดาอาหารมาเลเซีย (Number one item in any original Malaysian food list) (The star archive 2009) การ

143
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ให้ความสาคัญต่อนาซิกนั ดาของคนมาเลเซียสะท้อนให้เห็นถึง การรับรูข้ องผูค้ นต่อพัฒนาของสังคมมาเลเซียบน


คาบสมุทรมลายาตัง้ แต่สมัยที่องั กฤษปกครองมลายา ที่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของผู้คนจากหลากหลายชาติ
พันธุ์ เพราะนาซิกนั ดาเป็ นเมนู ทผ่ี สมผสานระหว่างวัฒนธรรมมลายูทก่ี นิ ข้าวเป็ นอาหารหลัก วัฒนธรรมจีนทีน่ ิยม
รับประทานกับข้าวหลายๆ อย่างในหนึ่งมือ้ และวัฒนธรรมเครื่องเทศจากอินเดียทีร่ วมอยู่ในจานอาหาร
ในแง่น้ีร้านมามักอาจจะเทียบเคียงได้กบั คาอธิบายของ พูนผล โควิบูลย์ชยั ทีไ่ ด้อธิบายความสัมพันธ์
ระหว่างอาหารกับสังคมเชิงอานาจว่า คนในชุมชนหรือสังคมเดียวกันมักจะมีวิธคี ดิ ต่ ออาหาร และรูปแบบการ
บริโภค และกฎกติกามารยาทในการรับประทานอาหารเหมือนๆ กัน ในแง่น้ี อาหารเป็ นสัญลักษณ์ร่วมกันทีถ่ อื ว่า
เป็ นสัญลักษณ์ร่วมอย่างหนึ่งของคนในสังคมทีม่ รี ่วมกันแสดงออกถึงความเป็ นปึ กแผ่นของคนในสังคม (พูน ผล
โควิบลู ย์ชยั 2556, หน้า 80) นอกจากนี้ ช่วงที่ 20 ปี ทผ่ี ่านมา รัฐบาลมาเลเซียส่งเสริมให้คนทุกศาสนาจัดงาน “เปิ ด
บ้าน” (Open House) เพื่อให้เพื่อนต่างวัฒนธรรมมาเทีย่ วทีบ่ า้ นในวันทีผ่ คู้ นในศาสนานัน้ ๆจัดงานเลีย้ ง (หรือ งาน
เปิ ดบ้านจะจัดหลังวันทีเ่ ฉลิมฉลองทางศาสนาแล้วก็ได้) เช่น ฮารีรายอ ตรุษจีน เดปาวาลี เป็ นต้น จึงสามารถกล่าว
ได้ว่าการขยายตัวและความนิยมในร้านมามักอันเป็ นพืน้ ทีส่ าหรับความเป็ นพหุวฒ ั นธรรม ยังสอดคล้องกับบริบท
ทางสังคมของประเทศมาเลเซียทีร่ ฐั บาลสนับสนุ นให้คน เข้ามามีปฏิสมั พันธ์ระหว่างกันเพื่อจุดประสงค์ให้ตระหนัก
ถึงการมีเอกภาพบนความหลากหลาย
ส่ว นการใช้อ านาจของรัฐต่ อ ร้า นมามัก ทางตรงจะเกี่ย วข้อ งกับ ความพยายามทาให้ค นสัง คมมุสลิม
เชื่อ มโยงกับหลัก การศาสนาอิสลามในทุก มิติ ของชีวิต (Islamization) โดยหน่ วยงานที่มีหน้ าที่สอดส่องความ
เรียบร้อยเกีย่ วกับวิถอี สิ ลามในมาเลเซีย คือ JAKIM ซึง่ ถูกจัดตัง้ อย่างเป็ นทางการโดยรัฐบาลมาเลเซียในปี 1997
เพื่อทาหน้าทีแ่ ทน BAHEIS เป็ นหน่ วยงานของรัฐบาลทีม่ หี น้าทีต่ รวจสอบ ควบคุมและจัดการ ความเป็ นอิสลาม
ในมาเลเซีย หนึ่งในหน้ าที่ของหน่ วยงานนี้ คือ ทาหน้ าที่ตรวจสอบว่าร้านอาหารในมาเลเซียสมควรได้ร ั บการ
รับรองฮาลาลหรือไม่ แม้ว่าร้านมามักจะดาเนินการโดยชาวทมิฬทีน่ ับถือศาสนาอิสลามแต่เจ้าของร้านอาหารก็
ยังคงต้องขอการรับรองฮาลาลจาก JAKIM ตัวอย่างเช่น กรณีของร้านมามัก Aiswaria ในกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ
JAKIM เข้ามาตรวจสอบใบรับรองฮาลาลของร้านดังกล่าว แต่เจ้าของร้านซึง่ เป็ นคนมาเลเซียมุสลิมเชือ้ สายอินเดีย
ไม่ได้ขอการรับรองฮาลาลสาหรับร้านอาหาร โดยให้เหตุผลว่าตัวเขาก็นับถือศาสนาอิสลามและส่วนประกอบของ
อาหารในร้านก็ฮาลาลทัง้ หมด จึงไม่คดิ ว่ามีความจาเป็ นต้องขอการรับรองฮาลาล ทาง JAKIM จึงสังให้ ่ ปลดรูปของ
กะบะห์ (อาคารทรงสีเ่ หลีย่ มทีอ่ ยู่ตรงกลางมัสยิดอัล -ฮะรอม) และอายัตจิ ากอัลกุรอ่าน (โองการบางส่วนจากอัลกุ
รอ่าน) ที่ประดับบนกาแพงร้านอาหารออก เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดแก่มุสลิมโดยทัวไปว่ ่ าร้านนี้มีฮาลาล
(Duruz and Cheng Khoo 2015, p.76-77)
ความสัมพันธ์ระหว่างร้านมามักกับรัฐ สามารถจะอธิบายได้ตามแนวคิดของกรัมชีเรื่อง “โครงสร้างสังคม
ส่วนล่างและสังคมส่วนบน” (Base/Super Structure) ได้ชใ้ี ห้เห็นถึงความแตกต่างทีส่ าคัญระหว่าง “สังคมสองแบบ”
ภายในโครงสร้างส่วนบนว่า ประกอบไปด้วย สังคมแรก คือ “รัฐ/สังคมการเมือง” (Political Society) ซึ่งได้แก่รฐั
และองค์กรการใช้อานาจต่างๆรัฐ และอีกสังคมหนึ่งคือ “ประชาสังคม” (Civil Society) ซึง่ ได้แก่ ส่วนที่เป็ นเอกชน
หรือส่วนอื่นๆที่เป็ นองค์กรนอกเหนืออานาจรัฐ (วัชรพล พุทธรักษา, หน้า 4) ซึ่งการทีผ่ ู้นาจะก้าวขึน้ มาสู่ “ภาวะ
ครองอานาจ” (Hegemony) ในการควบคุมประชากรในประเทศให้ได้ จาเป็ นต้องสถาปนาอานาจรัฐทัง้ ในโครงสร้าง
ส่วนบนและส่วนของประชาสังคม ซึง่ ในส่วนของการควบคุมภาคประชาสังคมนี้เองจะเป็ นการควบคุมอุดมการณ์
และวิธคี ดิ ของผูค้ นในสังคมอีกทอดหนึ่งด้วย

144
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จึงสามารถกล่าวได้ว่า นับตัง้ แต่ปีปี 1970 ทีร่ ฐั บาลมาเลเซียได้ผลัก ดันนโยบายอภิสทิ ธิพิ์ เศษ (Speical
Privileges) แก่คนมลายูในการเป็ นภูมบิ ุตรให้เป็ นรูปธรรมากขึน้ ขณะเดียวกันรัฐบาลมาเลเซียก็จาเป็ นต้องสร้าง
ความทรงจาให้กลุ่มชาติพนั ธุต์ ่างๆในมาเลเซียรูส้ กึ ว่ากลุ่มตนไม่ได้ถูกช่วงชิงสิทธิบางอย่างไป รัฐบาลจึงพยายาม
ส่งเสริมพื้นที่ อันเป็ นพื้นที่ทเ่ี ปิ ดให้ผคู้ นสามารถมารวมตัวกัน และเป็ นพืน้ ทีท่ ม่ี สี ่วนผสมของวัฒนธรรมจากกลุ่ม
ชาติพนั ธุ์ต่างๆอย่างลงตัว ได้เพื่อเป็ นภาพแทนถึงเอกภาพของสังคมมาเลเซีย แม้ว่าในแรกเริม่ นัน้ ร้านมามักได้
พัฒนาตัวเองจากร้านอาหารข้างทาง แต่ดว้ ยความทีโ่ ดยลักษณะของร้านมามักทีเ่ ป็ นพืน้ ทีแ่ ห่งความหลากหลาย
และสามารถปรับตัวให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง ร้านมามักจึงกลายเป็ นภาพ
แทนของความมีเอกภาพในประเทศในลักษณะอย่างไม่เป็ นทางการ เพื่อเน้ นย้าถึงนโยบายความเป็ นเป็ นพหุ
วัฒนธรรมของรัฐบาลมาเลเซีย

ร้ำนมำมักและพืน้ ที่ของกำรต่อรองทำงอัตลักษณ์
ตามทีน่ ายกรัฐมนตรีตุน อับดุล ราซัค ได้เน้นย้าถึง “พหุนิยม”, “สมดุล”, “ให้และรับ” เป็ นกลยุทธ์ในการ
สร้างกลุ่มก้อนความเป็ นชาติ สิทธิพลเมือง และการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของรัฐ (Cheah Boon
Kheng, 2002, p. 124) นโยบายเศรษฐกิจ ใหม่ มีส่ว นสาคัญ ในการสร้า งชาติม าเลเซีย สมัย ใหม่ ชาติด ัง กล่ า ว
ประกอบไปด้วยผูค้ นจากหลากหลายชาติพนั ธุแ์ ละวัฒนธรรมมาอาศัยอยู่รวมกัน แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ใช้กลไก
ทางด้านนโยบายทางการเมืองทีเ่ น้นว่าในสังคมมาเลเซียมีกลุ่มทีเ่ ป็ นภูมบิ ุตรและกลุ่มทีไ่ ม่ใช่ภูมบิ ุตร และศาสนา
อิสลามเป็ นศาสนาประจาชาติ
ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า รัฐบาลมาเลเซียมีความพยายามที่จะทาให้ศาสนาอิสลามมีความเป็ น
มาตรฐานเดียวกันตามนโยบายของรัฐ ในทางหนึ่งก็เป็ นการลดทอนความเชื่อทางศาสนาอิสลามทางกลุ่มมุสลิมที่
ไม่ใช่คนมลายู กล่าวคือ กลุ่มมาเลเซียเชือ้ สายอินเดีย ปากีสถาน และบังกาเทศทีน่ บั ถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่
ในมาเลเซีย จะมีความเชื่อว่าเลข “786” หมายถึง “บิสมิลลาฮฺฯ” แต่ความเชื่อดังกล่าวก็ไม่เป็ นทีย่ อมรับในหมู่คน
มาเลย์ทส่ี ่วนมากนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ชาฟิ อี เพราะคัมภีรอ์ ลั กุรอ่านไม่มกี ารกล่า วถึงตัวเลข 786 ซึง่
ท่ามกลางความสับสนนี้ ก็มกี ลุ่มมาเลย์มุสลิมบางส่วนแสดงความคิดเห็นว่า การทีต่ วั เลข 786 ไม่มที ม่ี าทีไ่ ปชัดเจน
นัน้ อาจจะมีการแฝงในนัยของความเชื่อทางศาสนาฮินดูมากับตัวเลขดังกล่าว (Duruz and Cheng Khoo 2015,
p.79) ดัง ที่มีมุ ส ลิม บางส่ ว นแสดงความเห็น ว่ า ตัว เลข 786 มีพ้ืน ฐานมาจากคาถาศาสนาฮิน ดู เ พื่อ การบู ช า
พระกฤษณะ และคนอินเดียมุสลิมได้รบั วัฒนธรรม 786 มาอย่างไม่มคี วามเข้าใจ ซึ่งขัดต่อหลักการทางศาสนา
อิสลามทีห่ า้ มให้มกี ารเคารพบูชาพระเจ้าองค์อ่นื นอกเหนือจากอัลเลาะห์ นอกจากนี้ ความเชื่อด้านศาสนาอิสลาม
ของประเทศมาเลเซียมีแ นวโน้ มเชื่อการวิฉัยทางศาสนาไปทางเดียวกับ ประเทศทางตะวันออกกลาง ดังเช่ น
Muhammad Al-Munajjid (นักวินิจฉัยและตีความด้านศาสนาอิสลามชาวซาอุดอิ าระเบีย) กล่าวว่า “อัลเลาะห์และ
เหล่าบรรดารอซูลทัง้ หลายได้สอนพวกเราถึงสิง่ ทีช่ ดั แจ้งและเป็ นความจริง ไม่ใ ช่ผ่านการเล่นต่อคาทีท่ าให้มคี วาม
งงงวยและรหัสที่เป็ นความลับ ” ดังนัน้ การสร้างความเข้าใจว่า 786 นัน้ ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลามที่
แท้จริง เป็ นการเน้นย้าถึง Malaysia’s Islamic brand เหนือกลุ่มคนมุสลิมทีม่ คี วามเชื่อในศาสนาอิสลามสาขาอื่นๆ
ในประเทศมาเลเซีย แม้ว่าร้านมามักร้านนัน้ จะได้ตรารับรองฮาลาล แต่การรับรองฮาลาลไม่ได้มาจาก JAKIM ก็ถอื
ว่าเป็ นโมษะ (Wartawan Sinar Harian 2012)
ณ จุดเปลีย่ นผ่านทีเ่ ห็นได้ชดั ของสังคมมาเลเซียหลังจากปี 1970 ชาวทมิฬมาเลเซียจะต้องเลือกระหว่าง
การเข้าไปเป็ นส่วนหนึ่งของ “มาเลย์” หรือ เลือกที่จะรักษาอัตลักษณ์ ของตนไว้ ชาวทมิฬมาเลเซียบางส่วนที่

145
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แต่งงานกับผู้หญิงมาเลย์เมื่อมีลูกก็จะได้สทิ ธิของความเป็ นภูมบิ ุตรโดยทันที โดยมีขอ้ มูลที่น่าสนใจของจานวน


ประชากรอินเดียมุสลิมในมาเลเซีย เผยให้เห็นว่า การทะเบียนสามะโนครัวประชากร ปี 1931 มีประชากรอินเดีย
ในบริติชมาลายา 621,847 คน และมีคนอินเดียมุสลิมจานวน 9 เปอร์เซ็นต์จากประชากรอินเดียทัง้ หมด และใน
ทะเบีย นสามะโนครัว ประชากรปี 1957 มีป ระชากรอิน เดีย 695,985 คน แต่ ใ นปี 1970 ทะเบีย นสามะโนครัว
ประชากรระบุว่ามีคนอินเดียมุสลิมเพียงแค่ 6.7 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 62,778 คน จากกลุ่มชาติพนั ธุอ์ นิ เดียใน
ประเทศมาเลเซีย 933,250 คน (Judith Nagata 1993, p. 517) ขณะที่จานวนกลุ่มคนอินเดียมาเลเซียมีจานวน
ประชากรเพิม่ มากขึน้ แต่สดั ส่วนจานวนประชากรอินเดียมุสลิมในมาเลเซียกลับลดลง จึงสอดรับกับข้อสันนิษฐาน
ทีว่ ่า คนอินเดียมุสลิมทีแ่ ต่งงานกับคนมาเลย์ เมื่อมีลูกหลานรุ่นใหม่ๆ ถูกทา/ทาตัวเองให้กลายเป็ นมาเลย์ และเริม่
ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมๆและอัตลักษณ์ทางชาติพนั ธุ์ของตนไปสู่อตั ลักษณ์ “มาเลย์มุสลิม ” (ใช้ภาษามลายู นับถือ
ศาสนาอิสลาม และปฎิบตั ติ ามธรรมเนียมมาเลย์จนเป็ นนิสยั ) เพราะถือว่าความเป็ นมาเลย์สามารถนามาต่อรอง
สิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจได้มากกว่า
ในส่วนของชาวทมิฬต้องการจะรักษาอัตลักษณ์อนิ เดียมุสลิมเอาไว้ พวกเขาก็มวี ธิ กี ารปรับตัวโดยทีย่ งั คง
ต้องรักษาสัมพันธ์กบั คนทมิฬระหว่างกลุ่มเอาไว้ ซึ่งการรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มคนเหล่านี้มคี วามเชื่อมโยงเชิง
สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ กลุ่มแรกคือ กลุ่มมุสลิมทีเ่ ป็ นพลเมืองอินเดียแต่มสี ถานะ
เป็ นผูอ้ ยู่อาศัยถาวรในมาเลเซีย อยู่ในกลุ่มผูม้ รี ายได้ต่ า แม้ว่าวงศ์ตระกูลดังกล่าวจะอยู่อาศัยทีม่ าเลเซียมาหลาย
รุ่นแต่ไม่สามารถเปลีย่ นสถานะตนเองเป็ นคนมาเลย์ได้เลยเพราะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ผทู้ ม่ี รี กรากมาจากอินเดีย
จึงทาให้ไม่ได้รบั สิทธิหลายอย่างตามแบบพลเมืองมาเลเซีย (Patrick Pillai, p. 25-26) กลุ่มคนเหล่านี้จะยังสร้าง
อัตลักษณ์ของตนทัง้ ด้านภาษา วัฒนธรรม และศาสนาอิสลามแบบซูฟี ไว้อย่างเหนียวแน่นเพราะมีการติดต่อกับคน
อิน เดีย ที่อิน เดีย ในเชิง การค้า เช่ น เครื่อ งเทศท าแกงกระหรี่ จาก อ าเภอ Ramnad ในรัฐทมิฬ นาฑู เป็ น ต้น
นอกจากนี้เครือข่ายการค้าของชาวทมิฬจะเห็นได้จากการมีแรงงานแบบสัญญาจ้างระหว่างบริษทั นายหน้าจัดหา
งานและชาวทมิฬจากอินเดียเดินทางเข้ามาทางานในร้านมามัก กลุ่มต่อมาคือ กลุ่มคนอินเดียมุสลิมทีเ่ ป็ นพลเมือง
มาเลเซีย ซึง่ จะมีแนวโน้มเผชิญวิกฤตทางอัตลักษณ์เพราะสามารถถูกดูดกลืน/เข้าไปรวมกับกลุ่มมาเลย์มุสลิมได้
ง่าย ในระดับสังคมคนกลุ่มนี้ยงั คงพูดภาษาทมิฬและปฎิบตั ศิ าสนาอิสลามในแนวทางบรรพบุรุษ ส่วนในระดับรัฐคน
กลุ่มนี้จะต้องเลือกอัตลักษณ์ระหว่างเป็ นอินเดียมุสลิมทีไ่ ม่ใช่ภูมบิ ุตรหรือเป็ นมาเลย์มุสลิมภูมบิ ุตร

สรุ ป
ตัง้ แต่ยุคต้นคริสต์ศตวรรรษที่ 20 เป็ นต้นมา ร้านมามักเป็ นที่ทส่ี ามารถตอบสนองลูกค้าหลากชาติพนั ธุ์
และมีอาหารทีผ่ สมกันระหว่างวัฒนธรรม เมื่อสภาพบริบททางเศรษฐกิจของสังคมมาเลเซียเปลี่ ยนไปโดยฌฉพาะ
หลังปี 1970 ทีร่ ฐั บาลมาเลเซียพยายามนาเสนอภาพความมีเอกภาพบนความหลากหลายของมาเลเซียรวมไปถึง
บริบทการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายวัฒนธรรมแห่งชาติของรัฐบาลมาเลเซีย ความนิยมในร้านมามักใน
ฐานะพืน้ ทีท่ ส่ี ามารถตอบสนองความต้องการบริโภคในทุกชนชัน้ ช่วงวัย และชาติพนั ธุ์ จึงเริม่ แพร่หลายมากขึน้
เพราะด้วยตัวร้านมามักก็ได้ปรับรูปแบบของบริการ อาหาร ให้เข้ากับบริ บทดังกล่าวเพื่อให้เป็ นที่ทผ่ี ู้คนทุกกลุ่ม
อยากเข้ามาใช้บริการอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ โดยเฉพาะสองเมืองใหญ่อย่างปี นังและกัวลาลัมเปอร์ทป่ี ระกอบไป
ด้วยผู้คนที่หลากหลายชาติพนั ธุ์และมีการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมมากกว่าพื้นที่ในชนบทที่ผู้คนยังค่อนข้าง
รวมกลุ่มอยู่ในวัฒนธรรมของตน แม้ว่าร้านมามักถูกให้ความหมายว่าเป็ นภาพแทน “เอกภาพของสังคมมาเลเซีย”
อย่างไม่เป็ นทางการ แต่ในทางปฎิบตั แิ ล้ว “พื้นที่” ของร้านมามักมีทงั ้ ส่วนที่ท งั ้ สอดคล้องกับความพยายามทีจ่ ะ
เสนอภาพความเป็ นเอกภาพของสังคมโดยรัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็มคี วามขัดแย้งกับภาพลักษณ์ ความมีเอกภาพ

146
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ของรัฐ เพราะรัฐยังคงใช้อานาจของตนเพื่อควบคุมวิถใี นร้านมามักเพื่อให้เป็ นไปในรูปแบบทีร่ ฐั ต้องการซึง่ ในทาง


หนึ่งก็เป็ นการลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซียโดยเฉพาะกับกลุ่มทีไ่ ม่ใช่มาเลย์มุสลิม
ภูมปิ ุตรา

รำยกำรอ้ำงอิง
เอกสารภาษาไทย
หนังสือ
บาร์บารา วัตสัน อันดายา และ ลิโอนาร์ด วาย. อันดายา. 2549. ประวัตศิ าสตร์มาเลเซีย. กรุงเทพ: มูลนิธติ ารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เว็บไต ์
พูนผล โควิบรู ณ์ชยั . 2556. การต่อรองเชิงอานาจและการเปลีย่ นแปลงความหมายของผัดไทย: จากเมนูชาตินิยมสู่
อาหารไทยยอดนิยม. http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/FullPaper/JLC32-2-Poonpon-KW.pdf.
(สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2559)
วัชรพล พุทธรักษา. ม.ป.ป. แนวความคิดการครองอานาจนาของกรัมชี:่ บททดลองเสนอในการอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางการเมืองไทย. https://www.academia.edu/518933/แนวความคิดการครองอานาจนา
ของกรัมชีบ่ ททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทย (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2559)
เอกสารภาษาอังกฤษ
Book
Cheah Boon Kheng. 2002. Malaysia: The Making of a Nation. Singapore: Institute of Southeast
Asian Studies.
Jean Duruz and Gaik Cheng Khoo. 2015. Mamak Anyone? in Eating Together: Food, Space,
and Identity in Malaysia and Singapore, Ken Albala, editor. pp. 67-94. Maryland:
Rowman & Littlefield.
Judith Nagata. 1193. Religion and Ethnicity among the Indian Muslims of Malaysia. in Indian
Communities in Southeast Asia, K. S. Sandhu and A. Mani, editor. pp. 513-540. Singapore:
Institute of Southeast Asian Studies.
E-Journal
James Hagan and Andrew Wells. 2005. The British and Rubber in Malaya, c1890-1940.
University of Wollongong Research Online - Papers Archive: 143-150.
http://ro.uow.edu.au/cgi/viewcontent.cgi?article=2648&context=artspapers
Katina Abu Bakar and Abdul Ghani Farinda. 2012. Consumers’ Attitude towards “Mamak” Food
in Malaysia. 3rd International Conference on Business and Economic Research -
Proceeding (March): 1-13.
http://eprints.um.edu.my/13972/1/088_285_PG1304_1316.pdf.
Noraziah Ali and Mohd Azlan Abdullah. 2012. The food consumption and eating behaviour of
Malaysian urbanites: Issues and concerns. Malaysian Journal of Society and Space 8
(6): 157-165. http://journalarticle.ukm.my/5608/1/14.geografia-sept%25202012-azlan-si-
ppspp-ed%2520am1.pdf

147
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Tang Hoay Nee and Tareef Hayat Khan. 2012. Revisiting Strategies to enhance Social
Interaction in Urban Public Spaces in the context of Malaysia. British Journal of Arts and
Social Sciences. 8, No.2: 198-212.
http://www.bjournal.co.uk/paper/BJASS_8_2/BJASS_08_02_06.pdf.
Zarina Zawawi and Faisal Ibrahim. 2012. Jom Mamak! Examining the Role of Sociocultural and
Technological Determinants in a Local Pop-Culture Phenomenon. SEGi Review 5, No.
2 (December): 48-58. http://onlinereview.segi.edu.my/pdf/vol5-no2-art5.pdf.

Website
Chin. 2006. A Truly Malaysian Dish. http://e-malabari.my/history/kandar.htm (Accessed 10 April
2016)
Iqbaal Wazir. 2014. Why Mamak are so special in Malaysia?.
http://www.malaysiandigest.com/features/517000-why-mamak-stalls-are-so-special-in-
malaysia.html (Accessed 25 June 2016)
The Star Archives. 2009. Penang: Nasi kandar a Malaysian
original. http://www.thestar.com.my/story/?
file=%2F2009%2F9%2F26%2Fnation%2F4791064 (Accessed 25 June 2016)
Wartawan Sinar Harian. 2012. Sijil halal Jakim: Pasar raya, restoran mamak diberi amaran. http://
www.sinarharian.com.my/mobile/nasional/sijil-halal-jakim-pasar-raya-restoran-mamak-diberi-
amaran-1.36987 (Accessed 27 June 2016)
Patrick Pillai. 2015. “Mamak” and Malaysian: The Indian Muslim Quest for Identity. https://
bookshop.iseas.edu.sg/account/downloads/get/18330 (Accessed 26 June 2016)

148
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P5-R3-01

การสร้างอัตลักษณ์ของเมืองบุ รีรัมย์
ในฐานะที่เป็ น “มหานครแห่งกีฬา”
ศึ ก ษาการบริ โ ภคสิ น ค้ า กี ฬ า

ฐากูร ข่าขันมะลี
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่
e-mail: thakhoon.boom@mail.com

149
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
บทความนี้เป็ นการนาเสนอถึงปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ กับเมืองบุรรี มั ย์ ผ่านการบริโภค
สินค้ากีฬาที่ประกอบสร้างเป็ นอัตลักษณ์ ใหม่ใ ห้กบั จังหวัดบุรีรมั ย์จนได้ข้นึ ชื่อว่าเป็ น “มหานครแห่งกีฬา” แต่
กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็ นเพียงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จากแฟนกีฬากับทีมกีฬาเท่านัน้ แต่หากเป็ น ปฏิบตั กิ ารของผูค้ นใน
จังหวัด ทีไ่ ด้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการบริโภคสินค้ากีฬาทัง้ ในทางตรงและทางอ้อมหรือแม้กระทังการน ่ าความเป็ น
มหานครแห่งกีฬาไปผลิตซ้าเพื่อเป็ น การสร้างทุนในทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่ อ
เป้ าหมายของตนเอง บทความนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยาและ
มานุ ษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง “การสร้างความหมายของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะ “มหานครแห่งกีฬา” ที่
มุ่งเน้นศึกษาถึงกระบวนการสร้างความหมายใหม่ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์ เพราะในช่วง 6 - 7 ปี ทผ่ี ่านมาเมืองบุรรี มั ย์ถอื
ว่ามีความน่าสนใจสาหรับการศึกษาสังคมวิทยาเมืองเป็ นอย่างมาก

จำก “เมืองผ่ำน” สู่ “มหำนครแห่งกีฬำ”


“จากนี้ไป ใครทีอ่ ยากมาจังหวัดบุรรี มั ย์ สิง่ แรกทีค่ ุณต้องนึกถึงก็คอื “กีฬา” และย้าเลยว่าจาก
นี้ไป กีฬาทุกประเภทจะอยู่ทบ่ี ุรรี มั ย์ คุณมาบุรรี มั ย์ดว้ ยเหตุผลเดียวคือมาเพื่อเล่นกีฬาและ
มาเพื่อดูกฬี า” นายเนวิน ชิดชอบ ได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ของเว็บไซต์สนุ กในคอลัมน์
ฟุตบอลไทย (สนุกดอทคอม 2014)
ปรากฏการณ์ ท่เี กิดขึ้นกับบุรีรมั ย์ท่ที าให้จงั หวัดที่เคยถูกมองว่าเป็ นเพียงแค่ทางผ่านกลับมามีความ
น่ าสนใจจากคนภายในประเทศไทยและในอนาคตคาดว่าจะสามารถเป็ นจุดหมายปลายทางในการท่องเทีย่ วของ
ชาวต่ างชาติ จากการที่จงั หวัดได้ผลิตสิง่ ที่เรียกว่า แมนเมด แอตแทร็กชัน่ (Man Made Attraction) คือแหล่ง
ท่องเทีย่ วทีม่ นุ ษย์เป็ นผูส้ ร้าง และสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื การประดิษฐ์สร้างความหมายของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะมหานคร
แห่งกีฬา จากจุดเริม่ ต้นที่มกี ารก่อตัง้ สโมสรฟุ ตบอล บุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด หรือ ในอีกชื่อที่คุ้นเคย ปราสาทสาย ฟ้ า
เพียงเวลาแค่ 8 ปี เท่านัน้ แต่ทมี ฟุ ตบอลบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด ก็สามารถสร้างผลงานได้อย่างงดงามโดยการคว้าถ้วย
ฟุ ตบอลรายการใหญ่ ท่สี ุดของเมืองไทยได้ทงั ้ 3 รายการในฤดูกาล พ.ศ.2554 มาไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็ น
แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกแชมป์ โตโยต้าลีกคัพ และ ไทยคมเอฟเอคัพ และล่าสุดในปี 2559 สหพันธ์ฟุตบอล
อาเซีย น หรือ ASEAN Football Federation ได้ จ ัด ให้ บุ รีร ัม ย์ ยู ไ นเต็ ด เป็ นสโมสรอัน ดับ 1 ของอาเซีย น
(hugball 2557)
นอกจากชื่อเสียงที่ได้มาจากผลงานของสโมสรโดยการคว้าแชมป์ ใหญ่ๆมาได้อย่างมากมายแล้วอีกสิง่
หนึ่งทีเ่ รียกได้ว่าเป็ นสัญลักษณ์ทช่ี ่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เมืองบุรรี มั ย์ดมู คี วามเป็ นมหานครแห่งกีฬามากยิง่ ขึน้
ก็คือ สนามฟุ ตบอลสีน้ าเงิน I–Mobile Stadium อันสวยงามซึ่งตัง้ ตระหง่านอยู่ ณ กลางใจเมืองโดยเป็ นสนาม
ฟุตบอลทีไ่ ด้มาตรฐานในระดับสากลทีถ่ อื ว่าดีทส่ี ุดของประเทศไทยในปั จจุบนั ซึ่ งถูกก่อสร้างมาพร้อมๆกันกับการ
ก่อตัง้ สโมสรฟุตบอล ในสนาม I–Mobile Stadium แห่งนี้ สามารถจุคนดูได้ประมาณ 34,000 คน ทุกปี จะมีแมตช์
การแข่งขันทัง้ เหย้าและเยือ นราวๆ 33 แมตช์ นัน่ ทาให้สโมสรบุรีรมั ย์ ยูไนเต็ด มีรายได้จากสนาม I–Mobile
Stadium ต่อปี ประมาณ 450 ล้านบาท ทัง้ จากการขายตั ๋ว ขายเสือ้ และของทีร่ ะลึก (ไทยรัฐออนไลน์ 2557) และทุก
ครัง้ ทีม่ กี ารแข่งขันทีส่ นาม I–Mobile Stadium จะมีการประกาศรายได้ให้ผเู้ ข้าชมในสนามทราบโดยทัวกั ่ น
จากจุดเริม่ ต้นของความสาเร็จทีไ่ ด้จากกีฬาฟุตบอลต่อมาไม่นานได้มกี ารตอกย้าความเป็ นมหานครแห่ ง
กีฬาให้กบั จังหวัดบุรรี มั ย์โดยการสร้างสนามแข่งรถระดับโลกทีม่ ชี ่อื ว่า บุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชันแนล
่ เซอร์

150
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กิต (Buriram United International Circuit : BRIC )โดยใช้งบในการก่อสร้างไปกว่า 2,000 ล้านบาทสนามแข่งรถ


แห่งนี้ สร้างขึน้ บนพืน้ ที่ 1,000 ไร่กลางใจเมือง และเป็ นสนามแข่งระดับมาตรฐาน FIA (Federation Internationale
de l'Automobile หรือสหพันธ์รถยนต์นานาชาติ) Grade 1T และ FIM Grade A ทีส่ ามารถรองรับการแข่งขันซีรีส์
F3, GT1, 2 และ 3 ได้ภายใต้การรับรองมาตรฐานจากสหพันธ์จกั รยานยนต์นานาชาติ (Federation Internationale
de Motocyclisme) ซึง่ สามารถจัดการแข่งขันในระดับมอเตอร์ครอส หรือเวิลด์ซรี สี ์ ระดับสปอร์ตคาร์ และซุปเปอร์
คาร์ รวมถึงซุปเปอร์ไบค์ได้ เปิ ดตัวอย่างเป็ นทางการเป็ นทีเ่ รียบร้อยแล้วในเดือน ตุลาคมปี พ.ศ.2557 พร้อมกับ
การเป็ นเจ้าภาพเปิ ดการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบที่ยงิ่ ใหญ่ทส่ี ุดของเอเชีย ซุปเปอร์ จีที 2014 ร่วมกับGTA จาก
ญี่ป่ ุน และในอนาคตไม่เกิน 2 ปี จะมีการก่อสร้าง สปอร์ต แอดเวนเจอร์ พาร์ค ที่ใหญ่ ท่สี ุดในประเทศไทยที่
ประกอบไปด้วยกีฬาประเภทพจญภัยทีส่ ร้างความตื่นเต้น เช่น ไต่หน้าผา บันจีจ้ มั ้ พ์ สลิงลาย เมาท์เท่นไบร์ เป็ น
ต้น โดยมีแผนว่าจะสร้างเสร็จไม่เกินปี พ.ศ.2560

"เมื่อพระเจ้าไม่ได้ให้ภูเขา ทะเล ทีท่ ่องเทีย่ ว ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ ากับพวกเรา


เหมือนที่คนจังหวัดอื่น ๆ ได้รบั คนบุรีรมั ย์ก็ต้องสร้างด้วยมือของเราเอง ผมพร้อมที่จะ
ร่วมมือกับคนบุรรี มั ย์ทุกคน สร้างเมือ งของเรา บ้านของเรา ด้วยตัวของเราเอง ด้วยกาลัง
ของเราเอง" นายเนวิน ชิดชอบได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ของเว็บไซต์กระปุกในคอลัมน์
ข่าวฮิตสังคมออนไลน์ (Kapook.com 2014)
ภายใต้สงิ่ ที่เรียกว่า แมนเมด แอตแทร็กชัน่ (Man Made Attraction) มีแนวความคิดทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการ
สร้างเมืองบุรรี มั ย์กค็ อื Resource is...limited but Creative is... unlimited ซึง่ แปลได้ความหมายว่า “ทรัพยากร...มี
วันหมด แต่ความคิดสร้างสรรค์...ไม่มวี นั หมดไป” ตรงนี้คอื สิง่ ที่ทาให้บุรรี มั ย์ได้มาถึงจุดเปลี่ยนเพราะเมื่อต้นทุน
ไม่ได้เกิดมาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว มนุ ษย์กจ็ ะต้องหาวิธที างในการสร้างมันขึน้ มาเพื่อให้จงั หวัดบุรรี มั ย์จะ
ได้ไม่ถูกมองข้ามอีกต่อไป “การกลายเป็ นเมืองมหานครแห่งกีฬาของจังหวัดบุรรี มั ย์จะส่งผลอย่างไรต่อจังหวัด ?”
เมื่อผู้วจิ ยั ได้สบื ค้นข้อมูลเบื้องต้น พบว่า รายได้หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรรี มั ย์ (GDP) ที่จดั เก็บโดยวิธี
Bottom Up ข้อมูลล่าสุดในปี 2556 มีมลู ค่า 109,871.23 ล้านบาท ภาคเศรษฐกิจทีท่ ารายได้มากทีส่ ดุ 3 อันดับแรก
ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม ในสัดส่วนร้อยละ 21.25 พืชเศรษฐกิจสาคัญคือข้าว มันสาปะหลัง อ้อย ยางพารา
รองลงมาคือสาขาขายส่ง ขายปลีก ร้อยละ20.70 และสาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 19.67 ซึ่งยังคงกระจุกตัวอยู่ใน
กลุ่มโรงโม่หนิ (ตระกูลชิดชอบเป็ นผูบ้ ริหาร) ในส่วนของรายได้ต่อหัวของชาวบุรรี มั ย์ ในปี 2556 อยู่ท่ี 65,049.51
บาท เพิม่ ขึน้ จากปี ก่อน 12.36เปอร์เซ็นต์ ซึง่ อยู่ท่ี 57,894.32 บาท เริม่ ขยับจากอันดับท้ายๆ ขึน้ มาอยู่ในอันดับที่
67 ของประเทศแล้ว (กรมการคลังจังหวัดบุรรี มั ย์ 2546)
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจเมืองบุรรี มั ย์จะยังคงพึ่งพารายได้จากภาคเกษตรกรรมเป็ นหลัก แต่ในช่วง 2-3 ปี น้ี
พบว่าภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดรับกับโรดแมป
(Road Map) การพัฒนาของภาคเอกชนที่มุ่ง สู่การเป็ น เมืองฟุ ต บอลและมอเตอร์สปอร์ต โดยตัง้ เป้ าเป็ น "ฮับ
สปอร์ต เอนเตอร์ เ ทนเมนต์ " ของอาเซีย นภายใน 5 ปี จากนี้ ไ ปคาดว่ า จะมีแ ฟนบอล รถแข่ ง บิ๊ก ไบค์ และ
นักท่องเที่ยวหลังไหลเข้
่ ามาเยือนเมืองบุรีรมั ย์ปีละนับล้านคน โดยปี ท่แี ล้วมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวกว่า
1,400 ล้านบาท ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็เริม่ มีโรงงานแปรรูปยางพาราเกิดขึน้ แล้วประมาณ 4 แห่งและมีโรงงาน
พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์เข้ามาลงทุนอีกหลายแห่ง การลงทุนเมืองบุรรี มั ย์ได้ขยายตัวขึน้ โดยเฉพาะ
"ธุรกิจบริการ" ถือว่ามีศกั ยภาพโดดเด่นมากทีส่ ุด ไม่ว่าจะเป็ นธุรกิจโรงแรม ที่พกั ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถาน

151
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บันเทิงทัง้ ในเขตตัวเมืองและต่างอาเภอ เพื่อรองรับคลื่นนักท่องเทีย่ วทีจ่ ะเดินทางเข้ามาในอนาคต รองลงมาได้แก่


การขายส่ง ขายปลีก เช่น ศูนย์การค้า และอุตสาหกรรมการเกษตร เพราะมีพชื เศรษฐกิจสาคัญหลายชนิดทัง้ ข้าว
อ้อย มันสาปะหลัง และยางพารา (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 2557)
นที เจียรพันธุ์ ประธานหอการค้าจังหวัดบุรรี มั ย์ ให้ขอ้ มูลว่า การเกิดขึน้ ของสโมสรบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด และ
การพัฒนาสนาม I–Mobile Stadium ทาให้จานวนนักท่องเทีย่ วเข้าสู่จงั หวัดบุรรี มั ย์เพิม่ สูงขึน้ มาก โดยในปี 2556
มีจานวนมากกว่า 1.7 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวเกือบ 1,500 ล้านบาท นอกจากนัน้ ยังทาให้เกิดการ
ลงทุนในธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต ทีพ่ กั ร้านอาหาร สถานบันเทิงเพิม่ ขึน้ อย่างมากมาย รวมทัง้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ท่ี
มีการจดทะเบียนจัดสรรติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ ส่วนราคาประเมินทีด่ นิ ก็อยู่ในระดับ 1 ใน 5 ทีป่ รับสัดส่วน
เพิม่ ขึน้ (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 2557)
ส่วนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้นาจังหวัดบุรีรมั ย์ไปบรรจุเป็ น 1 ใน 12 เมืองท่องเที่ยวดาวรุ่ง
ภายใต้แ คมเปญ “เมือ งต้อ งห้า ม…พลาด” ในปี 2557 เป็ น ที่เ รีย บร้อ ย ตามนโยบายกระจายรายได้จากเมือง
ท่องเทีย่ วหลักทีค่ ่อนข้างกระจุกตัว เหตุผลเพราะบุรรี มั ย์มสี งิ่ มหัศจรรย์อย่างปราสาทขอมโบราณ ปราสาทพนมรุง้
อายุราว 800 ถึง 1,000 ปี และปราสาทสายฟ้ าอันเป็ นสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ด และคาดว่า
รายได้ด้านการท่องเทีย่ วบุรรี มั ย์ในปี ต่อๆไปจะอยู่ทป่ี ระมาณเกือบ 2 พันล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 20เปอร์เซ็นต์
เมื่อเทียบจากฐานรายได้ 1.66 พันล้านบาท ในปี 2556 ซึง่ มีนักท่องเทีย่ วและนักเดินทางรวม 1.18 ล้านคน ทัง้ นี้
คาดว่ารายได้ปี 2558 จะขยายตัวต่อเนื่องไม่ต่ ากว่า 15เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2557 ส่วนอัตราเข้าพักเฉลีย่
ของบุรรี มั ย์ตลอดปี น้ี คาดว่าอยู่ท่ปี ระมาณ 50เปอร์เซ็นต์ เพิม่ ขึน้ จากปี ท่แี ล้วซึ่งมีอตั ราเข้าพักที่ 40เปอร์เซ็นต์
เท่านัน้ และคาดว่าปี ต่อๆไปจะมีอตั ราเข้าพักเพิม่ ขึน้ เป็ น 60เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าอย่างแน่ นอน จากกระแสการ
ท่องเที่ยวที่ดีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้จงั หวัดบุรีรมั ย์ติด 1 ใน 3 ของจังหวัดที่มอี ตั ราเข้าพักสูงสุดของภาคอีสาน
ด้านการขยายตัวของการขนส่งทางอากาศจากกรุงเทพฯ มาบุรรี มั ย์ ปี 2558 น่ าจะได้เห็นสายการบิน
ต้นทุนต่า (Low Cost) อีกอย่างน้อย 2 สายการบินมาเปิ ดให้บริการเพิม่ ปั จจุบนั มีสายการบินนกแอร์และแอร์เอเชีย
เปิ ดให้บริการเส้นทางดอนเมืองมาบุรรี มั ย์ ความถีว่ นั ละ 1 เทีย่ วบิน
ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ กับจังหวัดบุรรี มั ย์ในช่วงเวลา 6 ถึง 7 ปี ทผ่ี ่านนับว่าได้รบั ความสนใจและเป็ นทีจ่ บั
ตามองจากสื่อต่างๆ ทัง้ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ สื่อสิง่ พิมพ์ ฯลฯ โดยสื่อได้นาเสนอภาพของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะ
เมืองทีม่ สี โมสรฟุตบอลอันโด่งดัง และมีสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับสากลอยู่ในตัวเมืองของจังหวัด จากจังหวัดที่
เคยถูกมองว่าด้อยพัฒนาและเป็ นเพียงเมืองทางผ่าน แต่ปัจจุบนั บุรรี มั ย์ถูกมองในอีกภาพลักษณ์ทแ่ี ตกต่างไปจาก
เดิม แต่ ไม่ว่าจะเป็ นสื่อหรือแม้กระทังงานวิ
่ จยั ที่ศกึ ษาเกี่ยวกับการสร้างความเป็ นมหานครแห่งกีฬาในจังหวัด
บุรรี มั ย์กล็ ว้ นแล้วแต่นาเสนอในมุมมองทีป่ ราศจากปฏิบตั กิ ารของประชาชนในจังหวัดเหมือนกับว่าปรากฏการณ์ท่ี
เกิดขึน้ กับเมืองบุรีรมั ย์อยู่ภายใต้การกากับควบคุมของนายทุนหรือนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเท่านัน้ ส่วน
ประชาชนเปรียบเสมือนเหยื่อของสิง่ ทีถ่ ูกผลิตสร้างจากผูม้ อี านาจในสังคมเท่านัน้ เพราะฉะนัน้ บทความนี้จงึ มีความ
ประสงค์จะนาเสนอ ปฏิบตั กิ ารการสร้างความหมายของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะ “มหานครแห่งกีฬา” ของประชาชนใน
จังหวัด ทีเ่ ข้าไปมีสว่ นร่วมในกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆให้กบั บุรรี มั ย์โดยใช้ผ่านการบริโภค
สินค้ากีฬาของประชาชนในเมืองบุรรี มั ย์

152
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กำรศึกษำเมืองบุ รีรัมย์ในฐำนะ “มหำนครแห่งกีฬำ” ที่ผ่ำนมำ


การศึกษาจังหวัดบุรรี มั ย์ท่ผี ่ านมาในอดีตมักจะเกี่ยวข้องกับการเกษตรหรือชาติพนั ธุ์ท่หี ลากหลายใน
จังหวัด ฯลฯ แต่ตามทีก่ ล่าวมาในปั จจุบนั ได้เกิดปรากฏการณ์การเปลีย่ นแปลงครัง้ สาคัญกับเมืองบุรรี มั ย์ทาให้เมือง
บุรรี มั ย์ ถูกจ้องมองในฐานะ “มหานครแห่งกีฬา” และได้รบั ความสนใจจากทัง้ สือ่ ต่างๆ ร่วมไปถึง นักวิจยั ทางสังคม
ที่สนใจจะศึกษาและตีความ ถึงเบื้องหลังของปรากฏการณ์ดงั กล่าว เท่าที่ผู้วจิ ยั ได้รวบรวมมามีดงั นี้ สุรยิ านนท์
พลสิม (2557) ศึกษามายาคติในการสร้างความนิยมทางการเมืองของสมาชิกพรรคภูมใิ จไทยจังหวัดบุรีรมั ย์:
วิเคราะห์ดว้ ยวิธสี ญั วิทยา เป็ นการศึกษามายาคติในการสร้างความนิยมทางการเมืองของสมาชิกพรรคภูมใิ จไทย
ในจังหวัดบุรรี มั ย์ โดยผ่านวาทกรรม “เซาะกราว” เพื่อทาให้เกิดความรูส้ กึ เป็ น “พวกเรา” และกีดกันคนอื่นออกเป็ น
เสมือนกับการ “แบ่งเขาแบ่งเรา” ความรูส้ กึ ทีเ่ ป็ นพรรคพวกเดียวกันจึงเกิดขึน้ กับผูค้ นในจังหวัดรวมถึงนักการเมือง
ท้องถิน่ ก็เปรียบเสมือนเป็ นคนทีอ่ ยู่ในฐานะของ “เซาะกราว” เช่นเดียวกันกับผูค้ นในจังหวัด นอกจากนัน้ วาทกรรม
ดังกล่าวยังผนวกรวมกับสโมสรฟุตบอล “บุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด” อีกด้วย ซึง่ เป็ นสิง่ ทีค่ นในจังหวัดภาคภูมใิ จ รวมถึงตัว
ผูบ้ ริหารสโมสรฟุตบอลเองก็เป็ นนักการเมืองท้องถิน่ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อเมืองบุรรี มั ย์เป็ นอย่างมาก ทาให้คุณเนวิน ชิด
ชอบ ถูกยกให้เป็ นฮีโร่ของจังหวัด จากการนาพาให้ทีมฟุ ตบอลของจังหวัดประสบผลสาเร็จอย่างสูงในวงการ
ฟุตบอลไทย และนามาซึง่ การเปลีย่ นแปลงของเมืองบุรรี มั ย์อย่างรวดเร็วในช่วง 6-7 ปี ทผ่ี ่านมา (นับตัง้ แต่กาเนิด
ทีมบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดปี 2552) การผลิตซ้าของความเป็ น “พวกเรา” โดยมีวาทกรรมว่าด้วย “เซาะกราว” และความ
ภาคภูมใิ จในสโมสรฟุตบอล ถูกกระทาโดยการ สวมใส่เสือ้ ทีมกีฬาของสโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด และผลิตภัณฑ์อ่นื ๆที่
มีโ ลโก้ข องสโมสร การก าเนิ ด ขึ้น ของตลาดนัด เซาะกราว การติด ป้ า ยบิลบอร์ด ตามบริเ วณเมือ ง รวมไปถึง
สือ่ มวลชนต่างๆทีไ่ ด้นาเสนอภาพของเมืองบุรรี มั ย์ โดยมีสโมสรฟุตบอลเป็ นจุดเด่นของการเป็ นบุรรี มั ย์

ความโด่งดังของจังหวัดบุรรี มั ย์ซง่ึ เป็ นทีร่ บั รูข้ องคนทัวประเทศในขณะนี


่ ้คงจะหนีไม่พน้ เรื่อง
ของทีม ฟุตบอลคุณภาพอย่างสโมสรฟุตบอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ด, สนามฟุตบอลไอโมบายสเต
เดี้ยม และ สนามแข่งรถ บุรรี มั ย์อนิ เตอร์เนชันแนลเซอร์ ่ กติ ซึ่งมีมาตรฐานระดับโลก” สิง่
ต่างๆเหล่านี้เอง สุรยิ านนท์ พลสิม ได้นามารวบรวมและแสดงให้เห็นว่ามันคือ "ความเป็ น
บุรรี มั ย์ยไู นเต็ด" หรือ ในงานวิจยั เล่มนี้เห็นว่า “เป็ นการสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองของ
กลุ่มพรรคภูมใิ จไทย (สุรยิ านนท์ พลสิม 2557)
เช่นเดียวกันกับงานวิจยั ของ เมธากร เมตตา (2557) ในเรื่อง กลยุทธการเพิม่ มูลค่าของนักการเมือง
ท้องถิ่น: กรณีสโมสรฟุ ตบอลบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด ที่ศกึ ษาบทบาทสโมสรฟุ ตบอลบุรรี มั ย์ ยูไ นเต็ดที่มตี ่อการพัฒนา
ท้องถิ่นในจังหวัดบุรรี มั ย์ ในการระดมประชาชนผ่านการดาเนินการของสโมสรฟุตบอล รวมถึงการใช้ความเป็ น
ท้องถิน่ นิยม (Localism) ผ่านสือ่ ทัง้ ในระดับท้องถิน่ ไปจนถึงระดับชาติ ในการสร้างฐานอานาจ กลยุทธ์และการเพิม่
มูลค่าของนักการเมืองท้องถิน่ ในจังหวัดบุรรี มั ย์ สิง่ เหล่านี้เป็ นการสร้าง “ความภาคภูมใิ จในความเป็ นชาวบุรรี มั ย์”
ทีก่ ่อนหน้านี้อาจจะมีความเบาบางให้มคี วามเข้มข้นมากขึน้ เพื่อเป็ นเครื่องมือทีส่ ร้างผลประโยชน์ทางการเมืองของ
นักการเมืองท้องถิน่ เหล่านี้
แต่ งานวิจยั เหล่านี้ก็ยงั คงมุ่งเน้ นไปที่เรื่องของการ สร้างผลประโยชน์ ทางการเมืองหรือการสร้างฐาน
อานาจทางการเมืองท้องถิน่ (หรืออาจจะไปถึงระดับชาติ) โดยไม่ได้ให้ความสาคัญกับกระบวนการของการประกอบ
สร้างอัตลักษณ์ความเป็ นเมืองบุรรี มั ย์ทเ่ี กิดจากสานึกของชาวจังหวัดบุรรี มั ย์เองเลย โดยคานึงเพียงว่าประชาชน
ภาคภูมใิ จในการเป็ น “เซาะกราว” หรือ “สโมสรฟุ ตบอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ด ” เลยทาให้ช่นื ชอบนักการเมืองทีใ่ ช้วาท

153
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

กรรมดังกล่าวในการหาเสียง แต่ไม่ได้สนใจเลยว่าประชาชนก็ได้นาวาทกรรมดังกล่าว มาใช้เป็ นเครื่องมือในการ


สร้างผลประโยชน์กบั ตนเองทัง้ ในทาง เศรษฐกิจ รวมไปถึงด้านสังคม และวัฒนธรรม จนเกิดเป็ นการผลิตซ้าทางอัต
ลักษณ์และทาให้เมืองบุรรี มั ย์มกี ารปรับเปลีย่ นภาพลักษณ์ไปจากเดิมจนทาให้เมืองบุรรี มั ย์ถูกมองจากสื่อต่างๆใน
ระดับประเทศว่าเป็ น “มหานครแห่งกีฬา” ของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนัน้ การศึกษาในครัง้ นี้จงึ ไม่ได้
มุ่งความสนใจศึกษาเพียงปฏิสมั พันธ์ระหว่างแฟนกีฬากับทีมกีฬาหรือการเกิดขึน้ ของวัฒนธรรมแฟนกีฬา แต่เป็ น
การศึกษาให้เห็นถึงปฏิสมั พันธ์ท่ชี าวเมืองบุรรี มั ย์ได้กระทาต่ อเมืองบุรีรมั ย์จนทาให้เกิดปรากฏการณ์ ท่คี นทัง้
ประเทศรู้จกั เมืองบุรรี มั ย์ในภาพลักษณ์ท่เี ปลี่ยนแปลงไป โดยมีสมมุติฐานว่าปฏิบ ั ติการทางสังคมดังกล่าวของ
ชาวเมืองบุรรี มั ย์ไม่ได้เกิดขึน้ จากการตกเป็ นเพียงเหยื่อของวาทกรรมทีน่ ักการเมืองผลิตขึน้ มาเพื่อครอบงาคนใน
เมืองบุรรี มั ย์เท่านัน้ แต่หากเป็ นสานึกทีเ่ กิดจากตัวของชาวเมืองบุรรี มั ย์ทไ่ี ด้นาสิง่ เหล่านี้มาสร้างเป็ นผลประโยชน์
ของตนและส่งผลให้เป็ นการผลิตซ้าอัตลักษณ์ความเป็ นเมืองใหม่ๆขึน้ มาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเชื่อว่าชาวเมือง
บุรรี มั ย์ไม่ได้ตกเป็ นผูถ้ ูกกระทาจากโครงสร้างทางสังคมทีน่ ักการเมืองสร้างขึน้ (Passive actor) แต่มปี ฏิบตั กิ าร
โดยเป็ นผูท้ ก่ี ระทาการทีม่ สี านึกจากตนเอง (Active actor) และนามาซึ่งการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคมของเมือง
บุรรี มั ย์

แนวคิดในกำรอธิบำย “กีฬำ” กับ “ควำมเป็นเมือง” และ “กำรสร้ำงควำมเป็นชุ มชน”


“กีฬา” เป็ นกิจกรรมที่ถูกจัดให้อยู่ในส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพร่างกายของมนุ ษย์และถือเป็ น
กิจกรรมนันทนาการ (Recreational) ในความเข้าใจเดิมมันถือว่าเป็ นเรื่องของการใช้พละกาลังเพียงเท่านัน้ แต่
ต่อมาพัฒนาการของกีฬาก็เริม่ เปลีย่ นไปเป็ นความมีระเบียบวินัย โดยนักสังคมวิทยากีฬาได้พยายามหาคาตอบ
ให้กบั ประเด็นคาถามดังกล่าวจากการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการผูกโยงเข้ากับมิตทิ างสังคมเรื่องอื่นๆ เช่น
เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารจัดการองค์กร เป็ นต้น ซึ่งถือว่าเป็ นการเปิ ดมุมมองความเป็ นกีฬาใหม่ในสังคม
(สายชล ปั ญญาชิต 2557) และเมื่อมีนักสังคมวิทยาทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับความเป็ นเมือง การพัฒนาเมืองได้นา “กีฬา”
มาเป็ นปั จจัยในการอธิบายปรากฏการของเมือง ก็ทาให้คน้ พบว่ากีฬากับการพัฒนาเมืองนัน้ มีความเชื่อมโยงกันใน
หลายๆด้าน โดยขึน้ อยู่กบั บริบทของการพัฒนาในเมืองนัน้ ๆว่า “กีฬา” จะถูกนามาใช้ในรูปแบบใดต่อการพัฒนา
เมืองนัน้ ๆ
จากหนังสือเรื่อง Sociology of Sport and Social Theory โดย Earl Smith (2010) ได้รวมรวมบทความที่
นาเสนอการศึกษาทางสังคมวิทยาการกีฬากับทฤษฎีทางสังคมไว้อย่างหลากหลาย มีหนึ่งบทความของ Kimberly
S. Schimmel ได้ ถู ก รวบรวมอยู่ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ชื่ อ บทความว่ า “Political Economy Sport and Urban
Development” ทีต่ อ้ งการจะอธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองกับทฤษฎีระบอบปกครองเมือง (Urban Political
Economy and Urban Regime Theory) ที่กล่าวว่า “การพัฒนาเมืองจะทาให้เห็นถึงความขัดแย้งในการใช้พน้ื ที่
รวมถึงเกิดการกระจายผลของประโยชน์ทไ่ี ม่เท่าเทียมกันภายในเมือง”
ในส่วนเริม่ ต้นของบทความนี้ได้มกี ารกล่าวถึง “กีฬา” กับ “เมือง” ไว้ว่า ถ้าหากมองเข้าไปในหัวเมือง
ต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบว่าความเป็ นเมืองกับกีฬานัน้ อยู่ร่วมกันในแทบทุกพืน้ ทีภ่ ายในเมือง ผ่านจาก
การพบเห็นต่างๆทัง้ การสวมใส่หมวก เสือ้ หรือสินค้าต่างๆทีม่ สี ญ
ั ลักษณ์ของทีมกีฬาในท้องถิน่ ตนเองเพื่อแสดง
ความภาคภูมใิ จในทีมกีฬาของเมืองตนเอง มีการสร้างสถานทีส่ าหรับจัดแข่งกีฬา และนาเสนอความยิง่ ใหญ่ของ
ทีมกีฬาท้องถิน่ ตนเองจากชัยชนะต่างๆ ถึงแม้จะเป็ นเพียงเมืองเล็กๆทีอ่ ยู่ตามท้องถิน่ ก็ตาม และยังมีทุนสนับสนุ น
จากหน่ วยงานรัฐเพื่อการกีฬาโดยเฉพาะ เพราะเชื่อว่ากีฬาจะทาให้เกิดความเป็ นน้ าหนึ่งใจเดียวกันของคนใ น

154
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ท้องถิ่น (Coakley 2007, 56) เหตุผลที่เมืองต้องมีการจ้างทีมงานที่เป็ นระดับมืออาชีพมาทาการพัฒนาทีมกีฬา


รวมถึงเมืองก็ยงั ต้องใช้จ่ายมหาศาลเพื่อที่จะได้เป็ นเจ้าภาพของการจัดมหากรรมการแข่งขันกีฬาต่างๆก็เพราะ
ต้องการนาเสนอ (โฆษณา) ภาพลักษณ์ ของเมืองสู่สายตาชาวโลกเพราะเชื่อว่าจะเป็ นผลดีต่อการฟื้ นฟู เมือ ง
กระตุน้ เศรษฐกิจภายในเมือง “กีฬา” จึงได้ถูกนามาใช้ในฐานะทีเ่ ป็ นเครื่องมือในการพัฒนาเมือง
ในขณะที่แนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) ปฏิเสธที่จะมองว่า “กีฬา” คือปั จจัย
สาคัญทีม่ ผี ลต่อการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของเมืองให้เจริญเติบโตขึน้ แต่กลับมองว่า “กีฬา”เป็ นเพียงสิง่ ที่
ทาให้ดเู หมือนกับว่าเมืองถูกพัฒนาขึน้ เท่านัน้ และเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของปั จจัยหลายๆอย่างในการพัฒนาเมือง แต่
เน้นการศึกษาเมืองจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปั จจัยด้านอื่นๆเสียเป็ นส่วนใหญ่ “กีฬา” จึงเปรียบได้กบั
สถาบันทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ทีก่ าเนิดขึน้ จากการกากับดูแลของภาครัฐหรือเอกชนเพื่อทีจ่ ะนามาใช้เป็ นเครื่องมือ
ในการพัฒนาเมือง แต่ จากแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองดังกล่าว การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใดๆก็ตาม ไม่
สามารถพัฒนาได้เพียงสถาบันใดสถาบันหนึ่งเพียงหนึ่ งเดียวแต่ตอ้ งประกอบขึน้ ด้วยปั จจัยอื่นๆทัง้ ในระดับปั จเจก
ชนไปถึงในระดับโครงสร้างสังคม
“กีฬา” ในมุมมองของกลุ่มสานักเศรษฐศาสตร์การเมืองจึงเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของเมือง
เท่ า นัน้ แต่ ไ ม่ใ ช่ปั จจัยที่เ ป็ นองค์ป ระกอบสาคัญ ที่ท าให้เ กิด การพัฒนาของเมือ งแต่ มุ่ งไปดูเ ฉพาะการผลิตใน
ภาคอุตสาหกรรมและอุดมการณ์กลุ่มนายทุน โดย “กีฬา” อยู่ในฐานะปั จจัยส่งเสริมการพัฒนาของเมืองเท่านัน้ แต่
ก็มอี กี กลุ่มสานักทางทฤษฎีว่าด้วยเรื่องระบอบการปกครองเมือง (Urban Regime Theory) ทีม่ ุ่งแน่นการพิจารณา
ถึงกระบวนการในการจัดการกับเมือง โดยสนใจรูปแบบของชนชัน้ นาท้องถิ่นที่ใช้ “กีฬา”ในส่วนของการพัฒนา
เมือ ง ในบทความ“Political Economy Sport and Urban Development”ได้ย กตัว อย่ า งเมือ ง อิน เดีย ร์น าโปลิส
(Indianapolis) ในแถบมิดเวสต์ (Midwestern) ของสหรัฐ ทีต่ กอยู่บนสภาวะของเศรษฐกิจทีย่ ่าแย่ และแทบจะเป็ น
เมืองทีถ่ ูกลืม จากนัน้ ได้มกี ลุ่มชนชัน้ นาท้องถิน่ จัดประชุมหารือกันเพื่อหาวิธกี ารจัดการแก้ไขปั ญหาดังกล่าว เพื่อ
หาระบอบหรือกลยุทธ์ในการจัดการกับปั ญหาทีท่ าให้เมืองอินเดียร์นาโปลิสหยุดการเจริญเติบโต
ในเมืองอินเดียร์นาโปลิสมีองค์กรทีช่ ่อื ว่า Eli Lilly เป็ นหนึ่งในบริษทั ยาทีย่ กั ษ์ใหญ่ตงั ้ อยู่ในเมือง และได้
ทาการบริจาคเงินสนับสนุนสาหรับการพัฒนาเมืองเป็ นจานวนมหาศาลถึง 120 ล้านยูเอสดอลลาร์ (US$) ทาให้เป็ น
มูลนิธิการกุศลที่ใหญ่ ท่สี ุดเป็ นอันดับสองของสหรัฐอเมริกาในปี 1970 (Nielsen 1985, 64 อ้างใน Kimberly S.
Schimmel 2010) Jim Morrisป็ นตัวแทน Eli Lilly และอดีตผูช้ ่วยในสานักงานของนายกเทศมนตรีได้เข้าพบอย่าง
ไม่เป็ นทางการกับเจ้าหน้าทีข่ องรัฐและชนชัน้ สูงขององค์กรทีย่ งั มีความสนใจในการวางแผนและการดาเนินกลยุทธ์
การออกแบบเพื่อเพิม่ คุณภาพชีวติ ของชนชัน้ กลางและสูง หนึ่งในการประชุมที่สาคัญเกิดขึน้ ในปี 1970 โดยมี Jim
Morris จาก Eli Lilly และ Robert Kennedyผู้อานวยการหรือผู้กากับดูแลเมืองอินเดียร์นาโปลิสได้หารือเกี่ยวกับ
ทิศทางของเมืองในการการพัฒนา และจากการวางแผนตัง้ แต่ปี 1970 มาจนถึง 1988 ในช่วงนัน้ ก็มกี ารประชุมทัง้
เป็ นทางการและไม่เป็ นทางการ มีการวางโครงสร้างของสิง่ ก่อสร้างในบริเวณใจกลางเมืองโดยเงินสนับสนุ นส่วน
ใหญ่มากจากบริษทั Eli Lilly และในทีส่ ุดนาย Jim Morris ก็ได้ระบุว่าเราควรใช้ “กีฬา” สาหรับเป็ นกลยุทธ์ในการ
พัฒนาเมือง หลังจากนัน้ ไม่นานก็มกี ารใช้เงินจานวนมหาศาลในการสร้างสถานทีเ่ พื่อจัดแข่งขันกีฬาในระดับสากล
ขึ้น เป็ น จ านวนมากเพื่อ รองรับ การเป็ น เจ้า ภาพในการจัด การแข่ง ขัน กีฬ าในมหากรรมต่ า งๆในระดับ สากล
ต่อจากนัน้ เมืองอินเดียร์นาโปลิสก็ถูกจัดให้เป็ น "#1 Pro Sports City" ในภาคเหนือของอเมริกา (หอการค้ามหา
นครอินเดียร์นาโปลิสพาณิชย์ 2009, 64 อ้างใน Kimberly S. Schimmel 2010) และได้เป็ นเจ้าภาพในการจัดการ

155
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แข่งขันกีฬาอย่างมากมาย หลากหลายประเภท เช่น National Sports Festival ปี 1982 Pan American Games
ปี 1987 World Gymnastics Championships ปี 1991แ ล ะ The Final Four of the NCAA Men’s Basketball
Tournament ถึง 4 ปี ดว้ ยกันคือ ปี 1980 ปี 1991 ปี 1997 และปี 2000 เป็ นต้น จึงถือได้ว่าการนา “กีฬา” มาใช้เป็ น
เครื่องมือในการพัฒนาเมืองเป็ นผลสาเร็จ โดยโครงการ”กีฬา”ถูกนาเสนอให้ชุมชนท้องถิน่ รับรูว้ ่าคือ "ผลประโยชน์
ของประชาชน" (Public Interest) กลยุทธ์สาหรับการพัฒนากีฬาในทุกวันนี้ยงั คงนาเมืองอินเดียร์นาโปลิสเป็ น
หลักฐานความจริงในความสัมพันธ์ของ “เมือง” กับ “กีฬา” โดยผ่านการลงทุมมหาศาลกว่า 900 ล้านยูเอสดอลลาร์
(US$) เพื่อสร้างสนามกีฬาและโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการท่องเทีย่ วทีข่ ยายตัวซึง่ จะเข้ามาแทนทีส่ ภาวะทีต่ กต่าของ
เศรษฐกิจในเมืองอินเดียร์นาโปลิสโดยใช้เวลาเพียงสองทศวรรษเท่านัน้ (Schimmel 2007, 63 อ้างใน Kimberly S.
Schimmel 2010)
จากการพัฒนาเมืองดังกล่าวได้ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อประเด็นเรื่องความสาเร็จจากการใช้จ่าย
จานวนเงินมหาศาลของทรัพยากรภาครัฐและเอกชนทีม่ กี ารลงทุนใน “กีฬา” แต่ผลประโยชน์ทเ่ี กิดจากการพัฒนา
เมืองยังไม่ได้ไหลลงหรือกระจายสู่ทวทุ
ั ่ กส่วนของประชากรในเมือง การปรากฏตัวของปรากฏการณ์ทงั ้ การเป็ น
เจ้าภาพมหกรรมกีฬาต่างๆการเกิดขึน้ ของสิง่ อานวยความสะดวกต่างๆ ยังไม่ได้ส่งผลต่อการขยายตัวของจานวน
ของงานใหม่ และเกิดผลเสียต่อประชากรทีอ่ าศัยอยู่ในใจกลางเมือง (Austrian and Rosentraub 2002, 63) ความ
ยากจนในหมู่ชนกลุ่มน้อยขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดทัง้ ปี 1980 และในปี 1990 (Wilson 1996, 63)
จึงยังคงเป็ นประเด็นในการถกเถียงกันต่อไปว่าการทีช่ นชัน้ นาของท้องถิน่ ทัง้ ในภาครัฐและเอกชนทีแ่ สดง
ภาพลักษณ์ในฐานะของนักพัฒนาเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยการนา “กีฬา” มาใช้เพื่อทาการพัฒนาเมือง มีนยั ยะ
แอบแฝงอื่นใดหรือไม่ และผูท้ ไ่ี ด้รบั ประโยชน์จากการพัฒนาเมืองคือผูท้ เ่ี ป็ นประชาชนทุกชนชัน้ จริงหรือ โดยการ
นาแนวคิดเรื่องระบอบการปกครอง (Urban Regime Theory) เมืองมาใช้ในการพิจารณาบทบาทของชนชัน้ นา
ท้องถิน่ กับการพัฒนาเมือง ในบทความ “Political Economy Sport and Urban Development” มีงานของ Harvey
Molotch สนับสนุ นหลักการผ่านวิทยานิพนธ์ช่อื ว่า “The City as Growth Machine” หรือแปลเป็ นภาษาไทยได้ว่า
“เมืองในฐานะทีเ่ ป็ นเครื่องจักรของความเจริญ” ในงานชืน้ นี้ถงึ แม้จะเป็ นงานศึกษาทีเ่ ป็ นสังคมวิทยาเมืองโดยใช้วธิ ี
การศึกษาแบบสหวิทยาการ แต่กย็ งั ค่อนข้างมองแตกต่างไปจากทฤษฏีระบอบการปกครองเมือง (Urban Regime
Theory) เป็ นอย่างมาก เพราะ Harvey ไม่ได้เชื่อในบทบาทของชนชัน้ นาท้องถิ่นต่อการพัฒนาเมืองหรือแม้แต่
บทบาทของรัฐต่อการพัฒนาเมือง แต่เชื่อในการไหลหลังของความเจริ
่ ญอย่างทัวถึ
่ งภายในเมืองจากปั จจัยที่มี
ความสามารถอย่างอิสระในตัวของมันเอง
สรุปจากหัวข้อแนวคิดกีฬากับการพัฒนาเมือง (Sport and Urban Development) จะเห็นได้ว่าการพัฒนา
เมืองมีความสัมพันธ์ต่อประเด็นทางแนวคิดต่างๆเนื่องด้วยเมืองเป็ นจุดศูนย์รวมของความสัมพันธ์ทห่ี ลากหลาย
และซับซ้อน เมื่อนาแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) และทฤษฏีระบอบการปกครองเมือง
(Urban Regime Theory) โดยมีปัจจัยทางด้าน “กีฬา” เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงก็จะทาให้พบเห็นมิตหิ รือแง่มุมที่
เหมือนและแตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย เป็ นการเปิ ดมุมมองของการศึกษาระหว่างสังคมวิทยา “เมือง” กับ
“กีฬา” เพื่อทีจ่ ะได้คน้ พบข้อเท็จจริงบางประการทีแ่ ตกต่างไปจากการศึกษาเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว
เพราะฉะนัน้ แนวคิดเรื่องกีฬากับการพัฒนาเมืองจึงถูกนามาใช้ในงานวิจยั เรื่อง การประดิษฐ์สร้างเมืองบุรรี มั ย์ใน
ฐานะมหานครแห่งกีฬาเพื่อใช้เป็ นแนวทางในการทาการวิจยั ในครัง้ นี้ต่อไป

156
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แต่นอกจากนัน้ แล้ว “กีฬา” ที่เคยถูกนาเสนอในลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ ที่สามารถสร้างความ


เป็ น “ชุมชน”ในแง่ของความเป็ นปึ กแผ่นหรือความสามัคคีกลมเกลียวในสังคม แต่ในปั จจุบนั นี้ดว้ ยความก้าวหน้า
ของ “สื่อ” ทีท่ าหน้าทีไ่ ด้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดนทาให้ความเป็ น “ชุมชน” ไม่ได้ถูกจากัดอยู่แค่เพียงขอบเขต
ทางด้านพืน้ ที่ (Geophysical Space) เพียงเท่านัน้ แต่แฟนกีฬาสามารถทีจ่ ะสร้างสัญลักษณ์ความเป็ น”ชุมชน” ผ่าน
พืน้ ทีค่ วามสัมพันธ์ระยะไกล (Distantiated Relational Space) โดยเป็ นพืน้ ทีท่ เ่ี กิดขึน้ จากความรูส้ กึ นึกคิดของผูท้ ่ี
มี “อุดมการณ์” บ้างอย่างร่วมกันโดยไม่มขี อ้ จากัดว่าจะอยู่ในพืน้ ทีแ่ ห่งใดบนโลกใบนี้หรือเปรียบได้กบั “ชุมชนใน
จินตนาการ” ของกลุ่มแฟนกีฬา เพราะถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในพืน้ ทีเ่ ดียวกันแต่กส็ ามารถมีความเป็ น “ชุมชน” เดียวกัน
ได้ผ่านการเป็ นแฟนกีฬาทีมเดียวกัน เช่นผู้ท่ชี ่นื ชอบทีมเบสบอลแอตแลนตาสามารถระบุได้ว่าคือ “ทีมของพวก
เขา” แม้ว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในเมืองแอตแลนตาก็ตามโดยมีการพูดคุยแลกเปลีย่ นเรื่องราวต่างๆของทีมทีต่ นเองชื่น
ชอบได้ผ่าน “สือ่ ” อย่างอินเทอร์เน็ต อย่างสม่าเสมอจนทาให้เกิด “ชุมชนแฟนกีฬา” ของพวกเขา (Jhally 1989, 17
อ้างใน Alan G. Ingham และ Mary G. McDonald 2003)
นอกจาก “กีฬา” จะเป็ นส่วนในการสร้างความเป็ น “ชุมชน” ยังสามารถ “แบ่ง เขาแบ่งเรา” ได้อีกด้วย
“กีฬา” เป็ นเหมือนกับปฏิบตั กิ ารทางสังคมทีท่ าให้เกิดเส้นแบ่งทางชนชัน้ ในสังคม กีฬาบางประเภทถูกจัดให้เฉพาะ
ชนชัน้ สูงเล่น แต่ในขณะทีก่ ฬี าบางประเภทถูกจัดให้ชนชัน้ ล่างเล่น ถ้าหากเป็ นชนชัน้ สูงก็จะไม่เล่นกีฬาประเภท
นี้ “กีฬา” จึงเป็ นเรื่องทีม่ กี ารกีดกันทางชนชัน้ เข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งสาหรับการจาแนกชนชัน้ ในสังคม ทาให้เกิดการ
เข้าถึงความเป็ น “ชุมชน” แตกต่างกัน และ เมื่อมีการสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานของเมือง เช่น สนามกีฬาขนาดใหญ่
โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ที่ต้องเอาเงินมาจากภาษีของประชาชน หรือภาคเอกชน หรือ ทรัพยากรส่วนรวม
อื่นๆ มาใช้เพื่อดาเนินการ แต่ผลกระทบกลับไปตกทีค่ นอื่นๆหรือชนชัน้ ล่างนัน้ แสดงให้เห็นถึง “การแบ่งชนชัน้ เชิง
โครงสร้าง” โดยมี “สื่อ” ช่วยในการสร้างความคิดโรแมนติกเพื่อปกปิ ดเรื่องราวเหล่านี้ โดยในบทความเรื่อง Sport
and Community/Communitas ของ Alan G. Ingham และ Mary G. McDonald ต้องการจะเสนอว่า ต้องไม่มอง
“ชุมชน” แบบโรแมนติกสวยงามเพราะมันจะทาให้เราถูกครอบงาเนื่องจากมีการแบ่งชนชัน้ อยู่ในความเป็ น “ชุมชน”
เช่นเดียวกันกับการศึกษาเรื่อง “กีฬา” กับการเกิดขึ้นของ “ชุมชน” ต้องไม่มองผู้กระทาการทางสังคม (Actor)
ในทางดีงามเสมอไปเพราะมันมีชนชัน้ แฝงอยู่ ต้องดูเป้ าหมายของกลุ่มทีศ่ กึ ษาในแต่ละกลุ่มว่ามีลกั ษณะอย่างไร
ในงานของ Victor Turner ที่ใช้ช่อื ว่า “The Ritual Process: Structure and Anti-Structure” ได้กล่าวถึง
การสร้างความเป็ น “ชุมชน” ว่าต้องอาศัยสัญลักษณ์ เช่น โลโก้ เพลงเชียร์กฬี า งานมหกรรมต่างๆของจังหวัด ฯลฯ
ทัง้ หมดนี้ถูกมองว่ามันคือ Civic Ritual หรือพิธกี รรมของพลเมือง เพราะฉะนัน้ จะเห็นได้ว่า การสร้างความเป็ น
“ชุมชน” จะต้องอาศัยทัง้ ต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางเศรษฐกิจเพื่อเอาทรัพยากรมาผลิต “ชุมชน” เพราะฉะนัน้
“กีฬา” จึงถูกเปลีย่ นจากแค่ความเป็ น “ชุมชน” มาเป็ นสิง่ ทีม่ ี “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” เพราะความเป็ น “ชุมชน” เป็ น
สิง่ ทีข่ ายไม่ได้ แต่ “กีฬา” เมื่อถูกสร้างเป็ น “ชุมชน” และสามารถนามาสร้างเป็ นสัญลักษณ์ในการขายได้ กล่าวก็คอื
“การสร้า งแบรนด์” กีฬ าจึง ไม่ใช่เ พียงกิจกรรมนัน ทนาการ (Recreational) อีก ต่ อ ไป แต่ ม ัน คือ ภาพตัวแทน
(Representational) ทีน่ ามาสร้างความเป็ น “ชุมชน”

กำรสร้ำงควำมเป็น “ชุ มชน” ผ่ำนกำรบริโภค “สิ่งประดิษฐ์”


การบริโภคมีความหมายแฝงอยู่อย่างหลากหลายทัง้ ในเชิงกายภาพและในเชิงความหมาย ซึง่ การศึกษา
เรื่องการบริโภคของชาวบุรรี มั ย์ในบทความนี้ไม่ได้มองการบริโภคในฐานะของพฤติกรรมทีต่ อบสนองความต้องการ
ของผูบ้ ริโภคเพียงเท่านัน้ แต่ต้องการรับรูถ้ งึ ผลของการบริโภคทีม่ ตี ่อการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้กบั เมืองบุรีรมั ย์

157
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

โดยมุ่งเน้นไปที่สนิ ค้าที่เป็ นกีฬา โดยไม่ได้จากัดการศึกษาอยู่เฉพาะแฟนกีฬาในจังหวัดเท่านัน้ แต่ คือผู้ท่เี ป็ น


ชาวเมืองบุรรี มั ย์อ่นื ๆ ด้วย เพราะฉะนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงขอตีความหรือนิยามความหมายของคาว่า “การบริโภคสินค้ากีฬา”
ว่ามันคือ “ปฏิบตั กิ ารของผูค้ นในเมืองบุรรี มั ย์ทก่ี ระทาต่อสินค้ากีฬา” โดยผูว้ จิ ยั ได้ใช้สนาม (Field) ของปฏิบตั กิ าร
ดังกล่าวคือ “สิง่ ประดิษฐ์หรือสิง่ ก่อสร้างทีส่ ่อื ถึงความเป็ นมหานครแห่งกีฬาของเมืองบุรรี มั ย์” เป็ นพืน้ ทีส่ าหรับการ
บริโภคสินค้ากีฬาของชาวเมืองบุรรี มั ย์
ความรูส้ กึ นึกคิดหรือ “อุดมการณ์” ทีม่ รี ่วมกันของกลุ่มคนคือสิง่ ทีเ่ ป็ นปั จจัยทาให้เกิดความเป็ น “ชุมชน”
และ สิง่ ทีจ่ ะถ่ายถอดความคิดและอุดมการณ์ความเป็ นชุมชนได้อย่างดีอกี หนึ่งก็คอื “สิง่ ประดิษฐ์” ทีเ่ ปรียบเสมือน
สัญลักษณ์ของความเป็ น “ชุมชน” เพราะ “สิง่ ประดิษฐ์” สามารถทีจ่ ะถ่ายทอดความรูส้ กึ ในความทรงจา ให้เกิดเป็ น
อารมณ์ได้อย่างหลากหลายทัง้ ภูมใิ จ เสียใจ ฮึกเหิม ฯลฯ โดยผ่านสิง่ ของทีเ่ ป็ น”สิง่ ประดิษฐ์” เปรียบเสมือนภาพ
ตัวแทน (Representations) ของเรื่องราวทีเ่ ราเคยเข้าไปเป็ นส่วนหนึ่ง จนประกอบสร้างออกมาเป็ นอุดมการณ์ทาง
ความคิดแล้วกลายมาเป็ น “ชุมชน” ทางจินตนาการ ในบทความเรื่อง Urban(e) Statuary Times ของ Synthia
Sydnor Slowikowski ได้มกี ารพูดถึง “สิง่ ประดิษฐ์” ไว้ว่า ความเป็ น “ชุมชน” มันสามารถกระจายออกไปได้โดย
ผ่าน “รูปปั น้ ” เพราะมันสามารถแสดงความเป็ น “ชุมชน” ทัง้ ในทาง ศาสนา ความเชื่อ และความศรัทธาต่างๆ ได้
จากแต่ก่อนการสร้าง “รูปปั น้ ” จะถูกประดิษฐ์ขน้ึ มาในลักษณะประติมากรรมขนาดใหญ่หรือจะเห็นได้จาก
รูปแบบของอนุ สาวรีย์เพียงเท่านัน้ ซึ่งต้องอาศัยงบประมาณในการก่อสร้างเป็ นจานวนมากและยังต้องมีแ รง
สนับสนุ นจากหลายองค์กรในการก่อสร้าง จึงทาให้ “รูปปั ้น”ถูกจากัดอยู่เพียงแค่คนรวยเท่านัน้ ที่จะมีสทิ ธิในการ
ครอบครอง แต่ทุกวันนี้ดว้ ยความทันสมัยของโลกทาให้การสร้าง “รูปปั ้น” เปลีย่ นแปลงไปจากเดิม คือ ใช้ต้นทุน
น้อยลง ขนาดเล็กลง รวมไปถึงทุกชนชัน้ มีสทิ ธิทจ่ี ะได้มาครอบครองเพราะราคามีให้เลือกได้หลากหลาย ตัง้ แต่
ราคาไม่กส่ี บิ บาทไปจนถึงเป็ นหลายสิบล้านบาทแล้วแต่ต้นทุนในการผลิตรวมถึงต้นทุนทางสังคมและวัฒ นธรรม
ของสิง่ ประดิษฐ์ เช่น ชื่อเสียงของศิลปิ นผูผ้ ลิต ความยากในการผลิต จานวนในการผลิตทีย่ งิ่ น้อยยิง่ แพง ฯลฯ และ
ยัง มีห ลากหลายรูป แบบให้เ ลือ กอีกด้วย เช่ น ของช าร่ ว ย ตุ๊ ก ตา พ่ ว งกุ ญ แจ ฯลฯ เหล่ า นี้ ถือ เป็ น “อนุ สาวรีย์
สมัยใหม่” ทีช่ ่วยทาให้ความเป็ น “ชุมชน” กระจายออกไป เหมือนกับตุ๊กตาบาบื้ ก็ถอื ว่าเป็ นอนุ สาวรียท์ เ่ี ป็ นภาพ
ตัวแทน (Representations) ของชีวติ คนเมืองทีย่ ่อลงมาในรูปแบบที่เล็กและน่ ารักแต่สะท้อนการใช้ชวี ติ แบบคน
เมืองในภาพทีใ่ หญ่ได้ “กีฬา” ก็สามารถทีจ่ ะกระจายออกไปทาให้เกิดความเป็ น “ชุมชน” ได้ง่ายขึน้ จากสิง่ ประดิษฐ์
เหล่านี้ จะสังเกตได้ว่าจะมีสงิ่ ประดิษฐ์ท่สี ะท้อนความเป็ นแบรนด์ของทีมกีฬาออกวางขายตามท้องตลาดเป็ น
จานวนมาก และหลากหลายแบรนด์ เพื่อให้ผทู้ ส่ี นใจในทีมกีฬาเลือกความเป็ น “ชุมชน” ของทีมทีต่ นเองชื่นชอบ
ผ่านสิง่ ประดิษฐ์ทเ่ี ป็ นตัวแทนของทีมกีฬาทีต่ นเองชื่นชอบ
สิง่ ประดิษฐ์เหล่านี้ยงั เป็ นสิง่ ที่สะท้อน ค่านิยม ความเชื่อ ความรู้สกึ หรือเรื่องราวต่างๆทางสังคมและ
วัฒนธรรมได้อกี ด้วย เช่น รูปปั ้นของเทพเจ้ากรีกถืออุปกรณ์กฬี าต่างๆก็มตี านานทีก่ ล่าวถึงเรื่องราวดังกล่าวและ
กลายมาเป็ นต้นกาเนิดของการแข่งขันมหกรรมกีฬาทีย่ งิ่ ใหญ่ของโลกอย่างโอลิมปิ กเกมส์ และนอกจากนัน้ ยังจะ
เห็นรูปภาพเทพเจ้ากรีกอยู่ในสถานทีต่ ่างๆในเชิงสัญลักษณ์ โดยเฉพาะเรื่องของสรีระทีส่ ะท้อนค่านิยมของคนใน
แต่ ละยุ ค หรือ จะเป็ น การผลิต รูป ปั ้น ขนาดเล็กของบุคคลที่มีช่อื เสียงต่ า งๆออกจาหน่ า ย ท าให้เกิด ความเป็ น
“ชุมชน” ในฐานะของ “ไอดอล” หรือแบบอย่างในการดารงชีพของผูม้ ชี ่อื เสียงคนนัน้ แพร่กระจายออกไป ผูท้ ช่ี ่นื ชอบ
“ไอดอล” คนเดียวกันและมีสงิ่ ประดิษฐ์ท่เี ป็ นภาพตัวแทนของ “ไอดอล” คนนัน้ ก็จะเปรียบได้กบั ว่าเป็ นคนใน
“ชุมชน” เดียวกันในแง่ของอุดมการณ์ความคิดความชื่นชอบ

158
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

และถ้าหากว่ามีการเก็บสะสมสิง่ ประดิษฐ์ต่างๆที่สะท้อนความเป็ น “ชุมชน” เหล่านี้ สิง่ ประดิษฐ์ท่มี อี ยู่


เหล่ า นี้ ก็จ ะเป็ น เหมือ นกับ พิพิธ ภัณ ฑ์ใ นชีวิต จริง ที่ส ะท้อ นความทรงจ าที่มีร่ ว มกับ “สิ่ง ประดิษ ฐ์ ” เพราะใน
พิพธิ ภัณฑ์บา้ งแห่งก็มที งั ้ อนุ ญาตให้สมั ผัสได้และสัมผัสไม่ได้ แต่ถ้าเป็ นสิง่ ประดิษ ฐ์ทเ่ี ราสะสมเองก็เหมือนเราเป็ น
ผูส้ ร้างพิพธิ ภัณฑ์เป็ นของตนเองเป็ นเจ้าของเอง (Huyssen 1995, 69 อ้างใน Synthia Sydnor Slowikowski 2003)
เปรียบเสมือนการสร้าง “ชุมชน” ทางความทรงจาผ่านความชื่นชอบของตนเอง ในสิง่ ประดิษฐ์มกั จะมีเรื่องเล่าที่
แตกต่างกันประกอบอยู่ในสิ่งประดิษฐ์นัน้ ๆ อยู่เสมอ และจะถูกผลิตขึน้ ใหม่ตลอดเวลา ทาให้สงิ่ ของเหล่านี้มมี ติ ิ
เรื่องเวลาอยู่ในนัน้ (Baudrillard 1983, 69 อ้างใน Synthia Sydnor Slowikowski 2003)
เพราะฉะนัน้ ในสิง่ ประดิษฐ์ จึงมีคุณสมบัตใิ นการเป็ นเครื่องมือสาหรับการสร้างความเป็ น ”ชุมชน” และยัง
แพร่กระจายความเป็ น “ชุมชน” ออกไปได้อกี ด้วย โดยมีคุณสมบัตใิ นการตอกย่าความเป็ น “ชุมชน” ในทุกวันและ
เวลา ทีไ่ ด้เห็นสิง่ ประดิษฐ์เหล่านัน้ ในชีวติ ประจาวัน เปรียบเสมือนสิง่ ทีท่ าให้นึกถึงภาพความทรงจาทีม่ รี ่วมกันของ
ผูท้ ม่ี สี งิ่ ประดิษฐ์แบบเดียวกันไว้ในครอบครอง และประกอบขึน้ จนกลายเป็ น “ชุมชน” ทางความคิดผ่านสิง่ ประดิษฐ์

กำรสร้ำง “อัตลักษณ์ใหม่ของเมืองบุ รีรัมย์” กับ “บทบำทของนำยทุนท้องถิ่น”


“อัตลักษณ์ใหม่ของเมืองบุรรี มั ย์” คาๆนี้มกั จะถูกนาเสนอให้เชื่อมโยงเข้ากับนาย เนวิน ชิดชอบ ในฐานะ
ของผูส้ ร้างเมืองบุรรี มั ย์หรือทีบ่ างสือ่ จะใช้คาว่า “ลมหายใจแห่งบุรรี มั ย์” การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับจังหวัดบุรรี มั ย์
จึงถูกตีกรอบความเข้าใจต่อบุคคลทัวไปไว้ ่ เพียงแค่ นายเนวิน ชิดชอบ เป็ นผูน้ าการพัฒนามาสูเ่ มืองบุรรี มั ย์ เท่านัน้
โดยปราศจากปฏิบตั ขิ องภาคประชาชนชาวเมืองบุรรี มั ย์ต่อการสร้างอัตลั กษณ์ใหม่ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์โดยสิน้ เชิง
ซึง่ จะสามารถยืนยันได้จากการศึกษาวิจยั ทีศ่ กึ ษาการเปลีย่ นแปลงของเมืองบุรรี มั ย์ทผ่ี ่านมา (ได้กล่าวถึงในหัวข้อ
“การศึกษาเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะ “มหานครแห่งกีฬา” ทีผ่ ่านมา”) และ การนาเสนอข่าวจาก “สือ่ ” ต่างๆ
“ติดปี กเศรษฐกิจบุรรี มั ย์” “บุรรี มั ย์ ธุรกิจน่ าลงทุน บริการ-โรงแรม-เกษตร” “บุรรี มั ย์เนื้อหอมโรงแรมเล็ก
พรึบ่ -แอร์ไลน์สรุมจีบ” “ บุรรี มั ย์โมเดลต้นแบบการสร้างเมือง” “ ลุงเนวินติดปี กเมืองบุรรี มั ย์ ติด 1 ใน 5 เมืองทีม่ ี
นักท่องเทีย่ วมากทีส่ ดุ ” “เศรษฐกิจบุรรี มั ย์เด้งรับเมืองสปอร์ตซิต้”ี ฯลฯ ทีก่ ล่าวมาข้างต้นเหล่านี้เป็ นเพียงส่วนหนึ่ง
เท่านัน้ ทีผ่ วู้ จิ ยั ได้นามาจากการสืบค้นข้อมูล “สื่อออนไลน์” โดยใช้วธิ กี ารสืบค้นเพียงพิมพ์คาว่า “บุรรี มั ย์ยูไนเต็ด”
หรือ “เนวิน ชิดชอบ กับ เมืองบุรรี มั ย์” ลงไปในเว็บไซต์ กูเกิล (Google) ก็จะทาให้ได้พบกับข่าวบน “สื่อสิง่ พิมพ์”
เป็ นจานวนมาก และแทบทุกข่าวจะเป็ นการนาเสนอภาพของเมืองบุรรี มั ย์ในเชิงบวก และแน่ นอนว่ามีบทบาทของ
นายทุน อย่างนายเนวิน ชิดชอบ อยู่เบือ้ งหลังการพัฒนาเมืองบุรรี มั ย์แทบทุกข่าว จะมากหรือน้อยก็ว่ากันไปตาม
หัวข้อในการนาเสนอนัน้ ๆ

สัป ดาห์น้ี ทีม เศรษฐกิจ ขอเชื้อ เชิญ ท่ า นผู้อ่ า นไปดูแ นวคิด และรูป แบบการพัฒ นาเมือ ง
ตัวอย่างของอดีตนักการเมืองผูม้ ชี ่อื เสียงโด่งดังคนหนึ่งของประเทศเขาคือ นายเนวิน ชิด
ชอบ ที่ใครอยู่ไกลอาจไม่ชอบเขา แต่คนที่อยู่ใกล้ชดิ กับเขาหลายคน ไม่ได้ชอบเขาอย่าง
เดียว แต่ยงั เชื่อมันและพร้
่ อมจะก้าวเดินไปกับเขาเพื่อพัฒนาจังหวัดบุรรี มั ย์ให้เป็ นเมืองใน
ฝั น (ไทยรัฐออนไลน์ 2557)

หลายสิบปี ก่อน ใครทีไ่ ด้ยนิ ชื่อของ "เนวิน ชิดชอบ" ในฐานะ "นักการเมือง" ต้องบอกว่ามีทงั ้
คนรักและคนชัง แต่คนชังอาจจะถึงขัน้ ร้องยี้ กาลเวลาหมุนผ่าน ชายร่างกายกายา ได้ผนั
ตัวเอง เข้าสู่บทบาทการเป็ นผูน้ าด้านกีฬากับจังหวัดเล็กๆ และทีไ่ ด้ขน้ึ ชื่อว่า "ยากจนมาก

159
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ที่สุดของประเทศไทย" จังหวัดที่ไม่มที รัพยากรที่พร้อมสาหรับการท่องเที่ยว....จังหวัดที่


เป็ นได้แค่ทางผ่านให้คนเดินทางไปสู่จุดหมายยังจังหวัดอื่น กาลังเติบโตอย่างน่ าทึง่ ในแง่
ของ "เศรษฐกิจ” (สนุกดอทคอม 2558)
เนื้อหาของข่าวที่ “สื่อออนไลน์” ได้นาเสนอลงไปนัน้ ล้วนแต่เป็ นการยกย่อง นายเนวิน ชิดชอบ ให้อยู่ใน
ฐานะผูท้ ท่ี าให้เกิดการพัฒนาเมืองบุรรี มั ย์ เปรียบได้ว่าเป็ น “ตัวแทนของชาวบุรรี มั ย์” ทัง้ หมด ในการเปลีย่ นแปลง
ครัง้ นี้ ดูได้จากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้

ถาม (นักข่าว): มองจังหวัดบุรรี มั ย์ และอนาคต ทีจ่ ะกลายเป็ นเมืองแห่งกีฬานี้อย่างไร?

ตอบ (เนวิน): ผมทากีฬาในจังหวัดบ้านเกิดเมืองนอนมาหลายปี จนได้พบโจทย์อย่างหนึ่ง


ว่ า กีฬ ามัน ไม่ ใ ช่ เ ครื่อ งมือ เพื่อ สร้า งสุข ภาพเท่ า นัน้ กีฬ าสาหรับ ชาวบุ รีร ัม ย์ มัน เป็ น
เครื่องมือในการสร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้ สร้างงาน สร้างมูลค่าเพิม่ ให้คนบุรรี มั ย์ วันนี้เรา
ต้องการผลักดันเมืองของเราให้เป็ นสปอร์ตซิต้ี

ถาม (นักข่าว): นอกเหนือจากสนามฟุตบอล และสนามแข่งรถ ก้าวต่อไปของบุรรี มั ย์ คือ


อะไร?

ตอบ (เนวิน): ภายในสิน้ เดือนกุมภาพันธ์น้ี สนามซูเปอร์ครอส มาตรฐาน FIM เกรด A ก็จะ


เสร็จ ที่บุ รีร ัมย์ และ สนามดริฟ ท์ ก็เ สร็จ ที่บุ รีรมั ย์ สนามเดรฟ FIA เกรด 1 ก็จ ะเสร็จที่
บุรรี มั ย์ นอกจากนัน้ ภายในไม่เกินสองปี เราก็จะมีสปอร์ต แอดเวนเจอร์ พาร์ค ทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ
ใน ประเทศไทย ทีน่ ่จี ะเป็ นทีส่ าหรับคนทีห่ ลงใหลในกีฬา ประเภทแอดเวนเจอร์ เช่น ไต่หน้า
ผา บันจีจ้ มพ์
ั ๊ สลิงลาย เมาท์เท่นไบค์ เอทีวี ภายในสองปี บุรรี มั ย์ จะเสร็จแน่นอน

ถาม (นักข่าว): สุดท้ายถ้าคนไทย และคนต่างประเทศ พูดถึงจังหวัดบุรรี มั ย์ อยากให้พวก


เขานึกถึงอะไร?

ตอบ (เนวิน) : จากนี้ไป ใครที่อยากมาจังหวัดบุ รรี มั ย์ สิง่ แรกที่คุณต้องคิดถึงก็คอื "กีฬา"


และย้าเลยว่าจากนี้ไป กีฬาทุกประเภท จะอยู่ทบ่ี ุรรี มั ย์ คุณมาบุรรี มั ย์ดว้ ยเหตุผลหลักคือ มา
เพื่อเล่นกีฬา และมาเพื่อดูกฬี า (สนุกดอทคอม 2558)
จากบทบทสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า ความเป็ นมาของการเปลี่ยนแปลงเมืองบุรรี มั ย์ ทัง้ อดีตมาจนถึง
ปั จจุบนั ของเมืองบุรรี มั ย์ หรือแม้กระทังอนาคตของเมื
่ องบุรรี มั ย์ “สื่ออนไลน์ ” ดังกล่าวได้นาเสนอให้เห็นว่า ผู้ท่ี
กากับควบคุมทัง้ หมดคือ นายเนวิน ชิดชอบ จึงไม่แปลกใจที่ภาพลักษณ์ ของนายเนวิน หลังจากที่มกี ารก่อตัง้
สโมสรฟุ ต บบอล บุ รีร ัม ย์ยูไ นเต็ด จะถู ก มองในเชิงบวกในสายตาคนไทยทัง้ ประเทศผิดจากก่อ นหน้ าที่ดารง
ตาแหน่งทางการเมืองทีส่ อ่ื ต่างๆมักจะนาเสนอภาพลักษณ์ของนายเนวินออกมาเป็ นพวก “นักเลงผสมผสานกับมา
เฟี ย” “วิชามารตัวพ่อ” หรือแม้กระทังเป็ ่ น “หมอผีเขมร” ถึงแม้ว่าสื่อจะตัง้ ฉายาเหล่านี้ให้กบั เนวินในลักษณะของ
การหยอกเย้าเพื่อให้เกิดสีสนั ในการเสพข่าวทางการเมืองของประชาชนก็ตาม แต่มนั ก็แฝงไปด้วยทัศนคติในทาง
ลบทีม่ ตี ่อนักการเมืองอย่างเนวิน และนอกจากนัน้ การทีน่ ายเนวิน ชิดชอบ ดารงตาแหน่งทางการเมืองของประเทศ
ไทยทีม่ กี ารแบ่งฝั ง่ แบ่งฝ่ ายอย่างเข้มข้น ยิง่ เป็ นการส่งเสริมให้ป ระชาชนทีม่ อี ุดมการณ์การทางการเมืองตรงข้าม
กับนายเนวินมีทศั นคติตดิ ลบกับเขาอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าการถอนตัวออกจากวงการการเมืองและประกาศตัวว่า
160
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จะไม่กลับไปเล่นการเมืองอีกโดยขออยู่ในฐานะของผู้บริหารสโมสรบุรีรมั ย์ยูไนเต็ดเท่านัน้ ถือว่าเป็ นการสร้าง


ภาพลักษณ์ทด่ี ใี ห้กบั นายเนวิน ชิดชอบ โดยมีส่อื เป็ นเครื่องมือในการนาเสนอภาพลักษณ์ใหม่ๆให้กบั ประชาชน
เข้าใจและยังเป็ นการส่งเสริมให้เมืองบุรรี มั ย์ได้รบั ความสนใจเพิม่ มากขึน้ ในฐานะจังหวัดที่มี “เจ้าเมืองเป็ นนาย
เนวิน ชิดชอบ” เพราะเนื่องจากเนวิน ใช้วธิ กี ารนาเสนอตนเองผ่านสื่อในฐานะของผู้สร้างเมืองบุรรี มั ย์โดยยกให้
ชาวเมืองบุรรี มั ย์เป็ นส่วนหนึ่งของธุรกิจของตนเอง

“วันนี้ผมเป็ นเจ้าของทีมฟุตบอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ด เอฟซี ทีแ่ ม้ว่าในทางนิตนิ ยั ผมเป็ นเจ้าของ


แต่โดยพฤตินยั ทีมฟุตบอลนี้เจ้าของคือคนบุรรี มั ย์ สนามไอโมบายสเตเดีย้ ม ก็กลายเป็ นของ
คนทีน่ ่แี ล้ว ผมเอาคืนจากคนบุรรี มั ย์ไม่ได้แล้ว” (Forbes Thailand 2013, 43)
จากคาทีก่ ล่าวลงในบทสัมภาษณ์ขา้ งต้นเป็ นการแสดงให้เห็นว่านายเนวิน ชิดชอบ ต้องการจะสื่อสารให้
ทุกคนได้ทราบว่าสิง่ ที่ตนเองทาไม่ได้ทาเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือคนในตระกูลเท่านัน้ แต่หากเป็ นการทาเพื่ อ
ชาวเมือ งบุ รีร ัมย์ทุ กคน ซึ่ง ผู้วิจ ัย มองว่า นัน้ ก็คือ “ปฎิบ ัติก ารของเนวิน ที่ก ระทาต่ อ “สื่อ ” เพื่อ เป็ น การตอกย่ า
ภาพลักษณ์ของความเป็ นเจ้าเมืองบุรรี มั ย์ หรือเปรียบตนเองเป็ นเสมือน “ลมหายใจแห่งเมืองบุรรี มั ย์” ภาพของนาย
เนวิน ที่ถูกสื่อนาเสนอออกไปทัง้ ในสื่อสิง่ พิมพ์ ท่อี อนไลน์และไม่ออนไลน์ จงึ ไม่ใช่เพียง อดีตนักการเมือง หรือ
นายทุนใหญ่ของเมืองบุรรี มั ย์ ประธานสโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด เท่านัน้ แต่หากเป็ นผูท้ ก่ี ากับควบคุมความเป็ นไปของ
เมืองบุรรี มั ย์ทงั ้ หมดโดยปราศจากบทบาทของประชาชนชาวเมืองบุรรี มั ย์ แต่ถงึ อย่างนัน้ ภาพลักษณ์ของเนวิน ก็
ถูกนาเสนอออกไปทางเชิงบวกในฐานะของ “ฮีโร่เมืองบุรรี มั ย์” ไปแล้วอย่างแพร่หลาย

กำรสร้ำง “อัตลักษณ์ใหม่ของเมืองบุ รีรัมย์” กับ “ปฏิบัตกิ ำรบริโภคสินค้ำกีฬำของชำวเมืองบุ รีรัมย์”


อย่างที่ทราบกันดีว่า “บทบาทของนายทุนท้องถิ่น ” หรือ นายเนวิน ชิดชอบ มีการถูกนาเสนอผ่า นสื่อ
อย่างแพร่หลายในฐานะของผูน้ าการพัฒนามาสู่เมืองบุรรี มั ย์เปรียบเสมือน “ผูช้ ุบชีวติ เมืองบุรรี มั ย์” ให้ฝืนขึน้ มาจน
เป็ นที่รู้จกั ในฐานะของเมืองแห่งกีฬาเช่นทุกวันนี้ แต่ การศึกษา “การบริโภคสินค้ากีฬา” ในครัง้ นี้ต้องการที่จะ
ถกเถียงต่อประเด็นดังกล่าว แต่ไม่ได้เป็ นการปฏิเสธต่อปฏิบตั กิ ารของนายทุน เพราะผูว้ จิ ยั ยังเชื่อว่านายทุนยังคง
เป็ นปั จจัยสาคัญทีส่ ง่ ผลต่อปรากฏการณ์ของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะของผูส้ ร้างโครงสร้างทางสังคมบางประการให้กบั
เมือง แต่ผู้วจิ ยั ต้องการจะแสดงให้เห็นว่าสังคมไม่สามารถดาเนินไปได้ด้วยโครงสร้ างเพียงเท่านัน้ แต่ยงั ต้องมี
ปฏิบตั กิ ารของปั จเจกบุคคล (หรือภาคประชาชน) ทีอ่ ยู่เบือ้ งหลังการเปลีย่ นแปลงต่างๆในสังคมด้วย เพราะฉะนัน้
การศึกษาครัง้ นี้จงึ เพียงต้องการเพิม่ ตัวแสดงที่มบี ทบาทต่ อปรากฏการณ์ของเมืองบุรรี มั ย์เพื่อนาเสนอมุมมอง
ใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับการศึกษาเมืองบุรีรมั ย์โดยตัวแสดงหลักหรือหน่ วยการวิเคราะห์ท่ใี ช้สาหรับการศึกษาคือ
“ประชาชนชาวเมืองบุรีรมั ย์ ” และระดับการวิเคราะห์คือ “ปฏิบตั ิการการบริโภคสินค้ากีฬาบุรีรมั ย์ยูไนเต็ด ใน
ชีวติ ประจาวัน” โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็ น 4 กลุ่ม ตามลักษณะของความสัมพันธ์ทม่ี ตี ่อ สโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด
คือ 1 ชาวเมืองบุรรี มั ย์ทเ่ี ป็ นคนทัวไป
่ 2 ชาวเมืองทีเ่ ป็ นแฟนบอล บุรรี มั ย์ยูไนเต็ด (สมาชิก GU 12) 3 ชาวเมืองที่
ไปอาศัยหรือศึกษาต่อต่างถิน่ 4 กลุ่มนักธุรกิจใหม่ทม่ี าเปิ ดกิจการในช่วงทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงเมืองบุรรี มั ย์
“เจน” อายุ 25 ปี เป็ นคนบุรรี มั ย์ตงั ้ แต่กาเนิดรวมถึงเรียนและจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและทางานใน
บริษทั เอกชนในจังหวัดบุรรี มั ย์ กล่าวคืออยู่อาศัยและเห็นการเปลีย่ นแปลงจังหวัดบุรรี มั ย์มาตัง้ แต่เริม่ จนถึงปั จจุบนั
เล่าว่า “การใส่เสื้อบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดมันก็ไม่ได้หมายความว่าเป็ นแฟนบอลหรือ ไปดูบอลนะ แต่มนั แค่ใส่เพราะรูส้ กึ ว่า
คนบุ รีร ัม ย์มนั ก็ควรมีไ ว้บ้า งสักตัว อีก อย่ า งมัน ก็สวยดี ” เมื่อ ผู้วิจ ัย ถามต่ อ ว่ า เคยไปดูบ อลที่สนามไอโมบาย
หรือไม่ “เคยไปกับพีท่ ที ่ างานแต่ไม่ได้เป็ นแฟนประจา” แล้วปกติชอบดูบอลหรือไม่ “ก็ดไู ด้แต่เฉยๆไม่ได้ชอบแบบ

161
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แฟนคลับก็ดตู ามเพือ่ น” แล้วกับบุรรี มั ย์ยไู นเต็ดละ คุณรูส้ กึ ยังไงกับสโมสรนี้ ? “ก็ดนี ะทาให้คนรูจ้ กั บุรรี มั ย์มากขึ้น
จากแต่ก่อนถ้าไปต่างจังหวัดอย่างกรุงเทพแล้วมีคนถามว่าเป็ นคนจังหวัดอะไรเราตอบไปว่าบุรรี มั ย์เขาก็จะงงๆว่า
มันอยู่ทไี ่ หนวะ เราก็ต้องตอบไปว่าจังหวัดทีม่ เี ขาพนมรุ่ งไง เขาก็ยงั งงๆอยู่เพราะนึกว่าเขาพนมรุ่งอยู่จงั หวัด
สุรนิ ทร์ (หัวเราะ) แต่ทุกวันนี้พอบอกว่ามาจากบุรรี มั ย์กร็ ทู้ นั ทีว่ามีอะไรอยู่ไหน บุรรี มั ย์ยูไนเต็ด จังหวัดคุณเนวิน
อะไรประมาณนี้” เอองันขอถามหน่อยว่าแล้วกับเนวินรูส้ กึ ชื่นชอบจากการทีม่ าสร้างสิง่ ต่างๆ ให้บุรรี มั ย์จนเจริญขึน้
ทุกวันนี้หรือเปล่า? “เฉยๆงะเอาตรงๆเราไม่ได้รสู้ กึ ว่าชืน่ ชอบอะไรด้วยซ้ าไป แกก็ทาเอาผลประโยชน์สาหรับแก
ป่ าววะ แต่กต็ อ้ งยอมรับว่าถ้าไม่มแี กจังหวัดเราคงไม่ได้มาถึงทุกวันนี้ คนในจังหวัดก็ชนื ่ ชอบแกกันทัง้ นัน้ แหละ แต่
เรือ่ งการเมืองมันก็อกี เรือ่ งหนึง่ ” แล้วถ้ามีคนบอกว่าการเกิดขึน้ ของสโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ดมันเป็ นเครื่องมือทีท่ าให้
ประชาชนชื่นชอบในตัวคุณเนวินและพรรคพวกมากขึน้ เธอรูส้ กึ ยังไง? “คนละเรือ่ งเลย มันอาจจะมีผลกับบ้างกลุ่ม
มังแต่
๊ กบั เราคือเฉยๆอาจจะเพราะเราไม่ได้สนใจเรือ่ งพวกนี้ด้วยมัง” ๊ แล้วคนอื่นๆ ละ? “ไม่มนี ะ บางคนก็ไม่ได้
ชอบเนวินนะแล้วก็ไม่ได้ชอบฟุตบอลด้วยแต่กไ็ ปดูเพราะมันเหมือนได้ไปเทีย่ วงะ ทีส่ าคัญคือมันดูเหมือนเราจะได้
คุยกับคนอืน่ รูเ้ รือ่ งสาคัญสุดตรงนี้แหละ”
จากบทสัมภาษณ์ “เจน” ข้างต้น ทาให้พบว่าการบริโภคสินค้ากีฬาทัง้ การสวมใส่เสือ้ บุรรี มั ย์ ยไู นเต็ดหรือ
การเข้าไปรับชมการแข่งขันฟุตบอลในสนามไอโมบายสเตเดีย้ มของเจนนัน้ ล้วนเกิดจาก “ความต้องการส่วนตัว ”
หรือ “สานึกของตนเอง” สาหรับ “เจน” ถือว่าเป็ นตัวแทนของกลุ่มคนทัวไปที ่ ่ไม่ได้สนใจต่อการเปลี่ยนแปลงของ
เมืองหรือนาตัวเองไปมีความสัมพันธ์กบั สโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ดมากนัก ต่อมาเป็ นตัวแทนของ กลุ่มแฟนบอลหรือที่
เรียกตัวเองว่า “สมาชิก GU 12” ซึง่ มีการสมัครสมาชิกรายปี สาหรับการเข้าชมการแข่งขันในสนามไอโมบายสเต
เดีย้ ม รวมถึงไปรับชมการแข่งขันในต่างจังหวัดหรือแม้กระทังต่ ่ างประเทศว่า เข้ารูส้ กึ อย่างไรต่อการเกิดขึน้ ของ
สโมสรไอโมบายสเตเดี้ยมคาตอบที่ได้รบั คือ “เริม่ แรกมันก็เฉยๆเพราะมันยังไม่ดงั อะไรมาก แต่เราก็เหมือนถูก
บังคับให้เข้าไปดู” บังคับอย่างไร? “มันก็ไม่เชิงบังคับหรอกพี ่ แต่ทโี ่ รงเรียนเขาจะมีการให้ลงคะแนนถ้าเข้าไปดูแข่ง
บอลทีส่ นามไอโมบายก็จะได้คะแนนเข้าร่วม แล้วเหมือนทุกคนต้องมี” แล้วถ้าไม่มลี ่ะ “หนู กไ็ ม่รู้แต่หนู ไปดูตลอด
เพราะชอบดูบอลอยู่แล้ว หนู เป็ นผู้หญิงชอบดูบอลติดมาตัง้ แต่ทบี ่ ้านละ” แล้วที่อ่นื ๆละ “ถ้าเป็ นโรงเรียนอืน่ ๆใน
อาเภอเมืองก็พอมีอยู่บา้ งแต่ถ้าเป็ นต่างอาเภอจะเยอะมากคือเหมือนทางสโมสรจะมีการจัดโควตาไว้เลยว่าอาเภอ
ละกีค่ นให้มาดูบอลแต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็ นต่างอาเภอเขาจะชอบเข้ามาดู เพราะมีการออกค่าเดินทางให้ดว้ ยก็เหมือน
เข้ามาเล่นสนุ กๆในเมือง แต่กบั อาเภอเมืองก็อาจจะยากหน่ อยแรกๆแต่สกั พักคนก็มาเอง” น้องปริม่ เป็ นสมาชิก
GU 12 ทีอ่ ายุยงั น้อยและได้พบเห็นการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึ้นตัง้ แต่เริม่ มีการนา “กีฬา” เข้ามาเป็ นอัตลักษณ์ของ
เมืองบุรรี มั ย์ ปั จจุบนั ปริม่ กาลังรอสอบบรรจุเป็ นข้าราชการครู จึงทาให้เธอได้ทาหน้าทีก่ องเชียร์ในสนาม GU 12
ได้อย่างเต็มที่ “ความหมายของGU 12 คือ กองเชียร์เป็ นเหมือนผูเ้ ล่นคนที ่ 12 เหมือนบอก กูคอื คนที ่ 12 นะ” ปริม่
กล่าวถึงความหมาย “แล้วทีห่ นูเข้ามาเป็ นสมาชิก GU 12 เพราะแม่พามา แม่แกคลังการเชี ่ ยร์บอลมาก แม่หนูตาม
ไปดูตอนทีเ่ ขาไปแข่งถึงเมืองจีนเลยนะ แล้วทางสโมสรก็ช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ดว้ ยแต่ไม่ใช่ทงั ้ หมดนะแค่ส่วนหนึง่
คือต้องใจรักมาก” แล้วทาไมถึงใจรักขนาดนัน้ ละครับ? (ถามแม่ของปริม่ ) “คือปกติแม่ดูบอลกับพ่อเป็ นประจาอยู่
แล้ว พอบุรรี มั ย์มสี นามไอโมบายมันก็ยงิ ่ ตืน่ เต้น แรกๆก็เชียร์เอามันส์น้ ีแหละ แต่สกั พักมีเพือ่ น เพือ่ นมันก็ชวนไป
เป็ นกลุ่ม GU 12 หลังจากนัน้ ก็ไปเชียร์ตลอดเพราะถ้าไม่ไปเดี๋ยวคุยกับเพือ่ นไม่สนุ ก แล้วเดี๋ย วจะมันจะหาว่ามา
เป็ นสมาชิกแล้วไม่ทาหน้าที ่ (หัวเราะ) แล้วตอนไปแข่งทีจ่ นี แม่กไ็ ปเพราะอยากไปเทีย่ วกับเพือ่ นๆด้วยนัน้ แหละ
ใครจะไปแค่เชียร์บอลแล้วกลับละ” แม่ปริ่มรับราชการเป็ นครูสอนที่จงั หวัดบุรีรมั ย์ ต่ อมาเป็ นการสอบถามถึง
ความรูส้ กึ ของแม่ลกู สมาชิก GU 12 ทีม่ ตี ่อตระกูลชิดชอบคาตอบทีไ่ ด้รบั จากน้องปริม่ คือ “เนวิน เขาเก่งมากเลยนะ

162
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

พี ่ เขาเป็ นคนทีม่ คี วามคิดซับซ้อนมาก ขนาดมีนกั วิจยั ชาวญีป่ ่ นุ มาทาการศึกษาเกีย่ วกับระบบการจัดการ การสร้าง


สโมสร เขายังทึง่ ในความสามารถของเนวินเลย” (ทัง้ หมดเป็ นการแสดงความรูส้ กึ ของผูใ้ ห้ขอ้ มูลไม่ ได้เกีย่ วข้องกับ
ข้อเท็จจริง) “ถ้าไม่ได้เนวิน บุรรี มั ย์คงไม่ได้มาถึงขนาดนี้หรอก” โดยรวม ทัง้ ปริม่ และคุณแม่ปริม่ ชืน่ ชอบต่อตระกูล
ชิดชอบ และโดยเฉพาะคุณเนวิน” แล้วในส่วนของการสะสมสิง่ ประดิษฐ์ของสโมสรบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด “แรกๆ ก็ซ้อื เอง
แต่หลังๆมาก็มไี ด้ฟรีตอนไปเชียร์บอลบ้างส่วนใหญ่จะเป็ นเสื้อเพราะสติก๊ เกอร์ได้ฟรีตลอดอยู่แล้ว แม่มเี ป็ นสิบตัว
เลยนะทีบ่ า้ นมีทุกรุ่น เพราะมันสวยด้วย แรกๆทีย่ งั ไม่ค่อยมีคนใส่ แล้วแม่เป็ นคนแรกๆทีใ่ ส่นะ คนถามกันเยอะเลย
ว่าซื้อทีไ่ หน ยิง่ ไปต่างจังหวัดคนทีไ่ ม่เคยดูบอลยังบอกเลยว่าเสื้อสวยดี ก็เหมือนได้โปรโมตจังหวัดไปด้วย” แม่ปริม่
กล่าวด้วยสีหน้าทีภ่ ูมใิ จ
แต่สาหรับ ออม นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็ นชาวเมืองบุรรี มั ย์ตงั ้ แต่กาเนิดแต่ได้
ไปศึกษาต่อที่ กรุงเทพฯ ได้แสดงทัศนะต่อปรากฏการณ์ดงั กล่าวว่า “เรามองว่าความเจริญของเมืองบุรรี มั ย์มนั
ฉาบฉวย มันมาเร็วไปเร็ว เพราะเรามีญาติทาโรงแรมทีบ่ ุรรี มั ย์ เข้าก็เพิง่ เริม่ เปิ ดกิจการตอนช่วงทีท่ มี บอลบุรรี มั ย์
กาลังมีชอื ่ เสียง แต่ตอนนี้มนั ก็ไม่ได้กาไรมากเท่าเดิมแล้ว” ออมกล่าวต่อว่า “คือจังหวัดบุรรี มั ย์มนั มีทเี ่ ทีย่ วน้อย สิง่ ที ่
เป็ นทุนทางธรรมชาติเราน้อย แล้วฟุตบอลมันก็ดงึ ดูดได้แค่ชวคราว ั่ เชือ่ เราสิสกั พักธุรกิจใหม่ๆอาจจะเจ๊งกัน” ผูว้ จิ ยั
เลยแสดงความเห็นว่า แต่เท่าทีร่ มู้ าเนวินเขาจะสร้างเมืองให้มกี ฬี าครบทุกรูปแบบในอนาคตเลยนะมันจะไม่ดงึ ดูด
นักท่องเทีย่ วมากขึน้ หรอ ออมตอบว่า “ก็ตอ้ งรอดูต่อไป แต่คอื กีฬามันเล่นทีไ่ หนก็ได้ไม่ได้จะต้องไปบุรรี มั ย์เท่านัน้
ยกเว้นแต่จะสร้างให้มนั แตกต่าง แล้วอีกอย่างต้องเข้าใจความเป็ นคนบุรีรมั ย์ด้วย ไม่ใช่สร้างมาแล้วคนจังหวัด
ตัวเองยังไม่ไปเล่นเลย เหมือนสนามแข่งรถไง” (ในกรณีสนามแข่งรถจะมีการศึกษาเพิม่ เติมลงในวิจยั ฉบับสมบูรณ์)
แล้วในส่วนของการสะสมสิง่ ประดิษฐ์ของสโมสรบุรรี มั ย์ยูไนเต็ด “ก็มเี สือ้ บอลแค่นัน้ แหละ แม่ซ้อื ให้ ก็สวยดีนะ”
ผู้วิจยั ถามว่า ได้มีโอกาสใส่บ่อยหรือไหม แล้วพอใส่คนรอบข้างมีปฏิกิริยาอย่างไร เพราะ ออม อยู่กรุงเทพฯ
มากกว่าบุรรี มั ย์ “มันก็สวยดี แต่ไม่ถงึ กับใส่บ่อยมากเพราะมันมีแค่ตวั เดียว พวกเพือ่ นๆก็ฝากซื้อเยอะนะตอนเวลา
เรากลับบุรรี มั ย์ ตอนนี้เพือ่ นมีเสื้อบอลบุรรี มั ย์ยไู นเต็ดกันหมดละมังทั
๊ ง้ ทีไ่ ม่เคยไปบุรรี มั ย์ (หัวเราะ)”
ตัวอย่างกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มนักธุรกิจใหม่ทม่ี าเปิ ดกิจการในช่วงทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงเมืองบุรรี มั ย์ เบน
เป็ นนักศึกษาทีจ่ บคณะวิศวกรรมศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น “เราก็อยากมีธุรกิจส่วนตัวมานานแล้ว ก็เลย
ตัดสินใจว่าบ้านเรามันก็มคี นทีช่ อบเทีย่ วชอบดืม่ เยอะทีส่ าคัญ ก็เลยเปิ ดร้านอาหารกึง่ ผับทีบ่ ุรรี มั ย์ ” ผูว้ จิ ยั ถามถึง
ผลตอบรับสาหรับร้านของ เบน “มันก็เรือ่ ยๆงะ พอไปได้” แล้วสาหรับวันที่มกี ารแข่งฟุ ตบอลจะมีลูกค้าเยอะขึน้
หรือไม่? “เยอะขึ้นบ้างบางแมตช์ แต่บา้ งแมตช์กไ็ ม่ได้มผี ลอะไรมาก” จากการสังเกตของผูว้ จิ ยั ทางร้านได้มกี าร
นาสัญลักษณ์ความเป็ น “กีฬา” มาใช้ในการตกแต่งร้านคือการนาสติ๊กเกอร์บุรรี มั ย์ยูไนเต็ด มาติด อยู่ในบริเวณ
สาคัญอย่างตรง ชื่อร้าน และประตูหน้าร้านผูว้ จิ ยั จึงได้สอบถามถึงเรื่องดังกล่าวคาตอบคือ “ก็มนั ติดกันแทบทุกร้าน
ก็เลยหามาติดบ้าง (หัวเราะ) ตัง้ ใจจะเปิ ดร้านอาหารกึง่ ผับแบบนี้อยู่แล้วเพราะตอนเรียนทีข่ อนแก่น นักศึกษามัน
ชอบไปนัง่ ร้านแบบนี้กนั เยอะทีบ่ ุรรี มั ย์มนั ยังไม่ค่อยมี มหาลัยในจังหวัดก็มนี ักศึกษาเยอะ แต่การทีเ่ มืองบุรรี มั ย์มี
คนรูจ้ กั เยอะขึ้นจากทีมฟุตบอลมันก็ช่วยให้ตดั สินใจได้เร็วขึ้นในการเปิ ดร้าน แต่กลุ่มลูกค้าจริงๆจะเป็ นนักศึกษา
มากกว่า”
จากการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ชาวเมืองบุรรี มั ย์ทงั ้ 4 กลุ่ม สิง่ ทีผ่ วู้ จิ ยั คนพบคือ ในอดีตก่อนทีจ่ ะมี
การก่อตัง้ สโมสรฟุ ตบอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดชาวเมืองบุรรี มั ย์ไม่เคยนิยามหรือให้ความหมายของเมืองบุรรี มั ย์โดยมี
“กีฬา” เข้ามาเกีย่ วข้องด้วยเลย ทราบได้จากการวางกลยุทธ์ของสโมสรบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดในการเรียกผูช้ มเข้าสนาม

163
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในช่วงแรกๆ (จากการสัมภาษณ์ ปริม) สะท้อนให้เห็นว่า “กีฬาฟุ ตบอล” กับ “เมืองบุรรี มั ย์” ไม่เคยอยู่ในสามัญ
สานึกของชาวเมืองบุรรี มั ย์เลย จึงถือว่าสิง่ ทีน่ ายทุนสร้างขึน้ มันคือเรื่องแปลกใหม่ แต่ดว้ ยผลงานการแข่งขันและ
ความอลังการสวยงามของสนามแข่งบอลทีไ่ ด้รบั มาตรฐานระดับสากลก็ทาให้ชาวเมืองบุรรี มั ย์ ปรับเปรียบความคิด
ตนเองนาความเป็ น “กีฬา” มาเป็ นส่วนหนึ่งของ “อัตลักษณ์ใหม่ของเมืองบุรรี มั ย์” ตรงส่วนนี้ถอื ว่า “ปฏิบตั กิ ารของ
นายทุน” มีบทบาทในการกากับควบคุมโครงสร้างทางความคิดของคนในจังหวัดบุรรี มั ย์ให้มองว่าเมืองบุรรี มั ย์คอื
“มหานครแห่งกีฬา” โดยใช้ยุทธวิธใี นการเรียกผูช้ มเข้าสนามโดยอาศัย “ทุนทางสังคม” ของนายทุนอย่างตระกูลชิด
ชอบ ทีม่ เี ครือข่ายทางสังคมทีท่ รงอิทธิพลมากในท้องถิน่ จังหวัดบุรรี มั ย์ มาใช้เป็ นเครื่องมือในนาความเป็ น “กีฬา”
เข้าไปเป็ นส่วนหนึ่งของชีวติ ประจาวันของผูค้ นในจังหวัดบุรรี มั ย์โดย (กึง่ ) บังคับในช่วงแรกเพื่อให้ผคู้ นเข้ามาเสพ
กีฬาฟุตบอลในสนามทีเ่ ชื่อว่าจะดึงดูดความสนใจของผูค้ นทีเ่ ข้ามาชมในสนามได้อย่างแน่ นอนและก็เป็ นไปตามที่
คาดคิดผูค้ นส่วนใหญ่ช่นื ชอบและนาการเสพกีฬาในระดับท้องถิน่ หรือการเชียร์ทมี กีฬาของจังหวัดบุรรี มั ย์เข้ามา
เป็ นส่วนหนึ่งของชีวติ (จะมากหรือน้อยขึน้ อยู่กบั ปั จจัยต่างๆของแต่ละบุคคล) แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคสินค้า
กีฬาของชาวเมืองบุรรี มั ย์ทงั ้ ในรูปแบบสิง่ ประดิษฐ์หรือการเข้าร่วมพิธกี รรมมวลชนจังหวัด(การเข้าเป็ นสมาชิกเชียร์
กีฬา GU 12) ยังเกิดจากสานึกของตนเอง หรือถ้ากล่าวในภาษาทัวไปคื ่ อ ความพึงพอใจของตนเอง เป็ นหลัก จาก
การสัมภาษณ์จะพบสิง่ ทีส่ ะท้อนสานึกของตนเองในการบริโภคสินค้ากีฬาหรือการเข้าร่วมพิธกี รรมมวลชนต่างๆ
เช่น “มันสวยดี” “คนอื่นก็ชมว่าสวยดี” “ได้ฟรี” “แม่ซอ้ื ให้” “ชอบดูบอลอยู่แล้ว” “ไม่ไปเดีย๋ วคุยกับเพื่อนไม่สนุก” “ก็
มันติดกันแทบทุกร้านก็เลยหามาติดบ้าง” (สติก๊ เกอร์บุรรี มั ย์ยไู นเต็ด) เป็ นต้น
นอกจากนัน้ ยังเป็ นการยกระดับให้ผบู้ ริโภคสินค้ากีฬาให้ไม่ได้ตกอยู่เพียงแค่ฐานะของผูบ้ ริโภคเท่านัน้ แต่
ยัง ได้สร้า งสถานภาพของการเป็ น ผู้ผลิต ได้อีก ด้ว ยโดยในกรณี ข องทัง้ 4กลุ่ ม ข้อ มูล จะพบเห็น การ “ผลิตซ้ า
ความหมายใหม่ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์” ในสัมภาษณ์และสังเกต ไม่ว่าจะเป็ นการสวมใส่เสือ้ ทีมฟุตบอลบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด
หรือติดสติก๊ เกอร์สญ ั ลักษณ์ของทีมฟุตบอลบุรรี มั ย์ยไู นเต็ด ทัง้ ในจังหวัด หรือต่างจังหวัด รวมไปถึงกรณีของ ออม
ที่มเี พื่อนในจังหวัดอื่นฝากซื้อเสือ้ บอลบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดไปสวมใส่ นี้กถ็ ือว่าเป็ นการเผยแพร่ “อัตลักษณ์ใหม่ของ
จังหวัดบุรรี มั ย์ในฐานะ มหานครแห่งกีฬา” แต่จากการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตในเมืองบุรรี มั ย์จะพบว่า ผูค้ นใน
จัง หวัด ได้ช่ ว ยผลิต ซ้ า ความเป็ น มหานครแห่ ง กีฬ าและยัง เป็ น การผลิต เพื่อ ประโยชน์ ใ นทางการตลาดอีก
ด้วย ตัวอย่างที่พบเห็นและช่วยทาให้เข้าใจปรากฏการณ์ดงั กล่าวมากที่สุดคือ การที่ผู้คนในเมืองบุรรี มั ย์ได้นา
สัญลักษณ์ของทีมกีฬาบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดมาใช้เพื่อการค้าขาย เช่น นามาสกรีนใส่เสือ้ หมวก กางเกง กระเป๋ า ฯลฯ
และนามาขายตามตลาดนัดหรือแหล่งธุรกิจต่างๆในจังหวัดอย่างแพร่หลาย เพราะฉะนัน้ ตามแหล่งธุรกิจหรือตลาด
นัดก็จะพบเห็นการค้าขายผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็ นการใช้ความเป็ น “มหานครแห่งกีฬา” มาใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าทัง้ ชาวเมือง
บุรรี มั ย์และนักท่องเทีย่ วจากต่างถิน่ ทีม่ กั จะซือ้ สินค้าดังกล่าวกลับไปเป็ นทีร่ ะลึก (นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่มกั จะเป็ น
แฟนบอลทีม่ ารับชมการแข่งขันในสนามไอโมบายสเตเดีย้ ม) ซึง่ แน่นอนว่าถ้านักท่องเทีย่ วได้นาผลิตภัณฑ์ดงั กล่าว
ไปใช่ในพื้นที่ของตนเองก็จะเป็ นการเผยแพร่หรือตอกย่ าความเป็ น “มหานครแห่งกีฬา” ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์มาก
ยิง่ ขึน้ ไปอีกด้วย และในปั จจุบนั การบริโภคสินค้ากีฬาทีเ่ ป็ นสิ่งประดิษฐ์ของบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดก็ได้รบั ความนิยมจาก
คนภายนอกทีไ่ ม่ใช่เฉพาะผูค้ นในเมืองบุรรี มั ย์เพียงเท่านัน้ (ปั จจุบนั มีศูนย์จาหน่ ายสินค้าสโมสรบุรรี มั ย์ยูไนเต็ดที่
จังหวัดกรุงเทพและเชียงใหม่) กล่าวคือเป็ นการขยาย “ชุมชนผูบ้ ริโภคสินค้ากีฬาของเมืองบุรรี มั ย์” ให้มจี านวนมาก
ขึน้ ตามทีไ่ ด้อธิบายมาในบท “การสร้างความเป็ น “ชุมชน” ผ่านการบริโภค “สิง่ ประดิษฐ์”” ว่าสิง่ ประดิษฐ์เป็ นสิง่ ที ่
ช่วยตอกยา่ และแสดงความเป็ นชุมชนเดียวกันของผู้ทมี ่ หี รือสะสมสิง่ ประดิษฐ์เหมือนกัน แต่ ความหมายของ
ผูผ้ ลิตตามทีย่ กตัวอย่างมาข้างต้นไม่ได้จากัดอยู่แค่การผลิตเพื่อจาหน่ ายเท่านัน้ แต่การบริโภคสินค้ากีฬามันก็คอื

164
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การผลิตซ้าความหมายหรืออัตลักษณ์ใหม่ของเมืองบุรรี มั ย์ไปพร้อมๆกัน หรือก็คอื ผูผ้ ลิตในฐานะผูบ้ ริโภค สรุปก็


คือ ชุมชนผูบ้ ริโภคสินค้าทีส่ ะท้อนความเป็ นมหานครแห่งกีฬาของเมืองบุรรี มั ย์อยู่ในสถานะของทั ้งผูบ้ ริโภคและ
ผูผ้ ลิตไปพร้อมๆ กัน
เพราะฉะนัน้ การบริโภคสินค้ากีฬาของชาวเมืองบุรรี มั ย์มนั จึงไม่ใช่เพียงการบริโภคเพียงเท่านัน้ แต่มนั คือ
การ “ผลิตซ้าอัตลักษณ์ความเป็ นมหานครแห่งกีฬาให้กบั เมืองบุรรี มั ย์” และสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์
ทาให้ภาพลักษณ์ ของเมืองบุรรี มั ย์ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็ นเพียงเมืองผ่านให้กลายเป็ นเมืองแห่งกีฬาที่
หลายๆ คนต่างก็สนใจมากขึน้ กว่าเดิม ถึงแม้ว่าปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ มักจะถูกนาเสนอว่า นักการเมืองท้องถิน่ เป็ น
ผูผ้ ลิตสร้างมันขึน้ มาแต่ในการศึกษาครัง้ นี้ต้องการนาเสนอในมิตขิ องผู้ คนในจังหวัดต่อการสร้างความหมายใหม่
ให้กบั เมืองบุรรี มั ย์ เพราะจากการทีผ่ วู้ จิ ยั ได้ศกึ ษาก็พบว่า ปฏิบตั กิ ารของผูค้ นในจังหวัดเป็ นการกระทาทีเ่ กิดขึ้น
จากสานึกของตนเอง จากการที่ผคู้ นในจังหวัดได้ประเมินว่า การผลิตและบริโภคสินค้ากีฬาของทีมกีฬาบุรรี มั ย์
ยูไนเต็ดหรือสัญลักษณ์ความเป็ นมหานครแห่งกีฬามันคือ การสร้างผลประโยชน์ให้กบั ตนเอง เพราะถึงแม้ว่าทีม
ฟุ ตบอลจะมีช่อื เสียงโด่งดังเพียงใด หรือนักการเมืองท้องถิ่นจะโน้ มน้ าวให้ช่นื ชมความสาเร็จของทีมกีฬามาก
เพียงใด แต่ถา้ หากว่าสิง่ เหล่านัน้ ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กบั ผูค้ นในจังหวัดพวกเขาก็ไม่คดิ ว่าจะต้องเข้าไปให้ความ
ร่วมมือต่ อการสร้างอัตลักษณ์ ใหม่ให้กบั เมืองบุรีรมั ย์เช่นทุกวันนี้ ซึ่งแน่ นอนว่าถ้าหากปรากฏการณ์ ดงั กล่ า ว
ปราศจากปฏิบตั กิ ารของผู้คนในจังหวัด การเกิดขึน้ ของความหมายใหม่ของเมืองบุรรี มั ย์ในฐานะ “มหานครแห่ง
กีฬา” ก็คงจะไม่สามารถสมบูรณ์หรืออาจจะเกิดขึน้ ไม่ได้เลยด้วยซ้าไป เพราะฉะนัน้ ปฏิบตั กิ ารของผูค้ นทีม่ กั จะถูก
มองข้ามหรือถูกมองว่าเป็ นเพียงผูก้ ระทาการทางสังคมภายใต้การควบคุมกากับของนักการเมืองท้องถิน่ เท่านัน้ แต่
แท้ทจ่ี งึ แล้วผูค้ นเหล่านี้คอื เบือ้ งหลังของปรากฏการณ์การเปลีย่ นแปลงทีย่ งิ่ ใหญ่ของจังหวัดบุรรี มั ย์

สรุ ปและอภิปรำยผล
การศึกษาครัง้ นี้นอกจากผู้วิจยั จะต้องการนาเสนอให้เห็นปรากฏการณ์ ก ารเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้น ใน
จังหวัดบุรรี มั ย์ทใ่ี นอดีตเคยถูกมองในฐานะของ “เมืองผ่าน” ให้กลายมาเป็ น “มหานครแห่งกีฬา” เช่นทุกวันนี้ โดย
การศึกษาผ่าน “การบริโภคสินค้ากีฬา” ว่ามันแฝงไปด้วยปฏิบตั กิ ารทางสังคมทีส่ ่งผลต่อการสร้างความหมายใหม่
ให้กบั เมืองบุรีรมั ย์ได้อย่างไร และได้พบว่าสิง่ เหล่านัน้ คือ การผลิตซ้ าความเป็ นชุมชนกีฬาของผู้คนในจังหวัด
บุรรี มั ย์และขยายออกไปในวงกว้าง จนทาให้ทงั ้ บุคคลภายในและภายนอกจังหวัดปรับเปลี ย่ นมุมมองและสร้าง
ความหมายใหม่ให้กบั เมืองบุรีรมั ย์ในฐานะของ “มหานครแห่งกีฬา” ซึ่ง ตัว แสดงที่มีบทบาทต่ อปรากฏการณ์
ดังกล่าวจะไม่ได้จากัดอยู่เพียงกลุ่มนายทุนหรือตระกูลชิดชอบอย่างทีม่ กี ารวิจยั อื่นๆเคยศึกษามาหรือตามทีส่ ่อื ได้
นาเสนอเท่านัน้ แต่ผวู้ จิ ยั ได้เพิม่ ตัวแสดงเป็ น “ปฏิบตั กิ ารของผูค้ นในจังหวัด” แต่อย่างไรก็ตามผูว้ จิ ยั ก็ไม่ได้ปฏิเสธ
ต่อ “ปฏิบตั กิ ารของนายทุน” ทีม่ บี ทบาทในการกาหนดโครงสร้างทางสังคม แต่เพียงต้องการเพิม่ ตัวแสดงเพื่อให้
เกิดความเข้าใจต่อปรากฏการณ์การเปลีย่ นแปลงของเมืองบุรรี มั ย์ทแ่ี ตกต่างไปจากความเข้าใจเดิมและนาเสนอข้อ
ค้นพบใหม่ๆ ต่อการศึกษาเมืองบุรรี มั ย์
เพราะฉะนัน้ การศึกษาครัง้ นี้จงึ มีความประสงค์ทจ่ี ะยกระดับให้ “ปฏิบตั ิการของผูค้ นทัวไป”
่ ในสังคมได้
เข้ามามีบทบาทในการเปลีย่ นแปลงสังคมด้วย ไม่ใช่มองเพียงกลุ่มนายทุนเท่านัน้ ทีม่ บี ทบาทต่อการเปลีย่ นแปลงใน
สังคม นอกจากนัน้ ยังเป็ นการนาเสนอมุมมองสาหรับการพัฒนาเมืองในประเทศไทยที่มกี ารนาอัตลักษณ์ของ
“กีฬา” มาใช้เป็ นเครื่องมือในการสร้างการเปลีย่ นแปลงทีส่ ่งผลไปในทางทีด่ ใี นการสร้างจุดขายหรือความน่ าสนใจ
ให้ก ับ เมือ งและส่ง ผลให้เ กิด ผลประโยชน์ ใ นด้า นต่ างๆโดยเฉพาะการท่ อ งเที่ย ว เพราะถึง แม้ว่ า ทรัพ ยากรที่

165
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ธรรมชาติสร้างมาให้กบั แต่ละพืน้ ทีจ่ ะมีไม่เท่ากันและมีอยู่อย่างจากัด แต่มนุษย์เราก็สามารถสร้างมันขึน้ มาทดแทน


สิง่ ที่ธรรมชาติมมี าให้ได้อย่างชาญฉลาด เพราะฉะนัน้ เมืองบุรรี มั ย์จงึ ถึงถือเป็ นอีกหนึ่งตัวอย่างสาหรับเมืองทีม่ ี
แหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติอยู่อย่างจากัดแต่กไ็ ด้นา “กีฬา” มาเป็ นแหล่งดึงดูดนักท่องเทีย่ วเพื่อพัฒนาเมืองให้
เมืองบุรีรมั ย์ถูกจ้องมองในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวทางกีฬาของประเทศไทยและถูกสร้างความหมายใหม่ให้
กลายเป็ น “มหานครแห่งกีฬา”

บรรณำนุกรม
ไทยรัฐออนไลน์. 2558. “บุรรี มั ย์โมเดล ต้นแบบการสร้างเมืองใหม่.” http://www.thairath.co.th/content/435963
(สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558)
บุรรี มั ย์กรู .ู 2558. “ลุงเนวิน” ติดปี กเมืองบุรรี มั ย์ ติด 1 ใน 5 เมืองทีม่ นี กั ท่องเทีย่ วมากทีส่ ดุ .
http://www.buriramguru.com (สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 2558. “ติดปี กเศรษฐกิจ “บุรรี มั ย์” ธุรกิจน่าลงทุน “บริการ-โรงแรม-เกษตร”.”
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416856166 (สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน
2558)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 2558. ““บุรรี มั ย์” เนื้อหอม โรงแรมเล็กพรึบ่ -แอร์ไลน์สรุมจีบ.”
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416941678 (สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน
2558)
เมธากร เมตตา. 2557. กลยุทธการเพิม่ มูลค่าของนักการเมืองท้องถิน่ : กรณีสโมสรฟุตบอลบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วสันต์ ปั ญญาแก้ว และคณะ. 2557. ฟุตบอลไทย ประวัตศิ าสตร์ อานาจ การเมือง และความเป็ นชาย.
กรุงเทพฯ: ศูนย์ศกึ ษาปั ญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนุกดอทคอม. 2558. “ก้นบึง้ หัวใจของ "เนวิน ชิดชอบ" กับการพาบุรรี มั ย์กา้ วสูเ่ มืองแห่งกีฬา ทีใ่ ครๆ ก็ไม่กล้า
ทา.” http://sport.sanook.com/129513/ (สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559)
สานักงานคลังจังหวัดบุรรี มั ย์. 2558. สถิตผิ ลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด. http://www.grad.cmu.ac.th/web2016 /
documents/003%20Thesis-IS%20Printing%20Format.pdf (สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558)
สุนีย์ ประสงค์บณ ั ฑิต. 2553. แนวความคิดฮาบิทสั ของปิแอร์ บูรด์ เิ ยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ:
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน).
สุรยิ านนท์ พลสิม. 2557. ศึกษามายาคติในการสร้างความนิยมทางการเมืองของสมาชิกพรรคภูมใิ จไทยจังหวัด
บุรรี มั ย์ วิเคราะห์ดว้ ยวิธสี ญ
ั วิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิน่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฮักบอลดดอทคอม. 2558. ข่าวบุรรี มั ย์คว้าอันดับ1สโมสรแกร่งสุดในอาเซียนเหนือแชมป์ AFC ไทยพรีเมียร์ลกี
http://www.hugball.com/-AFC-40984.html (สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558)
Alan G. Ingham and Mary G. McDonald. 2003. “Sport and Community/Communitas.” in Sporting
Dystopias: The Making and Meaning of Urban Sport Cultures, Ralph C. Wilcox. et al, editor. Pp.
17-34. New York: State University of New York Press.

166
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

Bourdieu, Pierre. 1977. “Structures And The Habitus.” in Outline of a Theory of Practice, translated by
Richard Nice. Pp. 72-87. Cambridge University Press
———. 1984. “Class Tastes and Lifestyles.” in Distintion: A Social Critique of the Judgement of Taste,
translated by Richard Nice, p 260-315. London Routledge
———. 1990. “The Logic of Practice.” in The Logic of Practice, translated by Richard Nice, pp. 80-97.
Polity Press.
Forbesthailand. 2013. “เนวิน ชิดชอบ: “ลมหายใจแห่งบุรรี มั ย์”.” http://forbesthailand.com/cover-
detail.php?did=7 (สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559)
Gene Burd. 2003. “Mediated Sports Mayors and the Marketed Metropolis.” in Sporting Dystopias: The
Making and Meaning of Urban Sport Cultures, Ralph C. Wilcox et al, editor. p 35-64. New
York: State University of New York Press.
Kimberly S. Schimmel. 2010. “Sociology of Sport and Social Theory.” in Winston-Salem, North Carolina,
Smith Earl, editor. p 55-65. Wake Forest University.
Ralph C. Wilcox and David L. Andrews. 2003. “Sport in the City: Cultural, Economic, and Political
Portraits.” in Sporting Dystopias: The Making and Meaning of Urban Sport Cultures, Ralph
C. Wilcox et al, editor. p 1-16. New York: State University of New York Press.
Synthia Sydnor Slowikowski. 2003. “Urban(e) Statuary Times.” in Sporting Dystopias: The Making and
Meaning of Urban Sport Cultures, Ralph C. Wilcox. et al, editor. p 65-80. New York: State
University of New York Press.

167
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

168
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P2-R1-03

พิธีกรรมฟ้อนผี
ความทรงจา ความหมาย และตั ว ตน
ของ “ม้ า ขี่ ” ในบริ บ ทสั ง คมสมั ย ใหม่

ณัฐภัทร์ สุรินทร์วงศ์ และ นิศา บู รณภวังค์


ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยดุสิตธานี

169
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
บทความวิชาการฉบับนี้ ผูเ้ ขียนนาเสนอ “ความทรงจานอกตัวอักษร” ซึง่ เป็ นเรื่องราวผ่านเรื่องเล่าของ
ความทรงจาและการตีความหมายพิธกี รรมจากประสบการณ์ตรงของกัลยาณมิตร ผูเ้ ป็ นส่วนหนึ่งในกลุ่มตระกูลที่
นับถือผีและประกอบพิธกี รรมทีเ่ รียกว่า ฟ้ อนผี โดยสถานภาพในกลุ่มตระกูลของกัลยาณมิตรท่านนี้ คือ ม้าขีห่ รือ
คนทรงในพิธกี รรมฟ้ อนผีมหี น้าทีเ่ ป็ นร่างทรงของวิญญาณบรรพบุรุษ เพื่อให้ลูกหลานสามารถสื่อสารกับวิญญาณ
บรรพบุรุษได้โดยผ่านการเข้าทรงในพิธกี รรม
พิธีก รรมฟ้ อ นผีเ ป็ น พิธีก รรมเซ่ น สรวงบูช าบรรพบุ รุ ษ รู ป แบบหนึ่ ง ในสัง คมวัฒ นธรรมเมือ งลาปาง
(ล้านนา) โดยกลุ่มตระกูลทีจ่ ะประกอบพิธกี รรมฟ้ อนผีนนั ้ จะมีเพียง 2 กลุ่ม คือ ตระกูลผีมดและตระกูลผีเม็ง หาก
คนของตระกูลทัง้ สองแต่งงานกัน จะเกิดรูปแบบพิธกี รรมที่ผสมผสานเรียกว่า ผีมดซอนเม็ง สาหรับกัลยาณมิตร
ของผูเ้ ขียนอยู่ในกลุ่มตระกูลทีเ่ รียกว่า ผีมด ซึง่ สามารถแยกย่อยไปได้อกี มากตามสายสกุลทีน่ บั ถือผี กัลยาณมิตร
ของผู้เขียนให้ขอ้ มูลว่า พิธกี รรมของเขานัน้ เริม่ ปฏิบตั ิกนั มาหลายชัวอายุ
่ คนและยังคงสืบทอดมาจนถึงปั จจุบนั
(พ.ศ. 2559) โดยเขาเป็ นรุ่นที่ 5
จากการทางานร่วมกันมาเป็ นระยะเวลากว่า 5 ปี การใช้ชวี ติ ผ่านการทางานในที่ทางาน การไปเลี้ยง
สังสรรค์ ท่องเที่ยวตามโอกาสกับเพื่อน ๆ ทาให้ผู้เขียนเข้าถึงข้อมูลของกัลยาณมิตรท่านนี้ได้ดว้ ยดี โดยผู้เขียน
สนใจจะหาคาตอบในความเป็ นม้าขีห่ รือคนทรงของกัลยาณมิตรท่านนี้ว่า พิธกี รรมมีความหมายอย่างไรกับท่านใน
ฐานะทีเ่ ป็ นม้าขี่ ตัวท่านให้ความหมายต่อตนเองอย่างไรต่างจากสิง่ ทีส่ งั คมให้ความหมายหรือไม่ ในเมื่อตัวท่านอยู่
ภายใต้บริบทของการเปลีย่ นแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองกรุงเทพฯ ซึง่ ห่างไกลจากพิธกี รรม
ข้อมูลในการศึกษาครัง้ นี้ ผูเ้ ขียนได้มาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยวิเคราะห์และอภิปรายผล
ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับความทรงจาร่วมทางสังคมและทัศนะแบบเอสโซเทริคทางคติชนวิทยา เพื่อทาความเข้า ใจ
ตัวตนของม้าขีผ่ ่านเรื่องเล่าและการตีความหมายจากประสบการณ์ในพิธกี รรมฟ้ อนผี

แนวคิดเกี่ยวกับ “ควำมทรงจำร่วม” และ “ทัศนะแบบเอสโซเทริค”


ทัศ นะแบบเอสโซเทริค (esoteric factor) เป็ น แนวคิด ที่ใ ช้ท าความเข้า ใจ ประณามวาทะ (blason
populaire) ประณามวาทะเกีย่ วข้องกับถ้อยคาสรรเสริญ หรือคาพูดในทางยกย่อง ความเห็นในทางบวก ประณาม
วาทะที่ William. Hugh Jansen นักทฤษฎีคติชนวิทยาผู้สนใจทาการศึกษานัน้ แสดงทัศนะของผู้พูดที่มตี ่อกลุ่ม
ของตน ต่อตนเอง หรือ คนต่างกลุ่ม ซึง่ สามารถเป็ นไปทัง้ ในแง่บวกและแง่ลบ เช่น คาชม การตัง้ ข้อรังเกียจ ซึ่ ง
ทัศนะทางคติชนเช่นนี้ เมื่อถ่ายทอดกันต่อมาจะกลายเป็ นลักษณะเฉพาะกลุ่มชนเชือ้ ชาติหรือบุคคล ทัศนะแบบเอส
โซเทริคนี้เองเป็ นองค์ประกอบสาคัญในคติชนและในความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ เนื่องด้วยความแตกต่ างใน
วัฒนธรรมและการดาเนินชีวติ ของมนุ ษย์แต่ละเชือ้ ชาติ รวมถึงความผูก พันแนบแน่ นกับกลุ่มของตนเอง จนเป็ น
เหตุให้เกิดลัทธิชาตินิยม วัฒนธรรมนิยมและการตัง้ ข้อรังเกียจกลุ่มอื่น
กิง่ แก้ว อัตถากร (2542, 166-168) ได้อธิบายทัศนะแบบเอสโซเทริคไว้ว่า เป็ นการแสดงความคิดเห็น
เกีย่ วกับกลุ่มของตนเอง หรือ การทีค่ นในกลุ่มแสดงความคิดเห็นว่ากลุ่ มอื่นมีทศั นะต่อกลุ่มตนเองอย่างไร ความ
คิดเห็นลักษณะนี้อาจมีอยู่ในกลุ่มโดยไม่รู้ตวั เลยก็ได้ ซึ่งทัศนะเช่นนี้เสริมสร้างความรู้สกึ เป็ นพวกเดียวกันอย่าง
แนบแน่ นต่อกลุ่มตนเอง สะท้อนออกมาให้เห็นได้จากการออกมาปกป้ องศักดิศรี ์ ยกย่องตนเอง ความเห็นเช่นนี้จะ
เข้าใจกันเฉพาะภายในกลุ่ม อันเนื่องมาจากมีการใช้สญ ั ลักษณ์เฉพาะร่วมกัน เช่น สานวนภาษาพูด ศัพท์เฉพาะ
ขนาดของกลุ่มทีเ่ ล็กจะมีทศั นะแบบเอสโซเทริคเด่นชัดมากทัง้ นี้บุคคลในกลุ่มเองมีแนวโน้มเอือ้ ต่อการใช้ทศั นะนี้
170
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แนวคิดเกีย่ วกับความทรงจาร่วม (collective memory) เป็ นเรื่องราวทีเ่ กีย่ วข้องกับการทางานของจิตใจที่


ควบคู่ไปกับสังคมอย่างไร และจิตใจจัดการอย่างไรกับสิง่ ที่ถูกวางโครงสร้างเป็ นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการจัดการ
ของสังคมจนกลายเป็ นเรื่องปกติ เพราะความทรงจานัน้ เป็ นสิง่ ทีถ่ ูกสร้างขึน้ ตลอดระยะเวลาของการเปลีย่ นแปลง
ของบุคคล เมื่อบุคคลเปลี่ยน อัตลักษณ์ ความทรงจาก็แปรเปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันเมื่อความทรงจาเปลี่ยน
อัตลักษณ์กเ็ ปลีย่ น ความทรงจามีลกั ษณะทีเ่ ปิ ด (open) พร้อมทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง ในแง่น้ีแล้วความทรงจาจึงเป็ นสิง่
ที่ก าหนดได้ย ากว่ า จะเป็ น อย่ า งไร การเปลี่ย นแปลงในความไม่ แ น่ น อนนี้ เ องที่จ ะท าให้ บุ ค คลสามารถที่จ ะ
แปรเปลีย่ นตัวเองให้กลายมาเป็ นบุคคลใหม่ได้ (Kearney 1998, 55, อ้างถึงใน ธเนศ วงศ์ยานนาวา 2543, 153)
หากมองความทรงจาเป็ นแง่มุมของปรากฏการณ์ทางสังคม อดีตเป็ นสิง่ ทีม่ นุษย์สร้างขึน้ ผ่านความทรงจา
กลุ่มทางสังคมแทบทุกกลุ่มได้พยายามสร้างความทรงจาร่วมขึน้ เพื่อยึดโยงสมาชิกทัง้ หมดเข้าไว้ดว้ ยกัน ความ
ทรงจาร่วมจะถูกทาให้เชื่อมโยงกับทุกกิจกรรมของคนในกลุ่มสังคมนัน้ ๆ 1 ในพิธกี รรมฟ้ อนผี ความทรงจาร่วมจะ
ครอบคลุมแทบทุกปรากฏการณ์ ไม่ว่าจะเป็ นการกระทาทีเ่ กิดขึน้ เป็ นระยะ อย่างเช่น การเลีย้ งผีปยู่่ าตามโอกาส
รวมทัง้ มีพธิ กี รรมใหญ่ประจาปี ของกลุ่มตระกูล ความทรงจาร่วมของกลุ่มตระกูลนัน้ เชื่อมโยงชีวติ ของปั จเจกบุคคล
เข้ากับกลุ่มตระกูลผ่านพิธกี รรมศักดิสิ์ ทธิ ์
ในบทความฉบับนี้ ความทรงจาร่วมจึงหมายถึง เรื่องราวในอดีตที่ม้าขีแ่ ละกลุ่มตระกูลรับรู้ นาเสนอ
ร่วมกัน มีการถ่ ายทอดแบบมุ ขปาฐะ มีความหมายต่ อความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม เชื่อมโยงเป็ นอันหนึ่ ง อัน
เดียวกันจากรุ่นสู่รุ่น ความทรงจาร่วมนี้เป็ นของกลุ่มตระกูล โดยสมาชิกในกลุ่มเองต่างก็ยอมรับราวกับว่ามันเป็ น
ประสบการณ์ทเ่ี กิดขึน้ จริงกับพวกเขาเอง เป็ นการยอมรับโดยปราศจากข้อสงสัย ความทรงจาเป็ น สิง่ ทีเ่ ริม่ ต้นจาก
ปั จจุบนั แล้วย้อนกลับไปสูเ่ หตุการณ์ในอดีตทีผ่ ่านมา เรื่องเล่าทัง้ หลายจึงเป็ นข้อมูลยืนยันการมีอยู่ของความทรงจา
ทีแ่ สดงตัวตนของม้าขีแ่ ละของกลุ่มตระกูล
สังเขปแนวคิดทัง้ 2 สัมพันธ์กนั ในการอธิบายและทาความเข้าใจตัวตนของ “ม้าขี่” โดย ทัศนะแบบ
เอสโซเทริค ถูกแสดงออกมาผ่านเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงในพิธกี รรมซึง่ มี “ความทรงจาร่วม” อยู่เบือ้ งหลัง
อันเป็ นองค์ประกอบสาคัญต่ อกระบวนการให้ความหมาย “ม้าขี่” โดยตัวของม้าขี่เอง ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึง
ความหมายของพิธกี รรมทีย่ งั คงปฏิบตั สิ บื ต่อกันมาทีเ่ ชื่อมโยงระหว่างตัวตนและสังคมทีม่ า้ ขีส่ งั กัดอยู่ จากสังเขป
แนวคิดดังกล่าวข้างต้นทัง้ หมด ผูเ้ ขียนได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการวิเคราะห์และอภิปรายผลข้อมูล

ภำพสะท้อนควำมทรงจำของ “ม้ำขี่” เกี่ยวกับตนเอง


กัลยาณมิตรของผูเ้ ขียนทาหน้าทีเ่ ป็ น “ม้าขี”่ หรือคนทรงของผีปยู่ ่าในพิธกี รรมฟ้ อนผีมดและเป็ นชายหนุ่ม
เพียงคนเดียวในสายตระกูล ทีท่ าหน้าทีเ่ ป็ นสือ่ กลางระหว่างผีปยู่ ่ากับลูกหลาน จากการอ่านเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องโดย
ส่วนใหญ่แล้ว คนทีท่ าหน้าทีเ่ ป็ นคนทรง มักมีอายุมากและชาวบ้านให้ความเคารพนับถือด้วยความทีเ่ ป็ นผูอ้ าวุโส
หากแต่ว่ามิตรสนิทของผูเ้ ขียนผูน้ ้ีกลับแตกต่างจากคนทรงทีผ่ เู้ ขียนเคยรับรู้ จึงนามาซึง่ ความสนใจใคร่รวู้ ่า ตัวตน
ของเขาคนนี้เป็ นอย่างไรในฐานะผู้มบี ทบาทหน้าที่ในพิธกี รรม รวมถึงการดาเนินชีวติ ที่ต้องเผชิญอยู่ท่ามกลาง
ความแตกต่างหลากหลายของสังคมท้องถิน่ และสังคมเมืองในปั จจุบนั

พิธีกรรมทีไ่ ม่อยากเข้าร่วมในวัยเด็ก

1 อรรถจักร์ สัตยานุ รกั ษ์, ความทรงจา ประวัตศิ าสตร์ และการเฉลิมฉลองระลึกถึงการเมือง, http://www.bangkokbiznews.com/ สืบค้นวันที่ 27/6/2559

171
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ความทรงจาเป็ นเรื่องของนามธรรมทีเ่ ราไม่สามารถจับต้องได้ ดังนัน้ การทีเ่ ราจะสัมผัสจับต้องความทรง


จาได้ ต้องอาศัยโดยผ่านการบอกเล่าบางอย่าง เพื่อที่จะทาให้ความทรงจานัน้ ก่อร่างเป็ นตัวตนขึน้ มา โดยอาศัย
ผ่านภาพตัวแทนให้สามารถจับต้องได้ จะเห็นได้ว่าความทรงจานัน้ ประกอบสร้างขึน้ จากประสบการณ์ส่วนบุคคล
เรื่องเล่า เหตุการณ์ สถานทีแ่ ละเวลา บางครัง้ บางคราวความทรงจาก็มสี งิ่ ทีเ่ ราเลือกเองหรือมีสงิ่ บุคคลเลือกทีจ่ ะให้
เราจาด้วย

เมื่อก่อนผมก็เป็ นเด็กผู้ชายธรรมดา ๆ ไม่ได้สนใจพิธกี รรมนี้เ ลย จาได้ว่า ไม่ชอบวันทีม่ ี


พิธกี รรมด้วยซ้าเพราะเสียงดนตรีพ้นื เมืองดังมาก และก็จะเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ฟั งเพลง
ผมไม่ชอบเสียงดนตรีดงั ๆ ถ้าจะออกมาดู ก็คงจะช่วงที่มกี ารละเล่นพิธกี รรมต่าง ๆ เช่น
การปั ดต่อ ปั ดแตน คล้องช้างคล้องม้า ถ่อเรือถ่อแพ เพราะมันสนุกดี
ข้อความข้างต้น เป็ นส่วนหนึ่งของภาพความทรงจาในวัยเด็กที่กลั ยาณมิตรได้เล่าให้ผเู้ ขียนฟั ง ในตระกูล
ของเขา พ่อจะรับหน้าทีเ่ ป็ นผูด้ ูแลผีปยู่่ าและผูน้ าในการปฏิบตั พิ ธิ กี รรมซึ่งพ่อสืบทอดความเชื่อและพิธกี รรมนี้มา
จากย่า ส่วนแม่ของเขาก็ทาหน้าทีเ่ ป็ นม้าขีห่ รือคนทรงในพิธีกรรม เรื่องราวของพิธกี รรมฟ้ อนผีจงึ เป็ นส่วนหนึ่งใน
ชีวติ มาตัง้ แต่จาความได้ เพียงแต่ในวัยเด็กเขากลับรูส้ กึ ว่าตนเองเป็ นคนวงนอกและพยายามปฏิเสธ ไม่ยุ่งเกีย่ วกับ
พิธีฟ้อนผีด้วยบุคลิกภาพส่วนตัวที่ชอบความสงบและรักสันโดษ แต่ เมื่อถูกไหว้วานจากผู้ใหญ่ให้ช่วยเหลือใน
พิธกี รรมเขาก็สามารถช่วยได้บา้ งแม้จะไม่ค่อยเต็มใจนัก “ในตอนนัน้ นะ พิธกี รรมเป็ นสิง่ ทีน่ ่ากลัวสาหรับผม เนื้อหา
ของพิธกี รรมเองสร้างความรูส้ กึ ทีไ่ ม่คุน้ เคยจากชีวติ ปกติเลย ทุกคนล้วนแปลกหน้าไปหมด ผมรูเ้ ลยว่าคนทีอ่ ยู่ใน
พิธกี รรมไม่ใช่คนทีผ่ มคุน้ เคยอีกแล้ว” แม้ตวั เขาจะรูส้ กึ กลัวแต่ทว่าเขาก็ยงั พึงพอใจทีจ่ ะมองดูพธิ กี รรมแต่เฉพาะใน
ส่วนของการละเล่นทีส่ นุกสนานอยู่ไกล ๆ
จากการศึกษางานวิจยั เกีย่ วกับคนทรง ทาให้ผเู้ ขียนทราบว่า การทีค่ นทรงมีญาติพน่ี ้องหรือบุคคลใกล้ชดิ
เป็ นคนทรงมาก่อน อาจทาให้เขาได้รบั การปลูกฝั งความคิดและคุ้นเคยกับ การเข้าทรงมาบ้างไม่มากก็น้อย อันมี
ส่วนสาคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็ นคนทรงได้ แต่เพื่อนของผูเ้ ขียนสะท้อนให้เห็นว่า ตัวเขาไม่ได้สนใจใน
พิธกี รรมนี้ จะมารู้เรื่องราวในพิธกี รรมจริง ๆ ก็ตอนกลายเป็ น “ม้าขี”่ เนื่องจากเขาเริม่ กลับมาให้ความสนใจกับ
พิธกี รรมมากขึน้ ภายหลังจากได้รบั สถานภาพและบทบาทหน้าที่ หากถามรายละเอียดของลาดับขัน้ ตอนการเตรียม
พิธกี รรม ณ ตอนนี้ เขาจะตอบได้อย่างละเอียด ซึ่งการฉายภาพส่วนใหญ่ท่ผี นึกแน่ นในความทรงจาของเขานัน้
ได้มาภายหลังจากการเป็ น “ม้าขี”่

จากวัยเด็กสู่วัยรุ ่นในสถานะของ “ม้าขี”่


ก่อนเป็ น “ม้าขี”่ พิธกี รรมไม่ได้มคี วามหมายต่อตัวตนของเขาเลย มิหนาซ้า พิธกี รรมยังเป็ นสิง่ ภายนอกที่
เขามองว่ารบกวนการดาเนินชีวติ ในวัยเด็กเสียอีก ทัง้ เสียงดังและความวุ่นวายจากผูค้ นมากหน้าหลายตา อีกทัง้ คน
ในกลุ่มตระกูลยังเปลีย่ นสถานะไปเป็ นคนอื่นทีเ่ ขาไม่คนุ้ เคย

ในทางกลับกันหลังจากทีเ่ ขาเป็ น “ม้าขี”่ พิธกี รรมและความเชื่อกลับมีความหมายต่อตัวตนของเขามากขึน้


เขาเชื่อว่าผีปู่ย่าของตระกูลเป็ นผู้เลือกเขาเป็ นร่างทรงและหลังจากที่เขาเปลี่ยนสถานภาพจากเด็กคนหนึ่งใน
ตระกูล กลายเป็ น “ม้าขี”่ ของผีปยู่ ่า ตัวตนของเขาก็เริม่ เด่นชัดขึน้ “ผมคิดว่าผีปยู่ ่าตัง้ ใจเลือกผมเป็ น “ม้าขี”่ จริง ๆ
นะ เพราะตัง้ แต่ผมเป็ นม้าขีม่ า ผมแคล้วคลาดจากอันตรายทุกครัง้ และไม่เคยเกิดเรื่องอะไรทีร่ า้ ยๆ กับผมเลย” เขา

172
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สะท้อนให้เห็นจากเรื่องเล่าของคนในตระกูลทีเ่ ขาได้รบั ฟั งมาว่า เมื่อผีปยู่่ าได้เลือกบุคคลใดให้เป็ นม้าขี่ แล้ว การ


ปฏิเสธหรือบ่ายเบีย่ งเป็ นเรื่องทีก่ ระทาได้ยาก สิง่ ทีเ่ ขารับรูน้ ้ีเองทีผ่ เู้ ขียนวิเคราะห์ว่าเป็ นข้อกาหนดอย่างหนึ่งจาก
สังคมทีม่ ตี ่ออัตลักษณ์ของม้าขี่

ญาติผู้ใ หญ่ บ างท่ า นพยายามปฏิเ สธการเป็ น ม้า ขี่ และขอยืด เวลาในการท ารับ หน้ าที่น้ี
ออกไปเรื่อยหลายปี แต่สุดท้ายก็หนีไม่พน้ ผีปยู่ ่าจะทาให้มอี นั เป็ นไปต่าง ๆ เช่น บันดาลให้
เกิดเหตุการณ์ทน่ี อกเหนือการควบคุม เช่น การทาในสิง่ ทีต่ วั เองไม่รตู้ วั ไม่คาดคิดว่าจะทา
ราวกับมีใครมาดลใจให้ทาสิง่ นัน้ ก็เป็ นได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อนของผูเ้ ขียน ไม่ได้ปฏิเสธการเป็ นม้าขี่ ผูเ้ ขียนวิเคราะห์ว่า ช่วงวัยของการเป็ นม้าขีม่ ี
ผลต่อการตัดสินใจยอมรับหรือต่อต้านด้วย เนื่องจากตัวเขาเองอยู่ในช่วงอายุทเ่ี ป็ นรอยต่อระหว่างเด็กกับวัยรุ่น ยัง
ไม่ มีภ าระต้อ งรับ ผิด ชอบอย่ า งเต็ม ตัว การเป็ น ม้า ขี่ท่ีเ ข้า ใจว่ า ผีปู่ ย่ า เลือ กแล้ว เปรีย บได้ก ับ การถู ก หยิบ ยื่น
สถานภาพและบทบาทจากกลุ่มตระกูลซึง่ เขาไม่อาจปฏิเสธได้ ทาให้เขาค่อย ๆ ก่อร่างสร้างตัวตนขึน้ มาเพื่อปฏิบตั ิ
ไปตามความรับผิดชอบทีพ่ งึ กระทา เขาเล่าถึงอดีตของตัวเองว่า

ผมเป็ นม้าขีค่ รัง้ แรกตอนอายุ 12 ย่าง 13 ปี ก่อนหน้านัน้ ลุงผมทาหน้าทีม่ ้าขีอ่ ยู่จนกระทัง่


ลุ ง เสีย ชีวิต ผมจึง เข้า มารับ หน้ า ที่แ ทน ผมไม่ ไ ด้ ตัง้ ใจจะเป็ นเลย แต่ รู้ สึก ว่ า ตัว เอง
‘จาเป็ นต้องเป็ น’ เพราะมันมีอาการแปลก ๆ เกิดขึน้ กับผม
อาการแปลก ๆ ในทีน่ ้หี มายถึง ความรูส้ กึ ผิดปกติภายในตนเอง อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียว โกรธง่าย ไม่
พอใจสิง่ รอบตัว ทุกสิง่ ทุกอย่างดูขดั หูขดั ตาไปเสียหมด (อาจเป็ นเรื่องของการเปลีย่ นผ่านจากวัยเด็กสู่เข้าสู่วยั รุ่น)
เมื่อผูเ้ ขียนถามเกีย่ วกับชีวติ ของเพื่อนในช่วงระยะเวลานัน้ เขาเริม่ รูส้ กึ คล้ายกับไม่มนใจในความทรงจ
ั่ าของตนเอง
เพราะมีเหตุการณ์อะไรบางอย่างขัดกันอยู่ในความรูส้ กึ

ผมจาได้นะว่าผมเป็ นม้าขีต่ อนอายุ 12 ปี แต่ผใู้ หญ่ในบ้านบอกว่า โตกว่านี้ ซึง่ ก็แปลกใจอยู่


เพราะผมจาเหตุการณ์อ่นื ๆ ทีอ่ ยู่ในช่วงเวลานัน้ ได้ แต่เอาเข้าจริง ๆ ถึงผมจาได้ไม่ชดั เจน
แต่ผมก็ไม่อยากจะซักถามอะไร เหมือนลึก ๆ แล้วผมไม่อยากรูเ้ กีย่ วกับความทรงจาในช่วง
ตอนนัน้ หรือหลังจากนัน้
ความทรงจาของเขาอาจไม่ได้ตรงกับเป็ นความจริงของคนอื่น ๆ เสมอไป แต่กไ็ ม่สามารถบอกได้ว่าความ
ทรงจานัน้ โกหก หากบางครัง้ ก็อาจมีบางส่วนของความทรงจาที่ไม่จาเป็ นต้องตรงกับความจริงเสียทีเดียวนัก
“ความทรงจา” อาจมีสถานะเป็ นดังเครื่องส่งทอด "พันธกิจทางประวัตศิ าสตร์" บางประการ จากคนรุ่นหนึ่งมาสูค่ น
อีกรุ่น เป็ นเสมือนเครื่องบ่งชีว้ ่ามนุษย์เรามีหน้าทีห่ รือภารกิจบางอย่างทีร่ บั มอบมาจากคนรุ่นก่อนๆ2
การมีสายเลือดโดยตรงของสายตระกูล นับว่าเป็ นประการทีส่ าคัญทีส่ ุด สาหรับผูท้ จ่ี ะเป็ นม้าขีไ่ ด้ การจะ
เป็ น เพศชายหรือเพศหญิง หรือ มีช่ วงอายุ เ ท่ า ใด ประมาณใดนัน้ ไม่ ไ ด้มีข้อ ก าหนดไว้อ ย่ างชัด เจน จากการ
สัมภาษณ์ ทาให้ทราบว่าเพื่อนของผูเ้ ขียนนัน้ เป็ นม้าขีท่ ม่ี อี ายุน้อยทีส่ ุดเท่าทีเ่ คยมีมาในสายตระกูล หากก็มบี าง
สายตระกูลทีม่ า้ ขีอ่ าจมีอายุน้อยคือ 8-9 ปี กม็ ี นอกจากนี้เขายังเสริมอีกว่าสิง่ ทีส่ งั เกตคือ ม้าขี่ทุกคนในสายของเขา

2 วิวฒ
ั น์ เลิศวิวฒ
ั น์วงศา, “ผีความทรงจา” โดย คนมองหนัง, คอลัมน์นอกกระแส ใน มติชนสุดสัปดาห์ วันศุกร์ท่ี 22 มิถุนายน 2555 ปี ท่ี 32 ฉบับที่ 1662
หน้า 85

173
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

มักประกอบอาชีพเป็ นครูอาจารย์ หรือไม่กเ็ ป็ นพยาบาลทัง้ สิน้ ในงานเอกสารทางวิชาการเสนอว่า ม้าขีห่ ลายคน


ล้วนแต่มคี วามทรงจาที่มคี วามทุกข์เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็ นช่วงก่อนที่จะมาเป็ นคนทรง 3
หากกัลยาณมิตรของผูเ้ ขียนจัดว่าค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น ๆ เนื่องจากไม่ได้มอี าการเจ็บป่ วยประการใดก่อนที่
จะมาทาหน้าทีน่ ้ี ดังนัน้ ความคิดทีว่ ่าคนทรงจะต้องมีความเจ็บป่ วยทางร่างกายหรือทางจิตใจมาก่อนก็ไม่น่าจะเป็ น
สาเหตุสาคัญเสมอไป

ช่วงแรก ๆ ตอนทีผ่ มเป็ นวัยรุ่นและต้องเป็ นม้าขี่ ก็ยงั มีความอายผสมอยู่นะ ผสมกับความ


ไม่มนใจตรงที
ั่ ว่ ่ากลัว ผีปยู่ ่าจะทรงไม่จริง ลงไม่จริง ถ้าผีปยู่ ่าไม่ลงมาเข้าทรงจริง ๆ แล้วผม
จะต้องทายังไง ผมจะออกฟ้ อนไปยังไง แต่ ปัจจุบนั นี้ผมมีความรู้สกึ ว่ามันเป็ นเรื่องปกติ
ธรรมดามาก ๆ
คาตอบของเขา แสดงให้ผเู้ ขียนเห็นว่า ในหนแรกทีต่ ้องทาหน้าทีน่ ้ี เขาเองก็ไม่มนใจตั
ั ่ วเองเหมือนกันว่า
จะสามารถทาหน้าทีม่ า้ ขีไ่ ด้อย่างสมบูรณ์แบบหรือเปล่า อาจกล่าวได้ว่า สังคมความเชื่อของตระกูลและความเป็ น
ปั จเจกบุคคล บางครัง้ ก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ความรูส้ กึ เกีย่ วกับตัวตนของเราอาจพัฒนาขึน้ จากปฏิกริ ยิ า
ของตัวเราเองหรือคนรอบข้างทีม่ คี วามคิดเห็นของตัวเรา จากการทีเ่ ขาไม่มนใจในการเป็
ั่ นม้าขีใ่ นช่วงต้น แต่เมื่อ
ได้รบั การปฏิบตั จิ ากญาติมติ รในวงศ์ตระกูลว่าเขา “เป็ น” ม้าขี่ การได้รบั ความเชื่อมันในฐานะม้
่ าขี่ “ของ” ตระกูล
ช่วยสลายความกังวลทัง้ หลายให้หมดสิน้ ไปโดยปริยาย

วิธีการเข้าทรง
ในวันที่ประกอบพิธกี รรมฟ้ อนผีเขาจะตื่นเช้าและลงไปช่วยตระเตรียมงาน เมื่อเริม่ ใกล้เวลาพิธี ญาติ
ผูใ้ หญ่กจ็ ะเตือนให้ไปทานข้าวเช้า เพราะบางครัง้ เจ้าพ่อหรือผีปยู่่ าทีล่ งทรงอาจจะดื่มเหล้าด้วย หลังจากนัน้ จึงไป
อาบน้าและเปลีย่ นเสือ้ ผ้าเป็ นเสือ้ เชิต้ กางเกงสแล็ค ซึ่งเป็ นชุดประจาทีจ่ ะต้องแต่งเพื่อทาพิธกี รรมและเขาเองก็ตอ้ ง
แต่งกายเช่นนี้ตงั ้ แต่ทผ่ี ปี ยู่ ่าเริม่ “ลงย่าม้า” ในหนแรกการย่าม้า หมายถึง การลงทรงเป็ นครัง้ แรก คาว่า “ย่า” น่าจะ
หมายถึงการทีผ่ ปี ยู่ ่าหมายตัวไว้ ว่าจะเลือกและสรรแล้วว่าบุคคลนัน้ จะต้องเป็ น “ม้าขี”่
ตามปกติแล้ว คนทรงแทบทุกคนจะต้องมีการเตรียมตัวก่อนพิธกี รรมเสมอ เช่น ต้องมีการถือศีล หรือทา
สมาธิก่อนล่วงหน้า เขาเองก็มขี อ้ กาหนดทีต่ ้องปฏิบตั ติ ามและห้ามกระทาอยู่เหมือนกัน ก่อนวันงานพิธมี า้ ขีจ่ ะ
ห้า มกิน ไข่ทุ กชนิ ด ไม่ ว่ า จะเป็ นไข่เ ป็ ดหรือ ไข่ไก่ รวมถึง รายการอาหารที่ป ระกอบไปด้วยไข่ก็ห้า มกินทัง้ สิ้น
นอกจากไข่ แ ล้ว ยัง มีส ัต ว์บ างชนิ ด ก็ห้า มน ามารับ ประทาน เพราะเป็ น การผิด ครู บ าอาจารย์ข องเจ้า พ่ อ ถ้ า
รับประทานอาหารเหล่านี้จะมีผลต่อตัวของม้าขี่ และตัวของเจ้าพ่อ หรือผีปู่ย่าเอง โดยผลกระทบจะออกมาใน
ลักษณะของการทีเ่ จ้าพ่อไม่ลงทรง หรือลงทรงแต่อยู่ไม่นาน และเมื่อถึงเวลาทีผ่ ปี ยู่ ่าจะลงทรง เจ้าพ่อหรือเจ้าพีอ่ งค์
ต่ าง ๆ จึงจะค่อย ๆ เลือกเครื่องแต่งกาย ผ้านุ่ งที่ทาจากผ้าฝ้ ายหรือผ้าไหม และเครื่องประดับเอง โดยมีเหล่า
ลูกหลานทีจ่ ะช่วยจัดเตรียมเครื่องแต่งกายทีม่ า้ ขีจ่ ะสวมใส่ขณะฟ้ อนราให้พร้อม ด้วยการนามาจัดเรียงไว้อย่างมี
ระเบียบเรียบร้อย
ก่อนทีผ่ ปี ยู่่ าจะลงทรง ความรูส้ กึ สุดท้ายของคนเหล่านี้จะเป็ นอย่างไร ผูเ้ ขียนสัมผัสได้แค่สงิ่ ทีเ่ ห็นเพียง
ภายนอกว่า คนทีเ่ ป็ นร่างทรงจะต้องนัง่ ไม่ตดิ ที่ ร่างกายสัน่ บ้างลุกขึน้ กระทืบเท้าชีม้ อื ชีไ้ ม้ พูดจาเป็ นเสีย งคนอื่น
หลังจากนัน้ พฤติกรรมต่าง ๆ ก็จะเปลีย่ นไปจากเดิม ซึง่ ตลอดระยะเวลาทีผ่ ่านมานัน้ ผูเ้ ขียนมองว่าการทรงเจ้าเป็ น

3 รัฐประหาร-ร่างทรง ถึงวีรบุรุษในประวัตศิ าสตร์ไทย. ศิลปวัฒนธรรม 3 มกราคม 2559. หน้า 115-116

174
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เรื่องทีน่ ่ ากลัวและแอบมีความคลางแคลงใจอยู่ว่ามีความเป็ นจริงมากน้อยเพียงใด แต่จากเรื่องที่ มติ รผูส้ นิทของ


ผูเ้ ขียนเล่าพบว่า การลงทรงมีได้หลากหลายวิธี มิได้ตดิ อยู่แค่ลกั ษณะอาการดังทีก่ ล่าวไปข้างต้น การลงทรงม้าขี่
อาจจะมีทงั ้ แบบทีล่ งอย่างนุ่มนวล หรือทิง้ เนื้อทิง้ ตัวจนคนใกล้ชดิ รับร่างของม้าขีแ่ ทบไม่ทนั
จากการสอบถามของผูเ้ ขียนด้วยความใคร่รู้ เขาจึงระลึกถึงนาทีทผ่ี ปี ยู่ ่าลงให้ฟังว่า “เบา ๆ สบาย ๆ ครับ
ซึ่งสายตระกูลของผมก่อนทีผ่ ปี ยู่่ าจะลงมักจะหาวก่อนเสมอ แม่ผม ลุงผมก็หาวทุกคน หลังจากนัน้ ก็จะรูส้ กึ ว่าง
เปล่า คล้าย ๆ กับการนอนหลับแล้วฝั น เพียงแต่ต่างกันตรงทีต่ ่นื มาแล้วเหนื่อย หิว แล้วก็ไม่แน่ใจว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้
นัน้ เป็ นความจาของผมหรือความทรงจาของใครกันแน่”
เรื่องเล่าของเขาสะท้อนให้เห็นว่า เขาไม่อาจจดจาเรื่องราวในขณะทีเ่ ป็ นม้าขีไ่ ด้เลย ทุกเรื่องราวทีจ่ ดจา
ได้ ล้วนมาจากคาบอกเล่าของญาติพน่ี ้องทีอ่ ยูร่ อบตัว อาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งของความทรงจาในการเป็ นม้าขีข่ อง
เขา เกิดจากวาทกรรมของคนในวงศ์ตระกูลทีห่ ยิบยื่นภาพตัวแทนของการเป็ นม้าขีม่ าให้ และจัดได้ว่าเป็ นกลไก
การสร้างตัวตนอันสาคัญทีป่ ลูกฝั งลงในตัวของเขาอีกวิธหี นึ่ง
ผูเ้ ขียนเคยอ่านหนังสือ4 ทีว่ ่าด้วยการทรงหรือเกีย่ วกับร่างทรงว่า แม้จะเป็ นในต่างประเทศหรือในประเทศ
ต่างก็มกี ารจดบันทึกไว้ว่า คนทีถ่ ูกทรงจะมีความรูส้ กึ ทีแ่ ตกต่างกันไป เช่น ทรงแล้วรูต้ วั ว่าตนเองกาลังทาอะไรอยู่
ทรงแล้วรู้สกึ เหมือนถูกสังให้
่ ทาอะไรบางอย่างที่ตนเองไม่สามารถบ่ายเบีย่ งได้หรือทรงแล้วไม่รู้สกึ ตัวเลยว่าเกิด
อะไรขึน้ บ้าง

เวลาผมเป็ นม้าขี่ แล้วผีปยู่่ าลงทรง ผมมีแทบทุกลักษณะที่กล่าวเลย มันมีระดับของมันอยู่


ช่วงแรกๆ จะเห็นและรู้สกึ แทบทุกอย่าง แต่ทาอะไรไม่ได้ ไม่เป็ นตัวของตัวเอง รู้แต่ว่า
ต้องทาไปอย่างทีค่ วรจะทา โดยทีต่ วั เองไม่ได้คดิ ส่วนใหญ่จะกระโดดไปแบบทีส่ ามเลย คือ
ไม่รสู้ กึ ตัวเลยว่าผมทาอะไรลงไปบ้าง
ในกรณีของคนอื่น ๆ ทีเ่ ข้าทรง เพื่อนผูเ้ ขียนให้ความเห็นว่า เป็ นไปได้ทบ่ี างครัง้ ผีปยู่่ าไม่ได้มาเข้าทรง
แต่มา้ ขีเ่ ปลีย่ นเครื่องแต่งกายแล้วเข้ามาฟ้ อนในพิธกี รรมเพียงอย่างเดียว สังเกตได้ว่าม้าขีผ่ นู้ นั ้ จะไม่ทกั ทายใคร
ไม่ด่มื ไม่กนิ แต่กย็ งั คงปฏิบตั ติ ามขัน้ ตอนของพิธี บางครัง้ ผีปยู่ ่าก็จะมาทรงตอนทีฟ่ ้ อนราในพิธกี รรม บางทีกไ็ ม่มี
การทรงม้าขีเ่ พียงฟ้ อนราถวายเท่านัน้

การเลิกเป็นม้าขี่
ส่วนใหญ่ผทู้ ไ่ี ด้รบั เลือกให้เป็ นม้าขีแ่ ล้วจะต้องทาหน้าทีอ่ นั สาคัญนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนอายุมากไม่สามารถที่
จะทาหน้าทีน่ ้ีได้ หรือมีปัญหาเกีย่ วกับสุขภาพ และอย่างสุดท้ายคือเสียชีวติ แต่อย่างไรก็ตามจากคาบอกเล่าของ
เพื่อนผูเ้ ขียน ทาให้ทราบว่าการตัดสินของตัวม้าขีเ่ องทีค่ ดิ ว่าตนเองมีพฤติกรรมไม่ดี ไม่เหมาะสมนัน้ ไม่ได้มผี ลต่อ
การคัดเลือกจากผีปยู่ ่าเลย การตัดสินใจของผีปยู่ ่าทีไ่ ด้ “เลือก” บุคคลผูน้ นั ้ ต่างหากทีส่ าคัญทีส่ ดุ “เป็ นม้าขีแ่ ล้วเลิก
ไม่ได้หรอกครับ ถ้าผีปยู่ ่าได้เลือกแล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่า ตัวม้าขีเ่ สียชีวติ หรืออายุมากจนไม่สามารถทาหน้าทีน่ ้ไี ด้”
ในสายตาของคนนอก (เช่นผู้เขียน) อาจมองพิธกี รรมพื้นบ้านบางพิธเี ป็ นสิง่ ที่เข้าถึงยาก หรือยากต่อ
ความเข้าใจ ดังเช่นพิธฟี ้ อนผีมด เพราะเป็ นเรื่องทีบ่ รรพบุรุษในอีกภพภูมจิ ะเดินทางมาพบหน้าญาติมติ รด้วยความ
ผูกพันกันทางเครือญาติและรับการบวงสรวงบูชาจากลูกหลานทีย่ งั คงอยู่เบือ้ งหลังในโลกมนุษย์ ซึง่ นับว่าเป็ นการ

4 ปนาพันธ์ นุ ตร์อาพัน. สัมภาษณ์จติ ด้วยวิญญาณ. สร้างสรรค์บุ๊คส์ จากัด. หน้า 107-108

175
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ติดต่อข้ามมิตริ ะหว่างโลกทีน่ ่าสนใจเป็ นอย่างยิง่ ม้าขีท่ ุกคนเมื่อผีปยู่ ่าลงแล้วจะแสดงบุคลิกลักษณะต่าง ๆ ของเจ้า


แต่ละองค์ออกมาให้เห็นบุคลิกภาพอย่างเด่นชัด เช่น แสดงความเป็ นเด็ก วิง่ เล่น กินขนมไปทัวงานพิ ่ ธี แสดงความ
เจ้าชู้ ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรีม่ วนโต ทีเ่ รียกกันว่า บุหรีข่ โ้ี ย ณ ช่วงเวลาประกอบพิธกี รรมม้าขีแ่ ต่จะไม่ได้เป็ นตัวของ
ตัวเองอีกต่อไป
เขาเองก็เป็ นดังนัน้ เช่นกัน เสือ้ ผ้าและการแต่งกายทีเ่ ปลีย่ นไปเวลาเข้าทรง ซึง่ คล้ายกับลักษณะการแต่ง
กายของชาวมอญ (เม็ง) ทีเ่ รียกกันว่า “ป้ าดกึง่ ตุ้มกึง่ ” (พาดครึง่ ห่มครึง่ ) อันประกอบด้วย ผ้าโสร่ง ผ้าคล้องคอ ผ้า
เคียนหัว ผ้าคาดเอว โดยสีสนั การแต่งกายของเขาก็จะแตกต่างกันไปตามผี ปยู่่ าทีล่ งทรง เช่น สีของผ้านุ่ งและสี
ของผ้าเคียนหัวจะต่างกัน บางองค์เป็ นสีชมพูสดใส หรือบางองค์อาจจะเป็ นลายตารางหมากรุกหลากหลายสีกไ็ ด้
ผูเ้ ขียนสังเกตถึงบุคลิกภาพทีเ่ ปลีย่ นไปของมิตรผูส้ นิท ใบหน้าของเขาเปลีย่ นไปบ้างเล็กน้อยในความคิด
ของผู้เขียน ดวงตามีประกายและดูทรงพลังตามแต่ลกั ษณะนิสยั ของผีปยู่่ าแต่ละองค์ บางองค์ดูดุดนั และน่ าเกรง
ขาม แต่บางองค์กม็ สี หี น้าผิดจากตัวตนเองจริงๆ ปกติแล้วเขาไม่ใช่ผชู้ ายทีส่ ูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าจัด พฤติกรรม
ต่างๆทีก่ ระทาออกมา เมื่อผีปยู่่ าลงทรง จึงเป็ นสิง่ ทีน่ ่ ามหัศจรรย์มากในสายตาของผูเ้ ขียน เพราะการกระทาสิง่ ที่
ไม่เคยทามาก่อน และยังทาด้วยกิรยิ าอาการที่คุ้นชิน เป็ นการยืนยันให้รู้ว่ามี “คนอีกคน” จากอีกมิติหนึ่งอยู่ใน
ตัวตนของคนคนหนึ่ง หากแต่อยู่ในมิติแห่งโลกปั จจุบนั การตัง้ คาถามว่าเขาเป็ นใคร หรือเขาตอบได้หรือไม่ว่า
ตัวตนของเขาเองเป็ นใคร คงไม่ใช่สงิ่ สาคัญเท่ากับสิง่ ทีเ่ ขาทาและเป็ น ณ เวลานัน้ แต่หากมองในมุมของตัวผูเ้ ขียน
ผู้เขียนกลับประเมินได้ว่ากัลยาณมิตรซึ่งทาหน้าที่เป็ น “ม้าขี”่ นัน้ จะมีการแสดงออกของอัตลักษณ์ในตัวตน ซึ่ง
ปรากฏได้ทงั ้ ขณะเวลาปกติและช่วงเวลาในพิธี อีกทัง้ ยังมีสภาวะก้ากึง่ กันจากปั จเจกบุคคลธรรมดากับม้าขีข่ องผี
ปู่ ย่าอีกด้วย

พิธีกรรมฟ้อนผีมดจำกมุ มมองของ “ม้ำขี่”


พิธีกรรมฟ้อนผีมด
ในมุมมองของม้าขี่ เรื่องเล่าเกี่ยวกับพิธกี รรมฟ้ อนผีมดนัน้ ล้วนมาจากความทรงจาในวัยเด็กและก่อ น
หน้าทีจ่ ะเป็ นม้าขีข่ องผีปยู่ ่า ซึง่ พบว่าความใกล้ชดิ ผูกพันกับพิธกี รรมและญาติผใู้ หญ่มสี ว่ นอย่างมากในการเลือกที่
จะเล่าและอธิบายด้วยความภาคภูมใิ จถึงพิธกี รรมซึง่ เกีย่ วพันกับกลุ่มของตนเอง ในลักษณะทีแ่ สดงออกมาให้เห็น
อย่างชัดเจนว่า “นี่เป็ นแบบของเรา” และ “นัน่ ไม่ใช่แบบของเรา” เรื่องเล่าเกีย่ วกับพิธกี รรมจึงเป็ นดังภาพสะท้
่ อน
ความทรงจาของม้าขีท่ ผ่ี ่านการคัดสรรแล้วว่าทัง้ หมดนี้คอื ความหมายของการประกอบพิธกี รรมทีเ่ ขาประเมินแล้ว
ว่ามีคุณค่าและความหมายอย่างมากต่อกลุ่มของเขา
ในความหมายของม้าขี่ พิธกี รรมฟ้ อนผีมด คือ การเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้กลับคืนสู่โลกเพื่อมาร่วม
สนุกสนานในงานทีล่ กู หลานจัดขึน้ ตอบแทนท่านทัง้ หลายทีใ่ ห้ความคุม้ ครอง ช่วยเหลือให้กจิ การงานต่าง ๆ สาเร็จ
ลุล่วง รวมถึงอาการป่ วยไข้ของลูกหลานให้หาย การทีผ่ ปี ยู่่ าจะลงมาร่วมงานได้ต้องอาศัยสื่อกลางเป็ นร่างทรงใน
บริบทของพิธกี รรมเพื่อร่วมฟ้ อนราและดาเนินพิธกี รรมเฉพาะของตระกูล ในการประกอบพิธกี รรมฟ้ อนผีมด ผีปยู่ ่า
จะถูกเชือ้ เชิญให้เข้าทรงม้าขีท่ ผ่ี ปี ยู่่ าได้เลือกไว้แล้ว ม้าขีข่ องผีปยู่่ าประจาตระกูลเปรียบเสมือนตัวแทนของผีปยู่ ่า
เป็ นอีกภาคหนึ่งของความศักดิสิ์ ทธิที์ ล่ กู หลานรับรูแ้ ละสัมผัสได้จากการเข้าเป็ นส่วนหนึ่งในพิธกี รรม นอกเหนือจาก
การฟ้ อนราในพิธกี รรมแล้วยังมีพธิ ที ผ่ี ปี ยู่ ่าดาเนินการผ่านม้าขีอ่ กี ซึง่ เป็ นการกระทาซ้า ๆ เช่นนี้มายาวนาน
พิธกี รรมฟ้ อนผีมดจะจัดขึน้ สองวัน วันแรกเรียกว่า วันข่าว หรือ วันป่ าวประกาศให้สายตระกูลและคนใน
บริเวณใกล้เคียงทราบว่าพืน้ ทีแ่ ห่งนี้กาลังจะประกอบพิธกี รรมตามประเพณี ในวันแรกมีพธิ กี รรมสาคัญทีเ่ รียกว่า
176
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การปั ดปลาแห้ง ในช่วงเริม่ ของพิธกี รรมตอนบ่ายซึง่ วันแรกจะใช้เวลาช่วงบ่ายไม่กช่ี วโมงก็


ั่ เป็ นอันเสร็จพิธี ในวันที่
สองเรียกว่า วันฟ้ อน เป็ นวันงานทีน่ อกเหนือจากผีปยู่ ่าของตระกูลแล้วยังเชิญกลุ่มตระกูลอื่น ๆ มาร่วมฟ้ อนราด้วย
วันฟ้ อนช่วงเวลาบ่ายโมงเป็ นต้นไปจะมีพธิ กี รรมและการละเล่นทีส่ าคัญ คือ พิธโี ต๊งฟ้ า จากนัน้ จะเป็ นการยิง
กระรอก ปั ดต่อปั ดแตน คล้องช้าง คล้องม้า และถ่อเรือถ่อแพเป็ นอย่างสุดท้าย เมื่อเสร็จสิน้ การละเล่นผีปยู่ ่าและ
ลูกหลานจะร่วมกันฟ้ อนราจากนัน้ ผีปยู่ ่าทีอ่ าวุโสสูงสุดจะให้พรลูกหลานเป็ นอันเสร็จสิน้ พิธกี รรมฟ้ อนผี

ความหมายของพิธกี รรม
ผีมด หรือ ผีปูย่า ในทัศนะของม้าขีเ่ ป็ นบุคคลทีล่ งมาเข้าทรงเพื่อประกอบพิธกี รรมซึง่ มีแต่เฉพาะผู้ อยู่ใน
สายตระกูลผีมดเท่านัน้ ทีจ่ ะทาได้ ม้าขีเ่ ชื่อว่าผีปยู่่ าของตนเป็ นมดผูม้ อี านาจเวทมนตร์ทส่ี ามารถประกอบพิธกี รรม
ซึง่ มนุษย์ไม่สามารถทาได้
พิธปี ั ดปลาแห้ง เป็ นการปั ดไล่เคราะห์รา้ ยให้ออกไปอย่าได้เข้ามาย่างกรายในพิธกี รรมด้วยการใช้ดาบ
ฟ้ อนราไปรอบ ๆ ถาดปลาแห้งซึง่ เป็ นตัวแทนของสิง่ ชัวร้ ่ ายเป็ นภัยต่อลูกหลาน มีแต่เพียงผีปยู่ ่าเท่านัน้ ทีจ่ ะจัดการ
กับสิง่ ร้าย ๆ ในส่วนของ พิธโี ต๊งฟ้ า เป็ นพิธเี กีย่ วกับการเดินทางออกไปขอฝนจากพระอินทร์ ซึง่ มีแต่เพียงผีปยู่่ า
เท่านัน้ ทีเ่ ดินทางไปถึงได้ ในพิธผี ปี ยู่่ าจะเดินทางนาเครื่องเซ่นสังเวยไปให้พระอินทร์เพื่อจะแลกกับฟ้ าฝน ทัง้ นี้ก็
เพื่อให้พชื พันธุธ์ ญ ั ญาหารสมบูรณ์ พิธนี ้เี ป็ นพิธพี เิ ศษทีม่ เี พียงแต่ผปี ยู่ ่าเท่านัน้ ทีส่ ามารถสือ่ สารกับพระอินทร์ได้
การละเล่นดังกล่าวนี้ ผีปยู่่ าจะแสดงให้ลูกหลานและผีสายตระกูลได้เห็นถึงความสามารถในการเอาชนะ
อุปสรรคต่าง ๆ ทีส่ มมติว่าเป็ นสัตว์ซง่ึ เป็ นตัวแทนของการขัดขวางและความวุ่นวาย เช่น กระรอก และนก ซึง่ จะ
เข้ามาทาลายพืชพันธุ์ หากมีจานวนมากผีปยู่่ าจะอาศัยชัน้ เชิงในการยิงธนูเพื่อจัดการกับอุปสรรคเหล่านี้ ในส่วน
ของการละเล่นนี้สะท้อนถึงการเดินทางเข้าป่ าล่าสัตว์ซง่ึ ท้ายทีส่ ดุ แล้วก็จะนาช้าง ม้ากลับมาใช้งาน เมื่อได้สตั ว์มาไว้
ใช้งานแล้ว ผีปยู่่ าจะไปช่วยลูกหลานให้กลับคืนสู่บา้ นจากการช่วยนาทางลูกหลานในการถ่อเรือถ่อแพซึง่ สมมติว่า
กาลังเดินทางกลับจากการค้าขายและต้องเจอมรสุมกาลังจะหมดลงเรื่อย ๆ แต่แล้วผีปยู่่ าก็ปรากฏตัวและชักลาก
ลูกหลานพร้อมทัง้ เรือแพให้กลับคืนสูว่ งศ์ตระกูลได้สาเร็จ
พิธกี รรมนัน้ มีความหมายแฝงมากมาย ในส่วนตัวของม้าขีน่ นั ้ รับรูไ้ ด้จากการกระทาซ้า ๆ ของผีปยู่ ่า ส่วน
ลูกหลานนัน้ อาจต้องอาศัยเวลาในการทาความเข้าใจ พิธกี รรมเป็ นดังเหมื ่ อนการย่นย่อวิถชี วี ติ ของมนุ ษย์เอาไว้ได้
เห็นว่า ในการดาเนินชีวติ ของลูกหลานนัน้ จะต้องมีทงั ้ ความสนุ กสนาน เคร่งเครียด อุปสรรค และผลสาเร็จคละ
เคล้ากันไป พิธกี รรมฟ้ อนผีมดจึงเป็ นวงจรสะท้อนความหมายของชีวติ ในวัฏฏะ พิธกี รรมอาจสอนให้เราได้รแู้ ละ
ยอมรับในทุกสิง่ ทีเ่ ข้ามาในชีวติ ดังทัศนะของโจเซฟ แคมพ์เบลล์ นักเทพปกรณัมศึกษาซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึง
ความหมายของการประกอบพิธกี รรมทีว่ ่า “[จง] ยอมรับในทุกสิง่ ทุกอย่างทีผ่ ่านเข้ามาในชีวติ ไม่ว่าจะเป็ นสิง่ ทีท่ า
ให้เราทุกข์หรือสุข ทาให้เรารุ่งโรจน์หรือตกต่า เพราะสิง่ เหล่านี้เป็ นนิรนั ดรผ่านเข้ามา คงอยู่ชวระยะเวลาหนึ
ั่ ่ง แล้ว
ก็จากไป เพื่อทีจ่ ะเวียนกลับมาอีก” (Joseph Campbell, อ้างถึงใน บารนี บุญทรง 2552, 29)

พิธีกรรมฟ้อนผีในบริบทสังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป


ในสภาพสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป พิธกี รรมฟ้ อนผีกม็ สี ่วนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้กบั สังคม
สมัยใหม่ทงั ้ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและนโยบายของรัฐ ที่เห็นชัดที่สุดก็น่าจะเป็ นเรื่องของเครื่อ ง
ประกอบพิธกี รรมกับจานวนคนเก่า ๆ ทีม่ าร่วมประกอบพิธกี รรมทีม่ จี านวนลดลงและมีกลุ่มคนหน้าใหม่ ๆ เพิม่ ขึน้

177
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ภายในพิธกี รรมทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื จานวนเงินทีต่ อ้ งนามาใช้จดั งานทีเ่ พิม่ ขึน้ จาก
เดิมมาก ซึง่ แต่เดิมพิธกี รรมฟ้ อนผีหากไม่ใช่เรื่องใหญ่โตก็จะไม่บนกับผีปยู่ ่าเพื่อให้มกี ารประกอบพิธกี รรม ทว่าใน
ปั จจุบนั การประกอบพิธกี รรมอาจไม่ได้ขน้ึ อยู่กบั การแก้บนอย่างเดียวบางครัง้ ลูกหลานในตระกูลก็มคี วามต้องการ
ทีจ่ ะจัดให้กบั ผีปยู่่ าของตนอยู่แล้ว ทีจ่ ดั ก็เพื่อให้ผปี ยู่่ าได้สนุ กสนานเชื่อว่าหากผีปู่ย่าพอใจความสุขสวัสดีจะมีแก่
วงศ์ตระกูล แต่ทว่าการจัดงานนัน้ ไม่ใช่เรื่องเล็กหากเป็ นสมัยก่อนคงช่วยกันคนละไม้ละมือได้เนื่องจากมีเวลาและ
กาลังทรัพย์ รวมถึงสิง่ ของทีส่ ามารถนามาช่วยในงาน เช่น ดอกไม้ มะพร้าว เนื้อสัตว์ เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ทัง้ นี้ขา้ ว
ของเครื่องใช้ดงั กล่าวในปั จจุบนั ต้องซือ้ หาทัง้ หมด การช่วยเหลือทีง่ ่ายที่ สุด คือ นาเงินมารวมกันแล้วไปซือ้ หาก
ราคาข้าวของผันผวนไปตามกลไกตลาดค่าใช้จ่ายก็จะสูงมากขึน้ เกือบ 30,000 บาท แต่ถงึ จะเป็ นเช่นนัน้ ลูกหลานก็
ไม่อาจละเลยไม่ประกอบพิธกี รรมได้ เมื่อทุกอย่างต้องซือ้ ขายหมด แม้กระทังแรงงานในการสร้ ่ างปะราพิธกี ใ็ ช้วธิ ี
ว่าจ้าง
ลูกหลานเองในปั จจุบนั จะมาร่วมงานเป็ นหลัก จะมีแต่ผชู้ านาญในพิธขี องตระกูลเท่านัน้ ทีล่ งมือปฏิบตั คิ น
อื่น ๆ จะมาดู มาชม มาหา ผีปยู่่ าจากนัน้ ก็ลากลับ ความเป็ นชุมชนบางอย่างทีเ่ คยมีอยู่นนั ้ ก็ได้มลายหายไปตาม
กาลเวลา ความสัมพันธ์ของคนก็เปลีย่ นไป แม้กระทังเรื ่ ่องราวทีม่ าขอให้ ผปี ยู่ ่าช่วยเหลือส่วนใหญ่กก็ ลับกลายเป็ น
เรื่องของความร่ ารวยทางวัตถุแทนทัง้ ที่สมัยก่อนจะเน้นไปที่เรื่องสุขภาพ การรักษาพยาบาล การอานวยพรให้
ค้าขายประสบความสาเร็จ และขอให้ท่านทัง้ หลายคุม้ ครองให้ปลอดภัยจากอันตรายและเคราะห์รา้ ยต่าง ๆ
ในส่วนของกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมประกอบพิธีกรรมก็มกี ารเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เป็ นผู้อาวุโสเคย
มาร่วมก็ลม้ หายตายจาก ไม่มคี นสืบทอดการเป็ นม้าขีบ่ า้ ง เลิกพิธไี ปบ้างก็มที าให้จานวนคนเก่าแก่ทเ่ี คยร่วมงาน
ด้วยกันมาแต่ก่อนหายไปจากพิธกี รรม หรือเมื่อมีการเปลีย่ นรุ่นลูกหลานก็ไม่ได้ตดิ ต่อสัมพันธ์ก ันอีกต่างคนต่างอยู่
ต่างไม่สนใจความเป็ นไปของกันและกัน ทีน่ ่าสนใจก็คอื การเพิม่ ขึน้ ของกลุ่มเพศทีส่ ามทีผ่ นั ตัวเองมาเป็ น “ม้าขี”่ ใน
พิธกี รรมฟ้ อนผีมากขึน้ ในบริบทสังคมสมัยใหม่ซง่ึ ส่วนใหญ่จะเป็ น “ม้าขี”่ ของผีเจ้านายทีม่ าร่วมงานมากกว่าจะเป็ น
ผีปยู่่ าตามสายตระกูล การเข้ามาสู่พน้ื ทีพ่ ธิ กี รรมมากขึน้ สะท้อนให้เห็นแง่มุมบางอย่างของการเปลีย่ นแปลงทาง
สังคมวัฒนธรรม ผูเ้ ขียนคงไม่อาจมองในเรื่องของโอกาสในการหาพืน้ ทีท่ างสังคมเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ว่าจะ
เป็ นเพศใดก็สามารถหาโอกาสจากพืน้ ทีท่ างสังคมในพิธกี รรมได้หากต้องการผลประโยชน์แอบแฝง หากจะกล่าว
แต่เพียงพิธกี รรมฟ้ อนผีมด ผูเ้ ขียนยังคงพบว่าเพศหญิงยังคงสืบทอดการเป็ นม้าขี่ เพียงแต่ในกรณีศกึ ษานี้เป็ นส่วน
น้อยในสายตระกูลทีช่ ายจะถูกเลือกเป็ นม้าขี่

กำรเป็น “ม้ำขี่” ในบริบทสังคมสมัยใหม่


เมื่อพิจารณากันอย่างแท้จริงแล้ว การทีส่ งั คมเปลีย่ น มีผลทาให้การประกอบพิธกี รรมเปลีย่ นไป ผูท้ ท่ี า
หน้าทีเ่ ชื่อมโยงเช่นม้าขี่ ก็ย่อมต้องมีการดาเนินชีวติ ทีต่ ่างไปจากเดิมด้วย คนทีอ่ ยู่ในสังคมสมัยใหม่อาจมีการตัง้
คาถามเกีย่ วกับ การเป็ น “ร่างทรง” หรือ “การเข้าทรง” ว่าเป็ นสิง่ ทีน่ ่ าเชื่อถือน่ ายอมรับหรือไม่ ดังนัน้ การดาเนิน
ชีวติ ทีห่ ล่อหลอมไปด้วยความเชื่อแบบสังคมคนทรง การต้องปฏิบตั หิ น้าทีข่ องสายตระกูลและมีสว่ นร่วมสาคัญใน
งานพิธกี รรมทีย่ ากต่อการอธิบายให้สงั คมภายนอกรับรูค้ วบคู่ไปกับการต้องมาใช้ชวี ติ อยู่ท่ามกลางสังคมสมัยใหม่
ในเมืองหลวง ย่อมเป็ นสิง่ ที่ต้องมีการปรับตัว และสวมบทบาทต่างๆ ตามตาแหน่ งแห่งที่ท่อี าศัยอยู่ เปรียบได้
เสมือนกับเหรียญซึง่ มีสองด้านหากมีการพลิกกลับสลับไปมาเพื่อทาหน้าทีอ่ นั พึงมี จากงานวิ จ ัย การเข้ า ทรง
ของหมู่บา้ นหนองขาว โดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ และคณะ (2543, 271-311) ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่ร่างทรงจะมี
ความเชื่อเป็ นพืน้ ฐานอยู่แล้วว่า การเป็ นร่างทรงนัน้ ทาให้ตวั ของร่างทรงมีฐานะสูงขึน้ กว่าเดิม คือมีฐานะสูงกว่าคน

178
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สามัญธรรมดา เนื่องจากร่างทรงมีเจ้าอยู่ดว้ ย วิถชี วี ติ ของร่างทรงจึงต้องแตกต่างไปจากคนธรรมดาสามัญ ผูเ้ ขียน


สรุปความแตกต่างทีพ่ บจากการสนทนากับตัวของม้าขีเ่ ป็ นด้าน ๆ ดังนี้

การปฏิบั ิ นในชี วิ ประจาวัน


ผู้เ ขีย นเห็น ว่ า การดารงอยู่ข องผีปู่ ย่ า เป็ น เรื่อ งของการสร้า งขวัญ และก าลัง ใจเป็ น สาคัญ ผีปู่ ย่ า คือ
สัญลักษณ์ของความอบอุ่นใจของคนในสายตระกูล ไม่ว่าชีวติ จะดาเนินไปทางใด ตัวของม้าขีเ่ องก็รสู้ กึ ถึงความมี
อยู่ของผีปยู่่ า ซึง่ อาจจะมาในรูปแบบของการดลใจ ให้กระทา หรือเลือกทาสิง่ นัน้ สิง่ นี้แล้วชีวติ จะดีขน้ึ แต่อย่างไรก็
ตาม การเลือกเส้นทางเดินในชีวติ ก็อยู่ภายใต้การตัดสินใจทีเ่ ป็ นปั จเจกของแต่ละบุคคลอยู่ดี

ตามปกติ ผีปู่ย่าจะไม่เข้ามาก้าวก่ายการดาเนินชีวติ นะครับ เพราะการดาเนินชีวติ เป็ นวิ ถี


ของแต่ละคน เป็ นเรื่องส่วนตัว แต่ในบางเรื่องทีผ่ ปี ยู่่ าต้องการให้เราทา นัน่ หมายถึง ถ้าทา
แล้วชีวติ จะดีขน้ึ จึงเข้ามาดลใจให้เราทา ว่ากันตามจริงแล้ว ทัง้ การดาเนินชีวติ และความ
ประสงค์ของผีปยู่ ่าเป็ นเรื่องคนละส่วนกันนะครับ มันไม่จาเป็ นจะต้องสอดคล้องหรือเป็ น ไป
ในแนวทางเดียวกันก็ได้ เรามีเจตจานงทีเ่ ป็ นอิสระ จริงอยู่ทบ่ี างครัง้ เราอาจจะต้องการคา
ชี้แนะจากผีปู่ย่าบ้างเหมือนกัน แต่ นัน่ ก็ไม่ใช่หมายความว่า การดาเนินชีวิตนัน้ จะต้อง
เป็ นไปตามแนวทางทีท่ ่านต้องการเสมอไป
ส่วนในเรื่องการดูแลตัวเองหรือรักษาศีล ซึง่ เป็ นเรื่องปกติของคนทรงทัวไปที
่ จ่ ะต้องมีการถือศีล ปฏิบตั ิ
ตนอยู่ในศีลในธรรม สวดมนต์ภาวนาบูชา และประพฤติตนเป็ นคนดี ถือศีล 5 หรือตัง้ อยู่บนพรหมวิหาร 4 มีความ
เมตตา กรุณา มุทติ า อุเบกขา

ผมไม่กนิ เนื้อสัตว์ในวันพระ นังสมาธิ


่ สวดมนต์ ทาบุญบ้าง ตามแต่โอกาสจะเอือ้ อานวย แต่
ที่ผมทามาตลอด คือ การภาวนาคาถาสัน้ ๆ ก็เหมือนกับการนึกถึงคาถาบทนัน้ ตามลม
หายใจเข้าออก ทาแค่น้แี หละครับ
นอกจากนี้เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าที่ต้องทาเพราะเป็ นการประคองสติตวั เองให้มนคง ั ่ ในโลก
ปั จจุบนั มีหลายสิง่ หลายอย่างที่ทาอาจทาให้สติไม่นิ่ง การเล่นกับ ลมหายใจตัวเองเป็ นเรื่องที่พึงกระทา เพราะ
ก่อให้เกิดความสงบซึง่ น่ าจะเป็ นสิง่ ทีด่ ที ส่ี ุด อีกทัง้ ยังเป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ทิ ท่ี ากันมานาน การทาสมาธิจงึ เสมือน
กับเป็ นการหยอดน้ ามันประตู เพื่อให้ผปี ยู่่ าเปิ ด -ปิ ดประตูเข้ามาในร่างม้าขีเ่ ช่นเขาได้อย่างสะดวกมากขึน้ ดังนั น้
การนัง่ สมาธิอาจเป็ นสิง่ ที่ดีสาหรับการเป็ นม้าขี่ในทางอ้อม อย่างน้ อยก็ทาให้จิตนิ่งขึ้น ร่างว่างเปล่าได้ไ วขึ้น
นอกจากนี้ การทาสมาธิยงั ทาให้เราสามารถควบคุมการลงมาทรงของผีปยู่่ าได้ เพราะบางครัง้ การลงทรงของเจ้า
หลายๆองค์ อาจทาให้มา้ ขีเ่ กิดความสับสน และไม่สามารถสลัดความเป็ นตัวตนของเจ้าแต่ละองค์ได้อย่างทันท่วงที
และเขายังได้ให้ขอ้ มูลเพิม่ อีกว่า ถ้าเป็ นเช่นนัน้ บ่อยๆ ม้าขีม่ โี อกาสทีจ่ ะเป็ น “ผีบ้า” ได้เหมือนกัน แต่ทงั ้ หมดทัง้
มวลนัน้ ก็ขน้ึ อยู่กบั พลังอานาจของผีปยู่ ่าด้วย มิใช่แค่เพียงสมาธิแต่เพียงฝ่ ายเดียว

ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับผู ้อนื่
พืชผักบางอย่างก็มขี อ้ กาหนดไม่ให้มา้ ขีท่ าน ด้วยเชื่อกันว่า เป็ นพืชทีด่ ดู อานาจบางอย่างในตัวซึง่ นันก็
่ คอื
ผีปยู่ ่าทีค่ มุ้ ครองตนนันเอง
่ “แต่ถา้ บังเอิญทานโดยไม่รตู้ วั หรือเข้าใจผิดก็จะออกอาการ เช่น ท้องเสียโดยไม่รสู้ าเหตุ
เท่านัน้ ครับ” และเมื่อการวางตัวในกลุ่มเพื่อน รวมไปถึงวิถกี ารเล่นปกติต้องมีการเปลีย่ นแปลง และต้องระมัดระวัง
ตัวเพิม่ ขึน้

179
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ความแปลกแยกมันเกิดตัง้ แต่วนั แรกที่ผมก้าวเข้ามาทาหน้าที่น้ีแล้วล่ะครับ เพราะมีขอ้


ปฏิบตั ิหลายข้อทีพ่ ่อกับแม่บอกและกาชับเอาไว้ เช่น ไม่ให้คนเล่นหัว ซึ่งข้อนี้ดูจะลาบาก
และยุ่งยากนะสาหรับผม เพราะช่วงนัน้ ผมกาลังจะเป็ นวัยรุ่น ในกลุ่มเพื่อนผู้ชาย การ
ทักทายตบหัวเป็ นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ งยาก หรือไม่ให้กนิ ของเหลือจากคนอื่น เช่น ของเซ่นไหว้
จากงานพิธกี รรมต่างๆ รวมไปถึงอาหารทีป่ รุงด้วยฟั ก
เขาจึงตัดสินใจไม่บอกเพื่อนถึงหน้าทีอ่ นั สาคัญทีต่ นเองได้รบั มอบหมายจากสายตระกูล

ส่วนใหญ่เลือกทีจ่ ะไม่บอกเพื่อน เพราะอายด้วย และกลัวความยุ่งยากจะตามมา แน่ นอน


เลยความอยากรู้อยากเห็นของเพื่อนต้องมีแน่ นอน นอกจากนัน้ ...ผมว่ามันยังไม่มคี วาม
จาเป็ นต้องบอกนะ เพราะมันเป็ นคนละส่วน คนละเรื่อ งกัน คนละมิติกนั ยิ่งตอนนี้ ชีวิต
ปั จจุบนั นี้ผมยิง่ ไม่ค่อยบอก ผีปยู่่ าอยู่ส่วนหนึ่ง ตัวเราอยู่ส่วนหนึ่ง มีการดาเนินชีวติ ทีแ่ ยก
จากกัน ผมสามารถแยกแยะออกจากกันได้
การรวบรวมความคิดและภาพลักษณ์ทม่ี ตี ่อตนเองมาประเมินลักษณะทีต่ วั เองเป็ นอยู่ได้ และตระหนักถึง
ความแตกต่างของตนเองจากผูอ้ ่นื และสามารถให้นิยามทีช่ ดั เจนได้ว่า เราเป็ นใคร อะไรทีเ่ ราต้องการเป็ น ทัง้ ยังคง
ดาเนินความสัมพันธ์ร่วมกับผูอ้ ่นื ทีอ่ ยู่แวดล้อมเราได้ ซึง่ สุดท้ายคือการนาอันเป็ นอัตลักษณ์ของตัวของเขาเอง

ผมก็ถอื ว่าโชคดี ทีผ่ มเลือกเรียนในศาสตร์ทเ่ี กีย่ วข้องกับเรื่องพวกนี้ ดังนัน้ เพื่อนร่วมรุ่นโดย


เฉพาะทีเ่ รียนระดับมหาวิทยาลัยจึงเข้าใจเกีย่ วกับเรื่องพวกนี้ดี ทุก ๆ คนเข้าใจวิถขี องผม
และผมก็เชื่อว่าทีผ่ มได้อยู่ในทีด่ ี ๆ เช่นนี้ เพราะผมถูกผีปยู่ ่านาพาและจัดสรรไว้แล้วว่าจะได้
อยู่และพบแต่สงิ่ ดีๆในชีวติ นันเอง

คาตอบของเขาทาให้ผเู้ ขียนเริม่ เข้าใจแล้วว่า ผีปยู่่ าเกีย่ วข้องสัมพันธ์อยู่กบั วิถชี วี ติ ของชาวล้านนาอย่าง
สาคัญมากเพียงใด การมีสงิ่ ศักดิสิ์ ทธิที์ น่ ับเนื่องว่าเป็ นญาติมติ รทางจิตวิญญาณคอยดูแล ปกป้ องคุม้ ครองช่างเป็ น
ความรู้สกึ ที่ยงิ่ ใหญ่ อบอุ่นและผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง แม้ในชีวติ ของการทางาน จากเป็ นผู้ช่วยนักวิจยั อาจารย์
พิเศษ จนกระทังมาเป็ ่ นอาจารย์ประจาทีส่ ถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง เขาไม่เคยบอกเกี่ยวกับการเป็ นม้าขีใ่ ห้กบั
เพื่อนร่วมงานทราบ นอกจากพฤติกรรมส่วนตัวของตนเองที่ทาให้เพื่อน ๆ สงสัยและไต่ถามความเป็ นมา เช่น
ความสนใจในงานทีท่ าหรือการเลือกหนังสือทีเ่ ขาอ่าน นอกจากนัน้ ก็อาจจะมีขอ้ ห้ามบางประการ เช่น ในวันพระ
เขาจะไม่ทานเนื้อสัตว์ เพื่อนบางคนอาจมีความสนใจและซักถามเพิม่ เติม
การเป็ นม้าขีไ่ ม่ได้ทาให้การวางตัวและความสัมพันธ์ของเขากับกลุ่มเพื่อนผิดแผกไปจากปกติ แต่อาจจะ
เพิม่ เติมการใส่ใจของเพื่อน ๆ มากขึน้ ว่า อะไร สิง่ ไหน ทีอ่ ยู่ในกฎข้อห้ามหรือเป็ นสิง่ ทีไ่ ม่ควรปฏิบตั แิ ละจะไม่ชวน
ให้เขาทาสิง่ นัน้

สานึกใน วั นของม้าขี่
คนทรงมักมีปัญหาชีวติ ใช่หรือไม่? ส่วนใหญ่ร่างทรงมักจะปั ญหาชีวติ มาก่อน เช่น ไม่สบาย มีปัญหาทาง
เศรษฐกิจ ทางานหนัก ครอบครัวมีปัญหา วิกลจริต หรือแม้แต่เคยพยายามฆ่าตัวเองมาก่อน ต่อมาภายหลังเมื่อ
เป็ นร่างทรง ฐานะทางครอบครัวก็ดขี น้ึ มาก ปั ญหาครอบครัวก็เบาบางลง

180
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากงานวิจยั เรื่อง “ร่างทรง:บทบาทที่มตี ่อสังคมปั จจุบนั กรณีศกึ ษาที่อาเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา”


ของ นิภาวรรณ วิรชั นิภาวรรณ (2532, 116) กล่าวไว้ว่า ร่างทรงแต่ละคนมีจุดวิกฤติท่รี ้ายแรงในชีวติ มาก่อ น
ทัง้ นัน้ และการเป็ นร่างทรงนับว่าเป็ นทางออกอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาของตนเอง ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว
และสังคมเพราะเป็ นการยืนยันการมีตวั ตนและเป็ นทีย่ อมรับในสังคม ร่างทรงบางกลุ่มก็ใช้ความเชื่อของประชาชน
เป็ นฐานอานาจในการเรียกร้องหาอานาจวาสนาและวัตถุสงิ่ ของเงินทองต่าง ๆ

ม้า ขี่เ ป็ น ตัว แทนของตระกูล และผีปู่ ย่ า ก็เ ป็ น พลัง อ านาจที่มีไ ว้ใ ช้เ พื่อ ส่ว นรวม ไม่ อ าจ
นามาใช้เพื่อหาประโยชน์สว่ นตัวได้ในชีวติ ประจาวัน เรื่องเหล่านี้ไม่อาจบังคับให้ใครเชื่อและ
ไม่อาจไปดูถูกความเชื่อของใคร ทุกอย่างมีการวิวฒ ั น์พฒ
ั นาตัวเองให้เหมาะสมกับยุคสมัย
มันไม่ได้อยู่ทว่ี ่าเราเชื่ออะไร มันอยู่ทว่ี ่าเราเชื่ออย่างไรต่างหาก
แต่ทว่าในกรณีของกัลยาณมิตรของผูเ้ ขียนนัน้ ดูจะแตกต่างจากข้อมูลดังกล่าว เพราะเขาไม่ได้มปี ั ญหา
ชีวิตมาก่อน สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีการศึกษาและหน้ าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบมันคง ่ เรียกได้ว่า ความ
เป็ นไปในชีวติ ของเขาอยู่ห่างไกลจากผูท้ เ่ี ป็ นคนทรงคนอื่น ๆ ทีป่ รากฎในสือ่ หรือตามข่าวในหนังสือพิมพ์
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทัศนะของเพื่อนผู้เขียนที่สะท้อนออกมา ผ่า นการคัดสรรแล้วในการนาเสนอ
เขาเลือกทีจ่ ะบอกตัวเองและคนอื่นว่า การเป็ นหรือไม่เป็ นม้าขีน่ นั ้ ถูกกาหนดมาแล้ว เขาไม่ได้อยากหรือปรารถนาที่
จะเป็ น บทบาทหน้าทีข่ องเขาจึงเป็ นไปเพื่อกลุ่มตระกูล เพื่อประโยชน์สว่ นรวม ดังนัน้ ในขณะทีเ่ ขาเป็ นตัวเอง เขาก็
เป็ นม้าขีด่ ว้ ย ตัวตนของเขาเลื่อนไหลไปตามสถานการณ์แวดล้อมที่เปลีย่ นไป เมื่อถึงเวลาทีเ่ หมาะสมตัวตนม้าขี่
ของเขาจึงจะปรากฏเพื่ออธิบายให้คนรอบข้างเข้าใจถึงการปฏิบตั ติ นทีต่ ่างออกไป

“ตัวตน” ของม้ำขี่: ควำมทรงจำนอกตัวอักษรที่มีควำมหมำยต่อพิธีกรรม


ความทรงจาร่วมในพิธกี รรมผ่านการเล่าเรื่องล้วนแสดงให้เห็นถึงความต้องการสร้างความมันใจและมี

กาลังใจในการดาเนินชีวติ เรื่องราวของพิธกี รรมยังสามารถใช้เป็ นสัญลักษณ์ตวั แทนต่าง ๆ เพื่อแสดงออกถึงพลัง
ความสัมพันธ์อนั แนบแน่ น ความศรัทธา และความผูกพัน ที่ซ่อนเร้นในจิตใจและวิถีชวี ิตนัน้ ให้มคี วามชัด เจน
สามารถจับต้องได้ จนเป็ นทีย่ อมรับนับตัง้ แต่ระดับปั จเจกบุคคลจนถึงระดับสังคม
ทุกวันนี้แม้ว่าวิถีชวี ติ ในหลายด้านจะปรับเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของสังคมเพียงใดก็ตาม แต่ ความ
เป็ นไปและตัวตนของ”ม้าขี”่ ในพิธกี รรมจะยังดารงคงอยู่อกี นานเท่านาน ตราบใดที่ “ม้าขี”่ ยังเป็ นเสมือนบุคคล
ผูส้ ร้างความเชื่อมโยงระหว่างภพภูมใิ ห้แก่ลูกหลานซึง่ นัน่ เป็ นประสบการณ์ตรงเป็ นเรื่องของจิตล้วน ๆ หาใช่เรื่อง
งมงายไม่เ หมือ นที่โจเซฟ แคมพ์เ บลล์ (อ้า งถึง ใน บารนี บุ ญ ทรง 2552, 441) กล่ า วไว้ว่า “ใครก็ต ามที่เคยมี
ประสบการณ์ของความเร้นลับ จะรู้ว่ามีมิติแห่งจักรวาลมิตหิ นึ่ง ซึ่งไม่ใช่มติ ทิ ่กี ายอินทรียข์ องเขาหลุดเข้าไปได้ ”
มิตแิ ห่งนัน้ ย่อมไปถึงไม่ได้หากขาดผูเ้ ชื่อมโยง

ความเชื่อ หากมันนาไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณโดยไม่เบียดเบียนใครก็นับว่าเป็ นเรื่องดี


ต้องหัดใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างถีถ่ ว้ น หากมันเหมาะกับจริตของเราก็นบั ว่าเป็ นทีพ่ ง่ึ ได้ การ
พัฒนาจิตวิญญาณไม่ตอ้ งเสียเงินหรอก เพียงแค่รจู้ กั นิ่ง อดทน ฝึกฝน ใจกว้างและต้องหมัน่
แสวงหาความรูอ้ ยู่เสมอทัง้ ฟั งมาก อ่านมาก คิดทบทวนให้มากแล้วมันจะรูไ้ ด้เอง พิธกี รรม
นัน้ เป็ น เรื่อ งของจิต วิญ ญาณที่ต้อ งวิว ัฒ น์ ไ ปเรื่อ ย ๆ ผมก็ต้อ งพัฒ นาตัว เองในด้า นจิต
วิญญาณ โดยมีผปี ยู่่ าเป็ นผูน้ าทาง การหาประโยชน์ทางวัตถุ หวังลาภยศ สักการะ อานาจ

181
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

วาสนานัน้ ไม่ใช่วสิ ยั ทีผ่ ปี ยู่ ่าสอน จิตวิญญาณก็ไม่เคยต้องใช้ของเหล่านี้หล่อเลีย้ งและทีท่ ผ่ี ม


จะไปหลังจากชีวติ นี้กไ็ ม่จาเป็ นต้องใช้ดว้ ยเช่นกัน
พิธกี รรมมีความหมายต่อม้าขี่ ในด้านหนึ่งม้าขีม่ คี วามสาคัญต่อพิธกี รรมในฐานะผู้เป็ นสื่อกลางในการ
เชื่อมโยงระหว่างผีปยู่ ่าและคนในตระกูล ม้าขีเ่ ป็ นสถานภาพทีม่ คี วามทรงจาร่วมของกลุ่มตระกูลอยู่เบือ้ งหลัง การ
ที่เด็กคนหนึ่งในตระกูลกลายมาเป็ นม้าขี่ ทาให้ตวั ตนเล็ก ๆ ถูกหล่อหลอมด้วยบุคลิกภาพทีค่ นอื่น ๆ ในตระกูล
มอบให้ จากเดิมทีเ่ คยสันโดษปลีกตัวเองไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่สนใจใคร่รใู้ นพิธกี รรม การเปลีย่ นสถานะเป็ นม้าขี่
ซึง่ เป็ นอัตลักษณ์ทางสังคม ได้ทบั ซ้อนตัวตนเดิมทาให้ไม่อาจเป็ นตัวของตัวเองอีกต่อไป อัตลักษณ์กบั ตัวตนนี้ไม่
ขัดแย้งกันแต่กลับเกือ้ หนุนกันเป็ นอย่างดี จากความว่างเปล่าจึงถูกเติมเต็มอย่างมีความหมาย ทัง้ ๆ ทีร่ วู้ ่าการเป็ น
ม้าขี่ทาให้ชีวติ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพราะอยู่ในความคาดหวังของกลุ่มตระกูล อิทธิพลจากความทรงจาใน
พิธกี รรมและการศึกษาได้หลอมบุคลิกภาพของการเป็ น “ม้าขี”่ ให้เข้ากับตัวตนของเขา แม้จะไม่ทบั ซ้อนกันสนิทดี
แต่เขาก็สามารถแยกแยะการนาเสนอตัวตนของเขาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทีเ่ ป็ นจริงทางสังคม
จะเห็นได้ว่ากัลยาณมิตรของผูเ้ ขียนซึง่ ทาหน้าทีเ่ ป็ น “ม้าขี”่ ในพิธกี รรมฟ้ อนผี ไม่ได้มพี ฤติกรรมตามแบบ
ฉบับของคนทรงตามทีผ่ เู้ ขียนเข้าใจ หากแท้จริงแล้ว วิถคี วามเป็ นปั จเจกบุคคลของเขาทีป่ รากฏให้เห็นก็ยงั คงเป็ น
การดาเนินชีวติ ตามปกติ มีการทางานร่วมกันกับผูอ้ ่นื ในสังคมได้อย่างไม่มคี วามแปลกแยก ซึง่ เขาก็ได้เน้นย้าไว้
แล้วว่าการดาเนินชีวติ และการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ห้ผปี ยู่่ า เป็ นเรื่องคนละส่วนกัน ตัวตนของผูเ้ ป็ นม้าขีอ่ ย่างเขาเองมี
เจตจานงที่เป็ นอิสระตามที่ควรจะเป็ น จริงอยู่ท่ตี ัวม้าขี่อาจมีอตั ลักษณ์ ทางสังคม ที่ผู้อ่นื ในสายตระกูลเป็ นผู้
กาหนดให้ หากแต่ ตัวตนแท้จริง อันเป็ นแก่นหรือเป็ นปั จเจกบุคคลของม้าขี่ ก็ยงั สามารถคงไว้ซ่งึ ความเป็ น
อัตลักษณ์สว่ นบุคคลได้ แม้อาจมีความต่างแฝงอยู่

บทสรุ ป
พิธกี รรมฟ้ อนผีไม่ได้เป็ นพิธกี รรมที่ไร้ความหมายหรือมีลกั ษณะที่เป็ นแค่พธิ กี รรมที่ต้องปฏิบตั ิกนั สืบ
ต่อมาตามขนบเท่านัน้ หากเป็ นพิธกี รรมทีแ่ สดงความเคารพ ศรัทธาต่อบรรพบุรุษทีเ่ ปี่ ยมไปด้วยพลังของความ
ผูกพันกันทางจิตวิญญาณ เป็ นพลังอันสาคัญที่ห ล่อเลี้ยงประคับประคองและอยู่เคียงข้างตัวตนของม้าขี่ หรือ
ลูกหลานทุกคน จนสามารถประเมินได้ถงึ ความมีคุณค่าและความหมายอย่างมากต่อญาติพน่ี ้องร่วมสายตระกูล แต่
ทัง้ นี้ทงั ้ นัน้ ผีปู่ย่าก็ไม่ได้ก้าวก่ายตัวตนของปั จเจกแต่ละบุคคลเสียทีเดียว ผีปู่ย่ายังคงให้ลูกหลานดาเนินชีวติ ไป
ตามครรลอง แต่กค็ อยเป็ นหลักทีพ่ ง่ึ พิงของลูกหลานได้เสมอในยามลาบาก
ตัวตนของ “ม้าขี”่ จะเด่นชัดก็ต่อเมื่อปรากฏตัวในพิธกี รรม ม้าขีเ่ ป็ นอัตลักษณ์ทางสังคมทีร่ บั รูใ้ นเฉพาะ
กลุ่มตระกูลและคนทีใ่ กล้ชดิ เข้าใจในวัฒนธรรมของม้าขี่ การเป็ นม้าขีไ่ ม่อาจเป็ นได้โดยตลอดในความเป็ นจริงทาง
สังคมทีเ่ ลื่อนไหลไป ในสังคมขนาดเล็กทีด่ ารงอยู่ดว้ ยความเชื่อและพิธกี รรม กาหนดให้การเป็ นม้าขีถ่ ูกอ้างอิงกับ
พลังอานาจทีเ่ ชื่อมโยงกับผีปยู่ ่าอันกลายมาเป็ นความทรงจาร่วม สาหรับตัวของผูท้ าหน้าทีเ่ ป็ นม้าขีเ่ องจะได้รบั ได้
สัมผัสถึงพลังอานาจของผีปู่ย่าหรือไม่กเ็ ป็ นประสบการณ์ส่วนตัวของผูท้ เ่ี ป็ นม้าขีเ่ อง พลังอานาจของผีปยู่ ่าผ่านม้า
ขีเ่ ป็ นของส่วนรวมทีไ่ ม่อาจใช้เพื่อหาประโยชน์สว่ นตัว ความคาดหวังทีม่ ตี ่อม้าขีน่ ้จี งึ มีผลต่อการปฏิบตั ติ นของม้าขี่
ทัง้ ในและนอกพิธกี รรมในลักษณะทีว่ ่า ม้าขีต่ ้องเป็ นคนดี มีศลี ธรรมและเป็ นผูอ้ ุทศิ ตน อัตลักษณ์ทางสังคมจึงถูก
เชื่อมร้อยเข้ากับตัวตนของปั จเจกอย่างไม่อาจเลีย่ งได้

182
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ตามความเห็นผูเ้ ขียน ไม่ว่าจะเป็ นตัวตนของผูเ้ ป็ นม้าขี่ (ทีค่ วรจะเป็ น) หรือม้าขีใ่ นฐานะทีเ่ ป็ นอัตลักษณ์
ทางสังคม ตัวตนและอัตลักษณ์ทงั ้ หมดทัง้ มวลล้วนเป็ นความคาดหวั งและความเชื่อทีห่ ล่อหลอมกันมาของสังคม
ซึ่งมันอาจจะเป็ นคนละเรื่องกับความเป็ นจริงที่เขาเป็ นอยู่ ดังที่เขาได้ท้งิ ท้ายไว้ว่า “สาหรับผมแล้ว ถ้าหากเรา
สามารถเชื่อมโยงกับพลังอานาจเหนือธรรมชาติได้ เราก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องความคาดหวังและความเชื่อเหล่านัน้
ก้าวข้ามมันไป จนสามารถพบตัวตนที่ยงิ่ ใหญ่ กว่าเราเอง มันเป็ นประสบการณ์ ของการมีชวี ิต ซึ่งทัง้ หมดของ
ประสบการณ์น้อี ยู่ภายใน ถ้อยคาสือ่ ความหมายได้เพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ”

รำยกำรอ้ำงอิง
กิง่ แก้ว อัตถากร. “พิธกี รรมคือการเชื่อมโยง.” วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6, ฉบับที่ 1 (มกราคม-
เมษายน 2552): 1-9.
แคมพ์เบลล์, เจ. พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม. แปลโดย บารนี บุญทรง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิช
ชิง่ , 2551. (ต้นฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์ ค.ศ.1991)
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. “อภัยวิถ:ี เทววิทยาทางการเมือง ความทรงจาและความหลงลืมของประวัตศิ าสตร์ไทย.”
รัฐศาสตร์สาร 22, ฉบับที่ 1 (2543): 143.
นิภาวรรณ วิรชั นิภาวรรณ. ร่างทรง: บทบาททีม่ ตี ่อสังคมปั จจุบนั กรณีศกึ ษาทีอ่ าเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.
วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร,
2532.
ณัฐภัทร์ สุรนิ ทร์วงศ์. “พิธกี รรมฟ้ อนผีมด: การเยียวยาสุขภาพในมุมมองคติชนวิทยา.” ใน หนังสือรวมบทความ
วิชาการ ดิน น้ า ลม ไฟ: ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์, บรรณาธิการโดย จาตุรี ติงศ
ภัทยิ ,์ สุรเดช โชติอุดมพันธ์, และอลิสา สันตสมบัต.ิ กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ศยาม, 2558.
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์และคณะ. “การเข้าทรงของหมูบ่ า้ นหนองขาว ตาบลหนองขาว อาเภอท่าม่วง จังหวัด
กาญจนบุร.ี ” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 19-20, 3 (2543): 257-314.
ปนาพันธ์ นุตร์อาพัน. สัมภาษณ์จติ ด้วยวิญญาณ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์ จากัด. 2543.
พิพฒ ั น์ กระแจะจันทร์. “รัฐประหาร-ร่างทรง ถึงวีรบุรษุ ในประวัตศิ าสตร์ไทย.” ศิลปวัฒนธรรม 37, ฉบับที่ 3
(มกราคม 2559): 96-119.
วิวฒ ั น์ เลิศวิวฒ ั น์วงศา. “ผีความทรงจา” คนมองหนัง คอลัมน์นอกกระแส. มติชนสุดสัปดาห์ 32, ฉบับที่ 1662 (22
มิถุนายน 2555): 85.
อรรถจักร์ สัตยานุรกั ษ์. “ความทรงจา ประวัตศิ าสตร์ และการเฉลิมฉลองระลึกถึงการเมือง.”
http://www.bangkokbiznews.com/ สืบค้นวันที่ 27/6/2559.

183
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

184
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P2-R2-04

การกาหนดบทบาทหญิงชาย
ผ่านตาราเรียนระดับประถม
ของประเทศพม่า

ณัฐราพร พรหมประสิทธิ์
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ช่ ื อ “บทบาทหญิงชายในการศึกษาระดับประถมของประเทศเมียนมา” ได้รับทุนสนับสนุนจาก


มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์

185
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในสังคมพม่าผูห้ ญิงและผูช้ ายได้รบั ความคาดหวังทีแ่ ตกต่างกัน ผูช้ ายถูกคาดหวังให้มคี วามเป็ นผูน้ า และ
เป็ นผูท้ ด่ี แู ล สิง่ ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรม ทัง้ เรื่องศาสนา ความเชื่อ การเมือง บทบาททางสังคม ทาให้เกิด
ประสบการณ์และบทบาททีแ่ ตกต่างกันในสังคม
บทบาทที่สาคัญของผู้หญิงพม่า คือ บทบาทในครอบครัว ในฐานะของแม่และลูกสาว ผู้หญิงจะเป็ น
ผู้รบั ผิดชอบหน้าที่ในครอบครัว ดูแลคนในครอบครัว ทัง้ เรื่องอาหารการกิน การใช้ชวี ติ และสุขภาพ แต่ผู้หญิง
ไม่ใช่ผู้ท่หี ารายได้หลัก บทบาทดังกล่าวผู้ชายถูกคาดหวังให้เป็ นผูป้ ฏิบตั ิ ทาให้เกิดความแตกต่างที่ชดั เจนของ
บทบาทหญิงและชายในพม่า
มีงานเขียนหลายเล่มที่อธิบายเกี่ยวกับบทบาทหญิงชายของพม่าไว้ Than Than Nwe ได้อธิบายไว้ว่า
ศาสนาพุ ท ธ เป็ นสิ่ง ส าคัญ ที่ท าให้เ กิด ความไม่ เ ท่ า เทีย มกัน ระหว่ า งหญิง ชาย (Than Than New 2003, 7)
สอดคล้องกับที่ Teresa O’Shannavy ได้พยายามอธิบายว่า สิง่ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ชายเป็ นใหญ่ การ
ที่พ่อแม่ของผู้หญิงได้อบรมสังสอนลู่ กให้ปฏิบตั ิตัวอย่างไรเมื่อมีครอบครัว การเปรียบเปรยลูกชายให้เ ป็ น ดัง่
เจ้านาย ส่วนสามีกค็ อื พระเจ้า ในขณะทีผ่ หู้ ญิงเป็ นผูร้ บั คาสังและปฏิ
่ บตั ติ ามอย่างเคร่งครัด ถึงจะได้รบั การยอมรับ
ว่าเป็ นผูห้ ญิงทีด่ ี (O’Shannavy, 2000, 15) Than Than Nwe ยังชีใ้ ห้ถงึ ระดับของสังคมทีแ่ ตกต่างกันของหญิงชาย
พม่าว่า ถึงแม้ผู้หญิงจะได้รบั การยอมให้ปฏิบตั หิ น้าที่ภายในบ้าน ขณะที่พ้นื ที่ภายนอกตัวบ้านทัง้ หมดเป็ นของ
ผูช้ าย (Than Than New 2003, pp.7) บทบาทของผูห้ ญิงและผูช้ ายพม่าเริม่ มีการเปลีย่ นแปลง ในช่วงการเข้ามา
ของอาณานิคมอังกฤษ ซึ่ง Ikeya ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Refiguring Women, Colonialism, and Modernity in
Burma เกีย่ วกับผูห้ ญิงพม่าในช่วงก่อนอาณานิคมอังกฤษว่า พม่าให้คุณค่าระหว่างความเป็ นหญิงและชายแตกต่าง
กัน ทัง้ เรื่องการศึกษา บทบาทในครอบครัว และฐานะทางสั งคม การนาผู้หญิงเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเป็ น
ทางการในปี 1920 (Ikeya 2012, 55) นิสารัตน์ ได้อธิบายไว้ว่า ในด้านการศึกษามีการจัดวางเนื้อหาการเรียน
เฉพาะสาหรับเด็กผูห้ ญิงและบรรจุเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียน (นิสารัตน์ ขันธโภค 2555, 105) การศึกษาและ
รูปแบบสังคมที่เริม่ มี ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในหลายๆ ด้าน จุดเริม่ ต้นของการเปลีย่ นแปลงทีค่ ่อนข้างชัดเจน
ของชีวติ ผูห้ ญิงพม่า เกิดขึน้ ในช่วงทีพ่ ม่าทีต่ กเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ ผูห้ ญิงได้รบั โอกาสในด้านต่างๆ มากขึน้
ในช่วงเวลานี้ผหู้ ญิงเริม่ เข้ามามีบทบาทในสังคม และเป็ นกาลังสาคัญหนึ่งในการพัฒนาประเทศ โดยการเข้าร่วม
เป็ นทหารหญิง (Tharaphi 2014, 70) แต่เรื่องราวดังกล่าวกลับได้รบั การกล่าวถึงน้อยมาก ในขณะทีบ่ ทบาทของ
ผูช้ ายได้รบั การกล่าวถึงเป็ นจานวนมาก แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการให้ความสาคัญระหว่างบทบาทหญิง
และชายได้อย่างชัดเจน
การที่สถานภาพและบทบาทของผูห้ ญิงและผู้ชายแตกต่างกันนัน้ ขึน้ ก็อยู่กบั ปั จจัยต่างๆ หลายประการ
และทาให้เกิดความเข้าใจทีว่ ่าความแตกต่างทางร่างกายทาให้ผหู้ ญิงและผูช้ ายมีความแตกต่างกันในด้านอื่นๆ ด้วย
Eckert and McConnell-Ginet มองว่า เพศ (Sex) เป็ นการจาแนกตามหมวดหมู่ทางชีวภาพตามศักยภาพของการ
สืบพันธุ์ ในขณะทีเ่ พศสภาพ (Gender) มีรายละเอียดทีเ่ กีย่ วข้องกับสังคม (Eckert and McConnell-Ginet, 2003,
10) โดยการแบ่งความแตกต่างทางชีวภาพเพื่ออธิบายพฤติกรรมและความสามารถของ “ผู้ชาย” หรือ “ผู้หญิง”
(Jane & Imelda 2004, 56) การอธิบายถึงความต่างของบทบาทหญิงชายจึงมีความเชื่อมโยงกับเรื่องของการให้
คุณค่า การเลือกปฏิบตั ิ บทบาทหน้าทีใ่ นสังคม และความเชื่อทางสังคมทีเ่ ห็นว่าผูห้ ญิงควรเป็ นแบบไหนและผูช้ าย
ควรเป็ นแบบไหน วิธกี ารคิดแบบดังกล่าวทาให้ผหู้ ญิงและผูช้ ายจะได้รบั การปฏิบตั หิ รือมีสงิ่ ทีค่ วรปฏิบตั ทิ แ่ี ตกต่าง

186
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กัน การพยายามสร้า งข้อ ก าหนดเรื่อ งเพศและพยายามปลู ก ฝั ง ให้เ กิด การปฏิบ ัติภ ายในสัง คม ท าให้เ กิด
กระบวนการขัดเกลาทางสังคมเกิดขึน้ ผู้คนจะเริม่ มีการเรียนรูปแบบความคิดเรื่องบทบาทหญิงชายจากสังคมที่
ตนเองมีความเชื่อมโยงอยู่ เรื่องราวเกีย่ วกับบทบาทหญิงชายทีถ่ กู เรียนรูซ้ ้าในสังคมจึงกลายเป็ นบรรทัดฐานในการ
ปฏิบตั ขิ องผูค้ น สิง่ เหล่านี้จงึ กลายเป็ นความเชื่อทางสังคมรูปแบบหนึ่งทาให้เกิดการปฏิบตั ิตนของผูห้ ญิงและผูช้ าย
ทีแ่ ตกต่างกัน แต่อกี สิง่ หนึ่งทีม่ บี ทบาทเป็ นอย่างมาก คือ ตาราเรียน เพราะการเรียนหนังสือเป็ นกระบวนการ
ศึกษาทีม่ สี ว่ นสาคัญในการหล่อหลอมและถ่ายทอดความคิด ทัศนคติ และเงื่อนไขต่างๆ ในสังคม
บทบาทสาคัญของตาราเรีย น คือ เป็ นสิง่ ที่สร้างรูปแบบความคิดของคนในชาติให้เ ป็ นไปในทิศ ทาง
เดียวกันตามความต้องการของรัฐ เนื้อหาต่ างๆ ที่ในตาราเรียนได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ ทรงคุณวุฒิ
ระดับประเทศ ตาราเรียนจึงเป็ นเครื่องมือทีด่ ที ร่ี ฐั ส่งผ่านความต้องการของรัฐไปยังพลเมืองของรัฐ
ปั จจุบนั งานเขียนทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษาในประเทศพม่าเน้นไปทีก่ ารศึกษาเกีย่ วกับบทบาทตาราเรียน
ในฐานะของเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมตามกฎหมายให้กบั รัฐ การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนของพม่าจึงมี
เป้ าหมายชัดเจนในการควบคุมเงื่อนไขทางสังคม และเป็ นเครื่องมือหนึ่งที่จะทาให้ก้าวไปสู่ความเป็ นชาติ โดย
รัฐบาลยืนยันว่าการศึกษา คือ การผลิต "ทรัพยากรมนุ ษย์ทด่ี เี ยีย่ ม" (Cheesman, 2002) เพื่อประโยชน์อนั สูงสุด
ของรัฐ ด้วยเหตุ น้ี รฐั จึงใช้โรงเรียนและหนังสือเพื่อถ่ ายทอดรูปแบบกฎเกณฑ์ท่สี ามารถสร้างสานึกร่วมให้กบั
นักเรียน โดยใช้กระบวนการของการศึกษาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ในระดับชาติ โดยเน้นเกีย่ วกับวีรบุรุษ การสร้าง
ความสามัคคีของชาติ การสร้างศัตรูร่วมกัน การต่อต้านอาณานิคม รวมไปถึงการนาเสนอภาพของรัฐบาลทหาร
(Nicolas & Rosalie 2012, pp. 68-69) การใช้เรื่องเล่า นิทาน หรือตานานในการเล่าเรื่องการศึกษาเกีย่ วกับนิทาน
หรือตานานทีป่ รากฏอยู่ในตาราเรียนในระดับประถม เป็ นการอธิบายถึงเรื่องเล่านิทานหรือตานานเหล่านี้ว่ามีผลต่อ
การดาเนินชีวติ ประจาวันของเยาวชนพม่าจนกระทังก้ ่ าวสู่ความเป็ นผูใ้ หญ่ (San San Win 2556, 48) การกาหนด
เนื้อหาของตาราเรียนเป็ นวิธกี ารสอดแทรก และการปลูกฝั งให้นาเอาพฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงค์ตามความต้องการของ
รัฐมาเป็ นแบบอย่างในการดาเนินชีวติ สิง่ ทีน่ ่าสนใจของงานชิน้ จึงเป็ นเหมือนการเติมช่องว่างในการศึกษาเกีย่ วกับ
ของตาราเรียนในฐานะทีเ่ ป็ นเครื่องมือทีร่ ฐั ใช้ในการกาหนดบทบาทหญิงชายพม่าเพื่อเป็ นมาตรฐานในสังคม สิง่ ที่
น่ าสนใจในการศึกษาเรื่องบทบาทหญิงชายในตาราเรียนของประเทศพม่า คือ ปั จจุบนั งานทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับตารา
เรียนในพม่านัน้ จะเน้นไปทีก่ ารศึกษาเกีย่ วกับการพยายามสร้างความเป็ นชาติและการสร้างความชอบธรรมของ
รัฐบาลพม่าโดยการใช้ตาราเรียนเป็ นเครื่องมือเพื่อไปสูเ่ ป้ าหมายเหล่านัน้

หญิงชำยพม่ำ
ความแข็งแกร่งของศาสนาพุทธในพม่า ทาให้ศาสนาพุทธถูกใช้เป็ นฐานในการกาหนดบทบาทหญิงชาย
ในพม่าตามหลักคาสอนของศาสนา รวมทัง้ การให้ความสาคัญต่อคาสังสอนของพ่ ่ อแม่และครูอาจารย์ ซึง่ ถือเป็ นสิง่
มงคลอย่างหนึ่งของชาวพม่า ภายในสถาบันครอบครัว ผูห้ ญิงชาวพม่าจะถูกคาดหวังให้อยู่ในบทบาทของแม่และ
ลูกสาวทีด่ ี งานทีเ่ ขียนทีเ่ กีย่ วกับหญิงชายในพม่าส่วนใหญ่นนั ้ จะเน้นไปทีเ่ รื่องของพืน้ ทีท่ างสังคมเป็ นส่วนใหญ่และ
จะใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่และความมีตัวตนภายใต้เงื่อนไขทางสังคมต่ างๆ ที่มีความซับซ้อน การแบ่งแยกความ
แตกต่างระหว่างผูห้ ญิงผูช้ ายในสังคมพม่าสามารถเห็นได้ตงั ้ แต่เรื่องบทบาทหน้าทีใ่ นครอบครัว
Than Than New ได้อธิบายว่า ในครอบครัวคนพม่าหน้าทีห่ ลักของผูช้ ายจะทางานทีต่ ้องใช้แรงงานเป็ น
หลัก หน้ าที่หลักของผู้หญิง คือ การเป็ นแม่บ้านแม่เรือน คอยดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน ดูแลสมาชิกใน
ครอบครัว ทาอาหาร เย็บปั กถักร้อย พื้นที่บริเวณบ้านหรือห้องครัวถือเป็ นพื้นทีส่ าหรับผูห้ ญิง ทาให้ผู้หญิงและ

187
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ผูช้ ายมีอานาจในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในกรณีของการซักผ้าถุงหรือกระโปรง


ของผู้หญิงจะไม่สามารถซักรวมกับของผูช้ ายได้ และผ้าถุงหรือกระโปรงของผูห้ ญิงจะไม่สามารถนาไปเก็บไว้ใน
ส่วนบนสุดของตูเ้ สือ้ ผ้าได้เช่นกัน (Than Than New 2003, pp.7-8)
รูปแบบชีวติ ของผู้หญิงพม่าเริม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วงที่ตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ
ผู้หญิงได้รบั โอกาสในด้านต่างๆ มากขึน้ เช่น การศึกษา และการทางาน เป้ าหมายหลักของการเปิ ดโอกาสให้
ผูห้ ญิงได้รบั การศึกษา คือ ความต้องการพัฒนาด้านสาธารณสุขภายในอาณานิคมของอังกฤษ และผูห้ ญิงถือเป็ น
บุคลากรทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากเพียงพอในการสนับสนุนให้ได้รบั การปฏิบตั ิ เพราะผูห้ ญิงพม่าเป็ นผูม้ บี ทบาทสาคัญ
ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว หากผูห้ ญิงมีความรูใ้ นด้านสาธารณสุขและด้านการพยาบาลจะสามารถเป็ นส่วน
หนึ่งในการดูแลผูอ้ ่นื แต่อย่างไรก็ตามการให้การสนับสนุ นการศึกษาแก่ผู้ หญิงก็มอี ุปสรรคบางประการ คือ เรื่อง
การสื่อสารระหว่างผูส้ อนและผู้เรียน (นิสารัตน์ ขันธโภค 2555, 122) ทาให้ช่วงแรกผูท้ ส่ี ามารถเข้าเรียนได้ส่วน
ใหญ่เป็ นกลุ่มผูห้ ญิงชนชัน้ กลาง และชนชัน้ สูงเท่านัน้
ผลจากการสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่ผหู้ ญิง Ikeya ได้อธิบายไว้ว่า ทาให้เดิมผูห้ ญิงเคยถูกตีกรอบไว้
ในบ้านและอยู่ในฐานะของผู้ทค่ี อยดูแลส่งเสริมครอบครัว ได้รบั โอกาสทางการศึกษาและส่งผลให้ผหู้ ญิงเข้ามามี
บทบาทในสังคมมากยิง่ ขึน้ เช่น เข้ามาเป็ นครูในโรงเรียนเอกชน เป็ นพยาบาลผูช้ ่วยของหมอชาวอังกฤษ หรือการ
เข้ามามีบทบาทในฐานะสื่อและนักเขียน (Ikeya 2012, 59) ในขณะที่ นิสารัตน์ มองว่าการเปลีย่ นของผูห้ ญิงพม่า
ในสมัยอาณานิคมทาให้เกิดผูห้ ญิงแบบใหม่ทอ่ี ่านออก เขียนได้ คานวณได้ และได้รบั การศึกษาสูงแบบตะวันตก ที่
มีความรูใ้ นเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย โดยภาพรวมแล้วการพัฒนาคุณภาพสตรีแบบสมัยใหม่ เป็ นส่วนสาคัญใน
การเพิม่ จานวนประชากรอาณานิคมอันเนื่องมาจากการดูแลสุขภาพอนามัยพืน้ ฐานทีด่ ขี น้ึ และทาให้เกิดประชาชน
อาณานิคมทีม่ คี วามสามารถในการรับมือกับการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่เพิม่ ขึน้ (นิสารัตน์
ขันธโภค 2555, 134)
การได้รบั ศึกษาทาให้ผหู้ ญิงพม่าเริม่ มีความคิดทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปและเข้ามีมบี ทบาทในสังคมมากขึน้ จนมี
หนังสือทีม่ เี นื้อหาเกีย่ วข้องกับผูห้ ญิงตีพมิ พ์มากขึน้ และมีบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทเ่ี ป็ นผูห้ ญิงคนแรก ชื่อ ด่อ ผ
เวซิน (Daw Phwa Shin) โดยหนังสือพิมพ์ทด่ี ่อผเวซินเป็ นผูด้ แู ลชื่อว่า ตารวดี (Tharawaddy) แต่เมื่อหนังสือพิมพ์
ได้รบั การตีพมิ พ์ฉบับแรก ชื่อของบรรณาธิการกลับเป็ นชื่อของ หม่าวซาน (Muang Zan) ซึ่งเป็ นสามีของด่อผ
เวซินแทน (Tharaphi 2014, 25) ทาให้เห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าผูห้ ญิงจะได้รบั การศึกษาและได้รบั โอกาสมากขึน้ จากการ
เปลีย่ นแปลงของสังคม แต่อย่างไรก็ตามผูห้ ญิงยังคงถูกปิ ดกัน้ และการยอมรับในการเป็ นผูน้ ายังคงไม่สามารถทา
ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

กำรศึกษำของพม่ำ
การศึกษาของประเทศพม่าตัง้ แต่ช่วงก่อนการตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษนัน้ สังคมพม่ามีความผูกพัน
กับศาสนาพุทธเป็ นอย่างมาก ความเข้มแข็งของความเชื่อ ด้านศาสนาพุทธทาให้สงั คมพม่าในทุกๆ ด้านมีความ
เชื่อมโยงกับศาสนา รวมทัง้ ทางด้านการศึกษาด้วย ในอดีตผูป้ กครองจะส่งบุตรหลานเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในวัด
เป็ นจานวนมาก โดยเป้ าหมายหลักของการศึกษาในวัดคือ การเรียนรูค้ าสอน หลักธรรม ศีลธรรม การปฏิบตั ติ น
เพื่อเป็ นชาวพุทธทีด่ ีและการเรียนไวยากรณ์ภาษาพม่า โดยมีพระสงฆ์เป็ นผู้อบรมสังสอน
่ แต่การเรียนการสอน
ภายในวัดไม่ได้มกี ารจัดการอย่างเป็ นรูปธรรม ส่วนใหญ่เน้นการท่องจาเป็ นหลัก

188
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การศึกษาลักษณะแบบนี้ เด็กผู้ชายสามารถบวชเรียนเป็ นสามเณรเพื่อศึกษาศาสนา ภาษาบาลี และ


ความรูท้ วไป
ั ่ การศึกษาในวัดของชาวพม่าจึงเป็ นการศึกษาเพื่อการเรียนรูใ้ นการเป็ นชาวพุทธทีด่ แี ละนาความรูท้ ่ี
ได้จากพระสงฆ์ไปเป็ นพืน้ ฐาน ในการเล่าเรียนคัมภีรพ์ ุทธศาสนาขัน้ สูงในตอนทีบ่ ุตรชายบรรพชาเป็ นสามเณรหรือ
การอุปสมบทในเวลาต่อมา ตลอดจนเป็ นวิถที างในการดาเนินชีวติ (วัฒนพงศ์ วรคุณวิศษิ ฎ์ 2551, 107) เมื่อถึง
ช่วงอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ผูช้ ายสามารถอุปสมบทเป็ นพระภิกษุได้ ทัง้ นี้สามารถเลือกได้ว่าต้องการจะบวชเรียนหรือ
เลือกทีจ่ ะดาเนินชีวติ ในรูปแบบฆราวาส
ถึงแม้การเรียนการสอนภายในวัดไม่ได้จากัดเพศหรือชนชัน้ (Cheesman 2002, 42) แต่ ก็มีข้อจากัด
สาหรับเด็กผู้หญิงเพราะผู้สอน คือ พระสงฆ์ จึง ทาให้เกิดปั ญหาเรื่องการเข้าถึงการเรียนการสอน นอกจากนี้
เด็ก ผู้ช ายยังสามารถเรียนขี่ม้า ดาบ มวย ว่ า ยน้ า จากคนในหมู่บ้านเดียวกัน อีก ด้วย ( Tha Nyunt 1962, 33)
ในขณะทีผ่ หู้ ญิงจะได้เรียนรูว้ ชิ างานบ้านหรือการทอผ้า กล่าวกันว่า ผูห้ ญิงทุกคนจะต้องทอผ้าเป็ น จนมีคาพูดติด
ปากว่า ผูห้ ญิงทีท่ อผ้าไม่เป็ นเหมือนกับคนทีต่ าบอด (Muang Myat Ye ,2014 ,73) ลักษณะการเรียนรูข้ องคนพม่า
ในอดีตจึงเป็ นการเรียนรูภ้ ายในสังคมพม่าเองเท่านัน้
การศึกษาของพม่ามีการเปลีย่ นแปลงทีส่ าคัญในช่วงอาณานิคม หลังจากมีการเปลีย่ นแปลงรูปแบบการ
ปกครองจากรัฐจารีตสู่การเป็ นอาณานิคมภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทีส่ ่งผลทัง้ ทางด้านการปกครอง สังคม
วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ส่งผลให้ชาวพม่าต้องมีการปรับเปลีย่ นรูปแบบชีวติ ให้เข้ากับการปกครองรูปแบบใหม่
ระบบการศึกษารูปแบบใหม่ถูกนาเข้ามาหลังจากทีอ่ งั กฤษมีความต้ องการผูป้ ระสานงานในพม่า ในช่วง
แรกอังกฤษจึงไม่ได้ให้ความสาคัญกับการศึกษาของพม่ามากนัก การจัดการในด้านต่างๆ รวมทัง้ การศึกษาในพม่า
จึงไม่ได้มปี ระสิทธิภาพและไม่ได้รบั ความใส่ใจเท่าทีค่ วร แต่หลังจากพัฒนาเป็ นมณฑลพม่าของอังกฤษและปั จจัย
ทางด้านเศรษฐกิจทาให้รฐั บาลอาณานิคมเริ่มให้ความสาคัญกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของชาวพม่า
(Sunait 2535, 37) รัฐบาลเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยตรงในการศึกษามากขึน้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้าน
บุคลากรทีม่ ปี ระสิทธิภาพเหมาะสมในการปฏิบตั งิ านของอาณานิคม มีการจัดตัง้ กระทรวงศึกษาธิการขึน้ ทีย่ ่างกุง้
ใน ค.ศ. 1866 (เทเลอร์ 2550 , 157) ทาหน้าทีด่ แู ลและตรวจสอบการทางานของโรงเรียนต่างๆ ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้
โรงเรียนแบบใหม่ท่อี ยู่ภายใต้การดูแลของอังกฤษ แตกต่ างไปจากการศึกษาภายในวัดอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากมีจุดประสงค์ในการเรียนทีแ่ ตกต่างกัน การศึกษาแบบใหม่เน้นการเรียนเกีย่ วกับเรื่องการดาเนินชีวติ และ
การทางานมากยิง่ ขึน้ ต่างกับการศึกษาภายในวัดทีเ่ น้นศึกษาหลักธรรมคาสอนของศาสนาพุทธ เพื่อการดารงตน
ให้เหมาะสมตามคุณลักษณะของชาวพุทธทีด่ ี เมื่อวัตถุประสงค์ของการศึกษามีการเปลีย่ นแปลง ชาวพม่าบางส่วน
ก็มกี ารปรับเปลีย่ นรูปแบบการดาเนิ นชีวติ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบของอาณานิคมตามไปด้วย ผูป้ กครองบาง
กลุ่มเริม่ มีการปรับตัวในการวางแผนการศึกษาแก่บุตรเพื่อให้เข้ากับบริบทของสังคมในยุคนัน้ มากยิง่ ขึน้ นอกจากนี้
ระบบการศึกษาใหม่เป็ นการเปิ ดกว้างให้ผหู้ ญิงเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึน้
แต่ในช่วงแรกนัน้ โรงเรียนต่างๆ ยังไม่ได้รบั เงินสนับสนุนจากรัฐตามความเหมาะสม ประกอบกับพระสงฆ์
ไม่ ใ ห้ก ารสนั บ สนุ น โรงเรีย นแบบใหม่ แ ละไม่ ยิน ยอมให้อ ัง กฤษใช้พ้ืน ที่ข องวัด ในการจัด การเรีย นการสอน
นอกจากนี้การศึกษารูปแบบใหม่ยงั ถูกตัง้ คาถามถึงความเหมาะสมต่อสังคมพม่า เพราะการเรียนการสอนใ น
รู ป แบบใหม่ น้ี ชุ ม ชนไม่ ไ ด้มีส่ ว นร่ ว ม เด็ก ที่ไ ม่ ส ามารถเรีย นได้ผ่ า นตามเกณฑ์ไ ม่ ส ามารถกลับ เข้า สู่ส ัง คม

189
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เกษตรกรรมได้เพราะขาดทักษะและไม่ได้ถูกปลูกฝั งตัง้ แต่ต้นเหมือนการเรียนรูปแบบเก่าทีเ่ น้นการเรียนรู้ทว่ี ดั


ควบคู่กบั การฝึกอาชีพกับคนในชุมชน ทาให้การเปลีย่ นแปลงรูปแบบการศึกษารูปแบบใหม่ไม่ประสบความสาเร็จ
การจัดตัง้ โรงเรียนของอังกฤษในขณะนัน้ เป็ นการสร้างความแปลกใหม่ในระบบการศึกษาของพม่า มีการ
พยายามจัดระบบของหลักสูตรการศึกษาให้เป็ นไปในทิศทางเดียวและมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ ใน ค.ศ. 1890 เริม่
มีก ารแบ่ ง รูป แบบโรงเรีย นด้ว ยเกณฑ์ด้า นภาษาออกเป็ น 3 ประเภท (Cheesman 2003, 50 and Tha Nyunt
1962, 45) ได้แก่
1. โรงเรียนทีส่ อนด้วยภาษาอังกฤษ (English school) ไว้รองรับชนชัน้ นาและเด็กต่างชาติเป็ นส่วนใหญ่
2. โรงเรียนทีส่ อนด้วยภาษาอังกฤษกับภาษาพืน้ เมือง (Anglo-vernacular school) เป็ นโรงเรียนทีส่ อน
สองภาษา รองรับกลุ่มพ่อค้า ขุนนาง หรือชาวพืน้ เมืองทีม่ ฐี านะทางครอบครัวดี
3. โรงเรียนที่สอนด้วยภาษาพื้นเมือง (vernacular school) การเรียนการสอนเป็ นภาษาพม่าทัง้ หมด
เด็กทีเ่ ข้ามาเรียนส่วนใหญ่เป็ นลูกของครอบครัวทีม่ ฐี านะทางบ้านทีไ่ ม่ดี
ใน ค.ศ. 1942 การอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษของพม่าได้สน้ิ สุดลง ญี่ป่ ุนเริม่ เข้ามามีอานาจใน
สังคมพม่าและมีบทบาทในการจัดการต่างๆ ในพม่า มีการพยายามจัดการระบบการศึกษาของพม่าให้เป็ นไปใน
ทิศ ทางเดียวกัน มีก ารเข้า มาดูและระบบการศึก ษามากยิ่งขึ้น ต าราเรีย นหลายวิชาถู กตีพิมพ์ข้นึ ในพม่าโดย
กระทรวงศึกษาธิการ ตามมาด้วยพจนานุกรมและสารานุ กรมต่างๆ (Tha Nyunt 1962, 46) นอกจากนี้ยงั มีแผนจะ
เปิ ดขึน้ โรงเรียนหลายพันแห่ง ภายใต้หลักสูตรทีเ่ ป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทัง้ การกาหนดให้ภาษาพม่าเป็ นภาษา
หลักในการเรียนการสอน (Cheesman 2003, 55-56) รวมทัง้ การฝึ กอบรมการเป็ นพลเมืองและการเรียนการสอน
เกีย่ วกับศาสนา มีการเสนอให้เรียนภาษาอังกฤษควบคู่กบั ไปแต่ได้รบั การคัดค้านจากญี่ป่ ุน (Tha Nyunt 1962, 45)
ทาให้ไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ และระบบการศึกษาไม่มคี วามแน่ นอนเพราะเหตุการณ์ท่เี กี่ยวข้องกับ
สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ไม่เอือ้ อานวยต่อการพัฒนาด้านการศึกษาได้อย่างเต็มที่
ในช่วงทีอ่ ยู่ภายใต้การปกครองของทหาร มีการจาแนกตาราเรียนเป็ นวิชาต่างๆ การพยายามผูกขาดวาท
กรรมเกี่ย วกับ ประวัติ ศ าสตร์ แ ห่ ง ชาติ ซึ่ง มีแ นวโน้ ม ที่จ ะผลิต เรื่อ งเล่ า และเรื่อ งเล่ า ของความรุ น แรงของ
ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติขน้ึ (Nicolas & Rosalie 2012, 30) ตาราเรียนได้ระบุเนื้อหาทีเ่ กีย่ วข้องกับความเป็ นอันหนึ่ง
อันเดียวกันของชาวพม่า การนาเสนอภาพของความรักใคร่สามัคคี ไม่มคี วามขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพนั ธุต์ ่างๆ
และสร้างศัตรูร่วม คือ เจ้าอาณานิคมอังกฤษ ว่าเป็ นว่าผูท้ เ่ี ข้ามาทาหลายความสัมพันธ์อนั ดีงาม แต่เป็ นสาเหตุหนึ่ง
ทีท่ าให้พม่าเกิดความแตกแยกมาจนถึงปั จจุบนั
นอกจากนี้ การขยายการศึกษาทัวประเทศในยุ่ คของนายพลเนวิน (ค.ศ. 1962-1988) ทีม่ จี ุดประสงค์เพื่อ
สร้างความเสมอภาคด้านการศึกษาให้แก่ประชาชน นอกจากนี้แนวคิดสังคมนิยมเป็ นอุดมการณ์ทส่ี าคัญของรัฐ ซึง่
รัฐบาลจาเป็ นมีการต้องเผยแพร่อุดมการณ์นนั ้ ไปสู่ประชาชน รัฐบาลได้กาหนดให้อุดมการณ์สงั คมนิยมอุดมการณ์
สังคมนิยมเข้าไปอยู่ในแบบเรียนที่ใช้สอนในระดับการศึกษาขัน้ พื้นฐาน ควบคู่ไปกับแนวคิดชาตินิยมตัง้ แต่ชนั ้
ประถมศึกษาถึงชัน้ มัธยมศึกษา (วัฒนพงศ์ วรคุณวิศษิ ฎ์ 2552, 43) และตาราเรียนทีใ่ ช้อยู่ในปั จจุบนั ส่วนมากยังคง
เนื้อหาเดิมทีใ่ ช้มาตัง้ แต่ยุคสังคมนิยม (วิรชั นิยมธรรม 2551, 34)

190
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การศึกษาระดับพืน้ ฐานของพม่าในปั จจุบนั จะอยู่ภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ (Ministry


of Education) โครงสร้างการศึกษาของพม่าแบ่งออกเป็ นโครงสร้างการบริหารและโครงสร้างทางวิชาการ นโยบาย
และแนวทางการบริหารจัดการเกี่ยวกับการศึกษาจะได้รบั การดูแลโดยกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนทัง้ หมดใน
ประเทศพม่าจะต้องปฏิบตั ติ ามกฎหมายการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (Basic Education Law) ซึง่ ประกาศใช้ครัง้ แรกในปี
1964 และยกเลิกในปี 1973 หลังจากนัน้ จึงมีการแก้ไขเพิม่ เติมเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวขึน้ ในปี 1983 และปี
1989 (U Zaw Htay, ม.ป.ป.)
ตามเนื้อหาของกฎหมายการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานในปั จจุบนั ได้ระบุวตั ถุประสงค์การศึกษาไว้ว่า การศึกษาจะ
ทาให้คนพม่ามีความพร้อมทัง้ ทางร่างกายและจิตใจ เป็ นการวางรากฐานสาหรับการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาเพื่อ
ประโยชน์ของประเทศ ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน่ วยงานที่ช่อื ว่า สภาการศึกษาขัน้ พื้นฐาน
(Basic Education Council) มีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนและดูแลหลักสูตรการศึกษาขัน้ พื้นฐานให้
สอดคล้อ งกับ การศึก ษาสายอาชีพ (vocational education)และการศึก ษาระดับ สูง (higher education) ดู แ ล
ครูผสู้ อน ทัง้ เรื่องของคุณสมบัติ การศึกษา การเสริมสร้างศักยภาพของครูในการให้บริการ ห้องสมุดโรงเรียนและ
พิพธิ ภัณฑ์การบริหารจัดการสถานศึกษา รวมทัง้ การตรวจสอบและการปฏิรูปการศึกษาขั น้ พื้นฐานหมดเพื่อให้
สอดคล้อ งกับ นโยบายและเพื่อ ประโยชน์ ของการพัฒนาของประเทศ นอกจากนี้ ยงั มี กองต าราและหลักสูตร
การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ซึง่ ทาหน้าทีใ่ นการพัฒนา ตรวจสอบ และแก้ไขหลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน การผลิตตารา
เรีย นและสื่อ การสอนต่ า งๆ รวมทัง้ การดู แ ลตรวจสอบและอนุ ม ัติต าราเรีย นอีก ด้ว ย (Ministry of Education
Myanmar, 2015,.2-9)
เดิม การศึก ษาของพม่ า ในยุ ค ของรัฐ บาลอู นุ ไ ด้ มีก ารจัด ระบบการเรีย นการสอนเป็ นระบบ 5-3-3
ประกอบด้วย การศึกษาในระดับประถมศึกษา 5 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และ ระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย 3 ปี แต่ในยุคของนายพลเนวินได้มกี ารเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ คือ การจัดระบบการเรียนการสอนเป็ นระบบ 5-
4-2 โดยนักเรียนใช้เวลาเรียนทัง้ หมดเหมือนกันเป็ นเวลา 11 ปี (วัฒนพงศ์ วรคุณวิศษิ ฎ์ 2552, 59) ซึง่ การศึกษา
ในระบบดังกล่าวยังคงใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปั จจุบนั
การศึกษาระดับพืน้ ฐานของพม่าในปั จจุบนั จะอยู่ภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ มีการจัด
การศึก ษาระดับ พื้น ฐานเป็ น ระบบ 5-4-2 ประกอบด้ว ย การศึก ษาในระดับ ประถมศึก ษา (เกรด 1-5) ระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น (เกรด 6-9) และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (เกรด 10-11) ดังนี้

ระดับ จานวนปี อายุ ระดับชัน้


ระดับประถม ต้น 3 5+ ถึง 7+ 1 ถึง 3
ปลาย 2 8+ ถึง 9+ 4 ถึง 5
ระดับมัธยม ต้น 4 10+ ถึง 13+ 6 ถึง 9
ปลาย 2 14+ ถึง 15+ 10 ถึง 11

ที่มา: Development of Education in Myanmar, September 2004)

191
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในปั จจุบนั เริม่ มีการพัฒนาการศึกษาโดยการวางแผนระยะยาว 30 ปี และเริม่ ประกาศใช้ในปี 2001 (Myo


Tint 2010, 3 ) มี 10 โปรแกรมทีถ่ ูกนามาใช้ในการพัฒนาศึกษาขัน้ พืน้ ฐานภายใต้แผนพัฒนาการศึกษาระยะยาว
30 ปี ดังนี้
1. มีการสร้างระบบการศึกษาให้มคี วามทันสมัยและการพัฒนาของประเทศ
2. มีการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานสาหรับทุกคน
3. มีการปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
4. มีจดั ให้มกี ารเข้าถึงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการศึกษาสายอาชีพทีแ่ ตกต่างกัน
5. มีการปรับปรุงการเข้าถึงการเรียนรูก้ ารเรียนการสอนและเทคโนโลยีการสือ่ สาร
6. มีการพัฒนาคุณภาพพลเมือง
7. มีการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการการศึกษา
8. มีการดาเนินกิจกรรมการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานในความร่วมมือกับชุมชน
9. มีการปรับปรุงกิจกรรมการศึกษานอกระบบ
10. มีการปรับปรุงการวิจยั ทางการศึกษา (Ministry of Education 2004, 18)

ตำรำเรียนระดับประถมศึกษำของประเทศพม่ำ
ตาราเรียนสาหรับการศึกษาระดับพื้นฐานทัง้ หมดจึงผลิตโดยกองตาราและหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ (วิรชั 2551, 30) เนื้อหาของตาราเรียนทีใ่ ช้ในปั จจุบนั นัน้ ไม่ได้มคี วามแตกต่างจากเนื้อหาของ
ตาราเรียนในอดีตมากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่เป็ นเรื่องราวตัง้ แต่หลังได้รบั เอกราช ในปี ค.ศ. 1948 ซึง่ ในแต่ละชัน้ ปี จะ
มีวชิ าเรียนและเนื้อหาทีแ่ ตกต่ างกันออกไป เช่น วิชาการอ่าน เรียนตัง้ แต่ เกรด 1-6 วิชาประวัตศิ าสตร์ตงั ้ แต่เกรด
3 ขึน้ ไป และเมื่อรัฐต้องการทีจ่ ะเพิม่ เติมความรูห้ รือเนื้อหาบางส่วนทีแ่ ตกต่างออกไปให้กบั เยาวชนก็จะใช้วธิ กี าร
เพิม่ เนื้อหาหรือผลิตหนังสือเพิม่ เติมในเรื่องนัน้ ๆ
สาหรับตาราเรียนระดับประถมศึกษาของประเทศพม่า การศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น (เกรด 1-
3) มีวิชาบังคับทัง้ หมด 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ ส่วน
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (เกรด 4-5) มีวชิ าบังคับทัง้ หมด 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่าน
ภาษาพม่ า และภาษาอัง กฤษเป็ น วิช าหลัก และในปี 1998-1999 ได้เ พิ่ม วิช าประวัติศ าสตร์แ ละภู มิศ าสตร์
(Cheesman 2002, 75)
ในเดือนสิงหาคม ปี 2001 รัฐบาลพม่าได้มกี ารประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ (Minister
for Information) ว่ารัฐบาลยังได้ผลิตตาราเรียนและการจัด จาหน่ าย (Cheesman 2002 , 121) โดยตาราเรียนของ
พม่าทัง้ หมดถูกผูกขาดในการผลิตตาราเรียนและการจัดจาหน่ายโดยกองตาราและหลักสูตรขัน้ พืน้ ฐาน (The Basic
Education Curriculum and Textbook Committee)
ตาราเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่าตัง้ แต่ระดับ 1-5 มีจุดประสงค์ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมี
ความรูค้ วามสามารถในการอ่านเขียนภาษาพม่าอย่างคล่องแคล่ว
วิชาการอ่านภาษาพม่า เกรด 1 เป็ นการเรียนการสอนเกีย่ วกับพยัญชนะพืน้ ฐาน สระพืน้ ฐาน และอักษร
ควบกล้าทัง้ หมด โดยครูผู้สอนจะเน้นเรื่องการอ่านพยัญชนะ สระพื้นฐาน และการอธิบายความหมายที่ถูกต้อง
ให้แก่นกั เรียน (Myanmar Language Grade1, 2012)

192
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

วิชาการอ่านภาษาพม่า เกรด 2 ลักษณะของการเรียนการสอนเป็ นการสอนเกีย่ วกับพยัญชนะและสระใน


ระดับทีส่ งู ขึน้ กว่า เกรด 1 มีการเรียนเกีย่ วกับสระการันต์ เป้ าหมายของการเรียนการสอนในระดับนี้คอื ต้องการให้
ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการอ่านเขียนภาษาพม่าอย่างคล่องแคล่วมากขึ้น (Myanmar Language
Grade1, 2012)
การเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาพม่า เกรด 2 เน้นการสอนให้ผเู้ รียนเข้าใจความหมายของคาอย่าง
ลึกซึ้ง และได้มกี ารปลูกฝั งทักษะการฟั งของนักเรียนด้วยการสอนเนื้อหาที่เกีย่ วกั บนิทาน ตานาน หรือเรื่องเล่า
ต่างๆ มากยิง่ ขึน้ โดยให้ผสู้ อนเป็ นผูเ้ รื่อง และผูเ้ รียนเป็ นผูฟ้ ั ง นอกจากนี้การเรียนการสอนในระดับนี้ได้พยายาม
ฝึ ก ทัก ษะเรื่อ งการสร้า งความเข้า ใจในเนื้ อ หาของต าราเรีย นโดยไม่ ต้อ งใช้วิธีก ารท่ อ งจ าอีก ด้ว ย ( Myanmar
Language Grade2, 2012)
การเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาพม่า เกรด 3-5 มีเนื้อหาตาราเรียนทีเ่ ป็ นไปในลักษณะเดียวกัน คือ
เนื้อหาเกีย่ วความรูท้ วไป
ั ่ ความรักชาติ สุขภาพ บุคลิกภาพ วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ ลักษณะนิสยั และการเกษตร
เนื้อหาต่างๆ ปรากฏในตาราเรียนเรื่องละ 2-3 บท การเรียนการสอนในระดับนี้พยายามปลูกฝั งให้ผเู้ รียนมีความรู้
ในเรื่องราวต่างๆ ข้างต้น โดยเนื้อหาที่ถูกกาหนดขึ้นในลักษณะของบทกลอน เรื่องเล่า (Myanmar Language
Grade3, Grade4, Grade5, 2012)
การเรียนการสอนในระดับนี้ได้มกี ารเน้นผูเ้ รียนทาความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ อย่างถูกต้องตามทีต่ าราเรียน
กาหนด โดยให้เหตุผลว่า สาหรับนักเรียนพม่าที่พูดภาษาพม่าเป็ นประจาทุกวันการทาความเข้าใจเนื้อหาและ
คาศัพท์ทล่ี กึ ซึง้ สามารถทาได้โดยง่าย ในขณะนักเรียนทีม่ าจากกลุ่มชาติพนั ธุต์ ่างๆ อาจมีความลาบากในการทา
ความเข้าใจเนื้อหามากกว่า ทาให้ผสู้ อนต้องเน้นเรื่องการอธิบ ายความหมายและชักชวนให้เด็กมีส่วนร่วมในการ
เรียนการสอนมากขึน้
การเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่าในระดับประถมนัน้ เป็ นการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะในการอ่านเขียนภาษา
พม่า ในช่วงเกรด 1-2 นักเรียนจะถูกกาหนดให้เรียนภาษาพม่ามากกว่า 11 คาบต่อสัปดาห์ และเมื่อเรียนในระดับ
ทีส่ งู ขึน้ ระยะเวลาการเรียนต่อสัปดาห์กจ็ ะลดลงตามระดับชัน้ ทีส่ งู ขึน้ และถึงแม้ว่าเนื้อหาเกีย่ วกับวิธกี ารสอนของ
ครูจะกาหนดว่าต้องสอนให้ผเู้ รียนสามารถทาความเข้าใจเนื้อหา การวิเคราะห์ และนามาใช้ประโยชน์ แต่การเรียน
การสอนของพม่าปั จจุบนั ยังคงเน้นวิธกี ารท่องจาเป็ นสาคัญ

บทบำทหญิงชำยที่ปรำกฏในตำรำเรียน
จากการค้นคว้าข้อมูลจากตาราเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่าในระดับประถมของประเทศพม่า (เกรด 1-5)
ผูว้ จิ ยั พบว่ามีเนื้อหาทีแ่ สดงให้เห็นเกีย่ วกับบทบาทชายหญิงซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้แบ่งเป็ นกลุ่ม ดังนี้

บทบาทเกีย่ วกับอาชี พ
ตาราเรียนระดับประถมของประเทศพม่า มีเนื้อหาทีแ่ สดงให้เห็นถึงการกาหนดบทบาทหญิงชายในเรื่อง
ของอาชีพ อาชีพของเพศหญิงทีพ่ บบ่อยมากทีส่ ุด คือ ครูผหู้ ญิง ซึง่ คาในภาษาพม่าจะแยกเพศของคุณครูไว้ คือ
ครูผหู้ ญิง ภาษาพม่าเรียกว่า “สะยามะ” (ဆရာမ) และครูผชู้ าย ภาษาพม่าเรียกว่า “สะยา” (ဆရာ) นอกจากนี้ยงั
พบว่ามีเนื้อหาเกีย่ วกับการปฏิบตั ใิ นห้องเรียนหรือการให้ความเคารพระหว่างนักเรียนกับครูผหู้ ญิงเป็ นส่วนใหญ่
และเนื้อหาเกีย่ วกับครูผชู้ ายมีจานวนน้อยมาก

193
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ทัง้ นี้เนื้อหาทีเ่ กีย่ วข้องกับอาชีพครูทถ่ี ูกกล่าวถึงระหว่างครูผหู้ ญิงและครูผชู้ ายกลับมาความแตกต่างกัน


อย่างเห็นได้ชดั ในขณะทีเ่ นื้อหาของตาราเรียนทีถ่ ูกแทนด้วยรูปภาพของครูผหู้ ญิงจะอธิบายถึงครูในฐานะที่เป็ น
ผู้ดูแล อบรมสังสอน่ และคอยช่วยเหลือนักเรียนเมื่อไม่สามารถทาความเข้าใจบทเรียนได้ด้วยตนเอง ในขณะที่
เนื้อหาของตาราเรียนทีถ่ ูกแทนด้วยรูปภาพของครูผชู้ ายกลับอธิบายถึ งครูท่ลี ูกศิษย์ต้องมีความเคารพ ให้เกียรติ
และเชื่อฟั งคาสังสอน่ อาทิ

อ่านหนังสือได้ไหม มาใกล้ๆ คุณครู (ผู้หญิง) สักครู่ มาสิ มาเลย (Myanmar Language


Grade1 2012, 6)
น่าสังเกตว่า “อาชีพครู” เป็ นอาชีพทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่ามีเกียรติของผูห้ ญิงเหมือนกับ “อาชีพทหาร” ซึง่
เป็ นอาชีพทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่ามีเกียรติของผูช้ าย เนื้อหาในตาราเรียนทุกส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับอาชีพทหาร ทัง้ ทีเ่ ป็ น
ตัวอักษรและภาพจะถูกกากับไว้ดว้ ยภาพของผูช้ ายทัง้ หมด เพราะทหารเป็ นอาชีพทีม่ เี กียรติในสังคมพม่า

ทหารนี้เก่ง เป็ นเพื่อนทีเ่ ป็ นคนดีคนเก่ง (Myanmar Language Grade1 2012, 37)


สอดคล้องกับเนื้อหาตาราเรียนทีอ่ ธิบายว่า ทหารเป็ นผูด้ แู ลให้เกิดความสงบสุขในสังคมพม่า และเป็ นผูท้ ่ี
คอยสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศพม่าให้มคี วามเจริญก้าวหน้าอีกด้วย
ตาราเรียนระดับประถมยังมีเนื้อหาทีพ่ ูดถึงการทางานของผูห้ ญิงในอาชีพต่ างๆ เช่น พยาบาล แม่บา้ น
เป็ นต้น ซึง่ อาชีพดังกล่าวเป็ นอาชีพทีต่ อ้ งใช้ความดูแลเอาใจใส่ และความละเอียดอ่อน การอธิบายเนื้อหาหรือเรื่อง
เล่าทีเ่ กีย่ วข้องกับอาชีพพยาบาลทีป่ รากฏในตาราเรียนนัน้ มักจะปรากฏคู่กบั เรื่องหรือภาพของแพทย์ซง่ึ ถูกแทน
ด้วยผูช้ ายอยู่เสมอ
ในช่วงอาณานิคมผูห้ ญิงพม่าได้มโี อกาสในการเรียนรูเ้ กีย่ วกับเรื่องสาธารณสุขและสุขภาพอนามัย (นิสารัตน์
2555, 88-92) เพราะอังกฤษให้ความสาคัญเรื่องสุขภาพของแม่และเด็ก และมองเห็นว่าผูห้ ญิงพม่ามีศกั ยภาพเพียง
พอทีจ่ ะเรียนรูแ้ ละปฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วกับการดูแลผูป้ ่ วยหรือการดูแลสุขภาพ ซึง่ สอดคล้องกับบุคลิกตามอุดมคติทว่ี ่า
ผูห้ ญิงพม่าจะต้องผูด้ แู ลสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยงั มีการกล่าวถึงผูห้ ญิงในฐานะแม่คา้ ซึง่ เป็ นอาชีพทีไ่ ด้รบั
การบันทึกในหลักฐานเกีย่ วกับทักษะการค้าขายของผูห้ ญิงชาวพม่าว่า “ฉลาดเฉลียว พูดเก่ง แต่รูห้ นังสือน้อ ย”
(นิสารัตน์ 2555, 79)
ในขณะอาชีพทีใ่ ช้ภาพแทนและอธิบายด้วยเนื้อหาของผูช้ ายนัน้ จะปรากฏเป็ นอาชีพทีต่ ้องใช้พลังกาลัง
ความแข็งแรงของร่างกาย และงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ เช่น ชาวไร่ชาวนา ทหาร ตารวจ แพทย์ หรือ
แม้แต่งานที่เกี่ยวข้องกับงานฝี มอื ต่างๆ หรือช่ างสิบหมู่ ได้แก่ งานเหล็ก ( ပန္းပဲ) งานทอง (ပန္းထ မ္) งานหล่อ
(ပန္း တ္း) งานปูนปั ้น (ပန္းတ ာာ့) งานก่อปูน (ပန္းရန္) งานแกะสลัก (ပန္းပု) งานสลักหิน (ပန္းတမာာ့) งานกลึงไม้
(ပန္းပ ္) งานวาด (ပန္းခ ်ီ) และงานลงรัก (ပန္းယန္း) (Myanmar Language Grade5 2012, 46-49) ซึง่ ชาวพม่า
ยกย่องคุณค่าและให้ความสาคัญต่องานช่างสิบหมู่เป็ นอย่างมาก เพราะงานช่างสิบหมู่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรม
ชัน้ สูงที่มมี าตัง้ แต่อดีต ลวดลายของานที่มเี อกลักษณ์เฉพาะตัว งานช่างสิบหมู่บางชิน้ แสดงให้เห็นเรื่องราวทาง
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีของชาวพม่ าทีส่ บื ทอดมาตัง้ แต่อดีต เรื่องราวเล่านี้กถ็ ูกแทนด้วยภาพของ
ผูช้ ายทัง้ หมด

194
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ภาพแทนเกีย่ วกับผู ้มีความรู แ้ ละแสวงหาความรู ้


ต าราเรีย นระดับ ประถมของประเทศพม่ า มีเ นื้ อ หาที่แ สดงให้เ ห็น ภาพแทนของผู้มีค วามรู้แ ละมี
ความสามารถน่าชื่นชม และเหมาะสมทีจ่ ะยึดถือเป็ นแบบอย่าง เนื้อหาในส่วนดังกล่าวใช้ภาพแทนของผูช้ ายในการ
กล่าวถึงผูม้ คี วามรูแ้ ละมีความสามารถอย่างสม่าเสมอ ในตาราเรียนทีแ่ สดงให้เห็นถึงความสามารถในการศึกษา
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มกี ารระบุชดั เจนเป็ นตัวอักษรว่า ผู้ชายเป็ นผู้มคี วามรู้ หมันแสวงหาความรู
่ ้ แต่ภาพประกอบใน
หนังสือในเนื้อหาทีเ่ กีย่ วข้องกับการแสดงตัวว่าเป็ นผูม้ คี วามรูห้ รือใฝ่ หาความรูจ้ ะเป็ นภาพของเด็กผูช้ ายเสมอ

คุณค่าความงามของผู ้หญิง
ในขณะทีต่ าราเรียนระดับประถมของประเทศพม่ามีการนาเสนอภาพของผูช้ ายในด้านของการแสวงหา
ความรู้ แต่ในด้านของผูห้ ญิงกลับมีการนาเสนอเกีย่ วกับ การแต่งกาย การสวมเครื่องประดับ การประทินผิว เห็นได้
ว่าเนื้อหาทีป่ รากฏในตาราเรียนมีการกล่าวถึงความงามทีเ่ ป็ นความงามของผูห้ ญิง อาทิ

ในหมู่บ้านมีงานอะเญ่งไหม ได้ยินคนส่งเสียงดัง สาวๆ กาลังแต่ งตัวอยู่ ท่าทางการราดู


สวยงาม ถ้างานจบแล้ว กลับบ้านด้วยกัน (Myanmar Language Grade2 2012, 9)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความงามของผู้หญิง ถือเป็ นการผลิตซ้าเรื่องความรักสวยรักงาม ชี้เห็นถึงความ
สวยงามของรูปร่างหน้าตา และเป็ นการปลูกฝั งให้ผู้ หญิงดูแลใส่ใจตนเอง ในขณะเดียวกันเนื้อหาที่เกีย่ วข้องกับ
ผูช้ ายไม่ได้ชใ้ี ห้เห็นเกีย่ วกับเรื่องดังกล่าว
ผูห้ ญิงพม่าให้ความสาคัญกับเรื่องการดูแลความสะอาดและการต่างกายของตนเองเป็ นอย่างมาก การมี
ผมดาและยาว ละเอียดลออกับเรื่องของเสือ้ ผ้าเครื่องประดับ และการประทินผิวด้วยทานาคาสม่าเสมอ ผูห้ ญิงพม่า
ที่ถือว่างดงามต้องเป็ นคนที่มผี วิ พรรณดี ดวงตาสดใส เอวคอด และมีเส้ นผมที่เงางาม นอกจากความงามทาง
ร่างกายแล้ว ผู้หญิงพม่าในแบบอุดมคติจะต้องมีกริ ยิ ามารยาทที่สวยงามอีกด้วย ในหนังสือเมียนมาโส่โยซะกา
(ျ မန္မာဆိုရိုျျားစကာား) ของกระทรวงศึกษาธิการประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีสานวนทีว่ ่า

“တယာာ္ ား ုးတုန္း လာ္ရံုး ၊ “บารมีของผู้ชายอยู่ท่ตี ้นแขน


မန္းမ ုးတုန္း ဆံထံုး” บารมีของผูห้ ญิงอยู่ทม่ี วยผม”

(เมียนมาโส่โยซะกา 1996, 88)


สานวนนี้จงึ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวพม่าเกี่ยวกับเส้นผมของผู้หญิงได้เป็ นอย่ างดี
เพราะผูห้ ญิงพม่าให้ความสาคัญต่อเส้นผมเป็ นอย่างมาก นอกจากจะเชื่อว่าการทีม่ เี ส้นผมเงางามตามตาราโลกนิต
แล้ว ผมยังเป็ นสิง่ ทีเ่ สริมสร้างบารมีให้กบั ผูห้ ญิงได้ดว้ ยการถวายผมแก่วดั หรือองค์พระเจดียต์ ่างๆ การทาบุญด้วย
ผมของหญิงสาวพม่านัน้ นิยมถวายผมแด่พระพุทธรูปและพระเจดียเ์ พื่อกุศล แต่ทราบว่าผูห้ ญิงมักจะถวายผมเมื่อ
ถึงคราวเจ็บป่ วย ดังพบแขวนเป็ นปอยผมไว้ใกล้ๆ กับองค์พระ บางคนทีบ่ วชเป็ นชีจะตัดผมถวายวัดโดยเก็บไว้ใน
ตูก้ ระจก ส่วนคนทีอ่ ยากมีผมสวยในภพหน้านัน้ กลับไม่นิยมเพียงถวายผมกับองค์พระ แต่ยงั ถวายไม้กวาดอีกด้วย
(วิรชั และอรนุ ช นิยมธรรม 2551, 205) ดังนัน้ สานวนนี้จงึ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับความงาม
ของผูห้ ญิงพม่าได้เป็ นอย่างดี

195
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทบาทหญิงชายภายในครอบครัว
จากการศึก ษาพบว่ า ต าราเรีย นวิช าการอ่ า นภาษาพม่ า ในระดับ ประถมศึก ษาชัน้ ปี ท่ี 1-5 ได้มีก าร
สอดแทรกเนื้อหาเกีย่ วกับหญิงชายในด้านต่างๆ ไว้ เช่น การเป็ นแม่และพ่อทีด่ ี การแบ่งหน้าทีใ่ นครอบครัว และ
การปลูกฝั งให้ผชู้ ายเป็ นผู้เสียสละ เป็ นต้น เนื้อหาทีแ่ สดงให้เห็นบทบาทหญิงชายภายในครอบครัว บทบาทของ
ผูห้ ญิงจะถูกนาเสนอออกมาในฐานะแม่และภรรยา มีหน้าทีอ่ บรม สังสอน ่ และดูแลสมาชิกภายในครอบครัว แต่มี
รายละเอียดบางส่วนที่ผู้หญิงไม่สามารถปฏิบตั ิได้ทาให้ผู้หญิ งและผู้ชายมีอานาจในการตัดสินใจเรื่องราวต่ างๆ
แตกต่างกันไป
ในสังคมพม่าพื้นที่บริเวณบ้านนัน้ ผู้หญิงถือเป็ นพื้นที่ของผู้หญิง ผู้หญิงจะเป็ นผู้ดูแลความเรียบร้อ ย
ภายในบ้าน แต่การปฏิบตั หิ น้าทีด่ งั กล่าวของผูห้ ญิงก็มขี อ้ กาหนดหรือวาทกรรมบางอย่างในสังคมกาหนดขอบเขต
การปฏิบตั หิ น้าทีด่ งั กล่าว เช่น ในกรณีของการซักผ้า ผ้าถุงหรือกระโปรงของผูห้ ญิงจะไม่สามารถซักร่วมกับของ
ผูช้ ายได้ และผ้าถุงหรือกระโปรงของผูห้ ญิงจะไม่สามารถนาไปเก็บไว้ในส่วนบนสุดของตูเ้ สือ้ ผ้าได้เช่นกัน (Than
Than New 2003, pp. 7-8)
การเป็ นแม่และภรรยาทีด่ จี งึ เป็ นความภาคภูมใิ จอย่างหนึ่งของผูห้ ญิงชาวพม่า ซึง่ สามารถยืนยันได้จาก
สุภาษิตประโยคหนึ่งของชาวพม่าว่า “ถ้าลูกรักพ่อ แสดงว่ามีแม่ทด่ี ี” ความหมายของทีแ่ ฝงอยู่ในประโยคนี้ แสดง
ให้เห็นความสัมพันธ์ในครอบครัวทีแ่ ม่มคี วามผูกพันกับลูกมากกว่า และแม่เป็ นผูท้ าหน้าทีอ่ บรมสังสอนลู
่ กนันเอง

ในตาราเรียนมีเนื้อหาทีช่ ใ้ี ห้เห็นว่า ผูห้ ญิงได้ถูกคาดหวังให้มคี ุณลักษณะภรรยา และแม่ทด่ี ี ตัวอย่างเช่น
ในตาราเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่า เกรด 3 มีเนื้อหาทีว่ ่า

แม่ของเราน่ ารัก คอยเลีย้ งดูเราตลอดชีวติ ตอนเด็กๆ แม่ของเราสอนให้มรี ะเบียบ เมื่ อถึงวัย


เรียนก็ให้ไปโรงเรียนเพื่อศึกษาหาความรู้ แม่ของเราเป็ นผู้ท่นี ่ าเคารพ ให้กนิ แต่อาหารทีด่ ี
เพื่อสุขภาพ แม่ทร่ี กั แต่งตัวให้เราด้วยความเมตตา (Myanmar Language Grade3 2012, 4)
เนื้อหาดังกล่าวเป็ นการอธิบายให้เห็นภาพความเป็ นแม่ทด่ี ขี องสังคมพม่า รวมถึงเป็ นการสร้างกรอบหรือ
แนวทางปฏิบตั ติ นเพื่อเป็ นแม่ทด่ี ตี ามอุดมคติว่าควรจะปฏิบตั ติ วั อย่างไร เนื้อหาดังกล่าวได้พูดถึงแม่ในฐานะทีเ่ ป็ น
ผูค้ อยดูแล ประคับประคองเพื่อให้ลกู ก้าวไปสูค่ วามสาเร็จ
ในขณะที่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องผู้ชายในฐานะของพ่อนัน้ กลับเป็ นผู้ท่มี บี ทบาทในการสร้ างรากฐานชีวติ ที่
มันคงให้
่ กบั ลูก ในฐานะทีเ่ ป็ นผูม้ สี ติปัญญาทีเ่ ฉียบแหลมและเป็ นผูว้ างแผนการดาเนินชีวติ เพื่อไปสูค่ วามสาเร็จของ
ลูก ซึง่ สอดคล้องกับเนื้อหาทีเ่ กีย่ วข้องกับบทบาทความเป็ นผูน้ าของผูช้ ายทีป่ รากฏในตาราเรียนวิชาการอ่านภาษา
พม่า เกรด 3 ทีว่ ่า

พ่อของเรามีบุญคุณทีย่ งิ่ ใหญ่ คอยหาเงินเพื่อเป็ นค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดปั ญหาพ่อของเราจะช่วย


แก้ไข พ่อของเราน่ าเคารพ เป็ นผู้วางแผนภายในครอบครัว พ่อของเรามีสติปัญญาและ
ความคิดทีก่ ว้างไกล พ่อของเราสอนว่า เรื่องของประเทศก็เหมือนเรื่องของเรา (Myanmar
Language Grade3 2012, 6)
ผูห้ ญิงพม่าส่วนใหญ่ให้ความสาคัญกับเรื่องการแต่งงานและการเป็ นภรรยาทีด่ ี เพราะคนพม่ามีความเชื่อ
ทีเ่ ชื่อมโยงกับศาสนาพุทธว่า ในชีวติ ของคนหนึ่งคนจะมีสงิ่ ทีเ่ ป็ นมงคล 3 ประการ ทีค่ วรปฏิบตั ิ ได้แก่

196
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

1. การบวชเณร
2. การบวชพระ
3. การแต่งงาน
สาเหตุทผ่ี หู้ ญิงพม่าให้ความสาคัญกับการแต่งงานเป็ นพิเศษ เพราะสิง่ ทีเ่ ป็ นมงคลใน 2 ประการแรกเป็ น
สิง่ ที่ผู้หญิงไม่สามารถปฏิบตั ิได้ด้วยตนเอง การแต่ งงานจึงเป็ นเสมือนสิง่ ที่เป็ นมงคลเพียงอย่างเดียวที่ผู้หญิง
สามารถมีได้จากสิง่ ทีเ่ ป็ นมงคลทัง้ 3 ประการทีค่ นพม่าเชื่อว่าจะต้องปฏิบตั ติ าม
ในภาษาพม่ามีคาศัพ ท์คาหนึ่งที่แสดงถึงสถานะในครอบครัว นัน่ คือคาว่า “เองน์ อุนัต ” (အမ္္ဥားနတ္ )
แปลว่า “เทพประจาบ้าน” พม่ามีความเชื่อเรื่อง “นัต” นัตในสังคมพม่า หมายถึง “วิญญาณศักดิสิ์ ทธิของผู ์ ต้ ายร้าย”
เป็ นภูตผูเ้ ป็ นทีพ่ ง่ึ ของปุถุชนทัวไป
่ นัตทีเ่ ป็ นภูตผีจะมีฐานะกึง่ เทพกึง่ ผี คื อ อยู่ระหว่างเทพและผี มีระดับสูงกว่าผี
ทัวไป
่ แต่มเิ ทียบเท่าเทวดา นัตจึงไม่ใช่ผธี รรมดาสามัญ (วิรชั -อรนุ ช 2551, 144) คาว่า “เองน์อุนัต” ได้กล่าวถึง
ผูช้ ายทีม่ อี ายุมากทีส่ ุดในบ้าน เป็ นผูท้ ท่ี าหน้าทีด่ ูแล ปกครอง และมีอานาจสูงสุดในบ้าน กรณีทป่ี หรื ู่ อพ่อเสียชีวิ ต
ลูกชายจะกลายเป็ นเองน์อุนตั และทาหน้าทีเ่ ป็ นเสาหลักของครอบครัว
สาหรับ ชาวพม่ า ครอบครัว เปรีย บเสมือ นศูน ย์ก ลางของความสามัค คี ความรัก และความเคารพที่
เรียงลาดับมากตัง้ แต่ผอู้ าวุโสมากจนถึงผูท้ อ่ี ายุน้อยทีส่ ดุ ในครอบครัว (Tha Nyunt 1962, 30) ถึงแม้ว่าลูกหลานจะ
มีครอบครัวของตนเองแล้ว แต่ปยู่ ่าตายายจะยังคงอาศัยกับลูกหลานของตน และเป็ นความรับผิดชอบของลูกหลาน
ที่จะดูแลปู่ ย่าตายาย นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องการแบ่งหน้าที่กนั ภายในบ้านจะเห็นได้ชดั ว่าตาราเรียนกาหนด
บทบาทให้ผู้ชายทางานที่ต้องใช้แรงและกาลัง ในขณะที่ผู้หญิงจะเป็ นผู้ดู แลงานภายในบ้านและมีความประณีต
อ่อนโยนกว่า ผูห้ ญิงจึงมีสถานะเป็ นผูด้ แู ลมีหน้าทีค่ อยดูแลและสนับสนุน

ชาวนาวัยรุ่นกาลังนวดข้าวอยู่ พีส่ าวกาลังขนข้าวเปลือก แม่ซอ้ื อาหารผ่านมา มีแตงโมมา


ด้วยไหม (Myanmar Language Grade1 2012, 33)
เนื้อหาในส่วนดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการแบ่งการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง คือ ผูช้ ายจะ
ทางานทีใ่ ช้แรงงานเป็ นหลัก ในขณะทีผ่ หู้ ญิงจะเป็ นผูท้ ค่ี อยสนับสนุนผูช้ ายเพื่อให้งานนัน้ ๆ สาเร็จตามเป้ าหมาย

วีรบุ รุษ
เนื้อหาในตาราเรียนระดับประถมของประเทศพม่าทีก่ ล่าวถึงวีรบุรุษของประเทศ จะได้กล่ าวถึงวีรบุรุษใน
ฐานะของผูท้ ต่ี ่อสูเ้ พื่อให้ได้มาซึง่ เอกราชของพม่า เป็ นผูท้ ช่ี าวพม่ารัก เทิดทูน และเป็ นบุคคลต้นแบบในการดาเนิน
ชีวติ ดาเนินรอยตาม แต่วรี ุบุรุษทีป่ รากฏในตาราเรียนระดับประถมของพม่านัน้ ล้วนเป็ นผูช้ ายทัง้ หมด อาทิ นาย
พลอองซาน มหาพันธุละ จึงเป็ นทีน่ ่ าสนใจว่าประเทศพม่าให้คุณค่าต่อผูช้ ายบทบาทในการปกป้ อง ดูแล และเป็ น
ส่วนหนึ่งในการสร้างชาติมากกว่าผูห้ ญิง อาทิ

วันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 1915 เป็ นวันเกิดนายพลอองซาน ลูกชายของทนายความ “อูผ่า”


เกิดทีเ่ มืองนัตเม่า จังหวัดมะเกว ลูกชายของ “ด่อซุ” เข้มแข็ง ใน ค.ศ.1940 ย้ายไปทีเ่ มือง
ตะมะลอ และในวันที่ 19 เดือนมิถุนายน น้าตาไหล จิตใจแห้งเหีย่ ว พวกเราจะไม่ลมื นายพล
พ่อผูม้ พี ระคุณของสหภาพ ว่าเป็ นผูท้ ต่ี ่อสูเ้ พื่อให้ได้เอกราช จดจาและนึกถึงนายพล ผูน้ าที่
ประชาชนทุกคนรัก (Myanmar Language Grade4 2012, 18)

197
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เนื้อหาดังกล่าวได้กล่าวถึง นายพลอองซาน ซึง่ คนพม่าถือว่าเป็ นวีรบุรุษทีพ่ ยายามวางรากฐานทีม่ นคง


ั่
ให้กบั ประเทศพม่า ในปี 1978 นายพลอองซาน คือ วีรบุรุษทีถ่ ูกเลือกให้ปรากฏในตาราเรียน (Nicolas & Rosalie
2012, 36) เช่น ในตาราเรียนประวัติศาสตร์ เกรด 4-5 มีบทเรียนที่เขียนเกี่ยวกับ “The Ganeral’s Way” หรือ
ภาพประกอบของนายพลอองซานระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ทม่ี หาธาตุเจดียช์ เวดากอง และตาราเรียนวิชาการ
อ่านภาษาพม่า เกรด 3-4 เกีย่ วกับประวัตขิ องนายพลอองซานและเพลงสรรเสริญนายพลอองซาน
ในขณะทีว่ รี บุรุษหรือกลุ่มคนอื่นๆ ถูกถอดเนื้อหาออกจากตาราเรียน เช่ น อูวสิ าระ (U Wisara) ทีห่ ายไป
จากตาราเรียนโดยสมบูรณ์ แต่เนื้อหาเกีย่ วกับนายพลอองซานกลับปรากฏในตาราเรียนอยู่เป็ นระยะๆ นอกจาก
การเพิม่ เนื้อหาเกีย่ วกับในตาราเรียนแล้ว วันครบวันเกิดของนายพลอองซาน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ยงั ถูก
กาหนดขึน้ ให้เป็ นวันเด็กแห่งชาติของประเทศพม่าอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า นอกจากรัฐพม่าจะบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับวีรบุรุษ โดยการเล่าตานานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับ
วีรบุรุษเพื่อปลูกฝั งให้เด็กมีความรักชาติแล้ว รัฐยังได้เชื่อมรูปแบบความคิดดังกล่าวเข้ากับรูปแบบการดาเนิน
ชีวติ ประจาวัน โดยการกาหนดวันเด็กแห่ งชาติในตรงกับวันเกิดของนายพลอองซาน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์
ระหว่างต้นแบบของความรักชาติของนายพลอองซานกับความรักชาติของเด็กทีร่ ฐั พยายามปลูกฝั งให้มคี วามเป็ น
อันหนึ่งกันเดียวกัน
ถึงแม้เนื้อหาตาราเรียนจะแสดงให้เราเห็นชัดเจนว่ารัฐพยายามทีจ่ ะใช้ประโยชน์จากเนื้อหาตาราเรียนที่
เกีย่ วข้องกับวีรบุรุษอย่างชัดเจน แต่ไม่เป็ นทีป่ รากฏว่าเนื้อหาในตาราเรียนระดับประถม 1-5 จะมีเนื้อหาเกีย่ วกับ
วีรบุรุษทีเ่ ป็ นผูห้ ญิง หรือแม้กระทังเนื
่ ้อหาเกีย่ วกับพระนางฉิ่นสอบุ ทีเ่ ป็ นผูร้ เิ ริม่ ธรรมเนียมการบริจาคทองคาเท่า
น้าหนักของตนเองเพื่อการบูรณะพระมหาเจดียช์ เวดากอง จนกลายเป็ นพระราชพิธที ถ่ี อื ปฏิบตั สิ บื ต่อกันมาก็ยงั ไม่
มีปรากฏ และปั จจุบนั พระมหาเจดียช์ เวดากองถือเป็ นเจดียศ์ กั ดิสิ์ ทธิคู์ ่บา้ นคู่เมืองของพม่า
อีกสิง่ ทีน่ ่าสังเกตคือ ในตาราเรียนไม่ได้กล่าวถึงทหารหญิงซึง่ มีบทบาทในการปกป้ องประเทศพม่าในช่ว ง
การต่อต้านอาณานิคมทัง้ อังกฤษและญี่ป่ ุน เพราะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1945 ได้มกี ารจัดตัง้ กองทัพทหาร
หญิงขึน้ (Tharaphi 2014, 75) ซึง่ ทาหน้าทีใ่ นการสนับสนุนกลุ่มผูช้ ายหรือทหารทีเ่ ป็ นผูช้ ายในการดาเนินกิจกรรม
ต่างๆ จึงเป็ นทีน่ ่าสนใจว่า จริงๆ แล้วรัฐพม่านัน้ ไม่เพียงแต่กาหนดเนื้อหาและเลือกวีรบุรุษเพื่อบรรจุเนื้อหาให้เด็ก
ได้ศกึ ษาเท่านัน้ แต่รฐั ได้กาหนดกรอบทีว่ ่าวีรุบุรุษของพม่าคือ ผูช้ ายทีม่ คี วามแข็งแกร่งและใช้ความแข็งแกร่งนัน้
ในการปกป้ องประเทศให้มคี วามรุ่งเรือง ในขณะทีก่ ารปฏิบตั ขิ องผูห้ ญิงทีท่ าหน้าทีใ่ นการดูแลประเทศในรูปแบบที่
แตกต่ างกันกลับไม่ได้รบั การยอมรับให้เป็ นส่วนหนึ่งในความรักชาติท่ถี ูกเลือกให้ปรากฏในเนื้อหาตาราเรียน
ระดับประถม

ความเป็นผู ้นา
สังคมพม่ามองว่าผูช้ ายเป็ นผูน้ า ส่วนผูห้ ญิงเป็ นผูต้ ามทีใ่ ห้ความช่วยเหลือและคอยสนับสนุนผูช้ ายเท่านัน้
ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงส่งผลให้ผหู้ ญิงมีโอกาสทีจ่ ะแสดงบทบาททางสังคมได้น้อยกว่าผูช้ าย ซึง่ ตรง
กับสานวนพม่าทีว่ ่า

တယာာ ္ား ားတဓားေး မန္းမဓားေားတမး(เรณู 2543, 23) แปลว่า ผูช้ ายลับมีด ผูห้ ญิงให้กาเนิด
ลูก มีความหมายว่า ผู้ชายลับมีดเพื่อจะต่อสูป้ กป้ องประเทศชาติ ผู้หญิงคลอดลูกสาหรับ
อนาคตของประเทศ แสดงให้เห็นถึงเรื่องของหน้าทีส่ ามีภรรยา

198
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

တယာာ ္ ာ းတာာာ္ း တမာာ္ း မ (เมีย นมาโส่โยซะกา, p.187) แปลว่ า ผู้ช ายมี


မ္ တ ထာာ္
ความสามารถ ผูห้ ญิงพึง่ พิงได้เป็ นพัน มีความหมายว่า ผูช้ ายทีส่ ามารถหาทรัพย์สมบัตไิ ด้
ย่อมเป็ นทีพ่ ง่ึ ของผูห้ ญิง
เนื้อหาในตาราเรียนระดับประถมของประเทศพม่า พบว่ามีเนื้อหาทีแ่ สดงให้เห็นเกีย่ วกับความเป็ นผูน้ า
และเป็ นผูเ้ สียสละ การกาหนดบทบาทหญิงชายในเรื่องบทบาทและการผลักดันให้เป็ นผู้นาที่ดขี องผูช้ าย เนื้อหา
ภายในหนังสือจะสื่อถึงการอบรมสังสอนให้
่ นักเรียนผูช้ ายมีความเป็ นผู้นา รู้จกั การมีสมั มาคารวะ การช่วยเหลือ
ผูอ้ ่นื การเลือกคบมิตร รวมทัง้ การรูจ้ กั ตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยชีน้ าว่ากระปฏิบตั ติ นตามคาแนะนาดังกล่าวจะ
เป็ นการนาพาชีวติ ของตนเองไปสูค่ วามสาเร็จในภายภาคหน้า
ในอดีตประเทศพม่าไม่ปรากฏว่ามีผนู้ าที่เป็ นผูห้ ญิงเลย ผูน้ าทัง้ หมดนับตัง้ แต่การเรียกร้องเอกราชจาก
อังกฤษล้วนเป็ นผูช้ ายทีเ่ ข้ามามีบทบาทในการดูแล และบริหารจัดการ จนกระทังอองซานซู ่ จเี ริม่ มีการเคลื่อนไหว
ด้านการเมืองในพม่า อองซานซูจผี หู้ ญิงทีไ่ ด้รบั การยอมรับในสังคมของประเทศพม่าเป็ นอย่างมากในสังคม ออง
ซานซูจกี า้ วเข้าสูส่ งั คมการเมืองพม่า เมื่อประมาณ 20 ปี ทแ่ี ล้ว ปั จจุบนั อองซานซูจไี ด้การยอมรับในสังคมพม่ามาก
ยิง่ ขึน้ และกลายเป็ นต้นแบบให้แก่เด็กผูห้ ญิงในประเทศพม่า

สรุ ป
จากการศึกษาและวิเคราะห์ขอ้ มูลจากตาราเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่าในระดับประถมของประเทศพม่า
(เกรด 1-5) พบว่าเนื้อหาในตาราเรียนได้มกี ารพยายามปลูกฝั งความเป็ นหญิงชายอันพึงประสงค์ตามความต้องการ
ของรัฐ เพื่อสร้างหญิงชายในอุดมคติอกี ด้วยผูห้ ญิงถูกคาดหวังในเรื่องของการเป็ นแม่และภรรยาทีด่ ี
น้าเสียงในการเล่าเรื่องของตัวละครต่างๆ ทีป่ รากฏในตาราเรียนนัน้ เนื้อหาส่วนใหญ่จะใช้สรรพนามบุรุษ
ที่ 1 ซึ่งใช้แทนตัวผูเ้ ล่าว่า “จะหน่ อ” (ာ ၽန္တ ာ္) แปลว่า “ผม” เป็ นคาสรรพนามที่ใช้แทนตนเองของผูช้ าย และ
เนื้อหามักจะกล่าวถึงผูห้ ญิงในฐานะของผูท้ ถ่ี ูกกล่าวถึงในเรื่องเล่านัน้ ๆ เนื้อหาการเล่าเรื่องจึงเป็ นการเล่าเรื่องใน
มุมมองตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง คือ ผูช้ าย นันเอง่
ในขณะทีเ่ รื่องเล่าในตาราเรียนไม่พบเนื้อหาทีถ่ ูกเล่าด้วยเรื่องราวของผูห้ ญิง กรณีทม่ี เี รื่องของผูห้ ญิง เช่น
เรื่องแม่ของเรา ในตาราเรียนวิชาการอ่าน เกรด 3 (ျမန္မာာ ္မာ ဒု ယ န္း Grade3) จะพบว่าเรื่องเล่าถูกเล่า
โดยสรรพนามบุรุษที่ 3 คือ ผูเ้ ขียนเป็ นผูเ้ ล่าเรื่องราวทัง้ หมดด้วยตนเอง เล่าโดยการใช้มุมมองของตนเองทีม่ องเห็น
ว่าคุณลักษณะของความเป็ นแม่ทด่ี ขี องพม่านัน้ ควรมีลกั ษณะอย่างไร
ภาพของผู้หญิงที่ปรากฏในตาราเรียนจะเน้นเรื่องความสวยความงาม และเนื้อ หาที่พูดถึงผู้หญิงเป็ น
เกีย่ วข้องกับการทาหน้าทีค่ อยทาอาหาร เย็บปั กถักร้อย ดูแลสมาชิกในครอบครัว สอดคล้องกับทีส่ งั คมพม่ามองว่า
ผูห้ ญิง ภรรยา หรือแม่ เป็ นผูท้ ม่ี หี น้าทีใ่ นการดูแลสมาชิกในครอบครัว ผูห้ ญิงพม่าส่วนใหญ่มคี วามภาคภูมใิ จและมี
มุมมองว่าเป็ นผูห้ ญิงจะต้องปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นบ้านไม่ให้ขาดตกบกพร่อง
ในขณะทีผ่ ู้ชายถูกอธิบายด้วยภาพของความเป็ นผูน้ า ความรับผิดชอบ ความเข้มแข็ง มีความสามารถ
การตัดสินใจ มีความเป็ นผู้นา ปลูกฝั งให้มคี วามเสียสละ รู้จกั ช่วยเหลือผูอ้ ่นื การพยายามแสดงให้เห็นภาพของ
ผูช้ ายทีเ่ ป็ นผูข้ ยันหมันเพี
่ ยรอยู่เสมอ อาชีพทีไ่ ด้รบั เกียรติหรือได้รบั การยกย่องจากสังคมพม่าหรือเป็ นทีน่ บั หน้าถือ
ตาอย่างอาชีพทหาร จะได้รบั การอธิบายเนื้อหาถึงความแข็งแรงของร่างกาย ความมีน้าใจ และอธิบายด้วยรูปภาพ

199
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ของผู้ชายที่กาลังสวมเครื่องแบบทหารอยู่เสมอ ซึ่งเนื้อหาจากตาราเรียนวิชาการอ่านภาษาพม่าในระดับประถม
ของประเทศพม่า (เกรด 1-5) สะท้อนเห็นให้ถงึ ความแตกต่างเกีย่ วกับบทบาทหญิงชายเป็ นอย่างมาก
เนื่องจากเหตุผลทีว่ ่าการศึกษาถือเป็ นเครื่องมือในการเรียนรูส้ งั คมและวัฒนธรรมของมนุษย์ การศึกษาจึง
เป็ น จึง สิ่งสาคัญที่ถูกใช้เ ป็ น เครื่องมือ ในการควบคุมสังคม การศึก ษาที่ถูก ควบคุ มและจัด การโดยรัฐเป็ นสิง่ ที่
น่ าสนใจเป็ นอย่างมาก ปั จจุบ นั เนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ในการศึกษาระดับประถมไม่มกี ารแบ่งเป็ นการเรียนการ
สอนสาหรับนักเรียนชายและนักเรียนหญิง นักเรียนทุกคนจะได้เรียนเนื้อหาจากตาราเรียนเหมือนกันทัง้ หมด
คุณลักษณะของแต่ละเพศภาวะนัน้ ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ตามธรรมชาติ แต่ได้ถูกกาหนดผ่านกระบวนการขัด
เกลาทางสังคมที่มซี บั ซ้อน และแต่ละบุคคลก็จะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปเรื่อยๆ เพศภาวะที่ถูกกาหนดโดยสังคมจึง
สามารถเปลีย่ นแปลงได้ตามรูปแบบของสังคมหรือเปลีย่ นแปลงตามเงื่อนไขของสังคมทีเ่ ปลีย่ นไป ทัง้ ตามสภาพ
ทางเศรษฐกิจ การเมือ ง สัง คม ครอบครัว อายุ เชื้อ ชาติ ศาสนา ความเชื่อ ค่ า นิ ย ม สภาพภู มิศ าสตร์ ฯลฯ
กระบวนการขัดเกลาไม่ใช่การเริม่ ต้นเมื่อคนๆ นัน้ มีวยั วุฒใิ นการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
การสอดแทรกเนื้อหาเรื่องของบทบาทหญิงชายทีป่ รากฏในตาราเรียน ทาให้เห็นว่ารัฐได้เข้ามามีบทบาท
ในการจากัดความเรื่องความเป็ นหญิงชายในสังคม เพราะตัง้ แต่พม่าได้ประกาศให้มตี าราเรียนเพื่อใช้ประกอบการ
จัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนต่างๆ นัน้ ตาราเรียนทัง้ หมดทีจ่ ะนาไปใช้ในโรงเรียนได้ ล้วนเป็ นตาราเรียนที่
อยู่ภายใต้การดูแลและผลิตขึน้ โดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศพม่าเท่านัน้ ทาให้เห็นได้ชดั ว่ารัฐพม่าคือ ผูท้ ม่ี ี
บทบาทและเป็ นผูป้ ลูกฝั งชุดรูปแบบความคิดให้กบั เยาวชนทีค่ ่อยๆ เติบโตขึน้ ผ่านกระบวนการศึกษาทีม่ กี ารหล่อ
หลอมและถ่ายทอดสิง่ ต่างๆ ในสังคม รวมทัง้ เรื่องของเพศนันเอง

บรรณำนุกรม
หนังสือ
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2538. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม. รัฐและรูปการ
จิตสานึก. กรุงเทพฯ: มติชน.
ปรานี วงษ์เทศ. 2549. เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์) = Gender in Southeast Asia. กรุงเทพฯ:
มติชน.
———. 2544. เพศและวัฒนธรรม. นครปฐม : เรือนแก้วการพิมพ์.
เรณู เหมือนจันทร์เชย และ เมย์ เมียะ ข่าย. 2543. ภาษิต คาพังเพยและสานวนพม่า-ไทย. โครงการพม่า
ศึกษา สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเพือ่ พัฒนาชนบท.มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ:
สหธรรมิก.
วิรชั นิยมธรรม. 2551. คิดแบบพม่า: ว่าด้วยชาติและวีรบุรษุ ในตาราเรียน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
———. 2552. ไทยในการรับรูแ้ ละความเข้าใจของประเทศเพือ่ นบ้าน กรณีศกึ ษาตัวบทในตาราเรียนสังคมศึกษา
ของพม่า ว่าด้วย “ความสัมพันธ์เมียนมา-โยดะยา”. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
สุชาดา ทวีสทิ ธิ.์ 2547. เพศภาวะ: การท้าทายร่าง การค้นหาตัวตน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์
พับลิชชิง่ .
Chie Ikeya. 2012. Refiguring Women Colonialism and Modernity in Burma. Silkworm books. Bangkok.
Eckert, Peneloppe and Sally McConnell-Ginet. 2013. Language and Gender. Cambridge: Cambridge
University Press.

200
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

Jane Pilcher and Imelda Whelehan. 2004. Fifty Key Concepts in Gender Studie. London: SAGE
Publications.
Tharaphi Than. 2014. Women in modern Burma. Routledge: London.
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တ ာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာနႀ 2015.
တျခခံပပာတရးတပတဒ ဒမ(မာမ္း း) ၂ ခုမခမ္၊ စန္လ ဒး၂ ရာ္ႀ တနျပပ္တ ာ္ႀ
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တထာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာန. 2012.
ျမန္မာာ ္မာ ဓားေ(ာယ္ န္း Grade1. တနျပပ္တ ာ္ပံုမခပ္မာ္ရုံ. ျမန္မာ.
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တထာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာန. 2012.
ျမန္မာာ ္မာ ပထမ န္း Grade2. တနျပပ္တ ာ္ပံုမခပ္မာ္ရုံ. ျမန္မာ.
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တထာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာန. 2012.
ျမန္မာာ ္မာ ဒု ယ န္း Grade3. တနျပပ္တ ာ္ပံုမခပ္မာ္ရုံ. ျမန္မာ.
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တထာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာန. 2012.
ျမန္မာာ ္မာ ယ န္း Grade4. တနျပပ္တ ာ္ပံုမခပ္မာ္ရုံ. ျမန္မာ.
Ministry of Education Myanmar ျပပ္တထာာ္မုဓားေမသ ျမန္မာမုာ္ာံတ ာ္ မုးရ ပပာတရး န္ာာ်ီးဝာန. 2012.
ျမန္မာာ ္မာ မ ု တ န္း Grade5. တနျပပ္တ ာ္ပံုမခပ္မာ္ရုံ. ျမန္မာ.
Muang Myat Ye. တမာာ္ျမ ္ရပ္. 2014. တဆာာ္းဒ းရာပပ္ာ့မ့္စာ္း ဒ း (၁း) ( . မန္း ာကဓားေုလ္.
ျမန္မာမစာ ပ
ု ္ာဲဲ တ်ီးဝာန. 1996. ျမန္မာဆုရုးမာား. ရန္ာုန္ : ာကဓားေုလ္မ ားပံုမခပ္ ုာ္.
O’shannassy Teresa. 2000. Burma's Excluded Majority Women, dictatorship and the democracy
movement. CIIR. Burma.

บทความในวารสาร
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. 2545. การเร่งประดิษฐ์ประเพณีมวลชนในยุโรป 1870-1914 จากบทความ Mass
Producing Traditions: Europe 1870-1914 ของอิรคิ ฮอบสบอว์ม. ใน วารสารสังคมวิทยา
มานุษยวิทยา. ปี ท่ี 21 ฉบับที่ 1.
วัฒนพงศ์ วรคุณวิศษิ ฎ์. 2551. การศึกษาของพม่ายุคภายใต้การปกครองของอังกฤษ ค.ศ. 1826 – 1948.
ใน วารสารประวัตศิ าสตร์. เพ็ญพิสทุ ธิ ์ ทองมี. บรรณาธิการ. หน้า 103-119. มกราคม – ธันวาคม.
จุลสาร “รูจ้ กั พม่า.” 2545. วิรชั นิยมธรรม. บรรณาธิการ. พิษณุโลก : โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
Cheesman Nick. 2003. School, State and Sangha in Burma. Comparative Education 39(1). 45-63.
Chie Ikeya. 2008. The Modern Burmese Woman and the Politics of Fashion in Colonial Burma.
The Journal of Asian Studies 67(4). 1277-1308.
Chutintaranond, Sunait. 2535. Higher Education in Burma from the Pre-colonial Period to the Present.
เอเชียปริทศั น์. 13(3). หน้า 35-42. กันยายน-ธันวาคม.
J. Richard Udry.1994. “The Nature of Gender”, Demography. 31(4). 561-573.
Nicolas Salem-Gervvais and Rosalie Metro. 2012. “A Textbook Case of Nation-Building: The
Evolution of History Curricula in Myanmr”. Journal of Burma Studies. Volume 16, June.
Than Than New. 2003. “Gendered Spaces: Women in Burmese Society”. Tranformations, No.6.
February.

201
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

วิทยานิพนธ์
จุฑาภรณ์ ผดุงศักดิ.์ 2553. การสร้างสานึกความเป็ นชาติโดยใช้ตาราเรียนประวัตศิ าสตร์: ศึกษากรณีตารา
ประวัตศิ าสตร์มธั ยมศึกษาตอนต้นของสิงคโปร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิสารัตน์ ขันธโภค.2555. ผูห้ ญิงกับภาวะสมัยใหม่แบบอาณานิคมในพม่า ค.ศ. 1885-1945.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิตา สระวาสี. 2549. การสร้างสานึกความเป็ นชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โดยผ่านแบบเรียนชัน้ ประถมศึกษาตัง้ แต่ ค.ศ.1975-2000. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปวีณา วังมี. 2543. รัฐไทยกับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนในช่วง พ.ศ. 2475-2487.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วศินี สุทธิวภิ ากร. 2553. วาทกรรมของ มิเชล ฟูโกต์ ต่อสถานภาพและบทบาทสตรีไทยตามทีน่ าเสนอ
ในนวนิยายของ คุณหญิงวิมล ศิรไิ พบูลย์. วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒนพงศ์ วรคุณวิศษิ ฎ์. 2552. นโยบายด้านการศึกษาของพม่าในยุคนายพลเนวิน ค.ศ. 1962-1988. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรัญญา เอกธรรมสุทธิ.์ 2549. การวิเคราะห์บทบาทหญิงชายในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในช่วงชัน้ ที ่ 1
และช่วงชัน้ ที ่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พ.ศ. 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุบลรัตน์ พันธุมนิ ทร์. 2533. มองสังคมและวัฒนธรรมพม่าผ่านภาษิตโบราณ. รายงานการวิจยั . เชียงใหม่
: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
San San Win. 2556. การวิเคราะห์นิทานพม่าทีป่ รากฏในแบบเรียนอ่านภาษาพม่า ระดับ 1-4.
สารนิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cheesman Nick. 2002. Legitimising the Union of Myanmar through primary school textbooks. Master’s
Thesis, University Western of Australia.
Tha Nyunt. 1962. Administration of Schools in Burma. A Project is Partial Fulfillment of the
Requirements for the Degree Master of Science in Education, Faculty of Education, The
University of Southern California.

Website
Ministry of Education.2004. Development of Education in Myanmar.
www.ibe.unesco.org/International/ICE47/English/.../myanmar_ocr.pdf. (accessed August 22,
2015).
Myo Tint.2010. “Myanmar Education 2000-2010”.
https://www.academia.edu/1887366/Myanmar_education2000-2010.(accessed August 22, 2015).
U Zaw Htay. “Education System in Myanmar : Self-Evaluation and Future Plans”.
http://www.myanmar-education.edu.mm/. (accessed December 30, 2015).

202
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P1-R2-01

ปฏิบัติการทางชายแดนของ
รัฐเวียดนามในยุคสมัยจารีต
ช่ วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
วิ เ คราะห์ ผ่ า นเอกสารกุ่ ย เหิ บ

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์*
สาขาวิชาอาณาบริเวณศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

* ขอขอบคุณศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้าโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ทุนสนับสนุนในการ


ทาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับเวียดนามตั้งแต่ยุคจารีตจนถึง ค.ศ. 1975

203
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ชายแดน 1 พรมแดน และเขตแดน 2 เกิด ขึ้น ภายใต้บ ริบ ทของการเปลี่ย นแปลงทางสัง คมเศรษฐกิจ
การเมืองเมื่อประเทศต่างๆเคลื่อนเข้าสูส่ ภาวะความทันสมัย (modernity) โดยเฉพาะการเกิดรัฐสมัยใหม่ทม่ี าพร้อม
กับแนวคิดการทาแผนทีเ่ พื่อกาหนดเส้นเขตแดนทีแ่ น่ นอนตายตัว (วราภรณ์ เรืองศรี 2557, 5) สาหรับรัฐบนผืน
แผ่นดินใหญ่ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นนั ้ ได้เริม่ มีการสารวจเพื่อทาแผนทีต่ ามแบบรัฐสมัยใหม่ในกล าง
ศตวรรษที่ 19 เป็ นต้นมา รวมทัง้ การทาสนธิสญ ั ญาระหว่างรัฐเพื่อปั กปั นเขตแดนก็ได้เกิดขึน้ ด้วย สาหรับงานที่
ศึกษาเกี่ยวกับบริเวณชายแดนในมิติประวัติศาสตร์ในไทยที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่เป็ นการศึกษารัฐสมัยใหม่
ในช่ ว งคริสต์ศ ตวรรษที่ 19-ปั จ จุ บ ัน ดัง เช่ น งานของวราภรณ์ เรือ งศรี (2557) ธงชัย วินิ จ จะกูล (2556) หรือ
แม้ก ระทัง่ งานภู มิภ าคศึก ษาและงานทางมานุ ษ ยวิท ยาที่มีก ารศึก ษาเรื่อ งชายแดนหลายชิ้น ดัง เช่ น วสัน ต์
ปั ญ ญาแก้ว (2555) ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ (2552) เก็ด ถวา บุ ญ ปราการ (2551) และงานชุ ด โครงการของ
ยศ สันตสมบัติและคณะผู้วจิ ยั (2548) เป็ นต้น ส่วนงานในสมัยจารีตที่ผ่านมาพบมากในช่วงทศวรรษ 2510-20
งานส่วนใหญ่เน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางอานาจสยามกับประเทศราชเป็ นส่วนใหญ่ ดังเช่น เสาวภา
ภาระราช (2522) พรรณา สินสวัสดิ ์ (2521) ธิดา จาตุประยูร (2510) หรืองานในช่วงหลัง กาพล จาปาพันธ์ (2555)
ส่วนการศึกษาบริเวณชายแดนเป็ นเพียงบริบทหนึ่งของงานเหล่านี้ นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับชายแดนของ
ประเทศเพื่อนบ้านโดยมองผ่านเอกสารของประเทศเพื่อนบ้านยังมีจากัด บทความนี้ตอ้ งการชีใ้ ห้เห็นถึงปฏิบตั ิการ
ทางการเมืองของรัฐเวียดนามเกี่ยวกับบริเวณชายแดนเวี ยดนาม-ลาว (ตอนกลาง) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็ น
อย่ า งไร ซึ่ง เป็ น ช่ ว งก่ อ นที่จะปรับ เปลี่ย นเข้า สู่ร ัฐสมัย ใหม่พ ร้อ มๆกับ การตกเป็ น อาณานิ ค มชาติมหาอ านาจ
ตะวันตกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนการศึกษาเน้นการวิเคราะห์ผ่านเอกสารโบราณของเวียดนามทีเ่ รียกว่า
“กุ่ยเหิบ” สาหรับการนาเสนอแบ่งเป็ น 2 ประเด็นใหญ่ดงั นี้

บริบททำงกำรเมืองเวียดนำมในช่ วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
เวียดนามเป็ นประเทศทีอ่ ยู่ตอนใต้ของจีน อาณาจักรนี้ศนู ย์กลางอานาจในระยะแรกตัง้ อยู่แถบภาคเหนือ
ของเวียดนามปั จจุบนั จนถึงก่อนค.ศ. 111 (พ.ศ. 432) จึงตกอยู่ใต้อทิ ธิพลของจีนตรงกับสมัยราชวงศ์ฮนั ่ จึงเป็ น
เหตุให้เวียดนามรับอารยธรรมจากจีนมากกว่าชาติอ่นื ๆในอินโดจีน จนกระทังเมื ่ ่อราชวงศ์ถงั สิน้ สุดลง ค.ศ. 907
ประเทศจีนได้แบ่งแยกเป็ นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ทาให้ในปี ค.ศ. 938 เวียดนามก็สามารถเป็ นอิสระจากจีนได้สาเร็จ
(เซเดซ์ 2525, 69) ภายหลังจากการเป็ น อิสระจากจีนในศตวรรษที่ 10 นัน้ พบว่าเวียดนามก็รุกพื้นที่ส่ภู าคใต้
ภายใต้ก ารนาของราชวงศ์ลี ซึ่ง เป็ น ราชวงศ์ใหญ่ ของเวีย ดนามราชวงศ์แรกที่เริ่มขยายตัวสู่ภาคใต้ และเป็ น
จุดเริม่ ต้นของการพิชติ แคว้นจามปา (เซเดซ์ 2525, 75) อย่างไรก็ตาม ในสมัยราชวงศ์หมิงของจีนเวียดนามก็ตก
อยู่ใต้อิทธิพลจีนอีกครัง้ แต่เป็ นระยะสัน้ ๆ คือ ช่วง ค.ศ. 1407-1428 และในระยะนี้จากเอกสารของลาวก็พบว่า
เวียดนามมีความพยายามทีจ่ ะขยายอิทธิพลมาทางทิศตะวันตกคือดินแดนล้านช้างตรงกับสมัยเลเลยของเวียดนาม
ส่วนล้านช้างตรงกับท้าวล้านคาแดงในปี ค.ศ. 1421 (คา จาปาแก้วมณีและคณะ 2539, 28) และในปี ค.ศ. 1479
ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าเลทันตองของเวียดนามส่วนลาวตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่ ์ นแผ้ว (ค.ศ.
1442-1481) เวียดนามได้บุกเข้ามายึดแคว้นพวนและเข้าล้อมเมืองหลวงพระบาง ฝ่ ายกษัตริยล์ าวพอทราบข่าวว่า
กองทัพลาวแตก ก็หนีมาทีเ่ ชียงคาน ในครัง้ นัน้ เจ้าแท่นคา พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าไชยจักรพรรดิซึ์ ง่ ครอง
อยู่เมืองด่านซ้ายได้ทราบข่าวก็เกณฑ์เอาพลเมืองด่านซ้ายและเชียงคานยกขึน้ ไปตีขนาบหลัง และตามตีไปจนสุด

1 ชายแดน (borderlands) บทความนี้มนี ยั ถึงการขยายดินแดนหรืออารยธรรมเข้าไปในทีร่ กร้างว่างเปล่า หรือดินแดนทีเ่ ป็ นรอยต่อ/กันชนระหว่างเขต


วัฒนธรรม รวมทัง้ เป็ นบริเวณทีม่ พี รมแดนทางการเมืองทีไ่ ม่ชดั เจน (ได้อทิ ธิพลจากงานยศ สันตสมบัติ 2555)
2 นิยามความหมายดู ชาญวิทย์ เกษตรศิร ิ (25504, 9) และงานธงชัย วินิจจะกูล (2556)

204
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เขตเมืองพวนทหารเวียดนามตายเป็ นจานวนมาก เมื่อขับไล่เวียดนามออกไปได้สาเร็จ เจ้าแท่นคาก็ปกครองเมือง


หลวงพระบางต่อจากพระราชบิดาทีข่ อประทับอยู่เมืองเชียงคาน (สีลา วีระวงส์ 2535, 45-46)
จะเห็นได้ว่า เวียดนามมีความพยายามอย่างมากในการขยายอิทธิพลมาทางทิศตะวันตก แต่อย่างไรก็
ตาม ในเวลาต่อมาปลายสมัยราชวงศ์เลกษัตริยไ์ ด้เสื่อมอานาจลง เวียดนามเกิดการแตกแยกเป็ น 2 ส่วน มีขนุ นาง
2 ตระกูลแย่งชิงอานาจกันระหว่าง ตระกูลตรินห์คุมอานาจทัง้ หมดที่ฮานอยโดยยังคงปล่อยให้ราชวงศ์เลเป็ น
กษัต ริย์ต่อไป ส่ว นตระกูลเหงีย นได้ค รอบครองเวียดนามภาคใต้ ใต้เ ส้น ขนานที่ 17 ในปี ค.ศ. 1620 ตระกูล
ตรินห์พยายามวางแผนกาจัดตระกูลเหงียนแต่ไม่สาเร็จ ทาให้ตระกูลเหงียนเลิกส่งภาษีให้กบั รัฐบาลที่ฮานอย
ต่อมาปี ค.ศ. 1627 ตระกูลตรินห์กเ็ ริม่ การโจมตีครัง้ ใหญ่ทงั ้ ทางบกและทางทะเลแต่กไ็ ม่ประสบผลสาเร็จอีกและใน
ปี ค.ศ. 1673 ตระกูลตรินห์เลิกการโจมตี สงครามระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้กส็ น้ิ สุดลงหลังสูร้ บกันมานานถึง 50
ปี และหยุดได้ดว้ ยระยะสัญญาสงบศึกอีก 100 ปี เมื่อฝ่ ายเหนือละเมิดข้อตกลง (บัตตินเจอร์ 2522, 36-37)
อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามในช่วงศตวรรษที่ 17-18 เป็ นช่วงทีบ่ า้ นเมืองแตกแยกระหว่างฝ่ ายเหนือกับฝ่ าย
ใต้ ที่ภาคเหนือของเวียดนามภายใต้การปกครองของตระกูลตรินห์ได้เกิดกบฏชาวนาขึน้ เป็ นระยะๆตลอดระยะ
คริสต์ศตวรรษที่17และขยายวงกว้างไปจนถึงศตวรรษที่ 18 ดังเช่นที่เซินเต็ย (1740-1751) ฝ่ ายกบฏสามารถ
ต่อต้านราชสานักทังลอง (ฮานอย) ได้นานถึง 11 ปี หรือกรณีของเลยวีเหมิดนาขบวนการกบฏอยู่หลายปี ตงั ้ แต่
ค.ศ. 1738-1779 เป็ นต้น (เหงียนคักเวียน 2545, 97-99) อย่างไรก็ตาม ความแตกแยกภาคเหนือกับภาคใต้ของ
สองตระกูลก็สน้ิ สุดลงเมื่อ ค.ศ.1778-1802 เป็ นช่วงสมัยเต็ยเซิน3 โดยมีเหงียนเหวะหรือพระเจ้ากวางตรุงเป็ นผูน้ า
ในการรวมชาติเวียดนามให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ 2550, 81) ราชวงศ์เลทีป่ กครอง
แต่เพียงในนามก็สน้ิ สุดลง สาหรับในส่วนของตระกูลเหงียนนัน้ เป็ นการสิน้ สุดเพียงชัวคราว
่ ภายใต้การนาของ
เหงียนแอ๊นห์หรือพระเจ้ายาลองสามารถกลับมายึดเมืองทังลอง (ฮานอย) ได้สาเร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1802
และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขน้ึ คือราชวงศ์เหงียน และตัง้ เมืองหลวงทีก่ รุงเว้ (เหงียนคักเวียน 2545, 114)
จากบริบททางการเมืองเวียดนามข้างต้นนี้ หากพิจารณาปฏิบตั ิการทางชายแดนเวียดนาม-ลาว (ภาค
กลาง) นัน้ พบว่า ตกอยู่ภายใต้การดาเนินการควบคุมของราชสานักทางภาคเหนือเป็ นส่วนใหญ่ ยกเว้นสมัย
ราชวงศ์เหงียน สาหรับเนื้อหาบทความนี้จะพิจารณาถึงปฏิบตั กิ ารทางชายแดนเวียดนาม-ลาว (ตอนกลาง) ทีต่ ดิ
กับแขวงคาม่วน คือบริเวณด่านกุ่ยเหิบ (ปั จจุบนั อยู่เมืองเฮืองเค่ แขวงเงะติ้ง ) ว่า เวียดนามมีปฏิบตั กิ ารอย่างไร
ทางด้านนี้

ปฏิบัติกำรทำงด้ำนบริเวณชำยแดนเวียดนำม-ลำวในยุ คจำรีตช่ วงคริสต์ศตวรรษที่ 18: วิเครำะห์ผ่ำนเอกสำรกุ่ยเหิบ


หากพิจารณาเส้นเขตแดนเวียดนาม-ลาวมีความยาว 2,067 กิโลเมตร เป็ นเส้นเขตแดนทางบก 1,763
กิโลเมตรและเส้นเขตแดนทางน้ า 304 กิโลเมตร พาดผ่าน 10 จังหวัดของเวียดนามและ 10 แขวงของลาว ส่วน
ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ของเส้นเขตแดนเวียดนาม-ลาวมีเทือกเขาทีช่ าวเวียดนามเรียกว่าเจื่องเซินหรือภูหลวงทีค่ น
ลาวเรียก (พิเชษฐ สายพันธ์ และ สุรยิ า คาหว่าน 2554, 104-106) สาหรับ “กุ่ยเหิบ” นัน้ เป็ นชื่อป้ อมด่านชายแดน
เวียดนาม-ลาวซึ่งตัง้ อยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์เ ส้นทางหนึ่งในเขตภาคกลางของเวีย ดนามแถบเมือ งเฮือ งเค่

3เป็ นทีน่ ่าสนใจว่าในช่วงทีเ่ วียดนามเปลีย่ นราชวงศ์เข้าสูย่ ุคเต็ยเซินนี้ ทางด้านลาว เป็ นช่วงทีล่ าวตกอยูใ่ ต้การปกครองของไทยนับตัง้ แต่ ค.ศ. 1779
จนถึง ค.ศ.1893 ลาวจึงตกเป็ นเมืองขึน้ ของฝรั ่งเศส

205
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

(Hương Khê) แขวงเงะติ้ง (Nghệ Tĩnh) ในปั จจุบนั เมืองนี้ตงั ้ อยู่ตรงกันข้ามกับเมืองคาเกิด แขวงคาม่วนของ
ลาว
ส่วนเอกสารกุ่ยเหิบ (Tư Liệu Quy-Hợp) ทีใ่ ช้ในการศึกษาบทความนี้ จึงเป็ นเอกสารทางราชการทีส่ ะสม
ไว้หลายรุ่นของผู้บญ ั ชาการประจาป้ อมค่ายและยังมีฐานะเป็ นเจ้าผู้ปกครองกุ่ยเหิบ โดยรวมดารัส คาสัง่ ราช
โองการ รายงานต่างๆจากเขต แขวง เสนาบดีการคลัง รัฐบาลกลางของราชวงศ์ต่างๆ ตัง้ แต่ ค.ศ.1619-1880 รวม
260 ปี มชี ่อื จักรพรรดิของเวี
์ ยดนามทีส่ าคัญคือ ราชวงศ์เล่ สมัยเต็ยเซินและราชวงศ์เหงียน (ส่วนทีม่ กี ารแปลเป็ น
ภาษาเวียดนามปั จจุบนั และลาวในหนังสือเล่ มที่ใช้ศึกษานี้ มีถึงค.ศ.1845 ด้ว ยเหตุ น้ีจึง เป็ น ข้อจากัด หนึ่งของ
การศึกษาบทความนี้ ) เอกสารต่างๆเหล่านี้ได้ถูกเก็บไว้อยู่ในหอบรรพบุรุษของครอบครัวเจินฟุ กฮว่าน ซึ่งเป็ น
บุคคลทีอ่ ยู่ในศตวรรษที่ 18 ทีม่ บี ทบาทสาคัญในการปฏิบตั กิ ารทางการเมืองบริเวณชายแดนเวียดนาม-ลาว เชือ้
สายของตระกูลนี้ได้รบั ภารกิจสืบทอดเป็ นเจ้าปกครองกุ่ยเหิบหลายรุ่นโดยมีภารกิจดูแลชายแดนเวียดนาม-ลาว
เอกสารกุ่ยเหิบนี้ได้มกี ารแปลจากภาษาหาน (อักษรจีนของเวียดนามโบราณ) มาเป็ นภาษาเวียดนาม (ปั จจุบนั )
ควบคู่กบั แปลเป็ นภาษาลาว และได้ตีพมิ พ์เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 2000 ภายใต้การดาเนินงานของสถาบันค้นคว้า
วัฒนธรรมลาว และ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam และได้รบั การสนับสนุนจากมูลนิธโิ ตโยต้าในการ
ตีพมิ พ์เผยแพร่ผลงาน ดังนัน้ ในบทความนี้เมื่ออ้างถึงเอกสารกุ่ยเหิบโบราณจะได้ใช้ช่อื สถาบันทัง้ สองประเทศใน
การอ้างอิงเอกสารกุ่ยเหิบ

ปฏิบั ิการของรัฐเวียดนาม: การวางรากฐานของศูนย์อานาจกลาง การควบคุมพืน้ ทีแ่ ละผู ้คนภายในบริเวณ


ชายแดน
การแต่งตัง้ ข้าราชการประจาป้ อมค่ายและการควบคุมพืน้ ที่ อาณาบริ เวณชายแดน จากการศึกษา
พบว่า เวียดนามในยุคสมัยจารีตการควบคุมหัวเมืองชายแดน อานาจรัฐส่วนกลางที่ภาคเหนือของเวียดนาม
ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เล ณ เมืองทังลอง (ฮานอย) ก็เหมือนกับรัฐอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทม่ี ี
คาสังแต่
่ งตัง้ ข้าราชการหรือเจ้าเมืองให้ไปปกครองเมืองหรือไปเป็ นหัวหน้ากองประจาค่ายเพื่อควบคุมพืน้ ทีต่ ่างๆ
ในท้องถิ่นที่ห่างไกล ในงานของเจินวันกวี ่ ้ (2000, 40) เขียนไว้ว่า นับตัง้ แต่ศตวรรษที่ 15 เป็ นต้นมาจนถึงต้น
ศตวรรษที่ 19 ป้ อมกุ่ยเหิบมีผบู้ ญ
ั ชาการประจาเรียกว่า “ตงบิง” (Tổng Binh) ส่วนกองกาลังประจาการเรียกว่า “โถ
บิง” (Thổ Binh กองทหารประจาท้องถิน่ ) ซึง่ รับเข้าประจาการโดยสืบทอดเชือ้ สายจากพ่อถึงลูก สาหรับ “ตงบิ ง”
ประจาป้ อมยังเป็ น “ฟุดาว” (Phụ Ðạo เจ้าปกครอง) ของแคว้นด้วย รวมทัง้ เป็ นขุนนางทีร่ บั คาสัง่ “ถ่งชึ” (Thông
sự) จากเจ้าหน้าทีข ่ องเวียดนามประจาทีเ่ ขตแคว้นลาวทีข่ น้ึ กับการอารักขาของเวียดนามในอาณาจักรเวียงจันทน์
แคว้นต่างๆทีข่ น้ึ กับเวียดนามนี้มชี ่อื การปกครองสองชื่อ คือ หลากฮว่าน (ละคอนหรือนครพนม) และแคว้นจิงก่าว
(ในงานเจินวันกวี
่ ไ้ ม่สามารถระบุได้ว่าคือแคว้นใดในปั จจุบนั (เจินวันกวี่ ้ 2000, 40-41) แต่ในต้นฉบับทีม่ กี ารแปล
เป็ นภาษาลาวระบุว่าคือเมืองคาเกิด)
-การกาหนดหน้ าที่ สาคัญและกาหนดอาณาเขต/พื้นที่ ปกครองของด่านกุ่ยเหิ บ เมื่อมีการแต่งตัง้
ผู้ปกครองประจาป้ อมค่ายแล้วก็ได้มกี ารกาหนดหน้าทีส่ าคัญและกาหนดอาณาเขตทีใ่ ห้ปกครองนัน้ ด้วยคือ ให้มี
หน้าทีเ่ ก็บส่วยและเกณฑ์ทหารตามกาหนดอัตราการเสียส่วยทีท่ างอานาจรัฐส่วนกลางได้กาหนดให้บรรดาหัวเมือง
ต่างๆ ต้องจ่ายในแต่ละปี นอกจากนี้ยงั กาชับให้ปฏิบตั กิ ารงานทีด่ แี ละปฏิบตั ติ ามหน้าทีไ่ ม่กดขีข่ ม่ เหงประชาชนที่
อยู่ในปกครอง ดังเช่น วันที่ 10/9/1619 ดารัสแต่งตัง้ ให้ท่านเจินฟุกลกให้มาปกครองท้องถิน่ ต่างๆ ส่วนพืน้ ทีใ่ นเขต
การควบคุมของด่านกุ่ยเหิบที่อานาจรัฐส่วนกลางกาหนดมอบหมายให้ดูแลในปี ค.ศ. 1619 คือ (สถาบันค้นคว้า

206
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

วัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 71) “เทิม่ เหงวีน, เอียนเซิน,มิง่ ม่ง.จุกอา.จู
เกิมทีข่ น้ึ กับเมืองกวีเหิบ ให้เกณฑ์ทหารแต่ละแห่งตามบัญชาการของค่ายพร้อมกับมีหน้าที่เก็บภาษีเสียส่วยในแต่
ละปี ไม่ให้ขาด ถ้าท่านผูน้ ้หี ากหลงระเริงต่อหน้าทีก่ ารงาน เกียจคร้าน มักง่ายและกดขีข่ ม่ เหงประชาชนก็ให้ลงโทษ
ตามกฎหมายบ้านเมือง”
นอกจากนี้พบว่าในปี ค.ศ. 1720 พื้นที่การควบคุมของกุ่ยเหิบมีจานวนเพิม่ ขึน้ 12 แห่ง ดังปรากฏใน
เอกสารฉบับที่ 5 (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 87) ระบุ
ว่ามี 8 บ้านคือ มิง่ ม่ง จูเกิม จายา หวูกวาง ฟูลวิ กวางเค่ จุกอง และจาลู ส่วนเมืองมี 4 เมืองคือ เทิม่ เงียน เอียน
เซีน (เสิน่ ) ม่งเซิน และ ด้งยิก ซึง่ บ้านดังกล่าวตัง้ อยู่ตามทิศต่างๆ ต่อไปนี้ ทิศตะวันออกมีบา้ นจุกองและมิง่ ม่งติด
กับเมืองเฮืองเซีน (เฮืองเค่ในปั จจุบนั ) ทิศใต้คอื บ้านกวางเค่ตดิ กับกวางบิงในปั จจุบนั ทิศเหนือมีบา้ นหวูกวาง จา
ยา จาลูติดกับเจ่าจิงกาว ส่วนทิศตะวันตกมีเทีมเงียน เอียนเซีน ด้งยิก และจุเกีมติดกับเมืองคาเกิดของอ้ายลาว
(หรือลาวในปั จจุบนั )
-ระบบการสืบทอดอานาจการปกครองด่านกุ่ยเหิ บ พบว่าเวียดนามก็เหมือนกับอาณาจักรโบราณอื่น
ที่ใช้ระบบสืบจากพ่อไปลูก ดังปรากฏในเอกสารปี ค.ศ.1759 ที่ท่านเจิน่ ฟุ กเหลี่ยน อดีตผู้ปกครองด่านกุ่ยเหิบ
พร้อ มบุ ต รชายสองคนชื่อ เจิน ฟุ ก เดีย น และเจิน ฟุ ก ล่ า ยได้ เ ขีย นเอกสารเสนอมายัง ราชส านั ก ว่ า ด้ว ยการ
เปลี่ยนแปลงข้อความในกฎระเบียบความว่า “ตามกฎระเบียบเก่าของพระราชวังว่าตาแหน่ งเจ้าเมืองต่างๆตาม
ชายแดนตามระบอบลูกแทนพ่อนัน้ พอถึงเวลาต้องได้มอบเครื่องบรรณาการมาให้ทางพระราชวังทัง้ พ่อลูกต้อง
ถวายเงินขาวคนละ 25 สลึง แต่หากว่าตามกฎประเพณีแต่เก่ามานัน้ เฉพาะเมืองกุ่ยเหิบและตาแหน่ งเจ้าเมืองไม่
เคยเสียส่วยเป็ นเงินขาวสักครัง้ ตามประเพณีเก่าดัง้ เดิม ทุกๆสามปี เจ้าเมืองกุ่ยเหิบต้องได้นาเอาช้างเพศผู้ 2 ตัว
ไปถวายพระราชวัง เพื่อเป็ นการคาราวะแสดงถึงการสานึกบุญคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่ในระยะต่อมา
ทางพระราชวังบอกให้เอาไปถวายเพิม่ อีก 2 ตัว รวมทัง้ หมดเป็ นช้างเพศผู้ 4 ตัว แต่ละตัวต้องสูง 5 ศอก มีเพียง
เท่านัน้ ไม่จาเป็ นถวายเงินขาวเพิม่ อีก ดังนัน้ จึงได้เสนอมายังราชสานักโปรดกรุณาทาหนังสืออนุ ญาตให้พ วก
ข้าพเจ้าได้นาช้างมาถวายพระราชวังด้วย” (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á
Việt Nam 2000, 123)

จากข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงระบบการสืบทอดตาแหน่ งเจ้าผูป้ กครองเมืองและการส่งส่วยของ


ผูป้ กครองเมืองมายังราชสานัก ขณะเดียวกันเอกสารข้างต้นก็จะเห็นถึงการต่อสูต้ ่อรองของคนชายแดนกับเมือ ง
หลวง แต่ผลเป็ นอย่างไรนัน้ ไม่ปรากฏ
-เมืองเล็ก (กุ่ยเหิ บ) ขึน้ กับเมืองใหญ่แขวงเงะอ่าน4 แม้กุ่ยเหิบจะได้รบั มอบอานาจในการควบคุมพืน้ ที่
ต่างๆแถบชายแดนแต่กพ็ บว่า กุ่ยเหิบมีฐานะเป็ นเมืองขนาดเล็กแถบชายแดนยังต้องขึน้ กับหัวเมืองใหญ่คอื เมือง
เงะอ่าน ซึง่ เจ้าแขวงเงะอ่านนอกจากบังคับบัญชาในแขวงเงะอ่านแล้วยังเป็ นผูว้ ่าการเจ้าเมืองโบจิง และมีฐานะเป็ น
ผู้บญ
ั ชาการทหารเขตเจินนิง (เชียงขวาง) อีกด้วย ส่วนเมืองกุ่ยเหิบนอกเหนือจะรับคาสังโดยตรงจากราชส
่ านัก
ส่วนกลางแล้ว กุ่ยเหิบยังต้องขึน้ กับเมืองเงะอ่านอีกทอดหนึ่ง โดยพบคาสังส่ ่ วนใหญ่ จะเป็ นคาสังจากเจ้
่ าแขวงเงะ
อ่าน ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องการส่งส่วย การส่งคนติดตามความเคลื่อนไหวแถบชายแดน และอื่นๆตามแต่จะมีคาสังลงมา ่

4เงะอ่านมีฐานะเป็ นหัวเมืองขนาดใหญ่ เป็ นเมืองสาคัญคล้ายเมืองเอกของไทย (ดังเช่นเมืองนครราชสีมา) ทีม่ หี น้าทีป่ กครองตนเองและหัวเมืองต่างๆที่


อยูห่ า่ งไกลจากราชสานัก

207
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ให้ปฏิบตั ิ ขณะเดียวกันหากกุ่ยเหิบไม่สามารถควบคุมหรือจัดการชายแดนได้ ทางฝ่ ายผูป้ กครองด่านกุ่ยเหิบก็จะ


ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือมายังเจ้าแขวงเงะอ่าน ดูเอกสารฉบับที่ 5 (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện
nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 87-88)

อย่างไรก็ตาม จากเอกสารพบว่า กุ่ยเหิบไม่เพียงแต่ขน้ึ กับแขวงเงะอ่านเท่านัน้ ใน ค.ศ. 1786 เอกสาร


ระบุว่า ฝ่ ายเต็ยเซินสามารถยึดแขวงเงะอ่านไว้ได้ และปี น้ีฝ่ายเต็ยเซินก็สามารถรวมเวียดนามเป็ นหนึ่งเดียว
(เหงียนคักเวียน 2545, 105) ทาให้ในปี น้ีด่านกุ่ยเหิบต้องรับคาสังจากทางราชการของฝ่
่ ายเต็ยเซิน ทัง้ ที่มาจาก
แขวงเงะอ่านและมาจากผูบ้ ญ ั ชาการด่านด้ายนาย (เงะติง่ ในปั จจุบนั ) ซึง่ ด่านด้ายนายนี้มคี วามสาคัญในแง่ในยุ ค
สมัยเต็ยเซินค่อนข้างมาก ดังเห็นได้จากการติดต่อทางการทูตของเจ้าเมืองละคอน (นครพนม) มาถึงค่ายทหารแห่ง
นี้ (ดูฉบับที่ 38) เป็ นต้น (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000,
202) อย่างไรก็ตามการปกครองของฝ่ ายเต็ยเซินมีอานาจจนถึงปี ค.ศ.1802 หลังจากนัน้ ราชวงศ์เหงียนก็มอี านาจ
ปกครอง เป็ นทีน่ ่าเสียดายว่าเอกสารในช่วงหลังจากนี้ยงั ไม่ได้รบั การแปลและตีพมิ พ์เผยแพร่
- การเป็ นนายล่ามและแปลเอกสารเวียดนาม-ลาว และลาว-เวียดนาม เจ้าผูป้ กครองด่านกุ่ยเหิบ
นอกจากมีหน้าทีค่ วบคุมพืน้ ทีแ่ ละผูค้ นชายแดนแถบลาวภาคกลางแล้ว ยังพบว่า ได้รบั คาสังแต่ ่ งตัง้ ให้เป็ นนายล่าม
และมีหน้าที่แปลเอกสารจากภาษาลาว-เวียดนามและภาษาเวียดนาม-ลาว ในการติดต่อระหว่างหัวเมืองลาวกับ
เวียดนามอีกด้วย ดังปรากฏหลักฐานว่า เจ้าแขวงเมืองเงะอ่านซึง่ เป็ นเมืองใหญ่กว่าทีม่ ฐี านะบังคับบัญชาเมืองกุ่ย
เหิบอีกทอดหนึ่ง ได้มคี าสังส่ ่ งมายังเมืองกุ่ยเหิบเมื่อ วันที่ 2/12/1757 มีใบแต่ตงั ้ ให้ท่านเจินฟุกตุ่ย อยู่คุม้ เตีมฟุ ก
บ้านมิง่ ม่ง (ขึน้ กับเมืองกุ่ยเหิบ-ผูเ้ ขียน) เคยเดินทางไปท้องถิน่ ต่างๆ ของเมืองลักฮวาน (นครพนม) มีความรอบรู้
ภาษาชนเผ่าต่างๆ มาบัดนี้ได้ทาใบแต่ งตัง้ ให้ท่านเจินฟุกตุ่ย เป็ นนายล่ามปฏิบตั หิ น้าทีก่ ารงานประจาสานักแขวง
ให้ท้อ งถิ่นต่ า งๆละเว้น การเกณฑ์ทหารและงานปกติ ใครขัด ขืน จะได้ลงโทษตามกฎหมาย” (สถาบัน ค้น คว้า
วัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 112)
-การควบคุมผู้คนและเมืองผ่านการจัดเก็บส่วยและการเกณฑ์ทหาร จากการศึกษาพบว่าบรรดา
บ้านและเมืองเหล่านี้กเ็ หมือนกับเมืองอื่นๆในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คอื ถูกกาหนดในการเรียกเก็บส่วย
มาส่งราชสานัก ดังเช่น เอกสารกุ่ยเหิบฉบับที่ 2 (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam
Á Việt Nam 2000, 75-76) ระบุว่าวันที่ 12/4/1719 กาหนดให้ทอ้ งถิน ่ ต่างๆทีข่ น้ึ กับเมืองบาดงเสียส่วย ดังเช่น

เมืองเทิม่ งวียน: บ้านโหม แพรไหม 2 ม้วน 5 แผ่น ควาย 2 ตัว, บ้านลานกาน แพรไหม 2
ม้วน 5 แผ่น ควาย 2 ตัว บ้านมางด้าว แพรไหม 1 ม้วน 5 แผ่น หมู 5 ตัว,บ้านจิงด้าว แพร
ไหม 1 ม้วน 5 แผ่น ควาย 1 ตัว

เมืองเอียนเซิน : บ้านซูง (ไม่ระบุ) บ้านเลิน แพรไหม 2 ม้วน 5 แผ่น ควาย 2 ตัว

เมืองดงสิก : บ้านดงลาน แพรไหม 2 ม้วน 5แผ่น ควาย 2 ตัว บ้านแทน แพรไหม 2 ม้วน
ควาย 2 ตัว บ้านจีม แพรไหม 2 ม้วน ควาย 2 ตัว…
หรือการประกาศเกณฑ์การเสียส่วยในปี ค.ศ. 1737 (เอกสารกุ่ยเหิบฉบับที่ 4 (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม
ลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 83)ตรงกับ วัน ที่ 24/11/1737) ก าหนดให้ ท้อ งถิ่น
ต่างๆ จ่ายค่าส่วย ดังเช่น (ลักษณะนามคงตามต้นฉบับ)

208
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เมืองต้าว เสียส่วยเป็ น ควาย 5 ตัว พร้า 5 ดวง พร้าขอ 5 ดวง


เมืองยาลาน ควาย 5 ตัว พร้า 5 ดวง พร้าขอ 5 ดวง
เมืองฝาเกิบ ควาย 2 ตัว พร้า 2 ดวง พร้าขอ 2 ดวง
เมืองนา ควาย 2 ตัว พร้า 2 ดวง พร้าขอ 2 ดวง
เมืองเจ ควาย2 ตัว พร้า 2 ดวง พร้าขอ 2 ดวง
เมืองทัง่ ควาย 1 ตัว พร้า 1 ดวง พร้าขอ 1 ดวง...
เป็ นทีน่ ่ าสนใจว่า รัฐเวียดนามเกณฑ์ส่วยเป็ นควาย แพรไหม และพร้าขอ ซึง่ ควายใช้ประโยชน์ในการทา
เกษตรและเป็ นอาหาร ส่วนพร้าขอนอกจากเป็ นเครื่องมือทางการเกษตรแล้วยังสามารถใช้ในการสงครามได้ดว้ ย
สาหรับแพรไหมใช้ในราชสานัก5
ทางด้านเกณฑ์ทหาร เมื่อมีเหตุการณ์สาคัญกุ่ยเหิบและเมืองต่างๆที่ขน้ึ กับกุ่ยเหิบจะถูกเกณฑ์ทหาร
ดังเช่น ปี 1791 (พ.ศ. 2334) “จอมทัพผูส้ าเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อกู้ชาติ (เจินกวางเยียว) ได้ออกคาสังให้ ่
ท่านอามาตย์ตว้ายและนายบ้านคาทีบ่ า้ นมิง่ ม่งด่านกุ่ยเหิบดังนี้ ข้าพเจ้าโดยปฏิบตั ติ ามพระราชองค์การเกีย่ วกับ
การยกทัพไปโจมตีพวกข้าศึกสยาม สาหรับผู้ท่เี ก่งกล้าสามารถในเวลานี้เป็ นโอกาสดีเพื่อสร้างผลงานอันดีเด่น
ดังนัน้ จึงมีคาสังให้
่ บรรดาเสนาอามาตย์ชนั ้ บนนี้ให้เกณฑ์ทหารตามหมู่บ้านต่างๆทีข่ น้ึ กับด่านกุ่ยเหิบ เกณฑ์ได้
เท่าไหร่จงึ เอาไปมอบให้ท่านราชเสนา ผู้บญ ั ชาการทหารป้ องกันชาติท่ดี ่านด้ายนาย เพื่อจะได้ไปตีพวกข้าศึก
ศัตรู...” (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 161)
เป็ นทีน่ ่ าสังเกตว่า จากเอกสารกุ่ยเหิบฉบับที่ 64 ทาให้ทราบว่า ตามระเบียบเก่า (นับตัง้ แต่สมัยไตเซิน)
8 บ้านของเมืองกุ่ยเหิบต้องถูกเกณฑ์ทหาร 56 คนให้แก่ด่านกุ่ยเหิบ นอกจากนี้ยงั ต้องเสียส่วยเป็ นแผ่นแพรบาง
1070 หลา แผ่นแพรหยาบ 150 หลา แต่ละปี ตอ้ งได้เสียส่วยตามระเบียบดังกล่าว (ดู สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาว
และ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 299)
นอกจากกาหนดให้ท้องถิ่นต่ างๆจ่ายค่าส่วยและถูกเกณฑ์ทหารแล้ว อานาจรัฐส่วนกลางยังควบคุ ม
ท้องถิน่ ชายแดนผ่านข้อกาหนดอื่นๆ ดังประกาศในวันที่ 16/6/1729 ข้อกาหนดเกีย่ วกับการเกณฑ์เอาวัตถุสงิ่ ของที่
ระดับท้องถิน่ ต้องมอบให้ขนั ้ สูงเป็ นเงิน ทีส่ ง่ ไปตามหน่วยต่างๆมีดงั นี้ มิง่ ม่ง วุกวาง จูเกิม จายา แทงลาง บาดง จุก
อา ฟูลวิ ข้อความประกาศระบุว่า (เอกสารฉบับที่ 3 สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông
Nam Á Việt Nam 2000, 79)

ตางเตยีน (เงินถวายเทศกาลปี ใหม่) เงินเก่า 80 กวาน6


แผ่นแพรถวายในเทศกาลเต็ดปี ใหม่ 1070 หลา ถ้าไม่มใี ห้จ่ายเป็ นเงิน หลาหนึ่ง 18 ดง
ผ้าแพรใช้ในเทศกาลเต็ด 150 หลา ถ้าไม่มตี อ้ งจ่ายเป็ นเงิน หลาหนึ่ง 1 เตียน 30 ดง บวก
กับ 220 กวาน 5 เตียน
น้าผึง้ 15 กะออน ถ้าไม่มตี อ้ งจ่ายเป็ นเงิน กะออนหนึ่ง 3 เตียน รวมเป็ น 4 กวาน 5 เตียน
ขีผ้ ง้ึ 15 ก้อน ถ้าไม่มตี อ้ งจ่ายเป็ นเงิน ก้อนหนึ่ง 5 เตียน รวมเป็ น 13 กวาน 5 เตียน

5 ประเภทส่วยทีร่ ฐั เวียดนามเกณฑ์จะต่างจากรัฐไทยทีเ่ กณฑ์จากหัวเมืองต่างๆ เช่น หัวเมืองอีสาน ส่วยทีท


่ างหัวเมืองอีสานส่งเข้าราชสานักไทยได้แก่ เร่ว
ทองคาผุย เงิน ป่ าน กระวาน ครั ่ง น้ ารัก ขีผ้ ง้ึ ดินประสิว ไหม ผ้าขาว เป็ นต้น
6 การเทียบเงินเก่าของเวียดนาม 1 กวาน = 10 เตยีน , 1 เตยีน = 60 ดง (วั ่น) ดังนัน ้ 1 กวาน = 60 ดง (วั ่น)

209
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นอกจากประกาศข้างต้นแล้ว เมืองกุ่ยเหิบและบ้านและเมืองที่ขน้ึ กับกุ่ยเหิบยังต้องส่งสินค้าอีกหลาย


ประเภทให้แก่ส่วนกลางทัง้ นี้ขน้ึ กับคาสังที
่ ่ส่งมาให้ท้องถิ่นปฏิบตั ิตาม ดังเช่น ปี ค.ศ. 1796 มีใบคาสังของท่
่ าน
ด้ายตือเขา อามาตย์แห่งแขวงเงะอ่าน สังให้่ ผบู้ ญั ชาการใหญ่ ประจาด่ายกุ่ยเหิบชื่อว่าเจินทิว่ ตว้ายโดยมีเนื้อความ
ดังนี้

จงสังให้
่ บา้ นมิง่ มงเข้าไปสืบหาหมากกะเบาสามหมื่นผล ให้นาขึน้ มาทางด้านกุ่ยเหิบ เสร็จ
แล้วจึงนามามอบให้ทางสานักแขวงนี้ สาหรับบ้านหวูกวางนัน้ ได้มคี าสังเฉพาะแล้ ่ ว และส่วน
บ้า นจูเ กิม นัน้ ให้ย กเว้น ทัง้ นี้ ใ ห้ ป ฏิบ ัติต ามค าสังนี
่ ้ อ ย่ า งเข้ม งวด อย่ า ให้มีข้อ บกพร่ อ ง
ผิดพลาดเป็ นอันขาด มิเช่นนัน้ จะถูกลงโทษหนัก (ดู เอกสารฉบับที่ 60 สถาบันค้นคว้า
วัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 287)

ปฏิบั ิการของรัฐเวียดนามผ่าน “ป้อมกุ่ยเหิบ” เกีย่ วกับแคว้นลาว ( อนกลาง)


การตัง้ ป้ อมกุ่ยเหิบนัน้ ไม่ใช่แค่ตอ้ งการควบคุมผูค้ นและพืน้ ทีช่ ายพระราชอาณาเขตของเวียดนามเท่านัน้
แต่จุดมุ่งหมายหลักอีกประการหนึ่งคือ การควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเมืองลาว (ตอนกลาง) ซึง่ มีอาณาเขตติด
กับเวียดนาม รวมถึงการสอดส่องความเคลื่อนไหวของรัฐสยาม โดยใช้ป้อมด่านกุ่ยเหิบในการปฏิบตั กิ ารต่อไปนี้
ประการแรก การตรวจตราชายแดน รายงานเหตุการณ์และความเคลื่อนไหว ด่านกุ่ยเหิบในฐานะ
เมืองชายแดนก็เหมือนกับเมืองชายแดนอื่นๆทีต่ ้องมีหน้าที่สอดส่องความเคลื่อนไหวของประเทศเพื่อนบ้านพบ
หลายฉบับในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยเต็ยเซิน อาจเนื่องมาจากลาวทัง้ 3 แคว้นได้ตกเป็ นเมืองขึน้ ของ
ไทยในปี ค.ศ. 1779 โดยพบว่าในสมัยเต็ยเซินการจัดการชายแดนเวียดนามบริเวณด่านกุ่ยเหิบ นอกจากเจ้าแขวง
เงะอ่านแล้วกุ่ยเหิบยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผูบ้ งั คับบัญชาราชการแทนพระองค์และผูบ้ งั คับบัญชาการค่าย
ทหารด่านด้ายนาย (เงะติง้ ในปั จจุบนั ) ตรงกับสมัยพระเจ้ากวางตรุง (สมัยเต็ยเซิน) ทางฝ่ ายเวียดนามได้มคี าสังให้

ด่านกุ่ยเหิบมีความเข้มงวดกวดขันรวมทัง้ ป้ องกันชายแดนของตน ดังเช่น คาสังของขุ ่ นพลดงเยิดเฮา ผู้สาเร็จ
ราชการแทนพระองค์และผู้บญ ั ชาการค่ายทหารด่านนายได้ออกคาสังให้ ่ ท่านตว้ายและท่านล้างผู้ปกครองและผู้
บัญชาการทหารค่ายกุ่ยเหิบให้เข้มงวดลาดตระเวณชายแดนระหว่างกุ่ยเหิบ -กับเมืองนคร (นครพนม) พร้อมกับ
ปรับปรุงด่านกุ่ยเหิบให้ดี อาวุธให้พร้อมเพียง จัดตัง้ ป้ องกันด่านให้เข้มแข็งในปี ค.ศ.1792 (เอกสารฉบับที่ 34)
นอกจากนี้ ย ัง มีคาสังลงวั
่ น ที่ วัน ที่ 28/8/1793 มีจ ดหมายมาไต่ ถ ามถึง ความผิด ปกติของชายแดนหรือไม่ตรง
(เอกสารหมายเลข 56-57 สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000,
274-277) ความว่า “ท่านเสนาดีง้ ได้มคี าสังให้
่ ท่านผูบ้ ญ
ั ชาการสูงสุด ด่านกุ่ยเหิบให้บอกท่านฝอฟุกและท่านท่งหยี
ขึน้ ไปบ้านจูเกีม นายบ้านบ้านจูเกีมได้ให้คนพาท่านทัง้ สองนี้ไปหาเจ้าจิงกาว(คาเกิด)เพื่อสืบสภาพการณ์และเห็น
ว่าไม่มอี ะไรผิดปกติ บ้านเมืองยังอยู่เย็นเป็ นสุข ก็เพราะบุญคุณของท่านทุกประการ” นอกเหนือจะมีคาสังให้ ่ เจ้า
ผูป้ กครองกุ่ยเหิบแต่งตัง้ นายทหารสืบข่าวทีเ่ มืองคาเกิดแล้ว ยังมีคาสังให้
่ ไปสืบสภาพการณ์ทเ่ี มืองโม้ยค.ศ.1793
รวมถึงรายงานสภาพเมืองเวียงจันทน์ค.ศ.1793 อีกด้วย (เอกสารหมายเลข 54-55, 58 ดู สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม
ลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 268-271, 280) การมีคาสังต่ ่ างๆ เหล่านี้สะท้อนให้
เห็นถึงความกังวลของรัฐเวียดนาม (สมัยเต็ยเชิน) เกีย่ วกับลาวภายหลังตกเป็ นเมืองขึน้ ของสยาม
ประการที่ สอง เส้นทาง/เครือข่าย สิ นค้า/การค้า จากการศึกษาพบว่า การค้าและสินค้าทีใ่ ช้เส้นทาง
ผ่านด่านกุ่ยเหิบนัน้ มีน้อยมาก พบในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ตรงกับศักราชแกงฮิง่ ปี ท่ี 11 เดือน 2 วันที่ 12 หรือ

210
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

วันที่ 11/2/1750 ทีเ่ อกสารของฝ่ ายเวียดนามถึงเมืองลักฮวานหรือเมืองละคร7 บางครัง้ เรียกว่าเมืองนคร (หมายถึง


เมืองนครพนม) เอกสารทีส่ ่งมานัน้ เป็ นเอกสารจากท่านเสนาด้าย (ด้ายตี่มา) หรืออามาตย์เสีย่ วกวัน้ กง ซึง่ มีฐานะ
เป็ นเจ้าแขวงเงะอ่าน และเป็ นเจ้าเมืองโบจิง ผูบ้ ญ
ั ชาการทหารค่ายเจิน่ นิง (เชียงขวาง) ได้เขียนหนังสือส่งให้เสนา
หลวงเมืองลักฮวานความว่า

เต็ดปี ทแ่ี ล้วข้าฯ ได้สงให้


ั ่ คาหวอเอาเงิน 20 ขันและ 3 หมัน ผ้าไหมม้วน 2 หลันผ้าไหมแลบ
1 หลัน ตกเป็ นเงิน 30 ขัน กวานซาลักฮวานได้สง่ ช้าง 4 ตัวในนัน้ 2 ตัวเจ็บป่ วย หลวงเมือง
ลักฮวาน (นคร) ตามธรรมดาข้าฯต้องสังคนมาบอกให้
่ กวานซาลักฮวานรู้ แต่เตดปี น้ที ่านได้
สังให้
่ เพยนามเมืองกอนมาบอกให้กวานซาลักฮวานเอาช้าง 3 ตัวสูง 6 ศอก 5 คืบ ค้องใหญ่
2 หน่วยส่งให้และบอกว่าครัง้ นี้ได้ตามคาสัง่ ซึง่ เป็ นความจริงแท้ ในครัง้ นี้ขา้ ฯ ได้สงให้
ั ่ เฝียน
หวอเอาเงิน 10 ขันมาให้เมืองลักฮวานเพื่อซือ้ ช้าง 5 ตัวสูงกว่า 6 ศอกให้... (ข้อความขาด
ตอน)... ถ้า หากไม่ พ อก็ใ ห้ส่ง ทหาร 2-3 คนไปตามเอาที่ เฝี ย นหวอ มาเอาเงิน กับ ข้า ฯ
เพิม่ เติม ข้าฯ จะส่งให้เพราะหนทางไกลมาก (เอกสารฉบับที่ 6, สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม
ลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 91)
จะเห็นได้ว่า การติดต่อข้างต้นนัน้ เป็ นการซือ้ ของป่ าจากนครพนมมายังเมืองเงะอ่าน เป็ นทีน่ ่าสนใจอย่าง
มากว่า ฝ่ ายเวียดนามต้องการช้างเป็ นอย่างมากจากลาว อาจเนื่องมาจาการใช้ช้างในการศึกก็เป็ นได้
ต่อมาภายหลังจากลาวตกเป็ นเมืองขึน้ ของสยามในปี ค.ศ.1779 พบว่าอีก 7 ปี ต่อมาคือวันที่ 30/8/1786
ทางฝ่ ายเวียดนาม (สมัยเต็ยเซิน) ท่านราชเสนาผูส้ าเร็จราชการแทนพระองค์ทด่ี ูแลราชการเมืองเฮืองเสิมได้ออก
คาสังให้
่ ผู้ปกครองด่านกุ่ยเหิบ เปิ ดเส้นทางการค้าขายที่ผ่านด่านกุ่ยเหิบให้เป็ นไปอย่างเสรี คือ โดยให้ยกเลิก
ระเบีย บเก่ า ที่มีก ารเก็บ “เงิน ผ่ า นด่ า น”หรือ วัต ถุ สิ่ง ของของพวกพ่ อ ค้า (เอกสารฉบับ ที่ 21, สถาบัน ค้น คว้า
วัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 145) ส่วนทางด้านการค้าที่ผ่านด่านกุ่ย
เหิบพบเพียงการนาสินค้าจากจีนมาจาหน่ายในลาว ดังเช่น ผูบ้ ญ ั ชาการสูงสุดด่านกุ่ยเหิบได้รบั เอาถ้วยเคลือบจาก
จีนเพื่อนาไปจาหน่ ายในลาวจานวน 150 ใบ โดยรับมาจากท่านขุนพลเทยูง้ แห่งกองทัพปี กซ้าย ดังปรากฏในใบ
แสดงหลักฐานการรับสินค้า ในวันที่ 14/7/1797 (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam
Á Việt Nam, 2000: 290)

อาจเนื่องจากเส้นทางการค้าเส้นนี้มคี วามยากลาบากในการติดต่อค้าขาย สภาพบ้านเมืองมีการสงคราม


ภายระหว่างเต็ยเซินกับราชวงศ์เหงียน และหรืออาจไม่ได้แปลและตีพมิ พ์เผยแพร่เอกสารทัง้ หมด บันทึกที่แปล
ออกมาตีพมิ พ์เผยแพร่สว่ นใหญ่จงึ จะเป็ นเรื่องของการส่งเครื่องบรรณาการและส่วย จากหัวเมืองชายแดนเวียดนาม
และรัฐลาวไปยังราชสานักทีเ่ มืองหลวง (ภาคเหนือ)
ประการที่ สาม การทู ต บรรณาการ หัว เมื องลาว (ภาคกลาง) ผ่า นด่ า นกุ่ยเหิ บ จากการศึก ษา
เอกสารกุ่ยเหิบ ทาให้พบว่าเส้นทางน้ าเทิน -น้ าน้ อย ผ่านแก่วพูทิม ลงไปที่ป้อมกุ่ยเหิบ (เฮืองเค่ ) แขวงฮาติ้ง
(หุมพัน รัดตะนะวง 2000, 9) เป็ นเส้นทางการทูตทีส่ าคัญระหว่างเวียดนามกับหัวเมืองลาวตอนกลางโดยเฉพาะ
เมืองเวียงจันทน์ และนครพนมได้ใช้เส้นทางนี้เป็ นหลักจนถึงสมัยราชวงศ์เหงียนจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็ น

7เทียบกับฝ่ ายเวียงจันทน์ตรงกับปลายสมัยพระโพสาทธรรมิกราช (เจ้าอุปราชท้าวนอง) ครองราชย์ 1740-1751 ประสูตทิ เ่ี มืองเว้ (เป็ นพระอนุ ชาร่วม
มารดาเดียวกับพระไชยเชษฐาธิราชที2่ หรือพระไชยองค์เว้)

211
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เส้นทางอื่น ดังตัวอย่าง ในปี ค.ศ. 1753 ฝ่ ายเจ้าแขวงเงะอ่าน ได้แจ้งให้ท่านเจิน่ ฟุกเวียนผูแ้ ปลเอกสารด่านกุ่ยเหิบ


และท่านทูตเมืองละคอน(นครพนม)ชื่อว่าเจ้าหงสาทราบดังนี้ (เอกสารฉบับที่ 7,สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ
Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 94)

เทีย่ วนี้ได้นาเอาช้างพลาย 2 ตัวพร้อมด้วยควาญและบริวารจานวนหนึ่งขึน้ มาตามเส้นทาง


บาด้งจนมาถึงเขตแดนมิง่ ม่งทางการได้ทาใบเดิน (ใบอนุญาต) ให้พร้อมกันนัน้ ก็สงให้
ั ่ ทหาร
สองคนไปต้อนรับ
การนาช้างมาส่งในครัง้ นี้ ทราบจากจดหมายในปี ค.ศ.1756 ว่า หนทางทีน่ าเอาช้างมานัน้ ลาบากหลาย
ประการ เมื่อมาถึงด่านกุ่ยเหิบจึงได้กลับคืนไป และได้รอ้ งขอมาทางเวียดนามให้ออกใบอนุญาตเดินทางให้แก่พวก
เขาเมื่อถึงเวลาเดินทางจึงจะสะดวกในการนาเครื่องมาถวาย ทางสานักพระราชวังจึงได้สงให้ ั ่ เสนาธิการทหารทา
ใบอนุ ญาตเดินทางตามทีฝ่ ายเมืองละคอน(นครพนม)ร้องขอ อย่างไรก็ตาม จากเอกสารจากฝ่ ายเวียดนามทีแ่ จ้ง
มายังเมืองละคร (นครพนม) นัน้ ทาให้ทราบว่า เมืองละครถูกข้าศึกศัตรูรุกรานนานถึง 9-10 ปี จงึ ได้อพยพไปอยู่ป่า
ทาให้ไม่สามารถหาช้างพลาย 4 ตัวมาถวายทันในบุญปี ใหม่ได้ แต่ทางราชสานักเวียดนามก็เห็นในความดีของ
เมืองละคอนจึงได้แต่งให้คณะทูตเวียดนามนาสิง่ ของจากราชสานักเวียดนามมาให้เมืองละคอน อย่างไรก็ตาม ในปี
ค.ศ. 1759 เมืองละคอนจึงสามารถนาช้างและของป่ ามาถวาย 8 โดยมีชา้ ง 6 ตัว ควาญช้าง 6 คน ควายป่ า 2 ตัว
รัก ษาไว้ท่ีด่ า นกุ่ ย เหิบ มอบให้น ายป้ อ มด่ า นชื่อ ว่ า เถหวอบาเป็ น ผู้เ ลี้ย ง (เอกสารฉบับ ที่ 13, สถาบัน ค้น คว้า
วัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000,114) หลังจากนี้พบเอกสารในปี ค.ศ. 1776
คณะทูตเมืองละคอนถวายเครื่องบรรณาการ9 หลังจากนัน้ หัวเมืองลาวก็ตกเป็ นเมืองขึน้ ของสยาม ค.ศ. 1779
สาหรับเส้นทางการถวายเครื่องบรรณาการจากลาวไปยังราชสานักเวียดนามทีภ่ าคเหนือ (ฮานอย) นัน้
พบว่า ใช้เส้นทางน้ าเทิน -น้ าน้อย ผ่านแก่วพูทมิ ลงไปที่ป้อมกุ่ยเหิบ (เฮืองเค่) แขวงฮาติ้ง (หุมพัน รัดตะนะวง
2000, 9) จากนัน้ เดินทางไปยังเงะอ่าน และเดินทางต่อไปทีแ่ ขวงแท่งฮวา หลังจากนัน้ ทางแท่งฮว่าจะจัดคนนาส่ง
ต่อไปยังพระราชวัง สาหรับบันทึกเอกสารกุ่ยนอกเหนือจากทาให้ทราบการส่งบรรณาการของลาวกับเวียดนามแล้ว
ยัง ท าให้ท ราบการตระเตรีย มพิธีท างการทูต ของฝ่ ายเวีย ดนามปฏิบ ัติต่อ คณะทูต จากลาว จากเมือ งนะคอน
(นครพนม) ทีไ่ ด้นาเครื่องบรรณาการมาถวายโดยมอบช้างเพศผู้ 5 ตัว นอแรด 4 ชุดและแผ่นแพ 4 ม้วนมาถวาย
ราชสานัก ความว่า (เอกสารฉบับที่ 18, สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt
Nam 2000, 132-133)

ท่านหัวหน้าทูต ท่านรองหัวหน้าทูต พร้อมคณะ 2 คนนัน้ แต่ละท่านต้องมีกุลรี บั ใช้ 8 คน


และค่าใช้จ่ายแต่ละท่าน แต่ละมื้อคือ 1 หมัน (เงินเก่า) ข้าวสาร 2 ถ้วย สาหรับบริวาร 10
คน ต้องมีกุลรี บั ใช้คนละ 1 คน ค่าใช้จ่ายแต่ละคนแต่ละมือ้ คือ 24 อัด (เงินเก่า) ข้าวสาร 1
ถ้วย จานวนเงินที่กล่าวข้างต้นนัน้ จะได้เบิกจ่ายอยู่ ที่ด่านจุดต่างๆ ตามเส้นทางนับตัง้ แต่
ด่านกุ่ยเหิบโดยผ่านบรรดาเมืองดังนี้ : เฮื่องเซิน ลาเซิน นามเดือง ดงแทง กวิงลิว่ ฝ่ ายกุลี

8ตรงกับสมัยพระเจ้าศิรบิ ุญสาร (พระไชยเชษฐาธิราชที่ 3) ครองราชย์ราว 1751-1779


9ช่วง ค.ศ. 1730-1779 ตรงกับสมัยเจ้าศิรบิ ุญสารกษัตริยแ์ ห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ตลอดรัชกาลของพระองค์เกิดความวุน่ วายมิได้ขาด เช่น
พระบรมราชากู่แก้วเป็ นกบฏ และพระวรปิ ตาเป็ นกบฏ ซึง่ ทัง้ สองเหตุการณ์ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างเวียงจันทน์และจาปาสักเสือ่ มลงจนทาให้สยามยก
กองทัพมาตีแผ่นดินลาวทัง้ สองรวมทัง้ อาณาจักรหลวงพระบาง จนกระทั ่งอาณาจักรลาวทัง้ สามตกเป็ นของไทยใน ค.ศ. 1779 (ธวัชชัย พรหมณะ 2545,
20)

212
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รับ ใช้ให้ค ณะทูตต้อ งเลือ กคนที่แข็งแรงดี ไปถึง เมือ งไหนให้เ มืองนัน้ ค้นหาให้ รายจ่าย
ทัง้ หมดเท่าใดให้เอาเงินส่วนรวมออกจ่าย ตามระเบียบการของด่านจุดผ่านต่างๆ...
จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ทางการทูตและบรรณาการระหว่างลาว-เวียดนาม อย่างไรก็ตาม
เป็ นที่น่าสนใจว่า แม้ภายหลังจากที่ลาวตกเป็ นเมืองขึน้ ของสยามแล้วก็ยงั พบว่า ทางเจ้าแขวงเงะอ่านยังได้มี
เอกสารแจ้งให้เจ้าเมืองนครพนม มอบเครื่องบรรณาการ ค.ศ.1786 และในปี เดียวกันก็มคี าเตือนจากแขวงเงะอ่าน
เรื่องอามาตย์เมืองนครกวาดต้อนประชาชนและสิง่ ของต่างๆ ค.ศ.1786 แม่ทพั เจินกวางเยียว (สมัยเต็ยเซิน) ออก
ค าสัง่ ยกทัพ ไปตีข้า ศึก สยาม ค.ศ.1791 พระราชโองการเกณฑ์ท หารเพื่อ ขับ ไล่ ศ ัต รู ค.ศ.1791 บัญ ชีท หาร
อาสาสมัครเข้าลาวเพื่อตีทพั สยาม ค.ศ.1791 ผูป้ กครองด่านกุ่ยเหิบพบเจ้าเมืองนครพนม และเมืองอื่นๆ เรื่องการ
ส่งสิง่ ของช่วยเหลือกองทัพเวียดนามตีศตั รู ค.ศ.1791 คาสังเข้ ่ มงวดลาดตระเวณชายแดนระหว่างเมืองกุ่ยเหิบ -
เมืองละคอน (นครพนม) ค.ศ.1792 จดหมายขอความช่วยเหลือจากทูตถึงจักรพรรดิเวียดนาม ค.ศ. 1792 ให้ส่ง
ทหารไปช่วยต่อต้านกองทัพสยามทีไ่ ด้เข้ามากวาดต้อนผูค้ นเข้าไปในเขตของสยาม คณะทูตลาวมาถึงด่านกุ่ยเหิบ
ค.ศ.1792 อาจกล่าวได้ว่า ในปี ค.ศ.1792 เป็ นปี ทม่ี บี นั ทึกทางการทูตมากทีส่ ดุ จากฉบับที่ 30-46 และปี น้พี บว่าเป็ น
ปี สุดท้ายของจักรพรรดิกวางจูง (ฝ่ ายเต็ยเซิน) หลังจากนัน้ เป็ นศักราชแกงทิ้งปี ท่ี 1 ในปี ค.ศ.1793 การเปลี่ยน
แผ่นดินในเวียดนามทาให้พบความอ่อนไหวทางด้านชายแดนลาว และปั ญหาสยาม เนื่องจากพบเอกสารสังการสื ่ บ
สภาพชายแดนลาวมีจานวนร่วม 10 ฉบับแต่ละฉบับล้วนแต่ให้สบื ข่าวชายแดนลาว และสืบข่าวความเคลื่อนไหว
ของสยามแทบทัง้ สิ้น (ฉบับที่ 49-58, สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt
Nam 2000, 253-280)

เป็ นทีน่ ่าสังเกตว่าในช่วงสมัยเต็ยเซิน เอกสารทีพ่ บในด่านกุ่ยเหิบจะเป็ นเรื่องการติดต่อกับเมืองละครหรือ


นครพนมเป็ นหลัก ส่วนหัวเมืองเวียงจันทน์ในช่วงระยะนี้ไม่ปรากฏในเอกสารการติดต่อ เมื่อเป็ นดังนี้ผเู้ ขียนจึงไป
สืบค้นในพงศาวดารญวน ซึ่งเป็ นเอกสารที่ฝ่ายราชวงศ์เหงียนเป็ นผู้บนั ทึก จึงทาให้ทราบว่า หัวเมืองลาวไม่
เพียงแต่ ส่งบรรณาการให้กบั ฝ่ ายเต็ยเซินเท่านัน้ (ผ่านด่านกุ่ยเหิบ ) ขณะเดียวกันก็พบว่าหัวเมืองลาว (เมือง
เวียงจันทน์ ) ยังได้มกี ารส่งบรรณาการให้กบั ฝ่ ายราชวงศ์เหงียนที่ไซ่ง่อนด้ วย โดยในพงศาวดารดังกล่าวได้พบ
เส้นทางการติดต่อระหว่างลาว กับกษัตริยเ์ วียดนามฝ่ ายราชวงศ์เหงียน ณ เมืองไซ่ง่อน ดังความว่า (พงศาวดาร
ญวน ม.ป.ป., 564-565)

ลาวเมืองเวียงจันทน์จงึ จัดให้ราชบุตรท้าวเพีย้ พระยาลาว นาเครื่องบรรณาการไปถวายพระ


เจ้ากาวว่างเหงวียงจี๊ว ณ เมืองไซ่ง่อน ครัน้ จะเดินทางบกเล่าก็เป็ นทางกันดาร เพราะว่า
ข้าศึกกาลังรบพัวพันกันอยู่ ราชบุตรท้าวเพีย้ พระยาลาวก็ลงเรือล่องลงมาตามแม่น้าโขง ต่อ
มาถึงเมืองพนมเปญเขมรจึงจะถึงเมืองไซ่ง่อน ราชบุตรกับท้าวเพีย้ พระยาลาวจึงนาเครื่อง
บรรณาการคือนอระมาดขาวดุจดังว่างาหน่อหนึ่งกับกลองมโหระทึก 10 กลอง
ฝ่ ายเวียดนามก็จดั สิง่ ของตอบแทนและมีคาสังไปทุ
่ กแขวงอาเภอให้เลีย้ งดูและส่งราชทูตลาวไปกว่าจะพ้น
อาณาเขต
หลังจากนี้เอกสารกุ่ยเหิบนับจากฉบับที่ 62 ค.ศ.1803 ที่มกี ารเปลี่ยนจากฝ่ ายเต็ยเซินมาเป็ นราชวงศ์
เหงียน ตรงกับสมัยจักรพรรดิยาลอง
์ จนถึงบันทึกฉบับที่ 71 ฉบับสุดท้ายทีม่ กี ารแปล ค.ศ.1845 สมัยจักรพรรดิ ์
เทียวจิ ก็พบว่า ความสาคัญของป้ อมกุ่ยเหิบก็เริม่ ลดความสาคัญลง โดยเฉพาะเอกสารฉบับที่ 70 ทาให้ทราบว่าใน

213
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปี ค.ศ.1840 ตรงกับสมัยจักรพรรดิมงิ่ ม้างได้ยกเลิกเมืองกุ่ยเหิบและได้เปลีย่ นชื่อมาเป็ นเขตกุ่ ยเหิบ ให้ขน้ึ กับกิง่


แขวงดิกเถาะ เมืองเฮืองเสิน่ สังกัดแขวงเงะอ่าน ทาให้ด่านกุ่ยเหิบกลายเป็ นเมืองขนาดเล็กไม่มคี วามสาคัญเหมือน
ในอดีต ตาแหน่งเจ้าเมืองกุ่ยเหิบก็ไม่มี พลทหารประจาค่ายก็มจี านวนน้อยลง ต่อมาปี ค.ศ.1842 ได้มกี ารตัง้ แขวง
เง่ะติ้งขึน้ ทาให้เขตกุ่ยเหิบต้องขึน้ กับแขวงเงะติง้ นับตัง้ แต่นนั ้ มา (สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên
cứu Ðông Nam Á Việt Nam 2000, 322-323)

สรุ ป
อาจกล่าวได้ว่า รัฐเวียดนามสมัยจารีตนัน้ ก็เหมือนรัฐอื่นๆ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ไี ด้ให้
ความสาคัญกับชายแดน ด้วยการปฏิบตั กิ ารสร้างป้ อมค่ายขึน้ เพื่อเป็ นตัวแทนของรัฐในการควบคุมพืน้ ทีช่ ายแดน
และภายนอกอาณาจักร กุ่ยเหิบเป็ นป้ อมทีม่ ชี วี ติ มายาวนานตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงกลางศตวรษที่ 19 จึง
ได้ค่อยๆ เสือ่ มลง ความเสือ่ มของป้ อมหรือเมืองกุ่ยเหิบนี้มคี วามสัมพันธ์กบั บริบททัง้ การเมืองภายในเวียดนามและ
การเมืองภายนอกโดยเฉพาะบริบทของหัวเมืองลาวทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ทัง้ ทีศ่ ูนย์กลางอานาจจากภาคเหนือเคลื่อน
มาทีภ่ าคกลาง (เว้) รวมทัง้ การทีห่ วั เมืองลาวตกเป็ นเมืองขึน้ ของสยาม ซึง่ ในประเด็นนี้จะได้ศกึ ษาเจาะลึกต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากการเขียนบทความสัน้ ๆ เรื่องนี้ นอกจากจะทาให้ทราบปฏิบตั ิการของรัฐเวียดนาม
เกีย่ วกับชายแดนแล้ว ในมุมกลับก็สามารถสะท้อนให้เห็นอีกด้านของรัฐลาวโดยเฉพาะหัวเมืองนครพนม ซึง่ หาก
เราไม่ศกึ ษาเอกสารทีม่ คี วามหลากหลายเราก็ไม่สามารถทราบได้ว่า เมืองๆ หนึ่งหรือรัฐหนึ่งทีจ่ ะสามารถดารงอยู่
ได้ในสมัยอดีตนัน้ ต้องมีปฏิบตั กิ ารในการทีจ่ ะอยู่รอดปลอดภัยจากอานาจของรัฐ/เมืองทีใ่ หญ่กว่าทัง้ จากอานาจของ
ฝ่ ายเวียดนามและจากฝ่ ายสยาม การอยู่ท่ามกลางมหาอานาจใหญ่ทงั ้ สองฝ่ าย ปฏิบตั กิ ารเพื่อความอยู่รอดของหัว
เมืองลาวต่างๆ จึงเป็ นประเด็นทีน่ ่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

เอกสำรอ้ำงอิง
กาพล จาปาพันธ์. 2555. ข่าเจือง: กบฏไพร่ ขบวนการผูม้ บี ุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง.
กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ
เก็ตถวา บุญปราการ. 2551. “ปฏิบตั กิ ารในชีวติ ประจาวันของผูค้ า้ มุสลิมข้ามแดนปาดังเบซาร์ไทย-มาเลเซีย.”
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.
คา จาปาแก้วมณี และคณะฯ. 2539. ประวัตศิ าสตร์ลาว. แปลโดย สุวทิ ย์ ธีรศาศวัต. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (โรเนียวเย็บเล่ม)
จักรกริช สังขมณี. 2551. “พรมแดนศึกษาและมานุษยวิทยาชายแดน: การเปิ ดพืน้ ที่ สร้างเขตแดนและการสร้าง
พรมแดนของความรู.้ ” วารสารสังคมศาสตร์ (ฉบับพิเศษ) ข้ามพรมแดนความรูแ้ ห่งสังคมศาสตร์ไทย: 60
ปี อานันท์ กาญจนพันธ์ 20 (2): 209-266.
เจิน่ วันกวี
่ .้ 2000. “เอกสารประวัตศิ าสตร์เกีย่ วกับความสัมพันธ์เวียดนาม-ลาวพบอยู่กุ่ยเหิบ เมืองเฮืองเค่ แขวงเงะ
ติง้ ” ใน ความสัมพันธ์ประวัตศิ าสตร์ลาว-เวียดนามจากเอกสารกุย่ เหิบ. หุมพัน รัดตะนะวง และ หามดิก
แท่ง, ชีน้ าการค้นคว้า. หน้า 40-56. เวียงจัน: มูลนิธโิ ตโยต้า.
ชายวิทย์ เกษตรศิร.ิ 2554. ประมวลสนธิสญ ั ญา อนุสญ ั ญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนทีร่ ะหว่างสยาม
ประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพือ่ นบ้าน: กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ไชยณรงค์ เศรษฐเชือ้ . 2522. “พืน้ ทีอ่ านาจและวิถกี ารดารงชีวติ ของผูค้ นบริเวณพรมแดนกัมพูชา-ลาวภายใต้
กระแสการพัฒนาอนุภาคลุ่มน้าโขง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาไทศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย.
214
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เซเดซ์, ยอร์ช. 2525. ชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีน, แปลโดย ปั ญญา บริสทิ ธิ.์ กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ไทย
วัฒนาพานิช.
ธงชัย วินจิ จะกูล. 2555. กาเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัตศิ าสตร์ภูมกิ ายาของชาติ. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ธิดา จาตุประยูร. 2510. “บทบาทของไทยเกีย่ วกับเขมรในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4.” วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรม
หาบัณฑิต สาขาประวัตศิ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัตตินเจอร์, โจเซฟ. 2522. ประวัตศิ าสตร์การเมืองเวียดนาม, แปลโดย เพ็ชรี สุมติ ร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พงศาวดารญวน (ฉบับนายหยอง ญวนทหารปื นใหญ่ แปล). ม.ป.ป.: ม.ป.ท.
พิเชษฐ สายพันธ์ และ สุรยิ า คาหว่าน. 2554. เขตชายแดนเวียดนาม-ลาว-กัมพูชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการ
ตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ยศ สันตสมบัติ และคณะ. 2555. ชนชายแดนกับการก้าวข้ามพรมแดน. เชียงใหม่: ศูนย์ศกึ ษาความหลากหลาย
ทางชีวภาพและภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ เพื่อการพัฒนาอย่างยังยื ่ น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราภรณ์ เรืองศรี. 2557. คาราวานและพ่อค้าทางไกล: การก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดน
ตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วสันต์ ปั ญญาแก้ว. 2555. กลไกรัฐ การเปลีย่ นแปลงเชิงพื้นทีแ่ ละปฏิบตั กิ ารของลื้อชายแดนทีเ่ มืองชายแดนแม่
สาย-ท่าขี้เหล็ก. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.).
สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมลาวและ Viện nghên cứu Ðông Nam Á Việt Nam. 2000. ความสัมพันธ์
ประวัตศิ าสตร์ลาว-เวียดนามจากเอกสารกุ่ยเหิบ. หุมพัน รัดตะนะวง และ หามดิกแท่ง, ชีน้ าการค้นคว้า.
หน้า 40-56. เวียงจัน: มูลนิธโิ ตโยต้า.
สีลา วีระวงส์. 2535. ประวัตศิ าสตร์ลาว, แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรศักดิ ์ ศรีสาอาง. 2545. ลาดับกษัตริยล์ าว. กรุงเทพฯ: สานักโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ กรม
ศิลปากร.
เสาวภา ภาระราช. 2522. “ปั ญหาการปกครองของไทยในประเทศราชหลวงพระบางและหัวเมืองลาว ระหว่างปี
พ.ศ. 2431-2446.” ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หุมพัน รัดตะนะวง. 2000. “เส้นทางกุ่ยเหิบ: เส้นทางประวัตศิ าสตร์แห่งความสัมพันธ์ลาว-เวียดนามสายหนึ่ง.” ใน
ความสัมพันธ์ประวัตศิ าสตร์ลาว-เวียดนามจากเอกสารกุ่ยเหิบ. หุมพัน รัดตะนะวง และ หามดิกแท่ง,
ชีน้ าการค้นคว้า. หน้า 9-39. เวียงจัน: มูลนิธโิ ตโยต้า.
เหงียนคักเวียน. 2545. เวียดนาม: ประวัตศิ าสตร์ฉบับพิสดาร, แปลโดย เพ็ชรี สุมติ ร. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการ
ตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Tran Van Quy. 2002. “The Quy Hop Archive: Vietnamese-Lao Relations Reflected in Border-Post
Documents Dating from 1619 to 1880.” in Breaking New Ground in Lao History, edited by
Mayoury Ngaosrivathana and Kennon Brezeale. Chiang Mai: Silkworm Books.

215
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

216
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P4-R1-03

การประกอบสร้างอัตลักษณ์เชื้ อชาตินา
วรรณะนา และประวัติศาสตร์อินเดียกระแสนา
ด้วยวาทกรรมความเป็ นอารยัน
ในอินเดียยุคอาณานิคม

ตุลย์ จิรโชคโสภณ*
สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

* ขอขอบพระคุณ อาจารย์.ดร.เพียรพิทย์ โรจนปุ ณยา สาหรับเมตตาจิตที่มีต่อผู ้เขียนเสมอมาและเหนือสิ่งอื่นใด ท่านเป็นปู ชนียจารย์ท่ ี


เป็นแรงบันดาลใจสาคัญที่ทาให้ผู้เขียนเกิดความสนใจในศาสตร์แห่งอดีตอย่างประวัติศาสตร์ ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.ศรัญญา
ประสพชิ งชนะ ผู ้จุดประกายให้ผู้เขียนในฐานะศิษย์ได้พบมนต์เสน่ห์ของประวัติศาสตร์อินเดีย , ขอขอบพระคุณ อาจารย์เรืองวิทย์
ลิมปนาท, อาจารย์ อัมพิก า สวัส ดิ วงศ์ , รองศาสตราจารย์ สุ พัฒ ศรี วรสายั ณ ห์ , ผู ้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรัญ ฉกรรจ์แ ดง,
รองศาสตราจารย์ ดร.มัทนา เกษกมล และรองศาสตราจารย์ ภารดี มหาขั นธ์ แห่งภาควิชาประวัติ ศาสตร์ มหาวิทยาลั ย บู รพา
ข อ ข อ บ พ ร ะ คุ ณ Prof.Dr.Sumitra Kulkarni, Prof.Dr.Radhika Seshan, Prof.Dr.Rekha Ranade, Prof.Dr.D S Gaikwad แ ห่ ง
Department of History University of Pune และ Prof.Dr.Umesh A Kadam ศาสตราจารย์ ป ระจ า Centre of Historical
Studies Jawaharlal Nehru University ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู ้ด้านประวัติศาสตร์ให้กับผู ้เขียน และขอบพระคุณ อาจารย์
ปวินท์ มินทอง สาหรับการตรวจความถูกต้องของการถอดคาภาษาสันสกฤต

217
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
ระบบอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียได้เริม่ ก่อตัวขึน้ ในเบงกอลช่วง ค.ศ.1757 จนกระทังได้ ่ ขยายไปยัง
พืน้ ทวีปส่วนใหญ่ของอินเดียหลังจากสงครามอังกฤษ-มราฐาครัง้ ที่ 3 (Third Anglo-Maratha War) หลัง ค.ศ.1818
ผลคือดินแดนส่วนใหญ่ของอินเดียตกเป็ นของอังกฤษ จนอังกฤษได้ตระหนักถึงความจาเป็ นในการทาความเข้าใจ
เกี่ยวกับภูมหิ ลังทางวัฒนธรรมของชาวอินเดียเพื่อประโยชน์ในการปกครอง ภาษาสันสกฤตได้กลายเป็ นกุญแจ
สาคัญ ในการเข้า ถึงคลัง ความรู้ด ังกล่ า ว นัก บูร พคตินิ ยม (Orientalist) อาทิ เซอร์วิลเลีย ม โจนส์ (Sir William
Jones) ได้คน้ พบความสัมพันธ์กนั ระหว่างภาษาสันสกฤตกับภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปี ยน โดยเฉพาะการทีค่ มั ภีร์
พระเวทได้ระบุถงึ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทีถ่ ูกเรียกเป็ นภาษาสันสกฤตว่า อารย (Arya) ซึง่ ถูกตีความโดยนักบูรพคตินิยม
ว่าเป็ นผูท้ น่ี าแนวคิดทีเ่ ป็ นรากฐานทางวัฒนธรรมอินเดีย อย่างเช่น การนับถือเทพเจ้าและระบบวรรณะมาเผยแพร่
ในอินเดียตอนเหนือ กอปรกับเป็ นช่วงทีย่ ุโรปกาลังแสวงหาแนวคิดเรื่องเชือ้ ชาติ (Racial Theory) ซึง่ มีอทิ ธิพลมา
จากแนวคิดแบบดาร์วนิ (Darwinism) ผลคือทาให้เกิดกระแสการสืบค้นจุดกาเนิดของเชือ้ ชาติอารยัน อาทิ จากงาน
เขียนของแมกซ์ มึลเลอร์ (Max Muller)
“ความเป็ นอารยัน” จึงกลายเป็ นวาทกรรมเรื่องเชื้อชาติทถ่ี ูกพัฒนาขึน้ ในยุโรปและได้กลายเป็ นหนึ่งใน
เครื่องมือทางการเมืองทีจ่ กั รวรรดินิยมอังกฤษนามาใช้เพื่อสร้างความเป็ นเชือ้ ชาตินา (Master Race) ให้กบั ตนเอง
ในฐานะผูป้ กครองและความเป็ นเชือ้ ชาติรอง (Inferior Race) ให้กบั ชาวอินเดียในฐานะผูอ้ ยู่ใต้ปกครอง อีกทัง้ ยังมี
ผลต่อการเขียนประวัติศาสตร์อินเดียกระแสนาโดยนักบูรพคตินิยมอังกฤษที่มมี ุมมองว่า ชนชาติอารยันคือผู้ท่ี
น าอัต ลัก ษณ์ ค วามเป็ น ฮิน ดูม าให้แ ก่ ช าวอิน เดีย ในช่ ว งยุ ค พระเวทอัน ส่ง ผลให้ในภายหลัง มุ ม มองข้า งต้น ได้
กลายเป็ นข้อถกเถียงประเด็นหนึ่งทีส่ าคัญในวงการประวัตศิ าสตร์อนิ เดีย ซึง่ เราเรียกประเด็นนี้ว่า “ปั ญหาอารยันใน
ประวัตศิ าสตร์อนิ เดีย” (The Aryan Debate) อีกทัง้ “ความเป็ นอารยัน” ยังได้ถูกหยิบใช้โดยนักปฏิรูปฮินดูและนัก
ชาตินิยมฮินดู อย่าง ดายานัน สรัสวตี (Dayananda Saraswati) และโลกมันยา ติลกั (Lokmanya Tilak) ในการ
สร้างอัตลักษณ์ ความเป็ นวรรณะสูงของพราหมณ์ ซ่งึ สืบเชื้อสายมาจากพวกอารยันในยุคพระเวท บทความนี้
ต้องการนาเสนอถึง 1. พัฒนาการของวาทกรรมความเป็ นอารยัน ทีถ่ ูกสร้างขึน้ ในอินเดียยุคอาณานิคม 2. การใช้
วาทกรรมความเป็ นอารยันของนักบูรพคตินิยมในการสร้างอัตลักษณ์ความเป็ นเชือ้ ชาตินา, ความเป็ นเชือ้ ชาติอ่นื
และการใช้วาทกรรมความเป็ นอารยันของชาวอินเดียในการสร้างความเป็ นวรรณะสูงและความเป็ นวรรณะอื่นใน
อินเดียยุคอาณานิคม 3. การวางโครงร่างและปั ญหาในประวัตศิ าสตร์อนิ เดียกระแสนาทีถ่ ูกประกอบสร้างจากวาท
กรรมความเป็ นอารยันในอินเดียยุคอาณานิคม

ฤคเวท: วรรณกรรมสันสกฤตหลักที่เก่ำแก่ท่สี ุดเกี่ยวกับคำว่ำอำรยัน


พระเวท คือวรรณกรรมทีเ่ ก่าแก่ทส่ี ุดซึง่ กล่าวถึงภูมหิ ลังและประวัตแิ รกเริม่ ของกลุ่ มคนทีเ่ รียกตนเองว่า
อารย (Arya) ทีเ่ ดินทางเข้ามาในอินเดียในช่วงประมาณ 1500 ปี ก่อนคริสตกาล คาว่าพระเวท แปลว่า ความรู้ โดย
พระเวทจะประกอบไปด้วยคัมภีรห์ ลักๆ 4 ฉบับคือ ฤคเวท (Rig), ยชุรเวท (Yajur), สามเวท (Sama) และอาถรรพ-
เวท (Athava) เริ่มจากฤคเวทซึ่งในทางทฤษฎีแล้วยังคงเป็ นบันทึกที่ศกั ดิส์ ทิ ธิท์ ่สี ุดในบรรดาหนังสือศักดิส์ ทิ ธิ ์
ทัง้ หลายของอินเดีย 1 ฤคเวทประกอบไปด้วยบทสวดร้อยกรองประมาณ 1,028 บทเกี่ยวกับการอ้อนวอนราพึง
ราพันต่ อเทพเจ้าและเป็ นบทสวดสาหรับใช้ในทาพิธีบูชา ส่วนยชุรเวท เป็ นคัมภีร์ท่รี วบรวมเกี่ยวกับระเบีย บ
ขัน้ ตอนการเตรียมพิธกี รรมบูชายัญและบทสวดสาหรับนักบวชทีใ่ ช้ท่องระหว่างประกอบพิธีกรรม สาหรับสามเวท

1 บาเชม, เอ แอล. 2549. ภารตรัตนะ. ธิตมิ า พิทกั ษ์ไพรวัน (แปล). พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 57

218
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เป็ น ค าร้อ ยกรองที่ร วบรวมมาจากฤคเวทเพื่อ ใช้ส าหรับ การสวดสัก การบูช า และอาถรรพเวท โดยหลัก จะ
ประกอบด้วยคาถาเวทมนต์และคาถาเสน่หา ซึง่ ในหมู่พระเวททัง้ 4 นี้ เราพบคาว่า อารย (Arya) ปรากฏอยู่ในส่วน
ของฤคเวทเท่านัน้ ซึง่ คาว่า ฤคเวท มีการระบุถงึ คาว่า อารย (Arya) ถึง 36 ครัง้ ในร้อยกรอง 43 บทจากทัง้ หมด
1028 บท
การกาหนดอายุของฤคเวท ว่าถูกแต่งขึน้ เมื่อใดและมีเนื้อหาทีค่ รอบคลุมเกี่ยวกับมิตเิ วลาช่วงใด ยังคง
เป็ น ปั ญ หาที่นั ก ประวัติศ าสตร์ก าลัง ถกเถีย งกัน อยู่ เรายัง ไม่ ส ามารถก าหนดเวลาที่แ น่ น อนในเหตุ ก ารณ์
ประวัติศาสตร์อนิ เดียก่อนสมัยพุทธกาลได้ 2 อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์อนิ เดียกระแสนาได้ระบุว่าเรื่องราวที่
ปรากฏอยู่ในพระเวทสามารถถูกแบ่งออกได้เป็ น 2 ช่วง คือเรื่องราวในยุคพระเวทแรกเริม่ (Early Vedic) กินเวลา
ตัง้ แต่ 1500 – 1000 ปี ก่อนคริสตกาล และเรื่องราวในยุคพระเวทหลัง (Later Vedic) ครอบคลุมช่วง 1000 – 600
ปี ก่อนคริสตกาล ใน 2 ช่วงระยะเวลานี้เองก็คอื ช่วงการกระจายตัวของชาวอารยันในบริเวณอินเดียตอนเหนือ3 ซึง่
ในเวลาต่อมาข้อสนเทศในพระมนูธรรมศาสตร์ (Manusmṛti ) ได้เรียกบริเวณดังกล่าวว่า อารยวาตะ (Āryavarta)
ซึง่ ถูกตีความโดยนักบูรพคตินิยมและนักประวัตศิ าสตร์อนิ เดียกระแสนา ระบุว่าครอบคลุมตัง้ แต่ทศิ ตะวันออกของ
ปากีสถานในปั จจุบนั ขนานแนวเทือกเขาหิมาลัยผ่านทีร่ าบคงคาไปจนถึงอ่าวเบงกอลซึง่ อยู่ทางทิศตะวันออกและ
ไปจรดดินแดนทีข่ นานกับเทือกเขาวิญญาทางทิศใต้

ภาพประกอบ 1 แสดงถึงบริเวณที่ถูกเรียกว่า อารยวาตะ (Āryavarta)


ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/%C4%80ry%C4%81varta#/media/File:Map_of_Vedic_India.png

ด้วยเหตุน้เี องจึงทาให้ประวัตศิ าสตร์กระแสนาของอินเดียเรียกดินแดนดังกล่าวว่าเขตอิทธิพลของพวกชน


เผ่าอารยันหรือแม้แต่เขตอิทธิพลวัฒนธรรมอารยัน
นอกจากนัน้ นักภาษาศาสตร์, นักประวัตศิ าสตร์, นักโบราณคดี รวมถึงนักบูรพคตินิยมในสมัยอาณานิคม
อินเดียยังได้อธิบายเพิม่ เติมผ่านการตีความใน ฤคเวท ว่าฤคเวทได้ระบุการทาสงครามของกลุ่มคนทีเ่ รียกตนเองว่า
อารย กับกลุ่มคนทีถ่ ูกเรียกว่า ทัสยุ (Dasyu) และ ทาสะ (Dasa) ซึง่ เป็ นกลุ่มคนทีม่ คี วามแตกต่างกันในวัฒนธรรม
ด้านต่างๆ และทีส่ าคัญคือแตกต่างกันเรื่อง สีผวิ จนทาให้เมื่อช่วงทีอ่ นิ เดียตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ และพวก
นักบูรพคตินิยมเดินทางเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับคัมภีรส์ นั สกฤตต่างๆ โดยเฉพาะพระเวท, พระมนู ธรรมศาสตร์ ได้

2 Trautmann, Thomas R. 2010. The Aryan Debate. Trautmann, Thomas R (Editor). Fifth Impression. New Delhi: Oxford University Press. p.
xxxv.
3 Jha, D.N. 2010. Ancient India in Historical Outline. New Delhi: Manohar. pp. 43

219
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เกิดการตีความว่าพวกทัสยุและทาสะ คือพวกชนพืน้ เมือง (คนอินเดีย) ทีถ่ ูกรุกรานโดยชนชาติภายนอกทีม่ ผี วิ ขาว


กว่า และในที่สุดนาพาไปสู่ทฤษฎีเรื่องเชื้อชาติและทฤษฎีอารยันรุกรานในประวัติศาสตร์อนิ เดียกระแสนา ซึ่ง
ผูเ้ ขียนบทความจะอธิบายในหัวข้อต่อไป

จักรวรรดิอังกฤษกับกำรประกอบสร้ำงอำนำจในอินเดียและจุ ดเริ่มต้นของกำรศึกษำวรรณกรรมสันสกฤต
ในอำณำนิคมอินเดีย
หลังจากอังกฤษทาสงครามมีชยั ชนะเหนือไอร์แลนด์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษได้
ค่อยกลายสภาพดุจดังจักรวรรดิโรมันใหม่ พ่วงด้วยพันธกิจในการนาความเป็ นอารยะไป
ให้กบั ผูค้ นทีล่ า้ หลัง4

เศกขาร์ พันทโยปาธยายะพ
อังกฤษเป็ นหนึ่งในราชอาณาจักรในยุโรปทีป่ ระสบความสาเร็จในการล่าอาณานิคม จนสามารถยกระดับ
ฐานะของราชอาณาจักรให้กลายเป็ นจักรวรรดิทม่ี ดี นิ แดนทีก่ ว้างใหญ่โดยทีไ่ ม่มขี อบเขตแค่ในทวีปของตนเท่านัน้
คล้ายกับจักรวรรดิโรมันในอดีต เราสามารถแบ่งช่วงเวลาของการขยายตัวของจักรวรรดิองั กฤษออกได้เป็ น 2 ระยะ
หลักๆ โดยจักรวรรดิองั กฤษที่ 1 เริม่ ต้นจากสมัยราชวงศ์ทวิ ดอร์5 (Tudor Dynasty) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
16 ซึ่งสามารถสงครามชนะไอร์แลนด์รวมไปถึงการตัง้ อาณานิคมในดินแดนแถบแอตแลนติก (อเมริกา) และหมู่
เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) ส่วนจักรวรรดิองั กฤษที่ 2 นัน้ เริม่ ตัง้ แต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อ
อังกฤษได้ขยายของจักรวรรดิเข้าไปยังทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย
ในกรณีของอินเดียนัน้ อังกฤษเริม่ เข้ามาค้าขายกับอินเดียอย่างเป็ นทางการในช่วง ค.ศ.1613 โดยบริษทั
อินเดียตะวันออก6 (East India Company)ได้เข้ามายังอินเดีย โดยมีจุดประสงค์หลักในช่วงแรกๆคือการซื้อขาย
เครื่อ งเทศ 7 จนกระทัง่ บริษัท อิน เดีย ตะวัน ออกของอังกฤษได้ร ับ พระราชทานอนุ ญ าตจากจักรพรรดิจาฮังกีร์
(Emperor Jahangir) แห่ ง ราชวงศ์มุ ก ัล (Mughal Dynasty) ให้ส ามารถตัง้ ท่ า เรือ สิน ค้า ได้ท่ีเ มือ งสุ ร ัต (Surat)
ทางด้านทิศตะวันตกของอินเดียใน ค.ศ.1617 และบริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้มกี ารส่ง เซอร์โทมัส โรว์
(Sir Thomas Roe) ไปประจาที่ราชสานักมุกลั ซึ่งเป็ นจุดเริม่ ต้นของการขยายเมืองท่าของอังกฤษไปยังบริเวณ
อื่นๆของอินเดียในเวลาต่อมา เช่นใน บอมเบย์, กัลกัตตา และมัทราส8 จนกระทังในช่ ่ วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อ
อิทธิพลของฝรังเศสในอิ
่ นเดียเริม่ น้อยลงโดยเฉพาะบริเวณอินเดียตะวันออก หลังจากที่ฝรังเศสแพ้ ่ สงครามกับ
อังกฤษหลายครัง้ โดยเฉพาะในวันที่ 22มิถุนายน ค.ศ.1757 ในสงครามที่ปลาสซีย์9 (Battle of Plassey) ซึ่งโร
เบิรต์ ไคล์ฟ (Robert Clive) แห่งบริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพฝรังเศสที ่ ร่ ่วมมือกับ

4 Bandyopadhyay, Sekhar. 2008. From Plassey to Partition: A History of Modern India. New Delhi: Orient BlackSwan.pp.67
5 ตรงกับรัชสมัยของพระนางอลิซาเบธที่ 1
6 บริษท ั อินเดียตะวันออกของอังกฤษ (East India Company) ก่อตัง้ ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1600 โดยได้รบั สัมปทานการเดินเรือเพือ่ สารวจดินแดนใน
เอเชียจากราชสานักอังกฤษ ดาเนินงานโดยเอกชนทีม่ ผี ถู้ อื หุน้ ในอังกฤษเป็ นจานวนมากรวมถึง ขุนนาง, นักการธนาคาร, นายทุน และข้าราชการอังกฤษ
โดยบริษทั พยายามผูกขาดการค้าในอินเดียด้วยวิธกี ารจ่ายสินบนให้กบั รัฐบาลทีล่ อนดอน แต่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดภาวะการเงินในบริษทั
เป็ นเหตุทาให้รฐั บาลทีล่ อนดอนพยายามรักษาผลประโยชน์ในรูปแบบของเงินปั นผลด้วยวิธกี ารออกกฎหมายเพือ่ ปฏิรปู และแทรกแซงการบริหารงานของ
บริษัทในอินเดีย จนกระทั ่งหลังเหตุการณ์ กบฏซีปอย (The Great Mutiny) ใน ค.ศ.1857 กิจการของบริษัทถูก โอนมาอยู่ในมือของรัฐบาลอังกฤษที่
ลอนดอนโดยตรง
7 มีนักประวัตศ ิ าสตร์หลายท่าน อาทิ พี เจ มาร์แชล (P J Marshall) ได้แสดงทัศนะว่าอังกฤษยังคงไม่มจี ุดประสงค์หลักในการล่าอาณานิคมในอินเดีย
หรือมีแนวคิดทางการเมืองในการปกครองอินเดียรวมถึงการแสวงหาดินแดน (ทีด่ นิ ) ในอินเดียก่อน ค.ศ.1784
8 Bandyopadhyay, Sekhar. pp.37
9 อยูใ่ กล้กบั เมืองกัลกัตตาในปั จจุบนั ประมาณ 90 กิโลเมตร

220
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

นวอบแห่งเบงกอล (Nawab of Bengal) เป็ นผลให้บริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษได้รบั สิทธิในการเก็


์ บภาษี
และสิทธิในการปกครองดิ
์ นแดนเบงกอลจากจักรพรรดิราชวงศ์มุกลั ซึ่งเหตุการณ์น้ีเองถือว่าเป็ นจุดเริม่ ต้นของ
แนวคิดในการปกครองอินเดียในฐานะอาณานิคมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ โดยมีกลั กัตตาเป็ น
ศูนย์กลาง
ปั ญหาแรกๆทีโ่ รเบิรต์ ไคล์ฟต้องเผชิญหลังจากทีเ่ ข้ามาปกครองเบงกอลโดยตรงก็คอื กาแพงด้านภาษา
ในช่วงเวลาดังกล่าวภาษาราชการรวมถึงเอกสารทีใ่ ช้ในการโต้ตอบระหว่างผูป้ กครองเบงกอลกับราชสานักมุกลั ก็
คือภาษาเปอร์เซียซึ่งในระยะแรกนัน้ เจ้าหน้าที่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษยังคงไม่คุ้นเคย รวมถึง
ปั ญหาในการปกครองกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเบงกอลทีม่ คี วามแตกต่างกันทัง้ ทางด้านภาษา วัฒนธรรม และความ
เชื่อ ซึง่ โดยหลักประกอบด้วยชาวฮินดูและชาวมุสลิม เป็ นทีท่ ราบกันว่าในมิตขิ องการบริหารกระบวนการยุตธิ รรม
ของสังคมอินเดียนัน้ ชาวมุสลิม -อินเดียและชาวฮินดู-อินเดียจะใช้กฎหมายคนละฉบับกัน ฉะนัน้ การปกครองคน
แปลกหน้าโดยคนแปลกหน้าที่เพิง่ จะเข้ามาปกครองจึงเป็ นสิง่ ที่เป็ นอุปสรรคสาคัญในระยะแรกๆ ซึ่งไคล์ฟ ได้
แก้ปัญหาในเบือ้ งต้นโดยการใช้ระบบรัฐบาลคู่ (Double Government) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจะ
บริหารจัดการเรื่องการเงินในเบงกอล ส่วนในเรื่องของกระบวนการยุตธิ รรมยังคงให้เป็ นภาระของขุนนางเก่าของน
วอปแห่งเบงกอล สิง่ นี้เองทาให้เกิดความจาเป็ นของเจ้าหน้าทีอ่ งั กฤษในการศึกษาเกีย่ วกับกฎหมายดังกล่าว
ต่อมา เกิดปั ญหาด้านการเงินและภาวการณ์ขาดทุนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในอินเดีย
โดยเฉพาะการทีส่ หรัฐอเมริกาหันไปซือ้ ใบชาจากฮอลันดาประกอบกับหนี้สนิ ของบริษทั กับธนาคารกลางลอนดอน
จนบริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษไม่สามารถทีจ่ ะจ่ายเงินปั นผลให้กบั ผูถ้ อื หุน้ ร่วมกับบริษทั ในลอนดอนและไม่
สามารถจ่ายเงินรายปี ให้กบั รัฐบาลทีล่ อนดอนเพื่อแลกกับการยินยอมให้บริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็ นผู้
ผูกขาดการค้าแต่เพียงผูเ้ ดียวในอินเดียได้ สิง่ นี้จงึ ทาให้รฐั บาลกลางที่ลอนดอนตัดสินออกพระราชบัญญัติบริษัท
อินเดียตะวันออกฉบับ ค.ศ.1773 (Regulating Act of 1773) เพื่อควบคุมบริษทั อินเดียตะวันออกให้มากขึน้ ทาให้
มีขา้ ราชการจากอังกฤษถูกส่งเข้ามาบริหารงานในอินเดียมากขึน้ ซึ่งข้าราชการอังกฤษในระยะนี้ส่วนใหญ่มกั จะ
เป็ นผูท้ ไ่ี ด้รบั การศึกษาในระดับสูงหากเทียบกับเจ้าหน้าทีข่ องบริษทั อินเดียตะวันออกเมื่อก่อนหน้านี้
ข้าราชการอังกฤษจากลอนดอนส่วนใหญ่ทเ่ี ข้ามาในอินเดีย ในระยะนี้เป็ นผลผลิตจากระบบการศึกษาใน
ยุครู้แจ้ง (Enlightenment Period) ต่างตระหนักว่าหากจักรวรรดิองั กฤษต้องการทีจ่ ะปกครองอินเดียรวมถึงการ
ควบคุมสังคมอินเดียจาเป็ นทีจ่ ะต้องอาศัยความรูค้ วามเข้าใจในประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม กฎหมายและภาษาของ
ชาวพืน้ เมือง และถ้าหากความรูด้ งั กล่าวยังคงไม่ปรากฏ การค้นหาให้ปรากฏคือสิง่ ทีพ่ งึ กระทา 10 ฉะนัน้ ความรูใ้ น
เรื่องข้างต้นจึงเปรียบเสมือน การประกอบสร้ าง อานาจของการเป็ นผูป้ กครองอินเดีย ดังที่นักประวัติศาสตร์ผมู้ ี
ชื่อเสียงของอินเดียอย่างศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร (Romila Thapar) เรียกความรูท้ จ่ี าเป็ นดังกล่าวว่า “Furniture
of the Empire” จึงทาให้ขา้ ราชการอังกฤษได้เข้ามาศึกษาเกี่ยวกับภาษาต่างๆทัง้ ในเชิงภาษาศาสตร์และนิรุกติ
ศาสตร์ท่อี นิ เดีย อาทิ สันสกฤต, เปอร์เซีย เป็ นต้น ซึ่งอังกฤษต่างตระหนักว่าเป็ นกุญแจสาคัญในการเข้าสู่คลัง
ความรูต้ ่างๆ ของอินเดีย และท้ายสุดนาพาไปสูก่ ระแสการศึกษาวรรณกรรมทีส่ าคัญของอินเดียคือ พระเวท

10Thapar, Romila. 2008. “The Historiography of the Concept of Aryan”. The Aryan Recasting Constructs. First Edition. New Delhi: Three
Essays Collective. p. 27.

221
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

“ควำมเป็นอำรยัน”: จินตภำพที่ถกู ประกอบสร้ำงโดยนักบู รพคตินิยมในอำณำนิคมอินเดีย


การศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จารึกโบราณ ภาษา ศิลปกรรม หรือองค์ความรู้ศาสตร์ต่ า งๆที่
เกี่ยวข้องกับเอเชียหรือดินแดนที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของยุโรป มักถูกเรียกว่าบูรพคดีศกึ ษา (Orientalism)
และผูท้ ก่ี ระทาการศึกษาจะถูกเรียกว่า นักบูรพคตินิยม (Orientalist) ซึง่ หลังไหลเข้
่ ามาในกัลกัตตาเป็ นจานวนมาก
โดยเฉพาะหลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัตบิ ริษทั อินเดียตะวันออกฉบับ ค.ศ.1773 ในกัลกัตตา ประกอบ
กับในขณะนัน้ ยังเป็ นช่วงทีร่ าชวงศ์มุกลั มีอานาจในฐานะศูนย์กลางของอินเดียแค่ในนามเท่านัน้ 11 จากทีก่ ล่าวมานี้
ทาให้กลั กัตตา เริม่ กลายเป็ นศูนย์กลางอานาจ เนื่องจากพระราชบัญญัตดิ งั กล่าวได้กาหนดให้ ข้าหลวงของอังกฤษ
ประจากัลกัตตา, มัทราสและบอมเบย์ต้องขึ้นตรงต่ อข้าหลวงใหญ่ท่ถี ูกแต่งตัง้ โดยตรงมาจากรัฐบาลอังกฤษที่
ลอนดอนให้มาประจาที่ กัลกัตตา ซึง่ มีขา้ หลวงใหญ่ประจาอินเดียคนแรก ก็คอื วอร์เรน เฮสติง้ (Warren Hasting)
หนึ่งในนโยบายหลักของ เฮสติง้ ก็คอื การสนับสนุนให้มกี ารศึกษาเกีย่ วกับเรื่องราวของอินเดีย ซึง่ ทาให้มี
นักบูรพคตินิยมถูกส่งตัวมาจากอังกฤษมาทีอ่ นิ เดียเป็ นจานวนมาก บูรพคดีศกึ ษาไม่เพียงแต่กจิ กรรมด้านวิชาการ
เท่านัน้ แต่ยงั เป็ นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการปกครองและส่วนหนึ่งของรัฐบาลตัง้ แต่สมัยของเฮสติ้ง 12 เซอร์
วิลเลียม โจนส์ (Sir William Jones) เป็ นหนึ่งในข้าราชการทีถ่ ูกส่งตัวให้มารับตาแหน่ งเป็ นผูพ้ พิ ากษาร่วมประจา
ศาลยุตธิ รรมสูงสุดทีฟ่ อร์ทวิลเลียม (Fort William) ณ กัลกัตตา เมื่อ ค.ศ.1783 นอกจากนัน้ โจนส์ยงั เป็ นนักนิรุกติ
ศาสตร์ทม่ี คี วามรูด้ า้ นภาษาสันสกฤต, ภาษาเปอร์เซีย ซึง่ ตามประวัตริ ะบุว่าโจนส์เรียนภาษาสันสกฤตจากบัณฑิต
พราหมณ์คนหนึ่งทีม่ ชี ่อื ว่า Rāmalocana รวมถึงเป็ นหนึ่งในผูบ้ ุกเบิกการศึกษาเกีย่ วกับพระเวทและกฎหมายฮินดู
อย่างมนูธรรมศาสตร์ และเป็ นผูร้ ่วมก่อตัง้ สมาคมเอเชีย (Asiatic Society) ทีก่ ลั กัตตา สาหรับการศึกษาเรื่องราว
เกีย่ วกับภารตวิทยา นอกเหนือจากนี้ วิลเลียม โจนส์ยงั เป็ นนักนิรุกติศาสตร์คนแรกทีแ่ ปลวรรณกรรมสันสกฤต
อย่ า งศกุ นตลา (Shakuntala) และเนื้ อ หาบางส่วนของพระเวทรวมถึงพระมนู ธ รรมศาสตร์เ พื่อ ทาความเข้าใจ
เกีย่ วกับกฎหมายของพวกฮินดู13
เซอร์ วิลเลียม โจนส์ เป็ นนักบูรพคตินิยมทีค่ น้ พบความคล้ายคลึงกันของภาษาสันสกฤตกับภาษากรีก ,
ภาษาละตินและภาษายุโรปอื่นๆ14 ซึง่ โจนส์ได้ระบุว่า ภาษาสันสกฤต ไม่ว่าจะเป็ นภาษาทีเ่ ก่าแก่เพียงใดก็ตาม แต่
ก็เป็ นภาษามีโครงสร้างทีน่ ่าอัศจรรย์ อันสมบูรณ์แบบกว่าภาษากรีกและภาษาละติน15
โจนส์ ได้เสนอทฤษฎีจากการศึกษานิรุกติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบข้างต้นว่า ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก
ภาษาละติน น่าจะมีรากฐานเดียวกัน เป็ นเหตุให้ภาษาสันสกฤตถูกจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปี ยน ฉะนัน้
หากเราพิจารณาถึงธรรมชาติและขอบเขตของศาสตร์อย่างนิรุกติศาสตร์ (philology) ว่าเป็ นศาสตร์ทศ่ี กึ ษาเกีย่ วกับ
การทาความเข้าใจถึงทีม่ าและภูมหิ ลังของภาษา จึงไม่น่าสงสัยทีเ่ ราจะพบว่า โจนส์ได้ขยายความไปถึงทฤษฎีท่วี ่า
ผูพ้ ูดภาษาเหล่านี้น่าจะมีต้นกาเนิดมาจากจุดเดียวกันรวมถึงโจนส์เป็ นนักบูรพคติท่านหนึ่งทีต่ ้องการจะพิสูจน์ว่า
ภาษาและชนชาติเป็ นสิง่ ทีส่ มั พันธ์กนั ดังนัน้ โจนส์จงึ มีความเชื่อว่าเขาสามารถทีจ่ ะสืบค้นต้นกาเนิดชนชาติของโลก

11 ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ดินแดนทีเ่ ป็ นขันธสีมาของจักรพรรดิมุกลั ส่วนใหญ่ตกเป็ นของพวกมราฐา (Maratha) อาทิ ในเขตเด็คข่าน, โอริสสา,


บางส่วนของราชสถาน และจักรพรรดิมุกลั เคยถูกแม่ทพั มราฐาอย่างบาราจี วิศวนาถ (Balaji Vishwanath) บังคับให้ลงพระปรมาภิไธยในการยอมรับให้
อาณาจักรมราฐาในฐานะผูค้ มุ้ ครองราชวงศ์มุกลั พร้อมมอบสิทธิในการเก็บภาษีและบรรณาการในบริเวณทีเ่ คยเป็ นเขตอิทธิพลของราชวงศ์มุกลั
12 Trautmann, “Constructing the Racial Theory of Indian Civilization,” 91.
13 แปลจากภาษาเปอร์เซีย ซึง่ เป็ นสานวนของพวกข้าราชสานักของนวอปแห่งเบงกอล
14 Sharma, R.S. 1996. Looking for the Aryans. Reprint. Madras: Orient Longman. pp.1
15 Jone, William. 2010. “Indo-European.” The Aryan Debate. Trautmann, Thomas R (Editor). pp.5

222
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

นี้โดยย้อนไปได้ถงึ สมัยบุตร 3 คนของโนอาห์และโจนส์ได้เสนอว่าชาวอินเดียและชาวยุโรปคือเลือดเนื้อเชือ้ ไขของ


แฮม (Ham)16 หนึ่งในบุตร 3 คนของโนอาห์17
นอกจากนัน้ จากการถอดความหมายของข้อสนเทศทีป่ รากฏอยู่ในพระเวท โจนส์ยงั ได้คน้ พบถึงความ
คล้ายคลึงกันของพิธกี รรมและการบูชาเทพเจ้าระหว่างชาวกรีก, โรมันในอดีตกับพวกฮินดูในยุคสมัยของโจนส์เอง
มากไปกว่านัน้ หากเราพิจารณาจากผลงาน เรื่อง Third Anniversary Discourse ซึง่ โจนส์ได้นาเสนอต่อ
สมาคมเอเชียคดีศกึ ษา (Asiatic Society) ทีเ่ มืองกัลกัตตา ใน ค.ศ.1788 โจนส์ได้แสดงความชื่นชมต่อกลุ่มคนกลุ่ม
หนึ่งทีเ่ รียกตนเองว่า อารย (Arya) ตามเรื่องราวทีป่ รากฏอยู่ในพระเวทเป็ นอย่างมาก อาทิ ชาวอารยันคือกลุ่มคนที่
ยิง่ ใหญ่ (Superior People) ผูค้ น้ พบดาราศาสตร์และสามารถพัฒนาแนวคิดทฤษฎีดา้ นอภิปรัชญา (Metaphysical
Theories) ซึง่ ต่อมาชาวกรีกเป็ นผูร้ บั อิทธิพลดังกล่าวไป, การนาแนวคิดเทพเจ้ามาให้กบั คนโบราณ โจนส์ยงั ได้ช่นื
ชมถึงความยิง่ ใหญ่ของสังคมอารยันและสัมฤทธิผลในด้านต่างๆของอารยัน เช่นในเรื่องอาวุธ ศิลปกรรม การ
ปกครองที่มแี ต่ความสุข ความชาญฉลาดในเรื่องกฎหมาย และความโดดเด่นในความรู้ด้านต่างๆ 18 ฉะนัน้ อาจ
กล่าวได้ว่าสาหรับโจนส์และนักบูรพคตินิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว อินเดียก็คอื ชาติท่ีมพี ราหมณ์
เป็ นนักบวชและมีพระเวทเป็ นคัมภีรศ์ กั ดิสิ์ ทธิโดยคนที
์ อ่ ยู่ในชาติน้กี ค็ อื “ฮินดู” (The Hindu) ทีใ่ ช้ภาษาสันสกฤต19
การค้น พบถึงการมีอ ยู่ของ ชาวอารยัน โดยเซอร์ วิลเลีย ม โจนส์ จึง น าไปสู่กระแสการศึก ษาภาษา
สันสกฤตและภาษาอื่นๆ ทีพ่ ดู โดยชาวอินเดียรวมถึงบรรดาวรรณกรรมสันสกฤตของนักบูรพคตินิยมในอาณานิคม
อินเดียช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 มีผลให้เกิดการแสวงหาคัมภีรโ์ บราณต่างๆรวมถึงวรรณกรรมยุคพระเวท ซึง่
วิลเลียม โจนส์รวมถึงนักบูรพคตินิยมท่านอื่นๆ มีคุณูปการสาคัญในการนาเอกสารต่างๆให้ถูกเก็บรักษาไว้ใน
ห้องสมุดของวิทยาลัยฟอร์ทวิลเลียม (College of Fort William) ในกัลกัตตา
ในระยะแรกของการค้นพบ แนวคิดเกี่ยวกับชาวอารยันทีเ่ กิดจากการตีความข้อสนเทศที่ปรากฏอยู่ใน
คัมภีรพ์ ระเวทของเซอร์ วิลเลียม โจนส์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นัน้ ศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร (Romila
Thapar) ให้ความเห็นทานองว่า ยังคงไม่มแี นวคิดในการใช้ วาทกรรมเพื่อสร้าง “ความเป็ นอารยัน” ในแง่ของเชือ้
ชาติ (Race) ตราบจนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1920 เมื่อนักบูรพคตินิยมทีเ่ มืองมัทราส (เมืองเชนไนในปั จจุบนั ) อย่าง
อเล็กซานเดอร์ แคมป์ เบล (Alexander Campbell) และ เอฟ ดับบลิว เอลลิซ (F.W.Ellis) ได้เริ่มทาการศึกษา
เกีย่ วกับภาษาทีพ่ ดู กันในบริเวณอินเดียใต้ ซึง่ ก็คอื ภาษาเตลูกู (Telugu) และภาษาทมิฬ (Tamil) โดยการเขียนบท
น า (Note to Introduction)ร่ ว มกัน ในหนั ง สือ ชื่ อ A Grammar of the Teloogoo Language ให้ เ ป็ นแบบเรี ย น
ไวยากรณ์ภาษาเตลูกูสาหรับข้าราชการชัน้ ผู้น้อยในอินเดีย ซึ่งถูกตีพมิ พ์ใน ค.ศ.1816 โดยวิทยาลัยฟอร์ทเซนต์
จอร์จ (College of Fort St. George) ในเมืองมัทราสนัน้ แคมป์ เบลและเอลลิซได้สงั เกตพบว่า คาศัพท์ต่างๆใน
ภาษาเตลูกู มีรากศัพท์รวมถึงไวยากรณ์ทแ่ี ตกต่างไปจากภาษาสันสกฤตแต่กลับมีศพั ท์ทใ่ี กล้เคียงกับภาษาทมิฬ,

16 Keepens, Marianne and Roover, Jakob De. 2014. “The Orientalism and the Puzzle of the Aryan Invasion Theory.” Pragmanta: Journal of
Human Sciences 2 (2), 52. http//journal.tumkuruniversity.ac.in
17 โจนส์เคยแปลเนื้อหาบางส่วนของพระมนู ธรรมศาสตร์ซง่ึ ถูกเขียนด้วยภาษาสันสกฤตโบราณและมีเนื้อหาคล้ายคลึงกับเรือ ่ งราวที่ เกิดขึ้นในคัมภีรไ์ บ
เบิลของชาวคริสต์โดยเฉพาะเรือ่ งต้นกาเนิดของมนุ ษย์และน้ าท่วมโลก จึงทาให้นกั วิชาการส่วนใหญ่ตงั ้ ข้อสันนิษฐานว่านักบูรพคตินิยมมักมีมุมมองต่อจุด
กาเนิดของประวัตศิ าสตร์อินเดียว่ามีลกั ษณะร่วมกับประวัตศิ าสตร์มนุ ษยชาติตามคัมภีร์ไบเบิล ฉะนัน้ จึงทา ให้เกิดแนวคิดที่ว่ากลุ่มคนที่ใช้ภาษา
สันสกฤตน่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกับกลุม่ คนทีพ่ ดู ภาษายุโรป นั ่นเอง
18 Figueira, Dorothy M. 2002. Aryans, Jews, Brahmins Theorizing Authority through Myths of Identity. New York: University of New York. pp.22
19 Ibid, 23
20 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 28-29.

223
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ภาษากันนาดา, ภาษาโอริสสิ า, ภาษามราฐีและภาษาสิงหลทีใ่ ช้กนั ในอินเดียใต้และอินเดียตะวันตกซึง่ เป็ นดินแดน


ทีค่ ่อนข้างไกลจากบริเวณทีร่ าบคงคาหรืออินเดียเหนือ ทาให้ภาษาเตลูกถู ูกมองโดยแคมป์ เบลและเอลลิซว่าไม่ได้มี
พัฒนาการร่วมกับภาษาสันสกฤต ฉะนัน้ ภาษาเตลูกูรวมถึงภาษาอื่นๆในบริเวณอินเดียใต้จงึ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม
ตระกูลภาษาอินเดีย ใต้ (South Indian Language Family) ที่ไ ม่ ใช่ภาษาในตระกูลอิน โด-ยุ โรเปี ย นอย่างภาษา
สันสกฤต ซึง่ ในอีก 40 ปี ต่อมา ภาษาในตระกูลอินเดียใต้ถูกเรียกรวมกันโดย โรเบิรต์ คาร์ดเวล (Robert Caldwell)
ในงานเขี ย นชื่ อ Comparative Grammar of the Dravidian or South-Indian Language ว่ า ภาษาฑราวิ ต 21
(Dravidian language)
สิง่ นี้เองก่อให้เกิดทฤษฎีในหมู่นักบูรพคตินิยมในอินเดียอาณานิคมทีเ่ ชื่อกันว่า ในอดีตอินเดียเป็ นทีอ่ ยู่
อาศัยของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่พูดภาษาสันสกฤตและกลุ่มคนที่พูดภาษาฑราวิต22 ซึ่งใน
สายตาของนักนิรุกติศาสตร์สมัยอินเดียอาณานิคม ภาษาฑราวิต ถูกมองว่าเป็ นภาษาถิ่นบริสุทธิ ์ (Pure Native
Language) และเป็ นภาษาของชนพืน้ เมืองท้องถิน่ ของอินเดียก่อนการเข้ามาของภาษาสันสกฤต 23 เช่นเดียวกัน
วรรณกรรมยุคแรกเริม่ ของอินเดียใต้ทเ่ี ป็ นภาษาทมิฬ ได้ระบุถงึ กลุ่มคนจากภาคเหนือทีเ่ ข้ามายังตอนใต้ว่า อริยา
(ariyar) ทาให้คาว่า อริยา ในภาษาทมิฬ ถูกนามาใช้อ้างอิงกับคาว่า อารย (aryas)24 ซึ่งเป็ นภาษาสัน สกฤตที่
ปรากฏอยู่ในพระเวท
นอกเหนือจากจะมีการเทียบคาว่ า อริยา ในภาษาทมิฬ กับ คาว่าอารย ในภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีการ
ค้นพบคาว่า อารย ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปี ยนอื่นๆนอกอินเดียเช่นกัน อาทิ ในภาษาเปอร์เซียนโบราณและ
ภาษากรีกโบราณ ยกตัวอย่างเช่น ในอเวสตา (Avesta) หนึ่งในคัมภีร์สาคัญที่บนั ทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ,
พิธีกรรม, วัฒนธรรมของชาวอิหร่านโบราณ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับลัทธิโซโรแอสเตอร์ (Zoroastrianism) ซึ่ง
บันทึกด้วยภาษาอิหร่านโบราณ (Old Iranian) นักนิรุกติศาสตร์, นักโบราณคดีและนักประวัตศิ าสตร์มกี ารกาหนด
อายุของคัมภีรอ์ เวสตาไว้ต่างกัน โดยทัวไปนั
่ น้ ทฤษฎีทถ่ี อื ว่ าเป็ นทีย่ อมรับกันคืออเวสตาน่าจะมีอายุราวๆ 1300 ปี
ก่อนคริสตกาล อันใกล้เคียงกับมิตเิ วลาของเหตุการณ์ทป่ี รากฏอยู่ในคัมภีรพ์ ระเวทตามข้อสันนิษฐานของพวกนัก
บูรพคตินิยม ประกอบกับข้อสนเทศทีอ่ ยู่ในอเวสตายังมีรายละเอียดในเชิงลักษณะร่วมทีค่ ล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่าง
เช่น พบชื่อของเทพเจ้า มิทรา (Mithra) และเทพเจ้าวรุณา (Varuna) ปรากฏอยู่ทงั ้ ในคัมภีรพ์ ระเวทและอเวสตา ซึง่
เทพเจ้า 2 พระองค์ขา้ งต้นเป็ นเทพโบราณก่อนทีส่ มัยของเทพเจ้าฮินดูอย่างเทพอัคนี (Agni) และพระอินทร์ (Indra)
ในส่วนของพิธีกรรมบูชายัน นัน้ ในพระเวทจะมีพิธีกรรมที่เรี ย กว่า โซมา (Soma) ในขณะที่อเวสตาก็ไ ด้มีก าร
กล่าวถึงพิธกี รรมทีค่ ล้ายๆกัน โดยใช้คาว่า hoama ในประเด็นของสังคมก็เช่นเดียวกัน ทัง้ อเวสตาและพระเวทได้
ระบุถงึ สังคมแบบเกษตร-เลีย้ งสัตว์ ซึง่ ความมังคั
่ งของคนในช่
่ วงเวลาดังกล่าวขึน้ อยู่กบั จานวนการครอบครองสัตว์
เช่น วัว ม้า เป็ นต้น และในประเด็นสาคัญคือการทีค่ มั ภีร์ 2 ฉบับได้ระบุถงึ กลุ่มคน 2 กลุ่มในลักษณะของคู่สงคราม
กัน ในส่วนของพระเวทกล่าวถึง อารย กับ ทาสะ ในอเวสตา กล่าวถึง แอรียา (airriia) กับ ดาซา (daha)
นอกเหนือจากคัมภีรอ์ เวสตาแล้ว ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 -19 ยังมีการค้นพบจารึกเบอิสตุน (Behistun
Inscription) โดย นักสารวจชาวเยอรมัน ในช่วง ค.ศ.1764 และถูกศึกษาโดยเซอร์ เฮนรี ลอร์ลิงสัน (Sir Henry

21 ผูเ้ ขียนบทความขอถอดคาอ่านของคาว่า Dravidian ว่า ฑราวิต ตามสานวนแปลในหนังสือภารตวิทยาของท่านอาจารย์กรุณาและท่านอาจารย์เรืองอุไร


กุศลาสัย
22 Keepens, Marianne and Roover, Jakob De. pp.52
23 Trautmann, Thomas R. 2008. Aryan and British India. Third Edition. New Delhi: Yoda Press. pp.155
24 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 29.

224
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

Rawlinson) ใน ค.ศ. 1835 จารึกเบอิสตุนเป็ นจารึกโบราณทีม่ อี ายุราว 500 ปี ก่อนคริสตกาลตรงกับราชสมัยของ


พระเจ้าดาไรอัสมหาราช กษัตริยเ์ ปอร์เซียแห่งราชวงศ์อาคิแมนิก โดยตัวจารึกประกอบไปด้วย 3 ภาษาคือ อักษร
คูนิฟอร์ม อักษรอมาไมต์ (เปอร์เซียโบราณ) และอักษรอัคคาเดียน ซึง่ มีคาศัพท์ทค่ี ล้ายคลึงกับคาทีถ่ ูกใช้ในคัมภีร์
อเวสตา และที่สาคัญคือ มีขอ้ สนเทศ ที่ระบุถึง พระวจนะของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช ที่ ทรงตรัสว่า พระองค์คอื
กษัตริย์เปอร์เซียที่มเี ชื้อสายอารยัน 25 ในส่วนของภาษากรีก บันทึกของเมกาสเตเนียซ (Megasthenes) ผู้เป็ น
อาลักษณ์ ท่ตี ิดตามกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ขยายอานาจเข้าไปในอินเดียช่วง 300 ปี ก่อน
คริสตกาล ได้มกี ารระบุถงึ คาว่า อาเรียนอยด์ (Arianois) เพื่อใช้เรียกกลุ่มคนทีอ่ าศัยอยู่ในบริเวณทีต่ ดิ กับอินเดีย26
ฉะนัน้ อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดเรื่อง อารยัน ได้ก่อตัวจากจินตภาพของนักบูรพคตินิยมและจากการศึกษา
นิรุกติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบในอาณานิคมอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19 ประกอบกับช่วงเวลาเป็ นช่วงที่
การศึกษานิรุกติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบและการศึกษาภาษาตะวันออก อย่าง ภาษาสันสกฤต ได้ขยายตัวไปยัง
มหาวิทยาลัยในยุโรป รวมถึงนักภาษาศาสตร์, นักนิรุกติศาสตร์และนักวิชาการในยุโรปสามารถเข้าถึงเรื่องราวที่
ปรากฏอยู่ในพระเวทผ่านการศึกษาจากคัมภีร์พระเวทฉบับแปล จึงเกิดการตีความในโลกยุโรปเกี่ยวกับภาษา
สันสกฤตในแง่ท่วี ่า สันสกฤตเป็ นหนึ่งในภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปี ยนที่เก่าแก่ทส่ี ุดและเป็ นภาษาที่มรี ากฐาน
เดียวกันกับภาษาในยุโรป จนถึงขนาดทีว่ ่านักวิชาการเยอรมันสายโรแมนติก (German Romanticism) บางท่าน
อย่าง Herder และ Schlegel ได้เสนอว่า หากต้องการสืบค้นรากฐานของประวัติศาสตร์มนุ ษย์ อาจจะต้องศึกษา
จากบันทึกที่เป็ นภาษาสันสกฤตในยุคแรกๆ 27 ซึ่งคนที่เป็ นผู้บนั ทึกวรรณกรรมสันสกฤตที่เก่าแก่ท่สี ุดนัน้ เรียก
ตนเองว่า อารย และตรงกับภาษาอังกฤษในช่วงนัน้ ว่า อารยัน ฉะนัน้ ภาษาสันสกฤต จึงถูก มองว่าเป็ นภาษาของ
ชาวอารยัน ทาให้เกิดกระแสการค้นหาถิ่นกาเนิดของชาวอารยันในยุโรปและการใช้คาว่า อารยัน ในความหมาย
ของ “เชื้อชาติ” มากขึ้น 28 โดยเฉพาะในช่วงที่ยุโรปเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับเรื่องจุดกาเนิดของ
มนุ ษยชาติจากเดิมทีเ่ คยมองว่าจุดกาเนิดของพัฒ นาการของวงศ์วานมนุ ษย์สามารถศึกษาสืบเสาะได้จากเรื่องราว
ในคัมภีรไ์ บเบิล มาแทนทีด่ ว้ ยอิทธิพลจากแนวคิดของดาร์วนิ (Darwinism)

จินตภำพเรื่องเชื้ อชำติอำรยัน และกำรสร้ำง “ควำมเป็นอื่น” ระหว่ำงชำวอำรยันและชำวพื้นเมืองอินเดีย โดยแม๊กซ์


มึลเลอร์และนักบู รพคตินิยมในช่ วงคริสตศตวรรษที่ 19
ฟรีดริช แม๊กซ์ มึลเลอร์ (Friedrich Max Muller) นักนิรุกติศาสตร์เชือ้ สายเยอรมันผูไ้ ด้รบั การอุปถัมถ์จาก
เอกอัครราชทูตปรัสเซียประจากรุงลอนดอนจนกลายผูเ้ ชีย่ วชาญภาษาสันสกฤตทีม่ ผี ลงานมากมาย อาทิ การแปล
เนื้อหาบางส่วนของฤคเวท รวมถึงงานชิน้ เอกอย่างบทวิจารณ์อรรถธิบายคัมภีรฤ์ คเวทของฤาษีสายัณ (Sayana)
มึลเลอร์ เป็ นนักบูรพคตินิยมท่านหนึ่งทีม่ คี วามสนใจต่อการค้นคว้าเรื่องราวของ ชาวอารยัน อาทิ การถอดความ
ร้อยกรองในฤคเวททีเ่ กีย่ วกับเรื่องราวความรักของชาวอารยัน ซึง่ โทมัส อาร์ ทรอทแมน (Thomas R. Trautmann)

25 "a Persian, son of a Persian, an Aryan, having Aryan lineage"


26 Sharma, R.S. pp.4
27 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 29 – 30.
28 ซึง่ เป็ นชุดความคิดทีก่ ่อตัวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในมิตเิ วลาทีย่ ุโรปกาลังอยูใ่ นสภาวะของการประสบผลสาเร็จในการล่าอาณานิคมในแอฟริกาและ
เอเชียโดยปั จจัยหนึ่งทีเ่ อื้อต่อความสาเร็จดังกล่าวก็คอื ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, อาวุธของชาวยุโรป เป็ นเหตุสาคัญอย่างหนึ่งทีท่ าให้ชาวยุโรปมี
มุมมองว่าตนเองดีกว่าชาวพืน้ เมืองในอาณานิคมทุกด้าน ซึง่ นาไปสูส่ านึกเรือ่ งความภูมใิ จในความเป็ นยุโรป ในแง่มุมทีว่ า่ ยุโรป คือ เชื้อชาติหนึ่งทีเ่ จริญ
แล้วและเจริญกว่าเชื้อชาติอ่นื โดยเฉพาะชนพืน้ เมืองในอาณานิคม ซึง่ ก็คอื เชื้อชาติทด่ี อ้ ยกว่าตามจินตภาพทีช่ าวยุโรปพยายามอธิบายผ่านกรอบแนวคิด
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, แนวคิดวิวฒ ั นาการและแนวคิดเรือ่ งการอยูร่ อดของผูแ้ ข็งแกร่งทีส่ ุด (Survival of the Fittest) ของนักธรรมชาติวทิ ยาอังกฤษ
อย่างชาร์ลส์ ดาร์วนิ ซึง่ ทฤษฎีดงั กล่าวได้ถูกนามาใช้ในการอธิบายพัฒนาการของสังคมมนุ ษย์ ซึง่ ในบริบทนี้ ผูแ้ ข็งแกร่งทีส่ ุดก็คอื เชื้อชาติยุโรปนั น่ เอง

225
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ศาสตราจารย์ดา้ นประวัตศิ าสตร์อนิ เดียประจามหาวิทยาลัยมิชแิ กน มองว่า มึลเลอร์ เป็ นนักสันสกฤตทีเ่ รื่องชื่อคน


หนึ่งของอังกฤษในยุควิกตอเรียน
แม้จะไม่เคยเดินทางเข้าไปในอินเดียเลย แต่มลึ เลอร์กเ็ ป็ นนักสันสกฤตบุคคลแรกๆที่ได้เสนอแนวคิด
เกีย่ วกับ “เชือ้ ชาติอารยัน” และเป็ นผูท้ ต่ี คี วาม คาว่า “อารยัน” ในแง่ของ “ความเป็ นเชือ้ ชาติ” หนึ่งจากการศึกษา
และตีความวรรณกรรมสันสกฤตอย่างฤคเวท มึลเลอร์ได้อธิบายผ่านแนวคิดและทฤษฎีทส่ี าคัญๆจานวนหนึ่ง อาทิ
แนวคิดภราดรภาพของชนชาติอารยัน (The Brotherhood of the Aryan people) ซึง่ เป็ น แนวคิดทีก่ ่อให้เกิดสานึก
ร่วมในยุโรปที่มองว่าชนชาติอารยัน คือรากเหง้าและเป็ นบรรพบุรุษของคนยุโรป ซึ่งมีต้นตอจากข้อเสนอของ
มึลเลอร์ต่อเรื่องถิน่ กาเนิดของชาวอารยัน (Aryan Homeland) ซึง่ มึลเลอร์ได้กาหนดว่าคือเอเชียกลาง ซึง่ ต่อมาเกิด
การย้ายถิน่ ของชาวอารยันโดยแบ่งเป็ น 2 เส้นทางคือ สายหนึ่งการย้ายถิน่ เข้าไปในทวีปยุโรป 29 และอีกสายหนึ่ง
ย้ายถิน่ เข้าไปในอิหร่านปั จจุบนั โดยพวกทีเ่ ข้าไปในอิหร่านต่อมาได้แยกตัวออกเป็ นอีก 1 สายและได้อพยพเข้าไป
อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย30
นอกจากนี้ จากทฤษฎีสองเชือ้ ชาติในอารยธรรมอินเดีย (Two-Race Theory of Indian Civilization) ซึ่ง
ปรากฏในงานเขียนเรื่อง On the Relation of the Bengali to the Arian and aboriginal language of India ช่วง
ค.ศ.1847 มึลเลอร์ ได้แบ่งเชือ้ ชาติในโลกออกเป็ น 2 กลุ่มหลักๆคือ 1. จาเฟตไทต์ (Japhetite)31 หรือ คอเคเชียน
(Caucasian) 2. นิโกร (Negro) มุลเลอร์ได้เปรียบชาวอารยันด้วยเชือ้ ชาติยาเฟตไทต์ และเปรียบชาวพืน้ เมืองใน
อินเดียเหนือด้วยเชือ้ ชาตินิโกร ซึง่ เมื่อพวกอารยันเข้ามาในอินเดียเหนือนัน้ ได้เกิดสงครามระหว่างชาวอารยันกับ
ชาวพืน้ เมืองในอินเดีย โดยในท้ายสุดพวกอารยัน ได้ทาให้พวกชาวพืน้ เมืองค่อยๆกลายเป็ นทาสของตน จากนัน้
ชาวพืน้ เมืองจึงค่อยซึมซับคติความเชื่อ, พิธกี รรมและภาษาของชาวอารยัน32 ฉะนัน้ จินตภาพเบือ้ งต้นของมึลเลอร์
ทีม่ ตี ่อ “ความเป็ นอารยัน” ตามทฤษฎีและข้อเสนอในข้างต้นนัน้ ชาวอารยันก็กลุ่มคนทีม่ เี ชือ้ ชาติคอเคเชีย่ นทีม่ ผี วิ
ขาวเฉกเช่นเดียวกับชาวยุโรปในยุคสมัยของมึลเลอร์ ซึ่งมีความแตกต่างจากชาวพื้นเมืองอินเดียที่มผี วิ ดาดังที่
มึลเลอร์ได้เปรียบเทียบไว้กบั เชือ้ ชาตินิโกร และอีกประการทีส่ าคัญคือการเข้ามาของอารยันในอินเดียเป็ นการเข้า
มาในลักษณะของผูร้ ุกราน และจบลงด้วยชัยชนะทีม่ ตี ่อชาวพืน้ เมือง
มีความเป็ นไปได้ว่าจินตภาพดังกล่าวของมึลเลอร์นัน้ เกิดขึ้นจากการศึกษาและตีความจากตามบท
อรรถธิบายคัมภีรฤ์ คเวทของฤาษีสายัณของมึลเลอร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึง่ บทอรรถธิบายคัมภีรฤ์ คเวทเองมี
ข้อสนเทศทีเ่ อือ้ ต่อการตีความในลักษณะดังกล่าว เริม่ จากประเด็นด้านความแตกต่า งระหว่างชาวอารยันกับชาว
พืน้ เมืองด้านสีผวิ ตามบทอรรถธิบายของฤาษีสายัณ ได้มกี ารอธิบายถึงความเป็ นอริกนั ของกลุ่มคนทีถ่ ูกเรียกว่า
อารย (arya) ซึง่ กับพวก ทาสะ (dasa) และพวกทัสยุ (dasyu) ซึง่ ถึงแม้ว่าบทสวดจะไม่ได้ระบุสผี วิ ของชาวอารยัน
ไว้ แต่ฤคเวทได้บรรยายภาพเชิงพรรณาถึงการเผาบ้านทีอ่ ยู่อาศัยของชาวพืน้ เมืองทีม่ สี ผี วิ ดาโดยชาวอารยันและ
29 พวกอารยันสายแรกตามจินตภาพของมึลเลอร์และนักบูรพคตินิยมเยอรมัน ต่อมาได้กลายเป็ นบรรพบุรุษของชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribe) ซึง่
ต่อมาได้รุกรานจักรวรรดิโรมันในช่วงคริสตศตวรรษที่ 5 และชนเผ่าเยอรมันได้ลบภาพลักษณ์ของการเป็ นอนารยชนและสามารถสร้างสรรค์อารยธรรม
ยุโรปได้ใหม่ในยุคกลางแทนทีจ่ กั รวรรดิโรมัน ซึง่ อาณาจักรในยุคกลางต่างๆ ล้วนแต่เป็ นรากเหง้าของรัฐในยุโรปในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ทัง้ สิ้น ด้วย
เหตุน้จี งึ ทาให้ชาวยุโรปมองว่า อารยัน คือบรรพบุรุษของชาวยุโรป โดยเฉพาะเป็ นรากเหง้าของเชื้อชาติเยอรมัน
30 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 33.
31 ยาเฟตไทต์ (Japhetite) มาจากคาว่า ยาเฟต ซึง่ เป็ นนามของหนึ่งในสามบุตรชายของโนอาห์ ซึง่ ประกอบด้วย แฮม เช็ม และจาเฟต ซึง่ มึลเลอร์ มอง

ว่าเป็ นบรรพบุรุษของชาวยุโรปและพวกเชื้อชาติคอเคเชียน ซึง่ แตกต่างจาก วิลเลียม โจนส์ทเ่ี สนอว่าบรรพบุรุษของชาวยุโรปคือแฮม ในประเด็ นเรือ่ ง


วาทกรรมการทาให้บุตรสามคนของโนอาห์เป็ นเป็ นบรรพบุรุษของชนชาติตา่ งๆนัน้ โดยทั ่วไป ในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 18-19 จาเฟตและแฮมถูก
จัดให้เป็ นบรรพบุรุษของเชื้อชาติคอเคเชียน (Caucasian) และเช็มถูกจัดให้เป็ นบรรพบุรุษของเชื้อชาติเซมิตกิ (Semitic)
32 Trautmann, Thomas R. Aryan and British India. pp. ?

226
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ได้มกี ารกล่าวถึงกลุ่มคนทีม่ ผี วิ สีดาซึง่ ฤคเวทระบุว่าเป็ นศัตรูของชาวอารยันด้วยคาสันสกฤตหลายคา เช่น รากษก


(raksasas) ซึ่งฤคเวทอธิบายว่าเป็ นพวกคนที่มผี ิวสีดาที่ทาสงครามกับเทพเจ้าโซมา (Soma) ของพวกที่เรียก
ตัว เองว่ า อารย ในสถานการณ์ เ ดีย วกัน ฤคเวทยัง ได้เ อ่ ย ถึง การที่เ ทพเจ้า ของพวกอารยได้ท าการสัง หาร
พวกกฤษณะ (Krsnas) ซึ่งมีความหมายว่าสีดา หรือแม้แต่การถลกหนังศัตรูท่มี ผี วิ สีดาซึ่งฤคเวท เรียกว่า อสูร
(Asura)33
ในประเด็นเรื่องความแตกต่างกันทางด้านความเชื่อและวัฒนธรรม ฤคเวทฉบับอรรถธิบายของฤาษีสายัณ
ได้ระบุถงึ คาว่า อารย ไว้ว่าหมายถึงกลุ่มคนทีบ่ ชู าพระอินทร์ (Indra) และบางบทของฤคเวทมีการใช้คาว่า มานุษี
ประชา (Manusi Praja) แทนคาว่า อารย ซึง่ หมายถึง ผูบ้ ูชาเทพอัคนี ซึง่ พระนามของเทพเจ้าดังกล่าวล้วนแต่เป็ น
เทพเจ้าทีส่ าคัญในประวัตศิ าสตร์อนิ เดียสมัยยุคพระเวทตอนต้นในช่วง 1300 ปี ก่อนคริสตกาลและมีบทสวดบูชา
และการทาพิธกี รรมเซ่นไหว้สงั เวยในรูปแบบของร้อยกรองในคัมภีรพ์ ระเวท เช่นเดียวกัน ความแตกต่างระหว่าง
พวกอารยันกับพวกคนพื้นเมืองในแง่ภาษา ยังถูกตีความผ่านคาสันสกฤตอื่น ๆ ในฤคเวท เช่น คาว่า มิลกั ขะ
(mleccha) โดยนักบูรพคตินิยม ตีความว่าหมายถึง กลุ่มคนที่ไม่สามารถพูดภาษาอารยันได้ และค่อยๆเปลี่ยน
สภาพไปเป็ นนิยามในแง่ของผูด้ อ้ ยอารยธรรมหรือผูป้ ่ าเถื่อน (Barbarian) 34
นอกเหนือประเด็นข้างต้น ยังมีการระบุถึงความแตกต่างทางด้านกายวิ ภาคระหว่างชาวอารยันกับชาว
พืน้ เมืองจากคาภาษาสันสกฤต อย่างคาว่า อนาสะ (anasa) ซึง่ แปลว่าไม่มจี มูก โดยใช้เจาะจงกับพวกชาวพืน้ เมือง
ฉะนัน้ สามัญทัศน์ ของนักบูรพคตินิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในการมอง “ความเป็ นอารยัน ” จึง
ประกอบด้วยจินตภาพของชาวอารยันในฐานะนักรบผู้ พชิ ติ (Warrior and Conqueror) ซึง่ เริม่ ต้นจากเอเชียกลาง
และได้แยกกันอพยพโดยสายที่ 1 เข้าไปยังตะวันตกจนสามารถพิชติ จักรวรรดิโรมันและสร้างสรรค์อารยธรรม
รวมถึงสถาปนาราชอาณาจักรทีส่ าคัญในยุคกลางซึง่ พัฒนามาเป็ นรัฐชาติในยุโรปร่วมสมัย “ความเป็ นอารยัน” จึง
กลายเป็ นคือตัวตน (Identity) ของความยิง่ ใหญ่ของชนชาติในอดีตซึ่งนาพาไปสู่ตวั ตนและอัตลักษณ์ชาวยุโรป
ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 กล่าวคือผูพ้ ชิ ติ อันพิจารณาจากความสาเร็จของการล่าอาณานิคมเฉกเช่นเดียวกับชาว
บรรพบุรุษอารยัน
“ความเป็ นอารยัน” ในสามัญทัศน์ดงั กล่าวยังส่งผลต่อ การประกอบสร้าง ทฤษฎีเรื่องเชือ้ ชาติ ในยุโรป
โดยเฉพาะมโนทัศน์ในการมองชาวอารยันในฐานะ ชนชาติสูงสุด (Superior Race) ผู้มสี ทิ ธิอนั ชอบธรรมในการ
ปกครองชนชาติทด่ี อ้ ยกว่า (Inferior Race) รวมถึงการกาหนดองค์ประกอบทางกายวิภาคของตัวตน “ความเป็ น
อารยัน” อาทิ ชาร์ล มอร์รสิ (Charles Morris) ได้ระบุถึงอัตลักษณ์ของชาวอารยันไว้ในงานเขียนชื่อ The Aryan
Race ใน ค.ศ.1888 ว่าลักษณะทางกายภาพของชนเผ่าอารยันต้องประกอบไปด้วยผมสีบ รอนซ์ทอง, กะโหลก
ศีรษะยาว หรือแม้แต่งานเขียนเรื่อง L’Aryen ของนักมานุ ษยวิทยาฝรังเศสอย่
่ าง George Vacher de Lapouge ที่
ได้กล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของชาวอารยันว่ามีกะโหลกทีย่ าวซึง่ เป็ นชนชาติทถ่ี ูกสร้างขึน้ มาเพื่อปกครองชน
ชาติทม่ี กี ะโหลกสัน้
“ความเป็ นอารยัน” ยังก่อให้เกิดการแย่งชิงอัตลักษณ์ของตัวตนดังกล่าวให้เป็ นลักษณะเฉพาะและดารงไว้
สาหรับเป็ นตัวตนเฉพาะของชนชาติเฉพาะในรัฐชาติเฉพาะของตนเองและนาพาไปสู่การกีดกันการอ้า งสิท ธิ

33 Sharma, R.S. pp.5


34 Thapar, Romila. “Exploring Societies in the Early Past,” 108.

227
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ดัง กล่ า วในหมู่ชนชาติอ่ืน ๆด้ว ย โดยเฉพาะจากทฤษฎีของ คอมเต เดอ ก๊ อ บบิน โนว์ (Comte de Gobineau)
นักการทูตและเจ้าของทฤษฎีเรื่องเชือ้ ชาติทเ่ี สนอว่าชนชาติเยอรมันคือมีเชือ้ สายของชาวอารยันทีบ่ ริสุทธิที์ ส่ ุดและ
การสร้างเงื่อนไขของ “ความเป็ นอารยัน ” ในแง่กายวิภาคที่ต้องประกอบด้วยตาสีฟ้า ผมบรอนซ์ทอง ผิวสีขาว
เท่านัน้ ซึ่งหากชนชาติใดไม่มีลกั ษณะประกอบดังกล่าว ก็จะไม่สามารถอ้างถึงตัวตนของ “ความเป็ นอารยัน ”
รวมถึงเป็ นบุคคลทีพ่ ยายามต่อต้านการแต่งงาน (interbreeding) ระหว่างผู้ท่เี ป็ นอารยันกับผูท้ ไ่ี ม่ใช่อารยัน เพื่อ
รักษาความบริสทุ ธิของ
์ "ความเป็ นอารยัน"
สามัญทัศน์และจินตภาพที่มตี ่อ “ความเป็ นอารยัน” ยังมีผลต่อการตีความเกี่ยวกับการอพยพของชาว
อารยันเข้าไปในอินเดียในช่วง 1300 ปี ก่อนคริสตกาลในฐานะผูพ้ ชิ ติ และผูน้ าความเจริญไปให้กบั อินเดียเช่นกันเฉก
เช่นเดียวกันกับการเข้าไปในยุโรป ซึง่ ทาให้ “ความเป็ นอารยัน” ถูกแบ่งออกเป็ น อารยันยุโรปและอารยันเอเชีย ซึง่
นาไปสู่การหักล้างทฤษฎีของนักนิรุกติศาสตร์ นักสันสกฤต และนักบูรพคตินิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18
อย่าง โจนส์ทเ่ี คยชื่นชมว่าชาวอินเดียแต่ดงั ้ เดิมนัน้ มีความเจริญเทียบกับชาวยุโรป และถูกแทนทีด่ ว้ ยแนวคิดทีเ่ ชื่อ
ว่าความเจริญของอินเดียในอดีต อาทิ การบูชาเทพเจ้า ภาษา การจัดระเบียบของสังคม (ระบบวรรณะ)ในอินเดีย
เป็ น สิ่ง ที่ถู ก น าเข้า มาจากผู้รุ ก ราน ซึ่ง เป็ น ชาวต่ า งชาติ โดยนัก บูร พคตินิ ยมอย่ า ง ยูจีน เบอ นุ ฟ (Eugene
Burnouf) ศาสตราจารย์ด้านภาษาสันสกฤตของฝรังเศสในช่ ่ วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เคยเสนอว่า ครัง้ หนึ่ง ชาว
อินเดียเคยเป็ นชาวต่างชาติในดินแดนตัวเอง 35 ซึ่งอาจเนื่องมาจากการรุกรานดังกล่าวเกิดขึน้ จากชาวอารยันใน
จานวนทีน่ ้อยมาก ครัน้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดการผสมผสานระหว่างผูร้ ุกรานกับชนพืน้ เมืองซึง่ มีความแตกต่างกัน
เรื่องภาษา ลักษณะทางกายภาพ และวัฒนธรรม ความบริสทุ ธิของ ์ “ความเป็ นอารยัน” ค่อยๆจางหายไป ทาให้ชาว
อารยันต้องหากลวิธใี นการรักษาความบริสทุ ธิดั์ งกล่าวและอานาจในการปกครองชาวพืน้ เมืองจนเป็ นทีม่ าของระบบ
วรรณะ โดยผูท้ ท่ี าหน้าทีเ่ ป็ นนักรบถูกจัดให้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ ผูท้ ม่ี คี วามรูใ้ นเรื่องภาษาสันสกฤตและสามารถ
เข้าถึงองค์ความรูใ้ นพระเวท เช่น วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทย์อายุ รเวท การประกอบพิธกี รรม กฎหมาย ถูก
จัดให้อยู่ในวรรณะพราหมณ์36 ซึง่ ถือว่าเป็ น วรรณะนา และมีบรรพบุรุษเป็ นชาวอารยันเหมือนชาวยุโรป ในขณะที่
วรรณะ 2 วรรณะที่เหลือตามโครงสร้างของสังคมอินเดียถูกจัดให้เป็ น วรรณะรองของ ชาวพื้นเมืองที่มีความ
แตกต่างจากชาวอารยัน ในด้านต่างๆตามทีไ่ ด้บรรยายไว้ขา้ งต้น ซึง่ เป็ นชนชัน้ ใต้ปกครองและต้องทาหน้าทีร่ บั ใช้
วรรณะนา ซึ่งถูกนักบูรพคตินิยม นิยามว่า คือพวกฑราวิต (Dravidian) ซึ่งพูดภาษา “อื่น” ที่ไม่ใช่ภาษาของชาว
อารยัน

“ควำมเป็นอำรยัน”: ผลกระทบต่อประวัติศำสตร์อินเดียกระแสนำและกำรสร้ำงควำมชอบธรรมในกำรปกครองอำณำนิคม
อินเดียของอังกฤษ
วาทกรรมเรื่อง “ความเป็ นอารยัน” รวมถึง “ความเป็ นอื่น” ของชาวพืน้ เมือง ทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ ในช่วง
คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็ นชุดความคิดสาคัญทีถ่ ูกใช้เป็ นเครื่องมือโดยนักบูรพคตินิยมในการอธิบายจุดกาเนิดของ
ประวัตศิ าสตร์ของชาวอินเดีย ทีเ่ ริม่ ต้นจากการรุกรานของชนเผ่าภายนอกทีเ่ ข้ามาในตอนเหนือของอินเดียและทา
สงครามกับพวกคนพืน้ เมืองจนได้รบั ชัยชนะ โดยผูร้ ุกรานภายนอกก็คอื ชาวอารยัน ผูท้ ม่ี คี วามเจริญมากกว่าชาว
พืน้ เมืองในหลายๆด้าน ซึง่ จินตภาพในการประกอบสร้างอดีตในลักษณะดังกล่าว ได้กลายเป็ นทฤษฎีทเ่ี รียกว่า
ทฤษฎีอ ารยัน รุ ก ราน (Aryan Invasion Theory) ที่ป รากฏอยู่ใ นงานประวัติศ าสตร์นิ พ นธ์ข องนัก บูร พคตินิยม

35 Keepens, Marianne and Roover, Jakob De. pp.57


36 ดังเช่นทีน่ ักบูรพคตินิยมอย่าง เรเวอเรนด์ สตีเวนสัน (Reverend Stevenson) ได้จดั ให้วรรณะพราหมณ์ว่าเป็ นชนเผ่าที่มาจากนอกอินเดีย ในงาน
เขียนชื่อ An Essay on the language of the Aboriginal Hindu

228
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อัง กฤษ อย่ า ง เจมส์ มิล (Jame Mill) เม้ า ท์ ส จ๊ ว จ เอ็ด ฟริน สตัน (Mountstuart Elphinstone) หรือ แม้แ ต่ ง าน
ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์กระแสนาทีเ่ ขียนโดยนักประวัตศิ าสตร์อนิ เดียชาตินิยม อย่าง มาจุมดา (R. C. Majumda) และ
เอ แอล บาแชม (A. L. Basham) ซึง่ ถือว่าเป็ นข้อถกเถียงในวงการประวัติศาสตร์อนิ เดียยุคต้นและเป็ นส่วนหนึ่ง
ของปั ญหาอารยันในประวัตศิ าสตร์อนิ เดีย (Aryan Debate)
เฉกเช่ น เดี ย วกัน เราอาจจะคุ้ น เคยกับ การใช้ ม หากาพย์ ส ัน สกฤตของอิ น เดี ย อย่ า ง รามายณะ
(Ramayana) ในการอธิบ ายจุ ด เริ่ม ต้น ของประวัติศ าสตร์อิน เดีย ในช่ ว ง 1300 ปี ก่ อ นคริสตกาล ในท านองว่ า
กองทัพของพระราม (Rama) คือตัวแทนของชาวอารยันเนื่องจากเป็ นร่างอวตารของพระวิษณุ ซง่ึ เป็ นเทพเจ้าองค์
สาคัญในยุคพระเวทซึ่งเดินทางเข้ามาในอินเดียโดยได้รบั ความร่วมมือกับกองทัพวานร ซึ่งเปรียบได้กบั ชาว
พืน้ เมืองกลุ่มหนึ่งของอินเดียทางตอนเหนือในการทาสงครามกับชาวพืน้ เมืองอีกกลุ่มหนึ่งทีถ่ ูกเรียกว่าพวกอสูร ซึง่
นาโดย ทศกัณฐ์ (Ravan) ซึ่งฝ่ ายพระราม ถูกมองว่าเป็ นตัวแทนของ “ความเป็ นอารยัน” และในขณะเดียวกัน
ฝ่ ายทศกัณฐ์ทพ่ี ่ายแพ้สงครามและได้อพยพลงภาคใต้ของอินเดีย ก็ได้ถูกมองด้วย “ความเป็ นอื่น” ทีแ่ ตกต่างจาก
“ความเป็ นอารยัน” อย่างน้อยทีส่ ุดก็คอื เรื่องรูปร่างทางกายภาพหรือแม้แต่สผี วิ ซึง่ เทียบได้กบั สามัญทัศน์ของคน
นอกทีม่ องความแตกต่างของคนอินเดียเหนือและอินเดียใต้โดยพิจารณาจาก สีผวิ และภาษาทีใ่ ช้จนในท้ายสุด จึงมี
การใช้คาว่าฑราวิต (Dravidian) ในการใช้เรียกชาวพืน้ เมืองอินเดีย ซึง่ ใช้ภาษาทีไ่ ม่ได้อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปี ยน
แม้ว่าทฤษฎีอารยันรุกราน จะเป็ นประเด็นทางประวัตศิ าสตร์ทไ่ี ด้รบั การวิพากษ์วจิ ารณ์และถูกปฏิเสธโดย
นักวิชาการด้านประวัตศิ าสตร์อนิ เดียในปั จจุบนั แล้วก็ตาม แต่ทฤษฎีอารยันรุกรานที่ปรากฏในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
19 ก็เป็ นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงมโนทัศน์ของอังกฤษในการมองอาณานิคมอย่างอินเดีย เช่น กรณีของเฮนรี่ เมนส์
(Henry Maine) อดีตทีป่ รึกษาทางด้านกฎหมายของสภาข้าหลวงใหญ่ในอินเดียช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 7 ปี ได้
นาเสนอต่อมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ (University of Cambridge) ใน ค.ศ.1875 ว่า อินเดียไม่เคยมีประวัติศาสตร์
ก่อนหน้าทีช่ าวอารยันจะรุกรานเข้ามา 37 ฉะนัน้ การทีอ่ นิ เดียมีพฒ
ั นาทางประวัตศิ าสตร์จากยุคพระเวทมาเป็ นยุค
สาธารณรัฐในสมัย ราชวงศ์โมริย ะและจนกระทัง่ มาเป็ น ยุ คทองในสมัยราชวงศ์คุ ปตะ นัน้ ล้ว นแต่ เ กิด ขึ้น จาก
คุณูปการของการรับวัฒนธรรมจากชาวอารยันทัง้ สิน้ และหากปราศจากการรุกรานดังกล่าว ความเจริญ (Progress)
ของอินเดียก็จะไม่มที างทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้ในสายตาของผูป้ กครองอังกฤษ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดระเบียบของสังคม
(ระบบวรรณะ) การใช้ภาษาสันสกฤตซึง่ นาพาไปสู่การเกิดขึ้นของวรรณกรรมทีส่ าคัญของอินเดียมากมาย รวมถึง
หลักกฎหมายต่างๆและแนวคิดปรัชญาการเมืองทีป่ รากฏอยู่ในคัมภีรอ์ รรถศาสตร์ซง่ึ เคยมีการเปรียบเปรยคัมภีร์
ดังกล่าวว่าสามารถเทียบได้กบั เรื่อง The Prince ของแมคเคียเวลลี (Machiavelli)
เช่นเดียวกัน ศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร ได้อธิบายว่าพัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ของอินเดียในสามัญ
ทัศ น์ ข องนัก บูร พคตินิย มอัง กฤษนัน้ เป็ น ไปในลักษณะแบบวัฏ จักร (Cynical) มากกว่ าที่จะเป็ น แบบเส้นตรง
(Linear) เหมือนอย่างชาติในยุโรป38 ทัง้ นี้ เนื่องมาจากความเจริญของอินเดียตามประวัตศิ าสตร์กระแสนานัน้ มักจะ
ถูกหยุดยัง้ จากการถูกรุกรานโดยชนชาติอ่นื ๆนอกอินเดียเสมอมา จึงมีผลให้สมั ฤทธิผลทางวัฒนธรรมของอินเดีย
มักจะถูกแทนทีด่ ว้ ย “วัฒนธรรมอื่น” ทีเ่ ข้ามามีอานาจในอินเดีย เป็ นผลให้ความเจริญของอินเดียมักจะหยุดอยูก่ บั ที่
ยกตัวอย่างเช่น กรณีของการเข้ามาของพวกมุกลั ในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 14 เป็ นต้น ดังเช่นงานใน ค.ศ.1817
อย่าง History of British India ที่เขียนโดย เจมส์ มิล (Jame Mill) บิดาของนักปรัชญา จอห์น สจ๊วต มิล (John

37 Metcalf, Thomas R. 2005. Ideologies of the Raj. Reprint. New Delhi: Cambridge University Press. pp.69
38 โปรดดู History and it’s Beyond ของ Romila Thapar เพิม่ เติม

229
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Stuart Mill) ทีม่ กี ารแบ่งยุคของอินเดียเป็ น 3 ยุคหลักๆ คือ ยุคฮินดู ยุคมุสลิม และยุคอังกฤษ ฉะนัน้ เมื่อผนวกกับ
บรรยากาศของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ “ความเป็ นอารยัน” ถูกประกอบด้วยขึน้ จากแนวคิดเชื้อชาตินา (Superior
Race) การเข้ามาล่าอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียจึงเปรียบเสมือนการกลับมาอีกครัง้ ของชาวอารยันในอินเดีย
ซึง่ เข้ามาสลายการปกครองอันโหดร้ายและกดขีข่ องพวกมุสลิม 39 (ราชวงศ์มุกลั ) ทาให้การปกครองในอินเดียถูก
แทนทีด่ ว้ ยอังกฤษผูเ้ มตตากรุณา ซึง่ แตกต่างจากยุคทีอ่ นิ เดียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมุกลั (Mughal
Empire) นักบูรพคตินิยมอย่างมึลเลอร์ ได้จดั ให้พวกมุสลิมว่าเป็ นเชือ้ ชาติเซมิตกิ (Semitic) ซึง่ ไม่ใช่ อารยัน พร้อม
ทัง้ มุมมองทีเ่ น้นย้าว่า ศาสนาอิสลามไม่ได้มคี ุณูปการใดต่อความเจริญของอารยธรรมอินเดีย 40 ฉะนัน้ ความสาคัญ
อีกประการหนึ่งของการเข้ามาของอังกฤษในอินเดีย ก็คอื การทีช่ าวอารยันทัง้ 2 สายได้กลับมาพบกันอีกครัง้ และ
เป็ นนิมติ หมายอันดีต่ออินเดียในการก้าวไปสูค่ วามเจริญอีกครัง้ หลังจากถูกพวกมุสลิมปกครอง ซึง่ แนวคิดนี้เอง ได้
กลายเป็ นวาทกรรมทีจ่ กั รวรรดิองั กฤษใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการปกครองอินเดีย อันเป็ นผลพวงมาจาก
จินตภาพเรื่อง “ความเป็ นอารยัน” ทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ มาโดยนักบูรพคตินิยมอังกฤษเอง
ในประเด็น ของการสร้า งความชอบธรรมในการปกครองอิน เดีย นัน้ อัง กฤษเป็ น จัก รวรรดิท่ีป ระสบ
ความสาเร็จในการล่าอาณานิคมตัง้ แต่ช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 อันเป็ นเหตุให้มกี ารประกอบสร้างตัวตนของ “ความ
เป็ นอังกฤษ” ให้แตกต่างจาก “ความเป็ นชนชาติอ่นื ” โดยเฉพาะชนชาติทอ่ี ยู่ค่อนไปทางตะวันออกทีอ่ งั กฤษมองว่า
ป่ าเถื่อน (Barbarous nation) โดยเฉพาะจากคากล่าวของ เซอร์ โทมัส สมิธ (Sir Thomas Smith) ว่า พระผู้เป็ น
เจ้าได้พระราชทานพันธกิจให้กบั อังกฤษในการยึดครองและปฏิรูปดินแดนทีป่ ่ าเถื่อนอยู่ 41 ซึง่ อาจกล่าวได้ว่าเป็ น
แนวคิดทีอ่ งั กฤษยึดมันเพื
่ ่อใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการรุกรานดินแดนอื่นๆ รวมถึงอินเดีย เช่นเดียวกัน
อังกฤษได้มกี ารนาแนวคิดเผด็จการตะวันออก (Oriental Despotism)42 มาใช้ในการมองอินเดีย รวมถึงสามัญทัศน์
ที่มองว่าอินเดียยังคงเป็ นดินแดนที่ล้าหลังและมีสภาพไม่ต่างจากหมู่บ้านที่ไม่มกี ารเปลี่ยนแปลง (Changeless
Village)
อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณูปการจากการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างภาษาสันสกฤตและภาษาคลาสสิกใน
ยุโรปโดยนักบูรพคตินิยมอังกฤษในช่วงระหว่างปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 18 – 19 ตอนต้น มีผลต่ อมุมมองของ
อังกฤษในการมองชาวพืน้ เมืองอินเดียในแง่ทค่ี ่อนข้างจะแตกต่างจากชนชาติในดินแดนอื่นๆทีอ่ งั กฤษเคยรุ กราน
เช่นกรณี การมองชาวพืน้ เมืองแอฟริกา ว่าเป็ นชนชาติทล่ี า้ หลังและแทบทีจ่ ะไม่มสี มั ฤทธิผลทางวัฒนธรรมใดเลยที่
เทียบเท่ากับยุโรปซึง่ แตกต่างจากในกรณีอนิ เดีย เรื่องราวในวรรณกรรมสันสกฤตอย่างพระเวททัง้ 3 เป็ นสิง่ หนึ่งที่
สะท้อนถึง อดีตของอินเดีย ซึง่ นักบูรพคตินิยมอังกฤษได้จนิ ตนาการว่า ครัง้ หนึ่งอินเดียเคยมีความเจริญทางด้าน
ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ นิตศิ าสตร์ อันเป็ นผลมาจากการรับอิทธิพลจากพวกอารยัน

39 ศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร ได้อธิบายว่า แนวคิดดังกล่าวเป็ นแนวคิดของแม็กซ์ มึลเลอร์ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 ซึง่ มึลเลอร์ได้กล่าวถึงความ


เป็ นทรราชของการปกครองของมุสลิม (Mohammedan rule) ในอินเดีย แต่อย่างไรก็ตาม มึลเลอร์ไม่ได้ให้เหตุผลใดๆเลยในการสนับสนุ นต่อแนวคิดของ
ตน
40 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 35.
41 อังกฤษใช้ว าทกรรมดังกล่าวในการสร้างความชอบธรรมในการรุ ก รานไอร์แลนด์โ ดยอ้า งว่าเพื่อ น ากฎหมายและระบบความยุ ตธ ิ รรมอังกฤษไป
แก้ปัญหาในไอร์แลนด์ อาทิ ปั ญหาเรือ่ งอาชญากรรมต่างๆ ซึง่ การกระทาของอังกฤษในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับสิง่ ทีจ่ กั รวรรดิโรมันได้เคยทาไว้ในอังกฤษ
จนทาให้องั กฤษมีความ ศิวไิ ลซ์ ขึน้ มาได้ เฉกเช่นเดียวกับไอร์แลนด์ ซึง่ เริม่ ศิวไิ ลซ์ ขึน้ เมือ่ อังกฤษเข้ามาปกครอง โปรดดู บทนาของ Ideologies of the
Raj เพิม่ เติม
42 โปรดดู History of Hindostan (1770) ของ Alexander Dow เพิม ่ เติม

230
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ซึง่ เป็ นบรรพบุรุษของชาวยุโรป ฉะนัน้ การเข้ามาของอังกฤษในอินเดียจึงเปรียบได้กบั การกลับมาพบกันอีกครัง้


ของชาวอารยันทัง้ 2 สาย ซึง่ ได้กลายเป็ นวาทกรรมในการสร้างความชอบธรรมของอังกฤษในการปกครองอินเดีย
อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่ได้ใช้วาทกรรม “ความเป็ นอารยัน” ในการประกอบสร้างให้ชาวอินเดียทัง้ หมด
เป็ นเชือ้ ชาติรอง (Inferior Race) ทีด่ อ้ ยกว่าชาวอังกฤษซึง่ เป็ นเชือ้ ชาตินา (Superior Race) เช่นเดียวกัน อังกฤษ
ก็ไม่ได้ใช้วาทกรรมดังกล่าว ในการทาให้ตนเองเป็ นชนชาติปกครอง (Master Race) โดยตรงเช่นกัน ซึง่ มีหลักฐาน
จากงานเขียนของเม้าท์สจ๊วจ เอลฟรินสตัน (Mountstuart Elphinstone) ข้าหลวงอังกฤษประจาบอมเบย์ผปู้ ระสบ
ความสาเร็จในการทาให้เปชวาห์ (Peshwar)43 ของอาณาจักรมราฐาทางอินเดียตะวันตกยอมเป็ นรัฐในอารักขาของ
อังกฤษในช่วง ค.ศ.1818 ได้กล่าวไว้ว่า ชาวอินเดียและชาวอังกฤษ มีเชือ้ สายของอารยันเหมือนกัน แล้วอังกฤษจะ
สามารถมองคนอินเดียว่าต่ าต้อยกว่าชาวอังกฤษได้เช่นไร 44 โดยเฉพาะพวกวรรณะนาทีม่ คี วามรู้ความเข้าใจใน
ภาษาสันสกฤตและเป็ นชนชัน้ ปกครองในสังคมอินเดียทัง้ ก่อนและหลังจากการเข้ามาของอังกฤษในอาณานิคม
อินเดีย ซึง่ เอลฟรินสตันเอง ก็ได้มองว่าตัวเปชวาห์กค็ อื วรรณะนา (พราหมณ์)
อังกฤษได้หยิบยื่นและร่วมแบ่งปั น “ความเป็ นอารยัน” ให้กบั พวกวรรณะสูง (วรรณะนา)45 และพยายาม
สร้าง “ความเป็ นอื่น” ให้กบั พวกวรรณะรองในสังคมอินเดียภายใต้นิยามของคาว่า พวกเชือ้ ชาติฑราวิต ทีไ่ ม่ได้พูด
ภาษาอารยัน ซึง่ สามารถพบแนวคิดดังกล่าวได้มากมายในงานเขียนของพวกนักบูรพคตินิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษ
ที่ 19 อาทิ งานของเรเวเรนด์ สตี เ วนสัน (Reverend Stevenson) เรื่อ ง Observations on the Grammatical
Structure ทีมองว่า 3 วรรณะแรกคือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพศย์ คือวรรณะนา ที่มาจาก
นอกอินเดีย และนิยามพวกชนพืน้ เมืองว่ามีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างจากวรรณนา ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องภาษาทีใ่ ช้ ความเชื่อ
ประเพณี และจานวน ซึง่ หลังจากพ่ายแพ้ให้กบั วรรณะนาในตอนเหนือแล้ว พวกชนพืน้ เมืองส่วนหนึ่งได้อพยพลง
ใต้ ส่วนพวกทีเ่ หลืออยู่ได้กลายเป็ นทาสรับใช้ของ 3 วรรณะนา จนเมื่อเวลาผ่านไปจึงได้กลายเป็ นวรรณะศูทร ใน
สังคมอินเดีย
การแบ่งปั นและการประกอบสร้าง “ความเป็ นอารยัน”ให้กบั พวกวรรณะนาของสังคมอินเดีย ดังกล่าว
สะท้อนออกมาตัง้ แต่ช่วงทีบ่ ริษทั อินเดียตะวันออกเข้ามาปกครองเบงกอลใหม่ๆ ในสมัยของโรเบิรต์ ไคล์ฟ (Robert
Clive) ในนโยบายการเกณฑ์ชาวพื้นเมืองอินเดียให้มาประจากองกาลังซีปอย (Sepoy) ซึ่งอังกฤษมีการคิดค้น
ทฤษฎีเชือ้ ชาตินกั รบ (Martial Race) ขึน้ เพื่อสนองต่อนโยบายดังกล่าว ซึง่ พวกวรรณะสูงอย่างวรรณะกษัตริย์ ถูก
จัดให้อยู่ในเชือ้ ชาตินักรบ ทาให้กองทัพซีปอยของบริษทั อินเดียตะวันออกในช่วงแรกๆ มักประกอบด้วยพวกราช

43 เปชวาห์ (Peshwar) เทียบได้กบั ตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีและผูบ้ ญ ั ชาการทหารสูงสุดของราชอาณาจักรมราฐา (Maratha Kingdom) เป็ นตาแหน่ งที่
สูงสุดของผูป้ กครองอาณาจักรมราฐาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19 เปชวาห์มอี านาจในการปกครองและการบริหารอาณาจักรมราฐาโดยเบ็ดเสร็จ แทน
ตาแหน่ งฉัตรปาตีย์ (Chhataphati) อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ เนื่องจากภายหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าศิวจีมหาราช (Chhataphati Shivaji
Maharaj) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฉัตรปาตีย์ทค่ี รองราชย์ต่อจากพระองค์อ่อนแอจนทาให้อาณาจักรมราฐาต้องยอมศิโรราบต่อจักรพรรดิออรัง
เซป (Aurangzeb) แห่งจักรวรรดิมุกลั ที่ยาตราทัพมาถึงเดดข่าน (Deccan) เขตอิทธิพลของพวก มราฐา จนฉัตรปาตีย์ของมราฐาต้องกลายเป็ นตัว
ประกันของราชวงศ์มุกลั หลังจากรัชสมัยของออรังเซป ฉัตรปาตีย์ถูกปล่อยตัว และแม่ทพั มราฐาคือบาราจี วิศวนารถ (Baraji Vishwanaj) สามารถยึด
ครองดินแดนของมราฐาคืนจากพวกมุกลั และสามารถบังคับให้พวกมุกลั ยอมรับให้มราฐาเป็ นผูป้ กป้ องราชวงศ์มุกลั พร้อมสิทธิในการเก็บภาษีในเขต
เดคข่านในนามจักรวรรดิมุกลั จึงทาให้บาราจีถูกแต่งตัง้ ให้เป็ นเปชวาห์ และเปชวาห์ได้ใช้อานาจในการปกครองอาณาจักรแทนฉัตรปาตีย์ตงั ้ แ ต่นนั ้ มา
โปรดดู The Marathas ของ A.R. Kulkani และ The New Cambridge History of India: The Marathas 1600 - 1818 ของ Stewart Gordon เพิม่ เติม
44 Metcalf, Thomas R. pp.69
45 วิลเลียม เคมเบล (William Campbell) ได้อธิบายในงานเขียนชื่อ India in its Relation to the Decline of Hindooism, and the Progress of Christianity

ใน ค.ศ.1839 ว่า พวกวรรณะพราหมณ์ คือเชื้อสายนักรบทีม่ าจากตอนเหนือและได้นาเอาวัฒนธรรมมาเผยแพร่ท ั ่วอนุ ทวีปอินเดีย และพวกพราหมณ์ได้


ใช้ภาษาสันสกฤตเป็ นกุญแจสูอ่ งค์ความรูใ้ นการปกครอง

231
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปุต (Rajput) พวกมราฐา (Maratha) ซึง่ ในโครงสร้างของระบบวรรณะอินเดียพวกเหล่านี้คอื วรรณะกษัตริย์ (นักรบ)


หรือแม้แต่การสงวนสิทธิ ์ ในการรับราชการหรือการเข้าสอบเพื่อเป็ นข้าราชการ (Indian Civil Service ย่อ ICS) ใน
ระบบอาณานิคมอังกฤษให้กบั พวกวรรณะนาอย่างวรรณะพราหมณ์ รวมถึงการสงวนสิทธิใ์ นการเข้าเรียนใน
สถาบันการศึกษาของอังกฤษให้เฉพาะพวกวรรณะนา พวกวรรณะสูงพยายามที่จะสงวนสิทธิดั์ งกล่าวไว้ให้พน้ จาก
พวกวรรณะรอง ส่วนในมิตอิ ่นื ของการแบ่งปั นและการประกอบสร้าง “ความเป็ นอารยัน” ให้กบั พวกวรรณะนา ยัง
สืบค้นได้จากคากล่าวของนักบูรพคตินิยมอย่างแม็กซ์ มึลเลอร์ ใน ค.ศ.1883 เองทีไ่ ด้กล่าว ชื่นชมการเยือนอังกฤษ
ของนักปฏิรูปฮินดูอย่าง ราม โมหัน รอย (Ram Mohun Roy) ว่าเป็ นการกลับมาเจอกันอีกครัง้ ของพี่น้องชาว
อารยัน46
อย่างไรก็ตาม การหยิบยื่นและการประกอบสร้าง “ความเป็ นอารยัน” ให้กบั พวกวรรณะนาของสังคม
อินเดียหาได้อยู่บนพืน้ ฐานของ “ความเป็ นอารยัน” แบบเท่าเทียมกันไม่ กล่าวคือ การยินยอมของอังกฤษในการ
สร้างจินตภาพว่าพวกวรรณะสูงก็คือชาวอารยันเช่นเดียวกับชาวอังกฤษนัน้ ยังคงตัง้ อยู่บนเงื่อนไขของ ความ
แตกต่ า งระหว่ า ง อัง กฤษ-อารยัน และ พราหมณ์ -อารยัน เช่ น กัน ซึ่ง เป็ น ชุ ด ความคิด ที่ต กผลึก ในช่ว งกลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยตีความมาจากทฤษฎีอารยันรุกราน อังกฤษมีมุม มองต่อศาสนาฮินดูของพวกพราหมณ์ -
อารยันในแง่ทว่ี ่า แม้แนวคิดฮินดูจะเป็ นมรดกทางความคิดของชาวอารยันทีเ่ ดินทางเข้ามาในอินเดียก็ตาม แต่คติ
ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมรวมถึงพิธีกรรมของฮินดูในช่วงอาณานิคมอินเดียยังคงเต็มไปด้วยเรื่องเหนื อ
ธรรมชาติและล้าหลัง อาทิ พิธสี ตี (Sati) และประเด็นสาคัญคือความเชื่อในเทพเจ้าแบบพหุเทวนิยม ซึง่ แตกต่าง
จากคริสต์ศาสนาของอังกฤษทีเ่ ป็ นแบบเอกาเทวนิยม
อังกฤษได้พยายามสร้างความแตกต่างเพิม่ เติม โดยอ้างว่า ทีก่ ารทีช่ าวอารยันเข้ามาในเขตร้อนมีผลทา
ให้คติความเชื่ออันเป็ นแก่นแท้บริสุทธิของชาวอารยั
์ นต้องผิดเพีย้ นไปและเต็มไปด้วยคติเกีย่ วกับการเกิดใหม่ การ
เวียนว่ายตายเกิด47 เนื่องจากชาวอารยันได้คลุกคลีกบั พวกชาวพืน้ เมือง และพวกวรรณะนา (พรามหณ์) คือสาเหตุ
สาคัญทีท่ าให้คติความเชื่อดัง้ เดิมของชาวอารยันต้องเต็มไปด้วยกลิน่ อายข้างต้นซึง่ เป็ นองค์ประกอบของศาสนา
พราหมณ์-ฮินดู ด้วยเหตุน้ีเองจึงทาให้ “ความเป็ นอารยัน” ไม่มที างที่จะเท่าเทียมกันได้ในระหว่างอังกฤษพวก
วรรณะสูง ฉะนัน้ จึงเป็ นเหตุผลทีม่ นี ้ าหนักพอในการอนุ มานว่า อังกฤษได้ใช้ความไม่เท่าเทียมและความแตกต่าง
ในการอ้างสิทธิในการปกครองอินเดีย ในแง่ท่วี ่า อินเดียไม่พร้ อมที่จะปกครองตนเอง อินเดียไม่ได้ถูกลิขติ ให้
ปกครองตนเองมาตัง้ แต่ในอดีตและอินเดียถูกลิขติ มาเพื่อให้ถกู ปกครองโดยชาวต่างชาติ48 ซึง่ การกลับมาพบกันอีก
ครัง้ ของอารยันทัง้ 2 สายในอินเดียนี้เองจะทาให้อนิ เดียสามารถไปสู่ความเจริญได้เฉกเช่นในอดีต โดยมีอารยัน -
อังกฤษ เป็ นผูป้ กครองนัน่ เอง ฉะนัน้ ตาแหน่ งราชการในอาณานิคมอินเดียทีอ่ งั กฤษสงวนให้กบั พวกวรรณะสูงจึง
เป็ นตาแหน่งทีไ่ ม่สงู นัก ไม่ว่าจะเป็ นตาแหน่งในศาลยุตธิ รรมหรือแม้แต่ในกองทัพซีปอย

กำรใช้วำทกรรม “ควำมเป็นอำรยัน” ในกำรอธิบำยตัวตนของวรรณะนำและวรรณะรองในอำณำนิคมอินเดีย


การเปิ ดโอกาสของจักรวรรดินิยมอังกฤษให้พวกวรรณะสูงเข้าสู่ระบบการศึกษาสมัยใหม่ของอังกฤษใน
อาณานิคมอินเดีย โดยเฉพาะหลัง ค.ศ.1835 เมื่ออังกฤษได้บงั คับให้มกี ารใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
ตามวิทยาลัยต่างๆควบคู่ไปกับการสอนเกีย่ วกับอดีตของอินเดียที่ปรากฏอยู่ในพระเวทหรือแม้แต่ประวัตศิ าสตร์

46 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan”. pp.34


47 Metcalf, Thomas R. pp.136
48 Chandra, Bipan. 2011. History of Modern India. Reprinted. New Delhi: Orient Black Swan. pp.204

232
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อินเดียฉบับอาณานิคมซึง่ เป็ นจินตภาพของนักบูรพคตินิยมอังกฤษ ได้มผี ลต่อการประกอบสร้าง ตัวตน และ สานึก


ในอดีต ในหมู่ชาวอินเดียในประเด็นของการเป็ นอารยันเช่นเดียวกับชาวอังกฤษ แต่ไม่ได้มคี วามเท่าเทียมกันใน
สถานะอารยัน ตามทีผ่ เู้ ขียนได้กล่าวไว้ขา้ งต้น
อย่างไรก็ตาม การยอมรับในสถานะของ “ความเป็ นอารยัน” โดยพวกวรรณะนาตามเงื่อนไขทีก่ าหนดโดย
จักรวรรดินิยมอังกฤษ ก็ไม่ได้เป็ นไปในลักษณะของการเต็มใจรับเท่าไรนัก ด้วยคุณูปการของนักบูรพคตินิยมและ
นักสันสกฤตชาวอังกฤษในการรวบรวมเอกสาร หลักฐานลายลักษณ์อกั ษรโบราณกลายเป็ นดาบสองคมซึง่ เป็ น
ตัวเร่งให้พวกวรรณะนาเริม่ เกิดความตระหนักในการพยายามสืบหาความภูมใิ จในอดีตอันยิง่ ใหญ่ของตนเองผ่าน
การศึ ก ษาประวั ติ ข องผู้ น าในอดี ต อย่ า งพระเจ้ า อโศกมหาราช (Ashoka the Great) พระเจ้ า จั น ทรคุ ป
(Chandragupta) พระเจ้าวิกรมอาทิตย์ (Vikramaditya) จักรพรรดิอกั บรามหาราช (Akbra the Great)49 หรือแม้แต่
พระเจ้า ศิว จีมหาราช (Shivaji the Great) ซึ่ง เป็ น กรณี ท่ีช ัด เจนที่สามารถยกตัวอย่ า งอธิบายให้สอดคล้อ งกับ
ปรากฏการณ์ขา้ งต้นได้
หากพิจารณาตามหลักฐานลายลักษณ์อกั ษรร่วมสมัยทีเ่ ป็ นภาษามราฐีและภาษาสันสกฤตอย่าง ซาบฮา
ซาส บักครา (Sabhasas Bakhar) และศิวภารต (Shivabharat) ตามลาดับ ได้ระบุถงึ ความยิง่ ใหญ่ของอาณาจักร
มราฐาในการทาสงครามชนะอังกฤษทีเ่ มืองสุราช (Surat) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทาให้ชาวอินเดียได้ตงั ้ คาถาม
เกีย่ วกับ ความทรงจา ทีแ่ ฝงอยู่ในระบบการศึกษาและงานเขียนของอังกฤษทีเ่ ต็มไปด้วยอคติ อาทิ การโต้แย้งงาน
เขียนเรื่อง A History of the Mahrattas ซึง่ เป็ นประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ทแ่ี ต่งโดย เจมส์ แกรนท์ ดัฟล์ (Jame Grant
Duff) โดย คิเทเน่ (Kitane) นักศึกษาชาวอินเดีย ประจาวิทยาลัยเดคข่าน (Deccan College) ฉะนัน้ ปรากฏการณ์
ในการพยายามรือ้ ฟื้ นและการสร้างอดีตผ่านการตีความของชาวอินเดียเองจึงเกิดขึน้ เช่นกรณีท่ี มหาเทพ โกวินดา
รานาเฬ (Mahadev Govind Ranade) ผู้พพิ ากษาชาวอินเดียประจาบอมเบย์และเป็ นหนึ่งในนักชาตินิยมฮินดูท่ี
โต้แย้งทฤษฎีเชือ้ ชาติอารยันของอังกฤษ ได้ เขียนหนังสือเรื่อง Rise of the Maratha ขึน้ เพื่อเป็ นการโต้กระแส
ประวัติศาสตร์ของมราฐาที่เป็ นจินตภาพของชาวอังกฤษ ทาให้องั กฤษหวันวิ ่ ตกว่าจะส่งผลเสียต่อการปกครอง
อินเดีย อังกฤษจึงได้โต้ตอบโดยการสังปิ่ ดหอจดหมายเหตุทส่ี าคัญหลายแห่งและไม่อนุ ญาตให้ชาวอินเดียเข้าไป
ศึก ษางานชัน้ ต้ น ได้ โดยเฉพาะหอจดหมายเหตุ ใ นบอมเบย์ ซ่ึง เต็ ม ไปด้ ว ยเอกสารชัน้ ต้ น ที่เ กี่ย วข้อ งกับ
ประวัตศิ าสตร์มราฐา
สาหรับประเด็นการท้าทายทฤษฎี “ความเป็ นอารยัน” ที่ถูกประกอบสร้างโดยอังกฤษนัน้ สามารถแยก
ออกได้เป็ น 2 ประเด็นหลักๆ คือ 1. การหักล้างโดยพวกวรรณะสูง 2. การหักล้างโดยพวกวรรณะรอง เริม่ ความ
พยายามของพวกวรรณะนาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ในการช่วงชิง สถานภาพ “ความเป็ นอารยัน” คืนมาจากการ
กล่าวอ้างของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ซึง่ สะท้อนออกมาด้วยทฤษฎีอารยันอันเป็ นชุดความคิดของพวกวรรณะสูงเอง
ไม่ว่าจะเป็ นการท้าทายทฤษฎีการรุกรานและบ้านเกิดของอารยัน (Aryan Homeland) ซึง่ แต่เดิมนัน้ ตามจินตภาพ
ของนักบูรพคตินิยมอังกฤษคือเอเชียกลาง โดยแทนทีด่ ว้ ยการอ้างว่าในแท้ทจ่ี ริงแล้ว ชาวอารยันไม่ใช่กลุ่มคนทีม่ า
จากภายนอกหากแต่เป็ นชาวพืน้ เมืองที่อาศัยอยู่ในบริเวณอินเดียเหนือ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็ได้ กลายเป็ นบรรพ
บุรุษของพวกวรรณะสูง 3 วรรณะแรกของสังคมอินเดีย (ยกเว้นพวกวรรณะศูทร) โดยเริม่ ต้นจาก โลกมันยา ติลกั
(Lokmanya Tilak) นักปฏิรูปฮินดูและนักฮินดูชาตินิยม ผูป้ ลุกกระแสความภูมใิ จในการเป็ นคนอินเดียและเจ้าของ
แนวคิด สวาราช (Swaraj) หรือการปกครองตนเองของชาวอินเดีย จากรัฐมหาราษฎร์ โลกมันยา ติลกั เป็ นหนึ่งใน

49 Chandra, Bipan. pp.204 – 205

233
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นักต่อสูเ้ พื่อเรียกร้องเอกราชในยุคแรกๆของอินเดียทีจ่ บการศึกษาระดับอุดมศึกษา 50 โลกมันยา ติลกั ได้เขียนงาน


ชื่อ The Arctic Home in the Vedas ในปี ค.ศ.1898 ระหว่างทีถ่ ูกจาคุก ติลกั ได้เสนอว่าบ้านเกิดของชาวอารยันคือ
ขัว้ โลกเหนือ ซึง่ คาดว่าได้รบั อิทธิพลมาจากงานเขียนเรื่อง Paradise Found or the Cradle of the Human Race
at the North Pole ของวิลเลียม เอฟ วอร์เรน (William F. Warren) ศาตราจารย์ประจามหาวิทยาลัยบอสตัน ทีไ่ ด้
มอบงานดังกล่าวให้กบั แม็กซ์ มึลเลอร์ และมึลเลอร์ได้มอบงานดังกล่าวให้กบั ติลกั ในขณะทีถ่ ูกคุมขังโดยอังกฤษ
ติลกั ได้อธิบายว่าในอดีตช่วงยุคน้ าแข็งนัน้ เทือกเขาแอลป์ ไม่ได้สงู อย่างในปั จจุบนั และทวีปเอเชีย ยุโรป
แอฟริกายังคงเป็ นแผ่นดินเดียวกัน ซึ่งราวๆ 8000 ปี ก่อนคริสตกาลเมื่อน้ าแข็งขัว้ โลกเหนือเริม่ ละลายจนเกิดน้ า
ท่วม ชาวอารยันจึงได้ยา้ ยถิน่ ฐานโดยแบ่งเป็ น 2 สายซึง่ สายหนึ่งเข้ามายังอินเดียและสายทีส่ องเข้าไปยังยุโรป โดย
สายที่เข้าไปในยุโรปนัน้ ได้กลายสภาพไปเป็ นอนารยชน (Barbarism) ในขณะที่ชาวอารยันทีเ่ ข้าไปในอินเดียได้
กลายเป็ นผูเ้ ผยแพร่วฒ ั นธรรมชัน้ สูง (Superior Culture) ให้กบั พวกชาวพืน้ เมือง51
นอกจากนี้ ยัง มีก รณี ข อง สวามี ดายานัน สรัสวตี (Swami Dayananda Saraswati) หนึ่ ง ในนัก ฮิน ดู
ชาตินิยมและนักปฏิรูปฮินดูคนสาคัญของอินเดียยุคอาณานิคม ผู้เป็ นเจ้าของแนวคิด สวราจา (Swaraja) หรือ
อิน เดีย สาหรับ ชาวอินเดีย ซึ่ง ต่ อ มา โลกมัน ยา ติ ลัก ได้น าแนวคิด ดังกล่ า วไปประยุก ต์เ ป็ น แนวคิด สวาราช
(Swaraj) ดายานัน สรัสวตี เป็ นอีกผูห้ นึ่งทีเ่ ชื่อว่าชาวอารยันคือชาวพืน้ เมืองอินเดีย (Indigenous Aryan) ดายานัน
สรัสวตี เป็ น ผู้ท่ีก่ อ ตัง้ สมาคมที่เ รีย กว่า อารยสมาช (Arya Samaj) หรือ สมาคมชาวอารยัน ในบอมเบย์เมื่ อปี
ค.ศ.1875 เพื่อเป็ นการปฏิรูปแนวคิดของศาสนาฮินดูใหม่ ซึ่งตัว ดายานัน สรัสวตี มองว่าในยุคสมัยนัน้ แนวคิด
ฮินดูเต็มไปด้วยเรื่องเหนือธรรมชาติและงมงาย โดยเฉพาะเรื่องการบูชารูปเคารพและพิธกี รรมทีม่ มี ากจนเกินความ
จาเป็ น และดายานัน สรัสวตี เป็ นนักปฏิรูปฮินดูคนสาคัญในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในการพยายามปฏิเสธ
แนวคิดพหุเทวนิยมในศาสนาฮินดูและแทนทีแ่ นวคิดดังกล่าวด้วยพระเจ้าองค์เดียวซึ่งไม่มรี ูปกาย 52 ซึ่งเป็ นการ
หักล้างแนวคิดทีน่ กั บูรพคตินิยมอังกฤษทีไ่ ด้เคยเสนอไว้ในประเด็นความไม่เท่าเทียมกันของ อารยัน -อังกฤษ และ
อารยัน-พราหมณ์ โดยใช้เงื่อนไขด้านรูปเคารพและพหุเทวนิยม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของการถอดรือ้ แนวคิดของ
อังกฤษ ดายานัน สรัสวตี ได้กล่าวโจมตีพธิ กี รรมและการบูชารูปเคารพของชาวอินเดียในขณะนัน้ ว่าเป็ นปั จจัยหนึ่ง
ทีท่ าให้ชาวอินเดียต้องกลายเป็ นทาสทางการเมืองของอังกฤษ และด้วยความทีช่ าวอินเดียมักจะพึง่ พาพลังอาานาจ
ของสิง่ ศักดิสิ์ ทธิดั์ งกล่าวแทนที่จะพึง่ พาตัวเอง จึงเป็ นเหตุสาคัญที่ทาให้ชาวอินเดียต้องเสียสิทธิในการปกครอง
ตนเองและถูกมองจากโลกภายนอกว่าเป็ นเชือ้ ชาติท่สี มควรจะต้องถูกปกครอง (Subject Race)53 โดยจักรวรรดิ
อังกฤษ
ดายานัน สรัสวตี มีทศั นะว่าการปฏิรูปฮินดูและสังคมอินเดียจะต้องดาเนินโดยหันกลับไปยึดกับแนวคิด
และสภาพของสังคมอินเดียในยุคพระเวท ซึง่ ถือว่ามรดกทางความคิดทีแ่ ท้จริงและบริสทุ ธิที์ ส่ ดุ ของชาวอารยันซึง่ ก็
คือบรรพบุรุษของพวกวรรณะนาในสังคมอินเดีย ฉะนัน้ จุดประสงค์ของการตัง้ อารยสมาช (Arya Samaj) หรือ
สมาคมชาวอารยัน ก็คอื การกลับไปหาวิถชี วี ติ และแนวคิดในยุคพระเวทนัน่ เอง โดยสมาชิกของสมาคมจะต้องเป็ น
พวกวรรณะสูงเท่านัน้ เนื่องจากพวกวรรณะรองเป็ นต้นตอของการยึดติดกับความงมงายและเป็ นส่วนหนึ่งทีท่ าให้

50 จบการศึกษาด้านภาษาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากวิทยาลัยเดคข่าน (Deccan College) ซึง่ ปั จจุบนั เป็ นสถาบันอุดมศึกษาอันดับต้นๆ ของประเทศ


อินเดียในด้านโบราณคดีและภาษาศาสตร์
51 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan,” 34.
52 Figueira, Dorothy M. pp.105
53 Ibid. 106-107

234
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แนวคิดของอารยันต้องถูกปนเปื้ อนด้วยความงมงายดังกล่าว ซึง่ ถือว่าเป็ นการสร้างความแตกต่างกันและความเป็ น


อื่นระหว่าง วรรณะนาและวรรณะรองที่ช ัดเจนในช่วงคริสต์ ศ ตวรรษที่ 19 กล่าวคือ วรรณะนาคือชาวอารยัน
ในขณะทีว่ รรณะรองไม่ใช่ชาวอารยัน การปฏิรูปของดายานัน สรัสวตี ได้รบั การตอบรับจากบรรดาชนชัน้ สูงชาว
อินเดียมากมาย ไม่ว่าจะเป็ น มหาเทพ โกวินดา รานาเฬ (Mahadev Govind Ranade) ที่เห็นพ้องกับแนวคิด
ข้างต้นโดยเฉพาะการมองสังคมอารยันตามจินตภาพทีถ่ ูกตีความจากพระเวทว่าเป็ นยุคอุดมคติ โดยเฉพาะเรื่อง
เสรีภาพและการให้เกียรติสตรี ซึ่งเป็ นผลพวงอย่างหนึ่งที่ทาให้การประท้วงต่อการออกกฎหมายยกเลิกพิธีสตี
(Sati) ของอังกฤษลดความเข้มข้นลงในหมู่ของพวกวรรณะนา
การใช้วาทกรรม “ความเป็ นอารยัน ” ในการสร้างความชอบธรรมเรื่องสถานะของพวกวรรณะนาให้ดู
เหนือกว่าสถานะของพวกวรรณะอื่นๆในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ได้นาไปสู่ความเหลื่อมล้าและการกีดกันระหว่าง
วรรณะในสังคมอินเดีย หลายประการ เช่น สิทธิในการเข้าเรียนในสถานศึกษา การรับราชการทีส่ งวนสิทธิเฉพาะ ์
วรรณะนา และการกีดกันและลบหลู่ทางวรรณะ สิง่ นี้จงึ ก่อให้เกิดการตัง้ คาถามและการท้าทายของพวกวรรณะรอง
ต่อ วาทกรรม”ความเป็ นอารยัน” ของอังกฤษและพวกวรรณะนา อาทิ กรณีของมหาตมะ โจฑิบา พูเฬ่ (Mahatama
Jyotiba Phule) นักเคลื่อนไหวทางสังคมและนักปฏิรปู ฮินดู คนสาคัญของรัฐมหาราษฏร์ทางอินเดียตะวันตกในช่วง
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พูเฬ่ เกิดในครอบครัววรรณะมาลี (Mali Caste) ซึ่งเป็ นวรรณะหนึ่งของกลุ่มคนที่ทา
อาชีพชาวสวน54 จัดเป็ นวรรณะรองในสังคมอิน เดียยากจน ในช่วงวัยหนุ่ มพูเฬ่ได้มโี อกาสเข้าร่วมพิธมี งคลสมรส
ของเพื่อนต่างวรรณะ(วรรณะพราหมณ์ ) แต่ระหว่างทีก่ าลังเข้าร่วมพิธี พูเฬ่ได้ถูกปฏิเสธโดยบิดาและมารดาของ
เพื่อนไม่ให้เข้าร่วมพิธดี งั กล่าว 55 ซึ่งถือว่าเป็ นจุดเริ่มต้นที่ทาให้ พูเฬ่ เริ่มวิจารณ์ อภิสทิ ธิแ์ ละการเอารัดเอา
เปรียบทางสังคมของพวกวรรณะนาต่อพวกวรรณะรอง และนาไปสูก่ ารโจมตีสถานะของพวกวรรณะสูงด้วยการท้า
ทายวาทกรรม “ความเป็ นอารยัน” ของพวกพราหมณ์
สาหรับพูเฬ่นนั ้ พวกชนพืน้ เมืองดังเดิมของอินเดีย ก็คอื พวก อาทิวาสี (Adivasi)56 พวกศูทร (Shudras)
และพวกฑริต (Dalit) ซึง่ เป็ นเป็ นผูร้ บั ใช้กษัตริยข์ องพวกไทตยะ หรือ แทตย์ (Daityas) และมีสว่ นร่วมสาคัญในการ
ทาสงครามต่อต้านการรุกรานของชาวอารยัน กลุ่มคนที่มาจากภายนอกที่ พูเฬ่ มองว่าคือบรรพบุรุษของพวก
วรรณะพรามหมณ์ แต่กษัตริย์ของพวกไทตยะ หรือ แทตย์ แพ้สงคราม จึงทาให้ พวกอาทิ วาสี พวกศูทร และ
พวกฑริต ต้องกลายเป็ นผูใ้ ต้บงั คับบัญชาของพวกอารยัน 57 แนวคิดของพูเฬ่ เป็ นทีแ่ พร่หลายอย่างมากในมวลชน
วรรณะรองและพวกฑริต ซึง่ คือพวกนอกวรรณะในสังคมอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฎร์และอินเดียตะวันตก
และวาทกรรมของ พูเฬ่ในข้างต้นถูกเผยแพร่เป็ นภาษามราฐี ซ่งึ เป็ นภาษาถิ่นที่พวกวรรณะรองสามารถเข้าถึง
ความหมายได้ เช่นเดียวกันในระยะเวลาดังกล่าวยังเป็ นช่วงสุกงอมของขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกฑริตและ
พวกวรรณะรอง (The Dalit Movement) ครัง้ สาคัญในประวัติศาสตร์สงั คมอินเดีย ทาให้พวกวรรณะรองมองว่า
ตนเองคือชาวพืน้ เมืองดัง้ เดิมของอินเดีย ในขณะทีช่ าวอารยันซึง่ เป็ นบรรพบุรุษของพวกวรรณะนาคือผูร้ ุกรานที่
เข้ามาในอินเดียทีหลังและไม่ใช่เจ้าของอินเดียทีแ่ ท้จริง อีกประเด็นทีส่ าคัญคือสถานะของพวกวรรณะรองในอดีต

54 บิดาของพูเฬ่ มีอาชีพเป็ นชาวสวนทีด่ แู ลดอกไม้ให้กบั เปชวาห์ (Peshwar) คนสุดท้ายของอาณาจักรมราฐาคาว่า พูเฬ่ (Phule) ในภาษามราฐาแปลว่า
ดอกไม้ ซึง่ เป็ นทีม่ าของชื่อของ โจฑิบา พูเฬ่
55 ครอบครัวของเพือ ่ น ถากถางพูเฬ่ให้รจู้ กั ประมาณตนในสถานะและวรรณะของตนเอง
56 หมายถึงชนเผ่าพืน ้ เมืองกลุม่ หนึ่งทีอ่ าศัยอยูต่ ามป่ า
57 Thapar, Romila. “The Historiography of the Concept of Aryan”. pp.38

235
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สามารถถูกตีความได้ว่าเทียบเท่ากับสถานะของวรรณะนาอย่างวรรณะกษัตริย์ เนื่องจากเคยมีบทบาทสาคัญใน
การป้ องกันการรุกรานของชาวอารยันในอดีต ซึง่ เป็ นภาระหน้าทีห่ ลักของวรรณะกษัตริยน์ นเอง
ั่

บทส่งท้ำย
วาทกรรมเรื่อง “ความเป็ นอารยัน” รวมถึงทฤษฎีอารยันรุกราน ได้กลายเป็ นประเด็นทีถ่ ูกตัง้ คาถามครัง้
ใหญ่อกี ครัง้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะหลังจากการประสบผลสาเร็จของคณะสารวจโบราณคดีอนิ เดีย
ในช่ ว ง ค.ศ.1922-23 ในการค้ น พบซากปรัก หัก พัง ของเมือ งฮารัป ปา (Harappa) และเมือ งโมเฮนจาดาโร
(Mohenjo-daro)58 ซึง่ หลังจากการใช้กระบวนการทางโบราณคดีในการคานวณอายุของแหล่งโบราณสถานดังกล่าว
มีการเสนอข้อสันนิษฐานว่าทัง้ 2 บริเวณมีอายุเก่าแก่กว่าสมัยยุคพระเวทหรือยุคการเข้ามาของชาวอารยันใน
อินเดียเหนือและนักบูรพคตินิยมอังกฤษรวมถึงนักวิชาการอินเดียในช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังได้มกี ารประเมินอายุ
ของแหล่ งโบราณคดีทีค้น พบว่ ามีอ ายุยาวนานถึงประมาณ 6000 ปี ก่ อ นคริสตกาล ประกอบกับ องค์ประกอบ
สาคัญๆทีพ่ บในแหล่งโบราณคดีทงั ้ 2 บริเวณ ยังสะท้อนถึง “ความเป็ นเมือง” ไม่ว่าจะเป็ นการค้นพบยุง้ ฉางขนาด
ใหญ่ (Great Granary) ป้ อมปราการ (Citadel) การวางผังเมือง (City Plan) ระบบระบายน้ า และการใช้อฐิ เผาไฟ
(Burnt Brick)59 ในการก่อสร้างบ้านเมือง
การค้นพบนี้เอง จึงนาไปสู่การตัง้ ทฤษฎีท่วี ่า ชาวอินเดียพื้นเมืองมีสมั ฤทธิผลทางวัฒนธรรมเป็ นของ
ตนเองก่อนการเข้ามาของชาวอารยัน ซึง่ ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็ นข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี
ในการหักล้างจินตภาพของนักบูรพคตินิยมอังกฤษทีเ่ คยเชื่อว่า อินเดียไม่เคยมีอดีตและประวัติศาสตร์ก่อนการเข้า
มาของชาวอารยัน พร้อมๆไปกับการหักล้างความเชื่อของพวกวรรณะสูงทีเ่ คยเชื่อว่าบรรพบุรุษของวรรณะสูงก็คอื
ชาวอารยัน เช่นเดียวกัน การขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีฮารัปปาและโมเฮนจาดาโร ยังเป็ นการเปิ ดประตูส่ปู ระเด็น
ทางประวัตศิ าสตร์ใหม่ๆในวงการประวัตศิ าสตร์อินเดีย อาทิ ข้อสมมติฐานทีต่ งั ้ คาถามถึงปั จจัยทีท่ าให้ความเจริญ
ของอินเดียเหนือซึง่ ถูกอธิบายผ่านการค้นพบแหล่งโบราณคดีทงั ้ 2 แห่งว่าล่มสลายลงได้อย่างไร ซึง่ หลักฐานทาง
โบราณคดีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยังมีผลทาให้พบจุดอ่อนของทฤษฎีอารยันรุกรานซึง่ ถูกประกอบสร้างจากนัก
บูรพคตินิยมอังกฤษและนักประวัตศิ าสตร์สมัยอาณานิคมมากยิง่ ขึน้ อาทิ การขุดค้นพบโครงกระดูกมนุ ษย์จานวน
มากทีก่ ระจัดกระจายไปทัวอาณาบริ
่ เวณของแหล่งโบราณคดีอารยธรรมสินธุ แต่พบร่องรอยความเสียหายของโครง
กระดูกจากอาวุธน้อยมาก ฉะนัน้ ถ้าหากมีการรุกรานขนานใหญ่ของชาวอารยันจริง ก็มเี หตุอนั ควรทีจ่ ะพบร่องรอย
ความเสียหายบนโครงกระดูกมนุษย์ในจานวนทีม่ ากกว่านี้ ซึง่ สะท้อนถึงภาพของการทาสงครามขนาดใหญ่ระหว่าง
ชาวพืน้ เมืองและผูร้ ุกราน สิง่ นี้เองจึงนาไปสูก่ ารสร้างทฤษฎีใหม่ๆเกีย่ วกับการเข้ามาของชาวอารยันในอินเดีย เช่น
การเข้ามาของชาวอารยันโดยแบ่งเป็ นระยะๆซึง่ ในการเข้ามาแต่ละช่วงนัน้ ชาวอารยันจะเข้ามาในจานวนทีน่ ้อย
มากหากเทียบกับจานวนของชาวพื้นเมืองอินเดีย จึงทาให้ความน่ าเชื่อถือของทฤษฎีรุกรานลดน้ อยลงภายใต้
เงื่อนไขและการโต้แย้งทีว่ ่า การรุกรานหรือการเข้ามาในจานวนน้อยและเป็ นช่วงๆ เช่นนัน้ ของชาวอารยันจะมีผล
ให้อารยธรรมของอินเดียที่เจริญมาก่อนหน้ านัน้ ล่มสลายในคราวเดียวได้เช่นไร การตัง้ สมมติฐานถึงเหตุ การ
สลายตัวของอารยธรรมสินธุจงึ กว้างขึน้ โดยขยายครอบคลุมไปถึงการพิจารณาและให้น้ าหนักไปยังปั จจัยทาง

58 การขุดค้นพบบางส่วนของแหล่งโบราณสถานดังกล่าว เคยถูกสารวจและค้นพบมาแล้วในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คัน


นิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) บิดาแห่งโบราณคดีอนิ เดีย แต่ศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร แย้งว่าการค้นพบในช่วงเวลาดังกล่าว เป็ นการสารวจที่
สืบเนื่องมาจากความพยายามในการค้นหาเส้นทางสายไหมและการสารวจแหล่งเผยแพร่รวมถึงศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในอินเดีย การตีความโดย
นักบูรพคตินิยมอังกฤษและนักประวัตศิ าสตร์สมัยอาณานิคมยังไม่ เคยตีความมาก่อนในประเด็นทีเ่ ชื่อว่าอินเดียเคยมีความเจริญเทียบเท่าอารยธรรม
คลาสสิกของโลกโบราณ
59 ในขณะทีอ ่ ยิ ปิ ต์ใช้อฐิ ทีส่ กัลป์ จากหินและไม่ผา่ นกระบวนการทางความร้อน และเมโสโปเตเมีย ใช้อฐิ ดินตากแห้ง

236
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กายภาพอื่นๆ อาทิ การเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ ารวี (Ravi) และแม่น้ าสินธุ ซึ่งบูรณาการมาจากการสารวจทาง


ธรณีวทิ ยาควบคู่ไปกับการสารวจทางโบราณคดี
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์โรมิลา ถาปร ได้เสนอให้ใช้หลักฐานลายลักษณ์อกั ษรอื่นๆ ซึง่ ถูกเขียนในช่วง
คริส ต์ ศ ตวรรษที่ 4 อย่ า งปุ ร าณะษะ (Puranas) เพื่อ ประกอบการวิพ ากษ์ ท ฤษฎี เ กี่ย วกับ ปั ญ หาอารยั น ใน
ประวัตศิ าสตร์อนิ เดีย โดยสังเขปนัน้ ปุราณะได้บนั ทึกถึงประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์โดยกล่าวย้อนไปถึงช่วงประมาณ
2000 ปี ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึง่ เริม่ พรรณาถึงน้ าท่วมโลกครัง้ ใหญ่และทุกสรรพสิง่ จมอยู่ใต้บาดาลทัง้ หมด
จนเทพเจ้าอย่างพระวิษณุ (Visnu) รูส้ กึ สงสารมนุษย์จงึ ได้แนะนา พระมนู (manu) หนึ่งในมนุษย์ไม่กค่ี นทีร่ อดชีวติ
จากน้ าท่วมให้สร้างเรือขนาดใหญ่ โดยพระวิษณุ ได้แปลงรูปกายของพระองค์ให้เป็ นมัจฉาทีม่ เี ขา แล้วให้ พระมนู
นาเชือกคล้องกับเขาของพระวิษณุ (ในร่างมัจฉา) เพื่อนาทางไปยังยอดเขาไกรลาส พอน้ าลด พระมนู ได้เดินทาง
กลับถิน่ ฐานเดิม จนกระทังลู ่ กหลานของพระมนูได้กลายเป็ นบรรพบุรุษของกลุ่มคนต่างๆ ซึง่ ศาสตราจารย์โรมิลา
ถาปร ได้วเิ คราะห์เพิม่ เติมว่า ปุราณะษะ ไม่เคยได้บนั ทึกถึงคาว่า อารยัน แต่อย่างใดเลย

บรรณำนุกรม
กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. 2554. ภารตวิทยา. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพฯ: ศยาม.
บาเชม, เอ แอล. 2549. ภารตรัตนะ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. แปลโดย ธิตมิ า พิทกั ษ์ไพรวัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภารดี มหาขันธ์. 2527. ประวัตศิ าสตร์เอเชียใต้. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สาวิตรี เจริญพงศ์. 2545. ภารตะยะ อารยธรรมอินเดียตัง้ แต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รบั เอกราช. พิมพ์ครัง้ ที่ 2.
กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandyopadhyay, Sekhar. 2008. From Plassey to Partition: A History of Modern India. New Delhi: Orient
Black Swan.
Ballantine, Tony. 2002. Orientalism and Race: Aryanism in British Empire. New York: PALGRAVE
Macmillan.
Bryant, Edwin F and Patton, Laurie L. 2005. The Indo Aryan Controversy Evidence and inference in
Indian History. New York: Routledge.
Chandra, Bipan. 2011. History of Modern India. Reprinted. New Delhi: Orient Black Swan.
Figueira, Dorothy M. 2002. Aryans, Jews, Brahmins Theorizing Authority through Myths of Identity.
New York: University of New York.
Gordon, Stewart. 1993. The Marathas 1600-1818. New Delhi: Cambridge University Press.
Jha, D.N. 2010. Ancient India in Historical Outline. New Delhi: Manohar.
Keepens, Marianne and Roover, Jakob De. 2014. “The Orientalism and the Puzzle of the Aryan Invasion
Theory”. Pragmanta: Journal of Human Sciences. 2. (2). http//journal.tumkuruniversity.ac.in
Kulkarni, A R. 2008. The Marathas. Pune: Diamond Publications.
Metcalf, Thomas R. 2005. Ideologies of the Raj. Reprint. New Delhi: Cambridge University Press.

237
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Sharma, R.S. 1996. Looking for the Aryans. Reprint. Madras: Orient Longman.
Thapar, Romila. 2008. The Aryan Recasting Constructs. New Delhi: Three Essays Collective.
Trautmann, Thomas R. 2008. Aryan and British India. Third Edition. New Delhi: Yoda Press.
———. 2010. The Aryan Debate. Fifth Impression. New Delhi: Oxford University Press.

238
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P5-R3-04

Jalan Raya Pos


เรื่ องเล่ า ของถนนสายประวั ติ ศ าสตร์

ทิวาพร จันทร์แก้ว
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

239
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
อินโดนีเซียเป็ นประเทศที่มคี วามหลากหลายมากประเทศหนึ่ง ทัง้ ประชากรที่มอี ยู่หลายกลุ่มชาติพนั ธุ์
รวมไปจนถึง ภาษา วัฒนธรรมและการดารงชีวิตของแต่ ละกลุ่มชาติพนั ธุ์ การมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ท่ี
ซับซ้อนนัน้ ส่งผลให้อนิ โดนีเซียมีความน่ าสนใจในภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน หลายยุคหลายสมัย โดย
ผ่านการปกครองจากระบบอาณานิคมของชาติตะวันตก ทาให้อนิ โดนีเซียผ่านความหลังอันบอบช้าจากร่องรอย
ของประวัตศิ าสตร์แห่งการถูกกดขีโ่ ดยมักจะสะท้อนผ่านเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ เรื่องเล่า หรือภาพถ่าย
การศึกษาเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่ศกึ ษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิเช่ น
เอกสารชัน้ ต้น เอกสารชัน้ รอง หรืองานตารา หนังสือ หนังสือพิมพ์ รวมไปจนถึงบทความ แต่ทว่ายังสามารถ
ศึกษาเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ผ่านสถานที่สาคัญ อย่างเช่น ถนนสายหนึ่ง ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของยุคสมัย
อาณานิคม ทีถ่ นนสายนี้ได้ถูกสร้างขึน้ เพื่อใช้เป็ น เส้นทางการเดินทางไปมาระหว่างกัน ทัง้ นี้ถนนเส้นนี้ยงั สามารถ
จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคสมัยอดีตของอินโดนีเซียได้ โดยถนนเส้นนี้ถูก
เรียกว่า Jalan Raya Pos เป็ นถนนสายสาคัญที่เชื่อมโยงเมืองต่างๆ เข้าไว้ดว้ ยกัน ทัง้ นี้กเ็ นื่องจากมาจากเมือง
ต่ างๆ ที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน ล้วนแล้วเป็ นเมืองท่าสาคัญ ไม่ว่าจะเป็ นเมืองเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ หรือ
แม้กระทังเป็
่ นเมืองทีม่ คี วามสาคัญในบริบททางประวัตศิ าสตร์
บทความนี้จงึ มีวตั ถุประสงค์ คือ การศึกษาประวัตศิ าสตร์ความเป็ นมาของถนนสายประวัตศิ าสตร์ Jalan
Raya Pos โดยถนนสายนี้ได้บอกเล่าถึงความเป็ นมาของเมืองต่างๆ ทีถ่ นนสายนี้ตดั ผ่าน โดยเนื้อหาสาคัญในส่วน
นี้ ผูเ้ ขียนศึกษาข้อมูลจากหนังสือความเรียงทางประวัตศิ าสตร์ของนักเขียนอินโดนีเซีย คือ ปราโมทยา อนันตา ตูร์
ในผลงานทีช่ ่อื ว่า Jalan Raya Pos, Jalan Daendels อันเป็ นหนังสือความเรียงทีป่ ราโมทยาเขียนบอกเล่าถึงเมือง
ต่างๆ ทีถ่ นนสายนี้ตดั ผ่าน โดยเป็ นการเล่าจากประสบการณ์จริงทีต่ วั ของเขาเองได้เคยเดินทางไปยังเมืองต่างๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึน้ ครัง้ แรกในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งในขณะนัน้ ที่อนิ โดนีเซียยังอยู่ในยุคระเบียบใหม่และ
ได้รบั การตีพมิ พ์ขน้ึ ในปี ค.ศ. 2005 หรือในอีก 10 ปี หลังจากนัน้ โดยสานักพิมพ์ Lentera Dipantara เนื่องจาก
ในช่วงยุคระเบียบใหม่ผลงานของปราโมทยาเกือบทัง้ หมดถูกห้ามตีพมิ พ์เผยแพร่ เพราะถูกจัดให้เป็ นงานเขียนอัน
เกีย่ วข้องกับขบวนการคอมมิวนิสต์และสามารถตีพมิ พ์ผลงานได้อกี ครัง้ เมื่อเข้าสูย่ ุคปฏิรปู เนื่องจากการควบคุมสือ่
มีความเป็ นเสรีเปิ ดกว้างมากขึน้ สาหรับหนังสือเรื่อง Jalan Raya Pos, Jalan Daendels มีลกั ษณะเป็ นความเรียง
ทางประวัตศิ าสตร์สนั ้ ๆ โดยกล่าวถึงการสร้างถนนสายหนึ่งทีถ่ อื ได้ว่าเป็ นถนนสายประวัตศิ าสตร์เส้นทางหนึ่งใน
สมัยอาณานิ คมที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1809 โดยผู้ท่เี ป็ นคนต้นคิดการสร้างถนนสายนี้ ก็คือนายพลเฮอร์แ มน
วิลเลียม ดาเอนเดลส์ (Herman Willem Daendels) ข้าหลวงใหญ่ของอาณานิคมอินดีส โดยกล่าวกันว่า ถนนสาย
นี้เริ่มต้นจากทางตอนเหนือของเกาะชวาและทอดยาวไปสิ้นสุดที่ทางด้านปลายตะวัน ออกของเกาะชวา รวม
ระยะทางของถนนเส้นนี้มคี วามยาวทัง้ หมดเกือบ 1,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ถนนสายประวัตศิ าสตร์เส้นนี้ยงั ถือได้
ว่าเป็ นถนนสายแรกทีม่ คี วามยาวมากทีส่ ดุ ในโลกทีไ่ ด้สร้างขึน้ ในสมัยนัน้ อันอาจเปรียบเทียบได้กบั ถนนอีกสายหนึ่ง
ทีถ่ ูกสร้างขึน้ ในช่วงเวลาเดียวกันก็คอื ถนนสายอัมสเตอร์ดมั -ปารีสทีต่ ดั ผ่านเมืองทัง้ หมด 25 เมืองในยุโรปสร้างขึน้
โดยนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte)1 จึงกล่าวได้ว่าถนนทีน่ ายพลดาเอนเดลสร้างขึน้ นี้เป็ นถนนสาย
สาคัญหรือเป็ นถนนสายประวัตศิ าสตร์แห่งอาณานิคม เพราะนอกจากนัน้ ถนนสายนี้จะแสดงถึง การปฏิรูปและการ
พัฒนาของระบอบอาณานิคมอินดีสแล้วยังสร้างขึน้ จากความทุกข์ทรมานของชาวพืน้ เมืองทีถ่ ูกเกณฑ์ให้มาสร้าง

1 Pramoedya Ananta Toer, Jalan Raya Pos, Jalan Daendels (Jakarta: Lentera Dipantara, 2010), pp. 7-9.

240
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ถนน ถนนสายนี้จงึ เกิดขึน้ มาได้ดว้ ยชีวติ เลือดเนื้อและความลาบากของชาวพืน้ เมือง ซึง่ มักจมหายไปเป็ นเพียงฉาก
หลังในประวัติศาสตร์นิพนธ์เดียวกันกับอินดีสของดัตช์ หนังสือเล่มนี้จงึ เป็ นเสมือนการเปิ ดให้เห็นภาพแห่งการ
สูญเสียเลือดเนื้อและหยาดเหงื่อหยดน้าตาของชาวพืน้ เมือง
สิง่ ทีอ่ ยู่ภายในหนังสือเรื่องนี้คอื การทีป่ ราโมทยาดาเนินเรื่องโดยให้เป็ นการเล่าเรื่องประวัตขิ องเมืองต่างๆ
ที่ถนนสายนี้ตดั ผ่าน อันเสมือนเป็ นการแสดงถึงการนาเสนอรูปแบบของประวัตศิ าสตร์สงั คมของเมืองต่างๆ ใน
เกาะชวา โดยปราโมทยาได้เล่าเรื่องราวของเมืองต่างๆ ทีถ่ นนสายนี้ได้ตดั ผ่านทัง้ หมด กล่าวคือเมืองใหญ่ๆ ที่
ถนนสายนี้ตดั ผ่าน เช่น บาตาเวีย (Batavia) บันดุง (Bandung) เซอมารัง (Semarang) และสุราบายา (Surabaya)
นอกจากนัน้ ยังมีบรรดาเมืองเล็กๆ ทีไ่ ม่ค่อยเป็ นทีร่ จู้ กั ของคนทัวไปอย่
่ างเมืองจูวานา (Juwana), โปร็อง (Porong),
บางิล (Bangil) เป็ นต้น ปราโมทยาได้บรรยายถึงประวัตคิ วามเป็ นมาของบรรดาเมืองต่างๆ พร้อมกับบรรยายถึงสิง่
ทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ของแต่ละเมือง ดังนัน้ สิง่ ทีจ่ ะเห็นได้จากหนังสือเล่มนี้คอื ประวัตขิ องเมืองต่างๆ ทีถ่ นนสายนี้ได้ตดั
ผ่านและเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้เข้าไว้ดว้ ยกัน ทัง้ นี้ไม่ใช่มเี พียงแค่เรื่องของประวัตคิ วามเป็ นมาของเมืองเท่านัน้ แต่
ยังรวมถึงสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของแต่ละเมืองอีกด้วยหนังสือเรื่อง Jalan Raya Pos, Jalan Daendels
จึงมีความแตกต่างไปจากการเป็ นงานเขียนเชิงนวนิยายอื่นๆ ของปราโมทยา แต่เป็ นงานเขียนทีบ่ รรยายถึงประวัติ
ของเมือง และเรื่องราวทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจโดยมองผ่านเมืองต่างๆ ทีถ่ นนสายนี้ตดั ผ่าน
อีกหนึ่งผลงานทีท่ าการศึกษาประเด็นของข้าหลวงดาเอนเดลส์กบั การสร้างถนนสายนี้ คือ งานของปี เตอร์
แครี่ (Peter Carey) ในงานที่ ช่ื อ ว่ า Daendels and the Sacred Space of Java, 1808-1811: Political Relation,
Uniforms and the Postweg เป็ นการศึกษาประเด็นความสัมพันธ์ทางการเมืองของข้าหลวงใหญ่ดาเอนเดลส์ กับ
ราชสานักยอกยาการ์ตา โดยเน้นหลักไปทีค่ วามเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในชวา ทัง้ นี้ปีเตอร์ แครี่ ได้วเิ คราะห์
ผ่านภาพวาดของระเด่น สาและ (Raden Saleh) จิตรกรฝีมอื เอกทีไ่ ด้วาดภาพ Jalan Raya Pos
นอกจากนี้ ใ นวิท ยานิ พ นธ์ร ะดับ ปริญ ญาโทของอุ ม าพร พิช ัย รัก ษ์ เรื่อ ง การประดิษ ฐ์สร้างวีรบุรุษ :
ภาพลักษณ์เจ้าชายทีปนครในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย ได้มีการกล่าวถึง การเข้ามาของข้าหลวงดาเอนเดลส์ไว้
เช่นกัน กล่าวคือ การเข้ามาของดาเอนเดลส์ทาให้ความสันคลอนและความขั
่ ดแย้งทางการเมืองของราชสานักชวา
ปรากฏชัดเจนขึน้ เนื่องจากการเมืองภายในราชสานักชวาเกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างกัน ดังนัน้ การเข้ามา
แทรกแซงทางการเมืองของเจ้าอาณานิคมดัตช์ จึงส่งผลให้ราชสานักชวา ต้องล่มสลายลงในทีส่ ดุ
Jalan Raya Pos ถือได้ว่าเป็ นถนนสายประวัตศิ าสตร์แห่งนูสนั ตารา อาจกล่าวได้ว่าเรื่องราวในอดีตของ
ประเทศอินโดนีเซียถูกนาเสนอผ่านถนนสายนี้ จนถูกยกย่องว่าเป็ นถนนสายประวัตศิ าสตร์ และจากงานทัง้ สามชิน้
พอที่จะอธิบายให้เห็นถึงความสาคัญของถนนสายประวัตศิ าสตร์น้ีได้ รวมไปจนถึงบทบาทข้าหลวงใหญ่ดาเอน
เดลส์ผคู้ ดิ โครงการสร้างถนนสายนี้ พร้อมทัง้ บริบทโดยทัวไปในยุ
่ คสมัยอาณานิคม
ดังนัน้ บทความชิน้ นี้จงึ ต้องการศึกษาประวัตศิ าสตร์ความเป็ นมาของถนนสายประวัตศิ าสตร์ Jalan Raya
Pos เพื่อทาการมองประวัติศาสตร์อนิ โดนีเซียในช่วงยุคอาณานิคม รวมถึงบริบทในยุคปั จจุบนั ที่ถนนสายนี้ไ ด้
สะท้อนผ่านหนังสือความเรียงทางประวัตศิ าสตร์ของปราโมทยา

241
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Jalan Raya Pos: ถนนสำยประวัตศิ ำสตร์แห่งนูสันตำรำ


Jalan2 Raya Pos (จารัน รายา โปส) หรือ De Grote Postweg คือ ชื่อถนนสายหนึ่งทีถ่ อื ได้ว่าเป็ นถนน
สายประวัตศิ าสตร์เส้นทางหนึ่งในสมัยอาณานิคมทีถ่ ูกสร้างขึน้ เมื่อ ค.ศ. 1809 และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1810 ดา
เอนเดลส์ขา้ หลวงใหญ่ของอาณานิคมอินดีส ลาดับที่ 36 โดยคิดโครงการทีจ่ ะสร้างถนนเส้นนี้ ด้วยการเริม่ ต้นทาง
จากเมืองอันเยอร์ (Anyer) และไปสิน้ สุดทีเ่ มืองปานารูกนั (Panarukan)3

แผนที่เกาะชวา โดยจะเห็นถึงความยาวของ Jalan Raya Pos


ที่มา: https://bacaanbzee.wordpress.com/2012/08/22/jalan-daendels-pramoedya-ananta-toer
Jalan Raya Pos ได้ตดั ผ่านเมืองทัง้ หมด 41 เมือง4 ตัง้ แต่ทางเหนือของเกาะชวาและไล่จนมาถึงอีก
ปลายอีกฝั ง่ หนึ่ง โดยมาสิน้ สุดทีเ่ มืองปานารูกนั อย่างทีไ่ ด้กล่าวไว้ขา้ งต้น หากดูตามแผนทีเ่ กาะชวา เมืองปานารู
กันนี้จะตัง้ อยู่ปลายสุดของเกาะชวาทางตอนเหนือ ถนนสายนี้ตดั ผ่านเมืองใหญ่ไม่ว่าจะเป็ นบาตาเวียหรือจาการ์ตา
ในปั จจุบนั เมืองเซอมารัง อันเป็ นเมืองหลวงของชวากลาง สุราบายา เมืองใหญ่อกี เมืองทางฝั ง่ ชวาตะวันออก จะ
เห็นได้ว่าถนนเส้นนี้ตดั ผ่านหลายเมืองในเกาะชวา ทาให้เกิดการเชื่อมโยงกันของแต่ละเมือง การเดินทางระหว่าง
กันมีความสะดวกสบายมากขึน้ นอกจากนี้ในทุกๆ 4- 5 กิโลเมตร จะมีการจัดตัง้ ตู้ไปรษณีย์ ทัง้ นี้กเ็ สมือนเป็ นที่
หยุดพักและเพื่อใช้เป็ นทีเ่ ชื่อมโยงในการส่งจดหมาย
อย่างไรก็ตาม เป้ าหมายของ Jalan Raya Pos ก็เพื่อเร่งในเรื่องการสื่อ สารคมนาคมในดินแดนที่อ ยู่
ภายใต้การปกครองของข้าหลวงดาเอนเดลส์ทม่ี รี ะยะทางmอดยาวไปทัวทั ่ ง้ เกาะชวา และทัง้ นี้กเ็ พื่อเก็บรักษาเกาะ
ชวาจากการเข้ายึดครองของอังกฤษ โดยทัง้ นี้ดาเอนเดลส์จาเป็ นต้องมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งและทรงอานาจ
ดาเอนเดลส์ได้สร้างกองกาลังที่ดงึ เอาชาวพื้นเมืองมาเป็ นพลทหาร หลังจากนัน้ เขาได้สร้างโรงเรียนฝึ กทหารที่
บาตาเวียและสร้างโรงผลิตอาวุธทีเ่ ซอมารัง อาจกล่าวได้ว่า การเข้ามาปกครองของชาติตะวันตกเป็ นการนาความ
เจริญเข้ามาในดินแดนของชาวพืน้ เมือง ความทันสมัยของเทคโนโลยีทาให้ชาวพืน้ เมืองมีความเป็ นอยู่ทด่ี ขี น้ึ จาก
การทีถ่ นนสายนี้ถูกให้สร้างขึน้ ก็ทาให้การเดินทางไปมาหากันของชาวพืน้ เมืองในเกาะชวามีความสะดวกมากขึน้
อันทีจ่ ริงการสร้างถนนสายนี้กเ็ พื่อเอือ้ อานวยความสะดวกให้กบั เหล่าเจ้าอาณานิคม เพื่อย่นระยะทางการเดินทาง
ไปมาภายในเกาะชวาให้สนั ้ ลง

ภาพการสร้าง Jalan Raya Pos


2 Jalan ในภาษาอินโดนีเซีย หมายถึง ถนน
3Carey, Peter, Daendels and the Sacred Space of Java,1808-1811: Political Relations, Uniforms and the Postweg, (2013) p.5.
4รายชือ
่ เมืองต่างๆ สามารถเข้าไปดูได้ในลิงค์นhttp://www.kaskus.co.id/thread/50ebf97e621243de7f000006/must-see-mengenal-jalan-raya-pos-
anyer---panarukan/

242
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ที่มา: http://www.bogorheritage.net/2015/08/jalan-raya-pos-saksi-bisu-si-tangan.html
ในปั จจุบนั Jalan Raya Pos ถูกใช้เป็ นเส้นทางจราจรระหว่างฝั ง่ ทะเลทางตอนเหนือ Jalan Raya Pos
เปรียบเสมือนเป็ นเส้นทางหลักทางบกทีเ่ ชื่อมโยงเส้นทางหลักบนเกาะชวาอย่างเมืองจาตีเนการา (Jatinegara)
ไปจนถึงทางใต้ผ่านเมืองโบกอร์ (Bogor) และเชื่อมโยงไปยังทางชวาตะวันออก ผ่านเมืองบันดุง เมืองจีอนั จูร
(Cianjur) เมืองซูเมอดัง (Sumedang) และ เมืองเชอริบอน ซึง่ ถือเป็ นถนนสายหลักทีค่ นอินโดนีเซียใช้เป็ นเส้นทาง
คมนาคมในเกาะชวา นับเป็ นถนนสายสาคัญของอินโดนีเซียสายหนึ่ง อย่างไรก็ตามการสร้างถนนสายนี้กต็ ้องแลก
มาด้วยชีวติ เลือดเนื้อ และหยาดเหงื่อของแรงงาน กรรมกร ทีต่ ้องทางานอย่างแสนสาหัส เพราะได้ถูกเกณฑ์เพื่อ
มาสร้างถนนสายนี้

เฮอร์แมน วิลเลียม ดำเอนเดลส์: บทบำทข้ำหลวงใหญ่แห่งดัตช์อีสอินดีส


อินโดนีเซียหรือหมู่เกาะอินดีสในเวลานัน้ อยู่ภายใต้อานาจของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ หรือ
VOC ที่ขยายอานาจเข้าควบคุมทัวทั ่ ง้ เกาะชวา บทบาทของสุลต่านของชวาก็เริม่ หมดอานาจลง เปลี่ยนมือไปสู่
การปกครองของชาติตะวันตก แต่หลังจากทีม่ กี ารตรวจสอบว่า บริษทั อินเดียตะวันออกของดัตช์กาลังล้มละลาย
ทางรัฐบาลดัตช์จงึ เข้ายึดครอง แต่ทว่าฝรังเศสได้
่ เข้ายึกครองฮอลันดาได้สาเร็จในเดือนมกราคมในปี 1800 ทาให้
รัฐบาลทีอ่ ยู่ภายใต้การควบคุมของฝรังเศส
่ ได้ประกาศยุบเลิกบริษทั อินเดียตะวันออกของดัตช์ในทีส่ ุด นับว่าเป็ น
การถ่ายโอนอานาจหมู่เกาะอินดีสมาอยู่ภายใต้อานาจของรัฐบาลจักรวรรดิเนเธอร์แลนด์แทน และระบบอาณานิคม
อย่างเต็มรูปแบบ5
จนรัฐบาลดัตช์ภายใต้อานาจฝรังเศสได้
่ ส่งนายพลเฮอร์แมน วิลเลียม ดาเอนเดลส์ เข้ามาเป็ นข้าหลวง
ใหญ่ปกครองบาตาเวียใน ค.ศ. 1808 เพื่อสร้างฐานให้บาตาเวียเป็ นป้ อมปราการของฝรังเศสในการต่
่ อสูก้ บั อังกฤษ
ในย่านมหาสมุทรอินเดีย ในฐานะผูย้ กย่องอุดมการณ์และหลักการปฏิวตั ขิ องฝรังเศส
่ ทาให้ดาเอนเดลส์กลายเป็ น
คนแรกๆ ทีพ่ ยายามปฏิรูประบบราชการในอาณานิคมชวา ซึง่ แม้ว่าจะได้รบั การต่อต้านอย่างมากในช่วงนัน้ จาก
กลุ่มราชสานัก แต่ในภายหลังก็ได้รบั การยกย่องเป็ นนักปฏิรูประบอบอาณานิ คมคนแรกๆ6 ท่านดารงตาแหน่ ง
เป็ นข้าหลวงใหญ่ในชวาระหว่าง ค.ศ.1808-1811 โดยในช่วงเวลานัน้ ฮอลันดาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรังเศส ่ 7

5 ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม, ประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซีย: รัฐจารีตบนหมูเ่ กาะ ความเป็ นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย (กรุงเทพฯ:
เมืองโบราณ, 2555) หน้า 87-88.
6 ทวีศก ั ดิ ์, ประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซีย: รัฐจารีตบนหมูเ่ กาะ ความเป็ นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย, หน้า 88.
7 Jalan Raya Pos, jalan bersejarah terkejam di Nusantara เข้าถึงเมือ ่ 1 พฤษภาคม 2016, url: (http:// www.merdeka.com/peristiwa / jalan-raya-
pos-jalan-bersejarah-terkejam-di-nusantara.html)

243
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อย่างทีไ่ ด้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ซึง่ ช่วงทีป่ กครองในหมู่เกาะอินดีส มีเหตุการณ์มากมายทีด่ าเอนเดลส์เข้าร่วม ส่วน


สิง่ ทีเ่ ป็ นทีร่ จู้ กั จากผลงานของเขาก็คอื โครงการสร้าง Jalan Raya Pos
โดยที่ดาเอนเดลส์ได้ออกคาสังให้
่ ผปู้ กครองท้องถิ่นระดมพลให้พวกชาวพืน้ เมืองมาเป็ นกรรมกรสร้าง
ถนนทีม่ คี วามยาวหลายกิโลเมตร และจากระบบการทางานหนัก อันปราศจากความเมตตาปราณีของดาเอนเดลส์
ทาให้ถนนแห่งนี้ถูกสร้างเสร็จภายในหนึ่งปี 8 ซึ่งเป็ นหนึ่งในความสาเร็จทีไ่ ม่ธรรมดาของยุคสมัยนัน้ อย่างไรก็
ตาม ถนนสายนี้ทาให้ระยะเวลาในการเดินทางสัน้ ลง กล่าวคือ ก่อนทีจ่ ะสร้างถนน การเดินทางจากสุราบายาไปยัง
บาตาเวียหรือจาการ์ตา ต้องใช้เวลาถึง 40 วัน และเมื่อมีถนนสายนี้ขน้ึ มา ทาให้ยน่ ระยะเวลามาเพียงแค่ใช้เวลา 7
วันในการเดินทางเท่านัน้

ภาพของดาเอนเดลส์ท่ กี าลังควบคุมการก่อสร้าง Jalan Raya Pos


ที่มา: http://historia.id/kuno/sepuluh-fakta-di-balik-pembangunan-jalan-daendels-dari-anyer-ke-panarukan
นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ในการเป็ นผู้คดิ โครงการสร้างถนนแล้วนัน้ ยังมีเหตุการณ์สาคัญอย่างอื่น
กล่าวคือ ช่วงที่ดาเอนเดลส์เข้าดารงตาแหน่ งยัง เป็ นช่วงที่นโปเลีย นยึดครองฮอลัน ดา โดยมีความพยายาม
แทรกแซงกิจการภายในของราชสานักชวามากขึน้ ทว่าดาเอนเดลส์กย็ งั ไม่สามารถมีอานาจเหนือพืน้ ทีใ่ นส่วนของ
ชวากลางและชวาตะวันออกอย่างแท้จริง บ่อยครัง้ ทีฮ่ อลันดาพยายามใช้ปัญหาตามชายแดนเพื่อกดดันสุลต่าน
แฮมังกูบูวอนอที่ 2 และราชสานักยอกยาการ์ตา เช่น ปั ญหาด้านแรงงานทีก่ ่อให้เกิดการปล้นสะดม ยิง่ ไปกว่านัน้
ดาเอนเดลส์ย ัง พยายามใช้เ วลาช่ ว งแรกที่ก าลัง เรือ งอ านาจสร้า งฐานอ านาจทางทหารในชวากลางแ ละชวา
ตะวันออก ดังที่มีการบันทึกไว้ในบาบัด “ทีปนคร” ฉบับเมอนาโดเอาไว้ว่า ดาเอนเดลส์แจ้งให้สุลต่ านทราบว่า
ตนเองมีโครงการที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวยังชวากลางและชวาตะวัน ออก โดยจะเดินทางมาขึ้นฝั ง่ ณ เมือง
เซอมารัง พร้อมกับกองกาลังทหารขนาดใหญ่ และต้องการให้คณะผูแ้ ทนจากราชสานักชวากลางออกไปต้อนรับ ณ
เมืองเซอมารัง9
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในดินแดนชวาเมื่อช่วง ปี ค.ศ. 1808 อันเป็ นช่วงเวลาเดียวกับทีด่ าเอนเดลส์
เข้ามารับตาแหน่งข้าหลวงใหญ่ กล่าวได้ว่าคือจุดเริม่ ต้นแห่งการล่มสลายของดินแดนชวา ในช่วงการปกครองของ
ดาเอนเดลส์ กล่าวคือ ในช่วงก่อนทีด่ าเอนเดลส์จะเข้ามารับตาแหน่ งข้าหลวงใหญ่ ราชสานักชวาได้มปี ั ญหาแยก

8 Aries Munandi Feature, Jalan Raya Pos saksi bisu si tangan besi Daendels. เข้าถึงเมือ่ 1 พฤษภาคม 2016; url: (http://
www.bogorheritage.net/2015/08/jalan-raya-pos-saksi-bisu-si-tangan.html)
9 อุมาพร พิชย
ั รักษ์, การประดิษฐ์สร้างวีรบุรษุ : ภาพลักษณ์เจ้าชายทีปนครในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย, วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ศกึ ษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, หน้า25-26.

244
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ออกเป็ นสองฝ่ าย และยิ่ง เป็ นการตอกย้าเมื่อดาเอนเดลส์เข้าดารงตาแหน่ ง พร้อมทัง้ เริ่มมีการตัง้ นโยบายทาง


การเมืองต่างๆ ซึง่ หนึ่งในนัน้ คือ การสร้างถนน โดยดาเอนเดลส์มอบหมายให้บูบาตี เกณฑ์แรงงานชาวพืน้ เมือง
ทาให้อานาจของบูบาตีลดลง ผลประโยชน์ได้ตกอยู่ในมือของดัตช์ กรณีท่เี ห็นได้ชดั อันเป็ นปมแห่งความขัดแย้ง
ทางการเมือง ก็คอื การตัดถนนผ่านทีด่ นิ ของเจ้าชายทีปนคร ซึง่ ในเหตุการณ์น้มี กี ลุ่มสองกลุ่ม คือ ฝ่ ายทีส่ นับสนุ น
ดัตช์ และฝ่ ายทีต่ ่อต้านดัตช์ โดยกลุ่มทีต่ ่อต้านดัตช์มองว่า ดาเอนเดลส์จะมาชิงผลประโยชน์ของราชสานักชวา จึง
เกิดการประท้วง แต่ทว่าการประท้วงในครัง้ นัน้ ก็ไม่สาเร็จ
ในปี ค.ศ. 1810 ดาเอนเดลส์และดัตช์กม็ บี ทบาทอยู่ในยอกยาการ์ตาได้ไม่นานนักก็เกิดการเปลีย่ นแปลง
ครัง้ ใหญ่ เนื่องจากเกิดเหตุ การณ์ การบุกยึด เนเธอร์แลนด์ของฝรังเศสได้
่ ส่งผลกระทบต่ อหมู่เกาะอิน ดีสและ
กลายเป็ นจุดเปลีย่ นอีกครัง้ ของชวาเช่นกัน เมื่อพระเจ้าวิลเลียมที่ 5 แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้อพยพหนีไปพานักอยู่
10

ในอังกฤษ และเพื่อเป็ นการรักษาไม่ให้อาณานิคมของดัตช์ตกอยู่ภายใต้อานาจของฝรังเศสที ่ ย่ ึดครองเนเธอร์แลนด์


ในขณะนัน้ พระองค์จงึ ออกจดหมายแจ้ง ไปยังข้าราชการอาณานิคมดัตช์ทงั ้ หมดให้ส่งมอบอานาจอธิปไตยให้แก่
อังกฤษ อันเป็ นผลให้องั กฤษส่งกองเรือเข้ายึดบาตาเวียจากฝรังเศสและเข้
่ ามาปกครองเขตพืน้ ทีข่ องดัตช์บริเวณ
หมู่เกาะชวาได้สาเร็จในปี ค.ศ. 1811 การเข้ามาของอังกฤษซึ่งนาโดยโทมัส แสตมฟอร์ด ราฟเฟิ ล (Thomas
Stamford Raffles) ข้าหลวงคนใหม่กเ็ ข้ามาปกครองเกาะชวาและเขตปริมณฑลหมู่เกาะใกล้เคียง11
จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าทีข่ องดาเอนเดลส์ มีสว่ นทีท่ าให้ฝ่ายเจ้าอาณานิคมได้รบั ผลประโยชน์อยู่ไม่น้อย
ในช่วงเวลา 3 ปี ทีด่ าเอนเดลส์ปกครองหมู่เกาะอินดีส โดยทีเ่ ขามีส่วนสาคัญทีเ่ ข้าไปเปลีย่ นแปลงระบบการเมือง
การปกครองของสุลต่านชวา จนทาให้เกิดความสันคลอนภายในราชส
่ านักชวา

Jalan Raya Pos: ในฐำนะเรื่องเล่ำของถนนสำยประวัติศำสตร์


กล่าวถึง ณ ตอนนี้ เรื่องราวของถนนประวัตศิ าสตร์สายนี้เริม่ เป็ นทีร่ จู้ กั มากขึน้ ถนนสายสาคัญทีถ่ ูกสร้าง
ขึน้ มาในสมัยอาณานิคมดัตช์ ด้วยฝีมอื แรงงานชาวพืน้ เมืองทีถ่ ูกเกณฑ์มาสร้างถนน การสร้างถนนขึน้ บนเกาะชวา
ก็เพื่ออานวยความสะดวกในการเดินทาง และเพื่อต้องการนาเอาความทันสมัยของเทคโนโลยีให้ถูกนาเข้ามาในหมู่
เกาะอินดีส โดยล้วนแล้วต้องการพัฒนาและสร้างความสะดวก ให้กบั เจ้าอาณานิคมดัตช์ทเ่ี ข้ามาปกครองหมู่เกาะ
อินดีสหรืออินโดนีเซียในปั จจุบนั อย่างที่รู้กนั ว่า แต่ทว่าการสร้างถนนก็ตามมาด้วยประเด็นปั ญหาในเรื่องของ
ผลประโยชน์ จากทีไ่ ด้กล่าวไว้เมื่อข้างต้นทีผ่ ่านมา
อินโดนีเซียเป็ นประเทศหมู่เกาะทีม่ เี กาะน้อยใหญ่หลายพันเกาะ ดังนัน้ หากพูดถึงการคมนาคมจึงมีความ
ลาบากพอสมควร ถนนสายดังกล่าวเป็ นถนนทีส่ ร้างขึน้ ในเกาะชวา อันเป็ นเกาะหลักสาคัญเกาะหนึ่งในอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียมีเกาะทัง้ หมดอยู่ประมาณพันกว่าเกาะ แต่มเี กาะใหญ่สาคัญอยู่ประมาณ 5 เกาะ ได้แก่ เกาะชวา เกาะ
สุมาตรา กาลิมนั ตัน (บนเกาะบอร์เนียว) เกาะสุลาเวสี และเกาะอิเรียนจายา ในส่วนของเกาะชวาถือเป็ นเกาะใหญ่
ทีส่ าคัญ เพราะเป็ นศูนย์กลางการปกครองในสมัยอาณานิคมคือ บาตาเวียหรือ กรุงจาการ์ตาอยู่ทเ่ี กาะชวา ความ
พิเศษของถนนสายนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เป็ นถนนทีต่ ดั ผ่านเมืองหลายเมืองในชวาเท่านัน้ แต่ทว่าเมืองแต่ละเมืองทีถ่ นน
เส้นนี้ตดั ผ่านมีความพิเศษเฉพาะด้านของแต่ละเมืองอยู่

10 อุมาพร พิชยั รักษ์, การประดิษฐ์สร้างวีรบุรษุ : ภาพลักษณ์เจ้าชายทีปนครในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย, วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเอเชีย


ตะวันออกเฉียงใต้ศกึ ษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, หน้า 28.
11 ทวีศก
ั ดิ ์ เผือกสม, ประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซีย: รัฐจารีตบนหมูเ่ กาะ ความเป็ นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย (กรุงเทพฯ:
เมืองโบราณ, 2555 ) หน้า 89-90.

245
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เมื่อศึกษาประวัตศิ าสตร์ของ Jalan Raya Pos ผ่านความเรียงทางประวัตศิ าสตร์ของปราโมทยา พบว่า


งานชิน้ นี้ได้ทาการศึกษาเมืองหลักๆ ที่ Jalan Raya Pos ได้ตดั ผ่าน โดยเป็ นการอธิบายลักษณะเรื่องเล่า ผ่านตัว
ของปราโมทยา ซึง่ มีโอกาสได้ไปเยือนเมืองต่างๆ และนามาบันทึกเป็ นลักษณะความเรียงทางประวัตศิ าสตร์
ปราโมทยาเล่าประวัตคิ วามเป็ นมาของเมืองเหล่านัน้ ด้วยการพยายามกล่าวถึงลักษณะเด่นเฉพาะของแต่
ละเมือง จึงทาให้ได้รบั รู้เรื่องราวของเมืองต่างๆ อันเป็ นข้อมูลทีม่ คี วามน่ าสนใจ ตัวอย่างเช่น เมืองจุดเริม่ ต้นของ
ถนนสายนี้ คือ เมืองอันเยอร์ โดยปราโมทยาอธิบายว่า เมื่อดาเอนเดลส์ได้มาเยือนเมืองแห่งนี้เป็ นครัง้ แรก พบว่า
เป็ นสถานทีพ่ บกันระหว่างเรือใบจากจีนทีแ่ ล่นมาเพื่อจอดพัก และหลังจากนัน้ ก็จะแล่นเรือต่อไปยังตะวันตก12 นัน่
หมายความว่า เมืองอันเยอร์เป็ นเมืองท่าจอดพักของเรือสินค้า ถนนสายนี้ยงั คงตัดผ่านเมืองต่างๆ เรื่อยมาเพื่อไป
สิ้นสุดที่เมืองปานารูกนั อีกตัวอย่างหนึ่งที่ปราโมทยาได้กล่าวถึงคือ เมื่อ Jalan Raya Pos ตัดผ่านมาถึงเมือง
ตังเกอรัง (Tangerang) ปราโมทยาได้อธิบายถึงความสาคัญของเมืองนี้ไว้ว่า เมืองตังเกอรัง ในสมัยอาณานิคมนัน้
รัฐบาลอาณานิ ค มดัต ช์ไ ด้ขายที่ดิน ที่เ มือ งแห่งนี้ ให้กบั คนถึง 70 คน ซึ่ง ส่ว นใหญ่ เ ป็ น คนจีน นอกจากนี้ เ มือง
ตังเกอรัง ยังเป็ นแหล่งปลูกถัว่ เหลือง ทาให้เมืองนี้กลายเป็ นดิน แดนที่ผลิตซอสหวาน (Kecap) มาตัง้ แต่ ช่วง
อาณานิคมแล้ว13 เมืองนี้ยงั มีความสาคัญต่อปราโมทยา เนื่องจากในช่วงที่ถูกจับ เขาได้เคยมาอยู่ทเ่ี มืองนี้ และ
ในช่วงเวลานัน้ เขาถูกบังคับให้ทางานหนัก บังคับให้ทาการเพาะปลูก และบรรดาเพื่อนนักโทษด้วยกันเองก็เป็ น
สักขีพยานที่เล่าถึงเรื่องความหิวโหย ในปั จจุบนั เมืองนี้กลายเป็ นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองค้าขาย 14 อีกเมืองทีม่ ี
ความสาคัญในเชิงประวัตศิ าสตร์นนคื ั ่ อเมือง เซอรัง (Serang) เป็ นเมืองลาดับถัดมาจากเมืองบันเต็นที่ Jalan Raya
Pos ตัดผ่าน เมืองเซอรังเป็ นสถานทีท่ อ่ี ยู่ในประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซีย โดยปรากฏอยู่ในงานของ Max Havelaar ที่
พูดถึงมูลตาตูลี ชาวพืน้ เมืองทีเ่ รียกร้องขอความเป็ นธรรม ในนวนิยายมีการกล่าวถึงเมืองแห่งนี้ นอกจากนัน้ ยังเป็ น
บ้านเกิดของชาวพื้นเมืองคนแรกที่มีโอกาสได้เข้าไปเป็ นสมาชิกของสภาอินเดียตะวันออก (Anggota Dewan
Hindia)15
จะเห็นได้ว่าปราโมทยากาลังบอกเล่าเรื่องราวประวัตคิ วามเป็ นมาของเมืองต่างๆ ที่ Jalan Raya Pos ได้
ตัดผ่าน อันเป็ นเรื่องราวข้อมูลของแต่ละเมืองทีแ่ สดงให้เห็นถึงสภาพทัวไป ่ ลักษณะเด่นของแต่ละเมืองซึง่ มีจุดเด่น
แตกต่างกันออกไป นันก็ ่ เพื่อเป็ นการย้าให้ชดั ว่า ถนนสายนี้ได้เชื่อมโยงเมืองต่างๆ ให้มคี วามสัมพันธ์กนั แสดงให้
เห็นว่าการสร้างถนนสายนี้ขน้ึ มาเพื่อเอือ้ อานวยความสะดวกให้กบั ชาวพืน้ เมืองในการไปมาหาสู่กนั นอกจากนัน้
ยังเป็ นผลดีในการติดต่อซือ้ ขายเพราะ แต่ละเมืองทีถ่ นนสายนี้ตดั ผ่านมีสนิ ค้าเด่นประจาเมืองเกือบทุกเมือง

ภาพปกหนังสือ Jalan raya pos, jalan daendels


ผลงานเขียนของปราโมทยา อนันตา ตูร์
ที่มา : http://www.goodreads.com/book/show/1460788.Jalan_Raya_Pos_Jalan_Daendels

12 Pramoedya Ananta Toer, Jalan Raya Pos, Jalan Daendels (Jakarta: Lentera Dipantara, 2010), p. 29.
13 Pramoedya Ananta Toer, Jalan Raya Pos, Jalan Daendels, pp. 40-41.
14 Pramoedya Ananta Toer, Jalan Raya Pos, Jalan Daendels, p. 42.
15Pramoedya Ananta Toer, Jalan Raya Pos, Jalan Daendels (Jakarta: Lentera Dipantara, 2010), pp. 38-39.

246
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ท้ายทีส่ ุดถนนสายนี้แสดงถึงการปฏิรูปและการพัฒนาของระบอบอาณานิคมอินดีสทีส่ ะท้อนถึงความเป็ น


สมัยใหม่ แต่ทว่าสร้างขึน้ จากความทุกข์ทรมานของชาวพืน้ เมืองทีถ่ ูกเกณฑ์ให้มาสร้างถนน ถนนสายนี้จงึ เกิด
ขึน้ มาได้ดว้ ยชีวติ เลือดเนื้อและความลาบากของชาวพืน้ เมือง ซึง่ มักจมหายไปเป็ นเพียงฉากหลังในประวัตศิ าสตร์
นิพนธ์เดียวกันกับอินดีสของดัตช์ หนังสือเล่มนี้จงึ เป็ นเสมือนการเปิ ดให้เห็นภาพแห่งการสูญเสียเลือดเนื้อและ
หยาดเหงื่อหยดน้ าตาของชาวพืน้ เมือง และพร้อมทัง้ เป็ นสักขีพยานถึงกล่าวถึงเหตุการณ์ทท่ี าร้ายมนุ ษย์ด้วยกัน
เอง และถือ เป็ น หนึ่ ง ในเรื่อ งเล่ า ของโศกนาฏกรรมในพื้น แผ่ น ดิน ดัต ช์อีส อิน ดีส ที่ค วรถู ก บัน ทึก ไว้ใ นหน้ า
ประวัตศิ าสตร์ยุคอาณานิคมของอินโดนีเซีย

บทสรุ ป
ถนนสายประวัตศิ าสตร์สายนี้ทาให้เห็นถึงเส้นทางของช่วงเวลาตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบนั ที่สะท้อนผ่าน
ประเด็นต่างๆ ถนนสายนี้ไม่ใช่เพียงแค่สร้ างขึน้ เพื่อการคมนาคมที่สะดวกสบายขึน้ แต่ทว่าเป็ นการสร้างความ
เชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางกับชนบทภายนอกเข้าไว้ดว้ ยกัน ในยุคสมัยอาณานิคมเป็ นยุคสมัยทีน่ าความเจริญเข้า
มาในหมู่เกาะอินดีส เจ้าอาณานิคมดัตช์นาพาความทันสมัยเข้าสู่ดนิ แดนแห่งนี้ การเข้ามาของชาติตะวันตกได้
เปลี่ย นแปลงพื้นฐานการดารงชีวิต ของชาวพื้น เมือ งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น การสร้า งถนนสายนี้ได้
เชื่อมโยงให้การเดินทางไปมาหาสู่กนั ภายในเกาะชวาได้อย่างสะดวกขึน้ แต่ทว่าเบือ้ งหลังของการสร้างถนนสายนี้
ต้องแลกมากับเลือดเนื้อชีวติ ของผูค้ นหลายร้อยคน ทีต่ อ้ งจบชีวติ ลงจากการทางานอย่างหนัก ถนนสายนี้จงึ เป็ นสิง่
สะท้อนเรื่องเล่าของยุคสมัยอาณานิคมได้เป็ นอย่างดี

บรรณำนุกรม
หนังสือ
ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม. 2555. ประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซีย: รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็ นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และ
แห่งความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
อุมาพร พิชยั รักษ์. 2556. “การประดิษฐ์สร้างวีรบุรุษ: ภาพลักษณ์เจ้าชายทีปนครในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย.”
วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศกึ ษา, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Carey, Peter. 2013. Daendels and the Sacred Space of Java,1808-1811: Political Relations, Uniforms and
the Postweg.
Pramoedya Ananta Toer. 2010. Jalan Raya Pos, Jalan Daendels. Jakarta: Lentera Dipantara.

อินเ อร์เน็
Aries Munandi Feature, Jalan Raya Pos saksi bisu si tangan besi Daendels. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม
2016; url: (http:// www.bogorheritage.net/2015/08/jalan-raya-pos-saksi-bisu-si-tangan.html)
Jalan Raya Pos. เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2016; url: (http://id.wikipedia.org/wiki/Jalan_Raya_Pos)
Jalan Raya Pos, jalan bersejarah terkejam di Nusantara. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016, url: (http://
www.merdeka.com/peristiwa / jalan-raya-pos-jalan-bersejarah-terkejam-di-nusantara.html)

247
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

248
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P5-R1-03

นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน


การพิ นิ จ ด้ ว ยกระบวนทั ศ น์ ห ลั ง อาณานิ ค ม

ธงชั ย แซ่ เจี่ย


สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

249
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ควำมนำ
เมื่อประเทศต่างๆ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องรวมตัวกันเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็ นประชาคม
อาเซียน (ASEAN Community) นัน้ การสร้างความเข้าใจด้านต่ างๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิกถือเป็ นเรื่องสาคัญ
เพราะการรวมตัวเป็ นประชาคมอาเซีย นนัน้ ก็เพื่อเพิ่มอ านาจต่ อ รองและขีดความสามารถการแข่งขันบนเวที
ระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อเพิม่ ความสามารถในการรับมือกับปั ญหาใหม่ๆ ทีอ่ าจส่งผลกระทบถึงภูมภิ าค บรรดา
ประเทศสมาชิกได้รบั รองเอกสาร “วิสยั ทัศน์อาเซียน 2020” โดยกาหนดเป้ าหมายว่า อาเซียนจะเป็ นวงสมานฉันท์
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็ นหุน้ ส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต มุ่งปฏิสมั พันธ์กบั ประเทศภายนอก และเป็ น
ชุมชนแห่งสังคมทีเ่ อือ้ อาทร (ประชาคมอาเซียน 2555, 1-4)
การสร้างความเข้าใจในกลุ่มประเทศสมาชิกมีวธิ กี ารทีห่ ลากหลาย “โครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียน”
นับเป็ นวิธกี ารหนึ่ง โครงการดังกล่าวเริม่ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2552 โดยสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
สร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียน ให้สมาชิกแต่ละประเทศได้เรียนรูซ้ ง่ึ
กันและกัน อันจะนาไปสู่ความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน มัน่ คง มังคั ่ ง่ และมีสนั ติภาพทีย่ งยื
ั ่ น โครงการดังกล่าวได้
มอบหมายให้ “ประภัสสร เสวิกุล” เป็ นผูด้ าเนินโครงการโดยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้เพื่อศึกษาชีวติ ความเป็ นอยู่และวัฒนธรรม พร้อมเยีย่ มชมสถานทีต่ ่างๆ และพบปะบุคคลสาคัญในแต่ละประเทศ
(ลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ 2555, 3-4) หากนับถึงปั จจุบนั นวนิยายในโครงการดังกล่าวมีจานวน 6 เล่ม
นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน เป็ นนวนิยายเล่มที่ 3 ในโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนทีก่ ล่าวถึง
ข้า งต้น เนื้ อ หาของนวนิ ย ายกล่ า วถึง “รงค์ ชยายุ ท ธ” อาจารย์ช าวไทยซึ่ง เดิน ทางไปศึก ษาดูงานด้า นสังคม
สงเคราะห์พร้อมคณะเดินทางทีป่ ระเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ ในวันทีไ่ ปยังสถานสงเคราะห์คนชราแห่งหนึ่ง เขาได้พบกับ “อลิ
เซีย” สตรีชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ซง่ึ ร้องเพลงไทยออกมาเมื่อทราบว่าคณะเดินทางนัน้ เป็ นชาวไทย แต่ยงั ไม่ทนั ทีร่ งค์ ชยา
ยุทธจะได้รจู้ กั หรือสนทนากับอลิเซียมากไปกว่านัน้ อลิเซียก็เสียชีวติ ลง สถานสงเคราะห์แห่งนัน้ ได้มอบสมุดบันทึก
ของอลิเซียให้รงค์ ชยายุทธ เนื่องจากในสมุดบันทึกเล่มนัน้ กล่าวถึงชีวติ ของอลิเซียซึง่ สัมพันธ์กบั ชาวไทยบางช่วง
ขณะ เป็ นเหตุให้รงค์ ชยายุทธเริม่ ติดตามความทรงจาของอลิเซียและได้ค้นพบว่าอลิ เซียเคยมีความสัมพันธ์กบั
บรรพบุรุษของตน การค้นพบดังกล่าวสร้างความปี ตแิ ละความเข้าใจชีวติ ให้แก่รงค์ ชยายุทธในทีส่ ดุ
ความน่ าสนใจของนวนิยายเรื่องนี้คอื การนาเสนอเรื่องราวโดยมีฟิลปิ ปิ นส์ทงั ้ ในอดีตและปั จจุบนั เป็ นฉาก
ท้องเรื่อง ซึง่ ไม่ปรากฏบ่อยนักในวรรณกรรมไทย ทัง้ ยังเป็ นนวนิยายเพียงเล่มเดียวในโครงการ ทีน่ าเสนอเรื่องราว
ผ่านสมุดบันทึกซึ่งบันทึกความทรงจาของตัวละครที่มตี ่อเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตก่อนเสียชีวติ ไว้ น่ าที่จะนามา
ศึกษาด้วยแนวคิดเรื่อง “ความทรงจาร่วมทางสังคม” (collective memory) ได้ อย่างไรก็ดี นวนิยายเรื่องนี้ย งั คาบ
เกี่ยวกับ “ประวัติศาสตร์ฟิลิปปิ นส์” และ “ความทรงจาร่วมทางสังคมเกี่ยวกับฟิ ลิปปิ น ส์ ” ด้วย สมควรที่จะได้
อภิปรายเพื่อความเข้าใจไว้เป็ นเบือ้ งต้น
ปิ แอร์ นอร่า (Nora 1996, 3) กล่าวว่า ความทรงจาและประวัตศิ าสตร์มไิ ด้เป็ นสิง่ เดียวกัน หากตรงข้าม
กันในหลายๆ ลักษณะ ความทรงจาคือสิง่ ทีถ่ ูกทาให้เป็ นรูปเป็ นร่างขึน้ มาอยู่เสมอในสังคมหนึ่งๆ เช่นในสังคมทีม่ ี
วิวฒั นาการมาอย่างยาวนาน ความทรงจาเป็ นสิง่ ทีข่ น้ึ อยู่กบั การโต้แย้งกันระหว่างการจาและการลืม เป็ นสิง่ ทีบ่ ดิ
เบี้ยวอย่างไร้การควบคุม สามารถจัดแต่ งและยักย้ายได้หลายวิธี และสามารถปลุกให้ต่ืนจากการหลับใหลอัน
ยาวนานได้ในทันทีทนั ใด ขณะทีป่ ระวัตศิ าสตร์นนั ้ ตรงกันข้าม กล่าวคือ ประวัตศิ าสตร์คอื การประกอบสร้างสิง่ ทีไ่ ม่

250
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

มีอกี ต่อไปแล้ว เป็ นสิง่ ทีน่ ่าสงสัยและไม่สมบูรณ์ ความทรงจาคือปรากฏการณ์ของปั จจุบนั ขณะทีป่ ระวัตศิ าสตร์คอื
ภาพตัวแทนของอดีต
นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน คาบเกีย่ วกับ “ประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์” ในแง่ทม่ี ฟี ิ ลปิ ปิ นส์ทงั ้ ในอดีต
และปั จ จุ บ ัน เป็ นฉากท้ อ งเรื่อ ง และสัม พัน ธ์ ก ับ เหตุ ก ารณ์ ท างประวัติ ศ าสตร์ ห ลายเหตุ ก ารณ์ แต่ ก ระนั น้
“ประวัติศาสตร์ฟิลปิ ปิ นส์” ในนวนิยายเรื่องนี้กม็ ลี กั ษณะเป็ นภาพนาเสนอ (representation) ที่ผ่านการผลิตสร้าง
ความหมายและนาเสนอด้วยระบบสัญญะเช่นภาษาหรือวรรณกรรม ภาพนาเสนอดังกล่าวก็เป็ นเพียงผลจากฉบับ
หนึ่งของการเขียน “ประวัติศาสตร์ฟิลปิ ปิ นส์” เท่านัน้ หาใช่ทงั ้ หมดของ “ประวัติศาสตร์ฟิลปิ ปิ นส์” ไม่ (ดังจะได้
อภิป รายต่ อ ไปข้า งหน้ า ) ขณะเดีย วกัน นวนิ ย ายเรื่อ งนี้ ก็ค าบเกี่ย วกับ “ความทรงจ าร่ ว มทางสัง คมเกี่ย วกับ
ฟิ ลปิ ปิ นส์” อยู่ในที ทว่าไม่ใช่ “ความทรงจาร่วมทางสังคม” ของคนฟิ ลปิ ปิ นส์โดยตรง เพราะแม้ว่าในนวนิยายจะ
กล่าวถึงความทรงจาของตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ทถ่ี ูกค้นพบในสมุดบันทึก แต่กเ็ ป็ นตัวละครและความทรงจาของตัว
ละครทีส่ ร้างขึน้ โดยนักเขียนไทย “ความทรงจาร่วมทางสังคมเกีย่ วกับฟิ ลปิ ปิ นส์” ในทีน่ ้ีคอื ความทรงจาทีค่ นไทยมี
ต่ อ ฟิ ลิป ปิ นส์ และเป็ นคนละเรื่อ งกับ “ประวัติ ศ าสตร์ ฟิ ลิป ปิ นส์ ” หากจะกล่ า วให้ ช ัด ลงไป “ภาพน าเสนอ
ประวัติศาสตร์ฟิลิปปิ นส์” ที่ปรากฏในนวนิย ายเรื่องนี้ก็คือ “ความทรงจาร่วมทางสังคมเกี่ยวกับฟิ ลิปปิ นส์ ” ใน
มุมมองของคนไทย
บทความนี้จะพิจารณานวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ในฐานะที่เป็ น “ความทรงจาร่วมทางสังคม
เกี่ยวกับฟิ ลปิ ปิ นส์” ในมุมมองของคนไทย โดยพิจารณาผ่านภาพนาเสนอประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ การประกอบ
สร้างเพศภาวะตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ และบทบาทของตัวละครชาวไทยทีป่ รากฏในเรื่อง เพื่อทาความเข้าใจตัวบท
วรรณกรรมในท่ามกลางบริบทของการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปั จจุบนั นอกจากนี้ยงั จะใช้กระบวนทัศน์หลัง
อาณานิคมพิจารณานวนิยายเรื่องนี้อกี ด้วย ดังจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

“ประวัติศำสตร์ฟิลิปปิ นส์” กับภำพนำเสนอในนวนิยำยเรื่อง มีเมฆบ้างเป็นบางวัน


วัช ระ สิน ธุ ป ระมา (2557-2558, 207) กล่ า วว่ า แก่ น เรื่อ งส าคัญ ของประวัติศ าสตร์ร ัฐ ชาติใ นเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประวัตศิ าสตร์การตกเป็ นอาณานิคม ประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์อยู่ทป่ี ลายสุดโต่งด้านหนึ่งของ
แก่นเรื่องนี้ คือมักจะได้รบั การระบุว่า เป็ นดินแดนแรกทีต่ กเป็ นอาณานิคมของชาติตะวันตก เมื่อเป็ นดินแดนแรก
จึงมีผลตามมาทีท่ าให้เป็ นอาณานิคมยาวนานทีส่ ุด ยิง่ ไปกว่านัน้ หลังจากพ้นสภาวะการเป็ นอาณานิคมของสเปน
อยู่กว่า 300 ปี ก็ยงั ตกเป็ นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาอีกราวครึง่ ศตวรรษ
นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอเรื่องราวทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์โดยย้อนไป
เพียงช่วงปลายของการเข้ายึดครองอานาจของสหรัฐอเมริกา โดยอิงกับเหตุการณ์สาคัญในช่วงเวลาดังกล่าว คือ
สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ซึง่ อุบตั ขิ น้ึ เมื่อ ค.ศ. 1940 และมีผลกระทบกระเทือนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ทิพย์อุบล
ดาบสุวรรณ และ ศิวพร ชัยประสิทธิกุล 2520, 67) ญี่ป่ ุนได้ยกกองทัพบุกไปยังประเทศต่างๆ ในภูมภิ าคนี้รวมทัง้
ฟิ ลปิ ปิ นส์ดว้ ย เหตุการณ์ทญ่ี ป่ี ่ นุ บุกเข้าฟิ ลปิ ปิ นส์มบี นั ทึกไว้ว่า “เช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 กองกาลัง
ทางอากาศที่ 5 และกองเรือรบที่ 11 ของญี่ป่ ุน เริม่ ต้นปฏิบตั กิ ารโจมตีกองกาลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกาใน
ฟิ ลปิ ปิ นส์ตามแผนทีว่ างไว้ พร้อมกันกับทีเ่ ข้าโจมตีทฮ่ี าวาย มาเลเซีย ไทย และฮ่องกง” (Baclagon 1952, 151)
เหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง คือจุดเริม่ ต้นของเรื่องราวในอดีตทีน่ าเสนอผ่านบันทึกของอลิเซีย
ในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ดังทีข่ อ้ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า

251
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พ่อเรียกพวกเราทุกคนมานัง่ ล้อมวงอยู่กลางบ้านใต้แสงตะเกียงลาน และบอกให้พวกเรา


ทราบถึงเรื่องของกองเรือญี่ป่ ุนบุกเข้ามาในอ่าวมะนิลา... มันเหมือนกับผึ้งทัง้ รังที่แตกฮือ
พวกผูใ้ หญ่แย่งกันซักถามรายละเอียดต่างๆ จากพ่อจนฟั งไม่ได้ศพั ท์ แต่พ่อก็ไม่สามารถให้
คาตอบได้ นอกจากคาว่า “นายพลแมกอาร์เทอร์แม่ทพั ของอเมริกาในฟิ ลปิ ปิ นส์จะปกป้ อง
ชาวฟิ ลปิ ปิ นส์จากการรุกรานของญี่ป่ นุ ” ซึง่ ดูเหมือนกับคาโฆษณาชวนเชื่อทางวิทยุ แต่ฉัน
คิดว่าในเวลานัน้ ทุกคนในประเทศนี้กค็ งจะคิดอย่างเดียวกับพ่อ เพราะพวกเราต่างฝากชีวติ
ไว้กบั อเมริกาทีป่ กครองฟิ ลปิ ปิ นส์มาเป็ นเวลา 50 ปี หลังจากทีอ่ เมริกาหักหลังพวกนักปฏิวตั ิ
ฟิ ลปิ ปิ นส์ทใ่ี ห้การสนับสนุนอเมริกาเพื่อต่อต้านสเปน โดยรัฐบาลอเมริกาแอบทาความตกลง
ลับๆ กับสเปนให้ถอนตัวจากดินแดนแห่งนี้แลกกับเงิน 20 ล้านดอลลาร์ เพื่ออเมริกาจะได้
เข้ามาสวมอานาจแทน

คนฟิ ลปิ ปิ นส์ในเวลานัน้ ต่างพากันเชื่อมันต่


่ อสหรัฐฯ และเชื่อถือในตัวนายพลแมกอาร์เทอร์
แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงสีป่ ี เราก็จะเป็ นประเทศเอกราชตามทีส่ หรัฐฯ ให้คาสัญญาไว้กต็ าม
จนบางคนตัง้ คาถามว่าหากนักปฏิวตั ฟิ ิ ลปิ ปิ นส์ อย่างโฮเซ่ รีซลั สามารถกูเ้ อกราชได้สาเร็จ
หรือสหรัฐฯ ให้เอกราชฟิ ลิปปิ นส์ก่อนปี 1941 ญี่ป่ ุนจะบุกประเทศเราหรือไม่ (ประภัสสร
เสวิกุล 2555, 55)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า บันทึกของอลิเซียเล่าถึงตอนทีพ่ ่อของเธอแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวทราบ
เกีย่ วกับเหตุการณ์ทญ ่ี ป่ี ่ นุ บุกขึน้ ฟิ ลปิ ปิ นส์ จุดเริม่ ต้นของบันทึกเล่มดังกล่าวเริม่ ตัง้ แต่ ค.ศ.1941 ซึง่ เป็ นปี เดียวกับ
ทีส่ งครามโลกครัง้ ทีส่ อง อุบตั ขิ น้ึ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฉากสาคัญทีถ่ ูกกล่ าวถึงในบันทึกข้างต้นคือ
“มะนิลา” ซึง่ เป็ นเมืองหลวงของฟิ ลปิ ปิ นส์
อย่างไรก็ดี สงครามนัน้ มิได้ส่งผลกระทบต่อเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว หากยังเกิดขึน้ ในเมืองต่างๆ และ
ในเกาะต่างๆ ของฟิ ลปิ ปิ นส์ ดังทีม่ บี นั ทึกไว้ว่า “เมื่อสงครามเริม่ ต้นขึน้ ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 กองกาลัง
ทหารทีค่ อร์รจิ ดิ อร์ได้รบั คาสังให้
่ เป็ นฐานทีม่ นของการสู
ั่ ร้ บทันที จากจุดนัน้ สามารถมองเห็นเมืองมะนิลาและจังหวัด
คาวิเตถูกระเบิดถล่มได้” (Baclagon 1952, 206)
บันทึกของอลิเซียในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ก็ได้กล่าวถึงความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ กับเมืองและ
เกาะอื่นๆ ของฟิ ลปิ ปิ นส์ดว้ ย ดังความว่า

ทหารญี่ป่ ุนบุกอย่างรวดเร็วทัง้ ทางด้านเหนือและใต้มะนิลา นายพลแมกอาร์เทอร์ตงั ้ ยันการ


บุกทีเ่ กาะคอร์รจิ ดิ อร์ ปากอ่าวมะนิลา ซึง่ เป็ นทีม่ นส
ั ่ าคัญของสหรัฐฯ มาตัง้ แต่ปี 1902 เกาะ
เล็กๆ แห่งนี้ มีเนื้อที่เพียง 5 ตร.กม. แต่ ได้ช่อื ว่าเป็ นยิบรอลตาร์แห่งตะวันออก เพราะ
นอกจากจะเป็ นท่าเรือธรรมชาติมาตัง้ แต่สมัยโบราณแล้ว ยังเป็ นทัง้ ปราการที่ป้องกันและ
ปลายหอกทีท่ มิ่ แทงมะนิลา แม้คนฟิ ลปิ ปิ นส์จะเคยเผชิญหน้ากับสงครามมาบ้าง แต่ครัง้ นี้
นับเป็ นครัง้ แรกทีเ่ ราได้พบกับสงครามทางอากาศไม่ใช่การรบทางเรือเช่นในอดีต ขณะทีเ่ รือ
รบญี่ป่ ุ นระดมยิง เกาะคอร์ริจิด อร์เ พื่อ เปิ ด ทางให้ท หารญี่ป่ ุ นยกพลขึ้น บก มะนิ ลาก็ถู ก
เครื่องบินญีป่ ่ นุ ถล่มด้วยลูกระเบิดทัง้ กลางวันและกลางคืน (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 67)

252
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า การโจมตีของญี่ป่ ุนและการตัง้ รับของฟิ ลปิ ปิ นส์ท่กี ล่าวถึงในบันทึกของ


อลิเซียมีทงั ้ ทีก่ รุงมะนิลาซึง่ เป็ นเมืองหลวง และเกาะคอร์รจิ ดิ อร์ซง่ึ อยู่ห่างออกไปบริเวณปากอ่าวมะนิลา การสูร้ บ
กันระหว่างญี่ป่ ุนและฟิ ลปิ ปิ นส์กนิ อาณาบริเวณเป็ นวงกว้างและอาวุธยุทโธปกรณ์ทใ่ี ช้โจมตีกม็ ที งั ้ ทีโ่ จมตีทางเรือ
และทางอากาศ
อนึ่ง สิง่ ทีน่ วนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ต้องการนาเสนอมิใช่เพียงเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ท่ี
เป็ นฉากสาคัญของเรื่องดังทีก่ ล่าวมาเท่านัน้ หากทว่าประภัสสร เสวิกุลได้นาเสนอให้เห็นถึงความสูญเสียอันใหญ่
หลวงทีเ่ กิดขึน้ แก่ฟิลปิ ปิ นส์จากเหตุการณ์สงครามโลกครัง้ นัน้ ดังทีข่ อ้ ความตอนหนึ่งในนวนิยายกล่าวว่า

วัน ที่ 9 เมษายน 1942 การสู้ร บได้ดาเนิ น มาถึง จุ ด จบเมื่อ ทหารอเมริก ัน และฟิ ลิป ปิ น ส์
70,000 คนที่บ าตัน ยอมจ านนแก่ ก องทัพ ญี่ป่ ุ น ซึ่ง นับ เป็ น ความพ่ า ยแพ้ค รัง้ ยิ่ง ใหญ่ ใ น
ประวัติศาสตร์อเมริกนั ญี่ป่ ุนปฏิบตั ิต่อเชลยศึกอย่างเหี้ ยมโหด ทหารอเมริกนั 1,500 คน
และฟิ ลปิ ปิ นส์ 15,000 คนเสียชีวติ จากการทารุณกรรม ขาดอาหาร เจ็บปวด และสังหาร
อย่างโหดเหีย้ ม...มันเป็ นเหมือนฝั นร้ายของเราทุกคน

แต่ทร่ี า้ ยไปกว่านัน้ ก็คอื มันเป็ นฝั นร้ายทีเ่ พิง่ เริม่ เท่านัน้ ! (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 106)
จากตัว อย่ า งจะเห็น ว่ า ความสูญ เสีย จากเหตุ ก ารณ์ สงครามโลกครัง้ ที่สอง เกิด ขึ้น แก่ ชีวิต ของชาว
ฟิ ลปิ ปิ นส์และทหารของสหรัฐอเมริกาจานวนหลักหมื่นคนในระยะเวลาไม่ถงึ หกเดือนนับจากทีส่ งครามอุบตั ขิ น้ึ ใน
ฟิ ลปิ ปิ นส์ และนันเป็
่ น “ฝั นร้ายทีเ่ พิง่ เริม่ ” ของฟิ ลปิ ปิ นส์
อย่างไรก็ดี เป็ นทีท่ ราบกันทัวไปว่
่ าสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง นัน้ ยุตลิ งด้วยความพ่ายแพ้ของญีป่ ่ นุ ในภูมภิ าค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอถึงเหตุการณ์ก่อนทีญ ่ ป่ี ่ นุ จะถอนกาลังออก
จากฟิ ลปิ ปิ นส์ ดังความว่า

เพราะในคืนก่อนที่จะวางอาวุธ ทหารญี่ป่ ุนใช้รถบรรทุ กตระเวนไปตามบ้านต่างๆ ในกรุง


มะนิลา และเรียกตัวชายในบ้านออกมาขึน้ รถ ซึง่ รวมทัง้ พีช่ ายและน้องชายของลุงบักโจทุ ๊ ก
คน คนเหล่านัน้ ถูกต้อนขึน้ รถบรรทุกรวมกับคนอื่นๆ ทีอ่ ดั กันแน่นเหมือนปลากระป๋ อง ไม่มี
ใครรู้ว่าญี่ป่ ุนนาพวกเขาไปไหน และไม่มีใครบนรถที่รู้ชะตากรรมของตนเอง แต่ เป็ น ที่
เปิ ดเผยในภายหลังว่าผูช้ ายพวกนัน้ ถูกสังหารหมู่อย่างทารุณ ทหารญี่ป่ ุนกราดยิงพวกเขา
เหมือนเป้ าซ้อมมือ และคนที่ยงั ไม่ตายก็จะถูกทุบตีอย่างโหดเหี้ยม และในตอนเช้าก่อนที่
ทหารอเมริกนั จะยกพลขึน้ บก พวกทหารญี่ป่ ุนที่บ้าคลังก็่ ไล่ยงิ คนทีห่ นีเข้าไปอยู่ท่สี โมสร
ของชาวสเปนและทีอ่ ่นื ๆ ในกรุงมะนิลา โดยไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผูห้ ญิง (ประภัสสร เสวิกุล
2555, 174)
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นวนิยายนาเสนอภาพ “ความโหดเหีย้ ม” และ “ความบ้าคลัง”่ ของทหารญีป่ ่ นุ ที่
บัง คับ ให้ช ายชาวฟิ ลิป ปิ น ส์ไ ปรวมกัน และ “สัง หารหมู่อ ย่ า งทารุ ณ ” ทัง้ ยัง สัง หารเด็ก และผู้ห ญิง ด้ว ย ก่ อ นที่
สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง จะยุตลิ งในทีส่ ดุ
อาจกล่าวได้ว่า ความสูญเสียอย่างย่อยยับของชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เป็ นความทรง
จาร่วมทางสังคมทีถ่ ูกนาเสนอผ่านเนื้อหาส่วนหนึ่งในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ประภัสสร เสวิกุลได้นา

253
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ภาพความทรงจาร่วมดังกล่าวมาผูกเรื่องขึน้ เป็ นนวนิยายทีเ่ ล่าเรื่องราวเกีย่ วกับประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ผ่านการเขียน


บันทึกของอลิเซียเพื่อบอกเล่าถึงความโหดร้ายทีเ่ กิดขึน้ แก่ประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ในฐานะผูถ้ ูกกระทา
อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ฟิ ลปิ ปิ นส์จะได้รบั เอกราชจากสหรัฐอเมริกา แต่ทว่า
สหรัฐอเมริกาก็ยงั คงความสัมพันธ์ทางการทหารกับฟิ ลปิ ปิ นส์ไว้ เนื่องจากฟิ ลปิ ปิ นส์เป็ นส่วนหนึ่งของความมันคง

ของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกตะวันตกตามข้อตกลงเรื่องฐานทัพ ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้ตงั ้ ฐานทัพในฟิ ลปิ ปิ นส์
ทัง้ หมด 23 แห่ง ซึ่งรวมทัง้ ฐานทัพอากาศคลาร์คและฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิค โดยมีสญ ั ญาการเช่า 99 ปี (สีดา
สอนศรี 2545, 51) นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ก็ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงดังกล่าวไว้ดว้ ย ดังความว่า

หลังสงคราม พวกเรารูส้ กึ อุ่นใจขึน้ เมื่อทหารสหรัฐฯ กลับมาประจาการในฟิ ลปิ ปิ นส์อกี ครัง้


โดยรัฐ บาลยอมให้พ วกเขาเช่ า ที่ดิน เป็ น ระยะเวลา 99 ปี เพื่อ สร้า งฐานทัพ 23 แห่ ง
นอกเหนือไปจากการส่งที่ปรึกษาจานวนมากมาประจาอยู่ทวประเทศ ั่ เพื่อฝึ กหัดทหาร
รวมทัง้ ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ เ รา-แต่ การมีทหารสหรัฐฯ อยู่ในประเทศก็สร้า ง
ปั ญหาบางอย่างให้แก่เรา โดยเฉพาะกับพวกฮุกบาลาฮับ ซึ่งในสมัยสงครามคนเหล่านี้คอื
“ฮุก” หรือชาวนาในตอนใต้ของลูซ อน ที่จบั อาวุธขึ้นต่ อสู้กบั ทหารญี่ป่ ุ น และร่วมมือ กับ
ขบวนการคอมมิวนิสต์ในการช่วยเหลือทหารอเมริกนั ทาการรบเพื่อปลดปล่อยฟิ ลปิ ปิ นส์ แต่
เมื่อได้ชยั ชนะแล้ว ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างฮุกบาลาฮับและคอมมิวนิสต์กบั สหรัฐฯ ใน
เรื่องของแนวคิดทางการเมือง เป็ นผลให้สหรัฐฯ ใช้กาลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง จน
กลายเป็ นการสูร้ บทีย่ ดื เยือ้ อยู่หลายปี (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 179)
จากตัวอย่างจะเห็นว่า นวนิยายได้นาเสนอภาพความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับ
ฟิ ลปิ ปิ นส์ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง โดยเฉพาะบทบาทการเป็ นผูช้ ่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี
“ปั ญหา” ภายหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่สองในฟิ ลปิ ปิ นส์สน้ิ สุดลง ก็คอื กลุ่ม “ฮุกบาลาฮับ” หรือ “ฮุก” คนกลุ่มนี้
“นิยมนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิ ลปิ ปิ นส์ซง่ึ เป็ นศัตรูกบั สหรัฐฯ จึงทาให้ต้องการกาจัดสหรัฐฯ ตามแนว
ของพรรคคอมมิวนิสต์ดว้ ย การก่อกวนกองทัพสหรัฐฯ มีอยู่บ่อยครัง้ จนทาให้สหรัฐฯ ต้องใช้กาลังปราบปรามอย่าง
รุนแรง” (สีดา สอนศรี 2545, 52) อาจกล่าวได้ว่า นวนิยายนาความทรงจาร่วมทางสังคมเรื่องความขัดแย้งภายใน
ฟิ ลปิ ปิ นส์หลังการสิน้ สุดของสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง มานาเสนอผ่านการเขียนบันทึกของอลิเซียในนวนิยายเรื่อง
ดังกล่าว
การปราบปรามกลุ่มฮุกบาลาฮับสาเร็จอย่างเป็ นผลดีในยุคของรัฐบาลรามอน แมกไซไซ ช่วงเวลาดังกล่าว
เรียกขานกันว่าเป็ น “ยุคทอง” ทัง้ นี้เนื่องมาจากรามอน แมกไซไซได้ดาเนินการเปลีย่ นแปลงสังคมอย่างมากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปรับปรุงสวัสดิภาพและสวัสดิการของประชาชน ขจัดความอยุติธรรมในสังคม และการ
พัฒนาชนบทในด้านต่างๆ ซึ่งได้ผลเป็ นอย่างดี ทาให้กลุ่มฮุกบาลาฮับหยุดการโจมตีและร่วมกับรัฐบาลในการ
พัฒนาสังคม (สีดา สอนศรี 2545, 54-55) ในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ได้นาความทรงจาร่วมทางสังคม
ในเรื่องดังกล่าวมานาเสนอผ่านนวนิยายด้วย ดังความว่า

ฟิ ลปิ ปิ นส์เริม่ เข้าสู่ความสงบในสมัยของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซ ทีส่ ามารถจัดการ


กับปั ญหาฮุกบาลาฮับ คอมมิวนิสต์ และคอร์รปั ชัน่ ซึ่งเป็ นปั ญหาใหญ่ของประเทศอย่าง
ได้ผล โดยใช้มาตรการทัง้ ทางทหารและการเมืองรวมทัง้ การปฏิรูปสังคม ในด้านสวัสดิการ

254
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การเกษตร และการพัฒนาชนบท เขาทาให้พวกเราเริม่ รูส้ กึ ว่าอะไรๆ ในชีวติ ทีเ่ คยบอบช้า


และเจ็บปวดกาลังจะค่อยๆ ดีขน้ึ ราวกับเห็นแสงสว่างราไรๆ แม้จะเป็ นแค่ จุดเล็กๆ ไม่ต่าง
อะไรจากหัวไม้ขดี ไฟก็ตาม แต่แล้วก็น่าเสียดายทีพ่ ระเจ้าให้เวลาเขาอยู่ในโลกน้อยเกินไป-
แมกไซไซเสียชีวิตด้วยอุบตั ิเหตุ เครื่องบินตก แต่ สงิ่ ต่ างๆ ที่เขาได้วางรากฐานไว้ก็เ ป็ น
เสมือนโครงสร้างทีม่ นคงแก่
ั่ ประเทศของเรา (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 186)
จากตัวอย่างจะเห็นว่า นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอเหตุการณ์ในช่วงทีป่ ระธานาธิบดีรา
มอน แมกไซไซขึน้ เป็ นผูน้ าและใช้มาตรการต่างๆ เพื่อปฏิรปู สังคมให้ดขี น้ึ อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาดังกล่าวเป็ นความ
ทรงจาอันแสนสัน้ เมื่อรามอน แมกไซไซเสียชีวติ ในอุบตั เิ หตุเครื่องบินตก จากนัน้ ฟิ ลปิ ปิ นส์กเ็ ข้าสู่ยุคสมัยแห่งการ
ปกครองของเฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอส
เฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอสได้รบั เลือกเป็ นประธานาธิบดีสองสมัย คือ ในปี ค.ศ. 1965 และ ค.ศ. 1969 อย่างไร
ก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1969-1972 ฟิ ลปิ ปิ นส์ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ า มีข่าวว่าบริวารของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส
คอร์รปั ชัน่ เฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอสจึงใช้โอกาสนี้ประกาศกฎอัยการศึกและดารงตาแหน่ งประธานาธิบดีจนกระทัง่
ค.ศ. 1986 (สีดา สอนศรี 2545, 56) นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ได้นาเหตุการณ์ดงั กล่าวมานาเสนอใน
เรื่องด้วย ดังความว่า

เฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอส ดารงตาแหน่ งประธานาธิบดีของฟิ ลปิ ปิ นส์อย่างสืบเนื่องเป็ นเวลา


ยาวนานถึง 30 ปี เรื่องราวของเขาเริม่ ต้นเหมือนเทพนิยายทีม่ อี ศั วินสวมเกราะเงินขีม่ า้ ขาว
มาปราบปี ศาจร้ายทีอ่ าละวาดอยู่ในเมือง แต่ตอนท้ายของนิทานเรื่องนี้ ไม่ได้บอกหรอก ว่า
แล้ววันหนึ่งอัศวินก็กลายเป็ นปี ศาจทีล่ ะโมบและเลวร้ายเสียเอง จนชาวเมืองไม่อาจอดทนได้
อีกต่อไป

มาร์กอสผ่านการเป็ น ส.ส. และ ส.ว. ก่อนชนะการเลือกตัง้ ได้ดารงตาแหน่ งประธานาธิบดี


ติดต่อกัน 2 สมัย แต่เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตการเป็ นประธานาธิบดีสมัยทีส่ าม มาร์กอสก็ใช้
วิธปี ระกาศกฎอัยการศึก และครองตาแหน่ งต่อ ซึง่ แม้จะเป็ นเรื่องทีไ่ ม่ถูกต้อง แต่ประชาชน
ก็ให้การสนับสนุนเพราะเขาเป็ นนักสร้างภาพตัวยง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการสร้างความฝั น
ที่เ ลิศ ลอยหรือ วิม านในอากาศให้ผู้ค นเคลิบ เคลิ้ม แต่ สิ่ง ที่เ ป็ น จริง ก็คือ การใช้อิท ธิพ ล
แสวงหาผลประโยชน์ ส่วนตัวและความมังคั ่ งร
่ ่ า รวยของตนเอง คนในครอบครัวและคน
ใกล้ชดิ เขาสร้างอานาจเผด็จการที่น่าสะพรึงกลัวขึ้นมาครอบคลุมไปทัวประเทศเพื ่ ่ อซ้อ น
อานาจรัฐ กาจัดคนที่ไม่เห็นด้วยออกไปให้พ้นวิถีทาง รวมทัง้ เพิกเฉยต่อการปราบปราม
คอร์รปั ชันซึ
่ ่งเขาเป็ นผู้เพาะมันขึน้ มา และกาลังเติบโตเป็ นมะเร็งร้ายในสังคม (ประภัสสร
เสวิกุล 2555, 363-364)
ตัวอย่างข้างต้นมิเพียงกล่าวถึงการอยู่ในตาแหน่ งประธานาธิบดียาวนานถึง 30 ปี ของเฟอร์ดิน านด์
มาร์กอสเท่านัน้ หากยังกล่าวถึงผลกระทบทางลบที่เกิดในฟิ ลปิ ปิ นส์จากการที่เขาอยู่ในตาแหน่ งเป็ นเวลานาน
โดยเฉพาะอย่างยิง่ การคอร์รปั ชันในฟิ
่ ลปิ ปิ นส์ อย่างไรก็ตาม อานาจของเฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอสก็ถูกสันคลอนจนล้
่ ม
ลงในทีส่ ุด เมื่อเขาจัดการเลือกตัง้ ในปี ค.ศ.1983 และเบณิโญ อากีโนเดินทางจากสหรัฐอเมริกากลับมาเพื่อสมัคร
รับเลือกตัง้ ทว่ากลับถูกยิงเสียชีวติ ขณะทีล่ งจากเครื่องบิน ทาให้ประชาชนลุกขึน้ มาต่อต้านเฟอร์ ดนิ านด์ มาร์กอส

255
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการเลือกตัง้ อีกครัง้ และผูไ้ ด้รบั ชัยชนะคือคอราซอน อากีโน (สีดา สอนศรี 2545, 57-59)
นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ก็ได้นาเหตุการณ์ดงั กล่าวมานาเสนอในเรื่องผ่านสมุดบันทึกของอลิเซียด้วย
(ประภัสสร เสวิกุล 2555, 367-378) ก่อนทีอ่ ลิเซียจะเลิกเขียนบันทึกไปในทีส่ ดุ
จากที่ก ล่ า วมาข้า งต้ น จะเห็น ได้ ว่ า นวนิ ย ายเรื่อ ง มีเ มฆบ้า งเป็ น บางวัน น าเสนอเรื่อ งราวความ
เปลีย่ นแปลงในฟิ ลปิ ปิ นส์ผ่านบันทึกของอลิเซีย ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าวคือประวัตศิ าสตร์ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์
ซึง่ เริม่ ตัง้ แต่ช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ความขัดแย้งภายในฟิ ลปิ ปิ นส์ภายหลังสงคราม เรื่อยมาจนถึงความผันผวน
ทางการเมืองการปกครอง ภาพนาเสนอฟิ ลปิ ปิ นส์ในนวนิยายดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ในแง่ทถ่ี ูก
ทาร้ายอย่างบอบช้าตลอดเวลาทีผ่ ่านมา ทัง้ จากสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ซึง่ มีจุดเริม่ ต้น จากภายนอกฟิ ลปิ ปิ นส์ และ
จากความผันผวนทางสังคมและการเมืองภายในฟิ ลปิ ปิ นส์นบั แต่สงครามโลกครัง้ นัน้ สิน้ สุดลง
แม้ภาพนาเสนอฟิ ลปิ ปิ นส์ในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน จะสอดคล้องกับแก่นเรื่องประวัตศิ าสตร์
การตกเป็ นอาณานิคมของรัฐชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดงั ทีก่ ล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ดี นัน่ เป็ นเพียงภาพ
นาเสนอฟิ ลปิ ปิ นส์ทส่ี อดคล้องกับการเขียนประวัตศิ าสตร์เพียงแบบเดียว คือเป็ นประเทศทีต่ อ้ งเผชิญชะตากรรมอัน
แสนรันทด ทัง้ ทีจ่ ริงแล้ว “การเขียนประวัตศิ าสตร์ในยุคสมัยใหม่ทฟ่ี ิ ลปิ ปิ นส์มคี วามเป็ นอิสระและมีความเคลื่อนไหว
ทางชาตินิ ยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นัน้ ก็มีค วามพยายามที่จะมองย้อ นอดีตกลับไปก่ อนยุคอาณานิคม เพื่อ แสวงหา
หลักฐาน ข้อมูล และคาอธิบายที่แตกต่างออกไป” (วัชระ สินธุประมา 2557-2558, 208) โดยนัยนี้ ภาพนาเสนอ
ประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ทก่ี ล่าวถึงในนวนิยายเรื่องดังกล่าวจึงมีลกั ษณะที่ ผลิตซ้าความรับรูก้ ระแสหลักทีไ่ ทยมีต่อ
ฟิ ลปิ ปิ นส์ มิใช่ทงั ้ หมดของประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ และภาพนาเสนอดังกล่าวเป็ นเพียงความทรงจาร่วมทางสังคม
เกีย่ วกับฟิ ลปิ ปิ นส์ในมุมมองของคนไทยหรือนักเขียนไทยเท่านัน้

บันทึกควำมทรงจำกับกำรประกอบสร้ำงเพศภำวะของตัวละครสตรีฟิลิปปิ นส์
ด้วยเหตุทน่ี วนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอเรื่องราวการติดตามความทรงจาของอลิเซียซึง่
สัมพันธ์กบั ประวัตศิ าสตร์ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ อีกทัง้ เหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ทก่ี ล่าวถึง
ในสมุดบันทึกของอลิเซียมีลกั ษณะเป็ นภาพนาเสนอประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ในความรับรูข้ องคนไทยหรือนักเขียน
ไทยทีถ่ ูกผลิตซ้าในนวนิยาย ความทรงจาของอลิเซียจึงมิใช่ความทรงจาสตรีฟิลปิ ปิ นส์โดยตรง หากเป็ นความทรง
จาทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ โดยนักเขียนเพื่อให้การดาเนินเรื่องเป็ นไปตามจุดมุ่งหมายทีต่ ้องการ เพศภาวะ 1ของตัว
ละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์เช่นอลิเซียทีอ่ ยู่ในนวนิยายก็เป็ นสิง่ ทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ เช่นกัน
การพิจารณาเพศภาวะในฐานะสิง่ ทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ เป็ นผลมาจากอิทธิพลของแนวคิดสตรีนิยมคลื่น
ลูกทีส่ ามซึง่ มุ่งพิจารณาว่า เพศภาวะเป็ นสิง่ ทีถ่ ูกประกอบสร้างขึน้ ผ่านวาทกรรมทีถ่ ูกผลิตซ้า โดยเฉพาะวาทกรรม
ของอุดมการณ์ ปิตาธิปไตยที่ครอบงาทัง้ ผู้ชายและผู้หญิง ทัง้ ยังเป็ นส่วนสาคัญในการจัดโครงสร้างทางสังคม
(สุรเดช โชติอุดมพันธ์ 2559, 216-217) เมื่อพิจารณานวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน พบว่า นาเสนอเพศภาวะ
ของตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ ดังนี้

1 เพศภาวะ (gender) หมายถึง การแสดงความเป็ นหญิงหรือชายตามทีส่ งั คมกาหนด (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และปี เตอร์ เอ. แจ็กสัน, 2556, หน้า 10)

256
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เด็กหญิงในครอบครัวทีจ่ า ้องพรากจาก
บันทึกของอลิเซียได้กล่าวถึงชีวติ ของอลิเซียตัง้ แต่ในวัยเด็ก ดังทีห่ น้าแรกของบันทึกระบุไว้ว่า “มะนิลา
ค.ศ. 1941 เป็ นปี แห่งการเปลีย่ นแปลงครัง้ สาคัญของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์และของฉัน ฉันจาได้ดถี งึ งานฉลองวันเกิดปี
ที่ 8 ของฉัน ทีพ่ ่อแม่ พีช่ ายและพีส่ าว รวมทัง้ ญาติพน่ี ้องคนอื่นๆ อยู่กนั พร้อมหน้าพร้อมตา” (ประภัสสร เสวิกุล
2555, 47) จากข้อความดังกล่าวจะเห็นว่า อลิเซียอยู่ในครอบครัวที่พร้อมหน้าพร้อมตา มีทงั ้ พ่อแม่ญาติพ่นี ้อง
อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างอลิเซียกับแม่กลับไม่สนิทสนมมากนัก ดังความว่า

ฉันสะใจทีเ่ ห็นแม่โดนย่าดุ และแม่ได้แต่นงั ่ ก้มหน้านิ่งโดยไม่กล้าแม้แต่จะโต้แย้งย่าสักคา –


และฉันก็สะใจเวลาทีแ่ ม่ลงโทษฉัน เพราะมันเหมือนกับฉันลงโทษตัวเองเพื่อทดแทนความ
น้อยเนื้อต่าใจในการทีไ่ ม่ได้รบั ความรักจากแม่ และได้เห็นแม่ถูกลงโทษด้วยความรูส้ กึ โกรธ
เกรีย้ วเสียใจ และอับอายไปพร้อมๆ กัน และความคิดเช่นนี้กท็ าให้ฉนั มีโอกาสเวทนาแม่ใน
บางครัง้ และหัวเราะเยาะแม่อยู่ในใจในบางคราว (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 60)
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอลิเซียกับแม่ของเธอมีลกั ษณะทีไ่ ม่ลงรอยนัก ทัง้ ยัง
เต็มไปด้วยความเคืองแค้นทีล่ กู สาวมีต่อแม่ในลักษณะทีส่ อดคล้องกับพฤติกรรมอันเกิดจากปมอิเล็กตราตามทฤษฎี
จิตวิทยา ความสัมพันธ์ทไ่ี ม่ลงรอยได้รบั การตอกย้าอีกครัง้ หนึ่งเมื่อพ่อและแม่ของอลิเซียตัดสินใจแยกย้ายกันเพื่อ
หลบหนีจากภัยสงคราม ดังความว่า

ทัง้ คู่ทุ่มเถียงกันอย่างเอาเป็ นเอาตาย ก่อนทีย่ ่าจะเข้ามาไกล่เกลีย่ และได้ขอ้ ยุตวิ ่า ให้แม่พา


ลูกสองคนไปวิซายา โดยให้ฉนั อยู่กบั ย่า ซึง่ แม่กย็ อมรับการไกล่เกลีย่ โดยไม่มขี อ้ โต้แย้งใดๆ
จนทาให้ฉันอดรู้สกึ ไม่ได้ทุกครัง้ ที่ยอ้ นนึกถึงเหตุการณ์ในครัง้ นัน้ ว่า แท้จริงแล้ว แม่คดิ จะ
เอาฉันไปอยู่ทว่ี ซิ ายาด้วยจริงๆ หรือเป็ นเพียงการสร้างเงื่อนไขในการต่อรองเท่านัน้ แต่ไม่
ว่าจะอย่างไรวันรุ่งขึน้ ฉันก็ยนื เกาะราวระเบียงดูแม่กบั พีๆ่ ขึน้ รถบรรทุกเดินทางจากบ้านไป
วิซายาเงียบๆ (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 83)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า พ่อและแม่ของอลิเซียตัดสินใจแยกย้ายกัน หลบหนีภยั สงครามโดยทีแ่ ม่
ของอลิเซียยืนยันจะกลับไปอยู่ทบ่ี า้ นเกิดทีว่ ซิ ายาพร้อมลูกคนโตทัง้ สอง ส่วนอลิเซียยังคงอยู่กบั พ่อและปู่ ย่า การ
แยกย้า ยครัง้ นี้ เ ป็ น ครัง้ สุด ท้า ยที่อ ลิเ ซีย ได้เ ห็น แม่ แ ละพี่ข องเธอ เนื่ อ งจากภัย สงครามในฟิ ลิป ปิ น ส์ไ ด้พ ราก
ครอบครัวให้แยกกันไปคนละทาง อลิเซียไม่เพียงต้องพลัดพรากจากแม่ทม่ี คี วามสัมพันธ์แบบไม่ลงรอยกันเท่านัน้
เนื่องจากในเช้าวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1941 อลิเซียได้บนั ทึกถึงความสูญเสียครัง้ สาคัญในชีวติ เธอไว้ว่า

...เสีย้ ววินาทีนัน้ เองทีเ่ สียงหวีดหวิวของวัตถุท่ถี ูกทิง้ ลงมาจากเครื่องบินก็ดงั ใกล้ ตามด้วย


เสียงกึกก้องกัมปนาท และแรงสะเทือนทีร่ ุนแรง ฉันและพ่อเหมือนถูกฟาดด้วยมือทีม่ องไม่
เห็นจนกระเด็นออกไปจากโบสถ์ พร้อมๆ กับทีโ่ บสถ์ทงั ้ หลังทรุดลงกับตา หลังคา ผนัง พืน้
และส่วนอื่นๆ ปลิวกระจัดกระจาย และเพลิงพวยพุ่งขึน้ ท้องฟ้ า ระงมด้วยเสียงหวีดร้องด้วย
ความตกใจ เสียงครวญครางด้วยความเจ็บปวด และเสียงเรียกหากันจนฟั งไม่ได้ศพั ท์

“ปู่ กบั ย่า” พ่อหลุดปากเป็ นคาแรกเมื่อหายจากอาการตกตะลึง และอุม้ ฉันไว้กบั อก วิง่ ตรงไป


ทีโ่ บสถ์ซง่ึ จมอยู่กลางกองเพลิงมหึมา โดยไม่คานึงถึงเลือดซึง่ อาบหน้าจากบาดแผลทีศ่ รี ษะ
ของตนเอง หรือความร้อนของควันไฟ (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 94)
257
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า เครื่องบินของกองทัพญีป่ ่ นุ ได้ยงิ ถล่มโบสถ์แห่งหนึ่งในเช้าวันคริสต์มาส


อลิเซียต้องสูญเสียปู่ และย่าไปในวันดังกล่าว ความสูญเสียนัน้ มิได้เกิดเฉพาะกับอลิเซียเท่านัน้ หากยังเกิดขึน้ กับ
คนอื่นๆ ทีอ่ ยู่ภายในโบสถ์นนั ้ ด้วย นับจากนัน้ เป็ นต้นมา อลิเซียก็ได้พบกับความสูญเสียในชีวติ อีกครัง้ เมื่อพ่อของ
เธอนาเธอไปฝากทีส่ ถานสงเคราะห์ก่อนจะไปร่วมรบและเสียชีวติ ในเวลาต่อมา ดังความว่า

การจากไปของพ่อถึงจะไม่ได้โหดร้ายเท่ากับตอนที่ฉันสูญเสียปู่ และย่า แต่มนั ก็เป็ นสิ่ งที่


กระทบกระเทือนจิตใจของฉันอย่างรุนแรงไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากัน จะต่างกันก็แต่ทป่ี และย่ ู่ า
โดนระเบิดทีใ่ นโบสถ์นนั ้ ฉันยังมีพ่ออยู่เคียงข้าง และคอยปลอบโยนให้ฉันคลายความเศร้า
โศกเสีย ใจ – แต่ ค ราวนี้ ฉั น ไม่ มีใ ครที่ไ หนทัง้ สิ้น นอกจากลุ ง บัก๊ โจคนเดีย วเท่ า นั น้
(ประภัสสร เสวิกุล 2555, 173-174)
จากทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดจะเห็นว่า นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอภาพชีวติ ของอลิเซียในวัย
เด็กที่ต้องพบกับการพรากจากบุคคลร่วมสายเลือด ทัง้ แม่ พี่ๆ ปู่ ย่า และพ่อ ทาให้อลิเซียต้องเติบโตท่ามกลาง
ความสูญเสียหลายต่อหลายครัง้ ก่อนจะเข้าสู่วยั ผูใ้ หญ่ มีเพียงลุงบักโจซึ
๊ ง่ เป็ นเพื่อนของพ่อทีเ่ ป็ นทีพ่ ง่ึ พิงเดียวของ
อลิเซีย ภาพนาเสนอชีวติ ของอลิเซียในช่วงวัยเด็กแสดงให้เห็นถึงชีวติ ของเด็กหญิงที่ค่อยๆ สูญเสียบุคคลที่จะ
สามารถพึง่ พิงได้ในชีวติ ไปทีละคนๆ ในท่ามกลางภาวะวิกฤตของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ ทัง้ ยัง สอดคล้องกับแก่นเรื่อง
เกีย่ วกับการสูญสิน้ ความไร้เดียงสา (loss of innocence) ซึง่ เป็ นแก่นเรื่องในวรรณกรรมว่าด้วยสงครามจานวนมาก
ในงานเขียนเหล่านี้เด็กจานวนมากถูกบีบบังคับให้เติบโตก่อนวัยอันควร เพื่อแบกรับความรับผิดชอบแบบผูใ้ หญ่
ผ่านการซึมซับรับเอาความวิตกกังวลของพ่อแม่ หรือยอมรับการสูญเสียทีเ่ กิดขึน้ ในครอบครัว (Lathey 1999, 145)
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในชีวิตของอลิเ ซียทาให้เธอต้องพยายามเข้มแข็งและดารงชีวิต อยู่ให้ได้ไม่ว่าจะเผชิญ
สถานการณ์แบบใดก็ตาม

หญิงสาวผู ้เผชิ ญชะ ากรรมรักแสนสาหัส


หลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ องสิน้ สุ ดลง อลิเซียได้เป็ นนักร้องในไนต์คลับ ความไพเราะของเสียงเธอทาให้
คริสโตเฟอร์ ฟลาเบร่า ลูกชายนักการเมืองทีม่ ชี ่อื เสียงเข้ามาติดพัน และนัน่ ทาให้โทนี่ นักดนตรีในวงซึง่ แอบชอบ
อลิเซียอยู่ไม่พอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างคนทัง้ สามเป็ นไปอย่างไม่ลงรอยนัก อย่างไรก็ดี เมื่อ เกิดเหตุระเบิดใกล้
ไนต์คลับที่อลิเซียร้องเพลงอยู่และทาให้อาเฟอร์นานโด นักดนตรีคนหนึ่งในวงเสียชีวติ ลุงบักโจจึ ๊ งตัดสินใจพา
อลิเซียไปร้องเพลงในไนต์คลับทีเ่ มืองไทย เนื่องจากไม่ตอ้ งการอยู่ทฟ่ี ิ ลปิ ปิ นส์อกี ต่อไป
ขณะที่อยู่เมืองไทย คริสโตเฟอร์และโทนี่ยงั คงส่งจดหมายมาหาอลิเซียด้วยความอาลัยรัก ทว่าอลิเซีย
ไม่ได้ให้ความสนใจมากนักเนื่องจากเธอต้องทางานร้องเพลงทีไ่ นต์คลับทุกคืน อย่างไรก็ดี เสียงร้องของอลิเซียทา
ให้มคี นมาฟั งเพลงอยู่ไม่ขาดสาย หนึ่งในนัน้ คือคุณนิค ซึง่ ไม่ได้มาฟั งอลิเซียร้องเพลงเท่านัน้ หากยังชวนเธอไป
เที่ยวอยู่บ่อยครัง้ และพาเธอไปพบกับครอบครัวที่บ้านด้วย แต่อลิเซียไม่ได้รบั การยอมรับจากทางบ้านของคุณ
นิคเนื่องจากได้หมายหมัน้ หญิงไทยไว้ให้แล้ว ในช่วงเวลาไล่เลีย่ กัน อลิเซียก็ได้พบกับรุจน์ซง่ึ เป็ นรุ่นพีข่ องคุณนิค
และได้ทราบว่ารุจน์คอื นักเรียนไทยในฟิ ลปิ ปิ นส์ทอ่ี ลิเซีย และพ่อของเธอเคยช่วยไว้ ความผูกพันในอดีตทาให้รุจน์
สารภาพรักกับอลิเซียทัง้ ที่มคี รอบครัวอยู่แล้ว เป็ นอีกครัง้ ที่อลิเซียต้องพบกับความสัมพันธ์ทไ่ี ม่ลงรอย ดังความ
ตอนหนึ่งว่า

“เพราะพีร่ ุจน์หรือเปล่า” เขาถามด้วยน้าเสียงทีข่ มขืน่ “ใช่อย่างทีเ่ ขาพูดกันหรือเปล่า”

258
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

“ฉันไม่จาเป็ นต้องตอบคาถามแบบนี้ ” ฉันเชิดคางขึน้ “และฉันก็ไม่คิดด้วยซ้าว่าจะได้ยนิ


คาถามเช่นนี้จากปากของคุณ”

“แต่ แ อนนาก็ไ ม่ ค วรท าลายตัว เอง ท าลายครอบครัว พี่รุ จ น์ และท าลายจิต ใจผมแบบนี้
เหมือนกัน” ปลายเสียงของเขาสันระรั
่ ว

“คนอย่างฉันไม่เคยทาลายใคร” ฉันจิม้ นิ้วชี้ลงบนหัวใจตัวเองแรงๆ “และฉันต่างหากทีเ่ ป็ น


คนถูกทาลาย ทัง้ จากคุณรุจน์ ครอบครัวของเขา จากคุณ และคุณแม่ของคุณ ” (ประภัสสร
เสวิกุล 2555, 313)
เมื่อต้องพบกับสัมพันธ์รกั อันยุ่งเหยิงและยากเกินจะกะเกณฑ์ใดๆ ได้ ประกอบกับลุงบักโจเสี ๊ ยชีวติ ด้วย
ความสะเทือนใจกับสัมพันธ์รกั ทีย่ ุ่งเหยิงในชีวติ ของอลิเซีย อลิเซียจึงตัดสินใจกลับไปใช้ชวี ติ ทีฟ่ ิ ลปิ ปิ นส์เพียงลาพัง
พร้อมหันหลังให้เรื่องราวทุกอย่างในเมืองไทย เธอกลับไปทาฟาร์มและประสบความล้มเหลว ก่อนจะไปเป็ นนักร้อง
อีกครัง้ โทนี่ ลานยังคงแวะเวียนมาหาอลิเซีย และชวนให้เธอไปร่ วมวงกับเขาและเอ็ดดี้ โอแคมโป ความสัมพันธ์
ของทัง้ สามสนิทสนมกันยิง่ ขึน้ เรื่อยๆ กระทังโทนี ่ ่มคี วามคิดทีจ่ ะเปลีย่ นไนต์คลับของเขาให้เป็ นเอ็นเตอร์เทนเมนต์
คอมเพล็กซ์ ความสัมพันธ์ของทัง้ สามคนจึงเริม่ เหินห่างกัน ขณะที่โทนี่กาลังทุ่มเทให้กบั การสร้างเอ็นเตอร์เทน
เมนต์คอมเพล็กซ์ต ามแผนการในหัว เอ็ดดี้กไ็ ด้หายตัวไปใช้ชวี ติ อยู่ท่เี กาะลูบงั วงดนตรีท่อี ลิเซียเคยร้องเพลง
จาต้องยุบลง อลิเซียออกไปตามหาเอ็ดดี้ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง ทว่าเอ็ดดี้ได้สารภาพรักกับอลิเซีย ด้วยความ
ใกล้ชดิ กันทาให้เอ็ดดีม้ เี พศสัมพันธ์กบั อลิเซีย ทว่าไม่ใช่ดว้ ยความรัก เนื่ องจากอลิเซียไม่ได้รกั เขา อย่างไรก็ตาม
ทันทีทโ่ี ทนี่ทราบเรื่องว่าทัง้ สองอยู่ดว้ ยกันก็ได้ตดิ ตามมาทีเ่ กาะลูบงั เมื่อไม่สามารถชักชวนให้อลิเซียกลับไปกับเขา
ได้ เขาก็ตดั สินใจจบชีวติ ตัวเองด้วยการเดินลงทะเล การเสียชีวติ ของโทนี่ ลานเป็ นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และทา
ให้อลิเซียต้องเก็บตัวอยู่คนเดียวเป็ นเวลานาน ไม่ตดิ ต่อกับใครอีก แม้ว่าจะเกิดความเปลีย่ นแปลงบางอย่างขึน้ ใน
ร่างกายซึง่ เป็ นเครื่องยืนยันถึงความสัมพันธ์ทเ่ี กิดขึน้ ระหว่างเอ็ดดีก้ บั อลิเซียก็ตาม
จะเห็นได้ว่า อลิเซียต้องพบกับความรักและความสัมพันธ์ทไ่ี ม่สมหวังเพราะไม่ อาจร่วมทางกันได้ตลอด
ช่วงชีวติ วัยสาว ไม่ว่าจะเป็ นในขณะทีอ่ ยู่ฟิลปิ ปิ นส์หลังสถานการณ์สงครามโลกครัง้ ทีส่ องสิน้ สุดลงแล้ว ขณะทีม่ า
พักใจที่เมืองไทย หรือแม้เมื่อกลับไปใช้ชวี ติ ทีฟ่ ิ ลปิ ปิ นส์อกี ครัง้ หนึ่งพร้อมบาดแผลหัวใจจากเมืองไทยก็ตาม นว
นิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอภาพหญิงสาวผู้เผชิญชะตากรรมรักแสนสาหัสทัง้ จากชายไทยและ
ฟิ ลปิ ปิ นส์ในลักษณะทีไ่ ม่อาจตัดสินใจเลือกทางเดินชีวติ ให้กบั ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับผูช้ ายคนใดได้ ทัง้ ยัง
ต้องจมอยู่กบั ความทุกข์จากความผิดหวังในความรักหลายต่อหลายครัง้

แม่ผู้พบกับความปวดร้าว
แม้ความรักทีอ่ ลิเซียพานพบในชีวติ จะฝากบาดแผลไว้มากมาย แต่ชวี ติ ของอลิเซียยังคงดารงอยู่ได้ดว้ ย
สายเลือดทีเ่ ป็ นความหวังเพียงหนึ่งเดียว อลิเซียได้กลายเป็ นแม่ทม่ี ลี ูกสาวชื่อลิซา ทัง้ สองใช้ชวี ติ อย่างเรียบง่าย
และอลิเซียก็ตดั สินใจทีจ่ ะไม่รอ้ งเพลงอีกต่อไป แต่กระนั น้ อลิเซียก็ยงั ต้องประสบกับความสูญเสียในชีวติ อันนามา
ซึง่ ความปวดร้าวในช่วงทีเ่ หตุการณ์ทางการเมืองภายในฟิ ลปิ ปิ นส์ยงั คงผันผวนอยู่ ดังความว่า

ข่าวคราวของลิซามาถึงฉัน หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 3 วัน เพื่อนของนักศึกษาซึง่ ร่วม


ชุมนุ มกับลิซาและริคาร์โดนาข่าวร้ายมาบอกฉันด้วยน้ าตานองหน้าและเสือ้ ผ้าขาดวิน่ เขา
เล่ า ว่ า คืน หนึ่ ง ในระหว่ า งการชุ ม นุ ม มีร ถมอเตอร์ไ ซค์แ ล่ น เข้า มาและปาระเบิด ใส่ ก ลุ่ ม

259
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นักศึกษา – เหตุการณ์เกิดขึน้ อย่างรวดเร็วและจบลงในเวลาเพียงไม่ก่นี าที แต่ผลของมัน


รุนแรงและเลวร้ายเกินคาดคิดมีคนเสียชีวติ ทันที 5 คนซึ่งรวมทัง้ ลิซา ส่วนริคาร์โดกับคน
อื่นๆ อีก 7 คนได้รบั บาดเจ็บสาหัส ต้องส่งตัวไปโรงพยาบาล และผู้ท่ตี กเป็ นเหยื่อทุกคน
ล้ ว นเป็ นคนหนุ่ ม สาวที่มีจิต ใจอัน บริสุ ท ธิง์ ดงาม เป็ นคนที่เ ป็ นอนาคตและพลัง ของ
ประเทศชาติ ความผิดของพวกเขามีอยู่เพียงอย่างเดียวคือกล้าพูดความจริงซึง่ ไม่มคี นฟิ ลปิ ิ
โนคนไหนเคยทามาตลอดระยะเวลา 30 ปี เศษทีม่ าร์กอสปกครองประเทศ

ฉันร้องไห้น้าตาแทบจะเป็ นสายเลือด และพร่าถามตัวเองว่าทาไมถึงต้องเป็ นลิซา อะนาเบล


ทาไมถึงต้องเป็ นลูกสาวคนเดียวของฉัน และเวลาเกือบ 20 ปี ทฉ่ี ันฟูมฟั กทะนุ ถนอมเลีย้ งดู
ลูกมาต้องสูญเปล่าภายในเวลาเพียงเสีย้ ววินาทีเช่นนี้หรือ (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 376)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า นวนิยายเล่าถึงเหตุการณ์ทอ่ี ลิเซียทราบข่าวการเสียชีวติ ของลิซาลูกสาว
เพียงคนเดียวของเธอ ซึ่งเสียชีวติ จากการไปร่วมชุมนุ มต่อต้านประธานาธิบดีเฟอร์ดนิ านด์ มาร์กอส พร้อมกับ
เพื่อนนักศึกษา อลิเซียคร่าครวญถึงความสูญเสียในครัง้ นี้ซง่ึ ยากทีใ่ ครจะชดเชยให้ได้ จากนัน้ ไม่นาน อลิเซียก็พบ
กับความสูญเสียอีกครัง้ เมื่อริคาร์โดซึง่ เป็ นคนรักของลิซาจากไปอย่างสงบหลังจากทีเ่ ข้ารักษาตัวจากการถูกทาร้าย
ในทีช่ ุมนุ ม (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 381) นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน นาเสนอภาพของ อลิเซียในฐานะ
แม่คนหนึ่งทีจ่ าต้องสูญเสียลูกสาวอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความผันผวนทางการเมืองในประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ ทัง้ ยัง
ต้องสูญเสียคนรักของลูกสาวในฐานะทีอ่ ลิเซียนับเขาเป็ นลูกคนหนึ่งเช่นกัน ความสูญเสียจากเหตุการณ์ดงั กล่าวทา
ให้อ ลิเ ซีย ต้อ งใช้ชีวิตเพีย งลาพัง โดยปราศจากที่ยึด เหนี่ ย วจิตใจ ดัง ที่ตัว บทกล่ า วว่ า “ชีวิต ของฉัน ไม่มีอ ะไร
หลงเหลืออยู่อกี ฉันปล่อยให้วนั เวลาผ่านไปอย่างเงียบเชียบและไร้ค่า” (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 381) อันแสดงให้
เห็นถึงความสิน้ หวังในชีวติ เนื่องมาจากความสูญเสียทีต่ อ้ งพานพบมาตลอด
จากที่กล่าวมาทัง้ หมดจะเห็นว่า ความทรงจาของอลิเซียที่ถูก ประกอบสร้า งขึ้นมิเ พียงน าเสนอภาพ
ประวัติศาสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ในความรับรู้ของคนไทยหรือนักเขียนไทยเท่านัน้ หากยังนาเสนอให้เห็นภาพของสตรี
ฟิ ลปิ ปิ นส์คนหนึ่งที่มชี วี ติ อยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ ดงั กล่าวและต้องพบกับความสูญเสียในชีวติ
หลายครัง้ ไม่ว่าจะในฐานะเด็กหญิงในครอบครัวทีจ่ าต้องพรากจาก หญิงสาวผูเ้ ผชิญชะตากรรมรักแสนสาหัส และ
แม่ผตู้ อ้ งพบกับความปวดร้าวในการสูญเสียลูกสาวไป กล่าวได้ว่าเพศภาวะของตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ถูกประกอบ
สร้างขึน้ ให้พบกับชะตาชีวติ ทีแ่ สนรันทดและรวดร้าว ไม่ต่างจากชะตากรรมของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ซง่ึ เป็ นภาพที่ถูก
นาเสนอผ่านนวนิยายด้วย ความสอดคล้องกันอย่างลงตัวนี้น่าจะเป็ นผลมาจากความตัง้ ใจของผูเ้ ขียนทีม่ งุ่ ให้เห็นถึง
ความน่ าสลดหดหู่ในประวัติศาสตร์ฟิลิปปิ นส์ตามความรับรู้และความเข้าใจของนัก เขียน อย่างไรก็ดี สิง่ ที่น่า
พิจารณาต่อไปก็คอื ความน่าสลดหดหู่ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์และตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ทถ่ี ูกนาเสนอผ่านนวนิยาย
นัน้ มีนยั สาคัญอย่างไร

กำรพินิจบทบำทของตัวละครชำวไทยในนวนิยำยเรื่อง มีเมฆบ้างเป็นบางวัน
ในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ตัวละครผูม้ บี ทบาทสาคัญคือตัวละครชาวไทยทีช่ ่อื รงค์ ชยายุทธ
ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ภายหลังจากทีร่ งค์ ชยายุทธ และคณะศึกษาดูงานเดินทางกลับจากสถานสงเคราะห์ถงึ
โรงแรมทีพ่ กั แล้ว อลิเซียได้เสียชีวติ ลง แม่ชอี ธิการแห่งสถานสงเคราะห์ได้ส่งสมบัตสิ ่วนตัวของอลิเซียให้รงค์ ชยา
ยุทธ ดังความว่า

260
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

มันไม่ใช่เอกสารของสถานสงเคราะห์หรือหนังสือทัวๆไป่ หากแต่เป็ นสมุดบันทึกเก่าๆเล่ม


หนึ่ง ปกสีน้ าตาลเข้มของมันคร่ าคร่าและถลอกปอกเปิ กจนไม่เหลือลวดลายใดๆ และเจือ
ด้วยกลิน่ ชืน้ ของกระดาษภายในเล่มทีค่ งจะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน

คุณชยายุทธทีน่ บั ถือ

สมุดบันทึกเล่มนี้เป็ นของอลิเซียเมื่อเข้าไปเก็บของและทาความสะอาดห้องของ
แกเมื่อเย็นนี้ จากทีอ่ ่านดูบางตอนพบว่ามีเรื่องทีอ่ ลิเซียได้เขียนถึงประเทศไทยและ
คนไทยบางคนทีแ่ กรูจ้ กั จึงคิดว่าบันทึกเล่มนี้น่าจะเป็ นประโยชน์ต่อคุณ มากกว่าที่
จะเก็บเข้าไว้เฉยๆ (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 45)
สมบัตสิ ่วนตัวของอลิเซียทีร่ งค์ ชยายุทธได้รบั ก็คอื สมุดบันทึกของอลิเซีย เนื้อความในสมุดบันทึกเล่าถึง
ความสูญเสียหลายต่อหลายครัง้ ในชีวติ ของอลิเซียและประวัติศาสตร์การต่อสูเ้ พื่ออิสรภาพของฟิ ลปิ ปิ นส์ตามที่
อลิเซียได้ประสบ เมื่อพิจารณาบทบาทของตัวละครรงค์ ชยายุทธในนวนิยายเรื่องนี้ พบว่า เขามิได้มเี พียงบทบาท
ในการพาคณะศึกษาดูงานไปเยีย่ มสถานทีต่ ่างๆ ในฟิ ลปิ ปิ นส์เท่านัน้ หากยังมีบทบาทในการติดตามความทรงจา
ของอลิเซีย และบทบาทในการ “ชาระความผิด” ให้แก่บรรพบุรุษชาวไทยด้วย

บทบาทในการ ิด ามความทรงจาของอลิเตี ย
เมื่อรงค์ ชยายุทธได้รบั สมุดบันทึกของอลิเซียจากแม่ชอี ธิการแห่งสถานสงเคราะห์ เขาได้อ่านสมุดบันทึก
นัน้ นอกจากจะรับรูเ้ รื่องราวชีวติ ของอลิเซียและประวัตศิ าสตร์ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ดงั ทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว เขายังได้
มีโอกาสติดตามร่องรอยความทรงจาของอลิเซียที่บนั ทึกอยู่ในสมุดบั นทึกเล่มนัน้ ขณะศึกษาดูงานอยู่ในประเทศ
ฟิ ลปิ ปิ นส์อกี ด้วย บทบาทดังกล่าวนับว่าสาคัญมาก เพราะเป็ นการนาเสนอความทรงจาของอลิเซียทีอ่ ยู่ในบันทึก
และช่วยสร้างความน่าติดตามให้แก่เรื่อง
ในช่วงหนึ่งทีค่ ณะศึกษาดูงานไปรับประทานอาหาร “แบบชาวบ้านๆ” ตามคาเชิญชวนของโจเซฟ ผู้เป็ น
มัคคุเทศก์ประจาคณะศึกษาดูงาน รงค์ชยายุทธก็ได้พบเข้ากับวัตถุแห่งความทรงจาระหว่างชาวฟิ ลปิ ปิ นส์กบั ชาว
ไทย ดังในบทสนทนาต่อไปนี้

“นอกจากข้าวต้มไทยแล้ว คุณมีอาหารอะไรทีเ่ ป็ นของไทยๆ อีกหรือเปล่าคะ” จิถ๊ าม

“ไม่มหี รอกครับ” เจ้าของบ้านสันศี


่ รษะ “นอกจากอีกอย่างหนึ่ง แต่กไ็ ม่ใช่อาหาร”

“อะไรหรือครับ” ป๊ อกถามด้วยความอยากรู้

“นาฬิกาเก่าๆ เรือนหนึ่ง” โจเซฟให้คาตอบ “และเป็ นนาฬิกาซึง่ มีประวัติผูกพันคนไทยกับ


คนฟิ ลปิ ปิ นส์” (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 120-121)
บทสนทนาข้างต้นกล่าวถึง “นาฬิกา” ซึ่งเป็ นนาฬิกาข้อมือ โจเซฟได้กล่าวถึงความเป็ นมาของนาฬิกา
ข้อมือดังทีก่ ล่าวไว้ว่า “คนทีข่ ายนาฬิกาเรือนนี้ให้ผม เล่าว่าเป็ นนาฬิกาทีน่ ักศึกษาไทยคนหนึ่งมอบให้เพื่อนชาว
ฟิ ลปิ ปิ นส์ในสมัยทีญ
่ ่ปี ่ ุนยึดครองฟิ ลปิ ปิ นส์ และมันได้ช่วยชีวติ ชาวฟิ ลปิ ปิ นส์คนนัน้ ให้รอดจากการถูกทหารญี่ป่ ุน
สังหาร” (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 122) จะเห็นได้ว่า ฉากดังกล่าวนัน้ ประภัสสร เสวิกุลได้กาหนดบทบาทให้รงค์

261
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ชยายุทธและคณะศึกษาดูงานได้ไปพบกับวัตถุแห่งความทรงจาเพื่อผูกเนื้อเรื่องให้ชวนติดตามยิง่ ขึน้ นาฬิกาข้อมือ


ในฐานะทีเ่ ป็ นวัตถุแห่งความทรงจา ได้รบั การกล่าวถึงอีกครัง้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ถ้าหากนาฬิกาของโจเซฟเป็ นเรือนที่คุณรุจน์ให้พ่อของคุณยายอลิเซียจริง ” ชายหนุ่ มตัง้


สมมุตฐิ าน “ก็หมายความว่านาฬิกาเรือนนัน้ ได้เคยช่วยชีวติ พ่อของคุณยายเอาไว้ และมันก็
คงมีความหมายทัง้ ต่อมิตรภาพของเพื่อนทีต่ ่างเชือ้ ชาติ และคุณยายอลิเซียเองเป็ นอย่าง
มากทีเดียว”

“แต่ถ้าไม่ใช่” เขาลดสายตาลงและมองออกไปนอกหน้าต่างของเครื่องบิน “มันก็ยงั คงเป็ น


ตัวแทนแห่งมิตรภาพระหว่างคนไทยกับคนฟิ ลปิ ปิ นส์อยู่เช่นเดิม ” (ประภัสสร เสวิกุล 2555,
145)
ตัวอย่างข้างต้นเป็ นตอนทีร่ งค์ ชยายุทธพูดกับตนเอง ภายหลังจากได้อ่านบันทึกของอลิเซียตอนหนึ่ง ซึง่
เล่าถึงเหตุการณ์ทน่ี ักเรียนไทยชื่อรุจน์ซง่ึ มาศึกษาในฟิ ลปิ ปิ นส์ 2ช่วงสงครามโลกครัง้ ที่สอง ได้มอบนาฬิกาข้อมือ
ให้แก่พ่อของอลิเซียเพื่อเป็ นที่ระลึกถึงมิตรภาพและความช่วยเหลือทีเ่ ขาได้รบั ก่อนกลับเมืองไทยตามคาสังของ ่
รัฐบาลไทย เมื่อแรกอ่านบันทึกจบ รงค์ ชยายุทธได้ประหวัดไปถึงนาฬิกาข้อมือทีพ่ บทีบ่ า้ นของโจเซฟและคิดไปว่า
เป็ นนาฬิกาเรือนเดียวกัน แต่เมื่อไม่อาจหาหลักฐานใดมายืนยันได้ รงค์ ชยายุทธก็สรุปว่า “มันก็ยงั คงเป็ นตัวแทน
แห่งมิตรภาพระหว่างคนไทยกับคนฟิ ลปิ ปิ นส์อยู่เช่นเดิม” โดยนัยนี้ ไม่ว่านาฬิกาข้อมือทัง้ สองจะเป็ นเรือนเดียวกัน
หรือไม่กต็ าม สถานะของนาฬิกาทัง้ สองก็คอื ตัวแทนแห่งมิตรภาพตามความเข้าใจของรงค์ ชยายุทธซึ่งเป็ นตัว
ละครเอกชาวไทย การค้นพบและการสร้างความหมายให้แก่นาฬิกาเรือนดังกล่าวก็ยนื ยันถึงบทบาทนาของตัว
ละครดังกล่าวได้อย่างดี
นอกจากนี้ ในการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างรงค์ ชยายุทธกับผูอ้ านวยการสานักงานประชาสงเคราะห์
ของฟิ ลปิ ปิ นส์ ช่วงหนึ่งของการสนทนา รงค์ ชยายุทธก็ได้สอบถามข้อสงสัยเกีย่ วกับอลิเซียด้วย ดังความว่า

“ผอ. มีแผ่นของนักร้องฟิ ลปิ ปิ นส์ทช่ี ่อื อลิเซียด้วยหรือเปล่าครับ” ชายหนุ่มถามออกไป

เสียงจากปลายสายเงียบไปชัวครู
่ ่

“คุณไปเอาชื่อนักร้องคนนี้มาจากไหน” ผูอ้ านวยการถามด้วยน้าเสียงทีเ่ ปลีย่ นไป (ประภัสสร


เสวิกุล 2555, 191)
จะเห็น ว่ า รงค์ ชยายุ ท ธได้ถามถึง แผ่ น เสียงเพลง “Amor” ของนัก ร้อ งหญิง ที่ช่ืออลิเ ซีย ทัง้ นี้ เ พราะ
เรื่องราวของอลิเซียที่อยู่ใ นบันทึกทาให้รงค์ ชยายุทธเข้าใจว่าเธอเป็ นนักร้อง ทว่าเมื่อได้ฟังคาถามดัง กล่ า ว
ผูอ้ านวยการสานักงานประชาสงเคราะห์ของฟิ ลปิ ปิ นส์กลับมีน้ าเสียงเปลีย่ นไป และหลังจากนัน้ ก็ปฏิเสธทีจ่ ะตอบ
คาถามเกีย่ วกับอลิเซียแม้จะให้ขอ้ มูลเพิม่ เติมว่าอลิเซียเคยร้องเพลงดังกล่าวและเคยมีช่อื เสียงในช่วงหลังสงคราม
ด้วยเหตุทผ่ี อู้ านวยการคนดังกล่าวน้าเสียงเปลีย่ นไป ทาให้รงค์ ชยายุทธค้นหานามบัตรทีผ่ อู้ านวยการเคยให้ไว้มา
อ่านข้อมูลบนบัตรอย่างละเอียดกระทังได้่ ทราบว่าผูอ้ านวยการนัน้ ชื่อ “ดร.ลอเรนซ์ ลาน” ทาให้รงค์ ชยายุทธนึกถึง
ข้อความในบันทึกของอลิเซีย ดังความว่า

2 อ่านเพิม่ เติมเกีย่ วกับนักเรียนไทยในฟิ ลปิ ปิ นส์ได้ใน อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู (2558)

262
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

“โทนี่ ลาน ลดมือทีก่ อดอกลง และดึงร่างฉันไปหาพร้อมโอบกอดฉันไว้แน่ น และก้มหน้าลง


จนลมหายใจร้อนผ่าวกระทบใบหน้าฉัน ก่อนจะประทับริมฝีปากของเขาลงบนปากฉันอย่าง
หนักหน่วง...”

ประโยคสุดท้ายในบันทึกของคุณยายอลิเซียแวบเข้ามาในความคิดคานึง

“หรือว่า...หรือว่า ผู้อานวยการเป็ นลูกหลานของโทนี่ ลาน” ชานหนุ่ มถามตัวเองในใจ “ถ้า


อย่างนัน้ คุณยายอลิเซียไปทาอะไรให้พวกเขาโกรธแค้นถึงขนาดทีไ่ ม่อยากจะพูดถึงแม้แต่
ชื่อ” (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 192)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า รงค์ ชยายุทธเชื่อมโยงชื่อของ “ดร.ลอเรนซ์ ลาน” ทีพ่ บบนนามบัตรเข้า
กับชื่อของโทนี่ ลานที่อ่านพบในบันทึกของอลิเซียและเข้าใจว่าทัง้ สองมีความสัมพันธ์กนั ทางสายโลหิต แม้รงค์
ชยายุทธจะไม่ได้สบื หาความจริงประเด็นดังกล่าวต่อ แต่ขอ้ สงสัยดังกล่าวนัน้ เป็ นเครื่องยืนยันถึงบทบาทของรงค์
ชยายุทธในการติดตามความทรงจาของอลิเซีย มิเพียงเท่านัน้ สิง่ ที่รงค์ ชยายุทธค้นพบจากการติดตามความทรง
จาของอลิเซียคือความสัมพันธ์ท่ยี ุ่ง เหยิงระหว่ างตัว ละครชาวฟิ ลิปปิ น ส์ด้วยกัน เอง ดังที่ได้กล่าวไปในตอนที่
วิเคราะห์ภาพนาเสนอเพศภาวะของตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ทต่ี อ้ งพบชะตากรรมรักแสนสาหัส นอกจากนี้ ปฏิกริ ยิ า
ของ ดร.ลอเรนซ์ ลาน ยังแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ทย่ี ุ่งเหยิงในชีวติ ของอลิเซียยังคงหลงเหลือร่องรอยความ
บาดหมางไว้ถงึ คนรุ่นลูกรุ่นหลานด้วย

บทบาทในการ “ชาระความผิด” ให้แก่บรรพบุ รุษชาวไทย


ไม่เพียงแต่การติดตามความทรงจาของอลิเซียในฟิ ลปิ ปิ นส์เท่านัน้ แต่รงค์ ชยายุทธยังมีบทบาทในการ
ติดตามความทรงจาของอลิเซียในประเทศไทยด้วย ทัง้ นี้เนื่องจากชีวติ ช่วงหนึ่งของอลิเซียได้มาทีป่ ระเทศไทยเพื่อ
เป็ นนักร้องในโรงแรม รงค์ ชยายุทธได้ไปขอความช่วยเหลือจาก “นิจ” ผูเ้ ป็ นน้า ดังข้อความว่า

เมื่อเห็นว่าหลานชายไม่อยู่ในอารมณ์ทจ่ี ะทายหล่อนก็เฉลยเสียเอง “ปกนิตยสารเก่าๆ ทีเ่ ขา


วางขาย และหนึ่งในปกเหล่านัน้ เป็ นภาพนักร้องต่างประเทศ 3 คนทีต่ ากล้องจับมาประชัน
โฉมกัน...”

“แปลว่าคนหนึ่งในนัน้ คืออลิเซียใช่ไหมครับ” รงค์ต่นื เต้น

“ที่ป กเขาไม่ ไ ด้ใ ส่ช่ือ ไว้ แต่ เ ทีย บจากปี พ.ศ. ที่ห น้ า ปกแล้ว น้ า จะคิด ว่ า น่ า จะเป็ น ช่ ว ง
เดียวกับอลิเซีย และถ้าตอนนัน้ อลิเซียดังขนาดนัน้ นักร้องคนใดคนหนึ่งก็น่าจะเป็ นหล่อน”
(ประภัสสร เสวิกุล 2555, 251)
จากข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อรงค์ ชยายุทธไปขอความช่วยเหลือจากน้านิจ น้านิจได้นานิตยสาร
เก่าซึง่ หน้าปกเป็ นภาพนักร้องต่างประเทศทีเ่ ข้ามาร้องเพลงเป็ นอาชีพในประเทศไทย แม้จะยังไม่สามารถระบุได้
ว่าใครคืออลิเซีย แต่นนก็
ั ่ แสดงให้เห็นว่า รงค์ ชยายุทธเริม่ เข้าใกล้สงิ่ ทีต่ อ้ งการค้นหามากขึน้
ในบันทึกของอลิเซียได้กล่าวถึงชื่อสถานที่ท่เี ธอมาร้องเพลงเมื่ออยู่ในประเทศไทย และนัน่ ก็เป็ นอีก
เบาะแสหนึ่งทีท่ าให้รงค์ ชยายุทธติดตามความทรงจาของอฺลเิ ซียในประเทศไทย ดังข้อความว่า

“อาจารย์มาหาใครหรือครับ”

263
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เด็กหนุ่ มถามด้วยความแปลกใจ เมื่อรงค์ ชยายุทธจอดรถในซอยเล็กๆ ริมถนนใหญ่ และ


เดินเรื่อยๆ ผ่านโรงแรมและอาคารสานักงานซึง่ ตัง้ อยู่ฟากทางในบรรยากาศของยามค่าคืน

“เมโทรโปลิตนั ” ชายหนุ่ มบอกและมองดูตกึ รามบ้านช่องทีส่ ว่างไสวด้วยแสงไฟ (ประภัสสร


เสวิกุล 2555, 295)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า รงค์ ชยายุทธมาตามหา “เมโทรโปลิตนั ” ซึง่ เป็ นชื่อของไนต์คลับในโรงแรม
ทีอ่ ลิเซียเคยมาร้องเพลงเมื่ออยู่ทป่ี ระเทศไทย อย่างไรก็ดี โรงแรมดังกล่าวไม่มแี ล้ว หากทว่าได้เปลี่ ยนเป็ นชื่ออื่น
และยังคงมีวงดนตรีรอ้ งเพลงอยู่เช่นเดิม รงค์ ชยายุทธจึงไปทีน่ นและขอเพลง
ั่ “ไม่เคยรักใครเท่าเธอ” จากวงดนตรี
ทีแ่ สดง และนับเป็ นความบังเอิญทีว่ งดนตรีดงั กล่าวยังมีคนทีเ่ ล่นและร้องเพลงนี้ได้อยู่
ภายหลังจากการแสดงคืนนัน้ สิน้ สุดลง นักดนตรีของวงได้เข้ามาทักทายและพูดคุยกับรงค์ ชยายุทธ บท
สนทนาช่วงหนึ่งมีว่า

รงค์ ชยายุทธจับมือทักทายนักดนตรีชายจากเวทีทม่ี าหาในช่วงพักวง พลางเชิญให้อกี ฝ่ าย


นังร่
่ วมโต๊ะ

“ขอบคุณ สาหรับเพลงเมื่อสักครู่ ชายหนุ่มเริม่ ต้นด้วยเสียงทีแ่ สดงความชื่นชม

“ผมไม่คดิ ว่าจะยังมีคนจาเพลงนี้ได้” นักดนตรีบอกขณะที่หนั ไปรับแก้วเบียร์ท่บี ริกรนามา


เสิรฟ์ “มันเก่าตัง้ 40-50 ปี มาแล้ว”

“แต่ ก็เป็ นเพลงที่ยงั คงความไพเราะ และคุณก็ร้องได้ดีมากจริง ๆ” รงค์ ชมเชย “แต่ ตอน


ก่อนที่จะร้องเพลง คุณพูดถึงนักร้องฟิ ลปิ ปิ นส์ ไม่ทราบว่าพอจะจาอะไรเกี่ยวกับหล่อนได้
บ้างครับ” (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 300)
จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นได้ว่า นักดนตรีของวงได้กล่าวถึงความเป็ นมาของเพลงที่รงค์ ชยายุทธ
ขอให้เขาเล่น นอกจากนี้ รงค์ ชยายุทธยังได้เบาะแสเพิม่ เติมเกี่ยวกับนักร้องฟิ ลปิ ปิ นส์ท่เี คยร้องเพลงดังกล่าว
ภายหลังการสนทนากับนักดนตรีทน่ี นั ่ รงค์ ชยายุทธได้เข้าใกล้ภาพชีวติ และความทรงจาของอลิเซียมากขึน้ ดังที่
ตอนหนึ่งของนวนิยายกล่าวว่า

รงค์ ชยายุทธวางสมุดบันทึกเล่มเก่าลงบนโต๊ะเขียนหนังสือ เขาทอดสายตามองภาพของ


นักร้องสาวสามคนจากปกนิตยสารเก่าๆ ทีไ่ ด้มาจากน้านิจ และโบรชัวร์ของโรงแรมริมถนน
สีลมที่ครัง้ หนึ่งเคยเป็ นทีต่ งั ้ ของไนต์คลับเมโทรโปลิตนั ที่คุณยายอลิเซียเคยร้องเพลงอยู่ ...
เรื่องราวต่างๆ เหมือนจิก๊ ซอว์ทค่ี ่อย ๆ ถูกต่อเป็ นร่าง โดยคุณปู่ ของเขาเป็ นเงารางๆ อยู่ขา้ ง
หลัง (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 305)
อนึ่ง ขณะที่อยู่เมืองไทย อลิเซียได้พบกับรุจน์อกี ครัง้ หนึ่งหลัง จากที่เคยพบกันในช่วงสงคราม มิเพียง
เท่านัน้ คนไทยอีกคนหนึ่งทีอ่ ลิเซียได้รจู้ กั และสนิทสนมด้วยยังเป็ นคนทีร่ งค์ ชยายุทธรูจ้ กั อย่างดีอกี ด้วย ในบันทึก
ของอลิเซียกล่าวไว้ว่า

264
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

นันเป็
่ นครัง้ แรกทีฉ่ นั เหยียบย่างเข้าสูบ่ า้ นของคุณนิค และพบปะแม่และญาติพน่ี ้องในตระกูล
“ชยายุทธ” ของเขา

“ชยายุทธ”

รงค์ ชยายุทธเงยหน้าจากสมุดบันทึก สีหน้าครุ่นคิด หัวคิว้ ขมวดเข้าหากัน

“หมายความว่า คุณนิคของคุณยายอลิเซีย คือคุณปู่ อย่างนัน้ หรือ”

เขาพลิกหน้าต่อไปของสมุดเล่มนัน้ ด้วยมือทีส่ นด้ ั ่ วยความรูส้ กึ ตื่นเต้นราวกับกาลังเดินทาง


ย้อนกลับไปสู่อดีต หรือการค้นพบเรื่องราวบางอย่างที่นึกไม่ถึง และเรื่องราวนัน้ มีความ
เกีย่ วพันทีใ่ กล้ชดิ กับบุคคลทีเ่ ขารูจ้ กั เป็ นอย่างดี (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 283-284)
จากข้อความจะเห็นได้ว่า บันทึกของอลิเซียกล่าวถึงตระกูล “ชยายุทธ” และคุณนิคซึ่งเป็ นคนในตระกูล
ดังกล่าว ทัง้ ยังสัมพันธ์กบั รงค์ ชยายุทธโดยตรงด้วย เพราะคุณนิคทีอ่ ลิเซียกล่าวถึงในบันทึกของเธอก็คอื ปู่ ของรงค์
ชยายุทธซึง่ เขารูจ้ กั เป็ นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านบันทึกไปเรื่อยๆ รงค์ ชยายุทธก็ได้พบกับเรื่องรักสามเส้าระหว่างอลิเซียกับคุณ
นิคผูเ้ ป็ นปู่ และรุจน์ผเู้ ป็ นเพื่อนรุ่นพีข่ องรงค์ ชยายุทธ รุจน์นนั ้ มีครอบครัวอยู่แล้ว ส่วนคุณนิคก็จาต้องแต่งงานกับ
คนที่ครอบครัวเลือกให้ อลิเซียหอบหัวใจทีเ่ จ็บช้ากลับไปฟิ ลปิ ปิ นส์ อย่างไรก็ดี อลิเซียได้เล่าในบันทึกไว้ว่าเธอ
เขียนจดหมายหาคุณนิค ทาให้รงค์ ชยายุทธเกิดความสงสัย ดังความว่า

“แล้วคุณยายรักคุณปู่ หรือเปล่า ” เขาถามด้วยความฉงน “คุณปู่ ได้รบั จุดหมายที่คุณยาย


อลิเซียเขียนมาถึงหรือเปล่า”

ความรูส้ กึ บางอย่างทาให้เขาผุดลุกขึน้ นัง่ และฉวยสมุดบันทึกของคุณยายอลิเซียขึน้ มาจาก


หัวเตียง ชายหนุ่ มใช้มอื ลูบไปทีป่ กหน้า ก่อนจะต่อไปทีป่ กหลัง – หัวใจเต้นแรงขึน้ เมื่อพบ
กับความผิดปกติ เขาสอดนิ้วเข้าไปในช่องว่างระหว่างปกสมุดกับตัวสมุด และผุดรอยยิ้ม
บางๆ เมื่อปลายนิ้วสัมผัสกับกระดาษทีซ่ ่อนอยู่ในนัน้ ... (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 383)
จากข้อความจะเห็นได้ว่า รงค์ ชยายุทธได้คลายความสงสัยของตนลงเมื่อได้ค้นพบจดหมายที่อลิเซี ย
เขียนถึงคุณนิค เนื้อความในจดหมายนัน้ เป็ นการสารภาพความในใจทีอ่ ลิเซียมีต่อคุณนิค บอกเล่าความเป็ นไปของ
ชีวติ หลังจากอลิเซียเดินทางจากกรุงเทพฯ กลับไปฟิ ลปิ ปิ นส์ รวมถึงการตอบข้อสงสัยต่างๆ ทีค่ ุณนิคเคยถามเมื่อ
ครัง้ ได้พบกันทีป่ ระเทศไทย จดหมายฉบับดังกล่าวยังทาให้รงค์ ชยายุทธคลายความสงสัยทีม่ ตี ่อเรื่องราวทัง้ หมด
ในชีวติ ของอลิเซียด้วย
จากทีก่ ล่าวมาจะเห็นได้ว่า นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ได้ให้ตวั ละครชาวไทย รงค์ ชยายุทธ เป็ น
ผูม้ บี ทบาทสาคัญในการติดตามความทรงจาของอลิเซีย ทัง้ จากการอ่าน การไปค้นพบวัตถุแห่งความทรงจา การ
ไปยังสถานที่ท่เี กี่ยวข้อง หรือแม้กระทังให้
่ เรื่องกลายเป็ นจุดไต้ตาตอเมื่อค้นพบว่าเรื่องเล่ าที่อยู่ในบัน ทึก นั น้
เกีย่ วข้องกับบรรพบุรุษของตนด้วย ไม่เพียงเท่านัน้ ในตอนจบของเรื่อง รงค์ ชยายุทธก็ยงั เป็ นผูท้ ม่ี บี ทบาทสาคัญ
อีกประการหนึ่งด้วย ดังความว่า

265
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รงค์ ชยายุทธก้มลงกราบทีล่ านหน้าเจดีย์องค์เล็กทีบ่ รรจุอฐั ขิ องคุณปู่ ก่อนวางสมุดบันทึก


ของคุณยายอลิเซีย และจดหมายทีค่ ุณยายเขียนถึงคุณปู่ ลงบนพืน้ แล้วใช้ไฟแช็กทีเ่ ตรียมมา
จ่อเปลวไฟกับสมุด ครู่เดียวไฟก็ลุกไหม้ทงั ้ สมุดและจดหมายเหลือเพียงเถ้า

“คุณปู่ และคุณยายอลิเซียของแกคงจะได้อยู่ร่วมกันเสียที” นิจเอ่ยขึน้ เบาๆ “ไม่น่าเชื่อที่ทงั ้


สองคนจะต้องรอให้เธอเป็ นบุรุษไปรษณียใ์ ห้”

“ผมดีใจทีม่ โี อกาสทาหน้าทีน่ ้ี” เขาพูดพร้อมลุกขึน้ ยืน (ประภัสสร เสวิกุล 2555, 392)


จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า รงค์ ชยายุทธได้นาสมุดบันทึกของอลิเซียและจดหมายทีอ่ ลิเซียเขียนถึง
คุณนิคมาเผาทีห่ น้าเจดียบ์ รรจุอฐั ขิ องคุณปู่ ของรงค์ ชยายุทธ หรือก็คอื คุณนิคของอลิเซีย การกระทาดังกล่าวเป็ น
สัญลักษณ์ของการให้อลิเซียและคุณนิคได้อยู่ดว้ ยกันในสัมปรายภพตามคติของคนไทย เนื่องจากเจดียบ์ รรจุอฐั นิ ัน้
อยู่ในบริเวณวัดและการเผาสิง่ ของให้ผู้วายชนม์กเ็ ป็ นการปฏิบตั ิของผู้ท่นี ับถือศาสนาพุทธ ขณะที่ธรรมเนียม
ปฏิบตั ขิ องผูน้ ับถือคริสต์ไม่มี บทบาทของรงค์ ชยายุทธในการติดตามความทรงจาของอลิเซียในประเทศไทยเป็ น
การตอกย้าถึงบทบาทสาคัญของตัวละครชาวไทยในนวนิยายเรื่องนี้ นอกจากนี้ยงั อาจพิจารณาได้ว่า การกระทา
ดังกล่าวเป็ นการชดเชยความสัมพันธ์ระหว่างอลิเซีย คุณนิค และรุจน์ ซึ่งจบลงอย่างปวดร้าวเมื่อคราวที่อลิเซีย
ได้มาเป็ นนักร้องที่เมืองไทยและเผชิญกับชะตากรรมรักดังที่ได้กล่าวไป ทัง้ ยังอาจตีความได้ว่า พฤติกรรมดัง
กล่าวคือการ “ชาระความผิด ” ให้กบั ตัวละครชาวไทยที่ได้ สร้างบาดแผลทางใจแก่สตรีชาวฟิ ลิปปิ นส์ โดยนัยนี้
ผูเ้ ขียนกาลังนาเสนอว่า ความทุกข์ระหว่างตัวละครชาวไทยกับตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์สามารถปลดเปลือ้ งได้ด้วย
ฝีมอื ของตัวละครชาวไทย ขณะทีค่ วามทุกข์ระหว่างตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ซง่ึ ไม่ผ่านการ “ชาระความผิด” ด้วยฝีมอื
ของตัวละครชาวไทยนัน้ ก็เพราะเป็ นเรื่องทีเ่ กินขอบเขตหน้าทีท่ ต่ี วั ละครชาวไทยจะกระทาได้

กระบวนทัศน์หลังอำณำนิคมกับนัยแห่งควำมหมำยในนวนิยำยเรื่อง มีเมฆบ้างเป็นบางวัน
การที่นวนิยายให้ตัวละครชาวไทยมีบทบาทสาคัญ ดังที่ก ล่าวมาข้างต้น น่ าจะมีนัย สาคัญ อัน สามารถ
พิจารณาด้วยกระบวนทัศน์หลังอาณานิคม (postcolonialism) ได้ กระบวนทัศน์ดงั กล่าวเป็ นผลมาจากการปูทาง
ของ “คติบูรพนิยม” (orientalism) ตามแนวความคิดของเอ็ดเวิร์ด ซาอิด (Edward Said) คติบูรพนิยมเป็ นวิธกี าร
ท าความเข้ า ใจ “โลกตะวัน ออก” (the orient) ที่ อ ยู่ บ นฐานคิ ด ที่ว่ า “โลกตะวัน ออก” เป็ นสถานที่ พิ เ ศษใน
ประสบการณ์ของชาวตะวันตกและชาวยุโรป เนื่องจากดินแดนส่วนใหญ่ในแถบนี้เป็ นดินแดนใต้อาณานิคมทีท่ งั ้
ยิง่ ใหญ่ทส่ี ดุ ร่ารวยทีส่ ดุ และเก่าแก่ทส่ี ดุ เป็ นแหล่งอารยธรรมและภาษา มีวฒ ั นธรรมทีน่ ่าตื่นตาตื่นใจ ทัง้ ยังมีภาพ
ของ “ความเป็ นอื่น” (the other) ซึง่ ทัง้ ลึกลับทีส่ ุดและชวนให้ต่นื ตระหนกทีส่ ุดด้วย ยิง่ ไปกว่านัน้ “โลกตะวันออก”
ยังช่วยนิยาม “โลกตะวันตก” ว่าเป็ นนิเสธหรือมีความขัดแย้งกับ “โลกตะวันออก” ในลักษณะตรงข้ามกันอย่าง
สิ้นเชิง ทัง้ ในแง่ภาพลักษณ์ ความคิด บุคลิกลักษณะ และประสบการณ์ ชวี ติ กล่าวได้ว่า “โลกตะวันออก” เป็ น
เครื่องมือสาคัญสาหรับนิยาม “ความศิวไิ ลซ์” และวัฒนธรรมของ “โลกตะวันตก” (Said 2003, 1-2) โดยนัยนี้ หาก
นิยามว่า “โลกตะวันออก” เป็ นผูห้ ญิงทีอ่ ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ก็จะนิยาม “โลกตะวันตก” ได้ว่าเป็ นผูช้ าย
ทีม่ คี วามเข้มแข็ง มีความเป็ นผูน้ า ช่วยเหลือผูอ้ ่นื ได้ ทาให้ “โลกตะวันออก” ต้องมี “โลกตะวันตก” คอยชีน้ า
แม้ว่ายุคอาณานิคมจะจบสิน้ ลงไปแล้วตัง้ แต่หลังสมัยสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง แต่ “อาณานิคม” ก็มไิ ด้สน้ิ สุด
ลงอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากการถือสิทธิเหนือดินแดนต่างๆ และการครอบงาทัง้ ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมยังคงดารงอยู่ ทัง้ ยังได้กลายรูปจากยุคอาณานิคมไปสู่ยุคหลังอาณานิคม กระบวนทัศน์หลังอาณานิคม

266
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เป็ น ระบบความคิด ที่วิพ ากษ์ ป รากฏการณ์ อ าณานิ ค มที่ย ัง คงหลงเหลือ อยู่ใ นโลกปั จ จุ บ ัน ทัง้ ในมิติก ารเมือ ง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เนื่องจากสิง่ เหล่านี้ยดึ ถืออารยธรรมตะวันตกเป็ นมาตรฐานและยังแผ่ซ่านไปยังภูมภิ าคต่างๆ
ทัวโลก
่ จุดมุ่งหมายของกระบวนทัศน์หลังอาณานิคมก็เพื่อพยายามรือ้ ถอนระบบความคิดและระบบความสัมพันธ์
เชิงอานาจทีต่ ะวันตกมีต่อตะวันออก (พรธาดา สุวธั นวนิช 2547, 53-55) นอกจากนี้ กระบวนทัศน์หลังอาณานิคม
จะเปิ ดเผยให้เห็นวิธกี ารทีเ่ จ้าอาณานิคมใช้นาเสนอภาพคนพืน้ ถิน่ เพื่อครอบงาและชวนเชื่อในเชิงวัฒนธรรม เพื่อ
มุ่งแสดงให้เห็นว่า ภาพนาเสนอเหล่านัน้ ถูกประทับ แฝงฝั ง หรือปรับเปลีย่ นไปอย่างไรในวรรณกรรม (Lynn 2005,
152) ทีผ่ ่านมามีผนู้ ากระบวนทัศน์หลังอาณานิคมมาศึกษาวรรณกรรมไทยอยู่บา้ ง 3 นับว่าเป็ นอีกทางเลือกหนึ่งที่
น่าสนใจของการศึกษาวรรณกรรมไทย
เมื่อนากระบวนทัศน์ดงั กล่าวมาพิจารณาบทบาทของตัวละครชาวไทยในนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบาง
วัน พบว่า บทบาทในการติดตามความทรงจาร่วมทางสังคมของฟิ ลปิ ปิ นส์เป็ นบทบาทของตัวละครชาวไทย อีก
ทัง้ ตัวละครดังกล่าวยังมีบทบาทในการ “ชาระความผิด” ให้แก่ตวั ละครบรรพบุรุษชาวไทยด้วย ขณะทีค่ วามทรงจา
ของอลิเซียในสมุดบันทึกทีถ่ ูกติดตามดังกล่าวนัน้ เป็ นของตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ทถ่ี ูกประกอบสร้างขึน้ โดยนักเขียน
ไทย สมุดบันทึกเล่มดังกล่าว “ถูกทาลาย” ในตอนท้ายเรื่องด้วยฝีมอื ของตัวละครชาวไทยและคติความเชื่อแบบไทย
นอกจากนี้ การทีน่ กั เขียนประกอบสร้างเพศภาวะของสตรีฟิลปิ ปิ นส์ผ่านสมุดบันทึกความทรงจายังฉายภาพให้เห็น
ถึงตัวละครนักเรียนไทยในฟิ ลปิ ปิ นส์ช่อื รุจน์ตามทีอ่ ลิเซียบันทึกไว้ รุจน์เป็ นนักเรียนไทยทีเ่ คยช่วยเหลืออลิเซียกับ
ลุงบักโจในช่
๊ วงที่ฟิลิปปิ นส์ตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครัง้ ที่สอง ภาพของตัวละครรุจน์น้ีมเิ พียงเป็ นชาวไทยผูม้ ี
พระคุณต่ออลิเซียในช่วงเวลาแห่งความโหดร้ายเท่านัน้ หากยังมีนัยโต้กลับภาพนักเรียนไทยในฟิ ลปิ ปิ นส์ซ่งึ มี
ลักษณะ “อันตราย” แตกต่างจากนักเรียนนอกทีไ่ ปศึกษาในประเทศอื่นด้วย4 จะเห็นได้ว่า ผูเ้ ขียนให้ความสาคัญกับ
ตัวละครชาวไทยทัง้ ทีอ่ ยู่ในความทรงจาของอลิเซียและทีเ่ ป็ นผูด้ าเนินเรื่องในฐานะผูช้ ่วยเหลือ ขณะทีต่ วั ละครสตรี
ชาวฟิ ลปิ ปิ นส์อยู่ในสถานะของผูร้ บั การช่วยเหลือ ทัง้ จากทีป่ รากฏผ่านความทรงจาในสมุดบันทึกและจากบทบาท
ของรงค์ ชยายุทธทีม่ ตี ่อสมุดบันทึกนัน้ สถานะผูช้ ่วยเหลือและผูร้ บั การช่วยเหลือแสดงถึงลาดับชัน้ สูงต่ า กล่าวคือ
ผูช้ ่วยเหลือมีลาดับทีส่ งู กว่าผูร้ บั การช่วยเหลือ โดยนัยนี้ “ไทย” จึงแฝงไว้ดว้ ยสถานะทีส่ งู กว่าดังบทบาทตัวละครที่
ปรากฏในนวนิยาย และในขณะเดียวกันก็ทาให้ “ฟิ ลปิ ปิ นส์” ในฐานะผูร้ บั การช่วยเหลืออยู่ในสถานะทีต่ ่ากว่า
เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาถึงการนาเสนอภาพประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์โดยผลิตซ้าความเข้าใจทีค่ นไทยมี
ต่อฟิ ลปิ ปิ นส์มากกว่าจะนาเสนอภาพประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ทห่ี ลากหลาย กับการประกอบสร้างเพศภาวะของตัว
ละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์อย่างตัง้ ใจให้เห็นถึงความน่ าสลดหดหู่ของชีวติ อย่างสอดคล้องกับภาพนาเสนอประวัตศิ าสตร์
ตามความรับรูแ้ ละความเข้าใจของนักเขียน ดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วตอนต้น เหล่านี้ลว้ นแสดงถึงอานาจในการเขียน
และการน าเสนอเรื่อ งราวเกี่ย วกับ ฟิ ลิป ปิ นส์ข องนั ก เขีย นไทย กล่ า วคือ การที่ผู้ เ ขีย นเลือ กน าเสนอภา พ
ประวัตศิ าสตร์ของประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์และประกอบสร้างตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ในลักษณะทีน่ ่ าสลดหดหู่เป็ นกลวิธี
การเขียนทีเ่ ปิ ดโอกาสให้ผอู้ ่านชาวไทยได้แสดงความรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันแสนโหดร้ายของประเทศ
ฟิ ลปิ ปิ นส์ ซึ่งเป็ นสถานะที่สูงกว่า ขณะที่ภาพนาเสนอประวัติศาสตร์ฟิลปิ ปิ นส์และตัวละครสตรีฟิลปิ ปิ นส์ซ่งึ ถูก
นาเสนอในด้านเดียวกลับไม่มโี อกาสได้แสดงอารมณ์ ความรู้สกึ แบบอื่นนอกเหนือจากความน่ าสลดหดหู่ ภาพ

3 อ่านละเอียดได้ใน พรธาดา สุวธั นวนิช (2547) นัทธนัย ประสานนาม (2550) และสุรยั ยา สุไลมาน (2552)
4 อ่านรายละเอียดเกีย่ วกับทัศนคติตอ่ นักเรียนไทยในฟิ ลปิ ปิ นส์ได้ใน อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู (2558)

267
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ดังกล่าวในนวนิยายทาให้ฟิลปิ ปิ นส์ได้รบั แต่ เพียงความรู้สกึ เห็นอกเห็นใจจากผู้อ่านชาวไทย มากกว่าจะได้รบั


ความเข้าใจแง่มุมต่างๆ เกีย่ วกับประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์จากมุมมองทีห่ ลากหลาย
การพิจารณานวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ด้วยคติบรู พนิยมสามารถนาเสนอเป็ นตารางได้ดงั นี้
เจ้าอาณานิ คม / ประเทศไทย ดิ นแดนอาณานิ คม / ประเทศฟิ ลิ ปปิ นส์
- บทบาทผูน้ า - บทบาทผูต้ าม
- บทบาทการติดตามความทรงจา - ความทรงจาทีถ่ ูกติดตาม
- ผูเ้ ผาทาลายสมุดบันทึก - สมุดบันทึกทีถ่ ูกทาลาย
- อานาจในการเขียนเรื่องเกีย่ วกับฟิ ลปิ ปิ นส์ - ภาพของฟิ ลปิ ปิ นส์ทถ่ี ูกนาเสนอผ่านนวนิยาย
- ตัวละครชาวไทยในฐานะผูช้ ่วยเหลือ - ตัวละครชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ในฐานะผูร้ บั การช่วยเหลือ
- ผูแ้ สดงความรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจต่อชะตากรรมอันโหดร้าย - ผูไ้ ด้รบั ความรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจแต่เพียงด้านเดียว
ของฟิ ลปิ ปิ นส์ จากผูอ้ ่านชาวไทย

จากตารางจะเห็นได้ว่า แม้นวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน จะนาเสนอภาพความสัมพันธ์ระหว่างตัว


ละครชาวไทยและฟิ ลปิ ปิ นส์ตามจุดมุ่งหมายของโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนที่มุ่งสร้างมิตรภาพและความ
เข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียน ทว่านวนิยายเรื่องนี้ยงั แฝงนัยแห่งการสถาปนาอานาจนาผ่าน
การเขียนเกีย่ วกับประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ทงั ้ ในระดับเนื้อหาและระดับโครงสร้างของวรรณกรรม
เมื่อพิจารณาบทบาทของไทยในระดับภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ไทยมีบทบาทสาคัญในการ
ผลัก ดัน ความร่วมมือ ของประเทศในภูมิภาคให้คืบหน้ ามาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่า งยิ่งการเชิญ ให้ร ัฐมนตรี
ต่างประเทศจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิ ลปิ ปิ นส์ และสิงคโปร์มาหารือร่วมกันและลงนามในปฏิญญากรุงเทพเพื่อ
ก่อตัง้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ พ.ศ. 2510 การผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ
อาเซียนโดยจัดตัง้ เขตการค้าเสรีอาเซียนเมื่อ พ.ศ. 2535 หรือแม้กระทังการตั
่ ง้ ประชาคมอาเซียนในปั จจุบนั (ไทย
กับอาเซียน 2555) และโดยนัยนี้ประเทศอื่นๆ ก็จะมีสถานะเป็ นผูต้ ามหรือให้ความร่ วมมือในการดาเนินการต่างๆ
ในระดับภูมภิ าค
แม้โครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ
สมาชิกของประชาคมอาเซียน ให้สมาชิกแต่ละประเทศได้เรียนรูซ้ ง่ึ กันและกัน อันจะนาไปสู่ความเป็ นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน มันคง
่ มังคั
่ ง่ และมีสนั ติภาพทีย่ งยื
ั ่ น แต่ประภัสสร เสวิกุล (2557, สัมภาษณ์ ) ได้กล่าวถึงภาพรวมของ
วรรณกรรมในโครงการนี้ว่า เนื้อหาต้องการนาเสนอประวัติศาสตร์ของประเทศในภูมภิ าคนี้โดยนับจากปั จจุบนั
ย้อนหลังไปไม่เกินช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ขณะทีว่ รรณกรรมเกีย่ วกับประเทศไทยซึง่ จะเขียนเป็ นลาดับสุดท้าย
ในโครงการมีเนื้อหาตัง้ แต่การก่อตัง้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ พ.ศ. 25105 ความแตกต่าง
ของเนื้อหาวรรณกรรมทีอ่ ยู่ในโครงการเดียวกันมีนยั สาคัญถึงอานาจในการเขียนซึง่ ไทยในฐานะเจ้าของโครงการมี
เหนือกว่าประเทศอื่นๆ อันเป็ นการตอกย้า ถึงอานาจนาของไทยอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบทบาทนาในภูมภิ าค

5 อย่างไรก็ด ี การเสียชีวติ ของประภัสสร เสวิกุลเมือ่ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2558 มิเพียงทาให้โครงการนี้ชะงักไป หากยังทาให้ขาดหลักฐานวรรณกรรมที่


ยังเขียนไม่จบหรือยังไม่ได้เขียนมาเป็ นเครือ่ งยืนยันคากล่าวนี้ดว้ ย

268
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉกเช่นทีผ่ ่านมา ทัง้ ยังเทียบทับได้กบั บทบาทของเจ้าอาณานิคมในอดีต และโดยนัยนี้ก็


เป็ นการผลักให้ประเทศอื่นๆ มีบทบาททีเ่ ทียบทับได้กบั การเป็ นดินแดนใต้อาณานิคมโดยไม่รตู้ วั
อนึ่งมีขอ้ น่ าสังเกตว่า โครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนถือกาเนิดขึน้ ในช่วงที่ประเทศไทย “ตกต่ า” ลง
โดยเฉพาะในด้า นการเมือ งและความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งประเทศเพื่อ นบ้า น ไม่ ว่ า จะเป็ น เหตุ ก ารณ์ ร ัฐประหาร
พ.ศ.2549 ซึ่งตามมาด้วยมหกรรมความขัดแย้งและการแบ่งสีแบ่งฝ่ าย กรณี “เขาพระวิหาร” ซึ่งเป็ นข้อพิพาท
ระหว่างไทยและกัมพูชามายาวนานหลายปี หรือการบุกล้มเวทีประชุมผูน้ าอาเซียนเมื่อปี 2552 เป็ นต้น เหตุการณ์
เหล่านี้แสดงถึงความไม่มนคงทางการเมื
ั่ องซึง่ ทาให้ไทยเสือ่ มความน่าเชื่อถือในเวทีระดับอาเซียนและรวมไปถึงใน
เวทีระดับโลก โครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนทีป่ ระเทศไทยเป็ นผูร้ เิ ริม่ จึงมิเพียงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมิตรภาพ
และความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนเท่านัน้ หากยังอาจกล่าวได้ว่าเป็ นเครื่องกอบกู้
สถานะของประเทศไทยในเวทีอาเซียน ทว่าความสาเร็จของโครงการในระดับภูมภิ าคอาเซียนเป็ นอีกเรื่องหนึ่งที่ยงั
ไม่มกี ารกล่าวถึงแต่อย่างใด

ควำมส่งท้ำย
การก้าวเข้าสู่ความเป็ นประชาคมอาเซียนนอกจากจะกระทาผ่านข้อตกลงที่สร้างขึน้ ร่วมกันในระดับ
ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว การสร้างความรูค้ วามเข้าใจในระดับบุคคลก็สาคัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากัน แม้
โครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับชีวติ ความเป็ นอยู่ ภูมหิ ลังทางสังคม
และวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศสมาชิกผ่า นตัวบทวรรณกรรม อันจะนาไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันและกลายเป็ น
ประชาคมอาเซียนทีเ่ ข้มแข็ง ทว่าจากการพินิจนวนิยายเรื่อง มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน ด้วยกระบวนทัศน์หลังอาณา
นิคมพบว่า นวนิยายเรื่องนี้แฝงไว้ซง่ึ อานาจนาของนักเขียนไทยในการนาเสนอเรื่องราวเกีย่ วกับประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์
จากมุมมองหรือทัศนคติของคนไทยมากกว่าจะเป็ นการนาเสนออย่างรอบด้านจากมุมมองที่หลากหลาย อันอาจ
กล่าวได้ว่าเป็ นการสร้างความเข้าใจจากเพียงด้านเดียว อานาจดังกล่าวทาให้ประเทศไทยในฐานะเจ้าของโครงการ
วรรณกรรมเพื่ออาเซียนมีบทบาทที่สามารถเทียบทับได้กบั บทบาทของเจ้าอาณานิคม ขณะเดียวกันก็ผลักให้
ประเทศอื่นๆ ในภูมภิ าคกลายเป็ น “อาณานิคม”
ข้อควรตระหนักจากการศึกษาครัง้ นี้กค็ อื วรรณกรรมเรื่องหนึ่งๆ ในฐานะที่เป็ นเรื่องเล่ามิได้ทาหน้ าที่
สะท้อนความเป็ นจริงทางสังคมแบบตรงไปตรงมาเฉกเช่นลักษณะการสะท้อนภาพในกระจกเงาแต่เพียงอย่างเดียว
อีกต่อไปแล้ว หากทว่ายังซ่อนแฝงไว้ด้วยอุดมการณ์ทางสังคมบางประการที่มาพร้อมกับอานาจในการกาหนด
อุดมการณ์ผ่านการนาเสนอเรื่องเล่านัน้ และการใช้วรรณกรรมเพื่ อจุดประสงค์ใดก็ตามย่อมหลีกเลี่ยงอุดมการณ์
และอานาจเบือ้ งหลังทีค่ อยกากับอุดมการณ์เหล่านัน้ มิได้
ในปั จจุบนั มิได้มีแต่ เพียงโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียนเท่านัน้ ที่มนี วนิยายที่ใช้ฉากท้องเรื่องเป็ น
ประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับประเทศเหล่านัน้ ผ่านตัว
บทวรรณกรรม สานักพิมพ์บางแห่งก็ได้สร้างสรรค์วรรณกรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
ประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกัน จึงน่าทีจ่ ะศึกษาต่อไปเพื่อเผยให้เห็นว่า ในการสร้างความ
เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งล้วนแฝงไว้ดว้ ยอานาจและอุดมการณ์บางอย่างทีจ่ ะสร้างความเข้าใจนัน้ ให้เกิดขึน้ ตามทีไ่ ด้
ตัง้ จุดประสงค์ไว้ แม้ว่าจะไม่มใี ครได้ตระหนักถึงอานาจนัน้ ก็ตาม

269
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รำยกำรอ้ำงอิง
ทิพย์อุบล ดาบสุวรรณ และ ศิวพร ชัยประสิทธิกุล. 2520. ประวัตศิ าสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้า
มาของตะวันตกถึงสิ้นสงครามโลกครัง้ ที ่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
ไทยกับอาเซียน. (2555, ธันวาคม 3). ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 25, 2559. จาก http://www.mfa.go.th/asean/
contents/files/other-20121203-162828-142802.pdf
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และ ปี เตอร์ เอ. แจ็คสัน. 2556. เพศหลากเฉดสี: พหุวฒ ั นธรรมทางเพศในสังคมไทย.
กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร.
นัทธนัย ประสานนาม. 2550. “วรรณคดีมรดกของไทย: การอ่านใหม่ดว้ ยแนวคิดหลังอาณานิคม.” ใน วารสาร
สังคมลุ่มน้ าโขง 3 (2), 91-108.
ประชาคมอาเซียน. (2555, พฤศจิกายน 26). ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 25, 2559. จาก http://www.mfa.go.th/
asean/contents/files/asean-media-center-20121126-190330-788160.pdf
ประภัสสร เสวิกุล. 2555. มีเมฆบ้างเป็ นบางวัน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พบั ลิเคชันส์
่ .
———. 2557. สัมภาษณ์. 10 กุมภาพันธ์.
พรธาดา สุวธั นวนิช. 2547. “กระบวนทัศน์หลังอาณานิคมกับการวิจารณ์วรรณกรรมไทย.” ใน วารสาร
มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ 26 (2), 53-63.
ลักษณาจันทร เลาหพันธุ.์ 2555. “คานิยม.” รักในม่านฝน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พบั ลิเคชันส์
่ .
วัชระ สินธุประมา. (2557, ตุลาคม–2558, มีนาคม). “ประวัตศิ าสตร์ฟิลปิ ปิ นส์ในงานวิชาการไทย: สารวจ
ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ในบริบทอาณาบริเวณศึกษาและประวัตศิ าสตร์โลก.” วารสารประวัตศิ าสตร์ 1 (2),
203-242.
สีดา สอนศรี. 2545. คู่มอื ประเทศฟิลปิ ปิ นส์. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมภิ าค.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. 2559. ทฤษฎีวรรณคดีวจิ ารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที ่ 20. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุรยั ยา สุไลมาน. 2552. “จาก แจ็ค ผูฆ้ า่ ยักษ์ ถึง พระอภัยมณี และสังข์ทอง: การอ่านแนวหลังอาณานิคม.”
วารสารอักษรศาสตร์ 38 (1), 119-165.
อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. (2558, กรกฎาคม–ธันวาคม). ““นักเรียนฟิ ลปิ ปิ นส์” ในทัศนะวิจารณ์ของชนชัน้ นาไทยต่อ
นักเรียนนอกก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา.” ชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทศั น์ 4 (7),
559-574.

Baclagon, U. S. 1952. Philippine Campaigns. Manila: U. S. Baclagon.


Lathey, G. 1999. The Impossible Legacy: Identity and Purpose in Autobiographical Children’s Literature in
the Third Reich and the Second World War. Bern: Peter Lang.
Lynn, S. 2005. Texts and Contexts: Writing about Literature with Critical Theory. 4th ed. New York:
Pearson Education.
Nora, P. 1996. “General Introduction: Between Memory and History.” Translated by Arthur Goldhammer.
In Realms of Memory: Rethinking the French Past. Volume I: Conflicts and Divisions. Edited by
Pierre Nora and Lawrence D. Kritzman. New York: Columbia University Press.
Said, E. W. 2003. Orientalism. New York: Vintage Books.

270
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P1-R1-01

“จีน” ในมุมมองของเวียดนาม
่ บ
วิเคราะห์ผ่านหนังสือ ข้อเท็จจริงเกียวกั
่ านมา
เวียดนาม-จีนช่ วง 30 ปี ทีผ่
(Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua)

ธนนันท์ บุ ่นวรรณา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “จีนในสายตาเวียดนาม” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์วิจัยพหุลักษณ์


สังคมลุ่มน้าโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

271
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
เวียดนามและจีนมีความสัมพันธ์ก ันมาอย่ างยาวนาน มีทงั ้ ความเป็ นศัตรูคู่อาฆาตและเป็ นมหามิต ร
สลับกันไปตามบริบทยุคสมัยแห่งประวัตศิ าสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วง ค.ศ.1945-1954 เวียดนามแสดงทัศนะ
ต่ อจีนเป็ นเชิงบวกจากการใช้คา/วลีท่วี ่า “จีนเป็ นพี่น้อง” “จีนเป็ นสหาย (เพื่อน)” และ “จีนเป็ นเพื่อนบ้าน” ซึ่ง
สะท้อนให้เห็นสัมพันธภาพอันดีของสองประเทศอย่างเห็นได้ชดั เจน (Boonwanna 2015) จากการสารวจผลงาน
ทางวิชาการไทยมักศึกษาเรื่องเวียดนามและจีนในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลงานโดยมากจัดอยู่ใน
กลุ่ ม งานด้า นรัฐศาสตร์สาขาการระหว่า งประเทศและการทูต เช่ น ผลงานของอนุ พงศ์ บุ ญ ฤทธิ ์ (2529) เรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนามในช่วงปี ค.ศ.1969-1979 ศึกษากรณีนโยบายต่างประเทศจีน ผลงานของ
ไพรัช เจียระนันท์ (2531) เรื่อง นโยบายการต่างประเทศของเวียดนามต่อจีน ค.ศ.1945-1979 และ ผลงานของ
กันยารัตน์ อัง คณาวิศลั ย์ (2541) เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามในบริบทของอาเซียน : ยุคหลัง
สงครามเย็น เป็ นต้น แต่ยงั มีขอ้ จากัดคือเป็ นการศึกษาผ่านเอกสารภาษาอังกฤษและภาษาไทย
บทความวิจยั เรื่อง ““จีน” ในมุมมองของเวียดนามวิเคราะห์ผ่านหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีน
ช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา (Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua)” (อาจ) ไม่ใช่งานทีต่ อ้ งการตอบโจทย์
เช่นผลงานข้างต้น เพียงแต่ตอ้ งการศึกษาว่า เวียดนามมีมุมมองต่อจีนเป็ นอย่างไร (เบือ้ งต้นของบทความชิน้ นี้คอื
การมองเฉพาะประเด็นแต่จะยังไม่วเิ คราะห์ ปัจจัยของการเขียนงาน) โดยมองผ่านหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับ
เวียดนาม-จีนช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา ซึง่ เป็ นเอกสารร่วมสมัยของเวียดนามและเป็ นตัวแทนของพรรคและรัฐเวียดนาม
บทความชิ้น นี้ แ บ่ ง การน าเสนอออกเป็ น 3 ส่ ว น คือ 1) สัง เขปรายละเอีย ดของหนั ง สือ ข้อ เท็จ จริงเกีย่ วกับ
เวี ย ดนาม-จี น ช่ ว ง 30 ปี ที ผ่ ่ า นมา (ปี 1949-1979) และภู มิ ห ลั ง ความสัม พั น ธ์ เ วี ย ดนาม -จี น ก่ อ นปี 1979
2) “จีน” ในมุมมองของเวียดนามวิเคราะห์ผ่านหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา และ
3) บทสรุปและข้อเสนอแนะ

1) สังเขปเกี่ยวกับหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่ วง 30 ปี ทผ


ี่ ่านมา และภูมิหลังควำมสัมพันธ์เวียดนำม-จีน
ก่อนปี 1979
1.1. สังเขปเกี่ยวกับหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่ วง 30 ปี ทผ
ี่ ่านมา (1949-1979)
หนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา (Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong
30 nam qua) เป็ นแถลงการณ์ สาคัญของกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามจัดอยู่ในประเภทเอกสารชัน้ ต้นที่
ตีพิมพ์เผยแพร่โดยรัฐบาลเวียดนาม 1 (ไพรัช เจียระนันท์ 2531, 21) เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ครัง้ แรกเมื่อวันที่ 4
ตุ ลาคม 1979 โดยสานัก พิม พ์สึเ ทิต (Su that) ซึ่ง เป็ น หน่ ว ยงานภายใต้ก ารก ากับดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์
เวียดนาม จัดตัง้ ขึน้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1945 โดยเจื่องจิง (Chuong Trinh) เป็ นผู้รบั ผิดชอบและเป็ นผู้กาหนด
ทิศทาง (Nguyet Ha n.d.) หนังสือเล่มนี้หรือเรียกอีกอย่างว่า “สมุดปกขาว” บรรจุเนื้อหาจานวน 112 หน้า (ไม่นับ
รวมภาพประกอบอื่น) ในส่วนวัตถุประสงค์การพิมพ์เผยแพร่นนั ้ ทางสานักพิมพ์ไม่ได้กล่าวไว้ชดั เจน เพียงแต่กล่าว
ในส่ว นของบทน าเพีย งไม่ ก่ีบ รรทัด ว่ า “เพือ่ ตอบโต้พฤติกรรมการขยายอานาจของปั กกิง่ ทีม่ ีต่อเวียดนามใน
ช่วงเวลาทีย่ าวนาน” (Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua 1979, 3) หนัง สือ เล่ มนี้ นับเป็ น

1 หนังสือ/สมุดปกขาวเรือ่ ง ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีน ช่วง 30 ปีทผี ่ า่ นมานัน้ เสมือนเป็ นตัวแทนทีส่ ะท้อนมุมมอง/ทัศนะของพรรคและรัฐเวียดนาม


(ทีม่ ตี ่อจีน) ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จะขอใช้คาเรียกชื่อผูเ้ รียบเรียงหนังสือเล่มนี้ (กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม) ว่า “เวียดนาม” แต่หากมีการใช้เอกสารอื่นมา
ประกอบเสริมการวิเคราะห์ทน่ี อกเหนือจากหนังสือเล่มนี้แล้วผูว้ จิ ยั ก็จะระบุช่อื ผูเ้ ขียนท่านนัน้ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผอู้ ่านว่าเป็ นข้อคิดเห็น /
ทัศนะ/มุมมอง/ข้อมูล ของผูใ้ ด

272
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ผลงานที่สะท้อนมุมมองของพรรคและรัฐเวียดนามทีม่ ตี ่อจีนในช่วง 30 ปี (ค.ศ. 1949-1979) โดยเฉพาะตัง้ แต่ปี


1954 ถึงช่วงปี 1979 ในเชิงลบชัดเจน และน่าจะเป็ นชิน้ งานทีท่ าให้เรามองเห็นมุมมองของพรรคและรัฐเวียดนามที่
มีต่อจีนในช่วงท้ายของสงครามเย็นได้เป็ นอย่างดี
ในส่วนรายละเอียดของการนาเสนอนัน้ ทางผูเ้ รียบเรียง (กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม) แบ่งการ
นาเสนอเนื้อหาออกเป็ น 5 ส่วน คือ ส่วนแรก เวียดนามภายใต้ยุทธศาสตร์จนี แบ่งเป็ นสองข้อย่อยคือ (1) เวียดนาม
ภายใต้ยุทธศาสตร์โลกของจีนและ (2) เวียดนามภายใต้นโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (น. 5-21) ส่วนที ่
สอง จีนกับการยุตสิ งครามอินโดจีนปี 1954 (น. 22-33) แบ่งเป็ นสามข้อย่อยคือ (1) หลังเดียนเบียนฟู ประชาชน
เวียดนามสามารถปล่อยปล่อยชาติ (2) จุดยืนของจีนทีเ่ จนีวาต่างจากจุดยืนของเวียดนาม แต่สอดคล้องกับจุดยืน
ฝรังเศส
่ (3) สนธิสญ ั ญาเจนีวาปี 1954 เกีย่ วกับอินโดจีนและการทรยศของผูน้ าจีน ส่วนทีส่ าม จีนกับการทาสงคราม
ของประชาชนเวียดนามเพื่อปลดปล่อยภาคใต้รวมชาติ (1954-1975) แบ่งเป็ นสีข่ อ้ ย่อยคือ (1) ช่วงปี 1954-1964
ผูม้ อี านาจจีนขัดขวางประชาชนเวียดนามต่อสูเ้ พื่อการรวมชาติ (2) ช่วงปี 1965-1969 จีนทาให้เวียดนามอ่อนแอ
และทาให้สงครามของประชาชนเวียดนามยืดเยื้อออกไป (3) ช่วงปี 1969-1973 เจรจากับสหรัฐอเมริกาลับหลัง
เวีย ดนาม (4) ช่ ว งปี 1973-1975 ขัด ขวางประชาชนเวีย ดนามปลดปล่ อ ยภาคใต้ (น. 34-75) ส่วนทีส่ ี ่ จีน กับ
เวียดนามช่วงปลดปล่อยสาเร็จและรวมชาติ (เดือนพฤษภาคม 1975-ปั จจุบนั ) แบ่งเป็ นสามข้อย่อยคือ (1) จีน
ภายหลังการพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม (2) บ้าคลังต่ ่ อต้านเวียดนามแต่พยายามหลบซ่อน (3) บ้าคลัง่
ต่อต้านเวียดนามด้วยวิธกี ารเปิ ดเผย (น. 76-99) ส่วนทีห่ า้ นโยบายขยายอานาจของปั กกิง่ กับการคุกคามเอกราช
สันติภาพและความมันคงในเอเชี
่ ยตะวันออกเฉียงใต้ (น.100-112)

1.2. ภูมิหลังควำมสัมพันธ์เวียดนำม-จีนก่อนปี 1979


เวียดนามและจีนสามารถเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันผ่านเส้นทางธรรมชาติทงั ้ ทางน้าและทางบก นัน่
คือ ตามแนวชายแดนจีนกับพืน้ ทีท่ างภาคเหนือของเวียดนามและบริเวณอ่าวตังเกีย๋ ซึง่ อยู่ในทะเลจีนใต้ จึงไม่ใช่
เรื่องทีต่ ้องแปลกใจ หากจะพบว่า เวียดนามและจีนได้ผ่านชะตากรรมทางประวัตศิ าสตร์ร่วมกันเนิ่นนานนับพันปี
โดยเฉพาะเวียดนามได้ขนานนามรัฐจีนในอดีตว่า เป็ น “ผูร้ ุกรานทางทิศเหนือ” อันเนื่องมาจากการรุกรานและการ
ยึดครองดินแดนเวียดนามของจีน เวียดนามเริม่ ให้ความสาคัญกับจีนในยุคฝรังเศสปกครองโดยเฉพาะการใช้
่ จนี
เป็ นฐานเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกประเทศเพื่อต่อต้านฝรังเศส ่ โดยเฉพาะช่วงการเคลื่อนไหวของฟานโบ่ยเจิว
(Phan Boi Chau) และโฮจิมนิ ห์ จากเดิมเวียดนามเคยมองภาพจีนเป็ นศัตรูกก็ ลายเป็ นภาพใหม่ท่จี นี กลายเป็ น
มหามิตร จุดเปลี่ยนสาคัญอันหนึ่งคือการที่รฐั บาลปั กกิ่งภายใต้การนาของเหมาเจ๋อตุง ให้การประกาศรับรอง
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนามภายใต้การนาของโฮจิมนิ ห์ ในวันที่ 18 มกราคม 1950 หลังจากที่
ฝ่ ายเวียดนามรอคอยมาหลายปี นบั แต่ประกาศเอกราชได้ (2 กันยายน 1945) เหตุการณ์ครัง้ นัน้ สร้างความยินดีแก่
ฝ่ ายเวียดนามเป็ นอย่างยิง่ เสมือนเป็ นการเปิ ดศักราชใหม่ให้กบั ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและจีน (ธนนันท์
บุ่นวรรณา 2558) เป็ นทางการ สัมพันธภาพอันดีทเ่ี กิดขึน้ ระหว่างสองประเทศยังผลให้จนี เพิม่ ระดับการช่วยเหลือ
เวียดนามต่อสูก้ บั ฝรังเศสมากกว่
่ าชาติใดๆ โดยเฉพาะในช่วงปลายของสงครามปี 1954 ในวิทยานิพนธ์ของไพรัช
เจียระนันท์ อธิบายว่า จีนให้ความช่วยเหลือเวียดนามใน 2 ลักษณะ คือ การจัดตัง้ และฝึ กอาวุธทหารเวียดมินห์
และส่งอาวุธไปช่วยเหลือโดยใช้เส้นทางลาเลียงทางทะเลและทางบก ซึง่ อาวุธเหล่านี้เวียดมินห์ได้ ใช้เปิ ดฉากโจมตี
ทีเ่ ดียนเบียนฟูอย่างหนัก (สถานทีแ่ ห่งนี้ฝรังเศสเลื
่ อกเป็ นฐานทีม่ นโดยที
ั่ ม่ นใจว่
ั ่ าฝ่ ายเวียดมินห์จะไม่มที างยึดได้
เพราะฝรังเศสมั
่ นใจในอาวุ
่ ธยุทโธปกรณ์ทเ่ี หนือ กว่า) ตัง้ แต่วนั ที่ 13 มีนาคม 1954 (ไพรัช เจียระนันท์ 2531, 76-
79) และสงครามปิ ดฉากลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝรังเศส ่

273
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

การประชุมเจนีวา เกี่ยวกับปั ญหาเกาหลีและอินโดจีนเริม่ ขึน้ ตัง้ แต่ วันที่ 26 เมษายน 1954 ส่วนแรก
ประชุมเกี่ยวกับปั ญหาเกาหลี (Luu Van Loi 2006, 115-116) ส่วนกรณีปัญหาอินโดจีน กล่าวได้ว่า ในวันที่ 8
พฤษภาคม 1954 เมื่อฝรังเศสเสี ่ ยเดียนเบียนฟูแล้ว 24 ชัวโมง
่ ก็เริม่ ประชุมเจนีวาเกีย่ วกับอินโดจีน โดยฟามวันด่ง
(Pham Van Dong) เป็ นตัวแทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในคืนวันที่ 20 กรกฎาคม 1954 ลงนามใน
สัญ ญายุ ติสงครามอิน โดจีน ชาติท่ีเ ข้าร่ วมประชุมมี 8 ชาติ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรัง่ เศส
สหภาพโซเวียต อังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เขมรและลาว รวมรัฐบาลบ๋าวด่าย (หุ่นเชิดฝ่ าย
ฝรังเศส)
่ แต่ชาติสาคัญทีเ่ จรจาตกลงกัน คือ ฝรังเศส
่ เวียดนามและจีน สหรัฐ อเมริกาถูกมองว่าอยู่เพื่อทาลายการ
ประชุม ขณะทีจ่ นี มีบทบาทสาคัญในการเจรจาอย่างมาก (เหวียนคักเวียน 2552, 312-313) การลงนามในความตก
ลงมีทงั ้ เรื่องการเมืองและการทหาร เรื่องการทหารนัน้ ให้รวมกองกาลังของแต่และฝ่ ายเข้าไว้ใน 2 ภาค คือ เหนือ
และใต้เส้นขนานที่ 17 ส่วนด้านการเมือง ยอมรับเอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพเรื่องเขตแดนของทัง้ สาม
ประเทศในอินโดจีน ส่วนเส้นแบ่งเขตตรงเส้นขนานที่ 17 มิอาจจัดได้ว่าเป็ นเขตแดนทางการเมืองและให้มีการ
เลือกตัง้ ทัวไปเพื
่ ่อรวมประเทศภายในปี 1956 เป็ นต้น (รายละเอียดเพิม่ เติมใน เหวียนคักเวียน 2552, 313-314)
ผลของการประชุมแม้จะเป็ นทีพ่ อใจของหลายฝ่ ายแต่กรณีฝ่ายเวียดนามนัน้ ผิดหวังอย่างมากเพราะถูกแรงกดดัน
จากสหภาพโซเวียตและจีนให้ยอมประนีประนอม (อ่านเพิม่ เติมใน เหวียนคักเวียน 2552 และอนุ พงศ์ บุญฤทธิ ์
2529, 21-22)
หลัง ฝรัง่ เศสออกจากอิน โดจีน ในปี 1954 สหรัฐอเมริก าตัด สิน ใจเข้า มาแทรกแซงการเมือ งภายใน
เวียดนามใต้เพื่อต้องการใช้เวียดนามใต้เป็ นฐานการต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ สหรัฐอเมริกาปฏิบตั กิ าร
สงครามอย่างหนักและมีการเปลีย่ นยุทธศาสตร์การทาสงครามถึง 4 รูปแบบ ซึง่ แต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นความ
รุ น แรงของการท าสงครามของแต่ ละช่ว งเวลา (อ่ า นเพิ่ม เติม ใน ธนนัน ท์ บุ่ น วรรณา 2558, 59) กล่ า วกัน ว่ า
ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและจีนหลังปี 1954 เปลีย่ นแปลงขึน้ ๆ ลงๆ แต่นับตัง้ แต่ปี 1965 จีนกับเวียดนาม
เริม่ มีความเห็นไม่ลงรอยกันในหลายกรณี กอปรกับเป็ นช่วงที่สงครามในเวียดนามใต้ขยายตัวอย่างรุนแรงอันมี
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเรือรบของสหรัฐอเมริกาถูกกระสุนปื นของเรือลาดตระเวนของเวียดนามเหนือในอ่าวตังเกีย๋
ปี 1964 ยังผลให้สหรัฐอเมริกาเพิม่ กาลังโจมตีเวียดนามเหนือทางชายฝั ง่ และทางอากาศ นอกจากนี้ยงั มีการโจมตี
ทิ้งระเบิดใกล้พรมแดนจีน -เวียดนามจนน าไปสู่ก ารละเมิดน่ านฟ้ าจีน การขยายตัวของสงครามตลอดจนการ
แทรกแซงของสหรัฐอเมริกาก่อให้เกิดการโต้เถียงในกลุ่มผู้นาจีนเกี่ยวกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือเวียดนาม
เพราะบางคนถึงกับเสนอว่ายุทธศาสตร์การสูร้ บในเวียดนามควรเป็ นแบบ “ยืดเยื้อ”และ “พีง่ ตนเอง” แบบสงคราม
ปฏิวตั ิในจีน ซึ่งเหมาเจ๋อตุงแสดงทัศนะเห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว หรือในช่วงเหตุการณ์เดือนมกราคม 1968
เมื่อเวียดนามเหนือและเวียดกงบุกโจมตีครัง้ ใหญ่ในช่วงเทศกาลเต๊ด (ตรุษเวียดนาม) สร้างความเสียหายอย่าง
หนัก ทางทหารแก่ ฝ่ายเวีย ดนามและฝ่ ายสหรัฐอเมริก า ขณะเดีย วกัน กลับเป็ น ชัยชนะทางการเมืองของฝ่ าย
เวียดนามเพราะทาให้กาลังใจของสหรัฐอเมริกาลดลง แต่จนี กลับไม่เห็นด้วยทีเ่ วียดนามจะเจรจา (อนุพงศ์ บุญฤทธิ ์
2529, 26) อีกทัง้ ประกาศอย่างเปิ ดเผยต่อชาวเวียดนามว่า จีนต่อต้านการที่เวียดนามจะเปิ ดเจรจาโดยตรงกับ
สหรัฐอเมริกา ซึง่ ในงานของ เหวียนคักเวียน ระบุสถานการณ์ช่วงนี้ว่า เป็ นช่วงที่ “วอชิงตัน-ปั กกิง่ สมรูร้ ่วมคิด
กัน” (เหวียนคักเวียน 2552, 357) สะท้อนได้จากการพบปะกันระหว่างผู้นาสองฝ่ ายบ่อยครัง้ (เหวียนคักเวียน
2552, 357-359) การปรับความสัมพันธ์จีนและสหรัฐอเมริกาทาให้เวียดนามเหนือระแวงและไม่พอใจจีน ด้าน
สหภาพโซเวียตจึงฉวยโอกาสนี้เพิม่ การสนับสนุ นใกล้ชดิ เวียดนามเหนือมากขึน้ โดยเฉพาะการเปิ ดฉากรุกครัง้
ใหญ่ในเดือนมีนาคม 1972 กว่าร้อยละ 80 ของอาวุธทีใ่ ช้มาจากสหภาพโซเวียต กระนัน้ ความไม่พอใจจีนของฝ่ าย

274
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เวียดนามเกิดขึน้ เป็ นระยะโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงปี 1974 เมื่อจีนส่งกาลังทหารเข้ายึดครองหมู่เกาะพาราเซล


หรือ หมู่เกาะหว่างซาซึง่ เวียดนามก็อา้ งว่าเป็ นของตน แต่ดว้ ยความทีต่ ้องพึง่ พาจีนฝ่ ายเวียดนามจึงไม่แสดงการ
ต่อต้านหรือประณามจีนโดยตรง งานศึกษาส่วนใหญ่จงึ มองว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามในช่วงนี้ เป็ น
ความสัมพันธ์ 3 เส้า (โซเวียต - เวียดนาม - จีน) (ไพรัช เจียระนันท์ 2531, 115-116)
เมื่อสหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามในเวียดนาม มีส่วนอย่างมากที่ทาให้เวียดนามรวมชาติเป็ นเอกภาพ
สาเร็จในปี 1975 หลังจากนัน้ เป็ นต้นมา จากปั จจัยหลายอย่างมีส่วนทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามมี
อันต้องยุตลิ ง โดยในปี 1978 จีนสังปิ่ ดสถานกงสุลเวียดนาม 3 แห่ง จากนัน้ เวียดนามส่งทหารเข้ารุกรานกัมพูชา
โค่นล้มรัฐบาลพอลพตที่จีนให้การสนับสนุ น ส่งผลให้จีนต้องส่งทหารทาสงคราม “สังสอน”เวี ่ ยดนามใน เดือน
กุมภาพันธ์ 1979 ซึง่ สร้างความเสียหายให้กบั ทัง้ สองฝ่ ายอย่างมาก (อ่านรายละเอียดเพิม่ เติมใน ไพรัช เจียระนันท์
2551) ดังนัน้ อาจกล่าวได้ว่าในปี 1979 เป็ นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามได้ดาเนินมาจนถึงจุด
ต่าสุดก่อนทีค่ วามสัมพันธ์จะถูกรือ้ ฟื้ นอีกครัง้ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

2) “จีน” ในมุ มมองของเวียดนำมวิเครำะห์ผ่ำนหนังสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวียดนำม-จีนช่ วง 30 ปี ท่ผ


ี ่ำนมำ
จากการพิจารณารายละเอียดของหนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา ทาให้
พบว่าเวียดนามมีมุมมองต่อจีนใน 2 ประเด็นใหญ่คอื ประเด็นแรก เวียดนามมองว่าจีนต้องการเป็ นชาติมหาอานาจ
ผ่านยุทธศาสตร์ “ขยายอานาจเหนือชาติอ่นื ” (banh truongdai dan toc) และยุทธศาสตร์ “ครองความเป็ นเจ้า” (ba
quyen nuoc lon) โดย “เวียดนาม”อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ดงั กล่าวของจีน และ ประเด็นทีส่ อง เวียดนามมองว่า “จีน
ทรยศ” (phan boi) เวียดนามซึง่ การทรยศต่อเวียดนามมีถงึ 3 ช่วงเวลาด้วยกัน

2.1. จีนต้องกำรเป็นชำติมหำอำนำจของโลกผ่ำนยุ ทธศำสตร์ “ขยำยอำนำจเหนือชำติอ่นื ” (banh truong dai


dan toc) และยุ ทธศำสตร์ “ครองควำมเป็นเจ้ำ” (ba quyen nuoc lon) โดย “เวียดนำม” อยู ่ภำยใต้
ยุ ทธศำสตร์ดังกล่ำวของจีน
การทาสงครามรุกรานเวียดนามของจีน หรือ วาทกรรม “สงครามสังสอนเวี ่ ยดนาม” โดยจีนตามทีท่ วโลกั่
รูจ้ กั ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1979 แม้จะทาให้ทวโลกประหลาดใจในการเปลี
2 ั่ ย่ นแปลงนโยบายทีจ่ นี มีต่อเวียดนาม
แล้ว แต่ เ วีย ดนามกลับ มองว่ า ”ความเปลีย่ นแปลงนี้ ไ ม่ ใ ช่ เ รือ่ งน่ า แปลกใจแต่ มนั เป็ น ตรรกะพัฒ นาการของ
ยุทธศาสตร์ขยายอานาจเหนือชาติอนื ่ ” (banh truongdai dan toc) แล ะ“ครองความเป็ นเจ้า” ของประเทศใหญ่ (ba
quyen nuoc lon) ของผู้น าจีน ในช่ วง 30 ปี ทีผ่ ่ า นมา” (Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua
1979, 5) พร้อมทัง้ ยังระบุอกี ว่า ยุทธศาสตร์ของจีนเปลีย่ นไปมาก แต่สงิ่ หนึ่งทีไ่ ม่เคยเปลีย่ นนัน่ คือเป้ าหมายการ
นาพาประเทศให้เป็ นมหาอานาจอันดับต้นของโลก สะท้อนได้จากหนังสือได้อา้ ง การประชุมคณะกรรมการกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์จนี ในปี 1956 ซึง่ เหมาเจ๋อตุง กล่าวว่า “พวกเรา (จีน) ต้องขึ้นมาเป็ นชาติมหาอานาจแถวหน้าใน
ด้า นวัฒ นธรรม เทคโนโลยีและอุ ตสาหกรรม...ซึง่ ยอมรับ ไม่ได้ทวี ่ ่ าหลายสิบปี มานี้ พวกเรา (จีน ) ยัง คงไม่ได้
กลายเป็ นมหาอานาจอันดับหนึง่ ของโลก” ( Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua 1979, 7)
จากนัน้ อีก 3 ปี ต่อมา เหมาเจ๋อตุงก็ได้ตอกย้าทัศนะดังกล่าวอีกครัง้ ในเดือนกันยายน 1959 ว่า “พวกเราต้องพิชติ

2ความขัด แย้งระหว่างเวีย ดนามและจีนมาจากหลายปั จจัย และ (น่ าจะ) สั ่งสมเรื่อยมานับแต่ทศวรรษ 1950 ครัง้ รุนแรงสุดและถือเป็ นจุดแตกหักของ
ความสัมพันธ์เวียดนามและจีนคือการทาสงครามชายแดนของสองประเทศตลอดแนวเขตแดนกว่าพันกิโลเมตร ซึง่ ฝ่ ายเวียดนามระบุวา่ จีนนากาลังทหาร
จานวน 600,000 คนเข้าโจมตีจงั หวัดชายแดนแดน เข้ายึดและปล้นอาเภอเมืองของจังหวัดหลั ่งเซิน (หล่างเซิน-ผูว้ จิ ยั ) กาวบั ่ง (กาวบ่าง-ผูว้ จิ ยั ) และ
หลาวก่าย (หล่าวกาย-ผูว้ จิ ยั ) ตลอดจนชนบทต่างๆ แม้ช่วงแรกจีนจะเหนือกว่าด้านกาลังรบแต่ก็พ่ายแพ้ต่อเวียดนาม อีกทัง้ ทั ่วโลกยังประณามการ
กระทาของจีน ทาให้ปักกิง่ ยุตปิ ฏิบตั กิ ารทางทหารในปลายเดือนมีนาคม 1979 (เหวียนคักเวียน 2552, 442)

275
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

่ อเป้ าหมายของพวกเรา” ( Su that ve Viet Nam – Trung Quoc trong 30 nam qua 1979, 8)
โลก (ดินแดน) นันคื
เพื่อบรรลุเป้ าหมายการเป็ นประเทศมหาอานาจ เวียดนามจึงมองว่า เวียดนามนัน้ มีสถานะสาคัญสาหรับจีนในสอง
ระดับ ดังนี้

2.1.1. เวียดนำมภำยใต้ยุทธศำสตร์โลกของจีน
2.1.1.1. เวียดนามทาให้จีนก้าวเข้ามาเปน็ ผู ้เจรจาหลักกับฝรั่งเศสภายหลังการรบชนะฝรั่งเศสของเวียดนามที่เดียนเบียนฟู
ปี 1954 และในการประชุ มเจนีวาปี เดียวกัน (ค.ศ. 1954) นับเปน็ ครั้งแรกที่จีนปรากฏตัวอยู ่ในระดับเดียวกับชาติมหาอานาจอื่น ซึ่งจะเปน็
โอกาสที่ดีท่จี ะทาให้จีนขยายอิทธิพลมายังภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา (ต่อไป)
ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เมื่อจีนเริม่ นาพาตัวเองให้กลายเป็ นประเทศมหาอานาจของโลก
แต่ผนู้ าจีนต้องเผชิญหน้ากับการทาสงครามสหรัฐอเมริการุกรานเกาหลีทางทิศเหนือและภัย
คุกคามความมันคงจี ่ นทางทิศใต้เนื่องจากการรุกรานของฝรังเศส... ่ ชัยชนะของเวียดนาม
ลาวและกัมพูชาเหนือฝรังเศสได้่ นามาสู่การจัดประชุมทีเ่ จนีวาในปี 1954 เพื่อแก้ไขปั ญหา
อินโดจีน ซึ่งฝรังเศสกลั
่ วมากว่ าชัยชนะของเวีย ดนามครัง้ นี้จ ะน ามาสู่ก ารล่ม สลายของ
ระบอบอาณานิคมฝรังเศส ่ ในช่วงการต่อสูก้ บั ฝรังเศส ่ จีนเป็ นหนึ่งในประเทศที่สนับสนุ น
อาวุธมากทีส่ ดุ สาหรับเวียดนามโดยเฉพาะในช่วงท้ายของสงครามเพื่อต่อสูก้ บั ฝรังเศส ่ ผูน้ า
จีน ได้ใ ช้ป ระโยชน์ จ ากสถานการณ์ ด ัง กล่ า วเป็ น ผู้เ จรจาหลัก กับ ฝรัง่ เศสร่ ว มมือ กับเขา
(ฝรังเศส)
่ เพื่อแก้ไขปั ญหาที่เป็ นประโยชน์ แก่จีนและฝรังเศสแต่ ่ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์
สาหรับราษฎรเวียดนาม ลาวและกัมพูชา จีนยอมสละผลประโยชน์ของประชาชนทัง้ สามใน
อิน โดจีน เพื่อ ปกป้ อ งความมันคงของจี
่ น ในทางภาคใต้ ... ขณะเดีย วกันเพื่อจะได้แสดง
บทบาทในฐานะประเทศใหญ่ในการแก้ไขปั ญหานานาประเทศอย่างแรกคือ ในเอเชีย ในการ
ประชุมเจนีวาปี 1954 ส่วนแรกได้ใช้เวลาเกีย่ วกับปั ญหาเกาหลี นับเป็ นครัง้ แรกทีป่ ระเทศ
สาธารณประชาชนจีน ปรากฏตัว อยู่ในระดับเดีย ว (ngang hang)กับ 4 ชาติม หาอานาจ
(สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรังเศส-ผู ่ ว้ จิ ยั ) นัน่ จึงเป็ นโอกาสอันดีสาหรับ
ผูน้ าจีนทีจ่ ะขยายอิทธิพลมายังภูมภิ าคเอเชียและแอฟริกา... (น. 8-10)

2.1.1.2. เวียดนามทาให้สถานะของสหรัฐอเมริกาตกต่ าลงในช่ วงที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงสงครามในเวียดนาม (ปี


1954-1975) นอกจากนี้ยังมีส่วนสาคัญที่ทาให้จีนก้าวขึ้นมาเปน็ มหาอานาจสามชาติของโลก (สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาและจีน)
สร้างโอกาสให้จีนได้เช่ือมสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา นับเปน็ จุ ดเร่มิ ต้นที่ทาให้จีนมองสหภาพโซเวียตเปน็ ศัตรู จนนามาสู่ส่งิ ที่เรียกว่า
“จีนทรยศเวียดนาม”
ปลายปี 1960 ความผิดพลาดจากการดาเนินนโนบายรุกรานเวียดนามของสหรัฐอเมริกา ได้
ส่งผลต่ อวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันกลับทาให้
สถานะทางการเมือ งระดับ โลกของสหรัฐอเมริก ายิ่งตกต่ า ลงไปอีก … ทว่ า สถานการณ์
ดังกล่าวกลับเป็ นประโยชน์ ต่อประเทศประเทศสังคมนิยมและขบวนการปฏิวตั ิทวโลกมี ั่
พัฒนาการเข้มแข็งมากขึน้ และทาให้บรรดาประเทศยุโรปตะวันตก ญี่ป่ ุนมีโอกาสกลายมา
เป็ นคู่แข่งของสหรัฐอเมริกา …ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีนิกสัน ได้ใช้แผนการ “ทาให้เป็ น

276
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สงครามเวียดนาม” 3 และจากประสบการณ์ ของฝรัง่ เศสในปี 1954 ท าให้สหรัฐอเมริกา


ต้องการใช้จนี เพื่อแก้ปัญหาในเวียดนามเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองอย่างเช่น การถอนทหาร
อเมริกนั ออกจากเวียดนามแต่ยงั คงระบบ “หุ่นเชิด” เหงวียนวันเถีย่ วในภาคใต้ของเวียดนาม
ขณะเดียวกันรัฐบาลนิกสันยังเล่นเกมกับจีนเพื่อกดดันสหภาพโซเวียต ต่อต้านขบวนการ
ปฏิวตั โิ ลก (น. 11)

และ

การใช้ความอ่อนแอของสหรัฐอเมริกาและทิศทางนโยบายของรัฐบาลนิกสัน ทาให้ผนู้ าจีน


ยกระดับการต่อสูก้ บั สหภาพโซเวียตและเจรจาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา ช่วยสหรัฐอเมริกา
แก้ไขปั ญหาเวียดนาม เพื่อจะได้เป็ น 3 ชาติมหาอานาจของโลกตามสูตรของคิซซิงเจอร์ว่า
ด้วยเรื่องโลกหลายขัว้ หนึ่งในสามขัว้ ใหญ่คอื จีน (ตัดสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต) …
ดังนัน้ พวกเขาโค่นล้มนโยบายพันธมิตร เริ่มจากการมองสหภาพโซเวียตเป็ นศัต รูห ลัก
ปะทะกับสหภาพโซเวียตตามแนวชายแดนในเดือนมีนาคม ค.ศ.1969 จนถึงการทรยศต่อ
เวียดนามเป็ นครัง้ ทีส่ อง ค้าขายกับสหรัฐอเมริกาเพื่อขัดขวางชัยชนะของราษฎรเวียดนาม
ในปี ค.ศ.1971 พวกเขา (จีน) ดาเนินนโยบายการทูตปิ งปอง (ngoai giao bong ban) ต้อน
รับคิซซิงเจอร์ ทีป่ ั กกิง่ จากนัน้ ฟื้ นฟูสถานะของจีนในสหประชาชาติและประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน กลายมาเป็ น หนึ่ ง ในห้า ของสมาชิก ถาวรของคณะมนตรีค วามมัน่ คงแห่ ง
สหประชาชาติ (Hoi dong bao an) สาคัญทีส่ ดุ คือการทีจ่ นี ต้อนร้บประธานาธิบดีนิกสันของ
สหรัฐ อเมริก าและทัง้ สองฝ่ ายได้อ อกแถลงการณ์ เ ซี่ย งไฮ้ เดือ นกุ ม ภาพัน ธ์ ค .ศ.1972
สาหรับ ผู้มีอ านาจของปั ก กิ่ง การเชื่อ มสัม พัน ธ์ก ับ สหรัฐอเมริก านับ ว่ า เป็ น อีก ก้า วที่มี
ความหมายต่อยุทธศาสตร์โลกของพวกเขา (น. 11-12)
จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าเวียดนามมองว่าตนเป็ นหนึ่งใน เงือ่ นไขสาคัญทางยุทธศาสตร์โลก
ของจีนถึงสองช่วงเวลาของประวัตศิ าสตร์ ช่วงแรกคือ ช่วงฝรังเศสท
่ าสงครามกับเวียดนาม และช่วงทีส่ องคือ ช่วง
สหรัฐอเมริกาแทรกแซงการเมืองในเวียดนาม โดยช่วงแรก เวียดนามมีส่วนช่วยยกสถานะจีนให้สามารถผงาดอยู่
บนเวทีโลกได้ดว้ ยการมีส่วนทาให้จนี เป็ นคนกลางเจรจากับฝรังเศส
่ (เพราะฝรังเศสไม่
่ ต้องการเจรจาโดยตรงกับ
เวียดนาม) และช่วงที่สอง เมื่อเวียดนามทาสงครามชนะสหรัฐอเมริกา เวียดนามก็มสี ่วนช่วยให้จนี สามารถยก
สถานะตัวเองให้กลายเป็ นมหาอานาจเคียงคู่กบั สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต นอกจากนี้แล้วสถานการณ์
การเมืองของเวียดนาม ณ ขณะนัน้ ยังมีส่วนทาให้จีนเชื่อมสัมพันธ์อนั ดีกบั สหรัฐอเมริกาอีกครัง้ ซึ่งจะมีผลต่อ
อนาคตทางการเมืองระดับโลกของจีน

2.1.2. เวียดนามภายใต้นโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
2.1.2.1. จีนต้องการขยายอานาจมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซ่ึงเวียดนามมีความเหมาะสมจากที่ตั้งทางภูมศิ าสตร์
หนั ง สือ ได้ ร ะบุ ว่ า “เอเชีย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ เ ป็ น ทิศ ทางการขยายอ านาจ (ban truong) โบราณใน
ประวัติศาสตร์จนี และเป็ นดินแดนในฝั นของผูน้ าจีนมาอย่างยาวนาน” (น.13) นี่คอื ทัศนะของเวียดนามที่มตี ่อจีน

3 หมายถึง สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามและให้คนเวียดนามเป็ นผูต้ ดั สินทางการเมืองด้วยตนเอง

277
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พร้อมกับชีใ้ ห้เห็นความปรารถนาของจีนดังกล่าว มักได้รบั การเน้นย้าจากผูน้ าเหมาเจ๋อตุงมาโดยตลอด ซึง่ ปรากฏ


ข้อความในการนาเสนอ เช่น

เอกสารของพรรคคอมมิวนิสต์จนี เขียนโดยเหมาเจ๋อตุง ใช้ช่อื ว่า การปฏิวตั ิจนี และพรรค


คอมมิวนิสต์จนี ตีพมิ พ์ปี 1939 ระบุว่า “ประเทศมหาอานาจภายหลังเอาชนะจีน ก็เริม่ ยึดเอา
ประเทศทีเ่ คยอยู่ใต้อาณัตขิ องจีน เช่น ญีป่ ่ นุ ยึดครองเกาหลี ไต้หวัน... อังกฤษยึดครองพม่า
ฮ่องกง ส่วนฝรังเศสยึ
่ ดครองอานาม... (น.13)
และในเดือนสิงหาคม 1965 ประธานเหมาเจ๋อตุงยังยืนยันทัศนะเดิมของตนอย่างหนักแน่นว่า

พวกเราต้องแย่งชิงเอาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้จงได้ ซึง่ รวมเอาภาคใต้เวียดนาม, ไทย,


พม่า, มาเลเซีย และสิงคโปร์... เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็ นเขตทีม่ คี วามมังคั
่ ง่ มีทรัพยากร
มากมาย น่ าสนใจและจาเป็ นต้องยึดครอง หลังจากยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แล้ว
พวกเราก็จ ะได้เ พิ่ม ความเข้ม แข็ง ในภู มิภ าคนี้ ถึง ตอนนัน้ พวกเราก็จ ะมีค วามเข้ม แข็ง
เทียบเท่ากับสหภาพโซเวียต-ยุโรปตะวันออก... (น. 14)
นอกจากนี้ หนังสือยังระบุถงึ ความสาคัญของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทม่ี ตี ่อจีนเพื่อให้สอดคล้อง
กับทัศนะของเวียดนามทีม่ อง “จีนกาลังใช้นโยบายขยายอานาจ (banh truong) และครองความเป็ นเจ้า” (ba quyen
nuoc lon) (น.15) พร้อ มทัง้ ชี้ใ ห้เ ห็น ความสาคัญ ของเวีย ดนามในฐานะทางออกสู่อิน โดจีน และภู มิภ าคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ของจีนตลอดจนถึงวิธกี ารขยายอานาจของจีนในภูมภิ าคแห่งนี้ เช่น

เมื่อเทียบกับภูมภิ าคอื่นทัวโลก
่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็ นภูมภิ าคซึง่ อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่
เป็ นประโยชน์ต่อจีนมากที่สุด มีหลากหลายเครื่องมือและศักยภาพมากทีส่ ุด (ชาวจีนโพ้น
ทะเลมากกว่า 20 ล้านคน พรรคการเมืองย่อยอื่นๆ ซึ่งขึ้นตรงต่ อพรรคคอมมิวนิสต์จนี
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มเี ส้นทางเชื่อมต่อกับจีน ...) เพื่อดาเนินนโยบายขยายอานาจและ
ครอบครองความเป็ นเจ้าของตน ดังนัน้ 30 ปี ท่ผี ่านมาผู้นาจีนได้ใช้หลายเล่ห์กลเพื่อนา
นโยบายขยายอานาจมาใช้กบั ภูมภิ าคแห่งนี้... (น. 15)
ส่วนความสาคัญของเวียดนามทีม่ ตี ่อยุทธศาสตร์ของจีน ในงานชิน้ นี้ระบุไว้อย่างน่ าสนใจ เวียดนามเป็ น
ฐานสาคัญของจีนเพื่อการยึดครองอินโดจีนและเป็ นประตูเพื่อการรุกรานไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปของ
จีน

เวียดนามเป็ นประเทศที่เป็ นจุดยุทธศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประวัติศาสตร์


พวกศัก ดิน าจีน ได้รุ ก รานเวีย ดนามหลายครัง้ เพื่อ ใช้เ วีย ดนามเป็ น ฐานเข้า ไปรุ ก ราน
ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้... ในเดือนกันยายน 1963 นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลกล่าว
ว่า “ประเทศของเราใหญ่แต่กลับไม่มที างออก” (หมายถึง ทางออกมายังเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้-ผูเ้ ขียน) หวังว่าพรรคแรงงานเวียดนามจะเปิ ดเส้นทางให้ลงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้ (น. 17)

278
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

2.2. “จีนทรยศ” (phan boi) เวียดนำม


ในทัศนะการมองจีนของพรรคและรัฐเวียดนามผ่านหนังสือเล่มนี้ อาจกล่าวได้ว่า รายละเอียดของเนื้อหา
การนาเสนอในช่วงเวลาปี 1954-1979 ทีโ่ ดดเด่นทีส่ ุดเห็นจะเป็ นการตอกย้าให้ผอู้ ่านรับรูแ้ ละเข้าใจภาพตรงกันว่า
“จีนคือผู้ทรยศต่อเวียดนาม” ซึ่งเห็นได้จากเวียดนามได้มอบพื้นที่ของการนาเสนอทัศนะ/มุมมองดังกล่าวเป็ น
จานวนถึง 90 หน้าจากทัง้ หมด 112 หน้า หรือ ปรากฏในเนื้อหานาเสนอส่วนทีส่ อง-ส่วนทีส่ ่ี (น. 22-112) หนังสือมี
การระบุ ช ัด เจนถึง การทรยศเวียดนามใน 3 ช่วงเวลาพร้อ มทัง้ ยกตัวอย่า งเหตุ ก ารณ์ สาคัญ ๆ ผ่ า นหัว ข้อย่อย
ช่วงแรก ช่วงการประชุมทีเ่ จนีวาปี 1954 ช่วงทีส่ อง ปี 1954-1975 ซึง่ หมายถึงช่วงทีป่ ระชาชนเวียดนามกาลังต่อสู้
เพื่อปลดปล่อยภาคใต้ของเวียดนามเพื่อรวมชาติ และ ช่วงทีส่ าม ตัง้ แต่ เดือนพฤษภาคม 1975 จนถึงปั จจุบนั
(หมายถึงปี 1979) ซึ่งหมายถึงภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้ในสงครามเวี ยดนามจนถึงการทาสงคราม
ชายแดนจีน-เวียดนามปี 1979

2.2.1. การทรยศของจีนต่อเวียดนามครั้งที่หนึ่ง: ข้อตกลงเจนีวา ปี ค.ศ. 1954 เก่ยี วกับอินโดจีน “การทรยศของผู ้นาจีน


จากทีท่ ราบโดยทัวกั ่ นว่า หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เมื่อโฮจิมนิ ห์ ประกาศเอกราชให้แก่เวียดนามในวันที่
2 กัน ยายน 1945 แล้ว นัน้ แต่ ฝ รัง่ เศสไม่ ย อมรับ เอกราชดัง กล่ า วและพยายามกลับ มาปกครองอิน โดจีน และ
เวียดนามตามเดิมโดยมีหลายชาติให้การสนับ สนุ น ดังนัน้ ระหว่างปี 1945-1954 จึงเป็ นช่วง 9 ปี แห่งการท า
สงครามเพื่อปลดปล่อยเวียดนามจากฝรังเศส ่ การทาสงครามระหว่างสองชาติดาเนินมาถึงช่วงสุดท้ายทีเ่ วียดนาม
เอาชนะฝรังเศสได้
่ ทส่ี มรภูมริ บเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) การประชุมเจนีวาจึงถูกจัดขึน้ เพื่อแก้ไขปั ญหาอินโด
จีนและรวมถึงปั ญหาเกาหลี ในปี 1954 ในหนังสือระบุถงึ จุดยืนของเวียดนามซึง่ ให้ความสาคัญกับการประชุมครัง้ นี้
มาก คือ “การแก้ไขปั ญหาให้ครบถ้วนทัง้ ด้านยุตกิ ารสูร้ บ (dinh chi chien su) ในอินโดจีนควบคู่ไปกับแก้ไขปั ญหา
ทางการเมืองสาหรับปั ญหาเวียดนาม ลาวและกัมพูชา บนพื้นฐานการเคารพเอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณ
ภาพเรือ่ งเขตแดนของแต่ละประเทศ” (น.26) ทว่า “ผูน้ าจีนต้องการยุตกิ ารสูร้ บในอินโดจีนด้วยการแก้ไขปั ญหาตาม
แบบเกาหลี ซึง่ หมายความว่า ยุตกิ ารสูร้ บแต่มใิ ช่การแก้ไขปั ญหาทางการเมือง” (น.26) สะท้อนได้จากคาประกาศ
ของโจวเอินไหล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1953 ดังใจความตอนหนึ่งว่า “การยุตกิ ารสูร้ บในเกาหลีสามารถนามาใช้
เป็ นต้นแบบให้กบั การปะทะอืน่ ๆ” (น.26) และ “ในการประชุมเจนีวา ฝรังเศสจึ ่ งบรรลุการหยุดยิงตามแบบเกาหลี
เพือ่ การช่วยเหลือกองกาลังรบรอบนอกของฝรังเศส ่ แบ่งแยกเวียดนาม คงไว้ซงึ ่ ลัทธิอาณานิคมฝรังเศสในอิ
่ นโด
จีน” (น.27) นี่จงึ เป็ นเหตุให้เวียดนามมองว่าจุดยืนของจีนต่างอย่างสิน้ เชิงกับจุดยืนของเวียดนามแต่ กลับสอดคล้อง
อย่างมากกับจุดยืนของฝรังเศส ่ ทัศนะของฝ่ ายเวียดนามข้างต้นนับเป็ นจุดเริม่ ต้นของการมองจีนว่าเป็ นผูท้ รยศต่อ
เวียดนาม นอกจากนี้แล้วการระบุถึงการมองจีนว่าเป็ นผู้ทรยศต่ อเวียดนาม (และรวมถึงการทรยศต่อลาวและ
กัมพูชา) ครัง้ ที่ 1 นัน้ เริม่ เห็นเค้าลางในระหว่างการจัดประชุมเจนีวา ซึง่ มีขน้ึ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงแรก ตัง้ แต่วนั ที่ 8
พฤษภาคม - 23 มิถุนายน 1954 (ฝรังเศสเลี ่ ่ยงการพูดคุยกับเวียดนามแต่เลือกเจรจากับจีนโดยตรง) ส่วนช่วงที่
สอง ตัง้ แต่วนั ที่ 23 มิถุนายน-20 กรกฎาคม 1954 จากข้อความทีร่ ะบุในหนังสือดังนี้

เป็ นทีน่ ่ าสังเกตคือ การพบปะครัง้ ที่ 3 ในวันที่ 17 มิถุนายน 1954 นายกโจวเอินไหลได้พบ


กับคณะผู้แทนฝรังเศส ่ ชื่อ G Bi do โดยเสนอข้อประนีประนอมทางการเมืองซึ่งเป็ นภัย
ราษฎรสามประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชา เช่น จีนสามารถยอมรับเวียดนามมีสอง
รัฐบาล (รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามและรัฐบาลหุ่นเชิดบ๋าวด่ าย) รับรอง
รัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวและรัฐบาลพระราชอาณาจักรกัมพูชา ไม่สนใจให้มตี วั แทนของ

279
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รัฐบาลต่อต้านสงครามลาว (ปะเทดลาว) และรัฐบาลต่อต้านสงครามกัมพูชา (เขมรอิสระ)


เข้าร่วมการประชุมเจนีวา.. (น. 28)

และ

ครัง้ ที่ 4 วันที่ 23 มิถุนายน 1954 นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลพบกับนายมังแซทฟรังเซอ


(ถอดเสีย งตามต้น ฉบับ )4 ประธานาธิบ ดีค นใหม่ ข องฝรัง่ เศส ได้ย่ืน ข้อ เสนอใหม่ เช่ น
แบ่งแยกเวียดนามเป็ นสองส่วน… และจีนพร้อมจะยอมรับว่า 3 ประเทศ (ลาว เวียดนาม
กัมพูชา) อยู่ภายใต้สหพันธ์ฝรังเศส”
่ (น. 28-29)
ซึ่งประเด็นที่ผู้นาจีนได้ทาข้อตกลงกับฝรังเศสนั
่ บว่าสอดคล้องกับการแก้ไขปั ญหา 7 ข้อของอังกฤษ-
สหรัฐอเมริกาทีเ่ สนอในวันที่ 29 มิถุนายน 1954 นันคื
่ อหลัง 6 วันทีโ่ จวเอินไหลได้พบมังแซทฟรังเซอ

จนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 1954 ฝ่ ายเวียดนามยังคงยึดมันจุ ่ ดยืนของตนเกี่ยวกับปั ญหา


เวียดนาม ลาวและกัมพูชา ยังคงมีนโยบายเรียกร้องให้มคี ณะผูแ้ ทนรัฐบาลต่อสูส้ งครามลาว
(ปะเทดลาว) และรัฐบาลต่อสูส้ งครามกัมพูชา (เขมรอิสระ) เข้าร่วมเจรจาหลายฝ่ าย ให้ใช้
เส้นขนานที่ 13 เป็ นเส้นแบ่งชัวคราว
่ จัดเลือกตัง้ ทัวไปอย่
่ างเสรีภายใน 6 เดือนเพื่อรวม
ประเทศ... (น.29)
ขณะที่ฝ่ายจีนเคยเสนอให้เวียดนามใช้เส้นขนานที่ 16 เป็ นเส้นแบ่งระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของ
เวียดนาม

ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 1954 ผูแ้ ทนฝ่ ายจีนเสนอแผนเส้นขนานที่ 16 เป็ นเส้นแบ่งระหว่าง


สองภาค ต้อ งการให้เ วีย ดนามยิน ยอมประนี ป ระนอมมากกว่ า นี้ แม้ก ระทัง่ ต้อ งการให้
เวียดนามทิง้ ทัง้ เมืองหลวงฮานอยและนครห๋ายฟ่ องและเส้นทางหมายเลข 5 (เส้นทางเชื่อม
ฮานอยกับห๋ายฟ่ อง) (น.30)
สุดท้ายแล้วการประชุมที่เจนีวามีมติให้ใช้เส้นขนานที่ 17 เป็ นเส้นแบ่งชัวคราวระหว่
่ างภาคเหนื อและ
ภาคใต้ของเวียดนามและจะมีการเลือกตัง้ ทัวไปอี
่ ก 2 ปี เพื่อรวมประเทศต่อไป
รายละเอียดบางข้อความทีย่ กมาจากหนังสือ ล้วนแล้วแต่ทาให้เวียดนามแสดงทัศนะออกมาว่านี่คอื การ
ทรยศครัง้ ที่ 1 (su phan boi thu nhat) ของผู้น าจีน ที่มีต่ อ ประชาชนชาวเวีย ดนาม เสมือ นเป็ น การทรยศต่ อ
ประชาชนลาวและกัมพูชาด้วย

2.2.2. การทรยศของจีนต่อเวียดนามครั้งที่สอง: จีนกับการทาสงครามของประชาชนเวียดนามเพ่อื ปลดปล่อยภาคใต้รวม


ประเทศเวียดนาม (1954-1975)
ภายหลังจากการประชุมทีเ่ จนีวาเกีย่ วกับปั ญหาเวียดนามสิน้ สุดลง สหรัฐอเมริกากระโดดเข้าสู่เวียดนาม
ภาคใต้เป็ นเวลาถึง 21 ปี (1954-1975) เพื่อกาจัดขบวนการชาตินิยมของประชาชนเวียดนาม แบ่งแยกเวียดนาม
ให้ยาวนานทีส่ ุด เปลีย่ นภาคใต้ของเวียดนามให้กลายเป็ นอาณานิคมใหม่และเป็ นฐานทัพทหารของอเมริกา ทาให้

4 ปิ แอร์ มองเดส ฟรองซ์ (Pierre Mendès France)

280
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ภาคใต้ของเวียดนามเป็ นฐานทัพเพื่อโจมตีภาคเหนือ ขณะเดียวกันยังเป็ นช่วงทีเ่ วียดนามเองต้องต่อสูก้ บั แผนการ


ของผูน้ าจีนทีร่ ่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเพื่อทาให้การปฏิวตั เิ วียดนามอ่อนแอ จากนัน้ ค่อยๆขยายอานาจเข้ามาอินโด
จีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามจึงมองว่าเวลานี้จนี ได้กระทาการทรยศต่อเวียดนามเป็ นครัง้ ทีส่ อง ซึง่ มี
การนาเสนอผ่านชุดความคิดย่อยต่อไปนี้

2.2.2.1. ช่ วงปี 1954-1964: ผู ้นาจีนขัดขวางประชาชนเวียดนามทาสงครามรวมประเทศ ตัวอย่างเช่น


1. การบี บ บัง คับ เวี ย ดนามให้ ย อมรับ นโยบาย “เจื่ อ งกี่ ม ายฟุก ” (Truong ky mai
phuc) หรือ การโจมตีที่ยืดเยือ้

ในเดือนพฤศจิกายน1956 ประธานเหมาเจ๋อตุงพูดกับผูน้ าเวียดนามว่า “สถานการณ์


เวียดนามถูกแบ่งแยกไม่สามารถแก้ไขในเวลาอันสัน้ แต่ต้องยืดเยื้อ (truong ky)…หาก 10 ปี
ยังไม่เป็ นผลก็ตอ้ งเป็ น 100ปี ” (น.37) และ

ในเดือนกรกฎาคม 1957 ประธานเหมาเจ๋อตุงย้าว่า “ปั ญหาคือการรักษาชายแดนทีมี่


อยู่ ต้องรักษาเส้นขนานที ่ 17…บางทีอาจจะต้องใช้เวลายาวนานสักหน่ อย...ผมหวังว่าเวลา
ยาวนานน่ าจะเป็ นผลดี” (น.37) ซึ่งประเด็นนี้ฝ่ายเวียดนามอธิบายว่า “นัน่ คือสิง่ ทีต่ รงข้าม
สิ้นเชิงกับข้อตกลงเจนีวาเพราะตามข้อตกลง เส้นขนานที ่ 17 ไม่ใช่ชายแดนระหว่างสอง
ประเทศแต่เป็ นเพียงเขตทหารชัวคราวระหว่
่ างสองภาคของเวียดนาม แต่ ผนู้ าจีนมักจะเน้น
ย้ าหลายครัง้ สถานการณ์ภาคใต้เวียดนามมีวธิ กี ารทีเ่ หมาะสมคือการโจมตียดื เยื้อ ...รอเวลา
แท้จริงแล้ววิธกี ารนัน้ คืออะไร? (น.37)
นอกจากนี้ ย ัง ได้ย กเหตุ ก ารณ์ เ พื่อ สนับ สนุ น ทัศ นะของฝ่ ายเวีย ดนามว่ า แท้จ ริง แล้ว จีน ต้อ งการให้
เวียดนามแบ่งแยกยาวนานและหรือไม่ตอ้ งการให้เวียดนามรวมประเทศได้เป็ นผลสาเร็จ

“วันที ่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1954 เมือ่ รับประทานอาหารกับโงดิง่ เลวียต น้องของโงดิง่


เสีย่ ม ทีเ่ จนีวา นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลได้เสนอให้จดั ตัง้ สถานทูตของไซ่ง่อนทีป่ ั กกิง่
แม้ว่าโงดิง่ เสีย่ มได้เพิกเฉยกับข้อเสนอนี้มาแล้ว นีจ่ ึงเป็ นหลักฐานชัดเจนว่าเพียงแค่ 24
ชัวโมงหลั
่ งลงนามในข้อตกลงเจนีวาผูน้ าปั กกิง่ ได้แสดงความประสงค์แบ่งแยกเวียดนามให้
ยาวนาน” (น.38)

2.2.2.2. ช่ วงปี ค.ศ. 1965-1969: ทาให้อ่อนแอและขยายช่ วงสงครามให้นานขึ้นของประชาชนเวียดนาม


1. (จีน) เปิ ดไฟเขียวให้สหรัฐอเมริกาเข้ารุ กรานเวียดนาม
ในหนังสือกล่าวถึงประเด็นเหตุการณ์อ่าวตังเกีย๋ ซึง่ เป็ นเหตุการณ์ทฝ่ี ่ ายเวียดนามเหนือได้โจมตี
เรือรบของสหรัฐอเมริกาทีบ่ ริเวณอ่าวตังเกีย๋ ว่า

หลังสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาได้รบั บทเรียนว่าไม่ควรทาสงครามในเอเชีย โดยเฉพาะ


กับประเทศเพื่อนบ้านของจีนเพื่อหลีกเลีย่ งการปะทะโดยตรงกับทหารจีน แต่หลังจากนัน้ 10
ปี สหรัฐอเมริกากลับผลีผลามนากาลังทหารเข้ามาเคลื่อนไหวในเวียดนาม หลังเหตุการณ์
“กรณีอ่าวตังเกีย๋ ” เดือนสิงหาคม 1964 ซึ่งเป็ นหนึ่งในเหตุ ผลหลักที่ทาให้สหรัฐอเมริก า
ไว้วางใจทางฝ่ ายผูน้ าจีน (น. 44)

281
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นอกจากนี้ในหนังสือยังระบุคากล่าวของเหมาเจ๋อตุงทีพ่ ดู กับนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกนั เพื่อส่ง


ข้อความถึงวอชิงตัน ในเดือนมกราคม 1965 ดังใจความตอนหนึ่ง “ทหารจีนจะไม่ขา้ มชายแดนของตน
เพื่อต่อสู้ นัน่ ก็เป็ นเครื่องยืนยันชัดเจน เมื่อไหร่กต็ ามที่สหรัฐอเมริกาโจมตี คนจีนจึงจะต่อสู้ ...” (น. 44)
และ

“ไม่มอี ะไรน่ าแปลกใจเมื่อพวกเขา (จีน) ได้เพิกเฉยต่อการปฏิบตั ิตามสนธิสญ ั ญาลับทาง


ทหารระหว่ า งเวียดนาม-จีน …จนถึง เดือ นมิถุ น ายน 1965 ฝ่ ายจีน ต้อ งส่ง นัก บิน มาช่วย
เวียดนามแต่วนั ที่ 16 กรกฎาคม 1965 ฝ่ ายเสนาธิการกองทัพปลดปล่อยจีนได้แจ้งแก่ฝ่าย
เวียดนามว่าจีนไม่สามารถส่งนักบินมายังเวียดนามได้เนื่อ งจากเวลาไม่เหมาะสม…และใน
การประชุมเจรจาระหว่างฝ่ ายเวียดนามในเดือนสิงหาคม 1966 พวกเขา (จีน) กล่าวว่า “จีน
มีศกั ยภาพไม่มากพอในด้านกองทัพอากาศเพื่อช่วยปกป้ องฮานอย” (น. 46-47)

2. (จีน) ทาลายทุกการกระทาที่เป็นการช่ วยเหลือเวียดนามสู้กับการรุ กรานของสหรัฐเมริกา


เวียดนามมองว่า “เพือ่ ให้เวียดนามต้องพึง่ พาจีน ผู้นาจีนได้ออกแรงขัดขวางกองกาลังต่างๆ ทัวโลกที
่ ่
สนับสนุนเวียดนามต่อสูก้ บั สหรัฐอเมริกา” (น.47) ดังตัวอย่างเหตุการณ์ ต่อไปนี้

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1965 พวกเขา(จีน) ปฏิเสธร่างทีเ่ วียดนามเสนอในวันที่ 22 กุมภาพันธ์


ซึง่ เป็ นวันทีป่ ระเทศสังคมนิยมออกแถลงการณ์ร่วมกันประณามสหรัฐอเมริกาทีย่ กระดับการ
ทาสงครามรุกรานในภาคใต้และทาสงครามกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม
(น.47)

และ

เดือนมีนาคม 1965 พวกเขา (จีน) ปฏิเสธข้อเสนอของสหภาพโซเวียตเกีย่ วกับการประชุม


3 พรรค คือ โซเวียต เวียดนามและจีน เจรจาประเด็นความร่วมมือสนับสนุ นประชาชน
เวียดนามต่อต้านการรุกรานของสหรัฐอเมริกา (น.47)

และ

เดือนเมษายน 1965 พวกเขา (จีน) ปฏิเสธร่างข้อเสนอถึงสองครัง้ ของสหภาพโซเวียต ใน


การร่วมรับประกันความมันคงของสาธารณรั
่ ฐประชาธิปไตยเวียดนาม ดังนัน้ พวกเขา(จีน)
ได้ปฏิเสธข้อเสนอของสหภาพโซเวียตในการจัดตัง้ การขนส่งทางอากาศผ่านจีน รวมทัง้
จัดตัง้ สนามบินบนดินแดนจีนเพื่อปกป้ องสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (น.47)

3. ขัดขวางการเจรจาของเวียดนามกับอเมริกา
ในช่วงต้นปี 1968 เมื่อเวียดนามเข้าโจมตีครัง้ ใหญ่ “เต๊ด” ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาต้องลดระดับการสงคราม
และเจรจากับเวียดนามทีป่ ารีส ในการพูดคุยกับฝ่ ายเวียดนามในเดือนเมษายน 1968 ฝ่ ายจีนยอมรับว่าแถลงการณ์
ในวันที่ 28 มกราคม 1967 ของรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามซึง่ เกีย่ วข้องกับการการเจรจากับ
สหรัฐอเมริกาส่งผลดี... แต่ จีนยัง กล่าวว่า “เวลานี้เวียดนามรับเจรจาซึง่ ยังไม่ใช่เวลา ต้องวางตัวให้สูง พวกเรา
ยินยอมรวดเร็วไป” (น.51) นอกจากนี้ในเอกสารยังระบุสงิ่ ที่จนี แนะนาเวียดนามคือ “…ประชาชนเวียดนามต้อง

282
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แก้ไขบางส่วนของสงครามของตน ไม่ใช่บนโต๊ ะประชุมแต่ บนสมรภูมิ ” (น.51) นอกจากนี้ ยงั ระบุด้วยว่ า “หาก


เวีย ดนามใต้ไ ม่ ไ ด้ร ับ การรับ ประกัน ท้า ยทีส่ ุ ด เวีย ดนามคงสูญ สิ้น ทัง้ หมด ” (น.51) ซึ่ง เวีย ดนามมองว่ า เมื่อ
สหรัฐอเมริกายุติการทิ้งระเบิดลงภาคเหนือของเวียดนาม กลับสะท้อนให้เห็นปฏิกิรยิ าของฝ่ ายจีนชัดเจน เช่น
“วัน ที ่ 9 ตุ ลาคม ค.ศ.1968 ผู้น าจีน ท่ า นหนึ ง่ ได้พ บกับ รัฐมนตรีต่ า งประเทศเวีย ดนามทีป่ ั ก กิง่ และแจ้ง แก่ ผู้นา
เวียดนามว่าพวกเขา (จีน) มองการยุตทิ ้งิ ระเบิดของของสหรัฐอเมริกาเป็ นการประนีประนอมของเวียดนามทีม่ ตี ่อ
สหรัฐอเมริกาและเป็ นความพ่ายแพ้ครัง้ ใหญ่ …คล้ายกับการเจรจาลงนามในสนธิสญ ั ญาเจนีวา ปี ค.ศ.1954 นัน่ คือ
ข้อผิดพลาดอย่างหนึง่ …” (น.52)

2.2.2.3. ช่ วงปี 1969-1973 : เจรจากับสหรัฐอเมริกาลับหลังเวียดนาม


ช่ ว งปี 1969-1973 นั บ เป็ นช่ ว งรุ ก อย่ า งหนั ก ของประชาชนเวี ย ดนามในการท าสงครามต่ อ สู้ก ับ
สหรัฐอเมริกาขณะเดียวกัน ก็เป็ นช่วงเวลาทีป่ ั กกิง่ และวอชิงตัน เพิม่ ระดับการติดต่อและจับมือกันอย่างเปิ ดเผยซึง่
ทาให้ฝ่ายเวียดนามมีทศั นะว่าจีนคือผูท้ รยศหรือหักหลังเวียดนามด้วยการเจรจากับสหรัฐอเมริกาลับหลังเวียดนาม
ปรากฏในชุดความคิดย่อยต่อไปนี้
1. (จีน) ทรยศประชาชนเวียดนามอย่างเปิ ดเผย
เมื่อประธานาธิบดีนิกสันขึน้ มาบริหารประเทศ จีนแสดงทัศนะว่า “การปรึกษาหารือระหว่างสหรัฐอเมริกา
และจีน สามารถเกิดขึ้นได้ทจี ่ ีน ” (น.56) และ “เพือ่ นรักนิกสันสามารถมาเยือนปั กกิง่ หรือแต่ งตัง้ ผู้แทนมาเพือ่
ปรึกษาหารือปั ญหาไต้หวัน” (น.56) ซึง่ ข้อความข้างต้นเป็ นส่วนหนึ่งทีท่ าให้เวียดนามมองว่าเป็ นจุดเปลีย่ นสาคัญ
ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันก็เป็ นจุดเปลีย่ นทีท่ าให้เวียดนามมองจีนทรยศต่อการ
ปฏิวตั ิเวียดนาม การปฏิวตั ิอนิ โดจีน อย่างเปิ ดเผย จากนัน้ ปั กกิง่ ก็เพิม่ ระดับการพบปะผูน้ าสหรัฐอเมริกาอย่าง
เปิ ดเผย เช่น

ในเดือน มีนาคม 1971 จีนเชิญคณะปิ งปอง (bong ban) สหรัฐอเมริกามาเยือนจีน เปิ ด


ศักราชทีท่ วโลกรู
ั่ จ้ กั กันว่า “การทูตปิ งปอง (ngoai giao bong ban)” (น.57)

และ

“เดือนกรกฎาคม 1971 และเดือนตุลาคม ค.ศ. 1971 คิซซิงเจอร์ ผู้แทนพิเศษของนิกสัน


เยือนปั กกิง่ ” (น. 57) และ “เดือนกุมภาพันธ์ 1972 นิกสันเยือนจีน” (น. 57) แม้การเยือนจีน
ของคิซซิงเจอร์ครัง้ แรก คณะผู้แทนจีนระดับสูงได้ประกาศให้เวียดนามทราบ ในวันที่ 13
กรกฎาคม 1971 ว่า “ปั ญหาอินโดจีนเป็ นปั ญหาสาคัญทีส่ ุดในการพบปะระหว่างผมและคิซ
ซิงเจอร์... สาหรับจีนปั ญหาถอนทหารอเมริกนั ออกจากเวียดนามภาคใต้เป็ นปั ญหาลาดับ
แรก ส่วนปั ญหาจีนเข้าสหประชาชาติเป็ นปั ญหาลาดับทีส่ อง” (น. 58)
นอกจากนี้ในหนังสือยังยกเอาบางข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงการมองจีนว่าทรยศต่อเวียดนาม จาก
เหตุการณ์การเยือนปั กกิง่ ของประธานาธิบดีนิกสันของสหรัฐอเมริกาจนกระทังสองฝ่
่ ายได้ออกแถลงการณ์เซีย่ งไฮ้
ร่วมกัน ข้อความตอนหนึ่งของแถลงการณ์ คือ

สหรัฐอเมริกายืนยันเป้ าหมายสุดท้ายคือการถอนกองกาลังทหารต่างๆ และฐานทัพของ


สหรัฐอเมริกาออกจากไต้หวัน ในระหว่างที่รอ ขึน้ อยู่กบั สถานการณ์ตึงเครียดในภูมภิ าค

283
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แห่งนี้บรรเทาลง สหรัฐอเมริกาจะค่อยๆ ลดกาลังและฐานทัพทางทหารของสหรัฐอเมริกาใน


ไต้หวัน (น 58)
และในช่วงต้นเดือนมีนาคม 1972 เมื่อฝ่ ายจีนแจ้งแก่เวียดนามถึงการเจรจาระหว่างนิกสัน ผูแ้ ทนจีนได้
อธิบายเกีย่ วกับข้อความประโยคข้างต้นดังนี้

ต้องการความสัมพันธ์ขนั ้ ปกติระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา ต้องการให้ความตึงเครียดลดลงใน


ตะวันออกไกล ก่อนอื่นต้องแก้ไขปั ญหาเวียดนามและอินโดจีน พวกเรา (จีน) ไม่ได้เรียกร้อง
ให้แก้ไขปั ญหาไต้หวันก่อน ปั ญหาไต้หวันคือก้าวต่อไป (น. 58)

2.2.2.4. ช่ วงปี 1973-1975: ขัดขวางประชาชนเวียดนามปลดปล่อยภาคใต้


ก. ควบคุมการต่อสู้ของประชาชนเวียดนามต่อต้านสหรัฐอเมริกา-เถี่ยว (เหงวียนวันเถี่ยว) ทาลายข้อตกลง (hiep
dinh) ปารีส
ในการประชุมเจรจาทีป่ ั กกิง่ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1973 ประธานเหมาเจ๋องตุงพูดกับเลขาธิการพรรคเล
สวน (Le Duan)และนายกรัฐมนตรีฟามวันด่ง (Pham Van Dong) ว่า

ที่ภาคใต้เวียดนามต้องหยุด (การต่ อสู้) ครึ่งปี หนึ่งปี หนึ่งปี ครึ่ง สองปี ยิ่งดีการปฏิวตั ิใน
ภาคใต้ควร แบ่งเป็ นสองขัน้ เพิม่ ขึน้ เป็ นหนึ่ง คนอเมริกนั ไม่ยอมง่ายๆ ปั ญหาอยู่ทใ่ี นมือของ
เหงวียนวันเถีย่ วยังคงมีทหารหลายหมื่นนาย (น.69)

และ

ผู้น าปั ก กิ่ง ยังแนะน าสหรัฐอเมริก าห้า มแพ้ใ นเวียดนาม ห้า มถอนทหารออกจากเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (น.70)

และ

นอกเหนือจากนี้ พวกเขา (จีน) หาวิธกี ารดึงเจ้าหน้าทีท่ วไปและเจ้


ั่ าหน้าทีข่ องหุน่ เชิดไซ่งอ่ น
ร่วมมือกับพวกเขา(จีน) แม้กระทังให้
่ คนโน้มน้าวใจเซืองวันมิงห์ (ประธานาธิบดี) เข้ามารับ
ตาแหน่งคนสุดท้ายของระบอบไซ่ง่อน เพื่อจะได้ดาเนินการต่อต้านและลุกฮือของทหารและ
ประชาชนภาคใต้ (น.70)

ข. ลุกล้าดินแดนของเวียดนามเพิ่มความตึงเครียดตามชายแดน
ตัง้ แต่ ปี 1973 ผู้น าจีน เพิ่ม พฤติก รรมและเข้า ยึด ดิน แดนบริเ วณจัง หวัด ชายแดนทาง
ภาคเหนือ ทาให้เวียดนามอ่อนแอโดยเฉพาะความพยายามของประชาชนเวียดนามในการ
ทาสงครามปลดปล่อยภาคใต้ …วันที่ 26 ธ.ค.1973 เวียดนามเสนอให้เปิ ดการเจรจาเพื่อระบุ
เส้นแบ่งทางทะเลระหว่างเวียดนาม-จีนอย่างเป็ นทางการบริเวณอ่าวตังเกีย๋ (vinh Bac Bo)
เพื่อจะใช้ประโยชน์พน้ื ทีท่ างทะเลทีข่ น้ึ ตรงกับเวียดนามวันที่ 18 มกราคม 1974 จีนตอบรับ
ข้อ เสนอข้างต้น ...พวกเขา(จีน) เรีย กร้อ งไม่ต้องการให้ป ระเทศที่สามเข้า มาสารวจอ่าว
ตัง เกีย๋ ...อย่ า งไรก็ต าม การเจรจาระหว่ า งจีน -เวีย ดนาม เกี่ย วกับ การแบ่ ง เขตระหว่าง

284
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เวียดนามและจีนในอ่าวตังเกีย๋ ตัง้ แต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนไม่มผี ลคืบหน้าใดๆ


...พวกเขา(จีน )ท าให้ก ารเจรจาปั ญ หาเกี่ย วกับ ชายแดนทางบกและในอ่ า วตัง เกีย๋ ต้อ ง
หยุดชะงักตัง้ แต่เดือนตุลาคม 1977 เพื่อบรรลุเป้ าหมายการละเมิดชายแดน บุกยึดอาณา
เขตเวียดนามเพื่อคงไว้ซง่ึ สถานการณ์ตงึ เครียดตามแนวชายแดนเวียด-จีน (น.71)
และ

ยิง่ ไปกว่านัน้ วันที่ 19 มกราคม 1974หมายถึงหนึ่งวันหลังจากฝ่ ายจีนตอบรับการเจรจากับ


ฝ่ ายเวียดนามเกี่ยวกับปั ญหาอ่าวตังเกีย๋ พวกเขา(จีน) ใช้กาลังทหารเรือและทหารอากาศ
โจมตีทหารไซ่ง่อนและยืดเอาหมู่เกาะหว่างซา (พาราเซล) ซึ่งในอดีตเป็ นส่วนหนึ่งของ
อาณาเขตเวียดนาม (น. 71-72)

ค.เปลี่ยนกัมพู ชาให้กลายเป็นฐานโจมตีเวียดนาม
หลังสนธิสญ
ั ญาปารีสเกี่ยวกับเวียดนาม ตามคาสังของปั
่ กกิ่งกลุ่มพอลพต-เอียงซารี ได้
ดาเนินนโยบายสองหน้ากับเวียดนาม หมายถึง ทัง้ พึง่ พาเวียดนามและทัง้ ต่อต้านเวียดนาม
(น.73)

...ภายใต้กรอบการประนีประนอมระหว่างจีน -สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาตกลงว่าจะไม่ให้


ความช่ ว ยเหลือ ทางทหารแก่ ก ารปฏิว ัติสามประเทศในอิน โดจีน พวกเขา(จีน ) ปฏิเ สธ
ข้อเสนอของกลุ่มพอลพต-เอียงซารีในด้านการเพิม่ อาวุธโจมตี ด้วยวิธกี ารร้องขอเวียดนาม
ให้พอลพต-เอียงซารียมื จากนัน้ จีนจะคิดให้ทหี ลัง นี่จงึ เป็ นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของจีน ทัง้ ได้
ใจพวกกัมพูชา เลีย่ งการปะทะกับสหรัฐอเมริกา แต่เพิม่ ความยุ่งยากให้กบั เวียดนาม... (น.
73) และ “ชัดเจนแล้วว่าผู้นาจีนได้เพิม่ ก้าวของแผนการเพื่อให้กมั พูชาภายใต้ระบอบกลุ่ม
พอลพต-เอียงซารี เตรียมการโจมตีเวียดนามทางภาคใต้ฝัง่ ตะวันตกหลังจากทีภ่ าคใต้ของ
เวียดนามปลดปล่อยแล้ว (น.74)

2.2.3. การทรยศของจีนต่อเวียดนามครั้งที่สาม: จีนกับช่ วงการปลดปล่อยเวียดนามและเปน็ เอกภาพสมบู รณ์


ก. บ้าคลั่งต่อต้านเวียดนามแต่พยายามหลบซ่ อนด้วยวิธีการผ่านกลุ่มพอลพต-เอียงซารี ให้ทาสงครามชายแดน
เวียดนามทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม (phia Tay Nam Viet Nam) และใช้ประเด็นให้ความช่ วยเหลือ
เวียดนามยกระดับการบีบบังคับเวียดนาม เป็นต้น
ในวันที่ 17 เมษายน 1976 ประเทศกัมพูชาออกจากภายใต้การปกครองของลอนนอนซึ่ง
เป็ นหุ่นเชิดของสหรัฐอเมริกา แต่จนี ได้สนับสนุ นให้กลุ่มพอลพต-เอียงซารีขน้ึ มาปกครอง
พรรคคอมมิวนิสต์กมั พูชา...(จีน) ต้องการเปลีย่ นกัมพูชาให้เป็ นรัฐแบบใหม่และเป็ นฐานทัพ
ทางทหารของพวกเขา(จีน)เพื่อบุกโจมตีเวียดนามทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (น. 80)

และ

...หากปี 1971-1972 พวกเขา (จีน) เพิม่ ความช่วยเหลือต่อเวียดนามสูงสุดเมื่อเทียบกับปี


ก่อนหน้า (ปี 1969-1970) เพราะพวกเขา (จีน) ต้องการใช้ประโยชน์เกีย่ วกับเวียดนามเพื่อ

285
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ประนีประนอมกับสหรัฐอเมริกา จนถึงปี 1975 เพราะความพ่ายแพ้ในเวียดนามภาคใต้ พวก


เขา (จีน) หันกลับมาให้ความช่วยเหลือเพื่อบีบบังคับเวียดนาม...ชัดเจนความช่วยเหลือของ
ผูน้ าจีนไม่ใช่ไม่มอี คติเหมือนอย่างทีพ่ วกเขา (จีน) โอ้อวด แต่เป็ นเพียงแค่เครื่องมือของลัทธิ
ขยายอานาจเหนือชาติอ่นื ” (banh truong dai dan toc) และ การครองความเป็ นเจ้า ” (ba
quyen nuoc lon) ของประเทศใหญ่เท่านัน้ ... (น. 84)

ข. บ้าคลั่งต่อต้านเวียดนามด้วยวิธกี ารเปิ ดเผย เช่ น ใช้ส่งิ ที่เรียกกันว่าปั ญหาชาวจีนโพ้นทะเล (nan kieu) เพื่อ
ต่อต้านเวียดนามอย่างเปิ ดเผย และการ โจมตีเวียดนามทั้งสองทางคือทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางทิศเหนือ
เป็นต้น
ต้นปี 1978 ผู้นาจีนได้ใช้สงิ่ ที่เรียกว่า “ปั ญหาชาวจีนโพ้นทะเล” เพื่อเปิ ดสงครามต่ อต้า น
สาธารณรัฐสังคมนิยมอย่างเปิ ดเผย ความจริงคือ องค์กรลับต่างๆ ของชาวจีน (nguoi Hoa)
เป็ นเครือข่ายทางอ้อมของสถานทูตจีนในฮานอย ได้รบั การชี้นาทุกวัน ทุ กชัวโมง ่ จาก
เจ้าหน้าทีป่ ั กกิง่ ด้วยการกุเรื่องขาดความละอาย ประณามเวียดนามขับไล่ตาหนิ โหดร้ายกับ
ชาวจีน...ทาให้หมู่ชาวจีนที่กาลังทามาหากินอย่างมันคงในเวี
่ ยดนามอยู่ในสถานการณ์
สับสน หวาดกลัวสงครามจะปะทุ ...ทาให้พวกเขา (ชาวจีน) มุ่งหน้าสู่จนี พวกสมุนของจีน
ดาเนินการให้คนเหล่านัน้ ข้ามชายแดนผิดกฎหมายจากนัน้ ก็ขดั ขวางพวกเขาอีก ทาให้เกิด
ความวุ่นวายตามชายแดนเวียด-จีน ...ช่วงทีช่ าวจีนมุ่งหน้าสูจ่ นี ปั กกิง่ ไม่ละอายแก่ใจนาเรือ
สองลามารับ ชาวจีนโพ้น ทะเลกลับ ...แค่ เพียงไม่ก่ีเ ดือ น ชาวจีน จานวน 170,000 คนได้
เดินทางออกจากเวียดนามสิ่งทีเ่ รียกว่าปั ญหาชาวจีนโพ้นทะเล เป็ นเพียงแค่การบีบบังคับ
ชาวจีนในเวียดนามให้อพยพไปยังจีน... (น. 84)
ส่วนประเด็นดังกล่าวฝ่ ายเวียดนามมีทศั นะว่า

...ผู้นาปั กกิ่งต้องถอนเรือสองลาที่ไปรับชาวจีนโพ้นทะเลกลับประเทศ นัง่ เจรจากับฝ่ าย


เวียดนามเกีย่ วกับการแก้ไขปั ญหาชาวจีนแต่ในการเจรจา พวกเขา (จีน) ยังรักษาท่าทีของ
ประเทศใหญ่ ขวางโลก ใช้ทศั นะซึ่งไร้เหตุ ผลของพวกเขา(จีน)ไม่คานึงถึงอธิปไตยของ
ประเทศสังคมนิยมเวียดนามและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึง่ พวกเขา(จีน) พยายามทาลาย
การเจรจาครัง้ นัน้ เพื่อใช้ปัญหาชาวจีนต่อต้านเวียดนาม (น. 87)
ในทัศนะการโจมตีเวียดนาม 2 ทิศ คือทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยกลุ่มพอลพต-เอียงซารี ภายใต้การชีน้ าของ
จีนและทิศเหนือซึง่ เป็ นการโจมตีโดยตรงของจีน

ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแผนของจีน หลังการรวมพลได้ 19 กองพลของกระทรวง


สงครามมาประชิดชายแดนเวียดนาม วันที่ 22 ธันวาคม 1978 กลุ่มพอลพต - เอียงซารีใช้
กองพลที่ได้รบั การฝึ กมาอย่างดีของพวกเขา มีรถถังปื นใหญ่โจมตีบริเวณเบ๊นสอย (Ben
Soi) ขึน้ กับจังหวัดเติยนิง (ห่างจากไซ่ง่อน 100 กม.) ด้วยตัง้ ใจยึดเขตเติยนิง เปิ ดเส้นทาง
ลงสู่ภาคใต้ ขณะเดียวกันก็ทาให้เวียดนามอ่อนแอ เพื่อที่กองทัพจีนจะได้โ จมตีเวียดนาม
ทางทิศเหนือ ” (น. 90) “ทางทิศเหนือ ผู้นาจีนได้นาทหาร 6 แสนนาย รวมหลายกองทัพ
หลายกองพลอิส ระ ...รถถัง เกือ บ 800 คัน ...เครื่อ งบิน หลายร้อ ยประเภท...เข้า รุ ก ราน
286
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เวียดนามในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1976 บนพืน้ ทีช่ ายแดนยาวกว่า 1,000 กม. กองทัพจีนไป


ถึงไหนก็สร้างความเสียหายแก่ชาวบ้าน รวมทัง้ ผูห้ ญิง เด็กเล็ก คนแก่ ทาลายหมู่บา้ น วัดวา
อาราม โบสถ์ โรงเรียน โรงเรียนอนุบาล โรงพยาบาล ไร่นา... (น. 92)
ตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสือ ฝ่ ายเวียดนามมองว่าการทาสงครามรุกรานเวียดนามทัง้ สองทางนับเป็ น
อาชญากรรมร้ายแรงที่สุดต่อเวียดนามโดยจีน แม้การกระทาของจีนจะได้รบั การประณามจากทัวโลก ่ ซึ่งผลที่
ตามมาคือ วันที่ 5 มีนาคม 1979 จีนต้องประกาศถอนทหารและยอมรับการเจรจากับฝ่ ายเวียดนาม ซึง่ เหตุการณ์
บางตัวอย่างทีน่ าเสนอเป็ นเพียงบางส่วนของชุดความคิดย่อยทีเ่ วียดนามมองว่าจีนได้กระทาการทรยศเวียดนาม
เป็ นครัง้ ทีส่ าม

3) บทสรุ ปและข้อเสนอแนะ
อาจกล่าวได้ว่า หนังสือ ข้อเท็จจริงเกีย่ วกับเวียดนาม-จีนช่วง 30 ปี ทผี ่ ่านมา ซึ่งหมายถึงช่วงปี 1949-
1979 นับเป็ นตัวแทนร่วมสมัยทีท่ าให้เราทราบถึงมุมมอง/ความคิดเห็นของพรรคและรัฐเวียดนามทีม่ ตี ่อจีนในเชิง
ลบชัดเจนมากทีส่ ดุ เล่มหนึ่งแต่นนเป็
ั ่ นผลมาจากบริบทของความไม่ลงรอยกันระหว่างเวียดนามและจีน ณ ขณะนัน้
ซึง่ มาจากหลายปั จจัย โดยเฉพาะเหตุการณ์ครัง้ รุนแรงสุดมาจากการทาสงครามชายแดนระหว่างเวียดนามและจีน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1979 หรือทีช่ าวโลกรูจ้ กั กันในเหตุการณ์ “สงคราม (จีน) สังสอนเวี
่ ยดนาม” แม้ว่าสมุดปกขาว
โดยนัยยะก็คอื เอกสารเผยแพร่ของรัฐบาลหนึ่งๆ ทีม่ วี ตั ถุประสงค์รายงานสถานการณ์ทางการเมืองการปกครอง
เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ เพื่อออกเผยแพร่ต่อสาธารณะทราบ ในทีน่ ้ีฝ่ายเวียดนามคงเจตนาแถลงการณ์ความขับข้อง
ใจในความสัมพันธ์ระหว่างตนกับฝ่ ายจีนให้ทวโลกทราบั่ โดยมอบพื้นที่จานวนเกือบร้อยหน้าให้กบั คาอธิบายว่า
“จีนคือผูท้ รยศต่อเวียดนาม” กระนัน้ ก็ดที ศั นะหรือมุมมองดังกล่าว (อาจ) กลายเป็ นข้อจากัดอย่างหนึ่งของการนา
เอกสารชิน้ นี้มาใช้เป็ นหลักฐานอ้างอิงอยู่ไม่น้อย เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มคี วามเป็ น “อัตวิสยั ” อยู่มาก ขาดการมอง
บริบททางประวัติศาสตร์หรือปั จจัยอื่นประกอบ เช่น บริบทของสถานการณ์โลก ณ ขณะนัน้ หรือ ปั จจัยในการ
กาหนดนโยบายการต่างประเทศของจีน เป็ น ในส่วนข้อเสนอแนะครัง้ ต่อไป คือ ควรต้องมีการศึกษาเอกสารของ
ฝ่ ายจีนเพื่อให้เห็นทัศนะ/มุมมองของสองฝ่ าย หรือ ควรมีการนาเสนอเรื่องปั จจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่องานเขียนหนังสือ
ดังกล่าว เพื่อเพิม่ ความลุ่มลึกให้กบั การศึกษามากยิง่ ขึน้

287
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เอกสำรอ้ำงอิง
กันยารัตน์ อังคณาวิศลั ย์. 2541. ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามในบริบทของอาเซียน: ยุคหลังสงครามเย็น
ธนนันท์ บุ่นวรรณา. 2556. วิทยานิพนธ์สาขาประวัตศิ าสตร์เวียดนามระหว่าง ค.ศ.1985-2010: สารวจสถานภาพ
องค์ความรู.้ ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา.
ไพรัช เจียระนันท์. 2531. “นโยบายต่างประเทศเวียดนามต่อจีน ค.ศ.1945-1979.” สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตร์
มหาบัณฑิต, สาขาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุด จอนเจิดสิน. 2544. ประวัตศิ าสตร์เวียดนามตัง้ แต่อาณานิคมฝรังเศสถึ
่ งปั จจุบนั . กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่
ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เหวียนคักเวียน. 2552. เวียดนามประวัตศิ าสตร์ฉบับพิสดาร, แปลโดย เพ็ชรี สุมติ ร. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ:
มูลนิธโิ ตโยต้าประเทศไทย.
อนุพงศ์ บุญฤทธิ.์ 2529. “ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนามในช่วงปี ค.ศ.1969-1979: ศึกษากรณีนโยบาย
ต่างประเทศจีน.” สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการระหว่างประเทศและการทูต คณะ
รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Thananan Boonwanna. 2015. “Factors Contributing to Vietnam’s Positive Attitude towards China during
the Period 1945-1954.” Oral presentation 11th International Conference on Humanities & Social
Sciences 27/11/58, Faculty of Humanities and Social Sciences, KKU
Su That ve Viet Nam- Trung Quoc trong 30 nam. 1979. Ha Noi: NXB Su That.
Nguyet Ha. n.d. “NXB Chinhtriquocgia Su that kyniem65 namthanhlap.” http://vietbao.vn/vi/Xa-hoi/NXB-
Chinh-tri-quoc-gia-Su-that-ky-niem-65-nam-thanh-lap/320052483/157/. (accessed April 30,
2016)
Luu Van Loi. 2006. 50 Years of Vietnamese Diplomacy. HaNoi: The Gioi

288
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R2-01

แผ่นดินไทยใต้ร่มพระบารมี
อนุ ส าวรี ย์ อั น เนื่ องมาแต่ ก ารต่ อ สู้ กั บ คอมมิ ว นิ ส ต์ ใ นภาคเหนื อ ตอนบน
กั บ ปฏิ บั ติ ก ารสร้ า งความทรงจาของรั ฐ ไทย

ธนาวิ โชติประดิษฐ
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทความนี้ เ ป็ น ภาคภาษาไทยของงานวิ จั ย “Re-Establishing the Kingdom: The Anti-Communist Monuments in the Thai
Highlands” ได้รับทุนจากโครงการ “Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art” (2558-2559) ทุนนี้เ ป็น
ส่วนหนึ่งของโครงการทุ น Connective Art Histories ของ Getty Foundation ที่ได้รับการพัฒ นาขึ้ นโดย The Power Institute,
University of Sydney ร่วมด้วย National Gallery Singapore และ Institute of Technology, Bandung

289
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เพราะในสมัยปั จจุบนั นี้บา้ นเมืองเราก็ยงั อยู่เป็ นบ้านเมืองดังทีป่ ระจักษ์เห็นอยู่ ทาไมเกิดยัง


เป็ นบ้านเมืองอยู่อย่างนี้ ไม่พงั ลงไปดังทีม่ ใี ครต่อใครก็ได้คาดคะเนเอาไว้ ว่าเมืองไทยจะไม่
อยู่ในแผนที่โลกแล้วภายในปลายปี น้ี ข้าพเจ้าก็ได้ยนิ มา และต่อมาเมื่อเมืองไทยยังอยู่ใน
โลก ก็ไ ด้ยิน มาอีก ว่ า ปี ห น้ า ไทยแลนด์น้ี จ ะกลายเป็ น ตายแลนด์ ในแผนที่ท่ีเ ห็น ไว้ว่ า
เมือ งไทยนี้ จ ะเป็ น ตายแลนด์ เห็น มานานแล้ว แล้ว ก็เ ข้า ใจว่ า ที่ท าไว้อ ย่ า งนั ้น ก็เ ป็ น
แผนการณ์ทแ่ี ท้อย่างหนึ่งทีอ่ ยากให้เป็ นตายแลนด์1
ข้อความข้างต้นเป็ นส่วนหนึ่งของพระราชดารัสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั พระราชทานแก่นักศึกษา
พ่อค้า ประชาชน มูลนิธิ องค์การต่างๆ ที่เข้าเฝ้ าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ 5 ธันวาคม 2518 ณ ศาลาดุสดิ าลัย พระราชวังดุสติ เมื่อวันพฤหัสบดีท่ี 4 ธันวาคม 2518 ถึงแม้จะไม่เป็ นที่
แน่ ชดั ว่า “แผนที่ท่เี ห็นไว้ว่าเมืองไทยนี้จะเป็ นตายแลนด์ ” ที่พระองค์ทรงรับสังว่ ่ าทรงเคยทอดพระเนตรเห็นนัน้
หมายถึงแผนทีฉ่ บับใด แต่ในระยะนัน้ มีการเผยแพร่ภาพทหารในเครื่ องแบบกองทัพปลดแอกของคอมมิวนิสต์
ขนาดมหึมากาลังอ้าปากจะกลืนกินประเทศไทยจากทางภาคอีสาน2 (ภาพที่ 1) ภาพแผนทีด่ งั กล่าวจึงพาดพิงไปถึง
ประเทศเพื่อนบ้านทางอีกฟากของแม่น้ าโขง อันได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนามทีไ่ ด้กลายเป็ นคอมมิวนิสต์ไป
หมดภายในครึ่งหลังของปี 2518 ในบริบทนี้ ภยันตรายที่จะเปลี่ยนเมืองไทยให้เป็ น “ตายแลนด์” จึงหมายถึง
คอมมิวนิสต์นนั ่ เอง พระราชดารัสครัง้ นี้เกิดขึน้ เพียงสองวันหลังจากเจ้ามหาชีวติ ศรีสว่างวัฒนาแห่งราชอาณาจักร
ลาวยอมแพ้แก่ขบวนการปฏิวตั ลิ าว (ปะเทดลาว) ทีเ่ ข้ายึดอานาจและสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาวขึน้ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2518 พระราชดารัส 4 ธันวาของในหลวงได้เผยให้เห็นถึงความกังวลเรื่องการขยายตัว
ของคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนและความมันคงของราชส ่ านักอย่างชัดแจ้ง ในแง่น้ี ภัยต่อความมันคงของชาติ
่ กค็ อื ภัย
ต่อความมันคงของราชบั
่ ลลังก์ สถาบันกษัตริย์ตอบสนองต่อการคุกคามดังกล่าวด้วยการประกาศว่าจะ “สู”้ โดย
เรียกร้องให้คนในชาติร่วมแรงร่วมใจกัน “แต่ถ้าเราทุกคนทาหน้าทีด่ ี แล้วก็พยายามทีจ่ ะสามัคคีกนั ดี ช่วยกัน เราก็
ไม่ตาย แล้วก็ขอ้ พิสจู น์ ก็ทุกคนทีย่ นื อยู่ทนี ่ ้ ีกย็ งั ไม่ตาย ก็ไม่ใช่ตายแลนด์ ” 3 หลังจากพระราชดารัสนี้เ พียงไม่ก่วี นั
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ก็พระราชทานกลอน “เราสู”้ เป็ นของขวัญปี ใหม่ 2519 กลอน “เราสู”้ ได้กลายเป็ น
เพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู”้ ทีแ่ พร่หลายในหมู่ฝ่ายขวาในปี 2519
ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีบทบาทสาคัญปฏิบตั ิการณ์ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ใน
ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กับรัฐไทยและ
สหรัฐอเมริกาตลอดยุคสงครามเย็นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับวาทกรรมการเสียดินแดนทีช่ นชัน้ นาไทยถือเป็ น

1 พระราชดารัสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานแก่นกั ศึกษา พ่อค้า ประชาชน มูลนิธ ิ องค์การต่างๆ ทีเ่ ข้าเฝ้ าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่อง
ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2518 ณ ศาลาดุสดิ าลัย พระราชวังดุสติ เมือ่ วันพฤหัสบดีท่ี 4 ธันวาคม 2518 นี้เรียบเรียงขึน้ ตามทีไ่ ด้ม ี
การบันทึกพระสุรเสียงไว้ ดูพระราชดารัสฉบับเต็มใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ภูมพิ ลอดุลยเดช, ประมวลพระราชดารัสและพระบรมราโชวาท ที ่
พระราชทานในโอกาสต่างๆ ปี พุทธศักราช 2518 (กรุงเทพ: สานักราชเลขาธิการ, 2519), 315-322.
2 สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุลกล่าวจากความทรงจาว่า ในยุคนัน ้ ฝ่ ายขวาได้เผยแพร่ภาพทีแ่ สดงการคุกคามของคอมมิวนิสต์จากทางภาคอีสานในรูปของแผนที่
จานวน 2 ภาพ ได้แก่ ภาพทหารคอมมิวนิสต์อา้ ปากจะกลืนแผนทีป่ ระเทศไทยจากทางฝั ง่ ภาคอีสาน กับแผนทีท่ แ่ี สดง “ยุทธศาสตร์รปู ตัวแอลของ พคท.”
ทีห่ มายถึงการ “ตัด” หรือ “ปลดปล่อย” ภาคอีสานออกจากการควบคุมของกรุงเทพ ดูสมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล, “เราสู:้ เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับ
การเมืองปี 2518-2519,” ใน ประวัตศิ าสตร์ทเี ่ พิง่ สร้าง: รวมบทความเกีย่ วกับกรณี 6 ตุลาและ 14 ตุลา (กรุงเทพ: สานักพิมพ์ 6 ตุลาราลึก, 2544), 132-
133.
3 ประมวลพระราชดารัสและพระบรมราโชวาท ทีพ ่ ระราชทานในโอกาสต่างๆ ปี พุทธศักราช 2518, 317.

290
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ประเด็นสาคัญมาโดยตลอด4 ถึงแม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะประกอบด้วยประชาชนและนักศึกษา
ไทยจานวนมาก คอมมิวนิสต์กถ็ ูกมองว่าเป็ นศัตรูจากภายนอกราชอาณาจักรทีม่ าคุกคามประเทศไทย ในบริบท
ดังกล่าว สถาบันกษัตริยก์ ลายเป็ นสัญลักษณ์แห่งชาติในการทาสงครามจิตวิทยาให้คนไทยตื่นตัวในการต่อต้านภัย
จากคอมมิวนิสต์ การต่ อสู้กบั คอมมิวนิสต์จงึ เป็ นเรื่องของการแสดงความจงรักภักดีต่อชาติท่มี ศี ูนย์กลางอยู่ท่ี
สถาบันกษัตริยน์ นเอง
ั่ 5
เมื่อ “ภูมกิ ายา” ของราชอาณาจักรอันกาหนดด้วยเส้นเขตแดน/ขอบเขต แผนทีค่ อื หัวใจสาคัญของความ
เป็ นชาติแบบราชาชาตินิยม ภาพแผนทีป่ ระเทศไทยกาลังจะถูกกลืนกินโดยทหารคอมมิวนิสต์จงึ ชี้ ให้เห็นถึงความ
กังวลในพื้นที่ชายแดน เพราะเส้นเขตแดนตลอดแนวแม่น้ าโขงที่กนั ้ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ล้ว น
กลายเป็ นคอมมิวนิสต์น้ีเองทีเ่ ป็ นปราการด่านแรกของการเข้าสู่ราชอาณาจักร ภาพดังกล่าวไม่เพียงแสดงพืน้ ที่
อ่อนไหวต่อการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในภาคอีสานเท่า นัน้ แต่ ยงั รวมถึงบริเวณภาคเหนือตอนบน อันได้แก่
เชีย งราย น่ า น และพะเยาด้วย (พะเยาเป็ น ส่วนหนึ่ งของเชีย งรายจนกระทังปี ่ 2520) บทความชิ้นนี้ ต้อ งการ
อภิปรายการแพร่กระจายของอนุ สาวรียอ์ นั เนื่องมาแต่การต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์ในภาคเหนือตอนบนในฐานะส่วน
หนึ่งของกระบวนการชาตินิยมสมัยสงครามเย็น ในเมืองไทย การศึกษาเรื่องอนุ สาวรียส์ งคราม และกระบวนการ
สร้างความทรงจาเกี่ยวกับสงครามจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรมทางสายตายังไม่เป็ น ที่
แพร่หลายมากนัก ถึงแม้ว่านักประวัติศาสตร์อย่างนิธิ เอียวศรีวงศ์ สายพิ น แก้วงามประเสริฐ มาลินี คุ้มสุภา
และศรัญญู เทพสังเคราะห์จะได้ผลิตงานเขียนทีศ่ กึ ษาความสัมพันธ์ระหว่างอนุ สาวรียก์ บั การเมืองวัฒนธรรมไทย
ไว้จานวนไม่น้อย แต่กย็ งั ไม่มงี านเขียนเชิงวิชาการว่าด้วยอนุสาวรียท์ ส่ี ร้างขึน้ เพื่อราลึกถึงการต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์
ในยุคสงครามเย็นเลย ขณะเดียวกัน งานประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะในประเทศไทยก็มุ่งให้ความสาคัญกับศิลปะในยุคก่อน
สมัยใหม่และโบราณสถานเป็ นส่วนใหญ่ บทความชิ้นนี้ต้องการริเริ่มอุดช่องว่างงานศึกษาเกี่ยวกับศิลปะและ
อนุ สาวรีย์ในยุคสงครามเย็นโดยอภิปรายอนุ สาวรีย์ผู้เสียสละในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ อนุ สาวรีย์วรี กรรมพล
เรือน ตารวจ ทหารทีอ่ าเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่ าน อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละในค่ายเม็งรายมหาราช อาเภอเมือง จังหวัด
เชียงราย อนุสรณ์ผเู้ สียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 ทีอ่ าเภอเชียงคา จังหวัดพะเยา และอนุสรณ์สถานยุทธภูมิ
บ้านห้วยโก๋นเก่า อาเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่ าน บทความเสนอว่าโวหารของอนุ สาวรีย์ผู้เสียสละเหล่านี้
สัมพันธ์อย่างแน่ นแฟ้ นกับวาทกรรมราชาชาตินิยมว่าด้วยการเสียดินแดน ความเป็ นชาติอนั แบ่งแยกมิได้ และการ
สละชีพเพื่อชาติ ความเป็ นปึ กแผ่นของแดนไทยนัน้ ได้มาด้วยการเสียสละเลือดเนื้อของคนในชาติ หากประชาชน
ชาวไทยไม่ร่วมแรงร่วมใจกัน “ปกบ้าน ป้ องเมือง คุ้มเหย้า” ตามแต่กลอน “เราสู”้ แล้วไซร้ ประเทศไทยก็จะต้อง
กลายเป็ น “ตายแลนด์” ตามคาทานาย การศึกษาบทบาทและพลังทางการเมืองของอนุ สาวรียใ์ นยุคสงครามเย็นใน
พื้นที่ชายแดนชี้ให้เห็นว่าอนุ สาวรีย์เหล่านี้ไม่ได้เป็ นเพียง “ภาชนะ” บรรจุความทรงจา แต่เป็ น “กลไก” ในการ
สถาปนาอานาจนาของรัฐไทยในยุคคอมมิวนิสต์

4 ธงชัย วินิจจะกูลเสนอว่าความคิดเรือ่ งเสียดินแดนและปัญหาเขตแดนเป็ นส่วนหนึ่งของประวัตศิ าสตร์แบบราชาชาตินิยมทีเ่ ป็ นมรดกตกทอดมาตัง้ แต่ยุค


ล่าอาณานิยม ดูรายละเอียดในธงชัย วินิจจะกูล, กาเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัตศิ าสตร์ภมู กิ ายาของชาติ, แปลโดยพวงทอง ภวัครพันธุ,์ ไอดา อรุณวงศ์
และพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ (กรุงเทพ: สานักพิมพ์อ่าน, 2556).
5 ดูการอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสถาบันกษัตริยใ์ นยุคสงครามเย็นใน Benedict Anderson, “Withdrawal Symptoms: Social and

Cultural Aspects of the October 6 Coup,” Bulletin of Concerned Asian Scholars, 9:3, (July–September 1997): 13–30; Katherine A. Bowie,
Rituals of National Loyalty: An Anthropology of the State and the Village Scout Movement in Thailand (Columbia University Press, New York,
1997) และณัฐพล ใจจริง, “พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี: แผนสงครามจิตวิทยาลัยอเมริกนั กับการสร้างสถาบันกษัตริยใ์ ห้เป็ น “สัญลักษณ์แห่งชาติ,”
ใน ขอฝั นใฝ่ ในฝั นอันเหลือเชือ่ ความเคลือ่ นไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวตั สิ ยาม (พ.ศ. 2475-2500) (กรุงเทพ: ฟ้ าเดียวกัน, 2556), 289-339.

291
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อนุสำวรีย์ผู้เสียสละกับปฏิบัตกิ ำรณ์ขอคืนพื้นที่
ลักษณะภูมปิ ระเทศอันเฉพาะตัวของภาคเหนือตอนบนในเขตติดต่อกับลาวทีเ่ ป็ นเทือกเขาสลับซับซ้อน
ป่ าทึบ และหุบเขาทีย่ ากแก่การเข้าถึงทาให้บริเวณนี้ห่างไกลจากอานาจของกรุงเทพอย่างมีนยั สาคัญ ทัง้ ประชากร
ส่วนใหญ่ท่อี าศัยอยู่ในเขตเทือกเขายังเป็ น “ชาวเขา” ที่เป็ นชนกลุ่มน้อยทางชาติพนั ธุ์อกี ด้วย ในสายตาของรัฐ
ชาวเขาคือพวกด้อยพัฒนาทีม่ แี นวโน้มขาดความภักดีต่อชาติ 6 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยขยายเขต
งานไปถึงเชียงรายและน่านในทศวรรษ 2500 ชาวเขาจานวนไม่น้อยกลายเป็ นผูฝ้ ั กใฝ่ ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนราช
สานัก ไทยก็ต อบโต้ด้วยการออกเสด็จเยี่ย มประชาชนในชนบทและเขตป่ าเขาอย่า งแข็ง ขัน ทัง้ ยัง มีก ารริเริ่ม
โครงการในพระราชดาริเพื่อพัฒนาชนบทในด้านต่างๆ อีกมากมาย โครงการเหล่านี้ทาหน้า ทีเ่ ป็ นกลไกสร้างสานึก
จงรักภักดีต่อราชสานัก และดูดกลืนความเป็ นอื่น /คนอื่น (ชาวเขา) ให้เป็ นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ทัง้ โครงการใน
พระราชดาริและการเสด็จเยี่ยมประชาชนในเขตห่างไกลและทุรกันดารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และ
สมาชิกราชวงศ์ไม่เพียงเป็ นการปลุกเร้าความรู้สึกจงรักภักดีให้เกิดขึน้ ในจิตใจของประชาชนเท่านัน้ หากยังเป็ น
ประหนึ่งเครื่องยืนยันพระราชอานาจเหนือดินแดนดังกล่าวด้วย
พืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบนเป็ นหนึ่งในสมรภูมทิ ม่ี กี ารปะทะกันอย่างหนักหน่ วงในสงครามระหว่างรัฐไทยกับ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตัง้ แต่ช่วงทศวรรษ 2500 ถึง 2520 เนื่องจากบริเวณนี้เป็ นเขตเทือกเขาสูงที่มี
ชายแดนที่ติดกับลาว พื้นที่รอยตะเข็บชายแดนในเชียงราย พะเยา และน่ านจึงกลายเป็ นช่องทางให้กองกาลัง
คอมมิวนิสต์จากประเทศเพื่อนบ้านแทรกตัวเข้ามาได้ง่าย แต่การสอดส่องดูแลจากรัฐไทยเป็ นไปได้ยาก ด้วยเหตุน้ี
จึงมีเขตงานของพวกคอมมิวนิสต์กระจายอยู่ทวไปในเขตป่
ั่ าเขา หลังจากการปะทะกันครัง้ ใหญ่ท่อี าเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่ านในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2511 เขตภูแวก็ได้กลายเป็ นเขตปลดปล่อยแห่งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย เขตฐานทีม่ นจั ั ่ งหวัดน่ านขยายตัวมากขึน้ เรื่อยๆ จนมีมวลชนถึง 34 หมู่บา้ นก่อนจะพ่ายแพ้ให้แก่รฐั
ไทยในปี 25267
ปรากฏการณ์หนึ่งทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างสงครามอันยืดเยือ้ ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ
ไทยคือการตัง้ อนุ สาวรียแ์ ละอนุ สรณ์สถานที่อุทศิ ให้แก่ผู้เสียสละทัง้ ทหาร ตารวจ และพลเรือนในพืน้ ทีภ่ าคเหนือ
ตอนบน อนุสาวรียผ์ เู้ สียสละในยุคสงครามเย็นเหล่านี้สร้างขึน้ ด้วยรูปแบบสัจนิยม (แบบเหมือนจริง - realism) เป็ น
หลัก ต่างกับอนุ สาวรียป์ ระเภทเดียวกันในโลกตะวันตกใช้รูปแบบนามธรรม (abstract) เป็ นหลัก ในขณะทีก่ ารใช้
ศิลปะนามธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยค่ายโลกเสรีเป็ นส่วนหนึ่งของการเมืองวั ฒนธรรมในยุคสงครามเย็น 8 ศิลปะ

6 สาหรับงานศึกษาเรือ่ งชาวเขาและความสัมพันธ์กบั รัฐไทย ดูเพิ่มเติมใน Pinkaew Laungaramsri, “Constructing Marginality: The ‘Hill Tribe’ Karen
and Their Shifting Locations within Thai State and Public Perspectives,” in Living at the Edge of Thai Society: The Karen in the Highlands of
Northern Thailand, ed. Claudio O. Delang (London and New York: RoutledgeCurzon, 2003), 21-42 แ ล ะ Hjorleifur Jonsson, Mien Relations:
Mountain People and State Control in Thailand (Ithaca and London: Cornell University Press, 2005).
7 ภาคภูม ิ นันทละวัน , “ฐานที่ม ั ่นจังหวัด น่ าน,” ใน ตานานดาวพราวไพรที.่ ..ภูแว ภูพยัคฆ์ เล่ม 2, คณะกรรมการด าเนินงานจัด สร้างโครงการอาคาร

อเนกประสงค์ราลึกประวัตศิ าสตร์ประชาชนจังหวัดน่ าน จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานฉลองอนุ สรณ์สถานภูพยัคฆ์ จังหวัดน่ าน เป็ นปี ท่ี 5 ณ บ้านน้ ารี
ต. ขุนน่าน อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. น่าน (น่าน: อาร์ต เอ็จ กราฟฟิ ค, 2552), 15, 43.
8 รูปแบบศิลปะ (style) เป็ นส่วนหนึ่งของงานโฆษณาชวนเชื่อการเมืองวัฒนธรรมในยุคสงครามเย็น ค่ายโลกเสรีใช้ศล ิ ปะแบบนามธรรมเป็ นตัวแทน
อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย ส่วนค่ายคอมมิวนิสต์ใช้รปู แบบสัจนิยมสังคม (socialist realism) รูปแบบนามธรรมถูกเชื่อมโยงเข้ากับเสรีภาพของปั จเจก
บุคคล ซึง่ ตรงข้ามกับอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ การใช้รูปแบบนามธรรมกับอนุ สาวรีย์เกิดขึ้นเป็ นครัง้ แรกในงานประกวดแบบร่างอนุ สาวรีย์นั กโทษ
การเมืองนิรนาม (Monument to the Unknown Political Prisoners) ทีเ่ ทท แกลเลอรีในลอนดอนเมือ่ ปี 2496 ดูเพิม่ เติมใน Sergiusz Michalski, Public
Monuments: Art in Political Bondage 1870-1997 (London: Reaktion Books, 1998). สาหรับการส่งผลงานเข้าร่วมงานประกวดแบบร่างดังกล่าวโดย
ศิลปิ นไทย ดู ธนาวิ โชติประดิษฐ, “The Unknown Story: นักโทษการเมืองทีไ่ ม่มใี ครรูจ้ กั ของเขียน ยิม้ ศิรกิ บั การเมืองวัฒนธรรมสมัยสงครามเย็น,” อ่าน,
ปี ท่ี 4 ฉบับที่ 4 (เมษายน-มิถุนายน, 2556), 184-197.

292
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐไทยกลับใช้รปู แบบสัจนิยมแบบวีรบุรุษ (heroic realism) บทความนี้เสนอว่าการเลือกใช้


รูปแบบสัจนิยมแบบวีรบุรุษเป็ นภาษาทางสุนทรียศาสตร์ในงานอนุ สาวรียข์ องของรัฐไทยวางอยู่บนความต้องการที่
จะสาแดง (represent) วาทกรรมว่าด้วยการเสียสละเพื่อชาติและความจงรักภักดีต่อชาติออกมาให้เห็นเป็ นรูปธรรม
อย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน เข้าใจง่าย สัจนิยมแบบวีรบุรุษนัน้ เน้นย้าการสร้างภาพทีย่ งิ่ ใหญ่ของวีรกรรม ตลอดจน
ความแข็งแกร่งและพละกาลังของร่างกายนักรบ มันจึงเป็ นรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการปลุก เร้าความรู้สกึ
ชาตินิยมในภาวะสงครามได้ดที ส่ี ุด (อันทีจ่ ริงแล้ว ศิลปะแบบทางการของกรมศิลปากรใช้รูปแบบดังกล่าวมาตัง้ แต่
สมัยคณะราษฎร)
อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละแห่งแรกในภาคเหนือตอนบนคืออนุสาวรียว์ รี กรรมพลเรือน ตารวจ ทหารทีอ่ าเภอทุ่ง
ช้าง จังหวัดน่ าน (ภาพที่ 2) สร้างขึน้ ในปี 2519 เพื่อราลึกถึงการปะทะกันระหว่างรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ท่ฐี าน
ปฏิบตั กิ ารบ้านห้วยโก๋น (เก่า) ในปี 2518 บ้านห้วยโก๋นเป็ นหมู่บา้ นชาวเขา ตัง้ อยู่ในเขตตาบลปอน อาเภอทุ่งช้าง
ห่างจากชายแดนลาวเพียง 5 กิโลเมตร เป็ นทางผ่านของคอมมิวนิสต์ทเ่ี ดินทางไปยังฐานปฏิบตั ิ การทีเ่ มืองเงินใน
แขวงไชยบุรี ทางการไทยได้ตงั ้ ฐานปฏิบตั ิการขึน้ ใกล้กบั หมู่บ้านเพื่อคอยดาเนินการสกัดกัน้ เส้นทางส่งเสบียง
อาหารและอาวุธจากนอกประเทศ ตลอดจนคอยป้ องกันการแทรกซึมเข้ามาตามแนวชายแดน กองกาลังติดอาวุธ
ของฝ่ ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าโจมตีฐานปฏิบตั กิ ารบ้านห้ว ยโก๋น (เก่า) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ส่งผลให้กองกาลัง
ฝ่ ายไทยเสียชีวติ ในสมรภูมิ 17 คน (เสียชีวติ ทีโ่ รงพยาบาลน่ านอีก 1 คน) ส่วนชาวบ้านหนีขา้ มชายแดนเข้าไปใน
เมืองเงิน ถึงแม้ว่ากองทัพไทยจะรักษาฐานปฏิบตั เิ อาไว้ได้ แต่กเ็ สียหมู่บา้ นให้แก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ทไ่ี ด้ช ั กธงแดง
ขึน้ ทีห่ มู่บา้ น ทางการไทยประกาศว่ากองกาลังคอมมิวนิสต์ทเ่ี ข้าโจมตีฐานปฏิบตั กิ ารบ้านห้วยโก๋น (เก่า) เป็ นพวก
ลาวแดงและเวียดมินห์ ส่วนธงที่ยดึ มาได้เป็ นธงของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย 9 ทหารไทยที่
เสีย ชีวิต ทัง้ หมดเป็ น “ทหารเสือ ราชินี ” (กรมทหารราบที่ 11 รัก ษาพระองค์ ในสมเด็จ พระนางเจ้ า สิริกิติ ์
พระบรมราชินีนาถ: ร. 21 รอ.) จากค่ายนวมินทราชินีในจังหวัดชลบุรี ศพทัง้ หมดถูกนากลับชลบุรใี นหีบศพคลุม
ด้ ว ยธงชาติ เ พื่ อ น าไปประกอบพิ ธี ท างศาสนาที่ ว ั ด เขาบางทราย จัง หวัด ชลบุ รี 10 สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ
พระบรมราชินี น าถ พร้อ มด้ว ยสมเด็ จพระเจ้า ลูก เธอ เจ้า ฟ้ า จุ ฬ าภรณ์ ว ลัย ลัก ษณ์ ไ ด้เ สด็จ พระราชดาเนิ นไป
พระราชทานรดน้ าศพเมื่อวันที่ 14 เมษายน ในโอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราช
ดารัสว่า “เขาล้มเพื่อให้เรายืนบนแผ่นดินนี้ ”11 พระราชดารัสสัน้ ๆ ดังกล่าวได้สถาปนาทหารทีเ่ สียชีวติ ในสมรภูมิ
บ้านห้วยโก๋นให้เป็ นวีรชนผูส้ ละชีพเพื่อชาติ
การปะทะกันอย่างรุนแรงหลายครัง้ ระหว่างรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ทท่ี ุ่งช้างในช่วงปี 2510 ถึง 2518 ส่งผล
ให้มีผู้เสียชีวิตกว่าสามร้อยคน (ทหาร 199 คน ตารวจ 46 คน และพลเรือน 67 คน) การปะทะกันครัง้ ล่าสุดที่
สมรภูมบิ า้ นห้วยโก๋น (เก่า) ได้นาไปสูค่ วามร่วมมือกันระหว่างคณะกรรมการอาเภอทุ่งช้างกับทหารและตารวจเพื่อ
ตัง้ อนุ สาวรียว์ รี กรรมพลเรือน ตารวจ ทหารขึน้ ณ ริมทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่ าน-ทุ่งช้าง พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หวั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดาเนินทรงประกอบพิธเี ปิ ดอนุสาวรียเ์ มือ่
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 251912 การเสด็จทุ่งช้างในวาระนี้ของทัง้ สองพระองค์ชใ้ี ห้เห็นถึงสายสัมพันธ์อนั เหนียว
แน่นระหว่างราชวงศ์กบั กองทัพ โดยฝ่ ายหลังอยู่ในฐานะผูพ้ ร้อมสละชีพเพื่อปกป้ องอาณาจักรและราชบัลลังก์

9 เดลินิวส์, 15 เมษายน 2518, ไม่ปรากฏเลขหน้า.


10 เดลินิวส์, 12 เมษายน 2518, 3.
11 สยามรัฐ, 15 เมษายน 2518, ไม่ปรากฏเลขหน้า.
12 มีการเปิ ดพิพธิ ภัณฑ์ทหารทุง่ ช้างตามมาในปี 2520 เพือ่ จัดแสดงอุปกรณ์การรบและประวัตศิ าสตร์การสูร้ บระหว่างรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ทท่ี งุ่ ช้าง

293
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อนุสาวรียว์ รี กรรมพลเรือน ตารวจ ทหารเป็ นรูปหล่อโลหะทีเ่ ป็ นตัวแทนของพลเรือน ตารวจ ทหารขนาด


เท่าคนจริงกาลังช่วยกันชูธงชาติ ประดิษฐานบนฐานสูง 6 เหลีย่ ม ฐาน 3 ด้านแสดงภาพวีรกรรม อีก 3 ด้านจารึก
นามและยศของผูเ้ สียชีวติ 13 รูปพลเรือน ตารวจ ทหารเหล่านี้เป็ นภาพตัวแทนของการพลีชพี เพื่อชาติ ซึง่ ประมวล
ออกมาในรูปของธงชาติไทยที่ทงั ้ สามช่วยกันยกขึน้ เหนือศีรษะ รางวัลของการสละชีพนี้คือพื้นที่ในอนุ สาวรีย์
แห่งชาติท่ตี อกย้าด้วยการจารึกนามและยศของทุกคน การจารึกนามและยศของปั จเจกบุคคลลงบนอนุ สาวรียท์ ่ี
สร้างโดยรัฐเป็ นกลวิธอี ย่างหนึ่งในการทาให้สามัญชนมีตวั ตนในความทรงจาของชาติ
หลัง จากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุด าฯ สยามบรมราชกุ มารีท รงนาคณะอาจารย์และนัก เรียนจาก
โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้ามาเยีย่ มชมฐานปฏิบตั กิ ารบ้านห้วยโก๋น (เก่า) ในปี 2538 กองพลทหารม้าที่ 1
กองกาลังผา เมือง และหน่ วยทหารในพืน้ ทีจ่ งั หวัดน่ านก็ได้ ทาการปรับปรุงพืน้ ทีเ่ พื่อเปิ ดเป็ นพิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้ง
อนุ สรณ์สถานยุทธ ภูมบิ า้ นห้วยโก๋น (เก่า) ประกอบด้วยหอนิทรรศการ สนามเพลาะทีจ่ าลองเหตุการณ์ปะทะในปี
2518 และอนุสรณ์ทหาร กล้าฐานห้วยโก๋น (ภาพที่ 3) รูปลักษณ์ของอนุสรณ์ทหารกล้าฐานห้วยโก๋นแทบจะเป็ นการ
คัดลอกอนุ สาวรียว์ รี กรรมพล เรือน ตารวจ ทหารทีส่ ร้างขึน้ ก่อนหน้า เพียงแต่มขี นาดเล็กกว่าและเปลีย่ นจากรูป
กลุ่มกองกาลังผสมพลเรือน ตารวจ ทหาร 3 คนชูธงชาติโลหะเป็ นกลุ่มทหาร 3 คนชูธงชาติจริงแทน ทหารทัง้ สาม
ยืนอยู่บนฐานสูง 6 เหลีย่ มแต่ทฐ่ี านไม่ปรากฏภาพเรื่องเล่าการสูร้ บ ในที่น้ี เหตุการณ์ปะทะในปี 2518 ถูกเล่าผ่าน
การจัดการพื้นที่ทงั ้ หมดของพิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้งที่เปลี่ยนสมรภูมเิ ป็ นภูมทิ ศั น์ประวัติศาสตร์การรบที่เดินชมได้
การใช้สถานทีจ่ ริงและการระบุตาแหน่ งทีท่ หารทัง้ 17 คนเสียชีวติ ยิง่ รับรองความจริงแท้ของเรื่องเล่า (ภาพที่ 4)
กระนัน้ อนุ สรณ์ สถานแห่งนี้ก็จงใจที่จะไม่กล่าวถึงเรื่องสาคัญเรื่องหนึ่ง นัน่ คือการที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถ
ยึดครองหมู่บา้ นได้ ข้อมูลจากแผ่นพับสาหรับผูม้ าเยีย่ มชมอนุ สรณ์สถานยุทธภูมบิ า้ นห้วยโก๋น (เก่า) ทีจ่ ดั ทาโดย
หน่ วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 32 ซึง่ ทาหน้าที่รบั ผิดชอบดูแลสถานทีร่ ะบุเพียงว่า ฝ่ ายไทยสามารถป้ องกัน
ฐานปฏิบตั กิ ารเอาไว้ได้และมีการพบธงแดงทีฝ่ ่ ายตรงข้ามเตรียมไว้ ทว่า ในความเป็ นจริง ทางการไทยรักษาไว้ได้
เพียงฐานปฏิบตั ิการ แต่สูญเสียหมู่บ้าน ดังที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับในปี 2518 ได้ให้ขอ้ มูลไว้ตรงกัน แผ่นพับ
ไม่ได้กล่าวถึงธงแดงอีกผืนหนึ่งทีถ่ ูก ชักขึน้ กลางหมู่บา้ น ซึง่ หมายถึงการปลดปล่อยพืน้ ทีน่ นั ้ เป็ นอิสระจากอานาจ
ของรัฐไทย ธงชาติไทยที่อยู่ในมือของทหารทัง้ สามที่อนุ สรณ์ ทหารกล้าฐานห้วยโก๋นในปั จจุบนั จึงกลบเกลื่อน
ร่องรอยของธงแดงในหมู่บา้ นให้หายไปสนิท เพราะความทรงจาถึงชัยชนะของคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินไทยไม่ใช่สงิ่
พึงปรารถนา ในที่น้ี ภูมทิ ศั น์ของบ้านห้วยโก๋น (เก่า) ไม่ได้เป็ นเพียงฉากของเหตุการณ์ประวัตศิ าสตร์ หากแต่มี
บทบาทในการกาหนดสร้างความทรงจาใหม่ทใ่ี ห้ความสาคัญเฉพาะกับวีรกรรมของกองทัพ ไม่ใช่ความเพลีย่ งพล้า
ในขณะทีอ่ นุ สาวรีย์วรี กรรมพลเรือน ตารวจ ทหารและอนุ สรณ์ทหารกล้าฐานห้วยโก๋นเป็ นกลุ่มบุคคล 3
คนช่วยกันชูธงชาติ อนุ สาวรีย์ผู้เสียสละในค่ายเม็งรายมหาราช อาเภอเมือง จังหวัดเชียงรายเป็ นภาพทหารคน
เดียวถือปื นในท่าพร้อมรบ (ภาพที่ 5) ในช่วงสงครามเย็น เชียงราย (ซึ่งยังไม่เกิดการแยกตัวออกมาของจังหวัด
พะเยา) เป็ นสมรภูมิอีกแห่งหนึ่งในสงครามระหว่างรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ อนุ สาวรีย์ผู้เสียสละในค่ายเม็งราย
มหาราชสร้างขึน้ เพื่อเป็ นทีร่ ะลึกถึงวีรกรรมในการต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์ของทหารจากค่ายเม็งรายมหาราชตัง้ แต่ปี
2510 ถึงแม้ว่าจะเป็ นภาพทหารเพียงคนเดียว แต่ทฐ่ี านก็มจี ารึกรายนามและยศของผูเ้ สียชีวติ ทัง้ หมดเช่นเดียวกับ
อนุสาวรียอ์ กี สองแห่ง ภาพทหารคนเดียวนี้จงึ เป็ นภาพตัวแทนของกองทัพ ทาหน้าทีเ่ น้นย้าบทบาทนาของกองทัพ
ในการปราบคอมมิวนิสต์ อนุสาวรียแ์ ห่งนี้เปิ ดเมื่อปี 2521 โดยมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

13 กรมศิลปากร, อนุ สาวรียใ์ นประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพ: กองวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์, 2539), 419-423.

294
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เสด็จเป็ นประธานในพิธเี ปิ ด การปรากฏพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในพิธนี ้ีชวนให้หวนราลึกไปถึง


พระราชดารัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่งานศพของทหารทีว่ ดั เขาบางทรายในปี 2518 ที่ว่า
“ถ้าลูกชายของฉันกลับมาจากเมืองนอก จะส่งไปอยู่แนวหน้าร่วมกับทหาร”14 การมีสว่ นร่วมของสมาชิกราชวงศ์ใน
พิธกี รรมต่างๆ อันเกีย่ วเนื่องกับความตายของทหารทีต่ ่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์เหล่านี้เป็ นเครื่องบ่งชีว้ า่ การสละชีพเพื่อ
ปกป้ องประเทศไทยจากภัยคอมมิวนิสต์มคี วามหมายเท่ากับการสละชีพเพื่อราชบัลลังก์
อนุ สาวรีย์ผู้เ สีย สละเหล่ า นี้ แ สดงถึ ง การให้ค วามสาคัญ กับ วีร กรรมของนัก รบสามัญ ชนในการต้ า น
คอมมิวนิสต์ ความหลากหลายของกลุ่มคนทีป่ รากฏในอนุ สาวรีย์ (ทหาร ตารวจ และพลเรือนอาสาสมัคร) ใบ้แนะ
ถึงความร่วมมือร่วมใจกันของคนในประเทศในการต่อสูก้ บั ศัตรู ซึง่ ก็คอื สานึกแบบเพลง “เราสู”้ นันเอง ่ สัจนิยมแบบ
วีรบุรษุ เน้นย้าการสร้างภาพทีป่ ลุกเร้าความรูส้ กึ จากวีรกรรม รูปแบบหลักของอนุสาวรียผ์ เู้ สียสละจึงเป็ นภาพบุคคล
แบบเหมือนจริง แสดงท่าทางฮึกเหิมในการรบ โวหารของภาพเร่งเร้าจิตวิญญาณการต่อสู้ ภาพของผู้เสียสละ
เหล่านัน้ ไม่ได้เป็ นภาพของนักรบทีต่ ายแล้ว แต่เป็ นนักรบทีก่ าลังรบ กระตุ้นให้ผมู้ องเกิดความรักชาติเช่นเดียวกัน
กับพวกตน อนุสาวรียผ์ เู้ สียสละจึงเป็ นกลไกในการสังสอนหน้ ่ าทีข่ องพลเมืองทีด่ ี คนตายคือแบบอย่างสาหรับคนที่
ยังอยู่ พวกเขาเป็ นตัวอย่างสังสอนผู
่ ้ทอ่ี ยู่ขา้ งหลังว่าความตายแบบใดจึงเรียกว่าความตายของวีรชน ความตาย
แบบใดทีจ่ ะได้รบั การจารึกไว้ในความทรงจาของชาติผ่านการมีตวั ตนในอนุสาวรีย์
อนุ สรณ์ผเู้ สียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 ทีอ่ าเภอเชียงคา จังหวัดพะเยา (ภาพที่ 6) มีรูปลักษณ์ท่ี
แตกต่างออกไปอย่างสิน้ เชิงอย่างอนุ สาวรียอ์ กี สามแห่งข้างต้น อนุ สรณ์แห่งนี้สร้างขึน้ เพื่อเป็ นทีร่ ะลึก ถึงวีรกรรม
ของกองบัญชาการผสมพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 (พตท 2324 เดิมคือหน่ วยเฉพาะกิจ กองพล 4) ที่ปฏิบตั ิ
หน้ าที่อยู่ในภาคเหนือตอนบนตัง้ แต่ ปี 2517 ถึง 2522 ออกแบบโดยร้อยเอกสมเกียรติ หอมอเนก โดยได้แรง
บันดาลใจมาจากป้ อมสนามของทหาร อนุสรณ์ผเู้ สียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 เป็ นสิง่ ก่อสร้างทรงห้าเหลีย่ ม
วางอยู่บนฐานเป็ นรูปวงกลม ยกขอบโดยรอบสูงจากพืน้ ดิน 1 เมตร หลังคาเป็ นรูปทรงห้าเหลีย่ มทีส่ อบขึน้ ด้านบน
แต่ละด้านประดับด้วยตรากองบัญชาการผสมพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 ผนังแต่ละด้านของอนุ สรณ์ตกแต่งด้วย
แผ่นภาพประติมากรรมนูนต่ าแนวสัจนิยมทีเ่ ล่าเรื่องการต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์ และแผ่นจารึกรายนามและยศของผู้
เสียสละทีข่ นาบด้วยรูปนางอัปสรพนมมือ15 ในบรรดาอนุสาวรียผ์ เู้ สียสละทัง้ 4 แห่งในภาคเหนือตอนบน ทีน่ ่เี ป็ นที่
เดียวทีป่ รากฏภาพของสตรี นอกจากทีผ่ นังด้านหน้าของตัวอนุ สรณ์แล้ว ทีก่ าแพงขนาดใหญ่ ดา้ นหลังตัวอนุ สรณ์ท่ี
มีจารึกนามและยศและผูเ้ สียสละก็มภี าพนางอัปสรพนมมือ 2 นางขนาบข้างอยู่ด้วยเช่นกัน (ภาพที่ 7) ภาพนาง
อัปสรที่อนุ สรณ์ผู้เสียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 มีหน้าที่เชิงจิตวิทยา กล่าวคือเป็ นภาพปลอบประโลมใจ
พวกนางให้การรับรองว่าผูต้ ายเป็ นวีรชนที่จะได้ขน้ึ สู่สรวงสวรรค์ อนุ สรณ์แห่งนี้จงึ ต่างกับอนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละอื่นๆ
ที่เน้ นการปลุกเร้าอารมณ์ ฮกึ เหิมเพื่อสร้างความรักชาติแต่ เพียงอย่างเดียว แต่ ขาดแง่มุมที่จะจัดการกับความ
อ่อนไหวของญาติมติ รผูอ้ ยู่เบือ้ งหลัง
ภู มิท ัศ น์ ไม่ไ ด้เ ป็ น เพียงภูมิป ระเทศเชิง กายภาพ หากยังเป็ น พื้น ที่ท่มี ีนัยและบทบาทเชิงการเมือง 16
ถึงแม้ว่าความเป็ นหญิงจะแทบไม่มที ท่ี างในอนุ สาวรีย์ผเู้ สียสละที่เน้นความสาคัญไปทีว่ รี กรรมอันกล้าหาญของ
เหล่าผู้ชาย บทบาทของภูมทิ ศั น์ -ผืนแผ่นดินในการตัง้ อนุ สาวรีย์กท็ าหน้าทีแ่ ทนความเป็ นหญิง ในขณะที่พ้นื ที่

14 เดลิไทม์, 15 เมษายน 2518, 2.


15 กรมศิลปากร, อนุ สาวรียใ์ นประเทศไทย เล่ม 1, 165-166.
16 Ann Bermingham, “System, Order, and Abstraction: The Politics of English Landscape Drawing around 1795” in Landscape and Power, ed.

W. J. T. Mitchell (Chicago and London: The University of Chicago Press, 1994), 77-101.

295
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ภาคเหนือตอนบนในยุคสงครามเย็นจะเป็ นสมรภูมแิ ห่งการปะทะกันระหว่างรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์เพื่อช่วงชิงการมี


อานาจอธิปไตยเหนือดินแดนเป็ นพื้นที่แห่งการรบของผู้ชาย ทว่า ตัวแผ่นดินเองนัน้ คือความเป็ นหญิง ในสังคม
กสิกรรม แผ่นดินเป็ นภาพตัวแทนของการสร้างสรรค์ชวี ติ และความอุดมสมบูรณ์ แผ่นดินเชื่อมโยงกับความเป็ น
มารดา มีบุคลาธิษฐานเป็ น “แม่พระธรณี” เทพสตรีและมารดาผูใ้ ห้กาเนิดสรรพสิง่ ในโลก 17 เมื่อธรรมชาติ/แผ่นดิน
หมายถึงความเป็ นหญิง วัฒนธรรมและสิง่ ที่มนุ ษย์สร้างขึน้ (manmade) ก็บ่งบอกถึงความเป็ นชาย ในเชิงอุป
ลัก ษณ์ การตัง้ (erection) อนุ ส าวรีย์ บ นผืน แผ่ น ดิน แสดงนั ย ทางเพศ อนุ ส าวรีย์ ผู้ เ สีย สละเหล่ า นี้ ไ ม่ เ พีย ง
ประกอบด้วยร่างของเหล่าวีรบุรุษชายกายา รูปลักษณ์โดยรวมมันยังเป็ นทรงสูงเป็ นแท่ง (phallic) อีกด้วย เมื่อ
อนุสาวรียห์ รือร่างจาแลงของเหล่าวีรชนอันเปี่ ยมล้นไปด้วยความเป็ นชายชาแรกกายลงบนแผ่นดิน อธิปไตยของรัฐ
ไทยเหนือดินแดนภาคเหนือตอนบนก็ได้รบั การฝั งรากหยังลง ่ เมื่อนัน้ “ชาติ” ก็ได้ถือกาเนิดขึน้ ใหม่จากการสมสู่
ระหว่างชีวติ เลือดเนื้อของวีรชนชายสามัญชนกับกายของแม่พระธรณี การตัง้ อนุ สาวรียข์ องรัฐไทยจึงเป็ นการทา
เครื่องหมายบอกเขตแดนความเป็ นเจ้าของผ่านอุปลักษณ์ของการร่วมเพศ เป็ นการซ่อม/สร้างตัวตนภูมกิ ายาของ
ชาติขน้ึ มาใหม่ ดึงพรมแดนบางส่วนของภาคเหนือตอนบนทีแ่ หว่งวิน่ ไปจากการปลดปล่อยของคอมมิวนิสต์ให้กลับ
สูร่ าชอาณาจักร

ร่องรอยของธรรมรำชำ: รอยพระบำทของในหลวง
เมื่ อ วั น ที่ 27 กุ ม ภาพั น ธ์ พ .ศ. 2525 พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ
พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรราชาทินดั ดามาตุ (พระยศในขณะนัน้ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระ
บรมโอรสาธิร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร) เสด็จ เยี่ย มทหารและราษฎรที่ฐ านปฏิบ ัติก ารดอยพญาพิท ัก ษ์ บ น
สันดอยยาว อาเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ได้ทรงประทับรอยพระบาททัง้
สองข้างของพระองค์ลงเป็ นแผ่นปูนปลาสเตอร์ เพื่อพระราชทานให้เหล่าทหารที่กาลังต่ อสู้กบั คอมมิวนิสต์ใน
ภาคเหนือตอนบนไว้เป็ นมิง่ ขวัญและกาลังใจ (ภาพที่ 8) รอยพระบาทมีดว้ ยกัน 2 คู่ ปั จจุบนั คู่หนึ่งประดิษฐานอยู่
ณ ศาลารอยพระบาทในค่ายเม็งรายมหาราช อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ไม่นานหลังจากการพระราชทานรอยพระบาท การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือตอนบนก็จบลงใน
เดือนมีนาคมปี นัน้ เอง การพระราชทานรอยพระบาทบนดอยยาวไม่เพียงเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กบั สาย
สัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์กบั กองทัพเท่านัน้ หากยังทาหน้าทีเ่ ชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการตัง้ อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละ
อื่นๆ นัน่ คือการใช้ศลิ ปกรรมมาทาเครื่องหมายปั กหมุดแสดงการครอบครองพื้นที่ รอยพระบาทของในหลวงบน
ดอยยาวเป็ นดังค ่ าทานายว่าความขัดแย้งเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนภาคเหนือตอนบนจะจบลงด้วยชัยชนะของ
รัฐไทยใต้ร่มพระบารมี
รอยพระบาทของในหลวงเป็ นวัตถุท่สี ร้างขึน้ เพื่อเป็ นที่ระลึกที่แตกต่างออกไปจากบรรดาอนุ สาวรีย์ผู้
เสียสละทีก่ ระจายตัวอยู่ในภูมภิ าค ในขณะทีอ่ นุสาวรียผ์ เู้ สียสละใช้รปู แบบสัจนิยมแบบวีรบุรุษ วัตถุทเ่ี ป็ นทีร่ าลึกถึง
ในหลวงกลับไม่ได้แสดงภาพพระพักตร์หรือแม้แต่พระวรกายของพระองค์เลย แม้ว่าพระบรมฉายาลักษณ์และพระ
บรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงจะเป็ นสิง่ ที่พบได้ทวไปในประเทศก็
ั่ ตาม อันที่จริงแล้ว ในสมัยสงครามเย็ นมีการ
แจกจ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถควบคู่
ไปกับแผนทีป่ ระเทศไทยอย่างแพร่หลายในชนบท โดยเฉพาะในหมู่บา้ นตามภาคเหนือและภาคอีสานอันเป็ นถิ่น

17 ธัญญา สังขพันธานนท์, ผูห้ ญิงยิงเรือ: ผูห้ ญิง ธรรมชาติ อานาจ และวัฒนธรรมกาหนด สตรีนิยมในเชิงนิเวศน์วรรณคดีไทย (ปทุมธานี: นาคร, 2556).

296
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ห่างไกลและทุรกันดาร การแจกจ่ายพระบรมยาลักษณ์ น้ีเป็ นปฏิบตั ิการณ์ หนึ่ งของการเคลื่อนไหวเพื่อต่ อต้าน


คอมมิวนิสต์ทเ่ี ป็ นความร่วมมือระหว่างรัฐไทยกับสหรัฐอเมริกาผ่านปฏิบตั กิ ารณ์ของสานักข่าวอเมริกนั หรือ “ยูซสิ ”
(USIS)18 ในทีน่ ้ี พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงกับภาพแผนทีป่ ระเทศไทยได้เน้นย้าความเป็ นส่วนหนึ่งของกัน
และกัน นัน่ คือเมืองไทยในฐานะราชอาณาจักรของกษัตริย์แห่งราชวงศ์จกั รี กระนัน้ ก็ตาม พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หวั ก็ไม่มรี ปู ตัวแทนของพระบรมในลักษณ์ทเ่ี ป็ นสามมิตเิ ลย สิง่ ทีอ่ าจจะเรียกได้ว่าเป็ นพระบรมราชานุสาวรีย์
ของในหลวงมีเพียงชิน้ เดียวคือรอยพระบาทคู่น้เี อง
เหตุผลในการสร้างวัตถุตวั แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ทีไ่ ม่มลี กั ษณะเป็ นรูปบุคคล (aniconic)
อาจสัมพันธ์กบั ข้อห้ามเก่าแก่ของไทยทีว่ ่าด้วยการสร้างภาพตัวแทนของผูท้ ย่ี งั มีชวี ติ อยู่ คนโบราณเชื่อว่าการสร้าง
ภาพเหมือนของผูท้ ย่ี งั อยู่นนั ้ อาจทาให้บุคคลดังกล่าวอายุสนั ้ ลง19 แต่ทส่ี าคัญยิง่ ไปกว่านัน้ คือ รอยพระบาทของใน
หลวงเป็ นวัตถุทเ่ี ชื่อมโยงพระองค์เข้ากับพระพุทธเจ้าผ่านแนวคิดเรื่องการสร้างรอยพระพุทธบาท ภาพตัวแทนใด
จะนาเสนอกษัตริย์ในฐานะธรรมราชาได้ดีไปกว่ารอยพระบาทอีกเล่า ? รอยพระพุทธบาทเป็ นภาพตัวแทนของ
พระพุทธเจ้าในยุคทีย่ งั ไม่มกี ารสร้างพระพุทธรูป มีสถานะเป็ นอนุสาวรียห์ รือเครื่องเตือนความทรงจาประเภทหนึ่ง
กล่าวคือเป็ นวัตถุ ท่แี สดงร่อ งรอยของพระพุทธเจ้าบนโลกมนุ ษย์ 20 รอยพระบาทของในหลวงจึงเปรีย บได้ก ับ
ร่องรอยทีท่ ง้ิ ไว้ของพระองค์บนภูมทิ ศั น์ภาคเหนือตอนบน พืน้ ทีซ่ ง่ึ ในหลวงได้เสด็จเยือนไปตามหมู่บา้ นในเขตป่ า
เขาในยุคนัน้ นันเอง่ รอยพระบาทของในหลวงเผยให้เห็นข้อกังวลพืน้ ฐานทีส่ ดุ ของรัฐไทยในยุคสงครามเย็น นันคื ่ อ
อธิปไตยเหนือพืน้ ทีช่ ายแดนอันห่างไกลจากอานาจของส่วนกลาง ทัง้ ยังอยู่ตดิ กับเพื่อนทีเ่ ป็ นบ้านคอมมิวนิสต์ การ
ประทับรอยพระบาทบนเทือกเขาติดชายแดนลาวเป็ นการกระทาเชิ งสัญลักษณ์ทช่ี ถ้ี งึ การแสดงความเป็ นเจ้าของ
พืน้ ทีด่ งั กล่าว-ราชอาณาจักร
ในบริบทดังกล่าว บทบาทของภูมทิ ศั น์-ผืนแผ่นดินในฐานะร่างของแม่พระธรณีมนี ัยทีต่ ่างออกไปจากการ
ตัง้ อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละ ในทีน่ ้ี แม่พระธรณีไม่ได้เป็ นบุคลาธิษฐานของแผ่นดินเพื่อให้อนุ สาวรีย์ /ความเป็ นชายชา
แรกกายลงอีกต่อไป หากอยู่ในอีกความหมายหนึ่ง ในวรรณกรรมพุทธศาสนาอย่างปฐมสมโพธิกถา (พุทธประวัติ
เล่าเรื่องการตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า ) แม่พระธรณีปรากฏกายขึน้ ในคืนตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้าเพื่อเป็ นสักขีพยานใน
บารมีในยิง่ ใหญ่ของพระองค์ ในครัง้ นัน้ นางได้บบี น้าออกจากมวยผมให้ไหลท่วมหมู่มารทีม่ ารังควานพระพุทธเจ้า
จนปลาสนาการไปสิ้น ฉากดัง กล่ า วได้ร ับ การบรรยายออกมาในรูป ของพระพุ ทธรูป ปางมารวิชยั ซึ่ง เป็ น รูป
พระพุทธเจ้าประทับนัง่ ขัดสมาธิ ปลายพระหัตถ์ขา้ งหนึ่งชีล้ งทีพ่ น้ื ดินเพื่อเรียกแม่พระธรณีให้ผุดขึน้ มา ดังทีก่ ล่าว
ไปแล้วว่า การสร้างรอยพระบาทในหลวงได้เชื่อมโยงพระเจ้าเข้ากับพระพุทธเจ้าและคติเรื่องธรรมราชาหรือ “ราชา
ผูท้ รงธรรม” การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงมีความจาเป็ นเพราะพุทธศาสนาเป็ นฐานอานาจสาคัญอย่างหนึ่งของสถาบัน
กษัตริยไ์ ทย การประทับรอยพระบาทลงบนพืน้ แม้จะเป็ นการประทับลงแผ่ นปลาสเตอร์ ไม่ใช่พน้ื ดินโดยตรง และ
เปลี่ยนจากพระหัตถ์เป็ นพระบาท ก็พาดพิงไปยังฉากที่พระพุทธเจ้าทรงมีชยั ชนะเหนือเหล่ามาร ภูมทิ ศั น์ของ
ภาคเหนือตอนบนอันเป็ นรูปกายเชิงสัญลักษณ์ของแม่พระธรณีจงึ ทาหน้าทีเ่ ป็ นประจักษ์พยานต่อพระราชอานาจ

18 Mobile Information Team I, Trip 7: A Report by the United States Information Service, Bangkok, December 12 to 22, United States Information
Service, Bangkok, 1962, cited in Phimmasone Michael Rattanasengchanh, Thailand’s Second Triumvirate: Sarit Thanarat and the military, King
Bhumibol Adulyadej and the monarchy and the United States. 1957-1963, Master Thesis, University of Washington, 2012, p. 50.
19 ดูเพิม
่ เติมในอภินนั ท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสานัก เล่ม 1, จัดพิมพ์สนองพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนาง
เจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535 (กรุงเทพ: สานักพระราชวัง, 2536).
20 John S. Strong, Relics of the Buddha (Princeton and Oxford: Princeton University Press, 2004), 86.

297
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

และพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั เหนือดินแดนแห่งนี้ ยืนยันตัวตนของพระองค์ในฐานะธรรมราชาผู้


มีสทิ ธิอนั ชอบธรรมในการครองแผ่นดิน นอกจากนี้ ความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผืนแผ่นดินกับในหลวงยัง
แสดงออกผ่านพระนามของพระองค์ “ภูมพิ ล” หรือ “พลังของแผ่นดิน”
ต่อมา รอยพระบาทของในหลวงถูกนามาประดิษฐาน ณ ศาลารอยพระบาทใกล้กบั อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละใน
ค่ า ยเม็ง รายมหาราช 21 ที่ตัง้ ใหม่ น้ี ก่ อ ให้เ กิด ปฏิส ัม พัน ธ์ร ะหว่ า งศิล ปวัต ถุ ท ัง้ สองขึ้น มา กล่ า วคือ มัน แสดง
ความสัมพันธ์กนั ใกล้ชดิ ระหว่างสถาบันกษัตริยก์ บั กองทัพ โดยฝ่ ายหลังอยู่ในฐานะผูย้ อมสละชีวติ เพื่อความมันคง ่
ของฝ่ ายแรก ความตายของทหารที่ไ ด้ร ับ การอธิบ ายว่า เป็ น การสละชีพ เพื่อ ชาติจึง หมายถึงการสละชีพ เพื่อ
ราชบัลลังก์เหนืออื่นใด พลังของรอยพระบาทยังเหนือพ้นไปจากรัว้ ของค่ายเม็งรายมหาราชไปสูอ่ นุสาวรียผ์ เู้ สียสละ
อื่นๆ ในภาคเหนือตอนบนทีล่ ว้ นถูกสร้างขึน้ ด้วยสานึกอย่างเดีย วกัน ไม่ว่าจะเป็ นสิง่ ทีอ่ ุทศิ ให้ทหาร ตารวจ หรือ
พลเรือนอาสาสมัคร ทัง้ หมดล้วนเป็ นสามัญชนคนธรรมดาผูห้ าได้มคี วามสาคัญในตัวเองไม่ เพราะผูใ้ ดจะมีตวั ตน
ขึน้ มาในความทรงจาของชาติได้กต็ ่อเมื่อผูน้ นั ้ กระทาการอุทศิ ตนเพื่อผูอ้ ยู่เหนือกว่านัน่ เอง การประจบกันระหว่าง
รอยพระบาทกับอนุสาวรียผ์ เู้ สียสละจึงตอกย้าสานึกเชิงชนชัน้ และลาดับชัน้ เชิงสังคมระหว่างองค์อธิปัตย์กบั พสก
นิกร มันประมวลเอาการสละชีวติ ของคนธรรมดาสามัญทีม่ บี ทบาทในการปราบปรามคอมมิวนิสต์วา่ เป็ นการทาเพือ่
ชาติและการแสดงความจังรักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เมื่อเป็ นเช่นนี้ สถานะวีรชนจึงเป็ นสิง่ ที่ได้มาจากโดยสัมพันธ์
อย่างลึกซึง้ กับวาทกรรมเรื่องราชอาณาจักรอันแบ่งแยกมิได้
อนุ สาวรียอ์ กี ประเภทหนึ่งทีม่ กี ารสร้างขึน้ เป็ นจานวนมากในยุคสงครามเย็นคืออนุ สาวรีย์ “พ่อขุน” หรือ
“พญา” ตามจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็ นพะเยา เชียงราย ตาก หรือเพชรบูรณ์ การสร้างอนุ สาวรีย์
ผูป้ กครองท้องถิน่ ในประวัตศิ าสตร์เหล่านี้เป็ นส่วนหนึ่งของการแผ่ขยายอานาจรัฐของส่วนกลางไปยังส่วนภูมภิ าค
บรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นทีม่ ตี วั ตนในประวัตศิ าสตร์และตานานถูกในนาเสนอในฐานะผูค้ รองดินแดนไทยโบราณ
ระหว่างทศวรรษ 2510 ถึง 2530 ทัง้ กองทัพไทยและกรมศิลปากรได้สร้างอนุ สาวรียพ์ ่อขุนเหล่านี้ไว้มากมายตาม
ค่ายทหารในจังหวัดต่างๆ หรือไม่กต็ งั ้ ชื่อค่ายตามชื่อของพ่อขุน ตัวอย่างเช่น อนุ สาวรียพ์ ่อขุนเจืองธรรมิกราชใน
ค่ายขุนเจืองธรรมิกราชในพะเยา (ภาพที่ 9) พ่อขุนเจืองธรรมิกราชเป็ นผู้ปกครองผูย้ งิ่ ใหญ่แห่งอาณาจักรภูกาม
ยาวในพุทธศตวรรษที่ 11 แท่นจารึกขนาดใหญ่ดา้ นหลังอนุ สาวรียใ์ ห้ขอ้ มูลว่าพระองค์เป็ นกษัตริยผ์ เู้ ชีย่ วชาญการ
รบ สามารถขยายอาณาจักรไปได้ไกลถึงยูนนาน อนุสาวรียพ์ ่อขุนเจืองธรรมิกราชแสดงภาพกษัตริยน์ กั รบเป็ นชาย
วัยฉกรรจ์ในเครื่องแต่งกายแบบพืน้ เมือง หัตถ์ขา้ งหนึ่งถือดาบ เห็นได้ชดั ว่าคุณค่าของพ่อขุนเจืองธรรมิกราชอยู่ท่ี
การเป็ นผู้ปกครองผู้สามารถ ทัง้ ยังเก่งกาจขนาดทาสงครามขยายพรมแดนอาณาจักรไปได้ไกลถึงแคว้นอื่น นิธิ
เอียวศรีวงศ์เคยกล่าวเอาไว้ว่า อนุ สาวรียค์ อื เครื่องมืออันทรงพลังของรัฐในการสร้าง “พล็อต” ประวัตศิ าสตร์22 ใน
บริบทของสงครามเย็น การสร้างอนุ สาวรียข์ องพระองค์จงึ ไม่เพียงรือ้ ฟื้ นประวัตศิ าสตร์จากตานานเรื่องเล่าโบราณ
หากยังได้ถกั ทอสงครามขยายอาณาจักรในอดีตเข้ากับปั ญหาการเมืองปั จจุบนั เรื่องอานาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่
ก าลัง เป็ น ประเด็น ความมัน่ คงของชาติด้ว ย พ่ อ ขุน เจือ งธรรมิก ราชได้ถู ก ผนวกเข้า กับ เรื่อ งราวการต่ อ สู้ก ับ
คอมมิวนิสต์ กลายร่างเป็ นเทพหรือบูรพกษัตริยท์ เ่ี ป็ นสัญลักษณ์คอยปกป้ องเมืองพะเยาจากภัยร้าย

21 ในปี 2552 มีการย้ายรอยพระบาทไปประดิษฐานทีศ่ าลารอยพระบาทแห่งใหม่บนดอยโหยดซึง่ อยู่ภายในค่ายเม็งรายมหาราชเช่นกัน แต่เหตุการณ์


แผ่นดินไหวในปี 2557 ทาให้ตอ้ งย้ายรอยพระบาทกลับลงมายังทีเ่ ดิมทีศ่ าลารอยพระบาทข้างอนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละ
22 นิธ ิ เอียวศรีวงศ์, “สงครามอนุ สาวรียก
์ บั รัฐไทย,” ศิลปวัฒนธรรม, ปี ท่ี 11 ฉบับที่ 3 (มกราคม, 2533), 266-284.

298
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การผนวกเรื่องเล่าของผูป้ กครองท้องถิน่ ในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้อานาจการเมืองร่วมสมัยเป็ น


การกระทาทีพ่ บได้ทวไปในเอเชี
ั่ ยตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ลาว และกัมพูชาล้วนมีความเชื่อว่ากษัตริยอ์ งค์ปัจจุบนั
คือกษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่ในอดีตทีก่ ลับชาติมาเกิดใหม่23 แต่การแพร่กระจายของอนุสาวรียพ์ ่อขุนในเมืองไทยไม่ได้แสดง
ความเชื่อดังกล่าวเสียทีเดียว หากแต่ เป็ นการผนวกเรื่องเล่าในอดีตอี กรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ เป็ นการเปลี่ยน
ผู้ปกครองท้องถิ่นในอดีตของอาณาจักรย่อยๆ ต่ างๆ ก่อนการถือกาเนิดของรัฐชาติไทยให้กลายเป็ นวิญญาณ
ศักดิสิ์ ทธิผู์ ป้ กป้ องราชอาณาจักรไทยในปั จจุบนั กล่าวให้ชดั ขึน้ ไปอีกก็คอื ว่า มันได้สมอ้างเอาดินแดนอิสระต่างๆ
ในอดีตที่ไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐชาติในปั จจุบนั (ซึ่งกาหนดขอบเขตโดยแผนที่ประเทศไทย) ให้เป็ นส่วนหนึ่งของ
ราชอาณาจักร เป็ นสร้างภูมกิ ายาของชาติโดยย้อนกลับเข้าไปอดีตที่ตวั ตนของชาติเองยังไม่เคยเกิดขึน้ บรรดา
อนุ สาวรีย์พ่อขุนจึงเป็ นภาพมายาของประวัติศาสตร์ชาติไทยอันยาวนานที่รฐั ต้องการฝั งลงในความทรงจาของ
ประชาชนในประเทศ เป็ นจินตภาพเกีย่ วกับพรมแดนของรัฐชาติ/ราชอาณาจักรในเชิงกาลเวลา
ในเมื่อการหลอมรวมอาณาจักรต่างๆ ในอดีตให้กลายเป็ นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปั จจุบนั ผ่านการ
สร้างอนุ สาวรีย์พ่อขุนเป็ นกลไกอย่างหนึ่งในการรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่ก้าวพ้ นข้อจากัดทัง้ เชิงพื้นที่และ
กาลเวลา พ่อขุนเหล่านี้กแ็ ปรสภาพเป็ นดังบรรพบุ ่ รุษของสถาบันกษัตริยใ์ นปั จจุบนั ด้วย ลักษณะดังกล่าวเน้ นย้า
สิทธิอนั ชอบธรรมของสถาบันกษัตริยใ์ นการเป็ นองค์อธิปัตย์ทม่ี อี านาจเหนือดินแดนภาคเหนือตอนบนนี้ อนุสาวรีย์
จึงมีบทบาทเป็ นผูก้ ระทา (performative) ในกระบวนการสร้างความทรงจาแห่งชาติทส่ี ่งผลโดยตรงต่อความชอบ
ธรรมของอานาจในปั จจุบนั ปรากฏการณ์ดงั กล่าวเผยความเป็ นการเมืองของความทรงจาออกมาอย่างชัดเจนว่า
เป็ นสิง่ เลื่อนไหล ถูกจับปรับแต่ งและเปลี่ยนรูปได้ การสร้างอนุ สาวรีย์และความทรงจามีบทบาทสาคัญ ยิ่ง ใ น
ขบวนการต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐไทยในพืน้ ที่ภาคเหนือตอนบน ในขณะที่อนุ สาวรีย์พ่อขุนเจืองธรรมิกราชอ้าง
ความเก่าแก่ของราชอาณาจักรไทยว่ามีมายาวนานไม่น้อยไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 11 อนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละต่างๆ ก็
บ่งชีว้ ่าการสละชีพเพื่อชาติและราชบัลลังก์เป็ นหน้าทีข่ องประชาชนชาวไทย ไม่ว่าจะเป็ นเจ้าหน้าทีร่ ฐั หรือพลเรือน
ในภูมทิ ศั น์การเมืองหลังสงคราม อนุ สาวรียเ์ หล่านี้ได้กาหนดขอบเขตพืน้ ทีข่ องชาติและเขียนซ่อมเส้นพรมแดนที่
แหว่ ง วิ่น จากการประกาศอิสรภาพของพวกคอมมิว นิ สต์ข้นึ มาใหม่ 24 เป็ น ทัง้ กลไกของการรวมอ านาจเข้า สู่
ส่วนกลางและกระบวนการ “ทาให้เป็ นไทย” ด้วยเหตุน้ี “ชาวเขา” ที่อาศัยอยู่ในเขตป่ าเขา รอยต่อชายแดนของ
ราชอาณาจักรไทยจึงได้รบั อัตลักษณ์ทางชาติพนั ธุใ์ หม่กลายเป็ น “ชาวไทยภูเขา”25 และมีชวี ติ ใหม่ใต้ร่มพระบารมี
ผ่านโครงการในพระราชดาริเพื่อการพัฒนาต่างๆ ชื่อตาบลใหม่ๆ อย่าง บ้านร่มฟ้ าทอง บ้านร่มฟ้ าไทย ในอาเภอ
เทิง จังหวัดเชียงราย เขตหมู่บา้ นชาวเขาทีม่ กี ารปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างคอมมิวนิสต์กบั รัฐไทยแสดงความ
พิเศษของการปฏิรูปหลังสงครามในพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบนได้เป็ นอย่างดี เมื่อเป็ นเช่นนี้ ภูมทิ ศั น์ของภาคเหนือ
ตอนบนทีม่ อี นุ สาวรียอ์ นั สร้างขึน้ เนื่ องมาจากสงครามเย็นกระจายตัวอยู่ทวไปเป็
ั่ นพืน้ ทีท่ ต่ี วั ตนและภูมกิ ายาของ
ชาติในฐานะราชอาณาจักรของในหลวงภูมพิ ลถูกสร้างขึน้ อีกครัง้ หนึ่งผ่านสปิ รติ แบบ “เราสู”้ เพราะราชอาณาจักร
ไทยต้องเป็ นราชอาณาจักรอันยิง่ ใหญ่และทีส่ าคัญคือ เป็ นราชอาณาจักรอันแบ่งแยกมิได้ เสมอมาและเสมอไป

23 Astrid Norén­Nilsson, “Performance as (re)incarnation: The Sdech Kân narrative,” Journal of Southeast Asian Studies, 44: 01 (February,
2013), 4 - 23.
24ในขณะทีร่ ฐั ไทยสร้างอนุ สาวรียผ์ เู้ สียสละในหลายพืน้ ทีม่ าอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงทาสงครามกับคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 2520 ฝ่ ายอดีตคอมมิวนิสต์เพิง่
มีการสร้างอนุ สรณ์สถานเพือ่ บอกเล่าความทรงจาจากฝั ง่ ของตนเมือ่ ไม่นานมานี้เอง เช่น การเปิ ดอนุ สรณ์สถานภูพยัคฆ์และการฟื้ นฟูสานัก 708 ทีบ่ ้าน
น้ ารี จังหวัดน่ านเมื่อปลายปี 2548 อย่างไรก็ด ี การรื้อฟื้ นความทรงจาของ พคท. ในเขตภาคเหนือตอนบนผ่านการสร้างอนุ สรณ์สถาน พิพธิ ภัณ ฑ์ และ
งานราลึกวีรชนเป็ นอีกประเด็นหนึ่งทีส่ มควรได้รบั การอภิปรายอย่างจริงจังในโอกาสอื่น
25 Hjorleifur Jonsson, เล่มเดิม.

299
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รำยกำรอ้ำงอิง
ภาษาไทย
ณัฐพล ใจจริง. “พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี: แผนสงครามจิตวิทยาลัยอเมริกนั กับการสร้างสถาบันกษัตริยใ์ ห้
เป็ น “สัญลักษณ์แห่งชาติ.” ใน ขอฝั นใฝ่ ในฝั นอันเหลือเชือ่ ความเคลือ่ นไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวตั ิ
สยาม (พ.ศ. 2475-2500), 289-339. กรุงเทพฯ: ฟ้ าเดียวกัน, 2556.
ธัญญา สังขพันธานนท์. ผูห้ ญิงยิงเรือ: ผูห้ ญิง ธรรมชาติ อานาจ และวัฒนธรรมกาหนด สตรีนิยมในเชิงนิเวศน์
วรรณคดีไทย. ปทุมธานี: นาคร, 2556.
ธนาวิ โชติประดิษฐ. “The Unknown Story: นักโทษการเมืองทีไ่ ม่มใี ครรูจ้ กั ของเขียน ยิม้ ศิรกิ บั การเมืองวัฒนธรรม
สมัยสงครามเย็น.” อ่าน 4, ฉบับที่ 4 (เมษายน-มิถุนายน, 2556): 184-197.
ธงชัย วินจิ จะกูล. กาเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัตศิ าสตร์ภมู กิ ายาของชาติ. แปลโดยพวงทอง ภวัครพันธุ,์ ไอดา
อรุณวงศ์ และพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. กรุงเทพ: สานักพิมพ์อ่าน, 2556.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. “สงครามอนุสาวรียก์ บั รัฐไทย.” ศิลปวัฒนธรรม 11, ฉบับที่ 3 (มกราคม, 2533): 266-284.
ภูมพิ ลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั . ประมวลพระราชดารัสและพระบรมราโชวาท ทีพระราชทานใน ่
โอกาสต่างๆ ปี พุทธศักราช 2518. กรุงเทพฯ: สานักราชเลขาธิการ, 2519.
ภาคภูมิ นันทละวัน. ตานานดาวพราวไพรที.่ ..ภูแว ภูพยัคฆ์ เล่ม 2. คณะกรรมการดาเนินงานจัดสร้างโครงการ
อาคารอเนกประสงค์ราลึกประวัตศิ าสตร์ประชาชนจังหวัดน่าน จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานฉลอง
อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์ จังหวัดน่าน เป็ นปี ท่ี 5 ณ บ้านน้ารี ต. ขุนน่าน อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. น่าน. น่าน:
อาร์ต เอ็จ กราฟฟิ ค, 2552.
ศิลปากรม, กรม. อนุสาวรียใ์ นประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์, 2539.
สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล. “เราสู:้ เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519.” ใน ประวัตศิ าสตร์ทเี ่ พิง่
สร้าง: รวมบทความเกียวกั ่ บกรณี 14 ตุลาและ 6 ตุลา, 132-133. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ 6 ตุลาราลึก,
2544.
อภินนั ท์ โปษยานนท์. จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสานัก เล่ม 1. จัดพิมพ์สนองพระมหา
กรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12
สิงหาคม 2535. กรุงเทพฯ: สานักพระราชวัง, 2536.

ภาษาอังกฤษ
Anderson, Benedict. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.
London: Verso, 1983.
Anderson, Benedict. “Withdrawal Symptoms: Social and Cultural Aspects of the October 6 Coup.”
Bulletin of Concerned Asian Scholars 9: 3 (July–September 1997): 13–30.
Bermingham, Ann. “System, Order, and Abstraction: The Politics of English Landscape Drawing around
1795.” In Landscape and Power, edited by W. J. T. Mitchell, 77-101. Chicago and London: The
University of Chicago Press, 1994.
Bowie, Katherine A. Rituals of National Loyalty: An Anthropology of the State and the Village Scout
Movement in Thailand. New York: Columbia University Press, 1997.
Jonsson, Hjorleifur. Mien Relations: Mountain People and State Control in Thailand. Ithaca and London:
Cornell University Press, 2005.

300
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

Kesboonchoo Mead, Kullada. “The Cold War and Democratization in Thailand.” In Southeast Asia and
the Cold War, edited by Albert Lau, 215-240. Milton Park, Abingdon, Oxon; New York, NY:
Routledge, 2012.
Laungaramsri, Pinkaew. “Constructing Marginality: The ‘Hill Tribe’ Karen and Their Shifting Locations
within Thai State and Public Perspectives.” In Living at the Edge of Thai Society: The Karen in
the Highlands of Northern Thailand, edited by Claudio O. Delang, 21-42. London and New York:
RoutledgeCurzon, 2003.
Mayo, James M. “War Memorials as Political Memory.” In Geographical Review 78: 1 (January, 1988):
62-75.
Michalski, Sergiusz. Public Monuments: Art in Political Bondage 1870-1997. London: Reaktion Books,
1998.
Mitchell, W. J. T. ed. Landscape and Power. Chicago and London: The University of Chicago Press,
1994.
Mosse, George L. Fallen Soldiers: Reshaping the Memory of the World Wars. New York; Oxford: Oxford
University Press, 1990.
Norén­Nilsson, Astrid. “Performance as (re)incarnation: The Sdech Kân narrative.” Journal of Southeast
Asian Studies 44: 01 (February, 2013): 4 - 23.
Strong, John S. Relics of the Buddha. Princeton and Oxford: Princeton University Press, 2004.
Winter, Jay. Sites of Memory/Sites of Mourning: The Great War in European Cultural History. Cambridge:
Cambridge University Press, 1995.
เอกสารชั้น ้น
แผ่นพับสาหรับผูม้ าเยีย่ มชมอนุสรณ์สถานยุทธภูมบิ า้ นห้วยโก๋น (เก่า) จัดทาโดยหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพราน
ที่ 32.
Mobile Information Team I, Trip 7. A Report by the United States Information Service, Bangkok. December
12 to 22. United States Information Service. Bangkok, 1962. Cited in Phimmasone Michael
Rattanasengchanh. Thailand’s Second Triumvirate: Sarit Thanarat and the military, King Bhumibol
Adulyadej and the monarchy and the United States. 1957-1963, 50. Master Thesis. University of
Washington, 2012.
หนังสือพิมพ์
เดลินิวส์, 12 เมษายน 2518, 3.
เดลินิวส์, 15 เมษายน 2518, ไม่ปรากฏเลขหน้า.
เดลิไทม์, 15 เมษายน 2518, 2.
สยามรัฐ, 15 เมษายน 2518, ไม่ปรากฏเลขหน้า.

301
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ภำพประกอบ (เรียงจำกซ้ำยไปขวำ)

ภาพที่ 1 ภาพปกหนังสือวิธีการทาลายชาติของคอมมิวนิสต์ แสดงภาพทหารคอมมิวนิสต์กาลังกลืนกินแผนที่


ประเทศไทย ตีพิมพ์และแจกจ่ายในปี 2519, ภาพถ่ายโดยผู เ้ ขียน
ภาพที่ 2 อนุสาวรีย์วีรกรรมพลเรือน ตารวจ ทหารที่อาเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน, ภาพถ่ายโดยผู ้เขียน
ภาพที่ 3 อนุสรณ์ทหารกล้าฐานห้วยโก๋นที่อนุสรณ์สถานยุ ทธภูมิบ้านห้วยโก๋น (เก่า), ภาพถ่ายโดยผู เ้ ขียน

ภาพที่ 4 จุ ดที่ทหารไทยเสียชี วิตในอนุสรณ์สถานยุ ทธภูมิบ้านห้วยโก๋น (เก่า), ภาพถ่ายโดยผู เ้ ขียน


ภาพที่ 5 อนุสาวรียผ์ ู ้เสียสละในค่ายเม็งรายมหาราช อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงราย, ภาพถ่ายโดยผู เ้ ขียน
ภาพที่ 6 อนุสรณ์ผูเ้ สียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 ที่อาเภอเชี ยงคา จังหวัดพะเยา, ภาพถ่ายโดยผู เ้ ขียน

302
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ภาพที่ 7 ภาพนางอัปสรที่อนุสรณ์ผูเ้ สียสละพลเรือน ตารวจ ทหาร 2324 ที่อาเภอเชี ยงคา จังหวัดพะเยา,


ภาพถ่ายโดยผู ้เขียน
ภาพที่ 8 รอยพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวในศาลารอยพระบาทที่ค่ายเม็งรายมหาราช อาเภอเมือง
จังหวัดเชี ยงราย, ภาพถ่ายโดยผู ้เขียน
ภาพที่ 9 อนุสาวรีย์พอ่ ขุ นเจืองธรรมิกราชในค่ายขุ นเจืองธรรมิกราชที่อาเภอเมือง จังหวัดพะเยา, ภาพถ่ายโดย
ผู ้เขียน

303
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

304
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R3-02

เสียงเล็กๆ ของ “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สิน


ในหนังสือพิมพ์ สารเสรี พ.ศ. 2502
ประวั ติ ศ าสตร์ อาพราง เบี้ ย ล่ า ง (อยาก) เล่ า เรื่ อง

ธิกานต์ ศรีนารา
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

305
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

กล่าวโดยย่อ “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ เดิมเป็ นชาวบ้านจังหวัดสกลนครหรืออุดรธานี เรียนธรรมและไสย


ศาสตร์ ได้ไปอยู่ท่จี งั หวัดอุบลราชธานี รับเข้าทรงรักษาไข้ จนมีลูกศิษย์และคนนิย มเลื่อมใสเป็ นจานวนมาก วัน
หนึ่งเขาได้ชกั ชวนผูค้ นอพยพจากอาเภอพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานีไปตัง้ ชุมชนอยู่ทบ่ี ริเวณบ้านใหม่ไทยเจริญ
ตาบลสารภี อาเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยไม่ได้ขออนุ ญาตจากข้าราชการในท้องที่ จนกระทังเมื ่ ่อ
นายอาเภอโชคชัยและพวกเข้าไปตรวจค้นชุมชนในวันที่ 29 พฤษภาคม 2502 ก็เกิดความขัดแย้งถึงขัน้ ใช้กาลัง
ตะลุมบอนกันขึน้ อย่างรุนแรงจนเป็ นเหตุให้นายอาเภอและพวกเสียชีวติ ไปถึง 5 คน ต่อมาตารวจได้นากาลังเข้า
จับกุมเกิดการยิงปะทะกันอย่างรุนแรงมีชาวบ้านทีต่ ดิ ตาม ศิลา วงศ์สนิ มาถูกยิงเสียชีวติ 12 คน ศิลา วงศ์สนิ และ
ครอบครัวหนีไปได้แต่ต่อมาก็ถกู ตารวจลาวจับตัวได้และส่งให้ตารวจไทยเมือ่ วันที่ 19 มิถุนายน 2502 ศิลาและพวก
ถูกส่งตัวไปคุมขังไว้ทส่ี ถานีตารวจจังหวัดนครราชสีมาระยะหนึ่ง ต่อมาก็ถูกส่งตัวเข้าไปทีก่ รุงเทพมหานครตาม
คาสังของจอมพลสฤษดิ
่ ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ทีต่ ้องการพบและสอบสวน ศิลา วงศ์สนิ ด้วยตัวเอง จากนัน้ ใน
วันที่ 26 มิถุนายน 2502 จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ก็สงให้ ั ่ ประหารชีวติ ศิลา วงศ์สนิ โดยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า
คณะรัฐ มนตรีไ ด้มีม ติเ ป็ นเอกฉั น ท์ใ ห้น ายกรัฐ มนตรีใ ช้อ านาจตามมาตรา 17 แห่ ง ธรรมนู ญ การปกครอง
ราชอาณาจักร “จัดการ” ขัน้ เด็ดขาดกับหัวหน้า “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ

306
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

บทความชิน้ นี้ต้องการเสนอเพียงว่า ถึงแม้ว่า กรณี “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ จะเกิดขึน้ มานานแล้วและเป็ นที่
กล่าวถึงโดยผูค้ นอยู่ไม่น้อย แต่กระนัน้ เราก็ไม่เคยได้ยนิ “เสียง” ทีแ่ ท้จริงของ ศิลา วงศ์สนิ แม้สกั ครัง้ เนื่องจากผู้
ทีก่ ล่าวถึงเขา ถ้าไม่เป็ นการผลิตซ้าภาพลักษณ์ของความเป็ น “ผูร้ า้ ย”, “กบฏ” หรือไม่กเ็ ป็ นพวก “ผีบุญ” โง่เขลา
แปลกประหลาดแล้ว ก็เป็ นการอธิบายการกระทาและความคิดของเขาโดยใช้แนวคิด “วิถกี ารผลิตแบบเอเชีย” ของ
คาร์ล มาร์กซ์ ซึง่ ก็เป็ นคาอธิบายทีซ่ บั ซ้อนเป็ นระบบดี แต่กด็ ูเหมือนจะตีความเกินจริงไปหลายอย่าง และทีส่ าคัญ
งานเหล่านัน้ เผยให้ได้ยนิ แต่ “เสียง” ของผู้วิเคราะห์ มากกว่าที่จะเป็ น “เสียง” ของ ศิลา วงศ์สนิ จริงๆ ดังนัน้
บทความชิน้ นี้ จึงพยายามทีจ่ ะพาผูอ้ ่านกลับไปเงีย่ หูฟัง “เสียงเล็กๆ” ของ ศิลา วงศ์สนิ ทีก่ ระจัดกระจายอยู่ในบาง
หน้าของหนังสือพิมพ์ สารเสรี ฉบับเดือนมิถุนายน 2502 ซึง่ แม้ว่าจะเป็ นหนังสือพิมพ์ทร่ี ายงานข่าวเกีย่ วกับกรณี
ศิลา วงศ์สนิ อย่างเปี่ ยมไปด้วยอคติเหยียดหยามก็ตาม แต่กก็ ระนัน้ ก็ยงั พอที่จะสามารถสกัดเอา “ข้อเท็จจริง”
โดยเฉพาะ “เสียง” ของ ศิลา วงศ์สนิ ทีถ่ ูกกลบฝั งไว้ในนัน้ ออกมาได้บา้ ง

เสียงเล็กๆ ของ ศิลำ วงศ์สิน ในงำนเขียนทำงวิชำกำรที่ผ่ำนมำ


ตลอดหลายปี ท่ผี ่านมา เรื่องราวของศิลา วงศ์สนิ ได้ถูกผู้คนหยิบยกขึน้ มากล่าวถึงอยู่เป็ นระยะ ในปี
2512 เรื่องราวของ ศิลา ได้ถูกกล่าวถึงแบบสัน้ ๆ เพียงหน้าเดียวในหนังสือ กรุข่าวดังในรอบ 20 ปี ของ สิทธิเดช
จัน ทรศรี 1 ต่ อ มาได้ ถู ก กล่ า วถึ ง แบบผ่ า นๆ โดย โยเนโอะ อิชิอิ ในบทความเรื่อ ง “A Note on Buddihistic
Millenarian Revolts in Northeastern Siam” ในปี 2518 และถูกแปลเก็บความเป็ นภาษาไทยลงเผยแพร่ใน จุลสาร
โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในปี 25192 ซึง่ ในอีกไม่กป่ี ี ต่อมา ชาร์ลส์ เอ็ฟ คายส์ ก็จะหยิบยกเอา
เรื่องราวของ ศิลา วงศ์สนิ มาพูดถึงแบบผ่านๆ อีกเช่นกันในบทความทีช่ ่อื “Millenialism, Theravada Buddhiism,
and Thai Society” (ตีพมิ พ์เผยแพร่ในปี 2520)3 จากนัน้ ในปี 2526 เรื่องราวของ ศิลา วงศ์สนิ ก็ถูกกล่าวถึงอีกครัง้
ในหนัง สือ การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ ของ ทัก ษ์ เฉลิม เตียรณ โดยในงานเขียนชิ้นนี้ ทักษ์
กล่าวถึง ศิลา แต่เพียงสัน้ ๆ ในฐานะชาวบ้าน “ทีค่ ดิ ว่าตนเองเป็ นผีบุญ” ว่า

นายศิลา วงศ์สนิ เป็ นชาวบ้านผูห้ นึ่งจากจังหวัด นครราชสีมา ทีค่ ดิ ว่าตนเองเป็ นผีบุญทีเ่ ก่ง
ทางไสยศาสตร์ และได้ก่อตัง้ “อาณาจักร” ของตนขึน้ ทีห่ มู่บา้ นแห่งหนึ่งในนครราชสีมา ยก
ตนเองขึน้ เป็ นกษัตริย์ และมีอานาจเหนือชาวบ้านสองร้อยคน ที่อาศัยอยู่ใน “อาณาจักร”
ของตน เมื่อกานันในตาบลนัน้ ไปเยีย่ มเพื่อทีจ่ ะซักถามเกี่ ยวกับการเคลื่อนไหวอันเป็ นการ
แบ่งแยกดินแดนของผีบุญ เจ้าหน้าทีก่ ถ็ ูกโจมตีและผูร้ ่วมคณะสองสามคนถูกฆ่าตาย จึงมี
การส่งเจ้าหน้าตารวจออกไปทาการจับกุมผีบุญศิลา ผูซ้ ง่ึ บอกแก่พรรคพวกของตนว่าตารวจ
ไม่สามารถทาอันตรายตนได้เนื่องจากอานาจเวทมนตร์ของตนทีม่ อี ยู่ ได้เกิดการปะทะกัน
ขึ้น และไม่ น านเจ้า หน้ า ที่ต ารวจก็สามารถฆ่า คนของนายศิลาไปได้ 11 คน และจับกุม
นักโทษได้อกี 88 คน นายศิลาพร้อมด้วยครอบครัวและลูกศิษย์ลูกหาอีก 8 คนพากันหนีไป

1 สิทธิเดช จันทรศรี และคณะ. กรุขา่ วดังในรอบ 20 ปี. กรุงเทพฯ: เรือ่ นแก้ว, 2512.
2 Yoneo Ishii. “A Note on Buddihistic Millenarian Revolts in Northeastern Siam.” In Journal of Southeast Asian Studies. V1: 2 (September
1975). pp. 121-126. และดูใน โยเนโอะ อิชอิ ิ (เขียน), พรเพ็ญ ฮั ่นตระกูล (ถอดความ). “กบฏผูม้ บี ุญภาคอีสาน.” ใน พรเพ็ญ ฮั ่นตระกูล และ อัจฉราพร
กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชือ่ พระศรีอาริย”์ และ “กบฏผูม้ บี ุญในสังคมไทย”. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2527, หน้า 33-43.
3 Charles F. Keyes. “Millenialism, Theravada Buddhiism, and Thai Society.” In Journal of Southeast Asian Studies. XXXVI: 2 (February

1977). pp. 283-302. และดูใน ชาร์ลส์ เอ็ฟ คายส์ (เขียน), นาฏวิภา ชลิตานนท์ (แปล). “ความเชือ่ เรือ่ งพระศรีอาริย,์ ลัทธิเถรวาท และสังคมไทย.” ใน
พรเพ็ญ ฮั ่นตระกูล และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชือ่ พระศรีอาริย”์ และ “กบฏผูม้ บี ุญในสังคมไทย”. หน้า 63-103.

307
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ได้ แต่ ต่อมาก็ถูกจับกุมใกล้กบั เขตแดนลาว จอมพลสฤษด์ได้ลงมาทาการสอบสวนด้วย


ตนเองและสังประหารชี
่ วติ นายศิลาต่อหน้าสาธารณชนทีจ่ งั หวัดนครราชสีมา4
จากนัน้ ในอีก 1 ปี ต่อมา กรณีศลิ า วงศ์สนิ ได้ถูกหยิบยกขึน้ มากล่าวถึงอีกครัง้ แต่คราวนี้ไม่ใช่ในฐานะ “ผี
บุญ” หากแต่ในฐานะ “ขบถผูม้ บี ุญ” ดังจะเห็นว่า เมื่อ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร เขียนบทความ
เรื่อง “อุดมการขบถผูม้ บี ุญอีสาน” โดยทัง้ คู่ได้พยายามเชื่อมโยงกรณีของศิลา วงศ์สนิ เข้ากับ “ขบถผูม้ บี ุญอีสาน”
กรณีอ่นื ๆ ทีเ่ คยเกิดขึน้ มาแล้วหลายครัง้ ในประวัตศิ าสตร์ไทย “เพื่อหาลักษณะร่วมกันของอุดมการ” ของ “ขบถผูม้ ี
บุญอีสาน” เหล่านัน้ และในทีส่ ดุ พวกเขาก็คน้ พบว่า “อุดมการขบถผูม้ บี ุญอีสาน” ทีเ่ คยเกิดขึน้ ทัง้ หมด ไม่ว่าจะเป็ น
ขบถบุญกว้าง พ.ศ.2242, ขบถเชียงแก้ว พ.ศ.2334, ขบถสาเกียดโง้ง พ.ศ.2363, ศึกสามโบก ประมาณ พ.ศ.2438,
ขบถผูม้ บี ุญ พ.ศ.2444-2445, ขบถหนองหมากแก้ว พ.ศ.2467, ขบถหมอลาน้อยชาดา พ.ศ.2479 และ ขบถนาย
ศิลา วงศ์สนิ พ.ศ.2502 “มีลกั ษณะร่วมกัน 3 ประการ” คือ
1) ปฏิเสธรัฐ มีเป้ าหมายก่อตัง้ ระบบใหม่เป็ นระบบสังคมนิยมหมู่บา้ นอิสระจากอานาจรัฐ
2) เชื่อว่ามิคสัญญีจะมาถึงในเวลาใกล้มากขึ้น และหลังจากนัน้ ระบบใหม่ท่มี แี ต่ความ
สมบูรณ์พนู สุขทางวัตถุจะตามมา
3) วิธกี ารทีจ่ ะได้มาซึง่ ระบบใหม่คอื
ก. การรวมใจของชาวบ้านก่อการแข็งข้อโดยอาศัยจิตสานึกประวัตศิ าสตร์ ศาสนา และ
ประวัตศิ าสตร์ชนชาติ
ข. ให้สงั คมชาวบ้านนัน้ ประพฤติธรรมรักษาศีลภาวนาสมาธิโดยเคร่งครัด ทาให้พระศรี
อาริยเมตไตรย หรือผูม้ บี ุญจุตลิ งมาช่วยเหลือ5
โดยใช้แนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ เรื่อง “วิถกี ารผลิตแบบเอเชีย” (The Asiatic Mode of Production) ฉัตร
ทิพย์ และ ประนุ ช ได้ให้คาอธิบายเกีย่ วกับ ขบถผูม้ บี ุญอีสาน (รวมทัง้ กรณีของ ศิลา วงศ์สนิ ) ทีซ่ บั ซ้อนขึน้ ไปอีก
ว่า อุดมการของขบถคืออุดมการของชนชัน้ ชาวนา ขบถผูม้ บี ุญคือขบถชาวนา อุดมการของขบถผูม้ บี ุญคือ “สังคม
นิยมหมู่บ้านอิสระจากอานาจรัฐ ” อุดมการนี้คอื จิตสานึกพื้นฐานของชาวนาที่กาเนิดมาพร้อมกับการก่อรูปของ
ชุมชนบุพกาล เป็ นหมู่บา้ นอิสระ ก่อนกาเนิดรัฐ เป็ นอุดมการของชุมชนเผ่าซึง่ ปราศจากชนชัน้ เป็ นอุดมการของ
สังคมก่อนวิถีการผลิตศักดินา อุดมการของขบถผู้มบี ุญอีสานสะท้ อนว่าชาวนาอีสานยังคงมี “จิตสานึกหมู่บ้าน
สังคมนิยมอิสระแบบชุมชน” แม้ว่าสังคมไทยส่วนรวมจะ “ได้ววิ ฒ ั นาการเข้าสู่สงั คมศักดินาและสังคมกึง่ ศักดินากึง่
ทุนนิยม” ไปแล้ว ฉัตรทิพย์ และ ประนุช อธิบายว่า ทีเ่ ป็ นเช่นนี้กเ็ พราะ “สังคมศักดินาไทยมีลกั ษณะหลายประการ
คล้ายวิถกี ารผลิตแบบเอเชีย (The Asiatic Mode of Production)”6 นันคื ่ อ

ไม่ว่าจะเป็ นแว่นแคว้นของเจ้าของทีด่ นิ การรวมอานาจเข้าสู่สว่ นกลางองค์พระมหากษัตริย์


การผลิตพอยังชีพและการรวมเกษตรกรรมและหัตถกรรมอยู่ดว้ ยกันในชุมชนหมู่บา้ น การ
ขาดหน่ อของชนชัน้ กระฎุมพีอสิ ระพืน้ เมือง สิง่ เหล่านี้ทาให้สงั คมศักดินาไทยมิได้แทรกลึก
ลงไปเต็มที่ภายในชุมชนหมู่บ้าน ไม่ว่าจะในด้านการผลิตหรือด้านวัฒ นธรรม ทัง้ ทาให้

4 ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุ ษยศาสตร์, 2548, หน้า 240.
(พิมพ์ครัง้ ที่ 2)
5 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม ้ บี ุญอีสาน.” ใน พรเพ็ญ ฮั ่นตระกูล และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชือ่
พระศรีอาริย”์ และ “กบฏผูม้ บี ุญในสังคมไทย”. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2527, หน้า 235.
6 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม ้ บี ุญอีสาน,” หน้า 240.

308
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กระบวนการแบ่งแยกชนชัน้ (process of class differentiation) ความเปลี่ยนแปลงภายใน


เกิดขึน้ อย่างล่าช้า เมื่อยิง่ คานึงว่าภาคอีสานเป็ นดินแดนบนขอบชายแดนของรัฐศักดินา
ไทย ถูกกัน้ รอบด้วยภูเขาจากภาคกลางศูนย์ของรัฐศักดินา และรัฐศักดินาเพิง่ แผ่อานาจเข้า
ไปครอบงา ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจอีสานเป็ นภาคทีล่ า้ หลังทีส่ ุด มีความคงอยู่ของการผลิตแบบ
พอยัง ชีพ ท านาโดยใช้น้ า ฝน ทอผ้า และหาของป่ าด้ว ยแรงงาน ปราศจาการค้า และ
พัฒนาการของกระฎุมพีพน้ื เมือง เหล่านี้ทาให้สงั คมหมู่บา้ นภาคอีสานคงแรงเกาะแน่ นแบบ
ชุมชนบุพกาลไว้มากกว่าในภาคใดในประเทศไทย ครัน้ เมื่อระบบทุนนิยมจากต่างประเทศ
เริ่ม แทรกเข้า มาในสัง คมไทยในช่ วงครึ่ง หลัง ของศตวรรษที่ 19 ไทยก็ไ ม่ ถึง กับ ตกเป็ น
เมืองขึน้ ทาให้อุดมการและจิตสานึกศักดินาคงมีอทิ ธิพลอยู่ในสังคมไทย เป็ นเกาะกัน้ การ
แทรกแซงของอุดมการและวัฒนธรรมทุนนิยมเอาไว้ และในช่วงของการแทรกแซงของวิถี
การผลิตทุนนิยมนี้ อีสานก็เป็ นภาคทีว่ ถิ กี ารผลิตทุนนิยมแทรกเข้าไปได้น้อยทีส่ ุด ลักษณะ
พิเศษคล้ายคลึงกับสังคมแบบเอเชีย โดยเฉพาะในเขตภาคที่ลา้ หลังทีส่ ุด น่ าจะเป็ นพืน้ ฐาน
คาอธิบายการคงทนของจิตสานึกแบบชุมชนบุพกาลของชาวนาอีสาน7
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คาอธิบายของ ฉัตรทิพย์ และ ประนุช ข้างต้นนัน้ ถือว่าเป็ น “วิชาการ” ทีส่ ดุ แล้วเมื่อ
เทียบกับการกล่าวถึง ศิลา วงศ์สนิ ในครัง้ ที่ผ่านๆ มา คือไม่ได้ผลิตซ้าภาพของความเป็ น “กบฏ” หรือ “ผีบุญ”
ให้กบั ศิลา แต่พยายามแสดงให้เห็นอุดมการ จิตสานึก และเงื่อนไขทีท่ าให้ ศิลา วงศ์สนิ รวมทัง้ ชาวนาอีสานกรณี
อื่นๆ มีอุดมการและจิตสานึกเช่นนัน้ ด้วย แต่กระนัน้ ก็ต้องกล่าวว่า บทความ“อุดมการขบถผูม้ บี ุญอีสาน” ก็ยงั คง
เป็ นสิง่ ทีฉ่ ายสะท้อนให้เห็น “ความคิด” หรือ “เสียง” ของ ฉัตรทิพย์ และ ประนุช (รวมทัง้ “เสียง” ของ คาร์ล มาร์กซ์
ที่ก้องดังอยู่ในแนวคิด “วิถีการผลิตแบบเอเชีย ”) มากกว่าที่จะเป็ น “เสียง” ของ ศิลา วงศ์สนิ หรือ “เสียง” ของ
ชาวบ้านทีอ่ ยู่ร่วมในกลุ่มของศิลาจริงๆ แน่นอน ถึงแม้ว่า ฉัตรทิพย์ และ ประนุช จะได้สมั ภาษณ์ นายมี ปั ทมา ซึง่
เป็ นชาวบ้านทีใ่ กล้ชดิ กับ ศิลา วงศ์สนิ และอยู่ร่วมในเหตุการณ์เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2502 มาด้วยก็ตาม แต่
การ “ตีความ” คาบอกเล่าของชาวบ้านทีว่ ่า “นายศิลา อ้างตัวว่าเป็ นพระศรีอาริยเมตไตรย”8 หมายความว่า ศิลา
วงศ์สนิ “ต้องการให้หมู่บ้านเป็ นศูนย์ของสังคมใหม่ ในสังคมใหม่น้ีชาวบ้านสามัคคีกนั บนพื้นฐานแห่งความเท่า
เทียมกับศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย...กล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ของคนในหมู่บา้ นมีลกั ษณะเป็ นสังคมนิยม ไม่มี
ชนชัน้ และเคร่งธรรมะ”9 นัน้ ชวนให้สงสัยอย่างยิง่ ว่าเป็ นการตีความที่ “เกินข้อเท็จจริง ” ไปหรือไม่ นี่ยงั ไม่ต้อง
กล่าวถึงการที่ ฉัตรทิพย์ ตีความกรณีท่หี นังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย รายงานข่าวเรื่อง “นายศิลาทาพิธปี ิ ดตาหาคู่ทุก

7 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม้ บี ุญอีสาน,” หน้า 241-242. ในบทความชิ้นเดียวกันนี้ ฉัตรทิพย์ ยังได้ให้คาอธิบาย
เพิม่ เติมด้วยว่า “เมือ่ เปรียบเทียบขบถผูม้ บี ุญภาคอีสานกับขบถชาวนาในภาคอื่นของไทย ขบถชาวนาภาคอื่นไม่มลี กั ษณะเป็ นขบถผูม้ บี ุญ คือไม่มกี าร
คิดฝั นถึงสังคมทีส่ มบูรณ์พนู สุขปราศจากชนชัน้ ทีเ่ กิดด้วยอิทธิฤทธิ ์ของผูม้ บี ุญหรือพระศรีอาริยเมตไตรยบันดาล ขบถชาวนาในภาคอื่นเป็ นการต่อต้าน
การเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ เช่น ขบถพญาผาบ 1889 หรือเป็ นความพยายามทีจ่ ะตัง้ แข็งเมือง เช่น ขบถพญาแขก 7 หัวเมือง ค.ศ.1902 ไม่ม ี
ลักษณะกลับไปยึดถืออุดมการและพิธกี รรมโบราณเป็ นเครือ่ งมือของการขบถ เช่น ขบถชาวนาอีสาน แสดงว่า ขบถชาวนาอีสานเป็ นการขบถในสังคมที่
ล้าหลังมาก จนมีความเชือ่ และความใฝ่ ฝันถึงสังคมทีต่ รงกันข้ามแรงกล้าแบบไม่มเี หตุผล จนถึงนาเอามาเป็ นอุดมการของการขบถได้ ทัง้ แสดงว่าชาวนา
อีสานไม่มที างออกด้วยการขบถลักษณะอื่นทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมซึง่ เป็ นสมัยใหม่มากขึน้ แล้ว ขบถผูม้ บี ุญอีสานยังคงพึง่ พิธกี รรม พึง่ การมาถึงของยุคพระศรี
อาริยท์ ด่ี ไู ม่สมเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แทนทีจ่ ะจัดองค์การสมัยใหม่ใช้อาวุธสมัยใหม่ในการต่อต้าน การขบถในภาคอื่นของไทยเกีย่ วกับพิธกี รรม
ศาสนาและความเชื่อแบบโบราณน้อยกว่าขบถผูม้ บี ุญภาคอีสานและใช้อาวุธทันสมัยกว่า แสดงว่าในสังคมชาวนาส่วนทีท่ นั สมัยขึน้ การประท้วงหรือขบถ
ก็มลี กั ษณะรูปแบบทันสมัยขึน้ ด้วย และมีความเกีย่ วพันกับอดีตน้อยลงด้วยเช่นกัน” (ดูในหน้า 242-243).
8 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม ้ บี ุญอีสาน,” หน้า 249-250.
9 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม ้ บี ุญอีสาน,” หน้า 236.

309
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เดือน ไม่ให้ผหู้ ญิงเป็ นเมียใครประจา”10 ซึง่ เอาเข้าจริงแล้วเรื่องนี้แทบจะไม่มหี ลักกฐานรับรองยืนยันทีแ่ น่ชดั ถึงการ


มีอยู่จริงของพิธกี รรมดังกล่าวว่า “การเปลี่ยนสามีภริยากันได้ เข้าใจว่าอาจเป็ นลักษณะไม่ให้ถือกรรมสิทธิส่์ วน
บุคคล ให้ทุกคนเป็ นญาติกนั และอาจเกีย่ วข้องกับการเชื่อในพิธกี รรมความอุดมสมบูรณ์อกี ด้วย”11 ซึง่ ดูเป็ นการ
“ลากเข้าหา” ทฤษฎีมาร์กซ์ของเขามากจนเกินจริงอีกด้วย
แต่กระนัน้ ในอีกหลายปี ต่อมา ข้อเสนอของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ข้างต้น ก็จะยังคงได้รบั การผลิตซ้าอีก
ครัง้ โดยนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ดังจะเห็นว่า ในปี 2558 เมื่อ ศศิธร คงจันทร์ จัดทาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง
“กบฏผู้มบี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502” แม้ว่าเธอจะพยายามให้คาอธิบายว่าความแห้งแล้งในภาค
อีสานและการถูกละเลยจากรัฐบาลในสมัยนัน้ เป็ นสาเหตุทส่ี าคัญอันหนึ่งทีท่ าให้เกิด “กบฏนายศิลา วงศ์สนิ ” ขึน้ ใน
ปี 2502 อีกทัง้ ยังได้พยายามเสาะหาหลักฐานชัน้ ต้น โดยเฉพาะอย่างยิง่ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไท และ สารเสรี ในหอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ มาบอกเล่าเรื่องราวของ ศิลา วงศ์สนิ ได้ค่อนข้างมาก ซึง่ นับว่าเป็ นเรื่องทีน่ ่ายกย่องมาก แต่
กระนัน้ เมื่อถึงเวลาที่ ศศิธร จะต้องวิเคราะห์ “วิเคราะห์ลกั ษณะและผลกระทบของกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน
ระหว่าง พ.ศ. 2479-2502” โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเด็นที่ว่าด้วย “จุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว” ของ “กบฏ
นายศิลา วงศ์สนิ ” ศศิธร ก็หนั กลับไปหยิบเอาการวิเคราะห์ “อุดมการขบถผู้มบี ุญอีสาน” โดยใช้แนวคิด “วิถีการ
ผลิตแบบเอเชีย” ของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา มาเป็ นคาอธิบายของเธออีกครัง้ ตามคาของศศิธร

ในกรณีกบฏนายศิลา วงศ์สนิ ...ก็ได้แสดงจุดมุ่งหมายทีช่ ดั เจนว่า ต้องการจะปกครองกันเอง


โดยปราศจากอานาจจากส่วนกลาง...และยังต้องการตัง้ เมืองขึน้ มาใหม่ภายใต้การปกครอง
ของนายศิลาเอง จะเห็นได้ว่าการแสดงออกถึงการปฏิเสธอานาจรัฐได้แฝงอยู่ในจิตสานึก
ของชุมชนในระดับหมู่บา้ น ที่ไม่ว่าสถานะของรัฐจะเปลี่ย นแปลไปจากรัฐระบบศักดินา รัฐ
ระบบกึ่งศักดินา กึ่งทุนนิยม แต่ การปฏิเสธอานาจรัฐก็ยงั ปรากฏขึน้ ในสังคมชนบทผ่าน
รูปแบบของกบฏผูม้ บี ุญ โดยฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้เสนอข้อคิดเห็นเกีย่ วกับเรื่องนี้ว่า ...12

เสียงแห่งอคติต่อ “ผีบุญ” ศิลำ วงศ์สิน ในหนังสือพิมพ์ สารเสรี มิถุนำยน 2502


แต่ทว่า เราจะค้นหา “เสียง” ของ ศิลา วงศ์สนิ ผูซ้ ง่ึ ถูกคนทัง้ สังคมกล่าวหาว่าเป็ น “ผูร้ า้ ย” เป็ น “ผีบุญ”
ได้จ ากไหน? ผู้เ ขีย นขอเสนอว่ า เราสามารถเงี่ย หูฟั ง และได้ยิน “เสีย งเล็ก ๆ” นั น้ ได้โ ดยการกลับ ไปพลิก ดู
หนังสือพิมพ์ร่วมสมัยทีร่ ายงานข่าวเกีย่ วกับกรณี “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ อยู่เกือบตลอดเดือนมิถุนายน 2502 โดยใน
ทีน่ ้ผี เู้ ขียนขอเลือกทีจ่ ะพาผูอ้ ่านไปพลิกดูหนังสือพิมพ์ สารเสรี เพียงฉบับเดียว13
เป็ นความจริงทีว่ ่า ถึงแม้ สารเสรี จะรายงานเกีย่ วกับ ศิลา วงศ์สนิ อย่างต่อเนื่องตัง้ แต่วนั เกิดเรื่องในวันที่
29 พฤษภาคม 2502 มาจนกระทังถึ ่ งวันที่ ศิลา วงศ์สนิ ถูกจอมพลสฤษดิสั์ งประหารชี
่ วติ ในวันที่ 26 มิถุนายน
2502 แต่กระนัน้ การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้กเ็ ต็มไปด้วยความคิดที่มี “อคติ” อย่างรุนแรงต่อ ศิลา
วงศ์สนิ และพวก ขณะเดียวกัน ก็ “ยกย่อง” และนาเสนอแต่ ความคิด” ของเจ้าหน้าทีต่ ารวจและจอมพลสฤษดิ ์ ธนะ

10 พิมพ์ไทย. เรือ่ ง “นายศิลาทาพิธปี ิ ดตาหาคูท่ ุกเดือน ไม่ให้ผหู้ ญิงเป็ นเมียใครประจา.” วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2502. ใน สานักหอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ. ก/ป7/2502/บ13.4. เรือ่ งจลาจลผีบุญ.
11 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ประนุ ช ทรัพยสาร. “อุดมการขบถผูม ้ บี ุญอีสาน,” หน้า 236.
12 ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม ้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558. หน้า 196-197.
13 เป็ นความจริงทีว ่ า่ มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับทีร่ ายงานข่าวเกีย่ วกับ ศิลา วงศ์สนิ แต่เนื่องจากในระยะนี้ผเู้ ขียนไม่สามารถเข้าไปอ่านหนังสือพิมพ์
หอสมุดแห่งชาติได้เพราะหอสมุดแห่งชาติงดให้บริการชั ่วคราว หนังสือพิมพ์ทว่ี า่ นัน้ ได้แก่ พิมพ์ไทย, สยามนิกร และ สยามรัฐ เป็ นต้น

310
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รัชต์ นายกรัฐมนตรีอยู่ตลอดเวลา ซึง่ ประเด็นหลังนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเป็ นทีร่ กู้ นั ว่า สารเสรี เป็ นหนังสือพิมพ์
ทีม่ จี อมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ “เป็ นเจ้าของ”14
ในทีน่ ้ีจงึ กล่าวได้ว่า ถึงแม้เราอาจจะได้ยนิ “เสียงเล็กๆ” ศิลา วงศ์สนิ และชาวบ้านอีสานทีต่ ดิ ตามเขาได้
บ้างใน สารเสรี แต่กเ็ ป็ น “เสียงเล็กๆ” ทีด่ งั ไม่พอ เพราะถูก “กลบทับ” ด้วย “เสียงแห่งอคติ” ของผูส้ ่อื ข่าว สารเสรี
เสียงคาให้สมั ภาษณ์ของเจ้าหน้าทีต่ ารวจ ไปจนถึง “เสียงใหญ่ๆ” ของจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ต่อไปนี้จะขอหยิบ
ยกเอา “เสียง” แห่ง “อคติ” ใน สารเสรี ซึง่ ดังมากจนแทบจะ “กลบทับ” เสียงของ ศิลา เอาไว้อย่างมิดชิด อาทิเช่น
ไม่กว่ี นั หลังเกิดเรื่อง สารเสรี ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน 2502 ก็พาดหัวข่าวหน้า 1 ด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดใหญ่ว่า
“จอมพลสฤษดิบิ์ นไปสอบจลาจลทีโ่ คราชด่วน”“จลาจลทารุณศพบูชายัณ” “ใช้เชือกลากศพเจ้าหน้าที่ ร่ายราสังเวย
เทวรูป...ผูแ้ ทนหนังสือพิมพ์ของเราบุกสู่ ‘สมรภูม’ิ ซึง่ ฝ่ ายจลาจลผีบุญยึดป่ า”15
ขณะทีใ่ นหน้า 2 ก็รายงานข่าวอย่างมีอคติว่า “พวกทีก่ ่อการจลาจลขึน้ ครัง้ นี้ไม่ใช่ญวนหรือลาว หากแต่
เปนชาวไทยเผ่าหนึ่งเรียกว่า ‘ส่วย’ เปนลูกผสมเขมรและลาวมีพน้ื เพอยู่ทางภาคอิสาณ พูดผิดกับชาวอิสาณและ
พูดภาษาอิสาณได้...มีนายจันทรศิลาเปนหัวหน้าใหญ่ได้พาพรรคพวกอพยพจากพิบูลมังษาหารเข้าไปอยู่ในเขต
บ้านใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี ซึง่ เปนทีเ่ กิดเหตุประมาณ 4 เดือนเศษมาแล้ว...เฉพาะนายจันทร ศิลา ผูน้ ้ี รายงาน
ข่าวกล่าวว่า เปนตัว ‘ผีบุญ’ หัวหน้าใหญ่ทม่ี .ี ..(ขาดหาย) ...เปนผูว้ เิ ศษทีพ่ รรคพวกอยู่...(ขาดหาย)...ลูกเมียในเครือ
ญาติแล้วก็ใช้พวกนัน้ ...(ขาดหาย)...เกลี้ยกล่อมอ้างสรรพคุณแก่ชาวบ้า น...(ขาดหาย)...จันทร เก่ง มีฤทธิเ์ ดช
สารพัดเปนพระ...(ขาดหาย)...ไอ้โน่นเปนไอ้น่ที ก่ี ลับชาติมาเกิดอีก” และ “การก่อจลาจลของ ‘ผีบุญ’ ทีบ่ า้ นใหม่ไทย
เจริญ ตาบลสารภี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ศกนี้ ภายหลังจากที่ผู้ก่อการร้ายรุมสังหารนายอาเภอ ผู้บงั คับกอง
และคณะอีก 3 คนแล้วก็เอาเชือกผูกศพลากไปกองไว้ใกล้ๆ ศาลเพียงตาและจะทาพิธบี ูชายัณตามวิธกี ารอันป่ า
เถื่อน แต่ถูกกาลังหน่วยปราบปรามบุกทะลวงเสียก่อน” เป็ นต้น16
ในหน้ า 3 ของ สารเสรี ฉบับเดียวกัน รายงานว่า “หลังจากที่นายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์
เดินทางไปหมู่บ้านไทยเจริญ ตาบลสารภี ที่เกิดเหตุ จลาจล “ผีบุญ” นับร้อยคนต่ อสู้เจ้าหน้ าที่ปกครองและฆ่า
นายอาเภอ, หัวหน้าสถานีตารวจ กับเจ้าหน้าทีต่ าแหน่งอื่นตาย 5 คน เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงด้วยตนเองตามทีเ่ รา
เสนอข่าวไปแล้วนัน้ ปรากฏว่า ทัง้ ผูใ้ หญ่บา้ น นายสงวน ซึง่ เล่า และชาวบ้านทีร่ เู้ ห็นเหตุการณ์ได้ชแ้ี จงข้อเท็จจริง
ว่า “ตัวหัวหน้ากับตัววางแผนได้หลบหนีรอดพ้นการปราบปรามไปได้ ” และในหน้า 3 นี้เองทีข่ อ้ หาของ ศิลา วงศ์
สิน และพวก ได้ถูกยกระดับให้กลายเป็ นผูม้ ี “เจตนาจะแบ่งแยกการปกครอง” และตอกย้าว่าคนพวกนี้ “ไม่ใช่
ไทยแท้” แต่เป็ นพวก “ส่วย” และ “ญวน” จากอุบลราชธานี ตามเนื้อหาข่าวทีว่ ่า

รมต. มหาดไทยแถลง ตอนเช้าของวันเดียวกันนี้ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รมต. มหาดไทย


ซึง่ ได้เดินทางไปสอบสวนเหตุรา้ ยนี้ร่วมกับ พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชแ้ี จงและเปิ ดเผย
พฤติการณ์ของ “ผีบุญ” จลาจลว่า มีเจตนาจะแบ่งแยกการปกครองและหลอกลวงคนอื่นให้
หลงเชื่อ มิหนาซ้ายังสมคบกันฆ่าเจ้าหน้าทีพ่ นักงานผูก้ ระทาการตามหน้าทีต่ ายอย่างทารุณ

14 สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล. ประวัตศิ าสตร์ทเี ่ พิง่ สร้าง. กรุงเทพฯ: 6 ตุลาราลึก, 2544 หน้า 38.
15 สารเสรี ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน 2502, หน้า 1.
16 สารเสรี ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน 2502, หน้า 2.

311
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

จึงได้กาชับเจ้าหน้ าที่ทงั ้ ฝ่ ายอาเภอและตารวจทาการติดตามจับหัวหน้ าและผู้ร่ว มคิด ที่


หลบหนีไปได้ทงั ้ หมด

รมต. มหาดไทยแสดงความรู้สึก ว่ า ไม่ คิด ว่ า คนจ านวนร้อ ยๆ จะหลงเชื่อ งมงายกับ ค า


หลอกลวงของหัว หน้ า “ผีบุ ญ ” ถึง กับ ขายข้า วของทรัพ ย์ส มบัติติด ตามมาซ่ อ งสุ ม เปน
“อาศรมผีบุญ” ตามคาสังของ ่ “ผีบุญ” จับเชือดคอคนขัดขืนทุกคนได้ ซึง่ ในทีส่ ดุ แหล่งซ่องสุม
ของพวกจลาจลนัน้ ต้องพินาศยับเยินด้วยการเสียสละอย่างกล้าหาญของเจ้าหน้าที่ทงั ้ 5
ชีวติ ซึง่ จะได้รบั การตอบแทนจากทางราชการโดยด่วน

พล.อ.ประภาสชี้แ จงว่ า พวกหลงเชื่อ หัว หน้ า จลาจลต้ อ งตายด้ว ยการปราบปรามของ


เจ้าหน้ าที่ครัง้ นี้ เปนพวก “ส่วย” อพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานีกบั พวกเปน “ญวน”
อพยพมาจากจังหวัดอุบลแล้วติดตามมาตาบลสารภีดว้ ย “การจบชีวติ ครัง้ นี้กด็ ว้ ยผลกรรมที่
เขาก่อไว้” พล.อ.ประภาสกล่าวย้าตอนท้าย17
แน่ นอนว่าข้อกล่าวหาของเจ้าหน้ารัฐทีม่ ีต่อ ศิลา วงศ์สนิ และพวกจะไม่หยุดอยู่เพียงในระดับนี้ และใน
ความเป็ นจริงก็มแี ต่ จะหนักขึน้ เรื่อยๆ ด้วย ในวันที่ 19 มิถุนายน 2502 ศิลาและครอบครัวถูกจับตัวได้ในที่สุด
หลังจากถูกสอบสวนอย่างเข้มข้น โดยมีครัง้ หนึ่งทีจ่ อมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ เดินทางมาสอบสวนด้วยตัวเอง หลังจาก
สอบสวนเสร็จ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์กเ็ ผยต่อผูส้ ่อื ข่าวสัน้ ๆ แต่เต็มไปด้วยการดูถูกเหยียดหยามว่า “นายศิลาไม่
ยอมพูดอะไรและไม่ยอมรับว่า การกระทาทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ตนเปนผูก้ ระทา นายกกล่าวว่า คนอย่างนี้ไม่ยอมรับหรอกดู
ท่าทางตลอดคาพูดดูคล่องเหลือเกินและทีม่ าสอบสวนนี่ ก็มาสอบสวนตามระเบียบ...ตนได้ถามผีบุญว่า มีอะไรดี มี
ของวิเศษอะไร คนจึงนับถือมาก และถ้าหากผีบุญมีดจี ริงก็ขอให้อมวิทยุและกระโถนให้ดู ซึง่ ถ้าอมได้จริงตัวท่านจะ
นับถือและมอบตัวเปนลูกน้องอีกคนหนึ่ง ปรากฏว่าผีบุญไม่ยอมทาตามทีน่ ายกบอก”18 จากนัน้ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะ
รัชต์ ก็ใช้อานาจตามมาตรา 17 ของธรรมนู ญปกครอง สังประหารชี ่ วติ ศิลา วงศ์สนิ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2502
โดยในตอน 2 ทุ่มได้แถลงข่าวทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่า

“เปนความผิ ด ขัน้ อุกฤษฏ์โทษ” ตามที่มีบุ ค คลคณะหนึ่ ง ได้ใ ช้ก าลัง กุ้ม รุ ม ท าร้า ยเจ้า
พนักงานจนถึงเสียชีวติ 5 คน ทีต่ าบลบ้านใหม่ไทยเจริญ อาเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2502 นัน้ จากผลแห่งการสอบสวนอย่างรอบคอบและเทีย่ งธรรม
ของเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าบุคคลผูก้ ่อการร้ายคณะนี้มนี ายศิลา วงศ์สนิ หรือ ลาดละคร เปน
หัวหน้า ได้ตงั ้ ตนเปนผูว้ เิ ศษ และเปนกษัต ริย์ ทาการซ่องสุมผูค้ นเปนจานวนมากเข้าเปน
พรรคพวกเพื่อก่อการร้ายและดาเนินการอันเปนการผิดกฎหมายของบ้านเมือง ซึ่งนับได้
ว่าเปนการบ่อนทาลายความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังภ์ ทัง้ เปนการกระทาที่
บ่อนทาลายและก่อกวนความสงบภายในประเทศ อันเปนความผิดขัน้ อุกฤษฏ์โทษ

“รัฐบาลนิ่ งนอนใจไม่ได้” จากผลแห่ ง การที่ข้า พเจ้า เดิน ทางไปสอบสวนเหตุ ก ารณ์ ท่ี


เกิดขึน้ ประกอบกับการได้ฟังเจ้าทีส่ อบปากคานายศิลา วงศ์สนิ หรือ ลาดละคร ด้วยตนเอง
แล้ว เห็นว่าเปนภัยต่อราชอาณาจักรทีร่ ฐั บาลจะนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ และเพื่อมิให้การก่อการ

17 สารเสรี ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน 2502, หน้า 3.


18 สารเสรี ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2502, หน้า 18.

312
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ร้ายนี้ มีทางขยายตัวได้อกี ต่อไป สมควรประหารชีวติ นายศิลา วงศ์สนิ หรือ ลาดละคร ซึง่


เปนตัวหัวหน้าเสียทันที ส่วนบุคคลอื่นทีร่ ่วมกระทาด้วยนัน้ แม้อาจจะกระทาไปด้วยความโง่
เขลาเบาปั ญญา ก็หามีเหตุอนั ควรกระทาแต่อย่างใด จึงจะดาเนินคดีต่อไป

“ครม. ลงมติ ใ ห้ ใ ช้ ม.17” โดยเหตุ ผ ลดัง กล่ า วข้า งต้ น ข้า พเจ้ า จึง ได้ เ สนอเรื่อ งนี้ ใ ห้
คณะรัฐมนตรีพจิ ารณา เมื่อวันศุกร์ท่ี 26 มิถุนายน 2502 และคณะรัฐมนตรีกไ็ ด้มมี ติเปนเอก
ฉั น ท์ ใ ห้ ข้า พเจ้ า ใช้อ านาจที่มีอ ยู่ ต ามความในมาตรา 17 แห่ ง ธรรมนู ญ การปกครอง
ราชอาณาจักรได้ ฉะนัน้ ข้าพเจ้าจึงได้สงให้ ั ่ อธิบดีกรมตารวจจัดการประหารชีวติ นายศิลา
วงศ์ สิน หรือ ลาดละคร ซึ่ง อธิบ ดีก รมต ารวจก็ไ ด้ ป ฏิบ ัติ ไ ปตามค าสัง่ แล้ ว ที่จ ัง หวัด
นครราชสีมาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2502 เวลา 18.00 นาฬิกา

“จะปราบ ‘ผู้บ่อนทาลาย’ เด็ดขาด” โดยทีก่ ารสูญเสียชีวติ ของเจ้าพนักงานฝ่ ายปกครอง


ในครัง้ นี้ ยังความเศร้าสลดให้แก่ประชาชนและรัฐบาลเปนอย่างยิง่ ข้าพเจ้าจึงขอถือโอกาส
แสดงความเสียใจอย่างสุดซึง้ แก่บรรดาครอบครัวผูเ้ สียชีวติ โดยทัวกั
่ น และรัฐบาลจะได้ให้
ความอุปถัมภ์อย่างดีต่อไป

ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้ ารัฐบาลขอประกาศยืนยันให้ทราบทัวกั


่ นว่า รัฐบาลจะ
กระทาทุกวิถที างเพื่อความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังภ์และการกระทาใดๆ อัน
จะเปนการบ่อนทาลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบไม่ว่าจะเกิดขึน้ ภายในหรือมาจาก
ภายนอกราชอาณาจักรก็ตาม รัฐบาลนี้จะได้ดาเนินการปราบปรามอย่างเด็ดขาดและทันที
จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
26 มิถุนายน 250219
มาถึงตรงนี้ คงได้เห็นกันแล้วว่า ข้อกล่าวหาทีร่ ฐั มีให้กบั ศิลา วงศ์สนิ นัน้ มีลกั ษณะทีร่ ุนแรงใหญ่โตขึน้
เรื่อยๆ จากเพียงแค่ตวั หัวหน้าทีม่ สี ว่ นในการสังหารเจ้าหน้าทีป่ กครองในวันที่ 29 พฤษภาคม 2502 ได้ยกระดับไป
เป็ นบุคคลที่มี “เจตนาจะแบ่งแยกการปกครอง” จากนัน้ ในท้ายทีส่ ุดก็ยกระดับใหญ่โตมากขึน้ ไปถึงขัน้ กลายเป็ น
บุคคลผูก้ ่อการร้าย” ที่ “ได้ตงั ้ ตนเปนผูว้ เิ ศษ และเปนกษัตริย์ ทาการซ่องสุมผูค้ นเปนจานวนมากเข้าเปนพรรคพวก
เพื่อก่อการร้ายและดาเนินการอันเปนการผิดกฎหมายของบ้านเมือง ซึง่ นับได้ว่าเปนการบ่อนทาลายความมันคง ่
ของราชอาณาจักรและราชบัลลังภ์ ทัง้ เปนการกระทาทีบ่ ่อนทาลายและก่อกวนความสงบภายในประเทศ อันเปน
ความผิดขัน้ อุกฤษฏ์โทษ” จนต้องทาการประหารชีวติ ให้ตายไปในทีส่ ดุ

19 สารเสรี ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2502, หน้า 3. นอกเหนือจากตัวหนังสือสีดาทีถ่ ูกใส่เพิม่ เข้าไปเองโดยกองบรรณาธิการ สารเสรี คือคาแถลงข่าวฉบับ
เต็มของ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์

313
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เสียงเล็กๆ ของ “ผีบุญ” ศิลำ วงศ์สิน ในหนังสือพิมพ์ สารเสรี มิถุนำยน 2502


ทีน้ีเราลองมาเงี่ยหูฟังเสียงเล็ก ๆ ของ ศิลา วงศ์สนิ และชาวบ้านที่ติดตามเขาดูกนั บ้าง แน่ นอนว่า ใน
หนังสือพิมพ์ สารเสรี นี้ ให้ขอ้ มูลทีม่ าจากปากคาของชาวบ้านไว้ค่อนข้างน้อยมาก และหลายๆ แห่งก็ดูเหมือนกับ
เป็ นการได้ยนิ คนอื่นเล่ามาอีกทีโดยไม่มหี ลักฐานยืนยันแล้วเสริมแต่งสีสนั ของผูส้ ่อื ข่าวเพิม่ เติมเข้าไปเองตามแต่ใจ
ของตนซึง่ ก็เต็มไปด้วยอคติ เช่น สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502 รายงานว่า

“เผยประวัติผีบุญ” (ต่อจากหน้า 2) นายศิลา วงศ์สนิ หรือ ลาด ละคร บ้านเกิดอยู่ทบ่ี า้ นคา


อ้อ ตาบลบ้านเชียง อาเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี มีอาชีพเป็ นหมอลา ต่อมาศึกษาวิช า
ทางด้านไสยศาสตร์ เรียนธรรมรักษาคนบ้า เรียนวิชาไล่ผหี รือหมอผี20 เมื่อเรียนจบแล้วก็ได้
นาวิชาความรูท้ ไ่ี ด้มานัน้ ออกไปหากินในทางรักษาคนเปนบ้าตามจังหวัดต่างๆ ทีอ่ าเภอท่า
บ่อ จังหวัดหนองคายเขาก็เคยไปเทีย่ วและรักษาไล่ผดี ว้ ย นายศิลา ได้เปิ ดเผยว่า เมื่อไปอยู่
ทีห่ นองคายนัน้ ก็ได้เมียหนึ่งคน ทีบ่ า้ นคุม้ วัดสระแก้ว อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และอยู่
ทีน่ นั ่ ประมาณ 2 ปี กไ็ ด้ออกเดินทางไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยเลิกกับเมียทีห่ นองคายเสีย และ
พร้อมกันก็ได้หลอกเอาลูกสาวของน้องสาวเมียไปด้วย

“วีธีปลุกชาวบ้านให้เลื่อมใส” หลังจากหนีออกจากจังหวัดหนองคายแล้ว นายศิลาเล่าว่า


เขาได้ออกไปสอนธรรมตามจังหวัดต่างๆ ผูท้ เ่ี ข้าเรียนธรรมจะต้องเสียผ้าขาวยาว 3 เมตร
และเงิน 52 บาทบ้าง 44 บาทบ้าง วิธีท่ขี ้นึ ธรรมก็คือ ให้พนมมือและว่าพุทโธ ธัมโม ใน

20ข้อมูลส่วนนี้ผเู้ ขียนได้เพิม่ เติมมาจาก สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502. “เผยประวัตติ วั เองสิน้ เคยเปนผีปอบ-หัวหน้าลิเก เมียสาวแฉคาเท็จ ‘ผี
บุญ’ ผัว.” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ก/ป7/2502/บ 13.4. เรือ่ ง “จลาจลผีบุญ.” อ้างจาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-
2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558. หน้า 153.

314
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ขณะเดียวกัน นายศิลาก็สวดมนต์ไปด้วยซึ่งปรากฏว่าผู้ท่เี ข้าธรรมพากัน เคลิบเคลิ้มและ


เลื่อมใสถึงกับหลงผิดว่าสาเร็จเปนอรหันต์แล้ว มีขา้ วของไร่นาสาโททรัพย์สนิ ต่างๆ ก็ขาย
และให้ทานไปหมด ซ้าเมื่อเขาเรียนจนถึงจุดแล้วก็ไม่ได้สนใจใครเลย วันๆ ก็ฟังแต่เขาผูเ้ ปน
อาจารย์เท่านัน้ ว่าเปนผูว้ เิ ศษและถือว่า เปนคนศักดิสิ์ ทธิเขาจะพู
์ ดอะไรก็เชื่อหมดทุกอย่าง

“ไปที่ ไหนหลอกผู้หญิ งที่ นัน่ ” ดังที่กล่าวมาแล้วว่านายศิลาผู้น้ีเปนผู้ไม่มที ่อี ยู่เปนหลัก


แหล่งเทีย่ วเร่ร่อนไปยังทีต่ ่างๆ จากการบอกเล่าของผูท้ ร่ี ู้จกั “ผีบุญ” ศิลาดี ปรากฏว่านาย
ศิลานี้เมื่อเข้าไปบ้านไหนก็มกั จะได้เมียทีน่ นั ่ โดยทีเ่ มื่อนายศิลาไปพออกพอใจลูกสาวของ
ใครเข้าและต้องการจะเอาเปนเมียก็ชกั ชวนพ่อแม่สาวให้เข้าธรรมด้วย แล้วบอกว่าให้นัง่
ธรรมดูแล้วผู้หญิงคนนัน้ เปนเนื้ อคู่มาแต่ ช าติก่ อน แล้วขอเอาดื้อๆ แต่ จะด้วยเหตุ ใดไม่
ปรากฏ ทัง้ พ่อแม่ผหู้ ญิงและตัวผูห้ ญิงเองก็พากันหลงเชื่อพากันยกให้และยอมเปนเมีย เช่น
ทีบ่ า้ นเหล่าสน อาเภอกันทารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายศิลาก็ได้มาคนหนึ่งและตัง้ ชื่อเมียว่า
ศรีวงศ์ อีกประการหนึ่งก็คอื เมียทุกคนจะถูกตัง้ ชื่อให้เสียเพราะพริง้ ถ้าใครชื่อพยางค์เดียว
ก็ตงั ้ ให้เปน สอง สาม พยางค์ และรายหลังสุดก็ได้เมียที่บ้านแก่งไก่เขี่ย ตาบลกุดชมพู
อาเภอพิบลู มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รกั ษานางหนูกายจนหายจากบ้า แล้วก็ได้
เปนเมีย จากนัน้ ก็เปลีย่ นชื่อหนูกายเปนประกายแก้ว ดังทีเ่ ราได้เสนอข่าวแล้ว

“ชวนชาวบ้านอพยพไปกิ นของทิ พย์” ณ ทีอ่ าเภอพิบลู มังสาหารนี่เอง นายศิลาได้ชกั ชวน


ชาวบ้านเข้าธรรม ซึ่งก็มคี นมาเข้าด้วยเปนจานวนมาก แม้แต่ภารโรงของโรงเรียนก็ได้มา
เข้าด้วย คือ นายมา โดยพากันมาเข้าธรรมทัง้ ครอบครัว เมื่อชาวบ้านมาเข้าธรรมกันมาก
แล้ว นายศิลาก็ชกั ชวนคนเหล่านัน้ อพยพ บอกว่าไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์กนิ
กัน ครัง้ แรกไปอยู่ทอ่ี าเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่แล้วก็พากันมาทีอ่ าเภอโชคชัย บ้าน
ใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี เปนทีพ่ กั พิงกระทังเกิ่ ดเหตุรา้ ยดังกล่าว

“มีรอยสักทัง้ ตัว” นายศิลาผู้น้ีนอกจากจะได้ตงั ้ ตัวเปนผู้วเิ ศษ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นาย


ศิลาเองก็ได้มคี วามเชื่อในเรื่องรอยสัก ถึงกับลงทุนสักเสียลายพล้อยไปทัง้ ตัว เลยทีเดียว ซึง่
ได้รบั การสักเมื่อครัง้ ได้เดินทางไปเสาะหาวิชาเวทมนต์ และการตัง้ ตัวเปนผูว้ เิ ศษนี้ได้ถูกจับ
มาแล้วครัง้ หนึ่งที่อาเภอพิบูลมังษาหาร และนายศิลาได้เรียกชื่อตัวเองเสียยาวเหยียดว่า
“จารย์ศลิ าวงศ์สนิ ธุอ์ นิ ทรุวงศ์ ราชนาธ”

“วิ ธีผกู ใจลูกน้ องแบบแปลกๆ” ภายหลังทีไ่ ปตัง้ หลักแหล่งอยู่ทอ่ี าเภอโชคชัย ก่อนเกิด


เหตุ นายศิลาได้แ ผ่ค วามเก่ งกาจของตัวมากยิ่งขึ้น ด้ว ยเล่ ห์เหลี่ย มต่ า งๆ อัน ท าให้มีผู้
หลงเชื่อมากมาย จนกลายเปน ชมรมอันหนาแน่ นมีบริวารนับร้อย และพิธปี ระหลาดอีกพิธี
หนึ่งทีน่ ายศิลาจัดให้มขี น้ึ ในชมรมของตนเปนประจาทุก เดือนก็คอื พิธปี ิ ดตาหาคู่ พิธนี ้ีนาย
ศิลาจะคัดเลือกเอาหญิงชายไปยืนเรียงแถวคนละฟาก แล้วใช้ผา้ ปิ ดตาทัง้ หญิงและชาย เมื่อ
ให้เสียงอาณัตสิ ญ ั ญาณแล้วก็ให้ทงั ้ หญิงและชายเดินตรงเข้าหากัน หากชายคนใดจับหญิง
คนใดได้กใ็ ห้หญิงชายคู่นัน้ ทาการสมสู่หาความสาราญทางกามารมณ์กนั เปนที่สนุ กสนาน

315
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

และพิธนี ้ีแต่ละคราว นายศิลาจะต้องเข้าร่วมปิ ดตาหาคู่ทุกครัง้ ส่วนนางประกายแก้วนัน้


นายศิลาจะไม่ยอมให้เข้าพิธปี ิ ดตาหาคู่ดว้ ยเปนอันขาด21
แต่กระนัน้ ในรายงานข่าวอันยาวเหยียดดังกล่าวนี้ แม้จะเต็มไปด้วยอคติ ไม่ค่อยมีความน่ าเชื่อถือ และ
ไม่มหี ลักฐานยืนยันแน่ ชดั โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรื่องทีเ่ กีย่ วกับ “พิธปี ิ ดตาหาคู่” เพื่อ “ทาการสมสู่หาความสาราญ
ทางกามารมณ์กนั เปนทีส่ นุ กสนาน” ก็น่าทีจ่ ะมีความจริงเกีย่ วกับ ศิลา วงศ์สนิ ปรากฏอยู่บา้ ง อาทิเช่น เมื่อ ศิลา
วงศ์สนิ เรียนวิชาทางคาถาอาคมและการรักษาคนจบแล้วก็ได้นาวิช าความรูท้ ไ่ี ด้มานัน้ ออกไปหากินในทางรักษา
คนเป็ นบ้าตามจังหวัดต่างๆ, วิธสี อนธรรมแก่ชาวบ้านวิธที ท่ี าให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา, ไปทีไ่ หนก็มกั จะได้เมียที่
นัน,
่ การมีรอยสักทัง้ ตัว และทีน่ ่าเชื่อถือมากทีส่ ดุ ก็เห็นจะเป็ นการที่ ศิลา ได้ “ชักชวนชาวบ้าน [แถบอาเภอพิบลู มัง
สาหาร-ธิกานต์] เข้าธรรม ซึง่ ก็มคี นมาเข้าด้วยเปนจานวนมาก แม้แต่ภารโรงของโรงเรียนก็ได้มาเข้าด้วย คือ นาย
มา โดยพากันมาเข้าธรรมทัง้ ครอบครัว เมื่อชาวบ้านมาเข้าธรรมกันมากแล้ว นายศิลาก็ชกั ชวนคนเหล่านัน้ อพยพ
บอกว่าไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์กนิ กัน ครัง้ แรกไปอยู่ทอ่ี าเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่แล้วก็พากัน
มาที่อาเภอโชคชัย บ้านใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี เปนที่พกั พิงกระทังเกิ ่ ดเหตุร้าย” แต่ทงั ้ นี้ทงั ้ นัน้ รายงานข่าว
ของ สารเสรี ฉบับเดียวนี้ ก็ไม่สามารถยืนยันได้อย่างหนักแน่ นทัง้ หมดว่า เรื่องใดบ้างทีอ่ อกมาจากปากของ ศิลา
วงศ์สนิ จริงๆ และเรื่องใดบ้างที่ สารเสรี แต่งเสริมเติมเข้าไปตามอคติของตน
อย่างไรก็ตาม ในบรรดาคาให้สมั ภาษณ์ทงั ้ หมดใน สารเสรี ผูเ้ ขียนขอเสนอว่า คาให้สมั ภาษณ์ของ นาย
ต้อง พ่อตาของศิลา และคาให้สมั ภาษณ์ของ ศิลา เอง ดูมคี วามน่าเชื่อถือและถูกแต่งเติมใส่สตี ไี ข่โดย สารเสรี น้อย
ทีส่ ดุ ดังจะเห็นได้ใน สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502 ทีร่ ายงานว่า

“ยกลูกสาวให้แทนค่ารักษาโรค เรียกค่ายกครูทุกครอบครัว” ข่าวการจับกุมนายศิลา


ได้แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็ว ปรากฏว่าประชาชนชาวราชสีมาจานวนมากตัง้ ตาคอยดู
หน้าของ “หัวหน้าผีบุญ” ด้วยความกระหาย ในตอนเช้าวันนี้ (ที่ 21) ทีห่ น้าสถานีตารวจภูธร
จัง หวัด นครราชสีม า ประชาชนได้พ ากัน ทะยอยกัน ไปชะเง้อ ดูตัง้ แต่ เ ช้า มืด เลยทีเ ดียว
จนกระทังสายคนยิ
่ ง่ มากขึน้ ทุกที จนสนามหน้าสถานีตารวจแน่ นขนัด ซึง่ ทุกคนคอย 22 ด้วย
ความหวังว่าจะได้ดู แต่ถูกตารวจกันไว้ห่า งๆ และแม้ว่าจะยังไม่ได้เห็นตัวประชาชนก็ยงั
ไม่ได้ละความพยายามคงพากันคอยเพื่อจะดูให้ได้ ต่อมาเวลาประมาณ 10.30 น. ของวันที่
21 เจ้าหน้าที่ได้เบิกตัวนายศิลา ออกจากห้องขังเพื่อไปทาการสอบสวน เมื่อนาตัวลงจาก
สถานีตารวจเพื่อไปยังกองกากับการ มีประชาชนทัง้ ชายหญิงและเด็กได้พากันเบียดเสียด
แย่งกันดูขนานใหญ่ และได้พากันเดินตามเปนพรวนเพื่อจะดูหน้าให้ชดั ๆ แม้ว่าจะได้บา้ ง
แล้วก็ยงั ไม่จุใจ

“พ่อตาแถลงเหตุ” ในการสอบถามหนึ่งในผูท้ ถ่ี ูกจับมา คือนายต้อง ผูเ้ ปนพ่อตาของนาย


ศิลา เราสังเกตได้ว่า นายต้องมีความเลื่อมใสลูกเขยคนนี้มากทีเดีย ว เขาได้เปิ ดเผยการ
ติดตามมาอยู่ทบ่ี า้ นใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี อาเภอโชคชัย ว่า เนื่องจากลูกสาวซึง่ ได้เสีย
กันเป็ นผู้ชกั ชวนมา โดยบอกว่าไปอยู่ด้วยกันแล้วจะให้ความสุขสบายเปนอย่างมาก และ

21 สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502, หน้า 3.


22 สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502, หน้า 1.

316
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การที่ลูกสาวคนสวยจะได้กบั นายศิลา ผู้ซ่งึ มีอายุเกือบจะ 50 ปี แล้วนัน้ นายต้อง กล่ าวว่า


เนื่องจากนางประกายแก้ว (หนูกาย) เป็ น โรคจิต เพ้อๆ คลังๆ ่ ต่างๆ นานา รักษาหมอมา
หลายแล้วก็ไม่หาย จนเงินทองก็ร่อยหรอไปหมด รักษาหมอผีกไ็ ม่หาย แทนทีจ่ ะหวาดกลัว
กลับฮึดสูเ้ สียอีก

“ให้ลูกแทนเงิ น” ต่อมาเมื่อประมาณเดือนกันยายนที่แล้วมานัน้ นายศิลาได้ผ่านบ้านไป


แล้วก็ทราบว่านางประกายแก้วเปนบ้ารักษาเท่าใดก็ไม่หาย จึงรับอาสารักษาให้ โดยการรด
น้ ามนต์และกินน้ ามนต์เท่านัน้ อาการของนางก็ดขี น้ึ ตามลาดับและหายขาดเมื่อประมาณ
ปลายปี ทแ่ี ล้ว นายศิลาได้กลับไปอีกครัง้ หนึ่งเพื่อขอค่ารักษา แต่ปรากฏว่าเงินค่ารักษาไม่ได้
เพราะนายต้องไม่มเี งินจะให้ นายศิลาจึงออกปากขอลูกสาวแทน ซึง่ นายต้องคิดว่าลูกสาว
นัน้ เมื่อเปนบ้าก็เหมือนคนทีต่ ายไปแล้ว เมื่อเขารักษาหายก็คดิ เสียว่าลูกได้ตายไปจึงได้ให้
มา และจากนัน้ ลูกสาวก็ชกั ชวนมาอยู่ดว้ ย

“เรียกค่ายกครู” เราได้ถามถึงว่าการที่มคี นมาอยู่ด้วยมากๆ นัน้ ใครเปนคนชักชวนมา


นายต้องตอบว่ามากันเอง ตอนแรกๆ ก็มาดูก่อนว่า เปนอาจารย์ผวู้ เิ ศษจริงหรือไม่ และเมื่อ
ได้มาเห็นมารู้ธรรมก็พากันอพยพครอบครัวมาและมาอยู่กนั อีกประการหนึ่งก็คือ การ
อพยพมานี้กเ็ พื่อจะหาทีท่ ามาหากินกันใหม่ เมื่อเห็นเปนที่ถูกใจก็มา นายต้องได้เปิ ดเผย
ต่อไปว่า การทีเ่ ข้ามาร่วมในหมู่คณะของนายศิลานี้ ทุกครัวเรือนจะต้องเสียเงินเปนค่ายกครู
ในการเรียนธรรมครัวละ 52 บาท

“ตอนตะลุมบอน” เราได้ถามต่อไปว่ามาอยู่ท่นี ่ีทามาหากินกันอย่างไรจึงอยู่กนั ได้ นาย


ต้ อ งว่ า ไปรับ จ้า งเขาบ้า ง แต่ ส่ ว นใหญ่ ก็ไ ม่ ค่ อ ยจะได้ท าอะไร นายศิล าเปนผู้ใ ห้ค วาม
ช่วยเหลือเมื่อใครหมดเงิน และในวันทีเ่ กิดเหตุนนั ้ นายต้องกล่าวว่านายอาเภอและผู้บงั คับ
กองได้ ไ ปตรวจค้ น บ้ า นและตรวจดู เ อกสารต่ า งๆ อย่ า งละเอีย ด ซึ่ง หนั ง สือ เหล่ า นั น้
ก็เปนหนังสือเรียนธรรมทัง้ สิน้ และเจ้าหน้าที่ได้พบปื นเถื่อน 1 กระบอก จึงทาการจับกุม
นายศิลาร้องว่า อยู่ทพ่ี บิ ูลก็ถูกจับเรื่องปื นมาทีน่ ่ีกถ็ ูกจับอีกครัง้ หนึ่งหรือ นายอาเภอจึงบอก
ให้ไปอาเภอด้วยกัน แต่นายศิลาไม่ยอมไปจึงคว้าข้อมือ นายศิลาสบัดหลุดนายอาเภอจับก็
สบัดหลุดอีก และในครัง้ นี้เองนายศิลาก็ได้รอ้ งเรียกให้คนช่วย ซึง่ ในขณะนัน้ มีพรรคพวกได้
เดินตามมาฟั งความกันอยู่ขา้ งล่างทีพ่ น้ื ดินบ้างและบนชานเรือนบ้างหลายสิบคน เมื่อนาย
ศิลาร้องให้ช่วยก็พากันเฮโลเข้ามาใช้มดี ไม้ฟาดกันอุดตลุดแทบไม่รวู้ ่าใครเปนใคร

“เหตุการณ์ ตอนหนี ” สาหรับการหลบหนี นัน้ เปนที่เปิ ดเผยจากปากค าผู้ต้องหาเปนที่


ต้องกันว่า เมื่อเจ้าหน้าทีเ่ ข้าล้อมและทาการจับกุมในวันเกิดเหตุนนั ้ คนเหล่านี้ได้พากันหลบ
ซ่อนอยู่ในป่ าสองสามวันและออกเดินต่อไปขึน้ รถไฟไปลงทีบ่ า้ นค้อ จวนจะถึงจังหวัดศรีสะ
เกษและลัดเลาะไปสู่แม่น้ ามูล แล้วซื้อเรือ 1 ลาลอยไปตามลาน้ ามูลเพื่อไปยังอาเภอพิบูล
มังษาหารบ้านเดิม รอนแรมไปทัง้ กลางวันและกลางคืน เช่นเมื่อเดินทางผ่านจังหวัดอุบลได้
ออกเดินทางในตอนกลางคืน ลอยเรือลอดสะพานไปโดยไม่มใี ครระแวงว่าผูร้ ้ายทีร่ าชการ
ต้องการตัว และแม้แต่ตารวจเองก็ไม่คดิ ว่าพวกนี้จะหาญเดินทางโดยทางเรือ และลาน้ ามูล

317
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นัน้ มีแต่แก่งหินอยู่หลายแห่งทีเดียว เมื่อนายศิลาพาพรรคพวกไปถึง อาเภอพิบูลมังสาหาร


ก็ไม่ได้แวะ เพราะรูต้ วั ว่าตารวจจะต้องไปคอยดักอยู่ทบ่ี า้ นนายต้อง จึงได้พากันขึน้ บกเดิน
ลัดเลาะไปในป่ า และทะลุเข้าเขตลาวเลยช่องเม็กไป และจากนัน้ ก็ไปถูกกักตัวอยู่ทด่ี ่านของ
เมือ งลาว และในขณะนั น้ ต ารวจไทยก็ไ ด้ไ ล่ ห ลัง ติด ๆ กัน ไป และไปติด ต่ อ รับ ตัว จาก
เจ้าหน้าทีต่ ารวจลาวทันทีในขณะทีก่ าลังมีการตรวจค้นบุคคลทัง้ หมดนี้อยู่23
อันทีจ่ ริงแล้ว นอกจากคาให้สมั ภาษณ์ของ นายต้อง พ่อตาของ ศิลา ข้างต้น สารเสรี ก็ได้รายงานคาให้
สัมภาษณ์นายสูญ ลูกชายของ ศิลา ด้วย แต่เนื่องจากนายสูญเล่าถึงแต่เพียงเหตุการณ์ตอนหลบหนีซง่ึ ให้ขอ้ มูลไม่
ต่างไปจากคาบอกเล่าของนายต้องนัก จึงจะไม่นามากล่าวถึงอีก ทีน้ีเรามาดู “เสียง” ของ ศิลา วงศ์สนิ บ้าง แต่ก็
ต้องขอยอมรับในเบือ้ งต้นว่า ขณะถูกจับขังไว้ในคุก ศิลา วงศ์สนิ แทบจะไม่พดู อะไรออกมาเลย สารเสรี ฉบับวันที่
22 มิถุนายน 2502 รายงานเพียงว่า “นายศิลาหัวหน้าผีบุญเป็ นคนร่างเล็กใส่เสือ้ ลาย สีดามีดอกขาว ส่วนเมียและ
พ่อตา แม่ยาย รวมทัง้ ลูกชาย ถูกใส่กุญแจมืออย่างแข็งแรง กาลังตารวจต้องนาตัวผูก้ ่อการร้ายทัง้ หมด ลาเลียงตัว
ส่งเข้าควบคุมตัวยังกองกากับการตารวจทันที ส่วนนายจันหรือศิลาไม่ยอมปริปากพูดอะไรทัง้ สิน้ ”24 ใน สารเสรี
ฉบับเดียวกัน ยังรายงานด้วยว่า “นาย ‘ผีบุญ’ ตัวการใหญ่ให้การรับสารภาพ คาให้การของนายศิลาสรุปได้ว่า ทา
การขัดขืนนายอาเภอและหัวหน้าสถานีตารวจซึง่ ไปทาการจับกุม แต่ ‘เล่นแง่’ กับกฎหมายอย่าง ‘จนตรอก’ ว่า ผู้
ทีม่ าอยู่กบั นายศิลาเป็ นลงมือกันเอง นายศิลาอ้างว่า พวกเหล่านัน้ ทาไปโดยพละการ”25
จนกระทังถึ่ งวันที่ 26 มิถุนายน 2502 สารเสรี ก็รายงานว่า “ทีก่ องปราบสามยอด นายศิลา “ผีบุญ” ในชุด
ดัง้ เดิมตัง้ แต่วนั จับกุมได้พนมมืออยู่ในห้องขังปากก็พมึ พาคล้ายๆ ท่องหรือบ่นคาถาอาคมของตนตลอดเวลา หน้า
ห้องขังเจ้าหน้าทีต่ ารวจสะพายปื นยืนคุมอยู่อย่างเข้มแข็ง ครัง้ เวลา 10.00 น. เศษ พล.ต.จ.ฉัตร หนุนภักดี ผูช้ ่วยผู้
บัญชาการตารวจนครบาลได้ลงมาตรวจดูความเรียบร้อยของทีค่ ุมขัง ปรากฏว่านายศิลาได้พูดอ้อนวอนขอร้องให้
พล.ต.จ.ฉัตร พาภรรยาของตนมาขังไว้กบั ตนด้วยทีน่ ่ี ขณะนัน้ เองเจ้าหน้าทีต่ ารวจผู้ดแู ลได้รายงานต่อพล.ต.อ.ฉัตร
ถึงเหตุการณ์เมื่อคืนว่า นายศิลาหรือ “ผีบุญ” ได้เพ้อพูดถึงนางประกายแก้ว ภรรยาของตนอยู่เรื่อยๆ”26 และจากนัน้
“ตัวผีบุญเองพอรูว้ ่านายกรัฐมนตรีมาเพื่อดูตวั ตนถึงกับนัง่ พนมมือบริกรรมในห้องขัง หน้าซีด บางครัง้ ก็ลุกขึน้ ยืน
พนมมือเดินไปรอบๆ ห้องขัง ปากก็พร่าบ่นคาถาอาคมอยู่ตลอดเวลา...จนกระทังเวลา ่ 12.40 น. ตารวจกองปราบ
ได้เข้ามาในห้องขังและแจ้งให้ผบี ุญทราบว่าจะต้องขึน้ ไปพบนายกรัฐมนตรี เท่านัน้ เอง ผีบุญ ซึ่งยืนพนมมืออยู่
ถึงกับซุดเข่าอ่อน สันไปทั่ ง้ ตัว เจ้าหน้าทีต่ อ้ งพยุงพาตัวออกมา”27
เป็ นทีน่ ่ าสนใจอย่างยิง่ ว่า แม้จะถึงขัน้ ทีจ่ อมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มาทาการสอบสวน ศิลา
วงศ์สนิ ด้วยตนเอง แต่ ศิลา วงศ์สนิ ซึง่ เห็นได้ชดั ตามข่าวว่ากลัวจอมพลสฤษดิอย่ ์ างมากก็ตาม ก็ยงั ไม่ยอมรับว่า
ตนเป็ นผูส้ งให้
ั ่ ชาวบ้านสังหารนายอาเภอและพวก ดังทีจ่ อมพลสฤษดิตอบนั ์ กข่าวไปว่า “นายศิลาไม่ยอมพูดอะไร
และไม่ยอมรับว่า การกระทาทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ตนเปนผูก้ ระทา นายกกล่าวว่า คนอย่างนี้ไม่ยอมรับหรอกดูท่าทางตลอด
คาพูดดูคล่องเหลือเกินและทีม่ าสอบสวนนี่ ก็มาสอบสวนตามระเบียบ”28

23 สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502, หน้า 17.


24 สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502, หน้า 1.
25 สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502, หน้า 17.
26 สารเสรี ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2502, หน้า 2.
27 สารเสรี ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2502, หน้า 3.
28 สารเสรี ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2502, หน้า 18.

318
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2502 สารเสรี ก็รายงานข่าวว่า “ในทีส่ ุด “ผีบุญ” ศิลา วงศ์สนิ ผูก้ ่อการร้ายที่
บ้านใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี อาเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จนเปนเหตุให้เจ้าหน้าทีต่ ายอย่างทารุณทีส่ ุด
ประวัตกิ ารณ์ ก็ต้องจบชีวติ ลงด้วยคาสังอั ่ นเฉียบขาดของจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ซึง่ ใช้ความศักดิ ์
ของมาตรา 17 เปนครัง้ แรก เพราะได้สอบสวนโดยละเอียดแล้วเห็นว่าเปน “โทษอุกฤษฏ์ทส่ี ุด” ทัง้ ครม. ก็ลงมติ
เปนเอกฉัน ท์แล้วด้วย การประหารได้เ ปนไปภายใต้ก ารควบคุมของอธิบดีกรมตารวจต่ อหน้ า ประชาชนชาว
นครราชสีมานับหมื่นๆ คนทีไ่ ปเฝ้ าคอยดูอยู่ตงั ้ แต่ตอนบ่าย ชีวติ ของ “ผีบุญ” จบลงด้วยกระสุนปื นกล 36 นัด เมื่อ
เวลา 17.30 น. ของวันวานนี้ท่ามกลางการสมน้าหน้าของผูร้ เู้ หตุการณ์อนั แท้จริง ประชาชนเคียดแค้นถึงขัน้ ตะโกน
ขอตัวไปลงประชาทัณฑ์”29 ทว่าก่อนทีเ่ ขาจะเดินเข้าสูห่ ลักประหารนัน้ ศิลา วงศ์สนิ กล่าวกับนักข่าว สารเสรี เพียง
สัน้ ๆ แต่ทว่าฟั งดูแผ่วเบาอ่อนล้า สิน้ หวัง และน่าเศร้ายิง่

“‘ผีบุญ’ เผยคาก่อนสิ้ นใจ” และในวันเดียวกันนี้เอง เวลา 12 น. เศษ “สารเสรี” ได้มโี อกาส


ซัก ถามนายศิลา “ผีบุ ญ ” ซึ่ง ถู ก ล่ ามอยู่ในห้องขัง เมื่อ ถู ก ถามว่า ได้พูด คุยกับท่า นนายก
อย่างไรบ้าง นายศิลาว่าคุยหลายเรื่องและหลายคนด้วยกัน แต่ ไม่ยอมเผยว่าคุยอะไร คน
ข่าวของเราถามว่า ถ้าหากถูกยิงเป้ าจะรู้สกึ อย่างไร นายศิลาว่า ตายๆ เสียก็ดจี ะได้หมด
เรื่อง และรูด้ วี ่าจะต้องตาย “จะทาอย่างไรก็เอาเถิด ข้าปลงตกแล้ว เปนห่วงอยู่แต่เมีย และ
คิดถึงเมียเหลือเกิน” นายศิลาว่า

คนข่าว; ตอนถูกคุมตัวมาทีโ่ คราชรูไ้ หมว่าตารวจจะเอาไปไหน

นายศิลา; ถามต ารวจว่ าเอาไปไหน ต ารวจก็บอกว่า ไปข้า งหน้ า ถามทีไรก็บอกว่า ไป


ข้างหน้า เลยไม่อยากถาม และนึกว่าจะตายตัง้ แต่วนั นัน้ แล้ว30

29 สารเสรี ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2502, หน้า 1-2.


30 สารเสรี ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2502, หน้า 17.

319
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

“ไปหำกินกันข้ำงหน้ำ ไปหำของทิพย์กินกัน”: อีสำนแล้งและชำวนำผู ้อพยพในยุ คต้นของกำรพัฒนำ


“ชวนชาวบ้านอพยพไปกิ นของทิ พย์” ณ ทีอ่ าเภอพิบลู มังสาหารนี่เอง นายศิลาได้ชกั ชวน
ชาวบ้านเข้าธรรม ซึ่งก็มคี นมาเข้าด้วยเปนจานวนมาก แม้แต่ภารโรงของโรงเรียนก็ได้มา
เข้าด้วย คือ นายมา โดยพากันมาเข้าธรรมทัง้ ครอบครัว เมื่อชาวบ้านมาเข้าธรรมกันมาก
แล้ว นายศิลาก็ชกั ชวนคนเหล่านัน้ อพยพ บอกว่าไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์กนิ
กัน ครัง้ แรกไปอยู่ทอ่ี าเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่แล้วก็พากันมาทีอ่ าเภอโชคชัย บ้าน
ใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี31
เป็ นความจริงทีว่ ่าเมื่อเราพยายามเงีย่ หูฟัง เราย่อมจะได้ยนิ เสียงเล็กๆ อันไร้อานาจทีถ่ ูกกดทับเอาไว้ดว้ ย
เสียงอื่นทีท่ รงอานาจมากกว่า “นายศิลาก็ชกั ชวนคนเหล่านัน้ อพยพ บอกว่าไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์
กินกัน ครัง้ แรกไปอยู่ท่อี าเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ แล้วก็พากันมาที่อาเภอโชคชัย บ้านใหม่ไทยเจริญ
ตาบลสารภี” ข้อความทีย่ กมาข้างต้น แม้จะเพียงสัน้ ๆ แต่กส็ ะท้อนความจริงทางประวัตศิ าสตร์บางอย่าง นัน่ ก็คอื
ความแห้งแล้งอย่างแสนสาหัสและการอพยพของชาวนาอีสานเพื่อไปหาทีท่ ท่ี ากินใหม่ทอ่ี ุดมสมบูรณ์มากกว่าทีท่ า
กินเก่าทีเ่ กิดขึน้ อย่างกว้างขวาง เป็ นปรากฏการณ์ทเ่ี สมือนว่าเป็ นปกติ เกิดขึน้ มานานแล้ว และยังคงเกิดขึน้ ในช่วง
ปลายทศวรรษ 2490 ต่อต้นทศวรรษ 2500 ซึง่ เป็ นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ศิลา วงศ์สนิ ตัดสินใจชักชวนชาวบ้าน
อพยพจากทีด่ นิ ทากินเดิมเพื่อ “ไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์กนิ กัน ” หนังสือพิมพ์ สารเสรี แม้จะเต็มเปี่ ยม
ไปด้วยสายตาทีด่ ถู ูกเหยียดหยาม ศิลา วงศ์สนิ และผูต้ ดิ ตามเขา แต่กส็ ะท้อนภาพความแห้งแล้งกันดารของชนบท
อีสานและภาวะไร้ทพ่ี ง่ึ ของชาวนาอีสานผูย้ ากจนในช่วงเวลานัน้ ได้ค่อนข้างชัดเจน

เนื่องจากชาวบ้านพากันเลื่อมใสมากขึน้ นายจัน ศิลา ก็วางแผนการณ์ตม้ อย่างมโหฬารโดย


อาศัย ความงมงายของชาวบ้า นประกอบกับ ความแห้ง แล้ง ของดิน ฟ้ า อากาศที่นั น้ เป็ น
เครื่องมือ โดยนายจัน ศิลา ได้ประกอบพิธกี รรมขึน้ อย่างใหญ่โตแล้วประกาศกับชาวบ้านว่า
ที่น้ีแห้งแล้งมากขึน้ อยู่กม็ หี วังอดตาย จากพิธกี รรมที่เขาประกอบขึน้ นี้ เปนเหตุให้เขารูว้ ่า
ขณะนี้พระศรีอาริยไ์ ด้มาโปรดสัตว์อยู่ทแ่ี ห่งหนึ่งแล้ว ดังนัน้ ขอให้ชาวบ้านจงอพยพไปกับ
เขาเถิดเขาจะนาไปพบพระศรีอาริยเ์ อง32
เพราะเหตุใด เมื่อเผชิญกับความแห้งแล้งอดอยาก แทนที่ชาวนาอีสานเหล่านี้จะหันไปพึง่ พารัฐบาลใน
สมัยนัน้ ให้มาช่วยเหลือ แต่กลับตัดสินใจหันไปพึง่ พาและให้ความเชื่อมันต่่ อ “พระศรีอาริย์” แทน คาตอบง่ายๆ ก็
คือ รัฐบาล “มิไ ด้เ หลีย วแล” ใส่ใ จที่จ ะแก้ปัญ หาภัยแล้งให้ก ับ ประชาชนชาวอีสานอย่ า งจริงจังต่ า งหาก ดัง ที่
สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรภาคอีสานคนหนึ่งกล่าวขึน้ ในสภาผูแ้ ทนราษฎรเมื่อกลางปี 2500 ว่า

ข้อเท็จจริงแล้วในปี น้ี [พ.ศ.2500] ฝนแล้งมาก ยังทานาไม่ได้ แม้น้ าจะดื่มก็แทบไม่มี คน


อดหยากเทีย่ วขอทาน และขายตัว กินกันแล้ว เมื่อได้ยนิ คนขนาดรัฐมนตรีและ ส.ส. พูดไม่
ตรงข้อเท็จจริงก็เศร้าใจมาก ความอดหยากไม่ใช่ของธรรมดา แต่เป็ นเหตุรา้ ยแรงยิง่ ซึง่ ชาว
สุรนิ ทร์และอีสานเดือดร้อยอยู่...อีสานอด หยากมานานแล้วรัฐบาลมิได้เหลียวแลเลย ยิง่ ปี น้ี
แห้งแล้งอดหยากหนักขึน้ อีก คนอีสานนัน้ มิใช่จะกินแมลงอย่างทีจ่ อมพลผินว่าเลย ผูจ้ ะกิน

31 สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502, หน้า 3.


32 สารเสรี ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2502 อ้างจาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558. หน้า 156.

320
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แมลงก็เฉพาะเด็กเท่านัน้ เก็บมาเผากินเล่นๆ แต่เมื่อบัดนี้อสี านอดอยากจริงๆ ไม่มจี ะกิน ก็


จาต้องลองเก็บตัวแมลง อาทิ ตักแตน
๊ จิง้ หรีด มาคัวมาเผากิ
่ นพอบันเทาได้เท่านัน้ 33
เป็ นความจริงทีว่ ่า คาปราศรัยข้างต้น คือปฏิกริ ยิ าตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาทีส่ มาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร
อีสานมีต่อคาให้สมั ภาษณ์ของ จอมพลผิน ชุณหะวัณ ทีว่ ่า “อีสานไม่อดหยาก การทีช่ าวอีสานกินแมลงนัน้ เป็ นของ
ธรรมดาของชาวอีสาน”34 ซึง่ ก็ยงิ่ ช่วยยืนยันหนักแน่ นเข้าไปอีกว่ารัฐบาลในสมัยนัน้ ไม่ได้สนใจปั ญหาภัยแล้งของ
ชาวนาอีสานจริงๆ และเมื่อชาวนาอีสานไม่สามารถพึง่ พาความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตัวเองได้ ก็ไม่แปลกอะไร
ทีพ่ วกเขาจะต้องหาทางแก้ปัญหากันเอาเอง ซึง่ หนึ่งในนัน้ ก็คอื การหันไปพึง่ พาสิง่ ศักดิสิ์ ทธิและพลั
์ งเหนือธรรมชาติ
ต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลานัน้ การทีป่ ระชาชนชาวอีสานทีป่ ระสบภัยแล้งแล้วแก้ไขปั ญหาด้วยการหันไปขอ
ความช่วยเหลือสิง่ ศักดิสิ์ ทธิ ์ ถือเป็ นปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ แทบจะเป็ นปกติและเกิดขึน้ ทัวไปในหลายพื
่ น้ ทีข่ องภาค
อีสาน ดังที่ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไท ได้รายงานข่าวเอาไว้เมื่อกลางปี 2500 ว่า

ในจัง หวัด อุ บ ลฯ ทัว่ ไปจะเห็น ได้ว่ า ชาวบ้ า นต้ อ งพึ่ง สิ่ง ศัก ดิส์ ิท ธิ ์ เมื่อ หัน หน้ า เข้า พึ่ง
ผู้ปกครองบ้านเมืองไม่ได้จงึ ได้เข้าพึ่งเทพยดาฟ้ าดิน ต่างบนบานศาลกล่าวทาบุญก่อพระ
เจดียท์ รายขอฝน...หญิงจานวนมากต้องหนีเข้าเมืองขายตัวเลีย้ งครอบครัวเพราะข้าวในยุง้
ซึง่ มีไว้สาหรับกินต้องเอาไปทาพันธุห์ มด เรื่องการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ กครองนัน้ ยาก
...ชาวบ้านทีท่ านาต่างร้องว้าแย่อดหยากยากแค้นตามๆ กันไป ได้รบั คาบอกเล่าโดยทัวไป ่
ว่า แม้แต่ตกแตน
ั๊ กบ เขียด หรือ แมลงอื่นๆ ที่เคยมีกนิ กันตายกัน ก็พลอยหากินยากไป
ด้วย เพราะสัตว์จาพวกนี้อาศัยกล้าเป็ นอาหาร เมื่อนาไม่มขี า้ วมันก็ไม่ยอมอยู่35
เมื่อที่ทากินเดิมแห้งแล้งอดหยาก แม้แต่แมลงต่างๆ “ที่เคยมีกนิ กันตายกัน ก็พลอยหากินยากไปด้วย”
นอกจากชาวนาอีสานจะต้องหันไป “พึ่งสิง่ ศักดิสิ์ ทธิ”์ เพราะพวกเขา “เข้าพึ่งผู้ปกครองบ้านเมืองไม่ได้” แล้วนัน้
การตัดสินเลือกทีจ่ ะพาอพยพโยกย้ายถิน่ ฐานเพื่อไปหาทีท่ ากินแห่งใหม่ทอ่ี ุดมสมบูรณ์กว่าเดิม หรือเป็ นแหล่งทีม่ ี
งานให้พวกเขาทาเพื่อแลกกับเงินหรืออาหารเลี้ยงชีพมากกว่าเดิม จึงเป็ นอีกหนทางหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า การ
อพยพโยกย้ายถิ่นฐานของชาวนาอีสานเพื่อไปหาที่อยู่ใหม่นัน้ เป็ นปรากฏการณ์ ท่เี กิดขึ้นทัวไปในช่
่ วงปลาย
ทศวรรษ 2490 ต่อต้นทศวรรษ 2500 โดยการอพยพนัน้ จะเป็ นแบบ “กองคาราวาน” คืออพยพไปพร้อมกันหลาย
ครัวเรือน กองคาราวานหนึ่งมีคนไม่ต่ากว่าหนึ่งร้อยคน ดังที่ พิมพ์ไท รายงานข่าวว่า

นายเพิม่ จุราศรี หัวหน้ากองคาราวานต้อนควายเล่าว่า พวกเขามาจากร้อยเอ็ด ทีร่ อ้ ยเอ็ด


แห้ง แล้ง จึง ต้ อ งต้อ นควายมาขายกรุ ง เทพฯ ทัง้ หมดมาด้ว ยกัน 500 คน มีเ งิน ใช้จ่ า ย
ประมาณพันบาทและได้เดินทางด้วยเท้ารอนแรมมาถึงสระบุรเี ปนเวลา 41 วันแล้ว ‘ถ้าขาย
ควายได้อาจจะหางานทาทีก่ รุงเทพฯเลย เพราะกลับไปก็ไม่รจู้ ะว่าไปทาอะไรกิน ’...นายสุข
ไรสุข หัว หน้ ากองคาราวานอีสาน [อีก กลุ่ ม หนึ่ ง ] เล่ า ว่ า พวกเขามาจากจังหวัดสุรินทร์
สุรนิ ทร์แห้งแล้งมา 3 ปี แล้ว บังเอิญได้มคี นมาว่าจ้างให้เขาไปทางานตัดไม้ทช่ี ยั ภูมิ พวกเขา

33 พิมพ์ไท. วันที่ 15 สิงหาคม 2500. เรือ่ ง “ส.ส.ใครป๋ าผิน ลิม้ รสจิง้ หรีด.” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ก/ป7/2500. เรือ่ ง “กรณีชาวอีสานอดหยาก.” อ้าง
จาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” หน้า 158.
34 ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม ้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” หน้า 158.
35 พิมพ์ไท. วันที่ 26 สิงหาคม 2500. เรือ
่ ง “ไปสมัครกรรมกรเปนแถว บ้านแตกสาแหรกขาดวุน่ ” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ก/ป7/2500. เรือ่ ง “กรณีชาว
อีสานอดหยาก.” อ้างจาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” หน้า 159.

321
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

จึงเดินทางมา ‘ผมจะไปทุกแห่งทีม่ งี านทา ถ้าขืนอยู่สุรนิ ทร์เราก็แย่ ลูกเมียจะพลอยอดตาย


ไปหมด’36
มาถึงตรงนี้ คงมองเห็นอะไรได้กว้างขึน้ แล้วว่า ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ต่อต้นทศวรรษ 2500 นัน้
ภาคอีสานเกิดภัยแล้งขัน้ รุนแรง แต่รฐั บาลสมัยนัน้ นอกจากจะพึง่ ไม่ได้และไม่เข้าใจปั ญหาแล้ว ยังไม่สนใจทีจ่ ะให้
ความช่วยเหลือต่อประชาชนชาวอีสานอย่างจริงจังอีกด้วย ผลก็คอื ชาวนาอีสานต้องหาทางหลุดพ้นจากปั ญหานี้
ด้วยตนเองโดยการหันไป “พึง่ สิง่ ศักดิสิ์ ทธิ”์ หรือไม่กพ็ ากันอพยพโยกย้ายไปหางานทาและไปหาทีท่ ากินแห่งใหม่
ปรากฏการณ์น้เี ป็ นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างกว้างขวางในช่วงเวลานัน้ ไม่เว้นแม้แต่กรณีของชาวนาอีสานในอาเภอพิบลู มัง
สาหารทีต่ ดั สินใจอพยพโยกย้ายถิน่ ฐานเพื่อ “ไปหากินกันข้างหน้า ไปหาของทิพย์กนิ กัน” ตามคาชักชวนของ ศิลา
วงศ์สนิ แตกต่างกันก็แต่ ศิลา วงศ์สนิ ผู้นาของพวกเขาไม่ได้เป็ นเพียง “หัวหน้ากองคาราวาน” เท่านัน้ แต่ยงั มี
ฐานะเป็ น “ผู้วิเศษ” ที่สามารถติดต่ อสื่อสารและสามารถนาพาพวกเขาไปพบกับ “พระศรีอาริย์” ได้ด้วย (ตาม
รายงานข่าวของ สารเสรี) “เขารูว้ ่าขณะนี้พระศรีอาริยไ์ ด้มาโปรดสัตว์อยู่ทแ่ี ห่งหนึ่งแล้ว ดังนัน้ ขอให้ชาวบ้านจง
อพยพไปกับเขาเถิด เขาจะนาไปพบพระศรีอาริยเ์ อง”37

พุ ทธศำสนำแบบชำวบ้ำน, หมอธรรมเถื่อน และผู ้มีบุญภำยใต้ระบอบเผด็จกำรทหำร


กลับไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า ศิลา วงศ์สนิ เคย “มีอาชีพเป็ นหมอลา ต่อมาศึกษาวิชาทางด้านไสยศาสตร์
เรียนธรรมรักษาคนบ้า เรียนวิชาไล่ผหี รือหมอผี เมื่อเรียนจบแล้วก็ได้นาวิชาความรูท้ ไ่ี ด้มานัน้ ออกไปหากินในทาง
รักษาคนเปนบ้าตามจังหวัดต่างๆ”38 รวมถึงข้อเท็จจริงทีว่ ่า ศิลา วงศ์สนิ “ได้ออกไปสอนธรรมตามจังหวัดต่างๆ ผู้
ทีเ่ ข้าเรียนธรรมจะต้องเสียผ้าขาวยาว 3 เมตร และเงิน 52 บาทบ้าง 44 บาทบ้าง วิธที ข่ี น้ึ ธรรมก็คอื ให้พนมมือและ
ว่าพุทโธ ธัมโม ในขณะเดียวกัน นายศิลาก็สวดมนต์ไปด้วย”39 และข้อเท็จจริงจากคาให้สมั ภาษณ์ของ นายต้อง ผู้
เป็ นพ่อตาของ ศิลา วงศ์สนิ ทีเ่ ปิ ดเผยถึงการติดตามไปอยู่ทบ่ี า้ นใหม่ไทยเจริญ ตาบลสารภี อาเภอโชคชัย ของเขา
ว่า “เนื่องจากลูกสาวซึง่ ได้เสียกันเป็ นผูช้ กั ชวนมา โดยบอกว่าไปอยู่ดว้ ยกันแล้วจะให้ความสุขสบายเปน อย่างมาก
และการที่ลูกสาวคนสวยจะได้กบั นายศิลา ผู้ซ่งึ มีอายุเกือบจะ 50 ปี แล้วนัน้ นายต้อง กล่าวว่า เนื่องจากนาง
ประกายแก้ว (หนูกาย) เป็ น โรคจิต เพ้อๆ คลังๆ ่ ต่างๆ นานา รักษาหมอมาหลายแล้วก็ไม่หาย จนเงินทองก็ร่อย
หรอไปหมด รักษาหมอผีกไ็ ม่หาย แทนทีจ่ ะหวาดกลัวกลับฮึดสูเ้ สียอีก...ต่อมาเมื่อประมาณเดือนกันยายนทีแ่ ล้วมา
นัน้ นายศิลาได้ผ่านบ้านไปแล้วก็ทราบว่านางประกายแก้วเปนบ้ารักษาเท่าใดก็ไม่หาย จึงรับอาสารักษาให้ โดย
การรดน้ามนต์และกินน้ามนต์เท่านัน้ อาการของนางก็ดขี น้ึ ตามลาดับและหายขาดเมื่อประมาณปลายปี ทแ่ี ล้ว นาย
ศิลาได้กลับไปอีกครัง้ หนึ่งเพื่อขอค่ารักษา แต่ปรากฏว่าเงินค่ารักษาไม่ได้ เพราะนายต้องไม่มเี งินจะให้ นายศิลาจึง
ออกปากขอลูกสาวแทน ซึง่ นายต้องคิดว่าลูกสาวนัน้ เมื่อเปนบ้าก็เหมือนคนทีต่ ายไปแล้ว เมื่อเขารักษาหายก็คดิ
เสียว่าลูกได้ตายไปจึงได้ให้มา และจากนัน้ ลูกสาวก็ชกั ชวนมาอยู่ดว้ ย”40

36 ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” หน้า 160.


37 สารเสรี ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2502 อ้างจาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558. หน้า 156.
38 ข้อมูลส่วนนี้ผเู้ ขียนได้เพิม
่ เติมมาจาก สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502. “เผยประวัตติ วั เองสิน้ เคยเปนผีปอบ-หัวหน้าลิเก เมียสาวแฉคาเท็จ ‘ผี
บุญ’ ผัว.” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ก/ป7/2502/บ 13.4. เรือ่ ง “จลาจลผีบุญ.” อ้างจาก ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผูม้ บี ุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-
2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558. หน้า 153.
39 สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502, หน้า 3.
40 สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502, หน้า 17.

322
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากข้อเท็จจริงข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า การแสดงออกของ ศิลา วงศ์สนิ ในหลายประการมี ลกั ษณะ


คล้ายคลึงกับ “หมอธรรม” ทีม่ อี ยู่ทวไปในชนบทอี
ั่ สาน ดังที่ ยูคิโอะ ฮายาชิ อธิบายว่า งานศึกษาต่างๆ ทีบ่ นั ทึก
ข้อมูลเกีย่ วกับขนบธรรมเนียมประเพณีพน้ื บ้านในภาคอีสานอธิบายว่า “หมอธรรม” หมายถึง ฆราวาสทีเ่ คยบวช
เป็ นพระมาก่อน ซึง่ ได้ศกึ ษา “ธรรมรักษาคน” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง “หมอธรรม” เป็ นผูช้ ายทีม่ คี วามเชีย่ วชาญใน
พิธกี รรม ซึ่งเป็ นผู้รอบรู้ท่จี ะใช้ธรรมะในการขับไล่ผชี วร้ั ่ ายที่เป็ นสาเหตุของความเจ็บป่ วยและเคราะห์ร้าย งาน
ศึกษาในอดีตทีเ่ กีย่ วข้องกับหมู่บา้ นชาวไทย-ลาว เช่น งานศึกษาของ Stanley J. Tambiah เรื่อง Buddhism and
the spirit Cults in North-east Thailand (1970) ได้อา้ งอิงถึง “หมอธรรม” ในลักษณะทีเ่ ป็ น “หมอผี” หรือ “ผูร้ กั ษา
โรคด้วยความเชื่อทางศาสนา” งานศึกษาแต่ละเรื่องเน้ นการศึกษา “หมอธรรม” ในลักษณะที่เป็ นผู้รกั ษาความ
เจ็บป่ วยหรือเคราะห์รา้ ยทีม่ สี าเหตุมาจากการกระทาของผีชวร้ ั ่ าย “หมอธรรม” มีลกั ษณะเป็ นส่วนหนึ่งหมอผีหรือ
ร่างทรง ซึง่ เป็ นคนกลุ่มน้อยเพียงไม่กค่ี นทีม่ คี วามรูแ้ ละอานาจลึกลับเฉพาะนี้ ขณะที่ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อธิบาย
ว่า “หมอธรรม” บางคนมีบทบาทในการเผยแพร่พุทธศาสนาและประกอบพิธกี รรมต่างๆ แทนพระสงฆ์ ถูกถือว่า
เป็ นปราชญ์ชาวบ้านทีศ่ กึ ษาธรรมะและปฏิบตั วิ ปิ ั สสนากรรมฐาน แต่ไม่ได้เป็ นพระสงฆ์ ดังนัน้ ภาพลักษณ์ของ
“หมอธรรม” จึงไม่เพียงเป็ นหมอผีขบั ไล่วญ ิ ญาณชัวร้ ่ ายเท่านัน้ แต่ยงั เป็ นบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับความเชื่อทางพุทธ
ศาสนาของหมู่บา้ นและให้การสนับสนุนความรูท้ างศาสนาอีกด้วย41
ในหนังสือของเขา โดยเฉพาะหัวข้อทีว่ ่าด้วย “หมอธรรมในฐานะของผูป้ ฏิบตั ทิ างพุทธศาสนา” ยูคิโอะ ฮา
ยาชิ เริม่ ต้นคาอธิบายในหัวข้อนัน้ ด้วยการกล่าวถึงคาบอกเล่าเกีย่ วกับการปะทะกันระหว่าง “หมอธรรม” กับ “ผี
ท้องถิน่ อีสาน” ในช่วงปี 2480 ของ ปรีชา พิณทอง นักวิชาการท้องถิน่ ทีอ่ าศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี และเป็ นผู้
ทีใ่ ห้ความสาคัญกับการศึกษาตานานพืน้ บ้านในภาคอีสานและชาติพนั ธุล์ าว ทีว่ ่า

เรื่อ งผีค นสมัย ใหม่ ไ ม่ เ ชื่อ คนที่ห ากิน ในทางไล่ ผี คนสมัย ใหม่ ต าหนิ ว่ า เป็ น คนโกหก
หลอกลวง หากิน ทางผิด กฎหมาย ถึง กับ ต้อ งถู ก จองจ าท าโทษ เรื่อ งมีว่ า เมื่อ ปี 2480
นายอาเภอซึง่ เป็ นคนภาคกลาง ย้ายมาเป็ นนายอาเภออยู่ภาคอีสาน เผอิญผีปอบเข้าคนซึง่
อยู่ใกล้บา้ นนายอาเภอ เขาเอาหมอธรรมมาขับไล่ปอบ หมอธรรมถูกนายอาเภอลงโทษทา
ทัณ ฑ์บ น (คาดโทษ) ไว้ ถ้ า ท าอีก จะได้ร ับ โทษทางกฎหมาย ต่ อ มา ปอบเข้า ลู ก สาว
นายอาเภอ ชาวบ้านสงสัยว่านางจะถูกปอบกินจึงขอร้องให้นายอาเภอเรียกหมอธรรมมา
รักษา หมอธรรมไม่กล้ามาเพราะกลัวจะถูกลงโทษ นายอาเภอต้องไปเชิญหมอธรรมเองและ
กราบลงที่เท้าหมอธรรมพร้อมทัง้ ให้สญ ั ญาว่าจะไม่จบั กุมคุมขัง หมอธรรมจึงมารักษาโดย
ขับไล่ปอบ ลูกสาวนายอาเภอจึงไม่ถงึ แก่ความตาย42
หลังจากกล่าวถึงเรื่องเล่าข้างต้นแล้ว ยูคิโอะ ฮายาชิ ก็ให้คาอธิบายทีเ่ ป็ นของเขาเองว่า หมอธรรมใน
สังคมไทย-ลาวของภาคอีสานนัน้ ในด้านศาสนาถือเป็ นผู้รกั ษา และในทางสังคมถือเป็ นผู้ปกป้ องคุม้ ครอง หมอ
ธรรมในฐานะเป็ นผูร้ กั ษาเป็ นการใช้พลังอานาจทีเ่ ป็ นรูปธรรมจากพระธรรมคาสังสอนของพระพุ
่ ทธเจ้าผ่านทางร่าง
ของหมอธรรมและการติดต่อกับวิญญาณ ในฐานะเป็ นผูป้ กป้ องคุม้ ครอง หมอธรรมสร้างความชอบธรรมในการใช้

41 ยูคโิ อะ ฮายาชิ (เขียน) พินิจ ลาภธนานนท์ (แปลและเรียบเรียง). พุทธศาสนาเชิงปฏิบตั ขิ องคนไทยอีสาน: ศาสนาในความเป็ นภูมภิ าค. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554. หน้า 232-234.
42 ยูคโิ อะ ฮายาชิ (เขียน) พินิจ ลาภธนานนท์ (แปลและเรียบเรียง). พุทธศาสนาเชิงปฏิบต ั ขิ องคนไทยอีสาน: ศาสนาในความเป็ นภูมภิ าค. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554. หน้า 343.

323
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พลังอานาจนี้ผ่านแบบแผนการใช้ชวี ติ บนพืน้ ฐานการใช้อุดมการณ์พลังอานาจเพื่อดูแลวิถชี วี ติ ประจาวันของผูค้ น


ผ่านโครงสร้างความสัมพันธ์ตามลาดับชัน้ และการแสดงออกตามบทบาทในเชิงอุดมคติตามเพศสถานะ นอกจากนี้
ยังใช้สญ ั ลักษณ์ทางพุทธศาสนาทีจ่ ะสร้างความชอบธรรมในการใช้พลังอานาจในการคุ้มครองรักษา ผ่านวิถกี าร
ปฏิบตั ทิ เ่ี คร่งครัดในการรักษาศีลและการนัง่ วิปัสสนากรรมฐาน โดยได้แสดงให้เห็นในพิธกี รรมเพื่อเป็ นแบบอย่าง
แก่ฆารวาส ในหมู่บา้ น D ซึง่ ผีรกั ษาทีเ่ ป็ นส่วนหนึ่งในโลกแห่งวิญญาณได้ถูกขับไล่ไปนัน้ บทบาทของหมอธรรม
เป็ นตัวแทนของพุทธศาสนิกชนที่น่าเลื่อมใสศรัทธา และในขณะเดียวกันก็เป็ นแบบอย่างของผู้ชายที่ได้รบั การ
ยอมรับทางสังคม สิง่ นี้เป็ นผลมาจากการจัดระเบียบแบบแผนของพุทธศาสนาชาวบ้าน ซึง่ เป็ นทีม่ าของวิถปี ฏิบตั ิ
ทางพุทธศาสนารูปแบบหนึ่งในระดับปั จเจกบุคคล43
จากการอภิปรายเกี่ยวกับ “หมอธรรม” ข้างต้น จะเห็นว่า วิถีปฏิบตั ิของ ศิลา วงศ์สนิ ในหลายประการ
คล้ายคลึงกับวิถปี ฏิบตั ขิ อง “หมอธรรม” อยู่ไม่น้อย แม้เราจะไม่ทราบแน่ ชดั ว่า ศิลา เคยผ่านการบวชมาหรือไม่ก็
ตาม แต่เราก็ได้รกู้ นั แล้วว่า เขา “เคยมีอาชีพเป็ นหมอลา ต่อมาศึกษาวิชาทางด้านไสยศาสตร์ เรียนธรรมรักษาคน
บ้า เรียนวิชาไล่ผหี รือหมอผี เมื่อเรียนจบแล้วก็ได้นาวิชาความรูท้ ไ่ี ด้มานัน้ ออกไปหากินในทางรักษาคนเปนบ้าตาม
จังหวัดต่างๆ” ซึง่ เป็ นความสามารถที่ “หมอธรรม” ทัวไปก็่ มี แตกต่างก็เพียงแต่ว่า ศิลา ไม่ได้เป็ น “หมอธรรม” ที่
อาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บา้ นทีผ่ ่านการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐ มีชาวบ้านภายในหมู่บา้ นให้การ
ยอมรับนับถือแบบเดียวกับที่ “หมอธรรม” ทัวๆ ่ ไปมี เนื่องจาก ศิลา วงศ์สนิ เดินทางย้ายทีอ่ ยู่ไ ปเรื่อยๆ สิง่ นี้เองที่
ทาให้ ศิลา วงศ์สนิ กลายเป็ น “หมอธรรมเถื่อน” เพราะไม่มสี งิ่ ใดรับรองความชอบธรรมของการเป็ น “หมอธรรม”
ของเขาได้นอกจากความสามารถทีม่ เี หมือนๆ กันกับที่ “หมอธรรม” คนอื่นๆ มี ไม่เพียงเท่านัน้ ศิลา ยังพาชาวบ้าน
ผู้ติดตามอพยพจากที่หมู่บ้านเดิมไปตัง้ ชุมชนหมู่บ้านของตนเองขึน้ ใหม่ในที่ดนิ ของหมู่บ้านอื่นโดยไม่ยอมแจ้ง
เจ้าหน้าทีร่ ฐั และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายของรัฐอีกด้วย นอกจากนี้ ศิลา วงศ์สนิ ยังได้ยกระดับตัวเอง
จากการเป็ น “หมอธรรมเถื่อน” ขึน้ ไปเป็ น “ผูว้ เิ ศษ” หรือ “ผูม้ บี ุญ” ทีม่ ชี าวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาและอพยพ
มาอยู่ในชุมชนด้วยอีกหลายคน เพราะเขาอ้างว่าเขามีญานวิเศษสามารถติดต่อกับพระศรีอาริยไ์ ด้ อ้างว่าจะพา
ชาวบ้านอพยพไปกิน “ของทิพย์” และเขาสามารถทีพ่ าชาวบ้านเดินทางไปพบกับพระศรีอาริยผ์ ทู้ ส่ี ามารถช่วยปลด
เปลือ้ งชาวบ้านออกจากความทุกข์ยากแสนเข็ญทีเ่ ป็ นอยู่ได้
หากมองในแง่น้กี จ็ ะเห็นว่า ทัง้ ในฐานะ “หมอธรรม” และ “ผูม้ บี ุญ” ศิลา วงศ์สนิ ก็ไม่น่าทีจ่ ะมีความผิดใดๆ
ในทางกฎหมาย ความผิดพลาดสาคัญของ ศิลา วงศ์สนิ ถ้าหากจะมีกค็ งเกิดจากการทีเ่ ขาพาชาวบ้านจานวนมาก
อพยพเข้าไปตัง้ ชุมชนหมู่บา้ นขึน้ ใหม่ในเขตทีด่ นิ ของบ้านใหม่ไทยเจริญโดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าหน้าทีร่ ฐั เสียก่อน
แต่ท่สี าคัญมากๆ ก็คอื การที่ ศิลา วงศ์สนิ ขัดขืนการจับกุมของนายอาเภอและพวก และเป็ นต้นเหตุให้บรรดา
สานุ ศิษย์เข้ารุมทาร้ายนายอาเภอและพวกจนตายไปถึง 5 ศพ ความโชคร้ายใหญ่หลวงของ ศิลา วงศ์สนิ อีก
ประการหนึ่งก็คอื เขากระทาสิง่ เหล่านัน้ ลงไปในยุคสมัยทีจ่ อมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ เป็ นนายกรัฐมนตรี ซึง่ เป็ นยุค
สมัยทีร่ ฐั บาลวิตกกังวลเกีย่ วกับการก่อการร้ายของคอมมิวนิสต์เป็ นอย่างมาก เป็ นยุคสมัยทีร่ ฐั บาลหวาดกลัวว่าจะ
มีกลุ่มคนผูไ้ ม่หวังดีมากระทาการบ่อนทาลายความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังภ์” และ “ก่อกวนความ
สงบภายในประเทศ” มากกว่ายุคสมัยใดๆ ดังที่ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ แถลงข่าวต่อประชาชนในวันที่เขาได้ใช้
อานาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร สังประหารชี ่ วติ ศิลา วงศ์สนิ ในยามค่าของวันที่
26 มิถุนายน 2502 ว่า “ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้ารัฐบาลขอประกาศยืนยันให้ทราบทัวกั ่ นว่า รัฐบาลจะ

43 ยูคโิ อะ ฮายาชิ (เขียน) พินิจ ลาภธนานนท์ (แปลและเรียบเรียง). พุทธศาสนาเชิงปฏิบตั ขิ องคนไทยอีสาน: ศาสนาในความเป็ นภูมภิ าค. หน้า 343.

324
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กระทาทุกวิถที างเพื่อความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังภ์และการกระทาใดๆ อันจะเปนการบ่อนทาลาย
ก่อกวน หรือคุกคามความสงบไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักรก็ตาม รัฐบาลนี้จะได้
ดาเนินการปราบปรามอย่างเด็ดขาดและทันที”44

ความโชคร้ายของ ศิลา วงศ์สนิ อีกประการหนึ่งก็คอื นับตัง้ แต่จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ยึดอานาจจากจอม


พลถนอม กิต ติข จร ในวัน ที่ 20 ตุ ลาคม 2501 พร้อ มกับ ยกเลิก รัฐธรรมนู ญ , ยกเลิก พรรคการเมือ ง, ยุ บ สภา
ผู้แทนราษฎร, ประกาศใช้กฏอัยการศึก, ประกาศใช้ธรรมนู ญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ใน
วันที่ 28 มกราคม 2502 และจัดตัง้ รัฐบาลชุดจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ขึน้ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ศิลา วงศ์สนิ
นับว่าเป็ นคนแรกในประวัตศิ าสตร์ไทยทีถ่ ูกจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ สังประหารชี
่ วติ โดยใช้อานาจตามมาตรา 17
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ด้วยข้อหาทีห่ นักหน่ วงใหญ่หลวงยิง่ นัน่ คือ “ซ่องสุมผูค้ นกระทาการอัน
เป็ นการบ่อนทาลายความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังก์ ได้ทาร้ายเจ้าพนักงานถึงแก่ความตาย 5 คน”
ดังจะเห็นได้จากมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2502 ความว่า
บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี
ครัง้ ที่ 25/2502
วันจันทร์ท่ี 22 มิถุนายน 2502
วันนี้ (22 มิถุนายน 2502) มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็ นพิเศษ ณ ทาเนียบรัฐบาล
(โดยทีว่ นั ประชุมคณะรัฐมนตรี ตามปกติตรงกับวันพุธที่ 24 มิถุนายน 2502 เป็ นวันชาติและ
หยุดราชการท่านนายกรัฐมนตรีจงึ ได้มคี าสังให้ ่ เลื่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีมาเป็ นวันนี้ )
จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็ นประธานเริม่ ประชุมเวลา 9.45 น. เลิกประชุม
เวลา 14.20 น.

44 สารเสรี ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2502, หน้า 3. นอกเหนือจากตัวหนังสือสีดาทีถ่ ูกใส่เพิม่ เข้าไปเองโดยกองบรรณาธิการ สารเสรี คือคาแถลงข่าวฉบับ
เต็มของ จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์

325
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

คณะรัฐมนตรีได้พจิ ารณาเรื่องต่างๆ ดัง ต่อไปนี้ -

22.เรื่องทีท่ ่านนายกรัฐมนตรีแจ้งต่อทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรี [ขีดฆ่าคาว่าแจ้ง และเขียนคาว่า


เสนอแทน]

4) นายศิลา วงศ์สนิ หัวหน้ากบฏผีบุญ

ท่านนายกรัฐมนตรีเสนอว่า นายศิลา วงศ์สนิ ได้ซ่องสุมผูค้ นกระทาการอันเป็ นการ


บ่อนทาลายความมันคงของราชอาณาจั
่ กรและราชบัลลังก์ ได้ทาร้ายเจ้าพนักงานถึงแก่
ความตาย 5 คน เหตุเกิดขึน้ ในท้องทีบ่ า้ นใหม่ไทยเจริญ อาเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
เป็ นการคุกคามความสงบภายในประเทศ เป็ นการกระทาทีเ่ ข้าข่ายมาตรา 17 ของธรรมนูญ
การปกครองราชอาณาจักร ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้อานาจตามมาตรา 17 นัน้ สัง่
การประหารชีวิต นายศิลา วงศ์สิน โดยมิต้อ งน าตั ว ขึ้น ฟ้ อ งร้อ งยัง โรงศาล และขอมติ
คณะรัฐมนตรีเพื่อสังการตามที
่ ก่ ล่าวแล้วนี้ต่อไป

มติ – เห็นชอบด้วย.45

กว่าเสียงปื นที่ลานประหารจะเงียบลง ชีวิตของ ศิลา วงศ์สนิ ก็ได้ดบั สลายไปแล้วก่อนหน้า ชาวบ้าน


ผู้ชายที่ติดตามเขาจานวนหนึ่งถูกจับติดคุกหลายปี ส่วนผู้หญิงและเด็ก ถูกปล่อยตัวไป บางคนก็กลับบ้านเดิมที่
อพยพมา ขณะทีบ่ างคนก็ไม่มที งั ้ เงินและทีท่ จ่ี ะไป ต้องอาศัยนอนทีส่ ถานีตารวจไปก่อน ขณะทีบ่ างคนได้รบั การ

45 บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ครัง้ ที่ 25/2502 วันจันทร์ท่ี 22 มิถุนายน 2502, 22.เรือ่ งทีท่ า่ นนายกรัฐมนตรีแจ้งต่อทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรี, 4) นาย
ศิลา วงศ์สนิ หัวหน้ากบฏผีบุญ

326
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อุปการะเลี้ยงดูโดยนายตารวจใจบุญ ดังที่หนังสือพิมพ์ สารเสรี ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน 2502 พาดหัวข่าวด้วย


ตัวหนังสือสีแดงขนาดใหญ่ว่า “สตต.รับอุปการะเมียผีบุญ...ว่าเพื่อมนุษยธรรม”46 แม้จะผ่านไปเนิ่นนานนักแล้ว แต่
เรื่องราวของ ศิลา วงศ์สนิ “หมอธรรมเถื่อน” และ “ผูม้ บี ุญ” ผูอ้ าภัพก็ยงั คงถูกหยิบมาพูดถึงอยู่เป็ นระยะๆ ทัง้ จาก
มุมมองที่เต็มไปด้วยอคติและมุมมองที่เต็มไปด้วยการพยายามที่จะทาความเข้าใจ แต่ไม่ว่าจะด้วยมุมมองไหน
“เสียงเล็กๆ” ของเขาและ “เสียงเล็กๆ” ของชาวบ้านอีสานผูย้ ากจนทีต่ ดั สินใจทิง้ บ้านอพยพติดตามเขาเพื่อหวังทีจ่ ะ
ได้กนิ “ของทิพย์” และได้ “พบพระศรีอาริย”์ ก็ยงั คงเงียบงันและเบาแผ่วอยู่ดี

บรรณำนุกรม
เอกสารทีย่ ังไม่ ีพิมพ์
บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ครัง้ ที่ 25/2502 วันจันทร์ท่ี 22 มิถุนายน 2502, 22.เรื่องทีท่ ่านนายกรัฐมนตรีแจ้ง
ต่อทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรี, 4) นายศิลา วงศ์สนิ หัวหน้ากบฏผีบุญ
สารเสรี ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน 2502.
สารเสรี ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2502.
สารเสรี ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2502.
สารเสรี ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2502.
สารเสรี ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2502.
สารเสรี ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน 2502.
บทความและหนังสือภาษาไทย
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตาราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์, 2548.
พรเพ็ญ ฮันตระกู
่ ล และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย , บ.ก. “ความเชือ่ พระศรีอาริย์” และ “กบฏผู้มบี ุญในสังคมไทย.”
กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2527.
ยูคโิ อะ ฮายาชิ. พุทธศาสนาเชิงปฏิบตั ขิ องคนไทยอีสาน: ศาสนาในความเป็ นภูมภิ าค. แปลและเรียบเรียงโดย พินิจ
ลาภธนานนท์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554.
ศศิธร คงจันทร์. “กบฏผู้มีบุญในภาคอีสานระหว่าง พ.ศ.2479-2502.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558.
สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล. ประวัตศิ าสตร์ทเี ่ พิง่ สร้าง. กรุงเทพฯ: 6 ตุลาราลึก, 2544.
สิทธิเดช จันทรศรี และคณะ. กรุขา่ วดังในรอบ 20 ปี . กรุงเทพฯ: เรื่อนแก้ว, 2512.
บทความและหนังสือภาษาอังกฤษ
Charles F. Keyes. “Millennialism, Theravada Buddhiism, and Thai Society.” Journal of Southeast Asian
Studies. 36, 2 (February 1977): 283-302.
Yoneo Ishii. “A Note on Buddihistic Millenarian Revolts in Northeastern Siam.” Journal of Southeast Asian
Studies. 6, 2 (September 1975): 121-126.

46 สารเสรี ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน 2502, หน้า 1.

327
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

328
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D2-P4-R2-02

ประวัติศาสตร์ชุมชน
ลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา
ในบริบททางด้านสังคม
“มองราก รู้ ตั ว ตน เพื่ อชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง ”

นันทยา ศรีวารินทร์
หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อมัคคุเทศก์และการท่องเที่ยว โปรแกรมสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2504-2549

329
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา เป็ นแหล่งน้ าทีม่ คี วามสาคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และมีความหลากหลาย
ทางชีวภาพสูงเนื่องจากมีระบบนิเวศน้ าจืด น้ ากร่อย และน้ าเค็มอยู่ใกล้เคียงกัน (วิวฒ ั น์ สุทธิวิภากรและคณะ
2550, 7) และเป็ นทีต่ งั ้ ชุมชนโบราณมาแต่ค รัง้ อดีต ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลามีพฒ ั นาการทางประวัตศิ าสตร์ยาวนาน
ปั จจุบนั พืน้ ทีด่ งั กล่าวยังเป็ นแหล่งรวมตัวของผูค้ นทีผ่ ลัดเปลีย่ นหมุนเวียนเข้ามาอยู่อาศัยและตัง้ หลักปั กฐาน ด้วย
ลักษณะพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามอุดมสมบูรณ์ ภูมปิ ระเทศและภูมอิ ากาศทีเ่ หมาะสม จึงเอือ้ ต่อการตัง้ ชุ มชนและการประกอบ
อาชีพของผูค้ น โดยวิถชี วี ติ ของผูค้ นบริเวณลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาจะผูกพันกับการประกอบอาชีพทางการเกษตร
เนื่องจากบริเวณนี้มดี นิ ตะกอนอุดมสมบูรณ์ทบั ถมกันมาก จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก กลายเป็ นแหล่งผลิตข้าวที่
สาคัญของภาคใต้
ลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมเนื้อที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา คือ อาเภอเมือง อาเภอหาดใหญ่
อาเภอสะเดา อาเภอรัตภูมิ อาเภอระโนด อาเภอสทิงพระ อาเภอควนเนียง อาเภอกระแสสินธุ์ อาเภอนาหม่อม
อาเภอบางกล่ า อาเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุงทัง้ หมด และจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ อาเภอชะอวด และ
อาเภอหัวไทร (ยงยุทธ ชูแว่น และคณะ 2541, 32)
ลักษณะเศรษฐกิจของชุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาในอดีตไม่แตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ของประเทศไทย
ซึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบศักดินา ประชาชนไม่มกี รรมสิทธิในที ์ ด่ นิ มีเพียงสิทธิทากินเท่านัน้ และต้องเสียสิง่ ตอบ
แทนในรูปของส่วยสิง่ ของหรือส่วยแรงงานตามระบบไพร่ ราษฎรไม่มอี สิ ระและไม่อาจสะสมทุนได้ เศรษฐกิจใน
ขณะนัน้ จึงเป็ นการผลิตแบบพอยังชีพ ทาการผลิตหลายๆ อย่างเพื่อให้สามารถเลีย้ งตนเองได้ จนกระทังประเทศ

ไทยได้ตกลงทาสนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ่ กับประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจไทยเปลีย่ นจากการผลิตแบบ
พอยังชีพในระบบศักดินาแบบดัง้ เดิมมาเป็ นระบบเศรษฐกิจแบบการค้า โดยมีขา้ วเป็ นสินค้าส่งออกทีส่ าคัญ เกิด
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพืน้ ทีร่ าบทางภาคกลางของไทย (กิตติ ตันไทย 2552, 25)
สังคมลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลามีก ารอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนหลากหลายชาติพ ันธุ์ แต่ สามารถประสาน
ผลประโยชน์ร่วมกันได้โดยปกติสุข มีการช่วยเหลือพึง่ พา ในลักษณะของการออกปาก กินวาน หรือซอมือ ช่วย
แก้ ปั ญ หายามประสบภาวะวิก ฤตร่ ว มกัน ส่ ว นทางด้ า นลัก ษณะความสัม พัน ธ์ ภ ายในชุ ม ชนจะมีลัก ษณะ
ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ตัง้ ถิ่นฐานโดยวิธกี ารผูกดองผูกเกลอกัน เนื่องจากดินแดนบริเวณนี้มคี วามอุดม
สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทุกเขตจึงเป็ นที่หมายปองของคนหลายกลุ่ม วิถีชวี ติ ของผู้คนแถบนี้จงึ เป็ นวิถี
แห่งการต่อสูเ้ พื่อปกป้ องสิทธิ เพื่อจัดสรรสิทธิอนั พึงมีพงึ ได้ทช่ี อบธรรมของตนตัง้ แต่อดีตจนปั จจุบนั หล่อหลอมให้
คนกลายเป็ นนักต่อสูท้ ่รี กั ความยุติธรรม ถ่อมตัว ใจกว้างต่อมิตร แต่พร้อมตอบโต้ศตั รูทนั ทีท่สี บโอกาส (สมยศ
เพชรา 2553, 14)
จากความอุด มสมบูร ณ์ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติด ัง กล่ า ว ส่ง ผลให้ดิน แดนนี้ ถู กรุ ก รานจากแขกสลัด
บ่อยครัง้ บรรดาเจ้าเมือง กรมการเมืองก็ไม่อาจปกปั กษ์รกั ษาบ้านเมืองไว้ได้ และด้วยอยู่ห่างไกลราชธานีจงึ ไม่อาจ
ได้รบั การคุม้ ครองจากส่วนกลาง ชุมชนต้องรับผิดชอบต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ของตนเอง การผูกดองผูกเกลอจึงเป็ น
วัฒนธรรมของชุมชนทีส่ าคัญ ในการปกป้ องตนเอง คุม้ ครองสังคมและชุมชน
อย่างไรก็ตาม ชุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลายัง ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจมากนัก ผูค้ นส่วน
ใหญ่ยงั คงดารงชีวติ ตามปกติสขุ ถ้อยทีถอ้ ยอาศัย เอือ้ เฟื้ อเผื่อแผ่กนั ตามลักษณะสังคมไทยในชนบท ชุมชนเริม่ มี

330
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

การเปลีย่ นแปลงทางด้านเศรษฐกิจอย่างมากเมื่อมีการนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจมาใช้นบั ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2504 เป็ นต้น


มา ภาครัฐดาเนินนโยบายภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นให้มี
ความเจริญ ทาให้ทอ้ งถิน่ ได้รบั ผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐ ซึง่ พืน้ ทีล่ ุ่มน้าทะเลสาบสงขลาเป็ นหนึ่งในพืน้ ที่
สาคัญ ซึ่ง ภาครัฐก าหนดให้มีก ารพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ โดยเฉพาะแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 และ 6 ซึ่งมีการดาเนินมาตรการสาคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการพัฒนา
พืน้ ทีล่ ุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา โดยมีเป้ าหมายสาคัญคือการปรับโครงสร้างการผลิตและขยายฐานเศรษฐกิจให้เมือง
สงขลา-หาดใหญ่เป็ นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการจัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรม
การก่อสร้างท่าเรือน้าลึก การปรับระบบคมนาคมทางน้า ทางถนน และทางรถไฟ เป็ นต้น
ผลจากการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทต่ี อ้ งการกระตุ้นให้ทอ้ งถิน่ เกิดการพัฒนา
ย่อมส่งผลโดยตรงต่อวิถชี วี ติ ความเป็ นอยู่ของผูค้ นในชุมชนให้ต้องปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ การพึง่ พา
ตนเอง ความเอือ้ เฟื้ อเผื่อแผ่ อาศัยพึง่ พิงกันเริม่ จางหายไปเมื่อเกิดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ความเจริญและ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ทเ่ี กิดขึน้ ได้ทาลายวัฒนธรรมดัง้ เดิมของชุมชน ความสัมพันธ์ฉันท์ เครือญาติของคนในสังคม
เสือ่ มลง ความเห็นแก่ตวั เกิดขึน้ แทนที่ การดาเนินนโยบายของภาครัฐในด้านต่างๆ ทาให้กระแสทุนนิยมหลังไหล ่
เข้ามาในชุมชนพร้อมกับการพัฒนา ชุมชนจึงต้องเผชิญกับระบบทุนนิยมซึง่ ส่งผลกระทบต่อวิถกี ารดารงชีวติ ของ
ผูค้ นในชุมชนให้แปรเปลีย่ นไป เช่น การประกอบอาชีพทางการเกษตรของชุมชนลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา ได้เปลีย่ น
รูปแบบจากการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็ นการผลิตเพื่อการค้า เพราะภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้พน้ื ทีล่ ุ่มน้ าทะเลสาบ
สงขลาเป็ นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ จึงหลีกเลีย่ งไม่ได้ทก่ี ลุ่มทุนจานวนมากจะหลังไหลเข้
่ า มาในพืน้ ที่
แห่งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์และผลกาไรตามแนวทางระบบทุนนิยมในกระแสโลกาภิวตั น์ ดังนัน้ อานาจของรัฐและ
ทุนจึงเป็ นตัวแปรสาคัญทีท่ าให้ชุมชนต้องปรับตัวและต่อสูก้ บั การเข้ามาของอานาจดังกล่าว เพื่อให้ชุมชนสามารถ
ดารงอยู่ได้พร้อมกับการพัฒนาภายในชุมชน
การพัฒนาพื้นทีช่ ุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาเท่าทีผ่ ่านมาจะพบว่า การพัฒนาทีเ่ กิดขึน้ เป็ นผลจากการ
กาหนดนโยบายจากภาครัฐบาล ไม่ได้เป็ นการพัฒนาจากภายในของท้องถิ่น ประชาชนเป็ นฝ่ ายตัง้ รับ ปรับ
เปลีย่ นวิถชี วี ติ ให้สามารถดารงอยู่ได้ ความเจริญต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ อาจจะไม่ใช่เป็ นสิง่ ทีช่ าวบ้านต้องการแสวงหา
ในทางตรงกันข้าม อาจจะมีปฏิกริ ยิ าต่อต้านต่อการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ก็เป็ นได้ การศึกษาวิจยั เรื่องประวัตศิ าสตร์
ชุมชนลุ่มน้าทะเลสาบสงขลาในบริบททางด้านสังคม เป็ นการศึกษาทีเ่ น้นการดารงอยู่ของผูค้ นและชุมชนในบริเวณ
ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา ตลอดจนการปรับตัวและการตอบสนองของชุมชนต่อการดาเนินนโยบายของภาครัฐที่
มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนดังกล่าว ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-9 การศึกษา
เรื่องดังกล่าวจะทาให้เห็นวิถชี วี ติ ของผูค้ นในชุมชนทีม่ คี วามเคลื่อนไหวในหลากหลายมิตใิ นการต่อสู้ เพื่อการดารง
อยู่จนกลายเป็ นชุมชนเข้มแข็งดังปั จจุบนั ช่วยให้เห็นภาพประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ภาคใต้สมบูรณ์ขน้ึ ทัง้ นี้จะเป็ นการ
สร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นจิตสานึกสาธารณะ ความรักและความหวงแหนลุ่มน้ าทะเลสาบ
สงขลา เพิม่ พูนองค์ความรูแ้ ละได้ภาพประวัตศิ าสตร์ชุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาอย่างรอบด้านมากกว่าทีเ่ ป็ นอยู่
ในปั จจุบนั

กำรทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่าลุ่มน้าทะเลสาบสงขลาในปั จจุบนั จะมีความสาคัญในฐานะเป็ นทีต่ งั ้ ของจังหวัดทีส่ าคัญทางภาคใต้ 3
จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัด พัทลุง แต่ท่ผี ่านมานักวิจยั และนักประวัติศาสตร์

331
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

มักจะสะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาเฉพาะด้าน ยังไม่มีงานวิจยั ชิ้นใดที่มกี ารวิจยั


เรื่องราวของชุมชนลุ่มน้าทะเลสาบสงขลาอย่างครอบคลุมในเรื่องประวัตศิ าสตร์ชุมชนอย่างจริงจัง งานวิจยั เกีย่ วกับ
ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาทีผ่ ่านมา เช่น งานวิจยั ของสงบ ส่งเมือง (2522) เรื่อง การพัฒนาหัวเมืองสงขลาในสมัยกรุง
ธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2310-2444 เป็ นการศึกษาที่สะท้อนมุมมองพัฒนาการการเติบโตของเมือง
สงขลาทีเ่ กิดจากความต้องการของศูนย์กลางอานาจจากส่วนกลางทีก่ รุงเทพฯ ที่ ต้องการให้เมืองสงขลาเป็ นเมือง
ท่าการค้า และเป็ นฐานทางการเมืองในการควบคุมหัวเมืองประเทศราชในแหลมมลายู รวมถึงต้องการให้เมือง
สงขลาถ่วงดุลอานาจกับเมืองนครศรีธรรมราช และงานอีกชิน้ คือ เศรษฐกิจชุมชนหมู่บา้ นภาคใต้ในรอบห้าทศวรรษ
ทีผ่ ่านมา (สงบ ส่งเมือง, 2546) งานวิจยั นี้เป็ นการศึกษาโครงสร้างและการแปรรูปของเศรษฐกิจชุมชนภาคใต้
รวมถึงผลกระทบจากการแปรรูปของเศรษฐกิจ โดยเน้นความสัมพันธ์ของระบบการผลิตในชุมชนภาคใต้ ซึง่ ทาให้
เห็นภาพโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชนภาคใต้ในภาพกว้าง ปูพน้ื ฐานทาความเข้าใจเกีย่ วกับเศรษฐกิจทางภาคใต้
งานของ ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร (2544) เรื่อง ประวัตศิ าสตร์เมืองสงขลา การศึกษาประวัตศิ าสตร์เมืองสงขลา
จากศูน ย์อ านาจกลาง โดยแบ่ ง ช่ ว งเวลาของการศึก ษาเมือ งสงขลาเป็ น เมือ งสงขลาสมัย ก่ อ นกรุ ง ศรีอ ยุ ธ ยา
ตอนกลาง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรถี งึ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลางถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และ
สมัยเปลีย่ นแปลงการปกครองถึงปั จจุบนั ซึง่ ล้วนแต่เป็ นผลสืบเนื่องจากศูนย์กลางอานาจ
ส่วนงานทีเ่ ขียนเกีย่ วกับลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาโดยตรง เช่น โลกของลุ่มทะเลสาบ รวมบทความว่าด้วย
ประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมท้องถิน่ ของลุ่มทะเลสาบสงขลา ซึง่ เป็ นงานวิจยั ของยงยุทธ ชูแว่นและคณะ (2541) ที่
ได้รวบรวมบทความว่าด้วยประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมท้องถิน่ บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา จัดเป็ นหนังสือทีเ่ ขียน
เกี่ยวกับเรื่องราวผู้คนในลุ่มทะเลสาบสงขลาที่ให้ภาพสะท้อนวิถีชีวิต การต่ อสู้ด้นิ รนของคนลุ่มน้ าแถบนี้ไ ด้ดี
พอสมควร แต่เนื่องจากเป็ นบทความจึงขาดความต่อเนื่อง ทาให้ไม่เห็นภาพประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีเ่ ด่นชัด และอีก
ชิน้ งานทีน่ ่าสนใจของ ยงยุทธ ชูแว่น และประมวล มณีโรจน์ (2546) ในบทสังเคราะห์เรื่อง "เศรษฐกิจชุมชนหมู่บา้ น
บริเ วณลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาในมิติป ระวัติศ าสตร์ " พบว่ า เศรษฐกิจ ชุ ม ชนหมู่บ้า นภาคใต้ มีลัก ษณะเฉพาะไม่
เหมือนกับทีอ่ ่นื ลักษณะพอเพียงและจิตสานึกอนุรกั ษ์เป็ นเพราะข้อจากัดในกาลังการผลิตและเทคโนโลยี ชุมชนถูก
กระตุ้นให้ปรับตัวไปสู่การตลาดมาโดยตลอดซึ่งตรงกับความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการชีวิตที่ดีกว่ า เดิม
ชาวบ้านจึงตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐ รัฐมีอทิ ธิพลและอานาจเหนือชุมชนหมู่บ้านมานาน แต่การ
ควบคุมทีม่ คี วามเข้มงวดขึน้ ตามลาดับ ก่อเกิดการต่อต้านหลบหนีเนื่องจากประชาชนแบกรับภาระต่อรัฐไม่ไหว
ดังนัน้ การพัฒนาทีด่ ตี อ้ งวางกรอบให้สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนในแต่ละท้องถิน่
งานของสารูป ฤทธิชู์ (2543) ในชื่อ ตามรอยช้าง แลใต้ งานวิจยั นี้สะท้อนภาพวิถชี วี ติ ผูค้ นในแถบลุ่มน้ า
ทะเลสาบสงขลาทีต่ ้องมีความเกีย่ วดองสัมพันธ์กนั เพื่อดูแลปกป้ องพวกพ้องของตนเอง เนื่องจากอยู่ห่างไกลราช
ธานี ไม่อาจได้รบั การคุ้มครอง ส่วนใหญ่มกี ารเกี่ยวดองประสานผลประโยชน์ร่วมกันด้วยการแต่งงาน กลุ่มคน
เหล่านี้กลายเป็ นกลุ่มที่มอี านาจและมีบทบาทมากในดินแดนทางภาคใต้ งานวิจยั ของ วิมล ดาศรีและไพรินทร์
รุยแก้ว (2544) เรื่อง วัฒนธรรมข้าวและพลังอานาจชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา เป็ นการศึกษาเรื่องราวภูมปิ ั ญญา
พืน้ บ้าน รูปแบบ ระบบ ความเชื่อ ประเพณีและพิธกี รรมดัง้ เดิมของวัฒนธรรมข้าวกับพลังอานาจอันเนื่องมาจาก
เทคโนโลยีและภูมปิ ั ญญาสมัยใหม่ ผลกระทบระหว่างวัฒนธรรมข้าวกับวัฒนธรรมนากุ้งที่มที งั ้ ส่วนที่ขดั แย้งและ
ส่งเสริมกัน การนาเอาระบบคุณค่าใหม่ทม่ี ุ่งเน้นพลังเงินตราหรือพลังทางเศรษฐกิจมากกว่าพลังจริยธรรมมาใช้ใน
ชุ ม ชน นโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สัง คม การเมือ งการปกครองมุ่งเน้ น การพัฒนา

332
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

วัฒนธรรมทางวัตถุมากจนเกิดภัยธรรมชาติและวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ปรากฏการณ์เหล่ านี้เป็ นปั จจัยสาคัญที่ส่งผล


กระทบต่อพลวัตวัฒนธรรมข้าวและพลังอานาจชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา
งานของจานงค์ แรกพินิจ (2537) เรื่อง แชร์แรงงาน : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ของชาวบ้านภาคใต้ เป็ นงานทีศ่ กึ ษาชุมชนสามชุมชนในจังหวัดสงขลาเป็ นพืน้ ทีข่ องการศึกษา พบว่า แชร์แรงงาน
เป็ นรูปแบบหนึ่งของการแลกเปลีย่ นแรงงาน อันเป็ นผลจากการปรับใช้วฒ ั นธรรมชุมชนของชาวบ้านภาคใต้ จาก
การออกปากกินวาน เป็ นลงซอหรือซอแรง มาเป็ นแชร์แรงงาน ซึง่ เป็ นกิจกรรมทีต่ อบสนองต่อความต้องการของ
ชาวบ้า นในชุ ม ชนและส่ง ผลต่ อ ความสัม พัน ธ์ท างเศรษฐกิจ สัง คม และวัฒ นธรรมของชาวบ้า นภาคใต้ การ
แลกเปลีย่ นแรงงานในรูปกลุ่มแชร์แรงงานได้เติบโตขึน้ บนพืน้ ฐานของวัฒนธรรมดัง้ เดิมของชุมชน และพัฒนาการ
ของกลุ่มแชร์แรงงานได้พฒ ั นาไปพร้อม ๆ กับการเปลีย่ นแปลงของชุมชน นอกจากนัน้ ยังพบว่า กลุ่มแชร์แรงงานมี
บทบาทสาคัญในการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ ในส่วนของผลทีเ่ กิดขึน้ จากการแลกเปลีย่ น
แรงงานนี้ได้ช่วยให้ชาวบ้านลดการพึ่งพาจากภายนอกและช่วยเพิม่ ศักยภาพทางการผลิตของชุมชน ทางสังคม
ชาวบ้านสามารถนาประสบการณ์ทไ่ี ด้รบั จากการทางานร่วมกันมาเป็ นพืน้ ฐานในการจัดความสัมพันธ์ทเ่ี ท่าเทียม
กันในสังคม ซึง่ เป็ นพืน้ ฐานสาคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่วนทางวัฒนธรรมกลุ่มแชร์แรงงานได้เป็ น
รากฐานรองรับหรือเป็ นทีย่ ดึ เกาะของค่านิยมความเชื่อทัง้ เก่าและใหม่ จึงมีบทบาทสาคัญในการรักษาระบบคุณค่า
เดิมไม่ให้สญ
ู หายไปจากชุมชน
ผลงานของ สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2540) เรื่อง โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กบั การพัฒนา ซึง่
ข้อมูลทีใ่ ช้ในการเรียบเรียงมาจากการสังเคราะห์งานวิจยั 21 โครงการ เนื้อหาสาระของงานชิน้ นี้ชใ้ี ห้เห็นโครงสร้าง
และพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้ 3 โครงสร้างสายราก คือ โครงสร้างด้านภูมลิ กั ษณ์ เป็ นโครงสร้างทางกายภาพและ
ชีวภาพของพื้นที่ภาคใต้ โครงสร้างด้านรูปลักษณ์และสมมุติลกั ษณ์ ซึ่งเป็ นโครงสร้างวิถีวฒ ั นธรรมภาคใต้ และ
โครงสร้า งด้า นฐานอ านาจและพลัง อ านาจของชุ ม ชน ทัง้ ยัง เชื่อ มโยงข้อ มูลที่เ ป็ น รายละเอีย ดไปสู่ชุ ด ข้อ มู ล
โครงการวิจยั ย่อยอีก 21 โครงการ ทีม่ คี วามสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทาให้เห็นวิถแี ละพลังทีจ่ ะเป็ นทางเลือกของการ
พัฒนาท้องถิน่ ต่อไป
งานวิจยั อีกชุดหนึ่งที่น่าสนใจยิง่ ในการศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา คือ งานวิจยั ของสานักงาน
กองทุนสนับสนุ นการวิจยั (สกว.) ในชุดโครงการวิจยั ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ภาคใต้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาซึง่ มี
โครงการวิจยั หลักอยู่ 8 โครงการ โดยมี ยงยุทธ ชูแ ว่น เป็ นผูป้ ระสานงานชุดโครงการดังกล่าว คือ งานวิจยั ของ
ชัยวุฒิ พิยะกูล (2552) เรื่อง พัฒนาการและบทบาทของพระพุทธศาสนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา เป็ นการศึกษา
เรื่องราวพัฒนาการของศาสนาพุทธทีม่ บี ทบาทสาคัญยิง่ ในพืน้ ที่ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาระหว่าง พ.ศ. 2442-2542
ซึง่ จากปั จจัยภายในและปั จจัยภายนอกทีม่ ากระทบทาให้พุทธศาสนามีการปรับเปลีย่ นไปตามกาลเวลา แต่พุทธ
ศาสนายังคงมีบทบาทต่อคนในพืน้ ทีล่ ุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาในแง่ของการส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาชุมชนและ
เกือ้ กูลสังคม ส่งเสริมและเผยแพร่ธรรมะ ส่งเสริมศิลปะ ประเพณีและพิธกี รรม ลักษณะเด่นของพุทธศาสนาในพืน้ ที่
ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา คือ เน้นทางพุทธาคม ไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์ งานของ เอี่ยม ทองดี (2546) ในชุด
โครงการเดียวกันเรื่อง อิสลามกับพัฒนาการของชุมชนมุสลิมในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2442-2542 เป็ น
การศึกษาพัฒนาการและบทบาทของอิสลามในชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ซึง่ ศาสนาอิสลามมีความสัมพันธ์
และสาคัญกับชุมชนบริเวณแถบนี้ยงิ่ นัก ศาสนาอิสลามหล่อหลอมให้ชุมชนเกิดอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่มด้วยหลัก
ปฏิบตั ิท่คี รอบคลุมทุกเรื่องในการดารงชีวติ ซึ่งชุมชนชนบทให้ความสาคัญกับการศึกษาศาสนาสูงมาก ศาสนา

333
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อิสลามเป็ น แกนกลางเสริม ความเข้ม แข็ง ให้ก ับ ชุ ม ชนและสร้า งความเป็ น อิสลามขึ้น ในสัง คมท้อ งถิ่น พิท ยา
บุษรารัตน์ (2552) นาฏกรรมแห่งลุ่มทะเลสาบสงขลา การเปลีย่ นแปลงและความสัมพันธ์กบั สังคมและวัฒนธรรม
ของหนังตะลุงและโนรา เป็ นการศึกษาพัฒนาการ บทบาทความสาคัญและปฏิสมั พันธ์ของโนราและหนังตะลุงต่อ
พืน้ ทีล่ ุ่มน้าทะเลสาบสงขลาในช่วงการปฏิรปู ของรัชกาลที่ 5 จนถึงปั จจุบนั ภูมปิ ั ญญาและอัตลักษณ์ของท้องถิน่ ถูก
ส่งผ่านในหนังตะลุง โนรา ซึ่งแม้จะผ่านห้วงเวลามายาวนานแต่ศลิ ปะพื้นบ้านดังกล่าวนี้ ยังคงดารงอยู่ งานของ
เลิศชาย ศิรชิ ยั (2552) ประมงพื้นบ้านลุ่มทะเลสาบสงขลา: วิถแี ละการเปลีย่ นแปลง เป็ นงานวิจยั ทีศ่ กึ ษาถึงวิถชี วี ติ
ของคนพืน้ ทีล่ ุ่มน้าทะเลสาบสงขลาซึง่ อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของพืน้ ทีใ่ นการหล่อเลีย้ งชีวติ ประมง นับเป็ นอาชีพ
สาคัญของคนทีน่ ่ี ในอดีตชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรได้ดว้ ยตนเองแต่เมื่อยุคสมัยแปรเปลีย่ นไป ด้วยนโยบาย
ของภาครัฐและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทเ่ี กิดขึน้ ทาให้มกี ารใช้เครื่องมือและวิธกี ารทีท่ นั สมัยในการจับสัตว์น้า ส่งผลให้
เกิดความเปลี่ยนแปลงและสร้างความสูญเสียให้กบั ทรัพยากรที่ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วและยังส่งผลต่อระบบ
นิเวศอย่างใหญ่หลวง
สารูป ฤทธิชู์ (2552) ในเรื่อง 100 ปี การเมืองท้องถิน่ ลุ่มทะเลสาบสงขลา ประวัติศาสตร์ฐานทีม่ นแห่ ั่ ง
พรรคการเมืองในภาคใต้ เป็ นงานทีก่ ล่าวถึงวิวฒ ั นาการทางการเมืองท้องถิน่ บริเวณลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาตัง้ แต่
พ.ศ. 2439-2534 โดยเน้ น การวิเ คราะห์ถึง เบื้อ งหลัง ทางการเมือ งท้อ งถิ่น บริเ วณลุ่ มน้ า ทะเลสาบสงขลา และ
ผลกระทบจากการเมืองท้องถิน่ บริเวณดังกล่าวทีม่ ตี ่อชุมชนและท้องถิน่ ซึง่ เป็ นการนาไปสูค่ วามเข้าใจวิถชี วี ติ ความ
เป็ นอยู่ของประชาชนในบริเวณลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาได้อย่างรอบด้าน งานของ สุธญ ั ญา ทองรักษ์ (2546) เรื่อง
วิวฒ ั นาการของการใช้ประโยชน์ทดี ่ นิ และป่ าไม้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา เป็ นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากทีด่ นิ
ในพืน้ ทีล่ ุ่มน้าทะเลสาบสงขลาซึง่ ได้สง่ ผลกระทบต่อสภาพพืน้ ทีใ่ ห้เปลีย่ นแปลงไปเป็ นอย่างมาก จากการบุกรุกเพื่อ
ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การทาสวน ทาไร่ และนากุง้ ทาให้พน้ื ทีเ่ กิดความเสียหาย ยากแก้การฟื้ นฟู
งานของ ศุลีมาน นฤมน วงศ์สุภาพ (2547) เรื่อง เมืองหาดใหญ่ คนจีนกับการสร้างเมืองการค้าในภาคใต้ เป็ น
การศึก ษาเรื่อ งราวของคนจีน ที่มีบ ทบาทสาคัญ ต่ อ การขับเคลื่อ นและพัฒ นาเศรษฐกิจ ของเมือ งหาดใหญ่ ให้
กลายเป็ นเมืองศูนย์กลางทางการค้าของภาคใต้ บทบาทของขุนนิพทั ธ์จนี นคร (เจีย กีซ)ี ซึง่ เป็ นผูน้ าสาคัญในการ
พัฒนาเมืองหาดใหญ่ และงานของกิตติ ตันไทย (2552) เรื่อง หนึง่ ศตวรรษเศรษฐกิจของคนลุ่มทะเลสาบสงขลา
กล่าวถึง วิถชี วี ติ การผลิตแบบดัง้ เดิมของเกษตรกรชาวนาและชาวสวนยางพาราบริเวณลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา และ
การเข้ามาของนโยบายภาครัฐทีก่ ระตุ้นให้ทอ้ งถิน่ เปลีย่ นแปลงการดารงชีวติ จากวิถชี าวบ้านทีม่ คี วามเกือ้ กูลมาสู่
สังคมแห่งทุนนิยมและเทคโนโลยี ทีเ่ น้นวัตถุและเงินเป็ นตัวแปรสาคัญในการดารงชีวติ ส่งผลให้ระบบความสัมพันธ์
ทีด่ ใี นท้องถิน่ วิถชี วี ติ แบบเรียบง่ายค่อย ๆ จางหายไป จนทาให้เกิดผลเสียทัง้ ระบบสังคมและเศรษฐกิจต่อชุมชน
งานทัง้ 8 ชิน้ ในชุดโครงการดังกล่าวนี้ทาให้เห็นภาพของพืน้ ทีล่ ุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาชัดเจนขึน้ สามารถ
เป็ นพืน้ ฐานของการศึกษาเรื่องราวของลุ่มน้าทะเลสาบสงขลาได้เป็ นอย่างดี แต่ไม่อาจถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน
ได้เด่นชัด และไม่อาจตอบคาถามการวิจยั ในครัง้ นี้ได้
งานวิจยั ทีผ่ ่านมาทีเ่ กีย่ วข้องกับลุ่มน้าทะเลสาบสงขลาสะท้อนภาพทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ในมุมมองเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทาให้ขาดความสมบูรณ์ ไม่เห็นภาพวิถีชวี ติ ของ
ชุมชนทีม่ พี ฒ
ั นาการอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุน้จี งึ เป็ นเหตุผลทีส่ าคัญทีค่ วรมีการศึกษาถึงความเปลีย่ นแปลงของวิถี
ชีวิต ของชุ ม ชนในแถบลุ่ ม น้ า ทะเลสาบสงขลาในมุ ม มองที่แ ตกต่ า งออกไป โดยเฉพาะการมองภาพความ
เปลีย่ นแปลงของวิถชี วี ติ ชุมชนอย่างมีพฒ ั นาการจากอดีตถึงปั จจุบนั โดยใช้ขอ้ มูลแบบสองทาง คือให้ประชาชนได้มี

334
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ส่วนร่วมกับงานวิจยั จะเป็ นการสร้างมิติใหม่ในการศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นอย่างรอบด้านและมีคุณค่า อย่าง


แท้จริง เพราะเป็ นสิง่ ทีม่ าจากความเป็ นจริงทีค่ นในท้องถิน่ สะท้อนออกมา

วิธีกำรศึกษำ
งานวิจยั ชิ้นนี้ ผู้วจิ ยั เลือกชุมชนครอบคลุมพื้นที่บริเวณลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาเป็ นพื้นที่ศกึ ษา สาหรับ
บริบททางด้านสังคม ตัวแทนของพืน้ ทีใ่ นชุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา 3 ชุมชนทีท่ าการศึกษา ได้แก่ ชุมชนบ้าน
โคกเมือง ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ชุมชนท่าข้าม ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และชุมชนบ้านท่าช้าง
ต.พนางตุง อ.ควนขนุ น จ.พัทลุง ซึง่ ชุมชนเหล่านี้จะมีความหลากหลายและมีความเข้มแข็งในมิตติ ่างๆ จึงช่วยให้
ได้ขอ้ สรุปทีส่ ามารถตอบโจทย์วจิ ยั ได้เป็ นอย่างดี
การวิจ ัย เน้ น การศึก ษาวิจ ัย ในเชิง คุ ณ ภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีก ารทางประวัติศ าสตร์
(Historical Approach) ใช้วิธีการวิจยั ทางเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับการสัมภาษณ์ ตามวิธีก าร
ประวัติ ศ าสตร์ บ อกเล่ า (Oral History) น าเสนอโดยการพรรณนาเชิง วิเ คราะห์ (Descriptive Analysis) ซึ่ง มี
รายละเอียดดังนี้
1. เอกสารชัน้ ต้น (Primary Sources) ได้แก่ เอกสารทางราชการไทยจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กอง
หอสมุดแห่งชาติ เช่น จดหมายเหตุ ของรัชกาลต่ างๆ รายงานของกระทรวง ทบวง กรม และเอกสารอื่นๆ ที่
เกีย่ วข้อง
2. เอกสารชัน้ รอง (Secondary Sources) ได้แก่ งานวิจยั วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการและสิง่ พิมพ์
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในประเทศไทย เช่น หอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ทัง้ ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสงขลา สถาบันทักษิณคดีศกึ ษา สงขลา
เป็ นต้น
3. การสัมภาษณ์ (Interviews) สัมภาษณ์ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยู่ในชุมชนลุ่มน้าทะเลสาบสงขลา นักวิชาการ
และผูร้ เู้ รื่องราวต่างๆ ของลุ่มแม่น้าทะเลสาบสงขลา แล้วนาข้อมูลการสัมภาษณ์มาศึกษาวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยวิธกี าร
ทางประวัตศิ าสตร์ (Historical Approach) และนาเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description)

ผลกำรศึกษำ
จากการศึกษาพบว่า ชุมชนทัง้ สามมีพฒ
ั นาการความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ตั ้งแต่ ยุคชุมชนดัง้ เดิม
ผลกระทบจากการพัฒนาตลอดจนการปรับตัวและการดารงอยู่ทม่ี คี วามคล้ายคลึงกัน และทัง้ สามชุมชนมีการใช้
กระบวนการแก้ไขหลากหลายวิธจี นก้าวสู่ความเป็ นชุมชนเข้มแข็งภายใต้กรอบคิดของการพัฒนาคือเศรษฐกิจ
พอเพียง อันมีรายละเอียด ดังนี้

ชุ มชนดัง้ เดิมก่อนทศวรรษ 2500


ชุมชนในพืน้ ทีล่ ุ่มน้าทะเลสาบสงขลา เป็ นชุมชนเก่าแก่ทม่ี พี ฒ
ั นาทางประวัตศิ าสตร์มาเป็ นเวลานาน ผูค้ น
ผ่านการต่อสู้ ปรับตัวเพื่อการดารงอยู่มาหลายยุคหลายสมัย การดารงอยู่ของชุมชนในพืน้ ทีแ่ ถบนี้ มีความผูกพัน
กับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นทีล่ ุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา ซึ่ งการเข้ามาอยู่อาศัยก่อตัง้ ชุมชนนัน้ มีมาตัง้ แต่อดีตกาล
สาเหตุสาคัญของการเข้ามาอาศัยอยู่ของผูค้ นนัน้ เป็ นผลจากความอุดมสมบูรณ์ของพืน้ ทีแ่ ถบนี้นัน่ เอง ครัง้ หนึ่ง
ทะเลสาบสงขลาเคยได้ช่อื ว่าเป็ นทะเลสาบที่มคี วามอุดมสมบูรณ์ แห่งหนึ่งของโลก มีสตั ว์น้ านานาชนิดซึ่งเป็ น

335
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เสมือ นอู่ ข้า วอู่ น้ า ที่ห ล่ อ เลี้ย งสรรพชีวิต ทัง้ หลายรอบทะเลสาบสงขลามายาวนานหลายชัว่ อายุ ค น ความ
เปลีย่ นแปลงของชุมชนโดยรอบทะเลสาบสงขลาส่วนหนึ่งจึงขึน้ อยู่กบั ปริมาณของสัตว์น้าทีม่ อี ยู่ในทะเลสาบ

ถ้ามองอดีตมันก็ดมี คี วามอุดมสมบูรณ์ มีคนรักใคร่สามัคคีกนั ตามประสาชาวบ้ านทัวๆ


่ ไป
ตามชนบท แต่สงิ่ ทีเ่ ราขาดพวกเราลืมนึก เราลืมนึกถึงความอุดมสมบูรณ์ในน้ามีปลาในนามี
ข้าว มีทะเล มีนาข้าวอุดมสมบูรณ์มาก .....ทรัพยากรทีเ่ ราเคยบริโภคอุดมสมบูรณ์มนั ก็ถูก
ท าลายโดยคนในเมือ งมาประสานกับ คนในชนบทช่ ว ยกัน ท าลายล้า งผลาญ (สมพงศ์
ลัพกิตโร 2557)
ชุ ม ชนบ้า นโคกเมือ ง ชุ ม ชนท่ า ข้า ม จ.สงขลา และชุ ม ชนพนางตุ ง จ.พัท ลุ ง ในอดีต ชุ ม ชนเหล่ า นี้ มี
ทรัพยากรธรรมชาติเป็ นปั จจัยหลักที่ก่อให้เกิดเป็ นเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในอดีตของผูค้ นแถบนี้อาศัย
ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบเป็ นตัวขับเคลื่อน คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมงเป็ นหลัก
การเกษตรกรรม เช่น การทานา ทาสวน ทาไร่ เป็ นไปในลักษณะของการพึง่ พิงธรรมชาติและการพึง่ พิงกันเองใน
ชุมชน มีการแลกเปลีย่ น จุนเจือกันตามวิถคี นในชนบท ผลิตเครื่องมือการเกษตรแบบง่าย ๆ โดยอาศัยภูมปิ ั ญญา
พืน้ บ้านทีม่ กี ารสืบต่อ ๆ กันมา และเน้นการใช้แรงงานทีไ่ ม่ตอ้ งอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีดงั ปั จจุบนั
อาณาบริเวณพืน้ ทีล่ ุ่มทะเลสาบสงขลาเป็ นแหล่งเพาะปลูกข้าวทีส่ าคัญและการทานาเป็ นอาชีพที่สาคัญ
ของคนแถบนี้ บริเวณทีท่ านากันมากคือตัง้ แต่ในเขตทีร่ าบลุ่มอาเภอระโนด จังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง โดย
เฉพาะทีพ่ ทั ลุง พืน้ ทีท่ เ่ี หมาะแก่การทานา คือ บริเวณทุ่งราบศรีชะนาบริเวณคลองลาปา เขตอาเภอเมือง ทุ่งราบ
คลองปากประ เขตอาเภอควนขนุนและทุ่งราบบางแก้ว บริเวณคลองบางแก้ว เขตอาเภอเขาชัยสน (เดิมอยู่ในเขต
อาเภอปากพะยูน) โดยเฉพาะคนในเมืองพัทลุงทานาเป็ นอาชีพหลัก ทากันทุกครัวเรือน
เป้ าหมายการผลิตทีส่ าคัญในขณะนัน้ คือ เน้นการผลิตเพื่อการยังชีพเท่านัน้ ทีเ่ หลือจึงนาออกจาหน่ าย
หรือแลกเปลี่ยนกับสิง่ ของทีต่ ้องการหรือขาดแคลน อาชีพทานานับเป็ นอาชีพสาคัญของชาวบ้านในพืน้ ที่แถบนี้
ควบคู่กบั การเลีย้ งวัวเพื่อขายและไว้ใช้แรงงานในยุคทีก่ ารทานายังพึง่ พิ งแรงงานสัตว์เลีย้ งและไม่ต้องเร่งรีบผลิต
เพื่อส่งออกขายดังปั จจุบนั

สวนยางไม่มี มีแต่ทานา การทานาเมื่อก่อนจะขอช่วยกัน ไม่ว่าจะไถนาหรือเก็บข้าว ถ้าฤดู


ไถ เค้าเรียกว่า ไถวาน ไถวานคือการขอช่วย....การไถนาหรือทาอะไรเมื่อก่อนขอช่วยกัน
ทัง้ นัน้ เค้าจะไปกันครึ่งหมู่บ้านใช้ววั สองตัว นัน่ คือประวัติการไถนา พอไถเสร็จก็เก็บข้าว
เค้าก็ช่วยกันอีก ผลัดเวียนกันไปของใครเสร็จก็ไปช่วยคนอื่นอีก พอว่างจากการทานาตอน
นัน้ คนจะว่าง เลี้ยงแต่ววั หาปลา หรือว่าปลูกผัก ปลูกแตงโม นัน่ คือหลังจากทีท่ านาเสร็จ
แล้ว พอถึงฤดูทานาข้าวก็มงี านทาอีก ขนข้าวเข้าบ้าน พอเสร็จก็ว่างอีก เลยคิดว่าจะไปบ้าน
บุญทีต่ รงศาลาโน้นศาลานี้ นิมนต์พระไปฉันข้าว เค้าก็เรียกว่า ว่างหลา (บุญเจือ มาลากุล
2558)
ดังนัน้ พัฒนาการของชาวนาในอดีตมีการปรับเปลีย่ นไปอย่างเชื่องช้ามาก เพราะลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลามี
ความอุดมสมบูรณ์สงู ทาให้ชาวนามีความพอเพียงค่อนข้างมาก ไม่มคี วามจาเป็ นต้องเปลีย่ นแปลงทัง้ วิธกี ารผลิต
และวิถชี วี ติ ของตน ในช่วงแรกก่อนทีเ่ งินและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะเข้ามากาหนดวิถชี วี ติ ของ
ผูค้ น ชาวนาในขณะนัน้ เป็ นผูก้ าหนดวิถชี วี ติ ของตนเอง ชาวนาผลิตข้าวโดยมีเป้ าหมายสาคัญเพียงเพื่ อการยังชีพ

336
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เป็ นหลัก การทานาแบบดัง้ เดิมจะใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์เลีย้ งและเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตง่าย ๆ ทีท่ าขึน้


เอง ทาให้การทานาเป็ นงานทีห่ นักและต้องใช้แรงงานมาก เพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้ทนั ในแต่ละฤดูกาลการผลิต
ซึง่ หากแรงงานในครอบครัวไม่สามารถดาเนินการได้ทนั ชาวนาต้องช่วยเหลือซึง่ กันและกัน จนหล่อหลอมให้เกิด
ระบบความเชื่อทีส่ ร้างคุณธรรมและจิตสานึกร่วมของชุมชน กลายเป็ นพลังสาคัญทีท่ าให้คนในชุมชนเกาะเกีย่ วกัน
แนบแน่น และสามารถป้ องกันภัยคุกคามจากภายนอกชุมชนได้เป็ นอย่างดี
วิถกี ารทานาของคนในอดีตมีตน้ ทุนต่ ามาก โดยเมล็ดพันธุจ์ ะเป็ นข้าวพันธุพ์ น้ื เมืองทีม่ คี วามแข็งแรงและ
ต้านทานต่อศัตรูพชื สูง นิยมทานาปี โดยอาศัยน้ าฝนเป็ นหลัก และแทบไม่ต้องมีการบารุงดิน เนื่องจากดินมีความ
อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หากจะมีการบารุงดินก็จะใช้ปยธรรมชาติ
ุ๋ อนั มาจากสัตว์เลีย้ งโดยเฉพาะมูลวัว มูลควาย
ชาวบ้านจึงมีอาชีพสาคัญนอกจากการทานาอีกอย่าง คือ การเลีย้ งวัว เลีย้ งควายเพราะนอกจากได้ปยแล้ ุ๋ วยังอาศัย
แรงงานจากวัวควายเหล่านี้ในการทานาอีกด้วย นอกจากปุ๋ ยธรรมชาติจากมูลวัวและสัตว์เลีย้ งอื่น ๆ รวมทัง้ ใบไม้
ใบหญ้าทีเ่ น่าเปื่ อย ชาวบ้านยังอาศัยมูลค้างคาวจากบนเขา ปุ๋ ยเหล่านี้เป็ น “มายา” เพื่อเสริมความอุดมสมบูรณ์ของ
ดินโดยธรรมชาติ วิธกี ารเพาะปลูก คือ จะมีการนามูลสัตว์มาผสมกับหินผุแล้วคลุกกับเมล็ดพันธุพ์ ชื จากนัน้ จึง
นามาหว่านในนา และหากเกิดโรคระบาดก็อาศัยภูมปิ ั ญญาชาวบ้านในการแก้ปัญหา เช่น หากเกิดโรคเพลีย้ ระบาด
ชาวนาจะนากิง่ คุระไปแช่ตามทางน้ าไหล ยางจากกิ่งคุระร้อน เพลี้ยจะอยู่ไม่ได้ และน้ าจะมีกลิ่นใช้ไล่แมลงได้
(เพียร ภูม ี 2556)
ส่วนเครื่องมือทีใ่ ช้ในการเก็บเกีย่ วข้าวของชาวนาภาคใต้จะใช้ “แกะ” ดังปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 6
ว่าชาวนาทางภาคใต้สว่ นใหญ่ใช้วธิ กี ารเก็บข้าวโดยใช้เครื่องมือทีเ่ รียกว่า “แกะ” ซึง่ มีลกั ษณะเป็ นเหล็กแผ่ให้บาง
มีดา้ มไม้จบั หนีบข้าวตัดทีละรวง กว่าจะได้สกั กาใช้เวลากว่า 20 นาที (สจช.รัชกาลที่ 6.ร.6/1น.20.3/54.20 ธ.ค.
2466: 29) แม้ในเวลาต่อมาจะมีความพยายามส่งเสริมให้คนหันมาใช้วธิ กี ารเก็บข้าวด้ว ยเคียวตามอย่างชาวนาใน
ภาคกลาง ซึง่ สามารถเกีย่ วได้คราวละมาก ๆ ถึงกับมีการประกาศห้ามไม่ให้ใช้แกะเก็บข้าวตามปกติทใ่ี ช้กนั และ
ให้กานันจัดหาเคียวไว้สาหรับเกีย่ วข้าว แต่การเก็บข้าวด้วยแกะก็ยงั คงมีความนิยมต่อ ๆ มา
ความจริงแล้ว การทีช่ าวนาภาคใต้นิยมเก็บข้าวด้วยแกะเพราะเชื่อกันว่า ทาให้แม่โพสพไม่ตกใจ จะได้
ให้ผลผลิตสูง ลักษณะความเชื่อดังกล่าวนี้ อาจดูไร้เหตุผลสาหรับเจ้าหน้าทีข่ องรัฐทีไ่ ม่ใช่คนภาคใต้ เจ้าหน้าที่
ของรัฐพยายามอธิบายให้ราษฎรเข้าใจว่า การเกี่ยวข้าวด้วยเคียวสะดวกกว่า ชาวนาในกรุงเทพฯ และที่อ่นื ๆ
เกีย่ วข้าวด้วยเคียวทัง้ สิน้ แต่กไ็ ม่เป็ นผล ราษฎรยังคงสมัครใจใช้วธิ เี ก็บข้าวด้วยวิธเี ดิม แท้จริงแล้ว การเก็บข้าว
ด้วย “แกะ” เป็ นภูมปิ ั ญญาชาวบ้านในภาคใต้ ประโยชน์ของการใช้แกะเก็บข้าว คือ สามารถเก็บข้าวได้ทงั ้ หมด
ตกหล่นน้อยมาก ไม่ตอ้ งเสียเวลานวด ทัง้ ยังไม่เปลืองเนื้อทีเ่ ก็บรักษาข้าวในยุง้ ฉางเพราะไม่มฟี างและใบข้าวมาก
เหมือนการเก็บข้าวด้วยเคียว อีกทัง้ ยังสามารถรักษารวงข้าวได้นาน ดังนัน้ ประชาชนจึงยังคงนิยมใช้แกะเก็บข้าว
มาจนทุกวันนี้
นอกจากนี้ พันธุ์ขา้ วพื้นเมืองของภาคใต้นนั ้ มีลาต้นสูงมาก ในที่ดนิ ดีขา้ วสูงท่วมหัว เวลาเก็บต้องใช้ไม้
ทาบให้ลม้ เครื่องมือทีเ่ ก็บเกีย่ วข้าวก็ตอ้ งสอดคล้องกับลักษณะพันธุข์ า้ ว ข้าวพืน้ เมืองเป็ นพันธุข์ า้ วทีม่ คี อรวงยาว
เหมาะสาหรับเก็บด้วยแกะ ต่างจากข้าวภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็ นพันธุข์ า้ วเบา ต้นค่อนข้างเตีย้ คอรวงสัน้ เก็บเกีย่ ว
ด้วยแกะยาก แม้จะมีการส่งเสริมให้ใช้เคียวในการเกีย่ วข้าวแต่กเ็ จอกับปั ญหาฝน เพราะถ้าเก็บด้วยแกะ เมื่อเก็บ
เกีย่ วเสร็จ ชาวนาสามารถหอบกลับบ้านได้ พอมีแดดก็ตากบัวคว่าบัวหงาย คือจับเรียงพลิกขึน้ มา แดดออก 1-2
ชัวโมง
่ ก็แห้งดีแล้ว แต่หากใช้เคียวก็ตอ้ งขนฟางกลับไปบ้านด้วย คนใต้สว่ นใหญ่มกั ไปทานาไกลจากหมู่บา้ น เมื่อ

337
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ต้องแบกทัง้ ข้าวทัง้ ฟางฟ่ อนใหญ่ขนกลับบ้าน หากฝนตกลงมาก็เปี ยก ข้าวจะเสียหาย (นิพทั ธ์พร เพ็งแก้ว 2544,
105)
ถ้าปี ใดทานาได้ผลดีจะต้องรีบเร่งเก็บให้ทนั เวลา ไม่เช่นนัน้ ข้าวจะ “ยับ” คือ ข้าวสุกมากจนรวงข้าวเปราะ
และแตกหักง่าย จนยากต่อการเก็บเกีย่ ว เมล็ดจะร่วงหล่นลงดิน ดังนัน้ ในขัน้ ตอนการเก็บเกีย่ วข้าว นอกจากจะใช้
แรงงานในครอบครัวแล้ว ยังต้องขอความช่วยเหลือจากเครือญาติและเพื่อนบ้านให้มาช่วยเก็บเกีย่ วข้าว ซึง่ เรียกว่า
ออกปาก หรือซอมือ ตามแต่โอกาส ข้าวทีเ่ ก็บเกีย่ วเสร็จแล้ว จะถูกเก็ บที่ “เรือนข้าว” หรือ “ห้องข้าว” ตามสภาพ
ของบ้านแต่ละหลังและปริมาณข้าวทีม่ อี ยู่ ข้าวทีจ่ ดั เก็บเหล่านี้จะจัดเลียงข้าววางซ้อนกันอย่างมีระเบียบเป็ นลอม
เรียกว่า “ลอมข้าว” โดยจะไม่มกี ารนวดข้าวจนกว่าจะนามากินหรือแลกเปลีย่ นซือ้ ขาย (กิตติ ตันไทย 2552, 46-47)
ดังนัน้ การเก็บข้าวด้วย “แกะ” นอกจากจะเหมาะกับชนิดของพันธุข์ า้ วทีป่ ลูกแล้ว วิถกี ารผลิตเช่นนี้กลับยิง่ ส่งเสริม
ความสัมพันธ์อนั ดีของผูค้ นในชุมชนในเรื่องของการพึง่ พาอาศัยซึง่ กัน และสะท้อนออกมาเป็ นวัฒนธรรมของชุมชน
ในเรื่องการออกปาก กินวาน และซอมือตามแต่ละโอกาส ช่วยเสริม สร้างความรักความสามัคคีของผูค้ นในชุมชน
หล่อหลอมให้เกิดความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมชุมชน ในสังคมการเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทานา มีวฒ ั นธรรมความ
เชื่อต่าง ๆ มากมายทีห่ ล่อเลีย้ งวิถชี วี ติ ก่อให้เกิดความรูส้ กึ ร่วมในการหวงแหนรักษาทรัพยากรธรรมชาติอนั เป็ น
ของสาธารณะทีท่ ุกคนมีสทิ ธิในการใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน วัฒนธรรมเหล่านี้นอกจากธารงรักษาธรรมชาติแล้วยัง
ก่อให้เกิดความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้คนในพื้นที่ เกิดความรัก ความสามัคคี เห็นอกเห็นใจกัน และสร้าง
ความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชน ด้วยวิถชี วี ติ ที่เรียบง่ายกับความเป็ นอยู่แบบชาวนาดัง้ เดิมชุมชนทัง้ สามในอดีต มี
ความเชื่อผูกพันกับการบูชาแม่โพสพแบบเดียวกัน ชาวนาจะมีการทาขวัญข้าว บางส่วนจะทาขวัญข้าวเป็ นราย
ครัวเรือน และบางพื้นที่มีการทารวมกันที่วดั เรียกว่า “ทาขวัญข้าวใหญ่ ” โดยวัดจัดให้มีกองข้าวเลียงขึ้น เมื่อ
ชาวบ้านนาข้าวเลียงมาบริจาควัด วัดจะรวบรวมไว้ แล้วกาหนดวันทาขวัญข้าวใหญ่ขน้ึ เมื่อถึงวันนัน้ ชาวบ้านแต่ละ
ครัวเรือนจะนาข้าวไปวัดอีกคนละ 1 เลียง และเขียนชื่อกากับไว้ ผูจ้ ดั พิธจี ะนาข้าวเลียงของทุกคนรวมไว้ด้วยกัน
และประกอบพิธดี งั กล่าวข้างต้น เมื่อเสร็จพิธแี ล้ว แต่ละครัวเรือนจะนาข้าวเลียงของตนกลับไปเก็บไว้บนยุง้ เป็ นข้าว
ขวัญ ประเพณีทาขวัญข้าว ทากันทุกท้องทีแ่ ละแทบทุกครัวเรือนทีม่ กี ารทานา เชื่อกันว่าเพื่อเป็ นสิรมิ งคล ไม่อด
อยาก ทานาได้ผล มีขา้ วกินตลอดปี เพราะแม่โพสพจะประทานความสมบูรณ์พูนสุขมาให้ ประเพณีดงั กล่าวนี้ มี
คุณค่าทางด้านจิตใจ เป็ นการปลูกฝั งคุณธรรมเรื่องความกตัญญูต่อสิง่ ทีม่ คี ุณ ให้ความสาคัญต่อข้าว แสดงออกต่อ
ข้าวด้วยความสานึกในคุณค่า รูป้ ระหยัด รูจ้ กั เก็บรักษาไม่ให้ตกเป็ นอาหารของสัตว์และปล่อยให้หกเรีย่ ราดโดยไม่
สมควร ซึ่ง การท าขวัญ ข้า วเช่ น นี้ ก ลับ ค่ อ ย ๆ เลือ นหายไปเมื่อ เกิด รู ป แบบการท านาแบบใหม่ ท่ีมีก ารน า
เครื่องจักรกลมาใช้แทนแรงงานคนและสัตว์เลีย้ ง และหายไปอย่างสิน้ เชิงเมื่อมีการทาสวนยางหรือสวนปาล์มในนา
ข้าว เพราะการทาสวนยางพาราหรือสวนปาล์มไม่มพี ธิ กี รรมเช่นการทานาอีกต่อไป
วิถชี ุมชนดัง้ เดิมนัน้ จะเห็นว่าประชาชนดารงชีวติ อยู่อย่างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน ผูค้ นมีความสัมพันธ์
กันอย่างแนบแน่ นในลักษณะของการออกปากกินวาน ซอมือ และการผูกดองผูกเกลอกัน ซึง่ วิถเี ช่นนี้เป็ นลักษณะ
ปกติของชุมชนชนบทภาคใต้ของไทยโดยทัวไปที ่ ต่ อ้ งอาศัยตนเองและชุมชนในการปกป้ อง พิทกั ษ์รกั ษาทรัพย์สนิ
ภายในชุมชนร่วมกัน
ออกปากหรือวาน เป็ นการไหว้วานให้เพื่อนบ้านมาช่วยกันลงแรงทางานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้งาน
หนักหรืองานเร่งด่วนสาเร็จลุล่วงทันการ โดยผู้ท่รี ่วมลงแรงไม่คดิ ค่าแรง งานที่จะออกปากกันนัน้ ถือเอาความ

338
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จาเป็ น 2 ประการ คือ เป็ นงานหนักเกินกาลังทีค่ นภายในครอบครัวจะช่วยกันทาได้หรือเป็ นงานด่วนทีจ่ ะต้องเร่ง


ดาเนินการ ไม่เช่นนัน้ จะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สนิ
การซอมือ มีลกั ษณะคล้ายกับการออกปาก ผิดกันแต่เพียง “การซอมือ” นัน้ แต่ละฝ่ ายจะต้องช่วยทางาน
ตอบแทนซึง่ กันและกันในปริมาณงานทีใ่ กล้เคียงกันหรือมากกว่า เช่น กรณีการทานา ชาวนาทีย่ งั เตรียมพืน้ ทีน่ า
ของตนไม่เรียบร้อย ก็จะไปช่วยทานาของผูอ้ ่นื ก่อน เมื่อนาของตนพร้อมแล้ว อีกฝ่ ายก็จะมาช่วยเป็ นการตอบแทน
ส่วนใหญ่จะ “ซอมือ” กันเป็ นวัน เป็ นสัญญาระหว่างกันของสองฝ่ าย ไม่มกี ารบิดพลิว้ ผิดสัญญาซึง่ กันและกัน
การออกปากและซอมือนัน้ ผูท้ ่ีขอความช่วยเหลือผูอ้ ่นื จะเกิดความรูส้ กึ มีบุญคุณต่อผูท้ ม่ี าช่วยเหลือตน
ดังนัน้ เมื่อได้รบั การออกปากให้ไปช่วยเหลือเขาบ้าง จึงไม่ปฏิเสธและเต็มใจช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ยกเว้นจาเป็ น
จริงๆ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย เป็ นต้น ซึง่ นอกจากจะช่วยเหลือกันในด้านการผลิต การประกอบอาชีพแล้ว ยังช่วยเหลือ
กันในด้านสังคมอีกด้วย ดังกรณีเพื่อนบ้านมีงานสาคัญต้องใช้แรงงานมาก เช่น สร้างบ้าน งานศพ งานแต่งงาน
เป็ นต้น จะต้องออกปากขอความช่วยเหลือจากญาติมติ ร และชาวบ้านให้มาลงแรงช่วยกันสาหรับการจัดงานต่าง ๆ
แม้ไม่มอี ุปกรณ์สงิ่ อานวยความสะดวกใด ๆ แต่ทุกคนจะพร้อมใจกันในการทีจ่ ะทาให้งานเหล่านัน้ สาเร็จลุล่วงไปได้
ด้วยดี

...สมัยก่อนน้าก็หาบกัน ส่วนไม้ฟืนก็ผ่ากัน 2 วัน สาหรับเอาไว้หุงข้าว และทาแกง เมื่อก่อน


ทาพิธนี งพื
ั ่ น้ กันเพราะไม่เต็นท์... (เอือ้ ม สงห้อง 2558)
หรือแม้แต่อาหารการกินในการจัดงาน จะช่วยกันจัดเตรียม หาตามกาลังทีต่ นมี บางคนก็จะนาข้าวสารใส่
หม้อไปช่วย ใครมีผกั ผลไม้ชนิดใดก็นามาช่วยงานได้ แต่หากแม้นไม่มสี งิ่ ใดจะนามา ก็มาช่วยด้วยแรงกายทีม่ ี

...เค้าช่วยเหลือกัน เมื่อก่อนงานศพเค้าก็พาข้าวสารไปให้ หิ้วใส่หม้อกันไปช่วยในงานศพ


ส่วนเวลากลับเค้าก็ใส่หม้อกับมาให้เราเมื่อก่อนวัวก็ลกั กัน... (เอือ้ ม สงห้อง 2558)
ส่วนการผูกเกลอหรือเป็ นเพื่อนเกลอกัน เกิดขึน้ ได้ทงั ้ จากการจัดการของผูใ้ หญ่ทงั ้ 2 ฝ่ าย และผูท้ อ่ี ยู่ใน
วัยเดียวกัน อุปนิสยั ถูกต้องตรงกัน ก็มาเป็ นเพื่อนเกลอกันได้ การเป็ นเพื่อนเกลอมีทงั ้ ในหมู่บา้ นเดียวกัน และ
ต่างหมู่บา้ น ซึง่ มีความสาคัญมากทัง้ ในภาคใต้และลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา เพราะเมื่อทัง้ สองฝ่ ายเป็ นเกลอกันแล้ว
จะรักใคร่กลมเกลียวกันเสมือนญาติ ช่วยเหลือเกือ้ กูลซึง่ กันและกัน บางคู่ถงึ ขนาดตายแทนกันได้ บางรายเมื่อคู่
เกลอล้มป่ วยหรือพิการไม่สามารถดูแลบิดามารดาหรือน้อง ๆ ได้ เพื่อนเกลอจะรับภาระแทน ทีส่ าคัญ คือ เมื่อคู่
เกลอของตนเป็ นเกลอกับคนอื่น ๆ ต่อไปอีก ก็จะรักใคร่ค่เู กลอนัน้ เสมือนหนึ่งว่าเขาเป็ นเกลอของตนด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้คนในอดีตภายในชุมชนมีความสนิทสนม แนบแน่ น คบหากันด้วยน้ าใจ
และมีความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่กนั เป็ นอย่างมาก เนื่องจากชุมชนอยู่ห่างไกลเกินกว่าจะหวังพึ่งความช่วยเหลือจาก
อานาจรัฐ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชน ชาวบ้านจึงต้องช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้ผ่านพ้นอุปสรรคเหล่ า นั น้
วัฒนธรรมชุมชนในอดีตตัง้ แต่การออกปากหรือวาน ซอมือ และการเป็ นเพื่อนเกลอ เป็ นการช่วยเหลือพึง่ พาอาศัย
ซึง่ กันและกัน ช่วยให้ชุมชนมีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่ น เกิดความรูส้ กึ ร่วมของคนในชุมชนในการร่วมแรง
ร่วมใจกันปกป้ องคุม้ ครองชีวติ และทรัพย์สนิ ซึง่ กันและกันเมื่อมีภยั มาคุกคาม
จะเห็นได้ว่า วิถชี วี ติ ของชุมชนทัง้ สามในอดีตมีความเป็ นอยู่ อย่างเรียบง่าย และผ่อนคลายยิง่ ความอุดม
สมบูรณ์ ของพื้นที่ ทาให้ชีวิตไม่ต้องเร่งรีบในการหาเลี้ยงปากท้อง ข้าวเปลือกที่ผลิตได้ก็ไม่ต้องรีบร้อนสีเ ป็ น

339
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ข้าวสาร จะสีเฉพาะเมื่อจะนามาบริโภค ทุกบ้านมีขา้ วในเรือนข้าว กับข้าวหาได้ในทะเลสาบ เมล็ดพันธุข์ า้ วมีอยู่ใน


เรือนข้าว ปุ๋ ยหรือยาฆ่าแมลงมาจากภูมปิ ั ญญาพืน้ บ้านทีส่ บื ต่อ ๆ กันมา แรงงานทางการเกษตรอาศัยแรงงานสัตว์
เลีย้ งและคนในครอบครัว มีการช่วยเหลือพึง่ พากันตามสมควร โยงยึดชุมชนกันด้วยวัฒนธรรม “น้าใจ”

ผลกระทบจากการพัฒนา
เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชุมชนทัง้ สามได้เปลีย่ นแปลงไปตามกระแสโลก ระบบทุนนิยมและโลกาภิวตั น์ได้เข้า
มามีบทบาทต่อวิถชี วี ติ ของคนในชุมชน ส่งผลให้ชวี ติ ทีอ่ ยู่ในความพอเพียงเกิดความไม่เพียงพอ ทุกคนมุ่งแสวงหา
ความสะดวกสบาย ละเลยความเป็ นอยู่อย่างเรียบง่ายเช่นอดีตทีผ่ ่านมา วัฒนธรรมชุมชนทีด่ งี ามถูกละเลย ไม่เห็น
ความสาคัญ วัฒนธรรมเมืองเริม่ เข้ามามีบทบาทในชุมชนอย่างไม่อาจหยุดยัง้ เมื่อรัฐมีนโยบายเน้นการพัฒนาเป็ น
หลัก ในการก้า วไปข้า งหน้ า ชุ ม ชนเริ่ม เกิด การเปลี่ย นแปลงตามแนวทางการพัฒ นาที่เ กิด ขึ้น ส่ ง ผลท าให้
ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและขาดแคลนลงอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบ่งปั นเปลี่ ยนเป็ นการ
แข่งขัน ชิงดีชงิ เด่น และเห็นแก่ตวั กันมากขึน้ สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคยมังคั่ งและมั
่ นคงกลั
่ บถอยหลัง
จนยากทีจ่ ะกลับคืนมาเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป
นับตัง้ แต่ปี พ.ศ.2504 เป็ นต้นมา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีความ
ทันสมัย (Modernization Theory) ทีม่ ุ่งเน้นการเพิม่ รายได้ประชาชาติ การผลิตสินค้าและบริการตลอดจนโครงสร้าง
พื้นฐานที่สาคัญของรัฐ เช่น การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ า การสร้างทางหลวงแผ่นดิน เป็ นต้น
โดยใช้ตวั ชีว้ ดั ทีส่ าคัญ คือ เงิน โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 และ 6 ซึง่ มีการดาเนิน
มาตรการสาคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่ อ การพัฒนาพื้นที่ลุ่ม น้ าทะเลสาบสงขลา มีเป้ าหมายสาคัญคือการปรับ
โครงสร้างการผลิตและขยายฐานเศรษฐกิจให้เมืองสงขลา-หาดใหญ่เป็ นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เช่น การ
พัฒนาอุตสาหกรรม โดยการจัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรม การก่อสร้างท่าเรือน้าลึก การปรับระบบคมนาคมทางน้า ทาง
ถนน และทางรถไฟ เป็ นต้น
ผลจากการพัฒ นาส่ ง ผลโดยตรงต่ อ วิถีชีวิต ความเป็ นอยู่ ข องผู้ ค นในชุ ม ชนที่ต้ อ งปรับ ตัว ต่ อ การ
เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ การพึง่ พาตนเอง ความเอือ้ เฟื้ อเผื่อแผ่และการพึง่ พากันเริม่ จางหายไปเมื่อเกิดการพัฒนา
ตามระบบทุ น นิ ย ม ความเจริญ และเทคโนโลยีส มัย ใหม่ ท่ีเ กิด ขึ้น ได้ ท าลายวัฒ นธรรมดัง้ เดิม ของชุ ม ชน
ความสัมพันธ์ฉนั ท์เครือญาติของคนในสังคมเสื่อมลง ความเห็นแก่ตวั เกิดขึน้ แทนที่ ชุมชนจึงต้องเผชิญกับระบบ
ทุนนิยมซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดารงชีวติ ของผู้คน สิง่ ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาดังกล่าวที่เห็นเด่นชัด คือ
การผลิตเพื่อการยังชีพกลายเป็ นการผลิตเพื่อการค้า เช่น ในอดีตการปลูกข้าวของชาวนาจะเป็ นการปลูกเพื่อเก็บ
ไว้รบั ประทาน ไม่ได้ปลูกเพื่อขายเป็ นหลัก เรือนเก็บข้าวนับเป็ นเครื่องบ่งบอกฐานะทางการเงินของชาวบ้าน หาก
ใครมีเรือนข้าวขนาดใหญ่แสดงว่ามีฐานะมังคั ่ ง่ ร่ารวย นอกจากเรือนข้าวแล้ว ฝูงสัตว์กน็ ับเป็ นเครื่องกาหนดฐานะ
ของคนในชุมชนอีกด้วย หากใครมีววั มากก็นบั ว่าเป็ นผูม้ ฐี านะดี ดังนัน้ หากไม่จาเป็ นจริง ๆ ชาวนาจะไม่นาข้าวใน
เรือนข้าวออกมาขายโดยเด็ดขาด เพราะการทาเช่นนัน้ จะถูกมองว่ายากจนข้นแค้นมาก ถึงขนาดต้องนาข้าวใน
เรือนข้าวมาขาย

...ปลูกกินเป็ นหลัก ทีเ่ หลือค่อยแลกเปลีย่ น ใครขายข้าว เค้าว่ามันจนถึงขนาดขายข้าวแล้ว


เหรอ เค้าไม่ขายนะครับทีน่ ่ี... (เวทีเสวนาท่าข้าม 2558)

340
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แต่ เ มื่อ ระบบทุน นิ ยมเข้า มามีบทบาทในชุมชน เป้ า หมายการผลิตของคนในพื้น ที่เ ป็ น ไปตามความ


ต้องการของตลาดโลก เงินกลายเป็ นสิง่ จาเป็ นของผูค้ น เพราะต้องใช้เงินมาซือ้ สินค้าทุกอย่างในการอุปโภคบริโภค
ชีวติ ทีเ่ คยเรียบง่าย ผ่อนคลาย กลับไปสูช่ วี ติ ทีส่ บั สน วุ่นวาย และต้องดิน้ รนในการหาเลีย้ งปากท้องมากขึน้ วิถกี าร
ผลิตแบบดัง้ เดิมทีแ่ ทบจะไม่มกี ารลงทุนด้วยตัวเงิน แต่เมื่อเปลีย่ นแปลงการผลิตทีเ่ น้นเพื่อการค้าเป็ นสาคัญ ปั จจัย
การผลิตทุกอย่างต้องใช้เงินในการดาเนินการ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึน้ และเกิดการเปลีย่ นแปลงต่อวิถชี วี ติ
ของผูค้ นอย่างไม่อาจหลีกเลีย่ ง นับตัง้ แต่การเปลีย่ นแปลงเมล็ดพันธุ์ ซึง่ แต่เดิมข้าวทีป่ ลูกในบริเวณพืน้ ที่ จะนิยม
ใช้พนั ธุข์ า้ วพืน้ เมือง เช่น ข้าวหัวนา ข้าวหอมจันทร์ ข้าวสังข์หยด เป็ นต้น กลายเป็ นข้าวสายพันธุใ์ หม่ทไ่ี ด้รบั การ
ส่งเสริมให้ปลูกโดยภาครัฐ ที่พยายามเร่งเพิม่ ผลผลิตป้ อนตลาด ผลจากการที่ชาวนาหันมาใช้ขา้ วสายพั นธุใ์ หม่
โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิพนั ธุ์ กข ได้เปลีย่ นแปลงวิธกี ารผลิตข้าวของชาวนาอย่างมากโดยเฉพาะการเก็บเกีย่ วข้าว
ชาวนาต้องเริม่ ใช้เคียวเก็บเกีย่ วข้าวแทน “แกะ” เพราะข้าวพันธุใ์ หม่ตน้ เตีย้ ไม่เหมาะทีจ่ ะใช้ “แกะ” เก็บเกีย่ วข้าว
นอกจากนี้ ยัง มีก ารน าเทคโนโลยีก ารผลิ ต แบบใหม่ ม าช่ ว ยในการท านามากขึ้น มีก ารขยายพื้น ที่
เพาะปลูกข้าว เร่งผลิตข้าวในปริมาณมากเพื่อหวังกาไร ทาให้ทรัพยากรในท้องถิน่ เช่น แรงงานคน แรงงานสัตว์
เลีย้ ง และปุ๋ ยตามธรรมชาติมไี ม่เพียงพอต่อการเร่งผลิตเช่นนี้ ชาวนาต้องหันมาพึง่ พิงทรัพยากรจากภายนอกมาก
ขึน้ เพื่อให้สามารถมีผลผลิตจานวนมากป้ อนตลาดได้ เริม่ มีการใช้ขา้ วพันธุใ์ หม่ทใ่ี ห้ผลผลิตต่อไร่สงู ปุ๋ ยเคมี ยาฆ่า
แมลง ซึ่งสิง่ เหล่านี้ล้วนต้องใช้เงินตราในการซื้อหา ชาวนาต้องใช้เงินลงทุนในการทานาสูงขึน้ เริม่ เสีย่ งต่อการ
ขาดทุนเมื่อราคาผลผลิตตกต่า ประกอบกับการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ ยเคมียงั ส่งผลต่อวิธกี ารผลิต วิถชี วี ติ และระบบ
นิเวศทีเ่ คยอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ า อีกทัง้ ยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิม่ สูงขึน้ ทาให้ชาวนาเริม่ ขายข้าวขาดทุน
ซึง่ ปรากฏชัดเจนตัง้ แต่ตน้ ทศวรรษ 2530 เป็ นต้นมา (กิตติ ตันไทย 2552, 125)
เทคโนโลยีสมัยใหม่ทเ่ี ข้ามา เช่น รถไถนาถูกนามาแทนทีก่ ารใช้ววั ควาย จากเดิมชาวนานิยมไถนาด้วย
วัว แต่ต่อมาก็หนั มาใช้รถไถนาซึง่ มีนายทุนนามาให้เช่า ราวปี พ.ศ. 2520 โดยคิดค่าจ้าง 20 บาทต่อไร่ แต่ชาวนา
บางส่วนยังคงไถนาด้วยวัวเช่นเดิม ต่อมาในเวลาไล่เลีย่ กันมีการนารถจักรลูกหมามาใช้ในพืน้ ทีแ่ ถบนี้ ซึง่ ราคาขาย
ในขณะนัน้ ประมาณหมื่นกว่าบาท ชาวนาบางส่วนจึงเช่ารถไถนา และถ้าพอมีเงินจะซือ้ รถจักรลูกหมามาใช้แทนวัว
ส่วนทีไ่ ม่มเี งินค่าจ้างไถนาก็ยงั คงใช้ววั ไถนาต่อไป รถจักรลูกหมาสามารถไถนาได้วนั ละประมาณ 15 ไร่ ในขณะที่
การไถด้วยวัวได้วนั ละครึง่ ไร่เพราะต้องพักให้ววั กินหญ้า ชาวนาจึงหันมาใช้รถไถนามากขึน้ เรื่อย ๆ ส่วนวัวก็ยงั คง
เลีย้ งต่อไป แต่เป็ นการเลีย้ งเพื่อจาหน่ าย ไม่ใช้ทานาอีกต่อไป นอกจากมีการจ้างรถไถนาแล้ว ในระยะนี้ยงั มีการ
ว่าจ้างรถเกีย่ วข้าวด้วย โดยคิดค่าจ้างไร่ละ 300-400 บาท (เวทีเสวนานาปะขอ 2556) จากข้อจากัดของยุคสมัยที่
เร่งรีบทางานแข่งขันกับเวลา วิถกี ารทานาเองก็ไม่ได้ถูกละเว้น ต้องใช้เครื่องทุ่นแรง ทานาแบบรีบเอาข้าวขึน้ บ้าน
เกิดหนี้สนิ จากต้นทุนการผลิตทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ความฟุ่มเฟื อยและการใช้จ่ายตามกระแสทุนนิยม

…ไม่เอามาปลูกข้าวอย่างเดียว เพียงแต่เอาเบีย้ มาซื้อปุ๋ ย ซือ้ ข้าว มันก็คุม้ ทุน แต่บางคนที่


ติดหนี้เพิ่มเพราะว่าความร่ ารวย ยกตัวอย่างบางบ้านที่ไม่เคยมีก็อยากมี บ้านไหนไม่มี
รถยนต์พอเห็นเพื่อนมีกต็ อ้ งมี มันเกิดจากความฟุ่มเฟื อยทีท่ าให้คนเป็ นหนี้กนั มาก มันไม่ใช่
สาเหตุ เพราะต้นทุนอย่างเดียวแต่เพราะความฟุ่ มเฟื อย แต่ ละคนเป็ นหนี้นอกระบบ หนี้
ย่อยๆ ตามองค์กรของหมู่บา้ น กองทุนหมู่บ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ กองทุนสัจจะต่าง ๆ (ผจญ
ทรัพย์แก้ว 2558)

341
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ผลกระทบทีต่ ามมาจากการพัฒนาดังกล่าว คือ การแข่งขันเพื่อสร้างความมังคั ่ งในด้


่ านรายได้ ก่อให้เกิด
ปั ญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม การย่อหย่อ นในศีลธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ
ส่งผลให้วถิ ชี วี ติ และค่านิยมดัง้ เดิมทีด่ งี ามของไทยเริม่ จางหายไปพร้อม ๆ กับการล่มสลายของสถาบันครอบครัว
ชุ ม ชน และวัฒ นธรรมของท้ อ งถิ่ น อี ก ทัง้ การเร่ ง รัด พัฒ นาเศรษฐกิ จ ตลอดระยะเวลาที่ ผ่ า นมา ท าให้
ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเสื่อมโทรมลงเป็ นลาดับ รวมทัง้ มองข้ามการพัฒนาคุณค่าของความเป็ นคน
ละเลยภูมิปัญญา และวิถีชวี ติ ความเป็ นอยู่บนพื้นฐานของความเป็ นไทย ซึ่งส่งผลต่ อการพัฒนาที่ไม่ยงยื ั ่ นใน
อนาคต
ข้าวพันธุใ์ หม่ทศ่ี นู ย์วจิ ยั ข้าวส่งเสริมให้ชาวนา แม้ว่าจะให้ผลผลิต สูงแต่มคี วามต้านทานโรคต่า มีโรคและ
แมลงรบกวนมาก ชาวนาต้องใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงฉีดพ่นลงในแปลงนา ระบบนิเวศในไร่นาเริม่ เปลี่ยนไป
จุลนิ ทรีย์ในดินถูกสารเคมีและยาฆ่าแมลงทาลาย ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ชาวนาต้องใช้ปุ๋ยเคมีใส่ลงในนา
เพื่อเพิม่ ความอุดมสมบูรณ์เพิม่ ขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นานวันเข้า ทาให้ดนิ จับตัวเป็ นก้อน ความสมบูรณ์ในดินหายไป
นอกจากนี้ การไม่ระมัดระวังในการใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงทาให้สารเคมีเหล่านี้ไหลลงไปในทะเลสาบ ทาลาย
สิง่ มีชวี ติ ในน้ า ระบบนิเวศถูกทาลาย ส่งผลให้ชาวนาต้องใช้เงินในการซือ้ สิง่ ของทุกอย่าง เพราะธรรมชาติไม่เอือ้
ประโยชน์ ต่อการดารงชีวติ อีกต่ อไป การทานาแบบใหม่ชาวนาต้องใช้เงินลงทุนสูง ตัง้ แต่ ค่าเมล็ดพันธุ์ในการ
เพาะปลูก ค่ารถไถนา ค่าปุ๋ ย ค่ายากาจัดศัตรูพชื ค่าเก็บเกีย่ ว ฯลฯ ข้าวพันธุใ์ หม่ทน่ี ามาใช้ทาให้ชาวนาต้องเปลีย่ น
วิธกี ารเก็บเกีย่ วจากการใช้แกะมาเป็ นการใช้เคียว ชาวนาต้องเก็บข้าวในลักษณะข้าวเปลือกในกระสอบ แทนการ
เก็บเป็ น “เลียง” เป็ น “ลอม” ในเรือนข้าวดังอดีต และเมื่อมีรถไถนาและรถเกีย่ วข้าวมาใช้
เมื่อวิถกี ารผลิตได้เปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัยของการพัฒนาเช่นนี้ ได้ส่งผลกระทบทางสังคมต่อชุมชน
อย่างเด่นชัด กล่าวคือ การช่วยเหลือเกือ้ กูล การพึง่ พากันด้วยวิถวี ฒ ั นธรรมดัง้ เดิมในชุมชนได้ค่อยๆ จางหายไป
เนื่องจากทุกคนต่างมุ่งแสวงหาเงินตรามาจับจ่ายใช้สอย ชาวนาใช้เงินทีห่ ามาได้จา้ งทัง้ แรงงานคนและเครื่องจักร
เพื่อช่วยในการทานา การถ้อยทีถอ้ ยอาศัย วัฒนธรรมชุมชน ความมี “น้ าใจ” ถูกแทนทีด่ ว้ ย “น้ าเงิน” การพึง่ พาซึง่
กันและกันก็เลือนหายไปอย่างน่ าเสียดาย ปั จจัยการผลิตทีส่ งู ขึน้ ทัง้ จากเมล็ดพันธุข์ า้ วแบบใหม่ ค่าจ้างไถนา ค่า
ปุ๋ ยเคมี ค่ารถเกีย่ วข้าว ฯลฯ ประกอบกับพืน้ ทีเ่ สียหายสะสมมากขึน้ เรื่อย ๆ จนการทานาในปี หลัง ๆ ให้ผลผลิต
น้อยลง กาไรเหลือไม่คุม้ กับการลงทุน ชาวนาบางส่วนเริม่ หยุดทานา โดยหันมาทาสวนยางพารา สวนปาล์ม พืช
เศรษฐกิจตัวใหม่ทไ่ี ด้รบั การส่งเสริมจากภาครัฐแทน
สรุปได้ว่า ชุมชนดัง้ เดิมในอดีต ผูค้ นไม่ต้องดิน้ รน เป็ นอยู่อย่างเรียบง่าย แต่เมื่อสิง่ เหล่านี้สญ
ู เสียไป ทุก
อย่างต้องซือ้ หาด้วยเงิน ชีวติ ต้องผูกติดอยู่กบั ตลาด ซึง่ มีความไม่แน่ นอน บางครัง้ ต้องขายผลผลิตในราคาต่ากว่า
ทุน ก็จาต้องยอม เมื่อเจอภาวะขาดทุนแต่รายจ่ายเพิม่ ขึน้ เพราะทรัพยากรธรรมชาติไม่สามารถหล่อเลีย้ งชีวติ ได้
อีก ชีวติ เริม่ เครียดและถูกบงการด้วยเงินและตลาดอย่างหนักขึ้นเรื่อย ๆ แต่ใ นขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ใน
ชุมชนกลับเริม่ เสื่อมลง ความมีน้ าใจ เอือ้ เฟื้ อเผื่อแผ่ เอือ้ อาทรกันหาได้ยากเย็น ผูค้ นสนใจเรื่องเงินทองมากกว่า
มองกันที่ “น้ าใจ” สิง่ ดีงามเหล่านี้เริม่ เสือ่ มคลายลงอย่างน่ าเสียดาย การเปลีย่ นวิธที านา ก่อให้เกิดหนี้สนิ ทานาไม่
พอกิน หนุ่ มสาวเริม่ ทิง้ ชุมชนไปหากินในเมือง ทิง้ คนแก่และเด็กไว้ ผูไ้ ด้รบั การศึกษาสูงก็หางานอื่นทา ไม่คดิ สืบ
ทอดการทานาเช่นพ่อแม่ เพราะมองว่าเป็ นอาชีพที่เหนื่อยยาก ลาบาก ไม่มเี กียรติและศักดิศรี ์ คนในพื้นที่ท่ไี ม่
อพยพย้ายไปไหนก็ตอ้ งปรับตัวเพื่อให้ชวี ติ ของตนดารงอยู่ต่อไปได้ บางส่วนเริม่ หันหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ทีเ่ ป็ น
ที่ต้องการของตลาด เปลี่ยนที่นาข้าว ปรับพื้นที่ให้สูงขึน้ เพื่อปลูก “ยางพารา” หรือ “ปาล์มน้ ามัน” ทาให้ความ

342
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ช่ ว ยเหลือ เกื้อ กู ล เอื้อ อาทรต่ อ กัน ความมีน้ า ใจค่ อ ย ๆ เจือ จางลงโดยมีเ งิน เข้า มาแทรกกัน้ กลางระหว่ า ง
ความสัมพันธ์ ผู้คนเริ่มเปลี่ยนวิธคี ดิ เริ่มคิดถึง “เงิน” แทนการนึกถึง “น้ าใจ” ความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งเป็ น
ภูมคิ ุ้มกันให้ชุมชนปลอดภัยจากโลกภายนอกเริม่ เสื่อมคลายลง ปั ญหาต่าง ๆ ในชุมชนจึงเกิดขึน้ ตามมาอย่าง
มากมายดังทีไ่ ด้ปรากฏเป็ นภาพสะท้อนให้ประจักษ์ในปั จจุบนั

การปรับ ัวและการดารงอยู ่
จากปั ญ หาที่เ กิด ขึ้น อัน เป็ น ผลจากการพัฒ นาของภาครัฐ ส่ง ผลให้ชุ ม ชนทัง้ สามเกิด ปั ญ หาตามมา
มากมาย คนในชุมชนแตกแยก ขาดความรักสามัคคีกนั ความเห็นแก่ตวั คิดแต่ตนเองและครอบครัว ไม่สนใจใคร
ทาให้ชุมชนแทบล่มสลาย ความสัมพันธ์อนั ดีทเ่ี คยมีต่อกันถูกขีด กัน้ ด้วยเงินตรา ก่อนทีช่ ุมชนจะล่มสลายมากไป
กว่านัน้ ทัง้ สามชุมชนได้พยายามจัดการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีจุดเริม่ ต้นและกระบวนการที่
แตกต่างกัน แต่มแี นวคิดร่วมกันคือ การนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในพืน้ ที่ ให้ชุมชนของตนอยู่
รอด ผ่านพ้นวิกฤติไ ด้อย่างมีศกั ดิศ์ รี คนในชุมชนพึ่งตนเองได้และสามารถพัฒนาชุมชนก้าวสู่การเป็ น “ชุมชน
เข้มแข็ง” อันมีรายละเอียดดังนี้
1. ชุมชนโคกเมือง ต.บางเหรียง อ.ควนเนี ยง จ.สงขลา ผลจากการพัฒนาทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลง
ขึน้ ในชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติลดลง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ ยงั ้ คิด ส่งผลให้เกิดความเสื่อมต่อชุมชน
ปริมาณสัตว์น้ าลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้อวนรุนในการจับปลาซึง่ เริม่ เข้ามาในพื้นที่ตงั ้ แต่ประมาณปี
พ.ศ. 2520 มีการใช้อวนตาถี่ ๆ ตาอวนที่มขี นาดเล็กเช่นนี้ จึงทาให้จบั สัตว์น้ าชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ขนาดซึ่งอาศัย
บริเวณเดียวกันไปด้วย ปลาตัวเล็กตัวน้อยจึงถูกจับไปหมด ส่งผลให้ปริมาณปลาลดจานวนลงอย่างรวดเร็ว

...ปลาทีม่ อี ยู่กม็ ขี นาดเล็กลง เช่น ปลาขีต้ งั สมัยก่อนตัวขนาดฝ่ ามือแต่ในระยะหลังนี้ลดลง


เหลือ เพีย งตัว ขนาดสองถึง สามนิ้ ว เท่ า นั น้ ปลาโตไม่ ท ัน ตามความต้ อ งการของคน ...
(ธานินทร์ แก้วรัตน์ 2557)
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาครอบครัว เด็กขาดความอบอุ่นเพราะพ่อแม่ต้องช่วยกันทางานเพื่อหาเงิน เกิด
ปั ญหาชุมชนแตกแยก ขาดการช่วยเหลือกันและกัน การแก้ไขปั ญหาภายในชุมชนมีจุดแรกเริม่ มาจากผูน้ าชุมชน
ในขณะนัน้ คือ ผูใ้ หญ่อุดม ฮิน่ เซ่ง และ อาจารย์สมพงศ์ ลัพกิตโร ข้าราชการบานาญทีป่ รึกษาคนสาคัญในชุมชน

...พอมองเราต้องพัฒนาแล้ว เรามองอดีต พอเรามองอดีต เราก็ต้องนึกถึงปั จจุบนั และก็


คิดถึงอนาคต เราก็เลยมีความคิดทีจ่ ะพัฒนา ...ให้เราอยู่ได้อย่างไม่แร้นแค้น แล้วจะทายังไง
ในเมื่อคนกระจัดกระจายหมดแล้ว เค้าแข่งขันกัน เกิดเป็ นความเห็นแก่ตวั แย่งทรัพยากร
กัน แล้วมีการลักเล็กขโมยน้ อย กลายเป็ นสิง่ เลวร้าย ...ไม่มีระบบระเบียบแล้ว ประเพณี
อะไรก็ห มดแล้ว เราเลยมานัง่ ว่ า จะท าอย่ า งไรดี ก็สรุ ป ปั ญ หาขึ้น มาว่ า ที่เ ห็น ชัด ๆ คือ
ทรัพยากรสัตว์น้ า มันหมดไปเราก็เลยสร้างป่ าชายเลนทีม่ นั เสื่อมโทรมไป แต่ เราก็สร้างเป็ น
ป่ าชายเลนขึน้ มาเพื่อจะอนุ รกั ษ์สตั ว์น้ า แล้วเราก็สาเร็จไปแล้วระดับหนึ่ง และส่วนอื่นทีเ่ รา
ได้ตงั ้ กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มสะสมทรัพย์เพื่อเป็ นสวัสดิการให้กบั ชุมชนเพื่อบรรเทาความ
เดือดร้อน... (สมพงศ์ ลัพกิตโร 2557)
บุคคลทัง้ สองท่านเป็ นกาลังสาคัญในการริเริ่ม ผลักดันและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายใน
ท้อ งถิ่น ที่ต นอาศัย มีค วามต้อ งการร่ วมกัน คือ การเสริม สร้า งชุ มชนให้เ ข้มแข็ง โดยพยายามให้ค นในชุมชน

343
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พิจารณารากเหง้าของตนเอง หันมาสร้างจิตสานึกของความเป็ นพลเมือง สร้างความรักในชุมชนท้องถิน่ รักเพื่อน


รอบข้า ง รวมทัง้ สิ่ง แวดล้อ ม อีก ทัง้ พยายามถัก ทอสายใยแห่งความร่ วมมือ กัน ให้เ กิด ขึ้น ในชุมชนอีก ครัง้ น า
วัฒนธรรมชุมชนทีด่ งี ามคือ ความมีไมตรีจติ อันดี การช่วยเหลือพึง่ พา การถ้อยทีถ้อยอาศัยกลับคืนมาสู่ชุมชนโดย
ผ่านกระบวนการรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่ายและระดมคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิน่
จุดเริม่ ต้นของการระดมคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และให้เกิดการหลอมรวมเป็ นหนึ่งเดียวกันคือ
การใช้ดนตรีเป็ นตัวหล่อหลอม โดยนาคนในหมู่บา้ นมาฝึ กกลองยาว มาช่วยกันรา ร่วมแสดงดนตรี กลุ่มทีส่ องคือ
กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอื่น ๆ ก็เป็ นสวัสดิการทีจ่ ดั เพิม่ ขึน้ เรื่อย ๆ จนปั จจุบนั มีอยู่เกือบ 20 กลุ่ม
แนวคิดในการพัฒนาพืน้ ทีใ่ ห้เป็ นชุมชนเข้มแข็งคือ ชุมชนพึง่ พิง ชุมชนพึง่ พา ชุมชนพึง่ ตนเอง โดยการ
พัฒนาจะเน้นที่คนเป็ นหลัก ชุมชนบ้านโคกเมืองจะกลายเป็ นชุมชนเข้มแข็งได้ และมีความยังยื ่ น ชุมชนต้องมี
ลักษณะสาคัญ คือ ต้องมีประวัติศาสตร์ มีการรวมกลุ่ม มีความเสียสละ มีการแสดงออก มีผู้นาที่เข้มแข็ง มีการ
เชื่อมโยง มีความรับผิดชอบ มีความสามัคคี มีวธิ กี ารและมีทมี งาน รวมทัง้ มีเวทีให้ได้แสดงออก แสดงความคิดเห็น
และทีส่ าคัญคือต้องวางคนให้เหมาะสมกับงาน (สมพงศ์ ลัพกิตโร 2557)
ผลจากการดาเนินงานดังกล่าว ทาให้หมู่บ้านโคกเมืองเป็ นชุมชนเข้มแข็งและได้รบั การยกย่องว่าเป็ น
“หมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียง” เป็ นตัวอย่างทีด่ แี ก่พน้ื ทีอ่ ่นื ๆ ในการนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในพืน้ ที่
ทาให้คนในหมู่บา้ นสามารถพึง่ พาตนเองได้ โดยกลุ่มต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ นัน้ มุ่งเน้นสูท่ ศิ ทางของหมู่บา้ น คือ การสร้าง
ชุมชนเข้มแข็ง บนพืน้ ฐานการพึง่ ตนเอง ตัวชีว้ ดั ความเข้มแข็งของชุมชน และการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง นันก็ ่
คือ การทีช่ ุมชนสามารถดารงอยู่ได้อย่างมีศกั ดิศรี์ คนในชุมชนมีงาน มีรายได้สามารถพึง่ พิงตนเองได้ สมาชิกใน
ชุมชนมีความรักและผูกพันต่อกัน มีความรูส้ กึ ว่าตนเป็ นส่วนหนึ่งของชุมชน ชุมชนมีศกั ยภาพในการพึง่ พิงตนเอง
ได้ในระดับสูง แม้จะมีการพึ่งพิงภายนอกบ้าง แต่อานาจการตัดสินใจทุกด้านยังอยู่ท่ชี ุมชน รวมทัง้ ชุมชนมีการ
พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการเรียนรูต้ ่าง ๆ แต่ไม่สญ ู เสียลักษณะเฉพาะของชุมชมไป
2. ชุมชนท่าข้าม อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็ นชุมชนทีเ่ ป็ นพืน้ ที่ “ชนบทชายขอบ” ของสองเมือง
ใหญ่ในจังหวัดสงขลา คือ อาเภอเมืองสงขลาและอาเภอหาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ หลัง ปี พ.ศ.2520 ทีจ่ งั หวัด
สงขลา ถูกกาหนดให้เป็ นเมืองหลักของพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วยแล้ว การพัฒนา
ทางด้านสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐานในเรื่องไฟฟ้ า ถนนหนทางและความเป็ นสังคมเมืองได้เขยิบเข้ามาชิดใกล้ชุมชน
แห่งนี้อย่างทีไ่ ม่อาจหลีกเลีย่ ง ทาให้ท่าข้ามต้องเผชิญต่อการเปลีย่ นแปลงอย่างหนักหน่ วง ต่อเนื่ อง ยาวนาน ทัง้
ทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิง่ แวดล้อม จากการเปลีย่ นผ่านดังกล่าว
ท่าข้ามในอดีตมีความสุขสงบตามลักษณะทัวไปของสั
่ งคมในแถบชนบท แต่ชุมชนท่าข้ามก็ไม่อาจดารง
ลักษณะดังกล่าวไปโดยตลอด เนื่องจากกระแสความเปลีย่ นแปลงจากโลกภายนอกทีเ่ ข้ามากระทบชุมชน ทัง้ ระบบ
ทุนนิยม กระแสโลกาภิวตั น์ และนโยบายของภาครัฐภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทาให้ชุมชน
แห่งนี้ตอ้ งเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมเป็ นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐมีความสนใจในการพัฒนาพืน้ ทีภ่ าคใต้ เพื่อ
ขยายความเจริญออกสู่พน้ื ทีร่ อบนอก มีการให้งบประมาณสนับสนุ นในการปลู กสร้างสิง่ อานวยความสะดวก และ
บริการสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐานออกสูช่ ุมชน โครงการก่อสร้างถนน ไฟฟ้ า ประปา ความเจริญเริม่ เข้าสูพ่ น้ื ทีต่ ่างๆ
ในอดีตชุมชนท่าข้ามผู้คนอยู่ร่วมกันในลักษณะการพึ่งพาอาศัย มีน้ าจิตน้ าใจไมตรีท่ดี ีต่อกันอันเป็ น
ลักษณะโดยทัวไปของสั
่ งคมในชุม ชนชนบท แต่เมื่อเกิดความเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ในชุมชนอันเป็ นผลกระทบทีม่ า

344
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

จากปั จจัยทัง้ ภายในชุมชนคือ ธรรมชาติขาดความสมบูรณ์ไม่สามารถหล่อเลีย้ งผูค้ นได้อกี ต่อไป ทุกคนมุ่งแสวงหา


เงินตราเพื่อหาซือ้ ความสุขตามค่านิยมสมัยใหม่ จนหลงลืมกันและกัน ชีวติ เป็ นไปในลักษณะต่างคนต่ างอยู่ ต่างคน
ต่างทามาหากินเลีย้ งดูปากท้องของตนและคนในครอบครัว ความเห็นแก่ตวั เริม่ มีมากขึน้ ในชุมชนแห่งนี้ ประกอบ
กับปั จจัยภายนอกอันเป็ นผลจากระบบทุนนิยมทีแ่ ผ่อทิ ธิพลเข้าสูช่ ุมชนตามนโยบายของภาครัฐ ภายใต้แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทัง้ ระบบโลกาภิวตั น์ท่ีไหลบ่าสู่ชุมชนจนคนในชุมชนตัง้ รับไม่ทนั ก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อชุมชนอย่างมาก การช่วยเหลือพึง่ พากันลดลง เกิดปั ญหาภายในชุมชนตามมา
การพลิกฟื้ นชุมชนเกิดขึน้ เด่นชัดในช่วงปี พ.ศ.2542 ทีอ่ งค์การบริหารส่วนตาบลท่าข้าม (อบต.ท่าข้าม)
ได้ริเริ่มผลักดันกิจกรรมการพัฒ นาชุมชนภายใต้แนวคิดพลิกฟื้ นชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
ปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ ให้เข้าสู่การพึง่ ตนเอง ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนจานวนมาก ทัง้ สมาพันธ์กลุ่มออม
ทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านท่าข้าม ทีเ่ กิดจากการรวมตัวของกลุ่มออมทรัพย์การผลิตในแต่ละหมูบ่ ้านของชุมชนท่าข้าม
กองทุนสัจจะวันละบาท กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ กลุ่มแม่บา้ นเกษตรกร กลุ่มผลิตปุ๋ ยอินทรียช์ วี ภาพ กลุ่ม
โรงสีขา้ วชุมชน ชมรมผูพ้ กิ าร กลุ่มอาชีพ วิทยุชุมชน เป็ นต้น กลุ่มต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ มีการทากิจกรรมร่วมกันของคน
ในชุมชน ก่อเกิดเป็ นพลังในการขับเคลื่อนพลิกฟื้ นวัฒนธรรมอันดีของชุมชนกลับคืนมา โดยผ่านกระบวนการทาง
วัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การรื้อฟื้ นประเพณี “ลงแขก ซอแรง”, “ออกปาก กินวาน” มีการสร้างพื้นที่
แลกเปลี่ยนความคิด สนทนาภายในชุมชน และมีการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น
ภายนอก ปลุกจิตสานึกของคนในชุมชนโน้มนาไปสูก่ ารปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ โดยนาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ
ใช้ และทีส่ าคัญคือ การวางรากฐานของชุมชนให้เป็ น “ชุมชนจัดการตนเอง” ด้วยระบบประชาธิปไตยในชุมชน ให้
คนในชุมชนเรียนรู้ ตระหนักในสิทธิประชาชน พลเมือง มีส่วนร่วมในการกาหนดแผนการพัฒนา เพื่อให้เติบโตไป
พร้อมกัน อันต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน
ความสาเร็จของชุมชนท่าข้ามในปั จจุบนั ส่วนหนึ่งทีส่ าคัญเป็ นอย่างยิง่ คือ การทีม่ ผี นู้ าซึง่ มีวสิ ยั ทัศน์มาก
นายก อบต.ท่าข้ามคนปั จจุบนั คือ นายสินธพ อินทรัตน์ ซึ่งในอดีตเคยเป็ นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตาบลท่า
ข้ามมาก่อน หลังจากนัน้ ได้รบั การเลือกตัง้ ให้ดารงตาแหน่ งเป็ นนายก อบต.ท่าข้ามมาตัง้ แต่ปี พ.ศ.2542-ปั จจุบนั
นายกสินธพ อินทรัตน์ เป็ นคนในพืน้ ทีแ่ ละเข้าใจปั ญหาของชุมชนท่าข้ามเป็ นอย่างดี เนื่องจากทางานภายในชุมชน
มาโดยตลอด จึงมีความตัง้ ใจ มุ่งมัน่ และมีทศั นะทีจ่ ะปรับวิธคี ดิ ของคนในชุมชน โดยพยายามปรับความคิดตนเอง
ก่อน แล้วจึงปรับชาวบ้าน พยายามน้อมนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้คนในชุมชนอยู่ได้อย่างพอเพียง คน
ส่วนใหญ่ในชุมชนท่าข้ามอยู่กบั สังคมเกษตรกรรม แต่มชี วี ติ แบบทุนนิยม จึงไม่มเี งินเหลือเก็บ และเป็ นหนี้ทาง
การเกษตร เนื่องจากต้นทุนการผลิตทางด้านการเกษตรกรรมทีเ่ พิม่ มากขึน้ ดังนัน้ แผนการพัฒนาและแก้ปัญหา
ต้องแบ่งเป็ น 3 ระยะ คือ 1. ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต 2. สร้างรายได้ให้เพิม่ ขึน้ 3. ส่งเสริมให้เกิด
การออม สร้างสวัสดิการและพัฒนาความสามารถให้กบั คนในชุมชน
โครงการต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในเวลาต่อมา เพื่อให้ชาวบ้านปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และเป็ นการเริม่ การทางานเป็ นกลุ่ม เรียนรูก้ ระบวนการทางานเป็ นทีมโดยมีผรู้ จู้ ากหน่วยงานต่าง ๆ เป็ นทีป่ รึกษา
การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาคนทีห่ นึ่งไปสู่คนทีส่ อง ให้เป็ นต้นแบบของคนเก่งหรือเรียนรูจ้ ากครอบครัวหรือคนที่
ไปได้ดแี ล้ว ผลจากความหลากหลายของต้นทุนการผลิต ทัง้ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการทีม่ ี
คุณภาพ ประกอบกับความมุ่งมันตั ่ ง้ ใจของทุกฝ่ าย โครงการนาร่องหลายอย่างเริม่ ขึน้ ทีน่ ่ี ปั จจุบนั นี้ อาจกล่าวได้ว่า
ชุมชนท่าข้ามเป็ นชุมชนตัวอย่างของชุมชนทีอ่ ยู่ดมี สี ขุ มีการสืบสานอนุรกั ษ์ประเพณีดงั ้ เดิมทีด่ งี ามของท้องถิน่ ซึง่

345
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ทัง้ หมดนี้ตงั ้ อยู่บนพืน้ ฐานเศรษฐกิจพอเพียงทีเ่ รียกว่า “ท่าข้ามโมเดล” โครงการต่าง ๆ ช่วยประชาชนให้เกิดการ


เปลี่ยนแปลงที่ดขี น้ึ และเป็ นการพัฒนาไม่สน้ิ สุด โดยเปิ ดโอกาสให้คนในชุมชนมาร่วมกันจัดทาแผนเพื่อพัฒนา
ชุมชน มุ่งสูเ่ ศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบ เรียนรูใ้ นการพึง่ พาตนเอง โดยผ่านผูน้ า คนในชุมชน และเครือข่าย
จนสามารถช่วยเหลือจุนเจือตนเองก้าวสูก่ ารเป็ นชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง
การดาเนินการเหล่านี้ เป็ นสิง่ ที่คนในชุมชนร่วมกันปฏิบตั ิ ชุมชนแห่งนี้มกี ารพัฒนาจนมีธรรมนู ญของ
ชุมชนทีเ่ ป็ นรูปเป็ นร่าง เรียกว่า ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนตาบลท่าข้าม และประกาศใช้อย่างเป็ นทางการตัง้ แต่วนั ที่
10 ธันวาคม พ.ศ.2556 ธรรมนูญทีว่ ่านี้เกิดขึน้ โดยเงื่อนไขของสังคมในชุมชน คนในชุมชนเป็ นผูร้ ่วมกันคิด ร่วมกัน
สร้างเงื่อนไขเอง ไม่ใช่เกิดขึน้ ด้วยเงื่อนไขของอานาจรัฐ ซึง่ จะเป็ นสิง่ ทีย่ งยื
ั ่ นยิง่ กว่า ชุมชนท่าข้ามแห่งนี้ จึงนับเป็ น
ชุมชนตัวอย่างทีด่ ยี งิ่ อีกชุมชนหนึ่งในการเรียนรูก้ ารเป็ นชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง และดารงอยู่ได้อย่างมีศกั ดิศรี
์ โดยไม่ตอ้ ง
หวังพึง่ พิงความช่วยเหลือจากภายนอกแต่ชุมชนเรียนรูใ้ นการจัดการกับปั ญหาภายในชุมชนของตนเองได้
3. บ้านท่าช้าง ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ชุมชนดัง้ เดิมในช่วงแรกเริม่ ของการเข้ามาอาศัยอยู่
ของกลุ่มคนนัน้ มีคนเข้ามาอาศัยอยู่ในพืน้ ทีจ่ านวนไม่มากนัก ทรัพยากรตามธรรมชาติยงั มีความอุดมสมบูรณ์เป็ น
อย่างยิง่ พืน้ ทีโ่ ดยรอบส่วนใหญ่เป็ นป่ า ไม่มถี นน บ้านคนน้อย กลุ่มคนทีเ่ ข้ามาอาศัยทีน่ ่สี ว่ นใหญ่เป็ นกลุ่มคนทีห่ นี
มาจากทีอ่ ่นื ส่วนใหญ่จะหนีคดีมาจากตะเครียะ ระโนดและสงขลา เพราะพืน้ ทีบ่ า้ นท่าช้างในอดีตเป็ นป่ า สมัยก่อน
เมื่อหนีขา้ มจังหวัดมาได้กถ็ ือว่าพ้นคดีแล้ว แม้ว่าชาวบ้านในช่วงแรก ๆ จะมาจากหลายพื้นที่และหนีคดีมาอยู่
รวมกันแต่กไ็ ม่มปี ั ญหาการทะเลาะเบาะแว้งกันแต่อย่างใด ต่างคนต่างมุ่งทามาหากินเลีย้ งดูปากท้องของตนและคน
ในครอบครัว การประกอบอาชีพหลักๆ คือ ทานาและเลี้ยงวัว สามารถผลิตเครื่องมื อการเกษตร เช่น คราด ไถ
แอก ได้เอง แต่ต่อมาชุมชนเกิดการเปลีย่ นแปลงตามแผนพัฒนาเช่นเดียวกับชุมชนอื่น ๆ โดยการเปลีย่ นแปลง
ภายในชุมชนบ้านท่าช้างเริม่ ขึน้ ในราวปี พ.ศ.2522 เป็ นต้นมา เนื่องจากได้มกี ารปรับเปลีย่ นวิถกี ารทานาโดยนา
เทคโนโลยีมาปรับใช้ ชาวนาสามารถทานาได้ปีละสองครัง้ โดยมีระบบชลประทานเข้าช่วย มีการใช้เมล็ดพันธุข์ า้ วที่
ปรับปรุงพันธุใ์ หม่ให้มอี ายุการเก็บเกีย่ วสัน้ ลงและให้ผลผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ ใช้เครื่องจักรกลเตรียมดิน บารุงดูแลต้นข้าว
ให้มคี วามเจริญเติบโตโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร มีการจ้างแรงงาน พึง่ พาปั จจั ยการผลิตจากภายนอก
จุดประสงค์ของการทานาเปลีย่ นเป็ นทานาเพื่อการค้าเป็ นหลัก คนในชุมชนได้สะท้อนเรื่องราวดังกล่าวว่า

มันเปลี่ยนตอนที่มชี ลประทาน เพราะเมื่อก่อนมันไม่มชี ลประทาน พอมีชลประทานเค้าก็


เริม่ ทานาปรัง เค้าเอาถังน้ ามัน 200 ลิตร มาทาเป็ นเครื่องนวดข้าว แรก ๆ เค้าฟั ดกอข้าว
ก่อน ตอนทีท่ านาปรัง...ตอนนัน้ สารเคมีกเ็ ริม่ เข้ามา ทางเกษตรเค้าแจกยากุลาด่าน...ตอนที่
เค้าทานาปรัง มันเป็ นหนอนเกาะ พอเป็ นหนอนเกาะมันเลยเป็ นโรคระบาด ตอนนัน้ เค้าเอา
กุลาด่านมาแจกเลย... แล้วพอมีเครื่องสูบน้ าเข้ามาก็เริม่ มีรถไถเดินตามเข้ามา... (เสวนา
กลุ่มชุมชนบ้านท่าช้าง, เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558)
แม้ว่าระบบชลประทานทีเ่ กิดขึน้ จะช่วยให้ชาวนาในพืน้ ที่ทานาได้มากกว่าหนึ่งครัง้ ต่อปี แต่กลับพบว่า
ชาวนายิง่ ทานามากขึน้ แต่กลับขาดทุน เนื่องจากการทานาในยุคของการพัฒนานี้ มีตน้ ทุนมากขึน้

...ทามากก็จ่ายมาก ทาสองครัง้ ก็ต้องซือ้ ทัง้ สองครัง้ ...มันไม่คุม้ ทุนเพราะข้าวมันไม่ดแี ละก็


ขาดทุ น หลายสิ่ง ทัง้ สิ่ง แวดล้อ ม ตอนนี้ ก็ข าดทุ น เกิน ครึ่ง แล้ว ทัง้ ธรรมชาติแ ละในเป้ า
(กระเป๋ า=นักวิจยั ) เองเพราะเกษตรกรขาดทุนย่อยยับแล้วตอนนี้ ทัวประเทศแล้ ่ วขาดทุน

346
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ตอนนี้…เกษตรกรทานาล่วงหน้าเสียแล้ว เงินทองก็เอาล่วงหน้ามาแล้ว แต่ละคนมีหนี้สนิ


มาก แต่ละครัวเรือนเป็ นแสน คิดเป็ นแสนขึน้ บนแล้วไม่ใช่แสนลงล่าง เกษตรกรเป็ นหนี้มาก
เกิน 80% ของครัวเรือน (ผจญ ทรัพย์แก้ว 2558)
การเปลีย่ นแปลงดังกล่าวเกิดขึน้ ไม่ต่างไปจากชุมชนอื่น ๆ ในลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา วิถกี ารผลิ ตทีเ่ น้น
ปลูกข้าวเพื่อขาย ทาให้ชาวนาทีน่ ่ีเร่งการผลิต ใช้สารเคมีทุกประเภท เพื่อให้ขา้ วได้ผลผลิตสูง ๆ แต่ผลทีต่ ามมา
กลับเป็ นต้นทุนการผลิตทีส่ งู ขึน้ ทานาไม่คุม้ ทุน ต้องกูห้ นี้ยมื สิน กาไรทีเ่ หลือจากการทานาในแต่ละปี จงึ มีน้อยนิด
บางครัง้ ยังมีปัญหาเรื่องนาล่มและโรคระบาดในแปลงนา ทาให้ไม่ได้ผลผลิต และทีส่ าคัญยิง่ กว่านัน้ คือ ชาวนาบ้าน
ท่าช้างเริม่ มีร่างกายทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ (อามร สุขวิน 2558)
จากปั ญหาดังกล่าว คนในชุมชนเริม่ สนใจในปั ญหาและเริม่ ลงมือหาทางออกให้กบั ชุมชนของตนเอง โดย
เริม่ แรกมีแกนนาในหมู่บ้าน 2-3 คน ไปเรียนรู้จากคนนอกพื้นที่ คือได้ไปรวมกลุ่มกับเครือข่ายเกษตรทางเลือก
ทะเลน้อย สมาชิกแกนนาได้มโี อกาสไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ฝึ กอบรมในสถานทีต่ ่าง ๆ ตัง้ แต่ปี พ.ศ.
2543 จึงได้รบั รู้เกี่ยวกับการเกษตรทีย่ งยื
ั ่ นโดยการลดละเลิกการใช้สารเคมี ได้มกี ารไปศึกษาการทาปุ๋ ยอินทรีย์
ชีวภาพ น้ าหมักชีวภาพ การผลิต การแปรรูป พลังงานทดแทน การใช้ประโยชน์จากวัสดุภายในท้องถิน่ เป็ นต้น
ความรูเ้ หล่านี้ในวงการเกษตรขณะนัน้ ยังไม่ค่อยแพร่หลาย
หลังจากได้รบั ความรูด้ งั กล่าว กลุ่มคนเหล่านัน้ ได้กลายเป็ นแกนนา นาความรูท้ ไ่ี ด้รบั กลับมาทดลองใน
พืน้ ทีข่ องตนเอง ต่อมาราวปี พ.ศ. 2547-2548 แกนนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็ นทีมงานในการทาโครงการวิจยั เรื่อง
แนวทางการฟื้ นฟูการทานาโดยใช้ภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ ซึง่ ได้รบั งบประมาณสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุ น
การวิจยั ท้องถิน่ (สกว.) ในการทาวิจยั ทีมนักวิจ ัยชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านท่าช้าง มีการเก็บข้อมูลชุมชน
เก็บข้อมูลการทานาตัง้ แต่อดีตถึงปั จจุบนั ภูมปิ ั ญญาของการทานา รูปแบบของการทานา การวิเคราะห์ขอ้ มูลจนได้
องค์ความรูเ้ กีย่ วกับการทานาในอดีต ซึง่ หลังจากงานวิจยั เสร็จสิน้ ลง กลุ่มเกษตรทางเลือกทะเลน้อยเริม่ อ่อนแอลง
เนื่องจากสมาชิกลาออก แกนนาในชุมชนจึงมาจัดตัง้ กลุ่มต่อที่บ้านท่าช้างในชื่อว่า ชมรมสื่อแห่งปั ญญาพัฒนา
เกษตรยังยื ่ น แกนนาในชุมชนได้นาเอาองค์ความรูข้ องงานวิจยั นัน้ มาทบทวนและทาการทดลองทานาในวิถเี กษตร
อินทรีย์บนเนื้อที่ 2 ไร่ โดยเริม่ จากการทาปุ๋ ยอินทรีย์ ใช้ขา้ วพันธุพ์ น้ื เมือง ดูแลระบบนิเวศน์ในนาและจดบันทึก
จุดประสงค์คอื จะให้เป็ นแปลงสาธิตการทานาวิถเี กษตรอินทรีย์ ในช่วงแรกเริม่ มีผรู้ ่วมดาเนินการ 4–5 คนเท่านัน้
แต่ในฤดูต่อมาขยายเป็ น 18 ไร่ โดยมีนักวิชาการจากวิทยาลัยภูมปิ ั ญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณเข้ามามีสว่ น
ร่วม เกิดเป็ นกิจกรรมทีห่ ลากหลายขึน้ ชาวบ้านได้เรียนรูเ้ รื่องการทาปุ๋ ย การทานาอินทรียเ์ พิม่ ขึน้ รวมทัง้ มีสมาชิก
เข้าร่วมกลุ่มมากขึน้ ด้วย
เป้ าหมายของการรวมกลุ่มของชุมชนบ้านท่าช้าง คือ การเป็ นชุมชนพึง่ ตนเองในระบบเกษตรยังยื ่ น คือ
ชาวนาเป็ นเจ้าของปั จจัยการผลิตทัง้ เรื่องของเมล็ดพันธุ์ พันธุพ์ ชื พันธุส์ ตั ว์ พันธุข์ า้ ว ในเรื่องของทีด่ นิ เรื่องของน้ า
การดูแลใช้ทรัพยากรและก็เทคโนโลยีท่เี หมาะสม เครื่องมือเครื่องใช้ โรงสี ต้องไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ให้
เหมาะสมกับกลุ่มและชุมชน และรวบรวมผลผลิต จัดการผลผลิตกันเองในกลุ่ม สามารถที่จะสร้างรายได้เป็ น
ผลิตภัณฑ์ และต้องควบคู่กบั การดูแลทรัพยากรสิง่ แวดล้อมของชุมชน
ในส่วนของกระบวนการการดาเนินงานในกลุ่ม มีการพัฒนากลุ่ม ทัง้ เรื่องแกนนาและสมาชิก มีการประชุม
จัดการอบรมกันโดยตลอดและก็มกี ารแบ่งงานในกลุ่มต่าง ๆ ส่วนในเรื่องขององค์ความรูม้ กี ารแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั

347
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สมาชิกเครือข่ายและทาเป็ นหลักสูตรท้องถิน่ มีการจัดทาเป็ นกองทุนเพื่อเกษตรยังยื


่ น การผลิตและการเพาะปลูก
โดยหลักคือเกษตรอินทรีย์ มีการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทาเรื่องของการตลาดทางเลือก รื้อฟื้ นในเรื่องของ
วัฒ นธรรม การท านาข้า ว การท าขวัญ ข้า ว กวนข้า วยาคู โดยมีวิช ชาลัย รวงข้า วเป็ น ศูน ย์ก ลางในการเชื่อม
ประสานงาน นอกจากนี้ การทานุ บารุงวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ก็มกี ารฟื้ นฟูการทาขวัญข้าว กวนข้าวยาคู
และประเพณีหลาย ๆ อย่างกลับคืนมา (วิจติ รา อมรวิรยิ ะชัย 2558)
ปั จจุบนั ชุมชนบ้านท่าช้างได้พฒ
ั นาขึน้ ซึง่ จุด เริม่ ต้นของความพยายามดังกล่าว เกิดจากคนในชุมชนลุก
ขึน้ มาตัง้ คาถาม ค้นหาคาตอบ ก่อนจะลงมือจัดการ เพื่อแก้ไขปั ญหาและร่วมกันสร้างความสุขอย่างยังยื ่ นให้เกิดแก่
ชุมชน เป้ าหมายการพัฒนาคือ การเป็ นชุมชนไร้สารเคมี ทานาอินทรีย์ปลูกข้าวพื้นเมือง โดยได้ขยับจากระดับ
ชุมชนขึน้ ไปอีกขัน้ ด้วยการร่วมมือระหว่างชุมชนกับวิชชาลัยภูมปิ ั ญญา เป็ น “วิชชาลัยรวงข้าว” เพื่ออนุ รกั ษ์พนั ธุ์
ข้าวพืน้ เมือง และชาวบ้านในชุมชนได้ทามติประชาคมร่วมกันว่าจะทาเกษตรปลอดสารเคมี
นอกจากนี้ สมาชิกทีท่ านาอินทรียบ์ า้ นท่าช้าง ยังได้คาตอบด้วยว่า ทางรอดของชาวนาในสภาวะดินฟ้ า
อากาศเช่นปั จจุบนั ชาวนาต้องหันมาปรับต้นทุนการผลิต มาทาข้าวนาปี ใช้น้าฝนเป็ นหลัก เพื่อลดต้นทุนค่าสูบน้ า
แล้ว เลือ กพัน ธุ์ข้าวให้เ หมาะสม คือ ใช้ข้า วพัน ธุ์พ้นื เมืองให้มากขึ้น ซึ่ง พบว่ า “ข้า วพัน ธุ์สงั ข์หยด” เป็ น ข้าวที่
เหมาะสมกับน้าท่วมมากทีส่ ดุ ขณะเดียวกันชาวนาควรกลับมาใช้วถิ กี ารทานาแบบเดิมทีม่ กี ารช่วยเหลือกันคือ การ
ออกปากกินวาน (เกี่ยวข้าว) การทานาเกษตรอินทรีย์ทาให้เกิดความมันคงทางอาหารกลั่ บคืนมา มี กุ้ง หอย ปู
ปลา และผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน สามารถใช้กนิ อยู่ได้อย่างพอเพียงและปลอดภัย ส่วนวิถี ชวี ติ
ชาวบ้านเมื่อว่างจากฤดูทานา ก็ร่วมกันปลูกผักพืน้ บ้าน เช่น พริก ถัวพู ่ และมะเขือ มาเป็ นอาชีพเสริม ก่อเกิดกลุ่ม
สวัสดิการชุมชน เกิดกลุ่มออมทรัพย์วนั ละบาท ชาวบ้านกลับสู่วถิ วี ฒ ั นธรรมทีม่ คี วามสามัคคี ช่วยเหลือซึง่ กันและ
กันเช่นในอดีต สิง่ ที่ชาวบ้านท่าช้างร่ว มกันทา กลายเป็ นตัวอย่างของชุมชนที่ร่วมกัน ศึกษาปั ญหาของชุมชน
ตนเอง และช่วยกันหาทางออกจนกลายเป็ นชุมชนน่าอยู่อย่างยังยื ่ น (อามร สุขวิน 2558)
ปั จจุบนั ชุมชนบ้านท่าช้างเป็ นหมู่บ้านนาอินทรีย์ เปิ ดเป็ นศูนย์เรียนรู้โรงเรียนชาวนา มีเนื้อหาของ
หลักสูตร คือ การทานาอินทรีย์ การทาปุ๋ ยอินทรียช์ วี ภาพ ผักข้างบ้านอาหารเป็ นยา เป็ นแหล่งเรียนรูโ้ ดยตรงและ
สร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชนโดยมีหน่วยงานภาครัฐมาให้การช่วยเหลือเพื่อมุ่งสูก่ ารเป็ นชุมชนพึง่ ตนเอง สามารถ
จัดการผลผลิตของสมาชิกให้ราคาทีส่ ูงกว่าท้องตลาด แปรรูปผลผลิตให้มรี าคาสูงขึน้ ทัง้ ราข้าว ปลายข้าว แกลบ
ข้าวสาร ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง และแปรรูปเป็ นขนม สบู่ จมูกข้าวพร้อมชง เป็ นต้น ทาให้กลุ่มเป็ นทีร่ จู้ กั ของคน
ทัวไปในชื
่ ่อข้าวอินทรียว์ ถิ พี นางตุง ตราทุ่งชัย นอกจากนัน้ ในชุมชนยังมีกจิ กรรม การออมทรัพย์ สวัสดิการชุมชน
ธนาคารเมล็ดพันธุช์ ุมชน กองทุนเกษตรยังยื ่ น การจัดค่ายเยาวชน และการทาขวัญข้าว เป็ นต้น
ความสาเร็จของชุมชนบ้านท่าช้างแห่งนี้เกิดจากการแลกเปลีย่ นเรียนรูส้ ่กู ารปฏิบตั ิ สร้างสมประสบการณ์
จนกลายเป็ นแนวทางพึ่งพาตนเองได้ อาศัยภูมิปัญญาองค์ความรู้ท่มี ี จัดการผลผลิตในเรื่องของการแปรรูป
กระบวนการตลาดทางเลือกทีเ่ ป็ นธรรมบนฐานระบบเกษตรยังยื ่ นอันจะสร้างความมันคงทางด้
่ านอาหาร เอือ้ ต่อสุข
ภาวะของชุมชน มีระบบนิเวศน์ทส่ี มดุล เกิดความมันคงทางด้
่ านเศรษฐกิจ สร้างชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้
และมีกระบวนการขยายแนวคิดเป็ นรูปธรรม สืบสานสูเ่ ยาวชนและคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความยังยื ่ นต่อไป

348
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อภิปรำยผล
พัฒนาการของชุมชนลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาในบริบททางสังคมแต่เดิมนัน้ วิถีชวี ติ ของผู้คนส่วนใหญ่จะ
ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม ดารงอยู่ร่วมกันในลักษณะของการพึง่ พาอาศัยกันและกัน อันมีวฒ ั นธรรม
ชุมชนเป็ นสิง่ เชื่อมประสาน เป็ นสังคมทีส่ งบ ผ่อนคลายและเรียบง่าย ความอุดมสมบูรณ์ของพืน้ ทีแ่ ละจานวนคนที่
ไม่มากนัก ทาให้คนในชุมชนมีความมันคงทางอาหาร
่ ไม่มคี วามจาเป็ นที่จะต้องเร่งทาการผลิต สามารถพึ่งพา
ตนเองได้ แต่เมื่อยุคสมัยเปลีย่ นแปลงไป ความเจริญได้แทรกซึมเข้าสูช่ ุมชนตามห้วงเวลาอันไม่อ าจหลีกหนี ความ
ทันสมัย ค่านิยมสมัยใหม่ ความเจริญทางวัตถุ ได้ทาลายสายสัมพันธ์อนั ดีทค่ี นในชุมชนเคยมีต่อกัน ชุมชนเกิดการ
เปลีย่ นแปลงสูว่ ถิ คี นเมือง เกิดความอยากได้ ใคร่มี ความเห็นแก่ตวั การแก่งแย่งแข่งขัน ต่อสูแ้ ย่งชิงอันเป็ นสิง่ ปกติ
ของปุถุชน แต่ ก่อให้เกิดรอยร้า ว ยากแก่การประสานขึ้นในชุมชน ชุมชนจึงต้องเร่งแสวงหาหนทางแก้ไขและ
ปรับตัวรับกับกระแสดังกล่าว ผลกระทบจากระบบทุนนิยมทาให้ชุมชนสูญเสียการพึง่ พิงกันเองในชุมชนเพราะถูก
สอดแทรกด้วยระบบเงินตรา สูญเสียการพึง่ พาทรัพยากรในท้องถิน่ เนื่องจากระบบนิเวศทีอ่ ุดมสมบูรณ์ถูกทาลาย
ทาให้ชุมชนเกิดปั ญหาตามมามากมาย แต่ ชุมชนไม่ยอมจานนต่ อการคุ กคามดัง กล่ าว คนในชุมชนพยายาม
ช่วยเหลือตัวเองให้ชุมชนของตนดารงอยู่ได้อย่างมีศกั ดิศรี ์ ในรูปแบบต่าง ๆ กันตามบริบทของแต่ละชุมชน เพื่อ
ก้าวสูก่ ารเป็ นชุมชนเข้มแข็ง และสามารถพึง่ พิงตนเองได้
การดาเนินงานของชุมชนต่าง ๆ ใช้กรอบคิดเดียวกันคือการน้อมนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
ในพื้นที่ โดยยึดหลักทางสายกลาง ก้าวผ่านระบบทุนนิยม โลกาภิวตั น์และการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปสู่วถิ ี
ดัง้ เดิมของชุมชนอันเป็ นวิถที ส่ี งบ เรียบง่าย โดยใช้ภูมปิ ั ญญา และวัฒนธรรมชุมชนเป็ นตัวขับเคลื่อนความสัมพันธ์
ของคนในชุมชน ลด ละ เลิกพฤติกรรมทีฟ่ ้ ุงเฟ้ อ หันกลับสู่วถิ ธี รรมชาติทเ่ี คยหล่อเลีย้ งชีวติ ผูค้ น ดารงอยู่ร่วมกับ
ธรรมชาติ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ แต่ไม่ทาลายธรรมชาติอนั เป็ นแนวทางการพัฒนาอย่างยังยื ่ น การปรับตัวและ
การดารงอยู่ของชุมชนทัง้ ชุมชนบ้านโคกเมือง ชุมชนท่าข้าม และชุมชนบ้านท่าช้าง เกิดจากผูน้ าและคนในชุมชน
ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนาโดยมีเป้ าหมายเหมือนกัน คือ เพื่อให้ชุมชนพึง่ พาตนเองได้ ดารงอยู่
อย่างเข้มแข็ง สงบสุข ร่มเย็นและมีศกั ดิศรี ์
จุดเด่นของชุมชนทัง้ สามทีท่ าให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติ นาพาชุมชนสู่การเป็ นชุมชนเข้มแข็งได้นนั ้ เกิด
จากผูน้ าเป็ นสาคัญ ดังจะพบว่าการปรับตัวและการดารงอยู่ของชุมชนบ้านโคกเมือง เกิดจากผูน้ าชุมชนเป็ นแกน
หลักในการพัฒนาพืน้ ทีซ่ ง่ึ ก็คอื ผูใ้ หญ่อุดม ฮิน่ เซ่ง และ อาจารย์สมพงศ์ ลัพกิตโร ทีป่ รึกษาคนสาคัญของชุมชน ที่
ต้องการพัฒนาท้องถิน่ ทีต่ นอาศัย โดยคานึงถึงศักยภาพของคนในชุมชนว่ามีไม่เหมือนกัน พยายามจัดสรรคนให้
เหมาะกับงาน เริม่ ต้นรวมกลุ่มคนให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถักทอสายใยแห่งความร่วมมือ โดยนาวัฒนธรรม
ชุมชนทีด่ งี ามคือ ความมีไมตรีจติ อันดี การช่วยเหลือพึง่ พา การถ้อยทีถอ้ ยอาศัยกลับคืนมาสู่ชุมชน เมื่อความรูส้ กึ
เช่นนี้เกิดขึน้ การทางานเพื่อพัฒนาพืน้ ทีจ่ งึ ไม่ใช่เรื่องยากลาบากอีกต่อไป ชุมชนท่าข้ามการปรับเปลี่ยนเกิดขึน้
อย่างเด่นชัดภายใต้การดาเนินงานขององค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) โดยมีผนู้ าสาคัญคือ นายสินธพ อินทรัตน์
นายก อบต.ท่าข้ามคนปั จจุบนั หลังจากนัน้ จึงพยายามหาแกนนาและสร้างกลุ่มคนมาพัฒนาเพื่อขยายแนวคิดการ
พัฒนาให้ออกมาเป็ นรูปธรรม ซึง่ การมีผนู้ าทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ได้สง่ ผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาและก้าวหน้ายิง่ ส่วนชุมชน
บ้านท่าช้าง การปรับตัวและดารงอยู่เกิดจากแกนนาชาวบ้านในชุมชนเป็ นผู้นาเสนอแนวคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ตัง้
คาถาม ค้นหาคาตอบ นาสูก่ ารปฏิบตั เิ ป็ นรูปธรรม ซึง่ การพัฒนาทัง้ สามพืน้ ทีด่ งั กล่าวนี้เป็ นลักษณะของการพัฒนา
ที่คนในพื้นที่ได้มสี ่วนร่วมคิด ร่วมทา และร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะเป็ นการพัฒนาทีย่ งยื ั ่ นมากกว่าการ
พัฒนาทีม่ าจากการเร่งรัดจากภาครัฐดังอดีตทีผ่ ่านมา

349
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อย่างไรก็ตาม ความสาเร็จทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนทัง้ สามนอกจากศักยภาพของผูน้ าแล้ว ยังมาจากความร่วม


แรงร่วมใจของคนในชุมชนที่มคี วามต้องการจะพัฒนาชุมชนของตนให้เจริญก้าวหน้ า และพึ่งพาตนเองได้ อัน
หมายถึงชีวติ ทีม่ คี วามสุขของคนในพืน้ ทีด่ ว้ ย จึงจาเป็ นต้องรือ้ ฟื้ นความสัมพันธ์อนั ดีของคนในชุมชนให้กลับคืนมา
ซึง่ วัฒนธรรมดัง้ เดิมทีเ่ คยมียงั คงแฝงอยู่ในชุมชน ประกอบกับคนในชุมชนเหล่านี้ลว้ นมีความเกีย่ วดองเป็ นเครือ
ญาติพน่ี ้องกัน จึงไม่ใช่เรื่องยากทีจ่ ะกลับมารักใคร่สมัครสมานกันอีกครัง้ เพียงแต่ตอ้ งใช้กลวิ ธที ถ่ี ูกต้อง เหมาะสม
ดังที่ชุมชนทัง้ สามได้ดาเนินการจนสาเร็จลุล่วงด้วยดี กลายเป็ นตัวอย่างของชุมชนที่มคี วามเข้มแข็งและพึ่งพา
ตนเองได้ดงั ปั จจุบนั

บทสรุ ป/ข้อเสนอแนะ
ชุมชนทัง้ สามในอดีตมีวถิ ชี วี ติ ทีเ่ รียบง่าย ผ่อนคลายยิง่ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ าทะเลสาบ
สงขลา การดารงอยู่เป็ นไปในลักษณะการพึง่ พาตัวเองและพึ่งพากันในชุมชน โยงยึดคนในชุมชนด้วยวัฒนธรรม
การออกปาก กินวาน ซอมือ ผูกดองผูกเกลอกัน แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึน้ เมื่อภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการ
พัฒนา มุ่งสู่ความทันสมัย ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งผลให้ระบบทุนนิยม และโลกาภิวตั น์ได้
แทรกซึมเข้าสูช่ ุมชน ทาลายวัฒนธรรมทีเ่ คยมี ผูค้ นมุ่งหวังในการหาเงินตราเพื่อสนองความต้องการ วัฒนธรรมอัน
ดีงามค่อย ๆ เสื่อมคลายลง และเกิดปั ญหาตามมามากมาย แต่ทา้ ยทีส่ ุดชุมชนทัง้ สามได้มกี ารปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ
หันมาดาเนินชีวติ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพลิกฟื้ นชุมชนจนสามารถกลายเป็ นตัวอย่างของชุมชน
เข้มแข็งให้กบั ชุมชนอื่น ๆ ทีป่ ระสบปั ญหาคล้ายคลึงกัน
ในอนาคต หากมีการทาการศึกษาชุมชนอื่น ๆ เพิม่ เติม และทาการเปรียบเทียบความเหมือนและความ
แตกต่างของการเปลีย่ นแปลงภายในชุมชนเหล่านัน้ จากการพัฒนาของภาครัฐ จะช่วยทาให้การศึกษาเรื่องราวของ
ท้องถิน่ ครบถ้วน สมบูรณ์มากขึน้ กว่าทีเ่ ป็ นอยู่ในปั จจุบนั

รำยกำรอ้ำงอิง
เอกสารชั้น ้น
สจช. รัชกาลที่ 6.ร.6/1น.20.3/54 หนังสือพิมพ์บางกอกไทส์ม.ขวานถนิม (บทความ) 20 ธ.ค. 2466: 29.
เอกสารชั้นรอง
กิตติ ตันไทย. 2540. โครงการเศรษฐกิจท้องถิน่ ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา: ศึกษาเฉพาะกรณีขา้ วและยางพารา.
กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริน้ ท์ จากัด.
———. 2552. หนึง่ ศตวรรษเศรษฐกิจของคนลุม่ ทะเลสาบสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
จานงค์ แรกพินิจ. 2537. แชร์แรงงาน: ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้.
สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศกึ ษา.
ชัยวุฒิ พิยะกูล. 2552. พัฒนาการและบทบาทของพระพุทธศาสนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา.
กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
นิพทั ธ์พร เพ็งแก้ว. 2544. อนุทนิ ทะเลสาบ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พิทยา บุษรารัตน์. 2552. นาฏกรรมแห่งลุ่มทะเลสาบสงขลา การเปลีย่ นแปลงและความสัมพันธ์กบั
สังคมและวัฒนธรรมของหนังตะลุงและโนรา. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
ยงยุทธ ชูแว่น และ ประมวล มณีโรจน์. 2546. บทสังเคราะห์รายงานการวิจยั ชุดโครงการเครือข่ายปริญญาโทไทย
ศึกษา: เศรษฐกิจชุมชนหมู่บา้ นลุ่มทะเลสาบสงขลาในมิตปิ ระวัตศิ าสตร์. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจยั .

350
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ยงยุทธ ชูแว่น และคณะ. 2541. โลกของลุ่มทะเลสาบ. กรุงเทพฯ: เอดิสนั เพรส โปรดักส์.


เลิศชาย ศิรชิ ยั . 2552. ประมงพื้นบ้านลุ่มทะเลสาบสงขลา: วิถแี ละการเปลีย่ นแปลง. กรุงเทพฯ:
สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
วิมล ดาศรีและไพรินทร์ รุยแก้ว. 2544. วัฒนธรรมข้าวและพลังอานาจชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา.
กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
วิวฒ ั น์ สุทธิวภิ ากรและคณะ. 2550. เลสาบเรา ฉบับปฐมฤกษ์. สงขลา: O.S. พริน้ ติง้ เฮ้าส์.
ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร. 2544. ประวัตศิ าสตร์เมืองสงขลา. สงขลา: สถาบันราชภัฎสงขลา.
ศุลมี าน นฤมน วงศ์สภุ าพ. 2547. เมืองหาดใหญ่ คนจีนกับการสร้างเมืองการค้าในภาคใต้. กรุงเทพฯ:
สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
สงบ ส่งเมือง. 2523. รายงานการวิจยั การพัฒนาหัวเมืองสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร วิโรฒ
ภาคใต้.
———. 2522. การพัฒนาหัวเมืองสงขลาในสมัยกรุงธนบุรแี ละสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2310-2444. สงขลา
: โครงการบริการวิชาการ ฝ่ ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
———. 2546. เศรษฐกิจชุมชนหมู่บา้ นภาคใต้ในรอบห้าทศวรรษทีผ่ ่านมา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถที รรศน์.
สมยศ เพชรา. 2553. “วัฒนธรรมการเมืองพัทลุง” ใน โครงการสัมมนาทางวิชาการ ประวัตศิ าสตร์พทั ลุง ครัง้ ที ่ 3
เรือ่ ง “100 ปี ทุนวัฒนธรรมลุม่ น้ าทะเลสาบ. วันที่ 9-11 กันยายน พ.ศ.2553 ณ โรงแรมชัยคณาธานี
ตาบลคูหาสวรรค์ อาเภอเมือง จังหวัดพัทลุง.
สารูป ฤทธิชู์ . 2543. ตามรอยช้าง แลใต้. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
———. 2552. 100 ปี การเมืองท้องถิน่ ลุ่มทะเลสาบสงขลา ประวัตศิ าสตร์ฐานทีม่ นแห่ ั ่ งพรรคการเมืองใน
ภาคใต้. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2540. โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กบั การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สานักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจยั .
สุธญ ั ญา ทองรักษ์. 2546. วิวฒ ั นาการของการใช้ประโยชน์จากทีด่ นิ และป่ าไม้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา.
กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
เอีย่ ม ทองดี. 2546. อิสลามกับพัฒนาการของชุมชนมุสลิมในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2442-2542.
กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
การสัมภาษณ์
ธานินทร์ แก้วรัตน์. 2557. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. สงขลา: 12 กันยายน.
บุญเจือ มาลากุล. 2558. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. สงขลา: 24 เมษายน.
ผจญ ทรัพย์แก้ว. 2558. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. พัทลุง: 25 กรกฎาคม.
เพียร ภูม.ี 2556. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. พัทลุง: 22 กรกฎาคม.
วิจติ รา อมรวิรยิ ะชัย. 2558. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. พัทลุง: 26 กรกฎาคม.
สมพงศ์ ลัพกิตโร. 2557. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. สงขลา: 12 กันยายน.
อามร สุขวิน. 2558. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. พัทลุง: 26 กรกฎาคม.
อุดม ฮิน่ เซ่ง. 2557. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. สงขลา: 12 กันยายน.
เอือ้ ม สงห้อง. 2558. สัมภาษณ์โดยผูเ้ ขียน. พัทลุง: 26 กรกฎาคม.

351
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

352
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P3-R3-01

ประวัติศาสตร์จากเบื้องล่าง
คือ ประวัติศาสตร์ของประชาชน
เรื่ องเล่ า จากซ้ ายใหม่ อั ง กฤษ
เมื่ อ ‘ประชาชน’ เข้ า แทนที่ ชนชั ้ น

นันทวัฒน์ ฉัตรอุ ทัย


ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่

353
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปั จจุบนั ในแวดวงสังคมศาสตร์และมนุ ษยศาสตร์คงแทบไม่มใี ครไม่เคยได้ยนิ คาว่า ‘ประวัติศาสตร์จาก


เบือ้ งล่าง’ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงเวลาทีใ่ ครๆ ก็อยากจะลุกขึน้ ต่อสูใ้ นนามของประชาชน ในนามของชนชัน้ ทีถ่ ูก
รีดไถ หรือในนามของ ‘เสียงทีถ่ ูกลืม’ ไม่ว่าจะเกิดจากดาเนินนโยบายของรัฐ ในวาทศิลป์ ทางการเมือง และแน่นอน
ที่สุดคือในประวัติศาสตร์ฉบับทางการที่สนใจแต่ สงครามและการแย่งชิงของเหล่า ‘มหาบุรุษ’ ทัง้ นี้เพราะเป็ นที่
เข้าใจกันโดยทัวไปว่ ่ า ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างคือการหันกลับมาให้ความสาคัญกับมุมมอง ประสบการณ์ และ
วิถชี วี ติ ของสามัญชน ชาวบ้าน คนทัวไป่ โดยเฉพาะเรื่องราวทีม่ แี ง่มุมของการต่อสู้ ต่อต้านผูม้ อี านาจเหนือ ตัง้ แต่
การขัดขืนเล็กๆ น้อยๆ ในชีวติ ประจาวัน ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ไปจนถึงการจลาจลและการก่อกบ ฏ
เพราะเชื่อว่าคนธรรมดาก็สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ 1 ไม่ใช่เท่านี้ สาหรับบางคนประวัติศาสตร์จาก
เบือ้ งล่างยังต้องหมายถึงการเขียนประวัตศิ าสตร์ขน้ึ เองของคนจากข้างล่าง ไม่ใช่การเขียนถึงคนข้างล่างจากคน
ข้างบนอีกด้วย
ประวัติ ศ าสตร์ จ ากเบื้อ งล่ า งจึง ดู จ ะเป็ นความหวัง และความฝั น อัน ยิ่ง ใหญ่ ข องนั ก ประวัติศ าสตร์
นักวิชาการ ตลอดจนนักต่อสูท้ งั ้ หลาย ซึ่งก็เป็ นความจริงอย่างมากเพราะเมื่อตื่นจากฝั นก็จะพบว่า นี่เป็ นแนวคิดที่
มีความขัดแย้งในตัวเองสูง เช่น สุดท้ายแล้วคนทีเ่ ขียนประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างก็ไม่ใช่คนจากข้างล่าง เพราะคน
ข้างล่างก็มกั จะสนใจเรื่องอื่นๆ มากกว่าแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมไปถึงยั งมีคาถามสาคัญ
หลายข้อทีร่ อการถกเถียงและตอบอย่างจริงจัง เช่น ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างหมายถึงสิง่ ใดกันแน่ หมายถึงการ
กลับไปเติมเต็มภาพรายละเอียดชีวติ ประจาวันของผูค้ น2 หรือเป็ นการชาระวิธกี ารเล่าความเปลีย่ นแปลงของสังคม
เสียใหม่โดยเชื่อว่าคนธรรมดาก็มสี ่วนสาคัญในการเปลี่ยนแปลง ถ้าคาตอบคือข้อหลังก็จะนาไปสู่ปริศนาต่อไป
นัน่ คือ จะอธิบายว่าการกระทาแบบใด ของคนกลุ่มไหน แค่ไหน อย่างไร ว่ามีนัยต่อความเปลีย่ นแปลงของสังคม
ทัง้ นี้ยงั ไม่นับรวมคาถามว่านิยามของคาว่าการเปลีย่ นแปลงทางสังคมหมายถึงสิง่ ใดแน่ หรือแม้แต่คาถามพืน้ ฐาน
ทีส่ ดุ นันคื
่ อ คนทีอ่ ยู่ขา้ งล่างคือใครกันแน่
แน่ นอนว่าบทความนี้ไม่อาจหาญพอทีจ่ ะตอบว่าประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง ‘ควรมี’ ความหมายอย่างไร
แต่กระนัน้ ก็ยงั เห็นว่าการย้อนกลับไปทบทวนว่าความคิดนี้ ‘เคยมี’ ความหมายเป็ นมาอย่างไร ก็อาจช่วยเป็ นส่วน
หนึ่งของความพยายามเพื่อตอบคาถามดังกล่าวได้ ซึง่ ในทีน่ ้ีเสนอว่าประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างมีจุดเริม่ ต้น หรือ
เป็ นผลผลิตของกระบวนการเคลื่อนเปลี่ยนทางความคิดครัง้ ใหญ่ของกลุ่มนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์ /ซ้ายใหม่
อังกฤษตัง้ แต่ช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ทีน่ ามาสู่ความต้องการทีจ่ ะอธิบายว่าประวัตศิ าสตร์การต่อสูท้ างชน
ชัน้ เป็ นเพียงส่วนหนึ่งของประวัตศิ าสตร์ประชาชน (people’s history) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง
ในแง่น้ีไม่ใช่การกลับไปเล่าอดีตโดยเติมภาพในส่วนของชีวติ คนชัน้ ล่างให้ครบ แต่เป็ นการอธิบายว่าประชาชนคน
ทัวไปนั
่ น้ มีบทบาทอย่างสาคัญยิง่ ในการเปลีย่ นแปลงสังคมผ่านการต่อสูเ้ ชิงชนชัน้ มาตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบนั และ
อนาคต
กล่าวได้ว่าการปรับกระบวนความคิดที่เกิดขึน้ นี้ได้ส่งแรงกระเพื่อมอย่างมีนัยสาคัญต่อโลกวิชาการใน
ภาษาอัง กฤษ เช่ น น าไปสู่ก ารถือ ก าเนิ ด ขึ้น ของกระแสความคิด แบบซ้า ยใหม่ (New Left), ประวัติศ าสตร์
ประชาชน/ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง, ไปจนถึงกรอบคิดเรื่องการต่อต้านในชีวติ ประจาวันของชาวนา/อาวุธของผู้

1 ดูตวั อย่างเช่น เว็บไซต์ “History is the new punk: History From Below” ทีบ่ รรยายว่าพวกตนคือกลุ่มเครือข่ายนานาชาติของนักประวัตศิ าสตร์จาก
เบื้องล่าง ซึง่ ประกอบด้วย นักประวัตศิ าสตร์ผปู้ ลุกปั น่ สังคม, ศิลปิ น, นักจดหมายเหตุอสิ ระ ฯลฯ
2 ดู ชาร์ป (Sharpe 1991)

354
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อ่อนแอ, กระแสความคิดแบบวัฒนธรรมศึกษา ฯลฯ อย่างไรก็ดี การนาประชาชนเข้ามาเป็ นตัวละครหลักภายใต้


โครงเรื่อง ‘การต่อสูเ้ ชิงชนชัน้ ’ ก็ไม่เคยลงตัว เพราะการนาแนวคิดประชาชนเข้ามาแทนทีช่ นชัน้ ในโครงเรื่องแบบ
มาร์ก ซิสต์ เท่ า กับ เป็ น การเปิ ด ประตู ร ับ อุ ด มการณ์ ชุ ด อื่น ๆ ที่สมั พัน ธ์ก ับ แนวคิด ประชาชนเข้า มาด้ว ย เช่ น
อุดมการณ์แบบขวา3 นอกจากนี้ยงั มีคาถามเชิงแนวคิดอีกหลายประการทีท่ าให้การพูดถึงประวัตศิ าสตร์ประชาชน
จากฐานแบบมาร์กซิสต์ดจู ะมีปัญหามากพอๆ กับมีคุณูปการ
ความไม่ลงตัวนี้เองทีอ่ าจทาให้นักประวัตศิ าสตร์ซา้ ยใหม่องั กฤษส่วนหนึ่ง ทีแ่ ม้จะล่วงเข้าสูต่ น้ ทศวรรษที่
1980 แต่ยงั คงต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่า ทาไมมาร์กซิสต์และนักสังคมนิยมต้องรับแนวคิดเรื่องประวัตศิ าสตร์
ผูค้ น/ประชาชน ดังเช่นทีป่ รากฎในบทนา (บทบรรณาธิการ) ซึง่ เขียนโดย ราฟาเอล ซามูเอล (Raphael Samuel)
จากหนังสือรวมบทความ People’s History and Socialist Theory (1981)
ในบทนานี้ ซามูเอลใช้วธิ กี ารเขียนแผนทีป่ ระวัตศิ าสตร์ความสัมพันธ์ของความคิดชุดต่างๆ ทีน่ ามาสู่ขอ้
สรุปว่า ความคิดมาร์กซิสม์และสังคมนิยมสัมพันธ์มาโดยตลอดกับการเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนโดยเฉพาะจาก
ฝั ง่ ของนักเสรีนิยม ซึง่ แม้อาจโต้แย้งได้ว่าซามูเอลกาลังทาให้ประวัตศิ าสตร์ประชาชนไปไกลกว่าความหมายในช่วง
ทศวรรษที่ 1950-60 ทว่าในอีกด้านหนึ่งความพยายามดังกล่าวของซามูเอลก็ทาให้งานชิน้ นี้มคี ุณค่าอย่างยิง่ ในแง่
ของการฉายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและอุดมการณ์ชุดต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องไม่เพียงแต่กบั การเกิดขึน้
ของแนวคิดประวัติศาสตร์จากเบื้องล่าง แต่รวมไปถึงการอภิปรายถึงปั ญหาความไม่ลงตัวและการให้เหตุผลว่า
ทาไมมาร์กซิสต์และนักสังคมนิยมต้องรับเข้าความคิดเรื่องประชาชน ซึง่ ทาให้บทนาชิน้ นี้ ในความเห็นของผูเ้ ขียน
เป็ นงานเขียนเกี่ยวกับการอธิบายประวัติศาสตร์ของกาเนิดแนวคิดประวัติศาสตร์จากเบื้องล่าง /ประวัติศาสตร์
ประชาชน (หรืออาจรวมไปถึงการเปลีย่ นผ่านจากความคิดซ้ายใหม่สู่ ‘หลังซ้าย’) ทีส่ มบูรณ์มากทีส่ ุดชิน้ หนึ่งตราบ
จนถึงปั จจุบนั
ด้วยเหตุน้ี ผู้เขียนจึงเห็นสมควรทีจ่ ะเรียบเรียงบทนาดังกล่าวเป็ นภาษาไทย (โดยมีการเสริมเชิงอรรถ
อธิบายเนื้อหาบางส่วนประกอบโดยผู้เขียน) ทัง้ นี้เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นถึงความเป็ นมาอีกด้านหนึ่งของกระแส
ความคิดประวัติศาสตร์ประชาชน/ประวัติศาสตร์จากเบื้องล่าง จึงหวังว่าข้อเสนอรวมทัง้ ข้อถกเถียงทัง้ หลายที่
ปรากฎในงานชิ้นนี้ของซามูเอลน่ าจะมีประโยชน์ อยู่บ้างไม่มากก็น้อยต่ อการนาไปอภิปรายหรือสร้างเป็ น บท
สนทนาในหมู่ผสู้ นใจต่อไป
บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็ นสี่ส่วน เริม่ จากการกล่าวถึงนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์องั กฤษซึ่ง เป็ น
จุดเริม่ ต้นของเรื่องราวทัง้ หมด ส่วนที่สองเข้าสู่งานของซามูเอลโดยเริม่ จากสารวจประวัติศาสตร์ของการเขียน
ประวัตศิ าสตร์ประชาชนว่า สัมพันธ์กบั งานเขียน แนวคิด และอุดมการณ์ชุดต่างๆ มากมายอย่างไร ส่วนทีส่ ามว่า
ด้วยการอภิปรายของซามูเอลว่า แม้จะมีความไม่ลงตัวเพียงใดแต่กย็ งั มีเหตุผลสาคัญหลายประการทีท่ าให้มาร์ก
ซิสต์และนักสังคมนิยมต้องโอบรับ ‘ประชาชน’ เข้าแทนที่ชนชัน้ และปิ ดท้ายด้วยส่วนสรุปซึ่งผูเ้ ขียนจะพยายาม
สะท้อนความคิดกลับไปยังข้อเสนอของซามูเอล รวมทัง้ ต่อความคิดเรื่องประวัตศิ าสตร์จากเบื้องล่างประกอบไว้
ด้วย

3ทีน่ ่าสนใจคือเมือ่ มีเหตุให้อุดมการณ์ฝ่ายซ้ายและขวาผสานเข้าด้วยกัน สิง่ แปลกประหลาดมักเกิดขึน้ ตามมาเสมอ เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ในอิตาลี และพวก


ขวาใหม่ (Nouvelle Droite) ในฝรั ่งเศส

355
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

นักประวัติศำสตร์มำร์กซิ สต์อังกฤษ
ฮาร์วยี ์ เจ. เคย์ (Harvey J. Kaye) ได้สรุปความเป็ นมารวมทัง้ ลักษณะทางความคิดทีส่ าคัญของกลุ่มนัก
ประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์องั กฤษไว้อย่างกระชับในบทความสังเขปเรื่อง “British Marxist historians” (1991) เคย์
เสนอว่ า แม้ปั จ จุ บ ัน คนกลุ่ ม นี้ ม ัก หมายถึง อี พี ธอมป์ สัน (Edward P. Thompson) อีริค ฮอบส์บ อว์ม (Eric
Hobsbawm) หรือ คริสโตเฟอร์ ฮิลล์ (Christopher Hill) และคนอื่นๆ ในรุ่นเดียวกันอย่าง รอดนีย์ ฮิลตัน (Rodney
Hilton) จอร์จ รูด้ (George Rude) จอห์น ซาวิลล์ (John Saville) วิคเตอร์ เคียร์นนั (Victor Kiernan) รวมทัง้ ราฟา
เอล ซามูเอล (Raphael Samuel) ฯลฯ ซึง่ ล้วนมีบทบาทต่อการก่อตัง้ กระแสความคิดซ้ายใหม่ (New Left) ในเวลา
ต่อมา แต่เคย์เสนอว่าควรจะต้องสืบย้อนกลับไปถึงนักประวัตศิ าสตร์มาร์กซิสต์ทท่ี างานมาตัง้ แต่ ช่วงปลายทศวรรษ
ที่ 1930 ด้ว ย เช่ น นัก เศรษฐศาสตร์อ าวุ โสอย่ าง มอริส ดอบบ์ (Maurice Dobb) จากมหาวิท ยาลัย เคมบริดจ์
(Cambridge) หรือ นั ก หนั ง สือ พิม พ์แ ละนั ก เขีย นอย่ า ง โดนา ทอรร์ (Dona Torr) และเลสลีย์ มอร์ตัน (Leslie
Morton) ซึง่ ต่างก็มบี ทบาทสาคัญในการพัฒนาไม่เพียงแค่การเขียนประวัตศิ าสตร์สงั คม (social history) แต่รวมไป
ถึงความคิดมาร์กซิสต์ ความคิดประชาธิปไตยแบบถอนรากถอนโคน ตลอดจนความคิดประวัตศิ าสตร์แบบสังคม-
นิยม
เคย์อธิบายว่า การก่อตัวของนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์องั กฤษในช่วงทศวรรษที่ 1930 สัมพันธ์กบั
บริบทสังคม-การเมืองภายนอกอย่างเข้มข้นนัน่ คือ สภาพเศรษฐกิจตกต่ าทัวโลก ่ และชัยชนะของลัทธินาซีและ
ฟาสซิสม์ในยุโรปกลางและในประเทศสเปน ซึง่ ได้กลายมาเป็ นปั จจัยสาคัญทีน่ ามาสูก่ ารเกิดสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง
ในเวลาต่อมา ในช่วงเวลานัน้ เอง คนอย่างดอบบ์หรือทอร์มคี วามศรัทธาเป็ นอย่างยิง่ ว่า สหภาพโซเวียต (อยู่ภายใต้
การนาของสตาลิน (Stalin) แล้ว) จะเป็ นตัวแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจทีก่ า้ วหน้ามากทีส่ ดุ และเป็ นพลังปฏิปักษ์
สาคัญที่จะต้านทานการแผ่ขยายของลัทธิฟาสซิสม์ รวมทัง้ ยังเล็งเห็นว่าพรรคแรงงานอังกฤษ (British Labour
Party) ไม่มคี วามสามารถพอทีจ่ ะรับมือกับความท้าทายของวิกฤติสมัยใหม่ทเ่ี กิดขึน้ ในขณะนัน้ และไม่สามารถทีจ่ ะ
สร้างความคิดแบบสังคมนิยมให้เจริญก้าวหน้าได้ ดังนัน้ บรรดานักประวัติศาสตร์ทงั ้ รุ่นเก่าคือรุ่นของดอบบ์หรือ
ทอรร์ และรุ่นใหม่ซ่งึ เกือบทัง้ หมดเป็ นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์หรือไม่กอ็ อกซ์ ฟอร์ด (Oxford) เช่น
ธอมป์ สัน จึงพากันเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเกาะบริเตนใหญ่ (CPGB) โดยต่างก็เชื่อมันว่ ่ า ‘การใช้กาลัง
แรงงานเชิงวิชาการของตน’ (scholarly labours) จะมีส่วนช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการต่อสูข้ องชนชัน้ แรงงาน
ได้อกี ทางหนึ่ง
ภายหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่สองสงบลง คนทัง้ สองรุ่นได้รวมตัวกันจัดตัง้ เป็ น ‘กลุ่มนักประวัตศิ าสตร์
แห่ ง พรรคคอมมิว นิ ส ต์ ’ (the Communist Party Historians' Group - CPHG) โดยมีเ ป้ าหมายเพื่อ พัฒ นาการ
อธิบายประวัติศาสตร์สงั คมและคนอังกฤษตามแบบมาร์กซิสม์ให้ละเอียดลึกซึ้ง รวมทัง้ เผยแพร่ค วามคิดนี้ให้
กว้างขวางยิง่ ขึน้ กล่าวได้ว่าในยุคทีร่ ุ่งเรืองทีส่ ุดของ CPHG ระหว่าง ค.ศ. 1946-56 มีสมาชิกเข้าร่วมเป็ นจานวน
มากพอทีจ่ ะจัดตัง้ เป็ นส่วนงานของตนเองขึน้ มาในพรรค นอกจากนี้การศึกษาวิจยั ของสมาชิกแต่ละคนก็ได้นาไปสู่
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทางาน การวิจยั และการตีพมิ พ์ผลงานวิชาการอย่างกว้างขวาง
อย่างไรก็ดี ได้เกิดความพลิกผันครัง้ ใหญ่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1956-57 หลังจากการอสัญกรรมของสตา
ลิน และการปราศรัยของครุชเชฟ (Khruschev) ทีเ่ ปิ ดโปงอาชญากรรมของลัทธิสตาลินต่อทีป่ ระชุมคองเกรสของ
พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต รวมไปถึงเหตุการณ์ทโ่ี ซเวียตเข้าปลดปล่อยประเทศฮังการีดว้ ยการบุกยึดและผนวกให้
เป็ นดินแดนของตน และการทีพ่ รรค CPGB ล้มเหลวเพราะไม่แสดงการต่อต้านการรุกรานครัง้ นี้ รวมทัง้ ไม่มที ่าที

356
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ว่าพรรคจะปฏิรูปตนเองให้เป็ นประชาธิปไตย สมาชิกของกลุ่ม CPHG จึงต่างพากันลาออกจากพรรคเพื่อเป็ นการ


ประท้วง และนาไปสูก่ ารก่อตัวของกระแสความคิดซ้ายใหม่ในเวลาต่อมา
แม้มกั จะอธิบายกันว่าความสาเร็จของ CPHG มีอยู่แค่เพียงในกลุ่มมาร์กซิสต์เป็ นหลัก ทว่าการเติบโต
ของแวดวงการศึก ษาประวัติศ าสตร์ส ัง คมซึ่ง ไม่ ไ ด้เ กี่ย วข้อ งอะไรกับ ขบวนการเคลื่อ นไหวมาร์ก ซิ ส ต์ ห รือ
คอมมิวนิสต์ ก็ได้รบั อิทธิพลอย่างเข้มข้นมาจาก CPHG โดยเฉพาะมุมมองทีต่ อ้ งการทาการศึกษาประวัตศิ าสตร์ให้
เป็ นประชาธิปไตยด้วยการขยายขอบเขตศึกษาไปสู่ตวั ละครใหม่ๆ ตลอดจนความพยายามที่จะทาให้งานศึกษา
ประวัติศ าสตร์ต้อ งเข้า ถึง คนทัว่ ไปและชนชัน้ แรงงานได้ ที่สาคัญ คื อ การประกาศปฏิเ สธมุ ม มองการอธิบ าย
ประวัติศ าสตร์แ บบเศรษฐกิจ ก าหนดนิ ย ม (economic determinism) ความคิด เหล่ า นี้ เ องที่ห ล่ อ หลอมให้นัก
ประวัติศาสตร์รุ่นของธอมป์ สันให้ความสนใจอย่างยิง่ กับความคิดเรื่อง ‘บทบาทของจิตสานึก และภาวะการเป็ น
ผู้กระทาการของมนุ ษย์ในการสร้างประวัติศาสตร์’4 นามาสู่การผลิตงานประวัติศาสตร์ท่สี าคัญหลายชิ้นในช่วง
ทศวรรษที่ 1950 เช่น การศึกษาสังคมชาวนาในยุคกลางของฮิลตัน การศึกษาการปฏิวตั อิ งั กฤษช่วงศตวรรษที่ 16-
17 ของฮิลล์ หรือการศึกษาประวัติศาสตร์สงั คมและขบวนการเคลื่อ นไหวของประชาชนในอังกฤษช่วงปลาย
ศตวรรษที่ 18 ต่อต้นศตวรรษที่ 19 ของรูด้ , ฮอบส์บอว์ม, หรือธอมป์ สัน โดยเฉพาะนาไปสู่ขอ้ เสนอหลักเรื่อง ชน
ชัน้ แรงงานอังกฤษเป็ นผลผลิตของกระบวนการต่ อ สู้ของแรงงานคนจนบนฐานของธรรมเนียมไพร่ -ขบถและ
วัฒนธรรมประชาชนแรดิคลั ในหนังสือ The Making of the English Working Class5 (1963) โดย ธอมป์ สัน ซึง่ อาจ
กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้สามารถเป็ นตัวแทนความคิดทัง้ หมดของกลุ่มนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์ /ซ้ายใหม่ใน
ช่วงเวลานัน้ ได้ชดั เจนทีส่ ดุ เล่มหนึ่ง
นอกจากนี้เคย์ยงั เสนอว่า มีสงิ่ ทีอ่ าจเรียกได้ว่ามรดกสาคัญ 4 ประการทีน่ ักประวัตศิ าสตร์มาร์กซิสต์รุ่ น
หลังได้ร่วมกันสร้างขึน้ มา ประการแรกคือ การพัฒนาข้อถกเถียงเรื่องการต่อสูท้ างชนชัน้ ขึน้ มาใหม่ เช่น การเสนอ
แนวคิดเรื่อง ‘การต่อสูท้ างชนชัน้ ก่อนทีจ่ ะมีชนชัน้ ’6 โดย อี พี ธอมป์ สัน ประการทีส่ องคือ การรือ้ ฟื้ น ‘ธรรมเนียม
ความคิดประชาธิปไตยแบบถอนรากถอนโคน’ ประการที่สามคือ การตัง้ คาถามต่อ ‘อภิมหาคาอธิบาย’ (grand
narratives) แบบเดิมจากทัง้ ฝ่ ายขวาและซ้าย เช่น การอธิบายประวัตศิ าสตร์แบบวัตถุนิยมวิภาษวิธขี องขบวนการ
คอมมิวนิสต์สากลซึ่งไม่มีท่วี ่างให้กบั การอธิบายบทบาทการเป็ นผู้กระทาของมนุ ษย์ แทนที่จะมองเช่นนี้ นัก
ประวัตศิ าสตร์มาร์กซิสต์องั กฤษรุ่นใหม่ได้หนั ไปสู่สงิ่ ทีจ่ ะกลายเป็ นมรดกสาคัญประการสุดท้ายของพวกเขานันคื ่ อ
ความสนใจใน ‘ประวัตศิ าสตร์ของผูค้ น’ (people’s history)
การศึกษาประวัตศิ าสตร์ของผูค้ นหรือประวัตศิ าสตร์ประชาชนได้นามาสูก่ ารพัฒนาแนวคิด ‘ประวัตศิ าสตร์
จากเบื้องล่าง’7 ขึ้นมาจากฐานคิดที่ว่า ต้องการที่จะกู้คืนหรือนาเรื่องราวประสบการณ์ รวมทัง้ บทบาทการเป็ น
ผูก้ ระทาการของคนชัน้ ล่าง เช่น ชาวนา ช่างฝีมอื และคนงาน กลับเข้ามาอยู่ในการอธิบายประวัตศิ าสตร์ ทัง้ นี้ดว้ ย
ท่าทีและจิตวิญญาณแบบเดียวกับข้อความของธอมป์ สันจากบทนาใน MEWC ที่งานเขียนแทบทุกชิ้นที่ว่าด้วย
ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างจะต้องอ้างถึงเสมอ นัน่ คือ “ผมต้องการค้นหาเพื่อจะกูค้ นื ศักดิศรี
์ ให้กบั เหล่าคนงานทอ

4 ดูเพิม่ เติมคาอธิบายช่วงเวลาดังกล่าวในฐานะกาเนิดกระแสความคิดมาร์กซิสม์วฒ ั นธรรม ที่ ดวอร์คนิ (Dworkin 1997) หรือดูสรุปสาระสาคัญการ


อธิบายช่วงเวลาดังกล่าวในภาษาไทยได้ทส่ี ว่ นต้นของบทความนันทวัฒน์ (2556)
5 ต่อไปจะกล่าวถึงโดยใช้อก ั ษรย่อว่า MEWC; ดู สรุปสาระสาคัญของ MEWC ในภาษาไทยได้ท่ี นันทวัฒน์ (2556)
6 ดู ธอมป์ สัน (Thompson 1978a)

7 วงวิชาการทัง้ มาร์กซิสต์และไม่มาร์กซิสต์มก
ั ถือเอาบทความขนาดสัน้ ของ ธอมป์ สัน เรื่อง “History from Below” (1966) เป็ นจุดอ้างอิงถึงการเริม่ ต้น
อย่างเป็ นรูปธรรมของกระแสประวัตศิ าสตร์จากเบื้องล่าง

357
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ถุงน่ องทีย่ ากจน พวกลูด้ ไดท์ทล่ี อบทุบทาลายเครื่องจักรในโรงงาน เหล่าคนงานผ้าทอมือ ‘ทีไ่ ม่เป็ นทีต่ ้องการอีก
ต่อไปในยุคเครื่องจักรอุตสาหกรรม’ ตลอดจนเหล่าช่างฝี มอื ที่ใฝ่ ฝั นถึงสังคมอุดมคติ ... จากสถานะที่คนรุ่นหลัง
จะต้องลดตัวลงมาหา[เพื่อศึกษาหรืออธิบาย]”
เคย์กล่าวว่า แม้อาจจะมีขอ้ ถกเถียงว่าอานัลล์สคูลน่ าจะเป็ นผู้รเิ ริม่ กระแสการศึกษาประวัติศาสตร์จาก
เบือ้ งล่างก่อน แต่กเ็ ป็ นทีช่ ดั เจนว่ าพวกเขาก็ไม่ได้มองประวัตศิ าสตร์ผ่านเรื่องของการต่อสูท้ างชนชัน้ หรือบทบาท
ในฐานะผู้กระทาของคนชัน้ ล่างในประวัติศาสตร์ ในแง่น้ีอาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์แบบสานักอานัลล์คอื การ
กลับ ไปเติมรายละเอียดเรื่อ งราวของคนธรรมดาในชีวิตประจาวัน ให้กบั ภาพประวัติศ าสตร์ในอดีต ในขณะที่
ประวัติศาสตร์ประชาชนหรือประวัติศ าสตร์จากเบื้องล่าง ไม่ใช่แค่ต้องการอธิบายประวัติศาสตร์ใ นฐานะการ
คลีค่ ลายเปลีย่ นแปลงของสังคมจากมุมมองของผูถ้ ูกกดขีแ่ ละขูดรีด แต่หวั ใจสาคัญคือความปรารถนาทีจ่ ะยืนยันว่า
ผูค้ น ประชาชน และคนชัน้ ล่างมีบทบาทสาคัญยิง่ ต่อการเปลี่ ยนแปลงสังคมผ่านการต่อสูเ้ ชิงชนชัน้ ตัง้ แต่อดีตมา
จนถึงปั จจุบนั (ซึง่ ควรจะต้องดาเนินต่อไปสูอ่ นาคตด้วย)
อย่างไรก็ดี การนาประชาชนมาแทนทีช่ นชัน้ ไม่ใช่แค่การขยายขอบเขตความหมายของผู้ถูกกดขี่ แต่
หมายถึงการถกเถียงกับโครงเรื่องประวัตศิ าสตร์วตั ถุนิยมวิภาษวิธี ซึง่ นั กประวัตศิ าสตร์ซา้ ยใหม่ตคี วามไม่เท่ากัน
บางคนเช่น ธอมป์ สันอาจแค่ต้องการชี้ให้เห็นว่ามนุ ษย์และการต่อสู้ก็เป็ นสิง่ สาคัญพอๆ กับการอธิบายความ
ขัดแย้งระหว่างโครงสร้างส่วนล่างและโครงสร้างส่วนบนทีจ่ ะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมขัน้ ต่อไป แต่คนอื่นๆ
อาจตีความไปถึงขัน้ ว่า ซ้ายใหม่ได้ปฏิเสธคาอธิบายดังกล่าวลงทัง้ หมดแล้ว เมื่อไม่ชดั เจนว่าเป้ าหมายของการ
เขียนประวัติศาสตร์การต่อสูข้ องผู้คนจะมุ่งไปสู่อะไรแน่ นี่จงึ กลายเป็ นปมปั ญหาข้อใหญ่ทต่ี ิดค้างมาจนถึงอย่าง
น้อยต้นทศวรรษที่ 1980 ทาให้นักประวัตศิ าสตร์มาร์กซิสต์/ซ้ายใหม่อย่างซามูเอล ต้องกลับมาตอบคาถามอีกครัง้
ว่า ทาไมมาร์กซิสต์และนักสังคมนิยมควรจะต้องรับประชาชนเข้าแทนทีช่ นชัน้ และรับเข้ามาอย่างไร โดยซามูเอล
พยายามอธิบายไว้ดงั ต่อไปนี้

ประวัติศำสตร์ของกำรเขียนประวัติศำสตร์ประชำชน
ซามูเอล (Samuel 1981) เริม่ ต้นด้วยการให้ภาพรวมและพัฒนาการของการศึกษา 'ประวัติศาสตร์ของ
ผูค้ น/ประชาชน' (people’s history)8 ว่า มีเส้นทางความเป็ นมาทีแ่ สนยาวไกลและครอบคลุมงานเขียนทีแ่ ตกต่ าง
กันหลายกลุ่มมาก งานบางกลุ่มเล่าผ่านโครงเรื่องความก้าวหน้า บ้างเล่าผ่านมุมมองเรื่องความเสื่อมทรามทาง
วัฒนธรรม (cultural pessimism) บ้างก็เล่าจากมุมมองแบบมนุษยนิยมเชิงเทคโนโลยี เช่น งานศึกษาประวัตศิ าสตร์
'ข้า วของเครื่อ งใช้ในชีวิตประจาวัน ' (everyday things) ซึ่ง เป็ น งานศึก ษาที่ได้รบั ความนิย มมากในวงวิชาการ
ประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 1930 สิง่ ทีเ่ ป็ นวัตถุแห่งการศึกษาในประวัตศิ าสตร์ประชาชนก็มคี วามหลากหลาย
บ้างก็ศกึ ษาเครื่องมือหรือข้าวของเครื่องใช้ (อย่างทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว) บ้างก็ศกึ ษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
บ้างก็ศกึ ษาเรื่องราวชีวติ ครอบครัว ฯลฯ
ซามูเอลกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้การศึกษาประวัตศิ าสตร์ของประชาชนก็มมี าในชื่อต่างๆ มากมาย เช่น
งานศึก ษา 'ประวัติศ าสตร์อุ ต สาหกรรม' ของกลุ่ ม สัน นิ บ าตไพร่ (Plebs League) ซึ่ง เป็ น ชื่อ ขององค์ก รเพื่อ
การศึกษาและการเมืองของคนงานอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หรืองานศึกษา 'ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติ' เช่น

8ในทีน่ ้ผี เู้ ขียนจะแปล people ว่า ‘ผูค้ น’ ในขณะทีจ่ ะแปล popular ว่า ‘ประชาชน’ ในแง่ทส่ี อ่ื นัยถึง ผูค้ นทีก่ า้ วออกมามีสว่ นร่วมเคลือ่ นไหวทางการเมือง
ประชาชนจึงมีนยั ของตัวแทนของการเปลีย่ นแปลงทางการเมือง ในขณะทีเ่ มือ่ พูดถึงผูค้ นก็จะนึกถึงคนธรรมดาในชีวติ ประจาวันจริงๆ ทีอ่ าจจะสนใจเรือ่ ง
หมากัดวัว การพนัน และไสยศาสตร์ มากกว่าการถกเถียงหรือเคลือ่ นไหวเพือ่ ปลดปล่อยตนเองให้เป็ นอิสระตามอย่างปรัชญาแสงสว่าง

358
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

งานศึกษาชาติพนั ธุ์วทิ ยาเปรียบเทียบ ซึ่งได้รบั อิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากความคิดของชาร์ลส์ ดาร์วนิ (แม้กระทัง่


มาร์กซ์เองยังเรียกหนังสือ Capital เล่มที่ 1 ว่า ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติของการผลิตแบบทุนนิยม) นอกจากนี้กม็ ี
งานศึกษาทีภ่ ายหลังมักเรียกกันว่า 'ประวัตศิ าสตร์สงั คม' (Kulturegeschichte/cultural history) ซึง่ มีทม่ี าจากโลก
วิชาการภาษาเยอรมันปลายศตวรรษที่ 19 ทีส่ นใจศึกษา 'วิถชี าวบ้าน' (folkways)
นอกจากนี้ ค าว่ า ประวัติศ าสตร์ป ระชาชนยัง น ามาใช้เ รีย กงานศึก ษาประวัติศ าสตร์แ บบที่เ รีย กว่ า
'ประวัติศ าสตร์จากเบื้อ งล่ า ง' (history from below) ซึ่ง มีบ ทบาทมากในกระแสการศึก ษาประวัติศ าสตร์สงั คม
อังกฤษทีก่ าลังกลับมาเป็ นทีส่ นใจ และแน่นอนว่านี่เป็ นกระแสการเคลื่อนไหวทางความคิดทีเ่ ริม่ ต้นขึน้ จาก ‘นอกรัว้
มหาวิทยาลัย’ โดยหนึ่งในตาราหลักทีเ่ ปรียบเสมือนตัวแทนของกระแสความคิดดังกล่าวก็คอื MEWC ของธอมป์
สันนันเอง
่ สิง่ ทีน่ ่าสนใจคืองานชิน้ นี้ถูกสร้างขึน้ จากบริบทของโรงเรียนแบบศึกษาผูใ้ หญ่ หรือในชื่อเต็มคือ 'สมาคม
เพื่อการศึกษาของคนงาน' (The Workers’ Educational Association -- WEA) ไม่ใช่ห้องสัมมนาของนักปราชญ์
ราชบัณฑิตหรือห้องบรรยายของลูกหลานนักศึกษากระฎุมพีท่ไี หน ที่น่าสนใจอีกประการคือ ประวัติศาสตร์จาก
เบือ้ งล่างมักเกีย่ วข้องกับกลุ่มคนทีถ่ ูกแปะป้ ายชื่อว่า 'พวกนักประวัตศิ าสตร์สมัครเล่น' ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง
ในฐานะประวัตศิ าสตร์ประชาชนจึงสัมพันธ์กบั การผลิตประวัตศิ าสตร์นอกรัว้ สถาบันวิชาการ เช่น โครงการผลิต
ประวัติศาสตร์ของชุมชนโดยคนในชุมชน (ไม่ใช่นักวิชาการ) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ประชาชนก็คอื
กระบวนการทาให้การผลิตความรู้ประวัติศาสตร์มคี วามเป็ นประชาธิปไตย (เป็ นอิสระจากอานาจครอบงาของ
ระบอบการผลิตความรูว้ ชิ าการ และนักวิชาการ) ซึง่ มีความชัดเจนมากในกรณีของกระแสการศึกษาประวัตศิ าสตร์
บอกเล่า (oral history)9
อย่างไรก็ดปี ระวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างก็ค่อยๆ ถูกพูดถึงมากขึน้ ในห้องสัมมนางานวิจยั ต่างๆ จนสุดท้ายก็
ได้เข้าไปเปลีย่ นแนวการศึกษาประวัตศิ าสตร์ในมหาวิทยาลัยอย่างมีนยั สาคัญ เช่น เปลีย่ นความสนใจจากเรื่องราว
ของชาติมาสู่เรื่องราวของท้องถิ่น จากการศึกษาประวัติศาสตร์สถาบันทางสั งคมสู่เรื่องราวชีวติ ในบ้านของผูค้ น
(domestic life) จากความสนใจศึก ษารัฐและสิ่ง ที่เ กี่ยวเนื่ อ งกับ รัฐมาสู่เ รื่อ งราวชีวิต วัฒ นธรรมของประชาชน
(popular culture) หรือ การหันมาให้ความสนใจกับมิตทิ างสังคมและวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องการเมืองแบบทางการ
นันเอง

ซามูเอลอธิบายว่า ความเปลีย่ นแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึน้ แค่ในประเทศอังกฤษเท่านัน้ แต่รวมไปถึงประเทศ
อื่นๆ ในยุโรปด้วย เช่น ในประเทศฝรังเศส่ ถึงแม้ความเปลีย่ นแปลงจะปรากฏไม่โดดเด่นเท่าในกรณีของประเทศ
อังกฤษ แต่ ก็เด่นชัดพอที่จะยกมาเป็ นตัวอย่า ง เช่น ในกรณีของสานักศึกษาประวัติศาสตร์ท่ี คนภายนอกมัก
เรียกชื่อว่า ‘อานัลล์สคูล’ (Annales school) ซามูเอลกล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ลุกฮือของวัยรุ่นและนักศึกษาใน
ประเทศฝรัง่ เศสช่วงปี ค.ศ. 1968 อานัลล์สคูลก็เ ริ่มเปลี่ยนการศึก ษาประวัติศ าสตร์ท่ปี ราศจากผู้ค น (history
without people)10 ไปสู่ ก ารศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ เ ชิ ง ชาติ พ ั น ธุ์ (ethno-history) โดยเน้ น ความสนใจไปที่
'ประสบการณ์ของปั จเจก' (individual experience) ตัวอย่างที่ชดั เจนคืองานเขียนสาคัญสองชิน้ ของ เอมมานูเอล

9 ซามูเอลยกตัวอย่าง โครงการเผยแพร่สงิ่ พิมพ์อตั ชีวประวัตขิ องแรงงานในย่านแฮคนีย์ (Peoples Autobiography of Hackney) โดยอาสาสมัครในชุมชน


ได้เรียบเรียงและเขียนประวัตศิ าสตร์คนงานในย่านนี้ตงั ้ แต่ปลายศตวรรษที่ 19 จากการบอกเล่าความทรงจาของคนในชุมชน ผลงานดังกล่าวได้ตพี มิ พ์
ออกมาเป็ นหนังสือหลายเล่มในช่วงทศวรรษที่ 1970
10 ผูอ
้ ่านโปรดตระหนักว่า นี่คอื การให้ภาพสานักอานัลล์จากนักประวัตศิ าสตร์ฝ่ายซ้ายอังกฤษเพียงคนหนึ่งเท่านัน้

359
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เลอ รอย ลาดูรี (Emmanuel Le Roy Ladurie) ได้แก่ Montaillou (1979) และ Carnival in Romans (1980)11 ซึ่ง
ซามูเอลเชื่อว่า เป็ นครัง้ แรกที่งานศึกษาของสานักนี้ได้หนั ไปให้ความสนใจกับกลุ่มทีม่ กั ถูกมองว่าเป็ นพวกนอก
สังคม (outcast) รวมทัง้ การเริม่ ยอมรับในหลักฐานประเภทเรื่องเล่าปากเปล่า (oral history)
ในแง่น้ีจงึ เห็นได้ว่า ประวัตศิ าสตร์ประชาชนก็คอื ความพยายามทีจ่ ะขยายหัวข้อการศึกษา ไปจนถึงการ
ใช้วตั ถุดบิ ในการศึกษาชนิดใหม่ๆ ซึง่ นาไปสู่การสร้างแผนทีค่ วามรูป้ ระวัตศิ าสตร์แบบใหม่ขน้ึ มานัน่ เอง ไม่ว่าจะ
เป็ นไปโดยตัง้ ใจหรือไม่กต็ าม ประวัติศาสตร์ประชาชนจึงเป็ นทางเลือกของการศึกษาประวัติศาสตร์แบบเดิมที่
ซามูเอลเรียกว่า ประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ห้งผากเป็ นฝุ่ นผง (dry as dust) ซึง่ สอนกันอยู่ในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยใน
ขณะนัน้

ประวั ิศาส ร์ประชาชนในฐานะงานวรรณคดี


ซามูเอลเสนอว่า หากพิจารณางานประวัตศิ าสตร์ประชาชนในฐานะทีเ่ ป็ นงานวรรณคดีประเภทหนึ่ง ก็ดู
เหมือนว่ามันจะเป็ นวรรณคดีประเภทสัจนิยม รวมทัง้ มีความสัมพันธ์กบั กระแสเคลื่อนไหวของกลุ่มความคิดแบบ
โรแมนติก (romantic movement) ที่เริม่ ต้นในยุโรปอย่างน้อยตัง้ แต่ปลายศตวรรษที่ 17 เมื่อนักปราชญ์ทงั ้ หลาย
เริม่ หันมาสนใจศึกษากลอนเพลงชาวบ้าน (popular ballade) การใช้เรื่องราววิถชี วี ติ ของชาวบ้านเป็ นหลักฐานใน
การเขียนประวัตศิ าสตร์ ฯลฯ หรือทีป่ ี เตอร์ เบิรค์ (Peter Burke) นักประวัตศิ าสตร์ช่อื ดังเรียกว่าเป็ น 'การค้นพบ
ประชาชน' (the discovery of the people) โดยทีเ่ บิรค์ อธิบายว่า การทีน่ ักปราชญ์ในยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 17
พากันหันมาให้ความสนใจศึกษาชีวติ ชาวนาและชาวบ้ านในช่วงเวลาดังกล่าว อาจอธิบายได้ว่าเป็ นการหลบหนี
ออกมาจาก 'โลกเทียมแท้' (the artificialities) ของสโมสรเสวนา (the salons) และราชสานัก12
ซามูเอลกล่าวต่อไปว่า ในเวลาต่อมาประวัตศิ าสตร์ประชาชนก็ปรากฎขึน้ ในประเทศฝรังเศสโดยเป็ ่ นส่วน
หนึ่งของกระแสทีใ่ หญ่กว่านันคื ่ อ การเคลื่อนไหวทางความคิดเรื่อง ‘สัมผัสทางวรรณคดีทล่ี ะเอียดอ่อน’ (movement
of literary sensibility) ซึ่ง เป็ น ส่ว นหนึ่ ง ของกระแสโรแมนติก นิ ย ม ซามูเ อลเสนอว่ า ผู้เ ขีย นงานประวัติศ าสตร์
ประชาชนช่วงแรกๆ ทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากความคิดดังกล่าวมองว่า ตัวเองเป็ นทัง้ ผูเ้ ขียนงานประวัตศิ าสตร์และเป็ น
ศิลปิ นผู้กาลังประพันธ์งานวรรณคดีไปด้วยในขณะเดียวกัน บางคนตัง้ ใจเขียนประวัติศาสตร์ให้เสมือนหนึ่งการ
ประพัน ธ์ม หากาพย์ (epics) เช่ น The Rise of the Dutch Republic (1858) โดย จอห์น มอทลีย์ (John Motley)
บ้างก็นาข้อมูลรายละเอียดแวดล้อมทางประวัติศาสตร์มาใช้เพื่อให้เกิดความงดงามเชิงกวีนิพนธ์ โดยมุ่งเติมเต็ม
ภาพจินตนาการไปจนถึงสรรพเสียงในเหตุการณ์ทก่ี าลังถูกบรรยายถึง
ซามูเอลกล่าวว่า งานเขียนประวัตศิ าสตร์ของ อี พี ธอมป์ สัน ปรากฎลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจน และ
หากพิจารณาถึงการทีธ่ อมป์ สัน (Thompson 1978b) วิพากษ์วจิ ารณ์โจมตีลกั ษณะนามธรรมสูงของความคิดแบบ

11 ในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษที่ 13 ถึง 14 เกิดกระแสความเคลื่อนไหวของลัทธิทท่ี างการเรียกว่า ‘นอกรีต’ (heresy) ในหมู่บ้านแถบเขตตะวันตก


เฉียงใต้ของประเทศฝรั ่งเศส นามาสู่การปราบปรามในลักษณะสงครามศักดิ ์สิทธิ ์ (crusade) หลังจากเหตุการณ์สงบลง ทางการได้สง่ คณะบาทหลวงเข้า
มาทาการสอบสวนเหตุดงั กล่าว เกิดเป็ นเอกสารบันทึกปากคาชาวบ้าน ซึง่ เลอ รอย ลาดูรไี ด้นามาใช้เ ป็ นหลักฐานสาคัญในการปะติดปะต่อสร้างเรือ่ งราว
ชีวติ ประจาวันของผูค้ นในหมูบ่ า้ นยุคกลาง อันเป็ นทีม่ าของหนังสือ Montaillou อันโด่งดังในเวลาต่อมา เช่นเดียวกับงานศึกษาอีกชิ้นของเขาคือ Carnival
in Romans เลอ รอย ลาดูรไี ด้ใช้หลักฐานเพียงแค่บนั ทึกของพยานไม่กค่ี นในเหตุการณ์สงั หารหมูก่ ลางงานคาร์นิวลั ณ เมืองแห่งหนึ่งในประเทศฝรั ่งเศส
ช่วงปี ค.ศ. 1580 ประกอบกับใช้หลักฐานอื่นๆ ทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์สว่ นใหญ่อาจไม่เห็นว่าจะเกีย่ วกันได้อย่างไร เช่น บัญชีโรคระบาด และบัญชีผเู้ สียภาษี
นามาสร้างเป็ นคาอธิบายว่า การสังหารหมู่ทเ่ี กิดขึ้นเปรียบได้เหมือนกับ ‘จักรวาลย่อยๆ’ (microcosm) ทีแ่ สดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความขัดแย้ง
ทัง้ ในมิตทิ างการเมือง สังคม และศาสนา ของหมู่บ้านชนบทในฝรั ่งเศส ช่วงครึง่ หลังของศตวรรษที่ 16 งานศึกษาชิ้นนี้ได้กลายเป็ นตัวอย่างของสิง่ ที่
เรียกว่า การศึกษา ‘จุลประวัตศิ าสตร์’ (micro-history)
12 'การค้นพบประชาชน' เป็ นหนึ่งในข้อเสนอสาคัญของเบิรค ์ จากงานชิ้นสาคัญของเขา Popular Culture in Early Modern Europe (1978)

360
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

โครงสร้างนิยมฝรังเศสที
่ เ่ ข้ามามีอทิ ธิพลเหนือพวกซ้ายใหม่องั กฤษในช่วงตัง้ แต่ทศวรรษที่ 1960 นี่กอ็ าจสะท้อนถึง
วิธคี ดิ แบบเดียวกับนักคิดโรแมนติกอย่าง ออกุสแตง เธียร์ร่ี (Augustin Thierry) ทีเ่ คยวิจารณ์ผลงานความคิดของ
พวกนักปรัชญาด้วยคารมเชือดเฉือนว่า เป็ นเพียงแค่กจิ กรรมการครุ่นคิดทีม่ ไิ ด้นาไปสู่อะไรนอกจากความแห้งแล้ง
(calculated dryness) เหนือสิง่ อื่นใด การที่ธอมป์ สันรวมทัง้ คนอื่นๆ ให้ความสาคัญมากที่สุดกับ ‘ประสบการณ์ ’
ของผู้คนในประวัติศาสตร์เป็ นแกนกลางของการโจมตี ความคิดมาร์กซิสม์-โครงสร้างนิยมแบบ หลุยส์ อัลธูแซร์
(Louis Althusser) นี่กช็ ดั เจนว่าเป็ นมรดกความคิดทีต่ กทอดมาจากชุดคู่ขวั ้ ตรงข้ามระหว่างเหตุผล (reason) กับ
อารมณ์ /แรงปรารถนา (passion) และระหว่ า งวิธีคิด แบบวิท ยาศาสตร์ก ลไก (mechanical science) กับ การ
จินตนาการ (imagination) ซึง่ เป็ นรากฐานความคิดสาคัญของกระแสคิดโรแมนติก
ในแง่น้ีการกล่าวว่าประวัติศาสตร์ประชาชนเป็ นงานเขียนแบบสัจนิยมเชิงสังคม (social realism) แนว
เขีย นแบบนี้ ก็ถือ เป็ น มรดกตกทอดมาจากกระแสความคิด โรแมนติก ในแวดวงกวีนิ พนธ์และศิลปะฝรัง่ เศสที่
พัฒนาขึน้ ในช่วง ค.ศ. 1830s - 1840s ด้วยเช่นกัน งานประวัตศิ าสตร์เรื่อง Le Peuple (1846) ของมิเชอเลต์ เป็ น
ตัว อย่ า งที่ช ัด เจนของผลงานสัจ นิ ย มเชิง สัง คมแบบเดีย วกับ งานวรรณกรรมของวิค เตอร์ ฮูโ ก (Victor) หรือ
ภาพเขียนชีวิตชาวนาและคนบ้า นนอกของกุ สตาฟว์ กูร์แบ (Gustave Courbet) โดยสิง่ ที่ทุกคนมีร่วมกัน ก็คือ
‘ความต้องการแสวงหาความจริงแท้’ (authenticity) ของชีวติ ชาวนา คนบ้านนอก คนจน และคนธรรมดาทัวไปใน ่
สังคม

ต้ายก็ประชาชน ขวาก็ประชาชน?
หากพิจารณาจากที่กล่าวมา ซามูเอลเสนอว่างานเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนล้วนแล้วแต่ถูกหล่อขึน้
จากเบ้าหลอมของพลังทางการเมืองและอุดมการณ์จากทุกปี ก กล่าวคือ งานเขียนบางกลุ่มเชื่อมโยงกับอุดมการณ์
แบบมาร์กซิสม์ บ้างก็เชื่อมกับความคิดแบบเสรี-ประชาธิปไตย บ้างก็เชื่อมกับวิธคี ดิ แบบชาตินิยมเชิงวัฒนธรรม
(cultural nationalism) ฯลฯ ประเด็นสาคัญก็คอื ไม่ใช่เรื่องง่ายทีจ่ ะบอกว่างานเขียนแบบใดเป็ นงานประวัตศิ าสตร์
ประชาชนแบบทีถ่ ูกต้องหรือแบบทีผ่ ดิ (หรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองทีเ่ ป็ นอิสระจากกัน)
ทัง้ นี้เพราะประการแรก คาว่า ‘ประชาชน’ เองก็มีความหมายแตกต่างกันไปตามแต่ ละสังคม เช่น ใน
ฝรังเศสช่
่ วงศตวรรษที่ 19 ความคิดเรื่องประชาชนเป็ นเรื่องเดียวกับความคิดเรื่องการปฏิวตั อิ ย่างไม่สามารถแยก
ออกจากกันได้ และมีนยั โยงไปถึงความคิดเรื่องพลังของชนชัน้ ด้วย ในขณะทีอ่ งั กฤษซึง่ เป็ นสังคมทีม่ รี ากเหง้าของ
ธรรมนูญการปกครองทีป่ ระชาชนเข้าไปมีสว่ นร่วมมาอย่างยาวนาน เมื่อพูดถึงประชาชนจึงมักหมายถึงการปกป้ อง
สิทธิทางสังคมและทางการเมือง ส่วนเยอรมันทีซ่ ง่ึ แนวคิดเรื่องประชาชนหรือผูค้ นผูกพันอย่างลึกซึง้ กับการศึกษา
ชีวติ ชาวบ้าน (Volkskunde) ทัง้ แบบที่มมี ุมมองขุดรากถอนโคนและแบบอนุ รกั ษ์นิยม แต่ไม่ว่าจะเป็ นแบบไหน
ประชาชนก็ถูกนิยามผ่านวิธคี ดิ เรื่องคนในกับคนนอก เช่น การมองว่าชุมชนชาวบ้าน (folk community) ตกอยู่
ภายใต้อทิ ธิพลและการปกครองจากอานาจแปลกปลอมทีม่ าจากภายนอก (alien influences and rule) ไม่นบั ว่านัย
ของประชาชนก็แตกต่างไปตามแต่ละศาสตร์สาขาวิชาด้วย เช่น สาหรับนักคติชนวิทยา ประชาชนมักหมายถึง
ชาวนา (peasant) ทีม่ วี ถิ ชี วี ติ วัฒนธรรมขัดแย้งกับคนกลุ่มอื่นในสังคม ในขณะทีน่ ักสังคมวิทยาจะหมายถึงชนชัน้
แรงงาน ส่วนนักประชาธิปไตยและนักเคลื่อนไหวชาตินิยมจะหมายถึงกลุ่มชาติพนั ธุท์ งั ้ หลายในประเทศชาติ ยิง่ เมื่อ
สวมแว่นอุดมการณ์ทางการเมืองมาสร้างคาอธิบาย ประชาชนก็ดูจะกลายเป็ นสิง่ ทีม่ คี วามหมายตามแต่ทผ่ี ู้ ศรัทธา
อยากจะเห็นมากกว่า เช่น ในงานเขียนฉบับของมาร์กซิสต์รวมทัง้ ของพวกนักประชาธิปไตยแบบขุดรากถอนโคนที่
มองว่า ประชาชนคือกลุ่มคนทีถ่ ูกกดขีข่ ดู รีดจากระบบความสัมพันธ์ทางสังคมและการผลิต

361
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สาหรับการเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนในฉบับอนุรกั ษ์นิยมหรือ ‘แบบฝ่ ายขวา’ มักจะมีลกั ษณะเด่นคือ


เป็ นประวัตศิ าสตร์ชวี ติ ของผูค้ นทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับเรื่องการต่อสูห้ รือความขัดแย้ง ไม่มเี รื่องการเมือง แต่อุดมไปด้วย
ความคิด เชิง ศาสนาและระบบคุ ณค่ า ศีลธรรม มัก สร้า งภาพอุ ด มคติใ ห้ก ับ สถาบัน ครอบครัว เช่ น ครอบครัว
เปรียบเสมือนสายใยแห่งความรักและใบหน้าที่คุน้ เคย รวมทัง้ การบรรยายว่าความสัมพันธ์ทางสังคมในสังคมของ
ชาวนา ชาวบ้าน หรือของผูค้ นธรรมดานัน้ เป็ นการแลกเปลีย่ นอย่างพึง่ พาอาทร (reciprocal) ไม่ใช่การเอารัดเอา
เปรียบ (exploitative) หาประโยชน์เห็นแก่ตวั แบบสังคมเมือง แม้งานบางชิน้ อาจจะพูดถึงความขัดแย้งเชิงชนชัน้
ของคนในสังคมบ้าง แต่กม็ กั อธิบายว่า เป็ นความขัดแย้งที่ ‘ตัดข้ามกลุ่มชนชัน้ ’
ลักษณะเด่นทีส่ ุดของการเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนแบบฝ่ ายขวาอีกประการคือ การมองว่าประชาชน
ชาวบ้าน หรือผู้คน ต่ างอาศัยอยู่ในชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลและพึ่งพิงตัวเองได้ (organic community) ซึ่งเป็ น
ชุมชน ‘ที่เคยดารงอยู่’ ซึ่งนี่สะท้อนอุดมการณ์ซง่ึ เป็ นรากฐานของพวกฝ่ ายขวานัน่ คือ ‘การต่อต้านโลกสมัยใหม่’
(รวมทัง้ มุมมองทีว่ ่าโลกสมัยก่อนนัน้ ดีกว่าในปั จจุบนั ) ทาให้มองว่าชีวติ แบบเมืองและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
เป็ นพลังทีแ่ ปลกแยกไปจากชีวติ ทีจ่ ริงแท้ของผูค้ น ชาวนา และชาวบ้าน ทีเ่ ข้ามาบุกรุกทาลายชุมชน ทาลายจารีต
ประเพณีทเ่ี ป็ นรากฐานของความเป็ นปึ กแผ่นทางสังคมมาแต่ครัง้ อดีตกาล
ในกรณี ข อง วิล เฮล์ม ไฮน์ ริช รีล (Wilhelm Heinrich Riehl) ที่ไ ด้ร ับ การกล่ า วขานว่ า เป็ น บิด าของ
ชาติพนั ธุว์ ทิ ยาในโลกภาษาเยอรมัน และเป็ นผูท้ าให้การศึกษาชีวติ ชาวบ้าน (Volkskunde) กลายเป็ นศาสตร์เชิง
ประจักษ์แขนงใหม่13 ความคิดแบบขวาของเขาปรากฎอย่างเด่นชัดยิง่ ซามูเอลอธิบายว่า อาจเป็ นเพราะรีลได้รบั
อิทธิพลอย่างลึกซึง้ จากเหตุการณ์การปฏิวตั เิ ยอรมัน ค.ศ. 1848 ทีล่ ม้ เหลว รีลจึงมุ่งมันที
่ จ่ ะนาเสนอความคิดเรื่อง
‘การกระจายอานาจจากศูนย์กลาง’ และข้อเสนอเรื่องให้สงั คม ‘กลับคืน’ สู่ระบบรัฐศักดินา ตลอดจนการรือ้ ฟื้ นวิถี
ครอบครัวแบบเก่ากลับมาที่ซ่งึ เน้ นคุณธรรมเรื่อง อานาจชอบธรรมในการปกครองครอบครัว (authority) การ
เคร่งครัดในศีลธรรมศาสนา (piety) และความเรียบง่ายของชีวติ (simplicity)
ส่วนกรณีของเชสเตอร์ตนั (G.K. Chesterton) คริสตชนคาทอลิกผู้เคยเป็ นนักเสรีนิยมมาก่อน กรณีน้ี
ซามูเอลกล่าว่าออกจะดูคลุมเครือ ในด้านหนึ่งเชสเตอร์ตนั ดูยงั มีความศรัทธาเต็มเปี่ ยมในเรื่องศักดิศรี ์ ของคนจน
แต่ในอีกด้านหนึ่งเขาก็มองว่า ความเชื่อมันในเหตุ
่ ผลแบบสมัยใหม่ (rationalism) และโลกสมัยใหม่เป็ นศัตรูของคน
จน เขาเฝ้ าถวิลทีจ่ ะกลับคืนสูโ่ ลกของชุมชนท้องถิน่ เปี่ ยมรัก (loveable localism) อย่างทีเ่ คยดารงอยู่ในครัง้ อดีต
ถึงตรงนี้ แม้จะดูว่างานเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนจากฝ่ ายซ้ายและฝ่ ายขวาจะมีความแตกต่างสาคัญ
อยู่ม าก ทว่ า ก็มีจุ ด ที่ซ้อ นร่ ว มกัน อยู่ห ลายประการ เช่ น ต่ า งก็ไ ด้ร ับ มรดกความหลงใหลในชีวิต แบบดัง้ เดิม
(romantic primitivism) มาด้วยกัน ทัง้ คู่จงึ สรรเสริญความเป็ นธรรมชาติ (natural) ความใสซื่อ (naive) และความ
ไม่ปรุงแต่งใดๆ (spontaneous) นอกจากนี้ ทัง้ คู่ต่างก็โหยหาสิง่ ทีเ่ ชื่อว่าเป็ นความเป็ นปึ กแผ่นแบบสังคมในอดีตที่
ปั จจุบนั ได้สูญสิน้ ไปแล้ว รวมทัง้ ต่างก็มคี วามเชื่อไปในทานองเดียวกันว่า ชีวติ แบบสมัยใหม่นัน้ เป็ นปฏิปักษ์กบั
ชีวติ ของประชาชนและชุมชนแสนงามในอดีต โดยทีพ่ วกนักสังคมนิยมเชื่อว่า พลังชัวร้ ่ ายแปลกแยกนัน้ คือระบบ
การผลิตแบบทุนนิยม ส่วนพวกฝ่ ายขวามองว่าคือ ความคิดเรื่องปั จเจกชน การอุตสาหกรรม และสังคมมวลชน
อย่ า งไรก็ดี ส าหรับ พวกเสรีนิ ย มออกจะมีมุ ม มองที่ต่ า งออกไป โลกสมัย ใหม่ ใ นงานประวัติศ าสตร์
ประชาชนของคนกลุ่มนี้ออกจะเป็ นโลกทีส่ วยงามกว่าพวกฝ่ ายซ้ายและฝ่ ายขวา พวกเสรีนิยมมองว่าชีวติ แบบเมือง

13 คลีค่ ลายมาเป็ นการศึกษาคติชนวิทยา (Folklore) ในเวลาต่อมา

362
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

สมัยใหม่ เทคโนโลยี การผลิตแบบสมัยใหม่ ฯลฯ คือความก้าวหน้าทางวัตถุและเป็ นพลังใหม่ทม่ี คี วามเมตตากรุณา


ต่อมนุษย์ (benevolent) สาหรับพวกเสรีนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่ว่าจะมาในรูปของการเติบโตของเมือง
สมัยใหม่ การขยายตัวของการค้า ความคิดเรื่องปั จเจกชน ฯลฯ ห่างไกลจากการเป็ นพลังทาลายล้าง ตรงกันข้าม
มันคือผู้บุกเบิกความก้าวหน้าทางศีลธรรมและสังคม ด้วยการ “วางรากฐานสาคัญให้กบั ระบบที่กาลังจะเติบโต
ขึน้ มาเพื่อที่จะกวาดล้างซากเดนของศักดินาทรราชย์ให้สน้ิ ไปจากผืนแผ่นดิน ” (Samuel 1981, xxii) นอกจากนี้
พวกเสรีนิยมก็มองว่ากระบวนการทาให้เป็ นสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไปข้างหน้ าของความคิดและจิตใจของ
มนุ ษยชาติ เป็ นความก้าวหน้าของความคิดเรื่องเสรีภาพของพลเมือง (civil liberty) และเป็ นการขยายพืน้ ทีข่ อง
ความคิดเรื่องขันติธรรมเชิงศาสนา (religious toleration)
ในแง่น้ีประชาชนหรือผูค้ นในประวัตศิ าสตร์ประชาชนของพวกเสรีนิยม ย่อมไม่ใช่ตวั แทนของพลังแบบ
จารีต แต่เป็ นแหล่งของพลังแฝงทีจ่ ะนามาสูค่ วามเปลีย่ นแปลง ซึง่ แม้จะเกิดขึน้ อย่างช้าๆ ทว่ามีแต่จะก้าวหน้าและ
ส่งอิทธิพลต่อชีวติ ทางสังคมของผูค้ นทัง้ หลายในชาติมากขึน้ เรื่อยๆ ซึง่ นี่คอื ภาพทีต่ รงข้ามกับสังคมยุคกลางทีเ่ ต็ม
ไปด้วยความงมงาย ไสยศาสตร์ และสงคราม ดังนัน้ หนึ่งในโครงเรื่องหลักของประวัตศิ าสตร์แบบเสรีนิยมทีเ่ ขียน
ขึน้ ในช่วงศตวรรษที่ 19 ก็คอื เรื่องราวการดิ้นรนต่อสูข้ องเมืองท้องถิ่น (เทศบาล) เพื่อที่จะบริหารและปกครอง
ตนเอง โดยอีก โครงเรื่อ งหนึ่ งที่สาคัญไม่แพ้ก ัน คือ เรื่อ งราวการปลดแอกตัวเองของชาวนาให้เ ป็ น อิสระจาก
สถานะการเป็ นไพร่ตดิ ทีด่ นิ (serfdom)
นอกจากนี้ หากเมื่อต้องพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์กบั ศาสนา พวกเสรีนิยมก็มกั จะมีทศั นะสนับสนุนความคิด
แบบ 'นอกรีต' (heresy) และต่อต้านอานาจของศาสนจักร นอกจากนี้ ความคิดเรื่อง 'สัญชาติ' (nationality) ในมุม
ของพวกเสรีนิยมก็เป็ นไปในทานองเดียวกันคือ มองว่าเป็ นความก้าวหน้าเพราะเป็ นการมอบเสรีภาพให้แก่ผใู้ ต้
ปกครองทัง้ หลาย (ไม่ใช่ไพร่ ไม่ใช่ทาส อีกต่อไป แต่เป็ นพลเมืองผูถ้ อื สัญชาติของรัฐสมัยใหม่ ) ดังนัน้ ซามูเอลจึง
เสนอว่าหากจะต้องกล่าวโดยสรุปแล้ว หัวใจของโครงเรื่องประวัตศิ าสตร์ประชาชนแบบเสรีนิยมก็คอื ความคิดเรื่อง
การปกครองตัวเองบนฐานคิดแบบประชาธิปไตย (democratic self-government) นันเอง ่ 14
ในขณะทีง่ านเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนแบบสังคมนิยม แม้ในช่วงแรกจะมีจุดยืนที่ต่างจากนักเสรีนิยม
เช่น นักสังคมนิยมมองว่าศัตรูหลักของประชาชนไม่ใช่เจ้าทีด่ นิ แต่เป็ นนายทุน รวมทัง้ การนิยามว่าประชาชนก็คอื
ชนชัน้ แรงงานอุตสาหกรรม แต่กระนัน้ ก็อาจกล่าวได้ว่า นักสังคมนิยมได้รบั มรดกทางความคิดแบบเสรีนิยมมาใช้
โดยแทบไม่ได้ปรับแก้แต่อย่างใด เช่น นักสังคมนิยมมองว่า ‘ทีด่ นิ ’ คือสัญลักษณ์ของการกดขีท่ างชนชัน้ ไปจนถึง
การให้ความสาคัญกับการศึกษาการลุกฮือของชาวนาทีม่ มี ากกว่าความสนใจเรื่องการหยุดงานประท้วงของแรงงาน
อุตสาหกรรม นอกจากนี้นักสังคมนิยมก็ให้ความสาคัญกับเรื่องกระบวนการเปลีย่ นทีท่ ากินสาธารณะให้กลายเป็ น
ทรัพ ย์ สิน ส่ ว นบุ ค คล (enclosure movement) รวมทัง้ ยัง มองว่ า นี่ คื อ สัญ ลัก ษณ์ ข องความไม่ เ ป็ นธรรมใน
ประวัตศิ าสตร์ เป็ นการปล้นชิงสิทธิโดยกาเนิดของชาวอังกฤษทีน่ ่ าละอายทีส่ ุดครัง้ หนึ่งในประวัตศิ าสตร์ ซามูเอล
เสนอว่ า ตัว อย่ า งยิ่ง ชัด เจนมากขึ้น ในกรณี ข องนัก สัง คมนิ ย มฝรัง่ เศส เพราะคนกลุ่ ม นี้ ย ัง คงยึด โยงตัวเองกับ

14ซามูเอลยกตัวอย่างเสริมไว้ดว้ ยว่า โครงเรื่องเหล่านี้ถู กนาไปใช้โดยนักประวัตศิ าสตร์เสรีนิยมชาวฝรั ่งเศส เช่น ฟรองซัว มิเญต์ (François Mignet)
ฟรองซัว กิโซต์ (François Guizot) และออกุสแตง เธียร์ร่ี โดยมุ่งหวังให้งานเขียนของพวกตนเป็ นเครื่องปกป้ องและสืบทอดเจตนารมณ์ของการปฏิวตั ิ
1789 รวมทัง้ เป็ นอาวุธต่อสูก้ บั กระแสความคิดทีจ่ ะรือ้ ฟื้ นราชวงศ์บูรบ์ ง (Bourbon) กลับมาในช่วงหลังการสิ้นสลายของนโปเลียนและสาธารณรัฐ ในราว
ค.ศ. 1815

363
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เหตุการณ์ปฏิวตั ฝิ รังเศส
่ 1789 รวมทัง้ ยังคงมีความภักดีต่อความคิดแบบฌาโกแบง (Jacobinism) ความคิดเหล่านี้
ยังคงสืบทอดเรื่อยมา โดยเฉพาะการอธิบายเหตุการณ์ปฏิวตั ฝิ รังเศสในหมู
่ ่มาร์กซิสต์ตราบจนถึงปั จจุบนั
อย่างไรก็ดี การพูดถึงประวัตศิ าสตร์ประชาชนดูจะสร้างความลาบากใจให้กบั เหล่าผูน้ ิยมลัทธิมาร์กซ์ไม่
น้อยแม้ในประเทศอังกฤษจะมีมาร์กซิสต์ทศ่ี กึ ษาประวัตศิ าสตร์ประชาชนอยู่เป็ นจานวนมากก็ตาม ซามูเอลกล่าวว่า
ทัง้ นี้กเ็ พราะ ความคิดเรื่องประชาชนและประวัติศาสตร์ประชาชนถูกรับไปใช้โดยทัง้ พวกฝ่ ายขวาและฝ่ ายซ้าย
ในขณะทีร่ ากเหง้าเชิงปรัชญาของความคิดเรื่องนี้กอ็ าจกล่าวได้ว่าถูกจัดอยู่ในช่วง 'ก่อนมาร์กซิสต์' (pre-Marxist)
รวมทัง้ ประวัตศิ าสตร์ประชาชนมักมีมุมมองแบบถอยกลับไปในอดีต (backward-looking) ในขณะทีน่ ักสังคมนิยม
ศึกษาประวัตศิ าสตร์แบบมองไปข้างหน้าเพื่อสร้างโลกใบใหม่ขน้ึ มา ไม่ใช่การต่อสูเ้ พื่อสร้างความยุตธิ รรมให้เกิดขึน้
ในโลกใบเก่า
ความแตกต่างสาคัญประการต่อมาคือ ความคิดแบบมาร์กซิสต์เน้นลักษณะเชิงวิพากษ์และตัง้ ค าถาม
ทว่าประวัตศิ าสตร์ประชาชนดูจะมีวธิ คี ดิ แบบ ‘ยืนยันและยอมรับ’ (affirmative) เช่น การสรรเสริญพลังสร้างสรรค์
ของหมู่มวลมหาชน (masses) แต่ กลับไม่สนใจตัง้ คาถามกับเงื่อนไขบังคับเชิงโครงสร้าง (imperatives) ที่เป็ น
กรอบของการใช้ชีวิต และการผลิต ของหมู่ม วลประชาชนทัง้ หลาย เชื่อ ว่ า ประชาชนเท่ า นัน้ ที่จ ะสร้า งความ
เปลีย่ นแปลงได้ แต่ไม่สนใจปั จจัยกาหนดอื่นๆ ทีม่ อี ทิ ธิพลเหนือผูค้ นและสังคมเลย นอกจากนี้เมื่อพูดถึงความสนใจ
ในประสบการณ์ของผู้คนหรือประชาชน สาหรับผูน้ ิยมในลัทธิมาร์กซ์จะพูดถึงประสบการณ์ในเชิงองค์รวมหรือที่
อาจเรียกว่า ประสบการณ์ของสังคม (social experience) ทว่าประวัตศิ าสตร์ประชาชนจะพูดถึงประสบการณ์ของ
แต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มคน ‘ประชาชน’ จึงเป็ นคาทีม่ าร์กซิสต์ชาวอังกฤษจานวนไม่น้อยรูส้ กึ กระอักกระอ่วนใจที่
จะนามาใช้ในงานของตน เพราะประชาชนดูจะเป็ นคาทีไ่ ม่มที างจะเข้ากันได้กบั ลัทธิมาร์กซ์ เป็ นคาของ ‘ความคิด
แบบอื่น’ ซึง่ อย่างดีทส่ี ดุ ก็เป็ นคาจากวิธคี ดิ แบบประชาธิปไตยกระฎุมพี อย่างเลวร้ายทีส่ ดุ ประชาชนคือคาของพวก
สือ่ ทีส่ นับสนุนทุนนิยม
นอกจากนี้ การทีค่ าว่าประชาชนมีลกั ษณะของการให้ความหมายอย่างรวมๆ กว้างๆ มีนัยของเอกภาพ
(unifying notion) ในขณะทีศ่ พั ท์มาร์กซิสต์มกั มีเป้ าหมายเพื่อระบุถงึ ความแตกต่างให้ชดั เจน ดังนัน้ เมื่อนามาใช้ใน
การวิเ คราะห์ตามกรอบมาร์ก ซิสต์ก็จะสร้า งความสับสนขึ้น เช่ น ท าให้เ กิด การเหมารวมช่างฝี มือ หัตถกรรม
(artisans) ช่าง (tradesmen) กรรมกร (proletarians) และชาวนา (peasant) เข้าเป็ นคนกลุ่มเดียวกันทัง้ ทีม่ ีความ
แตกต่างและมีผลประโยชน์ทข่ี ดั แย้งกัน ดังนัน้ เมื่อใช้ คาว่าประชาชนหรือผู้คนแล้วก็มกั จะมาพร้อมกรอบคิดเรื่อง
การดารงอยู่ร่วมกันเป็ นชุมชน (community) ไม่มีทางที่จะทาให้นึกถึงความขัดแย้งของผู้คนในเชิงชนชัน้ ไปได้
มาร์กซิสต์จานวนหนึ่งจึงตัง้ คาถามกับความคิด ‘สัจนิยมแบบใสซื่อบริสุทธิ’์ (naive realism) ที่มาพร้อมกับคาว่า
ประวัติศ าสตร์ป ระชาชน ซึ่ง ซามู เ อลก็เ ห็น ด้ว ยกับ ข้อ วิจ ารณ์ ด ัง กล่ า วว่ า เป็ น เรื่อ งจริง ดัง ที่เ ขาได้พ ยายาม
ยกตัวอย่างเทียบเคียงกับกระแสสัจนิยมในแวดวงวรรณคดีและในวงการศิลปะดังที่กล่าวมาบ้างแล้วข้างต้น ที่
สาคัญคือซามูเอลเห็นว่าความคิดสัจนิยมแบบนี้จะทาลายขบวนการมาร์กซิสต์ลงได้ทงั ้ หมด เพราะมันนาเอาวิธคี ดิ
ทีใ่ ห้ความสาคัญกับเฉพาะสิง่ ทีป่ รากฎต่อหน้า (เรื่องราวชีวติ ของประชาชน) มาแทนทีก่ ารให้ความสาคัญกับวิธคี ดิ
ที่มุ่ ง ค้น หาพลัง เบื้อ งหลัง ของปรากฎการณ์ ท างสัง คม (เช่ น การอธิบ ายการเคลื่อ นตัว อย่ า งวิภ าษวิธีข อง
ประวัตศิ าสตร์วถิ กี ารผลิต)
แต่กระนัน้ ซามูเอลก็ยงั เชื่อว่า มาร์กซิสต์จาเป็ นต้องโอบรับความคิดเรื่องประวัตศิ าสตร์ประชาชน ดังจะ
กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

364
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เมื่อมำร์กซิ สต์จำเป็นต้องโอบรับประวัติศำสตร์ประชำชน!
สาหรับซามูเอลแล้ว เขามองว่าการจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างชนชัน้ หรือ ประชาชน หรือ
ความคิดเรื่องการชาระมาร์กซิสต์ให้บริสุทธินั์ น้ นี่ใช่ว่าจะเป็ นสิง่ ทีท่ าได้ง่ายๆ หรืออันทีจ่ ริงออกจะไม่เข้าท่าเพราะ
ความคิดลักษณะเช่นนี้ตงั ้ อยู่บนคาอธิบายเรื่องความแตกต่างอย่างผิดๆ (false opposition) ระหว่างลัทธิมาร์กซ์กบั
อุดมการณ์แบบประชาธิปไตยกระฎุมพี ซึ่งเป็ นความเชื่อที่ส่งต่อมาจนถึงปั จจุบนั เพราะซามูเอลเองดูจะเชื่อว่า
แม้กระทังตั
่ วมาร์กซ์เองดูจะไม่ค่อยกังวลเรื่อง ‘การปนเปื้ อนทางความคิด ’ มากเท่ากับบรรดาเหล่าสาวกผู้ภักดี
ทัง้ หลาย นอกจากนี้ซามูเอลยังเสนอว่า มาร์กซ์ได้หยิบยืมหรือปรับแปลงความคิดทางการเมืองหลายเรื่องมาจาก
นักคิดประชาธิปไตย-กระฎุมพี ด้วยซ้า
เป็ นความจริงที่ว่ากลุ่มคนที่มาร์กซ์พูดถึงเป็ นหลักในงานคือ ‘กรรมกร’ ไม่ใช่ประชาชน ทว่าซามูเอลก็
เสนอว่า มาร์กซ์เองก็ใช้สองคานี้ในความหมายทีส่ ามารถทดแทนกันได้ดว้ ยเช่นกัน และน่าสนใจว่าในช่วงทศวรรษ
ที่ 20 คาว่าประชาชนรวมทัง้ คาอื่นๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ถูกใช้มากในขบวนการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ ตัวอย่างเช่น
นโยบายสร้างพันธมิตรเพื่อสูก้ บั ฟาสซิสต์ในช่วงก่อนสงครามโลกครัง้ ทีส่ องทีเ่ รียกว่า ‘กองหน้าประชาชน’ (Popular
Front, 1935-6) หรือการใช้คาว่า ‘ผูใ้ ช้แรงงาน’ (working people) อย่างแพร่หลายในหมู่คอมมิวนิสต์ แทนทีจ่ ะเป็ น
คาว่ากรรมกรหรือกรรมาชีพ (proletarians) ซึง่ เป็ นคาหลักทีม่ าร์กซ์ใช้ในเอกสารคาประกาศอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
(Communist Manifesto) กรัมชีเ่ องก็เสนอแนวคิดเรื่อง ‘ประชาชาติ-ประชาชน’ (national-popular) ว่าเป็ นรากฐาน
สาคัญทางประวัตศิ าสตร์ของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศอิตาลี หรือกรณีอย่างคอมมิวนิสต์จนี หรือขบวนการ
ปลดปล่อยในประเทศโลกทีส่ ามทีม่ กั หันมาใช้ศพั ท์แสงชาตินิยมและการพูดถึงประชาชนของชาติ
แม้ความสัมพันธ์ระหว่างมาร์กซิสม์กบั ประวัตศิ าสตร์ประชาชนจะเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่ซามูเอลก็
ยังคงเสนอ (โดยถึงกับใช้คา) ว่าทัง้ สองเชื่อมติดกันด้วย 'สายสะดือ' (umbilical cord) ซามูเอลมองว่าเรื่องนี้เป็ นสิง่
ทีเ่ ห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีของนักประวัตศิ าสตร์มาร์กซิสต์ชาวอังกฤษ ซามูเอลเสนอว่าไม่ว่านักประวัตศิ าสตร์
มาร์กซิสต์จะรูต้ วั หรือไม่กต็ ามแต่พวกเขาก็ได้ใช้งานของพวกนักประชาธิปไตยสายถอนรากถอนโคนจากรุ่นก่อน
หน้าเป็ นแหล่งข้อมูลสาคัญ เช่น ในกรณีอทิ ธิพลจากงานเขียนประวัตศิ าสตร์ชนชัน้ แรงงานอังกฤษของสองสามี
ภรรยา จอห์น และบาร์บารา แฮมมอนด์ส (John and Barbara Hammonds) ทีม่ ตี ่องานของ อี พี ธอมป์ สัน หรือใน
กรณีอิทธิพลจากงานของ ริชาร์ด เฮนรี ทาวนีย์ (Richard Henry 'R. H.' Tawney) นักสังคมนิยมคริสเตียน นัก
ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจ และนักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาผูใ้ หญ่ ทีม่ ตี ่อคริสโตเฟอร์ ฮิลล์ หรือตัวมาร์กซ์เองก็ได้รบั
อิทธิพลความคิดปรัชญาประวัตศิ าสตร์มาจากนั กปรัชญาชาวอิตาลีผเู้ รืองนามจากศตวรรษที่ 18 จัมบัตติสต้า วิโก้
(Giambattista Vico) นอกจากนี้ ซามูเอลยังกล่าวว่า มาร์กซ์ได้รบั อิทธิพลความคิดจากนักประวัตศิ าสตร์เสรีนิยม
ชาวฝรังเศสในช่
่ วงยุคฟื้ นฟู ราชวงศ์บูร์บง 15 ไปจนถึงนักคติชนวิทยาชาวเยอรมัน และนักประวัติศาสตร์ สงั คม
ชาวนาด้วย (ทว่าน่าเสียดายทีซ่ ามูเอลไม่ได้ระบุช่อื ไว้ว่ามีใครบ้าง)
ซามูเอลยังเสนอต่อไปอีกว่า ในด้านหนึ่งผลงานชิน้ สาคัญของมาร์กซ์เรื่อง ทุน (Capital) ก็อาจกล่าวได้ว่า
เป็ นงานประวัตศิ าสตร์จากเบื้องล่าง ในแง่ทเ่ี ป็ นงานประวัตศิ าสตร์ว่าด้วยลาดับขัน้ พัฒนาการของสังคมทีม่ องมา
จากสายตาของเหยื่อ นอกจากนี้ซามูเอลยังกล่าวว่ามาร์กซ์ได้รบั แนวคิดเรื่อง ‘การปฏิวตั กิ ระฎุมพี’ มาจากเธียร์ร่ี
และกิโซต์ ซึ่งทัง้ คู่ได้นาแนวคิดนี้มาใช้อธิบายเหตุ การณ์ปฏิวตั ิองั กฤษ ค.ศ. 1640 และการปฏิวตั ิฝรังเศส
่ ค.ศ.
1789 รวมทัง้ ยังเสนอว่า ความคิดเรื่องการปฏิวตั ิกรรมาชีพของมาร์กซ์ได้แรงบันดาลใจมาจากการศึกษากบฎ

15 หลังความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในช่วงประมาณ ค.ศ. 1815 ในฝรั ่งเศสได้มกี ารฟื้ นฟูราชสานักและระบอบการปกครองแบบเก่าขึน้ มาใหม่

365
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ชาวนาแจ๊คเกอรีสใ์ นฝรังเศสช่
่ วงยุคกลาง (Jacqueries) รวมทัง้ งานศึกษาการลุกฮือของไพร่ในสมัยโรมัน มากกว่า
ทีจ่ ะเป็ นผลจากการศึกษาระบบการผลิตทุนนิยมอุตสาหกรรม
ในแง่น้ีซามูเอลจึงเห็นว่า สาหรับมาร์ก ซิสต์ในประเทศอังกฤษ การปฏิเสธประวัติศาสตร์ประชาชนก็
หมายถึงการต้องปฏิเสธมรดกงานศึกษาประวัติศาสตร์นักสังคมนิยมไปด้วย นอกจากนี้ยงั กล่าวได้ว่ากระแส
ความคิด ‘ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง’ รวมทัง้ ความสนใจศึกษาประวัตศิ าสตร์สงั คมอังกฤษซึง่ กาลังเบ่งบานอยู่ใน
ขณะนัน้ ทัง้ หมดนี้ล้วนแต่ ได้รบั การฟู มฟั กและเติบโต (incubated) ขึ้นมาจากกลุ่มนักประวัติศาสตร์ของพรรค
คอมมิวนิสต์ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1950 (ช่วงต้นสงครามเย็น ) ซึ่งก็คอื กลุ่มของซา
มูเอล ธอมป์ สัน ฮิลล์ ฯลฯ นัน่ เอง นอกจากนี้ กระแสการรื้อฟื้ นครัง้ ที่สองของบทเพลงพื้นบ้าน และกระแสการ
ค้นพบบทเพลงของคนงานจากยุคปฏิวตั ิอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มต้นตัง้ แต่ ช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 นัน้ ได้รบั แรง
บันดาลใจสาคัญมาจากนักวิชาการคอมมิวนิ สต์ท่ีเป็ นนักร้องนักดนตรีด้วยอย่างแมคคอยล์แ ละลอยด์ (Ewan
MacColl and A. L. Lloyd) หรือในกรณีของการรือ้ ฟื้ นความสนใจในศิลปะประชาชน (popular art) ทีก่ ม็ นี ักสังคม
นิยมเป็ นหัวเรีย่ วหัวแรงสาคัญ
ดังนัน้ ซามูเอลจึงเสนอว่า ประวัตศิ าสตร์ประชาชนจะช่วยสร้างความเติบโตงอกงามให้กบั ความคิดมาร์ก
ซิสต์แบบอังกฤษ (British Marxism) ได้เป็ นอย่างดี เพราะเขามองว่าความคิดทฤษฎีรวมทัง้ ข้อเสนอทางการเมือง
แบบมาร์กซิสต์นัน้ ยังขาดพร่องอยู่ (impoverished) ทัง้ นี้เพราะความคิดมาร์กซิสต์ขงั ตัวเองอยู่ในโลกมโนทัศ น์
นามธรรมทีไ่ ม่ยอมให้ขอ้ เท็จจริงอื่นๆ เข้ามาเปลีย่ นแปลงตัวมันได้เลย ในขณะทีห่ ากมองการเคลื่อนตัวของวิถกี าร
ผลิตด้วยสายตาแบบ 'ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง' จะทาให้เรามองเห็นเค้าเงื่อนหรือแง่มุมคาถามอื่นๆ ทีจ่ ะนาไปสู่
การเปิ ดประเด็นอภิปรายใหม่ๆ ได้อกี มากมาย เช่น การศึกษาเรื่องเจ้าที่ดนิ และเรื่องอัศวินในยุคกลาง รวมทัง้
การศึกษาสังคมชาวนา ไปจนถึงการศึกษาเรื่องราวอย่างภาษาลับ การศึกษาแรงปรารถนาของผูค้ นทีไ่ ม่เคยถูก
กล่าวถึงมาก่อนในงานประวัตศิ าสตร์ก่อนหน้านี้ แม้กระทังการศึ
่ กษาการปะทะกันของความคิดชุดต่างๆ ในสังคม
ฯลฯ เหล่านี้อาจช่วยทาให้เห็นถึงการก่อกาเนิดขึน้ ของจิตสานึกแบบปั จเจกนิยมและอุดมการณ์แบบกระฎุมพีใน
ระบบการผลิตแบบทุนนิยมได้มากกว่าลาพังแค่การถกเถียงทางทฤษฎีดว้ ยแนวคิดนามธรรมอย่าง 'การถูกเรียกให้
สร้า งสานึ ก ตัว ตนจากอุ ด มการณ์ ' (interpellation) 'เอกเทศเชิง สัม พัท ธ์ร ะหว่า ง' (relative autonomy) หรือ การ
ถกเถียงเรื่องกฎของมูลค่า ฯลฯ ในแง่น้ี ความคิดสังคมนิยมก็จะเป็ นรูปธรรมจับต้องได้มากขึ้นเมื่อเรารู้วิ ธีท่จี ะ
ศึกษา (ประวัตศิ าสตร์) จากเบือ้ งล่างขึน้ มา
นอกจากนี้ ซามูเอลยังกล่าวต่อไปอีกว่าการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของประชาชนมี ‘ความดีงาม’ (merit) อีก
ประการคือ มัน จะช่ ว ยตัง้ ค าถามส าคัญ ทัง้ ในเชิง ทฤษฎี แ ละในเชิง การเมือ งของกระบวนการผลิต ความรู้
ประวัตศิ าสตร์ เช่นคาถามเรื่อง ลาดับชัน้ สูงต่าของแรงงานเชิงวิชาการทีแ่ ฝงอยู่ในการเขียนประวัตศิ าสตร์ และการ
ท้าทายความคิดเรื่องความเป็ น 'ผูท้ รงคุณวุฒ'ิ ของผูเ้ ชีย่ วชาญประวัตศิ าสตร์ทงั ้ หลายซึง่ มักพ่วงมาด้วยการผูกขาด
ความรู้
ในขณะเดียวกัน การเขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนก็จาเป็ นต้องเชื่อมต่ อแต่ละเรื่องราวเข้าด้วยกันเพื่อให้
เข้าใจภาพใหญ่และความเป็ นไปของสังคม เพราะการจะเขียนประวัตศิ าสตร์ของผูถ้ ูกกดขี่ (ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องราว
ของพวกโจร พวกคนนอกสังคม พวกนอกรีต ฯลฯ) จาเป็ นทีจ่ ะต้องทาความเข้าใจเงื่อนไขความสัมพันธ์ทางสังคม
ในภาพรวมด้วย (the totality of social relations) โดยเฉพาะคาถามเรื่องความสัมพันธ์เชิงอานาจทัง้ ในพืน้ ทีข่ อง
งาน ครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเพศสภาวะ ฯลฯ ดังนัน้ การศึกษาประวัตศิ าสตร์ประชาชนจึงไม่ได้ทาให้เรา

366
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เข้า ใจเรื่อ งราวของคนที่ถู ก กดขี่ คนที่ถู ก ลืม ฯลฯ มากขึ้น เท่ า นัน้ หากแต่ ย ัง อาจท าให้เ ร ามองภาพรวมของ
ประวัตศิ าสตร์เปลีย่ นไปอีกด้วย

สรุ ปและสะท้อนคิด
โดยสรุปแล้วข้อเสนอหลักของซามูเอลในบทนาของเขาชิน้ นี้มสี องประการ ประการแรกคือการเสนอว่า
ความเป็ นมาของความคิดมาร์กซิสม์และสังคมนิยมอังกฤษสัมพันธ์แทบจะเป็ นเรื่องเดียวกับพัฒนาการของการ
เขียนประวัตศิ าสตร์ประชาชนโดยเฉพาะจากฝั ง่ เสรีนิยม ประการทีส่ องคือข้อเสนอว่า มาร์กซิสต์และนักสังคมนิยม
จาเป็ นต้องรับเข้าความคิดเรื่องประวัตศิ าสตร์ประชาชน/ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างเข้าเป็ นส่วนหนึ่งของตน โดย
ให้เหตุผลว่า ประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างจะช่วยปลดปล่อยความคิดมาร์กซิสม์อ อกจากกรงขังความคิดทฤษฎี
นามธรรม อีกทัง้ ทาให้เกิดความเป็ นประชาธิปไตยในการเขียนประวัตศิ าสตร์ และสุดท้ายคือขยายการอธิบายไปสู่
เรื่องความสัมพันธ์เชิงอานาจในมิตอิ ่นื ๆ ทีไ่ ม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
แม้น่ีจะเป็ นคาอธิบายทีด่ ูเข้าท่า ทว่าก็อาจเป็ นร่องรอยการปริแยกทางความคิดครั ง้ ใหญ่ทอ่ี าจทาให้ตอ้ ง
กลับมาตัง้ คาถามว่า ข้อเสนอของซามูเอลยังมีความเป็ นมาร์กซิสม์อยู่หรือไม่ เพราะมาร์กซิสม์ไม่ได้แค่พดู ถึงการ
ต่อสูเ้ พื่อความเป็ นธรรม ไม่ได้พูดถึงเรื่องการยกระดับฐานะของคนจนให้ดขี น้ึ ไม่ได้พูดถึงแค่การต่อสูเ้ พื่อเสรีภาพ
ในการแสดงตัว ตนและความคิด เห็น หรือ ไม่ ไ ด้พูด แค่ ว่า ต้อ งอธิบ ายปั ญหาการกดขี่ว่า เป็ น ส่ว นหนึ่ ง ของระบ
ความสัมพันธ์ทางสังคม แต่ความคิดมาร์กซิสม์พูดถึงการต่อสูใ้ นฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะ
นาไปสู่ภาวะอุดมคตินนคื ั ่ อสังคมไร้ชนชัน้ และการขูดรีด ปลดปล่อยมนุ ษยชาติให้เป็ นอิสระและกลั บคืนสู่ความเป็ น
มนุษย์ทแ่ี ท้จริง ซึง่ ไม่ใช่การกลับไปสูส่ งั คมบรรพกาลในอดีตแต่เป็ นความก้าวหน้าสูป่ ลายทางทีร่ ออยู่ในอนาคต
ในแง่น้มี าร์กซิสม์จงึ เป็ นระบบความคิดทางปรัชญาตามวิธคี ดิ แบบสมัยใหม่ เสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ท่ี
องค์ป ระกอบทางความคิด ต่ า งต้อ งท างานสัม พัน ธ์ ก ัน ดัง นัน้ การที่ค นอย่ า งอี พี ธอมป์ สัน ท้า ทายและเสนอ
ค าอธิบ ายเรื่อ งชนชัน้ แรงงานขึ้น มาใหม่ แต่ ก็ไ ม่ ใ ช่ ก ารปฏิเ สธแผนที่ก ารเดิน ทางแบบมาร์ก ซิส ต์ ตรงข้า ม
เขาต้องการจะแก้ไขให้กลับมาให้ถูกหลังจากทีข่ บวนการคอมมิวนิสต์สากลและสตาลินได้พาเดินไปผิดทาง ดังนัน้
แม้ธอมป์ สันจะอธิบายการกาเนิดชนชัน้ แรงงานอังกฤษผ่านการเล่าเรื่องประวัตศิ าสตร์ประชาชน แต่ตวั ละครหลักก็
ยังคือชนชัน้ ไม่ใช่ประชาชน นี่จงึ เป็ นข้อแตกต่างในระดับคนละเรื่องเดียวกันกับการอธิบายเรื่องความสาคัญของ
ประวัติศาสตร์ประชาชนแบบซามูเอลรวมทัง้ ซ้ายใหม่รุ่นหลังอื่นๆ เช่น สจ๊ วต ฮอลล์ ซึ่งกลายเป็ นว่า ต้องปรับ
ความคิดมาร์กซิสม์ให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องประชาชนด้วย ซึง่ ทาให้สดุ ท้ายพวกเขากลายเป็ นกลุ่มคนทีใ่ ช้ศพั ท์
แสงมาร์กซิสม์มากมายแต่กลับไม่เชื่อในเป้ าหมายสาคัญทีส่ ดุ ของการเป็ นมาร์กซิสต์นนคื ั ่ อ การปฏิวตั ชิ นชัน้
แน่ นอนว่านี่กเ็ ป็ นแนวโน้ มของโลกในปั จจุบนั ที่ปัญญาชนยังคงได้รบั แรงบันดาลใจจากความคิดแบบ
ซ้ายๆ ทว่าก็ไม่จาเป็ นต้องจริงจังหรืออาจจะปฏิเสธเป้ าหมายแบบการปฏิวตั สิ งั คมก็ได้ดว้ ยซ้า ซึง่ ในทีน่ ้ีผเู้ ขียนจะ
ไม่ขออภิปรายต่อว่า การเกิดขึน้ ของภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวกับความพ่ายแพ้แบบเบ็ดเสร็จของวิธคี ดิ แบบมาร์ก
ซิสต์ต่อทุนนิยม จนถึงกับทาให้การอภิปรายและการผลิตความรูแ้ บบซ้ายๆ ทัง้ ซ้ายใหม่หรือหลังซ้าย เช่น ความคิด
เรื่องประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างกลายเป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมกระฎุมพีไปแล้ว หรือผูเ้ ขียนจะไม่แม้แต่จะเสนอ
อ้อมๆ ว่า ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างควรกลับไปมีความหมายแบบทีเ่ สนอโดยธอมป์ สัน
สิง่ ทีเ่ ป็ นเป้ าหมายหลักของผูเ้ ขียนมีเพียงประการเดียวคือ ต้องการจะนาความหมายทีเ่ คยมีกลับเข้าสูก่ าร
ถกเถียงเพื่อเปิ ดการสนทนาเรื่องความหมาย ‘ที่ควร’ มีของประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างไปสู่คาถามและความ

367
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ท้าทายใหม่ๆ ซึง่ รวมทัง้ ข้อโต้แย้งทีท่ า้ ทาย เช่น สิง่ ทีเ่ รียกว่า ประชาชน คนจน หรือคนจากข้างล่าง ก็อาจจะไม่ได้
ดารงอยู่ในลักษณะของวัตถุทร่ี อการค้นพบเปิ ดเผย ตรงข้ามแม้จะมีคนจน ชาวนา หรือกรรมกรโรงงานอยู่จริง แต่
นิยามและคาอธิบายก็ลว้ นเป็ นสิง่ ทีถ่ ูกสร้างขึน้ และเปลีย่ นแปลงอยู่เสมอ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือการนิยามและสร้าง
ความรูเ้ ป็ นสิง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอยู่ตลอดเวลา รวมทัง้ การทีช่ าวบ้านและคนข้างล่างทัง้ หลายล้วนมีปฏิสมั พันธ์กบั
ชาวเมืองและคนข้างบนมาโดยตลอด นี่กอ็ าจจะทาให้เป็ นไปไม่ได้เลยทีใ่ ครก็ตามจะสร้างคาอธิบายโดยอ้างถึงการ
ดารงอยู่ข องกลุ่ ม คนเหล่ านี้ ใ นลัก ษณะที่แยกขาดเป็ นอิสระเอกเทศ (autonomous) โดยเฉพาะการอธิบ ายว่า
ชาวบ้านหรือคนชัน้ ล่างเป็ นปฏิปักษ์ตรงข้ามกับผูม้ อี านาจในสังคม16
หรือรวมถึงข้อโต้แย้งทีย่ วเย้
ั ่ ารุนแรง เช่น ไม่ว่าประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างหรือประวัตศิ าสตร์ประชาชน
จะถูกอธิบายจากอุดมการณ์ฝัง่ ไหนก็ตาม แต่นิยามของประชาชนหรือคนจากข้างล่างสุดท้ายแล้วก็มจี ะมีลกั ษณะ
คล้ายกันนันคื
่ อ ไม่ได้มลี กั ษณะเปิ ด (inclusive) แต่มลี กั ษณะแคบและปิ ด (exclusive) สงวนไว้เฉพาะกลุ่มวีรชนคน
ดีและกลุ่มคนที่สมควรต้องเป็ นที่จดจา ดังนัน้ ด้วยตรรกะชุดนี้จึงบังคับโดยปริยายให้ไม่ต้องกล่าวถึง ‘คนที่ไม่
สมควรต้องเป็ นที่จดจา’ ซึ่งมีอยู่มากมายมหาศาลในประวัติศาสตร์ เช่น ฆาตรกร โจร คนชัวร้ ่ าย ลัทธิอุบาทว์
โสเภณี คนติดยา คนร่วมเพศกับสัตว์ และกลุ่มคนอีกมากมายที่นักปราชญ์และปั ญญาชนกระดากอายที่จะต้อง
กล่าวถึง นี่จงึ ทาให้เห็นว่าข้ออ้างของประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างทีว่ ่าจะกลับมาพูดถึงเหล่าผูถ้ ูกกดขีแ่ ละถูกหลงลืม
ในประวัติศาสตร์กลายเป็ นสิง่ ที่ไม่มที างจะทาให้เกิดขึน้ ได้จริง อีกทัง้ ท่าทีแบบก้าวหน้าของเหล่านักเคลื่อนไหว
ประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่าง/ประชาชนก็อาจจะมีความเป็ นอนุรกั ษ์นิยมมากกว่าทีใ่ ครจะคิด
ดังนัน้ มีทางเดียวทีเ่ หล่าผูศ้ รัทธาในประวัตศิ าสตร์จากเบือ้ งล่างจะก้าวพ้นคาถามหรือข้อท้าทายเหล่านี้ได้
นันก็
่ คอื จะต้องกลับมาสนทนาด้วยอย่างจริงจังเท่านัน้

รำยกำรอ้ำงอิง
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทยั . 2556. “การศึกษา Popular Culture แบบเอ็ดเวิรด์ ธอมป์ สัน.” ใน วัฒนธรรมต่อต้าน,
บรรณาธิการโดย ยุกติ มุกดาวิจติ ร, 109-173. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธรฯ.
Burke, Peter. 1978. Popular Culture in Early Modern Europe. New York: Harper & Row.
———. 1981. “The ‘Discovery’ of Popular Culture.” In People’s History and Socialist Theory, edited by
Raphael Samuel, 216-226. London: Routledge and Kegan Paul Ltd.
Dworkin, Dennis. 1997. Cultural Marxism in Postwar Britain: History, the New Left, and the Origins of
Cultural Studies. Durham, NC: Duke University Press.
Hall, Stuart. 1981. “Notes on Deconstructing ‘the popular’.” In People’s History and Socialist Theory,
edited by Raphael Samuel, 227-239. London: Routledge and Kegan Paul Ltd.

16 หนึ่ ง ในผู้เ สนอข้อ โต้แ ย้ง นี้ ค ือ ฮอลล์ (Hall 1981) ในบทความ “Notes on Deconstructing ‘the popular’ ” ฮอลล์ เ สนอว่ า หากจะมีส ิ่ง ที่เ รีย กว่า
วัฒนธรรมหรือประวัตศิ าสตร์ของประชาชน สิง่ นี้ก็ถูกเชื่อมเข้ากับสังคมส่วนอื่นอยู่เสมอผ่านจารีตและปฏิบตั กิ ารต่างๆ มากมาย และแม้หล ายครัง้
ประชาชนจะออกมาท้าทายต่อต้าน แต่ประชาชนก็ไม่เคยคิดจะโค่นล้มทาลาย (overturning) สายใยอันแสนละเอียดอ่อนของระบบความสัมพันธ์แบบพ่อ
ขุนอุปถัมภ์ (paternalism) ในแง่น้จี งึ ไม่สามารถกล่าวได้วา่ จะมีวฒ
ั นธรรมของคนกลุม่ ใดทีจ่ ะดารงอยูใ่ นลักษณะทีแ่ ยกขาด เป็ นอิสระเอกเทศ และมีความ
จริงแท้ (authenticity); หรือ ดูข้อเสนอของเบิร์ค (Burke 1981) ที่ว่า วัฒ นธรรมชาวบ้านไม่เคยเป็ น อิสระจากวัฒนธรรมของคนกลุ่ม อื่น นอกจากนี้
วัฒนธรรมชาวบ้านทีม่ กั อ้างกันว่าเป็ นของแท้บริสุทธิ ์ดัง้ เดิมมายาวนาน แต่กลับมีประวัตศิ าสตร์การถือกาเนิดทีใ่ หม่กว่าทีอ่ ้างกันมาก ทีส่ าคัญคือส่วน
หนึ่งเป็ นผลมาจากการมีปฏิสมั พันธ์กบั ธุรกิจการค้าขายวัฒนธรรมก่อนยุคปฏิวตั อิ ุตสาหกรรม

368
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

History is the new punk: History From Below. 2016. “History is the new punk.” Accessed April 30.
http://radical.history-from-below.net/about/.
Kaye, Harvey J. 1991 “British Marxist historians.” In A dictionary of Marxist thought 2nd ed., edited by
Tom Bottomore et. al., 58-61. Oxford, U.K.: Blackwell.
Le Roy Ladurie, Emmanuel. 1979. Montaillou: the promised land of error. Translated by Barbara Bray.
New York: Vintage Books.
———. 1980. Carnival in Romans. Translated by Mary Feeney. New York: G. Braziller.
Motley, John Lothrop. 1858. The rise of the Dutch republic, Volume 1-3. London: George Routledge and
Co.
Samuel, Raphael. 1981. “Editorial Prefaces: People’s History.” In People’s History and Socialist Theory,
edited by Raphael Samuel, xiv-xxxix. London: Routledge and Kegan Paul Ltd.
Sharpe, Jim. 1991. “History from Below.” In New Perspectives on Historical Writing, edited by Peter
Burke, 24-41. Cambridge: Polity Press.
Thompson, E. P. 1963. The Making of the English Working Class. London: Victor Gollancz Ltd.
———. 1966. “History from Below.” Times Literary Supplement 7 April: 279-80.
———. 1978a. “Eighteenth-Century English Society: Class Struggle without Class?” Social History 3, 2:
133-165.
———. 1978b. “The Poverty of Theory or an Orrey of Errors.” In The Poverty of Theory and Other
Essays, 1-210. New York: Monthly Review Press.

369
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

This page is intentionally left blank

370
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P2-R1-02

่ า”
“อยู ่บ้านเถิดลูก พ่อปลูกอโศกเพือเจ้
ชี วิ ต ทางเศรษฐกิ จ กั บ สั ง คมพุ ทธในจิ น ตนากรรมของชาวอโศก

บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
e-mail: nak.bundit@gmail.com.

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ของผู ้เขียนซึ่ งอยู ่ในช่ วงการเก็บข้อมู ลภาคสนามเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัย ผู ้เขียนได้รับทุนสนับสนุน


การวิจัยจากโครงการเมธีวิจัยอาวุ โส สกว. ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พู ลสุวรรณ (RTA5880010) “พระพุ ทธศาสนานิกายเถรวาท
ในบริบทวัฒนธรรมเอเชี ยอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 – ปั จจุ บัน)” ความเห็นในบทความเป็นของผู ้เขียน สานักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย (สกว.) ไม่จาเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

371
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

บทนำ
“ … งานเรามีมากลูกรัก หมู่เราเล็กนักสุดเอ่ย งานเราล้นมืออย่างเคย เจ้าจะเฉยแชเชือนได้
อย่างไร รู้พกั รู้เพียรใช่ไหมเจ้า บ้านเรายังรับคนใหม่ ๆ พ่อปลูกอโศกไว้มากมาย เพื่อคน
ทัง้ หลายได้ร่มเย็น อยากเห็นลูกอยู่บ้าน ด้วยความเบิกบานลอยเด่น เพื่อช่วยผู้ยงั ลาเค็ญ
อยู่เป็ นมิง่ ขวัญกาลังใจ อยู่บ้านเถิดลูก เจ้ารู้ถูกรู้ผดิ ใช่ไหม อยู่เป็ นที่พ่งึ คนทัวไป
่ ปั ้นชีวติ
ใหม่ให้เบิกบาน …”
เสีย งร้อ งของหญิง สาวประกอบท่ ว งท านองที่ฟั งดูเ นิ บ ช้า ดัง ขึ้น ผ่ า นเสีย งตามสาย ผู้เ ขีย นสะดุ ด กับ
เสียงเพลงทีไ่ ด้ยนิ ในวันแรกทีเ่ ดินเข้าไปสารวจชุมชนปฐมอโศก เสียงร้องแทนคาพูดและความรูส้ กึ ของใครคนหนึ่ง
ทีก่ าลังสือ่ ไปถึงใครอีกคน
ชายสูงวัยผิวคล้าในชุดเสือ้ ม่อฮ่อม กางเกงขาก๊วย บอกกับผูเ้ ขียน “อยู่บา้ นเถิดลูก พ่อปลูกอโศกเพือ่ เจ้า”
เป็ นวรรคทองของสมณะโพธิรกั ษ์ ที่ถูกนาไปตัง้ เป็ นชื่อบทเพลงของชาวอโศก และเปิ ดในพิธีสาคัญอย่างงาน
ต้อนรับสมณะโพธิรกั ษ์ หรือ “พ่อท่าน” ในวันนี้

“วันนี้เป็ นวันที่พ่อท่านเดินทางมาเยี่ยมลูกๆ ที่ชุมชนปฐมอโศก น้องมีบุญมากนะ มาครัง้


แรกก็ได้เจอกับพ่อท่านโพธิรกั ษ์ ปกติพ่อท่านจะประจาทีบ่ า้ นราช จังหวัดอุบลฯ แต่วนั นี้พ่อ
มาเยีย่ มพวกเรา พ่อมาเยีย่ มพวกเราเดือนละครัง้ ยังไงน้องจะอยู่ฟังพ่อท่านเทศน์กไ็ ด้นะ”
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2513 สมณะโพธิรกั ษ์เริม่ เผยแพร่คาสอนแก่ผปู้ ฏิบตั ธิ รรมทีว่ ดั อโศการาม จังหวัด
สมุทรปราการ จนรวมกลุ่มเป็ น “ชาวอโศก” ภายหลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสมณะโพธิรกั ษ์กบั คณะสงฆ์จากมหา
เถรสมาคม มหาเถรสมาคมได้วนิ ิจฉัยว่าพระโพธิรกั ษ์มคี วามผิดทัง้ ทางด้านพระธรรมวินัย กฎหมาย และระเบียบ
การปกครองสงฆ์ตามพระราชบัญญัตคิ ณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึง่ มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาและความมันคงของ ่
ชาติ พระโพธิรกั ษ์ยงั อวดอุตริมนุ สธรรม สอนพระธรรมวินยั ตามใจชอบ โดยอ้างว่ารูธ้ รรมะและภาษาบาลีแตกฉาน
ตัง้ แต่ก่อนบวช ใช้พระพุทธศาสนาเป็ นเครื่องมือแสวงหาอานาจทางการเมือง มหาเถรสมาคมได้ตงั ้ คณะทางาน
ปกาสนียกรรมเพื่อสืบสวนพฤติกรรมของชาวอโศก

พฤติกรรมของพระโพธิรกั ษ์และกลุ่มอโศกทัง้ หมด เป็ นการทาสงครามปฏิวตั ทิ างวัฒนธรรม


ต่อวัฒนธรรมไทยอย่างรอบด้านและอย่างถอนรากถอนโคน โดยพระโพธิรกั ษ์และกลุ่มอโศก
จะโจมตีวฒ ั นธรรมทีส่ าคัญของไทยในทุกด้าน และกาหนดรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ของชาว
อโศกให้สาวกและผูเ้ ลื่อมใสทาตามพร้อมทัง้ ประกาศท้าทายอย่างเปิ ดเผย ให้ชาวพุทธทัวไป ่
พิจารณาดูว่าจะประพฤติตามแบบอย่างชาวอโศกอันกล่าวอวดอ้างว่าเป็ นวัฒนธรรมของ
พุทธแท้ หรือว่าจะยังดารงชีวติ อย่างวัฒนธรรมไทยทัวไปอั
่ นเป็ นวัฒนธรรมและค่านิยมที่
ผิดพลาด ของเดียรถีย์ ของฤาษี ของผีมาร ของเดรัจฉาน ตัวอย่างความประพฤติตาม
วัฒนธรรมใหม่ เช่น ไม่เคารพผูอ้ าวุโสโดยชาติวุฒแิ ละความรูเ้ พราะเป็ นศักดินาและทุนนิยม
ห้ามมีพระพุทธรูปบูชาทุกชนิด ห้ามจุ ดเทียน ห้ามจุดธูป ห้ามพระสะพายหรือใช้ย่าม ห้าม
โกนคิ้ว ห้ามรับกิจนิมนต์ ห้ามสวดมนต์ภาษาบาลี ห้ามสวดอนุ โมทนา ไม่มกี ารอุทศิ ส่วน
กุศลแก่ผลู้ ่วงลับไปแล้ว ห้ามกรวดน้ า ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ เป็ นต้น และในชุมชนอโศก
และพระพุทธศาสนาทุกแห่งจะไม่มเี ครื่องหมายของความเป็ นไทยเลย คือ ไม่มธี งชาติ ไม่มี

372
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

พระพุทธรูป ไม่มพี ระบรมฉายาลักษณ์ และไม่เคยอบรมสังสอนบริ ่ วารให้เห็นความสาคัญ


ของสถาบันหลักทัง้ สามนี้เลย ชุมชนปลดปล่อยตัวอย่างทีค่ รบวงจรคือชุมชนปฐมอโศก ซึง่
ชาวอโศกภู มิใ จกัน มาก ในชุ ม ชนนี้ มีก ารด ารงชีวิต คล้ า ยยุ ค คอมมิว นิ ส ต์ บ รรพกาล
(คณะทางานปกาสนียกรรม 2536: 38)
หลังจากสมณะโพธิรกั ษ์ประกาศแยกตัวจากการปกครองของมหาเถรสมาคม ชาวอโศกได้ทางานเผยแพร่
พระพุทธศาสนาตามแนวทางของตน โดยอ้างอิงหลักการปกครองตนเองจากพระธรรมวินัยเป็ นหลัก และดารง
รูปลักษณ์นกั บวชทีต่ ่างจากพระภิกษุทวไป
ั ่ นุ่งห่มจีวรสีคล้า ไม่สวมรองเท้า ไม่โกนคิว้ ไม่ใช้ย่าม ฉันมังสวิรตั ิ ชาว
อโศกขยายชุมชนและเครือข่ายเพื่อให้หลุดพ้นการครอบงา แยกเป็ นเอกเทศไม่ขน้ึ กับมหาเถรสมาคม พุทธสถาน
สังฆสถาน และอาวาสสถานของชาวอโศกเกิดขึน้ หลายแห่ง พร้อมกับเครือข่าย “ญาติธรรม” หรือคนนอกชุมชนที่
ศรัทธาในแนวทางของอโศกทีม่ อี ยู่ทวประเทศไทย
ั่
ส่วน “องค์กรอุปัฏฐากของชาวอโศก” หรือที่ชาวอโศกเรียกว่า “เครือแห” ได้เกิดขึน้ รวดเร็ว เพื่อรองรับ
กิจกรรมของชาวชุมชนและญาติธรรม ตัง้ แต่งานด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การประชาสัมพันธ์ องค์กรสาคัญ
เช่น มูลนิธธิ รรมสันติ จัดตัง้ ปี พ.ศ. 2520 กองทัพธรรมมูลนิธิ จัดตัง้ ปี พ.ศ. 2527 ธรรมทัศน์สมาคม จัดตัง้ ปี พ.ศ.
2531 ยังไม่นับรวมมูลนิธิ ชมรม บริษทั องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่ทาหน้าทีใ่ นกิจการของชุมชนอโศก เช่น โรงพิมพ์
ทาวารสารและตีพมิ พ์หนังสือธรรมะ เทปธรรมะ ร้านอาหารมังสวิรตั ิ ร้านค้าชุมชน สถานีวทิ ยุชุมชนของชาวอโศก
เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) ชมรมมังสวิรตั แิ ห่งประเทศไทย (ชมร.) ชมรมผูอ้ ายุยาว ร้าน
ดินอุม้ ดาว สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ วิสาหกิจชุมชนหรือ “ธุรกิจบุญนิยม” ซึง่ มีองค์กรย่อยอีกนับร้อยองค์กร
นักมานุ ษยวิทยาจานวนหนึ่งได้ศกึ ษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมทางศาสนากับกับปฏิบตั ิการทาง
เศรษฐกิ จ (Pfanner and Ingersoll 1962; Spiro 1966; Keyes 1973, 1983; Jackson 2003) งานวิ จ ั ย กลุ่ ม นี้
ชีใ้ ห้เห็นว่าพระสงฆ์/นักบวชกลับไม่ เคยแยกตัวออกจากชีวติ ทางโลกเพื่อแสวงหาการหลุดพ้น นักบวชมีชวี ติ ทาง
สังคมทีเ่ ป็ นส่วนหนึ่งของโลกนี้และทีผ่ ่านมาศาสนาพุทธก็สามารถปรับตัวได้ผ่านการตีความหลักคาสอน (Keyes
1982; Jackson 2003) ใน The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism (1905) มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน สนใจความเชื่อมโยงระหว่างการแพร่ขยายของลัทธิพวิ ริตนั ภายใต้การปฏิรูปศาสนา
ของโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) กับการเติบโตของทุนนิยมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เวเบอร์สงสัยว่า
เหตุใดวิธคี ดิ ของพวกพิวริตนั จึงเอือ้ ต่อต่อการดาเนินธุรกิจสมัยใหม่ เขาเสนอว่าความคิดของชาวโปรเตสแตนต์ท่ี
เชื่อเรื่องการทางานหนัก ทางานเพื่อความก้าวหน้า และการอุทศิ ตนให้ศาสนา ทาให้เกิดความประหยัดและนามาสู่
การสะสมทุนเพื่อนาไปลงทุนเพิม่ กลายเป็ นการก่อตัวของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม1 (Weber 1967)

1 เวเบอร์ใช้วธิ กี ารทางประวัตศิ าสตร์สบื ค้นไปในสังคมเกษตรกรรมในเยอรมันเพือ่ วิเคราะห์โครงสร้างทางสังคม และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง


ชาติทป่ี ระสบความสาเร็จจากการค้าโดยเฉพาะในอังกฤษและอเมริกา เวเบอร์ช้วี า่ กลุม่ คาลวิน (Calvinism) มีความเชือ่ เรือ่ งการได้รบั คัดเลือกจากพระเจ้า
และการกาหนดไว้ลว่ งหน้า ผลทีเ่ กิดขึน้ คือไม่จาเป็ นต้องเข้ารับเข้าเป็ นคริสต์ศาสนิกชน โบสถ์ไม่ได้ทาหน้าทีต่ ดั สินอีกต่อไปว่าใครจะเป็ นผูท้ ถ่ี ูกลงโทษ
และใครเป็ นผูท้ ร่ี อด คาลวินทาให้ประสบการณ์ทางศาสนาเป็ นเรือ่ งเฉพาะปัจเจกกับพระเจ้า การจะได้เป็ นผูย้ อมรับจากพระเจ้าคือการทางานหนัก ความ
เชือ่ ของกลุม่ คาลวินได้แพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 16 ไปยังหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั ่งเศส สกอตแลนด์ เนเธอร์แลนด์ บางส่วนของ
เยอรมัน รวมถึงพืน้ ทีต่ อนกลางและตอนเหนือของยุโรป เวเบอร์มองว่าเป็ นพลวัตของความเชือ่ ในโลกสมัยใหม่ ทีม่ าพร้อมกับการเกิดขึน้ ของชนชัน้ กลาง
และพัฒนาการของระบบทุนนิยม (Weber 1967); โปรเตสแตนต์แบบเดิม (original Protestant) ทีภ่ ายหลังถูกทาให้แพร่หลายโดยกลุม่ คาลวินได้ถูกทาให้
มีคุณค่าใหม่และสอดคล้องกับ “จิตวิญญาณแห่งระบบทุนนิยม” (“spirit of capitalism”) ทีส่ นับสนุ นกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างไรก็ตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างโปรเตสแตนต์ยุคต้น (early Protestantism) และทุนนิยมไม่ได้เกิดขึน้ โดยตรง แต่เป็ นการเปลีย่ นรูปแบบทางอ้อมผ่านจิตวิญญาณ
แห่งระบบทุนนิยมทีถ่ ูกหลอมรวมจาก “ความกลัวทางศาสนา” (religious anxiety) ทีม่ าจากคาถามว่าเราจะเป็ นผูท้ พ่ี ระเจ้าเลือกหรือไม่ เราจะเป็ นผูร้ อด

373
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ในบทความนี้ ผู้เขียนใช้กรอบคิดของเวเบอร์ (Weberian approach) เพื่อทาความเข้าใจความสัมพันธ์


ระหว่างจริยธรรมทางศาสนากับชีวติ ทางเศรษฐกิจ รวมถึง ตัวตนทางศาสนาและความเชื่อของชาวอโศก เวเบอร์
ตัง้ สมมติฐานว่าการกระทาของปั จเจกเกิดขึน้ จากแรงกระตุน้ /ผลักดันทีแ่ สดงผ่านการกระทา การเข้าใจความหมาย
ของการกระทาในบริบทเฉพาะ การอ่านความหมายจากประสบการณ์ของผูค้ นในชุมชนอโศกที่ ผเู้ ขียนได้เข้าไป
รูจ้ กั และได้ใช้ชวี ติ ในชุมชนอโศก

ส่วนที่ 1 พุ ทธสถำนปฐมอโศก
พืน้ ที่
พุทธสถานปฐมอโศก หรือ ชุมชนปฐมอโศก ห่างจากตัวเมืองนครปฐม 5 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 56
กิโลเมตร ชุมชนประกอบด้วย พุทธสถาน หมู่บา้ น และโรงเรียน บนเนื้อที่ 80 ไร่ แบ่งพืน้ ทีเ่ ป็ น 4 ลักษณะตามการ
ใช้งาน
ส่วนแรก พุทธสถาน เป็ นเขตทีพ่ กั อาศัยของสมณะ สิกขมาตุ และคนวัด รวมทัง้ เป็ นสถานทีป่ ฏิบตั ธิ รรม
และประกอบกิจกรรมของนักบวช เช่น ศาลาวิหาร ศาลาสัมมาสิกขา อาคารเรียน กุฏสิ มณะ กุฏสิ กิ ขมาตุ ศาลา
คลายทุกข์ ศาลาอโศกราลึก ศาลาทอฝั น
ส่วนที่ สอง ที่ พกั อาศัย บ้านในพุทธสถานปฐมอโศกมี 116 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่มขี นาดหลังละไม่เกิน
5×5 เมตร เป็ นทีอ่ ยู่อาศัยของชาวชุมชน ในชุมชนแบ่งทีพ่ กั เป็ น 7 คุม้ ชื่อเรียกจาลองจากแดนสวรรค์ 6 ชัน้ และ
สวนบนสวรรค์ ได้แก่ คุม้ ยามา คุม้ ดุสติ คุม้ นันทวัน คุม้ นิมมานรดี คุม้ ปรนิมมิตวสวัตดี คุม้ ดาวดึงส์ คุม้ มิสกวัน แต่
ละคุม้ มีทงั ้ สมาชิกทีอ่ าศัยอยู่ประจาและสมาชิกอยู่ทาเวลา บ้านในคุม้ ทุกหลังมีบา้ นเลขที่ มีป้ายชื่อบ้านติดอยู่ เช่น
บ้านสานึกธรรม บ้านชุ่มเย็น บ้านวิรยิ ะสัจจะ บ้านปั จจัย 4 บ้านตะวันทอฟ้ า บ้านอยู่เย็น บ้านคารวธรรม เขตทีพ่ กั
อาศัยยังรวมถึง บ้านทาวน์เฮาส์ ทีแ่ ยกพืน้ ทีอ่ อกมาอยู่หน้าชุมชน ถือเป็ นส่วนหนึ่งของเขตทีพ่ กั และฐานงานหลาย
ฐานงานตัง้ อยู่ในบ้านทาวน์เฮาส์
ส่วนที่ สาม พื้นที่ ใช้ สอยร่วมกัน ได้แก่ โรงครัวกลาง อาคารเรียน รวมถึง “บ้านอารมณ์ดี” ที่ใช้ดูแล
ผูป้ ่ วยของชุมชน และ
ส่วนที่ สี่ พื้นที่ เกษตรกรรม แบ่งเป็ นพื้นทีท่ านาเรียกว่า “ทุ่งนาแรงรักแรงฝั น” ส่วนพื้นทีเ่ พาะปลูกพืช
ผลไม้และสมุนไพรมีช่อื ว่า เนินพอกิน ตัง้ อยู่ในอาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีพน้ื ทีไ่ ม่น้อยกว่า 150 ไร่
พืน้ ทีช่ ุมชนถูกออกแบบให้มคี วามเป็ นสาธารณะ (public) มากกว่าความเป็ นส่วนตัว (private) แม้บา้ นจะ
เป็ นพื้นที่ส่วนตัวของปั จเจก แต่บ้านที่สร้างในชุมชนอโศกกลับมีความเป็ นสาธารณะที่คนอื่นสามารถเข้ามาใช้
ประโยชน์ ขณะเดียวกันพฤติกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชวี ติ ในชุมชนก็ อาจถูกสังเกตและเป็ นที่รบั รู้ของคนใน
ชุมชน

หรือไม่ การแก้ไขความวิตกกังวลทางศาสนาได้ทาให้เกิดการปรับวิธคี ดิ ทางศาสนาใหม่ผา่ นการการบาเพ็ญตบะภายในโลก (inner-worldly asceticism)


และความรับผิดชอบต่อการงานหน้าทีข่ องตัวเอง (doctrine of duty).

374
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ภาพ 1: เครือข่ายชุ มชนอโศก


ส่วนพืน้ ทีด่ า้ นหน้าพุทธสถานเป็ นตลาด พ่อค้าแม่คา้ จะเริม่ นารถเข็นมาจอดเรียงรายเพื่อเตรียมของขาย
ตัง้ แต่เช้าตรู่ พ่อค้าแม่ค้าที่นาของมาขายต้องได้รบั อนุ ญาตจากกรรมการชุมชน ชุมชนไม่เก็บค่าเช่าจากผูค้ า้ แต่
ผูค้ า้ ต้องทาความสะอาดสถานที่ และมีกฎเกณฑ์ว่าต้องไม่ขายอาหารทีม่ สี ่วนผสมของเนื้อสัตว์ ประธานชุมชนเล่า
ว่าเคยมีกรณีทร่ี ถเข็นผลไม้ทาน้ าปลาหวานมาใส่ในมะม่วง เมื่อชุมชนสืบรู้กใ็ ห้หยุดขายทันที “แม้แต่พน้ื ที่ตลาด
ข้างหน้าเราก็ให้เป็ นพืน้ ทีป่ ฏิบตั ธิ รรมด้วย ณ วันนี้พวกเขารูจ้ กั วัดมากขึน้ เดือนหนึ่งเขาก็จะทาบุญ เอาอาหารมา
ถวายวัด ทาอาหารขึน้ ศาลา ถึงเขาจะเป็ นพ่อค้าแม่คา้ ข้างนอกเราก็พยายามฝึกฝนให้เขาทาบุญ ทาให้พวกเขารูจ้ กั
เป็ นผูใ้ ห้”
ระบบการบริหารในชุมชนแบ่งเป็ น 2 ระดับ ฝ่ ายสงฆ์และฆราวาส ฝ่ ายสงฆ์ประกอบด้วยสมณะ มีหน้าที่
กากับดูแลทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับพุทธสถานและหมู่บ้าน โดยเฉพาะดูแลสมาชิกในชุมชน ส่วนฝ่ ายฆราวาสมี
ผู้ใหญ่บา้ น ผู้ช่วยผูใ้ หญ่บ้าน 2 คน และคณะกรรมการ ซึ่งเป็ นผู้แทนจากฐานงาน มาจากการเลือกตัง้ ทาหน้าที่
ควบคุมดูแล ตัดสินใจในกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับหมู่บา้ น โดยมีสมณะให้คาปรึกษา การทางานของคณะกรรมการ
ชุมชนแบ่งเป็ น 3 ฝ่ าย (1) ฝ่ ายการเงิน รับผิดชอบการรับ/จ่ายเงินของชุมชน (2) ฝ่ ายการศึกษา ดูแลการจัด
การศึกษาของโรงเรียนของชุมชน และ (3) ฝ่ ายฐานงาน รับผิดชอบฐานกิจกรรมทุกฐานในชุมชน การแบ่งหน้าที่
ของคณะกรรมการชุมชนยึดความสมัครใจ ความเหมาะสม ถนัด และมติสว่ นรวม ชุมชนแบ่งงานเป็ น 9 ฝ่ าย ได้แก่
อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม กสิกรรม การศึกษา สาธารณสุข บริการ ปุ๋ ย ขยะ และช่าง ชุมชนอโศกแต่ละแห่งมี
สถานะเป็ นนิตบิ ุคคลแยกจากกัน การลงทุนและให้ความช่วยเหลือในเครือข่ายชุมชนอโศกเป็ นมติของกรรมการ
ชุมชน มีนกั บวชทาหน้าทีเ่ ป็ นผูใ้ ห้คาปรึกษา

375
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ปฏิบั ิศีล
ชาวชุมชนและนักเรียนถือศีล 5 หรือสูงกว่าตามความพร้อม คนวัดถือศีล 8 หรือ 10 สมณะถือระดับจุลศีล
ขึน้ ไป สมาชิกในชุมชน “เช็คศีล” หรือ “เตวิชโช” ทุกวันอังคาร เวลา 18.00 – 20.00 น. โดยนักเรียนและคนวัดหรือ
ชาวชุมชนแลกเปลีย่ นปั ญหาของการรักษาศีล มีสมณะ สิกขมาตุ เป็ นผูใ้ ห้คาแนะนาและแก้ไข การเช็คศีลแบ่งได้
ทัง้ กลุ่มใหญ่และย่อย เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มคนวัด โดยแต่ละคนจะทบทวนและสารภาพกับหมู่กลุ่มว่าตัวเองได้
ละเมิดศีล หรือทาผิดระเบียบชุมชนเรื่องใดบ้าง เช่น ฆ่าสัตว์ ยุง มด พูดจาส่อเสียด นอกจากเช็คศีลทุกสัปดาห์ ทุก
เดือนยังมีกจิ กรรม “ชีข้ มุ ทรัพย์” ทีเ่ ปิ ดโอกาสให้ผอู้ ่นื ชีข้ อ้ บกพร่องของตัวเอง
ชาวอโศกมักบอกว่าเกณฑ์การแบ่งสูงต่าของคนในชุมชนทีพ่ วกเขาใช้ขน้ึ กับ “ฐานะทางธรรม” ทีค่ นๆ นัน้
ปฏิบตั ไิ ด้ แบ่งเป็ น 2 ระดับ คือ ระดับนักบวช และระดับฆราวาส ระดับสมาชิกชุมชน เรียงลาดับจากสูงไปต่ า (1)
นักบวช ได้แก่ สมณะ เทียบเท่าพระภิกษุ ในพุทธศาสนา ส่วนสิกขมาตุ เทียบเท่าสามเณร (2) ผู้เตรียมบวช
แบ่งย่อยจากสูงไปต่าได้แก่ สมณุทเทส หรือ สามเณร, นาค (กรณีนกั บวชชาย) และ กรัก (กรณีนกั บวชหญิง), “ปะ”
(ย่อมาจาก “ปฏิบตั ิ”) (3) อารามิกและอารามิกา (4) อาคันตุกะประจา (5) อาคันตุกะจร การรักษาศีลของคนใน
ชุมชนมีหลายระดับ โดยสมณะต้องถือจุลศีล ส่วนสามเณรและสิกขมาตุถอื ศีล 10 ชาวชุมชนมีทงั ้ ถือศีล 8 และศีล 5

ลาดับชั้ นของชาวอโศก
โพธิรกั ษ์
สมณะ
สามเณร
สิกขมาตุ
กรัก + นาค
ปะ
อารามิก
อาคันตุกะ

คนนอกได้รบั สถานะเป็ นชาวชุมชนก็ต่อเมื่อ (1) ต้องเข้ามาทดลองอยู่ในชุมชนในฐานะ “อาคันตุกะ” ก่อน


เป็ นเวลาอย่างน้อย 1 ปี มีฐานงานรองรับ 6 เดือนขึน้ ไป และต้องปฏิบตั ิตวั ตามกฎระเบียบของชุมชน (2) ต้อง
สรุปผลการปฏิบตั ธิ รรมและแจ้งความเป็ นอยู่ทุกครัง้ ในรอบสัปดาห์ สาหรับผูช้ ายแจ้งให้สมณะ ส่วนผูห้ ญิงแจ้งให้
สิกขมาตุทราบ (3) ต้องขึน้ ทาวัตรเช้า สวดมนต์ ฟั งธรรม (4) ต้องผ่านการเข้าร่วมงานอบรมธรรมประจาปี ของชาว
อโศก โดยเฉพาะ งานปลุกเสกพระ หรือ งานพุทธาภิกเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ อย่างน้อย 2 ครัง้ ขึน้ ไป (5) ขอสมัคร
เข้าเป็ นสมาชิกชุมชนกับนายทะเบียน เพื่อนาเสนอคณะกรรมการชุมชนพิจารณา และต้องผ่านการรับรองจากที่
ประชุมให้เข้าเป็ นสมาชิกชุมชนด้วยมติเอกฉันท์เท่านัน้ จึงเข้าเป็ นสมาชิกของชุมชนได้
ผูม้ าสมัครเป็ นสมาชิกชุมชนอโศกต้องผ่านการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะผูต้ ดิ เชือ้ เอดส์จะไม่ได้รบั อนุ ญาต
ให้เข้าเป็ นสมาชิกชุมชน “เพราะเป้ าหมายของชุมชนต้องการสร้างคนที่มคี ุณภาพให้สงั คม เราไม่ได้เป็ น สถาน
สงเคราะห์” (6) เมื่อผ่านขัน้ ตอนทัง้ 5 จึงมีสทิ ธิขอซื
์ อ้ บ้านพร้อมทีด่ นิ ในชุมชน2 เมื่อต้องการออกจากชุมชน ก็จะคืน

2 ในปี 2559 ทีด่ นิ ทีม่ สี ทิ ธิ ์ซือ้ 1 แปลง มีขนาด 50 ตาราง ราคา 17,500 บาท บวกค่าเดินท่อน้ าและสายไฟอีก 4,000 บาท รวมทัง้ สิน้ 21,500 บาท ราคา
ตัวบ้านขึน้ อยูก่ บั ขนาดและอุปกรณ์ตามทีผ่ สู้ ร้างกาหนด ก่อนการก่อสร้างต้องส่งแบบแปลนบ้านให้กรรมการชุมชนพิจารณาเพือ่ อนุ มตั จิ งึ สร้างได้ พืน้ ที่
และส่วนประกอบของบ้านทีเ่ กินจาเป็ นสาหรับชีวติ ชาวอโศกคณะกรรมการชุมชนก็มสี ทิ ธิ ์ไม่อนุ ญาตให้สร้างหรือให้แก้ไข

376
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เงินที่ได้จ่ายค่าทีด่ นิ และบ้านให้ ส่วนคนภายนอกทีไ่ ม่ได้เข้าเป็ นสมาชิกชุมชน แต่สนใจปฏิบตั ติ ามแนวทางของ


ชุมชน เรียกว่า “คนข้างวัด” หรือ “ญาติธรรม” คนกลุ่มนี้พยายามรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 อย่างเคร่งครัด กินมังสวิรตั ิ
ร่วมกิจกรรมสาคัญกับชุมชน
นอกจากได้มาซึ่งสถานภาพชาวชุมชนอโศก ผู้เขียนพบว่าหลายคนก็ถูกขับไล่ออกจากสมาชิกชุมชน
โดยเฉพาะกรณีทท่ี าผิดศีลร้ายแรง เช่น ลักขโมยเงินชุมชน มีเพศสัมพันธ์กบั ชาวชุมชนที่ ไม่ใช่ค่คู รอง กินเนื้อสัตว์
เอาสุราเข้ามาดื่ม เอาบุหรี่มาสูบในชุมชน หลังจากผ่านกระบวนการตัดสินของคณะกรรมการชุมชน คนผู้นัน้ จะ
กลายเป็ น “บุคคลต้องห้าม” หมดสถานภาพของการเป็ นชาวชุมชนและห้ามเข้าทุกพุทธสถาน รวมทัง้ เครือแห
ชุมชนชาวอโศก มีกาหนดเวลาตามความผิดร้ายแรง พร้อมทัง้ มีใบประกาศและใบหน้าของผูท้ าผิดติดให้ชาวอโศก
ในทุกชุมชนรับรู3้

นักบวชอโศก
ในแต่ละปี ชุมชนอโศกทัง้ หมดมีนักบวชใหม่แค่เพียง 1 ถึง 2 รูปเท่านัน้ บางปี กไ็ ม่มนี ักบวชใหม่ ผูท้ จ่ี ะ
บวชต้องเข้ามาเรียนรู้และใช้ชวี ติ เป็ นชาวชุมชนก่อน เมื่อตัดสินใจบวชต้องสมัครเป็ น “อารามิก” อย่างน้อย 1 ปี
ก่อน จากนัน้ จึงได้สถานะของการเป็ นผูป้ ฏิบตั ิ หรือทีเ่ รียกว่า “ปะ” ซึง่ ต้องสวมเครื่องแบบ ประกอบด้วยเสือ้ สีขาว
กางเกงขาก๊วยสีน้าตาล ต้องดารงสถานะ “ปะ” อย่างน้อย 4 เดือน จึงได้รบั พิจารณาให้เป็ น “นาค” ต้องดารงสถานะ
นาคอย่างน้อย 4 เดือนเช่นกันจึงได้พจิ ารณาเลื่อนขึน้ เป็ นสามเณร หลังจากนัน้ ต้องดารงสถานะสามเณรอีกอย่าง
น้อย 4 เดือน จึงได้พจิ ารณาให้บวชเป็ นสมณะ กระบวนการเลื่อนสถานะเป็ นสมณะจึงกินระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
เป็ นอย่างเร็ว นักบวชใหม่ทงั ้ หมดต้องไปปฏิบตั ิธรรมที่พุทธสถานภูผาฟ้ าน้ า จังหวัด เชียงใหม่ ที่มลี กั ษณะทาง
ภูมศิ าสตร์เป็ นป่ าทึบและดอยสูงอีกอย่างน้อย 5 ปี สมณะโพธิรกั ษ์จงึ เป็ นผู้ยา้ ยนักบวชใหม่ให้ไปอยู่ประจาพุทธ
สถานแต่ละแห่ง

บ้านในชุมชนอโศกโดยทั ่วไปมีได้เฉพาะห้องนอน ห้องน้ า และห้องเก็บของ ก่อนหน้านี้ไม่อนุ ญาตให้สร้างครัว ประธานชุมชนปฐมอโศกให้


เหตุผลว่าต้องการให้ชาวชุมชนไปกินข้าวทีส่ ว่ นกลาง แต่เมือ่ คนในชุมชนแก่ตวั มากขึน้ ผูส้ งู วัยเหล่านี้อยากทาอาหารเพือ่ บิณฑบาตให้สมณะและสิกขมา
ตุ ชุมชนจึงอนุ ญาตให้สร้างครัวในบ้านได้ “คือการมีครัวไว้ทาอาหารใส่บาตรเป็ นยาชูกาลังอย่างหนึ่งนะ คนแก่เหล่านี้ไม่สว่ นใหญ่กอ็ ยูบ่ ริเวณบ้านไม่คอ่ ย
ได้เดินออกไปไหนในพุทธสถาน ตอนเช้าตืน่ ขึน้ มาก็จะได้เอาอาหารใส่บาตรให้นกั บวช คือคนโบราณทีม่ าอยูท่ น่ี ่จี ะใส่บาตรเป็ นประจา คนแก่จะได้รสู้ กึ
จิตใจมีความสุข”.
3 ผูเ้ ขียนเคยสะดุดใจกับแผ่นใบปลิวทีต ่ ดิ อยูท่ บ่ี อร์ดประชาสัมพันธ์ของชุมชน กระดาษแผ่นหนึ่งมีขอ้ ความแสดงชื่อของผูท้ ท่ี าผิดศีลร้ายแรงและ
บทลงโทษห้ามเข้าชุมชนอโศกทุกแห่งตามระยะเวลาทีก่ าหนด ตัวอย่างเช่น
“เรือ่ ง บุคคลต้องห้าม
เรียน ประธานชุมชนชาวอโศก
เนื่องจาก นายแพ้ กล้าจน (นามสมมติ) พนักงานฝ่ ายสือ่ เอฟเอ็มทีว ี (FMTVX) ได้กระทาผิดศีลข้อ ๓ กับนางสาวผ้าขีร้ ว้ิ ตัง้ ใจจน (นาม
สมมติ) พนักงานบริษทั พลังบุญ (บุญนิยม) จากัด
ทีป่ ระชุมคณะกรรมการชุมชนบุญนิยมสันติอโศก โดยท่านสมณะซาบซึง้ สิรเิ ตโช เป็ นประธานเมือ่ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ มีมติตดั สิน
เป็ นบุคคลต้องห้าม ห้ามเข้าทุกพุทธสถานและเครือแหชุมชนชาวอโศก โดยมีกาหนดดังนี้ นายแพ้ กล้าจน เป็ นเวลา ๕ ปี นับตัง้ แต่วนั ที่ ๑๙ มิถุนายน
๒๕๕๗ ถึง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ และนางสาวผ้าขีร้ ว้ิ เป็ นเวลา ๒ ปี นับตัง้ แต่วนั ที่ ๑๙ มิถุนายน ถึง วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๙”
ชุมชนชาวอโศกไม่ได้ตอ่ ต้านการแต่งงานหรือการสร้างครอบครัวในชุมชน ผูเ้ ขียนพบว่ามีชาวชุมชนทีแ่ ต่งงานในชุมชน และเป็ นสามีภรรยา
หลังจากย้ายเข้ามาในชุมชน เพียงแต่ตอ้ งอยูก่ นั แบบผัวเดียวเมียเดียว หากละเมิดผิดศีลด้วยการนอกใจคูค่ รองของตัวเองก็จะหมดสถานภาพของการ
เป็ นชาวชุมชน การทาผิดศีลข้อ 3 ถือว่าร้ายแรงทีส่ ุดและมักมีบทลงโทษให้ออกจากชุมชนไม่ต่ากว่า 5 ปี ถ้าหากชาวชุมชนมีความรักระหว่างหญิงชาย
ต่อกันและคิดจะอยูเ่ ป็ นคูค่ รองต้องไปขออนุญาตจากพ่อท่านโดยจะขอลดฐานศีลตัวเองจากศีลสูงลงมาถือศีล 5.

377
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

การเลื่อนสถานะของชาวอโศก

สามเณร สมณะ
นาค 4 เดือน
ผูเ้ ตรียมบวชชาย
(ปะ) 4 เดือน
4 เดือน
คนวัด
อาคันตุกะประจา 18 เดือน
6 เดือน
อาคันตุกะจร สิ กขมาตุ
ผูเ้ ตรียมบวชหญิง กรัก
3 เดือน
(ปะ) 18 เดือน

คนวัด 6 เดือน

อาคันตุกะประจา 18 เดือน
6 เดือน
อาคันตุกะจร
3 เดือน

เพื่อไม่ให้มนี ักบวชหญิงมากเกินไป ชุมชนอโศกได้กาหนดอัตราส่วนการมีสกิ ขมาตุ ต่อ “กรัก” หรือ ผู้


เตรียมบวชหญิง ต่อ “ปะหญิง” หรือ ผูป้ ฏิบตั หิ ญิง เท่ากับ 6 : 1 : 2 ถ้ามีสกิ ขมาตุ 6 รูป จะมีกรักได้ 1 คน และมีปะ
หญิงได้ 2 คน นอกจากนัน้ ยังกาหนดอัตราส่วนระหว่างสมณะกับสิกขมาตุ ในอดีตกาหนดให้บวชสมณะ 4 รูป จึง
รับบวชสิกขมาตุ 1 รูป ต่อมาแก้ไขให้บวชสมณะ 3 รูป จึงรับบวชสิกขมาตุได้ 1 รูป ตัง้ แต่ปี 2516 จากกลุ่มสงฆ์
เล็ก ๆ ทีแ่ ดนอโศก อาเภอกาแพงแสน จังหวัดนครปฐม เวลานัน้ มีพระสงฆ์ 21 รูป เณร 2 รูป และสิกขมาตุจานวน
หนึ่ง ในปี 2559 เครือข่ายอโศกทัง้ ประเทศมีนักบวชรวมกัน 126 รูป มีสมณะเพียง 99 รูป สิกขมาตุ 24 รูป และ
สามเณร 3 รูป อีกทัง้ มีกรณีทน่ี กั บวชสึกออกไปมักเป็ นเหตุผลสุขภาพ ไม่อยากรบกวนชุมชนให้ตอ้ งดูแล
ผูเ้ ขียนสังเกตว่ากว่าทีช่ าวชุมชนจะได้สถานเป็ นนักบวชกินระยะเวลาหลายปี ไม่นบั ข้อเรียกร้องอีกหลาย
ข้อ เช่น สุขภาพต้องแข็งแรง ทางานเหมือนชาวชุมชน ต้องฝึกฝนทักษะ/ความรูท้ างธรรมเพื่อเทศน์ญาติโยมในบาง
โอกาส ต้องเชื่อฟั ง “ภันเต” หรือรุ่นพี่ ยิง่ นักบวชของฝ่ ายหญิงยิง่ เป็ นได้ยาก ผูเ้ ตรียมบวชหลายคนต้องค้างอยู่ใน
สถานะ “ปะ” “กรัก” ไม่ต่ ากว่า 10 ปี ไม่ได้เลื่อนสถานะเป็ นสิกขมาตุ เพราะนักบวชต้องเคลื่ อนย้ายไปทางาน/
ประจาชุมชนอื่นตลอดเวลา ทาให้นักบวชต้องปรับตัวตลอดเวลา อายุและสุขภาพจึงเป็ นอุปสรรค รวมถึงนักบวช
ต้องทากิจกรรมทีค่ นในชุมชนทาทัง้ การทางานตามฐาน บางครัง้ ต้องมาเป็ นคุรุ บางครัง้ ต้องเทศน์สงสอนชาวชุ
ั่ มชน
และญาติโยมด้วย
สมณะชาวอโศกแตกต่างจากพระสงฆ์ท ัว่ ไป ตัง้ แต่การนุ่ งห่มจีวรสีกรัก ไม่โกนคิว้ นอกจากศีล 227 ข้อ
ของสงฆ์ทวไปแล้
ั่ ว สมณะยังฉันมังสวิรตั ิ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ ละเว้นบริโภคเกินกว่าวันละ 1 มือ้ ละสิง่ เสพติดทุกชนิด
รวมทัง้ บุหรี่ หมากพลู ยานัตถุ์ ละเว้นการนอนกลางวันระหว่าง 05.00-18.00 น. ยกเว้นอาพาธ ยกเว้นการสวม
รองเท้า เครื่องประดับตกแต่งเกินฐานะสมณะเพศ ไม่ใช้ย่าม และร่ม ละเว้นการมีเงินทอง นักบวชชาวอโศกยัง
ปฏิเสธการประกอบพิธกี รรมสงฆ์ทวไป ั ่ เช่น ไม่ทาน้ามนต์ ไม่รดน้ามนต์ ไม่ทาพระเครื่องบูชาและวัตถุมงคล ไม่ทา
การบูชาด้วยไฟและน้าเป็ นสือ่

378
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ในกลุ่มสมณะและสิกขมาตุยงั มีการประชุม “เช็คศีล” ทุกสัปดาห์ และเป็ นผูป้ ระกอบพิธกี รรมในวันสาคัญ


ทางศาสนาของชาวอโศก นักบวชชาวอโศกจะไม่อยู่ประจาทีพ่ ุทธสถานใดพุทธสถานหนึ่งเป็ นเวลานาน นักบวชจะ
ประจาพุทธสถานระหว่าง 2 ถึง 4 ปี หลังจากนัน้ จึงเปลีย่ นพุทธสถาน ส่วนการ “ชีข้ มุ ทรัพย์” หรือการกล่าวโทษ ว่า
กล่าวตักเตือน การจะชี้ขุมทรัพย์ผู้อ่นื ได้ต้องดูฐานศีลของตัวเองและของผู้ท่เี ราจะชี้ การชี้ขุมทรัพย์จะเกิดขึน้
ระหว่างผูท้ อ่ี ยู่ในฐานศีลเดียวกัน ผูเ้ ขียนมองว่าการชีข้ ุมทรัพย์มนี ัยยะว่าทัง้ นักบวชและชาวชุมชนทุกคนสามารถ
ประพฤติผดิ พลาดได้ และความผิดพลาดนี้ถูกปรับปรุงแก้ไขได้ เป็ นกลไกให้ชาวชุมชนได้ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมใน
ชีวติ ประจาวัน ให้อยู่ใน “วินยั ” ทีช่ ุมชนกาหนดได้
แม้นักมานุ ษยวิทยาที่ศกึ ษาชุมชนในหลายวัฒนธรรมต่ างพยายามทาความเข้าใจการสร้างสังคมหรือ
ชุมชนในอุดมคติหรือชุมชนยูโทเปี ย รวมถึงงานวิจยั ทีศ่ กึ ษาและทาความเข้าใจชุมชนคอมมูนจานวนมากในโลก
วิชาการตะวันตก (Abrams and McCulloch 1976, 4) เดวิด แพทช์ (David W. Plath) นักมานุ ษยวิทยาผู้ศกึ ษา
ชุมชนทางเลือกมองว่าความพยายามสร้าง “วัฒนธรรมใหม่” ของชุมชนเหล่านี้มนี ยั ของไม่เห็นด้วยกับคุณค่าทีด่ ารง
อยู่แ ละสถาบัน ที่ดารงอยู่ใ นสัง คม ชุ ม ชนยูโ ทเปี ย เปลี่ย นความคับ ข้อ งใจนี้ ใ ห้ก ลายเป็ น สภาพแวดล้อ มทาง
วัฒนธรรม แน่นอนว่าการปฏิบตั ขิ องผูค้ นในสังคมยูโทเปี ยจึงสวนทางกับคุณค่าทีด่ ารงอยู่ทวไป ั ่ ลักษณะสาคัญของ
การเป็ นสังคมยูโทเปี ย (หนึ่ง) ผูค้ นต่อสูก้ บั กฎเกณฑ์หรือคุณค่าบางอย่างทีส่ งู กว่า มีป ลายทางไปสู่ชวี ติ ทีด่ ขี น้ึ ซึง่
นาไปสู่การสร้างองค์กรทางสังคม ชุมชนยูโทเปี ยมีส่วนคล้ายขบวนการฟื้ นฟู “การสร้างกลุ่มทีเ่ กิดจากสมาชิกใน
สังคมวัฒนธรรมที่สนองความต้องการได้มากกว่า ด้วยการสร้างสิง่ ใหม่และปรับปรุงสิง่ เก่า ” (สอง) การรวมเป็ น
“ชุมชน” มีนยั ว่าคนกลุ่มนี้ตอ้ งการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ เป็ นชุมชนทีม่ พี น้ื ทีท่ างกายภาพ มีคนมาอยู่รวมกัน
และมีแบบแผนชีวติ บางแบบ และ (สาม) การเป็ นสมาชิกชุมชนเกิดจากความสมัครใจ ชุมชนยูโทเปี ยจึงต่างจาก
ชุมชนทางธรรมชาติและชุมชนเชิงสถาบัน “ชุมชนยูโทเปี ยเป็ นชุมชนที่เกิดจากการประดิษฐ์ข้ึ น” (David 1966,
1152-1153) ทีเ่ กิดจากการความตัง้ ใจเพื่อมาใช้ชวี ติ ร่วมกัน เพื่อสร้าง รักษา และบรรลุเป้ าคุณค่าทีเ่ ป็ นเป้ าหมาย
ร่วมกัน (Abrams and McCulloch 1976, 6-7)
ใน ยูโทเปี ย (Utopia) ทอมัส มอร์ (Thomas More) บรรยายชีวติ ของผูค้ นบนเกาะยูโทเปี ยได้รบั ประโยชน์
ทางวัต ถุ ทัง้ อาหาร เครื่อ งนุ่ ง ห่ม เสื้อ ผ้า ตลอดจนการศึก ษาและการรักษาพยาบาลอย่างทัวถึ ่ ง รวมถึงไม่มี
ทรัพย์สนิ ส่วนตัวอย่างทีอ่ ยู่อาศัยและปั จจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็ นหญิงหรือชายจะใช้แรงงานผลิตของใช้ทจ่ี าเป็ น ไม่
ใช้ของฟุ่มเฟื อย เด็กหรือคนแก่ทุกคนต่างก็ทางานตามความสามารถ เมื่อเจ็บป่ วยก็ได้รบั การพยาบาล การพักผ่อน
ของชาวยูโทเปี ยเป็ นไปเพื่อยกระดับสติปัญญาและจิตวิญญาณให้สงู ขึน้ เช่น การอ่านหนังสือ ฟั งปาฐกถา สนทนา
กับผูอ้ าวุโส แน่นอนว่าอบายมุข โรงโสเภณี บ่อนการพนัน ฯลฯ เป็ นของต้องห้ามในสังคมนี้ (สมบัติ 2517)
ความคิดแบบ “ยูโทเปี ย” ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักคิด นักปฏิรูปสังคม ชาวชูโทเปี ยไม่ได้ต้องการ
ต้องการให้ปัจเจกรอดพ้นจากบาปหรือบรรลุธรรมตามลาพัง แต่พวกเขามุ่งหวังให้ทุกคนในสังคมบรรลุหลุดพ้นจาก
บาปเช่นเดียวกัน ชุมชนที่พยายามสร้างสังคมแบบยูโทเปี ยในอุดมคติของตัวเองต่างก็พ ยายามสร้างกลไกและ
ความเป็ นสถาบัน (Spiro 2004, 556-557) ใน ชุมชนปฐมอโศก: การศึกษาพุทธยูโทเปี ย (2531) สมบัติ จันทรวงศ์
ชีว้ ่าการพยายามสร้างสังคมพุทธยูโทเปี ยของสังคมชาวอโศก ถูกมองว่ามีนยั ไม่เห็นด้วยกับระบบเศรษฐกิจสังคมที่
เป็ นอยู่ และต่ อ ต้ า นแนวคิด ศาสนาทัว่ ไปของคนส่ ว นใหญ่ ชาวอโศกถู ก มองว่ า เป็ นอัน ตรายต่ อ สถาบั น
พระพุทธศาสนาทีม่ ฐี านะถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง “จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ทีส่ งิ่ ซึง่ เกิดขึน้ ควบคู่ไป
กับความพยายามฟื้ นฟูศาสนา อันได้แก่การปฏิรูปบุคลากรทางศาสนาหรือการก่อกาเนิดของนักบวชแบบชาว

379
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อโศกจึงได้แก่ ความพยายามทีจ่ ะฟื้ นฟูสงั คมและวัฒนธรรม โดยผ่านการปฏิรปู บุคลากรในสังคม นอกจากนักบวช


ขึน้ มาเป็ นแบบอย่างแก่ชาวโลกโดยทัวไปในวงกว้
่ างอีกด้วย” (สมบัติ 2531, 20)

ส่วนที่ 2 ชี วติ ทำงเศรษฐกิจของชำวอโศก


เวเบอร์กล่าวว่าวินัยของพระและทหารมีความสัมพันธ์กบั ระบบทุนนิยม การผลิ ตในเศรษฐกิจแบบทุน
นิยมเรียกร้องวินยั เช่น การรับผิดชอบและทุ่มเทในการงานหน้าที่ ตรงต่อเวลา สาหรับเวเบอร์วนิ ยั ทีร่ ะบบทุนนิยม
ต้องการคือเสียงเรียกร้อง (calling/Beruf) จากพระผูเ้ ป็ นเจ้า เขาชีว้ ่าชีวติ ทีค่ วบคุมร่างกายและจิตใจอย่างเคร่งครัด
เหมือ นฤาษีห รือ พระเป็ น สิ่ง ที่ปั จ เจกชนควรท า วิธีคิด แบบนี้ เ ป็ น วิธีคิด ที่ร ะบบทุ น นิ ย มและสภาวะสมัย ใหม่
(modernity) ต้องการ ในส่วนนี้ผเู้ ขียนแสดงให้เห็นถึงชีวติ ของชาวอโศกในภาพรวม ตัง้ แต่การกิน อยู่ ทางาน เพื่อ
ชีใ้ ห้เห็นว่าการใช้ชวี ติ “อย่างมีวนิ ยั ” ของชาวอโศกนามาสูก่ ารผลิตทางเศรษฐกิจ

กิน อยู ่ ทางาน


เริม่ ต้นทีก่ ารกิน ทุกคนในชุมชนกินมังสวิรตั ิ แตกต่างกันทีจ่ านวนมือ้ และเวลากิน สมณะ สิกขมาตุ และ
ชาวชุมชนหลายคนกิน 1 มือ้ /วัน กินเวลา 09.30-11.30 น. ชาวชุมชนบางส่วนและนักเรียนกินวันละ 2 มือ้ มือ้ เช้า
กินร่วมกับนักบวช มือ้ เย็นกินเวลา 16.30 น. มีชาวชุมชนทีร่ บั ผิดชอบทาอาหาร มีนกั เรียนฐานครัวเป็ นผูช้ ่วย
สมาชิกชุมชนมีทพ่ี กั แยกเป็ นสัดส่วนตามฐานะตัวเอง ทีพ่ กั ของสมณะและสิกขมาตุ เป็ นกุฏหิ ลังเล็กขนาด
2×1.5 เมตร ทาจากไม้ มุงด้วยใบจาก ทีพ่ กั คนวัดฝ่ ายหญิงทีม่ อี ายุมากพักทีศ่ าลาอโศกราลึก ส่วนชาวชุมชนทีพ่ กั
ในหมู่บา้ นอยู่ในบ้านเป็ นหลัง ทาด้วยไม้ มุงหลังคากระเบือ้ ง มีทงั ้ ชัน้ เดียวและ 2 ชัน้ ชาวชุมชนปิ ดไฟเวลา 21.00
น. เครื่องใช้ไฟฟ้ าอย่างโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น โทรศัพท์ มีเฉพาะที่ส่วนกลาง ส่วนเครื่องปรับอากาศมี
เฉพาะทีศ่ นู ย์วจิ ยั และพัฒนาการแปรรูปสมุนไพร ฐานงานแต่ละฐานงานสามารถใช้แรงดันไฟฟ้ าได้ 220 โวลต์ ส่วน
ครัวเรือนในหมู่บา้ นจ่ายแรงดันไฟฟ้ าให้ไม่เกิน 110 โวลต์ ในหมู่บา้ นจึงไม่สามารถมีคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หม้อ
หุงข้าว ฯลฯ เครื่องใช้ไฟฟ้ าทีม่ ไี ด้อย่างมากทีส่ ดุ จึงเป็ นพัดลมขนาดเล็ก กาต้มน้าไฟฟ้ า และหลอดไฟ
สาหรับการแต่ งกาย ชาวชุมชนแต่งกายโดยสวมเสือ้ ม่อฮ่อม ผู้ชายสวมกางเกงขายาว ผู้หญิงนุ่ งผ้าถุง
นักเรียนสวมเครื่องแบบสีน้าเงิน ผูช้ ายนุ่งกางเกงขายาว เสือ้ แขนสัน้ ผูห้ ญิงสวมเสือ้ แขนาว นุ่งผ้าถุง สมาชิกชุมชน
มีเสือ้ ผ้าใส่คนละ 2 ถึง 3 ชุด ถ้าชารุดเอาไปซ่อมทีฐ่ านตัดเย็บ
ในชุมชนมี “ภราภิบาล” สาหรับดูแลรักษาชาวปฐมอโศก มีคนทาหน้าทีด่ ูแลรักษา 3 แนวทาง ทัง้ แพทย์
แผนปั จจุบนั แพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กรณีท่ชี าวปฐมอโศกเจ็บป่ วยและต้องส่งตัวไปรักษาตัวใน
โรงพยาบาล ชุมชนเป็ นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลทัง้ หมด ชุมชนมักส่งผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริส
เตียน อยู่ไม่ไกลจากชุมชน หรือส่งไปรักษาตามสถานพยาบาลทีม่ มี แี พทย์เป็ นญาติธรรมของชาวอโศก มีชาวอโศก
หลายรายทีเ่ มื่อแก่ชราหรือมีโรคเรือ้ รัง ลูกหลาน/ครอบครัวมารับตัวกลับออกจากชุมชนเพื่อกลับไปดูแลทีบ่ า้ น
ผู้เขียนสังเกตว่าการกิน อยู่ ใช้ชวี ติ ประจาวันมีท่ี มาจากการพระธรรมวินัย ชาวชุมชนมักให้เหตุผลว่า
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ตงั ้ แต่สมัยพุทธกาล หลังจากสารวจสนามมาระยะหนึ่งผูเ้ ขียนพบว่าชาวปฐมอโศกส่วนใหญ่
ดื่มน้าปั สสาวะตัวเองอยู่เป็ นประจา บางคนเอาน้าปั สสาวะไปดองกับสมอ หลายคนดื่มสด ๆ การดื่มน้าปั สสาวะของ
ชาวชุมชนมี 3 หน้าที่ (1) ดื่มเป็ น “ยา” เพื่อรักษาโรค มีวธิ กี ารว่าเป็ นโรคอะไร ต้องดื่มอย่างไร ดื่มช่วงเวลาไหน
ปริมาณเท่าไหร่ ดื่มผสมกับอะไร (2) ดื่มเพื่อตรวจสอบสุขภาพ ชาวชุมชนมีวธิ กี ารสังเกตจากสี กลิน่ และรส (3) มี
นัยของการปฏิบตั ธิ รรม “คือ เราไม่รงั เกียจของเสียจากร่างกายตัวเอง ลดตัวตนของตัวเองเพราะคนมักรังเกียจ

380
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ตัวเอง การดื่มน้ าปั สสาวะเริม่ ต้นมาจากการสังสอนจากพระพุ


่ ทธเจ้า ว่าบรรพชาอาศัยมูตรเน่ าเป็ นยา เธอพึงทา
อุตสาหะในสิง่ นัน้ ตลอดชีวติ ” มีคนในชุมชนทีเ่ ชื่อว่าปั สสาวะนามารักษาโรคได้ จึงมีคนนามาหยอดตา แก้อาการตา
แดง ประสบอุบตั ิเหตุทเ่ี ท้าก็เอาแผลไปแช่ในน้ าปั สสาวะ อาการบาดเจ็บลดลง “พ่อท่านท่านบอกว่าท่านทัง้ ฉัน ทัง้
อาบด้วย ผมท้าให้พสิ จู น์เลยขวดน้าทีเ่ ขาทิง้ ๆ กันในชุมชน ลองหยิบขึน้ มาดมดู 10 ขวด จะมีกลิน่ เยีย่ วอยู่ 8 ขวด”

เปลีย่ นชื่ อ เปลีย่ น วั น


เมื่อศรัทธาตามแนวทางอโศก ทัง้ ญาติธรรมและชาวชุมชนมักขอให้สมณะโพธิรกั ษ์ตงั ้ ชื่อ/นามสกุลให้ใหม่
เช่น แสนดิน บุญแท้ เดินดิน ดินดี แสนดิน แน่ วแน่ แน่ จริง กล้าตาย แต่ ละนามสกุลมีความเก่าแก่แตกต่ างกัน
ตัว อย่ า งนามสกุ ลเก่ าแก่ เช่ น อโศกตระกูล ชาวหินฟ้ า นาวาบุญนิยม ด้ว ยเหตุ น้ี จึงพบชาวอโศกหลายคนใช้
นามสกุลซ้ากัน ชาวชุมชนทีไ่ ด้ช่อื /นามสกุลใหม่กม็ กั เปลีย่ นชื่อและนามสกุลเดิมในทะเบียนราษฎร์ของพวกเขาให้
เป็ นชื่อและนามสกุลที่พ่อท่านตัง้ ให้ใหม่ด้วย “การเปลี่ยนชื่อตัง้ เป็ นกรรมฐานให้ตวั เอง มีทงั ้ คนที่เปลี่ยนในบัตร
ประชาชนและคนทีไ่ ม่เปลีย่ น พ่อท่านจะตัง้ ให้ตามกิเลสเดิมทีต่ วั เองมีอยู่ หรือให้สอดคล้องกับชื่อเดิม บางครัง้ พ่อ
ท่านก็ตงั ้ ให้ 2 ชื่อ ให้เราเลือกชื่อหนึ่ง บางคนทีไ่ ม่เปลีย่ นนามสกุลเพราะเป็ นปั ญหาการจัดการ บางคนอาจไม่ได้
ย้ายชื่อนามสกุลมาอยู่ในชุมชน” ส่วนนักเรียนจะมีช่อื ที่พ่อ ท่า นตัง้ ให้ใหม่ทุกคน หลังจากพวกเขาเข้า มาเป็ น
นักเรียนสัมมาสิกขา เช่น เพชรรุ่งพุทธ เปล่งบุญพุทธ แสนตะวัน ลมเมฆฟ้ า เป็ นชื่อไม่ต่ ากว่า 3 พยางค์ แตกต่าง
ชื่อชาวชุมชนทีม่ กั มี 2 พยางค์ และคาทีน่ ามาประสมเป็ นชื่อก็ต่างออกไป

วิถีการผลิ แบบ “บุ ญนิยม”


ชาวปฐมอโศกทางานโดยใช้หลักสาธารณโภคี ด้วยการทางานไม่มคี ่าจ้าง/เงินเดือน รายได้ท่ไี ด้มาจะ
นาเข้าส่วนกลาง ทุกคนทางานในฐานงานตามความสามารถ หรือความถนัดของตนเอง สามารถย้ายฐานงานได้
เมื่อจาเป็ น ต้องปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของชุมชน ชาวชุมชนอโศกและนักเรียนมีฐานงานประจา โดยแบ่งออกเป็ น
13 ฐาน4 ในชุมชนปฐมอโศก ถ้าไม่นับรวมนักเรียนจะมีประชากรทัง้ หมดราว 190 คน ส่วนใหญ่เป็ นคนสูงวัยที่มี
อายุตงั ้ แต่ 60 ปี ขน้ึ ไป และเป็ นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีภูมลิ าเนามาจากทุกภูมภิ าคของประเทศไทย ส่วน
กลุ่มวัยรุ่นตัง้ แต่ 20 ถึง 40 ปี มีจานวนน้อย ชุมชนจึงขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานสาหรับผลิตสมุนไพร
ปุ๋ ยคอก และการขายอาหารมังสวิรตั ิ ส่วนการผลิตสมุนไพรและการผลิตปุ๋ ยคอกใช้วธิ กี ารจ้างแรงงานจากภายนอก
โดยเฉพาะโรงปุ๋ ยทีม่ กี ารจ้างแรงงานพม่าทัง้ หมดไม่เกิน 20 คน มาทางานในโรงงาน ให้ค่าจ้างเป็ นรายเดือน กิน
อาหารมังสวิรตั ขิ องชุมชนและมีทพ่ี กั ให้
เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานชาย ช่วงหนึ่งผู้เขียนจึงถูกชวนให้ไปทางานที่ฐานช่างตามคาชวนขอ
“กรรมกร กุสโล” หรือสมณะกุสโลทาหน้าที่เป็ น “พ่อฐาน” หรือผูร้ บั ผิดชอบและจ่ายงานให้ “ลูกบ้าน” งานในฐาน
ช่างเป็ นงานทีใ่ ช้แรงสูง ตัง้ แต่ยกของหนัก เชื่อมเหล็ก ขับรถส่งของ ซ่อมแซมสิง่ ก่อสร้างในชุมชน ขณะทีห่ ลายฐาน
งานได้ผลิตสินค้าไว้ทงั ้ ใช้เองในชุมชนและขาย เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน น้ ายาล้างจาน น้ ายาอเนกประสงค์
ทัง้ หมดเป็ นสูตรของชุมชน สินค้าโดยเฉพาะสมุนไพรส่งขายทัวประเทศ ่ บางส่วนจาหน่ายร้านค้าในเครือข่ายอโศก
กาไรทีไ่ ด้ทงั ้ จากศาลาค้า โรงปุ๋ ย สินค้าและบริก ารทีค่ นในชุมชนผลิตขึน้ ในแต่ละวันจะถูกส่งมอบให้กบั ฝ่ ายบัญชี
เพื่อนาเงินเข้ากองกลางของชุมชน

4ได้แก่ ฐานกสิกรรมไร้สารพิษ ฐานเชื้อดี ฐานพลาภิบาล ฐานถั ่ว ฐานแชมพู ฐานไฟฟ้ า-ประปา ฐานสือ่ สารบุญนิยม ฐานช่างซ่อมบารุง ฐานนาแรงรัก
แรงฝั น ฐานกสิกรรมไร้สารพิษ ฐานกลด ฐานธุรการ ฐานเห็ด และฐานศาลาค้า ส่วนการทาเกษตรกรรมตอบสนองคนในชุมชนเป็ นหลัก ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
ทานา ปลูกผักพืชและสมุนไพร ทาปุ๋ ยหมัก/ชีวภาพ หรือทีช่ าวอโศกเรียกว่า “กสิกรรมไร้สารพิษ”.

381
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

หลักการค้าตามแนวทางบุญนิยมของชาวอโศก มี 4 ระดับ (1) ขายต่ ากว่าท้องตลาด (2) ขายเท่าทุน (3)


ขายต่ ากว่าทุน และ (4) แจกฟรี ชาวอโศกเชื่อว่ายิง่ ขายสินค้าขาดทุนมากไหร่ ยิง่ ได้กาไรอาริยะมากตามจานวน
ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อว่าตัวเองลดละความโลภความอยากได้กาไรสาเร็จ และยังกระจายสะพัดทรัพยากรให้
ผูอ้ ่นื ทีอ่ ยู่สงั คมข้างนอกได้มาก ชาวอโศกมี “กองบุญ” ทีเ่ ป็ นธนาคารของชุมชน ผูท้ น่ี าเงินมาฝากกับอโศกจะได้รบั
“ดอกบุญ” เป็ นค่าตอบแทน พวกเขาถือว่าการนาเงินมาฝากไว้กบั ชุมชนก็เป็ นการทาบุญอย่างหนึ่ง บรรดาญาติ
ธรรมมักไม่รบั ดอกบุญและมอบให้กบั ชุมชนแทน พวกเขาหวังว่าดอกบุญทีม่ อบให้จะถูกนาไปใช้พฒ ั นาชุมชนและ
กิจการของชาวอโศก5
ชีวติ ทีก่ นิ น้อย ใช้น้อย ทางานให้มาก เป็ นทัง้ การปฏิบตั ธิ รรมและชีวติ ทางเศรษฐกิจที่ ทาให้เกิดผลิตภาพ
ทางการผลิต เกิดเป็ นวิสาหกิจชุมชน ชุมชนได้อโศกผสานชีวติ ทางเศรษฐกิจเข้ากับการปฏิบตั ธิ รรมตามอุดมการณ์
ของชาวอโศก ซึง่ ทาให้อโศกสามารถปรับตัวในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

พิธีกรรมแบบ “พุ ทธแท้ ๆ”


ชุมชนอโศกแต่ละแห่งจะประกอบพิธกี รรมเฉพาะของตัวเอง เช่น งานปี ใหม่ ตลาดอาริยะ จัดทีร่ าชธานี
อโศก จังหวัดอุบลราชธานี งานฉลองหนาว จัดขึน้ ปลายเดือนมกราคมที่ภูผาฟ้ าน้ าอโศก จังหวัดเชียงใหม่ งาน
พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ จัดขึน้ ในเดือนกุมภาพันธ์ทศ่ี าลีอโศก งานปลุกเสกพระแท้ ๆ ของพุทธ จัดช่วงปลาย
เดือนเมษายนทีศ่ รี ษะอโศก งานเพือ่ ฟ้ าดิน หรือ งาน พ.ฟ.ด. จัดในเดือนพฤษภาคมทีร่ าชธานีอโศก งานวันอโศก
ราลึก จัดขึน้ ในเดือนมิถุนายนทีส่ นั ติอโศก พิธกี รรมในปี ปฏิทนิ ของชาวอโศกมีบทบาทไม่น้อย โดยเฉพาะธารงข่าย
ใยของความสัมพันธ์ของนักเรียนสัมมาสิกขาทัง้ ปั จจุบนั ศิษย์เก่า ชาวชุมชน และญาติธรรม ทีพ่ วกเขามารวมตัวกัน
เพื่อร่วมพิธกี รรมในวันนัน้
ผูเ้ ขียนได้เข้าร่วมงาน วันมหาปวารณา เป็ นงานประจาปี ของชุมชนปฐมอโศกทีจ่ ดั ขึน้ 5 วัน สมณะและสิก
ขมาตุ ได้มาร่วมพิธมี หาปวารณาเพื่อ “ชีข้ มุ ทรัพย์” หรือข้อบกพร่อง ทีผ่ ่านมาการชีข้ มุ ทรัพย์ของสมณะกินเวลาไม่
เกิน 2 วัน การประชุมมหาปวารณาของนักบวชจะเริม่ ต้นราวตี 3 บนชัน้ สองของศาลาวิหาร ชาวชุมชนจะนาเชือก
ขึงตามต้นไม้รอบศาลาวิหารไม่ให้ใครเข้าไปใกล้ มีสมณะมาประชุมทัง้ หมด 85 รูป จาก 91 รูป ลาเพราะชราและ
ป่ วย 6 รูป การประชุมในวันแรกจบลงราว 9 นาฬิกา เหล่านักบวชต่างทยอยลงมาจากวิหารเพื่อร่วมพิธสี าคัญคือ
การเดินธรรมยาตราไปยังสมเด็จหลวงปู่ วิชติ อวิชชาเพื่อทาพิธบี รรจุพระบรมสาริกธาตุ หลวงปู่ วิชติ ฯ เป็ นองค์
พระพุทธรูปหินทรายแกะสลักอยู่ดา้ นหน้าชุมชนปฐมอโศก หลังจบพิธกี รรมนี้ คณะนักบวชได้ประกาศรายชื่อว่า
สมณะและสิกขมาตุแต่ละรูปควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนไปอยู่ชุมชนไหน ทัง้ ด้วยทักษะ บุคลิกลักษณะ ความรู้ ที่
ตัวเองมี และต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนทีจ่ ะเข้าไปอยู่ หรือนักบวชอาจถูกย้ายเพราะโดนโทษ 6
ผู้เขียนพบว่าชาวอโศกประกอบพิธกี รรมในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาแตกต่างจากวัดทัวไป ่ ในวัน
อาสาฬหบูชา ที่ชุมชนปฐมอโศกไม่เดินเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ แต่ทาพิธี “เวียนธรรม” โดยมีสมณะทีอ่ าวุโส
สูงสุดจับฉลากชื่อเพื่อให้นักบวชแต่ ละคนออกไปเทศน์ คนละ 4 ถึง 10 นาที โดยสิกขมาตุ เป็ นผู้เริ่มต้นเทศน์
ก่อนหลังจากนัน้ จึงตามด้วยสมณะครบทุกองค์ ส่วนวันเข้าพรรษาชาวชุมชนอโศกมีพธิ ี “ตัง้ ตบะธรรม” โดยชาว

5 ส่วน “เงินเกื้อ” คือ เงินทีข่ อยืม และ “เงินหนุ น” คือ เงินทีใ่ ห้ยมื เป็ นเงินทีใ่ ห้ทงั ้ ชุมชมอโศก ชาวชุมชน และญาติธรรมยืมได้โดยไม่คดิ ดอกเบีย้ ภายใต้
เงือ่ นไขทีร่ ะบุ นอกจากนัน้ ชาวชุมชนทีม่ ปี ัญหาและความจาเป็ นต้องใช้เงิน สามารถขอ “เงินปั นบุญ” เป็ นเงินค่าตอบให้กรณีทค่ี นวัดมีความเดือดร้อน ให้
ไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท โดยต้องได้รบั การอนุ มตั จิ ากกรรมการชุมชนตามเหตุผลและความเดือดร้อนเป็ นรายกรณี.
6 พุทธสถานทีต ่ งั ้ ในเมืองมีสมณะจานวนมากกว่าพุทธสถานทีอ่ ยูน่ อกเมือง เช่น พุทธสถานสันติอโศกมีสมณะลงอาราม 21 รูป พุทธสถานภูผาฟ้ าน้ า 13
รูป พุทธสถานปฐมอโศก 11 รูป พุทธสถานสีมาอโศกและศีรษะอโศกแห่งละ 5 รูป สังฆสถานทะเลธรรม 4 รูป เป็ นต้น.

382
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ชุมชนชนตัง้ ใจว่าจะทาอย่างใดอย่างหนึ่งในทางธรรมให้ประสบความสาเร็จในตลอดเข้าพรรษา ชาวอโศกหลายคน


เห็นตรงกันว่าการตัง้ ตบะธรรมมีขอ้ ดีหลายอย่าง เพื่อลดกิเลสตัวเอง ยกระดับจิตใจของตัวเอง ฝึ กความอ่อนน้อม
ถ่อมตน ชาวชุมชนบางคนตัง้ ตบะว่าจะรักษาศีล 8 นักเรียนหลายคนตัง้ ตบะว่าจะตื่นนอนให้เช้า ไม่กนิ จุกจิก ไม่กนิ
ขนม กินอาหารไม่ปรุงแต่ง ไม่พดู คาหยาบ
พิธกี รรมงานวันมหาปวารณาทีส่ ะท้อนความเป็ น “พุทธแท้” ในโลกทัศน์ของอโศก เป็ นแนวทางของชาว
พุทธที่ถูกต้องและแท้จริงตามพุทธวจนะ หลายครัง้ ที่ผู้เขียนถามอโศกว่าทาไมต้องดื่มน้ าปั สสาวะ ทาไมต้องกิน
มังสวิรตั ิ ทาไมต้องรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ทาไมละอบายมุข ทาไมถึงปฏิเสธชีวติ คู่ เมื่อชาวอโศกอธิบายไปเรื่อยๆ
ค าตอบสุ ด ท้ า ยมัก จบลงที่เ พราะเป็ นค าสอนขององค์ พ ระสัม มาสัม พุ ท ธเจ้า หรือ เป็ นค าสอนที่ป รากฏใน
พระไตรปิ ฎก

ส่วนที่ 3 โลกของชำวอโศก
คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz) กล่าวว่าศาสนาคือระบบของสัญลักษณ์ทท่ี าให้เกิดอารมณ์ความรูส้ กึ
(mood) และแรงกระตุ้น (motivation) ทีม่ พี ลัง ศาสนาทาให้โลกมีระเบียบและทาให้คาอธิบายหรือเหตุผลทีต่ วั เอง
ดารงอยู่ในโลก ศาสนาเป็ น “model of” หรือกรอบในการมองโลก เขายกตัวอย่างว่าศาสนาไม่ได้ทาให้มนุ ษย์หาย
จากทุกข์ แต่ศาสนาบอกว่ามนุ ษย์จะอยู่กบั ความทุกข์ได้อย่าง ศาสนายังให้คาอธิบายว่าทาไมเราถึงเป็ นแบบนี้
ศาสนามีเหตุผลให้กบั มนุษย์ทไ่ี ม่สามารถทนในความสงสัยได้ ในแง่น้ปี ระสบการณ์ทางศาสนาจึงเกิดขึน้ ได้จากการ
ยอมรับว่ามีบางสิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่กว่าตัวเรา ศาสนาคือความจริงเมื่อเราเชื่อและนามาพาตัวเองเข้าไปเกีย่ วข้อง (Geertz,
1973: 89-125) ในส่วนนี้ผเู้ ขียนจะฉายภาพชีวติ ของชาวชุมชนอโศกและญาติธรรม

สอดแนมอโศก
ชายชราในวัย 83 กาลังนัง่ สานกระเป๋ าเพื่อเตรียมขาย ชายชรามีผมขาวโพลนและผิวหนังทีเ่ หีย่ วย่นตาม
กาลเวลา เขาคือ พ.ต.ท.สอาด สุขจิตต์ หรือทีช่ าวอโศกเรียกว่า “พ่อสอาด” หรือ “ผูพ้ นั สอาด” ผูใ้ ช้ชวี ติ อยู่กบั หมู่
กลุ่มชาวอโศกมาเกือบ 30 ปี ผ่านชีวติ ตารวจตระเวนแดนมาอย่างโชกโชน พ่อสอาดได้ทางานร่วมกับฝ่ ายปกครอง
ตัง้ แต่การสร้างความมันคงในชนบท
่ การพัฒนาพื้นที่อนั ตรายให้เป็ นพื้นทีป่ ลอดภัย สร้างหมู่บ้านแผ่นดินธรรม-
แผ่นดินทอง จนในปี 2525 ได้เป็ นรองผูบ้ งั คับกองร้อยทีอ่ าเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ผูพ้ นั สอาดรูจ้ กั อโศกปี 2526 จากการแอบเข้าไปสืบสวนพฤติกรรมสมณะโพธิรกั ษ์และชาวอโศกในงาน
ปลุกเสกพระแท้ ๆ ของชาวอโศก ทีพ่ ุทธสถานศีรษะอโศก ตามคาสังของหน่ ่ วยเหนือทีใ่ นเวลานัน้ ต่างระแวงอโศก
ว่าอาจเป็ นภัยต่อความมันคงของประเทศ
่ พ่อสอาดส่งลูกน้องมาอัดเสียงเทศน์ของสมณะโพธิรกั ษ์และส่งเทปไป
เปิ ดฟั งทีก่ องร้อยเพื่อจับพิรุธ
“เราก็เอาเทปไปฟั งแบบจับผิดพ่อท่าน แต่พอเอาเทปมานัง่ ฟั งนอนฟั งพ่อก็รสู้ กึ ว่ าทาไมมันเข้าท่าดี ใน
ประเทศไทยมันมีสงั คมแบบนี้ด้วยเหรอ ฟั งแล้วเขาสอนแต่สงิ่ ดี ๆ ให้ลดอบายมุข ให้ปฏิบตั ศิ ลี ก็ไม่เห็นเป็ นพิษ
เป็ นภัยอะไร”
หลังจากนัน้ พ่อสอาดก็เริม่ เข้าไปในชุมชนเพื่อสังเกตพฤติกรรมชาวอโศกด้วยตัวเอง วันหนึ่งระหว่างที่
กาลังอัดเสียงก็มคี นเดินมาสะกิดข้างหลัง “บ่ต้องมาจอบเบิง่ อยู่ดอก เขาอัดไว้
๊ ให้แล้ว ” พ่อสอาดไม่รวู้ ่าในเวลานัน้
ชาวอโศกก็มเี ครื่องอัดเสียงทีเ่ อาไว้อดั เทปธรรมะเพื่อให้คนทัวไปมาหยิ
่ บยืม และชาวอโศกต่างก็รวู้ ่าพ่อสอาดเป็ น

383
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

“นักสืบ” ทีแ่ อบเข้ามาเก็บข้อมูลในชุมชนมาได้ซกั ระยะหนึ่งแล้ว ชาวอโศกได้เชิญให้ผพู้ นั สอาดเข้าออกชุมชนเพื่อ


สืบสวนหาข้อมูลได้ตลอดเวลา ไม่ตอ้ งทาตัวลับ ๆ ล่อ ๆ อีกต่อไป
ช่วงปี 2527 พ่อสอาดได้มาสมัครเป็ นญาติธรรม ในเวลานัน้ ผูพ้ นั สอาดได้นาลูกหลานของชาวอโศกทีเ่ ป็ น
สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่หลบหนีเข้าป่ าให้กลับมามอบตัวและนาอาวุธมอบที่ศาลา
กลางจังหวัด พ่อสอาดได้นาทหาร ตารวจ และข้าราชการที่ไม่เคยยศให้ไปรับตัวผู้ก่อการร้ายเพื่อให้ขา้ ราชชัน้
ผู้น้อยเหล่านี้ได้ยศ 2 ขัน้ พ.ต.ท.สอาดเล่าว่าตัวเองค่อย ๆ นาแนวทางของอโศกมาปรับใช้ในชีวติ โดยเริม่ ลด
อบายมุขอย่างเหล้าบุหรี่ งดเทีย่ วกลางคืน เลิกเล่นการพนันได้ พร้อมกับฝึกฝนการกินอาหารมังสวิรตั ิ แต่ไม่นานก็
มีคาสังให้
่ ผพู้ นั สอาดไปเป็ นรองผูก้ ากับการป้ องกันและปราบปรามทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ “ถ้าพ่อขึน้ ไปรับตาแหน่ งที่
นัน่ พ่อต้องฆ่าคนอีกเป็ นร้อยถึงจัดการยาเสพติดได้ นายก็บอกว่าแกต้องไปนะไม่ไปไม่ ได้นะ” และด้วยความเบื่อ
หน่ายกับการทุจริตในวงการทหารจึงเป็ นเหตุผลให้พ่อสอาดตัดสินใจลาออกจากตารวจตระเวนชายแดน
พ่อสอาดได้อนุ มตั ใิ ห้ลาออกจากราชการกรมตารวจตระเวนชายแดนในปี 2531 ตัง้ แต่นัน้ มาพ่อสอาดก็
เข้ามาเป็ นชาวอโศกเต็มตัว ในช่วงแรกได้ไปอยู่ทพ่ี ุทธสถานปฐมอโศก ช่วยงานของชุมชนอโศกโดยเฉพาะด้าน
กสิกรรมเพราะสนใจสมุนไพรและอยากผลิตอาหารทีป่ ลอดสารเคมีให้แก่สมณะและญาติธรรม ส่วนภรรยาพ่อสอาด
กลับไม่เห็นด้วยกับแนวทางอโศกเพราะเลิกกินเนื้อสัตว์ไม่ได้ ในช่วงแรกที่เข้ามาเป็ นชาวอโศกพ่อสอาดเคยมี
ความคิดทีจ่ ะบวชเป็ นสมณะ แต่การขอสมัครเป็ นนักบวชอโศกต้องละทิง้ ทรัพย์สนิ ทัง้ หมดและต้องใบหย่ามาแสดง
ภรรยาและลูกหลานไม่อยากให้หย่า

“ก็มนั เรื่องของเขา พ่อคิดอย่างงีน้ ะ คือไปดึงเขาเข้ามาให้เหมือนเราเลยก็ไม่ได้ เราก็เข้าใจ


เป็ นเรื่องยากของเขา เราก็เลยแยกกันอยู่แต่กย็ งั ไปมาหาสูก่ นั ”
ปั จจุบนั พ่อสอาดได้สร้างบ้านในหมู่บา้ นราชธานีโดยอยู่กบั ลูกสาวทีเ่ ป็ นชาวอโศกมาจนถึงปั จจุบนั และ
มอบ บ้าน ทรัพย์สนิ ทัง้ หมดให้ลกู ชาย แม้ว่าพ่อสอาดจะอายุมากขึน้ แต่กย็ งั คงช่วยเหลืองานในฐานงานเหมือนเดิม
ตามกาลังแรงทีต่ วั เองมี
“ชีวติ คนมันสัน้ มาก มันไม่รจู้ ะตายเร็วตายช้า ตอนนี้พ่อก็ 80 กว่าแล้ว อายุ 90 ก็คงจะตายแล้ว แต่ก่อนที่
จะตายเราก็ขอสละชีวติ ทางโลก ขอบาเพ็ญเพียรดีกว่า” พ่อสอาดกล่าวทิง้ ท้าย

ชี วิ ในสองโลก
ในระหว่างทีเ่ ก็บข้อมูลภาคสนามทีช่ ุมชนปฐมอโศก ผูเ้ ขียนได้เข้าร่วมโครงการ “ชีวติ ดีทลี ะก้าว” เป็ นค่าย
ธรรมะที่จดั ขึ้นเดือนละ 1 ครัง้ โดยจัดในวันเสาร์และอาทิตย์ สัปดาห์ท่ี 4 หรือ 5 ของเดือนที่ชุมชนปฐมอโศก
เหตุผลที่ผู้เขียนเข้าร่วมค่ายเพราะจะได้ทาความรู้จกั กับ ญาติธรรมซึ่งเป็ นคนภายนอกที่ศรัทธาในแนวทางของ
อโศก ก่อนจบค่ายทุกครัง้ จะมีกจิ กรรม “เปิ ดใจก่อนจาก” โดยให้ญาติธรรมได้กล่าวความรูส้ กึ ของตัวเองต่อชุมชน
อโศกญาติธรรมส่วนใหญ่รสู้ กึ แปลกใจในวิถชี วี ติ ความเป็ นอยู่ของชาวอโศกและชอบการปฏิบตั ติ วั ของคนในชุมชน
นี้ อดีตครูผู้หนึ่งเล่าว่า มีนักเรียน/ชาวชุมชนเข้ามาทักทายก่อนตัง้ แต่เดินเข้ามาชุมชน ให้ความช่วยเหลือและ
ต้อนรับอย่างเป็ นกันเอง ญาติธรรมทีเ่ ข้าร่ วมโครงการชีวติ ดีทลี ะก้าวส่วนใหญ่เป็ นคนทีม่ อี ายุตงั ้ แต่ 40 ปี ขน้ึ ไป มี
ความคับข้องใจปั ญหาการใช้ชวี ติ ในสังคมภายนอก หลายคนมีประสบการณ์ไปทดลองปฏิบตั ธิ รรมมาแล้วหลาย
แห่งแต่กไ็ ม่ใช่แนวทางของพุทธทีเ่ หมาะสม

384
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กลุ่มญาติธรรมจะคอยติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่อง บุญนิยมทีวี ซึง่ เป็ นทีวดี าวเทียมของชาวอโศก ใช้


ไลน์และเฟซบุ๊คสาหรับนัดหมายทากิจกรรมร่วมกับชาวชุมชนอโศก การร่วมกิจกรรมชีวติ ดีทลี ะก้าวทาให้ผเู้ ขียนได้
รูจ้ กั และสร้างความสัมพันธ์กบั ญาติธรรมหลายคน หนึ่งในนัน้ คือ “แสบ” หรือชื่อใหม่ในบัตรประชาชนว่า “ไทสาธุ”
ชายหนุ่ มวัยกลางคน ผูศ้ รัทธาและปฏิบตั ติ ามแนวทางอโศกเกือบ 2 ปี แสบประกอบอาชีพเปิ ดร้านทากุญแจอยูใ่ น
อาเภอบ้านนา จังหวัดอุทยั ธานี ผูเ้ ขียนได้ไปอาศัยกับครอบครัวของแสบช่วงหนึ่งเพื่อทาความเข้าใจชีวติ ของญาติ
ธรรมว่าพวกเขามีชวี ติ อย่างไรเมื่อไม่ได้อยู่ในหมู่กลุ่มหรือชุมชนอโศก
เมื่อเปิ ดร้านตอน 8 โมงเช้า แสบจะเปิ ดโทรทัศน์ช่องบุญนิยมทีวี ฟั งสมณะโพธิรกั ษ์เทศน์ถงึ ตอนเทีย่ งก็
ฉันอาหารพร้อมพ่อท่าน ถึงแม้ว่า เขาจะไม่ได้ใช้ชวี ติ อยู่ในชุมชน แต่แสบก็ฝึกฝนใช้ชวี ติ ตามแนวทางอโศกอย่าง
เคร่งครัด ไม่สวมรองเท้า กินมังสวิรตั ิวนั ละ 1 มื้อ มีเสือ้ ผ้าไม่เกิน 4 ชุด เวลาเจ็บป่ วยเขาก็รกั ษาตามแนวทาง
แพทย์วถิ ธี รรม ตัง้ แต่การดื่มน้าปั สสาวะ ทาดีทอ็ กซ์ กัวซา ใช้สมุนไพรรักษาและบารุงร่างกาย
จากเมื่อ ก่ อ นลู ก ค้า มาท ากุ ญ แจ เขาจะคิด ค่ า ท ากุ ญ แจให้ไ ด้ ก าไรที่สุ ด แต่ แ นวทางอโศกก็ท าให้
ความสาคัญกับเงินน้อยลง หลายครัง้ ก็ไม่คดิ ค่าบริการ ทุกวันพระก็จะทากุญแจให้ลกู ค้าฟรี แสบใช้ชวี ติ กับภรรยาที่
มีลกู ติดได้ 6 ปี ภรรยาของแสบไม่ได้ศรัทธาตามแนวทางอโศก เขาเล่าว่าชีวติ การแต่งงานเหมือนวิบาก จะไปอยู่ท่ี
ไหนก็ไม่ค่อยได้ จะไปปฏิบตั ธิ รรมก็ไม่ได้ จะมาอโศกแต่ละคนเดือนภรรยาก็ไม่อยากให้มา ไม่รวมถึงคนใกล้ชดิ ที่
ไม่อยากให้เขาปฏิบตั ธิ รรมในแนวทางอโศก แสบเล่าว่าทีบ่ ้านญาติพ่นี ้องมักไม่เข้าใจว่าทาไมอโศกถึงต้องทาตัว
แตกต่างจากคนทัวไป ่ ทาไมไม่ไหว้พระพุทธรูป ทาไมมากินมังสวิรตั ิ
ชีวติ แสบเป็ นตัวอย่างของญาติธรรมทีพ่ ยายามปฏิบตั ติ ามแนวทางอโศกอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันเขา
ก็ทาหน้าทีเ่ ป็ นสามีทด่ี ดี ว้ ยการผ่อนรถของภรรยาและส่งเสียเลีย้ งดูลกู ติดของภรรยา แสบเล่าว่าในอนาคตเขาตัง้ ใจ
ทีจ่ ะเข้ามาเป็ นชาวอโศก แม้ว่าปั จจุบนั เขาจะแต่งงานกับภรรยาทีม่ คี วามคิดสวนทางกับอโศกอย่างสิน้ เชิง หลาย
ครัง้ ทีแ่ สบมักเล่าถึงความระหองระแหงในชีวติ คู่ให้ผเู้ ขียนรับรู้ ในอนาคตหากภรรยาขอหย่าด้วยเขาก็ยนิ ดี “เพราะ
อโศกทาให้ผมมองว่าชีวติ การแต่งงานว่าเป็ นทุกข์และเป็ นการสร้างวิบากระหว่างกัน สุดท้ายยังไงผมก็อยากมาอยู่
กับพระโพธิสตั ว์ อยู่กบั หมู่กลุ่มชาวอโศก”

สู่อริยบุ คคล
“ตุ๊ ก” หญิงสาววัย 40 ที่มาเข้าค่ายชีวิตทีละก้าวทุก เดือน เธอเป็ นชาวอาเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทยั ธานี
ระหว่างทีเ่ ก็บข้อมูลภาคสนาม ผูเ้ ขียนพบว่าตุ๊กมาร่วมงานสาคัญกับชาวอโศกทุกครัง้ ไม่วา่ งานสาคัญของชาวอโศก
จะจังหวัดไหน ถ้าเธอไม่ติดทางานในไร่ เธอก็จะขับรถไปร่วม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมชีวติ ดีทีละก้าวในแต่ ละครัง้
ผูเ้ ขียนสังเกตว่า
ตุ๊กมักชวนคนรู้จกั ในละแวกบ้านให้มารู้จกั กับชาวอโศก พร้อมกับผลผลิตจากไร่ ท่เี ธอปลูกแบบปลอด
สารพิษ บางครัง้ เป็ นพืชผัก สับปะรด มะละกอ มาแจกจ่ายให้แก่ชุมชนอโศก
แต่ก่อนตุ๊กเป็ นคนฟุ่ มเฟื อย อารมณ์ร้าย ชอบแต่งตัวและใช้เงินเก่ง วันหนึ่งเธอได้พบพระรูปหนึ่งที่กนิ
มังสวิรตั แิ ละปฏิบตั ศิ ลี อย่างเคร่งครัดแตกต่างจากพระทัวไปที
่ ่เธอเคยพบ พระรูปนัน้ ให้แนะนาให้เธอรูจ้ กั กับชาว
อโศก แนวทางของอโศกทาให้เธอเริม่ ตัง้ คาถามกับชีวติ หลังจากนัน้ เป็ นต้นมาเธอก็เริม่ รักษาศีล กินมังสวิรตั อิ ย่าง
จริง เธอเริม่ ชักชวน “เต็ม” สามีให้หนั มารักษาศีลและเลิกอบายมุขด้วยเช่นกัน แม้ว่าปั จจุบนั เต็มยังทานเนื้อสัตว์
และไข่ แต่เขาก็เลิกบุหรี่ เหล้า และมาปฏิบตั ธิ รรมทีช่ ุมชนทุกเดือน ผูเ้ ขียนเคยไปร่วมงานขึน้ บ้านใหม่ตามคาชวน

385
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ของเธอ ตลอดทัง้ วัน ตุ๊ กง่วนอยู่กบั การเตรียมงาน ทัง้ จัดบ้าน เตรียมสถานที่ เพื่อนบ้านต่ างมาช่วยทาอาหาร
มังสวิรตั ิ วันถัดมาเธอนิมนต์สมณะและพระทีน่ บั ถือมาเทศน์ หนึ่งในนัน้ คือ สมณะเพาะพุทธ จนฺ ทเสฏฺโฐ หรือ “ท่าน
จันทร์” พระนักเทศน์ทม่ี ชี ่อื เสียงของชาวอโศก
“ท่านคะ ฆราวาสจะสามารถบรรลุโสดาบันได้ไหมคะ” ตุ๊กถามหลังจากสมณะเทศน์จบ
“คนผูเ้ ป็ นโสดาบัน ตามทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัสไว้คอื ผูม้ คี วามสามารถปฏิบตั ธิ รรมหรือปฏิบตั ฌ
ิ านอยู่พร้อม ๆ
กันกับการทาการทางานทาอาชีพมีอริ ยิ าบถใด ๆ อยู่ตามปกติคนสามัญ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อนทีเ่ ล็มหญ้ากิน
ด้วยและชาเลืองเลีย้ งดูลกู น้อยไปด้วยพร้อม ๆ กัน หมายความว่าทัง้ สองอย่างทาอยู่ในขณะเดียวกัน” สมณะตอบ
ผูเ้ ขียนได้รจู้ กั “วาสนา” น้องสาวของตุ๊ก เธอเพิง่ หย่ากับสามี วาสนาไม่มงี านประจาทาและก่อนหน้านี้ก็
เสพยาบ้า วาสนานาทรัพย์สนิ ทัง้ หมดของเธอไปขายเพื่อ เสพยากับสามี ตุ๊กจึงฝากน้องสาวของเธอให้อยู่ภายใต้
การดูแลของท่านจันทร์ ส่วน “โจ” ลูกชายคนโตของตุ๊กก็เรียนอยู่ชนั ้ ม.5 ในชุมชนปฐมอโศกเช่นกัน

“ในสังคมปั จจุบนั จะหาเพื่อนที่เป็ นมิตรดี สหายดีได้น้อย คนไม่ค่อยรักษาศีล กลัวเรื่อ ง


ผูห้ ญิงกับยาเสพติด เราไม่มภี ูมธิ รรมทีจ่ ะให้ธรรมะกับเขาทีส่ งู ขึน้ และไม่มหี มูก่ ลุ่มทีจ่ ะดึงเขา
ไปในสัมมาทิฐิ แต่พอมาทีป่ ฐมอโศกมันจะครบวงจรเลยนะว่าเด็กต้องถือศีล 5 มีหมู่กลุ่ม มี
เพื่อนนักเรียน มีคุรุ มีสมณะ สิกขมาตุ ทีท่ ่านให้คาแนะนาได้ อบรมลูกได้ พีค่ ดิ ว่าไม่มที อ่ี ่นื
ที่ดกี ว่านี้แล้ว ก่อนโจเข้ามาเรียนที่ปฐมอโศก เขาเห็นแม่ศรัทธาพ่อท่านก็เริม่ ศรัทธาตาม
แนวทางอโศก หลัง จากโจเข้า ค่ า ยอบรมยุว พุ ท ธ 10 วัน เขาก็มีเ พื่อ นที่เ ข้า อบรม และ
ตัดสินใจเรียนทีน่ ่ี”
เธอให้เหตุผลทีต่ ดั สินใจให้โจมาเรียกทีน่ ่ี เธอเล่าว่า “ช่วงขึน้ ม.4 โจขอลาออกจากโรงเรียนเพราะเหนื่อย
ทีต่ ้องใช้ชวี ติ ในชุมชนและติดเพื่อนทีบ่ า้ น” ตุ๊กไม่บงั คับแต่ให้เงื่อนไขว่าหากโจไม่เรียนที่โรงเรียนสัมมาสิกขาก็ให้
ออกมาทางานช่วยพ่อกับแม่ทางานที่ไร่ ไม่ให้เรียนต่อที่อ่นื เธอเล่าว่าคนเป็ นพ่อแม่จะกังวลเรื่องลูกมากที่สุด
โดยเฉพาะช่วงกาลังเป็ นวัยรุ่น ส่วน “จิน” ลูกสาวคนสุดท้องของตุ๊ก เรียนอยู่ชนั ้ ป.5 จะติดตามตุ๊กมาทีอ่ โศกแทบ
ทุกครัง้ ตุ๊กอยากให้จนิ “คบคุน้ ” กับชาวอโศก หลังจากนัน้ จินก็ฝึกกินมังสวิรตั จิ นสาเร็จ ตุ๊กเล่าว่าเธอพยายามนา
หลักธรรมของชาวอโศกพร้อมไปกับการดาเนินชีวติ ประจาวัน หลังจากทีต่ ุ๊กศรัทธาในแนวทางชาวอโศกได้ 5-6 ปี
หลังปิ ดหีบอ้อยคนงานในไร่ของเธอมักล้มหมูและนามากิน เธอพยายามฝึ กฝนให้คนงานเลิกฆ่าสัตว์แ ละแนะนา
เพื่อนบ้านให้รจู้ กั กับอโศก
จากชีวิตของ พ่อสอาด แสบ และตุ๊ ก ผู้เขียนต้องการชี้ว่าการเข้ามาเป็ นสมาชิกหรือญาติธรรมอโศก
เรียกร้องการเสียสละแรงงานและทักษะ ในช่วงทีผ่ เู้ ขียนเก็บข้อมูลภาคสนามผูเ้ ขียนก็ตอ้ งประจาอยู่ในฐานงาน การ
ทางานภายใต้ฐานงานทาให้ชาวอโศกมีสถานะเป็ นแรงงานอิสระ (free labor) ทีไ่ ม่ได้รบั ค่าตอบแทนกาลังแรงงาน
เป็ นเงิน
นอกจากนัน้ การปฏิบตั ิตามแนวอโศกก็เรียกร้องการปรับเปลี่ยนตัง้ แต่การกิน อยู่ และใช้ชวี ติ ซึ่งเป็ น
“วินยั ” ทีย่ ากจะปฏิบตั สิ าหรับคนทัวไป
่ ดังเช่นชีวติ ของพ่อสอาดในฐานะชาวอโศกและแสบในฐานะญาติธรรมทีต่ อ้ ง
ปรับตัวในสองโลก ระหว่างโลกในชุมชนอโศกและโลกนอกชุมชนทีม่ ที งั ้ ต่อรองและไม่ลงรอยในความสัมพันธ์ทาง
สังคม เมื่ออโศกทาให้ความเชื่อทางพุทธศาสนากลับเข้ามาสูช่ วี ติ ประจาวัน ผูเ้ ขียนจึงมองว่าเป็ นเหตุผลหนึ่งทีท่ าให้

386
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อโศกไม่สามารถขยายจานวนสมาชิกในระดับที่เข้ามาเป็ นชาวชุมชนได้รวดเร็ว รูปธรรมทีเ่ ห็นชัดเจนคือประชากร


ส่วนใหญ่ในชุมชนเป็ นผูส้ งู อายุ ไม่มปี ระชากรในวัยหนุ่มสาวเข้ามาเป็ นสมาชิกทดแทน ทว่าในทางกลับอโศกกลับมี
สมาชิกในระดับญาติธรรมจานวนไม่น้อยที่ต่างก็หมุนเวียนมาร่วมกิจกรรมกับชุมชนในพิธกี รรมสาคัญและรับฟั ง
ธรรมะพ่อครูผ่านสัญญาณโทรทัศน์ช่องบุญนิยมทีวี
การตีความหลักคาสอนในพระพุทธศาสนาของสมณะโพธิรกั ษ์ได้เปลีย่ นความเชื่อและการปฏิบตั ิ ทาให้
ศาสนาพุทธทีเ่ ป็ นเรื่องของโลกหน้ากลายเป็ นเรื่องของโลกนี้และเดีย๋ วนี้ ดังเช่นชีวติ ของ “ตุ๊ก” และ “แสบ” ทีส่ ะท้อน
ว่าการอริยบุคคลไม่ใช่เรื่องทีไ่ กลเกินเอือ้ มและไม่ใช่เรื่องของนักบวช แต่ฆราวาสก็สามารถเข้าถึงสถานะอริยบุคคล
ได้ดว้ ยการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด และการมุ่งสู่นิพพานกลายเป็ นเรื่องทีท่ าได้ในชีวติ ประจาวันทีต่ อ้ งฝึ กฝนอย่าง
สม่าเสมอ จริงจัง และมีกลยุทธ์

ภาพ 2: ภาพวาดชุ มชนอโศกในจินตนากรรม, ถ่ายโดยผู ้เขียน, เมษายน 2559

ภาพ 3 (ซ้าย): ทางานในฐานงาน


ถ่ายโดยผู ้เขียน, ธันวาคม 2558.

ภาพ 4 (ขวา): สมณะโพธิรักษ์บิณฑบาต


ถ่ายโดยผู ้เขียน, เมษายน 2558.

387
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

จริยธรรมทำงเศรษฐกิจในชุ มชนอโศก
งานทีผ่ ่านมามักตีความข้อเสนอของเวเบอร์ โดยวางอยู่บนสมมติฐานว่าจริยธรรมทางเศรษฐกิจที่ตงั ้ อยู่
บนคิดทางศาสนาได้ส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการในเศรษฐกิจขึน้ จริยธรรมแบบโปรเตสแตนต์ถูกให้นิยามว่ าเป็ น
อุดมการณ์ซง่ึ ตัง้ อยู่บนหลักการว่าผูท้ ย่ี ดึ ตามแนวทางนี้มฐี านะเป็ นผูป้ ระกอบการซึง่ ส่งผลให้เกิดความมังคั
่ งทาง

เศรษฐกิจ โรเบิรต์ เบลลาห์ (Robert N. Bellah) นักสังคมวิทยาอเมริกนั วิจารณ์ว่า การตีความเช่นนี้เป็ นการมอง
อะไรง่ายเกินไป เพราะถ้าหากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ศาสนาทีเ่ กิดขึน้ ในเอเชียจะพบกับความเชื่อมโยงกับความคิด
เช่น การบาเพ็ญตบะ/บาเพ็ญเพียรเพื่อโลกนี้ (this-worldly asceticism) หรือนัยคาสอนทางศาสนาทีเ่ รียกร้องให้
คนทางาน ล้วนทาให้ประสบความสาเร็จในธุรกิจเช่นเดียวกันโดยทีไ่ ม่ตอ้ งสัมพันธ์กบั จริยธรรมแบบโปรเตสแตนต์
(Bellah 1962, 53-63)
เช่นเดียวกับข้อเสนอของคายน์ ว่า ชาวนาแห่งบ้านหนองตื่นในอีสานมีจริยธรรมทางเศรษฐกิจคล้ายคลึง
กับวิธคี ดิ ของพวกพิวริตนั ตามคาอธิบายของเวเบอร์ คายน์เรียกชาวนาแห่งบ้านหนองตื่นกลุ่มนี้ว่าเป็ น “Buddhist
puritans” โดยพวกเขาตระหนักดีว่าตัวเองไม่สามารถเลื่อนสถานะจาก “ชาวบ้าน” ไปสู่ “เจ้านาย” จึงนามาสู่การ
เลื่อนสถานะทางสังคมอีกวิธหี นึ่งด้วยการเป็ น “พ่อค้า/แม่คา้ ” ตามอย่างชาวจีนโพ้นทะเล หลายคนจึงเลือกทางาน
อย่างขยันอดทน ความอดทนคือ “จริยธรรมแห่งการงาน” (work ethic) คายน์ชว้ี ่าแบบแผนในชีวติ ของชาวนากลุม่
นี้ มี ค วามสัม พั น ธ์ ก ั บ จริ ย ธรรมที่ เ วเบอร์ เ รี ย กว่ า “inner worldly asceticism” ซึ่ ง มี ร ากฐานบนวิ ธี คิ ด ของ
พระพุทธศาสนาเถรวาท (Keyes 1990, 40-45)
ชาวอโศกมีค วามคิด ว่ า นิ พ พานเป็ น เป้ า หมายที่ทุ ก คนบรรลุ ไ ด้ภ ายในสัง คมนี้ แ ละท าฝึ ก ฝนได้ ใ น
ชีวติ ประจาวันโดยเฉพาะการทางาน ความหลุดพ้นในวิธคี ดิ ของชาวอโศกขึน้ กับโลกทางสังคม เนื่องจากสังคมไม่
ยอมให้ผคู้ นถอนตัวออกจากสังคมเพื่อไปแสวงหานิพพาน ด้วยวิธคี ดิ เช่นนี้จงึ นามาสู่การอยู่เป็ น “หมู่กลุ่ม” หรือ
การอยู่รวมเป็ นชุมชน มีหมู่บา้ น โรงเรียน และวัดตัง้ อยู่ในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน ซึง่ เป็ นปฏิบตั กิ ารที่พยายามกาจัดอุปสรรค
ของการปฏิบตั ธิ รรมออกไป เพื่อให้การบรรลุนิพพานเป็ นไปได้สาหรับทุกคน แต่การใช้ชวี ติ ตามแนวทางอโศกก็
เรียกร้องการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมตัง้ แต่การกิน อยู่ ใช้ชวี ติ ทีส่ ง่ ให้ทงั ้ ชาวชุมชนและญาติธรรมต้องปรับตัวในสอง
โลก ระหว่างโลกในชุมชนอโศกและโลกนอกชุมชนที่มที งั ้ ต่อรองและไม่ลงรอยในความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้พนั
สอาดทีเ่ ป็ นชาวชุมชนอโศก รวมถึงแสบและตุ๊ก ในฐานะญาติธรรม
ญาติธรรมมักให้เหตุผลถึงการปฏิบตั ธิ รรมในแนวทางอโศกว่านักบวชอโศกเป็ นทีย่ ดึ เหนี่ยวจิตใจให้กบั
พวกเขาได้ ท่ามกลางกระแสพุทธพาณิชย์และความขัดแย้งในมหาเถรสมาคม ที่ทาให้พวกเขาหมดศรัทธาใน
พระสงฆ์และพระพุทธศาสนา พวกเขาพร้อมเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชาวอโศกเป็ นครัง้ คราวผ่านค่ายธรรมะและ
เทศกาลของชาวอโศก บทบาทของญาติธรรมบางส่วน เช่น รสนา โตสิตระกูล พลเอกจาลอง ศรีเมือง พลเอกปรีชา
เอี่ยมสุวรรณ และเครือข่ายได้ช่วยทาให้ อโศกเป็ นทีร่ ู้จกั ในสังคม ในงานวันมหาปวารณา ส.ศิวรักษ์ นักวิพากษ์
สังคมไทยได้สะท้อนทัศนะถึงชาวอโศก

“ขออนุ โมทนาทีส่ มณะโพธิรกั ษ์บวชได้ 45 พรรษา เท่ากับพระศาสดาทรงเผยแผ่ธรรม ผม


ว่านี้เป็ นช่วงเวลาทีส่ าคัญและสมณะโพธิรกั ษ์ และสมณะโพธิรกั ษ์กไ็ ด้ทางานแหวกแนวที่
คณะสงฆ์หรือสถาบันสงฆ์ทาไม่ได้ การที่เขาไม่รบั สงฆ์ฝ่ายนี้ไว้กบั คณะสงฆ์ส่วนใหญ่นนั ้
ผมว่าสมควรแล้ว เพราะคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ลม้ เหลวจนเกือบจะกูส้ ภาพไม่ไหวแล้ว ตราบใด
ที่ยงั มีมหาเถรสมาคมยังมีอานาจเบ็ดเสร็จอยู่ มหาเถรสมาคมไม่ได้เบิง่ ตาดูเลยว่า สังคม

388
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง เพราะงัน้ การที่คณะสันติอโศกแยกออกมา ผมถือว่าเป็ นนิมติ


หมายที่ดี ได้ทาอะไรต่ออะไรได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะได้ทางานต่อต้านทุนนิยมด้วยบุญ
นิยม ต่อต้านบริโภคนิยมโดยให้ใช้สนั ตุษฐีสนั โดษเป็ นตัวหลัก แล้วก็สงิ่ ต่างๆ ทีไ่ ร้มลพิษ ”
ที่ผ่านมามีงานที่ศกึ ษาการตีความหลักการพระพุทธศาสนาใหม่ ใน “พุทธทาสภิกขุ พระพุทธศาสนา
นิกายเถรวาทและการปฏิรปู เชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย” ปี เตอร์ แจ็กสัน (Peter A. Jackson) นักมานุษยวิทยา
แห่งเอเอ็นยูช้วี ่า การตีความคาสอนในพระพุทธศาสนาของพุทธทาสที่เกิดขึน้ ในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจปลาย
ทศวรรษ 2530 ไม่ได้จากัดอยู่แค่เพียงตีความหลักคาสอนเรื่องการหลุดพ้นในพุทธศาสนาใหม่ และไม่ได้หยุดแค่
เพียงการวางรากฐานพุทธศาสนาทีใ่ หม่ทส่ี ่งเสริมให้ชาวพุทธเข้าไปเกีย่ วข้องกับเรื่องทางโลกและสังคม (Jackson
2003) การบรรลุนิพพานไปจาเป็ นต้องปลีกตัวออกจากสังคม นอกจากนัน้ การมองศาสนาว่าเป็ นเรื่องของโลกนี้
(worldly-activism) ส่งผลให้เกิดการปฏิรปู ขบวนการทางศาสนาทีส่ ง่ ผลอย่างมีนยั สาคัญต่ออุดมการณ์ซง่ึ ไปท้าทาย
ระบบคุณค่าความเชื่อเดิมทีด่ ารงอยู่ในสังคม (Bellah 1965, 223)
แน่ นอนว่าไม่มจี ริยธรรมทางเศรษฐกิจใดที่ถูกกาหนดจากฐานคิดทางศาสนาเพียงอย่า งเดียว แต่อย่าง
น้ อยศาสนาได้ให้แนวทางการใช้ชีวิตและเป็ นแรงกระตุ้นภายใน (inner) ที่ส่งผลต่ อความมังคั ่ งทางเศรษฐกิ
่ จ
สาหรับชาวอโศก เงื่อนไขจาเป็ นสาหรับการเข้ามาเป็ นสมาชิกชุมชนคือการเสียสละกาลังแรงงาน “กินน้อย ใช้น้อย
ทางานมาก” เป็ นวิธีฝึกฝนปฏิบตั ิธรรมตามหลักมรรคมีองค์ 8 ของชาวอโศก ชาวอโศกจะฝึ กฝนทาสมาธิขณะ
ทางานหรือทาสมาธิแบบลืมตาเพื่อตรวจสอบผัสสะในระหว่างทางานเพราะเชื่อว่าเป็ นหนทางลดกิเลส สาหรับชาว
อโศกการทางานเท่ากับการปฏิบตั ิธรรมซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิต ทางเศรษฐกิจ (productivity) ผู้เขียนต้องการ
ชี้ให้เห็นว่า การกิน การอยู่ ทางาน หรือการใช้ชีวิต “อย่างมีวินัย ” ที่ชาวอโศกยึดถือนี้กลับเป็ นจริยธรรมทาง
เศรษฐกิจแบบหนึ่งทีร่ ะบบทุนนิยมเรียกร้องและปรารถนา แม้ว่าความมังคั ่ งไม่
่ ได้เกิดขึน้ ในระดับปั จเจก แต่ความ
มังคั
่ งเกิ
่ ดขึน้ ในระดับชุมชน รูปธรรมในแง่หนึ่งคือการทีช่ ุมชนสามารถนาเงินมาซือ้ ทีด่ นิ และขยายพืน้ ทีเ่ พื่อรองรับ
การเป็ น “เมืองราชธานี” หรือชุมชนศูนย์กลางของชาวอโศก

เอกสำรอ้ำงอิง
ภาษาไทย
คณะทางานปกาสนียกรรม. 2532. ประมวลเอกสาร กรณีสนั ติอโศก. กรุงเทพฯ: คณะทางานปกาสนียกรรม.
มอร์, ทอมัส. 2526. ยูโทเปี ย. แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สมบัติ จันทรวงศ์. 2531. ชุมชนปฐมอโศก: การศึกษาพุทธยูโทเปี ย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มลู นิธธิ รรมสันติ.
ภาษาอังกฤษ
Abrams, Philip and Andrew McCulloch. 1976. Communes, sociology, and society. Cambridge: Cambridge
University Press.
Bellah, R.N. 1962. “Reflections on the Protestant Ethic Analogy in Asia.” In Beyond Belief: Essays on
Religion in a Post-Traditional World, pp. 53-63. New York: Harper & Row.
. 1965. “Epilogue: Religion and Progress in Modern Asia.” In Religion and Progress in Modern Asia,
edited by R.N. Bellah. New York: Free Press. Pp. 168–299.
Geertz, Clifford. 1973. Interpretation of cultures. New York: Basic Books.

389
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

Jackson, Peter A. 2003. Buddhadâsa: Theravada Buddhism and Modernist Reform in Thailand. Chiang
Mai: Silkworm Books.
Keyes, C. F. 1973. “The Power of Merit.” in Visakha Puja B.E. 2516, pp. 95-102. Bangkok: Buddhist
Association of Thailand.
. 1982. “Merit-Transference in the Karmic Theory of Popular Theravada Buddhism.” In Karma: An
Anthropological Inquiry, edited by Charles F. Keyes and E. Valentine Daniel. pp. 261-86.
Berkeley: University of California Press.
. 1983. “Economic Action and Buddhist Morality in a Thai Village.” The Journal of Asian Studies 42
(4), 851–868. doi: 10.2307/2054768
. 1990. “Ethical Discourse and Economic Action in a Buddhist Community.” The paper was
subsequently revised and considerably shortened and published under the title of “Buddhist
Practical Morality in a Changing Agrarian World: A Case from Northeastern Thailand.” in Ethics,
Wealth and Salvation, edited by Russell Sizemore and Donald K. Swearer, pp. 170-189.
Columbia, S.C.: University of South Carolina Press.
Pfanner, D. E., & Ingersoll, J. 1962. “Theravada Buddhism and Village Economic Behavior: A Burmese
and Thai Comparison.” The Journal of Asian Studies 21 (3), 341–361. doi: 10.2307/2050678
Plath, D. W. 1966. “The Fate of Utopia: Adaptive Tactics in Four Japanese Groups.” American
Anthropologist 68 (5), 1152–1162. doi: 10.1525/aa.1966.68.5.02a00030
Spiro, M. E. 1966. “Buddhism and Economic Action in Burma.” American Anthropologist 68 (5), new
series, 1163-1173.
. 2004. “Utopia and Its Discontents: The Kibbutz and Its Historical Vicissitudes.” American
Anthropologist 106 (3), 556–568. doi: 10.1525/aa.2004.106.3.556
Weber M. 1967 [1930]. The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism. Translated by T. Parsons.
Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

390
เอกสารประกอบการประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

D1-P1-R1-02

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับการต่อรอง
ภาพตัวแทนความเป็ นจริงของชุมชน

เบญจวรรณ นาราสัจจ์
ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สงั คมลุม่ น้าโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

391
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

พิพิธภัณฑ์เพื่อกำรศึกษำวัดหนังรำชวรวิหำร
พิพธิ ภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร ตัง้ อยู่เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เป็ นหนึ่งในพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่
ทีม่ กั ได้รบั คัดเลือกให้นาเสนอเรื่องราวแง่มุมต่างๆ ในฐานะตัวอย่างหนึ่งของพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ทีม่ ปี ระสบการณ์
การดาเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในหนังสือ “คนทาพิพธิ ภัณฑ์” จัดพิมพ์โดยศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ ธร
(องค์การมหาชน) หน่ วยงานที่ทางานสนับสนุ นพิพธิ ภัณฑ์ท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่องตัง้ แต่ปี พ.ศ.2546 (ชีวสิทธิ ์
บุณยเกียรติ, 2557, 27) ซึง่ คัดเลือกพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ จานวน 10 แห่งมานาเสนอจากทีม่ อี ยู่ถงึ 300-400 แห่งใน
ปั จจุบนั ในฐานะกลุ่มตัวอย่างทีม่ สี สี นั อย่างยิง่ (ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล , 2557, 13) และพิพธิ ภัณฑ์วดั หนัง
เป็ น 1 ใน 10 แห่งดังกล่าว และหนังสือ “พิ(ศ)พิธภัณฑ์ Museum refocused” จัดพิมพ์โดยสถาบันพิพธิ ภัณฑ์การ
เรียนรูแ้ ห่งชาติ หน่ วยงานทีม่ พี นั ธกิจในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพธิ ภัณฑ์ของประเทศ และสนับสนุ น
การพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์ ซึง่ ได้สารวจประเด็นเจาะจงมานาเสนอความคิดและแนวทางการทางานของผูป้ ฏิบตั งิ านด้าน
พิพธิ ภัณฑ์ 9 เรื่อง เพื่อแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ดา้ นพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยา (ราเมศ พรหมเย็น , 2558, 4) อัน
ประกอบด้วยพิพธิ ภัณฑ์หลากหลายแบบ และพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังเป็ น 1 ใน 9 แห่งดังกล่าว
ความโดดเด่นอย่างหนึ่งของพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ ในแง่แนวทางการจัดพิพธิ ภัณฑ์ตามแนวเดิมกับพิพธิ ภัณฑ์
แนวใหม่ และ คือ ในขณะที่เป็ นพิพธิ ภัณฑ์วดั ซึ่งมักมีความหมายถึงพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ดั ตัง้ และดาเนินการโดยกลุ่ม
พระในวัดและชาวบ้านรอบวัด ผู้รบั ผิดชอบหลักคือพระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์สุภาทโร กลับมีอานาจตัดสินใจอย่าง
ค่อนข้างเด็ดขาดต่ อการจัดการในพิพธิ ภัณฑ์จนสามารถออกปากว่า “เหมือนเป็ นพิพธิ ภัณฑ์ส่วนตัว ” (สังฆรักษ์
ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 25 ธ.ค.52) และได้รบั การนาเสนอว่าพิพธิ ภัณฑ์น้เี ป็ นดัง่ “งานอดิเรกของพระรูปหนึ่ง”
(ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจติ ร, บก., 2548, 156) ในอีกด้านหนึ่ง ขณะทีม่ ุ่งนาเสนอเรื่องราวของชุมชนวัดหนังผ่าน
การเล่าถึงวิถีชวี ติ ชาวสวนด้วยการจัดแสดงสภาพจาลองร่องสวน เรือน ครัว เตาตาล ฯลฯ ทาให้ผู้ชม “อิน” กับ
สาระในบรรยากาศสมจริงดังกล่าว อีกส่วนของพิพธิ ภัณฑ์กลับเน้นเรื่องราวของพระวัดหนัง โดยเฉพาะหลวงปู่
เอีย่ ม ด้วยการจัดแสดงแบบอนุ สรณ์สถาน (วางรูปจาลองเท่าตัวจริงให้สกั การะ) และห้องสมบัติ (จัดเรียงวัตถุตาม
หมวดหมู่ในตู้กระจกหรือชัน้ วาง) ทัง้ ยังมีสาระบางประเด็นทีผ่ ู้รบั ผิดชอบหลักให้ความสาคัญแต่กลับนาเสนอได้
จากัด ได้แก่ การเคยเป็ นจังหวัดธนบุรมี าก่อนของฝั ง่ ธน ทีจ่ ดั แสดงด้วยป้ ายชื่อเดิมของวัดเพียงอย่างเดียว ขณะที่
ได้ข ยายสาระบางประเด็น ที่เ คยมองข้า มมาก่ อ นให้ช ัด เจนขึ้น ท าให้ก ารจัด แสดงที่ดูเ หมือ นนิ่ ง สนิ ท มีก าร
ปรับเปลีย่ นทีละเล็กทีละน้อย กล่าวได้ยากว่าเป็ นพิพธิ ภัณฑ์ท่ี “มีชวี ติ ” หรือหยุดนิ่งกันแน่
จากความมุ่งหมายของกลุ่มผู้รบั ผิดชอบทีจ่ ะได้รบั การยอมรับในฐานะพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ บนพื้นฐาน
ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิมกับพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ดงั จะนาเสนอในหัวข้อต่อไป แต่กลับ
ไม่อาจดาเนินการเลือกแนวทางทีเ่ ด่นชัดได้ทงั ้ ทีม่ ไิ ด้มขี อ้ จากัดด้านงบประมาณหรืออุปสรรคด้านการบริหารจัดการ
ทาให้ผวู้ จิ ยั ตัง้ คาถามว่า เหตุใดการจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์วดั หนัง จึงมีลกั ษณะย้อนแย้งในตัวเองดังกล่าว และหวัง
ว่าการนาเสนอครัง้ นี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อกระบวนการตัดสินใจของภัณฑารักษ์ในการคัดสรรเรื่องเล่าทีจ่ ดั
แสดงในพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ไทยได้บา้ ง จากทีเ่ คยมีงานศึกษาจานวนหนึ่งนาเสนอให้เห็นผลของการคัดสรรเรื่องเล่า
ในพิพธิ ภัณฑ์มาก่อน ในลักษณะของการเมืองวัฒนธรรม หรือการช่วงชิงความหมายระหว่างพิพธิ ภัณฑ์หลายแห่ง
(เช่น อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล, 2553 ; ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, 2556 เป็ นต้น) แต่ยงั มิได้มุ่งเน้นทาความเข้าใจใน
ประเด็นดังกล่าว

392
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

คาตอบทีต่ อ้ งการนาเสนอในทีน่ ้เี ป็ นผลจากการวิจยั เชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา ระหว่างเดือนธันวาคม


2552-มีนาคม 2553 ด้วยการเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ดว้ ยตนเองโดยมีพระครูสงั ฆรักษ์เป็ นผูน้ าชม, สัมภาษณ์เชิง
ลึกพระครูสงั ฆรักษ์และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องต่ างๆ รวมถึงการสังเกตการณ์ อย่ างมีส่ว นร่วมในกิจกรรมต่ างๆ ของ
พิพธิ ภัณฑ์ เช่น การเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์ของคณะนักเรียนนักศึกษาหรือคณะบุคคลทีน่ ่ าสนใจ และการจัดงานราลึก
อดีต “เล่ า ขานต านานวัด หนัง ” วัน ที่ 4-7 มีน าคม 2553 เป็ น ต้น จากนัน้ ได้ติด ตามการจัด แสดงในเทศกาล
พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ครัง้ ที่ 2 ของศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ ธร (ศมส.) วันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2553 และ
กลับไปเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอีกครัง้ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 รวมถึงการศึกษาเอกสาร
เกี่ยวกับประวัติความเป็ นมาและการดาเนินการต่างๆ ของพิพธิ ภัณฑ์ ข้อมูลวัดหนังและชุมชนโดยรอบ รวมถึง
ข้อมูลเกีย่ วกับชาวฝั ง่ ธนในแง่สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และอารมณ์ความรูส้ กึ ทีเ่ กีย่ วเนื่องกับกรุงเทพฯ (ฝั ง่
พระนคร) เพื่อเป็ นพื้นฐานความเข้าใจสิง่ ที่ปรากฏหรือหายไปในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนัง ตลอดจน
ติดตามข้อมูลข่าวสารเกีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ เพื่อประกอบการพิจารณาข้อมูลข่าวสารของพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังที่
ถูกนาเสนอ โดยเชื่อมโยงกับบริบทด้านพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ไทย ดังนี้

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไทย
พิพธิ ภัณฑ์ เป็ นองค์กรทางวัฒนธรรมแบบใหม่ทค่ี ่อยๆ ก่อตัวขึน้ ในสังคมไทย เมื่อราว 150 ปี ทผ่ี ่านมา
อันเป็ นช่วงทีก่ ารจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์กาลังแพร่หลายในประเทศยุโรปตะวันตกและอเมริกา ในฐานะแหล่งรวบรวมวัตถุ
จากทีต่ ่างๆ นามาจัดแสดงอย่างเป็ นระบบระเบียบในลักษณะให้การศึกษาเพื่อสถาปนาความรู้ และตอกย้าความ
สูงส่งกว่าของประเทศจักรวรรดิทงั ้ หลาย (ธงชัย วินิจจะกูล , 2546, 34) เริ่มจากการจัดตัง้ “พระที่นัง่ ประพาส
พิพธิ ภัณฑ์” เป็ นห้องจัดแสดงวัตถุสะสมส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ 4 ใน
พ.ศ.2394 ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ 5 มีการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑสถาน
สาหรับประชาชน ซึง่ ต่อมากลายเป็ นพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากรอันมีความสืบเนื่อง
และขยายจานวนเพิม่ ขึน้ เรื่อยจนมี 44 แห่งในปั จจุบนั (สมลักษณ์ เจริญพจน์ , 2541, 58) ทัง้ ยังได้ขยายแนวทาง
ปฏิบตั ิการนี้ลงสู่ผู้คนในท้องถิน่ ด้วยทัง้ ที่เป็ นการสนับสนุ นโดยตรงให้จดั ตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ว ั ดเพื่อเป็ นแหล่งรวบรวม
วัตถุสาคัญจากท้องถิน่ เข้าสู่สว่ นกลาง และ/หรือจัดแสดงไว้ในท้องถิน่ (ต่อจรัส พงษ์สาลี, 2547, 10 ; กรมศิลปากร
กองพิพธิ ภัณฑสถาน 2532, 132) และการสนับสนุ นโดยอ้อม เช่น ไม่มกี ฎข้อห้ามหรือระเบียบควบคุมกากับการ
จัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ในทีต่ ่างๆ มีการจัดอบรมให้พระใส่ใจศิลปวัฒนธรรม ซึง่ เป็ นฐานของการดาเนินกิจกรรมอนุ รกั ษ์
อันมีการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์เป็ นรูปแบบหนึ่ง เป็ นต้น ทาให้คนท้องถิน่ มีความคุน้ เคยกับพิพธิ ภัณฑ์ ในฐานะองค์กร
ทางวัฒนธรรม และยึดถือว่าพิพธิ ภัณฑ์เป็ น “แหล่งความรู้” ทีน่ ่ าเชื่อถือจากการจัดแสดงวัตถุของแท้ทเ่ี ป็ นสิง่ ตก
ทอดจากอดีต
ขณะเดียวกัน คนไทยทัวไปคุ ่ ้นเคยกับ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ” ที่ปรากฏในที่ต่างๆ พอควร โดยเฉพาะ
พิพธิ ภัณฑ์วดั ซึง่ กลายเป็ นคาทีใ่ ช้เรียกพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ดั แสดงสิง่ ของสะสมของวัด แบบทีม่ ขี า้ วของสารพัดสารพัน
ตัง้ ไว้ใ ห้ดู โดยไม่ ไ ด้เ น้ น ว่ า เป็ น พิพิธ ภัณ ฑ์ท่ีจ ัด แสดงข้า วของหรือ เรื่อ งราวใดเป็ น การเฉพาะเจาะจง “มิไ ด้
หมายความเพียง พิพธิ ภัณฑ์ทตี ่ งั ้ อยู่ในวัดเท่านัน้ แต่มนี ัยหมายถึงลักษณะของพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ แบบหนึง่ วัตถุ
สิง่ ของในพิพิธ ภัณ ฑ์ว ัด ไม่ เ พีย งแสดงออกถึง ลัก ษณะทางสัง คมวัฒ นธรรมของท้อ งถิน่ นั น้ ๆ ยัง บ่ ง บอกถึง
ความสัมพันธ์ทมี ่ กี บั ถิน่ อืน่ และสิง่ อืน่ อีกมากมาย” (ศิรพิ ร ศรีสนิ ธุอ์ ุไร, 2551, 19) หรือในทีน่ ้ขี อเรียกว่าเป็ นการจัด
แสดงตามกระบวนทัศน์เดิม ซึง่ ถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ดา้ นลบจากกลุ่มนักวิชาการและผูส้ นใจทีต่ อ้ งการเห็นพิพธิ ภัณฑ์
จัดแสดงเรื่องราวของท้องถิ่นหรือชุมชนในลักษณะการเล่าเรื่องอย่างเป็ นระบบ สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ทอ้ งถิน่

393
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

อย่างชัดเจน (ศรีศกั ร วัลลิโภดม, 2551, 19-20) อันจะนาไปสู่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์


และเปิ ดพืน้ ทีใ่ ห้กบั ท้องถิน่ ในการสร้างความมีตวั ตนของตนเองทีแ่ ตกต่างไปจากภาพของประวัติศาสตร์วฒ ั นธรรม
ท้องถิน่ ฉบับทางการทีผ่ ลิตจากศูนย์กลาง (ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล , 2547, 35-36) หรือตอบโต้ต่อพลังการ
เปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบวิถีชวี ติ ของคนในท้องถิ่นควบคู่กบั กระแสการรื้อฟื้ นภูมปิ ั ญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม
ชุมชน ฯลฯ ในสังคมไทย (ศิรพิ ร ศรีสนิ ธุอ์ ุ ไร, 2551, 24-36) อันเรียกได้ว่าเป็ นกระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดแสดง
ในพิพธิ ภัณฑ์ ซึ่งมีตวั อย่างการจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์จานวนหนึ่งที่กลุ่มนักวิชาการเข้าร่วมดาเนินการจัดสร้าง
หรือให้คาแนะนาอย่างใกล้ชดิ เช่น พิพธิ ภัณฑ์วดั ม่วง พิพธิ ภัณฑ์ยส่ี าร พิพธิ ภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น เป็ นต้น
มีผตู้ งั ้ ข้อสังเกตว่า การเปลีย่ นแปลงแนวทางจัดพิพธิ ภัณฑ์หรือพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาแบบเดิม เป็ นพิพธิ ภัณฑ์
วิทยากระแสใหม่ (new museology) ทีเ่ กิดขึน้ ในต่างประเทศ มีการพัฒนาแนวทางและรูปแบบทีห่ ลากหลาย เช่น
พิพธิ ภัณฑ์แนวนิเวศ (ecomuseum) พิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาสังคม (socio museology) เป็ นต้น แต่พพิ ธิ ภัณฑ์ท้องถิ่น
ไทยจานวนหนึ่งทีด่ ูเหมือนเป็ นพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยากระแสใหม่ ยังไม่มคี ุณลักษณะสอดคล้องกับรูปแบบเหล่านัน้ นัก
(ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, 2557, 8-9) หรือกล่าวได้ว่าทิศทางของพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยากระแสใหม่ไทยยังไม่ลงตัว
มากพอทีจ่ ะจัดเป็ นรูปแบบต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ขณะทีม่ คี วามพยายามของคนทาพิพธิ ภัณฑ์หลายแห่งทีต่ อ้ งการ
หลีกพ้นไปจากกระบวนทัศน์ดงั ้ เดิมที่ยงั อาจนับว่าเป็ นกระแสหลักในสังคมไทย ซึ่งพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังได้รบั การ
จัดตัง้ ขึน้ ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเป็ นกรณี ตวั อย่างที่สะท้อนถึงความพยายามจัดวาง
ตาแหน่ งของตัวพิพธิ ภัณฑ์เองท่ามกลางความคาดหวังที่ไม่ลงรอยเดียวของกลุ่มผูเ้ กีย่ วข้องต่างๆ ดังจะนาเสนอ
ต่อไป

ควำมเป็นมำของพิพิธภัณฑ์วดั หนัง
พิพธิ ภัณฑ์วดั หนังจัดตัง้ ขึน้ เมื่อ พ.ศ.2543 ด้วยการริเริม่ ของพระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์สุภาทโร ซึง่ ได้รบั
มอบหมายให้ทาหน้าทีด่ แู ลข้าวของทีเ่ ป็ นมรดกตกทอดมาจากพระครูวบิ ลู ศีลวัตร (ช้วน ปาสาทิโก) อดีตหมอพระ
ในวัด, พระสุนทรศีลสมาจาร (ผล คุตฺตจิตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสองค์ท่ี 7 และพระภาวนาโกศลเถระ (เอีย่ ม สุวณฺณสโร)
อดีตเจ้าอาวาสองค์ท่ี 5 โดยมีสงิ่ สูงค่าที่หลวงปู่ เอี่ยมได้รบั พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
รัชกาลที่ 5 เช่น ลับแล ตาลปั ตรพัดยศ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็ นต้น กับของใช้ ในกิจวัตรประจาวัน อุปกรณ์-ตารา
เกีย่ วกับการรักษาด้วยยาแผนโบราณ และการผลิตวัตถุมงคล เป็ นจานวนมาก ทาให้พระครูสงั ฆรักษ์เกิดแนวคิดว่า
จะจัดเป็ นอาคารอนุ สรณ์ของหลวงปู่ ผล ผู้เคยเป็ น “หมอพระ” ที่ใช้กุฏหิ ลังนี้เป็ นสถานที่รกั ษาผู้คนด้วยยาแผน
โบราณ ทัง้ ยังมีความเชีย่ วชาญทางด้านวิปัสสนาธุระตามรอยหลวงปู่ เอี่ยม พระเกจิผสู้ ร้างวัตถุมงคลที่มชี ่อื เสียง
อย่างพระปิ ดตา ซึ่งได้รบั ยกย่องเป็ นหนึ่งในห้าเบญจภาคี หรือวัตถุมงคลสูงค่าทีส่ ุดในวงการพระเครื่องปั จจุบนั
โดยทัง้ ยาแผนโบราณและวัตถุมงคลดังกล่าวได้สบื ทอดต่อยังหลวงปู่ ช้วน ในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ องวัดหนังจึง
ได้เป็ นทีห่ ลบมาพักอาศัยของชาวบ้านจานวนหนึ่ง ภายหลังคนเหล่านี้ยา้ ยกลับบ้านได้เหลือข้าวของเครื่องใช้แบบ
ฆราวาสไว้ดว้ ย
หลังจากได้รบั อนุญาตจากพระธรรมศีลาจารย์ (สุกรี) เจ้าอาวาสวัดหนังในขณะนัน้ ให้จดั ตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ได้
แต่มเี งื่อนไขสาคัญคือต้องระวังรักษามิให้ขา้ วของทีจ่ ดั แสดงสูญหาย ไม่เช่นนัน้ ต้องปิ ดพิพธิ ภัณฑ์ พระครูสงั ฆรักษ์
ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการออกแบบอาคารพิพธิ ภัณฑ์ท่ดี ดั แปลงจากหมู่กุฏิ 3 หลังที่ต่อเชื่อมกัน(กุฎิเดิมของ
หลวงปู่ ชว้ นและกุฏขิ องพระครูสงั ฆรักษ์เอง) และออกแบบการจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์เป็ นสองส่วนหลัก (1) ส่วนจัด
แสดงการราลึกถึงอดีตพระเกจิของวัดหนังตามความตัง้ ใจแต่แรก เป็ นการจัดแสดงแบบอนุสรณ์สถาน ด้วยการตัง้

394
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

รูปปั ้นหลวงปู่ เอีย่ มในท่านัง่ สมาธิตามภาพถ่ายเก่าทีต่ กทอดมา พร้อมจัดวางข้าวของเครื่องใช้รอบหุ่นแบบสมจริง


ให้ผคู้ นเข้ามากราบไหว้ ขณะทีส่ งิ่ สูงค่าพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 กับข้าวของเครื่องใช้ภายในวัด เช่น ตาลปั ตร
บาตร ใบลาน ธรรมมาส ฯลฯ และวัตถุมงคลจาลองพร้อมอุปกรณ์หล่อ ถูกจัดแสดงตามหมวดหมู่บนชัน้ วางหรือใส่
ในตู้กระจก กับ (2) ส่วนจัดแสดงเรื่องราวใกล้ตวั ทีเ่ ป็ นจุดเด่นของท้องถิน่ ตามแนวทางพิพธิ ภัณฑ์กระบวนทัศน์
ใหม่ โดยเลือกจัดแสดงวิถชี วี ติ ชาวสวน ด้วยเห็นว่ายังไม่มพี พิ ธิ ภัณฑ์ไหนจัดแสดงได้ดมี าก่อน ประกอบกับตัวพระ
ครูสงั ฆรักษ์เกิดในครอบครัวชาวสวนลิน้ จีเ่ ขตจอมทอง ธนบุรี ทันใช้ทนั เห็นและใช้ของต่างๆ ในการทาสวนแบบยก
ร่องทีม่ อี ยู่ในเขตพืน้ ทีร่ อบวัดหนัง(ปลูกหมาก มะพร้าว ส้มโอ กล้วย และผลไม้อ่นื ) แต่ปัจจุบนั เหลือเพียงน้อยนิด
จึงต้องการให้ผชู้ มพิพธิ ภัณฑ์ได้เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชาวสวน(ทีท่ าสวนแบบยกร่อง)ในอดีต ในฐานะเป็ นประวัตศิ าสตร์/วิถี
ชีวติ พืน้ ถิน่ โดยจัดแสดงสภาพจาลองร่องสวน(ด้วยภาพถ่ายขนาดใหญ่ ประกอบการจัดวางอุปกรณ์ทาสวน) เรือน
ทีม่ หี อ้ งนอนและครัว ร้านค้าของชา (ด้วยการสร้างฝาไม้และพืน้ ไม้ตามแบบเรือนในอดีต) เตาเคีย่ วตาล ฯลฯ จน
ได้บรรยากาศสมจริงขณะเดินชม
หลัง จากเริ่ม เปิ ด ให้เ ข้า ชมเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 โดยไม่ ป ระชาสัม พัน ธ์สู่ส าธารณชนเนื่ อ งจากเห็น ว่ า
พิพธิ ภัณฑ์ยงั ไม่มคี วามพร้อมเพียงพอ อาศัยเพียงการบอกกล่าวกับครูโรงเรียนวัด ทัง้ สามทีอ่ ยู่ใกล้เคียงเพื่อให้พา
นักเรียนมาศึกษา มีการสื่อสารในชุมชนจนเป็ นที่รบั รูก้ นั ว่ามีพพิ ธิ ภัณฑ์ในวัด และบอกเล่าต่อกันไป จนมีผสู้ นใจ
จากภายนอกชุมชนเริม่ เข้าชม และได้รบั คาชื่นชมจากผู้ชมทีเ่ ป็ นคนภายนอกชุมชน เช่น คุณธีรนันท์ ช่วงพิชติ
นักวิชาการอิสระ อาจารย์จุลภัศศร พนมวัน ณ อยุธยา นักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ฯลฯ ว่าจัดได้ดี
และแนะนา/พาคณะผูช้ มหลายกลุ่มมาชม ประกอบกับการประเมินจากพฤติกรรมเด็กนักเรียนทีค่ รูเคยพามาชม
แล้วกลับไปบอกพ่อแม่ให้พามาชมซ้าอีก หรือเด็กทีโ่ ตแล้วได้มาชมซ้าด้วยตนเอง ทาให้พระครูสงั ฆรักษ์เกิดความ
มันใจในการเป็
่ นทีย่ อมรับของพิพธิ ภัณฑ์ และเปิ ดตัวอย่างพิพธิ ภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังอย่างเป็ นทางการในปี
พ.ศ. 2547 จากนัน้ ได้มกี ารประชาสัมพันธ์ส่สู าธารณชนตามสื่อสาธารณะเรื่อยมา ทาให้ได้รบั การสนใจจากผู้คน
มากขึน้ เรื่อยๆ จนในปี พ.ศ. 2550 ด้วยการเสนอแนะของคุณขรรค์ชยั บุนนาค ประธานกรรมการบริษทั มติชน ผู้
เกิดในตระกูลเก่าแก่ทไ่ี ด้ทากิจกรรมทางศาสนากับวัดหนังเสมอมา ประจวบกับเจ้าอาวาสมีดาริปรับปรุงบริเวณ
คณะเหนือเพื่อความเป็ นระเบียบ จึงให้มกี ารบูรณะอาคารพิพธิ ภัณฑ์ดว้ ยงบของวัด 2.7 ล้านบาท
พิพธิ ภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังรูปโฉมใหม่เปิ ดบริการในเดือนมกราคม 2551 เป็ นอาคารสองชัน้ ชัน้ ล่าง
เป็ นปูน ชัน้ บนเป็ นเรือนไทยทาด้วยไม้ทาสีแดงเข้ม ขนาดประมาณ 16 x 17 เมตร ด้านหน้าประตูเป็ นลานกว้างปู
กระเบือ้ ง ดูสวยงาม ค่อนข้างหรูเมื่อเทียบกับพิพธิ ภัณฑ์ชาวบ้านหลายแห่ง และมีความเป็ นสัดส่วนเป็ นเอกเทศ ไม่
มีกิจกรรมอื่นของวัดมาปะปน การจัดแสดงยังประกอบด้วยสาระสองส่วนหลักเช่นเดิม แต่ จดั แสดงในพื้นที่ท่ี
แบ่งเป็ นสัดส่วนชัดเจนขึน้ ดังจะนาเสนอในหัวข้อต่อไป

ภำพตัวแทนชุ มชนในพิพธิ ภัณฑ์วดั หนัง


พิพธิ ภัณฑ์ตามกระบวนทัศน์ใหม่ทเ่ี น้นการ “เล่าเรื่อง” อย่างเป็ นระบบผ่านการจัดแสดงตามเค้าโครงและ
รายละเอียดโดยใช้สอ่ื หลากหลายชนิด เช่น ป้ ายคาบรรยาย วัตถุจาลอง การสาธิต ฯลฯ (มิได้เน้นวัตถุของแท้อย่าง
พิพธิ ภัณฑ์ตามกระบวนทัศน์เดิม) ทาให้ผชู้ มทุกคนมีแนวโน้มรับรูเ้ นื้อหาทีจ่ ดั แสดงตรงตามเจตนาของกลุ่มผู้จดั
นับเป็ นการประกอบสร้าง “ภาพตัวแทน” ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ต้องการนาเสนอสู่สาธารณะอย่าง
ชัดเจน และมักสร้างการยอมรับจากสาธารณชนว่าภาพตัวแทนนัน้ คือความจริงเกีย่ วกับกลุ่มคนทีถ่ ูกจัดแสดงนัน้
ด้วย

395
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ภาพตัวแทน ในทีน่ ้ี หมายถึง องค์รวมของความหมายทีถ่ ูกนาเสนอว่าเป็ นความจริงเกีย่ วกับกลุ่มคนทีถ่ ูก


จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ ทัง้ นี้ ภาพตัวแทนของกลุ่มคนแต่ละกลุ่มอาจมีได้มากกว่าหนึ่งภาพในการนาเสนอหรือตาม
การรับรู้ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม ทว่า พิพธิ ภัณฑ์แต่ละแห่งอาจเลือกนาเสนอหรือรับรูเ้ ฉพาะบางภาพเป็ น
ภาพตัวแทนหลักตามมุมมองและเงื่อนไขเฉพาะกลุ่ม/สถานการณ์ ในการศึกษาการประกอบสร้างภาพตัวแทน
ชุมชน/กลุ่มคนของพิพธิ ภัณฑ์แต่ละแห่งมักมุ่งค้นหาความหมายหลักและความหมายโดยนัยทีถ่ ูกสร้างขึน้ และผลิต
ซ้า ผ่านการจัดแสดงอย่างต่อเนื่องในพิพธิ ภัณฑ์ (นิษฐา หรุ่นเกษม, 2549 ; อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล, 2553 ; ชีวสิทธิ ์
บุณยเกียรติ, 2556)
จากการเข้าชมของผู้วจิ ยั เอง และการสังเกต-สัมภาษณ์ การรับรู้ของผู้เข้าชมจานวนหนึ่งในช่วงเดือน
ธันวาคม 2552 – มีนาคม 2553 และเดือนพฤศจิกายน 2558 สรุปได้ว่า ภาพตัวแทนชุมชนวัดหนังทีถ่ ูกนาเสนอ
ผ่านพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้มี 2 ภาพหลัก ได้แก่ (1) พืน้ ทีช่ นั ้ ล่างนาเสนอภาพชุมชนรอบวัดหนัง(เขตจอมทอง) ทีม่ ีการ
ตัง้ ถิน่ ฐานมายาวนานตัง้ แต่สมัยอยุธยา และเฟื่ องฟูรุ่งเรืองขึน้ เห็นได้จากการสถาปนาวัดหลวงในรัชกาลที่ 3 โดย
ผู้ค นมีวิถีชีวิต การท าสวนยกร่ อ ง ปลู ก ไม้ผ ลนานาชนิ ด ส่ ง ขายตลาดในธนบุ รีแ ละที่อ่ืน ๆ มีค วามเป็ น อยู่
เช่ น เดีย วกับชาวไทยภาคกลางทัวไป ่ และมีก ารติด ต่ อ กับ ภายนอกทัง้ ด้านการค้า ขายผลไม้ การซื้อ ข้าวของ
เครื่องใช้จากนอกชุมชน และการคมนาคมทางเรือ อันเป็ นสภาพก่อนทีค่ วามเสื่อมโทรมของพืน้ ทีอ่ นั อุดมสมบูรณ์
จะค่อยๆ ปรากฏ และความเป็ นชุมชนค่อยๆ สลายลงจากการย้ายเข้ามาอยู่ของคนภายนอกจานวนมากและการ
เปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ ของคนในชุมชน ทีม่ อี าชีพการงานอยู่ภายนอกชุมชน (2) พืน้ ทีช่ นั ้ บน นาเสนอภาพวัดหนังใน
ความสัมพันธ์กบั ผูค้ นในชุมชนใกล้เคียงทีพ่ ระเป็ นผูใ้ ห้การรักษาและให้ความรู้ วัดเป็ นศูนย์กลางความศรัทธาความ
เชื่อของชุมชน พร้อมการแสดงสถานะของหลวงปู่ เอีย่ มด้วยตานานทีเ่ ชื่อมโยงกับรัชกาลที่ 5 ตามความเชื่อถือของ
คนในชุมชนทีเ่ ล่าสืบต่อกันมา
ณ จุดรวมสายตาของคนทีเ่ ดินขึน้ บันไดถึงชัน้ สอง มีการจัดแสดงป้ ายเก่า ชื่อวัดหนังระบุว่า “วัดหนัง ต.
บางค้อ อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุร”ี (8c) ซึง่ ผูน้ าชมมักเล่าว่านี่เป็ นชิน้ เด่นชิน้ หนึ่งของพิพธิ ภัณฑ์น้ี สมเด็จพระเทพฯ
เคยทอดพระเนตรป้ ายนี้แล้วรับสังว่ ่ าให้รกั ษาไว้ให้ดี เพราะคนปั จจุบนั ไม่ค่อยรูว้ ่าเคยมีจงั หวัดธนบุรี (สังฆรักษ์
ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 10 ธ.ค.52) และมักอธิบายเพิม่ ว่าฝั ง่ ธนทีป่ ั จจุบนั เป็ นเพียงส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่
ไม่ค่อยเจริญนี้ ครัง้ หนึ่งเคยเป็ นเมืองหลวง และได้รบั ยกฐานะเป็ นจังหวัดธนบุรี อันเป็ นสิง่ น่าภาคภูมใิ จของท้องถิน่
กระนัน้ หลายครัง้ เมื่อผูช้ มทีม่ าเป็ นกลุ่มมัวมุ่งจัดตาแหน่ งเพื่อถ่ายภาพหมู่หน้าป้ ายนี้ กลับไม่ใส่ใจคาบรรยายเพิม่
นัน้ นัก

396
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

แผนผังแสดงส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนัง ชั้ นล่าง


N
บันไดขึ้นชัน้ บน
(5a)เครื่องปัน้ ดิน (1a) วัดหนัง ห้องสุขา
(3b) (3c)
เผา (5c) (3a) ครัว ในสมัย
(5b) โบราณ ระเบียง ห้องนอน ลาน
เครื่อง ที่ อยุธยาและ
ตะเกียง และ ด้าน
มือ อาบน้า ธนบุรี
หน้ า
ช่าง (3d) ครกตา
(1c) วัดหนังและชุมชนในอดีต
(7) เรือ ข้าว ประตู กุฎิ
(1b) วัดหนังใน
ทางเข้า พระ
สมัยรัชกาลที่ 3
ตูร้ บั บริจาค

(4) ร้านค้า (o) สมุดลง


(6)
โบราณ (2) ชาวสวนเขต นามเยี่ยมชม
(7) เรือ เตา ป้ ายชื่อ
จอมทอง ธนบุรี และภาพถ่าย
ตาล พิ พิธภัณฑ์
กิ จกรรม
สัญลักษณ์ในแผนผัง สาคัญ
ทางเข้าออกไปยัง
= ต้นเสาในบริ เวณที่ไม่มีฝาผนัง = ฝาผนัง = ส่วนจัดแสดงที่ไม่มีผนังกัน้ กับ
ส่วนอื่นของวัด
ส่วนอื่น

ที่มา: การเข้าชมของผู ้วิจัยวันที่ 10 ธันวาคม 2552

แผนผังแสดงส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนัง ชั้ นบน


N
บันไดลงชัน้ ล่าง
(8a) (10b)
(10a) (12b) หลวงปู่ ฉัตร
ประวัติ (10c) หนังสือเก่า
ตู้พระ (12a) หลวงปู่ (12c) หลวงปู่ ผล
สิ่ งก่อสร้าง เครื่อง
ไตรปิ ฏก เอี่ยม
และบุคคล เขียน (12d) หลวงปู่ ช้วน
สาคัญของ และ
อุปกรณ์ (10d) (11a) พระพุทธรูป (11f) (11e)
(8b) วัดหนัง
การ เครื่อง อัฎฐ
ภาพเก่า สมุดข่อย
เรียน อุปกรณ์สกั ทองเหลือง บริ ขาร
เล่า และ
ยันต์(11b)
กิ จกรรม คัมภีร์

(11c) ของมีค่า (เงิ นตรา


(11d)
(9) ยาแผนโบราณ พระเครื่อง เครื่องลาย
ตาลปัตร
คราม เครื่องแก้ว)
(8c) ป้ ายเก่าวัดหนัง พัดยศ

ที่มา: การเข้าชมของผู ้วิจัยวันที่ 10 ธันวาคม 2552

397
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

แม้ว่าอาจสรุปความเชื่อมโยงของภาพตัวแทนทัง้ สองว่าเป็ นวิถชี วี ติ ของผูค้ นชุม ชนวัดหนังในอดีตราว 40-


80 ปี ทผ่ี ่านมา ซึง่ ผูค้ นทาสวนผลไม้ผสมผสานด้วยเทคนิคยกร่องทีส่ อดคล้องกับความอุดมสมบูรณ์ของสภาพนิเวศ
อันเป็ นเอกลักษณ์1ของฝั ง่ ธน มีวดั หนังเป็ นศูนย์กลางความศรัทธาและภูมปิ ั ญญาด้านการศึกษาและการแพทย์ของ
ชุมชน และวัดหนังมีช่วงรุ่งเรืองทีส่ ุดในสมัยรัชกาลที่ ทว่าปฏิกริ ยิ าจากผูช้ ม นักวิชาการและสื่อ 5 และรัชกาลที่ 3
สาธารณะจานวนหนึ่งสะท้อนชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่เลือกให้ความสาคัญหรือชื่นชมต่อภาพตััวแทนหลักภาพ
เดียวมากกว่า บนพืน้ ฐานการให้คุณค่าต่อพิพธิ ภัณฑ์ตามกระบวนทัศน์เดิมหรือกระบวนทัศน์ใหม่ อันเป็ นเหตุ ให้
การจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้สะท้อนถึงกระบวนการต่อรองระหว่างกลุ่มผูม้ สี ่วนเกีย่ วข้อง ดังนาเสนอในหัวข้อ
ต่อไป

กระบวนกำรต่อรองเพื่อสร้ำงภำพตัวแทนชุ มชนและภำพตัวแทนพิพิธภัณฑ์
จากการสัมภาษณ์ความเป็ นมาของการออกแบบและปรับเปลีย่ นการจัดแสดงแต่ละส่วนรวมถึงการเลือก
จัดแสดงบางสาระในงานกิจกรรมนอกพิพธิ ภัณฑ์ ประมวลได้ว่า กลุ่มผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการกาหนดภาพตัวแทนที่
เกิดขึน้ ในพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ โดยมีอทิ ธิพลต่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกดาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของกลุ่มผู้
จัด ประกอบด้วย
1) กลุ่มผูจ้ ดั ได้แก่ ผูร้ บั ผิดชอบหลักคือพระครูสงั ฆรักษ์และผูช้ ่วยทีเ่ ป็ นพระสงฆ์และฆราวาสใกล้ชดิ เช่น
คุณวนิดา คุนาบุตร, คุณสุรศักดิ ์ อุดมหรรษากุล, คุณต้อ(ไม่ทราบนามสกุล) เป็ นต้น
2) ผูค้ นในชุมชนวัดหนัง หรือนับเป็ นกลุ่มคนเจ้าของเรื่องทีจ่ ดั แสดง ในทีน่ ้ีหมายถึง เจ้าอาวาสและพระ
ลูกวัดของวัดหนัง กับผูศ้ รัทธา ซึง่ เป็ นกลุ่มคนทีน่ ิยามตนเองเป็ น “คนวัดหนัง” เนื่องจากอาศัยอยู่ในพืน้ ทีใ่ กล้เคียง
และมีความผูกพันว่าวัดหนังเป็ นสมบัตกิ ลางของชุมชนทีต่ นเองมีสทิ ธิแสดงความเห็นหรือดาเนินการอย่างใดอย่าง
หนึ่งเพื่อเป็ นไปตามความคาดหวัง แม้บางส่วนอาจย้ายออกจากบ้า นเดิมไปอยู่ห่างไกลแล้วแต่ยงั คงรักษาสาย
สัมพันธ์เดิมไว้ ในจานวนนี้มบี างคนได้รบั การนับถือจากคณะผูจ้ ดั พิพธิ ภัณฑ์ พระในวัดและชาวบ้านทัวไป ่ ว่าเป็ น)
“ผูห้ ลักผูใ้ หญ่” ทีผ่ กู พันกับวัดหนังและมีอทิ ธิพลมากต่อการดาเนินกิจกรรมบางอย่างของวัดหนัง เช่น คุณขรรค์ชยั
บุนปานพันเอกคนึง ทองอู๋ เป็ นต้น ,พันตรีสวัสดิ ์ ทองอู๋ ,คุณอาวุธ เงินชูกลิน่ ,)
3) กลุ่มผูเ้ ข้าชม โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาและนักวิชาการทีก่ ลุ่มผูจ้ ดั เน้นว่าเป็ นกลุ่มเป้ าหมายหลัก
4) องค์กร(และบุคคล)ภายนอกทีม่ ภี ารกิจสนับสนุนพิพธิ ภัณฑ์หรือกิจกรรมทีเ่ ชื่อมโยงกับพิพธิ ภัณฑ์ เช่น
ศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ ธร กรุงเทพมหานครสานักงานเขตจอมทอง เป็ นต้น รวมถึงสื่อสาธารณะทีช่ ่วยเผยแพร่
เรื่องราวของพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ดว้ ย
กล่าวคือ แม้ในการบริหารจัดการพิพธิ ภัณฑ์น้ี พระครูสงั ฆรักษ์เป็ นผู้รบั ผิดชอบหลัก ในทุกรายละเอียด
งาน โดยกรรมการวัดวางบทบาทชัดเจนว่าไม่ยุ่งเกี่ยวในรายละเอียด เพียงรับรู้สงิ่ ที่เกิดขึน้ เท่านัน้ ทว่า พระ
ครูสงั ฆรักษ์ตระหนักชัดว่าต้องทาให้พพิ ธิ ภัณฑ์เป็ นทีย่ อมรับจากคนในชุมชนวัดหนังทัง้ พระและฆราวาส รวมถึง
คนภายนอกทัง้ กลุ่มผู้ชมและองค์กรภายนอกด้วย เพราะจะส่งผลต่อ “ชื่อเสียงของวัด” อันสะท้อนกลับมาถึงการ
ยอมรับ(หรือไม่)ของคนในชุมชนวัดหนังด้วย จึงปรากฏเป็ นการแสดงออกทีเ่ ห็นได้ชดั เจนคือความพยายามของ
คณะผู้จดั ในการตรวจสอบ “มาตรฐาน” ของพิพธิ ภัณฑ์น้ีในสายตาของผู้ชมและองค์กรสนับสนุ น/นักวิชาการอยู่

1 สุดารา สุฉายา ยืนยันว่า การปลูกผลไม้ในเขตจังหวัดอื่นๆ ไม่ยกร่อง เพราะการยกร่องเป็ นการใช้สภาพพืน้ ทีป่ ากแม่น้ าทีต่ อ้ งจัดการเปิ ดปิ ดร่องให้
สัมพันธ์กบั การขึน้ ลงของน้ าทะเลทีน่ าความอุดมสมบูรณ์มาให้ (บันทึกการเสวนาในงานเล่าขานตานานวัดหนัง วันที่ 4 มี.ค.53)

398
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

เสมอ และการบอกเล่าเรื่องราวของพิพธิ ภัณฑ์น้ีในลักษณะของการยืนยันว่าพิพธิ ภัณฑ์น้ีได้รบั การยอมรับจากทุก


ฝ่ ายที่เกี่ยวข้อง เป็ นต้น กระบวนการเลือกสรรสาระและแนวทางการจัดแสดงตัง้ แต่แรกเริม่ จนปั จจุบนั จึงอาจ
ประมวลเป็ นกระบวนการต่อรอง/ช่วงชิงความหมายของภาพตัวแทนทีน่ าเสนอผ่านพิพธิ ภัณฑ์ ดังนี้

1. ภำพตัวแทนพิพธิ ภัณฑ์
พิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึน้ ท่ามกลางกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทีม่ ที งั ้ ผู้ยดึ ถือและปฏิเสธพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม ขณะที่
พิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่มรี ปู แบบหลากหลายจนไม่มตี วั แบบใดทีเ่ ด่นทีส่ ดุ ให้ยดึ ถือ ผูจ้ ดั จึงอาศัยการประนีประนอมแนว
ทางการจัดพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิมและแนวใหม่เข้าด้วยกัน โดยอาศัยการเรียนรูไ้ ปในระหว่างกระบวนการดาเนินการ
อันมีจุดขัดแย้งสาคัญระหว่างสองแนว ดังนี้

1.1) คลังสมบัติ/อนุสรณ์สถาน VS แหล่งความรู ้ทอ้ งถิ่น


จากความคาดหวังตามกระบวนทัศน์เดิมของคณะผูจ้ ดั และผูค้ นในชุมชนวัดหนังให้พพิ ธิ ภัณฑ์วดั หนังเป็ น
แหล่งรวบรวมและจัดแสดงของมีค่าของวัด และ/หรือจัดแสดงข้าวของอนุ สรณ์เกีย่ วกับพระสงฆ์ทไ่ี ด้รบั แรงศรัทธา
จากญาติโยม โดยเห็นว่าพิพธิ ภัณฑ์แบบนี้เป็ นแหล่งความรูแ้ ละแสดงความเจริญก้าวหน้าของวัดและชุมชน ทัง้ ช่วย
เชิดหน้าชูตาในฐานะแหล่งความรู้และแหล่งท่องเทีย่ วทีผ่ ู้คนพากันมาชม เมื่อคณะผู้จดั ทานาเสนอแนวคิดจัดตัง้
พิพธิ ภัณฑ์น้เี ป็ นอนุสรณ์สถานหลวงปู่ เอีย่ มและอดีตเจ้าอาวาส จึงได้รบั การอนุญาตและเป็ นทีย่ อมรับโดยง่าย ไม่มี
การตัง้ คาถามหรือแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ว่าควรจัดในแบบใด 2 ส่วนคณะผู้จดั ได้เริ่มด้วยการพยายาม
ออกแบบตามลักษณะของพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม ดังคาบอกเล่าของหนึ่งในคณะผูจ้ ดั ว่า

ตอนเริม่ แรกยังไม่คดิ ทาพิพธิ ภัณฑ์ แค่เป็ นอนุสรณ์หลวงปู่ เอีย่ ม โดยจัดข้าวของใส่ตูไ้ ว้ ใคร


มากราบหลวงปู่ จะได้เห็นข้าวของของท่านเหมือนเวลาเราไปวัดตามต่างจังหวัด จะเห็นอัฎ
บริขารใส่ตามตู้ไว้ พอจัดๆ ไปก็รสู้ กึ ว่าทาเป็ นพิพธิ ภัณฑ์เลยดีกว่า เลยเริม่ แยกหมวดหมู่
เป็ น ของใช้พระสงฆ์, เหรียญ, ของใช้ในครัวเรือน พีส่ าเนา มาดูแล้วแนะนาว่าจัดเป็ นครัว
ไปเลย มีแม่เตาไฟและของใช้อ่นื ๆ ทีน้พี อคิดเรื่องพิพธิ ภัณฑ์ ก็มองหาตัวแบบว่าจะ copy
พิ พิธภัณฑ์ชาติ รูส้ กึ อยากมีอาวุธแบบเขา ง้าว หอก ก็ไปดูราคา แพงมาก อย่างง้าวอันละ
4-5 พันบาทสูไ้ ม่ไหว ต่อมาก็ได้แนวคิดว่าทาไมต้องไปเอาแบบเขา เราอยู่ตรงนี้เล่นถิน่ ของ
เราดีกว่า พระครูว่าถ้าเราทาเหมือนเขาก็จะดูเหมือนๆ เขา เช่น พระพุทธรูปเราก็มอี ยู่ แต่
จัดแล้วก็จะไม่มจี ุดเด่น สูจ้ ดั ให้เป็ นแบบของเราเองดีกว่า พระครูไปอ่ านหนังสือเจอว่าความ
พิเศษของธนบุรคี อื สวน ท่านก็เลยว่าเรามีของดีกต็ ้องดึงขึน้ มาชู เป็ นจุดขายของพิพธิ ภัณฑ์
ทีเ่ ป็ นเรื่องของท้องถิน่ แม้แต่ตบั จาก หญ้าคา ก็ตอ้ งดูว่าท้องถิน่ ตัวเองใช้อะไร (สุรศักดิ ์ อุดม
หรรษากุล, สัมภาษณ์ 28 ม.ค.53-เน้นโดยผูเ้ ขียน)
สะท้อนให้เห็นว่า คณะผู้จดั เริม่ จากกระบวนทัศน์เดิมและยึดถือพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติเป็ นต้นแบบ
ทว่า อิทธิพลทางความคิดจากสื่อสาธารณะทีน่ าเสนอแนวคิดใหม่ท่หี ลากหลายเกีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์ ประกอบกับ
บุคลิกของผูร้ บั ผิดชอบหลักทีม่ ุ่งสร้างผลงานทีด่ ที ส่ี ุดและต้องการได้รบั การยอมรับจากผู้ คนอื่นอย่างไม่มขี อ้ โต้แย้ง
เมื่อเห็นว่าไม่สามารถจัดแสดงตามตัวแบบพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติให้ได้ดกี ว่าพิพธิ ภัณฑ์ชุมชนที่มอี ยู่เดิม จึง

2เนื่องจากแนวคิดพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่เสนอแนวคิดเชิงวิพากษ์ตอ่ พิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม และสนับสนุ นให้มรี ปู แบบหลากหลายตามเป้ าหมายและเงือ่ นไขใน


การจัดทา หากมีผสู้ นใจสร้างพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ อย่างแรกทีต่ อ้ งตกลงร่วมกันคือรูปแบบและเป้ าหมายของพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ะเกิดขึน้

399
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

เปลีย่ นไปเลือกใช้แนวคิดทีแ่ ตกต่างจากเดิม ซึง่ ผูร้ บั ผิดชอบหลักเล่าถึงทีม่ าของแนวคิดดังกล่าวว่า มาจากการอ่าน


งานของ ศรีศกั ร วัลลิโภดม ทีว่ ่าพิพธิ ภัณฑ์ตอ้ งมีเอกลักษณ์ในการเล่าเรื่อง ของจัดแสดงต้องใช้ของทีเ่ คยผ่านการ
ใช้งานจริงจึงจะได้อารมณ์เวลาเห็น และนาเสนอแบบให้ผชู้ มได้สมั ผัส เนื้อหาอิงกับความรูเ้ ดิมในฐานะคนถิน่ นี้เคย
เห็นเคยใช้ขา้ วของเหล่านัน้ มาก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อลงมือจัดพิพธิ ภัณฑ์ไปแล้วด้วยการจาลองสภาพวิถชี าวสวน
ส่วนต่างๆ ต้องอาศัยรายละเอียดจากการค้นคว้าเพิม่ เติมเรื่อยๆ จากงานเขียนของ ส.พลายน้อย (ตัวแบบของ
ผู้ผลิตงานเกี่ยวกับอดีตที่ลกึ ซึง้ และรอบรู้อย่างจริงจังในภาษาชาวบ้านอ่านเข้าใจง่ายที่ผรู้ บั ผิดชอบหลักศรัทธา)
และ น.ณ.ปากน้ า ตลอดจน วารสารทีเ่ ห็นว่า “เชื่อถือได้” คือ เมืองโบราณ สารคดี และศิลปวัฒนธรรม (สังฆรักษ์
ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 25 ธ.ค.52) ซึง่ กล่าวได้ว่าเป็ นกลุ่มสื่อสาธารณะทีว่ พิ ากษ์ตวั แบบพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม
อย่างจริงจัง และต่อเนื่องหลายสิบปี โดยสนับสนุ นพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ ในแบบสะท้อนอัตลักษณ์ของคนท้องถิ่น
รวมถึงภูมปิ ั ญญาท้องถิน่ อันเป็ นจริตทีส่ อดคล้องกับกลุ่มผูจ้ ดั พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ จานวนหนึ่งทีต่ อ้ งการเชิดชูคุณค่า
ของมรดกท้องถิ่น จากที่เคยถูกมองข้ามจากคนส่วนใหญ่รวมถึงคนในชุมชนท้องถิ่นเองด้วย (ปริตตา เฉลิมเผ่า
กออนันตกูล, 2557, 13-14) รวมถึงกลุ่มผูจ้ ดั ของพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังด้วย
ในกรณีน้ี อิทธิพลของนักวิชาการกลุ่มดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่ อเนื่องด้วยการมีบุคคลสาคัญหลายคน
โดยเฉพาะสุจติ ต์ วงษ์เทศ ได้มาเยีย่ มชมและให้ขอ้ คิดเห็นอันเป็ นทัง้ แรงบันดาลใจและความท้าทายแก่คณะผูจ้ ดั ให้
มุ่งมันที
่ จ่ ะเป็ นพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ในแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความพยายามของคณะผูจ้ ดั ในการยกระดับ
ความรูพ้ น้ื บ้าน (lay knowledge) เกีย่ วกับการทาสวนให้เป็ นความรู(้ กึง่ )วิชาการ โดยไม่เพียงจัดประเภทเครื่องมือ
ให้เป็ นหมวดหมู่ตามลาดับขัน้ ตอนการทาสวน และอธิบายประสิทธิภาพและกลไกการทางานของเครื่องมือตาม
ประสบการณ์ทาสวนของผูน้ าชม หากยังเลือกใช้ศพั ท์บญ ั ญัตจิ ากพจนานุ กรมแทนคาพืน้ บ้าน และเสริมความรู้
จากการอ่านหนังสือต่ างๆ ตลอดจนรับฟั งคาอธิบายของผู้เชี่ยวชาญที่เข้าชมและสนทนาแลกเปลี่ยนด้วย มา
ประกอบเป็ นชุดคาอธิบายทีม่ กี ารอ้างอิงแหล่งทีม่ าของความรู้ จนก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของเนื้อความทีน่ าเสนอ
มากขึน้ 3 ขณะเดียวกันก็ให้ความสาคัญแหล่งอ้างอิงข้อมูลทีน่ าเสนอด้วย
ตัว อย่ า งของพิพิธ ภัณฑ์ท้อ งถิ่น ในสัง กัด กรุ ง เทพมหานคร (กทม.) ที่เ น้ น บอร์ด จัด แสดงภาพพร้อม
ตัวอักษรเป็ นคาอธิบายมากมาย มีการจัดแสดงวัต ถุจริงน้อยนิด สร้างความประทับใจด้านลบต่อผูช้ มจานวนมาก
เป็ นประสบการณ์ให้คณะผูจ้ ดั หลีกเลีย่ งการนาเสนอข้อมูลด้วยตัวอักษรจานวนมาก ทาให้ตอ้ งนาข้อมูลหลายส่วนที่
อยากนาเสนอไปโพสต์ไว้ในเวบไซด์แทน เหลือเฉพาะคาอธิบายส่วนน้อยไว้ในป้ ายและบอร์ดของพิพธิ ภัณฑ์ ซึง่
เน้นอักษรขนาดใหญ่ให้อ่านง่าย เนื้อความกระชับ มักอธิบายสัน้ ๆ จนผูเ้ ข้าชมด้วยตนเองอาจได้รบั ประสบการณ์
แตกต่างจากทีน่ าเสนอในรายงานนี้ ดังเช่น คนส่วนใหญ่ในชุมชนทีม่ ไิ ด้เห็นสาคัญต่อความรู(้ กึง่ )วิชาการดังกล่าว
กลับเชื่อว่าเป็ นการนาเสนอเรื่องของตนเองทีอ่ าศัยประสบการณ์ตรงและเหตุทผ่ี รู้ บั ผิดชอบหลักได้รบั ความเชื่อถือ
ในการนาชมพิพธิ ภัณฑ์กเ็ พราะเคยอยู่ใกล้ชดิ กับอดีตเจ้าอาวาสผู้มคี วามรู้ในเรื่องราวของวัดหนังเป็ นอย่างดีจงึ
ได้รบั ถ่ ายทอดความรู้มา ดังนัน้ พวกเขาจึงมักระบุว่าหากมาชมพิพิธภัณฑ์น้ีจะต้องพาเด็ก (เช่น หลาน หรือ
นักเรียน) มาด้วยเพื่อตนจะได้บอกเล่าประสบการณ์ต่อสิง่ จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ โดยมิได้คดิ ว่าตนเองจะได้เรียนรู้
จากพิพธิ ภัณฑ์

3 ไม่เฉพาะส่วนจัดแสดงนี้ ในการนาเสนอเกือบทุกส่วนจัดแสดง มีการ “อ้างถึง” แหล่งความรูท้ เ่ี กี่ยวข้อง เช่น วัดโพธิ ์ ในส่วนจัดแสดงยาแผนโบราณ
วัดบวร ในส่วนจัดแสดงสมุดข่อยและคัมภีร์ ส.พลายน้อย ในเกือบทุกส่วนจัดแสดงชัน้ ล่าง อย่างไรก็ตาม การอ้างถึงดังกล่าวปรากฏในการนาชมเท่านัน้

400
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ตามแนวคิดพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ คณะผูจ้ ดั เลือกจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนวัดหนังผ่านวิถชี าวสวนและ


วิถวี ดั (หลวงปู่ เอีย่ มและพระวัดหนัง) ซึง่ เป็ นอัตลักษณ์ของชุ มชน ทีม่ กี ลุ่มผูเ้ กีย่ วข้องให้ความสาคัญพอๆ กัน แม้
คณะผูจ้ ดั เห็นว่าการจัดแสดงวิถชี าวสวนสามารถแสดงรายละเอียดได้อย่างอิสระกว่าวิถวี ดั ซึง่ ถูกกากับด้วยกรอบ
คิดของพระในวัด ชาวบ้านโดยรอบ และกลุ่มคนที่ศรัทธาในของขลังหลวงปู่ เอี่ยม หลวงปู่ ผล และหลวงปู่ ช้วน
ต้องการให้พพิ ธิ ภัณฑ์น้ีจดั แสดงวัตถุแห่งศรัทธาอย่างชัดเจน การจัดแสดงจึงนาข้าวของทีห่ ยิบยกได้ง่ายใส่ในตู้
กระจกล๊อกกุญแจ และจัดให้ชมในระยะห่างระดับหนึ่งจากตัวผู้ชม เช่น วางสิง่ ของชิ้นใหญ่บนแท่น เป็ นต้น จน
กลายเป็ นรูปแบบการจัดแสดงทีใ่ กล้เคียงพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม แต่กจ็ าเป็ นต้องรักษาส่วนจัดแสดงดังกล่าวไว้ ไม่อาจ
ปรับเปลีย่ นให้มกี ารแสดงแบบเล่าเรื่องอย่างมีชวี ติ ชีวาได้อย่างวิถชี าวสวน ซึง่ เป็ นส่วนทีค่ ณะผูจ้ ดั ใส่ ใจปรับปรุงให้
สมบูรณ์ขน้ึ เรื่อยๆ สอดคล้องกับการตอบสนองของผูช้ มทีเ่ ป็ นนักเรียนนักศึกษาและนักวิชาการ ทีไ่ ม่สนใจต่อวิถวี ัด
เท่าใดนัก
ทัง้ นี้ จากเสียงวิจารณ์การจัดแสดงวิถีชวี ติ ชาวสวนและวิถีวดั ในอาคารเดิมของพิพธิ ภัณฑ์ ที่มผี ู้คนใน
ชุมชนจานวนหนึ่งเห็นว่าไม่จาเป็ นต้องจัดแสดงวิถชี าวสวน ขณะทีผ่ ชู้ มส่วนหนึ่งและหน่ วยงานสนับสนุ น รวมถึง
นักวิชาการมักเสนอว่าไม่จาเป็ นต้องจัดแสดงวิถวี ดั ยังทาให้คณะผูจ้ ดั ตระหนักว่าจาเป็ นต้องจัดแสดงทัง้ สองส่วนให้
ได้น้าหนักเท่าๆ กัน เพื่อให้ทงั ้ สองฝ่ ายยอมรับได้
ตัวอาคารพิพธิ ภัณฑ์เป็ นอีกจุดหนึ่งที่สะท้อนความไม่ลงรอยกันระหว่างกระบวนทัศน์ กล่าวคือ ในช่วง
แรกผูค้ นในชุมชนทีย่ ดึ ถือกระบวนทัศน์เดิมมักเห็นว่าอาคารเดิมทีเ่ ป็ นหมู่กุฎเิ ก่าดูทรุดโทรม ไม่เชิดหน้าชูตาเท่าใด
นัก ยิง่ มีคนภายนอกมาเยีย่ มชมมากเท่าใดยิง่ ควรปรับปรุงให้ดดู ขี น้ึ ครัน้ ได้รอ้ื สร้างเป็ นอาคารใหม่ทช่ี นั ้ ล่างเป็ นปูน
ข้างบนเป็ นเรือนไทย ดูทนั สมัย สวยสง่า จึงน่าเข้าชมมากขึน้ ตรงข้ามกับผูส้ นใจทีเ่ ป็ นชาวเมืองและนักวิชาการมัก
ชื่นชมกับอาคารเดิมมีชวี ติ ชีวาของความเป็ นพิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้าน เพราะเป็ นสภาพทีผ่ คู้ นเคยใช้จริง เมื่อเข้าชมแล้ว
จะได้ซมึ ซับบรรยากาศของแท้ ซึ่งหายไปเมื่อสร้างเป็ นอาคารใหม่ท่ที นั สมัย แม้คณะผู้จดั ทาได้นาฝาเรือนแบบ
ต่างๆ มาประกอบไว้ในแต่ละส่วนจัดแสดง เพื่อเสริมบรรยากาศความเป็ นพืน้ บ้านให้กบั อาคารด้านใน แต่ยงั เหลือ
ผนังปูนบางส่วนและพืน้ กระเบื้องลายของอาคารชัน้ ล่าง อันเป็ นภาพตัวแทนของพิพธิ ภัณฑ์ทนั สมัยไว้ ส่งผลให้
กลุ่มคนทีย่ ดึ ถือกระบวนทัศน์ใหม่เห็นว่า อาคารใหม่ขาดจิตวิญญาณของตัวเรือนเก่า ทาให้ความน่าสนใจลดลง แม้
ยังอยู่ในระดับทีย่ อมรับได้กต็ าม
แนวคิดเดิมต่อพิพธิ ภัณฑ์อย่างหนึ่งคือการเป็ นแหล่งรับบริจาคข้าวของต่างๆ เพื่อรวบรวม สะสมของมีค่า
ไว้มากที่สุด ซึ่งขัดกับการเลือกเป็ นพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ท่ตี ้องควบคุมสิง่ จัดแสดงให้สอดคล้องกับเนื้อหา ทาให้
ผูร้ บั ผิดชอบหลักประกาศ “ไม่รบั บริจาคสิง่ ของ” เนื่องจากเห็นประสบการณ์พพิ ธิ ภัณฑ์วดั ส่วนใหญ่ทไ่ี ด้รบั ข้าวของ
บริจาคแล้วต้องจัดแสดงทัง้ หมดเพื่อมิให้ผบู้ ริจาคเสียใจหรือครหา ทัง้ ยังต้องติดป้ ายแสดงชื่อผูบ้ ริจาค ทาให้รุงรัง
มากขึน้ กระนัน้ เพื่อความสมบูรณ์ของสิง่ จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ จึงยั งมีการรับบริจาคข้าวของบางส่วนจากผูค้ น
ละแวกใกล้เคียง ตามทีผ่ รู้ บั ผิดชอบออกปากว่าควรหามาเพิม่ หรือมีผนู้ ามาเสนอให้คดั เลือกว่าจะรับเข้าพิพธิ ภัณฑ์
หรือไม่ ในลักษณะดังกล่าวจึงสามารถกาหนดแนวทางชัดเจนในการจัดแสดงวัตถุต่างๆ คือไม่ตดิ ป้ ายแสดงชื่อผู้
บริจาคได้ กระนั น้ สิง่ ของจัดแสดงที่หาเพิ่มส่วนใหญ่ เป็ นการซื้อจากภายนอกด้วยทุนส่วนตัวของผู้จดั ทาให้
สัดส่วนของ “สมบัตวิ ดั ” ในพิพธิ ภัณฑ์ลดลงเรื่อยๆ ขณะทีค่ นในชุมชนยังเห็นว่าพิพธิ ภัณฑ์เป็ นคลังสมบัตขิ องวัด
แต่คณะผูจ้ ดั สามารถนาเสนอวัตถุจดั แสดงตามเนื้อหาทีก่ าหนดได้

401
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

สาหรับรูปแบบการจัดแสดงอันสะท้อนถึงพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ทเ่ี ป็ นผลจากการเรียนรูผ้ ่านสื่อสาธารณะ


ดัง กล่ า ว และคณะผู้จ ัด ได้พ ยายามพัฒ นาตนเองด้ว ยการเดิน ทางไปดูพิพิธ ภัณฑ์ใ นที่ต่ า งๆ ที่ท ราบจากสื่อ
สาธารณะเหล่านัน้ รวมถึงหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ เพื่อสร้างประสบการณ์และนาสิง่ ทีไ่ ด้พบเห็นมาปรับใช้ในการ
ออกแบบพิพิธภัณฑ์น้ี ซึ่งส่วนใหญ่ เป็ นรูปแบบการจัดแสดงที่แตกต่ างหลากหลาย เช่น การเปิ ดเพลงคลอใน
พิพธิ ภัณฑ์จากศูนย์วฒ ั นธรรมบางไทร และเสียงประกอบการชมทีศ่ ูนย์ประวัตศิ าสตร์อยุธยา การอนุ ญาตให้ผชู้ ม
หยิบจับและถ่ายภาพวัตถุจดั แสดงได้ทเ่ี มืองโบราณ, การกาหนดเวลาเปิ ดในบ่ายวันเสาร์-อาทิตย์ของพิพธิ ภัณฑ์วดั
หลายแห่ง, การผลิตแผ่นพับแนะนาพิพธิ ภัณฑ์กท็ าตามแบบทีเ่ คยเห็นในพิพธิ ภัณฑ์อ่นื เป็ นต้น ซึง่ พิพธิ ภัณฑ์ท่ี
เป็ นตัวอย่างมีทงั ้ ที่ใช้ตัวแบบเดิม แนวใหม่ หรือผสมผสานตามการสนับสนุ นของหน่ วยงานอิสระหรือองค์กร
ปกครองท้องถิ่น ทาให้เกิดรูปแบบการจัดแสดงผสมผสานที่ทาให้พพิ ธิ ภัณฑ์ดูทนั สมัย ขณะที่ยงั รักษากลิน่ อาย
พิพธิ ภัณฑ์แบบเดิมไว้ในส่วน “สมบัตขิ องวัด”ดังนาเสนอข้างต้น อีกทัง้ ผูร้ บั ผิดชอบมักย้าต่อคนภายนอกเสมอว่าไม่
จัดแสดงวัตถุมงคลของแท้ท่มี รี าคาแพงเพราะเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมและไม่เป็ นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียนนักศึกษามากนัก แต่กไ็ ม่อาจไม่จดั แสดงเลยเพราะถึงอย่างไรทีน่ ่กี เ็ ป็ นพิพธิ ภัณฑ์ในวัดหลวงปู่ เอีย่ มทีผ่ คู้ น
คาดหวัง จะพบพระพุ ท ธรูป และวัต ถุ ม งคลจัด แสดงอยู่ ซึ่ง การน าเสนอดัง กล่ า วน่ า จะขัด แย้ง กับ แนวคิด ต่ อ
พิพธิ ภัณฑ์ในลักษณะคลังสมบัต/ิ อนุสรณ์สถาน เนื่องจากผูเ้ กีย่ วข้องทีเ่ ป็ นคนในชุมชนใกล้เคียงมักไม่ยอมรับตรงๆ
ว่าวัตถุมงคลทีจ่ ดั แสดงในพิพธิ ภัณฑ์น้ีไม่มี “ของแท้” อยู่ (วิเชียร อ่อนสาธร, สัมภาษณ์ 17 ม.ค.53)โดยมีบางคน
ถึงกับบอกผูว้ จิ ยั และผูเ้ ข้าชมว่า อาจมีของแท้อยู่ แต่ผรู้ บั ผิดชอบหลัก ไม่อยากให้เป็ นทีส่ นใจมากกว่า ต้องคนตาดี
ถึงจะเห็น (เลื่อน เนตรศุขา, สัมภาษณ์ 4 ก.พ.53)
ดังนัน้ จึงอาจกล่าวได้ว่า คณะผูจ้ ดั พิพธิ ภัณฑ์น้ีพยายามประนีประนอมกับกระบวนทัศน์พพิ ธิ ภัณฑ์แนว
เดิมทีผ่ คู้ นส่วนใหญ่ในชุมชนยึดถือ คือการสร้างพิพธิ ภัณฑ์เป็ นคลังสมบัต/ิ อนุ สรณ์ สถานของวัด กับการเป็ นแหล่ง
ความรูท้ อ้ งถิน่ ทีใ่ ห้นกั เรียนนักศึกษาหรือคนภายนอกมาเรียนรูเ้ รื่องในอดีตของชุมชนตามกระบวนทัศน์พพิ ธิ ภัณฑ์
แนวใหม่ทไ่ี ด้รบั อิทธิพลจากนักวิชาการทีถ่ ่ายทอดแนวคิดผ่านสื่อสาธารณะ ทาให้เกิดพิพธิ ภัณฑ์ทเ่ี ป็ นแนวใหม่
แต่ยงั คงรักษาแนวทางเดิมไว้บางส่วน อันเป็ นทีย่ อมรับของทัง้ คนในชุมชนและคนภายนอกในระดับหนึ่ง

1.2) พิพิธภัณฑ์สมบู รณ์คงที่ VS พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


ตามกระบวนทัศน์เดิมทีผ่ คู้ นส่วนใหญ่ในชุมชนวัดหนังยึดถือ เมื่อพิพธิ ภัณฑ์ได้รบั การจัดสร้างแล้วเสร็จ
เปิ ดให้เข้าชมได้ มักไม่จาเป็ นต้องปรับปรุงเปลีย่ นแปลงเป็ นเวลาหลายปี ของการจัดแสดงจนกลายเป็ นภาพลักษณ์
สาคัญของพิพธิ ภัณฑ์ว่าเป็ นสถานทีไ่ ร้กาลเวลา (timeless) ไม่มกี ารเปลี่ยนแปลงอย่างสถานทีภ่ ายนอก อันเป็ น
เหตุผลสาคัญอย่างหนึ่งทีท่ าให้คนไทยส่วนใหญ่รสู้ กึ ว่าเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์แห่งหนึ่งเพียงครัง้ เดียวในชีวติ ก็เพี ยงพอ
แล้ว และการสร้างพิพิธภัณฑ์มีขนั ้ ตอนสาคัญที่ต้องการแรงงานและทุนในช่วงเริ่มต้น เท่า นัน้ ทาให้คณะผู้จ ัด
ตระหนักอย่างชัดเจนว่า ไม่มที างเป็ นไปได้ทพ่ี ระในวัดและชาวบ้านในชุมชนโดยรอบจะเข้าใจความจาเป็ นในการ
ลงทุ น ต่ อ เนื่ อ งของพิพิธ ภัณ ฑ์ อัน สืบ เนื่ อ งจากการสร้า งความมี ชีวิต ชีว าของพิพิธ ภัณ ฑ์ต ามกระบวนทัศ น์
พิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ ซึง่ ได้รบั การแนะนาจากหน่ วยงานสนับสนุ นให้กระทาตาม ขณะทีก่ ารสร้างพิพธิ ภัณฑ์ให้ “มี
ชีวติ ” (living museum) ทีไ่ ด้รบั การกล่าวถึงอยู่บ่อยครัง้ จากนักวิชาการและผูส้ นใจพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ ยังมีแนวคิด
แตกต่างหลากหลายเกีย่ วกับสิง่ ทีท่ าให้พพิ ธิ ภัณฑ์มชี วี ติ โดยไม่มตี วั แบบทีเ่ ห็นพ้องกันชัดเจน ดังข้อสังเกตของ ชีว
สิทธิ ์ บุณยเกียรติ (2551, 69, 72) ว่า

402
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

งานวิจยั เกีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์และพิพธิ ภัณฑ์ชุมชนจานวนไม่น้อยพยายามบอกว่าพิพธิ ภัณฑ์


ทัง้ หลายจะมีชวี ติ ได้ดว้ ยการสังสมความรู
่ ด้ ว้ ยการทาวิจยั การพยายามนาเสนอกิจกรรมที่
หลากรูปแบบหลายเนื้อหาหมุนเวียนทัง้ ในและนอกพิพธิ ภัณฑ์ รวมถึงการสร้างให้ชุมชน
เป็ นเจ้าของพิพธิ ภัณฑ์ การสร้างความเป็ นเจ้าของพิพธิ ภัณฑ์น้ีสามารถดาเนินการได้ด้วย
การทาให้พพิ ธิ ภัณฑ์เป็ นสื่อกลาง นัน่ หมายถึงการทาหน้าทีร่ วบรวมและจั ดแสดงเรื่องราว
ของชุมชนจากมุมมองทีแ่ ตกต่างไปตามชุดประสบการณ์ของสมาชิกในชุมชน... ขณะทีผ่ ม
คงยึด มัน่ ว่ า พิพิธ ภัณฑ์จะมีชีวิต ยืน ยาวต่ อ ไปได้ พิพิธ ภัณฑ์ค วรมีก ารสร้า งความรู้และ
กิจกรรม..หากผูด้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์ไม่ได้ศกึ ษาตีความและบอกเล่าเรื่องราวจากวัตถุนนั ้
เมื่อได้รบั คาแนะนาให้สร้างความเคลื่อนไหวเปลีย่ นแปลงให้พพิ ธิ ภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ เช่น ปรับเปลีย่ น
การจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ทุก 6 เดือน หรือจัดนิทรรศการชัวคราวเป็
่ นระยะ เพื่อให้ผทู้ เ่ี คยมาชมแล้วได้เห็นสิง่ ใหม่
อย่างชัดเจนเมื่อมาชมซ้า ดังคาแนะนาของศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ ธร หรือ จัดกิจกรรมให้ผชู้ มมีส่วนร่วม เช่น เกม
คาถามให้ผู้ชมหาคาตอบจากสิง่ จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ตามคาแนะนาของมูลนิธเิ พื่อพิพธิ ภัณฑ์ไทย เป็ นต้น แม้
คณะผูจ้ ดั ไม่เห็นพ้องในแง่กจิ กรรม แต่ยอมรับแนวคิดการทาพิพธิ ภัณฑ์ให้มชี วี ติ มาใช้ดว้ ยการปรับเปลีย่ นทีละเล็ก
ทีละน้อยในส่วนจัดแสดงต่างๆ ให้มรี ายละเอียดเพิม่ เติมหรือมีความโดดเด่นของวัตถุชน้ิ สาคัญในส่วนจัดแสดงนัน้ ๆ
เพื่อตอบสนองความสนใจของผูช้ มหรือความต้องการนาเสนอของผูจ้ ดั ในการกระทาดังกล่าว คณะผูจ้ ดั ไม่ขอรับ
งบสนับสนุ นจากทางวัด เพราะเกรงจะกลายเป็ นทีค่ รหาจากความไม่เข้าใจของคนเหล่านั ้น และใช้ทุนส่วนตัวของ
ผูร้ บั ผิดชอบหลักในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง (สังฆรักษ์ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 10 ธ.ค.52 และ 30 พ.ย.58) ซึง่
ทาได้เนื่องจากผูร้ บั ผิดชอบหลักอยู่ในสถานะพระสงฆ์มรี ายได้จากกิจนิมนต์เพียงพอนามาใช้จา่ ยกับพิพธิ ภัณฑ์โดย
ไม่เดือดร้อน
ทว่า การเปลีย่ นแปลงอย่างช้าๆ ย่อมไร้พลังในการดึงดูดผูค้ นจานวนมากให้หนั มาสนใจพร้อมๆ กันแบบ
ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในการจัดกิจกรรมประเภทนิทรรศการชัวคราวตามข้
่ อเสนอแนะของหน่วยงานสนับสนุ น ในแง่น้ีภาพ
ตัวแทนพิพธิ ภัณฑ์จงึ ค่อนไปทางพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิมทีเ่ ป็ นแบบสมบูรณ์คงทีต่ ามความคุน้ ชินของผูค้ นท้องถิน่

2. ภำพตัวแทนชุ มชน
จากความตัง้ ใจสร้างพิพธิ ภัณฑ์แนวใหม่ทม่ี กี ารนาเสนอเรื่องราวอย่างชัดเจน ทาให้มกี ารเลือก “หัวข้อ”
นาเสนอในพิพธิ ภัณฑ์แทนการนาเสนอสมบัตวิ ดั เท่าทีม่ ตี ามแบบพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม กระนัน้ “หัวข้อ” ทีจ่ ดั แสดงยัง
ต้องผ่านการประนีประนอมตามความคาดหวังทีแ่ ตกต่างของกลุ่มผูเ้ กีย่ วข้อง ดังนี้

2.1) วิถีชีวิตชาวสวน VS วิถีวัด


ผู้รบั ผิดชอบหลักได้เลือกนาเสนอวิถีชวี ติ ชาวสวนว่าเป็ นอัตลักษณ์สาคัญของผูค้ นละแวกใกล้เคียง ซึ่ง
ได้รบั การนาเสนอไว้โดยนักวิชาการ ขณะทีผ่ คู้ นส่วนใหญ่ในชุมชนวัดหนัง แม้แต่สมาชิกในคณะผูจ้ ดั ไม่เคยคิดมา
ก่อนว่านันเป็่ นสิง่ ทีน่ ่าภูมใิ จขนาดนามาจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ได้ สิง่ ทีพ่ วกเขาเห็นว่าน่าภูมใิ จมากทีส่ ดุ คือ “หลวงปู่
เอีย่ ม” ทีท่ าให้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยรูจ้ กั วัดหนัง ทุกครัง้ ทีม่ กี ารกล่าวขวัญถึง “พระเครื่องหลวงปู่ เอีย่ ม”ทีส่ ร้าง
ไว้หลายรุ่น มีราคาเช่าซื้อเฉียดหลักล้านบาท และจากประวัติท่เี ล่าต่อกันมาว่าแม้แต่รชั กาลที่ 5 ก็ทรงให้ความ
เคารพนับถือและเลื่อมใส “หลวงปู่ เฒ่าวัดหนัง” โดยเฉพาะคราวเสด็จเยือนฝรังเศสแล้ ่ วได้ใช้คาถาของหลวงปู่ เอีย่ ม
ปราบม้าพยศ เรื่องราวนี้ ต่างหากเป็ นสิง่ ที่ควรเชิดชูด้วยการนาเสนอในพิพิธภัณฑ์ โดยผนวกกับสมบัติวดั ที่
สะท้อนความรุ่งเรืองของวัดหนัง อันนับเป็ นศูนย์รวมศรัทธาของพวกเขา ดังนัน้ เมื่อคณะผู้จดั เลือกจัดแสดงวิถี

403
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

ชีวติ ชาวสวนในพิพธิ ภัณฑ์ โดยมีหอ้ งหลวงปู่ เอี่ยมกับข้าวของในวัดอยู่บางส่วน(ของอาคารเดิม) ทาให้ชาวบ้าน


จานวนหนึ่งไม่สนใจเข้าชมเพราะเห็นว่าตนสามารถแวะไปกราบรูปจาลองหลวงปู่ เอีย่ มที่ศาลาสามหลวงปู่ (สาม
อดีต)ได้ทุกเวลา ไม่จาเป็ นต้องเข้าไปในพิพธิ ภัณฑ์ และไม่จาเป็ นต้องไปดูขา้ วของเก่าๆ ทีเ่ คยเห็นเคยใช้หรือยังคง
มีอยู่ในบ้านด้วย จนเป็ นทีย่ อมรับของทุกฝ่ ายว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนไม่สนใจเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์น้ีเลย แม้จะยินดี
ช่วยเหลือและจับตามองพิพธิ ภัณฑ์ในฐานะกิจกรรมของวัดอยู่กต็ าม
เพื่อประนีประนอมกับความคาดหวังของผูค้ นทีศ่ รัทธาในหลวงปู่ เอีย่ มและต้องการเห็นข้าวของเครื่องใช้
พระสงฆ์ตามแบบพิพธิ ภัณฑ์วดั ทัวไป ่ เมื่อสร้างอาคารใหม่ คณะผูจ้ ดั จึงพยายามจัดการนาเสนอวิถชี วี ติ ชาวสวน
กับพระวัดหนัง ให้มสี ดั ส่วนใกล้เคียงกันคือแบ่งคนละชัน้ และมีผนู้ าชมคอยบอกเล่าถึงจุดเชื่อมโยงในทานองว่าวิถี
ชีวติ ชาวบ้านมีวดั เป็ นศูนย์กลาง โดยวัดเป็ นแหล่งเรียนหนังสือ รักษาโรค และศรัทธา(วัตถุมงคล) กระนัน้ ยังมีผชู้ ม
จานวนไม่น้อยระบุว่า เนื้อหาหลักของพิพธิ ภัณฑ์น้ีคอื วิถีชวี ติ ชาวสวน (การทาสวน ความเป็ นอยู่ หมอพระและ
การศึกษา) กับอนุ สรณ์หลวงปู่ เอี่ยม ซึ่งไม่อาจเชื่อมโยงความเกีย่ วเนื่องเป็ นเนื้อเดียวกันได้ ทัง้ นี้ ส่วนหนึ่งอาจ
สืบเนื่องจากการนาเสนอทัง้ สองเรื่องในลักษณะภาพนิ่ง แต่กลับครอบคลุมช่วงเวลาทีแ่ ตกต่างกัน กล่าวคือ หลวงปู่
เอีย่ มเป็ นเจ้าอาวาสวัดหนังเมื่อราว 84-112 ปี ทแ่ี ล้ว (พ.ศ.2441-2469) ขณะทีส่ ว่ นจัดแสดงวิถชี วี ติ ชาวสวนมีสนิ ค้า
ที่วางจาหน่ ายในช่วง 40-50 ปี ท่ผี ่านมา ที่สาคัญคือปฏิกริ ยิ าตอบรับของผูเ้ ข้าชมจากภายนอกจานวนไม่น้อยต่อ
ภาพตัวแทนวิถีชวี ติ ชาวสวนที่จดั แสดงในพิพธิ ภัณฑ์น้ีในฐานะวิถชี วี ติ ชาวไทยภาคกลางตามนัยยะที่ผู้จดั แสดง
ออกมาในรูปป้ าย “ตารายาไทย” และ “ครัวโบราณภาคกลาง” เป็ นแรงผลักดันสาคัญให้คณะผู้จดั เสาะแสวงหา
อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ทีอ่ าจจะไม่เคยเห็นในชุมชนนี้เช่น เตาขนมครก เครื่องสีฝัด เรือพ่นยา(ในสวน) เป็ นต้น มา
เสริมส่วนจัดแสดงเรือนไทยและครัว จนกระทังอั ่ ตลักษณ์ของชาวชุมชนวัดหนังค่อยๆ ถูกบดบังไป แม้ว่ายังมีการ
จัดแสดงเครื่องมือทาสวนทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ของสวนผลไม้แถบนี้ เช่น ตะขาบ ปลอก เป็ นต้น ก็ตาม ดังคาวิจารณ์
ของสุจติ ต์ วงษ์เทศ (2551: 21) ว่า “ของเก่าในวัดหนังมีมากจนเลือกไม่ถูก ทาให้ผจู้ ดั ขนออกมาจัดแสดงในตูเ้ ต็ม
ไปหมด จับต้นชนปลายไม่ถูก จึงไม่ได้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ท้องถิน่ อะไรเลยเพราะดูกเ็ หมือนท้องถิน่ ชาวสวน
อืน่ ๆ ..”
แม้ต ระหนัก ว่ า เป็ น จุ ด อ่ อ นที่น่ า ปรับ ปรุ ง ทว่ า คณะผู้จ ัด มีข้อ จ ากัด ที่ต้อ งตอบสนองต่ อ กลุ่ ม ที่ยึด ถื อ
พิพธิ ภัณฑ์น้ีเป็ นภาพตัวแทนวิถีชวี ติ ชาวไทยภาคกลางดังกล่าวและอาจมีเวลาจากัดเนื่องจากในช่วงที่กจิ กรรม
พิพธิ ภัณฑ์ท้องถิ่นเฟื่ องฟูและพระครูสงั ฆรักษ์ ได้รบั เชิญไปร่วมกิจกรรมมากจนแทบไม่เหลือเวลาคิดออกแบบ
ปรับปรุง จากการเข้าชมในปี 2553 ผู้วจิ ยั จึงเห็นว่าการจัดแสดงยังคงปริมาณข้าวของมาก แม้จดั ได้ค่อนข้างมี
ศิลปะก็ตาม ครัน้ ผูว้ จิ ยั กลับไปอีกครัง้ ในปี 2558 จึงพบว่าสิง่ จัดแสดงทีเ่ คยมีมากและไม่ได้รบั ความสนใจนัก เช่น ตู้
ใส่เครื่องปั ้นดินเผา เรือหลายประเภท เป็ นต้น ถูกนาออกไป และเสริมด้วยข้าวของทีแ่ สดงลักษณะเฉพาะถิน่ ของ
ชุมชนในละแวกใกล้เคียงมากขึน้ เช่น ร้านไม้หมาก งอบและแบบพิมพ์สานงอบ ตาชังผลไม้ ่ โมเดลสภาพร่องสวน
ของพื้นที่รอบวัดหนัง ฯลฯ ทาให้พ้นื ที่ชนั ้ ล่างว่างมากขึ้น และผู้นาชมระบุว่า สิง่ จัดแสดงวิถีชวี ิตชาวสวนเป็ น
ตัวแทนของชุมชนชาวสวนเขตจอมทองหรือบางขุนเทียน ซึง่ ครอบคลุมชุมชนวัดหนังด้วย (สังฆรักษ์ไพฑูรย์,พระ
ครู, สัมภาษณ์ 30 พ.ย.58)
ส่วนการนาเสนอเรื่องราวของพระวัดหนังหรือวิถวี ดั แม้ผคู้ นในชุมชนวัดหนังมีเรื่องเล่าพุทธคุณมากมาย
แต่พพิ ธิ ภัณฑ์กลับจากัดการนาเสนอสิง่ เหล่านัน้ เนื่องจากผูร้ บั ผิดชอบหลักเห็นว่าเป็ น สิง่ ที่เล่าขานกันตามความ
เชื่อ ไม่มหี ลักฐานพิสจู น์ จึงไม่ควรนามาเล่าต่อในพิพธิ ภัณฑ์ เกรงจะถูกตาหนิจากนักวิชาการหรือผูช้ มสมัยใหม่

404
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

กระนัน้ ยังมีการเล่าตานานคาถาเสกหญ้าเพื่อเชื่อมโยงกับการได้รบั พระราชทานข้าวของจากรัชกาลที่ 5 ที่จดั


แสดงไว้ในห้องหลวงปู่ เอี่ยม อันเป็ นการเลือกใช้เรื่องเล่า ที่มบี นั ทึกในเอกสารท้องถิ่น4 นอกจากนี้ ข้อจากัดตาม
แบบพิพธิ ภัณฑ์แนวเดิม คือต้องจัดแสดงข้าวของทุกชิน้ ทีม่ อี ยู่ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับพระวัดหนัง ทาให้ภาพตัวแทน
วิถวี ดั มีลกั ษณะเหมารวม ไม่เด่นชัดทัง้ ในแง่ชวี ประวัตแิ ละผลงาน แต่สะท้อนถึงการใช้ชวี ติ ในวัดเช่นเดียวกับวัด
ทัวไป
่ แม้เป็ นที่ยอมรับได้ของผู้คนในชุมชนและผู้ชมที่เคยชินกับพิพิธภัณฑ์วดั แนวเดิม แต่ มกั ถูกวิจารณ์จาก
นักวิชาการและผูช้ มทีย่ ดึ ถือกระบวนทัศน์ใหม่ทค่ี าดหวังการเล่าเรื่อง “พระวัดหนัง” อย่างมีอตั ลักษณ์เฉพาะถิน่
ความไม่ลงตัวในการเชื่อมโยงภาพตัวแทนวิถีชวี ติ ชาวสวน กับวิถีวดั ภายใต้แนวทางการจัดแสดงที่
ต่างกันคนละแนวทาง ทาให้ผชู้ มจานวนไม่น้อยให้ความสนใจเฉพาะส่วนหนึ่งใดส่วนหนึ่งเท่านัน้ เช่น ผูส้ นใจวัตถุ
มงคลมักมองผ่านๆ ส่วนจัดแสดงวิถีชวี ติ ชาวสวน แต่ขน้ึ ไปพินิจพิเคราะห์ในห้องหลวงปู่ เอี่ยมและส่วนจัดแสดง
วัตถุมงคลทีช่ นั ้ สองเป็ นหลัก ส่วนนักเรียนนักศึกษามักสนใจรายละเอียดต่างๆ ในส่วนจัดแสดงวิถชี วี ติ ชาวสวนชัน้
ล่าง โดยเฉพาะเรือนไทย และร้านค้าโบราณ เป็ นต้น

2.2) วิถีชีวิตชาวสวน VS ชุ มชนย่านข้าหลวงเดิม


ดังนาเสนอไปบ้างแล้วว่า ภาพตัวแทนชุมชนทีถ่ ูกเลือกขึ้นมานาเสนอผ่านพิพธิ ภัณฑ์เป็ นผลจากการรับ
สื่อสาธารณะที่เสนอว่าจุดเด่นของฝั ง่ ธนคือสวนผลไม้แบบยกร่อง ท่ามกลางตัวเลือกอื่นๆ อีก เช่น เป็ นดินแดน
“บางกอก” ชื่อเมืองหลวงปั จจุบนั ทีช่ าวต่างชาติรจู้ กั , เคยเป็ นเมืองหลวงในสมัยกรุงธนบุร,ี เคยเป็ นจังหวัดในสมัย
รัตนโกสินทร์, วิถชี วี ติ ชาวคลอง, แหล่งรวมชาติพนั ธุโ์ ดยเฉพาะจีนและแขกตัง้ แต่สมัยอยุธยา (ดาราวดี สุกุมลสันต์
2540 ; ชุติมา สัจจานนท์ 2521) เป็ นต้น แต่การเลือกวิถีชาวสวนสอดคล้องกับความถนัดของผู้รบั ผิดชอบหลัก
มากทีส่ ดุ
กระนัน้ ด้วยความศรัทธาต่องานเขียนเชิงวิชาการของสุจิ ตต์ วงษ์เทศ ที่ชูจุดเด่นของ “คลองด่าน” ใน
ฐานะเส้นทางเดินทัพ และเส้นทางการค้าสาคัญในประวัตศิ าสตร์สยาม กับชุมชน “ย่านข้าหลวงเดิม” ในรัชกาลที่ 3
อันเจาะจงเป็ นบริเวณ 3 วัดพีน่ ้อง คือวัดราชโอรส วัดนางนอง และวัดหนัง ทาให้คณะผูจ้ ดั เลือกเอามานาเสนอไว้
ในแผ่ น พับ แนะน าพิพิธภัณฑ์ว่า “จัดตัง้ ขึ้นโดยมีวตั ถุ ประสงค์ เพือ่ รวบรวมของมีค่าของวัด และชุมชนในเขต
จอมทอง อันเป็ นเอกลักษณ์ของท้องถิน่ โดยจัดแสดงเป็ นกลุ่มย่อย ตามลักษณะสภาพความเป็ นจริง ของชาวสวน
ย่านชุมชนข้าหลวงเดิมซึง่ เป็ นชุมชนทีม่ ีความสัมพันธ์เ กีย่ วเนื อ่ งกับ ราชวงศ์จ ักรี ใ นอดีต ” ซึ่ง เวบไซด์แ นะน า
พิพธิ ภัณฑ์กน็ ามาเขียนไว้เช่นเดียวกัน
ในการเข้าชมเมื่อปี 2553 ผู้วจิ ยั พบว่ามีเนื้อความกล่าวถึงคลองด่านในส่วนจัดแสดง 1a และกล่าวถึง
ชุมชนข้าหลวงเดิมในส่วนจัดแสดง 1b เป็ นการปูพ้นื ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็ นมาของวัดหนังและชุ ม ชน
โดยรอบ แต่มไิ ด้เป็ นสาระหลักของภาพตัวแทนชุมชนทีเ่ กิดขึน้ เป็ นเหตุให้นกั วิชาการส่วนหนึ่งแสดงความคิดเห็น
ต่อการหายไปของภาพตัวแทนชุมชนส่วนนี้ ดังคาวิจารณ์ของสุจติ ต์ วงษ์เทศ มติชน (2551, 21) ว่า “แต่คงเพราะผู้
จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ฯ วัดหนังยังคลุมเครือทางความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิน่ “ย่านข้าหลวงเดิม ” เลยไม่ให้
ความสาคัญ “เส้นทางคลองด่าน” ทีเ่ ป็ นแกนสาคัญของย่านนี้ จึงไม่มเี รือ่ งเหล่านี้ทมี ่ อี ยู่กแ็ ค่กล่าวถึงเท่านัน้ ” ซึ่ง
4 จากการสนทนาระหว่างเตรียมงาน “เล่าขานตานานวัดหนัง” ทาให้ทราบว่า ผูร้ ว่ มเตรียมงาน โดยเฉพาะพระครูสงั ฆรักษ์ตระหนักดีวา่ ตานานทีเ่ ชื่อถือ
สืบต่อกันมานี้ มีพมิ พ์ไว้ในหนังสือที่เขียนขึ้นโดยคนท้องถิน่ ที่อาศัยคากล่าวอ้างว่าฟั งต่อมาจากหลวงปู่ เอี่ยม แต่ไม่มหี ลักฐานอื่นยืนยัน ทัง้ เมื่อนัก
ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ลองสืบค้นรายละเอียดเทียบเคียงกับหลักฐานประวัตศิ าสตร์การเสด็จประพาสยุโรปทัง้ สองครัง้ ไม่พบว่ามีความสอดคล้องกับการ
เสด็จครัง้ ใดเลย แต่กไ็ ม่อาจยืนยันได้เช่นกันว่าไม่มเี หตุการณ์ดงั กล่าว อีกทัง้ การมีสงิ่ ของพระราชทานแก่หลวงปู่ เอีย่ มก็แสดงถึงการได้รบั ความเคารพนับ
ถือจากรัชกาลที่ 5 อยูแ่ ล้ว (บันทึกการเสวนาวันที่ 6 มี.ค. 2553)

405
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

คณะผูจ้ ดั ระบุว่าในงานเขียนของสุจติ ต์เองไม่มรี ายละเอียดให้มากกว่าทีไ่ ด้นาเสนอในพิพธิ ภัณฑ์ ขณะทีข่ อ้ เท็จจริง


ทีเ่ ล่าสืบต่อและมีบนั ทึกไว้ในหนังสือ “วัดหนัง ราชวรวิหาร” รวบรวมเนื้อหาโดยพระวิเชียรกวี (ฉัตร อินฺทสุวณฺ โณ)
อดีตเจ้าอาวาสองค์ท่ี 6 (พ.ศ.2469-2503) ซึง่ ได้จดั พิมพ์มาแล้วหลายครัง้ ระบุเพียงว่า วัดหนังได้สถาปนาขึน้ เป็ น
พระอารามหลวง ในรัช กาลที่ 3 แห่ ง กรุ ง รัต นโกสิน ทร์ โดยสมเด็จ พระศรี สุ ล าลัย พระบรมราชชนนี ใ น
พระบาทสมเด็จพระนังเกล้ ่ าเจ้าอยู่หวั ทรงสถาปนาใหม่ทงั ้ พระอาราม มูลเหตุทท่ี รงสถาปนาวัดหนังเป็ นพระอาราม
หลวง น่ าจักเนื่องด้วย ราชินิกูลสายท่านเพ็ง พระชนนีสมเด็จพระศรีสุลาลัย เป็ นชาวสวนวัดหนัง มีนิวาสสถานอยู่
ในถิน่ นัน้ (วิเชียรกวี, พระ, 2547, 10) เมื่อสมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคตวันที่ 17 ตุลาคม 2380 พระบาทสมเด็จ
พระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทาการฉลองวัดหนัง ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2380 นัน่ เอง
(วิเชียรกวี, พระ, 2547, 13-14) คณะผูจ้ ดั ไม่สามารถหาข้อมูลจากในท้องถิน่ ได้ จึงอนุ มานว่าวิถคี วามเป็ นอยู่ของ
ย่านข้าหลวงเดิมเป็ นเหมือนกับชาวสวนทีจ่ ดั แสดงในพิพธิ ภัณฑ์แล้วนัน่ เอง แต่การดาเนินการดังกล่าวไม่เป็ นที่
ยอมรับของนักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีต่ อ้ งการสิง่ ทีบ่ ่งบอกถึงความเป็ นข้าหลวงเดิมอย่างชัดเจน
ตรงกันข้าม คนส่วนใหญ่ในชุมชนวัดหนังไม่ให้ความสนใจต่อ “ชุมชนย่านข้าหลวงเดิม” หรือ “คลองด่าน”
เลย เห็นได้ชดั เมื่อมีการรือ้ ฟื้ นประเด็นนี้ในช่วงเตรียมการจัดงานเล่าขานตานานวัดหนังจากนักวิชาการทีม่ เี ข้าร่วม
เสนอหัวข้อเสวนา ทาให้ได้รบั เสียงสะท้อนจากกลุ่มคนเหล่านัน้ ว่า อดีตสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่มที งั ้ หลักฐานยืนยันและ
คนในชุมชนทีร่ เู้ รื่องเพราะผ่านมานานเกินไป ตรงกันข้ามกับเรื่องราวสมัยรัชกาลที่ 5 และหลวงปู่ เอีย่ ม ยังเป็ นเรื่อง
เล่าสืบต่อกันมาจากรุ่นปู่ ย่าตาทวดสูค่ นปั จจุบนั อันมีทงั ้ คนทีเ่ ล่าได้และคนทีอ่ ยากฟั ง ส่วนคลองด่านก็เป็ นชื่อรวม
ของทัง้ คลอง ขณะที่ส่วนที่ผ่านชุมชนเรียกว่า “คลองสนามชัย ” หรือที่รู้จกั กันดีว่า “คุ้งเผาถ่ าน” จึงน่ ากล่าวถึง
มากกว่าคลองด่านทัง้ คลองที่จะทาให้วดั หนังเป็ นจุดเล็กๆ แทนที่จะเป็ นจุดเด่นของการนาเสนอ ทว่าในทีส่ ุด ที่
ประชุมตกลงกาหนดหัวข้อเสวนาเป็ นเรื่องคลองด่านและประวัตวิ ดั หนังในวันแรก และหัวข้อเกีย่ วกับหลวงปู่ เอีย่ ม
สองวันคือเรื่องวัตถุมงคล กับการเป็ นที่เคารพนับถือของรัชกาลที่ 5 หลังจากนัน้ คณะผู้จดั ตัดสินใจปรับเปลีย่ น
รายการเสวนาเกีย่ วกับหลวงปู่ เอีย่ มให้เหลือเพียงหนึ่งวัน แล้วเพิม่ หัวข้อเกีย่ วกับย่านข้าหลวงเดิมและสมเด็จ พระ
ศรีสุราลัยตามคาแนะนาของนักวิชาการทีม่ าร่วมงานแทน และในการเสวนาวันแรกหัวข้อ"วัดหนังริมคลองด่าน” ผู้
ร่วมเสวนาได้พยายามพูดถึงความเชื่อมโยงของคลองด่านกับประวัติศาสตร์ชาติยุคต่างๆ ตามความสนใจของ
นักวิชาการทีก่ าหนดหัวข้อ สลับกับอดีตของวัดหนังในแง่มุมต่างๆ ตามความสนใจของชาวบ้านในชุมชนและพระ
ในวัด เพื่อให้ทงั ้ สองฝ่ ายยอมรับและพึงพอใจต่อการเสวนาทีเ่ กิดขึน้
ผลที่ตามมาคือการเสวนานัน้ ไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้มากเพียงพอเกี่ยวกับ “ชุมชนย่านข้าหลวง
เดิม” หรือ “คลองด่าน” ทีจ่ ะนาไปปรับปรุงส่วนจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ แต่คณะผู้จดั ทายังยืนยันว่าจะแสวงหาข้อมูล
ต่ อ ไปเพื่อ เสริม ความสมบูร ณ์ ข องภาพตัว แทนชุ ม ชนตามความสนใจของทัง้ สองฝ่ าย เมื่อ ผู้วิจ ัย กลับ ไปชม
พิพธิ ภัณฑ์อกี ครัง้ ในปี จึงพบว่ามีการเพิม่ บอร์ดจัดแสดงเส้นทางคลองด่าน โดยใส่เครื่องหมายเด่นชัดที่ “คุ้งเผา
ถ่าน” “คุง้ ข้าวหลาม” และ “สวนลิน้ จี”่ ตัง้ ไว้ดา้ นหน้าพิพธิ ภัณฑ์ และมีบอร์ดคาอธิบายเพิม่ ในส่วนจัดแสดงอุปกรณ์
ทาสวนและร่องสวนจาลอง ภายใต้หวั ข้อ “เขตจอมทองในอดีตเป็ นทีต่ งั ้ ของคุ้งทัง้ สาม” รวมถึงเพิม่ บอร์ดแสดง
ประวัตสิ นั ้ ๆ ของ “กรมสมเด็จพระศรีสลุ าลัย(เจ้าจอมมารดาเรียม)” ในโซนจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์รชั กาลที่
3 (1b)
ทัง้ นี้ น่ าสังเกตว่า ความพยายามเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างวัดหนังกับชนชัน้ นาในสมัยรัชกาลที่ 3 มี
รากฐานจากอุดมการณ์กษัตริยน์ ิยมทีแ่ ฝงฝั งอยู่ในจิตสานึกของนักพิพธิ ภัณฑ์ไทยโดยไม่เกี่ยวว่ายึดถือกระบวน

406
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

ทัศน์ พิพิธภัณฑ์แนวใด ขณะที่เรื่องราว “ชุมชนข้าหลวงเดิม ” และ “คลองด่าน” เป็ นแนวทางสร้างภาพตัวแทน


ท้องถิน่ ให้มคี วามสาคัญต่อประวัตศิ าสตร์ชาติและราชสานักตามกระบวนทัศน์ใหม่ จึงมีความสาคัญต่อคณะผูจ้ ดั ที่
ต้องการสร้างการยอมรับมากยิง่ ขึน้ จากสาธารณชนและนักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ขณะทีส่ าหรับชาวบ้านในชุ มชน
การเชื่อมโยงหลวงปู่ เอี่ยมกับรัชกาลที่ 5 เพียงพอแล้วสาหรับความภาคภูมใิ จในอดีตของพวกเขา ส่วนประเด็น
“การเคยเป็ นจังหวัดธนบุรมี าก่อนของฝั ง่ ธน” ซึ่งเป็ นความสนใจของผูร้ บั ผิดชอบหลักในฐานะชาวฝั ง่ ธนทีเ่ ห็นว่า
ความเป็ น “อดีตเมืองหลวง” ถูกละเลย แม้แต่สถานภาพระดับจังหวัดทีเ่ คยมีเช่นเดียวกับ “อดีตเมืองหลวง” อื่น คือ
สุโขทัย และอยุธยา ยังถูกปรับออก 5ให้กลายเป็ นเพียงเขตหนึ่งของกรุงเทพฯ ทัง้ ยังเป็ นเขตที่ไม่ค่อยได้รบั การ
พัฒนาให้เจริญขึน้ เหมือนฝั ง่ พระนครด้วย (สังฆรักษ์ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 25 ธ.ค.52) แม้ในอดีตเคยมีกลุ่ม
คนทีพ่ ยายามเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสถานภาพทางสังคมของธนบุรกี ลับคืน แต่ไม่ประสบผล (จุฑามาศ ประมูล
มาก 2545) และประเด็นนี้ยงั ไม่รบั ความสนใจจากกลุ่มผูเ้ กีย่ วข้องส่วนใหญ่ การจัดแสดงด้วยป้ ายชื่อเดิมของวัดจึง
ยังคงเป็ นเพียงมุมถ่ายภาพทีไ่ ม่มกี ารขยายเนื้อหาหรือมุมมองใดเพิม่ เติม

สรุ ป
พิพิธ ภัณฑ์เ พื่อ การศึก ษาวัด หนังก่ อ ก าเนิ ด ขึ้น ท่ า มกลางกระบวนทัศน์ พิพิธภัณฑ์ท่ีเ ปลี่ย นแปลงใน
สังคมไทย จึงมีทงั ้ กระบวนทัศน์พพิ ธิ ภัณฑ์แนวเดิมทีม่ พี พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติเป็ นต้นแบบ และภาพตัวแทนของ
การเป็ น “พิพธิ ภัณฑ์วดั ” ทีย่ งั คงอิทธิพลต่อการรับรูแ้ ละยึดถือเป็ นแนวทางทีถ่ กู ต้องของกลุ่มคนในชุมชนวัดหนังซึง่
เป็ น “เจ้าของเรื่องและเจ้าของพื้นที่” ผูม้ สี ่วนกาหนดให้พพิ ธิ ภัณฑ์ดารงอยู่ได้(หรือไม่)ในฐานะสถาบันของชุมชน
และกระบวนทัศน์พพิ ธิ ภัณฑ์แนวใหม่ทม่ี รี ูปแบบหลากหลาย แต่อยู่ระหว่างกระบวนการพัฒนาจึงยังไม่มี ความ
ชัดเจนตายตัว เปิ ดช่องทางให้กลุ่มผูเ้ กีย่ วข้องแสวงหาแนวทางทีส่ อดคล้องกับเงื่อนไขของตน มีอทิ ธิพลต่อการรับรู้
และยึดถือเป็ นแนวทางทีถ่ ูกต้องของกลุ่มนักวิชาการ ผู้เข้าชมบางส่วน และองค์กรสนับสนุ นพิพธิ ภัณฑ์ ซึ่งเป็ น
หมุดหมายของการยอมรับคุณค่าของพิพธิ ภัณฑ์ ซึง่ คณะผูจ้ ดั พิพธิ ภัณฑ์วดั หนังให้ความสาคัญและมีสว่ นอย่างมาก
ต่อการสร้างชื่อเสียงให้กบั พิพธิ ภัณฑ์และวัดหนังซึ่งส่งผลกลับมาเป็ นการยอมรับชื่นชมของคนในชุมชนวัดหนัง
ด้วย
ภายใต้ความพยายามประนีประนอมกับกระบวนทัศน์ทงั ้ สองซึง่ มีจุดแตกต่างเป็ นตรงกันข้ามทัง้ เป้ าหมาย
เนื้อหาและวิธกี ารจัดแสดง ภาพตัวแทนชุมชนวัดหนังและตัวพิพธิ ภัณฑ์เองจึงเลีย่ งไม่ได้ทต่ี อ้ งประกอบด้วยสอง
ส่วนหลัก ซึ่งไม่อาจจัดปรับให้ลงตัวเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ว่าคณะผู้จดั มีทงั ้ ฝี มอื การออกแบบอย่างมีศลิ ปะ
ความทุ่มเทในการศึกษาค้นคว้า ความใส่ใจในการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความคาดหวัง ฯลฯ มากเพียงใดก็ตาม

5 จากข้อมูลของ ศรีพทั มีนะกนิษฐ (อดีตอาจารย์ชนั ้ พิเศษ วค.ธนบุร)ี ในเอกสารเผยแพร่ของวิทยาลัยครูธนบุร ี (ชุตมิ า สัจจานนท์, บก. 2521) ระบุวา่
จังหวัดธนบุรกี บั จังหวัดพระนคร เคยรวมเป็ นเมืองเดียวกัน จน พ.ศ.2458 จึงแยกกันเป็ นจังหวัดธนบุร ี ต่อมาในปี พ.ศ.2514 มีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระ
นคร เรียกว่า “นครหลวงกรุงเทพธนบุร”ี และปี ต่อมา ชื่อเมืองหลวงถูกเปลีย่ นเป็ น “กรุงเทพมหานคร” และส่วนต่างๆ ของเมืองธนบุรกี ลายเป็ นอาเภอ/
เขตสังกัดกรุงเทพฯ แต่จากคาบอกเล่าของชาวบ้านในชุมชนวัดหนังว่าป้ ายชื่อต่างๆ ทีร่ ะบุ “จังหวัดธนบุร”ี ค่อยๆ ทยอยเปลีย่ นหลายปี กว่าจะหมดไป
จากชีวติ ประจาวันของคนฝั ง่ ธน จึงไม่น่าแปลกใจทีค่ นรุ่นอายุ 40 ปี ข้นึ ไปยังคุน้ เคยกับความคิดทีว่ ่าธนบุรเี คยเป็ นจังหวัดมาก่อน โดยไม่มผี ใู้ ดกล่าวถึง
การเคยเป็ นจังหวัดเดียวกันมาก่อนของธนบุรกี บั พระนครเมือ่ เกือบร้อยปี ก่อน

407
ประชุ มวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 2
“ศาสตร์แห่งการจา ศิลป์ แห่งการลืม”

รำยกำรอ้ำงอิง
จักรฤทธิ ์ อุทโธ. 2542. “บทวิเคราะห์พฒ ั นาการของพิพธิ ภัณฑสถานในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ.2417-2477 จาก
เอกสารกองจดหมายเหตุแห่งชาติ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรม
ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
จุฑามาศ ประมูลมาก. 2545. “การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองท้องถิน่ ธนบุรี พ.ศ.2458-2543.” วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, บก. 2557. คนทาพิพธิ ภัณฑ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร.
ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ. 2551. “พิพธิ ภัณฑ์กบั สังคม บทเรียนจากพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ .” ใน พิพธิ ภัณฑ์บนั ทึก: ทบทวน
บทเรียนจากการวิจยั และพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์. บรรณาธิการโดย ศิรพิ ร ศรีสนิ ธุอ์ ุไร. กรุงเทพฯ: ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน).
ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ. 2556. “พิพธิ ภัณฑ์สงคราม บาดแผล และการเยียวยา.” วารสารสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา 32, 1 (มกราคม – มิถุนายน): 56-86.
ชุตมิ า สัจจานนท์, บก. 2521. ธนบุรี ถิน่ ของเรา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูธนบุร.ี
ดาราวดี สุกุมลสันต์, บก. 2540. ชีวติ ไทยในธนบุร.ี กรุงเทพฯ : ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎธนบุร.ี
ต่อจรัส พงษ์สาลี. 2547. “รายงานการวิจยั เรื่องพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ในประเทศไทยบทบาทของวัด ในฐานะสือ่ กลาง
ในการฟื้ นฟูวฒ ั นธรรมระดับท้องถิน่ มุมมองจากการทบทวนประวัตศิ าสตร์และพัฒนาการของงาน
พิพธิ ภัณฑสถานไทย.” กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร. (แฟ้ มข้อมูลคอมพิวเตอร์)
นิษฐา หรุ่นเกษม. 2549. “การสือ่ สารกับปฏิบตั กิ ารสร้างภาพตัวแทนผ่านสือ่ พิพธิ ภัณฑ์ในประเทศไทย.”
วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฏีบณ ั ฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย วินจิ จะกูล. 2546. “ภาวะอย่างไรหนอทีเ่ รียกว่าศิวไิ ลซ์ เมือ่ ชนชัน้ นาสยามสมัยรัชกาลที่ 5 แสวงหาสถานะ
ของตนเอง ผ่านการเดินทางและพิพธิ ภัณฑ์ทงั ้ ในและนอกประเทศ.” รัฐศาสตร์สาร 24, 2: 1-66.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ. 2547. “รายงานวิจยั ฉบับสมบูรณ์โครงการวิจยั และพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์
ท้องถิน่ ระยะที่ 1 สร้างเครือข่ายและสารวจสภาพพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ .” กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจยั .
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. 2557. “คาให้การของคนทาพิพธิ ภัณฑ์.” ใน คนทาพิพธิ ภัณฑ์. บรรณาธิการโดย
ชีวสิทธิ ์ บุณยเกียรติ, 6-23. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร.
ราเมศ พรหมเย็น. 2558. “คานา.” ใน พิ(ศ)พิธภัณฑ์ Museum Refocused. บรรณาธิการโดย ฆัสรา ขมะวรรณ
มุกดาวิจติ ร, 7-8. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ
วิเชียรกวี, พระ. 2547. วัดหนัง ราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ: วัดหนังราชวรวิหาร.
ศรีศกั ร วัลลิโภดม. 2551. พิพธิ ภัณฑ์และประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ : กระบวนการเรียนรูร้ ่วมกัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธเิ ล็ก-
ประไพ วิรยิ ะพันธุ.์
ศิรพิ ร ศรีสนิ ธุอ์ ุไร. 2551. “พิพธิ ภัณฑ์กบั สังคม บทเรียนจากพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ .” ใน พิพธิ ภัณฑ์บนั ทึก: ทบทวน
บทเรียนจากการวิจยั และพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์. บรรณาธิการโดย ศิรพิ ร ศรีสนิ ธุอ์ ุไร, 13-44. กรุงเทพฯ :
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์กรมหาชน).
สมลักษณ์ เจริญพจน์. 2541. “พัฒนาการพิพธิ ภัณฑสถานตามแนวพระราชดาริ.” ใน คณะกรรมการอานวยการจัด
งานฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 50 ปี . พระมหากษัตริยไ์ ทยกับการพิพธิ ภัณฑ์, 53-103. กรุงเทพฯ : บริษทั ก
ราฟิ คฟอร์แมท.
สุจติ ต์ วงษ์เทศ. 2551. “พิพธิ ภัณฑ์ฯ วัดหนัง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กทม.” มติชน (4 ธันวาคม) : 21.

408
วันที่ 25-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาคาร 58 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี

อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล. 2553. “พิพธิ ภัณฑ์ชาติ และพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ : พืน้ ทีข่ องการให้ความหมายและการรับรู้
ต่ออดีตของลาพูน.” วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กำรสัมภำษณ์
เลื่อน เนตรศุขา, สัมภาษณ์ 4 ก.พ.53
วิเชียร อ่อนสาธร, สัมภาษณ์ 17 ม.ค.53
สังฆรักษ์ไพฑูรย์, พระครู, สัมภาษณ์ 10 ธ.ค.52, 25 ธ.ค.52, และ 30 พ.ย.58
สุรศักดิ ์ อุดมหรรษากุล, สัมภาษณ์ 28 ม.ค.53

409

You might also like